พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย มหาวรรค
เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๒
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๖. มหาโควินทสูตร
เรื่องปัญจสิขะ คนธรรพบุตร
[๒๐๙] ข้าพเจ้าฟังมาแล้ว อย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่เขาคิชฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์.
ครั้งนั้นแล ปัญจสิขคนธรรพ์บุตร เมื่อราตรีก้าวล่วงแล้ว มีรัศมีงดงามยิ่ง
ส่องเขาคิชฌกูฏให้สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ที่ส่วนข้างหนึ่ง. ปัญจสิขคน
ธรรพบุตรยืนแล้วแลที่ส่วนข้างหนึ่ง ไค้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระพุทธเจ้าข้า คำใดที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมาแล้วต่อหน้า ได้รับ
มาแล้วต่อหน้าพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลคำนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ปัญจสิขะเธอจงบอกแก่เราเถิด พระพุทธเจ้าข้า วัน
ก่อน หลายวันมาแล้วในวันอุโบสถที่ ๑๕ นั้น ในราตรีวันเพ็ญแห่งปวารณา
เทพชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้นเป็นผู้นั่งประชุมพร้อมกัน ที่สุธรรมาสภาและทิพยบริษัท
ใหญ่เป็นผู้นั่งล้อมรอบ และมหาราชทั้ง ๔ องค์ ต่างเป็นผู้นั่งประจำทิศทั้ง ๔
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 2
คือในทิศตะวันออก มหาราชธตรัฐ อันพวกเทวดาแวดล้อมแล้ว นั่งหันหน้า
ไปทางทิศตะวันตก ในทิศใต้ มหาราชวิรุฬหก อันพวกเทวดาแวดล้อมแล้ว
นั่งหันหน้าไปทิศเหนือ ในทิศตะวันตก มหาราชวิรูปักขะ อันพวกเทวดา
แวดล้อมแล้ว นั่งหันหน้าไปทิศตะวันออก ในทิศเหนือ มหาราชเวสวัณ อัน
เทวดาแวดล้อมแล้ว นั่งหันหน้าไปทิศใต้ พระพุทธเจ้าข้า ก็แหละในเวลาที่
เทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหมดด้วยกันเป็นผู้นั่งประชุมกันที่สุธรรมาสภา ทิพยบริษัท
ใหญ่เป็นผู้นั่งแล้วล้อมรอบ และมหาราชทั้ง ๔ องค์ก็เป็นผู้นั่งประจำทิศทั้ง ๔
แล้ว อาสนะนี้เป็นของพวกท่าน เหล่านั้น และอาสนะหลังเป็นของพวกเรา
พระพุทธเจ้าข้า พวกเทพเหล่าใด ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า
เข้าถึงชั้นดาวดึงส์เมื่อไม่นาน เทพเหล่านั้น ย่อมรุ่งเรืองยิ่งเทพเหล่าอื่น ทั้ง
ด้วยรัศมีทีเดียว ทั้งด้วยยศ เพราะเหตุนั้น จึงเล่ากันมาว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์
จึงชื่นใจ บันเทิง เกิดปิติโสมนัสว่า โอหนอ ผู้เจริญ กายทิพย์ย่อมบริบูรณ์
กายอสูรย่อมเสื่อม
คาถาอนุโมทนา
พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น แล ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทรงทราบความ
เลื่อมใส ของพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ทรงอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ ว่า
[๒๑๐] โอหนอผู้เจริญ พวกเทพชั้นดาวดึงส์
พร้อมกับพระอินทร์ ย่อมบันเทิงไหว้พระ
ตถาคตและความที่เป็นธรรมเป็นธรรมดี.
เห็นอยู่ซึ่งพวกเทพใหม่เทียว ผู้มีรัศมี
มียศ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต
และมาในที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 3
พวกเทพเหล่านั้นรุ่งเรืองล่วงเทพเหล่า
อื่น โดยรัศมี โดยยศ โดยอายุ เป็น
สาวกของพระผู้มีปัญญา เหมือนแผ่นดิน
บรรลุคุณวิเศษแล้วในสวรรค์ชั้นนี้.
พวกเทพชั้นดาวดึงส์พร้อมทั้งพระ-
อินทร์เห็นข้อนี้แล้วจึงต่างยินดี ไหว้อยู่ซึ่ง
พระตถาคต และความที่ธรรมเป็นธรรมดี.
[๒๑๑] พระพุทธเจ้าข้า เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวกันมาว่า พวกเทพ
ชั้นดาวดึงส์จึงชื่นใจ บันเทิง เกิดปิติโสมนัสโดยประมาณยิ่งว่า โอหนอผู้เจริญ
กายทิพย์ย่อมบริบูรณ์ กายอสูรย่อมเสื่อม. ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ทรง
ทราบความเลื่อมใสพร้อมของทวยเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ทรงเรียกทวยเทพชั้น
ดาวดึงส์ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ พวกท่านอยากจะฟังพระคุณตามความเป็นจริง
แปดอย่างของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหรือไม่. พวกข้าพเจ้าอยากจะฟังพระคุณ
ตามความเป็นจริงแปดอย่างของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. ทีนั้นท้าวสักกะจอม-
เทพจึงตรัสพระคุณตามความเป็นจริงแปดอย่างของพระผู้มีพระภาคเจ้าแก่พวก
เทพชั้นดาวดึงส์ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเทพชั้นดาวดึงส์จะสำคัญข้อความ
นั้นเป็นไฉน
ว่าด้วยพระคุณ ๘ ประการ
[๑] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติเพื่อความเกื้อกูลแก่
ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ปฏิบัติ เพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจำนวนมาก เพื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 4
ความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความ
เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์
แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น.
[๒] พระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระองค์ตรัสไว้
ดีแล้ว เป็นธรรมที่พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เรียกให้มาดูได้ น้อมมา.
ในตน พวกผู้รู้พึงทราบเฉพาะตน. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาผู้แสดงธรรมที่
น้อมเอามาใช้ได้อย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต
และไม่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้แล้วอย่างดีว่า นี้
เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล นี้เป็นโทษ นี้ไม่มีโทษ นี้พึงเสพ นี้ไม่พึงเสพ นี้เลว
นี้ประณีต นี้ดำ ขาว มีส่วนคล้ายกัน . เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่บัญญัติ
ธรรมที่เป็นกุศลอกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ พึงเสพ พึงไม่เสพ เลวประณีต
ดำ ขาว มีส่วนคล้ายกันอย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็น
ส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติสำหรับ
ไปถึงพระนิพพานแก่สาวกทั้งหลาย ทั้งพระนิพพาน ทั้งข้อปฏิบัติ ก็กลมกลืน
กันไว้เป็นอย่างดีแล้ว น้ำจากแม่น้ำคงคา กับน้ำจากแม่น้ำยมุนา ย่อมกลม-
กลืนกัน เข้ากันได้อย่างเรียบร้อย แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ก็ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติสำหรับไปถึงพระนิพพาน แก่พระสาวกทั้งหลาย ทั้ง
พระนิพพาน ทั้งข้อปฏิบัติก็กลมกลืนกัน เป็นอย่างดีแล้ว ฉันนั้นนั่นเทียว.
เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาเป็นผู้บัญญัติข้อปฏิบัติสำหรับไปถึงพระนิพพานได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 5
อย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่า
ในปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น .
[๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงได้พระสหายแห่งข้อปฏิบัติ
ของพระผู้ยังต้องศึกษาอีกเทียว และพระผู้สิ้นอาสวะ อยู่จบวัตรแล้ว พระผู้มี
พระภาคเจ้าไม่ทรงติดด้วยข้อปฏิบัติและวัตรนั้น ทรงตามประกอบความเป็นผู้
เดียว เป็นที่มาแห่งความยินดีอยู่. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ตามประกอบ
ความเป็นผู้ยินดีในความเป็นผู้เดียวอย่างนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะ
เป็นส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
[๖] ลาภสำเร็จอย่างยิ่ง ชื่อเสียงก็สำเร็จอย่างยิ่ง แด่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าพระองค์นั้น ปานกับพวกกษัตริย์ทรงพระศิริโฉม สง่า น่ารักอยู่ ก็
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล ทรงปราศจากความเมา เสวยพระอาหาร
เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ปราศจากความเมาบริโภคอาหารอยู่อย่างนี้ ผู้ถึง
พร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกจาก
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้มีปกติตรัสอย่างไร
ก็ทรงมีปกติทำอย่างนั้น ทรงมีปกติทำอย่างไร ก็ทรงมีปกติตรัสอย่างนั้น ด้วย
ประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่าทรงเป็นผู้มีปกติตรัสอย่างไร ก็ทรงมีปกติทำอย่างนั้น
ทรงมีปกติทำอย่างไร ก็ทรงมีปกติตรัสอย่างนั้น. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดา
ที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะ
เป็นส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบัน ยกเว้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงข้ามความสงสัยได้แล้ว
ปราศจากความเคลือบแคลง สิ้นสุดความดำริ เกี่ยวกับอัชฌาสัย เกี่ยวกับข้อ
ปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดา ที่ข้าม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 6
ความสงสัยได้ ปราศจากความเคลือบแคลง สิ้นสุดความดำริ เกี่ยวกับอัชฌาสัย
เกี่ยวกับ ข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์อย่างนี้ ผู้ประกอบ
พร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต ไม่ว่าในปัจจุบันนี้ ยกเว้นแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระพุทธเจ้าข้า ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัส
ถึงพระคุณตามที่เป็นจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านี้แลแก่
ทวยเทพชั้นดาวดึงส์.
[๒๑๒] เพราะเหตุนั้น พระเจ้าข้า จึงเล่ากันมาว่า ทวยเทพชั้น
ดาวดึงส์จึงชื่นใจ บันเทิง เกิดปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ฟังพระคุณตามที่เป็น
จริงทั้งแปดประการของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ครั้งนั้น เทพบางพวก กล่าว
อย่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์จริง ๆ หนอ ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ๔ พระองค์ พึงทรงเกิดขึ้นในโลก และพึงทรงแสดงพระธรรม
เช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจำนวน
มาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.
เทพบางพวกก็กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๔ พระองค์ ยกไว้ก่อน น่าอัศจรรย์จริงหนอ เพื่อนทั้งหลาย พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ๓ พระองค์พึงทรงเกิดขึ้นในโลก และพึงทรงแสดงธรรม เช่น
เดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้น พึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจำนวนมาก
เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์
เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. เทพบางพวก
กล่าวอย่างนี้ว่า เพื่อนทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ พระองค์ ยกไว้
ก่อน น่าอัศจรรย์จริงหนอ เพื่อนทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์
พึงทรงเกิดขึ้นในโลก และพึงทรงแสดงธรรม เช่นเดียวกับ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 7
ข้อนั้น พึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวน
มาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. เมื่อพวกเขากล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าว
สักกะจอมเทพจึงได้ตรัสคำนี้ กะพวกเทพชั้นดาวดึงส์ว่า เพื่อนทั้งหลาย
ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้จริง ๆ ไม่ใช่โอกาสที่ในโลกธาตุหนึ่ง พระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงเกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังกัน ฐานะนี้มีไม่ได้ โอ้หนอ
เพื่อนทั้งหลาย ขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแหละ ทรงมีพระอาพาธ
น้อย ทรงมีพระโรคน้อย พึงทรงดำรงยืนนาน สิ้นกาลนานเถิด ข้อนั้น
จะพึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก
เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. ครั้งนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์ที่มานั่ง
ประชุมพร้อมกันที่สุธรรมาสภา เพื่อประโยชน์อันใด แม้มหาราชทั้ง ๔ พระ-
องค์ ก็พากันคิดประโยชน์นั้นปรึกษากันถึงประโยชน์นั้น ตรัส แต่คำที่กล่าว
ถึงประโยชน์นั้น มหาราชทั้ง ๔ พระองค์ ก็ตรัสพร่ำสอนเฉพาะแต่เรื่อง
ประโยชน์นั้น ในเพราะประโยชน์นั้น จึงประทับบนอาสนะของตน ๆ ไม่ยอม
แยกย้าย
[๒๑๓] ท้าวเธอเหล่านั้น กล่าวแต่คำที่กล่าว
แล้ว รับคำพร่ำสอน เป็นผู้มีจิตผ่องใส
แล้ว ได้ประทับบนอาสนะของตน.
บุพนิมิตแห่งการปรากฏขึ้นของพรหม
[๒๑๔] ครั้นนั้นแล ทางทิศเหนือเกิดแสงสว่างอันอุฬารอย่างเจิดจ้า
เป็นแสงที่ปรากฏขึ้น ชนิดที่ก้าวล่วงเทวานุภาพของทวยเทพทีเดียว. ครั้งนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 8
ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า เพื่อนทั้งหลาย
นิมิตรทั้งหลายย่อมปรากฏ แสงสว่างอันอุฬารเกิดขึ้นอย่างแจ่มจ้า รัศมีย่อม
ปรากฏขึ้นมาโดยประการใด พรหมก็จักปรากฏขึ้นโดยประการนั้น เพราะเกิด
แสงสว่างอย่างเจิดจ้า รัศมีก็ปรากฏขึ้นมานี้ เป็นบุพนิมิตแห่งการปรากฏของ
พรหม.
[๒๑๕] นิมิตทั้งหลาย ย่อมปรากฏโดยประการ
ใด พรหมก็จักปรากฏโดยประการนั้น
เพราะการที่โอภาสอันไพบูลย์มาก ปรากฏ
นี้เป็นบุพนิมิตของพรหม.
[๒๑๖] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าข้า พวกเทพชั้นดาวดึงส์นั่งบนอาสนะ
ของตน ๆ แล้วพูดว่า พวกเราจักรู้แสงนั้น สิ่งใดจักเป็นวิบาก เราทำให้แจ้ง
สิ่งนั้น แล้วจึงจักไป. แม้มหาราชทั้ง ๔ พระองค์ ก็ประทับนั่งบนอาสนะ
ของตน ๆ แล้วก็ตรัสว่า พวกเราจักรู้แสงนั้น สิ่งใดจักเป็นวิบาก เราทำให้
แจ้งสิ่งนั้นแล้ว จึงจักไป. เมื่อฟังคำนี้แล้ว พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ทำใจ
ให้แน่วแน่ สงบอยู่ด้วยคิดว่า เราจักรู้แสงนั้น ผลจักเป็นอย่างไร เรา
ทำให้แจ้งผลนั้นแล้ว จึงจักไป. ตอนที่สนังกุมารพรหมจะปรากฏกายแก่พวก
เทพชั้นดาวดึงส์ ท่านจำแลงอัตภาพชนิดหยาบแล้ว จึงปรากฏ. ก็แหละ
ผิวพรรณโดยปกติของพรหม ไม่พึงปรากฏในสายตาของพวกเทพชั้นดาวดึงส์
ได้ ตอนที่สนังกุมารพรหมจะปรากฏกายแก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ท่าน
รุ่งเรืองยิ่งกว่าหมู่เทพเหล่าอื่นทั้งโดยรัศมี ทั้งโดยยศ. ตอนที่สนังกุมารพรหม
ปรากฏกายแก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ท่านรุ่งเรืองยิ่งกว่าหมู่เทพเหล่าอื่น
ทั้งโดยรัศมี ทั้งโดยยศ แม้ถ้าจะเปรียบก็เหมือนร่างทอง ย่อมรุ่งเรือง
ยิ่งกว่าร่างที่เป็นของมนุษย์ ฉะนั้นแล. ตอนที่สนังกุมารพรหมปรากฏกายแก่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 9
พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ในบริษัทนั้นไม่มีเทพองค์ใด อภิวาทลุกขึ้นรับ หรือ
เชื้อเชิญด้วยอาสนะเลย. นิ่งกันหมดเทียว ประณมมือนั่งบนบัลลังก์ คราวนี้
สนังกุมารพรหมจักต้องการบัลลังก์ ของเทพองค์ใด ก็จักนั่งบนบัลลังก์ของ
เทพองค์นั้น. ก็สนังกุมารพรหม นั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใดแล เทพองค์นั้น
ก็ย่อมได้รับความยินดีอันยิ่งใหญ่ เทพองค์นั้นย่อมได้รับความดีใจอันยิ่งใหญ่
สนังกุมารพรหม นั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นก็ย่อมได้รับความ
ยินดีอันยิ่งใหญ่ เทพองค์นั้นย่อมได้รับความดีใจอันยิ่งใหญ่ ถ้าจะเปรียบ
ก็เหมือนพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ได้รับมุรธาภิเษก ได้รับอภิเษกมาไม่นาน
พระราชานั้นย่อมจะทรงได้รับความยินดีอันยิ่งใหญ่ พระราชานั้นย่อมจะทรง
ได้รับซึ่งความดีพระทัยอันยิ่งใหญ่ ฉะนั้น.
คาถาอนุโมทนาของสนังกุมารพรหม
ครั้งนั้น สนังกุมารพรหมทราบ ความเลื่อมใสพร้อมของทวยเทพชั้น
ดาวดึงส์แล้ว ก็หายไป อนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
[๒๑๗] โอหนอ ท่านผู้เจริญ พวกเทพชั้น
ดาวดึงส์ พร้อมกับพระอินทร์ ย่อมบันเทิง
ไหว้อยู่ซึ่งพระตถาคต และความที่พระ
ธรรมเป็นธรรมดี .
เห็นอยู่ซึ่งพวกเทพรุ่นใหม่เทียว ผู้มี
รัศมี มียศ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระ
สุคตแล้วมาในที่นี้.
พวกเทพเหล่านั้นรุ่งเรืองยิ่งกว่าพวก
เทพเหล่าอื่น โดยรัศมี โดยยศ โดยอายุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 10
เป็นสาวกของพระผู้มีปัญญาเหมือนแผ่น-
ดิน บรรลุคุณวิเศษแล้วในสวรรค์ชั้นนี้.
พวกเทพชั้นดาวดึงส์ พร้อมทั้งพระ
อินทร์ เห็นข้อนี้แล้วจึงต่างยินดีไหว้อยู่ซึ่ง
พระตถาคต และความที่ธรรมเป็นธรรมดี.
เสียงของสนังกุมารพรหม
[๒๑๘] สนังกุมารพรหม ได้ภาษิตข้อความนี้แล้ว. เมื่อสนังกุมาร
พรหมกำลังกล่าวข้อความนี้อยู่ ย่อมมีน้ำเสียงที่ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๘ คือ
เสียงแจ่มใส ๑ เสียงเข้าใจ (ง่าย) ๑ เสียงไพเราะ ๑ เสียงน่าฟัง ๑ เสียงหยดย้อย ๑
เสียงไม่แตกพร่า ๑ เสียงลึก๑ เสียงกังวาน๑. สนังกุมารพรหม ย่อมทำให้
บริษัทเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยเสียง และเสียงของท่านไม่เปล่งก้องไปภายนอกบริษัท
เลย ก็ผู้ใดแลมีเสียงที่ประกอบพร้อมด้วยองค์แปดอย่างนี้ ผู้นั้นท่านเรียกว่า
ผู้มีเสียงเหมือนพรหม. ครั้งนั้นแล พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้กล่าวคำนี้กับ
สนังกุมารพรหมว่า สาธุมหาพรหม พวกข้าพเจ้า พิจารณาข้อนี้นั่นแล จึง
โมทนา ยังมีพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ที่ท้าวสักกะจอมทวยเทพได้ทรงภาษิตไว้แล้ว และพวกข้าพเจ้าก็ได้พิจารณา
ถึงพระคุณเหล่านั้นแล้ว จึงโมทนา. ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหมจึงได้ทูล
คำนี้กับท้าวสักกะจอมทวยเทพว่า ดีละ จอมทวยเทพ แม้หม่อมฉันก็พึงฟัง
พระคุณตามที่เป็นจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. ท้าว
สักกะจอมทวยเทพฟังเฉพาะคำของสนังกุมารพรหมนั่นแลว่า อย่างนั้นท่าน
มหาพรหม แล้วจึงตรัสพระคุณตามที่เป็นจริงแปดประการของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า ท่านมหาพรหมผู้เจริญ จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 11
พระคุณ ๘ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
[๑] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติ เพื่อความเกื้อกูล
แก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่
ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย มาสักเพียงไร. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ปฏิบัติเพื่อความเกื้อกูล
แก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่
ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายอย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และ
ไม่ว่าในปัจจุบันนี้เลย นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๒] พระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระองค์ตรัสไว้ดี
แล้ว เป็นธรรมที่พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เรียกให้มาพิสูจน์ดูได้ น้อม
เอามาใช้ได้ พวกผู้รู้พึงทราบเฉพาะตน. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่แสดง
ธรรมที่น้อมเอามาใช้ได้อย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็น
ส่วนอดีตและไม่ว่าในปัจจุบันนี้เลย นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้แล้วเป็นอย่างดี
ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล. นี้มีโทษ. นี้ไม่มีโทษ. นี้พึงเสพ. นี้ไม่พึงเสพ.
นี้เลว. นี้ประณีต. นี้ดำ ขาว มีส่วนคล้ายกัน. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่
บัญญัติธรรมที่เป็นกุศลอกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ พึงเสพ ไม่พึงเสพ เลว
ประณีต ดำ ขาว มีส่วนคล้ายกันอย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้
ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต หรือปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
[๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติสำหรับ
นำไปถึงพระนิพพานแก่พระสาวกทั้งหลาย ทั้งพระนิพพาน ทั้งข้อปฏิบัติ ก็
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 12
กลมกลืนกัน เป็นอย่างดีแล้ว. น้ำจากแม่น้ำคงคากับน้ำจากแม่น้ำยมุนา ย่อม
กลมกลืนกัน เข้ากันได้อย่างเรียบร้อย ชื่อแม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ
องค์นั้น ก็ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติสำหรับไปให้ถึงพระนิพพานแก่พระสาวก
ทั้งหลาย ทั้งพระนิพพานทั้งข้อปฏิบัติก็กลมกลืนกัน เป็นอย่างดีแล้ว ฉันนั้น
นั่นเทียว. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาผู้ที่บัญญัติข้อปฏิบัติสำหรับไปให้ถึงพระ
นิพพานได้อย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และ
ไม่ว่าปัจจุบันนี้เลย นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น .
[๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงได้พระสหายแห่งข้อปฏิบัติ
ของพระผู้ยังต้องศึกษาอีกเทียว และพระผู้สิ้นอาสวะ ผู้จบวัตรแล้ว พระผู้มี
พระภาคเจ้าไม่ทรงติดด้วยข้อปฏิบัติ และวัตรนั้น ทรงตามประกอบความเป็น
ผู้เดียว เป็นที่มาแห่งความยินดีอยู่. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ทรงประกอบ
ความเป็นผู้ยินดีในความเป็นผู้เดียวอย่างนี้ ผู้ถึงความพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่
ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าปัจจุบันนี้เลย นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น.
[๖] ลาภสำเร็จอย่างยิ่ง ชื่อเสียงก็สำเร็จอย่างยิ่ง แด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพระองค์นั้น ปานกับพวกกษัตริย์ที่ทรงพระสิริโฉมสง่า น่ารักอยู่ ก็
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล ทรงปราศจากความเมา เสวยพระอาหาร.
เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ปราศจากความเมา บริโภคอาหารอยู่อย่างนี้ ผู้ถึง
พร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าปัจจุบันนี้เลย นอกจาก
พระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น.
[๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้มีปกติตรัสอย่างไร
ก็ทรงมีปกติทำอย่างนั้น ทรงมีปกติทำอย่างไร ก็ทรงมีปกติตรัสอย่างนั้น
ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่า ทรงเป็นผู้มีปกติตรัสอย่างไร ก็ทรงมีปกติทำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 13
อย่างนั้น ทรงมีปกติทำอย่างไร ก็ทรงมีปกติตรัสอย่างนั้น. เราไม่พิจารณา
เห็นศาสดาที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้
ไม่ว่าในส่วนอดีตหรือในปัจจุบันนี้ ยกเว้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
[๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงข้ามความสงสัยได้แล้ว
ปราศจากความเคลือบแคลง สิ้นสุดความดำริเกี่ยวกับอัชฌาสัย เกี่ยวกับข้อ
ปฏิบัติ อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ข้าม
ความสงสัยได้ ปราศจากความเคลือบแคลงสิ้นสุดความดำริ เกี่ยวกับอัชฌาสัย
เกี่ยวกับข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์อย่างนี้ ผู้ประกอบ
พร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าปัจจุบันนี้เลย ยกเว้น
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
พระพุทธเจ้าข้า ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ได้ตรัสถึงพระคุณตามที่
เป็นจริง ๘ ประการ เหล่านี้แก่ สนังกุมารพรหม.
[๒๑๙] เพราะเหตุนั้น พระเจ้าข้า จึงเล่ากันมาว่า สนังกุมารพรหม
จึงชื่นใจ บันเทิง เกิดปิติโสมนัส เมื่อได้ฟังพระคุณตามที่เป็นจริง ๘ ประการ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ครั้งนั้น สนังกุมารพรหม นิมิตอัตภาพใหญ่ยิ่งเป็น
เพศกุมาร ไว้ผม ๕ จุก ปรากฏแก่ทวยเทพชั้นดาวดึงส์. สนังกุมารพรหมนั้น
เหาะขึ้นสู่ฟ้านั่งโดยบัลลังก์ในอากาศ บุรุษมีกำลังพึงนั่งบนบัลลังก์ที่ปูลาดไว้
เป็นอย่างดี หรือโดยบัลลังก์บนภาคพื้นที่เสมอแม้ฉันใด สนังกุมารพรหมก็
ฉันนั้น เหาะขึ้นสู่ฟ้า นั่งโดยบัลลังก์ในอากาศแล้ว เรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์
ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเทพชั้นดาวดึงส์จะสำคัญข้อนั้นเป็นไฉนว่า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระปัญญายิ่งใหญ่มาตลอดกาลนานเพียงไร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 14
เรื่องพระเจ้าทิสัมบดี
ท่านผู้เจริญ เคยมีพระราชาพระนามว่า ทิสัมบดีมาแล้ว . พระเจ้า
ทิสัมบดีได้ทรงมีพราหมณ์ที่ปรึกษาชี่อโควินท์. พระเจ้าทิสัมบดี ทรงมีพระราช
บุตรพระนามว่า เรณุกุมาร. สำหรับโควินทพราหมณ์ได้มีบุตรชื่อ โชติบาล
มาณพ. ด้วยประการฉะนี้ จึงได้มีเพื่อน ๘ คน คือเรณุราชบุตร ๑ โชติบาล
มาณพ ๑ และกษัตริย์ อื่นอีก ๖ องค์. ครั้งนั้นแล โดยกาลล่วงไปแห่งวัน
และคืน โควินทพราหมณ์ได้ทำกาละแล้ว. ครั้นโควินทพราหมณ์ตายแล้ว
พระเจ้าทิสัมบดี ก็ทรงคร่ำครวญว่า โอ้หนอ ในสมัยใด เรามอบหมายงาน
ทุกอย่างในโควินทพราหมณ์อิ่มเอิบสะพรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณทั้ง ๕ ให้เขา
บำเรออยู่ ก็ในสมัยนั้นแลโควินทพราหมณ์ ตายไปเสียแล้ว. เมื่อพระเจ้า
ทิสัมบดีตรัสอย่างนี้แล้ว เรณุราชบุตรก็กราบทูลคำนี้ กับพระเจ้าทิสัมบดีว่า
ข้าแต่เทวะ ขอพระองค์อย่าทรงคร่ำครวญในเพราะโควินทพราหมณ์ตายเลย
ลูกชายของโควินทพราหมณ์ชื่อโชติบาลยังมีอยู่ ฉลาดกว่าบิดาเสียด้วย และ
สามารถมองเห็นอรรถกว่าเสียด้วย. บิดาของเขาพร่ำสอนข้อความแม้เหล่าใด
ข้อความแม้เหล่านั้นเขาก็พร่ำสอนแก่โชติบาลมาณพทั้งนั้น . อย่างนั้นหรือ
พ่อกุมาร พระเจ้าทิสัมบดีตรัสถาม. อย่างนั้น เทวะ พระกุมารกราบทูล.
ครั้งนั้นแล พระเจ้าทิสัมบดีจึงทรงเรียกบุรุษคนใดคนหนึ่งมาสั่งว่า นี่บุรุษ เธอ
มานี่ เธอจงไปหาโชติบาลมาณพ แล้วจงกล่าวกะโชติบาลมาณพอย่างนี้ว่า ขอ
ความเจริญจงมีแก่โชติบาลมาณพผู้เจริญ พระเจ้าทิสัมบดีรับสั่งเรียกโชติบาล
มาณพผู้เจริญ พระเจ้าทิสัมบดีทรงใคร่จะทอดพระเนตรโชติบาลมาณพผู้เจริญ.
บุรุษนั้นรับ สนองพระราชโองการของพระเจ้าทิสัมบดีแล้ว ก็เข้าไปหาโชติบาล
มาณพ ครั้นเข้าไปแล้วก็ได้กล่าวคำนี้กะโชติบาลมาณพว่า ขอความเจริญจงมี
แก่ท่านโชติบาลมาณพ พระเจ้าทิสัมบดีสั่งให้เรียกท่านโชติบาลมาณพ พระเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 15
ทิสัมบดีทรงใคร่จะทอดพระเนตรท่านโชติบาลมาณพ. โชติบาลมาณพสนองตอบ
แก่บุรุษนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าทิสัมบดี บันเทิงเป็นอันดี กับพระเจ้า
ทิสัมบดี ครั้นเสร็จสิ้นถ้อยคำ ชื่นชมพอให้เกิดความคิดถึงกันแล้ว จึงนั่งในที่
ส่วนหนึ่ง. พระเจ้าทิสัมบดีได้ตรัสคำนี้กับโชติบาลมาณพ ผู้นั่งในที่ส่วนหนึ่งว่า
ขอให้ท่านโชติบาลจงพร่ำสอนพวกเราเถิด ขอท่านโชติบาลอย่าทำให้พวกเรา
เสื่อมเสียจากคำพร่ำสอนเลย เราจะตั้งท่านในตำแหน่งบิดา เราจักอภิเษกใน
ตำแหน่งท่านโควินท์. โชติบาลมาณพ รับสนองพระราชโองการของพระเจ้า
ทิสัมบดีว่าอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. ครั้งนั้นแล ท่านผู้เจริญ พระเจ้าทิสัมบดี
ทรงอภิเษกโชติบาลมาณพในตำแหน่งท่านโควินท์ ตั้งไว้ในตำแหน่งบิดาแล้ว.
ชื่อมหาโควินท์
โชติบาลมาณพได้รับอภิเษกในตำแหน่งท่านโควินท์ ได้รับ แต่งตั้ง
ในตำแหน่งบิดาแล้ว บิดาพร่ำสอนข้อความแม้เหล่าใด แก่พระเจ้าทิสัมบดีนั้น
ก็พร่ำสอนข้อความแม้เหล่านั้น แม้ข้อความเหล่าใด ที่บิดามิได้พร่ำสอนแด่
พระเจ้าทิสัมบดี ก็มิได้พร่ำสอนข้อความแม้เหล่านั้น บิดาจัดการงานแม้เหล่า
ใด แด่พระเจ้าทิสัมบดีนั้น ก็จัดการงานแม้เหล่านั้น บิดามิได้จัดการงาน
เหล่าใดแก่พระเจ้าทิสัมบดีก็ไม่จัดการงานเหล่านั้น คนทั้งหลายกล่าวขวัญถึง
เขาอย่างนี้ว่า ท่านโควินทพราหมณ์หนอ ท่านมหาโควินทพราหมณ์หนอ. ด้วย
ปริยายอย่างนี้แล มหาโควินท์ ชื่อนี้จึงได้เกิดขึ้นแล้วแก่โชติบาลมาณพ.
เรื่องเรณุราชบุตร
[๒๒๐] ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ ๖
พระองค์เหล่านั้นแล้ว ได้ทูลคำนี้กับกษัตริย์ ๖ พระองค์เหล่านั้นว่า ข้าแต่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 16
พระองค์ พระเจ้าทิสัมบดีแล ทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่
ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ก็ใครเล่าหนอจะรู้ชีวิต ข้อนี้ย่อมเป็นไปได้ทีเดียว คือข้อ
ที่ว่า เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคตแล้ว พวกข้าราชการก็จะพึงอภิเษกเจ้า
เรณุราชบุตรในราชสมบัติ มาเถิดพระองค์ ขอให้พวกพระองค์เข้าเฝ้าเจ้า
เรณุผู้ราชบุตร ทูลอย่างนี้ว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าแล เป็นพระสหาย ที่โปรด
ปรานที่ชื่นพระทัยไม่เป็นที่สะอิดสะเอียนของพระองค์เรณุ ใต้ฝ่าพระบาททรง
มีความสุขอย่างไร พวกข้าพระพุทธเจ้าก็มีความสุขอย่างนั้น ใต้ฝ่าพระบาท
ทรงมีความทุกข์อย่างไร พวกข้าพระพุทธเจ้าก็มีความทุกข์อย่างนั้น พระเจ้า
ทิสัมบดีแล ทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัย
แล้ว ก็ใครเล่าหนอจะรู้ชีวิต ข้อนี้ย่อมเป็นไปได้ทีเดียว คือข้อที่ว่า เมื่อ
พระเจ้าทิสัมบดีเสร็จสวรรคตแล้ว พวกข้าราชการก็จะพึงอภิเษกพระองค์เรณู
ในราชสมบัติ ถ้าพระองค์เรณุพึงทรงได้ราชสมบัติ ก็จะพึงทรงแบ่งราชสมบัติ
แก่พวกข้าพระพุทธเจ้า. หกกษัตริย์เหล่านั้น ต่างทรงรับคำของมหาโควินท-
พราหมณ์แล้วทรงเข้าไปเฝ้าเจ้าเรณุราชบุตร แล้วได้กราบทูลคำนี้กะเจ้าเรณุ-
ราชบุตรว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าแล เป็นพระสหายที่โปรดปรานที่ชื่นพระทัย
ไม่เป็นที่สะอิดสะเอียนของพระองค์เรณุ ใต้ฝ่าพระบาททรงมีความสุขอย่างไร
พวกข้าพระพุทธเจ้าก็มีความสุขอย่างนั้น ใต้ฝ่าพระบาททรงมีความทุกข์อย่างไร
พวกข้าพระพุทธเจ้าก็มีความทุกข์อย่างนั้น พระเจ้าทิสัมบดีแล ทรงพระชรา
แล้ว เป็นผู้เฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ก็ใครเล่าหนอจะ
รู้ชีวิต ข้อนี้ย่อมเป็นไปทีเดียว คือข้อที่ว่า เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคต
แล้ว พวกข้าราชการก็จะพึงอภิเษกพระองค์เรณุในราชสมบัติ ถ้าใต้ฝ่าพระบาท
พระองค์เรณุพึงทรงได้ราชสมบัติ ก็จะทรงแบ่งราชสมบัติ แก่พวกข้าพระพุทธ-
เจ้า. คนอื่นใครเล่าหนอ พึงมีความสุขในแว่นแคว้นของหม่อมฉัน นอกจาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 17
พวกท่าน ถ้าหม่อมฉันจักได้ราชสมบัติ หม่อมฉันจักแบ่งราชสมบัติแก่พวก
ท่าน เรณุราชบุตรตรัส.
พระเจ้าเรณุได้รับอภิเษก
ครั้งนั้นแล โดยการล่วงไปแห่งวันและคืน พระเจ้าทิสัมบดีก็เสด็จ
สวรรคตแล้ว เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคตแล้ว พวกข้าราชการก็อภิเษก
เจ้าเรณุราชบุตรในราชสมบัติ. เจ้าเรณุได้รับอภิเษกแล้วก็ทรงเอิบอิ่มเพรียบ-
พร้อมไปด้วยกามคุณทั้ง๕ ให้บำเรออยู่. ครั้นนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้า
ไปเฝ้ากษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น แล้วได้กราบทูลคำนี้กับกษัตริย์ ๖ พระองค์
นั้นว่า พระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้วแล. เจ้าเรณุก็ได้รับอภิเษกด้วยราชสมบัติ
ทรงเอิบอิ่มเพียบพร้อมไปด้วยกามคุณทั้ง ๕ ให้บำเรออยู่ ก็ใครเล่าหนอ จะรู้
ว่ากามทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เชิญเถิดพระองค์ พวกพระองค์จง
ทรงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณุ แล้วกราบทูลพระเจ้าเรณุอย่างนี้ว่า ขอเดชะ
พระเจ้าทิสัมบดีของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ก็เสด็จสวรรคตไปแล้ว พระองค์
เรณุเล่าก็ทรงได้รับอภิเษกด้วยราชสมบัติแล้ว พระองค์ทรงระลึกถึงพระราช
ดำรัสนั้นได้อยู่หรือ. ท่านหกกษัตริย์นั้น ทรงตอบรับคำของมหาโควินท
พราหมณ์แล้วจึงพากันเข้าเฝ้าพระเจ้าเรณุ แล้วได้กราบทูลคำนี้กะพระเจ้าเรณุ
ว่า ขอเดชะ พระเจ้าทิสัมบดี ก็เสด็จสวรรคตไปแล้ว. ใต้ฝ่าละอองธุลีพระ
บาทพระองค์เรณุเล่า ก็ทรงได้รับอภิเษกด้วยราชสมบัติแล้วพระองค์ยังทรง
ระลึกพระราชดำรัสนั้นได้อยู่หรือ. หม่อมฉันยังจำได้อยู่ท่าน พระเจ้าเรณุตอบ
แล้ว ตรัส อีกว่า ใครเล่าหนอจะสามารถแบ่งมหาปฐพีนี้ ที่ยาวไปทางเหนือ
และใต้เป็นเหมือนทางเกวียนให้เป็น ๗ ส่วนเท่า ๆ กันได้ เป็นอย่างดีละท่าน.
คนอื่นนอกจากมหาโควินทพราหมณ์แล้ว ใครเล่าหนอจะสามารถ. ครั้งนั้นแล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 18
พระเจ้าเรณุรับสั่งกับบุรุษคนใดคนหนึ่งว่า บุรุษ เธอมานี่ เธอจงไปหา
มหาโควินทพราหมณ์ แล้วกล่าวกะมหาโควินทพราหมณ์อย่างนี้ว่า พระเจ้า
เรณุรับสั่งเรียกใต้เท้า. บุรุษนั้น รับสนองพระราชโองการของพระเจ้าเรณุว่า
ขอรับใส่เกล้า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล้ว จึงไปหามหาโควินทพราหมณ์แล้ว
ได้กล่าวคำนี้กะมหาโควินทพราหมณ์ว่า พระคุณท่าน พระเจ้าเวณุสั่งเรียก
ใต้เท้า ขอรับกระผม. มหาโควินทพราหมณ์ก็รับคำของบุรุษนั้น แล้วจึงเข้า
เฝ้าพระเจ้าเรณุ แล้วกราบทูลสนทนาสัมโมทนียกถาพอให้คิดถึงกันแล้วจึงนั่ง
ที่ส่วนข้างหนึ่ง. พระเจ้าเรณุ ได้ทรงมีพระราชดำรัสนี้กับมหาโควินทพราหมณ์
ผู้นั่งแล้วที่ส่วนข้างหนึ่งนั่นแหละว่า ท่านโควินท์จงมาแบ่งมหาปฐพีนี้ที่ยาวไป
ทางเหนือและทางใต้เป็นเหมือนทางเกวียนให้เป็น ๗ ส่วนอย่างดีเท่ากัน. ท่าน
มหาโควินทพราหมณ์ รับสนองพระราชบัญชาของพระเจ้าเรณุ แล้วก็แบ่ง
ชนิดแบ่งอย่างดีซึ่งมหาปฐพีนี้ ที่ยาวไปทางเหนือและทางใต้เป็นเหมือนทาง
เกวียนเป็น ๗ ส่วนเท่ากัน คือทั้งทุกส่วนให้เหมือนทางเกวียน เล่ากันมาว่า
ส่วนตรงท่ามกลางนั้นเป็นชนบทของพระเจ้าเรณุ.
[๒๒๑] เมืองที่โควินท์สร้างไว้แล้วเหล่านี้คือ
ทันตปุระแห่งแคว้นกาลิงค์ ๑ โปตนะแห่ง
แคว้นอัสสกะ ๑ มาหิสสดี (มเหสัย) แห่ง
แคว้นอวันตี ๑ โรรุกะแห่งแคว้นโสจิระ
(สะวีระ) ๑ มิถิลาแห่งแคว้นวิเทหะ ๑
สร้างเมืองจัมปาในแคว้นอังคะ ๑ และ
พาราณสีแห่งแคว้นกาสี ๑.
[๒๒๒] ครั้งนั้นแล กษัตริย์ ๖ พระองค์นั้นทรงเป็นผู้ชื่นใจ ทรง
มีความดำริเต็มที่แล้วด้วยลาภตามที่เป็นของตน ทรงคิดว่า โอหนอ พวกเรา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 19
ได้สิ่งที่เราอยากได้ สิ่งที่เราหวัง สิ่งที่เราประสงค์ สิ่งที่เราปรารถนาอย่างยิ่ง
แล้ว.
[๒๒๓] ในครั้งนั้น มีมหาราชผู้ทรงภาระ ๗
พระองค์คือ พระเจ้าสัตตภู ๑ พระเจ้าพรหม
ทัต ๑ พระเจ้าเวสสภู ๑ พระเจ้าภรตะ
พระเจ้าเรณุ ๑ พระเจ้าธตรัฐอีก ๒ พระองค์
ดังนี้แล.
จบ ปฐมภาณวาร.
เกียรติศัพท์อันงามของมหาโควินท์
[๒๒๔] ครั้งนั้นแล กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น เสด็จไปหามหา
โควินทพราหมณ์แล้ว ได้ตรัสคำนี้กะมหาโควินทพราหมณ์ว่า ท่านโควินท์
ผู้เจริญ เป็นพระสหายที่โปรดปรานที่ชอบพระทัยไม่เป็นที่สะอิดสะเอียนของ
พระเจ้าเรณุฉันใดแล ท่านโควินทผู้เจริญ ก็เป็นสหาย เป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจ
ไม่เป็นที่รังเกียจแม้ของพวกเรา ฉันนั้นเหมือนกัน ขอให้ท่านพราหมณ์โควินท์
ผู้เจริญได้โปรดพร่ำสอนพวกเราเถิด ขอท่านพราหมณ์โควินท์อย่าให้พวกเรา
เสื่อมเสียจากคำพร่ำสอน. ท่านพราหมณ์ มหาโควินท์ ทูลสนองพระดำรัสของ
กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ ผู้ทรงได้รับมุรธาภิเษก เสร็จแล้วเหล่านั้นว่า อย่าง
นั้น พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล. ครั้งนั้นแล ท่านพราหมณ์ มหาโควินท์
พร่ำสอนพระราชา ๗ พระองค์ ผู้เป็นกษัตริย์ได้รับมุรธาภิเษกด้วยราชสมบัติ
แล้วด้วยอนุสาสนี สอนพราหมณ์มหาศาล ๗ คน และสอนมนต์แก่ข้าบริวาร
๗๐๐ คน. ครั้งนั้นแล โดยสมัยอื่นอีก เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ ของพราหมณ์
มหาโควินท์ กระฉ่อนไปว่า พราหมณ์มหาโควินท์อาจเห็นพรหม พราหมณ์
มหาโควินท์อาจสากัจฉา สนทนา ปรึกษากันกับพรหม. ครั้งนั้นแล ความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 20
ตรึกนี้ได้มีแล้วแก่พราหมณ์มหาโควินท์ว่า เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ของเรา
แล กระฉ่อนไปแล้วว่า พราหมณ์มหาโควินท์อาจเห็นพรหม พราหมณ์มหา
โควินท์ อาจสากัจฉา สนทนา ปรึกษา กับพรหม จึงคิดว่า ก็เราเองย่อมไม่
เห็นพรหม ยังไม่สากัจฉากับพรหม ยังไม่สนทนากับ พรหม ยังไม่ปรึกษา
กับพรหมเลย แต่เราก็ได้ฟังคำนี้ของพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่
เป็นอาจารย์ของอาจารย์ กล่าวอยู่ว่า ผู้ใดหลีกเร้น ๔ เดือนในฤดูฝน เพ่ง
กรุณาอยู่ ผู้นั้นย่อมเห็นพรหมได้ ย่อมสากัจฉา สนทนาปรึกษากับพรหมก็ได้
เพราะเหตุนั้น ถ้าไฉนเราพึงหลีกเร้น ๔ เดือน ในฤดูฝน พึงเพ่งกรุณาฌาน.
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าเรณุ แล้วกราบทูลคำนี้
กับพระเจ้าเรณุว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้
ของข้าพระพุทธเจ้าแล ฟุ้งไปว่า มหาโควินทพราหมณ์อาจเห็นพรหมก็ได้
มหาโควินทพราหมณ์อาจจะสากัจฉา สนทนา ปรึกษากับพรหมได้ ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้าเองเห็นพรหมไม่ได้เลย จะสากัจฉากับพรหมก็ไม่ได้ จะสนทนา
กับพรหมก็ไม่ได้ จะปรึกษากับพรหมก็ไม่ได้ แต่ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้
ของพวกพราหมณ์ผู้เฒ่า เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์ของอาจารย์กล่าวอยู่
ว่า ผู้ใดหลีกเร้น ๔ เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาอยู่ ผู้นั้นจะเห็นพรหมได้
จะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระ-
พุทธเจ้าจึงอยากจะหลีกเร้นไป ๔ เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌาน เป็นผู้อัน
ใคร ๆ ไม่พึงเข้าไปหาเลย ยกเว้นแต่ผู้นำอาหารคนเดียว. พระเจ้าเรณุตรัสว่า
บัดนี้ท่านโควินท์ผู้เจริญ ย่อมสำคัญเวลาอันสมควร.
มหาโควินท์เข้าเฝ้า ๖ กษัตริย์
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ จึงเข้าไปเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์
นั้น แล้วได้กราบทูลคำนี้กะกษัตริย์ ๖ พระองค์นั้นว่า พระเจ้าข้า เกียรติศัพท์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 21
อันงามอย่างนี้ ของข้าพระพุทธเจ้าฟุ้งไปว่า มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็น
พรหมก็ได้ อาจจะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ ข้าพระพุทธ-
เจ้าเอง เห็นพรหมไม่ได้เลย จะสากัจฉากับพรหมก็ไม่ได้ จะสนทนากับพรหม
ก็ไม่ได้ จะปรึกษากับพรหมก็ไม่ได้ แต่ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้ของพวก
พราหมณ์ผู้เฒ่าเป็นผู้หลัก ผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์ ของอาจารย์ พูดกันอยู่ว่า ผู้
ใดหลีกเร้นอยู่ ๔ เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาอยู่ผู้นั้นจะเห็นพรหมได้ จะ
สากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
อยากจะหลีกเร้นอยู่ ๔ เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌาน เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่พึง
เข้าไปหาเลย ยกเว้นแต่คนที่นำอาหาร ไปส่งคนเดียว. กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์
นั้น ก็ทรงอนุญาตว่า บัดนี้ ท่านโควินท์ผู้เจริญ ย่อมสำคัญเวลาอันสมควร.
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาพราหมณ์มหาศาลทั้ง ๗
และข้าบริวาร ๗๐๐ คน แล้วได้กล่าวคำนี้กะพราหมณ์มหาศาล ๗ คน และ
ข้าบริวาร ๗๐๐ คนว่า เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ ของข้าพเจ้าฟุ้งขจรไปว่า
มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหมก็ได้ มหาโควินทพราหมณ์อาจจะสากัจฉา
จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ ตัวข้าพเจ้าเองก็ไม่เห็นพรหมเลย จะ
สากัจฉากับพรหมก็ไม่ได้ จะสนทนากับพรหมก็ไม่ได้ จะปรึกษากับพรหมก็ไม่
ได้ แต่ข้าพเจ้าได้ฟังคำนี้ของพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์
ของอาจารย์พูดกันอยู่ว่า ผู้ใดหลีกเร้นอยู่ ๔ เดือน ในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌาน
อยู่ ผู้นั้นจะเห็นพรหมได้ จะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้
ถ้าเช่นนั้น ขอให้พวกท่านจงทำสาธยายมนต์ทั้งหลายตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้
เรียนมาโดยพิสดาร จงสอนมนต์กันและกันเถิด ข้าพเจ้าอยากจะหลีกเร้น ๔
เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌาน เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่พึงเข้าไปหาเลย ยกเว้น
แต่คนส่งอาหารคนเดียว. คนเหล่านั้นกล่าวว่า บัดนี้ ท่านโควินท์ผู้เจริญ ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 22
สำคัญเวลาอันสมควรเถิด. ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์เข้าไปหาภริยา
๔๐ นาง ผู้เสมอกันแล้วก็ได้กล่าวคำนี้กะภรรยาทั้ง ๔๐ นางผู้เสมอกัน ว่า แนะ
นางผู้เจริญ เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ ของฉันแล ฟุ้งขจรไปแล้วว่า มหา-
โควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหมก็ได้ อาจจะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษา
กับพรหมก็ได้ ฉันเองเห็นพรหมไม่ได้เลย จะสากัจฉากับพรหมก็ไม่ได้ จะ
สนทนากับพรหมก็ไม่ได้ จะปรึกษากับพรหมก็ไม่ได้ แต่ฉันได้ฟังคำนี้ของ
พวกพราหมณ์ผู้เฒ่า เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์ของอาจารย์ พูดกันอยู่ว่า
ผู้ใดหลีกเร้นอยู่ ๔ เดือน ในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌานอยู่ ผู้นั้นจะเห็นพรหมก็
ได้ จะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ เพราะเหตุนั้น ฉัน
อยากหลีกเร้น ๔ เดือนในฤดูฝน จะเพ่งกรุณาฌาน ใคร ๆ ไม่พึงเข้าไปหา
ยกเว้นแต่คนส่งอาหารคนเดียว. พวกนางตอบว่า บัดนี้ ท่านโควินท์ผู้เจริญ
ย่อมสำคัญเวลาอันสมควร.
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ ให้สร้างสัณฐาคารใหม่ทางทิศ
ตะวันออก แห่งพระนครนั่นเองแล้วก็หลีกเร้น ในฤดูฝนจนครบ ๔ เดือน เพ่ง
กรุณาฌานแล้ว ไม่มีใครเข้าไปหาท่านนอกจากคนส่งอาหารคนเดียว. ครั้ง
นั้นแล โดยล่วงไป ๔ เดือน ความกระสันได้มีแล้วทีเดียว ความหวาดสะดุ้ง
ก็ได้มีแล้วแก่มหาโควินทพราหมณ์ว่า ก็แหละเราได้ฟังคำนี้ของพราหมณ์ผู้เฒ่า
เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์ของอาจารย์ พูดกันอยู่ว่า ผู้ใดหลีกเร้นอยู่ตลอด
๔ เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌานอยู่ ผู้นั้นจะเห็นพรหมได้ จะสากัจฉา จะ
สนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ แต่ส่วนเราเห็นพรหมไม่ได้เลย สากัจฉา
กับพรหมก็ไม่ได้ สนทนากับพรหมก็ไม่ได้ ปรึกษากับพรหมก็ไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 23
ว่าด้วยการปรากฏของสนังกุมารพรหม
ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหมทราบความดำริทางใจของมหาโควินท-
พราหมณ์ด้วยใจแล้ว ก็หายไปในพรหมโลก ได้ปรากฏต่อหน้ามหาโควินท-
พราหมณ์เหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์มีความกลัวตัวสั่น ขนพอง เพราะเห็นรูป
อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน.
ว่าด้วยปฏิปทาให้ถึงพรหมโลก
ครั้งนั้นแล พราหมณ์มหาโควินท์ กลัวแล้วสลดแล้ว เกิดขนชูชัน
แล้วได้กล่าวกะพรหมสนังกุมารด้วยคาถาว่า
[๒๒๕] ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใคร มีรัศมี
มียศ มีสิริ พวกเราไม่รู้จักท่าน จึงขอ
ถามท่าน ทำอย่างไร พวกเราจึงจะรู้จัก
ท่านเล่า.
พวกเทพทั้งปวงในพรหมโลกย่อมรู้จัก
เราว่าเป็นกุมารมานมนานแล้ว ทวยเทพ
ทั้งหมดก็รู้จักเรา โควินท์ ท่านจงรู้อย่างนี้.
ที่นั่ง น้ำ น้ำมันทาเท้า และขนมสุก
คลุกน้ำผึ้ง สำหรับพรหม ขอเชิญท่านด้วย
ของควรค่า ขอท่านจงรับของควรค่าของ
ข้าพเจ้าเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 24
โควินท์ ท่านพูดถึงของควรค่าใด เรา
จะรับเอาของควรค่า (นั้น) ของท่าน เรา
เปิดโอกาสแล้ว ท่านจงถามอะไร ๆ ที่ท่าน
ปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์
เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขใน
เบื้องหน้า.
[๒๒๖] ครั้งนั้นแล ความคิดนี้ได้มีแก่มหาโควินทพราหมณ์ว่า เรา
เป็นผู้ที่สนังกุมารพรหมเปิดโอกาสให้แล้ว เราพึงถามอะไรหนอแล กับสนัง-
กุมารพรหม ประโยชน์ปัจจุบันหรือประโยชน์เบื้องหน้า ครั้งนั้นแล ความคิด
นี้ได้มีแล้วแก่มหาโควินทพราหมณ์ว่า สำหรับประโยชน์ปัจจุบัน เราเป็น
ผู้ฉลาดแล แม้คนเหล่าอื่นก็ย่อมถามประโยชน์ปัจจุบันกะเรา อย่ากระนั้นเลย
เราพึงถามประโยชน์ที่เป็นไปในภพเบื้องหน้าเท่านั้นกะสนังกุมารพรหม ครั้ง
นั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ จึงได้กล่าวคาถากับสนังกุมารพรหมว่า
[๒๒๗] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสงสัย ขอถาม
ท่านสนังกุมารพรหมผู้ไม่มีความสงสัยใน
ปัญหาที่พึงรู้อื่น สัตว์ตั้งอยู่ในอะไร และ
ศึกษาอยู่ในอะไรจึงจะถึงพรหมโลกที่ไม่
ตายได้.
ดูก่อนพราหมณ์ สัตว์ละความยึดถือ
อัตตาว่าเป็นของเรา ในสัตว์ทั้งหลาย ที่
เกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้เดียวโดดเด่น น้อม
ไปในกรุณาปราศจากกลิ่นเหม็น เว้นจาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 25
เมถุน ตั้งอยู่ในธรรมนี้ และศึกษาอยู่
ในธรรมนี้จึงจะถึงพรหมโลกที่ไม่ตายได้
ข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลก
[๒๒๘] ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า ละความยึดถืออัตตาเป็นของ
เราได้แล้ว. คนบางคนโนโลกนี้ สละกองโภคะน้อย หรือสละกองโภคะมาก
สละเครือญาติน้อย หรือสละเครือญาติมาก ปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้า
ย้อมฝาด บวชเป็นบรรพชิต ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า ละความยึดถือ
อัตตาเป็นเราได้แล้ว ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า เป็นผู้เดียวโดดเด่น
คนบางคนในโลนนี้ ใช้ที่นอนที่นั่งเงียบอยู่ หลีกเร้นอยู่ที่ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ราวป่า กลางแจ้ง ลอมฟาง ดังว่ามานี้ ข้าพเจ้า
นั้นย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า เป็นผู้เดียวโดดเด่น. ข้อว่า น้อมไปในกรุณา
ข้าพเจ้านั้นย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า คนบางคนในโลกนี้ แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง
มีโจสหรคตด้วยกรุณาอยู่ ทิศที่สองก็อย่างนั้น ทิศที่สามก็อย่างนั้น ทิศที่สี่ก็
อย่างนั้น แผ่ไปด้วยใจที่สหรคตด้วยกรุณา ไม่มีเวร ไม่มีความพยาบาท
กว้างขวาง ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีจำกัด ตลอดทิศทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง ทุกแห่ง ตลอดโลกทั้งหมดอย่างทั่วถึงอยู่ ดังที่ว่ามานี้ ข้าพเจ้า
นั้นย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า น้อมไปในกรุณา. ก็แลข้าพเจ้าย่อมไม่รู้ทั่วถึงจาก
ท่านผู้กล่าวถึงกลิ่นที่เหม็น
[๒๒๙] ข้าแต่พรหม ในหมู่มนุษย์มีกลิ่นเหม็น
อะไร หมู่มนุษย์ในโลกนี้ ไม่รู้จักกลิ่น
เหม็นเหล่านี้ ธีระ ท่านโปรดกล่าว หมู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 26
สัตว์อันอะไรร้อยรัดจึงมีกลิ่นเน่าฟุ้งไป
กลายเป็นสัตว์อบาย มีพรหมโลกอันปิด
แล้ว.
ความโกรธ ความเท็จ ความหลอก-
ลวง ความประทุษร้ายมิตร ความตระหนี่
ความถือตัวจัด ความริษยา ความอยาก
ความสงสัย ความเบียดเบียนผู้อื่น ความ
โลภ ความประทุษร้าย ความมัวเมา และ
ความหลง ผู้ประกอบในกิเลสเหล่านี้
เป็นผู้ไม่ปราศจากกลิ่นเหม็นเน่า กลาย
เป็นสัตว์อบาย มีพรหมโลกอันปิดแล้ว.
[๒๓๐] ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นอยู่โดยประ-
การที่กลิ่นเหม็นเหล่านั้นอันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยีอย่างง่าย ๆไม่ได้ ข้าพเจ้า
จักบวชเป็นบรรพชิต. บัดนี้ ท่านโควินท์ผู้เจริญย่อมสำคัญเวลาอันสมควร.
มหาโควินท์ทูลลาบวช
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณุ แล้วกราบ
ทูลคำนี้กะพระเจ้าเรณุว่า ขอพระองค์โปรดทรงแสวงหาที่ปรึกษาคนอื่นผู้ที่จัก
พร่ำสอนเกี่ยวกับราชสมบัติของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ ณ บัดนี้ ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้าอยากจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ตามที่ข้าพระพุทธเจ้า
ได้ฟังคำของพรหมกล่าวถึงกลิ่นเหม็น กลิ่นเหม็นเหล่านั้นอันผู้อยู่ครองเรือน
จะพึงย่ำยีไม่ได้ โดยง่ายเลย ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าจักออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 27
[๒๓๑] ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลเชิญพระ
เจ้าเรณุ ภูมิบดี ขอพระองค์โปรดทรง
ทราบด้วยราชสมบัติ ข้าพระพุทธเจ้าไม่
ยินดีในความเป็นที่ปรึกษา.
ถ้าท่านมีความต้องการยังพร่องอยู่ เรา
จะเพิ่มให้ท่านจนเต็มที่ ใครเบียดเบียน
ท่าน เราผู้เป็นจอมทัพแห่งแผ่นดินจะ
ป้องกัน ท่านเป็นเหมือนบิดา เราเป็น
เหมือนบุตร ท่านโควินท์ อย่าทิ้งพวกเรา
ไปเลย.
ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความต้องการ
ที่ยังพร่อง ผู้เบียดเบียนข้าพระพุทธเจ้า
ก็ไม่มีแต่เพราะฟังคำของอมนุษย์ ข้าพระ
พุทธเจ้าจึงไม่ยินดีในเรือน.
อมนุษย์พวกไหน เขาได้กล่าวข้อความ
อะไรกะท่าน ซึ่งท่านได้ฟังแล้ว จึงทิ้ง
พวกเรา ทิ้งเรือนของเรา และทิ้งเรา
ทั้งหมด.
ในกาลก่อน เมื่อข้าพระพุทธเจ้า เข้า
ไปอยู่แล้ว เป็นผู้ใคร่บูชา ไฟที่เติมใบ
หญ้าคา โชติช่วงแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 28
แต่นั้น พรหมองค์เก่าแก่จากพรหม
โลกมาปรากฏกายแก่ข้าพระพุทธเจ้าแล้ว
พรหมนั้นได้แก้ปัญหาของข้าพระพุทธเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้าฟังคำนั้นแล้ว จึงไม่ยินดี
ในเรือน.
โควินท์ ท่านกล่าวคำใด เราเชื่อคำ
นั้นของท่าน ท่านฟังถ้อยคำของอมนุษย์
จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร พวกเรา
จักคล้อยตามท่าน โควินท์ขอท่านจงเป็น
ครูของพวกเรา.
มณี ไพฑูรย์ ไม่ขุ่นมัว ปราศจาก
มลทินงดงามฉันใด พวกเราฟังแล้วจัก
ประพฤติในคำพร่ำสอนของท่านโควินท์
ฉันนั้น.
[๒๓๒] ถ้าท่านโควินท์ผู้เจริญ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้
พวกเราก็จักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต และคติของท่านก็จักเป็นคติ
ของพวกเรา. ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์
นั้นแล้วได้ทูลคำนี้กะกษัตริย์ ๖ พระองค์นั้นว่า ใต้ฝ่าพระบาท บัดนี้ ขอพระ
องค์โปรดแสวงหาคนอื่นผู้ที่จักพร่ำสอนในเรื่องราชสมบัติของพวกพระองค์มา
เป็นที่ปรึกษาเถิด ข้าพระพุทธเจ้าอยากจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตตาม
คำของพรหมผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังนั้นแล กลิ่นเหม็น
เหล่านั้น อันผู้อยู่ครอบครองเรือนจะพึงย่ำยีง่าย ๆ ไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าจัก
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ครั้งนั้นแล กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 29
หลีกไปในที่ส่วนหนึ่งแล้วปรึกษากันว่า ขึ้นชื่อว่าพราหมณ์พวกนี้เป็นคนละโมบ
ในทรัพย์ อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงเกลี้ยกล่อมโควินทพราหมณ์ด้วยทรัพย์.
กษัตริย์เหล่านั้นเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์แล้วตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
สมบัติในราชสมบัติทั้ง ๗ นี้ มีอยู่เพียงพอจริง ๆ ท่านต้องการด้วยประมาณ
เท่าไร ๆ จากราชสมบัติทั้ง ๗ นั้น จงนำมาให้มีประมาณเท่านั้น. อย่าเลย
ใต้ฝ่าพระบาท สมบัติแม้นี้ของข้าพระองค์ก็มีพอแล้ว สมบัติของพวกพระองค์
ก็อย่างนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์จักสละทุกอย่างแล้วออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ตามคำของพรหมผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นที่ข้าพระองค์ได้ฟังมานั่นแล
กลิ่นเหม็นทั้งหลายเหล่านั้นอันผู้อยู่ครอบครองเรือนจะพึงย่ำยีอย่างง่าย ๆ ไม่ได้
ข้าพระพุทธเจ้าจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ครั้งนั้นแล เหล่า ๖
กษัตริย์นั้นหลีกไปในส่วนข้างหนึ่งแล้วช่วยกันคิดว่า ขึ้นชื่อว่าพราหมณ์พวกนี้
เป็นคนละโมบในสตรี อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงเกลี้ยกล่อมมหาโควินท์
พราหมณ์ด้วยพวกสตรี กษัตริย์เหล่านั้นเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์แล้วตรัส
อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ พวกสตรีในราชสมบัติทั้ง ๗ นี้มีอยู่อย่างเหลือเฟือ
จริง ๆ ท่านต้องการพวกสตรีจำนวนเท่าไร จากราชสมบัติทั้ง ๗ นั้น จะนำ
มาให้จำนวนเท่านั้น. พอละ ใต้ฝ่าพระบาท ภริยาของข้าพระองค์มี ๔๐ นาง
ผู้เสมอกัน ข้าพระองค์จักสละนางเหล่านั้นทั้งหมดออกจากเรือนบวชเป็นบรรพ
ชิตตามคำของพรหมผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นเน่าที่ข้าพระองค์ได้ฟังมานั่นแหละ กลิ่น
ที่เหม็นเน่าเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยีอย่างง่าย ๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์
จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ถ้าท่านโควินท์ผู้เจริญจักออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต พวกเราก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเหมือนกัน และอัน
ใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกเรา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 30
[๒๓๓] ถ้าพวกพระองค์ละกามทั้งหลาย ซึ่ง
เป็นแหล่งที่ปุถุชนข้องได้แล้ว จงปรารภ
ความเพียรมั่นคง เป็นผู้มีขันติเป็นกำลัง
ทั้งมีใจตั้งมั่นเถิด.
ทางนั่นเป็นทางตรง ทางนั่นเป็นทาง
ยอดเยี่ยม พระสัทธรรมอันพวกสัตบุรุษ
รักษาแล้วเพื่อการเข้าถึงพรหมโลก.
การอำลาของมหาโควินท์
[๒๓๔] ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญ โปรดจงรอ ๗ ปี โดย
ล่วงไป ๗ ปี พวกเราก็จักบวชออกจากเรือนเลิกเกี่ยวข้องกับการเรือนเหมือนกัน
และอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกเรา. ใต้ฝ่าพระบาท ๗
ปี นานเกินไป ข้าพระองค์ไม่สามารถรอพวกพระองค์ได้ตั้ง ๗ ปี ก็ใครเล่า
หนอจะรู้ชีวิตได้ ภพหน้าจำต้องไป ต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดลงไปด้วยความรู้
ต้องทำกุศล ต้องประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ก็อย่างคำ
ของพรหมผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นเน่าที่ข้าพระองค์ได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่น
คาวเหล่านั้นอันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยีอย่างง่าย ๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จักออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญโปรดจงรอ ๖ ปี ฯลฯ โปรดจงรอ
๕ ปี. โปรดจงรอ ๔ ปี. โปรดจงรอ ๓ ปี. โปรดจงรอ ๒ ปี.. โปรดจงคอย
๑ ปี โดยล่วง ๑ ปีไป พวกเราก็จักบวชออกจากเรือนเลิกยุ่งเกี่ยวกับการเรือน
และอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกเรา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 31
ใต้ฝ่าพระบาท ๑ ปี นานเกินไป ข้าพระองค์ไม่อาจคอยพวกพระองค์
๑ ปี ก็ใครเล่าจะรู้ชีวิตได้ ภพหน้าจำต้องไป ต้องใช้ความรู้ตัดสินใจให้เด็ด
ขาดลงไป ต้องทำกุศลไว้ ต้องประพฤติพรหมจรรย์. ผู้เกิดมาแล้ว ไม่ตายไม่
มี ก็อย่างคำของพรหมกล่าวอยู่เกี่ยวกับกลิ่นเหม็นเน่า ที่ข้าพระองค์ได้ฟังมา
แล้วนั่นแหละ กลิ่นเหม็นเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยีอย่างง่าย ๆ
ไม่ได้ ข้าพระองค์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญ โปรดจงรอ ๗ เดือน โดยกาล
ล่วงไป ๗ เดือน พวกเราก็จักบวชออกจากเรือนเลิกยุ่งกับการเรือนเหมือนกัน
และอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกเรา.
ใต้ฝ่าพระบาท ๗ เดือนนานเกินไป ข้าพระองค์คอยพวกพระองค์ ๗
เดือนไม่ได้ ใครเล่าจะรู้ความเป็นอยู่ได้ ภพหน้าจำต้องไป ต้องใช้ความรู้ตัด
สินใจให้เด็ดขาดลงไป ต้องสร้างกุศลไว้ ต้องประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมา
ไม่ตายไม่มี ก็อย่างคำของพรหมกล่าวอยู่เกี่ยวกับกลิ่นเหม็นเน่า ที่ข้าพระองค์
ได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่นเหม็นเน่าเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยี
อย่างง่าย ๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต .
ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญ โปรดจงคอย ๖ เดือน. โปรดจง
คอย ๕ เดือน. โปรดจงคอย ๔ เดือนโปรดจงคอย ๓ เดือน. โปรดจงคอย
๒ เดือน. โปรดจงคอย ๑ เดือน. โปรดจงคอยครึ่งเดือน โดยครึ่งเดือนล่วง
ไป พวกเราก็จักบวชออกจากเรือนเลิกยุ่งเกี่ยวกับการเรือน และคติของท่าน
จักเป็นคติของพวกเรา
ใต้ฝ่าพระบาท ครึ่งเดือนนานเกินไป ข้าพระองค์คอยพวกพระองค์
ถึงครึ่งเดือนไม่ได้ ก็ใครเล่าจะรู้ชีวิตได้ ภพหน้าจำต้องไป ต้องใช้ความรู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 32
ตัดสินใจให้เด็ดขาดลงไป ต้องสร้างกุศลไว้ ต้องพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมา
แล้วไม่ตายไม่มี ก็อย่างคำของพรหมกล่าวอยู่ เกี่ยวกับกลิ่นเหม็นทั้งหลาย ที่
ข้าพระองค์ได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่นเหม็นเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะ
พึงย่ำยีเสียง่าย ๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จักบวชเป็นบรรพชิต.
ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญโปรดจงรอ ๗ วัน กว่าพวกเราจัก
พร่ำสอนลูกและพี่น้องของตนในเรื่องราชสมบัติ เสร็จก่อนโดยล่วงไป ๗ วัน
พวกเราก็จักบวชเป็นบรรพชิตเหมือนกัน และอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้น
จักเป็นคติของพวกเรา.
ใต้ฝ่าพระบาท ๗ วัน ไม่นานดอก ข้าพระบาทจักคอยพวกพระองค์
๗ วัน. ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาพราหมณ์มหาศาล ๗ คน
และข้าบริวาร ๗๐๐ คน แล้วได้กล่าวคำนี้กับพราหมณ์มหาศาล ๗ คน และ
ข้าบริวาร ๗๐๐ คนว่า บัดนี้ขอให้ท่านจงแสวงหาอาจารย์คนอื่น ผู้ที่จักสอน
มนต์แก่พวกท่าน ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าอยากจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ก็อย่างคำของพรหมผู้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องกลิ่นเหม็น ที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วนั่น
แหละ กลิ่นเหม็นเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยีเสียง่าย ๆ ไม่ได้
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ท่านโควินท์ผู้เจริญ อย่าบวชออกจากเรือนไม่เกี่ยวข้องกับเรือนเลย
ท่านผู้เจริญ การบวชมีศักดิ์น้อย และมีลาภน้อย ความเป็นพราหมณ์มีศักดิ์
ใหญ่ มีลาภใหญ่.
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
พวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า การบวชมีศักดิ์น้อย และมีลาภน้อย ความ
เป็นพราหมณ์มีศักดิ์ใหญ่ และมีลาภใหญ่ คนอื่นใครเล่าที่มีศักดิ์มากกว่า หรือ
มีลาภมากกว่าข้าพเจ้า บัดนี้ข้าพเจ้าเหมือนราชาของพระราชา เหมือนพรหม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 33
ของพราหมณ์ทั้งหลาย เหมือนเทวดาของพวกคฤหบดีทั้งหลาย ข้าพเจ้าจักสละ
ความเป็นทั้งหมดนั้น ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็อย่างคำของพรหม
กล่าวอยู่เกี่ยวกับเรื่องกลิ่นเหม็นเน่า ที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วนั่นแหล ะ กลิ่น
เน่าเหม็นเหล่านั้นอันผู้ครองเรือนอยู่ จะพึงย่ำยีเสียง่าย ๆ ไม่ได้ ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ข้าพเจ้าจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ถ้าท่านโควินท์ผู้เจริญจักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต พวกเรา
ก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเหมือนกัน และอันใดเป็นคติของท่าน
อันนั้นจักเป็นคติของพวกเรา.
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาพวกภริยาผู้เสมอกันแล้ว
ได้กล่าวคำนี้กับพวกภริยาผู้เสมอกันว่า แนะนางผู้เจริญ ผู้ที่อยากไปสู่ตระกูล
ญาติของตนนั้น ก็จงไปสู่ตระกูลของตนเถิด หรือจะหาสามีตนอื่นก็ได้ ฉัน
อยากออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็อย่างคำของพรหมกล่าวอยู่เกี่ยวกับ
เรื่องกลิ่นเหม็นเน่า ที่ฉันได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่นเหม็นเน่าเหล่านั้นอัน
ผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ำยีเสียอย่างง่าย ๆ ไม่ได้ ฉันจักออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต. ท่านเท่านั้น เป็นญาติของพวกดิฉัน ผู้ต้องการญาติ และท่าน
เป็นภัสดา ของพวกดิฉันผู้ต้องการภัสดา ถ้าท่านโควินท์ผู้เจริญจักออกจาก
เรือน บวชเป็นบรรพชิต พวกดิฉันก็จักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต
เหมือนกัน และอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกดิฉัน.
การบวชของมหาโควินท์
ครั้งนั้นแล โดยล่วงไป ๗ วัน มหาโควินทพราหมณ์ก็โกนผมและ
หนวดนุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตแล้ว. ก็แหละ
พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ซึ่งได้รับมุรธาภิเษกแล้ว ๗ พระองค์ พราหมณ์มหาศาล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 34
๗ คน ข้าบริวาร ๗๐๐ คน พวกภริยาซึ่งมีวรรณะมีชาติเสมอกัน ๔๐ นาง
พวกกษัตริย์หลายพัน พวกพราหมณ์หลายพัน พวกคฤหบดีหลายพันและ
พวกนางสนมอีกมิใช่น้อย พากันโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด บวช
ตามมหาโควินทพราหมณ์เป็นบรรพชิตออกจากเรือน เลิกยุ่งเกี่ยวกับการเรือน
แล้ว เล่ากันว่า ท่านมหาโควินทพราหมณ์ อันบริษัทนั้นแวดล้อมแล้ว
ย่อมเที่ยวจาริกไปในคามนิคม และราชธานีทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้นท่าน
มหาโควินทพราหมณ์เข้าไปยังคามนิคมใดแล ในคามหรือนิคมนั้น เป็นเหมือน
ราชาของพวกพระราชา เป็นเหมือนพรหมของพวกพราหมณ์ เป็นเหมือน
เทวดาของพวกคฤหบดี. ก็โดยสมัยนั้น พวกมนุษย์เหล่าใดแลย่อมจาม หรือ
ลื่นล้ม พวกมนุษย์เหล่านั้น ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ขอนอบน้อมแด่ท่านมหา
โควินทพราหมณ์ ขอนอบน้อมแด่ท่านปุโรหิตของกษัตริย์ทั้ง ๗ พระองค์.
การเจริญอัปปมัญญา ๔
ท่านมหาโควินทพราหมณ์ มีใจสหรคตด้วยเมตตา ไม่มีเวร ไม่มี
ความพยาบาทแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่าง
นั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีใจสหรคตด้วยเมตตา ไม่มีเวร ไม่มีความพยาบาท
กว้างขวาง ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีจำกัด แผ่ไปตลอดทิศทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง ทุกแห่งตลอดโลกอย่างทั่วถึงอยู่ มีใจสหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ มีใจ
สหรคตด้วยมุทิตา ฯลฯ มีใจที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ และแสดงทางแห่งความ
เป็นสหายแห่งพรหมโลกแก่สาวกทั้งหลาย. ก็โดยสมัยนั้น หมู่สาวกของท่าน
มหาโควินทพราหมณ์เหล่าใดแล รู้ทั่วถึงแล้วซึ่งคำสั่งสอนทั้งหมดโดยประการ
ทั้งปวง หมู่สาวกเหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เข้าถึงสุคติพรหม
โลกแล้ว. สาวกเหล่าใด ไม่รู้ทั่วถึงคำสั่งสอนทั้งหมดอย่างทั่วถึง สาวกเหล่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 35
นั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพ
ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นนิมมานรดี
บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นดุสิต บางพวกก็เข้าถึงความเป็น
สหายแห่งหมู่เทพชั้นยามา บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นดาว-
ดึงส์ บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นจาตุมมหาราชิกาแล้ว. พวก
ท่านเหล่าใด ยังกายที่เลวกว่าเขาทั้งหมด ให้เต็มรอบแล้ว พวกท่านนั้นก็ยัง
กายแห่งคนธรรพ์ให้บริบูรณ์แล้ว. ด้วยประการฉะนั้นแล การบวชของกุลบุตร
เหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว เป็นของไม่เปล่า ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ดังนี้แล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังทรงระลึกถึงเรื่องนั้นได้หรือ ปัญจสิขะทูลถาม. ยัง
ระลึกได้อยู่ ปัญจสิขะผู้เจริญ
ว่าด้วยอัฏฐังคิกมรรค
สมัยนั้น เราได้เป็นมหาโควินทพราหมณ์ เราแสดงทางนั้นเพื่อความ
เป็นสหายแห่งพรหมโลกแก่หมู่สาวก ก็แต่ว่า ปัญจสิขะ พรหมจรรย์นั้นแล
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายก็เปล่า เพื่อคลายกำหนัดก็เปล่า เพื่อดับโดยไม่
เหลือก็เปล่า เพื่อเข้าไปสงบก็เปล่า เพื่อรู้ยิ่งก็เปล่า เพื่อตรัสรู้ก็เปล่า เพื่อ
พระนิพพานก็เปล่า เพียงเพื่อการเกิดขึ้นในพรหมโลกเท่านั้นเอง ดูก่อนปัญจสิขะ
ก็พรหมจรรย์ของเรานี้แล จึงจะเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ
พระนิพพาน. ก็แลพรหมจรรย์นั้นเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ
ความคลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อพระนิพพานเป็นไฉน ทางประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้แล อัน
ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ พูดจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 36
พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ก็นี้แล คือพรหมจรรย์นั้น ที่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ
เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.
ก็หมู่สาวกของเราเหล่าใดแล ย่อมรู้ทั่วถึงคำสั่งสอนเจนจบ หมู่สาวก
เหล่านั้น เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ทำเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ให้แจ่มแจ้งแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันเทียว. หมู่
สาวกเหล่าใดไม่รู้ทั่วถึงคำสั่งสอนหมดทุกแง่ทุกมุม หมู่สาวกเหล่านั้น เพราะ
สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่างสิ้นไป ย่อมเป็นโอปปาติกะ เป็นผู้ปรินิพพานในโลก
นั้น เป็นผู้ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. หมู่สาวกเหล่าใดยังไม่รู้ทั่วถึงคำ
สั่งสอนหมดทุกแง่ทุกมุม บางพวก เพราะสังโยชน์ ๓ อย่างสิ้นไป เพราะ
ความที่ราคะ โทสะ และ โมหะเบาบางลง ย่อมเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้
ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์. หมู่สาวกเหล่าใด ยังไม่รู้ทั่วถึง
คำสั่งสอนหมดทุกแง่ทุกมุม บางพวกเพราะสังโยชน์ ๓ อย่างสิ้นไป ย่อมเป็น
โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา แน่นอนมีความตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้ การบวชของกุลบุตรเหล่านี้ ทั้งหมดทีเดียว จึง
เป็นการบวชที่ไม่สูญเปล่า ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว. ปัญจสิขะ บุตรคนธรรพ์
มีใจเป็นของตน ชื่นชม ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างยิ่ง อนุโมทนา
แล้วถวายอภิวาทกระทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็หายไปในที่นั้น
นั่นเทียว ดังนี้แล.
จบ มหาโควินทสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 37
อรรถกถามหาโควินทสูตร
มหาโควินทสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
ต่อไปนี้ เป็นคำพรรณนาบทที่ยังไม่ตื้นในมหาโควินทสูตรนั้น . คำว่า
ปัญจสิขะ ความว่า มี ๕ จุก คือมี ๕ แหยม. เล่ากันมาว่า ปัญจสิขะ
บุตรคนธรรพ์นั้น ในเวลาทำกรรมที่เป็นบุญในถิ่นมนุษย์ยังเป็นหนุ่ม ใน
เวลาเป็นเด็กไว้จุก ๕ จุก เป็นหัวหน้าเลี้ยงโค พาพวกเด็กแม้เหล่าอื่นทำศาลา
ในที่อันเป็นทางสี่แยก ขุดสระบัว ผูกสะพาน ปราบทางขรุขระให้เรียบ ขนไม้
มาทำเพลาและไม้สอดเพลาของยานทั้งหลาย เที่ยวทำบุญแบบนี้ดังที่กล่าวมา
แล้ว ก็ตายลงทั้งที่ยังเป็นหนุ่ม. ร่างของเขานั้นเป็นร่างที่น่ารัก น่าใคร่
น่าชอบใจ. ครั้นเขาตายแล้ว ก็ไปเกิดในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา มี
อายุ ๙ ล้านปี. ร่างของเขาคล้ายกับกองทองมีขนาดเท่าสามคาวุต. เขาประดับ
เครื่องประดับปริมาณ ๖๐ เล่มเกวียน พรมของหอมประมาณ ๙ หม้อ
ทรงผ้าทิพย์สีแดง ประดับดอกกรรณิการ์ทองแดง มีแหยม ๕ แหยมห้อยอยู่
ที่เบื้องหลัง เที่ยวไปทำนองเด็ก ๕ จุกนั่นแหละ. พวกเทพจึงทราบทั่วกัน ว่า
ปัญจสิขะ ดังนี้แล.
บทว่า เมื่อราตรีก้าวล่วงไปแล้ว คือราตรีก้าวล่วงไปแล้ว คือ
สิ้นไปแล้ว. หมายความว่าล่วงไปแล้วส่วนหนึ่ง. คำว่า มีรัศมีงดงามยิ่ง
คือมีรัศมี น่ารัก น่าใคร่ น่าชอบใจอย่างยิ่ง. ก็แม้โดยปกติเทพบุตรนั้นก็มีรัศมี
(ผิวพรรณ) น่าใคร่อยู่แล้ว แต่เมื่อเป็นผู้แต่งมาแล้วก็ยิ่งเป็นผู้มีผิวพรรณ
น่าใคร่ยิ่งขึ้นอีก. คำว่า อย่างทั่วถึง คือโดยรอบไม่มีเหลือ. เกวลศัพท์ใน
ที่นี้แปลว่าไม่เหลือเหมือนในคำนี้ว่า บริบูรณ์อย่างสิ้นเชิง. กัปปศัพท์แปลว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 38
โดยรอบเหมือนในคำนี้ว่า ยังพระเชตวัน โดยรอบอย่างสิ้นเชิง. คำว่า ส่อง
ให้สว่าง คือแผ่ไปด้วยแสง. หมายความว่า ทำให้เป็นแสงลำเดียว ให้เป็น
ประทีปดวงเดียว ดังพระจันทร์และดังพระอาทิตย์.
คำว่า ที่สุธรรมาสภา คือที่สภาที่เกิดเพราะผลแห่งไม้กรรณิการ์ซึ่ง
พอ ๆ กับ แก้วของหญิงชื่อสุธรรมา. ดังได้ยินมาว่า พื้นของสุธรรมาสภานั้น
สำเร็จด้วยแก้วผลึก ลิ่มสลักเอาแก้วมณีมาทำ เสาสำเร็จด้วยทองคำ ของเชื่อม
เสา และเต้าทำจากเงิน รูปสัตว์ร้ายเอาแก้วประพาฬมาทำ จันทันเพดานและ
ขอบหน้ามุขเอาแก้ว ๗ชนิดมาสร้าง กระเบื้องใช้ก้อนอิฐสีแก้วอินทนิล หลังคา
เอาทองคำมาทำ โดมทำด้วยเงิน โดยส่วนยาวและส่วนกว้าง ข้างละ ๓๐๐ โยชน์
โดยบริเวณรอบใน ๙๐๐ โยชน์ โดยส่วนสูง ๕๐๐ โยชน์. สุธรรมาสภาเห็น
ปานนี้.
ในบทเป็นต้นว่า ท้าวธตรฐ พึงทราบว่า ท้าวธตรฐเป็นราซา
แห่งคนธรรพ์ อันพวกเทวดานักฟ้อนแสนโกฏิแวดล้อมแล้วให้ถือเอาแผ่นกระ-
ดานใหญ่ที่ทำด้วยทองคำแสนโกฏิ และหอกทองคำแล้วหันพระพักตร์ไปทิศ
ตะวันตก เอาพวกเทวดาในเทวโลกทั้งสองไว้ข้างหน้าแล้วประทับนั่งทางทิศ
ตะวันออก.
ท้าววิรุฬหกเป็นราชาแห่งกุมภัณฑ์ อันเหล่าเทพพวกกุมภัณฑ์แสน.
โกฏิแวดล้อมแล้ว ให้ถือเอาแผ่นกระดานใหญ่ที่ทำด้วยเงินแสนโกฏิ และหอก
ทองคำแล้วหันพระพักตร์ไปทิศเหนือ เอาพวกเทวดาในเทวโลกทั้งสองไว้ข้าง
หน้าแล้วประทับนั่งทางทิศใต้.
ท้าววิรูปักษ์เป็นราชาแห่งนาค มีพวกนาคแสนโกฏิแวดล้อมให้ถือเอา
กระดานแผ่นใหญ่สำเร็จด้วยมณีแสนโกฏิ และหอกทองคำแล้วหันพระพักตร์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 39
ไปทางทิศตะวันออก เอาพวกเทวดาในเทวโลกทั้งสองไว้ข้างหน้าแล้วประทับ
นั่งทางทิศตะวันตก.
ท้าวเวสวัณเป็นราชาแห่งยักษ์ มีพวกยักษ์แสนโกฏิแวดล้อมให้ถือ
เอากระดานแผ่นใหญ่ที่ทำด้วยแก้วประพาฬแสนโกฏิ และหอกทองคำหันพระ
พักตร์ไปทางทิศใต้ เอาพวกเทวดาในเทวโลกทั้งสองไว้ข้างหน้าแล้วประทับนั่ง
ทางทิศเหนือ.
บทว่า และข้างหลังเป็นอาสนะของพวกเรา คือ โอกาส
สำหรับนั่งของพวกเรา ย่อมถึงทางด้านหลังของท่านทั้ง ๔ องค์นั้น ต่อจาก
นั้น พวกเราจะเข้าก็ไม่ได้ หรือจะดูก็ไม่ได้
สำหรับในกรณีนี้ ท่านกล่าวเหตุการประชุมกัน ๔ อย่างไว้ก่อน
ทีเดียว. ในเหตุทั้ง ๔ อย่างนั้น การประมวลลงในวันเข้าพรรษาท่านขยายไว้
ให้กว้างขวางแล้ว. จริงอยู่ เหตุในวันเข้าพรรษาเป็นฉันใด ภิกษุทั้งหลาย
ประชุมกันในวันเพ็ญในวันมหาปวารณาปรึกษากันว่า วันนี้พวกเราจักไปไหน
แล้วปวารณาในสำนักใคร ก็ฉะนั้น ในที่ประชุมนั้นท้าวสักกะ จอมทวยเทพ
โดยมากจะทรงปวารณาในปิยังคุทีปพระมหาวิหารนั่นเอง. พวกเทพที่เหลือ
ก็ถือเอาดอกไม้ทิพย์เช่นดอกปาริฉัตรเป็นต้น และผงจันทน์ทิพย์แล้วไปสู่ที่เป็น
ที่ชอบใจของตน ๆ แล้ว ปวารณากัน. แบบนี้ชื่อว่า ย่อมประชุมกันเพื่อ
ประโยชน์แก่การสงเคราะห์ปวารณา.
ก็ในเทวโลกมีเถาชื่ออาสาวดี พวกเทวดาคิดว่าเถานั้นจักออกดอก
จึงไปสู่ที่บำรุงตลอดพันปี เมื่อต้นปาริฉัตรกำลังออกดอกพวกเทวดาไปสู่ที่
บำรุงตลอดหนึ่งปี. เทวดาเหล่านั้นพากันดีใจ ตั้งแต่ต้นไม้นั้นมีใบเหลืองเป็น
ต้นไป. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด
ไม้ปาริฉัตร คือไม้ทองหลาง ของพวกเทพชาวดาวดึงส์ มีใบเหลือง ภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 40
ทั้งหลาย ในสมัยนั้น พวกเทพชาวดาวดึงส์ก็พากันดีใจว่า บัดนี้ ไม้ปาริฉัตร
คือไม้ทองหลาง มีใบเหลืองแล ไม่นานหรอกจักสลัดใบเหลืองทิ้ง ภิกษุทั้ง
หลาย ในสมัยใด ไม้ปาริฉัตร คือไม้ทองหลาง ของพวกเทพชาวดาวดึงส์
สลัดใบเหลืองทิ้งแล้ว เริ่มเป็นตุ่มดอก เริ่มผลิดอก เป็นดอกดม เป็นดอก
แย้ม ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น พวกเทพชาวดาวดึงส์ ก็พากันดีใจว่า บัดนี้
ไม้ปาริฉัตร คือไม้ทองหลาง เป็นดอกแย้ม ไม่นานหรอกจักบานสะพรั่งหมด
ก็แล ภิกษุทั้งหลาย รัศมีครอบคลุมไป ๕๐ โยชน์โดยรอบต้นปาริฉัตร คือ
ไม้ทองหลางที่บานสะพรั่ง กลิ่นพัดไปตามลม ๑๐๐ โยชน์. นี้เป็นอานุภาพ
แห่งต้นปาริฉัตร คือไม้ทองหลาง.๑
เมื่อไม้ปาริฉัตรบานแล้ว กิจด้วยการพาดพะอง กิจด้วยการเอาขอ
เกี่ยวโน้มมา หรือกิจด้วยการเอาผอบไปรับเพื่อนำเอาดอกไม้มาไม่มี. ลมที่
ทำหน้าที่เด็ดตั้งขึ้นแล้วก็เด็ดดอกไม้จากขั้ว ลมที่ทำหน้าที่รับก็รับไว้ ลมที่ทำ
หน้าที่หอบส่งก็ส่งเข้าไปสู่สุธรรมาเทวสภา. ลมที่ทำหน้าที่กวาดก็กวาดเอาดอก
ไม้เก่าทิ้ง. ลมที่ทำหน้าที่ปูลาดก็จัดแจงปูลาดใบฝักและเกสร. ที่ตรงกลางมี
ธรรมาสน์ มีบัลลังก์แก้วสูงขนาดโยชน์ มีเสวตฉัตรสูงสามโยชน์กั้นไว้ข้างบน
ถัดจากบัลลังก์นั้น ก็ปูอาสนะท้าวสักกเทวราช. ถัดนั้นมาก็เป็นอาสนะของเทพ
บุตรอีกสามสิบสามองค์. ถัดนั้นมาก็เป็นอาสนะของเทพบุตรผู้มีศักดิ์ใหญ่ ๆ
เหล่าอื่น. สำหรับ เทพเหล่าอื่นก็ใช้ฝักดอกไม้เป็นอาสนะ. พวกเทวดาเข้าสู่
เทวสภาเเล้วนั่งอยู่. เกลียวละอองดอกไม้ฟุ้งไปจรดฝักเบื้องบนแล้วตกมาทำให้
อัตภาพประมาณสามคาวุตของเทวดาทั้งหลายเหมือนชโลมด้วยน้ำครั่ง. พวก
เทวดาเหล่านั้นเล่นกีฬานั้นสี่เดือนจึงสิ้นสุดลง. พวกเทวดาย่อมประชุมกัน เพื่อ
ประโยชน์แก่การเสวย ปาริฉัตรตกกีฬาด้วยประการฉะนี้.
๑. อ. สตฺตก. ๑๘๘.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 41
ก็แหละ ในเทวโลก เทวดาโฆษณาการฟังธรรมใหญ่เดือนละ ๘ วัน
ในวันทั้ง ๘ นั้น สนังกุมารมหาพรหม ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ภิกษุธรรมกถึก
หรือไม่อย่างนั้นก็เทพบุตรธรรมกถึกองค์ใดองค์หนึ่ง กล่าวธรรมกถาในสุธรรมา
เทวสภา. ในวัน ๘ ค่ำ ของปักษ์ พวกอำมาตย์ของมหาราชทั้ง ๔ องค์ ใน
วัน ๑๔ ค่ำ โอรสทั้งหลาย ในวัน ๑๕ ค่ำ มหาราชทั้ง ๔ องค์ เสด็จ
ออกไป ทรงถือแผ่นกระดาษทองและชาติหิงคุลก์ ท่องเที่ยวไปตามคามนิคม
และราชธานีทั้งหลาย. พระองค์ทรงบันทึกไว้ด้วยชาติหิงคุลก์บนแผ่นทองว่า
หญิงหรือชายชื่อโน้นนั้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงธรรมเป็นสรณะ ถึง
พระสงฆ์เป็นสรณะ. รักษาศีล ๕กระทำอุโบสถ ๘ ทุกเดือน บำเพ็ญการบำรุง
มารดา การบำรุงบิดา กระทำการบูชาด้วยดอกอุบล ๑๐๐ กำ บูชาด้วย แจกัน
ดอกไม้ในที่โน้น ตามประทีป ๑,๐๐๐ ดวง ทำการฟังธรรมไม่เป็นเวลา
สร้างฉัตรเวที มุทธิเวที กุจฉิเวที บัลลังก์สิงห์ บันไดสิงห์ บำเพ็ญสุจริต ๓
ประการ ประพฤติยึดมั่นกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ แล้วนำมามอบให้ที่มือ
ของปัญจสิขะ. ปัญจสิขะก็ให้ที่มือของมาตลี. สารถีมาตลีก็ถวายแด่ท้าวสักก
เทวราช เมื่อคนทำบุญมีไม่มาก สมุดบัญชีก็น้อย. พอพวกเทวดาได้เห็น
บัญชีนั้น เท่านั้น ก็เสียใจว่า เพื่อนเอ๋ย มหาชนประมาทจริงหนอ อบาย ๔
จักเต็ม เทวโลก ๖ จักว่างเปล่า. แต่ถ้าบัญชีหนา เมื่อพวกเทวดาได้เห็นมัน
เท่านั้น ก็พากันดีใจว่า โอ เพื่อเอ๋ย มหาชนมิได้ประมาท อบาย ๔
จักว่าง เทวโลก ๖ จักเต็ม พวกเราจักได้ห้อมล้อมผู้มีบุญใหญ่ที่ได้ทำบุญ
ไว้ในพระพุทธศาสนาแล้วมาเล่นนักษัตรด้วยกัน. ท้าวสักกเทวราชทรงถือบัญชี
นั้นแล้วก็ทรงสั่งสอน. โดยแบบปกติ เมื่อท้าวสักกเทวราชนั้นกำลังตรัส
พระสุรเสียงได้ยินไป ๑๒ โยชน์. เมื่อตรัสด้วยพระสุรเสียงดังพระสุรเสียงก็กลบ
เทวนครหมดทั้งหมื่นโยชน์ตั้งอยู่. อย่างที่กล่าวมานี้ เทวดาทั้งหลายย่อมประชุม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 42
กันเพื่อประโยชน์ฟังธรรม. ก็ในที่นี้ พึงทราบว่า พวกเทวดาประชุมกัน
เพื่อประโยชน์ปวารณาสงเคราะห์.
คำว่า นมัสการพระตถาคตอยู่ หมายความว่า นมัสการอยู่ซึ่ง
พระตถาคตด้วยเหตุ ๙ อย่าง. ใจความของบาทคาถาว่า และความที่พระ-
ธรรมเป็นธรรมดี เป็นต้น คือความที่พระธรรม ซึ่งต่างด้วยธรรมที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น เป็นธรรมที่ดี และการปฏิบัติดีที่ต่างด้วยความ
เป็นผู้ปฏิบัติตรงเป็นต้น ของพระสงฆ์.
คำว่า ตามความเป็นจริง คือตามที่เป็นจริง ตามภาวะของตน.
วัณณะ หมายเอาพระคุณ. คำว่า ได้กล่าวขึ้นแล้ว หมายความว่า พูดแล้ว.
คำว่า ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก คือ ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติอย่างนี้ คือ
แม้เมื่อทรงรวบรวมธรรม ๘ ประการ แทบพระบาทของพระทีปังกร
แล้วบำเพ็ญพระอภินิหาร ชื่อว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. แม้เมื่อ
ทรงบำเพ็ญพระบารมี ๑๐ ทัศเหล่านี้ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี
ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี
อุเบกขาบารมี เป็นเวลา ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
แก่ชนมาก. ในคราวเป็นดาบสผู้ถือมั่นขันติ (ขันติวาที) ในคราวเป็นจูฬธัมม-
บาลกุมาร ในคราวเป็นพญาช้างฉัททันต์ ในคราวเป็นพญานาคภูริทัตต์
จัมไปยยะและสังขบาล และในคราวเป็นมหากปิ แม้ทรงกระทำงานที่ทำได้ยาก
เช่นนั้น ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. แม้เมื่อทรงดำรงอัตภาพเป็น
พระเวสสันดรทรงให้ทานใหญ่ชนิดละร้อยรวม ๗ ชนิด ทำให้แผ่นดินไหวใน
๗ สถานแล้วทรงยึดเอายอดพระบารมี ก็ชื่อว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชน
มาก แม้ในอัตภาพถัดจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดรนั้น เสด็จดำรงอยู่ในดุสิต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 43
บุรีตลอดพระชนมายุ ก็ชื่อว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. พระองค์
ทรงเห็นบุพนิมิต ๕ อย่างในดุสิตบุรีนั้น ผู้อันพวกเทวดาในหมื่น
จักรวาลอ้อนวอนแล้ว ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการแล้ว ประทาน
ปฏิญาณเพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์พวกเทวดา แล้วทรงจุติจากดุสิตบุรี
แม้ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์มารดา ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่
มาก. ทรงอยู่ในพระครรภ์พระมารดาตลอดสิบเดือนแล้วประสูติจากพระครรภ์
พระมารดาที่ป่าลุมพินีก็ดี ทรงครองเรือนสิ้นยี่สิบเก้าพรรษา เสด็จออก
มหาภิเนษกรมณ์ ทรงผนวชอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมาก็ดี ทรงทำพระองค์ให้
ลำบากด้วยความเพียรที่ยิ่งใหญ่ ตั้งหกปีแล้วเสด็จขึ้นสู่โพธิบัลลังก์แล้วทรงแทง
ตลอดพระสัพพัญญุตญานก็ดี ทรงยังพระอิริยาบถให้เป็นไปที่ควงไม้โพธิ์ตลอด
เจ็ดสัปดาห์ก็ดี เสด็จอาศัยป่าอิสิปตนะแล้วทรงหมุนล้อธรรมอันยอดเยี่ยมก็ดี
ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ก็ดี เสด็จลงจากเทวโลกก็ดี ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
เสด็จดำรงอยู่ตั้งสี่สิบห้าพรรษาก็ดี ทรงปลงพระชนมายุสังขารก็ดี เสด็จ
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุระหว่างคู่ไม้สาละก็ดี ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก. พึงทราบว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก
ตลอดเวลาที่พระธาตุของพระองค์แม้เท่าเม็ดผักกาดยังธำรงอยู่. บทที่เหลือก็
เป็นคำใช้แทนบทว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก นี้ทั้งนั้น
ในบทเหล่านั้น บทหลัง เป็นไขความของบทก่อน
ในหลายบทว่า ในส่วนอดีต เรายังมองไม่เห็นเลย และใน
บัดนี้ก็มองไม่เห็น นี้หมายความว่า แม้ในอดีต เราก็มองไม่เห็น ในอนาคต
ก็มองไม่เห็นคนอื่นนอกจากพระพุทธเจ้า ถึงในบัดนี้ก็มองไม่เห็นเพราะไม่มี
ศาสดาอื่นเลย นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น . ถึงแม้ในอรรถกถา
ท่านก็วิจารณ์ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งที่ล่วงแล้ว และที่ยังไม่มาถึง ต่างก็
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 44
เหมือนพระศาสดาของพวกเราทั้งนั้น แล้วท้าวสักกะตรัสทำไม แล้วกล่าวว่า ใน
บัดนี้ พระศาสดาทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก พ้นพระศาสดาของพวก
เราแล้ว ก็ไม่มีใครอื่น เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะ จึงตรัสว่า เรามองไม่เห็น.
ก็ในบทนี้ฉันใด แม้ในบทเหล่าอื่นจากนี้ ก็พึงทราบว่า มีใจความอย่างเดียว
กันนี้ ฉันนั้น.
คำทั้งหลายมีคำว่า ธรรมอันพระองค์ตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น และ
คำทั้งหลายเป็นต้นว่านี้เป็นกุศล มีใจความที่ได้กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
สองบทว่า น้ำแห่งแม่คงคา กับน้ำแห่งยมุนา ความว่า น้ำในที่
รวมแห่งแม่น้ำคงคากับแม่น้ำยมุนา ย่อมเข้ากัน กลมกลืนกันได้ทั้งโดยสี ทั้งโดย
กลิ่นทั้งโดยรส คือย่อมเป็นเช่นเดียวกัน นั่นแหละ เหมือนทองที่หักตรงกลาง
ไม่ใช่แตกต่างกัน เหมือนเวลาที่คลุกเคล้าเข้ากันกับน้ำของมหาสมุทร. ปฏิปทา
เพื่อนิพพานที่หมดจด จึงหมดจด. จริงอยู่ บุคคลทำการงานมีเวชชกรรมเป็นต้น
ในเวลาเป็นหนุ่มเที่ยวไปในอโคจร ก็ไม่อาจเห็นนิพพานในเวลาเป็นคนแก่ได้
ข้อปฏิบัติทที่ให้ถึงพระนิพพานควรจะเป็นข้อปฏิบัติที่หมดจดจริงๆเปรียบเหมือน
อากาศ จริงอย่างนั้น ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้จะไปสู่พระนิพพาน ควรจะเปรียบ
ด้วยอากาศ ไม่ข้องไม่ติดในตระกูลหรือในหมู่คณะ เหมือนทางดำเนิน ซึ่ง
เป็นที่ต้องการปรารถนาในอากาศ ของพระจันทร์และพระอาทิตย์ที่กำลังไปสู่
อากาศ อันบริสุทธิ์ไม่มีอะไรติดขัด ฉะนั้น. ก็แหละข้อปฏิบัตินี้นั้น คือ
เช่นนั้นแหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ตรัส คือทรงแสดงไว้แล้ว.
เพราะเหตุนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสว่า ทั้งพระนิพพานทั้งข้อปฏิบัติย่อมเข้ากันได้
ดังนี้ .
บทว่า แห่งข้อปฏิบัติทั้งหลาย คือ ของผู้ตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติ.
บทว่า ผู้มี ( การอยู่) ที่อยู่แล้ว คือ ผู้มีการอยู่อันอยู่เสร็จแล้ว บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 45
ผู้มีคนเหล่านี้เป็นสหายอันตนได้แล้ว ความว่า ชื่อว่าสหาย เพราะ
ไปด้วยกันกับคนเหล่านั้นในที่นั้น ๆ. ก็คำว่า ผู้ไม่มีใครเป็นที่สอง ไม่มี
สหาย ไม่มีใครเปรียบ นี้ ท้าวสักกะตรัส ด้วยอรรถว่าไม่มีใครเหมือน
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. คำว่า ไม่ทรงติดอยู่ คือ หมายความว่า
แม้ในท่ามกลางคนเหล่านี้ ก็ทรงอยู่ด้วยผลสมาบัติ คือด้วยพระทัยแล้ว ไม่
ทรงติดคนเหล่านี้ ทรงตามประกอบความเป็นผู้มีความเป็นผู้เดียวเป็นที่มายินดี
อยู่.
หลายบทว่า ก็ลาภของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นสำเร็จ
ยิ่งแล้วแล คือ ลาภอันยิ่งใหญ่เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อไร เกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์ตั้งแต่ทรงบรรลุอภิสัมโพธิ
แล้วทรงล่วงเจ็ดสัปดาห์ เสด็จหมุนล้อธรรมที่อิสิปตนะทรงทำการฝึกเทพและ
มนุษย์โดยลำดับ ทรงให้สามชฏิลบวช เสด็จกรุงราชคฤห์และทรงฝึกพระเจ้า
พิมพิสาร อย่างที่ท่านหมายเอากล่าวไว้ว่า ก็แลโดยสมัยนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ทรงเป็นผู้อันชนทำสักการะแล้ว ทำความเคารพแล้ว นับถือแล้ว
บูชาแล้ว นอบน้อมแล้ว ทรงเป็นผู้มีลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
บริขารคือยาอันเป็นปัจจัยสำหรับคนไข้๑ ลาภสักการะเกิดขึ้นมาเหมือนห้วงน้ำ
ใหญ่ท่วมท้นอยู่ เพราะผลบุญอันหนาแน่นในสื่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป.
เล่ากันมาว่า ในกรุงราชคฤห์ กรุงสาวัตถี กรุงสาเกต กรุงโกสัมพี
กรุงพาราณสี ชื่อว่าปฏิปาฏิภัต (ภัตที่ให้ตามลำดับ) เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มี
พระภาคเจ้า. ในกรุงเหล่านั้น คนหนึ่ง จดบัญชีไว้ว่า ข้าพเจ้าจักสละทรัพย์
ร้อยหนึ่งถวายทาน แล้วก็ติดไว้ที่ประตูวิหาร คนอื่น ข้าพเจ้าสองร้อย
คนหนึ่ง ข้าพเจ้าห้าร้อย คนอื่น ข้าพเจ้าพันหนึ่ง คนอื่น ข้าพเจ้าสอง
๑. ส. นิทาน. ๑๓๓.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 46
พัน คนอื่น ข้าพเจ้าห้า สิบ ยี่สิบ ห้าสิบ คนอื่น ข้าพเจ้าแสนหนึ่ง.
คนอื่น ข้าพเจ้าจักสละทรัพย์สองแสนถวายทาน เขียนดังนี้แล้ว ก็ติดไว้ที่
ประตูวิหาร. มหาชนคิดว่า ได้โอกาสข้าพเจ้าจักถวาย แล้วก็บรรทุกเต็ม
เกวียน ติดตามภิกษุที่แม้กำลังเที่ยวไปสู่ชนบทที่เดียว. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกชาวชนบท เอาเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง
ของขบเคี้ยวบ้าง เป็นอันมากใส่ในเกวียนแล้วก็ติดตามปฤษฎางค์ของพระผู้มี
พระภาคเจ้าด้วยคิดว่า เราจักทำภัตในที่ที่เราจักได้ลำดับ๑ แม้เรื่องอื่น ๆ
เป็นอันมากทั้งในขันธกะทั้งในพระวินัย ดังที่ว่ามานี้ ก็พึงทราบไว้. ก็แหละ
ลาภนั่นถึงยอดแล้วในอสทิสทาน.
เขาเล่ากันมาว่า สมัยหนึ่ง ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริก
ไปตามชนบทแล้วทรงมาถึงพระเชตวัน พระราชาทรงนิมนต์มาถวายทาน. ใน
วันที่สองพวกชาวกรุงถวาย. พระราชาทรงถวายยิ่งกว่าทานของพวกชาวกรุง
เหล่านั้นอีก พวกชาวกรุงก็ถวายยิ่งกว่าทานของพระองค์ เป็นดังนี้ ครั้นเมื่อ
ล่วงไปหลายวันอย่างนั้น พระราชาทรงพระดำริว่าพวกชาวกรุงเหล่านั้น พากัน
ทำยิ่งขึ้น ๆ ทุก ๆ วัน จักมีคำครหาว่า เออ พวกชาวกรุงพิชิตพระราชาผู้ใหญ่
ในแผ่นดินได้. ทีนั้นพระนางมัลลิกาได้กราบทูลอุบายแด่พระองค์.
พระองค์ รับสั่งให้เอากระดานไม้สาละชนิดดีมาสร้างปะรำ แล้วให้เอา
ดอกอุบลเขียวมามุง รับ สั่งให้ปูที่นั่ง ๕๐๐ ที่ ทางด้านหลังที่นั่งยืนช้างไว้ ๕๐๐
เชือก ให้ช้างแต่ละเชือก กั้นเศวตฉัตรให้ภิกษุแต่ละรูป. ระหว่างที่นั่งแต่ละ
คู่ ๆ ธิดากษัตริย์แต่ละนาง ๆ ตกแต่งด้วยเครื่องสำอางพร้อมสรรพบดเครื่อง
หอมที่เกิดจากไม้สี่ชนิด. ธิดากษัตริย์นางอื่นก็ใส่เครื่องหอมที่บดเสร็จแล้ว ๆ
ในเรือชล่าที่สำหรับใส่ของหอมในที่ตรงกลาง. ธิดากษัตริย์อีกนางหนึ่งก็เอากำ
๑. วิ. ม. เภสชฺชกฺขนฺธก ๗๑ ฯ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 47
อุบลเขียวโบกกระพือเครื่องหอมนั้น. ด้วยประการฉะนี้ภิกษุแต่ละรูปๆ ก็มีธิดา
กษัตริย์สามนาง ๆ เป็นบริวาร ผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่แต่งเครื่องสำอางพร้อม
สรรพถือใบตาลพัด นางอื่นเอาที่กรองน้ำ หญิงอื่นนำเอาน้ำจากบาตร. สำหรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้า มีของสี่อย่างตีราคาไม่ได้. ของสี่อย่างที่ตีราคาไม่ได้เหล่า
นี้คือ ที่เช็ดพระบาท ที่รองของ กระดานพิง มณีเชิงฉัตร. ไทยธรรมสำหรับ
ภิกษุใหม่ในสงฆ์มีค่าแสนหนึ่ง. ก็แหละในการถวายทานนั้น พระองคุลิมาลเถระ
ได้เป็นภิกษุใหม่ในสงฆ์ ใกล้ที่นั่งของท่าน ช้างที่นำมา ๆ แล้ว ไม่สามารถ
เข้าใกล้ท่านได้. ลำดับนั้น เจ้าพนักงานกราบทูลพระราชา พระราชาตรัสสั่งว่า
พวกท่านจงนำเอาช้างเชือกอื่นมา ช้างที่นำมาแล้ว นำมาแล้วก็ไม่สามารถ
เลย. พระราชาตรัสว่า ไม่มีช้างเชือกอื่น. เจ้าพนักงานกราบทูลว่า ยังมี
ช้างดุอยู่ แต่นำมาไม่ได้. พระราชาทูลถามพระตถาคตเจ้าว่า พระเจ้าข้า.
รูปใดเป็นภิกษุใหม่ในสงฆ์ พระตถาคตเจ้าตรัสว่า องคุลิมาล มหาบพิตร
เพราะฉะนั้น ขอให้เจ้าพนักงานนำเอาช้างดุมาเทียบไว้เถิด มหาบพิตร พวก
เจ้าพนักงานแต่งช้างดุแล้วก็นำมา. ด้วยเดชของพระเถระ ช้างเชือกนั้น แม้
สักว่าพ่นลมจมูก ก็ทำไม่ได้. พระราชาได้ทรงถวายทานติดต่อกันเจ็ดวันด้วย
ประการฉะนี้. ในวันที่ ๗ พระราชาทรงถวายบังคมแล้วกราบทูลพระทศพลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด.
ก็แหละในบริษัทนั้น มีอำมาตย์ ๒ คน คือ กาฬะ และ ชุณหะ. กาฬะ
คิดว่า สมบัติของราชตระกูลจะฉิบหาย พวกคนมีประมาณเท่านี้ จักทำอะไร
กินแล้วไปวัดแล้วก็จักนอนเท่านั้นเอง แต่ราชบุรุษคนเดียวได้สิ่งนี้ จะไม่
กระทำหรือ โอ้! สมบัติของในหลวงจะฉิบหาย. ชุณหะคิดว่า ขึ้นชื่อว่า
ความเป็นพระราชานี้ยิ่งใหญ่ คนอื่นใดเล่าจักทำสิ่งนี้ได้ ขึ้นชื่อว่าพระราชา
คือผู้ที่แม้ดำรงอยู่ในความเป็นพระราชาแล้วจะทรงให้ทานเห็นปานนั้นไม่ได้หรือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 48
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของบริษัท ก็ทรงทราบอัธยาศัยของ
คนทั้งสองนั้น จึงทรงพระดำริว่า ถ้าเราจะแสดงธรรมตามอัธยาศัยของชุณหะ
ในวันนี้ ศีรษะของกาฬะจักแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง ก็เราแลบำเพ็ญบารมีก็ด้วยความ
สงสารสัตว์ แม้ในวันอื่นเมื่อเราแสดงธรรม ชุณหะก็คงจักแทงตลอดมรรคผล
สำหรับคราวนี้เราจักเห็นแก่กาฬะ แล้วได้ตรัสคาถาสี่บาทเท่านั้นแก่พระราชาว่า
พวกคนตระหนี่ จะไปเทวโลกไม่ได้
พวกคนโง่ จะไม่สรรเสริญทานเลย แต่
นักปราชญ์ พลอยยินดีตามทาน เพราะเหตุ
นั้นเอง เขาจึงมีความสุขในโลกหน้า.
พระราชาไม่ทรงพอพระราชหฤทัยว่า เราถวายทานเสียใหญ่โต แต่
พระศาสดา ทรงแสดงธรรมแก่เรานิดเดียวแท้ ๆ เราไม่สามารถจับพระหฤทัย
ของพระทศพลได้กระมัง เมื่อเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว ท้าวเธอก็
เสด็จไปวัด ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็ทูลถามว่า พระเจ้าข้า
หม่อมฉันถวายทานเสียใหญ่โต แต่พระองค์ทรงทำอนุโมทนา แก่หม่อมฉันไม่
ใหญ่ หม่อมฉันมีผิดอะไรหรือพระเจ้าข้า. มหาบพิตร พระองค์ไม่ทรงมีผิดอะไร
แต่บริษัทไม่สะอาด เพราะฉะนั้น อาตมภาพจึงไม่แสดงธรรม. เพราะเหตุไร
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงว่าบริษัทไม่สะอาด. พระศาสดา ตรัสบอกปริวิตก
ของอำมาตย์. พระราชาตรัสถามกาฬะว่า อย่างนั้นหรือพ่อกาฬะ. อย่างนั้น
มหาราช. พระราชาตรัสว่า เมื่อข้าให้ทรัพย์ของข้า เธอจะเดือดร้อน
อะไรเล่า ข้าไม่อาจดูเธอได้ พวกเธอจงขับเขาจากแว่นแคว้นข้า. ต่อจากนั้น
ตรัสสั่งเรียกชุณหะมาถามว่า นัยว่า พ่อคิดอย่างนั้นหรือ. อย่างนั้นพระพุทธ
เจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า จงตามใจเธอเถิด เธอจงนิมนต์ภิกษุ ๕๐๐ รูปมานั่งบน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 49
ที่นั่งที่ปูไว้ในปะรำนั่นแล แล้วให้ธิดากษัตริย์เหล่านั้นนั่นแหละแวดล้อม เอา
ทรัพย์จากพระราชวังมาถวายทานเจ็ดวันอย่างที่ข้าถวายทีเดียวนะ เขาได้ทำอย่าง
นั้นแล้ว. ครั้นถวายเสร็จแล้วในวันที่เจ็ด ก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด. พระศาสดาทรงกระทำการ
อนุโมทนาทานแม้ทั้งสองให้เป็นอันเดียวกัน เหมือนทรงกระทำแม่น้ำใหญ่สอง
สายให้เต็มด้วยห้วงน้ำเดียวกัน ทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์ใหญ่ เมื่อทรง
เทศน์จบ ชุณหะก็ได้เป็นพระโสดาบัน. พระราชาทรงเลื่อมใสทรงถวายผ้าชื่อ
ปาวายแด่พระทศพล. พึงทราบว่า ก็ลาภสำเร็จยิ่งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้นแล ด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า พระเกียรติสำเร็จอย่างยิ่ง คือ การสรรเสริญถึงพระเกียรติคุณ.
ถึงแม้พระเกียรตินั้นก็สำเร็จอย่างยิ่งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งแต่ทรงหมุนล้อ
ธรรมไป. จริงอย่างนั้น ตั้งแต่นั้นมา พวกกษัตริย์ก็พูดถึงพระเกียรติของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพวกพราหมณ์ พวกคหบดี พวกนาค พวกครุฑ พวก
คนธรรพ์ พวกเทวดา พวกพรหม ต่างก็กล่าวถึงพระเกียรติแล้วสรรเสริญ
ด้วยคำเป็นต้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ถึงพวก
เดียรถีย์ให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่วรโรชะแล้วส่งไปว่า เธอจงกล่าวโทษพระสมณ-
โคดม. เขารับทรัพย์พันหนึ่งแล้ว ก็สำรวจดูพระทศพลตั้งแต่พื้นพระบาท
จรดปลายพระเกศา โทษสักลิกขา๑ ก็ไม่เห็นมี จึงคิดว่าผู้ที่พลิกแพลง
ปากพูดถึงโทษในอัตภาพที่หาโทษมิได้ ซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยมหาปุริลลักษณะ
๓๒ ประการ ประดับด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ อย่าง ห้อมล้อมไปด้วยรัศมี
วาหนึ่ง เช่นกับปาริฉัตรที่บานเต็มที่ ท้องฟ้าที่โชติช่วงหมู่ดาวและนันทวัน
ที่งดงามไปด้วยดอกไม้อันวิจิตรเช่นนี้ หัวต้องแตกเป็นเจ็ดเสี่ยงอุบายที่จะ
๑. ลิกฺขา มาตราชั่ง หนักเท่ากับ ๑๒๙๖ อณู.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 50
กล่าวติก็ไม่มี เราจะกล่าวชมเท่านั้น ดังนี้แล้วก็กล่าวชมอย่างเดียว ตั้งแต่
พื้นพระบาทจนถึงปลายพระเกศา ด้วยถ้อยคำพันกว่าบท. ก็ขึ้นชื่อว่าพระ
เกียรตินั้น ถึงยอดในเรื่องยมกปาฏิหาริย์ พระเกียรติสำเร็จเป็นอย่างยิ่งดังว่า
มาด้วยประการฉะนี้. บทว่า แม้กระทั่งพวกกษัตริย์เหล่าอื่น ความว่า
แม้คนเป็นต้น ทั้งหมด คือพวกพราหมณ์ พวกแพทย์ พวกสูทร พวกนาค พวก
ครุฑ พวกอสูร พวกเทวดา พวกพรหม ล้วนแต่เป็นผู้รักใคร่ ร่าเริงพอใจ
ด้วยกันทั้งนั้น.
บทว่า ก็แลทรงปราศจากความเมา คือ ไม่ทรงเป็นผู้มัวเมา
ประมาทว่า พวกชนมีประมาณเท่านี้ เป็นผู้รักใคร่เรา แล้วเสวยพระกระยา-
หารด้วยสามารถการเล่นเป็นต้น แต่ที่แท้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล
ทรงปราศจากความเมา เสวยพระกระยาหาร. บทว่า มีปกติตรัส อย่างไร
ความว่า ตรัสคำใดด้วยพระวาจา พระกรณียกิจทางพระกายของพระองค์ก็
คล้อยตามพระวาจานั้นจริง ๆ และพระกรณียกิจที่ทรงกระทำด้วยพระกาย พระ-
กรณียกิจทางพระวาจาของพระองค์ก็คล้อยตามพระกายโดยแท้ พระกายไม่ก้าว
ล่วงพระวาจา หรือพระวาจาก็ไม่ก้าวล่วงพระกาย พระวาจาสมกับพระกาย
และพระกายก็สมกับพระวาจา. เหมือนอย่างว่า
ข้างซ้ายเป็นหมู ข้างขวาเป็นแพะ
โดยเสียงเป็นแกะ โดยเสียงเป็นวัวแก่
ดังนี้ ยักษ์หมูนี้เมื่อเห็นฝูงหมู ก็แสดงด้านซ้ายเหมือนหมูแล้วก็จับหมูเหล่านั้น
กิน ครั้นเห็นฝูงแพะ ก็แสดงด้านขวาเหมือนแพะนั้น แล้วก็จับแพะเหล่านั้น
กิน ครั้นเห็นฝูงลูกแกะ ก็ร้องเป็นเสียงร้องของลูกแกะ แล้วก็จับลูกแกะ
เหล่านั้นกิน พอเห็นฝูงวัวก็นิรมิตเขาให้เหมือนเขาของพวกวัวเหล่านั้น ดูแต่
ไกลก็เห็นเหมือนวัวด้วยประการฉะนี้ ก็จับวัวเหล่านั้น ที่เข้ามาใกล้อย่างนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 51
กินฉันใด และเหมือนอย่างกาในชาดกกาทรงธรรมที่พวกนกถามก็บอกว่า ข้า
เป็นกาอ้าปากกินลม ยืนด้วยเท้าข้างเดียวเท่านั้น เพราะกลัวจะเหยียบสัตว์
ตาย เพราะฉะนั้น แม้พวกท่าน
ขอจงประพฤติธรรม ขอความเจริญ
จงมีแก่พวกท่าน ญาติทั้งหลาย ขอพวก
ท่านจงประพฤติธรรม ผู้ประพฤติธรรม
เป็นปกติย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งในโลกนี้และ
ในโลกหน้า
แล้วทำให้พวกนกตายใจ ต่อจากนั้น ก็กินหมู่นกที่มาถึงความตายใจอย่างนี้ ว่า
นกตัวนี้ช่างดีจริงหนอ นกตัวนี้ทรงธรรมอย่างยิ่ง
เอาเท้าข้างเดียวยืน ร้องว่า ธรรม ธรรม
วาจาของยักษ์หมูและกาเหล่านั้น ไม่สมกับกายและกายก็ไม่สมกับวาจาฉันใด
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า หาเป็นฉันนั้น ไม่ ท่านแสดงว่า เพราะพระวาจาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าสมกับพระกาย และพระกายก็สมกับ พระวาจาโดยแท้จริง
ดังนี้.
ชื่อว่า ทรงล่วงความสงสัยได้ เพราะพระองค์ทรงล่วงคือทรงข้าม
ความสงสัยได้แล้ว. ชื่อว่าทรงปราศจากการถามว่าอย่างไร ๆ เพราะพระองค์
ปราศจากการถามอย่างไร ๆ เห็นปานนี้ว่า นี้อย่างไร นี้อย่างไร. จริงอยู่ พระ-
ศาสดาไม่เหมือนคนจำนวนมากที่ยังมีความสงสัยว่า ต้นไม้นี้ ชื่อต้นอะไร ตำบล
นี้ (ชื่อตำบลอะไร) อำเภอ (หรือจังหวัด ) นี้ (ชื่ออำเภอหรือจังหวัดอะไร)
แคว้นนี้ชื่อแคว้นอะไร ทำไมนะต้นไม้นี้จึงมีลำต้นตรง ต้นไม้นี้มีลำต้นคด
ทำไมจึงมีหนาม บางต้นตรง บางต้นคด บางดอกกลิ่นหอม บางดอกกลิ่น
เหม็น บางผลหวาน บางผลไม่หวาน. จริงอย่างนั้น พระศาสดาทรงทราบว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 52
เพราะธาตุเหล่านี้หนาแน่น สิ่งนี้ จึงเป็นอย่างนี้ จึงทรงเป็นผู้ปราศจากการถาม
อย่างไร ๆ โดยแท้. และสำหรับพระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงเหมือนผู้ที่ได้ฌานที่ ๑
เป็นต้น มีความสงสัยในฌานที่ ๒ เป็นต้น และถึงแม้พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็
ยังมีความสงสัยด้วยอำนาจโวหารอยู่โดยแท้ เพราะยังไม่มีการตกลงใจตามความ
เป็นจริงด้วยสัพพัญญุตญาณ ท้าวสักกะท่านจึงทรงแสดงว่า ก็แลพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงปราศจากการถามว่าอย่างไร ๆ ในทุกสิ่งทุกอย่าง
ดังนี้.
บทว่า จบความคิดแล้ว คือ พระศาสดาของเราไม่เหมือนคน
บางคนที่ไปจบความคิด คือเต็มมโนรถเอาแค่ศีล บ้างก็แค่วิปัสสนา บ้างก็
แค่ฌานที่ ๑ ฯลฯ บ้างก็ด้วยเนวสัญญานาสัญญาสมาบัติ บ้างก็แค่ความเป็นพระ
โสดาบัน บ้างด้วยอรหัตตมรรค บ้างด้วยสาวกบารมีญาณ บ้างด้วยปัจเจก
โพธิญาณ. ท้าวสักกะ ทรงชี้ว่า ส่วนพระศาสดาของเรา ทรงจบความคิดด้วย
สัพพัญญุตญาณ. บทว่า อชฺฌาสย อาทิพฺรหฺมจริยั เป็นปฐมาวิภัติลง
ในอรรถแห่งตติยาวิภัติ. อธิบายว่า ทรงข้ามความสงสัยได้ ทรงปราศจาก
การถามว่าอย่างไร ๆ ทรงสิ้นสุดความคิด ด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นเบื้องต้น
พรหมจรรย์ อันเป็นที่อาศัยอย่างยิ่ง คือเป็นที่อาศัยชั้นสูงสุด และด้วยอริยมรรค
อันเป็นพรหมจรรย์เก่าแก่. แม้ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบความคิด
ชื่อว่าสำเร็จแล้วด้วยอริยมรรคนั่นแหละ เพราะพระบาลีว่าตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย
ด้วยพระองค์เองในสิ่งที่ไม่ทรงได้ฟังมาก่อน และทรงบรรลุความเป็นผู้ทรงรู้
ทุกอย่างในสิ่งเหล่านั้น และทรงบรรลุแม้ความเป็นผู้ชำนิชำนาญในธรรมอัน
เป็นกำลังทั้งหลาย
บทว่า เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเทียว คือ พระผู้มี-
พระภาคเจ้านั่นแลฉันใด. คนทั้งหลายหวังอยู่พูดว่า โอ้หนอ! พระชินเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 53
สี่พระองค์พึงเที่ยวจาริกแสดงธรรมในทิศทั้งสี่บนพื้นชมพูทวีปเดียว ต่อมาคน
พวกอื่น หวังการเสด็จท่องเที่ยวไปด้วยกัน ในสามมณฑล ก็กล่าวว่า พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าสามพระองค์. คนอีกพวกหนึ่งคิดอยู่ว่า การบำเพ็ญพระบารมี
จนครบสิบทัศแล้ว เกิดพระพุทธเจ้า ๔ หรือ ๓ พระองค์ขึ้นมา ยากที่จะได้
แต่ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียว พึงประทับประจำแสดงธรรม พระสัม-
มาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเสด็จท่องเที่ยวไป แม้เมื่อเช่นนี้ ชมพูทวีป ก็จะพึง
งดงามและพึงบรรลุหิตสุขเป็นอันมากด้วยเป็นแน่จึงกล่าวว่า โอ้หนอ! ท่าน
ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า นี้ไม่ใช่ฐานะ นี้ไม่ใช่โอกาส ดังต่อ
ไปนี้. คำทั้งสองนี้ คือ ฐานะ อวกาส เป็นชื่อของการณ์นั่นแหละ. จริงอยู่การณ์
(เหตุ) ชื่อว่า ฐานะ เพราะผลย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น เพราะความที่ผลเป็นของเป็น
ไปเกี่ยวเนื่องกับเหตุนั้น และเหตุนั้นก็เป็นเหมือนโอกาส จึงชื่อว่า อวกาส
เพราะความที่ผลนั้น เว้นโอกาสนั้นเสียไม่มีในที่อื่น. บทว่า ย เป็นปฐมา-
วิภัติลงในอรรถตติยาวิภัติ. มีคำที่ท้าวสักกะทรงอธิบายไว้ดังนี้ว่า ในโลกธาตุ
เดียว พระพุทธเจ้าสองพระองค์พึงทรงเกิดขึ้นพร้อมกัน ด้วยเหตุใด เหตุนั้น
ไม่มี. และจักรวาลหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่าหนึ่งโลกธาตุ ในคาถานี้ว่า
พระจันทร์และพระอาทิตย์โคจร
ส่องทิศให้สว่างไสวมีประมาณเท่าใด โลก
ตั้งพันก็เท่านั้น อำนาจของพระองค์ย่อม
เป็นไปในพันโลกนั้น.
พันจักรวาล ชื่อว่าหนึ่งโลกธาตุในอนาคตสถานว่า พันโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้ว.
ติสหัสสีจักรวาล มหาสหัสสีจักรวาล ชื่อว่าหนึ่งโลกธาตุในที่มาว่า อานนท์
ตถาคตเมื่อต้องการจะพึงใช้เสียงให้ติสหัสสีโลกธาตุ มหาสหัสสีโลกธาตุเข้าใจ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 54
ก็ได้ และแผ่รัศมีไปก็ได้. หมื่นจักรวาลชื่อว่าโลกธาตุในที่มาว่า และหมื่นโลก
ธาตุนี้ . พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงหมายถึงหมื่นโลกธาตุนั้น ตรัสว่าใน
โลกธาตุหนึ่ง ดังนี้ . ก็ที่เท่านี้ ชื่อว่าเขตแห่งพระชาติ. ถึงในเขตแห่ง
พระชาตินั้น ยกเว้นประเทศส่วนกลางแห่งชมพูทวีปในจักรวาลนี้เสียแล้วใน
ประเทศอื่นพระพุทธเจ้าทั้งหลายหาได้ทรงเกิดขึ้นไม่ ก็แหละพ้นจากเขตแห่ง
พระชาติไป ไม่ปรากฏที่เสด็จเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย.
บทว่า ด้วยประโยชน์อันใด คือด้วยประโยชน์แห่งปวารณา
สงเคราะห์ใด.
บทว่า ด้วยวรรณะและด้วยยศนั่นเทียว ความว่า ด้วยเครื่อง
แต่งตัวและบริวาร และด้วยบุญสิริ. สาธุศัพท์เป็นไปในความเลื่อมใสในบท
นี้ว่า สาธุท่านมหาพรหม. บทว่า พิจารณาแล้วยินดี คือรู้แล้วจึงยินดี.
ใคร ๆ ไม่สามารถกำหนดว่า เท่านี้ แล้ว กล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้นทรงมีพระปัญญายิ่งใหญ่มานานเพียงไรแล้วเทียว ที่แท้พระผู้มี
พระภาคเจ้าของพวกเราพระองค์นั้น ทรงมีพระปัญญายิ่งใหญ่มานาน คือนาน
เหลือเกินมาแล้ว เพราะฉะนั้นพวกท่านจะสำคัญอย่างไร ทีนั้น สนังกุมาร
พรหม มีความประสงค์จะแก้ปัญหานั้นด้วยพระองค์เองทีเดียว จึงตรัสว่า
ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ไม่น่าอัศจรรย์เลย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น ทรงบำเพ็ญพระบารมีทำลายยอดมารทั้งสามที่โพธิบัลลังก์ ทรงมีพระญาณ
ที่ไม่ทั่วไปซึ่งทรงแทงตลอดแล้ว พึงกลายเป็นผู้ทรงมีพระปัญญายิ่งใหญ่ใน
บัดนี้ อัศจรรย์อะไรในข้อนี้. แต่เพื่อนเอ๋ย ข้าพเจ้าจักบอกพวกท่านถึง
ความที่พระองค์ยังดำรงอยู่ในประเทศญาณแห่งพระโพธิญาณที่ยังไม่แก่กล้าก็
ทรงมีพระปัญญายิ่งใหญ่จริง ๆ แม้ในเวลาที่ยังทรงมีราคะเป็นต้น เมื่อจะทรง
นำเอาเหตุการณ์ที่ถูกภพปิดมาแสดงจึงตรัสคำเป็นต้นว่า ภูคปุพฺพ โภ ดังนี้ .
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 55
คำว่า ปุโรหิต คือ ที่ปรึกษาสำหรับพร่ำสอนกิจทุกอย่าง. บทว่า
โควินท์ คือได้รับอภิเษกด้วยการอภิเษกให้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน. ก็โดยปกติ
เขามีชื่อเป็นอย่างอื่นแท้ๆ. ตั้งแต่เวลาได้รับอภิเษกแล้ว ก็ถึงการนับว่าโควินท์.
คำว่า โชติบาล คือชื่อว่า โชติบาล เพราะรุ่งเรืองและเพราะรักษา.
ได้ยินมาว่า ในวันที่โชติบาลเกิดนั้น อาวุธทุกชนิดลุกโพลง. แม้
พระราชาเมื่อทรงเห็นพระแสงมังคลาวุธของพระองค์ลุกโพลง ในเวลาใกล้สว่าง
ก็ทรงกลัวประทับยืนแล้ว. โควินท์ไปเฝ้าพระราชาแต่เช้าตรู่ กราบทูลถามการ
บรรทมเป็นสุข. พระราชาตรัสตอบว่า ท่านอาจารย์ ฉันจะนอนเป็นสุขแต่
ที่ไหน แล้วก็ทรงบอกเหตุนั้น. มหาราช อย่าทรงกลัวเลย ลูกชาย
ข้าพระพุทธเจ้าเกิดแล้ว ด้วยอานุภาพของเขา อาวุธทั้งหลาย ลุกโพลง ทั่ว
ทั้งพระนคร. พระราชาทรงคิดว่า เด็กนี้จะพึงเป็นศัตรูแก่เราหรือหนอ
แล้วก็ยิ่งทรงกลัว. และเมื่อทรงถูกทูลถามว่า มหาราช พระองค์ทรงคิด
อะไร ? ก็ตรัสบอกข้อความนั้น. ที่นั้นโควินท์ได้กราบทูลพระองค์ว่า
มหาราช อย่าทรงกลัวไปเลย เด็กนี้จักไม่ทำร้ายพระองค์ แต่ว่าในชมพูทวีป
ทั้งสิ้น จักไม่มีใครมีปัญญาเท่าเขา ความสงสัยของมหาชน จักขาดสิ้น เพราะ
คำของลูกชายของข้าพระพุทธเจ้า และเขาจักพร่ำสอนกิจทุกอย่างแด่พระองค์
แล้วก็ปลอบโยนพระองค์. พระราชาทรงพอพระทัยตรัสว่า จงเป็นค่าน้ำนม
ของเด็ก แล้วพระราชทานทรัพย์พันหนึ่ง ตรัสสั่งว่า จงแสดงเด็กแก่เรา ใน
เวลาเป็นผู้ใหญ่. เด็กถึงความเติบโตโดยลำดับ . เพราะความที่เด็กนั้นเป็นผู้
รุ่งเรืองและเป็นผู้สามารถในการรักษา พ่อแม่จึงตั้งชื่อว่า โชติบาล. เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โชติบาล เพราะความรุ่งเรือง และเพราะการรักษา
ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 56
บทว่า ละได้อย่างถูกต้อง คือสละได้โดยชอบ. หรือบทว่า
ได้โดยชอบ นี่เอง เป็นปาฐะ. บทว่า เป็นผู้สามารถเห็นและไตร่ตรอง
ข้อความ คือเพราะเป็นผู้สามารถ อาจหาญ เป็นผู้เห็นข้อความ จึงชื่อว่าเป็น
ผู้สามารถเห็นข้อความ ชื่อว่าเป็นผู้สามารถเห็นและไตร่ตรองข้อความ เพราะ
ย่อมไตร่ตรองข้อความนั้น . ด้วยบทว่า อันโชติบาลมาณพนั่นแหละพึงพร่ำ
สอนท่านแสดงว่า แม้พระราชานั้นก็ทรงถามโชติบาลนั่นแล แล้วจึงทรงปก-
ครอง. บทว่า ขอความเจริญจงมีกะโชติบาลผู้เจริญ ความว่า ความเป็น
ความเจริญ ความบรรลุคุณวิเศษ ความดีงามและมหามงคลทั้งหมดจงมีแก่
โชติบาลผู้เจริญ.
บทว่า ถ้อยคำนำให้เกิดความบันเทิง คือ จบคำปฏิสันถารอัน
เป็นเครื่องบรรเทาโศก เกี่ยวกับความตายโดยนัยเป็นต้นว่า อย่าเลยมหาราช
อย่าทรงคิดเลย นี่เป็นของแน่นอนสำหรับสรรพสัตว์. บทว่า โซติบาลผู้เจริญ
อย่าให้เราเสื่อมจากคำพร่ำสอน ความว่า อย่าให้เสื่อมเสียจากคำพร่ำสอน.
อธิบายว่า เมื่อถูกขอร้องว่า จงพร่ำสอน ก็อย่าบอกเลิกพวกเราจากคำพร่ำ
สอนด้วยพูดว่า ข้าพเจ้าจะไม่พร่ำสอน. บทว่า จัดแจง คือจัดแจง แต่งตั้ง.
บทว่า พวกคนกล่าวอย่างนี้ ความว่า เมื่อพวกคนเห็นโชติบาล
นั้นมีปัญญามากกว่าพ่อ พร่ำสอนกิจทุกชนิด จัดการงานทุกอย่าง ก็มีจิตยินดี
กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญโควินทพราหมณ์หนอ ท่านผู้เจริญ มหาโควินท
พราหมณ์หนอ มีคำที่ท่านอธิบายอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ โควินทพราหมณ์
เป็นบิดาของคนนี้ ส่วนคนนี้ เป็นมหาโควินทพราหมณ์.
บทว่า กษัตริย์ ๖ องค์นั้น โดยที่ใด คือ กษัตริย์ ๖ องค์ที่ท่าน
กล่าวว่า สหายเหล่านั้นใด. เล่ากันมาว่า กษัตริย์เหล่านั้น ร่วมพระบิดากับ
เจ้าชายเรณุ ทรงเป็นน้อง เพราะฉะนั้น มหาโควินท์จึงคิดว่า เจ้าชายเรณุนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 57
ทรงได้รับอภิเษกแล้ว จะแบ่งหรือไม่แบ่งราชสมบัติแก่กษัตริย์ทั้ง ๖ องค์นั้น
ถ้าไฉนเราต้องส่งกษัตริย์เหล่านั้น ไปสู่สำนักของเจ้าชายเรณุโดยทันทีแล้วทำ
ให้เจ้าชายเรณุ ทรงรับคำมั่นให้ได้แล้ว จึงเข้าเฝ้ากษัตริย์ทั้ง ๖ องค์นั้นยังที่
ประทับ. บทว่า ผู้ทำของพระราชา ได้แก่พวกข้าราชการ คือพวก
อำมาตย์. บทว่า กามทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งความเคลิบเคลิ้ม หมายความ
ว่า การทั้งหลายทำให้เมา ทำให้ประมาท อธิบายว่า เมื่อเวลาล่วงไป ๆ
เจ้าชายเรณุนี้ จะไม่พึงสามารถแม้เพื่อตามระลึกถึง. เพราะฉะนั้น ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลายจึงมา คือจงดำเนินมา. บทว่า ท่าน ข้าพเจ้ายังจำได้ คือเขาว่า
ครั้งนั้นเป็นเวลาที่พวกคนชอบพูดความจริงกัน เพราะฉะนั้น เจ้าชายเรณุจึง
ไม่ตรัสคำไม่จริงว่า ข้าพเจ้าพูดเมื่อไร ใครได้เห็น ใครได้ยิน (แต่) ตรัส
ว่า ท่าน ข้าพเจ้ายังจำได้.
บทว่า ถ้อยคำที่พึงบันเทิง คือ ถ้อยคำต้อนรับเห็นปานนี้ว่า
มหาราช เมื่อพระราชาเสด็จสวรรคตแล้ว พระองค์อย่าไปทรงคิดอะไร นี่
เป็นสิ่งแน่นอนของสรรพสัตว์ สังขารทั้งหลายเป็นอย่างนี้. บทว่า ตั้งเป็น
หน้าเกวียนทั้งหมด คือ ตั้งหมดทั้ง ๖ แคว้น เป็นทางเกวียน. พระราชา
แต่ละองค์มีราชสมบัติสามร้อยโยชน์ ประเทศที่เป็นที่รวมแห่งราชสมบัติของ
พระเจ้าเรณุสิบคาวุต. ก็ราชสมบัติของพระเจ้าเรณุอยู่ตรงกลางเช่นกับเพดาน
ทำไมจึงตั้งไว้อย่างนี้ กษัตริย์ทั้งหลายเมื่อมาเฝ้าพระราชาเป็นบางครั้งบาง
คราว จักไม่ทรงเบียดเบียนราชสมบัติของกษัตริย์องค์อื่น ทรงมาและไปโดย
ประเทศของตน ๆ เท่านั้น เพราะเมื่อทรงหยั่งลงสู่ราชสมบัติขององค์อื่นแล้ว
ตรัสอยู่ว่า พวกท่านจงให้อาหาร จงให้โค พวกมนุษย์ก็จะยกโทษ พระราชา
เหล่านี้ไม่เสด็จไปทางแว่นแคว้นของตน ๆ ย่อมทรงกระทำการเบียดเบียนพวก
เรา. แต่เมื่อเสด็จไปทางแว่นแคว้นของตน พวกคนก็ย่อมไม่สำคัญการเบียด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 58
เบียนว่า พระราชองค์นี้จะต้องได้สิ่งนี้และสิ่งนี้ไปจากสำนักของพวกเราทีเดียว.
มหาโควินท์คำนึงถึงข้อนี้ จึงตั้งไว้อย่างนี้ว่า เมื่อพวกพระราชาทรงบันเทิง
พร้อมกันจงครอบครองราชสมบัติให้ยืนนานเถิด ดังนี้ นคร ๗ แห่งนี้ คือ
ทันตปุระแห่งแคว้นกลิงค์ โปตนะ
แห่งแคว้นอสัสกะ มาหิสสดีแห่งแคว้น
อวันตี โรรุกะแห่งแคว้นโสจิระ มิถิลาแห่ง
แคว้นวิเทหะ และสร้างจัมปาในแคว้น
อังคะและพาราณสีแห่งแคว้นกาสี เหล่านี้
โควินท์ สร้างไว้แล้ว
อันมหาโควินท์นั่นแหละสร้างไว้เพื่อประโยชน์แก่พระราชา พระนามเหล่านี้คือ
สัตตภู พรหมทัตต์ เวสสภู พร้อมกับ
ภรตะ เรณุ และสองธตรฐะ ทั้ง ๗ องค์นี้
ได้เป็นผู้ทรงภาระในครั้งนั้น
เป็นพระนามแม้แห่งพระราชาทั้งเจ็ดพระองค์เหล่านั้น. จริงอยู่ในเจ็ด
พระองค์เหล่านั้น ได้แก่องค์เหล่านี้ คือ สัตภู ๑ พรหมทัตต์ ๑ เวสสภู ๑
พร้อมกับเวสสภูนั้นแล คือ ภรตะ ๑ เรณุ ๑ ส่วนธตรฐะมีสองพระองค์. บทว่า
ทั้ง ๗ องค์ทรงมีภาระ คือ ทรงเป็นผู้มีพระภาระ ได้แก่ทรงเป็นมหาราช
ในพื้นชมพูทวีป.
จบ การพรรณนาในปฐมภาณวาร
บทว่า เข้าไปหา คือ พระราชาทั้ง ๗ พระองค์ทรงพระดำริว่า
อิสริยสมบัตินี้ สำเร็จแล้วแก่พวกเรา ไม่ใช่ด้วยอานุภาพแห่งคนอื่น แต่ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 59
อานุภาพของมหาโควินท์ มหาโควินท์ไคทำให้พวกเราเหล่า ๗ ราชาพร้อม
เพรียงกัน แต่งตั้งพวกเราในพื้นชมพูทวีป ก็แล พวกเราไม่ง่ายที่จะทำการ
ตอบสนองแก่มหาโควินท์ผู้เป็นบุรพูปการี มหาโควินท์นี้แลจงพร่ำสอนพวกเรา
แม้ทั้ง ๗ คน พวกเราจะให้มหาโควินท์นี้แลเป็นแม่ทัพและเป็นที่ปรึกษา
เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราคงจะมีความเจริญแน่ แล้วก็เข้าไปหา. ถึงมหาโควินท์
ก็คิดว่า เราได้ทำให้พระราชาเหล่านี้สมัครสมานกันแล้ว. หากว่าพระราชา
เหล่านี้จักมีคนอื่นเป็นแม่ทัพและเป็นที่ปรึกษา แต่นั้นพระราชาเหล่านั้นก็จักทรง
ถือถ้อยคำของแม่ทัพและที่ปรึกษาของตน ๆ แล้วแตกกัน เราจะยอมรับทั้ง
ตำแหน่งแม่ทัพและตำแหน่งที่ปรึกษาของพระราชาเหล่านี้แล้วรับว่า อย่างนั้น
พระเจ้าข้า.
บทว่า และพราหมณ์มหาศาล ๗ คน คือ มหาโควินท์มาคิด
ว่า เราจะพึงอยู่เฉพาะพระพักตร์หรือไม่ก็ตาม ในที่ทุกแห่ง พระราชาเหล่านี้
จักทรงปฏิบัติหน้าที่โดยประการที่เราจักไม่อยู่เฉพาะพระพักตร์ได้ แล้วก็แต่ง
ตั้งรองที่ปรึกษาไว้ ๗ คน ท่านหมายเอารองที่ปรึกษา ๗ คนนั้น จึงกล่าว
คำนี้ว่า และพราหมณ์มหาศาล ๗ คน ดังนี้. ชื่อว่าผู้อาบ เพราะอาบน้ำ
วันละสามครั้ง หรืออาบในตอนเย็นและตอนเช้าทุกวัน หรือชื่อว่าอาบแล้ว
ในเพราะจบการพระพฤติพรต. ชื่อว่าผู้อาบ เพราะตั้งแต่นั้น พวกพราหมณ์
ไม่กินไม่ดื่มร่วมกับพวกพราหมณ์ด้วยกัน .
บทว่า ฟุ้งไป แปลว่า ขึ้นไปสูงอย่างยิ่ง เล่ากันมาว่า ครั้งนั้น
ถ้อยคำนี้แลเป็นไปแล้วแก่คนทั้งหลายในที่ที่นั่งแล้ว ๆ (ในที่นั่งทุกแห่ง) ว่า
คนเราเมื่อได้ปรึกษากับพรหมแล้วก็จะพร่ำสอนได้หมดทั้งชมพูทวีป. บทว่า
แต่เราไม่เลย ความว่า ได้ยินว่า มหาบุรุษ คิดว่า คุณที่ไม่เป็นจริงนี้เกิด
แก่เราแล้ว ก็แลการเกิดคุณขึ้นไม่ใช่ของหนักหนาอะไร แต่การรักษาคุณที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 60
เกิดขึ้นแล้วนั่นแล เป็นของหนัก. อนึ่งทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้คิดไม่ได้ปรึกษากระทำ
อยู่ คุณนี้ก็เกิดขึ้นแล้วเทียว ก็เมื่อเราคิดแล้วปรึกษาแล้วจึงทำ คุณก็จักยิ่งกว้าง
ใหญ่เป็นแน่ แล้วก็แสวงหาอุบายในการเห็นพรหม เมื่อได้เห็นพรหมนั้นแล้ว
ก็ปริวิตกถึงข้อนี้เป็นต้นว่า ก็แลข้อนั้นเราได้ฟังมาแล้ว ดังนี้. บทว่า เข้า
เฝ้าพระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ ความว่า มหาโควินท์มาคิดว่า ความต้องการ
เพื่อจะเฝ้า หรือความต้องการ เพื่อจะสนทนากันในระหว่างอย่างนั้นจักไม่มีเลย
เพราะเราตัดความกังวลได้แล้ว จักอยู่สบาย ดังนี้ จึงเข้าเฝ้าเพื่อตัดความกังวล
ให้ขาด. ทุกแห่งก็นัยนี้. บทว่า พวกเช่นกัน คือหญิงมีวรรณะเสมอกัน
มีชาติเสมอกัน.
บทว่า ให้สร้างสัณฐาคารหลังใหม่ คือ ให้สร้างที่อยู่อย่างวิจิตร
เอาต้นอ้อมาล้อมข้างนอกมีที่พักกลางคืนที่พักกลางวันและที่จงกรม พร้อม
บริบูรณ์เหมาะสำหรับอยู่ในฤดูฝน ๔ เดือน บทว่า เพ่งกรุณาฌาน คือ
เพ่งฌานทั้งหมวดสามและหมวดสี่แห่งกรุณา. ก็ในบทว่า เพ่งกรุณาฌาน
นี้ ด้วยมุขคือกรุณา ก็เป็นอันว่าพรหมวิหารที่เหลืออีกสามข้อท่านถือเอาแล้ว
เทียว. บทว่า ความกระสัน ความสะดุ้ง ความว่า เมื่ออยู่ในภูมิฌาน
ไม่ว่าความกระสันเพราะความไม่ยินดี หรือความสะดุ้งเพราะความกลัวย่อมไม่มี
แต่ความต้องการให้พรหมมา ความอยากให้พรหมมา ได้มีแล้ว. ความกลัว
เพราะจิตสะดุ้งนั่นแหละ เรียกว่า ความกลัว.
บทว่า ไม่รู้อยู่ คือไม่ทราบอยู่. บทว่า ทำอย่างไรพวกเราจึง
จะรู้จักท่าน ความว่า พวกเราจะรู้จักท่านว่าอะไร. อธิบายว่าพวกเราจะ
จำท่านด้วยอาการอะไรในอาการเป็นต้นว่า คนนี้อยู่ที่ไหน ชื่ออะไร โคตร
อะไร. คำว่า คนทั้งหลายรู้จักข้าพเจ้าว่าเป็นกุมาร ความว่า คน
ทั้งหลายรู้จักข้าพเจ้านั่นแลว่าเป็นกุมารว่าเป็นชายหนุ่ม. บทว่า ในพรหมโลก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 61
คือในโลกที่ประเสริฐสุด. บทว่า เป็นของเก่า คือเป็นของนมนานเป็นของ
เก่าแก่. พรหมย่อมแสดงว่า ข้าพเจ้านั้นเป็นกุมารเก่า ชื่อสนังกุมารพรหม.
บทว่า โควินท์ ท่านจงรู้อย่างนี้ ความว่า โควินท์ผู้เป็นบัณฑิต ท่านจงรู้
ข้าพเจ้าอย่างนี้ คือจงจำข้าพเจ้าไว้อย่างนี้.
ของที่พึงน้อมไปเพื่อแขก เรียกว่าของรับแขก ในคาถานี้ว่า
ที่นั่ง น้ำ น้ำมันทาเท้า และผักนึ่ง
อย่างดี สำหรับพรหม (มีอยู่) ข้าพเจ้าขอ
ต้อนรับผู้เจริญ ขอผู้เจริญจงรับของ
ควรค่าของข้าพเจ้า.
มีคำที่ท่านอธิบายไว้ด้วยบทว่า ของรับแขก นั้นเองว่า นี้ที่นั่งที่
ปูไว้แล้ว เชิญนั่งบนที่นั่งนี้ นี้น้ำบริสุทธิ์ เชิญดื่มน้ำ เชิญล้างเท้าจากน้ำนี้
นี้น้ำมันทาเท้า ที่เอาน้ำมันมาปรุงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เท้า เชิญทาเท้าด้วย
น้ำมันนี้. บทนี้ว่า ผักนึ่งอย่างดี คือ พรหมจรรย์ของพระโพธิสัตว์ หา
เหมือนกับพรหมจรรย์ของคนเหล่าอื่นไม่ พระโพธิสัตว์นั้น ไม่ทำการสะสม
ด้วยคิดว่า นี้สำหรับพรุ่งนี้ นี้สำหรับวันที่สาม ก็ผักที่นึ่งด้วยน้ำ มีรสหวาน
ไม่เค็ม ไม่ได้อบ ไม่เปรี้ยว (มีอยู่) พระโพธิสัตว์นั้นทรงหมายผักนึ่งนั้น
เมื่อจะกล่าวว่า เชิญเอาผักนึ่งนี้ไปบริโภค จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าขอถาม
ผู้เจริญเกี่ยวกับของรับ แขก. ของรับแขกทั้งหมดนี้ มีไว้สำหรับพรหม ข้าพเจ้า
ขอถามของรับแขกเหล่านั้นกับผู้เจริญ ท่านผู้เจริญจงกระทำของรับแขกของ
ข้าพเจ้า คือ ท่านผู้เจริญจงรับของรับแขกนี้ของข้าพเจ้าผู้ถามอยู่อย่างนี้.
ก็ท่านมหาโควินท์นี้ไม่ทราบหรือว่า พรหมไม่บริโภคแต่สิ่งเดียวจากสิ่ง
นี้. ไม่ใช่ไม่ทราบ ทั้งที่ทราบอยู่ก็ถามด้วยมุ่งวัตรเป็นสำคัญว่า ชื่อว่าแขก
ที่มาสู่สำนักของตนเป็นผู้ที่ต้องถาม. ที่นั้นแล พรหมก็พิจารณาดูว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 62
บัณฑิตรู้ว่าเราไม่มีการทำการบริโภคแล้วจึงถามหรือหนอ หรือว่า ตั้งอยู่ใน
ความหลอกลวงแล้วจึงถาม ทราบว่า ตั้งอยู่ในวัตรเป็นสำคัญจึงถาม จึง
คิดว่า บัดนี้ เราควรรับ จึงกล่าวว่า โควินท์ เราจะขอรับของรับ แขกที่
ท่านกล่าวถึง. (มีคำที่มหาพรหมอธิบายว่า) โควินท์ คำที่ท่านกล่าวเป็นต้น
ว่า นี้ที่นั่งที่ปูไว้แล้วเชิญนั่งบนที่นั่งนี้ ในสิ่งเหล่านั้น เรานั้นชื่อว่าเป็นผู้
นั่งแล้วบนที่นั่ง ชื่อว่าเป็นผู้ดื่มน้ำแล้ว แม้เท้าเราก็ชื่อว่าล้างแล้ว ชื่อว่า
ทาน้ำมันแล้ว ชื่อว่าบริโภคผักนึ่งน้ำแล้ว ตั้งแต่เวลาที่เรารับของที่ท่านให้
ท่านพูดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอันว่า เราได้รับเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงว่า โควินท์ เราขอรับของรับแขกที่กล่าวถึงนั้น . ก็แล
ครั้นรับของรับแขกแล้ว เมื่อจะทำโอกาสแห่งปัญหา มหาพรหมจึงกล่าวคำ
เป็นต้นว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน ดังนี้ .
บทว่า (ข้าพเจ้า) ผู้มีความสงสัย (ขอถามท่าน) ผู้ไม่สงสัย (ใน
ปัญหา) ที่พึงทำให้คนอื่นเข้าใจ ความว่า ข้าพเจ้ายังมีความสงสัย (ขอ
ถาม) ท่านผู้เจริญ ที่ไม่มีความสงสัยในปัญหาที่พึงทำให้คนอื่นเข้าใจ ซึ่ง
ปรากฏแก่คนอื่น เพราะความที่ถูกคนอื่นสร้างขึ้นมาเอง. คำว่า ละความ
เป็นของเรา คือละตัณหาที่เป็นเครื่องมือให้ถือว่า นี้ของเรา ของเรานี้.
คำว่า ในหมู่มนุษย์ คือในหมู่สัตว์. อธิบายว่า มนุษย์คนเราละความเป็น
ของเราแล้ว. คำว่า เป็นผู้โดดเดี่ยว คือ เป็นผู้เดียว. หมายความว่า ยืนอยู่
คนเดียว นั่งอยู่คนเดียว. ก็ในข้อนี้ มีใจความของคำว่า ที่ชื่อว่า โดดเดี่ยว
เพราะเป็นผู้เดียว เด่นขึ้น คือเป็นไป. ที่ชื่อว่า เป็นผู้โดดเดี่ยวเพราะ.
เป็นผู้เช่นนั้น. คำว่า น้อมไปในความสงสาร คือน้อมไปในฌานที่ประ-
กอบด้วยความสงสาร หมายความว่า ทำให้ฌานนั้นเกิดขึ้น. คำว่า ไม่มี
กลิ่นสกปรก คือปราศจากกลิ่นเหม็น. คำว่า ตั้งอยู่ในนี้ คือตั้งอยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 63
ธรรมเหล่านี้. คำว่า และกำลังสำเหนียกอยู่ในนี้ คือกำลังศึกษาในธรรม
เหล่านี้. นี้เป็นความย่อในเรื่องนี้. ส่วนความยาว มหาโควินท์ และพรหม
ได้กล่าวไว้ข้างบนเสร็จแล้วแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ไม่รู้สิ่งเหล่านี้ มีความว่า ข้าพเจ้า
ไม่รู้ ไม่เข้าใจกลิ่นสกปรกเหล่านี้. บทว่า ธีระ ท่านจงกล่าวในที่นี้ ความ
ว่า ธีระ คือนักปราชญ์ เพราะเหตุนั้น ท่านจงกล่าว คือจงบอกข้าพเจ้า
ในที่นี้. คำว่า หมู่สัตว์ถูกอะไรห่อหุ้มไว้จึงมีกลิ่นเน่าเหม็นฟุ้งไป
ความว่า สัตว์ถูกเครื่องกางกั้น คือกิเลสเป็นไฉนห่อหุ้มไว้จึงเน่าเหม็นฟุ้งไป
คำว่า สัตว์อบาย ได้แก่สัตว์ที่เข้าถึงอบาย. บทว่า ปิดพรหมโลก
คือ ชื่อว่า ปิดพรหมโลกแล้วเพราะพรหมโลกของเขาถูกหุ้มไว้ คือถูกปิดแล้ว.
มหาโควินท์ถามว่า หมู่สัตว์ถูกกิเลสอะไรห่อหุ้ม คือปิดได้แก่ปกปิดทาง
พรหมโลกเล่า มหาพรหมตอบว่า ความโกรธ การกล่าวเท็จ ความ
หลอกลวง ความประทุษร้าย เป็นต้น ความโกรธมีความฉุนเฉียวเป็นลักษณะ
การกล่าวเท็จมีการกล่าวให้คลาดเคลื่อนกับคนอื่นเป็นลักษณะ ความหลอกลวง
มีการแสดงสิ่งที่เหมือนกันแล้วลวงเอาเป็นลักษณะ และความประทุษร้ายมีการ
ทำลายมิตรเป็นลักษณะ. คำว่า ความตระหนี่ การดูหมิ่น ความริษยา
ความว่า ความตระหนี่มีความกระด้างและความเหนียวแน่นเป็นลักษณะ การ
ดูหมิ่นมีการเหยียบย่ำแล้วดูถูกเป็นลักษณะ และความริษยามีความสิ้นไปแห่ง
สมบัติคนอื่นเป็นลักษณะ. บทว่า ความอยาก ความอยากแปลก ๆ และ
ความเบียดเบียนผู้อื่น ความว่า ความอยากมีความทยานอยากเป็นลักษณะ
ความหวงแหนมีความตระหนี่เป็นลักษณะ และความเบียดเบียนผู้อื่นมีการทำให้
ลำบากเป็นลักษณะ. บทว่า ความอยากได้ ความประทุษร้าย ความเมา
และความหลง คือ ความอยากได้ มีความโลภเป็นลักษณะ ความประทุษ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 64
ร้ายมีความร้ายกาจเป็นลักษณะ ความเมา มีความมัวเมาเป็นลักษณะ และ
ความหลง มีความลุ่มหลงเป็นลักษณะ. บทว่า ผู้ประกอบในเหล่านี้ ไม่
ใช่เป็นผู้ไม่มีกลิ่นสกปรก ความว่า หมู่สัตว์ที่ประกอบในกิเลสทั้ง ๑๔ ข้อ
เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ไม่มีกลิ่นสกปรก. มหาพรหมกล่าวว่า เป็นผู้มีกลิ่นสกปรก
มีกลิ่นศพ มีกลิ่นเน่าเหม็นแท้ ๆ. บทว่า สัตว์อบายปิดพรหมโลกแล้ว
มหาพรหมย่อมแสดงว่า ก็แหละ หมู่สัตว์นี้เป็นสัตว์อบายและเป็นผู้ปิดทาง
พรหมโลก. ก็แลผู้กล่าวสูตรนี้อยู่พึงกล่าวให้แจ่มแจ้งได้ด้วยอามคันธสูตร แม้
อามคันธสูตรก็พึงกล่าวให้แจ่มแจ้งได้ด้วยสูตรนี้
บทว่า (กลิ่นน่าสะอิดสะเอียน) เหล่านั้น ไม่ใช่พึงย่ำยีได้ง่าย
ความว่า กลิ่นเหม็น ๆ เหล่านั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะพึงย่ำยีเสียได้โดยง่าย คือ
ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะพึงย่ำยีเสียได้อย่างสะดวก คือไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะพึงละได้อย่าง
ง่าย ๆ. หมายความว่า ละยาก คือลำบากที่จะละ. บทว่า โควินท์ผู้เจริญ
ย่อมสำคัญกาลเพื่อสิ่งใดในบัดนี้ ความว่า โควินท์ผู้เจริญย่อมสำคัญเวลา
เพื่อการบวชใด การบวชนี้แหละจงเป็น. เมื่อเป็นอย่างนั้น การมาในสำนัก
ของท่านแม้ของเราก็จักเป็นการมาดี. ถ้อยคำในทางธรรมที่กล่าวแล้ว ก็จัก
เป็นอันกล่าวดีแล้ว พ่อ! ท่านเป็นคนชั้นเลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้น เป็นคนหนุ่ม
ยังอยู่ในวัยต้น ชื่อว่าการละความเป็นสิริแห่งสมบัติที่ใหญ่อย่างนี้แล้วบวชของ
ท่านนี้ เป็นการยิ่งใหญ่เหมือนกับการที่ช้างกลิ่นหอม (ช้างได้กลิ่นช้างฟัง)
แล้วตัดเครื่องล่ามคือ (โซ่) เหล็กไปได้ฉะนั้น. ครั้นกระทำงานคือความมั่น
คงแก่มหาบุรุษว่า การบวชนี้ชื่อว่า ความเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้แล้วพรหม
สนังกุมารก็ไปสู่พรหมโลกตามเดิม. แม้มหาบุรุษมาคิดว่า การที่เราออกจากที่
นี้แลบวชไม่สมควร เราย่อมพร่ำสอนอรรถแก่ราชตระกูล เพราะฉะนั้น เรา
จักกราบทูลแด่พระราชา ถ้าพระองค์จักทรงผนวชด้วยก็เป็นการดีแท้ ถ้าจักไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 65
ทรงผนวชเราจักเวรคืนตำแหน่งที่ปรึกษาเสร็จแล้วจึงบวช ดังนี้แล้วจึงเข้าเฝ้า
พระราชา. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ท่าน ครั้งนั้นแล มหาโควินท์
ฯลฯ ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดีในความเป็นที่ปรึกษา ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขอพระองค์จงทรงทราบด้วยราช
สมบัติ ความว่า พระองค์นั่นแล จงทรงทราบเฉพาะ (รับผิดชอบ) ด้วย
ราชสมบัติของพระองค์. บทว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดีในความเป็นที่
ปรึกษา ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าหายินดีในความเป็นที่ปรึกษาไม่ ข้าพระ
พุทธเจ้าเบื่อหน่ายแล้ว ขอพระองค์จงทรงทราบปุโรหิตผู้พร่ำสอนอื่นเถิด ข้า
พระพุทธเจ้าไม่ยินดีในความเป็นที่ปรึกษา. ลำดับนั้น พระราชาทรงพระดำริ
ว่า โภคะในเรือนของพราหมณ์ผู้หลีกเร้นตั้งสี่เดือน คงจะน้อยเป็นแน่ จึง
ทรงเชื้อเชิญด้วยทรัพย์ตรัสว่า ถ้าท่านยังพร่องด้วยกามทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะ
เติมให้ท่านจนเต็ม แล้วทรงพระดำริอีกว่า เมื่อพราหมณ์นี้อยู่คนเดียว ต้อง
ถูกใคร ๆ เบียดเบียนหรือหนอแล จึงตรัสถามว่า
ข้าพเจ้าจะป้องกันผู้ที่จะเบียดเบียน
ท่าน ข้าพเจ้าเป็นแม่ทัพแห่งแผ่นดิน
ท่านเป็นพ่อ ข้าพเจ้าเป็นลูก โควินท์
ขอท่านอย่าทิ้งพวกข้าพเจ้าไป.
ความแห่งคาถานั้นว่า ข้าพเจ้าจะป้องกันผู้ที่จะเบียดเบียนท่าน ขอ
อย่างเดียวเพียงให้ท่านบอกว่า คนโน้น ข้าพเจ้าจักทราบสิ่งที่พึงกระทำใน
กรณีนั้น. บทว่า ข้าพเจ้าเป็นแม่ทัพแห่งแผ่นดิน ความว่าอีกอย่างหนึ่ง
ข้าพเจ้าเป็นเจ้าแผ่นดิน ข้าพเจ้านั้นจักให้ท่านเท่านั้น ครอบครองราชสมบัตินี้.
บทว่า ท่านเป็นบิดา ข้าพเจ้าเป็นบุตร ความว่า ท่านดำรงอยู่ในตำแหน่ง
พ่อ ข้าพเจ้าในตำแหน่งลูก ท่านนั้นได้นำเอาใจของข้าพเจ้าไปเพื่อตนเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 66
โควินท์ ! ขอท่านอย่าทอดทิ้งข้าพเจ้า ปาฐะว่า ท่านจงให้เป็นไปตามที่ท่านต้อง
การเถิด ส่วนข้าพเจ้ายอมคล้อยตามใจของท่านทีเดียว จะกินอาหารที่ท่านให้
มีมือถือดาบและโล่รับใช้ท่านหรือขับรถให้ท่าน โควินท์ ท่านอย่าทอดทิ้ง
ข้าพเจ้าไปเลย ดังนี้ก็มี. ใจความของคำนั้นว่า ท่านจงดำรงตำแหน่งพ่อ
ข้าพเจ้าจักดำรงตำแหน่งลูก โควินท์ ! ท่านอย่าทอดทิ้ง คือสละข้าพเจ้าไปเลย.
ครั้งนั้น เมื่อมหาบุรุษจะแสดงสิ่งที่พระราชาทรงคิดไม่มีในตนจึง
กล่าวว่า
ความพร่องด้วยกามของข้าพระพุทธ
เจ้าไม่มี และการเบียดเบียนก็ไม่มีแก่ข้า
พระพุทธเจ้าด้วย เพราะข้าพระพุทธเจ้า
ฟังคำของอมนุษย์แล้วจึงไม่ยินดีในเรือน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ของข้าพระพุทธเจ้าไม่มี ความว่า ไม่มี
แก่ข้าพระพุทธเจ้า. บทว่า ในเรือน คือที่เรือน.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามมหาโควินท์นั้นว่า
อมนุษย์มีวรรณะอย่างไร ได้กล่าว
ความอะไรกะท่านที่ท่านได้ฟังแล้วก็ทิ้ง
เรือนของพวกเรา และพวกข้าพเจ้าทั้ง
หมดไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิ้งเรือนของพวกเราและพวกข้าพเจ้า
ทั้งหมดไป ความว่า พระราชาเมื่อจะทรงกระทำพระราชวังของพระองค์ด้วย
อำนาจรวมถือเอาทั้งบ้านพราหมณ์ที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติจึงตรัสว่า ที่ท่านได้ฟัง
แล้ว ก็ทิ้งเรือนของพวกเราพวกข้าพเจ้า และชาวพูทวีปทั้งหมดทั้งสิ้น คือไม่
มีเหลือไป.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 67
ลำดับนั้น เมื่อมหาบุรุษจะกราบทูลแด่พระราชาพระองค์นั้น จึงกล่าว
คำเป็นต้นว่า เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าไปอยู่คราวก่อน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เข้าไปอยู่ ความว่า เข้าไปถึงความเป็น
ผู้เดียวแล้วอยู่. บทว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ต้องการบูชา ความว่า
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ใคร่เพื่อเซ่นสรวง. บทว่า ไฟที่เอาใบคามาเติมได้ลุก
โชติช่วงแล้ว คือความในข้อนี้ว่า ข้าพระพุทธเจ้ายืนคิดอย่างนี้ว่า ไฟที่เอา
ใบหญ้าคามาเติมแล้วใส่เนยใสนมส้มและน้ำผึ้งเป็นต้นเข้าไป ได้เริ่มลุกโชติ
ช่วงแล้วเมื่อก่อไฟให้ลุกโชติช่วงอย่างนั้นเสร็จแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจักให้ทาน
แก่มหาชน. บทว่า ผู้เก่าแก่ ได้แก่ สนังกุมารพรหม. แต่นั้นแม้องค์พระ
ราชาเอง ก็ทรงเป็นผู้อยากจะทรงผนวชจึงตรัสคำเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าเชื่อ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทำไมท่านจึงประพฤติเป็นอย่างอื่น
ความว่า ท่านจักประพฤติโดยประการอื่นได้อย่างไร. บทว่า พวกเราเหล่า
นั้นจักประพฤติตามท่าน ความว่า พวกเราเหล่านั้นจักประพฤติตามคือจัก
บวชตามท่านนั่นแล. บาลีว่า จักไปตาม ดังนี้ ก็มี ใจความของบาลีนั้นว่า
จักดำเนินไปตาม. บทว่า ไม่ไอ คือ ไม่มีการไอ ไม่หยาบ. บทว่า ในอนุ-
ศาสน์ของโควินท์ คือในคำสอนของท่านผู้ชื่อโควินท์ พระราชาตรัสว่า
พวกเราจักทำโควินท์ผู้เจริญนั่นเองให้เป็นครูประพฤติ. บทว่า เข้าเฝ้า
กษัตริย์ ๖ พระองค์ถึงที่ประทับ ความว่า โควินท์สนับสนุนพระเจ้าเรณุ
ว่า ดีแล้วมหาราช ! การอันยิ่งใหญ่ที่มหาราชผู้ทรงใคร่เพื่อจะทรงผนวชมา
สละราชสิริอันยิ่งใหญ่อย่างนี้ในเมื่อพวกสัตว์ฆ่าพ่อบ้างแม่บ้าง พี่น้องชายบ้าง
พี่น้องหญิงเป็นต้นบ้างถือเอาราชสมบัติ ทรงกระทำแล้ว กระทำอุตสาหะของ
พระองค์ให้มั่นคงแล้วจึงเข้าเฝ้า. บทว่า ทรงคิดพร้อมกันอย่างนั้น ความ
ว่า กษัตริย์ ๖ พระองค์ทรงสำคัญอยู่ว่า บางทีโภคะทั้งหลายของพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 68
เสื่อมรอบแล้วก็เป็นได้ จึงทรงคิดพร้อมกันโดยนัยที่พระราชาทรงคิดนั่นแล.
บทว่า พวกเราพึงศึกษาด้วยทรัพย์ ความว่า พวกเราพึงช่วยเหลือ คือ
พึงสงเคราะห์. บทว่า จงให้นำมาเท่านั้น ความว่า พึงให้นำมา คือพึง
ให้ถือเอาเท่านั้น มีคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านพึงถือเอาเท่าจำนวนที่ท่านต้อง
การ. บทว่า สมบัติของท่านผู้เจริญทั้งหลาย ก็อย่างนั้น ความว่า
สมบัติเกิดเป็นของเพียงพอแล้ว เพราะความที่ท่านทั้งหลายกระทำท่านผู้เจริญ
ทั้งหลายให้เป็นปัจจัยให้แล้วนั่นเทียว
บทว่า ถ้าพวกท่านละกามทั้งหลายได้ ความว่า ถ้าพวกท่าน
ละวัตถุกามและกิเลสกามได้. บทว่า ในกามไรเล่าที่ปุถุชนข้องแล้ว ติด
แล้ว คือติดขัดแล้วในกามเหล่าใด. บทว่า พวกท่านจงปรารภ จงเป็น
ผู้มั่นคง คือ เมื่อเป็นเช่นนี้ขอให้พวกท่านจงปรารภความเพียร อธิษฐาน
ความบากบั่นที่หย่อนจงเป็นผู้มั่นคง. บทว่า เป็นผู้ตั้งมั่นในกำลัง คือ
ความอดทน คือ โควินท์ ปลูกความอุตสาหะให้เกิดแก่พระราชาทั้งหลายว่า
ขอให้พวกพระองค์จงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกำลังคือความอดทน. บทว่า นั่น
เป็นทางตรง ความว่า ทางแห่งฌานที่ประกอบด้วยความสงสารนั่น ชื่อว่า
เป็นทางตรง. บทว่า นั่นเป็นทางอันยอดเยี่ยม ความว่า นั่นแหละชื่อว่า
เป็นทางสูงสุดที่ไม่มีทางอื่นเหมือนเพื่อความเข้าถึงพรหมโลก. บทว่า พระ-
สัทธรรมอันเหล่าสัตบุรุษรักษาแล้ว ความว่า ชื่อว่าพระธรรมนั่นแลชื่อ
ว่าเป็นธรรมอันเหล่าพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกผู้ชื่อว่า
เป็นสัตบุรุษรักษาแล้ว. โควินท์ ย่อมกระทำถ้อยคำให้เป็นกรรมมั่นคงจริง ๆ
เพื่อประโยชน์การไม่กลับ แห่งพระราชาเหล่านั้น แม้ด้วยการพรรณนาฌานที่
ประกอบด้วยกรุณาด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 69
บทว่า ท่าน ! ก็ใครหนอจะรู้ (คติ) ของชีวิตทั้งหลาย
ความว่า ท่าน ! ขึ้นชื่อว่าชีวิต มันก็เหมือนกับฟองน้ำ เหมือนหยาดน้ำค้าง
บนใบหญ้า มีการแตกกระจายในทันทีเป็นธรรมดา ใครจะรู้คติของชีวิตนั้นได้
มันจักแตกสลายในขณะใด. บทว่า ภพหน้า จำต้องไป ความว่า ก็โลกหน้า
เป็นของที่ต้องไปแน่นอนเทียว เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตพึงรู้ ด้วย
ปัญญาในเรื่องนั้น อธิบายว่า ปัญญาท่านเรียกว่าความรู้ต้องปรึกษา ต้องเข้าใจ
ต้องพินิจพิจารณาด้วยปัญญานั้น. หรือคำว่า มนฺตาย นั้นเป็นสัตตมีวิภัติลง
ในอรรถตติยาวิภัติ. บทว่า ต้องชี้ขาดลงไปด้วยความรู้ ความว่า ต้องรู้
ด้วยความรู้. อธิบายว่า ต้องเข้าใจด้วยความรู้ ต้องรู้อะไร ต้องรู้ความที่
ชีวิตรู้ได้ยาก และโลกหน้าเป็นที่ จำต้องไปแน่นอน. ก็แลเมื่อรู้แล้ว ก็ต้อง
ตัดความยุ่งทุกอย่างแล้วทำกุศล ต้องประพฤติพรหมจรรย์. เพราะอะไร เพราะ
ผู้เกิดแล้วไม่ตายย่อมไม่มี.
บทว่า มีศักดิ์น้อย และมีลาภน้อย คือว่า (พระเจ้าเรณุย่อมตรัส
ว่า) ท่าน ! ขึ้นชื่อว่าการบวช ชื่อว่ามียศน้อยทีเดียว เพราะคนเบียดเบียน
แล้วเบียดเบียนเล่า ซึ่งผู้ที่สละราชสมบัติแล้วบวชตั้งแต่เวลาที่บวชแล้ว ย่อม
พูดทำให้เลวทรามและไร้ที่พึ่ง และชื่อว่ามีลาภน้อย เพราะแม้เดินไปจนทั่ว
หมู่บ้าน ก็หาอาหารกลืนได้ยากนั่นแหละ ส่วนความเป็นพราหมณ์นี้ชื่อว่ามี
ศักดิ์ใหญ่ เพราะความเป็นผู้มียศใหญ่ และชื่อว่ามีลาภใหญ่ เพราะความเป็น
ผู้สมบูรณ์ด้วยลาภและสักการะที่ใหญ่. ในบัดนี้ ท่านผู้เจริญเป็นที่ปรึกษาชั้น
ยอดทั่วทั้งชมพูทวีป ทุกหนทุกแห่ง ย่อมได้แต่ที่นั่งประเสริฐ น้ำที่เลิศ อาหารที่
ยอด กลิ่นที่เยี่ยม ระเบียบดอกไม้ที่เลิศ. บทว่า เหมือนราชาแห่งราชาทั้ง
หลาย ความว่า ท่าน ! ข้าพระพุทธเจ้าแล บัดนี้ เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ
ในท่ามกลางหมู่พระราชา. บทว่า เหมือนพรหมแห่งหมู่พราหมณ์ ความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 70
ว่า เป็นเช่นกับมหาพรหมในท่ามกลางแห่งพราหมณ์ปกติทั้งหลาย. บทว่า
เป็นเหมือนเทวดาแห่งพวกคฤหบดี ความว่า ก็แล ข้าพระพุทธเจ้าเป็น
เช่นกับสักกะเทวราชแห่งพวกคฤหบดีที่เหลือ.
บทว่า และพวกภริยาที่มีชาติและวรรณะเสมอกัน ๔๐ นาง
ความว่า พวกภริยาที่มีชาติและวรรณะเช่นกัน ๔๐ นางเท่านั้น แต่พวกหญิง
ระบำในสามวัยเหล่าอื่นของโควินท์ มีมากทีเดียว. บทว่า เที่ยวจาริก ความ
ว่า โควินท์ท่องเที่ยวไปโดยตำบลและอำเภอ ทุก ๆ สถานที่เขาไปมีความ
อลหม่านปานกับความอลหม่านของพระพุทธเจ้า. พวกคนได้ฟังว่า นัยว่า มหา
โควินท์บัณฑิตกำลังจะมา ก็ให้สร้างประรำคอยไว้ก่อน ให้ประดับประดาถนน
หนทาง แล้วลุกขึ้นต้อนรับนำมา. ลาภและสักการะ เกิดขึ้นเหมือนห้วงน้ำ
ใหญ่ไหลท่วมท้น. บทว่า แก่ที่ปรึกษาทั้งเจ็ด คือแต่ที่ปรึกษาของเหล่าพระ
ราชาเจ็ดพระองค์. ในครั้นนั้น พวกคนย่อมกล่าวว่า ขอความนอบน้อมจง
มีแต่มหาโควินทพราหมณ์ ขอความนอบน้อมจงมีแด่ที่ปรึกษาของพระราชา
ทั้งเจ็ด เหมือนในบัดนี้ เมื่อทุกข์ไรๆ เกิดในฐานะเห็นปานนี้ย่อมกล่าวว่า ขอ
นอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ฉะนั้นด้วยประการฉะนี้.
พรหมวิหารมาแล้วในบาลีโดยนัยเป็นต้นว่า ไปด้วยกันกับความรัก.
ก็แลมหาบุรุษ ทำสมาบัติแปดและอภิญญาห้าให้เกิดจนครบแล้ว. บทว่า และ
แสดงทางแห่งความเป็นเพื่อนในพรหมโลกแก่พวกสาวก ความว่า
บอกทางแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพรหมในพรหมโลก. บทว่า
หมดทั้งหมด ความว่า สาวกเหล่าใด ทำสมาบัติแปดและอภิญญาห้าให้
เกิดขึ้นแล้ว. สาวกเหล่าใดไม่ทราบทั่วถึงศาสนา ทั้งหมด. สาวกเหล่าใด
ไม่รู้ไม่อาจเพื่อให้แม้แต่สมาบัติหนึ่งในสมาบัติแปดเกิดขึ้น. บทว่า ไม่เปล่า
คือมีผล. บทว่า ไม่เป็นหมัน คือไม่ใช่เป็นหมัน. บาลีว่า ประสบผลที่เลว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 71
กว่าเขาหมดดังนี้บ้าง. อธิบายว่า ประสบกายคนธรรพ์. บทว่า มีผล คือ
เป็นไปกับด้วยผล เป็นไปกับด้วยประโยชน์เกื้อกูลเพื่อการเข้าถึงเทวโลกที่เหลือ.
บทว่า มีกำไร ได้แก่เป็นไปกับด้วยความเจริญเพื่อเข้าถึงพรหมโลก.
บทว่า เรายังระลึกได้ ความว่า ปัญจสิขะเรายังจำได้. เล่ากันว่า
เพราะบทนี้ พระสูตรนี้จึงกลายเป็นพุทธภาษิตไป. บทว่าไม่ใช่เพื่อความ
เบื่อหน่าย คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อหน่ายในวัฏฏะ. บทว่า ไม่ใช่
เพื่อความคลายกำหนัด คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ความคลายกำหนัดในวัฏฏะ.
บทว่า ไม่ใช่เพื่อความดับโดยไม่เหลือ คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ความดับ
วัฏฏะโดยไม่เหลือ. บทว่า ไม่ใช่เพื่อความสงบรำงับ คือไม่ใช่เพื่อแก่การ
เข้าไปสงบรำงับวัฏฏะ. บทว่า ไม่ใช่เพื่อความรู้ยิ่ง คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์
แก่ความรู้วัฏฏะอย่างยิ่ง. บทว่า ไม่ใช่เพื่อความตื่นพร้อม คือไม่ใช่เพื่อ
ประโยชน์แก่ความตื่นจากวัฏฏะด้วยปราศไปจากความหลับในกิเลส บทว่า
ไม่ใช่เพื่อพระนิพพาน คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่อมตมหานิพพาน. บทว่า
เพื่อความเบื่อหน่ายอย่างสิ้นเชิง คือเพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อหน่ายใน
วัฏฏะส่วนเดียวเท่านั้น. สำหรับในที่นี้บทว่า เพื่อความเบื่อหน่าย ได้แก่
วิปัสสนา. บทว่า เพื่อคลายความกำหนัด ได้แก่มรรค. บทว่า เพื่อความดับ
โดยไม่เหลือเพื่อความสงบรำงับ ได้แก่นิพพาน. บทว่า เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ หมายเอามรรค. บทว่า เพื่อนิพพาน ก็คือนิพพาน
นั่นเอง ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันพึงทราบถ้อยคำที่ปราศจากวัฏฏะอย่างนี้ว่า
ท่านกล่าววิปัสสนา ๑ แห่ง กล่าวมรรค ๓ แห่ง กล่าวนิพพาน ๓ แห่ง ก็แล
คำใช้แทนมรรคก็ดี คำใช้แทนนิพพานก็ดี ทั้งหมดแม้นี้ย่อมมีโดยทำนองนี้แล.
คำที่จะพึงกล่าวในบทเป็นต้นว่า ความเห็นชอบ ก็ได้กล่าวเสร็จแล้วในสัจจ
วรรณนาในวิสุทธิมรรค.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 72
บทว่า เหล่าใดไม่หมดทั้งหมด ความว่า กุลบุตรเหล่าใดไม่
ทราบ เพื่อจะบำเพ็ญอริยมรรคทั้ง ๔ หรือทำให้อริยมรรค ๓, ๒ หรือ ๑ เกิด
ขึ้น. บทว่า ของพวกกุลบุตรทั้งหมดนี้ทีเดียว ความว่า พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงยังธรรมเทศนาให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัต (การบรรพชา)
ของพวกกุลบุตรผู้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่เนืองนิจไม่เป็นของเปล่า มีกำไร
ดังนี้. บทว่า อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทำประทักษิณ ความว่า
ปัญจสิขเทพบุตรชื่นชม รับพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ด้วย
จิต อนุโมทนาสรรเสริญอยู่ด้วยวาจา ยกกระพุ่มมือใหญ่วางเหนือเศียร เข้า
ไปในระหว่างข่ายพระรัศมีหกสีของพระทศพลเจ้าเหมือนดำลงในน้ำครั่งที่ใส
ไหว้ในที่ ๔ แห่ง แล้วทำประทักษิณสามรอบ ชื่นชมชมเชยพระผู้มีพระภาค-
เจ้าพลางก็หายวับไปข้างหน้าพระศาสดาได้มาสู่เทวโลกของตนแล้ว ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามหาโควินทสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 73
๗. มหาสมัยสูตร
เรื่องเทวสันนิบาต
[๒๓๕] ข้าพเจ้าฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ป่าใหญ่ ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
ในแคว้นสักกะ พร้อมกับภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งล้วนแต่เป็น
พระอรหันต์. อนึ่ง พวกเทวดาโดยมากจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ ก็มาประชุมกันเพื่อ
ชมพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระภิกษุสงฆ์. ครั้งนั้นแล พวกเทพชั้นสุทธาวาส
๔ องค์ มีความคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้แล กำลังประทับอยู่ที่ป่าใหญ่ใกล้
กรุงกบิลพัลดุ์ในสักกชนบทพร้อมกับพระภิกษุหมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่ง
ล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งนั้น อนึ่ง พวกเทวดาโดยมากจาก ๑๐ โลกธาตุก็
มาประชุมกันเพื่อชมพระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ อย่ากระนั้นเลย แม้
พวกเราก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว
พึงกล่าวคาถาองค์ละหนึ่งคาถาในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ครั้งนั้นแล
พวกเทวดาเหล่านั้นก็หายตัวจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส แล้วปรากฏเบื้องพระ-
พักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษที่มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ออก หรือ
พึงคู้แขนที่เหยียดออกฉะนั้น. ครั้งนั้น พวกเทวดาเหล่านั้น ถวายอภิวาทพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็ยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่ง. เทวดาองค์หนึ่ง ซึ่งยืนอยู่แล้ว ณ
ส่วนข้างหนึ่งแล ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 74
[๒๓๖] การประชุมใหญ่มีในป่าใหญ่ หมู่เทพ
ก็มาประชุมกันแล้ว เราทั้งหลายก็มาแล้ว
สู่ที่ประชุมธรรมนี้ เพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า
และพระสงฆ์ ซึ่งไม่มีใครเอาชนะได้เลย.
[๒๓๗] ลำดับนั้นแล เทวดาอีกองค์หนึ่ง ก็ได้กล่าวคาถานี้ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
เหล่าพระภิกษุในที่ประชุมนั้น มั่นคง
ได้ทำจิตของตนให้ตรงแล้ว เป็นบัณฑิต
ย่อมรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย เหมือนสารถี
จับเชือกทั้งหลายอยู่ ฉะนั้น.
[๒๓๘] ลำดับนั้นแล เทวดาอีกองค์หนึ่งก็ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พวกภิกษุเหล่านั้น ตัดกิเลสดุจตาปู
ตัดกิเลส ดุจส้มสลักได้แล้ว ถอนกิเลส
ดุจเสาเขื่อนได้แล้ว เป็นผู้ไร้ตัณหา หมด
จด ไม่มีมลทินเที่ยวไป ท่านเป็นนาคหนุ่ม
มีดวงตา ฝึกฝนดีแล้ว.
[๒๓๙] ลำดับนั้นแล เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้ถึง
พระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะแล้วซิ ชนเหล่า
นั้นจักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละร่างของมนุษย์
แล้ว จักทำให้ร่างเทพบริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 75
[๒๔๐] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งภิกษุทั้งหลายว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่เทวดา ๑๐ โลกธาตุโดยมากมาประชุมกันแล้วเพื่อชม
ตถาคตและหมู่ภิกษุ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น แม้เหล่าใด ได้
มีแล้วในอดีตกาล หมู่เทวดามาประชุมเพื่อเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เหล่านั้น
ก็มากเท่ากับของเรา เดี๋ยวนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายนั้น จักมีในอนาคตกาล หมู่เทวดาที่จักเป็นผู้เข้าประชุมกัน ของพระผู้มี
พระภาคเจ้าแม้เหล่านั้น ก็จะมากเท่ากับของเราเดี๋ยวนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราจักบอกชื่อของหมู่เทพทั้งหลาย เราจักระบุชื่อของหมู่เทพทั้งหลาย เราจัก
แสดงชื่อของหมู่เทพทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังการแสดงชื่อหมู่เทพทั้งหลายนั้น
จงเอาใจใส่ให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น สนองพระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ดังนี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ภาษิตนี้ว่า
ทรงประกาศนามเทวดา
[๒๔๑] เราจักร้อยกรองโศลก ภุมมเทวดาอา-
ศัยอยู่ ณ ที่ใด ภิกษุก็อาศัยที่นั้น อาศัย
ซอกเขา ส่งตนไปแล้วมีจิตตั้งมั่น. เป็น
จำนวนมาก เร้นอยู่เหมือนราชสีห์ ครอบ
งำความขนพอง สยองเกล้าเสียได้ มีใจ
ผุดผ่อง เป็นผู้หมดจด ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว.
พระศาสดาทรงทราบภิกษุ ๕๐๐ รูป
เศษในป่าใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แต่นั้น จึง
ตรัส เรียกพระสาวกทั้งหลาย ผู้ยินดีใน
พระศาสนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 76
เทวดามุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่
เทวดาเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นฟังพระดำรัส
ของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กระทำความ
เพียร.
ญาณเป็นเครื่องเห็นพวกอมนุษย์ได้ปรา-
กฏแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวกได้เห็น
อมนุษย์ร้อยหนึ่ง บางพวกได้เห็นอมนุษย์
พันหนึ่ง บางพวกได้เห็นอมนุษย์เจ็ดหมื่น
บางพวกได้เห็นอมนุษย์หนึ่งแสน บางพวก
ได้เห็นไม่มีที่สุด อมนุษย์ได้แผ่ไปทั่วทิศ.
พระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงใคร่ครวญ
ทราบเหตุนั้นสิ้นแล้ว แต่นั้น จึงตรัสเรียก
สาวกผู้ยินดีในพระศาสนาว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย หมู่เทวดามุ่งมากันแล้ว พวก
เธอจงรู้จักหมู่เทวดานั้น เราจักบอกพวก
เธอด้วยวาจาตามลำดับ ยักษ์ ๗,๐๐๐ เป็น
ภุมมเทวดา อาศัยอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ มี
ฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่ง
หน้ามาสู่ป่าซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้ง-
หลาย.
ยักษ์ ๖,๐๐๐ ที่อาศัยอยู่ในเขาเหมวัตมี
ผิวพรรณต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ
มีรัศมี มียศ มุ่งหน้ามาสู่ป่าซึ่งเป็นที่ประ-
ชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 77
ยักษ์ ๓,๐๐๐ ที่อาศัยอยู่ที่เขาสาตาคีรี
มีผิวพรรณต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ
มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่าซึ่งเป็นที่
ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ยักษ์ เหล่านั้นรวมเป็น ๑๖,๐๐๐ ตน
ซึ่งมีผิวพรรณแตกต่างกัน มีฤทธิ์ มีอานุ-
ภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ยักษ์ ๕๐๐ อยู่ที่เขาวิศวามิตร มีผิว
พรรณแตกต่างกัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มี
รัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็น
ที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ยักษ์ชื่อ กุมภีร์ อยู่ในกรุงราชคฤห์
อาศัยเขาเวปุลละ เป็นที่อยู่ ยักษ์มากกว่า
แสนไปเฝ้ายักษ์กุมภีร์นั้น แม้ยักษ์ชื่อกุม-
ภีร์อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์นั้น ก็ได้มา
สู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ชื่อพวกเทพ จตุโลกบาล
[๒๔๒] ก็ท้าวธตรัฐปกครองทิศตะวันออกเป็น
อธิบดีของพวกคนธรรพ์ ท้าวเธอเป็นมหา
ราช มียศ. แม้บุตรเป็นอันมากของท้าว
เธอนั้น ชื่อว่าอินทร์ มีกำลังมาก มีฤทธิ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 78
มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้ามา
สู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ส่วนท้าววิรุฬห์ ปกครองทิศใต้ เป็น
อธิบดีของพวกกุมภัณฑ์ ท้าวเธอเป็นมหา
ราช มียศ. ถึงบุตรเป็นอันมาก ของท้าว
เธอนั้น ก็ชื่อว่า อินทร์ มีกำลังมาก มีฤทธิ์
มีอานุภาพ มีรัศมี ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ฝ่ายท้าววิรูปักษ์ ปกครองทิศตะวัน-
ตก เป็นอธิบดีของพวกนาค ท้าวเธอเป็น
มหาราช มียศ. แม้บุตรเป็นอันมากของ
ท้าวเธอนั้น ก็ชื่อว่า อินทร์ต่างมีกำลังมาก
มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี
มุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุ
ทั้งหลาย.
ท้าวกุเวร ปกครองด้านทิศเหนือ
เป็นอธิบดีของพวกยักษ์ ท้าวเธอเป็นมหา
ราช มียศ. แม้บุตรเป็นอันมากของท้าว
เธอนั้น ก็มีชื่อว่า อินทร์ มีกำลังมาก มี
ฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศต่างก็
ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่ง
ภิกษุทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 79
ท้าวธตรัฐปกครองทิศตะวันออก
ท้าววิรุฬหกปกครองทิศใต้
ท้าววิรูปักษ์ปกครองทิศวันตก ท้าวกุเวร
ปกครองทิศเหนือ มหาราชทั้ง ๔ องค์นั้น
ยังทิศทั้ง ๔ โดยรอบให้รุ่งเรืองประทับอยู่
ในป่าใกล้กรุงกบิลพัสดุ์.
บ่าวของท้าวโลกบาล
[๒๔๓] พวกบ่าวของมหาราชทั้ง ๔ องค์นั้น
ต่างมีมายาล่อลวง โอ้อวด เจ้าเล่ห์ คือ
กุเฏณฑุ ๑ เวเฏณฑุ ๑ วิฏุ ๑ วิฏุฏะ ๑
จันทนะ ๑ กามเศรษฐ์ ๑ กินนุฆัณฑุ ๑
นิฆัณฑุ ๑ ปนาทะ ๑ โอปมัญญะ ๑
เทวสูต ๑ มาตลี ๑ จิตรเสนผู้คนธรรพ์ ๑
นโฬราช ๑ ชโนสภะ ๑ ปัญจสิขะ ๑
ติมพรู ๑ สุริยวัจฉสา ๑
ราชาและคนธรรพ์เหล่านั้น และเหล่า
อื่น พร้อมด้วยเทวราชทั้งหลาย ยินดีมุ่ง
หน้ากันมาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุ
ทั้งหลาย.
อนึ่ง พวกนาคที่อยู่ในสระชื่อ
นาสภะ และอยู่ในเมืองไพศาลี กับบริษัท
แห่งตัจฉกะนาคราชก็มา พวกนาคตระกูล
กัมพลและตระกูลอัสดรก็มา พวกนาคที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 80
อยู่ในท่าปายาคะพร้อมกับหมู่ญาติก็มา
พวกนาคในแม่น้ำยมุนา ตระกูลธตรัฐ ผู้มี
ยศก็มา เอราวัณเทพบุตรผู้เป็นช้างใหญ่
แม้นั้น ก็มาสู่ป่าซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุ
ทั้งหลาย.
[๒๔๔] ปักษีเกิดสองครั้ง เป็นทิพย์ มีตา
หมดจดนำพญานาคไปได้อย่างรวดเร็ว
(คือพญาครุฑ) เหล่าใด พญาครุฑเหล่า
นั้นมาโดยเวหา ถึงท่ามกลางป่า ชื่อของ
พญาครุฑเหล่านั้นว่า จิตรสุบรรณ ในครั้ง
นั้น การอภัยได้มีแล้วแก่พวกพญานาค
พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำความปลอดภัย
จากสุบรรณแล้ว พวกนาคและพวก
สุบรรณทักทายกันด้วยวาจาที่ไพเราะ ต่าง
กระทำพระพุทธเจ้าให้เป็นสรณะแล้ว.
พวกอสูรที่อาศัยสมุทร ซึ่งถูกพระ
อินทร์ปราบจนพ่ายแพ้แล้ว นาคและครุฑ
เหล่านั้นเป็นพี่น้องของท้าววาสวะ มีฤทธิ์
มียศ.
พวกอสูรตระกูลกาลกัญชา มีกาย
ใหญ่น่ากลัว พวกอสูรตระกูลทานเวฆัส
อสูรเวปจิตติ และอสูรสุจิตติปาราท กับ
นมุจี บุตรของอสูรพลี ๑๐๐ ซึ่งมีชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 81
ไพโรจน์ทั้งนั้น ผูกสอดเครื่องเสนา ที่
ทรงพลัง เข่าไปหาราหุภัทร (อสุรินทรา-
หู) แล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ วันนี้เป็น
วันประชุม แล้วก็เข้าไปสู่ป่าเป็นที่ประชุม
แห่งภิกษุทั้งหลาย.
เทวนิกาย ๖๐
[๒๔๕] หมู่เทพพวกอาปะ พวกปฐวี พวก
เตชะและพวกวายะ ก็มาในครั้งนั้นด้วย
หมู่เทพพวกวรุณ พวกวารุณ พวกโสมะ
พวกยสสะ หมู่เทพผู้เกิดด้วยเมตตาและ
กรุณา ผู้มียศ ก็มา.
หมู่เทพ ๑๐ เหล่านี้เป็น ๑๐ พวก ทั้ง
หมดล้วนมีผิวพรรณต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์
มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ มุ่งหน้ามาสู่ป่า
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย
เทพพวกเวณฑู พวกสหลี พวกโสมะ
และพวกยมทั้ง ๒ พวก เทพที่อาศัยพระ-
จันทร์ ทำพระจันทร์เป็นเบื้องหน้าก็มา.
พวกเทพที่อาศัยสุริยะ ทำสุริยะเป็น
เบื้องหน้าก็มา พวกเทพทำนักษัตรทั้ง-
หลาย เป็นเบื้องหน้า พวกเทพมันทพลาหก
ก็มา แม้ท้าวสักกะ วาสวะ ผู้ให้ทานเมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 82
กาลก่อน ผู้ประเสริฐกว่าพวกอสูรเทพก็
เสด็จมา.
หมู่เทพ ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก
ทั้งหมดล้วนแต่มีผิวพรรณต่าง ๆ กัน มี
ฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศยินดี มุ่ง
หน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้ง
หลาย.
เทพพวกสหภู ซึ่งรุ่งเรืองปานเปลว
เพลิง เทพพวกอริฏฐกะ และพวกโรชะ
มีรัศมีเหมือนสีดอกผักตบ เทพพวกวรุณ
พวกสหธรรม พวกอัจจุตะ พวกอเนชกะ
และสุไลยรุจิระ ก็มา พวกวาสวเนสิน
ก็มา.
หมู่เทพ ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก
ทั้งหมดล้วนแต่มีผิวพรรณต่าง ๆ กัน มี
ฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่ง
หน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้ง
หลาย.
เทพพวกสมาน พวกมหาสมาน พวก
มานุสะ พวกมานุสุตะ พวกขิฑฑาปทูสิกะ
พวกมโนปทูสิกะ ก็มา อนึ่ง เทพพวกหริ
ก็มา พวกเทพซึ่งชื่อโลหิตวาสี เทพพวก
ปารัค และพวกมหาปารัคผู้มียศ ก็มา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 83
หมู่เทพ ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก
ทั้งหมดล้วนแต่มีผิวพรรณต่าง ๆ กัน มี
ฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้า
มาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
เทพพวกสุกกะ พวกกรุมหะ พวก
อรุณ พวกเวฆนัส ก็มาด้วยกัน เทพพวก
โอทาตคัยห์ ซึ่งเป็นหัวหน้า พวกวิจักษณ์
พวกสทามัตต์ พวกหารคัช และพวก
มิสสัก ผู้มียศ ก็มา เทพผู้ซึ่งคำรามให้
ฝนตกทั่วทิศก็มา.
หมู่เทพ ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก
ทั้งหมดล้วนแต่มีผิวพรรณต่าง ๆ กัน มี
ฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้า
มาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
เทพพวกเขมีย์ พวกดุสิต พวกยามะ
และพวกกัฏฐักผู้มียศ พวกลัมพิตัก พวก
ลามเศรษฐ์ พวกโชตินาม พวกอาสวะ
และพวกนิมมานรดี ก็มา อนึ่ง พวก
ปรนิมมิต ก็มาด้วย.
หมู่เทพ ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก
โดยทั้งหมดล้วนแต่มีผิวพรรณต่าง ๆ กัน
มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่ง
หน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้ง
หลาย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 84
หมู่เทพ ๖๐ หมู่นี้ล้วนแต่มีผิวพรรณ
ต่าง ๆ กัน มาแล้วโดยส่วนแห่งชื่อ และ
เทพเหล่าอื่น ก็มา เช่นเดียวกัน ด้วยคิด
ว่าพวกเราจักเฝ้าพระมหานาคผู้ปราศจาก
ชาติผู้ไม่มีกิเลสดุจตาปู ผู้ข้ามห้วงน้ำได้
แล้ว ผู้ไร้อาสวะ ผู้ข้ามจากกิเลสที่เปรียบ
เหมือนห้วงน้ำ ผู้ก้าวล่วงกรรมดุจพระ-
จันทร์พ้นจากเมฆฉะนั้น.
พวกพรหม
[๒๔๖] สุพรหม และปรมัตตะ ผู้เป็นบุตร
ของผู้มีฤทธิ์ก็มาด้วย สนังกุมารพรหม
และติสสพรหม แม้เขาก็มาสู่ป่า ซึ่งเป็น
ที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
มหาพรหมย่อมปกครองพรหมโลก
พันหนึ่ง เป็นอุปปาติกะ มีอานุภาพ มีกาย
ใหญ่โต มียศ ก็มา.
พวกพรหม ๑๐ องค์ ผู้เป็นอิสระ
ในพรหมโลกพันหนึ่งนั้น ผู้มีอำนาจเป็น
ไปเฉพาะผู้เดียวก็มา และพรหมชื่อหาริตะ
อันพวกบริวารแวดล้อมแล้วก็มา ในท่าม
กลางแห่งพรหมเหล่านั้น.
และกองทัพมาร ได้เห็นพวกเทพ
พร้อมกับพระอินทร์ทั้งหมดนั้น ก็มาด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 85
แล้วกล่าวว่า ท่านจงดูความเขลาของมาร
พวกท่านจงมาจับผูกไว้ จงผูกด้วยราคะ
จงล้อมไว้โดยรอบ พวกท่านอย่าปล่อย
ให้ใครไปได้.
แม่ทัพ บังคับเสนามาร ในที่ประชุม
นั้นดังนี้ แล้วก็เอาฝ่ามือตบพื้นดิน ทำ
เสียงอย่างน่ากลัวเหมือนเมฆ ทำให้ฝนตก
คำรามอยู่ เป็นไปกับฟ้าแลบ.
ในเวลานั้น พญามารนั้น ไม่ทำให้
ใครเป็นไปในอำนาจของตนได้ เดือดดาล
แล้วกลับ ไป พระศาสดาผู้มีดวงตา ทรง
พิจารณาจนทราบเนื้อความนั้นหมดสิ้น
แล้ว แต่นั้นจึงตรัสเรียกพวกพระสาวกผู้
ยินดีในพระศาสนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กองทัพมารมุ่งหน้ามา พวกท่านจงรู้จัก
พวกเขาไว้ ก็ภิกษุเหล่านั้น ฟังพระดำรัส
ของพระพุทธเจ้าแล้ว กองทัพมารหลีกไป
จากพวกพระภิกษุ ผู้ปราศจากราคะแล้ว
ไม่ทำ แม้ขนของพวกท่านให้หวั่นไหวได้
สาวกทั้งหมดของพระองค์ ชนะสงความ
แล้วล่วงความกลัวเสียได้แล้ว เป็นผู้มียศ
ปรากฏแล้ว ในที่ประชุมชน บันเทิงอยู่
กับด้วยพระอริยเจ้าทั้งหลายแล.
จบ มหาสมัยสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 86
อรรถกถามหาสมัยสูตร
มหาสมัยสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว อย่างนี้.
ต่อไปนี้เป็นการพรรณนาตามลำดับบทในมหาสมัยสูตรนั้น. บทว่า
ในแคว้นของพวกชาวสักกะ ความว่า ชนบทแม้แห่งเดียวเป็นที่อยู่แห่ง
พระราชกุมารที่ได้พระนามว่าสักกะเพราะอาศัยพระอุทานว่า ท่าน ! พวกเด็ก
ช่างเก่งแท้ตามนัยแห่งการเกิดขึ้นที่กล่าวไว้ในอัมพัฏฐสูตร ก็เรียกว่า สักกะ
ทั้งหลาย ในชนบทของพวกชาวสักกะนั้น. บทว่า ที่ป่าใหญ่ คือในป่าใหญ่
ที่เกิดเองมิได้ปลูกไว้ ติดต่อเป็นอันเดียวกันกับหิมพานต์. บทว่า ล้วนแต่
เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด คือผู้สำเร็จพระอรหัตในวันที่ตรัสพระสูตรนี้เอง.
ต่อไปนี้เป็นลำดับถ้อยคำ
เล่ากันมาว่า ชาวศากยะและโกลิยะ ช่วยกันกั้นแม่น้ำชื่อโรหิณีใน
ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองโกลิยะด้วยเขื่อนเดียวเท่านั้นแล้วหว่านกล้า. ต่อ
มาในต้นเดือนเจ็ด เมื่อกล้ากำลังเหี่ยว พวกคนงานของชาวเมืองทั้งสองก็
ประชุมกัน. ในที่ประชุมนั้น พวกชาวเมืองโกลิยะพูดว่า น้ำนี้เมื่อถูกทั้งสอง
ฝ่ายนำเอาไป (ใช้) พวกคุณก็จะไม่พอ พวกฉันก็จะไม่พอ แต่กล้าของพวกฉัน
จะสำเร็จด้วยน้ำ แต่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ขอให้พวกคุณจงให้น้ำแก่พวก
ฉันเถิดนะ ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ก็พูดว่า เมื่อพวกคุณใส่ข้าวจนเต็มยุ้งแล้ว พวก
ฉันจะเอาทองแดงมณีเขียวและกหาปณะดำ มีมือถือกะบุงและไถ้เป็นต้น เดิน
ไปใกล้ประตูบ้านของพวกคุณก็ไม่ได้ ถึงข้าวกล้าของพวกฉันก็จะสำเร็จด้วยน้ำ
ครั้งเดียวเหมือนกัน ขอให้พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกฉันเถิดนะ พวกฉันให้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 87
ไม่ได้. ถึงพวกฉันก็ให้ไม่ได้. เมื่อทะเลาะกันลามปามอย่างนี้แล้ว คนหนึ่งก็
ลุกไปตีคนหนึ่ง แม้คนนั้นก็ตีคนอื่น ต่างทุบตีกันและกันอย่างนี้แล้วก็ทะเลาะ
กันลามปามจนเกี่ยวโยงไปถึงชาติของพวกราชตระกูลด้วยประการฉะนี้.
พวกคนงานฝ่ายโกลิยะ พูดว่า พวกแกจงพาเอาพวกชาวกบิลที่ร่วม
สังวาสกับพี่น้องสาวของตนเหมือนกับพวกสุนัขและหมาจิ้งจอกเป็นต้นไป ต่อ
ให้ ช้าง ม้า และโล่และอาวุธของพวกนั้นก็ทำอะไรพวกข้าไม่ได้. พวกคนงาน
ฝ่ายศากยะก็พูดบ้างว่า พวกแกก็จงพาเอาเด็กขี้เรือน ซึ่งเป็นพวกอนาถาหาคติ
มิได้ อยู่ใต้ไม้กระเบาเหมือนพวกดิรัจฉานไปเดี๋ยวนี้ ต่อให้ช้างม้าและโล่และ
อาวุธของพวกนั้นก็ทำอะไรพวกข้าไม่ได้หรอก. ครั้นพวกเหล่านั้นกลับไปแล้ว
ก็แจ้งแก่พวกอำมาตย์ที่เกี่ยวกับงานนั้น. พวกอำมาตย์ก็กราบทูลพวกราชตระกูล
จากนั้นพวกเจ้าศากยะก็ว่า พวกเราจะแสดงความเข้มแข็งและกำลังของเหล่าผู้
ร่วมสังวาสกับพี่สาวน้องสาวแล้วก็เตรียมยกทัพไป. ฝ่ายพวกเจ้าโกลิยะก็ว่า
พวกเราจะแสดงความเข้มแข็งและกำลังของเหล่าผู้อยู่ใต้ต้นกระเบา แล้วก็
เตรียมยกทัพไป.
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเวลาใกล้รุ่งนั้นเอง เสด็จออกจาก
มหากรุณาสมาบัติ เมื่อทรงตรวจดูโลกได้ทรงเห็นพวกเหล่านี้ กำลังเตรียมยก
ทัพไปอย่างนี้ ครั้นทรงเห็นแล้วก็ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า เมื่อเราไป การทะเลาะนี้
จะสงบหรือไม่หนอ ได้ทรงทำการสันนิษฐานว่า เมื่อเราไปที่นั้นแล้วจะแสดง
ชาดกสามเรื่อง เพื่อระงับการทะเลาะกัน แต่นั้นการทะเลาะกันก็จะสงบ ต่อ
จากนั้น เพื่อประโยชน์การส่องถึงความพร้อมเพรียงกันเราจะแสดงอีกสองชาดก
แล้วแสดงถึงเรื่อง อัตตทัณฑสูตร เมื่อชาวเมืองทั้งสองได้ฟังเทศน์แล้ว
จะให้เด็กฝ่ายละสองร้อยห้าสิบคน เราจะให้เด็กเหล่านั้นบวช ทีนั้น การประชุม
ใหญ่ก็จะมี เพราะเหตุนั้น ขณะที่พวกเหล่านั้นกำลังเตรียมยกทัพออกไป ไม่ทรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 88
แจ้งใคร ๆ พระองค์เองนั่นแหละเสด็จถือบาตร จีวร ไปขัดบัลลังก์ประทับนั่ง
เปล่งพระรัศมีหกสีที่อากาศระหว่างกองทัพทั้งสอง.
พอชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าเท่านั้น ก็คิดว่า
พระศาสดาพระญาติประเสริฐของพวกเราเสด็จมาแล้ว พระองค์ทรงเห็นความที่
พวกเรากระทำการทะเลาะกันหรือหนอ แล้วคิดว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
มาแล้ว พวกเราจะให้ศัสตราถึงสรีระผู้อื่นไม่ได้อย่างเด็ดขาด แล้วก็ทิ้งอาวุธ
นั่งไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. แม้พวกชาวเมืองโกลิยะ ก็คิดเหมือนกันอย่าง
นั้นแหละ พากันทิ้งอาวุธนั่งไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ทั้งที่ทรงทราบอยู่
เทียว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสถามว่า มหาบพิตร ! พวกพระองค์เสด็จมา
ทำไม. พวกเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! พวกข้าพระองค์
เป็นผู้มาที่นี้ไม่ใช่เพื่อเล่นที่ท่าน้ำ ไม่ใช่เพื่อเล่นที่ภูเขา ไม่ใช่เพื่อเล่นแม่น้ำ
ไม่ใช่เพื่อชมเขา แต่มารบกัน. มหาบพิตร ! เพราะอาศัยอะไร พระองค์
จึงทะเลาะกัน. น้ำ พระพุทธเจ้าข้า. น้ำมีค่าเท่าไร มหาบพิตร มีค่าน้อย
พระเจ้าข้า. ชื่อว่าแผ่นดิน มีค่าเท่าไร มหาบพิตร หาค่ามิได้พระเจ้าข้า. ชื่อว่า
พวกกษัตริย์มีค่าเท่าไร มหาบพิตร ชื่อว่าพวกกษัตริย์หาค่ามิได้ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มหาบพิตร! พวกพระองค์อาศัยน้ำที่มีค่าน้อยแล้ว
มาทำให้พวกกษัตริย์ซึ่งหาค่ามิได้ ฉิบหาย เพื่ออะไร แล้วตรัสว่า ในการ
ทะเลาะกัน ไม่มีความชื่นใจ มหาบพิตรทั้งหลาย ! ด้วยอำนาจการทะเลาะกัน
ความเจ็บใจที่รุกขเทวดาคนหนึ่งผู้ทำเวรในที่ที่ไม่น่าเป็นไปได้แล้วผูกไว้กับหมี
ได้ติดตามไปตลอดกัปทั้งสิ้น แล้วตรัสชาดกเรื่องต้นสะคร้อ. ต่อจากนั้น
ตรัสอีกว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ! ไม่พึงเป็นผู้แตกตื่น เพราะฝูงสัตว์สี่เท้าใน
ป่าหิมพานต์ซึ่งกว้างทั้งสามพันโยชน์ แตกตื่นเพราะคำพูดของกระต่ายตัวหนึ่ง
ได้แล่นไปจนถึงทะเลหลวง เพราะฉะนั้น ไม่พึงเป็นผู้แตกตื่น แล้วตรัสชาดก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 89
เรื่องแผ่นดินถล่ม ต่อจากนั้นตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ! บางทีแม้แต่ผู้ที่
อ่อนกำลังก็ยังเห็นช่องผิดของผู้มีกำลังมากได้ บางทีผู้มีกำลังมาก ก็เห็นช่อง
พิรุธของผู้อ่อนกำลังได้ จริงอย่างนั้น แม้แต่นางนกมูลไถ ก็ยังฆ่าช้างได้
แล้วตรัสชาดกเรื่องนกมูลไถ. เมื่อตรัสชาดกทั้งสามเรื่องเพื่อระงับการทะเลาะกัน
อย่างนี้แล้ว เพื่อประโยชน์การส่องถึงความพร้อมเพรียงกัน จึงตรัสชาดก (อีก)
สองเรื่อง. ตรัสอย่างไร ตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ! ก็ใคร ๆ ไม่สามารถ
เพื่อจะเห็นช่องผิดของพวกผู้พร้อมเพรียงกันได้ แล้วตรัสรุกขธัมมชาดก.
จากนั้นตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ใคร ๆ ไม่อาจเห็นช่องผิดของเหล่าผู้พร้อม
เพรียงกันได้ แต่เมื่อพวกเขาได้ทำการวิวาทกันและกัน เมื่อนั้นลูกพรานก็ฆ่า
พวกนั้นถือเอาไป ขึ้นชื่อว่าความชื่นใจ ย่อมไม่มีในการวิวาทกัน แล้วตรัสชาดก
เรื่องนกคุ่ม ครั้นตรัสชาดกทั้ง ๕ เรื่อง เหล่านี้เสร็จแล้ว สุดท้ายตรัสเรื่อง
อัตตทัณฑสูตร.
พระราชาทั้งหลายทรงเลื่อมใส ตรัสว่า หากพระศาสดาจักมิได้เสด็จ
มา พวกเราก็จะฆ่ากันเองด้วยมือของตนแล้วทำให้แม่น้ำเลือดไหลไป พวก
เราจะไม่พึงเห็นลูกและพี่น้องของเราที่ประตูเรือน พวกเราจะไม่ได้มีแม้แต่ผู้
สื่อสารโต้ตอบกัน พวกเราได้ชีวิตเพราะอาศัยพระศาสดา ก็ถ้าพระศาสดาจะ
ทรงครองเรือน ราชสมบัติในทวีปใหญ่สี่อันมีทวีป น้อย สองพันเป็นบริวาร
ก็คงจะได้อยู่ในอุ้งพระหัตถ์ของพระองค์ ก็ลูก ๆ ของพวกเราตั้งพันกว่าคน ก็
จะได้มี และแต่นั้นพระองค์ก็จะมีกษัตริย์เป็นบริวารท่องเที่ยวไป แต่พระองค์
มาทรงละสมบัตินั้นแล้วทรงออกไปบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว ถึงบัดนี้ก็ขอให้
จงทรงมีกษัตริย์เป็นบริวารเที่ยวไปนั่นเทียว. กษัตริย์ชาวสองพระนครก็ได้
ถวายพระกุมารฝ่ายละสองร้อยห้าสิบองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระกุมาร
เหล่านั้นทรงผนวชแล้ว ก็เสด็จไปป่าใหญ่ เพราะความที่ท่านเหล่านั้นเคารพ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 90
อย่างหนัก ความไม่ยินดีจึงได้เกิดแก่พวกท่านผู้ซึ่งมิได้บวชตามความพอใจ
ของตน. แม้พวกภรรยาเก่าของท่านเหล่านั้นก็พูดคำเป็นต้นว่า ขอให้พระลูกเจ้า
ทั้งหลายจงสึกเถิด การครองเรือนจะทรงอยู่ไม่ได้ แล้วก็ส่งข่าวไป. พวกท่าน
ก็ยิ่งกระสันหนักขึ้นอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใคร่ครวญอยู่ก็ทรงทราบความ
ไม่ยินดีของพวกท่านเหล่านั้นทรงคิดว่า พวกภิกษุเหล่านี้อยู่ร่วมกันกับ
พระพุทธเจ้าเช่นเรา ยังกระสัน ถ้าไฉนเราจะกล่าวยกย่องสระดุเหว่าแก่พวกเธอ
แล้วก็ทรงพาไปที่นั้น ทรงคิดว่า เราจะบรรเทาความไม่ยินดี จึงทรงกล่าวคุณ
ของสระดุเหว่า. พวกภิกษุได้เป็นผู้อยากเห็นสระนั้นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอเป็นผู้อยากจะเห็นสระดุเหว่าหรือ. พวก
ภิกษุกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า. ถ้าอย่างนั้น มา พวกเราไปกัน. ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ! พวกข้าพระองค์จะไปสู่ที่สำหรับไปของพวกท่านผู้มีฤทธิ์
ได้อย่างไร. พวกเธอเป็นผู้อยากไปสระนั้น เราจะพาไปด้วยอานุภาพของเรา
เอง. ดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหาะไปในอากาศ
ลงที่ใกล้สระดุเหว่า และตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ! ที่สระ
ดุเหว่านี้ ใครไม่รู้จักชื่อพวกปลา ก็จงถามเรา. ท่านเหล่านั้นทูลถามแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกสิ่งที่ภิกษุถามแล้วถามอีก. และไม่ใช่แต่ชื่อพวก
ปลาเท่านั้น ยังให้ถามถึงชื่อของต้นไม้ทั้งหลายในราวป่านั้นด้วย ของสัตว์สอง
เท้าสี่เท้าและนกในเชิงเขาด้วย แล้วก็ทรงบอก.
ครั้งนั้น พญานกดุเหว่าจับที่ท่อนไม้ซึ่งนกสองตัวใช้ปากกัดคาบไว้มี
พวกนกล้อมหน้าหลังทั้งสองข้างกำลังมา. เมื่อภิกษุได้เห็นนกนั้น ก็ทูลถามว่า
พระเจ้าข้า ! นั่นคงจะเป็นพญานกของนกเหล่านี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเข้าใจ
ว่า พวกเหล่านั่น คงจะเป็นบริวารของพญานกนั่น. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเป็น
อย่างนั้น แม้นี้ก็เป็นวงศ์ของเรา เป็นประเพณีของเรา. พระเจ้าข้า ! พวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 91
ข้าพระองค์จะดูนกเหล่านี้สักประเดี๋ยวก่อน และก็พวกข้าพระองค์อยากจะฟังข้อ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แม้นี้ก็เป็นวงศ์ของเรา เป็นประเพณีของเรา.
อยากฟังหรือ ภิกษุทั้งหลาย. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น จงฟัง แล้วก็ตรัสชาดกเรื่องนกดุเหว่า ประดับด้วยคาถา
สามร้อย ทรงบรรเทาความไม่ยินดีแล้ว เมื่อจบเทศน์แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ตั้ง
อยู่ในโสดาปัตติผลทุกรูป และแม้แต่ฤทธิ์ของท่านเหล่านั้น ก็มาพร้อมกับมรรค
นั่นเอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคิดว่า สำหรับภิกษุเหล่านี้เพียงเท่านี้ก่อนเถิด
แล้วก็ทรงเหาะไปในอากาศเสด็จไปสู่ป่าใหญ่นั่นแล. แม้ภิกษุเหล่านั้นเวลาไป
ไปด้วยอำนาจของพระทศพล แต่ เวลามาแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าลงในป่า
ใหญ่ด้วยอำนาจของตนเอง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับบนที่นั่งที่ปูไว้แล้วตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น
แล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย จงมานั่งลง เราจะบอกกัมมัฏฐานเพื่อให้พวกเธอ
ละกิเลสที่ต้องละด้วยสามมรรคเบื้องบน แล้วก็ทรงบอกกัมมัฏฐานให้. พวกภิกษุ
พากันคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพวกเราไม่มีความยินดีจึงทรงพา
ไปสระดุเหว่าทรงบรรเทาความไม่ยินดี บัดนี้ ได้ทรงประทานกัมมัฏฐานสำหรับ
มรรคทั้งสามในที่นี้แก่พวกเราซึ่งบรรลุโสดาปัตติผลในที่นั้นแล้ว ก็แลพวกเรา
ไม่ควรให้เสียเวลาด้วยคิดว่า พวกเราเป็นพระโสดาบันแล้ว พวกเราควร
เป็นอุดมบุรุษ ท่านเหล่านั้นจึงไหว้พระบาทของพระทศพลแล้วลุกขึ้นสลัด
ที่นั่งแยกกันไปนั่งที่เงื้อมและโคนไม้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระดำริ
ว่า ภิกษุเหล่านี้ แม้โดยปกติก็ไม่ทิ้งการงาน และก็สำหรับ ภิกษุที่ได้อุบาย
จะไม่มีเหตุแห่งการเหน็ดเหนื่อย และเมื่อไปตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุอรหัต ก็
จะพากันมาสู่สำนักเรา ด้วยคิดว่า พวกเราจะกราบทูลคุณวิเศษที่แต่ละคนได้
เฉพาะแล้ว เมื่อพวกเธอเหล่านั่นมาแล้วพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลก็จะประชุม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 92
กันในจักรวาลหนึ่ง การประชุมใหญ่ก็จะมี เราควรนั่งในโอกาสที่สงัด. ลำดับ
นั้นก็รับสั่งให้ปูพุทธอาสน์ในโอกาสที่สงัดแล้วประทับนั่งลง.
พระเถระที่ไปรับกัมมัฏฐานก่อนเขาหมด สำเร็จพระอรหัตพร้อมทั้ง
ปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว. ต่อไปก็อีกรูป ถัดไปก็อีกรูป ดังนี้ก็เป็นอันว่าภิกษุทั้ง
๕๐๐ รูป เบิกบานเหมือนปทุมที่บานในสระปทุมฉะนั้น. ภิกษุที่สำเร็จพระ-
อรหัตก่อนเขาหมด คิดว่า เราจะกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงคลายบัลลังก์
สลัดที่นั่งลุกขึ้นบ่ายหน้าไปหาพระทศพล. อีกรูปหนึ่งก็อย่างนั้น อีกรูปหนึ่งก็
อย่างนั้น ดังนี้ก็เป็นอันว่าภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป ทะยอยกันมาเหมือนเข้าสู่โรง
อาหารฉะนั้น. ผู้ที่มาก่อนเขาหมด ไหว้และปูที่นั่งแล้วนั่งในที่ควรส่วนหนึ่ง
เป็นผู้อยากจะกราบทูลถึงคุณพิเศษที่ได้โดยเฉพาะ คิดว่า ใครอื่นมีหรือไม่มี
หนอ กลับไปมองดูทางมาได้เห็นแม้อีกรูปหนึ่ง ได้เห็นแม้อีกรูปหนึ่ง. ด้วย
ประการฉะนี้ เป็นอันว่า ท่านทั้งหมดแม้นั้นก็มานั่งในที่ควรส่วนหนึ่งแล้วก็
ต่างคิดว่า รูปนี้กำลังระอายจึงไม่บอกแก่รูปนี้ รูปนี้ก็กำลังละอายจึงไม่บอกแก่
รูปนี้ ได้ยินว่า สำหรับพวกผู้สิ้นอาสวะแล้วย่อมมีอาการสองอย่างคือ
๑. เกิดความคิดว่า ชาวโลกพร้อมกับเทวดาจะพึงรู้แจ้งแทงตลอด
คุณวิเศษที่เราได้เฉพาะแล้ว พลันทีเดียว
๒. ไม่ประสงค์จะบอกคุณที่คนได้แล้วแก่ผู้อื่น เหมือนคนที่ได้ขุม
ทรัพย์ฉะนั้น.
ก็เมื่อสักว่าวงของพระอริยเจ้านั้นหยั่งลงแล้ว พระจันทร์เต็มวงศ์ ซึ่ง
หลุดพ้นจากตัวการที่ทำให้เศร้าหมองคือ หมอก น้ำค้าง ควัน ฝุ่น ราหู จาก
ขอบเขตรอบเขายุคนธรทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยสิริแห่งล้อเงิน ซึ่งกำลัง
จับขอบกงหมุนไป คล้ายกับวงแว่นส่องแผ่นใหญ่ที่สำเร็จด้วยเงินที่ยกขึ้นใน
ด้านทิศตะวันออก เพื่อทัศนะอันเป็นที่น่ารื่นรมย์ของโลกที่ประดับด้วยพุทธุปบาท
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 93
ลอยเด่นดำเนินไปสู่ทางลม. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าใหญ่ใกล้กรุง
กบิลพัสดุ์ในแคว้นแห่งพวกชาวสักกะกับหมู่ภิกษุจำนวนมาก คือ ภิกษุมีจำนวน
๕๐๐ รูป ทุกรูปล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ในขณะ คือในลยะ ได้แก่ในครู่หนึ่ง
เห็นปานนี้ด้วยประการฉะนี้.
ในที่ประชุมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเกิดในวงศ์พระเจ้ามหาสมมต
เหล่าภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนั้นเล่า ก็เกิดในตระกูลพระเจ้ามหาสมมต พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงเกิดในพระครรภ์กษัตริย์ ท่านเหล่านั้นเล่าก็เกิดในครรภ์
กษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นนักบวชชั้นเจ้า ท่านเหล่านั้นเล่าก็เป็น
นักบวชชั้นเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเศวตฉัตร ทรงสละราชสมบัติจักร-
พรรดิที่อยู่ในกำพระหัตถ์ ทรงผนวช ท่านเหล่านั้น เล่าก็สละเศวตฉัตร ทิ้ง
ราชสมบัติที่อยู่ในกำมือบวช. ดังว่ามานี้จึงเป็นอันว่า องค์พระผู้มีพระภาคเจ้า
เองทรงหมดจด ทรงมีบริวารที่หมดจด ในโอกาสที่หมดจด ในส่วนราตรีที่
หมดจด ทรงปราศจากราคะ ทรงมีบริวารที่ปราศจากราคะ ทรงปราศจากโทสะ
ทรงมีบริวารที่ปราศจากโทสะ ทรงปราศจากโมหะ ทรงมีบริวารที่ปราศจาก
โมหะ ทรงไม่มีตัณหา ทรงมีบริวารที่ไม่มีตัณหา ทรงไม่มีกิเลส ทรงมีบริวาร
ที่ไม่มีกิเลส ทรงสงบ ทรงมีบริวารที่สงบ ทรงฝึกแล้ว ทรงมีบริวารที่ฝึกแล้ว
ทรงพ้นแล้ว ทรงมีบริวารที่พ้นแล้ว ทรงรุ่งเรืองเกินเปรียบด้วยประการฉะนี้.
นี่ชื่อว่าเป็นชั้นวรรณะสามารถพูดได้เท่าใด ก็พึงพูดเท่านั้น. ดังที่ว่ามานี้ ท่าน
พระอานนท์ หมายเอาภิกษุเหล่านี้จึงกล่าวว่า คือภิกษุมีจำนวน ๕๐๐ รูป ทุก
รูปล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งนั้น.
บทว่า โดยมาก คือ มากกว่า ประชุมกันแล้ว ที่น้อยยกเว้นเทพ
ไม่มีสัญญา เทพชั้นอรูปาวจร และเทพที่เข้าสมาบัติ ไม่ได้เข้าประชุม. ต่อไป
นี้ เป็นลำดับการเข้าประชุมในมหาสมัยสูตรนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 94
เล่ากันมาว่า เหล่าเทวดาโดยรอบป่าใหญ่เคลื่อนไหวแล้ว ทำเสียงดัง
ว่า มาเถิดผู้เจริญทั้งหลาย ชื่อว่าการเห็นพระพุทธเจ้ามีอุปการะมาก การฟัง
พระธรรมมีอุปการะมาก การเห็นหมู่ภิกษุมีอุปการะมาก มา มาเถิด พวกเรา
แล้วก็พากันมานมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า และเหล่าพระขีณาสพผู้บรรลุ
พระอรหัต เมื่อครู่นั้น แล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. โดยอุบายนี้นั่นแหละ
พึงทราบว่า ทวยเทพทั้งหลายในแสนจักรวาลมาประชุมกัน เพราะฟังเสียงเทวดา
เหล่านั้น ๆ โดยลำดับ คือ เทวดาผู้อยู่ในจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งอยู่ในสกลชมพู
ทวีป ปุพพวิเทหทวีป อมรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวีป ในทวีปน้อยสองพัน
ทวีป คือ พวกเทวดาที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ซึ่งกว้างประมาณสามพันโยชน์
โดยฟังเสียงเทวดาผู้อาศัยอยู่ในที่กึ่งคาวุต หนึ่งคาวุต กึ่งโยชน์ หนึ่งโยชน์
โดยลำดับต่อกันไป เทวดาในนคร ๑๘๙,๐๐๐ นคร เทวดาอยู่ที่โทณมุข
๙,๙๐๐,๐๐๐ แห่ง เทวดาอยู่ที่ปฏนะ ๙๖ แสนโกฏิ และอาศัยอยู่ที่ทะเล ๕๖
แห่ง มาประชุมกันแล้ว แต่นั้นก็เทวดาในจักรวาลที่สองที่สามเป็นต้น มา
ประชุมกันด้วยประการฉะนี้. ก็หมื่นจักรวาลท่านหมายเอาว่า ๑๐ โลกธาตุ
ในที่นี้. เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เทวดาจาก ๑๐ โลกธาตุโดยมากเป็นผู้เข้า
ประชุมแล้ว.
ห้องจักรวาลทั้งสิ้น จนถึงพรหมโลกเต็มแน่นไปด้วยพวกเทวดาที่เข้า
ประชุมอย่างนั้น เหมือนกล่องเข็มที่เต็มแน่นไปด้วยเข็มที่ใส่ไปจนหาที่ว่าง
ไม่ได้. ในห้องจักรวาลทั้งสิ้นนั้นพึงทราบว่า ที่สูงกว่าเขาได้แก่ห้องจักรวาล
ของพรหมโลก. เล่ากันมาว่า ผู้ยืนในพรหมโลกเอาก้อนหินเท่าเรือนยอดเจ็ด
ชั้นในโลหปราสาท โยนลงล่างสี่เดือนจึงถึงแผ่นดิน. ในโอกาสใหญ่ขนาดนั้น
ได้มีเทวดาจนหาที่ว่างไม่ได้. เหมือนดอกไม้ที่คนยืนข้างล่างโยนไป หรือเหมือน
ควันไม่ได้ช่องเพื่อขึ้นไปเบื้องบน หรือเหมือนเมล็ดผักกาดที่คนยืนข้างบน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 95
โรยไปไม่ได้ช่องเพื่อลงล่างฉะนั้น. ก็ที่ประทับนั่งของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่คับ
แคบ พวกเทวดาและพวกพรหมที่มีศักดิ์ใหญ่ซึ่งมาแล้ว ๆ ย่อมได้ช่องทุกองค์
เหมือนที่ประทับนั่งของพระเจ้าจักรพรรดิย่อมเป็นที่ไม่คับแคบ พวกกษัตริย์
ชั้นผู้ใหญ่ที่เสด็จมาแล้ว ๆ ก็ยังทรงได้ช่องว่างอยู่นั่นเองฉะนั้น. เออก็ยังเล่า
กันมาว่า ประเทศขนาดเท่ากับปลายขนทราย ตามนัยที่กล่าวไว้ในมหา-
ปรินิพพานสูตร ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเอง ก็ยังมีเทวดา ๑๐ องค์
บ้าง ๒๐ องค์บ้าง เนรมิตร่างละเอียดยืนอยู่. ข้างหน้าทั้งหมดมีเทวดา ๖๐ ๆ
องค์ยืนอยู่.
บทว่า พวกชั้นสุทธาวาส คือชาวสุทธาวาส. พรหมโลก ๕ ชั้น
อันเป็นที่อยู่ของพระอนาคามีและพระขีณาสพผู้หมดจดชื่อว่าสุทธาวาส. คำว่า
ได้มีคำดำริอย่างนี้ คือ ทำไมจึงได้มี. ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พวกพรหมเหล่านั้น
เข้าสมาบัติแล้วออกตามกำหนด เมื่อมองดูที่อยู่ของพรหมก็ได้เห็นว่าง เหมือน
โรงอาหารในเวลาหลังอาหาร แต่นั้นเมื่อใคร่ครวญดูว่า พวกพรหมไปไหน
ก็ทราบว่าไปที่ประชุมใหญ่ คิดว่า สมาคมนี้ใหญ่ ฝ่ายพวกเรามามัวชักช้า
ก็สำหรับพวกผู้ชักช้าจะหาโอกาสได้ยาก เพราะฉะนั้น เมื่อจะไปพวกเราอย่ามี
มือเปล่า แต่งคาถาองค์ละบทแล้วค่อยไปพวกเราจะให้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบว่าตนมาในสมาคมเหมือนกันด้วยคาถานั้น และจะกล่าวพระเกียรติคุณของ
พระทศพลด้วย. ความดำริอย่างนี้จึงได้มีเพราะความที่พรหมเหล่านั้นออกจาก
สมาบัติแล้วใคร่ครวญด้วยประการฉะนี้. บทว่า ปรากฏข้างหน้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ความว่า ท่านทำพรหมเล่านั้นให้เหมือนหยั่งลงในที่เฉพาะ
พระพักตร์ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเองกล่าวไว้แล้ว. ในบาลีแต่ในที่นี้ไม่พึง
เข้าใจความอย่างนี้เลย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 96
ก็พรหมเหล่านั้น แต่งคาถาแต่ยังอยู่ในพรหมโลกเสร็จแล้วองค์หนึ่ง
ลงที่ขอบปากจักรวาลด้านตะวันออก องค์หนึ่งลงที่ขอบปากจักรวาลด้านใต้
องค์หนึ่งลงที่ขอบปากจักรวาลด้านตะวันตก องค์หนึ่งลงที่ขอบปากจักรวาลด้าน
เหนือ. ต่อจากนั้นพรหมที่ลงที่ขอบปากจักรวาลด้านตะวันออก ก็เข้ากสิณเขียว
แล้วปล่อยรัศมีเขียว เหมือนกำลังสวมหนังแก้วมณีให้เทวดาในหมื่นจักรวาล
ทราบว่าตนมาแล้ว ธรรมดาวิถีของพระพุทธเจ้าไม่มีใครสามารถจะผ่านไปได้
เพราะฉะนั้น จึงมาด้วยวิถีของพระพุทธเจ้าที่กระทบแล้วไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ยืนในที่ควรส่วนหนึ่งแล้วก็ได้กล่าวคาถาที่ตนได้แต่งไว้. พรหมที่ลงที่ขอบปาก
จักรวาลด้านใต้ ก็เข้ากสิณเหลืองปล่อยรัศมีแสงทองเหมือนกำลังห่มผ้าทอง
ประกาศให้เทวดาในหมื่นจักรวาลทราบว่าตนมาแล้วได้ยืนอยู่ในนั้นนั่นเอง.
พรหมที่ลงทางขอบปากจักรวาลด้านตะวันตก เข้ากสิณแดง เปล่งรัศมีแดง
เหมือนห่มผ้าขนสัตว์ชั้นดีสีแดง ประกาศให้ทรงทราบว่าตนมาแล้ว แก่เทวดา
ในหมี่นจักรวาลแล้วได้ยืนอย่างนั้นเหมือนกัน. พรหมที่ลงทางขอบปากจักรวาล
ด้านเหนือ เข้ากสิณขาว เปล่งรัศมีขาวเหมือนนุ่งผ้าดอกมะลิ ประกาศให้
ทราบว่าตนมาแล้ว แก่เทวดาในหมื่นจักรวาลได้ยืนอย่างนั้นเหมือนกัน. แต่ใน
บาลีท่านกล่าวว่า พรหมทั้งหลายเหล่านั้น ปรากฏข้างหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ครั้งนั้นเทวดาเหล่านั้น อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนในที่ควรส่วน
หนึ่ง ดังนี้ แล้วได้กล่าวความปรากฏข้างหน้า และการอภิวาทแล้วยืนในที่ควร
ส่วนหนึ่ง เหมือนกับในขณะเดียวกันอย่างนั้น. การปรากฏและการยืนได้มี
ตามลำดับนี้ แต่ท่านกระทำเป็นพร้อมกันแสดงไว้แล้ว. ส่วนการกล่าวคาถา
ในบาลีท่านแยกกล่าวไว้เป็นแผนก ๆ ทีเดียว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มหาสมัย แปลว่า การประชุมใหญ่ ป่าชัฏ
เรียกว่าป่าใหญ่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การประชุมใหญ่ คือการเข้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 97
ประชุมพร้อมกันครั้งใหญ่มีในวันนี้ที่ชัฏป่านี้ แม้ด้วยบททั้งสอง. แต่นั้น เพื่อ
แสดงพวกที่เข้าประชุมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หมู่เทพมาประชุมกัน
แล้ว. ในบทว่า หมู่เทพนั้น คือพวกเทวดา บทว่า พวกเราเป็นผู้มาสู่การ
ประชุมธรรมนี้ คือ เมื่อได้เห็นหมู่เทพมาประชุมกันอย่างนี้ แม้พวกเราก็มา
สู่การประชุมธรรมนี้. เพราะเหตุไร เพราะเหตุ เพื่อเห็นหมู่ที่ไม่มีใคร
ปราบได้นั่นเอง อธิบายว่า พวกเราได้เป็นผู้มาเพื่อชมหมู่ที่ไม่มีใครปราบได้นี้
ผู้ชื่อว่าพิชิตสงความ เพราะเป็นผู้ที่ไม่มีใครทำให้พ่ายแพ้ได้แล้วย่ำยีมารทั้งสาม
ชนิดได้ในวันนี้นั่นเอง. ก็พรหมนั้น ครั้นกล่าวคาถานี้แล้วก็อภิวาทพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วได้ยืนทางขอบปากจักรวาลด้านตะวันออก. ถัดมาองค์ที่สองก็
มากล่าวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ในบทว่า ภิกษุทั้งหลายใน...นั้น นั้นได้แก่ พวกภิกษุในที่ประ-
ชุมนั้น. บทว่า ตั้งมั่นแล้ว คือประกอบด้วยสมาธิ. บาทคาถาว่า ได้ทำจิต
ของตนให้ตรงแล้ว ได้แก่ ได้นำความคดโกง และความโค้งออกจนหมด
แล้วทำจิตของตนให้ตรง. บาทคาถาว่า เหมือนสารถีถือเชือก ความว่า
เมื่อพวกม้าสินธพ ไปอย่างเรียบร้อย สารถีวางปฏักลงแล้วคอยจับเชือกทั้งหมด
ไว้ไม่เตือนไม่รั้งตั้งอยู่ฉันใด ภิกษุหมดทั้งห้าร้อยนี้ถึงพร้อมด้วยความวางเฉยมี
องค์หก คุ้มทวารได้แล้วบัณฑิตรักษาอินทรีย์ทั้งหลายไว้ฉันนั้น พรหมกล่าว
ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้มาที่นี้เพื่อชมภิกษุ
เหล่านี้. แล้วพรหมแม้นั้นก็ไปยืนตามตำแหน่งทีเดียว. ถัดมาองค์ที่สามก็มา
กล่าวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตัดตาปูได้แล้ว คือ ตัดตาปูอัน ได้แก่
ราคะโทสะและโมหะ. บทว่า ลิ่มสลัก ก็ได้แก่ลิ่มสลักคือราคะโทสะและโมหะ
นั่นเอง. บทว่า เสาเขื่อน ก็ได้แก่เสาเขื่อนคือราคะโทสะและโมหะนั่นเอง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 98
บทว่า ถอนแล้วไม่มี เอชา คือ ภิกษุเหล่าชื่อว่าไม่มีความหวั่นไหว เพราะ
ไม่มีความหวั่นไหวคือตัณหา ถอนแล้วคือกระชากเสาเขื่อนจนหลุดแล้ว .
บทว่า ท่านเหล่านั้นเที่ยวไป คือเที่ยวจาริกไปชนิดที่ไม่กระทบกระทั่งใคร
ในสี่ทิศ. บทว่า หมดจด คือไม่มีตัวการที่เข้ามาทำให้จิตใจเศร้าหมอง.
บทว่า ปราศจากมลทิน คือไม่มีมลทิน. คำว่า ปราศจากมลทินนี้ ก็เป็นคำ
สำหรับใช้แทนคำว่า หมดจด นั่นเอง. บทว่า มีตา คือมีดวงตาด้วยดวงตา ๕
ชนิด. บทว่า ฝึกแล้วเป็นอย่างดี คือ ทางตาก็ฝึกแล้ว ทางหู. ทางจมูก
ทางลิ้นทางกาย ทางใจ ก็ฝึกแล้ว. บทว่า นาคหนุ่ม คือนาครุ่น ๆ. พรหม
อธิบายว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์เป็นผู้มาแล้วเพื่อชมนาครุ่น
ที่ฝึกแล้วด้วยความเพียรเป็นเครื่องประกอบอัน ยอดเยี่ยมเห็นปานนี้เหล่านี้.
แม้พรหมองค์นั้นก็ได้ไปยืนตามตำแหน่งนั่นแล. ถัดมาองค์ที่สี่ ก็ได้มากล่าว
ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถึงแล้ว คือถึงแล้วด้วยการถึงสรณะที่
ไม่มีความสงสัย. แม้พรหมองค์นั้นก็ได้ไปยืนตามตำแหน่งนั่นแล.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อได้ทรงสำรวจดูตั้งแต่พื้นแผ่นดิน
จนจรดกำหนดขอบปากจักรวาล จากกำหนดขอบปากจักรวาลจนจรดพรหมโลก
ทอดพระเนตรเห็นการประชุมของเทวดาแล้วจึงทรงพระดำริว่า สมาคมเทวดา
นี้ใหญ่. ฝ่ายพวกภิกษุไม่ทราบว่า สมาคมเทวดานี้ใหญ่อย่างนี้ เอาเถิด เรา
จะบอกพวกเธอ เมื่อทรงพระดำริอย่างนั้นเสร็จแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าก็ตรัสเรียกภิกษุ ด้วยประการฉะนี้. พึงขยายให้กว้างทั้งหมด.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า มีเท่านี้เป็นอย่างยิ่ง คือ ชื่อว่ามีเท่านี้
เป็นอย่างยิ่ง เพราะเท่านี้เป็นประมาณอย่างยิ่งของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. แต่
เพราะบัดนี้ ไม่มีพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงไม่ตรัสครั้งที่สามว่า ภิกษุทั้งหลาย !
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 99
แม้พระพุทธเจ้าเหล่านั้นใดในบัดนี้. บทว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจะบอก ความ
ว่า ถามว่า ทำไมจึงตรัส ตอบว่า เพื่อให้ทราบพรั่งพร้อมแห่งจิตของทวยเทพ
ได้ยินว่า พวกเทวดาพากันคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงกล่าวชื่อและโคตร
แต่ของทวยเทพชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น ของพวกชั้นผู้น้อยจะทรงบอกไปทำไมใน
สมาคมใหญ่นี้. ทีนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาว่า เทพเหล่านั้นคิด
อย่างไร ทรงทราบวาระจิตนั้นของเทวดาเหล่านั้น เหมือนสอดมือเข้าปาก
แล้วคลำดวงใจ และเหมือนจับโจรได้ทั้งของกลางจึงทรงดำริว่า เราจะกล่าว
ถึงชื่อและโคตรของเหล่าเทพแม้ทั้งหมดทั้งชั้นผู้น้อยและชั้นผู้ใหญ่ซึ่งต่างมาจาก
หมื่นจักรวาล.
ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเป็นผู้ใหญ่ พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ทรงเป็นสัตว์พิเศษ ทรงทราบสิ่งที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดาได้เห็น ได้ยิน
ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้ถึง ได้แสวงหา ได้ใช้ใจท่องเที่ยวไปตาม ไม่ว่า
สิ่งไร ๆ ในที่ใด ๆ จะเป็นรูปารมณ์ในรูปารมณ์ที่จำแนกด้วยสามารถรูปมีรูปสี
เขียวเป็นต้น หรืออารมณ์มีเสียงเป็นต้น ที่แยกไว้เป็นแผนก ๆ ในสัททารมณ์
เป็นต้น ที่จำแนกด้วยสามารถเสียงกลองเป็นต้น มีอยู่ซึ่งมาสู่คลองที่หน้าพระ
ญาณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย สิ่งใดที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดา ฯลฯ รวมทั้งเทวดาและมนุษย์ ได้เห็น
ได้ยิน ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้ถึง ได้แสวงหา ได้ใช้ใจท่องเที่ยวไปตาม เรารู้สิ่ง
นั้น เราเห็นสิ่งนั้น เราเข้าใจสิ่งนั้นอย่างแจ่มแจ้ง.๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมี
พระญาณไม่มีอะไรมาขัดขวางได้ในทุกหนทุกแห่งอย่างนี้ ทรงได้ทำพวกเทวดา.
แม้ทั้งหมดนั้นเป็นสองพวกด้วยอำนาจภัพและอภัพ คือ พวกที่เป็นอภัพสัตว์ที่
กล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า หรือสัตว์เหล่าใด ถึงพร้อมด้วยทำนบคือกรรม สัตว์พวก
๑. ส. จตุก. ๓๒
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 100
นั้นถึงจะอยู่ร่วมวิหารกัน พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่ทรงมอง และพวกภัพสัตว์
ที่ตรงกันข้ามกับพวกอภัพสัตว์นั้น พวกนั้นต่อให้อยู่ไกลก็เสด็จไปทรง
สงเคราะห์. เพราะฉะนั้น แม้ในการประชุมของเทพนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงละพวกที่อภัพ (ไม่เหมาะไม่สมควรโชคร้าย) แล้วรวบรวมเอาแต่พวก
ภัพสัตว์ เมื่อรวบรวมเอาเสร็จแล้วก็มาทรงจัดเป็น ๖ พวก ตามอำนาจจริต
นั่นเองว่า พวกราคจริตเท่านี้ พวกโทสจริตเป็นต้นเท่านี้.
ต่อมาก็ทรงใคร่ครวญธรรมเทศนาอันเป็นที่สบายแก่พวกจริตเหล่านั้น
ทรงกำหนดเทศนาว่า พวกเทวดาราคจริต เราจักแสดงสัมมาปริพพาชนียสูตร
(สูตรว่าด้วยเรื่องที่พึงเว้นโดยชอบ) จักแสดงกลหวิวาทสูตร (สูตรเกี่ยวกับ
เรื่องทะเลาะวิวาท) แก่พวกโทสจริต จักแสดงมหาพยูหสูตร (สูตรว่าด้วย
พวกใหญ่) แก่พวกโมหจริต จักแสดงจูฬพยูหสูตร (สูตรว่าด้วยพวกน้อย)
แก่พวกวิตกจริต จักแสดงตุวัฏฏกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติของนกคุ่ม)
แก่พวกสัทธาจริต จักแสดง ปุราเภทสูตร ( สูตรว่าด้วยเรื่องแตก
ในอนาคต) แก่พวกพุทธิจริต แล้วก็ทรงใส่พระทัยถึงบริษัทนั้นอีกว่า บริษัท
พึงรู้ด้วยอัธยาศัยของตน ด้วยอัธยาศัยของคนอื่น ด้วยการเกิดเรื่องขึ้น หรือ
ด้วยอำนาจการถามหนอแล แต่นั้นก็ทรงทราบว่า บริษัทพึงรู้ด้วยอำนาจการ
ถามแล้วทรงพระดำริว่าจะมีใครหรือไม่หนอที่เป็นผู้ถือเอาอัธยาศัยของทวยเทพ
แล้ว สามารถถามปัญหาด้วยอำนาจจริตได้ ได้ทรงเห็นว่า ในพวกภิกษุทั้ง ๕๐๐
รูปนั้น แม้รูปเดียวก็จะไม่สามารถ. จากนั้นทรงรวมเอาพระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐
รูป และพระสาวกชั้นเลิศ ๒ รูป ก็ทรงเห็นว่า ถึงท่านเหล่านั้นก็จะไม่อาจ
แล้วทรงพระรำพึงว่า ถ้าพึงมีพระปัจเจกพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าจะ
สามารถหรือไม่หนอ ทรงทราบว่า ถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็จะไม่สามารถ
ทรงรวมว่า ในบรรดาท้าวสักกะและท้าวสุยามะเป็นต้น ใคร ๆ จะพึงอาจ แม้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 101
ถ้าในท่านแม้เหล่านั้น ผู้ไร ๆ จะพึงอาจจะให้ถามพระองค์แล้วจะพึงตอบเสีย
เอง. แต่แม้ในท่านเหล่านั้น ใคร ๆ ก็ไม่อาจ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้ทรงมีพระดำริอย่างนี้ว่า
พระพุทธเจ้าอย่างเราเท่านั้นจึงจะพึงอาจ และก็มีพระพุทธเจ้าองค์อื่นในที่ใด
บ้างไหม แล้วก็ทรงแผ่พระญาณอันไม่มีที่สิ้นสุดไปในโลกธาตุอันไม่มีที่สิ้นสุด
ทรงตรวจดูก็ไม่ได้ทรงเห็นพระพุทธเจ้าองค์อื่น. ข้อที่ไม่ทรงเห็นผู้ใดเสมอ
พระองค์ในบัดนี้นั้นไม่น่าอัศจรรย์เลย แม้ในวันประสูติ เมื่อไม่ทรงเห็น
ใครเสมอพระองค์ตามนัยที่กล่าวไว้ในอรรถกถาพรหมชาลสูตร พระองค์ก็ได้
เปล่งสีหนาทที่ไม่มีใครจะพึงปฏิวัติได้ว่า เราเป็นยอดของโลก ดังนี้. เมื่อไม่
ทรงเห็นคนอื่นเท่าพระองค์อย่างนี้แล้ว ก็ทรงคิดว่า ถ้าเราพึงถามแล้วตอบ
เองเสียเลย แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ เทวดาเหล่านี้ ก็จะไม่อาจแทงตลอดได้
แต่เมื่อพระพุทธเจ้าองค์อื่นนั่นแล ทรงถามและเราตอบจึงจะเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์
และพวกเทวดาก็จะสามารถแทงตลอดได้ด้วยฉะนั้น เราจะสร้างพระพุทธนิรมิต.
แล้วทรงเข้าฌานที่มีอภิญญาเป็นบาท ครั้นทรงออกแล้วก็ทรงบริกรรมด้วย
กามาวจรจิตทั้งหลายว่า ขอให้การถือบาตรและจีวร การเหลียวหน้าและ
เหลียวหลัง และการคู้เข้าและเหยียดออกจงเหมือนเราทีเดียว แล้วก็ทรงอธิษ-
ฐานด้วยรูปาวจรจิต เหมือนทำลายดวงจันทร์ที่กำลังลอยเด่นจากวงในโดยรอบ
เขายุคนธรทางทิศตะวันออก ให้ออกไปอยู่ฉะนั้น.
ครั้นหมู่เทพได้เห็นพุทธนิรมิตนั้น ก็พูดว่า ท่าน พระจันทร์ดวงอื่น
ขึ้นไปแล้วหรือหนอแล. เมื่อพระพุทธที่ทรงนิรมิตละดวงจันทร์แล้วเข้ามาใกล้.
ก็พูดว่า ไม่ใช่พระจันทร์ แต่เป็นพระอาทิตย์ขึ้นต่างหาก เมื่อยิ่งใกล้เข้ามา
อีก ก็พูดว่า ไม่ใช่พระอาทิตย์ แต่นั่นเป็นวิมานเทวดา. เมื่อยิ่งใกล้เข้ามาอีก
ก็พูดว่า ไม่ใช่วิมานเทวดา แต่นั่นเป็นเทพบุตร. เมื่อยิ่งใกล้เข้ามาอีก ก็พูด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 102
ว่า ไม่ใช่เทพบุตร แต่นั่นเป็นมหาพรหม เมื่อยิ่งใกล้เข้ามาอีก ก็พูดว่า
ไม่ใช่เป็นมหาพรหม แต่เป็นพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งเสด็จมา ดังนี้. ในที่นั้น
พวกเทวดาปุถุชน ก็พากันคิดว่า พระพุทธเจ้าองค์เดียว ที่ประชุมเทวดา
ก็ใหญ่ขนาดนี้แล้ว สองพระองค์จะใหญ่ขนาดไหน (ส่วน) เทวดาอริยะ
ก็พากันคิดว่า ในโลกธาตุเดียว ไม่มีพระพุทธเจ้าสองพระองค์ พระผู้มีพระ
เจ้าทรงเนรมิตพระพุทธเจ้าองค์อี่นขึ้นมาอีกพระองค์หนึ่งที่เหมือนกับพระองค์
เป็นแน่.
ขณะที่หมู่เทพกำลังเห็นพระพุทธนิรมิตนั่นเอง พระพุทธนิรมิตก็เสด็จ
มาถึงไม่ทรงไหว้พระทศพลเลย ทำให้เท่า ๆ กันในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วก็
ประทับนั่งบนพระที่นั่งที่เนรมิตไว้. มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ แม้ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของพระพุทธนิรมิต ก็มี ๓๒ ประการเหมือนกัน. พระ
รัศมี ๖ สี ออกไปจากพระสรีระแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ของพระพุทธ
นิรมิตก็เหมือนกัน. พระรัศมีจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทบพระ
กายของพระพุทธนิรมิต พระรัศมีจากพระสรีระของพระพุทธเนรมิตก็กระทบ
พระกายพระผู้มีพระภาคเจ้า. รัศมีเหล่านั้นพุ่งจากพระสรีระของพระพุทธเจ้า
ทั้งสองพระองค์ไปจรดชั้นนอกนิฏฐพรหม กลับจากนั้นก็ลงในที่สุดของทุกเศียร
ของเหล่าเทพ แล้วตั้งอยู่ที่ขอบปากจักรวาล. ห้องจักรวาลทั้งสิ้นรุ่งเรืองดัง
เรือนพระเจดีย์ที่มีไม้จันทันโค้งที่แล้วไปด้วยเงินรึงรัดไว้แล้วฉะนั้น. เทวดา
ในหมื่นจักรวาล รวมเป็นกลุ่มในจักรวาลเดียวเข้าไปตั้งอยู่ในระหว่างห้องรัศมี
ของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์. เมื่อพระพุทธเนรมิตกำลังประทับนั่งอยู่นั่น
แล ชมเชยการละกิเลสที่โพธิบัลลังก์ของพระทศพล จึงตรัสคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 103
เราขอถามท่านมุนี ผู้มีปัญญามาก ผู้
ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว เย็นสนิท มีพระองค์
ตั้งมั่น ออกจากเรือนแล้วบรรเทากาม
ทั้งหลาย
ภิกษุนั้นพึงท่องเที่ยวไปในโลกโดยชอบอย่างไร.
พระศาสดา ครั้นทรงคิดว่า เราจะกล่าวถึงชื่อและโคตรของผู้ที่มา
แล้ว ๆ เพื่อให้พวกเทวดาเกิดความเป็นผู้มีจิตพร้อม ก่อนจึงตรัสคำเป็นต้นว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราจะบอก ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เราจะทำโศลก คือถ้อยคำที่ประพันธ์
เป็นฉันท์ คือ จะให้หมู่คำที่นิยมแล้วด้วยบทอักษรเป็นไป. บทว่า ภุมม-
เทวดาในที่ใดก็อาศัยที่นั้น ความว่า พวกเทวาที่อยู่ตามพื้นดินในที่ใด ๆ
อาศัยที่นั้น ๆ แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกชั้นวรรณะแก่ภิกษุเหล่านั้น
ด้วยบทเป็นต้นว่า พวกที่อาศัยซอกเขา. อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดอาศัยท้องภูเขา.
บทว่า ส่งตนไปแล้ว คือมีตนที่ส่งไปแล้ว. บทว่า ตั้งมั่น คือ ไม่ฟุ้งซ่าน.
บทว่า มาก คือ ชนมาก. บทว่า เหมือน สีหะ ซ่อนเร้น คือเข้าถึงความ
เป็นผู้มีจิตเป็นหนึ่ง เหมือนสีหะ หลบซ่อน. บทว่า ครอบงำความ
พองขน คือ ครอบงำขนพอง แล้วตั้งอยู่. มีคำอธิบายว่า ไม่มีความกลัว.
บทว่า มีใจผุดผ่อง หมดจด คือเป็นผู้มีจิตขาวผ่อง หมดจด. บทว่า
ผ่องใส ไม่ขุ่น คือ ผ่องแผ้ว ไม่ขุ่นมัว. บทว่า ทรงทราบภิกษุเกิน
๕๐๐ รูป คือทรงรู้จักภิกษุเกิน ๕๐๐ รูป รวมทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย.
บทว่า ที่ป่าใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ คือที่ชัฏป่าซึ่งเกิดใกล้กรุงกบิลพัสดุ์. บทว่า
แต่นั้นพระศาสดาจึงตรัสเรียก คือ ตรัส เรียกในครั้งนั้น. บทว่า หมู่
สาวกผู้ยินดีในศาสนา คือ ชื่อว่าสาวกเพราะเกิดในที่สุดการฟังพระธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 104
เทศนาของพระองค์ ชื่อว่า ผู้ยินดีในศาสนาเพราะยินดีในศาสนาคือสิกขาสาม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำคำทั้งหมดนี้ให้เหมือนคนอื่นกล่าว ตรัสด้วยพระดำรัส
ว่า เราจะทำโศลก. บทว่า หมู่เทพมุ่งหน้ามากันแล้ว ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงรู้จักหมู่เทพเหล่า นั้นไว้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เพี่อประโยชน์ แก่อภินิหารแห่งทิพยจักษุญาณของภิกษุเหล่านั้น ว่า พวกเธอ
จงรู้จักพวกเทพเหล่านั้นด้วยทิพยจักษุ ดังนี้ .
บทว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น ฟังพระพุทธศาสน์แล้วได้กระทำความ
เพียร ความว่าก็แลภิกษุเหล่านั้นฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นแล้ว ทันใด
นั้นเองก็ได้กระทำความเพียรเพื่อประโยชน์แก่ทิพยจักษุนั้น. ญาณก็ได้ปรากฏ
แก่ท่านเหล่านั้นผู้พอได้ลงมือกระทำความเพียรนั่นเองอย่างนั้น. เป็นอย่างไร
คือทิพยจักษุญาณอันเป็นเครื่องเห็นพวกอมนุษย์เกิดขึ้นแล้ว. ทิพยจักษุญาณนั้น
มิใช่ว่าพวกท่านเหล่านั้นกระทำบริกรรม แล้วให้เกิดขึ้นในขณะนั้น แต่ทิพย-
จักษุญาณนั้นสำเร็จด้วยมรรคทีเดียว. ก็แลเหตุเพียงอภินิหาร แห่งทิพยจักษุ
ญาณเพื่อเห็นอมนุษย์นั้นเท่านั้น ได้กระทำแล้ว. ถึงพระศาสดาก็ทรงหมาย
เอาข้อนี้เองว่า พวกเธอมีญาณ ถ้าเช่นนั้นพวกเธอจงน้อมญาณไปรู้ แล้วจึง
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรู้จักหมู่เทพเหล่านั้น. บทว่า เหล่าภิกษุ
บางพวกได้เห็น ๑๐๐ ความว่า ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวกได้เห็นพวก
อมนุษย์หนึ่งร้อย. บทว่า หนึ่งพัน และ เจ็ด ความว่า บางพวกเห็น
อมนุษย์หนึ่งพัน บางพวกเห็นอมนุษย์เจ็ดหมื่น. บทว่า บางพวกหนึ่งร้อย
พัน คือบางพวกเห็นอมนุษย์หนึ่งแสน. บทว่า บางพวกได้เห็นไม่มี
ที่สุด ความว่าได้เห็นอย่างใหญ่. อธิบายว่า ได้เห็นอมนุษย์แม้จะกำหนด
ด้วยสามารถร้อยและด้วยสามารถพันก็ไม่ได้ เพราะเหตุไร เพราะอมนุษย์
ได้แผ่ไปทั่วทิศ คือได้เต็มที่ทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 105
บทว่า และรู้ยิ่งสิ่งทั้งหมดนั้น คือ ในภิกษุเหล่านั้น สิ่งใดที่แต่
ละรูปได้เห็น ก็รู้สิ่งทั้งหมดนั้นด้วย. บทว่า ผู้ทรงมีจักษุทรงใคร่ครวญ
แล้ว คือ พระศาสดาผู้ทรงมีจักษุด้วยจักษุทั้ง ๕ อย่าง ทรงใคร่ครวญโดย
ประจักษ์ เหมือนผู้ใคร่ครวญดูลายมือฉะนั้น จึงตรัสพระคาถาที่กล่าวมาเมื่อ
ก่อนว่า แต่นั้นจึงตรัส เรียก เพื่อทรงต้องการระบุถึงชื่อและโคตร. ในบทนี้มี
ความเกี่ยวข้องอย่างนี้ว่า พวกเธอจงรู้จัก คือจงดู ได้แก่ จงมองดูพวกอมนุษย์
ที่เราจะระบุแก่พวกเธอ. บทว่า ด้วยถ้อยคำทั้งหลาย คือด้วยคำพูดทั้งหลาย.
บทว่า โดยลำดับ คือ ตามลำดับ.
บทว่า ยักษ์ทั้งหลายเจ็ดพันเป็นพวกเทพอยู่ตามแผ่นดิน
อาศัยกรุงกบิลพัสดุ์ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า หมู่ยักษ์ คือพวก
เทพอยู่ตามแผ่นดินอาศัยกรุงกบิลพัสดุ์เกิดในกรุงกบิลพัสดุ์นั้นก่อน. บทว่า มี
ฤทธิ์ คือประกอบด้วยฤทธิ์ทิพย์. บทว่า มีความรุ่งเรือง คือถึงพร้อมด้วย
อานุภาพ. บทว่า มีวรรณะ คือสมบูรณ์ด้วยผิวพรรณของร่างกาย. บทว่า
มียศ คือสมบูรณ์ด้วยบริวาร. บทว่า ยินดีมุ่งหน้ามา คือ มีจิตยินดีมา.
บทว่า สู่ป่าเป็นที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย คือมาเพื่อต้องการดูป่าใหญ่
นี้ คือสำนักของพวกภิกษุนี้ ได้แก่เพื่อต้องการดูภิกษุทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง
พวก เรียกว่า ประชุม. อธิบายว่า มาเพื่อชมพวกภิกษุดังนี้ก็ได้. บทว่า พวก
ยักษ์ชาวเขาเหมวัตหกพัน มีผิวพรรณต่าง ๆ กัน คือพวกยักษ์ที่เกิดที่
ภูเขาเหมวัตหกพัน พวกยักษ์แม้ทั้งหมดนั้น มีสีต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจสีเขียว
เป็นต้น. บทว่า พวกยักษ์ชาวเขาสาตาคิรีสามพัน คือ พวกยักษ์ที่เกิดที่
ภูเขาสาคาคิรี ๓,๐๐๐. บทว่า ยักษ์เหล่านี้หมื่นหกพันด้วยประการฉะนี้
คือยักษ์แม้ทั้งหมดนี้ รวมกันเป็นหมื่นหกพัน. บทว่า ชาวเขาวิศวามิตร
ห้าร้อย คือ พวกยักษ์ที่เกิดที่ภูเขาวิศวามิตร ๕๐๐ บทว่า กุมภีร์ชาวเมือง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 106
ราชคฤห์ คือยักษ์ชี่อกุมภีร์เกิดในกรุงราชคฤห์. บทว่า เขาไพบูลย์เป็นที่
อยู่ของยักษ์นั้น อธิบายว่าภูเขาไพบูลย์ (เวปุลละ) เป็นนิเวศน์ คือที่อยู่ของ
ยักษ์นั้น. บทว่า ยักษ์มากกว่าแสนเข้าเฝ้ายักษ์ชื่อกุมภีร์นั้น คือ ยักษ์เกิน
แสนเข้าเฝ้ายักษ์ชื่อกุมุภีร์นั้น. บทว่า ยักษ์ชื่อกุมภีร์ชาวเมืองราชคฤห์แม้
นั้น ก็มาสู่ป่าเป็นที่ประชุมภิกษุทั้งหลาย คือ แม้ยักษ์ชื่อกุมภีร์นั้นพร้อม
กับบริวารก็มาสู่ป่านี้ เพื่อชมการประชุมของภิกษุทั้งหลาย. บทว่า ก็ท้าว
ธตรัฏฐ์ ทรงปกครองทิศตะวันออก คือ ทรงปกครองทางทิศปราจีน. บท
ว่า ทรงเป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์ คือทรงเป็นหัวหน้าของพวกคนธรรพ์
(คนธรรพ์ -นักดนตรี) คนธรรพ์ทั้งหมดนั้น เป็นไปในอำนาจของท้าวธตรัฏฐ์
นั้น . บทว่า ท้าวเธอทรงเป็นมหาราช ทรงมียศ คือ มหาราชพระองค์
นั้น ทรงมีบริวารมาก. บทว่า แม้พวกบุตรของท้าวเธอก็มาก มีนามว่า
อินทร์มีกำลังมาก คือ พวกลูก ๆ ของท้าวธตรัฏฐ์นั้น มีมาก มีกำลังมาก.
เธอทั้งหลายทรงชื่อของท้าวสักกะ ผู้เป็นราชาของเทวดา. บทว่า ท้าววิรุฬห์
ทรงปกครองทิศนั้น คือทิศนั้น ท้าววิรุฬหก ทรงอนุศาสน์. บทว่า แม้
พวกลูก ๆ ของท้าวเธอ คือ ลูก ๆ แม้ของท้าวเธอก็เช่นนั้นเหมือนกัน . ก็
ในบาลีท่านเขียนว่า มหพฺพลา - มีกำลังมาก. ในวาระทั้งหมดในอรรถกถา
ปาฐะเป็น มหาพฺพลา - มีกำลังมาก. ส่วนคาถาพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วย
อำนาจรวมเอาหมดอย่างนี้ว่า
ท้าวธตรัฏฐ์ทรงปกครองทิศตะวันออก
ทางทิศใต้ท้าววิรุฬหก ทางทิศตะวันตก
ท้าววิรูปักษ์ ท้าวกุเวรทรงปกครองทิศ
เหนือ มหาราชทั้ง ๔ พระองค์นั้น ทรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 107
ยังทิศทั้ง ๔ โดยรอบให้รุ่งเรืองประทับอยู่
ที่ป่าใกล้กรุงกบิลพัสดุ์.
ในคาถานั้น มีใจความดังต่อไปนี้ ในหมื่นจักรวาลต่างมีพวกมหา-
ราช ทรงพระนามว่า ธตรัฏฐ์. แม้ทั้งหมดนั้นต่างก็ทรงมีคนธรรพ์แสนโกฏิ
แสนโกฏิเป็นบริวาร ยืนเต็มห้องจักรวาลตั้งแต่ป่าใหญ่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ทาง
ทิศตะวันออก. ท้าววิรุฬหกเป็นต้นในทิศใต้เป็นต้น ก็อย่างนี้. เพราะเหตุนั้น
แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทรงยังทิศทั้ง ๔ โดยรอบให้รุ่งเรืองประทับ
อยู่. ก็คำอธิบายมีอย่างนี้ว่า มาจากจักรวาลโดยรอบ ยังทิศทั้ง ๔ ให้รุ่งเรือง
อย่างดีประทับอยู่เหมือนกองไฟบนยอดเขา. ก็ท่านเหล่านั้นทรงหมายเอาป่าใกล้
กรุงกบิลพัสดุ์เท่านั้นแล้วจึงมาเพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสถึงพวกท่านว่า เป็นผู้ยังจักรวาลให้เต็มเท่า ๆ กัน ด้วยจักรวาล แล้วประทับ
ที่ป่าใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ ดังนี้.
บทว่า พวกบ่าวของมหาราชทั้ง ๔ พระองค์นั้น มีมารยา ล่อ-
ลวง โอ้อวดก็มา ความว่า มหาราชเหล่านั้น ทรงมีทาสที่ประพฤติคดโกง
ประกอบด้วยเจ้าเล่ห์ ซึ่งมีการปกปิดความชั่วที่กระทำไว้เป็นลักษณะ เป็นพวก
ที่เรียกว่าผู้ล่อลวง. เพราะหลอกลวงโลกด้วยการหลอกลวงทั้งต่อหน้าและลับ
หลัง และพวกที่เรียกว่าผู้โอ้อวด เพราะประกอบด้วยความฉ้อฉลและโอ้อวด
แม้พวกเหล่านั้นก็มา. บทว่า เป็นเจ้าเล่ห์ คือ กุเฏณฑุ เวเฏณฑุ วิฏุ วิฏุกะ
คือ บ่าวแม้ทั้งหมดนั้น ล้วนแต่เป็นผู้กระทำมารยาทั้งนั้น ก็ในพวกทำ
มารยานี้โดยชื่อ ก็มี กุเฏณฑุ ๑ วิเฏณฑุ ๑. ส่วนในบาลีท่านเขียนว่า
เวเฏณฺฑุ (ต่อไปก็เป็น) วิฏุ ๑ วิฏุฏะ ๑. บทว่า กับ คือ แม้วิฏุฏะนั้น
ก็มากับพวกเหล่านั้นเหมือนกัน. (ถัดไปก็มี) จันทน์ ๑ กามเศรษฐ์ ๑ กินนุ-
ฆัณฑุ ๑ นิฆัณฑุ ๑ กินนุฆัณฑะอีกผู้หนึ่ง ๑. แต่ในบาลีเขียนเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 108
กินฺนุฆณฺทุ. ชื่อนิฆัณฑุอื่น ก็ชื่อนิฆัณฺฑุด้วย. ( = นิฆัณฑุมีสองตน) พวก
บ่าวมี ( ๑๐ ตน) เท่านี้. ส่วนพวกอื่นจากนี้ก็ได้แก่เทวราชเหล่านี้ คือ :-
ปนาทะ ๑ โอปมัญญะ ๑ เทวสูตะ ๑
มาตลี ๑ จิตตเสนะ ๑ คนธรรพ์ ๑ นโฬ-
ราชะ ๑ ชโนสภะ ๑ ปัญจสิขะ ๑ ติมพรู ๑
สุริยวัจฉสา ๑ ก็มาแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทวสูตะ คือ เทวสารถี. บทว่า จิตตเสนะ
คือ แยกออกเป็นเทวราชได้ ๓ องค์ จิตตะ ๑ เสนะ ๑ จิตตเสนะ ๑.
บทว่า คนธรรพ์ ก็ได้แก่ จิตตเสนะ อันเป็นพวกคนธรรพ์นี้ . ไม่ใช่แต่
จิตตเสนะนี้เท่านั้น ถึงปนาทะเป็นต้นทั้งหมดนี้ ก็เป็นคนธรรพ์ทั้งนั้น. บทว่า
นโฬราชะ ได้แก่เทพองค์หนึ่งชื่อนฬการเทวบุตร. บทว่า ชโนสภะ คือ
เทวบุตรชื่อชนวสภะ. บทว่า และปัญจสิขะ ก็มาเหมือนกัน คือ ปัญจสิขะ
เทวบุตรนั่นเทียวก็มา. บทว่า ติมพรู คือ คนธรรพเทวราช. บทว่า สุริย-
วัจฉสา ได้แก่ลูกสาวของท้าวติมพรูนั่นเอง. บทว่า เทพเหล่านี้ และคน-
ธรรพ์ผู้เป็นราชาเหล่า อื่นพร้อมกับเหล่าราชา คือเทพเหล่านี้ เหล่า
พญาคนธรรพ์ที่กล่าวด้วยอำนาจพระนาม และคนธรรพ์จำนวนมากเหล่าอื่น
พร้อมกับพระราชาเหล่านั้น. บทว่า ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่าอันเป็นที่ประชุม
ของภิกษุทั้งหลาย มีความว่า มีจิตร่าเริงยินดี มาแล้วสู่ป่านี้อันเป็นที่
ประชุมของภิกษุทั้งหลาย.
บทว่าอนึ่งพวกนาคชาวสระนาภสะ และพวกนาคชาวไพศาลี
ก็มาพร้อมกับตัจฉกะ คือ พวกนาคชาวสระนภสะ และพวกนาคชาวเมือง
ไพศาลี ก็มาพร้อมกับบริษัทของตัจฉกนาคราช. บทว่า กัมพลและอัสดร
คือ กัมพล ๑ อัสดร ๑. เล่ากันมาว่า นาคเหล่านี้ อยู่ที่เชิงเขาสิเนรุ เป็นนาค
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 109
ชั้นผู้ใหญ่ที่แม้พวกสุบรรณ (ครุฑ) ก็พึงฉุดไป (= นำไป จับไป) ไม่ได้.
บทว่า และพวกนาคชาวประยาคะ พร้อมกับหมู่ญาติ คือ และพวกนาค
ที่อยู่ท่าประยาคะ ก็มากับหมู่ญาติ. บทว่า และพวกชาวยมุนาและพวก
ธตรัฏฐ์ คือ พวกนาคที่อยู่ในแม่น้ำยมุนา และพวกนาคที่เกิดในตระกูลธตรัฏฐ์.
บทว่า ช้างใหญ่ชื่อเอราวัณ คือ และเอราวัณเป็นเทวบุตร ไม่ใช่เป็นช้าง
โดยกำเนิด แต่เทวบุตรนั้นถูกเรียกว่าช้าง. บทว่า แม้เขาก็มา คือ แม้
เอราวัณเทวบุตรนั้นก็มา. บทว่า พวกใดนำนาคราชไปได้รวดเร็ว คือ
พวกครุฑเหล่าใด มีความโลภครอบงำแล้วนำ คือจับเอาพวกนาคมีประการที่
กล่าวแล้วนี้ไปได้อย่างรวดเร็ว. บทว่า เป็นทิพย์ เกิดสองครั้ง มีปีก มีตา
หมดจด คือ ชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะมีอานุภาพทิพย์ ชื่อว่าเกิดสองครั้ง
เพราะเกิดแล้วสองครั้งคือจากท้องแม่และจากกะเปาะไข่ ชื่อว่ามีปีก เพราะ
ประกอบด้วยปีก ชื่อว่ามีตาหมดจด เพราะประกอบด้วยตาที่สามารถเห็นหมู่
นาคในระหว่างร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง. บทว่า พวกเหล่านั้น ไปถึง
กลางป่าทางเวหา คือ พวกครุฑเหล่านั้น ถึงป่าใหญ่นี้โดยทางอากาศนั่น
เอง. บทว่า ชื่อของพวกเหล่านั้นว่าจิตระและสุบรรณ คือ ครุฑเหล่า
นั้นชื่อจิตระ และสุบรรณ. บทว่า ในครั้งนั้นได้มีการอภัยแก่พวกนาค
ราช พระพุทธเจ้าทรงทำความปลอดภัยจากสุบรรณ คือ (เพราะเหตุใด)
เพราะเหตุนั้น พวกนาคและครุฑทั้งหมดนั้น ทักกันด้วยวาจาที่สุภาพคุยกัน
เพลิดเพลินเหมือนเพื่อนและเหมือนญาติ สวมกอดกันจับมือกันวางมือบนจงอย
บ่า มีจิตร่าเริงยินดี. บทว่า พวกนาค พวกสุบรรณ ทำพระพุทธเจ้าให้
เป็นสรณะ คือ พวกเขาเหล่านั้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.
พวกที่อยู่ในทะเลหลวงคือพวกอสูร ผู้อาศัยทะเล ซึ่งถูกพระอินทร์ผู้เป็น
ราชาแห่งเทพ ซึ่งมีพระนามว่าท้าววชิรหัตถ์ (มีวชิราวุธในพระหัตถ์) ปราบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 110
เมื่อคราวก่อน เพราะเหตุนางสุชาดาลูกสาวของอสูร แม้เหล่าใด แม้เหล่า
นั้นทั้งหมด เป็นพี่น้องของท้าววาสวะ. (พระอินทร์) พวกเหล่านั้นมีฤทธิ์ มียศ-
บทว่า พวกกาลกัญชามีกายใหญ่พิลึก คือ และพวกอสูรกาลกัญชานิรมิต
ร่างใหญ่ น่าสะพึงกลัวแล้วก็มา. บทว่า พวกอสูรตระกูลทานเวฆัส ได้แก่
พวกอสูรถือธนู เหล่าอื่นชื่อทานเวฆัส. บทว่า เวปจิตติ สุจิตติ และ
ปหาราทะกับนมุจี ได้แก่ และพวกอสูรเหล่านี้ คือ อสูรชื่อเวปจิตติ ๑ อสูร
ชื่อสุจิตติ ๑.๑ บทว่า กับนมุจี ได้แก่ และมาร ชื่อนมุจิ ผู้เป็นเทวบุตร ก็มา
พร้อมกับอสูรเหล่านั้นนั่นแล. อสูรเหล่านี้อยู่ในทะเล แต่นมุจีนี้อยู่ในเทวโลก
ชั้นปรนิมมิต เหตุไรจึงมาพร้อมกับอสูรเหล่านั้น ? เพราะเป็นพวกไม่ถูกใจ
เป็นพวกอภัพ. ส่วนนมุจีนี้ก็เช่นกันนั่นแหละ ธาตุถูกกัน เพราะฉะนั้นจึงมา.
บทว่า และพวกลูกของพลิผู้อสูรหนึ่งร้อย คือ ลูกร้อยหนึ่งของพลีผู้อสูร
ใหญ่ บทว่า ทุกตนชื่อไพโรจน์ คือทรงชื่อราหูผู้เป็นลุงของตนนั่นเอง.
บทว่า ผูกสอดเครื่องเสนาอันมีกำลัง คือ ผูกสอดเครื่องเสนาอันมีกำลัง
ของตนทุกตนกลายเป็นผู้จัดเครื่องสนามเสร็จแล้ว. บทว่า เข้าใกล้ราหุภัทร
แล้ว คือ เข้าหาจอมอสูรชื่อราหู. บทว่า ท่านผู้เจริญ บัดนี้ เป็นสมัย
ของท่าน คือ ความเจริญจงมีแก่ท่าน บัดนี้เป็นเวลาประชุม. อธิบายว่า
ท่านจงเข้าไปสู่ป่าเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย เพื่อดูหมู่ภิกษุ.
บทว่า เหล่าอาโปเทพ เหล่าปฐวีเทพ เหล่าเตโชเทพ และ
เหล่าวาโยเทพ ก็มาในครั้งนั้น คือ เหล่าเทพที่มีชื่อขึ้นต้นว่า น้ำ เพราะ
ทำบริกรรมในกสิณน้ำเป็นต้นจึงเกิดขึ้นมา ก็มาในครั้งนั้น. บทว่า เหล่า
วรุณเทพ เหล่าวารุณเทพ และโสมเทพ กับยศเทพ ความว่า พวกเทพ
ที่มีชื่ออย่างนี้ คือ วรุณเทพ วารุณเทพ โสมเทพ ก็มาด้วยกัน กับยศเทพ.
๑. ปหาราทะ หายไป.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 111
บทว่า พวกเมตตากรุณา คือพวกเทพผู้ทำบริกรรมในฌานที่ประกอบด้วย
ความรัก และในฌานที่ประกอบด้วยความเอ็นดูแล้วจึงเกิดขึ้น. บทว่า เหล่า
เทพผู้มียศมาแล้ว คือ แม้พวกเทพเหล่านั้น เป็นผู้มียศใหญ่ ได้มาแล้ว.
บทว่า หมู่เทพสิบหมู่เหล่านี้ ตั้งอยู่โดยส่วนสิบ ทั้งหมดมีผิวพรรณ
ต่าง ๆ กัน ความว่า พวกเทพสิบหมู่เหล่านั้นตั้งอยู่โดยส่วนสิบ ทั้งหมดมี
ผิวพรรณต่าง ๆ กัน ด้วยสามารถแห่งสีเขียวเป็นต้น ก็มาแล้ว.
บทว่า และเทพชื่อเวณฑู คือ เวณฑุเทพ ๑. บทว่า สหลีด้วย
คือ เทพชื่อสหลี ๑. บทว่า เทพชื่ออสมา และยมะทั้งสอง คือ อสมเทพ
และยมกเทพอีก ๒. บทว่า พวกเทพที่อาศัยพระจันทร์ เอาพระจันทร์
ไว้ข้างหน้าแล้วก็มา คือ พวกเทพที่อาศัยพระจันทร์ ทำพระจันทร์ไว้ข้าง
หน้าแล้วก็มา ถึงพวกเทพที่อาศัยพระอาทิตย์ ก็ทำพระอาทิตย์ไว้ข้างหน้าแล้ว
ก็มาเหมือนกัน . บทว่า ทำนักษัตรไว้ข้างหน้า คือ เทวดาทั้งหลายที่อาศัย
นักษัตร (ดาวเคราะห์) ทำหมู่นักษัตรไว้ข้างหน้าแล้วก็มา. บทว่า มันทวลา
หกทั้งหลายก็มา ความว่า เหล่าวาตวลาหก เหล่าอัพภวลาหก เหล่าอุณห-
วลาหก พวกวลาหกเทพแม้ทั้งหมดนี้ เรียกชื่อว่ามันทวลาหก แม้เหล่ามันท
วลาหกนั้นก็มา. บทว่า ถึงแม้ท้าวสักกะ วาสวะปุรินททะ ผู้ประเสริฐ
กว่าพวกวสุ ก็มา คือ วาสวะ คือ พระองค์ใดที่เรียกว่า สักกะและ
ปุรินททะ ผู้ประเสริฐกว่าวสุเทพทั้งหลาย แม้ท้าววาสวะนั้น ก็เสด็จมา.
บทว่า พวกเทพ ๑๐ เหล่านี้ คือพวกเทพ ๑๐ เหล่านี้ มาแล้วโดยส่วน ๑๐.
บทว่า ล้วนแต่มีผิวพรรณแตกต่างกัน คือ มีผิวพรรณต่าง ๆ กันด้วย
สามารถสีเขียวเป็นต้น.
บทว่า ต่อมา พวกสหภูเทพก็มา คือ ลำดับต่อมา พวกเทวดา
ชื่อสหภูก็มา. บทว่า ชลมคฺคิสิขาริว คือ รุ่งเรืองอยู่ดุจเปลวไฟ. ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 112
กล่าวว่า บทว่า รุ่งเรืองดุจเปลวเพลิงนี้ เป็นชื่อของเทพเหล่านั้น ดังนี้ก็มี.
บทว่า พวกอริฏกะ และพวกโรชะ คือ พวกอริฏฐกเทพ และพวก
โรชเทพ. บทว่า มีรัศมีเหมือนดอกผักตบ คือพวกเทวดาเหล่านั้น ชื่อว่า
พวกเทพดอกผักตบ. เพราะว่า แสงตัวเทวดาเหล่านั้นเหมือนกับดอกผักตบ
ฉะนั้น จึงเรียกว่า อุมฺมาปุปฺผนิภาสิ-มีรัศมีเหมือนดอกผักตบ. คำว่า วรุณ
และสหธรรม คือ เทพทั้งสององค์เหล่านี้ด้วย. คำว่า อัจจุตะและอเนชกะ
คือ เหล่าอัจจุตเทพและเหล่าอเนชกเทพ. คำว่า สุไลยและรุจิระก็มา คือ
พวกเทวดาชื่อสุไลย และพวกเทวดาชื่อรุจิระก็มา. คำว่า วาสวเนสีก็มา คือ
พวกเทวดาวาสวเนสี ก็มา. คำว่า หมู่เทพทั้ง ๑๐ เหล่านี้ คือ หมู่เทพ
ทั้ง ๑๐ แม้เหล่านี้มาแล้วโดยส่วนสิบทีเดียว.
คำว่า สมานะ มหาสมานะ คือ พวกเทพชื่อสมานะและพวกเทพชื่อ
มหาสมานะ. คำว่า มานุสะ มานุสุตตมะ คือ พวกเทพชื่อมานุสะและพวก
เทพชื่อมานุสุตตมะ. คำว่า พวกขิฑฑาปทูสิกะก็มา พวกมโนปทูสิกะ
ก็มา คือ พวกเทพที่มีการเล่น ประทุษร้าย และพวกเทพที่มีใจประทุษร้าย
ก็มา. คำว่า ถัดไปพวกหริเทพก็มา คือ พวกที่ชื่อหริเทพก็มา. คำว่า
และพวกใด ชื่อโลหิตวาสี คือ และเทพพวกโลหิตวาสีก็มา. และเทพ
สองพวกเหล่านี้คือ พวกที่ชื่อ ปารคะ และพวกที่ชื่อมหาปารคะ ก็มา. คำว่า
หมู่เทพทั้งสิบเหล่านี้ คือ หมู่เทพทั้งสิบแม้เหล่านี้ มาแล้วโดยส่วนสิบ
เทียว.
คำว่า พวกเทพชื่อสุกกะ ชื่อกรุมหะ ชื่ออรุณะ ชื่อเวฆนัส
ก็มาด้วยกัน คือ พวกเทพทั้งสามมีพวกสุกกะเป็นต้น และเทพพวกเวฆนัส
ก็มาพร้อมกับเทพเหล่านั้น. คำว่า พวกเทพผู้หัวหน้าชื่อโอทาตคัยหะ คือ
พวกเทพผู้เป็นหัวหน้าชื่อ โอทาตคัยหะ ก็มา. คำว่า พวกวิจักขณเทพก็มา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 113
คือ พวกเทพชื่อวิจักขณะ ก็มา. คำว่า พวกสทามัตตะ พวกหารคชะ คือ
พวกเทพชื่อสทามัตตะและพวกเทพชื่อหารคชะ คำว่า และพวกมิสลกะผู้มี
ยศ คือ พวกชื่อมิสสกเทพถึงพร้อมด้วยยศ. คำว่า ปัชชุนคำรามอยู่ก็มา
คือ. และเทวราชชื่อปัชชุน คำรามอยู่ก็มา. คำว่า ผู้ให้ฝนตกทั่วทิศ คือ
ผู้ที่ไปทิศใดๆฝนตกในทิศนั้น ๆ. คำว่า หมู่เทพทั้งสิบเหล่านี้ คือ หมู่เทพ
ทั้งสิบแม้เหล่านี้ มาแล้วโดยส่วนสิบเทียว.
คำว่า พวกเทพชั้นดุสิตผู้มีความเกษมและพวกชั้นยามา ได้แก่
พวกเทพผู้มีความเกษมอยู่ดุสิตบุรี และพวกเทพที่อยู่ในยามาเทวโลก คำว่า
และพวกกถกา ผู้มียศ ได้แก่ พวกเทพชื่อกถกะ ผู้สมบูรณ์ด้วยยศด้วย
ส่วนในบาลีเขียนว่า กัฏฐกะ. คำว่า ลัมพิตกะ (และ) ลามเสฏฐะ ได้แก่
พวกเทพชื่อลัมพิตกะ และพวกเทพชื่อลามเสฏฐะ. คำว่า โชตนามและอาสวะ
ความว่า มีพวกเทวดาชื่อโชติเทพ โชติช่วงเหมือนกองไฟอ้อที่ก่อบนยอดภูเขา
และพวกอาสาเทพก็มา. แต่ในบาลีเขียน โชตินาม ท่านเรียกอาสาเทพว่า
อาสวะ ด้วยอำนาจฉันท์. เทวดาชั้นนิมมานรดีก็มา ถัดมาเทวดาชั้นปรนิมมิตา
ก็มา. คำว่า หมู่เทพทั้งสิบเหล่านี้ ได้แก่ หมู่เทพทั้งสิบแม้เหล่านี้มาแล้ว
โดยส่วนสิบทีเดียว.
คำว่า หมู่เทพ ๖๐ เหล่านี้ ได้แก่ เทพ ๑๐ หมู่ ๖ ครั้ง เริ่มแต่
อาโปเป็นต้นไป ก็เป็นหมู่เทพ ๖๐ หมู่. เทพทั้งหมดมีผิวพรรณแตกต่างกัน
ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้น. คำว่า มาแล้วโดยกำเนิดชื่อ ได้แก่ มาแล้วโดย
ภาคแห่งชื่อ คือ โดยส่วนแห่งชื่อนั่นเทียว. คำว่า และเทพเหล่าอื่นใดที่
เช่นกันกับ ได้แก่ และแม้เทพในจักรวาลที่เหลือเหล่าอื่นใดที่เช่นกันกับเทพ
เหล่านี้ คือ เป็นเช่นนั้นเหมือนกันทั้งโดยผิวพรรณ ทั้งโดยชื่อ เทพเหล่านั้น
มาแล้วเทียว ดังนี้ เป็นอันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเทวดาทั้งหมด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 114
เหมือนรวบยอดมัดเป็นกลุ่ม ๆ ด้วยบทเดียวเท่านั้น. ครั้นทรงแสดงหมู่เทวดา
ในหมื่นโลกธาตุอย่างนี้เสร็จแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความต้องการที่เทวดา
เหล่านั้นมาจึงตรัสคาถาเป็นต้นว่า มีชาติ (ความเกิด) ที่อยู่แล้ว ดังนี้.
พึงทราบใจความของคาถานั้น พระอริยสงฆ์ชื่อว่า มีชาติที่อยู่แล้ว
เพราะชาติของท่าน ท่านอยู่แล้วปราศไปแล้ว. ท่านผู้มีชาติที่อยู่แล้วนั้น. พวก
เราจะดู คือจะเห็นพระอริยสงฆ์ที่ชื่อว่าไม่มีตาปู เพราะตาปูคือ ราคะ โทสะ
และโมหะ ไม่มี ชื่อว่า ข้ามโอฆะ (ห้วงน้ำ) แล้ว เพราะข้ามโอฆะทั้งสี่ได้แล้ว
ตั้งอยู่ ชื่อว่า หาอาสวะมิได้ เพราะไม่มีอาสวะทั้ง ๔ ชื่อว่าผู้ข้ามโอฆะ เพราะ
ข้ามโอฆะเหล่านั้นนั่นเองได้แล้ว ชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว. คำว่า
ผู้ล่วงกรรมดำ คือ และพวกเราจะดู คือจะเห็นพระทศพลที่ทรงรุ่งเรืองอยู่ด้วย
พระสิริเหมือนพระจันทร์ที่ล่วงความดำ (คือ เมฆเวลาหก) ฉะนั้น . เทพเหล่านั้น
และเทพเหล่าอื่นใดที่เช่นเดียวกันกับเทพเหล่านั้น แม้ทั้งหมดมาแล้วด้วยการ
ระบุชื่อเพื่อประโยชน์นั้น ด้วยประการฉะนี้. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงพวก
พรหม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สุพรหมและปรมัตต (ปรมาตมัน ) พรหม ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุพรหม ได้แก่พรหมประเสริฐองค์หนึ่ง
และพรหมชื่อ ปรมัตตะ. บทว่า เป็นบุตรของท่านผู้มีฤทธิ์กับ ได้แก่
อริยพรหมเหล่านี้ เป็นบุตรของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าผู้มีฤทธิ์มาด้วยกัน
ทีเดียว. บทว่า สนังกุมารและติสสะ ได้แก่ สนังกุมารองค์หนึ่ง ๑ ติสส-
มหาพรหมองค์ ๑. บทว่า แม้เขาก็มา ได้แก่ แม้ติสสมหาพรหมนั้นก็มา.
มีพระดำรัสในเรื่องพรหมนี้ว่า
มหาพรหมเข้าถึงพรหมโลกมีความรุ่งเรือง
มีร่างใหญ่โต มียศ ปกครองพรหมโลกพันหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 115
บทว่า พรหมโลกพันหนึ่ง ได้แก่ พรหมชั้นผู้ใหญ่พันองค์มาแล้ว
สามารถทำแสงสว่างในพันจักรวาลด้วยนิ้วพระหัตถ์นิ้วเดียว ในหมื่นจักรวาล
ด้วยนิ้วพระหัตถ์สิบนิ้ว. บทว่า มหาพรหมปกครอง ได้แก่พรหมชั้นผู้ ใหญ่
แต่ละองค์ครอบงำพรหมเหล่าอื่นแล้วตั้งอยู่ในที่ใด. บทว่า เข้าถึง ได้แก่
เกิดในพรหมโลก. บทว่า มีความรุ่งเรือง ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยอานุภาพ.
บทว่า มีร่างใหญ่โต ได้แก่ มีร่างกายใหญ่มีขนาดร่างกายเท่ากับสองสามเขต
หมู่บ้านชาวมคธ. บทว่า มียศ ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยยศกล่าวคือ สิริแห่ง
อัตภาพ. บทว่า พรหมสิบองค์เป็นอิสระในพรหมพันหนึ่งนั้น มีอำนาจ
เป็นไปเฉพาะก็มา ได้แก่ มหาพรหมเป็นอิสระสิบองค์เห็นปานนั้น ยัง
อำนาจให้เป็นไปโดยเฉพาะๆ ก็มา. บทว่า และพรหมชื่อหาริตะ อันบริวาร
แวดล้อมแล้วก็มาในท่ามกลางพรหมเหล่านั้น ความว่า ก็มหาพรหม
ชื่อหาริตะ มีพรหมแสนองค์เป็นบริวาร ก็มาในท่ามกลางพรหมเหล่านั้น.
บทว่า และเห็นพวกเทวดาที่มานั้นหมด ทั้งพระอินทร์พร้อมทั้ง
พระพรหม ความว่า พวกเทวดา แม้ทั้งหมดนั้นทำท้าวสักกเทวราช
ให้เป็นหัวหน้าแล้วมา และพวกพรหมก็ทำหาริตมหาพรหมให้เป็นหัวหน้าแล้ว
มา. บทว่า กองทัพมารก็มา ความว่า กองทัพมาร ก็เข้ามา. บทว่า พวก
ท่านจงดูความเขลาของกฤษณะ (มารผู้ดำ) ความว่า พวกท่านจงดูความ
โง่ของมารผู้ดำ พญามารสั่งบริษัทของตนอย่างนี้ว่า พวกท่านจงมาจับผูกไว้.
บทว่า การผูกด้วยราคะ จงมีแก่พวกท่าน ความว่า เทวมณฑลของท่าน
ทั้งหมดนี้ จงเป็นอันผูกไว้แล้วด้วยราคะ. บทว่า พวกท่านจงแวดล้อมไว้
โดยรอบ บรรดาพวกท่านใคร ๆ อย่าปล่อยเขาไป ความว่า บรรดา
พวกท่าน แม้ผู้หนึ่งอย่าปล่อย ไปแม้แต่ผู้เดียวในพวกนี้ ปาฐะว่า มา โว มฺุ-
จิตฺถ พวกท่านอย่าปล่อยไป ใจความก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า แม่ทัพ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 116
ใหญ่ บังคับกองทัพกฤษณะในที่ประชุมนั้นดังนี้ ความว่า มารผู้เป็น
แม่ทัพใหญ่บังคับกองทัพมารในที่ประชุมนั้นอย่างนี้ . บทว่า เอามือตบพื้น
ความว่า ตบพื้นแผ่นดินด้วยมือ. บทว่า ทำเสียงน่ากลัว ความว่า และทำ
เสียงที่น่ากลัว เพื่อแสดงเสียงที่น่ากลัวของมาร. บทว่า เหมือนเมฆที่หลั่ง
ฝน คำรามอยู่เป็นไปกับด้วยฟ้าแลบ ความว่า เหมือนเมฆหลั่งน้ำฝน
เป็นไปกับด้วย ฟ้าแลบขู่คำรามอย่างใหญ่. บทว่า ครั้งนั้นมารนั้นกลับไป
แล้ว ความว่า สมัยนั้น ครั้นแสดงสิ่งที่น่ากลัวนั้น เสร็จแล้ว มารนั้นก็กลับไป.
บทว่า เดือดดาลกับผู้ที่ไม่เป็นไปในอำนาจตน ความว่า เมื่อไม่อาจเพื่อ
จะให้ใคร ๆ เป็นไปในอำนาจของตนได้ ก็แสนเดือดดาลพลุ่งพล่านเอากับผู้ที่
ไม่อยู่ในอำนาจตัว หมดอยากด้วยอำนาจของตนแล้วก็กลับไป.
เล่ากันมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบว่า มารนี้เห็นสมาคม
นี้ใหญ่ คิดว่า จะทำอันตรายแก่การ บรรลุมรรคผลประชุมที่สำคัญ จึงส่ง
กองทัพมารไปแสดงสิ่งอันน่ากลัวเป็นพัก ๆ ก็แล ปกติของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็คือ ในที่ใดจะไม่มีการบรรลุมรรคผล ในที่นั้น พระองค์จะไม่ทรงห้ามมาร
ที่แสดงสิ่งอันน่ากลัวของมาร แต่ในที่ใดจะมีการบรรลุมรรคผล ในที่นั้น
พระองค์จะทรงอธิษฐานไม่ให้บริษัทเห็นรูป ไม่ให้ยินเสียงมาร ก็เพราะใน
สมัยนี้ จะมีการตรัสรู้มรรคผลใหญ่ ฉะนั้น จึงทรงอธิษฐานโดยประการที่พวก
เทวดาจะไม่เห็น จะไม่ยินเสียงของมารนั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ครั้งนั้นมารนั้น แสนเดือดดาลกับ ผู้ที่ไม่เป็นไปในอำนาจตน ได้กลับ
ไปแล้ว.
บทว่า พระศาสดาผู้มีดวงตา ทรงพิจารณาและทรงทราบ
เหตุนั้นทั้งหมดแล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบและทรงพิจารณา
เหตุนั้นทั้งหมดแล้ว. บทว่า กองทัพมารเข้ามาแล้ว ภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 117
พวกเธอจงรู้จักพวกเขา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
กองทัพมารเข้ามาแล้ว พวกเธอจงรู้จักพวกเขาตามสมควรแก่ตน พวกเธอจง
เข้าผลสมาบัติ. บทว่า ได้กระทำความเพียรแล้ว ความว่า ภิกษุเหล่านั้น
ปรารภความเพียรเพื่อประโยชน์เข้าผลสมาบัติ. บทว่า หลีกไปจากท่าน
ปราศจากราคะแล้ว ความว่า มารและผู้เที่ยวไปตามมาร ได้หลีกไปอย่างไกล
จากเหล่าพระอริยะผู้ปราศจากราคะแล้วเทียว. บทว่า แม้แต่ขนของพวก
ท่านก็ไม่ไหว ความว่า แม้แต่ขนของท่านผู้ปราศจากราคะเหล่านั้นก็ไม่
หวั่นไหว. ครั้งนั้นมารปรารภหมู่ภิกษุแล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า
เหล่าสาวกของพระองค์ทั้งหมด พิชิตสง-
ครามได้แล้ว ล่วงความกลัวเสียได้แล้ว มียศ
ปรากฏในประชุมชน บันเทิงอยู่กับหมู่พระอริยะ
ผู้เกิดแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า บันเทิงอยู่กับภูตทั้งหลาย ความว่า
บันเทิงคือ บันเทิงทั่วกับหมู่พระอริยะอันเกิดแล้ว (ภูต) คือ เกิดพร้อมแล้วใน
ศาสนาของพระทศพล. บทว่า ปรากฏในประชุมชน ความว่า ปรากฏโดย
วิเศษ คือ แจ่มแจ้ง ได้แก่ อันเขารู้จักเป็นอย่างยิ่ง. ก็เพราะมหาสมัยสูตรนี้
เป็นที่รักที่ชอบใจของพวกเทวดา ฉะนั้น ในสถานที่ใหม่เอี่ยม เมื่อจะกล่าว
มงคล ก็พึงกล่าวแต่พระสูตรนี้นั่นเทียว.
ได้ยินว่า พวกเทวดาพากันคิดว่า พวกเราจะฟังพระสูตรนี้แล้ว ก็เงี่ยหู
ลงฟัง. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจบ เทวดาจำนวนหนึ่งแสนโกฏิ
ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ผู้ที่เป็นพระโสดาบันเป็นต้น ไม่มีการนับ. และ
เรื่องนี้ พึงมีเพราะความที่เป็นที่รักที่ชอบใจของพวกเทวดา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 118
มีเรื่องเล่าว่า ที่วัดโกฏิบรรพต มีเทพธิดาองค์หนึ่งอยู่ที่ต้นกากทิง
ใกล้ประตูถ้ำกากทิง. ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งท่องพระสูตรนี้ภายในถ้ำ. เทพธิดา
ได้ฟังในเวลาจบพระสูตร ก็ได้ให้สาธุการด้วยเสียงอันดัง.
นั่นใคร ? ๆ ภิกษุหนุ่มถาม.
ดิฉันเป็นเทพธิดาเจ้าค่ะ เทพธิดาตอบ.
ทำไมจึงได้ให้สาธุการ ภิกษุหนุ่มถามอีก.
ท่านเจ้าค่ะ ดิฉันได้ฟังพระสูตรนี้ในวันที่พระทศพลประทับนั่งแสดง
ที่ป่าใหญ่ วันนี้ได้ฟัง (อีก) ธรรมบทนี้ท่านถือเอาดีแล้ว เพราะไม่ทำให้อักษร
แม้ตัวเดียวจากคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้เสียไป เทพธิดาชี้แจง.
เมื่อพระทศพลกำลังแสดงอยู่ คุณได้ฟังหรือ ? ภิกษุถามอีก.
อย่างนั้น เจ้าค่ะ นางรับรอง.
เขาว่าเทวดาเข้าประชุมกันมาก แล้วคุณยืนฟังที่ไหน ?
ท่านเจ้าค่ะ ดิฉันเป็นเทวดาชาวป่าใหญ่ ก็เมื่อพวกเทวดาชั้นผู้ใหญ่
กำลังพากันมา ไม่ได้ที่ว่างในชมพูทวีปเลยมาสู่ตามพปัณณิทวีปนี้ ยืนริมฝั่งที่
ท่าชัมพูโกล ถึงที่ท่านั้นก็ตาม เมื่อพวกเทวดาชั้นผู้ใหญ่กำลังพากันมา ก็ถอย
ร่นมาโดยลำดับ แช่น้ำทะเลลึกแค่คอทางส่วนหลังหมู่บ้านใหญ่ในจังหวัด
โรหณะแล้วก็ยืนฟังในที่นั้น นางบรรยายรายละเอียด.
จากที่ซึ่งคุณยืนมันไกลแล้ว คุณจะเห็นพระศาสดาหรือ เทวดา
ท่าน ! พูดอะไร ดิฉันเข้าใจว่า พระศาสดาทรงแสดงธรรมอยู่ที่ป่าใหญ่
ทรงแลดูดิฉัน เสมอ ๆ รู้สึกกลัว รู้สึกละอาย.
เขาเล่ามาว่า วันนั้นมีเทวดาแสนโกฏิสำเร็จพระอรหัต แล้วคุณล่ะ
ตอนนั้นสำเร็จพระอรหัตหรือ
ไม่หรอกค่ะ ท่านผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 119
สำเร็จอนาคามิผล กระมัง ?
ไม่หรอกค่ะ ท่านผู้เจริญ
เห็นจะสำเร็จสกทาคามิผล กระมัง
ไม่หรอกค่ะ ท่านผู้เจริญ
เขาว่า พวกเทวดาที่สำเร็จมรรคสามนับไม่ไค้ แล้วคุณล่ะ เห็นจะเป็น
พระโสดาบันกระมัง ?
ในวันนั้น เทพธิดาสำเร็จโสดาปัตติผล รู้สึกอาย จึงพูดว่า พระ-
คุณเจ้าถามสิ่งไม่น่าถาม (ถามซอกถามแทรก) ลำดับนั้น ภิกษุนั้น จึงกล่าว
กะนางว่า เทวดา ! คุณจะแสดงกายให้อาตมาเห็นได้ไหม ?
จะแสดงหมดทั้งตัวไม่ได้หรอกค่ะ ท่านผู้เจริญ ! ดิฉันจะแสดงแก่
พระคุณเจ้าแค่ข้อนิ้วมือ.
ว่าแล้วก็เอานิ้วมือสอดหันหน้าเข้าภายในถ้ำตามรูกุญแจ. นิ้วมือก็เป็น
เหมือนเวลาพระจันทร์พระอาทิตย์ขึ้นเป็นพัน ๆ ดวง เทพธิดากล่าวว่า จงอย่า
ประมาทนะ ท่านเจ้าค่ะ ! แล้วไหว้ภิกษุหนุ่มกลับไป. สูตรนี้ เป็นที่รักที่ชอบใจ
ของเทวดาทั้งหลายอย่างนี้ เทวดาทั้งหลายย่อมถือว่า พระสูตรนั้นเป็นของเรา
ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถามหาสมัยสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 120
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 121
๘. สักกปัญหสูตร
เรื่อง ท้าวสักกะกับปัญจสิขคนธรรพบุตร
[๒๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่ถ้ำอินทสาลระหว่างเขาเวทิยกะ
ด้านเหนือแห่งบ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสณฑ์ ข้างทิศตะวันออกแห่งกรุงราชคฤห์
ในแคว้นมคธ.
สมัยนั้น ท้าวสักกะผู้จอมเทพมีพระประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงพระรำพึงว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ
อยู่ที่ไหนหนอ ครั้นทรงเห็นแล้วได้ตรัสเรียกหมู่เทพชั้นดาวดึงส์มา ตรัสว่า
ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ถ้ำอินทสาลระหว่างเขา
เวทิยกะ ด้านเหนือแห่งบ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสณฑ์ ข้างทิศตะวันออกแห่ง
กรุงราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น. หมู่เทพชั้นดาวดึงส์ได้รับสนองเทว-
โองการแล้ว จึงท้าวเธอตรัสเรียกปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรมาแล้วรับสั่งเหมือน
อย่างนั้น ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรรับสนองเทวโองการแล้วได้ถือพิณสีเหลือง
ดุจผลมะตูม ตามเสด็จท้าวสักกะผู้จอมเทพไปด้วย. ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะ
จอมเทพอันเทพชั้นดาวดึงส์แวดล้อมแล้ว มีปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรนำเสด็จ
ได้อันตรธานจากดาวดึงส์เทวโลกไปปรากฏที่ภูเขาเวทิยกะ ด้านเหนือแห่งบ้าน
พราหมณ์ชื่ออัมพสณฑ์ ข้างทิศตะวันออกแห่งกรุงราชคฤห์ในแคว้นมคธ
เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น. สมัยนั้น ภูเขา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 122
เวทิยกะได้ปรากฏสว่างรุ่งโรจน์นัก และบ้านของพราหมณ์ชื่ออัมพสณฑ์ ก็ได้
สว่างไสวเหมือนกัน เพราะเทวานุภาพ. หมู่มนุษย์ในบ้านโดยรอบได้กล่าวว่า
วันนี้ภูเขาเวทิยกะได้ลุกโพลงสว่างไสวรุ่งโรจน์แล้ว ทำไมวันนี้ภูเขาเวทิยกะ
และบ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสณฑ์จึงสว่างไสวนัก. ต่างพากันตกใจมีขนลุกชันแล้ว
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ตรัสเรียกปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรว่า พ่อ
ปัญจสิขะ ตถาคตผู้มีฌานทรงยินดีในฌาน บัดนี้ ทรงเร้นอยู่ คนเช่นเราเข้า
เฝ้าได้ยากนัก ก็ถ้าเธอทำให้พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดก่อนแล้ว พวกเราจะเข้า
เฝ้าในภายหลัง ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร ได้รับสนองเทวโองการแล้ว ถือ
พิณเข้าไปทางถ้ำอินทสาล แล้วยืน ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง รำพึงว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับอยู่ไม่ไกลนักไม่ใกล้นักเพียงแค่นี้ คงจักทรงได้ยินเสียง
ของเรา. จึงยกพิณขึ้นบรรเลงและได้กล่าวคาถาที่เนื่องด้วยพระพุทธคุณ
พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พระอรหันตคุณและเกี่ยวไปในทางกามเหล่านี้ว่า
[๒๔๘] ดูก่อนน้องสุริยวัจฉสา พี่ขอ
ไหว้ท้าวติมพร ผู้เป็นบิดาให้กำเนิดน้อง
ผู้เป็นเทพกัลยาณี ยังความยินดีให้เกิดแก่
พี่ น้องผู้มีรัศมีอันเปล่งปลั่ง เป็นที่รักของ
พี่ ดุจลมเป็นที่ใคร่ของผู้มีเหงื่อ ดุจน้ำเป็น
ที่ปรารถนาของคนผู้กระหาย ดุจธรรม
เป็นที่รักของพระอรหันต์ทั้งหลาย ดุจยา
เป็นที่รักของคนไข้หนัก ดุจโภชนะเป็นที่
รักของคนหิว ฉะนั้น.
ขอแม่จงช่วยดับความกลัดกลุ้มของพี่
ดุจเอาวารีดับไฟที่กำลังโพลงฉะนั้น. เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 123
ไรหนอพี่จักได้หยั่งลงสู่ระหว่างถันยุคล
และอุทรประเทศของน้อง ดุจช้างสารที่ถูก
แดดแผดเผาในฤดูร้อน หยั่งลงสู่สระโบก
ขรณีมีน้ำอันเย็น ประกอบด้วยเกสร
ละอองดอกปทุมฉะนั้น . พี่หลงใหลในนิ่ม
น้องผู้มีขางาม จึงไม่รู้จักเหตุการณ์ ประดุจ
ช้างสารที่เหลือขอเข้าใจว่า ตนชนะขอและ
หอกแล้ว แม้ถูกแทงอยู่ก็ไม่รู้สึก ฉะนั้น.
พี่มีจิตปฏิพัทธ์ในน้อง ไม่อาจจะกลับจิตที่
ปรวนแปรแล้วได้ ดุจปลาที่กลืนเบ็ด
ฉะนั้น.
เชิญน้องผู้เป็นเทพกัลยาณี มีลำขาอัน
งาม มีนัยน์ตาอันชมดชม้อย จงสวมกอด
คลึงเคล้าพี่ พี่ปรารถนาดั่งนี้ยิ่งนัก ส่วน
ความรักของพี่มีไม่น้อย ดุจทักษิณาอัน
บุคคลถวายแล้วในพระอรหันต์ ฉะนั้น.
แน่ะ น้องผู้งามทั่วสรรพางค์ บุญพี่ที่ทำ
ไว้ในพระอรหันต์ทั้งหลาย บุญนั้นพึง
อำนวยผลให้พี่กับน้องได้ร่วมรักกัน. บุญ
ที่พี่ได้ก่อสร้างไว้ในปฐพีมณฑลนี้ จง
อำนวยผลให้พี่กับน้องได้ร่วมรักกัน.
แน่ะ น้องสุริยวัจฉสา พี่เสาะหาน้อง
ดุจพระสักยบุตรพุทธมุนีมีพระสติปัญญา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 124
เข้าฌานอยู่โดดเดี่ยว แสวงหาอมตธรรม
ฉะนั้น. พระพุทธมุนีทรงบรรลุสัมโพธิ-
ญาณอันอุดมแล้ว พึงทรงเพลิดเพลินฉันใด
พี่ถึงความคลอเคลียกับน้องแล้ว จึงเพลิด
เพลินฉันนั้น. ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่
แห่งทวยเทพชั้นดาวดึงส์ พึงประทานพร
แก่พี่ไซร้ น่อง พี่ขอเลือกน้อง (ทันที )
ความรักของพี่มั่นคงอย่างนี้ แน่ะ น้องผู้มี
ปรีชาดี น้องมีความงามเช่นนี้ เป็นธิดา
ของท่านผู้ใด พี่ขอนอบน้อมกราบไหว้
ท่านผู้นั้น ผู้ประหนึ่งว่าไม้รังซึ่งผลิตดอก
ออกผลยังไม่นานคือบิดาของน้อง ดังนี้
[๒๔๙] เมื่อปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ตรัสกะเธอว่า ปัญจสิขะ เสียงพิณของท่าน ย่อมกลมกลืนกับ
เสียงเพลงขับ และเสียงเพลงก็กลมกลืนกับเสียงพิณ อนึ่ง เสียงพิณและเสียง
เพลงขับของท่านพอเหมาะกัน ปัญจสิขะ ก็คาถาเหล่านี้ ท่านร้อยกรองไว้แต่
ครั้งไร ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแรกตรัสรู้ ประทับ
อยู่ ณ อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ. สมัยนั้นแล
ข้าพระองค์ย่อมมุ่งหวังนางสุริยวัจฉสา ซึ่งเป็นธิดาของท้าวคนธรรพราช ชื่อ
ติมพรุ ก็แต่นางรักผู้อื่นอยู่ นางมุ่งหวังบุตรแห่งมาตลีเทพสารถี ชื่อสิขัณฑิ
เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้นางโดยปริยายอะไร ๆ จึงได้ถือพิณเข้าไปถึงที่อยู่แห่ง
ท้าวคนธรรพราชนั้นแล้ว ได้บรรเลงพิณและกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 125
ดูก่อน น้องสุริยวัจฉสา พี่ขอไหว้
ท้าวติมพรุผู้เป็นบิดาให้กำเนิดน้อง ผู้เป็น
เทพกัลยาณี ยังความยินดีให้เกิดแก่พี่ ฯลฯ
แน่ะ น้องผู้มีปรีชาดี น้องมีความงาม
เช่นนี้ เป็นธิดาของท่านผู้ใด พี่ขอนอบ-
น้อมกราบไหว้ท่านผู้นั้น ผู้ประหนึ่งว่า
ไม้รังซึ่งผลิตดอกออกผลยังไม่นาน คือ
บิดาของน้อง ดังนี้.
[๒๕๐] ครั้นข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว นางได้กล่าวกะข้าพระองค์
ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ฉันไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเฉพาะพระพักตร์เลย ก็แต่
ว่าเมื่อฉันฟ้อนอยู่ในเทวสภา ชื่อสุธรรมา ได้สดับ (พระนาม) พระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้ว ผู้นิรทุกข์ท่านยอพระเกียรติพระผู้มีพระภาคเจ้าเพราะเหตุใด
เล่า ? วันนี้ เราเลิกพบปะกันเสียเถิด ดั่งนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ได้สมาคมกับน้องหญิงนั้น เท่านั้น ภายหลังแต่นั้นก็ไม่ได้พูดกันอีก.
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้จอมเทพได้ทรงปริวิตกว่า ปัญจสิขคนธรรพ
เทพบุตร และพระผู้มีพระภาคเจ้าได้สนทนากันอย่างเพลิดเพลิน จึงทรงเรียก
ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรมาตรัสว่า พ่อปัญจสิขะ ท่านจง ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคเจ้าแทนเราแล้วทูลว่า ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยอำมาตย์และบริวาร
ขอถวายบังคมพระบาทยุคล ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า. ปัญสิข
คนธรรพเทพบุตรรับสนองเทวโองการแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
แทนตามเทพบัญชาแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปัญจสิขะ ขอท้าวสักกะ
จอมเทพพร้อมอำมาตย์และบริวาร จงทรงพระสำราญตามประสงค์ อนึ่ง เทพดา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 126
มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และหมู่สัตว์เหล่าอื่นเป็นอันมากเป็นผู้ใคร่ต่อ
ความสุข ก็จงมีความสุขเช่นกัน.
[๒๕๑] ก็แหละพระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสรับรองเทวดาผู้มีศักดา
ใหญ่เห็นปานนี้ ด้วยอาการอย่างนี้. ท้าวสักกะจอมเทพ อันพระคถาคตเจ้า
ตรัสรับรองแล้ว เสด็จเข้าไปสู่ถ้ำอินทสาล ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วได้ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ทั้งปัญจสิข
คนธรรพเทพบุตร ก็เข้าไปถวายอภิวาทแล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดุจกัน.
ก็แหละโดยสมัยนั้น ถ้ำอินทสาลเป็นสถานอันไม่สม่ำเสมอ ได้ถึงความสม่ำเสมอ
เคยคับแคบ ได้ถึงความกว้างขวาง ความมืดในถ้ำได้หายไป ความสว่างไสว
บังเกิดขึ้นแทน เพราะเทวานุภาพ.
[๒๕๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทพ
ว่า การที่ท้าวโกสีย์ผู้มีกิจมาก มีกรณียะมาก เสด็จมา ณ ถ้ำนี้น่าอัศจรรย์
ยังไม่เคยมีแล้วมามีขึ้น. ท้าวสักกะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
หลีกไปเสียนาน ตั้งใจจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ แต่ข้าพระองค์ยุ่งด้วยกิจ
และกรณียะบางอย่าง ของหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ จึงไม่อาจจะเข้าเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
ที่สลฬคันธกุฎี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ข้าพระองค์ได้ไปเฝ้า แต่พระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับนั่งเข้าสมาธิอันใดอันหนึ่งเสีย นางภุชคีเทพธิดาบริจาริกา
ของท้าวเวสวัณมหาราช เป็นผู้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนประคอง
อัญชลีนมัสการอยู่ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะนางว่า ดูก่อนน้องหญิง เธอจง
อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแทนเรา กราบทูลว่า ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วย
อำมาตย์และบริวาร ขอถวายบังคมบาทพระยุคลด้วยเศียรเกล้า. เมื่อข้าพระองค์
กล่าวแล้วอย่างนี้ นางได้บอกแก่ข้าพระองค์ว่า บัดนี้มิใช่กาลจะเฝ้า เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 127
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำลังหลีกเร้นอยู่ ข้าพระองค์กล่าวว่า ถ้ากระนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธินั้นแล้วในกาลใด ในกาลนั้น เธอจง
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าตามคำของเราเถิด. นางได้ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคเจ้าแทนข้าพระองค์บ้างหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงระลึกถึงคำของ
นางได้อยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ขอถวายพระพร นางได้ไหว้อาตมา อาตมาภาพยังระลึกถึงคำของ
นางได้อยู่ อีกประการหนึ่ง อาตมาภาพออกจากสมาธินั้น เพราะเสียงแห่งล้อ
และดุมรถของมหาบพิตร.
เรื่องศากยธิดาโคปิกา
ส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับถ้อยคำเฉพาะหน้าแห่ง
หมู่เทพซึ่งอุบัติในดาวดึงส์มาก่อนว่า ในกาลใด พระตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก ในกาลนั้นหมู่เทพเทวดาย่อมเต็มบริบูรณ์ หมู่อสูร
ย่อมเสื่อมไป ข้อนี้นั้น ข้าพระองค์ได้เห็นเป็นพยานแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ศักยธิดา นามว่าโคปิกา ในกรุงกบิลพัสดุ์นี้เอง ได้เป็นผู้เลื่อมใสแล้วในพระ
พุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทำให้บริบูรณ์ในศีลเป็นปกติ นางเบื่อหน่าย
สตรีเพศ ปรารถนาบุรุษเพศเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ เป็นพวกกับทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรของข้าพระองค์
แม้ทวยเทพในดาวดึงส์นั้น ย่อมรู้จักเธออย่างนี้ว่า โคปกเทพบุตร ๆ ดั่งนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่น ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเจ้า เข้าถึงหมู่คนธรรพ์ชั้นต่ำ เธอเหล่านั้นเพรียบพร้อมบำเรออยู่ด้วย
กามคุณ ๕ มาสู่ที่บำรุงบำเรอของข้าพระองค์. โคปกเทพบุตรได้ตักเตือนพวก
เธอว่า ท่านผู้นิรทุกข์พวกท่านได้รวบรวมธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 128
(มาเป็น) เช่นนี้ชื่อว่าเอาหน้าไปไว้ไหน ก็เราชื่อว่าเป็นสตรีเลื่อมใสในพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ ทำให้บริบูรณ์ในศีลเป็นปกติ เบื่อหน่ายสตรีเพศ
ปรารถนาบุรุษเพศ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เป็นพวกกับทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรแห่งท้าวสักกะจอมเทพ
แม้ทวยเทพชั้นนี้ย่อมรู้จักเราอย่างนี้ว่า โคปกเทพบุตรๆ ดั่งนี้ ส่วนพวกท่าน
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าถึงหมู่คนธรรพ์ชั้นต่ำ
พวกเราได้เห็นแล้วช่างไม่น่าดูเสียเลย เมื่อโคปกเทพบุตรได้ตักเตือนคนธรรพ์
เหล่านั้นแล้ว เทวดา ๒ องค์ กลับได้สติในอัตภาพนั้น เข้าถึงหมู่พรหมชั้น
พรหมปุโรหิต ส่วนองค์ ๑ ยังอยู่ในชั้นกามาวจรนั้นแล.
[๒๕๓] ครั้งท้าวสักกะตรัสคำนี้แล้ว โคปกเทพบุตรได้กล่าวคาถาว่า
ข้าพเจ้าเป็นอุบาสิกาของพระพุทธ-
เจ้าผู้มีจักษุ ทั้งข้าพเจ้าก็ชื่อ โคปิกา
ข้าพเจ้าเลื่อมใสยิ่งแล้วในพระพุทธ พระ
ธรรม และมีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้บำรุง
พระสงฆ์ .
ข้าพเจ้าเป็นบุตรแห่งท้าวสักกะ มี
อานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองมาก เข้าถึง
ทิพยสถาน เพราะความที่ธรรมของพระ
พุทธเจ้านั้นแลเป็นธรรมอันดี ทวยเทพแม้
ในชั้นนี้ ย่อมรู้จัก ข้าพเจ้าว่าโคปกะ ดังนี้.
ข้าพเจ้าได้เคยเห็นพวกภิกษุที่เคย
เห็นกัน เข้าถึงหมู่แห่งคนธรรพ์อยู่ ก็
ภิกษุเหล่านี้เป็นสาวกของพระโคดมทั้งนั้น
ข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์ ในกาลก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 129
ยังได้ชำระเท้า ได้เลี้ยงดูแล้วด้วย
ข้าวและน้ำในเรือนของตน ท่านผู้เจริญ
เหล่านี้ ไม่รับธรรมของพระพุทธเจ้า ชื่อ
ว่าเอาหน้าไปไว้ไหน.
เพราะธรรมอันบัณฑิตพึงรู้เฉพาะตน
อันพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุได้แสดงดีแล้ว อัน
พระสาวกตรัสรู้ตามแล้ว แม้ข้าพเจ้าได้
เข้าไปหาพวกท่านได้ฟังสุภาษิตของพระ-
อริยะ.
ข้าพเจ้าได้เป็นโอรสของท้าวสักกะ
มีอานุภาพใหญ่ มีความรุ่งเรืองมาก เข้า
ถึงไตรทศแล้ว ส่วนพวกท่านนั่งใกล้พระ
พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ประพฤติพรหม-
จรรย์ในพระพุทธศาสนาอันยอดเยี่ยม แล้ว
ยังเข้าถึงหมู่เทพชั้นต่ำ ความอุบัติของ
พวกท่านไม่สมควรเลย ข้าพเจ้าได้เห็น
สหธัมมิกที่เข้าถึงหมู่เทพชั้นต่ำแล้วช่างไม่
น่าดูเสียเลย.
พวกท่านเข้าถึงหมู่คนธรรพ์ มาสู่ที่
บำเรอแห่งหมู่เทพ ท่านจงเห็นความแตก
ต่างนี้ของข้าพเจ้าผู้อยู่ครองเรือน.
ข้าพเจ้าเคยเป็นสตรี แล้วมาเป็นเทพ
บุตรในวันนี้ พรั่งพร้อมด้วยกามอันเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 130
ทิพย์ คนธรรพ์ทั้ง ๓ นั้น อันสาวกของ
พระโคดมตักเตือนแล้ว ถึงความสลด
เพราะมาพบโคปกเทพบุตร. (พูดกันว่า)
เชิญพวกเราจงมาขวนขวายพยายาม อย่า
เป็นคนรับใช้เขาเลย บรรดาท่านทั้ง ๓
นั้น ๒ ท่านปรารภความเพียร ท่าน ๑
ระลึกถึงศาสนาของพระโคดม.
เธอทั้ง ๒ นั้นพรากจิตเสียได้ในชั้นนี้
เห็นโทษในกามแล้วละกามคุณที่ละเอียด
อันเป็นเครื่องข้องเครื่องผูกคือกามสังโยชน์
ซึ่งเป็นเครื่องประกอบของมาร ที่ยากจะ
ข้ามพ้นได้.
ก้าวล่วงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ดุจช้าง
ตัดเครื่องผูกพ้นไปได้ฉะนั้น ปวงเทพ
พร้อมด้วยพระอินทรเทวราชและปชาบดี
เทวราช ได้เข้าไปในสภาสุธรรมาเทวสภา
แล้ว.
เทพทั้ง ๒ นั้น นั่งไม่เลยไป ยังเป็น
ผู้แกล้วกล้าไม่มีกำหนัด ทำให้หมดธุลี
ไปได้ ท้าววาสพผู้เป็นใหญ่กว่าเทพประทับ
ท่ามกลางหมู่เทพ ทอดพระเนตรเห็น ๒
เทพบุตรแล้ว ได้ทรงสลดพระหฤทัย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 131
เพราะ ๒ เทพนั้นเข้าถึงหมู่เทพชั้นต่ำ
ยังล่วงเลยหมู่เทพชาวดาวดึงส์เสียได้ เมื่อ
ทรงพิจารณาแล้ว ทรงสลดพระหฤทัยอยู่
นั่นแหละ โคปกเทพบุตรได้กราบทูลว่า
ขอเดชะ พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมแห่งหมู่
ชนประทับอยู่ในมนุษยโลก ปรากฏว่าเป็น
ศากยมุนีผู้ครอบงำเสียซึ่งกามนี้ บุตรของ
พระองค์เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากสติ อัน
ข้าพระองค์ตักเตือนแล้ว กลับ ได้สติ.
บรรดาเธอทั้ง ๓ รูป ๑ อยู่ในที่นี้
เข้าถึงหมู่แห่งคนธรรพ์อยู่ ส่วน ๒ รูป
มีปกติระลึกถึงทางตรัสรู้ (อนาคามิมรรค)
ย่อมดูหมิ่นแม้ซึ่งเทวดาทั้งหลาย เพราะ
เธอเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น.
สาวกผู้มีคุณเครื่องประกาศธรรม
เช่นนั้นในพระศาสนานี้ สาวกไรๆ ย่อม
ไม่หวังอะไรในเพราะการประกาศธรรม
นั้น พวกเราขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ข้าม
โอฆะ ตัดความสงสัยได้แล้วเป็นชนินทะ
ผู้ชนะ.
บรรดาคนธรรพ์ทั้ง ๓ นั้น ๒ รูป
ได้รู้ธรรมใดของพระองค์ในพระศาสนานี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 132
แล้วบรรลุคุณพิเศษ เข้าถึงหมู่พรหมชั้น
ปุโรหิต.
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์
ทั้งหลายมาแล้ว เพื่อบรรลุธรรมนั้น ข้า-
แต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าพระผู้มีพระภาค
เจ้าประทานพระวโรกาสแล้ว ข้าพระองค์
ก็จะพึงทูลถามปัญหา.
[๒๕๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระปริวิตกนี้ว่า ท้าว
สักกะนี้แลเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วสิ้นกาลนาน จักถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งกะเรา
ก็จักถามล้วนแต่ประกอบด้วยประโยชน์ถ่ายเดียว หาไร้ประโยชน์ไม่ อนึ่ง
เราจักพยากรณ์ปัญหาใดแก่พระองค์ พระองค์จักทรงทราบทั่วถึงปัญหานั้นได้
ฉับพลันทีเดียว จึงตรัสคาถาว่า
มหาบพิตรผู้วาสพ พระองค์จึงถาม
ปัญหาข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งทรงประสงค์ไว้
ในพระหฤทัย ก็จงถามเถิด อาตมาภาพ
จะทำที่สุดแห่งปัญหานั้น ๆ นั่นแลแก่
พระองค์.
จบ ปฐมภาณวาร
ทรงแก้ปัญหาท้าวสักกะ
[๒๕๕] ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ได้รับประทานพระวโรกาสแล้ว ได้
ทูลถามปัญหาทีแรกนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เทวดา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 133
มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่นเป็นอันมาก มีอะไรเป็น
เครื่องผูกพัน เขาเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีความ
คับแค้นใจ มีความหวังอยู่ว่า ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวรเป็นต้น อยู่เถิด ดั่งนี้
แต่ไฉนยังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีข้าศึก มีความคับแค้นใจ เป็นไปกับด้วย
เวรอยู่อีกเล่า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงพยากรณ์แก่ท้าวเธอว่า ขอถวายพระพร
เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่นเป็นอันมาก มีความ
ริษยาและความตระหนี่เป็นเครื่องผูกพัน เขาเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา
ไม่มีข้าศึก ไม่มีความคับแค้นใจ หวังอยู่ว่า ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีเวรเป็นต้น
อยู่เถิด ดังนี้ แต่ก็ยังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีข้าศึก มีความคับแค้นใจ เป็น
ไปกับด้วยเวรอยู่
ท้าวสักกะผู้จอมเทพ มีพระหฤทัยชื่นชมเพลิดเพลินอนุโมทนาภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อพยากรณ์นั้น ย่อมเป็น
อย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อพยากรณ์นั้นย่อมเป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์ข้าม
พ้นข้อสงสัยในข้อนั้นเสียได้แล้ว หมดความสงสัยที่จะพึงกล่าวว่าอะไร ๆ แล้ว
เพราะได้สดับปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๒๕๖] ครั้นแล้ว ได้ทูลถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ก็ความริษยาและความตระหนี่มีอะไรเป็นนิทาน (เค้ามูล) มีอะไรเป็นสมุทัย
(เครื่องก่อ) มีอะไรเป็นชาติ (เหตุเกิด) มีอะไรเป็นแดนเกิด ก็เมื่ออะไรยัง
มีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่จึงมี และเมื่ออะไรไม่มีอยู่ ความริษยาและ
ความตระหนี่ย่อมไม่มี.
พ. ชื่อถวายพระพร ความริษยาและความตระหนี่ มีอารมณ์อันเป็น
ที่รักและไม่เป็นที่รัก เป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 134
อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักยังมีอยู่. ความริษยาและความตระหนี่ย่อมมี
เมื่อไม่มีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่ย่อมไม่มี.
ส. ก็อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก มีอะไร เป็นนิทาน เป็น
สมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่ออะไรยังมีอยู่ อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่
เป็นที่รัก จึงมี เมื่ออะไรไม่มีอยู่ อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักจึงไม่มี.
พ. อารมณ์อัน เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก มีฉันทะเป็นนิทาน เป็น
สมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่อฉันทะยังมีอยู่ อารมณ์อันเป็นที่รักและ
ไม่เป็นที่รักย่อมมี เมื่อไม่มี อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักย่อมไม่มี ดั่งนี้.
ส. ฉันทะ (ความพอใจ) มีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ
เป็นแดนเกิด เมื่ออะไรยังมีอยู่ ฉันทะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ฉันทะจึงไม่มี.
พ. ฉันทะมีวิตก (ความตรึก) เป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ
เป็นแดนเกิด เมื่อวิตกยังมีอยู่ ฉันทะย่อมมี เมื่อไม่มี ฉันทะ ย่อมไม่มี.
ส. ก็วิตกมีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด
เมื่ออะไรยังมีอยู่ วิตกจึงมี เมื่ออะไรไม่มี วิตกจึงไม่มี.
พ. วิตก มีส่วนแห่งสัญญาอันสัมปยุตด้วยปปัญจธรรม (ธรรมเครื่อง
เนิ่นช้า) เป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่อส่วนแห่งสัญญา
อันสัมปยุตด้วยปปัญจธรรมยังมีอยู่ วิตกย่อมมี เมื่อไม่มี วิตกย่อมไม่มี.
[๒๕๗] ส. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่า
เป็นผู้ดำเนินปฏิปทาอันสมควร และให้ถึงความดับส่วนแห่งสัญญาอันสัมปยุต
ด้วยปปัญจธรรม.
พ. ก็อาตมาภาพ กล่าวโดยโสมนัสโทมนัสและอุเบกขา ส่วนละ ๒
คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี อาตมาภาพกล่าวหมายถึงข้อความดังว่ามา
ฉะนี้ และอาศัยอะไรจึงกล่าวดังนั้น บรรดาโสมนัส ๒ อย่างนั้น บุคคลพึงรู้จัก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 135
โสมนัสใดว่า เมื่อเราเสพโสมนัสนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญมาก กุศลธรรม
ย่อมเสื่อมไป ดังนี้ โสมนัสเห็นปานนั้นไม่ควรเสพ. บุคคลพึงรู้จักโสมนัสใดว่า
เมื่อเราเสพโสมนัสนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญมากดังนี้ โสมนัสเห็นปานนั้น
ควรเสพ. บรรดาโสมนัสนั้น โสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยปฐมฌาน ยังมีวิตกวิจาร
โสมนัสที่ไม่มีวิตกวิจารประณีตกว่า อาตมาภาพกล่าวโสมนัสใดโดยส่วน ๒ ว่า
ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี อาตมาภาพกล่าวหมายถึงข้อความดังว่ามาฉะนี้ และ
อาศัยเหตุนี้จึงกล่าวดังนั้น. แม้โทมนัสและอุเบกขา ก็มีลักษณะดังนี้แล ขอ
ถวายพระพร. ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้แล ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินปฏิปทาอันสมควร
และให้ถึงความดับส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม.
ท้าวสักกะจอมเทพมีพระหฤทัยชื่นชมเพลิดเพลินอนุโมทนาภาษิตแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอย่างนั้น
ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้าพระองค์ข้ามพ้นข้อสงสัยอันจะพึงกล่าวว่าเป็นอย่างไร ๆ
แล้ว เพราะได้สดับปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๒๕๘] ท้าวสักกะจอมเทพ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามปัญหาต่อไปว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความ
สำรวมในพระปาติโมกข์.
พ. ขอถวายพระพร ก็อาตมภาพย่อมกล่าวกายสมาจาร (มรรยาท
ทางกาย) วจีสมาจาร (มรรยาททางวาจา) และความแสวงหาโดยอย่างละ ๒ ๆ
คือที่ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี. นี่อาตมภาพกล่าวถึงข้อความดังว่ามาฉะนี้
และอาศัยอะไรจึงกล่าวดังนั้น บรรดาธรรมเหล่านั้น บุคคลพึงรู้จักกายสมาจาร
วจีสมาจาร และการแสวงหาใดว่า เมื่อเราเสพกายสมาจาร วจีสมาจาร และ
การแสวงหาชนิดนี้แล้ว อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ดังนี้
กายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหาเห็นปานนั้น ไม่ควรเสพ. บรรดา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 136
ธรรมเหล่านั้น บุคคลพึงรู้จักกายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหาใดว่า
เมื่อเราเสพกายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหานี้แล้ว อกุศลธรรมย่อม
เสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญมากดังนี้ กายสมาจาร วจีสมาจาร และการ
แสวงหาเป็นปานนั้น ควรเสพ. อาตมภาพกล่าวกายสมาจาร วจีสมาจาร และ
การแสวงหาโดยส่วนละ ๒ ๆ คือที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี. อาตมภาพ
กล่าวหมายถึงข้อความดังว่ามาฉะนี้ และอาศัยเหตุนี้ จึงกล่าวดังนั้น ภิกษุ
ปฏิบัติอย่างนี้แลย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสำรวมในพระปาฏิโมกข์.
[๒๕๙] ส. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่า
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสำรวมในอินทรีย์.
พ. อาตมภาพย่อมกล่าว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
อันจะพึงรู้ด้วยจักขุ โสด ฆาน ชิวหา กาย มนะ ส่วนละ ๒ คือที่ควรเสพ
ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ได้
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบซึ้งถึงเนื้อความแห่ง
ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร เมื่อบุคคลเสพ รูป
เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้ด้วยจักขุ โสด ฆาน
ชิวหา กาย มนะ อย่างใดอยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญมาก กุศลธรรมย่อม
เสื่อมไป ดังนี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เห็นปานนั้น
ไม่ควรเสพ. เมื่อบุคคลเสพ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
อันจะพึงรู้ด้วยจักขุ โสด ฆาน ชิวหา กาย มนะ อย่างใดอยู่ อกุศลธรรม
ย่อมเสื่อมไป กุศลย่อมเจริญมาก ดังนี้แล รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ เห็นปานนั้น ควรเสพ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 137
ส. ข้าพระองค์ทราบซึ้งถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสแล้วโดยย่ออันได้โดยพิสดาร ได้ข้ามข้อสงสัยในข้อนี้ได้แล้ว หมดความ
สงสัยอันจะพึงกล่าวว่าอะไร ๆ แล้ว เพราะได้สดับปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า.
[๒๖๐] ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้วได้ทูลถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
สมณพราหมณ์ทั้งหมดแล มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน
มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีที่สุดเป็นอย่างเดียวกันหรือ.
พ. หามิได้ มหาบพิตร.
ส. ก็ทำไม สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงเป็นผู้ไม่มีวาทะเป็นอย่าง
เดียวกัน ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีที่สุด
ลงเป็นอย่างเดียวกันเล่า.
พ. โลกมีธาตุไม่เป็นอันเดียวกัน มีธาตุต่าง ๆ กัน หมู่สัตว์ถือมั่นใน
ธาตุใด ๆ แล ย่อมยึดถือธาตุนั้น ๆ กล่าวด้วยกำลังความยึดถือว่า อย่างนี้แหละ
แน่นอน อย่างอื่นเหลวไหล ดังนี้ เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์จึงเป็นผู้ชื่อว่า
มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน
มีที่สุดลงเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมดไม่ได้.
[๒๖๑] ส. สมณพราหมณ์มีความสำเร็จล่วงส่วน เกษมจากโยคะ
ล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วนทั้งหมดหรือ.
พ. หามิได้ มหาบพิตร.
ส. เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้หลุดพ้น เพราะสิ้นตัณหา ภิกษุเหล่านั้นมีความ
สำเร็จล่วงส่วน เกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน เพราะเหตุนั้น
สมณพราหมณ์จึงเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วนทั้งหมดไม่ได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 138
ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ชื่นชมเพลิดเพลินอนุโมทนาภาษิตแห่งพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตเจ้า
ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์ได้ข้ามความสงสัยในข้อนี้แล้วหมดความสงสัย
อันจะพึงกล่าวว่าเป็นอย่างไรๆ แล้ว เพราะได้สดับปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า.
ว่าด้วยสมณพราหมณ์พวกอื่น
[๒๖๒] ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาภาษิตแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความหวั่นไหว
(ตัณหา) เป็นดั่งโรค เป็นดั่งฝี เป็นดั่งลูกศร ย่อมคร่าบุรุษนี้ เพื่อให้บังเกิด
ในภพนั้น ๆ นั่นแล เพราะเหตุนั้น บุรุษนี้ย่อมถึงความสูง ๆ ต่ำ ๆ ข้าพระองค์
ไม่ได้โอกาสที่จะถามปัญหาเหล่าใด ในสมณพราหมณ์อื่นภายนอกแต่ศาสนานี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้เห็นมาช้านาน ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาเหล่านั้นแก่ข้า
พระองค์แล้ว อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงถอนลูกศรคือความสงสัยเคลือบ
แคลงของข้าพระองค์เสียแล้ว .
พ. มหาบพิตร ได้ทรงถามปัญหาเหล่านั้น กะสมณพราหมณ์เหล่าอื่น
แล้วทรงเข้าใจหรือไม่.
ส. เข้าใจอยู่ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น พยากรณ์ไว้แล้วอย่างไร ถ้ามหาบพิตร
ไม่ทรงหนักพระหฤทัย จงตรัสเถิด.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแล้วในที่ใด หรือพระรูปของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าปรากฏอยู่แล้วในที่ใด ในที่นั้นความหนักใจของข้าพระองค์
ไม่มีแล.
พ. ถ้าดังนั้นมหาบพิตรจงตรัส.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 139
ส. ข้าพระองค์ย่อมสำคัญสมณพราหมณ์เหล่าใดว่า เป็นผู้อยู่ป่ามี
เสนาสนะอันสงัด จึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถามปัญหาเหล่านี้
สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกข้าพระองค์ถามแล้วแก้ไม่ได้ แทนที่จะตอบกลับย้อน
ถามข้าพระองค์ว่า ท่านชื่อไร ข้าพระองค์ตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้า
แลเป็นท้าวสักกะผู้จอมเทพ ดังนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นย้อนถามข้าพระองค์
อีกว่า ก็ท่านผู้จอมเทพ ท่านทำกรรมอะไรไว้ จึงได้ถึงฐานะนี้ ข้าพระองค์
ย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมาแก่สมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นได้มีใจปลาบปลื้มด้วยเหตุมีประมาณเท่านั้นว่า พวกเราได้เห็น
ท้าวสักกะผู้จอมเทพ และได้ถามปัญหากะท้าวเธอๆได้พยากรณ์ปัญหานั้นแล้ว
เขาเหล่านั้นย่อมสำเร็จเป็นสาวกของข้าพระองค์โดยแท้แล แต่ไม่ใช่ข้าพระองค์
สำเร็จเป็นสาวกของเขา ก็ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น
โสดาบันมีอันไม่ตกต่ำไปเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
พ. มหาบพิตร การได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ พระองค์ได้
เคยประสบในกาลก่อน แต่กาลนี้บ้างไหม.
ส. เคยได้ประสบ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. มหาบพิตร ทรงทราบได้อย่างไร.
ว่าด้วยเทวาสุรสงคราม
[๒๖๓] ส. เรื่องเคยมี พระพุทธเจ้าข้า สงครามระหว่างเทวดากับ
อสูรได้ประชิดกันแล้ว. ก็ในสงครามนั้น หมู่เทพชนะ พวกอสูรปราชัย.
ข้าพระองค์ชำนะสงครามนั้นแล้ว ได้ปริวิตกว่า บัดนี้ หมู่เทพจักเสวยโอชานี้
ที่เป็นทิพย์และที่เป็นของอสูรทั้ง ๒ ในเทวโลกนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การได้
ความยินดี การได้โสมนัสนั้นของข้าพระองค์เป็นไปด้วยกับอาชญา เป็นไปกับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 140
ด้วยศัสตรา ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ
เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ก็การได้ความยินดี การได้โสมนัสของข้าพระองค์ เพราะได้
ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้น ไม่เป็นไปด้วยกับอาชญา ไม่เป็นไป
ด้วยกับศัสตรา ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.
พ. มหาบพิตร เห็นอำนาจประโยชน์อะไรอยู่ จึงเพลิดเพลินการได้
ความยินดี การได้โสมนัสเห็นปานนั้นเล่า.
ส. ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ ๖ ประการ จึงประกาศการได้
ความยินดี การได้โสมนัสเห็นปานนั้น คือ
[๒๖๔] (๑) เมื่อข้าพระองค์เป็นเทวดา มีสติดำรงอยู่ในที่นี้นั่นแล
ข้าพระองค์ได้อายุต่อไปอีก.
[๒๖๕] (๒) ข้าพระองค์ละอายุอันไม่ใช่ของมนุษย์ จุติแล้วจากกาย
อันเป็นทิพย์ เป็นผู้ไม่หลงแล้ว จักเข้าถึงครรภ์ในภพเป็นที่ชอบใจของข้า
พระองค์.
[๒๖๖] (๓) ข้าพระองค์นั้นยินดีแล้ว ในศาสนาของพระองค์ มี
ปัญหาอันไม่ฟั่นเฝือแล้วอยู่ จักเป็นผู้รอบรู้ มีสติมั่นคง อยู่ด้วยความ
ประพฤติชอบ.
[๒๖๗] (๔ ) ถ้าว่าความตรัสรู้จักมีแก่ข้าพระองค์ในเบื้องหน้า ด้วย
ความประพฤติชอบ และเป็นผู้รอบรู้อยู่ไซร้ ที่สุดนั่นแล จักมีแก่ข้าพระองค์.
[๒๖๘] (๕) ข้าพระองค์จุติแล้ว จากกายอันเป็นของมนุษย์ และ
อายุอันเป็นของมนุษย์ จักเป็นเทวดาอีก จักเป็นผู้สูงสุดในเทวโลก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 141
[๒๖๙] (๖) ในอัตตภาพอันมีในที่สุด ข้าพระองค์จักอยู่ในหมู่เทพ
ชั้นอกนิฏฐะผู้มียศอันประณีตกว่า. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็น
อำนาจประโยชน์ ๖ อย่างเหล่านี้แล ย่อมประกาศการได้ความยินดี การได้
โสมนัสเช่นนี้.
[๒๗๐] ท้าวสักกะทูลคำนี้แล้ว ได้กราบทูลว่า
ข้าพระองค์มีความดำริอันยังไม่ถึงที่
สุดแล้ว ยังมีความสงสัยเคลือบแคลงอยู่
ยังท่องเที่ยวไปสู่ทางไกล ยังต้องค้นหา
พระตถาคตเจ้าอยู่. ย่อมสำคัญสมณะผู้มี
ปกติอยู่ในเสนาสนะอันสงัดว่าเป็นผู้ตรัสรู้
พร้อมดังนี้ ย่อมเข้าไปหาสมณะเหล่า
นั้น ๆ.
พวกสมณะที่ข้าพระองค์ถามแล้วว่า
ความยินดีเป็นอย่างไร ความยินร้ายเป็น
อย่างไร ดังนี้ ย่อมไม่สามารถจะบอกใน
มรรคและปฏิปทาได้ จึงย้อนถามข้าพระ-
องค์ในกาลนั้นว่า ท่านทำกรรมอะไร จึง
ถึงความเป็นจอมเทพ ดังนี้.
ข้าพระองค์ย่อมแสดงธรรม ตามที่
ได้ยินได้ฟังมาแก่สมณะเหล่านั้น สมณะ
เหล่านั้นมีใจปลาบปลื้ม เพราะเหตุนั้น
และพากันคิดว่า เราได้เห็นท้าววาสวะ
แล้วดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 142
ก็ข้าพระองค์ได้เห็นพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ผู้ยังหมู่ชนให้ข้ามพ้นวิจิกิจฉาใน
กาลใด กาลนั้น ข้าพระองค์ปราศจากความ
กลัว เข้าไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน
วันนี้.
ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระพุทธ-
เจ้าผู้ขจัดเสียซึ่งลูกศร คือตัณหา ผู้ไม่มี
บุคคลเปรียบ ผู้กล้าหาญผู้เป็นเผ่าพันธุ์
พระอาทิตย์.
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในกาลก่อน
ข้าพระองค์ทำความนอบน้อมแก่พรหม
พร้อมด้วยหมู่เทพ วันนี้ ข้าพระองค์ถวาย
นมัสการแด่พระองค์ เชิญพวกเราจงทำ
ความนอบน้อมเถิด.
พระองค์เป็นสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
เป็นศาสดาอย่างยอดเยี่ยม บุคคลที่จะ
เปรียบกับพระองค์ในโลกนี้ กับทั้งเทวโลก
ไม่มีเลย.
ท้าวสักกะเปล่งอุทาน - ได้ธรรมจักษุ
[๒๗๑] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ได้เรียกปัญจสิขคนธรรพ์
เทพบุตรมาแล้วตรัสว่า พ่อปัญจสิขะ เธอเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามากนัก เธอ
ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดให้ทรงยินดีก่อนแล้ว ภายหลังฉันจึงได้เข้าไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 143
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ฉันจักตั้ง
เธอไว้ในตำแหน่งเทพบิดร เธอจงเป็นคนธรรพราช อนึ่ง ฉันได้ยกนางสุริย-
วัจฉสาให้ตามความปรารถนาของพ่อ. ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ได้ทรง
ลูบคลำแผ่นดินด้วยฝ่าพระหัตถ์ (เพื่อเป็นพยาน) แล้ว ได้ทรงอุทาน ๓ ครั้งว่า
นะโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นะโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นะโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ดังนี้.
[๒๗๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณ์นี้จบลง ธรรมจักษุ
(ดวงตาเห็นธรรม) อันปราศจากธุลี ไม่มีมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ท้าวสักกะ
ผู้จอมเทพว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด มีอันดับ
ไปเป็นธรรมดา อนึ่ง ธรรมจักษุเช่นนั้น ได้เกิดขึ้นแก่เทพดาเหล่าอื่นแปดหมื่น
องค์ด้วย. ปัญหาเหล่าใดที่ท้าวสักกะผู้จอมเทพทรงปรารถนา ได้ทูลถามแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์ปัญหาเหล่านั้นแล้ว. เพราะฉะนั้น ไวยา-
กรณ์นี้ จึงได้มีชื่อว่า สักกปัญหา ดังนี้แล.
จบ สักกปัญหสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 144
อรรถกถาสักกปัญหสูตร
สักกปัญหาสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้.
ต่อไปนี้ เป็นการขยายความเฉพาะบทที่ไม่แจ่มแจ้งในสักกปัญหสูตร
นั้น. บทว่า อมฺพสณฺโฑ นาม พฺราหฺมณคาโม (ดงมะม่วง) คือ เล่ากันมา
ว่าหมู่บ้านนั้นอยู่ไม่ไกลดงมะม่วง ฉะนั้นจึงเรียกว่าอัมพสณฑ์. บทว่า เวทิยาเก
ปพฺพเต คือ นัยว่า เขานั้นมีดงป่าสีเขียวเหมือนเวทีแก้วมณี ซึ่งเกิดที่เชิงเขา
ล้อมรอบ ฉะนั้นจึงเรียกว่าเขาเวทิยกะ. บทว่า อินทสาลคุหาย คือ แต่ก่อนมา
ถ้ำนั้นอยู่ระหว่างเขาสองลูก และที่ประตูถ้ำนั้นมีต้นช้างน้าว ฉะนั้นจึงเรียกว่า
ถ้ำช้างน้าว ต่อมาพวกคนก็กั้นฝาถ้ำนั้น ติดประตูหน้าต่างทำที่เร้นที่วิจิตรด้วย
ลายดอกลายเถาโบกปูนขาวจนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
แต่คนทั้งหลายก็ยังรู้จักถ้ำนั้นว่า ถ้ำช้างน้าว ตามชื่อเดิมนั้นเอง. ท่านพระ
อานนท์หมายเอาถ้ำนั้นจึงกล่าวว่า ที่ถ้ำช้างน้าว.
บทว่า อุสฺสุกฺก อุทปาทิ คือ เกิดความอุตสาหะที่ประกอบด้วย
ธรรมขึ้น ถามว่า ก็แลท้าวสักกะนั้น ก็ทรงเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ามาบ่อย
แล้วมิใช่หรือ มีประชุมเทวดากันที่ไหนนั้น ก็ไม่ใช่ว่าท้าวสักกะนี้ไม่เคยเสด็จ
มาขึ้นชื่อว่าเทวบุตรขนาดท้าวสักกะอยู่อย่างประมาทก็ไม่มี เมื่อเป็นเช่นนั้น
ทำไม ท้าวสักกะนั้นจึงทรงเกิดความอุตสาหะเหมือนผู้ไม่เคยมาเฝ้าพระพุทธเจ้า
เล่า ตอบว่า เพราะถูกความกลัวตายคุกคามเอา.
นัยว่า สมัยนั้น พระชนมายุของท้าวเธอหมดแล้ว. ท้าวเธอได้ทรงเห็น
บุพนิมิตรห้าประการ ทรงทราบว่า บัดนี้เราหมดอายุแล้ว ก็เครื่องหมาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 145
ความตายปรากฏแก่เทวบุตรเหล่าใด ในเทวบุตรเหล่านั้น พวกใดเกิดใน
เทวโลกด้วยบุญกรรมเล็กน้อย พวกนั้นก็ย่อมถึงความหวาดสะดุ้งเพราะ
ความกลัวว่า คราวนี้เราจักเกิดที่ไหนหนอ พวกใด ได้เตรียมป้องกันภัย
ที่น่าสะพึงกลัวไว้ทำบุญไว้มากเกิดแล้ว พวกนั้นคิดว่า เราอาศัยทานที่ตน
ได้ให้ ศีลที่รักษาไว้และภาวนาที่ได้อบรมไว้แล้ว จักเสวยสมบัติในเทวโลก
ชั้นสูง ย่อมไม่กลัว. ส่วนท้าวสักกเทวราชเมื่อได้ทรงเห็นบุพนิมิตร ก็ทรง
มองดูสมบัติทั้งหมดอย่างนี้ว่า เทพนครหมื่นโยชน์ ประสาทไพชยันต์สูงพัน
โยชน์ สุธรรมาเทวสภาสามร้อยโยชน์ ต้นมหาปาริฉัตรสูงร้อยโยชน์ หินปัณฑุ-
กัมพลหกสิบโยชน์ นางฟ้อนยี่สิบห้าโกฎิ เทพบริษัทในสองเทวโลก สวน
นันทน์ สวนจิตรลดา สวนมิสสกะ สวนปารุสก์ แล้วก็ทรงถูกความกลัว
ครอบงำว่า ท่านเอ๋ย สมบัติของเรานี้จักฉิบหายหนอ ต่อไปก็ทรงมองดูว่า
มีใครบ้างไหมหนอ ไม่ว่าเป็นสมณะ เป็นพราหมณ์ หรือมหาพรหมผู้เป็น
พระบิดาของโลก ที่พึงถอนลูกศรคือความโศกที่อาศัยหัวใจเราแล้วทำให้สมบัติ
นี้มั่นคงได้ เมื่อทรงมองใคร ๆ ก็ไม่เห็น ก็ทรงเห็นอีกว่า มีแต่พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงสามารถถอนความโศกศัลย์ที่เกิดแก่เทพทั้งหลายเช่นเรา
แม้ตั้งแสนได้. ต่อมาโดยสมัยนั้นแล ความขวนขวายเพื่อจะเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าก็ได้เกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะจอมทวยเทพผู้ทรงพระดำริอยู่อย่างนี้.
คำว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหนหนอ คือ
ท้าวสักกะทรงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่จังหวัดอะไร ทรงเข้าไป
อาศัยเมืองอะไรอยู่ กำลังเสวยปัจจัยของใครอยู่ กำลังทรงแสดงอมฤตธรรม
แก่ใครอยู่. คำว่า ได้ทรงเห็นแล้วแล ความว่า ทรงได้เห็น คือทรงแทง
ตลอดแล้ว. คำว่า ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย นี้เป็นคำที่น่ารัก เป็นสำนวนของ
พวกเทพโดยเฉพาะ มีอธิบายว่า ผู้ไม่มีทุกข์ ก็ได้. ก็ทำไมท้าวสักกะนี้จึงทรง
เรียกพวกเทพ เพื่อต้องการเป็นเพื่อน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 146
ครั้งก่อน ก็เล่ากันมาว่า ท้าวสักกะนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลัง
ประทับอยู่ที่กุฏิใกล้ต้นสน ก็เสด็จไปได้เฝ้าโดยลำพังมาแล้ว. พระศาสดาทรง
พระดำริว่า ญาณของท้าวเธอยังไม่แก่กล้าพอ แต่ถ้ารอไปอีกสักหน่อย ขณะที่
เราอยู่ถ้ำช้างน้าว ท้าวเธอจักเห็นบุพนิมิตรห้าอย่าง ทรงกลัวมรณภัยเข้ามา
หาพร้อมกับพวกเทวดาในสองเทวโลก ทรงถามปัญหาสิบสี่ข้อ เมื่อแก้จบปัญหา
เกี่ยวกับอุเบกขาแล้ว ทรงตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมกับเทวดาแปดหมื่นองค์
ดังนี้ จึงไม่ประทานพระโอกาส. ท้าวสักกะนั้นทรงพระดำริว่า พระศาสดาไม่
ประทานพระโอกาส เพราะเมื่อก่อนเราไปโดยลำพังผู้เดียว เรายังไม่มีอุปนิสัย
แห่งมรรคผลเป็นแน่ ก็เมื่อเราผู้เดียวมีอุปนิสัย พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดง
ธรรมแก่บริษัทแม้จนสุดจักรวาลแน่ ก็แน่ล่ะในเทวโลกสองชั้น ใครผู้ใดผู้หนึ่ง
คงจะมีอุปนิสัยแท้เทียว พระศาสดาคงจะทรงหมายเอาผู้นั้นแล้วทรงแสดงธรรม
ถึงเราเองเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ก็คงจะดับความโทมนัสของตนได้ ดังนี้แล้ว
จึงตรัสเรียกเพื่อต้องการเป็นเพื่อน.
คำว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์รับ สนองพระดำรัสว่า ขอความ
เจริญจงมีแด่พระองค์อย่างนั้น ความว่า ขอจงเป็นอย่างนั้นเถิดมหาราช พวก
เราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นสภาพที่หาได้
ยาก ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ผู้ไม่ตรัสว่า ขอให้เราทั้งหลายจงไปเล่นตาม
ภูเขา ไปเล่นตามแม่น้ำ แล้วทรงประกอบพวกข้าพระองค์ไว้ในฐานะเห็นปาน
นี้. คำว่า ได้ฟังตอบแล้ว คือรับพระดำรัสของท้าวเธอไว้ด้วยเศียรเกล้า.
คำว่า ตรัสเรียกปัญจสิขะ บุตรคนธรรพ์ คือ (ถามว่า) ก็เมื่อ
ตรัสเรียกพวกเทวดาเหล่านั้นแล้ว ทำไมจึงตรัสเรียกปัญจสิขบุตรคนธรรพ์นี้
ต่างหากเล่า ตอบว่า เพื่อให้ขอประทานพระโอกาส. เล่ากันมาว่า ท้าวสักกะ
นั้นได้ทรงมีความคิดอย่างนี้ว่า การจะพาเอาพวกเทวดาในสองเทวโลกเข้าไปเฝ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 147
พระศาสดาพร้อมกันไม่เหมาะ. ก็ปัญจสิขะนี้เป็นอุปัฏฐากผู้รับใช้ที่พระทศพล
โปรดปราน ไปทูลถามปัญหาแล้วฟังธรรมได้ทุกขณะที่ต้องการ พวกเราส่ง
ปัญจสิขะนี้ล่วงหน้าไปก่อนให้ขอประทานพระโอกาส แล้วจึงเข้าเฝ้าทูลถาม
ปัญหาในเวลาที่ปัญจสิขะนี้ขอประทานพระโอกาสเสร็จแล้ว จึงตรัสเรียกเพื่อ
ให้ขอประทานพระโอกาส.
คำว่า ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์อย่างนั้น ความว่า แม้
ปัญจสิขะนั้นก็สนับสนุนอย่างแข็งขันว่า ขอจงเป็นอย่างนั้นเถิด มหาราช ขอ
ความเจริญจงมีแด่พระองค์ ผู้ไม่ตรัสกะข้าพระองค์ว่า ผู้นิรทุกข์มาเถิด พวก
เราจะไปเที่ยวชมกีฬาที่อุทยานเป็นต้น หรือไปชมมหรสพของนักฟ้อนเป็นต้น
(แต่) ตรัสว่า พวกเราจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จะฟังธรรม แล้วก็รับสนองพระ
ดำรัสของจอมทวยเทพ แล้วก็เข้าร่วมขบวนเสด็จตามติดไปด้วยกัน. ในคำ
เหล่านั้น คำว่า พิณสีเหลืองดุจผลมะตูม คือพิณสีเหลืองเหมือนลูกมะตูม
สุก. เล่ากันว่า ช่องพิณนั้นทำด้วยทอง คันทำด้วยแก้วอินทนิล สายทำด้วย
เงิน กระโหลกทำด้วยแก้วประพาฬ ใบพิณหนึ่งคาวุต ชะเนาะหนึ่งคาวุต
คันท่อนบนหนึ่งคาวุต ดังนี้ พิณจึงมีขนาดสามคาวุต. ปัญจสิขะนั้นถือพิณนั้นดัง
ที่ว่ามานี้แล้ว ก็ปล่อยการประโคมอย่างสุดผีมือเท่าที่มีความรู้ ใช้ปลายเล็บดีด
คลอเสียงขับที่ไพเราะ แจ้งให้พวกเทพที่เหลือทราบเวลาเสด็จไปของท้าวสักกะ
แล้วยืนอยู่ในที่ควรส่วนหนึ่ง. เมื่อคณะเทพประชุมกันตามสัญญาณแห่งเสียงขับ
บรรเลงของปัญจสิขะนั้นดังนี้แล้ว ทีนั้นแล ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ฯลฯ ก็
เสด็จไปปรากฏที่เขาเวทิยกะ.
คำว่า เกิดแสงสว่างไสวเหลือเกิน คือ ในวันอื่น ๆ ก็เกิดแสง
สว่างด้วยแสงของเทพมารหรือพรหม เพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่วันนั้น เกิดมี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 148
แสงสว่างไสวเหมือนกัน โชติช่วงไปเป็นอันเดียวกันเหมือนเวลาพระจันทร์และ
พระอาทิตย์ขึ้นไปเป็นพันดวง เพราะแสงของทวยเทพในเทวโลกทั้งสองชั้น.
คำว่า พวกคนในหมู่บ้านโดยรอบ คือพวกคนในหมู่บ้านใกล้เคียง.
เล่ากันมาว่า ในเวลาอาหารมื้อเย็นเป็นปกตินั้นเอง เมื่อพวกเด็กกำลังเล่นกัน
ในท่ามกลางหมู่บ้าน ท้าวสักกะก็ได้เสด็จไปที่เขาเวทิยกะนั้น เพราะฉะนั้น
พวกคนเมื่อได้เห็นจึงกล่าวกันอย่างนั้น. เออก็พวกเทวดาเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตอนยามกลางวันมิใช่หรือ ทำไมท้าวสักกะนี้จึงได้เสด็จมาในภาคแรก
แห่งยามต้นเล่า. เพราะทรงถูกมรณภัยนั่นแหละคุกคามเอา. คำว่า อะไรกัน
ความว่า พวกคนพูดกันว่า อะไรนั่นท่าน วันนี้เทวดาหรือพรหมผู้ศักดิ์ใหญ่
องค์ไรกันหนอ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทูลถามปัญหาเพื่อจะฟังธรรม
แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแก้ปัญหา จะทรงแสดงธรรมอย่างไร ลาภของ
พวกเราที่มีพระศาสดาผู้ทรงบรรเทาความสงสัยของพวกเทวดาเสด็จ
ประทับอยู่ในวัดใกล้ ๆ ซึ่งพวกเราได้ถวายภิกษาถาดหนึ่งบ้าง ภิกษาทัพพี
หนึ่งบ้าง แล้วก็ตกใจ โลมชาติชูชัน ขนลุกซู่ซ่า ยกกระพุ่มมือที่รุ่งเรืองที่
รวมเอาสิบเล็บวางไว้เหนือเศียร ยืนนมัสการอยู่.
คำว่า เข้าเฝ้ายาก คือพึงเข้าไปนั่งใกล้ยาก. เรายังมีราคะ โทสะ
โมหะ (แต่) พระศาสดา ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เพราะฉะนั้น พระตถาคตเจ้า
ทั้งหลายอันผู้เช่นเราพึงเข้าไปนั่งใกล้ยาก. บทว่า ทรงมีฌาน คือการทรงมี
ฌานด้วยลักขณูปนิชฌาน และอารัมมณูปนิชฌาน. ชื่อว่า ทรงยินดีในฌาน
เพราะทรงยินดีในฌานนั้นนั่นเอง. คำว่า ถัดจากที่ทรงเร้น คือในลำดับที่
ทรงเร้นนั้น หรือทันทีที่ทรงเร้น เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่เข้าเฝ้ายากเพราะทรง
มีฌาน ทรงยินดีในฌาน เท่านั้น แต่เข้าเฝ้ายากแม้เพราะเพิ่งเสด็จทรงเร้นเมื่อ
กี้นี้เองด้วย. คำว่า พึงให้โปรด คือ พึงให้ทรงพอพระทัย. ท้าวสักกะตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 149
เธอพึงทำให้ประทานพระโอกาสแก่เราแล้วให้. ถามว่า ถือพิณที่มีสีเหลืองเหมือน
ผลมะตูม แล้วก็เป็นอันว่าพิณนั้นถือไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือ ? ตอบว่าเออ ถือไว้
แล้วก็พิณนั้นห้อยไว้ที่จงอยบ่าด้วยสามารถไปตามทาง เดี๋ยวนี้ เอามันมาวางไว้ที่
มือซ้าย ทำการเตรียมบรรเลง จึงถือไว้ ฉะนั้นจึงกล่าวว่าถือไว้แล้ว. คำว่า ให้
ทรงได้ยิน คือให้ทรงฟัง. คำว่า เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า คือปรารภพระ-
พุทธเจ้า อธิบายว่า ทำพระพุทธเจ้าเป็นหลักอิงเป็นไป. แม้ในบทที่เหลือ ก็
นัยนี้แหละ.
พึงทราบในวินิจฉัยในคำว่า น้องสุริยวัจฉสา พี่ขอไหว้ท้าวติมพรุ
ผู้เป็นบิดาของน้อง นี้ต่อไป. คำว่า สุริยวัจฉสา คือมีร่างเท่ากับพระสุริยะ.
เล่ากันว่า รัศมีตั้งขึ้นที่ปลายเท้าของเทพธิดานั้นแล้วพุ่งขึ้นไปจนจรดปลายผม
ฉะนั้นจึงปรากฏเหมือนดวงอาทิตย์อ่อนๆด้วยประการฉะนี้ เทพทั้งหลายจึงรู้จัก
นางว่า สุริยวัจฉสา. ปัญจสิขะ ประสงค์เอาความข้อนั้น จึงกล่าวว่า น้อง
สุริยวัจฉสา ดังนี้. ปัญจสิขะ กล่าวว่า พี่ขอไหว้ท้าวติมพรุ คนธรรพเทวราช
ผู้เป็นบิดาของน้อง. คำว่าเพราะเหตุที่น้องผู้เป็นกัลยาณีได้เกิดมาแล้ว
คือเพราะอาศัยติมพรุเทวราชใด น้องผู้งดงาม คือสวยหมดทุกส่วนจึงได้
เกิดมา. คำว่า ยังความยินดีให้เกิดแก่พี่ คือ ทำให้ความอิ่มเอิบและความ
ดีใจเจริญแก่พี่.
คำว่า ดุจลมเป็นที่ใคร่ของผู้มีเหงื่อ อธิบายว่า ลมเป็นที่รักใคร่
พอใจ ของเหล่าผู้ที่เกิดเหงื่อเพื่อให้เหงื่อระเหยออกฉันใด ก็ฉันนั้น. คำว่า
ดุจน้ำเป็นที่ปรารถนาของผู้กระหาย คือ (น้ำเป็นที่ปรารถนา) ของผู้ที่
ถูกความกระหายครอบงำแล้ว อยากจะดื่ม. คำว่า ผู้มีรัศมีจากกาย คือ
รัศมีจากกายของเธอมีอยู่ เหตุนั้นเธอจึงชื่อว่า ผู้มีรัศมีจากกาย. ปัญจสิขะ
กล่าวพร่ำปรารภถึงนางสุริยวัจฉสานั้นแหละ. คำว่า ดุจธรรมเป็นที่รักของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 150
พระอรหันต์ทั้งหลาย คือ เหมือนโลกุตตรธรรมเก้าอย่างของพระอรหันต์
ทั้งหลาย.
คำว่า ของคนหิว คือของผู้ที่ถูกความหิวครอบงำใคร่จะบริโภค. คำ
ว่า ดุจเอาน้ำดับไฟที่กำลังโพลง คือ ปัญจสิขะ กล่าวว่า ใคร ๆ พึงเอา
น้ำดับไฟที่กำลังลุกโพลงฉันใด น้องจงดับความกลัดกลุ้ม เพราะความกำหนัด
ของพี่ที่เกิดขึ้นแล้วเพราะน้องเป็นเหตุฉันนั้น.
คำว่า ประกอบด้วยเกสรและละออง คือประกอบด้วยเกสรและ
ละอองดอกบัว คำว่า ดุจช้างที่ถูกแดดหน้าแล้งแผดเผา คือเหมือนช้าง
ที่ถูกแดดแผดเผาในฤดูร้อน. คำว่า หยั่งลงสู่ถันและอุทรของน้อง คือ
ปัญจสิขะกล่าวว่า เมื่อไรหนอ พี่จะได้ลงสู่ถันและอุทร อันได้แก่ สู่กลางถัน
และอุทรของน้องแล้วได้รับความสุขและความชื่นใจ เหมือนช้างนั้นหยั่งลงสู่
สระบัวดื่มแล้วแช่ตัวโผล่แต่ปลายวงเท่านั้นให้ปรากฏได้รับความสุขและความ
ชื่นใจ ฉะนั้น. หนามเหล็กที่ใช้สับกกหูเรียกว่า ขอ ในคาถานี้ว่า
พี่หลงใหลในน้องผู้มีขางาม จึง
ไม่รู้จักเหตุการณ์ ประดุจช้างสาร
เหลือขอ เข้าใจว่าตนชนะขอและ
หอกฉะนั้น.
ที่เรียกว่า หอก ได้แก่หอกอาชญาใช้แทงเท้า เป็นต้น. ที่เรียกว่า ขอได้แก่.
เหล็กแหลมงอใช้สับหัว (ช้าง). ก็ช้างที่ตกมันเต็มที่ เป็นช้างที่เหลือขอดื้อขอ
ต่อให้เอาขอสับอยู่ก็เอาไว้ไม่อยู่ และมันเข้าใจว่า ข้าเอาชนะขอและหอกได้แล้ว
เพราะแม้แต่ขอก็ยังเอาข้าไว้ไม่อยู่ มันไม่ยอมรับรู้เหตุการณ์อะไร ๆ เพราะ
แรงเมามัน. ปัญจสิขะกล่าวว่า แม้ตัวพี่ ก็หลงใหล เมา เมามันเหมือนเป็นบ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 151
ในน้องผู้มีขางาม เพราะมีขาถึงพร้อมด้วยลักษณะ จึงไม่รู้จักเหตุการณ์อะไรๆ
เหมือนช้างที่เหลือขอนั้น มันเข้าใจว่า ข้าเอาชนะขอและหอกได้แล้ว ก็ไม่รู้จัก
เหตุการณ์อะไรๆ ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ตัวพี่เองเหมือนช้างที่เหลือขอหลงใหล
น้องผู้มีขางาม ฉะนั้นจึงไม่รู้จักเหตุแห่งการสำรอกความกำหนัดสักน้อยหนึ่งได้.
เพราะเหตุไร ? เพราะต่อให้ใคร ๆ มากล่าว พี่ก็ไม่ถือเอาถ้อยคำ เหมือนช้าง
ที่คิดว่า ข้าเอาชนะขอและหอกได้แล้วนั้น.
คำว่า พี่มีจิตที่ติดรักน้อง ความว่า น้องรัก พี่นี้เป็นผู้มีจิตปฏิ-
พัทธ์ในน้องผู้มีขางาม. หรือคำว่า มีจิตคิดรัก ได้แก่มีจิตเพ่งจ้องปองรัก. คำ
ว่า จิตแปรปรวนแล้ว คือจิตละปกติตั้งอยู่. คำว่า ไม่สามารถกลับได้ คือ
พี่กลับไม่ได้. คำว่า ดุจปลาที่กลืนเบ็ด คือเหมือนปลาที่กลืนเบ็ดแล้วติดอยู่
ปาฐะว่า ฆสะ ก็มี. ใจความก็อย่างนี้เหมือนกัน.
คำว่า มีลำขาอันงาม คือมีลำขาที่ตั้งมั่นด้วยท่าทางที่งาม หรือ
อธิบายว่ามีลำขาเหมือนต้นกล้วย. คำว่า โอบ คือ โปรดจงกอดพี่เข้าไว้. คำ
ว่า มีนัยน์ตาอันชมดชม้อย คือ พวกผู้หญิงย่อมไม่จ้องเขม็ง แต่ย่อมชะแง้
แลมอง ฉะนั้นจึงเรียกว่า ผู้มีนัยน์ตาชมดชม้อย. คำว่า โอบกอด คือจง
สวมกอดพี่ไว้ทุกส่วน. คำว่า พี่ปรารถนาดังนี้ยิ่งนัก คือพี่ต้องการดังนี้
เสมอ.
คำว่า มี (ความรัก) ต่อพี่น้อยนัก คือมีอยู่น้อยโดยปกติทีเดียว.
คำว่า มีผมเป็นคลื่น คือชื่อว่ามีผมเป็นคลื่นเพราะผมของหญิงนั้นในเวลาที่
สยายแล้วปล่อยไว้ข้างหลังเลื้อยไปเหมือนงู. ผู้มีผมเหมือนคลื่นนั้น. คำว่า เกิด
มีขึ้นไม่ใช่น้อย คือ เกิดขึ้นไม่ใช่อย่างเดียว. ปาฐะว่ามิใช่น้อย ก็มี. คำว่า
เหมือนทักษิณาในพระอรหันต์ คือแตกขยายออกไปโดยประการต่าง ๆ
เหมือนทานที่ถวายในพระอรหันต์ (ให้ผลมากมาย ฉะนั้น ).
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 152
คำว่า มีบุญใดที่พี่ได้ทำไว้แล้ว คือ บุญใดที่พี่ได้ทำไว้มีอยู่. คำ
ว่า ในพระอรหันต์ทั้งหลายผู้คงที่ คือ ในพวกพระอรหันต์ ผู้ถึงลักษณะ
แห่งผู้คงที่. คำว่า จงอำนวยผลให้พี่กับน้อง คือ บุญทั้งหมดจงให้ผล
ให้พี่กับน้องนั่นเอง.
บทว่า โดดเดี่ยว คือถึงความเป็นผู้เดียว. บทว่า มีปัญญาเครื่อง
คุ้มตัว มีสติ ได้แก่ ชื่อว่ามีปัญญาเครื่องครองตัวเพราะประกอบด้วยปัญญาที่
เรียกว่าเครื่องคุ้มตัวนั้น เพราะประกอบด้วยสติจึงชื่อว่า มีสติ. บทว่า พระมุนี
แสวงหาอมฤตธรรม คือองค์พระพุทธมุนีนั้นทรงแสวงหา คือเสาะหาอมฤต
ได้แก่ พระนิพพาน ฉันใด พี่เองก็ฉันนั้นนะน้องสุริยวัจฉสา ย่อมแสวงหาคือ
เสาะหาน้อง. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า พระพุทธมุนีองค์นั้น ทรงเที่ยวเสาะ
แสวงหาอมฤตธรรมฉันใด พี่ก็เที่ยวแสวงหาน้องฉันนั้นเหมือนกัน.
บทว่า พระมุนีทรงบรรลุพระสัมโพธิญานอันสูงสุดแล้ว พึง
ทรงเพลิดเพลินแม้ฉันใด ความว่า พระพุทธมุนีผู้ประทับนั่งที่โพธิบัลลังก์
ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พึงทรงเพลิดเพลิน คือพึงทรงยินดีฉันใด.
บทว่า พึงเพลิดเพลินฉันนั้น ความว่า ปัญจสิขะกล่าวว่า แม้พี่เองถึงความ
คลอเคลียกับน้องแล้ว ก็พึงเพลิดเพลิน คือพึงเป็นผู้เกิดความอิ่มเอิบและความ
ดีใจ ฉันนั้นเหมือนกัน .
คำว่า อเห ในบาทคาถาว่า ตาห ภทฺเท วเรยฺยาเห เป็นคำ
สำหรับเรียก. อธิบายว่า นี่แน่ะสุริยวัจฉสายอดรัก ถ้าท้าวสักกะผู้จอมทวยเทพ
ประทานพรอย่างนี้ว่า เธอจะเอาเทวราชย์ในเทวโลกทั้งสองชั้น หรือ สุริยวัจฉสา
พี่จะกราบทูลว่า ข้าพระองค์ขอสละเทวราชย์แล้วเอาสุริยวัจฉสา พี่ต้องเลือกคือ
ต้องการ ได้แก่ ต้องเอาน้องไว้ ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 153
คำว่า เหมือนสาละที่บานยังไม่นาน ความว่า ใกล้ประตูเมือง
ของบิดาน้อง. มีต้นสาละซึ่งบานยังไม่นาน ต้นสาละนั้นน่าชื่นใจเกินเปรียบ
เหมือนสาละที่บานยังไม่นานนั้น. คำว่า แน่ะน้องผู้มีปรีชาดี บิดาของ
น้อง ความว่า พี่ผู้เมื่อจะไหว้ก็ขอนอบน้อม คือขอทำความนอบน้อมบิดา
ของน้อง ผู้ทรงสิริอย่างหาที่เปรียบมิได้. คำว่า ผู้เป็นเช่นนี้ เป็นประชา
ของผู้ใด ความว่า น้องผู้เป็นเช่นนี้เป็นลูกสาวของท่านผู้ใด.
ถามว่า ทำไมพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสชมเสียงขับและเสียงพิณว่า
ย่อมกลมกลืนกัน ความกำหนัดจัดในเสียงนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมีอยู่
หรือ. ตอบว่า ไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้วางเฉยด้วยความวางเฉยมี
องค์หกประการ ในฐานะเช่นนี้ ก็ยังทรงทราบอารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ
ทุกอย่างอยู่ ก็ไม่ทรงคิดในอารมณ์นั้น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ผู้มี
อายุ พระเนตรของพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมีอยู่แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็น
รูปด้วยพระเนตร ความกำหนัดเพราะความพอใจของพระผู้มีพระภาคเจ้าหามี
อยู่ไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระหฤทัยหลุดพ้นแล้วเป็นอย่างดี ผู้มีอายุ
พระกรรณของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังมีอยู่แล๑ ดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสชมเพราะทรงทราบว่า ก็หากเราไม่กล่าวชม ปัญจสิขะก็ทราบไม่ได้ว่า
เราได้ให้โอกาสแล้ว ทีนั้น ท้าวสักกะก็จะทรงพาพวกเทวดากลับไปจากที่นั้น
เพราะทรงเข้าพระทัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ประทานพระโอกาสแก่ปัญจสิขะ
แต่นั้น ก็จะพึงฉิบหายใหญ่ เมื่อตรัสชม แต่นั้น ท้าวสักกะก็จะทรงเข้า
พระทัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานพระโอกาสแก่ปัญจสิขะแล้ว ก็จะ
ทรงเข้ามาเฝ้าพร้อมกับพวกเทวดา ทรงถามปัญหา เมื่อแก้เสร็จ พร้อมกับ
พวกเทพแปดหมื่นก็จักทรงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ในบทเหล่านั้น บทว่า
๑. ส สฬายตน. ๒๐๔ ฯ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 154
ร้อยกรองไว้แต่เมื่อไร ความว่า (คาถาเหล่านี้เธอ) แต่งคือรวบรวมไว้แต่
ครั้งไร.
คำว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็สมัยนั้นแล ข้าพระองค์ ความว่า
โดยสมัยนั้น คือในสัปดาห์ที่แปดแต่พระองค์บรรลุสัมโพธิญาณนั้น. คำว่า
ชื่อ ภัทราสุริยวัจฉสา คือโดยชื่อ ชื่อ ภัทรา เพราะถึงพร้อมด้วย
รูปร่าง ที่สวยงาม จึงชื่อ สุริยวัจฉสา. คำว่า น้อง นี้เป็นคำสำนวนเรียก. หมาย
ความว่า เทพธิดา. คำว่า รักผู้อื่นอยู่ คือ รัก ได้แก่ หวังผู้อื่นอยู่. คำว่า
กำลังเข้าไปฟ้อนอยู่ ได้แก่ กำลังรำอยู่. เล่ากันมาว่า สมัยหนึ่ง นางไป
เพื่อต้องการชมงานฟ้อนของท้าวสักกเทวราชกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา. ก็
ในขณะนั้น ท้าวสักกะได้ทรงกล่าวสรรเสริญพระคุณตามที่เป็นจริงแปดประการ
ของพระตถาคตเจ้า. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่าในวันนั้น นางก็ได้ไปชม
การฟ้อน.
คำว่า ย่อมเพลิดเพลินต่อกัน ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคำเป็นต้นว่า ย่อมกลมกลืนแท้ ของเธอ ก็ชื่อว่าทรงเพลิดเพลิน ปัญจสิขะ
ก็ชื่อว่าเพลิดเพลินตอบ เมื่อปัญจสิขะกำลังกล่าวคาถาอยู่ ก็ชื่อว่าเพลิดเพลิน
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ชื่อว่าทรงเพลิดเพลินตอบ. คำว่า ตรัสเรียก คือทรง
แจ้งให้ทราบ. ได้ทราบมาว่า ท้าวสักกะนั้นได้ทรงมีพระดำริอย่างนี้ว่า เราส่ง
ปัญจสิขะนี้ไปด้วยงานของเรา เขาก็ไปทำงานของตัวเองเสีย เขายืนอยู่ในสำนัก
พระศาสดาผู้เห็นปานนั้นแล้ว ไปกล่าวถ้อยคำที่ประกอบด้วยกามคุณ ซึ่งเป็นคำ
ที่หาสมควรไม่ ก็ขึ้นชื่อว่าพวกนักฟ้อนเป็นพวกไร้ยางอาย ปัญจสิขะเมื่อกำลัง
กล่าวอยู่พึงแสดงอาการที่ประหลาดก็ได้ เอาล่ะ เราจะเตือนให้เขารู้งานของเรา
เมื่อทรงคิดดังนี้แล้วก็ตรัสเรียกมา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 155
บทว่า ก็แล เมื่อเป็นอย่างนี้ พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ดังนี้ อัน
พวกพระเถระรวบรวมธรรม ตั้งไว้แล้ว. คำว่า กล่าวเพิ่ม คือกล่าวด้วยการ
รับ การไหว้ ได้แก่ ด้วยคำที่เพิ่มขึ้น. คำว่า อันกล่าวยิ่งแล้ว คืออันกล่าว
ด้วยคำที่เพิ่มขึ้น. คำว่า ได้ลงความกว้างขวาง คือ กลายเป็นเปิดกว้างใหญ่.
คำว่า ความมืด ในถ้ำได้หายไป ความสว่างไสวเกิดขึ้นแทน คือ
ความมืด โดยปกติของถ้ำนั้นได้หายไป เกิดความสว่างไสวแทน. ทั้งหมดนี้
เป็นคำของพวกท่านผู้รวบรวมธรรม.
คำว่า ข้าพระองค์หลีกไปเสียนาน พระพุทธเจ้าข้า ความว่า
ข้าพระองค์ใคร่จะเฝ้าตั้งนานแล้ว อธิบายว่า ข้าพระองค์ใคร่จะเฝ้าจำเดิมแต่
นานมาแล้ว. คำว่า ด้วยกิจและกรณียะบางอย่าง ความว่า พวกลูกหญิง
และลูกชายย่อมเกิดบนตักของพวกเทพ พวกสตรีที่เป็นบาทปริจาริกา ย่อมเกิด
บนที่นอน พวกเทวดาที่เป็นพนักงานตกแต่งประดับประดาของเทวดาเหล่านั้น
ย่อมเกิดรอบๆ ที่นอน พวกช่วยกิจการงาน (ไวยาวัจกร) ย่อมเกิดภายในวิมาน
การก่อคดีเพื่อประโยชน์แก่เทพพวกนี้ไม่มี แต่พวกที่เกิดระหว่างเขตแดนนั้น
เมื่อไม่อาจตัดสินว่า ของท่าน ของข้าพเจ้า ดังนี้ ก็เป็นความกัน ย่อมทูลถาม
ท้าวสักกะผู้เป็นพระราชาของเทพ พระองค์ก็จะตรัสว่า ใกล้วิมานผู้ใดกว่า
เป็นของผู้นั้น ถ้าวิมานทั้งสองเกิดมีระยะที่เท่า ๆ กัน พระองค์ก็จะตรัสว่า
ยืนมองวิมานผู้ใด เป็นของผู้นั้น ถ้าไม่มองดูแม้แต่วิมานเดียว เพื่อตัดการ
ทะเลาะของทั้งสองฝ่าย ก็ทรงเอาเสียเอง ยังกิจมีการกีฬาเป็นต้น ก็จำเป็น
ต้องทรงจัดการทั้งนั้น ท้าวเธอทรงหมายเอาพระกรณียะเหล่านั้น เห็นปานนี้
แล้วจึงตรัสว่า ด้วยกิจและกรณียะบางอย่าง ดังนี้ .
คำว่า ที่อาคารไม้สน ได้แก่พระคันธกุฎีที่สร้างด้วยไม้สน. คำว่า
ด้วยสมาธิอันใดอันหนึ่ง คือ มีเรื่องเล่าว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 156
ทราบว่า พระญาณของท้าวสักกะนั่นเองยังไม่แก่กล้า จึงไม่ทรงประทาน
พระโอกาส เลยประทับนั่งด้วยธรรมเครื่องพักคือผลสมาบัติเสีย ท้าวเธอ
ไม่ทรงทราบถึงข้อนั้น จึงตรัสว่า ด้วยสมาธิอันใดอันหนึ่ง ดังนี้. คำว่า
ชื่อ ภุชคี คือเทพธิดานั้น ชื่อว่า ภุชคี. คำว่า บริจาริกา คือ เทพธิดา
ผู้เป็นบาทบริจาริกา. มีเรื่องเล่ามาว่า นางบรรลุผลสองอย่าง เหตุนั้น นาง
จึงไม่มีความยินดีในเทวโลกเลย นางมาสู่ที่บำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้าเสมอ ยืน
ยกกระพุ่มมือวางไว้บนเศียรไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่.
ในคำว่า ออกจากสมาธินั้นเพราะเสียงล้อและดุมรถ นี้ ไม่ต้องพูดว่า
ทรงเข้าสมาบัติแล้วทรงได้ยินเสียง. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังตรัสกับ
ท้าวสักกะ ผู้จอมทวยเทพว่า อีกประการหนึ่ง อาตมภาพออกจากสมาธินั้น
ก็เพราะเสียงล้อและดุมรถของมหาบพิตร มิใช่หรือ. ตอบว่า เสียงดุมรถยกไว้
เถิด ธรรมดาผู้เข้าสมาบัติ ในภายในสมาบัติ ต่อให้ใครเอาคู่สังข์มาเป่าใส่
ใกล้ ๆ กกหูก็ดีฟ้าผ่าเปรี้ยงก็ดี ก็ย่อมไม่ได้ยินเสียง. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกำหนดว่า ตลอดเวลาเท่านี้ เราจะยังไม่ให้โอกาสแก่ท้าวสักกะ จึงทรง
เข้าผลสมาบัติด้วยอำนาจเวลา. ท้าวสักกะทรงคิดว่า บัดนี้ พระศาสดายังไม่
ประทานโอกาสแก่เรา จึงทรงทำประทักษิณพระคันธกุฎี แล้วให้กลับรถบ่าย
พระพักตร์สู่เทวโลก. บริเวณพระคันธกุฎี ก็มีสนั่นเพราะเสียงรถ เหมือนดนตรี
มีองค์ห้า. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาบัติตามอำนาจเวลาที่ได้ทรง
กำหนดไว้แล้ว จิตที่ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ดวงแรกก็เกิดขึ้น ฉะนั้น พระ-
องค์จึงตรัสอย่างนั้น.
คำว่า ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเป็นปกติ คือ เป็นผู้มีปกติ
ทำให้บริบูรณ์ในศีล ๕ ข้อ. คำว่า คลายจิตในความเป็นสตรี คือมาคิดว่า
พอกันทีสำหรับความเป็นสตรี เพราะว่าดำรงอยู่ในความเป็นสตรีแล้ว จะเสวย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 157
สิริของพระเจ้าจักรพรรดิก็ไม่ได้ เสวยสิริของพระอินทร์ มาร และ พรหม
ก็ไม่ได้ จะบรรลุปัจเจกโพธิญาณก็ไม่ได้ จะบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณก็ไม่ได้
อย่างนี้แล้ว ชื่อว่าย่อมสำรอกความใคร่ในความเป็นสตรี ส่วนผู้ที่คิดว่า ธรรมดา
ความเป็นบุรุษนี้ยิ่งใหญ่ประเสริฐสูงสุด เพราะผู้ดำรงอยู่ในความเป็นบุรุษนี้
สามารถถึงพร้อมซึ่งสมบัติเหล่านี้ อย่างนี้แล้ว ชื่อว่าย่อมทำความเป็นบุรุษให้มี
แม้นางก็ได้ทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า สำรอกความใคร่จิตในความ
เป็นสตรีแล้ว ทำจิตบุรุษให้มีดั่งนี้. คำว่า กายคนธรรพ์เลว คือ พวกคน-
ธรรพ์เลว คือ ลามก. ถามว่าก็พวกเธอเหล่านั้นล้วนแต่มีศีลบริสุทธิ์ ทำไม
จึงเกิดขึ้นในเทวโลกนั้นเล่า. ตอบว่า เพราะความพอใจมาก่อน. เล่ามาว่า แต่
ก่อนมาที่นั่นแหละเป็นที่ที่เคยอยู่มาแล้วของพวกนั้น เพราะฉะนั้น จึงเกิดขึ้น
ในที่นั้น ด้วยสามารถแห่งความพอใจ. คำว่า ที่บำรุง ได้แก่ โรงสำหรับบำรุง.
คำว่า บำเรอ ได้แก่การปรนเปรอ. คนธรรพ์เหล่านั้นย่อมมา ด้วยคิดว่า
พวกเราจะบำเรอด้วยการขับ และ การบรรเลง.
คำว่า ตักเตือน คือให้สติ. เล่ากันมาว่า เมื่อโคปกเทพบุตรเห็น
คนธรรพ์เหล่านั้นจึงใคร่ครวญว่า เทวบุตรเหล่านี้มีรัศมีเหลือเกิน ทำกรรม
อะไรไว้หนอจึงได้มา ได้เห็นว่า เป็นพวกภิกษุ จากนั้นก็ใคร่ครวญอีกว่า
พวกภิกษุ มีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย หรือไม่ ได้เห็นว่า มีปกติ
ทำให้บริบูรณ์ ใคร่ครวญต่อไปว่า มีปกติทำให้บริบูรณ์ก็เถอะ คุณพิเศษ
อย่างอื่นมีหรือไม่มี ได้เห็นว่าเป็นพวกมีปกติได้ฌาน ใคร่ครวญต่อไปอีกว่า
ถึงมีปกติได้ฌานก็ช่างเถอะ. เป็นชาวไหนกัน ได้เห็นว่า เป็นผู้มารับบาตรประจำ
ตระกูลของเรานั่นเอง จึงคิดว่า ธรรมดาผู้มีศีลบริสุทธิ์ย่อมเกิดในเทวโลกหกชั้น
ในชั้นที่ต้องการ แต่พวกนี้ไม่เกิดในเทวโลกชั้นสูง ธรรมดาผู้ได้ฌานย่อมเกิด
ในพรหมโลก แต่พวกนี้ไม่เกิดในพรหมโลก ส่วนตัวเราตั้งอยู่ในโอวาทของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 158
พวกนี้ เกิดเป็นบุตรที่บัลลังก์ของท้าวสักกะ จอมทวยเทพผู้เป็นเจ้าแห่งเทวโลก
พวกนี้เกิดในหมู่คนธรรพ์ที่เลว ขึ้นชื่อว่าพวกคนธรรพ์นั่น ใคร ๆ เขาก็เจอ
แต่เป็นพวกบุคคลที่เอากระดูกมาเจาะ (คล้องคอ) เต้นกันไปเต้นกันมาเท่านั้นเอง
จึงเตือนด้วยคำ เป็นต้นว่า ชื่อว่าเอาหน้าไปไว้ไหน. ในบทเหล่านั้น คำว่า เอา
หน้าไปไว้ไหน ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหันพระพักตร์มาแสดง
ธรรมอยู่ พวกท่านมัวเอาหน้าไปไว้ไหน หรือ มัวแต่ส่งใจไปที่อื่น มองนั่น
มองนี่ หรือมัวแต่หลับอยู่. คำว่า รูปที่ไม่น่าดูเสียเลย คือไม่เหมาะที่จะเห็น
สภาพที่ไม่น่าดู. คำว่า พวกสหธัมมิก คือ ผู้ประพฤติธรรม ได้แก่ ทำบุญ
ในศาสนา ของพระศาสดาองค์เดียวกัน.
คำว่า แห่งเทพบุตรเหล่านั้น พระเจ้าข้า ความว่า แห่งเทพบุตร
เหล่านั้น ผู้ที่ถูกโคปกเทพบุตรกล่าวอย่างนั้นแล้ว ตักเตือนอีกด้วยคำเป็นต้นว่า
โอ้ ! พวกท่าน ช่างไร้ยางอาย ช่างไม่มีความขายหน้า เทพสองท่านกลับได้
สติในทันทีทันใดทีเดียว. คำว่า หมู่พรหมปุโรหิต คือได้ยินว่า เทพบุตร
เหล่านั้นพากันคิดว่า ขึ้นชื่อว่าพวกนักฟ้อน ที่ฟ้อนรำ ขับร้อง ดีดสีตีเป่า
มาแล้ว ก็ต้องได้ค่าจ้างรางวัล ส่วนโคปกเทพบุตรนี้ ตั้งแต่เวลาที่เราเห็น เอา
แต่ปะทุเปรี๊ยะ ๆ เหมือนเอาเกลือโรยใส่เตาไฟ นี้มันอะไรกันหนอ เมื่อใคร่ครวญ
ต่อไป ก็เห็นว่าตนเป็นสมณะ มีศีลบริสุทธิ์ ได้ฌานและก็เป็นผู้รับบาตร
ประจำตระกูลของโคปกเทพบุตรนั้นเสียด้วย แล้วมาทราบว่า ธรรมดาผู้มีศีล
บริสุทธิ์ ย่อมเลือกเกิดในเทวโลกทั้ง ๖ ชั้นได้ ผู้ได้ฌานก็ย่อมเกิดในพรหมโลก
(แต่) พวกเรา ทั้งในเทวโลกชั้นสูง ทั้งในพรหม หาได้เกิดได้ไม่ โคปก
เทพบุตรนี้ เคยเป็นสตรีตั้งอยู่ในโอวาทของพวกเรา ยังได้เกิดสูง พวกเราเป็น
ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดในพวกคนธรรพ์ที่เลว
เหตุนั้น โคปกเทพบุตรนี้ จึงข่มพวกเราอย่างนี้ได้ จึงต่างก็ยอมฟังถ้อยคำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 159
ของโคปกเทพบุตรนั้น. ในเทพทั้งสามท่านนั้น สองท่านกลับได้ความระลึกถึง
ฌานที่ ๑ เอาฌานเป็นบาทแล้วก็พิจารณาสังขาร ตั้งอยู่ในอนาคามิผลนั่นแล.
ทีนั้น อัตภาพชนิดท่องเที่ยวในกามซึ่งเป็นสภาพที่เล็กน้อยของพวกท่านเหล่านั้น
ทรงอยู่ไม่ไหว ฉะนั้นทันใดนั่นเอง ท่านก็เคลื่อนไปเกิดในชั้นพรหมปุโรหิต
และกายของพวกเขาที่อยู่ในชั้นพรหมปุโรหิตนั้น ก็เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น
ท้าวสักกะจึงตรัสว่า พระเจ้าข้า แห่งเทพบุตรเหล่านั้นผู้ที่โคปกเทพบุตรตักเตือน
แล้ว เทพสองท่านกลับได้สติในทันทีทันใดทีเดียว เข้าถึง หมู่พรหมปุโรหิต
แล้ว ดังนี้ .
ในคำเหล่านั้น คำว่า ในทันทีทันใด ทีเดียว คือ กลับได้สติ
ในอัตภาพนั้นเอง. พึงเห็นอธิบายในคำนั่นอย่างนี้ว่าก็ยังอยู่ในที่นั้นนั่นเอง.
เคลื่อนแล้วกลับได้กายเป็นพรหมปุโรหิต. คือสรีระเป็นพรหมปุโรหิต. คำว่า
แต่เทวบุตรท่านหนึ่ง คือ เทพบุตรท่านหนึ่ง ทำลายความติดใจยังไม่ได้
ก็อยู่ครองกาม คือ ยังอยู่ประจำ คือ ยังอาศัยอยู่ในกามาวจรภพนั่นเอง.
คำว่า และบำรุงสงฆ์ คือ บำรุงสงฆ์ด้วย คำว่า เป็นธรรมดี
คือ ด้วยความที่พระธรรมเป็นธรรมดี. คำว่า เข้าถึงไตรทิพ คือเกิดในไตรทิพ
ได้แก่ ไตรทศบุรี. คำว่า เข้าอาศัยอยู่ในหมู่นักดนตรี คือเป็นผู้เข้าอยู่
อาศัยในหมู่คนธรรพ์. คำว่า ก็พวกเราผู้ที่เมื่อก่อนเป็นมนุษย์ คือ เมื่อก่อน
นี้พวกเราผู้ที่เป็นมนุษย์. พึงประกอบกับคำนี้ว่า ข้าพเจ้าบำรุงด้วยข้าวนา แล้ว
ทราบใจความ. คำว่า ยังได้ชำระเท้า คือเข้าไปใกล้เท้าแล้วทั้งบูชาด้วยการ
เพิ่มการล้างเท้าและการทาเท้า ทั้งไหว้ที่เท้า. คำว่า ในนิเวศน์ของตน คือ
ในเรือนของตน. สำหรับบทนี้ ก็ต้องเอาไปเชื่อมกับบทว่า บำรุงแล้ว นี้
เหมือนกัน. คำว่า พึงรู้ในเฉพาะตัว คือ พึงรู้ได้ด้วยตัวเอง. คำว่า สุภาษิตทั้ง
หลายของพวกพระอริยะ คือ สุภาษิตทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 160
ที่พวกท่านกล่าวอยู่. คำว่า แต่ส่วนพวกท่านนั่งใกล้ผู้ประเสริฐ คือ นั่งอยู่
ใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าผู้สูงสุด. บทว่า อันยอดเยี่ยม คือ หรือ ใน
พระพุทธศาสนา. บทว่า พรหมจรรย์ ได้แก่ ความประพฤติที่ประเสริฐสุด.
บทว่า ความอุบัติของพวกท่าน ได้แก่ ความเข้าถึงของพวกท่าน. คำว่า
เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในอาคาร ได้แก่ เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่กลางเรือน. คำว่า สฺวาชฺช
ตัดบทว่า โส อชฺช แปลว่า โคปกเทพบุตรนั้น ในวันนี้.
ท่านเรียกโคปกะว่า สาวกพระโคดม ในที่นี้ว่า อันสาวกพระโคดม.
คำว่า มาพร้อมแล้ว คือประชุมกันแล้ว. คำว่า เอาเถิด มาเร่งพยายาม
กันเถิด คือ เอาเถิด มาขะมักเขม้น พยายามกันเถิด. คำว่า โน ในบทว่า
พวกเราอย่ามาเป็นผู้รับใช้เขาเลย นี้เป็นเพียงคำที่แทรกเข้ามาเท่านั้น.
ความหมายก็คือ พวกเราอย่ามาเป็นผู้รับใช้ของผู้อื่นเลย. ในคำว่า คำสั่งสอน
ของพระโคดม นี้ โดยปกติท่านเรียกปฐมฌานที่ได้นั่นเองว่า คำสั่งสอน
ของพระโคดม หมายความว่า อนุสรณ์ คือ ตามระลึกถึงปฐมฌานนั้น. คำว่า
พรากจิตทั้งหลาย คือ พรากพวกจิตที่ประกอบด้วยกามคุณห้าอย่าง. คำว่า
โทษในเหล่ากาม คือ ได้เห็นโทษในกามทั้งหลายด้วยปฐฌานเพราะอำนาจ
การข่ม เพราะอำนาจการตัดได้ขาด ท่านเหล่านั้นได้เห็นทั้งเครื่องประกอบ
คือ กาม และเครื่องผูก คือ กาม ที่ชื่อว่า กาม สัญโญชน์ ด้วยมรรคที่สาม.
คำว่า เป็นเครื่องประกอบของผู้มีบาป หมายความว่า เป็นเครื่องประกอบ
เป็นเครื่องผูกของผู้มีบาป คือ ของมาร. คำว่า พ้นไปได้ยาก คือยากที่จะ
ก้าวข้ามไปได้. คำว่า หมู่เทพรวมทั้งพระอินทร์ รวมทั้งประชาบดี
ความว่า ผู้ที่ทำพระอินทร์ให้เป็นหัวหน้าแล้วเข้าไปชื่อว่า รวมทั้งพระอินทร์
ผู้ที่ทำประชาบดีเทวราชให้เป็นหัวหน้าแล้วเข้าไปชื่อว่า รวมทั้งประชาธิบดี.
คำว่า เข้าไปในสภา ความว่า เข้าไปนั่งในที่ประชุม. คำว่า ผู้กล้า คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 161
ผู้กล้าหาญ. คำว่า คลายกำหนัด คือ ปราศจากกำหนัด. คำว่า กระทำ ธรรมที่
ปราศจากมลทิน คือ กระทำได้แก่ทำอนาคามิมรรคที่ไม่มีมลทินให้เกิดขึ้น.
คำว่า ตัดกามคุณที่ละเอียด เหมือนช้าง คือ ตัดเครื่องประกอบคือกาม
และเครื่องผูกพันได้แล้ว ก็ก้าวล่วงพวกเทพชั้นดาวดึงส์ไป.
คำว่า ทรงเกิดความสลด คือ แก่ท้าวสักกะ ผู้ทรงเกิดความสลด
คำว่า ผู้ครอบงำกาม คือ ผู้ทรงครอบงำกามแม้ทั้งสองอย่าง. คำว่า ผู้
เสื่อมจากสติ คือ ผู้เว้นจากความระลึกถึงฌาน. คำว่า แห่งสามท่านนั้น
คือ ในสามท่านนั้น . คำว่า ท่านหนึ่งยังอยู่ในภพนั้น คือ ที่เป็นผู้ยังอยู่
ในพวกชั้นเลวนั้น มีเพียงผู้เดียวเท่านั้น. คำว่า มีปกติตามระลึกถึงทางแห่ง
ความตรัสรู้ คือ มีปกติตามระลึกถึงอนาคามิมรรค. คำว่า ย่อมดูถูกแม่
แต่พวกเทพ คือ ดูหมิ่น ได้แก่กดเทวโลกแม้ทั้งสองชั้นให้ต่ำลง เพราะความ
ที่ตนตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ จึงเอาฝุ่นที่ติดเท้าตนมาโปรยใส่
ศีรษะพวกเทวดา เหาะไปในอากาศได้. คำว่า ผู้ประกาศธรรมเป็นเช่นนี้ใน
ศาสนานี้ คือ หมู่สาวกเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ซึ่งเป็น
คุณสมบัติของผู้ที่ประกาศธรรมเห็นปานนี้ในพระศาสนานี้. คำว่า ใคร ๆ ที่
เป็นสาวกย่อมไม่สงสัยอะไรในข้อนั้น คือ ในสาวกเหล่านั้น ใคร ๆ
แม้แต่เป็นสาวกรูปเดียวก็ไม่สงสัยในพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือในความเป็นทิศ
ทั้งสี่ เป็นผู้ไม่ติดขัดไม่ยึดมั่นในทิศทั้งหมดอยู่. บัดนี้เมื่อจะทรงสรรเสริญ
พระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ทรงข้าม
ห้วงน้ำได้แล้ว ตัดความลังเลได้แล้ว ผู้ทรงชำนะ ผู้เป็นจอมชน ดังนี้.
ในบทเหล่านั่น คำว่า ผู้ตัดความลังเลได้แล้ว คือ ตัดความสงสัยได้
แล้ว. คำว่า ผู้เป็นจอมชน คือผู้สงสุดในโลกทั้งหมด. คำว่า ธรรมใดของ
พระองค์ คือ ธรรมของพระองค์ใด. คำว่า ท่านเหล่านั้นได้ถึงแล้ว คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 162
เทพบุตรเหล่านั้นได้บรรลุแล้ว. คำว่า กายพรหมปุโรหิต คือ เมื่อพวกข้า
พระพุทธเจ้ากำลังดูอยู่นั้น ก็กลายสรีระเป็นพรหมปุโรหิต. มีคำที่ท้าวสักกะทรง
ขยายไว้ดังนี้ว่า เทพเหล่านั้น ทราบธรรมของพระองค์ใดแล้ว ในสามท่านนั้น
ท่านทั้งสองนั้นได้ถึงคุณพิเศษ ขณะที่พวกข้าพระองค์เห็นกันอยู่นั้น ก็บรรลุ
กายเป็นพรหมปุโรหิตแล้วได้บรรลุคุณพิเศษคือมรรคผล ท่านผู้นิรทุกข์ ถึง
พวกข้าพระองค์ก็มาเพื่อบรรลุธรรมนั้น. คำว่า มาแล้ว คือ ถึงพร้อมแล้ว.
คำว่า พวกข้าพระองค์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานพระโอกาส
แล้วจะพึงทูลถามปัญหา ท่านผู้นิรทุกข์ หมายความว่า ถ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าจะประทานพระโอกาส ทีนั้น ท่านผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์ผู้ที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานพระโอกาสแล้วก็จะพึงทูลถามปัญหา.
คำว่า ยักษ์ (พระอินทร์) นี้ เป็นผู้บริสุทธิ์มานานแล้วแล คือ
เป็นผู้บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ดีจำเดิมแต่กาลนานแล้ว. กาลนานเท่าไร. นานจำเดิม
แต่ครั้งเป็นมาฆมาณพในหมู่บ้านมจละ แคว้นมคธ ครั้งพระพุทธเจ้ายังไม่ทรง
เกิดขึ้นมาแล้ว.
ดังมีเรื่องเล่ามาว่า ครั้งนั้น วันหนึ่ง มาฆมาณพนั้นลุกขึ้น
แต่เช้าตรู่แล้วไปสู่ที่ทำงานประจำหมู่บ้านของพวกคนกลางหมู่บ้าน เอาปลาย
เท้านั่นแหละเขี่ยก้อนดินและขยะมูลฝอยออกไป ทำที่ซึ่งตนยืนให้น่ารื่นรมย์.
คนอื่นก็มายืนในที่นั้น. ด้วยเหตุเพียงเท่านั้นเอง เขาก็กลับได้ความระลึก จึง
ถางที่เท่าวงสนามกลางหมู่บ้านแล้ว ก็ขนทรายมาเกลี่ยลง ขนเอาฟืนมาก่อไฟใน
เวลาหนาว. ทั้งหนุ่มสาวและผู้เฒ่าผู้แก่ก็พากันมานั่งในที่นั้น. ต่อมาวันหนึ่งเขา
เกิดความคิดว่า เมื่อเราไปเมืองก็เห็นพระราชาและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นต้น
คนทั้งหลายต่างก็กล่าวกันว่า ในพระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านั้น ต่างก็มี
เทพบุตรชื่อจันทร์ เทพบุตรชื่อสูรย์ พวกเหล่านั้นทำอะไรหนอจึงได้สมบัติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 163
เหล่านี้. ต่อมาจึงคิดได้ว่า สิ่งอื่นไร ๆ ไม่มี ต้องทำบุญเท่านั้น แล้วคิด
ว่า ถึงเราเองก็ต้องทำบุญที่ให้สมบัติอย่างนี้เหมือนกัน. เขาจึงลุกขึ้นตั้งแต่เช้า
ตรู่ ดื่มข้าวต้มแล้วก็ถือเอาพร้าขวานเสียมและสากไปที่ทางใหญ่สี่แยก เอาสาก
งัดก้อนหินให้ไหวแล้วกลิ้งไป เอาไม้มาสอดใส่เพลายาน ปราบที่ขรุขระ
ให้เรียบราบแล้ว ก็สร้างศาลาตรงทางใหญ่สี่แพร่ง ขุดสระบัว ผูกสะพานทำงาน
อย่างนี้ตลอดวัน ตะวันตกจึงกลับบ้าน.
มีคนอื่นถามเขาว่า เพื่อนมาฆะ คุณออกไปตั้งแต่เช้า ตกเย็นจึงมา
จากป่า คุณทำงานอะไร. ผมทำบุญ ถางทางไปสวรรค์. ชื่อว่าบุญนี้ คืออะไร
กันเพื่อน. คุณไม่รู้จักหรือ. เออ ผมไม่รู้จัก. เวลาไปเมืองท่านเคยเห็น พวก
ราชาและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นต้นหรือ. เคยเห็นครับ พวกนั้นทำบุญ
แล้วจึงได้ตำแหน่งนั้น ผมเองก็จะทำงานที่ให้สมบัติอย่างนั้นบ้าง คุณเคยฟัง
ไหมว่า เทพบุตรชื่อจันทร์ เทพบุตรชื่อสูรย์. เออ เคยฟัง. ผมก็จะถางทาง
ไปสวรรค์นั้น. เออก็บุญกรรมนี้ เหมาะสำหรับคุณเท่านั้น หรือสำหรับคนอื่น
ก็เหมาะด้วย. บุญนั้น ไม่กีดกันใคร ๆ หรอก. ถ้าอย่างนั้น พรุ่งนี้ เวลาไปป่า
คุณเรียกผมด้วยนะ. วันรุ่งขึ้น เขาก็พาคนนั้นไป. ด้วยประการฉะนี้ ในหมู่
บ้านนั้นจึงมีคนอยู่ในวัยฉกรรจ์รวมสามสิบสามคน ทุกคนล้วนแต่เป็นไปตามนาย
มาฆะทั้งนั้น. พวกเขาเที่ยวทำบุญเป็นเอกฉันท์ วันใดไปเมื่อจะปราบทางให้
ราบปราบวันเดียวเท่านั้น เมื่อจะขุดสระบัว สร้างศาลา สร้างสะพานก็ให้เสร็จ
ในวันเดียวเท่านั้น.
ต่อมา ผู้ใหญ่บ้านของพวกเขาก็คิดว่า แต่ก่อน เมื่อพวกนี้ยังดื่มเหล้า
และยังฆ่าสัตว์เป็นต้น เราย่อมได้ทรัพย์ด้วยอำนาจกหาปณะเล็กน้อยเป็นต้นบ้าง
ด้วยอำนาจภาษีอาชญาบัตรบ้าง เดี๋ยวนี้ ตั้งแต่พวกนี้ทำบุญ รายได้จำนวน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 164
นั้นก็ขาดไป เอาล่ะ เราจะทำลายพวกนั้นในราชตระกูล จึงเข้าเฝ้าพระราชา
กราบทูลว่า มหาราช ข้าพระพุทธเจ้าพบกองโจร.
ราชา. ที่ไหนกัน พ่อ.
ผู้ใหญ่บ้าน. ในหมู่บ้านข้าพระพุทธเจ้า.
ราชา. โจรชนิดไหนกัน พ่อ.
ผู้ใหญ่บ้าน. ชนิดทำผิดต่อพระราชา พระองค์.
ราชา. ชาติอะไร.
ผู้ใหญ่บ้าน. ชาติชาวบ้าน พระองค์.
ราชา. ชาวบ้านจะทำอะไรได้ เมื่อเธอรู้เช่นนั้นทำไมจึงไม่บอกเรา.
ผู้ใหญ่บ้าน. มหาราช ที่ไม่กราบทูลเพราะกลัวพระอาชญา บัดนี้
ขอพระองค์อย่าพึงลงพระอาชญาแก่ข้าพระพุทธเจ้า.
ลำดับนั้น พระราชาทรงคิดว่า ผู้ใหญ่บ้านนี้ร้องเสียงดัง จึงทรงเชื่อ จึง
ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอนั่นแหละจงไป นำพวกโจรเหล่านั้นมา แล้วก็ประทาน
กำลังส่งไป. ผู้ใหญ่บ้านนั้นก็ไปล้อมพวกนั้นขณะที่ทำงานประจำวันในป่าเสร็จแล้ว
นั่งรับประทานอาหารเย็นกลางหมู่บ้านแล้วกำลังปรึกษากันว่า พรุ่งนี้พวกเรา
จะทำงานอะไร จะปราบทางให้เสมอกัน จะขุดสระ หรือจะผูกสะพาน แล้ว
สำทับไปว่า อย่าขยับเขยื้อนนะ นี่คำสั่งในหลวง มัดแล้วก็จูงไป.
ลำดับนั้น พวกผู้หญิงของคนเหล่านั้น ได้ฟังว่า นัยว่า พวกสามี
ของพวกเราเป็นโจรขบถต่อพระราชา เจ้าหน้าที่เขาหาว่าเป็นโจร จึงมัดนำ
ออกไป จึงพูดว่า พวกนี้เป็นคนโกงมานานแล้ว แต่ละวันๆ มีแต่พูดว่า ทำบุญ
แล้วก็ไปป่าท่าเดียว งานการทุกอย่างเสื่อมทรามหมด ในเรือนจะหาอะไร
ก้าวหน้าสักนิดก็ไม่มี มัดให้ดี นำไปให้ดี. แม้ผู้ใหญ่บ้าน ก็นำพวกเขาไปแสดง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 165
แด่พระราชา. พระราชายังไม่ทันได้ทรงสอบสวนเลย ตรัสว่า จงให้ช้างเหยียบ.
เมื่อพวกเขาถูกนำไป มาฆะพูดกับคนนอกนี้ว่า เพื่อน พวกคุณจะทำตามคำ
ของผมได้ไหม.
เมื่อทำตามคำของคุณนั่นแหละ พวกเราจึงถึงภัย ถึงเช่นนั้นก็เถอะ
เราก็ยังทำตามคำของคุณ ว่าแต่คุณเถอะ จะให้พวกเราทำอะไร พรรคพวกว่า.
เพื่อน มาเถอะ นี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ที่ท่องเที่ยวในวัฏฏะ ก็พวก
ท่านเป็นโจรหรือ มาฆะชี้แจง และถามพรรคพวก.
พวกเราไม่ใช่โจร พรรคพวกตอบอย่างแข็งขัน.
ชื่อว่าการกระทำสัจจะเป็นที่พึ่งของโลกนี้ ฉะนั้น ถ้าพวกเราแม้ทั้ง
หมดเป็นโจร ขอให้ช้างจงเหยียบ ถ้าไม่เป็นโจร อย่าเหยียบ ขอให้พวกคุณ
จงกระทำสัจจะดังที่ว่ามานี้ มาฆะแนะนำ. พวกเขาก็ได้ทำอย่างนั้น.
ช้างแม้แต่จะเข้าใกล้ก็ไม่ได้ ร้องพลาง หนีไปพลาง แม้จะเอาเหล็ก
แหลม หอก และขอสับสักเท่าไรก็รั้งไว้ไม่อยู่. พวกควาญช้างจึงไป กราบทูล
พระราชาว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าขับช้างเข้าไปใกล้ไม่ได้.
ถ้าอย่างนั้น ก็เอาเสื่อลำแพนคลุมปิดข้างบนพวกมันแล้วให้เหยียบซิ
พระราชาตรัสสั่ง. เมื่อครอบเสื่อลำแพนไว้ข้างบนแล้ว เจ้าช้างก็ยิ่งร้องเป็นสอง
เท่าพลางก็หนีไป.
พระราชาทรงฟังแล้ว ก็ทรงมีรับสั่งให้เรียกตัวการยุแหย่มาแล้วตรัสว่า
พ่อ ช้างมันไม่อยากเหยียบ.
ทราบด้วยเกล้า ขอเดชะ มาณพผู้เป็นหัวหน้ารู้มนต์ นั่นเป็นอานุ-
ภาพของมนต์แท้เทียว ผู้ใหญ่บ้านสนองพระดำรัสและกราบทูลใส่ความต่อ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 166
พระราชาทรงมีรับสั่งให้หัวหน้านั้นเข้าเฝ้าแล้วตรัสถามว่า เขาว่า แกมี
มนต์หรือ.
ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีมนต์ แต่พวกข้าพระพุทธเจ้าได้กระทำ
สัจจกิริยาไว้ว่า ถ้าพวกเราเป็นโจรของพระราชา ขอให้เหยียบเถิด ถ้าไม่เป็น
โจร ขออย่าเหยียบ นั่นเป็นอำนาจของสัจจกิริยาของพวกข้าพระพุทธเจ้า.
ราชา. แล้วก็ พวกพ่อกระทำงานอะไร.
หัวหน้า. พวกข้าพระพุทธเจ้า ปราบทางที่ขรุขระให้เรียบ สร้างศาลา
ในทางใหญ่สี่แยก ขุดสระบัว ผูกสะพาน ขอเดชะ พวกข้าพระพุทธเจ้าเที่ยว
สร้างบุญกรรมเห็นปานนี้.
ราชา. ผู้ใหญ่บ้านยุยงพวกพ่อเพื่ออะไร ?
หัวหน้า. เวลาที่พวกข้าพระพุทธเจ้าประมาท เขาย่อมได้สิ่งนี้และสิ่งนี้
เวลาไม่ประมาท สิ่งนั้นก็ไม่มี ด้วยเหตุนี้จึงยุยง.
ราชา. พ่อ ช้างเชือกนี้ เป็นดิรัจฉาน แม้มันก็ยังรู้คุณของพวกพ่อ ข้า
เองแม้เป็นมนุษย์ ก็ไม่รู้ ข้าขอยกหมู่บ้านที่อยู่ของพวกพ่อเป็นหมู่บ้านปลอด
ภาษีที่ใครๆ มาเก็บไม่ได้แล้วให้แก่พวกพ่อนี้แหละอีก ถึงช้างนี้ก็จงเป็นของพวก
พ่อเหมือนกัน ส่วนตัวการยุแหย่ขอมอบให้เป็นทาสของพวกพ่อนี่แหละ ตั้งแต่
นี้ไป ขอให้พวกพ่อจงทำบุญเพื่อข้าบ้างนะ ตรัสแล้วก็พระราชทานพระราชทรัพย์
ให้แล้วก็ทรงปล่อยไป.
พวกเขารับพระราชทรัพย์แล้ว ก็เปลี่ยนเวรขึ้นช้างกันไป พลาง
ปรึกษากันว่า เพื่อนเอ๋ย ธรรมดาว่าบุญกรรม เป็นของที่ต้องทำเพื่อ
ประโยชน์แห่งภพในอนาคต เพราะบุญนั้นของพวกเราให้ผลในอัตภาพนี้แหละ
เหมือนอุบลเขียวที่ผลิดอกออกผลภายในน้ำ บัดนี้ พวกเราจะทำบุญให้ยิ่งขึ้นไป.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 167
พวกเราจะทำอะไร ? เราทำสิ่งถาวรในทางใหญ่สี่แยกแล้ว สร้างศาลาสำหรับ
พักของมหาชน. แต่กับพวกผู้หญิงจะไม่ยอมให้มีส่วนร่วม เพราะเมื่อพวกเรา
ถูกเจ้าหน้าที่หาว่าเป็นโจรจับพาไป ในพวกผู้หญิงแม้คนเดียว ก็ไม่ทำแม้แต่
เพียงเอาใจช่วย มีแต่ส่งเสริมว่ามัดดี ๆ จับดี ๆ เพราะฉะนั้น พวกเราจะไม่
ยอมให้ผู้หญิงเหล่านั้นมีส่วนร่วม. พวกเขาก็พากันไปเรือนตนให้ข้าวสามสิบสาม
ก้อน นำหญ้าสามสิบสามกำแก่ช้าง. ทั้งหมดนั้นก็เต็มท้องช้าง. พวกเขาเข้า
ป่าตัดไม้. ช้างก็ลากเอาไม้ที่ตัดแล้ว ๆ มาวางไว้ที่ทางเกวียน. พวกเขาช่วยกัน
ถากไม้ เริ่มสร้างศาลา.
มาฆะ มีภรรยาอยู่ในเรือนสี่คน คือ นางสุชาดา นางสุธรรมา นาง
สุจิตรา นางสุนันทา. นางสุธรรมาถามช่างไม้ว่า พ่อ ! พวกเพื่อนเหล่านั้น เช้า
ก็ไป ตกเย็นจึงมา พวกเขาทำงานอะไร. ทำศาลา แม่. พ่อ ! ขอให้ท่านช่วย
ทำให้ดิฉันมีส่วนร่วมในศาลาด้วยคนซิ. พวกเพื่อนเหล่านี้กล่าวว่า พวกเราจะไม่
ยอมให้พวกผู้หญิงมีส่วนร่วม. นางได้ให้เงินช่างไม้แปดกหาปณะด้วยพูดว่า เอา
เถอะ พ่อ ขอให้ท่านช่วยหาอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้ดิฉันมีส่วนร่วมด้วย.
เขากล่าวว่า ตกลง แม่ แล้วก็ถือเอามีดและเอาขวานอย่างเร็วไปยืนกลางหมู่บ้าน
ตะโกนเสียงดัง ๆ ว่า คุณ ! วันนี้เวลาป่านนี้แล้ว ยังไม่ออกกันอีกหรือ ? รู้ว่า
ขึ้นสู่ทางกันหมดแล้ว จึงว่า พวกคุณจงล่วงหน้าไปก่อน ผมมีความจำเป็นต้อง
ล่าช้า แล้วก็ให้พวกนั้นล่วงหน้าไปก่อน แล้วเดินไปทางอื่นตัดไม้สำหรับใช้
เป็นช่อฟ้า ถากไสแล้วขนมาไว้ที่เรือนนางสุธรรมาแล้ว สั่งนางว่า ท่านพึงให้
ขนออกไปได้ ในวันที่ผมแจ้งไปว่า จงให้เถิด.
ต่อมาเมื่อเสร็จงานเกี่ยวกับเครื่องเครา และเมื่อทำเครื่องผูกที่ยึด การ
ยกเสา การประกอบขื่อ และที่ติดช่อฟ้าตั้งแต่ปราบพื้นที่เสร็จแล้ว ช่างไม้นั้นก็นั่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 168
ณ ที่สำหรับติดช่อฟ้า ยกไม้จันทันทั้งสี่ทิศ พูดว่า โอ้ ! มีลืมไปอย่างหนึ่งเสีย
แล้ว. คุณมีอะไรที่ไม่ลืมเล่า ? ลืมทั้งหมดนั่นแหละ. แล้วจะเอาไม้จันทันเหล่า
นี้ไปตั้งไว้ตรงไหน ? ควรจะได้ช่อฟ้ามา. พ่อคุณเอ๋ย บัดนี้ เราอาจได้ที่ไหน
เล่า. อาจได้ในเรือนแห่งสกุลทั้งหลาย ลองเที่ยวถามดูซิ. พวกเขาก็เข้าไปถาม
ในหมู่บ้าน แล้วมายืนที่ประตูเรือนนางสุธรรมาถามว่า ในเรือนนี้มีช่อฟ้าไหม.
นางบอกว่า มี. เชิญรับค่าไป. ไม่รับค่าหรอก ถ้าพวกคุณยอมให้ดิฉันมีส่วน
ร่วมด้วย ดิฉันจะให้. มาเถอะ พวกเราจะไม่ยอมทำให้ผู้หญิงมีส่วนร่วม พวก
เราจะไปป่าแล้วตัดไม้ ว่าแล้วก็พากันออกไป. แต่นั้นพวกเขาเมื่อถูกช่างไม้ถาม
ว่าเป็นอย่างไร พ่อได้ช่อฟ้าไหม ? ก็แจ้งความข้อนั้น. ช่างไม้นั่งอยู่ที่ติดช่อฟ้า
อย่างเดิมเงยมองดูอากาศแล้วพูดว่า ท่านผู้เจริญ วันนี้ ฤกษ์ดี เลยฤกษ์นี้แล้ว ปี
อื่น จึงจะสามารถได้ และพวกคุณก็จะนำเอาเครื่องเครามาลำบากด้วย เครื่อง
เคราเหล่านั้น เอามากองไว้ ตลอดปี ก็จะเน่าผุในที่นี้นี่เอง เวลาเกิดในเทวโลก
ก็จงยอมให้ศาลามุมหนึ่งแก่นางเถิด ไปเอาช่อฟ้านั้นมาเถิด. แม้นางสุธรรมานั้น
ตลอดเวลาที่พวกนั้นยังไม่มาอีก ได้สั่งให้ฉลุตัวหนังสือว่า ศาลาหลังนี้ชื่อ
สุธรรมา ไว้ที่พื้นล่างช่อฟ้า แล้วเอาผ้าใหม่มาพันตั้งไว้.
เมื่อพวกคนงานมาแล้วกล่าวว่า ช่วยนำเอาช่อฟ้ามา เท่าที่จะเป็นได้.
พวกเราจะทำให้คุณนายมีส่วนร่วมด้วย. นางก็นำออกมา สั่งว่า พ่อทั้งหลาย !
อย่าเพิ่งเอาผ้านี้ออกนะคะ จนกว่ายังไม่ขึ้นไม้จันทันได้แปดหรือสิบหกท่อนก่อน
แล้วก็ให้ไป. พวกนั้นก็รับว่า ตกลง ครั้นยกไม้จันทันขึ้นเสร็จแล้วก็เอาผ้าออก.
เพื่อนบ้านสำคัญคนหนึ่งเงยหน้าขึ้นข้างบนเห็นตัวหนังสือจึงพูดว่า นี่อะไร ?
แล้วให้ไปตามคนที่อ่านหนังสือออกมาแสดง. คนนั้น ก็อ่านว่า ศาลาหลังนี้
ชื่อสุธรรมา. พวกเขาก็ร้องเอะอะว่า เอาออกไปท่าน ตั้งแต่ต้นมา เมื่อสร้างศาลา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 169
พวกเราไม่ได้แม้แต่ชื่อ นางนี้เอาไม้ช่อฟ้าแค่ศอกแล้วให้ทำศาลาด้วยชื่อตัว.
เมื่อพวกเขากำลังร้องเอะอะอยู่นั่นเอง ช่างไม้ก็สอดไม้จันทันแล้วตอกสลักเป็น
อันเสร็จงานสร้างศาลา. เขาแบ่งศาลาเป็นสามส่วน คือ ส่วนหนึ่งทำเป็นที่พัก
พวกคนใหญ่คนโต ส่วนหนึ่งสำหรับพวกคนยากคนจน อีกส่วนหนึ่งสำหรับ
ผู้เจ็บป่วย. สามสิบสามคนปูกระดานสามสิบสามแผ่นแล้วให้สัญญาณช้างว่า
อาคันตุกะมานั่งบนแผ่นกระดานที่ผู้ใดปูไว้ เจ้าจงพาเขาไปตั้งไว้ที่เรือนของเจ้า
ของแผ่นกระดานนั่นแหละ ให้การนวดเท้า ให้การนวดหลัง ของขบเคี้ยวของ
กินและที่นอน ทั้งหมดแก่อาคันตุกะนั้น จะเป็นภาระของเจ้าของแผ่นกระดาน
นั่นแหละ. ช้างก็พาแขกที่มาแล้ว นำไปสู่เรือนของเจ้าของแผ่นกระดานนั่นเอง.
วันนั้นเจ้าของแผ่นกระดานนั้นก็จัดการที่พึงทำแก่แขกนั้น
ในที่ไม่ไกลศาลา มาฆมาณพปลูกต้นทองหลางไว้. และที่โคนไม้นั้น
ลาดแผ่นหินไว้. แม้ภริยาของเขาที่ชื่อสุนันทาก็ให้ขุดสระบัวไว้ใกล้ ๆ. นาง
สุจิตรา ปลูกพุ่มไม้ดอก. ส่วนเมียหลวงเอาแต่เที่ยวส่องกระจกตกแต่งร่างกาย
เท่านั้น. มาฆะพูดกับนางว่า น้อง แม่สุธรรมานี้ เขามีส่วนแห่งศาลา แม่
สุนันทา เขาให้ขุดสระบัว และก็แม่สุจิตราเขาก็ปลูกพุ่มไม้ดอก ส่วนน้อง
ยังไม่มีบุญกรรม น้องจงทำบุญสักอย่างเถอะที่รัก. นางตอบว่า พี่ทำเพราะ
เหตุใคร ที่พี่ทำก็เพื่อน้องเหมือนกันมิใช่หรือ ? แล้วก็เอาแต่หมกมุ่นกับการ
แต่งตัวท่าเดียว.
เมื่อมาฆะดำรงอยู่จนตลอดอายุแล้ว ก็เคลื่อนจากมนุษยโลกนั้นไปเกิด
เป็นท้าวสักกะในชั้นดาวดึงส์. คนเพื่อนบ้านทั้งสามสิบสามคนตายแล้ว ก็เป็น
เทพบุตรสามสิบสามองค์เกิดในสำนักของท้าวสักกะนั้นเอง. ปราสาทชื่อไพช-
ยนต์ของท้าวสักกะ ผุดขึ้นสูงตั้งเจ็ดร้อยโยชน์. ธง ผุดขึ้นสูงดังสามร้อยโยชน์.
ด้วยผลของไม้ทองหลาง เกิดต้นปาริฉัตร มีปริมณฑลโดยรอบสามร้อยโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 170
ลำต้นกว้างสิบห้าโยชน์. ด้วยผลแห่งแผ่นหิน เกิดหินเหมือนผ้าขนสัตว์สีเหลือง
หกสิบโยชน์ที่โคนปาริฉัตร. ด้วยผลแห่งไม้ช่อฟ้าของนางสุธรรมา เกิดเทวสภา
ชื่อสุธรรมาสามร้อยโยชน์. ด้วยผลแห่งสระบัวของนางสุนันทา เกิดสระบัวชื่อ
นันทาห้าสิบโยชน์. ด้วยผลแห่งสวนพุ่มไม้ดอกของนางสุจิตรา เกิดอุทยานชื่อ
จิตรลดาวันหกสิบโยชน์.
ท้าวสักกะผู้เป็นราชาแห่งเทพ ประทับนั่งบนบัลลังก์ทองโยชน์หนึ่งใน
สุธรรมาเทวสภา มีเศวตฉัตรสามโยชน์กางกั้น แวดล้อมไปด้วยเทพบุตรเหล่านั้น
ด้วยเทพธิดาเหล่านั้น ด้วยนางฟ้อน ๒๕ โกฏิและด้วยหมู่เทวดาใน
เทวโลกสองชั้น เมื่อตรวจดูมหาสมบัติ ก็ทรงเห็นสตรีสามคนเหล่านั้น ทรงดู
ว่า สามคนนี้ปรากฏก่อน สุชาดาอยู่ไหน ทรงเห็นว่า นางนี้ไปเกิดเป็นนาง
นกยางตัวหนึ่งในซอกเขาเพราะไม่ยอมทำตามคำเรา แล้วทรงลงจากเทวโลก
เสด็จไปสู่สำนักนาง. พอนางเห็นเท่านั้น แหละก็จำได้เลยก้มหน้า. ท้าวสักกะจึง
ตรัสว่า เ จ้าผู้เขลา บัดนี้ ไฉนจึงไม่ยอมยกหัวขึ้นล่ะ เจ้าไม่ทำตามคำเรา เอาแต่
แต่งเนื้อแต่งตัว ทำให้เสียเวลา สมบัติอันยิ่งใหญ่เกิดแล้วแก่นางสุธรรมา
นางสุนันทา. และนางสุจิตรา จงมาดูสมบัติพวกเราสิ แล้ว ก็ทรงพาไปเทวโลก
ทรงปล่อยที่สระบัวชื่อนันทาแล้ว เสด็จประทับนั่งบนบัลลังก์. พวกนาง
นักฟ้อนกราบทูลถามว่า มหาราช ทูลกระหม่อมเสด็จไปไหน. พระองค์แม้ไม่
ทรงอยากจะบอก เมื่อถูกพวกนางเหล่านั้นบีบคั้นหนักเข้า ก็ตรัสว่าไปสู่สำนัก
สุชาดา.
นาฏกา. มหาราช นางเกิดที่ไหน.
ส. ที่เชิงซอกเขา.
นาฏกา. เดี๋ยวนี้อยู่ไหน.
ส. ฉันปล่อยไว้ที่สระบัวชื่อนันทา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 171
นาฏกา. มาเถิด ท่านผู้เจริญ พวกเราไปดูเจ้าแม่ของพวกเรา แล้ว
ทั้งหมดก็พากันไปที่นั้น.
นางสุชาดานั้น แต่ก่อนมา ถือตัวว่าเป็นใหญ่กว่าเขาหมด. บัดนี้ชั้น
แต่พวกหญิงนักฟ้อน เมื่อเห็นนางเข้าก็พากันพูดจาเยาะเย้ยเอาเป็นต้นว่า ดู
เถิดท่าน ปากเจ้าแม่พวกเราอย่างกะหลาวแทงปู.
นางเกิดอึดอัดเหลือเกิน จึงทูลท้าวสักกะ ผู้เป็นราชาของเทพว่า
มหาราช วิมานทอง วิมานเงิน หรือนันทาโปกขรณีเหล่านี้ จักทำอะไร
แก่หม่อนฉัน มหาราช ชาติภูมิเท่านั้นแหละที่เป็นสุขของหมู่สัตว์โปรด
ปล่อยหม่อมฉันไว้ที่เชิงซอกเขานั้นตามเดิมเถิด. ท้าวสักกะ ทรงปล่อยนาง
ไว้ที่นั้นแล้วตรัสว่า เจ้าจะทำตามคำของฉันไหม. นางทูลถามว่า จะทำตาม
มหาราช. ท้าวสักกะ จึงตรัสว่า เจ้าจงรับศีลห้ารักษาอย่าให้ขาด ไม่กี่วันฉันจะ
ทำเจ้าให้ใหญ่กว่านางเหล่านั้น . นางก็ได้ทำอย่างนั้น. ล่วงไปได้สองสามวัน
ท้าวสักกะ ทรงคิดว่า นางรักษาศีลได้ไหมหนอ จึงเสด็จไปจำแลงเป็นปลาหงาย
ท้อง ลอยบนหลังน้ำข้างหน้านาง. นางคิดว่า คงเป็นปลาตาย จึงไปจิกเอาที่
หัว. ปลากระดิกหาง. นางคิดว่า ชะรอยปลายังเป็นแล้วก็ปล่อยน้ำไป. ท้าว
สักกะประทับยืนที่อากาศ ตรัสว่า สาธุ สาธุ เจ้ารักษาสิกขาบทได้ ฉันจะทำ
เจ้าผู้รักษาได้อย่างนี้ให้เป็นหัวหน้าของพวกนางละครเทวดาโดยไม่นานทีเดียว.
นางมีอายุ ๕๐๐ ปี. แม้แต่วันเดียวก็ไม่ได้อาหารเต็มท้อง แม้จะเหี่ยวแห้ง
แห้งผากร่วงโรยอยู่ ก็ไม่ทำให้ศีลขาด เมื่อตายแล้ว ก็เกิดในเรือนช่างหม้อใน
กรุงพาราณสี.
เมื่อท้าวสักกะทรงตรวจดูว่า เกิดที่ไหน ก็ทรงเห็น ทรงคิดว่า เรายังนำ
นางมาที่นี้จากที่นั้นไม่ได้ เราจะให้ความเป็นไปแห่งชีวิตแก่นาง จึงทรงเอาฟัก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 172
ทองทองคำบรรทุกยานน้อยไปจนเต็ม จำแลงเพศเป็นคนแก่ นั่งในท่ามกลางหมู่
บ้าน ร้องว่า พวกท่านจงมาเอาฟักทอง. พวกชาวบ้านโดยรอบมากล่าวว่า จงให้
มาพ่อ. คนแก่พูดว่า ฉันจะให้แก่คนผู้รักษาศีล. พวกท่านรักษาศีลกันไหม. พวก
คนก็ว่า พ่อเอ๋ย พวกเราไม่รู้ว่าศีลเป็นอย่างไร ตาจงขายเถอะ ตาเฒ่าพูดว่า
ฉันจะให้แก่ผู้รักษาศีลเท่านั้น. พวกคนพูดว่า มาซิท่าน เฒ่าขายฟักทองนี้เป็น
ใครกัน แล้วก็กลับกันหมด. เด็กหญิงคนนั้นก็ถามว่า แม่ ท่านไปเพื่อต้องการ
ฟักทอง ทำไม จึงกลับมามือเปล่าล่ะ. พวกหญิงเหล่านั้นตอบว่า หนูเอ๋ย
เฒ่าขายฟักทองเป็นใคร แกพูดว่า ฉันจะให้แก่ผู้รักษาศีล แม้เด็กหญิงรักษา
ศีลแล้วย่อมควรได้ฟักทองนี้เป็นแน่ พวกเราไม่รู้จักศีลเลย. นางคิดว่า คงจะนำ
มาเพื่อเราเป็นแน่ จึงไปแล้วพูด พ่อจ๋า โปรดให้ฟักทอง.
อินทร์. เจ้ารักษาศีลหรือแม่หนู.
ด.ญ. ค่ะ พ่อ หนูรักษาศีลค่ะ.
อินทร์. ข้าก็นำเอาฟักทองนี้มาเพื่อหนูเท่านั้น แล้วก็ตั้งไว้พร้อมกับ
ยานน้อยที่ประตูเรือนแล้วเสด็จหลีกไป. แม้นางก็รักษาศีลตลอดชีวิต จุติแล้ว
ก็เกิดเป็นธิดาของเวปจิตติอสูร. เพราะผลของศีล นางจึงเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส.
ท้าวเวปจิตติคิดว่า เราจะทำวิวาหมงคลแก่ลูกสาว จึงให้พวกอสูรประชุมกัน.
ท้าวสักกะทรงตรวจดูว่า เกิดที่ไหน ทรงเห็นว่า เกิดในภพอสูร
วันนี้จะทำวิวาหมงคลแก่นาง ทรงคิดว่า บัดนี้ เราควรทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
แล้วนำนางมา จึงไปทรงนิรมิตเพศเป็นอสูรแล้ว ประทับยืนในระหว่างพวก
อสูร. พระบิดาตรัสว่า พ่ออนุญาตให้ลูกเลือกสามี แล้วก็ประทานพวงดอก
ไม้ที่มือของนาง ตรัสว่า ลูกต้องการผู้ใด ก็จงซัดดอกไม้บนผู้นั้น. เมื่อนาง
ตรวจดูก็เห็นท้าวสักกะ เกิดความรักเพราะเคยอยู่ร่วมกันมาแต่ปางก่อน กำหนด
ว่า นี้เป็นสามีของเรา แล้วก็ซัดพวงไปบนเขา. ท้าวสักกะนั้น ก็ทรงจับแขน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 173
นางเหาะไปบนอากาศ. ขณะนั้นพวกอสูรก็จำได้. พวกอสูรเหล่านั้น ร้องไปว่าจับ
จับเฒ่าสักกะไว้ เป็นศัตรูพวกเรา พวกเราจะไม่ยอมให้เจ้าสาวแก่เฒ่าสักกะนั้น
แล้วต่างก็ติดตามไป. ท้าวเวปจิตติตรัสถามว่า ใครนำไป. เฒ่าสักกะ มหาราช
พวกอสูรตอบ. ในบรรดาผู้ที่เหลือ ท้าวสักกะนี้เท่านั้น ประเสริฐสุด ออกไป
ท้าวเวปจิตติตรัส. เมื่อท้าวสักกะพานางไปแล้วก็ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งหัวหน้า
นางฟ้อน ๒๕ โกฎิ. นางทูลขอพรต่อท้าวสักกะว่า มหาราช ในเทวโลกนี้
หม่อนฉันไม่มีมารดา บิดา หรือพี่น้องชายหญิง พระองค์เสด็จไปที่ใด ๆ โปรด
พาหม่อมฉันไปในที่นั้น ๆ ด้วยมหาราช. ท้าวสักกะประทานพระปฏิญาณว่า
ตกลง. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเห็นความที่ท้าวสักกะนั้นเป็นผู้หมดจด ตั้ง
แต่ครั้งเป็นมาฆมาณพในหมู่บ้านมจล ดังที่ว่ามานี้ จึงตรัสว่า ยักษ์นี้เป็น
ผู้หมดจดตลอดกาลนานแล้วแล. คำว่า ประกอบด้วยประโยชน์ คืออาศัยผล
อาศัยเหตุ.
จบ ภาณวารที่ ๑
บทว่า มีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ คือ มีอะไรเป็นเครื่องผูก
ได้แก่เป็นผู้ถูกเครื่องผูกอะไรผูกเอาไว้. บทว่า กายมาก คือ ชนมาก. บทว่า
ไม่มีเวร คือไม่มีความกระทบกระทั่ง. บทว่า ไม่มีอาชญา คือพ้นจากอาชญา
คืออาวุธและอาชญาคือธนู. บทว่า ไม่มีข้าศึก คือไม่มีศัตรู. บทว่า ไม่มี
ความพยาบาท ได้แก่ปราศจากโทมนัส. บทว่า พึงเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่
คือ ย่อมให้ทาน ย่อมทำการบูชาแล้วปรารถนาว่า โอ้หนอ ขอให้พวกเรา
พึงเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่กับใคร ๆ เถิด ขอให้พวกเราพึงไม่ก่อความกำเริบให้เกิด
ในใคร ๆ แล้วใช้สอยของที่ถือเอาด้วยนิ้วมือพร้อมกับคนหนึ่งพันเถิด.
บทว่า และย่อมมีแก่พวกเขาด้วยประการฉะนี้ คือ และก็ความปรารถนานี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 174
ย่อมมีแก่พวกเขาด้วยประการฉะนี้. บทว่า และก็เมื่อเป็นเช่นนั้น คือเมื่อ
ความปรารถนาอย่างนั้นแม้มีอยู่. บทว่า มีริษยาและความตระหนี่เป็น
เครื่องประกอบเข้าไว้ คือ ความริษยามีความสิ้นไปแห่งสมบัติของอื่นเป็น
ลักษณะ และความตระหนี่อันมีความทนไม่ได้ต่อความที่สมบัติของตนเป็นของ
ทั่วไปกับพวกคนเหล่าอื่นเป็นลักษณะ. ชื่อว่า ผู้มีความริษยาและความตระหนี่
เป็นเครื่องประกอบเข้าไว้ เพราะความริษยาและความตระหนี่เป็นเครื่อง
ประกอบเข้าไว้ของพวกเขา. นี้เป็นความย่อในที่นี้ . ส่วนควาษริษยาและความ
ตระหนี่อย่างพิสดาร ได้กล่าวไว้เสร็จแล้วในอภิธรรม.
สำหรับในเรื่องความตระหนี่นี้ เพราะความตระหนี่ที่อยู่ สัตว์ไม่ว่า
เป็นยักษ์หรือเป็นเปรตต่างก็เที่ยวใช้ศีรษะทูนขยะของที่อยู่นั้นเอง เพราะความ
ตระหนี่ตระกูล เมื่อบุคคลเห็นผู้ที่กำลังทำทานเป็นต้นแก่ผู้อื่นในตระกูลนั้น
ก็คิดว่า ตระกูลของเรานี้แตกแล้วหนอ ถึงกับกระอักเลือดบ้าง ถ่ายท้องบ้าง
ไส้ขาดเป็นท่อนน้อยใหญ่ทะลักออกมาบ้าง. เพราะความตระหนี่ลาภ ผู้เกิด
ตระหนี่ในลาภของสงฆ์หรือของหมู่ บริโภคเหมือนบริโภคของส่วนบุคคล
เกิดเป็นยักษ์บ้าง เปรตบ้าง งูเหลือมขนาดใหญ่บ้าง. ก็เพราะความตระหนี่
วรรณแห่งสรีระและวรรณแห่งคุณ และเพราะความตระหนี่การศึกษาเล่าเรียน
บุคคลจะกล่าวชมแต่คุณของตัวเองเท่านั้น หากล่าวชมคุณของคนเหล่าอื่นไม่
กล่าวอยู่แต่โทษนั้นๆ ว่า คนนี้ มีดีอะไร และจะไม่ให้การศึกษาเล่าเรียนอะไรๆ
แก่ใคร ๆ พูดแต่โทษว่า คนนี้ขี้เหร่ และบ้าบอ. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยความ
ตระหนี่ที่อยู่ เขาย่อมไหม้ในเรือนโลหะ. ด้วยความตระหนี่ตระกูล เขาย่อม
เป็นผู้มีลาภน้อย. ด้วยความตระหนี่ลาภ เขาย่อมเกิดในคูถนรก. ด้วยความ
ตระหนี่วรรณ เมื่อเกิดในภพ จะไม่มีวรรณ. ด้วยความตระหนี่ธรรม เขา
ย่อมเกิดในนรกขี้เถ้า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 175
ก็แล ความริษยาและความตระหนี่ที่เป็นเครื่องประกอบ (สัตว์ไว้ใน
ภพ) นี้ จะละได้ก็ด้วยโสดาปัตติมรรค. ตลอดเวลาที่ยังละมัน ไม่ได้ เทวดา
และมนุษย์ แม้ปรารถนาความเป็นผู้ไม่มีเวรเป็นต้น อยู่ก็ตาม ก็หาได้รอดพ้น
ไปจากเวรเป็นต้นไม่เลย. บทว่า ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยในปัญหานี้
ได้แล้ว ความว่า ท้าวสักกะตรัสว่า ในปัญหานี้ เพราะฟังพระดำรัสของ
พระองค์ ข้าพระองค์จึงข้ามความสงสัยได้แล้ว. ท้าวสักกะไม่ได้ทรงแสดง
ความที่ทรงข้ามความสงสัยได้ด้วยอำนาจมรรค. คำว่า ความสงสัยที่ต้อง
ถามว่าอย่างไร ๆ ปราศไปแล้ว คือความสงสัย แม้นี้ว่า อย่างไรนี้
นี้อย่างไร ปราศไปแล้ว.
คำมี เค้ามูลเป็นต้น มีใจความอันได้กล่าวไว้เสร็จแล้ว. บทว่า
มีที่ชอบและที่ชังเป็นเค้ามูล คือ ความตระหนี่มีสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก
เป็นเค้ามูล ริษยามีสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นเค้ามูล หรือทั้งสองก็มี
ทั้งสองเป็นเค้ามูล. ก็สำหรับนักบวช ลูกศิษย์ลูกหาเป็นต้น สำหรับชาวบ้าน
ลูกเป็นต้น หรือสัตว์ก็มีช้างม้าเป็นต้น ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่หยอกล้อ เป็นที่
ยึดถือว่าของเรา. เมื่อไม่เห็นพวกเหล่านั้น แม้ครู่เดียวก็ทนไม่ได้. เมื่อเขา
ได้เห็นคนอื่นผู้ได้สัตว์ที่น่ารักอย่างนั้นก็เกิดริษยา ถูกคนอื่นขอสัตว์นั้นเองว่า
พวกเรามีงานบางอย่างด้วยสัตว์นี้ โปรดให้ยืมสักครู่เถิด ก็ให้ไม่ได้ กล่าวว่า
เขาจะเหนื่อยหรือเขาจะกลุ้ม แล้วก็เกิดความตระหนี่. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็น
อันว่า ความริษยาและความตระหนี่แม้ทั้งสอง มีสัตว์อันเป็นที่รักเป็นเค้ามูล.
ก็แหละ สำหรับภิกษุบริขารมีบาตรและจีวรเป็นต้น หรือสำหรับชาวบ้าน
อุปกรณ์มีเครื่องประดับ เป็นต้น ย่อมเป็นที่รักที่ชื่นใจ. เมื่อเขาเห็นสิ่งชนิดนั้น
กำลังเกิดแก่คนอื่น ก็เกิดความริษยาว่า โอ้หนอ ขอสิ่งเห็นปานนี้ ไม่พึงมีแก่
คนนั้น และแม้ถูกขอก็เกิดความตระหนี่ว่า แม้พวกเรากำลังรัก ยังใช้สอยสิ่งนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 176
อยู่ ยังให้ไม่ได้หรอก. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่า แม้ความริษยาและความ
ตระหนี่ทั้งสอง ย่อมมีสังขารอันเป็นที่รักเป็นเค้ามูล. แต่เมื่อได้สัตว์และสังขาร
ประการที่กล่าวมาแล้วนั้น แต่เป็นชนิดที่ไม่น่ารักเลย ถึงแม้ว่าสัตว์และสังขาร
เหล่านั้นไม่เป็นที่ชื่นใจเขา แม้อย่างนั้นก็ตาม เพื่อให้พวกกิเลสที่ตรงกันข้าม
เป็นไปได้ ก็กระทำความริษยาว่า เว้นข้าเสียแล้ว ใครอื่น เป็นผู้ได้สัตว์และ
สังขารเห็นปานนี้ หรือถูกขอยืมก็ไม่ให้ ย่อมกระทำความหวง. ด้วยประการ
ฉะนี้ ก็เป็นอันว่า ความริษยาและความตระหนี่แม้ทั้งสองย่อมมีสัตว์และสังขาร
อันไม่เป็นที่รักเป็นเค้ามูล.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า มีความพอใจเป็นเค้ามูล นี้. ความ
พอใจมี ๕ อย่างคือ ความพอใจในการแสวงหา ความพอใจในการได้เฉพาะ
ความพอใจในการใช้สอย ความพอใจในการสะสม ความพอใจในการสละ.
ความพอใจในการแสวงหาเป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจ
ไม่อิ่ม ย่อมแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส ย่อมแสวงหาสิ่งที่พึงถูกต้อง ย่อม
แสวงหาทรัพย์ นี้ความพอใจในการแสวงหา. ความพอใจในการได้เฉพาะ
เป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมได้เฉพาะรูป
เสียง กลิ่น รส ย่อมได้เฉพาะสิ่งที่พึงถูกต้อง ย่อมได้เฉพาะทรัพย์ นี้ความ
พอใจในการได้เฉพาะ. ความพอใจในการใช้สอยเป็นไฉน คือ คนบางคน
ในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมใช้สอยรูป เสียง กลิ่น รส ย่อมใช้สอย
สิ่งที่พึงถูกต้อง ย่อมใช้สอยทรัพย์ นี้ความพอใจในการใช้สอย. ความพอใจ
ในการสะสมเป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อม
ทำการสะสมทรัพย์ ด้วยคิดว่า จะมีในคราววิบัติ นี้ความพอใจในการสะสม.
ความพอใจในการสละเป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม
ย่อมจ่ายทรัพย์แก่พลช้าง พลม้า พลรถ ขมังธนู ด้วยคิดว่า คนเหล่านี้ จัก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 177
รักษา จักคุ้มครอง จักรัก จักแวดล้อมเรา นี้ความพอใจในการสละ. ความ
พอใจแม้ทั้ง ๕ อย่างนี้ ในที่นี้เป็นเพียงตัณหาเท่านั้นเอง. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาความพอใจนั้น จึงได้ตรัสคำนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า มีความตรึกเป็นเค้ามูล นี้. ความตรึก
ที่เกิดจากความรู้สึกตระหนักแน่ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า อาศัยลาภเกิด ความรู้สึก
ตระหนักแน่๑ ชื่อว่า ความตรึก. คำว่า ความรู้สึกตระหนักแน่ คือ ความ
รู้สึกตระหนักแน่ มีสองอย่างคือ ความรู้สึกตระหนักแน่คือตัณหา และความ
รู้สึกตระหนักแน่คือทิฎฐิ. ตัณหาวิปริต ๑๐๘ ชนิด ชื่อว่า ความรู้สึกตระหนัก
แน่คือตัณหา ความเห็น ๖๒ อย่าง ชื่อว่า ความตระหนักแน่คือทิฏฐิ ก็ด้วย
ประการฉะนี้ จึงไม่มีการชี้ขาดลงไปว่าน่าใคร่ไม่น่าใคร่ และน่ารักไม่น่ารักด้วย
อำนาจความตระหนักแน่คือตัณหา ที่กล่าวมาแล้วอย่างนั้น เพราะสิ่งนั้นเอง
เป็นของน่าใคร่สำหรับบางคน ไม่น่าใคร่สำหรับบางคน เหมือนการชี้ขาดในไส้
เดือนมฤคและเนื้อเป็นต้นของพระราชาในส่วนภูมิภาค และพระราชาในประเทศ
ส่วนกลาง ก็เมื่อวัตถุที่ได้รับมานั้นถูกชี้ขาดด้วยความตระหนักแน่คือตัณหาแล้ว
จึงจะมีการ ชี้ชัดลงไปด้วยความรู้สึกตระหนักแน่คือความตรึกว่า เป็นของรูป
เท่านี้ เท่านี้เป็นของเสียง เป็นของกลิ่นเท่านี้ เท่านี้เป็นของรส เป็นของสิ่ง
ที่พึงถูกต้องเท่านี้ เท่านี้เป็นของเรา เป็นของเขาเท่านี้ เท่านี้จะเก็บไว้ จะให้
เท่านี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า จอมทวยเทพ ความ
พอใจนี้เอง มีความตรึกเป็นเค้ามูล ดังนี้ .
คำว่า มีส่วนความสำคัญที่ประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า
เป็นเค้ามูล คือ ธรรมเครื่องเนิ่นช้ามี ๓ อย่างคือ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือ
ตัณหา ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือมานะ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ. ใน ๓อย่าง
๑. ที.ม. มหานิทานสุตฺต ๗๔
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 178
นั้น ตัณหาวิปริต ๑๐๘ อย่าง ชื่อว่า ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา มานะ ๙
อย่าง ชื่อว่า ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือมานะ ทิฏฐิ ๖๒ ชนิดชื่อว่า ธรรมเครื่อง
เนิ่นช้าคือทิฏฐิ. ในธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านั้น ในที่นี้ท่านหมายเอาธรรม
เครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา. ที่เรียกว่าธรรมเครื่องเนิ่นช้า เพราะอรรถว่ากระไร.
ที่เรียกว่าธรรมเครื่องเนิ่นช้า เพราะอรรถว่าให้ถึงอาการของคนมัวเมาประมาท.
ความสำคัญ ที่ประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้านั้น ชื่อว่า ปปัญจสัญญา (ความ
สำคัญที่คลุกเคล้าไปด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า). ส่วนเรียกว่า สังขา เหมือนในคำ
เป็นต้นว่า ก็ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า มีความสำคัญเป็นเค้ามูล.๑ ด้วย
ประการฉะนี้ คำว่า มีส่วนความสำคัญที่ประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้าเป็น
เค้ามูล จึงหมายความว่า ความตรึกมีส่วนแห่งความสำคัญ ที่ประกอบด้วยธรรม
เครื่องเนิ่นช้าเป็นเค้ามูล.
คำว่า ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงความสมควรแก่การดับ โดยไม่เหลือ
แห่งส่วนความสำคัญที่ประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า ความว่า ความ
ดับโดยไม่เหลือ ได้แก่ความสงบระงับอันใดแห่งส่วนความสำคัญที่ประกอบไป
ด้วยเครื่องเนิ่นช้านี้ ท้าวสักกะย่อมทูลถามทางพร้อมทั้งวิปัสสนาคือ ความ
เหมาะสมแห่งความดับโดยไม่เหลือนั้น และข้อปฏิบัติให้ถึงในความดับโดยไม่
เหลือนั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเริ่มเวทนา ๓ อย่างแก่ท้าวสักกะ
นั้นว่า และอาตมภาพโสมนัส. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแต่ข้อที่ทูลถาม
ข้อที่ไม่ทูลถาม ข้อที่มีความต่อเนื่อง ข้อที่ไม่มีความต่อเนื่องหรือ. ตอบว่า
ตรัสแต่ข้อที่ทูลถามเท่านั้น ไม่ใช่ข้อที่ไม่ทูลถาม ตรัสข้อที่มีความต่อเนื่องเท่านั้น
ไม่ใช่ข้อที่ไม่มีความต่อเนื่อง. จริงอยู่สำหรับเทวดาทั้งหลาย อรูปปรากฏกว่า
โดยความเป็นรูป ถึงแม้ในอรูป เวทนาก็ปรากฏกว่า. เพราะเหตุไร. เพราะกาย
๑. ขุ. สุตฺตนิปาต ๔๑๑
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 179
ที่เกิดจากธุลีในน้ำ (กรัชกาย) ของพวกเทวดา เป็นของละเอียด รูปที่เกิดจาก
กรรมเป็นของมีกำลัง เพราะความที่กายอันเกิดแต่ธุลีในน้ำเป็นของละเอียด
(และ) เพราะรูปที่เกิดจากกรรมเป็นของมีกำลัง ถ้าก้าวล่วงอาหารแม้มื้อเดียว
พวกเทวดาก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมแหลกไปเหมือนก้อนเนยใสบนแผ่นหินที่ร้อน.
พึงทราบถ้อยคำทั้งหมดตามนัยที่กล่าวแล้วในพรหมชาลสูตรนั้นแล. เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเวทนาทั้ง ๓ อย่างแก่ท้าวสักกะ.
ก็แหละกัมมัฏฐานมี ๒ อย่างคือ รูปกัมมัฏฐานและอรูปกัมมัฏฐาน.
จะเรียกกัมมัฏฐานนั้นเองว่า การกำหนดรูป และการกำหนดอรูปก็ได้. ใน
กัมมัฏฐาน ๒ อย่างนั้น รูปปรากฏแก่ผู้ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทำ
การกำหนดธาตุ ๔ ให้พิสดารแก่ผู้นั้นด้วยอำนาจเอาใจใส่โดยย่อ หรือด้วยอำนาจ
เอาใจใส่โดยพิสดาร ก็ตรัสรูปกัมมัฎฐาน อรูปปรากฏแก่ผู้ใด ก็ตรัสอรูป
กัมมัฏฐานแก่ผู้นั้น และเมื่อจะตรัสอรูป ก็ทรงแสดงรูปกัมมัฏฐานอันเป็นที่ตั้ง
ของอรูปนั้นจึงตรัส. แต่สำหรับพวกเทวดา ทรงทราบว่าอรูปปรากฏ จึงทรง
เริ่มเวทนาด้วยอำนาจอรูปกัมมัฏฐาน.
ก็ความตั้งมั่นในอรูปกัมมัฏฐานมี ๓ อย่างคือ ด้วยอำนาจผัสสะ ด้วย
อำนาจเวทนา ด้วยอำนาจจิต. อย่างไร คือ สำหรับบางคนเมื่อรับเอา
รูปกัมมัฏฐานไปจะโดยสังเขป หรือโดยพิสดารก็ตาม ย่อมมีความตกไปเป็นอย่าง
ยิ่งในชั้นแรกของจิตและเจตสิกทั้งหลายในอารมณ์นั้น ผัสสะเกิดถูกต้องอารมณ์
นั้นอยู่ย่อมเป็นของปรากฏ. สำหรับบางคน เวทนาเกิดตามเสวยอารมณ์นั้นอยู่
ย่อมเป็นของปรากฏ. สำหรับบางคนวิญญาณที่เกิดขึ้นรู้แจ้งอารมณ์นั้นอยู่ย่อม
เป็นของปรากฏ.
ในความตั้งมั่นทั้ง ๓ อย่างนั้น ผู้ใดมีผัสสะแจ่มแจ้ง แม้ผู้นั้น ไม่ใช่
จะเกิดขึ้นแต่ผัสสะอย่างเดียวเท่านั้น พร้อมกับผัสสะนั้น แม้เวทนาที่ตามเสวย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 180
อารมณ์นั้นเองอยู่ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วย ถึงสัญญาที่จำอารมณ์นั้นอยู่ ถึงเจตนาที่
คิดอารมณ์นั้นอยู่ ถึงวิญญาณที่รู้แจ้งอารมณ์นั้นอยู่ ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วย จึงชื่อ
ว่าย่อมรวบถือเอาหมวดเจตสิกธรรมที่มีผัสสะเป็นที่ห้าเหมือนกัน ด้วยประการ
ฉะนี้. ผู้ใดมีเวทนาแจ่มแจ้ง แม้ผู้นั้นก็ย่อมชื่อว่ารวบถือเอาหมวดเจตสิกธรรม
ที่มีผัสสะเป็นที่ห้าอีกเหมือนกัน เพราะมิใช่แต่เวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ย่อม
เกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น ยังมีผัสสะเกิดขึ้นกระทบอารมณ์นั้นเองอยู่ ยังมี
สัญญาที่จำอารมณ์ ยังมีเจตนาที่คิดอารมณ์ ยังมีวิญญาณที่รู้แจ้งอารมณ์นั้นอยู่
เกิดขึ้นด้วย. สำหรับผู้ที่มีวิญญาณแจ่มแจ้งแม้นั้น ก็ย่อมชื่อว่ารวบถือเอา
หมวดเจตสิกธรรมที่มีผัสสะเป็นที่ห้าอีกเหมือนกันนั่นแหละ เพราะมิใช่เกิดขึ้น
แต่วิญญาณอย่างเดียวเท่านั้น พร้อมกับวิญญาณนั้น ก็ยังมีผัสสะที่เกิดขึ้น
กระทบอารมณ์นั้นเองอยู่ ยังมีเวทนาที่ตามเสวยอารมณ์ ยังมีสัญญาที่จำอารมณ์
ยังมีเจตนาที่คิดอารมณ์เกิดขึ้นด้วย.
เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ว่า ธรรมหมวดที่มีผัสสะเป็นที่ห้าเหล่านี้ อาศัย
อะไร ก็ย่อมรู้ชัดว่าอาศัยที่ตั้ง. ชื่อว่า ที่ตั้ง ก็คือร่างกาย (ที่เกิดจากละออง
ในน้ำ) ที่ท่านหมายเอากล่าวว่า ก็แลวิญญาณของเรานี้อาศัยอยู่ในร่างกายนี้
เกี่ยวข้องในร่างกายนี้. โดยใจความก็คือเขาย่อมรู้ชัดทั้งภูตรูปและอุปาทารูป.
เมื่อรู้ชัดว่า ที่ตั้งในร่างกายนี้เป็นรูป หมวดที่มีผัสสะเป็นที่ห้า เป็นนามอย่างนี้
ก็ชื่อว่าย่อมเห็นสักว่าเป็นนามรูปเท่านั้น. และนามรูปก็เป็นเพียงขันธ์ห้า
คือ รูปในที่นี้เป็นรูปขันธ์ และนามก็เป็นขันธ์ที่ไม่มีรูปทั้ง ๔. ก็ขันธ์ห้าที่
พ้นไปจากนามรูป หรือนามรูปที่พ้นไปจากขันธ์ห้าหามีอยู่ไม่. เมื่อเขาไตร่ตรอง
ว่า ขันธ์ห้าเหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ ก็ย่อมเห็นว่า มีอวิชชาเป็นต้นเป็นเหตุ
แต่นั้นเมื่อไตร่ตรองถึงปัจจัย และสิ่งที่เกิดเพราะปัจจัยจนรู้ว่า นอกเหนือไป
จากปัจจัยและสิ่งที่เกิดจากปัจจัยนั้นแล้ว ไม่มีสัตว์ หรือบุคคลอื่น มีแต่กลุ่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 181
สังขารล้วน ๆ เท่านั้นเอง แล้วก็ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ด้วยอำนาจนามรูปพร้อมกับ
ปัจจัย เที่ยวพิจารณาว่า ไม่เที่ยง ทนไม่ได้ ไม่มีอะไรเป็นตัวตน ตามลำดับ
แห่งวิปัสสนา. เขาหวังการแทงตลอดอยู่ว่า วันนี้ วันนี้ ในวันเห็นปานนั้น
เมื่อได้ ฤดูเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย อาหารเป็นที่สบาย หรือการฟัง
ธรรมเป็นที่สบายแล้ว ก็นั่งโดยบัลลังก์เดียวเท่านั้น ครั้นให้วิปัสสนาถึงยอด
แล้ว ก็ย่อมตั้งอยู่ในอรหัตตผล. โคปกเทพเทพบุตรบอกกัมมัฏฐานจนถึง
อรหัตแก่ท่านทั้งสามเหล่านี้อย่างนี้แล.
แต่ในที่นี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงบอกอรูปกัมมัฏฐาน ก็ทรง
แสดงด้วยเวทนาเป็นหัวข้อ. เมื่อพระองค์จะแสดงด้วยอำนาจผัสสะ หรือด้วย
อำนาจวิญญาณจะไม่มีความแจ่มแจ้งแก่ท้าวสักกะนี้ แต่จะปรากฏเหมือนความ
มืด. แต่ด้วยอำนาจเวทนา จึงจะแจ่มแจ้ง. เพราะเหตุไร. เพราะการเกิด
เวทนาขึ้น เป็นของแจ่มแจ้งแล้ว. จริงอยู่ การเกิดสุขและทุกขเวทนาขึ้น
เป็นสิ่งแจ่มแจ้งแล้ว. เมื่อความสุขเกิดขึ้น ทั่วทั้งร่างก็เกิดกระเพื่อม ข่มอยู่
ซาบซ่า ซึมซาบ เหมือนให้กินเนยใสที่ชำระร้อยครั้ง เหมือนกำลังทา
น้ำมันที่เจียวร้อยครั้ง เหมือนกำลังเอาน้ำพันหม้อมาดับความเร่าร้อน เปล่งวาจา
ว่า สุขหนอ สุขหนอ อยู่นั่นแหละ. เมื่อเกิดความทุกข์ขึ้น ทั่วทั้งร่างก็เกิด
กระเพื่อม ข่มอยู่ ซู่ซ่า ซึมซาบเหมือนเข้าสู่กระเบื้องร้อน เหมือนเอา
น้ำทองแดนเหลวมารด เหมือนโดนมัดคบเพลิงไม้ในป่าที่มีหญ้าและไม้ใหญ่ ๆ
ที่แห้ง คร่ำครวญว่า ทุกข์หนอ ทุกข์หนอ อยู่นั่นแล. สุขและทุกขเวทนา
เกิดขึ้นปรากฏดังว่ามานี้. ส่วนอทุกขมสุขเวทนา ชี้แจงยากเหมือนกะถูกความ
มืดครอบงำ. อทุกขมสุขเวทนานั้น เพราะหลีกสุขและทุกข์ไป จึงมีอาการเป็น
กลางด้วยอำนาจเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขและทุกข์ ดังนี้ เมื่อถือเอาโดยนัย จึงจะ
แจ่มแจ้ง. เหมือนอะไร พรานเนื้อเดินไปตามรอยเท้าเนื้อที่ขึ้นหลังแผ่นหินใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 182
ระหว่างแล้วหนีไปได้เห็นรอยเท้าที่ส่วนนี้บ้าง ส่วนอื่นบ้างของหลังแผ่นหิน
แม้ตรงกลางไม่เห็นก็ย่อมรู้ได้โดยนัยว่า มันคงจะขึ้นทางนี้แล้วลงทางนี้ไปโดย
ประเทศนี้ ตรงกลางบนหลังแผ่นหินฉันใด ก็การเกิดสุขเวทนาขึ้นย่อมเป็นสิ่ง
แจ่มแจ้งเหมือนรอยเท้าตรงที่เนื้อมันขึ้น การเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนาก็เป็นสิ่ง
แจ่มแจ้ง เหมือนรอยเท้าตรงที่เนื้อมันลง เมื่อถือเอาโดยนัยว่า เพราะหลีกสุข
และทุกข์ไป อทุกขมสุขเวทนานั้น จึงมีอาการเป็นกลางด้วยอำนาจเป็นปฏิปักษ์
ต่อทั้งสุขและทุกข์ ก็ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง เหมือนการถือเอาโดยนัยว่า มันขึ้น
ตรงนี้ ลงตรงนี้ แล้วไปอย่างนี้ ฉันนั้น.
ครั้นตรัสรูปกัมมัฏฐานไว้ก่อนอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรง
พลิกแพลงแสดงอรูปกัมมัฏฐานด้วยอำนาจเวทนาในภายหลัง. และก็ไม่ใช่ทรง
แสดงอย่างนี้อย่างเดียวในที่นี้เท่านั้น หากแต่ทรงแสดงรูปกัมมัฏฐานก่อนใน
พระสูตรไม่ใช่น้อยอย่างนี้คือ ในมหาสติปัฏฐานสูตร จูฬตัณหาสังขยสูตร
มหาตัณหาสังขยสูตร จุลลเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร รัฏฐปาลสูตร มาคันทิย-
สูตร ธาตุวิภังคสูตร อเนญชสัปปายสูตร (และ) ในเวทนาสังยุตทั้งหมด
แล้วจึงทรงพลิกแพลงแสดงอรูปกัมมัฏฐานด้วยอำนาจเวทนาในภายหลัง. และ
ก็ในพระสูตรเหล่านั้น ฉันใด แม้ในสักกปัญหสูตรนี้ ก็ฉันนั้น ครั้งแรกทรง
แสดงรูปกัมมัฏฐาน แล้วภายหลังจึงทรงพลิกแพลงแสดงอรูปกัมมัฏฐานด้วย
อำนาจเวทนา. สำหรับในสักกปัญหสูตรนี้ รูปกัมมัฏฐานพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงย่อเพียงเป็นอารมณ์ของเวทนาเท่านั้น ฉะนั้น ในบาลีจึงไม่มียกขึ้นมา.
เพื่อจะทรงแสดงข้อที่เป็นหลักสำหรับตั้งมั่นด้วยอำนาจของเวทนา ที่แจ่มแจ้ง
แก่ท้าวสักกะนั้นนั่นเอง ในอรูปกัมมัฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้น
ว่า จอมทวยเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัส ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สองอย่าง คือสองชนิด หมายความว่า โดย
ส่วนสอง. คำว่า ไม่พึงเสพโสมนัสเห็นปานนี้ คือไม่พึงเสพโสมนัสที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 183
อาศัยเรือนเห็นปานนี้. ชื่อว่าโสมนัสที่อาศัยเรือน ได้แก่โสมนัสที่อาศัยกามคุณ
เป็นไปในทวาร ๖ อย่างนี้คือ ในเวทนาเหล่านั้น โสมนัสที่อาศัยเรือน ๖ อย่าง
อย่างเป็นไฉน เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยตา
ที่น่ารัก. น่าใคร่ น่าพอใจ น่าชื่นใจ ที่เกี่ยวกับเหยื่อของโลก โดยความได้
เฉพาะ หรือเมื่อตามระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะเมื่อก่อน ซึ่งล่วงไปแล้ว ดับไป
แล้ว แปรปรวนไปแล้ว จึงเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเห็นปานนี้ใด นี้เรียกว่า
โสมนัสที่อาศัยเรือน๑ ดังนี้เป็นต้น. คำว่า พึงเสพโสมนัสเห็นปานนี้ คือ
พึงเสพโสมนัสที่อาศัยการออกจากเรือนเห็นปานนี้. ชื่อว่าโสมนัสที่อาศัยการ
ออกจากเรือน ได้แก่โสมนัสที่เกิดขึ้นแก่ผู้เกิดโสมนัสว่า เราได้ขวนขวาย
วิปัสสนาแล้ว ผู้สามารถเร่งเร้าใจให้ขวนขวายเริ่มตั้งวิปัสสนาด้วยอำนาจไตร
ลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้นในอารมณ์ที่น่ารักซึ่งมาสู่คลองในทวารทั้ง ๖ อย่าง
นี้เป็นต้นว่า ในเวทนาเหล่านั้น โสมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน ๖ อย่างเป็น
ไฉน ก็แลเมื่อบุคคลมารู้ความที่รูปทั้งหลายไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไป
ดับไป แล้วเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาที่ถูกต้องตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้ว่า รูปทั้ง
หลายทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ รูปเหล่านั้นทั้งหมด ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จึงเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเห็นปานนี้ใด
นี้เรียกว่าโสมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน. คำว่า พึงเสพ คือ โสมนัสที่เกิด
ขึ้นด้วยอำนาจการออกจากเรือน ด้วยอำนาจวิปัสสนา ด้วยอำนาจการตามระลึก
ถึง ด้วยอำนาจฌานที่หนึ่งเป็นต้นนี้ ชื่อว่า พึงเสพ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า หากโสมนัสใด มีความตรึก มีความตรอง
คือ ในโสมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน แม้นั้น ก็ต้องรู้ว่าโสมนัสที่
เกิดขึ้นด้วยอำนาจการออกจากเรือน ด้วยอำนาจวิปัสสนา ด้วยอำนาจการตาม
๑. ม.อุ. สฬายตนวิภงฺคสุตฺต ๓๖๙.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 184
ระลึกถึง และด้วยอำนาจแห่งฌานที่หนึ่งนั้นเป็นโสมนัสที่ยังมีความตรึก ยังมี
ความตรอง. บทว่า หากโสมนัสใดไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง คือ
ส่วนโสมนัสที่เกิดด้วยอำนาจฌานที่สองและที่สามนั้น ก็ต้องรู้ว่าเป็นโสมนัสที่
ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง. คำว่า เหล่าใด ไม่มีความตรึก ไม่มี
ความตรอง ประณีตกว่า ความว่า แม้ในโสมนัสทั้งสองนี้ โสมนัสที่ไม่มี
ความตรึก ไม่มีความตรองนั้น ประณีตกว่า. ด้วยคำนี้ เป็นอันท่านกล่าวถึง
อะไร. กล่าวถึงอรหัตตผลของสองท่าน. อย่างไร จริงอยู่ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อเริ่ม
ตั้งวิปัสสนาในโสมนัสที่ยังมีความตรึก ยังมีความตรอง แล้วก็มาใคร่ครวญว่า
โสมนัสนี้อาศัยอะไร ก็ทราบชัดว่า อาศัยที่ตั้ง แล้วก็ตั้งอยู่ในอรหัตตผลโดย
ลำดับตามนัยที่กล่าวแล้วในหมวดอันมีผัสสะเป็นที่ห้านั่นแหละ. รูปหนึ่งเริ่มตั้ง
วิปัสสนาในโสมนัสที่ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรองแล้วก็ตั้งอยู่ในอรหัตตผล
ตามนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.
แม้ในโสมนัสที่ตั้งมั่นเหล่านั้น โสมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความ
ตรอง ประณีตกว่าที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง โสมนัสวิปัสสนาที่ไม่มี
ความตรึกและไม่มีความตรอง ประณีตกว่า แม้โสมนัสวิปัสสนาที่มีความตรึก
และมีความตรอง โสมนัสผลสมาบัติที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองเท่านั้น
ที่ประณีตกว่า โสมนัสผลสมาบัติที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหล่าใดไม่มีความตรึกไม่มีความ
ตรอง ประณีตกว่า ดังนี้.
คำว่า ไม่พึงเสพโทมนัสเห็นปานนี้ ความว่า ไม่พึงเสพโทมนัส
ที่อาศัยเรือนเห็นปานนี้. ที่ชื่อว่าโทมนัสอันอาศัยเรือนได้แก่ โทมนัสที่อาศัย
กามคุณซึ่งเกิดแก่ผู้ตรึกอยู่ว่า เราไม่ตามเสวยแล้ว จักไม่ตามเสวย ย่อมไม่ตาม
เสวย ซึ่งอิฏฐารมณ์ในทวารทั้ง ๖ อย่างนี้ว่า ในเวทนาเหล่านั้น โทมนัสที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 185
อาศัยเรือน ๖ อย่างเป็นไฉน เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นการไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่
น่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจ น่าชื่นใจ ซึ่งเกี่ยวกับเหยื่อของโลก ที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยตา
โดยความไม่ได้เฉพาะ หรือเมื่อตามระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะ เมื่อซึ่งล่วง
ไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว จึงเกิดโทมนัสขึ้น โทมนัสเห็นปาน
นี้ใด นี้เรียกโทมนัสที่อาศัยเรือน ดังนี้เป็นต้น. คำว่า พึงเสพโทมนัสเห็น
ปานนี้ คือ พึงเสพโทมนัสที่อาศัยการออกจากเรือนเห็นปานนี้. ที่ชื่อว่าโทมนัส
ที่อาศัยการออกจากเรือน ได้แก่ โทมนัสที่เกิดแก่ผู้ที่ไม่สามารถเพื่อจะเร่งเข้าใจ
ให้ขวนขวายเข้าไปตั้งความอยากได้ในธรรมคืออริยผล กล่าวคือความหลุดพ้น
ชั้นเยี่ยม แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนาด้วยอำนาจไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้นเพื่อ
บรรลุอริยผลนั้น ผู้ตามเศร้าใจว่า เราไม่สามารถเพื่อจะเร่งเร้าใจให้ขวนขวาย
วิปัสสนามาตลอดปักษ์แม้นี้ ตลอดเดือนแม้นี้ ตลอดปีแม้นี้ แล้วบรรลุอริย
ภูมิได้ ในอารมณ์ที่น่ารักอันมาสู่คลองในทวารทั้ง ๖ อย่างนี้ว่า ในเวทนา
เหล่านั้น โทมนัสที่อาศัยการออกจากเรือนเป็นไฉน ก็แล เมื่อบุคคลมารู้ความ
ที่รูปทั้งหลายไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไป ดับไปแล้ว เห็นรูปนั้นด้วย
ปัญญาที่ถูกต้องตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้ว่า รูปทั้งหลาย ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้
เหล่าใด รูปเหล่านั้นทั้งหมด ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ มีความแปรปรวนเป็น
ธรรมดา แล้วจึงเข้าไปตั้งความอยากได้ในความหลุดพ้นชั้นเยี่ยมว่า ชื่อว่าเมื่อ
ไรหนอ เราจึงจะเข้าถึงอายตนะนั้นแล้วแลอยู่ คืออายตนะที่พวกพระอริยเจ้า
ในบัดนี้ ย่อมเข้าถึงแล้วแลอยู่. เมื่อเข้าไปตั้งความอยากได้ในความหลุดพ้นชั้น
เยี่ยม ดังที่ว่ามานี้ โทมนัสก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะความอยากได้เป็นปัจจัย.
โทมนัสเห็นปานนี้ใด นี้เรียกว่าโทมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน ดังนี้เป็นต้น.
คำว่า พึงเสพ คือ โทมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการออกจากเรือน ด้วยอำนาจ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 186
วิปัสสนา ด้วยอำนาจ การตามระลึกถึง ด้วยอำนาจฌานที่หนึ่งเป็นต้นนี้ ชื่อว่า
เป็นโทมนัสที่พึงเสพ.
ในคำเหล่านั้น คำว่า หากโทมนัสใด ยังมีความตรึก ยังมีความ
ตรอง คือ ในโสมนัสทั้งสองอย่างแม้นั้น โทมนัสที่อาศัยเรือนเท่านั้น ที่ชื่อ
ว่าโทมนัสยังมีความตรึก ยังมีความตรองอยู่. ส่วนโทมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
การออกจากเรือน ด้วยอำนาจวิปัสสนา ด้วยอำนาจการตามระลึกถึง ด้วย
อำนาจฌานที่หนึ่งและฌานที่สอง พึงทราบว่าเป็นโทมนัสที่ยังมีความตรึกและ
ยังมีความตรองอยู่. ส่วนโดยทำนองอย่างตรงขึ้นชื่อว่าโทมนัสที่ไม่มีความตรึก
และไม่มีความตรองไม่มี. สำหรับอินทรีย์คือโทมนัส เป็นอกุศลโดยส่วนเดียว
เท่านั้น และยังมีความตรึกและยังมีความตรองด้วย. แต่ด้วยอำนาจความเข้าใจ
ของภิกษุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อินทรีย์คือโทมนัส ยังมีความตรึกและยังมีความ
ตรอง และว่า ที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรอง ดังนี้.
ต่อไปนี้ เป็นนัยในเรื่องโทมนัสนั้น คือในกรณีนี้ภิกษุถือเอาธรรม
ที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง และธรรมที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความ
ตรองอันเป็นธรรมที่มีโทมนัสเป็นปัจจัย และธรรมคือมรรคและผลที่เกิดขึ้นมี
โทมนัสเป็นปัจจัยนั่นเอง ว่าเป็นโทมนัสเพราะอำนาจเห็นการปฏิบัติของภิกษุ
เหล่าอื่นแล้วก็มาคิดว่า เมื่อไรหนอแล เราจึงจักเริ่มตั้งวิปัสสนาในโทมนัสที่
ยังมีความตรึกและยังมีความตรองได้เสียที เมื่อไรเราจึงเริ่มตั้งวิปัสสนาใน
โทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองได้เสียที และคิดอีกว่า เมื่อไร
หนอแล เราจึงจักให้ผลสมาบัติในโทมนัสที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง
เกิดได้เสียที เมื่อไรเราจึงจักให้ผลสมาบัติในโทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มี
ความตรองเกิดได้เสียที แล้วก็ถือข้อปฏิบัติตลอดสามเดือน หกเดือนหรือเก้าเดือน
เมื่อถือข้อปฏิบัติตลอดสามเดือน ในเดือนแรกเดินเสียหนึ่งยาม สองยามทำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 187
โอกาสแก่การหลับ ในเดือนกลางเดินเสียสองยาม ทำโอกาสแก่การหลับหนึ่ง
ยาม ในเดือนสุดท้ายให้ร่างกายเป็นไปด้วยการเดินจงกรมและการนั่งเท่านั้นเอง
ถ้าแบบนั้น บรรลุพระอรหัตนั้นก็ดีไป. ถ้าไม่บรรลุ เธอก็ถือข้อปฏิบัติประเภท
๖ เดือน ให้วิเศษ (ขึ้นไปอีก) แม้ในข้อปฏิบัติประเภท ๖ เดือนนั้น ทุกสอง
เดือน ๆ ก็ปฏิบัติตามนัยที่กล่าวแล้ว เมื่อไม่สามารถสำเร็จพระอรหัตได้ ก็ยึด
หลักปฏิบัติชนิดเก้าเดือนให้วิเศษ (ยิ่งขึ้นไปอีก) แม้ในหลักปฏิบัติชนิดเก้า
เดือนนั้น ทุกสามเดือน ๆ ก็ปฏิบัติอย่างนั้นแหละ เมื่อไม่สามารถบรรลุความ
เป็นพระอรหันต์ได้ (และ) เมื่อพิจารณาว่า โอ้หนอ ! เราไม่ได้ปวารณาแบบ
วิสุทธิปวารณา พร้อมกับพวกเพื่อนพรหมจรรย์เสียแล้ว ความโทมนัสก็ย่อม
เกิดขึ้น. สายน้ำตา ก็ไหลพรู เหมือนสายน้ำตาของพระมหาสิวเถระผู้อยู่ที่เงื้อม
เขาท้ายหมู่บ้าน.
เล่ากันว่า พระเถระสอนหมู่ใหญ่ ๑๘ หมู่ พวกภิกษุสามหมื่นรูป
ตั้งอยู่ในโอวาทของท่านบรรลุอรหัตแล้ว . ต่อมามีภิกษุรูปหนึ่งมารำพึงว่า
ภายในตัวเราก่อน มีคุณประมาณไม่ได้ คุณของอาจารย์เราเป็นอย่างไรหนอแล
กำลังรำพึงอยู่ก็เห็นความเป็นปุถุชน จึงคิดว่า อาจารย์พวกเราเป็นที่พึ่งของคน
เหล่าอื่น (แต่) ไม่สามารถเพื่อจะเป็นที่พึ่งของตนได้ เราจะให้โอวาทแก่ท่าน
แล้วก็เหาะมาลงใกล้วัด เข้าไปหาอาจารย์ผู้นั่งในที่พักกลางวัน แสดงวัตรแล้ว
ก็นั่งในที่ควรส่วนหนึ่ง. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนผู้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
คุณมาเพราะเหตุไร.
ภิกษุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมเป็นผู้มาแล้ว ด้วยคิดว่า จักเอา
อนุโมทนา สักบทหนึ่ง.
เถระ. คงจะไม่มีโอกาสหรอกคุณ
ภิกษุ. ท่านขอรับ กระผมจะเรียนถามในเวลายืนที่โรงตรึก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 188
เถระ. ในที่นั้น พวกคนอื่นก็จะถาม.
ภิกษุ. ในทางเที่ยวบิณฑบาตล่ะ ขอรับ.
เถระ. แม้ในทางนั้น พวกคนอื่นก็จะถาม.
ภิกษุ. ในที่นุ่งผ้าสองชั้น ในที่ห่มสังฆาฏิ ในที่นำเอาบาตรออกใน
เวลาเที่ยวไปในหมู่บ้านแล้วดื่มข้าวต้มในโรงฉันล่ะขอรับ.
เถระ. ในที่นั้น ๆ ก็จะมีพวกเถระทางอรรถกถาบรรเทาความสงสัย
ของตน.
ภิกษุ. กระผมจะเรียนถามในเวลาออกจากภายในหมู่บ้าน ขอรับ.
เถระ. แม้ในที่นั้น ก็จะมีคนพวกอื่นถาม คุณ.
ภิกษุ. ท่านขอรับในระหว่างทาง ท่านขอรับในเวลาเสร็จการฉันใน
โรงอาหาร ท่านขอรับ ในเวลาล้างเท้า ในเวลาล้างหน้าในที่
พักกลางวัน .
เถระ. ตั้งแต่นั้นไปจนถึงสว่าง ก็จะมีพวกอื่นอีกถาม คุณ.
ภิกษุ. ในเวลาเอาไม้สีฟันแล้วไปสู่ที่ล้างหน้า ขอรับ.
เถระ. ตอนนั้น พวกอื่น ก็จะถาม.
ภิกษุ. ในเวลาล้างหน้าแล้วมาล่ะ ขอรับ.
เถระ. แม้ในตอนนั้น พวกอื่นก็จะถาม.
ภิกษุ. ในเวลาเข้าเสนาสนะแล้วนั่งล่ะ ขอรับ.
เถระ. แม้ในตอนนั้น พวกอื่น ก็จะถาม.
ภิกษุ. ท่านขอรับ มันน่าจะเป็นโอกาสและเวลาของพวกผู้ที่ล้างหน้า
เสร็จแล้วเข้าสู่เสนาสนะ ให้สามสี่บัลลังก์ได้รับความอบอุ่นแล้ว
ทำงานด้วยความเอาใจใส่อย่างมีเหตุผลมิใช่หรือ ท่านขอรับ
ท่านจะไม่ได้แม้แต่ขณะแห่งความตาย ท่านจงเป็นเหมือนแผ่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 189
กระดานเถิด ขอรับ ท่านจงเป็นที่พึ่งของคนอื่นเถิด ขอรับ
ท่านไม่อาจเพื่อจะเป็นที่พึ่งของตน กระผมไม่มีความต้องการ
ด้วยการอนุโมทนาของท่าน ว่าแล้วก็ได้เหาะไปในอากาศ.
พระเถระทราบว่า งานเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนของภิกษุรูปนี้ไม่มี
แต่เธอมาด้วยคิดว่า จะเป็นผู้สั่งสอนเรา แล้งคิดว่า บัดนี้จะไม่มีโอกาส
เวลาใกล้รุ่งเราจะไป แล้วก็เก็บบาตรจีวรไว้ใกล้ ๆ สอนธรรมตลอดยามต้น
และยามกลางคืนยังรุ่ง ขณะที่พระเถระรูปหนึ่งเรียนอุทเทศแล้วจะออกไปใน
ยามสุดท้าย ก็ถือบาตรจีวรออกไปด้วยกันกับพระเถระนั้นนั่นเอง พวกศิษย์
(อันเตวาสิก) ที่นั่งเข้าใจว่า อาจารย์ ออกไปด้วยธุระบางอย่างนานแล้ว. พระเถระ
ที่ออกไปก็ทำความเข้าใจว่า เป็นภิกษุที่ร่วมอาจารย์กัน บางรูปนั่นเอง. ได้ยิน
ว่า พระเถระ คิดว่า ชื่อว่าความเป็นพระอรหันต์สำหรับคนชั้นเรา จะอะไร
หนักหนาเล่า แค่สองสามวันเท่านั้นแหละ ก็จะสำเร็จแล้วจึงจะกลับมา ดังนี้
จึงไม่บอกพวกลูกศิษย์เลย ในวันขึ้นสิบสามค่ำเดือนแปดไปสู่เงื้อมเขาท้ายหมู่
บ้าน เมื่อขึ้นสู่ที่จงกรมแล้ว เอาใจใส่กัมมัฏฐาน ในวันนั้นยังถือเอาพระ-
อรหัตผลไม่ได้. เมื่อถึงวันอุโบสถ ก็คิดว่า เรามาแล้วด้วยคิดว่า โดยสอง
สามวัน เราจะเอาพระอรหัตผลให้ได้ ก็ยังเอาไม่ได้ สามเดือนก็เหมือน
สามวันนั่นแหละ คอยถึงวันมหาปวารณาก่อนจะรู้ ถึงเข้าพรรษาแล้วก็ยังเอา
ไม่ได้. ในวันปวารณาท่านคิดว่า เรามาแล้วด้วยคิดว่า โดยสองสามวัน เราจะ
เอาพระอรหัตผลให้ได้ นี่ก็ตั้งสามแล้ว ก็ยังไม่สามารถจะเอาได้ ส่วนพวก
เพื่อนพรหมจรรย์ จะปวารณาชนิดวิสุทธิปวารณากัน เมื่อท่านคิดอย่างนั้น
สายน้ำตาก็หลั่งไหล. จากนั้นท่านคิดว่า มรรคผล จะไม่เกิดขึ้นเพราะอิริยาบถ ๔
ของเราบนเตียง ถ้าเดี๋ยวนี้ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล เราจะไม่ยอมเหยียดหลัง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 190
บนเตียงอย่างเด็ดขาด จะไม่ยอมล้างเท้า แล้วก็ให้ยกเอาเตียงไปเก็บไว้ภายใน
พรรษาก็ถึงอีก. ท่านก็ยังเอาพระอรหัตผลไม่ได้ตามเคย สายน้ำตาก็หลั่งไหล
ในวันปวารณายี่สิบเก้าครั้ง. พวกเด็กในหมู่บ้านพากันเอาหนามมากลัดที่ที่แตก
ในเท้าทั้งสองข้างของพระเถระ. แม้เมื่อจะพากันเล่น ก็เล่นเอาว่า ขอให้เท้า
ทั้งสองข้างจงเป็นเหมือนเท้าของพระคุณเจ้า มหาสิวเถระเถิด
ในวันมหาปวารณาปี (ที่) สามสิบ พระเถระยืนยึดแผ่นกระดาน
สำหรับพิง คิดว่า เมื่อเราทำสมณธรรมมาตั้งสามสิบปีเข้านี้แล้ว เราก็ไม่
สามารถสำเร็จพระอรหัตผลได้ ในอัตภาพของเรา มรรคหรือผลย่อมไม่มี
เป็นแน่ เราไม่ได้ปวารณาชนิดวิสุทธิปวารณากับเพื่อนพรหมจรรย์แล้ว. และ
ก็เมื่อท่านคิดอยู่อย่างนั้น ก็เกิดโทมนัสขึ้นมา สายน้ำตาก็หลั่งไหล. ขณะนั้น
ในที่ใกล้ ๆ มีเทพธิดาองค์หนึ่ง กำลังยืนร้องไห้อยู่.
เถระ. ใครร้องไห้ที่นี้.
เทพธิดา. ดิฉัน นางเทพธิดา เจ้าค่ะ.
เถระ. ร้องไห้ทำไม.
เทพธิดา. เมื่อมรรคผลกำลังเกิดเพราะการร้องไห้ ดิฉันคิดว่า
แม้เราก็จะให้เกิดมรรคผลหนึ่ง(หรือ)สอง จึงร้องไห้เจ้าค่ะ.
จากนั้นพระเถระก็คิดว่า นี่แน่ะ มหาสิวะ แม้แต่เทพธิดาก็ยังมา
เยาะเย้ยเธอได้ นี่มันควรแก่เธอหรือหนอ แล้วก็เจริญวิปัสสนาได้ถือเอาความ
เป็นพระอรหันต์พร้อมกับปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว.
ท่านคิดว่า บัดนี้เราจะนอน แล้วก็จัดแจงเสนาสนะ ปูลาดเตียงตั้งน้ำ
ในที่น้ำ คิดว่า เราจะล้างเท้าทั้งสองข้าง แล้วก็นั่งลงที่ขั้นบันได. แม้พวกศิษย์
ของท่าน ก็พากันคิดอยู่ว่า เมื่ออาจารย์ของเราไปทำสมณธรรมตั้งสามสิบปี
ท่านอาจทำคุณวิเศษให้เกิดได้หรือไม่อาจ เห็นว่าท่านสำเร็จพระอรหัตแล้วนั่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 191
ลงเพื่อล้างเท้า จึงต่างก็คิดว่า อาจารย์พวกเรา เมื่อพวกศิษย์ เช่น พวกเรา
ยังอยู่ คิดว่า จะล้างเท้าด้วยตนเองนี้ไม่ใช่ฐานะ เราจะล้าง เราจะล้าง แล้วทั้ง
๓๐,๐๐๐ รูปต่างก็เหาะมาไหว้แล้วกราบเรียนว่า กระผมจะล้างเท้าถวาย ขอรับ.
ท่านห้ามว่า คุณ ฉันไม่ได้ล้างเท้ามาตั้งสามสิบปีเข้านี่แล้ว พวกคุณไม่ต้อง
ฉันจะล้างเอง.
แม้ท้าวสักกะก็ทรงพิจารณาว่า พระคุณเจ้ามหาสิวะเถระของเราสำเร็จ
พระอรหัตแล้ว เมื่อพวกศิษย์สามหมื่นรูปมาแล้วด้วยคิดว่า พวกเราจะล้างเท้า
ทั้งหลายถวาย ก็ไม่ให้ล้างเท้าให้ ก็เมื่ออุปัฏฐากเช่นเรายังมีอยู่ พระคุณเจ้า
คิดว่าจะล้างเท้าเองนี่เป็นไปไม่ได้ แล้วทรงตัดสินพระทัยว่า เราจะล้างถวาย
จึงพร้อมด้วยสุชาดาเทวีได้ทรงปรากฏในสำนักของหมู่ภิกษุ. ท้าวเธอทรงส่งนาง
สุชาดาผู้เป็นอสุรกัญญาล่วงหน้าไปก่อนให้เปิดโอกาสว่า ท่านเจ้าขา พวกท่าน
จงหลีกไป โปรดให้โอกาสผู้หญิง แล้วทรงเข้าไปหาพระเถระไหว้แล้วนั่ง
กระหย่งต่อหน้าตรัสว่า ท่านขอรับ กระผมจะล้างเท้าถวาย พระเถระตอบว่า
โกสีย์ อาตมภาพไม่เคยล้างเท้ามาตั้งสามสิบปีเข้านี่แล้ว และแม้โดยปกติชื่อว่า
กลิ่นตัวคนเป็นของ น่าเกลียดสำหรับพวกเทพ แม้อยู่ไกลตั้งร้อยโยชน์เหมือน
เอาซากศพมาแขวนคอ อาตมภาพจะล้างเอง. ตรัสตอบว่า ท่านขอรับ ชื่อว่า
กลิ่นอย่างนี้ไม่ปรากฏ เพราะว่ากลิ่นศีลของท่านเลยเทวโลกหกชั้นไปตั้งอยู่สูงถึง
ชั้นภวัคคพรหมในเบื้องบน ไม่มีกลิ่นอื่นที่ยิ่งไปกว่ากลิ่นศีล ท่านขอรับ
กระผมมาเพราะกลิ่นศีลของท่าน แล้วก็ทรงเอาพระหัตถ์ซ้ายจับข้อต่อตาตุ่ม
แล้วเอาพระหัตถ์ขวาลูบฝ่าเท้า. เท้าของท่านก็เป็นเหมือนกับเท้าของเด็กหนุ่ม
ขึ้นมาทันที. ครั้นท้าวสักกะทรงล้างเท้าถวายเสร็จแล้วก็ทรงไหว้ แล้วเสด็จ
ไปสู่เทวโลกตามเดิม.
พึงทราบว่าท่านเรียกอารมณ์ของวิปัสสนาก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี
ผลก็ดี ว่า โทมนัสที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง และว่าโทมนัสที่ไม่มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 192
ความตรึก และไม่มีความตรอง ด้วยอำนาจความเข้าใจของภิกษุผู้อาศัยโทมนัส
ที่เกิดขึ้นแล้วพิจารณาอยู่ว่า เราไม่ได้ปวารณาชนิดวิสุทธิปวารณาด้วยกันกับ
พวกเพื่อนพรหมจรรย์ ดังที่ว่ามานี้.
ในเรื่องของโทมนัสนั้นมีภิกษุรูปหนึ่งเริ่มตั้งวิปัสสนาในโทมนัสที่ยังมี
ความตรึกและยังมีความตรองมาใคร่ครวญว่า โทมนัสนี้อาศัยอะไร ก็รู้ชัดว่า
อาศัยวัตถุ จึงตั้งอยู่ในพระอรหัตผลโดยลำดับ โดยนัยที่กล่าวแล้วในหมวด
ธรรมที่มีผัสสะเป็นที่ห้านั่นแหละ. รูปหนึ่งเริ่มตั้งวิปัสสนาในโทมนัสที่ไม่มี
ความตรึกและไม่มีความตรอง ก็ตั้งอยู่ในพระอรหัตผล ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว
เหมือนกัน.
แม้ในโทมนัสที่ตั้งมั่นแล้วเหล่านั้น โทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มี
ความตรองประณีตกว่าที่มีความตรึกและความตรอง วิปัสสนาในโทมนัส
ที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองก็ประณีตกว่าวิปัสสนาในโทมนัสที่มีความ
ตรึกและมีความตรองด้วย ผลสมาบัติในโทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความ
ตรองก็ประณีตกว่า แม้ผลสมาบัติในโทมนัสที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง
นั่นเทียว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหล่าใด ที่ไม่มีความ
ตรึกและไม่มีความตรองประณีตกว่าดังนี้.
คำว่า ไม่พึงเสพอุเบกขาเห็นปานนั้น ความว่า ไม่พึงเสพอุเบกขา
ที่อาศัยเรือนเห็นปานนั้น. ที่ชื่อว่าอุเบกขาที่อาศัยเรือนได้แก่ อุเบกขาที่อาศัย
กามคุณ ซึ่งติด ข้อง เกิดขึ้นในกามคุณนั้นเอง เป็นไปล่วงรูปเป็นต้นไม่ได้
เหมือนแมลงวันตอมงบน้ำอ้อย ในอารมณ์ที่น่ารักที่มาสู่คลองในทวารทั้ง ๖
อย่างนี้ คือ ในเวทนาเหล่านั้น อุเบกขาที่อาศัยเรือน ๖ อย่างเป็นไฉน เพราะ
เห็นรูปด้วยตา อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่คนโง่ คนหลง คนมีกิเลสหนา คนเอา
แต่ชนะไม่มีขอบเขตไป เอาแต่ชนะไม่เป็นผล มีปกติไม่เห็นโทษ ไม่ได้รับการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 193
ศึกษาคือเป็นปุถุชน อุเบกขาเห็นปานนี้ใด อุเบกขานั้นก้าวล่วงรูปไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น จึงเรียกอุเบกขานั้น ว่าอาศัยเรือน๑ ดังนี้เป็นต้น. คำว่า อุเบกขา
เห็นปานนี้ อันบุคคลพึงเสพ คือ พึงเสพอุเบกขาที่อาศัยการออกจากเรือน
เห็นปานนี้. ที่ชื่อว่า อุเบกขาที่อาศัยการออกจากเรือนได้แก่ อุเบกขาที่ประกอบ
พร้อมด้วยวิปัสสนาญาณซึ่งเกิดแก่บุคคลผู้ไม่ยินดีในอารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในอารมณ์ที่ไม่น่ารัก ไม่ลุ่มหลงเพราะขาดการเพ่งพิจารณาในอารมณ์ มี
อารมณ์ที่น่ารักเป็นต้น ที่มาสู่คลองในทวารทั้งหกอย่างนี้คือ ในเวทนาเหล่านั้น
อุเบกขาที่อาศัยการออกจากเรือนหกอย่างเป็นไฉน คือ อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่
ผู้รู้แจ้ง ความไม่เที่ยงนั้นเอง ความแปรปรวน ความคลาย ความดับ
ของรูป แล้วเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปทั้งหลาย
ทั้งในเมื่อก่อน ทั้งในบัดนี้ รูปเหล่านั้นล้วนแต่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ มี
ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา อุเบกขาเห็นปานนี้ใด อุเบกขา นั้นก้าวล่วง
รูปได้ เพราะฉะนั้น อุเบกขานั้นจึงเรียกว่าอาศัยการออกจากเรือน ดังนี้
เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่งแม้อุเบกขาที่เป็นกลางในอารมณ์นั้น ๆ มีส่วนเสมอกัน
กับเวทนา ก็จัดเป็นอุเบกขาในที่นี้ได้เหมือนกัน . คำว่า เพราะฉะนั้นพึงเสพ
ความว่า พึงเสพอุเบกขาที่เกิดด้วยอำนาจการออกจากเรือนด้วยอำนาจวิปัสสนา
ด้วยอำนาจการตามระลึกถึง ด้วยอำนาจฌานที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม และที่สี่นี้ไว้
ในคำเหล่านั้นคำว่า ถ้าอุเบกขาใดยังมีความตรึกยังมีความตรอง
คือแม้ในอุเบกขาที่อาศัยการออกจากเรือนนั้นก็พึงทราบว่า อุเบกขายังมีความ
ตรึก ยังมีความตรองซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจการออกจากเรือน ด้วยอำนาจวิปัสสนา
ด้วยอำนาจการตามระลึกถึงและด้วยอำนาจฌานที่หนึ่งใด. คำว่า ใด ถ้าไม่มี
ความตรึก ไม่มีความตรอง คือ ก็พึงทราบว่าอุเบกขาที่ไม่มีความตรึก
๑. ม.อุ. ๓๗๑ .
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 194
ไม่มีความตรอง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจฌานที่สอง และที่สามเป็นต้นใด. คำว่า
เหล่าใดไม่มีความตรึกไม่มีความตรอง ความว่า ในอุเบกขาทั้งสอง เหล่านี้
อุเบกขาที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองนั้นประณีตกว่า. ด้วยคำนี้ เป็นอัน
ท่านกล่าวถึงอะไร กล่าวถึงอรหัตผลของสองท่าน. จริงอยู่ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อ
เริ่มตั้งวิปัสสนาในอุเบกขาที่ยังมีความตรึก และยังมีความตรองแล้วก็มาใคร่
ครวญว่า อุเบกขานี้อาศัยอะไร ก็ทราบชัดว่าอาศัยที่วัตถุ แล้วก็ตั้งอยู่ในอรหัต
ผลโดยลำดับ ตามนัยที่กล่าวแล้วในหมวดอันมีผัสสะเป็นที่ห้านั่นแหละ. รูป
หนึ่งเริ่มตั้งวิปัสสนาในอุเบกขาที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองแล้วก็ตั้งอยู่
ในอรหัตผลตามนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.
แม้ในอุเบกขาที่ตั้งมั่นเหล่านั้น อุเบกขาที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความ
ตรองประณีตกว่าที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง อุเบกขาวิปัสสนาที่ไม่มี
ความตรึกและไม่มีความตรองประณีตกว่า แม้อุเบกขาวิปัสสนาที่มีความตรึก
และมีความตรอง อุเบกขาผลสมาบัติที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองเท่านั้น
ที่ประณีตกว่าอุเบกขาผลสมาบัติที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เหล่าใดไม่มีความตรึกไม่มีความตรอง
ประณีตกว่า ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จอมทวยเทพ ! ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล
ชื่อว่า ย่อมปฏิบัติข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความสมควรเพื่อความดับโดยไม่เหลือแห่ง
ส่วนที่มีความจำได้หมายรู้อันประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า แล้วก็ทรงจบ
เทศนาลงด้วยยอดคือ พระอรหัตผล. ส่วนท้าวสักกะทรงบรรลุโสดาปัตติผล
แล้ว.
ธรรมดาพระอัธยาศัยของพระพุทธเจ้าไม่มีเลว มีแต่ชั้นยอดทั้งนั้น.
เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่คนเดียวก็ดี แก่หลายคนก็ดี ล้วนแต่ทรงถือยอดด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 195
พระอรหัตผลทั้งนั้น. แต่พวกสัตว์อยู่ในอุปนิสัยที่สมควรแก่ตน. บางพวกก็
เป็นโสดาบัน บางพวกก็เป็นสกทาคามี บางพวกก็เป็นอนาคามี บางพวก
ก็เป็นอรหันต์. จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหมือนพระราชา พวกเวไนยสัตว์
เหมือนพวกพระราชกุมาร. เหมือนอย่างว่า ในเวลาเสวยพระกระยาหารพระ
ราชาทรงตักก้อนข้าวตามขนาดพระองค์ แล้วทรงป้อนพวกพระราชกุมาร. พวก
พระราชกุมารเหล่านั้น ก็ทรงทำคำข้าวตามขนาดพระโอษฐ์ของพระองค์จาก
ก้อนข้าวนั้นฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ทรงถือเอายอดด้วยพระ-
อรหัตผลด้วยเทศนาที่สมควรแก่พระอัธยาศัยของพระองค์เท่านั้น เวไนยสัตว์
ทั้งหลายต่างก็ย่อมรับเอาโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ
อรหัตผลนั่นแหละจากพระธรรมเทศนานั้น ตามประมาณแห่งอุปนิสัยของตน.
ส่วนท้าวสักกะ ครั้นทรงเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็ทรงจุติต่อพระพักตร์
ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเองแล้วก็ทรงเกิด กลายเป็นท้าวสักกะหนุ่ม.
ธรรมดาที่ไปและที่มาของอัตภาพของเหล่าเทพที่จุติอยู่ ย่อมไม่ปรากฏ. ย่อม
เป็นเหมือนการปราศไปของเปลวประทีป ฉะนั้น พวกเทพที่เหลือจึงไม่ทราบกัน.
ส่วนท่านที่ทรงทราบมีสองท่านเท่านั้น คือท้าวสักกะ เพราะทรงจุติเอง ๑
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะทรงมีพระญาณที่หาอะไรมาขัดข้องไม่ได้ ๑. ลำดับนั้น
ท้าวสักกะทรงคิดว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงผลของผู้เกิดในสามสถาน
เท่านั้นแก่เรา ส่วนมรรคหรือผลนี้ ไม่มีใครเหาะไปเอาได้เหมือนนางนก อัน
การถือเอามรรคหรือผลนั้น พึงเป็นได้ด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่ง
มรรคหรือผลอันจะต้องมา เอาเถิด เราจะทูลถามข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้น
ของพระขีณาสพในเบื้องบนให้ได้. ต่อจากนั้นเมื่อจะทูลถามข้อปฏิบัตินั้น จึง
ตรัสคำเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สิ้นทุกข์ ก็ผู้ปฏิบัติแล้วอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 196
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ด้วยความสำรวมในปาฏิโมกข์ คือ
ด้วยความสำรวมในศีลที่สูงสุดและเจริญที่สุด. คำเป็นต้นว่า แม้ถึงมารยาททาง
กาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อทรงแสดงถึงความสำรวมในปาฏิโมกข์ ด้วย
อำนาจมารยาททางกายที่พึงเสพ. ก็แล ชื่อว่า ถ้อยคำที่เกี่ยวกับศีลนี้ ย่อม
เป็นอันพึงกล่าวด้วยอำนาจกรรมบถ หรือด้วยอำนาจบัญญัติได้. ในกรรมบถ
และบัญญัตินั้น อันผู้จะกล่าวด้วยอำนาจกรรมบถ ต้องกล่าวถึงมารยาททางกาย
ก็ไม่พึงเสพด้วยการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์และความพระพฤติผิดในกามทั้งหลาย
ก่อน เมื่อจะกล่าวด้วยอำนาจบัญญัติ ต้องกล่าวด้วยอำนาจบัญญัติสิกขาบท
และการละเมิดในกายทวาร. ต้องกล่าวถึงมารยาททางกายที่พึงเสพด้วยเจตนา
เครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นต้น และด้วยบัญญัติสิกขาบทและการไม่ละเมิดใน
กายทวาร. ต้องกล่าวถึงมารยาททางวาจาที่ไม่พึงเสพด้วยความประพฤติชั่วทาง
วาจามีการกล่าวเท็จเป็นต้น และด้วยบัญญัติสิกขาบท และการละเมิดในวจีทวาร
ต้องกล่าวถึงมารยาททางวาจาที่พึงเสพด้วยเจตนาเครื่องเว้นจากการกล่าวเท็จ
เป็นต้น และด้วยบัญญัติสิกขาบท และการไม่ละเมิดในวจีทวาร.
สำหรับการแสวงหา ก็ได้แก่การแสวงหาด้วยกายและวาจานั่นเอง. การ
แสวงหานั้น ก็เป็นอันถือเอาแล้วด้วยศัพท์ คือ มารยาททางกายและวาจา
เพราะเหตุที่ธรรมดาศีลอันมีอาชีพเป็นที่แปด ย่อมเกิดขึ้นแต่ในสองทวารนี้
เท่านั้น ไม่ใช่ในอากาศ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสการแสวงหานั้นไว้
แผนกหนึ่งต่างหาก เพื่อทรงแสดงถึงศีลซึ่งมีอาชีพเป็นที่แปด. ในการแสวงหา
นั้นไม่พึงกล่าวถึง การแสวงหาที่พึงเสพ ด้วยการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ พึง
กล่าวถึงการแสวงหาที่พึงเสพด้วยการแสวงหาที่ประเสริฐ.
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย การ
แสวงหาสองอย่างเหล่านี้ คือ การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐหนึ่ง การแสวงหา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 197
ที่ประเสริฐหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐเป็นไฉน ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ตัว เองเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดานั่นแล ตัวเองมีความแก่เป็น
ธรรมดา... มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา. . . มีความตายเป็นธรรมดา. . . มีความ
โศกเป็นธรรมดา. . . มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มี
ความเศร้าหมองเป็นธรรมดานั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอย่อมกล่าวอะไร
ว่ามีความเกิดเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย ลูกเมียมีความเกิดเป็นธรรมดา
คนใช้หญิงชายมีความเกิดเป็นธรรมดา แพะแกะมีความเกิดเป็นธรรมดา ไก่
หมู มีความเกิดเป็นธรรมดา ช้าง วัว ม้า ลา มีความเกิดเป็นธรรมดา
เงินทองมีความเกิดเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา
เหล่านี้ เป็นตัวอุปธิทั้งหลาย (สภาพเครื่องเข้าไปทรงสัตว์ไว้ในทุกข์) บุคคลนี้
เป็นผู้อันอุปธิผูกไว้ ทำให้สยบ ให้ต้องโทษในสิ่งเหล่านี้ ตัวเองเป็นผู้มีความ
เกิดเป็นธรรมดาแล้ว ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดานั่นแล ภิกษุ
ทั้งหลาย ก็พวกเธอย่อมกล่าวถึงอะไรว่ามีความแก่เป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย
ลูกเมียมีความแก่เป็นธรรมดา ฯ ล ฯ ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา
นั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอย่อมกล่าวถึงอะไรว่ามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย ลูกเมีย มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯ ล ฯ ก็ยังแสวงหาสิ่งที่
มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดานั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอย่อมกล่าวถึงอะไร
ว่ามีความตายเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย ! ลูกเมียมีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดานั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอ
ย่อมกล่าวถึงสิ่งอะไรว่ามีความโศกเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย ลูกเมียมีความ
โศกเป็นธรรมดา ฯลฯ ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดานั่นแล ภิกษุ
ทั้งหลาย ! ก็พวกเธอย่อมกล่าวถึงอะไรว่าเศร้าหมองเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย !
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 198
ลูกเมีย มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาฯลฯ ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมอง
เป็นธรรมดานั่นแล ภิกษุทั้งหลาย นี้การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ๑. อีกอย่าง
หนึ่งพึงทราบว่า การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐมี ๕ อย่าง ด้วยอำนาจการโกง
เป็นต้นมี ๖ อย่าง ด้วยอำนาจอโคจร มี ๒๑ อย่าง ด้วยอำนาจงานของหมอ
เป็นต้น . การแสวงหาที่ไม่สมควร แม้ทั้งหมดที่เป็นไปอย่างนี้ พึงทราบว่า
เป็นการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐโดยแท้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนการแสวงหาที่ประเสริฐเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ ตัวเองเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่แล้ว เห็นโทษ
ในสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่เกิด เป็นที่เกษมจาก
โยคะ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในทุกข์) อันยอดเยี่ยม ตัวเองมีความแก่
เป็นธรรมดา. . .มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา. . .มีความตายโศกและเศร้าหมองเป็น
ธรรมดาอยู่แล้ว เห็นโทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหา
นิพพานที่ไม่เศร้าหมอง เป็นที่เกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม. ภิกษุทั้งหลาย !
นี้ การแสวงหาที่ประเลริฐ. อีกอย่างหนึ่ง แม้การเว้นการกระทำ ๕ อย่าง
มีการโกงเป็นต้น อโคจร ๖ แห่ง และการแสวงหาที่ไม่สมควร ๒๑ อย่างแล้ว
แสวงหาด้วยการเที่ยวภิกษา ด้วยธรรม ด้วยสม่ำเสมอ ก็พึงทราบว่า เป็นการ
แสวงหาที่ประเสริฐทั้งนั้น.
สำหรับในเรื่องมารยาทของกายนี้ มารยาทใด ๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ไม่พึงเสพมารยาทนั้นๆต้องอย่าเสพตั้งแต่เวลาแห่งเครื่องมือการแสวงหา
การทำความพยายามและการไปในส่วนเบื้องต้นแห่งการฆ่าสัตว์เป็นต้นทีเดียว.
นอกนี้พึงเสพตั้งแต่ต้น. ผู้ที่ไม่สามารถก็พึงทำแม้เพียงจิตให้เกิดขึ้น (คิดเอา
ก็ได้). อีกอย่างหนึ่ง ต้องไม่เสพมารยาททางกายที่เหมือนของพระเทวทัต
๑. ม.มู. ปาสราสิสุตฺต ๒๙๙
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 199
เป็นต้นที่บากบั่นเพื่อต้องการทำลายสงฆ์เป็นอาทิ. ต้องเสพมารยาททางกายที่
เหมือนของพระธรรมเสนาบดีและพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น ซึ่งเป็นไป
ด้วยอำนาจการไปสู่ที่รับใช้พระรัตนตรัยวันละสองสามครั้ง. มารยาททางวาจา
ที่ไม่พึงเสพก็เหมือนของ พระเทวทัตเป็นต้นที่ลั่นวาจาด้วยอำนาจการส่งนาย
ขมังธนูเป็นต้น. พึงเสพมารยาททางวาจาที่เหมือนของพระธรรมเสนาบดีและ
พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น ที่เป็นไปด้วยอำนาจการประกาศพระคุณพระ
ไตรรัตน์. ต้องไม่เสพการแสวงหาที่เหมือนของพระเทวทัตเป็นต้นที่แสวงหา
การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ. ต้องเสพการแสวงหาที่เหมือนของพระธรรมเสนาบดี
และพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น ที่แสวงหาแต่การแสวงหาที่ประเสริฐ
เท่านั้น. คำว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ความว่า ท่านจอมทวยเทพ ! ภิกษุผู้ละ
มารยาททางกายและวาจาและการแสวงหา ที่ไม่พึงเสพ ปฏิบัติเพื่อความเต็มที่
แห่งมารยาททางกายและวาจาและการแสวงหาที่พึงเสพอย่างที่ว่ามานี้แล้ว ก็
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อต้องการสำรวมศีล ที่สูงสุดและเจริญที่สุด พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสข้อปฏิบัติอันเป็นภาคแรกที่จะต้องมาของผู้สิ้นอาสวะแล้ว ด้วย
ประการฉะนี้.
ในคำถามที่ ๒. คำว่า เพื่อสำรวมอินทรีย์ ได้แก่ เพื่อปิดอินทรีย์
ทั้งหลาย คือเพื่อคุ้มครองทวารได้ หมายความว่า เพื่อความระแวดระวังทวาร
ไว้. สำหรับในการทรงแก้แก่ท้าวสักกะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำ
เป็นต้นว่า รูปที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยตา เพื่อทรงแสดงความสำรวมอินทรีย์ด้วย
อำนาจรูปที่พึงเสพเป็นต้น. คำว่า ครั้นตรัสอย่างนี้ในอินทรีย์นั้นแล้ว
ความว่า ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนี้ ท้าวสักกะ ผู้จอมทวยเทพ
ก็ทรงเกิดความไหวทันว่า แม้นี้ ก็ต้องเป็นด้วยลักษณะการแบบเดียวกันนั่น
แหละ เพราะความที่การทรงแก้ปัญหาในเรื่องโสมนัสเป็นต้น เป็นเรื่องที่ทรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 200
ได้ฟังมาแล้วในหนหลัง จึงได้ทรงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ คือ
ได้ตรัสคำเป็นต้นนี้ว่า นี้ แล ข้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า. ถึงแม้พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ก็ประทานพระโอกาสแก่ท้าวเธอ จึงทรงนิ่ง. ความจริงมีอยู่ว่า
ผู้ที่ไม่สามารถทำให้สำเร็จประโยชนได้นั้น เป็นคนชอบพูด หรือผู้ที่สามารถ
ทำให้สำเร็จประโยชน์ได้นั้น ไม่เป็นคนชอบพูด คนแบบนั้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้าไม่ประทานโอกาสให้. ส่วนท้าวสักกะนี้ เพราะทรงเป็นผู้ชอบตรัส และ
ทั้งยังทรงสามารถทำประโยชน์ให้สำเร็จได้ด้วย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงประทานพระโอกาสให้ท้าวเธอ.
ในเรื่องการสำรวมอินทรีย์นั้น นี้เป็นความย่อในคำเป็นต้นว่า ไม่พึง
เสพ เห็นปานนั้น. เมื่อดูรูปใด ความรักเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น ไม่พึงเสพ ไม่พึง
แลดูรูปนั้น แต่เมื่อดูรูปใด ความสำคัญว่าไม่งาม ย่อมตั้งมั่น ความเลื่อมใส
ย่อมเกิดขึ้น หรือการกลับได้ซึ่งความสำคัญว่าไม่เที่ยงย่อมมี พึงเสพรูปนั้น.
เมื่อฟังเสียงที่มีอักษรพิจิตรก็ดี มีพยัญชนะพิจิตรก็ดี ย่อมเกิดความรักเป็นต้น
ขึ้น เสียงเห็นปานนั้น ไม่พึงเสพ. แต่เมื่อฟังเสียงใดแม้แต่เพลงขับของนาง
คนใช้ตักน้ำ (กุมภทาสี ) ที่อาศัยอรรถ ( ผล ) อาศัยธรรม ( เหตุ ) ย่อม
เกิดความเลื่อมใสขึ้น หรือความเบื่อหน่ายย่อมตั้งมั่น เสียงเห็นปานนั้นพึง
เสพ. เมื่อดมกลิ่นใด ย่อมเกิดความกำหนัดเป็นต้นขึ้นมา กลิ่นอย่างนั้นไม่
พึงเสพ. แต่เมื่อดมกลิ่นใด ย่อมมีการกลับได้ความเข้าใจว่าไม่งามเป็นต้น
กลิ่นอย่างนั้นพึงเสพ เมื่อลิ้มรสใด ย่อมเกิดความกำหนัดเป็นต้นขึ้นมา
รสอย่างนั้นไม่พึงเสพ. แต่เมื่อลิ้มรสใด ย่อมเกิดความเข้าใจว่า เป็นของ
ปฏิกูลในอาหาร และย่อมอาศัยแรงกายเพราะรสที่ได้ลิ้มเป็นปัจจัยแล้ว
สามารถก้าวลงสู่อริยภูมิได้ เหมือนของสามเณรสิวะ หลานพระมหาสิวเถระ
หรือเมื่อบริโภค ก็ย่อมมีการสิ้นกิเลสไป รสเห็นปานนั้นพึงเสพ. เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 201
ถูกต้องโผฏฐัพพะใด ย่อมเกิดราคะเป็นต้น ไม่พึงเสพโผฎฐัพพะเห็นปานนั้น
แต่เมื่อถูกต้องสิ่งใด ย่อมมีการสิ้นกิเลสเครื่องหมักดองได้เหมือนของพระ-
สารีบุตรเถระเป็นต้น ทั้งความเพียร ก็ได้รับการประคับประคองไว้เป็นอย่างดี
และทั้งประชุมชนในภายหลัง ก็ย่อมได้รับการอนุเคราะห์ด้วยการดำเนินตาม
เยี่ยงอย่างที่ได้เห็น โผฎฐัพพะเห็นปานนั้น พึงเสพไว้เถิด.
เล่ากันมาว่า พระสารีบุตรเถระ ไม่เคยเหยียดหลังบนเตียงตลอด ๓๐ ปี
พระมหาโมคคัลลานเถระก็เหมือนกัน. พระมหากัสสปเถระไม่เคยเหยียดหลัง
บนเตียง ๑๒๐ ปี. พระอนุรุทธเถระ ๕๕ ปี พระภัททิยเถระ ๓๐ ปี พระโสณ
เถระ ๑๘ ปี พระรัฏฐปาลเถระ ๑๒ ปี พระอานนทเถระ ๑๕ ปี พระราหุล
เถระ ๑๒ ปี พระพากุลเถระ ๘๐ ปี พระนาฬกเถระไม่เคยเหยียดหลังบนเตียง
จนปรินิพพาน.
เมื่อพิจารณาธรรมที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยใจเหล่าใด ย่อมเกิดราคะเป็นต้น
ขึ้นมา หรือความเพ่งเล็งอยากได้เป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า โอ้หนอ ขอให้
เครื่องอุปกรณ์คือ สมบัติที่คนอื่นปลื้มใจของคนเหล่าอื่นนั้นจงเป็นของเราเถิด
ย่อมมาสู่คลองพึงเสพไม่ได้. แต่ธรรมทั้งหลายของพระเถระ ๓ รูปเหล่าใด
ด้วยอำนาจเมตตาเป็นต้นอย่างนี้ว่า ขอให้พวกสัตว์ทั้งหมด จงเป็นผู้ไม่มีเวร
กันเถิด ธรรมเห็นปานนี้เหล่านั้นพึงเสพได้.
ได้ยินว่า พระเถระ ๓ รูป ในวันเข้าพรรษาได้วางกฎไว้ว่า ความตรึก
ที่เป็นอกุศลมีความตรึกถึงความใคร่เป็นต้น พวกเราไม่พึงตรึก. ครั้นในวัน
ปวารณา พระเถระในสงฆ์ถามผู้ใหม่ในสงฆ์ว่า คุณ ใน๓เดือนนี้ คุณให้จิตวิ่ง
วนไปกี่แห่ง. พระเถระรูปที่ ๑ เรียนว่า ท่านขอรับ กระผมไม่ได้ให้วิ่งออก
นอกเขตบริเวณ. พระเถระในสงฆ์จึงถามรูปที่ ๒ว่า ของคุณกี่แห่ง คุณ. รูปที่
๒ นั้นตอบว่า ท่านขอรับ กระผมไม่ได้ให้วิ่งไปนอกที่อยู่. ครั้นแล้วพระเถระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 202
ทั้ง ๒ รูปก็พากันถามพระเถระบ้างว่า ของท่านเล่าขอรับ. พระเถระตอบว่า
ผมไม่ได้ให้วิ่งออกนอกขันธ์ ๕ หมวดที่แนบแน่นในภายใน. ท่านทั้ง ๒ รูป
จึงเรียนว่า ท่านขอรับ ท่านได้ทำสิ่งที่ทำได้ยากแล้ว. พึงเสพธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ได้ด้วยใจเห็นปานนี้ไว้เถิด.
คำว่า ผู้มีถ้อยคำมีที่สุดอย่างเดียว คือ ที่ชื่อว่า ผู้มีถ้อยคำมีที่สุด
อย่างเดียว เพราะที่สุดถ้อยคำของคนเหล่านี้ อย่างเดียวเท่านั้นไม่ใช่ ๒ ถ้อยคำ.
ท้าวสักกะทรงถามว่า ย่อมกล่าวอย่างเดียวเท่านั้น. คำว่า มีศีล มีที่สุดอันเดียว
คือมีมารยาทอย่างเดียว. คำว่า มีความพอใจ มีที่สุดอย่างเดียว คือ มีลัทธิ
อย่างเดียว. คำว่า มีการสิ้นสุด มีที่สุดอย่างเดียว คือมีการจบถ้วน มีที่สุด
อย่างเดียว. คำว่า ท่านจอมทวยเทพ โลกมีธาตุไม่ใช่อย่างเดียว มีธาตุ
ต่างกัน ความว่า ท่านจอมทวยเทพ ! โลกนี้มีอัธยาศัยไม่ใช่อย่างเดียว มี
อัธยาศัยแตกต่างกัน เมื่อคนหนึ่งอยากเดิน ( แต่อีก ) คนหนึ่งอยากยืน เมื่อ
อีกคนหนึ่งอยากยืน ( แต่อีก ) คนหนึ่งอยากนอน สัตว์ทั้ง ๒ ชื่อว่ามี
อัธยาศัยอย่างเดียวกันหาได้ยาก.
ในโลกที่มีธาตุมากมาย และมีธาตุแตกต่างกันนั้น หมู่สัตว์ย่อมยึดมั่น
ย่อมถือเอาธาตุใด ๆ อัธยาศัยใด ๆ คือ ก็ย่อมยึดมั่น ย่อมถือเอาธาตุนั้น ๆ
แหละ ด้วยเรี่ยวแรง ด้วยการลูบคลำ เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงคือ
ระบุ ว่าย่อมยึดมากกว่า ย่อมถือเอามากล่าวอย่างดี ด้วยเรี่ยวแรงและด้วยการ
ลูบคลำ. คำว่า นี่เท่านั้นจริง อย่างอื่นโมฆะ คือ คำของพวกเราเท่านั้น
แหละจริง คำของคนเหล่าอื่นโมฆะ คือเปล่า ได้แก่ ไม่มีประโยชน์
ความฉิบหายอันเรียกว่า อันตะ (ที่สุด)ในบทว่า มีความดับเป็นที่สุด
(ยิ่งล่วงส่วน) ชื่อว่า ผู้มีความดับล่วงส่วนเพราะความดับของเขาเหล่านั้นล่วง
ที่สุดแล้ว. ความดับของพวกเขาใด ความหวังอย่างยิ่งคือ พระนิพพานใด นั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 203
ท่านเรียกว่าสิ่งมีที่สุดล่วงส่วนก้าวล่วงความฉิบหายของพวกเขาทั้งหมด. คำว่า
ความโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในทุกข์ เป็นชื่อของพระ-
นิพพานนั่นเอง. ชื่อว่า ผู้มีความโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในทุกข์
อันล่วงส่วน เพราะความโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในทุกข์ของเขา
เหล่านี้มีอยู่. ชื่อว่า ผู้มีความประพฤติอันประเสริฐเพราะเขาย่อมประพฤติทางที่
ไกลจากข้าศึกที่ชื่อว่า ประเสริฐเพราะอรรถว่าประเสร็จสุด. ผู้ประพฤติประเสริฐ
เพราะเป็นความประพฤติที่ล่วงส่วน ชื่อว่า ผู้ประพฤติประเสริฐล่วงส่วน. คำว่า
ที่จบถ้วน เป็นชื่อของพระนิพพานนั่นเอง. ชื่อว่า ผู้มีความจบถ้วนเพราะเขา
มีความจบถ้วนที่ล่วงส่วน. คำว่า ความสิ้นไปพร้อมแห่ง ความทะยาน
อยาก ในคำว่า ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะความสิ้นไปพร้อมแห่งความทะยานอยาก
นี้เป็นมรรคก็ได้ เป็นพระนิพพานก็ได้ มรรคชื่อว่าเป็นเครื่องสิ้นไปพร้อม
แห่งความทะยานอยาก เพราะทำตัณหาให้สิ้นไปพร้อม คือ ให้หายไป
พระนิพพานชื่อว่าเป็นที่สิ้นไปพร้อมแห่งความทะยานอยาก เพราะความทะยาน
อยาก เมื่อมาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ก็ย่อมสิ้นไปพร้อม คือ ย่อมฉิบหายไป
ชื่อว่า ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะความสิ้นไปพร้อมแห่งความทะยานอยาก เพราะ
หลุดพ้นแล้วด้วยมรรคอันเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งความทะยานอยาก หรือหลุดพ้น
คือพ้นอย่างยิ่งในเพราะพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปพร้อมแห่งความทะยานอยาก.
ด้วยพระดำรัสมีประมาณเพียงเท่านี้ ก็เป็นอันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พยากรณ์ปัญหาครบทั้ง ๑๔ ข้อแล้ว.
ชื่อปัญหา ๑๔ ข้อคือ
๑. ความหึงและความหวง (อิสสามัจฉริยะ)
๒. ความชอบและความชัง (ปิยาปิยะ)
๓. ความพอใจ (ฉันทะ)
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 204
๔. ความตรึก (วิตก)
๕. ธรรมเครื่องเนิ่นช้า (ปปัญจ)
๖. ความสุขใจ (โสมนัส)
๗. ความทุกข์ใจ (โทมนัส)
๘. ความรู้สึกเฉย ๆ (อุเบกขา)
๙. มารยาททางกาย (กายสมาจาร)
๑๐. มารยาททางวาจา (วจีสมาจาร)
๑๑. การแสวงหา (ปริเยสนา)
๑๒. ความสำรวมอินทรีย์ (อินทริยสังวร)
๑๓. ธาตุจำนวนมาก (อเนกธาตุ)
๑๔. ความดับล่วงส่วน (อัจจันตนิฏฐา)
ความทะยานอยาก ท่านเรียกว่าเอชาคือ ความหวั่นไหว เพราะอรรถ
ว่าไหวหวั่น. ความหวั่นไหวนั้น เรียกว่า โรค เพราะอรรถว่า เบียดเบียน
เรียกว่า ผี เพราะอรรถว่า ประทุษร้ายภายใน เรียกว่า ลูกศร เพราะอรรถ
ตามแทง. คำว่า เพราะฉะนั้น บุรุษนี้ คือ ความหวั่นไหวย่อมคร่าคน
เพื่อประโยชน์แก่อันเกิดยิ่งขึ้นในภพนั้น ๆ ตามสมควรแก่กรรมที่คนได้ทำไว้
เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น บุรุษนี้จึงย่อมถึงความสูงต่ำด้วยอำนาจภพนั้น ๆ.
สูงในพรหมโลก ในเทวโลกต่ำ สูงในเทวโลก ในมนุษยโลกต่ำ สูงใน
มนุษยโลก ในอบายต่ำ. คำว่า เยสาห ภนฺเต ตัดบทเป็น เยส อห ภนฺเต.
เพราะคำว่า เยสาห ในที่นี้ เป็นด้วยอำนาจการเชื่อม (สนธิ). คำว่า ตามที่
ได้ฟังมา ตามที่ได้เรียนมา คือ ข้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังมาและได้เรียนมา
อย่างไร. คำว่า ย่อมแสดงธรรมอย่างนี้ คือ ย่อมแสดงธรรมคือวัตตบท
เจ็ดประการ. คำว่า น จาห เตส คือ ส่วนข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นสาวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 205
ของท่านเหล่านั้นยังเข้าถึงไม่ได้. ท้าวสักกะทรงแจ้งให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบความที่พระองค์ทรงเป็นพระโสดาบันด้วยพระดำรัสเป็นต้นว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ก็ ข้าพระพุทธเจ้า แล. คำว่า การได้เฉพาะซึ่งความ
ดีใจ คือ การได้เฉพาะซึ่งความยินดี.
คำว่า สงครามระหว่างเทวดากับอสูร ได้แก่ สงครามของพวก
เทวดาและพวกอสูร. คำว่า ประชิดกัน ได้แก่เผชิญหน้ากันแบบถึงลักษณะ
ที่เอาหน้าผากเข้ากระแทกกัน. เล่ากันว่า บางที พวกเหล่านั้นถึงกับรบกัน
บนหลังทะเลหลวงก็มี. แต่ในที่นั้นไม่มีการฆ่ากันและกันด้วยการฟันการแทง
เป็นต้น. เอากันแค่ชนะและแพ้เหมือนการรบกันระหว่างไม้กับแกะเท่านั้นเอง.
บางครั้งเหล่าเทพก็ชนะ บางครั้งก็เหล่าอสูร. ในการรบกันนั้น พวกเทพชนะ
พวกอสูรด้วยการไม่กลับมาอีกในสงครามใด ท้าวสักกะทรงหมายเอาสงคราม
นั้นจึงตรัสคำเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ นั้น แล. คำว่า ทั้งสอง
นี้ ได้แก่ พวกเทวดาเท่านั้น ย่อมบริโภคโอชะทั้งสองคือสองอย่างนี้ใน
เทวโลกนี้ เพราะฉะนั้นเมื่อท้าวสักกะนั้นทรงใคร่ครวญอยู่ความปลาบปลื้มและ
ความดีพระทัยที่มีกำลังจึงเกิดขึ้น. คำว่า เที่ยวไปพร้อมกับอาชญา ได้แก่
ผู้เที่ยวเป็นประจำพร้อมกับอาชญา. ท่านแสดงว่าได้เป็นผู้เที่ยวไปพร้อมกับการ
ถือกระบอง พร้อมกับการถือศัสตรา ไม่ใช่วางอาชญาและอาวุธ. คำว่า
เพื่อความเบื่อหน่ายที่มีที่สุดอย่างเดียว ได้แก่ เพื่อความเบื่อหน่ายในการ
เวียนว่ายตายเกิดโดยที่สุดอย่างเดียวเท่านั้น. ทุกอย่างได้กล่าวไว้ในมหาโควินท-
สูตรเสร็จแล้ว. คำว่า แจ้ง ได้แก่กล่าว คือแสดง.
บทว่า ใน นี้นั่นเทียว คือ ในโอกาสนี้แหละ. บทว่า ของข้าพระ-
พุทธเจ้าผู้เป็นเทวดาเป็นอยู่ คือ ของข้าพระพุทธเจ้าผู้เทพเป็นอยู่ คำว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 206
และข้าพระพุทธเจ้าก็ได้อายุอีกทีเดียว ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้ชีวิต
ด้วยผลกรรมอย่างอื่นอีก. ด้วยคำนี้ ท้าวสักกะทรงเปิดเผยถึงความจุติและ
ความเกิดของพระองค์.
คำว่า กายทิพย์ คือ อัตภาพเป็นทิพย์. คำว่า ละอายุที่ไม่ใช่เป็น
ของมนุษย์ คือ ทิ้งอายุทิพย์. คำว่า จะไม่หลงเข้าครรภ์ คือ เป็นผู้ไม่
หลง เพราะมีคติเที่ยงแท้ จะเข้าถึงครรภ์ในตระกูลกษัตริย์เป็นต้นที่ใจของ
ข้าพระพุทธเจ้าจะรื่นรมย์นั้นเท่านั้น. ท้าวสักกะทรงแสดงความข้อนี้ว่า ใน
เทวดาและในมนุษย์เจ็ดครั้ง.
คำว่า จะอยู่อย่างถูกต้อง ความว่า แม้ข้าพระพุทธเจ้าเกิดในหมู่
มนุษย์จะอยู่อย่างถูกต้องคือตามเหตุผล โดยสม่ำเสมอ เพราะความเป็นผู้ไม่
ควรแก่การปลงแม่จากชีวิตเป็นต้น (ฆ่าแม่).
ท้าวสักกะตรัสหมายเอาสกทาคามิมรรคนี้ว่า หากความตรัสรู้จะมี.
ทรงแสดงว่า หากข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นสกทาคามี. คำว่า เป็นผู้รู้ทั่วถึงจะ
อยู่ คือ ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นผู้รู้ทั่วถึง คือจะเป็นผู้ใครรู้ทั่วถึงอยู่. คำว่า ที่
สุดนั้นแลจะมี คือที่สุดในมนุษยโลกนั้นแลจะมี.
ท้าวสักกะตรัสว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นสักกะผู้จอมทวยเทพที่สูงสุด
ในเทวโลกอีก ด้วยคำนี้ว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นเทพผู้สูงสุดในเทวโลกอีก.
คำว่า อันมีในที่สุด ที่กำลังเป็นไปอยู่ คือ ในภพอันมีในที่สุดที่
กำลังเป็นไปอยู่. คำว่า นั้นจะเป็นที่อยู่ คือ พวกเทวดาเหล่านั้นใด ที่ไม่น้อย
กว่าใคร ทั้งด้วยอายุ ทั้งด้วยปัญญา เป็นผู้เจริญที่สุดประณีตกว่าพวกเทพ
ทั้งหมด ในที่สุด ภพนั้นจะเป็นที่อยู่อาศัยของข้าพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 207
เล่ากันมาว่า ท้าวสักกะนี้ จุติจากอัตภาพแห่งท้าวสักกะนั้นแล้ว จะ
เป็นผู้มีกระแสสูงไปจนถึงชั้นอกนิฏฐ์ เพราะความที่ทรงได้อนาคามิมรรคใน
อัตภาพนั้น เมื่อทรงเกิดในชั้นอวิหาเป็นต้นอยู่ สุดท้ายจะเป็นอกนิฏฐคามี
พรหม. ท้าวเธอทรงหมายถึงข้อนั้นจึงตรัสอย่างนั้น.
ได้ยินว่า ท้าวสักกะนี้ จะทรงอยู่ในชั้นอวิหาพันกัป แม้ในชั้นอตัปปา
ก็พันกัป ในชั้นสุทัสสาสี่พันกัป ในชั้นสุทัสสีแปดพันกัป ในชั้นอกนิฏฐ์สิบ-
หกกัป ดังว่ามานี้ ท้าวเธอจึงจะเสวยอายุพรหมสามหมื่นหนึ่งพันกัป. จริงอยู่
ชื่อว่าสัตว์ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ในการเวียนว่ายตายเกิดมีประมาณอายุอย่างเดียวกัน
แท้ เหล่านี้สามท่าน ได้แก่ ท้าวสักกะผู้เป็นราชาของเทพ อนาถปิณฑิก-
คฤหบดี นางวิสาขามหาอุบาสิกา. ธรรมดาผู้มีส่วนความสุขเท่ากับท่านเหล่านี้
ไม่มี.
คำว่า ผู้มีความดำริยังไม่ถึงที่สุด คือมีมโนรถที่ยังไม่จบลง. คำว่า
ข้าพระพุทธเจ้าสำคัญสมณะเหล่าใดสิ คือข้าพระพุทธเจ้าย่อมสำคัญว่า
สมณะเหล่าใดเป็นผู้มีปกติเงียบสงบอยู่. คำว่า อาราธนา แปลว่า ความสำเร็จ.
คำว่า วิราธนา แปลว่า ความล้มเหลว. คำว่า ไม่เป็นพร้อม คือ ไม่อาจ
พูดให้สำเร็จได้. คำว่า เป็นญาติของพระอาทิตย์ คือ พระอาทิตย์ก็เป็น
โคตมโคตรด้วย. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเป็นโคตมโคตรด้วย ฉะนั้น ท้าว
สักกะจึงตรัสอย่างนั้น. คำว่า ย่อมกระทำสิ่งใดกันล่ะ คือ แต่ก่อนมาพวกเรา
ย่อมกระทำความนอบน้อมใดแก่พรหม. คำว่า เสมอกับพวกเทพ คือ พร้อม
กับพวกเทพ. ท้าวสักกะทรงแสดงว่า บัดนี้ ตั้งแต่นี้ไป พวกเราไม่มีการกระ
ทำความนอบน้อมแก่พรหม พวกเราเลิกไหว้พรหม. คำว่า ย่อมกระทำ
ความสมควร คือ พวกเราย่อมกระทำความนอบน้อม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 208
คำว่า ทรงลูบคลำ ความว่า ท้าวสักกะมีพระทัยปลาบปลื้ม ทรงตบ
แผ่นดิน หรือทรงตบเพื่อพระประสงค์ให้เป็นพยาน เหมือนคนเอามือลูบมือ
เพื่อนตรัสว่า เราก็เหมือนท่านที่ไม่หวั่นไหว. คำว่า ปัญหาที่ทรงเชื้อเชิญ
แล้ว คือ ปัญหาที่ได้รับอาราธนา หมายความว่าปัญหาที่ถูกทูลถาม. คำที่เหลือ
ในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสักกปัญหสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 209
๙. มหาสติปัฏฐานสูตร๑
กถาว่าด้วยอุทเทสวาร
[๒๗๓] ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ในหมู่ชนชาวกุรุ นิคม
ของหมู่ชนชาวกุรุ ชื่อกัมมาสทัมมะ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนี้. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูล
รับพระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ดังนี้. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความหมดจดวิเศษ
ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงซึ่งความโศกและความร่ำไร เพื่ออัสดงค์
ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัสเพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
ทางนี้คือสติปัฏฐาน (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) ๔ อย่าง. สติปัฏฐาน ๔ อย่าง
เป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายใน
กายเนือง ๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา
และโทมนัส (ความยินดียินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อมพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต
๑. พระศาสนโศภน (แจ่มจตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม แปล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 210
เนือง ๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ
อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียให้พินาศ.
จบกถาว่าด้วยอุทเทสวาร
กายานุปัสสนา อานาปานบรรพ
[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย
เนือง ๆ อยู่ อย่างไรเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ดี ไปแล้วสู่
โคนไม้ก็ดี ไปแล้วสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายให้ตรง
ดำรงสติเฉพาะหน้า. เธอย่อมหายใจเข้า ย่อมมีสติหายใจออก เมื่อหายใจ
เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เรา
หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจ
ออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น ยอมสำเหนียกว่า เ ราจักเป็นผู้กำหนด
รู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนด
รู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกาย
สังขาร (คือลมอัสสาสะ ปัสสาสะ) หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
กายสังสาร หายใจออก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใด นายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่าง
กลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงยาว หรือเมื่อชัก
เชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงสั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 211
นั้นนั่นแหละ เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจ
ออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจ
เข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้นย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร
หายใจออก ดังนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อม
พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้ง
ภายในภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอ
ที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่
อย่างนี้.
จบข้อกำหนดว่าด้วยลมหายใจเข้าออก
อิริยาบถบรรพ
[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเมื่อเดินอยู่
ก็รู้ชัดว่า เราเดิน หรือเมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า เรายืน หรือเมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า
เรานั่ง หรือเมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน. อนึ่งเมื่อเธอนั้น เป็นผู้ตั้งกายไว้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 212
แล้วอย่างใด ๆ ก็ย่อมรู้ชัดอาการกายนั้น อย่างนั้น ๆ ดังนี้. ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา
คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปใน
กายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปใน
กายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่
เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อม
ไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่
อย่างนี้.
จบข้อกำหนดว่าด้วยอิริยาบถ
สัมปชัญญบรรพ
[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำ
สัมปชัญญะ (ความเป็นผู้รู้พร้อม) ในการก้าวไปข้างหน้า และถอยกลับมาข้าง
หลัง ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการแลไปข้างหน้า แลเหลียวไปข้างซ้าย
ข้างขวา ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการคู้อวัยวะเข้า เหยียดอวัยวะออก
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ย่อมเป็นผู้
ทำสัมปชัญญะ ในการกิน ดม เคี้ยว และลิ้ม ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการเดิน ยืน นั่ง
หลับ ตื่น พูด และความเป็นผู้นิ่งอยู่ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 213
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
กายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอก
บ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความคิดเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ
ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอตั้งมั่นอยู่
ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็น
ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่
อย่างนี้.
จบข้อกำหนดว่าด้วยสัมปชัญญะ
ปฏิกูลมนสิการบรรพ
[๒๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณา
กายนี้นี่แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่
โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้คือ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไถ้มีปาก ๒ ข้าง เต็มด้วยธัญญชาติ มีประการ
ต่าง ๆ คือ.
ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษมีจักษุ
แก้ไถ้นั้นออกแล้วพึงเห็นได้ว่า เหล่านี้ ข้าวสาลี เหล่านี้ ข้าวเปลือก เหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 214
ถั่วเขียว เหล่านี้ ถั่วเหลือง เหล่านี้ งา เหล่านี้ ข้าวสาร ฉันใด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้นี่แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการ
ต่าง ๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายใน ทั้งภาย
นอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ
ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
กายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้
อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่
อย่างนี้.
จบข้อกำหนดว่าด้วยของปฏิกูล.
ธาตุมนสิการบรรพ
[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณา
กายอันตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกตินี้นี่แล โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 215
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนฆ่าโค หรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าแม่โค
แล้ว พึงแบ่งออกเป็นส่วน แล้วนั่งอยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ฉันนั้นนั่นแล ย่อมพิจารณากาย อันตั้งอยู่
ตามที่ตั้งอยู่ตามปกตินี้นี่แล โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน
ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายใน
บ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกาย
ในกาย ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิด
ขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อม
พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือ
สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่
อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ
ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่
อย่างนี้.
จบข้อกำหนดว่าด้วยธาตุ
นวสีวถิกาบรรพ
[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่ง หรือตาย
แล้ว ๒ วัน หรือตายแล้ว ๓ วัน อันพองขึ้น สีเขียวน่าเกลียดเป็นสรีระมีน้ำ
เหลืองไหลน่าเกลียด. เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มี
อย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 216
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
กายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภาย
นอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ
ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
กายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อัน
ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่
อย่างนี้.
[๒๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้ง
จิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตระกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัข
จิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็ก ๆ ต่าง ๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอก็น้อมเข้ามา
สู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้
ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
กายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายใน ทั้ง
ภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อม
พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา
คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่
ว่ากายมีอยู่. แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้
อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 217
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่
อย่างนี้.
[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและ
เลือด อันเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า
ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
กายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายใน ทั้ง
ภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อม
พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา
คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอตั้งมั่นอยู่
ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อม
เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่อย่างนี้.
[๒๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า เป็นร่างกระดูก เปื้อนด้วย
เลือด แต่ปราศจากเนื้อแล้ว ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่
แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วง
ความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
กายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภาย-
นอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นทั้งความเกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 218
ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่คงมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียง
สักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ
ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้
[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจาก
เนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึง
ร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่าง
นี้ไปได้ ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณา
เห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อม
พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็
หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่า
เป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่
ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้.
[๒๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกับว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือเป็น (ท่อน) กระดูก
ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องรัดรึงแล้ว กระจายไปแล้วในทิศน้อยและทิศใหญ่ คือ
กระดูกมือ (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกเท้า (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกแข้ง (ไป
อยู่) ทางอื่น กระดูกขา (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกสะเอว (ไปอยู่ ) ทางอื่น
กระดูกหลัง (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกสันหลัง (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกซี่โครง
(ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกหน้าอก (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกไหล่ (ไปอยู่) ทางอื่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 219
กระดูกแขน (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกคอ (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกคาง (ไปอยู่)
ทางอื่น กระดูกฟัน (ไปอยู่) ทางอื่น กระโหลกศีรษะ (ไปอยู่) ทางอื่น. เธอ
ก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็น
อย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
กายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอก
บ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้ง
ความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือว่าสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
กายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อม
เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้.
[๒๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือเป็น (ท่อน) กระดูก มี
สีขาวเปรียบด้วยสีสังข์ เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็
มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
กายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อม
พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา
คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่
ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก. เธอย่อม
เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 220
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่าง
นี้.
[๒๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือเป็น (ท่อน) กระดูก เป็น
กองเรี่ยรายแล้ว มีในภายนอก (เกิน) ปีหนึ่ง ไปแล้ว เธอก็น้อมเข้ามาสู่กาย
นี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วง
ความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.
ภิกษุ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
กายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอก
บ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้ง
ความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากาย
มีอยู่. แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย
อยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่อย่าง
นี้.
[๒๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือเป็น (ท่อน) กระดูก
ผุละเอียดแล้ว. เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่เล่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้
เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
กายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 221
พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา
คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือว่าสติของเธอที่ตั้งมั่น
อยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก. เธอย่อม
เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้.
จบข้อกำหนดด้วยป่าช้า ๙ ข้อ
จบกายานุปัสสนา
เวทนานุปัสสนา
[๒๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
(ความเสวยอารมณ์) ในเวทนาเนือง ๆ อยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัด
ว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนา เมื่อเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวย
ทุกขเวทนา เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา (ไม่ทุกข์ ไม่สุข) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้
เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือเมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส (คือเจือกามคุณ )
ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
(คือไม่เจือกามคุณ) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส หรือเมื่อเสวย
ทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือเมื่อ
เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
มีอามิส หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวย
อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังนี้ .
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 222
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้ง
ภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในเวทนา
บ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง. ก็หรือสติ
ของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าเวทนามีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่
อาศัยระลึก เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถือ
อะไร ๆ ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ
อยู่อย่างนี้แล.
จบเวทนานุปัสสนา
จิตตานุปัสสนา
[๒๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต
ในจิตเนือง ๆ อยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อนึ่ง จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า
จิตมีราคะ หรือจิตไม่มีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีราคะ หรือจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า
จิตมีโทสะ หรือจิตไม่มีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโทสะ หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า
จิตมีโมหะ หรือจิตไม่มีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโมหะ หรือจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า
จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน หรือจิตเป็นมหรคต (คือถึงความ
เป็นใหญ่ หมายเอาจิตที่เป็นฌาน หรือเป็นอัปปมัญญา พรหมวิหาร) ก็รู้ชัดว่า
จิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต หรือจิตเป็น
สอุตตระ (คือกามาวจรจิต ซึ่งมีจิตอื่นยิ่งกว่า ไม่ถึงอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่า จิต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 223
เป็นสอุตตระ หรือจิตเป็นอนุตตระ (คือกามาวจรจิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า หมาย
เอาอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นอนุตตระ หรือจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น
หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่น หรือจิตวิมุตติ (คือหลุดพ้นด้วยตทังค-
วิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ) ก็รู้ชัดว่า จิตวิมุตติ หรือจิตยังไม่วิมุตติ ก็รู้ชัด
ว่าจิตยังไม่วิมุตติ ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นจิต
ในจิตเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในจิตบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในจิตบ้าง. ก็หรือสติของเธอ
ที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก.
เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลก
ด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่อย่าง
นี้แล.
จบจิตตานุปัสสนา
ธัมมานุปัสสนา
นีวรณบรรพ
[๒๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมเนือง ๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือ นิวรณ์ ๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์
(ความพอใจในกามารมณ์) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ มีอยู่ ณ
ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ากามฉันท์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 224
ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่กามฉันท์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น
ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย อนึ่ง ความละกามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้ว
เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่กามฉันท์อันตนละ
เสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย
อนึ่ง เมื่อพยาบาท มี ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า พยาบาท มีอยู่ ณ
ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาท
ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา ความที่พยาบาทอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วย
ประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วย
ประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความที่พยาบาทอันตนละเสียแล้วไม่เกิดขึ้น
ต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย.
อนึ่ง ถิ่นมิทธะ มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถิ่นมิทธะมีอยู่ ณ ภายใน
จิตของเรา หรือเมื่อถิ่นมิทธะไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถิ่นมิทธะไม่มี
ณ ภายในจิตของเรา ความที่ถิ่นมิทธะอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วย
ประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความละถิ่นมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วย
ประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความละถิ่นมิทธะอันตนละเสียแล้ว ไม่
เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วย.
อนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) มี ณ ภายใน
จิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกจจะ มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อ
อุทธัจจกุกกุจจะไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มี ณ
ภายในจิตของเรา ความที่อุทธัจจกุกกุจจะอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น
ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 225
เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความที่อุทธัจจกุกกุจจะอันตน
ละเสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย.
อนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉา (ความเคลือบแคลงสงสัย) มี ณ ภายในจิต ย่อม
รู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ เมื่อวิจิกิจฉาไม่มี ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มี ณ ภายในจิตของเรา ความที่วิจิกิจฉาอันยัง
ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความละ
วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความ
ที่วิจิกิจฉาอันตนละเสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการ
นั้นด้วย ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่
ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก.
เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕
อย่างนี้แล.
จบ ข้อกำหนดนิวรณ์
ขันธบรรพ
[๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมคือ อุปาทานขันธ์ ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 226
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (ย่อมพิจารณาดังนี้ ว่า)
อย่างนี้ รูป (สิ่งที่ทรุดโทรม) อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของรูป อย่างนี้
ความดับไปของรูป อย่างนี้เวทนา (ความเสวยอารมณ์) อย่างนี้ความเกิดขึ้นของ
เวทนา อย่างนี้ความดับไปของเวทนา อย่างนี้สัญญา (ความจำ) อย่างนี้ความ
เกิดขึ้นของสัญญา อย่างนี้ความดับไปของสัญญา อย่างนี้ สังขาร (สภาพปรุงแต่ง)
อย่างนี้ ความเกิดของสังขาร อย่างนี้ ความดับของสังขาร อย่างนี้ วิญญาณ
(ความรู้) อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของวิญญาณ อย่างนี้ ความดับไปของวิญญาณ
ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภาย
ใน ทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของเธอ
ที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก.
เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปา-
ทานขันธ์ ๕ อย่างนี้แล.
จบข้อกำหนดว่าด้วยขันธ์.
อายตนบรรพ
[๒๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณา
ธรรมในธรรม คือ อายตนะภายใน และอายตนะภายนอก ๖ (อย่างละ ๖)
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 227
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร อายตนบรรพภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรม คือ อายตนะภายในและอายตนะภายนอก ๖.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตาด้วย ย่อมรู้จัก
รูปด้วย อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูก) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยตาและรูปทั้ง ๒ นั้น
อันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อม
เกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่ละสังโยชน์
ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความ
ที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้
จักประการนั้นด้วย.
ย่อมรู้จักหูด้วย ย่อมรู้จักเสียงด้วย อนึ่ง สังโยชน์ย่อมเกิดขึ้นอาศัยหู
และเสียงทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยัง
ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความ
ละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการ
ใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย.
ย่อมรู้จักจมูกด้วย ย่อมรู้จักกลิ่นด้วย อนึ่ง สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น
อาศัยจมูกและกลิ่นทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์
อันยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความ
ละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการ
ใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย.
ย่อมรู้จักลิ้นด้วย ย่อมรู้จักรสด้วย อนึ่ง สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นอาศัย
ลิ้นและรสทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยัง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 228
ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความ
ละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการ
ใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย.
ย่อมรู้จักกายด้วย ย่อมรู้จักโผฏฐัพพะ (สิ่งที่พึงถูกต้องด้วยกาย) ด้วย
อนึ่ง สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จัก
อันนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการ
ใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วย
ประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสีย
แล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย.
ย่อมรู้จักใจด้วย ย่อมรู้จักธรรมารมณ์ (สิ่งที่พึงรู้ได้ด้วยใจ) ด้วย
อนึ่ง สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จัก
อันนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการ
ใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วย
ประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว
ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย ดังนี้ .
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายใน
ทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติ
ของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่
อาศัยระลึก. เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถือ
อะไร ๆ ในโลกด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 229
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อาย-
ตนะภายในและอายตนะภายนอก ๖ อย่างนี้แล.
จบข้อกำหนดว่าด้วยอายตนะ.
โพชฌงคบรรพ
[๒๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรม คือ โพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๗ อย่าง).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือ โพชฌงค์ ๗.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์ (องค์
แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือสติ) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัม-
โพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายใน
จิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่สติ-
สัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของสติสัมโพซฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วย
ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
อนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
คือ ความเลือกเฟ้นธรรม) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
มี ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อม
รู้ชัดว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่เกิด
ขึ้นแล้ว ย่อมเป็นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 230
อนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์. (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ
ความเพียร) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิริยสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิต
ของเรา หรือเมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิริย
สัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่วิริยสัมโพชฌงค์ อันยัง
ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อนึ่ง ความ
เจริญบริบูรณ์ของวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นด้วยประการใด ย่อม
รู้ชัดประการนั้นด้วย.
อนึ่ง เมื่อปิติสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ ปิติ
ความปลื้มใจ) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ปิติสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายใน
จิตของเรา หรือเมื่อปิติสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า
ปิติสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่ปิติสัมโพชฌงค์
อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อนึ่ง
ความเจริญบริบูรณ์ของปิติสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
อนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ( องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือ
ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบจิต ) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ
ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง
ความที่ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อม
รู้ชัดประการนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ที่เกิด
ขึ้นแล้ว ย่อมเป็นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
อนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ
สมาธิ มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สมาธิสัมโพชฌงค์มี ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 231
ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่สมาธิสัมโพชฌงค์ อันยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญ
บริบูรณ์ของสมาธิสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นด้วยประการใด ย่อม
รู้ชัดประการนั้นด้วย.
อนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ
อุเบกขา ความที่จิตมัธยัสถ์เป็นกลาง) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขา
สัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ
ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง
ความที่อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อม
รู้ชัดประการนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่เกิด
ขึ้นแล้ว ย่อมเป็นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรม เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้ง
ภายใน ทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของเธอ
ที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก.
เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลก
ด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ โพช-
ฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.
จบข้อกำหนดว่าด้วยโพชฌงค์.
จบภาณวารที่หนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 232
สัจจบรรพ - ทุกขอริยสัจ
[๒๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ (ของจริงแห่งพระอริยเจ้า).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คืออริยสัจ ๔.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ ทุกขสมุทัย (เหตุที่เกิดทุกข์)
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ ทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์) ย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับ
ทุกข์).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของจริงแห่งพระอริยเจ้า คือทุกข์ เป็นอย่างไร
เล่า.
แม้ชาติ ก็เป็นทุกข์ แม้ชรา ก็เป็นทุกข์ แม้มรณะ ก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ (ความร่ำไรรำพัน ) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส
(ความเสียใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) ก็เป็นทุกข์ ความประสบ
สัตว์และสังขาร ซึ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสัตว์ และ
สังขาร ซึ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อที่ไม่
สมประสงค์นั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ (ขันธ์ประกอบด้วยอุปาทาน
ความถือมั่น) ๕ เป็นทุกข์.
[๒๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติ เป็นอย่างไร ความเกิด เกิดพร้อม
ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 233
ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่
กล่าวว่าชาติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชรา เป็นอย่างไร ความแก่ ความคร่ำคร่า
ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังหดเหี่ยว เป็นเกลียวความ
เสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์นั้น ๆ
อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ชรา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณะ เป็นอย่างไร ความจุติ ความเคลื่อนไป
ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตก
แห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ
ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า มรณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โสกะ (ความแห้งใจ) เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความโสก ความเศร้าใจ ความแห้งใจ ความผาก ณ ภายใน
ความโศก ณ ภายในของสัตว์ ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และ
ผู้มีความทุกข์อันใดอันหนึ่ง มาถูกต้องแล้ว อันใดเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อันนี้กล่าวว่า โสกะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริเทวะ (ความร่ำไรรำพัน ) เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ
ความที่ร่ำไรรำพัน ความที่สัตว์คร่ำครวญ ความที่สัตว์ร่ำไรรำพัน ของสัตว์
ผู้ประกอบด้วยความฉิบหาย อันใดอันหนึ่ง และผู้ที่มีความทุกข์อันใดอันหนึ่ง
มาถูกต้องแล้ว อันใดเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ปริเทวะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) เป็นอย่างไรเล่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในกาย ความไม่ดีเกิดในกาย เวทนาไม่ดีเป็น
ทุกข์ เกิดแต่สัมผัส ทางกายอันใดเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 234
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทมนัส ( ความเสียใจ ) เป็นอย่างไร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในใจ ความไม่ดีเกิดในใจ เวทนาไม่ดีเป็นทุกข์
เกิดแต่สัมผัสทางใจ อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า โทมนัส.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นอย่างไร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความแค้น ความคับแค้น ความที่สัตว์แค้น ความที่สัตว์คับแค้น
ของสัตว์ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และผู้ที่ความทุกข์อันใด
อันหนึ่ง มาถูกต้องแล้ว อันนี้กล่าวว่า อุปายาส.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประสบสัตว์และสังขาร ซึ่งไม่เป็นที่รัก
เป็นทุกข์อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ซึ่งไม่เป็นที่
ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ปลื้มใจ คือรูป เสียง กลิ่น รส และ
โผฏฐัพพะ ย่อมมีแก่ผู้นั้น อนึ่ง หรือชนเหล่าใด ที่ใคร่ต่อความฉิบหาย
ใคร่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ใคร่ความไม่สำราญ และใคร่ความไม่เกษม จากเครื่อง
ประกอบแก่ผู้นั้น ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุมร่วม ความระคน
กับด้วยอารมณ์และสัตว์เหล่านั้น อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า
ความประสบกับสัตว์และสังขาร ซึ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร ซึ่งเป็นที่รัก
เป็นทุกข์ อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ซึ่งเป็นที่
ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ปลื้มใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
ย่อมมีแก่ผู้นั้น อนึ่ง หรือชนเหล่าใด ที่ใคร่ต่อความเจริญ ใคร่ประโยชน์
เกื้อกูลใคร่ความสำราญ และใคร่ความเกษม จากเครื่องประกอบแก่ผู้นั้น คือ
มารดา หรือบิดา พี่ชายน้องชาย หรือพี่หญิง น้องหญิง มิตร หรืออำมาตย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 235
หรือญาติสาโลหิต ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม
ความไม่ระคน กับด้วยอารมณ์และสัตว์เหล่านั้นอันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อันนี้กล่าวว่า ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารซึ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ของที่ไม่สม-
ประสงค์นั้น เป็นทุกข์อย่างไรเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนา ย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ที่มี
ความเกิดเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความเกิดเป็นธรรมดาเถิด อนึ่ง ขอความ
เกิดอย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนอ ดังนี้ ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนา
โดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ก็เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้น แก่เหล่าสัตว์ที่มีความ
แก่ เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความแก่เป็นธรรมดา
เถิด อนึ่ง ขอความแก่อย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้ ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้
ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ก็เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้น แก่เหล่าสัตว์ที่มี
ความเจ็บ ๆ ไข้ ๆ เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาเถิด ข้อนั้น
สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า การไม่ได้สิ่งที่
ปรารถนา ก็เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ที่มีความ
ตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 236
โอหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความตายเป็นธรรมดาเถิด อนึ่ง ขอ
ความตายอย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนอ ดังนี้ สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนา
โดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ก็เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้น แก่เหล่าสัตว์ ที่มีโสกะ
ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มี โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส
เป็นธรรมดาเถิด อนึ่ง ขอ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส อย่ามีมา
ถึงแก่เราเลย ดังนี้ ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้
ก็ชื่อว่า การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ก็เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์อย่างไร นี้คือ
อุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา
อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยย่อเหล่านี้ กล่าวว่า อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า อริยสัจ คือ ทุกข์.
ทุกขสมุทัยอริยสัจ
[๒๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์)
เป็นอย่างไร. ตัณหา (ความทะยานอยาก) นี้อันใด มีความเกิดขึ้นอีกเป็นปกติ
ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิดเพลิน มักเพลินยิ่งใน
อารมณ์นั้น ๆ นี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
[๒๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลตัณหานั้นนั่นเอง เมื่อจะเกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน. ที่ใด เป็นที่รักใคร่ เป็นที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 237
พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่
ก็ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น. ก็อะไรเล่า เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตาเป็นที่
รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ตานั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ตานั้น. หู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่หูนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่หู
นั้น. จมูกเป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อม
เกิดขึ้นที่จมูกนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่จมูกนั้น. ลิ้น เป็นที่รักใคร่
เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ลิ้นนั้น เมื่อจะ
ตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ลิ้นนั้น. กาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่กายนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กายนั้น.
ใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้น
ที่ใจนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น. รูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจ
ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รูปนั้น เมื่อจะตั้งอยู่
ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รูปนั้น. เสียงเป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
จะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เสียงนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เสียงนั้น. กลิ่น
เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้น
ที่กลิ่นนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กลิ่นนั้น. รส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจ
ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อม
ตั้งอยู่ที่รสนั้น. โผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่โผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่
โผฏฐัพพะนั้น. ธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 238
เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ธัมมารมณ์ เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์
นั้น.
จักขุวิญญาณ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะ
เกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่จักขุวิญญาณนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ จักขุ
วิญญาณนั้น โสตวิญญาณ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
จะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่โสตวิญญาณนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่โสต
วิญญาณนั้น ฆาณวิญญาณนั้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ฆานวิญญาณนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่
ที่ฆานวิญญาณนั้น ชิวหาวิญญาณ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ชิวหาวิญญาณนั้น เมื่อจะตั้งอยู่
ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ชิวหาวิญญาณนั้น กายวิญญาณ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจ
ในโ ลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่กายวิญญาณนั้น เมื่อจะ
ตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กายวิญญาณนั้น มโนวิญญาณ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่
พอใจในโ ลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่มโนวิญญาณนั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่มโนวิญญาณนั้น.
จักขุสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะ
เกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่จักขุสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัส
นั้น โสตสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะ
เกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่โสตสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่โสตสัมผัสนั้น.
ฆานสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ฆานสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ฆานสัมผัสนั้น
ชิวหาสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 239
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ชิวหาสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ชิวหาสัมผัสนั้น
กายสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่กายสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กายสัมผัสนั้น มโน
สัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อม
เกิดขึ้นที่มโนสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนั้น.
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่จักขุสัมผัสนั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่จักขุสัมผัสนั้น เวทนาซึ่งเกิดแต่
โสตสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่
เวทนาซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัสนั้น เวทนาซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัส เป็นที่รักใคร่
เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้น ที่เวทนาซึ่งเกิด
แต่ฆานสัมผัส เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัสนั้น.
เวทนา ซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสนั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสนั้น เวทนา ซึ่งเกิด
แต่กายสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด
ขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อม
ตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสนั้น เวทนา ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัส
เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 240
ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่ง
เกิดแต่มโนสัมผัสนั้น.
รูปสัญญา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น. เมื่อจะ
เกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รูปสัญญานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รูปสัญญา
นั้น สัททสัญญา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด
ขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่สัททสัญญานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่สัททสัญญา
นั้น คันธสัญญา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด
ขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่คันธสัญญานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่คันธสัญญา
นั้น รสสัญญา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด
ขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รสสัญญานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รสสัญญานั้น
โผฏฐัพพสัญญา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่โผฏฐัพพสัญญานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่โผฏฐัพพ
สัญญานั้น ธัมมสัญญา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
จะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ธัมมสัญญานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ธัมม
สัญญานั้น.
รูปสัญเจตนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะ
เกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รูปสัญเจตนานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รูปสัญ-
เจตนานั้น สัททสัญเจตนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่สัททสัญเจตนานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่
ที่สัททสัญเจตนานั้น คันธสัญเจตนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่คันธสัญเจตนานั้น เมื่อจะตั้งอยู่
ก็ย่อมตั้งอยู่ที่คันธสัญเจตนานั้น รสสัญเจตนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจ
ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รสสัญเจตนานั้น เมื่อจะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 241
ตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความคิดถึงรสนั้น. ความคิดถึงโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่
เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความคิดถึง
โผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอูยู่ที่ความคิดถึงโผฏฐัพพะนั้น. ความคิด
ถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความคิด
ถึงธัมมารมณ์นั้น.
ความอยากในรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในรูปนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่
ที่ความอยากในรูปนั้น. ความอยากในเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในเสียงนั้น เมื่อจะตั้งอยู่
ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในเสียงนั้น. ความอยากในกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่
พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในกลิ่นนั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในกลิ่นนั้น. ความอยากในรส เป็นที่รัก
ใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยาก
ในรสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในรสนั้น. ความอยากใน
โผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความ
อยากในโผฏฐัพพะนั้น . ความอยากในธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจ
ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น.
ความตรึกถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงรูปนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่
ที่ความตรึกถึงรูปนั้น. ความตรึกถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 242
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงเสียงนั้น. เมื่อจะตั้งอยู่
ก็ย่อมจะตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงเสียงนั้น. ความตรึกถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่
พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น. ความตรึกถึงรส เป็นที่รัก
ใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึก
ถึงรสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงรสนั้น. ความตรึกถึงโผฏ-
ฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อม
เกิดขึ้นที่ความตรึกถึงโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึง
โผฏฐัพพะนั้น. ความตรึกถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะ
ตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น.
ความตรองถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงรูปนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่
ที่ความตรองถึงรูปนั้น. ความตรองถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงเสียง เมื่อจะตั้งอยู่
ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงเสียงนั้น. ความตรองถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่
พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น. ความตรองถึงรส เป็นที่
รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความ
ตรองถึงรสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงรสนั้น. ความตรอง
โผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความ
ตรองถึงโผฏฐัพพะนั้น. ความตรองถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 243
ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่าอริยสัจ คือทุกขสมุทัย (เหตุให้
ทุกข์เกิด).
ทุกขนิโรธอริยสัจ
[๒๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ คือ ทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่
ดับทุกข์) เป็นอย่างไร. คือ ความสำรอกและความดับโดยไม่มีเหลือ ความสละ
ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่อาลัย ในตัณหานั้น นั่นแล อันใด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานั้นนั่นแล เมื่อบุคคลจะละเสีย ย่อมละเสียได้ใน
ที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน. ที่ใดเป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับ
ในที่นั้น. ก็อะไรเล่า เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก.
ตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย
ก็ย่อมละเสียได้ที่ตานั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ตานั้น.
หู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ
เสีย ก็ย่อมละเสียได้ทีหูนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่หูนั้น.
จมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะ
ละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่จมูกนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่จมูกนั้น.
ลิ้น เป็นที่รัก ใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะ
ละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ลิ้นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ลิ้นนั้น.
กาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะ
ละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่กายนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่กายนั้น .
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 244
ใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะ
ละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ใจนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ใจนั้น.
รูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะ
ละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่รูปนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่รูปนั้น.
เสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจโนโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะ
ละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เสียงนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เสียงนั้น.
กลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะ
ละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่กลิ่นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่กลิ่นนั้น.
รส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ
เสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่รสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่รสนั้น
โผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล
จะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่โผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่โผฏฐัพพะนั้น.
ธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล
จะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ธัมมารมณ์นั้น.
ความรู้ทางตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล
จะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางตานั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้
ทางตานั้น.
ความรู้ทางหู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล
จะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางหูนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้
ทางหูนั้น.
ความรู้ทางจมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางจมูกนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่
ความรู้ทางจมูกนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 245
ความรู้ทางลิ้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล
จะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางลิ้นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้
ทางลิ้นนั้น.
ความรู้ทางกาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางกายนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่
ความรู้ทางกายนั้น.
ความรู้ทางใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางใจนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่
ความรู้ทางใจนั้น.
ความกระทบทางตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางตานั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อม
ดับที่ความกระทบทางตานั้น.
ความกระทบทางหู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางหูนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อม
ดับที่ความกระทบทางหูนั้น.
ความกระทบทางจมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางจมูกนั้น เมื่อจะดับ
ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางจมูกนั้น.
ความกระทบทางลิ้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางลิ้นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อม
ดับที่ความกระทบทางลิ้นนั้น.
ความกระทบทางกาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางกายนั้น เมื่อจะดับ
ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางกายนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 246
ความกระทบทางใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางใจนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อม
ดับที่ความกระทบทางใจนั้น.
เวทนาที่เกิดแต่จักษุสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหา
นั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่จักษุสัมผัสนั้น
เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่จักษุสัมผัสนั้น.
เวทนาซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหา
นั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัสนั้น
เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัสนั้น.
เวทนาซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหา
นั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัสนั้น
เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัสนั้น.
เวทนาซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหา
นั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสนั้น
เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสนั้น.
เวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหา
นั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสนั้น
เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสนั้น.
เวทนาซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหา
นั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัสนั้น
เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัสนั้น.
ความจำรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล
จะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำรูปนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจำรูปนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 247
ความจำเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล
จะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำเสียงนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจำ
เสียงนั้น.
ความจำกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล
จะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำกลิ่นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจำ
กลิ่นนั้น.
ความจำรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล
จะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำรสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจำรสนั้น
ความจำโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำโผฏฐัพพะ เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับ
ที่ความจำโผฏฐัพพะนั้น.
ความจำธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อม
ดับ ที่ความจำธัมมารมณ์นั้น.
ความคิดถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงรูปนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับ
ความคิดถึงรูปนั้น.
ความคิดถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงเสียงนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อม
ดับ ที่ความคิดถึงเสียงนั้น.
ความคิดถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั่น เมื่อ
บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงกลิ่นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับ
ความคิดถึงกลิ่นนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 248
ความคิดถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงรสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่
ความคิดถึงรสนั้น.
ความคิดถึงโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะดับ
ย่อมดับเสียได้ที่ความคิดถึงโผฏฐัพพะนั้น.
ความคิดถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะดับ
ก็ย่อมดับเสียได้ที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้น.
ความอยากในรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในรูปนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับ
เสียได้ที่ความอยากในรูปนั้น.
ความอยากในเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในเสียงนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อม
ดับเสียได้ที่ความอยากในเสียงนั้น.
ความอยากในกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในกลิ่นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อม
ดับที่ความอยากในกลิ่นนั้น.
ความอยากในรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในรสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่
ความอยากในรสนั้น.
ความอยากในโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะดับ
ก็ดับได้ที่ความอยากในโผฏฐัพพะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 249
ความอยากในธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมจะละเสียได้ที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะดับ
ก็ย่อมดับที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น.
ความตรึกถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงรูปนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับได้
ที่ความตรึกถึงรูปนั้น.
ความตรึกถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงเสียงนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่
ความตรึกถึงเสียงนั้น.
ความตรึกถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อม
ดับที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น.
ความตรึกถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงรสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่
ความตรึกถึงรสนั้น.
ความตรึกถึงโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อม
ดับที่ความตรึกถึงโผฏฐัพพะนั้น.
ความตรึกถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะดับ ก็
ย่อมดับเสียได้ที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น.
ความตรองถึงรูป เป็นที่รัก ใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงรูปนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับ
เสียได้ที่ความตรองถึงรูปนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 250
ความตรองถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงเสียงนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อม
ดับที่ความตรองถึงเสียงนั้น.
ความตรองถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อม
ดับที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น.
ความตรองถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ
บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมจะละเสียได้ที่ความตรองถึงรสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับ
ที่ความตรองถึงรสนั้น.
ความตรองถึงโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะดับ
ก็ย่อมดับเลียได้ที่ความตรองถึงโผฏฐัพพะนั้น.
ความตรองถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะดับ
ก็ย่อมดับเสียได้ที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า อริยสัจ คือ ทุกขนิโรธ (ธรรม
เป็นที่ดับทุกข์).
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
[๒๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์) เป็นอย่างไร. ทางอันประเสริฐ ประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ทางเดียวนี้แล ทางนี้เป็นอย่างไร คือ ความเห็นชอบ ความดำริ
ชอบ การเจรจาชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ
ความระลึกชอบ ความตั้งจิตมั่นชอบ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 251
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้
ในธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์ อันใดแล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) เป็นอย่างไร
ความดำริในการออกบวช (คือออกจากกามารมณ์) ความดำริในความไม่พยาบาท
ความดำริในการไม่เบียดเบียน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาสัง-
กัปปะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจา (การเจรจาชอบ) เป็นอย่างไร
การเว้นจากการกล่าวเท็จ การเว้นจากวาจาส่อเสียด การเว้นจากวาจาหยาบคาย
การเว้นจากเจรจาเพ้อเจ้อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาวาจา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ) เป็นอย่างไร
การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การ
เว้นจากความประพฤติผิดในกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมา-
กัมมันตะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพชอบ) เป็นอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ละความเลี้ยงชีพผิดเสีย
แล้ว ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้
กล่าวว่า สัมมาอาชีวะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะ (ความพยายามชอบ) เป็นอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาป
ที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 252
ปรารภความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาป
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความ
เพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคอง
ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ใช่สาบศูนย์ เจริญยิ่ง ไพบูลย์มีขึ้นเต็มเปี่ยม
แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ย่อม
ปรารภความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า
สัมมาวายามะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย
เนือง ๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา
และโทมนัส (ความยินดีและความยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ ย่อมเป็น
ผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มี
สัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ ย่อมเป็นผู้พิจารณา
เห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมเนือง ๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาสติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามารมณ์ สงัดแล้ว
จากธรรมที่เป็นอกุศล เข้าถึงปฐมฌาน (ความเพ่งที่ ๑) ประกอบด้วยวิตก
และวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก เพราะความที่วิตกและวิจาร (ทั้ง ๒)
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 253
ระงับลง เข้าถึงทุติฌาน (ความเพ่งที่ ๒) เป็นเครื่องผ่องใสใจ ณ ภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขที่
เกิดจากสมาธิ อนึ่ง เพราะความที่ปีติ ปราศไป ย่อมเป็นผู้เพิกเฉยอยู่
และมีสติสัมปชัญญะ และเสวยความสุขด้วยกาย อาศัยคุณคือ อุเบกขา สติ
สัมปชัญญะ และเสวยสุขอันใดเล่า เป็นเหตุ พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าว
สรรเสริญผู้นั้น ว่าเป็นผู้อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เข้าถึงตติยฌาน (ความเพ่ง
ที่ ๓) เพราะละสุขเสียได้ เพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความที่โสมนัสและ
โทมนัส (ทั้ง ๒) ในกาลก่อนอัสดงดับไป เข้าถึงจตุตถฌาน (ความเพ่งที่ ๔)
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขมีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาสมาธิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า
อริยสัจ คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายใน
ทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง ย่อม
พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของ
เธอที่ตั้งอยู่ว่าธรรมมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก.
เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลก
ด้วย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ
๔ อย่างนี้แล.
จบ สัจจบรรพ
จบ ธัมมานุปัสสนา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 254
อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน ๔.
[๓๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
ว่าอย่างนั้นตลอด ๗ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระ-
อรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงเจริญสติ
ปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๖ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง
คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระ-
อนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ เปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึง
เจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๕ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล
อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๔ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผล
อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึง
เจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๓ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผล
อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึง
เจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๒ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 255
อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ ปียกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึง
เจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๑ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผล
อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปีหนึ่งยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๗ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒
ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๖ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒
ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๕ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒
ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๔ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒
ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 256
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๓ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒
ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๒ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลใน๒
ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๑ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลใน ๒
ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๑ เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอดกึ่งเดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒
ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกึ่งเดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๗ วัน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผล
อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความหมดจดวิเศษ
ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโสกและความร่ำไร เพื่ออัสดงดับไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 257
แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
คำอัน ใด ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ คำอันนั้น เราอาศัยเอกายนมรรค
(คือสติปัฏฐาน ๔) นี้กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้น มีใจยินดี
เพลิดเพลินนักซึ่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ มหาสติปัฏฐานสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 258
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
มหาสติปัฏฐานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้. ใน
มหาสติปัฏฐานสูตรนั้น มีพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้.
มูลกำเนิดมหาสติปัฏฐานสูตร
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเดียว ก็เพราะชนชาวแคว้นกุรุสามารถรับเทศนาที่
ลึกซึ้งได้.
เล่ากันว่า ชาวแคว้นกุรุ ไม่ว่าเป็นภิกษุ ภิกษุณี และอุบาสก อุบาสิกา
มีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์อยู่เป็นนิจ ด้วยเสพปัจจัย คือฤดูเป็นที่สบาย เพราะ
แคว้นนั้น สมบูรณ์ด้วยสัปปายะ มีอุตุสัปปายะเป็นต้น. ชาวกุรุนั้น มีกำลัง
ปัญญาอันร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์อุดหนุนแล้ว จึงสามารถรับเทศนาที่ลึก
ซึ้งนี้ได้. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเห็นความเป็นผู้สามารถรับ
เทศนาที่ลึกซึ้งอันนี้ จึงทรงยกกัมมัฏฐาน ๒๑ ฐานะ ใส่ลงในพระอรหัตตรัส
มหาสติปัฏฐานสูตรที่มีอรรถอันลึกซึ้งนี้ แก่ชาวกุรุเหล่านั้น. เปรียบเสมือน
บุรุษได้ผอบทองแล้ว พึงบรรจงใส่ดอกไม้นานาชนิดลงในผอบทองนั้นหรือว่า
บุรุษได้หีบทองแล้ว พึงใส่รตนะ ๗ ลงฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ฉันนั้น
ทรงได้บริษัทชาวกุรุแล้ว จึงทรงวางเทศนาที่ลึกซึ้ง. ด้วยเหตุนั้นแล ในข้อนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรอื่น ๆ อีก มีอรรถอันลึกซึ้งในคัมภีร์
ทีฆนิกายนี้ ก็คือมหานิทานสูตร ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ก็คือ สติปัฏฐานสูตร
สาโรปมสูตร รุกโขปมสูตร รัฏฐปาลสูตร มาคัณฑิยสูตร อาเนญชสัปปายสูตร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 259
อนึ่ง บริษัท ๔ ในแคว้นกุรุนั้น ต่างประกอบเนืองๆ ในการเจริญสติ
ปัฏฐานอยู่โดยปกติ โดยที่สุด คนรับใช้ และคนงานทั้งหลาย ก็พูดกันแต่เรื่อง
ที่เกี่ยวด้วย สติปัฏฐานกันทั้งนั้น แม้แต่ในที่ท่าน้ำ ที่กรอด้ายเป็นต้น ก็ไม่มี
การพูดกันถึงเรื่องที่ไร้ประโยชน์เลย. ถ้าสตรีบางท่านถูกถามว่า คุณแม่จ๊ะ คุณ
แม่ใสใจสติปัฎฐานข้อไหน นางจะไม่ตอบว่าอะไร ชาวกุรุจะติเตียนเขาว่าน่า
ตำหนิชีวิตของเจ้าจริงๆ เจ้าถึงเป็นอยู่ ก็เหมือนตายแล้ว ต่อนั้นก็จะสอนเขาว่า
อย่าทำอย่างนี้อีกต่อไปนะ แล้วให้เขาเรียนสติปัฏฐานข้อใดข้อหนึ่ง. แต่สตรี
ผู้ใดพูดว่า ดิฉันใส่ใจสติปัฏฐานข้อโน้นเจ้าค่ะ ชาวกุรุก็จะกล่าวรับรองว่า สาธุ
สาธุ แก่นาง สรรเสริญด้วยถ้อยคำต่าง ๆเป็นต้นว่า ชีวิตของเจ้าเป็นชีวิตดีสม
กับ ที่เจ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติมาเพื่อประโยชน์แก่เจ้า
แท้ๆ. ในข้อนี้ มิใช่ชาวกุรุที่เกิดมาเป็นมนุษย์ประกอบด้วยการใส่ใจสติปัฏฐาน
แต่พวกเดียวเท่านั้น แม้แต่สัตว์ดิรัจฉาน ที่อาศัยชาวกุรุอยู่ก็ใส่ใจ เจริญสติ
ปัฏฐานด้วยเหมือนกัน. ในข้อนั้น มีเรื่องสาธกดังต่อไปนี้.
เรื่องลูกนกแขกเต้า
เขาเล่าว่า นักฟ้อนรำผู้หนึ่ง จับลูกนกแขกเต้าได้ตัวหนึ่ง ฝึกสอน
มันพูดภาษาคน ( ตัวเองเที่ยวไปแสดงการฟ้อนรำในที่อื่น ๆ). นักฟ้อนรำ ผู้นั้น
อาศัยสำนักของนางภิกษุณีอยู่ เวลาไปในที่อื่น ๆ ลืมลูกนกแขกเต้าเสียสนิท
แล้วไป. เหล่าสามเณรีก็จับมันมาเลี้ยงตั้งชื่อมันว่า พุทธรักขิต. วันหนึ่ง พระมหา
เถรี. เห็นมันจับอยู่ตรงหน้า จึงเรียกมันว่า พุทธรักขิต. ลูกนกแขกเต้าจึงขาน
ถามว่า อะไรจ๊ะ แม่เจ้า. พระมหาเถรีจึงถามว่า การใส่ใจภาวนาอะไร ๆ ของเจ้า
มีบ้างไหม. มันตอบว่า ไม่มีจ๊ะแม่เจ้า. พระมหาเถรีจึงสอนว่า ขึ้นชื่อว่าผู้อยู่ใน
สำนักของพวกนักบวช จะปล่อยตัวอยู่ไม่สมควร ควรปรารถนาการใส่ใจบาง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 260
อย่าง แต่เจ้าไม่ต้องสำเหนียกอย่างอื่นดอก จงท่องว่า อัฏฐิ อัฏฐิก็พอ. ลูกนก
แขกเต้านั้น ก็อยู่ในโอวาทของพระเถรี ท่องว่า อัฏฐิ อัฏฐิ อย่างเดียวแล้วเที่ยว
ไป. วันหนึ่ง ตอนเช้ามันจับอยู่ที่ยอดประตู ผึ่งแดดอ่อนอยู่ แม่เหยี่ยวตัวหนึ่งก็
เฉี่ยวมันไปด้วยกรงเล็บ. มันส่งเสียงร้อง กิริ ๆ. เหล่าสามเณรี ก็ร้องว่าแม่เจ้า
พุทธรักขิตถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป เราจะช่วยมัน ต่างคว้าก้อนดินเป็นต้น ไล่ตาม
จนเหยี่ยวปล่อย. เหล่าสามเณรีนำมันมาวางไว้ตรงหน้าพระมหาเถรี ๆ ถามว่า
พุทธรักขิตขณะถูกเหยี่ยวจับไปเจ้าคิดอย่างไร. ลูกนกแขกเต้าตอบว่า แม่เจ้า ไม่
คิดอะไรๆ ดอก คิดแต่เรื่องกองกระดูกเท่านั้นจะแม่เจ้า ว่ากองกระดูกพากอง
กระดูกไป จักเรี่ยราดอยู่ในที่ไหนหนอ. พระมหาเถรี จึงให้สาธุการว่า สาธุ สาธุ
พุทธรักขิตนั้นจักเป็นปัจจัย แห่งความสิ้นภพของเจ้า ในกาลภายภาคหน้าแล.
แม้สัตว์ดิรัจฉานในแคว้นกุรุนั้น ก็ประกอบเนืองๆ ซึ่งสติปัฏฐาน ด้วยประการ
ฉะนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึงความเจริญแพร่หลายแห่ง
สติปัฏฐานของชาวกุรุเหล่านั้น จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.
อธิบายความตามลำดับบท
ในพระสูตรนั้น ข้อว่า เป็นทางเดียว คือ เป็นทางเอก. แท้จริง
ทางมีมากชื่อ คือ
มัคคะ ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ
วฏุมะ อยนะ นาวา อุตตรเสตุ กุลละ ภิสิสังกมะ
ทางนี้นั้น ในที่นี้ ท่านกล่าวโดยชื่อว่า อยนะ เพราะฉะนั้น ในข้อที่ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเดียวนี้ จึงควรเห็นความย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเอกมิใช่ทางสองแพร่ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 261
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า เอกายนะ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นทางที่บุคคล
พึงไปผู้เดียว. คำว่า ผู้เดียว คือคนที่ละการคลุกคลีด้วยหมู่ ปลีกตัวไปสงบสงัด.
ข้อว่า พึงไป คือ พึงดำเนินไป. อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า อยนะ เพราะอรรถ
วิเคราะว่าเป็นเครื่องไป อธิบายว่า ไปจากสังสารวัฏสู่พระนิพพาน. หนทาง
ไปของบุคคลผู้เป็นเอก ชื่อว่า เอกายนะ. บทว่า เอกสฺส คือ ของบุคคล
ผู้ประเสริฐสุดแห่งสรรพสัตว์. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงประเสริฐกว่าสรรพ-
สัตว์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงอธิบายว่า หนทางของพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้สัตว์
เหล่าอื่น ถึงจะเดินไปด้วยหนทางนั้นก็จริง แม้เช่นนั้น หนทางนั้นก็เป็นทาง
เดินของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น เพราะเป็นทางที่พระองค์ทรงทำให้เกิดขึ้น.
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในโคปกโมคคัลลานสูตร) ว่า ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มี
พระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ทำมรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้นดังนี้เป็นต้น . อีกนัยหนึ่ง
ทางย่อมไป เหตุนั้น จึงชื่อว่า อยนะ อธิบายว่า ไป คือเป็นไป. หนทางไป
ในธรรมวินัยอันเดียว ชื่อว่า เอกายนะ ท่านอธิบายว่า หนทางเป็นไปในธรรม
วินัยนี้เท่านั้น ไม่เป็นไปในธรรมวินัย (ศาสนา) อื่น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้
(ในมหาปรินิพพานสูตร) ว่าดูก่อนสุภัททะ มรรคมีองค์ ๘ ที่เป็นอริยะ บุคคล
จะได้ก็แต่ในธรรมวินัยนี้แล ดังนี้. ก็มรรคนั้นต่างกันโดยเทศนา แต่โดย
อรรถก็อันเดียวกันนั้นเอง.
อีกนัยหนึ่ง หนทางย่อมไปครั้งเดียว เหตุนั้น หนทางนั้นจึงชื่อ
เอกายนะ (ทางไปครั้งเดียว). ท่านอธิบายว่า หนทางแม้เป็นไปโดย มุข คือ
ภาวนามีนัยต่างๆ กัน เบื้องต้น ในเบื้องปลายก็ไปสู่พระนิพพานอันเดียวกัน
นั่นเอง. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่าท้าว
สหัมบดีพรหมกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 262
เอกายน ชาติขยนฺตทสฺสี
มคฺค ปชานาติ หิตานุกมฺปี
เอเตน มคฺเคน ตรึสุ ปุพฺเพ
ตริสฺสเร เจว ตรนฺติ ใจฆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นธรรม
เป็นที่สิ้นชาติ ทรงพระกรุณาอนุเคราะห์
ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ทรงทราบชัด
เอกายนมรรค พระพุทธะทั้งหลายในอดีต
พากันข้าม โอฆะ(โอฆะ ๔) ด้วยมรรคนั้น
มาแล้ว พระพุทธะทั้งหลาย ในอนาคตก็
จัก ข้ามโอฆะด้วยมรรคนั้น และพระพุทธะ
ทั้งในปัจจุบัน ก็ข้ามโอฆะด้วยมรรคอย่าง
เดียวกันนั้นแล.
แต่เกจิอาจารย์กล่าวตามนัยแห่งคาถาที่ว่า ชนทั้งหลาย ไม่ไปสู่ฝั่ง
(พระนิพพาน) สองครั้งดังนี้ ว่า เพราะเหตุบุคคลไปพระนิพพานได้คราวเดียว
ฉะนั้น หนทางนั้น จึงชื่อว่า เอกายนะไปคราวเดียว. คำนั้นไม่ถูก. เพราะอรรถนี้
จะพึงมีพยัญชนะอย่างนี้ว่า สกึ อยโน ไปคราวเดียว. ก็ถ้าหากว่า จะพึงประกอบ
อรรถะ กล่าวอย่างนี้ว่า การไปครั้งเดียว คือการดำเนินครั้งเดียวของมรรคนั้น
เป็นไปอยู่ดังนี้ พยัญชนะก็น่าจะถูก. แต่อรรถะ ไม่ถูกทั้งสองประการ. เพราะ
เหตุไร. ก็เพราะในที่นี้ ท่านประสงค์แต่มรรคที่เป็นส่วนเบื้องต้น. เป็นความจริง
ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาแต่มรรคที่มีสติปัฏฐานเป็นส่วนเบื้องต้น ซึ่งเป็นไป
โดยอารมณ์ ๔ มีกายเป็นต้น. มิได้ประสงค์เอามรรคที่เป็น โลกุตตระ. ด้วยว่า
มรรคที่เป็นส่วนเบื้องต้นนั้นย่อมดำเนินไปแม้มากครั้ง ทั้งการดำเนินไปของ
มรรคนั้น ก็มิใช่มีครั้งเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 263
ธรรมสากัจฉาของพระมหาเถระ
ในข้อนี้ แต่ก่อนพระมหาเถระทั้งหลาย ก็ได้เคยสนทนากันมาแล้ว.
ท่านพระจุลลนาคเถระ ผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า สติปัฏฐาน เป็นมรรค
เบื้องต้น (บุพภาค). ส่วนท่านจุลลสุมนเถระ ผู้ทรงพระไตรปิฎก อาจารย์
ของท่านพระจุลลนาคเถระ กล่าวว่า เป็นมรรคผสม (มิสสกะ). ศิษย์ว่า เป็น
ส่วนเบื้องต้นขอรับ. อาจารย์ว่าเป็นมรรคผสมนะเธอ. แต่เมื่ออาจารย์พูดบ่อยๆ
เข้า ศิษย์ก็ไม่ค้าน กลับนิ่งเสีย. ทั้งศิษย์ทั้งอาจารย์ตกลงปัญหากันไม่ได้
ต่างก็ลุกไป. ภายหลังพระเถระผู้เป็นอาจารย์ เดินไปโรงสรงน้ำ คิดใคร่ครวญว่า
เรากล่าวว่า เป็นมรรคผสม ส่วนท่านจุลลนาคยึดหลักกล่าวว่า เป็นส่วนเบื้องต้น
ข้อวินิจฉัยในข้อนี้เป็นอย่างไรกันหนอ เมื่อทบทวนสวดพระสูตร (มหาสติ
ปัฏฐานสูตร) ตั้งแต่ต้น ก็กำหนดได้ตรงนี้ที่ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ถึง ๗ ปี ก็รู้ว่าโลกุตตมรรคเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า
ตั้งอยู่ถึง ๗ ปี ไม่มี ที่เรากล่าวว่าเป็นมรรคผสม ย่อมไม่ได้ (ไม่ถูก) ส่วน
ที่ท่านจุลลนาคเห็นว่า เป็นมรรคส่วนเบื้องต้น ย่อมได้ (ถก) เมื่อเขาประกาศ
การฟังธรรมวัน ๘ ค่ำ ท่านก็ไป.
เล่ากันว่า พระเถระเก่า ๆ เป็นผู้รักการฟังธรรม ครั้นได้ยินเสียง
ประกาศ ก็เปล่งเสียงเป็นอันเดียวกัน ว่า ผมก่อน ผมก่อน. วันนั้น เป็นวาระ
ของท่านพระจุลลนาคเถระ. ท่านนั่งบนธรรมาสน์ จับพัด กล่าวคาถาเบื้องต้น
พระเถระผู้อาจารย์อยู่หลังอาสนะก็คิดว่า จะนั่งลับ ๆ ไม่พูดจาละ. แท้จริง
พระเถระเก่า ๆ ไม่ริษยากัน ไม่หยิบยกเอาความชอบใจของตนขึ้นเป็นภาระ
อย่างแบกท่อนอ้อย ถือเอาแต่เหตุ (ที่ควร) เท่านั้น ที่มิใช่ ก็สละไป เพราะ
ฉะนั้น ท่านพระจุลลสุมนเถระจึงเรียกท่านจุลลนาคเบา ๆ ท่านจุลลนาคเถระ
ได้ยินเหมือนเสียงอาจารย์เรียก จึงหยุดธรรมกถาถามว่า อะไรขอรับ .
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 264
อาจารย์กล่าวว่าท่านจุลลนาค ที่เรากล่าวว่าเป็นมรรคผสมนั้น ไม่ถูกดอก
ส่วนที่เธอกล่าวว่า สติปัฏฐานเป็นมรรคเบื้องต้นถูกแล้ว. ท่านพระจุลลนาคเถระ
คิดว่า อาจารย์ของเราทรงปริยัติธรรมไว้ทั้งหมด เป็นสุตพุทธะทางพระไตรปิฎก
ภิกษุเห็นปานนี้ยังวุ่นวายกับปัญหามาก ต่อไปภายภาคหน้า พระธรรมกถึก
ทั้งหลายจักวุ่นวายกับปัญหาชนิดนี้ เพราะฉะนั้น เราจักยึดพระสูตรเป็นหลัก
ทำปัญหาชนิดนี้ ไม่ให้วุ่นวายต่อไปละ. สติปัฏฐานเป็นมรรคเบื้องต้น แต่
ปฏิสัมภิทามรรค เรียกว่า เอกายนมรรค. ท่านจึงนำพระสูตร (ในธรรมบท
ขุททกนิกาย) ตั้งเป็นบทอุเทศว่า
มคฺคานฏงฺคิโก เสฏฺโ สจฺจาน จตุโร ปทา
วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมาน ทิปทานญฺจ จกฺขุมา
เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโ ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา
เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปชฺชถ มารเสนปฺปมทฺทน
เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปนฺนา ทุกขสฺสสนฺต กริสฺสถ
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘
ประเสริฐสุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท
ทั้ง ๔ (อริยสัจ) ประเสริฐสุด บรรดาธรรม
ทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐสุด บรรดา
สัตว์สองเท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ
ประเสริฐสุด ทางนี้เท่านั้น เพื่อความหมด
จดแห่งทรรศนะ ทางอื่นไม่มี ท่านทั้งหลาย
จงเดินทางนี้ ที่เป็นเครื่องกำจัดกองทัพมาร
ท่านทั้งหลายเดินทางนี้แล้ว จักกระทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 265
ในข้อว่า มรรค ที่ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าอะไร. เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องเดินไปสู่พระนิพพานอย่างหนึ่ง เพราะอรรถว่า อันผู้ต้องการ
พระนิพพานพึงค้นหา อย่างหนึ่ง.
ข้อว่า เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย หมายความว่า เพื่อ
ประโยชน์แก่ความหมดจดของสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตเศร้าหมอง เพราะมลทิน
ทั้งหลายมีราคะเป็นต้น และเพราะอุปกิเลสทั้งหลาย มีอภิชฌาวิสมโลภะ
เป็นต้น เป็นความจริง สัตว์เหล่านี้คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอเนก
ตั้งต้นแต่พระพุทธเจ้า พระนามว่า ตัณหังกร เมธังกร สรณังกร ทีปังกร
ซึ่งปรินิพพานในกัปเดียวเท่านั้น เบื้องต้นแต่ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ แต่กัปป์นี้
ลงมาจนถึงพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศากยมุนี เป็นที่สุด พระปัจเจกพุทธเจ้า
หลายร้อย แลพระอริยสาวกทั้งหลาย อีกนับไม่ถ้วน ต่างลอยมลทินทางจิต
ทั้งหมด ถึงความหมดจดอย่างยิ่ง ด้วยทางนี้เท่านั้น. การบัญญัติความเศร้าหมอง
และผ่องแผ้ว โดยมลทินทางรูปอย่างเดียว ไม่มี. สมจริง ดังคำที่กล่าวไว้ว่า
รูเปน สงฺกิลิฏฺเน สกิลิสฺสนฺติ มาณวา
รูเป สุทฺเธ วิสุชฺฌนฺติ อนกฺขาต มเหสินา
จิตฺเตน สงฺกิลิฏฺเน สกิลิสฺสนฺติ มาณวา
จิตฺเต สุทฺเธ วิสุชฺฌนฺติ อิติ วุตฺต มเหสินา.
พระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่ง
ใหญ่ มิได้ตรัสสอนว่า คนทั้งหลาย มีรูป
เศร้าหมองแล้ว จึงเศร้าหมอง มีรูปหมดจด
แล้ว จึงหมดจด แต่พระผู้ทรงแสวงหาคุณ
อันยิ่งใหญ่ ทรงสอนว่า คนทั้งหลาย มีจิต
เศร้าหมองแล้ว จึงเศร้าหมอง มีจิตหมด
จดแล้วจึงหมดจด ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 266
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง ย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิต
ผ่องแผ้ว ดังนี้. ก็ความผ่องแผ้วแห่งจิตนั้น ย่อมมีได้ด้วยมรรค คือ สติปัฏฐานนี้.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย.
ข้อว่า เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ หมายความว่า เพื่อก้าว
ล่วง คือ ละโสกะ และปริเทวะ. จริงอยู่ มรรคนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อก้าวล่วง โสกะ เหมือนอย่าง โสกะของสันตติมหาอำมาตย์เป็นต้น
เพื่อก้าวล่วง ปริเทวะ เหมือนอย่างปริเทวะของนางปฏาจาราเป็นต้น เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพื่อก้าวล่วง โสกะ และปริเทวะ. แท้จริง
สันตติมหาอำมาตย์ฟังคาถาที่ว่า
ย ปุพฺเพ ต วิโสเธหิ ปจฺฉา เต มาหุ กิญฺจน
มชฺเฌ เจ โน คเหสฺสสิ อุปสนฺโต จริสฺสสิ
ท่านจงทำความโศกในกาลก่อนให้
เหือดแห้ง ท่านอย่ามีความกังวลใจ ในกาล
ภายหลัง ถ้าท่านจักไม่ยึดถือในท่ามกลาง
ก็จักเป็นผู้สงบเที่ยวไป ดังนี้
แล้วก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา นางปฏาจารา ฟังพระคาถานี้ว่า
น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย น ปิตา นปิ พนฺธวา
อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส นตฺถิาตีสุ ตาณตา
มีบุตรไว้เพื่อช่วยก็ไม่ได้ บิดาก็ไม่ได้
พวกพ้องก็ไม่ได้ เมื่อความตายมาถึงตัว
แล้ว ญาติทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้ ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 267
แล้วก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ก็เพราะเหตุว่า ชื่อว่าการไม่ถูกต้องธรรมบางอย่าง
ในกายเวทนาจิต ธรรมทั้งหลายแล้ว ภาวนาไม่มีเลย ฉะนั้น สันตติมหา-
อำมาตย์กับนางปฏาจาราแม้นั้นจึงควรทราบว่า เป็นผู้ก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ
ด้วยมรรคนี้เอง.
ข้อว่า เพื่อดับทุกข์ และโทมนัส ความหมายว่า เพื่อตั้งอยู่ไม่ได้
คือ ดับทั้งสองนี้ คือ ทุกข์ทางกาย และโทมนัสทางใจ. ด้วยว่ามรรคนี้
บุคคลเจริญแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อดับทุกข์ เหมือนทุกข์ของพระติสสเถระเป็นต้น
ดับโทมนัส เหมือนอย่างโทมนัสของท้าวสักกะเป็นต้น. ในเรื่องทั้งสองนั้น
แสดงความดังต่อไปนี้.
เรื่องทุกข์ของพระติสสเถระ
เล่ากันว่า ในกรุงสาวัตถี บุตรของกุฏุมภีชื่อติสสะทรัพย์ ๔๐ โกฏิ
ออกบวชโดดเดี่ยวอยู่ในป่าที่ไม่มีบ้าน. ภริยาของน้องชายท่าน ส่งโจร ๕๐๐ ให้
ไปฆ่าท่านเสีย. พวกโจรไปล้อมท่านไว้. ท่านจึงถามว่า ท่านอุบาสกมาทำไมกัน
พวกโจรตอบว่า มาฆ่าท่านนะซิ. ท่านจึงพูดขอร้องว่า ท่านอุบายสกทั้งหลาย
โปรดรับประกันอาตมา ให้ชีวิตอาตมาสักคืนหนึ่งเถิด. พวกโจรกล่าวว่าสมณะ
ใครจักประกันท่านในฐานะอย่างนี้ได้. พระเถระก็จับหินก้อนใหญ่ทุบกระดูกขา
ทั้งสองข้าง แล้วกล่าวว่าประกันพอไหม. เหล่าโจรพวกนั้นก็ยังไม่หลบไป
กลับก่อไฟนอนเสียที่ใกล้จงกรม พระเถระข่มเวทนา พิจารณาศีล อาศัยศีล
ที่บริสุทธิ์ก็เกิดปีติและปราโมช. ลำดับต่อจากนั้น ก็เจริญวิปัสสนา ทำสมณ
ธรรมตลอดคืน ในยามทั้งสาม พออรุณขึ้น ก็บรรลุพระอรหัตจึงเปล่งอุทานว่า
อุโภ ปาทานิ ภินฺทิตฺวา สญฺมิสฺสามิ โว อห
อฏฺฏิยามิ หรายามิ สราคมรเณ อห
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 268
เอวาห จินฺตยิตฺวาน ยถาภูต วิปสฺสิส
สมฺปตฺเต อรุณุคฺคมฺหิ อรหตฺต อปาปุณึ
เราทุบเท้าสองข้าง ป้องกันท่าน
ทั้งหลาย เราเอือมระอาในความตายทั้งที่
ยังมีราคะ เราคิดอย่างนี้แล้ว ก็เห็นแจ้ง
ตามเป็นจริง พอรุ่งอรุณมาถึง เราก็บรรลุ
พระอรหัต ดังนี้.
เรื่องทุกข์ของภิกษุ ๓๐ รูป
ภิกษุ ๓๐ รูป อีกกลุ่มหนึ่ง เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วจำพรรษาในวัดป่า ทำกติกากันว่า ผู้มีอายุ เราควรทำสมณ-
ธรรม ตลอดคืนในยามทั้งสาม เราไม่ควรมายังสำนักของกันและกัน แล้วต่าง
คนต่างอยู่. เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำสมณธรรม ตอนใกล้รุ่งก็โงกหลับ เสือตัวหนึ่ง
ก็มาจับภิกษุไปกินทีละรูปๆ. ภิกษุไร ๆ ก็มิได้เปล่งแม้วาจาว่า เสือคาบผมแล้ว.
ภิกษุถูกเสือกินไป ๑๕ รูป ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงวันอุโบสถ ภิกษุที่เหลือ
ก็ถามว่าท่านอยู่ที่ไหน และรู้เรื่องแล้วก็กล่าวว่า ถูกเสือคาบควรบอกว่า บัดนี้
เราถูกเสือคาบไป ๆ แล้วก็อยู่กันต่อไป. ต่อมาเสือก็จับภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง โดย
นัยก่อน. ภิกษุหนุ่มก็ร้องว่า เสือขอรับ. ภิกษุทั้งหลายก็ถือไม้เท้า และคบ
เพลิงติดตามหมายว่าจะให้มันปล่อย เสือก็ขึ้นไปยังเขาขาด ทางที่ภิกษุทั้งหลาย
ไปไม่ได้ เริ่มกินภิกษุนั้น ตั้งแต่นิ้วเท้า. ภิกษุทั้งหลายนอกนั้น ก็ได้แต่กล่าวว่า
สัปบุรุษ บัดนี้ กิจที่พวกเราจะต้องทำไม่มี ขึ้นชื่อว่าความวิเศษของภิกษุทั้งหลาย
ย่อมปรากฏในฐานะเช่นนี้. ภิกษุหนุ่มนั้น นอนอยู่ในปากเสือ ข่มเวทนา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 269
เจ็บปวด แล้วเจริญวิปัสสนา ตอนเสือกินถึงข้อเท้า เป็นพระโสดาบัน ตอนกิน
ไปถึงหัวเข่าเป็นพระสกทาคามี ตอนเสือกินไปถึงท้อง เป็นพระอนาคามี
ตอนเสือกินไปยังไม่ถึงหัวใจ ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา จึงเปล่ง
อุทาน ดังนี้ว่า
สีลวา วตฺตสมฺปนฺโน ปญฺวา สุสมาหิโต
มุหุตฺต ปมาทมนฺวาย พฺยคฺเฆ โน รุทฺธมานโส
ปญฺชรสฺมึ โส คเหตฺวา สิลาย อุปรี กโต
กาม ขาทตุ ม พฺยคฺโฆ อฏฺิยา จ นฺหารุสฺส จ
กิเลเส เขปยิสฺสามิ ผุสิสฺสามิ วิมุตฺติย
เรามีศีล ถึงพร้อมด้วยวัตร มีปัญญา
มีใจมั่นคงดีแล้ว อาศัยความประมาท ครู่
หนึ่ง ทั้งที่มีใจไม่คิดร้ายในเสือ มันก็จับ
ไว้ในกรงเล็บ พาไปไว้บนก้อนหิน เสือ
จงกินเราถึงกระดูกและเอ็นก็ตามที เราจัก
ทำกิเลสให้สิ้นไป จักสัมผัสวิมุตติ ดังนี้.
เรื่องทุกข์ ของพระปีติมัลลเถระ
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ชื่อ ปีติมัลลเถระ ครั้งเป็นคฤหัสถ์ ท่านถือธงมา
เกาะลังกา ถึง ๓ รัชกาล เข้าเฝ้าพระราชาแล้ว ได้รับพระราชานุเคราะห์
วันหนึ่ง เดินทางไปประตูศาลา ที่มีที่นั่งปูด้วยเสื่อลำแพน ได้พึงนตุมหากวรรค
(ในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 270
ท่านจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุข ตลอดกาลนาน ดั่งนี้แล้วก็คิดว่า มิใช่รูปเท่านั้น เวทนาก็ไม่ใช่ของ
ตน. เขาทำพระบาลีนั้นให้เป็นหัวข้อ แล้วออกไปยังมหาวิหารขอบวช
บรรพชาอุปสมบท แล้วกระทำมาติกา ให้ทั้งสองคล่องแคล่ว พาภิกษุ ๓๐ รูป
ไปยังลาน ณ ตำบลควปรปาลี กระทำสมณธรรม. เมื่อเท้าเดินไม่ไหว ก็คุก
เข่าเดินจงกรม. ในคืนนั้น พรานเนื้อผู้หนึ่งสำคัญว่าเนื้อ ก็พุ่งหอกออกไป
หอกก็แล่นถูกท่านถึงทะลุ ท่านก็ให้เขาชักหอกออก เอาเกลียวหญ้าอุดปากแผล
ให้เขาจับตัวนั่งบนหลังแผ่นหิน ให้เขาเปิดโอกาส เจริญวิปัสสนา ก็บรรลุ
พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา พยากรณ์ แก่ภิกษุทั้งหลายที่พากันมาโดยให้
เสียงไอ จาม เปล่งอุทานดังนี้ว่า
ภาสิต พุทฺธเสฏฺสฺส สพฺพโลกคฺควาทิโน
น ตุมฺหากมิท รูป ต ชเหยฺยาถ ภิกฺขโว
อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตส วูปสโม สุโข
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ที่สรร-
เสริญกันว่า เลิศทุกแหล่งล้า ทรงภาษิตไว้
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปนี้มิใช่ของท่าน
ท่านทั้งหลายพึงละรูปนั้นเสีย
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีเกิด
และเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดแล้วก็ดับ
ความสงบระงับแห่งสังขารเหล่านั้น เป็น
สุข ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 271
มรรคนี้ย่อมเป็นไปเพื่อดับทุกข์เหมือนอย่างทุกข์ของพระติสสเถระ
เป็นต้นเพียงเท่านี้ก่อน.
เรื่องโทมนัสของท้าวสักกะ
ก็ท้าวสักกะ จอมเทพ ทรงเห็นบุพนิมิต ๕ ประการ ของพระองค์
ถูกมรณภัยคุกคาม เกิดโทมนัส เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหา.
ท้าวเธอก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตตผลพร้อมด้วยเทวดาแปดหมื่นองค์ด้วยอำนาจการ
วิสัชนาอุเบกขาปัญหา. เรื่องการอุบัติของท้าวเธอจึงกลับเป็นปกติอีก.
เรื่องโทมนัสของสุพรหมเทพบุตร
แม้สุพรหมเทพบุตร อันนางเทพอัปสรพันหนึ่ง ห้อมล้อม ก็เสวย
สวรรคสมบัติ. ในจำพวกนางเทพอัปสรพันหนึ่งนั้น นางเทพอัปสรห้าร้อย
มัวเก็บดอกไม้จากต้น ก็จุติไปเกิดในนรก สุพรหมเทพบุตรรำพึงว่าทำไม เทพ
อัปสรเหล่านี้จึงชักช้าอยู่ ก็รู้ว่าพวกนางไปเกิดในนรก จึงหันมาพิจารณาดู
ตัวเองว่า อายุเท่าไรแล้วหนอ ก็รู้ว่าตนจะสิ้นอายุ จะไปเกิดในนรกนั้นด้วย
ก็หวาดกลัว เกิดโทมนัสอย่างยิ่ง เห็นว่า พระบรมศาสดาเท่านั้น จะยังความ
โทมนัสของเรานี้ให้พินาศไป ไม่มีผู้อื่น แล้วก็พานางเทพอัปสรห้าร้อยที่เหลือ
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหาว่า
นิจฺจุตฺรสฺตมิท จิตฺต นิจฺจุพฺพิคฺคมิท มโน
อนุปฺปนฺเนสุ กิจฺเจสุ อโถ อุปฺปตฺติเตสุ จ
สเจ อตฺถิ อนุตฺรสฺต ต เม อกฺขาหิ ปุจฺฉิโต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 272
จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ จิตใจนี้หวาด
อยู่เป็นนิตย์ ทั้งในกิจที่ยังไม่เกิด ทั้งในกิจ
ที่เกิดแล้ว ถ้าหากว่าความไม่หวาดสะดุ้ง
มีอยู่ ขอพระองค์ที่ถูกทูลถามแล้ว โปรด
บอกความไม่หวาดสะดุ้งนั้น แก่ข้าพระ-
องค์ด้วยเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้า จึงได้ตรัสบอก สุพรหมเทพบุตร
(ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค) ว่า
นาญฺตฺร โพชฺฌา ตปสา นาญฺตฺร อินฺทฺริยสวรา
นาญฺญตฺร สพฺพปฏินิสฺสคฺคา โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณิน
นอกจากปัญญาเครื่องรู้ ตปะเครื่อง
เผาความชั่ว นอกจากความสำรวมอินทรีย์
นอกจากความสละคืนทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็
มองไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย
ดังนี้.
ในที่สุดเทศนา สุพรหมเทพบุตรก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วย
นางเทพอัปสรห้าร้อยทำสมบัตินั้นให้ถาวรแล้วกลับไปยังเทวโลก.
มรรคนี้อันบุคคลเจริญแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเป็นไปเพื่อดับ
โทมนัส เหมือนอย่างโทมนัสของท้าวสักกะ เป็นต้น ดังกล่าวมานี้.
มรรคมีองค์ ๘ ที่เป็นอริยะ เรียกว่า ญายธรรม ในข้อที่ว่า าย-
สฺส อธิคมาย เพื่อบรรลุญายธรรม ท่านอธิบายว่า เพื่อบรรลุ คือเพื่อถึง
ญายธรรมนั้น. จริงอยู่ มรรค คือสติปัฏฐานที่เป็น โลกิยะเบื้องต้นนี้ อัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 273
บุคคลเจริญแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุมรรคที่เป็นโลกุตตร. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพื่อบรรลุญายธรรม.
ข้อว่า เพื่อให้แจ้งพระนิพพาน ท่านอธิบายว่า เพื่อทำให้แจ้ง
คือเพื่อประจักษ์ด้วยตนเอง ซึ่งอมตธรรมที่ได้ชื่อว่านิพพาน เพราะเว้นจาก
ตัณหาเครื่องร้อยรัด. จริงอยู่ มรรคนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมยังการทำ
ให้แจ้งพระนิพพานให้สำเร็จไปตามลำดับ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน ดังนี้.
ในพระสูตรนั้น ถึงเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพื่อความหมดจด
ของสัตว์ทั้งหลายแล้ว ข้อที่ว่า เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะเป็นต้น
ก็เป็นอันสำเร็จใจความได้ก็จริง แต่ยกเวนผู้ฉลาดรู้ข้อยุติของคำสั่งสอนเสียแล้ว
ก็ไม่ปรากฏแก่คนอื่น ๆ ได้ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า หาได้ทรงทำให้ชนผู้ฉลาด
รู้ข้อยุติของคำสั่งสอนเสียก่อนแล้ว ทรงแสดงธรรมในภายหลังไม่ หากแต่ทรง
ยังชนทั้งหลายให้รู้อรรถะนั้น ๆ ด้วยสูตรนั้น ๆ เลยทีเดียว เพราะฉะนั้น ในที่นี้
เอกายนมรรค จะยังอรรถใด ๆ ให้สำเร็จได้ ก็ทรงแสดงอรรถนั้น ๆ ให้ปรากฏ
จึงตรัสข้อว่า เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะเป็นต้น. หรืออีกนัยหนึ่ง
ความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปได้ด้วยเอกายนมรรค ความหมดจด
นั้น. ย่อมมีได้ด้วยความก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ ความก้าวล่วงโสกะ และ
ปริเทวะ ย่อมมีได้ด้วยความดับทุกข์ และโทมนัส ความดับทุกข์และโทมนัส
ย่อมมีได้ด้วยการบรรลุญายธรรม การบรรลุญายธรรม ย่อมมีได้ด้วยการทำ
ให้แจ้งพระนิพพาน เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงลำดับการอันนี้ จึงตรัสว่า
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย แล้วตรัส ข้อว่า เพื่อก้าวล่วงโสกะ
และปริเทวะเป็นต้นไป.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 274
อีกนัยหนึ่ง คำที่กล่าวมานี้เป็นการพรรณนาคุณของเอกายนมรรค. 0
เปรียบเหมือนอย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคุณด้วยบททั้ง ๘ ด้วย
ฉฉักกเทศนา (ฉฉักกสูตร มัชฌิมนิกายอุปริปัณณาสก์) ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราจักแสดงแก่ท่านทั้งหลาย ถึงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน
ท่ามกลาง งามในเบื้องปลาย จักประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์
สิ้นเชิงพร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ คือ ฉฉักกธรรม ๖ ดังนี้ฉันใด
และตรัสคุณด้วยบททั้ง ๙ ด้วย อริยวังสเทศนา (อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต)
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ เหล่านี้รู้กันว่า เลิศมีมานาน เป็นวงศ์
พระอริยะ เป็นของเก่า ในอดีตก็ไม่มีใครรังเกียจไม่เคยรังเกียจ ในปัจจุบัน
ก็ไม่รังเกียจกัน ในอนาคตก็จักไม่รังเกียจกัน สมณพราหมณ์ผู้รู้ก็ไม่เกลียด
แล้วดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคุณของ เอกายนมรรค แม้อันนี้
ด้วยบททั้ง ๗ มีว่า เพื่อหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้นก็ฉันนั้น. ถ้าจะถามว่า
เพราะเหตุใด ก็ตอบได้ว่า เพื่อให้เกิดอุตสาหะ แก่ภิกษุเหล่านั้น. จริงอยู่
ภิกษุเหล่านั้นฟังการตรัสคุณ (ของเอกายนมรรค) รู้ว่า มรรคนี้นำไปเสียซึ่ง
อุปัททวะ ๔ คือ โสกะ อันเป็นเครื่องเผาใจ ปริเทวะ อันเป็นการพิไรรำพัน
ทุกขะ อันเป็นความไม่สำราญทางกาย โทมนัส อันเป็นความไม่สำราญทางใจ
นำมาซึ่งคุณวิเศษ ๓ คือ วิสุทธิ ญายธรรม พระนิพพาน ดังนี้แล้วก็เกิด
อุตสาหะ สำคัญ เทศนานี้ว่า ควรเล่า ควรเรียน ควรทรงจำ ควรบอกกล่าว
และจักสำคัญมรรคอันนี้ว่า ควรเจริญ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสคุณ (ของเอกายนมรรค) เพื่อให้เกิดอุตสาหะ แก่ภิกษุเหล่านั้น เหมือน
พ่อค้าผ้ากัมพลเป็นต้น โฆษณาคุณภาพของผ้ากัมพล เป็นต้นฉะนั้น.
เหมือนอย่างว่า แม้ว่าพ่อค้าผ้ากัมพลอันมีค่านับแสน โฆษณาว่าโปรด
ซื้อผ้ากัมพล มนุษย์ทั้งหลายก็ยังไม่ทราบก่อนดอกว่า ผมคนก็มี ผ้ากัมพล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 275
ทำด้วยขนสัตว์ก็มีเป็นต้น มันมีกลิ่นสาบสัมผัสหยาบ แต่ก็เรียกว่า ผ้ากัมพล
เหมือนกัน ต่อเมื่อใดพ่อค้านั้นโฆษณาว่าผ้ากัมพลสีแดงทำในแคว้นคันธาระ
ละเอียดสดใส สัมผัสละมุน เมื่อนั้นถ้ามีเงินพอก็จะซื้อเอา มีไม่พอ ก็อยาก
จะชม ฉันใด แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้
เป็นทางเดียวดังนี้ ก็ยังไม่ปรากฏก่อนดอกว่า หนทางไหน ด้วยว่าแม้หนทาง
ที่ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์มีประการต่าง ๆ ก็เรียกกันว่า หนทางเหมือนกัน แต่
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลายดังนี้ เป็นต้น
ภิกษุทั้งหลายก็ทราบว่าหนทางนี้นำมาซึ่ง อุปัทวะ ๔ นำมาซึ่งคุณวิเศษ ๓
แล้วก็เกิดอุตสาหะ สำคัญเทศนานี้ว่า ควรเล่า ควรเรียน ควรทรงจำ
ควรบอกกล่าว และจักสำคัญมรรคอันนี้ว่า ควรเจริญ เพราะฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสคุณ (ของเอกายนมรรค) จึงตรัสว่าเพื่อความหมดจด
ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น.
อนึ่ง ข้ออุปมาว่าด้วยพ่อค้าผ้ากัมพลสีเหลือง อันมีค่าแสน นำมา
เปรียบฉันใด ในข้อนี้ก็ควรนำข้ออุปมาว่าด้วยพ่อค้า ทองชมพูนุทสีสุก แก้วมณี
กรองน้ำให้ใส แก้วมุกดาที่บริสุทธิ์ ผ้าขนสัตว์ และแก้วประพาฬเป็นต้น
เอามาเปรียบฉันนั้น.
คำว่า ยทิท เป็นศัพท์นิบาต. ศัพท์นิบาตนั้น มีความดังนี้ว่า
เหล่านี้ใด (เย อิเม). คำว่า จตฺตาโร (๔) เป็นศัพท์กำหนดจำนวน ด้วย
จำนวนนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการกำหนดจำนวนสติปัฏฐานว่า ไม่
ต่ำกว่านั้น ไม่สูงกว่านั้น คำว่า สติปัฏฐานทั้งหลาย ได้แก่ สติปัฏฐาน ๓ คือ
อารมณ์แห่งสติก็มี ความที่พระบรมศาสดาทรงล่วงเลยความยินร้ายและยินดีใน
พระสาวกทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติ ๓ อย่างก็มี ตัวสติก็มี. อารมณ์แห่งสติ เรียกว่า
สติปัฏฐาน ได้ในบาลีเป็นต้น (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับไปแห่ง สติปัฏฐาน ๔ ท่านทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 276
จงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร ความเกิดแห่ง
กาย ก็เพราะอาหารก่อให้เกิดดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติปัฏฐาน ได้ในบาลี
(ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค) เป็นต้นว่า กายเป็นที่ปรากฏมิใช่สติ สติ
เป็นที่ปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย. คำนั้นมีความดังนี้. ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะ
อรรถวิเคราะห์ว่า เป็นที่ตั้งในที่นี้. ถามว่า อะไรตั้ง. ตอบว่า สติ. ที่ตั้งอยู่
แห่งสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน. อีกนัยหนึ่ง ความตั้งเป็นประธาน เหตุนั้น
จึงชื่อว่า ปัฏฐาน. ความตั้งแห่งสติ ชื่อว่า สติปัฏฐานเหมือนอย่าง
การยืนของช้าง การยืนของม้าเป็นต้น. ความที่พระบรมศาสดาทรง
ล่วงเลยความยินร้าย และความยินดีในพระสาวกทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติ ๓ อย่าง
เรียกว่า สติปัฏฐาน ได้ในบาลี (สฬายตน วิภังสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์)
นี้ว่า สติปัฏฐาน ๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระอริยะ ทรงเสพสติปัฏฐาน
ไรเล่า เมื่อทรงเสพสติปัฏฐาน ไรเล่า จึงเป็นพระศาสดา สมควรสอนพระสาวก
ดังนี้. คำนั้นมีความดังนี้ ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะเป็นธรรมที่ควรตั้งไว้ อธิบายว่า
ควรให้เป็นไป. ถามว่า เพราะเป็นธรรมที่ควรตั้งไว้ด้วยอะไร. ตอบว่า ด้วยสติ.
การตั้งไว้ด้วยสติชื่อว่า สติปัฏฐาน ก็สติเท่านั้น เรียกว่า สติปัฏฐาน ได้ในบาลี
(สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) เป็นต้นว่าสติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัมโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ดังนี้ . คำนั้นมีความดังนี้
ธรรมชาติใดตั้งอยู่ทั่ว อธิบายว่า เข้าไปตั้งมั่น คือแล่นเป็นไป เหตุนั้น
ธรรมชาตินั้น ชื่อว่าปัฏฐาน. สตินั้นเอง ชื่อว่าสติปัฏฐาน. อีกนัยหนึ่ง ที่ชื่อว่าสติ
เพราะอรรถว่าระลึกได้ ที่ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เข้าไปตั้งไว้. เพราะ
ฉะนั้น สตินั้นด้วย ปัฏฐานด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสติปัฏฐาน. ในที่นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาสติปัฏฐานอันนี้. ถามว่า หากเป็นเช่นนั้น
เหตุไร คำว่าสติปัฏฐานทั้งหลายจึงเป็นคำพหูพจน์. ตอบว่า เพราะต้องมีสติมาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 277
เป็นความจริง สติเหล่านั้นมีมาก เพราะต่างแห่งอารมณ์. ถามว่า แต่เหตุไร
คำว่ามรรค จึงเป็นเอกวจนะ. อบว่า เพราะมีทางเดียว ด้วย อรรถว่า
เป็นมรรค. เป็นความจริง สติเหล่านั้นแม้มี ๔ ก็นับว่าทางเดียว ด้วย
อรรถว่าเป็นมรรค. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ถามว่า ในคำว่ามรรค ที่ชื่อว่า
มรรค เพราะอรรถว่าอะไร ตอบว่า เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องไปสู่พระนิพพาน
ด้วย เพราะอรรถว่า ผู้ต้องการพระนิพพานจะพึงค้นหาด้วย. สติทั้ง ๔ นั้น
ทำกิจให้สำเร็จ ในอารมณ์ทั้งหลาย มีกายเป็นต้นจึงถึงพระนิพพานในภายหลัง
แต่ผู้ต้องการพระนิพพานทั้งหลาย จำต้องดำเนินไปตั้งแต่ต้นมา เพราะฉะนั้น
สติทั้ง ๔ จึงเรียกว่า หนทางเดียว. เทศนาพร้อมด้วยอนุสนธิ ย่อมมีด้วย
การอนุสนธิ คำว่าสติ เหมือนดังในบาลีทั้งหลาย (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)
เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรค เป็นเครื่องกำจัดกองทัพมาร
เธอจงฟัง มรรคนั้นเป็นเครื่องกำจัดกองทัพมารเป็นอย่างไร คือสัมโพชฌงค์ ๗
ดังนี้. คำว่ามรรคเป็นเครื่องกำจัดกองทัพมาร และคำว่าสัมโพชฌงค์ ๗ โดย
อรรถก็เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฉันใด คำว่า เอกายนมรรค
กับคำว่า สติปัฏฐาน ๔ โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเอกวจนะ ก็เพราะเป็นทาง
เดียว ด้วยอรรถว่าเป็นมรรค เป็นพหุวจนะ ก็เพราะมีสติมาก โดยความ
ต่างแห่งอารมณ์.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานว่ามี ๔
ไม่หย่อนไม่ยิ่ง. ตอบว่า ก็เพราะจะทรงให้เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่เวไนยสัตว์.
แท้จริง ในจำพวกเวไนยสัตว์ที่เป็นตัณหาจริต ทิฏฐิจริต ผู้เป็นสมถยานิก
(ผู้มีสมถะเป็นยาน) และวิปัสสนายานิก (ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน) ที่เป็นไปโดย
ส่วนทั้งสอง คือ ปัญญาอ่อน และปัญญากล้า กายานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 278
หยาบเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญาอ่อน เวทนา
นุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์ละเอียด เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มี
ตัณหาจริต มีปัญญากล้า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่มีอารมณ์ไม่แยกออกมากนัก
เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญาอ่อน ธัมมานุปัสสนา
สติปัฏฐาน ที่มีอารมณ์แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ ผู้มี
ทิฏฐิจริต มีปัญญากล้า อนึ่ง สติปัฏฐานข้อ ๑ ที่มีนิมิตอันจะพึงบรรลุได้โดย
ไม่ยาก เป็นทางหมดจด สำหรับ เวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญาอ่อน สติ
ปัฏฐาน ข้อที่ ๒ เพราะไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างหยาบ จึงเป็นทางหมดจด
สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญากล้า สติปัฏฐาน ข้อที่ ๓ มีอารมณ์
ที่แยกออก. ไม่มากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิก
มีปัญญาอ่อน สติปัฏฐาน ข้อที่ ๔ มีอารมณ์ที่แยกออกมาก เป็นทางหมดจด
สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิกมีปัญญากล้า เพราะเหตุดังนั้น จึงกล่าวว่า
สติปัฏฐานมี ๔ เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ที่ตรัสว่า สติปัฏฐานมี ๔
ก็เพื่อละเสียซึ่งวิปัลลาสความสำคัญผิดว่างาม สุข เที่ยง และเป็นตัวตน. แท้จริง
กายเป็นอสุภะ ไม่งาม แต่สัตว์ทั้งหลายก็ยังสำคัญว่างาม ในกายนั้น. ด้วยทรง
แสดงความไม่งามในกายนั้นแก่สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสสติปัฏฐานข้อที่ ๑ เพื่อละ
วิปัลลาสนั้นเสีย. และในเวทนาเป็นต้น ที่สัตว์ยึดถือว่าสุข เที่ยง เป็นตัวตน
เวทนาก็เป็นทุกข์ จิตไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา. แต่สัตว์ทั้งหลายก็ยัง
สำคัญ ว่า สุข เที่ยงเป็นตัวตน ในเวทนา จิต ธรรมนั้น ด้วยทรงแสดงความเป็น
ทุกข์เป็นต้นในเวทนา จิต ธรรมนั้น แก่สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสสติปัฏฐาน ๓ ที่เหลือ
เพื่อละวิปัลลาสเหล่านั้นเสีย เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ที่ตรัสว่า สติ
ปัฏฐาน ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง ก็เพื่อละความสำคัญผิดว่า งาม สุข เที่ยง และตัวตน
เสีย ดังที่กล่าวมานี้. มิใช่เพื่อละวิปัลลาสอย่างเดียวเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 279
ที่ตรัสสติปัฏฐาน ๔ก็เพื่อละ โอฆะ โยคะ อาสวะ คัณฐะ อุปาทาน และ
อคติ อย่างละ ๔ ด้วย เพื่อกำหนดรู้อาหาร ๔ อย่างด้วย พึงทราบในที่มาใน
ปกรณ์ (บาลี) เท่านี้ก่อน.
ส่วนในอรรถกถาท่านกล่าวว่า สติปัฏฐาน มีอันเดียวเท่านั้น โดยเป็น
ความระลึกและโดยเป็นที่ประชุมลงเป็นอันเดียวกัน มี ๔ ด้วยอำนาจอารมณ์.
เปรียบเหมือนพระนครมี ๔ ประตู คนที่มาแต่ทิศตะวันออก นำสิ่งของที่อยู่ทาง
ทิศตะวันออก มาเข้าพระนครทางประตูทิศตะวันออก คนที่มาแต่ทิศใต้ ทิศ
ตะวันตกก็เหมือนกัน คนที่มาแต่ทิศเหนือก็นำสิ่งของที่อยู่ทางทิศเหนือ มาเข้า
พระนครทางประตูทิศเหนือ ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น. จริงอยู่นิพพาน
เปรียบเหมือนนคร โลกุตตรมรรคมีองค์แปด เปรียบเหมือนประตูพระนคร สติ
ปัฏฐานมีกายเป็นต้น เปรียบเหมือนทิศทั้งหลายมีทิศตะวันออกเป็นต้น. ก็คน
ที่มาแต่ทิศตะวันออก นำสิ่งของที่อยู่ทางทิศตะวันออกมาเข้าพระนครทางประตู
ทิศตะวันออก ฉันใด ผู้ปฏิบัติโดยมุขแห่งกายานุปัสสนา เจริญกายานุปัสสนา
๑๔ วิธี ย่อมหยั่งลงสู่พระนิพพานอันเดียวกันนั่นเอง ด้วยอริยมรรคที่เกิดจาก
อานุภาพแห่งการเจริญกายานุปัสสนา ก็ฉันนั้น. คนที่มาแต่ทิศใต้ นำสิ่งของที่อยู่
ทางทิศใต้ย่อมเข้ามาสู่พระนครทางประตูทิศใต้ ฉันใด ผู้ปฏิบัติโดยมุขแห่งเวทนา
นุปัสสนาเจริญเวทนานุปัสสนา ๙ วิธีย่อมหยั่งลงสู่พระนิพพานอันเดียวกันนั่นเอง
ด้วยอริยมรรคที่เกิดจากอานุภาพแห่งการเจริญเวทนานุปัสสนาก็ฉันนั้น. คนที่มา
แต่ทิศตะวันตก นำสิ่งของที่อยู่ทางทิศตะวันตก ย่อมเข้ามาสู่พระนครทางประตู
ทิศตะวันตกฉัน ใด ผู้ปฏิบัติโดยมุขแห่งจิตตานุปัสสนา เจริญจิตตานุปัสสนา
๑๖ วิธี ย่อมหยั่งลงสู่พระนิพพานอันเดียวกันนั้นเอง ด้วยอริยมรรค ที่เกิดจาก
อานุภาพแห่งการเจริญจิตตานุปัสสนาฉันนั้น. คนที่มาแต่ทิศเหนือ นำสิ่งของที่
อยู่ทางทิศเหนือ ย่อมเข้ามาสู่พระนครทางประตูทิศเหนือฉันใด ผู้ปฏิบัติโดยมุข
แห่งธัมมานุปัสสนา เจริญธัมมานุปัสสนา ๕ วิธี ย่อมหยั่งลงสู่พระนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 280
อันเดียวกันนั้นเอง ด้วยอริยมรรค ที่เกิดจากอานุภาพแห่งการเจริญธัมมานุ-
ปัสสนาก็ฉันนั้น. บัณฑิตพึงทราบว่าที่ท่านกล่าวว่า สติปัฏฐานมี อันเดียวเท่านั้น
ก็ด้วยอำนาจความระลึกได้ อย่างหนึ่ง ด้วยอานุภาพประชุมลงสู่ความเป็นอันเดียว
กันหนึ่ง ที่กล่าวว่ามี ๔ ก็โดยจัดตามอารมณ์ ดังกล่าวมาฉะนี้.
คำว่า มี ๔ เป็นอย่างไร เป็นคำถามด้วยหมายจะตอบ (ถามเอง
ตอบเอง). คำว่า ในธรรมวินัยนี้ คือ ในพระศาสนานี้. คำว่า ภิกฺขเว
นั้น เป็นคำเรียกบุคคลผู้รับธรรม. คำว่า ภิกษุนั้น เป็นคำแสดงถึงบุคคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยข้อปฏิบัติ. เทวดา และมนุษย์ แม้เหล่าอื่น ก็ดำเนินการ
ปฏิบัติให้พร้อมเหมือนกัน. แต่ที่ตรัสว่า ภิกษุ ก็เพราะเป็นผู้ประเสริฐ
อย่างหนึ่ง เพราะทรงแสดงภาวะของภิกษุด้วยการปฏิบัติอย่างหนึ่ง. เป็น
ความจริง ในบุคคลทั้งหลาย ผู้รับคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุ
เป็นผู้ประเสริฐ เพราะเป็นประหนึ่งภาชนะรองรับคำสั่งสอนมีประการต่าง ๆ
เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ประเสริฐ. แต่เมื่อทรงถือเอาภิกษุ
แล้วคนทั้งหลายที่เหลือก็เป็นอันทรงถือเอาด้วย เหมือนอย่างในการเสด็จพระ-
ราชดำเนิน เป็นต้น เหล่าราชบริพารนอกนั้น ก็เป็นอันท่านรวมไว้ด้วยศัพท์
ว่า ราช. ผู้ใดปฏิบัติข้อปฏิบัตินี้ ผู้นั้นย่อมชื่อว่า ภิกษุ เพราะฉะนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุ ก็เพราะจะทรงแสดงภาวะของภิกษุด้วยการปฏิบัติ.
เป็นความจริง ผู้ปฏิบัติจะเป็นเทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม ย่อมนับได้ว่า เป็น
ภิกษุทั้งนั้น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในธรรมบท ขุททกนิกาย) ว่า
อลงฺกโตฺ เจปิ สม จเรยฺย
สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑ
โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 281
หากว่าบุคคลมีธรรมประดับแล้ว เป็น
ผู้สงบแล้ว ฝึกแล้ว เป็นคนแน่ เป็น
พรหมจารี เลิกอาชญากรรมในสัตว์ทั้งปวง
พึงประพฤติสม่ำเสมออยู่ไซร้ ผู้นั้นก็ชื่อว่า
พราหมณ์ ผู้นั้นก็ชื่อว่า สมณะ ผู้นั้นก็
ชื่อว่า ภิกษุ ดังนี้.
คำว่า ในกาย คือ ในรูปกาย. จริงแล้ว รูปกายในที่นั้นท่านประสงค์
เอาว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็นที่รวมแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ และธรรมทั้งหลายมี
ผม เป็นต้น เหมือนตัวของช้างตัวของรถเป็นต้น. ที่ชื่อว่ากายเพราะอรรถว่า
เป็นที่รวมฉันใด ที่ชื่อว่ากาย เพราะอรรถว่าเป็นแหล่งที่มาของสิ่งที่น่ารังเกียจ
ฉันนั้น. จริงแล้ว กายนั้น เป็นแหล่งที่มาของสิ่งน่ารังเกียจ คือน่าเกียจอย่างยิ่ง
แม้เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่ากาย. คำว่าเป็นแหล่งที่มา คือเป็นถิ่นเกิด ใจความของคำ
ในคำว่า เป็นแหล่งที่มานั้น มีดังนี้ ธรรมชาติทั้งหลายมาแต่กายนั้น เหตุนั้น
กายนั้นจึงชื่อว่า เป็นแหล่งที่มา. อะไรมา. สิ่งอันน่าเกลียดทั้งหลายมีผมเป็นต้น
ย่อมมา. ชื่อว่า อายะ เพราะเป็นแหล่งมาแห่งสิ่งน่าเกลียดทั้งหลาย ด้วย
ประการฉะนี้. คำว่า พิจารณาเห็นกาย หมายความว่า มีปกติพิจารณา
เห็นในกาย หรือพิจารณาเห็นกาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้จะตรัสว่า ในกาย
แล้ว บัณฑิตพึงทราบว่าทรงกระทำศัพท์ว่ากาย ครั้งที่สองว่า พิจารณาเห็น
กายอีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงแสดงการกำหนด และการแยกออกจากก้อนเป็นต้น
โดยไม่ปนกัน. ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในกาย หรือพิจารณาเห็นจิตในกาย
หรือพิจารณาเห็นธรรมในกายหามิได้ ที่แท้พิจารณาเห็นกายในกายต่างหาก
เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันทรงแสดงการกำหนดไม่ปนกัน ด้วยทรงแสดงอาการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 282
คือพิจารณาเห็นกายในวัตถุที่นับว่ากาย. มิใช่ พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่ง ที่
พ้นจากอวัยวะน้อยใหญ่ในกายทั้งมิใช่พิจารณาเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชาย ที่พ้น
จากผมขนเป็นต้น. จริงอยู่ในข้อนั้น กายแม้อันใด ที่นับว่าเป็นที่รวมของ
ภูตรูป และอุปาทายรูป มีผมขนเป็นต้น มิใช่พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่งที่
พ้นจากภูตรูป และอุปาทายรูป ที่แท้พิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมอวัยวะน้อยใหญ่
ในกายแม้อันนั้น เหมือนพิจารณาเห็นส่วนประกอบของรถฉะนั้น พิจารณา
เห็นกายเป็นที่รวมของ ผม ขน เป็นต้น เหมือนพิจารณาเห็นส่วนน้อยใหญ่
ของพระนคร พิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมของภูตรูป และ อุปาทายรูป เหมือน
แยกใบและก้านของต้นกล้วย และเหมือน แบกำมือที่ว่างเปล่าฉะนั้น เพราะ
ฉะนั้น จึงเป็นอันทรงแสดงการแยกออกจากก้อน ด้วยทรงแสดงวัตถุที่นับ
ได้ว่ากาย โดยเป็นที่รวมโดยประการต่าง ๆ นั่นแล้ว. ความจริง กายหรือ
ชายหญิง หรือธรรมไร ๆ อื่นที่พ้นจากกายอันเป็นที่รวมดังกล่าวแล้ว หาปรากฏ
ในกายนั้นไม่ แต่สัตว์ทั้งหลาย ก็ยึดมันผิด ๆ โดยประการนั้น ๆ ในกายที่สักว่า
เป็นที่รวมแห่งธรรมดังกล่าวแล้ว อยู่นั่นเอง. เพราะฉะนั้น พระโบราณาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ย ปสฺสติ น ต ทิฏฺ ย ทิฏฺ ต น ปสฺสติ
อปสฺส พชฺฌเต มูฬฺโห พชฺฌมาโน น มุจฺจติ
บุคคลเห็นสิ่งใด สิ่งนั้นก็ไม่ได้เห็น
สิ่งใดเห็นแล้วก็ไม่เห็นสิ่งนั้น เมื่อไม่เห็น
ก็หลงติด เมื่อติดก็ไม่หลุดพ้น ดังนี้.
ท่านกล่าวคำนี้ ก็เพื่อแสดงการแยกออกจากก้อนเป็นต้น. ด้วยศัพท์ว่า
อาทิเป็นต้น ในคำนี้บัณฑิตพึงทราบความดังนี้. ก็ภิกษุนี้ พิจารณาเห็นกาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 283
ในกายนี้เท่านั้น ท่านอธิบายว่า มิใช่พิจารณาเห็นธรรมอย่างอื่น. คนทั้งหลาย
แลเห็นน้ำในพยับแดด แม้ที่ไม่มีน้ำฉันใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้ว่า
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่สวยงามว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข
เป็นตัวตน และสวยงาม ฉันนั้น หามิได้ ที่แท้ พิจารณาเห็นกาย ท่าน
อธิบายว่า พิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมของอาการ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มิใช่ตัวตน และไม่สวยงามต่างหาก.
อีกอย่างหนึ่ง ก็กายอันนี้ใด ที่ท่านกล่าวไว้ข้างหน้าว่า มีลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ เป็นต้น มีกระดูกที่ป่นเป็นที่สุด ตามนัย พระบาลีเป็นต้น ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปป่าก็ดี ฯลฯ เธอมีสติหายใจ
เข้า ดังนี้ และกายอันใดที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค (ขุททกนิกาย) ว่า
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายคือดิน กายคือน้ำ กายคือไฟ
กายคือลม กายคือผม กายคือขน กายคือผิวหนัง กายคือหนึ่ง กายคือเนื้อ
กายคือเลือด กายคือเอ็น กายคือกระดูก กายคือเยื่อในกระดูก โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความของกายนั้นทั้งหมด แม้อย่างนี้ว่า
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย โดยพิจารณาเห็นในกายอันนี้เท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นกาย ที่นับว่า
เป็นที่รวมแห่งธรรมมีผมเป็นต้นในกาย โดยไม่พิจารณาเห็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
ที่พึงถือว่าเป็นเรา เป็นของเราในกาย แต่พิจารณาเห็นกายนั้น ๆ เท่านั้นเป็น
ที่รวมแห่งธรรมต่าง ๆ มีผม ขนเป็นต้น.
อนึ่ง พึงทราบความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นกายในกาย แม้โดยพิจารณา
เห็นกายที่นับว่าเป็นที่รวมแห่งอาการ มีลักษณะไม่เที่ยง เป็นต้น ทั้งหมดทีเดียว
ซึ่งมีนัยที่มาในปฏิสัมภิทามรรค ตามลำดับบาลี เป็นต้นว่า พิจารณาเห็นใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 284
กายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่โดยเป็นของเที่ยงดังนี้. จริงอย่างนั้น
ภิกษุผู้ปฏิบัติ ปฏิปทา คือพิจารณาเห็นกายในกายรูปนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย
อันนี้โดยเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่เห็นโดยเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยเป็น
ทุกข์ ไม่ใช่เห็นโดยเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยมิใช่ตัวตน ไม่ใช่เห็นเป็นตัวตน
ด้วยอำนาจ อนุปัสสนา (การพิจารณาเห็น) ๗ ประการ มีพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมเบื่อหน่าย มิใช่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด มิใช่กำหนัด ย่อม
ดับทุกข์ มิใช่ก่อทุกข์ ย่อมสละ มิใช่ยึดถือ. ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณาเห็นกายอันนี้
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาความสำคัญว่าเที่ยงเสียได้ เมื่อ
พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละทุกขสัญญาความสำคัญว่าเป็นสุขเสียได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่ใช่ตัวตน ย่อมละอัตตสัญญาความสำคัญว่า
เป็นตัวตนเสียได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีเสียได้ เมื่อคลายกำหนัด
ย่อมละความกำหนัดเสียได้ เมื่อดับทุกข์ ย่อมละเหตุเกิดทุกข์เสียได้ เมื่อสละ
ย่อมละความยึดถือเสียได้ ดังนี้ พึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้.
คำว่า อยู่ คือเป็นไปอยู่. คำว่า มีเพียร มีอรรถว่า สภาพใด ย่อม
แผดเผากิเลสทั้งหลายในภพทั้ง ๓ เหตุนั้น สภาพนั้น ชื่อว่าอาตาปะแผดเผา
กิเลส คำนี้เป็นชื่อของความเพียร. ความเพียรของผู้นั้นมีอยู่ เหตุนั้น ผู้นั้น
ชื่อว่า อาตาปีมีความเพียร. คำว่า มีสัมปชัญญะ คือ ผู้ประกอบด้วยความรู้
ที่นับว่า สัมปชัญญะ. คำว่า มีสติ คือประกอบด้วยสติกำกับกาย. ก็ภิกษุรูปนี้
กำหนดอารมณ์ ด้วยสติพิจารณาเห็นด้วยปัญญา ธรรมดาว่าปัญญาพิจารณา
เห็นของผู้เว้นจากสติ ย่อมมีไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
(สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสติแล
จำปรารถนาในที่ทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในที่นี้จึงตรัสว่า ย่อมพิจารณา เห็น
กายในกาย อยู่ ดังนี้. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นอันทรงอธิบาย ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 285
ประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความท้อแท้ภายใน ย่อมทำอันตรายแก่ผู้ไม่มี
ความเพียร ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมหลงลืมในการกำหนด อุบายในการงดเว้น
สิ่งที่มิใช่อุบาย ผู้มีสติหลงลืมแล้ว ย่อมไม่สามารถในการกำหนดอุบาย และ
ในการสละสิ่งที่ไม่ใช่อุบาย ด้วยเหตุนั้น กัมมัฏฐานนั้น ของภิกษุนั้น ย่อม
ไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้น กัมมัฏฐานนั้น ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งธรรม
เหล่าใด เพื่อทรงแสดงธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ. ทรงแสดงกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน และองค์
แห่งสัมปโยคะ บัดนี้เพื่อจะทรงแสดงองค์แห่งการละ จึงตรัสว่า นำออกเสีย
ซึ่งอภิชฌา และ โทมนัสในโลก.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า นำออกเสีย หมายความว่า นำออกเสีย
ด้วยการนำออกชั่วขณะหรือด้วยการนำออกด้วยการข่มไว้. คำว่า ในโลกก็คือ
ในกายอันนั้นแหละ. จริงอยู่ กายในที่นี้ ทรงหมายถึงโลก เพราะอรรถ
ว่าชำรุดชุดโทรม. อภิชฌา และโทมนัส มิใช่พระโยคาวจรนั้นละได้ในอารมณ์
เพียงกายเท่านั้น แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็ละได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวไว้ในวิภังค์ (สติปัฏฐานวิภังค์) ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก.
คำนั้นท่านกล่าวตามนัยแห่งการขยายความ เพราะธรรมเหล่านั้น นับ
ได้ว่าเป็นโลก. แต่ท่านกล่าวคำอันใดไว้ว่า โลกเป็นอย่างไร โลกก็คือกาย
อันนั้นแหละ ความในคำนั้นมีดังนี้แล. พึงเห็นการเชื่อมความดังนี้ว่า นำออก
เสียซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลกนั้น . ก็เพราะในที่นี้ กามฉันท์รวมเข้ากับ
ศัพท์ว่า อภิชฌา พยาบาทรวมเข้ากับศัพท์ว่าโทมนัส ฉะนั้น จึงควรทราบว่า
ทรงอธิบาย การละนิวรณ์ด้วยการทรงแสดงธรรมอันเป็นคู่ที่มีกำลังนับเนื่องใน
นิวรณ์. แต่โดยพิเศษ ในที่นี้ ตรัสการละความยินดีที่มีกายสมบัติเป็น
มูลด้วยการกำจัดอภิชฌา ตรัสการละความยินร้ายที่มีกายวิบัติเป็นมูล ด้วยการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 286
กำจัดโทมนัส ตรัสการละความยินดียิ่งในกาย ด้วยการกำจัดอภิชฌา ตรัส
การละความไม่ยินดียิ่งในการเจริญกายานุปัสสนา ด้วยการกำจัดโทมนัส ตรัส
การละกายของผู้ใส่ซึ่งภาวะว่างามเป็นสุข เป็นต้น ที่ไม่มีจริงในกาย ด้วยการ
กำจัดอภิชฌาและตรัสการละการเอาออกไปซึ่งภาวะที่ไม่งาม เป็นทุกข์เป็นต้น
ที่มีอยู่จริงในกาย ด้วยการกำจัดโทมนัส. ด้วยพระดำรัสนั้น เป็นอันทรงแสดง
อานุภาพของความเพียร และความเป็นผู้สามารถในการประกอบความเพียรของ
พระโยคาวจร. แท้จริงอานุภาพของความเพียรนั้นก็คือ เป็นผู้หลุดพ้นจากความ
ยินดี ยินร้าย ครอบงำความไม่ยินดี และความยินดี และเว้นจากใส่สิ่งที่ไม่
มีจริง และนำออกซึ่งสิ่งที่มีจริงก็พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้หลุดพ้นจากความยินดี
ยินร้าย เป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดี และความยินดี ไม่ใส่สิ่งที่ไม่มีจริง ไม่
นำออกซึ่งสิ่งที่มีจริง จึงชื่อว่า เป็นผู้สามารถในการประกอบความเพียรด้วย
ประการฉะนั้น.
อีกนัยหนึ่ง. ตรัสกัมมัฏฐานด้วย อนุปัสสนา ในคำที่ว่า กาเย กายา
นุปสฺสี พิจารณาเห็นกายในกาย. ตรัสการบริหารกายของพระโยคาวจรบำเพ็ญ
กัมมัฏฐาน ด้วยวิหารธรรมที่กล่าวไว้แล้ว ในคำนี้ว่า วิหรติอยู่. ก็ในคำเป็น
ต้นว่า อาตาปีมีความเพียร พึงทราบว่า ตรัสความเพียรชอบ ด้วยอาตาปะ
ความเพียรเครี่องเผากิเลส ตรัสกัมมัฏฐานที่ให้สำเร็จประโยชน์ทั่ว ๆ ไป หรือ
อุบาย เครื่องบริหารกัมมัฏฐาน ด้วยสติสัมปชัญญะ หรือตรัส สมถะ ที่ได้
มาด้วยอำนาจกายานุปัสสนา ตรัสวิปัสสนาด้วยสัมปชัญญะ ตรัสผลแห่งภาวนา
ด้วยการกำจัดซึ่งอภิชฌา และโทมนัสฉะนี้.
บาลีวิภังค์
ส่วนในบาลีวิภังค์ กล่าวความของบทเหล่านั้น ไว้อย่างนี้ว่า บทว่า
อนุปสฺสี ความว่า อนุปัสสนาในคำนั้น เป็นอย่างไร ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 287
ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกอนุปัสสนา บุคคลได้ประกอบแล้ว ประกอบพร้อม
แล้ว เข้าไปแล้ว เข้าไปพร้อมแล้ว เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว มาตามพร้อม
แล้ว ด้วยอนุปัสสนานี้ เหตุนั้น บุคคลนั้นจึงเรียนว่า อนุปสฺสี. บทว่า วิหรติ
แปลว่า เป็นอยู่ เป็นไปอยู่ รักษาอยู่ ดำเนินไปอยู่ ให้อัตตภาพดำเนินไปอยู่
เที่ยวไปอยู่ เหตุนั้น จึงเรียกว่า วิหรติ. บทว่า อาตาปี ผู้มีเพียร ความว่า
อาตาปะ ความเพียรในคำนั้นเป็นอย่างไร การปรารภความเพียรเป็นไปทางใจ
ฯลฯ สัมมาวายามะใด นี้เรียกว่า อาตปะ บุคคลผู้ประกอบด้วยอาตาปะนี้ เหตุนั้น
บุคคลนั้น จึงเรียกว่าอาตาปี. บทว่า สมฺปชาโน ความว่า สัมปชัญญะ ในคำ
นั้นเป็นอย่างไร ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าสัมปชัญญะ
บุคคลใดประกอบแล้ว ฯลฯ มาตามพร้อมแล้ว ด้วยสัมปชัญญะนี้ เหตุนั้น
บุคคลนั้น จึงเรียกว่า สมฺปชาโน. บทว่า สติมา ความว่า สติในคำนั้น
เป็นอย่างไร ความระลึกได้ ความระลึกถึง ฯลฯ ความระลึกชอบ นี้เรียกว่า
สติ บุคคลใดประกอบแล้ว ฯลฯ มาตามพร้อมแล้วด้วยสตินี้ เหตุนั้น บุคคล
นั้น จึงเรียกว่าสติมา. ข้อว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺส ความว่า
โลกในคำนั้น เป็นอย่างไร กายนั้นแล ชื่อว่าโลก อุปาทานขันธ์แม้ทั้ง ๕ ก็ชื่อ
ว่าโลก นี้เรียกว่าโลก. อภิชฌาในคำนั้นเป็นอย่างไร ความกำหนัด ความ
กำหนัดนัก ความดีใจ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัด ด้วยอำนาจ
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่าอภิชฌา โทมนัสในคำนั้น
เป็นอย่างไร ความไม่สำราญทางใจ ทุกข์ทางใจ ฯลฯ เวทนาที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแก่สัมผัสทางใจ นี้เรียกว่า โทมนัส อภิชฌา และโทมนัสนี้
เป็นอันพระโยคาวจรกำจัด เสียแล้ว นำออกไปแล้ว สงบแล้ว ให้สงบแล้ว ให้
ระงับแล้ว ให้ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว ให้ถึงความสาบศูนย์แล้ว ให้ถึงความ
ไม่มีแล้ว ให้ถึงความย่อยยับแล้ว ให้เหือดแห้งแล้ว ให้แห้งผากแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 288
ทำให้ถึงที่สุดแล้ว เหตุนั้น จึงตรัสว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา โทมนสฺส
ดังนี้. นัยที่มาในอรรถกถานี้ กับบาลีวิภังค์นั้น บัณฑิตพึงทราบได้โดยการ
เทียบกัน.
พรรณนาความแห่ง อุทเทสที่ว่าด้วย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีเพียง
เท่านี้ก่อน.
อุทเทสวารแห่งเวทนาจิตตธัมมานุปัสสนา
บัดนี้ จะวินิจฉัย ในคำว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้ง
หลาย จิตในจิต ธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่ ฯลฯ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส
ในโลก ดังนี้ ประโยชน์ในอันจะกล่าวซ้ำเวทนาเป็นต้น ในคำซึ่งมีอาทิอย่าง
นี้ว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวมาแล้วในกายานุปัสสนานั่นแล. อนึ่ง ในข้อที่ว่า พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลาย พิจารณาเห็นจิตในจิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลาย นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ เวทนาได้แก่เวทนา ๓ ก็เวทนา ๓ นั้น เป็น
โลกิยะอย่างเดียว แม้จิตก็เป็นโลกิยะ ธรรมทั้งหลายก็เป็นโลกิยะเหมือนกัน. การ
จำแนกเวทนาจิตธรรมนั้น จักปรากฏในนิทเทสวาร. ส่วนในอุทเทสวารนี้
ภิกษุผู้พิจารณาเวทนา ๓ นั้น โดยประการที่คนพึงพิจารณาเห็นก็พึงทราบว่า
เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย. แม้ในจิต และธรรมก็นัยนี้เหมือน
กัน.
ถามว่า จะพึงพิจารณาเห็นเวทนาอย่างไร. ตอบว่า พึงพิจารณาเห็น
สุขเวทนา โดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์เวทนาโดยเป็นดุจลูกศร เห็นอทุกขม
สุขเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง. ดังที่ตรัสไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 289
โย สุข ทุกฺขโต อทฺท ทุกฺขมทฺทกฺขิ สลฺลโต
อทุกฺขมสุข สนฺต อทฺทกฺขิ น อนิจฺจโต
ส เว สมฺมทฺทโส ภิกฺขุ อุปสนฺโต จริสฺสติ
ภิกษุใดเห็นสุขเวทนาโดยความเป็น
ทุกข์ เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นดังลูก
ศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาที่มีอยู่โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนั้นแล เป็นผู้เห็น
ชอบ จักเป็นผู้สงบเที่ยวไป ดังนี้.
อนึ่ง พระโยคาวจรพึงพิจารณาเห็นเวทนาทั้งหมดนั้นแหละ โดยความ
เป็นทุกข์ด้วย. สมจริง ดังที่ตรัสไว้ดังนี้ว่า เรากล่าวเวทนาทุกอย่างบรรดามี
อยู่ในทุกข์ทั้งนั้น. พึงพิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นสุข เป็นทุกข์ (เปลี่ยน
เวียนกันไป). ดังที่ตรัสไว้ว่า สุขเวทนา เป็นสุข เมื่อเกิดขึ้น เมื่อตั้งอยู่
เป็นทุกข์เมื่อแปรไป ดังนี้ คำทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงเข้าใจให้กว้างขวาง.
อนึ่ง พระโยคาวจร พึงพิจารณาเห็น แม้ด้วยอำนาจอนุปัสสนา ๗ มี
อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น. ข้อควรกล่าวนี้ยังเหลือ จักปรากฏในนิทเทสวารแล.
ก่อนอื่น บรรดาจิตและธรรม จิตอันพระโยคาวจร พึงพิจารณา
เห็นด้วยอำนาจประเภทแห่งจิตอันต่าง ๆ กัน มีอารัมมณจิต อธิปติจิต สหชาตจิต
ภูมิจิต กัมมจิต วิปากจิตและกิริยาจิต เป็นต้น และด้วยอำนาจประเภทแห่ง
จิต มีจิตมีราคะเป็นต้น ซึ่งมาในนิทเทสวารแห่งอนุปัสสนา มีอนิจจานุปัสสนา
เป็นต้น. ธรรมอันพระโยคาวจร พึงพิจารณาเห็นด้วยอำนาจแห่งลักษณะเฉพาะ
ตนและลักษณะทั่วไป และแห่งธรรมที่เป็นสภาพว่างเปล่า และด้วยอำนาจ
ประเภทแห่งธรรมมีธรรมอันมีสงบเป็นต้น ซึ่งมาในนิทเทสสวาร แห่งอนุปัสสนา
๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 290
อภิชฌา และโทมนัส ในโลกคือ กาย อันพระโยคาวจรใดละได้แล้ว
ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ แม้อภิชฌา และโทมนัสในโลก คือเวทนาเป็นต้น
ก็เป็นอันพระโยคาวจรนั้นละได้แล้วเหมือนกัน ก็จริงอยู่ ถึงดังนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็ยังตรัสการละอภิชฌา และโทมนัสไว้ในสติปัฏฐานทุกข้อ ด้วย
อำนาจแห่งบุคคลต่าง ๆ กัน และด้วยอำนาจแห่งสติปัฏฐานภาวนา อันเป็นไป
ในขณะจิตต่างกัน. อีกนัยหนึ่ง เพราะอภิชฌา และโทมนัสที่ละได้ในสติปัฏฐาน
ข้อหนึ่งถึงในสติปัฏฐานที่เหลือทั้ง ๓ ข้อ ก็เป็นอันละได้เหมือนกัน. เพราะ
ฉะนั้นแล จึงควรทราบว่า การละอภิชฌา และโทมนัสนี้ ตรัสไว้เพื่อทรง
แสดงการละในสติปัฏฐานเหล่านั้น ของภิกษุนั้น ฉะนั้นแล.
จบอุทเทสวารกถา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 291
นิทเทสวารกถา
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สัมมาสติมีอารมณ์ ๔
นายช่างจักสานผู้ฉลาด ประสงค์จะทำเครื่องใช้ เช่น เสื่อหยาบ
เสื่ออ่อน เตียบ ลุ้ง และฝาชีเป็นต้น ได้ไม้ไผ่ลำใหญ่มาลำหนึ่ง ตัดเป็น ๔ ท่อน
แล้ว พึงเอาท่อน ๆ หนึ่งแต่ ๔ ท่อนนั้นมาผ่าออกทำเป็นเครื่องใช้นั้น ๆ แม้
ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน บัดนี้ ทรงประสงค์จะทำสัตว์
ทั้งหลายให้บรรลุคุณวิเศษต่าง ๆ ด้วยการทรงแสดงสติปัฏฐานจำแนกสัมมาสติ
อย่างเดียวเท่านั้น ออกเป็น ๔ ส่วน ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ โดยนัย
เป็นต้นว่า สติปัฏฐาน ๔ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ ดังนี้ ทรงถือเอาสติปัฏฐานแต่ละอย่าง จาก ๔ อย่างนั้น เมื่อจะ
ทรงจำแนกกาย จึงทรงเริ่มตรัส นิทเทสวาร โดยนัยเป็นต้นว่า กถญฺจ ภิกฺขเว.
อธิบายศัพท์ในปุจฉวา
ในนิทเทสวารนั้น คำว่า กถฺจ อย่างไรเล่า เป็นต้น เป็นคำถาม
ด้วยหมายจะขยายให้กว้างขวาง. ก็แล ความย่อในปุจฉวารนี้มีดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายโดยประการไรเล่า. ในปุจฉวารทุกข้อ
ก็นัยนี้. ข้อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ คือภิกษุใน
พระศาสนานี้. ก็อิธศัพท์ในคำนี้ เป็นเครื่องแสดงศาสนา อันเป็นที่อาศัยอย่างดี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 292
ของบุคคลผู้บำเพ็ญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานทุกประการ ให้เกิดขึ้นแล้ว และ
เป็นเครื่องปฏิเสธความไม่เป็นจริงของศาสนาอื่น. สมจริง ดังที่ตรัสไว้ (ในจูฬ-
สีหนาทสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่
๑-๒-๓-๔ มีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น ศาสนาอื่นว่างเปล่าจากสมณะผู้เป็น
พระอรหันต์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่าภิกษุในศาสนานี้.
อานาปานบรรพ
คำว่า ภิกษุไปป่าก็ดี ไปที่โคนไม้ก็ดี ไปยังเรือนว่างก็ดี นี้
เป็นเครื่องแสดงการกำหนดเอาเสนาสนะอันเหมาะแก่การเจริญสติปัฏฐาน ของ
ภิกษุนั้น. เพราะจิตของเธอซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น มานาน
ย่อมไม่ประสงค์จะลงสู่วิถีแห่งกัมมัฏฐาน คอยแต่จะแล่นออกนอกทางท่าเดียว
เหมือนเกวียนที่เทียมด้วยโคโกงฉะนั้น. เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้จะเจริญสติปัฏฐานนี้
ประสงค์จะทรมานจิต ที่ร้าย ที่เจริญมาด้วยการดื่มรส มีรูปารมณ์เป็นต้น
มานาน พึงพรากออกจากอารมณ์เช่น รูปารมณ์เป็นต้น แล้วเข้าไปป่าก็ได้
โคนไม้ก็ได้ เรือนว่างก็ได้ แล้วเอาเชือก คือสติผูกเข้าไว้ที่หลัก คืออารมณ์
ของสติปัฏฐานนั้น จิตของเธอนั้นแม้จะดิ้นรนไปทางนั้น ทางนี้ เมื่อไม่ได้
อารมณ์ที่คุ้นเคยมาก่อน ไม่อาจตัดเชือก คือสติให้ขาดแล้วหนีไปได้ก็จะแอบ
แนบสนิทเฉพาะอารมณ์นั้นอย่างเดียว ด้วยอำนาจเป็นอุปจารภาวนา และ
อัปปนาภาวนา เหมือนอย่างคนเลี้ยงโค ต้องการจะทรมานลูกโคโกง ที่ดื่มนม
แม่โคตัวโกงจนเติบโต พึงพรากมันไปเสียจากแม่โค แล้วปักหลักใหญ่ไว้หลัก
หนึ่ง เอาเชือกผูกไว้ที่หลักนั้น ครั้งนั้นลูกโคของเขานั้น ก็จะดิ้นไปทางโน้น
ทางนี้ เมื่อไม่อาจหนีไปได้ ก็หมอบ หรือนอนแนบหลักนั้นนั้นแล ฉะนั้น.
เหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 293
ยถา ถมฺเภ นิพนฺเธยฺย วจฺฉ ทม นโร อิธ
พนฺเธยฺเยว สก จิตฺต สติยารมฺมเณ ทฬฺห
นรชนในพระศาสนานี้ พึงผูกจิต
ของตนไว้ในอารมณ์ให้มั่นด้วยสติ เหมือน
คนเลี้ยงโค เมื่อจะฝึกกลูกโค พึงผูกมันไว้
ที่หลักฉะนั้น.
เสนาสนะนี้ ย่อมเหมาะแก่การเจริญสติปัฏฐานของภิกษุผู้เจริญสติปัฏ-
ฐานนั้น ด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า คำนี้ เป็นเครื่อง
แสดงการกำหนดเสนาสนะอันเหมาะแก่การเจริญสติปัฏฐาน ของภิกษุนั้น ดังนี้.
เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ
อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึงด้วยเสียง
หญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน อันเป็นยอดใน
กายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้
สำเร็จ ไม่ใช่ทำได้ง่าย ๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก แต่พระโยคาวจร
กำหนดกัมมัฏฐานนี้แล้ว ให้จตุตถฌาน มีอานาปานสติเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น
ทำฌานนั้นนั่นแล ให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย แล้วบรรลุพระอรหัต
ซึ่งเป็นผลอันยอดจะทำได้ง่าย ก็แต่ในป่าที่ไม่มีบ้าน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะอันเหมาะแก่ภิกษุโยคาวจรนั้น จึงตรัสว่า อรญฺ-
คโต วา ไปป่าก็ดี เป็นต้น.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนอาจารย์ผู้รู้ชัยภูมิ. อาจารย์ผู้รู้ชัยภูมิ
เห็นพื้นที่ควรสร้างนครแล้ว ใคร่ครวญถี่ถ้วนแล้ว ก็ชี้ว่า ท่านทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 294
จงสร้างนครตรงนี้ เมื่อเขาสร้างนครเสร็จ โดยสวัสดีแล้ว ย่อมได้รับลาภ
สักการะอย่างใหญ่ จากราชสกุล ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็ฉันนั้น
ทรงใคร่ครวญถึงเสนาสนะอันเหมาะแก่พระโยคาวจรแล้วทรงชี้ว่า เสนาสนะ
ตรงนี้ พระโยคาวจรควรประกอบกัมมัฏฐานเนือง ๆ ต่อแต่นั้น พระโยคีเจริญ
กัมมัฏฐานเนือง ๆ ในเสนาสนะนั้น ได้บรรลุพระอรหัตตามลำดับย่อมทรงได้
รับสักการะอย่างใหญ่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ตรัสรู้เอง
โดยชอบ จริงหนอ.
ก็ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่า เป็นเช่นเดียวกับเสือเหลือง. เหมือนอย่างพระยา
เสือเหลืองขนาดใหญ่อาศัยพงหญ้าป่าชัฏ หรือเทือกเขาในป่า ซ่อนตัวคอยจับ
หมู่มฤค มีกระบือป่า ละมัง หมูป่า เป็นต้น ฉันใด ภิกษุนี้ผู้มีเพียรประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งกัมมัฏฐานในป่าเป็นต้น ย่อมถือเอาซึ่งมรรค ๔ และอริยผล ๔ ได้
ตามลำดับฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า.
ยถาปิ ทีปิโก นาม นิลียิตฺวา คณฺหตี มิเค
ตเถวาย พุทฺธปุตฺโต ยุตฺตโยโค วิปสฺสโก
อรญฺ ปวิสิตฺวาน คณฺหติ ผลมุตฺตม
อันเสือเหลืองซ่อนตัวคอยจับหมู่
มฤคฉันใด ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เข้าไปสู่ป่าแล้ว ประกอบ.
ความเพียร เป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง (เจริญ
วิปัสสนา) ย่อมถือไว้ได้ซึ่งผลอันสูงสุด
ได้.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะป่า อัน
เป็นภูมิที่เหมาะแก่ชวนปัญญา อันเป็นเครื่องบากบั่นของพระโยคาวจรนั้น
จึงตรัสว่า อรญฺคโตวา ไปป่าก็ดี เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 295
ต่อแต่นี้ไป ก่อนอื่น คำที่ควรจะกล่าวในอานาปานบรรพนี้ ท่านกล่าว
ไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วทั้งนั้น.
กำหนดลมอัสสาสปัสสาสะ
ก็คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายช่างกลึง หรือลูกมือ
ของนายช่างกลึงผู้ขยัน นี้เป็นเพียงคำอุปมาเท่านั้น. คำว่า ในกายภายใน ก็ดีนี้
เป็นเพียงอัปปนาเท่านั้น. แต่อัปปนานั้นก็ย่อมไม่มาในคำนั้น. มาแต่อุปจาร
กัมมัฏฐานที่เหลือ. แต่ก็ยังมาไม่ถึง คำว่าผู้ขยัน หมายถึง ผู้ฉลาด (ผู้ชำนาญ).
คำว่า ชักเชือกกลึงยาวก็ดี ความว่า เหยียดมือ เหยียดเท้า ชักเชือกยาวใน
เวลากลึงกลองช่องพิณ เป็นต้น ซึ่งเป็นของใหญ่. คำว่า ชักเชือกสั้นก็ดี
ความว่า ชักเชือกสั้น ๆ ในเวลากลึงของเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นงาและลิ่มสลัก
เป็นต้น. คำว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล ความว่า แม้ภิกษุนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อ
หายใจเข้ายาวโดยลมอัสสาสะ และปัสสาสะ ที่เป็นไปโดยระยะยาว และระยะสั้น
ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว ฯลฯ คอยสำเหนียกอยู่ว่า เราหายใจออกยาวดังนี้.
เมื่อเธอสำเหนียกอยู่อย่างนี้ ฌาน ๔ ย่อมเกิดในนิมิตแห่งลมอัสสาสะปัสสาสะ.
เธอออกจากฌานแล้ว จะกำหนดลมอัสสาสะปัสสาสะ หรือ องค์ฌานได้.
ในการกำหนดลมอัสสาสะปัสสาสะนั้น ภิกษุประกอบกัมมัฏฐาน ในลม
อัสสาสะปัสสาสะย่อมกำหนดรูปอย่างนี้ว่า ลมอัสสาสะปัสสาสะ เหล่านี้ อาศัย
อะไร อาศัยวัตถุ กรัชกาย ชื่อว่าวัตถุ มหาภูตรูป ๔ กับ อุปาทายรูป ชื่อว่า
กรัชกาย ต่อแต่นั้น จึงกำหนดในนามธรรม ซึ่งมีผัสสะเป็นที่ ๕ (๑. เวทนา
๒. สัญญา ๓. เจตนา ๔. วิญญาณ ๕. ผัสสะ) มีรูปนั้นเป็นอารมณ์. ครั้น
กำหนดนามรูปนั้นอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ค้นหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 296
อยู่ เห็นปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้นแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยเสียได้ว่า
นี้เป็นเพียงปัจจัย และธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยเท่านั้น ไม่ใช้สัตว์หรือบุคคล
จึงยกนามรูปกับทั้งปัจจัย ขึ้นสู่พระไตรลักษณ์เจริญวิปัสสนาอยู่ ย่อมบรรลุ
พระอรหัตโดยลำดับ. นี้เป็นทางปฏิบัติออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัตของภิกษุ
รูปหนึ่ง.
ภิกษุผู้เจริญฌานกัมมัฏฐาน กำหนดนามรูปว่า องค์ฌานเหล่านี้อาศัย
อะไร อาศัยวัตถุรูป กรัชกายชื่อว่าวัตถุรูป องค์ฌานจัดเป็นนาม กรัชกายจัด
เป็นรูป เมื่อจะแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น จึงเห็นปัจจยาการมีอวิชชา
เป็นต้น จึงข้ามความสงสัยเสียได้ว่า นี้เป็นเพียงปัจจัยและธรรมอาศัย ปัจจัย
เกิดขึ้น ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคล จึงยกนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยขึ้นสู่ไตรลักษณ์
เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ. นี้เป็นมุขของการออกจากทุกข์
จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง.
คำว่า อิติ อชฺฌตฺตวา ในกายภายใน ความว่า พิจารณาเห็นกายใน
กาย คือลมอัสสาสะปัสสาสะของตนอยู่อย่างนี้. คำว่า หรือ ภายนอก ความว่า
หรือพิจารณาเห็นกายในกาย คือลมอัสสาสะปัสสาสะของคนอื่นอยู่. คำว่า ทั้ง
ภายในทั้งภายนอก ความว่า หรือในกายคือ ลมอัสสาสะปัสสาสะของตนตามกาล
ของคนอื่นตามกาล ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส กาลที่ภิกษุนั้นไม่หยุด
กัมมัฏฐานที่คล่องแคล่ว ให้กาย คือลมอัสสาสะปัสสาสะ สัญจรไปมาอยู่ ก็กิจ
ทั้งสองนี้ ย่อมไม่ได้ในเวลาเดียวกัน.
คำว่า พิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิด ความว่า ลมอาศัยสูบ
ของช่างทอง ๑ ลูกสูบ ๑ ความพยายามอันเกิดแต่ลูกสูบนั้น ๑ จึงจะสัญจรไป
มาได้ฉันใด กาย คือลมอัสสาสะปัสสาสะก็อาศัยกรัชกาย ๑ ช่องจมูก ๑ จิต ๑
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 297
ของภิกษุ จึงสัญจรไปมาได้ฉันนั้น. ภิกษุเห็นธรรมมีกายเป็นต้น ซึ่งมีความ
เกิดเป็นธรรมดา ท่านเรียกว่า พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดในกาย. คำว่า
พิจารณาธรรม คือความเสื่อมก็ดี ความว่า เมื่อสูบถูกนำออกไปแล้ว
เมื่อลูกสูบแตกแล้ว เมื่อความพยายามอันเกิดแต่ลูกสูบนั้น ไม่มีลมนั้นย่อมเป็น
ไปไม่ได้ฉันใด เมื่อกายแตกแล้ว เมื่อช่องจมูกถูกกำจัดเสียแล้ว และเมื่อจิต
ดับแล้ว ชื่อว่ากาย คือลมอัสสาสะปัสสาสะ ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉันนั้น
เหมือนกัน. ภิกษุผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ลมอัสสาสะปัสสาสะดับ เพราะกายเป็นต้น
ดับ ดังนี้ ท่านเรียกว่าพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในกาย. คำว่า
พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด และความเสื่อม หมายความว่า
พิจารณาเห็นความเกิดตามกาล ความเสื่อมตามกาล.
คำว่า สติของเธอปรากฏชัดว่ากายมีอยู่ ความว่า สติของภิกษุนั้น
เข้าไปตั้งเฉพาะอย่างนี้ว่า กายแลมีอยู่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง
ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่
ของใคร. คำว่า เพียงเท่านั้น นี้เป็นเครื่องกำหนดเขตแห่งประโยชน์. ท่าน
อธิบายว่า สติที่เข้าไปตั้งอยู่นั้น หาใช่เพื่อประโยชน์อย่างอื่นไม่ ที่แท้ก็เพียง
เพื่อประโยชน์สักว่า ความรู้ คือ ประมาณแห่งความรู้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และประ-
มาณแห่งสติเท่านั้น อธิบายว่า เพื่อความเจริญแห่งสติสัมปชัญญะ. คำว่า ไม่
ถูกกิเลส อาศัยอยู่ ความว่า ไม่ถูกกิเลสอาศัย ด้วยอำนาจแห่งกิเลสเป็น
ที่อาศัย คือตัณหา และทิฏฐิอยู่. คำว่า ไม่ยึดถือสิ่งไร ๆ ในโลกด้วย
ความว่า ไม่ถือสิ่งไร ๆ ในโลก คือรูป ฯลฯ หรือวิญญาณว่า นี้เป็นตัวของ
เรา นี้มีในตัวของเรา. ปิอักษรใน คำว่า เอวปิ ลงในอรรถ คือ อาศัยความ
ข้างหน้าประมวลมา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมอบเทศนา คือ อานาปาน
บรรพแสดงแล้วด้วยบทนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 298
อานาปานสติเป็นอริยสัจ ๔
ในอานาปานบรรพนั้น สติที่กำหนดลมอัสสาสะปัสสาสะเป็นอารมณ์
เป็นทุกขสัจ ตัณหามีในก่อนอันยังทุกขสัจนั้นให้ตั้งขึ้นเป็นสมุทัยสัจ ความไม่
เป็นไปแห่ง สัจจะทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคที่กำหนดรู้ทุกขสัจ ละสมุทัย
สัจ มีนิโรธสัจเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ. ภิกษุโยคาวจร ขวนขวายด้วยอำนาจ
สัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อมบรรลุความดับทุกข์ได้ฉะนี้. นี้เป็นทางปฏิบัตินำออกจาก
ทุกข์ จนบรรลุพระอรหัตของภิกษุผู้ตั้งมั่นแล้ว ด้วยอำนาจแห่งลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ รูปหนึ่งฉะนั้นแล.
จบอานาปานบรรพ
อิริยาบถบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางแห่ง
ลมอัสสาสะปัสสาสะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยทางแห่งอิริยาบถ
จึงตรัสว่า ปุน จปร อีกอย่างหนึ่งดังนี้เป็นต้น. ในอิริยาบถนั้น พึงทราบความ
ว่า แม้สัตว์ดิรัจฉาน เช่น สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอกเป็นต้น เมื่อเดินไปก็รู้ว่า
ตัวเดิน ก็จริงอยู่ แต่ในอิริยาบถนั้น มิได้ตรัสหมายเอาความรู้เช่นนั้น. เพราะ
ความรู้เช่นนั้น ละความเห็นว่าสัตว์ไม่ได้ เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ไม่ได้.
ไม่เป็นกัมมัฏฐาน หรือ สติปัฏฐานภาวนาเลย. ส่วนการรู้ของภิกษุ (ผู้เจริญ
กายานุปัสสนา) นี้ ย่อมละความเห็นว่าสัตว์ เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ได้.
เป็นทั้งกัมมัฏฐาน และเป็นสติปัฏฐานภาวนา. และคำที่ตรัสหมายถึง ความรู้ชัด
อย่างนี้ว่า ใครเดิน การเดินของใคร เดินได้เพราะอะไร แม้ในอิริยาบถ
อื่น มีการยืนเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน .
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 299
จะวินิจฉัย ในปัญหาเหล่านั้น คำว่า ใครเดิน ความว่า ไม่ใช่สัตว์
หรือบุคคลไร ๆ เดิน. คำว่า การเดินของใคร ความว่า ไม่ใช่การเดินของ
สัตว์ หรือบุคคลไรๆ เดิน. คำว่าเดินได้เพราะอะไร ความว่า เดินได้เพราะ
การแผ่ไปของวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อม
รู้ชัดอย่างนี้ คือจิตเกิดขึ้นว่าเราจะเดิน จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุ ๆ ก็ทำให้
เกิดวิญญัติ ความเคลื่อนไหว การนำสกลกายให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยความ
ไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่าเดิน. แม้ในอิริยาบถอื่น
มียืนเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในอิริยาบถยืนเป็นต้นนั้น จิตเกิดขึ้นว่า เรา
จะยืน จิตนั้นทำให้เกิดวาโยธาตุ ๆ ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว การทรง
สกลกายตั้งขึ้นแต่พื้นเท้าเป็นที่สุด ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การ
ทำของจิต เรียกว่า ยืน. จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนั่ง จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุ ๆ
ก็ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว ความคู้กายเบื้องล่างลง ทรงกายเบื้องบน
ตั้งขึ้น ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่านั่ง
จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนอน จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุ ๆ ทำให้เกิดวิญญัติความ
เคลื่อนไหว การเหยียดกายทั้งสิ้นเป็นทางยาว ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุ
อันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่า นอน. เมื่อภิกษุนั้นรู้ชัดอยู่อย่างนี้ ย่อมมี
ความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เขากล่าวกันว่า สัตว์เดิน สัตว์ยืน แต่โดยอรรถ
แล้ว สัตว์ไร ๆ ที่เดิน ที่ยืนไม่มี ประดุจคำที่กล่าวกันว่า เกวียนเดิน
เกวียนหยุด แต่ธรรมดาว่า เกวียนไร ๆ ที่เดินได้ หยุดได้เอง หามีไม่ ต่อเมื่อ
นายสารถีผู้ฉลาด เทียมโค ๔ ตัว แล้วขับไป เกวียนจึงเดิน จึงหยุด เพราะ
ฉะนั้น คำนั้น จึงเป็นเพียงบัญญัติสมมุติเรียกกันฉันใด กายเปรียบเหมือน
เกวียน เพราะอรรถว่า ไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิต เปรียบเหมือนโค จิตเปรียบ
เหมือน สารถี เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน เราจะยืน วาโยธาตุที่ทำให้เกิด
ความเคลื่อนไหวก็เกิดขึ้น อิริยาบถมีเดินเป็นต้น ย่อมเป็นไปเพราะความไหวตัว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 300
แห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต ต่อแต่นั้น สัตว์ก็เดิน สัตว์ก็ยืน เราเดิน
เรายืน เพราะเหตุนั้น คำนั้น จึงเป็นเพียงบัญญัติสมมุติเรียกกัน ฉันนั้น
เหมือนกัน. ด้วยฉะนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
นาวา มาลุตเวเคน ชิยาเวเคน เตชน
ยถา ยาติ ตถา กาโย ยาติ วาตาหโต อย
ยนฺต สุตฺตวเสเนว จิตฺตสุตฺตวเสนิท
ปยุตฺต กายยนฺตมฺปิ ยาติาต นิสีทติ
โก นาม เอตฺถ โส สตฺโต โย วินา เหตุปจฺจเย
อตฺตโน อานุภาเวน ติฏฺเ วา ยทิ วา วเช
เรือแล่นไปได้ด้วยกำลังลม ลูกธนู
แล่นไปด้วยกำลังสายธนูฉันใด กายนี้อัน
ลมนำไป จึงเดินไปได้ฉันนั้น แม้ยนต์
คือกายนี้ อันปัจจัยประกอบแล้ว เดิน
ยืน และนั่ง ได้ด้วยอำนาจสายชัก คือจิต
เหมือนเครื่องยนต์ หมุนไปได้ด้วยอำนาจ
สายชักฉะนั้นนั่นแหละ ในโลกนี้สัตว์ใด
เว้นเหตุปัจจัยเสียแล้ว ยังยืนได้ เดินได้
ด้วยอานุภาพของตนเอง สัตว์นั้น ชื่อไร
เล่า จะมีดังนี้.
เพราะฉะนั้นพึงทราบว่า ภิกษุนี้ กำหนดอิริยาบถมีเดินเป็นต้น ซึ่งเป็นไปได้
ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย เท่านั้นอย่างนี้ เมื่อเดินก็รู้ว่าเราเดิน เมื่อยืนก็รู้ว่าเรายืน
เมื่อนั่งก็รู้ว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ว่าเรานอน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 301
คำว่า ก็หรือ กายของเธอตั้งอยู่โดยอาการใด ๆ ก็รู้กายนั้น
โดยอาการนั้น ๆ นี้เป็นคำกล่าวรวมอิริยาบถทั้งปวง. มีคำอธิบายว่า หรือกาย
ของเธอดำรงอยู่โดยอาการใด ๆ ก็รู้ชัดกายนั้น โดยอาการนั้น ๆ คือกายนั้นดำรง
อยู่โดยอาการเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน กายดำรงอยู่โดยอาการยืน นั่ง นอน
ก็รู้ชัดว่า เรายืน เรานั่ง เรานอน.
อิริยาบถภายในภายนอก
คำว่า ภายใน หรือดังนี้ ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายด้วยการ
กำหนดอิริยาบถ ของตนเองอย่างนี้อยู่. คำว่า หรือภายนอก ความว่า ด้วย
การกำหนดอิริยาบถสี่ของคนอื่นอยู่. คำว่า หรือทั้งภายใน ทั้งภายนอก ความ
ว่าพิจารณาเห็นกายในกาย ด้วยการกำหนดอิริยาบถ ๔ ของตนเองตามกาล ของ
คนอื่นตามกาลอยู่. ก็ในคำบาลีเป็นต้นว่า พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิด
คือพึงนำความเกิด และความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ออกแสดง โดยอาการทั้ง๕ ตาม
นัยบาลี เป็นต้นว่า รูปเกิด เพราะ อวิชชาเกิด ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาความเกิด และความเสื่อมนั้นแล ตรัสว่า พิจารณาเห็นธรรม คือ
ความเกิดดังนี้เป็นต้นในที่นี้.
คำบาลีเป็นต้นว่า สติของเธอก็ปรากฏชัดว่า กายมีอยู่ ดังนี้
ก็มีข้อความเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
สติกำหนดอิริยาบถเป็นอริยสัจ ๔
แม้ในอิริยาบถบรรพนี้ สติที่กำหนดอิริยาบถ ๔ เป็นอารมณ์ เป็น
ทุกขสัจ ตัณหาที่มีในก่อน อันยังสติที่กำหนดอิริยาบถ ๔ นั้นให้ตั้งขึ้น
เป็นสมุทัยสัจ การหยุดทุกขสัจ และสมุทัยสัจ ทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ อริยมรรค
ที่กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัยมีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ ภิกษุผู้โยคาวจร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 302
ขวนขวายโดยทางสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อมบรรลุพระนิพพานดับทุกข์. นี้เป็นทาง
ปฏิบัตินำออกจากทุกข์ จนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กำหนด อิริยาบถ ๔ รูปหนึ่ง
ฉะนี้แล.
จบอิริยาบถบรรพ
สัมปชัญญบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา โดยทาง
อิริยาบถ ๔ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยทางสัมปชัญญะ ๔
จึงตรัสว่า ยังมีอีกข้อหนึ่งเป็นต้น ในสัมปชัญญบรรพนั้น คำว่า ก้าวไป
ข้างหน้าเป็นต้น ทรงพรรณนาไว้แล้ว ในสามัญญผลสูตร. คำว่า หรือภายใน
ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน หรือในกายของคนอื่น หรือในกาย
ของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล โดยกำหนดสัมปชัญญะ ๔ อย่างนี้อยู่.
ความเกิด และความเสื่อมของรูปขันธ์นั้นแล พึงนำออกแสดงในคำว่า พิจารณา
เห็นธรรม คือความเกิดเป็นต้น แม้ในสัมปชัญญบรรพนี้. คำนอกจากนี้ ก็
เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
สติกำหนดสัมปชัญญะ เป็นอริยสัจ ๔
ในสัมปชัญญบรรพนี้ สติกำหนดสัมปชัญญะ ๔ เป็นทุกขสัจ ตัณหา
ที่มีในก่อน อันยังสติกำหนดสัมปชัญญะ ๔ นั้นให้ตั้งขึ้น เป็นสุมทัยสัจ การ
ไม่เกิดทุกขสัจ และสมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคมีประการดังกล่าว
มาแล้วเป็นมรรคสัจ ภิกษุโยคาวจร ขวนขวายโดยทางสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อม
บรรลุนิพพานดับทุกข์ได้แล. นี้เป็นทางปฏิบัตินำทุกข์ออกจนถึงพระอรหัต ของ
ภิกษุผู้กำหนดสัมปชัญญะ ๔ รูปหนึ่งฉะนี้แล.
จบสัมปชัญญบรรพ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 303
ปฏิกูลมนสิการบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางสัมปชัญญะ
๔ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกการใส่ใจถึงกายโดยความเป็นของปฏิกูล
จึงตรัสว่า ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นต้น. ในปฏิกูลมนสิการบรรพนั้น คำใดที่ควร
กล่าวในบาลีเป็นต้นว่า กายนี้นี่แล คำนั้นทั้งหมด ท่านกล่าวไว้แล้วในกายคตา-
สติกัมมัฏฐาน คัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยพิสดารด้วยอาการทั้งปวง. คำว่า มีปาก
สองข้าง ความว่า ประกอบด้วยปากทั้งสอง ทั้งข้างล่าง ข้างบน. คำว่ามีอย่าง
ต่าง ๆ คือมีชนิดต่าง ๆ. ในข้อนั้นมีคำเทียบเคียงอุปมาดังต่อไปนี้. ก็กายอัน
ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ พึงทราบ เปรียบเหมือนไถ้ มีปากสองข้าง อาการ
๓๒ มีผมเป็นต้น เปรียบเหมือนธัญญชาติต่างชนิด ที่เขาใส่ปนกันลงไปในไถ้
นั้น พระโยคาวจรเปรียบเหมือนบุรุษมีจักษุ อาการปรากฏชัดแห่งอาการ ๓๒
ของพระโยคาวจร พึงทราบเหมือนอาการที่ธัญญชาติต่างชนิดปรากฏแก่บุรุษผู้
แก้ไถ้นั้นออกแล้ว พิจารณาดูอยู่.
คำว่า ภายในก็ดี ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน หรือ
ในกายของคนอื่น หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการ
กำหนดอาการ ๓๒ มีผมเป็นต้นอย่างนี้อยู่. ข้อต่อไปจากนี้ ก็มีนัยดังที่กล่าว
มาแล้ว. ในปฏิกูลมนสิการบรรพนี้ ต่างกันอย่างเดียว ก็คือควรประกอบ
ความอย่างนี้ว่า สติกำหนดอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจแล้วพึงทราบ
ว่าเป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กำหนดอาการ
๓๒ รูปหนึ่ง. คำนอกจากนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั้นแล.
จบปฏิกูลมนสิการบรรพ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 304
ธาตุมนสิการบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางการใส่ใจ
ถึงกายโดยเป็นของปฏิกูล อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยทางการใส่ใจ
ถึงกายโดยความเป็นธาตุ จึงตรัสธาตุมนสิการบรรพว่า ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นต้น.
ในธาตุมนสิการบรรพนั้น มีการพรรณนาอรรถพร้อมด้วยข้อเทียบเคียงอุปมา
ดังต่อไปนี้. คนฆ่าโคบางคน หรือลูกมือของเขา ที่เขาเลี้ยงดูด้วยอาหาร
และค่าจ้าง ฆ่าโคแล้วชำแหละแบ่งออกเป็นส่วน ๆ แล้ว นั่ง ณ ที่ทางใหญ่ ๔
แพร่ง คือที่ชุมทางย่านกลางทางใหญ่ ซึ่งไปได้ทั้ง ๔ ทิศ ฉันใด ภิกษุ (ผู้
บำเพ็ญธาตุกัมมัฏฐาน) ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมพิจารณากาย ซึ่งชื่อว่าตั้งอยู่
ตามที่ เพราะตั้งอยู่ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง แห่งอิริยาบถทั้ง ๔ และซึ่ง
ชื่อว่าดำรงอยู่ตามที่ เพราะตั้งอยู่ตามที่ อย่างนี้ว่า ในกายนี้มีปฐวีธาตุ อาโป-
ธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ.
กายสักว่าธาตุ ๔
ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่า เมื่อคนฆ่าโคเลี้ยงโคอยู่ก็ดี
นำโคไปยังที่ฆ่าก็ดี นำมาผูกไว้ที่ฆ่าก็ดี กำลังฆ่าก็ดี มองดูโคที่ฆ่าตายแล้วก็ดี
ความสำคัญว่าโค ยังไม่หายไปตราบเท่านี้ เขายังไม่ได้ชำแหละโคนั้นออกเป็น
ส่วน ๆ ต่อเมื่อเขาชำแหละแบ่งออกแล้ว ความสำคัญว่าโคก็หายไป กลับสำคัญ
เนื้อโคไป เขามิได้คิดว่า เราขายโค คนเหล่านี้ซื้อไป ที่แท้ เขาคิดว่า เรา
ขายเนื้อโค คนเหล่านี้ซื้อเนื้อโค เปรียบฉันใด แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อครั้งเป็นปุถุชนผู้เขลา เป็นคฤหัสก็ดี บรรพชิตก็ดี ความสำคัญว่าสัตว์
หรือบุคคล ยังไม่หายไปก่อนตราบเท่าที่ยังไม่พิจารณาเห็นกายนี้นี่แล ตามที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 305
ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ แยกออกจากก้อน โดยความเป็นธาตุ ต่อเมื่อเธอ
พิจารณาเห็นโดยความเป็นธาตุ ความสำคัญว่าสัตว์จึงหายไป จิตก็ตั้งอยู่ด้วยดี
โดยความเป็นธาตุอย่างเดียว. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
ภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้นี่แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยความเป็น
ธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฯลฯ วาโย-
ธาตุ ดังนี้ฉันนั้น. ก็พระโยคาวจร เปรียบเหมือนคนฆ่าโค ความสำคัญว่า
สัตว์เปรียบเหมือนความสำคัญว่าโค อิริยาบถทั้ง ๔ เปรียบเหมือนทางใหญ่ ๔
แพร่ง ความพิจารณาเห็นโดยความเป็นธาตุ เปรียบเหมือนการที่คนฆ่าโคนั่ง
แบ่งออกเป็นส่วน ๆ นี้เป็นการพรรณนาบาลี ในธาตุมนสิการบรรพนี้. ส่วน
กถาว่าด้วยกัมมัฏฐาน ท่านพรรณนาไว้พิสดาร ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้ว.
คำว่า หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน หรือ
ในกายของคนอื่น หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการ
กำหนดธาตุ ๔ ด้วยอาการอย่างนี้อยู่. ข้อต่อไปจากนี้ ก็มีนัยที่กล่าวมาแล้ว
ทั้งนั้น. แต่ในที่นี้มีข้อต่างกันอย่างเดียว คือ พึงประกอบความอย่างนี้ว่า สติ
กำหนดธาตุ ๔ เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจเป็นต้นแล้ว พึงทราบว่านี้เป็นทาง
ปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดธาตุ ๔ ดังนี้. ส่วนคำที่เหลือก็เช่นกับ
ที่กล่าวมาแล้วแต่ก่อนนั่นแล.
จบธาตุมนสิการบรรพ
นวสีวถิกาบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางธาตุมนสิ-
การอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วยนวสีวัฏฐิกาบรรพ ข้อกำหนดว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 306
ด้วยป่าช้า ๙ ข้อ จึงตรัสว่า ยังมีอีกข้อหนึ่งเป็นต้น. บรรดาเหล่านั้น บทว่า
เหมือนอย่างว่าเห็น คือ เหมือนอย่างว่าพบ. บทว่า สรีระ คือสรีระของ
คนตาย. บทว่าที่เขาทิ้งไว้ที่ป่าช้า คือที่เขาปล่อยทิ้งไว้ที่สุสาน. ซากศพที่ชื่อว่า
ตายแล้ววันเดียว เพราะเป็นซากศพที่ตายแล้วได้ ๑ วัน. ที่ชื่อว่าตายแล้ว ๒
วัน เพราะเป็นซากศพที่ตายแล้วได้ ๒ วัน. ที่ชื่อว่าตายแล้ว ๓ วัน เพราะ
ซากศพที่ตายแล้วได้ ๓ วัน. ที่ชื่อว่าศพที่พองขึ้น เพราะเป็นศพที่พองขึ้นโดย
เป็นศพที่ขึ้นอืดตามลำดับตั้งแต่สิ้นชีพไป เหมือนลูกสูบช่างทองอันพองขึ้นด้วย
ลม. ศพที่พองขึ้นนั่นแล ชื่อว่า อุทธุมาตกะ. อีกนัยหนึ่ง ศพที่พองขึ้นน่าเกลียด
เพราะเป็นของปฏิกูล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อุทธุมาตกะ. ศพที่มีสีต่าง ๆ
เจือเขียว เรียกว่า ศพที่มีสีเขียวเจือ. ศพที่มีสีเขียวเจือนั่นแล ชื่อว่า วินีลกะ.
อีกนัยหนึ่ง ศพที่มีสีเขียวน่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล เพราะเหตุนั้นจึง
ชื่อว่า วินีลกะ. คำว่า วินีลกะ นี้เป็นชื่อของซากศพ มีสีแดง ในที่เนื้อนูนหนา
มีสีขาวในที่อันบ่มหนอง โดยมากมีสีเขียว ในที่ควรเขียว คล้ายผ้าห่มสีเขียว.
ศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกจากที่ปริแตกทางปากแผลทั้ง ๙ บ้าง ชื่อว่าศพมีน้ำ
เหลืองไหล. ศพมีน้ำเหลืองไหลนั่นแล ชื่อว่า วิบุพพกะ. อีกนัยหนึ่ง ศพมี
น้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
วิบุพพกะ. ศพที่เป็นวิบุพพกะเกิดแล้ว คือถึงความเป็นซากศพมีน้ำเหลือง
ไหลอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า วิบุพพกชาตะ. ข้อว่า โส อิมเมว กาย
ความว่า ภิกษุนั้น ใช้ญาณนั้นแหละน้อมนำกายของตนนี้ไปเปรียบกับกายอันนั้น
(ซากศพ). เปรียบอย่างไร. เปรียบว่า กายนี้แล มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา
ต้องเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 307
กายที่ปราศจากอายุไออุ่นวิญญาณเป็นซากศพ
ท่านอธิบายไว้ว่า กายนี้ยังทนยืน เดิน เป็นต้นอยู่ได้ ก็เพราะมี
ธรรม ๓ อย่างนี้คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ แต่เพราะธรรม ๓ อย่างนี้พราก
จากกัน แม้กายนี้ จึงต้องมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา คือมีสภาพเปื่อยเน่าอย่าง
นั้นเหมือนกัน ต้องเป็นอย่างนั้น คือจักเป็นประเภทศพขึ้นพองเป็นต้นอย่าง
นั้นเหมือนกัน ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ คือไม่ล่วงพ้นความเป็นศพ
พองขึ้นเป็นต้นอย่างนั้นไปได้.
ข้อว่า หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน ใน
กายของคนอื่น หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการ
กำหนดซากศพที่ขึ้นพองเป็นต้นอย่างนี้อยู่.
เทียบกายด้วยซากศพ
บทว่า ขชฺชมาน อันสัตว์กัดกินอยู่ ได้แก่ศพอันสัตว์มีแร้ง กา
เป็นต้น จับที่อวัยวะ เช่นท้องเป็นต้น แล้วดึงเนื้อท้อง เนื้อปาก เบ้าตา
เป็นต้น จิกกินอยู่. บทว่า สมสโลหิต ยังมีเนื้อและเลือด คือศพที่มีเนื้อ
และเลือดยังเหลืออยู่. บทว่า นิมฺมสโลหิตมกฺขิต ที่ปราศจากเนื้อแต่
เปื้อนเลือด คือเมื่อเนื้อหมดไปแล้ว แต่เลือดยังไม่แห้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาศพประเภทนั้น จึงตรัสว่า นิมฺมสโลหิตมกฺขิต. บทว่า
อญฺเน คือศพไปทางทิศอื่น. บทว่า หตฺถฏฺิก กระดูกมือ ความว่า กระดูก
มือมีประเภทถึง ๖๔ ชิ้น กระจัดกระจายแยกกันไป. แม้กระดูกเท้าเป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เตโรวสฺสิกานิ เกินปีหนึ่งขึ้นไป คือล่วงปีไปแล้ว.
บทว่า ปูตีนิ เป็นของผุ ความว่า กระดูกอันตั้งอยู่กลางแจ้ง ย่อมผุเปื่อย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 308
เพราะกระทบ ลม แดด และฝน ส่วนกระดูกที่อยู่ใต้พื้นดิน ย่อมตั้งอยู่ได้
นานกว่า. บทว่า จุณฺณกชาตานิ เป็นผง คือแหลกเป็นผง กระจัดกระจาย
ไป. พึงประกอบความเข้าในข้อทั้งปวงโดยบทว่า ขชฺชมาน อันสัตว์กัดกิน
เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว ว่าเธอก็น้อมกายอันนี้นี่แล เข้าไปเทียบกับศพ
เป็นต้น.
ข้อว่า หรือภายในเป็นต้น ความว่า พิจารณาเห็นกายในกาย
ของตน ในกายของคนอื่น หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล
ด้วยการกำหนดซากศพอันสัตว์กัดกินเป็นต้น จนถึงเป็นกระดูกอันแหลกเป็น
ผงอย่างนี้อยู่.
จัดเป็นบรรพ
ป่าช้า ๙ ข้อที่อยู่ในนวสีวถิกาบรรพนี้ บัณฑิตพึงจัดประมวลมาดังนี้ คือ
๑. ข้อที่ตรัสโดยนัยเป็นต้นว่า ศพที่ตายแล้วได้วันหนึ่งบ้าง แม้ทั้ง
หมดเป็นบรรพอันหนึ่ง.
๒. ข้อที่ว่า ศพที่ฝูงกาจิกกินบ้าง เป็นต้น เป็นบรรพอันหนึ่ง.
๓. ข้อที่ว่า ร่างกระดูก ที่ยังมีเนื้อ และเลือดมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่
เป็นบรรพอันหนึ่ง.
๔. ข้อว่า ปราศจากเนื้อแต่เปื้อนเลือด มีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่เป็นบรรพ
อันหนึ่ง.
๕. ข้อที่ว่า ปราศจากเนื้อและเลือด มีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่เป็นบรรพ
อันหนึ่ง.
๖. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลาย ที่ปราศจากเส้นเอ็นรัดรึงแล้วเป็นต้น
เป็นบรรพอันหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 309
๗. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลาย ขาว คล้ายสีสังข์ เป็นบรรพอันหนึ่ง.
๘. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลายที่กองเรี่ยราย เกินหนึ่งปีขึ้นไปเป็นบรรพ
อันหนึ่ง.
๙. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลายที่ผุ แหลกเป็นผงเป็นบรรพอันหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงป่าช้าทั้ง ๙ แล้ว จะทรงจบกายา-
นุปัสสนา จึงตรัสคำนี้ว่า เอว โข ภิกฺขเว อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลายเป็นต้น.
สติกำหนดซากศพเป็นอริยสัจ ๔
ในนวสีวถิกาบรรพนั้น สติอันกำหนดป่าช้าทั้ง ๙ ข้อ เป็นทุกขสัจ
ตัณหาที่มีในก่อน ที่ยังสตินั้นให้เกิดขึ้น เป็นสมุทัยสัจ การหยุดทุกขสัจ และ
สมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคอันกำหนดทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธ
เป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ ภิกษุผู้โยคาวจร ขวยขวายด้วยอำนาจสัจจะอย่างนี้
ย่อมบรรลุพระนิพพานดับทุกข์ได้ดังนี้. อันนี้เป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์
จนถึงพระอรหัต ของเหล่าภิกษุผู้กำหนดป่าช้าทั้ง ๙ ข้อ อย่างนี้แล.
จบนวสีวถิกาบรรพ.
ก็กายานุปัสสนา ๑๔ บรรพคืออานาปานบรรพ ๑ อิริยาบถบรรพ ๑
จตุสัมปชัญญบรรพ ๑ ปฏิกูลมนสิการบรรพ ๑ ธาตุมนสิการบรรพ ๑ สีวถิกา ๙
บรรพเป็นอันจบลง ด้วยคำพรรณนามีประมาณเพียงเท่านี้.
ใน ๑๔ บรรพนั้น อานาปานบรรพ กับ ปฏิกูลมนสิการบรรพ ๒ บรรพ
นี้เท่านั้น เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน ส่วน ๑๒ บรรพที่เหลือ เป็นอุปจารกัมมัฏ-
ฐานอย่างเดียว เพราะตรัสไว้โดยการพิจารนาเห็นโทษแห่งกายอันเกี่ยวด้วย
ป่าช้า ดังนี้แล.
จบกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 310
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ วิธีอย่างนี้
แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสเวทนานุปัสสนา ๙ วิธี จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอย่างไรเล่า เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขเวทนา ความว่า ภิกษุกำลังเสวย
เวทนาที่เป็นสุข ทางกายก็ดี ทางใจก็ดี ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา. จะ
วินิจฉัยในคำนั้น แม้เด็กทารกที่ยังนอนหงาย เมื่อเสวยสุขในคราวดื่มน้ำนม
เป็นต้น ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาก็จริงอยู่. แต่คำว่า สุขเวทนาเป็นต้นนี้
มิได้ตรัสหมายถึงความรู้ชัดอย่างนั้น. เพราะความรู้ชัดเช่นนั้น ไม่ละความเห็น
ว่าสัตว์ ไม่ถอนความสำคัญว่า เป็นสัตว์ ไม่เป็นกัมมัฏฐานหรือสติปัฏฐาน
ภาวนาเลย. ส่วนความรู้ชัดของภิกษุนี้ ละความเห็นว่าสัตว์ ถอนความสำคัญ
ว่าเป็นสัตว์ได้ ทั้งเป็นกัมมัฏฐาน เป็นสติปัฏฐานภาวนา. ก็คำนี้ตรัสหมายถึง
ความเสวยสุขเวทนาพร้อมทั้งที่รู้ตัวอยู่ อย่างนี้ว่า ใครเสวย ความเสวยของ
ใคร เสวยเพราะเหตุไร.
สักว่าเวทนาไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
จะวินิจฉัยในปัญหาเหล่านั้น ถามว่า ใครเสวย ตอบว่า มิใช่สัตว์
หรือบุคคลไร ๆ เสวย. ถามว่า ความเสวยของใคร ตอบว่ามิใช่ความเสวยของ
สัตว์ หรือบุคคลไร ๆ. ถามว่า เสวยเพราะเหตุไร ตอบว่า ก็เวทนาของภิกษุ
นั้นมีวัตถุเป็นอารมณ์ อย่างเดียว เหตุนั้น เธอจึงรู้อย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย
เสวยเวทนา เพราะทำวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา มีสุขเวทนา เป็นต้นนั้น ๆ
ให้เป็นอารมณ์ ก็คำว่า เราเสวยเวทนา เป็นเพียงสมมติเรียกกัน เพราะยึดถือ
ความเป็นไปแห่งเวทนานั้น. เธอกำหนดว่า สัตว์ทั้งหลาย เสวยเวทนาเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 311
ทำวัตถุให้เป็นอารมณ์ อย่างนี้ พึงทราบว่า เธอย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา
เหมือนพระเถระรูปหนึ่ง ซึ่งสำนักอยู่ที่จิตตลบรรพต.
พระเถระผู้เสวยทุกขเวทนา
ได้ยินว่า พระเถระทุรนทุราย กลิ้งเกลือกอยู่ด้วยเวทนากล้าแข็ง คราว
อาพาธไม่ผาสุก. ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเรียนถามว่า ท่านเจ็บตรงไหนขอรับ. ท่าน
ตอบว่าบอกที่เจ็บไม่ได้ดอกเธอ ฉันทำวัตถุเป็นอารมณ์ เสวยเวทนา. ถามว่า
ตั้งแต่เวลารู้ชัดอย่างนั้น ท่านอดกลั้นไว้ ไม่ควรหรือขอรับ. ตอบว่า ฉันจะ
อดกลั้นนะเธอ. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า อดกลั้นได้ก็ดีนะสิ ขอรับ. พระเถระก็อดกลั้น
(ทุกขเวทนา). โรคลมก็ผ่าแล่งจนถึงหัวใจ ไส้ของพระเถระก็ออกมากองบนเตียง.
พระเถระชี้ให้ภิกษุหนุ่มดู ถามว่า อดกลั้นขนาดนี้ควรไหม. ภิกษุหนุ่มก็นิ่ง.
พระเถระก็ประกอบความเพียรสม่ำเสมอ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
ทั้งหลายเป็นพระอรหัตสมสีสี ปรินิพพานแล้ว.
อนึ่ง ภิกษุผู้เจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น เสวยทุกขเวทนา ฯลฯ
อทุกขมสุขเวทนาปราศจากอามิสอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขสุข-
เวทนา ปราศจากอามิสเหมือนเมื่อเธอเสวยสุขเวทนาแล.
เวทนาเป็นอรูปกัมมัฏฐาน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสรูปกัมมัฏฐานด้วยประการฉะนี้แล้ว เมื่อ
จะตรัสอรูปกัมมัฏฐาน แต่เพราะที่ตรัสด้วยอำนาจ ผัสสะ หรือด้วยอำนาจจิต
กัมมัฏฐานไม่ปรากฏชัด ปรากฏเหมือนมืดมัว ส่วนความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ทั้งหลาย ปรากฏชัด กัมมัฏฐานปรากฏชัดด้วยอำนาจเวทนา ฉะนั้น จึงตรัส
อรูปกัมมัฏฐานด้วยอำนาจเวทนา แม้ในพระสูตรนี้ เหมือนอย่างในสักกปัญห-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 312
สูตร. กถามรรค ในพระสูตรนี้นั้น พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในสกกปัญหสูตร
แล้วนั่นแลว่า ก็กัมมัฏฐานมี ๒ อย่าง คือ รูปกัมมัฏฐาน และ อรูปกัมมัฏฐาน
ดังนี้เป็นต้น.
พึงทราบวินิจฉัย ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ในคำว่า สุขเวทนา
ดังนี้เป็นต้น มีปริยาย (ทาง ) แห่งความรู้ชัดอีกอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้. ข้อว่า
สุข เวทน เวทิยามีติ ปชานาติ รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ความว่า
เมื่อเสวยสุขเวทนา เพราะขณะเสวยสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เรา
เสวยสุขเวทนาดังนี้. เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าเวทนาไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความ
แปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะในขณะที่ไม่มีทุกขเวทนาที่เคยมีมาก่อน และ
เพราะก่อนแต่นี้ ก็ไม่มีสุขเวทนานี้. เธอรู้ตัวในสุขเวทนานั้นอย่างนี้. สมจริง
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ (ใน ทีฆนขสูตร มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย)
ดังนี้ว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ สมัยใด เสวยสุขเวทนา สมัยนั้น หาเสวย-
ทุกขเวทนาไม่ หาเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่ ย่อมเสวยสุขเวทนาเท่านั้น สมัยใด
เสวยทุกขเวทนา ฯลฯ เสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้น หาเสวยสุขเวทนาไม่
หาเสวยทุกขเวทนาไม่ เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น ดูก่อนอัคคิเวสสนะ
แม้สุขเวทนาแล ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้น
ไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางไปเป็นธรรมดา มี
ความดับไปเป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาเล่า ฯลฯ แม้อทุกขมสุขเวทนาเล่า
ไม่เที่ยง ฯลฯ มีความดับไปเป็นธรรมดา ดูก่อนอัคคิเวสสนะ อริยสาวกสดับ
แล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในสุขเวทนา แม้ในทุกขเวทนา แม้ใน
อทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้น ย่อมหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำก็ทำเสร็จแล้ว กิจอย่างอื่นเพื่อเป็นอย่างนี้ไม่มีอีกดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 313
เวทนาที่เป็นสามิสและนิรามิส
จะวินิจฉัยในข้อว่า สามิส วา สุข หรือสุขเวทนาที่มีอามิส เป็นต้น
โสมนัสสเวทนาอาศัยอามิสคือกามคุณ ๕ อาศัยเรือน ๖ ชื่อว่า สามิสสุขเวทนา
โสมนัสสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ชื่อว่า นิรามิสสุขเวทนา โทมนัสสเวทนา
อาศัยเรือน ๖ ชื่อว่า สามิสทุกขเวทนา โทมนัสสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖
ชื่อว่า นิรามิสทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนาอาศัยเรือน ๖ ชื่อว่า สามิสอทุกขม-
สุขเวทนา อุเบกขาอันอาศัยเนกขัมมะ ๖ ชื่อว่า นิรามิสอทุกขมสุขเวทนา.
อนึ่ง การจำแนกเวทนาแม้เหล่านั้นท่านกล่าวไว้ในสักกปัญหสูตรแล้วแล.
เวทนาในเวทนานอก
ข้อว่า อิติ อชฺฌตฺต วา หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายของตน ในเวทนาทั้งหลายของคนอื่น หรือใน
เวทนาทั้งหลายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกำหนดสุขเวทนา
เป็นต้น อย่างนี้อยู่. ส่วนในข้อว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา พิจารณาเห็น
ธรรมคือความเกิด (ในเวทนาทั้งหลาย) นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุเมื่อเห็นความ
เกิด และความเสื่อม แห่งเวทนาทั้งหลายด้วยอาการอย่างละ ๕ ว่า เพราะ
อวิชชาเกิด จึงเกิดเวทนาดังนี้เป็นต้น พึงทราบว่า เธอพิจารณาเห็นธรรม
คือความเกิดในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อม ในเวทนา
ทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดในเวทนาทั้งหลาย ตามกาล
อยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลาย ตามกาลอยู่. ข้อต่อ
จากนี้ไปก็มีนัยดังที่กล่าวมาแล้วในกายานุปัสสนานั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 314
สติกำหนดเวทนาเป็นอริยสัจ ๔
แต่ในเวทนานุปัสสนานี้ มีข้อต่างกันอย่างเดียว คือพึงประกอบความ
อย่างนี้ว่า สติที่กำหนดเวทนาเป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจเป็นต้นแล้ว พึงทราบว่า
เป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดเวทนาเป็นอารมณ์. คำที่เหลือ
ก็มีความเช่นนั้นเหมือนกัน.
จบเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๙. วิธี อย่าง
นี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสจิตตานุปัสสนา ๑๖ วิธี จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตตานุปัสสนา เป็นอย่างไรเล่าเป็นต้น.
จำแนกอารมณ์ของจิต
บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า จิตมีราคะ คือจิตที่เกิดพร้อมด้วยโลภะ ๘
อย่าง. บทว่า จิตปราศจากราคะ คือ จิตที่เป็นกุศล แล อพยากฤตฝ่าย
โลกิยะ. แต่ข้อนี้ เป็นการพิจารณา มิใช่เป็นการชุมนุมธรรม เพราะฉะนั้นใน
คำว่า จิตมีราคะ นี้ จึงไม่ได้โลกุตตรจิต แม้แต่บทเดียว. อกุศลจิต ๔ ดวง
ที่เหลือ จึงไม่เข้าบทต้น ไม่เข้าบทหลัง. บทว่า จิตมีโทสะ ได้แก่จิต ๒
ดวง ที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัส. บทว่า จิตปราศจากโทสะ ได้แก่จิตที่เป็น
กุศล และอพยากฤตฝ่ายโลกิยะ. อกุศลจิต ๑๐ ดวงที่เหลือ ไม่เข้าบทต้น ไม่
เข้าบทหลัง. บทว่า จิตมีโมหะ ได้แก่จิต ๒ ดวง คือ จิตที่เกิดพร้อมด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 315
วิจิกิจฉาดวง ๑ ที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะดวง ๑. แต่เพราะโมหะย่อมเกิดได้ใน
อกุศลจิตทั้งหมด ฉะนั้น แม้อกุศลจิตที่เหลือ ก็ควรได้ในบทว่าจิตมีโมหะนี้
โดยแท้. จริงอยู่ อกุศลจิต ๑๒ (โลภมูล ๘ โทสมูล ๒ โมหมูล ๒) ท่าน
ประมวลไว้ใน ทุกกะ (หมวด ๒) นี้เท่านั้น. บทว่า จิตปราศจากโมหะ
ได้แก่จิตที่เป็นกุศล และอพยากฤตฝ่ายโลกิยะ. บทว่า จิตหดหู่ ได้แก่จิตที่
ตกไปในถิ่นมิทธะ. ก็จิตที่ตกไปในถิ่นมิทธะนั้น ชื่อว่า จิตหดหู่ บทว่า
ฟุ้งซ่าน ได้แก่จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะ จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะนั้น
ชื่อว่า จิตฟุ้งซ่าน. บทว่า จิตเป็นมหัคคตะ ได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจร และ
อรูปาวจร. บทว่า จิตไม่เป็นมหัคคตะ ได้แก่จิตที่เป็นกามาวจร. บทว่า
สอุตฺตร จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ได้แก่จิตที่เป็นกามาวจร. บทว่า อนุตฺตร จิต
ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร. แม้ในจิตเหล่านั้น
จิตที่ชื่อว่า สอุตตระ ได้แก่จิตเป็นรูปาวจร จิตชื่อว่า อนุตตระ ได้แก่ จิตที่เป็น
อรูปาวจร. บทว่า สุมาหิต จิตตั้งมั่นแล้ว ได้แก่อัปปนาสมาธิหรืออุปจาร
สมาธิ. บทว่า อสมาหิต จิตไม่ตั้งมั่น ได้แก่จิตที่เว้นจากสมาธิทั้งสอง บทว่า
วิมุตฺต จิตหลุดพ้น ได้แก่จิตหลุดพ้นด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ.
บทว่า อวิมุตฺติ จิตไม่หลุดพ้น ได้แก่จิตที่เว้นจากวิมุตติทั้งสอง. ส่วนสมุจ-
เฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ ไม่มีโอกาสในบทนี้เลย.
จิตในจิตนอก
คำว่า อิติ อชฺฌตฺต วา หรือภายใน ความว่า ภิกษุโยคาวจร
กำหนดจิตที่เป็นไปในสมัยใด ๆ ด้วยการกำหนดจิตมีราคะเป็นต้น อย่างนี้
ชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตของตน หรือในจิตของคนอื่น ในจิตของตน
ตามกาล หรือในจิตของคนอื่นตามกาลอยู่. ก็ในคำว่า พิจารณาเห็นธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 316
คือความเกิดนี้ พึงนำความเกิดและความเสื่อมแห่งวิญญาณออกเทียบเคียงด้วย
อาการอย่างละ ๕ ว่า เพราะเกิดอวิชชา วิญญาณ จึงเกิดดังนี้เป็นต้น. ข้อต่อ
ไปจากนี้ ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้วแล.
สติกำหนดจิตเป็นอริยสัจ ๔
แต่ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ มีข้อแตกต่างกันอย่างเดียว คือพึง
ประกอบความว่า สติที่กำหนดจิตเป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ ดังนี้เป็นต้น
แล้วพึงทราบว่า เป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ ของภิกษุผู้กำหนดจิตเป็น
อารมณ์. คำที่เหลือ ก็เช่นเดียวกันนั่นแล.
จบจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๖ วิธี อย่าง
นี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสธัมมานุปัสสนา ๕ วิธี จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธัมมานปัสสนา เป็นอย่างไรเล่าเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำหนดรูปกัมมัฏฐานล้วน
ด้วยกายานุปัสสนา ตรัสการกำหนดอรูปกัมมัฏฐานล้วน ๆ ด้วยเวทนานุปัสสนา
และจิตตานุปัสสนา. บัดนี้ เพื่อจะตรัสการกำหนดรูปกัมมัฏฐานกับ อรูปกัมมัฏ-
ฐานผสมกัน จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธัมมานุปัสสนา
เป็นอย่างไรเล่าเป็นต้น.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการกำหนดรูปขันธ์ด้วยกายานุปัสสนา
ตรัสการกำหนดเวทนาขันธ์ด้วยเวทนานุปัสสนา ตรัสการกำหนดวิญญาณขันธ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 317
ด้วยจิตตานุปัสสนา. บัดนี้ เพื่อจะตรัสแม้การกำหนดสัญญาขันธ์ และ
สังขารขันธ์ จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธัมมานุปัสสนา
เป็นอย่างไรเล่าเป็นต้น.
นีวรณบรรพ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺต มีอยู่ คืออยู่พร้อมด้วยอำนาจฟุ้ง
ขึ้นเนือง ๆ. บทว่า อสนฺต ไม่มีอยู่คือไม่มีอยู่พร้อม เพราะไม่ฟุ้งขึ้น หรือ
เพราะละได้แล้ว. บทว่า ก็โดยประการใด ความว่า กามฉันท์เกิดขึ้น
เพราะเหตุใด. บทว่า ตญฺจ ปชานาติ ก็รู้ชัดประการนั้น คือรู้ชัดเหตุนั้น.
ทุก ๆ บท พึงทราบความโดยนัยนี้นี่แล.
เหตุเกิดกามฉันท์
ในนิมิตทั้งสองนั้น กามฉันท์ย่อมเกิดขึ้นเพราะมนสิการโดยไม่แยบคาย
ในสุภนิมิต. สิ่งที่งามก็ดี อารมณ์ที่งามก็ดี ชื่อว่าสุภนิมิต. การใส่ใจโดยไม่มีอุบาย
การใส่ใจนอกทาง การใส่ใจในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า เที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าสุข
ในสิ่งที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน หรือในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ชื่อว่า อโยนิโสมนสิการ
(การใส่ใจโดยไม่แยบคาย). เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมาก ๆ
ในสุภนิมิตนั้น กามฉันท์ย่อมเกิดขึ้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุภนิมิต
มีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในสุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อความ
เกิดขึ้นแห่งกามฉันท์ที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทำให้กามฉันท์ที่เกิดแล้วให้กำเริบ
ยิ่งขึ้นดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 318
เหตุละกามฉันท์
ส่วนกามฉันท์นั้น จะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการ (การใส่ใจโดย
แยบคาย) ในอสุภนิมิต. สิ่งที่ไม่งามก็ดี อารมณ์ที่ไม่งามก็ดี. ชื่อว่า อสุภนิมิต.
การใส่ใจโดยอุบาย การใส่ใจถูกทาง การใส่ใจในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ใน
สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าทุกข์ ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าไม่ใช่ตัวตน หรือในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่
งาม ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ. เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมาก ๆ
ในอสุภนิมิตนั้น ย่อมละกามฉันท์เสียได้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภนิมิต
มีอยู่ การทำให้มาก ๆ ซึ่งโยนิโสมนสิการในอสุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อ
ความไม่เกิดแห่งกามฉันท์ที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละกามฉันท์ที่เกิดแล้ว.
ธรรมสำหรับละกามฉันท์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันท์ คือ ๑.
การถืออสุภนิมิตเป็นอารมณ์ ๒. การประกอบเนือง ๆ ซึ่งอสุภภาวนา ๓. การ
รักษาทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๔. ความรู้จักประมาณในโภชนะ ๕. ความมี
กัลยาณมิตร ๖. พูดแต่เรื่องที่เป็นสัปปายะ (เป็นที่สบาย). จริงอยู่ เมื่อภิกษุ
กำหนดอสุภนิมิต ๑๐ อย่างอยู่ ก็ละกามฉันท์ได้. เมื่อเจริญอสุภ ๑๐ ก็ดี เมื่อ
ปิดทวารในอินทรีย์ทั้งหลายก็ดี รู้จักประมาณในโภชนะ เพราะเมื่อมีโอกาสจะ
บริโภค ๔-๕ คำมีอยู่ ก็ดื่มน้ำ ยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ก็ย่อมละกามฉันท์ได้.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ (ในขุททกนิกาย เถรคาถา) ว่า
จตฺตาโร ปญฺจ อาโลเป อภุตฺวา ปิเว
อล ผาสุวิหาราย ปหิตตฺตสฺส ภิกฺขุโน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 319
ภิกษุพึงเว้นคำข้าวเสีย ๔-๕ คำ เลิก
ฉัน แล้วดื่มน้ำเสีย นี้เป็นข้อปฏิบัติอัน
สมควรสำหรับภิกษุผู้มีตนอันส่งไปแล้ว.
แม้ภิกษุผู้เสพกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นผู้ยินดี ในการเจริญอสุภ เช่น
พระติสสเถระ ผู้เจริญอสุภกัมมัฏฐาน ก็ย่อมละกามฉันท์ได้. แม้ด้วยการเจรจา
ปรารภเรื่องเป็นที่สบาย อันอาศัยอสุภ ๑๐ ในอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น ก็ย่อม
ละกามฉันท์ได้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไป
เพื่อละกามฉันท์ดังนี้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ก็กามฉันท์ที่ละได้แล้ว ด้วยธรรม
๖ ประการนี้ ย่อมไม่เกิดอีกต่อไปด้วยอรหัตมรรค.
เหตุเกิดพยาบาท
ส่วนพยาบาท ย่อมเกิด เพราะอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิต. ปฏิฆะ
(ความขุ่นใจ) ก็ดี อารมณ์อันช่วยให้เกิดปฏิฆะก็ดี ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต ในคำว่า
ปฏิฆนิมิต เป็นต้นนั้น. อโยนิโสมนสิการ มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน ในธรรม
ทั้งปวง. เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมากๆ ใน (ปฏิฆะ) นิมิตนั้น
พยาบาทย่อมเกิด. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การไม่ทำให้มากซึ่ง
โยนิโสมนสิการ ในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งพยาบาทที่ยัง
ไม่เกิด หรือเพื่อทำให้พยาบาทที่เกิดแล้ว กำเริบเสิบสานขึ้นดังนี้ .
เหตุละพยาบาท
แต่พยาบาทนั้น จะละได้ก็ด้วยการใส่ใจโดยแยบคาย ในเมตตาเจโต-
วิมุตติ. ในคำว่า เมตตาเจโตวิมุตินั้น เมื่อพูดกันถึงเมตตา ย่อมควรทั้งอัปปนา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 320
ทั้งอุปจาระ. บทว่า เมตตาเจโตวิมุตติ ได้แก่อัปปนาโยนิโสมนสิการมีลักษณะ
ดังกล่าวแล้ว. เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆ ในเมตตาเจโตวิมุตติ
นั้น ย่อมละพยาบาทได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ (ในสังยุต-
กายมหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติมีอยู่ การทำให้
มากซึ่งโยนิโสมนสิการในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิด
แห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละพยาบาทที่เกิดแล้วดังนี้.
ธรรมสำหรับละพยาบาท
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไป เพื่อละพยาบาท คือ ๑.
การกำหนดนิมิตในเมตตาเป็นอารมณ์ ๒. การประกอบเนือง ๆ ซึ่งเมตตาภาวนา
๓. การพิจารณาถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน ๔. การทำให้มากซึ่งการ
พิจารณา ๕. ความมีกัลยาณมิตร ๖. การพูดแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.
จริงอยู่ แม้เมื่อภิกษุกำหนดเมตตากัมมัฏฐาน ด้วยการแผ่เมตตาไปทั่ว
ทิศโดยเจาะจงหรือไม่เจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมละพยาบาทได้. เมื่อภิกษุ
เจริญเมตตา โดยแผ่ไปทั่วทิศโดยเจาะจง ไม่เจาะจงก็ดี เมื่อพิจารณาถึงความ
ที่ตนและคนอื่นมีกรรมเป็นของ ๆ ตนอย่างนี้ว่า ท่านโกรธคนนั้น จะทำอะไร
เขาได้ ท่านอาจจักทำศีลเป็นต้นของเขาให้พินาศได้หรือ ท่านมาแล้วด้วยกรรม
ของตน จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแล ขึ้นชื่อว่าการโกรธผู้อื่น ก็เป็นเช่น
เดียวกับผู้ปรารถนาจะจับถ่านไฟที่คุโชน ซี่เหล็กอันร้อนจัดและอุจจาระเป็นต้น
ประหารผู้อื่นฉะนั้น หรือถึงคนนั้นโกรธท่าน จักทำอะไรได้ เขาจักอาจทำศีล
เป็นต้นของท่านให้พินาศได้หรือ เขามาด้วยกรรมของตนก็จักไปตามกรรมของ
เขานั่นแหละ ความโกรธนั้นจักตกลงบนกระหม่อมของเขานั่นเอง เหมือนประหาร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 321
ผู้ไม่ประหารตอบ และเหมือนนำธุลีซัดไปในที่ทวนลมฉะนั้นดังนี้ก็ดี เมื่อ
พิจารณากัมมัสสกตาทั้งสองหยุดอยู่ในการพิจารณาก็ดี คบกัลยาณมิตรผู้ยินดีใน
การเจริญเมตตา เช่น ท่านพระอัสสคุตตเถระก็ดี ย่อมละพยาบาทได้. แม้ด้วย
การเจรจาเรื่องที่เป็นที่สบายซึ่งอาศัยเมตตา ในอิริยาบถทั้งหลายมียืน นั่ง เป็นต้น
ก็ละพยาบาทได้. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไป
เพื่อละพยาบาทดังนี้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ก็พยาบาทที่ละได้แล้วด้วยธรรม ๖
ประการนี้ ย่อมไม่เกิดต่อไปด้วยอนาคามิมรรค.
เหตุเกิดถีนมิทธะ
ถีนมิทธะ ย่อมเกิดด้วยอโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลาย มี อรติ
เป็นต้น ความไม่ยินดีด้วยกับเขา (ริษยา) ชื่อว่า อรติ. ความคร้านกายชื่อว่า
ตันที. ความบิดกาย (บิดขี้เกียจ) ชื่อว่า วิชัมภิตา. ความมึนเพราะอาหาร
ความกระวนกระวายเพราะอาหารชื่อว่า ภัตตสัมมทะ. อาการ คือ ความย่อหย่อน
แห่งจิต ชื่อว่าความย่อหย่อนแห่งจิต. เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการให้เป็นไป
มาก ๆ ในอรติ เป็นต้นนี้ ถีนมิทธะย่อมเกิด. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้ ( ในสังยุตตนิกายมหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่
ยินดี ความคร้านกาย ความบิดกาย ความเมาอาหาร ความหดหู่แห่งจิตมีอยู่
การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านี้ นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิด
แห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทำถีนมิทธะที่เกิดแล้วให้กำเริบเสิบสาน
ยิ่งขึ้นดังนี้.
เหตุละถีนมิทธะ
แต่ถีนมิทธะนั้น จะละได้ด้วยโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลายมี
อารภธาตุเป็นต้น. ความเพียรเริ่มแรก ชื่อว่าอารภธาตุ. ความเพียรที่มีกำลังกว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 322
อารภธาตุนั้น เพราะออกไปพ้นจากความเกียจคร้านแล้ว ชื่อว่านิกกมธาตุ-
ความเพียรที่มีกำลังยิ่งกว่านิกกมธาตุแม้นั้น เพราะล่วงฐานอื่น ๆ ชื่อว่า
ปรักกมธาตุ (ก้าวไปข้างหน้า. บากบั่น). เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการให้เป็นไป
มาก ๆ ในความเพียร ๓ ประเภทนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธาตุคือความเริ่มความเพียร ธาตุคือความออกพ้นไปจากความเกียจคร้าน ธาตุ
คือความก้าวไปข้างหน้ามีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโมนสิการ ในธาตุเหล่านั้น
นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิดแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละถีนมิทธะ
ที่เกิดแล้ว ดังนี้.
ธรรมสำหรับละถีนมิทธะ
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ
๑. การกำหนดนิมิตในโภชนะส่วนเกิน ๒. การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ๓. การ
ใส่ใจถึงอาโลกสัญญา (คือความสำคัญว่าสว่าง ๆ) ๔. การอยู่กลางแจ้ง
๕. ความมีกัลยาณมิตร ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย
เพราะว่า เมื่อภิกษุบริโภคโภชนะ เหมือนพราหมณ์ที่ชื่ออาหารหัตถกะ
ที่ชื่อตัตรวัฏฏกะ ที่ชื่ออลังสาฏกะ ที่ชื่อกากมาสกะ และที่ชื่อภุตตวมิตกะ นั่งใน
ที่พักกลางคืน และ ที่พักกลางวัน กระทำสมณธรรมอยู่ ถีนมิทธะย่อมมา
ท่วมทับได้เหมือนช้างใหญ่ แต่ถีนมิทธะนั้นจะไม่มีแก่ภิกษุที่เว้นโอกาสบริโภค
๔- ๕ คำแล้ว ดื่มน้ำดื่มยังอัตตภาพให้เป็นไปเป็นปกติ เพราะเหตุนั้น เมื่อ
ภิกษุกำหนดนิมิต ในโภชนะส่วนเกินอย่างนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้ เมื่อภิกษุเข้าสู่
ถีนมิทธะในอิริยาบถใด เปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่น จากอิริยาบถนั้นเสียก็
ละถีนมิทธะได้. เมื่อภิกษุใส่ใจแสงจันทร์ แสงประทีป แสงคบเพลิง ในเวลา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 323
กลางคืน แสงอาทิตย์เวลากลางวันก็ดี อยู่ในที่กลางแจ้งก็ดี เสพกัลยาณมิตร
ผู้ละถีนมิทธะได้เช่นท่านพระมหากัสสปเถระก็ดีก็ ละถีนมิทธะได้. แม้ด้วยการ
เจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย ที่อาศัยธุดงค์ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน นั่งเป็นต้น
ก็ละถีนมิทธะได้. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อละถีนมิทธะ. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะที่ละได้ด้วยธรรม ๖ ประการ
จะไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตมรรคดังนี้.
เหตุเกิดอุทธัจจกุกกุจจะ
อุทธัจจกุกกุจจะ ย่อมเกิดด้วยอโยนิโสมนสิการ ในความไม่สงบ
แห่งใจ. อาการที่ไม่สงบ ชื่อว่าความไม่สงบ. คำนี้โดยอรรถก็คือ อุทธัจจกุกกุจจะ
นั่นเอง. เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆในความไม่สงบแห่งใจนั้น
อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ใน
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบแห่งใจ
มีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ ในความไม่สงบแห่งใจนั้น นี้เป็น
อาหารเพื่อความเกิดแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทำอุทธัจจกุกกุจจะ
ที่เกิดแล้ว ให้กำเริบเสิบสานยิ่งขึ้นดังนี้.
เหตุละอุทธัจจกุกกุจจะ
แต่อุทธัจจกุกกุจจะนั้น จะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการในความสงบ
แห่งใจ กล่าวคือ สมาธิ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ใน
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสงบแห่งใจมีอยู่
การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในความสงบแห่งใจนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อ
ความไม่เกิดแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิด
แล้วดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 324
ธรรมสำหรับละอุทธัจจกุกกุจจะ
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ
คือ ๑. ความสดับมาก ๒. ความสอบถาม ๓. ความชำนาญในวินัย ๔. ความ
คบผู้เจริญ ๕. ความมีกัลยาณมิตร ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.
จริงอยู่ เมื่อภิกษุแม้ร่ำเรียน ทั้งบาลี ทั้งอรรถกถานิกายหนึ่ง สอง-
สาม-สี่ นิกาย หรือ ๕ นิกาย ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. แม้ด้วยความเป็น
พหูสูต (พาหุสัจจะ ความเป็นผู้สดับมาก). ภิกษุผู้มากด้วยการสอบถามสิ่งที่
ควร และไม่ควรก็ดี ผู้ชำนาญ เพราะมีความชำนาญอันสั่งสมไว้ในวินัยบัญญัติ
ก็ดี ผู้เข้าหาพระเถระผู้แก่ ผู้เฒ่าก็ดี คบกัลยาณมิตรผู้ทรงวินัย เช่น ท่าน
พระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. แม้ด้วยการเจรจา แต่เรื่องที่
เป็นที่สบาย อันอาศัยสิ่งที่ควร และไม่ควร ในอิริยาบถทั้งหลาย มี ยืน นั่ง
เป็นต้น ก็ละอุทธัจจกุกกุจจะได้. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ
นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า เมี่ออุทธัจจกุกกุจจะ
ละได้แล้วด้วยธรรม ๖ ประการนี้ อุทธัจจะ จะไม่เกิดต่อไปด้วย อรหัตมรรค
กุกกุจจะ ไม่เกิดต่อไปด้วย อนาคามิมรรค.
เหตุเกิดวิจิกิจฉา
วิจิกิจฉา ย่อมเกิดได้ด้วยอโยนิโสมนสิการ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็น
ที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา. ความเคลือบแคลง เพราะเป็นเหตุแห่งความสงสัยบ่อย ๆ
ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา. เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมาก ๆ
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉานั้น วิจิกิจฉาย่อมเกิด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 325
เป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉานั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด
หรือเพื่อทำวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว ให้กำเริบเสิบสานยิ่งขึ้นดังนี้.
เหตุละวิจิกิจฉา
แต่วิจิกิจฉานั้น จะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการในธรรมมีกุศล
เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมที่มีโทษ
ไม่มีโทษ ธรรมที่ควรเสพ ไม่ควรเสพ ธรรมที่ทรามประณีต ธรรมที่เทียบ
ด้วยของดำ ของขาว มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น
นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด หรือ เพื่อละวิจิกิจฉา
ที่เกิดแล้วดังนี้.
ธรรมสำหรับละวิจิกิจฉา
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา คือ ๑.
ความสดับมาก ๒. ความสอบถาม ๓. ความชำนาญในวินัย ๔. ความมากด้วย
ความน้อมใจเชื่อ ๕. ความมีกัลยาณมิตร ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.
จริงอยู่ แม้เมื่อภิกษุร่ำเรียนทั้งบาลี ทั้งอรรถกถานิกายหนึ่ง สอง-
สาม-สี่ หรือ ห้า นิกาย ย่อมละ วิจิกิจฉาได้ ด้วยความเป็นพหูสูต. เมื่อภิกษุ
มากด้วยการปรารภพระรัตนตรัย สอบถามก็ดี มีความชำนาญอันสั่งสมไว้ใน
วินัยก็ดี มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ กล่าวคือศรัทธาที่ยังกำเริบได้ในพระ-
รัตนตรัยก็ดี คบกัลยาณมิตร เช่นท่านพระวักกลี ผู้น้อมใจไปในศรัทธาก็ดี
ย่อมละวิจิกิจฉาได้. แม้ด้วยการเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย อันอาศัยคุณของ
พระรัตนตรัย ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืนนั่ง เป็นต้น ก็ละวิจิกิจฉาได้. เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 326
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา. ภิกษุ
ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาที่ละได้ด้วยธรรมเหล่านี้ ย่อมไม่เกิดต่อไป ด้วยโสดา-
บัติมรรค ดังนี้.
คำว่า อิติ อชฺฌตฺต วา หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลายของตน ในธรรมทั้งหลายของคนอื่น หรือในธรรมทั้งหลาย
ของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาลด้วยการกำหนดนิวรณ์ ๕ อย่างนี้อยู่. ก็ความ
เกิดและความเสื่อม ในคำว่าพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดและความเสื่อม
นี้ ที่กล่าวแล้วในนีวรณ์ ๕ ด้วยอำนาจ อโยนิโสมนสิการ และ โยนิโสมนสิการ
ในสุภนิมิต และอสุภนิมิต เป็นต้น บัณฑิตพึงนำมาเทียบเคียง. ข้อต่อไปนี้
ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั้นแล.
สติกำหนดนีวรณ์เป็นอริยสัจ ๔
แต่ในนีวรณบรรพนี้ มีต่างกันอย่างเดียว คือ พึงประกอบความว่า
สติอันกำหนดนีวรณ์เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ พึงทราบว่าเป็นทางปฏิบัตินำ
ออกจากทุกข์ ของภิกษุผู้กำหนดนีวรณ์ เป็นอารมณ์. คำที่เหลือก็เช่นนั้น
นั่นแล.
จบนีวรณบรรพ
ขันธบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนา โดยนีวรณ์ ๕
อย่างนี้ บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยขันธ์ ๕ จึงตรัสว่า ปุน จปร ยังมีอีกข้อ
หนึ่งเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 327
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ในอุปาทานขันธ์ ๕ คือกองอุปาทาน ชื่อ
ว่า อุปาทานขันธ์ อธิบายว่า กลุ่มธรรม คือกองธรรม อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน.
ความสังเขปในที่นี้มีเท่านี้ ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้แล้ว ในขันธกถา ใน
คัมภีร์วิสุทธิมรรค. บทว่า อิติ รูป ดังนี้ รูป ความว่า นี้รูป รูปมีเท่านี้. ภิกษุย่อม
รู้ชัดรูปโดยสภาพว่า รูปอื่นนอกจากนี้ไม่มี ดังนี้. แม้ในเวทนา เป็นต้น ก็นัยนี้
เหมือนกัน. ความสังเขปในที่นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนรูปเป็นต้น ท่านกล่าวไว้
แล้วในขันธกถา ในคัมภีร์สุทธิมรรคโดยพิสดาร. บทว่า อิติ รูปสฺส สมุทโย
นี้ความเกิดแห่งรูป ความว่า ความเกิดแห่งรูปด้วยอาการ ๕ โดยความ
เกิดแห่ง อวิชชา เป็นต้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ . คำว่า อิติ รูปสฺส อตฺถงฺคโม
ความดับแห่งรูป ความว่า ความดับแห่งรูปด้วยอาการ ๕ โดยดับ อวิชชาเป็น
ต้นย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ความ
สังเขปในที่นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้แล้วในอุทยัพ-
พยญาณกถาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
คำว่า อิติ อชฺฌตฺตวา หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลาย ของตน ในธรรมทั้งหลายของคนอื่น หรือในธรรมทั้งหลาย ของ
ตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกำหนดขันธ์ ๕ อย่างนี้อยู่. ก็ความ
เกิดและความเสื่อมในคำว่า พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด และความเสื่อม
บัณฑิตพึงนำมาเทียบเคียงโดยลักษณะ ๕๐ ที่กล่าวไว้ในขันธ์ ๕ ว่า เพราะ
อวิชชาเกิด รูปจึงเกิดดังนี้เป็นต้น. คำอื่นนอกจากนี้ ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้ว.
สติกำหนดขันธ์ ๕ เป็นอริยสัจ ๔
แต่ในที่นี้ มีข้อต่างกันอย่างเดียว คือพึงประกอบความอย่างนี้ว่า สติ
กำหนดขันธ์เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ ดังนี้ แล้วพึงทราบว่า เป็นทางปฏิบัติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 328
นำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดขันธ์เป็นอารมณ์. คำที่เหลือก็เช่นนั้น
เหมือนกัน
จบขันธบรรพ
อายตนบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนาด้วยอำนาจขันธ์ ๕
อย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะทรงจำแนก โดยอายตนะ จึงตรัสว่า ปุน จปร ยังมีอีก
ข้อหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉสุ อชฺฌตฺติกพาหิเรสุ อายตเนสุ ใน
อายตนะภายใน และภายนอก ๖ ความว่า ในอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ คือ ตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. ในอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้คือรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. บทว่า จกฺขุญฺจ ปชานาติ รู้ชัดจักษุ ความว่า ย่อมรู้
ชัดจักษุประสาท โดยลักษณะพร้อมด้วยกิจตามความเป็นจริง. บทว่า รูเป จ
ปชานาติ รู้ชัดรูป ความว่า ย่อมรู้ชัดรูปอันเกิดแต่ ๔ สมุฏฐาน (กรรม อุตุ จิต
อาหาร) ในภายนอกโดยลักษณะพร้อมด้วยกิจตามความเป็นจริง. คำว่า ยญฺจ ตทุภย
ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ สโยชน สังโยชน์ ย่อมอาศัย อายตนะทั้งสองเกิดขึ้น ความ
ว่า สังโยชน์ ๑๐ อย่าง คือ กามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรมาส ภวราคะ อิสสา มัจฉริยะ และ อวิชชา สังโยชน์ เกิดขึ้น เพราะ
อาศัยอายตนะทั้งสอง คือจักษุ กับรูป. และย่อมรู้ชัดสังโยชน์ ๑๐ นั้น โดย
ลักษณะพร้อมด้วยกิจตามเป็นจริง.
เหตุเกิดสังโยชน์
ถามว่า ก็สังโยชน์นั้นเกิดได้อย่างไร. ตอบว่า เกิดได้อย่างนี้ จะกล่าว
ในจักษุทวารก่อน เมื่อบุคคลยินดี. เพลิดเพลินอิฏฐารมณ์ อันมาปรากฏทางจักษุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 329
ทวารโดยความยินดีในกาม สังโยชน์คือ กามราคะ ก็เกิด. เมื่อบุคคลขัดเคือง ใน
อนิฏฐารมณ์ สังโยชน์ คือปฏิฆะ ก็เกิด. เมื่อสำคัญว่า ยกเว้นเราเสีย ใครอื่น
ที่สามารถเสวยอารมณ์นั้นไม่มี ดังนี้ สังโยชน์ คือมานะ ก็เกิด. เมื่อยึดถือ
รูปารมณ์นั้นว่า เที่ยง ยั่งยืน สังโยชน์คือ ทิฏฐิ ก็เกิด. เมื่อสงสัยรูปารมณ์นั้น
ว่า สัตว์หรือหนอ ของสัตว์ หรือหนอ สังโยชน์ คือวิจิกิจฉา ก็เกิด เมื่อ
ปรารถนาภพว่า อารมณ์นี้เราได้โดยง่าย ในสมบัติภพแน่ สังโยชน์คือ ภวราคะ
ก็เกิด. เมื่อถือมั่นศีลและพรตว่า เราถือมั่นศีลและพรต อาจได้อารมณ์เห็นปาน
นี้ต่อไปอีก สังโยชน์คือ สีลัพพตปรามาสก็เกิด. เมื่อเกียดกันอยู่ว่า คนเหล่าอื่น
ไม่พึงได้รูปารมณ์เห็นปานนี้กันเลย สังโยชน์คือ อิสสา ก็เกิด. เมื่อหวงแหน
รูปารมณ์ที่ตนได้แล้ว ต่อผู้อื่น สังโยชน์ คือมัจฉริยะ ก็เกิด เมื่อไม่รู้แจ้ง ด้วย
อำนาจ ความไม่รู้สิ่งซึ่งเกิดพร้อมกับจักษุและรูปทั้งมวล สังโยชน์ คืออวิชชาก็
เกิด.
ความรู้เหตุละสังโยชน์
คำว่า ยถา จ อนุปฺปนฺนสส ที่ยังไม่เกิดด้วยเหตุใด ความว่า สังโยชน์
แม้ ๑๐ อย่างนั้น ที่ยังไม่เกิด โดยความไม่ฟุ้งขึ้น ย่อมเกิดเพราะเหตุใด ย่อม
รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. คำว่า ยถา จ อุปฺปนฺนสฺส ที่เกิดแล้วเพราะเหตุใด
ความว่า สังโยชน์แม้ ๑๐ อย่างนั้น ที่เกิดแล้ว เพราะอรรถว่า ยังละไม่ได้
หรือเพราะฟุ้งขึ้น ย่อมละได้ เพราะเหตุใด ย่อมรู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
คำว่า ยถา จ ปหีนสฺส ที่ละได้แล้ว เพราะเหตุใด ความว่าสังโยชน์
๑๐ อย่างนั้นแม้ละได้แล้ว โดยตทังคปหาน และ วิกขัมภนปหาน ย่อม
ไม่เกิดต่อไป เพราะเหตุใด ย่อมรู้ชัดเหตุนั้นด้วย. ถามว่า สังโยชน์ ๑๐ นั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 330
ไม่เกิดต่อไป เพราะเหตุใด. ตอบว่า ก่อนอื่น สังโยชน์ ๕ คือทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส อิสสา และ มัจฉริยะ ไม่เกิดต่อไป ด้วยโสดาปัตติมรรค.
สังโยชน์ ๒ คือ กามราคะ ปฏิฆะ อย่างหยาบ ไม่เกิดต่อไปด้วย สกทาคามิมรรค.
อย่างละเอียด ไม่เกิดต่อไป ด้วยอนาคามิมรรค. สังโยชน์ ๓ คือ มานะ
ภวราคะ และ อวิชชา ไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตตมรรค. แม้ในคำว่า โสตญฺ จ
ปชานาติ สทฺเท จ ย่อมรู้ชัดโสตะนั้นด้วย เสียงด้วยเป็นต้น ก็นัยนี้
เหมือนกัน. อนึ่ง อายตนกถา ในที่นี้ พึงทราบโดยพิสดาร ตามนัยที่ท่าน
กล่าวไว้แล้ว ในอายตนนิทเทส คัมภีร์วิสุทธิมรรค.
คำว่า อิติ อชฺฌตฺต วา หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลาย ของตนด้วยการกำหนดอายตนะภายใน ในธรรมทั้งหลาย
ของคนอื่น ด้วยการกำหนดอายตนะภายนอก หรือ ในธรรมทั้งหลาย
ของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล อย่างนี้อยู่. ก็ความเกิดและความเสื่อมใน
อายตนบรรพนี้ พึงนำมาเทียบรูปายตนะลงในรูปขันธ์ มนายตนะในอรูปายตนะ
ทั้งหลายลงในวิญญาณขันธ์ ธัมมายตนะลงในขันธ์ที่เหลือ ไม่พึงถือว่า โลกุตตร-
ธรรม. ข้อความต่อจากนี้ มีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
สติกำหนดอายตนะเป็นอริยสัจ ๔
ในบรรพนี้ มีข้อต่างกันอย่างเดียว คือ พึงประกอบความอย่างนี้ว่า
สติกำหนดอายตนะเป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ ดังนี้ เป็นต้นแล้ว พึงทราบว่า
เป็นทางปฏิบัตินำทุกข์ออกไป ของภิกษุผู้กำหนด อายตนะเป็นอารมณ์. คำที่
เหลือก็เช่นกันแล.
จบอายตนบรรพ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 331
โพชฌงคบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนา โดยอายตนะ
ภายใน ภายนอก อย่างละ ๖ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนก โดย
โพชฌงค์ จึงตรัสว่า ปุน จปร ยังมีอีกข้อหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ในโพชฌงค์ทั้งหลาย คือในองค์ ของ
สัตว์ผู้ตรัสรู้. บทว่า มีอยู่ คือมีพร้อมอยู่ โดยการได้มา. บทว่า สติสัม-
โพชฌงค์ ได้แก่ สัมโพชฌงค์ กล่าวคือ สติ. พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า
สัมโพชฌงค์นี้ดังนี้ พระโยคาวจร ตรัสรู้ จำเดิมแต่เริ่มวิปัสสนา หรือพระ-
โยคาวจรนั้น ตื่นลุกขึ้นจากกิเลสนิทรา หรือแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ด้วยธรรม
สามัคคี ๗ มีสติ เป็นต้น อันใด ธรรมสามัคคี อันนั้น ชื่อว่าสัมโพธิ องค์
ของผู้ตื่นนั้น หรือธรรมสามัคคีเครื่องปลุกให้ตื่นนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัมโพชฌงค์. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สัมโพชฌงค์กล่าวคือ สติ. แม้
ในสัมโพชฌงค์ที่เหลือ ก็พึงทราบความแห่งคำตามนัยนี้แล. บทว่า ไม่มีอยู่
คือ ไม่มีเพราะไม่ได้มา.
วินิจฉัย ในคำว่า ยถา จ อนุปฺปนฺนสฺส ที่ยังไม่เกิด เพราะ
เหตุใดเป็นต้น ดังต่อไปนี้ ก่อนอื่น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดตามนัยอันมาใน
บาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในสติสัม-
โพชฌงค์นั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด หรือ
เป็นทางไพบูลย์ จำเริญบริบูรณ์ ยิ่ง ๆ ขึ้นไปแห่งสติสัมโพชฌงค์ ที่เกิดแล้ว ใน
ธรรมเหล่านั้น สตินั้นแหละชื่อว่าธรรม เป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์. โยนิ-
โสมนสิการมีลักษณะดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแล. เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการนั้น
ให้เป็นไปมาก ๆ ในอารมณ์นี้แล้ว สติสัมโพชฌงค์ก็เกิด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 332
ธรรมเป็นเหตุเกิดสติสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๔ ประการ เป็นทางเกิดสติสัมโพชฌงค์ คือ
๑. สติสัมปชัญญะ ๒. การเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ๓. การคบหาบุคคลผู้มี
สติมั่นคง ๔. ความน้อมจิตไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น.
ก็สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิด ด้วยสติสัมปชัญญะในฐานทั้ง ๗ มีก้าวไป
ข้างหน้าเป็นต้น ด้วยการงดเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม เช่นเดียวกับกาตัวเก็บ
อาหาร ด้วยการคบหาบุคคลผู้มีสติมั่นคง เช่นเดียวกับพระติสสทัตตเถระ และ
พระอภัยเถระเป็นต้น และด้วยความเป็นผู้มีจิตโน้มน้อมไปเพื่อตั้งสติในอิริยาบถ
ทั้งหลายมี ยืน นั่ง เป็นต้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่าก็สติสัมโพชฌงค์นั้นอันเกิดแล้ว
ด้วยเหตุ ๔ ประการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
เหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดตามนัยอันมาในบาลีอย่างนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ ธรรมที่เปรียบด้วยธรรมฝ่าย
ดำ และฝ่ายขาวมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็น
อาหารเพื่อความเกิดแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางไพบูลย์
เจริญบริบูรณ์เต็มที่แห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.
ธรรมเป็นเหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ๑. การสอบถาม ๒. การทำวัตถุให้สละสลวย ๓. การ
ปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอกัน ๔. เว้นบุคคลมีปัญญาทราม ๕. คบหาบุคคล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 333
ผู้มีปัญญา ๖. พิจารณาสอดส่องด้วยปัญญา อันลึกซึง ๗. ความน้อมจิตไปใน
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น.
บรรดาธรรม ๗ ประการนั้น ความเป็นผู้มากไปด้วยการสอบถาม อัน
อาศัยอรรถแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ องค์มรรค
องค์ฌาน สมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าการสอบถาม.
การทำวัตถุภายใน และภายนอกให้สละสลวย ชื่อว่าการทำวัตถุให้
สละสลวย. ก็เวลาใด ภิกษุมีผม เล็บ และขนยาวเกินไป หรือร่างกาย สกปรก
เปรอะเปื้อนด้วยเหงื่อและไคล เวลานั้น วัตถุภายใน (คือร่างกาย) ไม่สละสลวย
ไม่สะอาด. แต่ในเวลาใด จีวรเก่าคร่ำคร่า สกปรก เหม็นสาบ หรือเสนาสนะ
รกรุงรัง ในเวลานั้น วัตถุภายนอกไม่สละสลวย ไม่สะอาด. เพราะฉะนั้น จึง
ควรทำวัตถุภายในให้สละสลวย ด้วยกิจมีการปลงผมเป็นต้น ด้วยการทำร่างกาย
ให้เบาสบาย ด้วยกิจมีการถ่ายชำระมลทิน ให้ทั่วทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเป็นต้น
และด้วยการขัดสี อาบน้ำบรรเทากลิ่นเหม็น. พึงทำวัตถุ ภายนอกให้สละสลวย
ด้วยกิจมีการเย็บ ย้อม ซักจีวร และทำการรมบาตรเป็นต้น. เพราะเมื่อวัตถุ
ภายใน และภายนอกนั้นไม่สละสลวย เมื่อจิตและเจตสิกเกิดขึ้น แม้ปัญญาก็ไม่
ผ่องแผ้ว เหมือนแสงสว่างของดวงประทีปที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยตัวตะเกียงไส้
และน้ำมันที่ไม่สะอาดหมดจดฉะนั้น แต่เมื่อวัตถุภายใน และภายนอกสละสลวย
เมื่อจิต และ เจตสิกเกิดขึ้น แม้ปัญญาก็ผ่องแผ้ว เหมือนแสงสว่างของดวง
ประทีปที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยตัวตะเกียง ไส้ และน้ำมัน ที่สะอาดหมดจด
ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทำวัตถุให้สละสลวย ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 334
การทำปรับปรุงอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้น ให้สม่ำเสมอกัน ชื่อว่า การ
ทำปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ. ด้วยว่า ถ้าอินทรีย์ คือศรัทธาของเธอมีกำลัง
กล้า อินทรีย์นอกนี้อ่อน แต่นั้นอินทรีย์คือวิริยะ ก็ไม่อาจทำกิจ คือการ
ประคองจิตได้ อินทรีย์ คือสติก็ไม่อาจทำกิจ คือการปรากฏ อินทรีย์คือสมาธิ
ก็ไม่อาจทำกิจ คือความไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์คือปัญญาก็ไม่อาจทำกิจ คือการเห็น
ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อมนสิการถึงอินทรีย์ คือศรัทธานั้น ด้วยการพิจารณา
สภาวธรรม หรือโดยประการใด อินทรีย์คือศรัทธามีกำลังกล้า พึงลดลงด้วย
การไม่มนสิการโดยประการนั้น. ในข้อนี้ มีเรื่องท่านพระวักกลิเถระ เป็น
อุทาหรณ์. ถ้าอินทรีย์คือวิริยะมีกำลังกล้า เมื่อเป็นเช่นนั้น อินทรีย์คือศรัทธา
ก็ไม่อาจทำกิจ คือการน้อมใจเชื่อได้ อินทรีย์นอกนี้ ก็ไม่อาจทำกิจคือหน้าที่
ต่าง ๆ ของตนได้ เพราะฉะนั้น จึงควรลดอินทรีย์คือวิริยะนั้นลง ด้วยการ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นต้น. แม้ในข้อนั้น พึงแสดงเรื่องท่านพระโสณ-
เถระเป็นอุทาหรณ์. แม้ในอินทรีย์ที่เหลือก็เหมือนกัน เมื่ออินทรีย์อย่างหนึ่ง
มีกำลังกล้า ก็พึงทราบว่า อินทรีย์นอกนี้ก็ไม่สามารถในกิจ คือหน้าที่ของตน
ได้. แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องอินทรีย์นี้ ท่านสรรเสริญ ศรัทธา กับ
ปัญญา และสมาธิ กับ วิริยะ ต้องเสมอกัน. เพราะผู้มีศรัทธากล้า แต่มีปัญญา
อ่อน มีความเลื่อมใสแรง ย่อมเลื่อมใสไปนอกเรื่อง. มีปัญญากล้า แต่มีศรัทธา
อ่อน ย่อมฝักใฝ่ไปข้างเกเร เหมือนโรคเกิดเพราะผิดยา แก้ไขไม่ได้ฉะนั้น.
ผู้มีปัญญากล้า ก็โลดแล่นเขวไปว่า กุศลมิได้ด้วยเพียงจิตตุปบาทใจคิดขณะ
หนึ่งเท่านั้น ดังนี้แล้ว ก็ไม่ทำบุญ มีทานเป็นต้น ย่อมเกิดในนรก. เพราะ
อินทรีย์คือศรัทธา กับปัญญาทั้งสองเสมอกัน จึงเลื่อมใสในวัตถุ คือพระ-
รัตนตรัยอย่างเดียว. แต่สมาธิกล้า วิริยะอ่อน โกสัชชะ ความเกียจคร้าน ย่อม
ครอบงำได้ เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ. วิริยะกล้า สมาธิอ่อน อุทธัจจะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 335
ย่อมครอบงำได้ เพราะวิริยะเป็นฝ่ายอุทธัจจะ แต่สมาธิอันวิริยะเข้าประกบไว้
ย่อมไม่ตกไปในโกสัชชะ วิริยะอันสมาธิเข้าประกบไว้ก็ไม่ตกไป ในอุทธัจจะ.
เพราะฉะนั้น จึงควรทำอินทรีย์สองคู่นั้นให้เสมอเท่า ๆ กัน. ด้วยว่า อัปปนา
จะมีได้ ก็เพราะอินทรีย์สองคู่เสมอกัน. อีกอย่างหนึ่ง ศรัทธาแม้มีกำลังกล้าก็
ควรแก่ผู้เจริญสมาธิ. เพราะผู้เจริญสมาธิ เชื่อมมั่นหยั่งลงมั่นอย่างนี้ จักบรรลุ
อัปปนาได้ ส่วนในสมาธิกับปัญญา เอกัคคตา ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
มีกำลังกล้า ย่อมควรแก่ผู้เจริญสมาธิ. ด้วยว่าผู้เจริญสมาธินั้น ย่อมบรรลุอัปปนา
ได้ ด้วยเอกัคคตาอย่างนี้. ปัญญามีกำลังกล้า ย่อมควรแก่ผู้เจริญวิปัสสนา.
ด้วยว่าผู้เจริญวิปัสสนานั้นย่อมถึงความแทงตลอดไตรลักษณ์ด้วยปัญญาอย่างนี้.
แต่อัปปนาจะมีได้ ก็เพราะศรัทธา กับ ปัญญา ทั้งสองเสมอกันโดยแท้. ส่วน
สติมีกำลังแล้ว ย่อมควรในที่ทั้งปวง. เพราะว่า สติย่อมรักษาจิตมิให้ตกไปใน
อุทธัจจะ ด้วยอำนาจศรัทธา วิริยะ ปัญญา ซึ่งเป็นฝ่ายอุทธัจจะ มิให้ตก
ไปในโกสัชชะ เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ. เพราะฉะนั้น สตินั้น จึงจำต้อง
ปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือนการปรุงรสด้วยเกลือจำปรารถนาในการปรุงอาหาร
ทุกอย่าง และเหมือนอำมาตย์ผู้ชำนาญในราชกิจทุกอย่าง จำปรารถนาในราชกิจ
ทุกอย่างฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สติจำปรารถนาใน
ที่ทั้งปวง เพราะเหตุไร เพราะจิตมีสติ เป็นที่อาศัยและสติมีการอารักขา เป็น
ที่ปรากฏ เว้นสติเสียแล้วจะประคอง และข่มจิตไม่ได้เลย.
การเว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม ไม่มีปัญญาหยั่งลงในประเภทแห่งธรรม
มีขันธ์เป็นต้น ให้ห่างไกล ชื่อว่า การงดเว้นบุคคลทรามปัญญา. การคบหา
บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญารอบรู้ความเกิดและความเสื่อมแห่งสภาวธรรม อัน
กำหนดด้วยลักษณะ ๕๐ ถ้วน ชื่อว่า คบหาบุคคลผู้มีปัญญา. การพิจารณา
ประเภทแห่งปัญญาอันลึกซึ้ง ที่เป็นไปในสภาวธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้นอัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 336
ลุ่มลึก ชื่อว่าการพิจารณาสอดส่องด้วยปัญญอันลึกซึ้ง. ความเป็นผู้มีจิตอัน
โน้มน้อมไปเพื่อตั้งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ในอิริยาบถทั้งหลาย มี ยืน นั่ง
เป็นต้น ชื่อว่าความน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า
ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นที่เกิดด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วย
อรหัตตมรรค.
วิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิด ตามนัยอันมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารภธาตุ (ธาตุคือความเริ่ม
ความเพียร) นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ (ธาตุ คือความเพียรก้าวไปข้างหน้า)
มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธาตุทั้ง ๓ นั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความ
เกิดแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นไปเพื่อความไพบูลย์เจริญบริบูรณ์
เต็มที่ แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วดังนี้.
ธรรมเป็นเหตุเกิดวิริยสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่ง
วิริยสัมโพชฌงค์ คือ ๑. การพิจารณาเห็นภัยในอบาย ๒. การเห็นอานิสงส์
๓. การพิจารณาวิถีทางดำเนิน ๔. ความเคารพยำเกรงในบิณฑบาต ๕. การ
พิจารณาความเป็นใหญ่แห่งการรับทรัพย์มรดก ๖. การพิจารณาความมีพระ-
ศาสดาเป็นใหญ่ ๗. การพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่ ๘. การพิจารณาความ
มีสพหมจารีเป็นใหญ่ ๙. การงดเว้นบุคคลเกียจคร้าน ๑๐. การคบหาบุคคล
ผู้ปรารภความเพียร ๑๑. ความน้อมจิตไปในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 337
๑. การพิจารณาเห็นภัยในอบาย
บรรดาธรรม ๑๑ ประการนั้น เมื่อภิกษุผู้เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ แม้
พิจารณาเห็นภัยในอบายอย่างนี้ว่า ใครๆ ไม่อาจยังวิริยสัมโพชฌงค์ให้เกิดได้
ในเวลาที่เสวยทุกข์ใหญ่จำเดิมแต่ถูกลงโทษด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการในนรก
ก็ดี ในเวลาที่ถูกเขาจับด้วยเครื่องจับมี ข่าย แห และอวนเป็นต้นบ้าง ในเวลาขับ
ต้อนทิ่มแทงด้วยเครื่องประหารมีปะฏักเป็นต้น ให้ลากเกวียนบ้าง ในกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ในเวลาที่ทุรนทุรายด้วยความหิวกระหายตั้งหลายพันปีบ้าง
พุทธันดรหนึ่งบ้าง ในเปรตวิสัยก็ดี ในเวลาที่ต้องเสวยทุกข์อันเกิดแต่ลมและ
แดดเป็นต้น ด้วยเรือนร่างที่สูงประมาณ ๖๐ ศอก ๘๐ ศอก เหลือแต่หนังหุ้ม
กระดูก ในจำพวกกาลกัญชิกอสูรก็ดี ดูก่อนภิกษุ เวลานี้เท่านั้น เป็นเวลา
ทำความเพียรของเธอดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นได้.
๒. การเห็นอานิสงส์
เมื่อเห็นอานิสงส์อย่างนี้ว่า คนเกียจคร้านไม่อาจได้โลกุตตรธรรม ๙
คนที่ปรารภความเพียรเท่านั้นจึงสามารถ นี้เป็นอานิสงส์ของความเพียร ดังนี้
วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดได้.
๓. การพิจารณาวิถีทางดำเนิน
เมื่อพิจารณาวิถีทางดำเนินอย่างนี้ว่า ควรดำเนินทางที่พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า พระมหาสาวกทุกพระองค์ดำเนินไปแล้ว ทางนั้น คน
เกียจคร้านไม่อาจเดินไปได้ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ ก็ย่อมเกิดได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 338
๔. การเคารพยำเกรงต่อบิณฑบาต
เมื่อพิจารณาความเคารพยำเกรงต่อบิณฑบาตอย่างนี้ว่า มนุษย์เหล่าใด
บำรุงเธอด้วยปัจจัยมีบิณฑบาตเป็นต้น มนุษย์เหล่านั้นนี้ ก็ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่
ทาส และคนงานของเธอเลย ทั้งมนุษย์เหล่านั้นก็มิใช่ถวายปัจจัยมีจีวรเป็นต้น
อันประณีตแก่เธอ ด้วยคิดว่าจักอาศัยเธอเลี้ยงชีวิต โดยที่แท้ เขาหวังให้อุปการะ
ที่ตนทำแล้วมีผลมาก จึงถวาย แม้พระศาสดาก็มิได้ทรงพิจารณาเห็นอย่างนี้
ว่า ภิกษุนี้บริโภคปัจจัยเหล่านี้แล้ว จักมีร่างกายแข็งแรงมากอยู่เป็นสุข ดังนี้
แล้วทรงอนุญาตปัจจัยแก่เธอ โดยที่แท้ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า ภิกษุ
บริโภคปัจจัยเหล่านี้ บำเพ็ญสมณธรรม จักพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ดังนี้ จึง
ทรงอนุญาตปัจจัยไว้ เดี๋ยวนี้ เธอเกียจคร้านอยู่ ไม่เคารพยำเกรงบิณฑบาต
นั้น ขึ้นชื่อว่าการเคารพยำเกรงต่อบิณฑบาต ย่อมมีแก่ผู้ปรารภความเพียรเท่า
นั้น ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เกิดได้ เหมือนวิริยสัมโพชฌงค์ เกิดแก่ท่าน
พระมหามิตตเถระฉะนั้น.
เรื่องพระมหามิตตเถระ
เล่ากันว่า พระเถระอาศัยอยู่ในถ้ำชื่อ กสกะ. และมหาอุบาสิกาผู้หนึ่ง
ในบ้านเป็นที่โคจรของท่าน บำรุงพระเถระเหมือนบุตร. วันหนึ่ง นางจะไปป่า
จึงสั่งลูกสาวว่า ลูก ข้าวสารเก่าอยู่โน้น น้ำนม เนยใส น้ำอ้อย อยู่โน้น เวลา
ที่พระเป็นเจ้ามิตตะ พี่ชายของเจ้ามาแล้ว จงปรุงอาหารถวายพร้อมด้วยน้ำนม
เนยใส และน้ำอ้อย ด้วยนะลูก. ลูกสาวถามว่า ก็แม่จะรับประทานไหมจ๊ะ.
มหาอุบาสิกาตอบว่า ก็เมื่อวานนี้ แม่รับประทานอาหารสำหรับค้างคืน
(ปาริวาสกภัต) ที่ปรุงกับน้ำส้มแล้วนี้จ๊ะ. ลูกสาวถามว่า แม่จักรับประทาน
กลางวันไหมจ๊ะ. มหาอุบาสิกาสั่งว่า เจ้าจงใส่ผักดองแล้วเอาปลายข้าวสาร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 339
ต้มข้าวต้มมีรสเปรี้ยวเก็บไว้ให้เถอะลูก. พระเถระครองจีวรแล้ว กำลังนำบาตร
ออก (จากถลก) ได้ยินเสียงนั้นแล้ว ก็สอนตนเองว่า ได้ยินว่า มหาอุบาสิกา
รับประทานแต่อาหารสำหรับค้างคืนกับน้ำส้ม แม้กลางวันก็จักรับประทาน
ข้าวต้มเปรี้ยวใส่ผักดอง นางบอกอาหารมีข้าวสารเก่าเป็นต้น เพื่อประโยชน์
แก่เธอ ก็มหาอุบาสิกานั้นมิได้หวังที่นาที่สวน อาหาร และผ้า เพราะอาศัย
เธอเลย แต่ปรารถนาสมบัติ ๓ ประการ (มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพาน
สมบัติ) จึงถวาย เธอจักสามารถให้สมบัติเหล่านั้นแก่มหาอุบาสิกานั้นได้หรือ
ไม่เล่า ดังนี้ ท่านคิดว่า บิณฑบาตนี้แล เธอยังมีราคะ โทสะ โมหะ อยู่
ไม่อาจรับได้ดังนี้แล้ว ก็เก็บบาตรเข้าถลก ปลดดุมจีวร กลับไปถ้ำกสกะเลย
เก็บบาตรไว้ใต้เตียง พาดจีวรไว้ที่ราวจีวร นั่งลงอธิษฐานความเพียรว่า เราไม่
บรรลุพระอรหัต จักไม่ออกไปจากถ้ำดังนี้. ภิกษุผู้ไม่ประมาทอยู่มาช้านาน
เจริญวิปัสสนา ก็บรรลุพระอรหัตก่อนเวลาอาหารเช้า เป็นพระมหาขีณาสพ
(สิ้นอาสวะแล้ว) นั่งยิ้มอยู่ เหมือนดอกปทุมที่กำลังแย้มฉะนั้น. เทวดาผู้สิงอยู่
ที่ต้นไม้ใกล้ประตูถ้ำเปล่งอุทานว่า
นโม เต ปุริสาชญฺ นโม เต ปุริสุตฺตม
ยสฺส เต อาสวา ขีณา ทกฺขิเณยฺโยสิ มาริส
ท่านบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบ
น้อมท่าน ท่านยอดบุรุษข้าพเจ้าขอนอบน้อม
ท่าน ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่านผู้มีอาสวะสิ้น
แล้ว ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้ควรทักษิณา-
ทาน ดังนี้
แล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า พวกหญิงแก่ถวายอาหารแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย เช่น
ท่านผู้เข้าไปบิณฑบาต จักพ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 340
พระเถระลุกขึ้นเปิดประตูดูเวลา ทราบว่า ยังเช้าอยู่ จึงถือบาตร
และจีวรเข้าสู่หมู่บ้าน ฝ่ายเด็กหญิง. จัดเตรียมอาหารเสร็จแล้ว นั่งคอยดูอยู่ตรง
ประตู ด้วยนึกว่า ประเดี๋ยวพี่ชายเราคงจักมา ประเดี๋ยวพี่ชายเราคงจักมา.
เมื่อพระเถระมาถึงประตูเรือนแล้ว เด็กหญิงนั้น ก็รับบาตรบรรจุเต็มด้วยอาหาร
เจือน้ำนม ที่ปรุงด้วยเนยใส และน้ำอ้อยแล้ว วางไว้บนมือ (ของพระเถระ).
พระเถระทำอนุโมทนาว่า จงมีสุขเถิด แล้วก็หลีกไป. เด็กหญิงนั้นยืนจ้องดูท่าน
อยู่แล้ว. ความจริง ในคราวนั้น ผิวพรรณของพระเถระบริสุทธิ์ยิ่งนัก อินทรีย์
ผ่องใส หน้าของท่านเปล่งปลั่งยิ่งนัก ประดุจผลตาลสุกหลุดออกจากขั้วฉะนั้น.
มหาอุบาสิกากลับมาจากป่าถามว่า พี่ชายของเจ้ามาแล้วหรือลูก เด็กหญิงนั้นก็
เล่าเรื่องทั้งหมดให้มารดาฟัง. มหาอุบาสิกาก็รู้ได้ว่า วันนี้ บรรพชิตกิจแห่ง
บุตรของเราถึงที่สุดแล้ว จึงกล่าวว่า ลูก พี่ชายของเจ้ายินดียิ่งนักในพระพุทธ-
ศาสนา ไม่กระสัน (อยากสึก) แล้วละดังนี้.
๕. การพิจารณาความมีทรัพย์มรดกเป็นใหญ่
เมื่อพิจารณาความมีทรัพย์มรดกเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า ก็ทรัพย์มรดกของ
พระศาสดามีมากแล คือ อริยทรัพย์ ๗ ประการ ทรัพย์มรดกนั้นผู้เกียจคร้าน
ไม่อาจรับได้ เหมือนอย่างว่ามารดา บิดา ย่อมตัดบุตรผู้ประพฤติผิด ทำให้
เป็นคนภายนอกว่า คนนี้ไม่ใช่ลูกของเรา เมื่อมารดา บิดา ล่วงลับไป เขา
ก็ไม่ได้รับทรัพย์มรดกฉันใด แม้บุคคลผู้เกียจคร้านก็ฉันนั้น ย่อมไม่ได้มรดก
คือ อริยทรัพย์นี้ ผู้ปรารภความเพียรเท่านั้น ย่อมได้รับดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์
ย่อมเกิดได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 341
๖. การพิจารณาความมีพระศาสดาเป็นใหญ่
เมื่อพิจารณาความมีพระศาสดาเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า พระศาสดาของเธอ
เป็นใหญ่ เพราะในเวลาที่พระศาสดาของเธอทรงถือปฏิสนธิ ในพระครรภ์ของ
พระมารดาก็ดี เวลาเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็ดี เวลาตรัสรู้พระอนุตตรสัมมา-
สัมโพธิญาณก็ดี เวลาประกาศพระธรรมจักร แสดงยมกปาฏิหาริย์ เสด็จลงจาก
เทวโลก และทรงปลงอายุสังขารก็ดี เวลาเสด็จดับขันธปรินิพพานก็ดี หมื่น-
โลกธาตุก็หวั่นไหวแล้ว เธอบวชในพระศาสนาของศาสดาเห็นปานฉะนั้นแล้ว
เป็นคนเกียจคร้าน ควรแล้วหรือดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.
๗. การพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่
เมื่อพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า แม้โดยชาติ บัดนี้ เธอ
ไม่ใช่คนมีชาติต่ำแล้วละ เธอชื่อว่าเกิดแล้วในวงศ์ของพระเจ้าอุกกากราช ที่
สืบทอดกันมาโดยมหาสมมตประเพณี ไม่เจือปนกับชนชาติอื่น เป็นพระนัดดา
ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช และพระนางเจ้ามหามายาเทวี เป็นพระอนุชา
ของท่านพระราหุลพุทธชิโนรส ขึ้นชื่อว่าเธอ เป็นพุทธชินบุตรเห็นปานฉะนี้
แล้ว อยู่อย่างคนเกียจคร้าน ไม่สมควรดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดได้.
๘. การพิจารณาความมีสพรหมจารีเป็นใหญ่
เมื่อพิจารณาความมีสพรหมจารีเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตร
ท่านพระโมคคัลลานะ และ พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป แทงตลอด (ตรัสรู้)
โลกุตตรธรรม ด้วยความเพียรกันทั้งนั้น เธอจะดำเนินตามทางของสพรหมจารี
เหล่านั้น หรือไม่ดำเนินตามเล่าดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 342
๙. การงดเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน
๑๐. การคบหาบุคคลผู้ปรารภความเพียร
๑๑. ความน้อมจิตไป ในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น
เมื่อเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน ผู้สละความเพียรทางกาย และทางใจ
ซึ่งเป็นเหมือนงูเหลือมกินเต็มท้อง แล้วก็หยุดอยู่กับที่ก็ดี คบหาบุคคล
ผู้ปรารภความเพียร ผู้อุทิศตนมุ่งปฏิบัติธรรมก็ดี มีจิตโน้มน้อมโอนไป เพื่อ
ให้ความเพียรเกิดขึ้น ในอิริยาบถทั้งหลายมี ยืน นั่ง เป็นต้น ก็ดี วิริยสัม-
โพชฌงค์ย่อมเกิดได้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า วิริยสัมโพชฌงค์นั้นที่เกิดแล้ว ด้วย
อาการอย่างนี้ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
ปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดโดยนัยอันมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัม-
โพชฌงค์ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ปีติสัมโพชฌงค์ นี้เป็นอาหาร เพื่อความเกิดแห่งปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
หรือเป็นทางเพื่อความไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์ เต็มที่แห่งปีติสัมโพชฌงค์ ที่เกิด
แล้วดังนี้. ปีตินั้นเองชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ ในบาลีนั้น.
มนสิการอันยังปีตินั้นให้เกิด ชื่อว่าโยนิโสมนสิการ.
ธรรมเป็นเหตุเกิดปีติสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นทางเกิด ปีติสัมโพชฌงค์
คือ ๑. พุทธานุสสติ ๒. ธัมมานุสสติ ๓. สังฆานุสสติ ๔. สีลานุสสติ
๕. จาคานุสสติ ๖. เทวานุสสติ ๗. อุปสมานุสสติ ๘. เว้นบุคคลผู้เศร้าหมอง
๙. คบหาบุคคลผู้หมดจด ๑๐. การพิจารณาความในพระสูตร เป็นที่ตั้งแห่ง
ความเลื่อมใส ๑๑. ความน้อมจิตไปในปีติสัมโพชฌงค์นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 343
จริงอยู่ ผู้เจริญปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ ปีติสัม-
โพชฌงค์แผ่ซ่านทั่วสรีระจนกระทั่งอุปจารสมาธิ ย่อมเกิดขึ้น. เมื่อระลึกถึง
คุณพระธรรม และพระสงฆ์ก็ดี พิจารณาปาริสุทธิศีล ๔ ที่ตนรักษาไม่ขาดวิ่น
เป็นเวลานานก็ดี แม้คฤหัสถ์พิจารณาศีล ๑๐ ศีล ๕ ก็ดี พิจารณาจาคะ การ
บริจาคว่า ในเวลาประสบทุพภิกขภัยเป็นต้น เราถวายโภชนะอันประณีตแก่
สพรหมจารีทั้งหลาย แล้วถวายโภชนะชื่ออย่างนี้ ดังนี้ก็ดี แม้คฤหัสถ์พิจารณา
ถึงทานที่ถวายแก่ท่านผู้มีศีลในเวลาเห็นปานนั้นก็ดี พิจารณาถึงคุณเช่นกับที่
เทวดาประกอบแล้วถึงความเป็นเทวดาว่า มีอยู่ในตนก็ดี พิจารณาเห็นว่า
กิเลสที่ข่มได้แล้วแม้ด้วยสมาบัติตลอด ๖๐ ปีบ้าง ๗๐ ปีบ้าง ไม่ฟุ้งกำเริบ
ดังนี้ก็ดี เว้นบุคคลเศร้าหมองผู้มีความหม่นหมองอันสร้างสมไว้ เพราะไม่ทำ
โดยเคารพ ในเวลาเห็นพระเจดีย์ เห็นโพธิพฤกษ์และเห็นพระเถระ ผู้เป็น
เช่นกับละอองธุลี บนหลังลา เพราะไม่มีความเลื่อมใสรักใคร่ในพระรัตนตรัย
มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นก็ดี ส้องเสพบุคคลผู้หมดจด ผู้มากด้วยควานเลื่อมใสมี
จิตอ่อนโยนในพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นก็ดี พิจารณาความใน
พระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ซึ่งแสดงคุณของพระรัตนตรัยก็ดี มีจิต
โน้มน้อมโอนไป เพื่อให้เกิดปีติ ในอิริยาบถทั้งหลายมี ยืน นั่ง เป็นต้นก็ดี
ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดได้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ปีติสัมโพชฌงค์นั้น ซึ่งเกิดแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตมรรค.
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดโดยนัยที่มาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายปัสสัทธิ ความสงบกาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 344
จิตตปัสสัทธิ ความสงบจิตมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในความ
สงบกาย และความสงบจิตนั้น นี้เป็นอาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิด
แห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางเพื่อความไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์
เต็มที่ แห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ที่เกิดแล้วดังนี้.
ธรรมเป็นเหตุเกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นทางเกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
คือ ๑. เสพโภชนะอันประณีต ๒. เสพฤดูเป็นที่สบาย ๓. เสพอิริยาบถเป็นที่
สบาย ๔. ประกอบความเป็นกลาง ๕. เว้นบุคคลผู้ไม่สงบกาย ๖. เสพบุคคล
ผู้สงบกาย ๗. น้อมจิตไปในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้น.
จริงอยู่ ผู้เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เมื่อบริโภคโภชนะเป็นที่สบาย
อันประณีตหมดจดก็ดี. เสพฤดูเป็นที่สบาย ไม่ว่าจะเป็นฤดูหนาว ฤดูร้อน
เสพอิริยาบถ เป็นที่สบายไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถ ยืน เป็นต้นก็ดี ย่อมเกิดความ
สงบได้. แต่คำนั้น ท่านมิได้กล่าวหมายถึงบุคคลผู้เป็นมหาบุรุษ ซึ่งทนฤดู
และอิริยาบถ เป็นที่สบาย. เมื่อผู้ที่มีฤดู และอิริยาบถที่ถูกกันและไม่ถูกกัน
เว้นฤดูและอิริยาบถที่ไม่ถูกกันเสียแล้ว เสพฤดูและอิริยาบถที่ถูกกัน ปัสสัทธิสัม-
โพชฌงค์ย่อมเกิดได้. การพิจารณาถึงความที่ตนและคนอื่นมีกรรมเป็นของ ๆ
ตน เรียกว่า ประกอบความเป็นกลาง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้ด้วย
ประกอบความเป็นกลางอันนี้. เมื่อเว้นบุคคลผู้มีกายไม่สงบ เช่นเที่ยวเบียดเบียน
สัตว์อื่นด้วยเครื่องประหาร มีก้อนดิน และท่อนไม้เป็นต้น ก็ดี เสพบุคคลผู้
มีกายสงบ สำรวม มือ เท้า ก็ดี มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้เกิดปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ในอิริยาบถมี ยืน นั่ง เป็นต้น ก็ดี ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.
ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ก็ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้น อันเกิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้
ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตมรรค.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
สมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดได้ โดยนัยมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต (บาลีว่า สมาธินิมิต)
อัพยัคคนิมิตมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในนิมิตทั้งสองนั้น นี้เป็น
อาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด หรือ
เป็นทางเพื่อความไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์เต็มที่แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว
ดังนี้.
ในนิมิตเหล่านั้น สมถะนั่นแล ชื่อว่า สมถนิมิตและอัพยัคคนิมิต
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน.
ธรรมเป็นเหตุเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นทางเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์
คือ ๑. ทำวัตถุให้สละสลวย ๒. การปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ ๓. ฉลาด
ในนิมิต ๔. ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๕. ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
๖. ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๗. เพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย
๘. เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ๙. คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ๑๐. พิจาร-
ณาและวิโมกข์ ๑๑. น้อมจิตไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น.
อธิบายธรรม ๑๑ ประการ
ในธรรม ๑๑ ประการนั้น เฉพาะการทำวัตถุให้สละสลวย และการ
ปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 346
ความฉลาดในการกำหนดกสิณนิมิต เป็นอารมณ์ ชื่อว่าฉลาดใน
นิมิต. การประคองจิตไว้ ด้วยการตั้งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์.
และปีติสัมโพชฌงค์ในสมัยที่จิตหดหู่ เพราะมีความเพียรย่อหย่อนเกินไป
เป็นต้น ชื่อว่า ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง.
การข่มจิตไว้ ด้วยการตั้งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์
และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในสมัยที่จิตฟุ้งซ่าน เพราะปรารภความเพียรมากเกิน
ไปเป็นต้น ชื่อว่า ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม.
คำว่า ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรร่าเริง อธิบายว่า สมัยใด จิตไม่แช่ม
ขึ้น เพราะมีปัญญาและความเพียรอ่อนไป หรือเพราะไม่บรรลุสุขที่เกิดแต่ความ
สงบ สมัยนั้น ก็จิตให้สลด ด้วยพิจารณาสังเวควัตถุเรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความสลด ๘ ประการ. เรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลด ๘ ประการ คือ ๑. ชาติ
๒. ชรา ๓. พยาธิ ๔. มรณะ ๕. ทุกข์ในอบาย ๖. ทุกข์ในอดีตมีวัฏฏะ
เป็นมูล ๗. ทุกข์ในอนาคตมีวัฏฏะเป็นมูล ๘. ทุกข์ในปัจจุบันมีการแสวงหา
อาหารเป็นมูล. อนึ่ง การทำความเลื่อมใสให้เกิด ด้วยมาระลึกถึงคุณพระรัตน-
ตรัย อันนี้ก็เรียกว่าการทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง.
ชื่อว่า เพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย อธิบายว่า สมัยใดจิตอาศัยการ.
ปฏิบัติชอบ ไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน แช่มขึ้น เป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ ดำเนิน
ในสมถวิถี สมัยนั้นไม่ต้องขวยขวายในการประคอง ข่มและทำจิตให้ร่าเริง
เหมือนสารถี ไม่ต้องขวนขวาย ในเมื่อม้าวิ่งเรียบฉะนั้น อันนี้เรียกว่า เพ่งเฉย
ในสมัยที่ควรเพ่งเฉย.
การเว้นบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่บรรลุอุปจาระ หรืออัปปนา ให้
ห่างไกล ชื่อว่า เว้นบุคคลผู้มีจิต ไม่เป็นสมาธิ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
การเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิด้วยอุปจาร
ภาวนา หรืออัปปนาภาวนา ชื่อว่า คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ.
ความเป็นผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้เกิดสมาธิ ในอิริยาบถทั้งหลาย
มี ยืน นั่งเป็นต้น ชื่อว่า น้อมจิตไปในสมาธิสัมโพชฌงค์.
ด้วยว่า เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมเกิดได้.
เมื่อภิกษุรู้ชัดว่า ก็สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น อันเกิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ย่อม
เจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
อุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดได้ตามนัยอันมาแล้วในบาลี (สังยุตต-
นิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น นี้เป็นอาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิดแห่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางเพื่อความเจริญไพบูลย์ บริบูรณ์
เต็มที่ แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วดังนี้. ก็ในธรรมเหล่านั้น อุเบกขา
นั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ธรรมเป็นเหตุเกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งอุเบก-
ขาสัมโพชฌงค์ คือ ๑. วางตนเป็นกลางในสัตว์ ๒. วางตนเป็นกลางในสังขาร
๓. เว้นบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร ๔. คบหาบุคคลผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์
และสังขาร ๕. น้อมจิตไปในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 348
อธิบายธรรม ๕ ประการ
ในธรรม ๕ ประการนั้น ผู้เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมตั้งการวาง
ตนเป็นกลางในสัตว์ด้วยอาการ ๒ อย่าง คือด้วยการพิจารณาถึงความที่ตนและ
ผู้อื่นมีกรรมเป็นของ ๆ ตนอย่างนี้ว่า ท่านมาด้วยกรรมของตน ก็จักไปด้วย
กรรมของตน แม้เขาก็มาด้วยกรรมของตน (เขา) จักไปด้วยกรรมของตน
(เขา) เหมือนกัน ท่านจะยึดถืออะไรกันดังนี้ และด้วยการพิจารณาถึงความ
ไม่มีสัตว์อย่างนี้ว่า เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ที่ว่าสัตว์ ๆ มันไม่มี ท่านจะยึดอะไร
กันเล่าดังนี้.
ตั้งการวางตนเป็นกลางในสังขาร ด้วยอาการ ๒ อย่างคือ ด้วยการ
พิจารณาโดยความเป็นของไม่มีเจ้าของ อย่างนี้ว่า จีวรนี้จักเข้าถึงความเปลี่ยนสี
และความเก่าคร่ำคร่า เป็นผ้าเช็ดเท้า ต้องเขี่ยทิ้งด้วยปลายไม้เท้า ก็ถ้าว่าจีวร
นั้น พึงมีเจ้าของไซร้ เขาก็ไม่พึงให้มันเสียหายอย่างนี้ ดังนี้ และด้วยการ
พิจารณาโดยความเป็นของชั่วคราวอย่างนี้ว่า จีวรนี้อยู่ไม่ได้นาน เป็นของ
ชั่วคราวดังนี้. แม้ในบริขารมีบาตรเป็นต้น ก็พึงประกอบความเหมือนอย่างใน
จีวร.
ในข้อว่า เว้นบุคคลผู้ยึดถือในสัตว์และสังขาร มีวินิจฉัยดังนี้
บุคคลใดเป็นคฤหัสถ์ ก็ยึดถือปิยชน มีบุตร ธิดา เป็นต้น ของตน
หรือเป็นบรรพชิตก็ยึดถือบรรพชิตมีอันเตวาสิก และผู้ร่วมอุปัชฌาย์กันเป็นต้น
ของตน มัวทำกิจกรรมมีปลงผม เย็บจีวร ซักย้อมจีวร ระบมบาตร เป็นต้น
ของชนเหล่านั้น ด้วยมือของตนทีเดียว เมื่อไม่เห็นเพียงครู่เดียว ก็บ่นถึงว่า
สามเณรรูปโน้นไปไหน ภิกษุหนุ่มรูปโน้นไปไหน เหลียวซ้ายแลขวา เหมือน
มฤคตื่นตกใจฉะนั้น แม้ผู้อื่นอ้อนวอนขอว่า โปรดส่งสามเณรชื่อโน้นไปช่วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 349
ปลงผมเป็นต้น สักครู่เถิดดังนี้ ก็ไม่ยอมให้ ด้วยพูดว่า พวกเราจะไม่ให้ทำ
กิจกรรมของตนบ้างหรือ พวกท่านพาเธอไปจะลำบากดังนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า
ยึดถือสัตว์.
ฝ่ายบุคคลใด ยึดถือบริขารมีจีวร บาตร ถลกบาตร ไม้เท้าเป็นต้น
แม้ผู้อื่นจะเอามือจับก็ไม่ให้จับ ถึงขอยืมก็ตอบขัดข้องว่า เราต้องการใช้ทรัพย์
ก็ยังไม่ใช้ จักให้พวกท่านได้อย่างไรดังนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า ยึดถือสังขาร.
ฝ่ายบุคคลใด วางตนเป็นกลาง เที่ยงตรงในวัตถุทั้งสองนั้น บุคคล
นี้ชื่อว่าวางตนเป็นกลาง ในสัตว์และสังขาร.
เมื่อเว้นไกลบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขารเห็นปานฉะนี้ก็ดี คบหาบุคคล
ผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขารก็ดี มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้เกิดอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ ในอิริยาบถทั้งหลาย มี ยืน นั่ง เป็นต้นก็ดี อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้
ย่อมเกิดได้ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ก็อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นอัน
เกิดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
คำว่า อิติ อชฺฌตฺตวา หรือภายในเป็นต้น ความว่าพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลาย เพราะกำหนดสัมโพชฌงค์ ๗ ของตน หรือของคนอื่น
หรือกำหนดสัมโพชฌงค์ ๗ ของตนตามกาล หรือของคนอื่นตามกาลอยู่. ก็
ความเกิด และความเสื่อม (แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์) พึงทราบด้วยอำนาจ
ความเกิด และความดับแห่งสัมโพชฌงค์ทั้งหลาย ในโพชฌงคบรรพนี้. ข้อความ
ต่อจากนี้ ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้ว.
สติกำหนดโพชฌงค์เป็นอริยสัจ ๔
แต่ในโพชฌงค์บรรพนี้ มีข้อแตกต่างกันอย่างเดียว คือพึงประกอบ
ความอย่างนี้ว่า สติกำหนดโพชฌงค์เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ เป็นต้น แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 350
พึงทราบว่า เป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ ของภิกษุผู้กำหนดโพชฌงค์เป็น
อารมณ์. คำที่เหลือก็เช่นนั้นเหมือนกัน.
จบโพชฌงคบรรพ
สัจจบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนาโดยโพชฌงค์ ๗
ประการ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกสัจจะ ๔ ประการ จึงตรัสว่า
ปุน จปร ยังมีอีกข้อหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
อริยสัจ ๔
ในคำเหล่านั้น คำว่า รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์เป็นต้น ความว่า
รู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริง ซึ่งธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เว้น ตัณหาว่า นี้ทุกข์ รู้ชัด
ตามสภาพที่เป็นจริง ซึ่งตัณหาที่มีอยู่ก่อน. อันทำทุกข์นั้นนั่นแล ให้เกิด ให้
ปรากฏขึ้น นี้ทุกขสมุทัย รู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริงซึ่งความดับคือ หยุดทุกข์
และทุกขสมุทัยทั้งสองว่า นี้ ทุกขนิโรธ รู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริง ซึ่ง อริยมรรค
อันเป็นเหตุกำหนดรู้ทุกข์ เป็นเหตุละสมุทัย เป็นเหตุทำให้แจ้งนิโรธว่า นี้ทุกข
นิโรธคามินีปฏิปทา. กถาว่าด้วยสัจจะที่เหลือเว้นกถาว่าด้วยบท ภาชนะ แจก
บทแห่งทุกข์มีชาติเป็นต้น ท่านกล่าวไว้พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วเทียว.
อธิบายบทภาชนะ
ชาติ
ส่วนในบทภาชนะ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ คำว่า กตมา จ ภิกฺ-
ขเว ชาติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติเป็นอย่างไร ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 351
หลาย ก็ชาติอันใด ที่เรากล่าวอย่างนี้ว่า แม้ชาติก็เป็นทุกข์ ชาติอันนั้นเป็น
อย่างไร. พึงทราบอรรถในปุจฉาทั้งปวง อย่างนี้. คำว่า ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
อันใดนี้ เป็นคำกำหนดรวมสัตว์ไว้ทั้งหมดโดยไม่มีกำหนดว่า ของเหล่าสัตว์ชื่อนี้.
แม้คำว่าในหมู่สัตว์นั้นๆนี้ เป็นคำกำหนดรวมหมู่สัตว์ไว้ทั้งหมด. ความเกิดชื่อว่า
ชาติ. คำว่าชาตินี้ เป็นชื่อของขันธ์ที่เกิดจำเพาะทีแรก พร้อมด้วยความเปลี่ยน
แปลง. คำว่าสัญชาตินี้ เป็นไวพจน์ (แทน) ของชาตินั่นเอง แต่ประกอบด้วย
อุปสรรค. ความเกิดนั่นแล ชื่อว่า โอกฺกนฺติ ก้าวลง ด้วยอรรถว่า ก้าวลง
โดยอาการที่เข้าไปโดยลำดับ ชื่อว่า อภินิพฺพตฺติ เกิดจำเพาะ ด้วยอรรถว่า
เกิดเฉพาะ กล่าวคือ เกิด ทั้ง ๔ อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวโดยสมมัติ. ส่วนบาลี
ขนฺธาน ปาตุภาโว ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลายนี้ กล่าวโดยปรมัตถ์.
ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลายนั่นแล ที่แยกเป็นขันธ์หนึ่ง ขันธ์สี่ และ ขันธ์ห้า
ในบรรดาหมู่สัตว์ที่มีขันธ์หนึ่งเป็นต้นนั่นเอง ไม่ใช่ความปรากฏแห่งบุคคล.
แต่เมื่อความปรากฏแห่งขันธ์นั้นมีอยู่. ก็สมมติเรียกกันว่า บุคคลปรากฏดังนี้.
คำว่า อายตนาน ปฏิลาโภ ความได้อายตนะทั้งหลาย ความว่า อายตนะ
ทั้งหลายปรากฏอยู่นั่นแล เป็นอันชื่อว่าได้มา นั้นชื่อว่าความได้มาที่กล่าว
ได้ว่าความปรากฏแห่งอายตนะเหล่านั้น.
ชรา
ศัพท์ว่า ชรา เป็นศัพท์แสดงถึงสภาพความเป็นเอง. ศัพท์ว่า ชีรณตา
แสดงถึงภาวะ คืออาการ. ศัพท์ว่า ขณฺฑิจฺจ เป็นต้น คือแสดงถึงภาวะเปลี่ยน
แปลง จริงอยู่ เวลาเป็นหนุ่มสาว ฟันก็เรียบขาว. ครั้นหง่อมเข้า ฟันเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 352
ก็เปลี่ยนสีไปโดยลำดับ หลุดตกไปในที่นั้น ๆ. อนึ่ง ฟันหัก หมายถึงฟันที่
หลุดร่วง และที่ยังอยู่ ชื่อว่า ขณฺฑิตา. ภาวะแห่งฟันที่หักเรียกว่า ขณฺฑิจฺจ
ความที่ฟันหัก. ผมและขน คร่ำคร่าไปโดยลำดับ ชื่อว่าผมหงอก. ผมหงอก
เกิดพร้อมแล้วแก่บุคคลนั้น เหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า มีผมหงอก. ภาวะแห่ง
บุคคลผู้มีผมหงอก ชื่อว่า ปาลิจฺจ ความที่ผมหงอก. เกลียวที่หนังของบุคคล
นั้น มีอยู่ เพราะมีเนื้อและเลือดแห้งไปด้วยถูกลม คือ ชราประหาร เหตุนั้น
บุคคลนั้นชื่อว่ามีหนังเป็นเกลียว (เหี่ยว). ภาวะแห่งบุคคลผู้มีหนังเป็นเกลียวนั้น
ชื่อว่า วลิตฺตจตา ความที่หนังเหี่ยว. ด้วยถ้อยคำมีประมาณเพียงเท่านี้เป็นอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงชรา ที่เปิดเผย อันปรากฏชัด โดยแสดงความ
เปลี่ยนแปลง ในฟัน ผม ขน หนัง. ทางไปของลม หรือไฟ จะปรากฏได้
ก็เพราะลมพัดถูกหญ้า หรือต้นไม้เป็นต้น หักระเนระนาด หรือไฟไหม้ แต่
ทางไปของลม และไฟนั้นก็หาปรากฏไม่ฉันใด ทางไปแห่งชราก็ฉันนั้นเหมือน
กันจะปรากฏได้ก็โดยภาวะมีฟันหักเป็นต้น แห่งอาการ ๓๒ มีฟันเป็นต้น
แม้บุคคลลืมตาดู ก็จับไม่ได้ ความคร่ำคร่าแห่งอาการมีฟันหักเป็นต้น หาใช่ตัว
ชราไม่ เพราะชราจะพึงรู้ทางจักษุมิได้. แต่เพราะเมื่อถึงชรา อายุเสื่อมไป
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสโดยผลใกล้เคียงว่า ความเสื่อมไปแห่งอายุ
เรียกว่า ชรา. อนึ่ง เพราะเวลาเป็นหนุ่มสาว อินทรีย์ทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น
แจ่มใสดี สามารถรับอารมณ์ของคน แม้ที่ละเอียดได้ให้สะดวกทีเดียว เมื่อถึง
ชรา ก็แก่งอม ขุ่นมัว ไม่ผ่องใสไม่สามารถรับอารมณ์ของตน แม้ที่หยาบได้
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสโดยผลใกล้เคียงว่า ความแก่งอมแห่งอินทรีย์
ทั้งหลายเรียกว่า ชรา ดังนี้บ้าง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 353
มรณะ
ในมรณนิทเทส มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ศัพท์ว่า ย หมายถึง มรณะ เป็นศัพท์แสดง นุปสกลิงค์ (ไม่ใช่
เพศชาย เพศหญิง ทางไวยากรณ์). ในคำว่า ย นั้น พึงประกอบความดังนี้ว่า
มรณะ ท่านเรียกว่า จุติ เรียกว่า จวนตา. ในศัพท์เหล่านั้น ศัพท์ว่า จุติ
แสดงถึงสภาพที่เป็นเอง. ศัพท์ว่า จวนตา แสดงถึงภาวะ คือ อาการ. เมื่อ
บุคคลถึงมรณะแล้ว ขันธ์ทั้งหลายย่อมแตก และหายไป แลไม่เห็น เพราะ
ฉะนั้น มรณะนั้น จึงเรียกว่า ความแตก ความหายไป ความมอดม้วย. บทว่า
มัจจุมรณะ คือ มัจจุมรณะ มิใช่ ขณิกมรณะ (ตายชั่วขณะ). การทำ
กาละคือ ตาย ชื่อว่า กาลกิริยา. แม้ทั้งหมดนี้ กล่าวโดยสมมติทั้งนั้น. ส่วน
บาลีว่า ขนฺธาน เภโท นี้ เป็นการกล่าวโดยปรมัตถ์. ความแตกแห่งขันธ์
ทั้งหลาย ที่แยกเป็นขันธ์หนึ่ง ขันธ์สี่ และขันธ์ห้า ในบรรดาหมู่สัตว์ที่มี
ขันธ์หนึ่งเป็นต้นนั่นเอง มิใช่ความแตกแห่งบุคคล. แต่เมื่อความประชมพร้อม
แห่งขันธ์มีอยู่ ก็สมมติเรียกว่า บุคคลตาย. การทอดทิ้งอัตตภาพ ชื่อว่าการ
ทอดทิ้งซากศพ. จริงอยู่ เมื่อบุคคลถึงความตาย อัตตภาพก็ตกเป็นเหมือน
ท่อนไม้ ไร้ประโยชน์ฉะนั้น เพราะฉะนั้น มรณะนั้นท่านจึงเรียกว่า การ
ทอดทิ้งซากศพ. ส่วนความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ เมื่อว่าโดยปรมัตถ์
โดยอาการทั้งปวงก็คือมรณะ. มรณะนั้นนั่นแหละ เรียกว่า สมมติมรณะ.
ชาวโลกถือเอาความขาดแห่งชีวิตินทรีย์เท่านั้น จึงพูดว่า ติสสะ ตาย ผุสสะ
ตาย ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 354
โสกะ
บทว่า พฺยสเนน ด้วยความวิบัติ ความว่า ด้วยความวิบัติอย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดาความวิบัติทั้งหลาย มีความวิบัติจากญาติเป็นต้น. บทว่า
ทุกฺขธมฺเมน อันทุกขธรรม ความว่า อันเหตุแห่งทุกข์ มีการฆ่า และ
จองจำเป็นต้น. บทว่า ผุฏฺสฺส ถูกต้องแล้ว ได้แก่ท่วมทับ ครอบงำแล้ว.
คำว่า โสกะ ได้แก่ความโศก อันมีความแห้งใจเป็นลักษณะ ย่อมเกิดแก่
บุคคล ในเมื่อถูกความวิบัติ มีความวิบัติจากญาติเป็นต้น หรือเหตุแห่งทุกข์
มีการฆ่า การจองจำเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ครอบงำแล้ว. ความเป็นผู้
เศร้าโศก ได้แก่ ความเศร้าโศก. ก็ความเศร้าโศกนั้นเกิดขึ้นทำภายในให้แห้ง
ให้แห้งผาก เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ความเศร้าใจ ความแห้งใจภายใน ดังนี้.
ปริเทวะ
คนทั้งหลาย ยึดถืออย่างนี้ว่า ลูกหญิงของเรา ลูกชายของเรา ดังนี้
ย่อมคร่ำครวญรำพัน ด้วยความยึดถือนั้น เหตุนั้น ความยึดถือนั้น จึงชื่อว่า
เป็นเหตุคร่ำครวญ. คนทั้งหลาย รำพันยกยอคุณนั้น ๆ ด้วยเหตุนั้น เพราะ
ฉะนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นเหตุรำพัน. ศัพท์ทั้งสอง (อาเทวนา ปริเทวนา)
นอกจากอาเทวะ ปริเทวะ นั้น เป็นศัพท์แสดงภาวะแห่งความคร่ำครวญ รำพัน
นั้นนั่นแหละ.
ทุกขโทมนัส
ความทุกข์ อันมีกายประสาท เป็นที่ตั้ง (ที่เกิด) เพราะอรรถว่า
ทนได้ยาก ชื่อว่าทุกข์ทางกาย. คำว่า ไม่ชื่นใจ คือไม่หวานใจ. คำว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 355
ทุกข์ที่เกิดแต่กายสัมผัส คือทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสทางกาย คำว่า เวทนา
ที่ไม่น่าชื่นใจ คือ เวทนา ที่ไม่น่าชอบใจ. โทมนัสสัมปยุตกับจิต ชื่อว่า
เจตสิก ได้แก่โทมนัสทางใจ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้วในทุกข์นั่นแล.
อุปายาส
บทว่า อายาโส ได้แก่ ความลำบากทางใจ อันถึงอาการ คือความ
ท้อแท้ห่อเหี่ยว. ความคับใจโดยภาวะมีกำลังแรง ชื่อว่า ความคับแค้นใจ.
ศัพท์ทั้งสอง (อายาสิตฺตก อุปายาสิตฺต) นอกจาก อายาสะ และอุปายาสะ
นั้น เป็นธรรมเนื่องอยู่ในตน ส่องภาวะ ชี้ภาวะ.
การไม่สมควรปรารถนาเป็นทุกข์
บทว่า ชาติธมฺมาน มีความเกิดเป็นธรรมดา คือมีความเกิดเป็น
สภาวะ. สองบทว่า อิจฺฉา อุปฺปชฺชติ ความปรารถนาย่อมเกิด คือตัณหา
ย่อมเกิด. คำว่า อโห วต ได้แก่ความปรารถนา. บทว่า น โข ปเนต อิจฺฉาย
ข้อนั้น ไม่พึงได้ด้วยความปรารถนาแล ความว่า ข้อนั้น คือความไม่ต้อง
มาเกิด เว้นมรรคภาวนาเสีย บุคคลไม่พึงบรรลุได้ด้วยปรารถนา. คำว่า อิทปิ
แม้นี้ คือแม้อันนี้. ปิอักษร ในคำว่า อิทมฺปิ หมายถึงบทที่เหลือข้างหน้า.
บทว่า ยมฺปิจฺฉ ปรารถนาสิ่งใด ความว่า. บุคคลปรารถนาสิ่งที่ไม่พึงได้
ย่อมไม่ได้. เพราะธรรมใด ความปรารถนาในสิ่งที่ไม่พึงได้ นั้นก็เป็นทุกข์. ทุกๆ
บทก็นัยนี้เหมือนกัน. ในขันธนิทเทสมีวินิจฉัยดังนี้. รูปนั้นด้วย อุปาทานขันธ์
ด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า รูปูปาทานขันธ์. ทุก ๆ ขันธ์ก็พึงทราบอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 356
สมุทัยอริยสัจ
คำว่า ยาย ตณฺหา ตัดเป็น ยา อย ตณฺหา แปลว่า ตัณหานี้ใด.
คำว่า โปโนพฺภวิกา มีวิเคราะห์ว่า การทำภพใหม่ ชื่อว่า ภพใหม่ ภพใหม่นั้น
เป็นปกติแห่งตัณหานั้น เหตุนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา มี
ความเกิดอีกเป็นปกติ. คำว่า นนฺทิราคสหคตา ได้แก่ตัณหาที่เกิดร่วม
ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน. ท่านอธิบายว่า โดยอรรถ
ตัณหานั้น ก็เป็นอันเดียวกันกับนันทิราคะนั่นเอง. ในคำเหล่านั้น คำว่า ตตฺรตตฺ-
ราภินนฺทินี เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ความว่า อัตตภาพ เกิดจำเพาะใน
ที่ใด ๆ ตัณหาก็เพลิดเพลินในที่นั้น ๆ. อีกนัยหนึ่ง ตัณหามักเพลิดเพลินใน
อารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น ชื่อว่าในที่นั้น ๆ. อธิบายว่า เพลิดเพลินในรูป
เพลิดเพลินในเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. ศัพท์ว่า เสยฺยถีท
เป็นศัพท์นิบาต. ศัพท์ว่า เสยฺยถีท นั้นมีความว่า ถ้ามีคำถามว่า ตัณหานั้น
เป็นไฉน. ความอยากในกาม ชื่อว่ากามตัณหา. คำว่ากามตัณหานั้น เป็นชื่อของ
ความกำหนัดเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕. ความอยากในภพ ชื่อว่า ภวตัณหา.
คำว่า ภวตัณหานี้เป็นชื่อของความกำหนัด ในรูปภพและอรูปภพ อันเกิดพร้อม
ด้วยสัสสตทิฏฐิ ที่เกิดโดยความปรารถนาภพ และความยินดีในฌาน. ความ
อยากในวิภพ ชื่อว่า วิภวตัณหา. คำว่า วิภวตัณหานี้ เป็นชื่อของความ
กำหนัดที่เกิดพร้อมด้วยอุจเฉททิฏฐิ. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดง
วัตถุที่ตั้ง ที่เกิด แห่งตัณหานั้นโดยพิสดาร จึงตรัสว่า สา โข ปเนสา
ก็ตัณหานี้นั้นแล ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อุปฺปชฺชติ แปลว่า เกิด. คำว่า นิวีสติ
ได้แก่ ตั้งอยู่โดยความเป็นไปบ่อยๆ. คำว่า ย โลเก ปิยรูป สาตรูป ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 357
เป็นสภาวะที่รักและสภาวะที่ชอบใจในโลก. ในคำว่า จกฺขุ โลเก เป็นต้น
มีอธิบายดังนี้ จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ถือมั่นในจักษุเป็นต้นในโลกโดยความ
เป็นของ ๆ เรา ตั้งมั่นอยู่ในสมบัติ ย่อมสำคัญจักษุ (ตา) ของตน อันมี
ประสาททั้ง ๕ แจ่มใส เหมือนหน้าต่างแก้วมณี อันเผยขึ้นแล้วในวิมานทอง
ด้วยทำนองถือเอานิมิต ในกระจกเป็นต้น ย่อมสำคัญโสต (หู ) เหมือนหลอดเงิน
และเหมือนด้ายร้อยสังวาลย์ ย่อมสำคัญ ฆานะ (จมูก) ที่ได้โวหารเรียกว่า
ตุงฺคนาสา (จมูกโด่ง) เหมือนขั้วหรดาลที่เขาปั้นตั้งไว้ ย่อมสำคัญ ชิวหา
(ลิ้น) อันอ่อนสะอาดคอยรับรสอร่อย เหมือนพื้นผ้ากัมพลแดง ย่อมสำคัญกาย
เสมือนต้นสาละหนุ่ม และเสมือนเสาระเนียดทอง ย่อมสำคัญ มนะ (ใจ)
อันโอฬาร (ของตน) ไม่เหมือนกับใจของคนอื่น ๆ ย่อมสำคัญรูป ประหนึ่ง
ว่ามีผิวพรรณดังดอกกัณณิการ์ทองเป็นต้น ย่อมสำคัญเสียง ประหนึ่งเสียงนก
การะเวก และดุเหว่า ที่น่าคลั่งไคล้ และเสียงกังวานของปี่แก้วที่เป่าแผ่ว ๆ
ย่อมสำคัญอารมณ์มีคันธารมณ์ (หอม) เป็นต้น อันมีสมุฏฐาน ๔ ที่ตนได้แล้ว
ว่าอารมณ์เห็นปานนี้ ของคนอื่นใครเล่า จะมี. เมื่อสัตว์เหล่านั้นสำคัญอยู่อย่างนี้
จักษุเป็นต้นเหล่านั้น ก็ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจ. เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัณหา
ของสัตว์เหล่านั้น ที่ยังไม่เกิด ก็ย่อมเกิดในจักษุเป็นต้นนั้น และตัณหาที่เกิด
แล้ว ก็ย่อมตั้งอยู่โดยความเป็นไปบ่อย ๆ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า จักษุเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจ ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ก็เกิด
ที่จักษุนั้น ดังนี้เป็นต้น. คำว่า ตตฺถ อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชติ ความว่า
ตัณหานั้น เมื่อเกิดในกาลใด ก็ย่อมเกิดที่จักษุนี้ในกาลนั้น. ทุก ๆ บทก็นัยนี้.
ทุกขนิโรธอริยสัจ
บททั้งปวงมีบทว่า อเสสวิราคนิโรโธ ความดับด้วยสำรอกโดย
ไม่เหลือเป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของพระนิพพานนั่นเอง. จริงอยู่ ตัณหา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 358
มาถึงพระนิพพานย่อมคลาย ดับไม่เหลือ เพราะฉะนั้น พระนิพพานนั้น จึงตรัส
เรียกว่า ความดับ ด้วยคลายไม่เหลือ แห่งตัณหานั้นนั่นแล. อนึ่ง ตัณหา
มาถึงพระนิพพาน ย่อมละ สละคืน ปล่อย ไม่ติด เพราะฉะนั้น พระนิพพาน
จึงตรัสเรียกว่า เป็นที่ละ สละ ปล่อย ไม่ติด. แท้จริง พระนิพพานก็มี
อย่างเดียวเท่านั้น. แต่ชื่อของพระนิพพานนั้นมีมาก โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อชื่อของ
สังขตธรรม ทั้งหมด. คืออย่างไร คือธรรมเป็นที่คายไม่เหลือ เป็นที่ดับไม่เหลือ
เป็นที่ละ เป็นที่สละ เป็นที่พ้น เป็นที่ไม่ติด เป็นที่สิ้นราคะ เป็นที่สิ้นโทสะ
เป็นที่สิ้นโมหะ เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่ไม่เกิด เป็นที่หยุด ไม่มีนิมิต ไม่มี
ที่ตั้ง ไม่มีที่อาศัย ไม่มีปฏิสนธิ ไม่เป็นไป ไม่ไป ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ
ไม่ตาย ไม่โศก ไม่คร่ำครวญ ไม่คับแค้น ไม่เศร้าหมอง ดังนี้เป็นต้น. บัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงความไม่มีแห่งตัณหาทั้งปวง ที่มรรคตัด
ได้แล้ว ถึงความหยุด (ไม่เป็นไป) เพราะมาถึงพระนิพพาน ในวัตถุที่
พระองค์ทรงแสดงว่า ตัณหาเกิดนั่นแหละ จึงตรัสว่า สา โข ปเนสา ก็ตัณหา
นี้นั้นดังนี้ เป็นต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้น ดังต่อไปนี้ เหมือนอย่างว่า บุรุษพบเถาน้ำ
เต้าขม ที่เกิดในนาแล้ว จับตั้งแต่ยอด ค้นหาโคนพบแล้ว ตัดออกเสีย เถานั้น
ก็เหี่ยวแห้งโดยลำดับ ถึงความไม่ปรากฏ ที่นั้น เขาก็เรียกกันว่า เถาน้ำเต้าขม
ในนานั้น ดับแล้ว ละแล้ว ตัณหาในจักษุเป็นต้น เปรียบเหมือนเถาน้ำเต้าขม
ในนา ตัณหานั้น ตัดรากได้ด้วยอรหัตตมรรค ถึงความหยุด (งอก) เพราะมาถึง
พระนิพพาน อนึ่ง ตัณหาอันถึงความหยุดอย่างนั้นแล้ว ย่อมไม่ปรากฏในวัตถุ
เหล่านั้น เหมือนเถาน้ำเต้าขมไม่ปรากฏในนาฉะนั้น. อนึ่ง เปรียบเหมือนพวก
มนุษย์นำโจรมาจากดง พึงฆ่าเสียที่ประตูด้านทิศใต้ แห่งพระนคร แต่นั้น คน
ทั้งหลายจะพึงพูดกันว่าพวกโจรในดง ตายแล้ว หรือถูกฆ่าตายแล้ว ดังนี้ ฉัน ใด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 359
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตัณหาในจักษุเป็นต้น เปรียบเหมือนโจรในดง ตัณหานั้น
ชื่อว่า ดับไปในพระนิพพานนั่นเอง เพราะมาถึงพระนิพพานแล้วจึงดับไป
เหมือนโจรถูกฆ่าที่ประตูทิศใต้ฉะนั้น อนึ่ง ตัณหาอันดับแล้วอย่างนั้น ย่อมไม่
ปรากฏในวัตถุเหล่านั้น เหมือนโจรไม่ปรากฏในดงฉะนั้น. เพราะฉะนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความดับแห่งตัณหานั้น ในจักษุเป็นต้นนั้น
จึงตรัสว่า จักษุเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละก็ละได้
ที่จักษุนั้น เมื่อจะดับ ก็ดับที่จักษุนั้นดังนี้เป็นต้น
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
คำว่า อยเมว เป็นคำกำหนดแน่ชัดเพื่อปฏิเสธมรรคอื่น. คำว่า อริโย
ความว่า มรรคชื่อว่าอริยะ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย อันมรรคนั้น ๆ พึงฆ่า
และเพราะทำความเป็นพระอริยะ. ทรงแสดงกัมมัฏฐานว่าด้วยสัจจะ ๔ ด้วยคำว่า
รู้ในทุกข์ เป็นต้น. ในสัจจะ ๔ นั้น ๒ สัจจะต้น (ทุกข สมุทัย) เป็นวัฏฏ-
สัจจะ ๒ สัจจะหลัง (นิโรธ มรรค) เป็นวิวัฏฏสัจจะ. ในวัฏฏสัจจะ และ
วิวัฏฏสัจจะเหล่านั้น ความตั้งมั่นแห่งกัมมัฏฐานของภิกษุ ย่อมมีในวัฏฏสัจจะ
ไม่มีในวิวัฏฏสัจจะ ก็พระโยคาวจรกำหนดสัจจะ ๒ เบื้องต้น ในสำนักอาจารย์
โดยย่อ อย่างนี้ว่า ปัญจขันธ์เป็นทุกข์ ตัณหาเป็นสมุทัย และพิสดารโดยนัย
เป็นต้นว่า ปัญจขันธ์เป็นไฉน คือรูปขันธ์ดังนี้แล้ว ทบทวน (ท่องบ่น) ชื่อว่า
ทำกรรมในสัจจะ ๒ เหล่านั้น. ส่วนในสัจจะ ๒ นอกนี้ พระโยคาวจร ย่อม
ทำกรรม ด้วยการฟังอย่างเดียว อย่างนี้ว่า นิโรธสัจ น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ มรรคสัจ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ. พระโยคาวจรนั้น เมื่อทำอยู่
อย่างนี้ ย่อมแทงตลอดสัจจะทั้ง ด้วยปฏิเวธญาณอันเดียว ย่อมตรัสรู้ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 360
อภิสมยญาณอันเดียว คือแทงตลอดทุกขสัจจะ ด้วยปฏิเวธ คือปริญญากิจ แทง
ตลอดสมุทัยด้วยปหานกิจ แทงตลอดนิโรธสัจจะ ด้วยสัจฉิกิริยากิจ แทงตลอด
มรรคสัจจะ ด้วยภาวนากิจ. ย่อมตรัสรู้ทุกขสัจจะ ด้วยอภิสมยญาณ คือปริญญากิจ
ตรัสรู้สมุทัยสัจจะ ด้วยปหานกิจ ตรัสรู้นิโรธสัจจะ ด้วยสัจฉิกิริยากิจ ตรัสรู้
มรรคสัจจะ ด้วยภาวนากิจ. ในเบื้องต้น พระโยคาวจรนั้น มีปฏิเวธญาณใน
สัจจะ ๒ เบื้องต้น ด้วยการกำหนด การสอบถาม การฟัง การทรงจำ และ
การพิจารณา ส่วนในสัจจะ ๒ เบื้องปลาย พระโยคาวจรมีปฎิเวธญาณ ด้วย
อำนาจการฟังอย่างเดียว ในภายหลัง จึงมีปฏิเวธญาณในสัจจะ ๓ โดยกิจ มี
ปฏิเวธญาณในนิโรธสัจโดยอารมณ์. ส่วนปัจจเวกขณญาณมีแก่พระโยคาวจร
ผู้บรรลุสัจจะแล้ว. และพระโยคาวจรนี้ เป็นผู้เริ่มบำเพ็ญเพียร เพราะฉะนั้น
จึงไม่ตรัสปัจจเวกขณญาณนั้นไว้ในที่นี้. อนึ่ง เมื่อภิกษุนี้กำหนดรู้ในเบื้องต้น
ความคำนึง รวบรวมใจ ใส่ใจ และพิจารณาว่า เรากำหนดรู้ทุกข์ เราละสมุทัย
เราทำให้แจ้งนิโรธ เราเจริญมรรค ดังนี้ ยังไม่มี จะมีได้ตั้งแต่การกำหนด
ไป. ส่วนในเวลาภายหลัง ทุกข์ก็เป็นอันชื่อว่ากำหนดรู้แล้ว สมุทัยก็เป็นอัน
ละเสียแล้ว นิโรธก็เป็นอันทำให้แจ้งแล้ว มรรคก็เป็นอันทำให้เกิดแล้ว.
ในสัจจะเหล่านั้น สัจจะ ๒ เบื้องต้น ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก
สัจจะ ๒ เบื้องหลัง ชื่อว่าเห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง. ความจริง ทุกขสัจปรากฏ
ตั้งแต่เกิดมา ถึงกับกล่าวกันว่า ทุกข์หนอ ในเวลาที่ถูกตอและหนามตำเป็นต้น.
แม้สมุทัยสัจก็ปรากฏตั้งแต่เกิดมา ด้วยอำนาจอยากเคี้ยว อยากกินเป็นต้น. แต่
แม้ทั้งสองสัจจะนั้นก็ชื่อว่าลึกซึ้ง โดยลักษณะ และการแทงตลอด. สัจจะ ๒ นั้น
ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยากด้วยประการฉะนี้. ส่วนความพยายามเพื่อเห็น
สัจจะ ๒ นอกนี้ ก็เป็นเหมือนเหยียดมือจับภวัคคพรหม เหยียดเท้าไปต้องอเวจี-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 361
นรก และเป็นเหมือนเอาปลายขนทราย กับปลายขนทรายที่แยกออก ๗ ส่วน
ให้จดติดกัน. สัจจะ ๒ เบื้องปลายเหล่านั้น ชื่อว่าเห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง
ด้วยประการฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นี้ ความรู้ในทุกข์ดังนี้เป็นต้น
ทรงหมายถึงความเกิดญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น ในสัจจะ ๔ ที่ชื่อว่าลึกซึ้ง
เพราะเห็นได้ยาก และที่ชื่อว่าเห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง ด้วยอำนาจการกำหนด
เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. ส่วนในขณะแทงตลอด ญาณ (ปฏิเวธญาณ) นั้น
ก็มีหนึ่งเท่านั้น.
สัมมาสังกัปปะ
ความดำริมีความดำริออกจากกามเป็นต้น ต่างกันในเบื้องต้น เพราะ
สัญญาในอันงดเว้นจากกามพยาบาทและวิหิงสาต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรค
ความดำริฝ่ายกุศลอันเดียวเท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์มรรคบริบูรณ์ โดยให้สำเร็จ
ความไม่เกิดแห่งความดำริฝ่ายอกุศล ที่เกิดแล้วในฐาน ๓ เหล่านี้ เพราะตัดทาง
แห่งความดำริฝ่ายอกุศลนั้นได้ขาด นี้ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ.
สัมมาวาจา
แม้กุศลธรรมมีเจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น ก็ต่างกันในเบื้องต้น
เพราะสัญญาในการงดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้นต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรค
เจตนางดเว้นฝ่ายกุศลอันเดียวเท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์มรรคบริบูรณ์ โดยให้
สำเร็จความไม่เกิดแห่งเจตนาเครื่องทุศีลฝ่ายอกุศลที่เกิดแล้ว ในฐานะ ๔ เหล่านี้
เพราะตัดทางแห่งเจตนาเครื่องทุศีลฝ่ายอกุศลนั้นได้ขาด นี้ชื่อว่า สัมมาวาจา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 362
สัมมากัมมันตะ
แม้กุศลธรรม มีเจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ก็ต่างกันใน
เบื้องต้น เพราะสัญญาในการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ต่างกัน. แต่ในขณะ
แห่งมรรค เจตนางดเว้นฝ่ายกุศล อันเดียวเท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์แห่งมรรค
บริบูรณ์ โดยให้สำเร็จความไม่เกิด แห่งเจตนาเครื่องทุศีลฝ่ายอกุศลที่เกิดแล้ว
ในฐานะ ๓ เหล่านี้ เพราะตัดทางได้ขาด นี้ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ.
สัมมาอาชีวะ
คำว่า มิจฉาอาชีวะ ได้แก่กายทุจริตและวจีทุจริต ที่เป็นไปเพื่อต้อง
การของเคี้ยวของกินเป็นต้น. คำว่า ละ คือเว้น. คำว่า ด้วยสัมมาอาชีวะ
คือด้วยอาชีพที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ. คำว่า สำเร็จชีวิต คือดำเนินการ
เลี้ยงชีพ. ที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ ต่างกันในเบื้องต้น เพราะสัญญาในการงดเว้น
จากทุจริตมีมุสาวาทเป็นต้น ต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรคเจตนางดเว้นฝ่ายกุศล
อันเดียวเท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์แห่งมรรคบริบูรณ์โดยให้สำเร็จความไม่เกิดแห่ง
เจตนาเครื่องทุศีล อันเป็นมิจฉาอาชีวะ ที่เกิดแล้วในฐานะเจ็ด (กายทุจริต
๓ วจีทุจริต ๔) เหล่านี้แหละ เพราะตัดทางได้ขาด นี้ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.
สัมมาวายามะ
คำว่า ที่ยังไม่เกิด คือที่ยังไม่เกิดแก่ตนในภพหนึ่ง หรือในอารมณ์
เห็นปานนั้น. แต่พระโยคาวจรเห็นบาปอกุศลธรรม ที่กำลังเกิดแก่คนอื่น ย่อม
ยังฉันทะให้เกิด ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้เกิดบาปอกุศล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 363
ที่ยังไม่เกิด ด้วยคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ บาปอกุศลธรรม เห็นปานนั้น ไม่พึง
เกิดแก่เราดังนี้. คำว่า ฉนฺท ชเนติ ย่อมยังฉันทะให้เกิด คือ ให้เกิดความ
พอใจในความเพียรที่ให้สำเร็จข้อปฏิบัติอันไม่ให้เกิดบาปอกุศลเหล่านั้น. คำว่า
วายมติ พยายาม คือ ทำความพยายาม. คำว่า วิริย อารภติ ปรารภ
ความเพียร คือดำเนินความเพียร. คำว่า จิตฺต ปคฺคณฺหาติ ประคองจิต
คือ ทำการประคองจิตด้วยความเพียร. คำว่า ปทหติ ตั้งไว้ คือดำเนินการ
ตั้งความเพียรว่า จะเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามทีเถิด ดังนี้. คำว่า
อุปฺปนฺนาน ที่เกิดแล้ว คือที่เคยเกิดแล้วแก่ตน โดยการกำเริบขึ้น ย่อมให้
เกิดฉันทะ เพื่อละบาปอกุศล เหล่านั้นว่า บัดนี้เราจักไม่ให้บาปอกุศลเช่นนั้น
เกิดขึ้นละ. คำว่า อนุปฺปนฺนาน กุสลาน กุศลที่ยังไม่เกิด คือ กุศลธรรม
มีปฐมฌานเป็นต้น ที่ตนยังไม่ได้. คำว่า อุปฺปนฺนาน ที่เกิดแล้ว คือกุศลธรรม
เหล่านั้นนั่นแหละที่ตนได้แล้ว. คำว่า ิติยา เพื่อตั้งมั่น คือ เพื่อตั้งอยู่
โดยการเกิดต่อเนื่องกันบ่อย ๆ. คำว่า อสมฺโมสาย เพื่อไม่ขาดสาย คือเพื่อ
ไม่ให้สูญเสีย. คำว่า ภิยฺโยภาวาย เพื่อมียิ่ง ๆ คือ เพื่อเจริญยิ่งขึ้นไป.
คำว่า เวปุลฺลาย คือเพื่อความไพบูลย์. คำว่า ภาวนาย ปาริปูริยา คือเพื่อ
ความมีบริบูรณ์. แม้สัมมาวายามนี้ก็ต่างกันในเบื้องต้น เพราะจิตที่คิดไม่ให้เกิด
อกุศลที่ยังไม่เกิดเป็นต้นต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรค วิริยะฝ่ายกุศลอันเดียว
เท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์แห่งมรรคบริบูรณ์ โดยให้สำเร็จกิจ ในฐานะ ๔ เหล่านี้
เหมือนกัน นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ.
สัมมาสติ
แม้สัมมาสติ ก็ต่างกันในเบื้องต้น เพราะจิตที่กำหนดอารมณ์มีกาย
เป็นต้นต่างกัน แต่ในขณะแห่งมรรค สติอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้นให้องค์แห่ง
มรรคบริบูรณ์ โดยให้สำเร็จกิจในฐานะ ๔ นี้ชื่อว่า สัมมาสติ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 364
สัมมาสมาธิ
ฌานทั้งหลาย ต่างกัน ทั้งในเบื้องต้น ทั้งในขณะแห่งมรรค. ใน
เบื้องต้นต่างกันโดยสมาบัติ. ในขณะแห่งมรรค ต่างกัน โดยมรรค. จริงอยู่
มรรคที่ ๑ แห่งมรรคขณะหนึ่ง มีปฐมฌานเป็นบาท แม้มรรคที่ ๒ เป็นต้น
มีปฐมฌานเป็นบาทบ้าง มีฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในทุติยฌานเป็นต้น เป็น
บาทบ้าง. มรรคที่ ๑ แห่งมรรคขณะแม้อันหนึ่งมีฌานอย่างใดอย่างหนึ่งแห่ง
ทุติยฌานเป็นต้นเป็นบาท แม้มรรคที่ ๒ เป็นต้น ก็มีฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง
แห่งทุติยฌานเป็นต้น เป็นบาทบ้าง มีปฐมฌานเป็นบาทบ้าง. มรรคทั้ง ๔ ว่า
โดยฌานเหมือนกันก็มี ต่างกันก็มี เหมือนกันบางแห่งก็มี ด้วยประการฉะนี้.
นี้เป็นความแผกกันแห่งมรรคนั้น โดยกำหนดโดยฌานที่เป็นบาท. พึงทราบ
อธิบายโดยกำหนดด้วยฌานเป็นบาทก่อน มรรคที่เกิดแก่พระโยคาวจรผู้ได้
ปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน เจริญวิปัสสนาอยู่ ชื่อว่ามีปฐมฌานเป็นบาท.
ก็องค์แห่งมรรค และโพชฌงค์ ย่อมบริบูรณ์ในปฐมฌานนี้โดยแท้. มรรคที่เกิด
แก่พระโยคาวจรผู้ได้ทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่ชื่อว่า
มีทุติยฌานเป็นบาท. ส่วนองค์มรรคในทุติยฌานนี้ มี ๗ ประการ. มรรคที่เกิด
แก่พระโยคาวจรผู้ออกจากตติยฌานแล้วเจริญวิปัสสนาอยู่ ชื่อว่ามีตติยฌานเป็น
บาท. ส่วนองค์มรรคในตติยฌานนี้มี ๗ แต่โพชฌงค์มี ๖ ประการ. สำหรับพระ-
โยคาวจรผู้ออกจากจตุตถฌาน จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะก็นัยนี้เหมือนกัน.
ฌานหมวด ๔ และหมวด ๕ ย่อมเกิดในอรูป และฌานนั้นท่านกล่าวว่า เป็น
โลกุตตระ ไม่ใช่โลกิยะ. ถามว่าในฌานมีปฐมฌานเป็นต้นนี้เป็นอย่างไร. ตอบว่า
ในฌานมีปฐมฌานเป็นต้นแม้นี้ พระโยคาวจรนั้น ออกจากฌานใดแล้ว ได้โสดา-
ปัตติมรรค เจริญอรูปสมาบัติแล้วเกิดในอรูปภพ มรรคทั้ง ๓ มีฌานนั้นเป็นบาท
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 365
เกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรนั้น ในอรูปภพนั้น. ท่านกำหนดมรรคที่มีฌานเป็นบาท
อย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้. แต่พระเถระบางเหล่ากล่าวว่า กำหนดขันธ์เป็น
อารมณ์แห่งวิปัสสนา. บางเหล่าก็ว่ากำหนดอัธยาศัยบุคคล. บางเหล่าก็ว่า กำหนด
วิปัสสนา อันเป็นวุฏฐานคามินี. วินิจฉัยวาทะของพระเถระเหล่านั้น พึงทราบ
ตามนัยที่ท่านกล่าวไว้ ในอธิการว่าด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คัมภีร์วิสุทธิมรรค.
คำว่า อย วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
สัมมาสมาธิ ความว่าธรรมนี้ เบื้องต้นเป็นโลกิยะ เบื้องหลัง เรียกว่า
โลกุตตระ สัมมาสมาธิ.
คำว่า อิติ อชฺตฺต วา หรือภายในเป็นต้น ความว่า พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลาย เพราะกำหนดสัจจะ ๔ ของตน ของคนอื่น หรือ เพราะ
กำหนดสัจจะ ๔ ของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาลอย่างนี้อยู่. ส่วนความ
เกิดและความเสื่อมในสัจจบรรพนี้ พึงทราบโดยความเกิดและความหมดไปแห่ง
สัจจะ ๔ ตามเป็นจริง. คำอื่นนอกจากนี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้ว.
สติกำหนดสัจจะ ๔ เป็นอริยสัจ
แต่ในสัจจบรรพนี้ ต่างกันอย่างเดียว คือ พึงประกอบความอย่างนี้ว่า
สติกำหนดสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจเป็นต้น แล้วพึงทราบว่า เป็น
ทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดสัจจะเป็นอารมณ์. คำที่เหลือก็
เหมือนกันแล.
จบสัจจบรรพ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 366
สรุปความ
ด้วยลำดับคำมีประมาณเพียงเท่านี้ กัมมัฏฐาน ๒๑ คือ อานาปาน-
บรรพ ๑ จตุอิริยาบถบรรพ ๑ จตุสัมปชัญญบรรพ ๑ ทวัตดึงสาการ ๑ จตุธาตุ-
ววัฏฐานะ ๑ สีวถิกา ๙ เวทนานุปัสสนา ๑ จิตตานุปัสสนา ๑ นีวรณปริคคหะ ๑
ขันธปริคคหะ ๑ อายตนปริคคหะ ๑ โพชฌงคปริคคหะ ๑ สัจจปริคคหะ ๑.
บรรดากัมมัฏฐาน ๒๑ นั้น กัมมัฏฐาน ๑๑ คือ อานาปาน ๑ ทวัตดึง-
สาการ ๑ สีวถิกา ๙ เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน. แต่พระมหาสิวเถระ ผู้รจนาคัมภีร์
ทีฆนิกาย กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส สีวถิกา ๙ โดยอาทีนวานุปัสสนา.
เพราะฉะนั้น ตามมติของท่าน อานาปานะ และ ทวัตดึงสาการ ๒ เท่านั้น
เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน. ที่เหลือเป็น อุปจารกัมมัฏฐาน ถามว่า ความตั้งมั่น
เกิดในกัมมัฏฐานนั้นทั้งหมดหรือไม่เกิด ตอบว่า ไม่ใช่ไม่เกิด ความตั้งมั่นไม่เกิด
ในอิริยาบถสัมปชัญญะ นีวรณ์ และโพชฌงค์ เกิดในกัมมัฏฐานที่เหลือ. ส่วน
พระมหาสิวเถระ กล่าวว่า ความตั้งมั่นย่อมเกิดในกัมมัฏฐานแม้เหล่านั้น
(ทั้งหมด) เพราะพระโยคาวจรนี้ ย่อมกำหนดอย่างนี้ว่า อิริยาบถ ๔ มีแก่เรา
หรือไม่หนอ สัมปชัญญะ ๔ มีแก่เราหรือไม่หนอ นีวรณ์ ๕ มีแก่เราหรือไม่
หนอ โพชฌงค์ ๗ มีแก่เราหรือไม่หนอดังนี้ เพราะฉะนั้น ความตั้งมั่นย่อม
เกิดในกัมมัฏฐานทั้งหมด.
อานิสงส์
คำว่า โย หิ โกจิ ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด
ผู้หนึ่ง ไม่ว่า ภิกษุหรือภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา. คำว่า เอว ภาเวยฺย
ความว่า พึงเจริญตามลำดับภาวนาที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น. คำว่า ปาฏิกงฺข
ความว่า พึงหวังได้ พึงปรารถนาได้ เป็นแน่แท้. คำว่า อญฺา หมายถึง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 367
พระอรหัต. คำว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า เมื่ออุปาทิเสสวิบากขันธ์
ที่กิเลสมีตัณหาเป็นต้นเข้าไปยึดไว้เหลืออยู่ ยังไม่สิ้นไป. คำว่า อนาคามิตา
แปลว่า ความเป็นพระอนาคามี. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง ความที่
คำสั่งสอนเป็นธรรมนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์โดย ๗ ปี อย่างนี้แล้ว เมื่อจะ
ทรงแสดงเวลา (ปฏิบัติ) ที่น้อยไปกว่านั้นอีก จึงตรัสว่า ติฏฺนฺตุ ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปี จงยกไว้ดังนี้เป็นต้น. ก็คำนั้นแม้ทั้งหมดตรัสโดย
เวไนยบุคคลปานกลาง. แต่ที่ตรัสว่าบุคคลรับคำสั่งสอนเวลาเช้า บรรลุคุณวิเศษ
เวลาเย็น รับคำสั่งสอนเวลาเย็น บรรลุคุณวิเศษเวลาเช้า ดังนี้ ทรงหมายถึง
บุคคลผู้มีปัญญาเฉียบแหลม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า คำสั่งสอนของเรา
นำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงยังเทศนาที่ทรงแสดง ด้วยธรรม
อันเป็นยอด คือพระอรหัตให้จบลงในฐานะ ๒๑ ประการ จึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางดำเนินอันเอก เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน นี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ด้วยประการฉะนี้ คำอันใด
อันเรากล่าวแล้วอย่างนี้ คำนั้นเราอาศัยทางอันเอกนี้กล่าวแล้ว. คำที่เหลืออรรถ
ตื้นทั้งนั้นแล.
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุสามหมื่นรูป ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล.
จบอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 368
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 369
๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร
ว่าด้วยประวัติพระกุมารกัสสปเถระ
[ ๓๐๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระกุมารกัสสป จาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป มาถึงเสตัพยนครแห่งแคว้นโกศล อาศัย
อยู่ ณ ป่า สีสปาวัน ด้านทิศเหนือ เสตัพยนคร. สมัยนั้น พระยาปายาสิ
ครอบครองเสตัพยนคร ซึ่งมีปศุสัตว์มาก มีหญ้าไม้ และน้ำ มีธัญญาหารบริบูรณ์
เป็นพระราชโภคทรัพย์ ที่พระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชทานให้เป็นบำเหน็จ
ความชอบ ครั้งนั้น พระยาปายาสิเกิดความเห็นชั่วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้
โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ดังนี้
พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนครได้ทราบว่า พระสมณกุมารกัสสป
สาวกของพระสมณโคดม จาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป มาถึงเสตัพยนคร อาศัยอยู่ ณ ป่าสีสปาวัน ด้าน
ทิศเหนือ เสตัพยนคร. กิตติศัพท์อันงามของพระสมณกุมารกัสสปขจรไปว่า
ท่านเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต กล่าวธรรมได้วิจิตร มีปฏิภาณดี
เป็นผู้ตรัสรู้และเป็นพระอรหันต์ การพบเห็นพระอรหันต์เช่นนั้น เป็นการดี.
ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนครออกจากเสตัพยนคร พากันไป
เป็นหมู่ ๆ บ่ายหน้าไปทางด้านทิศเหนือ ซึ่งสีสปาวันตั้งอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 370
ทิฏฐิของพระยาปายาสิ
[๓๐๒] สมัยนั้น พระยาปายาสิพักผ่อนกลางวันอยู่ ณ ปราสาทชั้นบน
เห็นพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนคร ออกจากเสตัพยนครเป็นหมู่ ๆ พากัน
เดินมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ จึงเรียกคนสนิทมาถามว่า นี่แน่ะพ่อ พราหมณ์
และคฤหบดี ชาวเสตัพยนครเป็นหมู่ ๆ พากันมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ ซึ่งสีสปาวัน
ตั้งอยู่ทำไมกัน. คนสนิทเรียนตอบว่า ท่านเจ้าข้า มีสมณะชื่อกุมารกัสสป สาวก
ของพระสมณโคดม จาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป มาถึงเสตัพยนคร อาศัยอยู่ ณ สีสปาวัน ทางทิศเหนือ
เสตัพยนคร กิตติศัพท์อันงามของพระสมณกุมารกัสสปนั้น ขจรไปว่า ท่าน
เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต กล่าวธรรมได้วิจิตร มีปฏิภาณดี
เป็นผู้ตรัสรู้และเป็นพระอรหันต์ พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น เข้าไปเพื่อ
พบเห็นท่านพระกุมารกัสสปนั้น เจ้าข้า. พระยาปายาสิ จึงสั่งว่า นี่แน่ะเจ้า
ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงเข้าไปหาพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนคร บอกเขาว่า
จงรออยู่ก่อน พระยาปายาสิจักเข้าไปพบท่านสมณกุมารกัสสปด้วย แต่ก่อน
ท่านพระสมณกุมารกัสสปสอนพวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนครผู้เขลา
ไม่ฉลาด ให้เข้าใจว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบาก
ของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี นี่แน่ะเจ้า โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบาก
ของกรรมที่สัตว์ทำดี ทำชั่ว ไม่มี. คนสนิทนั้นรับคำของพระยาปายาสิแล้วก็ไป
บอกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนคร. ครั้งนั้น พระยาปายาสิอันพวก
พราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนครห้อมล้อมแล้วก็ไปยังสีสปาวันเข้าไปหาท่าน
กุมารกัสสป ชื่นชมสนทนาปราศรัยกับท่านพระกุมารกัสสปตามสมควรแล้ว ก็นั่ง
ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. ส่วนพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนคร บางพวก
กราบท่านพระกุมารกัสสป แล้วนั่ง ณ ที่ส่วนหนึ่ง บางพวกชื่นชมสนทนา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 371
ปราศรัยกับท่านพระกุมารกัสสป แล้วก็นั่ง บางพวก ก็นอบน้อมอัญชลี ไป
ยังท่านพระกุมารกัสสป แล้วนั่ง บางพวกประกาศชื่อและสกุลตนแล้ว ก็นั่ง
บางพวกก็นิ่งแล้วนั่ง. พระยาปายาสิ นั่งเรียบร้อยแล้ว ก็เรียนท่านพระกุมาร-
กัสสปอย่างนี้ว่า ท่านกัสสปผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้
เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว
ไม่มี. พระกุมารกัสสปกล่าวว่า ท่านพระยา อาตมานั้นได้เห็นได้ยินว่า
ท่านพระยามีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ เหตุไร ท่านพระยาจึงกล่าวว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ที่ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว
ไม่มี ถ้าอย่างนั้น อาตมาจะย้อนถามท่านพระยาในข้อนี้บ้าง ท่านพระยาพึง
ตอบตามที่เห็นควร ท่านพระยาจะพึงเข้าใจข้อนี้อย่างไร พระจันทร์พระอาทิตย์
มีอยู่ในโลกนี้หรือโลกอื่น เป็นเทวดาหรือมนุษย์.
พระยาปายาสิตอบว่า ท่านกัสสป พระจันทร์พระอาทิตย์มีอยู่ในโลกอื่น
ไม่ใช่ในโลกนี้ เป็นเทวดาไม่ใช่มนุษย์.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา โดยปริยายนี้แหละ จงเห็นเถิดว่า
แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี.
[๓๐๓] พระยาปายาสิ. ถึงท่านพระกัสสปกล่าวอยางนี้ ก็ตาม แต่
ในข้อนี้ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุด-
เกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ยังมีปริยายที่ยืนยันความเห็นของ
ท่านพระยาอยู่หรือ.
พระยาปายาสิ. มีอยู่ซิ ท่านกัสสป.
พระกุมารกัสสป. มีอยู่เหมือนอย่างไรเล่า ท่านพระยา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 372
ว่าด้วยโทษของอกุศลกรรมบถ
พระยาปายาสิ. ท่านกัสสป ข้าพเจ้ามีมิตรสหาย ญาติสาโลหิตของ
ข้าพเจ้าในโลกนี้ที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักได้ ปองร้ายเขา เห็นผิด ต่อมา เขาล้มป่วย
ประสบทุกข์ เจ็บหนัก ข้าพเจ้ารู้ว่า เวลานี้ เขาจักไม่หายป่วยแน่ จึงเข้าไป
หาเขาพูดว่า ท่านผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีความเห็น
อย่างนี้ว่า คนที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักได้ ปองร้ายเขา เห็นผิด ตายแล้วจักเกิดในอบาย
ทุคคติ วินิบาต นรก ตัวท่านก็ประพฤติอย่างนั้น ถ้าถ้อยคำของสมณพราหมณ์
พวกนั้นเป็นความจริงไซร้ ตัวท่านตายแล้วก็จักเกิดในอบาย ทุคคติ วินิบาต
นรก ถ้าตัวท่านตายแล้ว พึงไปเกิดในอบายภูมินั้นจริงไซร้ ขอท่านพึง
กลับมาบอกข้าพเจ้าทีเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผล
วิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี ด้วยว่าข้าพเจ้าเชื่อถือท่านอย่างสนิทใจว่า
สิ่งใดที่ท่านเห็นก็เหมือนข้าพเจ้าเห็นเอง สิ่งนั้นก็จักเป็นอย่างนั้นแน่ คนเหล่านั้น
รับคำข้าพเจ้าแล้วก็ไม่เคยกลับมาบอกเองทั้งไม่ส่งคนมาบอกด้วย ท่านกัสสป
ปริยายนี้นี่แล ที่เป็นเครื่องยืนยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้
โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยโจร
[๓๐๔] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจะ
ย้อนถามท่านพระยาในข้อนั้นบ้าง ท่านพระยาพึงตอบตามที่เห็นสมควร ท่าน-
พระยาจะเข้าใจข้อนั้นอย่างไร พวกเจ้าหน้าที่ของท่านพระยาจับโจรที่ทำผิดมา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 373
แสดงด้วยกล่าวว่า ท่านขอรับ คนนี้เป็นโจรทำผิด ขอได้โปรดสั่งลงโทษ
แก่โจรผู้นี้ตามต้องการด้วย ท่านพระยาจะพึงสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงเอา
เชือกที่มั่นคงจับมัดมัน เอามือไพล่หลังให้แน่นหนา โกนหัว ตีบัณเฑาะว์
พาตระเวนไปทุกถนนทุกทาง ๔ แพร่ง ออกทางประตูด้านทิศใต้ แล้วจงตัดหัว
เสียที่ตะแลงแกง ทางด้านทิศใต้พระนคร พวกเจ้าหน้าที่รับคำสั่งแล้ว กระทั่ง
นำโจรมานั่งบนตะแลงแกงเตรียมตัดศีรษะ โจรจะพึงได้รับการขอร้องผ่อนผัน
จากเจ้าหน้าที่ฆ่าโจรว่า ขอนายท่านจงรอจนกว่าข้าพเจ้าไปแจ้งแก่มิตรสหาย
ญาติสาโลหิตที่บ้านหรือนิคมโน้นเสียก่อน หรือ เจ้าหน้าที่ฆ่าโจรจะพึงตัดศีรษะ
ของโจร ทั้งที่กำลังอ้อนวอนอยู่.
พระยาปายาสิ. ท่านกัสสป โจรนั้นจะไม่พึงได้รับการผ่อนผันให้รอ
ตัดศีรษะไว้ก่อน ที่แท้ เจ้าหน้าที่ฆ่าโจร ก็จะพึงตัดศีรษะของโจร ทั้งที่ร้อง
ขออยู่เลยทีเดียว.
พระกุมารกัสสป. (ท่านพระยา ทั้งโจร ก็เป็นมนุษย์ ทั้งเจ้าหน้าที่
ฆ่าโจร ก็เป็นมนุษย์) โจรนั้น ก็ยังไม่ได้รับการผ่อนผันให้รอการตัดศีรษะ
ไว้ก่อน มิตรสหายญาติสาโลหิตของท่านพระยา ซึ่งกระทำกรรมชั่วเห็นปานนั้น
ไปบังเกิดในอบายภูมิแล้ว ไฉนจักได้รับการผ่อนผันจากอบาย นิรยบาล ซึ่งไม่ใช่
มนุษย์ ให้รอการลงโทษไว้จนกว่ามิตรสหาย ญาติสาโลหิตนั้น นำความไปบอก
ท่านพระยาแล้วกลับมา เสียก่อนเล่า. โดยปริยายแม้นี้ท่านพระยาจงเห็นเถิดว่า
แม้เพราะเหตุนี้โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี.
[๓๐๕] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนี้ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น
ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นในข้อนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุด-
เกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 374
พระกุมารกัสสป. ก็ท่านพระยายังมีปริยายยืนยันความเห็นอย่างนั้น
อยู่อีกหรือ.
พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา มีเหมือนอย่างไรเล่า.
ว่าด้วยอานิสงส์กุศลกรรมบถ
พระยาปายาสิ. ท่านกัสสป ข้าพเจ้ามีมิตรสหาย ญาติสาโลหิตในโลกนี้
ที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่มักได้ ไม่ปองร้ายเขา มีความเห็นชอบ ต่อมา
เขาล้มป่วยประสบทุกข์ เจ็บหนัก ข้าพเจ้ารู้ว่า เวลานี้เขาไม่หายป่วยแน่ จึง
เข้าไปหาเขาพูดว่า ท่านผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะมีความเห็น
อย่างนี้ว่า คนที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่มักได้ ไม่ปองร้ายเขา มีความเห็นชอบ
ตายแล้วจักเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ตัวท่านก็พระพฤติอย่างนั้น ถ้าถ้อยคำของ
สมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นความจริงไซร้ ท่านตายไปแล้วก็จักเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์แน่ ถ้าท่านไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์จริง ก็ขอท่านพึงกลับมาบอก
ข้าพเจ้าทีเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของ
กรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี ด้วยว่า ข้าพเจ้าเชื่อถือท่านอย่างสนิทใจว่า สิ่งใด
ที่ท่านเห็นก็เหมือนเราเห็นเอง สิ่งนั้นก็จักเป็นอย่างนั้นแน่ คนเหล่านั้น
รับคำข้าพเจ้าแล้ว ก็ไม่เคยกลับมาบอกเอง ทั้งไม่ส่งคนมาบอกด้วย ท่านกัสสป
ปริยายนี้นี่แล ที่เป็นเครื่องยืนยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้
โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 375
อุปมาด้วยคนตกบ่อคูถ
[๓๐๖] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจัก
อุปมาให้ฟัง วิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถของคำภาษิตด้วยข้อ
อุปมา ท่านพระยา เปรียบเหมือนบุรุษจมบ่อคูถ (อุจจาระ) มิดศีรษะ ท่าน-
พระยาจึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ช่วยกันดึงบุรุษนั้นขึ้นมาจากบ่อคูถ แล้วให้เอาซีกไม้ไผ่
ครูดคูถออกจากตัวของบุรุษนั้น ให้เอาดินสีเหลืองขัดตัวสามครั้ง ให้เอาน้ำมัน
ชะโลมตัวแล้วเอาจุณ (ผง) ละเอียดลูบไล้ให้สะอาดหมดจดสามครั้ง ให้แต่ง
ผมและหนวดแล้ว ให้นำเอาพวงดอกไม้เครื่องลูบไล้และผ้าที่มีค่ามากมอบแก่
บุรุษนั้นแล้วนำเขาขึ้นไปยังปราสาทอันดีชั้นบน จัดกามคุณ ๕ ไว้บำเรอ ท่าน-
พระยาจะเข้าใจข้อนั้นอย่างไร บุรุษนั้นอาบน้ำลูบไล้ดีแล้ว แต่งผมและหนวด
ประดับอาภรณ์แก้วมณีแล้วนุ่งห่มผ้าขาวสะอาดอยู่ปราสาทอันดีชั้นบน เพียบ-
พร้อมบำเรอด้วยกามคุณ ๕ เขายังประสงค์จะจมลงในบ่อคูถนั้นอีกหรือ.
พระยาปายาสิ. ไม่หรอก ท่านกัสสป.
พระกุมารกัสสป. เพราะเหตุไรเล่า.
พระยาปายาสิ. ท่านกัสสป เพราะบ่อคูถไม่สะอาดเป็นทั้งสิ่ง
ไม่สะอาด ทั้งนับว่าไม่สะอาด กลิ่นเหม็น ทั้งนับว่ากลิ่นเหม็น ทั้งน่าเกลียด
ทั้งนับว่าน่าเกลียด ทั้งปฏิกูล ทั้งนับว่าปฏิกูล. พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา
ข้อนั้นเปรียบฉันใด ข้อนี้ก็เปรียบฉันนั้นเหมือนกัน พวกมนุษย์ทั้งไม่สะอาด
ทั้งนับว่าไม่สะอาด ทั้งกลิ่นเหม็นทั้งนับว่ากลิ่นเหม็น ทั้งน่าเกลียด ทั้งนับว่า
น่าเกลียด ทั้งปฏิกูล ทั้งนับว่าปฏิกูล. ท่านพระยา กลิ่นมนุษย์คลุ้งขึ้นไปถึงเทวดา
ตั้งร้อยโยชน์. ก็มิตรสหาย ญาติสาโลหิตของท่านพระยาประพฤติดีเห็นปานนั้น
ตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ยังจะกลับมาบอกท่านพระยาอีกหรือ ท่าน
พระยา โดยปริยายนี้แล จงเห็นเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมีสัตว์ผุดเกิดมี
ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 376
[๓๐๗] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้น ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น
ในข้อนี้ ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี
สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ยังมีปริยายที่ยืนยันความเห็นของ
ท่านพระยาอยู่อีกหรือ มีเปรียบเหมือนอย่างไรเล่า.
พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป ข้าพเจ้ามีมิตรสหาย ญาติสาโลหิต
ที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ และงดเว้น
จากที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย ต่อมาเขา
ล้มป่วยประสบทุกข์เจ็บหนัก ข้าพเจ้ารู้ว่า เขาจักไม่หายป่วยแน่แล้ว จึงเข้าไป
หาเขาพูดว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าถ้อยคำของสมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นความจริง
ว่า เมื่อคนประพฤติดีเห็นปานนั้น ตายแล้ว จักเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็น
สหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ดังนี้ไซร้ ท่านผู้เจริญ ท่านประพฤติเห็นปานนั้น
ตายแล้ว ก็พึงบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์แน่-
นอน ขอท่านพึงกลับมาบอกข้าพเจ้าทีเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้โลกอื่นมี สัตว์-
ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี ด้วยว่าข้าพเจ้าเชื่อถือท่าน
อย่างสนิทใจว่า สิ่งใดที่ท่านเห็นก็เหมือนเราเห็นเอง สิ่งนั้นจักเป็นอย่างนั้นแน่
คนเหล่านั้นรับคำข้าพเจ้าแล้วก็ไม่เคยกลับมาบอกเอง ทั้งไม่ส่งคนมาบอกด้วย
ท่านกัสสป ปริยายนี้นี่แล เป็นเครื่องยืนยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่าแม้เพราะ
เหตุนี้โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
ว่าด้วยอานิสงส์ศีล ๕
[๓๐๘] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจัก
ย้อนถามท่านพระยาในข้อนี้บ้าง ท่านพระยาพึงตอบตามที่เห็นสมควรเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 377
ร้อยปีของมนุษย์เป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ สามสิบราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็นเดือนหนึ่ง สิบสองเดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง โดยปีนั้น
พันปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ มิตรสหายญาติสาโลหิตของ
ท่านพระยา ที่มีศีล ๕ เห็นปานนั้น ตายไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหาย
ของเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้ว ถ้าพวกเขาคิดว่า ต่อเมื่อพวกเขาเพรียบพร้อมบำเรอ
อยู่ด้วยกามคุณ ๕ สักสองวันสองราตรีหรือสักสามวันสามราตรี แล้วค่อยกลับ
ไปบอกท่านพระยา ดังนี้ไซร้ คนเหล่านั้นจะพึงกลับไปบอกท่านพระยาว่า แม้
เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี
ดังนี้หรือ.
พระยาปายาสิ. ไม่หรอกท่านกัสสป. เพราะพวกข้าพเจ้าคงจะตายกัน
ไปเสียตั้งนานแล้ว แต่ใครเล่าบอกท่านกัสสปว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ หรือ
เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอายุยืนถึงเพียงนั้น ข้าพเจ้าไม่เชื่อท่านกัสสปดอก.
อุปมาด้วยคนตาบอดแต่กำเนิด
พระกุมารกัสสป. เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กำเนิด ไม่เห็น
สีดำ สีขาว สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีแดงฝาด ไม่เห็นที่เรียบและไม่เรียบ
ไม่เห็นรูปดาว พระจันทร์ พระอาทิตย์ บุรุษผู้นั้นพูดว่า รูปดำ รูปขาว
รูปเหลือง รูปแดง รูปแดงฝาด ที่เรียบและไม่เรียบ รูปดาว พระจันทร์
พระอาทิตย์ ไม่มี ผู้เห็นรูปดำ รูปขาว รูปเขียว รูปเหลือง รูปแดง รูปแดงฝาด
ที่เรียบและไม่เรียบ รูปดาว พระจันทร์พระอาทิตย์ ก็ไม่มี ข้าพเจ้าไม่รู้ไม่เห็น
เพราะฉะนั้น สิ่งดังว่านั้น ไม่มี ดังนี้ ท่านพระยา บุรุษผู้นั้น พูดอย่างนั้น
ชื่อว่าพูดถูกหรือ. พระยาปายาสิ. พูดไม่ถูกดอก ท่านกัสสป เพราะรูปดังกล่าวนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 378
มีอยู่ ผู้เห็นก็มีอยู่ บุรุษผู้นั้นพูดว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ไม่เห็น ดังนี้ จึงชื่อว่าพูด
ไม่ถูก.
พระกุมารกัสสป. ข้อนี้ก็เปรียบเหมือนฉันนั้น ท่านพระยา อุปมา
ด้วยคนตาบอดแต่กำเนิด จึงกล่าวว่า ใครเล่าบอกท่านกัสสปว่า เทวดาชั้น
ดาวดึงส์มีอยู่ หรือเทวดาชั้นดาวดึงส์มีอายุยืนถึงเพียงนั้น ข้าพเจ้าไม่เชื่อท่าน-
กัสสปดอก. ท่านพระยา โลกอื่นอันใคร ๆ ไม่พึงเห็นได้ด้วยมังสจักษุอย่างที่
ท่านพระยาเข้าใจดอก. สมณพราหมณ์ที่อาศัยเสนาสนะป่าอันสงัด เป็นผู้ไม่
ประมาทมีความเพียร มีใจมุ่งมั่นต่อพระนิพพานอยู่ ชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์
ย่อมเห็นโลกนี้โลกอื่น ทั้งหมู่สัตว์ที่ผุดเกิดได้ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
เกินจักษุมนุษย์ ท่านพระยา โลกอื่นอันผู้มีทิพยจักษุพึงเห็นได้อย่างนี้ อันใครๆ
ไม่พึงเห็นด้วยมังสจักษุอย่างที่ท่านพระยาเข้าใจดอก โดยปริยายนี้นี่แล ท่าน-
พระยาจงเห็นเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของ
กรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี.
[๓๐๙] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ใน
ข้อนี้ ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่าแม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี
สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ยังมีปริยายยืนยันความเห็นของท่าน
พระยาอยู่อีกหรือมีเปรียบเหมือนอย่างไรเล่า
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ผู้มีศีลธรรม
พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป ข้าพเจ้าเห็นสมณพราหมณ์ในโลกนี้
ที่มีศีลมีกัลยาณธรรมอยากเป็นไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ข้าพเจ้านั้นเห็น
ว่า ถ้าสมณพราหมณ์ที่มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้ รู้ว่า เราตายไปเสียจากโลก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 379
นี้ จักประเสริฐไซร้ ก็จะพึงกินยาพิษ ใช้ศัสตราฆ่าตัวตาย ผูกคอตาย หรือ
โดดเหวตายเสีย แต่เพราะเหตุที่สมณพราหมณ์เหล่านี้ ไม่รู้ว่าเราตายไปเสีย
จากโลกนี้ จักประเสริฐดังนี้ ฉะนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงอยากเป็นไม่
อยากตาย จึงรักสุขเกลียดทุกข์ ท่านกัสสป ปริยายแม้นี้แล ที่เป็นเครื่องยืน
ยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่าแม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี
ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดี ทำชั่วไม่มี.
อุปมาด้วยพราหมณ์มีเมียสอง
[๓๑๐] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจักอุปมา
ให้ฟัง ด้วยว่าวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถแห่งคำภาษิตได้ด้วย
ข้ออุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์ผู้หนึ่งมีภรรยาสองคน
ภรรยาคนหนึ่งมีบุตรอายุ ๑๐ ขวบ หรือ ๑๒ ขวบ ภรรยาอีกคนหนึ่งมีครรภ์
แก่ ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้สามีก็ตายลง. บุตรวัยรุ่นก็พูดกะแม่เลี้ยงว่า แม่จ๋า
ทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน ทองทั้งหมด เป็นของฉันนะแม่นะ แม่ไม่มีสิทธิ
อะไร ๆ ในทรัพย์เหล่านั้น เพราะเป็นทรัพย์ของบิดาฉัน แม่โปรดมอบมฤดก
แก่ฉันเถิด. แม่เลี้ยงจึงบอกบุตรเลี้ยงว่า พ่อ จงรอจนกว่าแม่จะคลอดเถิดนะ
ถ้าทารกในท้องแม่เป็นชาย ก็จักมีสิทธิได้ส่วนหนึ่ง ถ้าเป็นหญิงก็จักตกเป็น
ปริจาริกา ที่เจ้าต้องใช้สอย ครั้งที่สอง บุตรเลี้ยงก็อ้อนวอนแม่เลี้ยงให้มอบ
มฤดกให้ แม่เลี้ยงก็ตอบยืนอยู่อย่างนั้น ครั้งที่สาม แม่เลี้ยงขัดใจก็คว้ามีดเข้า
ห้องน้อยแหวะท้อง เพื่อจะรู้ว่า ทารกในท้องเป็นชายหรือหญิง หญิงแม่เลี้ยง
นั้น ก็ทำลายทั้งตนเอง ทั้งชีวิต ทั้งทารกในครรภ์ ทั้งทรัพย์มฤดก เพราะนาง
เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด แสวงหาทายาทโดยอุบายไม่แยบคาย ก็ถึงความย่อยยับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 380
ฉันใด อุปมัยข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยาเป็นคนเขลาไม่ฉลาด แสวงหา
โลกอื่น โดยอุบายไม่แยบคาย ก็จักถึงความย่อยยับ เหมือนพราหมณีผู้นั้น.
ท่านพระยา เหล่าสมณพราหมณ์ ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเป็นบัณฑิต ย่อมไม่ชิง
สุกก่อนห่าม แต่รอเวลาสุกเต็มที่ต่างหาก ท่านพระยา ชีวิตของสมณพราหมณ์
ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ยังดำรงชีวิตอยู่ ยั่งยืนยาวนานเพียงใด ก็ได้ประสบบุญ
เป็นอันมากเพียงนั้น เพราะปฏิบัติตนเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่คนเป็นอัน
มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ท่านพระยาโดยปริยายแม้นี้แล จงเห็นเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลก
อื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี.
[๓๑๑] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้น ก็จริงดอก ถึง
กระนั้น ในข้อนี้ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี
สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ยังมีปริยายที่ยืนยันความเห็นของ
ท่านพระยาอยู่อีกหรือ มีปรียาย เหมือนอย่างไรเล่า.
ว่าด้วยค้นหาชีวะจากโจร
พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป เจ้าหน้าที่ของข้าพเจ้าจับโจรผู้กระทำ
ผิดมาแสดงแก่ข้าพเจ้า ขอให้สั่งลงโทษข้าพเจ้าจึงสั่งเจ้าหน้าที่ให้เอาโจรที่ยังเป็น
อยู่ใส่ลงในหม้อ ปิดปากหม้อเสียเอาหนังสดรัด เอาดินสดพอกปากหม้อยาให้
หนา แล้วให้เขายกหม้อขึ้นตั้งเตาติดไฟต้ม. เมื่อข้าพเจ้ารู้ว่า โจรนั้นตายแล้ว
ก็สั่งให้เขายกหม้อลงจากเตา กะเทาะดินแก้สายหนังออก เปิดปากหม้อ ค่อย ๆ
สำรวจดูด้วยหมายใจว่าจะเห็นชีวะของโจรนั้นออกไป ข้าพเจ้าก็ไม่เห็นชีวะออก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 381
ไปเลย ท่านกัสสป ปริยายนี้นี่แล เป็นเครื่องยืนยันความเห็นของข้าพเจ้า ที่
ว่าแม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำ
ดีทำชั่วไม่มี.
อุปมาด้วยคนนอนฝัน
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจักย้อนถาม
ท่านพระยา ในข้อนั้นบ้าง ท่านพระยาพึงตอบตามที่เห็นสมควรเถิด. ท่าน
พระยานอนพักกลางวันรู้สึกฝันเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาค
ที่น่ารื่นรมณ์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์บ้างไหม.
พระยาปายาสิ. รู้สึกฝันเห็นซิ ท่านกัสสป.
พระกุมารกัสสป. เวลานั้นทั้งหญิงค่อมหญิงเตี้ย เด็กหญิงเล่นของเล่น
ทั้งหญิงวัยรุ่น เฝ้าท่านพระยาอยู่หรือ.
พระยาปายาสิ. อย่างนั้นซิ ท่านกัสสป.
พระกุมารกัสสป. หญิงเหล่านั้นเห็นชีวะของท่านพระยาที่กำลังเข้าไป
หรือกำลังออกไปบ้างไหมเล่า.
พระยาปายาสิ. ไม่เห็นดอก ท่านกัสสป.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ก็เมื่อท่านพระยายังเป็นอยู่ หญิง
เหล่านั้นก็ยังเป็นอยู่ยังไม่แลเห็นชีวะของท่านพระยา ที่กำลังเข้าไปหรืออกไป
ดังนั้น ท่านพระยาจักแลเห็นชีวะของคนตาย ที่กำลังเข้าไปหรือออกไป อย่างไร
ได้เล่า. ท่านพระยา โดยปริยาย แม้นี้แลจงเห็นเกิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่น
มี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 382
[๓๑๒] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้น ก็จริง ถึงอย่างนั้น
ในข้อนี้ ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์
ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยายังมีปริยายที่เป็นเครื่องยืนยันความเห็น
ของท่านพระยาอยู่อีกหรือ มีปริยายเหมือนอย่างไรเล่า.
ว่าด้วยชั่งน้ำหนักคนตายกับคนเป็น
พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป เจ้าหน้าที่ของข้าพเจ้าจับโจรที่กระทำ
ผิดมาแสดงแก่ข้าพเจ้า ขอให้สั่งลงโทษ ข้าพเจ้าจึงสั่งเจ้าหน้าที่ให้เอาโจรที่ยัง
เป็นอยู่มาชั่งน้ำหนักด้วยตาชั่ง. ให้เอาสายธนู มารัดคอ หายใจไม่ออกจนตาย
แล้วให้ชั่งด้วยตาชั่งอีกครั้งหนึ่งปรากฏว่า ขณะที่โจรนั้นยังเป็นอยู่ น้ำหนักเบา
อ่อน และควรแก่งาน แต่เมื่อโจรนั้นตายแล้ว น้ำหนักกลับหนัก แข็งทื่อ
ไม่ควรแก่งาน ท่านกัสสป ปริยายแม้นี้แล เป็นเครื่องยืนยันความเห็นของ
ข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของ
กรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
อุปมาด้วยเหล็กร้อนและเย็น
[๓๑๓] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจักอุปมา
ให้ฟัง ด้วยว่าวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจชัดอรรถของคำภาษิต
แม้ด้วยอุปมา. ท่านพระยา เปรียบเหมือนก้อนเหล็กร้อนอยู่ทั้งวัน ที่เขาเผาไฟ
จนลุกโชนโชติช่วงแล้วชั่งด้วยตาชั่ง ต่อมา ก้อนเหล็กนั้นก็เย็นสนิท แล้วชั่ง
ด้วยตาชั่ง เมื่อใดก้อนเหล็กจึงเบา อ่อน หรือควรแก่งาน เมื่อถูกเผาร้อน
โชนโชติช่วง หรือเมื่อเย็นสนิทแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 383
พระยาปายาสิ. ท่านกัสสป เมื่อใด ก้อนเหล็ก ยังมีเตโชธาตุ และ
วาโยธาตุ ถูกเผาร้อนโชน โชติช่วง เมื่อนั้น มันจะเบาอ่อน และควรแก่งาน
แต่เมื่อใดก้อนเหล็กนั้น ไม่มีเตโชธาตุ และวาโยธาตุ เย็นสนิท เมื่อนั้น
มันจะหนัก แข็งกระด้าง ไม่ควรแก่งาน.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ข้อนี้ก็เปรียบเหมือนฉันนั้นนั่นแล
เมื่อใด กายนี้ประกอบด้วยอายุไออุ่น และวิญญาณ เมื่อนั้นกายนี้จะเบาอ่อน
และควรแก่งาน แต่เมื่อใดกายนี้ไม่ประกอบด้วยอายุ ไออุ่นและวิญญาณ เมื่อนั้น
กายนี้ก็จะหนัก แข็งทื่อ และไม่ควรแก่งาน. ท่านพระยา โดยปริยายแม้นี้แล
จงเห็นเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรม
ที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี.
ว่าด้วยค้นหาชีวะของโจรผู้ตายแล้ว
[๓๑๔ ] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้น ก็จริง ถึงอย่างนั้น
ในข้อนี้ ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่น
ไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ยังมีปริยายที่ยืนยันความเห็นของ
ท่านพระยาอีกหรือ มีปริยายเหมือนอย่างไรเล่า.
พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป เจ้าหน้าที่ของข้าพเจ้าจับโจรผู้กระทำ
ผิดมาแสดง ขอให้ข้าพเจ้าสั่งลงโทษ ข้าพเจ้าจึงสั่งเจ้าหน้าที่ให้ฆ่าโจรนั้นมิให้
ผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก บอบช้ำ เมื่อโจรนั้นเริ่มจะตาย
ข้าพเจ้าก็สั่งเจ้าหน้าที่ให้ผลักโจรนั้นล้มลงนอนหงาย ด้วยหมายใจว่า จะได้เห็น
ชีวะของเขาออกมาบ้าง แต่พวกเราก็มิได้เห็นชีวะของเขาออกมาเลย ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 384
จึงสั่งเจ้าหน้าที่ให้จับเขาพลิกคว่ำลงบ้าง พลิกนอนตะแคงข้างหนึ่งบ้าง พลิก-
นอนตะแคงอีกข้างหนึ่งบ้าง จักพยุงให้ยืนขึ้นบ้าง จับเอาหัวลงบ้าง ทุบด้วย
ฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศาสตราบ้าง ลากมาข้างนี้ ลากไปข้างโน้น
ลากไปลากมาบ้าง พวกเราก็มิได้เห็นชีวะของเขาออกมาเลย จักษุของเขาก็อันนั้น
รูปก็อันนั้น จักษุนั้นก็มิได้รับรู้รูป โสตะก็อันนั้น เสียงก็อันนั้น โสตะนั้นก็
มิได้รับรู้เสียง ฆานะก็อันนั้น กลิ่นก็อันนั้น ฆานะนั้นก็มิได้รับรู้กลิ่น ชิวหา
ก็อันนั้น รสก็อันนั้น ชิวหานั้นก็มิได้รับรู้รส กายก็อันนั้น สิ่งที่พึงถูกต้องก็อันนั้น
กายนั้นก็มิได้รับรู้สิ่งที่พึงถูกต้องเลย ท่านกัสสป ปริยายแม้นี้แล เป็นเครื่อง
ยืนยัน ความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี
ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
อุปมาด้วยการเป่าสังข์
[๓๑๕] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจัก
อุปมาให้ฟัง วิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถของคำภาษิตได้ด้วย
ข้ออุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้วคนเป่าสังข์ผู้หนึ่ง ถือสังข์ไปยังชนบท
ชายแดน เข้าไปยังบ้านตำบลหนึ่ง ยืนอยู่กลางบ้านแล้วก็เป่า สังข์ ๓ ครั้ง
แล้ววางสังข์ไว้ที่พื้นดิน นั่งลง ณ ที่แห่งหนึ่ง คราวนั้น พวกผู้คนชนบท
ชายแดนก็คิดกันว่า พวกเราเอ่ย นั่นมันเสียงอะไรหนอ จึงน่ารักใคร่มัวเมา
น่าจับใจ ต้องใจอย่างนี้ ชุมนุมกันแล้วก็ได้ถามคนเป่าสังข์ว่า พ่อมหาจำเริญ
นั่นเสียงอะไรหนอ จึงน่ารักใคร่มัวเมาน่าจับใจ ต้องใจอย่างนี้. คนเป่าสังข์
ตอบว่า เสียงที่น่ารักใคร่มัวเมา น่าจับใจต้องใจนั่นน่ะ เขาเรียกว่าเสียงสังข์จ๊ะ
คนเหล่านั้นก็จับสังข์หงายขึ้นแล้วสั่งว่า พูดซิ พ่อสังข์ พูดซิพ่อสังข์. สังข์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 385
ก็ไม่ออกเสียงตามที่เขาสั่ง คนเหล่านั้นก็จับสังข์คว่ำลงบ้าง ตะแคงซ้าย ตะแคง
ขวาบ้าง ยกขึ้นตั้งบ้าง ตั้งเอาหัวลงบ้าง ทุบด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วย
ท่อนไม้ ด้วยศัสตราบ้าง ลากมาทางนี้ ลากไปทางโน้น ลากไปลากมาบ้าง สั่งว่า
พูดซิพ่อสังข์ พูดซิพ่อสังข์. สังข์นั้นก็ไม่ออกเสียงอยู่นั่นเอง. ท่านพระยา
คนเป่าสังข์คิดอยู่ในใจว่า คนชาวชนบทชายแดนพวกนี้ ช่างเขลาแท้ ค้นหา
เสียงสังข์โดยไม่ถูกทาง จักพบได้อย่างไร. เมื่อคนเหล่านั้นกำลังเพ่งพินิจอยู่
คนเป่าสังข์ก็จับสังข์เป่า ๓ ครั้งแล้ววางสังข์เดินไปเสีย. ท่านพระยา คนชาว
ชนบทชายแดนเหล่านั้น ก็คิดได้ว่า เมื่อใด สังข์ประกอบด้วยคน ๑ ความ
พยายาม ๑ และลม ๑ เท่านั้น สังข์จึงจะออกเสียงได้ แต่ว่า เมื่อใด สังข์ไม่
ประกอบด้วยคน ความพยายามและลม เมื่อนั้น สังข์นี้ก็ไม่ออกเสียง ข้อ
อุปมานั้นฉันใด ท่านพระยา ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เมื่อใดร่างกายนี้ ประกอบ
ด้วยอายุ ๑ ไออุ่น ๑ และวิญญาณ ๑ เมื่อนั้น ร่างกายนี้ ก็เดินไปข้างหน้าบ้าง
ถอยกลับบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง เห็นรูปทางจักษุบ้าง ฟังเสียงทาง
โสตบ้าง สูดกลิ่นทางฆานะบ้าง ลิ้มรสทางชิวหาบ้าง ถูกต้องสิ่งที่พึงถูกต้อง
ทางกายบ้าง รู้เรื่องทางมนะบ้าง แต่ว่าเมื่อใด ร่างกายนี้ไม่ประกอบด้วยอายุ
ไออุ่น และวิญญาณ เมื่อนั้นร่างกายนี้ก็ก้าวไปไม่ได้ ถอยกลับไม่ได้ ยืนไม่ได้
นั่งไม่ได้ นอนไม่ได้ เห็นรูปทางจักษุไม่ได้ ฟังเสียงทางโสตะไม่ได้ สูดกลิ่น
ทางฆานะไม่ได้ ลิ้มรสทางชิวหาไม่ได้ ถูกต้องสิ่งที่พึงถูกต้องทางกายไม่ได้
รู้เรื่องทางมนะไม่ได้ ท่านพระยา โดยปริยายนี้นี่แล จงเห็นเถิดว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี.
จบปฐมภาณวาร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 386
ว่าด้วยการค้นหาชีวะโจรอีกเรื่องหนึ่ง
[๓๑๖] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
ในข้อนี้ ข้าพเจ้ายังยืนยันความเห็นที่ว่าแม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุด-
เกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ยังมีปริยายที่ยืนยันความเห็นของ
ท่านพระยาอีกหรือ มีปริยายเหมือนอย่างไรเล่า.
พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป เจ้าหน้าที่ของข้าพเจ้าจับโจรผู้กระ-
ทำผิดมาแสดงแก่ข้าพเจ้า และขอให้ข้าพเจ้าสั่งลงโทษ ข้าพเจ้าก็สั่งเจ้าหน้าที่
ให้เฉือนผิวหนังของโจรนั้นด้วยหมายจะดูชีวะของมัน ก็ไม่เห็น ให้เฉือนหนัง
เฉือนเอ็น เฉือนกระดูก เฉือนเยื่อในกระดูก ก็ไม่เห็นชีวะของมันเลย. ท่าน-
กัสสป ปริยายนี้นี่แล เป็นเครื่องยืนยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
อุปมาด้วยชฏิลบำเรอไฟ
[๓๑๗] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจัก
อุปมาให้ฟัง ด้วยว่าวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถของคำภาษิต
ได้ด้วยข้ออุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้ว. ชฏิลผู้บำเรอไฟผู้หนึ่ง อาศัย
อยู่ ณ กุฏีมุงใบไม้ ใกล้ชายป่า. ครั้งนั้น ชนบทแห่งหนึ่งกลายเป็นที่พักของ
หมู่เกวียน ไปเสียแล้ว. หมู่เกวียนนั้นพักแรมอยู่คืนหนึ่ง ใกล้ ๆ อาศรมของ
ชฏิลผู้บำเรอไฟนั้นแล้วก็ไป. ชฏิลนั้นคิดว่า ถ้ากระไร เราจะเข้าไปยังที่หมู่
เกวียนพักอยู่ อาจพบอุปกรณ์บางอย่างในที่นั้นก็ได้. ชฏิลนั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่
เข้าไปยังที่ ๆ หมู่เกวียนพักอยู่ ก็พบกุมารเล็ก ยังสดใสนอนหงายอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 387
ซึ่งถูกทอดทิ้งไว้ ณ ที่หมู่เกวียนพัก ครั้นแล้วก็คิดว่า จะปล่อยให้มนุษย์ตาดำๆ
ตายเสียต่อหน้าเรา ซึ่งกำลังพบเห็นอยู่ ไม่เป็นการสมควร ถ้ากระไร เราจะ
นำทารกนี้ไปชุบเลี้ยงให้เจริญเติบโต ดังนี้แล้วก็นำทารกนั้น ไปยังอาศรมไปชุบ
เลี้ยงเจริญเติบโต กระทั่งทารกนั้นอายุได้ ๑๐ ขวบ หรือ ๑๒ ขวบ. ต่อมา ชฏิล
ผู้บำเรอไฟนั้น เกิดมีกิจธุระบางอย่างในชนบท จึงสั่งเสียว่าลูกเอ๋ย พ่อประสงค์
จะไปยังชนบท อยู่ทางนี้ เจ้าบำเรอไฟไว้นะลูก อย่าให้ไฟของเจ้าดับได้ ถ้า
ไฟของเจ้าดับ นี้มีด นี้ไม้ นี้ไม้สีไฟ จงติดไฟบำเรอไฟไว้นะลูก. ชฏิลนั้นพร่ำ
สอนทารกนั้นอย่างนี้แล้ว ก็ไปยังชนบท. เมื่อเด็กนั้นเล่นเพลินไป ไฟก็ดับ
เด็กนั้นก็คิดว่าพ่อสอนเราไว้อย่างนี้ว่า บำเรอไฟไว้นะลูก อย่าไห้ไฟของเจ้า
ดับนะ ถ้าไฟดับ นี้มีด นี้ไม้ นี้ไม้สีไฟจงติดไฟ บำเรอไฟไว้ ถ้ากระไร เราจะ
ติดไฟ บำเรอไฟไว้ ดังนี้แล้ว. เด็กนั้นก็เอามีดถากไม้สีไฟ ด้วยหมายใจว่าจะ
พบไฟบ้าง. แต่เด็กนั้นก็ไม่พบไฟจึงผ่าไม้สีไฟเป็น ๒ ซีก ๓ ซีก ๔ ซีก ๕ ซีก
๑๐ ซีก ๒๐ ซีก ทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเอาใส่ครกโขลก ครั้นโขลก
แล้ว ก็โปรยที่ลมแรง ๆ ด้วยหมายใจว่า จะพบไฟบ้าง. แต่เด็กนั้นก็ไม่พบไฟ
อยู่นั่นเอง. คราวนั้น ชฏิลผู้บำเรอไฟนั้น ทำกิจธุระนั้นในชนบทเสร็จแล้วก็
กลับมา เข้าไปยังอาศรมถามเด็กนั้นว่า ไฟของเจ้าดับเสียแล้วหรือลูก. เด็กนั้น
ก็ตอบว่า จ๊ะพ่อ ข้ามัวเล่นเสียเพลินไฟเลยดับ ข้าคิดว่าพ่อสั่งให้ข้าบำเรอไฟ
ไว้ และสอนว่าเมื่อไฟดับ นี้มีด นี้ไม้ นี้ไม้สีไฟ ให้ติดไฟบำเรอไฟไว้ ข้าตั้ง
ใจจะติดไฟบำเรอไฟ จึงเอามีดถากไม้สีไฟ ก็ไม่พบไฟ จึงผ่าไม้สีไฟเป็น ๒
ซีก ๓ ซีก ๔ ซีก ๕ ซีก ๑๐ ซีก ๒๐ ทำเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเอาโขลก
ในครกโขลกแล้ว ก็โปรยในที่ ๆ มีลมแรง ๆ ก็ไม่พบไฟจนแล้วจนรอด.
ชฏิลผู้บำเรอไฟนั้น ก็คิดว่า เจ้าเด็กนี้เขลา ไม่ฉลาดเสียเลย จักค้นหาไฟโดย
อุบายไม่แยบคายได้อย่างไร จึงจับไม้สีไฟติดไฟต่อหน้าเด็ก ซึ่งจ้องมองดูอยู่แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 388
พูดกะเด็กนั้นว่า เขาติดไฟกันอย่างนี้ไม่เหมือนเจ้าซึ่งยังเขลาไม่ฉลาด ค้นหาไฟ
โดยอุบายไม่แยบคาย อย่างลูกดอก. ท่านพระยา ข้ออุปมานั้นฉันใด ข้ออุปมัยนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยา เขลาไม่ฉลาด ค้นหาโลกอื่น โดยอุบาย
ไม่แยบคาย โปรดสละความเห็นชั่วนั้นเสียเถิด ท่านพระยา โปรดสละความ
เห็นชั่วนั้นเสียเกิด ท่านพระยา ขอความเห็นชั่วนั้นอย่าได้มีแก่ท่านพระยา
เพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานเลย.
[๓๑๘] พระปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ดี
ข้าพเจ้าก็ไม่อาจสละความเห็นชั่วนี้ได้ดอก ทั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งพระ-
ราชาภายนอก ย่อมรู้จักข้าพเจ้าว่า พระยาปายาสิ มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า
แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำ
ดีทำชั่วไม่มี ดังนี้. ท่านกัสสป ถ้าหากว่าข้าพเจ้าจักสละความเห็นชั่วนี้ไซร้ ทั้ง
พระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งพระราชาภายนอกก็จักกล่าวเอากับข้าพเจ้าได้ว่า พระยา-
ปายาสิ ช่างเขลา ไม่ฉลาด ยึดถือความเห็นแต่ที่ชั่ว ข้าพเจ้าก็จักใช้ทิฏฐินั้น
ด้วยความโกรธบ้าง ด้วยความลบหลู่บ้าง ด้วยความตีเสมอบ้าง.
อุปมาด้วยนายกองเกวียน
[๓๑๙] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจัก-
อุปมาให้ฟัง ด้วยว่าวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถของคำภาษิต
ด้วยข้ออุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้ว. พ่อค้าเกวียนหมู่ใหญ่ มีเกวียน
ประมาณพันเล่ม ออกจากชนบททิศตะวันออก เดินทางไปทิศตะวันตก. กอง
เกวียนกำลังเดินอยู่นั้น หญ้าน้ำและไม้ ใบไม้สด ก็สิ้นเปลืองอย่างรวดเร็ว. ใน
กองเกวียนนั้น มีนายกองเกวียนสองคน คุมกองเกวียนคนละห้าร้อยเล่ม. สอง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 389
นายกองเกวียนปรึกษากันว่า กองเกวียนนี้ใหญ่ มีเกวียนถึงพันเล่ม จำเราจะ
แบ่งกองเกวียนนี้ออกเป็นสองกอง กองละห้าร้อยเล่ม. แล้วทั้งสองนายกอง
เกวียนก็แบ่งกองเกวียนออกเป็นสองกองเท่า ๆ กัน. นายกองเกวียนคนหนึ่ง ก็
บรรทุกหญ้าไม้ และน้ำเป็นอันมากพากองเกวียนเดินทางไปก่อน. กองเกวียน
นั้น เดินทางไปสอง-สามวัน ก็พบบุรุษตัวดำตาแดงสะพายแล่งธนู คล้องพวง
มาลัยดอกโกมุท มีผ้าเปียกผมเปียก กำลังเดินส่วนทางมาด้วยรถคันงาม มีล้อ
เปื้อนโคลน ครั้นแล้วจึงถามเขาว่าพ่อมหาจำเริญ ท่านมาแต่ไหน. บุรุษตัวดำ
ตอบว่าข้ามาแต่ชนบทโน้น. ถามว่า จะไปไหนล่ะ. ตอบว่า จะไปยังชนบท
โน้น. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ในทางกันดารข้างหน้าฝนตกชุกบ้างใหม่ พ่อ
มหาจำเริญ. ตอบว่า อย่างนั้นจ๊ะ ในทางกันดารข้างหน้า ฝนตกชุก หนทางก็
มีน้ำบริบูรณ์ หญ้าไม้และน้ำก็มีมาก โปรดทิ้งหญ้าไม้และน้ำของเก่าเสียเถิดนาย
เกวียนมีภาระเบา จะไปได้เร็ว ๆ ยานพาหนะอย่าลำบากเลย. นายกองเกวียน
นั้นก็เรียกพวกลูกเกวียนมาปรึกษาว่า พ่อคุณ บุรุษผู้นี้พูดว่า ทางกันดารข้าง
หน้า ฝนตกชุก หนทางมีน้ำบริบูรณ์ หญ้าไม้และน้ำมีมาก ให้เราทิ้งหญ้า
ไม้และน้ำของเก่าเสีย เกวียนบรรทุกเบาจะไปได้เร็ว ยานพาหนะก็ไม่ลำบาก
ดังนี้แล้ว สั่งลูกเกวียนให้ทิ้งหญ้าไม้และน้ำของเก่าเสีย เกวียนก็มีภาระบรรทุก
เบา พากองเกวียนเดินทางไปในที่พักกองเกวียนระยะแรก พวกเขาก็ไม่เห็น
หญ้าไม้และน้ำในที่พักกองเกวียนระยะที่สอง-สาม-สี่-ห้า-หก แม้ระยะที่เจ็ด
ก็ไม่พบเช่นเดียวกัน พวกเขาทั้งหมดต้องถึงความพินาศย่อยยับไป ผู้คนหรือ
ปศุสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ในกองเกวียนนั้น. ยักษ์ผู้เป็นอมนุษย์นั้นก็กินเป็นภักษา
หมด. เหลือแต่กระดูกเท่านั้น. นายกองเกวียนคนที่สอง รู้ว่ากองเกวียนที่หนึ่ง
นั้นไปนานแล้วก็บรรทุกหญ้าไม้และน้ำเป็นอันมาก พากองเกวียนเดินทางไป
กองเกวียนที่สองนั้นเดินทางไปได้สอง-สามวัน ก็ได้พบบุรุษตัวดำตาแดง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 390
สะพายแล่งธนู คล้องพวงมาลัยดอกโกมุท ผ้าเปียกผมเปียก เดินสวนทางมา
ด้วยรถคันงาม มีล้อเปื้อนโคลน ครั้นแล้วจึงถามบุรุษตัวดำนั้นว่า พ่อมหา-
จำเริญ ท่านมาแต่ไหน. บุรุษตัวดำตอบว่า ข้ามาแต่ชนบทโน้น. ถามว่าจะ
ไปไหนล่ะ. ตอบว่า จะไปยังชนบทโน้น. ถามว่า ทางกันดารข้างหน้า มีฝน
ตกชุกไหม. ตอบว่า ฝนตกชุกเชียวละ หนทางก็มีน้ำบริบูรณ์ หญ้าไม้และน้ำ
ก็มีมาก โปรดทิ้งหญ้าไม้และน้ำของเก่าเสียเถิดจะนาย เกวียนมีภาระเบา ก็จะ
ไปได้เร็ว ๆ อย่าให้ยานพาหนะลำบาก. ครั้งนั้นนายกองเกวียนคนนั้น จึง
เรียกพวกลูกเกวียนมาปรึกษาว่า พ่อคุณ บุรุษผู้นี้บอกว่า ทางกันดารข้างหน้า
มีฝนตกชุก หนทางมีน้ำบริบูรณ์ หญ้าไม้และน้ำมีมากขอให้ทิ้งหญ้าไม้และน้ำ
ของเก่าเสีย เกวียนมีภาระเบา จะไปได้เบา จะไปได้เร็วๆ อย่าให้ยานพาหนะ
ลำบาก ดังนี้ พ่อคุณ บุรุษผู้นี้ไม่ได้เป็นมิตร ญาติสาโลหิตของเรา ๆจักเชื่อเขา
ได้อย่างไร เราไม่ควรทิ้งหญ้าไม้และน้ำของเก่า แล้วสั่งบรรดาลูกเกวียนให้พา
กองเกวียนไปด้วยสิ่งของตามที่บรรทุกไว้แล้ว ห้ามไม่ให้ทิ้งหญ้าไม้และน้ำของ
เก่าเป็นอันขาด. พวกลูกเกวียนรับคำสั่งแล้ว. ก็พากองเกวียนไปพร้อมด้วยสิ่ง
ของที่บรรทุกไว้. ไม่ทิ้งของเก่าเลย ในที่ที่พักกองเกวียนระยะแรก พวกเขาก็
ไม่พบหญ้าไม้และน้ำ แม้ในระยะที่สอง-สาม-สี่-ห้า-หก และแม้ระยะที่เจ็ด
ก็ไม่เห็นหญ้าไม้และน้ำ พบแต่กองเกวียนนั้นประสบความพินาศย่อยยับสิ้น.
พบแต่กระดูกของมนุษย์และปศุสัตว์ ที่มีอยู่ในกองเกวียนนั้นเท่านั้น พวกเขา
ถูกยักษ์ผู้เป็นอมนุษย์นั้นกินเป็นภักษาเสียหมดสิ้น. ครั้งนั้น นายกองเกวียน
นั้นจึงเรียกบรรดาลูกเกวียนมาปรึกษาว่า พ่อคุณเอ๋ย กองเกวียนนั้นนั่นแล
มีนายกองเกวียนโง่เขลาเป็นผู้นำ จึงประสบความพินาศย่อยยับ พ่อคุณเอ๋ย ถ้า
อย่างนั้น สิ่งของอันใดในกองเกวียนของเรามีสาระน้อย ก็จงทิ้งมันเสีย สิ่งใด
อันใดในกองเกวียนที่หนึ่งนี้มีสาระมาก พวกเราก็จงช่วยกันขนมันไป. พวกลูก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 391
เกวียนก็ปฏิบัติตามด้วยดี ทิ้งของที่มีสาระน้อยเสีย ขนไปแต่สิ่งของที่มีสาระ
มาก ก็ข้ามทางกันดารไปโดยสวัสดี เพราะมีนายกองเกวียนผู้ชาญฉลาดเป็นผู้
นำ. ท่านพระยา ข้ออุปมานั้นฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่าน
พระยาเป็นผู้เขลาไม่ฉลาด ค้นหาโลกอื่นโดยอุบายไม่แยบคายก็จักถึงความพินาศ
ย่อยยับ เปรียบเหมือนบุรุษนายกองเกวียนนั้น แม้พวกคนที่เชื่อฟังท่านพระยา
ก็จักพลอยถึงความพินาศย่อยยับไปเหมือนพวกลูกเกวียนฉะนั้น ท่านพระยา
โปรดสละความเห็นชั่วนั้นเสียเถิด ขอความเห็นชั่วนั้นอย่าได้มีแก่ท่านพระยา
เพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานเลย.
[๓๒๐] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น
ข้าพเจ้าก็ไม่อาจสละความเห็นชั่วนี้ได้ดอก ทั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งพระราชา
ภายนอก ก็ทรงรู้จักข้าพเจ้าว่าพระยาปายาสิ มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้
เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว
ไม่มี ท่านกัสสป ถ้าหากว่าข้าพเจ้าจักสละความเห็นชั่วนี้เสียไซร้ ทั้งพระเจ้า
ปเสนทิโกศล ทั้งพระราชาภายนอก ก็จักทรงว่ากล่าวเอาแก่ข้าพเจ้าว่า พระยา
ปายาสิ ช่างเขลา ไม่ฉลาด ยึดถือเอาแต่ความเห็นที่ชั่ว ข้าพเจ้าก็จะใช้ทิฏฐิ
นั้นด้วยความโกรธบ้าง ด้วยความลบหลู่บ้าง ด้วยความตีเสมอบ้าง.
อุปมาด้วยคนเทินห่อคูถ
[๓๒๑] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้นอาตมาจัก-
อุปมาให้ฟัง ด้วยว่าวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถของคำภาษิต
ด้วยข้ออุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้ว บุรุษผู้เลี้ยงสุกรคนหนึ่ง ออก
จากบ้านไปยังบ้านตำบลอื่น พบคูถที่แห้งเป็นอันมากเขาทิ้งไว้ในหมู่บ้าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 392
นั้น ครั้นแล้วจึงคิดว่าคูถแห้งที่เขาทิ้งไว้นี้มากพอจะเป็นอาหารของสุกรของเรา
ได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะขนคูถแห้งไปจากบ้านนี้ ดังนี้แล้วก็คลี่ผ้าห่มลง
เอาคูถแห้งใส่แล้วผูกเป็นห่อยกเทินไว้บนศีรษะ ออกเดินไป. ในระหว่างทาง
เกิดเมฆฝนที่มิใช่ฤดูกาลตกลงมาห่าใหญ่. เขาเปรอะเปื้อนไปด้วยคูถตลอดถึง
ปลายเล็บเขาเอาห่อคูถซึ่งล้นไหลเดินไปเรื่อย ๆ พวกผู้คนเห็นเขาก็พากันพูดว่า
พ่อคุณเจ้านี่เป็นบ้าหรือ เสียจิตไปแล้วหรือ เจ้าเปรอะเปื้อนด้วยคูถจนถึงปลาย
เล็บ ยังจะนำห่อคูถที่ไหลเลอะไปอีก. เขาก็ตอบไปบ้างว่า พวกเจ้านะซิเป็น
บ้าหรือเสียจิต ก็นี่มัน เป็นอาหารสุกรของข้านี่นา. ท่านพระยา ก็ข้ออุปมานั้น
ฉันใด แม้ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยาน่าจะรู้ตัวว่า ท่านเหมือน
คนเทินห่อคูถ ท่านพระยาโปรดสละความเห็นชั่วนั้นเสียเถิด ท่านพระยาโปรด
สละความเห็นซั่วนั้นเสียเถิดขอความเห็นชั่วนั้นอย่าได้มีแก่ท่านพระยา เพื่อสิ่ง
ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานเลย.
[๓๒๒] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น
ข้าพเจ้าก็ไม่อาจสละความเห็นชั่วนี้ได้ดอก ทั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งพระราชา
ภายนอก ย่อมรู้ว่าพระยาปายาสิ มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้
โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี. ท่าน-
กัสสป ถ้าหากข้าพเจ้าจักสละความเห็นชั่วนี้เสียไซร้ ทั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล
ทั้งพระราชาภายนอก ก็จักว่ากล่าวเอาแก่ข้าพเจ้าว่าพระยาปายาสิ ช่างเขลา ไม่
ฉลาด ยึดถือความเห็นแต่ที่ชั่วดังนี้ ข้าพเจ้าก็จักใช้ทิฏฐินั้นด้วยความโกรธบ้าง
ด้วยความลบหลู่บ้าง ด้วยความตีเสมอบ้าง.
อุปมาด้วยนักเลงสะกา
[๓๒๓] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่านั้นอาตมาจักอุปมา
ให้ฟัง ด้วยว่า วิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถของคำภาษิตด้วยข้อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 393
อุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้ว นักเลงสะกาสองคนเล่นการพนันสะกา
กัน นักเลงสะกาคนหนึ่ง กลืนเบี้ยแพ้ที่ทอดมาแล้วมาอีกเสีย. นักเลงสะกาคน
ที่สอง เห็นดังนั้น จึงกล่าวกะนักเลงสะกาคนที่หนึ่งว่า เพื่อน เจ้าชนะข้างเดียว
โปรดให้ลูกสะกาแก่ข้าเถิด ข้าจักเซ่นบูชา. นักเลงสะกาคนที่สองก็รับคำว่า ได้
ซิเพื่อน แล้วมอบลูกสะกาให้เพื่อนนักเลงสะกาคนที่หนึ่งไป. นักเลงสะกา
คนหนึ่งก็เอายาพิษอาบลูกสะกา แล้วพูดชวนว่า มาซิ เพื่อน มาเล่นพนันสะกา
กัน. นักเลงสะกาคนที่สองก็รับคำว่า ได้ซิเพื่อน. เพื่อนนักเลงสะกาทั้งสอง
ก็เล่นพนันสะกากันเป็นหนที่สอง. แม้ในหนที่สอง นักเลงสะกาคนที่สองก็กลืน
เบี้ยแพ้ที่ทอดมาแล้วมาเล่าอีก. เพื่อนนักเลงสะกาคนที่หนึ่งเห็นดั่งนั้น จึงกล่าว
กะเพื่อนนั้นว่า
[๓๒๔] ลิตฺต ปรเมน เตชสา
คิลมกฺข ปุริโส น พุชฺฌติ
คิลเร ปาปธุตฺตา กปณา
เต กฏุก ภวิสฺสติ.
บุรุษกลืนกินลูกสะกา ซึ่งอาบด้วย
ยาพิษ มีฤทธิ์ร้ายแรงหารู้สึกตัวไม่ นักเลง
ชั่วผู้น่าสงสารกลืนกินยาพิษเข้าไป ความ
เร่าร้อนจักต้องม่แก่เจ้า ดังนี้.
[๓๒๕] ท่านพระยา ข้ออุปมานั้นฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เหมือน
กัน ท่านพระยาน่าจะรู้ตัวว่า ท่านพระยาเปรียบเหมือนนักเลงสะกา ท่านพระยา
โปรดสละความเห็นชั่วนั้นเสียเถิด ท่านพระยาโปรดสละความเห็นชั่วนั้นเสียเถิด
ขอความเห็นชั่วนั้นอย่าได้มีแก่ท่านพระยา เพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความทุกข์ตลอดกาลนานเลย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 394
[๓๒๖] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น
ข้าพเจ้าก็ไม่อาจสละความเห็นชั่วนี้ได้ดอก ทั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งพระราชา
ภายนอก ก็ย่อมรู้จักว่าพระยาปายาสิ มีวาทะ มีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี
ท่านกัสสป ถ้าหากข้าพเจ้าจักสละความเห็นชั่วนี้เสียไซร้ ทั้งพระเจ้าปเสนทิ-
โกศล ทั้งพระราชาภายนอก จักว่ากล่าวเอาแก่ข้าพเจ้าว่า พระยาปายาสิ ช่างเขลา
ไม่ฉลาด ยึดถือความเห็นแต่ที่ชั่ว ดังนี้ ข้าพเจ้าก็ใช้ทิฏฐินั้นด้วยความโกรธ
บ้าง ด้วยความลบหลู่บ้าง ด้วยความตีเสมอบ้าง.
อุปมาด้วยคนหอบป่าน
[๓๒๗] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจัก-
อุปมาให้ฟัง ด้วยว่าวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถแห่งคำภาษิต
ด้วยข้ออุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้ว ชนบทแห่งหนึ่งตั้งขึ้นแล้ว. ครั้ง
นั้น สหายคนหนึ่งพูดชวนสหายคนหนึ่งว่า มาเถิดเพื่อน เราจักไปทางชนบทนั้น
ถ้าโชคดีคงจะพบทรัพย์อะไร ๆ ที่ชนบทแห่งนั้นกันบ้าง. สหายก็รับคำว่า ไป
ซิเพื่อน. สองสหายเข้าไปยังทางหมู่บ้านแห่งหนึ่งของชนบท ได้พบป่านเป็น
อันมากที่เขาทิ้งไว้ ณ หมู่บ้านนั้น ครั้นแล้ว ก็เรียกเพื่อนมาบอกว่า เพื่อนนี้
ป่านเป็นอันมาก เขาทิ้งแล้ว เจ้าจงมัดห่อป่านของเจ้า ข้าก็จักมัดห่อป่านของข้า
เราสองคนจักหอบห่อป่านไปกันนะ. สหายก็รับคำ เอาซิเพื่อน แล้วหอบห่อ
ป่านไป. สองสหายหอบห่อป่านเข้าไปยังทางหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง พบด้ายป่าน
เป็นอันมาก ที่เขาทิ้งไว้ ณ บ้านแห่งนั้น. ครั้นแล้ว สหายก็เรียกสหายมาบอกว่า
เพื่อน เราปรารถนาป่านเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนี้ก็คือ ด้ายป่านที่เขา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 395
ทิ้งมากมาย เพื่อน ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงทิ้งห่อป่านเสีย ข้าก็จักทิ้งห่อป่านเหมือนกัน
เราทั้งสองจักแบกมัดด้ายป่านไปกันนะ. สหายอีกคนหนึ่งบอกว่า เพื่อน ห่อป่านนี้
เราหอบมากันไกลแล้ว ทั้งก็มัดไว้ดีแล้วด้วย ข้านะพอแล้วละ เจ้าจงรู้ไว้ด้วย.
สหายคนนั้น ก็ทิ้งห่อป่านเสียแล้ว ถือเอาด้ายป่านไป. สองสหายเข้าไปยัง
หมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง พบผ้าป่านเป็นอันมาก ที่เขาทิ้งไว้ ณ บ้านแห่งนั้น.
ครั้นแล้ว สหายก็เรียกสหายมาบอกว่า เพื่อน เราปรารถนาป่านหรือด้าย
ป่านเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนี้ก็คือผ้าป่านที่เขาทิ้งไว้มากมาย เพื่อน
ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงทิ้งห่อป่านเสีย เราก็จักทิ้งมัดด้ายป่านเสียเหมือนกัน เรา-
ทั้งสองจักถือเอาห่อผ้าป่านไปกันนะ. สหายอีกคนหนึ่งก็บอกว่า เพื่อน ห่อป่าน
ของข้านี้ ข้าหอบมาไกลแล้วทั้งก็มัดไว้ดีแล้วด้วย ข้านะพอแล้ว เจ้าจงรู้ไว้ด้วย.
สหายคนนั้น ก็ทิ้งมัดด้ายป่านเสียแล้ว หอบห่อผ้าป่านไป. สองสหายเข้าไปยังทาง
หมู่บ้าน อีกแห่งหนึ่ง ก็พบเปลือกไม้เป็นอันมาก ที่เขาทิ้งไว้ ณ บ้านแห่งนั้น.
แล้วก็พบด้ายเปลือกไม้ที่เขาทิ้งไว้มากมาย พบผ้าเปลือกไม้ พบฝ้าย พบด้าย
ฝ้าย พบผ้าฝ้าย พบเหล็ก พบโลหะ พบดีบุก พบสำริด พบเงิน ในที่สุด
พบทอง. สหายคนที่หนึ่งจึงเรียกสหายคนที่สองชวนว่า นี่แน่ะ เพื่อน เรามา
แสวงโชคเพื่อประโยชน์แก่สิ่งอันใด ไม่ว่าจะเป็นป่าน ด้ายป่าน ผ้าป่าน
เปลือกไม้ ด้ายเปลือกไม้ ผ้าเปลือกไม้ ฝ้าย ด้ายฝ้าย ผ้าฝ้าย หรือเหล็ก
โลหะ ดีบุก สำริด หรือเงิน ทองที่เขาทิ้งไว้มากมายถ้าอย่างนั้น
เจ้าจงทิ้งห่อป่านเสียเถิด ข้าก็จักทิ้งห่อเงิน เราทั้งสองก็จะแบก
ห่อทองพากัน ไป. สหายคนที่สองพูดว่า เพื่อนเอ๋ย ห่อป่านนี้นะ ข้าหอบมา
ไกลแล้วทั้งก็มัดไว้ดีด้วย ข้าน่ะพอแล้ว เจ้าจงรู้ไว้ด้วย. คราวนั้น สหายคนที่-
หนึ่ง จึงทิ้งห่อเงินเสียแล้ว แบกเอาห่อทองไป. ทั้งสองสหายก็พากันกลับบ้าน
ของตน. ในสองสหายนั้น สหายคนที่สองนั้นแบกห่อป่านไปบ้าน บิดามารดา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 396
ของเขามิได้ดีใจด้วยเลย บุตรภริยา มิตรสหายก็ไม่ดีใจ เขาไม่ได้ประสบ
ความสุขโสมนัส เพราะห่อป่านของเขานั้น. ส่วนสหายคนที่หนึ่ง แบกห่อทอง
ไปบ้าน บิดามารดาของเขาก็ดีใจ ทั้งบุตรภริยา ทั้งมิตรสหาย ก็พากันดีใจ
ไปด้วย เขาได้ประสบความสุขโสมนัสเพราะห่อทองของเขานั้น. ท่านพระยา
ข้ออุปมานั้นฉันใด แม้ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยาน่าจะรู้ตัวดีว่า
ท่านพระยาเปรียบเหมือนสหายคนหอบห่อป่าน ท่านพระยาโปรดสละความเห็น
ชั่วนั้นเสียเถิด ขอความเห็นชั่วนั้น อย่าได้มีแก่ท่านพระยา เพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานเลย.
พระยาปายาสิขอคำแนะนำบูชามหายัญ
[๓๒๘] พระยาปายาสิ. ด้วยข้ออุปมาข้อแรกของท่านกัสสป ข้าพเจ้า
ก็เริ่มดีใจอย่างยิ่งแล้ว แต่ข้าพเจ้าประสงค์จะฟังปฏิภาณแห่งปัญหาอันวิจิตร
เหล่านั้น จึงทำท่าทีโต้แย้งคัดค้านท่านกัสสป ปัญหาปฏิภาณช่างไพเราะจับใจ
จริง ๆ ท่านกัสสปประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก แจ่มแจ้งเหมือนหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด ชี้ทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วย
หมายใจจะให้ผู้มีจักษุมองเห็นรูป ได้ชัด เจนฉะนั้น ท่านกัสสปข้าพเจ้านี้ขอถึง
ท่านพระโคดม ทั้งพระธรรมทั้งพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอท่านกัสสป โปรด
ทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ถึงสรณะตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
อนึ่ง ข้าพเจ้าประสงค์จะบูชามหายัญ ขอท่านกัสสปโปรดสั่งสอนแนะข้าพเจ้า
ในเรื่องที่จะพึงเป็นประโยชน์เกื้อกูลความสุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาลนานด้วยเถิด.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ในยัญเห็นปานใด เหล่าโคจะต้อง
ถูกฆ่า เหล่าแพะแกะจะต้องถูกฆ่า ไก่และสุกรจะต้องถูกฆ่า เหล่าสัตว์มีชีวิต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 397
ต่าง ๆ จะต้องถึงฆาต ทั้งปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด พูดผิด
ทำผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด. ท่านพระยา ยัญเห็น
ปานนั้นแล ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีผลรุ่งเรืองมาก ไม่มีผลไพศาล.
ท่านพระยา เปรียบเหมือนชาวนา ถือเมล็ดพืชและไถเข้าไปป่า ในป่านั้น เขา
พึงปลูกเมล็ดพืชที่หัก ที่เสียต้องลมและแดด ไม่มีแก่น แห้งไม่สนิท ลงใน
นาเลวที่มีดินเลว ยังไม่ได้แผ้วถางตอและหนามออก ทั้งฝนก็ไม่ตกต้องตาม
ฤดูกาล พืชเหล่านั้นจะพึงเจริญงอกงามเต็มที่ หรือชาวนาพึงประสบผลไพบูลย์
ได้หรือ.
พระยาปายาสิ. ท่านกัสสป ไม่พึงประสบผลไพบูลย์อย่างนั้นดอก.
ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยา ยัญที่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร
หรือเหล่าสัตว์ต่าง ๆ ต้องถึงความพินาศ และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นผิด
ดำริผิด เจรจาผิด การงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด เช่นนี้
ย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่ ไม่มีความรุ่งเรืองใหญ่ ไม่แพร่หลายใหญ่.
ดูก่อนท่านพระยา ส่วนยัญที่มิต้องฆ่า แพะ แกะ ไก่ สุกร หรือ
เหล่าสัตว์ต่าง ๆ ไม่ต้องถึงความพินาศ และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นชอบ
ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ
จงใจชอบ เช่นนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ มีความรุ่งเรืองใหญ่ แพร่
หลายใหญ่ เปรียบเหมือนชาวนาถือเอาพืชและไถไปสู่ป่า เขาพึงหว่านพืชที่ไม่
หัก ไม่เสีย ไม่ถูกลมแดดแผดเผา อันมีแก่นแห้งสนิท ลงในนาไร่อันดี เป็น
พื้นที่ดี แผ้วถางตอและหนามหมดดีแล้ว ทั้งฝนก็ตกชะเชยโดยชอบตาม
ฤดูกาล พืชเหล่านั้นจะพึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์หรือหนอ ชาวนาจะพึง
ได้รับผลอันไพบูลย์หรือ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 398
เป็นอย่างนั้น ท่านกัสสป.
ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยา ยัญที่มิต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร
หรือเหล่าสัตว์ต่างๆไม่ต้องถึงความพินาศ และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นชอบ
ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ
ดังใจชอบ เช่นนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ มีความรุ่งเรืองใหญ่ แพร่
หลายใหญ่.
การให้ทานของพระยาปายาสิ
[๓๒๙] ครั้งนั้น ท่านพระยาปายาสิ ตั้งทานสำหรับสมณพราหมณ์
คนเข็ญใจ คนเดินทางวณิพก และยาจกทั้งหลาย. แต่ในทานนั้นแล เขาให้
โภชนะเป็นข้าวปลายเกรียน มีน้ำส้มพะอูมเป็นกับ และผ้า ผืนเล็ก ๆ ผ้าเปื้อน
น้ำอ้อย. อนึ่ง ในทานนั้น อุตตรมาณพเป็นผู้จัดการให้ทานอุทิศแล้วอย่างนี้ว่า
ด้วยทานนี้ ขอข้าพเจ้าได้พบกับพระยาปายาสิเฉพาะในโลกนี้เท่านั้น อย่าพบ
ในโลกอื่นเลย. พระยาปายาสิได้ยินว่า เขาว่าอุตตรมาณพให้ทานอุทิศอย่างนี้ว่า
ด้วยทานนี้ ข้าพเจ้าพบพระยาปายาสิในโลกนี้เท่านั้นเถิด อย่าพบในโลกอื่นเลย.
ครั้งนั้นพระยาปายาสี จึงเรียกอุตตรมาณพมาถามว่า พ่ออุตตรมาณพ เขาว่า
เจ้าให้ทานเสร็จแล้ว อุทิศอย่างเขาว่านั้นจริงหรือ. อุตตรมาณพ ตอบว่า
จริงขอรับ. ถามว่า เพราะเหตุไร พ่ออุตตรมาณพ เจ้าให้ทานแล้วจึงอุทิศ
อย่างนั้น ข้าไม่ต้องการบุญ หวังผลของทานเท่านั้นหรือ. ตอบว่า ท่านขอรับ
ท่านพระยาให้โภชนะ คือข้าวปลายเกรียน มีน้ำส้มพะอูมเป็นกับในทาน ท่าน
พระยายังไม่ปรารถนาจะแตะต้องแม้แต่เท้า ท่านพระยาจะบริโภคได้อย่างไร
ทั้งผ้าก็ผืนเล็ก ๆ เปื้อนน้ำอ้อย ท่านพระยายังไม่ปรารถนาจะแตะต้องแม้แต่เท้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 399
ไฉนจะนุ่งห่มได้เล่า ก็ท่านพระยาเป็นที่รักที่พึงใจของพวกเรา พวกเราจะช่วย
ท่านพระยาผู้น่ารักน่าพึงใจ โดยอาการที่ไม่น่าพึงใจอย่างไรได้. ท่านพระยา-
ปายาสิกล่าวว่า พ่ออุตตระ ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงจัดโภชนะอย่างที่ข้าบริโภค
จงจัดผ้าผ่อนอย่างที่ข้านุ่งห่ม. อุตตรมาณพ รับคำของพระยาปายาสิแล้วจัด
โภชนะอย่างที่ท่านพระยาปายาสิบริโภค จัดผ้าผ่อนอย่างที่ท่านพระยาปายาสิ
นุ่งห่ม. ครั้งนั้น พระยาปายาสิ ให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานไม่ใช่ให้ด้วย
มือของตนเอง ให้ทานโดยไม่นอบน้อม ให้ทานแบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ครั้น
ตายแล้ว ก็เข้าถึง ความเป็นสหายของเหล่าเทพชั้นจาตุมหาราช มีเสรีสกวิมาน
อันว่างเปล่า. ส่วนอุตตรมาณพผู้จัดการในทานของพระยาปายาสินั้น ให้ทาน
โดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยนอบน้อม ให้ทานไม่ใช่ทิ้ง ๆ
ขว้างๆ ครั้นตายแล้วก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์.
เรื่องพระควัมปติเถระ - เทพบุตรปายาสิ
[๓๓๐] สมัยนั้น ท่านพระควัมปติ ไปพักกลางวัน ณ เสรีสกวิมาน
อันว่างเปล่าเนือง ๆ. ครั้งนั้น ปายาสิเทพบุตร เข้าไปหาท่านพระควัมปติ
กราบแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระควัมปติจึงถามปายาสิเทพบุตร
ว่า ผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร. ปายาสิเทพบุตร ตอบว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า
คือ พระยาปายาสิ. ถามว่า ผู้มีอายุ ท่านที่ได้มีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี
ดังนี้นะหรือ. ตอบว่า จริงเจ้าข้า แต่ข้าพเจ้าถูกพระผู้เป็นเจ้ากุมารกัสสป
เปลื้องเสียจากความเห็นอันชั่วนั้นแล้ว. ถามว่า ผู้มีอายุ ท่านอุตตรมาณพ
ผู้จัดการในทานของท่านแล้ว เขาไปเกิดเสียที่ไหน. ตอบว่า ท่านเจ้าข้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 400
อุตตรมาณพผู้จัดการทานของข้าพเจ้าให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของ-
ตนเอง ให้ทานโดยนอบน้อม ให้ทานโดยไม่ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ครั้นตายแล้วก็เข้า
ถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ ท่านเจ้าข้า ส่วน
ข้าพเจ้า ให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานโดยมิใช่โดยมือของตนเอง ให้ทานโดย
ไม่นอบน้อม ให้ทานทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ครั้นตายแล้ว เข้าถึงความเป็นสหายของ
เหล่าเทพชั้นจาตุเสรีสกวิมานอันว่างเปล่า ท่านพระควัมปติ เจ้าข้า ถ้าอย่างนั้น
พระคุณเจ้ากลับมนุษยโลกแล้ว โปรดบอกกล่าวคนทั้งหลายอย่างนี้ว่า พวกท่าน
จงให้ทานโดยเคารพ จงให้ทานโดยมือของตนเอง จงให้ทานโดยนอบน้อม
จงให้ทานอย่าทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ พระยาปายาสิให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานไม่ใช้
ด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยไม่นอบน้อม ให้ทานทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ตายแล้ว
ก็เข้าถึง ความเป็นสหายของเหล่าเทพชั้นจาตุมหาราช มีเสรีสกวิมานอันว่างเปล่า
ส่วนอุตตรมาณพผู้จัดการทานของพระยาปายาสินั้น ให้ทานโดยเคารพ ให้ทาน
ด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยนอบน้อม ให้ทานไม่ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ตายแล้ว
ก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์. ครั้งนั้น ท่าน
ควัมปติกลับมนุษยโลกแล้วก็บอกกล่าวแก่คนทั้งหลาย อย่างที่ปายาสิเทพบุตร
ส่งเสียทุกประการแล.
จบปายาสิราชัญญสูตร ที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 401
อรรถกถาปายาสิราชัญญสูตร
ปายาสิราชัญญสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
ในปายาสิราชัญญสูตรนั้น พรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้.
ประวัติท่านพระกุมารกัสสป
คำว่า อายสฺมา ผู้มีอายุ นี้เป็นคำที่น่ารัก. คำว่า กุมารกัสสป
เป็นชื่อของท่าน. ก็เพราะท่านบวชครั้งยังเป็นเด็กรุ่น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า พวกเธอจงเรียกกัสสปมา จงให้ผลไม้นี้บ้าง ของเคี้ยวนี้
บ้างแก่กัสสป ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย สงสัยว่ากัสสปองค์ไหน (เพราะพระที่ชื่อ
กัสสปมีหลายองค์ ) จึงพากันขนานนามว่า กุมารกัสสป. ตั้งแต่นั้นมา แม้
ครั้งท่านแก่เฒ่า ก็ยังเรียกกันว่า กุมารกัสสป อยู่นั่นเอง. อีกนัยหนึ่ง
เพราะท่านเป็นบุตรเลี้ยงของพระเจ้าปเสนทิโกศล คนทั้งหลาย จึงจำหมาย
เรียกท่านว่ากุมารกัสสป. จะกล่าวเรื่องของท่านให้แจ่มแจ้ง ตั้งแต่ปุพพประโยค
ดังต่อไปนี้.
เล่ากันว่า พระเถระ ( กุมารกัสสป ) เป็นบุตรเศรษฐี ครั้งพระผู้มี-
พระภาคพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ. ต่อมาวันหนึ่ง ท่านเห็นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแต่งตั้งพระสาวกของพระองค์รูปหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้กล่าวธรรมได้
วิจิตรไว้ในตำแหน่ง ( เอตทัคค ) จึงถวายทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๗ วัน
กระทำความปรารถนาว่า แม้ข้าพเจ้าผู้มีโชคก็จะเป็นพระสาวกผู้กล่าวธรรมอย่าง
วิจิตร เหมือนพระเถระองค์นี้ ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 402
กระทำบุญทั้งหลาย บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป
ไม่สามารถทำคุณวิเศษให้บังเกิดได้. นัยว่า ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระศาสนากำลังเสื่อม ภิกษุ ๕ รูป ทำบันได
ขึ้นไปยังภูเขา กระทำสมณธรรม. ภิกษุผู้เป็นสังฆเถระ (หัวหน้า) บรรลุ
พระอรหัต ในวันที่ ๓. ภิกษุผู้เป็นอนุเถระ ได้เป็นพระอนาคามี ในวันที่
๔. อีก ๓ รูปไม่สามารถทำคุณวิเศษให้บังเกิดได้ ก็ไปบังเกิดในเทวโลก.
บรรดาภิกษุ ๓ รูป ที่เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ตลอดพุทธันดร
หนึ่งนั้น รูปหนึ่งไปบังเกิดในราชตระกูลในกรุงตักกสิลา เป็นพระราชาพระ-
นามว่า ปุกกุสาติ บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า มุ่งมายังกรุงราชคฤห์ ได้สดับ
พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่โรงช่างหม้อ ก็บรรลุอนาคามิผล.
รูปหนึ่งไปบังเกิดในเรือนของตระกูลที่ท่าเรือชื่อ สุปัฏฏนะใกล้ทะเลแห่งหนึ่ง
โดยสารเรือ ๆ แตกต้องเอาไม้ทำผ้านุ่ง ได้ลาภสักการะ (ที่คนเขาหลงผิดคิดว่า
เป็นพระอรหันต์บูชา) ตัวเองก็เกิดคิดว่าตัวเป็นพระอรหันต์ เทวดาผู้หวังดี
ต้องเตือนว่า ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ดอก จงไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามปัญหา
ก็กระทำตามเทวดาเตือน ได้บรรลุพระอรหัตผล. รูปหนึ่งไปเกิดในครรภ์
ของกุลสตรีผู้หนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์. กุลสตรีผู้นั้น อ้อนวอนมารดาก่อน
ก็ไม่ได้บวช จนมีสามี ไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ เอาใจสามี ๆ ก็อนุญาต จึงบวช
เป็นภิกษุณีอยู่ในสำนักภิกษุณี. ภิกษุณีทั้งหลาย เห็นนางมีครรภ์ จึง ถามพระ-
เทวทัต. พระเทวทัตก็บอกว่า นางไม่เป็นสมณะ. แล้ว (ยังสงสัย) ก็ไปทูลถาม
พระทศพลเจ้า. พระศาสดารับสั่งให้พระอุบาลีเถระรับเรื่องไปวินิจฉัย. พระเถระ
เชิญตระกูลชาวกรุงสาวัตถี และนางวิสาขา อุบาสิกาให้ตรวจ (ได้ข้อเท็จจริง
แล้ว) จึงวินิจฉัยว่า นางตั้งครรภ์มาก่อน บรรพชาจึงไม่เสีย. พระศาสดา
ประทานสาธุการรับรองแก่พระเถระว่า อุบาลีวินิจฉัยอธิกรณ์ชอบแล้ว. ภิกษุณี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 403
นั้นคลอดบุตร เช่นกับหล่อด้วยแท่งทองคำ. พระเจ้าปเสนทิโกศลโปรดให้
รับทารกนั้นมาชุบเลี้ยง. พระราชทานนามว่ากัสสป ต่อมา ทรงเลี้ยง
กัสสปเติบโตพอแล้ว จึงทรงนำไปฝากไว้ยังสำนักพระศาสดาให้บรรพชา คน
ทั้งหลายจึงจำหมาย เรียกท่านว่า กุมารกัสสป เพราะเป็นบุตรเลี้ยงของพระราชา
ด้วยประการฉะนี้. วันหนึ่ง ท่านกระทำสมณธรรมอยู่ที่ป่าอันธวัน เทวดา
ผู้หวังดี จึงให้ท่านเรียนปัญหาแล้วบอกให้ท่านไปทูลถามปัญหาเหล่านี้กะพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า. พระเถระทูลถามปัญหาแล้วก็บรรลุพระอรหัต ตอนจบการ
วิสัชนาปัญหา. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะ เป็นยอดของภิกษุผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร.
คำว่า เสตพฺยา เป็นชื่อของนครนั้น. คำว่า อุตฺตเรน เสตพฺย
คือ ทิศด้านเหนือของเสตัพยนคร. คำว่า ราชญฺโ คือเจ้าผู้มิได้รับมุรธาภิเษก.
คำว่า ทิฏฺิคต ก็คือ ทิฏฐิ ความเห็นนั่นเอง. เมื่อมีคำที่กล่าวกันว่า คูถคต
มุตฺตคต ดังนี้ ของสิ่งอื่นนอกจากคูถเป็นต้น ย่อมไม่มี ฉัน ใด ทิฏฐินั่นแล
ก็คือ ทิฏฐิคตะฉันนั้น. คำว่า แม้เพราะเหตุนี้ จึงไม่มี ดังนี้ ความว่า
พระยาปายาสิกล่าวว่า ถึงจะอ้างเหตุนั้นๆ อย่างนี้ โลกอื่น ฯลฯ ก็ไม่มี. คำว่า
ปุรา ฯเปฯ สญฺาเปติ ความว่า ยังเข้าใจกันไม่ได้เพียงใด.
คำว่า อิเม โภ กสฺสป จนฺทิมสุริยา ความว่า นัยว่า พระยาปายาสิ
นั้นถูกพระเถระถามแล้ว คิดว่า สมณะผู้นี้นำเอาพระจันทร์พระอาทิตย์มาอุปมา
ก่อน จักเป็นผู้ที่คนอื่นครอบงำไว้ไม่ได้ด้วยปัญญา เช่นเดียวกับพระจันทร์
พระอาทิตย์ ก็ถ้าเราจักตอบว่า พระจันทร์พระอาทิตย์มีอยู่ในโลกนี้ สมณะผู้นี้
ก็จักทำให้เราตื่นด้วยปัญหากรรมเป็นต้นว่า พระจันทร์พระอาทิตย์เหล่านั้น
อาศัยอะไร กว้างยาวเท่าไร สูงเท่าไร เราก็ไม่สามารถจะผูกเธอไว้ได้ จัก
ตอบเธอว่า มีอยู่ในโลกอื่นเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระยาปายาสิ จึงกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 404
ตอบอย่างนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสุธาโภชนียชาดกมาเมื่อไม่นาน ก่อน
ปายาสิราชัญญสูตรนั้น. ในสุธาโภชนียชาดกนั้น พระจันทร์เป็นจันทรเทพบุตร
พระอาทิตย์เป็นสุริยเทพบุตร. ชาดกหรือพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ปรากฏรู้กันทั่วชมพูทวีป. ด้วยเหตุนั้น พระยาปายาสินั้นคิดว่า เราไม่อาจ
กล่าวว่า เทพบุตรทั้งหลายที่อยู่ประจำในดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั้นไม่มี จึงกล่าว
ตอบว่า พระจันทร์พระอาทิตย์นั้นเป็นเทวดาไม่ใช่มนุษย์.
คำว่า อตฺถิ ปน ราชญฺ ปริยาโย ความว่า พระเถระถามว่า
เหตุยังมีอยู่หรือ. คำว่า อาพาธิกา คือผู้ประกอบด้วยความเจ็บป่วย กล่าวคือ
ผู้มีเวทนาที่ไม่ถูกกัน. คำว่า ทุกฺขิตา คือถึงทุกข์. คำว่า พาฬฺหคิลานา
คือ เป็นไข้ มีประมาณยิ่ง. คำว่า สทฺธายิกา ความว่า เราเชื่อพวกท่าน ๆ
เป็นผู้ควรเชื่อ มีวาจาที่เชื่อถือได้ของเรา. คำว่า ปจฺจยิกา ความว่า เรา
ไว้ใจพวกท่าน ๆ ก็เป็นผู้ที่น่าไว้ใจ น่าเชื่อใจของเรา.
คำว่า อุทฺทิสิตฺวา ความว่า แสดงตัวและสิ่งของที่เก็บงำไว้แก่คน
เหล่านั้น ให้รับไว้. คำว่า วิปฺปลปนฺตสฺส คือ พร่ำรำพันว่า ลูกชาย
ของเรา ลูกหญิงของเรา ทรัพย์ของเรา. คำว่า นิรยปาเลสุ คือ ผู้ลงโทษ
สัตว์ในนรก. ก็คนพวกใดกล่าวว่า กรรมนั้นแหละลงโทษ นายนิรยบาลไม่มี
คนพวกนั้นก็ค้านเทวทูตสูตร ที่ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาลจับคน
ผู้นั้นดังนี้เป็นต้น. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรก เหมือนมนุษย์ผู้ลงโทษ ประจำ
ราชตระกูลในมนุษยโลก ฉะนั้น.
คำว่า เวฬุโปสิกาหิ แปลว่า ด้วยซีกไม้ไผ่. คำว่า สุนิมฺมชฺชิต
ความว่า คูถ เป็นของครูดออกด้วยดีโดยประการใด ก็ครูดออกไปโดยประการ
นั้น. อธิบายว่า จงครูดออก นำออกไปโดยประการนั้น. คำว่า อสุจิ คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 405
ไม่น่าพอใจ. คำว่า อสุจิสขโต คือ ที่เป็นส่วนไม่สะอาด หรือที่รู้กันว่า
เป็นของไม่สะอาด. คำว่า ทุคฺคนฺโธ คือกลิ่นเหม็นเหมือนซากศพ. คำว่า
ชคุจฺโฉ คือ ควรเป็นของน่ารังเกียจ. คำว่า ปฏิกูโล คือนำความขัดใจ
มาด้วยการเห็นเท่านั้น. คำว่า อุพฺพาธติ ความว่า กลิ่นของพวกมนุษย์
แม้จะเป็นจักรพรรดิ เป็นต้น ซึ่งอาบน้ำวันละ ๒ ครั้ง เปลี่ยนผ้าวัน ละ ๓ ครั้ง
ตกแต่งประดับประดาแล้ว ก็ยังคลุ้งไปเหมือนซากศพที่ห้อยคอเทวดาซึ่งอยู่ไกล
ตั้งร้อยโยชน์ คำว่า ตาวตึสาน ความว่า ท่านกล่าวอีก ด้วยอำนาจคนที่สมาทาน
ศีล ๕ มีเว้นปาณาติบาตเป็นต้น ประพฤติอยู่. และกล่าวอธิบายคำว่า แห่งเทวดา
ชั้นดาวดึงส์ว่า เทวดาผู้เกิดในที่ไกล อย่ามาก่อนเพราะเหตุไร เทวดา เหล่านี้
จึงไม่มา. คำว่า ชจฺจนฺธูปโม มญฺเ ปฏิภาสิ คือ ปรากฏประหนึ่ง
คนตาบอด แต่กำเนิด.
คำว่า อรญฺญฺวนปฏฺานิ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าอรัญ เพราะประกอบ
ด้วยองคคุณของผู้อยู่ป่า ที่ชื่อว่าแนวป่า เพราะเป็นแนวป่าใหญ่. คำว่า ปนฺตานิ
คือไกล. คำว่า กลฺยาณธมฺเม คือมีธรรมอันดี เพราะศีลนั้นนั่นแหละ. คำว่า
ทุกฺขปฏิกูเล คีอผู้ไม่ปรารถนาทุกข์. คำว่า เสยฺโย ภวิสฺสติ อธิบายว่า จัก
มีสุคติสุข ในโลกอื่น. คำว่า อุปวิชญฺา คือ เวลาคลอดใกล้เข้ามาแล้ว ครรภ์
แก่แล้ว. อธิบายว่า จักคลอดไม่นานเทียว. บทว่า อุปโภคา ภวิสฺสติ คือ
จักเป็นนางบำเรอ. บทว่า อนยพฺยสน ได้แก่ ทุกข์ใหญ่. สุขชื่อว่า อยะ
ไม่ใช่อยะ ชื่อว่าอนยะ คือทุกข์ ทุกข์นั่นนั้น ย่อมขับ คือ เขี่ยสุขออกไป
โดยประการทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ พยสนะ พยสนะ คือทุกข์
ชื่อว่า อนพยสนะ อธิบายว่า ทุกข์ใหญ่ ด้วยประการ ฉะนี้. คำว่า อโยนิโส
คือโดยไม่ใช่อุบาย. คำว่า อปกฺก น ปริปาเจนฺติ อธิบายว่า เข้าไปตัดอายุ
ที่ยังไม่เปลี่ยน ยังไม่สิ้นให้ขาดในระหว่าง หามิได้. คำว่า ปริปาก
อาคเมนฺติ คือรอเวลาที่อายุงอม. แม้ท่านพระธรรมเสนาบดีก็กล่าวไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 406
นาภินนฺทามิ มรณ นาภิกงฺขามิ ชีวิต
กาลญฺจ ปฏิกงฺขามิ นิพฺเพส ภฏโก ยถา
เราไม่ยินดีความตาย ไม่ปรารถนา
ความเป็น แต่เรารอเวลา (แตกดับ ) เหมือน
ลูกจ้างรอค่าจ้างฉะนั้น.
คำว่า อุพฺภินฺทิตฺวา คือ กระเทาะดินที่ยาไว้. คำว่า. รามเณยฺยก คือ
น่ารื่นรมย์. คำว่า เจลาวิกา คือ เด็กหญิงที่ง่วนด้วยการเล่น. คำว่า โกมาริกา
คือ เด็กหญิงวัยรุ่น. คำว่า ตุยฺห ชีว ความว่า หญิงเหล่านั้นแล เห็นชีวะที่
ออกไป ที่เข้าไป ขณะที่ท่านพระยาฝันเห็นบ้างไหม. พระเถระถือว่า ชีวะเป็น
อาการเที่ยวไปแห่งจิต จึงกล่าวไว้ในที่นี้. ก็ท่านมีความเข้าใจในอาการเที่ยว
ไปแห่งจิตนั้นว่าชีวะ.
คำว่า ชิยาย ความว่า รัดชีวะไว้ด้วยสายธนู. คำว่า ปตฺถินฺนตโร
กระด้าง คือ แข็งทื่อ. พระยาปายาสิแสดงอะไรด้วยคำนี้. พระปายาสิแสดง
ความข้อนี้ว่า ท่านทั้งหลาย กล่าวว่า เวลายังเป็นอยู่ สัตว์มีขันธ์ ๕ แต่เวลา
ตายเหลืออยู่เพียงรูปขันธ์เท่านั้น ขันธ์ ๓ ก็เป็นไปไม่ได้ วิญญาณขันธ์ก็ไป รูป
ขันธ์ที่ยังเหลือ ควรจะเบา แต่กลับหนัก เพราะฉะนั้น อะไร ๆ ไปที่ไหน
ไม่มีดังนี้. คำว่า นิพฺพุต คือมี เตโชธาตุ อันสงบแล้ว.
คำว่า อนุปหจฺจ คือไม่ให้เสียหาย. คำว่า อทฺธมโต โหติ คือเริ่ม
ตายช้า ๆ คำว่าโอธุนาถ แปลว่า ลากมาข้างนี้. คำว่า สนฺธุนาถ แปลว่า
ลากไปข้างโน้น. คำว่านิทฺธุนาถ แปลว่า ลากไปลากมา. คำว่า ตญฺจายตน
น ปฏิสเวเทติ ความว่า รูปายตนะนั้น ไม่รู้แจ้งด้วยจักษุนั้น. ทุกบทก็นัยนี้.
คำว่า สงฺขธโม แปลว่า คนเป่าสังข์. คำว่า อุปฬาสิตฺวา แปลว่า เป่า.
คำว่า อคฺคิโก แปลว่า ผู้บำเรอไฟ. คำว่า อาปาเทยฺย คือ พึงให้
สำเร็จ หรือพึงถึงอายุ. คำว่า โปเสยฺย คือ พึงเลี้ยงด้วยโภชนะ เป็นต้น.
คำว่า วฑฺเฒยฺย คือ พึงถึงความเติบโต. คำว่า อรณีสหิต คือ คู่ไม้สีไฟ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 407
คำว่า ติโรราขาโน พระราชาภายนอก ความว่า พระราชาทั้งหลาย
ในภายนอกแคว้น คือในชนบทอื่น ก็รู้. คำว่า อพฺยตฺโต คือ ผู้ไม่มีปัญญา
กล้า ผู้ไม่ฉลาด. คำว่า โกเปนปิ ความว่า คนเหล่าใด กล่าวกะเราอย่างนี้
ข้าพเจ้าก็จักชัก จักนำ จักพาเขา ซึ่งมีทิฏฐิอย่างนั้นเที่ยวไป ด้วยความโกรธ
ที่เกิดในคนเหล่านั้น. คำว่า มกฺเขน ด้วยมักขะ คือ ความลบหลู่ ที่มีลักษณะ
ลบหลู่เหตุที่ท่านกล่าวแล้ว. คำว่า ปลาเสน ด้วยปลาสะ คือ ความตีตนเสมอ
อันมีลักษณะที่ถือว่าเป็นคู่ (เคียง) กับท่าน.
คำว่า หรีตกปณฺณ ในสมอ คือ สมอ ชนิดใดชนิดหนึ่ง. อธิบายว่า
โดยที่สุด แม้ใบหญ้าอ่อนก็ไม่มี. คำว่า อาสนฺนทฺธกลาป คือ ผู้มีแล่งธนูอัน
ผูกสอดไว้แล้ว. คำว่า อาสิตฺโตทกานิ วฏุมานิ คือ หนทางและห้วยละ
หาร มีน้ำบริบูรณ์. คำว่า โยคฺคานิ คือ ยานเทียมโคงาน. คำว่า พหุนิกฺข-
นุตโร ความว่า ออกไปมาก ออกไปนานแล้ว. คำว่า ยถาภเตน ภณฺเฑน
ความว่า สิ่งของ คือหญ้าไม้และน้ำอันใด ที่พวกท่านบรรทุกมา ก็จงยังหมู่
เกวียนให้เป็นไป ด้วยสิ่งของที่ท่านนำมา บรรทุกมา พามา นั้นเถิด. คำว่า
อปฺปสารานิ คือมีค่าน้อย. คำว่า ปณิยานิ แปลว่า สิ่งของทั้งหลาย.
คำว่า มม จ สูกรภตฺต ความว่า นี้เป็นอาหารแห่งสุกรทั้งหลาย ของ
ข้าพเจ้า. คำว่า อุคฺฆรนฺต แปลว่า ไหลขึ้น. คำว่า ปคฺฆรนฺต แปลว่า ไหล
ลง. คำว่า ตุมฺเห เขฺวตฺถ ภเณ แปลว่า แนะพนาย พวกท่านต่างหาก เป็นบ้า
เสียจริต ในเรื่องนี้. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. คำว่า ตถา หิ ปน
เม สูกรภตฺต แปลว่า แต่ถึงอย่างนั้น คูถนี้ก็เป็นอาหารแห่งสุกรทั้งหลายของ
ข้าพเจ้า.
คำว่า อาคตาคตฺ กลึ แปลว่า กลืนเบี้ยแพ้ที่ทอดมาถึง ๆ เสีย. คำว่า
ปโชหิสฺสามิ ความว่า ข้าพเจ้าจักกำการเส้น จักทำการบวงสรวง. คำว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 408
อกฺเขหิ ทุพฺพิสฺสามิ แปลว่า จักเล่นด้วยลูกสะกาทั้งหลาย คือเล่นด้วยลูกบาด
ทั้งหลาย.
คำว่า ลิตฺต ปรเมน เตชสา แปลว่า ที่อาบด้วยยาพิษมีฤทธิ์ร้ายแรง.
ประเทศแห่งบ้านที่อยู่ ท่านเรียก คามปัชชะ บาลีว่า คามปท ก็มี.
ความก็อย่างนี้เหมือนกัน. คำว่า ห่อป่าน คือ ห่อเปลือกป่าน. คำว่า สุสนฺนทฺ-
โธ แปลว่า ผูกไว้ ดีแล้ว. คำว่า ตฺว ปชานาหิ แปลว่า ท่านจงรู้. อธิบายว่า
ท่านจงรับไว้ ถ้าท่านต้องการจะถือเอา ก็ถือเอาได้. คำว่า โขม แปลว่า เปลือก
ไม้. คำว่า อยส แปลว่า เหล็ก (โลหะดำ). คำว่า โลห แปลว่า ทองแดง
(โลหะแดง) คำว่า สชฺฌุ แปลว่า เงิน. คำว่า สุวณฺณ แปลว่าทองมาสก.
คำว่า อภินนฺทึสุ แปลว่า ยินดีแล้ว.
คำว่า อตฺตมโน แปลว่า มีใจของตน คือมีจิตยินดีแล้ว. คำว่า
อภิลทฺโธ แปลว่า เลื่อมใสยิ่งแล้ว. คำว่า ปญฺหปฏิภาณาน แปลว่า ความ
ปรากฏชัดแห่งปัญหา. คำว่า ปจฺจนีก กาตพฺพ ความว่ากระทำประหนึ่งว่า
เป็นข้าศึก คือผู้ทำผิด ๆ. คำว่า อวมฺิสฺส ความว่า ยืนหยัดถือกลับกันเสีย.
คำว่า สงฺฆาต อาปชฺชนฺติ แปลว่า ถึงฆาต พินาศ มรณะ. คำว่า
น มหปฺผโล ความว่า ไม่มีผลมากโดยผลวิบาก. คำว่า น มหานิสโส ความ
ว่า ไม่มีอานิสงส์มาก โดยอานิสงส์คือคุณ. คำว่า น มหาชุติโก ความว่า ไม่มี
ความรุ่งเรือง โดยความรุ่งเรืองด้วยอานุภาพ. คำว่า น มหาวิปฺผาโร ความ
ว่า ไม่มีความแผ่ไพศาล โดยความแผ่ไปแห่งวิบาก. คำว่า พีชนงฺคล
แปลว่า พืช (เมล็ดพันธุ์) และไถ. คำว่า ทุกฺเขตฺเต แปลว่า ในนาเลว นาไร้
สาระ. คำว่า ทุพฺภูเม แปลว่า พื้นดินไม่สม่ำเสมอ. คำว่า ปติฏฺาเปยฺย แปลว่า
พึงทรงไว้. คำว่า ขณฺฑานิ คือ หักและแตก. คำว่า ปูตีนิ คือ ไร้สาระ.
คำว่า วาตาตปหตานิ คือ ถูกลมและแดดกระทบอบอ้าว. คำว่า อสารทานิ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 409
คือ เขียวสด จนเว้นที่จะให้เมล็ดข้าวสารได้. คำว่า อสุขสยิตานิ คือ พืช
เหล่าใด ที่เขาทำให้แห้งแล้ว เกลี่ยไว้ในยุ้งฉาง พืชเหล่านั้น ชื่อว่าสุขสยิต.
แต่พืชเหล่านั้นไม่เป็นเช่นนั้น. คำว่า น อนุปฺปเวจฺเฉยฺย คือ ฝนไม่หลั่ง
ลงมา คือ ไม่ตกโดยชอบ (ถูกต้องตามฤดูกาล). อธิบายว่า ไม่ตกทุก
กึ่งเดือน ทุกสิบวัน ทุกห้าวัน. คำว่า อปิ นุ ตานิ ความว่า เมื่อนามี
พืชแลฝนเป็นโทษอยู่อย่างนี้ พืชเหล่านั้น จะพึงเติบโตสูงขึ้น งอกงามลงราก
และแผ่ไพบูลย์โดยรอบ ด้วยหน่อรากและใบเป็นต้น ได้หรือ. คำว่า เอวรูโป
โข ราชญฺ ยญฺโ ความว่า ดูก่อนท่านพระยา ท่านเห็นปานนี้ ย่อมไม่มี
ผลมาก เพราะไม่บริสุทธิ์โดยปัจจัยที่การทำร้ายผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้นบ้าง โดย
ทายกบ้าง โดยปฏิคาหกบ้าง. คำว่า เอวรูโป โข ราชญฺ อญฺโ ความว่า
ดูก่อนท่านพระยา ทานเห็นปานนี้ ย่อมมีผลมาก โดยปัจจัยที่เกิดขึ้น เพราะ
การไม่ทำร้ายผู้อื่นบ้าง โดยทายกผู้มีศีลเพราะไม่ทำร้ายผู้อื่นบ้าง โดยปฏิคาหก
ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นบ้าง. ก็ถ้าทาน ได้ปฏิคาหกผู้ออกจาก
นิโรธ ยิ่งยวดด้วยคุณ (คุณาติโรกสัมปทา) และเจตนาของทายก ไพบูลย์ไซร้
ก็จะให้วิบากทันตาเห็นทีเดียว. ก็ท่านพระยาปายาสิ สดับธรรมกถาของพระเถระ
นิมนต์พระเถระถวายมหาทาน ๗ วัน ตั้งทานประจำแก่คนทั้งปวงตั้งแต่นั้นมา.
ท่านหมายถึงทานนั้น จึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระยาปายาสิเป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาณาชิก คือข้าวที่หุงจากข้าวสารหักมีรำ.
คำว่า พิลงฺคทุติย แปลว่า มีน้ำส้ม (พะอูม) เป็นที่สอง. คำว่า โจรกานิ
จ วตฺถานิ แปลว่า ผ้าที่มีเส้นด้ายหยาบ. คำว่า คุฬวาลกานิ คือ ผ้าที่คลุก
ชิ้นน้ำอ้อยงบ อธิบายว่า ผ้าผืนใหญ่ที่วางไว้เป็นกอง ๆ. คำว่า เอวมนุทฺทิสติ
คือ ชี้แจงไว้อย่างนี้. คำว่า ปาทหาปิ แปลว่า แม้ด้วยเท้า. คำว่า กสกฺกจฺจ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 410
คือ เว้นศรัทธา ให้ทานด้วยไม่มีศรัทธา. คำว่า อสหตฺถา. แปลว่า ไม่ใช่
ด้วยมือของตนเอง. คำว่า อจิตฺ ตีกต คือเว้นการกระทำความยำเกรงให้ทาน.
เข้าไปตั้งการกระทำความยำเกรง หามิได้ ให้ทานกระทำให้ประณีตหามิได้.
คำว่า อปวิทฺธ คือ ทิ้งขว้างตกแตกเรี่ยราด. คำว่า สฺุ เสรีสก ความว่า
เข้าไปสู่วิมานเงินที่ว่างเปล่า วิมานหนึ่ง ชื่อเสรีสกะ. นัยว่า มีต้นซึกขนาดใหญ่
อยู่ใกล้ประตูวิมานนั้น เพราะเหตุนั้น วิมานนั้นจึงเรียกกันว่า เสรีสกะ.
เรื่องท่านพระควัมปติ
เล่ากันว่า พระเถระ เป็นหัวหน้าเด็กเลี้ยงโค ในมนุษยโลก ในชาติ
ก่อน แผ้วถางโคนต้นซึกขนาดใหญ่ เกลี่ยทรายไว้ นิมนต์พระเถระผู้ถือ
ปิณฑปาติกธุดงค์รูปหนึ่ง ให้นั่งที่โคนต้น ถวายอาหารที่ตนได้มา จุติจากมนุษย์
โลกนั้น ไปบังเกิดในวิมานเงินนั้น ด้วยอานุภาพของบุญนั้น. ต้นซึกตั้งอยู่ใกล้
ประตูวิมาน. ๕๐ ปี ต้นซึกนั้นจึงผลิตผล. แต่นั้นเทพบุตรก็ถึงความสลดใจว่า
ล่วงไป ๕๐ ปีแล้ว. สมัยต่อมา เทพบุตรนั้นไปบังเกิดในหมู่มนุษย์ ในสมัยของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ฟังธรรมกถาของพระศาสดา ก็บรรลุพระอรหัต.
แต่ด้วยอำนาจความเคยชิน พระเถระก็ไปยังวิมานนั้นนั่นแหละอยู่เนือง ๆ เพื่อ
พักกลางวัน. นัยว่าวิมานนั้น เป็นที่มีสุขตามฤดูกาล ของพระเถระนั้น ท่าน
หมายเอาเหตุอันนั้น จึงกล่าวว่า สมัยนั้นแล ท่านพระควัมปติ ดังนี้เป็นต้น.
คำว่า โส สกฺกจฺจ ทาน ทตฺวา ความว่า อุตตรมานพนั้น ให้ทานแม้
เป็นของ ๆ ผู้อื่นก็โดยเคารพ. คำว่า เอวมาโรเจหิ ความว่า ท่านจงบอก
(มนุษย์) ด้วยนัยเป็นต้นว่า ท่านทั้งหลายจงให้ทานโดยเคารพ ดังนี้. ก็แล
มหาชนฟังการบอกกล่าวของพระเถระนั้นแล้ว ก็ให้ทานโดยเคารพไปบังเกิด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 411
ในเทวโลก. ส่วนนางบำเรอ (ปริจาริกา) ของพระยาปายาสิ. แม้ให้ทานโดย
เคารพ ก็ไปบังเกิดในสำนักของพระยาปายาสินั่นแล ด้วยอำนาจความปรารถนา
นัยว่าเสรีสกวิมานนั้น เป็นวิมานสำหรับเทพผู้จาริกมาแต่ทุกทิศมีอยู่ในดงชื่อ
วัฏฏนี (ลับแล). ก็ในวันหนึ่ง ปายาสิเทพบุตรแสดงตัวแก่เหล่าพ่อค้าทั้งหลาย
แล้วกล่าวกรรมที่ตนกระทำไว้แล้วแล.
จบอรรถกถาปายาสิราชัญญสูตรที่ ๑๐ แห่งอรรถกถาทีมนิกาย ชื่อ
สุมังคลวิลาสินี ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถามหาวรรค
รวมพระสูตรในเล่มนี้
๖. มหาโควินทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๗. มหาสมัยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๘. สักกปัญหสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๙. มหาสติปัฏฐานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
ตั้งแต่มหาปทานสูตรถึงปายาสิราชัญญสูตรนี้
รวมเรียกว่า มหาวรรค
จบ มหาวรรค