พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
เล่มที่ ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. พรหมชาลสูตร
เรื่องทิฏฐิ ๖๒
(๑) ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จดำเนินทางไกลระหว่าง
กรุงราชคฤห์ และ เมืองนาลันทา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ
๕๐๐ รูป. แม้ สุปปิยปริพาชก ก็เดินทางไกลระหว่าง กรุงราชคฤห์
และ เมืองนาลันทา พร้อมด้วยพรหมทัตตมาณพผู้เป็นอันเตวาสิก.
ได้ยินว่า ในระหว่างทางนั้น สุปปิยปริพาชก กล่าวติพระพุทธเจ้า
ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย. ส่วนพรหมทัตตมาณพ
อันเตวาสิกของสุปปิยปริพชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม
ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย. อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนั้น มี
ถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันและกันโดยตรงฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้า
และภิกษุสงฆ์ไปข้างหลัง ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 2
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าประทับพักแรมราตรีหนึ่ง
ณ พระตำนักหลวงในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา พร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์. แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เข้าพักแรมราตรีหนึ่ง ใกล้พระตำหนักหลวง
ในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา กับพรหมทัตตมาณพผู้เป็นอันเตวาสิก.
ได้ยินว่า แม้ ณ ที่นั้น สุปปิยปริพาชกก็ยังกล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระ
ธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย. ส่วนพรหมทัตตมาณพ
อันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก คงกล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม
ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย. อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนั้น มี
ถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันและกันโดยตรงฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้า
และภิกษุสงฆ์ไปข้างหลัง ๆ.
ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง นั่งประชุมกัน ณ
โรงกลม สนทนากันว่า ท่านทั้งหลาย เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ผู้เห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบความที่หมู่สัตว์มี
อัธยาศัยต่าง ๆ กันได้เป็นอย่างดีนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ความจริง
สุปปิยปริพาชกผู้นี้ กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดย
อเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตมาณพ อันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก
กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย
อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนี้ มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันและกันโดยตรง
ฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลัง ๆ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบคำสนทนาของภิกษุ
เหล่านั้นแล้ว เสด็จไปยังโรงกลมประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย.
ครั้นประทับนั่งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 3
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันถึงเรื่องอะไร และ
เรื่องอะไรที่พวกเธอพูดค้างไว้. เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า พระเจ้าข้า ณ ที่นี้เมื่อพวกข้าพระองค์
ลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง นั่งประชุมกันอยู่ที่โรงกลม สนทนากันว่า ท่าน
ทั้งหลาย เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ผู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบความที่หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่าง ๆ กันได้
เป็นอย่างดีนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ความจริง สุปปิยปริพาชกผู้นี้
กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม หรือติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย
ส่วนพรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระ
พุทธเจ้า ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์
และอันเตวาสิกทั้งสองนี้ มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันและกันโดยตรงฉะนี้
เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลัง ๆ พระเจ้าข้า เรื่อง
นี้แล ที่พวกข้าพระองค์พูดค้างไว้ พอดีพระองค์เสด็จมาถึง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่น
จะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม หรือติพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่
ควรทำความอาฆาต โทมนัส แค้นใจในคนเหล่านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คนเหล่าอื่นพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ก็ตาม ถ้าเธอทั้งหลาย
จักขุ่นเคือง หรือจักน้อยใจในคนเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น อันตรายพึงมี
แก่เธอทั้งหลายนี่แหละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าว
ติเรา ติพระธรรม หรือติพระสงฆ์ ก็ตาม ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง
หรือจักน้อยใจในคนเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรู้คำที่เป็นสุภาษิต ของคน
เหล่าอื่นได้ละหรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 4
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าว
ติเรา ติพระธรรม หรือติพระสงฆ์ ก็ตาม ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่
ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่า นั่นไม่จริง
แม้เพราะเหตุนี้ นั่นไม่แท้แม้เพราะเหตุนี้ แม้ข้อนั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย
และในเราทั้งหลายก็ไม่มีข้อนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม
หรือชมพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรทำความเพลิดเพลิน
ดีใจ เบิกบานใจในคำชมนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่น
พึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ก็ตาม ถ้าเธอทั้งหลาย
จักเพลิดเพลิน ดีใจ เบิกบานใจในคำชมนั้น ด้วยเหตุนั้น อันตราย
พึงมีแก่เธอทั้งหลายนี่แหละ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม
หรือชมพระสงฆ์ก็ตาม ในคำที่เขากล่าวชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลาย
ควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริงแม้เพราะเหตุนี้ แม้ข้อ
นั่นก็มีในเราทั้งหลาย และในเราทั้งหลายก็มีข้อนั้น.
จุลศีล
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึง
กล่าวด้วยประการ นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคต. . . เพียงศีลนั้นเป็น
ไฉน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 5
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชม
ตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
๑. พระสมณโคดม ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
วางทัณฑะ วางสาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา
หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.
๒. พระสมณโคดม ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลัก
ทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็น
ขโมย เป็นคนสะอาดอยู่.
๓. พระสมณโคดม ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลเว้นจากเมถุน ซึ่งเป็นเรื่องของ
ชาวบ้าน.
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าว
ชมตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
๔. พระสมณโคดม ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ
พูดคำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อ ไม่พูดลวง
โลก.
๕. พระสมณโคดม ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด
ฟังจากข้างนี้แล้วไม่บอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกกัน หรือฟังจาก
ข้างโน้นแล้วไม่บอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกกัน สมานคนที่แตกกัน
แล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนที่พร้อมเพรียง
กัน ยินดีในคนที่พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนที่พร้อมเพรียงกัน
กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 6
๖. พระสมณโคดม ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ
กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นคำของ
ชาวเมือง คนโดยมากรักใคร่ ชอบใจ.
๗. พระสมณโคดม ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ
พูดถูกกาล พูดคำจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำมี
หลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาล
อันควร.
(๕) ๘. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพรากพืชคามและ
ภูตคาม.
(๖) ๙. พระสมณโคดม ฉันอาหารหนเดียว เว้นการฉันใน
ราตรี งดการฉันในเวลาวิกาล.
๑๐. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องประโคม
ดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก.
๑๑. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการทัดทรงประดับตกแต่ง
ร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว ซึ่งเป็นฐานแห่ง
การแต่งตัว.
๑๒. พระสมณโคดม เว้นขาดจากที่นอนที่นั่งสูง และที่
นอนที่นั่งใหญ่.
๑๓. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
(๗) ๑๔. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับธัญญชาติดิบ.
๑๕. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
๑๖. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับสตรีและเด็กหญิง.
๑๗. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 7
๑๘. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
๑๙. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
๒๐. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และ
ลา.
๒๑. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับนาและไร่.
(๘) ๒๒. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเป็นทูตและการ
รับใช้.
๒๓. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการซื้อและการขาย.
๒๔. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การ
โกงด้วยโลหะ และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.
๒๕. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง
และการตลบตะแลง.
๒๖ พระสมณโคดม เว้นขาดจากการฟัน การฆ่า การ
จองจำ การตีชิง การปล้น การจี้.
จบจุลศีล
มัชฌิมศีล
(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชม
ตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
๑. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูต-
คาม อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 8
แล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคามเห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ
พืชเกิดแต่เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิด
แต่เมล็ด เป็นที่ห้า.
(๑๐) ๒. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการบริโภคของที่สะสมไว้
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้เห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือสะสมข้าว
สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่องประเทืองผิว
สะสมของหอม สะสมอามิส.
(๑๑) ๓. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเล่นที่เป็นข้าศึกแก่
กุศล อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่น ที่เป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้อยู่
เนือง ๆ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคม มหรสพมีการรำ
เป็นต้น การเล่านิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง
ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง
การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ
ชนไก่ ชนนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ สนามรบ
การตรวจพล การจัดกระบวนทัพ การดูกองทัพ.
(๑๒) ๔. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการ
พนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบาง
จำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายเล่นการพนัน อัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ เล่นหมากรุกแถว
ละแปดตา แถวละสิบตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 9
โยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกา เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถนา
น้อย ๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อย ๆ เล่น
ธนูน้อย ๆ เล่นทายอักษร เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ.
(๑๓) ๕. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่ง
ที่นอนอันสูงใหญ่ อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉัน โภชนะที่เขา
ให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงให้เห็นปานนี้อยู่
เนือง ๆ คือเตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย พรม
ทำด้วยขนสัตว์ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะอันสวยงาม เครื่องลาดทำด้วย
ขนแกะสีขาว เครื่องลาดทำด้วยขนแกะเป็นรูปดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น
เครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ต่าง ๆ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ
มีขนตั้ง เครื่องลาดทำด้วยขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทำด้วยทอง
และเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะ
และจุหญิงฟ้อนได้ ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า
เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังเสือ เครื่องลาดอย่างดี ที่ทำ
ด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนสองข้าง.
(๑๔) ๖. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการประดับตกแต่ง
ร่างกาย อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประดับตกแต่งร่างกายเห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ
อบตัว ไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้
ประเทืองผิว ผัดหน้า ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า
ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้มีดสองคม ใช้ร่ม สวมรองเท้าสวยงาม ติด
กรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวีชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชายยาว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 10
(๑๕) ๗. พระสมณโคดม เว้นขาดจากติรัจฉานกถา อย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยัง
ประกอบดิรัจฉานกถาเห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร
เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องสงคราม เรื่องข้าว เรื่องน้ำ
เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน
เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ
เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่อง
เบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วย
ประการนั้น ๆ.
(๑๖) ๘. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพูดแก่งแย่งกัน
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังพูดแก่งแย่งกันเห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้
ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด
ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก คำพูดของข้าพเจ้ามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์
คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง คำที่ควรจะกล่าวทีหลัง ท่านกล่าว
ก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาได้ผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของ
ท่านได้ ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไข
เสีย ถ้าสามารถ.
(๑๗) ๙. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเป็นทูต และการ
รับใช้ อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังขวนขวายประกอบการเป็นทูตและการรับใช้เห็นปานนี้อยู่
เนือง ๆ คือรับเป็นทูตของพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา กษัตริย์
พราหมณ์ คฤหบดี และกุมารว่า จงไปที่นี้ จงไปที่โน้น จงนำเอาสิ่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 11
นี้ไป จงนำเอาสิ่งในที่โน้นมา ดังนี้.
(๑๘) ๑๐. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพูดหลอกลวง และ
การพูดเลียบเคียง อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขา
ให้ด้วยศรัทธาแล้ว พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหา
ด้วยลาภ.
จบมัชฌิมศีล
มหาศีล
(๑๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชม
ตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
๑. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทาง
ผิดด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่
เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้
คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ
ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธี
ซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธี
เติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำ
พลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะพื้นที่ ดูลักษณะที่ไร่นา
เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็น
หมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด
เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 12
เสกกันลูกศร เป็นหมอดูรอยเท้าสัตว์
(๒๐) ๒. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทาง
ผิดด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉัน โภชนะที่
เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้
คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะผ้า ทาย
ลักษณะศาสตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทาย
ลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร
ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง
ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค
ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนก
กระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะช่อฟ้า ทายลักษณะเต่า ทาย
ลักษณะมฤค.
(๒๑) ๓. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขา
ให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระ
ราชาภายในจักเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอก
จักเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระ
ราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายในจัก
ปราชัย พระราชาพระองค์นี้จักมีชัย พระราชาพระองค์นี้จักปราชัย
เพราะเหตุนี้ หรือเหตุนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 13
(๒๒) ๔. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทาง
ผิดด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉัน โภชนะที่
เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้
คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง
ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาด
จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และ
ดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาว
นักษัตรจักกระจ่าง จันทรคราสจักมีผลอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลอย่างนี้
นักษัตรคราสจักมีผลอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผล
อย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลอย่างนี้ ดาวนักษัตร
เดินถูกทางจักมีผลอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลอย่างนี้ อุกกา-
บาตจักมีผลอย่างนี้ ดาวหางจักมีผลอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลอย่างนี้
ฟ้าร้องจักมีผลอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผล
อย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลอย่างนี้ ดวง
จันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลอย่างนี้ ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลอย่างนี้.
(๒๓ ) ๕. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขา
ให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 14
พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษา
หาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญ
หาโรคมิได้ หรือนับคะแนน คำนวณ นับประมวล แต่งกาพย์ โลกายต-
ศาสตร์.
(๒๔) ๖. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขา
ให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้
คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์
หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้
ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้
มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรง
หญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้าบวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม
ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ.
(๒๕) ๗. พระสมณะโคดมเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด
ด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่
เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้
คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำ
พิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธี
บูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยา
ถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 15
ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษา
เด็ก ใส่ยา ชะแผล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคตด้วยประการใด
ซึ่งมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีลนั้น เท่านั้นแล.
จบมหาศีล
ทิฏฐิ ๖๒
(๒๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีธรรมอย่างอื่นอีกแล ที่ลึกซึ้ง
เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนไม่ได้ ละเอียด รู้ได้
เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้
รู้แจ้ง อัน เป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดย
ชอบ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่านั้น ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ที่
ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็น
เหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ เหล่านั้น
เป็นไฉน.
ก. ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘
(๒๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนด
ขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ. ก็สมณพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 16
ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มี
ความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยวัตถุ ๑๘
ประการ.
สัสสตทิฏฐิ ๔
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะว่า เที่ยง
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ ๔ ประการ. ก็สมณพราหมณ์
ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติ
อัตตาและโลก ว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ ๔ ประการ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบ
เนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัส
เจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น (บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง
ยียวน ปราศจากอุปกิเลส ) ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้
หลายประการ คือ ระลึกชาติได้ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ
บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
หลายร้อยชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวย
ทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิด
ในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิว
พรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 17
อายุเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ ตามระลึกถึงขันธ์ที่
เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ
ฉะนี้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง เป็นหมัน ตั้งมั่นดุจ
ยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป
ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้.
ข้อนี้เพราะเหตุไร.
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบ จึงสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกชาติได้
ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบ
ชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพัน
ชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตร
อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่าง
นั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ใน
กาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. ด้วย
การบรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง เป็น
หมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 18
ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคง
มีอยู่แท้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ที่สมณพราหมณ์พวก
หนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก
ว่าเที่ยง.
(๒๘) ๒. อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบ
เนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัส
เจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาล
ก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้
สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง
ว่า ในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้น
จุติจากกัปนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มี
โคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้มาเกิดในกัป
นี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้ง
อาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง
เป็นหมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์
เหล่านั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยง
เสมอคงมีอยู่แท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 19
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบแล้ว สัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกถึงขันธ์ที่
เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง
สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง ว่ากัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี
กำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ใน
กัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร
อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติ
จากกัปนั้นแล้ว ได้มาเกิดในกัปนี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาล
ก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. ด้วย
การสัมผัสคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง เป็นหมัน
ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ดังอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อม
แล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมี
อยู่แท้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ที่สมณพราหมณ์พวก
หนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก
ว่าเที่ยง.
(๒๙) ๓. อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 20
เนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัส
เจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาล
ก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบ
สังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามี
ชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้น
แล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี
กำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้มาเกิดในกัปนี้ ย่อมระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ
พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง เป็น
หมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้น
ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ
คงมีอยู่แท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร.
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึง
ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง
สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มี
ผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 21
นั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น
แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มี
อาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติ
จากกัปนั้นแล้วได้มาเกิดในกัปนี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาล
ก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. ด้วย
การสัมผัสคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง เป็นหมัน
ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้น
ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคง
มีอยู่แท้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ ที่สมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและ
โลก ว่าเที่ยง.
(๓๐) ๔. อนึ่ง ในฐานะที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็น
นักตรึก เป็นนักตรอง กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่
ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง เป็นหมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยว
ไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว
ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและ
โลก ว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ ๔ นี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 22
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีวาทะว่า
เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อม
บัญญัติด้วยวัตถุ ๔ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนี้
นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
วาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมี
คติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้น
ชัด และรู้ชัดยิ่งไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย และ
เมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทของตนเอง รู้ความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษแห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจาก
เวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึง
หลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตาม
ได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะ
บัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้
รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าชมตถาคตตามความเป็นจริง
โดยชอบ.
จบภาณวารที่หนึ่ง
เอกัจจสัสสตทิฏฐิ ๔
(๓๑) ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ
ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 23
เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยวัตถุ ๔. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น
อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ด้วยวัตถุ ๔.
๕.๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บางครั้งบางคราวมีสมัยที่โลกนี้พินาศ
โดยล่วงไปช้านาน เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ เหล่าสัตว์โดยมากย่อมเกิดใน
ชั้นอาภัสสรพรหม. สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มี
รัศมีในตัวเอง เที่ยวไปในอากาศ อยู่ในสถานที่สวยงาม ดำรงอยู่ในภพ
นั้นตลอดกาลช้านาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บางครั้งบางคราวมีสมัยที่
โลกนี้กลับเจริญโดยล่วงไปช้านาน เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ ปรากฏว่าวิมาน
พรหมว่างเปล่า. ครั้งนั้น สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหม
เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่ว่างเปล่า. แม้
สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเอง เที่ยวไปใน
อากาศได้ อยู่ในสถานที่สวยงาม ดำรงอยู่ในภพนั้นตลอดกาลช้านาน.
เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในภพนั้นแต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสัน
ดิ้นรนขึ้นว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง.
ต่อมาสัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือ
เพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงพรหมวิมาน อันเป็นสหายของสัตว์ผู้นั้น.
แม้สัตว์เหล่านั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเอง
เที่ยวไปในอากาศได้ อยู่ในสถานที่สวยงาม ดำรงอยู่ในภพนั้น
ตลอดกาลช้านาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์
ที่เกิดก่อนมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็น
ใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นอิสระ เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 24
ผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้มีอำนาจ
เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว และกำลังเป็น สัตว์เหล่านี้เราเนรมิตขึ้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะเราได้มีความคิดอย่างนี้มาก่อนว่า โอหนอ
แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง. ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้
และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว.
แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลัง ก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
นี้แลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้
เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ
เป็นผู้บงการ เป็นผู้มีอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว และกำลัง
เป็น พวกเราอันพระพรหมผู้เจริญองค์นี้เนรมิตแล้ว. ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะพวกเราได้เห็นพระพรหมผู้เจริญองค์นี้ เกิดในที่นี้ก่อน
ส่วนพวกเราเกิดมาภายหลัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ที่เกิดก่อน มีอายุ
ยืนกว่า มีผิวพรรณงามกว่า มีศักดิ์ใหญ่กว่า ส่วนสัตว์ที่เกิดภายหลังมี
อายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง จุติจากหมู่นั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้
เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัย
ความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท
อาศัยมนสิการโดยชอบแล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ เกินกว่านั้นไประลึก
ไม่ได้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ใดแลเป็นพรหมผู้เจริญ เป็นมหาพรหม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 25
เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นอิสระ เป็น
ผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้มีอำนาจ
เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พระพรหมผู้เจริญใดเนรมิต
พวกเรา พระพรหมผู้เจริญนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่
แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้นทีเดียว. ส่วน
พวกเราที่พระพรหมผู้เจริญเนรมิตแล้วนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยังยืน มีอายุ
น้อย มีความเคลื่อนเป็นธรรมดาจึงมาเป็นอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ ๑ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมี
วาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าบาง
อย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
(๓๒) ๕.๒ อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ๆ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะ เทวดาพวกนั้น
พากันหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกิน
เวลา. เมื่อเทวดาพวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือ การ
สรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา ก็หลงลืมสติ เทวดาพวกนั้นจึงจุติจาก
หมู่นั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติ
จากหมู่นั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต เมื่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แล้วอาศัยความ
เพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบ
เนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัส
เจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 26
ก่อนนั้นได้ เกินกว่านั้นไประลึกไม่ได้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวก
เทวดาผู้มีใช่เหล่า ขิฑฑาปโทสิกะ ไม่หมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือ
การสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา. เมื่อเทวดาพวกนั้นไม่พากัน
หมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา
ก็ไม่หลงลืมสติ. เพราะไม่หลงลืมสติ เทวดาพวกนั้นจึงไม่จุติจากหมู่
นั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จัก
ตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้นทีเดียว. ส่วนพวกเราได้เป็นขิฑฑาปโทสิกะ
หมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา.
เมื่อพวกเรานั้นพากันหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการ
เล่นหัวจนเกินเวลา ก็หลงลืมสติ. เพราะหลงลืมสติ พวกเราจึงจุติจาก
หมู่นั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย มีจุติเป็นธรรมดา ต้องมา
เป็นอย่างนี้ ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ที่สมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่
เที่ยง.
(๓๓) ๕.๓ อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร
ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติ
อัตตาและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาชื่อว่ามโนปโทสิกะ. เทวดาพวก
นั้นมักเพ่งโทษกันและกันเกินขอบเขต. เมื่อเทวดาพวกนั้นเพ่งโทษกัน
และกันเกินขอบเขต ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและ
กัน จึงลำบากกายลำบากใจ พากันจุติจากหมู่นั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 27
ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากหมู่นั้นแล้ว มาเป็นอย่างนี้
เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบแล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึง
ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ เกินกว่านั้นไประลึกไม่ได้. เขากล่าว
อย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่ามโนปโทสิกะ ไม่เพ่งโทษกันและ
กันเกินขอบเขต. เมื่อเทวดาพวกนั้นไม่เพ่งโทษกันและกันเกินขอบเขต
ย่อมไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงไม่ลำบาก
กายไม่ลำบากใจ. เทวดาพวกนั้นจึงไม่จุติจากหมู่นั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน
คงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้น
ทีเดียว. ส่วนพวกเราได้เป็นเหล่ามโนปโทสิกะ มัวเพ่งโทษกันและกัน
เกินขอบเขต. เมื่อพวกเรานั้นพากันเพ่งโทษกันเกินขอบเขต . ย่อมคิด
มุ่งร้ายกันและกัน เมื่อพวกเราต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงลำบากกาย
ลำบากใจ. พวกเราจุติจากหมู่นั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย
มีจุติเป็นธรรมดา ต้องมาเป็นอย่างนี้ เช่นนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้
เป็นฐานะที่ ๓ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมี
วาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก
ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
(๓๔) ๘.๔ อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงบัญญัติ
อัตตาและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 28
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็น
นักตรึก เป็นนักตรอง กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่
ตรองได้อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าตาก็ดี หูก็ดี จมูกก็ดี ลิ้นก็ดี กายก็ดี นี้
ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา. ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิต หรือใจ หรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตา
เป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้ง
อยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้นทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔
ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว จึงมีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะ ว่าบางอย่าง
เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บาง
อย่างไม่เที่ยง ด้วยวัตถุ ๔ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี
วาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่าบาง
อย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อม
บัญญัติด้วยวัตถุ ๔ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนี้
นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
วาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมี
คติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด
และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อ
ไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตนเอง รู้ความเกิด ความดับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 29
คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนา
เหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตาม
ได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะ
บัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อันให้รู้แจ้ง
อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
อันตานันติกทิฏฐิ ๔
(๓๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ
ว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ด้วย
วัตถุ ๔.
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมี
วาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีสุด ด้วย
วัตถุ ๔.
๙.๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บาง
พวกในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น
อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ย่อมมีความสำคัญในโลก
ว่ามีที่สุด. เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ. ข้อนั้น
เพราะเหตุไร. เพราะข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น จึงมี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 30
ความสำคัญในโลกว่ามีที่สุด. ด้วยการสัมผัสคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการ
ที่โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑
ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีวาทะว่า โลกมีที่สุด
และไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
(๓๖) ๑๐.๒ อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า
โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบ
เนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโต-
สมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ย่อมมีความสำคัญในโลกว่าไม่มีที่สุด.
เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้ สมณพราหมณ์พวก
ที่กล่าวว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ นั้นเป็นเท็จ. โลกนี้ไม่มีที่สุดหา
ที่สุดรอบมิได้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเผา
กิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่
ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิต
ตั้งมั่น จึงมีความสำคัญในโลก ว่าไม่มีที่สุด. ด้วยการสัมผัสคุณวิเศษนี้
ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้ไม่มีที่สุดหาที่สุดรอบมิได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ ๒ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มี
วาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
(๓๗) ๑๑.๓ อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 31
มีที่สุดและไม่มีที่สุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการ
ประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้ว
สัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ย่อมมีความสำคัญในโลกว่า
ด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวางไม่มีที่สุด. เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้
ทั้งมีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้มีที่สุด กลม
โดยรอบ นั้นเป็นเท็จ. แม้สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด
หาที่สุดรอบมิได้ นั้นก็เป็นเท็จ. โลกนี้ ทั้งมีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส
อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่
ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้
จิตตั้งมั่น จึงมีความสำคัญในโลกว่า ด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวาง
ไม่มีที่สุด. ด้วยการสัมผัสคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้ทั้งมีที่
สุด ทั้งไม่มีที่สุด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ ที่สมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด
บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
(๓๘) ๑๒.๔ อนึ่งในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า
โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็น
นักตรึก เป็นนักตรอง กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ตรอง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 32
ได้อย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ สมณพราหมณ์พวกที่
กล่าวว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ แม้นั้นก็เป็นเท็จ. แม้สมณพราหมณ์
พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้ แม้นั้นก็เป็นเท็จ. ถึง
สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่าโลกนี้ ทั้งมีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด แม้นั้นก็เป็น
เท็จ. โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้
เป็นฐานะที่ ๔ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มี
วาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า โลกมีที่
สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี
วาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ ๔ นี้เท่านั้น หรือ
ด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน ๔ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้ง
แห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อม
มีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้น
ชัดและรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และ
เมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตนเอง รู้ความเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออก
ไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 33
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้
เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริง
โดยชอบ.
อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔
(๓๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีความ
เห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้น
ได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ ๔. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัย
อะไร จึงมีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ
ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ.
๑๓.๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวก
ในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล. เขามี
ความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึง
พยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล คำพยากรณ์ของเรานั้นพึง
เป็นคำเท็จ คำเท็จของเรานั้นพึงเป็นความเดือนร้อนแก่เรา ความเดือนร้อน
นั้นพึงเป็นอันตรายแก่เรา. ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่พยากรณ์ว่า นี้เป็น
กุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวการกล่าวเท็จ เพราะเกลียดการกล่าวเท็จ
เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็น
ของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่
มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ที่สมณพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 34
พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูก
ถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
(๔๐) ๑๔.๒ อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาใน
เรื่องนั้น ๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ไม่รู้
ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล. เขามีความคิดอย่างนี้
ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า
นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล ความพอใจ ความติดใจ ความเคืองใจ
หรือความขัดใจในข้อนั้นพึงมีแก่เรา ข้อที่มีความพอใจ ความติดใจ
ความเคืองใจ หรือความขัดใจนั้น จะพึงเป็นอุปาทานของเรา อุปาทาน
ของเรานั้นจะพึงเป็นความเดือนร้อนแก่เรา ความเดือนร้อนของเรานั้นจะ
พึงเป็นอันตรายแก่เรา. ด้วยเหตุฉะนี้ เขาจึงไม่พยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล
นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวอุปาทาน เพราะเกลียดอุปาทาน เมื่อถูกถามปัญหา
ในเรื่องนั้น ๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้
ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว
ปรารภแล้ว มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ
จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
(๔๑) ๑๕.๓ อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 35
กล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ไม่รู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล. เขามีความคิดอย่างนี้
ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเรา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า
นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา
ละเอียด ชำนาญการโต้วาทะ เป็นดุจคนแม่นธนู มีอยู่แล สมณพราหมณ์
เหล่านั้น เหมือนจะเที่ยวทำลายวาทะด้วยปัญญา เขาจะพึงซักไซ้ ไล่เลียง
สอบสวนเราในข้อนั้น เราไม่อาจโต้ตอบเขาได้ การที่เราโต้ตอบเขาไม่ได้
นั้น จะเป็นความเดือนร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้น จะพึงเป็น
อันตรายแก่เรา. ด้วยเหตุฉะนี้ เขาจึงไม่พยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็น
อกุศล เพราะกลัวอุปาทาน เพราะเกลียดอุปาทาน เมื่อถูกถามปัญหาใน
เรื่องนั้น ๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้
ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหา
ในเรื่องนั้น. จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
(๔๒) ๑๖.๔ อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาใน
เรื่องนั้น ๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็น
คนเขลา งมงาย. เพราะเป็นคนเขลา เพราะเป็นคนงมงาย เมื่อถูกถาม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 36
ปัญหาในเรื่องนั้น ๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ถ้าท่านถามเรา
อย่างนี้ว่า โลกอื่นมีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า โลกอื่นมี เราก็จะพึง
พยากรณ์ว่า โลกอื่นมี แต่ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็
มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้าท่านถามเราว่า โลก
อื่นไม่มีหรือ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า โลกอื่นมีด้วย ไม่มีด้วย ถ้าเรามีความ
เห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า ไม่มี ถ้าท่านถามเราว่า โลกอื่นมีด้วย
ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์
ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย . . . . ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่
หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่
ไม่มีก็มิใช่ ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เกิดผุดขึ้นมีหรือ ถ้าเรามีความเห็น
ว่ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มี . . . . ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เกิดผุดขึ้น
ไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า ไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า ไม่มี . . . . .
ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เกิดผุดขึ้น มีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความ
เห็นว่า มีด้วยไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีด้วย ไม่มีด้วย . . ถ้า
ท่านถามเราว่า สัตว์เกิดผุดขึ้นมีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็น
ว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ . .
ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีหรือ ถ้าเรามีความ
เห็นว่ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มี . . . . ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่ง
กรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า ไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์
ว่า ไม่มี . . . . ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีด้วย
ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์
ว่า มีด้วย ไม่มีด้วย . . . . ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 37
ทำชั่ว มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่
เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ . . . . . ถ้าท่านถามเราว่า
เบื้องหน้าแต่ความตาย สัตว์มีอยู่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีอยู่ เราก็จะพึง
พยากรณ์ว่า มีอยู่ . . . . . ถ้าท่านถามเราว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย สัตว์
ไม่มีอยู่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า ไม่มีอยู่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า ไม่มีอยู่ . . .
ถ้าท่านถามเราว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย สัตว์มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ
ถ้าเรามีความเห็นว่า มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีอยู่
ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย. . . . ถ้าท่านถามเราว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย สัตว์มี
อยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่
เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ แต่ความเห็นของเราว่า
อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่
ก็มิใช่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ที่สมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูก
ถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีความเห็นดิ้นได้
ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว
ด้วยวัตถุ ๔ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี
ความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ ย่อมกล่าววาจา
ดิ้นได้ไม่ตายตัว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมกล่าววาจาดิ้น
ได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง
ใน ๔ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 38
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
วาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมี
คติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้น
ชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และ
เมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิท เฉพาะตนเอง รู้ความเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออก
ไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคต
จึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้
ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้
เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทำรู้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริง
โดยชอบ.
อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒
(๔๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีความ
เห็นว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้น
ลอย ๆ ด้วยวัตถุ ๒. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไรปรารภ
อะไร จึงมีความเห็นว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ย่อมบัญญัติอัตตา
และโลก ว่าเกิดขึ้นลอย ๆ ด้วยวัตถุ ๒.
๑๗.๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาชื่ออสัญญีสัตว์ ก็
และเทวดาเหล่านั้น ย่อมจุติจากหมู่นั้นเพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากหมู่นั้น
แล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออกจากเรือนบวชเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 39
บรรพชิต เมื่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อาศัยความเพียรเป็นเครื่อง
เผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนือง ๆ อาศัยความ
ไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่อง
ให้จิตตั้งมั่น ย่อมระลึกถึงความเกิดขึ้นแห่งสัญญาได้ เกินกว่านั้นไประลึก
ไม่ได้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ. ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร. เพราะเมื่อก่อนข้าพเจ้าไม่ได้มีแล้ว เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้านั้นก็ไม่มี
จึงน้อมไปเพื่อความเป็นผู้สงบ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ที่
สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีความเห็นว่า อัตตา
และโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเกิดขึ้นลอย ๆ.
(๔๔) ๑๘.๒ อนึ่งในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีความเห็นว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ บัญญัติ
อัตตาและโลก ว่าเกิดขึ้นลอย ๆ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ
พราหมณ์พวกหนึ่งในโลกนี้เป็นนักตรึก เป็นนักตรอง. เขากล่าวแสดง
ปฏิภาณเอาเองตามที่ตรึกได้ ตามที่ตรองได้อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเกิด
ขึ้นลอย ๆ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ที่สมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง มีความเห็นว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ย่อมบัญญัติอัตตา
และโลก ว่าเกิดขึ้นลอย ๆ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์มีความเห็นว่า อัตตาและโลก
เกิดขึ้นลอย ๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเกิดขึ้นลอย ๆ ด้วยวัตถุ ๒
นี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี
ความเห็นว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเกิด
ขึ้นลอย ๆ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ ๒
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 40
นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
วาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว
ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุ
นั้นชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และ
เมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจาก
เวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึง
หลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตาม
ได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะ
บัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กำหนดขันธ์ส่วน
อดีต มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำ
แสดงวาทะหลายชนิดด้วยวัตถุ ๑๘ นี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นไป
ตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวด้วยเหตุ ๑๘ นี้เท่านั้น
หรือด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน ๑๘ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
วาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 41
คติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด
และรู้ชัดยิ่งขั้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อไม่
ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความดับ คุณ
โทษแห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึง
หลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้
เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้
อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็น
จริงโดยชอบ.
อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔
(๔๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กำหนด
ขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วน
อนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๔๔. ก็สมณพราหมณ์
ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต
นี้ความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดง
ทิฏฐิหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๔๔.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 42
สัญญีทิฏฐิ ๑๖
(๔๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ
ว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่ความตาย
อัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖.
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติอัตตานั้นว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย
๑๙.๑ อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๐.๒ อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๑.๓ อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๒.๔ อัตตา ทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน
มีสัญญา.
๒๓.๕ อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๔.๖ อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๕.๗ อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๖.๘ อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่
ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๗.๙ อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๘.๑๐ อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๙.๑๑ อัตตาที่มีสัญญาน้อย ยั่งยืน มีสัญญา.
๓๐.๑๒ อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน มีสัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 43
๓๑.๑๓ อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา.
๓๒.๑๔ อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา.
๓๓.๑๕ อัตตาที่มีทั้งสุขทั้งทุกข์ ยั่งยืน มีสัญญา.
๓๔.๑๖ อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่า เบื้อง
หน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย
อัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี
วาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า เบื้อง
หน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ ๑๖ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๑๖ อย่าง
นี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
วาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมี
คติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด
และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อ
ไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความดับ
คุณ โทษ แห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น
ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 44
เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็น
จริงโดยชอบ.
อสัญญีทิฏฐิ ๘
(๔๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า
หลังแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่ความตาย
อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๘. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร
ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ย่อม
บัญญัติว่า หลังแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๘. สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติอัตตานั้นว่า หลังแต่ความตาย
๓๕.๑ อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๓๖.๒ อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๓๗.๓ อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มี
สัญญา.
๓๘.๔ อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน
ไม่มีสัญญา.
๓๙.๕ อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๔๐.๖ อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๔๑.๗ อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มี
สัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 45
๔๒.๘ อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่
ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่า หลังแต่
ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่ความตาย อัตตาไม่มี
สัญญา ด้วยวัตถุ ๘ เหล่านี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี
วาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่
ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อม
บัญญัติด้วยวัตถุ ๘ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน ๘ อย่างนี้
นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
วาทะเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่าง
นั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด และ
รู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อไม่
ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความดับ คุณ
โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนา
เหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้
เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริง
โดยชอบ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 46
เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ ๘
(๔๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ
ว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติ
ว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ
๘. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมี
วาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อม
บัญญัติว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วย
วัตถุ ๘. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติอัตตานั้นว่า หลังแต่
ความตาย
๔๓ . ๑ อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา
ก็มิใช่.
๔๔ . ๒ อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่.
๔๕ . ๓ อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยังยืน มีสัญญา
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๖ . ๔ อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน
มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๗ . ๕ อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา
ก็มิใช่.
๔๘ . ๖ อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่.
๔๙ . ๗ อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 47
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๕๐. ๘ อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่
ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่า หลังแต่
ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า หลัง
แต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ ๘ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี
วาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ ๘ นี้เท่านั้น หรือ
ด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๘ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
วาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมี
คติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้น
ชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และ
เมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจาก
เวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึง
หลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้เฉพาะ
บัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 48
อุจเฉททิฏฐิ ๗
(๔๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า
ขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่
ปรากฏอยู่ ด้วยวัตถุ ๗. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร
ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า ขาดสูญ บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ
ความไม่มีของสัตว์ที่ปรากฏอยู่ ด้วยวัตถุ ๗.
๕๑.๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนใน
โลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้
มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดงเกิด เพราะกายแตก
ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย อัตตานี้
จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติ
ความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่ปรากฏอยู่ด้วยประการฉะนี้.
๕๒.๒ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือ
พราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น มีอยู่จริง
ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้ขาดสูญอย่างเด็ด
ขาดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เป็นทิพย์ มีรูป
เป็นกามาพจร บริโภคกวฬิงการาหาร ซึ่งท่านยังไม่รู้ไม่เห็น ข้าพเจ้ารู้
ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อม
ขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย ท่านผู้เจริญ
อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อม
บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่ปรากฏอยู่ ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 49
ประการฉะนี้.
๕๓. ๓ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือ
พราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง
ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้ขาดสูญอย่างเด็ด
ขาดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านผู้เจริญ ยิ่งมีอัตตาอย่างอื่นที่เป็นทิพย์ มีรูป
สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะใหญ่น้อยครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ซึ่งท่าน
ยังไม่รู้ยังไม่เห็น ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก
อัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย
ท่านผู้เจริญ อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด. สมณพราหมณ์
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่
ด้วยประการฉะนี้.
๕๔. ๔ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือ
พราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น มีอยู่จริง
ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้ขาดสูญอย่างเด็ด
ขาดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นอากาสา-
นัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะ
ดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ซึ่งท่าน
ยังไม่รู้ยังไม่เห็น ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้นท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก
อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย
ท่านผู้เจริญ อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด. สมณพราหมณ์
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่
ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 50
๕๕.๕ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือ
พราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น มีอยู่จริง
ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้ขาดสูญอย่างเด็ด
ขาดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้น
วิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากา-
สานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง ซึ่งท่านยังไม่รู้ยังไม่เห็น ข้าพเจ้ารู้
ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ
ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย ท่านผู้เจริญ อัตตานี้จึง
เป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติ
ความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
๕๖.๖ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือ
พราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญอัตตาที่ท่าน กล่าวถึงนั้น มีอยู่จริง
ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้ขาดสูญอย่างเด็ด
ขาดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นอากิญ-
จัญญายตนะ มีอารมณ์ว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดย
ประการทั้งปวง ซึ่งท่านยังไม่รู้ยังไม่เห็น ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น
ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ
ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย ท่านผู้เจริญ อัตตานี้จึงเป็นอันขาด
สูญอย่างเด็ดขาด. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ
ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่ปรากฏอยู่. ด้วยประการฉะนี้.
๕๗. ๗ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์
พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น มีอยู่จริง ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 51
มิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้ขาดสูญอย่างเด็ดขาดด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนะ มีอารมณ์ว่า นั่นละเอียด นั่นประณีต เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
ได้โดยประการทั้งปวง ซึ่งท่านไม่รู้ไม่เห็น ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตา
นั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ
ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย ท่านผู้เจริญ อัตตานี้จึงเป็นอันขาด
สูญอย่างเด็ดขาด. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ
ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่าขาดสูญ
ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ทั้งหลายที่มี
อยู่ ด้วยวัตถุ ๗ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีวาทะ
ว่า ขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์
ที่ปรากฏอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ
๗ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๗ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
วาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมี
คติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้น
ชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่น ความรู้ชัดนั้นด้วย. และ
เมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะคน รู้ความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจาก
เวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 52
หลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต
ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็น
เหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
(๕๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า
นิพพานปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของ
สัตว์ที่ปรากฏอยู่ ด้วยวัตถุ ๕. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า นิพพานปัจจุบัน บัญญัติว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕.
๕๘.๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวก
ในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม เพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ ๕ ฉะนั้น จึงเป็นอัน
บรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วย
ประการฉะนี้.
๕๙.๒ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะ
หรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีอยู่
จริง ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้บรรลุนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 53
ปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น
ธรรมดา เพราะกามเหล่านั้นแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จึงเกิดความโศก
ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับใจ ท่านผู้เจริญ เพราะ
อัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอัน
เป็นธรรมอย่างยิ่ง. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
๖๐.๓ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือ
พราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง
ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้บรรลุนิพพานปัจจุบัน
อันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เหตุว่า ปฐมฌานนั้นท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีวิตกวิจารอยู่ ท่านผู้เจริญ
เพราะอัตตานี้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีความ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. สมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง
ของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
๖๑.๔ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือ
พราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง
ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้บรรลุนิพพาน
ปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 54
เพราะเหตุว่า ทุติยฌานนั้นท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีปีติเป็นเหตุให้ใจ
เบิกบานอยู่ เพราะอัตตานี้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ เสวยสุขอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุ
นิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อม
บัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการ
ฉะนี้.
๖๒.๕ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะ
หรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น
มีอยู่จริง ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้บรรลุ
นิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเหตุว่า ตติยฌานนั้นท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยจิตยังคำนึงถึง
สุขอยู่ เพราะอัตตานี้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอุเบกขา เป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์ เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้
ฉะนั้นจึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง สมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มี
อยู่ ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ย่อมบัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง
ของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี
วาทะว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ สมณะ หรือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 55
พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ ๕ นี้เท่านั้น หรือด้วย
อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๕ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี. . ."
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กำหนดขันธ์ส่วน
อนาคต มีความเห็นคามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าว
คำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๔๔ นี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความ
เห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะ
หลายชนิด สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมกล่าวด้วยวัตถุ ๔๔ นี้
เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔๔ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี
มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีต
ทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๖๒ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดขันธ์
ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วน
อนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวด้วยวัตถุ ๖๒ นี้เท่านั้น หรือด้วย
อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๖๒ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้ง
แห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว
ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 56
เหตุนั้น ชัดและรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย
และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออก
ไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้
เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็น
จริงโดยชอบ.
จบทิฏฐิ ๖๒
ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ
(๕๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง
ด้วยวัตถุ ๔ ข้อนั้นเป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น
ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ย่อมบัญญัติและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงด้วยวัตถุ ๔
แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่
เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 57
(๕๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ย่อมบัญญัติว่า
โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของ
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความ
ดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ
ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจ
ของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็น
ความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ย่อม
บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเกิดขึ้นลอย ๆ ด้วยวัตถุ ๒ แม้ข้อนั้นก็เป็น
ความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความ
แส่หา เป็นความดิ้นรนของตนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วน
อดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๑๘
แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่
เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของตนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 58
ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖
แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น
เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๔
แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น
เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของตนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตา
มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ ๘ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจ
ของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็น
ความดิ้นรนของตนมีตัณหาเท่านั้น.
(๖๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญความ
พินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๗ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจ
ของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็น
ความดิ้นรนของตนมีตัณหาเท่านั้น.
(๖๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่านิพพานปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยวัตถุ ๕ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 59
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความ
ดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๖๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วน
อนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ
๔๔ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้
ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของตนมีตัณหาเท่านั้น.
(๖๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี
กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วน
อดีตทั่งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั่งส่วนอนาคต กล่าว
คำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๖๒ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของ
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความ
ดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๖๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง
ด้วยวัตถุ ๔ ข้อนั้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๖๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา
และโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๖๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 60
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด
และไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๖๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่อง
นั้น ๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย.
(๖๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีความเห็นว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ด้วยวัตถุ
๒ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๖๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต
ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงวาทะหลายอย่างด้วยวัตถุ ๑๘ แม้ข้อ
นั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ย่อม
บัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖ แม้ข้อ
นั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๔
แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแค่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 61
ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ ๘ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ
ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๗ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า นิพพานปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕ แม้ข้อนั้นก็เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วน
อนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วย
วัตถุ ๔๔ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี
กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วน
อดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั่งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำ
แสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๖๒ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง
ด้วยวัตถุ ๔ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่
ฐานะที่จะมีได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 62
(๗๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติ
อัตตาและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยวัตถุ ๔ สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๗๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ย่อมบัญญัติว่า โลก
มีที่สุดและไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว
จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่อง
นั้น ๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ ๔ สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีความเห็นว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ย่อมบัญญัติ
อัตตาและโลก ว่าเกิดขึ้นลอย ๆ ด้วยวัตถุ ๒ สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต
ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๑๘ สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 63
บัญญัติว่าเบื้องหน้าแต่ความตายอัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๘
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ ๘ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะ
แล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า ขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความ
พินาศ ความไม่มี ของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๗ สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า นิพพานปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่านิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วน
อนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 64
วัตถุ ๔๔ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่
ฐานะที่จะมีได้.
(๘๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี
กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วน
อดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตส่วนอนาคต กล่าวคำแสดง
วาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๖๒ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว
จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๙๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง
ด้วยวัตถุ ๔ สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด . . .
สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะดิ้นได้ไม่ตายตัว . . . สมณพราหมณ์เหล่าใด
มีวาทะว่าโลกเกิดขึ้นลอย ๆ . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วน
อดีต . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตา
มีสัญญา. . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตา
ไม่มีสัญญา . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย
อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า
ขาดสูญ . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า นิพพานปัจจุบัน . . . สมณ-
พราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต. . . สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วน
อดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 65
ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด
ด้วยวัตถุ ๖๒ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดถูกต้องแล้วถูกต้องเล่า
ด้วยผัสสายตนะทั้ง ๖ ย่อมเสวยเวทนา เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์
เหล่านั้นเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะ
ชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาส.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่ง
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ กับทั้ง
อุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น เมื่อนั้นภิกษุนี้ย่อม
รู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนด
ขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีต
ทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ปรารภขันธ์ทั่งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านั้นแหละเป็น
ดุจข่ายคลุมไว้ อาศัยอยู่ในข่ายนี้แหละ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่
ในข่ายนี้ ถูกข่ายคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ เปรียบเหมือนชาว
ประมงหรือลูกมือชาวประมงผู้ฉลาด ใช้แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำเล็ก ๆ
เขาคิดอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ใหญ่ ๆ ในหนองนี้ทั้งหมด ถูกแห
คลุมไว้ ติดอยู่ในแห เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ติดอยู่ในแหนี้ ถูกแห
คลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 66
หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้น กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั่งส่วนอดีตทั่งส่วนอนาคตก็ดี
มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั่งส่วนอดีต
ทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้ แหละเป็นดุจข่ายคลุมไว้ อาศัย
อยู่ในข่ายนี้แหละ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายคลุมไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ
ขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคต
ชั่วเวลาที่กายของตถาคตดำรงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวง
มะม่วงเมื่อขาดจากขั้วแล้ว ผลใดผลหนึ่งที่ติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพชาติแล้ว
ก็เหมือนฉันนั้น ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคต
ชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมี
พระเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า อานนท์ เพราะฉะนั้นแหละ เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า
อรรถชาละก็ได้ ว่าธรรมชาละก็ได้ ว่าพรหมชาละก็ได้ ว่าทิฏฐิชาละ
ก็ได้ ว่าพิชัยสงครามอย่างยอดเยี่ยมก็ได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 67
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านั้นต่างมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของพรพะผู้มีพระภาคเจ้า ก็และ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่. หมื่นโลกธาตุได้ไหว
แล้วแล.
จบพรหมชาลสูตร ที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 68
สุมังคลวิลาสินี
อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
แปล
ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระสุคต
ผู้พ้นคติ (๕ คือ นิรยคติ เปตคติ ติรัจฉานคติ
มนุสสคติ เทวคติ) มีพระทัยเยือกเย็นด้วยพระ
กรุณา มีมืดคือโมหะอันดวงประทีปคือปัญญาขจัดแล้ว
ทรงเป็นครูของโลกพร้อมทั้งมนุษย์และเทวดา.
ก็พระพุทธเจ้าทรงอบรม และทรงทำให้แจ้ง ซึ่ง
ความเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบรรลุพระธรรมใดที่
ปราศจากมลทิน ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า
ซึ่งพระธรรมนั้นอันยอดเยี่ยม.
ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระอริย-
สงฆ์หมู่โอรสของพระสุคตเจ้า ผู้ย่ำยีกองทัพมาร.
บุญอันใดซึ่งสำเร็จด้วยการไหว้พระรัตนตรัย มี
อยู่แก่ข้าพเจ้าผู้มีใจเลื่อมใส ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้มี
อันตราย อันอานุภาพแห่งบุญนั้น จัดราบคาบแล้ว
ด้วยประการดังนี้.
อรรถกถาใดอันพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ สังคายนา
แล้วแต่ต้น และสังคายนาต่อมา เพื่อประกาศเนื้อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 69
ความของทีฆนิกาย ซึ่งกำหนดหมายไว้ด้วยสูตร
ขนาดยาว ละเอียดลออ ประเสริฐกว่านิกายอื่น ที่
พระพุทธเจ้า และพระสาวกสังวรรณนาไว้ มีคุณค่า
ในการปลูกฝังศรัทธา แต่ภายหลังพระมหินทเถระ
นำมาเกาะสีหล ต่อมาได้เรียบเรียงด้วยภาษาสีหล
เพื่อประโยชน์แก่ชาวสีหลทั้งหลาย.
ต่อจากนั้น ข้าพเจ้าจึงแปลภาษาสีหลเป็นภาษา
มคธ ถูกต้องตามหลักภาษา ไม่ผิดเพี้ยนอักขรสมัย
ของพระเถระคณะมหาวิหาร ผู้เป็นประทีปแห่งเถร-
วงศ์ ที่วินิจฉัยไว้ละเอียดลออ จะตัดข้อความที่ซ้ำ
ซากออกแล้วประกาศข้อความ เพื่อความชื่นชมยินดี
ของสาธุชน และเพื่อความยั่งยืนของพระธรรม.
ศีลกถา ธุดงคธรรม กรรมฐานทั้งปวง ฌาน-
สมาบัติ พิสดาร ซึ่งประกอบด้วยวิธีปฏิบัติตามจริต
อภิญญาทั้งปวง ข้อวินิจฉัยทั้งปวงด้วยปัญญา ขันธ์
ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ ๔ ปัจจยาการ
เทศนาและวิปัสสนาภาวนา มีนัยบริสุทธิ์ดีและ
ละเอียดลออ ที่ไม่นอกทางพระบาลี ข้อธรรมดังกล่าว
ทั้งหมดนี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้ว
อย่างบริสุทธิ์ดี เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่วิจารข้อ
ธรรมทั้งหมดนั้นในที่นี้ให้ยิ่งขึ้น. คัมภีร์วิสุทธิมรรค
นี้ตั้งอยู่ท่ามกลางนิกายทั้ง ๔ จักประกาศเนื้อความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 70
ตามที่กล่าวไว้ในนิกายทั้ง ๔ เหล่านั้น ข้าพเจ้าแต่งไว้
ด้วยความประสงค์อย่างนี้ เพราะฉะนั้น ขอท่านทั้ง-
หลายจงถือเอาคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นกับอรรถกถานี้
แล้วเข้าใจเนื้อความที่อาศัยทีฆนิกายเถิด.
นิทานกถา
ในคำว่า ทีฆาคมนิสฺสิต นั้น พึงทราบรายละเอียดดังนี้ คัมภีร์
ทีฆนิกาย กล่าวโดยวรรคมี ๓ วรรค คือ สีลขันธวรรค มหาวรรค
ปาฏิกวรรค. กล่าวโดยสูตรมี ๓ สูตร. ในวรรคทั้งหลายเหล่านั้น
สีลขันธวรรคเป็นวรรคต้น. บรรดาสูตรทั้งหลาย พรหมชาลสูตรเป็น
สูตรต้น. คำนิทานมีคำว่า เอวมฺเม สูต ดังนี้เป็นต้น ที่ท่านพระอานนท์
กล่าวในคราวทำปฐมมหาสังคายนา เป็นคำเริ่มต้นของพรหมชาลสูตร.
เรื่องสังคายนาใหญ่ครั้งแรก
ชื่อว่าปฐมมหาสังคายนานี้ แม้ได้จัดขึ้นพระบาลีไว้ในวินัยปิฎกแล้ว
ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ควรทราบปฐมมหาสังคายนาแม้ในอรรถกถานี้ เพื่อ
ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุที่เป็นมา ดังต่อไปนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ทรงบำเพ็ญพุทธ-
กิจ เริ่มต้นแต่ทรงแสดงพระธรรมจักรจนถึงโปรดสุภัททปริพาชก แล้ว
เสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เวลาใกล้รุ่งวันวิสาขปูรณมี
ระหว่างต้นสาละคู่ในสาลวันอุทยานของมัลลกษัตริย์ ตรงที่เป็นทางโค้ง
ใกล้กรุงกุสินารา ท่านพระมหากัสสปะผู้เป็นสังฆเถระของภิกษุประมาณ
เจ็ดแสนรูปที่ประชุมกันในวันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาค
เจ้า มาระลึกถึงคำที่หลวงตาสุภัททะกล่าวเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 71
ปรินิพพานได้ ๗ วันว่า พอกันทีอาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าเศร้า
โศกไปเลย อย่าร่ำไรไปเลย เราทั้งหลายพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะนั้น
ด้วยว่าพวกเราถูกท่านจู้จี้บังคับว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอทั้งหลาย สิ่งนี้ไม่ควร
แก่เธอทั้งหลาย ดังนี้ แต่บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด จักกระทำสิ่งนั้น
ไม่ปรารถนาสิ่งใด จักไม่กระทำสิ่งนั้น ดังนี้.
ท่านพิจารณาเห็นว่าการประชุมสงฆ์จำนวนมากเช่นนี้ ต่อไปจะหา
ได้ยาก จึงดำริต่อไปว่า พวกภิกษุชั่วจะเข้าใจว่า ปาพจน์มีศาสดาล่วงแล้ว
ได้พวกฝ่ายอลัชชี จะพากันย่ำยีพระสัทธรรมให้อันตรธานต่อกาลไม่นาน
เลย นั้นเป็นยานะที่จะมีได้แน่นอน จริงอยู่ พระธรรมวินัยยังดำรงอยู่
ตราบใด ปาพจน์ก็หาชื่อว่ามีศาสดาล่วงแล้วไม่อยู่ตราบนั้น สมจริงดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดอันเรา
แสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดา
ของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ดังนี้ อย่ากระนั้นเลย เราพึง
สังคายนาพระธรรมและพระวินัย โดยวิธีที่พระศาสนานี้จะมั่นคงดำรงอยู่
ชั่วกาลนาน.
อนึ่ง ตัวเราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ เธอจัก
ห่มได้หรือไม่ซึ่งผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้เก่าแล้วของเรา ดังนี้ ทรงอนุเคราะห์
ด้วยสาธารณบริโภคในจีวร และด้วยการสถาปนาไว้เสมอกับพระองค์ใน
ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ต่างโดยอนุปุพพวิหาร ๙ และอภิญญา ๖ เป็นต้น
โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราต้องการสงัดจากกาม
ทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงใด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้กัสสปะต้องการสงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศล-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 72
ธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงนั้น ดังนี้ ยิ่งกว่านั้นยังสรรเสริญ
ด้วยความเป็นผู้มีจิตไม่ติดอยู่ในตระกูล เหมือนสั่นมือในอากาศ และด้วย
ปฏิปทาเปรียบด้วยพระจันทร์ การทรงอนุเคราะห์และการทรงสรรเสริญ
เป็นประหนึ่งหนี้ของเรา กิจอื่นนอกจากการสังคายนาที่จะให้เราพ้นสภาพ
หนี้ จักมีอะไรบ้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบซึ่งเรามิใช่หรือว่า
กัสสปะนี้ จักเป็นผู้ประดิษฐานวงศ์พระสัทธรรมของเรา ดังนี้ แล้วทรง
อนุเคราะห์ด้วยความอนุเคราะห์อันไม่ทั่วไปนี้ และทรงสรรเสริญด้วยการ
สรรเสริญอันยอดเยี่ยมนี้ เหมือนพระราชาทรงทราบพระราชโอรส ผู้จะ
ประดิษฐานวงศ์ตระกูลของพระองค์ แล้วทรงอนุเคราะห์ด้วยการมอบ
เกราะและพระอิสริยยศของพระองค์ฉะนั้น ดังนี้ ยังความอุตสาหะให้เกิด
แก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัย. สมดังคำที่พระสังคีติกา-
จารย์กล่าวไว้ในสุภัททกัณฑ์ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะแจ้งให้
ภิกษุทั้งหลายทราบว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราเดินทางไกล
จากเมืองปาวามาสู่เมืองกุสินารา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ
๕๐๐ รูป ดังนี้ เป็นต้น. สุภัททกัณฑ์ทั้งหมด บัณฑิตควรทราบโดยพิสดาร.
แต่ข้าพเจ้าจักกล่าวเนื้อความของสุภัททกัณฑ์นั้น ในอาคตสถานตอนจบ
มหาปรินิพพานสูตรเท่านั้น.
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปะกล่าวว่า เอาเถิดท่านผู้มีอายุทั้ง-
หลาย เราทั้งหลายจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ต่อไปเบื้องหน้า
อธรรมรุ่งเรื่อง ธรรมจะร่วงโรย ต่อไปเบื้องหน้า อวินัยรุ่งเรื่อง วินัย
จะร่วงโรย ต่อไปเบื้องหน้า อธรรมวาทีมีกำลัง ธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง
ต่อไปเบื้องหน้า อวินัยวาทีมีกำลัง วินัยวาทีจะอ่อนกำลัง. ภิกษุเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 73
กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอพระเถระโปรดเลือกภิกษุ
ทั้งหลายเถิด. ฝ่ายพระเถระเว้น ภิกษุปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี
พระอนาคามี และพระอรหัน สุกชวิปัสสก ผู้ทรงพระปริยัติ คือ นวังค-
สัตถุศาสน์ทั้งสิ้น เป็นจำนวนหลายร้อยหลายพันรูป เลือกเอาเฉพาะภิกษุ
ผู้เป็นพระอรหันต์ประเภทเตวิชชา เป็นต้น ซึ่งทรงพระปริยัติ คือ พระ
ไตรปิฎกทั้งหมด บรรลุปฏิสัมภิทา มีอานุภาพยิ่งใหญ่ โดยมาก พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงยกย่องเป็นเอตทัคคะที่พระสังคีติกาจารย์หมายกล่าวคำนี้
ไว้ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะเลือกพระอรหันต์ไว้ ๕๐๐ หย่อน
หนึ่งองค์ ดังนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระมหากัสสปเถระจึงทำให้หย่อนไว้
องค์หนึ่ง. ตอบว่า เพื่อไว้โอกาสแก่ท่านพระอานนทเถระ เพราะทั้ง
ร่วมกับท่านพระอานนท์ ทั้งเว้นท่านพระอานนท์เสีย ไม่อาจทำการ
สังคายนาธรรมได้. ด้วยว่าท่านพระอานนท์นั้นเป็นพระเสขะยังมีกิจที่ต้อง
ทำอยู่ ฉะนั้น จึงไม่อาจร่วมได้. แต่เพราะนวังคสัตถุศาสน์มีสุตตะและ
เคยยะเป็นต้นข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งพระทศพลทรงแสดงแล้ว ที่ชื่อว่าไม่
ประจักษ์ชัดแก่พระอานนท์นั้น ไม่มี ดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ธรรมเหล่าใดเป็นไปแก่ข้าพเจ้า ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้ารับมาจากพระ
พุทธเจ้าแปดหมื่นสองพัน รับมาจากภิกษุสองพัน รวมเป็นแปดหมื่น
สี่พันพระธรรมขันธ์ เพราะฉะนั้น ถ้าเว้นท่านพระอานนท์เสีย ก็ไม่อาจ
ทำได้.
ถามว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ท่านพระอานนท์จะยังเป็นพระเสขะ
อยู่ พระเถระก็ควรเลือก เพราะเป็นผู้มีอุปการะในการสังคายนาธรรนมาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 74
แต่เหตุไฉนจึงไม่เลือก.
ตอบว่า เพราะจะหลีกเลี่ยงคำติเตียนของผู้อื่น. ความจริงพระเถระ
เป็นผู้คุ้นเคยกับท่านพระอานนท์อย่างยิ่ง. จริงอย่างนั้น ถึงพระอานนท์จะ
ศีรษะหงอกแล้ว พระมหากัสสปะยังเรียกด้วยคำว่า เด็ก ในประโยคว่า
เด็กคนนี้ไม่รู้จักประมาณเลย ดังนี้. อนึ่ง ท่านพระอานนท์เกิดในตระกูล
ศากยะ เป็นพระอนุชาของพระตถาคต เป็นพระโอรสของพระเจ้าอา.
ในการคัดเลือกพระอานนท์นั้น ภิกษุบางพวกจะเข้าใจว่า ดูเหมือนจะ
ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน จะพากันติเตียนว่า พระมหากัสสปเถระมอง
ข้ามภิกษุผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทาชั้นอเสขะไปเป็นจำนวนมาก แล้วเลือกพระ
อานนท์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาชั้นเสขะ เมื่อจะหลีกเลี่ยงคำติเตียนนั้น พระ
มหากัสสปเถระจึงไม่เลือกพระอานนท์ ด้วยพิจารณาเห็นว่า เว้นท่าน
พระอานนท์เสีย ไม่อาจทำการสังคายนาธรรมได้ เราจักรับท่านพระ
อานนท์นั้นโดยอนุมัติของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย
พากันขอร้องพระมหากัสสปเถระเพื่อเลือกพระอานนท์เสียเอง. สมดัง
คำที่พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระมหา
กัสสปะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระอานนท์นี้แม้จะยังเป็นพระเสขะ
อยู่ก็จริง แต่ก็ไม่ถึงอคติเพราะรัก เพราะชัง เพราะกลัว เพราะหลง
ด้วยว่าท่านพระอานนท์นี้ได้เล่าเรียนพระธรรมและพระวินัยในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมาก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระได้โปรด
เลือกท่านพระอานนท์ด้วยเถิด. ครั้นแล้วท่านพระมหากัสสปจึงได้เลือก
ท่านพระอานนท์ด้วย. โดยนัยดังกล่าวแล้วอย่างนี้ จึงเป็นพระเถระ ๕๐๐
องค์ รวมทั้งท่านพระอานนท์ ที่พะมหากัสสปะเลือกโดยอนุมัติของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 75
ภิกษุทั้งหลาย.
ลำดับนั้นแล พวกภิกษุชั้นพระเถระได้ดำริกันว่า เราควรสังคายนา
พระธรรมและพระวินัยกันที่ไหน. ลำดับนั้น พวกภิกษุชั้นพระเถระได้
ดำริกันว่า กรุงราชคฤห์ มีอาหารบิณฑบาตมาก มีเสนาสนะเพียงพอ
อย่ากระนั้นเลย เราพึงอยู่จำพรรษาสังคายนาพระธรรมและพระวินัยใน
กรุงราชคฤห์เถิด ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงเข้าจำพรรษาในกรุงราชคฤห์. ก็
เพราะเหตุไร พระเถระเหล่านั้นจึงมีความดำริดังนี้ ? เพราะพระเถระ
เหล่านั้นมีความดำริตรงกันว่า การสังคายนาพระธรรมวินัยนี้เป็นถาวร-
กรรมของเรา บุคคลฝ่ายตรงข้ามบางคนจะพึงเข้าไปยังท่ามกลางสงฆ์แล้ว
รื้อฟื้นขึ้นได้.
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-
ทุติยกรรมวาจาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ เป็นผู้
อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุ
อื่น ๆ ไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้ นี้เป็นญัตติ ดูก่อนท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ว่า
ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนา
พระธรรมและพระวินัย ภิกษุอื่น ๆ ไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้
การสมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ว่า ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ เป็นผู้อยู่
จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุ
อื่น ๆ ไม่พึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ขอท่าน
ผู้นั้นพึงนิ่งอยู่ ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ขอท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุ ๕๐๐ รูป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 76
เหล่านี้สงฆ์สมมติแล้วว่าเป็นผู้อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนา
พระธรรมและพระวินัย ภิกษุอื่น ๆ ไม่พึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์
ดังนี้ การสมมตินี้สมควรแก่สงฆ์ ฉะนั้นสงฆ์จึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าทรงความ
ไว้ด้วยอย่างนี้.
กรรมวาจานี้ พระมหากัสสปะกระทำในวันที่ ๒๑ หลังจากพระ
ตถาคตปรินิพพาน. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเวลาใกล้รุ่ง
วันวิสาขปูรณมี.
ครั้งนั้น พุทธบริษัทได้บูชาพระพุทธสรีระซึ่งมีสีเหมือนทอง ด้วย
ของหอมและดอกไม้เป็นต้นตลอด ๗ วัน . วันสาธุกีฬาได้มีเป็นเวลา ๗ วัน
เหมือนกัน. ต่อจากนั้นไฟที่จิตกาธารยังไม่ดับตลอด ๗ วัน. พวกมัลล-
กษัตริย์ได้ทำลูกกรงหอกแล้วบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ในสันถาคารศาลา
ตลอด ๗ วัน ดังนั้นจึงรวมวันได้ ๒๑ วัน. พุทธบริษัทซึ่งมีโทณพราหมณ์
เป็นเจ้าหน้าที่ ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ในวันขึ้น ๕ ค่ำ
เดือน ๗ นั่งเอง. พระมหากัสสปะเลือกภิกษุทั้งหลาย เสร็จแล้วจึงสวด
กรรมวาจานี้ โดยนัยที่ท่านแจ้งความประพฤติอันไม่สมควรที่หลวงตา
สุภัททะทำแล้วแก่ภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ซึ่งมาประชุมกันในวันแบ่งพระ
บรมสารีริกธาตุนั้น.
ก็และครั้นสวดกรรมวาจานี้แล้ว พระเถระจึงเดือนภิกษุทั้งหลายให้
ทราบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้ข้าพเจ้าให้เวลาแก่ท่านทั้งหลาย
เป็นเวลา ๔๐ วัน ต่อจากนั้นไป ท่านจะกล่าวว่า ข้าพเจ้ายังมีกังวลเช่นนี้
อยู่ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ภายใน ๔๐ วันนี้ ท่านผู้ใดมีกังวลเกี่ยวกับโรค
ภัยไข้เจ็บก็ดี มีกังวลเกี่ยวกับอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ก็ดี มีกังวลเกี่ยวกับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 77
มารดาบิดาก็ดี หรือต้องสุมบาตรต้องทำจีวรก็ดี ขอท่านผู้นั้นจงตัดกังวล
นั้น ทำกิจที่ควรทำนั้นเสีย. ก็แลกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระแวดล้อมไป
ด้วยบริษัทของตนประมาณ ๕๐๐ รูป ไปยังกรุงราชคฤห์. แม้พระเถระ
ผู้ใหญ่องค์อื่น ๆ ก็พาบริวารของตน ๆ ไป ต่างก็ประสงค์จะปลอบโยน
มหาชนผู้เปี่ยมไปด้วยเศร้าโศก จึงไปยังทิศทางนั้น ๆ. ฝ่ายพระปุณณเถระ
มีภิกษุเป็นบริวารประมาณ ๗๐๐ รูป ได้อยู่ในเมืองกุสินารานั่งเอง ด้วย
ประสงค์ว่าจะปลอบโยนมหาชนที่พากันมายังที่ปรินิพพานของพระตถาคต.
ฝ่ายท่านพระอานนท์เอง ท่านก็ถือบาตรและจีวรของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว เหมือนเมื่อยังไม่เสด็จปรินิพพาน เดิน
ทางไปยังกรุงสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป. แลเมื่อท่านพระ
อานนท์นั้นกำลังเดินทาง ก็มีภิกษุผู้เป็นบริวารมากขึ้น ๆ จนนับไม่ได้.
ในสถานที่ที่พระอานนท์เดินทางไป ได้มีเสียงร่ำไห้กันอึงมี่. เมื่อพระเถระ
ถึงกรุงสาวัตถีแล้ว ผู้คนชาวกรุงสาวัตถีได้ทราบว่า พระอานนท์มาแล้ว
ก็พากันถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปต้อนรับ แล้วร้องไห้รำพันว่า
ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ เมื่อก่อนท่านมากับพระผู้มีพระภาคเจ้า วันนี้
ท่านทิ้งพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้เสียที่ไหน จึงมาแต่ผู้เดียว ดังนี้เป็นต้น.
ได้มีการร้องไห้อย่างมากเหมือนในวันเสด็จปรินิพพานของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ฉะนั้น.
ได้ยินว่า ณ กรุงสาวัตถีนั้น ท่านพระอานนท์สั่งสอนมหาชนให้
เข้าใจด้วยธรรมีกถาประกอบด้วยความไม่เที่ยง เป็นต้น แล้วเข้าสู่พระ
วิหารเชตวัน ไหว้พระคันธกุฎีที่พระทศพลประทับ เปิดประตูนำเตียงตั่ง
ออกปัด กวาดพระคันธกุฎี ทิ้งขยะดอกไม้แห้ง แล้วนำเตียงตั่งเข้าไปตั่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 78
ไว้ในที่เดิมอีก ได้ทำหน้าที่ทุกอย่างซึ่งเป็นวัตรที่ต้องปฏิบัติในเวลาที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าดำรงพระชนม์อยู่ และเมื่อทำหน้าที่ก็ไหว้พระคันธ-
กุฎี ในเวลาทำกิจมีกวาดห้องน้ำและตั้งน้ำ เป็นต้น ได้ทำหน้าที่ไปพลาง
รำพันไปพลาง โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เวลานี้
เป็นเวลาสรงน้ำของพระองค์ มิใช่หรือ ? เวลานี้เป็นเวลาแสดงธรรม
เวลานี้เป็นเวลาประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาสำเร็จ
สีหไสยา เวลานี้เป็นเวลาชำระพระพักตร์ มิใช่หรือ ? เหตุทั้งนี้เพราะ
พระอานนท์นั้นเป็นผู้มีความรักตั้งมั่นในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะความ
เป็นผู้รู้อมตรสซึ่งเป็นที่รวมพระพุทธคุณ และยังมิได้เป็นพระอรหันต์
ทั่งเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนที่เกิดด้วยเคยอุปการะกันและกันมาหลายแสนชาติ.
เทวดาองค์หนึ่ง ได้ทำให้พระอานนท์นั้นสลดใจด้วยคำพูดว่า ข้าแต่
พระอานนท์ผู้เจริญ ท่านมัวมารำพันอยู่อย่างนี้ จักปลอบโยนคนอื่น ๆ
ได้อย่างไร. พระอานนท์สลดใจด้วยคำพูดของเทวดานั้น แข็งใจดื่มยา
ถ่ายเจือน้ำนมในวันที่ ๒ เพื่อทำกายซึ่งมีธาตุหนักให้เบา เพราะตั้งแต่
พระตถาคตเสด็จปรินิพพาน ท่านต้องยืนมากและนั่งมาก จึงนั่งอยู่แต่ใน
พระวิหารเชตวันเท่านั้น พระอานนท์ดื่มยาถ่ายเจือน้ำนมชนิดใด ท่าน
หมายเอายาถ่ายเจือน้ำนมชนิดนั้น ได้กล่าวกะเด็กหนุ่มที่สุภมาณพใช้ไปว่า
ดูก่อนพ่อหนุ่ม วันนี้ยังไม่เหมาะ เพราะวันนี้เราดื่มยาถ่าย ต่อพรุ่งนี้เรา
จึงจะเข้าไป ดังนี้. ในวันที่ ๒ พระอานนท์มีพระเจตกเถระติดตามไปถูก
สุภมาณพถามปัญหา ได้กล่าวสูตรที่ ๑๐ ชื่อสุภสูตร ในคัมภีร์ทีฆนิกายนี้.
พระอานนทเถระขอให้ทำการปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรมใน
พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อใกล้วันเข้าพรรษา ท่านอำลาภิกษุสงฆ์ไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 79
กรุงราชคฤห์. แม้ภิกษุผู้ทำสังคายนาเหล่าอื่นก็ไปเหมือนกัน ความจริง
ท่านหมายเอาภิกษุเหล่านั้นที่ไปกรุงราชคฤห์อย่างนี้ กล่าวคำนี้ไว้ว่า ครั้ง
นั้นแล ภิกษุชั้นพระเถระได้ไปกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรม
และพระวินัย. พระเถระ.เหล่านั้น ทำอุโบสถในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
ประชุมเข้าพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ.
ปฐมสังคายนาเริ่มวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๙
ก็โดยสมัยนั้นแล มีวัดใหญ่ ๑๘ วัด ล้อมรอบกรุงราชคฤห์. วัด
เหล่านั้นมีหยากเยื่อถูกทิ้งเรี่ยราดไปทั้งนั้น เพราะในเวลาเสด็จปรินิพพาน
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุทั้งหมดต่างก็ถือบาตรจีวรของตน ๆ ทิ้ง
วัดและบริเวณไป. ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลาย เมื่อจะทำข้อตกลงเกี่ยวกับ
การปฏิสังขรณ์วัดเหล่านั้น ได้คิดกันว่า พวกเราต้องทำการปฏิสังขรณ์สิ่ง
ชำรุดทรุดโทรมตลอดเดือนต้นของพรรษา เพื่อบูชาคำสอนของพระผู้มี
พระภาคเจ้า และเพื่อเปลื้องคำติเตียนของเดียรถีย์. เพราะพวกเดียรถีย์
จะพึงกล่าวติอย่างนี้ว่า สาวกของพระสมณโคดมบำรุงวัดวาอารามแต่เมื่อ
พระศาสดายังมีพระชนม์อยู่เท่านั้น เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ก็พากัน
ทอดทิ้งเสีย การบริจาคทรัพย์เป็นจำนวนมากของตระกูลทั้งหลายย่อมเสีย
หายไปโดยทำนองนี้. มีคำอธิบายว่า ที่พระเถระทั้งหลายคิดกันก็เพื่อจะ
เปลื้องคำติเตียนของเดียรถีย์เหล่านั้น. ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงได้ทำข้อ
ตกลงกัน ซึ่งท่านหมายเอาข้อตกลงนั้น กล่าวว่า ครั้งนั้นแล ภิกษุชั้น
พระเถระทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม
บัดนี้ เราทั้งหลายจงทำการปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรมตลอดเดือนต้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 80
พรรษา จักประชุมสังคายนาพระธรรมและพระวินัยในเดือนกลางพรรษา.
ในวันที่ ๒ พระเถระเหล่านั้นได้ไปยืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง.
พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จมานมัสการแล้ว มีพระราดำรัสถามถึงกิจที่พระ
องค์ทำว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย มาธุระอะไร เจ้าข้า ? พระเถระทั้งหลาย
ถวายพระพรให้ทรงทราบถึงงานฝีมือ เพื่อประโยชน์แก่การปฏิสังขรณ์วัด
ใหญ่ ๑๘ วัด. พระเจ้าอชาตศัตรูได้พระราชทานคนที่ทำงานฝีมือ. พระ
เถระให้ปฏิสังขรณ์วัดทั้งหมดตลอดเดือนต้นฤดูฝนเสร็จแล้ว ถวายพระพร
แด่พระเจ้าอชาตศัตรูว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร งานปฏิสังขรณ์วัด
เสร็จแล้ว บัดนี้อาตมภาพทั้งหลาย จะทำการสังคายนาพระธรรมและ
พระวินัย. พระเจ้าอชาตศัตรูมีพระราชดำรัสว่า ดีแล้ว เจ้าข้า พระ
คุณเจ้าทั้งหลายไม่ต้องหนักใจ นิมนต์ทำเถิด การฝ่ายอาณาจักรขอให้เป็น
หน้าที่ของโยม ส่วนการฝ่ายธรรนจักร ขอให้เป็นหน้าที่ของพระคุณเจ้า
ทั้งหลาย โยมจะต้องทำอะไรบ้าง โปรดสั่งมาเถิด เจ้าข้า. พระเถระทั้ง-
หลายถวายพระพรว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ขอพระองค์ได้โปรด
ให้ทำที่นั่งประชุมสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้ทำสังคายนา. จะทำที่ไหน เจ้า-
ข้า ? ขอถวายพระพรมหาบพิตร ควรทำใกล้ประตูถ้ำสัตตบรรณ ข้าง
ภูเขาเวภาระ. พระเจ้าอชาตศัตรูมีพระราชกระแสว่า เหมาะดี เจ้าข้า
แล้วโปรดให้สร้างมณฑปมีเครื่องประดับวิเศษที่น่าชม มีทรวดทรงสัณฐาน
เช่นอาคารอันวิษณุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ มีฝาเสาและบันไดจัดแบ่งไว้
เป็นอย่างดี มีความงานวิจิตรไปด้วยมาลากรรมและลดากรรมนานาชนิดพิศ
แล้วประหนึ่งว่า จะครอบงำความงามแห่งพระตำหนักของพระราชา งาม
สง่าเหมือนจะเย้ยหยันความงามของเทพวิมาน ปานประหนึ่งว่า สถานเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 81
ที่รวมอยู่ของโชควาสนา ราวกะว่าท่าที่รวนลงของฝูงวิหค คือนัยนาแห่ง
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพียงดังภาพที่งามตาน่ารื่นรมย์ในโลก ซึ่ง
ประนวลไว้ในที่เดียวกัน มีเพดานงามยวนคาเหมือนจะคายออกซึ่งพวง
ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ และไข่มุกที่ห้อยอยู่ ดูประหนึ่งฟันระดับ ซึ่งปรับ
ด้วยทับทิม วิจิตรไปด้วยรัตนะต่าง ๆ มีแท่นที่สำเร็จเรียบร้อยดี ด้วย
ดอกไม้บูชานานาชนิด ประดับ ให้วิจิตรละม้ายคล้ายพิมานพรหม โปรด
ให้ปูลาดอาสนะอันเป็นกัปปิยะ ๕๐๐ ที่ มีค่านับมิได้ ในมหามณฑปนั้น
สำหรับ ภิกษุ ๕๐๐ รูป ให้ปูลาดที่นั่งพระเถระ หันหน้าทางทิศเหนือ
หันหลังทางทิศใต้ ให้ปูลาดที่นั่ง แสดงธรรมอันควรแก่การประทับนั่งของ
พระพุทธเจ้าผู้มีบุญ หันหน้าทางทิศตะวันออก ในท่ามกลางมณฑป วาง
พัดทำด้วยงาช้างไว้บนธรรมาสน์นั้น แล้วมีรับสั่งให้แจ้งแก่ภิกษุสงฆ์ว่า
กิจของโยมเสร็จแล้ว เจ้าข้า.
ก็และในวันนั้น ภิกษุบางพวกได้พูดพาดพิงถึงท่านพระอานนท์
อย่างนี้ว่า ในหมู่ภิกษุนี้ มีภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวโชยกลิ่นคาวอยู่. พระ
อานนท์เถระได้ยินคำนั้นแล้ว ถึงความสังเวชว่า ภิกษุรูปอื่นที่ชื่อว่าเที่ยว
โชยกลิ่นคาว ไม่มีในหมู่ภิกษุนี้ ภิกษุเหล่านี้คงพูดหมายถึงเราเป็นแน่.
ภิกษุบางพวกกล่าวกะพระอานนท์นั้นว่า ดูก่อนท่านอานนท์ การประชุม
ทำสังคายนาจักมีในวันพรุ่งนี้ แต่ท่านยังเป็นพระเสขะ ยังมีกิจที่จะต้องทำ
ด้วยเหตุนั้นท่านไม่ควรเข้าประชุม ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด.
พระอานนท์บรรลุพระอรหัต
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุมทำสัง-
คายนา การที่เรายังเป็นพระเสขะอยู่ จะเข้าประชุมด้วยนั้น ไม่สมควรแก่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 82
เราเลย แล้วให้เวลาล่วงไปด้วยกายคตาสติกรรมฐาน ตลอดราตรีเป็นส่วน
มากทีเดียว ในเวลาใกล้รุ่งของราตรีก็ลงจากที่จงกรมเข้าวิหาร เอนกายลง
หมายจะนอน. เท้าทั้งสองพ้นจากพื้นแล้ว แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน
ในระหว่างนี้จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. พระ
อานนท์เถระนี้ให้เวลาล่วงไปในภายนอก ด้วยการจงกรม เมื่อไม่อาจให้
คุณวิเศษเกิดขึ้นได้ ก็คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราไว้มิใช่หรือ
ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอได้สร้างบุญไว้แล้ว จงหมั่นบำเพ็ญเพียรเถิด ไม่
ช้าก็จะเป็นพระอรหันต์ดังนี้ ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ตรัสผิด
พลาด แต่เราปรารภความเพียรมากเกินไป ฉะนั้น จิตของเราจึงฟุ้งซ่าน
ทีนี้เราจะประกอบความเพียรพอดี ๆ คิดดังนี้แล้ว ลงจากที่จงกรม ยืน
ในที่ล้างเท้า ล้างเท้า เข้าวิหาร นั่งบนเตียงคิดว่า จักพักผ่อนสักหน่อย
แล้วเอนกายบนเตียง เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน
ในระหว่างนี้จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. ความเป็น
พระอรหันต์ของพระอานนทเถระ เว้นจากอิริยาบถ ๔ ฉะนั้น เมื่อมีการ
กล่าวถามกันขึ้นว่า ในศาสนานี้ ภิกษุที่ไม่นอน ไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่เดิน
จงกรม แต่ได้บรรลุพระอรหัต คือภิกษุรูปไหน ควรตอบว่า คือ พระ
อานนทเถระ.
ครั้งนั้น ในวันที่ ๒ จากวันที่พระอานนท์บรรลุพระอรหัต คือ
วันแรม ๕ ค่ำ พวกภิกษุชั้นพระเถระฉันเสร็จแล้ว เก็บบาตรและจีวร
แล้วประชุมกันในธรรมสภา. สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เป็นพระ
อรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม. ท่านไปอย่างไร. ท่านพระอานนท์มีความยินดี
ว่า บัดนี้เราเป็นผู้สมควรเข้าท่ามกลางที่ประชุมแล้ว ห่มจีวรเฉวียงบ่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 83
ข้างหนึ่ง มีลักษณะเหมือนลูกตาลสุกที่หล่นจากขั้ว มีลักษณะเหมือน
ทับทิมที่วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง มีลักษณะเหมือนดวงจันทร์เพ็ญที่ลอย
เด่นในท้องนภากาศอันปราศจากเมฆ และมีลักษณะเหมือนดอกปทุมมี
เกสรและกลีบแดงเรื่อกำลังแย้มด้วยต้องแสงอาทิตย์อ่อน ๆ คล้ายจะบอก
เรื่องที่คนบรรลุพระอรหัตด้วยปากอันประเสริฐบริสุทธิ์ผุดผ่องมีรัศมีและมี
สิริ ได้ไปสู่ที่ประชุมสงฆ์. ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะพอเห็นพระ
อานนท์ดังนั้น ได้มีความรู้สึกว่า ท่านผู้เจริญ พระอานนท์บรรลุพระ
อรหัตแล้ว งามจริง ๆ ถ้าพระศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่ พระองค์ก็จะ
พึงประทานสาธุการแก่พระอานนท์ในวันนี้แน่แท้ บัดนี้เราจะให้สาธุการ
ซึ่งพระศาสดาควรประทานแก่พระอานนท์นั้น ดังนี้แล้ว ได้ให้สาธุการ
๓ ครั้ง.
ส่วนพระมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวว่า พระอานนทเถระ ประสงค์
จะให้สงฆ์ทราบเรื่องที่ตนบรรลุพระอรหัต จึงมิได้ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายเมื่อนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตน ๆ ตามลำดับอาวุโส ก็นั่งเว้น
อาสนะของพระอานนทเถระไว้. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวก
ถามว่า นั่นอาสนะของใคร ? ได้รับตอบว่า ของพระอานนท์. ภิกษุ
เหล่านั้นถามอีกว่า พระอานนท์ไปไหนเสียเล่า ? สมัยนั้น พระอานนท์-
เถระคิดว่า บัดนี้เป็นเวลาที่เราควรจะไป ต่อจากนั้น เมื่อจะแสดง
อานุภาพของตน ท่านจึงดำดินแล้วแสดงตนบนอาสนะของตนทีเดียว.
อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระอานนท์ไปทางอากาศแล้ว นั่งบน
อาสนะของตน ดังนี้ก็มี. อย่างไรก็ตาม การที่ท่านพระมหากัสสปะเห็น
พระอานนท์แล้ว ให้สาธุการ เป็นการเหมาะสมโดยประการทั้งปวงทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 84
เมื่อท่านพระอานนท์มาอย่างแล้ว พระมหากัสสปเถระจึง
ปรึกษาหารือภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลาย
จะสังคายนาอะไรก่อน พระธรรมหรือพระวินัย ? ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า
ข้าแต่พระมหากัสสปะผู้เจริญ พระวินัยเป็นอายุของพระพุทธศาสนา เมื่อ
พระวินัยตั้งอยู่ พระศาสนาก็ชื่อว่ายังดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น เราทั้งหลาย
จงสังคายนาพระวินัยก่อน พระมหากัสสปะถามว่าเราจะจัดให้ใครรับเป็น
ธุระ ? ที่ประชุมตอบว่าให้ท่านพระอุบาลีรับเป็นธุระ ? ท่านถามแย้งว่า
พระอานนท์ไม่สามารถหรือ ? ที่ประชุมชี้แจงว่า ไม่ใช่พระอานนท์
ไม่สามารถ ก็แต่ว่าเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งดำรงพระชนม์อยู่ ได้
สถาปนาท่านพระอุบาลีไว้ในเอตทัคคะ เพราะอาศัยการเล่าเรียนวินัยว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาลีเป็นยอดแห่งภิกษุสาวกของเราผู้ทรงวินัย ดังนี้
เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจึงต้องถามพระอุบาลีเถระ สังคายนาพระวินัย.
ลำดับนั้น พระมหากัสสปเถระได้สมมติตนเองเพื่อถามพระวินัย แม้
พระอุบาลีเถระ ก็สมมติตนเองเพื่อตอบพระวินัย ในการสมมตินั้น
มีบาลีดังต่อไปนี้
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้เผดียงว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
ข้าพเจ้าจะขอถามวินัยกะพระอุบาลี. แม้ท่านพระอุบาลีก็ได้เผดียงว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะถามวินัยแล้ว จะตอบ
ครั้นท่านพระอุบาลีสมมติตนอย่างนี้แล้วลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่งนมัสการภิกษุชั้นพระเถระแล้วนั่งบนธรรมาสน์จับพัดงา. ลำดับนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 85
พระมหากัสสปเถระนั่งบนเถรอาสน์ ถามวินัยกะท่านพระอุบาลีว่า
ดูก่อนอาวุโสอุบาลี ปฐมปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
ที่ไหน ? พระอุบาลีตอบว่า ทรงบัญญัติที่เมืองเวลาลี เจ้าข้า.
พระมหากัสสปะถามว่า ทรงปรารภใคร ? พระอุบาลีตอบว่า ทรง
ปรารภพระสุทิน บุตรกลันทเศรษฐี. พระมหากัสสปะถามว่า เรื่อง
อะไร ? พระอุบาลีตอบว่า เรื่องเสพเมถุนธรรม. ครั้งนั้นแล ท่าน
พระมหากัสสปะถามท่านพระอุบาลีทั้งวัตถุ ถามทั้งนิทาน ถามทั้งบุคคล
ถามทั้งมูลบัญญัติ ถามทั้งอนุบัญญัติ ถามทั้งอาบัติ ถามทั้งอาบัติแห่ง
ปฐมปาราชิก. ท่านพระอุบาลี อันพระมหากัสสปะถามแล้ว ๆ ก็ได้ตอบ
แล้ว.
ถามว่า ก็ในบาลีปฐมปาราชิก ในวินัยปิฎกนี้ บทอะไร ๆ ที่ควร
ตัดออกหรือที่ควรเพิ่มเข้ามา จะมีบ้างหรือไม่มีเลย. ตอบว่า บทที่ควร
ตัดออก ไม่มีเลย เพราะถือกันว่าบทที่ควรตัดออกในภาษิตของพระ
พุทธเจ้าผู้มีบุญ จะมีไม่ได้เลย ด้วยว่าพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ตรัสอักษร
ที่ไม่มีประโยชน์แม้แต่ตัวเดียว แต่บทที่ควรตัดออกในภาษิตของพระสาวก
ทั้งหลายก็ดี ของเทวดาทั้งหลายก็ดี ย่อมมีบ้าง พระธรรมสังคาหกเถระ
ทั้งหลายได้ตัดบทนั้นออกแล้ว. ส่วนบทที่ควรเพิ่มเข้ามา ย่อมมีได้แม้ใน
พุทธภาษิต สาวกภาษิต และเทวดาภาษิตทั่วไป เพราะฉะนั้น บทใด
ควรเพิ่มเข้าในเทศนาใด พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายก็ได้เพิ่มบทนั้น
เข้ามาแล้ว. ถามว่า บทที่เพิ่มเข้ามานั้นได้แก่บทอะไรบ้าง ? ตอบว่า
บทที่เพิ่มเข้ามานั้น ได้แก่บทที่เป็นแต่เพียงคำเชื่อมความท่อนต้นกับท่อน
หลัง มีอาทิอย่างนี้ว่า เตน สมเยน บ้าง เตน โข ปน สมเยน บ้าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 86
อถโข บ้าง เอว วุตฺเต บ้าง เอตทโวจ บ้าง อนึ่ง พระธรรม-
สังคาหกเถระทั้งหลาย ได้เพิ่มบทที่ควรเพิ่มเข้ามาอย่างนี้แล้ว ตั้งไว้ว่า
อิท ปมปาราชิก (สิกขาบทนี้ชื่อปฐมปาราชิก) เมื่อปฐมปาราชิก
ขึ้นสู่สังคายนาแล้ว พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ก็ได้ทำคณสาธยาย (สวด
เป็นหมู่ ) โดยนัยที่ยกขึ้นสู่สังคายนาว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา
เวรญฺชาย วิหรติ เป็นต้น. ในเวลาที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์เหล่านั้น
เริ่มสวด แผ่นดินใหญ่ได้เป็นเหมือนให้สาธุการไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน.
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย ยกปาราชิกที่เหลืออยู่ ๓ สิกขาบท
ขึ้นสู่สังคายนาโดยนัยนี้เหมือนกัน แล้วตั้งไว้ว่า อิท ปาราชิกกณฺฑ
กัณฑ์นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์ ตั้งสังฆาทิเสส ๑๓ ไว้ว่า เตรสกณฺฑ ตั้งสิกขา
บท ๒ ไว้ว่า อนิยต ตั้งสิกขาบท ๓๐ ไว้ว่า นิสสัคคียปาจิตตีย์ ตั้ง
สิกขาบท ๙๒ ไว้ว่า ปาจิตตีย์ ตั้งสิกขาบท ๔ ไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ
ตั้งสิกขาบท ๗๕ ไว้ว่า เสขิยะ ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า อธิกรณสมถะ
ระบุสิกขาบท ๒๒๗ ว่า คัมภีร์มหาวิภังค์ ตั้งไว้ด้วยประการฉะนี้. แม้
ในเวลาเสร็จการสังคายนาคัมภีร์มหาวิภังค์ แผ่นดินใหญ่ก็ได้ไหวโดยนัย
ก่อนเหมือนกัน.
ต่อจากนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย ได้ตั้งสิกขาบท ๘
ในภิกขุนีวิภังค์ไว้ว่า กัณฑ์นี้ชื่อปาราชิกภัณฑ์ ตั้งสังฆาทิเสส ๑๗
สิกขาบทไว้ว่า นี้สัตตรสกัณฑ์ ตั้งนิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทนี้
ไว้ว่า นี้นิสสัคคียปาจิตตีย์ ตั้งปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบทไว้ว่า นี้ปาจิตตีย์
ตั้งปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบทไว้ว่า นี้ปาฏิเทสนียะ ตั้งเสขิยะ ๗๕ สิกขาบท
ไว้ว่า นี้เสขิยะ ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า นี้อธิกรณสมถะ ระบุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 87
สิกขาบท ๓๐๔ ว่า ภิกขุนีวิภังค์ อย่างนี้แล้ว ตั้งไว้ว่า วิภังค์นี้ชื่อ
อุภโตวิภังค์ มี ๖๔ ภาณวาร. แม้ในเวลาเสร็จการสังคายนาคัมภีร์
อุภโตวิภังค์ แผ่นดินใหญ่ก็ได้ไหวโดยนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.
โดยอุบายวิธีนี้แหละ พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย ยกคัมภีร์
ขันธกะ (มหาวรรคและจุลวรรค ) ซึ่งมีประมาณ ๘๐ ภาณวาร และ
คัมภีร์บริวารซึ่งมีประมาณ ๒๕ ภาณวาร ขึ้นสู่สังคายนาแล้วตั้งไว้ว่า
ปิฎกนี้ชื่อวินัยปิฎก. แม้ในเวลาเสร็จการสังคายนาวินัยปิฎก แผ่นดินได้
ไหวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้มอบ
ท่านพระอุบาลีให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน ในเวลาเสร็จการสังคายนา
วินัยปิฎก พระอุบาลีเถระ วางพัดงาลงจากธรรมาสน์ นมัสการภิกษุ
ชั้นเถระทั้งหลายแล้วนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตน.
ครั้นสังคายนาพระวินัยเสร็จแล้ว ท่านพระมหากัสสปะประสงค์
จะสังคายนาพระธรรมต่อไป จึงถามภิกษุทั้งหลายว่า เราทั้งหลายผู้จะ
สังคายนาพระธรรม (สุตตันตปิฎกและอภิธรรมปิฎก) จะจัดให้ใครรับ
เป็นธุระสังคายนาพระธรรม ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ให้ท่านพระอานนท-
เถระรับเป็นธุระ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้เผดียงว่า ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะขอถามพระธรรมกะพระอานนท์. ครั้งนั้นแล ท่าน
พระอานนท์ได้เผดียงว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะ
ถามพระธรรมแล้ว จะตอบ. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ
ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นมัสการภิกษุชั้นพระเถระทั้งหลายแล้วนั่งบน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 88
ธรรมาสน์จับพัดงา. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราทั้งหลายจะสังคายนาปิฎกไหนก่อน ? ภิกษุ
ทั้งหลายกล่าวว่า สังคายนาสุตตันปิฎกก่อน พระมหากัลสปะถามว่า
ในสุตตันตปิฎกมีสังคีติ ๔ ประการ (คือ ทีฆสังคีติ การสังคายนาทีฆนิกาย
มัชฌิมสังคีติ การสังคายนามัชฌิมนิกาย สังยุตตสังคีติ การสังคายนา-
สังยุตตนิกาย อังคุตตรสังคีติ การสังคายนาอังคุตตรนิกาย ส่วนขุททก-
นิกาย มีวินัยปิฎกรวมอยู่ด้วย จึงไม่นับในที่นี้ ) ในสังคีติเหล่านั้น เรา
ทั้งหลายจะสังคายนาสังคีติไหนก่อน ? ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า สังคายนา
ทีฆสังคีติก่อน. พระมหากัสสปะถามว่า ในทีฆสังคีติ มีสูตร ๓๔ สูตร
มีวรรค ๓ วรรค ในวรรคเหล่านั้น เราทั้งหลายจะสังคายนาวรรคไหน
ก่อน ? ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า สังคายนาสีลขันธวรรคก่อน. พระมหา-
กัสสปะถามว่า ในสีลขันธวรรค มีสูตร ๑๓ สูตร ในสูตรเหล่านั้น เรา
ทั้งหลายจะสังคายนาสูตรไหนก่อน ? ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขึ้นชื่อว่าพรหมชาลสูตรประดับด้วยศีล ๓ ประเภท เป็นสูตรกำจัดโทษ
มีการหลอกลวง และการพูดประจบประแจงซึ่งเป็นมิจฉาชีพหลายอย่าง
เป็นต้น เป็นสูตรปลดเปลื้องข่ายคือ ทิฏฐิ ๖๒ ทำหมื่นโลกธาตุให้ไหว
เราทั้งหลายจงสังคายนาพรหมชาลสูตรนั้นก่อน.
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้กล่าวถามคำนี้กะท่านพระ
อานนท์ว่า ดูก่อนอาวุโสอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพรหมชาลสูตร
ที่ไหน ? พระอานนท์ตอบว่า ตรัส ณ พระตำหนักในพระราชอุทยาน
อัมพลัฏฐิกา ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา. พระมหากัสสปะ
ถามว่า ทรงปรารภใคร ? พระอานนท์ตอบว่า ทรงปรารภสุปปิยปริ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 89
พาชกกับพรหมทัตมาณพ. พระมหากัสสปะถามว่า เรื่องอะไร ?
พระอานนท์ตอบว่า เรื่องชมและติ. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะ
ถามทั้งนิทาน ถามทั้งบุคคล แห่งพรหมชาลสูตรกะท่านพระอานนท์
ท่านพระอานนท์ก็ได้ตอบแล้ว. เมื่อตอบเสร็จแล้ว พระอรหันต์ ๕๐๐
องค์ไค้ทำคณสาธยาย. และแผ่นดินได้ไหวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ครั้นสังคายนาพรหมชาลสูตรอย่างนี้แล้ว ต่อจากนั้น พระธรรม
สังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาสูตร ๑๓ สูตร ทั้งหมดรวมทั้งพรหม-
ชาลสูตร ตามลำดับแห่งปุจฉาและวิสัชนา โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อน
อาวุโสอานนท์ วรรคนี้ชื่อสีลขันธวรรค. พระธรรมสังคาหกเถระ
ทั้งหลาย สังคายนาบาลีประมาณ ๖๔ ภาณวาร ประดับด้วยสูตร ๖๔ สูตร
จัดเป็น ๓ วรรค อย่างนี้ คือ มหาวรรคต่อจากสีลขันธวรรคนั้น ปาฏิก-
วรรคต่อจากมหาวรรคนั้น แล้วกล่าวว่า นิกายนี้ชื่อทีฆนิกาย แล้วมอบ
ท่านพระอานนท์ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน. ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์
ทีฆนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนามัชฌิมนิกาย
ประมาณ ๘๐ ภาณวาร แล้วมอบกะนิสิตของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร-
เถระว่า ท่านทั้งหลาย จงบริหารคัมภีร์มัชฌิมนิกายนี้ . ต่อจากการ
สังคายนาคัมภีร์มัชฌิมนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้
สังคายนาสังยุตตนิกายประมาณ ๑๐๐ ภาณวาร แล้วมอบกะพระมหา-
กัสสปเถระ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์
สังยุตตนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาอังคุตตร-
นิกายประมาณ ๑๒๐ ภาณวาร แล้วมอบกะพระอนุรุทธเถระ ให้ไปสอน
ลูกศิษย์ของท่านว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 90
คัมภีร์ธรรมสังคณี คัมภีร์วิภังค์ คัมภีร์
กถาวัตถุ คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ คัมภีร์
ธาตุกถา คัมภีร์ยมก คัมภีร์ปัฏฐาน ท่าน
เรียกว่า พระอภิธรรม.
ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์อังคุตตรนิกายนั้น พระธรรมสังคาหก-
เถระทั้งหลาย ได้สังคายนาบาลีพระอภิธรรม ซึ่งเป็นอารมณ์ของญาณ
อันสุขุม อันบัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญแล้วอย่างนี้ แล้วกล่าวว่า ปิฎกนี้
ชื่อ อภิธรรมปิฎก พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ได้ทำคณสาธยาย แผ่นดินได้
ไหวตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล. ต่อจากการยังคายนาอภิธรรมปิฎกนั้น
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาพระบาลี คือ ชาดก นิทเทส
ปฏิสัมภิทามรรค อปทาน สุตตนิบาต ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน
อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา พระทีฆภาณ-
กาจารย์กล่าวว่า ประชุมคัมภีร์นี้ชื่อว่า ขุททกคันถะ และกล่าวว่า
พระธรรมสังคาหกเถระ ยกสังคายนาในอภิธรรมปิฎกเหมือนกัน. ส่วน
พระมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวว่า ขุททกคันถะทั้งหมดนี้กับจริยาปิฎกและ
พุทธวงศ์ นับเนื่องในสุตตันตปิฎก.
พระพุทธพจน์แม้ทั้งหมดนี้ พึงทราบว่ามี ๑ คือ รส มี ๒ คือ
ธรรมและวินัย มี ๓ คือ ปฐมพจน์ มัชฌิมพจน์ และปัจฉิมพจน์ มี ๓
ด้วยอำนาจแห่งปิฎก มี ๕ ด้วยอำนาจแห่งนิกาย มี ๙ ด้วยอำนาจแห่งองค์
มี ๘๔,๐๐๐ ด้วยอำนาจธรรมขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.
พระพุทธพจน์ มี ๑ คือ รส นับอย่างไร ? จริงอยู่ คำใดที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 91
ทรงสั่งสอนเทวดา มนุษย์ นาค และยักษ์เป็นต้นก็ดี ทรงพิจารณา
อยู่ก็ดี ตลอดเวลา ๔๕ ปี ในระหว่างนี้จนตราบเท่าเสด็จปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ตรัสไว้ คำทั้งหมดนั้นมีรสเดียว คือวิมุตติรส
นั่นแล พระพุทธพจน์ มี ๑ คือ รส นับอย่างนี้.
พระพุทธพจน์ มี ๒ คือธรรมและวินัย นับอย่างไร ? จริงอยู่
พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้ ย่อมนับว่าธรรมและวินัย ในธรรมและวินัยนั้น
วินัยปิฎก ชื่อว่าวินัย พระพุทธพจน์ที่เหลือ ชื่อว่าธรรม. เพราะ-
เหตุนั้นแล พระมหากัสสปะจึงกล่าวว่า อย่ากระนั้นเลย เราทั้งหลาย
พึงสังคายนาพระธรรมและพระวินัย และกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะถาม
วินัยกะพระอุบาลี จะถามธรรมกะพระอานนท์ พระพุทธพจน์มี ๒ คือ
ธรรมและวินัย นับอย่างนี้.
พระพุทธพจน์มี ๓ คือปฐมพจน์ มัชฌิมพจน์ และปัจฉิมพจน์
นับอย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้มี ๓ ประเภท คือ
ปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์ ปัจฉิมพุทธพจน์. ใน ๓ ประเภทนี้
ปฐมพุทธพจน์ได้แก่พุทธพจน์นี้ คือ
อเนกชาติสสาร สนฺธาวิสฺส อนิพฺพิส
คหการ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุน
คหการก ทิฏฺโสิ ปุน เคห น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏ วิสงฺขต
วิสงฺขารคต จิตฺต ตณฺหาน ขยมชฺฌคา
เราแสวงหาช่างผู้ทำเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยว
ไปแล้ว สิ้นสงสารนับด้วยชาติมิใช่น้อย ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 92
ดูก่อนช่างผู้ทำเรือนคืออัตภาพ เราพบท่านแล้ว ท่านจักทำเรือนคือ
อัตภาพของเราอีกไม่ได้ โครงบ้านของท่านทั้งหมด เราทำลายแล้ว
ยอดแห่งเรือนคืออวิชชา เรารื้อแล้ว จิตของเราถึงพระนิพพานแล้ว
เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลายแล้ว.
อาจารย์บางพวกกล่าวอุทานคาถาในคัมภีร์ขันธกะ มีคำว่า ยทา หเว
ปาตุภวนฺติ ธมฺมา ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ ดังนี้ เป็นต้น
ว่าเป็นปฐมพุทธพจน์ ก็อุทานคาถานี้ พึงทราบว่า เป็นอุทานคาถาที่บังเกิด
แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ทรงพิจารณาซึ่ง
ปัจจยาการ ด้วยพระญาณที่สำเร็จด้วยโสมนัสเวทนาในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๖
ก็คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในเวลาใกล้เสด็จปรินิพพานว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังสัมมาปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยความ
ไม่ประมาท ดังนี้ เป็นปัจฉิมพุทธพจน์. คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ระหว่างปฐมพจน์และปัจฉิมพจน์ ชื่อมัชฌิมพจน์. พุทธพจน์ ๓ ประเภท
คือ ปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์ และปัจฉิมพุทธพจน์ นับอย่างนี้
พุทธพจน์มี ๓ ด้วยอำนาจแห่งปิฎก นับอย่างไร ? จริงอยู่ พระ
พุทธพจน์ทั้งหมดนี้มี ๓ ประเภท คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรม-
ปิฎก. ใน ๓ ปิฎกนั้น พระพุทธพจน์นี้ คือ ปาติโมกข์ทั้ง ๒ วิภังค์
ขันธกะ ๘๒ ปริวาร ๑๖ ชื่อวินัยปิฎก เพราะรวมพระพุทธพจน์ทั้งหมด
ที่สังคายนาในครั้งปฐมสังคายนา และที่สังคายนาต่อมา. พระพุทธพจน์
ที่ชื่อว่าสุตตันตปิฎก ได้แก่พระพุทธพจน์ต่อไปนี้คือ ทีฆนิกาย มี
จำนวน ๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น มัชฌิมนิกาย มีจำนวน ๑๕๒
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 93
สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น สังยุตตนิกาย มีจำนวน ๗,๗๖๒ สูตร
มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น อังคุตตรนิกาย มีจำนวน ๙,๕๕๐ สูตร มีจิตต-
ปริยาทานสูตรเป็นต้น ขุททกนิกายมี ๑๕ ประเภท คือขุททกปาฐะ
ธรรมบท อุทาน อิติวุตตก สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ
เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน พุทธวงศ์
และจริยาปิฎก. พระพุทธพจน์ที่ชื่อว่าอภิธรรมปิฎก ได้แก่พระพุทธพจน์
ต่อไปนี้ คือ ธรรมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา บุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ
ยมก ปัฏฐาน. ใน ๓ ปิฎกนี้
( อรรถาธิบายคำว่าวินัย )
วินัยศัพท์นี้ บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งวินัยศัพท์
แปลความหมายว่า วินัย เพราะมีนัยต่างๆ
เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะควบคุมกาย
และวาจา.
ก็ในวินัยปิฎกนี้ มีนัยต่างๆ คือ มีปาติโมกขุทเทส ๕ อาบัติ ๗ กอง
มีปาราชิกเป็นต้น มาติกาและวิภังค์เป็นต้นเป็นประเภท ส่วนนัยอนุบัญญัติ
เป็นนัยพิเศษ มีผลทำให้พระพุทธบัญญัติเดิมตึงขึ้น และหย่อนลง และ
วินัยนี้ ย่อมควบคุมกายและวาจา เพราะห้ามการประพฤติล่วงทางกาย
และทางวาจา เพราะฉะนั้น ท่านจึงแปลความหมายว่า วินัย เพราะมี
นัยต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษและเพราะควบคุมกายและวาจา เพราะเหตุนั้น
เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในเนื้อความของคำของวินัยนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 94
วินัยศัพท์นี้ บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งวินัยศัพท์
แปลความหมายว่า วินัย เพราะมีนัยต่าง ๆ
เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะควบคุมกาย
และวาจา.
( อรรถาธิบายคำว่าสูตร )
ส่วนสุตตศัพท์นอกนี้ ท่านแปลความหมาย
ว่าสูตร เพราะเปิดเผยซึ่งประโยชน์ทั้งหลาย
เพราะกล่าวประโยชน์ไว้เหมาะสม เพราะ
เผล็ดประโยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์
เพราะป้องกันอย่างดี และเพราะมีส่วน
เสมอด้วยสายบรรทัด.
ก็พระสูตรนั้นย่อมส่องถึงประโยชน์ทั้งหลายอันต่างด้วยประโยชน์ตน
และประโยชน์ผู้อื่นเป็นต้น. อนึ่ง ประโยชน์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ดีแล้ว ในปิฎกนี้ เพราะตรัสอนุโลมตามอัธยาศัยของเวไนย. อนึ่ง
สุตตันตปิฎกนี้ ย่อมเผล็ดประโยชน์ทั้งหลาย อธิบายว่า เผล็ดผลเหมือน
ข้าวกล้าเผล็ดผลฉะนั้น. พระสูตรนี้ย่อมหลั่งประโยชน์ทั้งหลาย อธิบายว่า
เหมือนโคนมหลั่งน้ำนมฉะนั้น. อนึ่ง พระสูตรนี้ ย่อมป้องกัน อธิบายว่า
ย่อมรักษาประโยชน์เหล่านั้นอย่างดี. อนึ่ง พระสูตรนี้มีส่วนเสมอด้วยสาย
บรรทัด เหมือนอย่างว่าสายบรรทัดเป็นเครื่องกำหนดของช่างไม้ทั้งหลาย
ฉันใด แม้พระสูตรนี้ก็เป็นเครื่องกำหนดของวิญญูชนทั้งหลายฉันนั้น
เหมือนอย่างว่าดอกไม้ทั้งหลายที่คุมไว้ด้วยด้าย ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 95
กระจัดกระจายด้วยลมฉันใด ประโยชน์ทั้งหลายที่รวบรวมไว้ด้วยพระสูตร
นี้ก็ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในเนื้อความแห่งคำ ของ
สูตรนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า
สุตตศัพท์นี้ ท่านแปลความหมายว่าสูตร
เพราะส่องถึงประโยชน์ทั้งหลาย เพราะ
กล่าวประโยชน์ไว้เหมาะสม เพราะเผล็ด
ประโยชน์ เพราะหลังประโยชน์ เพราะ
ป้องกันอย่างดี เพราะมีส่วนเสมอด้วยสาย
บรรทัด.
( อรรถาธิบายคำว่าอภิธรรม )
ก็ธรรมนอกนี้ ท่านเรียกอภิธรรม เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอภิธรรมนี้ว่า
เป็นธรรมที่มีความเจริญ ที่กำหนดเป็น
มาตรฐาน ที่บุคคลบูชาแล้ว ที่ตัดขาด
และเป็นธรรมอันยิ่ง.
อภิศัพท์นี้ย่อมปรากฏในความว่าเจริญ ความว่าอันบัณฑิตกำหนด
เป็นมาตรฐาน ความว่าอันบุคคลบูชาแล้ว ความว่าตัดขาด และความว่า
เป็นธรรมอันยิ่ง มีประโยคตัวอย่างดังต่อไปนี้
อภิศัพท์มาในอรรถว่าเจริญ ในประโยคมีอาทิว่า พาฬฺหา เม
อาวุโส ดูก่อนอาวุโส ทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า ย่อมเจริญ กำเริบแก่
ข้าพเจ้า ย่อมไม่ถอยลงเลย. อภิศัพท์มาในอรรถว่า อันบัณฑิตกำหนด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 96
เป็นมาตรฐาน ในประโยคมีอาทิว่า ยา ตา รตฺติโย อภิญฺาตา
อภิลกฺขิตา ราตรีนั้นใด (วันจาตุททสี วันปัณณรสี วันอัฏฐมี) อัน
บัณฑิตกำหนดรู้แล้ว (ด้วยความเต็มดวงของดวงจันทร์ และด้วยความ
หมดดวงของดวงจันทร์) อันบัณฑิตกำหนดเป็นมาตรฐานไว้แล้ว (เพื่อ
สมาทานอุโบสถ เพื่อฟังธรรม และเพื่อทำสักการบูชาเป็นต้น). อภิศัพท์
มาในอรรถว่า อันบุคคลบูชาแล้ว ในประโยคมีอาทิว่า ราชาภิราชา
มนุชินฺโท ขอพระองค์จงทรงเป็นพระราชาอันพระราชาบูชาแล้ว จงเป็น
จอมคน. อภิศัพท์มาในอรรถว่า ตัดขาด ในประโยคมีอาทิว่า ปฏิพโล
วิเนตุ อภิธมฺเม อภิวินเย เป็นผู้สามารถแนะนำในอภิธรรม ในอภิวินัย.
อธิบายว่า อญฺญฺมฺสงฺกรวิรหิเต ธมฺเม จ วินเย จ ในพระธรรม
และในพระวินัย ซึ่งเว้น จากการปะปนกันและกัน. อภิศัพท์มาในอรรถ
ว่า ยิ่ง ในประโยคมีอาทิว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน มีผิวพรรณงามยิ่ง.
อนึ่ง แม้ธรรมทั้งหลายที่มีความเจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
พระอภิธรรมนี้ โดยนัยมีอาทิว่า รูปุปฺปตฺติยา มคฺค ภาเวติ เมตฺตา-
สหคเตน เจตสา เอก ทิส ผริตฺวา วิหรติ ภิกษุเจริญมรรคเพื่อ
เข้าถึงรูปภพนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่. แม้ธรรม
ทั้งหลายที่บัณฑิตกำหนดเป็นมาตรฐาน เพราะความเป็นสภาพที่ควร
กำหนดด้วยอารมณ์เป็นต้น ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า รูปารมฺมณ วา
สทฺทารมฺมณ วา มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์. แม้ธรรมทั้งหลาย
อันท่านบูชาแล้ว ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เสกฺขา ธมฺมา อเสกฺขา
ธมฺมา โลกุตฺตรา ธมฺมา เสกขธรรม อเสกขธรรม โลกุตตรธรรม.
แม้ธรรมทั้งหลายที่ตัดขาดแล้ว เพราะความเป็นของที่ตัดขาดแล้วตาม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 97
สภาวะ. ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ผสฺโส โหติ เวทนา โหติ
ผัสสะมี เวทนามี แม้ธรรมทั้งหลายอันยิ่ง ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า
มหคฺคตา ธมฺมา อปฺปมาณา ธมฺมา อนุตฺตรา ธมฺมา มหัคคตธรรม
อัปปมาณธรรม อนุตตรธรรม เพราะเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาด
ในเนื้อความของคำ ของอภิธรรมนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า
ก็ธรรมนอกนี้ท่านเรียกว่าอภิธรรม เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอภิธรรมนี้ว่า
เป็นธรรมที่มีความเจริญ ที่กำหนดเป็น
มาตรฐาน ที่บุคคลบูชาแล้ว ที่ตัดขาด และ
เป็นธรรมยิ่ง.
ก็ในปิฎกทั้งหลายมีวินัยปิฎกเป็นต้นนี้ ปิฎกใดยังเหลืออยู่
ผู้รู้เนื้อความของปิฎกเรียกปิฎกนั้นว่า ปิฎก
โดยเนื้อความว่าปริยัติและภาชนะ พึงทราบ
ว่ามี ๓ มีวินัยเป็นต้น เพราะรวมเข้ากับ
ปิฎกศัพท์นั้น
จริงอยู่ แม้ปริยัติท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในประโยคมีอาทิว่า อย่าถือ
โดยอ้างปิฎก. แม้ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ปิฎก ในประโยค
มีอาทิว่า ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้าเดินมา. เพราะเหตุนั้น
บัณฑิตผู้รู้เนื้อความของปิฎกศัพท์ จึงเรียกปิฎกศัพท์ว่า ปิฎก โดยเนื้อ
ความว่าปริยัติและภาชนะ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 98
บัดนี้พึงทราบว่า มี ๓ มีวินัยเป็นต้น เพราะรวมเข้ากับปิฎกศัพท์
นั้น พึงทราบว่ามี ๓ มีวินัยเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้ว่า เพราะทำสมาสกับ
ปิฎกศัพท์ ซึ่งมีเนื้อความ ๒ อย่างนั้น อย่างนี้ คือวินัยด้วย วินัยนั้นเป็น
ปิฎกด้วย เพราะเป็นปริยัติ และเพราะเป็นภาชนะแห่งเนื้อความนั้น ๆ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อวินัยปิฎก โดยนัยตามที่กล่าวแล้ว พระสูตรด้วย พระสูตร
นั้นเป็นปิฎกด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสุตตันตปิฎก อภิธรรมด้วย อภิธรรม
นั้นเป็นปิฎกด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอภิธรรมปิฎก
ก็ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในประการต่าง ๆ ใน
ปิฎกทั้ง ๓ เหล่านั้นอีกครั้ง
พึงแสดงประเภทของเทศนา ประเภทของ
ศาสนา ประเภทของกถา และลิกขา
ปหานะ คัมภีรภาพตามสมควรในปิฎก
เหล่านั้น ภิกษุย่อมถึงซึ่งประเภทแห่งการ
เล่าเรียนใด ซึงสมบัติใด แม้ซึ่งวิบัติใด
ในปิฎกใด ด้วยอาการใด พึงแสดงซึ่ง
ประเภทแห่งการเล่าเรียนทั้งหมดแม้นั้น
ด้วยอาการนั้น.
ในคาถาเหล่านั้น มีคำอธิบายอย่างแจ่มแจ้งและชัดเจน ดังต่อไปนี้
จริงอยู่ ปิฎก ๓ เหล่านั้น ท่านเรียกตามลำดับว่า อาณาเทศนา โวหาร-
เทศนา ปรมัตถเทศนา ยถาปราธศาสนา ยถานุโลมศาสนา ยถาธรรม-
ศาสนา และสังวราสังวรกถา ทิฏฐิวินิเวฐนกถา นามรูปปริจเฉทกถา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 99
ก็ในปิฎก ๓ นี้ วินัยปิฎก ท่านเรียกว่า อาณาเทศนา การเทศนา
โดยอำนาจบังคับบัญชา เพราะเป็นปิฎกทีพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรออก
คำสั่ง ทรงแสดงแล้วโดยความเป็นเทศนาที่มากไปด้วยคำสั่ง. สุตตันตปิฎก
ท่านเรียกว่า โวหารเทศนา การเทศนาโดยบัญญัติ เพราะเป็นปิฎกที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงฉลาดในเชิงสอน ทรงแสดงแล้วโดยความเป็น
เทศนาที่มากไปด้วยคำสอน. อภิธรรมปิฎก ท่านเรียกว่า ปรมัตถเทศนา
การเทศนาโดยปรมัตถ์ เพราะเป็นปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดใน
ปรมัตถ์ ทรงแสดงแล้วโดยความเป็นเทศนาที่มากไปด้วยปรมัตถ์.
อนึ่ง ปิฎกที่ ๑ (วินัยปิฎก ) ท่านเรียกว่า ยถาปราธศาสนา การ
สั่งสอนตามความผิด เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความผิด
มากมายเหล่านั้นใด สัตว์เหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งตาม
ความผิดในปิฎกนี้. ปิฎกที่ ๒ ( สุตตันตปิฎก) ที่ท่านเรียกว่า ยถานุโลม-
ศาสนา การสั่งสอนอนุโลมตามอัธยาศัย เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์
ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยอนุสัยและจริยาวิมุตติ มิใช่น้อย อันพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงสั่งสอนแล้วในปิฎกนี้ตามอนุโลม. ปิฎกที่ ๓ (อภิธรรมปิฎก)
ท่านเรียกว่า ยถาธรรมศาสนา การสั่งสอนตามปรมัตถธรรม เพราะ
อรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความสำคัญในสภาวะสักว่ากองแห่ง
ปรมัตถธรรมว่า นี่เรา นั่นของเรา ดังนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
สั่งสอนแล้ว ตานปรมัตถธรรมในปิฎกนี้.
อนึ่ง ปิฎกที่ ๑ ท่านเรียกว่า สังวราสังวรกถา ด้วยอรรถว่า
สังวราสังวระอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการฝ่าฝืน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
แล้วในปิฎกนี้. บทว่า สวราสวโร ได้แก่ สังวรเล็กและสังวรใหญ่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 100
เหมือนกัมมากัมมะ การงานน้อยและการงานใหญ่ และเหมือนผลาผละ
ผลไม้น้อยและผลไม้ใหญ่. ปิฎกที่ ๒ ท่านเรียกว่า ทิฏฐิวินิเวฐนกถา
คำบรรยายคลายทิฏฐิ ด้วยอรรถว่า การคลายทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิ
๖๒ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในปิฎกนี้. ปิฎกที่ ๓ ท่านเรียกว่า
นามรูปปริจเฉทกถา คำบรรยายการกำหนดนามและรูป ด้วยอรรถว่า
การกำหนดนามและรูปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสมีราคะเป็นต้น อันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในปิฎกนี้.
อนึ่ง พึงทราบสิกขา ๓ ปหานะ ๓ และคัมภีรภาวะ ๔ อย่าง ใน
ปิฎกทั้ง ๓ เหล่านี้ ดังต่อไปนี้. จริงอย่างนั้น อธิสีลสิกขา พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้โดยเฉพาะในวินัยปิฎก อธิจิตตสิกขา ตรัสไว้โดย
เฉพาะในสุตตันตปิฎก อธิปัญญาสิกขา ตรัสไว้โดยเฉพาะในอภิธรรมปิฎก.
อนึ่ง การละกิเลสอย่างหยาบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวินัย
ปิฎก เพราะศีลเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสอย่างหยาบ. การละกิเลสอย่างกลาง
ตรัสไว้ในสุตตันตปิฎก เพราะสมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสอย่างกลาง. การ
ละกิเลสอย่างละเอียด ตรัสไว้ในอภิธรรมปิฎก เพราะปัญญาเป็นปฏิปักษ์
ต่อกิเลสอย่างละเอียด. อนึ่ง การละกิเลสชั่วคราว ตรัสไว้ในปิฎกที่ ๑
การละกิเลสด้วยข่มไว้ และการละกิเลสเด็ดขาด ตรัสไว้ในปิฎกทั้ง ๒
นอกนี้. การละสังกิเลสคือทุจริต ตรัสไว้ในปิฎกที่ ๑ การละสังกิเลสคือ
ตัณหา และทิฏฐิ ตรัสไว้ในปิฎกทั้ง ๒ นอกนี้.
ในปิฎก ๓ นี้ พึงทราบว่า แต่ละปิฎกมีคัมภีรภาวะ ทั้ง ๔ คือ
ความลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา และโดยปฏิเวธ. ในคัมภีร์-
ภาวะทั้ง ๔ นั้น ธรรมได้แก่บาลี อรรถได้แก่เนื้อความของบาลีนั้น แหละ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 101
เทศนาได้แก่การแสดงซึ่งบาลีนั้น อันกำหนดไว้อย่างดีด้วยใจ ปฏิเวธ
ได้แก่ความหยั่งรู้บาลี และเนื้อความของบาลีตามความเป็นจริง ก็เพราะ
ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธเหล่านี้ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ ผู้มีปัญญา
น้อยทั้งหลาย หยั่งรู้ได้ยาก และเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนมหาสมุทร สัตว์
เล็กทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้น พึ่งไม่ได้ฉะนั้น จึงเป็นของลึกซึ้ง.
ในปิฎก ๓ นี้ พึงทราบคัมภีรภาวะทั้ง ๔ อย่าง ในแต่ล่ะปิฎกด้วยประการ
ฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง ธรรมได้แก่เหตุ ข้อนี้สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า
ญาณในเหตุ ชื่อธรรมปฏิสัมภิทา. อรรถได้แก่ผลแห่งเหตุ ข้อนี้สมด้วย
พระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ญาณในผลแห่งเหตุ ชื่ออรรถปฏิสัมภิทา
เทศนาได้แก่บัญญัติ อธิบายว่า การแสดงธรรมตามสภาวธรรม อีกอย่าง
หนึ่ง การแสดงด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม สังเขปและพิสดารเป็นต้น
เรียกว่า เทศนา. ปฏิเวธได้แก่การตรัสรู้ และปฏิเวธนั้น เป็นได้ทั้ง
โลกิยะ ทั้งโลกุตตระ ได้แก่ความรู้จริงไม่เปลี่ยนแปลง ในเหตุทั้งหลาย
สมควรแก่ผล ในผลทั้งหลายสมควรแก่เหตุ ในบัญญัติทั้งหลายสมควร
แก่ทางแห่งบัญญัติ โดยอารมณ์ และโดยความไม่หลง สภาวะแห่งธรรม
ทั้งหลายนั้น ๆ ที่กล่าวแล้วในปิฎกนั้น ๆ ไม่วิปริต กล่าวคือบัณฑิตกำหนด
เป็นมาตรฐาน ควรแทงตลอด.
สภาวธรรมที่มีเหตุใด ๆ ก็ดี สภาวธรรมที่มีผลใด ๆ ก็ดี เนื้อความ
ที่ควรให้รู้ด้วยประการใด ๆ ย่อมเป็นเป้าหมายสำคัญแห่งญาณของผู้ฟัง
ทั้งหลาย เทศนานี้ใด ที่ส่องเนื้อความนั้นให้กระจ่างด้วยประการนั้น ๆ
ก็ดี ปฏิเวธใดกล่าวคือความรู้จริงไม่วิปริตในปิฎก ๓ นี้ อย่างหนึ่ง สภาวะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 102
แห่งธรรมทั้งหลายนั้น ๆ ที่ไม่วิปริต กล่าวคือ ที่บัณฑิตกำหนดเป็น
มาตรฐาน ควรแทงตลอด คุณชาตนี้ทั้งหมด ผู้มีปัญญาทรามทั้ง
หลาย ซึ่งมิได้สั่งสมกุศลสมภารไว้ หยั่งรู้ได้ยาก และพึ่งไม่ได้ เหมือน
มหาสมุทร สัตว์เล็กทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้น พึ่งไม่ได้ เพราะเหตุนั้น
สภาวธรรมที่มีเหตุหรือสภาวธรรมที่มีผลนั้น ๆ จึงลึกซึ้ง คัมภีรภาวะทั้ง ๔
อย่าง ในปิฎก ๓ นี้ แต่ละปิฎก ผู้ศึกษาพึงทราบในบัดนี้ แม้ด้วยประการ
ฉะนี้. ก็คาถานี้ว่า
พึงแสดงประเภทของเทศนา ประเภทของศาสนา
ประเภทของกถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ
ตามสมควรในปิฎกเหล่านั้น ดังนี้
เป็นคาถามีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
ส่วนประเภทแห่งการเล่าเรียน ๓ อย่าง ในปิฎก ๓ ในคาถานี้ว่า
ภิกษุย่อมถึงซึ่งประเภทแห่งปริยัติใด ซึ่งสมบัติใด
แม้ซึ่งวิบัติใด ในปิฎกใด ด้วยอาการใด พึงแสดง
ซึ่งประเภทแห่งปริยัติทั้งหมดแม้นั้น ด้วยอาการ
นั้น ดังนี้ พึงทราบต่อไป.
จริงอยู่ การเล่าเรียนมี ๓ อย่าง คือ อลคัททูปมาปริยัติ การเล่าเรียน
เหมือนจับงูข้างหาง นิสสรณัตถปริยัติ การเล่าเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ออกไป ภัณฑาคาริกปริยัติ การเล่าเรียนของพระอรหันต์เปรียบด้วยขุนคลัง.
ในปริยัติ ๓ ประเภทนั้น ปริยัติใด ที่บุคคลเรียนผิดทาง คือเรียน
เพราะเหตุมีติเตียนผู้อื่นเป็นต้น ปริยัตินี้ ชื่อ อลคัททูปมา ซึ่งพระผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 103
พระภาคเจ้าทรงมุ่งหมายตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ต้องการงู
แสวงหางู เที่ยวค้นหางู เขาพึงพบงูใหญ่ พึงจับขนด หรือจับทางงูนั่นนั้น
งูนั้นพึงเลี้ยวกลับมากัดมือหรือแขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่ที่ใดที่หนึ่งของ
บุรุษนั้น บุรุษนั้นพึงถึงตายหรือทุกข์ปางตาย เพราะการถูกงูกัดนั้นเป็นเหตุ
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเป็นเพราะเขาจับงู
ผิดวิธี ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษบางพวกในศาสนานี้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ ฯ ล ฯ เวทัลละ โมฆบุรุษ
เหล่านั้นครั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่พิจารณาเนื้อความของธรรมเหล่า
นั้นด้วยปัญญา เมื่อโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่พิจารณาเนื้อความด้วยปัญญา ธรรม
เหล่านั้นย่อมไม่ทนต่อการเพ่งพินิจ โมฆบุรุษเหล่านั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ติเตียนผู้อื่น และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลื้องตนจากการกล่าวร้ายนั้น ๆ จึง
เล่าเรียนธรรม โมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์แห่ง
ธรรมใด ย่อมไม่ได้ประโยชน์แห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น ที่โมฆบุรุษ
เหล่านั้นเรียนผิดทาง ย่อมเป็นไปเพื่ออันตรายอันไม่เกื้อกูล เพื่อความ
ทุกข์ตลอดกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข้อนั้นเป็นเพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนผิดทาง ดังนี้.
ส่วนปริยัติใด ที่บุคคลเรียนถูกทาง คือหวังความบริบูรณ์แห่งคุณ
มีสีลขันธ์เป็นต้นเท่านั้น เรียนแล้ว มิได้เรียนเพราะเหตุมีการติเตียนผู้อื่น
เป็นต้น นี้ชื่อ นิสสรณัตถปริยัติ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งหมาย
ตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้นที่บุคคลเหล่านั้นเรียนถูกทาง ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมทั้งหลายบุคคลเหล่านั้นเรียนถูกทาง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 104
ส่วนพระอรหันต์ผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว มีกิเลสอันละได้แล้ว
มีมรรคอันอบรมแล้ว มีพระอรหัตตผลอันแทงตลอดแล้ว มีนิโรธอันทำให้
แจ้งแล้ว ย่อมเรียนซึ่งปริยัติใด เพื่อต้องการรักษาประเพณี เพื่อต้องการ
อนุรักษ์พุทธวงศ์โดยเฉพาะ นี้ชื่อ ภัณฑาคาริกปริยัติ.
อนึ่ง ภิกษุปฏิบัติดีในพระวินัย อาศัยสีลสัมปทา ย่อมบรรลุวิชชา ๓
เพราะท่านกล่าวประเภทแห่งวิชชา ๓ เหล่านั้น ไว้ในพระวินัยนั้น. ภิกษุ
ปฏิบัติดีในพระสูตร อาศัยสมาธิสัมปทา ย่อมบรรลุอภิญญา ๖ เพราะ
ท่านกล่าวประเภทแห่งอภิญญา ๖ เหล่านั้นไว้ในพระสูตรนั้น ภิกษุ
ปฏิบัติดีในพระอภิธรรม อาศัยปัญญาสัมปทา ย่อมบรรลุปฏิสัมภิทา ๔
เพราะท่านกล่าวประเภทแห่งปฏิสัมภิทา ๔ ไว้ในพระอภิธรรมนั้นเหมือน
กัน. ภิกษุปฏิบัติดีในปิฎก ๓ เหล่านั้น ย่อมบรรลุสมบัติต่างด้วยวิชชา ๓
อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ เป็นต้นนี้ตามลำดับ ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนภิกษุปฏิบัติชั่วในพระวินัย ย่อมมีความสำคัญว่า ไม่มีโทษใน
ผัสสะทั้งหลาย มีการถูกต้องสิ่งที่มีวิญญาณครองเป็นต้น ที่ต้องห้าม โดย
มีลักษณะคล้ายคลึงกับการถูกต้องวัตถุมีเครื่องปูลาดและผ้าห่ม อันมี
สัมผัสสบายที่ทรงอนุญาตไว้เป็นต้น. สมด้วยคำที่พระอริฏฐะกล่าวไว้ว่า
เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่าเป็นธรรมทำ
อันตราย แก่ธรรมเหล่านั้นไม่อาจเพื่อเป็นอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้เลย
ดังนี้. แต่นั้นภิกษุนั้นย่อมถึงความเป็นผู้ทุศีล.
ภิกษุปฏิบัติชั่วในพระสูตร ไม่รู้ความมุ่งหมายในพระบาลีมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ พวกเหล่านี้ มีอยู่ ปรากฏอยู่ ดังนี้ ย่อม
ถือเอาผิด ๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งหมายตรัสไว้ว่า บุคคลย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 105
กล่าวตู่เราทั้งหลายด้วย ย่อมขุดซึ่งตนด้วย ย่อมประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอัน
มากด้วย ด้วยการที่คนถือผิด ดังนี้. แต่นั้น ภิกษุนั้นย่อมถึงความเป็น
มิจฉาทิฏฐิ.
ภิกษุปฏิบัติชั่วในพระอภิธรรม เมื่อคิดธรรมฟุ้งเกินไป ย่อมคิด
แม้เรื่องที่ไม่ควรคิด แต่นั้นย่อมถึงจิตวิปลาส สมด้วยพุทธภาษิตที่ตรัส
ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคิดอยู่ซึ่งเรื่องไม่ควรคิดทั้งหลายเหล่าใด
พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เสียจริต เรื่องไม่ควรคิดทั้งหลายเหล่านี้
๔ ประการ บุคคลไม่ควรคิดเลย ดังนี้.
ภิกษุปฏิบัติชั่วในปิฎก ๓ เหล่านี้ ย่อมถึงความวิบัติต่างด้วยความ
เป็นผู้ทุศีล ความเป็นมิจฉาทิฏฐิ และจิตวิปลาสนี้ตามลำดับ ด้วยประการ
ฉะนี้. คาถาแม้นี้ว่า
ภิกษุย่อมถึงซึ่งประเภทแห่งปริยัติใด ซึ่งสมบัติใด
แม้ซึ่งวิบัติใด ในปิฎกใด ด้วยอาการใด พึงแสดง
ซึ่งประเภทแห่งปริยัติทั้งหมดแม้นั้น ด้วยอาการนั้น
ดังนี้
เป็นคาถามีเนื้อความอัน ข้าพเจ้ากล่าวแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
ครั้นทราบปิฎกทั้งหลายโดยประการต่าง ๆ แล้ว ผู้ศึกษาพึงทราบ
พระพุทธพจน์นี้ว่า มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปิฎกเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้.
พระพุทธพจน์มี ๕ ประเภท ด้วยอำนาจแห่งนิกาย นับอย่างไร ?
ความจริง พระพุทธพจน์ทั้งหมดเลยนั้น มี ๕ ประเภท คือ ทีฆนิกาย
มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย. บรรดานิกาย ๕
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 106
นั้น ทีฆนิกาย คืออะไร ? คือ นิกายที่มีสูตร ๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตร
เป็นต้น จัดเป็น ๓ วรรค.
นิกายใด มีสูตร ๓๔ สูตร จัดเป็น ๓ วรรค
นิกายที่ ๑ นี้ ชื่อทีฆนิกาย มีชื่อว่าอนุโลม
ก็เพราะเหตุไร นิกายที่ ๑ นี้ จึงเรียกว่า ทีฆนิกาย ? เพราะเป็น
ที่ประชุมและเป็นที่อยู่ของสูตรทั้งหลายที่มีขนาดยาว. จริงอยู่ หมู่และที่อยู่
ท่านเรียกว่า นิกาย. ก็ในข้อที่นิกายศัพท์หมายถึงหมู่ และที่อยู่นี้
มีอุทาหรณ์เป็นเครื่องสาธกทั้งทางศาสนาและทางโลก มีอาทิอย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นหมู่อื่นแม้หมู่หนึ่ง ซึ่งผิดแผก
แตกต่างกันเหมือนหมู่สัตว์เดียรฉาน และเหมือนที่อยู่ของกษัตริย์โปณิกะ
ที่อยู่ของกษัตริย์จิกขัลลิกะเลย ดังนี้. เนื้อความของคำในความที่นิกาย
ทั้ง ๔ ที่เหลือเรียกว่านิกาย บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วอย่างนี้.
มัชฌิมนิกาย คืออะไร ? คือ นิกายที่มีสูตร ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยาย-
สูตรเป็นต้น มีขนาดปานกลาง จัดเป็น ๑๕ วรรค
ในนิกายใด มีสูตร ๑๕๒ สูตร จัดเป็น ๑๕ วรรค
นิกายนั้น ชื่อมัชฌิมนิกาย.
สังยุตตนิกาย คืออะไร ? คือ นิกายที่มีสูตร ๗,๗๖๒ สูตร มี
โอฆตรณสูตรเป็นต้น ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งเทวดาสังยุต เป็นต้น
นิกายที่มีสูตร ๗,๗๖๒ สูตรนี้ จัดเป็นสังยุตตนิกาย
อังคุตตรนิกาย คืออะไร ? คือนิกายที่มีสูตร ๙,๕๕๗ สูตร มีจิตต-
ปริยาทานสูตร เป็นต้น ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการเพิ่มขึ้นส่วนละหนึ่ง ๆ
จำนวนสูตรในอังคุตตรนิกายมีดังนี้คือ ๙,๕๕๗ สูตร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 107
ขุททกนิกาย คืออะไร ? คือวินัยปิฎกทั้งสิ้น อภิธรรมปิฎกทั้งสิ้น
คัมภีร์ ๑๕ ประเภทมีขุททกปาฐะเป็นต้น และพระพุทธพจน์ที่เหลือ เว้น
นิกาย ๔.
ยกเว้นนี้กายทั้ง ๔ มีทีฆนิกายเป็นต้นเหล่านี้เสีย
พระพุทธพจน์อื่นจากนั้น ท่านเรียกว่า ขุททกนิกาย
แล. พระพุทธพจน์มี ๕ อย่าง ด้วยอำนาจแห่ง
นิกาย นับอย่างนี้แล. พระพุทธพจน์มี ๙ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งองค์ นับอย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธ-
พจน์ทั้งหมดนี้ มี ๙ ประเภท คือ สุตตะ เคยยะ
เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูต-
ธรรม เวทัลละ.
ในพระพุทธพจน์มีองค์ ๙ นั้น อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ และ
บริวาร มงคลสูตร รตนสูตร นาลกสูตร ตุวัฏฏกสูตร ในสุตตนิบาต
และคำสอนของพระตถาคตที่มีชื่อว่าสูตรแม้อื่น พึงทราบว่าสุตตะ. สูตร
ที่มีคาถาทั้งหมด พึงทราบว่า เคยยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สคาถวรรค แม้
ทั้งสิ้นในสังยุตตนิกาย พึงทราบว่า เคยยะ. อภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตร
ที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์ แม้อื่นใด ที่ไม่ได้รวบรวมไว้ด้วยองค์ ๘
พระพุทธพจน์นั้น พึงทราบว่า เวยยากรณะ. ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา
และคาถาล้วนที่ไม่มีชื่อว่า สูตร ในสุตตนิบาต พึงทราบว่า คาถา. สูตร
๘๒ สูตร ที่ประกอบด้วยคาถาสำเร็จด้วยญาณ เกิดร่วมด้วยโสมนัสเวทนา
พึงทราบว่าอุทาน. สูตร ๑๑๐ สูตร ที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า วุตฺต เหต
ภควตา พึงทราบว่า อิติวุตตกะ. ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 108
เป็นต้น พึงทราบว่า ชาดก. พระสูตร อันประกอบด้วยเรื่องที่ไม่เคยมี
มามีขึ้น น่าอัศจรรย์ทั้งหมด ที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมอันไม่เคยมีมามีขึ้น น่าอัศจรรย์ ๔ อย่าง เหล่านี้ มีในพระอานนท์
ดังนี้ พึงทราบว่า อัพภูตธรรม. พระสูตรที่ถูกถาม ไค้ญาณและปีติ แม้
ทั้งหมด มีจูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญห-
สูตร สังขารภาชนียสูตร และมหาปุณณมสูตร เป็นต้น พึงทราบว่า
เวทัลละ. พระพุทธพจน์มี ๙ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งองค์ นับอย่างนี้แล
พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ ด้วยอำนาจแห่งธรรมขันธ์ นับอย่างไร ?
จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้ มี ๘๔,๐๐๐ ประเภท ด้วยอำนาจแห่ง
ธรรมขันธ์ ที่ท่านพระอานนท์ แสดงไว้แล้วอย่างนี้ว่า
ธรรมเหล่าใด ที่ขึ้นปากขึ้นใจข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
เรียนธรรมเหล่านั้นจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ พระ
ธรรมขันธ์ เรียนจากภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
รวม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.
ในธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ นั้น พระสูตรที่มีหัวข้อเรื่องเดียวนับเป็น
ธรรมขันธ์ ๑. พระสูตรใดมีหัวข้อเรื่องหลายเรื่องรวมกัน ในพระสูตรนั้น
นับธรรมขันธ์ตามจำนวนหัวข้อเรื่อง.
ในคาถาประพันธ์ คำถามปัญหาเรื่อง ๑ นับเป็นธรรมขันธ์ ๑
คำวิสัชนาปัญหาเรื่อง ๑ นับเป็นธรรมขันธ์ ๑. ในพระอภิธรรม การแจก
ติกะและทุกะแต่ละอย่าง ๆ และการแจกจิตตวาระแต่ละอย่าง ๆ นับเป็น
ธรรมขันธ์ ๑ ๆ. ในพระวินัย มีวัตถุ มีมาติกา มีบทภาชนีย์ มีอันตราบัติ
มีอาบัติ มีอนาบัติ มีติกเฉทะ (การกำหนดอาบัติเป็น ๓ ส่วน) ในวัตถุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 109
และมาติกาเป็นต้นเหล่านั้น ส่วนหนึ่ง ๆ พึงทราบว่า ธรรมขันธ์หนึ่ง ๆ.
พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ ด้วยอำนาจแห่งธรรมขันธ์ นับอย่างนี้แล.
พระพุทธพจน์นี้ โดยไม่แยกประเภท มีหนึ่ง คือรส โดยแยก
ประเภท มีประเภท ๒ อย่าง เป็นต้น คือ เป็นพระธรรมอย่าง ๑ เป็นวินัย
อย่าง ๑ เป็นต้น อันคณะผู้เชี่ยวชาญ มี พระมหากัสสป เป็นประมุข
เมื่อจะสังคายนา ได้กำหนดประเภทนี้ก่อนแล้ว จึงสังคายนาว่า นี้เป็น
ธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นปฐมพุทธพจน์ นี้เป็นมัชฌิมพุทธพจน์ นี้เป็น
ปัจฉิมพุทธพจน์ นี้เป็นวินัยปิฎก นี้เป็นสุตตันตปิฎก นี้เป็นอภิธรรมปิฎก
นี้เป็นทีฆนิกาย นี้เป็นมัชฌิมนิกาย นี้เป็นสังยุตตนิกาย นี้เป็นอังคุตตร-
นิกาย นี้เป็นขุททกนิกาย นี้เป็นองค์ ๙ มีสุตตะเป็นต้น นี้เป็นพระธรรม-
ขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ด้วยประการฉะนี้. และใช่ว่า ท่านจะกำหนดประเภทนี้
เท่านั้นอย่างเดียว สังคายนาแล้วหาก็ไม่ แต่ท่านยังกำหนดประเภทแห่ง
สังคหะแม้อื่น ๆ ซึ่งมีประการมิใช่น้อย เป็นต้นว่า อุทานสังคหะ วัคคสังคหะ
เปยยาลสังคหะ และนิปาตสังคหะ มีเอกนิบาตและทุกนิบาตเป็นต้น สัง-
ยุตตสังคหะ และปัญญาสสังคหะเป็นต้น ที่ปรากฏอยู่ในปิฎก ๓ สังคายนา
แล้ว ใช้เวลา ๗ เดือน ด้วยประการฉะนี้.
ก็ในอวสานแห่งการสังคายนาพระพุทธพจน์นั้น แผ่นดินใหญ่นี้ได้
สั่นสะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหว เป็นอเนกประการทั่วไปจนถึงน้ำรองแผ่นดิน
เป็นประหนึ่งว่าเกิดความปราโมทย์ให้สาธุการว่า ศาสนาของพระทศพล
นี้ พระมหากัสสปเถระ ได้ทำให้สามารถมีอายุยืนไปได้ตลอดกาล
ประมาณ ๕,๐๐๐ ปี และได้ปรากฏมหัศจรรย์ทั้งหลายมิใช่น้อย ด้วย
ประการฉะนี้. สังคายนาใดในโลกเรียกกันว่า ปัญจสตา เพราะพระอรหันต์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 110
๕๐๐ องค์ ได้ทำไว้ และเรียกกันว่า เถริกา เพราะพระสงฆ์ชั้นพระเถระ
ทั้งนั้นได้ทำไว้ สังคายนานี้ชื่อปฐมมหาสังคายนา ด้วยประการฉะนี้.
อรรถกถาพรหมชาลสูตร
เมื่อปฐมมหาสังคายนานี้กำลังดำเนินไปอยู่ เวลาสังคายนาพระวินัย
จบลง ท่าน พระมหากัสสป เมื่อถามพรหมชาลสูตร ซึ่งเป็นสูตรแรก
แห่งนิกายแรกในสุตตันตปิฎก ได้กล่าวคำอย่างนี้ว่า ท่านอานนท์
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพรหมชาลสูตรที่ไหน ดังนี้เป็นต้นจบลง ท่าน
พระอานนท์ เมื่อจะประกาศสถานที่ทีพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพรหม-
ชาลสูตร และบุคคลที่พระองค์ตรัสปรารภให้เป็นเหตุนั้นให้ครบกระแส
ความจึงกล่าวคำว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า แม้พรหมชาลสูตร ก็มีคำเป็นนิทานว่า เอวมฺเม สุต ที่ท่านพระอานนท์
กล่าวในคราวปฐมมหาสังคายนา เป็นเบื้องต้น ดังนี้.
ในคำเป็นนิทานแห่งพระสูตรนั้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.
แก้อรรถบท เอว
บทว่า เอว เป็นบทนิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม ใน
คำว่า ปฏิปนฺโน โหติ นี้ บทว่า ปฏิ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า โหติ
เป็นบทอาขยาต. พึงทราบการจำแนกบทโดยนัยเท่านี้ก่อน.
แต่โดยอรรถ เอว ศัพท์ แจกเนื้อความได้หลายอย่าง เป็นต้นว่า
ความเปรียบเทียบ ความแนะนำ ความยกย่อง ความติเตียน ความรับคำ
อาการะ ความชี้แจง ความห้ามความอื่น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 111
จริงอย่างนั้น เอว ศัพท์นี้ ที่มาในความเปรียบเทียบ เช่น ในประ-
โยคมีอาทิว่า เอว ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพ กุสล พหุ สัตว์เกิด
มาแล้วควรบำเพ็ญกุศลให้มาก ฉันนั้น.
ที่มาในความแนะนำ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอว เต อภิกฺกมิ-
ตพฺพ เอว ปฏิกฺกมิตพฺพ เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้.
ที่มาในความยกย่อง เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวเมต ภควา
เอวเมต สุคต ข้อนั้นเป็นอย่างนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นเป็นอย่างนี้
พระพระสุคต.
ที่มาในความติเตียน เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวเมว ปนาย
วสลี ยสฺมึ วา ตสิมึ วา ตสฺส มุณฺฑกสฺส สมณกสฺส วณฺณ ภาสติ
ก็หญิงถ่อยนี้ กล่าวสรรเสริญสมณะโล้นนั้น อย่างนี้อย่างนี้ ทุกหนทุกแห่ง.
ที่มาในความรับคำ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอว ภนฺเตติ โข
เต ภิกขู ภคตโต ปจฺจสฺโสสุ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ที่มาในอาการะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอว พฺยาโข อห ภนฺเต
ภควตา ธมฺม เทสิต อาชานามิ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่ว
ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้จริง.
ที่มาในความชี้แจง เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอหิ ตฺว มาณวภ
เยน สมโณ อานนฺโท เตนุปสงฺกม อุปสงฺกมิตฺวา มม วจเนน สมณ
อานนฺท อปฺปาพาธ อปฺปาตงฺก ลหุฏฺาน พล ผาสุวิหาร ปุจฺฉ
สุโภ มาณโว โตเทยฺยปุตฺโต ภวนฺต อานนฺท อปฺปาพาธ อปฺปาตงฺก
ลหุฏฺาน พล ผาสุวิหาร ปุจฺฉตีติ เอวญฺจ วเทหิ สาธุ กิร ภว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 112
อานนฺโท เยน สุภสฺ มาณวสฺส โตเทยฺยปุตฺตสฺส นิเวสน เตนุป-
สงฺกมตุ อนุกมฺป อุปาทาย มานี่แนะ พ่อหนุ่มน้อย เธอจงเข้าไปหา
พระอานนท์ แล้วเรียนถามพระอานนท์ ถึงความมีอาพาธน้อย ความมี
โรคน้อย ความคล่องแคล่ว ความมีกำลัง ความอยู่สำราญ และจงพูด
อย่างนี้ว่า สุภมาณพโตเทยยบุตร เรียนถามพระอานนท์ผู้เจริญ ถึงความ
มีอาพาธน้อย ความมีโรคน้อย ความคล่องแคล่ว ความมีกำลัง ความ
อยู่สำราญ และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ขอประทานโอกาส ได้ยินว่า ขอพระ
อานนท์ผู้เจริญ โปรดอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของสุภมาณพโตเทยย-
บุตรเถิด.
ที่มาในอวธารณะ ห้ามความอื่น เช่นในประโยคมีอาทิว่า ต กึ มญฺถ
กาลามา อิเม ธมฺมา ฯ เป ฯ เอว โน เอตฺถ โหติ ดูก่อนชาวกาลามะทั้ง
หลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
หรือกุศล. พวกชนชาวกาลามะต่างกราบทูลว่า เป็นอกุศล พระเจ้าข้า. มี
โทษ หรือไม่มีโทษ ? มีโทษพระเจ้าข้า. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรร-
เสริญ ? ท่านผู้รู้ติเตียนพระเจ้าข้า. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไป
เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ หรือหาไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเห็น
อย่างไรในข้อนี้ ? ธรรมเหล่านี้ ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่ง
ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้
พระเจ้าข้า. เอว ศัพท์นี้นั้น ในพระบาลีนี้ พึงเห็นใช้ในอรรถ คือ
อาการะ ความชี้แจง ความห้ามความอื่น.
บรรดาอรรถ ๓ อย่างนั้น ด้วย เอว ศัพท์ ซึ่งมีอาการะ เป็นอรรถ
ท่านพระอานนท์แสดงเนื้อความนี้ว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 113
นั้น ละเอียดโดยนัยต่าง ๆ ตั้งขึ้นด้วยอัธยาศัยมิใช่น้อย สมบูรณ์ด้วยอรรถ
และพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ลึกซึ้งโดยธรรม อรรถ เทศนา และ
ปฏิเวธ มาสู่คลองโสตสมควรแก่ภาษาของตน ๆ ของสัตว์โลกทั้งปวง ใคร
เล่าที่สามารถเข้าใจได้โดยประการทั้งปวง แต่ข้าพเจ้าแม้ใช้เรี่ยวแรง
ทั้งหมดให้เกิดความประสงค์ที่จะสดับ ก็ได้สดับมาอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้า
ก็ได้สดับมาโดยอาการอย่างหนึ่ง.
ด้วย เอว ศัพท์ ซึ่งมีนิทัสสนะเป็นอรรถ ท่านพระอานนท์ เมื่อ
จะเปลื้องตนว่า ข้าพเจ้ามิใช่พระสยัมภู พระสูตรนี้ข้าพเจ้ามิได้กระทำให้
แจ้ง จึงแสดงพระสูตรทั้งสิ้นที่ควรกล่าวในบัดนี้ว่า เอวมฺเม สุต คือ
ข้าพเจ้าเองได้ยินมาอย่างนี้.
ด้วย เอว ศัพท์ ซึ่งมีอวธารณะเป็นอรรถ ท่านพระอานนท์เมื่อ
จะแสดงพลังด้านความทรงจำของตนอันควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงสรรเสริญไว้ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์นี้ เป็นเลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ซึ่งเป็นพหูสูต มีคติ มีสติ มีธิติ
(ความทรงจำ) เป็นอุปฐาก ดังนี้ และที่ท่านธรรมเสนาบดีพระสารีบุตร
เถระสรรเสริญไว้ อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ เป็นผู้ฉลาดในอรรถ
ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ ฉลาดในคำเบื้องต้น
และคำเบื้องปลาย ดังนี้ ย่อมให้เกิดความประสงค์ที่จะสดับแก่สัตว์โลกทั้ง
หลาย โดยกล่าวว่าข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ และที่สดับนั้นก็ไม่ขาดไม่เกิน
ทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ คืออย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็นเป็นอย่างอื่น.
แก้อรรถบท เม
เม ศัพท์ เห็นใช้ในเนื้อความ ๓ อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์นี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 114
มีเนื้อความเท่ากับ มยา เช่นในประโยคมีอาทิว่า คาถาภิคีต เม
อโภชเนยฺย โภชนะที่ได้มาด้วยการขับกล่อม เราไม่ควรบริโภค.
มีเนื้อความเท่ากับ มยฺห เช่นในประโยคมีอาทิว่า สาธุ เม ภนฺเต
ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺม เทเสตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน
พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระ-
องค์เถิด.
มีเนื้อความเท่ากับ มม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ธมฺมทายาทา เม
ภิกฺขเว ภวถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของ
เรา.
แต่ในพระสูตรนี้ เม ศัพท์ ควรใช้ในอรรถ ๒ อย่าง คือ มยา
สุต ข้าพเจ้าได้สดับมา และ มม สุต การสดับของข้าพเจ้า.
แก้อรรถบทว่า สุต
สุต ศัพท์นี้ มีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรค จำแนกเนื้อความได้
หลายอย่าง เช่นเนื้อความว่าไป ว่าปรากฏ ว่ากำหนัด ว่าสั่งสม ว่าขวนขวาย
ว่าสัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสต และว่ารู้ตามโสตทวาร เป็นต้น.
จริงอย่างนั้น สุต ศัพท์นี้ มีเนื้อความว่าไป เช่นในประโยคมี
อาทิว่า เสนาย ปสุโต เสนาเคลื่อนไป มีเนื้อความว่าเดินทัพ.
มีเนื้อความว่าปรากฏ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุตธมฺมสฺส
ปสฺสโต ผู้มีธรรมอันปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ มีเนื้อความว่า ผู้มีธรรม
ปรากฏแล้ว.
มีเนื้อความว่ากำหนัด เช่นในประโยคมีอาทิว่า อวสฺสุตา
อวสฺสุตสฺส ภิกษุณีมีความกำหนัดยินดีการที่ชายผู้มีความกำหนัดมาลูบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 115
คลำจับต้องกาย มีเนื้อความว่า ภิกษุณีมีจิตชุ่มด้วยราคะ ยินดีการที่ชาย
ผู้มีจิตชุ่มด้วยราคะมาจับต้องกาย.
มีเนื้อความว่าสั่งสม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตุเมฺหหิ ปฺุ
ปสุต อนปฺปก บุญเป็นอันมาก ท่านทั้งหลายได้สั่งสมแล้ว มีเนื้อความว่า
เข้าไปสั่งสมแล้ว.
มีเนื้อความว่าขวนขวาย เช่นในประโยคมีอาทิว่า เย ฌานปสุตา
ธีรา ปราชญ์ทั้งหลายเหล่าใดผู้ขวนขวายในฌาน มีเนื้อความว่า ประกอบ
เนือง ๆ ในฌาน.
มีเนื้อความว่า สัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสด เช่นในประโยคมีอาทิว่า
ทิฏฺิ สุต มุต รูปารมณ์ที่จักษุเห็น สัททารมณ์ที่โสดฟัง และอารมณ์
ทั้งหลายที่ทราบ มีเนื้อความว่า สัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสต.
มีเนื้อควานว่า รู้ตามโสตทวาร เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุตธโร
สุตสนฺนิจฺจโย ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ มีเนื้อความว่า ทรงธรรม ที่รู้ตาม
โสดทวาร.
แต่ในพระสูตรนี้ สุต ศัพท์นี้ มีเนื้อความว่า จำหรือความจำตาม
โสตทวาร.
ก็ เม ศัพท์ เมื่อมีเนื้อความเท่ากับ มยา ย่อมประกอบความได้ว่า
ข้าพเจ้าได้สดับมา คือจำตามโสตทวาร อย่างนี้ เมื่อมีเนื้อความเท่ากับ
มม ย่อมประกอบความได้ว่า การสดับของข้าพเจ้า คือ ความจำตาม
โสตทวารของข้าพเจ้า อย่างนี้.
แก้อรรถ เอวมฺเม สุต
บรรดาบททั้ง ๓ ดังกล่าวมานี้ บทว่า เอว แสดงกิจแห่งวิญญาณ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 116
มีโสตวิญญาณเป็นต้น.
บทว่า เม แสดงบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณที่กล่าว
แล้ว.
บทว่า สุต แสดงการรับไว้อย่างไม่ขาดไม่เกิน และไม่วิปริต เพราะ
ปฏิเสธภาวะที่ไม่ได้ยิน.
อนึ่ง บทว่า เอว ประกาศภาวะที่เป็นไปในอารมณ์ที่ประกอบต่าง ๆ
ตามวิถีวิญญาณที่เป็นไปตามโสตทวารนั้น.
บทว่า เม เป็นคำประกาศตน.
บทว่า สุต เป็นคำประกาศธรรม.
ก็ในพระบาลีนี้ มีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้ามิได้กระทำสิ่งอื่น แต่
ได้กระทำสิ่งนี้ คือได้สดับธรรมนี้ ตามวิถีวิญญาณอันเป็นไปในอารมณ์
โดยประการต่าง ๆ.
อนึ่ง บทว่า เอว เป็นคำประกาศข้อควรชี้แจง.
บทว่า เม เป็นคำประกาศถึงตัวบุคคล.
บทว่า สุต เป็นคำประกาศถึงกิจของบุคคล.
อธิบายว่า ข้าพเจ้าจักชี้แจงพระสูตรใด พระสูตรนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับ มาอย่างนี้.
อนึ่ง บทว่า เอว ชี้แจงอาการต่าง ๆ ของจิตสันดาน ซึ่งเป็นตัว
รับอรรถะและพยัญชนะต่าง ๆ ด้วยเป็นไปโดยอาการต่างกัน.
จริงอยู่ ศัพท์ว่า เอว นี้ เป็นอาการบัญญัติ.
ศัพท์ว่า เม เป็นคำชี้ถึงผู้ทำ.
ศัพท์ว่า สุต เป็นคำชี้ถึงอารมณ์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 117
ด้วยคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันจิตสันดานที่เป็นไปโดยอาการต่างกัน
กระทำการตกลงรับอารมณ์ ของผู้ทำที่มีความพร้อมเพรียงด้วยจิตสันดาน
นั้น.
อีกประการหนึ่ง ศัพท์ว่า เอว เป็นคำชี้กิจของบุคคล.
ศัพท์ว่า สุต เป็นคำชี้ถึงกิจของวิญญาณ
ศัพท์ว่า เม เป็นคำถึงบุคคลผู้ประกอบกิจทั้งสอง.
ก็ในพระบาลีนี้ มีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้า คือบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยโสตวิญญาณ ได้สดับมาด้วยโวหารว่า สวนกิจที่ได้มาด้วยอำนาจ
วิญญาณ.
บรรดาศัพท์ทั้ง ๓ นั้น ศัพท์ว่า เอว และศัพท์ว่า เม เป็นอวิชชมาน-
บัญญัติ ด้วยอำนาจสัจฉิกัตถปรมัตถ์ เพราะในพระบาลีนี้ ข้อที่ควรจะได้
ชี้แจงว่า เอว ก็ดี ว่า เม ก็ดี นั้น ว่าโดยปรมัตถ์ จะมีอยู่อย่างไร.
บทว่า สุต เป็นวิชชมานบัญญัติ เพราะอารมณ์ที่ได้ทางโสต ใน
บทนี้นั้น ว่าโดยปรมัตถ์มีอยู่.
อนึ่ง บทว่า เอว และ เม เป็นอุปาทาบัญญัติ เพราะมุ่งกล่าว
อารมณ์นั้น ๆ.
บทว่า สุต เป็นอุปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวอ้างถึงอารมณ์มีอารมณ์
ที่เห็นแล้วเป็นต้น.
ก็ในพระบาลีนี้ ด้วยคำว่า เอว ท่านพระอานนท์แสดงความไม่
หลง. เพราะคนหลงย่อมไม่สามารถแทงตลอดโดยประการต่าง ๆ ได้.
ด้วยคำว่า สุต ท่านพระอานนท์แสดงความไม่ลืมถ้อยคำที่ได้สดับ
มา เพราะผู้ที่ลืมถ้อยคำที่ไค้สดับมานั้น ย่อมไม่รู้ชัดว่า ข้าพเจ้าได้สดับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 118
มาโดยกาลพิเศษ.
ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านพระอานนท์นี้ ย่อมมีความสำเร็จทางปัญญา
ด้วยความไม่หลง และย่อมมีความสำเร็จทางสติ ด้วยความไม่ลืม.
ในความสำเร็จ ๒ ประการนั้น สติอันมีปัญญานำ สามารถห้าม
(ความอื่น) โดยพยัญชนะ ปัญญาอันมีสตินำ สามารถแทงตลอดโดย
อรรถ. โดยที่มีความสามารถทั้ง ๒ ประการนั้น ย่อมสำเร็จภาวะที่ท่าน
พระอานนท์จะได้นามว่า ขุนคลังแห่งพระธรรม เพราะสามารถจะ
อนุรักษ์คลังพระธรรม ซึ่งสมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ.
อีกนัยหนึ่ง
ด้วยคำว่า เอว ท่านพระอานนท์แสดงโยนิโสมนสิการ เพราะผู้ที่
ไม่มีโยน โสมนสิการ ไม่แทงตลอดโดยประการต่าง ๆ
ด้วยคำว่า สุต ท่านพระอานนท์แสดงความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะผู้ที่
มีจิตฟุ้งซ่านฟังไม่ได้.
จริงอย่างนั้น บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้เขาจะพูดด้วยความสมบูรณ์
ทุกอย่าง ก็ยังพูดว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ขอจงพูดซ้ำ.
ก็ในคุณ ๒ ข้อนี้ ท่านพระอานนท์ทำอัตตสัมมาปณิธิและปุพเพ-
กตปุญญตาให้สำเร็จได้ ด้วยโยนิโสมนสิการ เพราะผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบ
หรือมิได้กระทำความดีไว้ก่อน จะไม่มีโยนิโสมนสิการ ท่านพระอานนท์
ทำการฟังพระสัทธรรมและการพึ่งสัตบุรุษให้สำเร็จได้ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน
เพราะผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่สามารถจะฟังได้ และผู้ไม่พึ่งสัตบุรุษ ก็ไม่มีการ
สดับฟัง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 119
อีกนัยหนึ่ง เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า บทว่า เอว แสดงไข
อาการต่าง ๆ ของจิตสันดาน ซึ่งเป็นตัวรับอรรถะและพยัญชนะต่าง ๆ ด้วย
เป็นไปโดยอาการต่างกัน และอาการอันเจริญอย่างนี้นั้น ย่อมไม่มีแก่
บุคคลผู้มีได้ตั้งตนไว้ชอบ หรือมิได้กระทำความดีไว้ก่อน ฉะนั้น ด้วยคำ
ว่า เอว นี้ ท่านพระอานนท์แสดงสมบัติคือจักร ๒ ข้อ เบื้องปลายของตน
ด้วยอาการอันเจริญนี้. ด้วยคำว่า สุต ท่านพระอานนท์แสดงสมบัติคือ
จักรธรรม ๒ ข้อเบื้องต้นของตน ด้วยการประกอบการฟัง. เพราะผู้ที่
อยู่ในถิ่นฐานอันมิใช่เป็นปฏิรูปเทศก็ดี ผู้ที่เว้นการพึ่งสัตบุรุษก็ดี ย่อม
ไม่มีการฟัง ด้วยประการฉะนี้ . ความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ย่อมเป็นอัน
สำเร็จแก่ท่าน เพราะความสำเร็จแห่งจักรธรรม ๒ ข้อเบื้องปลาย ความ
บริสุทธิ์แห่งความเพียร ย่อมเป็นอันสำเร็จ เพราะความสำเร็จแห่งจักร ๒
ข้อเบื้องต้น และด้วยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัยนั้น ย่อมเป็นอันสำเร็จ
ความฉลาดในปฏิเวธ ด้วยความบริสุทธิ์แห่งความเพียร ย่อมเป็นอันสำเร็จ
ความฉลาดในปริยัติ. ด้วยประการฉะนี้ ถ้อยคำของท่านพระอานนท์ผู้มี
ความเพียรและอัธยาศัย บริสุทธิ์ สมบูรณ์ ด้วยปริยัติและปฏิเวธ ย่อมควร
ที่จะเป็นคำเริ่มแรกแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือน
ความขึ้นไปแห่งอรุณ เป็นเบื้องต้นของดวงอาทิตย์ที่กำลังอุทัยอยู่
และเหมือนโยนิโสมนสิการ เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรมฉะนั้น เหตุดังนั้น
ท่านพระอานนท์ เมื่อจะดังคำเป็นนิทานในฐานะอันควร จึงกล่าวคำ
เป็นต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.
อีกนัยหนึ่ง ด้วยคำแสดงการแทงตลอดมีประการต่าง ๆ ว่า เอว นี้
ท่านพระอานนท์แสดงถึงสภาพแห่งสมบัติ คือ อัตถปฏิสัมภิทา และ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 120
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน. ด้วยคำแสดงถึงการแทงตลอดประเภทแห่ง
ธรรมที่ควรสดับว่า สุต นี้ ท่านพระอานนท์แสดงถึงสภาพแห่งสมบัติ
คือ ธัมมปฏิสัมภิทา และนิรุตติปฏิสัมภิทา.
อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อกล่าวคำอันแสดงโยนิโสมนสิการว่า
เอว นี้ ย่อมแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้ว
ด้วยทิฏฐิ. เมื่อกล่าวคำอันแสดงการประกอบด้วยการสดับว่า สุต นี้ ย่อม
แสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก ข้าพเจ้าได้สดับแล้ว ทรงจำไว้แล้ว คล่อง
ปาก. เมื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะ แม้ด้วยคำทั้งสอง
นั้น ย่อมให้เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟัง เพราะว่าผู้ไม่สดับธรรม ที่
บริบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ โดยเอื้อเฟื้อ ย่อมเหินห่างจากประโยชน์
เกื้อกูลอันใหญ่ เพราะเหตุดังนี้นั้น กุลบุตรควรจะให้เกิดความเอื้อเฟื้อฟัง
ธรรมนี้โดยเคารพแล.
อนึ่ง ด้วยคำทั้งหมดว่า เอวมฺเม สุต นี้ ท่านพระอานนท์มิได้
ตั้งธรรมที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว เพื่อตน ย่อมล่วงพ้นภูมิอสัตบุรุษ
เมื่อปฏิญาณความเป็นสาวก ย่อมก้าวลงสู่ภูมิสัตบุรุษ
อนึ่ง ย่อมยังจิตให้ออกพ้นจากอสัทธรรม ย่อมยังจิตให้ดำรงอยู่ใน
พระสัทธรรม เมื่อแสดงว่า ก็พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นเท่านั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาโดยสิ้นเชิงทีเดียว ชื่อว่าย่อมเปลื้องตน
ย่อมแสดงอ้างพระบรมศาสดา ทำพระดำรัสของพระชินเจ้าให้แนบแน่น
ประดิษฐานแบบแผนพระธรรมไว้.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ปฏิญาณว่าธรรมอันตนให้
เกิดขึ้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ เปิดเผยการสดับให้เบื้องต้น ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 121
ยังความไม่ศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศรัทธาในธรรมนี้
ให้เกิดขึ้นแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวงว่า พระดำรัสนี้ข้าพเจ้าได้รับมา
เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชญาณทั้งสี่ ผู้
ทรงกำลังสิบ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะอันองอาจ ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่า
สัตว์ทั้งปวง ผู้เป็นใหญ่ในธรรม ผู้เป็นธรรมราชา ผู้เป็นธรรมาธิบดี
ผู้มีธรรมเป็นประทีป ผู้มีธรรมเป็นสรณะ ผู้ยังจักรอันประเสริฐ คือพระ
สัทธรรมให้หมุนไป ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในพระดำรัส
นี้ ใคร ๆ ไม่ควรทำความสงสัยหรือเคลือบแคลงในอรรถหรือธรรม
ในบทหรือพยัญชนะ เพราะฉะนั้น พระอานนท์ย่อมยังความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธาให้พินาศ ยังสัทธาสัมปทาให้เกิดขึ้นในธรรมนี้ แก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวคาถา
ประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า
พระอานนทเถระผู้เป็นสาวกของพระโคดมกล่าว
อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ย่อมยังความ
ไม่ศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังศรัทธาในพระศาสนา
ให้เจริญ ดังนี้.
แก้อรรถบท เอก สมย
บทว่า เอก แสดงการกำหนดนับ.
บทว่า สมย แสดงสมัยที่กำหนด.
สองบทว่า เอก สมย แสดงสมัยที่ไม่แน่นอน.
สมย ศัพท์ ในบทว่า สมย นั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 122
ปรากฏในความว่าพร้อมเพรียง ขณะ กาล ประชุม
เหตุ ลัทธิ ได้เฉพาะ ละ และ แทงตลอด.
จริงอย่างนั้น สมย ศัพท์นั้น มีเนื้อความว่า พร้อมเพรียง เช่น
ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า อปฺเปวนาม เสฺวปิ อุปสงฺกเมยฺยาม กาล
จ สมย จ อุปาทาย ชื่อแม้ไฉน เราทั้งหลายกำหนดกาลและความ
พร้อมเพรียงแล้ว พึงเข้าไปหาแม้ในวันพรุ่งนี้.
มีเนื้อความว่า ขณะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอโก จ โข ภิกฺขเว
ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอกาส
และขณะเพื่อการอยู่พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้นแล.
มีเนื้อความว่า กาล เช่นในประโยคมีอาทิว่า อุณฺหสมโย ปริฬาห-
สมโย กาลร้อน กาลกระวนกระวาย
มีเนื้อความว่า ประชุม เช่นในประโยคมีอาทิว่า มหาสมโย
ปวนสฺมึ การประชุมใหญ่ ในป่าใหญ่.
มีเนื้อความว่า เหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สมโยปิ โข เต
ภทฺทาลิ อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ ภควา โข สาวตฺถิย วิหรติ ภควาปิ
ม ชานิสฺสติ ภทฺทาลิ นาม ภิกฺขุ สตฺถุ สาสเน สิกฺขาย น
ปริปูริการีติ อยปิ โข เต ภทฺทาลิ สมโย อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ.
ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุนี้แล เป็นเหตุอันเธอไม่แทงตลอดแล้วว่า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้นครสาวัตถี แม้พระองค์จักทราบเราว่า
ภิกษุชื่อภัททาลิ เป็นผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระ
ศาสดา ดังนี้ ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แล ไค้เป็นเหตุอันเธอไม่แทง
ตลอดแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 123
มีเนื้อความว่า ลัทธิ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เตน โข ปน
สมเยน อุคฺคหมาโน ปริพฺพาชโก สมณมุณฺฑิกาปุตฺโต สมยปฺ-
ปวาทเก ติณฺฑุกาจิเร เอกสาลเก มลฺลิกาย อาราเม ปฏิวสติ.
ก็โดยสมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าอุคคหมาน บุตรของนางสมณมุณฑิกา
อยู่อาศัยในอารามของพระนางมัลลิกา ซึ่งมีศาลาหลังเดียว มีต้นมะพลับ
เรียงรายอยู่รอบ เป็นสถานที่สอนลัทธิ.
มีเนื้อความว่า ได้เฉพาะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า
ทิฏฺเ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺปรายิโก
อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.
ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ เราเรียกว่าบัณฑิต
เพราะการได้เฉพาะ ซึ่งประโยชน์ทั้งภพนี้ และ
ภพหน้า.
มีเนื้อความว่า ละ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สมฺมา มานาภิสมยา
อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะละมานะโดยชอบ.
มีเนื้อความว่า แทงตลอด เช่นในประโยคมีอาทิว่า ทุกฺขสฺส
ปีฬพฏฺโ สขตฏฺโ สนฺตาปฏฺโ วิปริณามฏฺโ อภิสมยฏโ
บีบคั้น ปรุงแต่ง เร่าร้อน แปรปรวน แทงตลอด.
สำหรับในพระสุตตันตปิฎกนี้ สมย ศัพท์ มีเนื้อความว่า กาล
เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงแสดงว่า สมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัย
ทั้งหลาย อันเป็นประเภทแห่งกาล เป็นต้นว่า ปี ฤดู เดือน กึ่งเดือน
กลางคืน กลางวัน เช้า เที่ยง เย็น ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม
และครู่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 124
ในคำว่า สมัยหนึ่ง นั้น ในบรรดาสมัยทั้งหลาย มีปีเป็นต้นเหล่านี้
พระสูตรใด ๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในปี ในฤดู ในเดือน ในปักษ์
ในกาลอันเป็นส่วนกลางคืน หรือในกาลอันเป็นส่วนกลางวันใด ๆ ทั้ง
หมดนั้น พระอานนทเถระก็ทราบดี คือกำหนดไว้อย่างดีด้วยปัญญา
แม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น เมื่อท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ในปีโน้น ฤดูโน้น เดือนโน้น ปักษ์โน้น กาลอันเป็นส่วนแห่งกลาง
คืนโน้น หรือกาลอันเป็นส่วนกลางวันโน้น ดังนี้ ใคร ๆ ก็ไม่อาจทรงจำ
ได้หรือแสดงได้ หรือให้ผู้อื่นแสดงได้ โดยง่าย และเป็นเรื่องที่ต้องกล่าว
มาก ฉะนั้น พระอานนทเถระจึงประมวลเนื้อความนั้นไว้ด้วยบทเดียว
ท่านั้น กล่าวว่าสมัยหนึ่ง ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ย่อมแสดงว่า สมัยของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า เป็นประองกาลมิใช่น้อยทีเดียว ที่ปรากฏมากมายใน
หมู่เทวดาและมนุษย์ทั้ง มีอาทิอย่างนี้ คือ สมัยเสด็จก้าวลงสู่พระ
ครรภ์ สมัยประสูติ สมัยทรงสลดพระทัย สมัยเสด็จออกผนวช สมัยทรง
บำเพ็ญทุกกรกิริยา สมัยทรงชนะมาร สมัยตรัสรู้ สมัยประทับเป็นสุขใน
ทิฏฐธรรม สมัยตรัสเทศนา สมัยเสด็จปรินิพพาน เหล่านี้ใด ในบรรดา
สมัยเหล่านั้น สมัยหนึ่ง คือสมัยตรัสเทศนา.
อนึ่ง ในบรรดาสมัยแห่งญาณกิจ และกรุณากิจ สมัยแห่งกรุณากิจ
นี้ใด ในบรรดาสมัยทรงบำเพ็ญประโยชน์พระองค์และทรงบำเพ็ญประ
โยชน์ผู้อื่น สมัยทรงบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นนี้ใด ในบรรดาสมัยแห่งกรณียะ
ทั้งสองแก่ผู้ประชุมกัน สมัยตรัสธรรมีกถานี้ใด ในบรรดาสมัยแห่งเทศนา
และปฏิบัติ สมัยแห่งเทศนานี้ใด ท่านพระอานนท์กล่าวว่า สมัยหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 125
ดังนี้ หมายถึงสมัยใดสมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยทั้งหลายแม้เหล่านั้น.
ถามว่า ก็เหตุไร ในพระสูตรนี้ท่านจึงท่านิเทศ ด้วยทุติยาวิภัตติว่า
เอก สมย ไม่กระทำเหมือนอย่างในพระอภิธรรม ซึ่งท่านได้ทำนิเทศ
ด้วยสัตตมีวิภัตติ ว่า ยสฺม สมเย กามาวจร และในสุตตบทอื่น ๆ จาก
พระอภิธรรมนี้ ก็ทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว ภิกฺขุ
วิวิจฺเจว กาเมหิ ส่วนในพระวินัยท่านท่านิเทศด้วยตติยาวิภัตติว่า เตน
สมเยน พุทฺโธ ภควา ?
ตอบว่า เพราะในพระอภิธรรมและพระวินัยนั้น มีอรรถเป็นอย่าง
นั้น ส่วนในพระสูตรนี้มีอรรถเป็นอย่างอื่น. จริงอยู่ บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นั้น
ในพระอภิธรรมและในสุตตบทอื่นจากพระอภิธรรมนี้ ย่อมสำเร็จอรรถ
แห่งอธิกรณะและอรรถแห่งการกำหนดภาวะด้วยภาวะ. ก็อธิกรณะ คือ
สมัยที่มีกาลเป็นอรรถและมีประชุมเป็นอรรถ และภาวะแห่งธรรมมีผัสสะ
เป็นต้น ท่านกำหนดด้วยภาวะแห่งสมัย กล่าวคือ ขณะ ความพร้อมเพรียง
และเหตุ แห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ที่ตรัสไว้ในพระอภิธรรมและสุตตบท
อื่นนั้น ๆ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องอรรถนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยสัตตมี
วิภัตติในพระอภิธรรมและในสุตตบทอื่นนั้น. ส่วนในพระวินัย ย่อมสำเร็จ
อรรถแห่งเหตุและอรรถแห่งกรณะ. จริงอยู่ สมัยแห่งการทรงบัญญัติสิกขา
บทนั้นใด แม้พระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้น ก็ยังรู้ยาก โดยสมัยนั้นอัน
เป็นเหตุและเป็นกรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงบัญญัติสิกขาบท
ทั้งหลาย และทรงพิจารณาถึงเหตุแห่งการทรงบัญญัติสิกขาบท ได้ประทับ
อยู่ในที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยตติยา
วิภัตติในพระวินัยนั้น. ส่วนในพระสูตรนี้ และพระสูตรอื่นที่มีกำเนิด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 126
อย่างนี้ ย่อมสำเร็จอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงพระสูตรนี้ หรือพระสูตรอื่น ตลอดสมัยใด เสด็จประทับอยู่ด้วย
ธรรมเป็นเครื่องอยู่คือกรุณา ตลอดสมัยนั้นทีเดียว. เพราะฉะนั้น เพื่อ
ส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยทุติยาวิภัตติในพระสูตรนี้ . เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า
ท่านพิจารณาอรรถนั้น ๆ กล่าวสมยศัพท์ในปิฎก
อื่นด้วยสัตตมีวิภัตติและด้วยตติยาวิภัตติ แต่ใน
พระสุตตันตปิฎกนี้ กล่าวสมยศัพท์นั้น ด้วยทุติยา-
วิภัตติ.
แต่พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย อธิบายว่า สมยศัพท์นี้ต่างกันแต่เพียง
โวหาร ว่า ตสฺมึ สมเย หรือว่า เตน สมเยน หรือว่า ต สมย เท่านั้น
ทุกปิฎกมีเนื้อความเป็นสัตตมีวิภัตติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ถึงท่านกล่าว
ว่า เอก สมย ก็พึงทราบเนื้อความว่า เอกสฺมึ สมเย ในสมัยหนึ่ง
แก้อรรถบท ภควา
บทว่า ภควา แปลว่า ครู. จริงอยู่ บัณฑิตทั้งหลาย เรียกครูว่า
ภควาในโลก. และพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ก็ทรงเป็นครูของสรรพสัตว์ทั้ง
หลาย เพราะทรงเป็นผู้ประเสริฐที่สุดโดยคุณทั้งปวง ฉะนั้น พึงทราบว่า
ทรงเป็นภควา แม้พระโบราณาจารย์ทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้ว่า
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา
เป็นคำสูงสุด เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง
ควรแก่ความเคารพโดยฐานเป็นครู ฉะนั้น จึงทรง
พระนามว่า ภควา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 127
อีกอย่างหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีโชค ทรงหักกิเลส
ทรงประกอบด้วยภคธรรม ทรงจำแนกแจกธรรม
ทรงคบธรรม และทรงคายกิเลสเป็นเครื่องไปใน
ภพทั้งหลายได้แล้ว เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า
ภควา.
บทว่า ภควา นี้ มีเนื้อความที่ควรทราบโดยพิสดาร ด้วยสามารถ
แห่งคาถานี้ และเนื้อความนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในนิเทศแห่งพุทธา-
นุสสติ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
แก้อรรถบท เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา
ก็ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ในบรรดาคำเหล่านี้ ด้วยคำว่า
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ เมื่อแสดงธรรมตามที่ได้
สดับมา ชื่อว่าย่อมกระทำพระธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประ-
จักษ์. ด้วยคำนั้น ท่านย่อมยังประชาชนผู้กระวนกระวายเพราะไม่ได้เห็น
พระศาสดาให้เบาใจว่า ปาพจน์คือ พระธรรมวินัยนี้ มีพระศาสดาล่วง
ไปแล้ว หามิได้ พระธรรมกายนี้เป็นพระศาสดาของท่านทั้งหลาย ดังนี้.
ด้วยคำว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ ท่านพระอานนท์เมื่อ
แสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีอยู่ในสมัยนั้น ชื่อว่า ย่อมประกาศการ
เสด็จปรินิพพานแห่งพระรูปกาย. ด้วยคำนั้น ท่านพระอานนท์ ย่อมยัง
ประชาชนผู้มัวเมาในชีวิตให้สลด และยังอุตสาหะในพระสัทธรรมให้เกิด
แก่ประชาชนนั้นว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระวรกาย
เสมอด้วยกายเพชร ทรงไว้ซึ่งกำลังสิบ ทรงแสดงอริยธรรมชื่ออย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 128
ยังเสด็จปรินิพพาน คนอื่นใครเล่าจะพึงยังความหวังในชีวิต. ให้เกิดได้.
อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อกล่าวว่า อย่างนี้ ชื่อว่าย่อมแสดงซึ่งเทศนา
สมบัติ เมื่อกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สดับมา ชื่อว่าย่อมแสดงสาวกสมมติ เมื่อ
กล่าวว่า สมัยหนึ่ง ชื่อว่าย่อมแสดงกาลสมบัติ เมื่อกล่าวว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า ชื่อว่าย่อมแสดงเทสกสมบัติ.
แก้อรรถคำ อนฺตรา จ ราชคห อนฺตรา จ นาลนฺท
อนฺตรา ศัพท์ในคำว่า อนฺตรา จ ราชคห อนฺตรา
จ นาลนฺท
เป็นไปในเนื้อความว่า เหตุ ขณะ จิต ท่ามกลาง และระหว่าง เป็นต้น
อนฺตราศัพท์เป็นไปในเนื้อความว่า เหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า
ตทนนฺตร โก ชาเนยฺย อญฺตฺร ตถาคตา ใครจะพึงรู้เหตุนั้น นอก
จากพระตถาคต และว่า ชนา สงฺคมฺม มนฺเตนฺติ มญฺจ ตญฺจ กิมนฺตร
ชนทั้งหลายมาประชุมปรึกษาเหตุอะไรกะข้าพเจ้าและกะท่าน.
ในเนื้อความว่า ขณะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อทฺทส ม ภนฺเต
อนุตรา อิตฺถี วิชฺชนฺตริกาย ภาชน โธวนฺตี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
หญิงคนหนึ่งล้างภาชนะ ฟ้าแลบ ได้เห็นข้าพระองค์.
ในเนื้อความว่า จิต เช่นในประโยคมีอาทิว่า ยสฺสนฺตรโต น
สนฺติ โกปา ความกำเริบไม่มีในจิตของบุคคลใด.
ในเนื้อความว่า ท่ามกลาง เช่นในประโยคมีอาทิว่า อนฺตรา
โวสานมาปาทิ ถึงที่สุดในท่ามกลาง.
ในเนื้อความว่า ระหว่าง เช่นในประโยคมีอาทิว่า อปิจาย ตโปทา
ทฺวินฺน มหานิรยาน อนฺตริกายาคจฺฉนฺติ อีกอย่างหนึ่ง บ่อน้ำร้อน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 129
ชื่อตโปทานี้ มาในระหว่างมหานรกทั้งสอง.
อนฺตร ศัพท์นี้นั้น ในที่นี้เป็นไปในเนื้อความว่า ระหว่าง. เพราะ
ฉะนั้น ในที่นี้พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ในระหว่างแห่งกรุงราชคฤห์
และนาลันทา. แต่เพราะท่านประกอบด้วย อนฺตรศัพท์ ท่านจึงทำเป็น
ทุติยาวิภัตติ. ก็ในฐานะเช่นนี้ นักอักษรศาสตร์ทั้งหลาย ใช้ อนฺตรา
ศัพท์เดียวเท่านั้น อย่างนี้ว่า อนฺตรา คามญฺจ นทิญฺจ ยาติ ไประหว่าง
บ้านและแม่น้ำ. อนฺตราศัพท์นั้น ควรใช้ในบทที่สองด้วย เมื่อไม่ใช้
ย่อมไม่เป็นทุติยาวิภัตติ. แต่ในที่นี้ท่านใช้ไว้แล้ว จึงกล่าวไว้อย่างนี้แล.
แก้อรรถบท อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ เป็นต้น
บทว่า อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ ความว่า ทรงดำเนินสู่ทาง
ไกล อธิบายว่า ทางยาว. จริงอยู่ แม้กึ่งโยชน์ก็ชื่อว่า ทางไกล โดยพระ
บาลีในวิภังค์แห่งสมัยเดินทางไกลมีอาทิว่า พึงบริโภคด้วยคิดว่า เราจัก
เดินทางกึ่งโยชน์. ก็จากกรุงราชคฤห์ถึงเมืองนาลันทา ประมาณโยชน์
หนึ่ง.
บทว่า ใหญ่ ในคำว่า กับด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ความว่า ใหญ่ทั้ง
โดยคุณทั้งโดยจำนวน. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้น ชื่อว่าใหญ่โดยคุณ เพราะ
ประกอบด้วยคุณธรรม มีความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น ชื่อว่า
ใหญ่โดยจำนวน เพราะมีจำนวนถึงห้าร้อย. หมู่แห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า
ภิกษุสงฆ์ ด้วยภิกษุสงฆ์นั้น อธิบายว่า ด้วยหมู่สมณะ กล่าวคือเป็นพวก
ที่มีความเสมอกันด้วยทิฏฐิและศีล. บทว่า กับ คือโดยความเป็นอันเดียว
กัน.
บทว่า ภิกษุประมาณห้าร้อย มีวิเคราะห์ว่า ประมาณของภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 130
เหล่านั้น ห้า เพราะเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงชื่อว่า มีประมาณห้า. ประมาณ
ท่านเรียกว่า มัตตะ. เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
ก็มีความว่า รู้จักประมาณ คือ รู้จักขนาดในการบริโภค ฉันใด แม้ใน
บทว่า มีประมาณห้า นี้ ก็พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ประมาณห้า คือ ขนาดห้า
ของภิกษุจำนวนร้อยเหล่านั้น. ร้อยของภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าร้อยหนึ่ง.
ด้วยภิกษุประมาณห้าร้อยเหล่านั้น.
บทว่า สุปปิยะ ในคำว่า แม้สุปปิยปริพาชกแล เป็นชื่อของ
ปริพาชกนั้น. ปิอักษร มีเนื้อความประมวลบุคคล เพราะเป็นเพื่อนเดิน
ทาง. โขอักษรเป็นคำต่อบท ท่านกล่าวด้วยอำนาจเป็นความสละสลวย
แห่งพยัญชนะ. คำว่า ปริพาชก ได้แก่ปริพาชกนุ่งผ้า เป็นศิษย์ของ
สญชัย. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินทางไกลนั้นในกาล
ใด แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางในกาลนั้น. ก็ โหติ ศัพท์ในพระบาลี
นี้มีเนื้อความเป็นอดีตกาล.
ในคำว่า กับด้วยพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้
ชื่อว่า อันเตวาสี เพราะอรรถว่า อยู่ภายใน. อธิบายว่า
เที่ยวไปในที่ใกล้ ท่องเที่ยวไปในสำนัก ได้แก่เป็นศิษย์.
คำว่า พรหมทัต เป็นชื่อของศิษย์นั้น.
คำว่า มาณพ ท่านเรียกสัตว์บ้าง โจรบ้าง ชาย-
หนุ่มบ้าง.
จริงอยู่ สัตว์ เรียกว่า มาณพ เช่นในประโยค
มีอาทิว่า มาณพเหล่าใดถูกเทวทูตเตือนแล้ว ยัง
ประมาทอยู่ มาณพเหล่านั้น เป็นพระผู้เข้าถึงหมู่
ที่เลว ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 131
โจร เรียกว่า มาณพ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สมาคมกับพวก
มาณพผู้กระทำกรรมบ้าง ไม่ได้กระทำกรรมบ้าง.
ชายหนุ่ม เรียกว่า มาณพ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อัมพัฏฐ-
มาณพ มัณฑัพยมาณพ. แม้ในพระบาลีนี้ ก็มีเนื้อความอย่างนี้เหมือน
กัน.
อธิบายว่า กับด้วยพรหมทัตศิษย์หนุ่ม.
บทว่า ตตฺร แปลว่า ในทางไกลนั้น หรือในคน ๒ คนนั้น.
บทว่า สุท เป็นเพียงนิบาต.
ปริยาย ศัพท์ ในบทว่า โดยอเนกปริยาย เป็นไปในอรรถว่า วาระ
เทศนา และเหตุ เท่านั้น.
ปริยาย ศัพท์ เป็นไปในอรรถว่า วาระ เช่นในประโยคมีอาทิว่า
กสฺส นุ โข อานนฺท อชฺช ปริยาโย ภิกฺขุนิโย โอวทิตุ ดูก่อน
อานนท์ วันนี้เป็นวาระของใครที่จะให้โอวาทภิกษุณีทั้งหลาย.
เป็นไปในอรรถว่าเทศนา เช่นในประโยคมีอาทิว่า มธุปิณฺฑิกา-
ปริยาโยติ น ธาเรหิ ท่านจงทรงจำธรรมนั้นว่าเป็นมธุปิณฑิกเทศนา.
เป็นไปในอรรถว่าเหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อิมินาปิ โข เต
ราชญฺ ปริยาเยน เอว โหตุ ดูก่อนท่านเจ้าเมือง โดยเหตุแม้นี้ของ
ท่าน จึงต้องเป็นอย่างนั้น.
แม้ในพระบาลีนี้ ปริยาย ศัพท์ นี้นั้น ย่อมเป็นไปในอรรถว่าเหตุ
ฉะนั้น เนื้อความในพระบาลีนี้ดังนี้ว่า โดยเหตุมากอย่าง อธิบายว่า โดย
เหตุเป็นอันมาก.
บทว่า สุปปิยปริพาชกกล่าวโทษพระพุทธเจ้า ความว่า กล่าวติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 132
คือกล่าวโทษ กล่าวตำหนิ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้เว้นจากโทษ
อันไม่ควรสรรเสริญ ผู้แม้ประกอบด้วยคุณที่ควรสรรเสริญหาประมาณมิได้
อย่างนั้น ๆ โดยกล่าวเหตุอันไม่สมควรนั้น ๆ นั่นแหละว่า เป็นเหตุอย่างนี้
ว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรส เพราะเหตุที่พระสมณโคดมไม่มีการกระ
ทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น อันควรกระทำในผู้ใหญ่โดยชาติใน
โลก ที่เรียกว่าสามัคคีรส พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีโภคะ พระสมณโคดม
เป็นคนกล่าวการไม่กระทำ พระสมณโคดมเป็นคนกล่าวความขาดสูญ
พระสมณโคดมเป็นคนเกลียดชัง พระสมณโคดมเป็นคนเจ้าระเบียบ พระ
สมณโคดมเป็นคนตบะจัด พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดเกิด พระสมณ.
โคดมไม่มีธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ซึ่งเป็นญาณและทัศนะอันวิเศษที่ควรแก่
พระอริยเจ้า พระสมณโคดมแสดงธรรมที่ตรึกเอง ที่ตรองเอง ที่รู้เอง
พระสมณโคดมไม่ใช่สัพพัญญู ไม่ใช่โลกวิทู ไม่ใช่คนยอดเยี่ยม ไม่ใช่
อัครบุคคล ดังนี้ และกล่าวเหตุอันไม่ควรนั้น ๆ นั่นแหละ ว่าเป็นเหตุ
กล่าวโทษแม้พระธรรม เหมือนอย่างกล่าวโทษพระพุทธเจ้า โดยประการ
นั้น ๆ ว่า ธรรมของพระสมณโคดมกล่าวไว้ชั่ว รู้ได้ยาก ไม่เป็นธรรม
ที่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ และกล่าวเหตุอันไม่สมควร
ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นเอง ว่าเป็นเหตุ กล่าวโทษแม้พระสงฆ์ เหมือน
อย่างพระธรรม โดยประการนั้น ๆ ว่า พระสงฆ์สาวกของพระสมณโคดม
ปฏิบัติผิด ปฏิบัติคดโกง ปฏิบัติปฏิปทาทีขัด ปฏิปทาที่แย้ง ปฏิปทาอัน
ไม่เป็นธรรมสมควรแก่ธรรม ดังนี้ โดยอเนกปริยาย.
ฝ่ายพรหมทัตมาณพศิษย์ของสุปปิยปริพาชกนั้น ผุดคิดขึ้นโดย
อุบายอันแยบคายอย่างนี้ว่า อาจารย์ของพวกเราแตะต้องสิ่งที่ไม่ควรแตะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 133
ต้อง เหยียบสิ่งที่ไม่ควรเหยียบ อาจารย์ของพวกเรานี้นั้นกล่าวติพระ
รัตนตรัย ซึ่งควรสรรเสริญเท่านั้น จักถึงความพินาศย่อยยับเหมือนคน
กลืนไฟ เหมือนคนเอามือลูบคมดาบ เหมือนคนเอากำปั้นทำลายภูเขา
สิเนรุ เหมือนคนเล่นอยู่แถวซี่ฟันเลื่อย และเหมือนคนเอามือจับช้างซับ
มันที่ดุร้าย ก็เมื่ออาจารย์เหยียบคูถ หรือไฟ หรือหนาม หรืองูเห่าก็ดี
ขึ้นทับหลาวก็ดี เคี้ยวกินยาพิษอันร้ายแรงก็ดี กลืนน้ำกรดก็ดี ตกเหวลึก
ก็ดี ไม่ใช่ศิษย์จะต้องทำตามนั้นไปเสียทุกอย่าง ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายมี
กรรมเป็นของตน ย่อมไปสู่คติตามควรแก่กรรมของตนแน่นอน มิใช่บิดา
จะไปด้วยกรรมของบุตร มิใช่บุตร จะไปด้วยกรรมของบิดา มิใช่มารดาจะ
ไปด้วยกรรมของบุตร มิใช่บุตรจะไปด้วยกรรมของมารดา มิใช่พี่ชายจะ
ไปด้วยกรรมของน้องสาว มิใช่น้องสาวจะไปด้วยกรรมของพี่ชาย มิใช่
อาจารย์จะไปด้วยกรรมของศิษย์ มิใช่ศิษย์จะไปด้วยกรรมของอาจารย์
ก็อาจารย์ของเรากล่าวติพระรัตนตรัย และการด่าพระอริยเจ้าก็มีโทษมาก
จริง ๆ ดังนี้ เมื่อจะย่ำยีวาทะของอาจารย์ อ้างเหตุผลเหมาะควร เริ่ม
กล่าวสรรเสริญ พระรัตนตรัยโดยอเนกปริยาย ทั้งนี้เพราะพรหมทัตมาณพ
เป็นกุลบุตรมีเชื้อชาติบัณฑิต ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า
ส่วนพรหมทัตมาณพศิษย์ของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า
ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย.
อธิบาย วณฺณ ศัพท์
ในศัพท์เหล่านั้น ศัพท์ว่า วณฺณ ในบทว่า วณฺโณ ย่อมปรากฏ
ในความว่า สัณฐาน ชาติ รูปายตนะ การณะ ปมาณะ คุณะ และปสังสา.
ในบรรดาเนื้อความเหล่านั้น สัณฐาน เรียกว่า วณฺณ เช่นใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 134
ประโยคมีอาทิว่า มหนฺต สปฺปราชวณฺณ อภินิมฺมินิตฺวา เนรมิตทรวด
ทรงเป็นพญางูตัวใหญ่.
ชาติ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พฺราหฺมณาว เสฏฺโ
วณฺโณ หีโน อญฺโ วณฺโณ พวกพราหมณ์เท่านั้น มีชาติประเสริฐ
ชาติอื่นเลว.
รูปายตนะ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ปรมาย
วณฺณโปกฺขรตาย สมนฺนาคตา ประกอบด้วยความงามแห่งรูปายตนะ
อย่างยิ่ง.
เหตุ เรียกว่า วณฺณ เช่นในคาถามีอาทิว่า
น หรามิ น ภญฺชามิ อารา สึฆามิ วริช
อถ เกน นุ วณฺเณน คนฺธตฺเถโนติ วุจฺจติ
ข้าพเจ้ามิได้ขโมย ข้าพเจ้ามิได้หัก ข้าพเจ้า
ดมห่าง ๆ ซึ่งดอกมัว เมื่อ เป็นเช่นนี้ เหตุไรเล่า
ท่านจึงกล่าวว่าขโมยกลิ่น.
ประมาณ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตโย ปตฺตสฺส
วณฺณา บาตร ๓ ขนาด.
คุณ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า กทา สญุฬฺหา
ปน เต คหปติ อิเม สมณสฺส โคดมสฺส วณฺณา ดูก่อนคหบดี
ท่านประมวลคุณของพระสมณโคดมเหล่านี้ ไว้แต่เมื่อไร.
สรรเสริญ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า วณฺณารหสฺส
วณฺณ ภาสติ กล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ.
ในพระบาลีนี้ วณฺณ หมายถึง ทั้งคุณ ทั้งสรรเสริญ .
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 135
ได้ยินว่า พรหมทัตมาณพนี้ ได้อ้างเหตุที่เป็นจริงนั้น ๆ กล่าว
สรรเสริญประกอบด้วยคุณแห่งพระรัตนตรัย โดยอเนกปริยาย.
ในข้อนั้น พึงทราบคุณของพระพุทธเจ้า โดยนัยมีอาทิว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ เป็นพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า.
มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในบุคคลผู้เลิศ.
และมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเอก ไม่มีผู้เสมอ สมกับ
เป็นผู้ที่ไม่มีผู้เสมอ เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นในโลก ดังนี้.
พึงทราบคุณของพระธรรม โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า สฺวากฺขาโต
ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วว่า พระธรรม
ถอนอาลัย ตัดวัฏฏะ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใส
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ.
อนึ่ง พึงทราบคุณของพระสงฆ์ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า สุปฏิ-
ปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ปฏิบัติดีแล้ว และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ ดังนี้ .
ก็พระธรรมกถึก ผู้สามารถ พึงประมวลนวังคสัตถุศาสน์ในนิกาย
ทั้ง ๕ เข้าสู่พระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ประกาศคุณของพระรัตนตรัยมีพระ
พุทธเจ้าเป็นต้น. พรหมทัตมาณพเมื่อประกาศคุณของพระพุทธเจ้าเป็น
ต้นในฐานะนี้ ใคร ๆ ก็ไม่อาจจะกล่าวว่าเป็นพระธรรมกถึกแล่นไปผิดท่า.
แลพึงทราบกำลังความสามารถของพระธรรมกถึกในฐานะเช่นนี้. ส่วน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 136
พรหมทัตมาณพกล่าวสรรเสริญพระรัตนตรัย โดยกำลังความสามารถ
ของตน ซึ่งเพิ่มพูนขึ้นด้วยเพียงข่าวที่ฟังมาเป็นต้น
คำว่า อิติห เต อุโภ อาจริยนฺเตวาสี ความว่า ด้วยประการ
ฉะนี้ อาจารย์และศิษย์ทั้งสองนั้น. บทว่า อญฺมญฺสฺส ตัดบทเป็น
อญฺโ อญฺสฺส ความว่า คนหนึ่งเป็นข้าศึกแก่อีกคนหนึ่ง.
บทว่า อุชุวิปจฺจนิกวาทา ความว่า มีวาทะเป็นข้าศึกหลายอย่าง
โดยตรงทีเดียว มิได้หลีกเลี่ยงกันแม้แต่น้อย อธิบายว่า มีวาทะผิดแผก
กันหลายวาระทีเดียว ด้วยว่า เมื่ออาจารย์กล่าวติพระรัตนตรัย ศิษย์กล่าวชม
คือคนหนึ่งกล่าวติ อีกคนหนึ่งกล่าวชม โดยทำนองนี้แล. อาจารย์กล่าวติ
พระรัตนตรัยบ่อย ๆ อย่างนี้ เหมือนตอกลิ่มไม้เนื้ออ่อนลงบนแผ่นไม้เนื้อ
แข็ง. ฝ่ายศิษย์กล่าวชมพระรัตนตรัยบ่อย ๆ เหมือนเอาลิ่มที่ทำด้วยทอง
เงิน และแก้วมณี ป้องกันลิ่มนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึง
กล่าวว่า ต่างมีถ้อยคำเป็นข้าศึกโดยตรง ดังนี้.
คำว่า ภควนฺต ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต อนพนฺธา โหนฺติ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ
ความว่า เป็นผู้ติดตามไปข้างหลัง ๆ ยังมองเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและ
ภิกษุสงฆ์ โดยการติดตามอิริยาบถ อธิบายว่า ยังแลเห็นศีรษะตามไป.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จเดินทางไกล ?
เพราะเหตุไร สุปปิยปริพาชกจึงติดตามไป ? และเพราะเหตุไร เขาจึง
กล่าวติเตียนพระรัตนตรัย.
ตอบว่า เริ่มแรก พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มหาวิหาร
แห่งหนึ่งในบรรดามหาวิหาร ๑ แห่ง ที่เรียงรายอยู่รอบกรุงราชคฤห์
ในกาลนั้น เวลาเช้าตรู่ ทรงปฏิบัติพระพุทธสรีระ ถึงเวลาภิกษาจาร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 137
มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จเที่ยวบิณฑบาต ในกรุงราชคฤห์ วันนั้น พระ
องค์ทรงทำให้ภิกษุสงฆ์หาบิณฑบาตได้ง่าย ในเวลาภายหลังอาหาร
เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ให้ภิกษุสงฆ์รับบาตรและจีวร มีพระพุทธ-
ดำรัสว่า จักไปเมืองนาลันทา เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เสด็จดำเนิน
ทางไกลนั้น.
ในกาลนั้น แม้สุปปิยปริพาชกก็อยู่ในอารามปริพาชกแห่งหนึ่งที่
เรียงรายอยู่ รอบกรุงราชคฤห์ มีปริพาชกแวดล้อมเที่ยวภิกษาจารในกรุง
ราชคฤห์ วันนั้น แม้สุปปิยปริพาชกก็กระทำให้บริษัทปริพาชกหาภิกษา
ได้ง่าย บริโภคอาหารเช้าแล้ว ให้พวกปริพาชกรับบริขารแห่งปริพาชก
กล่าวว่า จักไปเมืองนาลันทา เหมือนกัน ไม่ทราบเลยว่าพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าเสด็จไปทางนั้น ชื่อว่าติดตามไป ถ้าทราบก็จะไม่ติดตามไป.
สุปปิยปริพาชกนั้นไม่ทราบเลย เมื่อเดินไป ชะเง้อคอขึ้นดู จึงเห็นพระ
ผู้มีพระภาคเจ้างามด้วยพระพุทธสิริปานประหนึ่งยอดภูเขาทองเดินได้ที่
แวดวงด้วยผ้ากัมพลแดง.
ได้ยินว่า ในสมัยนั้น พระฉัพพรรณรังสีแผ่ซ่านออกจากพระสรีระ
ของพระทศพล วนเวียนรอบเนื้อที่ประมาณแปดสิบศอก. บริเวณป่านั้น
ย่อมเป็นดังเกลื่อนกล่นไปด้วยช่อรัตนะ พวงรัตนะ และผงรัตนะ ดั่ง
แผ่นทองที่วิจิตรด้วยรัตนะอันแผ่ออก ดั่งประพรมด้วยน้ำทองสีแดงก่ำ
ดั่งเกลื่อนกล่นด้วยกลุ่มดาวร่วง ดั่งฝุ่นชาดที่คลุ้งขึ้นด้วยแรงพายุ และดั่ง
แวบวาบปลาบแปลบด้วยแสงรัศมีแห่งสายรุ้งสายฟ้า และหมู่ดาราก็
ปานกัน.
ก็และพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ารุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 138
แปดสิบ ดั่งสระที่มีดอกบัวหลวง และบัวขาบแย้ม ดั่งต้นปาริฉัตตกออก
ดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น ดั่งจะเย้ยพื้นทิฆัมพร ซึ่งประหนึ่งแย้มด้วย
พยับดาราด้วยพระสิริ อนึ่ง มาลัย คือพระลักษณะอันประเสริฐสามสิบสอง
ประการของพระองค์ ที่งามวิลาศด้วยวงด้วยพระรัศมีประมาณวาหนึ่ง ก็ปาน
ดั่งเอาพระสิริมาข่มเสียซึ่งพระสิริแห่งพระเจ้าจักรพรรดิสามสิบสองพระองค์
เทวราชสามสิบสองพระองค์และมหาพรหมสามสิบสองพระองค์ ที่วางไว้
ตั้งไว้ตามลำดับแห่งพวงมาลัยคือพระจันทร์สามสิบสองดวง พวงมาลัยคือ
พระอาทิตย์สามสิบสองดวงที่ร้อยแล้ว.
ก็และภิกษุทั้งหลายที่ยืนล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทั้ง
หมดล้วนแต่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีกัน ตักเตือนกัน
ติเตียนบาป ว่ากล่าวกัน ผู้เต็มใจทำตาม ทนคำสั่งสอน ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ วิมุตติญาณทัสสนะ. ในท่าม
กลางภิกษุเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบดั่งเสาทอง ล้อมด้วย
กำแพงคือผ้ากัมพลแดง ดั่งเรือทองที่อยู่กลางดงปทุมแดง ดั่งกองอัคคี
ที่วงด้วยไพที่แก้วประพาฬ ดั่งพระจันทร์เพ็ญอันล้อมด้วยหมู่ดาว ย่อม
เจริญตาแม้แห่งฝูงมฤคชาติและปักษีทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงเทวดา
และมนุษย์เล่า.
ก็ในวันนั้นแล โดยมากพระอสีติมหาเถระต่างก็ทรงผ้าบังสุกุลมีสีดัง
เมฆเฉวียงบ่าข้างหนึ่งถือไม้เท้า ราวกะว่าช้างตระกูลคันธวงศ์ที่ได้รับการ
ฝึกหัดเป็นอย่างดี ปราศจากโทษแล้ว คายโทษแล้ว ทำลายกิเลสแล้ว
สางเครื่องรุงรังแล้ว ตัดเครื่องผูกพันแล้ว พากันห้อมล้อมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์เองทรงปราศจากราคะแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 139
แวดล้อมด้วยไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากราคะแล้ว พระองค์เองทรงปราศจาก
โทสะแล้ว แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากโทสะแล้ว พระองค์เองทรง
ปราศจากตัณหาแล้ว แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากตัณหาแล้ว พระ
องค์เองทรงไม่มีกิเลส แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ไม่มีกิเลส พระองค์เองเป็น
ผู้ตรัสรู้แล้ว แวดล้อมไปด้วยพระสาวกผู้รู้ตามเสด็จทั้งหลาย ราวกะว่า
ไกรสรราชสีหแวดล้อมไปด้วยมฤคชาติ ราวกะว่าดอกกัณณิการ์แวดล้อม
ด้วยเกสร ราวกว่าพญาช้างฉัททันต์แวดล้อมด้วยช้างแปดพันเชือก ราว
กะว่าพญาหงส์ชื่อธตรฐแวดล้อมด้วยหงส์เก้าหมื่น ราวกะว่าพระเจ้าจักร-
พรรดิแวดล้อมด้วยเสนางคนิกร ราวกว่าท้าวสักกเทวราชแวดล้อมด้วย
หมู่เทวดา ราวกะว่าท้าวหาริตมหาพรหมแวดล้อมด้วยหมู่พรหม ได้
เสด็จดำเนินไปทางนั้น ด้วยพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้ เป็นอจินไตย
ที่ใคร ๆ ไม่ควรคิดซึ่งบังเกิดด้วยผลบุญที่ทรงสั่งสมมาตลอดกาลประมาณ
มิได้ ดังดวงจันทร์ที่โคจรตลอดพื้นทิฆัมพรฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 140
สุปปิยปริพาชกพบพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้งนั้น ปริพาชกครั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปด้วย
พุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้ และเห็นภิกษุทั้งหลายมีจักษุทอดลง มี
อินทรีย์สงบ มีใจสงบ กำลังถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นดั่ง
ดวงจันทร์เพ็ญที่ลอยเด่นอยู่บนนภากาศ ฉะนั้น อย่างนี้แล้ว ได้เหลียวดู
บริษัทของตน. บริษัทของปริพาชกนั้น มากไปด้วยหาบบริขารมิใช่น้อย
มีตั่งเล็ก ๆ สามง่าม บาตรดินมีสีดังแววหางนกยูง กะทอและคนโทน้ำ
เป็นต้น ซึ่งห้อยอยู่ที่ไม้คานหาบมาพะรุงพะรัง ทั้งปากกล้า กล่าววาจา
หาประโยชน์มิได้ มีอาทิอย่างนี้ว่า มือของคนโน้นงาม เท้าของคนโน้น
งาม มีวาจาเพ้อเจ้อ ไม่น่าดู ไม่น่าเลื่อมใส. ครั้นเห็นดังนั้นเขาเกิด
วิปฏิสาร. ในกาลบัดนี้ ควรที่เขาจะกล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า.
แต่เพราะเหตุที่ปริพาชกนี้ริษยาพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ตลอดกาลเป็น
นิจ เพราะความเสื่อมแห่งลาภสักการะ และความเสื่อมพรรคพวก ด้วย
ว่าลาภสักการะย่อมบังเกิดแก่อัญเดียรถีย์ทั้งหลาย ตลอดเวลาที่พระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายยังมิได้เสด็จอุบัติในโลก แต่จำเดิมแต่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ
ขึ้น อัญเดียรถีย์ทั้งหลายก็พากันเสื่อมลาภสักการะ ถึงความเป็นผู้ไร้สง่า
ราศี ดั่งหิ่งห้อยเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นฉะนั้น.
ก็ในเวลาที่อุปติสสะและโกลิตะบวชในสำนักของสัญชัยนั้น พวก
ปริพาชกได้มีบริษัทมาก แต่เมื่ออุปติสสะและไกลิตะหลีกไป บริษัท
ของพวกเขาแม้นั้นก็พากันแตกไป. ด้วยเหตุ ๒ ประการดังกล่าวมานี้
พึงทราบว่าสุปปิยปริพาชกนี้เมื่อคายความริษยานั้นออกมา กล่าวติพระ
รัตนตรัยทีเดียว เพราะริษยาพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่เป็นนิจ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 141
คำว่า อถโข ภควา อมฺพลฏฺิกาย ราชาคารเก เอกรตฺติวาส
อุปคญฺฉิ สทฺธึ ภิกฺขุสงฺเฆน ความว่า ในครั้งนั้นแลพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าเสด็จไปด้วยพุทธลีลานั้น ถึงประตูพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา
โดยลำดับ ทอดพระเนตรดูพระอาทิตย์ มีพระพุทธดำริว่า บัดนี้มิใช่กาล
ที่จะไป พระอาทิตย์ใกล้อัสดงคต จึงเสด็จเข้าประทับพักแรมราตรีหนึ่ง
ณ พระตำหนักหลวง ในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา.
ในพระบาลีนั้น อุทยานของพระราชา ชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา. ได้ยิน
ว่า ณ ที่ใกล้ประตูแห่งอุทยานั้นมีต้นมะม่วงหนุ่มอยู่ ซึ่งคนทั้งหลายเรียก
ว่า อัมพลัฏฐิกา แม้อุทยานก็พลอย ชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา ด้วย เพราะอยู่
ใกล้มะม่วงหนุ่มต้นนั้น. อุทยานนั้นสมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ มีกำแพง
ล้อมรอบ มีประตูประกอบไว้อย่างดี คุ้นครองอย่างดี ปานดังหีบฉะนั้น.
ในอุทยานนั้นได้สร้างพระตำหนักอันวิจิตรด้วยประดิษฐกรรม เพื่อเป็นที่
เล่นทรงสำราญพระราชหฤทัย พระตำหนักนั้น จึงเรียกกันว่า พระตำหนัก
หลวง.
คำว่า สุปฺปิโยปิ โข ความว่า แม้สุปปิยปริพาชกแลดูพระอาทิตย์
ณ ที่ตรงนั้นแล้ว ดำริว่า บัดนี้มิใช่กาลที่จะไป ปริพาชกทั้งผู้น้อยและ
ผู้ใหญ่มีอยู่มาก และทางนี้ก็มีอันตรายอยู่มาก ด้วยโจรบ้าง ด้วยยักษ์ร้าย
บ้าง ด้วยสัตว์ร้ายบ้าง ก็พระสมณโคดมนี้เสด็จเข้าไปยังอุทยาน ในสถาน
ที่ประทับของพระสมณโคดม เทวดาย่อมพากันอารักขา อย่ากระนั้นเลย
แม้เราก็จักเข้าไปพักแรมราตรีหนึ่งในอุทยานนี้แล พรุ่งนี้จึงค่อยไป ครั้น
ดำริดังนี้แล้วจึงเข้าไปสู่อุทยานนั้นแล.
ลำดับนั้น ภิกษุสงฆ์แสดงวัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กำหนด
สถานที่พักของตน ๆ. แม้สุปปิยปริพาชกก็ให้วางบริขารของปริพาชก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 142
ที่ด้านหนึ่งของอุทยาน แล้วเข้าพักแรมกับบริษัทของตน. แต่ในพระ
บาลีท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจคำที่ยกขึ้นเป็นประธานอย่างเดียวว่า กับด้วย
พรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ของตน. ก็ปริพาชกนั้นเข้าพักแรมอยู่อย่างนี้
ได้แลดูพระทศพลในตอนกลางคืน. และในสมัยนั้นก็ตามประทีปไว้สว่าง
ดุจดาราเดียรดาษโดยรอบ. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ตรงกลาง
และภิกษุสงฆ์ก็พากันนั่งล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้ภิกษุสักรูปหนึ่งใน
ที่ประชุมนั้น ก็มิได้มีการคะนองมือ คะนองเท้า หรือเสียงไอ เสียงจาม
เลย. ด้วยว่าบริษัทนั้นนั่งประชุมกันสงบเงียบราวกะเปลวประทีปในที่อับ
ลม ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยการเป็นผู้ศึกษาอบรมแล้ว และด้วย
ความเคารพในพระศาสดา. ปริพาชกเห็นคุณสมบัติดังนั้น จึงแลดูบริษัท
ของตน. ในที่ประชุมปริพาชกนั้น บางพวกก็นอนยกมือ บางพวกก็นอน
ยกเท้า บางพวกก็นอนละเมอ บางพวกก็นอนแลบลิ้น น้ำลายไหล กัด
ฟัน กรนเสียงดังครอก ๆ. แม้เมื่อควรจะกล่าวสรรเสริญ พระรัตนตรัย
สุปปิยปริพาชกนั้นก็กล่าวติเตียนอยู่นั่นเองอีก ด้วยอำนาจความริษยา
ส่วนพรหมทัตมาณพกล่าวสรรเสริญตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล. ด้วยเหตุ
นั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า ได้ยินว่า แม้ในพระราชอุทยาน
อัมพลัฏฐิกานั้น สุปปิยปริพาชก ดังนี้ ควรกล่าวคำทั้งหมด. ในพระบาลี
นั้น บทว่า ตตฺรปิ ความว่า ในอุทยานชื่ออัมพลัฏฐิกาแม้นั้น.
อธิบายคำว่าภิกษุหลายรูปและคำว่าสงฆ์
บทว่า สมฺพหุลาน ความว่า มากรูปด้วยกัน. ในข้อนั้นตามบรร-
ยายในพระวินัย ภิกษุ ๓ รูป เรียกว่าหลายรูป เกินกว่านั้น ไป เรียกว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 143
สงฆ์ แต่ตามบรรยายในพระสูตร ภิกษุ ๓ รูป เรียกว่า ๓ รูปนั่นเอง
มากกว่านั้น เรียกว่าหลายรูป. ในที่นี้พึงทราบว่าหลายรูป ตามบรรยาย
ในพระสูตร.
บทว่า มณฺฑลมาเล ความว่า บางแห่งกูฎาคารศาลาที่เขาติดช่อฟ้า
สร้างไว้ด้วยการมุงแบบหงส์ เรียกว่า มัณฑลมาลก็มี บางแห่งอุปัฏฐาน-
ศาลาที่เขาติดช่อฟ้าไว้ตัวเดียว สร้างเสาระเบียงไว้รอบ เรียกว่ามัณฑล-
มาลก็มี. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า หอนั่ง เรียกว่ามัณฑลมาล.
บทว่า สนฺสิสินฺนาน นั่งประชุม ท่านกล่าวเนื่องด้วยการนั่ง.
บทว่า สนฺนิปติตาน ประชุม ท่านกล่าวเนื่องด้วยการรวมกัน.
ถ้อยคำ อธิบายว่า กถาธรรม เรียกว่า การสนทนา ในบทว่า อย
สงฺขิยธมฺโม.
บทว่า อุทปาทิ แปลว่า เกิดขึ้นแล้ว.
ก็ข้อสนทนานั้น เป็นอย่างไร ?
คือ คุยกันอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ดังนี้เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น ที่ว่าน่าอัศจรรย์ เพราะไม่มีอยู่เป็นนิจ เช่นคน
ตาบอดขึ้นเขา. นัยแห่งศัพท์ก็เท่านี้. ส่วนนัยแห่งอรรถกถา มีดังต่อไปนี้
ข้อว่า น่าอัศจรรย์ เพราะควรดีดนิ้วมือ อธิบายว่า ควรแก่การดีด
นิ้ว.
ข้อว่า ไม่เคยมี เพราะไม่เคยมีมามีขึ้น.
ทั้ง ๒ บทนี้เป็นชื่อแห่งความประหลาดใจนั่นเอง.
บทว่า ยาวญฺจิท ตัดเป็น ยาว จ อิท. ด้วยบทนั้น ท่านแสดงความ
ที่คำนั้นหาประมาณมิได้. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดีแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 144
ในคำว่า เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา ฯ เป ฯ สุปฏิวิทิตา
นี้ มีความย่อดังต่อไปนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด ได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ
แล้ว ทรงทำลายกิเลสทั้งปวง ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบอาสยะ และอนุสยะ ของเหล่าสัตว์
นั้น ๆ ทรงเห็นไญยธรรมทั้งปวง ดุจมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่าพระหัตถ์
อนึ่ง ทรงทราบด้วยพระญาณ มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้น ทรง
เห็นด้วยทิพยจักษุ ก็หรือทรงทราบด้วยวิชชา ๓ บ้าง ด้วยอภิญญา ๖ บ้าง
ทรงเห็นด้วยพระสมันตจักษุที่ไม่มีอะไรขัดข้องในธรรมทั้งปวง หรือทรง
ทราบด้วยพระปัญญาอันสามารถรู้ธรรมทั้งปวง ทรงเห็นรูปอันพ้นวิสัย
จักษุแห่งสัตว์ทั้งปวง หรือแม้รูปที่อยู่นอกฝา เป็นต้น ด้วยพระมังสจักษุ
อันบริสุทธิ์ยิ่ง หรือทรงทราบด้วยพระปัญญาเครื่องแทงตลอด อันมีพระ
สมาธิเป็นปทัฏฐานให้สำเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์ ทรงเห็นด้วย
พระปัญญาเป็นเครื่องแสดง อันมีพระกรุณาเป็นปทัฏฐานให้สำเร็จประ-
โยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ทรงเป็นพระอรหันต์ เพราะทรงกำจัดข้าศึกคือ
กิเลส และเพราะทรงเป็นผู้ควรแก่สักการะมีปัจจัย เป็นต้น ทรงเป็นพระ
สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง
หรือทรงทราบธรรมที่ทำอันตราย ทรงเห็นธรรมที่นำออกจากทุกข์ ทรง
เป็นพระอรหันต์ เพราะทรงกำจัดข้าศึกคือกิเลส และเพราะทรงเป็นผู้
ควรแก่สักการะมีปัจจัยเป็นต้น ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้
ธรรมทั้งปวงโดยชอบ และด้วยพระองค์เอง ทรงได้รับสดุดี โดยอาการ
ทั้ง ๔ ด้วยอำนาจแห่งเวสารัชญาณ ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้ ทรงทราบดี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 145
ถึงความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุติต่าง ๆ กัน และมีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน
และทรงทราบตลอดด้วยดีเพียงใด.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรง
ทราบดีแล้ว ท่านจึงกล่าวคำว่า ก็สุปปิยปริพาชกนี้ ดังนี้เป็นต้น. มีคำ
อธิบายว่า ก็ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกัน มีอัธยาศัยต่างกัน มี
ทิฏฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน นี้ใด อันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบด้วยพระสัพพัญญุตญาณอันเป็นเครื่องรู้ความที่
สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกัน ดุจทรงตวงด้วยทะนาน และดุจทรงชั่งด้วย
ตาชั่ง โดยพระบาลีอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้ง-
หลายย่อมเทียบเคียงกันเข้าได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้
กับพวกที่มีอธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มี
อธิมิติดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อดีตกาล ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็
เทียบเคียงเข้ากันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มี
อธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้อนาคตกาล ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายจักเทียบเคียงเข้า
กันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็จักเทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว
พวกที่มีอธิมุติดีก็จักเทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้ปัจจุบันกาลเดี๋ยวนี้ ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายย่อมเทียบเคียง
เข้ากันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว
พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดังนี้ ความที่
สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดีแล้ว
เพียงใด ขึ้นชื่อว่าสัตว์ถึงสองคนมีอัธยาศัยอย่างเดียวกัน หาได้ยากในโลก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 146
เมื่อคนหนึ่งต้องการจะเดิน คนหนึ่งต้องการจะยืน เมื่อคนหนึ่งต้องการ
จะดื่ม คนหนึ่งต้องการจะบริโภค และแม้ในอาจารย์และศิษย์สองคนนี้
สุปปิยปริพาชกนี้ กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดย
อเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ของสุปปิยปริพาชก คง
กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย
อาจารย์และศิษย์ทั้งสองนั้นมีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันและกันโดยตรงฉะนี้
เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลัง ๆ ด้วยประการฉะนี้.
ในพระบาลีนั้น บทว่า อิติหเม ตัดบทเป็น อิติห อิเม มีความว่า
เหล่านี้... ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือก็นัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ในคำว่า อถโข ภควา เตส ภิกฺขูน อิม สงฺขิยธมฺม วิทิตฺวา
นี้ บทว่า วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ.
จริงอยู่ ในบาลีประเทศบางแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระ
เนตรเห็นด้วยมังสจักษุ จึงทรงทราบ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นไม้ท่อนใหญ่ถูกกระแสน้ำในแม่น้ำคงคา
พัดไป. ในบาลีประเทศบางแห่งทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ จึงทรงทราบ
เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นเทวดาเหล่านั้น
นับเป็นพัน ๆ กำลังหวงแหนพื้นที่ทั้งหลายในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุ
อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์. ในบาลีประเทศบางแห่งทรงสดับด้วยพระโสต
ธรรมดาจึงทรงทราบ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ทรงสดับท่านพระอานนท์สนทนาปราศรัยกับสุภัททปริพาชก. ในบาลี
ประเทศบางแห่ง ทรงฟังด้วยทิพยโสตแล้วทรงทราบ เช่นในประโยคมี
อาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับสันธานคหบดี สนทนาปราศรัย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 147
กับนิโครธปริพาชกด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตมนุษย์. ก็ใน
พระบาลีนี้ทรงเห็นด้วยพระสัพพัญญุตญาณ จึงได้ทรงทราบ. ทรงทำอะไร
จึงได้ทรงทราบ ? ทรงทำกิจในปัจฉิมยาม.
พรรณนาพุทธกิจ ๕ ประการ
ขึ้นชื่อว่ากิจนี้มี ๒ อย่าง คือ กิจที่มีประโยชน์และกิจที่ไม่มีประ-
โยชน์. บรรดากิจ ๒ อย่างนั้น กิจที่ไม่มีประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเพิกถอนแล้วด้วยอรหัตตมรรค ณ โพธิบัลลังก์. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงมีกิจแต่ที่มีประโยชน์เท่านั้น. กิจที่มีประโยชน์ของพระผู้มีพระภาค-
เจ้านั้นมี ๕ อย่าง คือ
๑. กิจในปุเรภัต
๒. กิจในปัจฉาภัต
๓. กิจในปุริมยาม
๔. กิจในมัชฌิมยาม
๕. กิจในปัจฉิมยาม
ในบรรดากิจ ๕ อย่างนั้น กิจในปุเรภัตมีดังนี้ ก็พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ทรงปฏิบัติพระสรีระ มีบ้วนพระโอฐ
เป็นต้น เพื่อทรงอนุเคราะห์อุปฐากและเพื่อความสำราญแห่งพระสรีระ
เสร็จแล้วทรงประทับยับยั้งอยู่บนพุทธอาสน์ที่เงียบสงัด จนถึงเวลาภิกษา-
จาร ครั้นถึงเวลาภิกษาจาร ทรงนุ่งสบง ทรงคาดประคดเอว ทรง
ครองจีวร ทรงถือบาตร บางครั้งเสด็จพระองค์เดียว บางครั้งแวดล้อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 148
ไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังคามหรือนิคม บางครั้งเสด็จ
เข้าไปตามปกติ บางครั้งก็เสด็จเข้าไปด้วยปาฏิหาริย์หลายประการ. คือ
อย่างไร ? เมื่อพระบรมโลกนาถเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ลมที่พัดอ่อน ๆ
พัดไปเบื้องหน้าแผ้วพื้นพสุธาให้สะอาดหมดจด พลาหกก็หลั่งหยาดน้ำลง
ระงับฝุ่นละอองในมรรคา กางกั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบน กระแสลมก็
หอบเอาดอกไม้ทั้งหลายมาโรยลงในบรรดา ภูมิประเทศที่สูงก็ต่ำลง ที่ต่ำก็
สูงขึ้น ภาคพื้นก็ราบเรียบสม่ำเสมอในขณะที่ทรงย่างพระยุคลบาท หรือ
มีปทุมบุปผชาติอันมีสัมผัสนิ่มนวลชวนสบายคอยรองรับพระยุคลบาท พอ
พระบาทเบื้องขวาประดิษฐานลงภายในธรณีประตู พระฉัพพรรณรังสีก็
โอภาสแผ่ไพศาล ซ่านออกจากพระพุทธสรีระพุ่งวนแวบวาบประดับ
ปราสาทราชมณเฑียร เป็นต้น ดังแสงเลื่อมพรายแห่งทอง และดั่งล้อม
ไว้ด้วยผืนผ้าอันวิจิตร บรรดาสัตว์ทั้งหลาย มี ช้าง ม้า และนก เป็นต้น
ซึ่งอยู่ในสถานที่แห่งตน ๆ ก็พากันเปล่งสำเนียงอย่างเสนาะ ทั้งดนตรีที่
ไพเราะ เช่น เภรี และพิณ เป็นต้น ก็บรรเลงเสียงเพียงดนตรีสวรรค์
และสรรพาภรณ์แห่งมนุษย์ทั้งหลาย ก็ปรากฏสวมใส่ร่างกายในทันที ด้วย
สัญญาณอันนี้ ทำให้คนทั้งหลายทราบได้ว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในย่านนี้ เขาเหล่านั้นต่างก็แต่งตัวนุ่งห่มเรียบร้อย
พากันถือของหอมและดอกไม้ เป็นต้น ออกจากเรือนเดินไปตามถนน
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น โดยเคารพ
ถวายบังคมแล้ว กราบทูลขอสงฆ์ว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์
โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๑๐ รูป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๒๐ รูป แก่พวกข้าพระ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 149
องค์ ๕๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๑๐๐ รูป ดังนี้ แล้วรับบาตรแม้ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดอาสนะน้อมนำถวายบิณฑบาตโดยเคารพ. พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงตรวจดูจิตสันดานของสัตว์เหล่า
นั้น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดให้บางพวกตั้งอยู่ในสรณคมน์ บาง
พวกตั้งอยู่ในศีล ๕ บางพวกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคา-
มิผล อย่างใดอย่างหนึ่ง บางพวกบวชแล้วทั้งอยู่ในพระอรหัต ซึ่งเป็นผล
เลิศ ทรงอนุเคราะห์มหาชนดังพรรณนามาฉะนั้นแล้ว ทรงลุกจากอาสนะ
เสด็จไปยังพระวิหาร ครั้นแล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์อันบวรซึ่งปูลาด
ไว้ในมัณฑลศาลา ทรงรอคอยการเสร็จภัตกิจของภิกษุทั้งหลาย ครั้นภิกษุ
ทั้งหลายเสร็จกิจเรียบร้อยแล้ว ภิกษุผู้อุปฐากก็กราบทูลพระผู้มีพระภาค-
เจ้าให้ทรงทราบ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จเข้าพระคันธกุฎี.
นี้เป็นกิจในปุเรภัตก่อน.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงบำเพ็ญกิจในปุเรภัต
เสร็จแล้วอย่างนี้ ประทับนั่ง ณ ศาลาปรนนิบัติใกล้พระคันธกุฎี ทรง
ล้างพระบาทแล้วประทับยืนบนตั่งรองพระบาท ประทานโอวาทภิกษุสงฆ์
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์คนและประโยชน์
ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด และว่า
ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺต พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ
ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลภา
ทุลฺลภา สทฺธาสมฺปตฺติ ปพฺพชฺช จ ทุลฺลภา
ทุลฺลภ สทฺธมฺมสฺสวน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 150
ความเป็นมนุษย์ หาได้ยาก
ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หาได้ยาก
ความถึงพร้อมด้วยขณะ หาได้ยาก
พระสัทธรรม หาได้ยากอย่างยิ่ง
ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา หาได้ยาก
การบวช หาได้ยาก
การฟังพระสัทธรรม หาได้ยาก
ณ ที่นั้น ภิกษุบางพวกทูลถามกรรมฐานกะพระผู้มีพระภาคเจ้า.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ประทานกรรมฐานที่เหมาะแก่จริงของภิกษุเหล่า
นั้น. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งปวงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไปยัง
ที่พักกลางคืนและกลางวันของตน ๆ. บางพวกก็ไปป่า บางพวกก็ไปสู่โคน
ไม้ บางพวกก็ไปยังที่แห่งใดแห่งหนึ่ง มีภูเขา เป็นต้น บางพวกก็ไปยังภพ
ของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ฯ ล ฯ บางพวกก็ไปยังภพของเทวดาชั้น
วสวัดดี ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระ
คันธกุฎี ถ้ามีพระพุทธประสงค์ ก็ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สำเร็จสีห-
ไสยาครู่หนึ่ง โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ครั้นมีพระวรกายปลอดโปร่งแล้ว
เสด็จลุกขึ้นตรวจดูโลกในภาคที่สอง. ณ คาม หรือนิคมที่พระองค์เสด็จ
เข้าไปอาศัยประทับอยู่ มหาชนพากันถวายทานก่อนอาหาร ครั้นเวลาหลัง
อาหารนุ่งห่มเรียบร้อย ถือของหอมและดอกไม้ เป็นต้น มาประชุมกัน
ในพระวิหาร. ครั้นเมื่อบริษัทพร้อมเพรียงกันแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จไปด้วยพระปาฏิหาริย์อันสมควร ประทับนั่ง แสดงธรรมที่ควรแก่
กาลสมัย ณ บวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ ณ ธรรมสภา ครั้นทรงทราบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 151
กาลอันควรแล้วก็ทรงส่งบริษัทกลับ . เหล่ามนุษย์ต่างก็ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วพากันหลีกไป. นี้เป็นกิจหลังอาหาร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ครั้นเสร็จกิจหลังอาหารอย่างนี้
แล้ว ถ้ามีพระพุทธประสงค์จะโสรจสรงพระวรกาย ก็เสด็จลุกจากพุทธ-
อาสน์เข้าซุ้มเป็นที่สรงสนาน ทรงสรงพระวรกายด้วยน้ำที่ภิกษุผู้เป็น
พุทธุปฐากจัดถวาย. ฝ่ายภิกษุผู้เป็นพุทธุปฐากก็นำพุทธอาสน์มาปูลาดที่
บริเวณพระคันธกุฎี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองจีวรสองชั้นอันย้อมดี
แล้ว ทรงคาดประคดเอว ทรงครองจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วเสด็จไป
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์นั้น. ทรงหลีกเร้นอยู่ครู่หนึ่งแต่ลำพังพระองค์
เดียว. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันมาจากที่นั้น ๆ แล้วมาสู่ที่ปรนนิบัติ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ณ ที่นั้น ภิกษุบางพวกก็ทูลถามปัญหา บาง
พวกก็ทูลขอกรรมฐาน บางพวกก็ทูลขอฟังธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับยับยั้งตลอดยามต้น ทรงให้ความประสงค์ของภิกษุเหล่านั้นสำเร็จ.
นี้เป็นกิจในปฐมยาม.
ก็เมื่อสิ้นสุดกิจในปฐมยาม ภิกษุทั้งหลายถวายบังคมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าแล้วหลีกไป เหล่าเทวดาในหมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น เมื่อได้โอกาสก็
พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างทูลถามปัญหาตามที่เตรียมมา โดย
ที่สุดแม้อักขระ ๔ ตัว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบปัญหาแก่เทวดา
เหล่านั้น ให้มัชฌิมยามผ่านไป นี้เป็นกิจในมัชฌิมยาม.
ส่วนปัจฉิมยาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ
ทรงยับยั้งอยู่ด้วยการเสด็จจงกรมส่วนหนึ่ง เพื่อทรงเปลื้องจากความเมื่อย
ล้าแห่งพระสรีระอันถูกอิริยาบถนั่งตั้งแต่ก่อนอาหารบีบคั้นแล้ว. ในส่วน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 152
ที่สอง เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สำเร็จสีหไสยา
โดยพระปรัศว์เบื้องขวา. ในส่วนที่สาม เสด็จลุกขึ้นประทับนั่งแล้วทรงใช้
พุทธจักษุตรวจดูสัตว์โลกเพื่อเล็งเห็นบุคคลผู้สร้างสมบุญญาธิการไว้ ด้วย
อำนาจทานและศีล เป็นต้น ในสำนักของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ. นี้
เป็นกิจในปัจฉิมยาม.
ก็วันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังกิจก่อนอาหารให้สำเร็จใน
กรุงราชคฤห์แล้ว ถึงเวลาหลังอาหารเสด็จดำเนินมายังหนทาง ตรัสบอก
กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลายในเวลาปฐมยาม ทรงแก้ปัญหาแก่เทวดาทั้ง
หลายในมัชฌิมยาม เสด็จขึ้นสู่ที่จงกรม ทรงจงกรมอยู่ในปัจฉิมยาม ทรง
ได้ยินภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปสนทนาพาดพิงถึงพระสัพพัญญุตญาณนี้ ด้วย
พระสัพพัญญุตญาณนั่นแล ได้ทรงทราบแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้
กล่าวว่า เมื่อทรงกระทำกิจในปัจฉิมยาม ได้ทรงทราบแล้ว. ก็และครั้น
ทรงทราบแล้ว ได้มีพระพุทธดำริดังนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ กล่าวคุณพาดพิงถึง
สัพพัญญุตญาณของเรา ก็กิจแห่งสัพพัญญุตญาณไม่ปรากฏแก่ภิกษุเหล่านี้
ปรากฏแก่เราเท่านั้น เมื่อเราไปแล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็จักบอกการสนทนา
ของตนตลอดกาล. แต่นั้นเราจักทำการสนทนาของภิกษุเหล่านั้นให้เป็น
ต้นเหตุ แล้วจำแนกศีล ๓ อย่าง บันลือสีหนาทอันใคร ๆ คัดค้านไม่ได้
ในฐานะ ๖๒ ประการ ประชุมปัจจยาการกระทำพุทธคุณให้ปรากฏ จัก
แสดงพรหมชาลสูตร อันจะยิ่งหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหว ให้จบลงด้วย
ยอดคือพระอรหัต ปานประหนึ่งยกภูเขาสิเนรุราชขึ้น และดุจฟาดท้องฟ้า
ด้วยยอดสุวรรณกูฏ เทศนานั้นแม้เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ก็จักยังอมต-
มหานฤพานให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายตลอดห้าพันปี ครั้นมีพระพุทธดำริ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 153
อย่างนี้แล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังศาลามณฑลที่ภิกษุเหล่านั้นนั่งอยู่ ด้วย
ประการฉะนี้.
บทว่า เยน ความว่า ศาลามณฑลนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
พึงเสด็จเข้าไปโดยทางทิศใด.
อีกอย่างว่า บทว่า เยน นี้ เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง
สัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น ในบทนี้จึงมีเนื้อความว่า ได้เสด็จไป ณ
ประเทศที่มีศาลามณฑลนั้น ดังนี้ .
คำว่า ปญฺตฺเต อาสเน นิสีทิ ประทับเหนืออาสนะที่บรรจงจัดไว้
ความว่า ข่าวว่า ในครั้งพุทธกาล สถานที่ใด ๆ ที่มีภิกษุอยู่แม้รูปเดียวก็
จัดพุทธอาสน์ไว้ทุกแห่งทีเดียว. เพราะเหตุไร ? เขาว่า พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงมนสิการถึงเหล่าภิกษุที่รับกรรมฐานในสำนักของพระองค์แล้ว อยู่
ในที่สำราญว่า ภิกษุรูปโน้นรับกรรมฐานในสำนักของเราไป สามารถจะ
ยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นหรือไม่หนอ ครั้นทรงเห็นภิกษุรูปนั้นละกรรมฐาน
ตรึกถึงอกุศลวิตกอยู่ ลำดับนั้น มีพระพุทธดำริว่า กุลบุตรผู้นี้รับกรรม-
ฐานในสำนักของศาสดาเช่นเรา เหตุไฉนเล่า จักถูกอกุศลวิตกครอบงำให้
จมลงในวัฏฏทุกข์อันหาเงื่อนต้นไม่ปรากฏ เพื่อจะทรงอนุเคราะห์ภิกษุ
รูปนั้นจึงทรงแสดงพระองค์ ณ ที่นั้นทีเดียว ประทานโอวาทกุลบุตรนั้น
แล้วเสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศกลับไปยังที่ประทับของพระองค์ต่อไป.
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานโอวาทอยู่
อย่างนี้ คิดกัน ว่า พระบรมศาสดาทรงทราบความคิดของพวกเรา เสด็จมา
แสดงพระองค์ประทับยืน ณ ที่ใกล้พวกเรา เป็นภาระที่พวกเราจะต้อง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 154
เตรียมพุทธอาสน์ไว้ สำหรับทูลเชิญในขณะนั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระองค์โปรดประทับนั่งบนพุทธอาสน์นี้ ขอพระองค์โปรดประทับนั่ง
บนพุทธอาสน์นี้. ภิกษุเหล่านั้นต่างจัดพุทธอาสน์ไว้แล้วอยู่. ภิกษุที่มีตั้ง
ก็จัดตั่งไว้ ที่ไม่มีก็จัดเตียง หรือแผ่นกระดาน หรือไม้ หรือแผ่นศิลา
หรือกองทรายไว้ เมื่อไม่ได้ดังนั้นก็ดึงเอาแม้ใบไม้เก่า ๆ มาปูผ้าบังสุกุล
ตั้งไว้บนที่นั้นเอง แต่ในพระตำหนักหลวงในพระราชอุทยานอัมพลัฏ-
ฐิกานี้ มีพระราชอาสน์อยู่ ภิกษุเหล่านั้นช่วยกันปัดกวาดฝุ่นละออง พระ
ราชอาสน์นั้นปูลาดไว้ นั่งล้อมสดุดีพระพุทธคุณ ปรารภถึงพระอธิมุติ-
ญาณ (ญาณรู้อัธยาศัยสัตว์ ) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านพระอานนท์
หมายถึงพระราชอาสน์นั้น จึงกล่าวว่า ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่เขา
บรรจงจัดถวาย. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอย่างนี้ ทั้งที่ทรงทราบ
อยู่ ก็ตรัสถามภิกษุทั้งหลายเพื่อให้เกิดการสนทนา และภิกษุเหล่านั้นก็
พากันกราบทูลแด่พระองค์ทุกเรื่อง. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์ จึง
กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นประทับนั่งแล้ว ดังนี้เป็นต้น.
ประชุมบทเหล่านั้น บทว่า กายนุตฺถ ความว่า พวกเธอนั่งสนทนา
กันถึงเรื่องอะไร ? บาลีเป็น กายเนฺวตฺถ ก็มี. พระบาลีนั้นมีเนื้อความ
ว่า พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไรในที่นี้. บาลีเป็น กายโนตฺถ ก็มี.
ในธรรมบท แม้พระบาลีนั้นก็มีเนื้อความดังก่อนนั่นเอง.
บทว่า อนฺตรา กถา ความว่า สนทนาระหว่างการมนสิการกรรม-
ฐาน อุเทศและปริปุจฉา เป็นต้น คือ ในระหว่างเป็นเรื่องอื่นเรื่องหนึ่ง.
บทว่า วิปฺปกตา ความว่า ยังไม่จบ คือยังไม่ถึงที่สุด เพราะตถาคต
มาเสียก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 155
ด้วยบทนั้น ทรงแสดงไว้อย่างไร ?
อธิบายว่า ตถาคตมาเพื่อหยุดการสนทนาของพวกเธอหามิได้ แต่
มาด้วยหวังว่าจักแสดงให้การสนทนาของพวกเธอจบลง คือทำให้ถึงที่สุด
ด้วยความเป็นสัพพัญญู ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงประทับนั่ง ทรง
ห้ามอย่างพระสัพพัญญู.
แม้ในคำว่า พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์สนทนาค้างอยู่ ก็พอดีพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึงนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การสนทนาพระพุทธคุณ ปรารภพระ
สัพพัญญุตญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกข้าพระองค์ยังค้างอยู่ หา
ใช่ติรัจฉานกถา มีราชกถาเป็นต้นไม่ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา
ถึง ขอพระองค์ได้โปรดแสดงให้การสนทนาของพวกข้าพระองค์นั้นจบลง
ณ กาลบัดนี้เถิด. ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ท่านพระอานนท์ได้ภาษิต
คำอันเป็นนิทาน ซึ่งประดับด้วยกาละ เทศะ ผู้แสดง เรื่อง บริษัท และ
ที่อ้างอิงเพื่อให้เข้าใจโดยง่าย ซึ่งพระสูตรนี้ที่ชี้แจงอานุภาพแห่งพระพุทธ-
คุณ อันสมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ อุปมาดังท่าน้ำมีภูมิภาคอัน
บริสุทธิ์สะอาด เต็มไปด้วยทรายดังใยแก้วมุกดาอันเกลื่อนกล่น มีบันได
แก้วอันงามพิลาสรจนาด้วยพื้นศิลาอันบริสุทธิ์ เพื่อให้หยั่งลงได้โดยสะดวก
สู่สระโบกขรณี อันมีน้ำมีรสดีใสสะอาดรุ่งเรื่องด้วยดอกอุบลและดอกปทุม
ฉะนั้น และอุปมาดังบันไดอันงามรุ่งเรื่องเกิดแสงแห่งแก้วมณี มีแผ่น
กระดานที่เกลี้ยงเกลาอ่อนนุ่มที่ทำด้วยงา อันเถาทองคำรัดไว้เพื่อให้ขึ้นได้
โดยสะดวกสู่ปราสาทอันประเสริฐ มีฝาอันจำแนกไว้เป็นอย่างดี แวดล้อม
ด้วยไพทีอันวิจิตร ทั้งทรวดทรงก็โสภิตโปร่งสล้าง ราวกะว่าประสงค์จะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 156
สัมผัสทางกลุ่มดาว และอุปมาดังมหาวิหาร อันมีบานประตูไพศาล ติดตั้ง
เป็นอย่างดี โชติช่วงด้วยรัศมีแห่งทองเงินแก้วมณีแก้วมุกดา และแก้ว
ประพาฬ เป็นต้น เพื่อเข้าได้โดยสะดวกสู่เรือนใหญ่ที่งามไปด้วยอิสริย-
สมบัติอันโอฬาร มีการกรีดกรายร่ายรำของเหล่าเคหชนผู้มีเสียงไพเราะ
เจรจาร่าเริงระคนกับเสียงกระทบกันแห่งอาภรณ์ มีทองกรและเครื่อง
ประดับเท้าเป็นต้นฉะนั้น.
จบวรรณนาความของคำเป็นนิทานแห่งพระสตรี
พรรณนาเหตุที่ตั้งพระสูตร
บัดนี้ ถึงลำดับโอกาสที่จะพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าอื่นจะพึง
ติเราก็ดี ดังนี้ . ก็การพรรณนาพระสูตรนี้นั้น เมื่อได้พิจารณาเหตุที่ทรง
ตั้งพระสูตรแล้วจึงกล่าวย่อมแจ่มแจ้ง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักวิจารณ์เหตุที่ทรง
ตั้งพระสูตรเสียก่อน.
ก็เหตุที่ทรงตั้งพระสูตรมี ๔ ประการ คือ
๑. อัตตัชฌาสยะ เป็นไปตามพระอัธยาศัยของพระองค์
๒. ปรัชฌาสยะ เป็นไปตามอัธยาศัยของผู้อื่น
๓. ปุจฉาวสิกะ เป็นไปด้วยอำนาจการถาม
๔. อัตถุปปัตติกะ เป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น
ในบรรดาเหตุ ๔ ประการนั้น พระสูตรเหล่าใดที่คนเหล่าอื่นมิได้
ทูลอาราธนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาโดยพระอัธยาศัยของพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 157
องค์แต่ลำพังอย่างเดียว มีอาทิอย่างนี้ คือ อากังเขยยสูตร วัตถสูตร
มหาสติปัฏฐานสูตร มหาสฬายตนวิภังคสูตร อริยวังสสูตร ส่วนแห่ง
สัมมัปปธานสูตร ส่วนแห่งอิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และ
มรรค พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงตั้งเป็นไปตามพระอัธยาศัยของ
พระองค์.
อนึ่ง พระสูตรเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสามารถแห่ง
อัธยาศัยของผู้อื่น เล็งดูอัธยาศัยความพอใจ ความชอบใจ อภินิหาร
และภาวะที่จะตรัสรู้ได้ ของชนเหล่าอื่นอย่างนี้ว่า ธรรมบ่มวิมุติของราหุล
แก่กล้าแล้ว ถ้ากระไรเราพึงแนะนำราหุลในอาสวักขยธรรมให้สูงขึ้น
ดังนี้แล้ว มีอาทิอย่างนี้ คือ จุลลราหุโลวาทสูตร มหาราหุโลวาทสูตร
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ธาตุวิภังคสูตร พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุ
ทรงตั้งเป็นไปตามอัธยาศัยของผู้อื่น.
อนึ่ง พระสูตรเหล่าใดที่เหล่าสัตว์ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือบริษัท ๔
วรรณะ ๔ นาค ครุฑ คนธรรพ์ อสูร ยักษ์ ท้าวมหาราชเทวดาชั้น
ดาวดึงส์ เป็นต้น และท้าวมหาพรหม พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วทูลถามปัญหาโดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าโพช-
ฌงค์ โพชฌงค์ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่านิวรณ์ นิวรณ์
ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้หนอแล ในโลกนี้
อะไรเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐที่สุดของตน เมื่อถูกถามอย่างนี้
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเทศนามีโพชฌงค์สังยุต เป็นต้น ก็หรือ
พระสูตรแม้อื่นเหล่าใด มีเทวตาสังยุต มารสังยุต พรหมสังยุต
สักกปัญหสูตร จุลลเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สามัญญผลสูตร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 158
อาฬวกสูตร สูจิโลมสูตร เป็นต้น พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรง
ตั้งเป็นไปด้วยอำนาจการถาม.
อนึ่ง พระสูตรเหล่านั้นใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเหตุ-
การณ์ที่เกิดขึ้นจึงตรัสเทศนา มีอาทิอย่างนี้ คือ ธรรมทายาทสูตร
จุลลสีหนาทสูตร จันทูปมสูตร ปุตตมังสูปมสูตร ทารุกขันธูปมสูตร
อัคคิกขันธูปมสูตร เผณปิณฑูปมสูตร ปาริฉัตตกูปมสูตร พระสูตร
เหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงตั้งเป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น.
ในบรรดาเหตุที่ทรงตั้งพระสูตร ๔ ประการ ดังพรรณนามานี้
พรหมชาลสูตรนี้มีเหตุที่ทรงตั้งเป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น.
ก็พรหมชาลสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งในเพราะเหตุที่เกิด
ขึ้น. ในเพราะเหตุที่เกิดขึ้นอย่างไร ? ในเพราะการสรรเสริญและการ
ติเตียน คืออาจารย์ติเตียนพระรัตนตรัย ศิษย์ชมพระรัตนตรัย. พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงเป็นเทศนาโกศล ทรงทำการสรรเสริญ และการติเตียน
นี้ให้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ แล้วทรงเริ่มเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ชนเหล่าอื่นจะพึงกล่าวติเราก็ดี ดังนี้.
ประชุมบทเหล่านั้น บทว่า มม เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เนื้อความเท่ากับ
มม. วาศัพท์เป็นวิกัปปัตถะ. บทว่า ปเร ได้แก่เหล่าสัตว์ผู้เป็นข้าศึก.
บทว่า ตตฺร ความว่า ในคนพวกที่กล่าวติเตียนเหล่านั้น. ด้วยคำว่า น
อาฆาโต เป็นต้น ถึงแม้ว่าภิกษุเหล่านั้นไม่มีความอาฆาตเลยก็จริง ถึง
อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงป้องกันมิให้อกุศลเกิดขึ้นใน
ฐานะเช่นนี้ แก่กุลบุตรทั้งหลายในกาลอนาคต จึงได้ทรงตั้งไว้เป็น
ธรรมเนียม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 159
คำว่า ความอาฆาต ในพระบาลีนั้นมีวิเคราะห์ว่า เป็นที่มากระทบ
แห่งจิต. คำนี้เป็นชื่อของความโกรธ.
คำว่า ความไม่แช่มชื่น มีวิเคราะห์ว่าเป็นเหตุให้ไม่เบิกบานใจ
คือ ไม่ยินดี ไม่ดีใจ. คำนี้เป็นชื่อของโทมนัส.
คำว่า ความไม่อภิรมย์ใจ มีวิเคราะห์ว่า ไม่ยินดีประโยชน์เกื้อกูล
แก่ตน ไม่ยินดีประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนอื่น ๆ. คำนี้เป็นชื่อของความโกรธ.
บรรดาบททั้งสามนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสขันธ์สอง คือตรัส
สังขารขันธ์ด้วยบททั้งสอง (อาฆาต และ อนภิรทฺธิ ) ตรัสเวทนาขันธ์
ด้วยบทเดียว ( อปจฺจโย ) ด้วยประการฉะนี้.
ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ทั้งสองนั้น ได้ตรัสปฏิเสธการทำหน้าที่แห่ง
สัมปยุตตธรรมแม้ที่เหลือทีเดียว. ครั้นทรงห้ามความเจ็บใจโดยนัยแรก
อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในความเจ็บใจนั้น โดยนัยที่สอง
จึงตรัสว่า ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง หรือจักน้อยใจในคนเหล่านั้น
อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่ ดังนี้.
ประชุมบทเหล่านั้น หลายบทว่า ตตฺร เจ ตุมฺเห อสฺสถ ความว่า
หากว่าเธอทั้งหลายจะพึงขุ่นเคืองด้วยความโกรธ จะพึงน้อยใจด้วยความ
โทมนัส ในพวกที่กล่าวติเตียนเหล่านั้น หรือในคำติเตียนนั้น.
หลายบทว่า ตุมฺหญฺเวสฺส เตน อนฺตราโย ความว่า อันตราย
จะพึงมีแก่คุณธรรมทั้งหลาย มีปฐมฌาน เป็นต้น ด้วยความโกรธนั้นและ
ด้วยความน้อยใจนั้น ของเธอทั้งหลายนั่นเอง.
ครั้นทรงแสดงโทษโดยนัยที่สองอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงว่า
ผู้ที่น้อยใจเป็นผู้ไม่สามารถแม้ในเหตุเพียงกำหนดเนื้อความของถ้อยคำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 160
โดยนัยที่สาม จึงตรัสว่า เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เป็นสุภาษิต หรือคำที่
เป็นทุพภาษิตของคนเหล่าอื่นได้ละหรือ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปเรส ความว่า ก็คนมักโกรธ ย่อมไม่รู้
ทั่วถึงเนื้อความของคำที่เป็นสุภาษิต และคำที่เป็นทุพภาษิต ของคน
พวกใดพวกหนึ่ง คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก
หรือมารดาบิดา หรือคนที่เป็นข้าศึกได้เลย. อย่างที่ตรัสไว้ว่า
คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม
เมื่อนรชนถูกความโกรธครอบงำ ย่อมมืดตื้อทันที
ความโกรธก่อให้เกิดความพินาศ ความโกรธทำให้
จิตกำเริบ ชนไม่รู้จักความโกรธซึ่งเป็นภัยเกิดในจิต
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงห้ามความเจ็บใจในเพราะการติเตียน
แม้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอาการที่ควร
ปฏิบัติ จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า ในคำที่เขากล่าวติเตียนนั้น คำที่ไม่จริง
เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริง ดังนี้.
ประชุมบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร ตุมฺเหหิ ความว่า ในคำที่เขา
กล่าวติเตียนนั้น เธอทั้งหลาย. บทว่า อภูต อภูตโต นิพเพเธตพฺพ
ความว่า คำใดที่ไม่จริง คำนั้น เธอทั้งหลายพึงแยกโดยความไม่เป็นจริง
ทีเดียว. แก้อย่างไร ? พึงแก้โดยนัยมีอาทิว่า นั่นไม่จริง แม้เพราะ
เหตุนี้ ดังนี้.
ในข้อนั้น มีคำประกอบดังต่อไปนี้ เธอทั้งหลายได้ฟังเขาพูดว่า
ศาสดาของพวกท่านไม่ใช่พระสัพพัญู พระธรรมอันศาสดาของพวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 161
ท่านกล่าวแล้วชั่ว พระสงฆ์ปฏิบัติชั่ว ดังนี้เป็นต้น ไม่ควรนิ่งเสีย แต่
ควรกล่าวแก้เขาอย่างนี้ว่า นั่นไม่จริง แม้เพราะเหตุนี้ คือ คำที่พวกท่าน
กล่าวนั้น ไม่จริงแม้เพราะเหตุนี้ ไม่แท้แม้เพราะเหตุนี้ ข้อนี้ไม่มีใน
พวกเรา และก็หาไม่ได้ในพวกเรา พระศาสดาของพวกเราเป็นพระสัพ-
พัญญูจริง พระธรรมพระองค์ตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว ในข้อ
นั้นมีเหตุดังนี้ ๆ.
ในบทเหล่านี้ บทที่สอง พึงทราบว่าเป็นไวพจน์ของบทที่หนึ่ง บท
ที่สี่พึงทราบว่าเป็นไวพจน์ของบทที่สาม. และควรทำการแก้ในการติเตียน
เท่านั้นดังนี้ ไม่ต้องแก้ทั่วไป. แต่ถ้าเมื่อถูกเขากล่าวว่า ท่านเป็นคน
ทุศีล อาจารย์ของท่านเป็นคนทุศีล สิ่งนี้ ๆ ท่านได้กระทำแล้ว อาจารย์
ของท่านได้กระทำแล้ว ดังนี้ ก็ทนนิ่งอยู่ได้ ย่อมเป็นที่หวาดเกรงแก่ผู้
กล่าวฉะนั้น ไม่ต้องทำความขุ่นใจ แก้ไขการติเตียน ส่วนบุคคลที่ด่าด้วย
อักโกสวัตถุ ๑๐ โดยนัยว่า อ้ายอูฐ อ้ายวัว เป็นต้น ควรวางเฉยเสีย
ใช้อธิวาสนขันติอย่างเดียวในบุคคลนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงลักษณะของผู้คงที่ในฐานะแห่ง
การติเตียนอย่างนี้แล้ว บัดนี้ มีพระพุทธประสงค์จะทรงแสดงลักษณะ
ของผู้คงที่ในฐานะแห่งการสรรเสริญ จึงตรัสพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย คนเหล่าอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ดังนี้เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น คำว่า คนเหล่าอื่น ได้แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้ง-
หลายผู้เลื่อมใสเหล่าใดเหล่าหนึ่ง. เพลิดเพลิน มีวิเคราะห์ว่า เป็นเหตุมา
ยินดีแห่งใจ. คำนี้เป็นชื่อของปีติ.
ภาวะแห่งใจดี ชื่อว่า โสมนัส. คำว่า โสมนัสนี้เป็นชื่อของความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 162
สุขทางจิต.
ภาวะแห่งบุคคลผู้เบิกบาน ชื่อว่า ความเบิกบาน ถามว่า ความ
เบิกบานของอะไร ? ตอบว่า ของใจ. คำว่า ความเบิกบานนี้เป็นชื่อของ
ปีติอันทำให้เบิกบาน นำมาซึ่งความฟุ้งซ่าน.
แม้ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสสังขารขันธ์ด้วยบททั้งสอง
ตรัสเวทนาขันธ์ด้วยบทเดียว ด้วยประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงห้ามความเบิกบานโดยนัยที่หนึ่ง
อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในความเบิกบานนั้น โดยนัยที่สอง
จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า ถ้าเธอทั้งหลายจักเพลิดเพลิน จักดีใจ จักเบิกบาน
ใจในคำชมนั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่
ดังนี้.
แม้ในที่นี้ ก็พึงทราบเนื้อความว่า บทว่า ตุมฺหญฺเวสฺส เตน
อนฺตราโย ความว่า อันตรายจะพึงมีแก่คุณธรรมทั้งหลาย มีปฐมฌาน
เป็นต้น ของเธอทั้งหลายนั้นเอง เพราะความเบิกบานนั้น.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรจึงตรัสดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรร-
เสริญปีติ และโสมนัสในพระรัตนตรัยนั่นเทียว โดยพระสูตรหลายร้อย
สูตร มีอาทิอย่างนี้ว่า ผู้ที่ประกาศว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เกิดปีติไป
ทั่วกาย ก็ปีตินั้นประเสริฐกว่าชมพูทวีปเสียอีก และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในวัตถุอัน
เลิศ ดังนี้มิใช่หรือ ?
ตอบว่า ตรัสสรรเสริญไว้จริง แต่ปีติและโสมนัสนั้นเกี่ยวกับเนก-
ขัมมะ ในที่นี้ ทรงประสงค์ปีติและโสมนัสที่เนื่องด้วยการครองเรือน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 163
อย่างที่เกิดขึ้นแก่ท่านพระฉันนะ โดยนัยว่า พระพุทธเจ้าของเรา พระ
ธรรมของเรา ดังนี้เป็นต้น. ด้วยว่า ปีติและโสมนัสที่เนื่องด้วยการครอง
เรือนนี้ ย่อมกระทำอันตรายแก่การบรรลุฌาน เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น
แหละ แม้ท่านพระฉันนะจึงไม่สามารถที่จะทำคุณวิเศษให้บังเกิดได้ตลอด
เวลาที่พระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จปรินิพพาน. แต่ท่านได้ถูกคุกคามด้วย
พรหมทัณฑ์ที่ทรงบัญญัติไว้ในปรินิพพานสมัย ละปีติและโสมนัสนั้นได้
แล้ว จึงยิ่งคุณวิเศษให้บังเกิดได้. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ปีติ และ
โสมนัสที่ตรัสแล้วนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายปีติและโสมนัสที่ทำ
อันตรายเท่านั้น. ก็ปีตินี้ที่เกิดพร้อมกับความโลภ และความโลภก็เช่น
กับความโกรธนั่นเอง. อย่างที่ตรัสไว้ว่า
คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม
เมื่อนรชนถูกความโลภครอบงำ ย่อมมืดตื้อทันที
ความโลภก่อให้เกิดความพินาศ ความโลภทำให้จิต
อยากได้ ชนไม่รู้จักความโลภนั้นซึ่งเป็นภัยเกิดใน
ภายใน ดังนี้.
ก็วาระที่สามแม้ไม่ได้มาในที่นี้ ก็พึงทราบว่า มาแล้วโดยอรรถะ
เหมือนกัน. แม้คนโลภก็ไม่รู้อรรถเหมือนอย่างคนโกรธ.
ในวาระแห่งการแสดงอาการที่จะพึงปฏิบัติ มีคำประกอบดังต่อไปนี้
เธอทั้งหลายได้ฟังเขาพูดว่า พระศาสดาของท่านทั้งหลายเป็นพระสัพพัญญู
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระองค์ตรัสดีแล้ว พระ
สงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้เป็นต้น ไม่ควรนิ่งเสีย แต่ควรยืนยันอย่างนี้ว่า
คำที่พวกท่านพูดนั้น เป็นคำจริงแม้เพราะเหตุนี้ เป็นคำแท้แม้เพราะเหตุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 164
นี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์แม้เพราะเหตุนี้
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เพราะเหตุนี้ พระธรรมอันพระองค์ตรัสดี
แล้วแม้เพราะเหตุนี้ เป็นพระธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเองแม้เพราะเหตุนี้
พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้วแม้เพราะเหตุนี้ ปฏิบัติตรงแม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้
แม้ถูกถามว่า ท่านมีศีลหรือ ? ถ้ามีศีลก็พึงยืนยันว่า เราเป็นผู้มีศีล ดังนี้
ทีเดียว แม้ถูกถามว่า ท่านเป็นผู้ได้ปฐมฌานหรือ ? ๆ ล ๆ ท่านเป็น
พระอรหันต์หรือ ? ดังนี้ พึงยืนยันเฉพาะแก่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นสภาคกัน
เท่านั้น. ก็ด้วยการปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้ ย่อมเป็นอันละเว้นความเป็นผู้
ปรารถนาลามก และย่อมเป็นอันแสดงความที่พระศาสนาไม่เป็นโมฆะ
ดังนี้. คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
พรรณนาอนุสนธิเริ่มต้น
อนุสนธิเริ่มต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต
จะพึงกล่าวด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีล
ดังนี้.
พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มด้วยบทสองบท คือ การ
สรรเสริญและการติเตียน. ในสองประการนั้น การติเตียนต้องยับยังไว้
เหมือนไฟ พอถึงน้ำก็ดับฉะนั้น อย่างในคำนี้ว่า นั่นไม่จริงเพราะเหตุนี้
นั่นไม่แท้แม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้ . ส่วนการสรรเสริญก็ควรยืนยันที่เป็นจริง
ว่า เป็นจริง คล้อยตามไปอย่างนี้ทีเดียวว่า นั่นเป็นจริงแม้เพราะเหตุนี้.
ก็คำสรรเสริญนั้นมีสองอย่าง คือ คำสรรเสริญที่พรหมทัตมาณพกล่าว
อย่างหนึ่ง คำสรรเสริญที่ภิกษุสงฆ์ปรารภโดยนัยมีอาทิว่า ท่านทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 165
น่าอัศจรรย์ ดังนี้ อย่างหนึ่ง. ในสองอย่างนั้น คำสรรเสริญที่ภิกษุสงฆ์
กล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงแสดงอนุสนธิในการประกาศความว่าง
เปล่าข้างหน้า แต่ในที่นี้มีพุทธประสงค์จะทรงแสดงอนุสนธิ คำสรร-
เสริญที่พรหมทัตมาณพกล่าว จึงทรงเริ่มเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใด นั่นมีประมาณ
น้อยนัก ยิ่งต่ำนัก เป็นเพียงศีล ดังนี้.
ในคำเหล่านั้น คำว่า มีประมาณน้อย เป็นชื่อของสิ่งเล็กน้อย
คำว่า ยังต่ำนัก เป็นไวพจน์ของคำว่า มีประมาณน้อย. ขนาดเรียกว่า
ประมาณ. ชื่อว่า มีประมาณน้อย เพราะมีประมาณน้อย. ชื่อว่า ยังต่ำ
นัก เพราะมีประมาณ. ชื่อว่า เป็นเพียงศีล คือศีลนั่นเอง. มีอธิบายต่ำ
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต แม้กระทำอุตสาหะ
ว่าเราจะกล่าวชม จะพึงกล่าวชมด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก
เป็นเพียงศีล ดังนี้.
ในข้อนั้น หากจะพึงมีคำถามว่า ธรรมดาว่าศีลนี้ เป็นเครื่อง
ประดับอันเลิศของพระโยคี ดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า
ศีลเป็นอลังการของพระโยคี ศีลเป็นเครื่องประดับ
ของพระโยคี พระโยคีผู้ตกแต่งด้วยศีลทั้งหลาย
ถึงความเป็นผู้เลิศในการประดับ ดังนี้.
อนึ่ง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสศีล ทรงกระทำให้ยิ่งใหญ่
ทีเดียวในพระสูตรหลายร้อยสูตร อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หาก
ภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็น
ที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ดังนี้ ก็พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 166
ในศีลทั้งหลายทีเดียว ดังนี้ และว่า
นกต้อยตีวิดรักษาฟองไข่ฉันใด จามรีรักษาขนหาง
ฉันใด คนมีบุตรคนเดียวรักษาบุตรผู้เป็นที่รักฉันใด
คนมีนัยน์ตาข้างเดียว รักษานัยน์ตาที่ยังเหลืออีกข้าง
ฉันใด ท่านทั้งหลายจงตามรักษาศีลเหมือนฉันนั้น
ทีเดียว จงเป็นผู้มีศีลเป็นที่รักด้วยดี มีความเคารพ
ทุกเมื่อเถิด ดังนี้ และว่า กลิ่นดอกไม้ไม่ฟุ้งทวนลม
จันทน์หรือกฤษณา และมะลิซ้อน ก็ไม่ฟุ้งทวนลม
แต่กลิ่นสัตบุรุษย่อมฟุ้งทวนลม สัตบุรุษย่อมฟุ้งไป
ได้ทุกทิศ
จันทน์ก็ดี กฤษณาก็ดี อุบลก็ดี มะลิก็ดี กลิ่นคือศีล
ยอดเยี่ยมกว่าบรรดาคันธชาตเหล่านั้น กลิ่นกฤษณา
และจันทน์นี้มีประมาณน้อย ส่วนกลิ่นของผู้มีศีล
เป็นกลิ่นสูงสุด ฟุ้งไปในทวยเทพทั้งหลาย
มารย่อมไม่พบทางของท่านเหล่านั้น ผู้มีศีลสมบูรณ์
มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะ
รู้ชอบ
ภิกษุเป็นพระผู้มีปัญญา ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ยังจิตและ
ปัญญาให้เจริญอยู่ ผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตน
นั้น พึงสางชัฏนี้ได้ ดังนี้ และว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พีชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ พีชคามและภูตคามเหล่านั้นทั้งหมด อาศัย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 167
แผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้อย่างนี้ มี
อุปมาแม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล เจริญ
โพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเป็นใหญ่หรือ
ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ก็อุปไมยฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้ พระสูตร
แม้อื่น ๆ อีกไม่น้อย ก็พึงเห็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสศีล
ทรงกระทำให้ยิ่งใหญ่ทีเดียวในพระสูตร หลายร้อยสูตรอย่างนี้มิใช่หรือ
เหตุไฉน ในที่นี้จึงตรัสศีลนั้นว่ามีประมาณน้อยเล่า ?
ตอบว่า เพราะทรงเทียบเคียงคุณชั้นสูง. ด้วยว่า ศีลยังไม่ถึงสมาธิ
สมาธิยังไม่ถึงปัญญา ฉะนั้น ทรงเทียบเคียงคุณสูง ๆ ชั้นไป ศีลอยู่เบื้อง
ล่าง จึงชื่อว่า ยังต่ำนัก.
ศีลยังไม่ถึงสมาธิ เป็นอย่างไร ?
คือว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ในปีที่ ๗ นับแต่ตรัสรู้ ได้ประทับ
นั่งบนรัตนบัลลังก์ประมาณโยชน์หนึ่ง ในรัตนมณฑปประมาณ ๑๒ โยชน์
ณ ควงต้นคัณฑามพฤกษ์ ใกล้ประตูนครสาวัตถี เมื่อเทพยดากางกั้น
ทิพยเศวตฉัตรประมาณ ๓ โยชน์ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ย่ำยีเดียรถีย์
ซึ่งแสดงการทรงถือเอาเป็นส่วนพระองค์ ในบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์
คือ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ท่อไฟพวยพุ่ง
ออกจากพระวรกายส่วนบน สายน้ำไหลออกจากพระวรกายส่วนล่าง ฯลฯ
ท่อไฟพวยพุ่งออกจากชุมพระโลมาแต่ละขุม ๆ สายน้ำไหลออกจากขุม
พระโลมาแต่ละชุม มีวรรณะ ๖ ประการ ดังนี้ . พระรัศมีมีวรรณะดุจ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 168
ทองคำพุ่งขึ้นจากพระสรีระอันมีวรรณะดังทองคำของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้นไปจนถึงภวัคพรหม เป็นประหนึ่งกาลเป็นที่ประดับหมื่นจักรวาลทั้ง
สิ้น. รัศมีอย่างที่สอง ๆ กับอย่างแรก ๆ เหมือนเป็นคู่ ๆ พวยพุ่งออก
ราวกะว่าในขณะเดียวกัน. อันชื่อว่าจิตสองดวงจะเกิดในขณะเดียวกัน
ย่อมมีไม่ได้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงมีการพักภวังคจิต
เร็ว และทรงมีความชำนาญที่สั่งสมไว้โดยอาการ ๕ อย่าง ดังนั้น พระ
รัศมีเหล่านั้นจึงเป็นไปราวกะว่าในขณะเดียวกัน. แต่พระรัศมีนั้น ๆ ยัง
มีอาวัชชนะ บริกรรม และอธิษฐาน แยกกันอยู่นั่นเอง คือ พระผู้มี
พระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์รัศมีสีเขียว ก็ทรงเข้าฌานมีนีลกสิณเป็น
อารมณ์ มีพระพุทธประสงค์รัศมีสีเหลือง ก็ทรงเข้าฌานมีปีตกสิณเป็น
อารมณ์ มีพระพุทธประสงค์รัศมีสีแดงและสีขาว ก็ทรงเข้าฌานมีโลหิต-
กสิณเป็นอารมณ์ โอทาตสิณเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์ท่อไฟ ก็
ทรงเข้าฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์สายน้ำ ก็ทรงเข้า
ฌานมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์. พระศาสดาเสด็จจงกรม พระพุทธนฤมิต
ก็ประทับยืน หรือประทับนั่ง หรือบรรทม บัณฑิตพึงอธิบายให้พิสดาร
ทุกบท ด้วยประการฉะนี้. ในข้อนี้ กิจแห่งศีลแม้อย่างเดียวก็ไม่มี ทุก
อย่างเป็นกิจของสมาธิทั้งนั้น ศีลไม่ถึงสมาธิ เป็นอย่างนี้.
อนึ่งเล่า ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีมาสื่อสงไขย
ยิ่งด้วยแสนกัปแล้ว เมื่อกาลที่ทรงมีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา เสด็จออก
จากที่ประทับ อันเป็นที่อยู่อาศัย อันเป็นสิริแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ผนวช
ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงบำเพ็ญเพียรตลอด ๖ พรรษา ครั้นถึงวัน
วิสาขบุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน ๖ เสวยมธุปายาสใส่ทิพยโอชา ซึ่งนางสุชาดา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 169
บ้านอุรุเวลคามถวาย เวลาสายัณหสมัย เสด็จเข้าไปยังโพธิมัณฑสถาน
ทางทิศทักษิณ และทิศอุดร ทรงทำปทักษิณพญาไม้โพธิใบ ๓ รอบ แล้ว
ประทับยืน ณ เบื้องทิศอีสาน ทรงลาดสันถัตหญ้า ทรงขัดสมาธิสามชั้น
ทรงทำกรรมชานมีเมตตาเป็นอารมณ์อันประกอบด้วยองค์ ๔ ให้เป็นเบื้อง-
ต้น ทรงอธิษฐานความเพียร เสด็จขึ้นสู่บัลลังก์อันประเสริฐ ๑๔ ศอก
ผินพระปฤษฎางค์สู่ลำต้นโพธิ์อันสูง ๕๐ ศอก ราวกะต้นเงินที่ตั้งอยู่บนตั่ง
ทอง ณ เบื้องบนมีกิ่งโพธิ์กางกั้นอยู่ราวกะฉัตรแก้วมณี มีหน่อโพธิ์ซึ่ง
คล้ายแก้วประพาฬหล่นลงที่จีวรซึ่งมีสีเหมือนทอง ยามพระอาทิตย์ใกล้จะ
อัสดงคต ทรงกำจัดมารและพลมารได้แล้ว ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติ-
ญาณ ในปฐมยาม ทรงชำระทิพยจักษุ ในมัชฌิมยาม ครั้นเวลาปัจจุส-
สมัยใกล้รุ่ง ทรงหยั่งพระปรีชาญาณลงในปัจจยาการที่พระสัพพัญญูพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย ทรงสั่งสมกันมา ยังจตุตถฌานมีอานาปานสติเป็นอารมณ์ให้
บังเกิด ทรงทำจตุตถฌานนั้นให้เป็นบาท ทรงเจริญวิปัสสนา ทรงยัง
กิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยมรรคที่ ๔ ที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว ตามลำดับ
แห่งมรรค ทรงแทงตลอดพระพุทธคุณทั้งปวง. นี้เป็นกิจแห่งปัญญาของ
พระองค์. สมาธิไม่ถึงปัญญา เป็นอย่างนี้.
ในข้อนั้น น้ำในมือยังไม่ถึงน้ำในถาด น้ำในถาดยังไม่ถึงน้ำใน
หม้อ น้ำในหม้อยังไม่ถึงน้ำในไห น้ำในไหยังไม่ถึงน้ำในตุ่ม น้ำในตุ่ม
ยังไม่ถึงน้ำในหม้อใหญ่ น้ำในหม้อใหญ่ยังไม่ถึงน้ำในบ่อ น้ำในบ่อยังไม่
ถึงน้ำในลำธาร น้ำในลำธารยังไม่ถึงน้ำในแม่น้ำน้อย น้ำในแม่น้ำน้อย
ยังไม่ถึงน้ำในปัญจมหานที น้ำในปัญจมหานที่ยังไม่ถึงน้ำในมหาสมุทร-
จักรวาล น้ำในมหาสมุทรจักรวาลยังไม่ถึงน้ำในมหาสมุทรเชิงเขาสิเนรุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170
น้ำในมือเทียบน้ำในถาดก็นิดหน่อย ฯลฯ น้ำในมหาสมุทรจักรวาลเทียบ
น้ำในมหาสมุทรเชิงเขาสิเนรุ ก็นิดหน่อย ฉะนั้น น้ำในเบื้องต้น ๆ ถึง
มาก ก็เป็นนำนิดหน่อย โดยเทียบกับน้ำในเบื้องต่อ ๆ ไป ด้วยประการ
ฉะนี้ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ศีลในเบื้องล่างก็มีอุปไมยฉันนั้นนั่นเทียว พึง
ทราบว่า มีประมาณน้อย ยังต่ำนัก โดยเทียบกับคุณในเบื้องบน ๆ. ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชน
กล่าวชมตถาคตจะพึงกล่าวด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำ
นัก เป็นเพียงศีล ดังนี้.
อธิบายคำว่า ปุถุชน
ในคำว่า เยน ปุถุชโน นี้ มีคำอธิบาย ดังต่อไปนี้
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสว่า
ปุถุชนมี ๒ พวก คือ อันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑ ดังนี้ .
ในปุถุชน ๒ พวกนั้น บุคคลผู้ไม่มีการเรียน การสอบสวน การฟัง
การทรงจำ และการพิจารณาในขันธ์ ธาตุ และอายตนะเป็นต้น นี้ชื่อว่า
อันธปุถุชน บุคคลผู้มีกิจเหล่านั้น ชื่อว่า กัลยาณปุถุชน. อนึ่ง ปุถุชน
ทั้ง ๒ พวกนี้
ชื่อว่าปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลาย มีการยังกิเลสมากมาย
ให้เกิดเป็นต้น ชนนี้เป็นพวกหนึ่ง เพราะหยั่งลง
ภายในของปุถุชน ดังนี้.
จริงอยู่ ปุถุชนนั้น ชื่อว่า ปุถุชน ด้วยเหตุเป็นต้นว่า ยังกิเลส
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171
เป็นต้น มีประการต่าง ๆ มากมายให้เกิด. อย่างที่พระธรรมเสนาบดี
สารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า ปุถุชน เพราะยังกิเลสมากมายให้เกิด.
เพราะยังกำจัดสักกายทิฏฐิมากมายไม่ได้. เพราะส่วนมากคอยแต่แหงนมอง
หน้าครูทั้งหลาย. เพราะส่วนมากออกไปจากคติทั้งปวงไม่ได้. เพราะ
ส่วนมากสร้างบุญบาปต่าง ๆ. เพราะส่วนมากถูกโอฆะต่าง ๆ พัดไป ถูก
ความเดือนร้อนให้เดือนร้อน ถูกความเร่าร้อนให้เร่าร้อน กำหนัด ยินดี
รักใคร่ สยบ หมกมุ่น ข้อง ติด พัวพัน อยู่ในเบญจกามคุณ. เพราะ
ถูกนิวรณ์ ๕ กางกั้น กำบัง เคลือบ ปกปิด ครอบงำ. เพราะหยั่งลง
ภายในชนจำนวนมาก ซึ่งนับไม่ถ้วน ล้วนแต่เบือนหน้าหนีอริยธรรม มี
แต่ประพฤติธรรมที่เลวทราม ดังนี้ก็มี. เพราะชนนี้เป็นพวกหนึ่ง คือถึง
การนับว่า เป็น ต่างหากทีเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับอริยชนทั้งหลาย ผู้ประกอบ
ด้วยคุณมีศีลและสุตะเป็นต้น ดังนี้ก็มี.
คำว่า ตถาคต มีความหมาย ๘ อย่าง
บทว่า ตถาคตสฺส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
๑. เพราะเสด็จมาอย่างนั้น
๒. เพราะเสด็จไปอย่างนั้น
๓. เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้
๔. เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง ตามที่เป็นจริง
๕. เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172
๖. เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง
๗. เพราะทรงกระทำเองและให้ผู้อื่นกระทำ
๘. เพราะทรงครอบงำ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่าง
นั้น เป็นอย่างไร ?
เหมือนอย่างพระสัมมาสันพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทรงขวนขวายเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงเสด็จมาแล้ว เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาค
พระวิปัสสีเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระสิขีเสด็จมา เหมือน
อย่างพระผู้มีพระภาคพระเวสสภูเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาค
พระกกุสันธะเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระโกนาคมน์เสด็จ
มา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกัสสปะเสด็จมา ข้อนี้มีอธิบาย
อย่างไร ? มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น เสด็จมาด้วยอภินิหาร
ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาด้วยอภินิหารนั้น
เหมือนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาค
พระกัสสปะ ทรงบำเพ็ญทานบารมี ทรงบำเพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี
ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี
เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศเหล่านี้ คือ
บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทรงบริจาคมหาบริจาค
๕ ประการ คือ บริจาคอวัยวะ บริจาคทรัพย์ บริจาคลูก บริจาคเมีย
บริจาคชีวิต ทรงบำเพ็ญบุพประโยค บุพจริยา การแสดงธรรม และ
ญาตัตถจริยา เป็นต้น ทรงถึงที่สุดแห่งพุทธจริยา เสด็จมาแล้วอย่างใด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 173
พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น.
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ฯ ล ฯ พระผู้มีพระภาค
พระกัสสปะ ทรงเจริญเพิ่มพูนสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เสด็จมาแล้ว
อย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้น
เป็นอย่างนี้.
พระมุนีทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เสด็จมาสู่ความ
เป็นพระสัพพัญญูในโลกนี้อย่างใด แม้พระศากยมุนี
นี้ ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี
จักษุจึงทรงพระนามว่า ตถาคต ดังนี้ .
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่าง
นั้น เป็นอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่าง
นั้น เป็นอย่างไร ?
เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้น
ก็เสด็จไป ฯ ล ฯ เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกัสสปะ ประสูติใน
บัดเดี๋ยวนั้น ก็เสด็จไป ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จไปอย่างไร ? จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง ประทับยืนบนปฐพีด้วย
พระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เสด็จไปโดยย่าง
พระบาท ๗ ก้าว ดังพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 174
ประสูติบัดเดี๋ยวนั้น ก็ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระ
พักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เสด็จไปโดอย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อท้าวมหา-
พรหมกั้นพระเศวตฉัตร ทรงเหลียวดูทั่วทิศ ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า
เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
ในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีต่อไป
ดังนี้ . และการเสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็ได้เป็นอาการ
อันแท้ ไม่แปรผันด้วยความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษหลาย
ประการ คือ ข้อที่พระองค์ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง ก็ได้ประทับยืน
ด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน นี้เป็นบุพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔ ของ
พระองค์. อนึ่ง ความที่พระองค์บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เป็น
บุพนิมิตแห่งความเป็นโลกุตตรธรรมทั้งปวง. การย่างพระบาท ๗ ก้าว
เป็นบุพนิมิตแห่งการได้รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ. อนึ่ง การยก
พัดจามรขึ้นที่กล่าวไว้ในคำนี้ว่า พัดจามรทั้งหลาย มีด้ามทองก็โบกสะบัด
นี้เป็นบุพนิมิตแห่งการย่ำยีเดียรถีย์ทั้งปวง. อนึ่ง การกั้นพระเศวตฉัตร
เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตร อันบริสุทธิ์ ประเสริฐ คือ พระ
อรหัตตวิมุตติธรรม. การประทับยืนบนก้าวที่ ๗ ทอดพระเนตรเหลียวดู
ทั่วทิศ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้พระอนาวรญาณ คือความเป็นพระ
สัพพัญญู. การเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพนิมิตแห่งการประกาศพระธรรม-
จักรอันประเสริฐ อันใคร ๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นี้ ก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น และการเสด็จไปของพระองค์นั้น
ก็ได้เป็นอาการอันแท้ ไม่แปรผัน ด้วยความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุ
คุณวิเศษเหล่านั้นแล ด้วยเหตุนั้นพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 175
พระควัมบดีโคดมนั้นประสูติแล้วในบัดเดี๋ยวนั้น ก็
ทรงสัมผัสพื้นดินด้วยพระยุคลบาทสม่ำเสมอ เสด็จ
ย่างพระบาทไปได้ ๗ ก้าว และฝูงเทพยดาเจ้าก็กาง
กั้นเศวตฉัตร พระโคดมนั้นครั้นเสด็จไปได้ ๗ ก้าว
ก็ทอดพระเนตรไปรอบทิศเสมอกัน ทรงเปล่งพระสุร-
เสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ปานดังราชสีห์
ยืนอยู่บนยอดบรรพตฉะนั้น ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต แม้เพราะเสด็จไป
อย่างนั้น เป็นอย่างนี้.
อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวีปัสสีเสด็จไปแล้ว
ฯลฯ พระผู้มีพระภาคพระกัสสปะเสด็จไปแล้วฉันใด แม้พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพระองค์นี้ ก็เหมือนฉันนั้นทีเดียว ทรงละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ
เสด็จไปแล้ว ทรงละพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ทรงละถีนมิทธะด้วย
อาโลกสัญญา ทรงละอุทธัจจกุกกุจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ทรงละวิจิกิจฉา
ด้วยการกำหนดธรรม เสด็จไปแล้ว ทรงทำลายอวิชชาด้วยพระปรีชาญาณ
ทรงบรรเทาอรติด้วยความปราโมทย์ ทรงเปิดบานประตูคือนิวรณ์ด้วย
ปฐมฌาน ทรงยังวิตกและวิจารณ์ให้สงบด้วยทุติยฌาน ทรงหน่ายปีติด้วย
ตติยฌาน ทรงละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ทรงก้าวล่วงรูปสัญญา
ปฏิฆสัญญา และนานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าว
ล่วงอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 176
วิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากิญ-
จัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เสด็จไปแล้ว ทรง
ละอนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ทรงละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา
ทรงละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ทรงละความเพลิดเพลินด้วย
นิพพิทานุปัสสนา ทรงละความกำหนัดด้วยวิราคานุปัสสนา. ทรงละสมุทัย
ด้วยนิโรธานุปัสสนา ทรงละความยึดมั่นด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ทรงละ
ฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา ทรงละความเพิ่มพูนด้วยวยานุปัสสนา ทรงละ
ความยั่งยืนด้วยวิปริณามานุปัสสนา ทรงละอนิมิตตสัญญาด้วยอนิมิตตา-
นุปัสสนา ทรงละการตั้งมั่นแห่งกิเลสด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ทรงละการ
ยึดมั่นด้วยสุญญตานุปัสสนา ทรงละความยึดมั่นด้วยการยึดถือว่าเป็นสาระ
ด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ทรงละความยึดมั่นโดยความลุ่มหลงด้วยยถา-
ภูตญาณทัสสนะ ทรงละความยึดมั่นในธรรมเป็นที่อาลัยด้วยอาทีนวานุ-
ปัสสนา ทรงละการไม่พิจารณาสังขารด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ทรงละความ
ยึดมั่นในการประกอบกิเลสด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา ทรงหักกิเลสอันตั้งอยู่ร่วม
กับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ทรงละกิเลสหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ทรง
เพิกกิเลสอย่างละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ทรงตัดกิเลสทั้งหมดได้ด้วย
อรหัตตมรรค เสด็จไปแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต
เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่
ลักษณะที่แท้ เป็นอย่างไร ?
ปฐวีธาตุมีลักษณะแข้นแข็ง เป็นลักษณะแท้ไม่แปรผัน อาโปธาตุ
มีลักษณะไหลไป เตโชธาตุมีลักษณะร้อน วาโยธาตุมีลักษณะเคลื่อนไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 177
มา อากาศธาตุมีลักษณะสัมผัสไม่ได้ วิญญาณธาตุมีลักษณะรู้อารมณ์
รูปมีลักษณะสลาย เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญามีลักษณะจำอารมณ์
สังขารมีลักษณะปรุงแต่งอารมณ์ วิญญาณมีลักษณะรู้อารมณ์ วิตกมี
ลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิจารมีลักษณะตามเคล้าอารมณ์ ปีติมีลักษณะ
แผ่ไป สุขมีลักษณะสำราญ เอกัคคตาจิตมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ผัสสะมี
ลักษณะถูกต้องอารมณ์ สัทธินทรีย์มีลักษณะน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์มี
ลักษณะประคอง สตินทรีย์มีลักษณะบำรุง สมาธินทรีย์มีลักษณะไม่
ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์มีลักษณะรู้โดยประการ สัทธาพละมีลักษณะอันใครๆ
ให้หวั่นไหวไม่ได้ในความไม่เชื่อ วิริยพละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหว
ไม่ได้ในความเกียจคร้าน สติพละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้
ในความมีสติฟั่นเฟือน สมาธิพละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้
ในความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ใน
อวิชชา สติสัมโพชฌงค์มีลักษณะบำรุง ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์มีลักษณะ
ค้นคว้า วิริยสัมโพชฌงค์มีลักษณะประคอง ปีติสัมโพชฌงค์มีลักษณะ
แผ่ไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีลักษณะเข้าไปสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์มี
ลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีลักษณะพิจารณา สัมมาทิฏฐิมี
ลักษณะเห็น สัมมาสังกัปปะมีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาวาจามี
ลักษณะกำหนดถือเอา สัมมากันมันตะมีลักษณะเป็นสมุฏฐาน สัมมาอาชีวะ
มีลักษณะผ่องแผ้ว สัมมาวายามะมีลักษณะประคอง สัมมาสติมีลักษณะ
บำรุง สัมมาสมาธิมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน อวิชชามีลักษณะไม่รู้ สังขารมี
ลักษณะคิดอ่าน วิญญาณมีลักษณะรู้อารมณ์ นามมีลักษณะน้อมไป รูป
มีลักษณะสลาย สฬายตนะมีลักษณะเป็นที่มาต่อ ผัสสะมีลักษณะถูกต้อง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 178
อารมณ์ เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ตัณหามีลักษณะเป็นเหตุ อุปาทาน
มีลักษณะยึดมั่น ภพมีลักษณะเพิ่มพูน ชาติมีลักษณะบังเกิด ชรามี
ลักษณะทรุดโทรม มรณะมีลักษณะจุติ ธาตุมีลักษณะเป็นความว่างเปล่า
อายตนะมีลักษณะเป็นที่มาต่อ สติปัฏฐานมีลักษณะบำรุง สัมมัปปธานมี
ลักษณะเริ่มตั้ง อิทธิบาทมีลักษณะสำเร็จ อินทรีย์มีลักษณะเป็นใหญ่ยิ่ง
พละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ โพชฌงค์มีลักษณะนำออก
จากทุกข์ มรรคมีลักษณะเป็นเหตุ สัจจะมีลักษณะแท้ สมถะมีลักษณะ
ไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนามีลักษณะตามพิจารณาเห็น สมถะและวิปัสสนามี
ลักษณะมีกิจเป็นหนึ่ง ธรรมที่ขนานคู่กันมีลักษณะไม่กลับกลาย ศีลวิสุทธิ
มีลักษณะสำรวม จิตตวิสุทธิมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิมีลักษณะ
เห็น ขยญาณมีลักษณะตัดได้เด็ดขาด อนุปปาทญาณมีลักษณะระงับ
ฉันทะมีลักษณะเป็นมูล มนสิการมีลักษณะเป็นสมุฏฐาน ผัสสะมีลักษณะ
เป็นที่ประชุม เวทนามีลักษณะเป็นสโมสร สมาธิมีลักษณะเป็นประมุข
สติมีลักษณะเป็นอธิปไตย ปัญญามีลักษณะยอดเยี่ยมกว่านั้น วิมุติมีลักษณะ
เป็นสาระ พระนิพพานอันหยังลงสู่อมตะมีลักษณะเป็นปริโยสาน ซึ่งแต่ละ
อย่างเป็นลักษณะที่แท้ไม่แปรผัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่ลักษณะ
ที่แท้ด้วยพระญาณคติ คือ ทรงบรรลุ ทรงบรรลุโดยลำดับไม่ผิดพลาด
อย่างนี้ เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้ เป็นอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่
แท้จริง ตามที่เป็นจริง เป็นอย่างไร ?
อริยสัจ ๔ ชื่อว่าธรรมที่แท้จริง อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 179
อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เป็นธรรมที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น
อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ว่า นี้ทุกข์ ดังนี้
เป็นธรรมที่แท้ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ดังนี้ . พึงทราบความ
พิสดารต่อไป. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านั้น เหตุนั้น
จึงได้รับพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้. ก็คตศัพท์ ใน
ที่นี้ มีเนื้อความว่า ตรัสรู้.
อีกอย่างหนึ่ง ชราและมรณะ อันเกิดแต่ชาติเป็นปัจจัย มีเนื้อ
ความว่า ปรากฏ เป็นเนื้อความที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่าง
อื่น ๆลฯ สังขารอันเกิดแต่อวิชชาเป็นปัจจัย มีเนื้อความว่า ปรากฏ
เป็นเนื้อความที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ฯลฯ อวิชชามีเนื้อความ
ว่า เป็นปัจจัยแก่สังขาร สังขารมีเนื้อความว่า เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ฯ ล ฯ
ชาติมีเนื้อความว่า เป็นปัจจัยแก่ชราและมรณะ เป็นเนื้อความที่แท้ ไม่
แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ธรรมที่แท้นั้น
ทั้งหมด แม้เพราะเหตุนั้น จึงได้รับพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้
ธรรมที่แท้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้
ธรรมที่แท้จริง ตามที่เป็นจริง เป็นอย่างนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงเห็น
อารมณ์ที่แท้จริง เป็นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ทรงเห็นโดยประการทั้งปวง ซึ่งอารมณ์
อันชื่อว่ารูปารมณ์ ที่มาปรากฏทางจักษุทวารของหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดา
และมนุษย์ในโลกพร้อมทั้งเทวดา คือ ของสัตว์ทั้งหลายอันหาประมาณ
มิได้ และอารมณ์นั้นอันพระองค์ผู้ทรงรู้ทรงเห็นอยู่อย่างนี้ ทรงจำแนก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 180
ด้วยสามารถอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น หรือด้วยสามารถบทที่
ได้ในอารมณ์ที่ได้เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้ทราบ และที่ได้รู้ ๑๓ วาระบ้าง
๕๒ นัยบ้าง มีชื่อมากมายโดยนัยเป็นต้นว่า รูป คือ รูปายตนะเป็น
ไฉน ? คือ รูปใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นแสงสี เป็นรูปที่เห็นได้
เป็นรูปที่กระทบได้ เป็นรูปสีเขียว เป็นรูปสีเหลือง ดังนี้ ย่อมเป็น
อารมณ์ที่แท้จริงอย่างเดียว ไม่มีแปรผัน. แม้ในอารมณ์มีเสียงเป็นต้น
ที่มาปรากฏแม้ในโสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้. ข้อนี้สมด้วยพระบาลี ที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารมณ์ใดที่โลกพร้อม
ทั้งเทวดา พร้อมทั้งมาร พร้อมทั้งพรหม พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อม
ทั้งเทวดาและมนุษย์ได้เห็น ได้ยิน ได้ทราบ ได้รู้ ถึงแล้ว แสวงหา
แล้ว ค้นคว้าแล้ว ด้วยใจ เราย่อมรู้ซึ่งอารมณ์นั้น รู้ยิ่งแล้ว ซึ่ง
อารมณ์นั้น อารมณ์นั้น ตถาคต ทราบแล้ว ไม่ปรากฏแล้วในตถาคต ดังนี้ .
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่
แท้จริง เป็นอย่างนี้. พึงทราบความสำเร็จบทว่า ตถาคต มีเนื้อความว่า
ทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมีวาจาที่แท้
จริง เป็นอย่างไร ?
ตลอดราตรีใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์
ณ โพธิมณฑสถาน ทรงล้างสมองมารทั้ง ๓ แล้ว ตรัสรู้พระอนุตตร-
สัมมาสัมโพธิญาณ และตลอดราตรีใดที่พระองค์เสด็จปรินิพพานด้วยอนุ-
ปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ในระหว่างนี้ คือ ใน
กาลประมาณ ๔๕ พรรษา พระวาจาใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 181
ในปฐมโพธิกาล ทั้งในมัชฌิมโพธิกาล ทั้งในปัจฉิมโพธิกาล คือสุตตะ
เคยยะ ฯล ฯ เวทัลละ พระวาจานั้นทั้งหมด อันใคร ๆ ติเตียนไม่ได้
ไม่ขาด ไม่เกิน โดยอรรถะและโดยพยัญชนะ บริบูรณ์โดยอาการทั้งปวง
บรรเทาความเมา คือ ราคะ โทสะ โมหะ ในพระวาจานั้นไม่มีความ
พลั้งพลาดแม้เพียงปลายขนทราย พระวาจานั้นทั้งหมด ย่อมแท้จริงอย่าง
เดียว ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ดุจประทับไว้ด้วยตราอันเดียวกัน
ดุจดวงไว้ด้วยทะนานใบเดียวกัน และดุจชั่งไว้ด้วยตาชั่งอันเดียวกัน ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ตลอดราตรีใดที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตร-
สัมมาสัมโพธิญาณ และตลอดราตรีใด ที่ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ ในระหว่างนี้ คำใดที่ตถาคตกล่าว พูด แสดง คำนั้น
ทั้งหมด ย่อมเป็นคำแท้จริงอย่างเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น เหตุนั้น จึงได้
นามว่า ตถาคต ดังนี้. ก็ในที่นี้ศัพท์ คต มีเนื้อความเท่า คท แปลว่า
คำพูด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจา
ที่แท้จริง เป็นอย่างนี้.
อนึ่ง มีอธิบายว่า อาคทน เป็น อาคโท แปลว่า คำพูด มี
วิเคราะห์ว่า ตโถ อวิปริโต อาคโท อสฺสาติ ตถาคโต แปลว่า
ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาแท้จริง ไม่วิปริต โดยแปลง ท เป็น ต
ในอรรถนี้ พึงทราบความสำเร็จบทอย่างนี้เทียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำ
เองและให้ผู้อื่นกระทำ เป็นอย่างไร ?
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระวรกายตรงกับพระวาจา ทรง
มีพระวาจาตรงกับพระวรกาย ฉะนั้น ทรงมีพระวาจาอย่างใด ก็ทรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 182
กระทำอย่างนั้น และทรงกระทำอย่างใด ก็ทรงมีพระวาจาอย่างนั้น
อธิบายว่า ก็พระองค์ผู้เป็นอย่างนี้ มีพระวาจาอย่างใด แม้พระวรกายก็
ทรงเป็นไป คือ ทรงประพฤติอย่างนั้น และพระวรกายอย่างใด แม้
พระวาจาก็ทรงเป็นไป คือ ทรงประพฤติอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้นแล จึง
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด กระทำอย่างนั้น
กระทำอย่างใด พูดอย่างนั้น ด้วยเหตุนี้ จึงชื่อว่า ยถาวาที ตถาการี
ยถาการี ตถาวาที เหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ตถาคต ดังนี้. พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำเองและให้ผู้อื่น
กระทำ เป็นอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงครอบงำ
เป็นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครอบงำสรรพสัตว์ เบื้องบนถึงภวัคคพรหม
เบื้องล่างถึงอเวจีเป็นที่สุด เบื้องขวาในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้ ด้วย
ศีลบ้าง ด้วยสมาธิบ้าง ด้วยปัญญาบ้าง ด้วยวิมุตติบ้าง ด้วยวิมุตติญาณ-
ทัสสนะบ้าง การจะชั่งหรือประมาณพระองค์หามีไม่ พระองค์เป็นผู้ไม่มี
ใครเทียบเคียงได้ อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ เป็นผู้ยอดเยี่ยม เป็นพระ
ราชาที่พระราชาทรงบูชา คือ เป็นเทพของเทพ เป็นสักกะยิ่งกว่าสักกะ
ทั้งหลาย เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหมทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกพร้อมทั้งเทวดา พร้อมทั้งมาร พร้อมทั้งพรหม
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ อันใคร ๆ ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้
ทรงอำนาจ เหตุนั้น จึงได้รับพระนามว่า ตถาคต ดังนี้ .
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 183
ในข้อนั้น พึงทราบความสำเร็จบทอย่างนี้ อคโท แปลว่า โอสถ
ก็เหมือน อาคโท ที่แปลว่า วาจา. ก็โอสถนี้คืออะไร ? คือ เทศนา-
วิลาส และบุญพิเศษ. ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงครอบงำผู้มีวาทะ
ตรงกันข้ามทั้งหมดและโลกพร้อมทั้งเทวดา เหมือนนายแพทย์ผู้มีอานุภาพ
มาก ครอบงำงูทั้งหลายด้วยทิพยโอสถฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า
บัณฑิตพึงทราบว่า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเหตุว่า ทรงมีพระ
โอสถ คือ เทศนาวิลาส และบุญพิเศษ อันแท้ ไม่วิปริต ด้วยการ
ครอบงำโลกทั้งปวง ดังนี้ เพราะแปลง ท เป็น ต พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าทรงครอบงำ เป็นอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ
เสด็จไปด้วยกิริยาที่แท้ ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงถึงกิริยาที่แท้
ดังนี้ก็มี.
บทว่า คโต มีเนื้อความว่า หยั่งรู้ เป็นไปล่วง บรรลุ ปฏิบัติ.
ในเนื้อความ ๘ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต
เพราะทรงหยั่งรู้โลกทั้งสิ้นด้วยตีรณปริญญา ชื่อว่า ด้วยกิริยาที่แท้. เพราะ
ทรงเป็นไปล่วงซึ่งโลกสมุทัย ด้วยปหานปริญญา ชื่อว่า ด้วยกิริยาที่แท้.
เพราะทรงบรรลุโลกนิโรธด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่า ด้วยกิริยาที่แท้. เพราะ
ทรงปฏิบัติปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธ ชื่อว่า กิริยาที่แท้. ด้วยเหตุนั้น คำใด
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกตถาคตตรัสรู้แล้ว
ตถาคตพรากแล้วจากโลก โลกสมุทัย ตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกสมุทัยตถาคต
ละได้แล้ว โลกนิโรธตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกนิโรธตถาคตทำให้แจ้งแล้ว
ปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธตถาคตตรัสรู้แล้ว ปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 184
ตถาคตเจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติใดของโลกพร้อมทั้ง
เทวดา ฯ ล ฯ ธรรมชาตินั้นทั้งหมดตถาคตตรัสรู้แล้ว เหตุนั้น จึงได้
พระนามว่า ตถาคต ดังนี้ พึงทราบเนื้อความแห่งคำนั้นแม้อย่างนี้. อนึ่ง
แม้ข้อนี้ก็เป็นเพียงมุขในการแสดงภาวะที่พระตถาคตมีพระนามว่าตถาคต
เท่านั้น. ที่จริง พระตถาคตเท่านั้น จะพึงพรรณนาภาวะที่พระตถาคตมี
พระนามว่า ตถาคต โดยอาการทั้งปวงได้.
อธิบายคำ ปุจฉา
คำว่า กตมญฺเจต ภิกฺขเว เป็นต้น ความว่า พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสถามข้อที่ปุถุชนเมื่อกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใด
ซึ่งมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีล นั้นว่าเป็นไฉน ?
ชื่อว่าคำถามในพระบาลีนั้น มี ๕ อย่าง คือ
๑. อทิฏฐโชตนาปุจฉา คำถามเพื่อส่องลักษณะที่ยังไม่เห็นให้
กระจ่าง
๒. ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา คำถามเทียบเคียงลักษณะที่เห็นแล้ว
๓. วิมติเฉทนาปุจฉา คำถามเพื่อตัดความสงสัย
๔. อนุมติปุจฉา คำถามเพื่อการรับรอง
๕. กเถตุกัมยตาปุจฉา คำถามเพื่อประสงค์จะตอบเอง
ในบรรดาคำถามเหล่านั้น อทิฏฐโชตนาปุจฉา เป็นไฉน ? ตาม
ปกติลักษณะที่ยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังไม่ได้พิจารณา ยังไม่ได้ไตร่ตรอง
ยังไม่แจ่มแจ้ง ยังไม่ได้อธิบาย บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อรู้ เพื่อเห็น
เพื่อพิจารณา เพื่อไตร่ตรอง เพื่ออธิบายลักษณะนั้น นี้ชื่อว่า อทิฏฐ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 185
โชตนาปุจฉา.
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา เป็นไฉน ? ตามปกติลักษณะที่รู้แล้ว
เห็นแล้ว พิจารณาแล้ว ไตร่ตรองแล้ว แจ่มแจ้งแล้ว อธิบายแล้ว
บุคคลย่อมถามปัญหาเพื่อต้องการจะเทียบเคียงลักษณะนั้นกับบัณฑิตเหล่า
อื่น นี้ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.
วิมติเฉทนาปุจฉา เป็นไฉน ? ตามปกติบุคคลเป็นผู้มักสงสัย มัก
ระแวง เกิดความแคลงใจว่า อย่างนี้หนอ ? ไม่ใช่หนอ ? อะไรหนอ ?
อย่างไรหนอ ? บุคคลนั้นย่อมถามปัญหาเพื่อต้องการตัดความสงสัย นี้
ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา.
อนุมติปุจฉา เป็นไฉน ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาเพื่อ
การรับรองของภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน ? รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ก็รูป
ที่ไม่เที่ยงนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข เป็นทุกข์พระเจ้าข้า พึงกล่าวคำ
ทั้งหมด นี้ชื่อว่า อนุมติปุจฉา.
กเถตุกัมยตาปุจฉา เป็นไฉน ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม
ปัญหาด้วยมีพุทธประสงค์จะทรงตอบแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ปติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ อะไรบ้าง ? ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์แห่งมรรค ๘ เหล่านี้ องค์แห่งมรรค ๘ อะไร
บ้าง ? นี้ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา.
ในบรรดาปุจฉา ๕ ประการดังพรรณนามานี้ เบื้องต้น อทิฏฐ-
โชตนาปุจฉา ย่อมไม่มีแก่พระตถาคต เพราะธรรมอะไร ๆ ที่พระองค์
ไม่ทรงเห็นไม่มี แม้ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ก็ไม่มี เพราะไม่เกิดการประมวล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 186
พระดำริว่า ลักษณะชื่อนี้ เราจักแสดงเทียบเคียงกับสมณพราหมณ์ผู้เป็น
บัณฑิตเหล่าอื่น ดังนี้เลย. อนึ่ง เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรง
มีความลังเลความสับสน แม้ในธรรมสักข้อเดียว พระองค์ทรงตัดความ
สงสัยทั้งปวงได้ ณ โพธิมัณฑสถานนั่นแล ฉะนั้น แม้วิมุติเฉทนาปุจฉา
ก็ไม่มีแน่นอน. แต่ปุจฉา ๒ ประการนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ย่อมมีแก่
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ในปุจฉา ๒ ประการนั้น นี้ชื่อว่า กเถตุกัมยตา
ปุจฉา.
วรรณนาจุลศีล
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะทรงแก้เนื้อความ
ที่ได้ตรัสถามด้วยกเถตุกัมยตาปุจฉานั้น จึงตรัสพระบาลีอาทิว่า ปาณา-
ติปาต ปหาย ดังนี้.
ในคำว่า ละปาณาติบาต. ปาณาติบาต แปลว่าทำสัตว์มีชีวิตให้
ตกล่วงไป อธิบายว่า ฆ่าสัตว์ ปลงชีพสัตว์. ก็ในคำว่า ปาณะ นี้ โดย
โวหาร ได้แก่สัตว์ โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์. อนึ่ง เจตนาฆ่า อัน
เป็นเหตุยังความพยายามตัดรอนชีวิตินทรีย์ให้ตั้งขึ้น เป็นไปทางกายทวาร
และวจีทวาร ทางใดทางหนึ่ง ของผู้มีความสำคัญในชีวิตนั้นว่า เป็นสัตว์
มีชีวิต ชื่อว่าปาณาติบาต. ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในสัตว์เล็ก
บรรดาสัตว์ที่เว้นจากคุณมีสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะ
สัตว์มีร่างกายใหญ่. เพราะเหตุไร ? เพราะต้องขวนขวายมาก. แม้เมื่อ
มีความพยายามเสมอกัน ก็มีโทษมาก เพราะมีวัตถุใหญ่. ในบรรดาสัตว์ที่มี
คุณมีมนุษย์เป็นต้น สัตว์มีคุณน้อยมีโทษน้อย สัตว์มีคุณมากมีโทษมาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 187
แม้เมื่อมีสรีระและคุณเท่ากัน ก็พึงทราบว่า มีโทษน้อย เพราะกิเลสและ
ความพยายามอ่อน มีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า.
ปาณาติบาตนั้น มีองค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสฺิตา ตนรู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺต จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม มีความพยายาม ( ลงมือทำ )
๕. เตน มรณ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น.
ปาณาติบาตนั้น มีประโยค ๖ คือ
๑. สาหัตถิกประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยมือตนเอง
๒. อาณัตติกประโยค ประโยคที่สั่งให้คนอื่นฆ่า
๓. นิสสัคคิยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยอาวุธที่ชัดไป
๔. ถาวรประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยอุปกรณ์ที่อยู่กับที่
๕. วิชชามยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยวิชา
๖. อิทธิมยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยฤทธิ์.
ก็เมื่อข้าพเจ้าจะพรรณนาเนื้อความนี้ให้พิสดาร ย่อมจะเนิ่นช้าเกิน
ไป ฉะนั้นจะไม่พรรณนาความนั้นและความอื่นที่มีรูปเช่นนั้นให้พิสดาร
ส่วนผู้ที่ต้องการพึงตรวจดูสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย ถือเอาความ
เถิด.
บทว่า ปหาย ความว่า ละโทษอันเป็นเหตุทุศีล นี้กล่าวคือ เจตนา
ทำปาณาติบาต. บทว่า ปฏิวิรโต ความว่างด คือเว้นจากโทษอันเป็นเหตุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 188
ทุศีลนั้น จำเดินแต่กาลที่ละปาณาติบาตได้แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ไม่มีธรรมที่จะพึงรู้ทางจักษุและโสดว่า เราจักละเมิดดังนี้ จะป่วยกล่าว
ไปไยถึงธรรมที่เป็นไปทางกายเล่า. แม้ในบทอื่น ๆ ที่มีรูปอย่างนี้ ก็พึง
ทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้โวหารว่า สมณะ เพราะเป็นผู้มีบาป
สงบแล้ว. บทว่า โคตโม ความว่า ทรงพระนามว่า โคดม ด้วยอำนาจ
พระโคตร. มิใช่แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น ที่เว้นจาก
ปาณาติบาต แม้ภิกษุสงฆ์ก็เว้นด้วย แก่เทศนามีมาอย่างนี้ตั้งแต่ต้น แต่
เมื่อจะแสดงเนื้อความ จะแสดงแม้ด้วยสามารถแห่งภิกษุสงฆ์ก็ควร.
บทว่า นิหิตทณฺโฑ นิหิตสตฺโถ ความว่า มีไม้อันวางแล้ว และ
มีมีดอันวางแล้ว เพราะไม่ถือไม้หรือมีดไปเพื่อต้องการจะฆ่าผู้อื่น. ก็ใน
พระบาลีนี้ นอกจากไม้ อุปกรณ์ที่เหลือทั้งหมด พึงทราบว่า ชื่อว่ามีด
เพราะทำให้สัตว์ทั้งหลายพินาศได้. ส่วนไม้เท้าคนแก่ก็ดี ไม้ก็ดี มีดก็ดี
มีดโกนที่ภิกษุทั้งหลายถือเที่ยวไปนั้น มิใช่เพื่อต้องการจะฆ่าผู้อื่น ฉะนั้น
จึงนับว่า วางไม้ วางมีด เหมือนกัน.
บทว่า ลชฺชี ความว่า ประกอบด้วยความละอายอันมีลักษณะเกลียด
บาป. บทว่า ทยาปนฺโน ความว่า ถึงความเอ็นดู คือความเป็นผู้มีเมตตา-
จิต. บทว่า สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี ความว่า อนุเคราะห์สัตว์มีชีวิต
ทั้งปวงด้วยความเกื้อกูล อธิบายว่า มีจิตเกื้อกูลแก่สัตว์มีชีวิตทุกจำพวก
เพราะถึงความเอ็นดูนั้น. บทว่า วิหรติ ความว่า เปลี่ยนอิริยาบถ คือ
ยังอัตภาพให้เป็นไป ได้แก่รักษาตัวอยู่.
คำว่า อิติ วา หิ ภิกฺขเว ความเท่ากัน เอว วา ภิกฺขเว วา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 189
ศัพท์ ตรัสเป็นความวิกัป (แยกความ ) เล็งถึงคำว่า ละอทินนาทาน
เป็นต้นข้างหน้า. พึงทราบความวิกัป เล็งถึงคำต้นบ้าง คำหลังบ้าง ทุก
แห่งอย่างนี้.
ก็ในอธิการนี้ มีความย่อดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนจะ
กล่าวชมตถาคต พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้
ให้คนอื่นฆ่า ไม่เห็นชอบในการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นจากโทษเป็นเหตุทุศีลนี้
น่าชมเชยแท้ พระคุณของพระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่ ดังนี้ ถึงต้องการจะกล่าว
ชม ทำอุตสาหะใหญ่ ดังนี้ ก็จักกล่าวได้เพียงอาจาระและศีลเท่านั้น ซึ่ง
เป็นคุณมีประมาณน้อย จักไม่สามารถกล่าวพระคุณอาศัยสภาพอันไม่ทั่วไป
ยิ่งขึ้นได้เลย และมิใช่แต่ปุถุชนอย่างเดียวเท่านั้นที่ไม่สามารถ แม้พระ
โสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ แม้พระ
ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่สามารถเหมือนกัน แต่ตถาคตเท่านั้นสามารถ
เราจักกล่าวความข้อนั้นแก่เธอทั้งหลายในเบื้องหน้า. นี้เป็นพรรณนาเนื้อ
ความพร้อมทั้งอธิบายในพระบาลีนี้ . ต่อแต่นี้ไป เราจักพรรณนาตาม
ลำดับทีเดียว.
ในคำว่า ละอทินนาทานนี้ การถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อ อทิน-
นาทาน มีอธิบายว่า การลักทรัพย์ของผู้อื่น คือความเป็นขโมย ได้แก่
กิริยาที่เป็นโจร. คำว่า ของที่เขาไม่ได้ให้ ในคำว่า อทินนาทานนั้น
ได้แก่ของที่เจ้าของหวงแหน คือ เป็นทรัพย์ที่ผู้อื่นใช้ให้ทำตามประสงค์
ย่อมไม่ควรถูกลงอาชญา และไม่ถูกตำหนิ. อนึ่ง เจตนาคิดลักอันเป็น
เหตุให้เกิดความพยายามที่จะถือเอาของที่เจ้าของหวงแหนนั้น ของบุคคล
ผู้มีความสำคัญในของที่เจ้าของหวงแหนว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน
ชื่อว่า อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ลักของเลว มีโทษน้อย ลักของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 190
ดี มีโทษมาก. เพราะเหตุไร ? เพราะวัตถุประณีต. อทินนาทานนั้น เมื่อ
วัตถุเสมอกัน ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะวัตถุเป็นของ ๆ ผู้ยิ่งด้วยคุณ ชื่อว่า
มีโทษน้อย เพราะวัตถุเป็นของ ๆ ผู้มีคุณน้อย ๆ กว่าผู้ยิ่งด้วยคุณนั้น ๆ.
อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ
๑. ปรปริคฺคหิต ของที่เจ้าของหวงแหน
๒. ปรปริคฺคหิตสญฺิตา รู้อยู่ว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน
๓. เถยฺยจิตฺต จิตคิดลัก
๔. อุปกฺกโม พยายามลัก
๕. เตน หรณ ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น
อทินนาทานนั้น มี ๖ ประโยค มีสาหัตถิกประโยคเป็นต้นนั่นเอง.
และประโยคเหล่านี้แล เป็นไปด้วยอำนาจอวหารเหล่านี้ คือ
๑. เถยยาวหาร ลักโดยการขโมย
๒. ปสัยหาวหาร ลักโดยข่มขี่
๓. ปฏิจฉันนาวหาร ลักซ่อน
๔. ปริกัปปาวหาร ลักโดยกำหนดของ
๕. กุสาวหาร ลักโดยสับสลาก
ตามควร. นี้เป็นความย่อในอธิการนี้ ส่วนความพิสดาร ข้าพเจ้ากล่าว
ไว้แล้วในสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย.
พระสมณโคดม ชื่อว่า ทินนาทายี เพราะถือเอาแต่ของที่เขาให้
เท่านั้น. ชื่อว่า ทินฺนปาฏิกงฺขี เพราะต้องการแต่ของที่เขาให้เท่านั้น
แม้ด้วยจิต. ผู้ที่ชื่อว่าเถนะ เพราะลัก. ผู้ที่ไม่ใช่ขโมย ชื่อว่าอเถนะ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 191
พระสมณโคดมประพฤติคนเป็นคนสะอาดเพราะไม่เป็นขโมยนั่นเอง. บท
ว่า อตฺตนา คืออัตภาพ. มีอธิบายว่า กระทำคนไม่เป็นขโมย เป็นคน
สะอาดอยู่. คำที่เหลือพึงประกอบตามนัยที่กล่าวแล้วในสิกขาบทที่หนึ่ง
นั่นแหละ. ทุกสิกขาบทก็เหมือนในสิกขาบทนี้.
บทว่า อพฺรหฺมจริย ความว่า ความพระพฤติไม่ประเสริฐ. ชื่อว่า
พรหมจารี เพราะประพฤติอาจาระอันประเสริฐที่สุด. ผู้ที่ไม่ใช่พรหมจารี
ชื่อว่า อพรหมจารี. บทว่า อาราจารี ความว่า ทรงพระพฤติไกลจากกรรม
อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์. บทว่า เมถุนา ความว่า จากอสัทธรรมที่
นับว่า เมถุน เพราะบุคคลผู้ได้บัญญัติว่าเป็นคู่กัน เพราะเป็นเช่นเดียวกัน
ด้วยอำนาจความกลุ้มรุมแห่งราคะ พึงส้องเสพ. บทว่า คามธมฺมา ความ
ว่า เป็นธรรมของชาวบ้าน.
ในคำว่า มุสาวาท ปหาย นี้ คำว่า มุสา ได้แก่วจีประโยค หรือ
กายประโยค ที่ทำลายประโยชน์ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน.
ก็เจตนาอันให้เกิดกายประโยคและวจีประโยค ซึ่งพูดให้ผู้อื่นคลาดเคลื่อน
ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนนั้น ด้วยประสงค์จะกล่าวให้คลาด
เคลื่อน ชื่อว่า มุสาวาท.
อีกนัยหนึ่ง คำว่า มุสา ได้แก่เรื่องที่ไม่เป็นจริง ไม่แท้. คำว่า
วาท ได้แก่กิริยาที่ทำให้เขาเข้าใจเรื่องที่ไม่จริง ไม่แท้นั้นว่า เป็นเรื่อง
จริง เรื่องแท้. ว่าโดยลักษณะ เจตนาที่ให้เกิดวิญญัติอย่างนั้น ของผู้
ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่แท้ว่าเป็นเรื่องแท้ ชื่อว่า มุสาวาท.
มุสาวาทนั้น มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นน้อย มีโทษมาก
เพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นมาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 192
อีกอย่างหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยว่า
ไม่มี เป็นต้น เพราะประสงค์จะไม่ให้ของของตนมีโทษน้อย ที่เป็นพยาน
กล่าวเพื่อทำลายประโยชน์ มีโทษมาก. สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาท
ที่เป็นไปโดยนัยแห่งการพูดว่าเป็นของบริบูรณ์ เช่นว่า วันนี้น้ำมันในบ้าน
ไหลเหมือนแม่น้ำเป็นต้น ด้วยประสงค์จะหัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือ
เนยใสมาน้อย มีโทษน้อย แต่เมื่อพูดถึงสิ่งที่ไม่เห็นเลย โดยนัยว่า เห็น
แล้ว เป็นต้น มีโทษมาก.
มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือ
๑. อตถ วตฺถุ เรื่องไม่แท้
๒. วิสวาทนจิตฺต จิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อน
๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามเกิดจากจิตคิดจะพูดให้คลาด-
เคลื่อนนั้น
๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานน คนอื่นรู้เรื่องนั้น.
มุสาวาทนั้นมีประโยคเดียว คือ สาหัตถิกประโยค. มุสาวาทนั้นพึง
เห็นด้วยการใช้กายบ้าง ใช้ของที่เนื่องด้วยกายบ้าง ใช้วาจาบ้าง กระทำ
กิริยาหลอกลวงผู้อื่น. ถ้าผู้อื่นเข้าใจความนั้น ด้วยกิริยานั้น ผู้นี้ย่อม
ผูกพันด้วยกรรม คือ มุสาวาทในขณะที่คิดจะให้เกิดกิริยาทีเดียว. ก็เพราะ
เหตุที่บุคคลสั่งว่า ท่านจงพูดเรื่องนี้แก่ผู้นี้ ดังนี้ก็มี เขียนหนังสือแล้ว
โยนไปตรงหน้าก็มี เขียนติดไว้ที่ฝาเรือน เป็นต้น ให้รู้ว่า เนื้อความพึง
รู้อย่างนี้ ดังนี้ ก็มีโดยทำนองที่หลอกลวงผู้อื่น ด้วยกาย ของเนื่องด้วย
กายและวาจา ฉะนั้น แม้อาณัตติกประโยค นิสสัคคิยประโยค และถาวร-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 193
ประโยค ก็ย่อมควรในมุสาวาทนี้. แต่เพราะประโยคทั้ง ๓ นั้น ไม่ได้มา
ในอรรถกถาทั้งหลาย จึงต้องพิจารณาก่อนแล้วพึงถือเอา.
ชื่อว่า สัจจวาที เพราะพูดแต่คำจริง. ชื่อว่า สจฺจสนฺโธ เพราะ
เชื่อม คือ สืบต่อคำสัตย์ด้วยคำสัตย์ อธิบายว่า ไม่พูดมุสาในระหว่าง ๆ.
จริงอยู่ บุรุษใดพูดมุสาแม้ในกาลบางครั้ง พูดคำสัตย์ในกาลบางคราว
ไม่เอาคำสัตย์สืบต่อคำสัตย์ เพราะบุรุษนั้นเอามุสาวาทคั่นไว้ ฉะนั้น บุรุษ
นั้นไม่ชื่อว่า ดำรงคำสัตย์ แต่พระสมณโคดมนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ไม่พูด
มุสาแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เอาคำสัตย์เชื่อมคำสัตย์อย่างเดียว เหตุนั้นจึง
ชื่อว่าสัจจสันโธ.
บทว่า เถโต ความว่า เป็นผู้มั่งคั่ง อธิบายว่า มีถ้อยคำเป็น
หลักฐาน. บุคคลหนึ่งเป็นคนมีถ้อยคำไม่เป็นหลักฐานเหมือนย้อมด้วยขมิ้น
เหมือนหลักไม้ที่ปักไว้ในกองแกลบ และเหมือนฟักเขียวที่วางไว้บนหลัง
ม้า. คนหนึ่งมีถ้อยคำเป็นหลักฐาน เหมือนรอยจารึกบนแผ่นหิน และ
เหมือนเสาเขื่อน แม้เมื่อเขาเอาดาบตัดศีรษะ ก็ไม่ยอมพูดเป็นสอง บุคคล
นี้เรียกว่า เถตะ.
บทว่า ปจฺจยิโก ความว่า เป็นผู้ควรยึดถือ อธิบายว่า เป็นผู้ควร
เชื่อถือ. ก็บุคคลบางคนไม่เป็นคนควรเชื่อ เมื่อถูกถามว่า คำนี้ใครพูด ?
คนโน้นพูดหรือ ? ย่อมจะถึงความเป็นผู้ควรตอบว่า ท่านทั้งหลายอย่าเชื่อ
คำของคนนั้น บางคนเป็นคนควรเชื่อ เมื่อถูกถามว่า คำนี้ใครพูด คน
โน้นพูดหรือ ? ถ้าเขาพูด ก็จะถึงความเป็นผู้ควรตอบว่า คำนี้เท่านั้นเป็น
ประมาณ บัดนี้ ไม่ต้องพิจารณาก็ได้ คำนี้เป็นอย่างนี้แหละ ผู้นี้เรียกว่า
ปัจจยิกะ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 194
บทว่า อวิสวาทโก โลกสฺส ความว่า ไม่พูดลวงโลก เพราะ
ความเป็นผู้พูดคำจริงนั้น.
ในคำว่า ปิสุณ วาจ ปหาย เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
วาจาที่เป็นเหตุทำคนเป็นที่รักในใจของผู้ที่คนพูดด้วย และเป็น
เหตุส่อเสียดผู้อื่น ชื่อว่า ปิสุณาวาจา.
อนึ่ง วาจาที่เป็นเหตุให้กระทำตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคาย ทั้ง
หยาบคายแม้เอง ไม่เสนาะหู ไม่สุขใจ ชื่อว่า ผรุสวาจา.
วาทะที่เป็นเหตุให้บุคคลพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัป-
ปลาป.
แม้เจตนาอันเป็นต้นเหตุแห่งคำพูดเหล่านั้น ก็พลอยได้ชื่อว่าปิสุณา-
วาจา เป็นต้นไปด้วย. ก็ในที่นี้ ประสงค์เอาเจตนานั้นแหละ.
ในบรรดาวาจาทั้ง ๓ อย่างนั้น เจตนาของบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมอง
อันให้เกิดกายประโยค และวจีประโยค เพื่อให้คนอื่นแตกกันก็ดี เพื่อ
ต้องการทำคนให้เป็นที่รักก็ดี ชื่อว่า ปิสุณาวาจา. ปิสุณาวาจานั้นชื่อว่า
มีคุณน้อย เพราะผู้การทำความแตกแยกมีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะ
ผู้นั้นมีคุณมาก.
ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ ๔ คือ
๑. ภินฺทิตพฺโพ ปโร ผู้อื่นที่พึงให้แตกกัน
๒. เภทปุเรกฺขารตา มุ่งให้เขาแตกกันว่า คนเหล่านี้จักเป็นผู้ต่าง
กัน และแยกกันด้วยอุบายอย่างนี้ หรือ ปิยกมฺยตา ประสงค์ให้ตนเป็น
ที่รักว่า เราจักเป็นที่รัก จักเป็นที่ไว้ว่างใจ ด้วยอุบายอย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 195
๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามที่เกิดแต่ความมุ่งให้เขาแตกกัน
นั้น
๔. ตสฺส ตทตฺถวิชานน ผู้นั้นรู้เรื่องนั้น.
บทว่า อิเมส เภทาย ความว่า ฟังในสำนักของคนเหล่าใดที่ตรัส
ไว้ว่า จากข้างนี้ เพื่อให้คนเหล่านั้นแตกกัน.
บทว่า ภินฺนาน วา สนฺธาตา ความว่า มิตร ๒ คนก็ดี ภิกษุ
ร่วมอุปัชฌาย์เป็นต้น ๒ รูปก็ดี แตกกันด้วยเหตุไร ๆ ก็ตาม เข้าไปหา
ทีละคนแล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า การแตกกันนี้ไม่ควรแก่ท่านผู้เกิดใน
ตระกูลเช่นนี้ ผู้เป็นพหูสูตอย่างนี้ ดังนี้ กระทำ กระทำเนือง ๆ ซึ่ง
การสมาน.
บทว่า อนุปฺปทาตา ความว่า ส่งเสริมการสมาน อธิบายว่า เห็น
คน ๒ คน พร้อมเพรียงกันแล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า ความพร้อมเพรียงนี้
สมควรแก่ท่านทั้งหลาย ผู้เกิดในตระกูลปานนี้ ผู้ประกอบด้วยคุณเห็น
ปานนี้ ดังนี้ กระทำให้มั่นเข้า.
ชื่อว่า ชอบคนที่พร้อมเพรียงกัน เพราะมีคนที่พร้อมเพรียงกันเป็น
ที่มายินดี อธิบายว่า ในที่ใดไม่มีคนพร้อมเพรียงกัน ไม่ปรารถนาแม้จะ
อยู่ในที่นั้น. พระบาลีเป็น สมคฺคราโม ก็มี ความอย่างเดียวกัน.
บทว่า สมคฺครโต แปลว่า ยินดีแล้วในคนผู้พร้อมเพรียงทั้งหลาย
อธิบายว่า ไม่ปรารถนาแม้จะละคนผู้พร้อมเพรียงเหล่านั้นไปอยู่ที่อื่น.
ชื่อว่า เพลิดเพลินในคนที่พร้อมเพรียงกัน เพราะเห็นก็ดี ฟังก็ดี
ซึ่งคนผู้พร้อมเพรียงกันแล้วเพลิดเพลิน.
ข้อว่า สมคฺคกรณึ วาจ ภาสิตา ความว่า กล่าวแต่วาจาที่ทำให้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 196
เหล่าสัตว์พร้อมเพรียงกันอย่างเดียว ซึ่งเป็นวาจาแสดงคุณแห่งสามัคคีเท่า
นั้น ไม่กล่าววาจานอกนี้. เจตนาหยาบคายส่วนเดียวซึ่งให้เกิดกายประโยค
และวจีประโยค อันเป็นเหตุตัดความรักของผู้อื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา. เพื่อ
เข้าใจผรุสวาจานั้นอย่างแจ้งชัด พึงทราบเรื่องดังต่อไปนี้.
เรื่องวาจาหยาบ แต่ใจไม่หยาบ
ได้ยินว่า เด็กคนหนึ่งไม่เอื้อเฟื้อถ้อยคำของมารดาไปป่า มารดาไม่
สามารถให้เด็กนั้นกลับได้ จึงได้ด่าว่า ขอให้แม่กระบือดุจงไล่มึง ทันใด
นั้น แม่กระบือป่าได้ปรากฏแก่เด็กนั้น เหมือนอย่างมารดาว่าทีเดียว เด็ก
นั้นได้กระทำสัจจกิริยาว่า สิ่งที่มารดาของเราพูดด้วยปาก จงอย่ามี สิ่งที่
มารดาคิดด้วยใจ จงมีเถิด แม่กระบือได้ยืนอยู่เหมือนถูกผูกไว้ในป่านั้น
เอง.
ประโยคแม้ตัดความรักอย่างนี้ ก็ไม่เป็นผรุสวาจา เพราะมีจิตอ่อน
โยน. จริงอยู่ บางครั้งมารดาบิดาย่อมกล่าวกะลูกน้อย ๆ ถึงอย่างนี้ว่า
พวกโจรจงห้ำหั่นพวกเจ้าเป็นชิ้น ๆ ดังนี้ แต่ก็ไม่ปรารถนาแม้ให้กลีบบัว
ตกเบื้องบนของลูกน้อย ๆ เหล่านั้น อนึ่ง อาจารย์และอุปัชฌาย์ บางคราว
ก็กล่าวกะพวกศิษย์อย่างนี้ว่า พวกนี้ไม่มียางอาย ไม่เกรงกลัว คุยอะไร
กัน จงไล่มันไปเสีย ก็แต่ว่า ย่อมปรารถนาให้ศิษย์เหล่านั้นสำเร็จการ
ศึกษา และบรรลุมรรคผล. เหมือนอย่างว่า วาจาไม่เป็นผรุสวาจา เพราะ
คำอ่อนหวานก็หาไม่. ด้วยว่าผู้ต้องการจะฆ่า พูดว่า จงให้ผู้นี้นอนให้
สบาย ดังนี้ จะไม่เป็นผรุสวาจาก็หาไม่. ก็วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียว
เพราะมีจิตหยาบ. ผรุสวาจานั้น มีโทษน้อย เพราะผู้ที่ตนพูดหมายถึงนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 197
มีคุณน้อย มีโทษมาก เพราะผู้นั้นมีคุณมาก.
ผรุสวาจานั้น มีองค์ ๓ คือ
๑. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร คนอื่นที่ตนด่า
๒. กุปิตจิตฺต จิตโกรธ
๓. อกฺโกสนา การด่า
บทว่า เนลา ความว่า โทษเรียกว่า เอละ วาจาชื่อว่า เนลา เพราะ
ไม่มีโทษ อธิบายว่า มีโทษออกแล้ว. เหมือนอย่าง เนล ไม่มีโทษที่
พระองค์ตรัสไว้ในประโยคนี้ว่า รถคืออริยมรรคมีองค์ไม่มีโทษ มีหลังคา
ขาว ดังนี้.
บทว่า กณฺณสุขา ความว่า สบายหู เพราะมีพยัญชนะสละสลวย
คือ ไม่ให้เกิดการเสียบหู เหมือนแทงด้วยเข็ม.
วาจาชื่อว่า ชวนให้รัก เพราะไม่ให้เกิดความโกรธ ให้เกิดแต่
ความรักในสรีระทั้งสิ้น เพราะมีเนื้อความสละสลวย.
วาจาชื่อว่า จับใจ เพราะถึงใจ คือเข้าไปสู่จิตได้สะดวก ไม่กระทบ
กระทั่ง.
วาจาชื่อว่า เป็นคำชาวเมือง เพราะอยู่ในเมือง โดยเหตุที่บริบูรณ์
ด้วยคุณ. ชื่อว่าเป็นคำชาวเมือง แม้เพราะเป็นถ้อยคำอ่อนโยนเหมือนนารี
ที่เติบโตในเมือง. ชื่อว่า เป็นถ้อยคำชาวเมือง แม้เพราะวาจานี้เป็นของ
ชาวเมือง อธิบายว่า เป็นถ้อยคำของชาวกรุง. จริงอยู่ ชาวกรุงย่อมเป็น
ผู้มีถ้อยคำเหมาะสม เรียกคนปูนพ่อว่าพ่อ เรียกคนปูนพี่ว่าพี่.
วาจาชื่อว่า คนส่วนมากรักใคร่ เพราะถ้อยคำอย่างนี้เป็นถ้อยคำที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 198
คนส่วนมากรักใคร่.
วาจาชื่อว่า คนส่วนมากพอใจ เพราะเป็นที่พอใจ คือ ทำความ
เจริญใจแก่คนส่วนมาก โดยที่คนส่วนมากรักใคร่นั่นเอง.
อกุศลเจตนาที่ให้เกิดกายประโยคและวจีประโยค อันเป็นเหตุให้
เข้าใจเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาป. สัมผัปปลาปนั้น ชื่อว่า
มีโทษน้อย เพราะมีอาเสวนะน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะมีอาเสวนะ
มาก.
สัมผัปปลาบนั้น มีองค์ ๒ คือ
นิรตฺถกกถาปุเรกฺขารตา มุ่งกล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มีเรื่อง
ภารตยุทธ และเรื่องชิงนางสีดา เป็นต้น.
๒. ตถารูปีกถากถน กล่าวเรื่องเช่นนั้น ชื่อว่า พูดถูกกาล เพราะ
พูดตามกาล อธิบายว่า พูดกำหนดเวลาให้เหมาะแก่เรื่องที่จะพูด.
ชื่อว่า พูดแต่คำจริง เพราะพูดคำจริง แท้ แน่นอน ตามสภาพ
เท่านั้น.
ชื่อว่า พูดอิงประโยชน์ เพราะพูดทำให้อิงประโยชน์ปัจจุบัน และ
ประโยชน์ภายหน้านั่นเอง.
ชื่อว่า พูดอิงธรรม เพราะพูดทำให้อิงโลกุตตรธรรม ๙.
ชื่อว่า พูดอิงวินัย เพราะพูดให้อิงสังวรวินัย และปหานวินัย.
โอกาสที่ตั้งไว้ เรียกว่าหลักฐาน. คำชื่อว่า มีหลักฐาน เพราะ
หลักฐานของคำนั้นมีอยู่ อธิบายว่า พูดคำที่ควรจะต้องเก็บไว้ในหัวใจ.
บทว่า กาเลน ความว่า และแม้เมื่อพูดคำเห็นปานนี้ ก็มิได้พูด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 199
โดยกาลอันไม่ควร ด้วยคิดว่า เราจักพูดคำที่มีหลักฐาน ดังนี้ อธิบายว่า
แต่พูดพิจารณาถึงกาลอันควรเท่านั้น.
บทว่า สาปเทส ความว่า มีอุปมา มีเหตุ.
บทว่า ปริยนฺตวตึ ความว่า แสดงกำหนดไว้แล้ว พูดโดยประการ
ที่กำหนดแห่งคำนั้นจะปรากฏ.
บทว่า อตฺถสญฺหิต ความว่า พูดคำที่ประกอบด้วยประโยชน์
เพราะผู้พูดจำแนกไปโดยนัยแม้มิใช่น้อย ก็ไม่อาจให้สิ้นสุดลงได้. อีก
อย่างหนึ่ง พูดคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะประกอบด้วยประโยชน์
ที่ผู้พูดถึงประโยชน์นั้นกล่าวถึง มีอธิบายว่า มิใช่ตั้งเรื่องไว้เรื่องหนึ่ง แล้ว
ไปพูดอีกเรื่องหนึ่ง.
บทว่า พีชคามภูตคามสมารมฺภา ความว่า เว้นขาดจากการพราก
คือจากการโค่น ด้วยภาวะแห่งกิริยามีการตัด การทำลาย และการเผา
เป็นต้น ซึ่งพืชคาม ๕ อย่าง คือพืชเกิดแต่ราก ๑ พืชเกิดแต่ลำต้น ๑
พืชเกิดแต่ข้อ ๑ พืชเกิดแต่ยอด ๑ พืชเกิดแต่เมล็ด ๑ และซึ่งภูตคาม
มีหญ้าและต้นไม้สีเขียว เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า เอกภตฺติโก ความว่า ภัตมี ๒ มื้อ คือ ภัตที่พึงกินเวลา
เช้า ๑ ภัตที่พึงกินเวลาเย็น ๑ ในภัต ๒ มื้อนั้น ภัตที่พึงกินเวลาเช้า
กำหนดด้วยเวลาภายในเที่ยงวัน ภัตที่พึงกินเวลาเย็นนอกนี้ กำหนดด้วย
เวลากินเที่ยงวันภายในอรุณขึ้น ฉะนั้น แม้จะฉันสัก ๑๐ ครั้ง ในเวลา
ภายในเที่ยงวัน ก็เป็นผู้ชื่อว่าฉันหนเดียวนั่นเอง. ที่ตรัสว่า มีภัตเดียว
ดังนี้ ทรงหมายถึงภัตที่พึงกินเวลาเช้านั้น.
ชื่อว่า รตฺตุปรโต เพราะเว้นจากการฉันในราตรีนั้น. การฉันใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 200
เมื่อเลยเวลาเที่ยงวันไป จนถึงเวลาพระอาทิตย์ตก ชื่อว่า วิกาลโภชน์.
ชื่อว่า งดการฉันในเวลาวิกาล เพราะงดการฉันแบบนั้น. งดเมื่อ
ไร ? งดตั้งแต่วันผนวช ณ ฝั่งแม่น้ำอโนมา.
ชื่อว่า ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เพราะการดูเป็นข้าศึก คือ
เป็นศัตรู เพราะขัดต่อพระศาสนา. ที่ว่า จากการฟ้อนรำ ขับร้อง
ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก คือ จากการฟ้อนรำ ขับร้อง
และประโคมด้วยตนเอง ด้วยอำนาจฟ้อนเองและให้ผู้อื่นฟ้อน เป็นต้น
และการดูการฟ้อน เป็นต้น โดยที่สุดที่เป็นไปด้วยอำนาจการฟ้อนของ
นกยูง เป็นต้น อันเป็นข้าศึก. จริงอยู่ การประกอบด้วยตนเอง ซึ่งกิจมี
การฟ้อนรำ เป็นต้นก็ดี การให้ผู้อื่นประกอบก็ดี และการดีที่เขาประกอบ
ก็ดี ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายเลย และไม่ควรแก่ภิกษุณีทั้งหลายด้วย.
ในบรรดาเครื่องประดับทั้งหลายมีดอกไม้ เป็นต้น ชื่อว่า มาลา
ได้แก่ดอกไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง.
ชื่อว่า คันธะ ได้แก่ คันธชาตอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ชื่อว่า วิเลปนะ ได้แก่ เครื่องประเทืองผิว.
ในบรรดาเครื่องประดับเหล่านั้น บุคคลเมื่อประดับ ชื่อว่า ทัดทรง.
เมื่อทำร่างกายส่วนที่พร่องให้เต็ม ชื่อว่า ประดับ. เมื่อยินดีด้วยอำนาจ
ของหอม และด้วยอำนาจการประเทืองผิว ชื่อว่า ตกแต่ง. เหตุเรียกว่า
ฐานะ ฉะนั้น จึงมีความว่า คนส่วนมากกระทำการทัดทรงมาลา เป็นต้น
เหล่านั้น ด้วยเจตนาเป็นเหตุให้ทุศีลใด พระสมณโคดมเว้นขาดจากเจตนา
เป็นเหตุให้ทุศีลนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 201
ที่นอนเกินประมาณ เรียกว่า ที่นอนสูง เครื่องปูลาดที่เป็นอกัปปิยะ
เรียกว่า ที่นอนใหญ่ ความว่า ทรงเว้นขาดจากที่นอนสูง ที่นอนใหญ่
นั้น.
บทว่า ชาตรูป ได้แก่ทอง บทว่า รชต ได้แก่อกัปปิยะที่บัญญัติ
เรียกว่า กหาปณะ เป็นมาสกทำด้วยโลหะ มาสกทำด้วยครั่ง มาสกทำ
ด้วยไม้. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับทองและเงินทั้ง ๒ นั้น.
อธิบายว่า พระสมณโคดมไม่จับทองและเงินนั้นเอง ไม่ให้คนอื่นจับไม่
ยอมรับทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อคน.
บทว่า อามกธญฺมปฏิคฺคหาณา ความว่า จากการรับธัญชาติดิบ
ทั้ง ๗ อย่าง กล่าวคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน
ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้. อนึ่ง มิใช่แต่การรับธัญชาติดิบเหล่านี้
อย่างเดียวเท่านั้น แม้การจับต้องก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายเหมือนกัน.
ในบทว่า อามกมสปฏิคฺคหณา นี้ ความว่า การรับเนื้อและปลาดิบ
เว้นแต่ที่ทรงอนุญาตไว้เฉพาะ ย่อมไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลาย การจับต้อง
ก็ไม่ควร.
ในบทว่า อิตฺถีกุมาริกปฏิคฺคหณา นี้ ความว่า หญิงที่มีชายครอบ
ครอง ชื่อว่า สตรี หญิงนอกนี้ ชื่อว่า กุมารี. ทั้งการรับทั้งการจับต้อง
หญิงเหล่านั้น ไม่ควรทั้งนั้น.
ในบทว่า ทาสีทาสปฏิคฺคหณา นี้ ความว่า การรับทาสีและทาส
เหล่านั้นไว้เป็นทาสีและทาสเท่านั้น ไม่ควร แต่เมื่อเขาพูดว่า ขอถวาย
เป็นกัปปิยการก ขอถวายเป็นคนงานวัด ดังนี้ จะรับก็ควร.
นัยแห่งกัปปิยะและอกัปปิยะ ในการรับทรัพย์สินแม้มีแพะและแกะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 202
เป็นต้น มีไร่นาและที่ดินเป็นที่สุด พึงพิจารณาตามพระวินัย.
ในบรรดาไร่นาและที่ดินนั้น ที่ชื่อว่า นา ได้แก่พื้นที่เพาะ
ปลูกปุพพัณณชาติ ที่ชื่อว่า ไร่ ได้แก่พื้นที่เพาะปลูกอปรัณณชาติ.
อีกอย่างหนึ่ง พื้นที่ที่ทั้ง ๒ อย่างงอกขึ้น ชื่อว่า นา ส่วนแห่งพื้นที่ที่ไม่
ได้ใช้ประโยชน์ทั่ง ๒ นั้น ชื่อว่า ที่ดิน. อนึ่ง แม้บ่อและบึงเป็นต้น
ก็สงเคราะห์เข้าในอธิการนี้เหมือนกัน ด้วยยกศัพท์ไร่นาและที่ดินเป็น
หัวข้อ.
งานของทูต เรียกว่า การเป็นทูต ได้แก่การรับหนังสือ หรือ
ข่าวสาส์น ที่พวกคฤหัสถ์ใช้ไปในที่นั้น ๆ.
การเดินรับใช้จากเรือนนี้ไปเรือนนั้น เล็ก ๆ น้อย ๆ เรียกว่า การ
รับใช้.
การกระทำทั่ง ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า การประกอบเนือง ๆ เพราะ-
ฉะนั้น พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า จากการประกอบเนือง ๆ ซึ่งการ
เป็นทูต และการรับใช้.
บทว่า กยวิกฺกยา แปลว่า จากการซื้อและการขาย.
ในการโกงทั้งหลาย มีการโกงด้วยตาชั่งเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อ
ไปนี้
การโกง ได้แก่การลวง. ในการโกงนั้น ชื่อว่า การโกงด้วยตาชั่ง
มี ๔ อย่าง คือ
๑. รูปกูฏ การโกงด้วยรูป
๒. องฺคกูฏ การโกงด้วยอวัยวะ
๓. คหณกูฏ การโกงด้วยการจับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 203
๔. ปฏิจฺฉนฺนกูฏ การโกงด้วยกำบังไว้.
ในการโกงด้วยตาชั่ง อย่างนั้น ที่ชื่อว่า การโกงด้วยรูป ได้แก่
ทำตาชั่ง ๒ คันให้มีรูปเท่ากัน เมื่อรับ รับด้วยตาชั่งคันใหญ่ เมื่อให้ ให้
ด้วยตาชั่งคันเล็ก.
ที่ชื่อว่า การโกงด้วยอวัยวะ ได้แก่เมื่อรับ ใช้มือกดคันชั่งข้าง
หลังไว้ เมื่อให้ ใช้มือกดคันชั่งข้างหน้าไว้นั่นเอง.
ที่ชื่อว่า การโกงด้วยการจับ ได้แก่เมื่อรับ ก็จับเชือกไว้ที่โคน
ตาชั่ง เมื่อให้ ก็จับเชือกไว้ที่ปลายตาชั่ง.
ที่ชื่อว่า การโกงด้วยกำบังไว้ ได้แก่ทำตาชั่งให้เป็นโพรงแล้ว
ใส่ผงเหล็กไว้ภายใน เมื่อรับ ก็เลื่อนผงเหล็กนั้นไปข้างปลายตาชั่ง เมื่อ
ให้ ก็เลื่อนผงเหล็กไปข้างหัวตาชั่ง.
ถาดทอง เรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ การลวงด้วยถาดทองนั้น ชื่อว่า
การโกงด้วยสัมฤทธิ์. โกงอย่างไร ? ทำถาดทองไว้ใบหนึ่ง แล้วทำถาด
โลหะอื่นสองสามใบให้มีสีเหมือนทอง ต่อจากนั้นไปสู่ชนบท เข้าไปยิ่ง
ตระกูลมั่งคั่งตระกูลหนึ่ง กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงซื้อถาดทองคำ เมื่อถูก
คนอื่น ๆ ถามราคา ประสงค์จะขายราคาเท่ากัน ต่อแต่นั้น เมื่อเขาถามว่า
จะรู้ได้อย่างไรว่า ภาชนะเหล่านี้เป็นทอง บอกว่า ทดลองดูก่อนแล้วจึง
รับไป แล้วครูดถาดทองลงที่หิน ขายถาดทั้งหมดแล้วจึงไป.
ที่ชื่อว่า การโกงด้วยเครื่องตวงวัด มี ๓ อย่าง คือ ทำลายใจกลาง
ทำลายยอด และทำลายเชือก.
ใน ๓ อย่างนั้น การโกงด้วยเครื่องตวงทำลายใจกลาง ได้ในเวลาตวง
เนยใส และน้ำมันเป็นต้น. ก็เมื่อจะรับเอาเนยใส และน้ำมันเป็นต้นเหล่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 204
นั้น ใช้เครื่องตวงมีช่องข้างล่าง บอกให้ค่อย ๆ เท แล้วให้ไหลลงใน
ภาชนะของตนเร็ว ๆ รับเอาไป เมื่อให้ ปิดช่องไว้ให้เต็มโดยพลันให้ไป.
การโกงด้วยเครื่องตวงทำลายยอด ได้ในเวลาตวงงาและข้าวสาร
เป็นต้น. ก็เมื่อรับเอางาและข้าวสารเป็นต้นเหล่านั้น ค่อย ๆ ทำให้สูงขึ้น
เป็นยอดแล้วรับเอาไป เมื่อให้ ก็ทำให้เต็มโดยเร็ว ตัดยอดให้ไป.
การโกงด้วยเครื่องวัดทำลายเชือก ได้ในเวลาวัดไร่นาและที่ดิน
เป็นต้น ด้วยว่า เมื่อไม่ให้สินจ้าง ไร่นาแม้ไม่ใหญ่ ก็วัดทำให้ใหญ่.
การรับสินจ้างเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า ฉ้อโกง ได้แก่การรับสินบนเพื่อกระทำผู้เป็นเจ้าของให้ไม่
เป็นเจ้าของ.
บทว่า ลวง ได้แก่การล่อลวงผู้อื่นด้วยอุบายนั้น ๆ. ในข้อนั้นมี
ตัวอย่างอยู่เรื่องหนึ่งดังนี้
เล่ากันว่า มีนายพรานคนหนึ่งจับกวางและลูกกวางมา นักเลงคน
หนึ่งถามนายพรานคนนั้นว่า พ่อมหาจำเริญ กวางราคาเท่าไร ? ลูกกวาง
ราคาเท่าไร ? เมื่อนายพรานตอบว่า กวางราคา ๒ กหาปณะ ลูกกวาง
ราคากหาปณะเดียว นักเลงก็ให้กหาปณะหนึ่ง รับเอาลูกกวางมา เดินไป
ได้หน่อยหนึ่งแล้วกลับมาบอกว่า พ่อมหาจำเริญ ฉันไม่ต้องการลูกกวาง
ท่านจงให้กวางแก่ฉันเถิด นายพรานตอบว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้ ๒
กหาปณะซิ. นักเลงกล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ ทีแรกฉันให้ท่านหนึ่ง
กหาปณะแล้วมิใช่หรือ ? นายพรานตอบว่า ถูกแล้ว ท่านให้ไว้แล้ว.
นักเลงกล่าวว่า ท่านจงรับเอาลูกกวางแม้น ไป เมื่อเป็นอย่างนี้ กหาปณะ
นั้นและลูกเนื้อซึ่งมีราคาหนึ่งกหาปณะนี้ รวมเป็น ๒ กหาปณะ. นาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 205
พรานพิจารณาดูว่า เขาพูดมีเหตุผล จึงรับเอาลูกกวางมาแล้วให้กวางไป.
บทว่า นิกติ ได้แก่การล่อลวงด้วยของเทียมโดยทำของที่มิใช่สังวาล
ให้เห็นเป็นสังวาล ของที่มิใช่แก้วมณี ให้เห็นเป็นแก้วมณี ของที่มิใช่
ทอง ให้เห็นเป็นทอง ด้วยอำนาจการประกอบขึ้น หรือด้วยอำนาจ
กลลวง.
บทว่า สาริโยโค ได้แก่วิธีโกง. คำนี้เป็นชื่อของการรับสินบน
เป็นต้น เหล่านี้แหละ เพราะฉะนั้น พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า
การตลบตะแลง คือการรับสินบน การตลบตะแลง คือการล่อลวง การ
ตลบตะแลงคือการปลอม. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การแสดงสิ่งหนึ่ง
แล้วสับเปลี่ยนเป็นสิ่งหนึ่ง ชื่อว่าการตลบตะแลง. ก็ข้อนั้นสงเคราะห์เข้า
ด้วยการล่อลวงนั่นเอง.
ในการตัดเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า ตัด ได้แก่การตัดมือเป็นต้น.
บทว่า ฆ่า ได้แก่ทำให้ตาย.
บทว่า ผูกมัด ได้แก่ผูกด้วยเครื่องผูกคือเชือกเป็นต้น.
บทว่า วิปราโมโส ความว่า การตีชิง มี ๒ อย่าง คือ การบัง
หมอกตีชิง ๑ การบังพุ่มไม้ที่ชิง ๑. เวลาหิมะตก ซ่อนตัวด้วยหิมะ แย่ง
ชิงคนเดินทาง นี้ชื่อว่า การบังหมอกตีชิง. ซ่อนตัวด้วยพุ่มไม้เป็นต้น
แย่งชิง นี้ชื่อว่า การบังพุ่มไม้ตีชิง.
การกระทำการปล้นบ้านและนิคมเป็นต้น เรียกว่า การปล้น.
บทว่า สหสากาโร ได้แก่การกระทำอย่างรุนแรง ได้แก่การเข้า
เรือนแล้วเอาศาตราจ่ออกพวกชาวบ้าน เก็บเอาสิ่งของที่ตนต้องการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 206
พระสมณโคดม เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การผูกมัด การตีชิง
การปล้น และกรรโชกนี้ ด้วยประการฉะนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต ก็พึงกล่าวดังนี้แล.
จุลศีลเป็นอันจบแต่เพียงเท่านี้
วรรณนามัชฌิมศีล
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงเริ่มแสดงมัชฌิมศีล จึงตรัส
พระบาลีมีอาทิว่า ยถา วา ปเนเก โภนฺโต ดังนี้.
ในคำนั้น มีวรรณนาบทที่ยาก ๆ ดังต่อไปนี้
บทว่า สทฺธาเทยฺยานิ ความว่า ที่คนเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม
และโลกนี้โลกหน้าให้แล้ว. อธิบายว่า เขามิได้ให้ด้วยประสงค์อย่างนี้ว่า
ผู้นี้เป็นญาติของเรา หรือว่าเป็นมิตรของเรา หรือว่าเขาจักตอบแทนสิ่งนี้
หรือว่า สิ่งนี้เขาเคยทำ ดังนี้. ด้วยว่า โภชนะที่เขาให้อย่างนี้ ย่อมไม่
ชื่อว่าให้ด้วยศรัทธา
บทว่า โภชนานิ นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนา แต่โดยเนื้อความ ย่อม
เป็นอันกล่าวคำนี้ทั้งหมดทีเดียวว่า บริโภคโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา ห่ม
จีวร ใช้สอยเสนาสนะ บริโภคคิลานเภสัชที่เขาให้ด้วยศรัทธา ดังนี้ .
บทว่า เสยฺยถีท เป็นนิบาต มีเนื้อความเป็นไฉน มีเนื้อความว่า
พืชคามและภูตคามที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกประกอบการพรากอยู่.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพืชคามแสะภูตคาม
นั้น จึงตรัสว่า มูลพีช เป็นต้น ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 207
ในพระบาลีนั้น ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่ราก ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้
คือ ขมิ้น ขิง ว่านเปราะป่า ว่านเปราะบ้าน อุตพิด ข่า แฝก หญ้าคา
และหญ้าแห้วหมู.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่ลำต้น ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้ โพ ไทร มะสัง
มะเดื่อ มะเดื่อป่า มะขวิด.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่ข้อ ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้ คือ อ้อย อ้อ ไผ่.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่ยอด ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้ คือ แมงลัก คะไคร้
หอมแดง.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่เมล็ด ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้ คือ ปุพพัณณ-
ชาติ อปรัณณชาติ.
ก็พืชทั้งหมดนี้ ที่แยกออกจากด้นแล้ว ยังสามารถึงอกไค้ เรียกว่า
พืชคาม. ส่วนพืชที่ยังไม่ได้แยกจากต้น ไม่แห้ง เรียกว่า ภูตคาม. ใน
พืช ๒ อย่างนั้น การพรากภูตคาม พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์
การพรากพืชคาม เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
บทว่า สนฺนิธิการกปริโภค ความว่า บริโภคของที่สะสมไว้.
ในข้อนั้น มีคำที่ควรกล่าว ๒ อย่าง คือ เกี่ยวกับพระวินัยอย่าง ๑ เกี่ยว
กับการปฏิบัติเคร่งครัดอย่าง ๑. ว่าถึงเกี่ยวกับพระวินัยก่อน ข้าวอย่างใด
อย่างหนึ่งที่รับประเคนวันนี้ เอาไว้วันหลัง เป็นการทำการสะสม เมื่อ
บริโภคข้าวนั้น เป็นปาจิตตีย์. แต่ให้ข้าวที่ตนได้แล้วแก่สามเณร ให้
สามเณรเหล่านั้นเก็บไว้ จะฉันในวันรุ่งขึ้นควรอยู่ แต่ไม่เป็นการปฏิบัติ
เคร่งครัด. แม้ในการสะสมน้ำปานะ ก็มีนัยนี้แหละ.
ในข้อนั้น ที่ชื่อว่า น้ำปานะ ได้แก่น้ำปานะ ๘ อย่าง มีน้ำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 208
มะม่วงเป็นต้น และน้ำที่อนุโลมเข้าได้กับน้ำปานะ ๘ อย่างนั้น. วินิจฉัย
น้ำปานะเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระ
วินัย.
ในการสะสมผ้า มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ผ้าที่ยังไม่ได้อธิฐานและยังไม่ได้วิกัปไว้ ย่อมเป็นการสะสมและ
ทำให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด นี้เป็นการกล่าวโดยอ้อม ส่วนโดยตรง
ภิกษุควรจะเป็นผู้สันโดษในไตรจีวร ได้ผืนที่ ๔ แล้ว ควรให้แก่รูปอื่น
ถ้าไม่อาจจะให้แก่รูปใดรูปหนึ่งได้ แต่ประสงค์จะให้แก่รูปใดรูปนั้นไป
เพื่อประโยชน์แก่อุเทศ หรือเพื่อประโยชน์แก่ปริปุจฉา พอเธอกลับมา
ควรให้เลย จะไม่ให้ไม่ควร แต่เมื่อจีวรไม่เพียงพอ ยิ่งมีความหวังที่จะ
ได้มา จะเก็บไว้ภายในเวลาที่ทรงอนุญาตก็ควร เมื่อยังไม่ได้เข็มด้ายและ
ตัวผู้ทำจีวร จะเก็บไว้เกินกว่านั้น ต้องทำวินัยกรรมจึงควร แต่เมื่อจีวร
ผืนนี้เก่า จะเก็บไว้รอว่า เราจักได้จีวรเช่นนี้จากไหนอีก ดังนี้ ไม่ควร
ย่อมชื่อว่าเป็นการสะสมและทำให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด.
การสะสมยาน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ล้อเลื่อน รถ เกวียน รถมีเครื่องประดับ วอ
รถเข็น. นี้มิใช่ยานของบรรพชิต. บรรพชิตมียานอย่างเดียวคือ รองเท้า,
ก็ภิกษุรูปหนึ่ง ควรใช้รองเท้าได้ ๒ คู่เป็นอย่างมาก คือ คู่หนึ่งสำหรับ
เดินป่า คู่หนึ่งสำหรับเท้าที่ล้างแล้ว . ได้คู่ที่ ๓ ควรให้แก่รูปอื่น. แต่จะ
เก็บไว้ด้วยคิดว่า เมื่อคู่นี้เก่า เราจักได้คู่อื่นจากไหน ดังนี้ ไม่ควร.
ย่อมชื่อว่าเป็นการสะสมและทำให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 209
ในการสะสมที่นอน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า สยน ได้แก่เตียง. ภิกษุรูปหนึ่ง ควรมีเตียงได้อย่างมาก
๒ เตียง คือเตียงหนึ่งไว้ในห้อง เตียงหนึ่งไว้ในที่พักกลางวัน. ได้เกิน
กว่านั้น ควรให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือแก่คณะ. จะไม่ให้ไม่ควร. ย่อมชื่อว่า
เป็นการสะสมและทำให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด.
ในการสะสมของหอม มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
เมื่อภิกษุอาพาธเป็นฝี เป็นหิด และโรคผิวหนังเป็นต้น จะใช้
ของหอมก็ควร. เมื่อโรคนั้นหายแล้ว ควรให้นำของหอมเหล่านั้นมาให้
แก่ภิกษุอาพาธรูปอื่น ๆ หรือควรนำไปใช้ในกิจ มีการรมควันเรือน ด้วย
นิ้วมือ ๕ นิ้วเป็นต้นที่ประตู. แต่จะเก็บไว้ด้วยประสงค์ว่า เมื่อเป็นโรค
อีกจักได้ใช้ ดังนี้ไม่ควร. ย่อมชื่อว่าเป็นการสะสมของหอมและทำให้เสีย
การปฏิบัติเคร่งครัด.
สิ่งของนอกจากที่กล่าวแล้ว พึงเห็นว่า ชื่อว่า อามิส. คือ ภิกษุ
บางรูปในพระศาสนานี้ ให้เขานำเอาภาชนะงา ข้าวสาร ถั่วเขียว ถั่ว-
ราชมาส มะพร้าว เกลือ ปลา เนื้อ เนื้อแห้ง เนยใส น้ำมัน และ
น้ำอ้อยงบเป็นต้น มาเก็บไว้ด้วยคิดว่า จักมีเพื่ออุปการะในกาลเห็นปาน
นั้น. ครั้นเข้าฤดูฝน แต่เช้าตรู่ทีเดียว เธอให้พวกสามเณรต้มข้าวต้ม ฉัน
แล้วใช้สามเณรไปด้วยสั่งว่า สามเณร เธอจงเข้าไปบ้านที่ลำบากเพราะ
น้ำโคลน ครั้นไปถึงตระกูลนั้นแล้ว บอกว่า ฉันอยู่ที่วัดแล้วจงนำนมส้ม
เป็นต้นจากตระกูลโน้นมา. แม้เมื่อภิกษุทั้งหลายถามว่า ท่านขอรับ จัก
เข้าบ้านหรือ ? ก็ตอบว่า ผู้มีอายุ เวลานี้บ้านเข้าไปลำบาก. ภิกษุเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 210
กล่าวว่า ช่างเถิดขอรับ นิมนต์ท่านอยู่เถิด พวกกระผมจักแสวงหาอาหาร
มาถวาย ดังนี้ แล้วพากันไป. ลำดับนั้น แม้สามเณรก็นำเอานมส้มเป็น
ต้นมาปรุงข้าวและกับ แล้วนำเข้าไปถวาย. เมื่อท่านกำลังฉันอาหารนั้น
อยู่นั่นแหละ พวกอุปัฏฐากยังส่งภัตตาหารไปถวาย. ท่านก็ฉันแต่ที่ชอบ ๆ
แต่นั้น. ลำดับนั้นภิกษุทั้งหลายรับบิณฑบาตมา. ท่านก็ฉันแต่ที่ชอบใจ
จนล้นคอหอย. ท่านเป็นอยู่อย่างนี้ถึง ๔ เดือน. ภิกษุรูปนี้ เรียกว่า มีชีวิต
อยู่อย่างเศรษฐีหัวโล้น มิใช่มีชีวิตอยู่อย่างสมณะ. ภิกษุแบบนี้ ย่อมชื่อ
ว่าเป็นผู้สะสมอามิส.
ก็ในที่อยู่ของภิกษุ จะเก็บได้เพียงเท่านี้ คือ ข้าวสารทะนาน ๑
น้ำอ้อยงบ ๑ เนยใสประมาณ ๔ ส่วน เพื่อประโยชน์สำหรับพวกที่เข้ามา
ผิดเวลา. ด้วยว่าพวกโจรเหล่านั้น เมื่อไม่ได้อามิสปฏิสันถารเท่านี้ พึง
ปลงแม้ชีวิต เพราะฉะนั้น ถ้าเสบียงเพียงเท่านี้ก็ไม่มี แม้จะให้นำมาเอง
เก็บไว้ก็ควร. อนึ่ง ในเวลาไม่สบาย ในที่อยู่นี้มีสิ่งใดที่เป็นกัปปิยะ
จะฉันสิ่งนั้นแม้ด้วยตนเองก็ควร. ส่วนในกัปปิยกุฎี แม้จะเก็บไว้มาก
ก็ไม่ชื่อว่าเป็นการสะสม. แต่สำหรับพระตถาคต ที่จะชื่อว่าทรงเก็บข้าว
สารทะนานหนึ่งเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือชิ้นผ้าเก่าประมาณองคุลี
ด้วยมีพระพุทธดำริว่า สิ่งนี้จักมีแก่เราในวันหรือในวันพรุ่งนี้ ดังนี้
หามีไม่.
ในการดูที่เป็นข้าศึก มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ที่ชื่อว่า การฟ้อนรำ ได้แก่การฟ้อนรำอย่างใดอย่างหนึ่ง. ภิกษุ
แม้เดินผ่านไปทางนั้นจะชะเง้อดูก็ไม่ควร. ก็วินิจฉัยโดยพิสดารในอธิการนี้
พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัยนั่นแหละ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 211
และในบทพระสูตรที่เกี่ยวด้วยสิกขาบททุกแห่ง ก็พึงทราบวินิจฉัยอย่าง
เดียวกับในอธิการนี้.
ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป จะไม่กล่าวเพียงเท่านี้ จักพรรณนาให้พอแก่
ประโยชน์ในข้อนั้น ๆ ทีเดียวฉะนี้แล.
บทว่า เปกฺข ได้แก่มหรสพมีการรำเป็นต้น.
บทว่า อกฺขาน ได้แก่การเล่าเรื่องสงครามมีภารตยุทธและราม-
เกียรติ์เป็นต้น. ภิกษุแม้จะไปในที่ที่เขาเล่านิยายนั้น ก็ไม่ควร.
บทว่า ปาณิสฺสร ได้แก่กังสดาล. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การ
เล่นปรบฝ่ามือ ดังนี้ก็มี.
บทว่า เวตาฬ ได้แก่ตีกลองฆนะ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า
ปลุกร่างของคนตายให้ลุกขึ้นด้วยมนต์ ดังนี้ก็มี.
บทว่า กุมฺภถูน ได้แก่ตีกลอง ๔ เหลี่ยม. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า
เสียงหม้อ ดังนี้ก็มี.
บทว่า โสภนครก ได้แก่ฉากละครหรือภาพบ้านเมืองที่สวยงาม.
อธิบายว่า เป็นภาพวิจิตรด้วยปฏิภาณ.
บทว่า จณฺฑาล ได้แก่การเล่นขลุบทำด้วยเหล็ก อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า การเล่นซักผ้าเปลือกไม้ของพวกคนจัณฑาล.
บทว่า วส ได้แก่การเล่นยกไม้ไผ่ขึ้น.
บทว่า โธวน ได้แก่การเล่นล้างกระดูก. ได้ยินว่า ในชนบท
บางแห่ง เมื่อญาติตาย เขายังไม่เผา เก็บฝังไว้ ครั้นรู้ว่า ศพเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 212
เปื่อยเน่าแล้ว ก็นำออกมาล้างอัฐิ ทาด้วยของหอม แล้วเก็บไว้. ใน
คราวนักษัตรฤกษ์ เขาตั้งอัฐิไว้แห่งหนึ่ง ตั้งสุราเป็นต้นไว้แห่งหนึ่ง แล้ว
ก็พากันร้องไห้คร่ำครวญดื่มเหล้ากัน. ข้อนี้สมด้วยพระบาลีที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีพิธีชื่อว่า การเล่นล้างอัฐิใน
ชนบทตอนใต้ ในพิธีนั้นมีข้าวบ้าง น้ำบ้าง ของเคี้ยวบ้าง ของบริโภค
บ้าง ของลิ้มบ้าง เป็นอันมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พิธีล้างกระดูกนั้น
มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า พิธีล้างอัฐินั้นไม่มี. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
พิธีล้างกระดูกด้วยการเล่นกล ชื่อว่า การเล่นหน้าศพ ดังนี้ก็มี.
ในบรรดาการชนช้างเป็นต้น การต่อสู้กับช้างเป็นต้นก็ดี การให้
ช้างชนกันก็ดี การดูช้างชนกันก็ดี ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งนั้น.
บทว่า นิพฺพุทฺธ ได้แก่การสู้กันของมวยปล้ำ.
บทว่า อุยฺโยธิก ได้แก่สถานที่ซ้อมรบกัน.
บทว่า พลคฺค ได้แก่สถานที่ของหมู่พลรบ.
บทว่า เสนาพฺยูห ได้แก่การจัดกองทัพ คือ การตั้งทัพด้วย
สามารถแห่งการจัดกระบวนทัพ มีกระบวนเกวียนเป็นต้น.
บทว่า อนีกทสฺสน ได้แก่การดูกองทัพที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมี
อาทิว่า ช้าง ๓ เชือก เป็นอย่างต่ำ ชื่อว่า ทัพช้าง ดังนี้.
ชื่อว่า ปมาทัฏฐาน เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. การพนัน
นั้นด้วย เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทด้วย เหตุนั้น ชื่อว่า การพนันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท.
หมากรุก ชื่อว่า เล่นแถวละ ๘ ตา เพราะมีตาอยู่แถวละ ๘ ๆ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 213
แม้ในการเล่นหมากรุกแถวละ ๑๐ ตา ก็มีนัยดังนี้เหมือนกัน.
บทว่า อากาส ได้แก่การเล่นหมากเก็บ เหมือนในการเล่น
หมากรุก แถวละ ๘ ตา แถวละ ๑๐ ตา.
บทว่า ปริหารปถ ได้แก่การเล่นของคนที่ทำเป็นวงกลมไว้หลาย
แนวด้วยกัน บนพื้นดิน เดินเลี่ยงกันไปในวงกลมนั้น ๆ.
บทว่า สนฺติก ได้แก่เล่นใกล้ ๆ กัน ( เล่นอีขีดอีเขียน) โดยเอา
เบี้ยหรือก้อนกรวดกองรวมกันไว้ ไม่ให้เคลื่อน เอาเล็บเขี่ยออกไปและ
เขี่ยเข้ามา ถ้าไหวบางเม็ดในนั้น เป็นอันแพ้ นี้เป็นชื่อของการเล่น
แบบนั้น.
บทว่า ขลิก ได้แก่ การเล่นสะกาบนกระดานสะกา.
เล่นเอาไม้ท่อนยาวตีไม้ท่อนสั้น เรียกว่า เล่นไม้หึ่ง.
บทว่า สลากหตฺถ ได้แก่การเล่นโดยเอาครั่งหรือฝาง หรือ
แป้งเปียก ชุบมือที่กำซี่ไม้ไว้ทายว่า จะเป็นรูปอะไร ดีดไปที่พื้นดินหรือ
ที่ฝา แสดงรูปช้างม้าเป็นต้น.
บทว่า อกฺข ได้แก่เล่นขลุบ. เล่นเป่าหลอดที่ทำด้วยใบไม้นั้น
เรียกว่า เล่นเป่าใบไม้.
บทว่า วงฺกก ได้แก่ไถเล็ก ๆ เป็นเครื่องเล่นของเด็กชาวบ้าน.
บทว่า โมกฺขจิก ได้แก่เล่นพลิกกลับตัวไปมา (ตีลังกา) มีอธิบาย
ว่า จับท่อนไม้ไว้ในอากาศ หรือวางศีรษะไว้บนพื้น เล่นพลิกตัวโดยเอา
ข้างล่างไว้ข้างบน เอาข้างบนไว้ข้างล่าง.
ที่เรียกว่า เล่นกังหัน ได้แก่เล่นจักรที่หมุนได้ด้วยลมพัด ที่ทำด้วย
ใบตาลเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 214
ที่เรียกว่า เล่นตวงทราย ได้แก่เอาทะนานที่ทำด้วยใบไม้ เล่น
ตวงทรายเป็นต้น.
บทว่า รถก ความว่า เล่นรถเล็ก ๆ.
บทว่า ธนุก ความว่า เล่นธนูเล็ก ๆ นั่นเอง.
ที่เรียกว่า เล่นทายอักษร ได้แก่เล่นให้รู้อักษร ในอากาศ หรือ
บนหลัง.
ที่ชื่อว่า เล่นทายใจ ได้แก่เล่นให้รู้เรื่องที่คิดด้วยใจ.
ที่ชื่อว่า เล่นเลียนคนพิการ ได้แก่เล่นโดยแสดงเลียนแบบ โทษ
ของคนพิการ มีคนตาบอด คนง่อย และคนค่อมเป็นต้น.
บทว่า อาสนฺทึ ได้แก่อาสนะที่เกินประมาณ. ก็ที่ทำเป็นทุติยา-
วิภัตติทุกบท เล็งถึงคำว่า อนุยุตฺตา วิหรนฺติ นี้.
บทว่า ปลฺลงฺโก ได้แก่เตียงที่ทำรูปสัตว์ร้ายไว้ที่เท้า.
บทว่า โคณโก ได้แก่ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่มีขนยาว. ได้ยินว่า ผ้า
โกเชาว์ผืนใหญ่นั้น มีขนยาวเกิน ๔ องคุลี.
บทว่า จิตตฺก ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ วิจิตรด้วยเครื่อง
ร้อยรัดชนิดหนึ่ง.
บทว่า ปฏิกา ได้แก่เครื่องลาดสีขาวทำด้วยขนแกะ.
บทว่า ปฏลิกา ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยชนแกะ เป็นรูปดอกไม้ทึบ
ซึ่งบางคนเรียกว่ามีทรงเป็นใบมะขามป้อม ดังนี้ก็มี.
บทว่า ตูลิกา ได้แก่เครื่องลาดยัดนุ่น เต็มไปด้วยนุ่น ๓ ชนิด
ชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า วิกติกา ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ วิจิตรด้วยรูปสีหะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 215
และเสือเป็นต้น.
บทว่า อุทฺธโลมึ ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยขนแกะมีชาย ๒ ข้าง.
อาจารย์บางท่านกล่าวว่า เป็นรูปดอกไม้ชูขึ้นข้างเดียวกัน
บทว่า เอกนฺตโลมึ ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยขนแกะมีชายข้างเดียว.
บางท่านกล่าวว่า เป็นรูปดอกไม้ชูขึ้น ๒ ข้าง ดังนี้ก็มี.
บทว่า กฏฺิสฺส ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยใยไหม ขลิบแก้ว.
บทว่า โกเสยฺย ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยเส้นไหม ขลิบแก้วเหมือน
กัน. ส่วนผ้าไหมล้วน ตรัสไว้ในพระวินัยว่าควร. แต่ในอรรถกถาทีฆนิกาย
กล่าวว่า เว้นเครื่องสาดยัดนุ่น เครื่องลาดที่ทอด้วยรัตนะมีพรมที่ทำด้วย
ขนสัตว์เป็นต้น ทุกอย่างเลย ไม่ควร.
บทว่า กุตฺตก ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ พอที่นางฟ้อน
๑๖ นางยืนฟ้อนได้.
บทว่า หตฺถตฺถร อสฺสตฺถร ได้แก่เครื่องลาดที่ใช้ลาดบนหลัง
ช้างหลังม้านั่นเอง. แม้ในเครื่องลาดในรถ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อชินปฺปเวณึ ได้แก่เครื่องลาดเย็บด้วยหนังเสือพอขนาดเตียง.
บทว่า กทลิมิคปวรปจฺจตฺถรณ ได้แก่เครื่องลาดอย่างดีที่ทำด้วย
หนังชะมด. อธิบายว่า เป็นเครื่องชั้นสูงสุด. ได้ยินว่า เครื่องลาดนั้น
เขาลาดเย็บทำหนังชะหมดบนผ้าขาว.
บทว่า สอุตฺตรฺจฺฉท ได้แก่เครื่องลาดพร้อมเพดานบน คือพร้อม
กับเพดานสีแดงที่ติดไว้เบื้องบน. แม้เพดานสีขาว เมื่อมีเครื่องลาดเป็น
อกัปปิยะอยู่ภายใต้ ไม่ควร แต่เมื่อไม่มี ควรอยู่.
บทว่า อุภโตโลหิตกุปธาน ได้แก่เครื่องลาดมีหมอนสีแดงอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 216
๒ ข้างเตียง คือหมอนหนุนศีรษะและหมอนหนุนเท้า นั่นไม่ควร. ส่วน
หมอนใบเดียวเท่านั้น ทั้ง ๒ ข้างมีสีแดงก็ดี มีสีดอกปทุมก็ดี มีลวดลาย
วิจิตรก็ดี ถ้าได้ขนาด ก็ควร แต่หมอนใหญ่ท่านห้าม. หมอนที่สีไม่แดง
แม้ ๒ ใบก็ควรเหมือนกัน. ได้เกินกว่า ๒ ใบนั้น ควรให้แก่ภิกษุรูป
อื่น ๆ. เมื่อไม่อาจจะให้ได้ แม้จะลาดขวางไว้บนเตียง ปูเครื่องลาดไว้
ข้างบนแล้วนอน ก็ย่อมได้. และพึงปฏิบัติตามนัยที่ตรัสไว้ในเรื่องเตียง
ที่มีเท้าเกินประมาณเป็นต้นนั่นเทียว. ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ตัดเท้าเตียงที่มีเท้าเกินประมาณแล้วใช้สอยได้ อนุญาตให้
ทำลายรูปสัตว์ร้ายของเตียง มีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้ายแล้วใช้สอยได้ อนุญาต
ให้แหวะเครื่องลาดที่ยัดนุ่น ทำเป็นหมอนได้ อนุญาตให้ทำเครื่องลาดฟื้น
ที่เหลือได้ ดังนี้.
ในเรื่องอบตัวเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
กลิ่นกายของทารกที่คลอดจากครรภ์มารดา จะหมดไปในเวลาที่มี
อายุประมาณ ๑๒ ปี คนทั้งหลายจึงอบตัวด้วยจุณของหอมเป็นต้น เพื่อ
กำจัดกลิ่นเหม็นของกายทารกเหล่านั้น การอบตัวอย่างนี้ไม่ควร.
อนึ่ง หากทารกที่มีบุญ เขาให้นอนบนระหว่างขาทั้ง ๒ เอา
น้ำมันทาไคลอวัยวะเพื่อให้มือ เท้า ขา ท้องเป็นต้น ได้สัดส่วน. การ
ไคลตัวอย่างนี้ไม่ควร.
บทว่า นฺหาปน ได้เเก่การอาบ เหมือนอาบน้ำหอมเป็นต้น ให้
ทารกเหล่านั้นแหละ.
บทว่า สมฺพาหน ได้แก่นวด เหมือนพวกนักมวยรุ่นใหญ่ ใช้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 217
ค้อนเป็นต้น ตีมือเท้า ทำให้แขนโตขึ้น.
บทว่า อาทาส ได้แก่ไม่ควรใช้กระจกอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า อญฺชน ได้แก่แต้มตาทำให้งามนั่นเอง.
บทว่า มาลา ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยบ้าง ดอกไม้ที่ไม่ได้ร้อยบ้าง.
บทว่า วิเลปน ได้แก่ทำการประเทืองผิวอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ด้วยบทว่า มุขจุณฺณก มุขาเลปน คนทั้งหลายใส่ตะกอนดินเพื่อ
ต้องการกำจัดไฝและตุ่มเป็นต้นที่หน้า เมื่อโลหิตเดินไปด้วยตะกอนดินนั้น
ก็ใส่ตะกอนเมล็ดพันธุ์ผักกาด เมื่อตะกอนเมล็ดพันธุ์ผักกาดกัดส่วนที่เสีย
หมดแล้ว ก็ใส่ตะกอนงา เมื่อโลหิตหยุดด้วยตะกอนงานั้น เขาก็ใส่
ตะกอนขมิ้นนั้น เมื่อผิวพรรณผุดผาดด้วยตะกอนขมิ้นแล้ว ก็ผัดหน้าด้วย
แป้งผัดหน้า การกระทำทั้งหมดนั้น ไม่ควร ฉะนี้แล.
ในเรื่องประดับข้อมือเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
คนบางพวกเอาสังข์และกระเบื้องเป็นต้นที่วิจิตรผูกที่มือเที่ยวไป.
เครื่องประดับมืออย่างนั้นก็ดี อย่างอื่นก็ดี ทั้งหมด ไม่ควร. คนอีกพวก
หนึ่ง ผูกปลายผมเที่ยวไป และเอาเส้นทอง และเถามุกดาเป็นต้น ล้อม
ปลายผมนั้น. ทั้งหมดนั้น ไม่ควร.
คนอีกพวกหนึ่ง ถือไม้เท้ายาว ๔ ศอก หรือไม้เท้าอย่างอื่น มี
ด้ามประดับสวยงาม เที่ยวไป. กล้องยาที่วิจิตรด้วยรูปหญิงชายเป็นต้น
วงรอบเป็นอย่างดี คล้องไว้ข้างซ้าย.
แม้ดาบคมกริบ มีฝักล้อมด้วยรัตนะเป็นรูปดอกกรรณิการ์ ร่ม
อันวิจิตรด้วยฟันมังกรเป็นต้น เย็บด้วยด้าย ๕ สี.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 218
รองเท้าวงด้วยแววหางนกยูงเป็นต้น วิจิตรด้วยทองและเงินเป็นต้น.
บางพวกแสดงท้ายผมตกยาวประมาณศอกหนึ่ง กว้าง ๔ องคุลี
ติดแผ่นกรอบหน้าที่หน้าผากเหมือนฟ้าแลบในกลีบเมฆ ปักปิ่น ใช้พัด
จามรและพัดวาลวีชนี. ทั้งหมดนั้น ไม่ควร.
ที่ชื่อว่า ติรัจฉานกถา เพราะเป็นถ้อยคำที่ขวางทางสวรรค์และ
ทางนิพพาน เพราะไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุให้ออกไปจากทุกข์.
บรรดาติรัจฉานกถาเหล่านั้น เรื่องที่พูดปรารภถึงพระราชา โดย
นัยมีอาทิว่า พระเจ้ามหาสมมตราช พระเจ้ามันธาตุราช พระเจ้า
ธรรมาโศกราช มีอานุภาพมากอย่างนี้ ชื่อว่า เรื่องพระราชา. ในเรื่อง
โจรเป็นต้น ก็นัยนี้.
ถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัว โดยนัยเป็นต้นว่า บรรดาท่าน
เหล่านั้น พระราชาองค์โน้น มีรูปงามน่าชม ดังนี้แหละ ชื่อว่าเป็น
ติรัจฉานกถา. แต่เรื่องที่พูดอย่างนี้ว่า พระราชาพระนามแม้นั้น มี
อานุภาพมากอย่างนี้ สวรรคตแล้ว ดังนี้ ตั้งอยู่ในความเป็นกรรมฐาน.
แม้ในเรื่องโจร ถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัว ว่าโอ กล้าจริง
ดังนี้ อิงอาศัยการกระทำของโจรเหล่านั้นว่า โจรชื่อมูลเทพ มีอานุภาพมาก
อย่างนี้ โจรชื่อเมฆมาล มีอานุภาพมากอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่าติรัจฉานกถา.
แม้ในเรื่องการรบ มีเรื่องภารตยุทธ์เป็นต้น ถ้อยคำที่เกี่ยวกับ
ความพอใจในเรื่องทายว่า คนโน้นถูกคนโน้นฆ่าอย่างนี้ แทงอย่างนี้
นั่นแหละ ชื่อว่าติรัจฉานกถา. แต่เรื่องที่พูดอย่างนี้ว่า แม้คนชื่อเหล่านั้น
ก็ถึงความสิ้นไป ดังนี้ ย่อมเป็นกรรมฐานทุกเรื่องทีเดียว.
อนึ่ง ในเรื่องข้าวเป็นต้น การพูดเกี่ยวกับความพอใจในสิ่งที่ชอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 219
ว่า เราเคี้ยว เราบริโภคข้าวมีสีสวย มีกลิ่นหอม มีรสอร่อย นิ่มนวล
ดังนี้ ไม่ควร. แต่การพูดทำให้มีประโยชน์ว่า เมื่อก่อนเราได้ถวายข้าว
น้ำ ผ้า ที่นอน ดอกไม้ ของหอม อันถึงพร้อมด้วยสีเป็นต้น แก่ท่าน
ผู้มีศีล เราได้บูชาพระเจดีย์อย่างนี้ ดังนี้ ย่อมควร.
ก็ในเรื่องญาติเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
การพูดเกี่ยวกับความพอใจว่า ญาติของพวกเรากล้า สามารถ
ดังนี้ก็ดี ว่าเมื่อก่อนเราเที่ยวไปด้วยยานอันสวยงามอย่างนี้ ดังนี้ก็ดี ไม่
ควร. แต่ควรจะพูดให้มีประโยชน์ว่า ญาติของพวกเราแม้เหล่านั้น ก็
ตายไปแล้ว หรือว่า เมื่อก่อนเราได้ถวายรองเท้าอย่างนี้แก่พระสงฆ์ ดังนี้.
ก็ในเรื่องบ้านเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
แม้พูดเรื่องบ้านที่เกี่ยวกับเรื่องว่า อยู่อาศัยดี อยู่อาศัยไม่ดี ข้าว
ปลาหาได้ง่าย และข้าวยากหมากแพงเป็นต้น หรือที่เกี่ยวกับความพอใจ
อย่างนี้ว่า ชาวบ้านโน้นกล้า สามารถ ดังนี้ ไม่ควร แต่พูดให้มีประโยชน์
ว่า ชาวบ้านโน้มมีศรัทธาเลื่อมใส หรือว่า ถึงความสิ้นไปเสื่อมไป ดังนี้
ควรอยู่. แม้ในเรื่องนิคม นคร ชนบท ก็นัยนี้แหละ.
แม้เรื่องหญิงที่เกี่ยวกับความพอใจอาศัยผิวพรรณและทรวดทรง
เป็นต้น ไม่ควร. แต่พูดอย่างนี้ว่า หญิงคนโน้นมีศรัทธาเลื่อมใส ถึง
ความสิ้นไปเสื่อมไป ดังนี้แหละ ควรอยู่.
แม้เรื่องคนกล้าที่เกี่ยวกับความพอใจว่า ทหารชื่อนันทมิตเป็นคน
กล้า ดังนี้ ไม่ควร. แต่พูดอย่างนี้ว่า ทหารเป็นผู้มีศรัทธา ถึงความสิ้นไป
ดังนี้แหละ ควรอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 220
แม้เรื่องตรอกที่เกี่ยวกับความพอใจว่า ตรอกโน้นอยู่ดี อยู่ไม่ดี มี
คนกล้า มีคนสามารถ ดังนี้ ไม่ควร. พูดอย่างนี้ว่า ตรอกโน้นมีคน
มีศรัทธาเลื่อมใส ถึงความสิ้นไปเสื่อมไป ดังนี้ ควรอยู่.
บทว่า กุมฺภฏฺานกถ ได้แก่การพูดเรื่องที่ตั้งน้ำ การพูดเรื่อง
ท่าน้ำ ท่านเรียกว่ากุมภทาสีกถาก็มี. พูดเกี่ยวกับความพอใจว่า นาง
กุมภทาสีแม้นั้น น่าเลื่อมใส ฉลาดฟ้อนรำ ขับร้อง ดังนี้แหละ ไม่ควร.
แต่พูดโดยนัยเป็นต้นว่า เป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส ดังนี้แหละ ควรอยู่.
บทว่า ปุพฺพเปตกถ ได้แก่พูดเรื่องญาติในอดีต. ข้อวินิจฉัยก็เหมือน
กับพูดเรื่องญาติปัจจุบันในที่นั้น ๆ.
บทว่า นานตฺตกถา ได้แก่พูดเรื่องไร้ประโยชน์ เป็นเรื่องต่าง ๆ
ที่เหลือพ้นจากคำต้นและคำปลาย.
บทว่า โลกกฺขายิกา ความว่า การพูดเล่นเกี่ยวกับโลก เป็นต้น
อย่างนี้ว่า โลกนี้ใครสร้าง คนโน้นสร้าง กาสีขาวเพราะกระดูกขาว
นกตะกรุมสีแดงเพราะเลือดแดง ดังนี้.
ที่ชื่อว่า พูดเรื่องทะเล ได้แก่ถ้อยคำที่กล่าวถึงทะเลอันไร้ประโยชน์
เป็นต้นอย่างนี้ว่า ทะเลชื่อว่าสาคร เพราะเหตุไร ? เพราะพระเจ้าสาครเทพ
ขุดไว้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า สาคร ที่ชื่อว่า สมุทร เพราะประกาศด้วยหัวแม่มือ
ว่า สาคร เราขุดไว้ ดังนี้.
บทว่า ภโว แปลว่า ความเจริญ.
บทว่า อภโว แปลว่า ความเสื่อม.
ถ้อยคำที่พูดกล่าวถึงเหตุไร้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งว่า เจริญ
เพราะเหตุนี้ เสื่อมเพราะเหตุนี้ ดังนี้ ชื่อว่า พูดเรื่องความเจริญความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 221
เสื่อม ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า วิคฺคาหิกกถา ได้แก่การพูดแก่งแย่ง การพูดแข่งดี.
บทว่า สหิต เม ในอธิการนั้น ความว่า คำพูดของข้าพเจ้ามี
ประโยชน์ สละสลวย ประกอบด้วยผล ประกอบด้วยเหตุ.
บทว่า อสหิตนฺเต ได้แก่คำพูดของท่านไม่มีประโยชน์ ไม่สละ
สลวย.
บทว่า อธิจิณฺถเนเต วิปฺปราวตฺต ได้แก่ข้อที่ท่านคล่องแคล่ว
เป็นอย่างดี ด้วยอำนาจเคยสั่งสมมาเป็นเวลานานนั้น ได้ผันแปรไปแล้ว
คือบิดเบือนไปแล้ว ด้วยคำพูดคำเดียวเท่านั้นของเรา ท่านยังไม่รู้อะไร.
บทว่า อาโรปิโต เต วาโท ได้แก่ความผิดในวาทะของท่าน
ข้าพเจ้าจับได้แล้ว.
บทว่า จร วาทปฺปโมกฺขาย ความว่า เพื่อเปลื้องความผิด ท่าน
จงเที่ยวไปเที่ยวมา จงไปศึกษาในข้อนั้น ๆ เสีย.
บทว่า นิพฺเพเหิ วา สเจ ปโหสิ ความว่า ถ้าท่านเองสามารถ
ก็จงแก้ไขเสียในบัดนี้ทีเดียว.
ในเรื่องการทำตัวเป็นทูต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อิธ คจฺฉ ความว่า จงไปจากที่นี้สู่ที่ชื่อโน้น.
บทว่า อมุตร คจฺฉ ความว่า จงไปจากที่นั้นสู่ที่ชื่อโน้น.
บทว่า อิท หร ความว่า จงนำเรื่องนี้ไปจากที่นี้.
บทว่า อมุตฺร อิท อาหร ความว่า จงนำเรื่องนี้จากที่โน้นมา
ในที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 222
ก็โดยสังเขป ขึ้นชื่อว่าการทำตัวเป็นทูตนี้ สำหรับสหธรรมิกทั้ง ๕
และข่าวสาสน์ ของคฤหัสถ์ที่เกี่ยวด้วยอุปการะพระรัตนตรัย ควร สำหรับ
คนเหล่าอื่น ไม่ควร.
ในบทว่า กุหกา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ที่ชื่อว่า พูดหลอกลวง เพราะหลอกลวงชาวโลก คือทำให้พิศวง
ด้วยเรื่องหลอกลวง ๓ อย่าง.
ที่ชื่อว่า พูดเลียบเคียง เพราะเป็นผู้พูดมีความต้องการลาภสักการะ.
ที่ชื่อว่า พูดหว่านล้อม เพราะเป็นคำพูดที่มีการหว่านล้อมเป็น
ปกติทีเดียว.
ที่ชื่อว่า พูดและเล็ม เพราะมีคำพูดและเล็มเป็นปกติทีเดียว.
ที่ชื่อว่า แสวงหาลาภด้วยลาภ เพราะแสวงหา คือค้นหา เสาะหา
ลาภด้วยลาภ.
นี้เป็นชื่อของบุคคลผู้ประกอบด้วยการหลอกลวงเหล่านี้ คือ พูด
หลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วย
ลาภ. นี้เป็นความย่อในที่นี้ แต่โดยพิสดาร เรื่องพูดมีพูดหลอกลวง
เป็นต้น ข้าพเจ้าได้นำพระบาลีและอรรถกถามาประกาศไว้ในสีลนิเทศ
ในวิสุทธิมรรค ดังนี้แล.
มัชฌิมศีลจบเพียงเท่านี้.
เบื้องหน้าแต่นี้ไป เป็นมหาศีล
บทว่า องฺค ได้แก่ตำราทายอวัยวะที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ผู้ที่ประ-
กอบด้วยอวัยวะมีมือและเท้าเห็นปานนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง มีอายุยืน มียศ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 223
บทว่า นิมิตฺต ได้แก่ตำราทายนิมิต.
ได้ยินว่า พระเจ้าปัณฑุราช ทรงกำแก้วมุกดาไว้ ๓ ดวง แล้ว
ตรัสถามหมอดูนิมิตว่า อะไรอยู่ในกำมือของฉัน ? หมอดูนิมิตผู้นั้น
เหลียวดูข้างโน้นข้างนี้ และในเวลานั้น แมลงวันถูกจิ้งจกคาบแล้วหลุดไป
เขาจึงกราบทูลว่า แก้วมุกดา ตรัสถามต่อไปว่า กี่ดวง ? เขาได้ยินเสียง
ไก่ขัน ๓ ครั้ง จึงกราบทูลว่า ๓ ดวง. สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวก
ทายนิมิตอ้างตำราทายนิมิตนั้น ๆ อยู่อย่างนี้.
บทว่า อุปฺปาต ได้แก่ทายวัตถุใหญ่ ๆ เช่น อสนีบาต เป็นต้น
ตกลงมา. ก็สมณพราหมณ์บางพวกเห็นดังนั้นแล้ว ทำนายอ้างว่า จักมี
เรื่องนี้ จักเป็นอย่างนี้.
บทว่า สุปิน ได้แก่สมณพราหมณ์บางพวกประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
การทำนายฝันโดยนัยมีอาทิว่า ผู้ฝันเวลาเช้า จะมีผลอย่างนี้ ผู้ฝันดังนี้
จะมีเรื่องชื่อนี้ ดังนี้อยู่.
บทว่า ลกฺขณ ได้แก่ตำราทายลักษณะมีอาทิว่า ผู้ที่ประกอบด้วย
ลักษณะนี้ จะเป็นพระราชา ด้วยลักษณะนี้ จะเป็นอุปราช.
บทว่า มูสิกจฺฉินฺน ได้แก่ตำราทำนายหนูกัดผ้า. ก็เมื่อผ้าแม้ถูก
หนูนั้นคาบมาหรือไม่คาบมาก็ตาม กัดอย่างนี้ตั้งแต่ที่นี้ไป สมณพราหณ์
บางพวกก็ทำนายอ้างว่า จะมีเรื่องชื่อนี้.
บทว่า อคฺคิโหม ได้แก่พิธีบูชาไฟว่า เมื่อใช้ฟืนอย่างนี้ บูชาไฟ
อย่างนี้ จะมีผลชื่อนี้.
แม้พิธีเบิกแว่นเวียนเทียนเป็นต้น ก็คือ พิธีบูชาไฟนั่นเอง ตรัส
ไว้แผนกหนึ่ง ด้วยสามารถแห่งความเป็นไปอย่างนี้ว่า เมื่อใช้แว่นเวียน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 224
เทียนเห็นปานนี้ ใช้วัตถุมีรำเป็นต้นเช่นนี้บูชาไฟ จะมีผลชื่อนี้.
บทว่า กโณ ในพิธีนั้น ได้แก่รำข้าว.
บทว่า ตณฺฑุล ได้แก่ข้าวสารแห่งข้าวสาลีเป็นต้น และแห่ง
ติณชาติทั้งหลาย.
บทว่า สปฺปิ ได้แก่เนยโคเป็นต้น.
บทว่า เตล ได้แก่น้ำมันงาเป็นต้น.
ก็การอมเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น พ่นเข้าในไฟ หรือการร่ายเวท
เป่าเข้าในไฟ ชื่อว่าทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ.
การบูชายัญด้วยโลหิตแห่งรากขวัญและเข่าเบื้องขวาเป็นต้น ชื่อว่า
บูชาด้วยโลหิต.
บทว่า องฺควิชฺชา ได้แก่ข้อแรก พูดถึงอวัยวะโดยได้เห็นอวัยวะ
ก่อน แล้วจึงพยากรณ์ ในที่นี้ตรัสถึงวิชาดูอวัยวะ โดยได้เห็นกระดูก
นิ้วมือ แล้วร่ายเวทพยากรณ์ว่า กุลบุตรนี้มีทรัพย์หรือไม่ หรือมีสิริหรือไม่
ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า วตฺถุวิชฺชา ได้แก่วิชาหมอดู กำหนดคุณและโทษแห่ง
ปลูกเรือนและพื้นที่สวนเป็นต้น. แม้ได้เห็นความต่างแห่งดินเป็นต้น ก็
ร่ายเวทเห็นคุณและโทษ ในใต้พื้นปฐพี ในอากาศ ประมาณ ๓๐ ศอก
และในพื้นที่ประมาณ ๘๐ ศอก.
บทว่า เขตฺตวิชฺชา ได้แก่วิชานิติศาสตร์ มีอัพเภยยศาสตร์
มาสุรักขศาสตร์และราชศาสตร์เป็นต้น.
บทว่า สิววิชฺชา ได้แก่วิชาว่าด้วยการเข้าไปทำความสงบในป่าช้า
อาจารย์บางท่านกล่าวว่า เป็นวิชารู้เสียงหอนของสุนัขจิ้งจอกก็มี.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 225
บทว่า ภูตวิชฺชา ได้แก่มนต์ของหมอผี.
บทว่า ภูริวิชฺชา ได้แก่มนต์ที่คนอยู่ในบ้านเรือนจะต้องเรียนไว้.
บทว่า อหิวิชฺชา ได้แก่วิชารักษาคนถูกงูกัด และวิชาเรียกงู.
บทว่า วิสวิชฺชา ได้แก่วิชาที่ใช้รักษาพิษเก่าหรือรักษาพิษใหม่
หรือใช้ทำพิษอย่างอื่น.
บทว่า วิจฺฉิกวิชฺชา ได้แก่วิชารักษาแมลงป่องต่อย.
แม้ในวิชาว่าด้วยหนู ก็นัยนี้แหละ.
บทว่า สกุณวิชฺชา ได้แก่รู้เสียงนก โดยรู้เสียงร้องและการไป
เป็นต้น ของสัตว์มีปีกและไม่มีปีก และสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า.
บทว่า วายสวิชฺชา ได้แก่รู้เสียงร้องของกา. ความรู้นั้น เป็น
ตำราแผนกหนึ่งทีเดียว ฉะนั้น จึงได้ตรัสไว้แผนกหนึ่ง.
บทว่า ปกฺกชฺฌาน ได้แก่วิชาแก่คิด อธิบายว่า เป็นความรู้
ในสิ่งที่ตนไม่เห็น ในบัดนี้ เป็นไปอย่างนี้ว่า คนนี้จักเป็นอยู่ได้เท่านี้
คนนี้เท่านี้.
บทว่า สวปริตฺตาน ได้แก่วิชาแคล้วคลาด คือ เป็นวิชาทำให้
ลูกศรไม่มาถูกตนได้.
บทว่า มิคจกฺก นี้ ตรัสรวมสัตว์ทุกชนิด โดยที่รู้เสียงร้องของ
นกและสัตว์ ๔ เท้าทั้งหมด.
ในการทายลักษณะแก้วมณีเป็นต้น มีอธิบายดังนี้
สมณพราหมณ์บางพวกประกอบเนือง ๆ ซึ่งการทายลักษณะแก้วมณี
เป็นต้น ด้วยอำนาจสีและสัณฐานเป็นต้น อย่างนี้ว่า แก้วมณีอย่างนี้ดี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 226
อย่างนี้ไม่ดี เป็นเหตุ ไม่เป็นเหตุ ให้เจ้าของปราศจากโรคและมีความ
ยิงใหญ่เป็นต้น.
ในการทายลักษณะนั้น คำว่า อาวุธ ได้แก่เว้นของมีคมมีดาบ
เป็นต้น นอกนั้นชื่อว่าอาวุธ.
แม้การทายลักษณะหญิงเป็นต้น ก็พึงทราบโดยความเจริญและความ
เสื่อมของตระกูลที่หญิงชายเป็นต้นเหล่านั้นอยู่.
ส่วนในการทายลักษณะแพะเป็นต้น พึงทราบความต่างกันดังนี้ว่า
เนื้อของสัตว์มีแพะเป็นต้น อย่างนี้ควรกิน อย่างนี้ไม่ควรกิน.
อนึ่ง ในการทายลักษณะเหี้ยนี้ พึงทราบความต่างกันแม้ในภาพ
จิตรกรรมและเครื่องประดับเป็นต้น แม้ดังนี้ว่า เมื่อมีเหี้ยอย่างนี้ จะ
มีผลอันนี้.
และในข้อนี้ มีเรื่องดังต่อไปนี้.
ได้ยินว่า ที่วัดแห่งหนึ่ง เขาเขียนภาพจิตรกรรม เป็นรูปเหี้ย
กำลังพ่นไฟ ตั้งแต่นั้นมาภิกษุทั้งหลายเกิดทะเลาะกันใหญ่. ภิกษุอาคันตุกะ
รูปหนึ่ง เห็นภาพนั้นเข้า จึงลบเสีย ตั้งแต่นั้นมา การทะเลาะก็เบาลง.
การทายลักษณะช่อฟ้า พึงทราบโดยเป็นช่อฟ้าเครื่องประดับบ้าง
ช่อฟ้าเรือนบ้าง.
การทายลักษณะเต่า ก็เช่นเดียวกับการทายลักษณะเหี้ยนั่นเอง.
การทายลักษณะเนื้อ ตรัสรวมสัตว์ทุกชนิดโดยลักษณะของสัตว์
๔ เท้าทั้งหมด.
คำว่า รฺ นิยฺยาน ภวิสฺสติ ได้แก่พยากรณ์การเสด็จประพาส
ของพระราชาทั้งหลายอย่างนี้ว่า พระราชาพระองค์โน้นจักเสด็จออกโดย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 227
วันโน้น โดยฤกษ์โน้น. ทุกบทมีนัยดังนี้ จึงอธิบายในบทนี้บทเดียว.
ส่วนบทว่า อนิยฺยาน ในที่นี้อย่างเดียว ได้แก่การที่พระราชา
เสด็จไปพักแรมแล้วกลับมา.
คำว่า พระราชาภายในจักเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย
ความว่า พยากรณ์การเข้าประชิดและการถอยของพระราชาทั้งหลายอย่างนี้
ว่า พระราชาของพวกเราภายในพระนครจักเข้าประชิดพระราชาภายนอก
ผู้เป็นข้าศึก ลำดับนั้น พระราชาภายนอกพระองค์นั้นจักถอย. แม้ใน
บทที่สอง ก็นัยนี้แหละ. ความชนะและความแพ้ปรากฏแล้วเทียว.
เรื่องจันทรคราสเป็นต้น พึงทราบโดยพยากรณ์ว่า ราหูจักถึงจันทร์
ในวันโน้น. อนึ่ง แม้ดาวนักษัตรร่วมจับดาวอังคารเป็นต้น ก็ชื่อ
นักษัตรคราสนั่นเอง.
บทว่า อุกฺกาปาโต ได้แก่คบไฟตกจากอากาศ.
บทว่า ทิสาฑาโห ได้แก่ทิศมืดคลุ้มราวกะอากูลด้วยเปลวไฟและ
เปลวควันเป็นต้น.
บทว่า เทวทุนฺทุภิ ได้แก่เมฆคำรามหน้าแล้ง.
บทว่า อุคฺคมน ได้แก่ขึ้น.
บทว่า โอคฺคมน ได้แก่ตก.
บทว่า สงฺกิเลส แปลว่า ไม่บริสุทธิ์.
บทว่า โวหาน แปลว่า บริสุทธิ์.
บทว่า เอว วิปาโก ความว่า จักนำสุขและทุกข์ต่าง ๆ อย่างนี้มา
ให้แก่โลก.
บทว่า สุวุฏฺิกา ความว่า ฝนตกต้องตามฤดูกาล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228
บทว่า ทุพฺพุฏฺิกา ความว่า ฝนตกเป็นครั้งคราว อธิบายว่า
ฝนน้อย.
บทว่า มุทฺธา ท่านกล่าวถึงการนับด้วยหัวแม่มือ.
บทว่า คณนา ได้แก่การนับไม่ขาดสาย.
บทว่า สงฺขาน ได้แก่การนับรวมโดยการบวกและการคูณเป็นต้น.
ผู้ที่ชำนาญการนับรวมนั้น พอเห็นต้นไม้ ก็รู้ได้ว่า ในต้นนี้มีใบเท่านี้.
บทว่า กาเวยฺย ความว่า กิริยาที่กวีทั้ง ๔ พวก ดังที่ตรัสไว้
ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กวีมี ๔ พวกเหล่านี้ คือ จินตากวี สุตกวี
อรรถกวี ปฏิภาณกวี ดังนี้ แต่งกาพย์เพื่อเลี้ยงชีพ โดยความคิดของ
ตนบ้าง โดยสดับเพราะได้ฟังเรื่องมีอาทิว่า ได้มีพระราชาพระนาม
เวสสันดร ดังนี้บ้าง โดยเนื้อความอย่างนี้ว่า เรื่องนี้มีเนื้อความอย่างนี้
เราจักแต่งเรื่องนั้นอย่างนี้ ดังนี้บ้าง โดยปฏิภาณที่เกิดขึ้นตามเหตุการณ์
อย่างนี้ว่า เราได้เห็นเหตุการณ์บางอย่าง จักแต่งกาพย์ให้เข้ากันได้กับ
เรื่องนั้นบ้าง. เรื่องที่เกี่ยวกับโลกข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วเทียว.
ที่ชื่อว่า ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ได้แก่ให้ฤกษ์ทำพิธีอาวาหมงคลว่า
ท่านทั้งหลายจงนำเจ้าสาวจากตระกูลโน้นมาให้เจ้าบ่าวผู้นี้โดยฤกษ์โน้น.
บทว่า วิวาห ความว่า ให้ฤกษ์ทำพิธีวิวาหมงคลว่า ท่านทั้งหลาย
จงนำเจ้าสาวนี้ไปให้เจ้าบ่าวโน้นโดยฤกษ์โน้น เขาจักมีความเจริญ.
บทว่า สวทน ความว่า ที่ชื่อว่าฤกษ์ส่งตัว ได้แก่พิธีทำให้
คู่บ่าวสาวปรองดองกันอย่างนี้ว่า วันนี้ฤกษ์ดี เธอทั้ง ๒ จงปรองดองกัน
ในวันนี้แหละ เธอทั้ง ๒ จักไม่หย่าร้างกัน ด้วยประการฉะนี้.
ที่ชื่อว่า วิวทน ได้แก่ถ้าสามีภรรยาประสงค์จะหย่าร้างกัน ก็ดูฤกษ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 229
ทำพิธีหย่าร้างอย่างนี้ว่า ท่านจงหย่าขาดกันในวันนี้แหละ ท่านจักไม่ร่วม
กันอีก ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สงฺกิรณ ความว่า ดูฤกษ์ให้รวบรวมทรัพย์อย่างนี้ว่า
ทรัพย์ที่ให้กู้ยืมก็ดี เป็นหนี้ก็ดี ท่านจงเรียกเก็บเสียในวันนี้ เพราะ
ทรัพย์ที่เรียกเก็บในวันนี้นั้นจักถาวร.
บทว่า วิกิรณ ความว่า ดูฤกษ์หาประโยชน์เองหรือให้คนอื่นหา
ประโยชน์อย่างนี้ว่า ถ้าท่านต้องการจะหาประโยชน์ด้วยการลงทุนและให้
กู้ยืมเป็นต้น ทรัพย์ที่หาประโยชน์ในวันนี้จะเพิ่มเป็น ๒ เท่า ๔ เท่า.
บทว่า สุภคกรณ ความว่า ดูฤกษ์ทำให้เป็นที่รัก ที่ชอบใจ
หรือทำให้มีสิริ.
บทว่า ทุพฺภคกรณ ความตรงกันข้ามกับบท สุภคกรณ นั้น.
บทว่า วิรุทฺธคพฺภกรณ ความว่า กระทำครรภ์ที่ตก ที่ทำลาย
ที่แท้ง ที่ตาย อธิบายว่า ให้ยาเพื่อไม่ให้แม่เสียหายต่อไป.
ก็ครรภ์ย่อมพินาศด้วยเหตุ ๓ อย่าง คือ ลม เชื้อโรค กรรม.
ในครรภ์พินาศ ๓ อย่างนั้น เมื่อครรภ์พินาศด้วยลม ต้องให้ยาเย็น ๆ
สำหรับระงับ เมื่อพินาศด้วยเชื้อโรค ต้องต่อต้านเชื้อโรค แต่เมื่อพินาศ
ด้วยกรรม แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่อาจจะห้ามได้.
บทว่า ชิวฺหานิพนฺธน ได้แก่ร่ายมนต์ผูกลิ้นไว้.
บทว่า หนุสหนน ได้แก่ร่ายมนต์ผูกปาก ผูกไว้อย่างที่ไม่สามารถ
จะให้คางเคลื่อนไหวได้.
บทว่า หตฺถาภิชปฺปน ได้แก่ร่ายมนต์ทำให้มือทั้ง ๒ สั่นรัว.
ได้ยินว่า เมื่อยืนอยู่ภายใน ๗ ก้าว ร่ายมนต์นั้นแล้ว อีกคนหนึ่งจะมือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 230
สั่นรัว พลิกไปมา.
บทว่า กณฺณชปฺปน ได้แก่ร่ายเวท ทำให้หูทั้ง ๒ ไม่ได้ยินเสียง.
ได้ยินว่า ร่ายมนต์นั้นแล้วกล่าวตามประสงค์ในโรงศาล ฝ่ายปรปักษ์
ไม่ได้ยินเสียงนั้น ดังนั้น จึงไม่อาจโต้ตอบได้เต็มที่.
บทว่า อาทาสปญฺห ได้แก่เชิญเทวดาลงในกระจก แล้วถาม
ปัญหา.
บทว่า กุมารีปญฺห ได้แก่เชิญเทวดาเข้าในร่างของเด็กสาว แล้ว
ถามปัญหา.
บทว่า เทวปญฺห ได้เเก่เชิญเทวดาเข้าในร่างของนางทาสี แล้ว
ถามปัญหา.
บทว่า อาทิจฺจุปฏฺาน ได้แก่บำเรอพระอาทิตย์เพื่อประโยชน์
ในการดำรงชีพ.
บทว่า มหตุปฏฺาน ได้แก่บำเรอท้าวมหาพรหมเพื่อประโยชน์
อย่างเดียวกัน.
บทว่า อพฺภุชฺชลน ได้แก่ร่ายมนต์พ่นเปลวไฟออกจากปาก.
บทว่า สิริวฺหายน ได้แก่เชิญขวัญเข้าตัวอย่างนี้ว่า ขวัญเอย
จงมาอยู่ในร่างเราเอย.
บทว่า สนฺติกมฺม ได้แก่ไปเทวสถานทำพิธีสัญญาบนบาน ซึ่ง
จะต้องทำในเวลาที่สำเร็จว่า ถ้าเรื่องนี้จักสำเร็จแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจัก
แก้บนแก่ท่าน ด้วยสิ่งนี้ ๆ. และเมื่อเรื่องนั้นสำเร็จแล้ว กระทำตามนั้น
ชื่อว่า ทำพิธีแก้บน.
บทว่า ภูริกมฺม ได้แก่สอนการใช้มนต์ที่ผู้อยู่ในบ้านเรือนจะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 231
ต้องเรียน.
ในข้อว่า วสฺสกมฺม โวสฺสกมฺม นี้ บทว่า วสฺโส ได้แก่
ชาย บทว่า โวสฺโส ได้แก่บัณเฑาะก์. การทำบัณเฑาะก์ให้เป็นชาย
ชื่อ วัสสกรรม การทำชายให้เป็นบัณเฑาะก์ ชื่อ โวสสกรรม ด้วยประการ
ฉะนี้. ก็เมื่อทำดังนั้น ย่อมให้ถึงเพียงภาวะที่ตัดเท่านั้น ไม่อาจทำให้
เพศหายไปได้ บทว่า วตฺถุกมฺม ได้แก่ทำพิธีสร้างเรือนในพื้นที่ที่ยัง
มิได้ตกแต่ง.
บทว่า วตฺถุปริกรณ ได้แก่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงนำสิ่งนี้ ๆ มา
ดังนี้แล้ว ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่.
บทว่า อาจมน ได้แก่ใช้น้ำล้างปากให้สะอาด.
บทว่า นฺหาปน ได้แก่อาบน้ำมนต์ให้คนอื่น.
บทว่า ชูหน ได้แก่ทำพิธีบูชาไฟ เพื่อประโยชน์แก่พวกเขา.
บทว่า วมน ได้แก่ทำยาสำรอก.
แม้ในการปรุงยาถ่าย ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อุทฺธวิเรจน ได้แก่ปรุงยาถ่ายโรคเบื้องบน.
บทว่า อโธวิเรจน ได้แก่ปรุงยาถ่ายโรคเบื้องล่าง.
บทว่า สีสวิเรจน ได้แก่ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ.
บทว่า กณฺณเตล ได้แก่หุงน้ำมันยาเพื่อสมานหู หรือเพื่อบำบัด
แผล.
บทว่า เนตฺตปฺปาน ได้แก่น้ำมันหยอดตา.
บทว่า นตฺถุกมฺม ได้แก่ใช้น้ำมันปรุงเป็นยานัตถุ์.
บทว่า อญฺชน ได้แก่ปรุงยาทากัดเป็นด่างสามารถลอกได้ ๒
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 232
หรือ ๓ ชั้น.
บทว่า ปจฺจญฺชน ได้แก่ปรุงยาเย็นระงับ.
บทว่า สาลากิย ได้แก่เครื่องมือของจักษุแพทย์
บทว่า สลฺลกตฺติย ได้แก่เครื่องมือของศัลยแพทย์.
กิจกรรมของแพทย์รักษาโรคเด็ก เรียกว่า กุมารเวชกรรม.
ด้วยคำว่า มูลเภสชฺชาน อนุปฺปทาน (ใส่ยา) นี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงถึงกายบำบัด.
บทว่า โอสธีน ปฏิโมกฺโข ได้แก่ใส่ด่างเป็นต้น เมื่อแผลได้ที่
ควรแก่ด่างเป็นต้นนั้น ก็เอาต่างเป็นต้นนั้นออกไป.
จบมหาศีลเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ทรงพรรณนาศีล ๓ ประการโดยพิสดาร
โดยอนุสนธิ แห่งคำสรรเสริญที่พรหมทัตมาณพกล่าว ด้วยประการฉะนี้
แล้ว บัดนี้ ทรงเริ่มประกาศความว่างเปล่าโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ยังมีธรรมอื่น ๆ ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ดังนี้
โดยอนุสนธิแห่งคำสรรเสริญที่ภิกษุสงฆ์กล่าว.
คำว่า ธรรม ในพระบาลีนั้น ความว่า ธรรมศัพท์ เป็นไปใน
อรรถทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม
นิสัตตธรรม.
จริงอยู่ ธรรมศัพท์เป็นไปในคุณธรรม เช่นในประโยคมีอาทิว่า
ธรรมแลอธรรมทั้ง ๒ หามีผลเสมอกันไม่ อธรรม
นำสัตว์ไปนรก ธรรมให้สัตว์ถึงสุคติ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 233
เป็นไปในเทศนาธรรม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น . . . . . . แก่เธอทั้งหลาย.
เป็นไปในปริยัติธรรม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ.
เป็นไปในนิสัตตธรรม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ก็ในสมัยนั้นแล
ธรรมมีอยู่ คือ ขันธ์ทั้งหลายมีอยู่.
ก็ในพระบาลีนี้ ธรรมศัพท์เป็นไปในคุณธรรม. เพราะฉะนั้น
พึงเห็นความในพระบาลีนี้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตยังมีคุณ
อื่น ๆ อีก.
บทว่า คมฺภีรา ความว่า มีที่ตั้งอันญาณของบุคคลอื่นหยั่งไม่ได้
ยกเว้นตถาคต เหมือนมหาสมุทรอันปลายจะงอยปากยุงหยั่งไม่ถึงฉะนั้น.
ที่ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ่งนั่งเอง.
ที่ชื่อว่า ได้ยาก เพราะเห็นได้ยากนั่นเอง.
ที่ชื่อว่า สงบ เพราะดับความเร่าร้อนทั้งหมด.
ก็ชื่อว่า สงบ แม้เพราะเป็นไปในอารมณ์ที่สงบ.
ที่ชื่อว่า ประณีต เพราะทำให้ไม่รู้จักอิ่ม ดุจโภชนะที่มีรสอร่อย
ที่ชื่อว่า คาดคะเนเอาไม่ได้ เพราะจะใช้การคะเนเอาไม่ได้ เหตุ
เป็นวิสัยแห่งญาณอันสูงสุด.
ที่ชื่อว่า ละเอียด เพราะมีสภาพละเอียดอ่อน.
ที่ชื่อว่า รู้ได้เฉพาะบัณฑิต เพราะบัณฑิตเท่านั้นพึงรู้ เหตุมิใช่
วิสัยของพวกพาล.
ข้อว่า เย ตถาคโต สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 234
ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ตถาคตเป็นผู้ที่มิใช่มีบุคคลอื่นแนะนำ ก็ทำให้ประจักษ์
ด้วยพระปรีชาญาณอันวิเศษยิ่งเอาทีเดียว แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง คือ
แสดง กล่าว ประกาศ.
บทว่า เยหิ ความว่า ด้วยคุณธรรมเหล่าใด.
บทว่า ยถาภุจฺจ แปลว่า ตามเป็นจริง.
ข้อว่า วณฺณ สมฺมา วทมานา วเทยฺยุ ความว่า ผู้ประสงค์
จะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวได้โดยชอบ อธิบายว่า อาจกล่าวได้
ไม่บกพร่อง.
ถามว่า ก็และธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญอย่างนี้นั้น
ได้แก่อะไร ?
ตอบว่า ได้แก่พระสัพพัญญุตญาณ.
ถามว่า ถ้าอย่างนั้น ทำไมถึงทรงท่านิเทศเป็นพหุวจนะ.
ตอบว่า เพราะประกอบด้วยจิตมากดวง และมีอารมณ์มากมาย.
จริงอยู่ พระสัพพัญญุตญาณนั้น ได้ในมหากิริยาจิตที่เป็นญาณ-
สัมปยุต ๔ ดวง. และธรรมอะไร ๆ ที่ไม่ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของพระสัพ-
พัญญุตญาณนั้น หามิได้. สมดังคำที่พระสารีบุตรกล่าวไว้เป็นต้นว่า ชื่อว่า
พระสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมทั้งหมด กล่าวคือ ธรรมส่วนอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องขัดข้องใน
พระญาณนั้น.
ทรงทำนิเทศเป็นพหุวจนะ เพราะประกอบด้วยจิตมากดวง และ
เพราะมีอารมณ์มากมายด้วยอำนาจที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ด้วยประการฉะนั้นแล.
ส่วนคำว่า อญฺเว นี้เป็นคำกำหนดไว้ในพระบาลีนี้ พึงประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 235
กับบททุกบทอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าอื่นมิใช่ธรรมมีเว้นจากปาณาติบาต
เป็นต้น ลึกซึ้งจริง ๆ ไม่ใช่ตื้น.
ก็สาวกบารมีญาณลึกซึ้ง แต่ปัจเจกโพธิญาณยังลึกซึ้งกว่านั้น
ฉะนั้น จึงไม่มีคำกำหนดไว้ในสาวกบารมีญาณนั้น และพระสัพพัญญุต-
ญาณยังลึกซึ้งกว่าปัจเจกโพธิญาณนั้น ฉะนั้น จึงไม่มีคำกำหนดไว้ใน
ปัจเจกโพธิญาณนั้น ส่วนญาณอื่นที่ลึกซึ้งกว่าพระสัพพัญญุตญาณนี้ไม่มี
ฉะนั้น จึงได้คำกำหนดว่า ลึกซึ้งทีเดียว. พึงทราบคำทั้งหมดว่า เห็น
ได้ยาก รู้ตามได้ยาก เหมือนอย่างนั้น.
ก็คำถามในบทว่า กตเม จ เต ภิกฺขเว นี้ เป็นคำถามเพื่อ
ประสงค์จะแก้ธรรมเหล่านั้น.
ในคำเป็นต้นว่า สนฺติ ภิกฺขเว เอเก สมณพฺราหฺมณา ดังนี้
เป็นคำตอบคำถาม.
หากจะมีคำถามว่า ก็เหตุไรจึงทรงเริ่มคำคอบคำถามนี้อย่างนี้ ?
ตอบว่า การที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงถึงฐานะ ๔ ประการ
แล้วทรงบันลือเป็นการยิ่งใหญ่ พระปรีชาญาณก็ติดตามทา ความที่พระ
พุทธญาณยิ่งใหญ่ย่อมปรากฏ พระธรรมเทศนาลึกซึ้ง ตรึงตราไว้ด้วย
พระไตรลักษณ์ ประกอบด้วยสุญญตา.
ฐานะ ๔ ประการอะไรบ้าง ?
คือ ทรงบัญญัติพระวินัย ประการ ๑ ทรงกำหนดธรรมอันเป็น
ภูมิพิเศษ ประการ ๑ ทรงจำแนกปัจจยาการ ประการ ๑ ทรงรู้ถึงลัทธิอื่น
ประการ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 236
เพราะฉะนั้น ธรรมดาว่าการทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อเรื่องลง
กันได้อย่างนี้ว่า นี้โทษเบา นี้โทษหนัก นี้เป็นความผิดแก้ไขไม่ได้ นี้
เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ นี้เป็นอาบัติถึงชั้นเด็ดขาด นี้เป็นอาบัติถึง
ขั้นอยู่กรรม นี้เป็นอาบัติขั้นแสดง นี้เป็นโลกวัชชะ นี้เป็นปัณณัตติวัชชะ
ควรบัญญัติข้อนี้เข้าในเรื่องนี้ ดังนี้ ในการทรงบัญญัติสิกขาบทนั้น ผู้อื่น
ไม่มีปรีชาสามารถ เรื่องนี้มิใช่วิสัยของผู้อื่น เป็นวิสัยของพระตถาคต
เท่านั้น. ดังนั้น การที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงถึงฐานะ คือ ทรงบัญญัติ
พระวินัยดังนี้ ทรงบันลือจึงเป็นการยิ่งใหญ่ พระปรีชาญาณก็ติดตามมา
ประกอบด้วยสุญญตา ดังนี้แล.
อนึ่ง คนเหล่าอื่นไม่มีปรีชาสามารถจะกล่าวจำแนกอภิธรรมปิฎก
สมันตปัฏฐานอนันตนัย ๒๔ ประการว่า ชื่อว่า สติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่า
อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่า ขันธ์ ๕ ชื่อว่า อายตนะ ๑๒ ชื่อว่า ธาตุ ๑๘
ชื่อว่า อริยสัจ ๔ ชื่อว่า อินทรีย์ ๒๒ ชื่อว่า เหตุ ๙ ชื่อว่า อาหาร ๔
ชื่อว่า ผัสสะ ๗ ชื่อว่า เวทนา ๗ ชื่อว่า สัญญา ๗ ชื่อว่า เจตนา ๗
ชื่อว่า จิต ๗ ในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กามาวจรธรรมเท่านี้ ชื่อว่า
รูปาวจรปริยาปันธรรมเท่านี้ ชื่อว่า อรูปาวจรอปริยาปันธรรมเท่านี้ ชื่อว่า
โลกิยธรรมเท่านี้ ชื่อว่า โลกุตตรธรรมเท่านี้ ดังนี้. เรื่องนี้มิใช่วิสัย
ของผู้อื่น เป็นวิสัยของพระตถาคตเท่านั้น. ดังนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทรงถึงฐานะ คือ ทรงกำหนดธรรมอันเป็นภูมิพิเศษ ทรงบันลือจึงเป็น
การยิ่งใหญ่ พระปรีชาญาณก็ติดตามมา ประกอบด้วยสุญญตา ดังนี้แล
อนึ่ง อวิชชานี้ใดเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย โดยอาการ ๙ อย่าง
คือ อวิชชานั้นเป็นปัจจัยโดยภาวะที่เกิดขึ้น ๑ เป็นปัจจัยโดยภาวะที่เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 237
ไป ๑ เป็นปัจจัยโดยภาวะที่เป็นนิมิต ๑ เป็นปัจจัยโดยความประมวลมา ๑
โดยเป็นความประกอบร่วม ๑ โดยเป็นความกังวล ๑ โดยเป็นสมุทัย ๑
โดยเป็นเหตุ ๑ โดยเป็นปัจจัย ๑
อนึ่ง สังขารเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยแก่วิญญาณเป็นต้น โดยอาการ
๙ อย่าง ดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย
ชื่อธัมมัฏฐิติญาณ อย่างไร ? คือ อวิชชาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิด
ของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไปของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งนิมิต
ของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งความประมวลมาของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่ง
การประกอบร่วมของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งความกังวลของสังขาร ๑
เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัยของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งเหตุของสังขาร ๑ เป็นที่
ตั้งแห่งปัจจัยของสังขาร ๑ อวิชชาเป็นปัจจัยโดยอาการ ๙ อย่างนี้ สังขาร
เป็นธรรมที่อาศัยกันเกิดขั้น ธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ เป็นปัจจัยและเกิด
แต่ปัจจัย ปัญญาในการกำหนดปัจจัยดังกล่าวนี้ ชื่อธัมมัฏฐิติญาณ
ทั้งอดีตกาล ทั้งอนาคตกาล อวิชชาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้นของสังขาร ๑
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสังขาร ๑ อวิชชาเป็นปัจจัยโดยอาการ ๙ อย่างนี้
สังขารเป็นธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น ธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ เป็นปัจจัยและ
เกิดแต่ปัจจัย ปัญญาในการกำหนดปัจจัยดังกล่าวนี้ ชื่อธัมมัฏฐิติญาณ
ชาติเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดของชรามรณะ ๑ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของ
ชรามรณะ ๑ ชาติเป็นปัจจัยโดยอาการ ๙ อย่างนี้ ชรามรณะเกิดแต่ปัจจัย
ธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ เป็นปัจจัยและเกิดแต่ปัจจัย ปัญญาในการกำหนด
ปัจจัยดังกล่าวนี้ ชื่อธัมมัฏฐิติญาณ ดังนี้. คนเหล่าอื่นไม่มีปรีชาสามารถ
ที่จะกล่าวจำแนกปฏิจจสมุปบาทอันมีวัฏฏะ ๓ มีกาล ๓ มีสนธิ ๓ มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 238
สังเขป ๔ มีอาการ ๒๐ ซึ่งเป็นไปโดยความเป็นปัจจัย โดยประการนั้น ๆ
แก่ธรรมนั้น ๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ได้ นี้มิใช่วิสัยของผู้อื่น เป็นวิสัย
ของพระตถาคตเท่านั้น. ดังนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงถึงฐานะคือ
ปัจจยาการ ทรงบันลือจึงเป็นการยิ่งใหญ่ พระปรีชาญาณก็ติดตามมา
ประกอบด้วยสุญญตา ดังนี้แล.
อนึ่ง คนพวกที่ชื่อว่า สัสสตวาทะ มี ๔
คนพวกที่ชื่อว่า เอกัจจสัสสตวาทะ มี ๔
คนพวกที่ชื่อว่า อันตาอันติกะ มี ๔
คนพวกที่ชื่อว่า อมราวิกเขปะ มี ๔
คนพวกที่ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนิกะ มี ๒
คนพวกที่ชื่อว่า สัญญีวาทะ มี ๑๖
คนพวกที่ชื่อว่า อสัญญีวาทะ มี ๘
คนพวกที่ชื่อว่า เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ มี ๘
คนพวกที่ชื่อว่า อุจเฉทวาทะ มี ๗
คนพวกที่ชื่อว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ มี ๕
คนเหล่านั้นอาศัยทิฏฐินี้แล้ว ยึดถือทิฏฐินี้ ฉะนั้น จึงรวมเป็น
ทิฏฐิ ๖๒ คนเหล่าอื่นไม่มีปรีชาสามารถที่จะกล่าวทำลายทิฏฐิเหล่านั้น
สะสางไม่ให้รกได้ นี้มิใช่วิสัยของผู้อื่น เป็นวิสัยของพระตถาคตเท่านั้น
ดังนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงรู้ถึงฐานะข้อที่เป็นลัทธิอื่น ดังนี้แล้ว
ทรงบันลือจึงเป็นการยิ่งใหญ่ จัดเข้าเป็นพระปรีชาญาณย่อมติดตามมา
ความที่พระพุทธญาณยิ่งใหญ่ก็ปรากฏ เทศนาย่อมลึกซึ้ง ตรึงตราไว้ด้วย
ลักษณะ ๓ ประกอบด้วยสุญญตา ดังนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 239
แต่ในที่นี้ ได้ฐานะคือลัทธิอื่น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
ธรรมราชา เมื่อทรงติดตามฐานะคือลัทธิอื่น เพื่อทรงแสดงความที่พระ
สัพพัญญุตญาณยิ่งใหญ่ และเพื่อทรงประกอบสุญญตาด้วยพระธรรมเทศนา
จึงทรงเริ่มคำถามและตอบอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง ดังนี้.
ในพระบาลีนั้น บทว่า สนฺติ ความว่า มีปรากฏเกิดขึ้น.
บทว่า ภิกฺขเว เป็นคำอาลปนะ.
บทว่า เอเก ก็คือ บางพวก.
บทว่า สมณพฺราหฺมณา ความว่า ที่ชื่อว่า สมณะ. เพราะความ
เข้าบวช ที่ชื่อว่า พราหมณ์ โดยกำเนิด. อีกอย่างหนึ่ง โลกสมมติ
อย่างนี้ว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง.
สมณพราหมณ์ ชื่อว่า ปุพฺพนฺตกปฺปิกา เพราะกำหนด คือ แยก
ขันธ์ส่วนอดีตแล้วยึดถือ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุพฺพนฺตกปฺปิกา เพราะ
การกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีอยู่แก่สมณพราหมณ์เหล่านั้น.
ศัพท์ว่า อนฺโต นี้ในพระบาลีนั้น ใช้ในอรรถ คือ ลำไส้ใหญ่
ภายใน ขอบเขต เลว สุด ส่วน.
จริงอยู่ อนฺต ศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ลำไส้ใหญ่ เช่นในประโยค
มีอาทิว่า อนฺตปูโร อุทรปูโร เต็มไส้ เต็มท้อง.
ใช้ในอรรถว่า ภายใน เช่นในประโยคมีอาทิว่า
จรนฺติ โลเก ปริวารฉนฺนา
อนฺโต อสุทฺธา พหิ โสภมานา
คนผู้ไม่สำรวม ภายในไม่บริสุทธิ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 240
งามแต่ภายนอก แวดล้อมด้วยบริวาร
เที่ยวไปในโลก.
ใช้ในอรรถว่า ขอบเขต เช่นในประโยคมีอาทิว่า
กายพนฺธนสฺส อนฺโต ชิรติ สา หริตนฺต วา ปถนฺต วา
ขอบประคดเอวเก่า ไฟนั้น มาถึงเขตของเขียวก็ดี เขตทางก็ดี.
ใช้ในอรรถว่า เลว เช่นในประโยคมีอาทิว่า
อนฺตมิท ภิกฺขเว ชีวิกาน ยทิท ปิณฺโฑลฺย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการเลี้ยงชีพทั้งหลาย
การเลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนี้เลว.
ใช้ในอรรถว่า สุด เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส
นี้แหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์.
จริงอยู่ ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งปวง เป็นส่วนสุด ท่านเรียกว่า
ที่สุดแห่งทุกข์.
ใช้ในอรรถว่า ส่วนอื่น เช่นในประโยคมีอาทิว่า
เอเสวฺโต ทุกฺขสฺส นี่เป็นส่วนอื่นของทุกข์. อนึ่ง ส่วนอื่น
ของทุกข์ที่นับว่าเป็นปัจจัยทุกอย่างเรียกว่า ส่วนสุด. ใช้ในอรรถว่า ส่วน
เช่นในประโยคมีอาทิว่า
สกฺกาโย โข อาวุโส เอโก อนฺโต
ดูก่อนอาวุโส สักกายะแล เป็นส่วนหนึ่ง.
แม้ในที่นี้ อนฺต ศัพท์ นี้นั้น ก็เป็นไปในอรรถว่า ส่วน.
แม้ กปฺป ศัพท์ ก็เป็นไปในอรรถหลายอย่าง เช่น อายุกัป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 241
เลสกัป และวินัยกัป เป็นต้น อย่างนี้ว่า ติฏฺตุ ภนฺเต ภควา กปฺป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป
เถิด อตฺถิ กปโป นิปชฺชิตุ มีเลสเพื่อจะนอน กปฺปกเตน อกปฺปกต
สสิพฺพิต โหติ จีวรที่ยังไม่ได้ทำเครื่องหมายไว้ เย็บกับจีวรที่ทำเครื่อง
หมายไว้แล้ว. ในที่นี้พึงทราบว่า เป็นไปในอรรถว่า ตัณหาและทิฏฐิ.
ข้อนี้แม้พระสารีบุตรก็ได้กล่าวไว้ว่า โดยอุทานว่า กปฺโป กัปปะ มี
๒ อย่าง คือ ตัณหากัปปะ ข้อกำหนดคือตัณหา และทิฏฐิกัปปะ
ข้อกำหนดคือทิฏฐิ ฉะนั้น พึงทราบความในคำว่า ปุพฺพนฺตกปฺปิกา นี้
อย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีตโดยเป็นตัณหา
และทิฏฐิ ตั้งอยู่แล้ว เหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ปุพพนฺต-
กปฺปิกา ผู้กำหนดขันธ์ส่วนอดีต.
ที่ชื่อว่า ปุพฺพนฺตานุทิฏฺิโน เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ผู้
กำหนดขันธ์ส่วนอดีตตั้งอยู่อย่างนี้ มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีตนั่นเอง
โดยที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ. สมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ เมื่อมา
ปรารภอาศัย อ้างอิงขันธ์ส่วนอดีตนั้น ทำแม้คนอื่นให้เห็นไปด้วย
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายอย่าง ด้วยเหตุ ๑๘ ประการ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกวิหิตานิ ได้แก่หลายอย่าง.
บทว่า อธิมุตติปพานิ ได้แก่บทที่เป็นชื่อ.
อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ เรียกว่า อธิมุตติ เพราะเป็นไปครอบงำ
อรรถที่เป็นจริง ไม่ถือเอาตามสภาวะที่เป็นจริง. บทแห่งอธิมุตติทั้งหลาย
ชื่อว่า อธิมุตติปทานิ ได้แก่คำที่แสดงทิฏฐิ.
บทว่า อฏฺารสหิ วตฺถูหิ ได้แก่โดยเหตุ ๑๘ ประการ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 242
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิว่า สนฺติ ภิกฺขเว เพื่อ
ตรัสถามโดยนัยมีอาทิว่า เต จ โภนฺโต แล้วจำแนกแสดงวัตถุเหล่านั้น
เพื่อประสงค์จะแสดงวัตถุ ๑๘ ที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวย้ำ.
ในพระบาลีนั้น ที่ชื่อว่า วาทะ เพราะเป็นเครื่องกล่าว. คำว่า
วาทะ นี้ เป็นชื่อแห่งทิฏฐิ.
ที่ชื่อว่า สัสสตวาทะ เพราะมีวาทะว่าเที่ยง. อธิบายว่า เป็นพวก
มีความเห็นว่าเที่ยง.
แม้บทอื่น ๆ นอกจากนี้ ที่มีรูปอย่างนี้ ก็พึงทราบความโดยนัย
นี้แหละ.
คำว่า สสฺสต อตฺตานญฺจ โลกญฺจ ความว่า ยึดขันธ์มีรูปเป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่ง ว่าเป็นอัตตาและว่าเป็นโลก แล้วบัญญัติอัตตาและโลก
นั้นว่ายั่งยืน ไม่ตาย เที่ยง มั่นคง ดังที่ตรัสไว้ว่า บัญญัติรูปว่าเป็น
อัตตาและโลก บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง อนึ่ง บัญญัติเวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอัตตาและโลก บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
ในคำมีอาทิว่า อาตปฺปมนฺวาย มีอธิบายว่า ความเพียรชื่อว่า
อาตัปปะ. โดยภาวะที่ยังกิเลสให้เร่าร้อน ความเพียรนั้นแหละ ชื่อว่า
ปธานะ โดยเป็นความตั้งมั่น ชื่อว่า อนุโยคะ โดยที่ประกอบอยู่บ่อย ๆ
ความว่า เป็นไปตาม คืออาศัย คือพึ่งพิงความเพียรทั้ง ๓ ประเภท
ดังพรรณนามาฉะนี้.
ความไม่อยู่ปราศแห่งสติ เรียกว่า ความไม่ประมาท
บทว่า สมฺมามนสิกาโร มีอธิบายว่า มนสิการโดยอุบาย คือ
มนสิการครั้งแรก โดยความได้แก่ปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 243
ก็ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สำเร็จแก่ผู้ที่ตั้งอยู่ในมนสิการใด
มนสิการนี้ท่านประสงค์เอาว่า มนสิการ ในที่นี้. ฉะนั้น ในพระบาลีนี้
จึงมีความย่อดังนี้ว่า อาศัยความเพียร สติ และปัญญา.
บทว่า ตถารูป ความว่า มีชาติอย่างนั้น.
บทว่า เจโตสมาธึ ความว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต .
บทว่า ผุสติ ความว่า ประสบ คือได้เฉพาะ.
ข้อว่า ยถา สมาหิเต จิตฺเต ความว่า สมาธิซึ่งเป็นเหตุตั้งจิตไว้
ชอบ คือ ตั้งไว้ด้วยดี.
ความแห่งบทว่า อเนกวิหิต ปุพฺเพนิวาส เป็นต้น ข้าพเจ้ากล่าว
ไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
คำว่า โส เอวมาห ความว่า เขาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอานุภาพ
แห่งฌานอย่างนี้ มีทิฏฐิ จึงกล่าวอย่างนี้ .
บทว่า วญฺโฌ ความว่า ไม่มีผล คือไม่ให้กำเนิดแก่ใคร ๆ ดุจ
สัตว์เลี้ยงเป็นหมันและตาลเป็นหมันเป็นต้น ฉะนั้น ด้วยบทว่า วญฺโฌ นี้
เขาจึงปฏิเสธภาวะที่จะให้กำเนิดรูปเป็นต้นแห่งคุณวิเศษมีฌานเป็นต้น ที่
ยึดถือว่าเป็นอัตตาและเป็นโลก.
ที่ชื่อว่า กูฏฏฺโ เพราะตั้งมั่นดุจยอดภูเขา.
ข้อว่า เอสิกฏฺาย ิโต ความว่า ตั้งมั่นเป็นเหมือนเสาระเนียด
ที่ตั้งอยู่ เหตุนั้น จึงชื่อว่า เอสิกฏฺายิฏฺิโต. อธิบายว่า เสาระเนียด
ที่ฝังแน่นย่อมตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ฉันใด อัตตาและโลกก็ตั้งมั่นเหมือน
ฉันนั้น. ด้วยบททั้งสอง ย่อมแสดงว่าโลกไม่พินาศ. แต่อาจารย์บางพวก
กล่าวเป็นพระบาลีว่า อีสิกฏฺายิฏฺิโต แล้วกล่าวว่า ตั้งอยู่ดุจไส้หญ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 244
ปล้อง. ในคำของอาจารย์บางพวกนั้น มีอธิบายดังนี้ว่า คำที่กล่าวว่า
ย่อมเกิด นั้น มีอยู่ ย่อมออกไปดุจไส้ออกจากหญ้าปล้องตั้งอยู่ เพราะเหตุ
ที่ตั้งอยู่ดุจไส้หญ้าปล้องตั้งอยู่ ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงแล่นไป คือ
จากภพนี้ไปในภพอื่น.
บทว่า สสรนฺติ ความว่า ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ.
บทว่า จวนฺติ ความว่า ถึงการนับอย่างนี้.
บทว่า อุปปชฺชนฺติ ก็เหมือนกัน.
แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ด้วยการที่ท่านได้กล่าวไว้ในเบื้องต้น
ว่า โลกและอัตตาเที่ยง ดังนี้ มาบัดนี้กลับกล่าวว่า ส่วนสัตว์เหล่านั้น
ย่อมแล่นไป ดังนี้เป็นต้น สมณะ หรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐินี้ ชื่อว่า ย่อม
ทำลายวาทะของตนด้วยตนเอง ชื่อว่า ความเห็นของผู้มีทิฏฐิ ไม่เนื่องกัน
หวั่นไหวเหมือนหลักที่ปักประจำในกองแกลบ และในความเห็นนี้ ย่อม
มีทั้งดีทั้งไม่ดี เหมือนชิ้นขนมคูถและโคมัยเป็นต้น ในกระเช้าของ
คนบ้า
บทว่า สสฺสติ ในคำว่า อตฺถิ เตฺวว สสฺสติสม นี้ มีความว่า ย่อม
สำคัญ แผ่นดินใหญ่ ว่าเที่ยง เพราะมีอยู่เป็นนิจ แม้ภูเขาสิเนรุ
พระจันทร์ พระอาทิตย์ ก็สำคัญอย่างนั้น ฉะนั้น เมื่อสำคัญอัตตาเสมอ
ด้วยสิ่งเหล่านั้นจึงกล่าวว่า แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดังนี้.
บัดนี้ สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิ เมื่อจะแสดงเหตุเพื่อให้สำเร็จ
ปฏิญญาว่า อัตตาและโลกเที่ยงดังนี้เป็นต้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะข้าพเจ้าอาศัยความเพียร ดังนี้.
ในพระบาลีนั้น คำว่า อิมินามห เอต ชานามิ ความว่า สมณะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 245
หรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิย่อมแสดงว่าด้วยการบรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้
ดังนี้โดยประจักษ์ มิใช่ข้าพเจ้ากล่าวโดยเพียงความเชื่ออย่างเดียว ดังนี้.
ก็ ม อักษร ในพระบาลีว่า อิมินา มห เอต ชานามิ นี้ ท่านกล่าว
เพื่อทำบทสนธิ.
คำว่า อิท ภิกฺขเว ปม าน ความว่า บรรดาฐานะทั้ง ๔ ที่
ตรัสไว้ด้วยศัพท์ว่า ด้วยเหตุ ๔ อย่าง นี้เป็นฐานะที่ ๑ อธิบายว่า การ
ระลึกชาติได้เพียงแสนชาติดังนี้ เป็นเหตุที่ ๑. แม้ในวาทะทั่ง ๒ ข้างต้น
ก็นัยนี้แหละ.
ก็วาระนี้ ตรัสโดยระลึกได้แสนชาติอย่างเดียว. ๒ วาระนอกนี้
ตรัสโดยระลึกได้ ๑๐ ถึง ๔๐ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัป.
จริงอยู่ เดียรถีย์ผู้มีปัญญาน้อย ระลึกได้ ประมาณแสนชาติ ผู้มี
ปัญญาปานกลาง ระลึกได้ ๑๐ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัป ผู้มีปัญญา
หลักแหลม ระลึกได้ ๔๐ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัป ไม่เกินกว่านั้น.
ในวาระที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
สมณะหรือพราหมณ์บางคน ที่ชื่อว่า ตกฺกี เพราะช่างตรึก อีก
นัยหนึ่ง ชื่อว่า ตกฺกี เพราะว่า มีความตรึก คำว่า ตกฺกี นี้เป็นชื่อของ
คนช่างตรึกตรองแล้ว ยึดถือเป็นทิฏฐิ.
ที่ชื่อว่า วิมสี เพราะประกอบด้วยปัญญาพิจารณา. ชื่อว่าการชั่งใจ
การชอบใจ การถูกใจด้วยปัญญาพิจารณา. เหมือนอย่างว่า บุรุษใช้ไม้
เท้าลองหยั่งน้ำดูแล้วจึงลง ฉันใด ผู้ที่ชั่งใจชอมใจ ถูกใจแล้ว จึงลง
ความเห็น นั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า วิมสี เหมือนฉันนั้น.
บทว่า ตกฺกปริยาหต ความว่า กำหนดเอาด้วยความตรึก อธิบายว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 246
ตรึกไปตามทางนั้น ๆ.
บทว่า วิมสานุจริต ความว่า ดำเนินตามปัญญาพิจารณา มีประการ
ที่กล่าวแล้วนั้น.
บทว่า สย ปาฏิภาณ ความว่า เกิดแต่ปฏิภาณของตนเท่านั้น.
บทว่า เอวมาห ความว่า ยึดสัสสตทิฏฐิ จึงกล่าวอย่างนี้.
ในพระบาลีนั้น นักตรึก มี ๔ จำพวก คือ
๑. อนุสฺสติโก นึกตามที่ได้ฟังเรื่องราวมา
๒. ชาติสฺสโร นึกโดยระลึกชาติได้
๓. ลาภี นึกเอาแต่ที่นึกได้
๔. สุทฺธตกฺกิโก นึกเอาลอย ๆ
ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ใดฟังเรื่องราวมาว่า ได้มีพระราชาพระนามว่า
เวสสันดร ดังนี้เป็นต้น แล้วก็นึกเอาว่า ด้วยเหตุนั้นแหละ ถ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า คือ พระเวสสันดร อัตตาก็เที่ยง ดังนี้ ถือเป็นทิฏฐิ ผู้นี้
ชื่อว่า นึกตามที่ได้ฟังเรื่องราวมา.
ผู้ที่ระลึกชาติได้ ๒ - ๓ ชาติ แล้วนึกเอาว่า เมื่อก่อน เรานี่แหละ
ได้มีมาแล้วในที่ชื่อโน้น ฉะนั้น อัตตาจึงเที่ยงดังนี้ ชื่อว่า นึกโดยระลึก
ชาติได้.
อนึ่ง ผู้ใดนึกเอาว่า อัตตาของเราในบัดนี้ มีความสุขอยู่ฉันใด
แม้ในอดีตก็ได้มีความสุขมาแล้ว แม้ในอนาคตก็จักมีความสุขเหมือน
ฉันนั้น ถือเป็นทิฏฐิโดยที่ได้แก่ตัว ผู้นี้ชื่อว่า นึกเอาแต่ที่นึกได้.
อนึ่ง ผู้ที่ยึดถือโดยเพียงแต่นึกเอาเองเท่านั้น ว่า เมื่อเป็นอย่างนี้
ก็จะเป็นอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่า นึกเอาลอย ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 247
คำว่า เอเตส วา อญฺตเรน ความว่า ด้วยเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้
อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออย่างเดียวบ้าง ๒ อย่างบ้าง ๓ อย่างบ้าง.
คำว่า นตฺถิ อิโต พหิทฺธา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บันลือสีหนาทที่ใคร ๆ จะคัดค้านไม่ได้ว่า ก็เหตุอื่นแม้สักอย่างนอกจาก
เหตุเหล่านี้ ไม่มีเพื่อจะบัญญัติว่าเที่ยง.
คำว่า ตยิท ภิกฺขเว ตถาตโต ปชานาติ ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรื่องนี้นั้น คือ ทิฏฐิทั้ง ๔ ประการ ตถาคตย่อมรู้โดยประการ
ต่าง ๆ.
ลำดับนั้น เมื่อจะทรงแสดงอาการคือการทรงรู้ชัดนั้น จึงตรัสพระ
บาลีมีอาทิว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ ดังนี้:-
ในพระบาลีนั้น ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ.
อีกอย่างหนึ่ง แม้เหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ก็ชื่อว่าฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ
เหมือนกัน ดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ อย่าง
อะไรบ้าง ? คือ ขันธ์บ้าง อวิชชาบ้าง ผัสสะบ้าง สัญญาบ้าง วิตกบ้าง
อโยนิโสมนสิการบ้าง ปาปมิตรบ้าง การฟังมาจากคนอื่นบ้าง แต่ละอย่าง
เป็นฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น ขันธ์เป็นเหตุเป็นปัจจัย ด้วย
อรรถว่า เป็นสมุฏฐานเพื่อความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ขันธ์บ้าง เป็น
ฐานะ เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้. อวิชชาเป็นเหตุ ฯลฯ ปาปมิตรเป็น
เหตุ ฯ ล ฯ เสียงเล่าลือจากคนอื่นเป็นปัจจัย ด้วยอรรถว่า เป็นสมุฏฐาน
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เสียงเล่าลือจากคนอื่นเป็นฐานะเป็นที่
ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้.
คำว่า เอว คหิตา ความว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเบื้องต้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 248
กล่าวคือ ทิฏฐิ ที่บุคคลถือไว้ ยึดไว้ คือ เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า อัตตา
และโลกเที่ยง.
คำว่า เอวฺ ปรามฏฺา ความว่า ยึดไว้บ่อย ๆ เพราะความเป็นผู้
มีจิตไม่สงสัย ชื่อว่า ยึดมั่นแล้ว คือให้สำเร็จว่า นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
เปล่า. ส่วนฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิกล่าวคือ เหตุ เมื่อถือไว้ด้วยประการใด
ย่อมยังทิฏฐิทั้งหลายให้ตั้งขึ้น อันบุคคลถือไว้แล้ว ด้วยประการนั้น โดย
เป็นอารมณ์ โดยเป็นความเป็นไป และโดยการส้องเสพ ยึดมั่นไว้ ด้วย
การถือบ่อย ๆ เพราะเห็นว่าไม่มีโทษ.
คำว่า เอว คติกา ความว่า มีนิรยคติ ติรัจฉานคติ และเปตวิสัยคติ
อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างนี้.
คำว่า เอว อภิสมฺปรายา นี้เป็นไวพจน์ของบทแรกนั่นเอง มีคำ
อธิบายว่า มีโลกนี้และโลกอื่น อย่างนี้.
คำว่า ตญฺจ ตถาคโต ปชานาติ ความว่า ใช่ว่าตถาคตจะรู้ชัด
เฉพาะทิฏฐิพร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งคติ แต่อย่างเดียวก็หามิได้ ที่จริง
ตถาคตย่อมรู้ชัดทั้งหมดนั้น และรู้ชัดซึ่งศีล สมาธิ และพระสัพพัญญุต-
ญาณ ซึ่งเป็นคุณธรรมยิ่งขึ้นไปกว่านั้น.
คำว่า ตญฺจ ปชาน น ปรามสติ ความว่า ก็แม้จะรู้ชัดคุณวิเศษ
ยอดเยี่ยมอย่างนี้นั้น แต่ก็ไม่ยึดมั่นด้วยความยึดมั่น คือ ตัณหาทิฏฐิ
มานะว่า เรารู้ชัด.
คำว่า อปรามสโต จสฺส ปจฺจตฺตญฺเจว นิพฺพุติ วิทิตา ความว่า
และเมื่อไม่ยึดมั่นอย่างนี้ ตถาคตก็รู้ความดับสนิทแห่งกิเลส คือ ความยึด
มั่นเหล่านั้นเองทีเดียว ถือด้วยตนนั่นเอง เพราะความไม่ยึดมั่นเป็นปัจจัย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 249
ทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานของตถาคตปรากฏแล้ว.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงข้อปฏิบัติที่พระตถาคตทรงปฏิบัติแล้ว เป็น
เหตุให้ทรงบรรลุความดับสนิทนั้น พวกเดียรถีย์ยินดีแล้ว ในเวทนา
เหล่าใด ย่อมเข้าไปสู่การยึดถือทิฏฐิว่า เราจักเป็นผู้มีความสุขในที่นี้ เรา
จักเป็นผู้มีความสุขในธรรมนี้ ดังนี้ เมื่อจะตรัสบอกกรรมฐาน โดยเวทนา
เหล่านั้นแหละ จึงตรัสพระบาลีมีอาทิว่า เวทนาน สมุทยญฺจ ดังนี้.
ในพระบาลีนั้น คำว่า ยถาภูต วิทิตฺวา ความว่า เพราะอวิชชาเกิด
เวทนาจึงเกิด ฉะนั้น บุคคลย่อมเห็นความเกิดแห่งเวทนาขันธ์ด้วยอรรถ
คือความเกิดแห่งปัจจัย เวทนาเกิดเพราะตัณหาเกิด เพราะกรรมเกิด
เพราะผัสสะเกิด แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ชื่อว่า ย่อมเห็น
ความเกิดแห่งเวทนาขันธ์ รู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดแห่งเวทนา โดย
ลักษณะทั้ง ๕ นี้ เพราะอวิชชาดับ เวทนาจึงดับ เพราะตัณหาดับ เพราะ
กรรมดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ฉะนั้น บุคคลย่อมเห็นความสิ้น
ไปแห่งเวทนาขันธ์ ด้วยอรรถคือความดับแห่งปัจจัย แม้เมื่อเห็นลักษณะ
แปรปรวน ชื่อว่า ย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ รู้ตามเป็นจริง
ซึ่งการถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนาทั้งหลาย โดยลักษณะทั้ง ๕ นี้
อาศัยเวทนาใดเกิดสุข โสมนัส นี้เป็นอัสสาทะแห่งเวทนา รู้ตามเป็นจริง
ซึ่งอัสสาทะแห่งเวทนาดังนี้ เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดาใด นี้เป็นอาทีนพแห่งเวทนา รู้ตามเป็นจริง ซึ่งอาทีนพ
แห่งเวทนาดังกล่าวนี้ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในเวทนาใด
นี้เป็นเหตุเครื่องออกไปแห่งเวทนา รู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุเครื่องออกไป
แห่งเวทนา ดังกล่าวมานี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 250
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมีฉันทราคะไปปราศแล้ว ตถาคตจึงไม่
ยึดถือ จึงหลุดพ้น เมื่อยังมีอุปาทานใดอยู่ บุคคลก็พึงยึดถือธรรม
อะไร ๆ และขันธ์ก็จะพึงมีเพราะยึดถือไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต
ไม่ยึดถือธรรมอะไร ๆ เพราะไม่มีอุปาทานนั้นเทียว จึงหลุดพ้นแล้ว ดังนี้.
คำว่า อิเม โข เต ภิกฺขเว ความว่า ธรรมคือพระสัพพัญญุตญาณ
เหล่าใด ที่ตถาคตได้แสดงไว้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย อย่างนี้ว่า เราได้ถาม
แล้วว่า ก็ธรรมเหล่านี้นั้น ที่ลึกซึ้ง เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมเหล่านี้นั้นแล และตถาคตย่อมรู้ชัดข้อนั้น และรู้ชัดยิ่งกว่านั้นด้วย
ดังนี้ ธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่าลึกซึ้งเห็นได้ยาก ฯ ล ฯ รู้ได้เฉพาะ
บัณฑิต ซึ่งเป็นเหตุให้ปุถุชนและพระอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น
ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่อาจจะกล่าวสรรเสริญตถาคตตามเป็นจริงได้ ที่จริงตถาคต
เท่านั้น เมื่อกล่าวสรรเสริญตามเป็นจริง ก็จะพึงกล่าวได้โดยชอบฉะนั้นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อตรัสอธิบายอย่างนี้ ก็ตรัสถามเฉพาะ
สัพพัญญุตญาณ แม้เมื่อจะมอบให้ ก็มอบเฉพาะพระสัพพัญญุตญาณนั้น
แต่ได้ทรงจำแนกทิฏฐิไว้ในระหว่าง ฉะนั้นแล.
วรรณนาภาณวาร ที่ ๑ จบ.
ในพระบาลีนั้น บทว่า เอกจฺจสสฺสติกา ความว่า มีวาทะว่าบาง
อย่างเที่ยง. พวกที่มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง มี ๒ จำพวก คือ พวกที่มี
วาทะว่าบางอย่างของสัตว์เที่ยง ๑ พวกที่มีวาทะว่าบางอย่างของสังขาร
เที่ยง ๑ ในที่นี้ท่านถือเอาทั้ง ๒ จำพวกทีเดียว.
บทว่า ย เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า กทาจิ ความว่า ในกาลบางคราว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 251
บทว่า กรหจิ เป็นไวพจน์ของบทว่า กทาจิ นั้นเอง.
บทว่า ทีฆสฺส อทฺธุโน ได้แก่แห่งกาลนาน.
บทว่า อจฺจเยน ได้แก่โดยล่วงไป.
บทว่า สวฏฺฏติ ได้แก่ย่อมพินาศ.
บทว่า เยภุยฺเยน ตรัสหมายเอาสัตว์พวกที่เหลือจากพวกที่บังเกิด
ในพรหมโลกชั้นสูง หรือในอรูปพรหม.
ที่ชื่อว่า สำเร็จทางใจ เพราะบังเกิดด้วยฌานจิต.
ที่ชื่อว่า มีปีติเป็นภักษา เพราะสัตว์เหล่านั้นมีปีติเป็นภักษา คือ
เป็นอาหาร.
ที่ชื่อว่า มีรัศมีในตัวเอง เพราะสัตว์เหล่านั้นมีรัศมีเป็นของตัวเอง.
ที่ชื่อว่า ผู้เที่ยวไปในอากาศ เพราะเที่ยวไปในอากาศ.
ที่ชื่อว่า สุภฏฺายิโน เพราะอยู่ในสถานที่อันสวยงาม มีอุทยาน
วิมาน และต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สุภฏฺายิโน
เพราะเป็นผู้สวยงาม คือมีผ้าและอาภรณ์อันน่ารื่นรมย์ใจอยู่.
บทว่า จีร ทีฆมทฺธาน ความว่า กำหนดอย่างสูงสุดตลอด ๘ กัลป.
บทว่า วิวฏฺฏติ ได้แก่ ตั้งอยู่ด้วยดี.
บทว่า สุญฺพฺรหฺมวิมาน ความว่า ชื่อว่า ว่าง เพราะไม่มีสัตว์
บังเกิดตามปกติ ภูมิอันเป็นที่สถิตของพวกพรหม ย่อมบังเกิด. ผู้สร้าง
ก็ดี ผู้ใช้ให้สร้างก็ดี ซึ่งวิมานพรหมนั้น ย่อมไม่มี. แต่รัตนภูมิอันมีอุตุ
เป็นสมุฏฐาน ย่อมบังเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย ตามนัยที่กล่าวแล้วใน
วิสุทธิมรรค. และในรัตนภูมินี้ ย่อมบังเกิดอุทยานและต้นกัลปพฤกษ์
เป็นต้น ในสถานที่สัตว์บังเกิดตามปกตินั่นเอง ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 252
ย่อมเกิดติดใจในสถานที่อยู่ตามปกติ สัตว์เหล่านั้นเจริญปฐมฌานแล้วลง
จากสถานที่อยู่นั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ครั้งนั้น
สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง ดังนี้เป็นต้น .
บทว่า อายุกฺขยา วา ปุญฺกฺขยา วา ความว่า สัตว์เหล่าใด
ทำบุญกรรมไว้มากแล้วไปบังเกิดในเทวโลก ที่มีอายุน้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง
สัตว์เหล่านั้นไม่อาจดำรงอยู่ตลอดอายุ ด้วยกำลังบุญของตน แต่จะจุติโดย
ประมาณอายุของเทวโลกนั้นเอง ฉะนั้น จึงเรียกว่า จุติเพราะสิ้นอายุบ้าง
ส่วนสัตว์เหล่าใด ทำบุญกรรมไว้น้อยแล้วไปบังเกิดในเทวโลกที่มีอายุยืน
สัตว์เหล่านั้นไม่อาจดำรงอยู่ได้ตลอดอายุ ย่อมจุติเสียในระหว่าง เพราะ
ฉะนั้น เรียกว่า จุติเพราะสิ้นบุญบ้าง.
บทว่า ทีฆมทฺธาน ติฏฺติ ความว่า ตลอดกัลปหรือกึ่งกัลป.
บทว่า อนภิรติ ความว่า ปรารถนาให้สัตว์แม้อื่นมา. ก็ความระอา
อันประกอบด้วยปฏิฆะ ไม่มีในพรหมโลก.
บทว่า ปริตสฺสนา ความว่า ความยุ่งยากใจ ความกระสับกระส่าย
ก็ความดิ้นรนนี้นั้น มี ๔ อย่างคือ
๑. ตาสตสฺสนา ความดิ้นรนเพราะความสะดุ้ง
๒. ตณฺหาตสฺสนา ความดิ้นรนเพราะตัณหา
๓. ทิฏฺิตสฺสนา ความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ
๔. าณตสฺสนา ความดิ้นรนเพราะญาณ
ในความดิ้นรน ๔ อย่างนั้น อาศัยชาติ ชรา พยาธิ มรณะ รู้สึก
กลัว รู้สึกน่ากลัว สยอง ขนลุก จิตสะดุ้ง หวาดหวั่น ดังนี้ นี้ชื่อว่า
ความดิ้นรนเพราะความสะดุ้ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 253
ความดิ้นรนว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้ ดังนี้
นี้ชื่อว่า ความดิ้นรนเพราะตัณหา.
ความสะดุ้ง ความดิ้นรนนั่นแล ดังนี้ นี้ชื่อว่า ความดิ้นรนเพราะ
ทิฏฐิ.
ความดิ้นรนว่า แม้คนเหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระตถาคต
แล้ว โดยมากถึงความกลัวความสังเวชหวาดเสียว ดังนี้ นี้ชื่อว่า ความ
ดิ้นรนเพราะญาณ.
ก็ในที่นี้ ย่อมควรทั้งความดิ้นรนเพราะตัณหาทั้งความดิ้นรนเพราะ
ทิฏฐิ.
ก็คำว่า วิมานพรหม ในพระบาลีนี้ มิได้ตรัสว่า ว่างเปล่า เพราะ
มีสัตว์ผู้บังเกิดอยู่ก่อนแล้ว.
บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า เข้าไปด้วยการอุบัติ.
บทว่า สหพฺยต ความว่า ภาวะร่วมกัน.
บทว่า อภิภู ความว่า เป็นผู้ข่มว่า เราเป็นผู้เจริญที่สุด.
บทว่า อนภิภูโต ความว่า คนเหล่าอื่นข่มไม่ได้.
บทว่า อญฺทตฺถุ เป็นนิบาตในอรรถว่า ถ่องแท้.
ที่ชื่อว่า ทโส โดยการเห็น.
อธิบายว่า เราเห็นทุกอย่าง.
บทว่า วสวตฺตี ความว่า เราทำชนทั้งปวงให้อยู่ในอำนาจ.
บทว่า อิสฺสโร กตฺตา นิมฺมิตา ความว่า เราเป็นใหญ่ในโลก
เราเป็นผู้สร้างโลก และเนรมิตแผ่นดิน ป่าหิมพานต์ ภูเขาสิเนรุ จักรวาล
มหาสมุทร พระจันทร์ และพระอาทิตย์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 254
บทว่า เสฏฺโ สชฺชิตา ความว่า ย่อมสำคัญว่า เราเป็นผู้สูงสุด
และเป็นผู้จัดโลก คือเราเป็นผู้จำแนกสัตว์ทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ท่านจงชื่อ
ว่ากษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต โดยที่สุด ท่าน
จงชื่อว่าอูฐ จงชื่อว่าโค ดังนี้ .
บทว่า วสี ปิตา ภูตภพฺยาน ความว่า ย่อมสำคัญว่า เราชื่อว่า
เป็นผู้มีอำนาจ เพราะเป็นผู้สั่งสมอำนาจไว้ เราเป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่
เป็นแล้ว และของเหล่าสัตว์ที่กำลังจะเป็น.
บรรดาเหล่าสัตว์ ๒ ประเภทนั้น เหล่าสัตว์พวกอัณฑชะ และ
ชลาพุชะ อยู่ภายในกะเปาะไข่ และอยู่ภายในมดลูก ชื่อว่ากำลังจะเป็น
ดังแต่เวลาที่ออกภายนอกชื่อว่า เป็นแล้ว. เหล่าสัตว์พวกสังเสทชะ ใน
ขณะจิตดวงแรก ชื่อว่า กำลังจะเป็น ตั้งแต่จิตดวงที่ ๒ ไป ชื่อว่า เป็น
แล้ว. เหล่าสัตว์พวกโอปปาติกะ ในอิริยาบถแรก ชื่อว่า กำลังจะเป็น
ตั้งแต่อิริยาบถที่ ๒ ไป พึงทราบว่า ชื่อว่า เป็นแล้ว. ย่อมสำคัญว่า เรา
เป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่เป็นแล้ว และของเหล่าสัตว์ที่กำลังจะเป็น ด้วย
ความสำคัญว่า สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด เป็นบุตรของเรา.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะให้เนื้อความสำเร็จ
โดยการสร้าง จึงทรงทำปฏิญญาว่า สัตว์เหล่านี้ เราเนรมิตแล้ว จึงตรัส
พระบาลีมีอาทิว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
บทว่า อิตฺถตฺต ความว่า เป็นอย่างนี้ อธิบายว่า เป็นพรหม.
บทว่า อิมินา มย ความว่า สัตว์เหล่านั้น แม้จุติ แม้อุบัติด้วย
กรรมของตน ๆ แต่โดยเพียงที่สำคัญไปอย่างเดียวเท่านั้น ก็สำคัญว่า พวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 255
เราอันพระพรหมผู้เจริญเนรมิตแล้ว ต่างก็พากันน้อมตัวลงไปแทบบาท
มูลของพระพรหมนั้นทีเดียว ดุจลิ่มสลักที่คดโดยช่องที่คดฉะนั้น.
บทว่า วณฺณวนฺตตโร จ ความว่า มีผิวพรรณงามกว่า อธิบายว่า
มีรูปงาม น่าเลื่อมใส.
บทว่า มเหสกฺขตโร ความว่า มียศใหญ่กว่า ด้วยอิสริยยศ และ
บริวารยศ.
บทว่า าน โข ปเนต ความว่า ข้อนี้เป็นเหตุที่จะมีได้. ที่ตรัส
ดังนี้หมายถึงสัตว์ผู้นั้นว่า สัตว์ผู้นั้นจุติจากชั้นนั้นแล้ว ไม่ไปในโลกอื่น
ย่อมมาในโลกนี้เท่านั้น.
บทว่า อคารสฺมา ได้แก่จากเรือน.
บทว่า อนคาริย ได้แก่บรรพชา. จริงอยู่ บรรพชา ท่านเรียกว่า
อนคาริยะ เพราะไม่มีการงาน มีการทำนา และเลี้ยงโคเป็นต้น ที่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลแก่เรือน.
บทว่า ปพฺพชติ ได้แก่เข้าถึง.
บทว่า ตโต ปร นานุสฺสรติ ความว่า ระลึกไม่ได้เกินกว่าขันธ์ที่
เคยอยู่อาศัยนั้น เมื่อไม่อาจระลึกได้ ก็ตั้งอยู่ในขันธ์ที่อาศัยนั้น ยึดถือ
เป็นทิฏฐิ.
ในคำว่า นิจฺโจ เป็นต้น ความว่า สัตว์เหล่านั้น เมื่อไม่เห็น
ความเกิดของพระพรหมนั้น จึงกล่าวว่า ยั่งยืน เมื่อไม่เห็นความตาย จึง
กล่าวว่า มั่นคง. เพราะมีอยู่ทุกเมื่อ จึงกล่าวว่า ยั่งยืน. เพราะไม่มีความ
แปรปรวนแม้โดยชรา จึงกล่าวว่า มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา.
คำที่เหลือในวาระนี้ ง่ายทั้งนั้น ดังนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 256
ในวาระที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
พวกเทวดาที่ชื่อว่า ขิฑฑาปโฑสิกะ เพราะเสียหาย คือพินาศ
ด้วยการเล่น. นักเขียนเขียนบาลีเป็นปทูสิกา ก็มี. บาลีว่า ปทูสิกา นั้น
ไม่มีในอรรถกถา.
บทว่า อติเวล ความว่า เกินกาล คือนานเกินไป.
บทว่า หสฺสขิฑฺฑารติธมฺมสมาปนฺนา ความว่า หมกมุ่น คือ
ฝักใฝ่อยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเส และความรื่นรมย์คือการ
เล่นหัว อธิบายว่า ฝักใฝ่อยู่กับความสุข อันเกิดแต่การเล่นการสรวลเส
และความสุข ที่เป็นกีฬาทางกายทางวาจา เป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย
ความรื่นรมย์มีประการดังกล่าวแล้วอยู่.
บทว่า สติ ปมุสฺสติ ความว่า ลืมนึกถึงของเคี้ยว และของบริโภค.
ได้ยินว่า เทวดาพวกขิฑฑาปโทสิกะเหล่านั้น เล่นนักษัตรด้วย
สิริสมบัติอันใหญ่ของตน ที่ได้มาด้วยบุญวิเศษ เพราะความที่ตนมีสมบัติ
ให้นั้น จึงไม่รู้ว่า เราบริโภคอาหารแล้วหรือยัง ครั้นเลยเวลาอาหาร
มื้อหนึ่งไป ทั้งเคี้ยวกินทั้งดื่มอยู่ไม่ขาดระยะ ก็จุติทันที ตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะเหตุไร ? เพราะเตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมแรง. ก็มนุษย์ทั้งหลาย
มีเตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมอ่อน มีกรัชกายแข็งแรง และเมื่อเตโชธาตุ
ของมนุษย์เหล่านั้นอ่อน กรัชกายแข็งแรง แม้เลยเวลาอาหารไปถึง ๗
วัน ก็อาจใช้น้ำร้อนและข้าวต้มใสเป็นต้นบำรุงร่างกายได้. ส่วนพวก
เทวดามีเตโชธาตุแรง กรัชกายอ่อนแอ เทวดาเหล่านั้นเลยเวลาอาหาร
มื้อเดียวเท่านั้น ก็ไม่อาจจะดำรงอยู่ได้ เหมือนดอกปทุมหรือดอกอุบลที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 257
บุคคลวางไว้บนแผ่นหินอันร้อนในเวลาเที่ยงวันแห่งฤดูร้อน ตกเย็น แม้
จะตักน้ำรดตั้งร้อยหม้อ ก็ไม่เป็นปกติได้ ย่อมพินาศไปถ่ายเดียว ฉันใด
เทวดาพวกขิฑฑาปโทสิกะ แม้จะเคี้ยว แม้จะดื่มอยู่ไม่ขาดระยะในภายหลัง
ก็จุติทันที ตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เพราะลืมสติ เทวดาเหล่านั้น จึงจุติจากชั้นนั้น ดังนี้.
ถามว่า ก็เทวดาเหล่านั้น เป็นพวกไหน ?
ตอบว่า ในอรรถกถามิได้มีการวิจารณ์ไว้ว่า เป็นพวกชื่อนี้. แต่
เพราะได้กล่าวไว้โดยไม่ต่างกันว่า เหล่าเทวดามีเตโชธาตุอันเกิดแต่กรรม
แรง มีกรัชกายอ่อนแอ ดังนี้ เทวดาพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งอาศัยกวฬิงกา-
ราหาร เลี้ยงชีพ ทำอยู่อย่างนี้ เทวดาเหล่านั้นแหละ. พึงทราบว่า จุติ
ดังนี้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เทวดาชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิต-
วสวัตดี คือเทวดาพวกขิฑฑาปโทสิกะนั้น ด้วยว่า เทวดาพวกนี้ท่านเรียกว่า
ขิฑฑาปโทสิกะ ด้วยเหตุเพียงเสียเพราะการเล่นเท่านั้น. คำที่เหลือใน
วาระนี้ พึงทราบตามนัยแรกนั้นแล.
ในวาระที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
พวกเทวดาที่ชื่อว่า มโนปโทสิกะ เพราะถูกใจลงโทษ คือทำให้
ฉิบหาย ทำให้พินาศ เทวดาพวกนี้ เป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราช.
ได้ยินว่า บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทพบุตรองค์หนึ่งคิดว่า จักเล่น
นักษัตร จึงเดินทางไปด้วยรถพร้อมทั้งบริวาร. ครั้งนั้น เทพบุตรองค์
อื่นเมื่อออกไปเห็นเทพบุตรองค์นั้นไปข้างหน้า ก็โกรธกล่าวว่า ช่างกระไร
ชาวเราเอ่ย เทพบุตรองค์นี้ช่างตระหนี่ ได้พบผู้หนึ่งราวกะว่าไม่เคยพบ
ไปเหมือนกับจะยืดและเหมือนกับจะแตก ด้วยความอิ่มใจ. ฝ่ายเทพบุตร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 258
องค์ที่ไปข้างหน้าเหลียวกลับมาเห็นเทพบุตรองค์นั้นโกรธ ขึ้นชื่อว่า คน
โกรธกัน ย่อมรู้ได้ง่าย จึงรู้ว่า เทพบุตรองค์นั้นโกรธ ก็เลยโกรธตอบว่า
ท่านโกรธเรา จักทำอะไรเราได้ สมบัตินี้เราได้มาด้วยอำนาจบุญ มีทาน
ศีล เป็นต้น มิใช่ได้มาด้วยอำนาจของท่าน. ถ้าเมื่อเทพบุตรองค์หนึ่งโกรธ
อีกองค์ไม่โกรธก็ยังคุ้มอยู่ได้. แต่เมื่อโกรธทั้ง ๒ ฝ่าย ความโกรธของ
ฝ่ายหนึ่ง ย่อมเป็นปัจจัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ความโกรธของฝ่ายแม้นั้น ก็เป็น
ปัจจัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ฉะนั้น ทั้ง ๒ ฝ่ายจึงจุติทั้ง ๆ ที่นางสนมกำนัลพากัน
คร่ำครวญอยู่นั่นเอง. นี้เป็นเรื่องธรรมดาในการโกรธของพวกเทวดา
คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวนั่นแล.
ในวาระของนักตรึก มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
สมณะหรือพราหมณ์ผู้ตรึกนี้ ย่อมเห็นความแตก ทำลายของจักษุ
เป็นต้น แต่เพราะเหตุที่จิตดวงแรก ๆ พอให้ปัจจัยแก่ดวงหลัง ๆ จึงดับ
ไปฉะนั้น จึงไม่เห็นความแตกทำลายของจิต ซึ่งแม้จะมีกำลังกว่าการแตก
ทำลายของจักษุ เป็นต้น. สมณะหรือพราหมณ์ผู้ตรึกนั้น เมื่อไม่เห็นความ
แตกทำลายของจิตนั้น จึงยึดถือว่า เมื่ออัตตภาพนี้แตกทำลายแล้ว จิตย่อม
ไปในอัตตภาพอื่นเหมือนอย่างนกละต้นไม้ต้นหนึ่งแล้วไปจับที่ต้นอื่นฉะนั้น
จึงกล่าวอย่างนี้.
คำที่เหลือในวาระนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
บทว่า อนฺตานนฺติกา ความว่า มีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด
อธิบายว่า มีวาทะเป็นไปปรารภโลกว่า มีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี บางที่
มีที่สุดและไม่มีที่สุด มีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่.
บทว่า อนฺตสญฺี โลกสฺมึ วิหรติ ความว่า สมณะหรือพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 259
มิได้ขยายปฏิภาคนิมิตไปถึงขอบจักรวาล ยึดถือเอาขอบจักรวาลนั้นว่า
เป็นโลก จึงมีความสำคัญในโลกว่า มีที่สุดอยู่ แต่ในกสิณที่ขยายออกไปถึง
ขอบจักรวาล มีความสำคัญว่า โลกไม่มีที่สุด อนึ่ง มิได้ขยายไปด้านบน
และด้านล่างขยายไปแต่ด้านขวาง จึงมีความสำคัญในโลกว่า ด้านบนและ
ด้านล่าง มีที่สุด มีความสำคัญในโลกว่า ด้านขว้างไม่มีที่สุด.
วาทะของสมณะหรือพราหมณ์พวกตรึก พึงทราบตามนัยที่กล่าว
แล้วนั่นแล.
วาทะทั้ง ๔ อย่างนี้ จัดเข้าในปุพพันตกัปปิกวาทะ เพราะยึดถือ
ด้วยทิฏฐิ ตามทำนองที่ตนเคยเห็นแล้วนั่นเอง.
ที่ชื่อว่า อมรา เพราะไม่ตาย.
อมรานั้น คือ อะไร ?
คือความเห็นและวาทะของคนผู้เห็นไป ซึ่งเว้นจากความสิ้นสุด
โดยนัยมีอาทิว่า ความเห็นของเราอย่างนี้ก็มิใช่ ดังนี้.
ที่ชื่อว่า วิกฺเขโป เพราะดิ้นไปมีอย่างต่าง ๆ.
ที่ชื่อว่า อมราวิกฺเขโป เพราะทิฏฐิและวาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
สมณะหรือพราหมณ์ ชื่อว่า อมราวิกเขปิกะ เพราะมีทิฏฐิและวาจา
ดิ้นได้ไม่ตายตัว.
อีกนัยหนึ่ง ปลาชนิดหนึ่ง ชื่ออมรา แปลว่าปลาไหล. ปลาไหล
นั้น เมื่อแล่นไปในน้ำด้วยการผุดขึ้นและดำลงเป็นต้น ใคร ๆ ไม่อาจจับ
ได้ แม้วาทะนี้ก็เหมือนอย่างนั้น แล่นไปข้างโน้นข้างนี้ ไม่เข้าถึงอาการ
ที่จะจับไว้ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า อมราวิกเขปะ. สมณะหรือพราหมณ์
ที่ชื่อว่า อมราวิกเขปิกะ เพราะมีทิฏฐิและวาจาดิ้นได้เหมือนปลาไหล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 260
บทว่า อิท กุสลนฺติ ยถาภูต นปฺปชานาติ ความว่า ไม่รู้กุศล-
กรรมบถ ๑๐ ตามความเป็นจริง. แม้ในฝ่ายอกุศล ก็ประสงค์เอาอกุศล-
กรรมบถ ๑๐ นั่นเอง.
บทว่า โส มมสฺส วิฆาโต ความว่า พึงเป็นความเดือนร้อน
คือ พึงเป็นความทุกข์แก่เรา เพราะเกิดความร้อนใจว่า เรากล่าวเท็จ
เสียแล้ว.
บทว่า โส มมสฺส อนฺตราโย ความว่า ความร้อนใจนั้น พึงเป็น
อันตรายแก่สวรรค์และมรรคของเรา.
บทว่า มุสาวาทภยา มุสาวาทปริเชคุจฺฉา ความว่า เพราะความ
เกรงกลัว และเพราะความละอายในการพูดเท็จ
บทว่า วาจาวิกฺเขป อาปชฺชติ ความว่า จึงกล่าววาจาดิ้นได้
ไม่ตายตัว คือดิ้นไปไม่มีที่สุด.
ในคำว่า เอวนฺติปิ เม โน ดังนี้เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
คำว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ ดังนี้ เป็นคำดิ้นได้ไม่
แน่นอน.
คำว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนั้นก็มิใช่ ท่านปฏิเสธวาทะว่า
เที่ยง ที่กล่าวไว้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง
คำว่า ความเห็นของเราว่า อย่างอื่นก็มิใช่ ท่านปฏิเสธวาทะว่า
เที่ยงบางอย่าง ว่าไม่เที่ยงบางอย่าง ที่กล่าวไว้โดยประการอื่นจากความ
เที่ยง.
คำว่า ความเห็นของเราว่า ไม่ใช่ก็มิใช่ ท่านปฏิเสธวาทะว่า
ขาดสูญ ที่กล่าวไว้ว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย สัตว์ไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 261
คำว่า ความเห็นของเรามิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ท่านปฏิเสธวาทะของ
นักตรึก ที่กล่าวไว้ว่า เป็นก็ไม่ใช่ ไม่เป็นก็ไม่ใช่.
ก็บุคคลผู้มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัวนี้ ถูกถามว่า นี้เป็นกุศลหรือ
อกุศล ย่อมไม่ตอบอะไร ๆ หรือถูกถามว่า นี้เป็นกุศลหรือ ก็กล่าวว่า
ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่. ลำดับนั้น เมื่อเขากล่าวว่า อะไรเป็น
กุศล ก็กล่าวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนั้นก็มิใช่ เมื่อเขากล่าวว่า
อย่างอื่นจากทั้ง ๒ อย่างหรือ ก็กล่าวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างอื่น
ก็มิใช่. ลำดับนั้น เมื่อเขากล่าวว่า ลัทธิของท่านว่า ไม่ใช่ทั้ง ๓ อย่าง
หรือ ก็กล่าวว่า ความเห็นของเราว่า ไม่ใช่ก็มิใช่. ลำดับนั้น เมื่อเขา
กล่าวว่า ลัทธิของท่านว่าไม่ใช่ก็มิใช่หรือ ก็กล่าวดิ้นไปอย่างนี้เลยว่า
ความเห็นของเราว่า มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ดังนี้ ไม่ตั้งอยู่แม้ในฝ่ายหนึ่ง.
บทว่า ฉนฺโท วา ราโค วา ความว่า แม้เมื่อไม่ยืนยัน ก็รีบ
ตอบกุศลนั่นแหละว่า เป็นกุศล ตอบอกุศลนั่นแหละว่าเป็นอกุศล แล้วถาม
บัณฑิตเหล่าอื่นว่า ที่เราตอบคนชื่อโน้นไปอย่างนี้ คำตอบนั้น ตอบดี
แล้วหรือ ? เมื่อบัณฑิตเหล่านั้นตอบว่า ตอบดีแล้ว พ่อมหาจำเริญ
กุศลนั่นแหละท่านตอบว่ากุศล อกุศลนั่นแหละท่านก็ตอบว่าอกุศล ก็จะ
พึงมีความพอใจบ้าง ความติดใจบ้างในข้อนี้ อย่างนี้ว่า บัณฑิตเช่นกับเรา
ไม่มี. ก็ในพระบาลีนี้ ความพอใจ ได้แก่ความคิดใจอย่างเพลา ความ
ติดใจ ได้แก่ความติดใจอย่างแรง.
บทว่า โทโส วา ปฏิโฆ วา ความว่า แม้ที่เป็นกุศล ก็ตอบว่า
เป็นอกุศล หรือที่เป็นอกุศล ก็ตอบว่า เป็นกุศล ดังนี้ แล้วถามบัณฑิต
เหล่าอื่น เมื่อบัณฑิตเหล่านั้นตอบว่า ท่านตอบไม่ดี ก็จะพึงมีความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 262
เคืองใจบ้าง ความขัดใจบ้าง แก่เราในข้อนั้นว่า เรื่องแม้เพียงเท่านี้
เราก็ไม่รู้. แม้ในพระบาลีนี้ ความเคืองใจ ได้แก่ความโกรธอย่างเพลา
ความขัดใจ ได้แก่ความโกรธอย่างแรง.
บทว่า ต มมสฺส อุปาทาน โส มมสฺส วิฆาโต ความว่า
ความพอใจและความติดใจทั้ง ๒ นั้นจะพึงเป็นอุปาทานของเรา ความ
เคืองใจและความขัดใจทั้ง ๒ จะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา หรือ
ทั้ง ๒ อย่าง เป็นอุปาทานด้วยอำนาจความยึดมั่น เป็นความลำบากใจ
ด้วยอำนาจความกระทบ. จริงอยู่ ความติดใจย่อมจับอารมณ์ โดยความ
ที่ไม่อยากจะปล่อย เหมือนปลิงเกาะ. ความเคืองใจย่อมจับอารมณ์ โดย
ความที่อยากจะให้พินาศ เหมือนอสรพิษ และทั้ง ๒ นี้ ย่อมทำให้เดือด
ร้อนด้วยอรรถว่า แผดเผาทั้งนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นอุปาทาน
และว่าเป็นความลำบากใจ. คำที่เหลือเหมือนกับวาระแรกนั่นแล.
บทว่า ปณฺฑิตา ความว่า ผู้ประกอบด้วยคุณเครื่องเป็นบัณฑิต.
บทว่า นิปุณา ความว่า ผู้เจริญด้วยปัญญาอันละเอียดสุขุมสามารถ
แทงตลอดอรรถอันพิเศษซึ่งละเอียดสุขุม.
บทว่า กตปรปฺปวาทา ความว่า เข้าใจการโต้วาทะและคุ้นเคย
การโต้กับฝ่ายอื่น.
บทว่า วาลเวธิรูปา ความว่า เช่นกับนายขมังธนู ยิงถูกขนทราย.
บทว่า เต ภินฺทนฺตา มญฺเ ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมเที่ยวไปราวกับจะทำลายทิฏฐิของตนเหล่าอื่นแม้สุขุม ด้วยกำลังปัญญา
ของตน ดุจนายขมังธนูยิงถูกขนทรายฉะนั้น.
บทว่า เต ม ตตฺถ ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ซักไซ้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 263
ไล่เลียง สอบสวนเราในข้อที่เป็นกุศลและอกุศลนั้น ๆ.
บทว่า สมนุยุญฺเชยฺยุ ความว่า พึงถามถึงลัทธิว่า ท่านจงกล่าว
ลัทธิของตนว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล.
บทว่า สมนุคฺคาเหยฺยุ ความว่า เมื่อตอบไปว่า เรื่องชื่อนี้
เป็นกุศล เป็นอกุศล ก็จะพึงถามถึงเหตุว่า ท่านให้ถือความข้อนี้ด้วยเหตุ
อะไร.
บทว่า สมนุภาเสยฺยุ ความว่า เมื่อตอบเหตุไปว่า ด้วยเหตุชื่อนี้
ก็จะพึงขอโทษซักไซ้อย่างนี้ว่า ท่านยังไม่รู้เหตุนี้ ท่านก็จงถือเอาข้อนี้
จงละข้อนี้เสีย.
บทว่า น สมฺปาเยยฺยุ ความว่า เราก็จะพึงให้คำตอบเขาไม่ได้
คือไม่อาจจะกล่าวตอบเขาได้.
บทว่า โส มมสฺส วิฆาโต ความว่า ชื่อว่า แม้จะพูดซ้ำซาก
ก็โต้ตอบเขาไม่ได้นั้น จะพึงเป็นความลำบากใจ คือเป็นทุกข์ เพราะทำ
ให้ริมฝีปาก เพดาน ลิ้น และคอแห้งทีเดียว แก่เรา. คำที่เหลือแม้ใน
วาระที่ ๓ นี้ เหมือนกับวาระแรกนั้นเอง.
บทว่า มนฺโท ความว่า มีปัญญาอ่อน. คำนี้เป็นชื่อของคนไม่มี
ปัญญานั่นเอง.
บทว่า โมมูโห ความว่า เป็นคนมัวเมามากมาย. สัตว์ ท่าน
ประสงค์เอาว่า ตถาคโต ในคำว่า โหติ ตถาคโต เป็นต้น. คำที่เหลือ
ในวาระที่ แม้นี้ ง่ายทั้งนั้น.
อมราวิกเขปิกะ ทั้ง ๔ แม้เหล่านี้ จัดเข้าในปุพพันตกัปปิกวาทะ
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ยึดถือความเห็นตามทำนองแห่งธรรมที่เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 264
ไปก่อนนั่นเอง.
ความเห็นว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ชื่อว่า อธิจจสมุปบันนะ.
สมณพราหมณ์ ที่ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนิกะ เพราะมีความเห็นว่า อัตตา
และโลกเกิดขึ้นลอย ๆ.
บทว่า อธิจฺจสมุปฺปนฺน ความว่า เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ.
คำว่า อสญฺีสตฺตา นี้เป็นหัวข้อเทศนา. ความว่า มีอัตตภาพ
สักแต่ว่ารูป เพราะไม่มีจิตเกิดขึ้น.
พึงทราบความอุบัติของพวกอสัญญีสัตว์เหล่านั้น อย่างนี้.
ก็บุคคลบางคนบวชในลัทธิเดียรถีย์แล้ว ทำบริกรรมในวาโยกสิณ
ยังจตุตถฌานให้บังเกิด ออกจากฌานแล้ว เห็นโทษในจิตว่า เมื่อมีจิต
ย่อมมีทุกข์ เพราะถูกตัดมือเป็นต้น และมีภัยทั้งปวง พอกันทีด้วยจิตนี้
ความไม่มีจิตสงบแท้ ครั้นเห็นโทษในจิตอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อม
ถอย ทำกาละแล้ว ไปบังเกิดในพวกอสัญญีสัตว์ จิตของบุคคลนั้น ย่อม
กลับมาในโลกนี้ ด้วยความดับแห่งจุติจิต. ในพวกอสัญญีสัตว์นั้น ปรากฏ
แต่เพียงรูปขันธ์เท่านั้น. ธรรมดาว่า ลูกศรที่ถูกซัดขึ้นไปด้วยกำลังสายธนู
ย่อมไปในอากาศเท่ากำลังสายธนูนั้นเอง ฉันใด อสัญญีสัตว์เหล่านั้นใน
ชั้นอสัญญีสัตว์นั้น ถูกซัดไปด้วยกำลังแห่งฌาน เกิดขึ้นแล้ว ก็จะดำรง
อยู่ได้ตลอดกาลเท่าที่กำลังฌานมีอยู่เท่านั้น ฉันนั้นนั่นแล. แต่เมื่อกำลัง
ฌานเสื่อมถอย รูปขันธ์ในชั้นอสัญญีสัตว์นั้น ก็จะอันตรธาน ปฏิสนธิ
สัญญาย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ ก็เพราะสัญญาที่เกิดขึ้นในโลกนี้นั้น เป็นเหตุ
ให้ปรากฏการจุติของอสัญญีสัตว์เหล่านั้นในชั้นอสัญญีสัตว์นั้น ฉะนั้น จึง
ตรัสต่อไปว่า ก็และเทวดาเหล่านั้น ย่อมจุติจากชั้นนั้น เพราะความเกิด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 265
ขึ้นแห่งสัญญา.
บทว่า สนฺตตาย ความว่า เพื่อความสงบ.
คำที่เหลือในวาระนี้ ง่ายทั้งนั้น.
แม้วาทะของนักตรึก ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นแสดงปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘ ประการ
อย่างนี้แล้ว บัดนี้มีพระประสงค์จะทรงแสดงอปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔ ประ-
การ จึงตรัสพระบาลีมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง ดังนี้.
ในพระบาลีนั้น สมณพราหมณ์ที่ชื่อว่า อปรันตกัปปิกะ เพราะ
กำหนดอปรันตะ กล่าวคือขันธ์ส่วนอนาคต ยึดถือ. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า
อปรันตกัปปิกะ เพราะมีการกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต. แม้คำที่เหลือ
ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในเบื้องต้น ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อุทฺธมาฆตนิกา ความว่า ความตาย เรียกว่า อาฆาตนะ
สมณพราหมณ์ที่ชื่อว่า อุทฺธมาฆตนิกา เพราะกล่าวอัตตาเบื้องหน้าแต่
ความตาย.
วาทะที่เป็นไปว่า มีสัญญา ชื่อสัญญีวาทะ.
ในคำว่า อัตตาที่มีรูป เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ย่อมบัญญัติอัตตานั้นว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน
มีสัญญา ดังนี้ เพราะยึดถือรูปกสิณว่า เป็นอัตตา และยึดถือสัญญา ที่เป็น
ไปในรูปกสิณนั้น ว่าเป็นสัญญาของอัตตานั้น หรือเพราะเพียงแต่นึกเอา
เท่านั้น ดุจพวกนอกศาสนามีอาชีวกเป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น บทว่า อโรโค ความว่า เที่ยง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 266
อนึ่ง ย่อมบัญญัติอัตตานั้นว่า อัตตาที่ไม่มีรูปมีสัญญา ดังนี้ เพราะ
ยึดถือนิมิตแห่งอรูปสมาบัติว่าเป็นอัตตา และยึดถือสัญญาแห่งสมาบัติว่า
เป็นสัญญาของอัตตานั้น หรือเพราะเพียงแต่นึกเอาเท่านั้น ดุจพวก
นอกศาสนามีนิครนถ์เป็นต้น.
ส่วนข้อที่ ๓ เป็นทิฏฐิที่เป็นไปด้วยอำนาจความยึดถือระคนกัน.
ข้อที่ ๔ เป็นทิฏฐิที่เป็นไปด้วยความยึดถือโดยนึกเอาเท่านั้น.
จตุกกะที่ ๒ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในอันตานันติกวาทะนั่น-
แล.
ในจตุกกะที่ ๓ พึงทราบว่า อัตตาชื่อว่ามีสัญญาอย่างเดียวกัน ด้วย
อำนาจแห่งผู้ได้สมาบัติ อัตตาชื่อว่ามีสัญญาต่างกัน ด้วยอำนาจแห่งผู้
ไม่ได้สมาบัติ อัตตาชื่อว่ามีสัญญานิดหน่อย ด้วยอำนาจแห่งกสิณนิด
หน่อย อัตตาชื่อว่ามีสัญญาหาประมาณมิได้ ด้วยอำนาจแห่งกสิณอัน
ไพบูลย์.
ส่วนในจตุกกะที่ ๔ อธิบายว่า บุคคลมีทิพยจักษุ เห็นสัตว์ผู้บังเกิด
ในติกฌานภูมิและจตุกกฌานภูมิ ย่อมยึดถือว่า อัตตามีสุขอย่างเดียว เห็น
สัตว์บังเกิดในนรก ย่อมยึดถือว่า อัตตามีทุกข์อย่างเดียว เห็นสัตว์บังเกิด
ในหมู่มนุษย์ ย่อมยึดถือว่า อัตตามีทั้งสุขทั้งทุกข์ เห็นสัตว์บังเกิดในเทพ
ชั้นเวหัปผละ ย่อมยึดถือว่า อัตตามีทุกข์ก็มิใช่ มีสุขก็มิใช่.
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นพวก
ปุพพันตกัปปิกะ พวกที่ได้ทิพยจักษุ เป็นพวกอปรันตกัปปิกะ ดังนี้แล
อสัญญีวาทะ บัณฑิตพึงทราบด้วยอำนาจตุกกะทั้ง ๒ ที่กล่าวไว้
ข้างต้นในสัญญีวาทะ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 267
เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ก็เหมือนกัน.
ก็เพียงแต่ในสัญญีวาทะนั้น ทิฏฐิเหล่านั้น ของพวกที่ถือว่า อัตตา
มีสัญญา, นอสัญญีวาทะ และเนวสัญญีนาสัญญีวาทะนี้ ทิฏฐิเหล่านั้น
พวกที่ถือว่า อัตตาไม่มีสัญญา และว่า อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา
ก็มิใช่.
ในทิฏฐิเหล่านั้น พึงตรวจสอบเหตุการณ์ ไม่ใช่โดยส่วนเดียว.
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า ความยึดถือแม้ของคนผู้มีทิฏฐิ ก็เช่นเดียวกับ
กระเช้าของคนบ้า.
ในอุจเฉทวาทะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า สโต ได้แก่ยังมีอยู่.
บทว่า อุจฺเฉท ได้แก่ความขาดสูญ.
บทว่า วินาส ได้แก่ความไม่พบปะ.
บทว่า วิภว ได้แก่ไปปราศจากภพ.
คำเหล่านี้ทั้งหมด เป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น.
ในอุจเฉทวาทะนั้น มีตนที่ถืออุจเฉททิฏฐิอยู่ ๒ พวก คือผู้ได้
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๑ ผู้ไม่ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๑ ผู้ที่ได้
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เมื่อระลึกตาม มีทิพยจักษุ เห็นจุติไม่เห็นอุบัติ
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดสามารถเห็นเพียงจุติเท่านั้น ไม่เห็นอุบัติ ผู้นั้นชื่อว่า
ยึดถืออุจเฉททิฏฐิ.
ผู้ที่ไม่ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คิดว่า ใครเล่าจะรู้ปรโลก ย่อม
ยึดถือความขาดสูญ เพราะค่าที่ตนเป็นผู้ต้องการกามสุข หรือเพราะการ
นึกเอาเองเป็นต้นว่า สัตว์ทั้งหลาย ก็เหมือนกับใบไม้ที่หล่นจากต้นไม้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 268
ไม่งอกต่อไปฉะนั้น.
ก็ในอธิการนี้ พึงทราบว่า ทิฏฐิ ๗ เหล่านี้ เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
ตัณหาและทิฏฐิ หรือเพราะกำหนดเอาอย่างนั้น และอย่างอื่น.
ในพระบาลีนั้น บทว่า รูปี ได้แก่ผู้มีรูป.
บทว่า จาตุมฺมหาภูติโก ได้แก่สำเร็จด้วยมหาภูต ๔.
ที่ชื่อว่า มาตาเปตฺติก เพราะมีมารดาและบิดา. นั้นได้แก่อะไร ?
ได้แก่สุกกะและโลหิต.
ที่ชื่อว่า มาตาเปตฺติกสมฺภโว เพราะสมภพ คือ เกิดในสุกกะ
และโลหิตอันเป็นของมารดาและบิดา.
สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีวาทะและทิฏฐิ ย่อมกล่าวอัตตภาพของ
มนุษย์ว่าอัตตา โดยยกรูปกายขึ้นเป็นประธาน.
บทว่า อิตฺเถเก ตัดบทเป็น อิตฺถ เอเก ความเท่ากับ เอวเมเก.
สมณะหรือพราหมณ์พวกที่ ๒ ปฏิเสธข้อนั้น กล่าวอัตตภาพอันเป็น
ทิพย์.
บทว่า ทิพฺโพ ความว่า เกิดในเทวโลก.
บทว่า กามาวจโร ได้แก่นับเนื่องในเทวดาชั้นกามาวจร ๖ ชั้น.
ที่ชื่อว่า กวฬิงฺการาหารภกฺโข เพราะกินอาหาร คือคำข้าว.
บทว่า มโนมโย ได้แก่บังเกิดด้วยฌานจิต.
บทว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺคี ได้แก่ประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ครบ
ถ้วน.
บทว่า อหีนินฺทฺริโย ได้แก่มีอินทรีย์บริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 269
คำนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งอินทรีย์ ที่มีอยู่ในพรหมโลก และ
ด้วยอำนาจทรวดทรงของอินทรีย์นอกนี้.
เนื้อความของคำว่า สพฺพโส รูปสญฺาน สมติกฺกมา ดังนี้ เป็นต้น
ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
ส่วนในคำว่า อากาสานญฺจายตนุปโค เป็นต้น พึงทราบเนื้อ
ความอย่างนี้ว่า เข้าถึงภพชั้นอากาสานัญจายตนะ. คำที่เหลือในอุจเฉท-
วาทะนี้ ง่ายทั้งนั้น ดังนี้แล.
ในทิฏฐธรรมนิพพานวาทะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ธรรมที่ประจักษ์ เรียกว่า ทิฏฐธรรม.
คำนี้เป็นชื่อของอัตตภาพที่ได้เฉพาะในภพนั้น ๆ. นิพพานในทิฏฐ-
ธรรม ชื่อว่า นิพพานปัจจุบัน. อธิบายว่า ทุกข์สงบในอัตตภาพนี้เอง.
สมณพราหมณ์ ชื่อว่า ทิฏฐธรรมนิพพานวาทะ เพราะกล่าว
นิพพานปัจจุบันนั้น.
บทว่า ปรมทิฏฺนิพฺพาน ได้แก่นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง
อธิบายว่า สูงสุด.
บทว่า ปญฺจหิ กามคุเณหิ ความว่า ด้วยส่วนแห่งกาม หรือด้วย
เครื่องผูก ๕ อย่าง มีรูปเป็นที่ชอบใจและเป็นที่รักเป็นต้น.
บทว่า สมปฺปิโต ได้แก่เป็นผู้แนบแน่น คือติดแน่นด้วยดี.
บทว่า สมงฺคีภูโต ได้แก่ประกอบ.
บทว่า ปริจาเรติ ความว่า ยังอินทรีย์ให้เที่ยวไป ให้สัญจรไป นำ
เข้าไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง ตามสบายในกามคุณเหล่านั้น . ก็อีกนัยหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 270
ย่อมพอใจ ย่อมยินดี ย่อมเล่น.
ก็กามคุณในที่นี้มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็นของมนุษย์ ๑ ที่เป็นทิพย์ ๑.
กามคุณที่เป็นของมนุษย์ พึงเห็นเช่นกับกามคุณของพระเจ้ามันธาตุราช
ส่วนกามคุณที่เป็นทิพย์ พึงเห็นเช่นกับกามคุณของปรนิมมิตวสวัตดีเทวราช
ฉะนั้นแล.
ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติการบรรลุนิพพานปัจจุบันของ
พวกที่เข้าถึงกาม เห็นปานนี้.
ในวาระที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
กามทั้งหลาย พึงทราบว่า ชื่อว่า ไม่เที่ยง ด้วยอรรถว่า มีแล้ว
กลับไม่มี ชื่อว่า เป็นทุกข์ ด้วยอรรถว่า บีบคั้น ชื่อว่า มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา ด้วยอรรถว่า ละปกติ.
บทว่า เตส วิปริณามญฺถาภาวา ความว่า เพราะกามเหล่านั้น
กลายเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ แปรปรวน จึงเกิดความโศก ความคร่ำครวญ
ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจ โดยนัยที่กล่าวว่า แม้
สิ่งใดได้มีแก่เรา แม้สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา ดังนี้.
ใน ๕ อย่างนั้น ความโศกมีลักษณะแผดเผาในภายใน ความ
คร่ำครวญมีลักษณะบ่นเพ้อพร่ำอาศัยความโศกนั้น ความทุกข์มีลักษณะ
บีบคั้นกาย ความโทมนัสมีลักษณะลำบากใจ ความคับแค้นใจมีลักษณะ
เศร้าสลดใจ.
เนื้อความของคำว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ดังนี้เป็นต้น ข้าพเจ้ากล่าว
ไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 271
บทว่า วิตกฺกิต ความว่า วิตกที่เป็นไปด้วยอำนาจยกจิตขึ้นไว้ใน
อารมณ์.
บทว่า วิจาริต ความว่า วิจารซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจเคล้าอารมณ์.
บทว่า เอเตเนต ความว่า ปฐมฌานนี้ปรากฏว่า หยาบเหมือน
กับมีหนาม ด้วยยังมีวิตกและวิจาร.
บทว่า ปิตคต ได้แก่ปีตินั่นเอง.
บทว่า เจตโส อุพฺพิลฺลาวิตตฺต ได้แก่เป็นเหตุทำใจให้หวาด-
เสียว.
บทว่า เจตโส อาโภโค ความว่า ออกจากฌานแล้ว จิตก็ยัง
คำนึง คือนึกถึงวนเวียนอยู่ในสุขนั้นบ่อย ๆ.
คำที่เหลือในทิฏฐธรรมนิพพานวาทะนี้ ง่ายทั้งนั้น.
โดยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ เป็นอันตรัสถึงทิฏฐิ ๖๒ ทั้งหมด ซึ่ง
แบ่งเป็นอุจเฉททิฏฐิ ๗ เท่านั้น ที่เหลือ เป็นสัสสตทิฏฐิ.
บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลปุพพันตกัปปิกทิฏฐิเหล่านั้น
ทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยวาระนี้ว่า อิเม โข เต ภิกฺขเว เป็นต้น แล้วทรง
วิสัชนาพระสัพพัญญุตญาณ. ทรงประมวลอปรันตกัปปิกทิฏฐิ และปุพ-
พันตอปรันตกัปปิกทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยวาระว่า อิเม
โข เต ภิกฺขเว เป็นต้น แล้วทรงวิสัชนาพระญาณนั้นแหละ แม้เมื่อตรัส
ถามในพระดำรัสว่า กตเม จ เต ภิกฺขเว ธมฺมา เป็นต้น ก็ตรัสถาม
พระสัพพัญญุตญาณนั่นเอง แม้เมื่อทรงวิสัชนาก็ทรงยกทิฏฐิ ๖๒ ประการ
ขึ้นแล้วทรงวิสัชนาพระสัพพัญญุตญาณนั่นเอง เหมือนดังทรงชั่งอัธยาศัย
ของสัตว์ทั้งหลายด้วยตาชั่ง เหมือนดังทรงยกทรายจากเชิงภูเขาสิเนรุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 272
ฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.
พระธรรมเทศนานี้มาแล้วด้วยอำนาจตามลำดับอนุสนธิอย่างนี้.
ก็พระสูตรมีอนุสนธิ ๓ อย่าง คือ
๑. ปุจฉานุสนธิ พระธรรมเทศนาที่ตรัสตอบคำถาม.
๒. อัชฌาสยานุสนธิ พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงตามอัธยาศัย
ของสัตว์.
๓. ยถานุสนธิ พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงตามลำดับเรื่อง.
ในอนุสนธิแห่งพระสูตร ๓ อย่างนั้น พึงทราบปุจฉานุสนธิด้วย
อำนาจแห่งพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิสัชนาแก่ผู้ที่ทูลถามอย่าง
นี้ว่า เมื่อพระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้แล้ว นันทโคบาลจึงได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งใน ได้แก่อะไร ?
ฝั่งนอก ได้แก่อะไร ? สงสารในท่ามกลาง ได้แก่อะไร ? เกยบนบก
ได้แก่อะไร ? มนุษย์จับ ได้แก่อะไร ? อมนุษย์จับ ได้แก่อะไร ? ถูก
น้ำวนเอาไว้ ได้แก่อะไร ? ความเน่าใน ได้แก่อะไร ?
พึงทราบอัชฌาสยานุสนธิ ด้วยอำนาจแห่งพระสูตรที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์เหล่าอื่น แล้วตรัสอย่างนี้ว่า ครั้งนั้นแล
ภิกษุรูปหนึ่งเกิดปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า จำเริญละ เท่าที่พูดกันว่า รูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต่างก็เป็นอนัตตา เอาชิ กรรมที่
อนัตตากระทำแล้วจักถูกอัตตาไหนกัน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบความปริวิตกทางใจของภิกษุรูปนั้น ด้วยพระหฤทัยของพระองค์
จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 273
ที่จะมีโมฆบุรุษบางคนในพระธรรมวินัยนี้ ตกอยู่ในอวิชชา มีใจซึ่งมีตัณหา
เป็นใหญ่ จะพึงเข้าใจสัตถุศาสน์แล่นเกินหน้าไปว่า จำเริญละ เท่าที่พูดกันว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต่างก็เป็นอนัตตา เอาซิ กรรม
ที่อนัตตากระทำแล้ว จักถูกอัตตาไหนกัน ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ดังนี้.
แต่พึงทราบยถานุสนธิ ด้วยอำนาจแห่งพระสูตรทั้งหลาย อันเป็น
ที่มาแห่งพระธรรมเทศนาในข้างหน้า ด้วยอำนาจแห่งธรรมอันเข้ากันได้
หรือด้วยอำนาจแห่งธรรมที่ขัดกันแก่ธรรมที่เป็นเหตุให้พระธรรมเทศนา
ตั้งขึ้นในเบื้องต้น ตัวอย่างเช่น ในอากังเขยยสูตร เทศนาตั้งขึ้นด้วยศีล
ในตอนต้น อภิญญา ๖ มาในตอนปลาย ในวัตถุสูตร เทศนาทั้งขึ้นด้วย
อำนาจกิเลสในตอนต้น พรหมวิหารมาในตอนปลาย ในโกสัมพิกสูตร
เทศนาตั้งขึ้นด้วยการทะเลาะในตอนต้น สาราณียธรรมมาในตอนปลาย
ในกักกัจโจปัมมสูตร เทศนาทั้งขึ้นด้วยความไม่อดทนในตอนต้น อุปมา
ด้วยเลื่อยมาในตอนปลาย. ในพรหมชาลสูตรนี้ เทศนาตั้งขึ้นด้วยอำนาจ
แห่งทิฏฐิในตอนต้น การประกาศสุญญตามาในตอนปลาย. เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ว่า พระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งยถา-
นุสนธิอย่างนี้ ดังนี้.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงการจำแนกขอบเขต พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงเริมเทศนาว่า ตตฺร ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น
คำ ตทปิ เตส ภวต สมณพฺราหฺมณาน อชานต อปสฺสต
เวทยิต ตณฺหาคตาน ปริตสฺสิต วิปฺผนฺทิตเมว ดังนี้ ความว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้น เกิดโสมนัส ด้วยความยินดีในทิฏฐิ ด้วยความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 274
สุขในทิฏฐิ ด้วยความรู้สึกในทิฏฐิอันใด ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า
เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้ข้อนั้นก็เป็นความรู้สึกของสมณพราหมณ์
ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็นสภาวะแห่งธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง
เป็นคนที่ยังมีตัณหาอยู่ ความรู้สึกนั้นเป็นของคนที่ยังมีตัณหาเท่านั้น
อย่างเดียว ก็และความรู้สึกนี้นั้นแล เป็นความดิ้นรนเป็นความแส่หาเท่านั้น
คือเป็นความหวั่นเท่านั้น เป็นความไหวเท่านั้น ด้วยความดิ้นรนกล่าวคือ
ทิฏฐิและตัณหา เหมือนกับหลักที่ปักไว้ในกองแกลบ มิใช่ไม่หวั่นไหว
ดุจทัศนะของพระโสดาบัน. แม้ในเอกัจจสัสสตวาทะเป็นต้น ก็นัยนี้แล.
พระบาลีว่า ตตฺร ภิกฺขเว เย เต สมณพฺราหฺมณา สสฺสตวาทา
ดังนี้ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มไว้อีก เพื่อทรงแสดงปัจจัยสืบ ๆ
กันมา.
ในพระบาลีนั้น ด้วยพระดำรัสว่า ตทปิ ผสฺสปจฺจยา ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น เกิดโสมนัส
ด้วยความยินดีในทิฏฐิ ด้วยความสุขในทิฏฐิ ด้วยความรู้สึกในทิฏฐิอันใด
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้ข้อนั้น
ก็คือความรู้สึกดิ้นรนเพราะตัณหาและทิฏฐิ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้.
ในวาทะทั้งปวงก็นัยนี้.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงภาวะที่ปัจจัยนั้นมีกำลังในความรู้สึกในทิฏฐิ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระบาลีอีกว่า ตตฺร ภิกฺขเว เย เต สมณ-
พฺราหฺมณา สสฺสตวาทา ดังนี้ เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 275
ในพระบาลีนั้น ด้วยคำว่า เต วต อญฺตฺร ผสฺสา ดังนี้ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความว่า ข้อที่ว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น เว้น
จากผัสสะ จักรู้สึกความรู้อันนั้น ดังนี้นั้น ไม่มีเหตุที่จะเป็นไปได้ อุปมา
เหมือนอย่างว่า ขึ้นชื่อว่าเสาย่อมเป็นปัจจัยมีกำลังเพื่อประโยชน์ในการ
ค้ำเรือนจากการล้ม เรือนนั้น ไม่มีเสาค้ำไว้ ไม่อาจจะตั้งอยู่ได้ฉันใด
แม้ผัสสะก็มีอุปไมยฉันนั้นแล เป็นปัจจัยมีกำลังแก่เวทนา เว้นผัสสะนั้นเสีย
ความรู้สึกในทิฏฐินี้ ย่อมไม่มี ดังนี้. ในวาทะทั้งปวงก็นัยนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประมวลความรู้สึกในทิฏฐิทั้งปวง
โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่านั้นใด เป็นสัสสตวาทะ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า
เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้สมณพราหมณ์เหล่านั้นใด เป็นเอกัจจ-
สัสสติกะ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ดังนี้.
เพราะเหตุไร ?
เพราะเพื่อต้องการจะเพิ่มผัสสะข้างหน้า.
อย่างไร ?
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดถูกต้องแล้ว ด้วยผัสสายตนะทั้ง ๖
ย่อมเสวยเวทนา. ที่ชื่อว่าผัสสายตนะทั้ง ๖ ในข้อนั้น ได้แก่ผัสสายตนะ ๖
เหล่านี้ คือ จักขุผัสสายตนะ ๑ โสตผัสสายตนะ ๑ ฆานผัสสายตนะ ๑
ชิวหาผัสสายตนะ ๑ กายผัสสายตนะ ๑ มโนผัสสายตนะ ๑.
ก็ อายตนศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถว่า ที่เกิด ที่ประชุม เหตุ
และบัญญัติ. ในอรรถเหล่านั้น อายตน ศัพท์เป็นไปในอรรถว่า ที่เกิด
เช่นในคำว่า ชนบทกัมโพชะ เป็นที่เกิดของม้าทั้งหลาย ทักขิณาบถเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276
ที่เกิดของโคทั้งหลาย ดังนี้ อธิบายว่า ในที่เป็นที่เกิด.
เป็นไปในอรรถว่า ที่ประชุม เช่นในคำว่า เมื่อต้นไม้ใหญ่นั้น
เป็นที่ประชุมที่น่ารื่นรมย์ใจ นกทั้งหลายย่อมพากันอาศัยต้นไม้นั้น ดังนี้.
เป็นไปในอรรถว่า บัญญัติ เช่นในคำว่า ย่อมสมมติบัญญัติว่า
ในราวป่า ในบรรณกุฎี.
อายตนศัพท์นี้นั้น ในที่นี้ย่อมควรในอรรถทั้ง ๓ มีถิ่นเกิดเป็นต้น.
จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ห้า ย่อมเกิด ย่อมประชุมใน
จักษุเป็นต้น แม้จักษุเป็นต้นเหล่านั้น ก็เป็นเหตุของธรรมเหล่านั้น
เหตุนั้น จึงชื่อว่า อายตนะ. และในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผัสสา-
ยตนะทั้ง ๖ เป็นต้นไว้ เพื่อจะทรงแสดงความสืบ ๆ กันแห่งปัจจัยนับแต่
ผัสสะเป็นต้นไป ยกพระธรรมเทศนาโดยยกผัสสะเป็นหัวข้อนั่นเอง โดย
นัยนี้ว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณทั้ง ๓ อย่าง ประชุมกัน
เข้า จึงเป็นผัสสะ ดังนี้.
บทว่า ผุสฺส ผุสฺส ปฏิสเวเทนฺติ ความว่า ถูกต้อง ๆ แล้วเสวย
เวทนา.
ก็ในพระบาลีนี้ แม้จะได้ตรัสเหมือนอายตนะทั้งหลายมีการถูกต้อง
เป็นกิจไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ไม่พึงเข้าใจว่า อายตนะเหล่านั้น มีการ
ถูกต้องเป็นกิจ. เพราะว่า อายตนะทั้งหลาย ถูกต้องไม่ได้ ส่วนผัสสะ
ย่อมถูกต้องอารมณ์นั้น ๆ. ก็อายตนะทั้งหลาย ทรงแสดงแฝงไว้ในผัสสะ
เพราะฉะนั้น พึงทราบความในพระบาลีนี้อย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมด ถูกต้องอารมณ์มีรูปเป็นต้น ด้วยผัสสะที่เกิดแต่ผัสสายตนะ ๖
แล้วเสวยเวทนาในทิฏฐินั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277
ในข้อว่า เตส เวทนาปจฺจยา ตณฺหา ดังนี้เป็นต้น มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้
บทว่า เวทนา ความว่า เวทนาเกิดแต่ผัสสายตนะ ๖. เวทนา
นั้น ย่อมเป็นปัจจัยโดยเงื่อนแห่งอุปนิสสัยปัจจัยแก่ตัณหาอันต่างด้วยรูป
ตัณหาเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์
เหล่านั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ดังนี้. และตัณหานั้นก็เป็นปัจจัย
โดยเงื่อนแห่งอุปนิสสัยปัจจัย และโดยเงื่อนแห่งสหชาตปัจจัย แก่อุปทาน
๔ อย่าง. อุปาทานก็เป็นปัจจัยแก่ภพอย่างนั้น. ภพเป็นปัจจัยโดยเงื่อน
แห่งอุปนิสสัยปัจจัยแก่ชาติ. ก็ในคำว่า ชาติ นี้ พึงเห็นว่า ได้แก่ขันธ์
๕ พร้อมทั้งวิการ. ชาติเป็นปัจจัยโดยเงื่อนแห่งอุปนิสสัยปัจจัย แก่ชรา
มรณะ และโสกะเป็นต้น. นี้เป็นความย่อในพระบาลีนี้. ส่วนกถาว่าด้วย
ปฏิจจสมุปบาท ได้กล่าวไว้แล้วโดยพิสดารในวิสุทธิมรรค. ก็ในที่นี้
พึงทราบพอประกอบพระบาลีนั้นเท่านั้น.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสวัฏฏกถา ย่อมตรัสด้วยศัพท์อันเป็น
หัวข้อคืออวิชชา อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชา
ย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุ
นั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีเพราะข้อนี้
เป็นปัจจัย จึงปรากฏ ดังนี้บ้าง ด้วยศัพท์อันเป็นหัวข้อคือตัณหาอย่างนี้
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวตัณหาย่อมไม่ปรากฏ ในกาล
ก่อนแต่นี้ ภวตัณหาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าว
คำนี้อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวตัณหามีเพราะข้อนี้เป็นปัจจัย จึง
ปรากฏ ดังนี้บ้าง ด้วยศัพท์อันเป็นหัวข้อคือทิฏฐิอย่างนี้ว่า ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 278
ภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวทิฏฐิ ย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้
ภวทิฏฐิไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวทิฏฐิมีเพราะข้อนี้เป็นปัจจัย จึงปรากฏ ดังนี้บ้าง.
ก็ในพระสูตรนี้ เมื่อตรัสด้วยศัพท์อันเป็นหัวข้อคือทิฏฐิ ตรัสทิฏฐิ
ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นด้วยความติดใจในเวทนา จึงตรัสปฏิจจสมุปบาทอันมี
เวทนาเป็นมูล. ด้วยเหตุนั้น จึงทรงแสดงความข้อนี้ว่า สมณพราหมณ์
เจ้าทิฏฐิเหล่านี้ ยึดถือความเห็นนี้แล้ว แล่นไปท่องเที่ยวไปในภพ ๓
กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณคติ ๗ สัตตาวาส ๙ จากนี่ไปนั่น จากนั่น
ไปนี่ ดังนี้ ย่อมวนเวียนไปตามวัฏฏทุกข์อย่างเดียว ไม่สามารถจะเงย
ศีรษะขึ้นจากวัฏฏทุกข์ได้ ดุจโคที่เขาเทียมไว้ในเครื่องยนต์ ดุจลูกสุนัข
ที่เขาล่ามไว้ที่เสา และดุจเรือที่อับปางลงด้วยลมฉะนั้น ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสวัฏฏะอันเป็นที่ตั้งอาศัยของตนผู้มี
ทิฏฐิอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ ยกภิกษุผู้ประกอบความ
เพียรขึ้นเป็นที่ตั้ง จึงตรัสพระบาลีว่า ยโต โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ เป็นต้น
ในพระบาลีนั้น บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด.
บทว่า ฉนฺน ผสฺสายตนาน ความว่า วัฏฏะย่อมวนไปแก่คนผู้มี
ทิฏฐิ ผู้ถูกต้องด้วยผัสสายตนะเหล่าใด เสวยเวทนาอยู่ แห่งผัสสายตนะ
๖ เหล่านั้นนั่นแล.
ในคำว่า สมุทย เป็นต้น พึงทราบความเกิดแห่งผัสสายตนะ
ตามนัยที่ตรัสไว้ในเวทนากัมมัฏฐานว่า เพราะอวิชชาเกิด จักษุจึงเกิด
ดังนี้เป็นต้น. เหมือนอย่างว่า ในเวทนากัมมัฏฐานนั้น ตรัสไว้ว่า
เพราะผัสสะเกิด เพราะผัสสะดับ ดังนี้ฉันใด ในพระบาลีนี้ก็เป็นฉันนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 279
พึงทราบอายตนะนั้นว่า ในจักษุเป็นต้น เพราะอาหารเกิด เพราะ
อาหารดับ ในมนายตนะ เพราะนามรูปเกิด เพราะนามรูปดับ ดังนี้แล.
บทว่า อุตฺตริตร ปชานาติ ความว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิย่อมรู้ชัด
เฉพาะทิฏฐิเท่านั้น ส่วนภิกษุนี้ย่อมรู้ทิฏฐิ และยิงขึ้นไปกว่าทิฏฐิ คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุติ จนถึงพระอรหัต คือพระขีณาสพก็รู้
พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบันก็รู้ ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ทรง
คันถธุระก็รู้ ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนาก็รู้.
ก็พระธรรมเทศนาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้จบลงด้วยยอดคือ พระ
อรหัตทีเดียว ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสวิวัฏฏะ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะ
ทรงแสดงว่า ขึ้นชื่อว่าคนมีทิฏฐิที่พ้นไปจากข่าย คือ พระธรรมเทศนา
ย่อมไม่มี จึงตรัสต่อไปว่า เย หิ เกจิ ภิกฺขเว เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น บทว่า อนฺโตชาลีกตา ความว่า อยู่ภายในข่าย
คือ เทศนาของเรานี้นั่นเอง.
บทว่า เอตฺถ สิตา ว ความว่า อยู่ อาศัย คือ พึ่งพิงอยู่ใน
ข่าย คือเทศนาของเรานี้นั่นแหละ.
คำว่า เมื่อผุดก็ผุด มีคำอธิบายอย่างไร ?
มีคำอธิบายว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จมลงบ้าง โผล่ขึ้น
บ้าง ก็เป็นผู้อยู่ในข่ายคือเทศนาของเรา จมลงและโผล่ขึ้น.
บทว่า เอตฺถ ปริยาปนฺนา ความว่า เป็นผู้นับเนื่องในข่ายคือ
เทศนาของเรานี้ คืออันข่ายคือเทศนานี้ผูกพันไว้ ดุจอยู่ภายในข่าย
เมื่อผุดก็ผุดขึ้น ด้วยว่าชื่อว่าคนมีทิฏฐิ ที่ไม่สงเคราะห์เข้าในข่าย คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 280
เทศนานี้ ย่อมไม่มี ดังนี้แล.
บทว่า สุขุมจฺฉิเกน ความว่า ด้วยข่ายตาละเอียดถี่ยิบ.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนชาวประมง พระธรรม
เทศนาเปรียบเหมือนข่าย หมื่นโลกธาตุเปรียบเหมือนน้ำน้อย สมณะหรือ
พราหมณ์ผู้มีทิฏฐิ ๖๒ เปรียบเหมือนสัตว์ใหญ่ กิริยาที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงแสดงความที่สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิทั้งหมดตกอยู่ภายในข่าย
คือพระธรรมเทศนา เปรียบเหมือนกิริยาที่ชาวประมงนั้น ยืนแลดูอยู่
ริมฝั่ง เห็นสัตว์ใหญ่ ๆ อยู่ภายในข่ายฉะนั้น.
การเทียบเคียงด้วยข้ออุปมาในพระธรรมเทศนานี้ พึงทราบด้วย
ประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่สมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิ
ทั้งหมดเป็นผู้นับเนื่องในข่ายคือพระธรรมเทศนานี้ เพราะทิฏฐิทั้งหมด
สงเคราะห์เข้าด้วยทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง
ความที่พระองค์เป็นผู้นับเนื่องในข้อไหน ๆ จึงตรัสพระมาลีว่า อุจฺฉินฺน-
ภวเนตฺติโก ภิกฺขเว ตถาคตสฺส กาโย ดังนี้เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ที่ชื่อว่า เนตฺติ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องนำไป.
บทว่า นยนฺติ แปลว่า ผูกคอฉุดมา.
นี้เป็นชื่อของเชือก. ก็ในที่นี้ ภวตัณหาทรงประสงค์เอาว่า เนตฺติ
เพราะเป็นเช่นกับเชือกเครื่องนำไป. จริงอยู่ ภวตัณหานั้น ย่อมผูกคอ
มหาชน นำไป คือนำเข้าไปสู่ภพนั้น ๆ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ภวเนตฺติ.
ตัณหาเครื่องนำสัตว์ไปสู่ภพนั้น แห่งกายของพระตถาคต ขาดแล้วด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 281
ศัสตราคืออรหัตตมรรค เหตุนั้น กายของพระตถาคตจึงชื่อว่า มีตัณหา
เครื่องนำสัตว์ไปสู่ภพขาดแล้ว.
บทว่า กายสฺส เภทา อุทฺธ ความว่า ต่อจากกายแตกไป.
บทว่า ชีวิตปริยาทานา ความว่า เพราะสิ้นชีวิตแล้ว คือสิ้น
รอบแล้วโดยประการทั้งปวง เพราะไม่ปฏิสนธิต่อไป.
บทว่า น ต ทุกฺขนฺติ ความว่า เทวดาก็ดี มนุษย์ก็ดี จักไม่
เห็นพระตถาคตนั้น จักถึงความเป็นผู้หาบัญญัติมิได้.
ก็ในคำอุปมาว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น มีคำเทียบเคียง
ดังต่อไปนี้.
ก็กายของพระตถาคต เปรียบเหมือนต้นมะม่วง ตัณหาที่อาศัย
กายนี้เป็นไปในภพก่อน เปรียบเหมือนขั้วใหญ่ ซึ่งเกิดที่ต้น เมื่อยังมี
ตัณหาอยู่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ซึ่งเป็นสภาพคิดอยู่กับตัณหา
จะเกิดต่อไป เปรียบเหมือนพวงมะม่วงสุก ประมาณ ๕ ผลบ้าง ๑๒ ผล
บ้าง ๑๘ ผลบ้าง ติดอยู่ที่ขั้วนั้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อขั้วนั้นขาด มะม่วง
เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมติดขั้วนั้นไป อธิบายว่า ไปตามขั้วนั้นแหละ ขาด
ไปเช่นเดียวกัน เพราะขั้วขาด ข้อนั้นฉันใด ขั้วตัณหาเครื่องนำสัตว์ไป
สู่ภพยังไม่ขาด ก็พึงเป็นเหตุให้เกิดขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมติดตามขั้วตัณหาเครื่องนำสัตว์ไปสู่ภพนั้น
อธิบายว่า ไปตามตัณหาเครื่องนำสัตว์ไปสู่ภพ เมื่อตัณหานั้นขาดแล้ว
ก็ขาดไปเช่นเดียวกัน เหมือนฉันนั้นทีเดียว.
อนึ่ง เมื่อต้นไม้แม้นั้น อาศัยผัสสะอันเป็นพิษของหนามกระเบน
ซูบซีดลงโดยลำดับ ตายแล้วก็ย่อมจะมีแต่เพียงโวหารว่า ณ ที่นี้ได้มีต้นไม้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 282
ชื่อนี้เท่านั้น ใคร ๆ มิได้เห็นต้นไม้นั้น ข้อนี้ฉันใด เมื่อกายนี้อาศัย
สัมผัสอริยมรรค เพราะยางคือตัณหาสิ้นไปแล้ว จึงเป็นดังซูบซีดลง
ตามลำดับ แตกทำลายไป ต่อจากกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายจักไม่เห็นแม้ซึ่งพระตถาคต จักมีแต่เพียงโวหารว่า ได้ยินว่า นี้
เป็นศาสนาของพระศาสดาซึ่งเห็นปานนี้ท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
แสดงพระธรรมเทศนาถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ด้วยประการฉะนี้.
ข้อว่า เอว วุตฺเต อายสฺมา อานนฺโท ความว่า เมื่อพระผู้มี -
พระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้อย่างนี้แล้ว พระอานนทเถระได้ประมวลพระ
สูตรทั้งหมดตั้งแต่ต้นมา แล้วคิดว่า เราจักแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงขนานนามพระสูตรที่ตรัส อย่ากระนั้นเลย
เราจักกราบทูลให้ทรงขนานนมพระสูตรที่ตรัสนั้น ดังนี้แล้วจึงได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้.
ในบทว่า ตสฺมาติห ตฺว ดังนี้เป็นต้น มีคำประกอบความดังต่อ
ไปนี้
ดูก่อนอานนท์ เพราะในธรรมบรรยายนี้ เราจักได้จำแนกทั้ง
ประโยชน์ในโลกนี้ ทั้งประโยชน์ในโลกหน้า ฉะนั้นแล เธอจงทรง
จำธรรมบรรยายนี้ว่า อรรถชาละ บ้าง อนึ่ง เพราะในธรรมบรรยายนี้
เราได้กล่าวธรรมอันเป็นแบบแผนเป็นอันมาก ฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรม
บรรยายอันเป็นแบบแผนนี้ว่า ธรรมชาละบ้าง อนึ่ง เพราะในธรรม
บรรยายนี้ เราได้จำแนกพระสัพพัญญุตญาณ อันชื่อว่า พรหม ด้วย
อรรถว่า ประเสริฐสุด ฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า พรหม-
ชาละบ้าง เพราะในธรรมบรรยายนี้ เราได้จำแนกทิฏฐิ ๖๒ ฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 283
เธอทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า ทิฏฐิชาละบ้าง อนึ่ง เพราะใคร ๆ ฟัง
ธรรมบรรยายนี้แล้ว อาจจะย่ำยีเทวบุตรมารบ้าง ขันธมารบ้าง มัจจุมาร
บ้าง กิเลสมารบ้าง ฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า พิชัย
สงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง ดังนี้แล.
บทว่า อิทมโวจ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
พระสูตรทั้งสิ้นนี้ จำเดิมแต่จบคำนิทานจนถึงที่ตรัสว่า เธอจงทรงจำ
ธรรมบรรยายนี้ว่า พิชัยสงความอันยอดเยี่ยมดังนี้ ทรงประกาศพระ
สัพพัญญุตญาณ อันลึกซึ้งอย่างยิ่ง ซึ่งมีที่ตั้งอาศัยอันใคร ๆ ไม่พึงได้ด้วย
ปัญญาของชนเหล่าอื่น ทรงกำจัดมืดมนใหญ่คือทิฏฐิ ดุจพระอาทิตย์
กำจัดความมืดฉะนั้น.
บทว่า อตฺตมนา เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ต่างมีใจ
ชื่นบานเป็นของตนเอง อธิบายว่า เป็นผู้มีจิตฟูขึ้นด้วยปีติอันไปในพระ
พุทธเจ้า.
บทว่า ภควโต ภาสิต ความว่า พระสูตรนี้ประกอบด้วยเทศนา
วิลาสมีนัยอันวิจิตรอย่างนี้ คือเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ ดังเสียงนกการเวก เสนาะโสต เป็นพระ
สุรเสียงเพียงดังเสียงแห่งพรหม เช่นกับทรงโสรจสรงน้ำอมฤตลงในหทัย
แห่งบัณฑิตชน.
บทว่า อภินนฺทุ ความว่า อนุโมทนาด้วย รับรองด้วย.
ก็ อภินนฺท ศัพท์นี้ มาในอรรถว่า ตัณหา ก็มี เช่นในคำว่า
อภินนฺทติ อภิภวติ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมกล่าวสรรเสริญ เป็นต้น.
มาในอรรถว่า เข้าไปใกล้ ก็มี เช่นในประโยคว่า เทวดาและ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 284
มนุษย์ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างก็เข้าไปใกล้อาหารเป็นต้น.
มาในอรรถว่า รับรอง ก็มี เช่นในประโยคว่า
ญาติมิตรและผู้มีใจดี ย่อมรับรองบุคคล
ผู้ร้างแรมไปนาน แล้วกลับจากที่ไกลมาโดย
สวัสดีเป็นต้น.
มาในอรรถว่า อนุโมทนา ก็มี เช่นในประโยคว่า
อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา แปลว่า เพลิดเพลินแล้ว อนุโมทนา
แล้วเป็นต้น.
อภินนฺท ศัพท์นี้นั้น ในที่นี้ย่อมควรในความว่า อนุโมทนาและ
รับรอง ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า บทว่า อภินนฺทุ ความว่า
อนุโมทนาด้วย รับรองด้วย ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายต่างอนุโมทนาสุภาษิต ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้คงที่ตรัสดีแล้ว รับรองด้วยเศียร
เกล้าว่า สาธุ สาธุ ดังนี้แล.
บทว่า อิมสฺมิญฺจ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ความว่า พระสูตรอัน
ไม่มีคาถาปนนี้. ก็พระสูตรนี้ เรียกว่า ไวยากรณ์ เพราะไม่มีคาถาปน
บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุ ความว่า โลกธาตุประมาณหมื่น
จักรวาล.
บทว่า อกมฺปิตฺถ พึงทราบว่า ได้ไหวในเมื่อจบพระสตรีทีเดียว
หามิได้ ข้อนี้สมดังที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ว่า เมื่อกำลังตรัสอยู่ ฉะนั้น
พึงทราบว่า เมื่อกำลังทรงแสดงคลี่คลายทิฏฐิ ๖๒ อยู่ได้ไหวแล้วในฐานะ
๖๒ ประการ คือเมื่อเทศนาทิฏฐินั้น ๆ จบลง ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 285
ในข้อนั้น พึงทราบแผ่นดินไหวด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
๑. ธาตุกำเริบ
๒. อานุภาพของผู้มีฤทธิ์
๓. พระโพธิสัตว์ก้าวลงสู่พระครรภ์
๔. เสด็จออกจากครรภ์พระมารดา
๕. บรรลุพระสัมโพธิญาณ
๖. ทรงแสดงพระธรรมจักร
๗. ทรงปลงอายุสังขาร
๘. เสด็จดับขันธปรินิพพาน
วินิจฉัยเหตุแม้เหล่านั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวในคราววรรณนาพระบาลี
ที่มาในมหาปรินิพพานสูตรอย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุ ปัจจัย ๘
เหล่านี้แล ที่ให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ดังนี้ทีเดียว. ก็แผ่นดินใหญ่นี้
ได้ไหวในฐานะ ๘ แม้อื่น คือ
๑. คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์
๒. คราวเสด็จเข้าสู่โพธิมัณฑสถาน
๓. คราวรับผ้าบังสุกุล
๔. คราวซักผ้าบังสุกุล
๕. คราวแสดงกาลามสูตร
๖. คราวแสดงโคตมกสูตร
๗. คราวแสดงเวสสันดรชาดก
๘. คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้
ใน ๘ คราวนั้น คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์ และคราวเสด็จเข้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 286
สู่โพธิมัณฑสถาน แผ่นดินได้ไหวด้วยกำลังแห่งพระวิริยะ คราวรับผ้า
บังสุกุล แผ่นดินถูกกำลังความอัศจรรย์กระทบแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงละมหาทวีป ๔ อันมีทวีปสองพันเป็นบริวาร ออกผนวชไปสู่ป่าช้า
ถือเอาผ้าบังสุกุล ได้ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยาก ดังนี้ ได้ไหวแล้ว
คราวซักผ้าบังสุกุล และคราวแสดงเวสสันดรชาดก แผ่นดินได้ไหวด้วย
ความไหวมิใช่กาล คราวแสดงกาลามสูตร และคราวแสดงโคตมกสูตร
แผ่นดินได้ไหวด้วยความเป็นสักขีว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระ
พุทธเจ้าขอเป็นสักขี แต่คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้ เมือทรงแสดงสะสาง
คลี่คลายทิฏฐิ ๖๒ ประการอยู่ พึงทราบว่า ได้ไหวด้วยอำนาจถวาย
สาธุการ.
อนึ่ง มิใช่แต่ในฐานะเหล่านี้อย่างเดียวเท่านั้น ที่แผ่นดินไหว ที่
จริงแผ่นดินไหวแล้ว แม้ในคราวสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง แม้ในวันที่
พระมหินทเถระมาสู่ทวีปนี้ นั่งแสดงธรรมในชาติวัน และเมื่อพระ
บิณฑปาติยเถระกวาดลานพระเจดีย์ในกัลยาณีวิหาร แล้วนั่งที่ลานพระ
เจดีย์นั้นแหละ ยึดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เริ่มสวดพระสูตรนี้
เวลาจบพระสูตร แผ่นดินได้ไหวไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด. มีสถาน
ที่ชื่ออัมพลัฏฐิกะอยู่ด้านทิศตะวันออกของโลหปราสาท พระเถระผู้กล่าว
คัมภีร์ทีฆนิกายนั่งในสถานที่นั้น เริ่มสวดพรหมชาลสูตร แม้ในเวลาที่
พระเถระเหล่านั้นสวดจบ แผ่นดินก็ได้ไหวไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด
เหมือนกัน ดังนี้แล.
ด้วยอานุภาพแห่งพระสูตรอันประเสริฐใด ที่พระ
สยัมภูได้ทรงแสดงแล้ว แผ่นดินได้ไหวหลายครั้ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 287
อย่างนี้ ขอบัณฑิตทั้งหลายจงศึกษาโดยเคารพ ซึ่ง
อรรถกรรมของพระสูตรนั้น อันมีชื่อว่า พรหม-
ชาลสูตรในพระศาสนานี้ แล้วปฏิบัติโดยอุบายอัน
แยบคาย เทอญ.
วรรณนาพรหมชาลสูตร อันดับที่ ๑ ในสุมังคลวิลาสินี อรรถกถา
ทีฆนิกาย
จบแล้วด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 288
๒. สามัญญผลสูตร
( ๙ ) ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ สวนอัมพวันของหมอ
ชีวกโกมารภัจ กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ
๑,๒๕๐ รูป วันนั้นเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันครบรอบ
๔ เดือนฤดูดอกโกมุทบาน ในราตรีเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง พระเจ้า
แผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร แวดล้อมด้วยราช-
อำมาตย์ ประทับนั่ง ณ มหาปราสาทชั้นบน ขณะนั้น ท้าวเธอทรง
เปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ราตรีมีพระจันทร์แจ่มกระจ่าง
น่ารื่นรมย์หนอ ราตรีมีพระจันทร์แจ่มกระจ่าง ช่างงามจริงหนอ ราตรี
มีพระจันทร์แจ่มกระจ่าง น่าชมจริงหนอ ราตรีมีพระจันทร์แจ่มกระจ่าง
น่าเบิกบานจริงหนอ ราตรีมีพระจันทร์แจ่มกระจ่าง เข้าลักษณะจริงหนอ
วันนี้เราควรจะเข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์ผู้ใดดี ที่จิตของเราผู้เข้า
ไปหาพึงเลื่อมใสได้ ครั้นท้าวเธอมีพระราชดำรัสอย่างนี้แล้ว ราชอำมาตย์
ผู้หนึ่งจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ท่านปูรณกัสสป ปรากฏ
ว่าเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ
มหาชนยกย่องว่าดี เป็นคนเก่าแก่ บวชมานาน มีอายุล่วงกาลผ่านวัยมา
โดยลำดับ ขอพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านปูรณกัสสปนั้นเถิด เห็นด้วย
เกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านปูรณกัสสป พระหฤทัยพึง
เลื่อมใส เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอทรงนิ่งอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 289
ราชอำมาตย์อีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ท่านมักขลิโคสาล ปรากฏว่า เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อ
เสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ มหาชนยกย่องว่าดี เป็นคนเก่าแก่
บวชมานาน มีอายุล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ขอพระองค์เสด็จเข้าไป
หาท่านมักขลิโคสาลนั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้า
ไปหาท่านมักขลิโคสาล พระหฤทัยพึงเลื่อมใส เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูล
อย่างนี้แล้ว ท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่.
ราชอำมาตย์อีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ท่านอชิตเกสกัมพล ปรากฏว่า เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มี
ชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ มหาชนยกย่องว่าดี เป็นคนเก่าแก่
บวชมานาน มีอายุล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ขอพระองค์เข้าไปหา
ท่านอชิตเกสกัมพลนั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไป
หาท่านอชิตเกสกัมพล พระหฤทัยพึงเลื่อมใส เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูล
อย่างนี้แล้ว ท้าวเธอทรงนิ่งอยู่.
ราชอำมาตย์อีกคนหนึ่งจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ท่านปกุทธกัจจายนะ ปรากฏว่า เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มี
ชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ มหาชนยกย่องว่าดี เป็นคนเก่าแก่
บวชมานาน มีอายุล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ขอพระองค์เสด็จเข้าไปหา
ท่านปกุธกัจจายนะนั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไป
หาท่านปกุธกัจจายนะ พระหฤทัยพึงเลื่อมใส เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูล
อย่างนี้แล้ว ท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่.
ราชอำมาตย์อีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 290
ท่านสัญชัยเวลัฏฐบุตร ปรากฏว่า เป็นเจ้าหมู่คณะ เจ้าคณะ เป็นคณา-
จารย์มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ มหาชนยกย่องว่าดี เป็น
คนเก่าแก่ บวชมานาน มีอายุล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ขอพระองค์
เสด็จเข้าไปหาท่านสัญชัยเวลัฏฐบุตรนั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อ
พระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านนิครนถนาฏบุตร พระหฤทัยพึงเลื่อมใส เมื่อ
อำมาตย์ผู้นั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่
ราชอำมาตย์อีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ท่านนิครนถนาฏบุตร ปรากฏว่าเป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์
มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ มหาชนยกย่องว่าดี เป็นคนเก่าแก่
บวชมานาน มีอายุล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ขอพระองค์เสด็จเข้าหา
ท่านนิครนถนาฏบุตรนั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้า
ไปหาท่านนิครนถนาฏบุตร พระหฤทัยพึงเลื่อมใส เมื่ออำมาตย์ผู้นั้น
กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่.
( ๙๒) สมัยนั้น หมอชีวก โกมารภัจ นั่งนิ่งอยู่ในที่ไม่ไกล
พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ท้าวเธอจึงมี
พระราชดำรัสกะหมอชีวก โกมารภัจ ว่า ชีวกผู้สหาย ทำไมเธอจึงนิ่ง
เสียเล่า หมอชีวก โกมารภัจ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
พระผู้มีภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ สวนอัมพวันของ
ข้าพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป พระ
เกียรติศัพท์อันงามของพระองค์ ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก เป็นสารถีฝึกคน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 291
ที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
ผู้ปลุกให้ตื่น เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ขอพระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระหฤทัยพึงเลื่อมใส ท้าวเธอจึงมีพระ
ราชดำรัสว่า ชีวกผู้สหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงสั่งให้เตรียมหัตถียานไว้
หมอชีวก โกมารภัจ รับพระราชโองการแล้ว สั่งให้เตรียมช้างพังประมาณ
๕๐๐ เชือก และช้างพระที่นั่งเสร็จแล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์สั่งให้เตรียมหัตถียานพร้อมแล้ว เชิญพระองค์
เสด็จได้แล้ว พระเจ้าข้า.
ครั้งนั้นแล พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร โปรดให้พวกสตรี
ขึ้นช้างพัง ๕๐๐ เชือก เชือกละนาง ๆ แล้วจึงทรงช้างพระที่นั่ง มีผู้
ถือคบเพลิง เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ ด้วยพระราชานุภาพอันยิ่ง
ใหญ่ เสด็จไปสวนอัมพวันของหมอชีวก โกมารภัจ ครั้นใกล้จะถึง
สวนอัมพวัน ท้าวเธอทรงหวาดหวั่น ครั่นคร้าม สยดสยอง ครั้นท้าวเธอ
ทรงกลัว หวาดหวั่น มีพระโลมชาติชูชันแล้ว จึงมีพระราชดำรัสกะ
หมอชีวก โกมารภัจว่า ชีวกผู้สหาย ท่านไม่ได้ลวงเราหรือ ชีวกผู้สหาย
ท่านไม่ได้หลอกเราหรือ ชีวกผู้สหาย ท่านไม่ได้ล่อเรามาให้ข้าศึกหรือ
ไฉนเล่าภิกษุหมู่ใหญ่ถึง ๑,๒๕๐ รูป จึงไม่มีเสียงจาม เสียงกระแอม
เสียงพึมพำเลย หมอชีวก โกมารภัจ กราบทูลว่า ข้าแต่พระราชาผู้ยิ่งใหญ่
ขอพระองค์อย่าทรงหวาดหวั่นเกรงกลัวเลย พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้
สมมติเทพ ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ลวงพระองค์ ไม่ได้หลอกพระองค์ ไม่ได้
ล่อพระองค์มาให้ข้าศึกเลย พระเจ้าข้า ขอเชิญเสด็จเข้าไปเรื่อย ๆ เถิด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 292
พระเจ้าข้า นั่นประทีปที่โรงกลมยังตามอยู่ ลำดับนั้น ท้าวเธอเสด็จ
พระราชดำเนินโดยกระบวนข้างพระที่นั่งไปจนสุดทาง เสด็จลงจากช้าง
พระที่นั่ง ทรงดำเนินเข้าประตูโรงกลม แล้วจึงมีพระราชดำรัสกะหมอ
ชีวก โกมารภัจว่า ชีวกผู้สหาย ไหนพระผู้มีพระภาคเจ้า หมอชีวก
โกมารภัจกราบทูลว่า ขอเดชะ นั่นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งพิง
เสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา ภิกษุสงฆ์แวดล้อมอยู่.
ลำดับนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ทรงชำเลือง
เห็นภิกษุสงฆ์นั่งสงบเหมือนห้วงน้ำใส ทรงเปล่งพระอุทานว่า ขอให้
อุทัยภัทกุมารของเราจงมีความสงบอย่างภิกษุสงฆ์เดี๋ยวนี้. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาทั้งความรัก ทูลรับว่า
พระเจ้าข้า อุทัยภัทกุมารเป็นที่รักของหม่อมฉัน ขอให้อุทัยภัทกุมาร
ของหม่อมฉัน จงมีความสงบอย่างภิกษุสงฆ์เดี๋ยวนี้เถิด พระเจ้าข้า.
(๙๓) ลำดับนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรงอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทรงน้อมถวายอัญชลีแด่ภิกษุสงฆ์ ประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะขอทูลถามปัญหาบางเรื่องสักเล็กน้อย ถ้าพระ
องค์จะประทานพระวโรกาสพยากรณ์ปัญหาแก่หม่อมฉัน. พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสว่า เชิญถามเถิดมหาบพิตร ถ้าทรงพระประสงค์. พระเจ้า
อชาตศัตรู ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็นอันมาก
เหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู พนักงานเชิญธง พนักงานจัด
กระบวนทัพ พนักงานจัดส่งสะเบียง พวกอุคคราชบุตร พลอาสา ขุนพล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 293
พลกล้า พลสวมเกราะหนัง พวกบุตรทาส พวกทำขนม ช่างกัลบก
พนักงานเครื่องสรง พวกพ่อครัว ช่างดอกไม้ ช่างย้อม ช่างหู ช่างจักสาน
ช่างหม้อ นักคำนวณ พวกนับคะแนน หรือศิลปศาสตร์เป็นอันมาก แม้
อย่างอื่นใด ที่มีคติเหมือนอย่างนี้ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์
ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อม
บำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ
บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็น
ผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์อาจทำให้รู้ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือน
ฉันนั้นได้หรือไม่.
พ. มหาบพิตร พระองค์ทรงจำได้หรือไม่ว่า ปัญหาข้อนี้ มหาบพิตร
ได้ตรัสถามสมณพราหมณ์แม้พวกอื่นแล้ว.
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจำได้ ปัญหาข้อนี้หม่อมฉัน
ได้ถามสมณพราหมณ์พวกอื่นแล้ว.
พ. มหาบพิตร สมณพราหมณ์เหล่านั้นพยากรณ์อย่างไร ถ้ามหา-
บพิตรไม่หนักพระทัย ก็ตรัสเถิด.
อ. ณ ที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าหรือท่านผู้เปรียบดังพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ หม่อมฉันไม่หนักใจ พระเจ้าข้า.
พ. ถ้าอย่างนั้น โปรดมีพระดำรัสเถิด.
(๙๔) อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้
หม่อมฉันเข้าไปหาครูปูรณกัสสป ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับครูปูรณกัสสป
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 294
หนึ่ง ครั้นแล้ว หม่อมฉันได้กล่าวคำนี้กะครูปูรณกัสสปว่า ท่านกัสสป
ผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู
พนักงานเชิญธง พนักงานจัดกระบวนทัพ พนักงานจัดส่งเสบียง พวก
อุคคราชบุตร พลอาสา ขุนพล พลกล้า พลสวมเกราะหนัง พวกบุตร
ทาส พวกทำขนม ช่างกัลบก พนักงานเครื่องสรง พวกพ่อครัว ช่าง
ดอกไม้ ช่างย้อม ช่างหูก ช่างจักสาน ช่างหม้อ นักคำนวณ พวกนับ
คะแนน หรือศิลปศาสตร์เป็นอันมาก แม้อย่างอื่นใด ที่มีคติเหมือนอย่างนี้
คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน
ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร
สหาย ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทาน อันมีผลอย่างสูง
เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านกัสสปผู้เจริญ ท่านอาจทำให้รู้ถึงสามัญญผล
ที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้หรือไม่ เมื่อหม่อมฉันกล่าว
อย่างนี้ ครูปูรณกัสสปได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า มหาบพิตร เมื่อบุคคล
ทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่น
เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขา
ให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้เขาดิ้นรน
ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้น ไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลัง
เดียว ดักปล้นในทางเปลี่ยว ทำชู้ภริยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป
แม้หากผู้ใดจะใช้จักร ซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์
ในปัฐพีนี้ ให้เป็นลานเนื้อหนึ่ง ให้เป็นกองเนื้อหนึ่ง บาปที่มีการทำ
เช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 295
ยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ
ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่
น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำ
เช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ ด้วยการ
ฝึกอินทรีย์ การสำรวมศีล การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ
ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อม
ฉันถามถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ครูปูรณกัสสป กลับตอบถึงการที่ทำ
แล้วไม่เป็นอันทำ ฉะนี้ เปรียบเหมือนเขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ
หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง แม้ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เหมือนหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูปูรณกัสสปกลับตอบ
ถึงการที่ทำแล้วไม่เป็นอันทำ ฉันนั้นทีเดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อม
ฉันได้มีความดำริว่า ไฉนคนอย่างเราจะพึงมุ่งรุกรานสมณะหรือพราหมณ์
ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของครูปูรณกัสสป
ไม่พอใจก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่คัดค้านวาจา
นั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(๙๕) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อม
ฉันเข้าไปหาครูมักขลิโคสาล ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับครูมักขลิโคสาล
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้ว หม่อมฉันได้กล่าวคำนี้กะครูมักขลิโคสาลว่า ท่านโคสาล
ผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า ฯ ล ฯ คนเหล่า
นั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 296
แห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย
ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อ
ให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ฉันใด ท่านอาจทำให้รู้ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือน
ฉันนั้นได้หรือไม่ เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูมักขลิโคสาลได้กล่าว
คำนี้กะหม่อมฉันว่า มหาบพิตร ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความเศร้าหมอง
ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมเศร้าหมอง
ย่อมไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมบริสุทธิ์ ไม่มีการกระทำของตนเอง
ไม่มีการกระทำของผู้อื่น ไม่มีการกระทำของบุรุษ ไม่มีกำลัง ไม่มีความ
เพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวง
ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี
ความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ตามความประจวบ ตามความ
เป็นเอง ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น อนึ่ง กำเนิดที่
เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๐๐๐ กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรม ๑
ธรรมกึ่ง ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภิชาติ ๖ ปุริสภูมิ ๘ อาชีวก
๔,๙๐๐ ปริพาชก ๔,๙๐๐ นาควาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก
๓,๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิคัณฐีครรภ์ ๗
เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สระ ๗ ปวุฏะ ๗ ปวุฏะ ๗๐๐ เหวใหญ่
๗ เหวน้อย ๗๐๐ สุบิน ๗ สุบิน ๗๐๐ จุลมหากัป ๘,๐๐๐,๐๐๐ เหล่านี้
ที่พาลและบัณฑิต เร่ร่อน ท่องเที่ยวไป แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ ความ
สมหวังว่า เราจักอบรมกรรมที่ยังไม่อำนวยผล ให้อำนวยผล หรือเรา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 297
สัมผัสถูกต้องกรรมที่อำนวยผลแล้ว จักทำให้สุดสิ้น ด้วยศีล ด้วยพรต
ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ ไม่มีในที่นั้น สุขทุกข์ทำให้สิ้นสุดได้
เหมือนดวงของให้หมดด้วยทะนาน ย่อมไม่มีในสงสารด้วยอาการอย่างนี้เลย
ไม่มีความเสื่อมความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นเลื่อนลง พาลและบัณฑิต
เร่ร่อน ท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดทุกข์ได้ เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป
ย่อมคลี่ขยายไปเอง ฉะนั้น ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถาม
ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูมักขลิโคสาลกลับพยากรณ์ถึงความบริ-
สุทธิ์ด้วยการเวียนว่าย เหมือนเขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ หรือ
เขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง แม้ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ
หม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูมักขลิโคสาลกลับพยากรณ์
ถึงความบริสุทธิ์ด้วยการเวียนว่าย ฉันนั้นทีเดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
หม่อมฉันได้มีความดำริว่า ไฉนคนอย่างเราจะพึงมุ่งรุกรานสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของครู
มักขลิโคศาล ไม่พอใจ ก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ
ไม่คัดค้านวาจานั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(๙๖) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อม
ฉันเข้าไปหาครูอชิตเกสกัมพล ถึงที่อยู่ ๆ ล ฯ ครั้นแล้วหม่อมฉันได้กล่าว
คำนี้กะครูอชิตเกสกัมพลว่า ท่านอชิตผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็นอันมาก
เหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า ฯ ล ฯ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์
ที่เห็นประจักษ์ เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อม
บำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ
บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 298
ผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจทำให้
รู้ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้หรือไม่ เมื่อ
หม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูอชิตเกสกัมพลได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า
มหาบพิตร ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบาก
แห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาบิดาไม่มีคุณ
สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบปฏิบัติชอบ ซึ่งกระทำ
โลกนี้และโลกอื่นให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
ไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔ เมื่อทำกาลกิริยา ธาตุ
ดินไปตานธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลม
ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลายมี
เตียงเป็นที่ ๕ จะหามเขาไป ร่างกายปรากฏอยู่แต่ป่าช้า กลายเป็นกระดูก
มีสีดุจสีนกพิราบ การเช่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้
คำของคนบางพวกพูดว่า มีผล ๆ ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อเพราะ
กายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อม
ไม่เกิด ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็น
ประจักษ์ ครูอชิตเกสกัมพลกลับตอบถึงความชาดสูญ เหมือนเขาถามถึง
มะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง
แม้ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็น
ประจักษ์ ครูอชิตเกสกัมพลกลับตอบถึงความขาดสูญ ฉันนั้นทีเดียว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้มีความดำริว่า ไฉนคนอย่างเราจะพึงมุ่ง
รุกรานสมณะ หรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่
คัดค้านภาษิตของครูอชิตเกสกัมพล ไม่พอใจ ก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 299
ไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่คัดค้านวาจานั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(๙๗) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อม
ฉันเข้าไปหาครูปกุทธกัจจายนะถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้วหม่อมฉันได้กล่าว
คำนี้กะครูปกุทธกัจจายนะว่า ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็น
อันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า ฯ ล ฯ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่ง
ศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น
เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็นสุขอิ่มหนำ
สำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี
มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจ
ทำให้รู้ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้หรือไม่
เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูปกุทธกัจจายนะ ได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า
มหาบพิตร สภาวะ ๗ กองเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ
ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีใครให้เนรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งมั่นดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน
ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์
แก่กันและกัน สภาวะ ๗ กองเป็นไฉน คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ
กองลม สุข ทุกข์ ชีวะเป็นที่ ๗ สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบ
อย่างอันใครทำ ไม่มีใครเนรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งมันดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน
ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์
แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดี
ผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทำให้เข้าใจความก็ดี ไม่มีในสภาวะ ๗ กองนั้น ด้วยว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 300
บุคคลจะเอาศาสตราอย่างคมตัดศีรษะกัน ไม่ชื่อว่าใคร ๆ ปลงชีวิตใคร ๆ
เป็นแต่ศาตราสอดเข้าไปตามช่องแห่งสภาวะ ๗ กองเท่านั้น ดังนี้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูปกุทธกัจ-
จายนะกลับเอาเรื่องอื่นมาพยากรณ์ เหมือนเขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุน
สำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง แม้ฉันใด ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูปกุทธ-
กัจจายนะกลับเอาเรื่องอื่นมาพยากรณ์ ฉันนั้นทีเดียว ข้าแต่พระองค์ผู้-
เจริญ หม่อมฉันได้มีความดำริว่า ไฉนคนอย่างเราจะพึงมุ่งรุกรานสมณะ
หรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิต
ของครูปกุทธกัจจายนะ ไม่พอใจ ก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ
ไม่เชื่อถือ ไม่คัดค้านวาจานั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(๙๘) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อม
ฉันเข้าไปหาครูนิครนถนาฏบุตรถึงที่อยู่ ฯ ล ฯ ครั้นแล้วหม่อมฉันได้กล่าว
คำนี้กะครูนิครนถนาฏบุตรว่า ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็น
อันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า ฯ ล คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่ง
ศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น
เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็นสุขอิ่มหนำ
สำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี
มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจ
ทำให้รู้ถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้หรือไม่
เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูนิครนถนาฏบุตรได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า
มหาบพิตร นิครนถ์ในโลกนี้ เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 301
นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ เป็นไฉน มหาบพิตร
นิครนถ์ในโลกนี้ เป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยน้ำทั้งปวง ๑
เป็นผู้กำจัดด้วยน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้ประพรมด้วยน้ำทั้งปวง ๑ นิครนถ์เป็น
ผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ อย่างนี้แล มหาบพิตร เพราะเหตุที่
นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการอย่างนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า
เป็นผู้มีตนถึงที่สุดแล้ว มีตนสำรวมแล้ว มีตนตั้งมั่นแล้ว ดังนี้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูนิครนถ-
นาฏบุตร กลับตอบถึงสังวร ๔ ประการ ฉะนี้ เหมือนเขาถามถึงมะม่วง
ตอบขนุนสำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง แม้ฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมือหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครู
นิครนถนาฏบุตรกลับตอบถึงสังวร ๔ ประการ ฉันนั้นทีเดียว ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้มีความดำริว่า ไฉนคนอย่างเราจะพึงมุ่งรุกราน
สมณะหรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้าน
ภาษิตของครูนิครนถนาฏบุตร ไม่พอใจ ก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความ
ไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่คัดค้านวาจานั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(๙๙) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อม
ฉันเข้าไปหาครูสญชัยเวลัฏฐบุตรถึงที่อยู่ ฯ ล ฯ ครั้นแล้วหม่อมฉันได้กล่าว
คำนี้กะครูสญชัยเวลัฏฐบุตรว่า ท่านสญชัยผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็นอัน
มากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า ฯ ล ๆ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่ง
ศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์
นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็นสุข
อิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันที่ผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 302
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด
ท่านอาจทำให้รู้ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้
หรือไม่ เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูสญชัยเวลัฏฐบุตรได้กล่าวคำนี้
กะหม่อมฉันว่า ถ้ามหาบพิตรตรัสถามอาตมภาพว่า โลกอื่นมีอยู่หรือ ถ้า
อาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงทูลตอบว่ามี ความเห็นของอาตมภาพว่า
อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่
ถ้ามหาบพิตรตรัสถามอาตมภาพว่า โลกอื่นไม่มีหรือ ถ้าอาตมภาพมีความ
เห็นว่าไม่มี ก็จะพึงทูลตอบว่าไม่มี....ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่าโลกอื่นมีด้วย
ไม่มีด้วยหรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า มีด้วยไม่มีด้วย ก็จะพึงทูล
ตอบว่า มีด้วยไม่มีด้วย... ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า โลกอื่นมีก็มิใช่ ไม่มี
ก็มิใช่หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ก็จะพึงทูล
ตอบว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่....ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นมี
หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงทูลตอบว่ามี.. .ถ้ามหาบพิตร
ตรัสถามว่า สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นไม่มีหรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่าไม่มี
ก็จะพึงทูลตอบว่าไม่มี....ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นไม่มี
ด้วยหรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า มีด้วยไม่มีด้วย ก็จะพึงทูลตอบว่า
มีด้วยไม่มีด้วย....ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้น มีก็มิใช่ ไม่มี
ก็มิใช่หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ก็จะพึงทูล
ตอบว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่....ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า ผลวิบากแห่งกรรม
ที่ทำดีทำชั่วมีอยู่หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงทูลตอบว่ามี.. .
ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มีหรือ ถ้า
อาตมภาพมีความเห็นว่าไม่มี ก็จะพึงทูลตอบว่าไม่มี... ถ้ามหาบพิตรตรัส
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 303
ถามว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีด้วยไม่มีด้วยหรือ ถ้าอาตมภาพมี
ความเห็นว่า มีด้วย ไม่มีด้วย ก็จะพึงทูลตอบว่า มีด้วย ไม่มีด้วย ถ้า
มหาบพิตรตรัสถามว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่
หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ก็จะพึงทูลตอบว่า
มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่....ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
เกิดอีกหรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า เกิดอีก ก็จะพึงทูลตอบว่า เกิดอีก
... ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ไม่เกิดหรือ ถ้าอาตม-
ภาพมีความเห็นว่า ไม่เกิด ก็จะพึงทูลตอบว่า ไม่เกิด.. .ถ้ามหาบพิตรตรัส
ถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายเกิดด้วย ไม่เกิดด้วยหรือ ถ้าอาตมภาพมี
ความเห็นว่า เกิดด้วยไม่เกิดด้วย ก็จะพึงทูลตอบว่า เกิดด้วย ไม่เกิดด้วย
... ถ้ามหาบพิตรตรัสถานว่า สัตว์เบื้องหน้าแค่ทาย เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็
มิใช่หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ก็จะพึง
ทูลตอบว่า เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่... อาตมภาพมีความเห็นว่า อย่างนี้
ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครู
สญชัยเวลัฏฐบุตรกลับตอบส่ายไปฉะนี้ เหมือนเขาถามถึงมะม่วง ตอบ
ขนุนสำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง แม้ฉันใด ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญ ผลที่เห็นประจักษ์ ครูสญชัย-
เวลัฏฐบุตรกลับตอบส่ายไป ฉันนั้นทีเดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อม
ฉันได้มีความดำริว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านี้ ครูสญชัยเวลัฏฐบุตร
นี้ โง่กว่าเขาทั้งหมด งมงายกว่าเขาทั้งหมด เพราะเมื่อหม่อมฉันถามถึง
สามัญญผลที่เห็นประจักษ์อย่างไร จึงกลับตอบส่ายไป หม่อมฉันได้มีความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 304
ดำริว่า ไฉนคนอย่างเราจะพึงมุ่งรุกรานสมณะหรือพราหมณ์ ผู้อยู่ในราช-
อาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของครูสญชัยเวลัฏฐบุตร
ไม่พอใจ ก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่คัดค้านวาจา
นั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(๑๐๐) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นขอทูลถามพระผู้มี
พระภาคเจ้าบ้างว่า ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือ ทหารช้าง ทหาร
ม้า ทหารรถ ทหารธนู ทหารเชิญธง ทหารจัดกระบวนทัพ ทหาร
หน่วยส่งเสบียง พวกอุคคราชบุตร ทหารหน่วยอาสา แม่ทัพนายกอง
หน่วยทหารหาญ ทหารสวมเกราะหนัง ทหารรับใช้ หน่วยทำขนม หน่วย
ซักฟอก หน่วยตัดผม หน่วยทำครัว ช่างดอกไม้ ช่างย้อม ช่างทอ ช่าง
จักสาน ช่างหม้อ นักคำนวณ พวกนับคะแนน หรือศิลปศาสตร์เป็น
อันมาก แม้อย่างอื่นใด ที่มีคติเหมือนอย่างนี้ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผล
แห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลป -
ศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็น
สุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทำให้รู้สามัญญผลที่เห็นประจักษ์ใน
ปัจจุบันเหมือนฉันนั้นได้หรือไม่.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า อาจอยู่มหาบพิตร แต่ในข้อนี้
ตถาคตจะขอย้อนถามมหาบพิตรก่อน โปรดตรัสตอบตามที่พอพระทัย
มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน สมมติว่า มหาบพิตรพึง
มีบุรุษผู้เป็นทาสกรรมกร มีปกติตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยฟังพระบัญชาว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 305
จะโปรดให้ทำอะไร ประพฤติถูกพระทัย พูดจาไพเราะ คอยเฝ้าสังเกต
พระพักตร์ เขาจะมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า คติของบุญ วิบากของบุญ
น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริงพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า
อชาตศัตรูเวเทหิบุตร พระองค์นี้ เป็นมนุษย์ แม้เราก็เป็นมนุษย์ แต่
พระองค์ท่านทรงเอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับบำเรออยู่ด้วยเบญจกามคุณ
ประหนึ่งเทพเจ้า ส่วนเราสิเป็นทาสรับใช้ของพระองค์ท่านต้องตื่นก่อน
นอนทีหลัง ต้องคอยฟังพระบัญชาว่า จะโปรดให้ทำอะไร ต้องประพฤติ
ให้ถูกพระทัย ต้องพูดจาไพเราะ ต้องคอยเฝ้าสังเกตพระพักตร์ เราพึง
ทำบุญ จะได้เป็นเหมือนพระองค์ท่าน อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขา
ปลงผมและหนวด นุ่งห่ม ผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต ครั้น
บวชแล้ว เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความ
มีเพียงอาหาร และผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด ถ้าพวก
ราชบุรุษพึงกราบทูลถึงพฤติการณ์ของเขาอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์
พึงทรงทราบเถิด บุรุษผู้เป็นทาสกรรมกรของพระองค์ ผู้ตื่นก่อนนอน
ทีหลัง คอยฟังพระบัญชาว่า จะโปรดให้ทำอะไร ประพฤติถูกพระทัย
พูดจาไพเราะ คอยเฝ้าสังเกตพระพักตร์อยู่นั้น เขาปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้
สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความมีเพียงอาหาร
เละผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด มหาบพิตรจะพึงตรัส
อย่างนี้เทียวหรือว่า พ่อมหาจำเริญคนนั้นของข้ามาสิ จงมาเป็นทาสเป็น
กรรมกรของข้า จงตื่นก่อนนอนทีหลัง จงคอยฟังบัญชาว่าจะให้ทำอะไร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 306
ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะ คอยเฝ้าสังเกตดูหน้าข้าอีกตามเดิม.
พระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า จะเป็นเช่นนั้นไม่ได้เลย พระเจ้าข้า อันที่
จริงข้าพระองค์เสียอีก ควรจะไหว้เขา ควรจะลุกรับเขา ควรจะเชื้อเชิญ
ให้เขานั่ง ควรจะบำรุงเขาด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ควรจะจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองเขาอย่างเป็นธรรม.
มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อ
เป็นเช่นนั้น สามัญญผลที่เห็นประจักษ์จะมีหรือไม่.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญญผลที่เห็นประจักษ์
มีอยู่อย่างแน่แท้.
มหาบพิตร นี่แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ซึ่งตถาคต
ทำให้รู้เป็นข้อแรก.
(๑๐๑) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทำให้รู้สามัญญผลที่เห็น
ประจักษ์ในปัจจุบันแม้ข้ออื่นให้เหมือนอย่างนั้นได้หรือไม่.
อาจอยู่ มหาบพิตร แต่ในข้อนี้ตถาคตจักขอย้อนถามมหาบพิตรก่อน
โปรดตรัสตอบตามที่พอพระทัย มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัย
ความข้อนั้นเป็นไฉน สมมติว่า มหาบพิตรพึงมีบุรุษเป็นชาวนา คฤหบดี
ซึ่งเสียภาษีอากรเพิ่มพูนพระราชทรัพย์ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า คติ
ของบุญ วิบากของบุญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริงพระเจ้า
แผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหิบุตร พระองค์นี้เป็นมนุษย์
แม้เราก็เป็นมนุษย์ แต่พระองค์ท่านทรงเอิบอิ่มพรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วย
เบญจกามคุณดุจเทพเจ้า ส่วนเราสิเป็นชาวนาคฤหบดี ต้องเสียภาษีอาการ
เพิ่มพูนพระราชทรัพย์ เราพึงทำบุญจะได้เป็นเหมือนพระองค์ท่าน อย่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 307
กระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็น
บรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่
ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อ
บวชแล้ว เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความ
มีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด ถ้าพวกราช
บุรุษพึงกราบทูลพฤติการณ์ของเขาอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์พึงทรง
ทราบเถิด บุรุษผู้เป็นชาวนาคฤหบดี ซึ่งเสียภาษีอากรเพิ่มพูนพระราช
ทรัพย์ของพระองค์อยู่นั้น เขาปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เขาเป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา
สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความมีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง
ยินดียิ่งในความสงัด มหาบพิตรจะพึงตรัสอย่างนี้เทียวหรือว่า พ่อมหา-
จำเริญคนนั้นของข้ามาสิ จงเป็นชาวนาคฤหบดี เสียภาษีอากรเพิ่มพูน
ทรัพย์อีกตามเดิม.
จะเป็นเช่นนั้นไม่ได้เลย พระเจ้าข้า อันที่จริงหม่อมฉันเสียอีก ควร
จะไหว้เขา ควรลุกรับเขา ควรจะเชื้อเชิญเขาให้นั่ง ควรจะบำรุงเขาด้วย
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ควรจะจัดการ
รักษาป้องกันคุ้มครองเขาอย่างเป็นธรรม.
มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อ
เป็นเช่นนั้น สามัญญผลที่เห็นประจักษ์จะมีหรือไม่.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญญผลที่เห็นประจักษ์
มีอยู่อย่างแน่แท้.
มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ซึ่งตถาคต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 308
ทำให้รู้ถวายมหาบพิตรเป็นข้อที่ ๒.
(๑๐๒) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทำให้รู้สามัญญผลที่เห็น
ประจักษ์ในปัจจุบันแม้ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่า สามัญญผลที่
เห็นประจักษ์เหล่านี้ ได้หรือไม่.
อาจอยู่ มหาบพิตร ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรจงคอยสดับ จงตั้ง
พระทัยให้ดี ตถาคตจักแสดง.
ครั้นพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหิบุตร ทูล
สนองพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
มหาบพิตร พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง
โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก เป็น
สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระ
องค์นั้น ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้ง
ชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์พร้อม
ทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้
เกิดภายหลังในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้วได้
ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาส
คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้
ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์
ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาว-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 309
พัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่
ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออก
บวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อม
ด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรมวจีกรรมที่เป็นกุศล
มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.
จุลศีล
(๑๐๓) มหาบพิตร อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
วางไม้ วางมีด มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์
แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่
เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์
ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุน อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็
เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง
ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้
ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 310
๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้ว
ไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว
ไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกัน
แล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน
ยินดีคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำ
ที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ
เพราะหู ชวนให้รัก จักใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดจริง
พูดเป็นอรรถ พูดเป็นธรรม พูดเป็นวินัย พูดมีหลัก มีที่อ้าง มีที่สุด
ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
๘. เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม.
๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดเว้นการฉันในเวลา
วิกาล.
๑๐. เธอเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และ
ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.
๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตกแต่งร่างกาย ด้วย
ดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 311
๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรี และกุมารี.
๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสี และทาส.
๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะ และแกะ.
๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่ เละสุกร.
๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นา และที่ดิน.
๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้.
๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อ การขาย.
๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม
และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.
๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบ-
ตะแลง.
๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การ
ปล้น และกรรโชก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
จบจุลศีล
มัชฌิมศีล
(๑๐๔) ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม เช่น
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคามเห็นปานนี้ คือพืชเกิดแต่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 312
เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด
เป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๐๕) ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว
สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมของหอม สะสมอามิส
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๐๖) ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่
กุศล เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้
ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ
การฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคม มหรสพ มีการรำเป็นต้น การ
เล่านิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากบ้านเมือง
ที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง
ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา
รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัด
กระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง
(๑๐๗) ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท เช่นอย่างสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายเล่นการพนัน อันเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตา แถวละ
๑๐ ตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง
เล่นกำทาย เล่นสะกา เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อย ๆ เล่นหกคะเมน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 313
เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อย ๆ เล่นธนูน้อย ๆ เล่นเขียนทาย
กัน เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๐๘) ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงให้เห็นปานนี้ คือ เตียงมีเท้าเกิน
ประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่
ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่อง
ลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะ
วิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้าย มีสีหะและเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง
เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่อง
ลาดไหมขลิบทองและเครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาด
หลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์
ชื่ออชินะ อันมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่อง
ลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการ
หนึ่ง.
(๑๐๙) ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตกแต่ง
ร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบการ
ประดับตกแต่งร่างกาย อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวเห็นปานนี้ คือ อบตัว
ไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประ-
เทืองผิว ผัดหน้า ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา
ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้าประดับวิจิตร ติดกรอบหน้า ปักปิ่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 314
ใช้พัดวาลวีชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
(๑๑๐) ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่นอย่างที่สมณ-
พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประ-
กอบติรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่อง
มหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่อง
ผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน
เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ
เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่อง
เบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วย
ประการนั้น ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๑๑) ๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวคำแก่งแย่งกัน เช่นอย่าง
ที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังขวนขวายกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็นปานนี้ เช่นว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึง
ธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ตัวถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่าน
ปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่าน
ไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่
ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมา ผันแปร
ไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว
ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีล
ของเธอประการหนึ่ง.
(๑๑๒) ๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 315
ใช้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและการรับใช้เห็นปานนี้ คือ
รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี
และกุมารว่า ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป
ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ในที่โน้นมา ดังนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๑๓) ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวง และการพูด
เลียบเคียง เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขา
ให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูด
และเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
จบมัชฌิมศีล
มหาศีล
(๑๑๔ ) ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน-
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทาย
อวัยวะ ทายนิมิต ทายฟ้าผ่าเป็นต้น ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนาย
หนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบ
บูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนย
บูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วย
โลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอ
ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 316
เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอ
ทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกัน
ลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง
(๑๑๕) ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน-
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะ
ศาตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะ
อาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะ
กุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะ
ม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทาย
ลักณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทำ
ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๑๖) ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน-
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้
ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ดูฤกษ์ยาตราทัพ ว่าพระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระ
ราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอก
จักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย
พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายใน
จักรปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ ๆ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 317
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๑๗) ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน-
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยดิรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า
จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดิน
ถูกทาง ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมี
แผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และ
ดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง
จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราส
จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูก
ทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีอุกกา-
บาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผล
เป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาว
นักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตก
จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผล
เป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็น
อย่างนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๑๘) ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 318
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษา
หาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรค
มิได้ หรือนับคะแนนคำนวณ นับประมวลแต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๑๙) ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน-
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้
ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง
ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ ให้ยาผดุงครรภ์
ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ไห้มือสั่น ร่ายมนต์
ให้หูไม่ได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอ
ทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ
ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๒๐) ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน-
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำ
พิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน
ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน
ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยา
สำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง
ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 319
ทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ชะแผล
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๒๑) มหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบ
ภัยแต่ไหน ๆ เลย เพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก
กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหน ๆ เพราะราชศัตรูนั้น
มหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่
ประสบภัยแต่ไหน ๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้
ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล.
จบมหาศีล
อินทรีย์สังวร
(๑๒๒) มหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย.
มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต
ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม
แล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำ
นั้น ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุ
ฟังเสียงด้วยโสต................ดมกลิ่นด้วยฆานะ...............ลิ้มรสด้วยชิวหา
................ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย................. รู้เเจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ
แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 320
ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษามนินทรีย์ ชื่อว่า ถึงความสำรวมใน
มนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวย
สุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล.
(๑๒๓) มหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติ
สัมปชัญญะ.
มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว
ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก
ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการฉัน ในการดื่ม ในการเคี้ยว
ในการล้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน
การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง มหาบพิตร ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล.
(๑๒๔) มหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ.
มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็น
เครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทาง
ทิสาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง มหาบพิตร นกมีปีกจะบินไปทางทิสาภาค
ใด ๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้
สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหาร
ท้อง เธอจะไปทางทิสาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้สันโดษ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล.
(๑๒๕) ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติสัมป-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 321
ชัญญะ และสันโดษอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง
ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความ
เพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้าย
คือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง
อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้ ละถิ่นมิทธะ
แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ
สัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะ
แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ ณ ภายใน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความ
คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา
ได้.
(๑๒๖) มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ ไปประกอบ
การงาน การงานของเขาจะพึงสำเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิม
ให้หมดสิน และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขาจะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา
เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบการงาน บัดนี้
การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว
และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรา ยังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา ดังนี้ เขาจะ
พึงได้ความปราโมทย์ถึงความโสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก
เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย สมัยต่อมา เขาพึง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 322
หายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย เขาจะพึงคิดอย่างนี้
ว่า เมื่อก่อนเราเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหาร
ไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภค
อาหารได้ และมีกำลังกาย ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความ
โสมนัส มีความไม่มีโรคนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจำอยู่ในเรือนจำ สมัย
ต่อมา เขาพึงพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์
อะไร ๆ เลย เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ
บัดนี้เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัยแล้ว และเราไม่ต้องเสียทรัพย์
อะไร ๆ เลย ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการ
พ้นจากเรือนจำนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส ไม่ได้พึ่งตัวเอง
พึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความ
เป็นทาสนั้น พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตาม
ความพอใจ เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเอง
ไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้เราพ้นจากความ
เป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้
ตามความพอใจ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส
มีความเป็นไทยแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษมีทรัพย์ มีโภคสมบัติ พึงเดิน
ทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า สมัยต่อมา เขาพึง
ข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัยโดยสวัสดี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 323
เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ เดินทาง
ไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า บัดนี้ เราข้ามพ้นทาง
กันดารนั้น บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัย โดยสวัสดีแล้ว ดังนี้
เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็น
เหตุ ฉันใด.
มหาบพิตร ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ยังละ
ไม่ได้ในตนเหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็น
ทาส เหมือนทางไกลกันดาร และเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการ
ที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือน
การพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทยแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม
ฉันนั้นแล.
(๑๒๗) เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ที่ละได้แล้ว
ในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติ
ในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติ และสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีส่วนใด ๆ แห่งกาย
ของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงาน
สรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่ผงอาบน้ำลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ
หมักไว้ ตกเวลาเย็น ก้อนผงอาบน้ำซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด
ย่อมไม่กระจายออกฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 324
เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีส่วนใด ๆ แห่งกาย
ของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.
มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีต
กว่าสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อน ๆ.
(๑๒๘) มหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งใจในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจาร
สงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกาย
นี้แหละ ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มี
ส่วนใด ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำ
จะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ
ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็น พุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว
จะพึงทำห้องน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยน้ำเย็น ไม่มี
เอกเทศไหน ๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติ
และสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีส่วนใด ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและ
สุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อน ๆ.
(๑๒๙) มหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ
มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่
พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็น
สุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 325
ไม่มีส่วนใด ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือใน
กอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่ง
เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอก
บัวเหล่านั้น ชุ่มชื่น เอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอดตลอดเง่า ไม่
มีส่วนใด ๆ แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุก
ส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้
แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติไม่มีส่วนใด ๆ แห่ง
กายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง มหาบพิตร นี้
แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญญผลที่
เห็นประจักษ์ข้อก่อน ๆ.
(๑๓๐) มหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่
มีสุข ไม่มีทุกข์ เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอัน
บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีส่วนใด ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอัน
บริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วย
ผ้าขาว ไม่มีส่วนใด ๆ แห่งกายทุก ๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่มีส่วนใด ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์
ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่ง
กว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อน ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 326
(๑๓๑) ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรา
นี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วย
ข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลาย และ
กระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้
เนื่องอยู่ในกายนี้.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเอง ๘ เหลี่ยม
นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียว เหลือง
แดง ขาว หรือนวลร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้น
วางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเอง บริสุทธิ์
๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มี
ด้ายเขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวลร้อยอยู่ในนั้นฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิต
ไปเพื่อญาณทัสสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูปประกอบ
ด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด
ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลาย และกระจัดกระจายเป็น
ธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้
มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่า
สามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อน ๆ.
(๑๓๒) ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 327
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูป อันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจาก
กายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขา
จะพึงคิดอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง
แต่ก็ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะ
พึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง
ฝักอย่างหนึ่ง แต่ก็ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
จะพึงยกงูออกจากข้อง เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า นี้งู นี้ข้อง งูอย่างหนึ่ง
ข้องอย่างหนึ่ง แต่ก็งูยกออกจากข้องนั่นเองฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ
นิรมิตรูป อันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มี
อวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง มหาบพิตร นี้แหละ
สามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญญผลที่เห็น
ประจักษ์ข้อก่อน ๆ.
(๑๓๓) ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อแสดงฤทธิ์ เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ
คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้
ทำให้หายไปก็ได้ กะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้
ผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 328
เดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์
พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกาย
ไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อ หรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด
เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใด ๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้น ๆ
ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงา หรือลูกมือของช่างงา
ผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใด ๆ พึงทำเครื่องงา
ชนิดนั้น ๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทอง หรือลูกมือ
ของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิด
ใด ๆ พึงทำทองชนิดนั้น ๆ ให้สำเร็จได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อ
จิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อแสดง
ฤทธิ์ เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ทำให้หายไปก็ได้ทะลุฝากำแพง
ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น ดำลงในแผ่นดินเหมือน
ในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก
ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ มหาบพิตร
นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญญผลที่
เห็นประจักษ์ข้อก่อน ๆ.
(๑๓๔) ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 329
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสต เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียง
ทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ ด้วยทิพยโสต อันบริสุทธิ์
ล่วงโสตของมนุษย์.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียง
กลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียง
เปิงมางบ้าง เขาจะพึงเข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง
เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง เสียงเปิงมางดังนี้บ้างฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่อทิพยโสต เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียง
มนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยทิพยโสต อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของ
มนุษย์ มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้ง
ประณีตว่าสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อน ๆ.
(๑๓๕) ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น
ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ
ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ
ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจาก
โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน
ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็น
มหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 330
ยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็น
สมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่ม ที่ชอบการแต่งตัว
เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนในกระจก อันบริสุทธิ์สะอาด หรือในภาชนะน้ำ
อันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่า
หน้าไม่มีไฝฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของ
สัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิต
ปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมี
โมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่า
จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิต
เป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่น
ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่
มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ
ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น
ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้ง
ดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อน ๆ.
(๑๓๖) ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มี
กิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 331
อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึก
ชาติก่อนได้ เป็นอันมาก คือระลึกได้ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง
สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบ
ชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสน
ชาติบ้าง ตลอดหลายสังวัฏฏกัปบ้าง ตลอดหลายวิวัฏฏกัปบ้าง ตลอดหลาย
สังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี
กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั่นแล้วได้ไปเกิด ในภพโน้น แม้
ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้
เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้ว
จากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม
เขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้าน
นั้น เราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น
เราได้จากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยืนอย่างนั้น
ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้น
มาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็น
สมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การ
งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุส-
สติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 332
บ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง
ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง
พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดหลายสังวัฏฏกัปบ้าง ตลอดหลายวิวัฏฏกัป
บ้าง ตลอดหลายสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มี
โคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิด
ในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ
อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุ
เพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึก
ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ
ฉะนี้ มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้ง
ประณีตกว่าสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อน ๆ.
(๑๓๗) ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลัง
จุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน
พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้อง
หน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอุบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน
พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 333
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอ
ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ
ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนปราสาทตั้งอยู่ท่ามกลางทาง ๓ แพร่ง
บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนปราสาทนั้น จะพึงเห็นหมู่ชนกำลังเข้าบ้านบ้าง ออก
จากบ้านบ้าง เดินอยู่ตามถนนบ้าง นั่งอยู่ท่ามกลางทาง ๓ แพร่งบ้าง
เขาจะพึงรู้ว่า คนเหล่านี้เข้าบ้าน คนเหล่านี้ออกนอกบ้าน คนเหล่านี้
เดินตามถนน คนเหล่านี้นั่งอยู่ท่ามกลางทาง ๓ แพร่งฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
แล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ
รู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยา ด้วยทิพย-
จักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
ว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน
พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน
พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอ
ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 334
ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.
มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีต
กว่าสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อน ๆ.
(๑๓๘) ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ชัดตามเป็น
จริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินี-
ปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จาก
ภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้น
แล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
มหาบพิตร เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขา ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว
บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระจะพึงเห็นหอยโข่ง และหอยกาบบ้าง ก้อน
กรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ใน
สระน้ำนั้น เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หอยโข่ง
และหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้กำลัง
ว่ายอยู่บ้าง กำลังหยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉัน
นั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเสส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 335
อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อ
เธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัด
ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ. มหาบพิตร
ก็สามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้ออื่น ที่ดียิ่งกว่า หรือประณีตกว่าเสามัญญผลที่
เห็นประจักษ์ข้อนี้ ย่อมไม่มี.
(๑๓๙) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าอชาต-
ศัตรูเวเทหิบุตร เจ้าแผ่นดินมคธ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ไพเราะจับใจยิ่งนัก เปรียบเหมือน
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีป
ในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โทษได้ครอบงำ
ข้าพระองค์ซึ่งเป็นคนเขลา คนหลง ไม่ฉลาด ข้าพระองค์ได้ปลงพระ
ชนมชีพพระบิดา ผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เพราะปรารถนา
ความเป็นใหญ่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงรับทราบความผิดของ
ข้าพระองค์โดยเป็นความผิดจริง เพื่อสำรวมต่อไป พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสตอบว่า จริง มหาบพิตร ความผิดได้ครอบงำมหาบพิตรซึ่งเป็นคน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 336
เขลา คนหลง ไม่ฉลาด มหาบพิตร ได้ปลงพระชนมชีพพระบิดาผู้ดำรง
ธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เพราะปรารถนาความเป็นใหญ่ แต่เพราะ
มหาบพิตรทรงเห็นความผิดโดยเป็นความผิดจริงแล้ว ทรงสารภาพตาม
เป็นจริง ฉะนั้น ตถาคตขอรับทราบความผิดของมหาบพิตร ก็การที่บุคคล
เห็นความผิดโดยเป็นความผิดจริง แล้วสารภาพตามเป็นจริง รับสังวร
ต่อไป นี้เป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยะแล.
(๑๔๐) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าอชาต-
ศัตรูเวเทหิบุตร เจ้าแผ่นดินมคธ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์มีกิจมาก มีกรณียะมาก
ขอทูลลาไปในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอมหาบพิตรจงทรงทราบ
เวลา ณ บัดนี้เถิด ลำดับนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร เจ้าแผ่นดิน
มคธ ทรงเพลิดเพลิน ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จไป.
ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว พระราชาพระองค์นี้
ถูกขจัดเสียแล้ว หากท้าวเธอจักไม่ปลงพระชนมชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรม
เป็นพระราชาโดยธรรมไซร้ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
จักเกิดขึ้นแก่ท้าวเธอ ณ ที่ประทับนี้ทีเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำ
เป็นไวยากรณ์นี้แล้วภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วแล.
จบสามัญญผลสูตร ที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 337
๒. อรรถกถาสามัญญผลสูตร
พระบาลีสามัญญผลสูตรว่า เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา ราชคเห
ดังนี้ เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น มีการพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้
บทว่า ราชคเห ความว่า ในพระนครซึ่งมีชื่ออย่างนั้น จริงอยู่
พระนครนั้น เรียกกันว่า ราชคฤห์ เพราะพระเจ้ามันธาตุราช และ
ท่านมหาโควินท์เป็นต้น ครอบครอง.
ก็ในคำว่า ราชคฤห์นี้มีนักปราชญ์อัน ๆ พรรณนาไว้มากมาย จะ
มีประโยชน์อะไร ด้วยคำเหล่านั้น เพราะคำนั้น เป็นเพียงชื่อของเมือง
เท่านั้น.
พระนครราชคฤห์นี้ เป็นเมืองทั้งในพุทธกาล ทั้งในจักรพรรดิ-
กาล ส่วนในกาลที่เหลือ เป็นเมืองร้าง พวกยักษ์ครอบครอง เป็นป่า
ที่อยู่อาศัยของยักษ์เหล่านั้น.
คำว่า วิหรติ นี้ ตามธรรมดาเป็นคำแสดงถึงความพร้อมเพรียงด้วย
วิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอิริยาบถวิหารทิพพวิหารพรหมวิหาร
และอริยวิหาร.
แต่ในที่นี้ แสดงถึงการยืน เดิน นั่ง นอน ซึ่งเป็นอิริยาบถที่
ผลัดเปลี่ยนกันเท่านั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จะประทับยืนก็ตาม
เสด็จดำเนินไปก็ตาม ประทับนั่งก็ตาม บรรทมก็ตาม พึงทราบว่ๆ วิหรติ
ประทับอยู่ ทั้งนั้น. ด้วยว่า พระองค์ทรงบำบัดความลำบากแห่งอิริยาบถหนึ่ง
ด้วยอิริยาบถหนึ่ง ทรงบริหารอัตตภาพมิให้ทรงลำบากพระวรกาย ฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 338
จึงเรียกว่า วิหรติ แปลว่าประทับตามสบาย.
คำว่า ชีวกสฺส โกมารภจฺจสฺส อมฺพวเน นี้ เป็นคำแสดงแหล่ง
ที่พำนักใกล้กรุงราชคฤห์นั้น พอที่จะเข้าไปอาศัยบิณฑบาตได้ เพราะฉะนั้น
ในข้อนี้พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า คำว่า ราชคเห วิหรติ ชีวกสฺส
โกมารภจฺจสฺส อมฺพวเน ความว่า ประทับอยู่ ณ สวนอัมพวัน
ของหมอชีวกโกมารภัจ กรุงราชคฤห์ เพราะคำนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงใน
อรรถว่า ใกล้.
ในพระบาลีนั้น ที่ชื่อว่า ชีวก ด้วยอรรถว่า ยังเป็นอยู่ ที่ชื่อว่า
โกมารภัจ ด้วยอรรถว่า พระราชกุมารทรงชุบเลี้ยง.
เหมือนอย่างที่เล่ากันว่า พระอภัยราชกุมาร เสด็จไปพบทารกเข้า
รับสั่งถามว่า "อะไรนั่นพนาย ที่ฝูงกาล้อมอยู่" ทูลว่า "ทารก พระเจ้าข้า"
"ยังเป็นอยู่หรือ " "ยังเป็นอยู่ พระเจ้าข้า" " ถ้าอย่างนั้น จงนำทารก
นั้นเข้าไปภายในเมืองแล้วมอบให้แม่นมทั้งหลายเลี้ยงดูไว้."
คนทั้งหลายจึงได้ตั้งชื่อทารกนั้นว่า ชีวก เพราะยังเป็นอยู่ และ
ตั้งชื่อว่า โกมารภัจ เพราะพระราชกุมารทรงชุบเลี้ยง.
นี่เป็นความย่อในเรื่องนี้ ส่วนความพิสดารเรื่องหมอชีวก มาแล้ว
ในขันธกะนั่นแล แม้กถาที่วินิจฉัยเรื่องหมอชีวกนี้ ก็ได้กล่าวไว้แล้วใน
อรรถกถาวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา.
ก็หมอชีวกนี้ สมัยหนึ่ง ทำให้พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ซึ่งหมักหมมด้วยโรค ให้หายเป็นปรกติแล้ว ถวายผ้าคู่หนึ่ง ซึ่งทอจาก
แคว้นสีพี พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนา เวลาอนุโมทนาการถวายผ้าจบ
ลง หมอชีวกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล จึงคิดว่า เราควรจะไปเฝ้าดูแลพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 339
พุทธเจ้า วันละ ๒ - ๓ ครั้ง. ก็เขาคิชฌกูฏนี้และพระวิหารเวฬุวัน
อยู่ไกลเหลือเกิน. แต่สวนอัมพวันของเราใกล้กว่า อย่ากระนั้นเลย เรา
จะสร้างวิหารถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในสวนอัมพวันของเรานี้.
หมอชีวกนั้น จึงสร้างที่อยู่กลางคืน ที่อยู่กลางวัน ที่พัก กุฎี และมณฑป
เป็นต้น แล้วให้สร้างพระคันธกุฎีที่สมควรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ใน
สวนอัมพวันนั้น ให้สร้างกำแพง มีสีเหมือนผ้าแดง สูง ๑๘ ศอก ล้อม
สวนอัมพวัน เลี้ยงดูภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยจีวรและ
ภัตตาหาร ได้หลั่งน้ำทักษิโณทก มอบถวายสวนอัมพวันเป็นพระวิหาร
แล้ว.
คำว่า ชีวกสฺส โกมารภจฺจสฺส อมฺพวเน ท่านกล่าวหมายเอา
พระวิหาร ดังกล่าวมานั้น.
บทว่า ราชา ในบททั้งหลาย มีบทว่า ราชา เป็นต้น ความว่า
ชื่อว่า ราชา ด้วยอรรถว่า ทำมหาชนให้ยินดีหรือให้เจริญด้วยอิสริยสมบัติ
ของตน หรือด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ.
ชื่อว่า มาคโธ ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่เหนือชาวมคธ.
ชื่อว่า อชาตสตฺตุ ด้วยอรรถว่า เนมิตตกาจารย์ทั้งหลายชี้แจง
ไว้ว่า ยังไม่ทันเกิดก็จักเป็นศัตรูแก่พระราชา.
ได้ยินว่า เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรู ยังอยู่ในพระครรภ์ พระเทวีเกิด
การแพ้ท้องถึงขนาดอย่างนี้ว่า โอ หนอ เราพึงดื่มโลหิตพระพาหา
เบื้องขวาของพระราชา. พระนางมีพระดำริว่า การแพ้ท้องเกิดขึ้นใน
ฐานะอันหนัก ไม่อาจบอกให้ใครทราบได้ เมื่อไม่อาจบอกได้ จึงซูบ
ผอมผิวพรรณซีดลง. พระราชาตรัสถามพระนางว่า "แน่ะนางผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 340
ร่างกายของเธอมีผิวพรรณไม่ปรกติ มีเหตุอะไรหรือ." ทูลว่า " โปรด
อย่าถามเลย ทูลกระหม่อม." รับสั่งว่า " แน่ะพระนาง เมื่อไม่อาจบอก
ความประสงค์ของเธอแก่ฉัน เธอจักบอกแก่ใคร" ดังนี้ ทรงรบเร้า
ด้วยประการนั้น ๆ ให้พระนางบอกจนได้ พอได้ทรงทราบเท่านั้นก็รับสั่ง
ว่า "พระนางนี่โง่ ในเรื่องนี้เธอมีสัญญาหนักหนา มิใช่หรือ" ดังนั้น
จึงรับสั่งให้เรียกหมอมา ให้เอามีดทองกรีดพระพาหา แล้วรองพระโลหิต
ด้วยจอกทองคำ เจือด้วยน้ำแล้วให้พระนางดื่ม.
เนมิตตกาจารย์ทั้งหลายได้ทราบข่าวดังนั้น พากันพยากรณ์ว่า
พระโอรสในครรภ์องค์นี้จักเป็นศัตรูแก่พระราชา พระราชาจักถูกพระ
โอรสองค์นี้ปลงพระชนม์.
พระเทวีทรงสดับข่าวดังนั้น มีพระดำริว่า "พระโอรสที่ออกจาก
ท้องของเราจักฆ่าพระราชา" จึงมีพระประสงค์จะทำลายครรภ์ให้ตกไป
เสด็จไปพระราชอุทยานให้บีบพระครรภ์. แต่พระครรภ์ก็หาตกไม่.
พระนางเสด็จไปให้ทำอย่างนั้นบ่อย ๆ. พระราชาทรงสืบดูว่า พระเทวีนี้
เสด็จไปพระราชอุทยานเนือง ๆ เพื่ออะไร ทรงทราบเหตุนั้นแล้วจึงทรง
ห้ามว่า พระนาง เด็กในท้องของพระนาง ยังไม่รู้ว่าเป็นชายหรือหญิง
เลย พระนางก็กระทำอย่างนี้กะทารกที่เกิดแก่ตนเสียแล้ว โทษกองใหญ่
ของเราดังกล่าวนี้จักกระจายไปทั่วชมพูทวีป ขอพระนางจงอย่ากระทำ
อย่างนี้อีกเลย แล้วได้ประทานอารักขา. พระนางเธอได้หมายใจไว้ว่า
เวลาตลอดจักฆ่าเสีย. แม้ในเวลาที่ตลอดนั้น พวกเจ้าหน้าที่อารักขาก็ได้
นำพระกุมารออกไปเสีย. สมัยต่อมา พระกุมารเจริญวัยแล้ว จึงนำมา
แสดงแก่พระเทวี. พอทอดพระเนตรเห็นพระกุมารเท่านั้น พระนางก็
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 341
เกิดความรักพระโอรส. ฉะนั้นจึงไม่อาจฆ่าพระกุมารนั้นได้. ลำดับต่อมา
แม้พระราชาก็ได้พระราชทานตำแหน่งอุปราชแก่พระโอรส.
สมัยต่อมา พระเทวทัตอยู่ในที่ลับ คิดว่า พระสารีบุตรก็มี
บริษัทมาก พระโมคคัลลานะก็มีบริษัทมาก พระมหากัสสปะก็มีบริษัท
มาก ท่านเหล่านี้มีธุระคนละอย่าง ๆ ถึงเพียงนี้ แม้เราก็จะแสดงธุระ
สักอย่างหนึ่ง. พระเทวทัตนั้น เมื่อไม่มีลาภ ก็ไม่อาจทำบริษัทให้เกิด
ขึ้นได้ จึงคิดว่า เอาละ เราจักทำลาภให้เกิดขึ้น จึงใช้อิทธิปาฏิหาริย์
ทำให้อชาตศัตรูราชกุมารเลื่อมใส ตานนัยที่มาในขันธกะ พอรู้ว่า
พระกุมารอชาตศัตรู เลื่อมใสคุ้นเคยยิ่ง ถึงขนาดมาสู่ที่บำรุงของตนทั้งเช้า
เย็นพร้อมด้วยบริวารเต็มรถ ๕๐๐ คัน วันหนึ่งจึงเข้าไปหากล่าวว่า ดูก่อน
กุมาร เมื่อก่อนพวกมนุษย์มีอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีอายุน้อย ดูก่อนกุมาร
ถ้าอย่างนั้นพระราชกุมารพระองค์จงปลงพระชนม์พระบิดาเสียแล้วเป็น
พระราชา. อาตมภาพจักปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักเป็นพระ
พุทธเจ้า แล้วส่งพระกุมารไปปลงพระชนม์พระบิดา. พระกุมารอชาตศัตรู
นั้นหลงเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเทวทัตมีอานุภาพมาก สิ่งที่พระเทวทัตไม่รู้
แจ้งไม่มี จึงเหน็บกฤชที่พระอุรุ มุ่งจะฆ่ากลางวันแสก ๆ มีความกลัวหวาด-
หวั่นสะดุ้งตื่นเต้น เข้าไปภายในพระราชฐาน ทำอาการแปลก ๆ มีประการ
ดังกล่าวแล้ว. ครั้งนั้นพวกอำมาตย์จับอชาตศัตรูราชกุมารได้ ส่งออกมา
ปรึกษาโทษว่า พระกุมารจะต้องถูกประหาร พระเทวทัตจะต้องถูกประหาร
และภิกษุพวกพระเทวทัตทั้งหมดจะต้องถูกประหาร แล้วกราบทูลพระ
ราชาว่า พวกข้าพระองค์จักกระทำตามพระราชอาชญา. พระราชาทรง
ลดตำแหน่งของพวกอำมาตย์ที่ประสงค์ลงโทษประหาร ทรงตั้งพวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 342
อำมาตย์ที่ไม่ต้องการให้ลงโทษประหารไว้ในตำแหน่งสูง ๆ แล้วตรัสถาม
พระกุมารว่า ลูกต้องการจะฆ่าพ่อเพื่ออะไร. พระกุมารกราบทูลว่า
หม่อมฉันต้องการราชสมบัติ พระเจ้าข้า. พระราชาได้พระราชทาน
ราชสมบัติแก่พระโอรสนั้น.
อชาตศัตรูราชกุมาร บอกแก่พระเทวทัตว่า ความปรารถนาของเรา
สำเร็จแล้ว. ลำดับนั้นพระเทวทัตกล่าวกะพระกุมารว่า พระองค์เหมือน
คนเอาสุนัขจิ้งจอกไว้ภายในกลองหุ้มหนัง แล้วสำคัญว่าทำกิจสำเร็จ
เรียบร้อยแล้ว อีกสองสามวันพระบิดาของพระองค์ทรงคิดว่า พระองค์
ทำการดูหมิ่น แล้วก็จักเป็นพระราชาเสียเอง. พระกุมารถามว่า ถ้า
อย่างนั้น ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรเล่า. พระเทวทัตตอบว่า จงฆ่าชนิด
ถอนรากเลย. พระกุมารตรัสว่า พระบิดาของข้าพเจ้าไม่ควรฆ่าด้วย
ศาตรามิใช่หรือ. พระเทวทัตจึงกล่าวว่า จงฆ่าพระองค์ด้วยการตัด
พระกระยาหาร. พระกุมารจึงสั่งให้เอาพระบิดาใส่เข้าในเรือนอบ. ที่ชื่อ
ว่าเรือนอบ คือเรือนมีควันที่ทำไว้เพื่อลงโทษแก่นักโทษ. พระกุมารสั่ง
ไว้ว่า นอกจากพระมารดาของเราแล้ว อย่าให้คนอื่นเยี่ยม.
พระเทวีทรงใส่ภัตตาหารในขันทองคำแล้วห่อชายพกเข้าเยี่ยมพระ
ราชา. พระราชาเสวยภัตตาหารนั้นจึงประทังพระชนม์อยู่ได้. พระกุมาร
ตรัสถามว่า พระบิดาของเราดำรงพระชนม์อยู่ได้อย่างไร. ครั้นทรงทราบ
ความเป็นไปนั้นแล้ว ตรัสสั่งห้ามมิให้พระมารดานำสิ่งของใส่ชายพก
เข้าเยี่ยม.
ตั้งแต่นั้น พระเทวีก็ใส่ภัตตาหารไว้ในพระเมาลีเข้าเยี่ยม. พระ
กุมารทรงทราบแม้ดังนั้น รับสั่งห้ามมิให้พระมารดามุ่นพระเมาลีเข้าเยี่ยม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 343
ลำดับนั้น พระเทวีทรงใส่ภัตตาหารไว้ในฉลองพระบาททอง
ปิดดีแล้ว ทรงฉลองพระบาททองเข้าเยี่ยม. พระราชาดำรงพระชนม์อยู่
ด้วยภัตตาหารนั้น. พระกุมารตรัสถามอีกว่า พระบิดาดำรงพระชนม์อยู่
ได้อย่างไร ครั้นทรงทราบความนั้น ตรัสสั่งห้ามมิให้แม้แต่ทรงฉลอง
พระบาทเข้าเยี่ยม.
ตั้งแต่นั้นพระเทวีก็ทรงสนานพระวรกายด้วยน้ำหอม แล้วทาพระ
วรกายด้วยอาหารมีรสอร่อย ๔ อย่าง แล้วทรงห่มพระภูษาเข้าเยี่ยม.
พระราชาทรงเลียพระวรกายของพระเทวีประทังพระชนม์อยู่ได้. พระกุมาร
ตรัสถามอีก ครั้นทรงทราบดังนั้นแล้วจึงตรัสสั่งว่า ตั้งแต่นี้ไป ห้าม
พระมารดาเข้าเยี่ยม.
ต่อแต่นั้น พระเทวีประทับยืนแทบประตูทรงกันแสงคร่ำครวญว่า
ข้าแต่พระสวามีพิมพิสาร เวลาที่เขาผู้นี้เป็นเด็ก พระองค์ก็ไม่ให้โอกาส
ฆ่าเขา ทรงเลี้ยงศัตรูของพระองค์ไว้ด้วยพระองค์เองแท้ ๆ บัดนี้ การเห็น
พระองค์ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ต่อแต่นี้ไปหม่อมฉันจะไม่ได้เห็นพระองค์
อีก ถ้าโทษของหม่อมฉันมีอยู่ ขอได้โปรดพระราชทานอภัยโทษด้วยเถิด
พระเจ้าข้า แล้วก็เสด็จกลับ. ตั้งแต่นั้นมาพระราชาก็ไม่มีพระกระยาหาร
ดำรงพระชนม์อยู่ด้วยความสุขประกอบด้วยมรรคผล ( ทรงเป็นพระ
โสดาบัน) ด้วยวิธีเดินจงกรม พระวรกายของพระองค์ก็เปล่งปลั่งยิ่งขึ้น.
พระกุมารตรัสถามว่า แน่ะพนาย พระบิดาของเรายังดำรงพระชนม์
อยู่ได้อย่างไร ครั้นทรงทราบว่า ยังดำรงพระชนม์อยู่ได้ด้วยวิธีเดิน
จงกรม พระเจ้าข้า ซ้ำพระวรกายยังเปล่งปลั่งยิ่งขึ้นอีก จึงทรงพระดำริ
ว่า เราจักติดมิให้พระบิดาเดินจงกรมได้ในบัดนี้ ทรงบังคับช่างกัลบก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 344
ทั้งหลายว่า พวกท่านจงเอามีดโกนผ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระบิดาของเรา
แล้วเอาน้ำมันผสมเกลือทา แล้วจงย่างด้วยถ่านไม้ตะเคียนซึ่งติดไฟคุไม่มี
เปลวเลย แล้วส่งไป. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพวกช่างกัลบก ทรง
ดำริว่า ลูกของเราคงจักมีใครเตือนให้รู้สึกตัวแน่แล้ว ช่างกัลบกเหล่านี้
คงจะมาแต่งหนวดของเรา.
ช่างกัลบกเหล่านั้นไปถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ครั้นถูกตรัสถานว่า มา
ทำไม จึงกราบทูลให้ทรงทราบ พระราชาพิมพิสารจึงตรัสว่า พวกเจ้าจง
ทำตามใจพระราชาของเจ้าเถิด พวกช่างกัลบกจึงกราบทูลว่า ประทับนั่งเถิด
พระเจ้าข้า ถวายบังคมพระเจ้าพิมพิสารแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้สมมติเทพ พวกข้าพระองค์จำต้องทำตามพระราชโองการ ขอพระองค์
อย่าทรงพิโรธพวกข้าพระองค์เลย การกระทำเช่นนี้ไม่สมควรแก่พระราชา
ผู้ทรงธรรมเช่นพระองค์ แล้วจับข้อพระบาทด้วยมือซ้าย ใช้มือขวาถือ
มีดโกนผ่าพื้นพระบาททั้ง ๒ ข้าง เอาน้ำมันผสมเกลือทา แล้วย่างด้วย
ถ่านเพลิงไม้ตะเคียนที่กำลังคุไม่มีเปลวเลย.
เล่ากันว่า ในกาลก่อน พระราชาพิมพิสารได้ทรงฉลองพระ
บาทเข้าไปในลานพระเจดีย์ และเอาพระบาทที่ไม่ได้ชำระเหยียบเสื่อกกที่
เขาปูไว้สำหรับนั่ง นี้เป็นผลของบาปนั้น.
พระราชาพิมพิสารทรงเกิดทุกขเวทนาอย่างรุนแรง ทรงรำลึก
อยู่ว่า อโห พุทฺโธ อโห ธมฺโม อโห สงฺโฆ เท่านั้น ทรงเหี่ยว
แห้งไปเหมือนพวงดอกไม้ที่เขาวางไว้ในลานพระเจดีย์ บังเกิดเป็นยักษ์
ชื่อชนวสภะ เป็นผู้รับใช้ของท้าวเวสสวรรณในเทวโลกชั้นจาตุมหา-
ราช.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 345
และในวันนั้นนั่นเอง พระโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูก็ประสูติ.
หนังสือ ๒ ฉบับ คือข่าวพระโอรสประสูติฉบับหนึ่ง ข่าวพระบิดาสวรรคต
ฉบับหนึ่ง มาถึงในขณะเดียวกันพอดี.
พวกอำมาตย์ปรึกษากันว่า พวกเราจักทูลข่าวพระโอรสประสูติก่อน
จึงเอาหนังสือข่าวประสูตินั้นทูนถวายในพระหัตถ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู.
ความรักลูกเกิดขึ้นแก่พระองค์ในขณะนั้นทันที ท่วมไปทั่วพระวรกายแผ่
ไปจดเยื่อในกระดูก. ในขณะนั้นพระองค์ได้รู้ซึ้งถึงคุณของพระบิดาว่า
แม้เมื่อเราเกิด พระบิดาของเราก็คงเกิดความรักอย่างนี้เหมือนกัน. จึงรีบ
มีรับสั่งว่า แน่ะพนาย จงไปปล่อยพระบิดาของเรา. พวกอำมาตย์ทูลว่า
พระองค์สั่งให้ปล่อยอะไร พระเจ้าข้า แล้วถวายหนังสือแจ้งข่าวอีกฉบับ
หนึ่งที่พระหัตถ์. พอทรงทราบความเป็นไปดังนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู
ทรงกันแสง เสด็จไปเฝ้าพระมารดา ทูลว่า ข้าแต่เสด็จแม่ เมื่อหม่อมฉัน
เกิด พระบิดาของหม่อมฉันเกิดความรักหม่อมฉันหรือหนอ พระนาง
เวเทหิมีรับสั่งว่า เจ้าลูกโง่ เจ้าพูดอะไร เวลาที่ลูกยังเล็กอยู่ เกิดเป็น
ฝีที่นิ้วมือ ครั้งนั้นพวกแม่นมทั้งหลายไม่สามารถทำให้ลูกซึ่งกำลังร้องไห้
หยุดร้องได้ จึงพาลูกไปเฝ้าเสด็จพ่อของลูกซึ่งประทับนั่งอยู่ในโรงศาล
เสด็จพ่อของลูกได้อมนิ้วมือของลูกจนฝีแตกในพระโอษฐ์นั้นเอง ครั้งนั้น
เสด็จพ่อของลูกมิได้เสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงกลืนพระบุพโพปนพระ
โลหิตนั้นด้วยความรักลูก เสด็จพ่อของลูกมีความรักลูกถึงปานนี้.
พระเจ้าอาชาตศัตรูทรงกันแสงคร่ำครวญ ได้ถวายเพลิงพระศพพระบิดา.
ฝ่ายพระเทวทัตเข้าเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า มหาบพิตร พระองค์
จงสั่งคนที่จักปลงชีวิตพระสมณโคดม แล้วสั่งคนทั้งหลายที่พระเจ้า-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 346
อชาตศัตรูพระราชทาน ตนเองขึ้นเขาคิชฌกูฏ กลิ้งศิลาก็แล้ว ให้ ปล่อย
ช้างนาฬาคิรีก็แล้ว ด้วยอุบายไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่อาจปลง
พระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ก็เสื่อมลาภสักการะ จึงขอวัตถุ ๕
ประการ เมื่อไม่ได้วัตถุ ๕ ประการนั้นก็ประกาศว่า ถ้าอย่างนั้น จักให้
มหาชนเข้าใจเรื่องให้ตลอด จึงทำสังฆเภท เมื่อพระสารีบุตรและพระ
โมคคัลลานะพาบริษัทกลับแล้ว จึงรากเลือดออกร้อนๆ นอนอยู่บนเตียง
คนไข้ ๙ เดือน เดือดร้อนใจ ถามว่า เดี๋ยวนี้พระศาสดาประทับอยู่ที่
ไหน ครั้นได้รับตอบว่า ในพระเชตวัน จึงกล่าวว่า พวกท่านจงเอา
เตียงหามเราไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อเขาหามมา เพราะมิได้กระทำกรรมที่
ควรจะได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงถูกแผ่นดินสูบที่ใกล้สระโบกขรณี
ในพระเชตวันนั่นเอง ลงไปอยู่ในมหานรก. นี้เป็นความย่อในเรื่องนี้.
ส่วนนัยแห่งเรื่องอย่างพิสดาร มาในขันธกวินัยแล้ว. ก็เพราะเรื่องนี้
มาในขันธกวินัยแล้ว จึงมิได้กล่าวทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.
พระกุมารนี้พอเกิดเท่านั้น ก็จักเป็นศัตรูแก่พระราชา พวก
เนมิตตกาจารย์ทำนายไว้ดังนี้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า อชาตศัตรู ด้วยประการ
ฉะนี้.
บทว่า เวเทหีปุตฺโต ความว่า พระกุมารนี้ เป็นพระโอรสของ
พระธิดาพระเจ้าโกศล มิใช่ของพระเจ้าวิเทหราช.
ก็คำว่า เวเทหี นี้เป็นชื่อของบัณฑิต. เหมือนอย่างที่กล่าวว่า
คหปตานีเป็นบัณฑิต พระผู้เป็นเจ้าอานนท์เป็นบัณฑิตมุนี.
ในคำว่า เวเทหี นั้น มีอธิบายเฉพาะคำดังต่อไปนี้
ชื่อว่า เวทะ ด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องรู้ คำว่า เวทะ นี้เป็นชื่อของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 347
ความรู้.
ชื่อว่า เวเทหี ด้วยอรรถว่า ดำเนินการ สืบต่อ พยายามด้วย
ความรู้.
โอรสของพระนางเวเทหิ ชื่อว่า เวเทหิบุตร.
บทว่า ตทหุ เท่ากับบท ตสฺมึ อหุ ความว่า ในวันนั้น.
ชื่อว่า อุโบสถ ด้วยอรรถว่า วันเป็นที่เข้าไปอยู่ (จำศีล ).
อธิบายว่า บทว่า อุปวสนฺติ จำศีล คือเป็นผู้เข้าถึงด้วยศีลหรือด้วย
อาการที่ไม่ขวนขวาย ชื่อว่า เป็นผู้อยู่จำศีล.
ก็ในคำว่า อุโบสถ นี้ มีการขยายความดังต่อไปนี้
การสวดปาติโมกข์ ชื่อว่า อุโบสถ เช่นในบาลีมีอาทิว่า อายา-
มาวุโส กปฺปิน อุโปสถ คมิสฺสาม มาเถิดท่านกัปปินะ พวกเราจัก
ไปทำอุโบสถกัน.
ศีล ชื่อว่า อุโบสถ เช่นในบาลีมีอาทิว่า เอว อฏฺงฺคสมนฺนาคโต
โข วิสาเข อุโปสโถ อุปวุตฺโถ แน่ะนางวิสาขา ศีลประกอบด้วยองค์
๘ อย่างนี้ เราจำแล้ว.
การจำศีล ชื่อว่า อุโบสถ เช่นในบาลีมีอาทิว่า สุทฺธสฺส เว
สทา ผคฺคุ สุทฺธสฺสุโปสโถ สทา ผัคคุณฤกษ์ย่อมถึงพร้อมแก่ผู้
หมดจดแล้วทุกเมื่อ การจำศีลย่อมถึงพร้อมแก่ผู้หมดจดทุกเมื่อ.
บัญญัติ ชื่อว่า อุโบสถ เช่นในบาลีมีอาทิว่า อุโปสโถ
นาม นาคราชา นาคราช ชื่อว่า บัญญัติ.
วันที่ควรจำศีล ชื่อว่า อุโบสถ เช่นในบาลีมีอาทิว่า น ภิกฺขเว
ตทหุโปสเถ สภิกฺขุกา อาวาสา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในวันที่ควรจำศีล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 348
นั้น วัดว่างภิกษุ.
แม้ในที่นี้ก็ประสงค์วันที่พึงจำศีลนั่นแหละ. ก็วันที่พึงจำศีลนี้นั้น
มี ๓ คือ วัน ๘ ค่ำ วัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ เพราะฉะนั้น ที่กล่าวใน
บาลีว่า วัน ๑๕ ค่ำ ก็เพื่อห้ามวัน ๘ ค่ำและวัน ๑๔ ค่ำทั้ง ๒ วัน. ฉะนั้น
จึงกล่าวว่า ชื่อว่า อุโบสถ ด้วยอรรถว่า วันเป็นที่เข้าไปอยู่ (จำศีล ).
บทว่า โกมุทิยา ความว่า มดอกโกมุทบาน. ได้ยินว่า เวลานั้น
ดอกโกมุทบานเต็มที่.
ชื่อว่า โกมุทิ ด้วยอรรถว่า เป็นฤดูมีดอกโกมุท.
บทว่า จาตุมาสินิยา ความว่า สุดเดือน ๔.
จริงอยู่ วันอุโบสถวันนั้นเป็นวันที่สุดแห่งเดือน ๔ เหตุนั้น จึงชื่อว่า
จาตุมาสี. แต่ในที่นี้ท่านเรียกว่า จาตุมาสินี.
เพราะเหตุที่ว่าวันนั้นพอดีเต็มเดือน เต็มฤดู เต็มปี สมบูรณ์
จึงชื่อว่า ปุณฺณา.
ศัพท์ว่า มา ท่านเรียกพระจันทร์.
พระจันทร์เต็มในวันนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปุณฺณมา.
ในบททั้ง ๒ คือ ปุณฺณาย และ ปุณฺณมาย นี้ พึงทราบ
เนื้อความดังกล่าวมานี้.
บทว่า ราชา อมจฺจปริวุโต ความว่า พระราชาแวดล้อมด้วย
อำมาตย์ทั้งหลาย ในราตรีซึ่งสว่างไสวไปด้วยแสงจันทร์เต็มดวงที่ปราศจาก
เครื่องเศร้าหมอง ๔ ประการ ปานประหนึ่งทิศาภาคที่ชำระล้างด้วยธาร
น้ำนมมีแสงเงินยวงออกเป็นช่อ และดุจช่อดอกโกมุททำด้วยผ้าเนื้อดีสีขาว
ราวกะว่าพวงแก้วมุกดาและพวงดอกมะลิ มีแสงแวววาวกระจายดังวิมาน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 349
เงินเปล่งรัศมี.
บทว่า อุปริปาสาทวรคโต ความว่า ประทับอยู่ในมหาปราสาท
ชั้นบน. ประทับนั่งเหนือพระราชอาสน์ทองภายใต้มหาเศวตฉัตรที่ยกขึ้น
ไว้ซึ่งควรแก่ควานยิ่งใหญ่.
ถามว่า ประทับนั่งทำไม ?
แก้ว่า เพื่อบรรเทาความหลับ.
พระราชาองค์นี้แหละ ตั้งแต่วันที่พยายามปลงพระชนม์พระบิดา
พอหลับ พระเนตรทั้ง ๒ ลงด้วยตั้งพระทัยว่าจักหลับ ก็สะดุ้งเฮือกเหมือน
ถูกหอกตั้งร้อยเล่มทิ่มแทง ทรงตื่นอยู่ (ไม่หลับ เพราะหวาดภัย
เหลือเกิน). ครั้นพวกอำมาตย์ทูลถามว่า เป็นอะไร พระองค์ก็มิได้ตรัส
อะไร ๆ. เพราะฉะนั้น ความหลับจึงมิได้เป็นที่พอพระทัยของพระองค์.
ดังนั้นจึงประทับนั่งเพื่อบรรเทาความหลับ.
อนึ่ง ในวันนั้นมีนักษัตรเอิกเกริกมาก. ทั่วพระนครกวาดกัน
สะอาดเรียบร้อย. เอาทรายมาโรย. ประตูเรือนประดับดอกไม้ ๕ สี.
ข้าวตอกและหม้อใส่น่าเต็ม. ทุกทิศาภาคชักธงชัย ธงแผ่นผ้า. ประดับ
ประทีปนาลาวิจิตรโชติช่วง. มหาชนเล่นนักษัตรกันสนุกสนานตานวิถีถนน
เบิกบานกันทั่วหน้า.
อาจารย์บางท่านกล่าวว่า ประทับนั่งเพราะเป็นวันเล่นนักษัตร
ดังนี้ก็มี. ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เป็นอันทำสันนิษฐานว่า นักษัตร
ทุกครั้งเป็นของราชตระกูล แต่พระราชาองค์นี้ ประทับนั่งเพื่อบรรเทา
ความหลับเท่านั้น.
บทว่า อุทาน อุทาเนสิ ความว่า ทรงเปล่งอุทาน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 350
น้ำมันที่ล้นเครื่องตวงจนไม่อาจตวงได้ เขาเรียกว่า น้ำมันล้น
ฉันใด และน้ำที่ท่วมบ่อจนไม่อาจชังอยู่ได้ เขาเรียกว่า ห้วงน้ำล้น
ฉันใด คำปีติที่เปี่ยมใจจนไม่อาจเก็บไว้ได้ ดำรงอยู่ภายในใจไม่ได้
ล้นออกมาภายนอกนั้น เรียกว่า อุทาน ฉันนั้น. พระราชาทรงเปล่งคำที่
สำเร็จด้วยปีติเห็นดังนี้.
บทว่า โทสินา ความว่า ปราศจากโทษ. อธิบายว่า ปราศจาก
เครื่องเศร้าหมอง ๔ ประการเหล่านี้ คือ หมอก น้ำค้าง กลุ่มควัน
ราหู.
ราตรีนั้นมีคำชม ๕ ประการ มีเป็นที่น่ารื่นรมย์เป็นต้น ก็ราตรีนั้น
ชื่อว่า รมฺมนียา เพราะอรรถว่า ทำใจของมหาชนให้รื่นรมย์.
ชื่อว่า อภิรูปา เพราะอรรถว่า งามยิ่งนัก เพราะสว่างด้วยแสง
จันทร์ซึ่งพ้นจากโทษดังกล่าว.
ชื่อว่า ทสฺสนียา เพราะอรรถว่า ควรที่จะดู.
ชื่อว่า ปาสาทิกา เพราะอรรถว่า ทำจิตให้ผ่องใส.
ชื่อว่า ลกฺขญฺา เพราะอรรถว่า ควรที่จะกำหนดวันและเดือน
เป็นต้น.
บทว่า ก นุ ขฺวชฺช ตัดบทเป็น ก นุ โข อชฺช.
บทว่า สมณ วา พฺราหฺมณ วา ความว่า ชื่อว่าสมณะ เพราะ
เป็นผู้สงบบาป ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาป
บทว่า ยนิโน ปยิรุปาสโต ความว่า จิตของเราผู้เข้าไปหา
สมณะหรือพราหมณ์ผู้ฉลาดพูด เพื่อถามปัญหา พึงเลื่อมใสเพราะได้ฟัง
ธรรมที่ไพเราะ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 351
ด้วยพระดำรัสแม้ทั้งหมดนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงกระทำแสง
สว่างให้เป็นนิมิต ด้วยประการฉะนี้.
ทรงกระทำแก่ใคร ? แก่หมอชีวก. เพื่ออะไร ? เพื่อเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า. ก็พระเจ้าอชาตศัตรูไม่อาจเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเอง
หรือ ? ถูกแล้ว ไม่อาจ. เพราะเหตุไร ? เพราะพระองค์มีความผิดมาก.
ด้วยว่า พระเจ้าอชาตศัตรูได้ปลงพระชนม์ชีพพระบิดาของ
พระองค์ผู้เป็นอุบปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าและเป็นอริยสาวก และ
พระเทวทัตก็ได้อาศัยพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นนั่นแหละกระทำความฉิบหาย
ใหญ่แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ความผิดจึงมากด้วยประการฉะนี้. ด้วย
ความที่พระองค์มีความผิดมากนั้น จึงไม่อาจเสด็จไปเฝ้าด้วยพระองค์เอง.
อนึ่ง หมอชีวก ก็เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระเจ้าอชาต-
ศัตรูจึงได้ทรงกระทำแสงสว่างให้เป็นนิมิต ด้วยหมายพระทัยว่า เราจัก
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเป็นเงาตามหลังหมอชีวกนั้น.
หมอชีวกรู้ว่า พระราชาทรงกระทำแสงสว่างให้เป็นนิมิตแก่ตน
หรือ ? รู้อย่างดี. เมื่อรู้เหตุไรจึงนิงเสีย ? เพื่อตัดความวุ่นวาย. ด้วยว่า
ในบริษัทนั้น มีอุปัฏฐากของครูทั้ง ๖ ประชุมกันอยู่มาก. เขาเหล่านั้น
แม้ตนเองก็ไม่ได้รับการศึกษาเลย เพราะผู้ไม่ได้รับการศึกษาอยู่ใกล้ชิด
เมื่อเราเริ่มกล่าวถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาเหล่านั้นก็จัก
ผลุดลุกผลุดนั่งในระหว่าง ๆ กล่าวคุณแห่งศาสดาของตน ๆ เมื่อเป็น
เช่นนี้ คุณกถาแห่งพระศาสดาของเราก็จักไม่สิ้นสุดลงได้ ฝ่ายพระราชา
ครั้นทรงพบกุลุปกะของครูทั้ง ๖ เหล่านี้แล้ว มิได้พอพระทัยในคุณกถา
ของครูทั้ง ๖ เหล่านั้น เพราะไม่มีสาระที่จะถือเอาได้ ก็จักกลับมาทรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 352
ถามเรา ครั้นถึงตอนนั้น เราจักกล่าวพระคุณของพระศาสดา โดย
ปราศจากความวุ่นวาย แล้วจักพาพระเจ้าอชาตศัตรูไปสู่สำนักของพระ
ศาสดา หมอชีวกรู้ชัดอยู่อย่างนี้จึงนิ่งเสีย เพื่อตัดความวุ่นวาย ดังนี้แล.
อำมาตย์แม้เหล่านั้นพากันคิดอย่างนี้ว่า วันนี้พระราชาทรงชมราตรี
ด้วยบท ๕ บท คงมีพระประสงค์จะเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์บางองค์
ถามปัญหาแล้วฟังธรรมเป็นแน่ ถ้าพระราชานี้จักทรงสดับธรรมของ
สมณะหรือพราหมณ์องค์ใดแล้ว ทรงเลื่อมใส และจักทรงกระทำสักการะ
ใหญ่แก่สมณะหรือพราหมณ์องค์นั้น สมณะผู้เป็นกุลุปกะของผู้ใด ได้เป็น
กุลุปกะของพระราชา ผู้นั้นย่อมมีความเจริญ ดังนี้.
อำมาตย์เหล่านั้นครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงเริ่มกล่าวสรรเสริญสมณะ
ผู้เป็นกุลุปกะของตน ๆ ด้วยหมายใจว่า เรากล่าวสรรเสริญสมณะผู้เป็น
กุลุปกะของตนแล้วจักพาพระราชาไป เราก็จักไป. เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูมีกระแสพระดำรัสอย่างนี้แล้ว อำมาตย์
ของพระราชาคนหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาครูทั้ง ๖ เหล่านั้น คำว่า ปูรโณ เป็นชื่อแห่งศาสดา-
ปฏิญญา. คำว่า กสฺสโป เป็นโคตร.
ได้ยินว่า ปูรณกัสสปนั้นเป็นทาสที่ ๙๙ ของตระกูลหนึ่ง เหตุนั้น
เขาจึงตั้งชื่อว่า ปูรณะ แต่เพราะเป็นทาสที่เป็นมงคล จึงไม่มีใครคอยว่า
กล่าวว่า ทำดี ทำชั่ว หรือว่า ยังไม่ทำ ทำไม่เสร็จ. ได้ยินว่า
นายปูรณะนั้นคิดว่า เราจะอยู่ในที่นี้ทำไม จึงหนีไป. ครั้งนั้นพวกโจร
ได้ชิงผ้าของเขาไป. เขาไม่รู้จะหาใบไม้หรือหญ้ามาปกปิดกาย จึงเปลือยกาย
เข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง. มนุษย์ทั้งหลายเห็นเขา เข้าใจว่า ท่านผู้นี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 353
เป็นสมณะ เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้มักน้อย คนเช่นท่านผู้นี้ไม่มี จึง
ถือเอาของคาวหวาน เป็นต้น เข้าไปหา. เขาคิดว่า เพราะเราไม่นุ่งผ้า
จึงเกิดลาภนี้ ตั้งแต่นั้นมา แม้ได้ผ้าก็ไม่นุ่ง ได้ถือการเปลือยกายนั้น
นั่นแหละเป็นบรรพชา. แม้คนเหล่าอื่น ๆ ประมาณ ๕๐๐ คน ก็พากัน
บวชตาม ในสำนักของปูรณกัสสปนั้น. ท่านกล่าวว่า ปูรโณ กสฺสโป
หมายถึงนักบวชปูรณกัสสปที่เล่าเรื่องมาแล้วนั้น.
ชื่อว่า เจ้าหมู่ ด้วยอรรถว่า มีหมู่ กล่าวคือหมู่นักบวช.
ชื่อว่า เจ้าคณะ ด้วยอรรถว่า มีคณะนั้นนั่นแหละ.
ชื่อว่า คณาจารย์ ด้วยอรรถว่า เป็นอาจารย์ของคณะนั้น โดย
ฐานฝึกมารยาท.
บทว่า าโต แปลว่า รู้กันทั่ว เห็นชัด.
ชื่อว่า มีเกียรติยศ ด้วยอรรถว่า มียศที่เลื่องลือไปอย่างนี้ว่า
มักน้อย สันโดษ แม้ผ้าก็ไม่นุ่ง เพราะมักน้อย.
บทว่า ติตฺถกโร แปลว่า เจ้าลัทธิ.
บทว่า สาธุสมฺมโต ความว่า เขายกย่องอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ ดี
งาม เป็นสัตบุรุษ.
บทว่า พหุชนสฺส ความว่า ปุถุชนอันธพาล ผู้ไม่ได้สดับ.
ชื่อว่า รัตตญญู ด้วยอรรถว่า รู้ราตรีมากหลาย ที่ล่วงมาแล้ว
ตั้งแต่บวช.
ชื่อว่า จิรปัพพชิตะ ด้วยอรรถว่า บวชนาน.
เพราะถ้อยคำของผู้ที่บวชไม่นาน เป็นถ้อยคำไม่น่าเชื่อ ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า บวชมานาน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 354
บทว่า อทฺธคโต แปลว่า มีอายุยืนนาน อธิบายว่า ล่วงไป
๒-๓ รัชกาล.
บทว่า วโยอนุปฺปตฺโต ความว่า อยู่ตลอดมาถึงปัจฉิมวัย.
แม้คำทั้ง ๒ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาถ้อยคำของคนหนุ่มที่ไม่น่าเชื่อ.
บทว่า ตุณหี อโหสิ ความว่า พระราชาทรงเป็นเหมือนบุรุษผู้
ต้องการจะกินมะม่วงสุกมีสีดังทอง มีรสอร่อย ครั้นพบผลมะเดื่อสุกที่นำ
มาวางไว้ในมือ ก็ไม่พอใจ ฉันใด พระราชาก็ฉันนั้น มีพระประสงค์
สดับธรรมกถาที่ไพเราะ ประกอบด้วยคุณมีฌานและอภิญญาเป็นต้น แล
สรุปลงด้วยพระไตรลักษณ์ แม้เมื่อก่อนได้เคยพบปูรณกัสสป ก็ไม่
พอพระทัย มาบัดนี้ยิ่งไม่พอพระทัยขึ้นไปอีกเพราะการพรรณนาคุณ
จึงทรงนิ่งเสีย แม้ไม่พอพระทัยเลย ก็มีพระดำริว่า ถ้าเราจักคุกคามคนที่
เท็จทูลนั้นแล้วให้เขาจับคอนำออกไป ผู้ใดผู้หนึ่งแม้อื่นก็จะกลัวว่า พระ
ราชาทรงกระทำอย่างนี้แก่คนที่พูดนั้น ๆ จักไม่พูดอะไร ๆ ฉะนั้น จึง
ทรงอดกลั้นถ้อยคำนั้นแม้ไม่เป็นที่พอพระทัย ได้ทรงนิ่งเสียเลย.
ลำดับนั้น อำมาตย์อีกคนหนึ่งคิดว่า เราจักกล่าวคุณของสมณ-
พราหมณ์ผู้เป็นกุลุปกะของตน จึงเริ่มทูล. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
อำมาตย์อีกคนหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น. คำนั้นทั้งหมดพึงทราบตามนัยที่กล่าว
แล้ว.
ก็ในบรรดาครูทั้ง ๖ นี้ คำว่า มักขลิ เป็นชื่อของครูคนหนึ่งนั้น.
คำว่า โคสาล เป็นชื่อรอง เพราะเกิดที่โรงโค. ได้ยินว่า เขาถือ
หม้อน้ำมันเดินไปบนพื้นที่มีเปือกตม. นายกล่าวว่า อย่าลื่นล้มนะพ่อ.
เขาลื่นล้มเพราะเลินเล่อ จึงเริ่มหนีเพราะกลัวนาย. นายวิ่งไปยึดชายผ้าไว้.
เขาจึงทิ้งผ้าเปลือยกายหนีไป. ความที่เหลือ เช่นเดียวกับปูรณกัสสป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 355
นั่นเอง.
คำว่า อชิต เป็นชื่อของครูคนหนึ่งนั้น. ชื่อว่า เกสกัมพล
ด้วยอรรถว่า ครองผ้ากัมพลที่ทอด้วยผมคน. รวมชื่อทั้ง ๒ เข้าด้วย
กัน จึงเรียกว่า อชิตเกสกัมพล. ใน ๒ ชื่อนั้น ผ้ากัมพลที่ทำด้วย
ผมคน ชื่อว่า เกสกัมพล. ชื่อว่าผ้าที่มีเนื้อหยาบกว่าผ้าเกสกัมพลนั้น
ไม่มี. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่ทอ
ด้วยด้ายจะมีกี่อย่างก็ตาม ผ้ากันพลที่ทอด้วยผมคนเป็นผ้าที่มีเนื้อหยาบกว่า
ผ้าทอเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้ากัมพลที่ทอด้วยผมคน หน้าหนาว
ก็เย็นเยือก หน้าร้อนก็ร้อนระอุ มีค่าน้อย มีสัมผัสระคาย สีไม่สวย
ทั้งกลิ่นก็เหม็น.
คำว่า ปกุทธ เป็นชื่อของครูคนหนึ่งนั้น. คำว่ากัจจายนะ เป็น
โคตร. รวมชื่อและโคตรเข้าด้วยกัน จึงเรียกว่า ปกุทธกัจจายนะ. ครูปกุทธ-
กัจจายนะนี้ห้ามน้ำเย็น แม้ถ่ายอุจจาระ ก็ไม่ใช้น้ำล้าง. ได้น้ำร้อนหรือ
น้ำข้าวจึงทำการล้าง. ครั้นข้ามแม่น้ำหรือน้ำตามทาง คิดว่าศีลของเรา
ขาด แล้วจึงก่อสถูปทรายอธิฐานศีลแล้วจึงไป. ครูคนนี้มีลัทธิที่
ปราศจากสิริถึงปานนี้.
คำว่า สญชัย เป็นชื่อของครูคนหนึ่งนั้น. ชื่อว่า เวลัฏฐบุตร
เพราะเป็นบุตรของเวลัฏฐะ.
ครูคนหนึ่ง ชื่อว่า นิครนถ์ ด้วยอำนาจชื่อที่ได้แล้ว เพราะพูด
เสมอว่า พวกเราไม่มีกิเลสที่ร้อยรัด ที่เกลือกกลั้ว พวกเราเว้นจากกิเลส
ที่พัวพัน.
ชื่อว่า นาฏบุตร เพราะเป็นบุตรของคนฟ้อนรำ.
บทว่า อล โข ราชา ความว่า ได้ยินว่า พระราชาทรงสดับคำของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 356
อำมาตย์เหล่านั้นแล้ว มีพระราชดำริว่า เราไม่ต้องการฟังคำพูดของผู้ใด ๆ
ผู้นั้น ๆ ย่อมพูดพล่ามไปหมด ส่วนคำพูดของผู้ใดที่เราต้องการฟัง เขา
ผู้นั้นกลับนิ่งอยู่ เหมือนครุฑถูกฤทธิ์นาคเข้าไปแล้วยืนนิ่ง เสียหายแล้ว
สิเรา ครั้นแล้วทรงพระดำริว่า หมอชีวกเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้สงบระงับ แม้ตัวเองก็สงบระงับ ฉะนั้น จึงนั่งนิ่ง
เหมือนภิกษุที่สมบูรณ์ด้วยวัตร หมอชีวกนี้ เมื่อเราไม่พูด ก็จักไม่พูด
ก็เมื่อจะจับช้าง ควรจะจับเท้าช้างนั่นแหละ จึงทรงปรึกษากับหมอชีวก
นั้นด้วยพระองค์เอง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข ราชา
ดังนี้.
ในพระบาลีนั้น บทว่า กึ ตุณฺหี ความว่า นิ่งเพราะเหตุไร
พระราชาตรัสถามว่า เมื่ออำมาตย์เหล่านี้กล่าวคุณแห่งสมณะผู้เป็นกุลุปกะ
ของตน ๆ อยู่ ปากไม่พอกล่าว สมณะที่เป็นกุลุปกะของท่านเหมือนอย่าง
ของอำมาตย์เหล่านี้ ไม่มีหรือ ท่านเป็นคนจนหรือ พระบิดาของเรา
ประทานความเป็นใหญ่แก่ท่านแล้วมิใช่หรือ หรือว่าท่านไม่มีศรัทธา.
ลำดับนั้น หมอชีวก จึงคิดในใจว่า พระราชาพระองค์นี้ให้เรา
กล่าวคุณแห่งสมณะผู้เป็นกุลุปกะ บัดนี้เราไม่ใช่เวลาที่เราจะนิ่ง เหมือน
อย่างว่า อำมาตย์เหล่านี้ถวายบังคมพระราชาแล้วนั่งลงกล่าวคุณของสมณะ
ผู้กุลุปกะของตน ๆ ฉันใด เราจะกล่าวคุณของพระศาสดาของเราเหมือน
อย่างอำมาตย์เหล่านี้หาควรไม่ ดำริพลางลุกขึ้นจากอาสนะหันหน้าไปทาง
ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์
ประคองอัญชลีซึ่งรุ่งเรื่องไปด้วยทศนัขสโมธานเหนือพระเศียร แล้ว
ทูลว่าข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์อย่าทรงเข้าพระทัยว่า ชีวกนี้จะพาไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 357
พบสมณะพอดีพอร้าย เพราะพระศาสดาของข้าพระองค์นี้ ในการถือ
ปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา ในการประสูติจากครรภ์พระมารดา ในการ
เสด็จออกผนวช ในการตรัสรู้ และในการประกาศธรรมจักร หวั่นไหว
ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ก็อย่างนี้ คราวเสด็จลงจาก
เทวโลกก็อย่างนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจักกล่าวคุณแห่งพระศาสดาของข้าพระ
พุทธเจ้า ขอพระองค์จงตั้งพระทัยให้แน่วแน่สดับเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้นกราบทูลดังนี้แล้วจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้ .
ในพระบาลีนั้น คำว่า ต โข ปน เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถ
แห่งอิตถัมภูตาขยาน คือให้แปลว่า ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
บทว่า กลฺยาโณ ความว่า ประกอบด้วยความงาม คือคุณธรรม.
มีอธิบายว่า ประเสริฐที่สุด.
บทว่า กิตฺติสทฺโท ความว่า ชื่อเสียง หรือเสียงสดุดีพระเกียรติ
ที่กึกก้อง.
บทว่า อุพฺภุคฺคโต ความว่า ลือกระฉ่อนไปทั่วโลกรวมทั้งเทวโลก
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้เพราะเหตุนี้ จึงเป็นพระ
อรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้ จึงเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แม้เพราะเหตุนี้ จึง
เป็นผู้แจกพระธรรม ดังนี้.
ในบทพระพุทธคุณนั้น มีการเชื่อมบทดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น แม้เพราะเหตุนี้ จึงเป็นพระอรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้ จึง
เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯ ล ฯ แม้เพราะเหตุนี้ จึงเป็นผู้แจกพระธรรม
อธิบายว่า เพราะเหตุนี้ด้วย นี้ด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 358
บทเหล่านี้ทั้งหมดในพระบาลีนั้น ได้อธิบายอย่างพิสดารในพุทธา-
นุสสตินิทเทศในวิสุทธิมรรค เริ่มต้นตั้งแต่อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น พึงทราบว่าเป็นพระอรหันต์ด้วยเหตุเหล่านี้ก่อน คือ เพราะ
ไกลจากกิเลสทั้งหลาย ๑ เพราะหักกำจักรแห่งสังสารวัฏ ๑ เพราะควร
แก่ปัจจัยเป็นต้น ๑ เพราะไม่มีความลับในการทำบาป ๑ ความพิสดาร
แห่งบทพุทธคุณเหล่านั้น พึงถือเอาจากวิสุทธิมรรคนั้น.
ก็หมอชีวกพรรณนาพุทธคุณทีละบทจบความลง ทูลว่า ข้าแต่พระ
มหาราช พระศาสดาของข้าพระองค์เป็นพระอรหันต์อย่างนี้ เป็นสัมมา-
สัมพุทธะอย่างนี้ ฯ ล ฯ เป็นผู้แจกธรรมรัตน์อย่างนี้ แล้วทูลสรุปว่า
ขอพระองค์ผู้สมมติเทพโปรดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ถึงอย่างไร
เมื่อพระองค์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ พระทัยก็พึงผ่องใส.
ก็ในพระบาลีตอนนี้ เมื่อหมอชีวกทูลว่า ขอพระองค์ผู้สมมติเทพ
โปรดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ดังนี้ เท่ากับทูลว่า ข้าแต่พระ
มหาราช เมื่อข้าพระองค์ถูกพระราชาเช่นพระองค์ตั้งร้อยทั้งพันตั้งแสน
ตรัสถาม ย่อมมีเรี่ยวแรงและพลังที่จะกล่าวคุณกถาของพระศาสดาให้จับ
ใจของคนทั้งหมดได้ พระองค์ก็ทรงคุ้นเคย โปรดเข้าไปเฝ้าทูลถามปัญหา
เถิด พระพุทธเจ้าข้า.
เมื่อพระราชาทรงสดับคุณกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่เรื่อย ๆ
นั้น ทั่วพระวรกายมีปีติ ๕ ประการถูกต้องตลอดเวลา พระองค์มีพระ
ประสงค์จะเสด็จไปในขณะนั้นทีเดียว มีพระดำริว่า เมื่อเราจะไปเฝ้า
พระทศพลในเวลานี้ ไม่มีใครอื่นที่จักสามารถจัดยานพาหนะได้เร็ว
นอกจากหมอชีวก จึงรับสั่งว่า ชีวกผู้สหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงสั่งให้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 359
เตรียมหัตถียานไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตนหิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า ส่งไป
อธิบายว่า ไปเถิด ชีวกผู้สหาย.
บทว่า หตฺถิยานานิ ความว่า บรรดายานพาหนะมีม้าและรถ
เป็นต้นที่มีอยู่มากมาย ยานพาหนะคือช้างเป็นสูงสุด ควรจะนำไปสำนัก
ของพระศาสดาผู้สูงสุด ด้วยยานพาหนะที่สูงสุดเหมือนกัน. พระราชามี
พระดำริดังนี้แล้ว และมีพระดำริต่อไปอีกว่า ยานพาหนะคือม้าและรถ
มีเสียงดัง เสียงของยานพาหนะเหล่านั้นได้ยินไปไกลทีเดียว ส่วนยาน
พาหนะคือช้าง แม้คนที่เดินตามรอยเท้าก็ไม่ได้ยินเสียง ควรจะไปสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เงียบสงบด้วยยานพาหนะที่เงียบสงบเหมือนกัน
ดังนี้แล้วจึงตรัสว่า หตฺถิยานานิ เป็นต้น.
บทว่า ปญฺจมตฺตานิ หตฺถินิยาสตานิ ความว่า ช้างพังประมาณ
๕๐๐.
บทว่า กปฺปาเปตฺวา ความว่า ให้เตรียมเกยช้าง.
บทว่า อาโรหณีย ความว่า ควรแก่การขึ้น อธิบายว่า ปกปิด.
ถามว่า หมอชีวกนี้ได้กระทำสิ่งที่พระราชาตรัสหรือมิได้ตรัส ?
ตอบว่า ได้กระทำสิ่งที่พระราชามิได้ตรัส .
เพราะเหตุไร ?
เพราะเป็นบัณฑิต.
ได้ยินว่า หมอชีวกนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระราชามีรับสั่งว่า
เราจะไปในเวลานี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 360
ธรรมดาพระราชาทั้งหลาย มีศัตรูมาก หากจะมีอันตรายบางอย่าง
ในระหว่างทาง แม้เราก็จักถูกคนทั้งหลายตำหนิว่า หมอชีวกคิดว่า พระ
ราชาเชื่อคำเรา จึงพาพระราชาออกไปในเวลาไม่ควร แม้ถึงพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าก็จักถูกตำหนิว่า พระสมณโคดมมุ่งแต่จะเทศน์ ไม่กำหนดกาล
ควรไม่ควรแล้วแสดงธรรม ดังนี้บ้าง เพราะฉะนั้น เราจักกระทำอย่างที่
ครหาจะไม่เกิดขึ้นแก่เรา และจะไม่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งพระ
ราชาก็จะได้รับอารักขาอย่างดี. ต่อแต่นั้น หมอชีวกคิดว่า เพราะอาศัย
หญิงทั้งหลาย ภัยย่อมไม่มีแก่ชายทั้งหลาย พระราชามีหญิงแวดล้อมเสด็จ
ไปสะดวกดี จึงให้เตรียมช้างพัง ๕๐๐ เชือก ให้หญิง ๕๐๐ คนปลอม
เป็นชาย สั่งว่า พวกเธอจงถือดาบและหอกซัดแวดล้อมพระราชา แล้ว
หมอยังคิดอีกว่า พระราชาองค์นี้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรคผลในอัตตภาพนี้
และธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเห็นอุปนิสัยก่อนจึงแสดงธรรม เอา
ละเราจักให้มหาชนประชุมกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ พระศาสดาจักทรงแสดง
ธรรมตามอุปนิสัยของใคร ๆ สักคน พระธรรมเทศนานั้นจักเป็นอุปการะ
แก่มหาชน. หมอชีวกนั้นส่งข่าวสาสน์ให้ตีกลองป่าวประกาศในที่นั้น ๆ
ว่า วันนี้พระราชาจะเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอให้คนทุกคน
ถวายอารักขาพระราชาตามสมควรแก่สมบัติของตน ๆ
ลำดับนั้น มหาชนคิดว่า ได้ยินว่า พระราชาจะเสด็จไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคเจ้า ท่านผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นเช่นไรหนอ พวกเราจะมัวเล่นนักษัตรกันทำไม ไปในที่นั้นเถิด.
ทุกคนถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ยืนรอการเสด็จมาของพระราชาอยู่
ตามทาง. แม้หมอชีวกก็ทูลเชิญเสด็จพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 361
เทพ เตรียมยานพาหนะช้างเสร็จแล้ว ขอพระองค์จงรู้เวลาที่ควรเสด็จใน
บัดนี้เถิด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺสทานิ กาล มญฺสิ เป็นคำทูลเตือน.
อธิบายว่า เรื่องใดที่พระองค์ทรงสั่งไว้ เรื่องนั้นข้าพระองค์ทำเสร็จแล้ว
บัดนี้ขอพระองค์จงรู้เวลาที่จะเสด็จหรือไม่เสด็จเถิด ขอพระองค์จงทรง
กระทำตามชอบพระทัยของพระองค์เถิด.
บทว่า ปจฺเจกา อิตฺถิโย ตัดบทเป็น ปฏิเอกา อิตฺถิโย อธิบายว่า
ช้างพังแต่ละเชือก มีหญิงคนหนึ่งประจำ.
บทว่า อุกฺกาสุ ธาริยมานาสุ ความว่า มีคนถือคบเพลิง.
บทว่า มหจฺจราชานุภาเวน ความว่า ด้วยอานุภาพของพระราชา
ที่ใหญ่หลวง. บาลีว่า มหจฺจา ก็มีความว่า ใหญ่หลวง นี้เป็นลิงคปริยาย.
ราชฤทธิ์ เรียกว่า ราชานุภาพ. ก็อะไรเป็นราชฤทธิ์ ? สิริคือ
ความเป็นให้แห่งรัฐใหญ่ ๒ รัฐ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๓๐๐ โยชน์
เป็นราชฤทธิ์.
จริงอยู่ ในวันก่อนโน้น มิได้มีการเตรียมจัดไว้ก่อน ด้วยหมายว่า
พระราชาจักเสด็จไปเฝ้าพระตถาคต หมอชีวกจัดในขณะนั้นเอง เอาหญิง
๕๐๐ คนปลอมเป็นชาย สวมผ้าโพก คล้องพระขรรค์ที่บ่า ถือหอกซัด
มีด้ามเป็นแก้วมณีออกไป ซึ่งพระสังคีติกาจารย์หมายถึง กล่าวว่า ปจฺเจกา
อิตฺถิโย อาโรเปตฺวา ดังนี้.
หญิงฟ้อนรำล้อมนางกษัตริย์อีกจำนวนหนึ่งประมาณหมื่นหกพันคน
แวดล้อมพระราชา. ท้ายขบวนหญิงฟ้อนรำเหล่านั้น มีคนค่อม คนเตี้ย
และคนแคระเป็นต้น. ท้ายขบวนคนเหล่านั้น มีคนใกล้ชิดผู้ดูแลภายใน
พระนคร. ท้ายขบวนคนใกล้ชิดเหล่านั้น มีมหาอำมาตย์ประมาณหกหมื่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 362
คนแต่งตัวเต็มยศงดงาม. ท้ายขบวนมหาอำมาตย์เหล่านั้น มีลูกเจ้าประเทศ
ราชประมาณเก้าหมื่นคน ประดับด้วยเครื่องประดับหลายอย่าง ราวกะ
เพทยาธรหนุ่มถืออาวุธชนิดต่าง ๆ. ท้ายขบวนลูกเจ้าประเทศราช มี
พราหมณ์ประมาณหมื่นคนนุ่งผ้ามีค่าตั้งร้อย ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่งค่า
๕๐๐ อาบน้ำลูบไล้อย่างดี งามด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ มีดอกไม้ทอง
เป็นต้น เดินยกมือขวาเปล่งเสียงไชโย. ท้ายขบวนพราหมณ์เหล่านั้น มี
ดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕. ท้ายขบวนดนตรีเหล่านั้น มีนายขมังธนูล้อม
เป็นวง. ท้ายพวกขมังธนู มีช้างมีตะพองชิดกัน. ท้ายช้าง มีม้าเรียงราย
คอต่อคอชิดกัน. ท้ายม้า มีรถชิดกันและกัน. ท้ายรถ มีทหารแขนต่อแขน
กระทบกัน. ท้ายทหารเหล่านั้น มีเสนา ๑๘ เหล่า รุ่งเรื่องด้วยเครื่อง
ประดับที่สมควรแก่ตน ๆ.
หมอชีวกจัดคนถวายพระราชา ชนิดลูกศรที่คนยืนอยู่ท้ายสุดขบวน
ยิงไปก็ไม่ถึงพระราชา ตนเองยังตามเสด็จไม่ห่างไกลพระราชา ด้วย
หมายใจว่า หากจะมีอันตรายอะไร ๆ เราจักถวายชีวิตเพื่อพระราชาก่อน
คนอื่นทั้งหมด. อนึ่ง คบเพลิงก็กำหนดไม่ได้ว่าร้อยเท่านี้หรือพันเท่านี้.
คำว่า พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จไปสวนอัมพวัน ของหมอชีวก โกมารภัจ
ด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่ นั้น พระสังคีติกาจารย์กล่าวหมายเอาราชฤทธิ์
เห็นปานนี้แล.
ในคำว่า อหุเทว ภย นี้ ภัยมี ๔ อย่าง คือ ภัยเพราะจิตสะดุ้ง ๑
ภัยเพราะญาณ ๑ ภัยเพราะอารมณ์ ๑ ภัยเพราะโอตัปปะ ๑.
ในภัย ๔ อย่างนั้น ภัยที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า อาศัยชาติ
มีความกลัว ความพรั่นพรึง ดังนี้ ชื่อว่า ภัยเพราะจิตสะดุ้ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 363
ภัยที่มาแล้วอย่างนี้ว่า เขาแม้เหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระ
ตถาคตแล้ว ย่อมถึงความกลัว ความสลด ความสะดุ้งโดยมาก ดังนี้
ชื่อว่า ภัยเพราะญาณ.
ภัยที่กล่าวแล้วในคำนี้ว่า มาถึงภัยที่น่ากลัวนั่นนั้นแน่ ดังนี้ ชื่อว่า
ภัยเพราะอารมณ์.
ภัยนี้ในคำนี้ว่า คนดีทั้งหลายย่อมสรรเสริญความกลัวต่อบาป ไม่
สรรเสริญความกล้าในบาปนั้นเลย เพราะสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำบาป
เพราะกลัว ดังนี้ ชื่อว่า ภัยเพราะโอตตัปปะ.
ในภัย ๔ อย่างนั้น ในที่นี้หมายเอาภัยเพราะจิตสะดุ้ง อธิบายว่า
ได้มีจิตสะดุ้งกลัว.
บทว่า ฉมฺภิตตฺต ความว่า ความพรั่นพรึง อธิบายว่า สั่นไป
ทั่วร่าง.
บทว่า โลมหโส ได้แก่ขนชูชัน อธิบายว่า ขนลุกซู่. ก็ขนชูชัน
นี้นั้นย่อมมีด้วยปีติในเวลาเกิดอิ่มใจในขณะฟังธรรมเป็นต้นก็มี ด้วยความ
กลัวในเพราะเห็นการฆ่าฟันกันและเห็นผีเป็นต้นก็มี. ในที่นี้พึงทราบว่า
ขนชูชันเพราะกลัว.
ถามว่า ก็พระราชานี้ทรงกลัว เพราะเหตุไร ?
อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า เพราะความมืด.
ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ มีประตูใหญ่ ๓๒ ประตู ประตูเล็ก
๖๔ ประตู. สวนอัมพวัน ของ หมอชีวก อยู่ระหว่างกำแพงเมืองกับ
ภูเขาคิชฌกูฏต่อกัน. พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จออกทางประตูทิศตะวันตก
เสด็จเข้าไปในเงาของภูเขา. ที่ตรงนั้น พระจันทร์ถูกยอดภูเขาบังไว้ ความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 364
มืดจึงมีขึ้นเพราะเงาของภูเขาและเงาของต้นไม้. แม้ข้อที่กล่าวก็มิใช่เหตุ
อันสมควร. ด้วยว่าในเวลานั้น คบเพลิงตั้งแสนดวงก็กำหนดไม่ได้.
ก็พระเจ้าอชาตศัตรูนี้อาศัยความเงียบสงัดจึงเกิดความกลัวเพราะระแวง
หมอชีวก.
ได้ยินว่า หมอชีวก ได้ทูลพระองค์ที่ปราสาทชั้นบนทีเดียวว่า
ข้าแต่พระมหาราช พระผู้มีพระภาคเจ้า ประสงค์ความเงียบสงัด ควร
เข้าเฝ้าด้วยความเงียบสงัดนั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระราชาจึงทรงห้าม
เสียงดนตรี. ดนตรีทั้งหลายพอพระราชาให้หยุดเท่านั้น. ขบวนตามเสด็จ
จึงไม่เปล่งเสียงดัง มากันด้วยสัญญานิ้วมือ. แม้ในสวนอัมพวัน ก็ไม่ได้
ยินแม้เสียงกระแอมของใคร ๆ. ธรรมดาพระราชาทั้งหลายย่อมยินดีใน
เสียงยิ่งนัก. พระเจ้าอชาตศัตรูอาศัยความเงียบสงัดนั้น เกิดหลากพระทัย
ชักระแวงแม้ในหมอชีวกว่า หมอชีวกนี้กล่าวว่า ที่สวนอัมพวัน ของ
ข้าพระองค์มีภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ก็ในที่นี้เราไม่ได้ยินแม้แต่เสียงกระแอม
คำหมอชีวกเห็นจะไม่จริง หมอชีวกนี้ลวงนำเราออกจากเมือง ซุ่มพล-
กายไว้ข้างหน้า ต้องการจับเราแล้วขึ้นครองราชสมบัติเสียเอง ก็หมอชีวก
นี้ทรงกำลัง ๕ ช้างสาร และเดินไม่ห่างเรา คนของเราที่ถืออาวุธอยู่ใกล้
ก็ไม่มีสักคน น่าอัศจรรย์ เราเสียหายแล้วหนอ. ก็และครั้นทรงกลัวอย่างนี้
แล้วก็ไม่อาจดำรงตนอย่างคนไม่กลัวได้ จึงตรัสบอกความที่พระองค์กลัว
แก่หมอชีวกนั้น. เพราะเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล
พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรู ฯ ล ฯ ไม่มีเสียงพึมพำ ดังนี้ .
ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺม ความว่า นี้เป็นคำเรียกคนรุ่นเดียว
กัน. อธิบายว่า เพื่อนยาก นี่ไม่หลอกเราหรือ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 365
บทว่า น ปลมฺเภสิ ความว่า ท่านกล่าวงสี่ที่ไม่มีว่ามี ดังนี้ ไม่
ลวงเราหรือ.
บทว่า นิคฺโฆโส ความว่า ถ้อยคำสนทนากึกก้อง.
บทว่า มา ภายิ มหาราช ความว่า หมอชีวกคิดว่า พระราชา
พระองค์นี้ไม่รู้จักเรา ถ้าเราไม่ปลอบพระองค์ให้เบาพระทัยว่า ชีวกคนนี้
ไม่ฆ่าผู้อื่น ดังนี้ พึงฉิบหาย จึงทูลปลอบให้มั่นพระทัยว่า อย่าทรง
กลัวเลย พระพุทธเจ้าข้า แล้วจึงทูลว่า น ต เทว ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า อภิกฺกม ความว่า โปรดเสด็จเข้าไปเถิด อธิบายว่า
จงเข้าไป. ก็เมื่อกล่าวครั้งเดียวจะไม่มั่น ฉะนั้น หมอชีวกจึงรีบกล่าว ๒
๓ ครั้ง.
บทว่า เอเต มณฺฑลมาเล ปทีปา ฌายนฺติ ความว่า หมอ
ชีวกทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดากำลังของโจรจะไม่จุดประทีปตั้งไว้
แต่นั่นประทีปที่โรงกลมยังสว่างอยู่ ขอพระองค์จงเสด็จไปตามสัญญาแห่ง
ประทีปนั้นเถิด พระเจ้าข้า.
บทว่า นาคสฺส ภูมิ ความว่า ในที่ใดคนขึ้นช้างอาจไปได้ ที่นี้
ชื่อว่าเป็นพื้นที่ช้างไปได้.
บทว่า นาคา ปจฺโจโรหิตฺวา ความว่า ลงจากช้างที่ซุ้มประตู
ภายนอกที่ประทับ. ก็เดชแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แผ่ไปสู่พระสรีระ
ของพระราชา ตลอดเวลาที่ประทับ ณ พื้นที่ประทับ. ในทันใดนั้น
พระเสโทไหลออกจากทั่วพระสรีระของพระราชา. ผ้าทรงได้เป็นเหมือน
บีบน้ำไหล. ความกลัวอย่างมากได้เกิดขึ้นเพราะทรงระลึกถึงความผิดของ
พระองค์ ท้าวเธอไม่อาจเสด็จไปสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรงๆ ทรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 366
เกาะมือหมอชีวก ราวกะว่าเสด็จชมสวน พลางตรัสชมที่ประทับว่า
ชีวกผู้สหาย นี้เธอให้ทำได้ดี นี้เธอสร้างได้ดี เสด็จเข้าประตูโรงกลม
โดยลำดับ อธิบายว่า ถึงพร้อมแล้ว.
ด้วยคำว่า กถ ปน สมฺม ดังนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถาม
เพราะอะไร ? อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ไม่ทรงทราบมาก่อน.
ได้ยินว่า ในเวลาที่ยังทรงพระเยาว์ พระราชานี้เคยเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพร้อมกับพระบิดา แต่ภายหลัง เพราะคบมิตรชั่ว จึงทำปิตุฆาต
ส่งนายขมังธนู ให้ปล่อยช้างธนบาล มีความผิดมาก ไม่กล้าเข้าไปเผชิญ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ว่าไม่ทรงทราบจึงตรัสถามนั้น ไม่ใช่
เหตุอันสมควร.
ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระวรลักษณ์เต็มที่ ประดับด้วย
อนุพยัญชนะ เปล่งพระฉัพพรรณรังสีสว่างไสวทั่วสวน แวดล้อมไปด้วย
หมู่ภิกษุ ดุจจันทร์เพ็ญแวดล้อมด้วยหมู่ดาว ประทับนั่งท่ามกลางโรงกลม
ใครจะไม่รู้จักพระองค์. แต่พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถามนี้ก็ด้วยท่วงทีแห่ง
ความเป็นให้ของพระองค์. ข้อที่รู้ก็ตามไม่รู้ก็ตาม ถามดูนี้เป็นปรกติ
ธรรมดาของราชสกุลทั้งหลาย.
ฝ่ายหมอชีวกฟังพระดำรัสนั้นแล้ว คิดว่า พระราชาพระองค์นี้
เป็นดุจประทับยืนอยู่บนแผ่นดิน ถามว่า แผ่นดินอยู่ไหน ดูท้องฟ้า แล้ว
ถามว่า พระจันทร์พระอาทิตย์อยู่ไหน ยืนอยู่ที่เชิงเขาสิเนรุ ถามว่า
เขาสิเนรุอยู่ไหน ประทับยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์พระทศพลทีเดียว ตรัส
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ไหน เอาละ เราจักแสดงพระผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 367
พระภาคเจ้าแด่พระองค์ จึงน้อมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
อยู่ แล้วทูลคำว่า เอโส มหาราช ดังนี้ เป็นต้น.
บทว่า ปุรกฺขโต ความว่า ประทับนั่งข้างหน้าของภิกษุสงฆ์ที่นั่ง
แวดล้อมพระองค์.
บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า เข้าไปเฝ้ายังที่ใกล้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่.
บทว่า เอกมนฺต อฏฺาสิ ความว่า พระราชาพระองค์เดียวเท่า
นั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับยืนในประเทศแห่งหนึ่ง
ซึ่งสมควรที่พระองค์จะประทับยืนได้ ไม่เบียดพระผู้มีพระภาคเจ้าหรือ
ภิกษุสงฆ์.
บทว่า ตุณหีภูต ตุณฺหีภูต ความว่า จะเหลียวแลไปที่ใด ๆ
ก็เงียบหมดในที่นั้น ๆ. จริงอยู่ในที่นั้นไม่มีภิกษุแม้สักรูปหนึ่งที่แสดงความ
คะนองมือคะนองเท้า หรือเสียงกระแอม. ภิกษุแม้รูปหนึ่งก็มิได้แลดูพระ
ราชาหรือบริษัทของพระราชาที่อยู่ตรงพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ล้วนมีนางฟ้อนรำเป็นบริวาร ประดับด้วยอลังการครบครัน. ภิกษุทุกรูป
นั่งดูพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น. พระราชาทรงเลื่อมใสในความสงบของ
ภิกษุเหล่านั้น ทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ผู้มีอินทรีย์สงบ เหมือนห้วงน้ำใส
เพราะปราศจากเปือกตม บ่อย ๆ ทรงเปล่งอุทาน.
ในบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อิมินา นี้ แสดงว่า ด้วยความสงบนี้
ที่ภิกษุสงฆ์สงบทางกาย ทางวาจาและทางใจ ด้วยความสงบคือศีล. พระ
ราชาตรัสอย่างนี้ในที่นั้น มิได้ทรงหมายถึงความข้อนี้ว่า โอ ! หนอ ขอ
ให้ลูกของเราบวชแล้วพึงสงบเหมือนภิกษุเหล่านี้. แต่พระองค์ทอดพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 368
เนตรเห็นภิกษุสงฆ์แล้วทรงเลื่อมใส จึงทรงระลึกถึงพระโอรส. ก็การได้
สิ่งที่ได้ด้วยยากหรือเห็นสิ่งอัศจรรย์แล้วระลึกถึงคนรักมีญาติและมิตรเป็น
ต้น เป็นปรกติของโลกทีเดียว. พระราชานี้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุสงฆ์
แล้วทรงระลึกถึงพระโอรสจึงตรัสอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่าง
หนึ่ง พระองค์มีความแหนงพระทัยในพระโอรส เมื่อทรงปรารถนาให้
พระโอรสมีความสงบจึงตรัสอย่างนี้. ได้ยินว่า พระองค์ทรงปริวิตกอย่าง
นี้ว่า ลูกของเราจักถามว่า พระบิดาของเรายังหนุ่ม พระเจ้าปู่ของเราไป
ไหน เมื่อสดับว่า พระเจ้าปู่นั้น พระบิดาของพระองค์ฆ่าเสียแล้ว ดังนี้
จักหมายมั่นว่า เราจักฆ่าพระบิดาแล้วครองราชสมบัติ. พระองค์มีความ
แหนงพระทัยในพระโอรส เมื่อทรงปรารถนาให้พระโอรสมีความสงบ
จึงตรัสอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ก็พระราชาตรัสอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้นพระโอรสก็จักฆ่าพระองค์
อยู่นั่นเอง. ก็ในวงศ์นั้นมีการฆ่าบิดาถึง ๕ ชั่วรัชกาล.
คือ พระเจ้าอชาตศัตรูฆ่าพระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าอุทัยฆ่าพระเจ้าอชาตศัตรู
พระโอรสของพระเจ้าอุทัย พระนามว่ามหามุณฑิกะ ฆ่าพระเจ้า
อุทัย
พระโอรสของพระเจ้ามหามุณฑิกะ พระนามว่าอนุรุทธะ ฆ่า
พระเจ้ามหามุณฑิกะ
พระโอรสของพระเจ้าอนุรุทธะ พระนามว่านาคทาสะ ฆ่าพระเจ้า
อนุรุทธะ.
ชาวเมืองโกรธว่า พวกนี้เป็นพระราชาล้างวงศ์ตระกูล ไม่มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 369
ประโยชน์ จึงฆ่าพระเจ้านาคทาสะเสีย.
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า อาตมา โข
ตฺว ดังนี้.
ได้ยินว่า เมื่อพระราชามิได้มีพระดำรัสเลย พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระดำริว่า พระราชานี้เสด็จมา ประทับนิ่งไม่มีเสียง ทรงพระดำริ
อย่างไรหนอ ครั้นทรงทราบความคิดของพระราชาแล้วทรงพระดำริว่า
พระราชานี้ไม่อาจเจรจากับเรา ทรงชำเลืองดูภิกษุสงฆ์แล้วทรงระลึกถึง
พระโอรส ก็เมื่อเราไม่เอ่ยขึ้นก่อน พระราชานี้จักไม่อาจตรัสอะไร ๆ เลย
เราจะเจรจากับพระองค์. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสใน
ลำดับแห่งพระราชดำรัสว่า อาตมา โข ตฺว มหาราช ยถาเปม
เป็นต้น. เนื้อความของพระพุทธดำรัสนั้นว่า มหาบพิตร น้ำที่ตกในที่
สูงย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่มฉันใด ขอพระองค์จงชำเลืองดูภิกษุสงฆ์แล้วปฏิบัติ
ตามความรักฉันนั้นเถิด. ครั้งนั้นพระราชามีพระราชดำริว่า โอ ! พระ
พุทธคุณน่าอัศจรรย์ ชื่อว่าคนที่ทำผิดต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนอย่าง
เรา ไม่มี ด้วยว่า เราฆ่าอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเชื่อคำ
ของพระเทวทัตส่งนายขมังธนู ปล่อยช้างนาฬาคิรี เพราะอาศัยเรา
พระเทวทัตจึงกลิ้งศิลา เรามีความผิดใหญ่หลวงถึงอย่างนี้ พระทศพลยัง
ตรัสเรียกจนพระโอษฐ์จะไม่พอ โอ ! พระผู้มีพระภาคเจ้าประดิษฐาน
อยู่ด้วยดีในลักษณะของผู้คงที่ด้วยอาการ ๕ อย่าง เราจักไม่ละทิ้งพระ
ศาสดาเห็นปานนี้แล้วแสวงหาภายนอก ทรงพระโสมนัส เมื่อจะทรง
สนทนากะพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ปีโย เม ภนฺเต เป็นต้น.
บทว่า ภิกฺขุสงฺฆสฺส อญฺชลึ ปณาเมตฺวา ความว่า ได้ยินว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 370
พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นมีพระราชดำริว่า เราถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
เจ้าแล้วไปไหว้ภิกษุสงฆ์ข้างโน้นข้างนี้ ย่อมจะต้องหันหลังให้พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ก็จะไม่เป็นการกระทำความเคารพพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะ
คนที่ถวายบังคมพระราชาแล้วถวายบังคมอุปราช ย่อมเป็นอันไม่กระทำ
ความเคารพพระราชา ฉะนั้น พระองค์จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วน้อมอัญชลีแด่ภิกษุสงฆ์ตรงที่ประทับยืนนั่นเอง แล้วประทับนั่ง ณ ที่
สมควรแห่งหนึ่ง.
บทว่า กญฺจิเทว เทส เลสมตฺต ได้แก่โอกาสบางโอกาส.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงหนุนให้พระเจ้าอชาตศัตรู
เกิดอุตสาหะในการถามปัญหา จึงตรัสว่า เชิญถามเถิด มหาบพิตร เมื่อ
ทรงพระประสงค์.
พระพุทธดำรัสนั้นมีความว่า เชิญถามเถิด เมื่อทรงพระประสงค์
เราตถาคตไม่มีความหนักใจในการวิสัชนาปัญหา อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงปวารณาอย่างสัพพัญญูปวารณาซึ่งไม่ทั่วไปแก่พระปัจเจก-
พุทธเจ้า พระอัครสาวกและมหาสาวกทั้งหลายว่า เชิญถามเถิด พระองค์
ทรงประสงค์ข้อใด ๆ เราตถาคตจักวิสัชนาถวายข้อนั้น ๆ ทุกข้อ แด่
พระองค์.
จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก และมหาสาวก
เหล่านั้น ย่อมไม่กล่าวว่า ยทากงฺขสิ ถ้าทรงพระประสงค์ ย่อมกล่าวว่า
ฟังแล้วจักรู้ได้. แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสว่า ถามเถิด อาวุโส
เมื่อต้องการ หรือว่า เชิญถามเถิด มหาบพิตร เมื่อทรงพระประสงค์.
หรือว่า ดูก่อนวาสวะ ท่านต้องการถามปัญหาข้อใดข้อหนึ่งในใจ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 371
จงถามกะเรา เราจะกระทำที่สุดแห่งปัญหานั้น ๆ แก่ท่าน.
หรือว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงนั่งบนอาสนะของตน
ถามปัญหาตามที่ต้องการเถิด.
หรือว่า ความสงสัยทุก ๆ ข้อ ของพราหมณ์พาวรีก็ดี ของพวก
ท่านทั้งปวงก็ดี อะไร ๆ ในใจที่พวกท่านปรารถนา จงถามเถิด เราเปิด
โอกาสแล้ว.
หรือว่า ดูก่อนสภิยะ ท่านต้องการถามปัญหาข้อใดข้อหนึ่งในใจ
จงถามกะเรา เราจะกระทำที่สุดแห่งปัญหานั้น ๆ แก่ท่าน.
พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมปวารณาอย่างสัพพัญญูปวารณา แก่ยักษ์
จอมคน เทวดา สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกทั้งหลายนั้น ๆ. ก็ข้อ
นี้ไม่อัศจรรย์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุพุทธภูมิแล้วจึง
ปวารณาอย่างนั้น. แม้เมื่อดำรงอยู่ในญาณระดับภูมิพระโพธิสัตว์ ถูกฤาษี
ทั้งหลายขอร้องให้แก้ปัญหาเพื่อประโยชน์แก่ท้าวสักกะเป็นต้นอย่างนี้ว่า
ดูก่อนโกณฑัญญะ ท่านจะพยากรณ์ปัญหาทั้งหลายที่พวกฤาษีดี ๆ
วอนขอ ดูก่อนโกณฑัญญะ นี้เป็นมนุษยธรรม การที่มาหาความ
เจริญนี้เป็นหน้าที่ที่ต้องรับเอา.
ในเวลาเป็นสรภังคดาบส อย่างนี้ว่า เราเปิดโอกาสแล้ว ขอท่านผู้
เจริญทั้งหลาย จงถามปัญหาข้อใดข้อหนึ่งที่ใจปรารถนาเถิด เราจักพยา
กรณ์ปัญหานั้น ๆ ของพวกท่าน เพราะเราเองรู้ทั้งโลกนี้และโลกอื่น.
และในสัมภวชาดก มีพราหมณ์ผู้สะอาดเที่ยวไปทั่วชมพูทวีป ๓ ครั้ง
ไม่พบผู้ที่จะแก้ปัญหาได้ ครั้นพระโพธิสัตว์ให้โอกาสแล้ว เวลานั้นพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 372
โพธิสัตว์เกิดมาได้ ๗ ปี เล่นฝุ่นอยู่ในถนน นั่งคู้บัลลังก์กลางถนนนั่นเอง
ปวารณาอย่างสัพพัญญูปวารณาว่า
เชิญเถิด เราจักบอกแก่ท่านอย่างคนฉลาดบอก และพระราชาย่อม
ทรงทราบข้อนั้นว่า จักทำได้หรือไม่.
เมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปวารณาสัพพัญญูปวารณาอย่างนี้แล้ว
พระเจ้าอชาตศัตรูทรงพอพระทัย เมื่อจะทูลถามปัญหา ได้กราบทูลว่า
ยถา นุ โข อิมานิ ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น ศิลปะนั่นแหละ ชื่อสิปปายตนะ.
บทว่า ปุถุสิปฺปายตนานิ แปลว่า ศิลปศาสตร์เป็นอันมาก.
บทว่า เสยฺยถีท ความว่า ก็ศิลปศาสตร์เหล่านั้นอะไรบ้าง ?
ด้วยบทว่า หตฺถาโรหา เป็นต้น พระเจ้าอชาตศัตรูทรงแสดง
เหล่าชนที่อาศัยศิลปะนั้น ๆ เลี้ยงชีพ. ด้วยว่าพระองค์มีพระราชประสงค์
ดังนี้ว่า ผลแห่งศิลปะที่ประจักษ์เพราะอาศัยศิลปะนั้น ๆ ย่อมปรากฏแก่
ผู้ที่เข้าไปอาศัยศิลปะเลี้ยงชีพเหล่านี้ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ
องค์อาจที่จะประกาศสามัญญผลที่ประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้
หรือไม่หนอ ดังนี้. เพราะฉะนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจึงทรงเริ่มศิลป
ศาสตร์ทั้งหลายมาแสดงคนที่เข้าไปอาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ.
ในบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า หตฺถาโรหา ย่อมแสดงถึงอาจารย์ฝึก
ช้าง หมอรักษาช้าง และคนผูกช้างเป็นต้นทั้งหมด.
บทว่า อสฺสาโรหา ได้แก่ครูฝึกม้า หมอรักษาม้า และคนผูก
ม้าเป็นต้นทั้งหมด.
บทว่า รถิกา ได้แก่ครูฝึกพลรถ ทหารรถ และคนรักษารถ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 373
เป็นต้นทั้งหมด.
บทว่า ธนุคฺคหาได้แก่ ครูฝึกพลธนู และคนแม่นธนู.
บทว่า เจลกา ได้แก่ผู้เชิญธงชัยไปข้างหน้าในสนามรบ.
บทว่า จลกา ได้แก่ผู้จัดกระบวนทัพอย่างนี้ว่า พระราชาอยู่
ตรงนี้ มหาอำมาตย์ชื่อโน้นอยู่ตรงนี้.
บทว่า ปิณฺฑทายิกา ได้แก่ทหารใหญ่ที่กล้าตายเก่งกาจ. ได้ยินว่า
ทหารพวกนั้นเข้ากองทัพข้าศึก ตัดศีรษะข้าศึกเหมือนก้อนข้าวแล้วนำไป
อธิบายว่า กระโดดพรวดออกไป. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ปิณฺฑทายิกา นี้
เป็นชื่อของผู้ที่ถือถาดอาหารเข้าไปให้แก่ทหาร ท่ามกลางสงความ.
บทว่า อคค จ ราชปุตฺตา ได้แก่พวกราชบุตรที่เข้าสงคราม
มีชื่อว่าอุคคะ - อุคคตะ.
บทว่า ปกฺขนฺทิโน ได้แก่ ทหารเหล่าใดกล่าวว่า พวกเราจะนำ
ศีรษะหรืออาวุธของใคร ๆ มา ครั้นได้รับคำสั่งว่า ของคนโน้น ก็แล่น
เข้าสู่สงคราม นำสิ่งที่สั่งนั้นนั่นแหละมาได้ ทหารเหล่านี้ชื่อว่า ปกฺขนฺทิโน
ด้วยอรรถว่า แล่นไป ( หน่วยจู่โจม ).
บทว่า มหานาคา ได้แก่เป็นผู้กล้ามากเหมือนพระยานาค.
คำว่า มหานาคา นี้ เป็นชื่อของหมู่ทหารที่แม้เมื่อช้างเป็นต้นวิ่ง
มาตรงหน้า ก็ไม่ถอยกลับ.
บทว่า สูรา ได้แก่ กล้าที่สุด ซึ่งคลุมด้วยตาข่ายก็ตาม สวม
เกราะหนังก็ตาม ก็สามารถข้ามทะเลได้.
บทว่า จมฺมโยธิโน ได้แก่พวกที่สวมเสื้อหนัง หรือถือโล่หนัง
สำหรับต้านลูกธนูรบ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 374
บทว่า ทาสิกปุตฺตา ได้แก่พวกลูกทาสในเรือน ซึ่งรักนายเป็น
กำลัง.
บทว่า อาฬาริกา ได้แก่พวกทำขนม.
บทว่า กปฺปิกา ได้แก่พวกช่างกัลบก.
บทว่า นฺหาปิกา ได้แก่พนักงานเครื่องสรง.
บทว่า สูทา ได้แก่พวกทำอาหาร.
พวกช่างดอกไม้เป็นต้น แจ่มแจ้งอยู่แล้ว.
บทว่า คณกา ได้แก่พวกพูดไม่มีช่องให้ถาม.
บทว่า มุทฺธิกา ได้แก่พวกอาศัยวิชานับหัวแม่มือเลี้ยงชีพ.
บทว่า ยานิ วาปนญฺานิปิ ได้แก่พวกช่างเหล็ก ช่างฉลุงา
และช่างเขียนลวดลายเป็นต้น.
บทว่า เอว คตานิ ได้แก่เป็นไปอย่างนี้.
บทว่า เต ทิฏฺเว ธมฺเม ความว่า พวกพลช้างเป็นต้นเหล่า
นั้นแสดงศิลปศาสตร์มากอย่างเหล่านั้น ได้สมบัติมากจากราชสกุล เข้าไป
อาศัยผลแห่งศิลปะที่เห็นประจักษ์นั่นแหละเลี้ยงชีพอยู่ได้.
บทว่า สุเขนฺติ แปลว่า ทำให้เป็นสุข.
บทว่า ปิเณนฺติ ได้แก่ทำให้เอิบอิ่มมีเรี่ยวแรงและกำลัง.
บทว่า อุทฺธคฺคิกา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ที่ชื่อว่า อุทฺธคฺคิกา เพราะอรรถว่า มีผลเลิศเหนือผลที่เกิดสูง
ขึ้นไป.
ชื่อว่า โสวคฺคิกา เพราะอรรถว่า ควรซึ่งอารมณ์ดีเลิศ.
ที่ชื่อว่า สุขวิปากา เพราะอรรถว่า มีสุขเป็นวิบาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 375
ที่ชื่อว่า สคฺคสวตฺตนิกา เพราะอรรถว่า ยังธรรม ๑๐ ประการ
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อายุ วรรณะ สุข ยศ และ
ความยิ่งใหญ่อย่างดีเลิศ ให้เป็นไป คือให้เกิด อธิบายว่า ตั้งทักษิณาทาน
เห็นปานนั้นไว้.
ในบทว่า สามญฺผล นี้ โดยปรมัตถ์ สามัญญะ หมายถึงมรรค
สามัญญผล หมายถึงอริยผล. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่
เป็นอริยะนี้แหละเป็นสามัญญะ มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่เป็นอริยะ
คืออะไรบ้าง คือ สัมมาทิฏฐิ ฯ ล ฯ สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า สามัญญะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญผลเป็นไฉน ? โสดา-
ปัตติผล ฯ ล ฯ อรหัตตผล นี้แหละเป็นสามัญญผล พระราชาองค์นี้
มิได้ถึงสามัญญผลนั้น ก็พระองค์ตรัสถามทรงหมายถึงสามัญญผลที่เปรียบ
ด้วยทาสและชาวนาซึ่งมีมาได้อย่างสูง.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงวิสัชนาปัญหาทันที ทรง
พระดำริว่า อำมาตย์ของพระราชาเหล่านี้ที่เป็นสาวกของอัญญเดียรถีย์มาก
หลายมาในที่นี้ พวกอำมาตย์เหล่านั้น เมื่อเรากล่าวแสดงฝ่ายดำและฝ่าย
ขาว จักติเตียนว่า พระราชาของพวกเราเสด็จมาในที่นี้ด้วยอุตสาหะใหญ่
ตั้งแต่พระองค์เสด็จมาแล้ว พระสมณโคดมตรัสความโกลาหลของสมณะ
ให้เป็นเรื่องสมณะทะเลาะกันเสีย จักไม่ฟังธรรมโดยเคารพ แต่เมื่อพระ
ราชาตรัส พวกอำมาตย์จักไม่อาจติเตียน จักอนุวัตรตามพระราชาเท่านั้น
ธรรมดาชาวโลกย่อมอนุวัตรตามผู้เป็นใหญ่ ตกลงเราจะทำให้เป็นภาระ
ของพระราชาแต่ผู้เดียว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำให้เป็นภาระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 376
ของพระราชา จึงตรัสว่า อภิชานาสิ โน ตฺว ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิชานาสิ โน ตฺว เท่ากับ อภิชานาสิ
นุ ตฺว และ โน ศัพท์นี้ พึงประกอบด้วยบท ปุจฺฉิตา ข้างหน้า.
อธิบายว่า มหาบพิตร ปัญหามีพระองค์เคยถามสมณพราหมณ์เหล่าอื่น
บ้างหรือหนอ. พระองค์ยังจำได้ถึงภาวะที่ถามปัญหานั้น พระองค์มิได้
ทรงลืมสมณพราหมณ์เหล่านั้นหรือ.
บทว่า สเจ เต อครุ ความว่า ถ้าสมณพราหมณ์นั้น ๆ พยากรณ์
อย่างไร การที่พระองค์ตรัสอย่างนั้นในที่นี้จะไม่เป็นการหนักพระทัยแก่
พระองค์. อธิบายว่า ถ้าจะไม่มีความไม่ผาสุกอะไร ๆ ขอให้พระองค์ตรัส
เถิด.
บทว่า น โข เม ภนฺเต นี้ พระราชาตรัสหมายถึงอะไร ?
หมายถึงว่า ก็การกล่าวในสำนักของบัณฑิตเทียมทั้งหลาย ย่อมเป็นความ
ลำบาก. บัณฑิตเทียมเหล่านั้น ย่อมให้โทษทุก ๆ บททุก ๆ อักษรทีเดียว.
ส่วนท่านที่เป็นบัณฑิตแท้ ฟังถ้อยคำแล้ว ย่อมสรรเสริญคำที่กล่าวดี ใน
ถ้อยคำที่กล่าวไม่ดี ผิดบาลีผิดบทผิดอรรถและผิดพยัญชนะตรงแห่งใด ๆ
บัณฑิตแท้ย่อมช่วยทำให้ถูกตรงแห่งนั้น ๆ. ก็ขึ้นชื่อว่าบัณฑิตแท้อย่าง
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจึงทูลว่า
ณ ที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าหรือท่านผู้เปรียบด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าประ-
ทับนั่งอยู่ หม่อมฉันไม่หนักใจ พระเจ้าข้า.
ในบทว่า เอกมิทาห นี้ ตัดบทเป็น เอก อิธ อห แปลว่า
สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉัน .
บทว่า สมฺโมทนีย กถ สาราณีย วีติสาเรตฺวา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 377
ยังถ้อยคำที่ให้เกิดความบันเทิง ควรให้ระลึกถึงกันจบลงแล้ว.
ในคำว่า กโรโต โข มหาราช การยโต เป็นต้น มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้.
บทว่า กโรโต ได้แก่กระทำด้วยมือของตน.
บทว่า การยโต ได้แก่บังคับให้ทำ.
บทว่า ฉินฺทโต ได้แก่ตัดมือเป็นต้นของตนอื่น.
บทว่า ปจโต ได้แก่ใช้อาชญาเบียดเบียนบ้าง คุกคามบ้าง.
บทว่า โสจยโต ความว่า ทำเขาให้เศร้าโศกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น
ทำให้เขาเศร้าโศกบ้าง ด้วยการลักสิ่งของของผู้อื่นเป็นต้น.
บทว่า กิลมยโต ความว่า ให้เขาลำบากเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำ
ให้เขาลำบากบ้าง ด้วยการตัดอาหารและใส่เรือนจำเป็นต้น.
บทว่า ผนฺทโต ผนฺทาปยโต ความว่า ในเวลาที่ผูกมัดผู้อื่นซึ่ง
ดิ้นรนอยู่ แม้ตนเองก็ดิ้นรน ทำผู้อื่นให้ดิ้นรน.
บทว่า ปาณมติปาตาปยโต ความว่า ฆ่าเองบ้าง ให้ผู้อื่นฆ่าบ้าง
ซึ่งสัตว์มีชีวิต.
ในทุกบท พึงทราบเนื้อความด้วยสามารถแห่งการกระทำเองและ
การให้ผู้อื่นกระทำนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สนฺธึ ได้แก่ที่ต่อเรือน.
บทว่า นิลฺโลป ได้แก่ปล้นยกใหญ่.
บทว่า เอกาคาริก ได้แก่ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวเท่านั้น.
บทว่า ปริปนฺเถ ได้แก่ยืนดักอยู่ที่ทางเพื่อชิงทรัพย์ของคนที่ผ่าน
ไปมา.
ด้วยคำว่า กโรโต น กริยติ ปาป แสดงว่า แม้เมื่อทำด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 378
เข้าใจว่า เราทำบาปอย่างใดอย่างหนึ่ง บาปไม่เป็นอันทำ บาปไม่มี.
แต่สัตว์ทั้งหลายเข้าใจกันเองอย่างนี้ว่า เราทำ.
บทว่า ขุรปริยนฺเตน ความว่า ใช้จักรที่มีกงคมเหมือนมีดโกน
หรือมีวงกลมคม เช่นคมมีดโกน.
บทว่า เอกมสขล ได้แก่กองเนื้อกองเดียว.
บทว่า ปุญฺช เป็นไวพจน์ของบทว่า ขล นั่นเอง.
บทว่า ตโตนิทาน ความว่า มีการทำให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน
เป็นเหตุ.
บทว่า ทกฺขิณ ความว่า พวกมนุษย์ในฝั่งขวาเป็นคนหยาบช้า
ทารุณ ท่านกล่าวว่า หนนฺโต เป็นต้น หมายถึงมนุษย์เหล่านั้น.
พวกมนุษย์ในฝั่งซ้ายเป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส นับถือพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ เป็นของตน ท่านกล่าวคำว่า ททนฺโต เป็นต้น
หมายถึงมนุษย์เหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยชนฺโต ได้แก่ทำการบูชาใหญ่
บทว่า ทเมน ได้แก่ด้วยการฝึกอินทรีย์หรือด้วยอุโบสถกรรม.
บทว่า สญฺเมน ได้แก่ด้วยการสำรวมศีล.
บทว่า สจฺจวาเจน ได้แก่ด้วยการพูดคำจริง.
บทว่า อาคโม ความว่า มา คือเป็นไป.
ครูปูรณกัสสปปฏิเสธการทำบาปและบุญนั่นเอง แม้โดยประการ
ทั้งปวง.
ที่ชื่อว่า เมื่อถูกถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ ได้แก่คนที่เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 379
ถูกถามว่า มะม่วงเป็นเช่นไร หรือลำต้นใบดอกผลของมะม่วงเป็นเช่นไร
ดังนี้แล้ว ตอบว่า ขนุนสำมะลอเป็นอย่างนี้ ลำต้นใบดอกผลของขนุน
สำมะลอเป็นอย่างนี้.
บทว่า วิชิเต ได้แก่ในประเทศที่อยู่ในอำนาจปกครอง.
บทว่า อปสาเทตพฺพ ความว่าพึงเบียดเบียน.
บทว่า อนภินนฺทิตฺวา ได้แก่ไม่ทำการสรรเสริญอย่างนี้ว่า ดีละ ๆ.
บทว่า อปฺปฏิกฺโกสิตฺวา ได้แก่ไม่ห้ามอย่างนี้ว่า แน่ะคนโง่
ท่านพูดไม่ดี.
บทว่า อนุคฺคณฺหนฺโต ได้แก่ไม่ถือเอาเป็นสาระ.
บทว่า อนิกฺกุชฺเชนฺโต ได้แก่ไม่เก็บไว้ในใจว่า นี้เป็นนิสสรณะ
นี้เป็นปรมัตถ์ เพราะถือเป็นสาระได้ทีเดียว. แต่พระเจ้าอชาตศัตรูทรง
ศึกษาพยัญชนะแล้วทรงทิ้งเสีย.
ในวาทะของ ครูมักขลิโคสาล มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
คำว่า ปจฺจโย เป็นไวพจน์ของคำว่าเหตุ.
แม้ด้วยบทว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยทั้ง ๒ เป็นอันครูมักขลิโคสาล
ปฏิเสธปัจจัยแห่งความเศร้าหมองของกายทุจริตเป็นต้น และปัจจัยแห่ง
ความบริสุทธิ์ของกายสุจริตเป็นต้น ที่มีอยู่นั่นแล.
บทว่า อตฺตกาเร ความว่า การกระทำของตนเอง สัตว์เหล่านี้
ถึงความเป็นเทพก็ดี มารก็ดี พรหมก็ดี การตรัสรู้เป็นพระสาวกก็ดี
การตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี ความเป็นพระสัพพัญญูก็ดี ด้วย
กรรมที่ตนกระทำแล้วอันใด ครูมักขลิโคสาลปฏิเสธกรรมอันนั้น.
ด้วยบทที่ ๒ (นตฺถิ ปรกาเร) เป็นอันครูมักขลิโคสาลปฏิเสธ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 380
การกระทำของผู้อื่น คือชนที่เหลือลงเว้นพระมหาสัตว์ อาศัยโอวาทา-
นุศาสนีของผู้อื่น ซึ่งเป็นการการทำของผู้อื่น ตั้งแต่สร้างความโสภาคย์
ของมนุษย์จนบรรลุพระอรหัต. คนพาลนี้ชื่อว่าย่อมให้การประหารใน
ชินจักร ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า นตฺถิ ปุริสกาเร ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมถึงสมบัติ
ทั้งหลาย ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว ด้วยการกระทำของบุรุษใด ครู
มักขลิโคสาลปฏิเสธการกระทำของบุรุษแม้นั้น.
บทว่า นตฺถิ พล ความว่า สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ในกำลังของตนอันใด
กระทำความเพียรแล้วถึงสมบัติเหล่านั้น ครูมักขลิโคสาลปฏิเสธกำลังอัน
นั้น.
บทว่า นตฺถิ วิริย เป็นต้นทั้งหมด เป็นไวพจน์ของบทว่า ปุริส-
การ แต่บทเหล่านี้ ถือเอาไว้แผนกหนึ่ง ด้วยสามารถการปฏิเสธคำที่
เป็นไปอย่างนี้ว่า นี้เป็นไปด้วยความเพียรของบุรุษ นี้เป็นไปด้วยเรี่ยวแรง
ของบุรุษ นี้เป็นไปด้วยความบากบั่นของบุรุษ.
ด้วยบทว่า สพฺเพ สตฺตา ท่านรวมเอา อูฐ โค ลา เป็นต้นไม่
เหลือเลย.
ด้วยบทว่า สพฺเพ ปาณา ท่านกล่าวด้วยคำเป็นต้นว่า ปาณะมี
อินทรีย์เดียว ปาณะมี ๒ อินทรีย์.
ด้วยบทว่า สพฺเพ ภูตา ท่านกล่าวหมายเอาภูตทั้งหลายบรรดาที่
เกิดในฟองไข่และเกิดในมดลูก.
ด้วยบทว่า สพฺเพ ชีวา ท่านกล่าวหมายเอาข้าวสาลี ข้าวเหนียว
และข้าวละมานเป็นต้น ก็ในชีวะเหล่านั้น ครูมักขลิโคสาลนั้น เข้าใจว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 381
ชีวะ โดยที่งอกได้.
บทว่า อวสา อพลา อวิริยา ความว่า ชีวะเหล่านั้นไม่มีอำนาจ
หรือกำลังหรือความเพียรของตน.
ในบทว่า นิยติ สงฺคติ ภาวปริณตา นี้ วินิจฉัยว่า
นิยติ ได้แก่เคราะห์.
สงฺคติ ได้แก่การไปในภพนั้น ๆ ของอภิชาติทั้ง ๖.
ภาวะ ได้แก่สภาวะนั่นเอง.
ความแปรไปตามเคราะห์ ตามความประจวบและตามสภาวะ ถึง
ความเป็นประการต่าง ๆ ครูมักขลิโคสาลแสดงว่า ก็ผู้ใดพึงเป็นด้วย
ประการใด ผู้นั้นย่อมเป็นด้วยประการนั่นแหละ ผู้ใดไม่พึงเป็น ผู้นั้น
ย่อมไม่เป็น.
ด้วยบทว่า ฉเสฺววาภิชาติสุ ครูมักขลิโคสาลแสดงว่า ผู้ดังอยู่ใน
อภิชาติ ๖ นั่นแล ย่อมเสวยสุขและทุกข์ ภูมิที่ให้เกิดสุขเกิดทุกข์แห่งอื่น
ไม่มี.
บทว่า โยนิปฺปมุขสตสหสฺสานิ ความว่า กำเนิดที่เป็นประธาน
คือกำเนิดชั้นสูงสุด ๑,๔๐๖,๖๐๐.
บทว่า ปญฺจ จ กมฺมุโน สตานิ ได้แก่กรรม ๕๐๐.
ครูมักขลิโคสาลแสดงทิฏฐิที่ไร้ประโยชน์ ด้วยเหตุเพียงตรึกอย่าง
เดียว.
แม้ในบทว่า ปญฺจ จ กมฺมานิ ตีณิ จ กมฺมานิ เป็นต้น ก็นัยนี้
เหมือนกัน.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ปญฺจ กมฺมานิ นั้น ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 382
กล่าวหมายอินทรีย์ ๕ และกรรม ๓ ท่านกล่าวหมายกายกรรมเป็นต้น.
ก็ในบทว่า กมฺเม จ อุปฑฺฒกมฺเม จ นี้ ครูมักขลิโคสาลนั้น
มีลัทธิว่า กายกรรมและวจีกรรม เป็นกรรม มโนกรรมเป็นครึ่งกรรม.
บทว่า ทฺวฏฺิปฏิปทา ความว่า ครูมักขลิโคสาล กล่าวว่า
ปฏิปทา ๖๒.
บทว่า ทฺวฏฺนฺตรกปฺปา ความว่า ในกัปหนึ่งมีอันตรกัป ๖๔. แต่
ครูมักขลิโคสาลนี้ ไม่รู้อันตรกัปอีก ๒ อันตรกัป จึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า ฉฬาภิชาติโต ความว่า ครูมักขลิโคสาล กล่าวถึงอภิชาติ
๖ เหล่านี้ คือ อภิชาติดำ อภิชาติเขียว อภิชาติแดง อภิชาติเหลือง
อภิชาติขาว อภิชาติขาวยิ่ง.
ในอภิชาติ ๖ เหล่านั้น พวกฆ่าแพะ พวกฆ่านก พวกฆ่าเนื้อ
พวกฆ่าหมู พวกพราน พวกฆ่าปลา พวกโจร พวกฆ่าโจร พวกผู้คุม
ก็หรือคนอื่น ๆ บางพวกที่มีการงานหนัก นี้ ครูมักขลิโคสาล เรียกว่า
อภิชาติดำ เขาเรียกภิกษุทั้งหลายว่า อภิชาติเขียว.
ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นเอาหนามใส่ในปัจจัย ๔ ฉัน. อนึ่ง ครู
มักขลิโคสาลเรียกภิกษุทั้งหลายว่า มีความประพฤติดั่งหนาม. นี้แหละ
เป็นแนวของผู้ที่ครูมักขลิโคสาลกล่าวถึง.
อีกอย่างหนึ่ง ครูมักขลิโคสาลกล่าวว่า บรรพชิตเหล่านั้นชื่อว่า
ผู้มีความประพฤติดั่งหนาม.
ครูมักขลิโคสาลกล่าวว่า พวกนิครนถ์ที่มีผ้าผืนเดียว ชื่ออภิชาติ
แดง. ได้ยินว่า พวกอภิชาติแดงเหล่านี้ขาวกว่า ๒ พวกข้างต้น.
พวกคฤหัสถ์ที่นุ่งขาว เป็นสาวกของพวกอเจลก เรียกว่าอภิชาติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 383
เหลือง.
ครูมักขลิโคสาล ทำผู้ให้ปัจจัยแก่ตนให้เป็นผู้เจริญที่สุดกว่านิครนถ์
ทั้งหลายอย่างนี้. เขาเรียกอาชีวกชายและอาชีวกหญิง ว่า อภิชาติขาว.
ได้ยินว่า พวกอภิชาติขาวเหล่านั้นขาวกว่า ๔ พวกข้างต้น. ท่านกล่าวว่า
นันทะ วัจฉะ กีสะ สังกิจจะ ท่านมักขลิโคสาลเป็นอภิชาติขาวยิ่ง
ได้ยินว่า ท่านเหล่านั้นขาวกว่าท่านอื่น ๆ ทั้งหมด.
บทว่า อฏฺ ปุริสภูมิโย ความว่า ครูมักขลิโคสาลกล่าวว่า ภูมิ
๘ เหล่านี้คือ มันทภูมิ ขิฑฑาภูมิ ปทวีมังสภูมิ อุชุคตภูมิ เสขภูมิ สมณภูมิ
ชินภูมิ ปันนภูมิ เป็นปุริสภูมิ.
ในภูมิ ๘ นั้น ตั้งแต่วันตลอดมาใน ๗ วัน สัตว์ทั้งหลายยังมึนงง
อยู่ เพราะออกมาจากที่คับแคบ ครูมักขลิโคสาลเรียกคนภูมินี้ว่า มันท-
ภูมิ.
ส่วนผู้ที่มาจากทุคคติย่อมร้องไห้ส่งเสียงอยู่เนือง ๆ ผู้ที่มาจากสุคติ
ระลึกถึงสุคตินั้นเสมอ ย่อมหัวเราะ นี้ชื่อว่า ขิฑฑาภูมิ.
เด็กที่จับมือหรือเท้าของมารดาบิดา หรือจับเตียงหรือตั่ง แกว่งเท้า
บนพื้น ชื่อว่า ปทวีมังสกูมิ.
เด็กในเวลาที่สามารถเดินได้ ชื่อว่า อุชุคตภูมิ.
ในเวลาศึกษาศิลปะทั้งหลาย ชื่อว่า เสขภูมิ.
ในเวลาออกจากเรือนบวช ชื่อว่า สมณภูมิ.
ในเวลาที่คบหาอาจารย์แล้วรู้วิชา ชื่อว่า ชินภูมิ.
สมณะผู้ไม่มีรายได้ เรียกว่า ปันนภูมิ ดังที่กล่าวไว้ว่า ภิกษุก็ดี
พวกปันนกะหรือชินะก็ดี ไม่กล่าวขออะไร ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 384
บทว่า เอกูนปญฺาส อาชีวกสเต ได้แก่ความประพฤติของอาชีวก
๔,๙๐๐.
บทว่า ปริพฺพาชกสเต ได้แก่ปริพาชกที่บรรพชา ๑๐๐ พวก.
บทว่า นาควาสสเต ได้แก่มณฑลของนาค ๑๐๐ มณฑล.
บทว่า วีเส อินฺทฺริยสเต ได้แก่อินทรีย์ ๒,๐๐๐.
บทว่า ตึเส นิริยสเต ได้แก่นรก ๓,๐๐๐.
ด้วยบทว่า รโชธาตุโย ท่านกล่าวหมายเอาฐานที่เปรอะเปื้อนธุลี
มีหลังมือหลังเท้าเป็นต้น.
ด้วยบทว่า สตฺตสญฺีคพฺภา ท่านกล่าวหมายเอา อูฐ โค ลา
แพะ สัตว์เลี้ยง เนื้อ กระบือ.
ด้วยบทว่า คตฺตอสญฺีคพฺภา ท่านกล่าวหมายเอาข้าวสาลี ข้าว
เปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้.
ด้วยบทว่า นิคฺคณฺิคพฺภา ท่านกล่าวหมายเอาพืชที่มีท้องเกิดที่ข้อ
มีอ้อย ไม้ไผ่ และไม้อ้อ เป็นต้น.
ด้วยบทว่า สตฺตเทวา ท่านกล่าวว่า เทวดาจำนวนมาก. แต่ครู
มักขลิโคสาลเรียกว่า สัตว์. แม้มนุษย์ทั้งหลายที่ไม่มีที่สุด ครูมักขลิ-
โคสาลก็เรียกว่า สัตว์.
ด้วยบทว่า สตฺตปิสาจา ครูมักขลิโคสาลกล่าวว่า พวกสัตว์ใหญ่ ๆ
ชื่อว่าปีศาจ.
ด้วยบทว่า สรา ได้แก่สระใหญ่. ครูมักขลิโคสาลกล่าวระบุสระ
ชื่อกัณณมุณฑกะ สระชื่อรถการะ สระชื่ออโนตัตตะ สระชื่อสีห-
ปปาตะ สระชื่อฉัททันต์ สระชื่อมันทากินี และสระชื่อกุณาละ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 385
บทว่า ปวุฏา ได้แก่ปล่อง.
บทว่า ปปาตา ได้แก่เหวใหญ่.
บทว่า ปปาตสตานิ ได้แก่เหวเล็ก ๑๐๐ เหว.
บทว่า สุปินา ได้แก่ฝันใหญ่.
บทว่า สุปินสตานิ ได้แก่ฝันเล็ก ๑๐๐ ฝัน.
บทว่า มหากปฺปิโน ได้แก่มหากัป.
ในบทว่า มหากปฺปิโน นั้น ครูมักขลิโคสาลกล่าวว่า ทุกๆ ร้อย
ปี คนนำน้ำหยาดหนึ่งไปจากสระใหญ่ประมาณเท่านี้ ด้วยปลายหญ้าคา
ทำสระน้ำนั้นให้ไม่มีน้ำ ๗ ครั้ง เป็นมหากัปหนึ่ง. มหากัปเห็นปานนี้สิ้น
ไป ๘ ล้าน ๘ แสนครั้ง ทั้งคนโง่ทั้งคนฉลาดย่อมสิ้นทุกข์ได้. นี้เป็น
ลัทธิของครูมักขลิโคสาล.
ได้ยินว่า แม้บัณฑิตก็ไม่อาจบริสุทธิ์ ในระหว่างได้. แม้คนพาล
ก็ไม่เลยกาลนานนั้นไปได้.
บทว่า สีเลน ได้แก่ด้วยศีลอเจลกหรือศีลอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า วตฺเตน ได้แก่ด้วยวัตรเช่นนั้นแหละ.
บทว่า ตเปน ได้แก่ด้วยการบำเพ็ญตบะ.
ผู้ใดบริสุทธิ์กลางคันด้วยสำคัญว่า เราเป็นบัณฑิต ผู้นั้นชื่อว่าบ่ม
สิ่งซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะสุกได้.
ผู้ใดล่วงเลยเวลาที่กะไว้ว่าเรายังโง่ไป ผู้นั้นชื่อว่าสัมผัสถูกต้องกรรม
ที่อำนวยผลแล้วทำให้สิ้นสุดได้.
บทว่า เหว นตฺถิ ได้แก่ไม่มีอย่างนี้. ด้วยว่า ครูมักขลิโคสาล
ย่อมแสดงทั้ง ๒ อย่างนั้นว่าไม่อาจการทำได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 386
บทว่า โทณมิเต ได้แก่เหมือนดวงด้วยทะนาน.
บทว่า สุขทุกฺเข ได้แก่สุขและทุกข์.
บทว่า ปริยนฺตกเต ได้แก่ทำที่สุดตามกาลมีประมาณดังกล่าวแล้ว.
บทว่า นตฺถิ หานวฑฺฒเน ได้แก่ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ.
อธิบายว่า สังสารวัฏมิได้เสื่อมสำหรับบัณฑิต มิได้เจริญสำหรับคนพาล.
บทว่า อุกฺกสาวกฺกเส ได้แก่ทั้งสูงทั้งต่ำ บทนี้เป็นไวพจน์ของ
ความเสื่อมและความเจริญ.
บัดนี้ เมื่อจะยังความนั้นให้สำเร็จด้วยอุปมา ครูมักขลิโคสาลจึง
กล่าวว่า เสยฺยถาปิ นาม เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น บทว่า สุตฺตคุเล ได้แก่กลุ่มด้ายที่เขาม้วนไว้.
ด้วยบทว่า นิพฺเพิยมานเมว ปเลติ ครูมักขลิโคสาลแสดงว่า
เลยกาลที่กล่าวแล้ว ไม่มีใครจะไปได้ อุปมาเหมือนคนยืนบนภูเขาหรือ
ยอดไม้ ซัดกลุ่มด้ายให้คลี่ออกไปตามประมาณของด้าย เมื่อด้ายหมดแล้ว
ด้ายก็หยุดอยู่ตรงนั้น ไม่ไปอีกฉะนั้น.
ในวาทะของครูอชิตเกสกัมพล มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ด้วยคำว่า นตฺถิ ทินฺน นั้น ครูอชิตเกสกัมพล กล่าวหมายเอา
ความไร้ผลของทานที่ให้แล้ว.
การบูชาให้ เรียกว่า ยิฏฐะ.
บทว่า หุต ประสงค์เอาสักการะอย่างเพียงพอ.
ทั้ง ๒ ข้อนั้น ครูอชิตเกสกัมพลปฏิเสธไปถึงความไร้ผลทีเดียว.
บทว่า สุกตทุกฺกฏาน ความว่า กรรมที่ทำดีทำชั่ว ได้แก่กุศล
และอกุศล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 387
ด้วยบทว่า ผล วิปาโก ครูอชิตเกสกัมพลกล่าวว่า สิ่งใดที่เรียก
กันว่า ผล ก็ดี ว่า วิบาก ก็ดี สิ่งนั้นไม่มี.
บทว่า นตฺถิ อย โลโก ความว่า โลกนี้ไม่มีสำหรับคนที่อยู่โลกอื่น.
บทว่า นตฺถิ ปรโลโก ความว่า โลกอื่นไม่มีแม้สำหรับคนที่อยู่
โลกนี้.
ครูอชิตเกสกัมพลแสดงว่า สัตว์ทุกจำพวกย่อมขาดสูญในภพนั้น ๆ
นั่นแหละ.
ด้วยบทว่า นตฺถิ มาตา นตฺถิ ปิตา ครูอชิตเกสกัมพลกล่าวหมาย
ถึงความไร้ผลแห่งการปฏิบัติชอบ และการปฏิบัติผิดในมารดาบิดาเหล่า
นั้น.
ด้วยบทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา ครูอชิตเกสกัมพล กล่าวว่า
ชื่อว่าสัตว์ที่จุติแล้วอุบัติ ไม่มี.
บทว่า จาตุมฺมหาภูติโก ได้แก่สำเร็จแต่มหาภูตรูป ๔.
บทว่า ปวี ปวีกาย ได้แก่ปฐวีธาตุที่เป็นภายในติดตามปฐวีธาตุ
ที่เป็นภายนอก.
บทว่า อนุเปติ แปลว่า ติดตาม.
บทว่า อนุปคจฺฉติ เป็นไวพจน์ของบทว่า อนุเปติ นั่นเอง ความ
ว่า อนุคจฺฉติ ดังนี้ก็มี.
ด้วยบททั้ง ๒ ครูอชิตเกสกัมพลแสดงว่า อุเปติ อุปคจฺฉติ.
แม้ใน อาโปธาตุ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
บทว่า อินฺทฺริยานิ ได้แก่อินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ ย่อมเลื่อน
ลอยไปสู่อากาศ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 388
บทว่า อาสนฺทิปญฺจมา ได้แก่มีเตียงนอนเป็นที่ ๕. อธิบายว่า
เตียงและบุรุษ ๔ คนที่ยืนถือขาเตียงทั้ง ๔.
บทว่า ยาวาฬาหนา ได้แก่แค่ป่าช้า.
บทว่า ปทานิ ได้แก่บทแสดงคุณและโทษที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้น
ว่า ผู้นี้เป็นผู้มีศีลอย่างนี้ เป็นผู้ทุศีลอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง สรีระนั่นเอง
ท่านประสงค์เอาว่า ปทานิ ในบทว่า ปทานิ นี้.
บทว่า กาโปตกานิ ได้แก่เท้าเตียงสีเหมือนนกพิราบ. อธิบายว่า
มีสีเหมือนปีกนกพิราบ.
บทว่า ภสฺสนฺตา ได้แก่มีเถ้าเป็นที่สุด.
อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า หุติโย ได้แก่ทานที่บุคคลให้แล้ว ต่างโดยของต้อนรับ
แขก เป็นต้นอันใด ทานนั้นทั้งหมดย่อมมีเถ้าเป็นที่สุดเท่านั้น ไม่ให้ผล
เกินไปกว่านั้น.
บทว่า ทตฺตุปญฺตฺต ได้แก่ทานอันคนเซอะ คือมนุษย์โง่ ๆ
บัญญัติไว้. อธิบายว่า ทานนี้อันคนโง่คือคนไม่มีความรู้บัญญัติไว้ มิใช่
บัณฑิตบัญญัติ ครูอชิตเกสกัมพลแสดงว่า คนโง่ให้ทาน คนฉลาดรับ
ทาน.
บรรดาครูทั้ง ๖ นั้น ปูรณะชี้แจงว่า เมื่อทำบาปก็ไม่เป็นอันทำ
ชื่อว่า ย่อมปฏิเสธกรรม.
อชิตะชี้แจงว่า เพราะกายแตก สัตว์ย่อมขาดสูญ ชื่อว่า ปฏิเสธ
วิบาก.
มักขลิชี้แจงว่า ไม่มีเหตุ ชื่อว่า ปฏิเสธทั้งกรรมและวิบากทั้ง ๒.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 389
ในข้อนั้น แม้เมื่อปฏิเสธกรรม ก็ชื่อว่าปฏิเสธวิบากด้วย. แม้เมื่อ
ปฏิเสธวิบาก ก็ชื่อว่าปฏิเสธกรรมด้วย. ดังนั้นเจ้าลัทธิแม้ทั้งหมดนั้น ว่า
โดยอรรถ ก็คือปฏิเสธทั้งกรรมและวิบากของกรรมทั้ง ๒ ย่อมเป็น
อเหตุกวาทะด้วย เป็นอกิริยวาทะด้วย เป็นนัตถิกวาทะด้วย.
ก็บุคคลเหล่าใดถือลัทธิของเจ้าลัทธิเหล่านั้น นั่งสาธยายพิจารณา
ในที่พักกลางคืนในที่พักกลางวัน บุคคลเหล่านั้นย่อมมีมิจฉาสติจดจ่ออยู่
ในอารมณ์นั้นว่า ทำบาปไม่เป็นอันทำ เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี สัตว์ตาย
แล้วขาดสูญ ดังนี้ ย่อมมีจิตแน่วแน่ ชวนะทั้งหลายย่อมแล่นไป ในปฐม-
ชวนะ ยังพอเยียวยาได้. ในชวนะที่ ๒ เป็นต้นก็เช่นกัน. ครั้นแน่วแน่
ในชวนะที่ ๗ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ทรงเยียวยาไม่ได้ มีอันไม่กลับ
เป็นธรรมดา เช่นสามเณรอริฏฐะ และ ภิกษุกัณฏกะ.
ในนิยตมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ นั้น บางคนดิ่งลงสู่ทัศนะเดียว บางคน
๒ ทัศนะ บางคน ๓ ทัศนะก็มี เมื่อดิ่งลงไปในทัศนะเดียวก็ดี ใน ๒
๓ ทัศนะก็ดี ย่อมเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ ห้ามทางสวรรค์และห้ามทาง
นิพพาน ไม่ควรไปสวรรค์แม้ในภพที่ติดต่อกันนั้น จะกล่าวไปไยถึง
นิพพานเล่า สัตว์นี้ชื่อว่าเป็นตอวัฏฏะ เป็นผู้เฝ้าแผ่นดิน โดยมากคนมี
ทิฏฐิเห็นปานนี้ ออกจากภพไม่ได้.
เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เห็นประจักษ์หวังความเจริญ
พึงเว้นอกัลยาณปุถุชนให้ห่างไกล เหมือนคนเว้นห่าง
งูมีพิษร้ายฉะนั้น.
ในวาทะของครูปกุทธกัจจายนะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อกฏา แปลว่า ไม่มีใครทำ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 390
บทว่า อกฏวิธา แปลว่า ไม่มีวิธีที่ใครทำไว้. อธิบายว่า ถึงจะให้
ใคร ๆ ทำว่า จงทำอย่างนี้ ก็ไม่เป็นอันทำ.
บทว่า อนิมฺมิตา ได้แก่ไม่มีใครเนรมิตแม้ด้วยฤทธิ์.
บทว่า อนิมฺมาตา ได้แก่ไม่มีใครให้เนรมิต.
อาจารย์บางพวกกล่าวบทว่า อนิมฺมาเปตพฺพา บทนั้นไม่ปรากฏ
ในบาลีและในอรรถกถา.
๓ บทมีบทว่า วญฺฌา เป็นต้น มีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
บทว่า น อิญฺชนฺติ ความว่า ไม่หวั่นไหว เพราะตั้งมั่นเหมือน
เสาระเนียด.
บทว่า น วิปริณมนติ ได้แก่ไม่ละปรกติ.
บทว่า น อญฺมญฺ พฺยาพาเธนฺติ ได้แก่ไม่กระทบกันและกัน.
บทว่า นาล ได้แก่ไม่สามารถ.
ในบทว่า ปวีกาโย เป็นต้น กองดินหรือดินรวมกัน ก็คือดิน
นั่งเอง.
บทว่า ตตฺถ ได้แก่นกายซึ่งมีชีวะเป็นที่ ๗ เหล่านั้น.
บทว่า สตฺตนฺนเยว กายาน ความว่า ศัสตราย่อมเข้าไปตามระหว่าง
คือช่องซอกของกายทั้ง ๗ เหมือนอย่างศัสตราที่ฟันลงไปในกองถั่วเขียว
เป็นต้น ย่อมเข้าไปตามระหว่างถั่วเขียวเป็นต้นฉะนั้น. ครูปกุทธกัจจายนะ
แสดงว่า ในสัตวนิกายนั้น มีเพียงสัญญาว่าเราจะปลงสัตว์นี้จากชีวิตอย่าง
เดียวเท่านั้น (หาใช่เป็นการปลงชีวิตไม่ ).
ในวาทะของนิครนถนาฏบุตร มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า จาตุยามสวรสวุโต ความว่า สำรวมทั้ง ๔ ด้าน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 391
บทว่า สพฺพวาริวาริโต จ ความว่า เป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง. อธิบาย
ว่า เป็นผู้ห้ามน้ำเย็นทั้งหมด.
ได้ยินว่า ครูนิครนถนาฏบุตรนั้น เข้าใจว่าน้ำเย็นมีสัตว์มีชีวิต
ฉะนั้น จึงไม่ใช้น้ำเย็นนั้น.
บทว่า สพฺพวาริยุตโต ได้แก่ประกอบด้วยเครื่องกั้นบาปทั้งปวง.
บทว่า สพฺพวาริธุโต ได้แก่กำจัดบาปด้วยเครื่องกั้นบาปทั้งปวง.
บทว่า สพฺพวาริผุฏฺโ ได้แก่อันเครื่องกันบาปทั้งปวงต้องแล้ว.
บทว่า คตตฺโต ได้แก่มีจิตถึงที่สุด.
บทว่า ยตตฺโต ได้แก่มีจิตสำรวมแล้ว.
บทว่า ิตตฺโต ได้แก่มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว.
ในวาทะของครูนิครนถนาฏบุตรนี้ มีบางอย่างที่เข้ากันกับศาสนา
ได้บ้าง. แต่เพราะเป็นลัทธิไม่บริสุทธิ์ จึงเกิดเป็นทิฏฐิทั้งหมดเลย.
วาทะของครูสญชัยเวลัฏฐบุตร มีนัยดังกล่าวแล้วในอมราวิกเขป-
วาทะ (ในพรหมชาลสูตร) นั่นแล.
บทว่า โสห ภนฺเต เป็นต้น ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อม
ฉันไม่ได้สาระในวาทะของเดียรถีย์ทั้งหลาย เหมือนคั้นทราย ไม่ได้น้ำมัน
จึงขอทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า ยถา เต ขเมยฺย ความว่า ตามที่พอพระทัย.
บทว่า ทาโส ได้แก่ทาสในเรือนเบี้ย ทาสที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ ทาส
ที่เป็นเชลยศึก และทาสที่สมัครเป็นทาสเอง อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า กมฺมกาโร ได้แก่ไม่เกียจคร้านทำการงานเสมอทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 392
ชื่อว่า ปุพฺพุฏายี ด้วยอรรถว่า เห็นนายแต่ไกล ลุกขึ้นก่อน
ทันที.
ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตี ด้วยอรรถว่า ลุกขึ้นอย่างนี้แล้วปูอาสนะให้นาย
ทำกิจที่ควรทำมีล้างเท้า เป็นต้น แล้วจึงพักผ่อน คือนอนในภายหลัง.
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า ปุพฺพุฏายี ด้วยอรรถว่า ลุกขึ้นก่อน เมื่อนาย
ยังไม่ลุกจากที่นอน.
ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตี ด้วยอรรถว่า ทำกิจทั้งปวงตั้งแต่เช้าตรู่จนนาย
เข้านอนในราตรี ตนจึงพักผ่อน คือนอนในภายหลัง.
ชื่อว่า กึการปฏิสฺสาวี ด้วยอรรถว่า คอยเฝ้าฟังบัญชาจะโปรดให้
ทำอะไรด้วยตั้งใจอย่างนี้ว่า เราจะทำอะไร.
ชื่อว่า มนาปจารี ด้วยอรรถว่า ทำแต่กิริยาที่น่าพอใจเท่านั้น.
ชื่อว่า ปิยวาที ด้วยอรรถว่า พูดแต่คำที่น่ารักเท่านั้น.
ชื่อว่า มุขมุลฺลิโก ด้วยอรรถว่า คอยดูหน้านายที่แจ่มใสร่าเริง.
บทว่า เทโว มญฺเ ได้แก่เหมือนเทวดา.
บทว่า โส วตสฺสาห ปุญฺานิ กเรยฺย ความว่า แม้เรานั้นหนอ
ก็พึงเป็นพระเจ้าแผ่นดินอย่างองค์นี้ ถ้าเราทำบุญทั้งหลาย.
ปาฐะว่า โส วตสฺสาย ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนี้เหมือนกัน.
ด้วยบทว่า ยนฺนูนาห แสดงความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าเราจักให้ทาน
แม้ตลอดชีวิตเรา ก็ไม่อาจะให้แม้เพียงส่วนหนึ่งในร้อยของทานที่พระราชา
พระราชทานในวันเดียวได้ จึงทำอุตสาหะในบรรพชา.
บทว่า กาเยน สวุโต ได้แก่สำรวมกาย ปิดประตูมิให้อกุศลเข้า
ไปได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 393
แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็นัยนี้แหละ.
บทว่า ฆาสจฺฉาทนปรมตาย ความว่า ด้วยความมีอาหารและ
เครื่องนุ่งห่มเป็นอย่างยิ่ง คืออย่างสูง. อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่การ
บวชนี้จริง ๆ จึงละอเนสนา สันโดษด้วยสัลเลขปฏิบัติอย่างเลิศ.
บทว่า อภิรโต ปวิเวเก ความว่า ยินดีในวิเวก ๓ อย่าง ซึ่งท่าน
กล่าวไว้อย่างนี้ว่า กายวิเวก สำหรับผู้ที่มีกายปลีกออกเพื่อความสงัด ๑
จิตตวิเวก สำหรับผู้ที่ยินดีการออกจากกาม ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง ๑
อุปธิวิเวก สำหรับบุคคลหมดกิเลส หมดเครื่องปรุงแต่ง ๑ ละความ
คลุกคลีด้วยหมู่ ปลีกกายอยู่คนเดียว ละความเกลือกกลั้วด้วยกิเลสทางใจ
อยู่คนเดียวด้วยอำนาจสมาบัติ ๘ เข้าผลสมาบัติหรือนิโรธสมาบัติแล้ว
บรรลุพระนิพพานอยู่.
บทว่า ยคฺเฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าเตือน.
บทว่า อาสเนนปิ นิมนฺเตยฺยาม ความว่า ควรจะจัดอาสนะสำหรับ
นั่งแล้วกล่าวว่า นิมนต์นั่งบนอาสนะนี้.
บทว่า อภินิมนฺเตยฺยามปิ น ความว่า ควรจะเชื้อเชิญเขาเข้ามา.
ในการนั้น มีการเชื้อเชิญ ๒ อย่าง คือ ด้วยวาจาอย่าง ๑ ด้วยกายอย่าง ๑.
จริงอยู่ ทายกที่กล่าวว่า ข้าพเจ้าขอแจ้งให้ทราบ ท่านต้องการสิ่งใด
เช่นจีวรเป็นต้น โปรดบอกในขณะที่ท่านต้องการทุกครั้ง ดังนี้ ชื่อว่า
เชื้อเชิญให้มาด้วยวาจา. ส่วนทายกที่สังเกตเห็นว่าจีวรเป็นต้นขาดแคลน
จึงถวายจีวรเหล่านั้นด้วยกล่าวว่า โปรดรับจีวรนี้ ดังนี้ ชื่อว่าเชื้อเชิญเข้า
มาด้วยกาย.
ท่านกล่าวว่า อภินิมนฺเตยฺยามปิ น หมายเอาการเชื้อเชิญทั้ง ๒
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 394
อย่างนั้น.
ก็ยาเป็นที่สบายแก่คนไข้อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า คิลานเภสชฺช-
ปริกฺขาร ในที่นี้ ก็ความแห่งคำกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
บทว่า รกฺขาวรณคุตฺตึ ได้แก่การคุ้มครอง กล่าวคือการรักษา
และการป้องกัน.
ก็การคุ้มครองที่เป็นการรักษาและป้องกันนี้นั้น หาใช่จัดบุรุษถือ
อาวุธยืนรักษาไว้ จะชื่อว่า คุ้มครองเป็นธรรมไม่ เป็นแต่เพียงจัดการ
รักษามิให้คนหาฟืนคนเก็บใบไม้เป็นต้น เข้าไปในวิหารในเวลาอัน ไม่
สมควรหรือมิให้พรานเนื้อเป็นต้น จับเนื้อหรือปลาในเขตวิหาร ก็ชื่อว่า
คุ้มครองเป็นธรรม.
ท่านกล่าวว่า ธมฺมิก หมายถึงการคุ้มครองเป็นธรรมที่กล่าวแล้ว
นั้น.
บทว่า ยทิ เอว สนฺเต ความว่า ถ้าเมื่อทาสของพระองค์ได้รับ
ปฏิสันถารมีอภิวาทเป็นต้นจากสำนักของพระองค์เช่นนั้น.
คำว่า อทฺธา เป็นคำจำกัดความลงไปส่วนเดียว.
บทว่า ปม ความว่า เมื่อกล่าวถึงที่ ๑ ย่อมแสดงว่ายังมีที่อื่นๆ
ต่อไป. ด้วยบทว่า ปม นั่นแหละ พระราชาจึงทูลว่า สกฺกา ปน ภนฺเต
อญฺปิ ดังนี้เป็นต้น.
ชื่อว่า ชาวนา ด้วยอรรถว่า ไถนา.
ชื่อว่า คฤหบดี ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่เฉพาะเรือน คือเป็นหัว
หน้าเพียงในเรือนหลังเดียว.
ชื่อว่า ผู้เสียค่าอากร ด้วยอรรถว่า กระทำค่าอากร กล่าวคือพลีให้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 395
ชื่อว่า ผู้เพิ่มพูนพระราชทรัพย์ ด้วยอรรถว่า เพิ่มพูนกองข้าวเปลือก
และกองทรัพย์.
บทว่า อปฺป วา ได้แก่น้อย โดยที่สุดแม้เพียงข้าวสารทะนานหนึ่ง.
บทว่า โภคกฺขนฺธ ได้แก่กองโภคะ.
บทว่า มหนฺตวา ได้แก่ไพบูลย์.
เพื่อแสดงว่า ก็การที่จะละโภคะมากไปบวช ทำได้ยาก ฉันใด
โภคะแม้น้อยก็ละไปบวชได้ยาก ฉันนั้น ท่านจึงกล่าวไว้เสียทั้ง ๒ อย่าง.
ก็จะวินิจฉัยในวาระแห่งทาส : เพราะเหตุที่ทาสไม่เป็นอิสระแม้แก่
คน จะป่วยกล่าวไปไยถึงโภคะทั้งหลาย ก็ทรัพย์ใดของทาสนั้น ทรัพย์
นั้นก็เป็นของนายนั่นเอง ฉะนั้น จึงมิได้ถือว่าเป็นโภคะ.
เครือญาติก็คือญาตินั่นแหละ.
ข้อว่า สกฺกา ปน ภนฺเต อญฺมปิ ทิฏฺเว ธมฺเม ความว่า ใน
ที่นี้พระเจ้าอชาตศัตรูมิได้ทูลว่า เอวเมว. หากจะถามว่า ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร. แก้ว่าเพราะถ้าเมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า เอวเมว พระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็จะทรงแสดงสามัญญผลโดยอุปมาทั้งหลายเห็นปานนั้น ตลอด
วันแม้ทั้งสิ้นหรือยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอย่างเพียงพอ พระเจ้าอชาตศัตรูจะมัว
สดับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ในที่นั้นไม่มีที่สิ้นสุดโดยแท้. แม้
ถึงอย่างนั้น เนื้อความก็จักมีอยู่เท่านั้นเอง. พระเจ้าอชาตศัตรูมีพระดำริ
ดังนี้ เมื่อจะทูลถามให้วิเศษขึ้นไป จึงมิได้ทูลว่า เอวเมว แต่ทูลยิ่งขึ้น
ไปว่า อภิกฺกนฺตตร ปณีตตร ดังนี้ .
ในพระบาลีนั้น บทว่า อภิกฺกนฺตตร ได้แก่ที่น่าพอใจกว่า คือ
ประเสริฐยิ่งกว่า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 396
บทว่า ปณีตตร ได้แก่สูงสุดกว่า.
บทว่า เตนหิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าส่งเสริม.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงส่งเสริมในการฟัง จึงได้
ตรัสกะพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นอย่างนี้.
บทว่า สุณาหิ ความว่า ขอพระองค์จงพึงสามัญญผลที่ดีกว่าและ
ประณีตกว่า.
ก็ในบทว่า สาธุก มนสิกโรหิ นี้ คำว่า สาธุก และ สาธุ นี้
มีอรรถอย่างเดียวกัน.
ก็สาธุศัพท์นี้ แปลได้หลายอย่าง เช่น ขอโอกาส รับคำ ทำให้
ร่าเริงดี และทำให้มั่น เป็นต้น.
ที่แปลว่า ขอโอกาส เช่นในประโยคว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา
สงฺขิตฺเตน ธมฺม เทเสตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอโอกาส
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ดังนี้เป็น-
ต้น.
ที่แปลว่า รับคำ เช่นในประโยคว่า สาธุ ภนฺเตติ โข โส ภิกฺขุ
ภควโต ภาสิต อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา ภิกษุนั้นรับคำว่า ดีละ พระ
เจ้าข้า แล้วชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้เป็นต้น.
ที่แปลว่า ทำให้ร่าเริง เช่นในประโยคว่า สาธุ สาธุ สารีปุตฺต
ดีแล้ว ดีแล้ว สารีบุตร ดังนี้เป็นต้น.
ที่แปลว่า ดี เช่นในคาถาเป็นต้นว่า
สาธุ ธมฺมรุจี ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร
สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณ สุข
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 397
พระราชาใฝ่ธรรม ดี
นระผู้มีปัญญา ดี
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ดี
การไม่ทำบาป ดี.
ที่แปลว่า ทำให้มั่น เช่นในประโยคว่า เตนหิ พฺราหฺมณ สาธุก
สุณาหิ ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงพึงให้ดี สาธุกศัพท์นั่น
แหละ บางท่านแปลว่า บังคับ ก็มี. แม้ในที่นี้พึงทราบว่า แปลว่าทำให้
มั่นนี้แหละด้วย แปลว่าบังคับด้วย. แม้จะแปลว่า ดี ก็ควร.
จริงอยู่ โดยแปลว่าทำให้มั่น ย่อมส่องความว่า จงฟังธรรมนี้ให้มั่น
ยึดถือไว้อย่างดี.
โดยแปลว่า บังคับ ย่อมส่องความว่า จงฟังตามบังคับของเรา.
โดยแปลว่า ดี ย่อมส่องความว่า จงพึงธรรมนี้ให้ดี คือให้ได้เนื้อ
ถ้อยกระทงความ.
บทว่า มนสิกโรหิ ความว่า จงนึกรวบรวม. อธิบายว่า จงมีจิต
แน่วแน่เงี่ยโสตตั้งใจ.
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า สุณาหิ ในพระบาลีนี้ เป็นการห้ามความ
ฟุ้งซ่านแห่งโสตินทรีย์.
คำว่า สาธุก มนสิกโรหิ เป็นการห้ามความฟุ้งซ่านแห่งมนินทรีย์
โดยประกอบให้มั่นในมนสิการ.
แลใน ๒ คำนี้ คำต้นห้ามถือพยัญชนะคลาดเคลื่อน คำหลังห้าม
ถืออรรถคลาดเคลื่อน.
แลด้วยคำต้น ชักชวนให้ฟังธรรม ด้วยคำหลังชักชวนให้จำและ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 398
ไตร่ตรองธรรมที่ฟังแล้วเป็นต้น.
แลด้วยคำต้นแสดงว่า ธรรมนี้พร้อมพยัญชนะ เพราะฉะนั้นจึง
ควรฟัง ด้วยคำหลังแสดงว่าธรรมนี้พร้อมอรรถ เพราะฉะนั้น จึงควร
ใส่ใจไว้ให้ดี.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สาธุก พึงประกอบด้วยบททั้ง ๒ (ว่า สาธุก
สุณาหิ สาธุก มนสิกโรหิ).
เพราะธรรมนี้ลึกโดยธรรม และลึกโดยเทศนา ฉะนั้น จึงต้องฟัง
ให้ดี และเพราะธรรมนี้ลึกโดยอรรถและลึกโดยปฏิเวธ ฉะนั้น จึงต้อง
ใส่ใจให้ดี พึงประกอบเนื้อควานอย่างนี้แล.
บทว่า ภาสิสฺสามิ ความว่า เราจักกล่าวแสดงสามัญญผลที่ได้
ปฏิญญาไว้อย่างนี้ว่า อาจ มหาบพิตร ดังนี้ โดยพิสดาร.
บทว่า เทสิสฺสามิ เป็นการแสดงโดยย่อ.
บทว่า ภาสิสฺสามิ เป็นการแสดงโดยพิสดาร.
เพราะเหตุนั้น พระวังคีสเถระจึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าเทศนาโดยย่อบ้าง ตรัส
โดยพิสดารบ้าง พระสุรเสียงกังวาน
ไพเราะเหมือนเสียงนกสาลิกา พระปฏิภาณก็ไว.
เมื่อพระผู้มีพระภาคะเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิ-
บุตร เจ้าแผ่นดินมคธก็เกิดพระอุตสาหะรับพร้อมพระพุทธดำรัส อธิบาย
ว่า รับเฉพาะแล้ว.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระดำรัสนี้แก่ พระเจ้า-
อชาตศัตรูนั้น. อธิบายว่า ได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้น มีคำว่า อิธ มหาราช
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 399
เป็นต้น ที่ควรจะตรัสในบัดนี้.
บทว่า อิธ ในพระบาลีนั้น เป็นนิบาต ใช้ในอรรถอ้างถึงท้องถิ่น.
อิธ ศัพท์นี้นั้น บางแห่งท่านกล่าวหมายถึงโลก อย่างที่กล่าวว่า พระ
ตถาคตย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้.
บางแห่งหมายถึงศาสนา อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ
ที่ ๑ มีในศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ ก็มีในศาสนานี้.
บางแห่งหมายถึงโอกาส อย่างที่กล่าวว่า
เมื่อเราเป็นเทวดาดำรงอยู่ในโอกาสนี้
เราต่ออายุได้อีกจริง ๆ จงทราบ
อย่างนี้เถิด ท่าน.
บางแห่งเป็นเพียงปทปูรณะเท่านั้น อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย เราบริโภคแล้ว ห้ามภัตแล้ว.
ก็ในที่นี้ พึงทราบว่า ตรัสหมายถึงโลก.
บทว่า มหาราช ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า มหา-
บพิตรอีก เพื่อทรงแสดงเทศนาตามที่ทรงปฏิญญาไว้. คำนี้มีอธิบายว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ตถาคตย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์.....เป็น
ผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม.
ตถาคต ศัพท์ในพระบาลีนั้น ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร ศัพท์ว่า
อรห เป็นต้น กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคโดยพิสดาร.
ก็ในพระบาลีว่า โลเก อุปฺปชฺชติ นี้ คำว่าโลกมี ๓ อย่าง คือ
โอกาสโลก สัตวโลก สังขารโลก. แต่ในที่นี้ประสงค์สัตวโลก. พระ
ตถาคตแม้เมื่อเกิดในสัตวโลก จะได้เกิดในเทวโลกหรือพรหมโลกก็หาไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 400
ย่อมเกิดในมนุษยโลกเท่านั้น. แม้ในมนุษยโลก ก็ไม่เกิดในจักรวาลอื่น
ย่อมเกิดในจักรวาลนี้เท่านั้น. แม้ในจักรวาลนี้นั้น ก็ไม่เกิดในที่ทั่วไป
ย่อมเกิดในมัชฌิมประเทศ โดยยาว ๓๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๒๕๐ โยชน์
โดยวงรอบ ๙๐๐ โยชน์ ซึ่งท่านกำหนดไว้อย่างนี้ว่า ทิศตะวันออกมีนิคม
ชื่อชังคละ, ต่อจากนิคมชื่อชังคละนั้น มีนิคมชื่อมหาสาละ, ต่อจากนั้น
เป็นปัจจันตชนบท, ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท. ทิศตะวันออกเฉียงใต้
มีแม่น้ำชื่อสัลลวดี, ต่อจากนั้นเป็นปัจจันตชนบท, ร่วมในเป็นมัชฌิม-
ชนบท. ในทิศใต้มีนิคมชื่อเสตกัณณิกะ, ต่อจากนั้นเป็นปัจจันตชนบท,
ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท. ทิศตะวันตกมีพราหมณคามชื่อถูนะ, ต่อจาก
นั้นเป็นปัจจัยนตชนบท, ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท. ทิศเหนือมีภูเขาชื่อ
อุสีรธชะ, ต่อจากนั้นเป็นปัจจันตชนบท, ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท.
และมิใช่แต่พระตถาคตเท่านั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระอัคร-
สาวกทั้งหลาย พระอสีติมหาเถระทั้งหลาย พระพุทธมารดา พระพุทธ-
บิดา พระเจ้าจักรพรรดิ พราหมณ์และคฤหบดีที่มีหลักฐานอื่น ๆ ย่อม
เกิดในมัชฌิมประเทศนี้เท่านั้น.
ในคำว่า ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ นั้น พระตถาคต ตั้งแต่
เสวยข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายจนถึงอรหัตตมรรค ชื่อว่าย่อมอุบัติ
เมื่อบรรลุอรหัตตผล ชื่อว่าอุบัติแล้ว หรือว่าตั้งแต่มหาภิเนษกรมณ์จนถึง
อรหัตตมรรค หรือว่าตั้งแต่ภพชั้นดุสิตจนถึงอรหัตตมรรคหรือว่าตั้งแต่
บาทมูลของพระพุทธเจ้าที่ปังกรจนถึงอรหัตตมรรค ชื่อว่าย่อมอุบัติ เมื่อ
บรรลุอรหัตตผล ชื่อว่าอุบัติแล้ว. คำว่า อุปฺปชฺชติ ในพระบาลีนี้ท่านกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 401
หมายเอาภาวะที่อุบัติแล้วก่อนทั้งหมด. ก็ในที่นี้มีเนื้อความดังนี้ว่า พระ
ตถาคตอุบัติแล้วในโลก.
บทว่า โส อิม โลก ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง
ทำโลกนี้ให้แจ้ง. บัดนี้จะแสดงคำที่ควรกล่าว.
บทว่า สเทวก ความว่า กับเทวดาทั้งหลาย ชื่อสเทวกะ กับ
มาร ชื่อสมารกะ อย่างเดียวกัน กับพรหม ชื่อสพรหมกะ กับสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลาย ชื่อสัสสมณพราหมณ์. ชื่อหมู่สัตว์ เพราะเกิดทั่ว ซึ่ง
หมู่สัตว์นั้น กับเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ชื่อสเทวมนุสสะ.
ในบทเหล่านั้น ด้วยคำว่า สเทวกะ พึงทราบว่าถือเอากามาพจรเทพ
๕ ชั้น. ด้วยคำว่า สมารกะ พึงทราบว่าถือเอากามาพจรเทพชั้นที่ ๖.
ด้วยคำว่า สพรหมกะ ถือเอาพรหมมีชั้นพรหมกายิกะเป็นต้น. ด้วยคำว่า
สัสสมณพราหมณี ถือเอาสมณพราหมณ์ที่เป็นข้าศึกและปัจจามิตรต่อ
พระศาสนา และถือเอาสมณพราหมณ์ที่ระงับบาปลอยบาปได้แล้ว. ด้วย
คำว่า ปชา ถือเอาสัตวโลก. ด้วยคำว่า สเทวมนุสสะ ถือเอาสมมติ-
เทพและมนุษย์ที่เหลือ.
ด้วยบท ๓ บท ในที่นี้ พึงทราบว่า ท่านถือเอาสัตวโลกกับโอกาส-
โลก. เฉพาะสัตวโลก ท่านถือเอาด้วยคำว่า ปชา ด้วยบททั้ง ๒ ด้วย
ประการฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง ด้วยศัพท์ว่า สเทวกะ ท่านถือเอาอรูปาวจรเทวโลก.
ด้วยศัพท์ว่า สมารกะ ท่านถือเอาฉกามาวจรเทวโลก. ด้วยศัพท์ว่า
สพรหมกะ ท่านถือเอารูปพรหมเทวโลก. ด้วยศัพท์ว่า สัสสมณพราหมณี
เป็นต้น ท่านถือเอามนุษยโลกกับสมมติเทพทั้งหลายโดยเป็นบริษัท ๔
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 402
หรือถือเอาสัตวโลกทั้งหมดที่เหลือลง.
อีกอย่างหนึ่ง ในบทเหล่านี้ ด้วยคำว่า สเทวกะ ท่านกล่าวถึง
ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำโลกทั้งปวงให้แจ้งโดยกำหนดอย่างสูง.
ลำดับนั้น ชนเหล่าใดมีความคิดว่า วสวัตดีมาร ผู้มีอานุภาพมาก เป็นใหญ่
ในสวรรค์ชั้นกามาพจร. วสวัตดีมาร แม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
ทำให้แจ้งด้วยหรือ. เมื่อจะกำจัดความสงสัยของชนเหล่านั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า สมารก ดังนี้ .
ก็ชนเหล่าใดมีความคิดว่า พรหมผู้มีอานุภาพใหญ่ แผ่แสงสว่างไป
ในพันจักรวาลด้วยองคุลีหนึ่ง__ ด้วย ๒ องคุลี แผ่แสงสว่างไปในหมื่น
จักรวาลด้วย ๑๐ องคุลี และเสวยสุขในฌานสมาบัติชั้นยอดเยี่ยม พรหม
แม้นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำให้แจ้งด้วยหรือ เมื่อจะกำจัดความสงสัย
ของชนเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺรหฺมก ดังนี้.
ลำดับนั้น ชนเหล่าใดคิดว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมากที่เป็นข้าศึก
ต่อพระศาสนา สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำให้
แจ้งด้วยหรือ เมื่อจะกำจัดความสงสัยของชนเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สสฺสมณพฺราหฺมณึ ปช ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศความที่พระองค์ทรงทำฐานะ
ชั้นสูงทั้งหลายให้แจ้งแล้ว ลำดับนั้นเมื่อจะทรงประกาศความที่พระองค์
ทรงทำสัตวโลกที่เหลือจนชั้นสมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือลงทั้งหลายด้วย
กำหนดอย่างสูง จึงตรัสว่า สเทวมนุสฺส ดังนี้ นี้เป็นลำดับการขยาย
ความในที่นี้.
ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า บทว่า สเทวก ได้แก่โลก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 403
ที่เหลือลงรวมทั้งเทวดาทั้งหลาย.
บทว่า สมารก ได้แก่โลกที่เหลือลงรวมทั้งมาร.
บทว่า สพฺรหฺมก ได้แก่โลกที่เหลือลงร่วมทั้งพรหมทั้งหลาย.
โดยอธิบายอย่างนี้ เป็นอันผนวกสัตว์ที่เข้าถึงภพ ๓ ทั้งหมด ใน
บททั้ง ๓ ด้วยอาการ ๓. เมื่อจะถือเอาด้วยบททั้ง ๒ อีก จึงกล่าวว่า
สสฺสมณพฺรหฺมณึ ปช สเทวมนุสฺส ดังนี้ .
โดยอธิบายอย่างนี้ เป็นอันถือเอาสัตวโลกที่เป็นไตรธาตุนั่นเทียว
โดยอาการนั้น ๆ ด้วยบททั้ง ๕.
ก็ในคำว่า สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ นี้ มีวินิจฉัยว่า
บทว่า สย ได้แก่เอง คือไม่มีผู้อื่นแนะนำ.
บทว่า อภิญฺา ได้แก่ด้วยความรู้ยิ่ง อธิบายว่า รู้ด้วยญาณอันยิ่ง.
บทว่า สจฺฉิกตฺวา ได้แก่ทำให้ประจักษ์. ด้วยบทนี้ เป็นอัน
ปฏิเสธความคาดคะเนเป็นต้น.
บทว่า ปเวเทติ ได้แก่ให้รู้ ให้ทราบ คือ ประกาศให้ทราบ
กันทั่วไป.
ข้อว่า โส ธมฺม เทเสติ อาทิกลฺยาณ ฯ เป ฯ ปริโยสานกลฺยาณ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงอาศัยความเป็นผู้กรุณาใน
สัตว์ทั้งหลาย แม้ทรงละซึ่งความสุขเกิดแต่วิเวกแสดงธรรม และเมื่อทรง
แสดงธรรมนั้น น้อยก็ตาม มากก็ตาม ทรงแสดงชนิดมีความงามในเบื้องต้น
เป็นต้นทั้งนั้น. อธิบายว่า แม้ในเบื้องต้น ทรงแสดงทำให้งาม ไพเราะ
ไม่มีโทษเลย แม้ในท่ามกลาง แม้ในที่สุด ก็ทรงแสดงทำให้งาม ไพเราะ
ไม่มีโทษเลย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 404
ในข้อที่กล่าวมาแล้วนั้น เทศนามีเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด.
ศาสนาก็มีเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด. จะกล่าวเทศนาก่อน. ในคาถาแม้
มี ๔ บาท บาทแรกชื่อว่าเป็นเบื้องต้น. สองบาทต่อจากนั้นชื่อว่าเป็น
ท่ามกลาง. บาทเดียวในตอนท้ายชื่อว่าเป็นที่สุด.
พระสูตรที่มีอนุสนธิเดียว มีนิทานเป็นเบื้องต้น มีคำว่า อิทมโวจ
เป็นที่สุด คำระหว่างเบื้องต้นและที่สุดทั้ง ๒ เป็นท่ามกลาง.
พระสูตรที่มีอนุสนธิมาก มีอนุสนธิแรกเป็นเบื้องต้น มีอนุสนธิ
ในตอนท้ายเป็นที่สุด. อนุสนธิหนึ่ง หรือสอง หรือมากในท่ามกลาง เป็น
ท่ามกลางทั้งนั้น.
สำหรับศาสนา มีศีลสมาธิและวิปัสสนาชื่อว่าเป็นเบื้องต้น. สมจริง
ดังที่ตรัสไว้ว่า ก็อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ? ศีลที่บริสุทธิ์
ดีและทิฏฐิที่ตรงเป็นเบื้องต้น.
ก็อริยมรรคที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทา
ที่ตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วมีอยู่ ดังนี้ ชื่อว่าเป็นท่ามกลาง.
ผลและนิพพานชื่อว่าเป็นที่สุด.
จริงอยู่ ผลท่านกล่าวว่าเป็นที่สุด ในประโยคนี้ว่า แน่ะพราหมณ์
เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ นั่นเป็นสาระ นั่นเป็น
ที่สุด ดังนี้.
นิพพานท่านกล่าวว่าเป็นที่สุด ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนท่านวิสาขะ
บุคคลอยู่จบพรหมจรรย์ซึ่งหยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้อง
หน้า มีนิพพานเป็นที่สุด.
ในที่นี้ทรงประสงค์เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดแห่งเทศนา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 405
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรม ทรงแสดงศีลใน
เบื้องต้น ทรงแสดงมรรคในท่ามกลาง ทรงแสดงนิพพานในที่สุด.
ฉะนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง
แสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ดังนี้.
เพราะฉะนั้น ธรรมกถึกแม้อื่น เมื่อแสดงธรรม
พึงแสดงศีลในเบื้องต้น แสดงมรรคในท่ามกลาง
และแสดงนิพพานในที่สุด นี้เป็นหลักของธรรมกถึก.
บทว่า สาตฺถ สพฺยญฺชน ความว่า ก็ผู้ใดมีเทศนาเกี่ยวด้วย
การพรรณนาถึงข้าวยาคูและภัตรหญิงและชายเป็นต้น ผู้นั้นชื่อว่าแสดง
เทศนาพร้อมทั้งอรรถก็หาไม่ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงละการแสดง
อย่างนั้น ทรงแสดงเทศนาเกี่ยวด้วยสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น. ฉะนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ทรงแสดงพร้อมทั้งอรรถ ดังนี้.
ก็เทศนาของผู้ใดประกอบด้วยพยัญชนะเดียวเป็นต้น หรือมีพยัญชนะ
หุบปากทั้งหมด หรือมีพยัญชนะเปิดปากทั้งหมด และมีกดปากทั้งหมด
เทศนาของผู้นั้นย่อมเป็นเทศนาชื่อว่าไม่มีพยัญชนะ เพราะพยัญชนะไม่
บริบูรณ์ ดุจภาษาของพวกมิลักขะ มีเผ่าทมิฬะ เผ่ากิราตะ และเผ่ายวนะ
เป็นต้น.
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงทำพยัญชนะ ๑๐ อย่างที่กล่าวไว้
อย่างนี้ว่า สิถิล ธนิต ทีฆะ รัสสะ ลหุ ครุ นิคคหิต สัมพันธ์ วิมุต
และประเภทแห่งความขยายของพยัญชนะ ดังนี้ไม่ให้ปะปนกัน ทรงแสดง
ธรรมทำพยัญชนะนั่นแลให้บริบูรณ์ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทรงแสดง
ธรรมพร้อมทั้งพยัญชนะ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 406
บทว่า เกวล ในบทว่า เกวลปริปุณฺณ นี้เป็นคำเรียกความสิ้นเชิง.
บทว่า ปริปุณฺณ เป็นคำเรียกความไม่ขาดไม่เกิน. อธิบายว่า ทรง
แสดงบริบูรณ์ทั้งสิ้นทีเดียว แม้เทศนาส่วนหนึ่งที่ไม่บริบูรณ์ก็ไม่มี.
บัณฑิตพึงทราบว่า บริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะไม่มีคำที่จะพึงเพิ่มเข้า
และตัดออก.
บทว่า ปริสุทฺธ ได้แก่ไม่มีความเศร้าหมอง.
ก็ผู้ใดแสดงธรรมด้วยคิดว่า เราจักได้ลาภหรือสักการะเพราะอาศัย
ธรรมเทศนาน เทศนาของผู้นั้นย่อมไม่บริสุทธิ์. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
มิได้ทรงเพ่งโลกามิส มีพระหทัยอ่อนโยนด้วยเมตตาภาวนาซึ่งแผ่ประโยชน์
ทรงแสดงด้วยจิตที่ดำรงอยู่โดยสภาพคือการยกระดับให้สูงขึ้น. ฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่าทรงแสดงธรรมบริสุทธิ์.
ก็ในคำว่า พฺรหฺมจริย ปกาเสติ นี้ ศัพท์ว่า พฺรหฺมจริย นี้ ปรากฏ
ในอรรถเหล่านี้ คือ ทาน เวยยาวัจจะ ศีลสิกขาบท ๕ อัปปมัญญา
เมถุนวิรัติ สทารสันโดษ วิริยะ องค์อุโบสถ อริยมรรค ศาสนา.
จริงอยู่ ทาน ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในปุณณกชาดกนี้ว่า
ก็อะไรเป็นพรต อะไรเป็นพรหมจรรย์ของท่าน นี้เป็น
วิบากของกรรมอะไรที่สั่งสมดีแล้ว ความสำเร็จ
ความรุ่งเรื่อง กำลัง การเข้าถึงความเพียร และ
วิมานใหญ่ของท่านนี้ เป็นผลแห่งกรรมอะไร ท่านผู้
ประเสริฐ ข้าพเจ้าและภริยาทั้ง ๒ เมื่ออยู่ในมนุษย-
โลก ได้เป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดี เรื่องของเรา
ในกาลนั้นได้เป็นโรงดื่ม และสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 407
ก็อิ่มหนำ ก็ทานนั้นเป็นพรต เป็นพรหมจรรย์ของเรา
นี้เป็นวิบากแห่งทานที่สั่งสมดีแล้ว ความสำเร็จ
ความรุ่งเรื่อง กำลัง การเข้าถึงความเพียรและวิมาน
ใหญ่ของเรา นี้เป็นผลแห่งทานที่สั่งสมดีแล้ว ท่านผู้
แกล้วกล้า.
เวยยาวัจจะ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ฝนเรื่องอังกุรเปรตนี้ว่า
ฝ่ามือของท่านให้สิ่งที่น่าใคร่ด้วยพรหมจรรย์อะไร
ฝ่ามือของท่านหลั่งมธุรสด้วยพรหมจรรย์อะไร บุญ
สำเร็จในฝ่ามือของท่านด้วยพรหมจรรย์อะไร ฝ่ามือ
ของข้าพเจ้าให้สิ่งที่น่าใคร่ด้วยพรหมจรรย์นั้น ฝ่ามือ
ของข้าพเจ้าหลั่งมธุรสด้วยพรหมจรรย์นั้น บุญสำเร็จ
ในฝ่ามือของข้าพเจ้าด้วยพรหมจรรย์นั้น.
ศีลสิกขาบท ๕ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในติตติชาดกนี้ว่า
อิท โข ต ภิกฺขเว ติตฺติริย นาม พฺรหฺมจริย อโหสิ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ศีล ๕ นั้นแล ชื่อว่าติตติริยพรหมจรรย์.
อัปปมัญูญา ๔ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในมหาโควินทสูตร
นี้ว่า ต โข ปน ปญฺจสิข พฺรหฺมจริย เนว นิพฺพิทาย น วิราคาย
น นิไรธาย ยาเทว พฺรหฺมโลกุปปตฺติยา ดูก่อนปัญจสิขเทพบุตร
ก็พรหมจรรย์นั้นแล ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา ไม่เป็นไปเพื่อวิราคะ ไม่
เป็นไปเพื่อนิโรธ เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงพรหมโลกเท่านั้น.
เมถุนวิรัติ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในสัลเลขสูตรนี้ว่า ปเร
อพฺรหฺมจาริโน ภวิสฺสนฺติ มยเมตฺถ พฺรหฺมจาริโน ภวิสฺสาม คนเหล่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 408
อื่นจักเป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เราทั้งหลายในที่นี้จักเป็นผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์.
สทารสันโดษ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในมหาธรรมปาลชาดกว่า
เราทั้งหลายไม่นอกใจภริยาทั้งหลาย และภริยาทั้งหลาย
ก็ไม่นอกใจพวกเรา เว้นภริยาเหล่านั้น พวกเรา
ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุนั้นแหละ พวกเรา
จึงไม่ตายแต่หนุ่ม ๆ.
ความเพียร ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในโลมหังสนสูตรว่า อภิชานามิ
โข ปนาห สารีปุตฺต จตุรงฺคสมนฺนาคต พฺรหฺมจริย จริตา ตปสฺสี สุท
โหมิ ดูก่อนสารีบุตร เรานี่แหละรู้ชัดซึ่งความประพฤติพรหมจรรย์อัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ เรานี่แหละเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส.
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ทำด้วยอำนาจการฝึกตน ท่านกล่าว
ว่า พรหมจรรย์ ในนิมิชาดกอย่างนี้ว่า
บุคคลเกิดเป็นกษัตริย์ด้วยพรหมจรรย์อย่างต่ำ เกิด
เป็นเทวดาด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง และย่อม
บริสุทธิ์ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูงสุด.
อริยมรรค ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในมหาโควินทสูตรนั่นแล
ว่า อิท โข ปน ปญฺจสิข พฺรหฺมจริย เอกนฺตนิพฺพิทาย วิราคาย
ฯ เป ฯ อยเมว อริโย อฏฺงคิโก มคฺโค ดูก่อนปัญจสิขเทพบุตร
ก็พรหมจรรย์นี้แล เป็นไปเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เป็นไปเพื่อวิราคะ
เป็นไปเพื่อนิโรธ..... พรหมจรรย์นี้คือมรรคมีองค์ ๘ ที่ห่างไกลจากข้าศึก
คือกิเลสนี้แหละ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 409
ศาสนาทั้งสิ้นซึ่งสงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓ ท่านกล่าวว่า พรหม
จรรย์ ในปาสาทิกสูตรว่า ตยิท พฺรหฺมจริย อิทฺธญฺเจว ผีตญฺจ
วิตฺถาริก พาหุชญฺญ ปุถุภูต ยาวเทว เทวมนุสฺเสหิ สุปฺปกาสิต
พรหมจรรย์นี้นั้นสมบูรณ์ มั่งคั่ง แพร่หลาย คนโดยมากเข้าใจ มั่นคง
เพียงที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศดีแล้ว เท่านั้น.
ก็ศาสนาทั้งสิ้นซึ่งสงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓ นี้แหละท่านประสงค์ว่า
พรหมจรรย์ในที่นี้ . เพราะฉะนั้น พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า บทว่า
พฺรหฺมจริย ปกาเสติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงธรรม
งามในเบื้องต้น....... บริสุทธิ์. และเมื่อทรงแสดงอย่างนี้ ทรงประกาศ
พรหมจรรย์ คือศาสนาทั้งสิ้นซึ่งสงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓.
บทว่า พฺรหฺมจริย มีอธิบายว่า ความประพฤติเป็นพรหม ด้วย
อรรถว่า ประเสริฐที่สุด หรือความประพฤติของพระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้เป็น
พรหม.
บทว่า ต ธมฺม ความว่า ฟังธรรมที่ถึงพร้อมด้วยประการดังกล่าว
แล้วนั้น.
บทว่า คหปติ วา ความว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงชี้คฤหบดีก่อน. เพราะจะกำจัดมานะอย่างหนึ่ง เพราะคฤหบดีมีจำนวน
สูงอย่างหนึ่ง.
จริงอยู่ โดยมากพวกที่ออกจากขัตติยตระกูลบวช ย่อมถือตัวเพราะ
อาศัยชาติ. พวกที่ออกจากตระกูลพราหมณ์บวช ย่อมถือตัวเพราะอาศัย
มนต์. พวกที่ออกจากตระกูลต่ำบวช ไม่อาจที่จะดำรงอยู่ได้เพราะตนมี
ชาติแตกต่างจากเขา. ส่วนพวกเด็กคฤหบดี ไถพื้นที่ไร่นา จนเหงื่อไหล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 410
รักแร้ ขี้เกลือขึ้นหลัง ย่อมกำจัดความถือตัวและเย่อหยิ่งเสียได้. เพราะ
ไม่มีความถือตัวเช่นนั้น เขาเหล่านั้นบวชแล้ว ไม่ทำความถือตัวหรือความ
เย่อหยิ่ง เรียนพระพุทธพจน์ตามกำลัง กระทำพระพุทธพจน์นั้นด้วย
วิปัสสนา ย่อมอาจที่จะดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์ได้. ส่วนผู้ที่ออก
จากตระกูลนอกนี้บวช มีไม่มาก. แต่ที่เป็นคฤหบดี มีมาก. ดังนั้น จึง
ชี้คฤหบดีก่อน เพราะจะกำจัดมานะ และเพราะมีจำนวนสูง ดังนี้
บทว่า อญฺตรสฺมึ วา ความว่า ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง
บรรดาตระกูลนอกนี้.
บทว่า ปจฺจาชาโต ได้แก่เกิดเฉพาะ.
บทว่า ตถาคเต สทฺธ ปฏิลภติ ความว่า ฟังธรรมบริสุทธิ์
ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตผู้เป็นธรรมสามี ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ
องค์นั้น เป็นสัมมาสัมพุทธะหนอ.
บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ ได้แก่ย่อมพิจารณาอย่างนี้.
บทว่า สมฺพาโธ ฆราวาโส ความว่า แม้ถ้าว่าผัวเมียอยู่ใน
เรือน ๖๐ ศอก หรือแม้ในที่ระหว่างร้อยโยชน์แม้อย่างนั้น การครองเรือน
ก็คับแคบอยู่นั้นเอง เพราะอรรถว่า เขาเหล่านั้นมีกังวลห่วงใย.
บทว่า รชาปโถ ในมหาอรรถกถาแก้ว่า ที่เป็นที่ตั้งขึ้นแห่งธุลีมี
ราคะเป็นต้น . บางท่านกล่าวว่า อาคมปโถ ทางเป็นที่มา ดังนี้ก็มี.
ชื่อว่า อพฺโภกาโส ด้วยอรรถว่า เป็นเหมือนกลางแจ้ง เพราะ
อรรถว่า ไม่ติดขัด.
จริงอยู่ บรรพชิตแม้อยู่ในที่ปกปิดมีเรือนยอดปราสาทแก้วและเทพ
วิมานเป็นต้น ซึ่งมีประตูหน้าต่างปิดมิดชิด ก็ไม่เกี่ยวไม่ต้อง ไม่พัวพัน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 411
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อพฺโภกาโส ปพฺพชฺชา ดังนี้ .
อีกอย่างหนึ่ง ฆราวาสชื่อว่าคับแคบ เพราะไม่มีโอกาสทำกุศล ชื่อ
ว่าเป็นทางมาแห่งธุลี เพราะเป็นที่ประชุมแห่งธุลีคือกิเกส ดุจกองหยากเยื่อ
ที่ไม่ได้รักษา เป็นที่รวมแห่งธุลีฉะนั้น. บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง
เพราะมีโอกาสทำกุศลตามสบาย.
ในพระบาลีนี้ว่า นยิท สุกร ฯ เป ฯ ปพฺพเชยฺย ดังนี้ มี
สังเขปกถาดังต่อไปนี้ :
พรหมจรรย์คือสิกขา ๓ ที่แสดงแล้ว ชื่อว่าพึงประพฤติให้บริบูรณ์
โดยส่วนเดียว เพราะไม่ทำให้ขาดแม้วันเดียว ยังจริมกจิตให้เอิบอิ่มได้.
ชื่อว่าพึงประพฤติให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว เพราะไม่ทำให้แปดเปื้อนด้วย
มลทินคือกิเลสแม้วันเดียว ยังจริมกจิตให้เอิบอิ่มได้.
บทว่า สงฺขลิขิต ความว่า พึงประพฤติให้เหมือนสังข์ที่ขัดแล้ว คือ
ให้มีส่วนเปรียบด้วยสังข์ที่ล้างแล้ว.
ก็พรหมจรรย์นี้อันผู้อยู่ครองเรือนอยู่ในท่ามกลางแห่งเรือนจะ
ประพฤติให้บริบูรณ์บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้า
กระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะที่สมควรแก่ผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ เพราะย้อมด้วยน้ำฝาดและมีสีเหลือง ออกจากเรือนบวชเป็น
ผู้ไม่มีเรือน. แลในข้อนี้ เพราะการงานมีกสิกรรมและพาณิชกรรมเป็นต้น
ที่เป็นประโยชน์แก่เรือน เรียกว่า การครองเรือน และการครองเรือน
นั้นไม่มีในบรรพชา ฉะนั้น บรรพชาพึงทราบว่า ไม่ใช่การครองเรือน
พรหมจรรย์นั้น ไม่ใช่การครองเรือน.
บทว่า ปพฺพเชยฺย ได้แก่พึงปฏิบัติ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 412
บทว่า อปฺป วา ความว่า กองโภคะต่ำกว่าจำนวนพัน ชื่อว่า
น้อย. ตั้งแต่พันหนึ่งขึ้นไป ชื่อว่ามาก.
ญาตินั่นแหละ ชื่อว่าเครือญาติ เพราะอรรถว่าเกี่ยวพัน. เครือญาติ
แม้นั้นต่ำกว่า ๒๐ ชื่อว่าน้อย. ตั้งแต่ ๒๐ ขึ้นไป ชื่อว่ามาก.
บทว่า ปาฏิโมกฺขสวรสวุโต ได้แก่ประกอบด้วยความสำรวมใน
ปาติโมกข์.
บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ได้แก่ถึงพร้อมด้วยอาจาระและ
โคจร.
บทว่า อณุมตฺเตสุ คือมีประมาณน้อย.
บทว่า วชฺเชสุ ได้แก่ในอกุศลธรรมทั้งหลาย.
บทว่า ภยทสฺสาวี คือเห็นภัย.
บทว่า สมาทาย ได้แก่ถือเอาโดยชอบ.
บทว่า สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ความว่า สมาทานศึกษาสิกขาบท
นั้น ๆ ในสิกขาบททั้งหลาย.
นี้เป็นความย่อในข้อนี้ ส่วนความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิ-
มรรค.
ในพระบาลีว่า กายกมฺมวจีกมฺเมน สมนฺนาคโต กุสเลน
ปริสุทฺธาชีโว นี้ ความว่า ก็เมื่อกายกรรมและวจีกรรมที่เป็นกุศล พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่าอาจารโคจรแล้วก็ตาม เพราะชื่อว่า
อาชีวปาริสุทธิศีลนี้ ย่อมไม่เกิดในอากาศหรือที่ยอดไม้เป็นต้น แต่เกิด
ขึ้นในกายทวารและวจีทวารเท่านั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ประกอบด้วย
กายกรรมและวจีกรรมอันเป็นกุศล เพื่อแสดงทวารที่เกิดของอาชีวปาริ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 413
สุทธิศีลนั้น. แต่เพราะประกอบด้วยอาชีวปาริสุทธิศีลนั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวอย่างนี้ ก็โดยอำนาจมุณฑิยปุตตสูตร. จริง
อยู่ ในสูตรนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดี กายกรรมที่เป็นกุศล เป็น
ไฉน ? ดูก่อนคฤหบดี แม้อาชีวะที่บริสุทธิ์ เราก็กล่าวไว้ในศีล ดังนี้.
ก็เพราะผู้ปฏิบัติประกอบด้วยศีลนั้น ฉะนั้น พึงทราบว่า เป็นผู้มี
อาชีพบริสุทธิ์.
บทว่า สีลสมฺปนฺโน ความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ๓ อย่าง
ที่กล่าวแล้วในพรหมชาลสูตร.
บทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร ความว่า เป็นผู้ปิดทวารในอินทรีย์
ทั้งหลายซึ่งมีใจเป็นที่ ๖.
บทว่า สติสมฺปชญฺเน สมนฺนาคโต ความว่า เป็นผู้ประกอบ
ด้วยสติและสัมปชัญญะในฐานะทั้ง ๗ มีก้าวไปและถอยกลับเป็นต้น.
บทว่า สนฺตุฏโ ความว่า ประกอบด้วยสันโดษ ๓ อย่างใน
ปัจจัย ๔ ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางหัวข้ออย่างนี้แล้ว เมื่อทรงแจกตาม
ลำดับจึงตรัสคำเป็นต้นว่า มหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยศีล.
ในพระบาลีนั้น บทว่า อิทปิสฺส โหติ สีลสฺมึ ความว่า ศีล
คือเจตนางดเว้น จากปาณาติบาตของภิกษุนั้นแม้นี้ เป็นศีลข้อ ๑ ในศีล. อีก
อย่างหนึ่ง คำว่า สีลสฺมึ นี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งปฐมาวิภัตติ.
ก็ในมหาอรรถกถาท่านกล่าวเนื้อความนี้ทีเดียวว่า ศีลคือเจตนา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 414
งดเว้นจากปาณาติบาตแม้นี้ ก็เป็นศีลของสมณะนั้นเหมือนกัน. คำที่เหลือ
พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในพรหมชาลสูตรนั่นแหละ.
บทว่า อิทมสฺส โหติ สีลสฺมึ ความว่า นี้เป็นศีลของภิกษุนั้น.
บทว่า น กุโตจิ ภย สมนุปสฺสติ ยทิท สีลสวรโต ความว่า ภัย
เหล่าใดที่มีความไม่สำรวมเป็นมูลย่อมเกิดขึ้น บรรดาภัยเหล่านั้น ภัยที่
พึงมีเพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลจะไม่ประสบแต่ที่ไหน ๆ
แม้เพราะสำรวมอย่างเดียว. เพราะเหตุไร เพราะไม่มีภัยที่มีความไม่สำรวม
เป็นมูล เพราะความสำรวม.
บทว่า มุทฺธาวสิตฺโต ความว่า รดบนพระเศียรด้วยขัตติยาภิเษก
ที่จัดไว้ตามพิธี.
บทว่า ยทิท ปจฺจตฺถิกโต ความว่า ย่อมไม่ประสบภัยที่จะพึงมีแม้
จากศัตรูคนหนึ่งแต่ที่ไหน ๆ. เพราะเหตุไร เพราะกำจัดปัจจามิตรได้แล้ว.
บทว่า อชฺฌตฺต ได้แก่ภายในของตน อธิบายว่า ในสันดาน
ของตน.
บทว่า อนวชฺชสุข ความว่า ไม่มีโทษ คือไม่มีใครติได้ เป็น
กุศล. ภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์ย่อมเสวยสุขทั้งทางกายทางใจ อันธรรมคือความ
ไม่เดือดร้อน ความปราโมทย์ ความอิ่มใจ และความสงบ ซึ่งมีศีลเป็น
ปทัสถานผสมอยู่.
ข้อว่า เอว โข มหาราช ภิกฺขุ สีลสมฺปนฺโน นาม โหติ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงศีลกถาจบลงว่า ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยศีล ๓ อย่าง ที่ทรงแสดงพิสดารติดต่อกันอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล
สมบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 415
ในการจำแนกทวารที่คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้
จักขุศัพท์ในบทว่า จกฺขุนา รูป นี้ ในที่บางแห่งเป็นไปในพุทธ
จักษุ. เหมือนอย่างที่กล่าวว่า ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ.
ในที่บางแห่งเป็นไปในสมันตจักษุ กล่าวคือพระสัพพัญญุตญาณ.
เหมือนอย่างที่กล่าวว่า ดูก่อนสุเมธะ พระพุทธเจ้าผู้มีสมันตจักษุ เสด็จ
ขึ้นปราสาทที่ล้วนแล้วด้วยพระธรรมมีอุปมาอย่างนั้น.
ในที่บางแห่งเป็นไปในธรรมจักษุ เหมือนอย่างที่กล่าวว่าธรรมจักษุ
ปราศจากธุลีไม่มีมลทินเกิดขึ้นแล้ว ก็ในพระบาลีนี้หมายเอาปัญญา คือ
อริยมรรค ๓.
ญาณมีปุพเพนิวาสานุสสติญาณเป็นต้น ในพระบาลีว่า จักษุเกิด
ขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ดังนี้ ท่านเรียกว่า ปัญญาจักษุ.
เป็นไปในทิพยจักษุ ในที่มาทั้งหลายว่า ด้วยทิพยจักษุ ดังนี้.
เป็นไปในปสาทจักษุ ในพระบาลีนี้ว่า รูปอาศัยจักษุ ดังนี้.
แต่ในที่นี้ จักขุศัพท์นี้เป็นไปในจักษุวิญญาณโดยโวหารว่า ปสาท-
จักษุ. เพราะฉะนั้น ในพระบาลีนี้จึงมีเนื้อความว่า เห็นรูปด้วยจักษุ-
วิญญาณ.
คำใดที่พึงกล่าวแม้ในบทที่เหลือ คำนั้นทั้งหมด กล่าวแล้วใน
วิสุทธิมรรค.
บทว่า อพฺยาเสกสุข ความว่า เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลส คือ
ไม่เจือกิเลส เพราะเว้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เป็นสุขบริสุทธิ์ เป็น
อธิจิตสุข แล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 416
จบอินทริยสังวรกถา.
ก็ในการจำแนกสติสัมปชัญญะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
จักวินิจฉัยในพระบาลีนี้ว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต ก่อน.
การไป เรียกว่า อภิกกันตะ ก้าวไป.
การกลับ เรียกว่า ปฏิกกันตะ ก้าวกลับ.
แม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมได้ในอิริยาบถ ๔.
ในการไป เมื่อนำกายไปข้างหน้าก่อน ชื่อว่า ก้าวไป เมื่อถอยกลับ
ชื่อว่า ก้าวกลับ.
แม้ในการยืน ผู้ที่ยืนนั่นแหละ น้อมกายไปข้างหน้า ชื่อว่า ก้าวไป
เอนกายไปข้างหลัง ชื่อว่า ก้าวกลับ.
แม้ในการนั่ง ผู้ที่นั่งนั่นแหละ ชะโงกหน้าไปยังส่วนข้างหน้าของ
อาสนะ ชื่อว่า ก้าวไป เมื่อถอยไปยังส่วนที่เป็นส่วนข้างหลัง ชื่อว่า
ก้าวกลับ.
แม้ในการนอนก็นัยนี้แหละ.
บทว่า สมฺปชานการี โหติ ความว่า กระทำกิจทั้งปวงด้วย
สัมปชัญญะ หรือกระทำสัมปชัญญะนั่นเอง. ด้วยว่า ภิกษุนั้นย่อมกระทำ
สัมปชัญญะอยู่เสมอในการก้าวไปเป็นต้น มิได้เว้นสัมปชัญญะในกาล
ไหน ๆ.
สัมปชัญญะ ในพระบาลีนั้น มี ๔ อย่าง คือ
๑. สาตถกสัมปชัญญะ
๒. สัปปายสัมปชัญญะ
๓. โคจรสัมปชัญญะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 417
๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ
ใน ๔ อย่างนั้น เมื่อจิตคิดจะไปเกิดขึ้น ยังไม่ทันไปตามที่คิดก่อน
ใคร่ครวญถึงประโยชน์มิใช่ประโยชน์ว่า การไปที่นั้นจะมีประโยชน์แก่เรา
หรือไม่หนอ แล้วใคร่ครวญประโยชน์ ชื่อสาตถกสัมปชัญญะ.
คำว่า ประโยชน์ ในบทว่า สาตถกสัมปชัญญะนั้นคือ ความเจริญ
ฝ่ายธรรมโดยได้เห็นพระเจดีย์ เห็นต้นพระศรีมหาโพธิ เห็นพระสงฆ์ เห็น
พระเถระและเห็นอสุภเป็นต้น. ด้วยว่า ภิกษุนั้นยังปีติมีพระพุทธเจ้าเป็น
อารมณ์ให้เกิดขึ้นแม้เพราะเห็นพระเจดีย์หรือต้นพระศรีมหาโพธิ ยังปีติมี
พระสงฆ์เป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้นเพราะเห็นพระสงฆ์ พิจารณาปีตินั้นแหละ
โดยความเป็นของสิ้นไปเสื่อมไป ย่อมบรรลุพระอรหัต เห็นพระเถระ
ทั้งหลาย ดังอยู่ในโอวาทของพระเถระเหล่านั้น เห็นอสุภยังปฐมฌานให้
เกิดขึ้นในอสุภนั้น พิจารณาอสุภนั้นแหละโดยความเป็นของสิ้นไปเสื่อมไป
ย่อมบรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการเห็นสิ่งเหล่านั้นว่า มี
ประโยชน์.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความเจริญแม้ฝ่ายอามิสก็มีประโยชน์
เหมือนกัน เพราะอาศัยอามิสนั้นปฏิบัติเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์.
ส่วนในการไปนั้น ใคร่ครวญถึงสัปปายะและอสัปปายะ แล้วใคร่
ครวญสัปปายะ ชื่อสาตถกสัมปชัญญะ ข้อนี้อย่างไร จะกล่าวการเห็นพระ
เจดีย์มีประโยชน์ก่อน ก็ถ้าบริษัทประชุมกันในที่ ๑๐ โยชน์ ๑๒ โยชน์
เพื่อบูชาใหญ่พระเจดีย์ ทั้งหญิงทั้งชายประดับตกแต่งกายตามสมควรแก่
สมบัติของตน ราวกะภาพจิตรกรรม พากันเดินไปมา ก็ในที่นั้น โลภะ
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นเพราะอารมณ์ที่น่าปรารถนา ปฏิฆะย่อมเกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 418
เพราะอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา โมหะย่อมเกิดขึ้นเพราะไม่พิจารณา ย่อม
ต้องอาบัติเพราะกายสังสัคคะก็มี ย่อมเป็นอันตรายแก่ชีวิตและพรหมจรรย์
ก็มี. ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ ที่นั้นจึงเป็นอสัปปายะ. เพราะไม่มีอันตราย
อย่างที่กล่าวแล้ว ที่นั้นเป็นสัปปายะ.
แม้ในการเห็นต้นพระศรีมหาโพธิก็นัยนี้แหละ.
แม้การเห็นพระสงฆ์ก็มีประโยชน์. ก็ถ้าเมื่อมนุษย์ทั้งหลายสร้าง
มณฑปใหญ่ภายในหมู่บ้าน ชวนกันฟังธรรมตลอดคืน ย่อมมีทั้งประชุมชน
ทั้งอันตราย โดยประการที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ ที่
นั้นจึงเป็นอสัปปายะ. เพราะไม่มีอันตราย ที่นั้นเป็นสัปปายะ.
แม้ในการเห็นพระเถระที่มีบริษัทบริวารมากก็นัยนี้แหละ.
แม้การเห็นอสุภก็มีประโยชน์.
ก็เรื่องนี้ เพื่อแสดงประโยชน์นั้น.
ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งพาสามเณรไปหาไม้สีฟัน. สามเณรหลีก
จากทางเดินไปข้างหน้า เห็นอสุภ ยังปฐมฌานให้บังเกิด ทำปฐมฌานนั้น
ให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย ทำให้แจ้งผลทั้ง ๓ แล้วยืนกำหนด
กรรมฐานเพื่อต้องการมรรคผลชั้นสูง. ภิกษุหนุ่มเมื่อไม่เห็นสามเณรก็
เรียกว่า สามเณร. สามเณรนั้นคิดว่า จำเดิมแต่กาลที่เราบรรพชา ไม่
เคยกล่าวคำสองกับภิกษุ เราจักยังคุณวิเศษชั้นสูงให้บังเกิดแม้ในวันอื่น
ดังนี้ จึงได้ขานรับว่า อะไรขอรับ เมื่อภิกษุหนุ่มเรียกว่า มานี่ ด้วยคำเดียว
เท่านั้น สามเณรนั้นก็มา กล่าวว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงเดินไปตาม
ทางนี้ก่อน แล้วยืนหันหน้าไปทางทิศทะวันออก แลดูตรงที่ที่กระผมยืนอยู่
สักครู่เถิด. ภิกษุนั้นกระทำตามนั้น ได้บรรลุคุณวิเศษที่สามเณรนั้นบรรลุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 419
แล้วเหมือนกัน. อสุภเดียวเกิดประโยชน์แก่ชน ๒ คน ด้วยประการฉะนี้.
อสุภนี้แม้มีประโยชน์อย่างนี้ก็จริง. แต่อสุภหญิงเป็นอสัปปายะแก่
ชาย และอสุภชายเป็นอสัปปายะแก่หญิง อสุภที่เป็นสภาคกัน (เพศเดียว
กัน) เท่านั้น เป็นสัปปายะ การใคร่ครวญสัปปายะอย่างนี้ ชื่อสัปปาย-
สัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้.
ก็การเลือกอารมณ์กล่าวคือกรรมฐานที่ตนชอบใจในบรรดากรรมฐาน
๓๘ อย่าง แล้วยึดอารมณ์นั้นเท่านั้นไปในที่ที่ภิกขาจาร ของภิกษุผู้ใคร่-
ครวญถึงประโยชน์และสัปปายะอย่างนี้ ชื่อโคจรสัมปชัญญะ.
เพื่อความแจ่มแจ้งโคจรสัมปชัญญะนั้น บัณฑิตพึงทราบจตุกกะนี้
ดังต่อไปนี้
ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ นำไป ไม่นำกลับ บางรูป
นำกลับ ไม่นำไป แต่นางรูป ไม่นำไป ไม่นำกลับ
บางรูป นำไปด้วย นำกลับด้วย.
ในบรรดาภิกษุ ๔ จำพวกนั้น ภิกษุใดชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม
อันเป็นเครื่องกั้น ด้วยการจงกรมและด้วยการนั่ง ในกลางวัน ตอน
ปฐมยามในกลางคืนก็ปฏิบัติอย่างนั้น นอนในมัชฌิมยาม ยังกาลให้ล่วง
ไปด้วยการนั่งและการจงกรมแม้ในปัจฉิมยาม กระทำวัตรที่ลานพระเจดีย์
และลานพระศรีมหาโพธิก่อนทีเดียว รดน้ำที่ต้นพระศรีมหาโพธิ ตั้งน้ำฉัน
น้ำใช้ไว้ ประพฤติสมาทานขันธกวัตรทุกอย่างมีอาจริยวัตรและอุปัชฌายวัตร
เป็นต้น. ภิกษุนั้นกระทำสรีระบริกรรมแล้วเข้าสู่เสนาสนะ ให้ร่างกายได้รับ
ไออุ่นชั่ว ๒ - ๓ กลับ แล้วประกอบเนือง ๆ ซึ่งกรรมฐาน ลุกขึ้นในเวลา
ภิกขาจาร ถือบาตรและจีวร โดยกำหนดกรรมฐานเป็นหลักนั่นเทียว ออก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 420
จากเสนาสนะ ใส่ใจถึงกรรมฐานอยู่อย่างนั้น ไปลานพระเจดีย์ หากเจริญ
พุทธานุสสติกรรมฐานอยู่ ก็เจริญพุทธานุสสติกรรมฐานนั้นเรื่อยไป ไม่
ละกรรมฐานนั้น เข้าไปสู่ลานพระเจดีย์ หากเจริญกรรมฐานอื่นอยู่ พัก
กรรมฐานนั้น เหมือนวางสิ่งของที่ถือมาไว้ ณ เชิงบันได ยึดปีติมีพระ
พุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ หากเจดีย์ใหญ่ ทำประทักษิณ
๓ ครั้ง แล้วพึงไหว้ในฐานะทั้ง ๔ ( ๔ ทิศ) หากเจดีย์เล็ก พึงทำ
ประทักษิณอย่างนั้นนั่นแหละแล้วไหว้ในฐานะทั้ง ๘. เมื่อไหว้พระเจดีย์
แล้วไปถึงลานต้นพระศรีมหาโพธิ พึงแสดงความเคารพไหว้พระศรี
มหาโพธิ ดุจอยู่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มาพระภาคเจ้าฉะนั้น. ภิกษุ
นั้นไหว้พระเจดีย์และพระศรีมหาโพธิอย่างนี้แล้ว พึงถือเอากรรมฐานที่
คนพักไว้ ดุจคนไปยังที่เก็บของไว้ ถือเอาสิ่งของที่เก็บไว้ฉะนั้น เมื่อใกล้
หมู่บ้านก็ครองจีวรโดยกำหนดกรรมฐาน เป็นหลักนั่นเทียว เข้าไปยังหมู่
บ้านเพื่อบิณฑบาต.
ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นภิกษุนั้นก็ออกมาต้อนรับด้วยความยินดี
ว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรามาแล้ว รับบาตรนิมนต์ให้นั่งบนโรงฉัน
หรือบนเรือน ถวายข้าวยาคูชั่วระยะเวลาที่ภัตตาหารยังไม่เสร็จ ก็ล้างเท้า
ทาน้ำมัน นั่งข้างหน้าถามปัญหาบ้าง ขอฟังธรรมบ้าง.
พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ถ้าแม้เขาไม่ขอให้แสดงธรรม ก็พึง
แสดงธรรมกถาทีเดียวเพื่อสงเคราะห์ประชาชน.
จริงอยู่ ธรรมกถาที่นอกเหนือไปจากธรรมฐาน ย่อมไม่มี. เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนั้นเมื่อกล่าวธรรมกถาโดยกำหนดกรรมฐานเป็นหลักนั่นเทียว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 421
ฉันอาหารโดยกำหนดกรรมฐานเป็นหลักนั้นเทียว แม้เมื่อกระทำอนุโม-
ทนาลากลับ พวกมนุษย์ตามไปส่ง ออกจากหมู่บ้านแล้ว ให้พวกมนุษย์
เหล่านั้นกลับตรงที่นั้น เดินไปตามทาง.
ครั้งนั้น สามเณรและภิกษุหนุ่มที่ออกมาก่อน ได้ฉันภัตตาหารที่
นอกบ้านเสร็จแล้ว เห็นภิกษุรูปนั้นไปต้อนรับ รับบาตรและจีวรของ
ท่าน.
ได้ยินว่า ภิกษุครั้งโบราณ ใช่ว่าจะแลดูหน้าเสียก่อนว่า นี่อุปัชฌาย์
ของเรา นี่อาจารย์ของเรา แล้วจึงปรนนิบัติก็หาไม่ ย่อมทำตามกำหนดที่ถึง
เข้าเท่านั้น. สามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้นถามท่านว่า ท่านผู้เจริญ มนุษย์
เหล่านั้นเป็นอะไรกับท่าน เป็นญาติข้างมารดาหรือเป็นญาติข้างบิดา. ภิกษุ
นั้นกล่าวว่า พวกท่านเห็นอะไรจึงถาม. สามเณรและภิกษุหนุ่มตอบว่า
เห็นพวกเขาเหล่านั้นรักนับถือท่านมาก. ภิกษุนั้นกล่าวสรรเสริญชาวบ้าน
เหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กิจใดแม้มารดาบิดาก็ยากที่จะทำได้
กิจนั้นพวกเขาเหล่านั้นกระทำแก่พวกเรา แม้จีวรของพวกเราก็เป็นของ
พวกเขาเหล่านั้นทั้งนั้น เมื่อมีภัยก็ปลอดภัย เมื่อหิวก็ไม่หิว ผู้ที่มีอุปการะ
แก่พวกเราเช่นนี้ไม่มีอีกแล้ว ดังนี้ไป. นี้เรียกว่า นำไป ไม่นำกลับ.
ส่วนภิกษุใดกระทำวัตรปฏิบัติมีประการดังกล่าวแล้วก่อนทีเดียว ไฟ
ธาตุย่อยอาหารเผาอาหารใหม่หมดแล้วก็เผากระเพาะอาหาร. เหงื่อไหล
ท่วมตัว. กรรมฐานไม่ขึ้นสู่วิถีได้. ภิกษุนั้นถือบาตรจีวรก่อนแล้วไหว้พระ
เจดีย์โดยเร็วทีเดียว แล้วเข้าไปยังหมู่บ้านเพื่อขอยาคู ในเวลาฝูงโคออก
จากคอกนั่นเทียว (เช้ามืด) ได้ยาคูแล้วไปฉันยังโรงฉัน. ตอนนั้นพอ
ภิกษุนั้นกลืนยาคูลงไปได้ ๒-๓ คำ เตโชธาตุที่เกิดแต่กรรม ไม่เผา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 422
กระเพาะอาหาร หันมาเผาอาหารใหม่. ภิกษุนั้นถึงความดับความเร่าร้อน
แห่งเตโชธาตุ ดุจได้อาบน้ำตั้งร้อยหม้อ ฉันยาคูโดยกำหนดกรรมฐาน
เป็นหลัก ล้างบาตรและบ้วนปากแล้ว เจริญกรรมฐานเรื่อยไปในระหว่าง
ที่ยังมิได้ฉันภัตตาหาร เที่ยวบิณฑบาตในที่ที่ยังมิได้ไป ฉันอาหารโดย
กำหนดกรรมฐานเป็นหลัก ต่อแต่นั้นก็ถือเอากรรมฐานที่คนบำรุงตรง
เป้าหมายทีเดียวมา. นี้เรียกว่า นำกลับ ไม่นำไป.
ภิกษุทั้งหลายที่ฉันยาคูแล้วเริ่มเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัต
ในพระพุทธศาสนาเช่นนี้ มีมากจนนับไม่ถ้วน ในเกาะสีหลนั้น ใน
โรงฉันตามหมู่บ้านนั้น ๆ ไม่มีอาสนะที่ไม่มีภิกษุฉันยาคูแล้วบรรลุพระ
อรหัตนั่ง.
ก็ภิกษุที่อยู่ด้วยความประมาท ทอดทิ้งธุระ ทำลายวัตรที่จะพึงกระ-
ทำ มีจิตตรึงแน่นด้วยเจโตขีลธรรม ๕ อย่าง ไม่กระทำความสำคัญแม้ว่า
กรรมฐานมีอยู่ เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน เดินคลุกคลีไปกับคฤหัสถ์บ้าง
กินอยู่ปะปนกับคฤหัสถ์บ้าง ซึ่งไม่สมควร เป็นผู้เปล่าออกไป. นี้เรียกว่า
ไม่นำไป ไม่นำกลับ.
ก็ภิกษุนี้ใด ที่กล่าวแล้วว่า นำไปด้วย นำกลับด้วย ภิกษุนั้น พึง
ทราบด้วยอำนาจภิกษุผู้ประพฤติคตปัจจาคติกวัตร (ขาไปก็เจริญกรรม-
ฐาน ขากลับก็เจริญกรรมฐาน).
จริงอยู่ กุลบุตรทั้งหลายผู้ใคร่ประโยชน์ บวชในพระศาสนาแล้ว
อยู่รวมกัน ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง
๑๐๐ รูปบ้าง ทำข้อตกลงกันว่า แน่ะอาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายมิใช่
บวชหลบเจ้าหนี้ มิใช่บวชลี้ภัย มิใช่บวชเพื่ออาชีพ แต่มุ่งพ้นทุกข์จึงบวช
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 423
ในพระศาสนานี้. เพราะฉะนั้น กิเลสเกิดขึ้นในขณะเดิน จงข่มในขณะเดิน
นั่นเทียว กิเลสเกิดขึ้นในขณะยืน จงข่มในขณะยืนนั่นเทียว กิเลสเกิดขึ้น
ในขณะนั่ง จงข่มในขณะนั่งนั่นเทียว กิเลสเกิดขึ้นในขณะนอน จงข่มใน
ขณะนอนนั่นเทียว ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นทำข้อตกลงกันอย่างนี้แล้ว ไป
ภิกขาจาร มีแผ่นหินในระหว่างทาง ครึ่งอุสภ ๑ อุสภ ครึ่งคาวุต และ
๑ คาวุต เดินมนสิการกรรมฐานด้วยสัญญานั้นเทียว. ถ้ากิเลสเกิดขึ้น
แก่ใคร ๆ ในขณะเดิน เธอย่อมข่มกิเลสนั้น ตรงนั้นแหละ เมื่อไม่
อาจจะข่มได้อย่างนั้น ต้องยืนอยู่. ครั้งนั้นภิกษุแม้ที่ตานมาข้างหลังภิกษุ
นั้น ก็ต้องยืนอยู่. ภิกษุนั้นเตือนตนเองว่า ภิกษุนี้รู้ว่าวิตกเกิดขึ้นแก่ท่าน
ท่านทำกรรมไม่สมควรแล้ว ดังนี้ เจริญวิปัสสนาแล้วก้าวลงสู่อริยภูมิได้
ในที่นั้นเอง. เมื่อไม่อาจจะข่มได้อย่างนั้น ก็นั่ง. ต่อมาภิกษุแม้ที่ตามมา
ข้างหลังภิกษุนั้น ก็ต้องนั่ง มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. แม้เมื่อไม่อาจจะ
ก้าวลงสู่อริยภูมิ ก็ข่มกิเลสนั้นไว้ เดินมนสิการกรรมฐานเรื่อยไป. ภิกษุ
นั้นจะไม่ย่างเท้าด้วยจิตที่ปราศจากกรรมฐาน. หากย่างเท้าไป ต้องถอย
กลับมายังที่เดิมอีก ดุจพระมหาปุสสเทวเถระผู้อยู่อาลินทกวิหาร.
ได้ยินว่า พระเถระนั้นบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอยู่ ๑๙ ปี. แม้มนุษย์
ทั้งหลายได้เห็นท่านแล้ว คือ ผู้ที่กำลังไถนาบ้าง หว่านข้าวบ้าง นวดข้าว
บ้าง ทำการงานอยู่บ้างในระหว่างทาง เห็นพระเถระเดินอยู่อย่างนั้น จึง
สนทนากันว่า พระเถระรูปนี้เดินกลับไปกลับมาอยู่บ่อย ๆ ถ้าจะหลงทาง
หรือลืมของอะไร ๆ. พระเถระนั้นหาได้สนใจคำของคนเหล่านั้นไม่ กระ-
ทำสมณธรรมด้วยจิตที่ประกอบด้วยกรรมฐานเท่านั้น ได้บรรลุพระอรหัต
ในพรรษา ๒๐.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 424
ในวันที่บรรลุพระอรหัตนั่นเอง เทวดาผู้อยู่ท้ายที่จงกรมของพระ
เถระ ได้ยืนเอานิ้วมือทำเป็นประทีปสว่างโชติช่วง. แม้ท้าวมหาราชทั้ง ๔
และท้าวสักกเทวราช ตลอดถึงท้าวสหัมบดีพรหม ก็ได้มาบำรุงพระ
เถระ.
ก็พระมหาติสสเถระผู้อยู่ป่าเห็นแสงสว่าง ดังนั้นจึงถามท่านในวัน
รุ่งขึ้นว่า เมื่อตอนกลางคืนได้มีแสงสว่างในสำนักของท่าน แสงสว่างนั้น
เป็นอะไร. พระเถระพูดกลบเกลื่อนมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมดาแสงสว่าง
ย่อมเป็นแสงสว่างของประทีปบ้าง เป็นแสงสว่างของแก้วมณีบ้าง ดังนี้.
ต่อแต่นั้นได้บังคับให้พระเถระผู้ถามปกปิดเรื่องไว้ เมื่อท่านรับคำแล้วจึง
เล่าให้ฟัง. และดุจพระมหานาคเถระผู้อยู่กาลวัลลิมณฑป
ได้ยินว่า พระเถระแม้นั้นก็บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ทีแรกได้อธิษ-
ฐานเดินจงกรมอยู่ถึง ๗ ปี ด้วยตั้งใจว่า จักบูชามหาปธานของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าก่อน บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอีก ๑๖ ปี จึงได้บรรลุพระอรหัต.
พระเถระนั้นย่างเท้าด้วยจิตที่ประกอบด้วยกรรมฐานเท่านั้น เมื่อย่างเท้า
ด้วยจิตที่ปราศจากกรรมฐานแล้ว ก็ถอยกลับใหม่ ครั้นไปใกล้หมู่บ้าน
ยืนในประเทศที่น่าสงสัยว่า แม่โคหรือพระหนอ ห่มจีวรแล้ว ล้างบาตร
ด้วยน้ำจากแอ่งที่สะอาดแล้วอมน้ำไว้. เพื่ออะไร ? เพื่อต้องการว่า เมื่อ
คนมาถวายภิกษาแก่เราหรือมาไหว้ กรรมฐานอย่าได้เคลื่อน แม้เพียง
กล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงมีอายุยืน. แต่เมื่อถูกถามถึงวันว่า ท่านขอรับ
วันนี้กี่ค่ำ หรือถามจำนวนภิกษุ หรือถามปัญหา ก็กลืนน้ำแล้วบอก. หาก
ไม่มีผู้ถามถึงวันเป็นต้น ก็จะบ้วนน้ำไว้ที่ประตูบ้านไปในเวลาโคออกจาก
ดอก. และดุจภิกษุ ๕๐ รูปผู้จำพรรษาในกลัมพติตถวิหาร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 425
ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นได้กระทำข้อตกลงกันในวันเพ็ญเดือน ๘ ว่า
เราทั้งหลายยังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่พูดคุยกัน เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้า
ไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ก็อมน้ำเข้าไป เมื่อถูกถามถึงวันเป็นต้น ก็ปฏิบัติ
ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. มนุษย์ทั้งหลายในที่นั้นเห็นรอยบ้วนน้ำก็รู้
ว่า วันนี้มารูปเดียว วันนี้ ๒ รูป.
ก็มนุษย์เหล่านั้นคิดกันอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่พูดกับพวกเราเท่า
นั้น หรือว่าพวกท่านเองก็ไม่พูดกัน หากพวกท่านเองก็ไม่พูดกันแล้ว
คงจักวิวาทกันเป็นแน่ มาเถิดพวกเราจักให้ภิกษุเหล่านั้นขมาโทษกันและ
กัน. เขาทั้งหมดไปวิหาร ไม่ได้เห็นภิกษุ ๕๐ รูป อยู่ในที่เดียวกันแม้
๒ รูป. ในลำดับนั้น บรรดาคนเหล่านั้นมีคนตาแหลมคนหนึ่งกล่าวว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โอกาสเช่นนี้มิใช่ที่อยู่ของผู้ที่ทะเลาะกัน ลานพระ
เจดีย์ ลานพระศรีมหาโพธิ ก็กวาดสะอาดดี ไม้กวาดก็วางไว้เรียบร้อย
น้ำฉันน้ำใช้ก็จัดตั้งไว้ดี. พวกเขาพากันกลับจากที่นั้น. แม้ภิกษุเหล่านั้น
ก็บรรลุพระอรหัตภายในไตรมาสนั่นเอง ในวันมหาปวารณาได้ปวารณา
วิสุทธิปวารณา.
ภิกษุผู้พระพฤติดุจพระมหานาคเถระผู้อยู่กาลวัลลิมณฑป และดุจ
ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาในกลัมพติตถวิหาร ดังกล่าวมานั้น ย่างเท้าด้วย
จิตที่ประกอบด้วยกรรมฐานเสมอทีเดียว ไปใกล้หมู่บ้านแล้ว อมน้ำ
กำหนดทางเดิน ทางใดไม่มีพวกทะเลาะกันมีนักเลงสุราเป็นต้น หรือไม่มี
ช้างดุม้าดุเป็นต้น ก็ไปทางนั้น. และเมื่อเดินบิณฑบาตในหมู่บ้านนั้นก็
ไม่เดินเร็วอย่างคนมีธุระร้อน. ด้วยว่า ธุดงค์ที่ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
ไม่มีอะไรที่ต้องเร็ว. แต่ต้องค่อย ๆ ไป เหมือนเกวียนบรรทุกน้ำไปถึง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 426
ที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ต้องค่อย ๆ ไป ฉะนั้น. และเข้าไปตามลำดับเรือนแล้ว
สังเกตดูว่าเขาจะให้หรือไม่ให้ คอยอยู่ชั่วเวลาพอสมควร ได้ภิกษาแล้ว
ถือมาวิหาร ในหมู่บ้านหรือนอกหมู่บ้าน นั่งในที่อันสมควรตามสะดวก
มนสิการกรรมฐาน เริ่มปฏิกูลสัญญาในอาหาร พิจารณาด้วยอำนาจ
อุปมาว่าน้ำมันหยอดเพลา ยาพอกแผล และเนื้อของบุตร ฉันอาหาร
ประกอบด้วยองค์ ๘ มิใช่ฉันเพื่อจะเล่น มิใช่ฉันเพื่อจะมัวเมา มิใช่ฉัน
เพื่อประดับ มิใช่ฉันเพื่อตกแต่ง. . .ครันฉันเสร็จแล้ว ดื่มน้ำและบ้วนปาก
พักพอให้หายอึดอัดด้วยอาหารครู่หนึ่ง แล้วมนสิการกรรมฐานทีเดียว
ก่อนอาหารอย่างไร หลังอาหารก็อย่างนั้น ทั้งยามต้นและยามหลัง. นี้
เรียกว่า ทั้งนำไปและนำกลับ.
ก็ภิกษุบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร กล่าวคือนำกรรมฐานไปและนำกลับ
มานี้ หากเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแล้ว จะบรรลุพระอรหัตได้ในปฐม-
วัยทีเดียว. ถ้าไม่ได้บรรลุในปฐมวัย ก็จะได้บรรลุในมัชฌิมวัย. ถ้าไม่ได้
บรรลุในมัชฌิมวัย ก็จะได้บรรลุในเวลาตาย. ถ้าไม่ได้บรรลุในเวลาตาย
ก็จะไปเป็นเทพบุตรแล้วบรรลุ. ถ้าไม่ไปเป็นเทพบุตรแล้วบรรลุ ไปเกิด
เมื่อพระพุทธเจ้ายิ่งไม่อุบัติ ก็จะบรรลุปัจเจกโพธิญาณ. ถ้าไม่บรรลุ
ปัจเจกโพธิญาณ เมื่อไปเกิดพบพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็จะได้เป็นพระ
อรหันต์ประเภทขิปปาภิญญา ดังเช่นพระพาหิยทารุจิริยเถระก็มี. ประ-
เภทผู้มีปัญญามาก เช่นพระสารีบุตรเถระก็มี. ประเภทผู้มีฤทธิ์มาก เช่น
พระมหาโมคคัลลานเถระก็มี. ประเภทถือธุดงค์ เช่นพระมหากัสสป-
เถระก็มี. ประเภทได้ทิพยจักษุ เช่นพระอนุรุทธเถระก็มี. ประเภททรง
พระวินัย เช่นพระอุบาลีเถระก็มี. ประเภทเชี่ยวชาญแสดงธรรม เช่นพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 427
ปุณณมันตานีบุตรเถระก็มี. ประเภทอยู่ป่าเป็นวัตร เช่นพระเรวตเถระ
ก็มี. ประเภทพหุสูต เช่นพระอานนทเถระก็มี. ประเภทใคร่การศึกษา
เช่นพระราหุลเถระผู้พุทธบุตรก็มี.
ในข้อปฏิบัติ ๔ ข้อนี้ ภิกษุใด ทั้งนำไปและนำกลับ โคจรสัม-
ปชัญญะของภิกษุนั้น ย่อมเป็นอันถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติ ด้วยประการฉะนี้.
ก็ความไม่หลงในการก้าวไปเป็นต้น ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ.
อสัมโมหสัมปชัญญะนั้นพึงทราบอย่างนี้ ปุถุชนผู้อันธพาล เมื่อก้าวไป
เป็นต้น ย่อมหลงผิดว่า คนก้าวไป การก้าวไปตนทำให้เกิดขึ้น ดังนี้บ้าง
ว่าเราก้าวไป การก้าวไป เราทำให้เกิดขึ้น ดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุใน
พระศาสนานี้ไม่หลงผิดฉันนั้น เมื่อจิตคิดว่าเราจะก้าวไปเกิดขึ้น วาโยธาตุ
ซึ่งเกิดแต่จิต ยังวิญญัติให้เกิด ย่อมเกิดขึ้นด้วยจิตนั้นเอง ดังนั้นร่าง
กระดูกที่สมมติว่ากายนี้ ย่อมก้าวไปด้วยอำนาจความแผ่ไปของวาโยธาตุ
อันเกิดแต่พลังงานของจิต ด้วยประการฉะนี้. เมื่อร่างกระดูกนั้นก้าวไป
อย่างนี้ ในขณะที่ยกเท้าขึ้นแต่ละข้าง ธาตุทั้ง ๒ คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
ย่อมอ่อนกำลังลง. อีก ๒ ธาตุนอกนี้ย่อมมีกำลังขึ้น. ในขณะที่หย่อนเท้าลง
ธาตุทั้ง ๒ คือเตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมอ่อนกำลังลง อีก ๒ ธาตุนอกนี้ย่อมมี
กำลังยิ่งขึ้น. ในขณะที่ปลายเท้าจดพื้นและเหยียบเต็มฝ่าเท้า ก็เช่นเดียวกัน.
รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในขณะที่ยกเท้าขึ้น ย่อมไม่ถึงขณะ
ที่เคลื่อนเท้า. รูปธรรมและนามธรรมที่เป็นไปในขณะที่เคลื่อนเท้า ย่อม
ไม่ถึงขณะที่ก้าวไปข้างหน้าเหมือนกัน. ที่เป็นไปในขณะที่ก้าวไปข้างหน้า
ย่อมไม่ถึงขณะที่หย่อนเท้าลง. ที่เป็นไปในขณะที่หย่อนเท้าลง ย่อมไม่ถึง
ขณะที่ปลายเท้าจดพื้น. ที่เป็นไปในขณะที่ปลายเท้าจดพื้น ย่อมไม่ถึงขณะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 428
ที่เหยียบเต็มฝ่าเท้า. รูปธรรมและอรูปธรรมย่อมเป็นตอน ๆ เป็นท่อน ๆ
เป็นเขต ๆ ดับไปในอิริยาบถนั้น ๆ นั่นเอง เหมือนเมล็ดงาที่ใส่ลงใน
กระเบื้องร้อนย่อมแตกเป๊าะแป๊ะ ๆ.
ในการก้าวไปเป็นต้น ใครคนหนึ่งก้าวไป หรือการก้าวไปของ
ใครคนหนึ่ง. แต่โดยปรมัตถ์ ธาตุทั้งหลายเท่านั้นเดิน ธาตุทั้งหลายเท่า
นั้นยืน ธาตุทั้งหลายเท่านั้นนั่ง ธาตุทั้งหลายเท่านั้นนอน. ก็ในส่วน
(แห่งอิริยาบถ) นั้น ๆ จิตดวงอื่นเกิดขึ้น จิตดวงอื่นดับไป พร้อมกับรูป
เป็นไปอยู่เหมือนกระแสน้ำไหลติดต่อกันไปไม่ขาดสายฉะนั้น ดังนี้ . ความ
ไม่หลงในการก้าวไปเป็นต้นอย่างนี้ ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ ดังนี้แล.
จบอธิบายบทว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี โหติ
เท่านี้ .
ก็ในบทว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ มีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้
การเพ่งดูไปข้างหน้า ชื่ออาโลกิตะ.
การเพ่งดูไปทิศเฉียง ชื่อวิโลกิตะ.
อิริยาบถอื่น ๆ ที่ชื่อว่าโอโลกิตะ อุลโลกิตะและอวโลกิตะ ก็คือการ
ดูข้างล่าง ข้างบน ข้างหลัง การดูเหล่านั้น ท่านมิได้ถือเอาในที่นี้. แต่
โดยการถือเอาตามความเหมาะสม ท่านถือเอาการแลดูสองอย่างนี้เท่านั้น.
อีกนัยหนึ่ง การแลดูเหล่านั้นทั้งหมด ท่านถือเอาด้วยมุขนี้ ด้วย
ประการฉะนี้ทีเดียวแล.
ในการแลดูสองอย่างนั้น เมื่อจิตคิดว่า เราจักแลดูไปข้างหน้า ดังนี้
เกิดขึ้น ยังมิทันแลไปด้วยอำนาจจิตนั่นแล ใคร่ครวญถือเอาประโยชน์
ชื่อสาตถกสัมปชัญญะ. สาตถกสัมปชัญญะนั้น พึงดูท่านพระนันทะเป็น
ตัวอย่าง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 429
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
หากว่านันทะจะพึงแลดูทิศตะวันออก เธอย่อมรวบรวมใจทั้งหมดแลดูทิศ
ตะวันออกว่า เมื่อเราแลดูทิศตะวันออกอย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัส ไม่พึงไหลไปตาม ดังนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีสาตถก-
สัมปชัญญะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่านันทะจะพึงแลดูทิศตะวันตก
ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง เธอย่อมรวบรวม
ใจทั้งหมดพิจารณาดูทิศเฉียงว่า เมื่อเราแลดูทิศเฉียงอย่างนี้. . .ดังนี้ ย่อม
ชื่อว่าเป็นผู้มีสาตถกสัมปชัญญะ ดังนี้ .
อีกอย่างหนึ่ง แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่าการเพ่งดูไปข้างหน้าและการ
เพ่งดูไปตามทิศเป็นสาตถกสัมปชัญญะ และเป็นสัปปายสัมปชัญญะ โดย
การเห็นพระเจดีย์เป็นต้นที่กล่าวแล้วในก่อนนั้นแล.
ส่วนโคจรสัมปชัญญะ คือการไม่ละทิ้งกรรมฐานนั่นเอง เพราะ
ฉะนั้น การเพ่งดูไปข้างหน้าและการเพ่งดูไปตามทิศ ในพระบาลีนี้ ภิกษุ
ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ยึดขันธ์ ธาตุ อายตนะเป็นอารมณ์ พึงกระทำ
ด้วยอำนาจกรรมฐานของตนนั่นเทียว หรือฝ่ายภิกษุผู้เจริญสมถกรรมฐาน
ยึดกสิณเป็นต้นเป็นอารมณ์ พึงกระทำโดยกำหนดกรรมฐานเป็นหลักที
เดียว. ชื่อว่าตนภายในร่างกาย ที่เพ่งดูไปข้างหน้าหรือที่เพ่งดูไปตามทิศ
ย่อมไม่มี. พอเกิดความคิดว่าเราจักแลดูไปข้างหน้า ดังนี้ วาโยธาตุซึ่งมีจิต
เป็นสมุฏฐานพร้อมด้วยจิตดวงนั้นนั่นแล ยังวิญญัติให้เกิด ย่อมเกิดขึ้น
หนังตาล่างหดลง หนึ่งตาบนเลิกขึ้น ด้วยอำนาจความแผ่ไปของวาโยธาตุ
อันเกิดแต่พลังงานของจิต ด้วยประการฉะนี้. จะมีใคร ๆ ชื่อว่าเที่ยว
ไปด้วยยนต์ก็หาไม่. ต่อจากนั้น จักขุวิญาณยังทัสสนกิจให้สำเร็จ ก็เกิด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 430
ขึ้น ดังนี้แล. ก็การรู้ชัดอย่างนี้ ชื่อว่าอสัมโมหสัมปชัญญะในพระบาลีนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ก็อสัมโมหสัมปชัญญะในพระบาลีนี้ พึงทราบด้วยการ
กำหนดรู้เหตุตัวเดิมและเหตุจรมา และเหตุเกิดชั่วขณะ. พึงทราบโดย
กำหนดรู้เหตุตัวเดิมก่อน.
ภวังคกิจ อาวัชชนกิจ ทัสสนกิจ สัมปฏิจฉันนกิจ
สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ และชวนกิจ เป็นที่ ๗
ย่อมเกิด.
ในวิถีจิตเหล่านั้น ภวังคจิตยังกิจอันเป็นองค์แห่งอุปปัตติกภพให้
สำเร็จเกิดขึ้น. กิริยามโนธาตุรำพึงถึงภวังคจิตนั้นยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จ
เกิดขึ้น. ถัดจากกิริยามโนธาตุดับ จักขุวิญญาณยังทัสสนกิจให้สำเร็จเกิด
ขึ้น. ถัดจากจักขุวิญญาณดับ วิบากมโนธาตุยังสัมปฏิจฉันนกิจให้สำเร็จ
เกิดขึ้น. ถัดจากวิบากมโนธาตุดับ วิบากมโนวิญญาณธาตุยังสันตีรณกิจ
ให้สำเร็จเกิดขึ้น. ถัดจากวิบากมโนวิญญาณธาตุดับ กิริยามโนวิญญาณ-
ธาตุยังโวฏฐัพพนกิจให้สำเร็จเกิดขึ้น. ถัดจากกิริยามโนวิญญาณธาตุดับ
ชวนจิตย่อมแล่นไป ๗ ครั้ง. ในวิถีจิตเหล่านั้นแม้ในชวนจิตที่ ๑ ย่อม
ไม่มี. การแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศด้วยอำนาจความกำหนัด
ขัดเคืองและความหลงว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย. . .แม้ในทุติยชวนะ. . .
แม้ในสัตตมชวนะก็อย่างนั้น ก็เมื่อวิถีจิตเหล่านั้นแตกดับตั้งแต่ต้นจนถึง
ที่สุด เหมือนเหล่าทหารในสนามรบ ชื่อว่าการแลและการเหลียว ด้วย
อำนาจความกำหนัดเป็นต้นว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย จึงมีขึ้น.
อสัมโมหสัมปชัญญะ ในการแลและการเหลียวนี้ด้วยอำนาจการ
กำหนดรู้เหตุตัวเดิม พึงทราบเพียงเท่านี้ก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 431
พึงทราบวินิจฉัยในจักษุทวาร ก็เมื่อรูปารมณ์มาปรากฏ ถัดจาก
ภวังคจิตไหว เมื่อวิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นเกิดขึ้นดับไป ด้วยอำนาจทำ
กิจของตนให้สำเร็จ ในที่สุดชวนจิตย่อมเกิด. ชวนจิตนั้นเป็นดุจบุรุษผู้จร
มาในจักษุทวาร อันเป็นเพียงดังเรือนของอาวัชชนจิตเป็นต้นที่เกิดขึ้น
ก่อน. เมื่อบุรุษผู้จรมานั้นเข้าไปในเรือนของผู้อื่นเพื่อจะขอสิ่งของอะไร ๆ
แม้เมื่อพวกเจ้าของเรือนนิ่งอยู่ ก็ไม่ควรใช้อำนาจ ฉันใด แม้เมื่ออาวัช-
ชนจิตเป็นต้น ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลงในจักษุทวารอันเป็นเพียง
ดังเรือนของอาวัชชนจิตเป็นต้น ก็ไม่ควรกำหนัดขัดเคืองและหลง ฉันนั้น.
พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะด้วยอำนาจความเป็นเสมือนผู้จรมาอย่างนี้
ด้วยประการฉะนี้.
ก็จิตทั้งหลายมีโวฏฐัพพนจิตเป็นที่สุดเหล่านี้ใด ย่อมเกิดขึ้นใน
จักษุทวาร จิตเหล่านั้น ย่อมดับไปในที่นั้น ๆ นั่งเอง พร้อมกับสัมป-
ยุตตธรรม ย่อมไม่เห็นซึ่งกันและกัน ฉะนั้น จิตนอกนี้จึงเป็นจิตที่มีอยู่
ชั่วขณะ.
ในข้อนั้นมีอธิบายดังนี้ ในเรือนหลังหนึ่งเมื่อคนทั้งหลายตายกัน
หมดแล้ว เหลืออยู่คนเดียวซึ่งจะต้องตายในขณะนั้นเอง ย่อมไม่อภิรมย์
ในการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น ฉันใด เมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้นอันเป็นตัว
สัมปยุตในทวารหนึ่งดับไปในที่นั้น ๆ นั่นเอง ชื่อว่าการอภิรมย์ด้วยอำนาจ
กำหนัดขัดเคืองและหลงนั่นแล ก็ไม่ควรแม้แก่ชวนจิตที่ยังเหลือ ซึ่งจะ
ต้องดับในขณะนั้นเองฉันนั้น พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะด้วยอำนาจ
ความเป็นไปชั่วขณะอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง อสัมโมหสัมปชัญญะนี้ พึงทราบด้วยอำนาจพิจารณา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 432
เป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย.
ก็ในอธิการนี้ จักษุและรูปจัดเป็นรูปขันธ์ ทัสสนะเป็นวิญญาณขันธ์
เวทนาที่สัมปยุตด้วยวิญาณขันธ์นั้นเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาจัดเป็นสัญญา.
ขันธ์ สัมปยุตตธรรมมีผัสสะเป็นต้น เป็นสังขารขันธ์. การแลและการ
เหลียว ย่อมปรากฏในเพราะขันธ์ ๕ เหล่านี้ประชุมกัน ด้วยประการฉะนี้.
ในการแลและการเหลียวนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่ง
เหลียวไปข้างหลัง. จักษุก็เหมือนกัน จัดเป็นจักขวายตนะ รูปเป็นรูปาย-
ตนะ ทัสสนะเป็นมนายตนะ สัมปยุตตธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นเป็น
ธรรมายตนะ. การแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศ ย่อมปรากฏเพราะ
อายตนะ ๔ เหล่านี้ประชุมกัน ด้วยประการฉะนี้. ในการแลไปข้างหน้า
และการแลไปตามทิศนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่งเหลียว
ไปข้างหลัง จักษุก็เหมือนกัน จัดเป็นจักษุธาตุ รูปเป็นรูปธาตุ ทัสสนะ
เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. ธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยจักขุ-
วิญญาณธาตุนั้นเป็นธรรมธาตุ. การแลไปข้างหน้า และการแลไปตามทิศ
ย่อมปรากฏเพราะธาตุ ๔ เหล่านี้ประชุมกัน ด้วยประการฉะนี้. ในการ
แลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใคร
คนหนึ่งเหลียวไปข้างหลัง. จักษุก็เหมือนกัน เป็นนิสสยปัจจัย รูปเป็น
อารัมมณปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสย-
ปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย อาโลกะเป็นอุปนิสสยปัจจัย เวทนา
เป็นต้นเป็นสหชาตปัจจัยเป็นต้น. การแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศ
ย่อมปรากฏเพราะปัจจัยเหล่านี้ประชุมกัน ด้วยประการฉะนี้. ในการแลไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 433
ข้างหน้าและการแลไปตามทิศนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่ง
เหลียวไปข้างหลัง อสัมโมหสัมปชัญญะในการแลไปข้างหน้าและการแล
ไปตามทิศนี้ พึงทราบด้วยอำนาจพิจารณาเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ และ
ปัจจัย อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต ความว่า คู้เข้าหรือเหยียดออกแห่ง
อิริยาปถปัพพะทั้งหลาย.
การใคร่ครวญประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ เพราะการคู้เข้าหรือ
เหยียดออกของมือเท้าเป็นปัจจัย แล้วใคร่ครวญแต่ประโยชน์ โดยมิได้
คู้เข้าหรือเหยียดออกด้วยอำนาจจิตเลย ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะในการ
คู้เข้าหรือเหยียดออกนั้น. ทุก ๆ ขณะที่ภิกษุยืนคู้หรือเหยียดมือและเท้า
นานเกินไป เวทนาย่อมเกิดขึ้นในการคู้หรือเหยียดนั้น จิตย่อมไม่ได้
อารมณ์เป็นหนึ่ง. กรรมฐานย่อมจะเลียไป. ภิกษุนั้นย่อมจะไม่บรรลุคุณ-
วิเศษ. แต่เมื่อเวลาภิกษุคู้เข้าพอดี เหยียดออกพอดี เวทนานั้น ๆ ย่อม
ไม่เกิดขึ้น. จิตย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. กรรมฐานย่อมถึงความสำเร็จ.
เธอย่อมบรรลุคุณวิเศษได้. การใคร่ครวญประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
พึงทราบอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง แม้เมื่อมีประโยชน์ การใคร่ครวญถึงอารมณ์สัปปายะและ
อสัปปายะแล้วใคร่ครวญแต่อารมณ์ที่เป็นสัปปายะ ชื่อว่า สัปปายสัมป-
ชัญญะ. ในสัปปายสัมปชัญญะในการคู้เข้าหรือเหยียดออกนั้น มีนัยดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มหลายรูปสวดมนต์อยู่ที่ลานพระมหาเจดีย์. ภิกษุณี
สาวหลายรูปฟังธรรมอยู่ข้างหลังภิกษุเหล่านั้น. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุ
หนุ่มรูปหนึ่ง เหยียดมือออกไปถูกกายภิกษุณีเข้า จึงต้องเป็นคฤหัสถ์เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 434
เหตุนั้นเอง.
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เมื่อเหยียดเท้า ได้เหยียดเท้าไปในกองไฟ. ถูก
ไฟไหม้เท้าจดกระดูก.
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้เหยียดเท้าไปที่จอมปลวก ถูกอสรพิษกัด. อีก
รูปหนึ่งเหยียดแขนไปที่ไม้แขวนมุ้ง ถูกงูเขียวกัด. เพราะฉะนั้น ภิกษุ
ไม่ควรเหยียดมือเท้าไปในที่อันเป็นอสัปปายะเช่นนี้ ควรเหยียดไปในที่
อันเป็นสัปปายะ.
นี้เป็นสัปปายะสัมปชัญญะ ในบทว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต นี้.
ก็โคจรสัมปชัญญะ พึงแสดงด้วยเรื่องของพระมหาเถระ.
ได้ยินว่า พระมหาเถระนั่งอยู่ในที่พักกลางวัน สนทนาอยู่กับอัน-
เตวาสิกทั้งหลาย คู้มือเข้ามาโดยเร็ว แล้วเหยียดออกไปไว้ในที่เดิมอีก
แล้วค่อย ๆ คู้เข้า อันเตวาสิกทั้งหลายถามท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
เหตุไรท่านจึงคู้มือเข้ามาโดยเร็ว แล้วเหยียดออกไปไว้ในที่เดิมอีก แล้ว
ค่อย ๆ คู้เข้า. พระมหาเถระตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ตั้งแต่เราเริ่ม
มนสิการกรรมฐานมา เราไม่เคยละทิ้งกรรมฐานคู้มือเลย แต่บัดนี้เรา
สนทนากับ ท่านทั้งหลายได้ละทิ้งกรรมฐานคู้มือเข้า. เพราะฉะนั้น เราจึง
ได้เหยียดมือออกไปไว้ในที่เดิมอีกแล้วคู้เข้า. อันเตวาสิกทั้งหลายได้ถวาย
สาธุการว่า ดีแล้ว ท่านอาจารย์ ขึ้นชื่อว่าภิกษุ ควรเป็นอย่างนี้. การ
ไม่ละกรรมฐานแม้ในที่เช่นนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า โคจรสัมปชัญญะ ด้วย
ประการฉะนี้.
ใคร ๆ ที่ชื่อว่าตนในภายใน ซึ่งคู้เข้าหรือเหยียดออก ย่อมไม่มี.
มีแต่การคู้เข้าหรือเหยียดออกด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลัง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 435
จิต มีประการดังกล่าวแล้ว ดุจหุ่นยนต์เคลื่อนไหวมือเท้าได้ด้วยอำนาจ
การชักสายใยฉะนั้น.
ก็การกำหนดรู้อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบว่าอสัมโมหสัม-
ปชัญญะในการคู้เข้าหรือเหยียดออกนี้.
การใช้สอยโดยการนุ่งห่มสังฆาฏิและจีวร และโดยการรับภิกษาด้วย
บาตรเป็นต้น ชื่อว่า ธารณะ ในบทว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ นี้.
ในการใช้สอยสังฆาฏิบาตรและจีวรนั้น จะวินิจฉัยในการใช้สอย
สังฆาฏิและจีวรก่อน.
การที่ภิกษุนุ่งหรือห่มเที่ยวบิณฑบาตได้อามิสมา คือประโยชน์มี
ประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เพื่อป้องกันหนาว
ดังนี้นั่นแหละ ชื่อว่า ประโยชน์. พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจ
ของประโยชน์นั้น.
ก็จีวรเนื้อละเอียดเป็นสัปปายะแก่ภิกษุขี้ร้อนและมีกำลังน้อย จีวร
เนื้อหนา ๒ ชั้นเป็นสัปปายะแก่ภิกษุขี้หนาว. จีวรที่ตรงกันข้ามไม่เป็น
สัปปายะ. จีวรเก่าไม่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเลย. ด้วยว่า จีวร
เก่านั้น ย่อมทำความกังวลแก่ภิกษุนั้น เพราะต้องคอยปะเป็นต้น. จีวร
ชนิดผ้าลายสองเป็นต้น เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ทำให้กังวลเหมือนกัน .
ด้วยว่า จีวรเช่นนั้น ย่อมทำอันตรายแก่ภิกษุผู้อยู่ในป่ารูปเดียว และอาจ
ทำอันตรายถึงชีวิตก็ได้.
ก็จีวรใดเกิดขึ้นด้วยอำนาจมิจฉาชีพ มีนิมิตตกรรมเป็นต้น และ
จีวรใดเมื่อภิกษุนั้นใช้สอย อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป
จีวรนั้นเป็นอสัปปายะโดยตรง. จีวรที่ตรงกันข้าม เป็นสัปปายะ. ในที่นี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 436
พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจจีวรที่เป็นสัปปายะนั้น และพึง
ทราบโคจรสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจการไม่ละกรรมฐานนั่นแล.
ใคร ๆ ชื่อว่าตนในภายใน ที่ชื่อว่าห่มจีวร ย่อมไม่มี. มีแต่การห่ม
จีวรด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิต มีประการดังกล่าวแล้ว
เท่านั้น.
ในจีวรและกายนั้น แม้จีวรก็ไม่มีเจตนา แม้กายก็ไม่มีเจตนา. จีวร
ย่อมไม่รู้ว่าเราห่มกายไว้. แม้กายก็ไม่รู้ว่าเราถูกจีวรห่มไว้. ธาตุทั้งหลาย
เท่านั้นปิดหมู่ธาตุอยู่ เหมือนเอาผ้าเก่าห่อคัมภีร์ไว้ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น
ภิกษุได้จีวรดี ก็ไม่ควรดีใจ ได้จีวรไม่ดี ก็ไม่ควรเสียใจ. เหมือนอย่าง
ว่า ที่จอมปลวก พระเจดีย์และต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นต้น คนบางพวก
บูชาด้วยดอกไม้ของหอมธูปและผ้าเป็นต้น คนบางพวกไม่บูชาด้วยคูถมูตร
เปือกตม และประหารด้วยท่อนไม้และสาตราเป็นต้น จอมปลวกและ
ต้นไม้เป็นต้น ย่อมไม่ดีใจหรือเสียใจด้วยการบูชาและไม่บูชาเหล่านั้น
ภิกษุได้จีวรดีไม่พึงดีใจ ได้จีวรไม่ดีไม่ควรเสียใจเลยเหมือนฉันนั้นทีเดียว
พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในการใช้สอยสังฆาฏิและจีวรนี้ ด้วยอำนาจ
พิจารณาที่เป็นไปอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
แม้ในการใช้สอยบาตร พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจ
ประโยชน์ที่จะพึงได้เฉพาะ เพราะภิกษุไม่หยิบบาตรโดยรีบร้อน แต่หยิบ
บาตรโดยพิจารณาอย่างนี้ว่า เมื่อเราหยิบบาตรนี้เที่ยวไปบิณฑบาตจักได้
ภิกษา ดังนี้เป็นปัจจัย.
ก็บาตรหนักไม่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุที่มีร่างกายผอม มีกำลังน้อย.
บาตรที่มีปุ่มขรุขระ ๔-๕ ปุ่ม ล้างยาก ไม่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 437
เลย. แม้บาตรที่ล้างยากก็ไม่ควร. ด้วยว่า เมื่อล้างบาตรนั้นอยู่นั่นแหละ
เธอจะมีกังวล.
ก็บาตรที่มีสีเหมือนแก้วมณี เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ไม่เป็นสัป-
ปายะตามนัยที่กล่าวแล้วในจีวรนั่นแล.
อนึ่ง บาตรที่ได้มาด้วยอำนาจนิมิตตกรรมเป็นต้น ไม่เป็นสัปปายะ
และบาตรใดเมื่อภิกษุใช้สอย อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญขึ้น กุศลธรรม
ทั้งหลายย่อมเสื่อมไป บาตรนี้เป็นอสัปปายะโดยส่วนเดียวเท่านั้น. บาตร
ที่ตรงกันข้าม เป็นสัปปายะ. ในการใช้สอยบาตรนี้ พึงทราบสัปปาย-
สัมปชัญญะด้วยอำนาจบาตรนั้น. พึงทราบโคจรสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจ
ไม่ละกรรมฐานนั่นแล.
ใคร ๆ ชื่อว่าตนในภายในถือบาตรอยู่ ย่อมไม่มี. มีแต่การถือบาตร
ด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตมีประการดังกล่าวแล้วเท่า
นั้น.
ในการถือบาตรนั้น แม้บาตรก็ไม่มีเจตนา แม้มือก็ไม่มีเจตนา.
บาตรย่อมไม่รู้ว่า เราถูกมือถือไว้. แม้มือทั้งหลายก็ไม่รู้ว่า เราถือบาตร
ไว้. ธาตุทั้งหลายเท่านั้นถือหมู่ธาตุอยู่ เหมือนเอาคีมคีบบาตรที่ร้อนเป็น
ไฟฉะนั้น. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในการใช้สอยบาตรนี้ ด้วยอำนาจ
พิจารณาที่เป็นไปอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง คนทั้งหลายเห็นคนอนาถามือเท้าด้วน มีหนองเลือด
และหมู่หนอนออกจากปากแผล มีแมลงวันหัวเขียวตอมหึ่ง นอนอยู่บน
ศาลาที่อาศัยของคนอนาถา ผู้ที่มีความเอ็นดูเอาผ้าพันแผลมาให้บ้าง เอา
ยาใส่ถ้วยกระเบื้องเป็นต้นมาให้บ้าง แก่คนอนาถาเหล่านั้น บรรดาของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 438
เหล่านั้น ผ้าพันแผลของบางคนเป็นผ้าเนื้อละเอียดก็มี ของบางคนเป็น
ผ้าเนื้อหยาบก็มี ถ้วยกระเบื้องใส่ยาของบางคนรูปร่างสวยก็มี ของบางคน
รูปร่างไม่สวยก็มี คนอนาถาเหล่านั้นย่อมไม่ยินดีหรือรังเกียจในสิ่งของ
เหล่านั้น ด้วยว่า คนอนาถาเหล่านั้นต้องการผ้าเพียงปิดแผลเท่านั้น และ
ถ้วยกระเบื้องก็เพียงใส่ยาไว้เท่านั้น ข้อนี้ฉันใด ก็ภิกษุใดพิจารณาจีวร
เหมือนผ้าพันแผล บาตรเหมือนถ้วยกระเบื้องใส่ยา และภิกษาที่ได้ใน
บาตรเหมือนยา ภิกษุนี้ก็ฉันนั้น พึงทราบว่า เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวสูงสุด
ด้วยอสัมโมหสัมปชัญญะในการใช้สอยสังฆาฏิบาตรและจีวร.
ในบทว่า อสิเต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อสิเต ได้แก่ในการฉันบิณฑบาต.
บทว่า ปีเต ได้แก่ในการดื่มยาคูเป็นต้น.
บทว่า ขายิเต ได้แก่ในการเคี้ยวกินของขบเคี้ยวที่ทำด้วยแป้ง
เป็นต้น.
บทว่า สายิเต ได้แก่ในการลิ้มน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น .
ประโยชน์แม้ ๘ อย่างที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า เนว ทวาย มิใช่
ฉันเพื่อจะเล่น ดังนี้ ชื่อว่า ประโยชน์ พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะด้วย
อำนาจประโยชน์นั้น.
ก็บรรดาโภชนะที่เลวหรือประณีต ที่ขมหรือหวานเป็นต้น ภิกษุใด.
ไม่ผาสุกเพราะโภชนะใด โภชนะนั้นไม่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุนั้น.
อนึ่ง โภชนะใดที่ได้มาด้วยอำนาจนิมิตตกรรมเป็นต้น และโภชนะใด
เมื่อภิกษุนั้นฉันอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย
ย่อมเสื่อมไป โภชนะนั้นเป็นอสัปปายะโดยส่วนเดียวเท่านั้น. โภชนะที่ตรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 439
กันข้าม เป็นสัปปายะ. ในการฉันเป็นต้นนี้ พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะ
ด้วยอำนาจโภชนะนั้น และพึงทราบโคจรสัมปชัญญะด้วยอำนาจไม่ละ
กรรมฐานนั่นแล.
ใคร ๆ ชื่อว่าตนในภายในเป็นผู้บริโภค ย่อมไม่มี. ชื่อว่าการถือ
บาตรย่อมมีด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตมีประการดัง
กล่าวแล้วเท่านั้น. ชื่อว่าการหยั่งมือลงในบาตรย่อมมีด้วยความแผ่ไปแห่ง
วาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตเท่านั้น. การทำคำข้าว การยกคำข้าวขึ้น และ
การอ้าปาก ย่อมมีด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตเท่านั้น
ใคร ๆ ก็ใช้กุญแจยนต์ไขกระดูกคางไม่ได้. การเอาคำข้าวใส่ปาก ฟัน
บนทำหน้าที่สาก ฟันล่างทำหน้าที่ครก และลิ้นทำหน้าที่มือ ย่อมมีด้วย
ความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตเท่านั้น. ในการบริโภคนั้น มี
น้ำลายบาง ๆ ที่ปลายลิ้น น้ำลายหนา ๆ ที่โคนลิ้นคลุกเคล้า. ของเคี้ยว
นั้นถูกตะล่อมด้วยมือคือลิ้นลงในครกคือฟันล่าง น้ำคือน้ำลายทำให้เปียก
ชุ่ม แหลกละเอียดด้วยสากคือฟันบน. หามีใครมาตักใส่เข้าไปภายในด้วย
ช้อนหรือทัพพีไม่. เข้าไปด้วยวาโยธาตุนั่นแหละ. อาหารที่เข้าลำคอลงไป ๆ
หามีใครเอาสิ่งซึ่งลาดด้วยฟางมารองรับไม่. ตั้งอยู่ได้ด้วยอำนาจวาโยธาตุ
นั่นแหละ. อาหารที่ตั้งอยู่นั้น ๆ ก็หามีใครทำเตาก่อไฟหุงต้มไม่. ย่อม
สุกด้วยเตโชธาตุเทียว. อาหารที่สุกแล้ว ๆ หามีใครใช้ท่อนไม้หรือไม้เท้า
เขี่ยออกภายนอกไม่. วาโยธาตุนั่นแหละนำออก (ขับถ่าย).
ด้วยประการฉะนี้ วาโยธาตุย่อมนำอาหารเข้า เปลี่ยนแปลง ทรงไว้
กลับไปกลับมา บดให้ละเอียด ทำให้แห้งและนำออก. ปฐวีธาตุทรงไว้
กลับไปกลับมา บดให้ละเอียด และทำให้แห้ง. อาโปธาตุทำให้เหนียว
ตามรักษาความชุ่มชื้นไว้. เตโชธาตุทำอาหารที่เข้าไปภายในให้สุก อากาศ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 440
ธาตุแยกให้เป็นส่วน ๆ. วิญญาณธาตุสั่งการให้ธาตุต่าง ๆ ทำหน้าที่ให้ถูก
ในเรื่องนั้น ๆ. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในการบริโภคนี้ ด้วยอำนาจ
พิจารณาที่เป็นไปอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในการบริโภคนี้ โดย
พิจารณาเป็นของปฏิกูล ๑๐ ประการอย่างนี้ คือ โดยการไป ๑ โดยการ
แสวงหา ๑ โดยการบริโภค ๑ โดยที่อยู่ ๑ โดยหมักหมม ๑ โดยยัง
ไม่ย่อย ๑ โดยย่อยแล้ว ๑ โดยผล ๑ โดยไหลออก ๑ โดยเปื้อน ๑.
ส่วนความพิสดารในเรื่องนี้ พึงถือเอาแต่อาหารปฏิกูลสัญญานิทเทส ใน
วิสุทธิมรรค.
บทว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ได้แก่ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
ในบทนั้นมีอธิบายว่า เมื่อถึงเวลาถ่ายแล้วนี้ได้ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
เหงื่อไหลออกจากร่างกายทั้งสิ้น ตาวิงเวียน จิตไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง และ
โรคอื่น ๆ ย่อมเกิดขึ้น. แต่เมื่อถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ทุกอย่างนั้นย่อมไม่มี
นี้เป็นเนื้อควานในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้. พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ.
โดยเนื้อความนั้น.
ก็ภิกษุถ่ายอุจจาระปัสสาวะในที่ไม่สมควร ย่อมเป็นอาบัติ ย่อมเสีย
ชื่อเสียง เป็นอันตรายแก่ชีวิต เมื่อถ่ายอุจจาระปัสสาวะในที่สมควร ทุก
อย่างนั้นย่อมไม่มี ดังนั้นการรู้ตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะนี้ จึงเป็น
สัปปายะ. พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะ โดยสัปปายะนั้น. พึงทราบโคจร-
สัมปชัญญะ โดยไม่ละกรรมฐานนั่นแล.
ชื่อว่าตนในภายในถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่ ย่อมไม่มี แต่มีการ
ถ่ายอุจจาระปัสสาวะด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 441
ก็หรือว่า เพราะฝีแตกเมื่อฝีสุก น้ำหนองและเลือดย่อมไหลออก
โดยไม่มีใครต้องการ ฉันใด และภาชนะน้ำที่เต็มเปี่ยม น้ำย่อมไหลออก
โดยไม่มีใครต้องการ ฉันใด อุจจาระปัสสาวะที่สั่งสมอยู่ในลำไส้ใหญ่
และกระเพาะปัสสาวะ ถูกกำลังลมบีบคั้นหนักเข้า ย่อมไหลออกแม้โดย
ไม่มีใครต้องการ ฉันนั้น.
ก็อุจจาระปัสสาวะนี้นั้น เมื่อไหลออกอย่างนี้ ย่อมไม่เป็นของตน
ของภิกษุนั้น ไม่เป็นของผู้อื่น เป็นกากอาหารที่ไหลออกมาจากร่างกาย
เท่านั้นเอง. เหมือนอย่างอะไร. เหมือนอย่างว่า คนที่ถ่ายน้ำเก่าจากตุ่มน้ำ
น้ำเก่านั้นย่อมไม่เป็นของตน ไม่เป็นของผู้อื่น เป็นเพียงล้างตุ่มเท่านั้น
เอง. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะนี้ โดย
พิจารณาที่เป็นไป ด้วยประการฉะนี้.
ในบทว่า คเต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า คเต ได้แก่ในการเดิน.
บทว่า ิเต ได้แก่ในการยืน.
บทว่า นิสินฺเน ได้แก่ในการนั่ง.
บทว่า สุตฺเต ได้แก่ในการนอน.
บทว่า ชาคริเต ได้แก่ในการตื่น.
บทว่า ภาสิเต ได้แก่ในการพูด.
บทว่า ตุณฺหีภาเว ได้แก่ในการไม่พูด.
ก็ในพระสูตรนี้ว่า ภิกษุเดินอยู่ก็ดี ย่อมรู้ตัวว่าเราเดิน ยืนอยู่ก็ดี
ย่อมรู้ตัวว่าเรายืน นั่งอยู่ก็ดี ย่อมรู้ตัวว่าเรานั่ง นอนอยู่ก็ดี ย่อมรู้ตัวว่า
เรานอน ดังนี้ ตรัสถึงอิริยาบถยาวนาน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 442
ในคำนี้ว่า ในการก้าวไป ในการถอยกลับ ในการแลไปข้างหน้า
ในการแลไปตามทิศ ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ดังนี้ ตรัสถึง
อิริยาบถปานกลาง.
แต่ในที่นี้ว่า ในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น
ดังนี้ ตรัสถึงอิริยาบถย่อยเล็กน้อย. เพราะฉะนั้น พึงทราบความเป็นผู้
ทำความรู้สึกตัวในอิริยาบถแม้เหล่านั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ก็พระมหาสิวเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า ภิกษุใดเดินหรือ
จงกรมนาน ภายหลังหยุดยืน ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูป-
ธรรมที่เป็นไปในเวลาจงกรม ดับไปในขณะหยุดยืนนั้นแหละ ภิกษุนี้
ชื่อว่าเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการเดิน.
ภิกษุใดท่องบ่นอยู่ก็ดี วิสัชนาปัญหาอยู่ก็ดี มนสิการกรรมฐานอยู่
ก็ดี ยืนอยู่นาน ภายหลังนั่งลง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและ
อรูปธรรมที่เป็นไปในเวลายืน ดับไปโนขณะนั่งลงนั้นแหละ ภิกษุนี้
ชื่อว่าเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการยืน.
ภิกษุใดนั่งนาน โดยกระทำการสาธยายเป็นต้น ภายหลังลุกขึ้น
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในเวลานั่ง
ดับไปในขณะลุกขึ้นนั้นแหละ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการนั่ง
แต่ภิกษุใดนอนท่องบ่นอยู่ก็ดี มนสิการกรรมฐานอยู่ก็ดี หลับไป
ภายหลังลุกขึ้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็น
ไปในเวลานอน ดับไปในขณะลุกขึ้นนั้นแหละ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำ
ความรู้สึกตัวในการหลับและการตื่น. ก็จิตที่ไม่ทำงานชื่อว่าหลับ ที่ทำ
งานชื่อว่าตื่น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 443
ก็ภิกษุใดกำลังพูดอยู่ มีสติสัมปชัญญะว่า ชื่อว่าเสียงนี้ย่อมเกิด
เพราะอาศัยริมฝีปาก ฟัน ลิ้น เพดาน และความพยายามที่เหมาะแก่เรื่อง
นั้น ๆ ของจิต ดังนี้ พูด ก็หรือว่า ท่องบ่นก็ตาม กล่าวธรรมก็ตาม
เจริญกรรมฐานก็ตาม วิสัชนาปัญหาก็ตาม ตลอดกาลนาน แล้วนิ่งไป
ในภายหลัง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เกิดขึ้น
ในเวลาพูด ดับไปในขณะนิ่งนั้นแหละ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำความรู้สึก
ด้วยในการพูด.
ภิกษุใดนิ่งแล้วยังมนสิการพระธรรมหรือกรรมฐานเป็นเวลานาน
ภายหลังพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในเวลานิ่ง
ดับไปในขณะนิ่งนี้เอง ด้วยว่าเมื่ออุปาทายรูปเกิด ชื่อว่าพูด เมื่อไม่เกิด
ชื่อว่านิ่ง ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในความเป็นผู้นิ่ง ด้วยประการ
ฉะนี้. เรื่องนี้นั้น พระมหาสีวเถระกล่าวไว้แล้ว.
หน้าที่ของอสันโมหสัมปชัญญะ ท่านประสงค์ในมหาสติปัฏฐาน-
สูตร. แต่ในสามัญญผลสูตรนี้ ย่อมได้สัมปชัญญะ ๔ อย่างแม้ทั้งหมด
ฉะนั้น พึงทราบความเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวด้วยอำนาจแห่งสัมปชัญญะ ๔
ในที่นี้ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ก็บทว่า สมฺปชานการี ดังนี้ พึงทราบเนื้อความ โดยสัมปชัญญะ
ที่สัมปยุตด้วยสตินั่นเทียวในทุก ๆ บท. บทว่า สติสมฺปชญฺเน
สมนฺนาคโต นี้ ก็มีความพิสดารเท่านี้.
แต่ในวิภังคปกรณ์ ท่านจำแนกบทเหล่านี้ ไว้อย่างนี้ว่า สโต
สมฺปชาโน อภิกฺกมติ สโต สมฺปชาโน ปฏิกฺกมติ เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะก้าวไป เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะถอยกลับ ดังนี้ทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 444
บทว่า เอว โข มหาราช ความว่า ภิกษุเมื่อยังการก้าวไปเป็น
ต้นให้เป็นไป โดยสัมปชัญญะที่สัมปยุตด้วยสติอย่างนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้
ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.
บทว่า สนฺตุฏฺโ ในข้อความว่า อิธ มหาราช ภิกฺขุ สนฺตุฏฺโ
โหติ นี้ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยความยินดีปัจจัยตามมีตามได้.
ก็สันโดษนี้นั้น มี ๑๒ อย่าง.
อะไรบ้าง ?
สันโดษในจีวร ๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ
ยถาสารุปปสันโดษ.
ในบิณฑบาตเป็นต้น ก็อย่างนี้.
สันโดษ ๑๒ ประเภทนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้จีวรดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม เธอใช้สอยจีวร
นั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาจีวรอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ นี้เป็นยถาลาภสันโดษ
ในจีวรของเธอ.
ต่อมาภายหลัง เธอมีกำลังน้อยตามธรรมดาก็ดี ถูกความป่วยไข้
ครอบงำก็ดี ถูกชราครอบงำก็ดี เมื่อห่มจีวรหนักย่อมลำบาก เธอเปลี่ยน
จีวรนั้นกับภิกษุผู้ชอบพอกัน แม้ใช้สอยจีวรเบาอยู่ ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่
นั่นเอง นี้เป็นยถาพลสันโดษในจีวรของเธอ.
ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้ปัจจัยอย่างประณีต ครั้นเธอได้บาตรและจีวร
เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นบาตรจีวรมีค่ามากหรือมีจำนวนมาก เธอ
ถวายด้วยคิดว่า นี้สมควรแก่พระเถระทั้งหลายผู้บวชนาน นี้สมควรแก่
ภิกษุพหูสูต นี้สมควรแก่ภิกษุไข้ นี้จงมีแก่ภิกษุผู้มีลาภน้อย ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 445
หรือรับเอาจีวรเก่าของภิกษุเหล่านั้น หรือเลือกเก็บผ้าที่ไม่มีชายจากกอง
หยากเยื่อเป็นต้น แม้เอาผ้าเหล่านั้นมาทำเป็นสังฆาฏิครอง ก็ยังเป็นผู้
สันโดษอยู่นั่นเอง นี้เป็นยถาสารุปปสันโดษในจีวรของเธอ.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินยนี้ ได้บิณฑบาตเศร้าหมองหรือประณีต
เธอใช้สอยบิณฑบาตนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาบิณฑบาตอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ
นี้เป็นยถาลาภสันโดษในบิณฑบาตของเธอ.
ก็ภิกษุใดได้บิณฑบาตที่ไม่ถูกกับร่างกายปกติ หรือไม่ถูกกับโรคของ
คน ซึ่งเธอบริโภคแล้วจะไม่สบาย เธอให้บิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบ
พอกัน แม้ฉันโภชนะที่สบายแต่มือของภิกษุนั้นทำสมณธรรมอยู่ ก็ยัง
เป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี่เป็นยถาพลสันโดษในบิณฑบาตของเธอ.
ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้บิณฑบาตประณีตจำนวนมาก เธอถวายบิณฑบาต
นั้นแก่พระเถระผู้บวชนาน แก่ผู้พหูสูต แก่ผู้มีลาภน้อย แก่ภิกษุไข้
เหมือนจีวรนั้น แม้รับเศษอาหารของภิกษุนั้น ๆ หรือเที่ยวบิณฑบาตแล้ว
ฉันอาหารที่ปนกัน ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี้เป็นยถาสารุปปสันโดษ
ในบิณฑบาตของเธอ.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เสนาสนะที่พอใจหรือไม่พอใจ ไม่
ดีใจไม่เสียใจเพราะเสนาสนะนั้น ยินดีตามที่ได้เท่านั้น โดยที่สุดแม้เป็น
เครื่องปูลาดถักด้วยหญ้า นี้เป็นยถาลาภสันโดษในเสนาสนะของเธอ.
ก็ภิกษุใดได้เสนาสนะที่ไม่ถูกกับร่างกายปกติ หรือไม่ถูกกับโรคของ
ตน ซึ่งเมื่อเธออยู่จะไม่สบาย เธอให้เสนาสนะนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน
แม้อยู่ในเสนาสนะที่สบายซึ่งเป็นของภิกษุนั้น ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง
นี้เป็นยถาพลสันโดษในเสนาสนะของเธอ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 446
ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เสนาสนะที่ประณีตจำนวนมาก มีถ้า
มณฑป เรือนยอดเป็นต้น เธอให้เสนาสนะเหล่านั้นแก่พระเถระผู้บวชนาน
ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อย และเป็นไข้ เหมือนจีวร แม้อยู่ในเสนาสนะแห่ง
ใดแห่งหนึ่ง ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี้เป็นยถาสารุปปสันโดษใน
เสนาสนะของเธอ.
ก็ภิกษุใดพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเสนาสนะชั้นดีเยี่ยมเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาท นั่งในเสนาสนะนั้นย่อมง่วงเหงาซบเซาหลับไป เมื่อ
ตื่นขึ้นอีกก็ครุ่นคิดแต่เรื่องกาม แล้วไม่รับเสนาสนะเช่นนั้นแม้ถึงแล้ว
เธอห้ามเสนาสนะนั้น แม้อยู่ในที่แจ้งหรือโคนไม้เป็นต้น ก็ยังเป็นผู้
สันโดษอยู่นั่น เอง แม้นี้ก็เป็นยถาสารุปปสันโดษในเสนาสนะ.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เภสัชเศร้าหมองหรือประณีต เธอ
ยินดีตามที่ได้นั้น ๆ เท่านั้น ไม่ปรารถนาเภสัชอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ นี้เป็น
ยถาลาภสันโดษในคิลานปัจจัยของเธอ.
ก็ภิกษุใดต้องการน้ำมัน ได้น้ำอ้อย เธอให้น้ำอ้อยนั้นแก่ภิกษุผู้
ชอบพอกัน แล้วถือเอาน้ำมันแต่มือของภิกษุนั้น หรือแสวงหาของอื่น
นั่นเทียว แม้เมื่อได้เภสัช ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี้เป็นยถาพล-
สันโดษในคิลานปัจจัยของเธอ.
ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เภสัชที่ประณีต มีน้ำมัน น้ำอ้อย
เป็นต้นจำนวนมาก เธอให้เภสัชนั้นแก่พระเถระผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มี
ลาภน้อยและผู้เป็นไข้ เหมือนจีวร แล้วเยียวยาอัตตภาพด้วยเภสัชอย่างใด
อย่างหนึ่งที่ภิกษุเหล่านั้นนำมา ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั้นเอง.
อนึ่ง ภิกษุใดวางสมอแช่เยี่ยวโคไว้ในภาชนะใบหนึ่ง มีคนมาบอก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 447
กล่าวถึงของอร่อย ๔ อย่างในภาชนะหนึ่งว่า ถือเอาเถิดท่านเจ้าข้า ถ้าต้อง
การ ดังนี้ เธอคิดว่า ถ้าโรคของเธอจะหายแม้ด้วยของอร่อยอย่างใดอย่าง
หนึ่งใน ๔ อย่างนั้น ถึงอย่างนั้น ชื่อว่าสมอแช่เยี่ยวโค พระพุทธเจ้า
เป็นต้น ทรงสรรเสริญแล้ว ดังนี้ ห้ามของอร่อย ๔ อย่าง ทำเภสัชด้วย
สมอแช่เยี่ยวโคเท่านั้น ย่อมเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งแท้ นี้เป็นยถาสารุปป-
สันโดษในคิลานปัจจัยของเธอ.
ก็บริขาร ๘ คือ ไตรจีวร บาตร มีดตัดไม้ชำระฟัน เข็ม ประคดเอว
และผ้ากรองน้ำ ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยความยินดีปัจจัยตามมีตาม
ได้ ๑๒ อย่างนี้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม ประคดเอว
รวมทั่งผ้ากรองน้ำ เป็น ๘ เหล่านี้
เป็นบริขารของภิกษุผู้ประกอบความเพียร.
บริขารทั้งหมดเหล่านั้น เป็นเครื่องบริหารกายก็ได้ เป็นเครื่อง
บริหารท้องก็ได้. บริหารอย่างไร ?
จะพูดถึงจีวรก่อน ภิกษุบริหารเลี้ยงดูกายในเวลานุ่งห่มจีวรเที่ยวไป
ดังนั้นจีวรจึงชื่อว่าเป็นเครื่องบริหารกาย ภิกษุบริหารเลี้ยงดูท้องในเวลา
เอาชายจีวรกรองน้ำแล้วดื่ม และในเวลาเอาจีวรห่อของขบเคี้ยวและผลไม้
น้อยใหญ่ ดังนั้นจีวรจึงชื่อว่าเป็นเครื่องบริหารท้อง.
แม้บาตร ย่อมเป็นเครื่องบริหารกายในเวลาเอาบาตรนั้นตักน้ำอาบ
และในเวลาทำประพรมกุฎี ย่อมเป็นเครื่องบริหารท้องในเวลารับอาหาร
บริโภค.
แม้มีด ย่อมเป็นเครื่องบริหารกายในเวลาตัดไม้ชำระฟันด้วยมีดนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 448
และในเวลาตกแต่งเท้าเตียงและคันกลด ย่อมเป็นเครื่องบริหารท้องใน
เวลาตัดอ้อยและปอกมะพร้าวเป็นต้น.
แม้เข็ม ย่อมเป็นเครื่องบริหารกายในเวลาเย็บจีวร ย่อมเป็นเครื่อง
บริหารท้องในเวลาจิ้มขนมหรือผลไม้กิน.
ประคดเอว ย่อมเป็นเครื่องบริหารกายในเวลาพันกายเที่ยวไป
เป็นเครื่องบริหารท้องในเวลามัดอ้อยเป็นต้นถือเอา.
ผ้ากรองน้ำ เป็นเครื่องบริหารกายในเวลาใช้ผ้ากรองน้ำนั้นกรอง
น้ำอาบ และในเวลาทำการประพรมเสนาสนะ เป็นเครื่องบริหารท้องใน
เวลากรองน้ำดื่ม และในเวลาใช้ผ้ากรองน้ำนั้นแหละใส่งา ข้าวสาร
และอาหารแข้นเป็นต้นฉัน.
พึงทราบความที่บริขาร ๘ เป็นบริขารเท่านี้ก่อน.
ก็เครื่องปูลาดซึ่งปูไว้ในที่นั้น หรือกุญแจ ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มี
บริขาร ๙ อย่าง เข้าไปสู่ที่นอน.
ผ้าปูนั่งหรือท่อนหนัง ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มีบริขาร ๑๐ อย่าง.
ไม้เท้าหรือหลอดน้ำมัน ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มีบริขาร ๑๑ อย่าง
ร่มหรือรองเท้า ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มีบริขาร ๑๒ อย่าง.
ก็บรรดาภิกษุเหล่านี้ ภิกษุผู้มีบริขาร ๘ เท่านั้น ชื่อว่าผู้สันโดษ
นอกนี้ชื่อว่าไม่สันโดษ แต่ไม่ควรเรียกว่า มักมาก เลี้ยงยาก.
จริงอยู่ ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้มักน้อยเทียว เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้เลี้ยง
ง่าย เป็นผู้มีความประพฤติเบาพร้อมเทียว แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้
ตรัสพระสูตรนี้สำหรับภิกษุเหล่านั้น ตรัสสำหรับภิกษุผู้มีบริขาร ๘ .
ด้วยว่า ภิกษุผู้มีบริขาร ๘ นั้น เอามีดเล็กและเข็มใส่ในผ้ากรองน้ำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 449
แล้ววางไว้ภายในบาตร คล้องบาตรที่จะงอยบ่า พันกายที่ไตรจีวร หลีก
ไปสบายตามปรารถนา. ไม่มีสิ่งของที่ชื่อว่าเธอจะต้องกลับมาถือเอา.
เมื่อจะทรงแสดงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีความประพฤติเบาพร้อม
ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ภิกษุนี้เป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวรเครื่องบริหารกายเป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กายปริหาริเกน ได้แก่จีวรพอเป็นเครื่อง
บริหารกาย.
บทว่า กุจฺฉิปริหาริเกน ได้แก่จีวรพอเป็นเครื่องบริหารท้อง.
บทว่า สมาทาเยว ปกฺกมติ ความว่า ถือเอาเพียงบริขาร ๘ นั้น
ทั้งหมดเท่านั้น ทำให้ติดตัวไป. ไม่มีความห่วงใยหรือผูกพันว่า วิหาร
บริเวณ อุปัฏฐากของเรา. เธอเหมือนลูกศรที่หลุดจากแล่ง และเหมือน
ช้างซับมันหลีกออกจากโขลง บริโภคเสนาสนะตามที่ปรารถนา เป็นราว
ป่า โคนไม้ เงื้อมเขาในป่า รูปเดียวเท่านั้นยืน รูปเดียวเท่านั้นนั่ง รูป
เดียวไม่มีเพื่อนในอิริยาบถทั้งปวง ย่อมถึงความเป็นผู้เหมือนนอแรด
ที่ท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า
ภิกษุยินดีอยู่ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ย่อมไปได้ ๔
ทิศ ไม่ติดขัด อดกลั้นต่ออันตรายทั้งหลาย ไม่
หวาดหวั่น คนเดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ดังนี้.
บัดนี้ เมื่อจะยังเนื้อความนั้นให้สำเร็จด้วยอุปมา จึงตรัสว่า
เสยฺยถาปิ เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺขี สกุโณ ได้แก่นกมีปีก.
บทว่า เฑติ ได้แก่บินไป.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 450
ก็ความย่อในเรื่องนี้ดังนี้. ธรรมดานกทั้งหลายรู้ว่า ที่ประเทศโน้น
ต้นไม้มีผลสุกแล้ว มาจากทิศต่าง ๆ เจ้าจิกกินผลของต้นไม้นั้นด้วยกลีบ
เล็บและจะงอยปากเป็นต้น นกเหล่านั้นมิได้คิดว่า ผลไม้นี้จักมีสำหรับ
วันนี้ ผลไม้นี้จักมีสำหรับวันพรุ่งนี้ และเมื่อผลไม้สิ้นแล้ว ก็มิได้ตั้ง
อารักขาต้นไม้เลย มิได้ว้างปีก เล็บ หรือจะงอยปากไว้ที่ต้นไม้นั้น โดย
ที่แท้มิได้สนใจในต้นไม้นั้นเลย ตัวใดปรารถนาจะไปทิศาภาคใด ๆ ตัว
นั้นมีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไปตามทิศาภาคนั้น ๆ ภิกษุนี้ก็อย่างนั้น
เหมือนกัน ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สนใจ เมื่อจะหลีกไปตามความต้องการ
ก็ถือไปได้เอง ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไร ด้วยคำว่า โส อิมินา จ
ดังนี้เป็นต้น.
ทรงแสดงปัจจัยสมบัติของภิกษุผู้อยู่ป่า.
ภิกษุใดไม่มีปัจจัย ๔ เหล่านี้ การอยู่ป่าของภิกษุนั้นย่อมไม่สำเร็จ
ภิกษุนั้นย่อมจะถูกเปรียบเปรยเท่ากับสัตว์ดิรัจฉานหรือพรานป่า. เทวดาที่
สิงสถิตอยู่ในป่า ทำให้ได้ยินเสียงที่น่ากลัวว่า การอยู่ป่าของภิกษุชั่วเช่นนี้
จะมีประโยชน์อะไร เอามือทุบศีรษะแล้วหนีไป. โทษมิใช่ยศ ย่อมระบือ
ไปว่า ภิกษุรูปโน้นเข้าป่า ได้การทำกรรมชั่วอย่างนี้บ้างอย่างนี้บ้าง.
แต่ภิกษุใดมีปัจจัย ๔ เหล่านี้ การอยู่ป่าของภิกษุนั้นย่อมสำเร็จ.
ด้วยว่า เธอพิจารณาศีลของตนอยู่ เมื่อไม่เห็นด่างพร้อยอะไร ๆ ยังปีติให้
เกิดขึ้นแล้วพิจารณาปีตินั้นโดยความสิ้นไปเสื่อมไป ย่อมหยั่งลงสู่อริยภูมิ.
เทวดาที่สิงสถิตอยู่ในป่ามีความพอใจพากันสรรเสริญ. ยศของภิกษุนี้ย่อม
กระฉ่อนไป เหมือนหยาดน้ำมันที่หยดลงในน้ำฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 451
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิวิตฺต ความว่า ว่าง อธิบายว่า มีเสียงเงียบ
คือไม่ค่อยดังนัก. จริงอยู่ ในวิภังคปกรณ์ท่านกล่าวหมายถึงความสงัดนี้
ไว้ว่า บทว่า วิวิตฺต ความว่า แม้หากว่ามีเสนาสนะอยู่ในที่ใกล้ และ
เสนาสนะนั้นไม่พลุกพล่านด้วยคฤหัสถ์บ้างบรรพชิตบ้าง เพราะเหตุนั้น
เสนาสนะนั้น ชื่อว่าสงัด.
ชื่อว่า เสนาสนะ เพราะอรรถว่า เป็นที่นอนด้วย เป็นที่นั่งด้วย.
คำนี้เป็นชื่อของเตียงและตั่งเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้ว่า บทว่า เสนาสนะ ได้แก่เตียงก็ดี ตั่งก็ดี ฟูกก็ดี หมอนก็ดี
วิหารก็ดี เพิงก็ดี ปราสาทก็ดี เรือนโล้นก็ดี ถ้ำก็ดี ป้อมก็ดี โรงกลม
ก็ดี ที่เร้นก็ดี กอไผ่ก็ดี โคนไม้ก็ดี มณฑปก็ดี ชื่อว่าเสนาสนะ ก็หรือว่า
ภิกษุเปลี่ยนอิริยาบถในที่ใด ที่นั้นทั้งหมด ชื่อว่าเสนาสนะ.
อีกอย่างหนึ่ง เสนาสนะนี้ คือ วิหาร เพิง ปราสาท เรือนโล้น
ถ้ำ ชื่อว่าเสนาสนะประเภทที่อยู่.
เสนาสนะนี้ คือ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ชื่อว่าเสนาสนะสำหรับ
เตียงตั่ง.
เสนาสนะนี้ คือ ปลอกหมอน ท่อนหนัง เครื่องปูลาดที่ถักด้วย
หญ้า เครื่องปูลาดที่ทำด้วยใบไม้ ชื่อว่าเสนาสนะเป็นเครื่องลาด.
เสนาสนะซึ่งเป็นที่เปลี่ยนอิริยาบถของภิกษุทั้งหลายนี้ ชื่อว่า
เสนาสนะตามโอกาส.
เสนาสนะมี ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้. เสนาสนะทั้งหมดนั้น
ท่านสงเคราะห์ด้วยศัพท์ว่าเสนาสนะนั่นเทียว.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงเสนาสนะที่สมควรแก่ภิกษุผู้ไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 452
ใน ๔ ทิศ เหมือนนกนั้น ดังนี้ ตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า อรฺ
รุกฺขมูล ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺ ได้แก่ป่าที่อยู่นอกเขตเมือง ทั้งหมด
นี้ ชื่อว่าป่า ป่านี้สำหรับภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เสนาสนะที่ทั้งอยู่ที่สุดชั่ว ๕๐๐ ธนู ชื่อว่าป่า ก็เสนาสนะป่านี้
สมควรแก่ภิกษุนี้ ด้วยประการฉะนี้. ลักษณะของป่านั้น กล่าวไว้แล้ว
ในธุดงคนิทเทสในวิสุทธิมรรค.
บทว่า รุกฺขมูล ได้แก่โคนไม้ที่สงัด มีร่มเงาสนิทแห่งใดแห่งหนึ่ง.
บทว่า ปพฺพต ได้แก่ศิลา. ก็เมื่อภิกษุใช้น้ำในบ่อน้ำ ณ ที่นั้น
แล้วนั่งที่เงาไม้ร่มเย็น เมื่อทิศต่าง ๆ ปรากฏ ลมเย็นพัดมา จิตย่อมมี
อารมณ์เป็นหนึ่ง.
ด้วยบทว่า กนฺทร ท่านเรียกน้ำว่า ประเทศแห่งภูเขาที่น้ำเซาะ น้ำ
ทำลาย ซึ่งท่านเรียกว่า นทีตุมพะบ้าง นทีกุญชะบ้าง. ก็ในที่นั้น มีทราย
เหมือนแผ่นเงิน. ป่าชัฏข้างบนเหมือนเพดานแก้วมณี. น้ำเช่นกับกอง
แก้วมณีไหลไป. เมื่อภิกษุลงซอกน้ำอย่างนี้ ดื่มน้ำแล้วทำร่างกายให้เย็น
ก่อทรายขึ้น ปูลาดผ้าบังสุกุล นั่งบำเพ็ญสมณธรรม จิตย่อมมีอารมณ์
เป็นหนึ่ง.
บทว่า คิริคุห ได้แก่ช่องใหญ่ระหว่างภูเขา ๒ ลูก หรือช่อง
ใหญ่เหมือนอุโมงค์ภูเขาลูกหนึ่ง. ลักษณะของป่าช้า กล่าวแล้วในวิสุทธิ-
มรรค.
บทว่า วนปตฺถ ได้แก่ที่เลยเขตบ้าน มิได้เป็นที่ไถที่หว่านของ
มนุษย์ทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า คำว่า วนปตฺถ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 453
นี้เป็นชื่อของเสนาสนะที่ไกล ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า อพฺโภกาส ได้แก่ที่ไม่ได้มุงบัง.
ก็เมื่อภิกษุประสงค์จะทำกลดอยู่ในที่นี้ก็ได้.
บทว่า ปลาสปุญฺช ได้แก่กองฟาง.
ก็ภิกษุดึงฟางออกจากกองฟางใหญ่ ทำที่อยู่อาศัยเหมือนที่เร้นใน
เงื้อมเขา. บางทีเอาฟางใส่ข้างบนกอไม้พุ่มไม้เป็นต้น นั่งบำเพ็ญสมณ-
ธรรมอยู่ภายใต้ ท่านกล่าวหมายเอาที่นั้น.
บทว่า ปจฺฉาภตฺต ได้แก่ภายหลังอาหาร.
บทว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต ได้แก่กลับจากการแสวงหา
บิณฑบาต.
บทว่า ปลฺลงฺก ได้แก่นั่งขัดสมาธิ.
บทว่า อาภุชิตฺวา ได้แก่ประสานไว้.
บทว่า อุชุ กาย ปณิธาย ได้แก่ ตั้งกายท่อนบนให้ตรง ให้
ที่สุดท่อที่สุดกระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อประชิดกัน.
ด้วยว่า เมื่อนั่งอย่างนี้ หนังเนื้อและเอ็นทั้งหลายไม่ตึง. เมื่อเป็น
เช่นนี้ เวทนาที่จะพึงเกิดขึ้นในทุก ๆ ขณะ เพราะหนังเนื้อเอ็นตึงเป็น
ปัจจัย ก็ไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อเวทนาเหล่านั้นไม่เกิดขึ้น จิตย่อมมี
อารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานย่อมไม่ตกถอย ย่อมเข้าถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์.
บทว่า ปริมุข สตี อุปกฺเปตฺวา ความว่า ตั้งสติมุ่งตรงต่อ
กรรมฐาน หรือตั้งกรรมฐานไว้ตรงหน้า. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ในวิภังค์
จึงกล่าวไว้ว่า สตินี้ย่อมเป็นอันตั้งมั่นจดจ่ออยู่ตรงปลายจมูกหรือแถว ๆ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 454
หน้า เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดำรงสติไว้ตรงหน้า ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้พึงทราบเนื้อความโดยนัยที่กล่าวแล้วใน
ปฏิสัมภิทาอย่างนี้ว่า บทว่า ปริ มีอรรถว่า กำหนด บทว่า มุข มีอรรถว่า
นำออก บทว่า สติ มีอรรถว่า เข้าไปตั้งมั่น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวคำว่า ปริมุข สตึ ดังนี้ . รวมความในคำนั้นว่า ทำสติให้เป็นที่
กำหนด เป็นที่ออกไป.
ในบทว่า อภิชฺฌ โลเก นี้ อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่าโลก ด้วย
อรรถว่า สลาย เพราะฉะนั้น ในบทนี้จึงมีเนื้อความดังนี้ว่า ละราคะ คือ
ข่มกามฉันทะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้.
บทว่า วิคตาภิชฺเฌน ความว่า มีความเพ่งเล็งไปปราศแล้ว เพราะ
ละได้โดยวิกขัมภนปหาน เช่นกับจักษุวิญญาณ
บทว่า อภิชฺฌาย จิตฺต ปริโสเธติ ความว่า เปลื้องจิตจากความ
เพ่งเล็ง อธิบายว่า ความเพ่งเล็งนั้นพ้นไป และครั้นพ้นไปแล้วไม่มาจับ
จิตอีกได้ด้วยประการใด เธอย่อมทำด้วยประการนั้น
แม้ในบทว่า พฺยาปาทปโทสมฺปหาย เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
ชื่อว่า พยาปาทะ ด้วยอรรถว่า จิตย่อมพยาบาทด้วยโทสจิตนี้
คือละปกติเดิม เหมือนขนมกุมมาสบูดเป็นต้น.
ชื่อว่า ปโทสะ ด้วยอรรถว่า ประทุษร้ายถึงพิการ หรือทำผู้อื่น
ให้เดือนร้อน คือพินาศ.
ก็ทั้ง ๒ คำนี้เป็นชื่อของความโกรธนั่นเอง. ความที่
จิตเป็นไข้ ชื่อว่า ถีนะ. ความที่เจตสิกเป็นไข้ ชื่อว่า
มิทธะ ถีนะและมิทธะ ชื่อว่าถีนมิทธะ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 455
บทว่า อาโลกสญฺี ความว่า ประกอบด้วยสัญญาอันบริสุทธิ์
ปราศจากนิวรณ์ เพราะสามารถกำหนดรู้แสงสว่างที่เห็นทั้งกลางคืนทั้ง
กลางวัน.
บทว่า สโต สมฺปชาโน ได้แก่ประกอบด้วยสติและด้วยญาณ.
คำทั้ง ๒ นี้ ท่านกล่าวแล้วเพราะเป็นอุปการะแก่อาโลกสัญญา.
ความฟุ้งซ่านและความรำคาญ ชื่อว่า อุทธัจจกุกกุจจะ
บทว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ ได้แก่ข้าม คือก้าวล่วงวิจิกิจฉาตั้งอยู่.
ชื่อว่า ไม่มีความคลางแคลง ด้วยอรรถว่า ไม่เป็นไปอย่างนี้ว่า
นี้อย่างไร นี้อย่างไร.
บทว่า กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ในธรรมทั้งหลายที่ไม่มีโทษ.
อธิบายว่า ไม่สงสัย คือไม่กังขาอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้หนอแลเป็นกุศล
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลได้อย่างไร. นี้เป็นความย่อในข้อนี้ ก็คำใดที่ควร
จะกล่าวในนิวรณ์เหล่านี้ โดยจำแนกใจความของคำและลักษณะเป็นต้น
คำนั้นทั้งหมดกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
ก็ในอุปมาที่ท่านกล่าวไว้ว่า เสยฺยถาปิ มหารา นั้น มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้
บทว่า อิณ อาทาย ได้แก่ถือเอาทรัพย์เพื่อความเจริญ.
บทว่า พฺยนฺตีกเรยฺย ความว่า พึงทำหนี้นั้นให้หมดไป คือ
พึงทำมิให้หนี้เหล่านั้นเหลืออยู่เพียงกากะณึกหนึ่ง อธิบายว่า พึงใช้ให้
หมดเลย.
บทว่า ตโตนิทาน ได้แก่มีความไม่มีหนี้เป็นมูลเหตุ.
จริงอยู่ เมื่อเขารำพึงอยู่ว่า เราไม่มีหนี้ ย่อมได้ความปราโมทย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 456
เป็นกำลัง ย่อมได้ความดีใจ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ลเภถ
ปาโมชฺช อธิคจฺเฉยฺย โสมนสฺส ดังนี้ .
ชื่อว่า อาพาธ ด้วยอรรถว่า ตัดอิริยาบถ ๔ เหมือนตัดด้วยเลื่อย
เบียดเบียนอยู่เพราะเกิดเวทนาที่เป็นข้าศึก.
ชื่อว่า อาพาธิก ด้วยอรรถว่า มีอาพาธ.
ชื่อว่า ถึงความลำบาก เพราะความลำบากซึ่งเกิดแต่อาพาธนั้น.
บทว่า อธิมตฺตคิลาโน ได้แก่เจ็บหนัก
บทว่า นจฺฉาเทยฺย ได้แก่ไม่พึงชอบใจ เพราะมีพยาธิหนักยิ่ง
ครอบงำอยู่แล้ว.
บทว่า พลมตฺตา ได้แก่มีกำลังนั่นเอง อธิบายว่า เขามีกำลังกาย.
บทว่า ตโตนิทาน ได้แก่มีความไม่มีโรคเป็นต้นเหตุ.
ก็เมื่อเขารำพึงอยู่ว่า เราไม่มีโรค ทั้งความปราโมทย์และโสมนัสนั้น
ย่อมมีทั้งคู่. เพราะเหตุนั้น ท่านจงกล่าวว่า ลเภถ ปาโมชฺช อธิคจฺเฉยฺย
โสมนสฺส ดังนี้.
บทว่า น จสฺส กิญฺจิ โภคาน วโย ความว่า ไม่มีความ
เสื่อมโภคะแม้เพียงกากะณึกหนึ่ง.
บทว่า ตโตนิทาน ได้แก่มีการไม่พ้นจากเครื่องผูกมัดเป็นต้นเหตุ.
คำที่เหลือพึงประกอบในบททั้งหมด ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
บทว่า อนตฺตาธีโน ได้เเก่ไม่เป็นที่พึ่งในตน จะทำอะไร ๆ
ตามความพอใจของตนไม่ได้.
บทว่า ปราธีโน ได้แก่ต้องพึ่งคนอื่น เป็นไปตามความพอใจ
ของคนอื่นเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 457
บทว่า น กาเยน กามงฺคโม ความว่า เขาประสงค์จะไปโดย
ทิศาภาคใด ก็ไปโดยทิศาภาคนั้นไม่ได้.
บทว่า ทาสพฺยา ได้แก่จากความเป็นทาส.
บทว่า ภุชิสฺโส ได้แก่เป็นตัวของตัวเอง.
บทว่า ตโตนิทาน ได้แก่มีความเป็นไทเป็นต้นเหตุ.
บทว่า กนฺตารทฺธานมคฺค ได้แก่ทางไกลกันดาร อธิบายว่า
ทางไกลไม่มีน้ำ.
บทว่า ตโตนิทาน ได้แก่มีพื้นที่ที่ปลอดภัยเป็นต้นเหตุ.
ในคำว่า อิเม ปญฺจ นิวรเณ อปฺปหีเน นี้ พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงกามฉันท์ที่ยังละไม่ได้เหมือนหนี้ แสดงนิวรณ์ที่เหลือทำให้
เป็นเหมือนโรคเป็นต้น ในข้อนั้นมีอุปมาดังนี้
ก็ผู้ใดกู้หนี้คนอื่นแล้ว ย่อมพินาศ ผู้นั้นแม้ถูกเจ้าหนี้ทวงว่าจงใช้
หนี้ แม้พูดคำหยาบ แม้ถูกจองจำ แม้ถูกฆ่า ก็ไม่อาจจะโต้ตอบอะไรได้
ย่อมอดกลั้นทุกอย่าง ด้วยว่า หนี้ของเขานั้นเป็นเหตุให้อดกลั้น ผู้ที่ติดวัตถุ
ด้วยกามฉันทะก็ฉันนั้น ย่อมยืดวัตถุนั้นด้วยเครื่องยึดคือตัณหา เขาแม้ถูก
กล่าวคำหยาบ แม้ถูกจองจำ แม้ถูกฆ่า ย่อมอดกลั้นทุกอย่าง. ด้วยว่า
กามฉันทะของเขานั้นเป็นเหตุให้อดกลั้น เหมือนกามฉันทะของหญิง
ทั้งหลายที่ถูกเจ้าของเรือนฆ่า พึงเห็นกามฉันทะเหมือนหนี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
เหมือนอย่างว่า คนกระสับกระส่ายเพราะโรคดี แม้เมื่อเขาให้น้ำ
ผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น ก็ไม่ได้รสของของหวานเหล่านั้น ย่อมบ่นว่า
ขม ขม เท่านั้น เพราะตนกระสับกระส่ายด้วยโรคดีฉันใด ผู้มีจิตพยาบาท
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 458
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้อาจารย์และอุปัชฌาย์ผู้หวังดีว่ากล่าวเพียงเล็กน้อย
ก็ไม่รับโอวาท กล่าวว่าท่านทั้งหลายวุ่นวายเหลือเกินเป็นต้น ลาสิกขาบท
ไป เขาไม่ได้รสของพระศาสนาประเภทสุขในฌานเป็นต้น เพราะเป็นผู้
กระสับกระส่ายด้วยความโกรธ เหมือนบุรุษนั้นไม่ได้รสของของหวานมี
น้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น เพราะเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะโรคดี
พึงเห็นความพยาบาทเหมือนโรค ด้วยประการฉะนี้แล.
เหมือนอย่างคนที่ถูกจองจำในเรือนจำในวันนักขัตฤกษ์ ย่อมไม่
เห็นเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของนักขัตฤกษ์เลย ครั้นรุ่งขึ้น เขาพ้น
เรือนจำ แม้ได้ฟังคำเป็นต้นว่า โอ เมื่อวานนักขัตฤกษ์น่าพอใจ ฟ้อนรำ
ขับร้องน่าพอใจ ดังนี้ ก็ให้คำตอบไม่ได้. เพราะเหตุอะไร ? เพราะไม่
ได้ดูนักษัตรฉันใด ภิกษุถูกถีนมิทธะครอบงำก็ฉันนั้น เมื่อการฟังธรรม
แม้มีนัยวิจิตรกำลังดำเนินไป ย่อมไม่รู้เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของธรรม
นั้น เธอแม้นั้นเมื่อปรากฏการฟังธรรมขึ้นแล้ว ผู้คนพากันสรรเสริญการ
ฟังธรรมว่า โอ การฟังธรรม โอ เหตุผล โอ อุปมา ถึงฟังก็ให้คำตอบ
ไม่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะอำนาจถีนมิทธะทำให้ฟังธรรมไม่รู้เรื่อง.
พึงเห็นถีนมิทธะเหมือนเรือนจำ ด้วยประการฉะนี้.
เหมือนอย่างทาสแม้เล่นนักษัตรอยู่ นายกล่าวว่า มีงานที่ต้องทำ
รีบด่วนชื่อนี้ เจ้าจงรีบไปที่นั้น ถ้าไม่ไป เราจะตัดมือและเท้า หรือหู
และจมูกของเจ้า เขารีบไปทันที ย่อมไม่ได้ชมเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด
ของงานนักษัตร. เพราะเหตุไร. เพราะมีคนอื่นเป็นที่พึ่งฉันใด ภิกษุผู้
ไม่รู้ทั่วถึงพระวินัยก็ฉันนั้น แม้เข้าป่าเพื่อต้องการวิเวก เมื่อเกิดความ
สำคัญในกัปปิยมังสะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดว่าเป็นอกัปปิยมังสะ ต้อง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 459
ละวิเวกไปสำนักพระวินัยธรเพื่อชำระศีล ย่อมไม่ได้เสวยสุขอันเกิดแต่
วิเวก. เพราะเหตุไร. เพราะถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ พึงเห็นอุทธัจจ-
กุกกุจจะเหมือนความเป็นทาส ด้วยประการฉะนี้แล.
เหมือนอย่างบุรุษเดินทางไกลที่กันดาร ได้เห็นโอกาสที่มนุษย์
ทั้งหลายถูกพวกโจรปล้น และถูกฆ่า พอได้ยินเสียงท่อนไม้ก็ดี เสียงนก
ก็ดี ย่อมระแวงสงสัยว่า พวกโจรมาแล้ว เดินไปบ้าง ยืนอยู่บ้าง กลับ
เสียบ้าง ที่ที่มาจากที่ไปแล้วมีมากกว่า เขาย่อมถึงที่ปลอดภัยโดยยากโดย
ฝืดเคือง หรือไม่ถึงเลยฉันใด คนที่เกิดวิจิกิจฉาในฐานะ ๘ ก็ฉันนั้น
สงสัยโดยนัยเป็นต้นว่า พระพุทธเจ้ามีหรือไม่มีหนอ ลังเลแล้วไม่อาจจะ
ยึดถือด้วยศรัทธา เมื่อไม่อาจ ย่อมไม่บรรลุมรรคหรือผลได้. ดังนั้น
เหมือนในทางไกลที่กันดาร ย่อมมีความหวาดระแวงบ่อย ๆ ว่า พวกโจรมี
ไม่มี ทำให้จิตไม่เชื่อ มีความหวาดกลัวเกิดขึ้น ย่อมทำอันตรายแก่การถึง
มีที่ปลอดภัยฉันใด แม้วิจิกิจฉาก็ฉันนั้น ทำให้เกิดความหวาดระแวง
บ่อย ๆ โดยนัยว่า พระพุทธเจ้ามีหรือไม่มีหนอ ดังนี้เป็นต้น ไม่มั่นใจ
สะดุ้งกลัว ย่อมทำอันตรายแก่การเข้าถึงอริยภูมิ พึงเห็นวิจิกิจฉาเหมือน
ทางไกลที่กันดาร ด้วยประการฉะนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเปรียบเทียบผู้ที่ละกามฉันท-
นิวรณ์ได้ว่าเหมือนคนไม่มีหนี้ ผู้ที่ละนิวรณ์ที่เหลือได้ว่าเหมือนคนไม่มีโรค
เป็นต้น ในพระบาลีนี้ว่า เสยฺยถาปิ มหาราช อานณฺย ดังนี้. ในข้อ
นั้นมีอุปมาดังนี้.
เหมือนอย่างว่า บุรุษกู้หนี้แล้วประกอบการงาน ถึงความร่ำรวย
คิดว่า ชื่อว่าหนี้นี้เป็นมูลแห่งความกังวล จึงใช้หนี้พร้อมทั้งดอกเบี้ย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 460
แล้วฉีกหนังสือสัญญากู้เสีย เมื่อเป็นเช่นนั้น ไม่มีใครส่งคนไปทวงเขา
ตั้งแต่นั้นนา หนังสือสัญญากู้ก็ไม่มี เขาแม้เห็นเจ้าหนี้ทั้งหลาย ถ้าประ-
สงค์จะต้อนรับก็ลุกจากอาสนะ ถ้าไม่ประสงค์ก็ไม่ลุก. เพราะเหตุไร ?
เพราะมิได้คิดต่อมิได้เกี่ยวข้องกับเจ้าหนี้เหล่านั้น ฉันใด ภิกษุ (ผู้ปฏิบัติ)
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่ากามฉันทะนี้ เป็นมูลแห่งความกังวล
จึงเจริญธรรม ๖ ประการแล้วละกามฉันทนิวรณ์เสีย. ก็ธรรม ๖ ประการ
เหล่านั้น เราจักพรรณนาในมหาสติปัฏฐานสูตร.
เมื่อภิกษุนั้นละกามฉันทะได้อย่างนี้ ย่อมไม่กลัวไม่สะดุ้ง เหมือน
บุรุษผู้ปลดหนี้แล้ว เห็นเจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมไม่กลัวไม่สะดุ้ง ฉันใด ย่อม
ไม่มีความเกี่ยวข้อง ไม่มีความผูกพันในวัตถุของผู้อื่น ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเห็นรูปแม้เป็นทิพย์ กิเลสก็ไม่กำเริบ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสการละกามฉันทะได้เหมือนความไม่มีหนี้.
เหมือนอย่างบุรุษผู้กระสับกระส่ายเพราะโรคดีนั้น ทำโรคนั้นให้สงบ
ด้วยการปรุงยา ตั้งแต่นั้นก็ได้รสแห่งน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่าพยาบาทนี้ กระทำความพินาศ
จึงเจริญธรรม ๖ ประการ ละพยาบาทนิวรณ์ได้. เราจักพรรณนาธรรม
๖ ประการในนิวรณ์ทั้งหมด ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั่นแล. ก็ธรรม
๖ ประการเหล่านั้น มิใช่เจริญเพื่อละถีนมิทธะเป็นต้นอย่างเดียว เราจัก
พรรณนานิวรณ์เหล่านั้นทั้งหมดในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นแหละ. ภิกษุนั้น
ละพยาบาทได้อย่างนี้แล้ว รับสิกขาบททั้งหลายมีอาจารบัญญัติเป็นต้น
อย่างเต็มใจด้วยเศียรเกล้า สนใจศึกษาอยู่ เหมือนบุรุษหายจากโรคดีแล้ว
ย่อมรับประทานรสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้นอย่างเต็มใจ. เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 461
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสการละพยาบาทเหมือนหายโรค.
บุรุษผู้ถูกขังในเรือนจำในวันนักษัตรนั้น ในวันนักษัตรต่อมา
เขาคิดว่า แม้เมื่อก่อนเราถูกจำเพราะโทษที่ประมาท ไม่ได้ชมนักษัตร
เพราะเหตุนั้น บัดนี้เราจักไม่ประมาท ดังนี้ เป็นผู้ไม่ประมาทอย่างที่
ศัตรูทั้งหลายของเขาไม่ได้โอกาส จึงได้ชมนักษัตรเปล่งอุทานว่า โอ
นักษัตร ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น คิดว่า ชื่อว่าถีนมิทธะนี้ทำความ
พินาศใหญ่ จึงเจริญ ธรรม ๖ ประการ ย่อมละถีนมิทธนิวรณ์ได้ เธอละ
ถีนมิทธะได้อย่างนี้แล้ว ได้ชมเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดแห่งนักษัตร
คือธรรม บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เหมือนอย่าง
บุรุษที่พ้นจากการจองจำ ได้ชมเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดแห่งนักษัตร
ทั้ง ๗ วัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสการละถีนมิทธะ
ได้ว่าเหมือนพ้นจากจองจำ.
เหมือนอย่างว่า ทาสเข้าไปอาศัยมิตรบางคน ให้ทรัพย์แก่นาย
ทั้งหลายแล้วทำคนให้เป็นไท ตั้งแต่นั้นตนปรารถนาสิ่งใด ก็ทำสิ่งนั้น
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่าอุทธัจจกุกกุจจะนี้ทำความ
พินาศใหญ่ จึงเจริญธรรม ๖ ประการ ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. เธอ
ละอุทธัจจกุกกุจจะได้อย่างนี้แล้ว ย่อมดำเนินสู่เนกขัมมปฎิปทาได้ตาม
สบาย. อุทธัจจกุกกุจจะไม่สามารถให้เธอกลับจากเนกขัมมปฏิปทานั้นได้
โดยพลการ. เหมือนอย่างบุรุษผู้เป็นไท ปรารถนาสิ่งใด ก็ทำสิ่งนั้น
ไม่บ่รารถนาสิ่งใด ก็ไม่ทำสิ่งนั้น. ไม่มีใคร ๆ จะให้เขากลับจากความ
เป็นไทนั้นโดยพลการได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสการ
ละอุทธัจจกุกกุจจะว่าเหมือนความเป็นไท.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 462
เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง ถือเอาทรัพย์ที่มีสาระติดมือ เตรียมอาวุธ
พร้อมด้วยบริวารเดินทางกันดาร พวกโจรเห็นเขาแต่ไกล พึงหนีไป.
เขาข้ามพ้นทางกันดารนั้นโดยสวัสดี ถึงแดนเกษม มีความร่าเริงยินดี
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่าวิจิกิจฉานี้ทำความพินาศ
จึงเจริญธรรม ๖ ประการ ย่อมละวิจิกิจฉาได้ เธอละวิจิกิจฉาได้อย่างนี้
แล้ว ข้ามกันดารแห่งทุจริตได้ บรรลุพระอมตมหานิพพานอันเป็นภูมิ
ที่เกษมสำราญอย่างยิ่ง เหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เตรียมอาวุธพร้อมด้วยบริวาร
ปลอดภัย ไม่สนใจพวกโจรเหมือนหญ้า ออกไปถึงภูมิอันเป็นที่ปลอดภัย
โดยความสวัสดี. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสการละวิจิกิจฉา
ไว้เหมือนภูมิอันเป็นแดนเกษม.
บทว่า ปาโมชฺช ชายติ ความว่า เกิดอาการยินดี.
บทว่า ปมุทิตสฺส ปีติ ชายติ ความว่า ปีติเกิดท่วมทั่วสรีระของผู้
ที่ยินดี.
บทว่า ปีติมนสฺส กาโย ปสฺสมฺภติ ความว่า นามกายของบุคคล
ผู้มีจิตสัมปยุตด้วยปีติ ย่อมสงบ คือปราศจากความกระวนกระวาย.
บทว่า สุข เวเทติ ความว่า ย่อมเสวยสุขทั้งทางกายทางใจ
บทว่า จิตฺต สมาธิยติ ความว่า จิตของผู้ที่มีสุขด้วยเนกขัมมสุขนี้
ย่อมตั้งมั่นด้วยอำนาจอุปจารฌานก็มี ด้วยอำนาจอัปปนาฌานก็มี.
ก็คำว่า โส วิวิจฺเจว กาเมหิ ฯ เปฯ ปมชฺฌาน อุปสมฺปชฺช
วิหรติ ดังนี้ เป็นต้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงคุณ
วิเศษเบื้องสูงในเมื่อจิตตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ และเพื่อแสดงประเภทของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 463
สมาธินั้น ในเมื่อจิตตั้งมั่นด้วยอัปปนาสมาธิ.
บทว่า อิมเมว กาย ได้แก่กรชกายนี้.
บทว่า อภิสนฺเทติ ได้แก่เอิบอาบ ไหลไป คือทำปีติสุขที่เป็นไป
ในที่ทั้งปวง.
บทว่า ปริสนฺเทติ ได้แก่ซ่านไปโดยรอบ.
บทว่า ปริปูเรติ ได้แก่เต็มเหมือนสูบด้วยลม.
บทว่า ปริปูผรติ ได้แก่แผ่ไปโดยรอบ.
บทว่า สพฺพาวโต กายสฺส ความว่า กายของภิกษุ (ผู้ได้ฌาน)
นั้นทุกส่วน ไม่มีฐานะที่ตรงไหนเลยในกายที่มีใจครองและยังมีสันตติเป็น
ไปอยู่แม้สักน้อยหนึ่ง ตามผิวเนื้อและโลหิต ที่ความสุขในปฐมฌานจะ
ไม่ถูกต้อง.
บทว่า ทกฺโข ได้แก่ผู้ฉลาด สามารถเพื่อจะทำ เพื่อจะประกอบ
เพื่อจะอาบไล้ซึ่งผงสำหรับอาบน้ำ.
บทว่า กสถาเล ได้แก่ในภาชนะที่ทำด้วยโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ภาชนะดินเป็นของไม่ทน เมื่อใช้อาบย่อมแตก ฉะนั้น จึงไม่ทรงยกภาชนะ
ดินขึ้นแสดง.
บทว่า ปริปฺโผสกปริโผสก ได้แก่รดแล้วรดเล่า.
บทว่า สนฺเนยฺย ได้แก่ถือภาชนะสัมฤทธิ์ด้วยมื้อซ้าย วักน้ำพอ
ประมาณด้วยมือขวา ลูบตัวอยู่ ทำการวักทีละฟายมือ.
บทว่า เสฺนหานุคตา ได้แก่ความเอิบอาบของน้ำแผ่ซ่านไป.
บทว่า เสฺนหปเรตา ได้แก่เอิบอาบด้วยความซาบซ่านของน้ำ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 464
บทว่า สนฺตรพาหิรา ได้แก่ความเอิบอาบของน้ำถูกต้อง พร้อม
ทั้งภายในและภายนอกทุกส่วน.
บทว่า น จ ปคฺฆรติ ความว่า มิใช่น้ำจะหยดออกทีละหยาด ๆ
น้ำนั้นอาจวักด้วยมือก็ได้ ด้วยองคุลี ๒-๓ องคุลีก็ได้ แม้ด้วยชายพกก็
ทำได้.
อุปมาความสุขในทุติยฌาน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อุพฺภิโตทโก ความว่า น้ำกระจาย. อธิบายว่า ไม่ใช่น้ำ
ที่แตกข้างล่างแล้วพลุ่งขึ้น แต่เป็นน้ำที่เกิดขึ้นในภายในนั่นเอง.
บทว่า อายมุข ได้แก่ทางเป็นที่มา.
บทว่า เทโว ได้แก่เมฆ.
บทว่า กาเลน กาล แปลว่า ทุก ๆ เวลา อธิบายว่า ทุกกึ่งเดือน
หรือทุก ๑๐ วัน.
บทว่า ธาร แปลว่าสายฝน.
บทว่า อนุปฺปเวจฺเฉยฺย ความว่า ฝนไม่หลั่ง คือไม่ตก.
บทว่า สีตา วาริธารา อุพฺภิชฺชิตฺวา ความว่า น้ำเย็นทำห้วงน้ำ
ให้เต็มเกิดขึ้น.
จริงอยู่ น้ำที่พลุ่งขึ้นข้างล่าง ครั้นพลุ่งขึ้นแล้วย่อมท่าน้ำที่แตกให้
กระเพื่อม. น้ำที่ไหลมาแต่ทิศทั้ง ๔ ย่อมทำน้ำให้กระเพื่อมด้วยใบไม้เก่า
หญ้าไม้และท่อนไม้เป็นต้น. น้ำฝนย่อมท่าน้ำให้กระเพื่อมด้วยสายน้ำที่ตก
ลงมาและฟองน้ำ. น้ำที่เกิดขึ้น จมอยู่อย่างนั้นแหละเหมือนเนรมิตด้วยฤทธิ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 465
แผ่ไปสู่ประเทศนี้ จะว่าไม่แผ่ไปสู่ประเทศนี้ไม่มี. ชื่อว่าโอกาสที่น้ำนั้น
ไม่ถูกต้องไม่มี ดังนี้แล.
ในเรื่องนี้นั้น กรชกายเหมือนห้วงน้ำ. สุขในทุติยฌานเหมือนน้ำ.
คำที่เหลือพึงทราบตามนัยมีในก่อนนั้นแหละ.
อุปมาความสุขในตติยฌาน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ชื่อว่า อุปฺปลินี ด้วยอรรถว่า เป็นที่มีดอกอุบล แม้ในสองบท
ที่เหลือก็นัยนี้แหละ. ก็ในเรื่องอุปมานี้ บรรดาอุบลขาวอุบลแดงและอุบล
ขาบ อุบลอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุบลนั่นเอง ดอกบัวที่มีกลีบหย่อนร้อย
ชื่อบุณฑริก ที่มีกลีบถึงร้อยชื่อปทุม อีกอย่างหนึ่ง เว้นบัวที่กำหนดกลีบ
เสีย บัวขาวชื่อปทุม บัวแดงชื่อบุณฑริก ในเรื่องบัวนี้มีวินิจฉัยเท่านี้แล.
บทว่า อุทกานุคฺคตานิ ได้แก่ยังไม่ขึ้นพ้นน้ำ.
บทว่า อนฺโตนิมุคฺคโปสินี ความว่า จมอยู่ในพื้นน้ำนั่นเอง อัน
น้ำเลี้ยงไว้ ยังงอกงามได้ คำที่เหลือพึงทราบตามนัยมีในก่อนนั้นแหละ.
อุปมาความสุขในจตุตถฌาน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ในบทว่า ปริสุทฺเธน เจตสา ปริโยทาเตน นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
บริสุทธิ์ เพราะอรรถว่า ไม่มีอุปกิเลส ชื่อว่า ผ่องแผ้ว เพราะอรรถว่า
ผ่องใส.
บทว่า โอทาเตน วตฺเถน นี้ ตรัสหมายความถึงฤดูแผ่ไป.
จริงอยู่ ความแผ่ไปของฤดู ย่อมไม่มีด้วยผ้าเก่า. ความแผ่ไปของ
ฤดูย่อมมีกำลังด้วยผ้าสะอาดที่ซักในขณะนั้น. ก็ด้วยอุปมานี้ กรชกาย
เหมือนผ้า ความสุขในจตุตถฌานเหมือนความแผ่ไปของฤดู. เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 466
เมื่อบุรุษอาบน้ำดีแล้ว เอาผ้าสะอาดคลุมตลอดศีรษะ ไออุ่นแต่ศีรษะย่อม
แผ่ไปทั่วผ้าทั้งผืนทีเดียว ไม่มีส่วนไร ๆ ของผ้าที่ไออุ่นจะไม่ถูกต้อง
ฉันใด กรชกายของภิกษุก็ฉันนั้น ไม่มีส่วนไร ๆ ที่ความสุขในจตุตถฌาน
จะไม่ถูกต้อง ในข้อนี้พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ก็การพรรณนาตามลำดับบทและนัยแห่งภาวนาของฌาน ๔ เหล่านี้
กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค ฉะนั้น จะไม่กล่าวให้พิสดารในที่นี้.
ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ได้รูปฌาน
เท่านั้น ยังหาได้อรูปฌานไม่. ด้วยว่า เว้นความเป็นผู้ชำนาญในสมาบัติ
ทั้ง ๘ โดยอาการ ๑๔ เสียแล้ว การบรรลุอภิญญาชั้นสูงจะมีไม่ได้ แต่ใน
พระบาลีมาเฉพาะรูปฌานเท่านั้น จึงควรนำอรูปฌานมากล่าวด้วย.
ภิกษุนั้น ในคำว่า โส เอว สมาหิเต จิตฺเต ฯเปฯ อาเนญฺชปฺ-
ปตฺเต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสคงว่า ได้แก่ภิกษุผู้มีความชำนาญ
ในสมาบัติ ๘ โดยอาการ ๑๔ อันเธอได้สั่งสมแล้ว. คำที่เหลือในพระบาลี
นี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล.
ในพระบาลีว่า าณทสฺสนาย จิตฺต อภินีหรติ นี้ คำว่า ญาณ-
ทัสสนะ ท่านกล่าวหมายถึงมรรคญาณก็ไค้ ผลญาณก็ได้ สัพพัญญุตญาณ
ก็ได้ ปัจจเวกขณญาณก็ได้ วิปัสสนาญาณก็ได้.
ก็มรรคญาณ ท่านเรียกว่า ญาณทสัสนะ ในพระบาลีนี้ว่า ดูก่อน
อาวุโส ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อความบริสุทธิ์
แห่งญาณทสัสนะหรือหนอแล.
ผลญาณ ท่านเรียกว่า ญาณทัสสนะ ในพระบาลีนี้ว่า อุตตริ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 467
มนุสสธรรมอื่นนี้ คือญาณทัสสนะวิเศษที่ควรแก่พระอริยะ เป็นผาสุวิหาร
ซึ่งเราบรรลุแล้ว.
สัพพัญญุตญาณ ท่านเรียกว่า ญาณทัสสนะ ในพระบาลีนี้ว่า
ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแม้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าแลว่า อาฬารดาบส
กาลามโคตร ทำกาละได้ ๗ วัน.
ปัจจเวกขณญาณ ท่านเรียกว่า ญาณทัสสนะ ในพระบาลีนี้ว่า
ก็ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติ
สุดท้าย.
แต่คำว่า าณทสฺสนาย จิตฺต ในที่นี้ท่านกล่าวหมายถึงญาณ-
ทัสสนะที่เป็นตัววิปัสสนาญาณ.
บทว่า อภินีหรติ ความว่า ทำให้น้อมไป ให้โอนไป ให้เงื้อมไป
เพื่อเกิดวิปัสสนาญาณ.
เนื้อความของบทว่า รูปี เป็นต้น ได้กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
บทว่า โอทนกุมฺมาสุปจโย ความว่า เติบโตขึ้น เจริญขึ้นด้วย
ข้าวสุกและขนมกุมมาส.
บทว่า อนิจฺจุจฺฉาทนปริมทฺทนเภทนวิทธสนธมฺโม ความว่า มี
ความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เพราะอรรถว่า มีแล้วหามีไม่ มีอันต้องขัดสีเป็น
ธรรมดา เพราะต้องลูบไล้ตัวเพื่อต้องการกำจัด กลิ่นเหม็น มีอันต้องนวดฟั้น
เป็นธรรมดา เพราะต้องนวดเล็กน้อยเพื่อบรรเทาความปวดเมื่อยของอวัยวะ
น้อยใหญ่ หรือมีอันต้องนวดฟั้นเป็นธรรมดา เพราะในเวลาเป็นเด็กเขา
ให้นอนบนขาทั้ง ๒ แล้วหยอดยาตาและบีบนวดเป็นต้น เพื่อให้อวัยวะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 468
ที่คดมีทรวดทรงไม่ดีนั้น ๆ เพราะอยู่ในครรภ์ ให้ได้ทรวดทรง แม้บริหาร
อย่างนี้ ก็ยังแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ย่อมแตกไป ย่อมกระจายไป
ร่างกายมีสภาพอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ในบทว่า รูปี จาตุมฺมหาภูติโก เป็นต้นนั้น ท่านกล่าวความ
เกิดขึ้นด้วยบท ๖ บท กล่าวความดับไปด้วยบท ๒ หลังพร้อมด้วยอนิจจ-
บท.
บทว่า เอตฺถ นิสฺสิต เอตฺถ ปฏิพทฺธ ความว่า อาศัยด้วย คิด
เนื่องด้วย ในกายอันประกอบด้วยมหาภูต ๔ นี้.
บทว่า สุโภ แปลว่า งาม.
บทว่า ชาติมา ได้แก่ตั้งขึ้นด้วยอาการอันบริสุทธิ์.
บทว่า สุปริกมฺมกโต ได้แก่นายช่างเจียระไนอย่างดี เอาหินและ
กรวดออกหมด.
บทว่า อจฺโฉ แปลว่า ผิวบาง.
บทว่า วิปฺปสนฺโน แปลว่า ใสดี.
บทว่า สพฺพาการสมฺปนฺโน ความว่า ถึงพร้อมด้วยอาการทุกอย่าง
มีการล้างเป็นต้น.
ด้วยบทว่า นีล เป็นต้น ท่านแสดงความเพียบพร้อมด้วยสี.
จริงอยู่ ด้ายที่ร้อยแล้วย่อมปรากฏอยู่เช่นนั้น.
ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบการเทียบเคียงด้วยอุปมา ดังนี้.
ก็กรชกายเหมือนแก้วมณี วิปัสสนาญาณเหมือนด้ายที่ร้อยไว้ ภิกษุ
ผู้ได้วิปัสสนาเหมือนบุรุษตาดี เวลาที่กาย้อนประกอบด้วยมหาภูต ๔ ปรากฏ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 469
แจ้งแก่ภิกษุผู้นั่งพิจารณาวิปัสสนาญาณ เหมือนเวลาที่แก้วมณีปรากฏแจ้ง
แก่นายช่างผู้เอาแก้วมณีไว้ในมือพิจารณาอยู่ว่า นี้แลแก้วมณีเวลาที่หมวด
๕ แห่งผัสสะซึ่งมีวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ก็ดี จิตและเจตสิกทั้งปวงก็ดี
วิปัสสนาญาณนั่นเองก็ดี ปรากฏแจ้งแก่ภิกษุผู้นั่งพิจารณาวิปัสสนาญาณ
เหมือนเวลาที่ด้ายปรากฏแจ้งว่า นี้ด้ายเขาร้อยไว้ในแก้วมณีนั้น.
วิปัสสนาญาณนี้ อยู่ในลำดับแห่งมรรคญาณ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น
เพราะวิปัสสนาญาณนี้ไม่มีอันตรายวาระในเมื่อเริ่มอภิญญาวาระแล้ว ฉะนั้น
ท่านจึงแสดงในที่นี้ทีเดียว.
อนึ่ง เพราะเมื่อภิกษุไม่ทำการพิจารณาโดยอนิจจลักษณะเป็นต้น
ได้ยินเสียงที่น่ากลัวด้วยทิพโสต ระลึกถึงขันธ์ที่น่ากลัวด้วยบุพเพนิวาสา-
นุสสติ ได้เห็นรูปที่น่ากลัวด้วยทิพยจักษุ ความกลัวและความสะดุ้งย่อมเกิด
ขึ้น อาการที่น่ากลัวดังกล่าวนี้ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ทำการพิจารณา
โดยอนิจจลักษณะเป็นต้น ฉะนั้น ท่านจึงแสดงวิปัสสนาญาณนี้ในที่นี้
ทีเดียว แม้เพื่อแสดงเหตุที่บรรเทาความกลัวของภิกษุผู้บรรลุอภิญญาให้
พร้อมมูล.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะขึ้นชื่อว่าความสุขในวิปัสสนานี้ เป็นเครื่อง
ยังสุขในมรรคผลให้พร้อมมูล เป็นของเฉพาะตัว เป็นสามัญญผล ฉะนั้น
ท่านจึงแสดงวิปัสสนาญาณนี้ในที่นี้แต่ต้นทีเดียว.
บทว่า มโนมย แปลว่า บังเกิดด้วยใจ.
บทว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺค แปลว่า ประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่
ทุกส่วน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 470
บทว่า อหีนินฺทฺริย ได้แก่มีอินทรีย์ไม่บกพร่องโดยทรวดทรง
จริงอยู่ รูปที่ผู้มีฤทธิ์นิรมิต ถ้าผู้มีฤทธิ์ขาว แม้รูปที่นิรมิตนั้นก็ขาว
ถ้าผู้มีฤทธิ์ไม่ได้เจาะหู แม้รูปที่นิรมิตนั้นก็มิได้เจาะหู รูปนิรมิตย่อมเป็น
เหมือนผู้นิรมิตนั้นทุกประการทีเดียวอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
จริงอยู่ แม้อุปมา ๓ อย่าง มีชักไส้ออกจากหญ้าปล้องเป็นต้น
ท่านกล่าวเพื่อแสดงความเหมือนกันนั่นเอง. ก็ไส้ภายในหญ้าปล้องนั้น
ก็เท่ากับหญ้าปล้องนั่นเอง ดาบก็เท่ากับฝักนั่นเอง. ที่ฝักเป็นเกลียว
ดาบก็เป็นเกลียวด้วย คนจึงใส่เข้าไปได้ ที่ฝักแบน ดาบก็แบน
คำว่า กรณฺฑา แม้นี้ เป็นชื่อของคราบงู ไม่ใช่เป็นชื่อของขวดที่
เป็นเกลียว.
จริงอยู่ คราบงูย่อมเท่ากับตัวงูนั่นเอง.
ในอุปมานั้น ท่านแสดงว่าเหมือนชักงูจากคราบด้วยมือว่า บุรุษพึง
ชักงูออกจากคราบ ดังนี้ ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบว่า ชักรูปนิรมิต
นั้นออกด้วยจิตนั้นเอง.
ก็ชื่อว่างูนี้ดำรงอยู่ในชาติของตน อาศัยระหว่างไม้หรือระหว่าง
ต้นไม้ ลอกคราบเก่าซึ่งเหมือนรัดลำตัวอยู่ ด้วยเรี่ยวแรงกล่าวคือพยายาม
ดึงลำตัวออกจากคราบ งูย่อมลอกคราบได้เองด้วยเหตุ ๘ ประการเหล่านี้
ด้วยประการฉะนี้ ไม่อาจลอกคราบได้ด้วยเหตุอื่นจาก อย่างนั้น เพราะ-
ฉะนั้น พึงทราบว่า คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาการลอกด้วยจิต.
ด้วยประการฉะนี้ สรีระของภิกษุนี้ก็เช่นเดียวกับหญ้าปล้องเป็นต้น
รูปนิรมิตก็เช่นเดียวกับไส้หญ้าปล้องเป็นต้น นี้เป็นการเทียบเคียงด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 471
อุปมาในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ก็วิธีนิรมิตในเรื่องนี้และกถาว่าด้วยอภิญญา ๕ มีอิทธิวิธีเป็นต้น
แต่ที่อื่นกล่าวไว้พิสดารในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง ฉะนั้น พึงทราบ
ตามนัยที่กล่าวแล้วในที่นั้นเถิด. ด้วยว่า เพียงอุปมาเท่านั้นก็เกินไปในที่นี้ .
ในพระบาลีนั้น ภิกษุผู้ได้อิทธิวิธญาณ พึงเห็นเหมือนช่างหม้อผู้
ฉลาดเป็นต้น. อิทธิวิธญาณ พึงเห็นเหมือนดินเหนียวที่นวดไว้อย่างดี.
การแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ ของภิกษุนั้น พึงเห็นเหมือนการทำภาชนะชนิด
ต่าง ๆ ที่ปรารถนาแล้ว ๆ.
อุปมาทิพโสตธาตุ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
เพราะทางไกลที่กันดาร ย่อมเป็นที่รังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ผู้ที่
ไม่ไว้ใจระแวงในทางนั้น ไม่อาจกำหนดได้ว่า นี้เสียงกลอง นี้เสียงตะโพน
ฉะนั้น เมื่อจะแสดงทางที่ปลอดภัย จึงกล่าวว่าผู้เดินทางไกล โดยไม่ใช้
ศัพท์ว่ากันดาร.
ก็ทางที่ปลอดภัย คนเอาผ้าคลุมศีรษะค่อย ๆ เดินไป ย่อมกำหนด
เสียงต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วได้สบาย พึงทราบว่า เวลาที่เสียงทิพย์และเสียง
มนุษย์ทั้งไกลและใกล้ปรากฏแก่พระโยคี เหมือนเวลาที่เสียงนั้น ๆ ปรากฏ
ด้วยอำนาจการกำหนดเสียงได้อย่างสบายนั้น.
อุปมาเจโตปริยญาณ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า ทหโร แปลว่า หนุ่ม.
บทว่า ยุวา ได้แก่ประกอบด้วยความเป็นหนุ่ม.
บทว่า มณฺฑนฺชาติโก ความว่า แม้เป็นคนหนุ่มก็ไม่เกียจคร้าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 472
ไม่ใช่คนมีผ้าและร่างกายมอมแมม มีปรกติตกแต่งจริง ๆ อาบน้ำวันละ
๒-๓ ครั้ง มีปรกตินุ่งห่มผ้าสะอาดและตกแต่งอยู่เสมอ.
บทว่า สกณิก ความว่า มีตำหนิอย่างใดอย่างหนึ่งมีไฝดำหน้า
เป็นแผลและฝีร้ายเป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น พึงทราบว่า จิต ๑๖ อย่างของผู้อื่น ย่อมปรากฏ
แก่ภิกษุผู้นั่งโน้มจิตไปด้วยเจโตปริยญาณ เหมือนตำหนิในหน้าย่อมปรากฏ
แก่หนุ่มสาวที่พิจารณาเงาหน้าฉะนั้น.
อุปมาบุพเพนิวาสญาณ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
กิริยาที่ทาในวันนั้น ย่อมปรากฏ ฉะนั้น ๓ บ้านที่ไปในวันนั้น
นั่นเทียว เป็นอันกำหนดแล้ว.
ในพระบาลีนั้น ภิกษุผู้ได้บุพเพนิวาสญาณ พึงเห็นเหมือนบุรุษผู้ไป
๓ บ้าน ภพ ๓ พึงเห็นเหมือนบ้าน ๓ ตำบล ภาวะแห่งกิริยาที่ทำในภพ ๓
ปรากฏแก่ภิกษุผู้นั่งโน้มจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสญาณ พึงเห็นเหมือนความ
แจ่มแจ้งแห่งกิริยาที่ทำในวันนั้นในบ้านทั้ง ๓ ตำบลของบุรุษนั้น.
อุปมาทิพยจักษุ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า วีถึ สญฺจรนฺเต ได้แก่เทียวไปเทียวมา ปาฐะว่า วีถึ จรนฺเต
ก็มี. ความอย่างเดียวกันนี้แหละ.
ในพระบาลีนั้น กรชกายของภิกษุนี้ พึงเห็นเหมือนปราสาทใน
ทาง ๓ แพร่งท่ามกลางนคร ภิกษุผู้บรรลุทิพยจักษุนี้แหละ พึงเห็นเหมือน
คนตาดียืนอยู่บนปราสาท สัตว์ที่เข้าไปในครรภ์มารดาด้วยอำนาจจุติและ
ปฏิสนธิ พึงเห็นเหมือนคนที่เข้าเรือน สัตว์ที่ตลอดจากครรภ์มารดา
พึงเห็นเหมือนคนที่ออกจากเรือน สัตว์ที่สัญจรไป ๆ มา ๆ พึงเห็นเหมือน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 473
คนที่สัญจรไปตามถนนต่างๆ สัตว์ที่บังเกิดในที่นั้น ๆ ในภพทั้ง ๓ พึงเห็น
เหมือนคนที่นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่งในท่ามกลางซึ่งเป็นที่โล่งแจ้งข้างหน้า
เวลาที่เหล่าสัตว์ผู้บังเกิดในภพทั้ง ๓ ปรากฏแจ้งชัดแก่ภิกษุผู้นั่งโน้มจิตไป
เพื่อทิพยจักษุญาณ พึงเห็นเหมือนเวลาที่มนุษย์เหล่านั้นปรากฏแจ้งชัดแก่
บุรุษผู้ยืนอยู่บนพื้นปราสาท. ก็การเทียบเคียงนี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อเทศนา
สะดวกเท่านั้น. แต่ในอรูปฌานไม่มีอารมณ์ของทิพยจักษุ. ในพระบาลี
ว่า ภิกษุนั้น เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างนี้ นี้ พึงทราบว่า จิตในจตุตถฌาน
ซึ่งเป็นบาทแห่งวิปัสสนา.
บทว่า อาสวาน ขยาณาย ความว่า เพื่อให้เกิดอาสวักขยญาณ.
ก็ชื่อว่าอาสวักขยะ ในที่นี้ ท่านเรียกว่า มรรคบ้าง ผลบ้าง นิพพานบ้าง
ภังคะบ้าง.
จริงอยู่ มรรค ท่านเรียกว่า อาสวักขยะ ในบาลีนี้ว่า ขเย ยาณ
อนุปฺปาเท าณ ญาณในมรรค ญาณในความไม่เกิดขึ้น.
ผล ท่านเรียกว่า อาสวักขยะ ในบาลีนี้ว่า อาสวาน ขยา สมโณ
โหติ ย่อมเป็นสมณะเพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป.
นิพพาน ท่านเรียกว่า อาสวักขยะ ในคาถานี้ว่า
ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจ อุชฺฌานสญฺิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา
คนที่คอยจ้องโทษผู้อื่น มุ่งแต่จะยกโทษอยู่เป็นนิจ
อาสวะของเขาย่อมเจริญ เขาย่อมไกลจากนิพพาน.
ภังคะ ท่านเรียกว่า อาสวักขยะ ในบาลีนี้ว่า อาสวาน ขโย วโย
เภโท อนิจฺจตา อนฺตรธาน อาสวะทั้งหลายสิ้นไป เสื่อมไป แตกไป
ไม่เที่ยง สูญหาย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 474
แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอานิพพาน แม้อรหัตตมรรคก็ใช้ได้เหมือน
กัน.
บทว่า จิตฺต อภินีหรติ ความว่า ทำวิปัสสนาจิตให้น้อมไป
ให้โน้มไป ให้เงื้อมไปสู่อาสวักขยญาณนั้น.
ในคำว่า โส อิท ทุกฺข เป็นต้น ความว่า รู้ชัดซึ่งทุกขสัจแม้
ทั้งหมดวามความเป็นจริง โดยแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งกิจว่า ทุกข์มี
ประมาณเท่านี้ ยิ่งไปกว่านี้ไม่มี และรู้ชัดซึ่งตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
นั้นว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ และรู้ชัดซึ่งฐานะที่ทุกข์และทุกข์สมุทัยทั้ง ๒
นั้นถึงแล้วดับไป คือความไม่เป็นไป ความดับแห่งทุกข์และทุกขสมุทัย
เหล่านั้นว่า นี้ความดับแห่งทุกข์ และรู้ชัดซึ่งอริยมรรคอันยังทุกขนิโรธ
นั้นให้ถึงพร้อมตามความเป็นจริง โดยแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งกิจว่า
นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.
ครั้นทรงแสดงสัจจะโดยสรุปอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงย้ำอีก
บรรยายหนึ่งโดยเป็นกิเลส จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อิเน อาสวา ดังนี้.
บทว่า ตสฺส เอว ชานโต เอว ปสฺสโต ความว่า เมื่อภิกษุนั้น
รู้เห็นอยู่อย่างนี้ จึงตรัสมรรคถึงที่สุดพร้อมด้วยวิปัสสนา.
บทว่า กามาสวา แปลว่า จากอาสวะคือกาม.
ด้วยบทว่า วิมุจฺจติ นี้ ทรงแสดงมรรคขณะ.
ด้วยบทว่า วิมุตฺตสฺมึ นี้ ทรงแสดงผลขณะ.
ด้วยบทว่า วิมุตฺตมิติ าณ โหติ นี้ ทรงแสดงปัจจเวกขณญาณ.
ด้วยบทว่า ขีณา ชาติเป็นต้น ทรงแสดงภูมิของปัจจเวกขณญาณนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 475
ด้วยว่า พระขีณาสพเมื่อพิจารณาด้วยญาณนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว เป็นต้น.
ถามว่า ก็ชาติไหนของภิกษุนั้นสิ้นแล้ว และภิกษุนั้นจะรู้ชัดข้อนั้น
ได้อย่างไร.
แก้ว่า ชาติที่เป็นอดีตของภิกษุนั้นยังไม่สิ้นก่อน เพราะสิ้นไปแล้ว
ในกาลก่อนเทียว. ชาติที่เป็นอนาคตก็ยังไม่สิ้น เพราะไม่มีความพยายาม
ในอนาคต. ชาติที่เป็นปัจจุบันยังไม่สิ้น เพราะขันธบัญจกของภิกษุนั้น
ยังมีอยู่. แต่ชาติใดพึงเกิดขึ้นเพราะมรรคยังมิได้อบรม ต่างโดยประเภท
คือขันธบัญจก ๑ และ ๔ และ ๕ ในเอกโวการภพจตุโวการภพและปัญจ-
โวการภพ ชาตินั้นชื่อว่าสิ้นแล้ว เพราะถึงความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น
ธรรมดา เพราะมรรคอบรมแล้ว. ภิกษุนั้นพิจารณากิเลสที่ตนละได้ด้วย
มรรคภาวนา เมื่อรู้ว่า กรรมแม้ยังมีอยู่ ก็ไม่ทำปฏิสนธิต่อไป เพราะ
ไม่มีกิเลส ดังนี้ ชื่อว่าย่อมรู้ชัดซึ่งชาตินั้น.
บทว่า วุสิต แปลว่า อยู่แล้ว อยู่จบแล้ว.
บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่มรรคพรหมจรรย์.
พระเสขะ ๗ จำพวก รวนทั้งกัลยาณปุถุชนทั้งหลาย ชื่อว่ากำลังอยู่
พรหมจรรย์. พระขีณาสพชื่อว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว. เพราะฉะนั้น
พระขีณาสพนั้นเมื่อพิจารณาถึงการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของตน ย่อม
รู้ชัดว่า พรหมจรรย์เราอยู่จบแล้ว.
บทว่า กต กรณีย ความว่า กิจ ๑๖ อย่าง คือ ปริญญากิจ
ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ และภาวนากิจ ด้วยมรรค ๔ ในสัจจะ สำเร็จ
แล้ว อธิบายว่า กิเลสอันมรรคนั้น ๆ พึงละ เธอละได้แล้ว เหตุแห่งทุกข์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 476
เธอตัดขาดแล้ว.
จริงอยู่ กัลยาณปุถุชนเป็นต้น ยังกระทำกิจนั้น พระขีณาสพ
กระทำกรณียกิจเสร็จแล้ว เพราะฉะนั้น พระขีณาสพนั้นเมื่อพิจารณา
กรณียกิจที่ตนทำแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า กิจที่ควรทำเราทำเสร็จแล้ว
บทว่า นาปร อิตฺถตฺตาย ความว่า ย่อมรู้ชัดว่า กิจคือมรรคภาวนา
เพื่อความเป็นอย่างนี้ คือเพื่อความเป็นกิจ ๑๖ อย่าง หรือเพื่อความสิ้นไป
แห่งกิเลสอย่างนี้อีก ในบัดนี้ไม่มีแก่เรา.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิตฺถตฺตาย ความว่า ย่อมรู้ชัดว่า ขันธสันดาน
อื่นจากความเป็นอย่างนี้คือ จากขันธสันดานที่กำลังเป็นไปในบัดนี้ นี้คือ
มีประการอย่างนี้ ไม่มีแก่เรา ก็เบญจขันธ์เหล่านี้เรากำหนดรู้แล้ว ตั้งอยู่
เหมือนต้นไม้ขาดราก เบญจขันธ์เหล่านั้นจักดับเหมือนไฟไม่มีเธอ และ
จักถึงความไม่มีบัญญัติเพราะจริมกจิตดับ.
บทว่า ปพฺพตสงฺเขเป แปลว่า บนยอดภูเขา.
บทว่า อนาวิโล แปลว่า ไม่มีเปือกตม.
หอยโข่งและหอยกาบทั้งหลาย ชื่อว่า สิปปิสัมพุกะ ก้อนกรวด
และกระเบื้องถ้วยทั้งหลาย ชื่อว่า สักขรกถละ.
ชื่อว่า มัจฉคุมพะ ด้วยอรรถว่า ฝูงคือกลุ่มปลาทั้งหลาย.
ในคำว่า ติฏฺนฺตปิ จรนฺตปิ นี้ ความว่า ก้อนกรวดและกระเบื้อง
ถ้วยอยู่เฉย ๆ ฝ่ายฝูงปลานอกนี้ว่ายอยู่ก็มี หยุดอยู่ก็มี. เหมือนอย่างว่า
ในโคทั้งหลายที่ยื่นอยู่ก็มี จ่อมอยู่ก็มี มีอยู่รวม ๆ กัน โคเหล่านี้เที่ยวไป
ฉะนั้น แม้โคนอกนี้ เขาก็เรียกว่า เที่ยวไป เพราะกำหนดเอาโคที่กำลัง
เที่ยว ฉันใด แม้หอยและฝูงปลาทั้ง ๒ นอกนี้ ก็เรียกว่า หยดอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 477
เพราะกำหนดเอาก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยที่อยู่เฉย ๆ แม้ก้อนกรวดและ
กระเบื้องถ้วย ก็เรียกว่า เที่ยวไป เพราะกำหนดเอาหอยและฝูงปลาทั้ง ๒
นอกนี้ที่ว่ายอยู่ ฉันนั้น.
ในอาสวักขยญาณนั้นมีอุปมาว่า เวลาที่สัจจะ ๔ ปรากฏชัดแก่ภิกษุ
ผู้นั่งน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยะ พึงเห็นเหมือนเวลาที่หอยโข่งและหอยกาบ
เป็นต้นปรากฏแก่คนตาดียื่นดูอยู่ริมฝั่งฉะนั้น
ด้วยคำอธิบายเพียงเท่านี้ เป็นอันแสดงไขญาณ ๑๐ คือ วิปัสสนา-
ญาณ มโนมยญาณ อิทธิวิธญาณ ทิพโสตญาณ เจโตปริยญาณ บุพเพ-
นิวาสญาณ ญาณคู่คืออนาคตังสญาณและยถากัมมุปคญาณ ซึ่งสำเร็จโดย
เป็นทิพยจักษุ ทิพยจักษุญาณ อาสวักขยญาณ. พึงทราบการจำแนก
อารมณ์ของญาณ ๑๐ เหล่านั้น ดังต่อไปนี้
โนญาณ ๑๐ เหล่านั้น วิปัสสนาญาณมีอารมณ์ ๗ อย่าง คือ
ปริตตารมณ์ มหัคคตารมณ์ อดีตารมณ์ อนาคตารมณ์ ปัจจุบันนารมณ์
อัชฌัตตารมณ์ พหิทธารมณ์.
มโนมยญาณทำเพียงรูปายตนะที่นิรมิตแล้วเท่านั้นให้เป็นอารมณ์
ฉะนั้น จึงเป็นปริตตารมณ์ ปัจจุบันนารมณ์ และพหิทธารมณ์.
อาสวักขยญาณ เป็นอัปปมาณารมณ์ พหิทธารมณ์ และอวัตตัพ-
พารมณ์.
ประเภทของอารมณ์ที่เหลือ กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
บทว่า อุตฺตริตร วา ปณีตตร วา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคือพระอรหัตว่า ชื่อว่าสามัญญผลที่ประเสริฐ
กว่านี้ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 478
พระราชาทรงถวายสาธุการทุก ๆ ตอน ทรงสดับเบื้องต้นท่ามกลาง
และที่สุดแห่งพระพุทธพจน์โดยเคารพ มีพระดำริว่า ก็เราถามปัญหา
เหล่านี้กะสมณพราหมณ์เป็นอันมากนานหนอ ไม่ได้สาระอะไร ๆ เลย
เหมือนตำแกลบ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีคุณสมบัติน่าอัศจรรย์ ทรงวิสัชนา
ปัญหาเหล่านี้ แก่เราทำความสว่างไสว เหมือนทรงส่องแสงประทีปพันดวง
เราถูกลวงมิให้รู้คุณานุภาพของพระทศพลมาตั้งนาน ดังนี้ มีพระสรีระ
อันปีติ ๕ อย่างซึ่งเกิดขึ้นด้วยการระลึกถึงพระพุทธคุณสัมผัสแล้ว เมื่อ
จะทรงเผยความเลื่อมใสของพระองค์ จึงทรงประกาศพระองค์เป็นอุบาสก.
เพื่อจะแสดงความข้อนั้น ท่านจึงเริ่มต้นว่า เอว วุตฺเต ราชา ดังนี้ .
บรรดาบทเหล่านั้น อภิกฺกนฺต ศัพท์ ในคำว่า อภิกฺกนฺต ภนฺเต นี้
ปรากฏในอรรถว่า สิ้นไป ดี งาม และน่ายินดียิ่ง.
ก็ อภิกฺกนฺต ศัพท์นี้ ปรากฏในอรรถว่า สิ้นไป ดังในบาลีมีอาทิว่า
อภิกฺกนฺตา ภนฺเต รตฺติ นิกฺขนฺโต ปโม ยาโม จิร นิสินฺโน ภิกฺขุสงฺโฆ
ราตรีสิ้นไปแล้ว พระเจ้าข้า ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นาน
แล้ว ดังนี้.
ในความดี ดังในบาลีมีอาทิว่า อย อิเมส จตุนฺน ปุคฺคลาน
อภิกฺกนฺตตโร จ ปณีตตโร จ ผู้นี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคล ๔ เหล่า
ดังนี้.
ในความงาม ดังในคาถามีอาทิว่า
โก เม วนฺทติ ปาทานิ อิทฺธิยา ยสสา ชล
อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน สพฺพา โอภาสย ทิสา
ใครรุ่งเรื่องด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ มีวรรณะงามนัก ยังทิศ
ทั้งปวงให้สว่างไสว ไหว้เท้าของเรา ดังนี้ .
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 479
ในความว่าน่ายินดียิ่ง ดังในบาลีมีอาทิว่า น่ายินดีนัก ท่าน
พระโคดมผู้เจริญ ดังนี้.
แม้ในที่นี้ ก็ปรากฏในอรรถว่า น่ายินดียิ่งนั่นแหละ และเพราะ
ปรากฏว่าในอรรถว่า น่ายินดียิ่ง ฉะนั้น พึงทราบว่า เท่ากับรับสั่งว่า
ดีแล้ว ดีแล้ว พระเจ้าข้า ดังนี้.
ก็เนื้อความว่า อภิกฺกนฺต ภนฺเต อภิกฺกนฺต ภนฺเต นี้ บัณฑิตพึง
ทราบว่า พระเจ้าอชาตศัตรูตรัส ๒ ครั้งโดยความเลื่อมใสในพระพุทธพจน์
นี้ โดยลักษณะนี้ว่า ผู้รู้พึงกล่าวซ้ำในขณะกลัว ขณะโกรธ ขณะสรรเสริญ
ขณะรีบด่วน ขณะตื่นเต้น ขณะร่าเริง ขณะโศกเศร้า และขณะเลื่อมใส
ดังนี้ และโดยความสรรเสริญ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อภิกฺกนฺต มีอธิบายว่า น่าใคร่นัก น่า
ปรารถนายิ่ง น่าพอใจยิ่ง ดียิ่ง.
ในพระบาลีนี้ พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงชื่นชมพระเทศนาด้วย
อภิกฺนนฺต ศัพท์ ศัพท์หนึ่ง ทรงชื่นชมความเลื่อมใสของพระองค์ด้วย
อภิกฺกนฺต ศัพท์ อีกศัพท์หนึ่ง.
ก็ในพระบาลีนี้มีอธิบายดังนี้ว่า จับใจจริง พระเจ้าข้า เพราะพระ
ธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าน่ายินดียิ่งนัก พระเจ้าข้า เพราะ
ข้าพระองค์อาศัยพระธรรมเทศนา จึงเลื่อมใส.
อีกอย่างหนึ่ง พระเจ้าอชาตศัตรูทรงชื่นชมพระดำรัสของพระผู้
มีพระภาคเจ้านั่นแล หมายถึงประโยชน์ ๒ อย่าง คือพระดำรัสของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าดีนักเพราะทำโทษให้พินาศ ดีนักเพราะให้บรรลุคุณ.
อนึ่ง พึงประกอบความด้วยเหตุอย่างนี้เป็นต้น ว่า พระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าดีนัก เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 480
๑. ให้เกิดศรัทธา
๒. ให้เกิดปัญญา
๓. พร้อมด้วยอรรถ
๔. พร้อมด้วยพยัญชนะ
๕. มีบทง่าย
๖. มีอรรถลึกซึ้ง
๗. สบายหู
๘. จับใจ
๙. ไม่ยกตน
๑๐. ไม่ข่มท่าน
๑๑. เยือกเย็นด้วยกรุณา
๑๒. ผ่องแผ้วด้วยปัญญา
๑๓. เป็นคลองธรรมน่ารื่นรมย์
๑๔. น่าขบคิด
๑๕. ฟังได้ง่าย
๑๖. ทดลองทำตามได้ประโยชน์
แม้ยิ่งไปกว่านั้น ยังทรงชื่นชมพระเทศนานั่นแหละ ด้วยอุปมา ๔
อย่าง. ในอุปมา ๘ อย่างนั้น บทว่า นิกฺกุชฺชิต. ความว่า ตั้งเอาปากลง
หรือทั้งปากไว้ข้างล่าง.
บทว่า อุกฺกุชฺเชยฺย ความว่า ทำให้มีปากขึ้นข้างบน.
บทว่า ปฏิจฺฉนฺน ความว่า ปิดด้วยหญ้าและใบไม้เป็นต้น.
บทว่า วิวเรยฺย แปลว่า เพิกขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 481
บทว่า มูฬฺหสฺส วา แปลว่า แก่คนหลงทิศ
บทว่า มคฺค อาจิกฺเขยฺย ความว่า จูงมือไปบอกว่า นี่ทาง.
บทว่า อนฺธกาเร ความว่า ในความมือมีองค์ ๔ คือ วันแรม ๑๔
ค่ำ ๑ เที่ยงคืน ๑ ไพรสณฑ์ทึบ ๑ ก้อนเมฆบัง ๑.
เนื้อความของบทที่ยากมีเพียงเท่านี้.
ส่วนอธิบายประกอบมีดังนี้ ใคร ๆ หงายภาชนะที่คว่ำไว้ ฉันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้ายังเราผู้หันหลังให้พระสัทธรรม ตกลงไปในอสัทธรรม
ให้หลุดพ้นจากอสัทธรรมได้ ฉันนั้น ใคร ๆ เปิดของที่ปิด ฉันใด พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดพระศาสนา ซึ่งถูกรกชัฏ คือมิจฉาทิฏฐิปิดไว้ตั้ง
แต่ครั้งศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปอันตรธานไป ฉันนั้น ใคร ๆ
บอกทางแก่คนหลง ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำทางสวรรค์ทาง
นิพพานให้แจ้งแก่เราผู้เดินทางผิด ฉันนั้น ใคร ๆ ส่องประทีปน้ำมันใน
ที่มือ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราผู้ทรงไว้ซึ่งประทีปคือเทศนาอัน
ขจัดเสียซึ่งความมืดคือโมหะที่ปิดบังพระรัตนตรัยนั้น ทรงประกาศพระ
ธรรมโดยอเนกปริยาย เพราะทรงประกาศโดยปริยายเหล่านี้ แก่เราผู้จม
อยู่ในความมืดคือโมหะ ไม่เห็นรูปรัตนะมีพระพุทธรัตนะเป็นต้น ฉันนั้น.
พระเจ้าอชาตศัตรูทรงชื่นชมพระเทศนาอย่างนี้แล้ว มีพระทัย
เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ด้วยพระเทศนานี้ เมื่อจะทรงทำอาการที่เลื่อมใส
จึงมีพระดำรัสว่า เอสาห เป็นต้น
ในพระบาลีนั้น บทว่า เอสาห ตัดบทเป็น เอโส อห.
บทว่า ภควนฺต คจฺฉามิ ความว่า ข้าพระองค์ขอถึง คือ
คบ ส้องเสพ เข้าไปนั่งใกล้ เข้าใจด้วยความประสงค์นี้ว่า พระผู้มีพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 482
ภาคเจ้าเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดหน่วง เป็นผู้ขจัดไข้ใจ เป็นผู้จัดแจงประโยชน์
ของเรา.
ก็ธาตุเหล่าใดมีเนื้อความว่าไป แม้ความรู้ก็เป็นเนื้อความของธาตุ
เหล่านั้น เพราะฉะนั้น เนื้อความของบทว่า คจฺฉามิ ข้าพระองค์
ขอถึง นี้ ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ทีเดียวว่า ชานามิ พุชฺฌามิ ข้าพระองค์รู้
เข้าใจ ดังนี้.
ก็ในคำว่า ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ชื่อว่า พระธรรม ด้วยอรรถว่าทรงไว้ซึ่งผู้บรรลุมรรคแล้ว ทำ
นิโรธให้เป็นแจ้งแล้ว และปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพร่ำสอน
มิให้ตกไปในอบายทั้งหลาย. พระธรรมนั้น โดยอรรถก็คืออริยมรรคและ
นิพพาน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมเหล่าใดที่เป็นสังขตะ อริยมรรคมีองค์ ๘ ตถาคตกล่าวว่าเป็นยอด
ของธรรมเหล่านั้น ดังนี้. พึงทราบความพิสดาร.
และมิใช่แต่อริยมรรคและนิพพานอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นพระธรรม
แม้ปริยัตติธรรมกับอริยผลทั้งหลาย ก็เป็นพระธรรมโดยแท้แล. สมจริง
ดังที่กล่าวไว้ในฉัตตมาณวกวิมาน ว่า
เธอจงเข้าถึงพระธรรมนี้ ซึ่งเป็นเครื่องสำรอกราคะ
ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก เป็นอสังขตพรรม ไม่ปฏิกูล
มีรสเอมโอช ซื่อตรง บัณฑิตจำแนกไว้ดีแล้ว ว่าเป็น
สรณะที่มีประโยชน์.
ก็ในคาถานี้ ที่ว่าเป็นเครื่องสำรอกราคะ ท่านกล่าวหมายเอามรรค.
ที่ว่าไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก หมายเอาผล. ที่ว่าเป็นอสังขตธรรม หมาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 483
เอานิพพาน. ที่ว่าไม่ปฏิกูล มีรสเอนโอช ซึ่งตรง บัณฑิตจำแนกไว้ดีแล้ว
หมายเอาธรรมขันธ์ทั้งหมดที่จำแนกไว้โดยปิฎก ๓.
ชื่อว่า พระสงฆ์ คือผู้ที่เข้ากันได้โดยการรวมกันด้วยทิฏฐิและศีล
พระสงฆ์นั้น โดยอรรถก็คือหมู่แห่งพระอริยบุคคล ๘. สมจริงดังที่กล่าว
ไว้ในวิมานวัตถุนั้นแหละว่า
ก็ทานที่บุคคลถวายแล้วในบุญเขตใด ท่านกล่าวว่ามี
ผลมาก บุญเขตนั้น คือคู่แห่งบุรุษ ๔ ผู้สะอาด และ
จำแนกรายบุคคลเป็น ๘ ซึ่งเป็นผู้เห็นธรรม เธอจง
เข้าถึงพระสงฆ์นี้ว่าเป็นสรณะที่มีประโยชน์.
หมู่แห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าภิกษุสงฆ์. พระราชาทรงประกาศการ
ถึงสรณะ ๓ ด้วยคำเพียงเท่านี้.
เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสรณคมน์เหล่านั้น บัดนี้พึงทราบวิธีนี้ว่า
สรณะ สรณคมน์ ผู้ที่เข้าถึงสรณะ ประเภทแห่งสรณคมน์ ผลแห่งสรณ-
คมน์ ความเศร้าหมอง และการแตกทำลาย.
ข้อนี้เป็นอย่างไร ?
จะขยายความโดยอรรถแห่งบทก่อน.
ชื่อว่า สรณะ ด้วยอรรถว่า เบียดเบียน อธิบายว่า ฆ่า เบียดเบียน
ทำให้พินาศ ซึ่งความกลัว ความสะดุ้ง ความทุกข์ ทุคติ ความเศร้าหมอง
ทุกด้าน ด้วยการเข้าถึงสรณะนั้นแหละ. คำว่าสรณะนี้เป็นชื่อของพระ
รัตนตรัยนั่นเอง.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า พุทธะ ด้วยอรรถว่า กำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย
เหตุให้ดำเนินไปในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และให้หันกลับจากสิ่งที่ไม่เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 484
ประโยชน์.
ชื่อว่า ธรรม ด้วยอรรถว่า กำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย เหตุให้
ข้ามกันดารคือภพได้ และให้ความแช่มชื่น.
ชื่อว่า สงฆ์ ด้วยอรรถว่า กำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย เหตุทำสิ่งที่
ทำแม้น้อยให้ได้ผลไพบูล.
เพราะฉะนั้น พระรัตนตรัยจึงชื่อว่าเป็นสรณะโดยปริยายนี้.
จิตตุปบาทที่ดำเนินไปโดยอาการมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า
มีกิเลสอันความเลื่อมใสและความเคารพในพระรัตนตรัยนั้นกำจัดแล้ว
ชื่อว่าสรณคมน์.
สัตว์ผู้มีพระรัตนตรัยนั้นพร้อมแล้ว ย่อมถึงสรณะ อธิบายว่า ย่อม
เข้าถึงอย่างนี้ว่า รัตนะ ๓ เหล่านั้นเป็นที่พึ่งของเรา เหล่านี้เป็นที่นับถือ
ของเรา ดังนี้ ด้วยจิตตุปบาทมีประการดังกล่าวแล้ว. พึงทราบ ๓ อย่างนี้
คือ สรณะ ๑ สรณคมน์ ๑ และผู้เข้าถึงสรณะ ๑ เท่านี้ก่อน.
ก็ในประเภทแห่งสรณคมน์ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
สรณคมน์มี ๒ อย่าง คือ โลกุตตรสรณคมน์และโลกิยสรณคมน์.
ใน ๒ อย่างนั้น โลกุตตรสรณคมน์ ว่าโดยอารมณ์มีนิพพานเป็นอารมณ์
ย่อมสำเร็จด้วยตัดขาดอุปกิเลสของสรณคมน์ ในมัคคขณะแห่งพระอริย-
บุคคลผู้เห็นสัจจะแล้ว ว่าโดยกิจย่อมสำเร็จในพระรัตนตรัยแม้ทั้งสิ้น.
โลกิยสรณคมน์ ว่าโดยอารมณ์มีพระพุทธคุณเป็นต้นเป็นอารมณ์ ย่อมสำเร็จ
ด้วยการข่มอุปกิเลสของสรณคมน์ของปุถุชนทั้งหลาย. โลกิยสรณคมน์นั้น
ว่าโดยอรรถได้แก่การได้เฉพาะซึ่งศรัทธาในวัตถุทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 485
เป็นต้น และสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมีศรัทธาเป็นมูล ที่ท่านเรียกว่า ทิฏฐุชุกรรม
ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ.
โลกิยสรณคมน์นี้นั้น จำแนกเป็น ๘ อย่าง คือ โดยมอบกายถวาย
ชีวิต ๑ โดยมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า ๑ โดยมอบตัวเป็นศิษย์ ๑
โดยความนอบน้อม ๑.
ใน ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อว่ามอบกายถวายชีวิต ได้แก่การสละตนแก่
พระพุทธเจ้าเป็นต้นอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอมอบตน
แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์.
ที่ชื่อว่ามีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า ได้แก่ความเป็นผู้มีพระ
รัตนตรัยเป็นเบื้องหน้าอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลาย
โปรดทรงจำข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีพระพุทธเจ้า มีพระธรรม และ
มีพระสงฆ์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
ที่ชื่อว่ามอบตัวเป็นศิษย์ ได้แก่เข้าถึงความเป็นศิษย์อย่างนี้ว่า ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายโปรดทรงจำข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าเป็น
อันเตวาสิกของพระพุทธเจ้า ของพระธรรม ของพระสงฆ์.
ที่ชื่อว่าความนอบน้อม ได้แก่การเคารพอย่างยิ่งในพระพุทธเจ้า
เป็นต้นอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไป ขอท่านทั้งหลายโปรดทรงจำ
ข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าจะกระทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม
สามีจิกรรม แด่วัตถุทั้ง ๓ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเท่านั้น.
ก็เมื่อกระทำอาการ ๔ อย่างนี้แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นอัน
ถือเอาสรณะแล้วโดยแท้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบการมอบกายถวายชีวิตแม้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 486
สละตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า สละตนแด่พระธรรม แด่พระสงฆ์
ข้าพเจ้าสละชีวิต ข้าพเจ้าสละตนแน่นอน สละชีวิตแน่นอน ข้าพเจ้าถึง
พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง เป็นที่เร้นภัย
เป็นที่ป้องกันภัยของข้าพเจ้า.
การมอบตนเป็นศิษย์ พึงทราบเหมือนการถึงสรณะของพระมหา-
กัสสปะแม้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าพึงเห็นพระศาสดาหนอ พึงเห็นพระผู้มีพระ
ภาคเจ้านั่นเทียว ข้าพเจ้าพึงเห็นพระสุคตหนอ พึงเห็นพระผู้มีพระภาค
เจ้านั่นเทียว ข้าพเจ้าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนอ พึงเห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้านั่นเที่ยว.
ความมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า พึงทราบเหมือนการถึง
สรณะของอาฬวกยักษ์เป็นต้นอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้านั้นจักเที่ยวไปจากบ้าน นั้นสู่บ้านนี้ จากเมือง
นั้นสู่เมืองนี้ นมัสการพระสัมพุทธเจ้า และความ
เป็นธรรมที่ดีของพระธรรม.
ความนอบน้อม พึงทราบแม้อย่างนี้ว่า ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อ
พรหมายุ ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลงที่พระยุคล
บาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศีรษะ ใช้ปากจุมพิตพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า และใช้มือทั้ง ๒ นวดฟั้น พร้อมกับประกาศชื่อว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ข้าแต่พระ
โคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ดังนี้.
ก็การนอบน้อมนี้นั้น มี ๔ อย่าง คือ เพราะเป็นญาติ ๑ เพราะ
กลัว ๑ เพราะเป็นอาจารย์ ๑ และเพราะถือว่าเป็นทักขิไณยบุคคล ๑
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 487
ใน ๔ อย่างนั้น เพราะนอบน้อมว่าเป็นทักขิไณยบุคคล จัดเป็น
สรณคมน์ นอกนี้ไม่ใช่.
จริงอยู่ เพราะการนับถือพระรัตนตรัยอย่างประเสริฐนั่นแหละ
บุคคลย่อมถือสรณะได้ และขาดได้ เพราะฉะนั้น ผู้ใดที่เป็นศากยะก็ตาม
โกลิยะก็ตาม ไหว้ด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าเป็นญาติของเรา ดังนี้ ย่อมไม่
เป็นการถือสรณะเลย หรือผู้ใดไหว้ด้วยความกลัวว่า พระสมณโคดมเป็น
ผู้ที่พระราชาทรงบูชา มีอานุภาพมาก เมื่อเราไม่ไหว้ จะพึงทำแม้ความ
พินาศให้ ดังนี้ ย่อมไม่เป็นการถือสรณะเลย หรือผู้ใดระลึกถึงมนต์อะไร ๆ
ที่คนเรียนในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าในกาลเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ
ในกาลเป็นพระพุทธเจ้า เรียนอนุศาสนีเห็นปานนี้ว่า
บัณฑิตอยู่ครองเรือน พึงแบ่งทรัพย์เป็น ๔ ส่วน พึง
ใช้สอยส่วน ๑ พึงประกอบการงาน ๒ ส่วน พึงเก็บ
ส่วนที่ ๔ ไว้ เผื่อจักมีอันตราย ดังนี้แล้ว
ไหว้ด้วยคิดว่า อาจารย์ของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เป็นการถือสรณะเลย. แต่ผู้
ใดไหว้ด้วยคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นทักขิไณยบุคคลเลิศในโลก ดังนี้ ผู้นั้นแหละ
ได้ถือสรณะแล้ว.
ก็เมื่ออุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ถือสรณะอย่างนี้แล้ว ถึงไหว้ญาติแม้
บวชในอัญญเดียรถีย์ ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นญาติของเรา ดังนี้ ย่อมไม่ขาด
สรณคมน์ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงผู้ที่ไม่ได้บวช. ผู้ไหว้พระราชาโดยความ
กลัวก็เหมือนกัน เพราะพระราชานั้น เมื่อใครไม่ไหว้ จะพึงทำแม้ความ
พินาศให้ก็ได้ เพราะเป็นผู้ที่รัฐบูชาแล้ว ดังนี้. ถึงไหว้แม้เดียรถีย์ผู้สอน
ศิลปะคนใดคนหนึ่ง ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา ดังนี้ ก็ไม่ขาด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 488
สรณคมน์. พึงทราบประเภทแห่งสรณคมน์ ด้วยประการฉะนี้.
ก็ในที่นี้ สรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระ มีสามัญญผล ๔ เป็นวิบากผล
มีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวงเป็นอานิสังสผล. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า
ส่วนผู้ใดยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระ
สงฆ์เป็นสรณะ ผู้นั้นเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอัน
ชอบ คือเห็นทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความล่วงพ้น
ทุกข์ และมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ
อันเป็นทางถึงความดับทุกข์ สรณะนั้นของผู้นั้นเป็น
สรณะอันเกษม เป็นสรณะสูงสุด บุคคลอาศัยสรณะ
นี้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอานิสังสผลแห่งสรณคมน์นี้ แม้โดยการที่
เขาไม่เข้าถึงภาวะมีนิจจสัญญาเป็นต้น. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ไม่เป็น
ฐานะ ไม่เป็นโอกาสที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ
โดยเป็นของเที่ยง ยึดถือสังขารอะไร ๆ ว่าเป็นสุข ยึดถือธรรมอะไร ๆ
ว่าเป็นตัวคน ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายพระ
ตถาคตทำให้ห้อพระโลหิต ทำลายสงฆ์ อุทิศศาสดาอื่น นั่นไม่ใช่ฐานะที่
จะมีได้.
ก็สรณคมน์ที่เป็นโลกิยะ มีภวสมบัติบ้าง โภคสมบัติบ้าง เป็นผล
แน่นอน. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ชน
เหล่านั้นจักไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์แล้ว จักยัง
เทวกายให้บริบูรณ์ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 489
แม้ผลอย่างอื่นของสรณคมน์ที่เป็นโลกิยะ ท่านก็กล่าวไว้ว่า ครั้ง
นั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดาพร้อมด้วยเทวดา ๘ หมื่น เข้าไปหาท่าน
พระมหาโมคคัลลานะ ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้กะท้าว
สักกะจอมเทวดาผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรแห่งหนึ่งว่า แน่ะจอมเทวดา การถึง
พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งดีแล แน่ะจอมเทวดา สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุที่
ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอย่างนี้ สัตว์เหล่านั้น ย่อมเทียบเท่าเทวดาเหล่า
อื่น โดยฐานะ ๑๐ อย่าง คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์
อธิปไตยทิพย์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทิพย์ ดังนี้. ในพระธรรม
และพระสงฆ์ก็นัยนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผลวิเศษแห่งสรณคมน์ แม้ด้วยอำนาจเวลาม-
สูตรเป็นต้น. พึงทราบผลแห่งสรณคมน์อย่างนี้.
ในสรณคมน์ทั้งโลกิยะและโลกุตตระเหล่านั้น สรณคมน์ที่เป็น
โลกิยะย่อมเศร้าหมองด้วยความไม่รู้ ความสงสัยและความเข้าใจผิดในพระ
รัตนตรัยเป็นต้น ไม่รุ่งเรื่องมากมายไปได้ ไม่แพร่หลายใหญ่โตไปได้.
สรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีความเศร้าหมอง.
อนึ่ง สรณคมน์ที่เป็นโลกิยะมี ๒ ประเภท คือ ที่มีโทษ ๑ ที่ไม่มี
โทษ ๑.
ใน ๒ อย่างนั้น ที่มีโทษ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเป็นต้นว่า มอบตนใน
ศาสดาอื่นเป็นต้น. สรณคมน์ที่มีโทษนั้นมีผลไม่น่าปรารถนา. สรณคมน์
ที่ไม่มีโทษ ย่อมมีด้วยกาลกิริยา. สรณคมน์ที่ไม่มีโทษนั้น ไม่มีผล เพราะ
ไม่เป็นวิบาก. ส่วนสรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีการแตกเลย. เพราะพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 490
อริยสาวกไม่อุทิศศาสดาอื่นแม้ในระหว่างภพ. พึงทราบความเศร้าหมอง
และการแตกแห่งสรณคมน์ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อุปาสก ม ภนฺเต ภควา ธาเรตุ ความว่า ขอพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าโปรดทรงจำ คือทรงทราบข้าพระองค์ไว้อย่างนี้ว่า ข้าพระองค์
อชาตศัตรูนี้เป็นอุบาสก.
ก็เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในวิธีของอุบาสก ควรทราบข้อปกิณณกะ
ในที่นี้ดังนี้ว่า ใครเป็นอุบาสก เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า อุบาสก อะไร
คือศีลของอุบาสก อาชีพอย่างไร วิบัติอย่างไร สมบัติอย่างไร.
ในปกิณณกะนั้น ใครคืออุบาสก คือคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งที่ถึง
พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ดูก่อนมหานาม เพราะ
เหตุที่อุบาสกเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมพระสงฆ์เป็นที่
พึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ชื่อว่าอุบาสก .
เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า อุบาสก ?
เพราะนั่งใกล้พระรัตนตรัย.
จริงอยู่ อุบาสกนั้น ชื่อว่าอุบาสก ด้วยอรรถว่า นั่งใกล้พระพุทธเจ้า
นั่งใกล้พระธรรมพระสงฆ์ก็เป็นอุบาสกเหมือนกัน.
อะไรคือศีลของอุบาสกนั้น ?
เวรมณี ๕ ข้อ เป็นศีลของอุบาสก. เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า
ดูก่อนมหานาม เพราะเหตุที่อุบาสกเป็นผู้งดเว้น จากปาณาติบาต จาก
อทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากน้ำเมาคือสุราและ
เมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนมหานาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 491
อาชีพอย่างไร ?
คือ ละการค้าขายผิดศีลธรรม ๕ อย่าง เลี้ยงชีพโดยธรรมสม่ำเสมอ.
สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้
อุบาสกไม่ควรทำ ๕ อย่างอะไรบ้าง ? การค้าขายศัสตรา การค้าขายสัตว์
การค้าขายเนื้อสัตว์ การค้าขายน้ำเมา การค้าขายยาพิษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่ควรทำ ดังนี้.
วิบัติอย่างไร ?
คือ ศีลวิบัติและอาชีววิบัติของอุบาสกนั้นแหละ เป็นวิบัติของ
อุบาสก.
อีกอย่างหนึ่ง อุบาสกนี้เป็นจัณฑาล เป็นมลทิน และเป็นผู้ที่น่า
รังเกียจด้วยกิริยาใด กิริยาแม้นั้น พึงทราบว่าเป็นวิบัติของอุบาสก. ก็วิบัติ
เหล่านั้น โดยอรรถได้แก่ธรรม ๕ อย่างมีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น.
เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม
๕ อย่าง ย่อมเป็นอุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกมลทิน และเป็นอุบาสกที่
น่ารังเกียจ ๕ อย่างอะไรบ้าง ? คือเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนทุศีล เป็น
ผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคลไม่เชื่อกรรม และแสวงหาทักขิไณยบุคคลนอก
พระพุทธศาสนา ทำบุญในทักขิไณยบุคคลเหล่านั้น ดังนี้ .
สมบัติอย่างไร ?
ศีลสมบัติและอาชีวสมบัติของอุบาสกนั้นนั่นแหละ เป็นสมบัติของ
อุบาสก ได้แก่ธรรม ๕ ประการมีศรัทธาเป็นต้น ที่กระทำความเป็น
อุบาสกรัตนะเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสก
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกรัตนะ เป็นอุบาสกปทุม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 492
และเป็นอุบาสกบุณฑริก ๕ ประการอะไรบ้าง คือเป็นผู้มีศรัทธา เป็น
ผู้มีศีล ไม่เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ไม่แสวงหา
ทักขิไณยบุคคลนอกพระพุทธศาสนา และทำบุญในพระศาสนานี้ ดังนี้.
อคฺค ศัพท์ ในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ ปรากฏในอรรถว่า เป็น
เบื้องต้น เบื้องปลาย ส่วน และประเสริฐที่สุด.
ปรากฏในอรรถว่า เป็นเบื้องต้น ในประโยคมีอาทิว่า อชฺชตคฺเค
สมฺม โทวาริก อาวรามิ ทฺวาร นิคฺคณฺฐาน นิคฺคณฺีน แน่ะนาย
ประตูผู้สหาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะเปิดประตูต้อนรับนิครนถ์ชาย
หญิง.
ในอรรถว่า เบื้องปลาย ในประโยคมีอาทิว่า เตเนว องฺคุลคฺเคน
ต องฺคุลคฺค ปรามเสยฺย อุจฺฉคฺค เวฬคฺค พึงเอาปลายนิ้วจดปลายนิ้ว
เอาปลายอ้อยจดปลายอ้อย เอาปลายไม้ไผ่จดปลายไม้ไผ่.
ในอรรถว่า ส่วน ในประโยคมีอาทิว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว
อมฺพิลคฺค วา มธุรคฺค วา ติตฺตกคิค วา วิหารคฺเคน วา ปริเวณคฺเคน
วา ภาเชตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แบ่งส่วนรสเปรี้ยวก็ดี
ส่วนรสหวานก็ดี ส่วนรสขมก็ดี ตามส่วนวิหารหรือตามส่วนบริเวณ.
ในอรรถว่า ประเสริฐที่สุด ในประโยคมีอาทิว่า ยาวตา ภิกฺขเว
สตฺตา อปทา วา ฯ เปฯ ตถาคโต เตส อคฺคมกฺขายติ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สัตว์เหล่าใด ไม่มีเท้าก็ตาม ฯล ฯ ตถาคต เรากล่าวว่าประเสริฐ
ที่สุดของสัตว์เหล่านั้น.
แต่ในที่นี้ อคฺค ศัพท์นี้ พึงเห็นในอรรถว่า เป็นเบื้องต้น เพราะ
ฉะนั้น พึงทราบเนื้อควานในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ อย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 493
เป็นต้นไป.
บทว่า อชฺชต แปลว่า เป็นในวันนี้ ปาฐะว่า อชฺชทคฺเค ดังนี้
ก็มี ท อักษรทำบทสนธิเข้าไว้ ความว่า ทำวันนี้ให้เป็นต้น.
บทว่า ปาณุเปต ได้แก่เข้าถึงด้วยชีวิต.
พระเจ้าอชาตศัตรูถึงสรณะด้วยการมอบคนอย่างนี้ว่า ชีวิตของ
ข้าพระองค์ยังเป็นไปอยู่ตราบใด ขอพระองค์โปรดทรงจำ คือทรงทราบ
ข้าพระองค์ไว้ตราบนั้นเถิดว่า เข้าถึงแล้ว ไม่มีผู้อื่นเป็นศาสดา ถึงสรณะ
เป็นด้วยสรณคมน์ทั้ง ๓ เป็นอุบาสก เป็นกัปปิยการก (ศิษย์รับใช้) ด้วยว่า
แม้หากจะมีใครเอาดาบคมกริบตัดศีรษะของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็จะ
ไม่พึงกล่าวพระพุทธเจ้าว่าไม่ใช่พระพุทธเจ้า ไม่พึงกล่าวพระธรรมว่าไม่
ใช่พระธรรม ไม่พึงกล่าวพระสงฆ์ว่าไม่ใช่พระสงฆ์ ดังนี้ เมื่อประกาศ
ความผิดที่ตนทำ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อจฺจโย ม ภนฺเต.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อจฺจโย แปลว่า ความผิด.
บทว่า ม อจฺจคมา ความว่า ก้าวล่วง คือครอบงำข้าพระองค์
เป็นไป.
ในบทว่า ธมฺมิก ธมฺมราชาน นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ชื่อว่า ธมฺมิก ด้วยอรรถว่า ประพฤติธรรม.
ชื่อว่า ธรรมราชา ด้วยอรรถว่า เป็นพระราชาโดยธรรมทีเดียว
มิใช่โดยอธรรมมีปิตุฆาตเป็นต้น.
บทว่า ชีวิตา โวโรเปสึ ได้แก่ปลงชีวิต.
บทว่า ปฏิคฺคณฺหาตุ ได้แก่จงอดโทษ.
บทว่า อายตึ สวราย ความว่า เพื่อสังวรในอนาคต คือเพื่อไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 494
กระทำความผิดคือโทษ คือความพลังพลาดเห็นปานนี้อีก.
บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ส่วนเดียว.
บทว่า ยถาธมฺม ปฏิกโรสิ ความว่า จงกระทำอย่างที่ธรรมจะ
ดำรงอยู่ได้ อธิบายว่า จงให้อดโทษเสีย.
บทว่า ตนฺเต มย ปฏิคฺคณฺหาม ความว่า ความผิดของมหาบพิตร
นั้น เราอดโทษให้.
บทว่า วุฑฺฒิ เหสา มหาราช อริยสฺส วินเย ความว่า มหา-
บพิตร นี้ชื่อว่าเป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยะ คือในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
อย่างไร ?
คือการเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึง
ความสำรวมต่อไป. แต่เมื่อทรงทำเทศนาให้เป็นบุคคลาธิฏฐานตามสมควร
จึงตรัสว่า การที่บุคคลเห็นโทษ โดยเป็นโทษ แล้วสารภาพโทษ รับ
สังวรต่อไป นี้เป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยเจ้าแล.
บทว่า เอว วุตฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้
แล้ว.
ศัพท์ว่า หนฺท ในคำว่า หนฺท จ ทานิ มย ภนฺเต นี้ เป็นนิบาต
ในอรรถว่า คำละเอียดอ่อน. ด้วยว่า พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นทรงทำคำ
ละเอียดอ่อนในการเสด็จไป จึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า พหุกิจฺจา ได้แก่มีกิจมาก.
คำว่า พหุกรณียา เป็นไวพจน์ของคำว่า พหุกิจฺจา นั้นเอง.
บทว่า ยสฺสทานิ ตฺว ความว่า มหาบพิตร ขอพระองค์ทรงสำคัญ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 495
คือทราบเวลาที่เสด็จไปในบัดนี้เถิด อธิบายว่า พระองค์นั่นแหละจงทรง
ทราบเวลาที่เสด็จนั้น.
บทว่า ปทกฺขิณ กตฺวา ปกฺกามิ ความว่า พระเจ้าอชาตศัตรูทรง
ทำประทักษิณ ๓ ครั้ง ยออัญชลีที่รุ่งเรื่องด้วยทศนัขสโมธานไว้เหนือเศียร
ผินพระพักตร์ตรงพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จถอยหลังชั่วทัศนวิสัยแล้ว
ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ณ ภาคพื้นตรงที่พ้นทัศนวิสัย แล้ว
เสด็จหลีกไป.
บทว่า ขตาย ภิกฺขเว ราชา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระ
ราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว.
บทว่า อุปหตาย ความว่า พระราชาพระองค์นี้ถูกขจัด เสียแล้ว.
มีอธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว ถูก
ขจัดเสียแล้ว มีที่พึ่งถูกทำลายแล้ว คือตนเองถูกตนเองขุดเสียแล้วก็หมด
ที่พึ่ง.
บทว่า วิรช ได้แก่ปราศจากธุลีคือราคะเป็นต้น.
ชื่อว่า มีมลทินไปปราศแล้ว เพราะปราศจากมลทินคือราคะเป็นต้น
นั้นแล.
บทว่า ธมฺมจกฺขุ ได้แก่จักษุในธรรมทั้งหลาย หรือจักษุที่สำเร็จ
ด้วยธรรม.
คำว่า ธรรมจักษุ นี้ เป็นชื่อของมรรค ๓ ในฐานะอื่น ๆ แต่ในที่นี้
เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคเท่านั้น.
มีอธิบายว่า หากพระเจ้าอชาตศัตรูมิได้ปลงพระชนม์พระบิดา
พระองค์ประทับนั่งบนอาสนะนี้แหละ จักได้ทรงบรรลุโสดาปัตติมรรคใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 496
บัดนี้ แต่เพราะทรงคบมิตรชั่ว จึงเกิดอันตรายแก่พระองค์ แม้เมื่อเป็น
เช่นนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูนี้เข้าเฝ้าพระตถาคต ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
เพราะฉะนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจะบังเกิดในโลหกุมภี ตกอยู่ในเบื้องต่ำ
๓ หมื่นปี ถึงพื้นเบื้องล่างแล้วผุดขึ้นเบื้องบน ๓ หมื่นปี ถึงพื้นเบื้องบน
อีกจึงจักพ้นได้ เหมือนใคร ๆ ฆ่าคนแล้ว พึงพ้นโทษได้ด้วยทัณฑกรรม
เพียงดอกไม้กำมือหนึ่งฉะนั้น เพราะพระศาสนาของเรามีคุณใหญ่.
ได้ยินว่า คำที่กล่าวมาแล้วแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว
ทีเดียว แต่มิได้ยกขึ้นไว้ในบาลี.
ถามว่า ก็พระราชาทรงสดับพระสูตรนี้แล้ว ทรงได้อานิสงส์
อะไร ?
แก้ว่า ได้อานิสงส์มาก.
ด้วยว่า ตั้งแต่เวลาที่ปลงพระชนม์พระชนกแล้ว พระราชานี้มิได้
บรรทมหลับเลยทั้งกลางคืนกลางวัน แต่ตั้งแต่เวลาที่เข้าเฝ้าพระศาสดา
ทรงสดับพระธรรมเทศนาอันไพเราะมีโอชานี้แล้ว ทรงบรรทมหลับได้
ได้ทรงกระทำสักการะใหญ่แด่พระรัตนตรัย ชื่อว่าผู้ที่ประกอบด้วยศรัทธา
ระดับปุถุชน ที่เสมอเหมือนพระราชานี้ไม่มี. ก็ในอนาคต จักเป็นพระ
ปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าชีวิตวิเสส จักปรินิพพานแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจชื่นชม
ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
อรรถกถาสามัญญผลสูตร
ในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี
จบแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 497
๓. อัมพัฏฐสูตร
(๑๔๑) ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อม
ด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป บรรลุถึงพราหมณคามแห่งชาวโกศล
ชื่ออิจฉานังคละ. ได้ยินว่า สมัยนั้นพระองค์ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉา-
นังคลวัน ในอิจฉานังคลคาม.
(๑๔๒) ก็สมัยนั้นพราหมณ์โปกขรสาติอยู่ครองนครอุกกัฏฐะ
ซึ่งคับคั่งด้วยประชาชนและหมู่สัตว์อุดมด้วยหญ้า ด้วยไม้ด้วยน้ำ สมบูรณ์
ด้วยธัญญาหาร เป็นส่วนราชสมบัติ อันพระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทาน
เป็นการปูนบำเหน็จให้เป็นส่วนพรหมไทย. พราหมณ์โปกขรสาติได้สดับ
ข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตรทรงผนวชจากศากยสกุลแล้ว เสด็จ
จาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐
รูป ถึงอิจฉานังคลคามโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคลวัน
ในอิจฉานังคลคาม ก็เกียรติศัพท์อันงามของท่านพระสมณโคดมพระองค์
นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ
องค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนก
พระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 498
แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ให้รู้ตาม
พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้นย่อมเป็นการ
ดีแล.
เรื่องอัมพัฏฐามาณพ
(๑๔๓) ก็สมัยนั่นแล อัมพัฏฐมาณพ ศิษย์ของพราหมณ์โปกขร-
สาติ เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ได้ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ๑
และคัมภีร์เกตุภะ๒ พร้อมทั้งประเภทแห่งอักษร มีคัมภีร์อิติหาส๓ เป็น
ที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท ช่ำชองในไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ๔
และมหาปุริสลักษณะ อันอาจารย์ยอมรับและรับรองในคำสอนอันเป็น
ไตรเพท อันเป็นของอาจารย์ของตนว่า ฉันรู้สิ่งใด เธอรู้สิ่งนั้น เธอรู้
สิ่งใด ฉันรู้สิ่งนั้น. ครั้งนั้นแล พราหมณ์โปกขรสาติ เรียกอัมพัฏฐ-
มาณพมากล่าวว่า พ่ออัมพัฏฐะ พระสมณโคดมศากยบุตรพระองค์นี้
ทรงผนวชแล้วจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงอิจฉานังคลคามโดยลำดับ ประทับ
๑. คัมภีร์ว่าด้วยชื่อของสิ่งของต่าง ๆ มีต้นไม่เป็นต้น.
๒. คัมภีร์ว่าด้วยวิชาการกวี ศาสตร์ที่เป็นอุปกรณ์แก่กวี.
๓. คัมภีร์ที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์พงศาวดาร มีมหาภารตยุทธเป็นต้น ซึ่งประพันธ์กันไว้
แต่โบราณกาล นับเป็นคัมภีร์ที่ ๕ คือนับคัมภีร์อิรุพเพทเป็นที่ ๑ คัมภีร์ยชุพเพทเป็น
ที่ ๒ คัมภีร์สามเพทเป็นที่ ๓ และคัมภีร์อาถรรพเพทเป็นที่ ๔ คัมภีร์อิติหาสนี้ จึงนับ
เป็นที่ ๕.
๔. คัมภีร์ว่าด้วยเรื่องไม่น่าเชื่อต่าง ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 499
อยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคลวัน ใกล้อิจฉานังคลคาม ก็เกียรติศัพท์อันงาม
ของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น ขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึง
พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคน
ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น
ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระ
ปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั่งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งาม
ในท่านกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อม
ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย
เห็นปานนั้นย่อมเป็นการดีแล พ่ออัมพัฏฐะ พ่อจงเข้าไปเฝ้าพระสมณ-
โคดมถึงที่ประทับ แล้วจงรู้จักพระสมณโคดมว่า เกียรติศัพท์ของท่าน
พระโคดมพระองค์นั้นฟุ้งขจรไปจริงตามนั้นหรือไม่ ท่านพระโคดม
พระองค์นั้นทรงคุณเช่นนั้นจริงหรือไม่ เราทั้งหลายจักได้รู้จักท่าน
พระโคดมพระองค์นั้นไว้โดยประการนั้น. อัมพัฏฐมาณพถามว่า
ท่านครับ ก็ไฉนเล่า ผมจักรู้ได้ว่า เกียรติศัพท์ของท่านพระโคดม
พระองค์นั้นที่ฟุ้งขจรไปเป็นจริงอย่างนั้นหรือไม่ ท่านพระโคดม
พระองค์นั้นทรงคุณเช่นนั้นจริงหรือไม่. พราหมณ์โปกขรสาติตอบว่า
พ่ออัมพัฏฐะ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการมาแล้วในมนต์ของเรา ซึ่ง
พระมหาบุรุษผู้ถึงพร้อมแล้ว ย่อมมีคติเป็น ๒ เท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม เป็นพระราชา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 500
โดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชัยชำนะ
แล้ว มีราชอาณาจักรถึงความมั่นคง ถึงพร้อมแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ
จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว
เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหา มีรูปทรงสม
เป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม
มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาตรา ทรงครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็น
ขอบเขต ถ้าเสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก พ่ออัมพัฏฐะ
ก็เราแลเป็นผู้สอนมนต์ เธอเป็นผู้รับเรียนมนต์. อัมพัฏฐมาณพรับคำ
พราหมณ์โปกขรสาติว่า ได้ขอรับ แล้วลุกจากที่นั่ง ไหว้พราหมณ์
โปกขรสาติ กระทำประทักษิณ แล้วขึ้นรถเทียมลา พร้อมด้วยมาณพ
หลายคน ขับตรงไปยังราวป่าอิจฉานังคละ ตลอดภูมิประเทศเท่าที่รถ
จะไปได้ ลงจากรถเดินตรงเข้าไปยังพระอาราม.
(๑๔๔) ก็สมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปกำลังจงกรมอยู่กลางแจ้ง.
ลำดับนั้น อัมพัฏฐมาณพเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่จงกรม ครั้นแล้วได้
กล่าวคำนี้กะภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ เวลานี้พระสมณโคดมพระองค์
นั้นประทับอยู่ที่ไหน พวกข้าพเจ้าพากันเข้ามาที่นี่ เพื่อจะเฝ้าพระองค์
ท่าน. ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นคิดเห็นร่วมกันเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐมาณพ
ผู้นี้เป็นคนเกิดในตระกูลที่มีชื่อเสียง ทั้งเป็นศิษย์ของพราหมณ์โปกขรสาติ
ผู้มีชื่อเสียง อันการสนทนาปราศรัยกับพวกกุลบุตรเห็นปานนี้ ย่อมไม่
เป็นการหนักพระทัยแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ดังนี้แล้ว จึงตอบ
อัมพัฏฐมาณพว่า อัมพัฏฐะ นั่นพระวิหารมีประตูปิดอยู่ ท่านจงสงบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 501
เสียงเข้าไปทางพระวิหารนั้น ค่อย ๆ เข้าไปที่เฉลียง กระแอมไอแล้ว เคาะ
บานประตูเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงเปิดประตูรับท่าน. ลำดับนั้น
อัมพัฏฐมาณพสงบเสียง เข้าไปทางพระวิหาร ซึ่งมีประตูปิดอยู่นั้น ค่อยๆ
เข้าไปยังเฉลียง กระแอมไอแล้ว เคาะบานประตู. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเปิดประตู. อัมพัฏฐมาณพเข้าไปแล้ว. แม้พวกมาณพก็พากันเข้าไป
ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครันผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
(๑๘๕) ฝ่ายอัมพัฏฐมาณพ เดินปราศรัยบ้าง ยืนปราศรัยบ้าง
กับพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งอยู่. ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามว่า อัมพัฏฐะ เธอเคยสนทนาปราศรัยกับพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่
ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นปาจารย์ เหมือนดังเธอ เดินบ้าง ยืนบ้าง สนทนา
ปราศรัยกับเราผู้นั่งอยู่เช่นนี้หรือ.
ข้อนี้หามิได้ พระโคดมผู้เจริญ เพราะว่าพราหมณ์ผู้เดินก็ควรเจรจา
กันกับพราหมณ์ผู้เดิน พราหมณ์ผู้ยืนก็ควรเจรจากับพราหมณ์ผู้ยืน
พราหมณ์ผู้นั่งก็ควรเจรจากับพราหมณ์ผู้นั่ง พราหมณ์ผู้นอนก็ควรเจรจา
กับพราหมณ์ผู้นอน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แต่ผู้ใดเป็นสมณะโล้น
เป็นอย่างคนรับใช้ เป็นพวกกัณหโคตร เกิดแต่บาทของพรหม ข้าพเจ้า
ย่อมสนทนาปราศรัยกับผู้นั้น เหมือนกับที่สนทนาปราศรัยกับพระโคดม
ผู้เจริญนี้.
อัมพัฏฐะ เธอมีธุระจึงได้มาที่นี้ ก็พวกเธอมาเพื่อประโยชน์อันใด
แล พึงใส่ใจถึงประโยชน์อันนั้นไว้ให้ดี ก็อัมพัฏฐมาณพยังมิได้รับการ
ศึกษาเลย สำคัญตัวว่า ได้รับการศึกษาดีแล้ว จะมีอะไรอีกเล่า นอกจาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 502
ไม่ได้รับการศึกษา.
ลำดับนั้น อัมพัฏฐมาณพ ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตำหนิด้วย
พระวาจาว่า เป็นคนไม่ได้รับการศึกษา จึงโกรธขัดใจ เมื่อจะด่าข่มว่า
กล่าวพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่าเราจักต้องให้พระสมณโคดมได้รับความ
เสียหาย ได้กล่าวคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านโคดม พวกชาติ
ศากยะดุร้าย หยาบช้า มีใจเบา พูดพล่าม เป็นพวกคนรับใช้ ไม่สักการะ
พวกพราหมณ์ ไม่เคารพพวกพราหมณ์ ไม่นับถือพวกพราหมณ์ ไม่
อ่อนน้อมพวกพราหมณ์ ท่านโคดม การที่พวกศากยะเป็นพวกคนรับใช้
ไม่สักการะพวกพราหมณ์ ไม่เคารพพวกพราหมณ์ ไม่นับถือพวกพราหมณ์
ไม่บูชาพวกพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมพวกพราหมณ์ นี้ไม่เหมาะไม่สมควรเลย.
อัมพัฏฐมาณพกดพวกศากยะว่า เป็นพวกคนรับใช้ นี้เป็นครั้งแรก
ด้วยประการฉะนี้.
(๑๔๖) อัมพัฏฐะ ก็พวกศากยะได้ทำผิดต่อเธออย่างไร. ท่าน
โคดม ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าไปยังนครกบิลพัสดุ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่างของ
พราหมณ์โปกขรสาติผู้อาจารย์ ได้เดินไปยังสัณฐาคารของพวกศากยะ
เวลานั้นพวกศากยะและศากยกุมารมากด้วยกัน นั่งเหนืออาสนะสูง ๆ
ในสัณฐาคาร เอานิ้วมือสะกิดกันและกัน เฮฮาอยู่ หยอกล้อกันอยู่ เห็นที
จะหัวเราะเยาะข้าพเจ้าเป็นแน่ ไม่มีใครเธอเชิญให้ข้าพเจ้านั่งเลย ท่าน
โคดม ข้อที่พวกศากยะเป็นพวกคนรับใช้ ไม่สักการะพวกพราหมณ์ ไม่
เคารพพวกพราหมณ์ ไม่นับถือพวกพราหมณ์ ไม่บูชาพวกพราหมณ์
ไม่อ่อนน้อมพวกพราหมณ์ นี้ไม่เหมาะไม่สมควรเลย. อัมพัฏฐมาณพกด
พวกศากยะว่า เป็นพวกคนรับใช้ นี้เป็นครั้งที่ ๒ ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 503
(๑๘๗) อัมพัฏฐะ แม้นางนกไส้ ก็ยังเป็นสัตว์พูดได้ตามความ
ปรารถนาในรังของตน ก็พระนครกบิลพัสดุ์ เป็นถิ่นของพวกศากยะ
อัมพัฏฐะ ไม่ควรจะข้องใจ เพราะการหัวเราะเยาะเพียงเล็กน้อยนี้เลย.
ท่านโคดม วรรณะ ๔ เหล่านี้คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
ท่านโคดม บรรดาวรรณะ ๔ เหล่านี้ ๓ วรรณะ คือ กษัตริย์ แพศย์
ศูทร เป็นคนบำเรอของพราหมณ์พวกเดียวโดยแท้ ท่านโคดม ข้อที่
พวกศากยะเป็นพวกคนรับใช้ ไม่สักการะพวกพราหมณ์ ไม่เคารพพวก
พราหมณ์ ไม่นับถือพวกพราหมณ์ ไม่บูชาพวกพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อม
พวกพราหมณ์ นี้ไม่เหมาะไม่สมควรเลย. อัมพัฏฐมาณพกดพวกศากยะว่า
เป็นพวกคนรับใช้ นี้เป็นครั้งที่ ๓ ด้วยประการฉะนี้.
(๑๔๘) ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริเช่นนี้ว่า อัม-
พัฏฐมาณพผู้นี้ กล่าวเหยียบย่ำพวกศากยะอย่างหนัก โดยเรียกว่า เป็น
พวกคนรับใช้ ถ้ากระไร เราจะถามถึงโคตรเขาดูบ้าง แล้วพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กับอัมพัฏฐมาณพว่า อัมพัฏฐะ เธอมี
โคตรว่าอย่างไร. กัณหายนโคตร พระโคดม. อัมพัฏฐะ ก็เมื่อเธอ
ระลึกถึงโคตรเก่าแก่อันเป็นของมารดาบิดาดู ( ก็จะรู้ได้ ) พวกศากยะ
เป็นลูกเจ้า เธอเป็นลูกนางทาสีของพวกศากยะ ก็พวกศากยะเขาพากัน
สถาปนา พระเจ้าอุกกากราชว่า เป็นพรูปิตามหะ๑ (ปู่ บรรพบุรุษ).
๑. เป็นชื่อหนึ่งของพระพรหม ซึ่งพราหมณ์ถือว่า เป็นบรรพบุรุษต้นตระกูลของมนุษย์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 504
ศากยวงศ์
(๑๔๙ ) อัมพัฏฐะ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าอุกกากราช ทรง
พระประสงค์พระราชทานสมบัติให้แก่พระโอรส ของพระมเหสี ผู้ที่ทรง
รักใคร่ โปรดปราน จึงทรงรับสั่งให้พระเชฏฐกุมาร คือพระอุกกามุข-
ราชกุมาร พระกรัณฑุราชกุมาร พระหัตถินีกราชกุมาร และพระสินี -
ปุรราชกุมาร ออกจากพระราชอาณาเขต. พระราชกุนารเหล่านั้น เสด็จ
ออกจากพระราชอาณาเขตแล้ว จึงพากันไปตั้งสำนักอาศัยอยู่ ณ ราวป่าไม้
สากะใหญ่ ริมฝังสระโบกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์. พระราชกุมารเหล่า
นั้นทรงสำเร็จการอยู่ร่วมกับพระภคินีของพระองค์เอง เพราะกลัวพระชาติ
จะระคนปนกัน.
อัมพัฏฐะ ต่อมาพระเจ้าอุกกากราช ตรัสถามหมู่อำมาตย์ราช
บริษัทว่า บัดนี้พวกกุมารอยู่กัน ณ ที่ไหน. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า
ขอเดชะ มีราวป่าไม้สากะใหญ่อยู่ริมฝั่งสระโบกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์
บัดนี้พระราชกุมารทั้งหลายอยู่ ณ ทีนั้น พระราชกุมารเหล่านั้นทรงสำเร็จ
การอยู่ร่วมกับพระภคินีของพระองค์เอง เพราะกลัวพระชาติจะระคนปน
กัน. อัมพัฏฐะ ทีนั้น พระเจ้าอุกกากราช ทรงเปล่งพระอุทานว่า
ท่านทั้งหลาย พวกกุมารสามารถหนอ พวกกุมารสามารถยอดเยี่ยมหนอ.
อัมพัฏฐะ ก็พวกที่ชื่อว่าศากยะก็ปรากฏตั้งแต่กาลครั้งนั้นเป็นต้นมา และ
พระเจ้าอุกกากราชพระองค์นั้นเป็นบรรพบุรุษของพวกศากยะ. และ
พระเจ้าอุกกากราช มีนางทาสีคนหนึ่งชื่อ ทิสา นางคลอดบุตรคนหนึ่ง
ชื่อ กัณหะ พอเกิดมาก็พูดได้ว่า แม่จงชำระฉัน จงให้ฉันอาบน้ำ แม่จ๋า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 505
ขอแม่จงปลดเปลื้องฉันจากสิ่งโสโครกนี้ ฉันเกิดมาเพื่อประโยชน์แก่แม่.
อัมพัฏฐะ มนุษย์สมัยนี้ เรียกปิศาจว่า ปิศาจ ฉันใด มนุษย์สมัยนั้นก็
ฉันนั้น เรียกปิศาจว่า คนดำ. มนุษย์เหล่านั้นจึงกล่าวกันเช่นนี้ว่า ทารกนี้
พอเกิดมาก็พูดได้ คนดำเกิดแล้ว ปีศาจเกิดแล้ว. อัมพัฏฐะ. ก็พวกที่ชื่อ
ว่า กัณหายนะ ปรากฏตั้งแต่กาลนั้นเป็นต้นมา. และกัณหะนั้น เป็น
บรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ. อัมพัฏฐะ เมื่อเธอระลึกถึงโคตรอันเก่า
แก่ อันเป็นของมารดาบิดาดู (ก็จะรู้ได้) พวกศากยะเป็นลูกเจ้า เธอเป็น
ลูกทาสีของพวกศากยะ ด้วยประการฉะนี้แล.
วงศ์ของอัมพัฏฐมาณพ
(๑๕๐) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพเหล่านั้น
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ อย่าทรง
เหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพด้วยพระวาทะว่า เป็นลูกทาสีให้หนักนักเลย
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐมาณพมีชาติดี เป็นบุตรผู้มีสกุล เป็น
พหูสูต เจรจาไพเราะ เป็นบัณฑิต และเธอสามารถจะโต้ตอบในคำนี้กับ
พระโคดมผู้เจริญได้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะมาณพเหล่านั้นว่า ถ้าพวก
เธอคิดเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐมาณพมีชาติทราม มิใช่บุตรผู้มีสกุล มีสุตะน้อย
เจรจาไม่ไพเราะ มีปัญญาทราม และไม่สามารถจะโต้ตอบในคำนี้กับ
พระสมณโคดมได้ อัมพัฏฐมาณพจงหยุดเสียเถิด พวกเธอจงโต้ตอบกับ
เราในคำนี้ ก็ถ้าพวกเธอคิดเช่นนี้ว่า อัมพักฐมาณพมีชาติดี เป็นบุตร
ผู้มีสกุล เป็นพหูสูต เจรจาไพเราะ เป็นบัณฑิต และสามารถจะโต้ตอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 506
ในคำนี้กับพระสมณโคดมได้ พวกเธอจงหยุดเสียเถิด อัมพัฏฐมาณพ
จงโต้ตอบกับเราในคำนี้.
มาณพเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐมาณพ
มีชาติดี เป็นบุตรผู้มีสกุล เป็นพหูสูต เจรจาไพเราะ เป็นบัณฑิต และ
สามารถจะโต้ตอบในคำนี้กับพระโคดมได้ พวกข้าพระองค์จักนิ่งละ
อัมพัฏฐมาณพจงโต้ตอบกับ พระโคดมในคำนี้เถิด.
(๑๕๑) ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะอันพัฏฐมาณพว่า
อัมพัฏฐะ ปัญหาประกอบด้วยเหตุนี้แล มาถึงเธอเข้าแล้ว ถึงแม้จะไม่
ปรารถนา เธอก็ต้องแก้ ถ้าเธอจักไม่แก้ก็ดี จักเอาคำอื่นมากลบเกลื่อน
เสียก็ดี จักนิ่งเสียก็ดี หรือจักหลีกไปเสียก็ดี ศีรษะของเธอจักแตกเป็น
๗ เสี่ยง ณ ที่นี้แล. อัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอได้
ยินพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นปาจารย์เล่ากันมาว่าอย่าง
ไร พวกกัณหายนะเกิดมาจากใครก่อน และใครเป็นบรรพบุรุษของพวก
กัณหายนะ. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว อัมพัฏฐมาณพ
ได้นิ่งเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอัมพัฏฐมาณพแม้เป็นครั้งที่
๒ ว่า อัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอได้ยินพวก
พราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นปาจารย์เล่ากันมาว่าอย่างไร
พวกกัณหายนะเกิดมาจากใครก่อน และใครเป็นบรรพบุรุษของพวก
กัณหายนะ. แม้ครั้งที่ ๒ อัมพัฏฐมาณพก็ได้นิ่งเสีย.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะอัมพัฏฐมาณพว่า อัมพัฏฐะ
เธอจงแก้เดี๋ยวนี้ บัดนี้ไม่ใช่เวลาของเธอจะนิ่ง อัมพัฏฐะ เพราะผู้ใด
ถูกตถาคตถามปัญหาอันประกอบด้วยเหตุถึง ๓ ครั้งแล้ว ไม่แก้ ศีรษะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 507
ของผู้นั้นจะแตกเป็น ๗ เสี่ยง ณ ที่นี้แล.
(๑๕๒) สมัยนั้น ยักษ์วชิรปาณี ถือค้อนเหล็กใหญ่ อันไฟติด
แล้วลุกโพลงโชติช่วง ยืนอยู่ในอากาศเบื้องบนของอัมพัฏฐมาณพ คิดว่า
ถ้าอัมพัฏฐมาณพนี้ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาที่ประกอบด้วย
เหตุถึง ๓ ครั้งแล้ว แต่ไม่แก้ เราจักต่อยศีรษะของเขาให้แตกเป็น
๗ เสี่ยง ณ ที่นี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้า และอัมพัฏฐมาณพเท่านั้น
เห็นยักษ์วชิรปาณีนั้น.
ครั้งนั้น อัมพัฏฐมาณพตกใจกลัวขนพองสยองเกล้า ทูลขอให้พระ
ผู้มีพระภาคเจ้านั่งเองเป็นที่ต้านทาน ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่น
เองเป็นที่เร้น ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเองเป็นที่พึ่ง กระเถิบ
เข้าไปนั่งใกล้ ๆ แล้วกราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ได้ตรัสคำอะไรนั่น
ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดตรัสอีกครั้งเถิด.
อัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอได้ยินพวกพราหมณ์
ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นปาจารย์เล่ากันมาอย่างไร พวกกัณหายนะ
เกิดมาจากใครก่อน และใครเป็นบรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ. ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาเหมือนอย่างที่พระโคดมผู้เจริญ
ตรัสนั่นแหละ พวกกัณหายนะเกิดมาจากกัณหะนั้นก่อน และก็กัณหะ
นั้นเป็นบรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ.
(๑๕๓) เมื่ออัมพัฏฐมาณพกล่าวเช่นนั้นแล้ว มาณพเหล่านั้น
ส่งเสียงอื้ออึงเกรียวกราวโวยวายกันใหญ่ว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า อัมพัฏฐ-
มาณพมีชาติทราม มิใช่บุตรผู้มีสกุล เป็นลูกทาสีของพวกศากยะ ท่านผู้
เจริญ ได้ยินว่า พวกศากยะเป็นโอรสของเจ้านายของอัมพัฏฐมาณพพวกเรา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 508
ไพล่ไปสำคัญเสียว่า พระสมณโคดมผู้ธรรมวาที พระองค์เดียว
ควรจะถูกรุกรานได้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริเช่นนี้
ว่า มาณพเหล่านี้ พากันเหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพด้วยวาทะว่า เป็น
ลูกทาสี หนักนัก ถ้ากระไรเราพึงช่วยปลดเปลื้องให้. ลำดับนั้น พระผู้
มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะนาณพเหล่านั้นว่า ดูก่อนมาณพ
พวกเธออย่าเหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพด้วยวาทะว่า เป็นลูกทาสีให้หนัก
นัก เพราะกัณหะนี้ได้เป็นฤาษีคนสำคัญ เธอไปยังทักษิณาชนบทเรียน
พรหมมนต์แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้าอุกกากราชทูลขอพระราชธิดาพระนามว่า
มัททรูปี. พระเจ้าอุกกากราชทรงพระพิโรธ ขัดพระทัยแก่พระฤาษีนั้นว่า
บังอาจอย่างนี้เจียวหนอ ฤาษีเป็นลูกทาสีของเราแท้ ๆ ยังมาขอธิดาชื่อ
มัททรูปี แล้วทรงขึ้นพระแสงศร ท้าวเธอไม่อาจจะทรงแผลง และไม่
อาจจะทรงลดลงซึ่งพระแสงศรนั้น .
(๑๕๔) ดูก่อนมาณพ ครั้งนั้นหมู่อำมาตย์ราชบริษัทพากันเข้าไป
หากัณหฤาษี แล้วได้กล่าวคำนี้กะกัณหฤาษีว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอความสวัสดีจงมีแด่พระราชา ขอความสวัสดีจงมีแด่พระราชา. ฤาษีตอบ
ว่า ความสวัสดีจักมีแด่พระราชา แต่ถ้าท้าวเธอจักทรงแผลงพระศรลง
ไปเบื้องต่ำ แผ่นดินจักทรุดตลอดพระราชอาณาเขต. อำมาตย์กล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอความสวัสดีจงมีแด่พระราชา ขอความสวัสดีจงมี
แก่ชนบท. ฤาษีตอบว่า ความสวัสดีจักมีแด่พระราชา ความสวัสดีจักมี
แก่ชนบท แต่ถ้าท้าวเธอจักทรงแผลงพระแสงศรขึ้นไปเบื้องบน ฝนจักไม่
ตกทั่วพระราชอาณาเขตถึง ๗ ปี. อำมาตย์กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอความสวัสดีจงมีแด่พระราชา ขอความสวัสดีจงมีแก่ชนบท ขอฝนจงตก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 509
เถิด. ฤาษีตอบว่า ความสวัสดีจักมีแด่พระราชา ความสวัสดีจักมีแก่ชนบท
ฝนจักตก แต่พระราชาต้องทรงวางพระแสงศรไว้ที่พระราชกุมารพระองค์
ใหญ่ด้วยทรงดำริว่า พระราชกุมารจักเป็นผู้มีความสวัสดี หายสยดสยอง
ดังนี้. ดูก่อนมาณพ ลำดับนั้น พระเจ้าอุกกากราชได้ทรงวางพระแสงศร
ไว้ที่พระราชกุมารพระองค์ใหญ่ด้วยทรงดำริว่า พระราชกุมารจักเป็น
ผู้มีความสวัสดี หายสยดสยอง ดังนี้. ครั้นท้าวเธอทรงวางพระแสงศรไว้
ที่พระราชกุมารองค์ใหญ่แล้ว. พระราชกุมารก็เป็นผู้มีความสวัสดี หาย
สยดสยอง. พระเจ้าอุกกากราชทรงกลัวถูกขู่ด้วยพรหมทัณฑ์ จึงได้พระ
ราชทานพระนางมัททรูปีราชธิดาแก่ฤาษีนั้น. ดูก่อนมาณพ พวกเธออย่า
เหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพด้วยวาทะว่าเป็นลูกทาสีให้หนักนักเลย กัณหะ
นั้นได้เป็นฤาษีสำคัญแล้ว.
(๑๕๕) ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะอัมพัฏฐมาณพ
ว่า ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ขัตติยกุมารในโลก
นี้พึงสำเร็จการอยู่ร่วมกับนางพราหมณกัญญา เพราะอาศัยการอยู่ร่วมกัน
ของคนทั้ง ๒ นั้น พึงเกิดบุตรขึ้น บุตรผู้เกิดแต่นางพราหมณกัญญากับ
ขัตติยกุมารนั้น จะควรได้ที่นั่งหรือน้ำในหมู่พราหมณ์บ้างหรือไม่. ควรได้
พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์จะควรเชิญให้เขาบริโภคในการเลี้ยง
เพื่อผู้ตาย ในการเลี้ยงเพื่อการมงคล ในการเลี้ยงเพื่อยัญพิธี หรือในการ
เลี้ยงเพื่อแขกบ้างหรือไม่. ควรเชิญเขาให้บริโภคได้ พระโคดมผู้เจริญ.
พวกพราหมณ์จะควรบอกมนต์ให้เขาได้หรือไม่. ควรบอกให้ได้ พระโคดม
ผู้เจริญ. เขาควรจะถูกห้ามในหญิงทั้งหลายหรือไม่. ไม่ควรถูกห้ามเลย
พระโคดมผู้เจริญ เขาควรจะได้รับอภิเษกเป็นกษัตริย์ได้บ้างหรือไม่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 510
ข้อนี้ไม่ควรเลย พระโคดมผู้เจริญ. เพราะเหตุไร. เพราะเขาไม่บริสุทธิ์
ข้างฝ่ายมารดา.
(๑๕๖) ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
พราหมณกุมารในโลกนี้ พึงสำเร็จการอยู่ร่วมกับนางขัตติยกัญญา เพราะ
อาศัยการอยู่ร่วมของคนทั้ง ๒ นั้น พึงเกิดบุตรขึ้น บุตรที่เกิดแต่นางขัตติย-
กัญญากับพราหมณกุมาร จะควรได้ที่นั่งหรือน้ำ ในหมู่พราหมณ์
บ้างหรือไม่. ควรได้ พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์จะควรเชิญเขา
ให้บริโภคในการเลี้ยงเพื่อผู้ตาย ในการเลี้ยงเพื่อการมงคล ในการเลี้ยง
เพื่อยัญพิธี หรือในการเลี้ยงเพื่อแขกได้บ้างหรือไม่. ควรเชิญให้เขา
บริโภคได้ พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์ควรบอกมนต์ให้เขาได้หรือ
ไม่. ควรบอกให้ได้ พระโคดมผู้เจริญ. เขาควรถูกห้ามในหญิงทั้งหลาย
หรือไม่. เขาไม่ควรถูกห้ามเลย พระโคดมผู้เจริญ. เขาควรจะได้รับ
อภิเษกเป็นกษัตริย์ได้บ้างหรือไม่. ข้อนี้ไม่ควรเลย พระโคดมผู้เจริญ.
เพราะเหตุไร. เพราะเขาไม่บริสุทธิ์ข้างฝ่ายบิดา.
(๑๕๗ ) ดูก่อนอัมพัฏฐะ เมื่อเทียบหญิงกับหญิงก็ดี เมื่อเทียบ
ชายกับชายก็ดี กษัตริย์พวกเดียวประเสริฐ พวกพราหมณ์เลว. ดูก่อน
อัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกพราหมณ์ทั้งหลาย
ในโลกนี้ พึงโกนศีรษะพราหมณ์คนหนึ่ง มอมด้วยเถ้าแล้วเนรเทศเสียจาก
แว่นแคว้นหรือจากเมืองเพราะโทษบางอย่าง เขาจะควรได้ที่นั่งหรือน้ำใน
หมู่พราหมณ์บ้างหรือไม่. ไม่ควรได้เลย พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์
ควรเชิญเขาให้บริโภคในการเลี้ยงเพื่อผู้ตาย ในการเลี้ยงเพื่อการมงคล
ในการเลี้ยงเพื่อยัญพิธี หรือในการเลี้ยงเพื่อแขกได้บ้างหรือไม่. ไม่ควร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 511
เชิญเขาให้บริโภคเลย พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์ควรบอกมนต์
ให้เขาได้หรือไม่. ไม่ควรบอกเลย พระโคดมผู้เจริญ. เขาควรถูกห้าม
ในหญิงทั้งหลายหรือไม่. เขาควรถูกห้ามทีเดียว พระโคดมผู้เจริญ
(๑๕๘) อัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์
ทั้งหลายในโลกนี้ พึงปลงพระเกสากษัตริย์พระองค์หนึ่ง มอมด้วยเถ้า
แล้วเนรเทศเสียจากแว่นแคว้นหรือจากเมืองเพราะโทษบางอย่าง เขาควร
จะได้ที่นั่งหรือน้ำในหมู่พราหมณ์บ้างหรือไม่. ควรได้ พระโคดมผู้เจริญ.
พวกพราหมณ์ควรเชิญเขาให้บริโภคในการเลี้ยงเพื่อผู้ตาย ในการเลี้ยง
เพื่อการมงคล ในการเลี้ยงเพื่อยัญพิธี ในการเลี้ยงเพื่อแขกได้บ้างหรือไม่.
ควรเชิญเขาให้บริโภคได้ พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์ควรบอกมนต์
ให้เขาหรือไม่. ควรบอกให้ พระโคดมผู้เจริญ. เขาควรถูกห้ามในหญิง
ทั้งหลายหรือไม่. เขาไม่ควรถูกห้ามเลย พระโคดมผู้เจริญ. ดูก่อนอัมพัฏฐะ
กษัตริย์ย่อมถึงความเป็นผู้เลวอย่างยิ่ง เพราะเหตุที่ถูกกษัตริย์ด้วยกัน
ปลงพระเกสามอมด้วยเถ้า แล้วเนรเทศเสียจากแว่นแคว้นหรือจากเมือง
ดูก่อนอัมพัฏฐะ แม้ในเมื่อกษัตริย์ถึงความเป็นคนเลวอย่างยิ่งเช่นนี้ พวก
กษัตริย์ก็ยังประเสริฐ พวกพราหมณ์เลว ด้วยประการฉะนี้.
สมจริงดังคาถาที่สนังกุมารพรหมได้กล่าวไว้ดังนี้ ว่า
(๑๕๙) กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้
รังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวาดาและมนุษย์.
(๑๖๐) ดูก่อนอัมพัฏฐะ ก็คาถานี้นั้น สนังกุมารพรหมขับถูก
ไม่ผิด กล่าวไว้ถูกไม่ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ไม่ประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 512
ประโยชน์ เราเห็นด้วย ดูก่อนอัมพัฏฐะ ถึงเราก็กล่าวเช่นนี้ว่า
(๑๖๑) กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้
รังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์.
จบ ภาณวาร ที่ ๑
วิชชาจรณสัมปทา
(๑๖๒) อัมพัฏฐมาณพทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็
จรณะนั้นเป็นไฉน วิชชานั้นเป็นไฉน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ก่อนอัมพัฏฐะ ในวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม
เขาไม่พูดอ้างชาติ อ้างโคตร หรืออ้างมานะว่า ท่านควรแก่เรา หรือท่าน
ไม่ควรแก่เรา อาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล หรืออาวาหะและวิวาหมงคล
มีในที่ใด ในที่นั้นเขาจึงจะพูดอ้างชาติบ้าง อ้างโคตรบ้าง หรืออ้างมานะ
บ้างว่า ท่านควรแก่เรา หรือท่านไม่ควรแก่เรา ชนเหล่าใด ยังเกี่ยว
ข้องด้วยการอ้างชาติ ยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร ยังเกี่ยวข้องด้วยการ
อ้างมานะ หรือยังเกี่ยวข้องด้วยอาวาหะและวิวาหมงคล ชนเหล่านั้นชื่อว่า
ยังห่างไกลจากวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม การทำให้
แจ้งซึ่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม ย่อมมีได้ เพราะ
ละความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ ความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร ความ
เกี่ยวข้องด้วยการอ้างมานะ และความเกี่ยวข้องด้วยอาวาหะและวิวาหมงคล.
(๑๖๓) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ จรณะนั้นเป็นไฉน วิชชานั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 513
เป็นไฉนเล่า. ดูก่อนอัมพัฏฐะ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระ
อรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯ ล ฯ ( พึงดูพิสดารในสามัญญผลสูตร)
ฯ ล ฯ ดูก่อนอัมพัฏฐะ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล ฯ ล ฯ
เข้าถึงฌานที่ ๑ อยู่ แม้นี้เป็นจรณะของภิกษุนั้น ฯ ล ฯ เพราะระงับ
วิตกวิจารเสียได้ เข้าถึงฌานที่ ๒ ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔ อยู่. แม้นี้เป็น
จรณะของภิกษุนั้น. ดูก่อนอัมพัฏฐะ แม้นี้แลคือจรณะ เธอย่อมนำไป
อย่างยิ่ง น้อมไปอย่างยิ่งซึ่งจิต เพื่อญาณทัสสนะ. แม้นี้เป็นวิชชาของภิกษุ
นั้น ฯลฯ เธอย่อมรู้ชัดว่า อย่างอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกไม่มี. แม้นี้เป็น
วิชชาของภิกษุนั้น. ดูก่อนอัมพัฏฐะ นี้แลคือวิชชา ดูก่อนอัมพัฏฐะ ภิกษุนี้
เรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะบ้าง ผู้ถึงพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะบ้าง. ดูก่อนอัมพัฏฐะ ก็วิชชาสมบัติ จรณสมบัติ
เหล่าอื่นที่ดียิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วิชชาสมบัติ จรณสมบัตินี้ไม่มี.
ดูก่อนอัมพัฏฐะ วิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม
นี้แล มีทางเสื่อมอยู่ ๔ ประการ. ๔ ประการเป็นไฉน.
๑. ดูก่อนอัมพัฏฐะ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เมื่อ
ไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้ หาบบริขาร
ดาบสเข้าไปสู่ราวป่าด้วยตั้งใจว่า จักบริโภคผลไม้ที่หล่น. สมณพราหมณ์
นั้นต้องเป็นคนบำเรอท่านที่ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้ นี้เป็น
ทางเสื่อมข้อที่ ๑.
(๑๖๔) ๒. ดูก่อนอัมพัฏฐะ อีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางคนในโลกนี้ เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอัน เป็นคุณยอด
เยี่ยมนี้ ไม่สามารถจะหาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้ ถือเสียมและตะกร้าเข้าไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 514
สู่ราวป่าด้วยตั้งใจว่า จักบริโภคเหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้. สมณพราหมณ์
นั้นต้องเป็นคนบำเรอท่านที่ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้ นี้เป็น
ทางเสื่อมข้อที่ ๒.
(๑๖๕) ๓. ดูก่อนอัมพัฏฐะ อีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางคนในโลกนี้ เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณ
ยอดเยี่ยมนี้ ไม่สามารถจะหาผลไม้หล่นบริโภคได้ ไม่สามารถจะหาเหง้าไม้
รากไม้ และผลไม้บริโภคได้ จึงสร้างเรือนไฟไว้ใกล้บ้าน หรือนิคม แล้ว
บำเรอไฟอยู่. สมณพราหมณ์นั้นต้องเป็นคนบำเรอท่านที่ถึงพร้อมด้วย
วิชชาสมบัติและจรณสมบัติโดยแท้ นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่ ๓.
(๑๖๖) ๔. ดูก่อนอัมพัฏฐะ อีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางคนในโลกนี้ เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณ
ยอดเยี่ยมนี้ ไม่สามารถจะหาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้ ไม่สามารถจะหา
เหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้บริโภคได้ และไม่สามารถจะบำเรอไฟได้
จึงสร้างเรือนมีประตู ๔ ด้านไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง แล้วพำนักอยู่
ด้วยตั้งใจว่า ผู้ใดที่มาจากทิศทั้ง ๔ นี้ จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม
เราจักบูชาท่านผู้นั้นตามสติกำลัง. สมณพราหมณ์นั้นต้องเป็นคนบำเรอ
ท่านที่ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้ นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่ ๔.
ดูก่อนอัมพัฏฐะ ทางเสื่อมแห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็น
คุณยอดเยี่ยมนี้ มีอยู่ ๔ ประการ ดังนี้.
(๑๖๗) ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอ
กับอาจารย์ย่อมปรากฏในวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม
นี้บ้างหรือไม่ ข้อนี้ไม่มีเลย พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ากับอาจารย์เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 515
อะไร วิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมเป็นอะไร ข้าพเจ้า
กับอาจารย์ยังห่างไกลจากวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้.
ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอกับอาจารย์เมื่อ
ไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้แหละ หาบ
บริขารดาบสเข้าไปสู่ราวป่าด้วยตั้งใจว่า จักบริโภคผลไม้ที่หล่นบ้างหรือ
ไม่. ข้อนี้ไม่มีเลย พระโคดมผู้เจริญ
ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอกับอาจารย์
เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้แหละ และ
ไม่สามารถจะหาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้ จึงถือเสียมและตะกร้าเข้าไปสู่
ราวป่าด้วยตั้งใจว่า จักบริโภคเหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้ บ้างหรือไม่.
อันไม่มีเลย พระโคดมผู้เจริญ. ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อ
นั้นเป็นไฉน เธอกับอาจารย์เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติ
อันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้แหละ ไม่สามารถจะหาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้ และ
ไม่สามารถจะหาเหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้บริโภคได้ จึงสร้างเรือนไฟ
ไว้ใกล้ ๆ บ้านหรือนิคม แล้วบำเรอไฟอยู่ บ้างหรือไม่. ข้อนี้ไม่มีเลย
พระโคดมผู้เจริญ. ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เธอกับอาจารย์เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม
นี้แหละ ไม่สามารถจะหาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้ ไม่สามารถจะหาเหง้าไม้
รากไม้ และผลไม้บริโภคได้ และไม่สามารถจะบำเรอไฟได้ จึงสร้าง
เรือนไฟที่มีประตู ๔ ด้านไว้ที่หนทาง ๔ แพร่ง แล้วพำนักอยู่ ด้วยตั้งใจว่า
ผู้ใดที่มาจากทิศทั้ง ๔ นี้ จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เราจักบูชาท่าน
ผู้นั้นตามสติกำลัง บ้างหรือไม่. ข้อนี้ไม่มีเลย พระโคดมผู้เจริญ. ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 516
อันพัฏฐะ เธอกับอาจารย์เสื่อมจากวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณ
ยอดเยี่ยมนี้ด้วย และคลาดจากทางเสื่อมของวิชชาสมบัติและจรณสมบัติ
อันเป็นคุณยอดเยี่ยม ประการนี้ด้วย.
(๑๖๘) ดูก่อนอัมพัฏฐะ ก็พราหมณ์โปกขรสาติอาจารย์ของ
เธอได้พูดว่า สมณะโล้นบางเหล่าเป็นอย่างคนรับใช้ เป็นพวกกัณหโคตร
เกิดแต่บาทของพรหม ประโยชน์อะไรที่พวกพราหมณ์ผู้ทรงไตรวิชาจะ
สนทนาด้วย ดังนี้. แม้แต่ทางเสื่อมตนก็ยังไม่ได้บำเพ็ญ. ดูเถิดอัมพัฏฐะ
ความผิดของพราหมณ์โปกขรสาติอาจารย์ของเธอนี้เพียงใด. ถึงพราหมณ์
โปกขรสาติกินเมืองที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทาน พระองค์ยังไม่
ทรงพระราชทานพระวโรกาสให้เข้าเฝ้าหน้าพระที่นั่ง เวลาจะทรงปรึกษา
ด้วย ก็ทรงปรึกษานอกพระวิสูตร ดูก่อนอัมพัฏฐะ ไฉนเล่าจึงไม่พระ
ราชทานการเข้าเฝ้าต่อหน้าพระที่นั่งแก่เขาผู้รับภิกษาที่ชอบธรรม ซึ่งพระ
ราชทานให้ ดูเถิดอัมพัฏฐะ ความผิดของพราหมณ์โปกขรสาติอาจารย์
ของเธอนี้เพียงใด.
(๑๖๙) ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงช้างพระที่นั่ง หรือรถพระที่นั่ง จะทรงปรึกษา
ราชกิจบางเรื่องกับมหาอำมาตย์ หรือพระราชวงศานุวงศ์ แล้วเสด็จไป
ประทับอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง จากที่นั้น ภายหลังคนชั้นศูทรหรือทาสของศูทร
พึงมา ณ ที่นั้นแล้วพูดอ้างว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสอย่างนี้ ๆ เพียง
เขาพูดได้เหมือนพระราชดำรัส หรือปรึกษาได้เหมือนพระราชาทรงปรึกษา
จะจัดว่าเป็นพระราชา หรือราชมหาอำมาตย์ได้หรือไม่.
ข้อนี้เป็นไม่ได้ พระโคดมผู้เจริญ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 517
ฤาษีบุรพาจารย์ของพราหมณ์
ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอก็เช่นนั้นเหมือนกัน บรรดาฤาษีผู้เป็น
บุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวาม-
เทวะ ฤาษีเวสสามิตร ฤาษียมตัคคี ฤาษีอังคีรส ฤาษีภารทวาชะ
ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ ใน
ปัจจุบันนี้ พวกพราหมณ์ขับตาม กล่าวตาม ซึ่งบทมนต์ของเก่านี้ที่ท่าน
ขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง ตาม
ที่ท่านกล่าวไว้ บอกไว้ เพียงคิดว่า เรากับอาจารย์เรียนมนต์ของท่าน
เหล่านั้น เธอจักเป็นฤาษีหรือปฏิบัติเพื่อเป็นฤาษีได้ ดังนี้ นั่นไม่เป็น
ฐานะที่จะมีได้.
ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอได้ฟัง
พราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นปาจารย์ เล่ากันมาว่าอย่างไร
บรรดาฤาษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษี
วามกะ ฤาษีวามเทวะ ฤาษีเวสสามิตร ฤาษียมตัคคี ฤาษีอังคีรส
ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูก
มนต์ บอกมนต์ ในปัจจุบันนี้ พวกพราหมณ์ขับตาม กล่าวตาม ซึ่งบท
มนต์ของเก่านี้ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง
บอกได้ถูกต้องตามที่กล่าวไว้ บอกไว้ ฤาษีเหล่านั้นอาบน้ำทาตัวเรียบร้อย
แต่งผม แต่งหนวด สวมพวงดอกไม้และเครื่องอาภรณ์ นุ่งผ้าขาว อิ่มเอิบ
พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ เหมือนเธอกับอาจารย์ในบัดนี้
หรือไม่.
ไม่เหมือน พระโคดมผู้เจริญ ฯ ล ฯ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 518
ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฤาษีเหล่านั้น
บริโภคข้าวสาลีที่เก็บกากแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง เหมือนเธอกับ
อาจารย์ในบัดนี้ หรือไม่.
ไม่เหมือน พระโคดมผู้เจริญ ฯ ล ฯ.
ดูก่อนอัมพัฏฐะ . . . ฤาษีเหล่านั้นบำเรออยู่ด้วยเหล่านารีผู้มีผ้าโพก
และมีร่างกระชดกระช้อย เหมือนเธอกับอาจารย์ในบัดนี้หรือไม่.
ไม่เหมือน พระโคดมผู้เจริญ ฯ ล ฯ.
ดูก่อนอัมพัฏฐะ... ฤาษีเหล่านั้นใช้รถเทียมลาหางตัดตกแต่ง
แล้ว เอาปฏักด้ามยาวทิ่มแทงสัตว์พาหนะขับขี่ไป เหมือนเธอกับอาจารย์
ในบัดนี้หรือไม่.
ไม่เหมือน พระโคดมผู้เจริญ ฯ ล ฯ.
ดูก่อนอัมพัฏฐะ. . . ฤาษีเหล่านั้นใช้บุรุษขัดกระบี่ ให้รักษาเชิงเทิน
แห่งนครที่มีคูล้อมรอบ ลงลิ่ม เหมือนเธอกับอาจารย์ในบัดนี้ หรือไม่.
ไม่เหมือน พระโคดมผู้เจริญ ฯ ล ฯ.
ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอกับอาจารย์มิได้เป็นฤาษีเลย ทั้งมิได้ปฏิบัติ
เพื่อเป็นฤาษี ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนอัมพัฏฐะ ผู้ใดมีความ
เคลือบแคลง สงสัยในเรา ผู้นั้นจงถามเราด้วยปัญหา เราจักชำระให้ด้วย
การพยากรณ์.
(๑๗๐) ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระวิหาร
จงกรมแล้ว. แม้อัมพัฏฐมาณพก็ออกจากพระวิหารเดินจงกรม ขณะที่
อัมพัฏฐมาณพเดินจงกรมตามพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั้น ได้พิจารณาดู
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 519
ได้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ โดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ
พระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑ พระชิวหาใหญ่ ๑ จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่
เชื่อไม่เลื่อมใสอยู่.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า อัมพัฏฐมาณพนี้เห็น
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของเรา โดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ
คือ คุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑ ชิวหาใหญ่ ๑ ยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อ
ไม่เลื่อมใสอยู่. ทันใดนั้นจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขารให้อัมพัฏฐมาณพ
ได้เห็นพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าช่องพระ
กรรณทั้ง ๒ กลับไปกลับมา สอดเข้าช่องพระนาสิกทั้ง ๒ กลับไปกลับมา
แผ่ปิดจนมิดมณฑลพระนลาต.
(๑๗๑) ครั้งนั้น อัมพัฏฐมาณพคิดว่า พระสมณโคดมประกอบ
ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง ดังนี้แล. เขา
จึงได้ทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้า
ขอทูลลาไป ณ บัดนี้ ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีธุระมาก.
ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจงสำคัญกาลอันควรบัดนี้. แล้วอัมพัฏฐ-
มาณพก็ขึ้นรถเทียมลากลับไป.
โปกขรสาติพราหมณ์
(๑๗๒) สมัยนั้นพราหมณ์โปกขรสาติลุกออกมานั่งคอยรับ
อัมพัฏฐมาณพอยู่ ณ อาศรมของตน พร้อมด้วยพราหมณ์หมู่ใหญ่. ฝ่าย
อัมพัฏฐมาณพขับรถไปอาศรมของตน จนสุดทางที่รถไปได้แล้ว ลงเดิน
เข้าไปหาพราหมณ์โปกขรสาติ ไหว้แล้วนั่งอยู่ ที่ควรข้างหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 520
พราหมณ์โปกขรสาติถามว่า พ่ออัมพัฏฐะ พ่อได้เห็นพระโคดมผู้เจริญ
พระองค์นั้นแล้วหรือ. ได้เห็นแล้ว ท่าน.
ก็เกียรติศัพท์ของท่านพระโคดมพระองค์นั้นที่ขจรไป จริงตามนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่นหรือ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงคุณเช่นนั้นจริง ไม่
เป็นอย่างอื่นหรือ. เกียรติศัพท์ของท่านพระโคดมพระองค์นั้นที่ขจรไป
จริงตามนั้น ไม่เป็นอย่างอื่นเลย ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงคุณเช่น
นั้นจริง ไม่เป็นอย่างอื่นเลย และประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒
ประการ บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง. พ่อได้สนทนาปราศรัยอะไรด้วยหรือไม่.
ได้สนทนาปราศรัยด้วยทีเดียว. พ่อได้สนทนาปราศรัยอย่างไรบ้าง ทันใด
นั้นอัมพัฏฐมาณพได้เล่าเรื่องเท่าที่ตนได้สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าให้พราหมณ์โปกขรสาติทราบทุกประการ.
(๑๗๓) เมื่ออัมพัฏฐมาณพกล่าวอย่างนี้ พราหมณ์โปกขรสาติ
ได้กล่าวว่า พุทโธ่เอ๋ย พ่อบัณฑิตของเรา พุทโธ่เอ๋ย พ่อพหูสูตของเรา
พุทโธ่เอ๋ย พ่อทรงไตรวิชาของเรา ได้ยินว่า คนเบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตก จะพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกเสีย เพราะท่านผู้ประ-
พฤติประโยชน์เช่นนี้ เจ้าได้พูดกระทบกระเทียบพระโคดมอย่างนี้ ๆ แต่
พระโคดมกลับตรัสยกเอาพวกเราขึ้นเป็นตัวเปรียบเทียบอย่างนี้ ๆ พุทโธ่
เอ๋ย พ่อบัณฑิตของเรา พุทโธ่เอ๋ย พ่อพหูสูตของเรา พุทโธ่เอ๋ย พ่อทรง
ไตรวิชาของเรา ได้ยินว่า คนเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรกเสีย เพราะท่านผู้ประพฤติประโยชน์เช่นนี้.
พราหมณ์โปกขรสาติ โกรธ ขัดใจ เอาเท้าปัดอัมพัฏฐมาณพให้ล้มลง
แล้วใคร่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียเองในขณะนั้นทีเดียว. พวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 521
พราหมณ์เหล่านั้นได้พูดห้ามว่า ท่าน วันนี้เกินเวลาที่จะไปเฝ้าพระสมณ-
โคดมเสียแล้ว พรุ่งนี้ค่อยไปเฝ้าพระองค์เถิด.
(๑๗๔) ครั้งนั้น พราหมณ์โปกขรสาติจัดแจงของเคี้ยวของฉัน
อย่างประณีตในนิเวศน์ของตนแล้วเอาใส่รถ เมื่อคบเพลิงยังตามอยู่ได้ออก
จากอุกกัฏฐนคร ขับรถตรงไปยังราวป่าอิจฉานังคลวัน ครั้นไปสุดทางรถ
ลงเดินเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มี
พระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐ-
มาณพศิษย์ของข้าพระองค์ได้มาที่นี่หรือ. ได้มา พราหมณ์. พระองค์
ได้สนทนาปราศรัยอะไร ๆ กับเขาหรือไม่. ได้สนทนา พราหมณ์.
พระองค์ได้สนทนาปราศรัยกับเขาอย่างไร.
ทันใดนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเล่าเรื่องที่พระองค์ได้สนทนา
ปราศรัยกับอัมพัฏฐมาณพให้พราหมณ์โปกขรสาติ ทราบทุกประการ.
(๑๗๕) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว พราหมณ์โปก-
ขรสาติได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐมาณพเป็นคนโง่ ได้
โปรดยกโทษให้เขาด้วยเถิด. ขออัมพัฏฐมาณพจงมีความสุขเถิด พราหมณ์.
ครั้งนั้น พราหมณ์โปกขรสาติได้พิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประ-
การ ในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒
ประการ โดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ พระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑
พระชิวหาใหญ่ ๑ จึงยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่ ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใสอยู่.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า พราหมณ์โปกขรสาตินี้เห็น
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของเรา โดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 522
คุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑ ชิวหาใหญ่ ๑ จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อ
ไม่เลื่อมใสอยู่.
ทันใดนั้น จึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขารให้พราหมณ์โปกขรสาติ
ได้เห็นพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าช่องพระ
กรรณทั้ง ๒ กลับไปกลับมา สอดเข้าช่องพระนาสิกทั้ง ๒ กลับไปกลับมา
แผ่ปิดจนมิดมณฑลพระนลาต. พราหมณ์โปกขรสาติคิดว่า พระสมณ-
โคดม ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง
ดังนี้ แล้วทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วย
พระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหารในวันนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์
ด้วงพระอาการนิ่งอยู่ พราหมณ์โปกขราสาติทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรับนิมนต์แล้ว จึงทูลภัตตกาลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ได้เวลา
แล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
(๑๗๖) ครั้งนั้น เวลาเช้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรง
ถือบาตรจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณ์โปกขรสาติ พร้อมด้วย
พระภิกษุสงฆ์ ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย. พราหมณ์โปกขรสาติ
ได้อังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงอิ่มหนำเพียงพอด้วยของเคี้ยวของฉัน
อันประณีต ด้วยมือของตน และพวกมาณพก็ได้อังคาสพระภิกษุสงฆ์
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ วางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว พราหมณ์
โปกขรสาติถือเอาอาสนะต่ำ นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ตรัสอนุบุพพิกถาแก่พราหมณ์โปกขรสาติ คือประกาศ
ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และ
อานิสงส์ในการออกจากกาม. เมื่อทรงทราบว่า พราหมณ์โปกขรสาติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 523
มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใสแล้ว
จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วย
พระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โปรดพราหมณ์โปกขรสาติ
ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่
พราหมณ์โปกขรสาติว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั้นนั่นแล. เหมือนผ้าที่สะอาด
ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น.
พราหมณ์โปกขรสาติแสดงตนเป็นอุบาสก
(๑๗๗) ลำดับนั้น พราหมณ์โปกขรสาติ เห็นธรรม ถึงธรรม
รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง
ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ไม่ต้องเชื่อถือผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม
โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่
คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้
ฉันใด พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้น
เหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้พร้อมทั้งบุตรและภริยา
บริษัทและอำมาตย์ ขอถึงพระองค์ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์
เป็นสรณะ ขอพระสมณโคดมผู้เจริญจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะอย่างมอบกายถวายชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอพระองค์
จงเสด็จเข้าไปสู่สกุลโปกขรสาติ เหมือนเข้าไปสู่สกุลแห่งอุบาสกอื่น ๆ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 524
ในนครอุกกัฏฐะ เหล่ามาณพมาณวิกาในสกุลโปกขรสาตินั้น จักไหว้
จักลุกรับ จักถวายอาสนะ หรือน้ำ จักเลื่อมใสในพระองค์ ข้อนั้น
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่มาณพมาณวิกาเหล่านั้นสิ้นกาล
นาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านกล่าวชอบ
ดังนี้แล.
จบ อัมพัฏฐสูตร ที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 525
อรรถกถาอัมพัฏฐสูตร
เอวมฺเม สุต ฯ เป ฯ โกสเลสุ อมฺพฏฺฐสุตฺต
ในอัมพัฏฐสูตรนั้น มีการพรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้
บทว่า ในโกศลชนบท คือ ชนบทอันเป็นนิวาสสถานของพระราช
กุมารชาวชนบททั้งหลาย ผู้มีนามว่าโกศล แม้จะเป็นชนบทเดียวท่านก็
เรียกว่า โกสลา ( เป็นพหูพจน์) เพราะศัพท์เสริมเข้ามา ในชนบทชื่อ
โกศลนั้น.
ก็พระโบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า ในกาลก่อนพระราชาทรงสดับ
ว่า พระราชกุมารนามว่า มหาปนาทะ ผู้ได้ดูการละเล่นมีละครต่าง ๆ
เป็นต้น ก็ไม่ทำอาการแม้สักว่ายิ้มแย้มเลย จึงได้ทรงมีรับสั่งว่า ผู้ใดทำ
ให้บุตรของเราหัวเราะได้ เราจะประดับประดาเขาผู้นั้นด้วยเครื่องอลังการ
ทั้งปวง. ตั้งแต่นั้นมา เมื่อเหล่ามหาชนต่างทอดทิ้งแม้คันไถมาร่วม
ประชุมกัน พวกมนุษย์ทั้งหลายถึงจะแสดงการละเล่นต่าง ๆ กันสิ้นเวลา
นานกว่า ๗ ปี ก็มิสามารถจะให้พระราชกุมารนั้นทรงพระสรวลได้. ทีนั้น
ท้าวสักกเทวราช จึงทรงส่งพวกละครมาแสดงบ้าง. พระองค์ทรงแสดง
ละครอันเป็นทิพย์ จึงทรงทำให้พระราชกุมารทรงพระสรวลได้. ต่อมาพวก
มนุษย์เหล่านั้นต่างก็แยกย้ายกันกลับ บ่ายหน้าไปยังบ้านที่อาศัยของตน ๆ.
พวกเขาเจอมิตรและสหายเป็นต้นสวนทางมา เมื่อจะทำปฏิสันถาร (ทักทาย
ปราศรัย ) กัน ต่างก็พูดกัน ว่า กิญฺจิ โภ กุสล กิญฺจิโภ กุสล (ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 526
ผู้เจริญ มีอะไรดีบ้างไหม ท่านผู้เจริญ มีอะไรดีบ้างไหม) เพราะฉะนั้น
เขตแคว้นนั้นท่านจึงเรียกชื่อว่า โกศล เพราะยึดเอาคำว่า กุสล กุสล นั้น.
บทว่า เสด็จจาริกไป คือเสด็จเดินทางไกล. ธรรมดาการเสด็จ
จาริกของพระผู้มีพระภาคเจ้า มี ๒ อย่างคือ เสด็จจาริกอย่างรีบด่วน ๑
เสด็จจาริกอย่างไม่รีบด่วน ๑. ใน ๒ อย่างนั้น การที่พระองค์ทรงทอด
พระเนตรเห็นบุคคลที่ควรให้ตรัสรู้ได้แม้ในที่ไกล ก็จะเสด็จไปโดยเร็ว
เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ของเขา ชื่อว่าเสด็จจาริกอย่างรีบด่วน. พึงเห็น
เช่นในการเสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสปะ เป็นต้น.
แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงกระทำการต้อนรับพระ
มหากัสสปะ ได้เสด็จไปตลอดทาง ๓ คาพยุตโดยครู่เดียว เพื่อประโยชน์
แก่อาฬวกยักษ์ ได้เสด็จไปตลอดทาง ๓๐ โยชน์ เพื่อประโยชน์แก่พระ
อังคุลิมาลก็เท่ากัน แต่สำหรับปุกกุสาติ ได้เสด็จไปตลอดทาง ๔๕
โยชน์ พระมหากัปปินะ ๑๒๐ โยชน์ เพื่อประโยชน์แก่พระธนิยะ
๗๐๐ โยชน์. สำหรับติสสสามเณรผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระธรรม-
เสนาบดีสารีบุตรผู้ชอบอยู่แต่ในป่า ได้เสด็จไปตลอดทาง ๑๒๐ โยชน์
กับอีก ๓ คาพยุต.
ได้ยินว่า วันหนึ่งพระเถระกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะไปยังสำนักของติสสสามเณร. พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า แม้เราก็จักไป แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์
มา ด้วยทรงรับสั่งว่า อานนท์ เธอจงบอกแก่ภิกษุผู้สำเร็จอภิญญา ๖
มี ๒๐,๐๐๐ รูปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จไปยังสำนักติสสสามเณร
ผู้ชอบอยู่แต่ในป่า. ต่อมาในวันที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระขีณาสพ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 527
๒๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร ทรงเหาะขึ้นไปในอากาศ เสด็จลงที่ประตูโคจร
คามของสามเณรนั้น ในที่สุดทางได้ ๑๒๐ โยชน์ ทรงห่มผ้าจีวรแล้ว.
พวกมนุษย์เมื่อเดินทางไปทำงานกันเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างพูดกัน
ว่า พระบรมศาสดาเสด็จมาแล้ว พวกเราอย่าไปทำงานกันเลย ต่างพา
กันปูลาดอาสนะถวายข้าวยาคูแล้ว เมื่อจะกระทำบาทวัตร๑ จึงถามพวกภิกษุ
หนุ่มว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จไปที่ไหน. ดูก่อน
อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่เสด็จไป ณ ที่อื่น
เสด็จมาก็เพื่อทรงต้องการจะทอดพระเนตรติสสสามเณร ในที่นี้แหละ.
พวกมนุษย์เหล่านั้นต่างพากันดีอกดีใจว่า ได้ยินว่า พระบรมศาสดาเสด็จ
มาก็เพื่อทรงต้องการจะทอดพระเนตรพระเถระผู้สนิทสนมกับตระกูลของ
พวกเรา พระเถระของพวกเรามิใช่คนเล็กน้อยเลย.
ต่อมาในเวลาเสร็จภัตกิจของพระผู้มีพระภาคเจ้า สามเณรเที่ยวไป
บิณฑบาตในบ้านมาแล้วจึงถามว่า ดูก่อนอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายภิกษุ
สงฆ์มากมาย ทีนั้น พวกเขาจึงบอกแก่สามเณรว่า พระบรมศาสดาเสด็จมา
ขอรับ. สามเณรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามโดยเอื้อเฟื้อ
ด้วยอาหารบิณฑบาต พระบรมศาสดาทรงจับบาตรของสามเณรนั้นด้วย
พระหัตถ์แล้วตรัสว่า ติสสะ อาหารบิณฑบาตพอแล้ว เราทำภัตกิจเสร็จ
แล้ว. ลำดับนั้น สามเณรจึงถามโดยเอื้อเฟื้อกะอุปัชฌาย์แล้วจึงไปนั่งบน
อาสนะที่ถึงแก่ตน ทำภัตกิจ (ฉัน). ต่อมาในเวลาสามเณรนั้นฉัน
เสร็จแล้ว พระบรมศาสดาตรัสมงคลแล้ว เสด็จออกไปประทับยืนที่
ประตูบ้าน ตรัสถามว่า ติสสะ ทางไปสู่ที่อยู่ของเชื้อสายไหน ทางนี้ พระ
๑. ฉบับพม่าเป็น ปาตราสภตฺต แปลว่า อาหารเช้า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 528
เจ้าข้า สามเณรกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อสามเณรกราบทูลชี้ทาง
ถวายแล้ว จึงตรัสว่า ติสสะ เธอจงไปข้างหน้า.
ดังได้สดับมา พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้จะทรงเป็นผู้ชี้ทางให้แก่โลก
พร้อมทั้งเทวโลกก็ตาม ได้ทรงทำให้สามเณรนั้นเป็นผู้ชี้ทางให้ในเส้นทาง
เพียง ๓ คาพยุตเท่านั้น ด้วยทรงตั้งพระทัยว่า เราจักได้เห็นสามเณร สามเณร
นั้นไปสู่ที่อันเป็นที่อยู่ของตน แล้วได้กระทำวัตรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามสามเณรนั้นว่า ติสสะ ที่ไหน
เป็นที่จงกรมของเธอ จึงเสด็จไปที่นั้น ประทับนั่งบนก้อนหินที่นั่งของ
สามเณรแล้วตรัสถามว่า ติสสะ ในที่นี้เธออยู่เป็นสุขหรือสามเณรนั้นกราบ
ทูลว่า เป็นสุข พระเจ้าข้า เมื่อข้าพระองค์อยู่ในที่นี้ ได้ยินเสียงร้องของพวก
สัตว์จำพวกราชสีห์ เสือโคร่ง ช้าง กวาง และนกยูง เป็นต้น ความ
สำคัญหมายว่า เป็นป่าก็เกิดขึ้น พระองค์อยู่เป็นสุขด้วยความสำคัญ
หมายนั้น. ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะสามเณรนั้นว่า ติสสะ เธอ
จงเผดียงสงฆ์ให้ประชุมกัน เราจักให้พุทธทายาทแก่เธอ เมื่อภิกษุสงฆ์
ประชุมกันแล้วทรงประทานอุปสมบทให้ แล้วได้เสด็จไปยังที่ประทับอยู่
ของพระองค์ทีเดียว นี้ชื่อว่าการเสด็จจาริกอย่างรีบด่วน.
ก็การที่พระองค์เมื่อจะทรงอนุเคราะห์สัตว์โลก เสด็จไปด้วยเสด็จ
ทรงบิณฑบาตตามลำดับบ้านและนิคมทุกวัน โยชน์ ๑ บ้าง ๒ โยชน์บ้าง
นี้จัดเป็นการเสด็จจาริกไม่รีบด่วน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะเสด็จจาริก
นี้ก็จะเสด็จในมณฑลใดมณฑลหนึ่ง บรรดา ๓ มณฑลเหล่านี้ คือ มณฑล
ใหญ่ มณฑลกลาง มณฑลเล็ก. ในบรรดา ๓ มณฑลนั้น มณฑลใหญ่มี
กำหนด ๙๐๐ โยชน์ มณฑลกลางมีกำหนด ๖๐๐ โยชน์ มณฑลเล็กมี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 529
กำหนด ๑๐๐ โยชน์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระประสงค์จะเสด็จจาริกในมณฑลใหญ่
พระองค์ทรงปวารณาในวันมหาปวารณาแล้ว ในวันแรม ๑ ค่ำ จะพร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกไป ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
ก็จะเกิดการแตกตื่นกันเป็นการใหญ่. คนผู้มาถึงก่อน ๆ จึงจะได้นิมนต์
บรรดามณฑลทั้ง ๒ นอกจากนี้ สักการะก็จะมารวมลงเฉพาะในมหามณฑล
เท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จประทับอยู่ในหมู่บ้านและอำเภอ
นั้น ๆ สิ้น ๑ - ๒ วัน ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยการทรงรับอามิสทาน
และเจริญกุศลอันเป็นส่วนพ้นวัฏฏสงสารแก่เขา ด้วยทรงประทานธรรม
ทรงให้การจาริกเสร็จสิ้นไปโดย ๙ เดือน.
แต่ถ้าภายในพรรษา สนถะและวิปัสสนากรรมฐานของภิกษุทั้งหลาย
ยังอ่อนอยู่ พระองค์ก็จะไม่ทรงปวารณาในวันมหาปวารณา ทรงประทาน
เลื่อนวันปวารณาไป ทรงปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ต่อถึงวันแรม
๑ ค่ำ เดือนอ้าย จึงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวารเสด็จออก
แล้ว เสด็จเข้าไปในมณฑลขนาดกลาง พระองค์มีพระประสงค์จะเสด็จจาริก
ไปในมณฑลขนาดกลางด้วยเหตุอย่างอื่นก็มีบ้าง แต่จะเสด็จประทับอยู่
ตลอด ๔ เดือนเท่านั้น แล้วก็จะเสด็จออกไปตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
บรรดามณฑลทั้ง ๒ นอกนี้ สักการะก็จะมารวมลงเฉพาะในมณฑลขนาด
กลางเท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกโดยนัยก่อนนั่น
แหละ ทรงให้การจาริกเสร็จสิ้นไปโดย ๘ เดือน.
แต่ถ้าเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้จะทรงจำพรรษาตลอด ๔ เดือนแล้ว
ก็ตาม เวไนยสัตว์ยังมีอินทรีย์ไม่แก่กล้า พระองค์ก็จะทรงรอคอยให้พวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 530
เขามีอินทรีย์แก่กล้าก่อน จะเสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแหละ อีกเดือน
๑ บ้าง ๒-๓-๔ เดือนบ้าง แล้วจึงจะเสด็จออกไปพร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่เป็นบริวาร. โดยทำนองดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ บรรดามณฑล
ทั้ง ๒ นอกนี้ สักการะก็จะมารวมลงเฉพาะในมณฑลขนาดเล็กเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกตามทำนองข้างต้นนั้น
แหละจะทรงให้การจาริกเสร็จสิ้นไปโดย ๗ เดือนบ้าง ๖ เดือนบ้าง ๕ เดือน
บ้าง ๔ เดือนบ้าง.
ดังกล่าวมานี้ ในบรรดามณฑลทั้ง ๓ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะเสด็จจาริกไปในมณฑลใดมณฑลหนึ่ง จะเสด็จไปเพราะเหตุแห่ง
ลาภผลมีจีวรเป็นต้นก็หาไม่. แต่โดยที่แท้พระองค์เสด็จจาริกไปก็เพราะ
ความเอ็นดูสัตว์โลก ด้วยทรงดำริอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดที่เป็นคนเข็ญใจ
ยังโง่เขลา เป็นคนแก่ และคนเจ็บป่วย เมื่อไรคนเหล่านั้นจักมาเห็น
ตถาคตได้ แต่เมื่อเราเที่ยวจาริกไป มหาชนจักได้เห็นตถาคต บรรดาเขา
เหล่านั้น บางพวกจักกระทำจิตใจให้เลื่อมใสได้ บางพวกจักบูชาด้วย
เครื่องบูชามีพวงดอกไม้เป็นต้น บางพวกจักถวายภักษาหารสักทัพพีหนึ่ง
บางพวกจักละความเห็นผิด กลายเป็นผู้มีความเห็นถูก ข้อนั้นจักเป็นไป
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกเขาตลอดกาลนาน.
อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จ
จาริกไปด้วยเหตุ ๑ ประการคือ เพื่อประโยชน์ให้พระวรกายได้อยู่สบาย
ด้วยทรงเดินพักผ่อน ๑ เพื่อประโยชน์ที่จะรอเวลาเกิดเรื่องราว ๑ เพื่อ
ประโยชน์จะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย ๑ เพื่อประโยชน์จะให้
สัตว์ผู้ควรจะตรัสรู้ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าแล้วในที่นั้น ๆ ได้ตรัสรู้ ๑. พระผู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 531
มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อย่าง
อื่นอีก ด้วยทรงดำริว่า สัตว์ทั้งหลายจักถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ จักถึง
พระธรรม จักถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ หรือว่าเราจักให้บริษัททั้ง ๔ เอิบอิ่ม
ด้วยการฟังธรรมเป็นการใหญ่. พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะ
เสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๕ ประการแม้อย่างอื่นอีก ด้วยทรงดำริว่า สัตว์
ทั้งหลายจักงดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงบ้าง จากการถือเอาสิ่งของ
ที่เขามิได้ให้บ้าง จากการประพฤติผิดในกามบ้าง จากการกล่าวเท็จบ้าง จาก
ที่ตั้งแห่งความประมาทคือนำเมาอันได้แก่สุราและเมรัยบ้าง. พระผู้มี
พระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๘ ประการแม้อย่าง
อื่นอีก ด้วยทรงดำริว่า สัตว์ทั้งหลายจักกลับได้ปฐมฌานบ้าง ทุติยฌาน
บ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง วิญญา-
ณัญจายตนสมาบัติบ้าง อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนสมาบัติบ้าง. พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จจาริกไป
ด้วยเหตุ ๘ ประการแม้อย่างอื่นอีก ด้วยทรงพระดำริว่า สัตว์ทั้งหลายจัก
บรรลุโสดาปัตติมรรคบ้าง โสดาปัตติผลบ้าง สกทาคามิมรรดบ้าง สกทา-
คามิผลบ้าง อนาคามิมรรคบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตตมรรคบ้าง จัก
กระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลบ้าง. ดังกล่าวมานี้จัดเป็นการเสด็จจาริกไม่รีบ
ด่วน. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาการเสด็จจาริกไม่รีบด่วน.
ก็การเสด็จจาริกไม่รีบด่วนนี้ มีอยู่ ๒ อย่าง คือ การเสด็จจาริก
ประจำ ๑ การเสด็จจาริกไม่ประจำ ๑. บรรดาจาริก ๒ อย่างนั้น การ
เสด็จไปตามลำดับบ้าน อำเภอ และจังหวัด จัดเป็นการเสด็จจาริกประจำ.
ส่วนการเสด็จไปเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ที่ครรจะให้ตรัสรู้ได้คนเดียวเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 532
จัดเป็นการเสด็จจาริกไม่ประจำ. ในที่นี้ท่านมุ่งหมายเอาการเสด็จจาริก
ไม่ประจำนี้.
ได้ยินว่า ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่ข่ายคือพระ
ญาณไปในหมื่นโลกธาตุ ในเวลาเสร็จสิ้นพุทธกิจตอนปัจฉิมยาม ทรงเล็ง
ดูเหล่าสัตว์ผู้มีเผ่าพันธุ์ควรจะตรัสรู้ได้อยู่ พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติเข้าไป
ภายในพระสัพพัญญุตญาณ. ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงพิจารณาดูว่า
พราหมณ์นี้มาปรากฏในข่ายคือญาณของเรา เขามีอุปนิสัยหรือไม่หนอ ก็
ทรงทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรคแล้ว ทรงดำริว่า
พราหมณ์นี้เมื่อเราไปชนบทนั้น จักใช้ให้ศิษย์ชื่ออัมพัฏฐะไปเพื่อค้นหาดู
ลักษณะ. เขาจะกล่าวโต้ตอบกับเรา พูดวาจาไม่สุภาพมีประการต่าง ๆ เรา
จักทรมานเขาทำให้หมดพยศ เขาก็จักบอกแก่อาจารย์ ทีนั้น อาจารย์ของ
เขาได้ฟังคำนั้นแล้ว ก็จักมาค้นหาดูลักษณะของเรา เราจักแสดงธรรม
แก่เขา พอเทศน์จบเขาก็จักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เทศนาจักมีผลดีแก่
มหาชนดังนี้ จึงพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร เสด็จพระดำเนินไปสู่
ชนบทนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริก
ไปในโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ขบวนใหญ่มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป.
บทว่า บ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละตั้งอยู่โดยที่ใด คือ บ้าน
พราหมณ์ข้ออิจฉานังคละควรจะไปได้โดยทิสาภาคใด หรือว่า บ้าน
พราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละตั้งอยู่ในประเทศใด. บาลีว่า อิจฺฉานงฺกล ก็มี.
บทว่า ตทวสริ แปลว่า เสด็จไปโดยทางนั้น หรือว่า เสด็จไปสู่ที่นั้น.
อธิบายว่า เสด็จไปโดยทิสาภาคนั้น หรือว่า เสด็จไปสู่ประเทศนั้น.
บทว่า ประทับอยู่รนป่าชัฏชื่ออิจฉานังคละ ในบ้านพราหมณ์ชื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 533
อิจฉานังคละ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเป็นพระธรรมราชา
ทรงอาศัยบ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละ ทรงตั้งค่ายคือศีล ทรงถือพระ
คทาคือสมาธิ ทรงยังศรคือพระสัพพัญญุตญาณให้เป็นไป เสด็จประทับ
อยู่ด้วยการประทับตามที่พระองค์ทรงพอพระทัยยิ่ง.
บทว่า ก็โดยสมัยนั้นแล คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ
อยู่ ณ ที่นั้นโดยสมัยใด โดยสมัยนั้น. อธิบายว่า ในสมัยนั้น. บุคคล
ย่อมเรียนมนต์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าพราหมณ์ อธิบายว่า ย่อมสาธยาย
มนต์. ก็คำนี้นี่แหละเป็นคำเรียกพราหมณ์โดยกำเนิดในทางภาษา. แต่
พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเรียกว่าพราหมณ์ เพราะมีบาปอันลอยแล้ว
คำว่า โปกขรสาติ นี้ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น. ท่านเรียกชื่อว่าโปกขรสาติ
เพราะเหตุไร. ได้ยินว่า กายของพราหมณ์นั้นเป็นเช่นเดียวกับดอกบัวขาว
งามประดุจเสาระเนียดเงินที่เขาปักไว้ในเทวนคร. ส่วนศีรษะของเขามีสีดำ
ประดุจสำเร็จด้วยแก้วมรกต. แม้หนวดก็ปรากฏประหนึ่งปุยเมฆสีดำใน
ดวงจันทร์. ลูกตาทั้ง ๒ ข้างเป็นประดุจดอกบัวเขียว. จมูกกลมดีเกลี้ยง
เกลา ประดุจท่อน้ำเงิน. ฝ่ามือและฝ่าเท้า รวมทั้งช่องปาก งดงามประดุจ
ลูบไล้ไว้ด้วยน้ำครั่ง. อัตภาพของพราหมณ์จัดว่างามเลิศยิ่งนัก. ในที่ที่ไม่
มีพระราชา สมควรจะตั้งพราหมณ์ผู้นี้เป็นพระราชาได้. พราหมณ์นี้เป็นคน
ประกอบด้วยสิริเช่นนี้. เพราะเหตุนี้ ชนทั้งหลายจึงเรียกเขาว่า โปกขร-
สาติ เพราะเป็นเหมือนดอกบัว.
ก็พราหมณ์นี้แม้ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า
กัสสปะ เรียนจบเวททั้ง ๓ ถวายทานแด่พระทศพลแล้ว ฟังธรรม-
เทศนา ไปเกิดในเทวโลก. ต่อจากนั้นเขาเมื่อจะมาสู่มนุษยโลก รังเกียจ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 534
การอยู่ในท้องมารดา จึงไปเกิดในท้องดอกบัวหลวงในสระใหญ่ ข้างป่า
หิมพานต์. แต่ที่ไม่ไกลจากสระนั้น มีดาบสอาศัยอยู่ในบรรณศาลา.
ดาบสนั้นยืนอยู่บนฝั่งมองเห็นดอกบัวหลวงนั้น จึงคิดว่า ดอกบัวหลวง
ดอกนี้ใหญ่กว่าดอกบัวหลวงนอกนี้ เวลาที่มันบานแล้ว เราจึงจักเก็บมัน.
ดอกบัวหลวงนั้นแม้ตั้ง ๗ วันแล้วก็ยังไม่บาน. ดาบสจึงคิดว่า เพราะ
เหตุใดหนอ ดอกบัวหลวงนี้แม้ตั้ง ๗ วัน แล้วก็ยังไม่บาน เอาเถอะ เรา
จักเก็บมัน แล้วจึงลงไปเก็บ. ดอกบัวหลวงนั้น พอดาบสเด็ดขาดจากก้าน
เท่านั้นก็บานออก. ทีนั้น ในภายในดอกบัวนั้น เขาได้เห็นทารกมีผิวพรรณ
ขาว มีรูปร่างราวกับ เงิน ดุจสีผงทองมีวรรณะขาวเหลืองดังเกสรดอก
ประทุม. เขาจึงคิดว่าทารกนี้คงจักเป็นผู้มีบุญมาก เอาเถอะเราจะเลี้ยงดูเขา
จึงอุ้มไปยังบรรณศาลา เลี้ยงดู ตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบก็ให้เรียนเวททั้ง ๓.
ทารกเรียนจบเวททั้ง ๓ แล้ว เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด ได้เป็นยอด
พราหมณ์ในชมพูทวีป. ในเวลาต่อมาเขาได้แสดงศิลปะแก่พระเจ้าโกศล.
ทีนั้น พระราชาทรงเลื่อมใสในศิลปะของเขา จึงได้พระราชทานมหานคร
ชื่ออุกกัฏฐะ ให้เป็นพรหมไทย. เพราะเหตุนี้ ประชาชนทั้งหลายจึงเรียก
ขานเขาว่า โปกขรสาติ เพราะเหตุที่เขานอนในดอกบัว.
บทว่า อยู่ครอบครอง นครชื่ออุกกัฏฐะ ความว่า เขาอยู่หรือว่า
อยู่ครอบครอง นครอันมีชื่อว่าอุกกัฏฐะ คือ เขาเป็นเจ้าของนครนั้น อยู่
ตามขอบเขตที่ชนจะพึงอยู่ได้ในนครนั้น. ได้ยินว่า ประชาชนวางโคมไฟ
ไว้แล้ว เมื่อโคมไฟลุกโพลงอยู่ จึงพากันยึดเอาที่ตั้งนครนั้น เพราะ
ฉะนั้น นครนั้นท่านจึงเรียกว่า อุกกัฏฐะ. บาลีว่า โอกกัฏฐะ ดังนี้ก็มี
มีเนื้อความอย่างเดียวกัน . แต่ในที่นี้พึงทราบว่า ด้วยอำนาจอุปสัค ทำให้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 535
ทุติยาวิภัตติใช้แทนสัตตมีวิภัตติได้. และในบทที่เหลือพึงทราบว่า คำนั้น
ไม่เป็นทุติยาวิภัตติ. ลักษณะในที่นั้น พึงค้นคว้าจากศัพทศาสตร์.
บทว่า หนาแน่นด้วยสัตว์ ความว่า หนาแน่น ได้แก่ ล้นเหลือ
ด้วยสัตว์ทั้งหลาย มีชนมากมาย มีมนุษย์เกลื่อนกล่น และคับคั่งด้วยสัตว์
หลายชนิด มีช้าง ม้า นกยูง และเนื้อทรายที่เขาเลี้ยงไว้เป็นต้น. ก็เพราะ
เหตุที่นครนี้ สมบูรณ์ด้วยหญ้าเป็นอาหารของช้างและม้า เป็นต้น และด้วย
หญ้ามุงหลังคาบ้านที่เกิดเวียนรอบภายนอกนคร ทั้งสมบูรณ์ด้วยไม้ที่เป็นฟืน
และไม้ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องเรือนด้วยเช่นกัน และเพราะเหตุที่ภายใน
นครนั้นมีสระโบกขรณี มีสัณฐานกลม และ ๔ เหลี่ยม เป็นต้น มากมาย
ทั้งมีบ่อน้ำนับไม่ถ้วนอีกมาก งดงามด้วยดอกไม้ที่เกิดในน้ำ และเต็มเปี่ยม
ด้วยน้ำเป็นนิตย์ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เป็นนครที่ประกอบพร้อมด้วยหญ้า
ไม้และน้ำ. นครที่เป็นไปพร้อมกับด้วยข้าว ชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยข้าว.
อธิบายว่า มีข้าวเก็บตุนไว้มากมาย แตกต่างกันเป็นบุพพัณชาติ และ
อปรัณชาติเป็นต้น. ด้วยถ้อยคำเพียงเท่านี้ เป็นอันว่าท่านได้แสดง
ถึงสมบัติคือความมั่งคั่งแห่งนคร ที่พราหมณ์อยู่ด้วยลีลาอย่างพระราชา
เพราะให้กางกั้นเศวตฉัตรขึ้น.
โภคสมบัติพราหมณ์ได้มาจากพระราชา ชื่อว่า ราชโภคะ หากจะ
ถามว่า ใครให้. ก็ต้องตอบว่า พระราชาทรงพระนามว่า ปเสนทิโกศล
พระราชทานให้. บทว่า ราชทาย แปลว่า เป็นของพระราชทานให้
ของพระราชา อธิบายว่า เป็นมรดก. บทว่า พฺรหฺมเทยฺย แปลว่า
เป็นของขวัญอันประเสริฐสุด อธิบายว่า เป็นของที่พราหมณ์จะพึงกางกั้น
เศวตฉัตรเสวยโดยทำนองเป็นพระราชา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 536
อีกนัยหนึ่ง บทว่า ราชโภค ความว่า เป็นนครที่พราหมณ์สั่งให้ลง
โทษด้วยการตัดอวัยวะและการทำลายอวัยวะทุกอย่างได้ เมื่อจะเก็บภาษีใน
สถานที่มีท่าเรือและภูเขาเป็นต้น จะต้องกางกั้นเศวตฉัตรขึ้นเป็นพระราชา
ครอบครอง. ในบทนี้ว่า นครนั้นพระราชาทรงพระนามว่า ปเสนทิโกศล
พระราชทานให้เป็นราชรางวัล ความว่า นครนั้นเพราะพระราชาพระ
ราชทานให้ จึงชื่อว่า ราชทายะ. ก็เพื่อที่จะแสดงพระราชาผู้พระราชทาน
ท่านจึงกล่าวคำนี้ว่า พระราชาทรงพระนามว่า ปเสนทิโกศล พระราชทาน
ให้. บทว่า พฺรหฺมเทยฺย แปลว่าของพระราชทานอันประเสริฐสุด. อธิบาย
ว่า เป็นของที่พระราชทานแล้ว โดยประการที่ว่า พระราชทานแล้ว จะ
ทรงเรียกคืนไม่มี คือ ทรงสละให้เด็ดขาด ได้แก่ บริจาคไปเลย.
บทว่า อสฺโสสิ แปลว่า ได้สดับตรับฟังมา คือ ได้ประสบมา
ได้แก่ ได้ทราบมา โดยท่านองคำประกาศก้องที่มาถึงโสตทวาร. คำว่า โข
เป็นนิบาต ลงในอรรถอวธารณะ (กำหนดแน่นอนเช่นพวกเอวศัพท์)
หรือเป็นนิบาตลงไว้เพียงเป็นบทบูรณ์ (ทำบทให้เต็มเฉยๆ ). ใน ๒ คำนั้น
ด้วยอรรถอวธารณะ พึงทราบคำอธิบายดังนี้ว่า พราหมณ์นั้นได้สดับตรับ
ฟังมาโดยแท้จริงทีเดียว คือมิได้มีสิ่งขัดขวางต่อการได้ยิน. ด้วยบทบูรณ์
คำนี้เป็นเพียงใส่ไว้เพื่อให้บทและพยัญชนะสละสลวยขึ้นเท่านั้นเอง บัดนี้
พราหมณ์ชื่อ โปกขรสาติ เมื่อจะประกาศเนื้อความที่ตนได้สดับตรับฟังมา
จึงได้กล่าวถ้อยคำนี้ว่า ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ.
พึงทราบเนื้อความในบทเหล่านั้นว่า บุคคลที่ชื่อสมณะ ก็เพราะมี
บาปอันระงับแล้ว. สมกับที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศล
ของบุคคลนั้น ระงับไปแล้ว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้มีบาป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 537
อันระงับได้แล้ว ด้วยอริยมรรคอย่างยอดเยี่ยม. เพราะเหตุนั้น คำว่า
สมณะ นี้ จึงเป็นพระนามที่พระองค์ทรงได้รับตามพระคุณที่เป็นจริง. คำว่า
ขลุ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ได้ยินเล่าลือกันมา. คำว่า โภ เป็นเพียงคำ
เรียกชื่อที่ได้รับกันมาตามกำเนิดของพราหมณ์. สมจริงดังที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า
ถ้าเขายังเป็นผู้มีความกังวลอยู่ เขาผู้นั้นย่อมมีชื่อเรียกได้ว่าผู้เจริญ.
พราหมณ์ยกย่องพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า โคตมะ ด้วยอำนาจแห่ง
โคตร เพราะฉะนั้น ในคำว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม พึงเห็นเนื้อ
ความดังนี้ว่า ได้ยินว่า พระสมณะโคตมโคตร.
ส่วนคำว่า เป็นพระราชโอรสของศากยวงศ์ นี้ เป็นคำชี้ชัดถึงพระ
ตระกูลอันสูงศักดิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. คำว่า ทรงผนวชจากตระกูล
ศากยวงศ์ เป็นคำแสดงให้เห็นถึงการที่พระองค์ทรงผนวชด้วยศรัทธา
อธิบายว่า พระองค์มิได้ทรงถูกความขาดแคลนใด ๆ บีบบังคับ ทรงละ
ตระกูลนั้นทั้ง ๆ ที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ ทรงผนวชด้วยศรัทธา. ต่อจากนี้
ไปก็มีใจความดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. คำว่า ต โข ปน เป็นต้น ได้
กล่าวไว้แล้วเหมือนกับในสามัญญผลสูตร.
คำว่า เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จ อธิบายว่า เป็นการดีทีเดียว
คือ นำประโยชน์มาให้ นำความสุขมาให้. บทว่า พระอรหันต์เห็นปาน
ฉะนี้ คือ พระอรหันต์ผู้ได้เสียงเรียกว่า พระอรหันต์ในโลก เพราะ
บรรลุคุณธรรมตามเป็นจริง เช่นเดียวกับพระโคดมผู้เจริญนั้น. บทว่า
การได้เห็น ความว่า พราหมณ์กระทำความน้อมนึกไปอย่างนี้ว่า เพียงแต่ว่า
การลืมตาทั้ง ๒ ข้าง ที่เยือกเย็นด้วยความเลื่อมใสขึ้นมองดู ก็เป็นการ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 538
สำเร็จประโยชน์.
คำนี้ว่า อัชฌายกะ (ผู้ไม่มีฌาน) เป็นคำกล่าวติเตียนพวก
พราหมณ์ผู้ปราศจากฌาน ในกาลอันเป็นปฐมกัปอย่างนี้ว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ
และภารทวาชะ พราหมณ์เหล่านั้นไม่เพ่งในบัดนี้ พราหมณ์เหล่านี้ ไม่เล่าเรียน
ในบัดนี้ เพราะเหตุนี้แล อักษรที่ ๓ ว่า อัชฌายิกา อัชฌายิกา ดังนี้
แลจึงเกิดขึ้น.๑
แต่บัดนี้ชนทั้งหลาย เรียกพราหมณ์นั้นกระทำให้เป็นคำสรรเสริญ
แล้ว ด้วยความหมายนี้ว่า บุคคลใดย่อมเล่าเรียน บุคคลนั้น ชื่อว่า
อัชฌายกะ (ผู้คงแก่เรียน ) คือสาธยายมนต์. บุคคลใดย่อมทรงจำมนต์
ทั้งหลายได้ บุคคลนั้นชื่อมันตธระ (ผู้ทรงจำมนต์ได้. )บทว่า ไตรเพท คือ
อิรุพเพทยชุพเพทและสามเพท. บุคคลใดถึงแล้วซึ่งฝั่ง ด้วยอำนาจกระทำ
ให้ริมฝีปากกระทบกัน บุคคลนั้น ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง ( ผู้เรียนจบไตรเพท).
ไตรเพทเป็นไปกับด้วยนิฆันฑุศาสตร์และเกฏุภศาสตร์ ชื่อว่าพร้อมกับ
นิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภศาสตร์.
คำว่า นิฆัณฑุ คือศาสตร์ที่แสดงถึงคำไวพจน์ของสิ่งทั้งหลายมี
นิฆัณฑุรุกข์ เป็นต้น. คำว่า เกฏุภะ คือ กิริยากัปปวิกัปป ได้แก่ ศาสตร์ว่า
ด้วยเครื่องมือของกวีทั้งหลาย. ไตรเพทเป็นไปกับด้วยประเภทแห่งอักขระ
ชื่อว่า พร้อมด้วยประเภทแห่งอักขระ. บทว่า ประเภทแห่งอักขระ ได้แก่
สิกขา และนิรุติ. บทว่า มีศาสตร์ว่าด้วยพงศาวดารเป็นที่ ๕ ความว่า
พงศาวดาร กล่าวคือเรื่องราวเก่า ๆ ที่ประกอบด้วยคำเช่นนี้ ว่า อิติห อส
อิติห อส (สิ่งนี้ได้เป็นมาแล้วเช่นนี้ สิ่งนี้ได้เป็นมาแล้วเช่นนี้ ) เป็น
๑. อัคคัญญสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๑๑ หน้า ๑๐๓
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 539
ที่ ๕ ของไตรเพทนั้น เพราะนับอาถรรพเวทเป็นที่ ๔ เหตุนั้น ไตรเพทนั้น
จึงชื่อว่า มีคัมภีร์ว่าด้วยพงศาวดารเป็นที่ ๕. มีศาสตร์ว่าด้วยพงศาวดารเป็น
ที่ ๕ เหล่านั้น. ผู้ใดย่อมศึกษาและเล่าเรียนบทของเวทและการพยากรณ์
อันเป็นพิเศษ ผู้นั้นชื่อว่าผู้ศึกษาเวท และชำนาญการพยากรณ์. ศาสตร์
ว่าด้วยคำพูดเล่น ๆ ท่านเรียกว่า โลกายตะ. บทว่า ลักษณะของมหาบุรุษ
ได้แก่ศาสตร์อันมีปริมาณคัมภีร์ถึง ๑๒,๐๐๐ ที่แสดงลักษณะของมหา-
บุรุษ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ที่ชื่อว่าเป็นพุทธมนต์ ซึ่งมีปริมาณบทคาถา
ถึง ๑๖,๐๐๐ มีปรากฏข้อแตกต่างกันดังนี้ คือ ผู้ประกอบด้วยลักษณะนี้
ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระอัครสาวกทั้ง ๒
เป็นพระมหาสาวก ๘๐ เป็นพระพุทธมารดา เป็นพระพุทธบิดา เป็น
อัครอุปฐาก เป็นอัครอุปฐายิกา เป็นพระราชา เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ.
บทว่า ผู้เต็มเปี่ยม คือไม่บกพร่องในมหาบุรุษลักษณะอันเป็น
โลกายตะเหล่านี้ ได้แก่เรียนมาอย่างพร้อมมูล อธิบายว่า ไม่มีความ
ตกหล่นเลย. ผู้ใดไม่สามารถที่จะทรงจำไว้ได้โดยใจความ และโดยคัมภีร์
ซึ่งมหาบุรุษลักษณะเหล่านั้น ผู้นั้นชื่อว่ายังบกพร่อง. บทว่า อนุญฺาต-
ปฏิญฺาโต แปลว่า ผู้อันอาจารย์ยอมรับและรับรองแล้ว อธิบายว่า
ผู้อันอาจารย์ยอมรับแล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า เรารู้สิ่งใด ท่านก็รู้สิ่งนั้นแล้ว
ตนก็รับรองแล้ว ด้วยคำปฏิญาณคือการให้คำตอบแก่อาจารย์นั้นว่า ขอรับ
อาจารย์. ในเรื่องอะไร. ในคำสอนที่ประกอบด้วยวิชา ๓ อันเป็นของ
อาจารย์ของตน.
ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นคิดว่า ในโลกนี้ชนเป็นอันมากพากันเที่ยว
พูดถึงนามของบุคคลผู้สูงสุดว่า เราเป็นพระพุทธเจ้า เราเป็นพระพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้น การที่เราจะเข้าไปเฝ้าโดยเหตุเพียงได้ยินเขาเล่าล่อกันมาหา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 540
เป็นการสมควรไม่ เพราะแม้เมื่อเราเข้าไปหาบางคนแล้วไม่หลีกไปเสียก็
เป็นการลำบาก ทั้งไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย ถ้ากระไรเราใช้ให้ศิษย์
ของเรารู้ว่า เป็นพระพุทธเจ้า หรือมิใช่ แน่นอนแล้ว พึงเข้าไปเฝ้า
เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกมาณพมาแล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า แน่ะพ่อ
พระสมณโคดมนี้ ดังนี้ .
บทว่า ผู้เจริญนั้น คือพระโคดมผู้เจริญนั้น. บทว่า ผู้เป็น
เช่นนั้นจริง คือผู้เป็นเช่นนั้นโดยแท้. แม้ในบทนี้ คำนี้ก็เป็นทุติยาวิภัตติ
ด้วยอำนาจแห่งอรรถว่า กล่าวถึงตามที่เป็นอยู่เช่นนั้น. ในบทนี้ว่า ยถา
กถ ปนาห โภ มีใจความว่า แน่ะผู้เจริญ เราจักรู้พระโคดมผู้เจริญนั้น
ได้อย่างไร พระโคดมนั้นเราจะสามารถรู้ได้โดยวิธีใด ท่านจงบอก
พระโคดมนั้นแก่เราโดยวิธีนั้น. อีกประการหนึ่ง คำว่า ยถา นี้ เป็นเพียง
นิบาต. คำว่า กถ เป็นคำถามถึงอาการ. มีใจความว่า เราจักรู้พระ
โคดมผู้เจริญนั้นได้โดยเหตุใด.
ได้ยินว่า เมื่อกล่าวถึงอย่างนี้ พราหมณ์ผู้เป็นอุปัชฌาย์ จึงกล่าว
คำเป็นต้นว่า แน่ะพ่อ ท่านย่อมกล่าวเหมือนกับคนผู้ยืนอยู่บนแผ่นดิน
พูดว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นแผ่นดิน และคนที่ยืนอยู่ในแสงสว่างของพระจันทร์
และพระอาทิตย์ พูดว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นพระจันทร์และพระอาทิตย์ ดังนี้
กะเขาแล้ว เมื่อจะแสดงอาการที่ตนรู้จึงกล่าวคำว่า อาคตานิ โข ตาต
เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า ในมนต์ทั้งหลาย คือในเวททั้งหลาย.
พวกเทวดาชั้นสุทธาวาสทราบว่า ได้ยินว่า พระตถาคตจักอุบัติขึ้น จึงได้รีบ
ใส่ลักษณะทั้งหลายไว้ในเวททั้งหลายแล้วเทียว สอนเวททั้งหลายด้วยแปลง
เพศเป็นพราหมณ์ ด้วยกล่าวว่า เหล่านี้ชื่อว่า พระพุทธมนต์ โดย
คิดว่า สัตว์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ทั้งหลาย จักรู้จักพระตถาคต โดยทำนองนี้ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 541
เพราะเหตุนั้น มหาบุรุษลักษณะทั้งหลายจึงมีมาในเวททั้งหลายก่อน. แต่
เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ก็จะอันตรธานไปโดยลำดับ เพราะเหตุนั้น
บัดนี้จึงไม่มี. คำว่า ของมหาบุรุษ คือของคนผู้ใหญ่โดยคุณ มีความตั้งใจมั่น
ความถือมั่น ความรู้ และกรุณาเป็นต้น. คำว่า คติ ๒ เท่านั้น คือ
ที่สุด ๒ อย่างเท่านั้น โดยแท้แล. คติศัพท์นี้เป็นไปในความแตกต่างแห่งภพ
ในคำเป็นต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร ภพมี ๕ เหล่านี้แล. เป็นไปในสถานที่
อาศัยอยู่ ในคำเป็นต้นว่า ป่ากว้างใหญ่ เป็นที่อาศัยอยู่ของหมู่เนื้อทั้งหลาย.
เป็นไปในปัญญา ในคำเป็นต้นว่า ผู้มีปัญญามากหลายเช่นนี้ . เป็นไปใน
ความแพร่หลาย ในคำเป็นต้นว่า คติคต. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า เป็นไปใน
ที่สุด. ในลักษณะเหล่านั้น ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่าใด ย่อมเป็น
พระราชาจักรพรรดิ ย่อมไม่เป็นพระพุทธเจ้าด้วยลักษณะเหล่านั้น โดยแท้.
แต่ท่านกล่าวว่า ลักษณะเหล่านั้น ๆ โดยความเสมอกันแห่งชาติ. เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่าใด
บทว่า ถ้าอยู่ครองเรือน คือถ้าอยู่ในเรือน. บทว่า จะเป็นพระ
ราชาจักรพรรดิ ความว่า ผู้ที่ชื่อว่าพระราชา เพราะทำให้ชาวโลกยินดี
ด้วยอัจฉริยธรรม และสังคหวัตถุ ๔ อย่าง ผู้ที่ชื่อว่าจักรพรรดิ เพราะ
ยังจักรรัตนะให้เป็นไป คือเป็นไปพร้อมกับจักรอันเป็นสมบัติ ๔ อย่าง
และยังคนอื่นให้เป็นไปด้วย. อนึ่ง ความเป็นไปแห่งอิริยาบถจักร เพื่อ
ประโยชน์แก่ผู้อื่นมีอยู่ในผู้นั้น ผู้นั้นชื่อว่าจักรพรรดิ. ก็ในคำทั้ง ๒ นี้
คำว่า ราชา เป็นคำสามัญธรรมดา. คำว่า จักรพรรดิ เป็นคำพิเศษ.
ผู้ชื่อว่า ธรรมิกะ เพราะประพฤติโดยธรรม อธิบายว่า ประพฤติโดย
ชอบยิ่ง คือโดยเหมาะสม. ผู้ชื่อว่า ธรรมราชา เพราะได้ราชสมบัติ
โดยธรรม จึงได้เป็นพระราชา. อีกประการหนึ่ง ผู้ชื่อว่า ธรรมิกะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 542
เพราะกระทำความดีอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ผู้ชื่อว่าธรรมราชา
เพราะการกระทำความดีอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน. ผู้ชื่อว่า จาตุรันตะ
เพราะเป็นใหญ่ทั่วทั้ง ๔ ทวีป อธิบายว่า เป็นใหญ่บนผืนแผ่นดิน มี
มหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต และพร้อมพรั่งด้วยทวีปทั้ง ๔. ผู้ชื่อว่า
กำชัยชนะไว้ได้หมด เพราะชำนะข้าศึกมีความขัดเคืองเป็นต้นในภายใน
และชำนะพระราชาทั้งปวงในภายนอก. บทว่า ถึงความมั่นคงในชนบท
คือถึงความมั่นคง คือความถาวรในชนบท ใคร ๆ ไม่สามารถที่จะทำ
ให้หวั่นไหวได้. อีกประการหนึ่ง ชนบทถึงความถาวรในที่นั้น ๆ ไม่ต้อง
ขวนขวาย ยินดีแต่ในการงานของตน ไม่หวั่นไหว ไม่สะทกสะท้าน.
บทว่า อย่างไรนี้ เป็นนิบาต. ใจความว่า รัตนะเหล่านี้ ของพระเจ้า
จักรพรรดินั้น มีอะไรบ้าง.
ในบทว่า จักรรัตนะ เป็นต้น จักรนั้นด้วย เป็นรัตนะเพราะอรรถว่า
ทำให้เกิดความยินดีด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า จักรรัตนะ. ในที่ทุกแห่งก็มีนัย
เช่นนี้. ก็ในรัตนะเหล่านี้ พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงชนะผู้ที่ยังไม่ชนะ
ด้วยจักรรัตนะ ย่อมเสด็จพระราชดำเนินไปตามสบายในแว่นแคว้นที่
พระองค์ทรงชนะแล้ว ด้วยช้างแก้ว และม้าแก้ว ย่อมทรงรักษาแว่นแคว้น
ที่ทรงชนะแล้วด้วยขุนพลแก้ว ย่อมทรงเสวยอุปโภคสุขด้วยรัตนะที่เหลือ.
พึงทราบความสัมพันธ์กันดังนี้ คือ การใช้ความสามารถด้วยความเพียร
พยายามของพระเจ้าจักรพรรดินั้น สำเร็จบริบูรณ์แล้วด้วยจักรรัตนะที่ ๑
การใช้ความสามารถด้วยมนต์ สำเร็จบริบูรณ์แล้วด้วยรัตนะสุดท้าย การใช้
ความสามารถด้วยปภุ ( ความเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง ) สำเร็จบริบูรณ์แล้วด้วย
ขุนคลังแก้ว ช้างแก้ว และม้าแก้ว ผลของการใช้ความสามารถ ๓ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 543
บริบูรณ์แล้ว ด้วยนางแก้ว และแก้วมณี. พระเจ้าจักรพรรดิทรงเสวย
ความสุขอันเกิดจากโภคสมบัติ ด้วยนางแก้ว และแก้วมณี ทรงเสวย
ความสุขอันเกิดจากความเป็นใหญ่ด้วยรัตนะทั้งหลายที่เหลือ. อนึ่ง พึง
ทราบโดยแปลกออกไปอีก ดังนี้ รัตนะ ๓ อันแรก สำเร็จได้ด้วยอานุภาพ
แห่งกรรมที่กุศลมูล คือความไม่ประทุษร้ายให้เกิดขึ้น รัตนะท่ามกลาง
สำเร็จได้ด้วยอานุภาพแห่งกรรมที่กุศลมูล คือความไม่โลภให้เกิดขึ้น รัตนะ
อันหนึ่งสุดท้าย สำเร็จได้ด้วยอานุภาพแห่งกรรม อันกุศลมูลคือความ
ไม่หลงให้เกิดขึ้น. ในที่นี้กล่าวเป็นเพียงสังเขปเท่านั้น. ส่วนความพิสดาร
พึงถือเอาจากอุปเทศแห่งรัตนสูตร ในโพชฌงคสังยุต.
บทว่า มีจำนวน ๑,๐๐๐ เป็นเบื้องหน้า คือเกินกว่า ๑,๐๐๐. บทว่า
ผู้กล้าหาญ คือผู้ไม่หวั่นเกรงใคร. บทว่า มีรูปร่างองอาจ คือมีร่างกาย
เช่นกับเทวบุตร. อาจารย์บางพวกพรรณนาไว้ดังนี้ก่อน. แต่ในที่นี้มีสภาวะ
ดังต่อไปนี้. ผู้ที่กล้าหาญที่สุด ท่านเรียกว่า วีระ. องค์ของผู้กล้าหาญชื่อ
วีรังคะ คือเหตุแห่งความกล้าหาญ. อธิบายว่า ความเป็นผู้แกล้วกล้า.
รูปร่างอันองอาจของตนเหล่านั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า
มีรูปร่างองอาจ. อธิบายว่า ประหนึ่งว่า มีสรีระร่างอันหล่อหลอมด้วย
ความแกว่นกล้า.
บทว่า ย่ำยีเสียได้ซึ่งทหารของข้าศึก มีอธิบายว่า ถ้าเหล่าทหาร
ของข้าศึก พึงยืนเผชิญหน้ากัน เขาก็สามารถที่จะย่ำยีเสียได้ซึ่งข้าศึกนั้น.
บทว่า โดยธรรม คือโดยธรรม คือศีล ๕ ที่มีว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์เป็นต้น.
ในบทนี้ว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือ
ก็เลสอันเปิดแล้วในโลก มีใจความว่า เมื่อความมืดคือกิเลสปกคลุมอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 544
ด้วยเครื่องปกคลุมคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อวิชชา และ
ทุจริต ๗ อย่าง พระองค์ทรงเปิดหลังคานั้นในโลกได้แล้ว ทรงมีแสง
สว่างเกิดแล้วโดยทั่วถึงประทับยืนอยู่ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระ
นามว่า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้ว. ในบทเหล่านั้น ความที่พระองค์
เป็นผู้ควรบูชา พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ด้วยบทที่ ๑ เหตุแห่งความ
ที่พระองค์ทรงเป็นผู้ควรบูชา เพราะเหตุที่พระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธ-
เจ้านั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ด้วยบทที่ ๒ ความที่พระองค์ทรงเป็น
ผู้มีหลังคาอันเปิดแล้ว ที่เป็นเหตุแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า พึงทราบว่า
ท่านกล่าวไว้ด้วยบทที่ ๓. อีกประการหนึ่ง พระองค์ทรงเป็นผู้ปราศจาก
วัฏฏะด้วย ปราศจากหลังคาด้วย เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระ
นามว่า ปราศจากวัฏฏะ และหลังคา. อธิบายว่า ไม่มีวัฏฏะ และไม่มีหลังคา.
เพราะเหตุนั้น สำหรับ ๒ บทแรกนี่แหละ ท่านจึงกล่าวไว้ ๒ เหตุอย่างนี้ว่า
พระองค์ทรงเป็นพระอรหันต์เพราะไม่มีวัฏฏะ ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
เพราะไม่มีหลังคา. อนึ่ง บทนี้ ความสำเร็จเบื้องแรกมีได้ด้วยเวสารัชชญาณ
ที่ ๒ ความสำเร็จที่ ๒ มีได้ด้วยเวสารัชชญาณที่ ๑ ความสำเร็จที่ ๓ มี
ได้ด้วยเวสารัชชญาณที่ ๓ และที่ ๔. พึงทราบอีกว่า คำแรกชี้ให้เห็น
ธรรมจักษุ คำที่ ๒ พุทธจักษุ และคำที่ ๓ สมันตจักษุ. พราหมณ์พูดให้
เกิดความกล้าหาญในมนต์ทั้งหลายแก่มาณพนั้น ด้วยคำนี้ว่า ท่านเป็นผู้
รับมนต์ ดังนี้.
แม้มาณพนั้นก็ปราศจากความหลงลืมในลักษณะแห่งคำพูดของ
อาจารย์นั้น มองเห็นทะลุปรุโปร่งซึ่งพุทธมนต์ ประดุจว่าเกิดแสงสว่าง
เป็นอันเดียว จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอย่างนั้น. มีใจความว่า ท่านผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 545
ท่านกล่าวฉันใด ผมจักทำฉันนั้น. บทว่า วฬวารถมารุยฺห แปลว่า
ขึ้นสู่รถอันเทียมด้วยลา. ทราบมาว่า พราหมณ์ตัวเองท่องเที่ยวไปด้วย
รถใด ก็ให้รถคันนั้นแหละส่งมาณพไป. บทว่า มาณวกา คือเป็นอัน-
เตวาสิกของพราหมณ์ชื่อ โปกขรสาตินั่นเอง. นัยว่า พราหมณ์นั้น
ได้ให้สัญญาแก่พวกอันเตวาสิกว่า พวกท่านจงไปพร้อมกับอัมพัฏฐมาณพ
นั้น. บทว่า พื้นที่แห่งยานมีอยู่เพียงใด ความว่า เขาสามารถจะไปได้
ด้วยยานตลอดพื้นที่เท่าใด. บทว่า ลงจากยาน คือเขาไปสู่ที่ใกล้ซุ้มประตู
อันมิใช่พื้นที่ของยานแล้วก็ลงจากยาน.
บทว่า ก็โดยสมัยนั้นแล คืออัมพัฏฐมาณพเข้าไปสู่อารามใน
สมัยใด ในสมัยนั้นแล คือในเวลาเที่ยงตรง. ถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
เดินจงกรมในเวลานั้น เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพื่อจะบรรเทาความ
ง่วงเหงาหาวนอนอันมีโภชนะประณีตเป็นปัจจัย. หรือว่า ภิกษุเหล่านั้น
บำเพ็ญเพียรในเวลากลางวัน. เพราะว่าจิตของภิกษุผู้เดินจงกรมหลังฉัน
ภัตตาหารแล้ว อาบน้ำ ผึ่งลมแล้ว นั่งกระทำสมณธรรมเช่นนั้นย่อม
แน่วแน่. บทว่า ภิกษุเหล่านั้นอยู่ที่ใด ความว่า ได้ยินว่า มาณพนั้น
คิดว่า เราจักไม่เดินจากบริเวณนั้นไปสู่บริเวณนี้ ด้วยคิดว่า พระสมณโคดม
เสด็จประทับอยู่ ณ ที่ไหน จักถามก่อนแล้วเข้าไปเฝ้า จึงชำเลืองมอง
ประหนึ่งข้างในป่า เห็นภิกษุทั้งหลายผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุล กำลังเดินจงกรม
อยู่บนที่จงกรมใหญ่ จึงได้ไปยังสำนักของภิกษุเหล่านั้น. ท่านหมายถึง
เหตุนั้นจึงได้กล่าวคำนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นอยู่ที่ใด. บทว่า ทสฺสนาย แปลว่า
เพื่อจะเห็น. ใจความว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อจะพบ.
บทว่า ถือเอากำเนิดในตระกูลมีชื่อเสียง คือเกิดในตระกูลที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 546
โด่งดัง. ได้ยินว่า ในกาลนั้นขึ้นชื่อว่าตระกูลอัมพัฏฐะ นับเป็นตระกูล
โด่งดังในชมพูทวีป. บทว่า มีชื่อเสียง คือโด่งดังด้วยรูปร่าง กำเนิด มนต์
ตระกล และถิ่นฐาน. บทว่า ไม่หนัก คือไม่เป็นภาระ. ความว่า
ผู้ใดไม่พึงสามารถที่จะให้อัมพัฏฐมาณพรู้ได้ การสนทนาด้วยเรื่องราวกับ
อัมพัฏฐมาณพนั้นของผู้นั้น พึงเป็นที่หนักใจ แต่สำหรับพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ถึงจะถูกมาณพเช่นอัมพัฏฐะนั้น ตั้งร้อยคนก็ตาม พันคนก็ตาม
ถามปัญหา พระองค์มิได้ทรงมีความชักช้าในการที่จะทรงเฉลยเลย พวก
ภิกษุเหล่านั้นสำคัญอยู่ดังนี้ จึงคิดว่า ก็การสนทนาด้วยเรื่องราวต่าง ๆ
มิได้เป็นที่หนักใจเลย.
บทว่า วิหาร ท่านกล่าวหมายถึงพระคันธกุฎี. บทว่า ไม่รีบร้อน
คือไม่เร่งรัด ใจความว่า วางเท้าลงในที่พอเหมาะกับเท้า กระทำวัตร
แล้ว ไม่ทำให้ทรายที่เกลี่ยไว้เรียบเสมอแล้ว เช่นกับปูลาดไว้ด้วยไข่มุก
ใบไม้และไม้ย่างทราย ให้เป็นหลุมเป็นบ่อ. บทว่า ระเบียง คือหน้ามุข.
บทว่า กระแอมแล้ว คือกระทำเสียงกระแอม. บทว่า ลูกดาลประตู คือบาน
ประตู. บทว่า ท่านจงเคาะ ขยายความว่า ท่านจงเอาปลายเล็บเคาะตรงที่ใกล้
กับรูกุญแจเบา ๆ. ท่านอาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดงธรรมเนียมการเคาะ
ประตู จึงกล่าวว่า ได้ทราบว่าพวกอมนุษย์ย่อมเคาะประตูสูงเกินไป สัตว์
จำพวกงูเคาะต่ำเกินไป คนไม่ควรจะเคาะเช่นนั้น ควรเคาะตรงที่ใกล้รู
ตรงกลาง. บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดประตูแล้ว ความว่า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงลุกไปเปิดประตู. แต่พระองค์ทรงเหยียดพระ
หัตถ์ออก ด้วยตรัสว่า จงเปิดเข้ามาเถิด. ควรจะกล่าวว่า ลำดับนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดประตูด้วยพระองค์เองทีเดียว ด้วยตรัสว่า เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 547
เธอทั้งหลาย เมื่อให้ทานอยู่เป็นเวลาตั้งโกฏิกัปมิใช่น้อย มิได้กระทำกรรม
คือการเปิดประตูด้วยมือตนเองเลย ก็ประตูนั้นอันน้ำพระทัยของพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงเปิดแล้ว เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงทรงเปิดประตูแล้ว.
บทว่า พวกเขาต่างรื่นเริงอยู่กับพระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสถามคำเป็นต้นว่า สบายดีหรือ ทรงร่าเริง
อยู่กับพวกมาณพเหล่านั้นฉันใด แม้พวกเขาเหล่านั้นต่างก็มีความร่าเริง
เป็นไปทำนองเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้าฉันนั้น คือต่างถึงความร่าเริง
ร่วมกัน คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประหนึ่งน้ำเย็นรวมกันกับน้ำร้อน
ฉะนั้น. พวกมาณพเหล่านั้นต่างร่าเริงด้วยถ้อยคำอันใดเล่าว่า พระโคดม
เจ้าข้า พระองค์ทรงพระสำราญดีอยู่แลหรือ พระองค์ยังทรงพอดำรงพระ
ชนมชีพอยู่ได้แลหรือ และพระสาวกทั้งหลายของพระโคดมผู้เจริญ ยังมี
อาพาธน้อย ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ยังแข็งแรง มีกำลัง และการอยู่เป็น
ผาสุกดีอยู่แลหรือ ดังนี้เป็นต้น พวกเขาต่างก็กล่าวถ้อยคำนั้นอันเป็นที่
ตั้งแห่งความร่าเริง และยังให้ระลึกถึงกันโดยปริยายเป็นอันมากอย่างนี้ว่า
ที่ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งความร่าเริง เพราะเป็นถ้อยคำที่เหมาะจะบันเทิงใจ
โดยก่อให้เกิดความร่าเริง กล่าวคือปีติ และปราโมทย์ และชื่อว่าเป็นที่ตั้ง
แห่งการให้ระลึกถึงกัน เพราะเป็นถ้อยคำควรระลึก โดยควรที่จะให้กัน
และกันระลึกถึงสิ้นกาลแม้นานได้ และเป็นไปอยู่ตลอดกาลนิรันดร เพราะ
เป็นถ้อยคำที่ไพเราะด้วยอรรถ และพยัญชนะ อนึ่ง ชื่อว่าเป็นถ้อยคำ
เป็นที่ตั้งแห่งความร่าเริง เพราะเป็นสุขแก่ผู้ฟัง และชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่ง
การให้ระลึกถึงกัน เพราะเป็นสุขแก่ผู้รำลึกถึง อีกประการหนึ่ง ชื่อว่าเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 548
ถ้อยคำเป็นที่ตั้งแห่งความร่าเริง เพราะมีพยัญชนะบริสุทธิ์ ชื่อว่าเป็น
ถ้อยคำเป็นที่ตั้งแห่งการให้ระลึกถึงกัน เพราะมีอรรถอันบริสุทธิ์ ดังนี้แล้ว
ครั้นกล่าวจบคือกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.
บทว่า อมฺพฏฺโ ปน มาณโว มีเนื้อความว่า ดังได้สดับมา
มาณพนั้น ไม่กระทำแม้สักว่าความเลื่อมใสแห่งจิตในรูปสมบัติของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่า เราจักรุกรานพระทศพล จึงแก้ผ้าที่พันไว้ที่ท้อง
เอามาห้อยไว้ที่คอ เอามือข้างหนึ่งจับชายผ้าไว้ ขึ้นไปยังที่จงกรม บางคราว
ก็เปิดแขน บางคราวก็เปิดท้อง บางคราวก็เปิดหลังให้เห็น บางคราวก็
แกว่งมือ บางคราวก็ยักคิ้ว ได้กล่าวคำเย้ยหยันที่ทำให้นึกถึงความประ-
พฤติน่าอับอาย เห็นปานฉะนี้ว่า พระโคดมเจ้าข้า ท่านยังมีความ
สม่ำเสมอของธาตุอยู่แลหรือ ท่านไม่ลำบากด้วยภิกษาหารแลหรือ ก็แล
อาการที่ไม่ลำบากนั่นแหละ. ยังปรากฏแก่ท่าน ที่จริงอวัยวะน้อยใหญ่
ของท่านเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ในสถานที่ที่ท่านไปแล้ว ชนเป็น
อันมากเหล่านั้น มีความนับถือมากเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ท่านเป็นพระราชา
บรรพชิต และท่านเป็นพระพุทธเจ้า ต่างก็ถวายอาหารอันมีรสอร่อย
ประณีต พวกท่านจงดูเรือนของท่าน ราวกะว่าศาลาอันสวยงาม และ
เป็นดังทิพยปราสาท ดูเตียง ดูหมอน เมื่อท่านอยู่ในสถานที่เห็นปานฉะนี้
การจะบำเพ็ญสมณธรรมย่อมทำได้ยาก. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ก็อัมพัฏฐมาณพเดินจงกรมอยู่ก็กล่าวสาราณิยกถาเล็ก ๆ น้อย ๆ กับพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งอยู่บ้าง ยืนอยู่ก็กล่าวสาราณิยกถาเล็ก ๆ น้อยๆ
กับพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งอยู่บ้าง.
บทว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า ลำดับนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 549
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า มาณพนี้พยายามอยู่ในที่ไม่สมควร
เหมือนคนผู้มีประสงค์จะเหยียดมือออกเอื้อมเอาชั้นภวัคคพรหม เหมือน
คนผู้มีประสงค์จะเหยียดเท้าออกเดินไปสู่นรกชั้นอเวจี เหมือนคนผู้มีประ-
สงค์จะข้ามมหาสมุทร และเหมือนคนผู้มีประสงค์จะขึ้นไปยังภูเขาสิเนรุ
เอาเถอะ เราจะลองซักซ้อมกับเขาดู ดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสคำนี้กะอัมพัฏฐ
มาณพ. บทว่า อาอริยปาจริเยหิ แปลว่า กับอาจารย์และอาจารย์ของ
อาจารย์เหล่านั้น. ในคำว่า เดินไปอยู่ก็ดีนี้ ความจริงพราหมณ์สมควร
จะสนทนาปราศรัยกับพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ในอิริยาบถทั้ง ๓. แต่มาณพ
นี้ เพราะเหตุที่คนเป็นผู้กระด้างด้วยมานะ เมื่อจะการทำการสนทนาคิด
ว่า เราจักใช้อิริยาบถแม้ทั้ง ๔ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
พราหมณ์ผู้นอนอยู่ควรจะสนทนากับพราหมณ์ผู้นอนด้วยกันก็ได้.
ทราบว่า ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะมาณพนั้นว่า
ดูก่อนอัมพัฏฐะ การที่ผู้เดินอยู่สนทนากับอาจารย์ผู้เดินอยู่ก็ดี ผู้ยืนอยู่
สนทนากับอาจารย์ผู้ยืนอยู่ก็ดี ผู้นั่งอยู่สนทนากับอาจารย์ผู้นั่งอยู่ก็ดี ใช้ได้
ในทุก ๆ อาจารย์ แต่ท่านนอนอยู่สนทนากับอาจารย์ผู้นอนอยู่ อาจารย์
ของท่านน่ะเป็นโค หรือว่า เป็นลาไปแล้วหรือ.
อัมพัฏฐมาณพนั้นโกรธ จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า เย จ โข เต
โภ โคตม มุณฺฑกา ดังนี้. ในคำนั้น การที่จะกล่าวกะผู้มีศีรษะโล้น ว่า
มุณฺฑา และกะสมณะว่า สมณา ควรกว่า. แต่มาณพนี้เมื่อจะเหยียด-
หยามจึงกล่าวว่า มุณฺฑกา (เจ้าหัวโล้น) สมณกา (เจ้าสมณะ) .
บทว่า อิพฺภา แปลว่า เป็นเจ้าบ้าน. บทว่า กณฺหา แปลว่า ชั่วช้า
ความว่า เป็นคนดำ. บทว่า เป็นเหล่ากอของผู้เกิดจากเท้าของพรหม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 550
ในที่นี้ พรหมท่านมุ่งหมายว่า พันธุ. เพราะพวกพราหมณ์พากันเรียกพรหม
นั้นว่า ปิตามหะ (ปู่ บรรพบุรุษ). ชนทั้งหลายเป็นเหล่ากอของเท้าทั้ง ๒
จึงชื่อว่าเป็นตระกูลเกิดจากเท้า. อธิบายว่า เกิดจากหลังเท้าของพรหม.
นัยว่า มาณพนั้นมีลัทธิดังนี้คือ พวกพราหมณ์เกิดจากปากของพรหม
พวกกษัตริย์เกิดจากอก พวกแพศย์เกิดจากสะดือ พวกศูทรเกิดจากหัวเข่า
พวกสมณะเกิดจากหลังเท้า. ก็แลมาณพนั้นเมื่อจะกล่าวอย่างนี้ ก็กล่าว
มิได้เจาะจงใครก็จริง แต่โดยที่แท้เขากล่าวโดยมุ่งหมายว่า เรากล่าวมุ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า อัมพัฏฐมานพ
นี้จำเดิมแต่เวลาที่ตนมาแล้ว เมื่อจะพูดกับเราก็พูดเพราะอาศัยมานะอย่าง
เดียว ไม่รู้จักประมาณของตน เหมือนคนจับอสรพิษที่คอ เหมือนคน
กอดกองไฟไว้ เหมือนคนลูบคลำช้างเมามันที่งวงฉะนั้น เอาเถอะ เราจัก
ให้เขาเข้าใจ จึงตรัสว่า อตฺถิกวโต โข ปน เต อมฺพฏ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น มีใจความว่า ความต้องการ กล่าวคือกิจที่จะต้อง
มากระทำของจิตนั้นมีอยู่ เหตุนั้น จิตของมาณพนั้นจึงชื่อว่า มีความ
ต้องการ. จิตมีความต้องการของเขามีอยู่ เหตุนั้น เขาจึงชื่อว่า มีจิต
มีความต้องการ. ของมาณพนั้น. ใจความว่า ท่านมีจิตมีความต้องการ
จึงได้มา ณ ที่นี้. คำว่า โข ปน เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ยาเยว โข
ปนตฺถาย คือด้วยประโยชน์อันใดเล่า. บทว่า อาคจฺเฉยฺยาถ ความว่า
พวกท่านพึงมาสู่สำนักของเราหรือ ของผู้อื่นเป็นครั้งคราว. คำนี้ว่า ตเมว
อตฺถ ท่านกล่าวด้วยสามารถเป็นเพศชาย. บทว่า พวกท่านพึงกระทำไว้
ในใจ คือพึงกระทำไว้ในจิต. อธิบายว่า ท่านอันอาจารย์ใช้ให้มาด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 551
กรณียกิจของตน มิได้ใช้ให้มาเพื่อต้องการจะลบหลู่เรา เพราะฉะนั้น
ท่านจงใส่ใจถึงเฉพาะกิจอันนั้นเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง
วัตรของผู้มาสู่สำนักของผู้อื่นแก่มาณพนั้นอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงข่มมานะ
จึงตรัสคำว่า อวุสิตวาเยว โข ปน เป็นต้น.
บทนั้นมีใจความว่า แน่ะท่านผู้เจริญ พวกท่านจงดูอัมพัฏฐมาณพนี้
เรียนยังไม่จบ มิได้สำเร็จการศึกษา ยังเป็นคนเล่าเรียนน้อยอยู่ แต่มี
มานะว่าเราเรียนจบแล้ว คือสำคัญคนว่าเราเรียนจบแล้ว สำเร็จการศึกษา
แล้ว เป็นผู้คงแก่เรียน ก็เหตุในการที่อัมพัฏฐะนั่นทักทายด้วยคำหยาบ
อย่างนี้ จะมีอะไรอื่นไปจากที่คนมิได้สำเร็จการศึกษามาจริง เพราะฉะนั้น
บุคคลทั้งหลายที่ไม่ได้รู้เอง ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ได้ฟังมาน้อยในตระกูล
ของอาจารย์เท่านั้น จึงมักกล่าวอย่างนี้.
บทว่า กุปิโต แปลว่า โกรธแล้ว. บทว่า อนตฺตมโน แปลว่า
มีใจมิใช่ของตน (เสียใจ). มีคำถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
ว่าเขาโกรธหรือไม่ทรงทราบหนอ จึงได้ตรัสอย่างนั้น. ตอบว่า ทรงทราบ.
เพราะเหตุไร. ทรงทราบแล้วจึงตรัส. เพื่อต้องการจะถอนเสียซึ่งมานะ.
ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบแล้วว่า มาณพนี้เมื่อเรา
กล่าวอย่างนี้ จักโกรธ แล้วด่าพวกญาติของเรา ทีนั้นเราจักยกเอาโคตร
กับโคตร ตระกูลและประเทศกับตระกูลและประเทศขึ้นพูด ตัดธงคือ
มานะที่เขายกขึ้นแล้วของเขา ราวกะว่าเทียบได้กับภวัคคพรหม ตรงที่โคน
รากแล้วทำให้เหือดหายไป เปรียบดังหมอผู้ฉลาดชำระล้างสิ่งที่เป็นโทษ
แล้วนำออกทิ้งไปเสียฉะนั้น. บทว่า ด่าว่า คือกล่าวเสียดสี. บทว่า
เพิดเพ้ย คือเหยียดหยาม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 552
บทว่า ปาปิโต ภวิสฺสติ คือจักเป็นผู้ให้ถึงโทษมีความเป็นผู้ดุร้าย
เป็นต้น. บทว่า ดุร้าย คือประกอบด้วยความโกรธที่อาศัยมานะเกิดขึ้น.
บทว่า หยาบคาย คือกล้าแข็ง. บทว่า ผลุนผลัน คือใจเบา. พวกเขา
ย่อมยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง กับสิ่งเล็กน้อย คือเลื่อนลอยไปตามอารมณ์
เรื่องเล็กน้อยเหมือนกะโหลกน้ำเต้าล่องลอยไปบนหลังน้ำฉะนั้น. บทว่า
ปากมาก คือมักชอบพูดมาก ท่านกล่าวโดยมีประสงค์ว่า สำหรับพวก
ศากยะ เมื่ออ้าปากแล้ว คนอื่นก็ไม่มีโอกาสที่จะพูดเลย. คำว่า สมานา
นี้เป็นไวพจน์ของบทแรกคือ สนฺตา (แปลว่า เป็น). บทว่า ไม่สักการะ
คือไม่กระทำด้วยอาการที่ดีแก่พวกพราหมณ์. บทว่า ไม่เคารพ คือ
ไม่กระทำความเคารพในเหล่าพราหมณ์. บทว่า ไม่นับถือ คือไม่รักใคร่
ด้วยใจ. บทว่า ไม่บูชา คือไม่กระทำการบูชาแก่พวกพราหมณ์ด้วย
พวงดอกไม้เป็นต้น. บทว่า ไม่ยำเกรง คือไม่แสดงการกระทำความนอบ-
น้อม คือความประพฤติถ่อมตนด้วยการกราบไหว้เป็นต้น. บทว่า ตยิท
ตัดบทเป็น ต อิท ( แปลว่า นี้นั้น). บทว่า ยทิเม สากฺยา มีใจความว่า
พวกศากยะเหล่านี้ไม่สักการะพวกพราหมณ์ ฯ ล ฯ ไม่ยำเกรงพวกพราหมณ์
การไม่กระทำสักการะเป็นต้น ของพวกศากยะเหล่านั้นทุกอย่าง ไม่สมควร
คือไม่เหมาะสมเลย.
บทว่า กระทำผิด คือประทุษร้าย.
คำว่า อิท ในคำว่า เอกมิหาห นี้ เป็นเพียงนิบาต. ความว่า
สมัยหนึ่งข้าพระองค์. บทว่า สัณฐาคาร คือศาลาเป็นที่พร่ำสอนความ
เป็นพระราชา. บทว่า พระเจ้าศากยะทั้งหลาย คือพระราชาผู้ที่ได้รับ
อภิเษกแล้ว. บทว่า ศากยกุมาร คือผู้ที่ยังมิได้รับอภิเษก. บทว่า บนอาสนะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 553
ที่สูง คือบนอาสนะหลายประเภท มีบัลลังก์ ตั่ง ที่นั่งทำด้วยหวาย
แผ่นกระดาน และเครื่องปูลาดที่สวยงามเป็นต้น ตามความเหมาะสม.
บทว่า หัวร่อต่อกระซิกกันอยู่ คือหัวเราะเสียงดังด้วยอำนาจเย้ยหยัน.
บทว่า เล่นหัวกันอยู่ คือกระทำอาการมีการกระทำเพียงยิ้มแย้ม การ
กรีดนิ้วมือ และการให้การตบมือเป็นต้น. บทว่า มมญฺเยว มญฺเ
ความว่า ข้าพระองค์สำคัญอย่างนี้ว่า พวกศากยะทั้งหลายหัวเราะเยาะ
ข้าพระองค์คนเดียว หาใช่หัวเราะเยาะคนอื่นไม่.
ถามว่า ก็พวกศากยะเหล่านั้นได้กระทำอย่างนั้นเพราะเหตุไร.
ตอบว่า นัยว่า พวกศากยะเหล่านั้นรู้จักวงศ์ตระกูลของอัมพัฏฐะ. และ
ในเวลานั้น อัมพัฏฐะนี้ เอามือข้างหนึ่งจับชายผ้าสาฎกที่เขานุ่งลอยชาย
ลงมาจนจดปลายเท้า น้อมกระดูกคอลง เดินมาเหมือนคนที่เมาด้วยความเมา
คือมานะ ทีนั้น พวกศากยะทั้งหลายจึงกล่าวว่า แน่ะผู้เจริญ พวกท่าน
จงดูเหตุแห่งการมาของอัมพัฏฐะผู้กัณหายนโคตร ซึ่งเป็นทาสของพวกเรา
จึงได้กระทำเช่นนั้น. แม้เขาก็รู้วงศ์สกุลของตน. เพราะฉะนั้น เขาจึง
กราบทูลว่า ชะรอยว่า พวกศากยะเหล่านั้น หัวเราะเยาะข้าพระองค์โดยแท้.
บทว่า ด้วยที่นั่ง ความว่า ไม่มีการเชื้อเชิญให้นั่งอย่างนี้ว่า นี่
อาสนะ ท่านจงนั่งบนอาสนะนี้ ดังนี้เลย. ใคร ๆ เขาก็ไม่ทำกันเช่นนั้น
บทว่า นางนกมูลไถ ได้แก่นางนกตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ตาม
ซอกระหว่างก้อนดินในนา. บทว่า ในรัง คือในที่เป็นที่อยู่อาศัย. บทว่า
ชอบพูดพร่ำพรอดกัน คือมักจะกล่าวตามที่ตนปรารถนา คือตนต้องการ
สิ่งใด ๆ ก็กล่าวสิ่งนั้น ๆ ออกมา หงส์ก็ดี นกกะเรียนก็ดี นกยูงก็ดี
มาแล้ว ก็มิได้ห้ามเขาว่า เจ้าพร่ำพรอดไปทำไม. บทว่า ที่จะขัดเคือง
คือที่จะข้องขัดด้วยอำนาจแห่งความโกรธ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 554
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพเข้าใจว่า พระ
สมณโคดมนี้ กระทำพระญาติของพระองค์ให้เป็นเช่นกับนางนกมูลไถ
กระทำพวกเราให้เสมอกับหงส์ นกกะเรียน และนกยูง คราวนี้คงจะ
หมดมานะแล้ว จึงแสดงวรรณะ ๔ ยิ่งขึ้นไปอีก.
บทว่า ย่ำยี คือเหยียบย่ำ ได้แก่กระทำให้หมดความนับถือ. บทว่า
ไฉนหนอ เรา คือ ก็ถ้ากระไรเรา. นัยว่า คำว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ข้าพระองค์เป็นกัณหายนโคตร อัมพัฏฐะได้กล่าวออกมาด้วยเสียงอันดังถึง
๓ ครั้ง. ถามว่า เขากล่าวขึ้นเพราะเหตุไร เขาไม่รู้หรือว่าเป็นโคตรที่
ไม่บริสุทธิ์. ตอบว่า เขารู้แน่ แต่ถึงจะรู้ก็สำคัญเอาว่า เหตุนี้ ภพปกปิด
ไว้ เหตุนั้น พระสมณโคดมนี้ก็ไม่ทรงเห็น พระมหาสมณะเมื่อไม่ทรง
เห็นอยู่ จักตรัสอะไรเล่า จึงได้กล่าวขึ้น เพราะความที่ตนเป็นผู้กระด้างด้วย
มานะ. บทว่า มาตาเปตฺติก แปลว่า เป็นสมบัติตกทอดมาของมารดา
บิดา. บทว่า ชื่อและโคตร คือชื่อด้วยอำนาจแห่งบัญญัติ โคตรด้วย
อำนาจแห่งประเพณี. บทว่า รำลึกถึงอยู่ คือนึกถึงอยู่ ได้แก่สืบสาวไป
จนถึงที่สุดของตระกูล. บทว่า พระลูกเจ้า คือเจ้านาย. บทว่า ลูกของ
ทาสี คือเป็นลูกของนางทาสีในเรือน (หญิงรับใช้). เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า นายอันคนใช้จะพึงเข้าไปหาโดยประ-
การใด พวกศากยะเห็นท่านไม่เข้าไปหาโดยประการนั้นจึงกล่าวเย้ยหยันให้.
เบื้องหน้าแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศความที่อัมพัฏฐะ
นั้นเป็นทาส และความที่พวกศากยะเป็นเจ้านายแล้ว เมื่อจะทรงนำวงศ์
สกุลของพระองค์และของอัมพัฏฐะมา จึงตรัสพระดำรัสว่า สกฺยา โข
ปน เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า ทหนฺติ แปลว่า ตั้งไว้ ใจความว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 555
พวกศากยะพูดกันว่า พระเจ้าโอกกากราชเป็นบรรพบุรุษของเรา. ได้
สดับมาว่า ในเวลาที่พระราชานั้นตรัส รัศมีจะพุ่งออกมาจากพระโอฐเหมือน
คบเพลิง เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายจึงถวายพระนามพระองค์ว่า โอกกากะ.
บทว่า ให้ออกไปแล้ว คือนำไปแล้ว. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ทรงแสดงพวกศากยะเหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งชื่อ จึงตรัสพระดำรัสมีว่า
โอกฺกามุข เป็นต้น. ในเรื่องนั้นมีคำที่จะกล่าวตามลำดับ ดังต่อไปนี้
ดังได้สดับมา พระราชโอรสของพระเจ้ามหาสมมติราชแห่งกัปที่
เป็นปฐมกัป ทรงพระนามว่า โรชะ พระราชโอรสของพระเจ้าโรชะ
ทรงพระนามว่า วโรชะ ของพระเจ้าวโรชะ ทรงพระนามว่า กัลยาณะ
ของพระเจ้ากัลยาณะ ทรงพระนามว่า วรกัลยาณะ ของพระเจ้าวรกัลยาณะ
ทรงพระนามว่า มันธาตุ ของพระเจ้ามันธาตุ ทรงพระนามว่า วรมันธาตุ
ของพระเจ้าวรมันธาตุ ทรงพระนามว่า อุโบสถ ของพระเจ้าอุโบสถ
ทรงพระนามว่า วระ ของพระเจ้าวระ. ทรงพระนามว่า อุปวระ ของ
พระเจ้าอุปวระ ทรงพระนามว่า มฆเทวะ ของพระเจ้ามฆเทวะ โดยสืบ
ตามลำดับมาเป็นกษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์. หลังจากกษัตริย์เหล่านั้น
ได้มีวงศ์สกุลของพระเจ้าโอกกากะ ๓ สกุล. ใน ๓ สกุลนั้น พระเจ้า-
โอกกากราชที่ ๓ ทรงมีพระมเหสี ๕ พระองค์ คือ ทรงพระนามว่า หัตถา
จิตตา ชันตุ ชาลินี และวิสาขา. สำหรับพระมเหสีแต่ละพระองค์มี
สตรีองค์ละ ๕๐๐ เป็นบริวาร. พระมเหสีองค์ใหญ่ที่สุดมีพระราชโอรส
๔ พระองค์ คือ ทรงพระนามว่า โอกกามุขะ กรกัณฑุ หัตถินิกะ สินิปุระ.
มีพระราชธิดา ๕ พระองค์ คือ ทรงพระนามว่า ปิยา สุปปิยา อานันทา
วิชิตา วิชิตเสนา. พระองค์ประสูติพระราชบุตรและพระราชธิดา ๙ พระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 556
องค์แล้วก็สวรรคต ด้วยประการฉะนี้.
ต่อมาพระราชาได้ทรงนำพระราชธิดาองค์อื่นที่ยังสาวสวยมาอภิเษก
ไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี. พระนางประสูติพระราชโอรสทรงพระ
นามว่า ชันตุ. ทีนั้น ในวันที่ ๕ พระนางจึงประดับประดาพระโอรสนั้น
แล้ว ทูลแสดงแด่พระราชา. พระราชาทรงดีพระทัย ได้พระราชทาน
พรแก่พระนาง. พระนางทรงปรึกษากับพระญาติทั้งหลายแล้ว จึงทูล
ขอราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส. พระราชาทรงตวาดว่า แน่ะหญิงถ่อย
เจ้าจงฉิบหายเสีย เจ้าปรารถนาอันตรายให้แก่บุตรของเรา. พระนาง
พอลับตาคน ก็ทูลให้พระราชาทรงยินดีบ่อย ๆ เข้าแล้ว ทูลคำเป็นต้นว่า
ข้าแต่พระมหาราช ขึ้นชื่อว่าการตรัสคำเท็จหาสมควรไม่ แล้วก็ทูลขอ
อยู่นั่นแหละ.
ลำดับนั้น พระราชาจึงทรงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสทั้งหลายมา
ตรัสว่า แน่ะพ่อทั้งหลาย เราเห็นชันตุกุมารน้องคนเล็กของพวกเจ้า จึง
ให้พรแก่แม่ของเขาไปฉับพลันทันที นางก็ยากจะให้ลูกของเขาได้ราช-
สมบัติเว้นพวกเจ้า พวกเจ้าอยากได้ช้างมงคล ม้ามงคล และรถมงคล
มีประมาณเท่าใด จงถือเอาช้างม้าและรถมีประมาณเท่านั้นไปเสีย แล้วพึง
กลับมาครองราชสมบัติ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว จึงส่งออกไปพร้อมกับ
อำมาตย์ ๘ คน.
ราชโอรสเหล่านั้นร้องคร่ำครวญมีประการต่าง ๆ กราบทูลว่า ข้าแต่
เสด็จพ่อ ของพระองค์ได้ทรงโปรดยกโทษแก่พวกข้าพระองค์ด้วยเถิด
แล้วก็ให้พระราชาและนางสนมกำนัลในของ'พระราชายกโทษให้ แล้ว
กราบทูลว่า พวกข้าพระองค์จะไปพร้อมกับพระเจ้าพี่ด้วย แล้วจึงทูลลา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 557
พระราชาออกไป พาเอาพระพี่นางไป มีพวกเสนาทั้ง ๔ เหล่าห้อมล้อม
ออกไปจากพระนครแล้ว. พวกมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากต่างพากันคิดว่า
พระราชกุมารทั้งหลาย จักมาครองราชสมบัติ เมื่อพระราชบิดาสวรรคต
แล้ว พวกเราจักไปรับใช้พระองค์ ต่างพากันติดตามไปด้วย. ในวันแรก
เหล่าเสนากินเนื้อที่ประมาณโยชน์หนึ่ง ในวันที่ ๒ ประมาณ ๒ โยชน์
ในวันที่ ๓ ประมาณ ๓ โยชน์. พวกราชกุมารต่างปรึกษากันว่า กองทัพ
นี้ใหญ่โต ถ้าพวกเราย่ำยีพระราชาในประเทศใกล้เคียงบางแห่งแล้ว ยึด
เอาชนบท แม้พระราชานั้นก็คงไม่สามารถสู้ได้ จะมีประโยชน์อะไรกับ
การเบียดเบียนผู้อื่น ชมพูทวีปนี้ยังกว้างใหญ่ พวกเราจักพากันสร้างเมือง
ในป่า ว่าแล้วก็เสด็จดำเนินมุ่งพระพักตร์ไปยังป่าหิมพานต์ เสาะหาที่ที่จะ
ตั้งเมือง.
ในสมัยนั้นพระโพธิสัตว์ของพวกเราบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่ง
มีชื่อว่า กบิลพราหมณ์ ออกบวชเป็นฤาษี สร้างบรรณศาลอาศัยอยู่ใน
แนวป่า มีต้นสากะ ใกล้ฝั่งสระโบกขรณี ที่ข้างป่าหิมพานต์. นัยว่า
พราหมณ์นั้นรู้วิชาชื่อ ภุมมบาล ที่เป็นเครื่องมือให้คนมองเห็นคุณและ
โทษในเบื้องบนในอากาศ มีประมาณ ๘๐ ศอก และเบื้องล่าง แม้ใน
แผ่นดิน. ในที่แห่งหนึ่ง มีกอหญ้า และเถาวัลย์เกิดเป็นทักษิณาวรรต
(เวียนขวา) บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก. ราชสีห์และเสือโคร่งเป็น
ต้น วิ่งไล่ตามเนื้อและสุกรมาก็ดี งูและแมว วิ่งไล่ตามกบและหนูมาก็ดี
มาถึงที่นั้นแล้ว ไม่สามารถจะไล่ตามสัตว์เหล่านั้นต่อไปได้ จะถูกสัตว์
เหล่านั้นขู่ให้กลัว ต้องหันกลับไปแน่นอนทีเดียว. พราหมณ์นั้นทราบว่า
นี้เป็นที่ที่เลิศในแผ่นดิน แล้วจึงสร้างบรรณศาลาของตนในที่นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 558
ต่อมาพราหมณ์นั้นเห็นพระราชกุมารเหล่านั้นเสาะแสวงหาที่ที่จะตั้ง
เมือง เดินมาสู่ที่เป็นที่อยู่ของตน ถามทราบความเป็นไปนั้นแล้ว เกิดความ
เอ็นดูในพระราชกุมารเหล่านั้นจึงได้ทูลว่า เมืองที่สร้างขึ้นในที่ตั้งบรรณ-
ศาลานี้จักเป็นเมืองเลิศในชมพูทวีป ในบรรดาชายที่เกิดในเมือง แต่
ละคน ๆ จักสามารถเอาชนะคนตั้ง ๑๐๐ ก็ได้ ตั้ง ๑,๐๐๐ ก็ได้ พวก
พระองค์จงสร้างเมืองในที่นี้เถิด จงสร้างพระราชมณเฑียรของพระราชา ณ
ที่ตั้งบรรณศาลาเถิด เพราะคนยืนในที่นี้ ถึงจะเป็นลูกคนจัณฑาล ก็จะเป็นผู้
ประเสริฐยิ่งด้วยกำลังของพระเจ้าจักรพรรดิ. พวกพระราชกุมารจึงเรียนว่า
นี้เป็นที่อาศัยอยู่ของพระผู้เป็นเจ้ามิใช่หรือขอรับ. พวกท่านไม่ต้องคิดว่า
เป็นที่อยู่อาศัยของเรา จงสร้างเมืองกันให้บรรณศาลาของเราไว้ข้างหนึ่ง
แล้วตั้งชื่อว่า กบิลพัสดุ์. พวกราชกุมารเหล่านั้น กระทำเช่นนั้นแล้ว
พากันอาศัยอยู่ ณ ที่นั้น.
อำมาตย์ทั้ง ๘ คนคิดว่า พระราชโอรสเหล่านี้เจริญวัยแล้ว ถ้า
พระราชบิดาของพวกเขาพึงอยู่ในที่ใกล้ พระองค์พึงทรงกระทำอาวาห-
วิวาหมงคลให้ แต่บัดนี้เป็นภาระของพวกเราแล้ว จึงปรึกษากับพระราช-
กุมารทั้งหลาย. พระราชกุมารทั้งหลายกล่าวว่า พวกเรายังมองไม่เห็น
ธิดากษัตริย์เช่นกับพวกเรา ทั้งก็ยังมองไม่เห็นกุมารกษัตริย์เช่นกับพระ
พี่น้องนาง ลูกของพวกเราที่เกิดขึ้นเพราะอยู่ร่วมกับผู้ที่ไม่เสมอกัน จัดว่า
เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ทางฝ่ายมารดา หรือทางฝ่ายบิดา จักถึงความความแตก
ต่างกันแห่งชาติ เพราะฉะนั้น พวกเราจึงพอใจการอยู่ร่วมกับพระพี่น้อง
นางเท่านั้น เพราะกลัวความแตกต่างกันแห่งชาติ จึงตั้งพระเชฏฐภคินีไว้
ในตำแหน่งเป็นพระมารดา ต่างก็สำเร็จการอยู่ร่วมกันกับพระพี่น้องนาง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 559
ที่เหลือ.
เมื่อพระราชโอรสเหล่านั้นเจริญด้วยบุตรและธิดา แต่ในสมัยต่อมา
พระเชฏฐภคินีเกิดเป็นโรคเรื้อน. เนื้อตัวเป็นเหมือนกับดอกทองกวาว.
พระราชกุมารทั้งหลายคิดว่า เมื่อพวกเราการทำการนั่งการนอนและการ
บริโภค เป็นต้น รวมกันกับพระเชฏฐภคินีนี้ โรคนี้ก็จะติดต่อกันได้
วันหนึ่งจึงทำเป็นประหนึ่งว่า เดินไปเล่นกีฬาในสวน ให้พระเชฏฐภคินี
นั้นขึ้นนั่งบนยานแล้วเข้าไปยังป่า รับสั่งให้ขุดสระโบกขรณีในพื้นดินโดย
สังเขปว่าเป็นเรือน ให้พระนางเข้าไปในที่นั้น พร้อมกับของเคี้ยวและ
ของบริโภค มุงข้างบนใส่ดินร่วนลงไป แล้วพากันกลับไป.
ในสมัยนั้นพระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระนามว่า รามะ ทรงเป็นโรค
เรื้อน พวกนางสนมกำนัลในและพวกนักแสดงละคร ต่างพากันรังเกียจ
เพราะความสังเวชใจนั้น จึงทรงมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์
ใหญ่เสด็จเข้าป่า ทรงเสวยรากไม้ในป่าในที่นั้น ต่อเวลาไม่นานนักก็หาย
พระโรค มีผิวพรรณประดุจทองคำ เสด็จเที่ยวไปทางโน้นบ้าง ทางนี้
บ้าง ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้มีโพรงใหญ่ ทรงถากถางที่ว่างมีประมาณ
๑๖ ศอก ในสวนด้านในแห่งต้นไม้นั้น ติดประตูและหน้าต่าง ผูกบันได
ไว้ ประทับ อยู่ ณ ที่นั้น. พระองค์ทรงก่อไฟไว้ในกะโหลกรองรับถ่าน
ตอนกลางคืน ทรงสดับเสียงร้องของเหล่าสัตว์มีเนื้อและสุกร เป็นต้น
บรรทมหลับไป. พระองค์ทรงสังเกตว่า ในที่โน้นราชสีห์ร้อง ในที่โน้น
เสือโคร่งร้องพอสว่างก็เสด็จไปที่นั้นทรงเก็บเอาเนื้อที่เหลือเดนมาเผาเสวย.
ต่อมาวันหนึ่ง ในตอนใกล้รุ่ง เมื่อพระองค์ทรงก่อไฟให้ลุกขึ้น
แล้วประทับนั่งอยู่ เสือโคร่งเดินมาเพราะได้กลิ่นตัวพระราชธิดา จึงคุ้ยดิน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 560
กระจัดกระจายในที่นั้น ทำเป็นช่องว่างไว้ที่ซอกเขา. พระนางทอดพระ
เนตรเห็นเสือโคร่งทางช่องนั้น ทรงกลัวจึงส่งเสียงร้องดังลั่น. พระเจ้า
กรุงพาราณสี ทรงสดับเสียงนั้น ทรงสังเกตได้ว่า นี้เป็นเสียงสตรี จึงเสด็จ
ไป ณ ที่นั้นแต่เช้าทีเดียว ตรัสถามว่า ใครอยู่ในที่นี้ พระนางตอบว่า ผู้
หญิง นาย. เธอมีชาติเป็นอะไร. ฉันเป็นธิดาของพระเจ้าโอกกากมหาราช.
เธอจงออกมาเถิด. ไม่สามารถออกไปได้ นาย. เพราะเหตุไร ฉันเป็น
โรคผิวหนัง. พระเจ้ากรุงพาราณสีตรัสถามความเป็นมาทุกประการแล้ว
ให้พระนางผู้ไม่ยอมออกมาเพราะขัตติยมานะ ทรงทราบความเป็น
กษัตริย์ของตนว่า แม้เราก็เป็นกษัตริย์ จึงทรงพาดบันไดลงไป ทรงฉุด
ขึ้นมาพาไปยังที่ประทับของพระองค์ พระราชทานยาที่พระองค์ทรงเสวย
เองนั่นแหละ ต่อมาไม่นานนัก ทรงกระทำให้พระนางหายพระโรค มีผิว
พรรณประดุจทองคำได้ จึงทรงอยู่ร่วมกับพระนาง. เพราะการอยู่ร่วม
ครั้งแรกนั่นเอง พระนางก็ทรงครรภ์ ประสูติพระราชโอรส ๒ พระองค์
แล้วก็ประสูติอีกถึง ๑๖ ครั้ง อย่างนี้คือ ครั้งละสอง ๆ ด้วยประการ
ฉะนี้. จึงมีพี่น้องถึง ๓๒ พระองค์. พระราชบิดาก็ทรงให้พระราชโอรส
เหล่านั้นซึ่งเจริญวัยแล้ว ได้ทรงศึกษาศิลปศาสตร์ทุกชนิด.
ต่อมาวันหนึ่ง พรานไพรผู้อยู่ในเมืองของพระเจ้ารามะคนหนึ่ง
เที่ยวแสวงหาแก้วอยู่ที่ภูเขา เห็นพระราชาแล้ว จำได้ จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระพุทธเจ้าจำพระองค์ได้. ทีนั้น พระราชาจึงตรัส
ถามความเป็นไปทุกประการ. และในขณะนั้นนั่งเอง พวกเด็กทั้งหลาย
เหล่านั้นก็พากันมา. พรานไพรเห็นพวกเขาแล้ว ทูลถามว่า เด็กเหล่านี้
เป็นใคร. เมื่อพระราชตรัสว่า ลูกของเราเอง เขาจึงทูลถามถึงวงศ์สกุล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 561
ทางฝ่ายมารดาของเด็กเหล่านั้น คิดว่าบัดนี้เราได้รางวัลแล้ว จึงไปยังเมือง
กราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงดำริว่า เราจักทูลเชิญเสด็จพระราช-
บิดามา จึงเสด็จไป ณ ที่นั้น พร้อมกับเสนา ๔ เหล่า ถวายบังคมพระ
ราชบิดา แล้วทูลขอว่า ขอพระองค์จงทรงรับราชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า.
พระเจ้ากรุงพาราณสีตรัสว่า อย่าเลยพ่อเอ๋ย เราจะไม่ไป ณ ที่นั้น เธอ
จงถากถางต้นไม้นี้ออก แล้วสร้างเมืองให้แก่เรา ณ ที่นี้นี่แหละ. พระ
ราชาทรงกระทำตามรับสั่งแล้ว ตั้งชื่อให้ ๒ ชื่อ คือ ชื่อว่า โกลนคร
เพราะเหตุที่ถากถางต้นกระเบาออกแล้วสร้างเมืองนั้นขึ้น ๑ ชื่อว่า
พยัคฆบถ เพราะสร้างขึ้นที่ทางเดินของเสือโคร่ง ๑ เสร็จแล้วถวายบังคม
พระราชบิดา ได้เสด็จกลับพระนคร.
ต่อมาพระราชมารดาได้ตรัสกะกุมารผู้เจริญวัยแล้วว่า นี่แน่ะลูก ๆ
ทั้งหลาย ศากยะผู้อยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ผู้เป็นพระเจ้าลุงของพวกท่านมีอยู่
ก็พวกธิดาของพระเจ้าลุงของพวกท่าน มีการจับผมเห็นปานฉะนี้ มีการ
จับผ้าเห็นปานฉะนี้ แน่ะลูกทั้งหลาย เมื่อใดพวกเขามาท่าอาบน้ำ เมื่อ
นั้นท่านจงไปจับธิดาผู้ที่ตนชอบไว้. พวกเขาก็พากันไปในที่นั้น เมื่อพระ
ราชธิดาพากันมาอาบน้ำ กำลังผึ่งศีรษะให้แห้งอยู่ จึงจับราชธิดาผู้ที่ตน
ปรารถนาประกาศชื่อให้ทราบแล้วมา. พระเจ้าศากยะทั้งหลายทรงสดับ
แล้ว ตรัสว่า แน่ะพนาย ช่างเขาเถิด พวกญาติ ๆ ของเราเอง แล้วก็
ทรงเฉยเสีย. นี้เป็นเรื่องเกิดขึ้นของศากยวงศ์และไกลิยวงศ์. เมื่อศากยวงศ์
และไกลิยวงศ์เหล่านั้น ทำการอาวาหมงคลและวิวาหมงคลซึ่งกันและกัน
วงศ์สกุลสืบต่อกันมาไม่ขาดสายเลย ทราบเท่าถึงพุทธกาล. ในเรื่องนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงศากยวงศ์ จึงตรัสพระดำรัสว่า ศากยะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 562
เหล่านั้นออกไปจากแว่นแคว้นไปอาศัยอยู่ที่ฝั่งแห่งสระโบกขรณี ข้าง
หิมวันตประเทศ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมนฺติ แปลว่า อาศัยอยู่. บทว่า
สากฺยา วต โภ มีใจความว่า พวกศากยะแม้จะออกไปอยู่ในป่า ไม่
ทำลายเชื้อชาติ เป็นผู้สามารถ คือมีกำลังแก่กล้าที่จะรักษาวงศ์สกุลไว้ได้.
บทว่า ตั้งแต่นั้นมา คือนับวันนั้นเป็นต้นมา ได้แก่จำเดิมแต่นั้นมา.
บทว่า โส จ เนส ปุพฺพปุริโส ใจความว่า พระราชาทรงพระนามว่า
โอกกากะนั้นเป็นบรรพบุรุษของพระราชกุมารเหล่านั้น แม้แต่เพียงการ
แตกต่างแห่งเชื้อชาติด้วยอำนาจเป็นคหบดีของศากยะเหล่านั้น ก็มิได้มี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศศากยวงศ์ให้ทราบอย่างนี้แล้ว ต่อนี้ไป
เมื่อจะทรงประกาศอัมพัฏฐวงศ์ จึงตรัสพระดำรัสมีว่า รญฺโ โข ปน
เป็นต้น.
บทว่า นางทาสีคลอดลูก ชื่อว่า กัณหะ คือคลอดลูกมีผิวดำ
มีฟันเกิดขึ้น มีผมหนวดและเครางอกขึ้นตั้งแต่อยู่ในท้องทีเดียว. บทว่า
ปพฺยาหาสิ ความว่า เมื่อพวกมนุษย์ในเรือนทั้งหลาย ต่างพากันหนีไป
เพราะกลัวว่า ยักษ์เกิดแล้ว ปิดประตูแล้วยืนอยู่ นายกัณหะก็เดินไป
ข้างโน้นและข้างนี้ พลางพูดร้องเสียงดังลั่นว่า พวกท่านจงช่วยชำระล้าง
เรา ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า พวกมาณพเหล่านั้น ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า
คือได้กราบทูลคำนี้ว่า มา ภว เป็นต้น ก็เพื่อจะปลดเปลื้องคำตำหนิ
ของตน. นัยว่า พวกมาณพเหล่านั้น ได้มีความคิดย่างนี้ว่า อัมพัฏฐะ
นี้เป็นศิษย์คนโตของอาจารย์ของพวกเรา ถ้าพวกเราจะไม่พูดบ้างสักคำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 563
สองคำในฐานะเห็นปานฉะนี้ อัมพัฏฐะนี้จักทำลายพวกเราในสำนักอาจารย์
ของพวกเรา พวกเขาจึงได้กล่าวอย่างนี้ เพื่อจะปลดเปลื้องคำตำหนิ แต่
พวกเขาก็ยังหวังด้วยคิดว่า อัมพัฏฐะนี้จะปราศจากความมัวเมา. นัยว่า
อัมพัฏฐะนี้ก็ไม่เป็นที่รักแม้ของพวกมาณพเหล่านั้นนัก เพราะเขาเป็นคน
เจ้ามานะ. บทว่า เป็นผู้พูดแต่คำดีงาม คือมีคำพูดอ่อนหวาน. บทว่า
ในถ้อยคำนั้น คือในถ้อยคำเกี่ยวกับเวท ๓ ที่ตนเรียนมาแล้ว. บทว่า
เพื่อจะโต้ตอบ ความว่า เพื่อจะกล่าวตอบโต้ คือกล่าวแก้ปัญหาที่ถาม
แล้ว. อีกนัยหนึ่งว่า เพื่อจะโต้ตอบ คือเพื่อจะกล่าวให้เหนือกว่า ในคำ
พูดว่า เป็นบุตรของทาสี นั้น.
บทว่า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า มีใจความว่า ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า ถ้าพวกมาณพผู้นั่งในที่นี้เหล่านั้น จักส่ง
เสียงดังขึ้นทำนองนี้ ก็จะพูดกันไม่จบลงได้ เอาเถอะ เราจะทำให้เขา
เงียบเสียงแล้วพูดกับอัมพัฏฐะเท่านั้น จึงได้ตรัสพระดำรัสนี้กะพวกมาณพ
เหล่านั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนฺตโวฺห แปลว่า พวกท่านจง
ปรึกษา. บทว่า มยา สทฺธึ มนฺเตตุ คือจงกล่าวกับเรา. เมื่อพระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพทั้งหลายจึงคิดว่า อัมพัฏฐมาณพ
ผู้ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นบุตรของนางทาสี ถึงเพียงนั้น ไม่
สามารถที่จะเงยศีรษะขึ้นได้. ก็ขึ้นชื่อว่า เชื้อชาตินี้แล รู้กันได้ยาก ถ้า
พระสมณโคดมจะกล่าวคำไร ๆ แม้กะผู้อื่นว่า ท่านเป็นทาส ใครจัก
ก่อคดีกับพระสมณโคดมนั้น อัมพัฏฐะ จงแก้ข้อที่คนผูกเข้าด้วยตนเอง
เถิด ดังนี้ เมื่อจะปลดเปลื้องตนออกแล้ว โยนไปเหนืออัมพัฏฐะคนเดียว
จึงกล่าวคำมีว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐะเกิดดีแล้ว เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 564
บทว่า ประกอบด้วยธรรม ได้แก่เป็นไปกับเหตุ คือมีเค้ามูล.
บทว่า แม้จะไม่พอใจก็ต้องพยากรณ์ ความว่า ตนแม้ไม่ปรารถนาก็ต้อง
พยากรณ์ คือจะต้องวิสัชนาโดยแน่แท้. บทว่า อญฺเน วา อญฺ
ปฏิจริสฺสสิ ใจความว่า ท่านจักเอาอีกคำหนึ่งมากลบเกลื่อนอีกคำหนึ่ง
คือจักทับถม ได้แก่จักปกปิด. ก็ผู้ใดอันเขาถามแล้วอย่างนี้ว่า ท่านมีโคตร
อะไร แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้เวททั้ง ๓ เป็นต้น ผู้นี้ชื่อว่า เอาคำอื่นมา
กลบเกลื่อนอีกคำหนึ่ง. บทว่า ปกฺกมิสฺสสิ วา ความว่า ท่านทั้งที่
รู้อยู่ซึ่งปัญหาที่เขาถามแล้ว กลับลุกจากอาสนะไปเสีย เพราะไม่อยากจะ
ตอบหรือ. บทว่า อัมพัฏฐะได้นิ่งเสีย ความว่า อัมพัฏฐะคิดว่า พระ
สมณโคดมมีพระประสงค์จะให้เราทูลว่า เป็นลูกนางทาสีเองทีเดียว และ
เมื่อเราทูลเสียเอง ชื่อว่าทาสย่อมเกิดขึ้นแน่นอน แต่พระสมณโคดมนี้
ทักท้วงเพียง ๒ - ๓ ครั้งแล้วก็จักทรงดุษณีภาพ ทีนั้น เราก็จักหลบหนี
หลีกไป ดังนี้แล้ว จึงนิ่งเสีย.
สายฟ้ามีอยู่ที่ฝ่ามือของยักษ์นั้น เหตุนั้น ยักษ์นั้น จึงชื่อว่า
วชิรปาณี. บทว่า ยักษ์ พึงทราบว่า มิใช่ยักษ์ธรรมดา แต่เป็นท้าวสักก-
เทวราช. บทว่า เป็นของร้อน คือมีสีเป็นไฟ. บทว่า สมฺปชฺชลิต
แปลว่า ลุกโพลงไปทั่ว. บทว่า สโชติภูต แปลว่า มีแสงสว่างโดยรอบ
ความว่า มีเปลวไฟเป็นอันเดียวกัน. บทว่า ยืนอยู่ ความว่า ยักษ์นั้น
เนรมิตรูปร่างแปลกประหลาดอย่างนี้ คือ ศีรษะใหญ่ เขี้ยวเหมือนกับ
หัวผักกาดสด นัยน์ตาและจมูกเป็นต้น ดูน่ากลัว ยืนอยู่. ถามว่า
ก็ยักษ์นี้มาเพราะเหตุไร. ตอบว่า มาเพื่อจะให้อัมพัฏฐะละทิ้งทิฏฐิเสีย.
อีกประการหนึ่ง ยักษ์นี้มาด้วยคิดว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 565
ทรงถึงความเป็นผู้ขวนขวายน้อย ในการทรงแสดงพระธรรมเทศนาอย่าง
นี้ว่า ก็เรานี่แหละพึงแสดงธรรมได้ แต่คนอื่นเขาหารู้ทั่วถึงธรรมของเรา
ไม่ ท้าวสักกะพร้อมกับท้าวมหาพรหมจึงเสด็จมา ได้ทรงการทำปฏิญญา
ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงทรงแสดงธรรมเถิด พวก
ที่ไม่เป็นไปในอำนาจปกครองของพระองค์ พวกข้าพระองค์จักให้เป็นไป
เอง ธรรมจักรจงเป็นของพระองค์ อาณาจักรจงเป็นของพวกข้าพระองค์
เพราะฉะนั้น วันนี้เราจักขู่ให้อัมพัฏฐะสะดุ้งกลัว แล้วให้เฉลยปัญหา
ให้ได้.
บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็น และอัมพัฏฐะ
ก็เห็น มีใจความว่า ก็ถ้ายักษ์นั้นแม้คนอื่นก็เห็น เหตุนั้นก็จะดูไม่สำคัญ
ชนทั้งหลายพึงกล่าวว่า พระสมณโคดมนี้ทรงทราบว่าอัฏพัฏฐะไม่ยอม
อยู่ในพระดำรัสของพระองค์ จึงนำยักษ์มาแสดง ทีนั้น อัมพัฏฐะจึงพูดขึ้น
เพราะความกลัว เพราะฉะนั้น พระผู้พระภาคเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็น
และอัมพัฏฐะก็เห็น.
อัมพัฏฐะพอเห็นยักษ์นั้นเท่านั้น เหงื่อก็ไหลออกทั่วตัว. ภายใน
ท้องก็ปั่นป่วนดังลั่น. เขาจึงคิดว่า แม้คนอื่นเล่าเขาเห็นไหมหนอ พลาง
มองดูรอบ ๆ ก็มิได้เห็นใคร ๆ แม้จะมีเพียงขนลุก. ลำดับนั้น เขาจึงคิดว่า
ภัยนี้เกิดขึ้นเฉพาะแก่เรา ถ้าเราจะพูดว่า ยักษ์ ชนทั้งหลายพึงกล่าวว่า
ตาของท่านนั่นแหละมีอยู่มิใช่หรือ ท่านคนเดียวเท่านั้นเห็นยักษ์ อัมพัฏฐะ
ทีแรกไม่เห็นยักษ์ แต่ถูกพระสมณโคดมทรงบีบคั้นด้วยวาทะ จึงเห็น
ยักษ์ สำคัญอยู่ว่า บัดนี้ ในที่นี้ที่พึ่งอย่างอื่นของเราไม่มี นอกจากพระ
สมณโคดมเท่านั้น ลำดับนั้นแล อัมพัฏฐมาณพ ฯ ล ฯ ได้กล่าวคำนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 566
กะพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า ตาณ คเวสี แปลว่า แสวงหาที่ต้านทาน. บทว่า เลณ คเวสี
แปลว่า แสวงหาที่เร้น. บทว่า สรณ คเวสี แปลว่า แสวงหาที่พึ่ง.
ก็ในคำเหล่านี้ ที่ชื่อว่า ที่ต้านทาน เพราะย่อมต้านทานไว้ คือรักษาไว้.
ที่ชื่อว่า ที่เร้น เพราะชนทั้งหลายย่อมหลีกเร้นอยู่ในที่นี้ . ที่ชื่อว่า ที่พึ่ง
เพราะย่อมป้องกันไว้ ความว่า ย่อมเบียดเบียน คือกำจัดเสียได้ซึ่งภัย.
บทว่า เข้าไปนั่งใกล้ คือเข้าไปนั่งบนที่นั่งเบื้องล่าง. บทว่า พฺรูตุ
แปลว่า จงกล่าว.
บทว่า ชนบททางทิศใต้ คือชนบททางทิศใต้แห่งแม่น้ำคงคา ที่
ปรากฏชื่อทักษิณาบถ. ได้ยินว่า ในกาลนั้น ในประเทศทางทิศใต้ของ
อินเดียมีพราหมณ์และดาบสอยู่มาก. อัมพัฏฐะไป ณ ที่นั้น ทำให้ดาบส
คนหนึ่งยินดีด้วยวัตรปฏิบัติ. ดาบสนั้นเห็นอุปการะของเขาจึงกล่าวว่า
แน่ะบุรุษผู้เจริญ เราจะให้มนต์แก่ท่าน ท่านปรารถนามนท์ใด จงเรียน
มนต์นั้นเถิด. เขาจึงกล่าวว่า ข้าแต่อาจารย์ กิจด้วยมนต์อย่างอื่นของผม
ไม่มี อาวุธทำร้ายไม่ได้ด้วยอานุภาพของมนต์ใด ขอท่านจงให้มนต์นั้น
แก่ผมเถิด. ดาบสนั้นกล่าวว่า แน่ะผู้เจริญ ดีแล้ว จึงได้ให้วิชาที่ธนูยิง
ไม่เข้า ชื่อว่าอัมพัฏฐะ. เขาเรียนเอาวิชานั้นแล้ว ทดลองในที่นั้นทีเดียว
คิดว่า บัดนี้เราจักให้ความใฝ่ฝันของเราเต็มเสียที จึงถือเอาเพศเป็นฤาษี
ไปยังสำนักของพระเจ้าโอกกากะ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อัม-
พัฏฐะไปสู่ชนนททางทิศใต้ เรียนพรหมมนต์เข้าไปเฝ้าพระเจ้า
โอกกากะ ดังนี้.
ในบทนี้ บทว่า พรหมมนต์ คือมนต์อันประเสริฐ เพราะเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 567
มนต์สมบูรณ์ด้วยอานุภาพ. บทว่า โก เนวเร๑ มยฺห หาสีปุตฺโต ความว่า
นี่แน่ะเว้ย ใครหนอนี้เป็นลูกนางทาสี (มาขอลูกสาว) ของเราอย่างนี้.
บทว่า พระเจ้าโอกกากราช นั้น ไม่ทรงสามารถจะปล่อยลูกธนูไปได้
ความว่า พระราชานั้น ขึ้นสายธนู เพราะพระองค์มีพระประสงค์จะฆ่า
ฤาษีนั้น แต่ไม่ทรงสามารถที่จะยิงออกไป ทั้งไม่ทรงสามารถที่จะปลดออก
ได้ซึ่งลูกศรนั้น ทันใดนั้น พระองค์ก็มีพระเสโทไหลไปทั่วพระวรกาย
ประทับยืนสั่นงันงกอยู่ด้วยความกลัว.
บทว่า อำมาตย์ทั้งหลาย คือมหาอำมาตย์ทั้งหลาย. บทว่า เหล่า
ชุมชน คือมวลชนนอกจากนี้. บทว่า เหล่าอำมาตย์ทั้งหลาย ได้
กล่าวคำนี้ ความว่า พวกเขาคิดอยู่ว่า เมื่อพระราชาทรงพระนามว่า
ทัณฑกี ทรงพระพฤติผิดในดาบสชื่อ กีสวัจฉะ แว่นแคว้นทั้งสิ้นพินาศ
ด้วยฝนแห่งอาวุธ พระเจ้านาฬิเกระทรงประพฤติผิดในดาบส ๕๐๐ ตน
และพระเจ้าอัชชุนะทรงประพฤติผิดในอังคีรสดาบส แทรกลงสู่แผ่นดิน
เข้าไปสู่นรก เพราะความกลัวจึงได้กล่าวคำนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอ
ความสวัสดีจงมีเป็นต้น. กัณหดาบสนิ่งอยู่นาน ต่อนั้นถูกเขาขอร้องโดย
ประการต่าง ๆ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า พระราชาของพวกท่าน ขึ้นสายธนู
ยิงฤาษีเช่นกับพวกเรา นับว่าทำกรรมหนักมาก แล้วจึงได้กล่าวคำนี้ว่า
ความสวัสดีจักมีแด่พระราชา ดังนี้ ในภายหลัง. บทว่า จักพังทลาย
คือจักแตกแยกออก กัณหดาบสนั้นคิดว่า เราจักให้ชนตกใจกลัว จึงได้
กล่าวเท็จว่า แผ่นดินจักแตกกระจายออก ราวกะกำแกลบ. ความจริง
อานุภาพแห่งวิชาของกัณหดาบสนั้นมีเพียงหยุดยั้งลูกศรได้เท่านั้น ย่อมไม่
เป็นไปอย่างอื่นไปได้. ในคำทั้งหลายแม้อื่นจากนี้ ก็มีนัยทำนองเดียวกันนี้.
๑. บาลีอัมพัฏฐสูตรเป็น เนวเร พระไตรปิฎกเล่ม ๙ หน้า ๑๒๕.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 568
บทว่า ปลฺโลโม แปลว่า มีชนนอนราบแล้ว . ความว่า แม้แต่เพียง
ขนลุก ก็จักไม่มีแก่เขา. นัยว่า กัณหดาบสให้พระราชากระทำปฏิญาณ
แล้ว จึงได้กล่าวคำนี้ว่า ถ้าพระราชาจักพระราชทานเด็กหญิงนั้นแก่เรา
ดังนี้. บทว่า พระราชาให้ลูกธนูวางไว้ที่กุมารแล้ว ความว่า เมื่อดาบส
นั้นร่ายมนต์ว่า ขอให้ลูกศรจงลงมา พระราชาก็ให้วางลงที่สู่คือของกุมาร.
บทว่า ได้พระราชทานพระราชธิดาแล้ว คือทรงชำระล้างศีรษะกระทำ
มิให้เป็นทาส คือเป็นไทยแล้ว พระราชทานไป และทรงดังไว้ใน
ตำแหน่งอันยิ่งใหญ่. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศว่า อัมพัฏฐะ
เป็นญาติของศากยะทั้งหลายทางฝ่ายหนึ่งจึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า มา โข
ตุเมฺห มาณวกา เพื่อจะทรงให้เขาเบาใจ. ลำดับนั้น อัมพัฏฐะเป็น
ประหนึ่งว่าถูกรดด้วยน้ำตั้ง ๑๐๐ หม้อ มีความกระวนกระวายอันระงับแล้ว
เบาใจแล้ว คิดว่า พระสมณโคดมทรงดำริว่า จักให้เราบันเทิงใจ
จึงทรงกระทำให้เราเป็นญาติทางฝ่ายหนึ่ง นัยว่า เราเป็นกษัตริย์.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า อัมพัฏฐะนี้
กระทำความสำคัญว่า เราเป็นกษัตริย์ ไม่รู้ว่าตนมิใช่กษัตริย์ เอาเถอะ
เราจักให้เขารู้ เมื่อจะทรงแสดงเทศนายิ่งขึ้นไป เพื่อทรงแสดงวงศ์กษัตริย์
จึงได้ตรัสพระดำรัสว่า ดูก่อนอัมพัฏฐะ ท่านสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน เป็น
ต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ แปลว่า ในโลกนี้. บทว่า ในพราหมณ์
ทั้งหลาย คือในระหว่างพวกพราหมณ์. บทว่า ที่นั่งหรือน้ำ คือที่นั่ง
อย่างดีเลิศ หรือน้ำอย่างดีเลิศ. บทว่า สทฺเธ คือในภัตที่เขาทำอุทิศให้ผู้
ตาย. บทว่า ถาลิปาเก คือในภัตในงานมงคล เป็นต้น . บทว่า ยญฺเ
คือในภัตที่เขาทำไว้บูชายัญ. บทว่า ปาหุเน คือในภัตที่เขากระทำไว้เพื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 569
แขกทั้งหลาย หรือว่าในภัตที่เขาทำไว้เป็นบรรณาการ. บทว่า อปินุสฺส
คือสำหรับโอรสกษัตริย์นั้น บ้างไหมหนอ. บทว่า อาวฏ วา อสฺส
อนาวฏ วา คือในหญิงสาวตระกูลพราหมณ์พึงมีการห้าม หรือไม่มีการ
ห้าม ความว่า โอรสกษัตริย์จะพึงได้กับเด็กหญิงตระกูลพราหมณ์หรือไม่
พึงได้. บทว่า อนุปปนฺโน ความว่า ไม่ถึงวงศ์กษัตริย์ คือไม่บริสุทธิ์.
บทว่า อิตฺถิยา วา อิตฺถึ กริตฺวา คือแสวงหาหญิงกับหญิงหรือ.
บทว่า กิสฺมิญฺจิเทว ปกรเณ คือในการกระทำสิ่งที่ไม่ควรทำที่เป็นโทษ
บางอย่าง ซึ่งสมควรแก่พราหมณ์ทั้งหลาย. บทว่า ด้วยห่อขี้เถ้า ความว่า
เอาห่อขี้เถ้าโปรยขี้เถ้าบนศีรษะ.
บทว่า ชเนตสฺมึ คือในฝูงชน ความว่า ในหมู่ประชาชน. บทว่า
เย โคตฺตปฏิสาริโน ความว่า ในฝูงชน ผู้ใดเที่ยวอวดอ้างในเรื่องโคตรว่า
ข้าพเจ้าเป็นโคตมโคตร ข้าพเจ้าเป็นกัสสปโคตร ในเขาเหล่านั้น ผู้เที่ยว
อวดอ้างในเรื่องโคตรในโลก กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐ. บทว่า อนุมตา
มยา ความว่า คาถานี้ สนังกุมารพรหมแสดงเทียบได้กับพระสัพพัญญุต-
ญาณของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงยอมรับ.
ก็ด้วยคาถานี้ อัมพัฏะได้ยินบทนี้ว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและ
จรณะ จึงคิดว่า เวทสามชื่อว่า วิชชา ศีลห้าชื่อว่า จรณะ วิชชาและ
จรณะนี้นี่ของเราเองก็มี หากว่าผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชา และจรณะ เป็นผู้
ประเสริฐสุด ตัวเรานี้ก็นับว่าประเสริฐสุดได้ เขาถึงความตกลงใจแล้ว
เมื่อจะทูลถามถึงวิชชาและจรณะ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ก็จรณะนั้นเป็นไฉน วิชชานั้นเป็นไฉน. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงมีพระประสงค์จะปฏิเสธวิชชาและจรณะที่ประกอบด้วยวาทะปรารภเชื้อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 570
ชาติเป็นต้น อันมีอยู่ในลัทธิของพราหมณ์นั้น แล้วทรงแสดงวิชชาและ
จรณะอันเยี่ยมยอด จึงตรัสพระดำรัสว่า น โข อมฺพฏฺ เป็นต้น แก่
อัมพัฏะนั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ชาติวาโท แปลว่า วาทะปรารภเชื้อชาติ.
ใจความว่า ได้แก่คำพูดเป็นต้นว่า สิ่งนี้ควรแก่พราหมณ์เท่านั้น หาควรแก่
ศูทรไม่. ในที่ทุกแห่งก็มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน. บทว่า ชาติวาทวินิพนฺธา
แปลว่า ผู้ยุ่งเกี่ยวในวาทะปรารภเชื้อชาติ. ในที่ทุกแห่งก็มีนัยเช่นนี้
เหมือนกัน.
ลำดับนั้น อัมพัฏะคิดว่า เราคิดว่า บัดนี้พวกเราจักติดอยู่ในที่ใด
ที่นั้นพระสมณโคดมกลับเหวี่ยงพวกเราไปเสียไกลลิบ เหมือนคมซัด
แกลบขึ้นในลมแรง ก็พวกเราไม่คิดอยู่ในที่ใด พระสมณโคดมทรงชัก
จูงพวกเราไป ณ ที่นั้น การถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะของพวกเรานี้
สมควรจะรู้ไหม แล้วจึงได้ถามถึงวิชชาและจรณะอีก. ลำดับนั้น พระผู้
มีพระภาคเจ้า เพื่อที่จะทรงแสดงวิชชาและจรณะจำเดิมแต่การเกิดขึ้น
แก่อัมพัฏฐะนั้น จึงตรัสพระดำรัสว่า อิธ อมฺพฏฺ ตถาคโต เป็นต้น.
ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกศีล ๓ อย่าง
แม้ที่นับเนื่องในจรณะ ไม่ตรัสระบุชัดว่า ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น
แต่ตรัสระบุชัดด้วยอำนาจแห่งศีลทีเดียวว่า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของภิกษุนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร. เพราะว่าศีลไร ๆ แม้ของภิกษุนั้นก็มีอยู่ เพราะ
ฉะนั้น เมื่อตรัสระบุชัดอยู่ด้วยอำนาจแห่งจรณะ ภิกษุพึงคิดอยู่ในจรณะ
นั้น ๆ นั่นเหละ ด้วยคิดว่า แม้พวกเราก็ถึงพร้อมด้วยจรณะ แต่จรณะใด
อันภิกษุนั้น มิได้เคยเห็นเลย แม้ด้วยความฝัน เมื่อจะตรัสระบุชัดด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 571
อำนาจแห่งจรณะนั้นนั่นแหละ จึงตรัสพระดำรัสว่า ภิกษุย่อมเข้าถึงฌาน
ที่ ๑ อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น ฯ ล ฯ ภิกษุย่อมเข้าถึงฌาน
ที่ ๔ อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น เป็นต้น. ด้วยพระดำรัสเพียง
เท่านี้เป็นอันว่าพระองค์ตรัสระบุชัดถึงสมาบัติแม้ทั้ง ๘ ว่าเป็นจรณะ ส่วน
ปัญญาแม้ทั้ง ๘ นับแต่วิปัสสนาญาณไป พระองค์ตรัสระบุชัดว่า เป็นวิชชา.
บทว่า อปายมุขานิ แปลว่า ปากทางแห่งความพินาศ บทว่า
ผู้ยังไม่ตรัสรู้ คือยังไม่บรรลุ หรือว่า ยังไม่สามารถ. ในบทว่า ถือเอา
เครื่องหาบดาบสหริขาร นี้ บริขารของคาบสมี ไม้สีไฟ เต้าน้ำ เข็ม และ
แส้หางจามรี เป็นต้น ชื่อว่าขารี. บทว่า วิโธ แปลว่า หาบ. เพราะ
ฉะนั้นจึงมีใจความว่า ถือเอาหาบอันเต็มด้วยบริขารดาบส. แต่อาจารย์ที่
กล่าวว่า ขาริวิวิธ ท่านก็พรรณนาว่า คำว่า ขาริ เป็นชื่อของหาบ คำว่า
วิวิธ คือบริขารมากอย่างมีเต้าน้ำ เป็นต้น. บทว่า ปวตฺตผลโภชโน
แปลว่า มีปรกติบริโภคผลไม้ที่หล่นแล้ว. บทว่า เป็นคนรับใช้ คือเป็น
คนรับใช้ด้วยสามารถกระทำวัตร เช่น ทำกัปปยะ รับบาตรและลางเท้า เป็น
ต้น. สามเณรผู้เป็นพระขีณาสพ แม้มีคุณธรรมสูง ย่อมเป็นผู้รับใช้พระ
ภิกษุผู้ปุถุชน โดยนัยที่กล่าวแล้วโดยแท้ แต่สมณะหรือพราหมณ์หาเป็น
เช่นนั้นไม่ ยังเป็นผู้ต่ำอยู่ทีเดียว ด้วยอำนาจแห่งคุณธรรมบ้าง ด้วย
อำนาจแห่งการกระทำการรับ ใช้บ้าง.
ถามว่า ก็การบวชเป็นดาบส ท่านกล่าวว่า เป็นปากทางแห่งความ
พินาศของศาสนา เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะศาสนาที่กำลังดำเนิน
ไป ๆ ย่อมถอยหลัง ด้วยอำนาจแห่งการบรรพชาเป็นดาบส. เป็นความจริง
ผู้ที่มีความละอาย ใคร่ในการศึกษา มักรังเกียจผู้ที่บวชในศาสนานี้ แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 572
ไม่สามารถบำเพ็ญสิกขา ๓ ให้เต็มได้ว่า เราจะไม่มีการกระทำอุโบสถ
ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี กับท่าน แล้วหลีกเว้นไปเสีย. สมณะ
หรือพราหมณ์นั้นคิดว่า การบำเพ็ญข้อปฏิบัติให้เต็มบริบูรณ์ในศาสนา
ทำได้ยาก เปรียบเสมือนคมมีดโกน เป็นทุกข์ แต่การบวชเป็นดาบส ทำได้
ง่าย ทั้งชนก็นับถือมากมา ดังนี้แล้ว จึงสึกออกมาเป็นดาบส. คนอื่น ๆ
เห็นเขาต่างพากันถามว่า ท่านทำอะไรหรือ. เขาจึงตอบว่า การงานใน
ศาสนาของพวกท่านหนักมาก แต่พวกเราก็ยังมีปรกติประพฤติด้วยความ
พอใจในศาสนานี้อยู่. แม้เขาก็คิดว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เราก็จะบวชใน
ศาสนานี้บ้าง ดังนี้แล้ว ศึกษาตามอย่างเขา บวชเป็นดาบส แม้พวกอื่น ๆ
ก็บวชเป็นดาบสทำนองนี้บ้าง เพราะฉะนั้น พวกดาบสจึงเพิ่มมากขึ้นโดย
ลำดับ. ในกาลที่พวกดาบสเหล่านั้นเกิดขึ้น ศาสนาชื่อว่าจักถอยหลัง. ชื่อว่า
พระพุทธเจ้าเห็นปานฉะนี้ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ศาสนาของพระองค์
ก็ได้ชื่อว่าเป็นเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ศาสนาจึงจักเป็นเพียงเส้นด้วยเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงข้อนี้ จึงตรัสว่า การบวชเป็นดาบสเป็น
ปากทางแห่งความพินาศของศาสนา.
บทว่า จอบและตะกร้า ได้แก่ จอบและตะกร้า เพื่อจะเก็บหัว
เผือกมัน รากไม้และผลไม้. บทว่า ใกล้บ้านหรือ ใจความว่า ผู้ที่ยังมิได้
บรรลุถึงความถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นต้น สำคัญอยู่ว่า การ
ดำเนินชีวิตด้วยกสิกรรมเป็นต้น เป็นของลำบาก ดังนี้ เพื่อจะหลอกลวง
ให้คนหมู่มากหลงเชื่อ จึงสร้างโรงไฟ ในที่ใกล้หมู่บ้านบ้าง ในที่ใกล้
ตำบลบ้าง บำเรอไฟด้วยอำนาจกระทำการบูชาด้วยเนยใส น้ำมัน นมส้ม
น้ำผึ้ง งา และข้าวสาร เป็นต้น และด้วยไม้นานาชนิดอาศัยอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 573
บทว่า สร้างเรือนมี ๔ ประตู ใจความว่า สร้างเรือนน้ำดื่ม มีหน้า
มุข ๔ ด้าน สร้างมณฑปไว้ที่ประตู ตั้งน้ำดื่มไว้ในนั้น คอยเชิญให้ผู้ที่
มาแล้ว ๆ ดื่มน้ำ. พวกเดินทางไกล เหน็ดเหนื่อย ดื่มน้ำดื่มแล้วให้สิ่งใด
แก่เขา เป็นห่ออาหารที่บริโภคแล้วก็ดี เป็นข้าวสารเป็นต้นก็ดี ก็ถือเอา
สิ่งนั้นทุกอย่าง กระทำยาคูเปรี้ยวเป็นต้น แล้วให้ข้าวแก่บางคน ให้ภาชนะ
เครื่องหุงต้มอาหารแก่บางคน เพื่อจะสงเคราะห์ด้วยอามิสให้มากยิ่งขึ้น. เขา
ถือเอาอามิสบ้าง บุพพัณชาติ และอปรัณชาติ เป็นต้นบ้าง ที่พวกเขา
เหล่านั้นให้แล้ว เพื่อความเพิ่มพูนขึ้นก็ใช้ของเหล่านั้นหาประโยชน์ต่อไป.
โดยประการนี้เขาก็มีสมบัติเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ก็ทำการรับโค กระบือ ทาสี
และทาสต่อไป เขาก็รวมทรัพย์สินได้มากมาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
หมายเอาพวกนี้ จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า สร้างเรือนมี ๔ ประตูอยู่ ดังนี้.
ส่วนคำนี้ว่า เราจักบูชาสมณะหรือพราหมณ์นั้นตามความสามารถตาม
กำลัง ดังนี้ เป็นทางปฏิบัติของเขา. เพราะเขาปฏิบัติอย่างนี้โดยทางนี้.
ด้วยคำเพียงเท่านี้เป็นอันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงให้เห็น
ถึงการบวชเป็นดาบสอย่างครบถ้วน. ถามว่า ทรงแสดงอย่างไร. ตอบว่า
ทรงแสดงว่า ดาบสนั้นมี ๘ จำพวก คือพวกยังมีลูกเมีย ๑ พวกเที่ยวขอ
เขาเลี้ยงชีพ ๑ พวกอนัคคิปักกิกะ ๑ พวกอสามปากะ ๑ พวกอยมุฏฐิกะ ๑
พวกทันตัวกกลิกะ ๑ พวกปวัตตผลโภชนะ ๑ พวกปัณฑุปลาสิกะ ๑.
บรรดาดาบสเหล่านั้น ดาบสเหล่าใดรวบรวมทรัพย์สมบัติไว้ได้มากแล้ว
อยู่ดังเช่นเกณิยชฏิล ดาบสเหล่านั้นชื่อว่ามีลูกเมีย. ส่วนดาบสเหล่าใด
คิดว่า ขึ้นชื่อว่า ความเป็นผู้มีลูกเมีย ไม่สมควรแก่ผู้บวชแล้ว จึงเที่ยว
หาเก็บข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วราชมาส และเมล็ดงา เป็นต้น ในที่ที่เขา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 574
เกี่ยวและนวด เอามาหุงต้มฉัน ดาบสเหล่านั้นชื่อว่า เที่ยวขอเขาเลี้ยงชีพ.
ส่วนดาบสเหล่าใดคิดว่า ขึ้นชื่อว่าการเที่ยวไปจากลานโน้นสู่ลานนี้
เก็บเอาข้าวเปลือกมาตำกินไม่สมควร ดังนี้แล้ว ยอมรับแต่ภิกษาหารคือ
ข้าวสาร ในหมู่บ้านและตำบลได้แล้ว เอามาหุงต้มฉัน ดาบสเหล่านั้น
ชื่อว่า ผู้มีได้หุงต้มด้วยไฟ. ส่วนดาบสเหล่าใดคิดว่า จะมีประโยชน์อะไร
ด้วยการหุงต้มเองของผู้บวชแล้ว จึงเข้าไปยังหมู่บ้าน รับเอาเฉพาะแต่
ภิกษาหารที่หุงต้มแล้วเท่านั้น ดาบสเหล่านั้นชื่อว่า ผู้ไม่หุงต้มเอง.
ดาบสเหล่าใดคิดว่า ชื่อว่าการแสวงหาภิกษาหารทุก ๆ วัน สำหรับ
ผู้บวชแล้วลำบาก จึงเอากำปั้นเหมือนหินทุบเปลือกไม้ มีต้นมะม่วงป่า
เป็นต้น เคี้ยวกิน ดาบสเหล่านั้นชื่อว่า ผู้ที่กำปั้นเหมือนเหล็ก. ส่วนดาบส
เหล่าใดคิดว่า ชื่อว่าการเที่ยวเอาหินทุบเปลือกไม้เป็นการลำบาก แล้วใช้
ฟันนั่นแหละถอนขึ้นมาเคี้ยวกิน ดาบสเหล่านั้นชื่อว่า ผู้ใช้ฟันแทะ.
ดาบสเหล่าใดคิดว่า ชื่อว่าการใช้ฟันแทะเคี้ยวกินสำหรับผู้ที่บวช
แล้วลำบาก จึงฉันผลไม้ที่ใช้ก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้นปาหล่นลงมา
ดาบสเหล่านั้นชื่อว่า ผู้ฉันผลไม้เฉพาะที่หล่นลงมา. ส่วนดาบสเหล่าใด
คิดว่า ชื่อว่าการใช้ก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ปาผลไม้ให้หล่นลงมาแล้ว
ฉัน ไม่สมควรแก่ผู้บวชแล้ว จึงเคี้ยวกินดอกไม้ ผลไม้ และใบไม้แห้ง
เป็นต้น เฉพาะที่ตกเองแล้วเท่านั้นยังชีพ ดาบสเหล่านั้นชื่อว่า ผู้ฉันใบไม้
แห้ง. ดาบสเหล่านั้นมี ๓ ชั้นด้วยอำนาจพวกชั้นอุกฤษฏ์ ชั้นปานกลาง และ
ชั้นเพลา. ใน ๓ ชั้นนั้น ดาบสเหล่าใดไม่ลุกจากที่ที่ตนนั่ง ใช้มือเก็บเอา
ผลไม้ที่หล่นลงในที่ที่จะเอื้อมถึงได้เท่านั้นแล้ว เคี้ยวกิน ดาบสเหล่านั้น
จัดว่า เป็นชั้นอุกฤษฏ์. ดาบสเหล่าใดไม่ยอมไปยังต้นไม้อื่นจากต้นไม้ต้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 575
เดียว ดาบสเหล่านั้นจัดว่าเป็นชั้นกลาง. ดาบสเหล่าใดไปเที่ยวแสวงหายัง
โคนต้นไม้นั้น ๆ มาแล้วเคี้ยวกิน ดาบสเหล่านั้นจัดว่าเป็นชั้นเพลา
แต่การบวชเป็นดาบสแม้ทั้ง ๘ อย่างเหล่านี้ ก็ย่อลงได้เป็น ๔
อย่างเท่านั้น. ถามว่า ย่อลงอย่างไร. ตอบว่า ความจริงบรรดาการบวช
เป็นดาบสเหล่านี้ การบวชที่ยังมีลูกเมียอยู่ ๑ ที่เที่ยวขอเขาฉัน ๑ รวม
เป็นผู้ใช้เรือน. ที่ไม่ใช้ไฟหุงต้ม ๑ ที่ไม่หุงต้มเอง ๑ รวมเป็นผู้ใช้เรือนไฟ.
ที่ใช้กำปั้นเหมือนเหล็กทุบเปลือกไม้ฉัน ๑ ที่ใช้ฟันแทะฉัน ๑ รวมเป็น
ผู้บริโภค เหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้ ที่ฉันผลไม้หล่นเอง ๑ ที่ฉันใบไม้
เหลือง ๑ รวมเป็นผู้บริโภคผลไม้หล่นเอง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่าด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดง
การบวชเป็นดาบสครบทุกอย่าง ด้วยประการฉะนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงว่า อาจารย์และอัมพัฏฐะ
ยังไม่ถึงแม้ปากทางแห่งความเสื่อมแห่งการถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
จึงตรัสพระดำรัสว่า อันพัฏฐะ เธอสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน ดังนี้เป็นต้น.
คำนั้นล้วนมีเนื้อความง่ายแล้วทั้งนั้น.
บทว่า เป็นผู้ตกไปสู่อบายด้วยตนบำเพ็ญให้สมบูรณ์ ไม่ได้ คือ
มีตนตกไปสู่อบาย บำเพ็ญให้สมบูรณ์ไม่ได้ ในความถึงพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ. บทว่า ทตฺติก แปลว่า ของที่พระราชทาน. บทว่า ไม่
พระราชหาน แม้แต่จะให้เฝ้าต่อหน้าพระพักตร์ ถามว่า เพราะเหตุไร
จึงไม่พระราชทาน. ตอบว่า ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นรู้มนต์ ชื่อ อาวัฏฏนี
(มนต์ที่ดลใจทำให้งงงวย) เฉพาะหน้า. เมื่อใดพระราชาทรงประดับ
ประดาด้วยเครื่องอลังการอันมีค่ามาก เมื่อนั้นเขาก็จะไปยืนในที่ใกล้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 576
พระราชา จะเรียกชื่อเครื่องอลังการนั้น. เมื่อเขาเรียกชื่อได้แล้ว พระ
ราชาจะไม่ทรงสามารถตรัสว่า เราไม่ให้แก่พราหมณ์นั้นได้เลย ครั้นพระ
องค์พระราชทานแล้ว ในวันมีงานมหรสพอีก จึงตรัสว่า พวกท่านจงนำ
เครื่องอลังการมา เมื่อพวกอำมาตย์กราบทูล ไม่มีพระเจ้าข้า พระองค์
พระราชทานแก่พราหมณ์ไปแล้ว จึงตรัสถามว่า เพราะเหตุไร เราจึงให้
เขาไป. พวกอำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า พราหมณ์นั้นรู้กลมายาที่ทำให้
งงงวยในที่ซึ่งหน้า เขาทำพระองค์ให้งงงวยด้วยกลมายานั้นแล้ว ก็ถือเอา
ไป. อีกพวกหนึ่ง ทนเห็นพราหมณ์นั้นเป็นพระสหายสนิทกับพระราชาไม่
ได้ จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ที่ตัวของพราหมณ์นั้นมีโรคเรื้อน
ชื่อสังขผลิตะ พระองค์พอเห็นพราหมณ์นั้นจะกอดหรือลูบคลำ ธรรมดาว่า
โรคเรื้อนนี้ติดกันได้ เพราะอำนาจถูกต้องเนื้อตัวกัน ขอพระองค์อย่าทรง
กระทำเช่นนั้น. จำเดิมแต่นั้นมาพระราชาจึงไม่พระราชทานให้พราหมณ์นั้น
เข้าเฝ้าเฉพาะพระพักตร์. แต่เพราะเหตุที่พราหมณ์นั้นเป็นบัณฑิต ฉลาดใน
วิชาการเกษตร ชื่อว่า การงานที่ปรึกษากับเขาแล้วจึงทำ ย่อมไม่ผิดพลาด
เลย เพราะฉะนั้น พระราชาจึงทรงยืนอยู่ภายในผ้าม่านที่กั้นไว้ ปรึกษากับ
เขาผู้ยืนอยู่ข้างนอก. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระราชาทรงปรึกษาทางข้างนอกชายผ้าม่าน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ติโรทุสฺสนฺเตน แปลว่า ทางข้างนอกชายผ้าม่าน. อีกประการหนึ่ง
บาลีก็อย่างนี้นี่แหละ. บทว่า ชอบธรรม คือไม่มีโทษ. บทว่า ที่เขายกให้
คือที่เขานำมาให้. บทว่า กถนฺตสฺส ราชา ความว่า พราหมณ์พึงรับ
ภิกษาหารเช่นนี้ของพระราชาใด พระราชานั้นไม่พึงพระราชทานแม้การ
ให้เฝ้าต่อพระพักตร์แก่พราหมณ์นั้นอย่างไร. แต่พราหมณ์นี้ถือเอาของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 577
ที่พระราชามิได้พระราชทานด้วยมายากล เพราะเหตุนั้น พระราชาจึงไม่
พระราชทานให้พราหมณ์นั้นเฝ้าต่อพระพักตร์ พึงถึงความตกลงได้ในข้อ
นี้ ดังกล่าวมานี้ เป็นอธิบายในบทนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศว่า
ชนจักถึงความตกลงได้ว่า ก็ใคร ๆ คนอื่นหารู้เหตุการณ์นี้ไม่ ยกเว้น
พระราชากับพราหมณ์เท่านั้น ข้อนี้นั้นเป็นความลับด้วย ทั้งปกปิดด้วย
ด้วยประการฉะนี้. พระสมณโคดมผู้สัพพัญญู ทรงทราบแน่นอน ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเพิ่มเติมพระธรรม
เทศนาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อทรงถอนมานะอาศัยมนต์ของคนทั้ง ๒ นั้น
เพราะเหตุที่อัมพัฏฐะนี้กับอาจารย์ของเขาเป็นคนเย่อหยิ่ง เพราะอาศัย
มนต์ จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน
พระราชาในโลกนี้ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า บนเครื่องปูลาดในรถ คือบนที่ที่เขา
จัดปูลาดไว้ เพื่อเป็นที่ประทับยืนของพระราชาในรถ. บทว่า ผู้ยิ่งใหญ่
คือกับอำมาตย์ชั้นสูง ๆ ขึ้นไป. บทว่า กับเชื้อพระวงศ์ คือกับพระกุมาร
ที่ยังมิได้อภิเษก. บทว่า ข้อปรึกษาบางประการ ได้แก่ข้อปรึกษาที่
ปรากฏเห็นปานฉะนี้ว่า ควรจะขุดบ่อหรือทำเหมืองในที่โน้น ควรจะ
สร้างบ้าน นิคม หรือนครไว้ในที่โน้น ดังนี้. บทว่า ข้อปรึกษานั้น
นั่นแหละ ใจความว่า ข้อราชการใดที่พระราชาทรงปรึกษา พระองค์
พึงทรงปรึกษาข้อราชการนั้นด้วยพระอาการมีการทรงยกพระเศียรขึ้น และ
ทรงยักพระภมุกาเป็นต้น ทำนองนั้นเท่านั้น. บทว่า ที่พระราชาตรัสแล้ว
คือพระราชาตรัสพระราชดำรัสโดยประการใด พระราชดำรัสนั้นสามารถให้
สำเร็จประโยชน์ได้โดยประการนั้น ใจความว่า แม้พระเจ้าปเสนทิโกศล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 578
ก็ตรัสพระราชดำรัสที่สามารถให้สำเร็จประโยชน์นั้นได้.
บทว่า ปวตฺตาโร แปลว่า เป็นผู้บอก. บทว่า เหล่าใด คือเป็น
สมบัติเก่าแก่ของพราหมณ์เหล่าใด. บทว่า บทแห่งมนต์ คือมนต์ กล่าว
คือเวทนั้นเอง. บทว่า ขับร้อง คือที่พราหมณ์เก่าแก่ทั้ง ๑๐ มีอัฏฐก-
พราหมณ์เป็นต้น สาธยายแล้วด้วยอำนาจความถึงพร้อมด้วยเสียง. บทว่า
ปวุตฺต แปลว่า บอกแก่คนเหล่าอื่น ความว่า กล่าวสอน. บทว่า รวบ
รวมไว้ คือประมวลไว้ ได้แก่ทำให้เป็นกองไว้ ความว่า รวมเก็บไว้เป็น
กลุ่มก้อน. บทว่า ขับตามซึ่งมนต์นั้น ความว่า พราหมณ์ในบัดนี้ ขับตาม
คือสาธยายตามซึ่งมนต์นั้น ที่พราหมณ์เหล่านั้นขับแล้วในกาลก่อน. บทว่า
กล่าวตามซึ่งมนต์นั้น คือว่าตามซึ่งมนต์นั้น. คำนี้เป็นไวพจน์ของคำแรก
นั่นเอง. บทว่า กล่าวตามซึ่งมนต์ที่พราหมณ์พวกเก่าเหล่านั้นกล่าวไว้
คือสาธยายตามซึ่งมนต์ที่พราหมณ์พวกเก่าเหล่านั้นกล่าวไว้ คือสาธยาย
แล้ว. บทว่า กล่าวสอนตามซึ่งมนต์ที่พวกพราหมณ์เก่ากล่าวสอนไว้แล้ว
คือกล่าวสอนตามซึ่งมนต์ ที่พราหมณ์เหล่านั้นกล่าวสอนแล้วแก่คนอื่น.
บทว่า อย่างไรนี่ ความว่า พราหมณ์เหล่านั้นมีใครบ้าง คำว่า อัฏฐกะ
เป็นต้น เป็นชื่อของพราหมณ์เหล่านั้น.
ได้ยินว่า พราหมณ์เหล่านั้นมองดูด้วยทิพยจักษุ ไม่กระทำการ
ทำร้ายผู้อื่น แต่งมนต์เทียบเคียงกับคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
กัสสปสัมมาสัมพุทธะ. แต่พวกพราหมณ์นอกนี้ใส่ปาณาติบาตเป็นต้น
ลงไปทำลายเวททั้ง ๓ ได้กระทำให้ผิดเพี้ยนกับพระพุทธวจนะ
บทว่า นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ คือท่านพึงเป็นฤาษีด้วยเหตุใด
เหตุนั้นไม่มี. ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า อัมพัฏฐะนี้แม้อัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 579
เราถามอยู่ รู้ว่าตนถูกทับถม จักไม่ให้คำตอบ เพราะฉะนั้น พระองค์จึง
ไม่ทรงรับเอาคำปฏิญญา ปฏิเสธความเป็นฤาษีนั้น.
บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงความที่อัมพัฏฐะพร้อม
ทั้งอาจารย์เป็นผู้ห่างไกลจากข้อปฏิบัติของพราหมณ์เหล่านั้น จึงตรัสว่า
ดูก่อน อัมพัฏฐะ เธอสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน ดังนี้เป็นต้น เพราะเหตุว่า
พราหมณ์รุ่นเก่า ๑๐ คนเหล่านั้น ไม่มีกลิ่นของสดคาว ไม่มีกลิ่นผู้หญิง
เต็มไปด้วยฝุ่นละอองและขี้ไคล มีปรกติประพฤติพรหมจรรย์ มีรากไม้และ
ผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามเชิงเขาในราวป่า เมื่อใดปรารถนาจะ
ไป ณ ที่ใด เมื่อนั้นก็เหาะไปได้ทางอากาศทีเดียวด้วยฤทธิ์ พวกเขาไม่มี
กิจที่จะต้องใช้ยวดยาน การเจริญพรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้นนั่นแหละ
เป็นเครื่องคุ้มครองของพวกเขาในทุกสารทิศ พวกเขาไม่ต้องการความคุ้ม
กัน คือกำแพงและคน และข้อปฏิบัติของพวกพราหมณ์เหล่านั้น อัมพัฏะ
นี้ ก็เคยได้ยินมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มีกากสีดำอันเลือกทิ้งไป คือ มีกาก
สีดำอันเลือกแล้ว นำออกทิ้งไป. บทว่า มีสีข้างอันอ่อนโน้มลงด้วยผ้า
โพก คือ มีซี่โครง ( เรือนร่าง ) อันอ่อนช้อยด้วยผ้าโพกมีแผ่นผ้าและ
ช้องผมผ้าเป็นต้น. บทว่า มีหางอันตัดแต่งแล้ว คือ มีหางอันตัดแล้ว ใน
ที่ควรตัดแต่ง เพื่อทำให้ดูสวยงาม. อนึ่ง ในคำนี้ แม้รถทั้งหลายท่านก็เรียก
ว่า รถติดหางลาที่ตัดแล้ว เพราะเหตุที่รถทั้งหลายตัดหางลานั่นเองเทียม
ด้วยลา. บทว่า มีคูล้อมรอบ คือ ขุดคูไว้รอบ. บทว่า มีลิ่มอันลงไว้
คือ มีลิ่มอันสลักไว้. การกระทำการโบกปูนไว้เบื้องล่างของกำแพงเมือง
โดยรอบ เพื่อป้องกันมิให้พวกศัตรูปีนป่ายขึ้นมาได้ ท่านเรียกว่า กำแพง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 580
ในคำว่า กำแพงเมือง แต่เมืองทั้งหลายที่ประกอบด้วยกำแพงเหล่านี้
ท่านประสงค์เอาว่าเป็นกำแพงเมืองในที่นี้. บทว่า ให้รักษา คือพวกเขา
แม้จะอยู่ในเมืองเช่นนั้นก็ยังให้คนรักษาตน.
บทว่า ความกังขา คือความสงสัยอย่างนี้ว่า เป็นพระสัพพัญญู
หรือมิใช่พระสัพพัญญู. คำว่า วิมติ ก็เป็นไวพจน์ของคำนั้นนั่นเอง. ความ
คิดเห็นที่ผิดแปลกไป. อธิบายว่า ไม่สามารถที่จะวินิจฉัยได้. พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความปรากฏขึ้นแห่งมรรค ไม่มีแก่อัมพัฏฐะ
โดยอัตภาพนี้ วันก็จะล่วงไปเปล่าอย่างเดียว ก็อัมพัฏฐะนี้แลมาเพื่อ
แสวงหาลักษณะ แม้กิจนั้นก็ยังระลึกไม่ได้ เอาเถอะ เพื่อจะให้เกิดสติ
เราจะให้นัยแก่เขา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จ
ลุกขึ้นจากอาสนะ เสด็จไปภายนอก เพราะเหตุว่า เมื่อพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายประทับนั่งอยู่ก็ดี บรรทมอยู่ก็ดี ใคร ๆ มิสามารถที่จะแสวงหา
ลักษณะได้ แต่เมื่อพระองค์ประทับยืนก็ดี เสด็จจงกรมอยู่ก็ดี เขาสามารถ
ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทรงทราบว่า เขามาเพื่อแสวงหาดูลักษณะแล้ว
เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะทรงอธิฐานจงกรม ข้อนี้เป็นอาจิณปฏิบัติของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแลพระผู้มี
พระภาคเจ้า เป็นต้น.
บทว่า พิจารณาดู คือเสาะดู ได้แก่พิจารณานับอยู่ว่า ๑-๒.
บทว่า โดยมาก คือโดยส่วนมาก. อธิบายว่า ได้เห็นแล้วเป็นส่วนมาก
ส่วนน้อยมิได้เห็น. ต่อจากนั้น เพื่อที่จะแสดงมหาบุรุษลักษณะที่เขามิได้
เห็น ท่านจึงกล่าวว่า เว้น ๒ อย่างเท่านั้น. บทว่า ยังเคลือบแคลง คือ
ให้เกิดความปรารถนาขึ้นมาว่า โอหนอ เราพึงเห็น ดังนี้. บทว่า ยังสงสัย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 581
คือค้นดูมหาบุรุษลักษณะเหล่านั้น จากที่นั้น ๆ ได้ลำบาก ได้แก่ไม่
สามารถจะมองเห็นได้. บทว่า ยังไม่เชื่อ คือ ถึงการลงควานเห็นไม่ได้
เพราะความสงสัยนั้น. บทว่า ไม่เลื่อมใส คือถึงความเลื่อมใสไม่ได้ใน
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงมีพระลักษณะบริบูรณ์
เพราะเหตุนั้น. ความสงสัย ท่านกล่าวว่า มีกำลังอ่อนกว่าความเคลือบแคลง
ความลังเลใจ มีกำลังปานกลาง ความไม่ยอมเชื่อ มีกำลังมาก เพราะไม่
เลื่อมใส จิตก็จะเศร้าหมองด้วยธรรมทั้ง ๓ เหล่านั้น. บทว่า เก็บไว้ในฝัก
คือปกปิดไว้ด้วยฝักลำไส้. บทว่า ปิดบังไว้ด้วยผ้า คือองคชาต. ก็พระ
องคชาตของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เหมือนกับของช้างตัวประเสริฐ ปกปิด
ไว้ในฝัก ปิดบังไว้ด้วยผ้า เช่นเดียวกันห้องดอกบัวหลวงทองคำ. อัมพัฏฐะ
มองไม่เห็นพระองคชาตนั้น เพราะผ้าปกปิดไว้ และสังเกตเห็นไม่ได้
ซึ่งพระชิวหาอันกว้างใหญ่ เพราะอยู่ภายในพระโอฐ จึงมีความเคลือบ
แคลง และลังเลใจ ในพระลักษณะทั้ง ๒ นั้น.
บทว่า เห็นปานนั้น คือรูปที่แน่นอน ในข้อนี้คนอื่นจะพึงกล่าว
อย่างไร. ข้อนี้พระนาคเสนเถระถูกพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำสิ่งที่ทำได้ยากหรือ ดังนี้
ได้กล่าวไว้แล้ว. พระนาคเสนเถระกราบทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร ทรงทำ
อะไรหรือ. พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงโอกาสที่มหาชนเขาถือว่าเป็นความอายแก่อันเตวาสิกของ
พรหมายุพราหมณ์ แก่พราหมณ์ ๑๖ คนผู้เป็นอันเตวาสิกของพราหมณ์
อุตตระ. และของพราหมณ์พาวรี และแก่มาณพ ๓๐๐ คนผู้เป็นอัน-
เตวาสิกของเสลพราหมณ์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 582
พระนาคเสนกราบทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้า
มิได้ทรงแสดงพระคุยหะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระฉายา ทรง
บันดาลด้วยพระฤทธิ์ แสดงเพียงพระรูปเป็นเงา ๆ ยังทรงนุ่งผ้าสบงอยู่
ยังทรงคาดรัดประคดอยู่ และยังทรงห่มผ้าจีวรอยู่ มหาบพิตร.
พระเจ้ามิลินท์ เมื่อเห็นพระฉายาแล้ว ก็เป็นอันเห็นพระคุยหะ
ด้วยใช่ไหม ขอรับ.
พระนาคเสน ข้อนั้นยกไว้เถิด สัตว์ผู้เห็นหทัยรูปแล้วรู้ได้พึงมี
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็พึงนำพระหทัยมังสะออกมาแสดง พระเจ้า
มิลินท์ ท่านนาคเสน ขอรับ ท่านพูดถูกต้องแล้ว
บทว่า ทรงแลบ คือ ทรงนำออกมา. บทว่า ทรงสอดกลับไป คือ
ทรงกวาดกลับไปกระทำให้เหมือนกับเข็มเย็บผ้ากฐิน. พึงทราบอธิบายว่า
ก็ในที่นี้ ท่านแสดงให้เห็นถึงความอ่อนนุ่ม ด้วยการทรงกระทำเช่นนั้น
แสดงให้เห็นถึงความยาว ด้วยการสอดเข้าไปในช่องพระกรรณ แสดงให้
เห็นถึงความหมายด้วยการปกปิดพระนลาต.
บทว่า คอยต้อนรับอยู่ คือรออยู่ ใจความว่า หวังการมาของเขา
คอยมองดูอยู่. บทว่า การสนทนาปราศรัย คือการพูดและการเจรจากัน
ใจความว่า การกล่าวและการกล่าวตอบ.
บทว่า อโห วต นี้เป็นคำติเตียน. คำว่า เร นี้ เป็นคำร้องเรียกด้วย
อำนาจเย้ยหยัน. พราหมณ์โปกขรสาติเกลียดอัมพัฏฐะนั่นแหละ จึงได้
กล่าวว่า เจ้าบัณฑิต แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้.
พราหมณ์โปกขรสาติหมายเอาเนื้อความนี้ว่า คนพึงไปสู่นรกได้ เพราะ
เมื่อมีผู้ประพฤติประโยชน์คือ ผู้กระทำประโยชน์อยู่ เป็นเช่นเดียวกับท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 583
ไม่พึงไปได้เพราะเหตุอื่น ดังนี้ จึงได้กล่าวบทนี้ว่า ผู้เจริญ ได้ยินว่า
คนพึงไปสู่นรกได้เพราะคนผู้ประพฤติประโยชน์เห็นปานนั้น. บทว่า
เสียดสี คือพูดกระทบกระเทียบ. บทว่า นำแม้พวกเราเข้าไปเปรียบเทียบ
อย่างนี้ ๆ ความว่า พระโคดมตรัสว่า ดูก่อนอัมพัฏะ พราหมณ์โปกขร-
สาติ ดังนี้เป็นต้น ทรงนำพวกเราเข้าไปเปรียบเทียบอย่างนี้ ๆ ทรงเปิด
เผยเหตุอันปกปิดออกแล้ว ยกเอาความเป็นศูทรและทาสเป็นต้นขึ้นมาตรัส.
อธิบายว่า พวกเราก็ถูกท่านให้ด่าด้วย. บทว่า ปัดด้วยเท้า คือเอาเท้าปัด
ให้อัมพัฏะล้มลงไปแล้ว. ก็ในกาลก่อน อัมพัฏะขึ้นรถไปกับอาจารย์
เป็นสารถีขับไปสู่ที่ใด อาจารย์แย่งเอาที่นั้นของเขาไปเสีย ได้ให้เขาเดินไป
ด้วยเท้าข้างหน้ารถ. บทว่า ล่วงเลยเวลาวิกาลแล้ว คือเป็นเวลาวิกาล
มากแล้ว ได้แก่ไม่มีเวลาที่จะกล่าวสัมโมทนียกถากันแล้ว.
บทว่า อาคมา นุขฺวิธ โภ แปลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏะ
ได้มา ณ ที่นี้หรือไม่หนอ. บทว่า อธิวาเสตุ แปลว่า จงทรงรับ. บทว่า
สำหรับวันนี้ ใจความว่า เมื่อข้าพระองค์กระทำสักการะในพระองค์ สิ่งใด
จักมีในวันนี้ คือบุญด้วย ปีติและปราโมทย์ด้วย เพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น.
บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้วโดยดุษณีภาพ ใจความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงให้ส่วนพระวรกายหรือส่วนพระวาจาให้
เคลื่อนไหว ทรงดำรงพระขันติไว้ภายในนั่นแหละ ทรงรับนิมนต์แล้ว
โดยดุษณีภาพ คือทรงรับด้วยพระทัยเพื่อจะทรงอนุเคราะห์พราหมณ์.
บทว่า ประณีต คือสูงสุด. บทว่า สหตฺถา แปลว่า ด้วยมือตนเอง.
บทว่า ให้อิ่มหนำแล้ว คือให้อิ่มเต็มที่ ได้แก่กระทำให้บริบูรณ์คือเต็ม
เปี่ยม ได้แก่เต็มอิ่ม. บทว่า สมฺปวาเรตฺวา แปลว่า ให้เพียงพอแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 584
คือให้ห้ามด้วยสัญญามือว่า พอแล้ว พอแล้ว. บทว่า ภุตฺตาวึ ผู้ทรงเสวย
เสร็จแล้ว. บทว่า โอนีตปตฺตปาณึ แปลว่า มีพระหัตถ์ยกออกแล้วจาก
บาตร. อธิบายว่า มีพระหัตถ์ชักออกแล้ว. บาลีว่า โอนิตฺตปาณึ ก็มี.
คำนี้อธิบายว่า ทรงวางบาตรที่ทรงชักพระหัตถ์ออกแล้ว คือเว้นอาหาร
ต่าง ๆ จากฝ่าพระหัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้น พระองค์
จึงชื่อว่า โอนิตฺตปตฺตปาณี.
อธิบายว่า ผู้ทรงล้างพระหัตถ์และบาตรแล้ว ทรงวางบาตรไว้ ณ ที่
ข้างหนึ่ง ประทับนั่งแล้ว. บทว่านั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ใจความว่า ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสวยเสร็จแล้วเช่นนั้น จึงนั่งในที่ว่างข้างหนึ่ง.
บทว่า อนุปุพฺพิกถ แปลว่า ถ้อยคำที่ควรกล่าวตามลำดับ. ที่ชื่อใจ
อนุปุพพิกถา ได้แก่ถ้อยคำที่แสดงเนื้อความเหล่านี้ คือศีลในลำดับต่อ
จากทาน สวรรค์ในลำดับต่อจากศีล มรรคในลำดับต่อจากสวรรค์. เพราะ
เหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า คือ ทานกถา เป็นต้น. บทว่า ต่ำทราม
คือ เลวทราม ได้แก่ เป็นของลามก. บทว่า สามุกฺกสิกา แปลว่า ที่พระ
องค์ทรงยกขึ้นแสดงเอง ความว่า ที่พระองค์ทรงยกขึ้นถือเอาด้วยพระองค์
เอง คือที่พระองค์ทรงเล็งเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ อธิบายว่า เป็นของ
ไม่ทั่วไปแก่ชนเหล่าอื่น. ถามว่า ก็พระธรรมเทศนานั้น คืออะไร. ตอบว่า
คือเทศนาว่าด้วยอริยสัจ. เพราะฉะนั้นนั่น แหละ ท่านจึงกล่าวว่า ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค. ในบทว่า ธรรมจักษุนี้ ท่านมุ่งหมายเอาโสดาปัตติ-
มรรค. เพื่อที่จะแสดงถึงอาการของการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งสิ้นมีความ
ดับไปเป็นธรรมดา. ก็ธรรมจักษุนั้นกระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ เกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 585
แทงตลอดซึ่งสังขตธรรมทั้งปวงอย่างนี้ด้วยอำนาจแห่งกิจ.
อริยสัจธรรมอันบุคคลนั้นเห็นแล้ว เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ผู้มีธรรม
อันเห็นแล้ว. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ความสงสัยอันบุคคล
นี้ข้ามได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ผู้มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว. ความ
ไม่แน่ใจของบุคคลนั้นปราศจากไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ผู้มีความไม่
แน่ใจปราศไปแล้ว. บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺโต แปลว่า ถึงความเป็นผู้
กล้าหาญแล้ว. ถามว่า ในไหน. ตอบว่า ในคำสอนของพระศาสดา. บุคคล
อื่นเป็นปัจจัย ไม่มีแก่ผู้นี้ คือความเชื่อต่อผู้อื่นไม่เป็นไปในบุคคลนี้
เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ไม่มีบุคคลอื่นเป็นปัจจัย. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง
ปรากฏชัดแล้ว เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น และเพราะมีเนื้อความ
เข้าใจง่าย.
อรรถกถาอัมพัฏฐสูตร ในอรรถกถาทีฆนิกาย
ชื่อสุมังคลวิลาสินี จบลงแล้วด้วยประการฉะนี้.
อัมพัฏฐสูตรที่ ๓ จบ.