ไปหน้าแรก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๘

ปริวาร

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มหาวิภังค์ ๑๖ มหาวาร

กัตถปัญญัติวาร ที่ ๑

[๑] พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ

เจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร

เพราะเรื่องอะไร ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุ-

ปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ

เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕ ปาราชิกสิกขาบท

ที่ ๑ นั้น จัดเข้าในอุเทศไหน นับเนื่องในอุเทศไหน มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่

เท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติ

กองไหน บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง เกิดขึ้นด้วยสมุฏฐานเท่าไร

บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดาสมถะ ๗ ย่อมระงับด้วยสมถะ

เท่าไร ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นวินัย ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑

นั้น อะไรเป็นอภิวินัย ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นปาติโมกข์

ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 2

เป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบท

ที่ ๑ เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร พวกไหนศึกษา พวกไหนมีสิกขา

อันศึกษาแล้ว ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น ตั้งอยู่ในใคร พวกไหนย่อมทรงไว้

เป็นถ้อยคำของใคร ใครนำมา.

ปาราชิกกัณฑ์

คำถามและคำตอบปาราชิกสิกขาบทที่ ๑

[๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระสุทิน กลันทบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระสุทิน กลันทบุตร เสพเมถุนธรรมในปุราณ-

ทุติยิกา

ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันน-

บัญญัติ หรือ

ต. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๒ อนุปันนบัญญัติ ไม่มี ในปาราชิก-

สิกขาบทที่ ๑ นั้น

ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่สัพพัตถบัญญัติ

ถ. มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ หรือ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 3

ต. มีแต่สาธารณบัญญัติ

ถ. มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่อุภโตบัญญัติ

ถ. บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น จัดเข้าใน

อุเทศไหน นับเนื่องในอุเทศไหน

ต. จัดเข้าในนิทาน นับเนื่องในนิทาน

ถ. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร

ต. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่ ๒

ถ. บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน

ต. เป็นศีลวิบัติ

ถ. บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน

ต. เป็นอาบัติกองปาราชิก

ถ. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น

เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา

ถ. บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์อะไร

ต. เป็นอาปัตตาธิกรณ์

ถ. บรรดาสมถะ ๗ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑

ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นวินัย ในปาราชิกสิกขาบท

ที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอภิวินัย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 4

ต. พระบัญญัติเป็นวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย

ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นปาติโมกข์ ในปาราชิก-

สิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอธิปาติโมกข์

ต. พระบัญญัติเป็นปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์

ถ. อะไรเป็นวิบัติ

ต. ความไม่สังวรเป็นวิบัติ

ถ. อะไรเป็นสมบัติ

ต. ความสังวรเป็นสมบัติ

ถ. อะไรเป็นข้อปฏิบัติ

ต. ข้อที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า จักไม่ทำกรรม

เห็นปานนี้ แล้วศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ

ถ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เพราะทรง

อาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร

ต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เพราะทรง

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อ

ความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มี

ศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะ

อันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อ

ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม

๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑

ถ. พวกไหนศึกษา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 5

ต. พระเสกขะและกัลยาณปุถุชนศึกษา

ถ. พวกไหนมีสิกขาอันศึกษาแล้ว

ต. พระอรหันต์มีสิกขาอันศึกษาแล้ว

ถ. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น ตั้งอยู่ในใคร

ต. ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล

ถ. พวกไหนย่อมทรงไว้

ต. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ย่อมเป็นไปแก่พระเถระพวกใด พระเถระ

พวกนั้นย่อมทรงไว้

ถ. เป็นถ้อยคำของใคร

ต. เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ถ. ใครนำมา

ต. พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา.

รายนามพระเถระ

[๓] พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี

พระทาสกะ พระโสณถะ พระสิคควะ รวม

เป็นห้าทั้งพระโมคคัลลีบุตร นำพระวินัยมา

ในทวีปชื่อว่าชมพู อันมีสิริ แต่นั้น พระ-

เถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ พระ

มหินทะ ๑ พระอิฏฏิยะ ๑ พระอุตติยะ ๑

พระสัมพละ ๑ พระเถระชื่อภัททะผู้เป็น

บัณฑิต ๑ มาในเกาะสิงหฬนี้ แต่ชมพูทวีป

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 6

พวกท่านสอน พระวินัยปิฎกในเกาะตาม-

พปัณณิ สอนนิกาย ๕ และปกรณ์ ๗ แล้ว

ภายหลังพระอริฏฐะผู้มีปัญญา พระติสสทัต-

ตะผู้ฉลาด พระกาฬสุมนะผู้องอาจ พระ-

เถระมีชื่อว่าทีฆะ พระทีฆสุมนะผู้บัณฑิต

ต่อมาอีก พระกาฬสุมนะ พระนาคเถระ

พระพุทธรักขิต พระติสสเถระผู้มีปัญญา

พระเทวเถระผู้ฉลาด ต่อมาอีก พระสุมนะ

ผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย พระ-

จูฬนาค ผู้พหูสูต ดุจช้างซับมัน พระเถระ

ชื่อธัมมปาลิตะ อันสาธุชนบูชาแล้วในโรหน

ชนบท ศิษย์ของพระธรรมปาลิตะนั้น มี

ปัญญามาก ชื่อพระเขมะ ทรงจำพระไตร-

ปิฎกรุ่งเรืองอยู่ในเกาะ ด้วยปัญญา ดุจ

พระจันทร์ พระอุปติสสะผู้มีปัญญา พระ-

ปุสสะเทวะผู้มหากถึก ต่อมาอีก พระสุมนะ

ผู้มีปัญญา พระเถระชื่อบุปผะ ผู้พหูสูต พระ

มหาสีวะผู้มหากถึก ฉลาดในพระปิฎกทั้ง-

ปวง ต่อมาอีก พระอุบาลี ผู้มีปัญญา เชี่ยว

ชาญในพระวินัย พระมหานาค ผู้มีปัญญา

มาก ฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม ต่อมาอีก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 7

พระอภยะ ผู้มีปัญญา ฉลาดในพระปิฎก

ทั้งปวง พระติสส เถระ ผู้มีปัญญาเชี่ยวชาญ

ในพระวินัย ศิษย์ของพระติสสเถระนั้น มี

ปัญญามาก ชื่อปุสสะ เป็นพหูสูต ตามรักษา

พระศาสนา อยู่ในชมพูทวีป พระจูฬาภยะ

ผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย พระ-

ติสสเถระ ผู้มีปัญญา ฉลาดในวงศ์พระ

สัทธรรม พระจูฬาเทวะ ผู้มีปัญญาและ

เชี่ยวชาญในพระวินัย และพระสิวเถระ ผู้

มีปัญญา ฉลาดในพระวินัยทั้งมวล พระเถระ

ผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย

ฉลาดในมรรคา ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้

ในเกาะตามพปัณณิ.

คำถามและคำตอบปาราชิกสิกขาบทที่ ๒

[๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระธนียะ กุมภการบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 8

ต. เพราะเรื่องที่พระธนิยะ กุมภการบุตร ถือเอาไม้ของหลวง ซึ่ง

ไม่ได้รับพระราชทาน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติไม่มี บรรดาสมุฏฐาน

แห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิตมิ

ใช่วาจา บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต . . .

คำถามและคำตอบปาราชิกสิกขาบทที่ ๓

[๕] ถามว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุมากรูปด้วยกัน

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุมากรูปด้วยกัน ปลงชีวิตกันและกัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติไม่มี บรรดาสมุฏฐานแห่ง

อาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา

บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต . . .

คำถามและคำตอบปาราชิกสิกขาบทที่ ๔

[๖] ถามว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 9

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา กล่าวสรรเสริญ อุตริ-

มนุสธรรมของกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติไม่มี บรรดาสมุฏฐานแห่ง

อาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต ไม่ใช่วาจา

บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต . . .

ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ

หัวข้อประจำกัณฑ์

[๗] ปาราชิก ๔ คือ เมถุนธรรม ๑ อทินนาทาน ๑ มนุสสวิคคหะ ๑

อุตริมนุสธรรม ๑ เป็นวัตถุแห่งมูลเฉท หาความสงสัยมิได้ ดังนี้แล.

กัตถปัญญัติวาร

[๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส แก่ภิกษุผู้พยายามปล่อยอสุจิ ณ ที่ไหน

ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ

อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ

อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น หยั่งลงในอุเทศไหน นับเนื่องในอุเทศไหน

มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน บรรดาอาบัติ

๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง ย่อมเกิดขึ้น

ด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดาสมถะ ๗

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 10

ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นวินัย

ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอภิวินัย ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑

นั้น อะไรเป็นปาติโมกข์ ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอธิ-

ปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อปฏิบัติ พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายามปล่อยอสุจิ เพราะทรง

อาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร พวกไหนศึกษา พวกไหนมีสิกขาอันศึกษาแล้ว

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น ตั้งอยู่ในใคร พวกไหนย่อมทรงไว้ เป็นถ้อยคำ

ของใคร ใครนำมา.

สังฆาทิเสสกัณฑ์

คำถามและตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑

[๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายามปล่อยอสุจิ

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระเสยยสกะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระเสยยสกะพยายามปล่อยอสุจิด้วยมือ

ถ. ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันน-

บัญญัติ หรือ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 11

ต. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติไม่มี ในสังฆาทิเสส

สิกขาบทที่ ๑ นั้น

ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่สัพพัตถบัญญัติ

ถ. มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่อสาธารณบัญญัติ

ถ. มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่เอกโตบัญญัติ

ถ. บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕ สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น หยั่งลง

ในอุเทศไหน นับเนื่องในอุเทศไหน

ต. หยั่งลงในนิทาน นับเนื่องในนิทาน

ถ. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร

ต. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่ ๓

ถ. บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน

ต. เป็นศีลวิบัติ

ถ. บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน

ต. เป็นอาบัติกองสังฆาทิเสส

ถ. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น

ย่อมเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. ย่อมเกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิตมิใช่วาจา

ถ. บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์อะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 12

ต. เป็นอาปัตตาธิกรณ์

ถ. บรรดาสมถะ ๗ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑

ถ. ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นวินัย ในสังฆาทิเสส

สิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอภิวินัย

ต. พระบัญญัติเป็นวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย

ถ. ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นปาติโมกข์ ใน

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอธิปาติโมกข์

ต. พระบัญญัติเป็นปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์

ถ. อะไรเป็นวิบัติ

ต. ความไม่สังวรเป็นวิบัติ

ถ. อะไรเป็นสมบัติ

ต. ความสังวรเป็นสมบัติ

ถ. อะไรเป็นข้อปฏิบัติ

ต. ข้อที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า จักไม่ทำกรรม

เห็นปานนี้ แล้วศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ

ถ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายาม

ปล่อยอสุจิ เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร

ต. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายาม

ปล่อยอสุจิ เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับ

ว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 13

อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน

ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของ

ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อ

ความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑

ถ. พวกไหนศึกษา

ต. พระเสกขะและกัลยาณปุถุชนศึกษา

ถ. พวกไหนมีสิกขาอันศึกษาแล้ว

ต. พระอรหันต์มีสิกขาอันศึกษาแล้ว

ถ. ตั้งอยู่ในใคร

ต. ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล

ถ. พวกไหนย่อมทรงไว้

ต. สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ ย่อมเป็นไปแก่พระเถระพวกใด พระเถระ

พวกนั้นย่อมทรงไว้

ถ. เป็นถ้อยคำของใคร

ต. เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันสัมมาสัมพุทธเจ้า

ถ. ใครนำมา

ต. พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา.

รายนามพระเถระ

พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี

พระทาสกะ พระโสณกะ พระสิคควะ รวม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 14

เป็นห้าทั้งพระโมคัลลีบุตร นำพระวินัยมา

ในทวีปชื่อว่า ชมพู อันมีสิริ แต่นั้น

พระเถระผู้ประเสริฐ มีปัญญามากเหล่านี้

คือ พระมหินทะ ๑ พระอิฏฏิยะ ๑ พระ-

อุตติยะ ๑ พระสัมพละ ๑ ...พระเถระผู้

ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย

ฉลาดในมรรคา ได้ประกาศพระวินัยปิฎก

ไว้ในเกาะตามพปัณณิ.

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒

[๑๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ถึงความเคล้าคลึง

ด้วยกายกับมาตุคาม ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 15

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓

[๑๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พูดเคาะมาตุคาม

ด้วยวาจาชั่วหยาบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่วาจากับจิต

มิใช่กาย บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต . . .

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔

[๑๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้กล่าวคุณแห่งการ

บำเรอตนด้วยกาม ในสำนักมาตุคาม ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 16

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายี กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม

ในสำนักมาตุคาม.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ . . .

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕

[๑๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ถึงความเป็นผู้เที่ยวชัก

สื่อ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีถึงความเป็นผู้เที่ยวชักสื่อ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่

วาจา มิใช่กาย มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กาย

กับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย บางทีเกิดแต่กาย วาจา

และจิต . . .

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖

[๑๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ให้ทำกุฎีด้วยอาการขอ

เอาเอง ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 17

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองอาฬวี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกเมืองอาฬวีให้ทำกุฎีด้วยอาการขอเอาเอง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖...

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗

[๑๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ให้ทำวิหารใหญ่ ณ

ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครโกสัมพี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระฉันนะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะแผ้วถางพื้นที่วิหาร ได้สั่งให้ตัดต้นไม้

ที่เขาสมมติว่าเป็นเจดีย์ต้นหนึ่ง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖ ...

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 18

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘

[๑๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ตามกำจัดภิกษุ

ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันหามูลมิได้ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระเมตติยะ และพระภุมมชกะตามกำจัดท่านพระ

ทัพพมัลลบุตร ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันหามูลมิได้.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ . . .

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙

[๑๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ถือเอาเอกเทศ

บางอย่างแห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่น ให้เป็นเพียงเลศ ตามกำจัดภิกษุด้วย

ธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 19

ต. เพราะเรื่องที่พระเมตติยะและพระภุมมชกะ ถือเอาเอกเทศบาง

อย่างแห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่น ให้เป็นเพียงเลศ ตามกำจัดท่านพระทัพพ-

มัลลบุตร ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ ...

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐

[๑๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ผู้

ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ จบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระเทวทัต

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระเทวทัต ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อม

เพรียง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา กับ จิต . . .

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๑

[๑๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่พวกภิกษุผู้ประพฤติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 20

ตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ผู้ไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ จบ

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูป ได้ประพฤติตามพระเทวทัตผู้ตะเกียก

ตะกายเพื่อทำลายสงฆ์.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา กับ จิต . . .

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๒

[๒๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ว่ายาก ไม่สละ

กรรมเพราะสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ จบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครโกสัมพี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระฉันนะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดย

ชอบธรรม ได้ทำตนให้เป็นผู้อันใคร ๆ ว่ากล่าวไม่ได้.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา กับจิต ...

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 21

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๓

[๒๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล

ไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ จบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ลง

ปัพพาชนียกรรม แล้วกลับหาว่า ภิกษุทั้งหลายถึงความพอใจ ถึงความขัดเคือง

ถึงความหลง ถึงความกลัว.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา กับจิต ...

สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ

หัวข้อประจำกัณฑ์

[๒๒] สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท คือ ปล่อยน้ำสุกกะ ๑ เคล้าคลึง

กาย ๑ วาจาชั่วหยาบ ๑ บำเรอตนด้วยกาม ๑ เที่ยวชักสื่อ ๑ สร้างกุฎี ๑

สร้างวิหาร ๑ ปาราชิกาบัติไม่มีมูล ๑ อ้างเลศบางอย่าง ๑ ทำลายสงฆ์ ๑

ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ๑ ว่ายาก ๑ ประทุษร้ายสกุล ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 22

กัตถปัญญัติวาร

[๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติอนิยตสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร

เพราะเรื่องอะไร ในอนิยตสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันน

บัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ

เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือบรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕ อนิยตสิกขาบท

ที่ ๑ นั้น หยั่งลงในอุเทศไหน นับเนื่องในอุเทศไหน มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่

เท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน บรรดาอาบัติ ๗ กองเป็นอาบัติ

กองไหน บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดา

อธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดาสมถะ ๗ ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร

ในอนิยตสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นวินัย ในอนิยตสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไร

เป็นอภิวินัย ในอนิยตสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นปาติโมกข์ ในอนิยต

สิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ

อะไรเป็นข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ อนิยตสิกขาบทที่ ๑ เพราะ

ทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร พวกไหนศึกษา พวกไหนมีสิกขาอันศึกษา

แล้ว อนิยตสิกขาบทที่ ๑ นั้น ตั้งอยู่ในใคร พวกไหนย่อมทรงไว้ เป็นถ้อยคำ

ของใคร ใครนำมา.

อนิยตกัณฑ์

คำถามและคำตอบ อนิยตสิกขาบทที่ ๑

[๒๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติอนิยตสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 23

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับคือใน

อาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคามผู้เดียว

ถ. ในอนิยตสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ

หรือ

ต. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ ไม่มีในอนิยตสิกขาบท

ที่ ๑ นั้น

ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่สัพพัตถบัญญัติ

ถ. มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่อสาธารณบัญญัติ

ถ. มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ

ค. มีแต่เอกโตบัญญัติ

ถ. บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕ อนิยตสิกขาบทที่ ๑ นั้น หยั่งลงใน

อุเทศไหน นับเนื่องในอุเทศไหน

ต. หยั่งลงในนิทาน นับเนื่องในนิทาน

ถ. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร

ต. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่ ๔

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 24

ถ. บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน

ต. บางทีเป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ.

ถ. บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน

ต. บางทีเป็นอาบัติกองปาราชิก บางทีเป็นอาบัติกองสังฆาทิเสส

บางทีเป็นอาบัติกองปาจิตตีย์

ถ. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง อนิยตสิกขาบทที่ ๑ นั้น

เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา

ถ. บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์อะไร

ต. เป็นอาปัตตาธิกรณ์

ถ. บรรดาสมถะ ๗ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ บางทีระงับด้วยสัมมุขาวินัยกับ

ปฏิญญาตกรณะ บางทีระงับด้วยสัมมุขาวินัย บางทีระงับด้วยติณวัตถารกะ

ถ. ในอนิยตสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นวินัย ในอนิยตสิกขาบทที่ ๑

นั้น อะไรเป็นอภิวินัย

ต. พระบัญญัติเป็นวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย

ถ. ในอนิยตสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นปาติโมกข์ ในอนิยตสิกขาบท

ที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอธิปาติโมกข์

ต. พระบัญญัติเป็นปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์

ถ. อะไรเป็นวิบัติ

ต. ความไม่สังวรเป็นวิบัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 25

ถ. อะไรเป็นสมบัติ

ต. ความสังวรเป็นสมบัติ

ถ. อะไรเป็นข้อปฏิบัติ

ต. ข้อที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า จักไม่ทำกรรม

เห็นปานนี้ แล้วศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ

ถ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติอนิยตสิกขาบทที่ ๑ เพราะทรง

อาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร

ต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติอนิยตสิกขาบทที่ ๑ เพราะทรง

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อ

ความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุ

ผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด

อาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระ

สัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑

ถ. พวกไหนศึกษา

ต. พระเสกขะและกัลยาณปุถุชนศึกษา

ถ. พวกไหนมีสิกขาอันศึกษาแล้ว

ต. พระอรหันต์มีสิกขาอันศึกษาแล้ว

ถ. อนิยตสิกขาบทที่ ๑ นั้น ตั้งอยู่ในใคร

ต. ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล

ถ. พวกไหนย่อมทรงไว้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 26

ต. อนิยตสิกขาบทที่ ๑ ย่อมเป็นไปแก่พระเถระพวกใด พระเถระ

พวกนั้น ย่อมทรงไว้

ถ. เป็นถ้อยคำของใคร

ต. เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ถ. ใครนำมา

ต. พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา.

รายนามพระเถระ

พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี

พระทาสกะ พระโสณกะ พระสิคควะ รวม

เป็นห้าทั้งพระโมคคัลลีบุตร นำพระวินัยมา

ในทวีปชื่อว่า ชมพูอันมีสิริ แต่นั้นพระเถระ

ผู้ประเสริฐ มีปัญญามาก เหล่านี้ คือ

พระมหินทะ ๑ พระอิฏฏิยะ ๑ พระอุตติยะ ๑

พระสัมพละ ๑... พระเถระผู้ประเสริฐ มี

ปัญญามากเหล่านี้รู้พระวินัยฉลาดในมรรคา

ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตาม-

พปัณณิ.

คำถามและคำตอบอนิยตสิกขาบทที่ ๒

[๒๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติอนิยตสิกขาบทที่ ๒ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 27

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับ

มาตุคามผู้เดียว

ถ. ในอนิยตสิกขาบทที่ ๒ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ

หรือ

ต. มีแต่บัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติ ไม่มีในอนิยต

สิกขาบทที่ ๒ นั้น

ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่สัพพัตถบัญญัติ

ถ. มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่อสาธารณบัญญัติ

ถ. มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่เอกโตบัญญัติ

ถ. บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕ อนิยตสิกขาบทที่ ๒ นั้น หยั่งลงใน

อุเทศไหน นับเนื่องในอุเทศไหน

ต. หยั่งลงในนิทาน นับเนื่องในนิทาน

ถ. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร

ต. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่ ๔

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 28

ถ. บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน

ต. บางทีเป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ

ถ. บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน

ต. บางทีเป็นอาบัติกองสังฆาทิเสส บางทีเป็นอาบัติกองปาจิตตีย์

ถ. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง อนิยตสิกขาบทที่ ๒ นั้น

เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. เกิดขึ้นด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา

บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย บางทีเกิดแต่กาย วาจา กับจิต

ถ. บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์อะไร

ต. เป็นอาปัตตาธิกรณ์

ถ. บรรดาสมถะ ๗ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ บางทีระงับด้วยสัมมุขาวินัยกับ

ปฏิญญาตกรณะ บางทีระงับด้วยสัมมุขาวินัย บางทีระงับด้วยติณวัตถารกะ.

อนิยต ๒ สิกขาบท จบ

หัวข้อประจำกัณฑ์

[๒๖] อนิยต ๒ สิกขาบท คือ สิกขาบทว่าด้วยอาสนะกำบังพอจะทำ

การได้ ๑ อาสนะกำบังไม่ถึงขนาดนั้น ๑ อันพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้คงที่

ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วแล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 29

นิสสัคคิยกัณฑ์

คำถามและคำตอบกฐินวรรคที่ ๑

[๒๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้เก็บ

อดิเรกจีวรล่วง ๑๐ วัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เก็บอดิเรกจีวร.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กาย

วาจา กับจิต...

[๒๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัดินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้อยู่

ปราศจากไตรจีวรสิ้นราตรีหนึ่ง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 30

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปฝากจีวร ไว้ในมือของภิกษุทั้งหลาย

แล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่จาริกในชนบท.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กาย

วาจา กับจิต . . .

[๒๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รับอกาล

จีวรแล้วเก็บไว้เกินเดือนหนึ่ง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับอกาลจีวร แล้วเก็บไว้เกินเดือนหนึ่ง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กาย วาจา

กับจิต. . .

[๓๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ใช้

ภิกษุณีมิใช่ญาติให้ซักจีวรเก่า ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 31

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายี ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักจีวรเก่า.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖...

[๓๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตีย์ แก่ภิกษุผู้รับจีวร

จากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายี รับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖...

[๓๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ขอจีวร

กะพ่อเจ้าเรือนก็ดี กะแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 32

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ขอจีวร กะเศรษฐีบุตรผู้

มิใช่ญาติ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖. . .

[๓๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ขอจีวร

ยิ่งกว่านั้น กะพ่อเจ้าเรือนก็ดี กะแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ไม่รู้ประมาณแล้วขอจีวรเป็นอันมาก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

[๓๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้อันเขา

ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติแล้วถึงการกำหนดในจีวร

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 33

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องท่านพระอุปนันทศากยบุตร เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน

เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงการกำหนดในจีวร.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

[๓๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้อันเขา

ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนทั้งหลายผู้มิใช่ญาติแล้วถึงการ

กำหนดในจีวร ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ น พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร อันเขาไม่ได้ปวารณาไว้

ก่อน เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนทั้งหลายผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงการกำหนดในจีวร.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

[๓๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ยังจีวร

ให้สำเร็จด้วยการทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 34

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร อันอุบายสกกราบเรียนว่า

ขอพระคุณเจ้าจงรอสักวัน หนึ่ง ก็มิได้รอ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

กฐินวรรค ที่ ๑ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๓๗] อดิเรกจีวร ๑ ราตรีเดียว ๑ อกาลจีวร ๑ ซักจีวรเก่า ๑ รับ

จีวรเป็นข้อที่ ๕ ขอจีวร ๑ ขอเกินกำหนด ๑ เขามิได้ปวารณา ๒ สิกขาบทกับ

ทวง ๓ ครั้ง.

คำถามและคำตอบโกสิยวรรคที่ ๒

[๓๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้ทำ

สันถัตเจือด้วยไหม ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 35

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกช่างไหน แล้วพูดอย่างนี้

ว่าท่านทั้งหลาย ขอจงต้มตัวไหมให้มาก จงให้แก่พวกฉันบ้าง แม้พวกฉัน

ก็ปรารถนาจะให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖ . . .

[๓๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้ทำ

สันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

[๔๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ไม่ถือเอาขน

เจียมขาว ๑ ส่วน ขนเจียมแดง ๑ ส่วน แล้วให้ทำสันถัตใหม่ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 36

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ถือเอาชายขนเจียมขาวนิดหน่อย

เท่านั้น แล้วให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วนเช่นนั้นแหละ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

[๔๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้ทำ

สันถัตทุกปี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ต. เพราะเรื่องอะไร

ถ. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปให้ทำสันถัตทุกปี.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖. . .

[๔๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ไม่ถือ

เอาสันถัตเก่าโดยรอบหนึ่งคืบพระสุคต แล้วให้ทำสันถัตสำหรับนั่งใหม่ ณ

ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 37

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปทิ้งสันถัต แล้วสมาทานอารัญญิกธุดงค์

บิณฑปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

[๔๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รับ

ขนเจียมแล้วเดินทางไปเกิน ๓ โยชน์ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่ง รับขนเจียมแล้วเดินทางไปเกิน ๓

โยชน์.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่

วาจา . . .

[๔๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุใช้ภิกษุณี

ผู้มิใช่ญาติให้ซักขนเจียม ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 38

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักขนเจียม.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

[๔๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รับ

รูปิยะ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร รับรูปียะ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏ-

ฐาน ๖. . .

[๔๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ถึงความ

แลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 39

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ถึงความแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะมี

ประการต่าง ๆ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

[๔๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ถึงการ

ซื้อและขายมีประการต่าง ๆ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ถึงการซื้อและขายกับ

ปริพาชก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

โกสิยวรรค ที่ ๒ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๔๘] สันถัตเจือไหม ๑ ดำล้วน ๑ ไม่ได้ส่วน ๑ ทำทุกปี ๑

สันถัตเก่า ๑ กับการนำขนเจียมไป ๑ ซักขนเจียม ๑ รับรูปิยะ ๑ แลกเปลี่ยน

และซื้อขาย มีประการต่าง ๆ ๒ สิกขาบท.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 40

คำถามและคำตอบปัตตวรรคที่ ๓

[๔๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้เก็บ

อดิเรกบาตรไว้เกิน ๑๐ วัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เก็บอดิเรกบาตร.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กายกับวาจามิใช่จิต บางทีเกิดแต่กาย

วาจา กับจิต. . .

[๕๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้มีบาตร

มีรอยร้าวหย่อน ๕ แห่ง ให้จ่ายบาตรใหม่ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ สิกกชนบท

ถ. ปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ผู้มีบาตรทะลุเพียงเล็กน้อยบ้าง ร้าว

เพียงเล็กน้อยบ้าง เพียงเป็นรอยขีดบ้าง ก็ขอบาตรเป็นอันมาก.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 41

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

[๕๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รับ

ประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้เกิน ๗ วัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้เกิน ๗ วัน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนในกฐินสิกขาบท) . . .

[๕๒] ถามว่า พระผู้พระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสวงหา

ผ้าอาบน้ำฝน เมื่อฤดูร้อนเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน เมื่อฤดูร้อน

เหลือเกินกว่า ๑ เดือน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 42

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

[๕๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้จีวร

แก่ภิกษุเอง แล้วโกรธ น้อยใจ ชิงเอาคืนมา ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว

โกรธ น้อยใจ ชิงเอาคืนมา.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓. . .

[๕๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ขอด้าย

มาเอง ให้ช่างหูกทอจีวร ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ขอด้ายมาเองแล้ว ใช้ช่างหูกทอจีวร.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 43

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

[๕๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตีย์ แก่ภิกษุผู้อันเขา

ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกของพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงความ

กำหนดในจีวร ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เขาไม่ได้ปวารณาไว้

ก่อนเข้าไปหาช่างหูกของพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงความกำหนดในจีวร.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบทที่ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

[๕๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รับ

อัจเจกจีวร แล้วเก็บไว้เลยสมัยจีวรกาล ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 44

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับอัจเจกจีวร แล้วเก็บไว้เลยสมัย

จีวรกาล.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนในกฐินสิกขาบท) . . .

[๕๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เก็บจีวร

๓ ผืน ผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ ราตรี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปเก็บจีวร ๓ ผืน ผืนใดผืนหนึ่งไว้ใน

ละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ ราตรี.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนในกฐินสิกขาบท) . . .

[๕๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รู้อยู่

น้อมลาภที่เขาน้อมมาจะถวายสงฆ์ มาเพื่อตน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 45

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมมาจะถวายสงฆ์

มาเพื่อตน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ . . .

ปัตตวรรค ที่ ๓ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๕๙] อดิเรกบาตร ๑ กับบาตรมีรอยร้าวหย่อน ๑ เภสัช ๑ ผ้า

อาบน้ำฝน ๑ โกรธชิงจีวร ๑ ช่างหูก ๒ สิกขาบท กับอัจเจกจีวร ๑ อยู่ปราศ

๖ ราตรี ๑ น้อมลาภมาเพื่อตน ๑.

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท จบ

ปาจิตติยกัณฑ์

คำถามและคำตอบมุสาวาทวรรคที่ ๑

[๖๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ในเพราะสัมปชานมุสาวาท

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระหัตถกศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 46

ต. เพราะเรื่องที่พระหัตถกศากยบุตร เจรจากับพวกเดียรถีย์กล่าว

ปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย

บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต . . .

[๖๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ในเพราะโอมสวาท ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก

ด่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ . . .

[๖๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ในเพราะส่อเสียดภิกษุ

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 47

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เก็บเอาคำส่อเสียด ไปบอกแก่ภิกษุ

ผู้หมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓. . .

[๖๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้สอนธรรมแก่

อนุปสัมบันว่าพร้อมกัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์สอนธรรมแก่อุบาสกอุบาสิกาว่าพร้อม

กัน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ คือ บางทีเกิดแต่วาจา มิใช่กาย มิใช่จิต บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่

กาย . . .

[๖๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้สำเร็จการนอนร่วมกัน

อนุปสัมบันยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 48

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูป สำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแก่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่

กายกับจิต มิใช่วาจา ...

[๖๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุ ผู้สำเร็จการนอนร่วมกับ

มาตุคาม ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอนุรุทธะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอนุรุทธะนอนร่วมกับมาตุคาม.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). . .

[๖๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแก่มาตุคาม

ยิ่งกว่า ๕-๖ คำ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 49

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านอุทายีแสดงธรรมแก่มาตุคาม.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๒ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนปทโสธัมมสิกขาบท). . .

[๖๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้บอกอุตริมนุสธรรม

อันมีจริงแก่อนุปสัมบัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา พรรณนาคุณแห่งอุตริ-

มนุสธรรมของกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๓ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่วาจา มิใช่กาย

มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กายกับวาจามิใช่จิต . . .

[๖๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้บอกอาบัติชั่วหยาบของ

ภิกษุแก่อนุปสัมบัน ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 50

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุป-

สัมบัน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๓ ( เหมือนอทินนาทานสิกขาบท ). . .

[๖๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ขุดดิน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุพวกเมืองอาฬวี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกเมืองอาฬวีขุดดิน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๓. . .

มุสาวาทวรรค ที่ ๑ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๗๐] พูดเท็จ ๑ ด่า ๑ ส่อเสียด ๑ สอนว่าพร้อมกัน ๑ นอน ๒

แสดงธรรม ๑ บอกอุตริมนุสธรรม ๑ อาบัติชั่วหยาบ ๑ ขุดดิน ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 51

คำถามและคำตอบภูตคามวรรคที่ ๒

[๗๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ ในเพราะพรากภูตคาม ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุพวกเมืองอาฬวี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกเมืองอาฬวีตัดต้นไม้.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๓ . . .

[๗๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ในเพราะแกล้งกล่าวคำอื่น ใน

เพราะทำให้ลำบาก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครโกสัมพี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระฉันนะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉันนะ ถูกสงฆ์ซักถามอยู่ด้วยอาบัติในท่ามกลาง

สงฆ์กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสีย.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ . . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 52

[๗๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้โพนทะนา

ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระเมตติยะและพระภุมมชกะยังภิกษุทั้งหลายให้ยก

โทษท่านพระทัพพมัลลบุตร.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ . . .

[๗๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้วางเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ฟูก

ก็ดี เก้าอี้ก็ดี อันเป็นของสงฆ์ในที่แจ้งแล้วไม่เก็บ ไม่บอกสั่ง หลีกไปเสีย

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูป วางเสนาสนะอันเป็นของสงฆ์ ในที่

แจ้งแล้วไม่เก็บ ไม่บอกสั่ง หลีกไปเสีย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 53

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท) . . .

[๖๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ปูที่นอนในวิหารเป็น

ของสงฆ์แล้วไม่เก็บ ไม่บอกสั่ง หลีกไปเสีย ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระสัตตรสวัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระสัตตรสวัคคีย์ปูที่นอนในวิหารเป็นของสงฆ์ แล้ว

ไม่เก็บ ไม่บอกสั่ง หลีกไปเสีย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท). . .

[๗๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ สำเร็จการนอน

แซกแซงภิกษุผู้เข้าไปก่อนในวิหารของสงฆ์ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์สำเร็จการนอนแซกแซงภิกษุผู้เถระ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 54

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. . .

[๗๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้โกรธขัดใจ ฉุดคร่า

ภิกษุจากวิหารของสงฆ์ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลายจาก

วิหารของสงฆ์.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๓ . . .

[๗๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้นั่งทับเตียงก็ดี ตั้งก็ดี

อันมีเท้าเสียบบนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่ง นั่งทับเตียงอันมีเท้าเสียบบนร้านใน

วิหารเป็นของสงฆ์โดยแรง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 55

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่

วาจา . . .

[๗๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้อำนวยให้พอก ๒-๓

ชั้น แล้วอำนวยยิ่งกว่านั้น ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครโกสัมพี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระฉันนะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะให้มุงวิหารที่สร้างสำเร็จแล้วบ่อย ๆ

ให้โบกฉาบบ่อย ๆ วิหารหนักเกินไปก็ทลายลง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖ . . .

[๘๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ว่า น้ำมีตัว

สัตว์ เอารดหญ้าก็ดี ดินก็ดี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุพวกเมืองอาฬวี

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 56

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกเมืองอาฬวี รู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ เอารด

หญ้าบ้าง รดดินบ้าง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน

๓ . . .

ภูตคามวรรค ที่ ๒ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๘๑] ตัวต้นไม้ ๑ กล่าวส่อเสียด ๑ โพนทะนา ๑ ที่แจ้ง ๑ วิหาร ๑

นอนเบียด ๑ ฉุดคร่า ๑ บนร้าน ๑ โบกฉาบ ๑ เอาน้ำมีตัวสัตว์รดทิ้งเสีย ๑.

คำถามและตอบโอวาทวรรคที่ ๓

[๘๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ไม่ได้รับสมมุติ

สั่งสอนภิกษุณี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ไม่ได้รับสมมติ สั่งสอนภิกษุณี

ถ. ในสิกขาบทนั้นมีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ หรือ

ต. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติไม่มีในสิกขาบทนั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 57

บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ คือ

บางทีเกิดแต่วาจา มิใช่กาย มิใช่จิต บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย . . .

[๘๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี

เมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระจูฬปันถก

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระจูฬปันถก สั่งสอนภิกษุณี เมื่อพระอาทิตย์

อัสดงแล้ว.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนปทโสธัมมสิกขาบท) . . .

[๘๔] ถามว่า พระผู้พระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่ที่อาศัย

แห่งภิกษุณีแล้ว สั่งสอนพวกภิกษุณี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ สักกชนบท

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณีแล้วสั่งสอน

พวกภิกษุณี.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 58

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนในกฐินสิกขาบท). . .

[๘๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้กล่าวว่า พวก

ภิกษุกล่าวสอนพวกภิกษุณีเพราะเหตุอามิส ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า พวกภิกษุสั่งสอนพวกภิกษุณี

เพราะเหตุอามิส.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓. . .

[๘๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณี

ผู้มิใช่ญาติ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งได้ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 59

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ . . .

[๘๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้เย็บจีวรเพื่อ

ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีเย็บจีวร เพื่อภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖ . . .

[๘๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ชักชวนภิกษุณี

แล้วเดินทางไกลร่วมกัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ชักชวนพวกภิกษุณี เดินทางไกล

ร่วมกัน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 60

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่

กายกับวาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่กาย

วาจาและจิต . . .

[๘๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ชักชวนภิกษุณี

แล้วโดยสารเรือลำเดียวกัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ชักชวนพวกภิกษุณีแล้วโดยสารเรือ

ลำเดียวกัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ . . .

[๙๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ฉันบิณฑบาต

อันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระเทวทัต

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 61

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระเทวทัตรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้

ถวาย.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. . .

[๙๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้เดียว สำเร็จการ

นั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียว ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับ

ภิกษุณีผู้เดียว.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. . .

โอวาทวรรค ที่ ๓ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๙๒] ไม่ได้รับสมมติสั่งสอน ๑ พระอาทิตย์อัสดง ๑ ที่อาศัย ๑

เหตุอามิส ๑ ให้จีวร ๑ เย็บจีวร ๑ ชักชวนกันแล้วเดินทาง ๑ ชักชวนกัน

แล้วโดยสารเรือ ๑ ภัตรที่ภิกษุณีแนะนำให้ถวาย ๑ นั่งในที่ลับ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 62

คำถามและคำตอบโภชนวรรคที่ ๔

[๙๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ฉันอาหารใน

โรงทานยิงกว่าครั้งหนึ่งนั้น ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ อยู่ฉันอาหารในโรงทานเป็นประจำ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท) . . .

[๙๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันเป็นหมู่ ณ

ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงประรภพระเทวทัต

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระเทวทัตพร้อมด้วยบริษัท เที่ยวขอในสกุลทั้งหลาย

มาฉัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๗ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท) . . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 63

[๙๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ ในเพราะโภชนะทีหลัง

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูป รับนิมนต์ไว้ในที่แห่งหนึ่งแล้ว ฉัน

ในที่อื่น.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๓ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท) . . .

[๙๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รับขนมเต็ม

๒-๓ บาตร แล้วรับยิ่งกว่านั้น ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปไม่รู้จักประมาณรับ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 64

[๙๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ฉันเสร็จ ห้าม

ภัตรแล้ว ฉันของขบเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ที่ไม่เป็นเดน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว ฉันในที่แห่งอื่น.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท). . .

[๙๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้นำของเคี้ยวก็ดี

ของฉันก็ดี อันไม่เป็นเดน ไปล่อภิกษุผู้ฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว ให้ฉัน ณ

ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่ง นำของฉันอันไม่เป็นเดนไปล่อภิกษุผู้

ฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว ให้ฉัน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓. . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 65

[๙๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ฉันของเคี้ยวก็ดี

ของฉันก็ดี ในเวลาวิกาล ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระสัตตรสวัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระสัตตรสวัคคีย์ฉันโภชนะในเวลาวิกาล

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). . .

[๑๐๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ฉันของเคี้ยวก็ดี

ของฉันก็ดี ซึ่งรับประเคนไว้ค้างคืน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระเวลัฏฐสีสะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระเวลัฏฐสีสะ ฉันโภชนะที่รับประเคนไว้

ค้างคืน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 66

[๑๐๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ขอโภชนะอัน

ประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์

แก่ตนมาฉัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ . . .

[๑๐๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้กลืนอาหารที่เขา

ไม่ได้ให้ล่วงช่องปาก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่ง กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วง

ช่องปาก.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 67

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท) . . .

โภชนวรรค ที่ ๔ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑๐๓] อาหารในโรงทาน ๑ ฉันเป็นหมู่ ๑ โภชนะทีหลัง ๑ เต็ม ๒

บาตร ๑ ห้ามภัตร ๑ เวลาวิกาล ๑ ของเคี้ยว ๑ รับประเคนไว้ค้างคืน ๑

โภชนะประณีต ๑ อาหารที่เขาไม่ได้ให้ล่วงช่องปาก ๑.

คำถามและคำตอบอเจลกวรรค ที่ ๕

[๑๐๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้ของเคี้ยวก็ดี

ของฉันก็ดี แก่อเจลกก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ด้วยมือของตน

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอานนท์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอานนท์เข้าใจว่า ขนมชิ้นหนึ่ง ได้ให้ขนม

๒ ชิ้น แก่ปริพาชิกานางหนึ่ง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 68

[๑๐๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ชวนภิกษุว่า

มาเถิด คุณ เราจักเข้าไปสู่บ้านหรือสู่นิคม เพื่อบิณฑบาตด้วยกัน แล้วให้

เขาถวายก็ดี ไม่ให้ถวายก็ดีแก่เธอ แล้วส่งกลับไปเสีย ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ชวนภิกษุว่า มาเถิด

คุณ เราจักเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน ไม่ให้เขาถวายแก่เธอ แล้วส่ง

กลับไป.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓. . .

[๑๐๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้สำเร็จการนั่ง

แทรกแซงในสโภชนสกุล ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร สำเร็จการนั่งแทรกแซง

ในสโภชนสกุล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 69

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. . .

[๑๐๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้สำเร็จการนั่งใน

ที่ลับ คือ ในอาสนะกำบัง กับมาตุคาม ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร สำเร็จการนั่งในที่ลับ

คือ ในอาสนะกำบัง กับมาตุคาม.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. . .

[๑๐๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้เดียว สำเร็จ

การนั่งในที่ลับกับมาตุคามผู้เดียว ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ผู้เดียวสำเร็จการนั่ง

ในที่ลับกับมาตุคามผู้เดียว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 70

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. . .

[๑๐๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รับนิมนต์แล้ว

มีภัตรอยู่ ไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในสกุลทั้งหลาย ก่อน

เวลาฉันก็ดี หลังเวลาฉันก็ดี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร รับนิมนต์แล้ว มีภัตร

อยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในสกุลทั้งหลาย ก่อนเวลาฉัน หลังเวลาฉัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๔ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท) . . .

[๑๑๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ขอเภสัชยิ่งกว่า

กำหนดนั้น ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ สักกชนบท

ถ. ทรงปรารภใคร

ท. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 71

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ อันมหานามศากยะกล่าวว่า วันนี้

ขอท่านจงรอ ก็มิได้รอ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖. . .

[๑๑๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ไปเพื่อดูกองทัพ

ซึ่งยกออกไป ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ได้ไปเพื่อจะดูกองทัพซึ่งยกออกไป.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). . .

[๑๑๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้อยู่ในกองทัพ

เกินกว่า ๓ คืน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์อยู่ในกองทัพเกินกว่า ๓ คืน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 72

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). . .

[๑๑๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ไปสู่สนามรบ

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ได้ไปสู่สนามรบ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). . .

อเจลกวรรรค ที่ ๕ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑๑๔] ให้แก่อเจลก ๑ ส่งภิกษุกลับไป ๑ สโภชนสกุล ๑ นั่งใน

ที่ลับ ๒ สิกขาบท ภิกษุมีอยู่ ๑ เภสัช ๑ ดูกองทัพที่ยกออกไป ๑ อยู่เกิน

๓ ราตรี ๑ ไปสู่สนามรบ ๑.

คำถามและคำตอบสุราเมรยวรรค ที่ ๖

[๑๑๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย

ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 73

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครโกสัมพี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระสาคตะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระสาคตะดื่มน้ำเมา.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กายกับจิต

มิใช่วาจา . . .

[๑๑๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ ณ

ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ใช้นิ้วมือจี้ภิกษุให้หัวเราะ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. . .

[๑๑๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ในเพราะเล่นน้ำ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 74

ต. ทรงปรารภพระสัตตรสวัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระสัตตรสวัคคีย์เล่นน้ำในแม่น้ำอจิรวดี.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา . . .

[๑๑๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครโกสัมพี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระฉันนะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะได้ทำความไม่เอื้อเฟื้อ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓. . .

[๑๑๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผูหลอนภิกษุ ณ

ที่ไหน.

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 75

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์หลอนภิกษุ

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ . . .

[๑๒๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ติดไฟผิง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ ภัคคชนบท

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปก่อไฟผิง.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๒ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖. . .

[๑๒๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้อาบน้ำหย่อน

กึ่งเดือน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปเห็นพระราชาแล้ว ก็ยังไม่รู้จักประมาณ

อาบน้ำ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 76

ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่ปเทสบัญญัติ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๖ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). . .

[๑๒๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ไม่ถือเอาวัตถุ

สำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วใช้จีวรใหม่ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปจำจีวรของตนไม่ได้

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท) . . .

[๑๒๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้วิกัปจีวรเอง

แก่ภิกษุก็ดี แก่ภิกษุณีก็ดี แก่สิกขมานาก็ดี แก่สามเณรก็ดี แก่สามเณรีก็ดี

แล้วใช้สอยจีวรนั้น ซึ่งไม่ให้เขาถอนก่อน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 77

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร วิกัปจีวรเองแก่ภิกษุ

แล้วใช้สอยจีวรนั้น ซึ่งไม่ให้เขาถอนก่อน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท). . .

[๑๒๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ซ่อนบาตรก็ดี

จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคดเอวก็ดี ของภิกษุ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ซ่อนบาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง

กล่องเข็มบ้าง ประคดเอวบ้าง ของภิกษุทั้งหลาย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ . . .

สุราเมรยวรรค ที่ ๖ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑๒๕] สุรา ๑ จี้ด้วยนิ้วมือ ๑ เล่นน้ำ ๑ ไม่เอื้อเฟื้อ ๑ หลอน

ภิกษุ ๑ ติดไฟผิง ๑ อาบน้ำ ๑ วัตถุทำให้เสียสี ๑ วิกัป ๑ ซ่อนจีวร ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 78

คำถามและคำตอบสัปปาณกวรรคที่ ๗

[๑๒๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้แกล้งฆ่าสัตว์

ให้ตาย ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีแกล้งฆ่าสัตว์ให้ตาย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓. . .

[๑๒๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รู้อยู่บริโภคน้ำ

มีตัวสัตว์ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ บริโภคนำมีตัวสัตว์.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ . . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 79

[๑๒๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รู้อยู่พื้นอธิกรณ์

ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรม เพื่อทำอีก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ พื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตาม

ธรรมเพื่อทำอีก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓. . .

[๑๒๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ปิดอาบัติ

ชั่วหยาบของภิกษุ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งรู้อยู่ปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต. . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 80

[๑๓๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ยังบุคคลผู้มี

อายุหย่อน ๒๐ ปี ให้อุปสมบท ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรู้อยู่ยังบุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ให้

อุปสมบท.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ . . .

[๑๓๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ชักชวนแล้ว

เดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกพ่อค้าผู้เป็นโจร ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งรู้อยู่ ชักชวนเดินทางไกลสายเดียวกัน

กับพวกพ่อค้าผู้เป็นโจร.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 81

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่กาย วาจา

และจิต . . .

[๑๓๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ชักชวนเดินทาง

ไกลสายเดียวกันกับมาตุคาม ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งชักชวน เดินทางไกลสายเดียวกันกับ

มาตุคาม.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๔. . .

[๑๓๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ไม่สละทิฏฐิอัน

ชั่วช้า เมื่อสวดสมนุภาสน์จบหนที่ ๓ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระอริฏฐะ ผู้เคยเป็นคนฆ่าแร้ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 82

ต. เพราะเรื่องที่พระอริฏฐะ ผู้เคยเป็นคนฆ่าแร้ง ไม่สละทิฏฐิอัน

ชั่วช้า เมื่อสวดสมนุภาสน์จบหนที่ ๓.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เถิดแต่กาย วาจา และจิต . . .

[๑๓๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รู้อยู่กินร่วมกับ

พระอริฏฐะผู้กล่าวอย่างนั้น มีธรรมอันสมควรยังไม่ได้ทำ ยังไม่ได้สละทิฏฐิ

นั้น ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรืองอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ รู้อยู่กินร่วมกับพระอริฏฐะ ผู้กล่าว

อย่างนั้น มีธรรมอันสมควรยังไม่ได้ทำ ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ . . .

[๑๓๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รู้อยู่เกลี้ยกล่อม

สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้นแล้ว ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 83

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ รู้อยู่เกลี้ยกล่อมกัณฑกะ สมณุทเทส

ผู้ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้นแล้ว.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ . . .

สัปปาณกวรรค ที่ ๗ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑๓๖] แกล้งฆ่าสัตว์ให้ตาย ๑ บริโภคน้ำที่มีตัวสัตว์ ๑ พื้นอธิกรณ์

ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรม ๑ รู้อยู่ปิดอาบัติชั่วหยาบ ๑ อายุหย่อน ๒๐ ปี ๑

ชักชวนเดินทางกับพวกพ่อค้าผู้เป็นโจร ๑ ชักชวนเดินทางกับมาตุดาม ๑ กิน

ร่วม ๑ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ๑.

คำถามและคำตอบสหธรรมิกวรรคที่ ๘

[๑๓๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสันพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้อันภิกษุทั้งหลาย

ว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม กล่าวว่า แนะเธอ ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้

ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครโกสัมพี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระฉันนะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 84

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะ อันภิกษุทั้งหลายว่าท่านอยู่โดยชอบ

ธรรม กล่าวว่า แนะเธอ ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยัง

ไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ . . .

[๑๓๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ก่นพระวินัย ณ

ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ก่นพระวินัย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓. . .

[๑๓๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุ ในเพราะความ

เป็นผู้แสร้งทำหลง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 85

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แสร้งทำหลง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏ-

ฐาน ๓. . .

[๑๔๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้โกรธ ขัดใจ

ให้ประหารภิกษุ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์โกรธ ขัดใจ ให้ประหารแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๑ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏ-

ฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. . .

[๑๔๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้โกรธ ขัดใจ

เงื้อหอกคือฝ่ามือแก่ภิกษุ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 86

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์โกรธ ขัดใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือ แก่

ภิกษุทั้งหลาย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏ-

ฐานอันหนึ่ง คือเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา . . .

[๑๔๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้กำจัดภิกษุด้วย

อาบัติสังฆาทิเสสหามูลมิได้ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์กำจัดภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสหามูล

มิได้.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏ-

ฐาน ๓ . . .

[๑๔๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้แกล้งก่อความ

รำคาญแก่ภิกษุ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 87

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แกล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุทั้งหลาย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏ-

ฐาน ๓ . . .

[๑๔๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ยืนแอบฟังความ

เมื่อภิกษุทั้งหลายเกิดบาดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ยืนแอบฟังความ เมื่อภิกษุทั้งหลายเกิด

บาดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏ-

ฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่กาย วาจา และ

จิต . . .

[๑๔๕] ถามว่า พระมีผู้พระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้ฉันทะ เพื่อ

กรรมอันเป็นธรรมแล้ว ถึงธรรมคือความบ่นว่าในภายหลัง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 88

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ให้ฉันทะ เพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้ว

ถึงธรรมคือความบ่นว่าในภายหลัง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ . . .

[๑๔๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้เมื่อเรื่องอันจะ

พึงวินิจฉัยยังเป็นไปอยู่ในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะกลับไปเสีย ณ

ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัยยังเป็นไปอยู่

ในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะกลับไปเสีย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏ-

ฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต. . . .

[๑๔๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้พร้อม.กับ สงฆ์ผู้

พร้อมเพรียงกันให้จีวร แล้วถึงธรรมคือความบ่นว่าในภายหลัง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 89

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ผู้พร้อมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้

จีวรแก่ภิกษุ แล้วถึงธรรมคือความบ่นว่าในภายหลัง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏ-

ฐาน ๓. . .

[๑๔๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ น้อมลาภ

ที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์ มาเพื่อบุคคล ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ผู้รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวาย

สงฆ์มาเพื่อบุคคล.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓. . .

สหธรรมมิกวรรคที่ ๘ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑๔๙] ภิกษุกล่าวโดยชอบธรรม ๑ ก่นวินัย ๑ . แสร้งทำหลง ๑

ให้ประหาร ๑ เงื้อหอกคือฝ่ามือ ๑ อาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ๑ ก่อความ

รำคาญ ๑ ยืนแอบฟังความ ๑ กรรมอันเป็นธรรม ๑ วินิจฉัย ๑ สงฆ์ผู้

พร้อมเพียงกันให้ ๑ น้อมลาภมาเพื่อบุคคล ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 90

คำถามและคำตอบราชวรรคที่ ๙

[๑๕๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ไม่ได้รับบอก

ก่อน เข้าไปสู่ภายในพระตำหนักหลวง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอานนท์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอานนท์ยังไม่ได้รับบอก่อน เข้าไปสู่ภาย

ในพระตำหนักหลวง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท) . . .

[๑๕๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้เก็บรัตนะ ณ

ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งเก็บรัตนะ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๒ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ . . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 91

[๑๕๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

ส้มมาสันพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ไม่บอกลาภิกษุ

ที่มีอยู่เข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ แล้วเข้าไปสู่

บ้านในเวลาวิกาล.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๓ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบท

นี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท) . . .

[๑๕๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้ทำกล่องเข็ม

แล้วด้วยกระดูกก็ดี แล้วด้วยงาก็ดี แล้วด้วยเขาก็ดี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ สักกชนบท

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปไม่รู้จักประมาณ ขอกล่องเข็มเป็นจำ-

นวนมาก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 92

[๑๔๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้ทำเตียงก็ดี

ตั่งก็ดี เกินประมาณ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุปนันทะ ศากยบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทะ ศากยบุตร ให้ทำเตียงสูง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

[๑๕๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้ทำเตียงก็ดี

ตั่งก็ดี เป็นของหุ้มนุ่น ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี เป็นของ

หุ้มนุ่น.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖. . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 93

[๑๕๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้ทำผ้าปูนั่ง

เกินประมาณ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ให้ทำผ้าปูนั่งไม่มีประมาณ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบท

นี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ . . .

[๑๕๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้ทำผ้าปิดฝี

เกินประมาณ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าปิดฝีไม่มีประมาณ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖ . . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 94

[๑๕๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสันพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำ

ฝนเกินประมาณ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าอาบน้ำฝน ไม่มีประมาณ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏ-

ฐาน ๖. . .

[๑๕๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้ทำจีวรมีประ-

มาณเท่าจีวรพระสุคต ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอานนท์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอานนท์ ใช้จีวรมีประมาณเท่าจีวรพระสุคต.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏ-

ฐาน ๖. . .

ราชวรรค ที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 95

หัวข้อประจำวรรค

[๑๖๐] ภายในพระตำหนักหลวง ๑ เก็บ ๑ ไม่อำลาแล้วเข้าบ้าน ๑

กล่องเข็ม ๑ เตียง ๑ เตียงหุ้มนุ่น ๑ ผ้าปูนั่ง ๑ ผ้าปิดฝี ๑ ผ้าอาบน้ำฝน ๑ ใช้

จีวรเท่าสุคตจีวร ๑.

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จบ

หัวข้อบอกวรรคเหล่านั้น

[๑๖๑] วรรคเหล่านั้น คือ มุสาวาทวรรค ๑ ภูตคามวรรค ๑

โอวาทวรรค ๑ โภชนวรรค ๑ อเจลกวรรค ๑ สุราเมรยวรรค ๑ สัปปาณก-

วรรค ๑ สหธรรมิกวรรค ๑ รวมเป็น ๙ กับราชวรรค.

ปาฏิเทสนียกัณฑ

คำถามและคำตอบสิกขาบทที่ ๑

[๑๖๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ แก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่ละ

แวกบ้านแล้วรับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตนจากมือของภิกษุณีผู้

มิใช่ญาติแล้วฉัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 96

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วรับอามิสจาก

มือของภิกษุณี ผู้มิใช่ญาติ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา . . .

คำถามและคำตอบสิกขาบทที่ ๒

[๑๖๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ แก่ภิกษุผู้ไม่ห้ามภิกษุณี

ผู้สั่งเสียแล้วฉัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ไม่ห้ามภิกษุณีผู้สั่งเสียอยู่.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏ-

ฐาน ๒ คือ บางที่เกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กายวาจา และจิต . . .

คำถามและคำตอบสิกขาบทที่ ๓

[๑๖๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ แก่ภิกษุ ผู้รับของเคี้ยว

ก็ดี ของฉันก็ดี ในสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะด้วยมือของตนแล้วฉัน ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 97

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปไม่รู้ประมาณแล้วรับ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๒ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิด

ด้วยสมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กาย

กับจิต มิใช่วาจา. . .

คำถามและคำตอบสิกขายบทที่ ๔

[๑๖๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ แก่ภิกษุผู้รับของเคี้ยว

ก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ในเสนาสนะป่า ด้วยมือของ

ตนในวัดที่อยู่ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ สักกชนบท

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปไม่บอกว่าโจรอาศัยอยู่ในอาราม.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิด

ด้วยสมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กาย

วาจา และจิต . . .

ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 98

หัวข้อประจำกัณฑ์

[๑๖๖] ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท คือ ภิกษุณีมิใช่ญาติ ๑ ภิกษุณี

สั่งเสีย ๑ สกุลเสกขะ ๑ เสนาสนะป่า ๑ อันพระสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว.

เสขิยกัณฑ์

คำถามและคำตอบปริมัณฑลวรรคที่ ๑

[๑๖๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

นุ่งผ้าเลื้อยหน้าหรือเลื้อยหลัง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าเลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้าง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. . .

[๑๖๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ห่มผ้าเลื้อยหน้าหรือเลื้อยหลัง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 99

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ห่มผ้าเลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้าง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายจับจิต มิใช่วาจา. . .

[๑๖๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เปิดกายเดินไปในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทองปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เปิดกายเดินไปในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๗๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เปิดกายนั่งในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 100

ต. เพระเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เปิดกายนั่งในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๗๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

คะนองมือหรือเท้า เดินไปในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปราภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เปิดกายเดินไปในละแวกบ้าน

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๗๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

คะนองมือหรือเท้า นั่งในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์คะนองมือบ้างเท้าบ้าง นั่งในละแวก

บ้าน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 101

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๗๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แลดูในที่นั้น ๆ เดินไปในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แลดูในที่นั้น ๆ เดินไปในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทน เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๗๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แลดูในที่นั้น ๆ นั่งในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์และในที่นั้น ๆ นั่งในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 102

[๑๗๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เดินเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เดินเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๗๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

ปริมัณฑลวรรค ที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 103

คำถามและคำตอบอุชชัคฆิกวรรคที่ ๒

[๑๗๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เดินหัวเราะไปในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เดินหัวเราะเสียงดังไปในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจาและจิต.

[๑๗๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

นั่งหัวเราะในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์นั่งหัวเราะเสียงดังในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย กาจา และจิต.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 104

[๑๗๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เดินพูดเสียงดังลั่นในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เดินพูดเสียงดังลั่นในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนสมนุภาสนสิกขาบท).

[๑๘๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

นั่งพูดเสียงดังลั่นในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์นั่งพูดเสียงดังลั่นในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนสมนุภาสนสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 105

[๑๘๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งสมบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๘๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 106

[๑๘๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เดินไกวแขนไปในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เดินไกวแขนไปในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๘๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

นั่งไกวแขนในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์นั่งไกวแขนในสะแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 107

[๑๘๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๘๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

อุชชัคฆิกวรรค ที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 108

คำถามและคำตอบขัมภกตวรรคที่ ๓

[๑๘๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เดินค้ำกายไปในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เดินค้ำกายไปในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๘๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

นั่งค้ำกายในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์นั่งค้ำกายในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 109

[๑๘๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ เดินคลุมกายตลอดศีรษะไปในละแวก

บ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๙๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์นั่งคลุมกายตลอดศีรษะ ในละแวกบ้าน

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๑ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 110

[๑๙๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่พระภิกษุผู้อาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อเดินกระโหย่งเท้าไปในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เดินกระโหย่งเท้าไปในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๙๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

นั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์นั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 111

[๑๙๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

รับบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาตโดยไม่เคารพ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๙๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แลดูในที่นั้น ๆ รับบิณฑบาต ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แลดูในที่นั้น ๆ รับบิณฑบาต.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 112

[๑๙๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

รับแต่แกงมาก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์รับแต่แกงมาก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกขาบท).

[๑๙๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

รับบิณฑบาตจนพูนบาตร ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาตจนพูนบาตร.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

ขัมภกตวรรคที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 113

คำถามและคำตอบปิณฑปาตวรรคที่ ๔

[๑๙๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตโดยไม่เคารพ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๑๙๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แลดู ในที่นั้น ๆ ฉันบิณฑบาต ณ ที่ไหน

ต. ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ฉัพพัคคีย์แลดูในที่นั้น ๆ ฉันบิณฑบาต.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 114

[๑๙๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต.

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันบิณฑบาตให้แหว่งในที่นั้น ๆ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตให้แหว่งในที่นั้น ๆ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๒๐๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต.

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันแต่แกงมาก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ฉันแต่แกงมาก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 115

[๒๐๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความ ไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันบิณฑบาตขยุ้มแต่ยอดลงไป ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตขยุ้มแต่ยอดลงไป.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๒๐๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

กลบแกงบ้าง กับบ้าง ด้วยข้าวสุก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์กลบแกงบ้าง กับบ้าง ด้วยข้าวสุก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 116

[๒๐๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์

แก่ตนมาฉัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่กาย

วาจ และจิต.

[๒๐๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แลดูบาตรของภิกษุรูปอื่น ด้วยหมายจะยกโทษ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แลดูบาตรของภิกษุรูปอื่นด้วยหมายจะ

ยกโทษ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 117

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๒๐๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ทำคำข้าวให้ใหญ่ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวให้ใหญ่.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๒๐๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ทำคำข้าวให้ยาว ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปราภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวให้ยาว.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

ปิณฑปาตวรรค ที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 118

คำถามและคำตอบกพฬวรรค ที่ ๕

[๒๐๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก อ้าปากไว้ท่า ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปากอ้าปากไว้ท่า.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๒๐๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันสอดมือทั้งหมดเข้าไปในปาก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันสอดมือทั้งหมดเข้าปาก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 119

[๒๐๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

พูดทั้งคำข้าวมีในปาก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์พูดทั้งคำข้าวมีในปาก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง คือ เกิดแต่ กายวาจา และจิต.

[๒๑๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันเคาะคำข้าว ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันเคาะคำข้าว.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 120

[๒๑๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันกัดคำข้าว ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันกัดคำข้าว.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๒๑๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 121

[๒๑๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันสลัดมือ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันสลัดมือ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๒๑๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหัต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันโปรยเมล็ดข้าว ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ค. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันโปรยเมล็ดข้าว.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 122

[๒๑๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันแลบลิ้น ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันแลบลิ้น.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๒๑๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันดังจั๊บ ๆ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันดังจั๊บ ๆ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

กพฬวรรค ที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 123

คำถามและคำตอบสุรุสุรุวรรคที่ ๖

[๒๑๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สันมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏเก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันดังซู้ด ๆ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครโกสัมพี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปดื่มนมสดดังซู้ด ๆ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๒๑๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันเลียมือ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครโกสัมพี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันเลียมือ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 124

[๒๖๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันขอดบาตร ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครโกสัมพี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันขอดบาตร.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๒๒๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันเลียริมฝีปาก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครโกสัมพี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ฉันเลียริมฝีปาก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 125

[๒๒๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ ภัคคชนบท

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา.

[๒๒๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ ภัคคชนบท

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง คือ กายกับจิต มิใช่วาจา.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 126

[๒๒๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แสดงธรรมแก่บุคคลมีร่มในมือ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลมีร่มในมือ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบท

นี้เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย.

[๒๒๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แสดงธรรมแก่บุคคลมีไม้พลองในมือ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ นครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลมีไม้พลองในมือ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายวาจากับจิต มิใช่กาย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 127

[๒๒๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แสดงธรรมแก่บุคคลมีศาสตราในมือ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ นครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลมีศาสตราในมือ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย.

[๒๒๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แสดงธรรมแก่บุคคลมีอาวุธในมือ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลมีอาวุธในมือ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย.

สุรุสุรุวรรค ที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 128

คำถามและคำตอบปาทุกาวรรคที่ ๗

[๒๒๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แสดงธรรมแก่บุคคลสวมเขียงเท้า ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ แสดงธรรมแก่บุคคลสวมเขียงเท้า.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย.

[๒๒๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แสดงธรรมแก่บุคคลสวมรองเท้า ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ แสดงธรรมแก่บุคคลสวมรองเท้า.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 129

[๒๒๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แสดงธรรมแก่บุคคลไปในยาน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปราภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลไปในยาน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย.

[๒๓๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แสดงธรรมแก่บุคคลผู้อยู่บนที่นอน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้อยู่บนที่นอน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย.

[๒๓๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งรัดเข่า ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 130

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งรัดเข่า.

มีบัญญัติ ๑ อันบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบท

นี้ เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย.

[๒๓๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แสดงธรรมแก่บุคคลผู้โพกศีรษะ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้โพกศีรษะ

มีบัญญัติ ๑ อันบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบท

นี้เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย.

[๒๓๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

แสดงธรรมแก่บุคคลผู้คลุมศีรษะ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 131

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้คลุมศีรษะ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบท

นี้เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย.

[๒๓๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

นั่งอยู่ที่แผ่นดินแสดงธรรม แก่บุคคลผู้นั่งบนอาสนะ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ นั่งอยู่ที่แผ่นดินแสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้นั่งบนอาสนะ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย.

[๒๓๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

นั่งบนอาสนะต่ำแสดงธรรม แก่บุคคลผู้นั่งบนอาสนะสูง ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 132

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ นั่งบนอาสนะต่ำแสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้นั่งบนอาสนะสูง.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา.*

[๒๓๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ยืนอยู่แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่ง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ยืนอยู่แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่ง.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย.

[๒๓๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เดินไปข้างหลัง แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดินไปข้างหน้า ณ ที่ไหน

* มีลักลั่นอยู่ที่นี่ น่าจะเป็นวาจากับจิต มิใช่กาย ว.ส.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 133

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เดินไปข้างหลัง แสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้เดินไปข้างหน้า.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต.

[๒๓๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยควานไม่เอื้อเฟื้อ

เดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดินในทาง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้เดินในทาง.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต.

[๒๓๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ยืนถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 134

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ยืนถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายปัสสาวะ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา.

[๒๔๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงบนของเขียวสด ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือบ้วน

เขฬะลงบนของเขียวสด.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา.

[๒๘๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 135

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วน

เขฬะบ้าง ลงในน้ำ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา.

ปาทุกาวรรค ที่ ๗ จบ

เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท จบ

กัตถปัญญัตติวาร มหาวิภังค์จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๒๔๒] นุ่งห่มเป็นปริมณฑล ปกปิดกาย สำรวมดี มีตาทอดลง

เวิกผ้า หัวเราะลั่น มีเสียงดัง โคลงกาย ไกวแขน โคลงศีรษะรวม ๓ ค้ำกาย

คลุมศีรษะ กระโหย่ง รัดเข่า รับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ แลดูในบาตร แกง

พอสมควร รับบิณฑบาตเสมอขอบ ฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ แลดูในบาตร

ฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง ฉันแกงพอสมควร ขยุ้มแต่ยอด กลบ ขอ เพ่ง

โพนทะนา ไม่ใหญ่กลมกล่อม ช่องปาก มือทั้งหมด ไม่พูด ฉันเดาะ ฉันกัด

ฉันทำให้ตุ่ย สลัดมือ ฉันโปรยเมล็ดข้าว ฉันแลบลิ้น ฉันเสียงจั๊บ ๆ ซุ๊ด ๆ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 136

เลียมือ ขอดบาตร เลียริมฝีปาก เปื้อนอามิส น้ำมีเมล็ดข้าว พระตถาคต

ทั้งหลายย่อมไม่ทรงแสดงสัทธรรม แก่บุคคลผู้มีร่มในมือ มีไม้พลองในมือ

มีศาสตราวุธในมือ สวมเขียงเท้า สวมรองเท้า ไปในยาน อยู่บนที่นอน นั่ง

รัดเข่า โพกศีรษะ คลุมศีรษะ ที่แผ่นดิน อาสนะต่ำ ยืนอยู่ เดินไปข้างหลัง

เดินไปนอกทาง ไม่ยืนถ่าย ถ่ายบนของเขียวสด และในน้ำ.

หัวข้อบอกวรรคเหล่านั้น

[๒๔๓] ปริมัณฑลวรรค ๑ อุชชัคฆิกวรรค ๑ ขัมภกตวรรค ๑

ปิณฑปาตวรรค ๑ กพฬวรรค ๑ สุรุสุรุวรรค ๑ ปาทุกาวรรค ๑ เป็นที่ ๗ แล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 137

กตาปัตติวารที่ ๒

คำถามและคำตอบอาบัติในปาราชิกกัณฑ์

ปาราชิก ๔ สิกขาบท

[๒๔๔] ถามว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติเท่าไร.

ตอบว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติ ๓ คือ เสพเมถุนธรรมใน

สรีระที่สัตว์มิได้กัด ต้องอาบัติปาราชิก ๑ เสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์กัด

แล้วโดยมาก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ สอดองค์กำหนดเข้าในปากที่อ้า มิได้

ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้.

[๒๔๕] ถามว่า ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ต้องอาบัติเท่าไร.

ตอบว่า ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ต้องอาบัติ ๓ คือ ถือเอา

ทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้เป็นส่วนแห่งโจรกรรมมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕

มาสก ต้องอาบัติปาราชิก ๑ ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้เป็นส่วนแห่งโจรกรรม

มีราคาเกินกว่า ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ถือ

เอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้เป็นส่วนแห่งโจรกรรม มีราคามาสกหนึ่ง หรือหย่อน

กว่ามาสกหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้.

[๒๔๖] ถามว่า ภิกษุแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิตต้องอาบัติเท่าไร.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 138

ตอบว่า ภิกษุแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต ต้องอาบัติ ๓ คือ ขุดบ่อ

เจาะจงมนุษย์ว่าจักตกลงตาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เมื่อตกแล้ว ทุกขเวทนา

เกิดขึ้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๖ ตาย ต้องอาบัติปาราชิก ๑.

ภิกษุแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต ต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้.

[๒๔๗] ถามว่า ภิกษุกล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มี ไม่เป็น

จริง ต้องอาบัติเท่าไร.

ตอบว่า ภิกษุกล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มี ไม่เป็นจริง ต้อง

อาบัติ ๓ คือ ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ กล่าว

อวดอุตริมนุสธรรมอันไม่มี ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก ๑ ภิกษุกล่าวว่า

ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์ เมื่อผู้พึงเข้าใจความ

ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ เมื่อไม่เข้าใจความ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

ภิกษุกล่าวอวดอุตริมนุสธรรมอันไม่มี ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติ ๓

เหล่านี้.

ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ

คำถามและคำตอบอาบัติในสังฆาทิเสสกัณฑ์

สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท

[๒๔๘] ถามว่า ภิกษุพยายามปล่อยอสุจิ ต้องอาบัติเท่าไร.

ตอบว่า ภิกษุพยายามปล่อยอสุจิ ต้องอาบัติ ๓ คือ ตั้งใจพยายาม

อสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตั้งใจพยายามแต่อสุจิไม่เคลื่อน ต้อง

อาบัติถุลลัจจัย ๑ เป็นทุกกฏในประโยค ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 139

[๒๔๙] ภิกษุถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๓

คือ ถูกต้องกายด้วยกาย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ เอากายถูกต้องของเนื่อง

ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ เอาของเนื่องด้วยกาย ถูกต้องของเนื่องด้วยกาย

ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

[๒๕๐] ภิกษุพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ต้องอาบัติ ๓ คือ

พูดชมก็ดี พูดติก็ดี พาดพิงวัจจมรรค ปัสสาวมรรค ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑

พูดชมก็ดี พูดติก็ดี พาดพิงอวัยวะใต้รากขวัญลงมา เหนือหัวเข่าขึ้นไป

เว้นวัจจมรรค ปัสสาวมรรค ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ พูดชมก็ดี พูดติก็ดี

พาดพิงของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

[๒๕๑] ภิกษุกล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม ต้องอาบัติ ๓ คือ

กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม ในสำนักมาตุคาม ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑

กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม ในสำนักบัณเฑาะก์ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑

กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม ในสำนักดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

[๒๕๒] ภิกษุถึงความเป็นผู้เที่ยวชักสื่อ ต้องอาบัติ ๓ คือ รับคำ

นำไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ รับคำ นำไปบอก แต่ไม่

กลับมาบอก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ รับคำ แต่ไม่บอก ไม่กลับมาบอก ต้อง

อาบัติทุกกฏ ๑.

[๒๕๓] ภิกษุให้ทำกุฏิ ด้วยอาการขอเอาเอง ต้องอาบัติ ๓ คือ

ให้ทำเป็นทุกกฏในประโยค ๑ เนื้อก้อนดินอีกก้อนหนึ่งยังไม่มา ต้องอาบัติ-

ถุลลัจจัย ๑ เมื่อก้อนดินนั้นมาแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 140

[๒๕๔] ภิกษุให้ทำวิหารใหญ่ ต้องอาบัติ ๓ คือ ให้ทำเป็นทุกกฏ

ในประโยค ๑ เมื่อก้อนดินอีกก้อนหนึ่งยังไม่มา ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ เมื่อ

ก้อนดินนั้นมาแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๒๕๕] ภิกษุตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก อันหามูล

มิได้ ต้องอาบัติ ๓ คือ ไม่ให้ทำโอกาส ประสงค์จะให้เคลื่อน โจท ต้อง

อาบัติทุกกฏ ๑ กับสังฆาทิเสส ๑ ให้ทำโอกาสประสงค์จะด่า โจท ต้อง

อาบัติโอมสวาท ๑.

[๒๕๖] ภิกษุถือเอาเอกเทศบางอย่าง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่น

ให้เป็นเพียงเลศ ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก ต้องอาบัติ ๓

คือ ไม่ให้ทำโอกาส ประสงค์จะให้เคลื่อน โจท ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ กับ

สังฆาทิเสส ๑ ให้ทำโอกาส ประสงค์จะด่า โจท ต้องอาบัติโอมสวาท ๑.

[๒๕๗] ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ จบ

ไม่สละอยู่ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจา

สองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๒๕๘] ภิกษุทั้งหลายผู้พระพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ถูกสวด

สมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ จบ ไม่สละอยู่ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบบัญญัติ ต้อง

อาบัติทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจา

ครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๒๕๙] ภิกษุผู้ว่ายาก ถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ จบ ไม่สละ

อยู่ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง

ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 141

[๒๖๐] ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล ถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ จบ

ไม่สละอยู่ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจา

สองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ

อาบัติในนิสสัคคิยกัณฑ์

กฐินวรรคที่ ๑

[๒๖๑] ภิกษุยังอติเรกจีวรให้ล่วง ๑๐ วัน ต้องอาบัติ ๑ คือ

นิสสัคคิยปาจิตตีย์.

[๒๖๒] ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรสิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัติ ๑ คือ

นิสสัคคิยปาจิตตีย์.

[๒๖๓] ภิกษุรับอกาลจีวรแล้ว ให้ล่วงเดือนหนึ่งต้องอาบัติ ๑ คือ

นิสสัคคิยปาจิตตีย์.

[๒๖๔] ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักจีวรเก่า ต้องอาบัติ ๒ คือ

ให้ซัก เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้ซักเสร็จแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๖๕] ภิกษุรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ต้องอาบัติ ๒ คือ

รับเป็นทุกกฏในประโยค ๑ รับจีวรแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๖๖] ภิกษุขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ

ต้องอาบัติ ๒ คือ ขอเป็นทุกกฏในประโยค ๑ ขอได้แล้ว เป็นนิสสัคคิยะ

ปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 142

[๒๖๗] ภิกษุขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มีใช่

ญาติยิ่งกว่ากำหนดนั้น ต้องอาบัติ ๒ คือ ขอ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ขอได้

แล้วเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๖๘] ภิกษุอันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนผู้

มิใช่ญาติแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร ต้องอาบัติ ๒ คือ ถึงการกำหนด เป็น

ทุกกฏในประโยค ๑ ถึงการกำหนดแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๖๙] ภิกษุอันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนหลาย

คนผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงการกำหนดในจีวร ต้องอาบัติ ๒ คือ ถึงการกำหนด

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ถึงการกำหนดแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๗๐] ภิกษุยังจีวรให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖

ครั้ง ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้สำเร็จ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้สำเร็จแล้ว เป็น

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

กฐินวรรคที่ ๑ จบ

โกสิยวรรค ที่ ๒

[๒๗๑] ภิกษุทำสันถัตเจือด้วยไหม ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้ทำเป็น

ทุกกฏในประโยค ๑ ให้ทำเสร็จแล้ว เป็นนิสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๗๒] ภิกษุทำสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้ทำ

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้ทำเสร็จแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๗๓] ภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมขาว ๑ ส่วน ขนเจียมแดง ๑ ส่วน

แล้วให้ทำสันถัตใหม่ ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้ทำ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้

ทำเสร็จแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 143

[๓๗๔] ภิกษุให้ทำสันถัตทุกปี ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้ทำเป็นทุกกฏ

ในประโยค ๑ ให้ทำเสร็จแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๗๕] ภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า แล้วให้ทำ

สันถัตสำหรับนั่งใหม่ ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้ทำ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้

ทำเสร็จแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๗๖] ภิกษุรับขนเจียมแล้วเดินทางเกิน ๓ โยชน์ ต้องอาบัติ ๒

คือ เกิน ๓ โยชน์ไปก้าวที่ ๑ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เกินไปก้าวที่ ๒ เป็น

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๗๗] ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักขนเจียม ต้องอาบัติ ๒ คือ

ให้ซัก เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้ซักแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๗๘] ภิกษุรับรูปิยะ ต้องอาบัติ ๒ คือ รับ เป็นทุกกฏในประโยค

๑ รับแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๗๙] ภิกษุถึงความแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ ต้องอาบัติ

๒ คือ ถึง เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ถึงแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๘๐] ภิกษุถึงการซื้อและขายมีประการต่าง ๆ ต้องอาบัติ ๒ คือ ถึง

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ถึงแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

โกสิยวรรค ที่ ๒ จบ

ปัตตวรรค ที่ ๓

[๒๘๑] ภิกษุเก็บอติเรกบาตรล่วง ๑๐ วัน ต้องอาบัติ ๑ คือ

นิสสัคคิยปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 144

[๒๘๒] ภิกษุมีบาตร มีรอยร้าวหย่อน ๕ แห่ง ให้จ่ายบาตรอื่นใหม่

ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้จ่าย เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้จ่ายแล้ว เป็นนิสสัคคิย-

ปาจิตตีย์ ๑.

[๒๘๓] ภิกษุรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้เกิน ๗ วัน ต้องอาบัติ ๑

คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์.

[๒๘๔] ภิกษุแสวงหาจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝน เมือฤดูร้อนยังเหลือ

เกิน ๑ เดือน ต้องอาบัติ ๒ คือ แสวงหา เป็นทุกกฏในประโยค ๑ แสวงหา

ได้แล้วเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๘๕] ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว โกรธ ขัดใจ ชิงเอามา ต้อง

อาบัติ ๒ คือ ชิงเอามา เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ชิงเอามาแล้ว เป็นนิสสัคคิย-

ปาจิตตีย์ ๑.

[๒๘๖] ภิกษุขอด้ายมาเองแล้ว ให้ช่างหูกทอจีวร ต้องอาบัติ ๒ คือ

ให้ทอ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้ทอเสร็จแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๘๗] ภิกษุอันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกของพ่อ

เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงความกำหนดในจีวร ต้องอาบัติ ๒ คือ ถึงความ

กำหนดเป็นทุกกฏในประโยค ๑ ถึงความกำหนดแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๘๘] ภิกษุรับอัจเจกจีวรแล้ว เก็บไว้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล ต้อง

อาบัติ ๑ คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์.

[๒๘๙] ภิกษุเก็บจีวร ๓ ผืน ๆ ใดผืนหนึ่ง ไว้ในละแวกบ้านแล้วอยู่

ปราศเกิน ๖ ราตรี ต้องอาบัติ ๑ คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 145

[๒๙๐] ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ มาเพื่อ

ตนต้องอาบัติ ๒ คือ น้อมมา เป็นทุกกฏในประโยค ๑ น้อมนาแล้ว เป็น

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

ปัตตวรรค ที่ ๓ จบ

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท จบ

คำถามและคำตอบอาบัติในปาจิตติยกัณฑ์

มุสาวาทวรรค ที่ ๑

[๒๙๑] ถามว่า ภิกษุกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ต้องอาบัติเท่าไร ตอบว่า

ภิกษุกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ต้องอาบัติ ๕ คือ ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความ

ปรารถนาครอบงำ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรมอันไม่มี ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติ

ปาราชิก ๑ ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันไม่มีมูล ต้องอาบัติ

สังฆาทิเสส ๑ ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเป็นพระ-

อรหันต์ เมื่อผู้ฟังเข้าใจความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ไม่เข้าใจความ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ๑ เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะสัมปชานมุสาวาท ๑ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่

ต้องอาบัติ ๕ เหล่านี้.

[๒๙๒] ภิกษุด่า ต้องอาบัติ ๒ คือ ด่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑ ด่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

[๒๙๓] ภิกษุกล่าวคำส่อเสียด ต้องอาบัติ ๒ คือ กล่าวคำส่อเสียด

แก่อุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ กล่าวคำส่อเสียดแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 146

[๒๙๔] ภิกษุสอนธรรมแก่อนุปสัมบันโดยว่าพร้อมกัน ต้องอาบัติ ๒

คือ สอนให้ว่า เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ บท ๑.

[๒๙๕] ภิกษุสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๒-๓ คืน ต้อง

อาบัติ ๒ คือ นอน เป็นอาบัติทุกกฏในประโยค ๑ นอนแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๒๙๖] ภิกษุสำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๒ คือ

นอน เป็นทุกกฏในประโยค ๑ นอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๒๙๗] ภิกษุแสดงธรรมแก่มาตุคามเกินกว่า ๕- ๖ คำ ต้องอาบัติ ๒

คือ แสดง เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ บท ๑.

[๒๙๘] ภิกษุบอกอุตริมนุสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสันบัน ต้องอาบัติ

๒ คือ บอก เป็นทุกกฏในประโยค ๑ บอกแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๒๙๙] ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ

๒ คือ บอก เป็นทุกกฏในประโยค ๑ บอกแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๐๐] ภิกษุขุดดิน ต้องอาบัติ ๒ คือ ขุด เป็นทุกกฏในประโยค

๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คราวที่ขุด ๑.

มุสาวาทวรรค ที่ ๑ จบ

ภูตคามวรรค ที่ ๒

[๓๐๑] ภิกษุพรากภูตคาม ต้องอาบัติ ๒ คือ พราก เป็นทุกกฏ

ในประโยค ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คราวที่พราก ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 147

[๓๐๒] ภิกษุกลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน ต้องอาบัติ ๒ คือ

เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกอัญญวาทกรรม กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ๑ เมื่อสงฆ์ยกอัญญวาทกรรมแล้ว กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๐๓] ภิกษุโพนทะนาภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ คือ โพนทะนาเป็น

ทุกกฏในประโยค ๑ โพนทะนาแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๐๔] ภิกษุวางเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ฟูกก็ดี เก้าอี้ก็ดี อันเป็นของสงฆ์

ในที่แจ้งแล้วไม่เก็บ ไม่บอกสั่ง หลีกไปเสีย ต้องอาบัติ ๒ คือ ก้าวเท้าเลย

เลฑฑุบาตไป ๑ ก้าว ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ก้าวเท้าเลยเลฑฑุบาตไป ๒ ก้าว

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๐๕] ภิกษุปูที่นอนในวิหารเป็นของสงฆ์แล้วไม่เก็บ ไม่บอกสั่ง

หลีกไปเสีย ต้องอาบัติ ๒ คือ ก้าวเท้าเลยเครื่องล้อมไป ๑ ก้าว ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ๑ ก้าวเท้าเลยเครื่องล้อมไป ๒ ก้าว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๐๖] ภิกษุรู้อยู่ สำเร็จการนอนเบียดเสียดภิกษุผู้เข้าไปก่อนใน

วิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติ ๒ คือ นอน เป็นทุกกฏในประโยค ๑ นอนแล้ว

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๐๗] ภิกษุโกรธ ขัดใ จ ฉุดคร่าภิกษุจากวิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติ

๒ คือ ฉุดคร่า เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ฉุดคร่าแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๐๘] ภิกษุนั่งทับเตียงก็ดี ตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบในกุฎีมีร้านใน

ในวิหารเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติ ๒ คือ นั่งทับ เป็นทุกกฏในประโยค ๑

นั่งทับแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 148

[๓๐๙] ภิกษุอำนวยให้พอก ๒-๓ ชั้น และอำนวยยิ่งกว่านั้น ต้อง

อาบัติ ๒ คือ อำนวย เป็นทุกกฏในประโยค ๑ อำนวยแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๓๑๐] ภิกษุรู้อยู่ว่า น้ำมีตัวสัตว์ รดหญ้าก็ดี ดินก็ดี ต้องอาบัติ

๒ คือ กำลังรด เป็นทุกกฏในประโยค ๑ รดแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

ภูตคามวรรค ที่ ๒ จบ

โอวาทวรรค ที่ ๓

[๓๑๑] ภิกษุไม่ได้รับสมมติสั่งสอนภิกษุณี ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลัง

สั่งสอน เป็นทุกกฏในประโยค ๑ สั่งสอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๑๒] ภิกษุสั่งสอนพวกภิกษุณี เมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว ต้อง

อาบัติ ๒ คือ กำลังสั่งสอน เป็นทุกกฏในประโยค ๑ สั่งสอนแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๓๑๓] ภิกษุเข้าไปสู่ที่อาศัยของภิกษุณีแล้ว สั่งสอนพวกภิกษุณี ต้อง

อาบัติ ๒ คือ กำลังสั่งสอน เป็นทุกกฏในประโยค ๑ สั่งสอนแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๓๑๔] ภิกษุกล่าวว่า พวกภิกษุสั่งสอนพวกภิกษุณี เพราะเหตุอามิส

ต้องอาบัติ ๒ คือกำลังกล่าว เป็นทุกกฏในประโยค ๑ กล่าวแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๓๑๕] ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลัง

ให้เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 149

[๓๑๖] ภิกษุเย็บจีวรของภิกษุณีมิใช่ญาติ ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลัง

เย็บ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ รอยเย็บ ๑.

[๓๑๗] ภิกษุชักชวนภิกษุณีเดินทางไกลด้วยกัน ต้องอาบัติ ๒ คือ

กำลังเดิน เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เดินแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๑๘] ภิกษุชักชวนภิกษุณีลงเรือลำเดียวกัน ต้องอาบัติ ๒ คือ

กำลังลงเป็นทุกกฏในประโยค ๑ ลงแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๑๙] ภิกษุรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย ต้องอาบัติ

๒ คือ รับด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ

คำกลืน ๑.

[๓๒๐] ภิกษุรูปเดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียว ต้อง

อาบัติ ๒ คือ กำลังนั่ง เป็นทุกกฏในประโยค ๑ นั่งแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

โอวาทวรรค ที่ ๓ จบ

โภชนวรรค ที่ ๔

[๓๒๑] ภิกษุฉันอาหารในโรงทานยิ่งกว่าครั้งหนึ่ง ต้องอาบัติ ๒ คือ

รับด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

[๓๒๒] ภิกษุฉันเป็นหมู่ ต้องอาบัติ ๒ คือ รับด้วยตั้งใจว่าจักฉัน

ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

[๓๒๓] ภิกษุฉันโภชนะทีหลัง ต้องอาบัติ ๒ คือ รับด้วยตั้งใจว่า

จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 150

[๓๒๔] ภิกษุรับขนมเต็ม ๒-๓ บาตรแล้ว รับยิ่งกว่านั้น ต้อง

อาบัติ ๒ คือ กำลังรับ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ รับแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๒๕] ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตรเสียแล้ว ฉันของเคี้ยวก็ดี ของฉัน

ก็ดี อันมิใช่เดน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ

๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

[๓๒๖] ภิกษุนำของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันมิใช่เดนไปล่อภิกษุผู้

ฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว ให้ฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ ภิกษุรับด้วยตั้งใจว่าจัก

เคี้ยว จักฉัน ตามคำของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ฉันเสร็จ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๓๒๗] ภิกษุฉันของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในเวลาวิกาล ต้องอาบัติ

๒ คือ รับด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ

คำกลืน ๑.

[๓๒๘] ภิกษุฉันของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ซึ่งรับประเคนไว้ค้างคืน

ต้องอาบัติ ๒ คือ รับด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

[๓๒๙] ภิกษุขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน ต้อง

อาบัติ ๒ คือ รับด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุก ๆ คำกลืน ๑.

[๓๓๐] ภิกษุกลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปาก ต้องอาบัติ ๒

คือ รับด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำ

กลืน ๑.

โภชนวรรค ที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 151

อเจลกวรรค ที่ ๕

[๓๓๑] ภิกษุให้ของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี แก่อเจลกก็ดี แก่ปริพาชก

ก็ดี ด้วยมือของตน ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังให้ เป็นทุกกฏในประโยค ๑

ให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๓๒] ภิกษุชวนภิกษุว่า มาเถิด คุณ เราจักเข้าไปสู่บ้าน หรือ

นิคมเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน แล้วให้ขาถวายก็ดี ไม่ให้ถวายก็ดี แก่เธอ แล้ว

ส่งกลับไป ต้องอาบัติ ๒ คือ ส่งไป เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ส่งไปแล้ว

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๓๓] ภิกษุสำเร็จการนั่งแทรกแซงในสโภชนสกุล ต้องอาบัติ ๒

คือ นั่ง เป็นทุกกฏในประโยค ๑ นั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๓๔] ภิกษุสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบังกับมาตุคาม

ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังนั่ง เป็นทุกกฏในประโยค ๑ นั่งแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๓๓๕] ภิกษุผู้เดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับกับมาตุคามผู้เดียว ต้อง

อาบัติ ๒ คือ กำลังนั่ง เป็นทุกกฏในประโยค ๑ นั่งแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๓๓๖] ภิกษุรับนิมนต์แล้ว มีภัตรอยู่ ไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึง

ความเป็นผู้เที่ยวไปในสกุลทั้งหลาย ก่อนเวลาฉันก็ดี หลังเวลาฉันก็ดี ต้อง

อาบัติ ๒ คือ ก้าวเท้าเลยธรณีประตู ๑ ก้าว ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ก้าวเท้าเลย

๒ ก้าว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๓๗] ภิกษุขอเภสัชยิ่งกว่าที่เขาปวารณาไว้ ต้องอาบัติ ๒ คือ

กำลังขอ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ขอแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 152

[๓๓๘] ภิกษุไปเพื่อดูกองทัพซึ่งยกออกไปแล้ว ต้องอาบัติ ๒ คือ

กำลังไป ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ อยู่ ณ ที่ใดมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๓๙] ภิกษุอยู่ในกองทัพเกินกว่า ๓ คืน ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลัง

อยู่ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ อยู่แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๔๐] ภิกษุไปสู่สนามรบ ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังไป ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ๑ อยู่ ณ ที่ใดมองเห็นได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

อเจลกวรรค ที่ ๕ จบ

สุราเมรยวรรค ที่ ๖

[๓๔๑] ภิกษุดื่มน้ำเมา ต้องอาบัติ ๒ คือ รับด้วยตั้งใจว่าจักดื่ม

ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกคราวที่ดื่ม ๑.

[๓๔๒] ภิกษุใช้นิ้วมือจี้ภิกษุให้หัวเราะ ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้หัวเราะ

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้หัวเราะแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๔๓] ภิกษุเล่นในน้ำ ต้องอาบัติ ๒ คือ เล่นในน้ำใต้ข้อเท้า ต้อง

อาบัติทุกกฏ ๑ เล่นในน้ำเหนือข้อเท้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๔๔] ภิกษุทำความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังทำ เป็น

ทุกกฏในประโยค ๑ ทำแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๔๕ ] ภิกษุหลอนภิกษุให้กลัว ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังหลอนให้

กลัว เป็นทุกกฏในประโยค ๑ หลอนให้กลัวแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๔๖] ภิกษุก่อไฟผิง ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังผิง เป็นทุกกฏใน

ประโยค ๑ ผิงแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 153

[๓๔๗] ยังไม่ถึงเดือนภิกษุอาบน้ำ ต้องอาบัติ ๒ คือกำลังอาบ

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ อาบแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๔๘] ภิกษุไม่ถือเอาวัตถุทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง

ใช้จีวรใหม่ ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังใช้ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ใช้แล้ว

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๔๙] ภิกษุวิกัปจีวรเอง แก่ภิกษุก็ดี แก่ภิกษุณีก็ดี แก่สิกขมานา

ก็ดี แก่สามเณรก็ดี แก่สามเณรีก็ดี ไม่ให้เขาถอนก่อน ใช้ ต้องอาบัติ ๒

คือกำลังใช้ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ใช้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๕๐] ภิกษุซ่อนบาตรก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี

ประคดเอวก็ดี ของภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังซ่อน เป็นทุกกฏในประ-

โยค ๑ ซ่อนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

สุราเมรยวรรค ที่ ๖ จบ

สัปปาณกวรรค ที่ ๗

[๓๕๑] ถามว่า ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ให้ตาย ต้องอาบัติเท่าไร.

ตอบว่า ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ให้ตาย ต้องอาบัติ ๔ คือ ขุดบ่อไม้

เจาะจงว่า ผู้ใดผู้หนึ่งจักตกตาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ มนุษย์ตกลงในบ่อนั้นตาย

ต้องอาบัติปาราชิก ๑ ยักษ์ก็ดี เปรตก็ดี ดิรัจฉานซึ่งมีร่างกายดุจมนุษย์ก็ดี

ตกลงในบ่อนั้นตาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ดิรัจฉานตกลงในบ่อนั้นตาย ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ๑.

ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ให้ตาย ต้องอาบัติ ๔ เหล่านี้.

[๓๕๒] ภิกษุรู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลัง

บริโภค เป็นทุกกฏในประโยค ๑ บริโภคแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 154

[๓๕๓] ภิกษุรู้อยู่ ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรม เพื่อทำอีก

ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังฟื้น เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ฟื้นแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๓๕๔] ภิกษุรู้อยู่ ปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ ต้องอาบัติ ๑ คือ

ปาจิตตีย์.

[๓๕๕] ภิกษุรู้อยู่ ให้บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปีอุปสมบท ต้องอาบัติ

๒ คือ กำลังให้อุปสมบท เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้อุปสมบทแล้ว ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๕๖] ภิกษุรู้อยู่ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกพ่อค้า

ผู้เป็นโจร ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังเดินทาง เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เดินทาง

แล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๕๗] ภิกษุชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกันกับมาตุคามต้อง

อาบัติ ๒ คือ กำลังเดินทาง เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เดินทางแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๓๕๘] ภิกษุไม่สละทิฏฐิอันชั่วช้า เมื่อสวดสมนุภาสน์จบหนที่ ๓

ต้องอาบัติ ๒ คือ จบญัตติ เป็นทุกกฏ จบกรรมวาจา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๕๙] ภิกษุรู้อยู่ กินร่วมกับภิกษุผู้กล่าวอย่างนั้น มีธรรมอันสมควร

ยังไม่ได้ทำ ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น ต้องอาบัติ ๒ คือกำลังกินร่วม เป็นทุกกฏใน

ประโยค ๑ กินร่วมแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๖๐] ภิกษุรู้อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทส ผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้วอย่าง

นั้น ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังเกลี้ยกล่อม เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เกลี้ยกล่อม

แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

สัปปาณกวรรค ที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 155

สหธรรมิกวรรค ที่ ๘

[๓๖๑] ภิกษุอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม กล่าวว่า แน่ะ

เธอ ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้ถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรง

วินัย ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังพูด เป็นทุกกฏในประโยค ๑ พูดแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๓๖๒] ภิกษุก่นวินัย ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังก่น เป็นทุกกฏใน

ประโยค ๑ ก่นแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๖๓] ภิกษุแสร้งทำหลง ต้องอาบัติ ๒ คือ เมื่อความหลงอันภิกษุ

ทั้งหลายยังไม่ยกขึ้นประกาศ ทำหลง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เมื่อความหลงอันภิกษุ

ทั้งหลายยกขึ้นประกาศแล้ว ทำหลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๖๔] ภิกษุโกรธ ขัดใจ ให้ประหารแก่ภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ คือ

กำลังประหาร เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ประหารแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๖๕] ภิกษุโกรธ ขัดใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือแก่ภิกษุ ต้องอาบัติ ๒

คือ กำลังเงื้อ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เงื้อแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๖๖] ภิกษุกำจัดภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสหามูลมิได้ ต้องอาบัติ ๒

คือ กำลังกำจัด เป็นทุกกฏในประโยค ๑ กำจัดแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๖๗] ภิกษุแกล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลัง

ก่อ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ก่อแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๖๘] เมื่อภิกษุทั้งหลายเกิดบาดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการ

วิวาทกัน ภิกษุยืนแอบฟัง ต้องอาบัติ ๒ คือ เดินไปด้วยตั้งใจว่าจักฟัง ต้อง

อาบัติทุกกฏ ๑ ยืนที่ใดได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 156

[๓๖๙] ภิกษุให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้ว ถึงธรรมคือความ

บ่นว่าในภายหลัง ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังบ่นว่า เป็นทุกกฏในประโยค ๑

บ่นว่าแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๗๐] เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัยยังเป็นไปอยู่ในสงฆ์ ภิกษุไม่ให้

ฉันทะ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไปเสีย ต้องอาบัติ ๒ คือ เมื่อยังไม่สละหัตถบาส

แห่งบริษัท ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ละแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๗๑] ภิกษุกับสงฆ์ผู้พร้อมเพียงกัน ให้จีวร แล้วภายหลังถึงธรรม

คือ ความบ่นว่า ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังบ่นว่า เป็นทุกกฏในประโยค ๑

บ่นว่าแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๗๒] ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล

ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังน้อมมา เป็นทุกกฏในประโยค ๑ น้อมมาแล้ว ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ๑.

สหธรรมิกวรรค ที่ ๘ จบ

ราชวรรค ที่ ๙

[๓๗๓] ภิกษุไม่ได้รับบอกก่อน เข้าไปสู่ภายในพระตำหนักหลวง

ต้องอาบัติ ๒ คือ ก้าวเท้าที่ ๑ ล่วงธรณีประตู ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ก้าวเท้า

ที่ ๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๗๔] ภิกษุเก็บรัตนะ ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังเก็บ เป็นทุกกฏ

ในประโยค ๑ เก็บแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 157

[๓๗๕] ภิกษุไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ แล้วเข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล

คืออาบัติ ๒ คือ เข้าไปสู่ที่ล้อมเลย ๑ ก้าว ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เลย ๒ ก้าว

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๗๖] ภิกษุให้ทำกล่องเข็ม แล้วด้วยกระดูกก็ดี แล้วด้วยงาก็ดี

แล้วด้วยเขาก็ดี ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังให้ทำเป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้

ทำแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๗๗] ภิกษุให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี เกินประมาณ ต้องอาบัติ ๒ คือ

กำลังให้ทำ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้ทำแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๗๘] ภิกษุให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี เป็นของหุ้มนุ่น ต้องอาบัติ ๒

คือ กำลังให้ทำ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้ทำแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๗๙] ภิกษุให้ทำผ้าสำหรับปูนั่ง เกินประมาณ ต้องอาบัติ ๒ คือ

กำลังให้ทำ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้ทำแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๘๐] ภิกษุให้ทำผ้าปิดฝี เกินประมาณ ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลัง

ให้ทำ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้ทำแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๘๑] ภิกษุให้ทำผ้าอาบน้ำฝน เกินประมาณ ต้องอาบัติ ๒ คือ

กำลังให้ทำ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้ทำแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๓๘๒] ถามว่า ภิกษุให้ทำจีวรมีประมาณเท่าจีวรพระสุคตต้องอาบัติ

เท่าไร.

ตอบว่า ภิกษุให้ทำจีวร มีประมาณเท่าจีวรพระสุคต ต้องอาบัติ ๒

คือ กำลังให้ทำ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้ทำแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

ภิกษุให้ทำจีวรมีประมาณเท่าจีวรพระสุคต ต้องอาบัติ ๒ เหล่านี้.

ราชวรรค ที่ ๙ จบ

ขุททกสิกขาบท จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 158

คำถามและคำตอบในปาฏิเทสนียกัณฑ์

สิกขาบทที่ ๑

[๓๘๓] ถามว่า ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน รับของเคี้ยวก็ดี ของฉัน

ก็ดี ด้วยมือของตน จากมือของภิกษุณีมิใช่ญาติ แล้วฉันต้องอาบัติเท่าไร.

ตอบว่า ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วย

มือของตน จากมือของภิกษุณีมิใช่ญาติ แล้วฉันต้องอาบัติ ๒ คือ รับด้วยมุ่ง

จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน

จากมือของภิกษุณีมิใช่ญาติแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ เหล่านี้.

สิกขาบทที่ ๒

[๓๘๔] ภิกษุไม่ห้ามภิกษุณีผู้ยืนสั่งเสียอยู่ แล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ

รับด้วยมุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

สิกขาบทที่ ๓

[๓๘๕] ภิกษุรับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในสกุลที่สงฆ์สมมติว่า

เป็นเสกขะ ด้วยมือของตนมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับด้วยมุ่งจักฉัน ต้อง

อาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

สิกขาบทที่ ๔

[๓๘๖] ถามว่า ภิกษุรับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอก

ให้รู้ไว้ก่อน ในเสนาสนะป่า ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่แล้วฉัน ต้องอาบัติ

เท่าไร.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 159

ตอบว่า ภิกษุรับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน

ในเสนาสนะป่า ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่แล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับด้วย

มุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

ภิกษุรับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อนใน

เสนาสนะป่า ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่แล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ เหล่านี้.

ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท จบ

คำถามและคำตอบอาบัติในเสขิยกัณฑ์

วรรคที่ ๑

[๓๘๗] ถามว่า ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นุ่งผ้าเลื้อยหน้า หรือ

เลื้อยหลัง ต้องอาบัติเท่าไร.

ตอบว่า ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นุ่งผ้าเลื้อยหน้า หรือเลื้อยหลัง

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นุ่งผ้าเลื้อยหน้า หรือเลื้อยหลัง ต้อง

อาบัติตัวหนึ่งนี้.

[๓๘๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ห่มผ้าเลื้อยหน้า หรือเลื้อยหลัง

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๓๘๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เปิดกาย เดินไปในละแวกบ้าน

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 160

[๓๙๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เปิดกาย นั่งในละแวกบ้าน ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๓๙๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือ หรือเท้าไปในละแวก

บ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๓๙๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือ หรือเท้านั่งใน

ละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๓๙๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แลดูในที่นั้น ๆ ไปในละแวก

บ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๓๙๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แลดูในที่นั้น ๆ นั่งในละแวก

บ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๓๙๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๓๙๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

วรรคที่ ๑ จบ

วรรคที่ ๒

[๓๙๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินหัวเราะไปในละแวกบ้าน

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๓๙๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งหัวเราะในละแวกบ้าน ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 161

[๓๙๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินพูดเสียงดังลั่นไปในละแวก

บ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๐๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งพูดเสียงดังลั่นในละแวกบ้าน

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๐๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๐๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๐๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินไกวแขนไปในละแวกบ้าน

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๐๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งไกวแขนในละแวกบ้าน ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ .

[๔๐๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๐๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

วรรคที่ ๒ จบ

วรรคที่ ๓

[๔๐๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินค้ำกายไปในละแวกบ้าน

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 162

[๔๐๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งค้ำกายในละแวกบ้าน ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๐๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๑๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๑๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินกระโหย่งเท้าไปในละแวก

บ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๑๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งรัดเข้าในละแวกบ้าน ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๑๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๑๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แลดูในที่นั้น ๆ รับบิณฑบาต

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๑๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับแต่แกงมาก ต้องอาบัติตัวหนึ่ง

คือ ทุกกฏ.

[๔๑๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตจนพูนบาตร ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

วรรค ที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 163

วรรค ที่ ๔

[๔๑๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๑๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แลดูในที่นั้น ๆ ฉันบิณฑบาต

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๑๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตให้แหว่งในที่นั้น ๆ

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๒๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแต่แกงมาก ต้องอาบัติตัว-

หนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๒๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตขยุ้มแต่ยอดลงไป

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๒๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ กลบแกงหรือกับด้วยข้าวสุก

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๒๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ไม่อาพาธ ขอแกงก็ดี ข้าวสุก

ก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือทุกกฏ.

[๔๒๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มุ่งจะยกโทษ แลดูบาตรของ

ภิกษุอื่น ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๒๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวใหญ่ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง

คือ ทุกกฏ.

[๔๒๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ยาว ต้องอาบัติ

ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

วรรค ที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 164

วรรค ที่ ๕

[๔๒๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปากอ้าปากไว้

ท่า ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๒๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ สอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๒๙]่ ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ พูดทั้งคำข้าวมีอยู่ในปาก ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๓๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเดาะคำข้าว ต้องอาบัติตัว-

หนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๓๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันกัดคำข้าว ต้องอาบัติตัวหนึ่ง

คือ ทุกกฏ.

[๔๓๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๓๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันสลัดมือ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง

คือ ทุกกฏ.

[๔๓๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโปรยเมล็ดข้าว ต้องอาบัติ

ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๓๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแลบลิ้น ต้องอาบัติตัวหนึ่ง

คือ ทุกกฏ.

[๔๓๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันดังจั๊บ ๆ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง

คือ ทุกกฏ.

วรรค ที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 165

วรรค ที่ ๖

[๔๓๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันดังซู๊ด ๆ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง

คือ ทุกกฏ.

[๔๓๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียมือ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง

คือ ทุกกฏ.

[๔๓๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันขอดบาตร ต้องอาบัติตัว-

หนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๔๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียริมฝีปาก ต้องอาบัติตัว-

หนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๔๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๔๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวใน

ละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๔๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลมีร่มในมือ

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๔๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลมีไม้พลอง

ในมือ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๔๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลมีศัสตราใน

มือ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๔๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลมีอาวุธใน

มือ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

วรรค ที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 166

วรรค ที่ ๗

[๔๔๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลสวมเขียง

เท้า ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๔๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลสวมรองเท้า

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๔๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลไปในยาน

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๕๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้อยู่บนที่

นอน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. ุ

[๔๕๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งรัดเข่า

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๕๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้โพกศีรษะ

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๕๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้คลุมศีรษะ

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๕๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่ที่แผ่นดินแสดงธรรมแก่

บุคคลนั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๕๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนอาสนะต่ำแสดงธรรมแก่

บุคคลผู้นั่งบนอาสนะสูง ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๕๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ยืนอยู่ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้

นั่งอยู่ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 167

[๔๕๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินไปข้างหลัง แสดงธรรมแก่

บุคคลผู้เดินไปข้างหน้า ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๕๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่

บุคคลผู้เดินไปในทาง ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๕๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ยืนถ่ายอุจจาระ หรือ ปัสสาวะ

ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๖๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือ

บ้วนเขฬะลงบนของเขียวสด ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๖๑] ถามว่า ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือ

บ้วนเขฬะลงในน้ำ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ

ลงในน้ำ ต้องอาบัติตัวหนึ่งนี้.

วรรค ที่ ๗ จบ

เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท จบ

กตาปัตติวาร ที่ ๒ จบ

วิปัตติวาร ที่ ๓

[๔๖๒] ถามว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม จัดเป็นวิบัติเท่าไร

บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 168

ตอบว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดา

วิบัติ ๔ อย่าง คือ บางทีเป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ . . .

ถามว่า อาบัติของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง

ตอบว่า อาบัติของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ จัดเป็นวิบัติอันหนึ่ง คือ อาจารวิบัติ บรรดา

วิบัติ ๔ อย่าง

วิปัตติวารที่ ๓ จบ

สังคหิตวาร ที่ ๔

[๔๖๓] ถามว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม สงเคราะห์ด้วยกอง

อาบัติเท่าไร บรรดาอาบัติ ๗ กอง

ตอบว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม สงเคราะห์ด้วยอาบัติ ๓ กอง

บรรดาอาบัติ ๗ กอง คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติ

ถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ. . .

ถามว่า อาบัติของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดา

อาบัติ ๗ กอง

ตอบว่า อาบัติของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๑ คือ กองอาบัติ

ทุกกฏ บรรดาอาบัติ ๗ กอง.

สังคหิตวาร ที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 169

สมุฏฐานวาร ที่ ๕

[๔๖๔] ถามว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม เกิดด้วยสมุฏฐาน

เท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๕

ตอบว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง

บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา . . .

ถามว่า อาบัติของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ เกิดขึ้นด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐาน

แห่งอาบัติ ๖

ตอบว่า อาบัติของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐาน

แห่งอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา.

สมุฏฐานวารที่ ๕ จบ

อธิกรณวาร ที่ ๖

[๔๖๕] ถามว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม เป็นอธิกรณ์ไหน

บรรดาอธิกรณ์ ๔

ตอบว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม เป็นปัตตาธิกรณ์ บรรดา

อธิกรณ์ ๔ . . .

ถามว่า อาบัติของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ เป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาอธิกรณ์ ๔ . . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 170

ตอบว่า อาบัติของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔.

อุธิกรณวารที่ ๖ จบ

สมถวาร ที่ ๗

[๔๖๖] ถามว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม ระงับด้วยสมถะ

เท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง

บรรดาสมถะ ๗ คือ บางที ด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญากรณะ ๑ บางที

ด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑ . . .

ถามว่า อาบัติของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ

บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางที ด้วยสัมมุขาวินัยกับติณ

วัตถารกะ ๑.

สมถวารที่ ๗ จบ

สมุจจัยวาร ที่ ๘

[๔๖๗] ถามว่า ภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ภิกษุผู้เสพเมถุนธรรมต้องอาบัติ ๓ ตัว คือ เสพเมถุนธรรม

ในสรีระที่ไม่ถูกสัตว์กัด ต้องอาบัติปาราชิก ๑ เสพเมถุนธรรมในสรีระที่ถูก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 171

สัตว์กัดแล้วโดยมาก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ สอดองค์กำเนิดเข้าไปในปากที่อ้า

มิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑

ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้

ถ. อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดาอาบัติ ๗ กอง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ เป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วย

สมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ต. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง คือ บางที

เป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๓ บรรดาอาบัติ ๗ กองคือ บางทีด้วยกอง

อาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือเกิดแต่กาย

กับจิต มิใช่วาจา

จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือบางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย

ปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑. . .

ถ. ภิกษุอาศัยความเอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือบ้วน

เขฬะลงในน้ำ ต้องอาบัติเท่าไร

ต. ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะหรือบ้วน

เขฬะลงในน้ำ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือทุกกฏ

ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือบ้วน

เขฬะลงในน้ำ ต้องอาบัติตัวหนึ่งนี้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 172

ถ. อาบัตินั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ สงเคราะห์ด้วยกอง

อาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไรบรรดาสมุฏฐานแห่ง

อาบัติ ๖ เป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดา

สมถะ ๗

ต. อาบัตินั้นจัดเป็นวิบัติอย่างหนึ่ง บรรดาวิบัติ ๔ คืออาจารวิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๗ กอง คือ ด้วยกองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือเกิดแต่กาย

กับจิต มิใช่วาจา จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย

๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑ .

สมุจจัยวาร ที่ ๘ จบ

๘ วารนี้ พระธรรมสังดีติกาจารย์เขียนไว้ สำหรับสวดเท่านั้น.

หัวข้อประจำวาร

[๔๖๘] กัตถปัญญัติวาร ๑ กตาปัตติวาร ๑ วิปัตติวาร ๑ สังคหิตวาร

๑ สมุฏฐานวาร ๑ อธิกรณวาร ๑ สมถวาร ๑ สมุจจัยวาร ๑.

กัตถบัญญัติวาร ที่ ๑

คำถามและคำตอบปาราชิก ๔ สิกขาบท

[๔๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะปัจจัยคือเสพเมถุนธรรม

ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร . . . ใครนำมาเป็นต้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 173

คำถามและคำตอบปาราชิกสิกขาบทที่ ๑

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะปัจจัยคือเสพเมถุนธรรม

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระสุทิน กลันทบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องพระสุทิน กลันทบุตร เสพเมถุนธรรมในปุราณทุติยิกา

ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันน-

บัญญัติ หรือ

ต. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๒ อนุปันนบัญญัติไม่มี ในปาราชิก

สิกขาบทที่ ๑ นั้น

ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่สัพพัตถบัญญัติ

ถ. มีสาธารณบัญญัติ อสาธารบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่สาธารณบัญญัติ

ถ. มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่อุภโตบัญญัติ

ถ. บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้นจัดเข้าใน

อุเทศไหน นับเนื่องในอุเทศไหน

ต. จัดเข้าในนิทาน นับเนื่องในนิทาน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 174

ถ. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร

ต. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่ ๒

ถ. บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน

ต. เป็นศีลวิบัติ

ถ. บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน

ต. เป็นอาบัติกองปาราชิก

ถ. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น เกิด

ด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา . . .

ถ. ใครนำมา

ต. พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา.

รายนามพระเถระ

พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบายลี

พระทาสกะ พระโสณกะ พระสิคควะ รวม

เป็นห้าทั้งพระโมคคัลลีบุตร นำพระวินัยมา

ในทวีปชื่อว่าชมพูมีสิริ แต่นั้น พระเถระผู้

ประเสริฐ มีปัญญามากเหล่านี้ คือ พระ-

มหินทะ ๑ พระอิฏฏิยะ ๑ พระอุตติยะ ๑

พระสัมพละ ๑ . . . พระเถระผู้ประเสริฐมี

ปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย ฉลาดใน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 175

มรรคา ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะ

ตามพปัณณิ.

คำถามและคำตอบปาราชิกสิกขาบทที่ ๒

[๔๗๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะปัจจัยคือถือเอาทรัพย์

อันเจ้าของมิได้ให้ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระธนิยะ กุมภการบุตร

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระธนิยะ กุมภการบุตร ถือเอาไม้ของหลวงซึ่ง

ไม่ได้รับพระราชทาน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่วาจา

กับจิต มิใช่กาย บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต.

คำถามและคำตอบปาราชิกสิกขาบทที่ ๓

[๔๗๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะปัจจัยคือแกล้งพราก

กายมนุษย์จากชีวิต ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 176

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปปลงชีวิตกันและกัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่วาจา

กับจิต มิใช่กาย บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต.

คำถามและคำตอบปาราชิกสิกขาบทที่ ๔

[๔๗๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะปัจจัยคือกล่าวอวด

อุตริมนุสธรรมอันไม่มี ไม่เป็นจริง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุพวกฝั่งแม่น้าวัคคุมุทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา กล่าวสรรเสริญอุตริ-

มนุสธรรมนของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่วาจา

กับจิต มิใช่กาย บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 177

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท

[๔๗๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะปัจจัยคือพยายามปล่อยอสุจิ

ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร . . .ใครนำมา.

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัยคือพยายามปล่อยอสุจิ

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระเสยยสกะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระเสยยสกะ พยายามปล่อยอสุจิ

ถ. ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุ-

ปันนบัญญัติ หรือ

ต. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติไม่มี ในสังฆาทิเสส

สิกขาบทที่ ๑ นั้น

ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่สัพพัตถบัญญัติ

ถ. มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่อสาธารณบัญญัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 178

ถ. มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่เอกโตบัญญัติ

ถ. บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕ สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้นจัดเข้า

ในอุเทศไหน นับเนื่องในอุเทศไหน

ต. จัด เข้าในนิทาน นับเนื่องในนิทาน

ถ. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร

ต. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่ ๓

ถ. บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน

ต. เป็นศีลวิบัติ

ถ. บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน

ต. เป็นอาบัติกองสังฆาทิเสส

ถ. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น เกิด

ด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา . . .

ถ. ใครนำมา

ต. พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา.

รายนามพระเถระ

พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี

พระทาสกะ พระโสณกะ พระสิคควะ รวม

เป็นห้าทั้งพระโมคคัลลีบุตร นำพระวินัยมา

ในทวีปชื่อว่าชมพูมีสิริ แต่นั้น พระเถระผู้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 179

ประเสริฐ ผู้มีปัญญามากเหล่านี้ คือ พระ-

มหินทะ ๑ พระอิฏฏิยะ ๑ พระอุตติยะ ๑

พระสัมพละ ๑ . . . พระเถระผู้ประเสริฐ มี

ปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัยฉลาดในมรรคา

ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเถาะตามพ-

ปัณณิ.

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒

[๔๗๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัยคือถึงความ

เคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา.

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓

[๔๗๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัยคือพูดเคาะ

มาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 180

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านเพระอุทายีพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย

บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต.

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔

[๔๗๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ กล่าว

คุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคาม ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายี กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม

ในสำนักมาตุคาม.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 181

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕

[๔๗๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ถึง

ความเป็นผู้เที่ยวชักสื่อ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระอุทายี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีถึงความเป็นผู้เที่ยวชักสื่อ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบท

นี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ คือ บาทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต บางทีเกิด

แต่วาจามิใช่กาย มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กาย

กับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย บางที่เกิดแต่กาย วาจา

และจิต.

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖

[๔๗๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ให้ทำ

กุฎีด้วยอาการขอเองๆ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี

ถ. ทรงปรารภใด

ต. ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองอาฬวี

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 182

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุชาวเมืองอาฬวี ให้ทำกุฎีด้วยอาการขอเอาเอง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗

[๔๗๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ให้ทำ

วิหารใหญ่ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครโกสัมพี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระฉันนะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะแผ้วถางพื้นวิหาร ได้สั่งให้ตัดต้นไม้

ที่เขาสมมติว่าเป็นเจดีย์ต้นหนึ่ง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘

[๔๘๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือความ

กำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันหามูลมิได้ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 183

ตอบว่า ทรงบัญญัติ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระเมตติยะและพระภุมมชกะ ตามกำจัดท่านพระ-

ทัพพมัลลบุตร ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันหามูลมิได้.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏ-

ฐาน ๓.

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙

[๔๘๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ถือเอา

เอกเทศบางอย่างแห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่น ให้เป็นเพียงเลศ ตามกำจัดภิกษุ

ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระเมตติยและพระภุมมชกะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระเมตติยะ และพระภุมมชกะถือเอาเอกเทศบาง-

อย่างแห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่น ให้เป็นเพียงเลศ ตามกำจัดท่านพระทัพพ-

มัลลบุตร ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 184

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐

[๔๘๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นนิพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ภิกษุ

ผู้ทำลายสงฆ์ไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระเทวทัต

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ผู้พร้อม-

เพรียงกัน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต.

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๑

[๔๘๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ภิกษุ

ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ผู้ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ

๓ จบ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 185

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปได้ประพฤติตาม เข้าพวกพระเทวทัต

ผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแก่กาย วาจา และจิต.

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๒

[๔๘๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ภิกษุ

ผู้ว่ายากไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครโกสัมพี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภท่านพระฉันนะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบ

ธรรม ได้ทำตนให้เป็นผู้อันใคร ๆ ว่ากล่าวไม่ได้.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 186

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๓

[๔๘๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือภิกษุผู้

ประทุษร้ายสกุลไม่สละกรรมเพราะสวดสัมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ลง

ปัพพาชนียกรรมแล้วกลับหาว่า ภิกษุทั้งหลายถึงความพอใจ ถึงความขัดเคือง

ถึงความหลง ถึงความกลัว.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง คือเกิดแต่กาย วาจา และจิต . . .

คำถามและคำตอบเสขิยวัตร

[๔๘๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏเพราะปัจจัย คืออาศัยความ

ไม่เอื้อเฟื้อถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 187

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วน

เขฬะบ้าง ลงในน้ำ.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา.

กัตถปัญญัติวาร ที่ ๑ จบ

กตาปัตติวาร ที่ ๒

คำถามและคำตอบอาบัติในปาราชิกกัณฑ์

[๔๘๗] ถามว่า เพราะปัจจัยคือเสพเมถุนธรรม ภิกษุและภิกษุณี

ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม ภิกษุและภิกษุณี ต้อง

อาบัติ ๔ คือ เสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์มิได้กัด ต้องอาบัติปาราชิก ๑

เสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์กัดแล้วโดยมาก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ สอดองค์

กำเนิดเข้าในปากที่อ้า มิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เป็นปาจิตตีย์ในเพราะ

ท่อนยางกลม ๑ เพราะปัจจัยคือเสพเมถุนธรรม ภิกษุและภิกษุณี ต้องอาบัติ

๔ เหล่านี้.

[๔๘๘] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของมิได้ให้

ภิกษุและภิกษุณี ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของมิได้ให้ ภิกษุและ

ภิกษุณีต้องอาบัติ ๓ คือ ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของมิได้ให้ เป็นส่วนแห่งโจรกรรม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 188

มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก ๑ ถือเอาทรัพย์อัน

เจ้าของมิได้ให้ เป็นส่วนแห่งโจรกรรม มีราคาเกินกว่า ๑ มาสก หรือหย่อน

กว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของมิได้ให้ เป็นส่วน

แห่งโจรกรรม มีราคา ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ๑

เพราะปัจจัย คือ ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของมิได้ให้ ภิกษุและภิกษุณีต้องอาบัติ

๓ เหล่านี้.

[๔๘๙] ถามว่า เพราะปัจจัย คือแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต ภิกษุ

และภิกษุณีต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต ภิกษุและ

ภิกษุณีต้องอาบัติ ๓ คือ ขุดบ่อเจาะจงมนุษย์ว่าจักตกลงตาย ต้องอาบัติทุกกฏ

๑ เมื่อตกแล้วทุกขเวทนาเกิดขึ้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ตาย ต้องอาบัติปาราชิก

๑ เพราะปัจจัย คือ แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต ภิกษุและภิกษุณีต้องอาบัติ

๓ เหล่านี้.

[๔๙๐] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อัน

ไม่มี ไม่เป็นจริง ภิกษุและภิกษุณีต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรมอันไม่มี ไม่

เป็นจริง ภิกษุและภิกษุณีต้องอาบัติ ๓ คือ ภิกษุ มีความปรารถนาลามก ถูก

ความปรารถนาครอบงำ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มี ไม่เป็นจริง

ต้องอาบัติปาราชิก ๑ กล่าวว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเป็นพระ-

อรหันต์ เมื่อผู้ฟังเข้าใจความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ เมื่อไม่เข้าใจความ ต้อง

อาบัติทุกกฏ ๑ เพราะปัจจัย คือ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรมอันไม่มี ไม่เป็น

จริง ภิกษุและภิกษุณีต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 189

คำถามและคำตอบอาบัติในสังฆาทิเสสกัณฑ์

[๔๙๑] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ พยายามปล่อยอสุจิ ภิกษุต้อง

อาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ พยายามปล่อยอสุจิ ภิกษุต้องอาบัติ ๓ คือ

ตั้งใจพยายาม อสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตั้งใจพยายาม แต่อสุจิไม่

เคลื่อน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ เป็นทุกกฏในประโยค ๑.

[๔๙๒] เพราะปัจจัย คือ ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ภิกษุและภิกษุณี

ต้องอาบัติ ๕ คือ ภิกษุมีความกำหนัด ยินดีในการจับต้องอวัยวะใต้รากขวัญ

ลงมา หรือเหนือหัวเข่าขึ้นไป ของบุรุษบุคคลผู้มีความกำหนัด ต้องอาบัติ

ปาราชิก ๑ ภิกษุจับต้องกายด้วยกาย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ เอากายถูกต้อง

ของเนื่องด้วยกายต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ เอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องของเนื่อง

ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เป็นปาจิตตีย์ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ ๑ เพราะปัจจัย

คือ ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ต้องอาบัติ ๕ เหล่านี้.

[๔๙๓] เพราะปัจจัย คือ พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ภิกษุ

ต้องอาบัติ ๓ คือ พูดชมก็ดี พูดติก็ดี พาดพิงวัจจมรรค ปัสสาวมรรค ต้อง

อาบัติสังฆาทิเสส ๑ พูดชมก็ดี พูดติก็ดี พาดพิงอวัยวะใต้รากขวัญลงมา เหนือ

หัวเข่าขึ้นไป เว้นวัจจมรรค ปัสสาวมรรค ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ พูดชมก็ดี

พูดติก็ดี พาดพิงของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

[๔๙๔] เพราะปัจจัย คือ กล่าวคุณแห่งการบำเรอคนด้วยกาม ภิกษุ

ต้องอาบัติ ๓ คือ กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคาม ต้อง

อาบัติสังฆาทิเสส ๑ กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม ในสำนักบัณเฑาะก์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 190

ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม ในสำนักดิรัจฉาน

ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

[๔๙๕] เพราะปัจจัย คือ ถึงความเป็นผู้เที่ยวชักสื่อ ภิกษุต้องอาบัติ

๓ คือ รับคำ นำไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ รับคำ นำ

ไปบอกแต่ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ รับคำ แต่ไม่นำไปบอก และ

ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

[๔๙๖] เพราะปัจจัย คือ ให้ทำกุฎีด้วยอาการขอเอาเอง ต้องอาบัติ

๓ คือ ให้ทำ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อก้อนดินอีกกอันหนึ่งยังไม่มา ต้อง

อาบัติถุลลัจจัย ๑ เมื่อก้อนดินนั้นมาแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๔๙๗] เพราะปัจจัย คือ ให้ทำวิหารใหญ่ ต้องอาบัติ ๓ คือ ให้

ทำเป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อก้อนดินอีกก้อนหนึ่งยังไม่มา ต้องอาบัติถุลลัจจัย

๑ เมือก้อนดินนั้นมาแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๔๙๘] เพราะปัจจัย คือ ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก

อันหามูลมิได้ ต้องอาบัติ ๓ คือ ไม่ให้ทำโอกาสประสงค์จะให้เคลื่อน โจท

ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ กับสังฆาทิเสส ๑ ให้ทำโอกาสประสงค์จะด่า โจท ต้อง

อาบัติโอมสวาท ๑.

[๔๙๙] เพราะปัจจัย คือ ถือเอาเอกเทศบางอย่างแห่งอธิกรณ์อันเป็น

เรื่องอื่น ให้เป็นเพียงเลศ ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก ต้อง

อาบัติ ๓ คือ ไม่ให้ทำโอกาส ประสงค์จะให้เคลื่อน โจท ต้องอาบัติทุกกฏ ๑

กับสังฆาทิเสส ๑ ให้ทำโอกาสประสงค์จะด่า โจท ต้องอาบัติโอมสวาท ๑.

[๕๐๐] เพราะปัจจัย คือ ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ

๓ จบ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติเป็นทุกกฏ ๑ จบกรรม

วาจาสองครั้งเป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 191

[๕๐๑] เพราะปัจจัย คือ ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ

๓ จบ ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติ เป็น

ทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้อง

อาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๕๐๒] เพราะปัจจัย คือ ไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓

จบ ภิกษุผู้ว่ายาก ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติ เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจา

สองครั้งเป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๕๐๓] เพราะปัจจัย คือ ไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓

จบ ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติเป็นทุกกฏ ๑ จบกรรม

วาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๕๐๔] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ

หรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ

เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ

หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ ภิกษุต้องอาบัติตัวหนึ่ง.

กตาปัตติวาร ที่ ๒ จบ

วิปัตติวาร ที่ ๓

[๕๐๕] ถามว่า อาบัติเพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม จัดเป็น

วิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 192

ตอบว่า อาบัติเพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรมจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดา

วิบัติ ๔ คือ บางทีเป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ. . .

ถามว่า อาบัติเพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ

หรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔

ตอบว่า อาบัติเพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ

หรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ จัดเป็นวิบัติอย่างหนึ่ง คือ อาจารวิบัติ

บรรดาวิบัติ ๔.

วิปัตติวารที่ ๓ จบ

สังคหิตวาร ที่ ๔

[๕๐๖] ถามว่า อาบัติเพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม สงเคราะห์

ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗

ตอบว่า อาบัติเพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม สงเคราะห์ด้วยกอง

อาบัติ ๔ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาราชิก บางทีด้วยกอง

อาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ . . .

ถามว่า อาบัติเพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ

หรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไรบรรดา

กองอาบัติ ๗

ตอบว่า อาบัติเพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ

หรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๑ คือ ด้วย

กองอาบัติทุกกฏ บรรดากองอาบัติ ๗.

สังคหิตวารที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 193

สมุฏฐานวารที่ ๕

[๕๐๗] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม อาบัติเกิดด้วย

สมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม อาบัติเกิดด้วยสมุฏฐาน

อย่างหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. . .

ถามว่า เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ อาบัติเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดา

สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ อาบัติเกิดด้วยสมุฏฐานอย่างหนึ่ง บรรดา

สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา.

สมุฏฐานวารที่ ๕ จบ

อธิกรณวารที่ ๖

[๕๐๘] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม อาบัติจัดเป็น

อธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๙

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม อาบัติจัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์

บรรดาอธิกรณ์ ๔. . .

ถามว่า เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ อาบัติจัดเป็นอธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 194

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ อาบัติจัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔.

อธิกรณวารที่ ๖ จบ

สมถวารที่ ๗

[๕๐๙] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม อาบัติระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม อาบัติระงับด้วยสมถะ ๓

บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางที

ด้วยสัมมุขาวินัย กับติณวัตถารกะ ๑. . .

ถามว่า เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ อาบัติระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ อาบัติระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗

คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย

กับติณวัตถารกะ ๑.

สมถวาร ที่ ๗ จบ

สมุจจยวารที่ ๘

[๕๑๐] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม ภิกษุและภิกษุณี

ต้องอาบัติเท่าไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 195

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม ภิกษุและภิกษุณีต้อง

อาบัติ ๔ คือ เสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์มิได้กัด ต้องอาบัติปาราชิก ๑

เสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์กัดแล้วโดยมาก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ สอดองค์

กำเนิดเข้าไปในปากที่อ้ามิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เป็นปาจิตตีย์ในเพราะ

ท่อนยาง ๑.

เพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม ภิกษุและภิกษุณีต้องอาบัติ ๔

เหล่านี้

ถามว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ สงเคราะห์

ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดา

สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ เป็นอธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ

เท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางที

เป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๔ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วย

กองอาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์

บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่

กายกับจิต มิใช่วาจา

เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑

ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย กับติณวัตถารกะ ๑ . . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 196

ถามว่า เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ

เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ

หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ ต้องอาบัติตัวหนึ่งนี้

ถามว่า อาบัตินั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ สงเคราะห์ด้วย

กองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐาน

แห่งอาบัติ ๖ เป็นอธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัตินั้น จัดเป็นวิบัติ ๑ คือ อาจารวิบัติ บรรดาวิบัติ ๔

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๑ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ ด้วยกองอาบัติ

ทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่

กายกับจิต มิใช่วาจา

เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑

ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

สมุจจยวารที่ ๘ จบ

ปัจจยวาร ๘ จบ

มหาวิภังค์ ๑๖ มหาวาร จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 197

ภิกขุนีวิภังค์ ๑๖ มหาวาร

กัตถปัญญัติวารที่ ๑

ปาราชิกกัณฑ์

[๕๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ

ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี

บัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณ-

บัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติหรือ บรรดา

ปาติโมกขุทเทศ ๔ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นจัดเข้าในอุเทศไหน นับเนื่อง

ในอุเทศไหน มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ จัดเป็นวิบัติอย่าง

ไหนบรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖

เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗

ระงับด้วยสมถะเท่าไร ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น อะไรเป็นวินัย ใน

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น อะไรเป็นอภิวินัย ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น

อะไรเป็นปาติโมกข์ ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น อะไรเป็นอธิปาติโมกข์

อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย เพราะทรงอาศัยอำนาจ

ประโยชน์เท่าไร พวกไหนศึกษา พวกไหนมีสิกขาอันศึกษาแล้ว ปาราชิก-

สิกขาบทที่ ๕ นั้น ตั้งอยู่ในใคร พวกไหนย่อมทรงไว้ เป็นถ้อยคำของใคร

ใครนำมา.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 198

ปาราชิกกัณฑ์

คำถามและคำตอบปาราชิกสิกขาบทที่ ๕

[๕๑๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณี

ทั้งหลาย ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีสุนทรีนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีสุนทรีนันทา มีความกำหนัด ยินดีในการ

เคล้าคลึงด้วยกาย ของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด

ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันน-

บัญญัติ หรือ

ต. มีบัญญัติ ๑ อันบัญญัติ อันปันนบัญญัติ ไม่มีในปาราชิกสิกขาบท

ที่ ๕ นั้น

ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่สัพพัตถบัญญัติ

ถ. มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่อสาธารณบัญญัติ

ถ. มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่เอกโตบัญญัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 199

บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๔ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นจัดเข้าในอุเทศ

ไหน นับเนื่องในอุเทศไหน

ต. จัดเข้าในนิทาน นับเนื่องในนิทาน

ถ. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร

ต. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่ ๒

ถ . บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน

ต. เป็นศีลวิบัติ

ถ. บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน

ต. เป็นกองอาบัติปาราชิก

ถ. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๗ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นเกิดขึ้น

ด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. เกิดขึ้นด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย กับจิต มิใช่วาจา

ถ. บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์อะไร

ต. เป็นอาปัตตาธิกรณ์

ถ. บรรดาสมถะ ๗ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. ระงับด้วยสมถะ ๒ คือสัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑

ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น อะไรเป็นวินัย อะไรเป็นอภิวินัย

ต. พระบัญญัติเป็นวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย

ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น อะไรเป็นปาติโมกข์ ในปาราชิก-

สิกขาบทที่ ๕ นั้น อะไรเป็นอธิปาติโมกข์

ต. พระบัญญัติเป็นปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 200

ถ. อะไรเป็นวิบัติ

ต. ความไม่สังวรเป็นวิบัติ

ถ. อะไรเป็นสมบัติ

ต. ความสังวรเป็นสมบัติ

ถ. อะไรเป็นข้อปฏิบัติ

ต. ข้อที่ภิกษุณีสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า จักไม่ทำกรรม

เห็นปานนี้ แล้วศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ

ถ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณี

ทั้งหลายทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร

ต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณี

ทั้งหลาย เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่า

ดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มภิกษุณีผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่

สำราญแห่งภิกษุณีผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน

๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยิ่ง

ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความดำรง

มั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑

ถ. พวกไหนศึกษา

ต. ภิกษุณีเป็นเสกขะและเป็นกัลยาณปุถุชนศึกษา

ถ. พวกไหนมีสิกขาอันศึกษาแล้ว

ต. ภิกษุณีผู้อรหันต์มีสิกขาอันศึกษาแล้ว

ถ. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นตั้งอยู่ในใคร

ต. ตั้งอยู่ในภิกษุณีผู้ใคร่ต่อการศึกษา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 201

ถ. พวกไหนย่อนทรงไว้

ต. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ ย่อมเป็นไปแก่ภิกษุณีเหล่าใด ภิกษุณีเหล่า

นั้นย่อมทรงไว้

ถ. เป็นถ้อยคำของใคร

ต. เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ถ. ใครนำมา

ต. พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา.

รายนามพระเถระ

พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี

พระทาสกะ พระโสณกะ พระสิคควะ รวม

เป็นห้าทั้งพระโมคคัลลีบุตร นำพระวินัยมา

ในทวีปชื่อว่าชมพู มีสิริ แต่นั้น พระเถระ

ผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ พระ-

มหินทะ ๑ พระอิฏฏิยะ ๑ พระอุตติยะ ๑

พระสัมพละ ๑. . .พระเถระผู้ประเสริฐ ผู้มี

ปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย ฉลาดใน

บรรดา ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะ

ตามพปัณณิ.

คำถามและคำตอบปาราชิกสิกขาบทที่ ๖

[๕๑๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๖ แก่ภิกษุณี

ทั้งหลาย ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 202

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทารู้อยู่ว่า ภิกษุณีต้องปาราชิกธรรม

ไม่โจทด้วยตนเอง ไม่บอกแก่คณะ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต.

คำถามและคำตอบปาราชิกสิกขาบทที่ ๗

[๕๑๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๗ แก่ภิกษุณี-

ทั้งหลาย ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทา ประพฤติตามพระอริฏฐะ ผู้

เคยเป็นคนฆ่าแร้ง ถูกสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกวัตร.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 203

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

คำถามและคำตอบปาราชิกสิกขาบทที่ ๘

[๕๑๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๘ แก่ภิกษุณี

ทั้งหลาย ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทำวัตถุที่ ๘ ให้บริบูรณ์.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

ปาราชิก ๘ สิกขาบท จบ

หัวข้อประจำกัณฑ์

[๕๑๖] พระมหาวีระทรงบัญญัติปาราชิกอันเป็นวัตถุแห่งการขาดอย่าง

ไม่ต้องสงสัย คือ เมถุน ๑ อทินนาทาน ๑ มนุสสวิคคหะ ๑ อุตริมนุสธรรม ๑

กายสังสัคคะ ๑ ปกปิด ๑ สงฆ์ยกวัตร ๑ วัตถุที่แปด ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 204

สังฆาทิเสสกัณฑ์

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสส ๑๐ สิกขาบท

[๕๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้กล่าวให้ร้าย ก่อคดี

ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร . . . ใครนำมา.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑

[๕๑๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ แก่ภิกษุณี

ผู้กล่าวให้ร้าย ก่อคดี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวให้ร้ายอยู่

ถ. ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันน-

บัญญัติ หรือ

ต. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ ไม่มีในสังฆาทิเสส

สิกขาบทที่ ๑ นั้น

ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่สัพพัตถบัญญัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 205

ถ. มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่อสาธารณบัญญัติ

ถ. มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ

ถ. มีแต่เอกโตบัญญัติ

ถ. บรรดาปาติโมกขุเทศ ๔ สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้น จัดเข้า

ในอุเทศไหน นับเนื่องในอุเทศไหน

ต. จัดเข้าในนิทาน นับเนื่องในนิทาน

ถ. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร

ต. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่ ๓

ถ. บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน

ต. เป็นศีลวิบัติ

ถ. บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน

ต. เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสส

ถ. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ เกิดด้วย

สมุฏฐานเท่าไร

ต. เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต บางที

เกิดแต่กาย วาจา และจิต. . .

ถ. ใครนำมา

ต. พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา. . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 206

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒

[๕๑๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้รับหญิงโจร

ให้บวช ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่พระภิกษุณีถุลลนันทารับหญิงโจรให้บวช.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย บางทีเกิดแต่กาย วาจา

และจิต.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓

[๕๒๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส แก่ภิกษุณีผู้ไปสู่ละแวก

บ้านแต่ผู้เดียว ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งไปสู่ละแวกบ้านแต่ผู้เดียว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 207

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๔ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

คำถามและคำตอบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔

[๕๒๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส แก่ภิกษุณีผู้ไม่บอก

กล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของคณะ รับภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยก

เสียจากหมู่แล้วตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ ให้เข้าหมู่ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะ

ของคณะ รับภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่แล้วตามธรรม ตาม

วินัย ตามสัตถุศาสน์ ให้เข้าหมู่.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕

[๕๒๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส แก่ภิกษุณีผู้พอใจรับของ

เคี้ยวก็ตาม ของฉันก็ตาม จากมือของบุคคลผู้พอใจ ด้วยมือของตนแล้วฉัน

ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 208

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีสุนทรีนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีสุนทรีนันทาพอใจรับอามิสจากมือของบุรุษ

บุคคลผู้พอใจ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖

[๕๒๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส แก่ภิกษุณีผู้กล่าวว่า

แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั้นมีความพอใจก็ตาม ไม่มีความพอใจก็ตาม จักทำอะไรแก่

แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่พอใจ นิมนต์เถิดเจ้าข้า บุรุษบุคคลนั้นจะถวายสิ่ง

ใด เป็นของเคี้ยว หรือของฉันก็ตาม แก่แม่เจ้า ขอแม่เจ้าจงรับประเคนของ

สิ่งนั้น ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยว หรือฉันเถิด ดังนี้ แล้วส่งไป ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่ง กล่าวว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั้นมี

ความพอใจก็ตาม ไม่มีความพอใจก็ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 209

ไม่มีความพอใจ นิมนต์เถิด เจ้าข้า บุรุษบุคคลนั้นจะถวายสิ่งใด เป็นของ

เคี้ยว หรือของฉันก็ตาม แก่แม่เจ้า ขอแม่เจ้าจงรับประเคนของสิ่งนั้น ด้วย

มือของตนแล้วเคี้ยว หรือฉันเถิด ดังนี้ แล้วส่งไป.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗

[๕๒๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส แก่ภิกษุณีผู้โกรธ ไม่

สละกรรมเพราะอวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีโกรธขัดใจ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์

ขอบอกคืนสิกขา.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘

[๕๒๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส แก่ภิกษุณีผู้ถูกตัดสิน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 210

ให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่ง โกรธ ไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ

๓ จบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่ง

แล้ว โกรธ ขัดใจ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงความพอใจ ถึงความ

ขัดเคือง ถึงความหลง และถึงความกลัว.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙

[๕๒๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหัต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส แก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้

คลุกคลี ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ๗ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปคลุกคลีกันอยู่.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 211

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐

[๕๒๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส แก่ภิกษุณีผู้ส่งไปด้วย

สั่งว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าอยู่ต่างหาก

กันเลย ไม่สละวัตถุ เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาส่งไปด้วยสั่งว่า แม่เจ้าทั้งหลาย

ขอท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าอยู่ต่างหากกันเอย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

สังฆาทิเสส ๑๐ สิกขาบท จบ

หัวข้อประจำกัณฑ์

[๕๒๘] กล่าวให้ร้าย ๑ รับนางโจรให้บวช ๑ ละแวกบ้าน ๑ ถูก

สงฆ์ยกวัตร ๑ ของเคี้ยว ๑ ทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ ๑ โกรธ ๑ อธิกรณ์เรื่อง

อื่น ๑ คลุกคลี ๑ ส่งไป ๑ สังฆาทิเสสเหล่านั้นรวมเป็น ๑๐ สิกขาบท.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 212

นิสสัคคิยปาจิตติยกัณฑ์

คำถามและคำตอบนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑๒ สิกขาบท

[๕๒๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ทำ

การสั่งสมบาตร ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ได้ทำการสั่งสมบาตร.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท).

[๕๓๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้

อธิษฐานอกาลจีวรว่าเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาอธิษฐานอกาลจีวรว่าเป็น กาลจีวร

แล้วให้แจกกัน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 213

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๕๓๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้แลก

เปลี่ยนจีวรกับภิกษุณีแล้วชิงเอาไป ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาแลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณีแล้วชิง

เอาไป.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๕๓๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ขอ

ของอย่างอื่น แล้วขอของอย่างอื่นอีก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาขอของอย่างอื่นแล้ว ขอของอย่าง

อื่นอีก.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 214

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

[๕๓๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ให้

จ่ายของอย่างอื่น แล้วให้จ่ายของอย่างอื่นอีก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้จ่ายของอย่างอื่น แล้วให้จ่าย

ของอย่างอื่นอีก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

[๕๓๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ให้

จ่ายของอย่างอื่นด้วยบริขารของสงฆ์ ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น

เจาะจงของอย่างอื่น ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 215

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปให้จ่ายของอื่น ด้วยบริขารของสงฆ์

ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น เจาะจงของอย่างอื่น.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

[๒๓๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ให้

จ่ายของอย่างอื่น ด้วยบริขารของสงฆ์ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น

เจาะจงของอย่างอื่น ที่ขอมาเอง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปให้จ่ายของอย่างอื่น ด้วยบริขารของ

สงฆ์ ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น เจาะจงของอย่างอื่น ที่ขอมาเอง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

[๕๓๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ให้

จ่ายของอย่างอื่น ด้วยบริขารของคนหมู่มาก ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์อย่าง

อื่น เจาะจงของอย่างอื่น ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 216

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ . ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปให้จ่ายของอื่น ด้วยบริขารของคนหมู่

มากที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น เจาะจงของอย่างอื่น.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

[๕๓๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ให้

จ่ายของอื่น ด้วยบริขารของคนหมู่มากที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น

เจาะจงของอย่างอื่น ที่ขอมาเอง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปให้จ่ายของอย่างอื่น ด้วยบริขารของ

คนหมู่มากที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น เจาะจงของอย่างอื่น ที่ขอมาเอง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 217

[๕๓๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ให้

จ่ายของอื่น ด้วยบริขารของบุคคล ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น เจาะ

จงของอย่างอื่นที่ขอมาเอง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้จ่ายของอื่น ด้วยบริวารของ

บุคคลที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น เจาะจงของอย่างอื่นที่ขอมเอง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

[๕๓๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ให้

จ่ายผ้าห่มหนา ราคาเกินกว่า ๘ กังสะเป็นอย่างยิ่ง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทา ขอผ้ากัมพลกะพระเจ้าแผ่นดิน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 218

[๕๔๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ให้

จ่ายผ้าห่มบาง ราคาเกินกว่า ๒ กังสะกึ่งเป็นอย่างยิ่ง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาขอผ้าโขมะกะพระเจ้าแผ่นดิน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑๒ สิกขาบท จบ

หัวข้อประจำกัณฑ์

[๕๔๑] บาตร ๑ อธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวร ๑ แลกเปลี่ยน ๑

ขอ ๑ ให้จ่าย ๑ ที่ถวายไว้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น ๑ เป็นของสงฆ์ ๑ เป็นของ

คนหมู่มาก ๑ ขอมาเอง ๑ เป็นของบุคคล ๑ สี่กังสะ ๑ สองกังสะกึ่ง ๑.

ปาจิตติยกัณฑ์

คำถามและคำตอบลสุณวรรคที่ ๑

[๕๔๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ฉันกระเทียม

ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 219

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาไม่รู้จักประมาณ ให้นำกระเทียมไป.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๕๔๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีให้ถอนขนในที่

แคบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ให้ถอนขนในที่แคบ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๔.

[๕๔๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ในเพราะใช้ของลับกระทบ

กัน ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 220

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณี ๒ รูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณี ๒ รูป ใช้ของลับกระทบกัน .

บัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานวันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๕๔๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ในเพราะใช้ท่อนยางเกลี้ยง

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้ท่อนยางเกลี้ยง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๕๔๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ใช้น้ำชำระให้

สะอาดลึกเกิน ๒ ข้อองคุลีเป็นอย่างยิ่ง ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 221

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ สักกชนบท

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้น้ำชำระให้สะอาดลึกเกินไป.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๕๔๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้บำรุงภิกษุผู้

กำลังฉันด้วยน้ำดื่ม หรือด้วยการพัด ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งบำรุงภิกษุผู้กำลังฉัน ด้วยน้ำดื่ม และ

ด้วยการพัด.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๕๔๘ ] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ขอข้าวเปลือก

สดมาฉัน ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 222

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปขอข้าวเปลือกสดมาฉัน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๔.

[๕๔๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้เทอุจจาระก็ดี

ปัสสาวะก็ดี น้ำลายก็ดี หยากเยื่อก็ดี ของเป็นเดนก็ดี ที่ภายนอกฝา ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งเทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง น้ำลาย

บ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง ที่ภายนอกฝา.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

[๕๕๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้เทอุจจาระก็ดี

ปัสสาวะก็ดี น้ำลายก็ดี หยากเยื่อก็ดี ของเป็นเดนก็ดี บนของเขียวสด ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 223

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปเทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง น้ำลาย

บ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง บนของเขียวสด.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

[๕๕๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ไปดูฟ้อนรำก็ดี

ขับร้องก็ดี ประโคมก็ดี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไปดูฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง

ประโคมบ้าง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอพกโลมสิกขาบท).

ลสุณวรรคที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 224

คำถามและคำตอบรัตตันธการวรรคที่ ๒

[๕๕๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยืนร่วมกับบุรุษ

ในเวลาค่ำคืนไม่มีประทีปส่องหนึ่งต่อหนึ่ง ณ ที่ไหน.

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ยืนร่วมกับบุรุษในเวลาค่ำคืนที่ไม่มี

ประทีปส่อง หนึ่งต่อหนึ่ง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเถยยสัตถกสิกขาบท).

[๕๕๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยืนร่วมกับบุรุษ

ในโอกาสอันกำบัง หนึ่งต่อหนึ่ง ณ ที่ไหน.

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งยืนร่วมกับบุรุษ ในโอกาสอันกำบัง

หนึ่งต่อหนึ่ง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 225

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเถยยสัตถกสิกขาบท).

[๕๕๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยืนร่วมกับ

บุรุษในที่แจ้ง หนึ่งต่อหนึ่ง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งยืนร่วมกับบุรุษในที่แจ้ง หนึ่งต่อหนึ่ง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเถยยสัตถกสิกขาบท).

[๕๕๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยืนร่วมกับ

บุรุษในถนนก็ดี ในตรอกตันก็ดี ในทาง ๓ แพร่งก็ดี หนึ่งต่อหนึ่ง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทายืนร่วมกับบุรุษในถนนบ้าง ใน

ตรอกตันบ้าง ในทาง ๓ แพร่งบ้าง หนึ่งต่อหนึ่ง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 226

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเถยยสัตถกสิกขาบท).

[๕๕๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้เข้าไปสู่สกุล

ในเวลาเช้า นั่งบนอาสนะแล้วไม่บอกลาเจ้าของ กลับไป ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งเข้าไปสู่สกุลในเวลาเช้า นั่งบนอาสนะ

แล้วไม่บอกลาเจ้าของ กลับไป.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท).

[๕๕๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้เข้าไปสู่สกุล

ในเวลาหลังภัตกาล ไม่บอกเจ้าของ นั่งบนอาสนะ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทา เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังภัตกาล

ไม่บอกเจ้าของ นั่งบนอาสนะ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 227

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๗ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท).

[๕๕๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้เข้าไปสู่สกุล

ในเวลาพลบค่ำไม่บอกเจ้าของ แล้วลาดเองก็ดี ให้ลาดก็ดี ซึ่งที่นอนแล้วขึ้น

นั่ง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป เข้าไปสู่สกุลในเวลาพลบค่ำ ไม่

บอกเจ้าของแล้วลาดที่นอนในรูปนั่ง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท).

[๕๕๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ให้ภิกษุณีรูป

อื่นโพนทะนาด้วยความถือผิด เข้าใจผิด ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ให้ภิกษุณีรูปอื่นโพนทะนา ด้วย

ความถือผิด เข้าใจผิด.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 228

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๕๖๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้แช่งตนก็ดี ผู้

อื่นก็ดี ด้วยนรกก็ดี ด้วยพรหมจรรย์ก็ดี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีแช่งตนบ้าง แช่งผู้อื่นบ้าง ด้วยนรก

บ้าง ด้วยพรหมจรรย์บ้าง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๕๖๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ประหัตประหาร

ตนแล้วร้องไห้ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ น พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลี ประหัตประหารตนแล้วร้องไห้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 229

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

รัตตันธการวรรค ที่ ๒ จบ

คำถามและคำตอบนหานวรรคที่ ๓

[๕๖๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้เปลือยกาย

อาบน้ำ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป เปลือยกายอาบน้ำ.

มีบัญญัติ ๑๐ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๕๖๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำ

ฝน เกินประมาณ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 230

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่มีประมาณ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

[๕๖๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้เลาะเองก็ดี

ให้ผู้อื่นเลาะก็ดี ซึ่งจีวร แล้วไม่เย็บ ไม่ทำความขวนขวายเพื่อจะให้เย็บ ณ

ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้ภิกษุณีเลาะจีวรแล้วไม่เย็บ ไม่

ทำความขวนขวายเพื่อจะให้เย็บ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

[๕๖๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ผลัดเปลี่ยนผ้า

สังฆาฏิอันมีกำหนด ๕ วัน ให้เกินไป ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 231

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ฝากผ้าไว้ในมือของภิกษุณีทั้งหลาย

แล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกหลีกไปสู่จาริกในชนบท.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท).

[๕๖๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ใช้จีวรสับ

เปลี่ยน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่บอกแล้วห่มจีวรของภิกษุณี.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท).

[๕๖๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ทำลาภคือจีวร

ของหมู่ให้เป็นอันตราย ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 232

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาทำลาภ คือจีวรของหมู่ให้เป็น

อันตราย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๕๖๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ห้ามการแจก

จีวรซึ่งเป็นไปโดยชอบธรรม ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาห้ามการแจกจีวร ซึ่งเป็นไปโดย

ชอบธรรม.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๕๖๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ให้สมณจีวร

แก่ชาวบ้านก็ดี ปริพาชกก็ดี ปริพาชิกาก็ดี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 233

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาได้ให้สมณจีวรแก่ชาวบ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖.

[๕๗๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสมัยแห่งจีวร

กาลให้ล่วงไป ด้วยหวังจะได้จีวรอันไม่แน่นอน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทา ยังสมัยแห่งจีวรกาลให้ล่วงไปด้วย

หวังจะได้จีวรอันไม่แน่นอน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๕๗๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ห้ามการเดาะ

กฐินอันเป็นไปโดยชอบธรรม ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 234

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาห้ามการเดาะกฐินอันเป็นไปโดย

ชอบธรรม.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

นหานวรรคที่ ๓ จบ

คำถามและคำตอบตุวัฏฏวรรคที่ ๔

[๕๗๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณี ๒ รูปผู้นอน

เตียงเดียวกัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปนอนบนเตียงเดียวกัน ๒ รูป.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเฬกโลมสิกขาบท).

[๕๗๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณี ๒ รูป ผู้นอน

ในเครื่องลาดและผ้าห่มอันเดียวกัน ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 235

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป นอนในเครื่องลาดและผ้าห่มผืน

เดียวกัน ๒ รูป.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๕๗๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้แกล้งก่อความ

ไม่ผาสุก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาแกล้งก่อความไม่ผาสุกแก่ภิกษุณี.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๕๗๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่บำรุงสหชีวินี

ผู้ได้รับทุกข์ และไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นช่วยบำรุง ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 236

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทา ไม่บำรุงสหชีวินีผู้ได้รับทุกข์

และไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นช่วยบำรุง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

[๕๗๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ให้ที่อาศัยแก่

ภิกษุณีแล้ว โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าออก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้ที่อาศัย แก่ภิกษุณีแล้วโกรธ

ขัดใจ ฉุดคร่าออก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๕๗๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้คลุกคลี ไม่

สละเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 237

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีอยู่คลุกคลี

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนสมนุภาสนสิกขาบท).

[๕๗๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่มีพวก

เที่ยวจาริกภายในแว่นแคว้น ซึ่งรู้จักกันอยู่ว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปไม่มีพวก เที่ยวจาริกภายในแว่นแคว้น

ซึ่งรู้กันอยู่ว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๕๗๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไม่มีพวก เที่ยว

จาริกภายนอกแว่นแคว้น ซึ่งรู้กันอยู่ว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ณ

ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 238

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปไม่มีพวก เที่ยวจาริกภายนอก

แว่นแคว้น ซึ่งรู้กันอยู่ว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๕๘๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้เที่ยวจาริก

ภายในพรรษา ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปเที่ยวจาริกภายในพรรษา.

บัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๕๘๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้อยู่จำพรรษา

แล้วไม่หลีกไปสู่จาริก ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 239

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปอยู่จำพรรษาแล้ว ไม่หลีกไปสู่จาริก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

ตุวัฏฏวรรคที่ ๔ จบ

คำถามและคำตอบจิตตาคารวรรคที่ ๕

[๕๘๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไปชมโรง-

ละครหลวงก็ดี โรงประกวดภาพก็ดี สถานที่หย่อนใจก็ดี อุทยานก็ดี สระ

โบกขรณีก็ดี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ไปชมโรงละครหลวงบ้าง โรง

ประกวดภาพบ้าง สถานที่หย่อนใจบ้าง อุทยานบ้าง สระโบกขรณีบ้าง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 240

[๕๘๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ใช้สอยอาสันทิ

ก็ดี บัลลังก์ก็ดี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปใช้สอยอาสันทิบ้าง บัลลังก์บ้าง.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๕๘๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีกรอด้าย ณ ที่ไหน

ตอบว่าทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปกรอด้าย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๕๘๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ช่วยทำธุระของ

คฤหัสถ์ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 241

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปช่วยทำธุระของคฤหัสถ์.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๕๘๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้อันภิกษุณี

กล่าวอยู่ว่า มาเถิดแม่เจ้า ขอจงช่วยระงับอธิกรณ์นี้ รับคำว่า ดีละ แล้วไม่

ระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้ระงับ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาผู้อันภิกษุณีกล่าวอยู่ว่า มาเถิดแม่

เจ้า ขอจงช่วยระงับอธิกรณ์นี้ รับคำว่า ดีละ แล้วไม่ระงับ ไม่ทำการขวน

ขวายเพื่อให้ระงับ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

[๕๘๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ให้ของ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 242

เคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี แก่ชาวบ้านก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ด้วย

มือของตน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาได้ให้ของเคี้ยวบ้าง ของฉันบ้าง

แก่ชาวบ้าน ด้วยมือของตน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๕๘๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่สละผ้าอาศัย

แล้วใช้สอย ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาไม่สละผ้าอาศัย แล้วใช้สอย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 243

[๕๘๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่มอบหมาย

ที่อยู่ แล้วหลีกไปสู่จาริก ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาไม่มอบหมายที่อยู่ แล้วหลีกไปสู่

จาริก.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท).

[๕๙๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้เรียนติรัจฉาน

วิชา ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์เรียนติรัจฉานวิชา.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนปทโสธัมมสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 244

[๕๙๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้บอกติรัจฉาน

วิชา ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์บอกติรัจฉานวิชา.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนปทโสธัมมสิกขาบท).

จิตตาคารวรรค ที่ ๕ จบ

คำถามและคำตอบอารามวรรค ที่ ๖

[๕๙๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้รู้อยู่ไม่บอก

กล่าวก่อน แล้วเข้าไปสู่อารามซึ่งมีภิกษุ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปไม่บอกกล่าวก่อนแล้วเข้าไปสู่อาราม.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 245

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๒ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

[๕๙๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ด่าบริภาษภิกษุ

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ด่าท่านพระอุบาลี.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๕๙๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้แค้นเคือง

บริภาษคณะ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันท า

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาแค้นเคืองบริภาษคณะ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 246

[๕๙๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้อันทายกนิมนต์

แล้วห้ามภัตรแล้ว ฉันของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปฉันแล้ว ห้ามภัตรแล้วไปฉัน ณ

แห่งอื่น.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๔.

[๕๙๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้หวงตระกูล

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งหวงตระกูล.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 247

[๕๙๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้จำพรรษาใน

อาวาสที่ไม่มีภิกษุ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๕๙๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้จำพรรษาแล้ว

ไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ด้วย ๓ สถาน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปจำพรรษาแล้ว ไม่ปวารณากะภิกษุ-

สงฆ์.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 248

[๕๙๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่ไปรับโอวาท

ก็ดี เพื่อร่วมสังฆกรรมก็ดี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ สักกชนบท

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไม่ไปรับโอวาท.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๖๐๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่ถามแม้ซึ่ง

อุโบสถ ไม่ขอแม้ซึ่งโอวาท ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปไม่ถามแม้ซึ่งอุโบสถ ไม่ขอแม้ซึ่ง

โอวาท.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 249

[๖๐๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่บอกสงฆ์

หรือคณะให้บุรุษผ่าฝีก็ดี บาดแผลก็ดี อันเกิดที่ง่ามขา ตัวต่อตัวรวมกัน

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ให้บุรุษฝ่าฝีอันเกิดที่ง่ามขาตัวต่อ

ตัวร่วมกัน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท).

อารามวรรคที่ ๖ จบ

คำถามและคำตอบคัพภินีวรรคที่ ๗

[๖๐๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสตรีมีครรภ์

ให้บวช ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 250

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปยังสตรีมีครรภ์ให้บวช.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๐๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสตรีแม่

ลูกอ่อนให้บวช ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปยังสตรีแม่ลูกอ่อนให้บวช

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๐๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานาที่

ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีให้บวช ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปยังสิกขมานาที่ยังมิได้ศึกษาสิกขาใน

ธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีให้บวช.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 251

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๐๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานาที่

ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ

ให้อุปสมบท ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปยังสิกขมานาที่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม

๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติให้อุปสมบท.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๐๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังเด็กหญิงมี

อายุไม่ครบ ๑๒ ปีให้บวช ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปยังเด็กหญิงผู้มีอายุไม่ครบ ๑๒ ปีให้

บวช.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 252

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๐๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังเด็กหญิงมี

อายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒

ปี ให้อุปสมบท ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปยังเด็กหญิงผู้มีอายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์

แล้ว แต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีให้อุปสมบท.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๐๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังเด็กหญิงมี

อายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์ ผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว แต่

สงฆ์ยังไม่ได้สมมติให้บวช ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 253

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปยังเด็กหญิงผู้มีอายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์ ผู้

ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติให้บวช.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๐๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสหชีวินีให้

บวชแล้วไม่อนุเคราะห์ ไม่ยังผู้อื่นให้อนุเคราะห์ตลอด ๒ กาลฝน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทา ยังสหชีวินีให้บวชแล้ว ไม่อนุ-

เคราะห์ ไม่ยังผู้อื่นให้อนุเคราะห์ ตลอด ๒ กาลฝน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

[๖๑๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่ติดตาม

ปวัตตินีผู้ให้บวช ตลอด ๒ กาลฝน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 254

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปไม่ติดตามปวัตตินีผู้ให้บวชตลอด ๒

กาลฝน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๖๑๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสหชีวินีให้

บวชแล้วไม่พาหลีกไป ไม่ยังผู้อื่นให้พาหลีกไป ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทายังสหชีวินีให้บวชแล้ว ไม่พาหลีก

ไป ไม่ยังผู้อื่นให้พาหลีกไป.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

คัพภินีวรรค ที่ ๗ จบ

คำถามและคำตอบกุมารีภูตวรรค ที่ ๘

[๖๑๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสามเณรีผู้

เป็นเด็กหญิงมีอายุหย่อน ๒ ปี ให้บวช ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 255

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ยังสามเณรีผู้เป็นเด็กหญิงมีอายุ

หย่อน ๒๐ ปีให้บวช

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๑๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสามเณรีผู้

เป็นเด็กหญิงมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖

ประการ ตลอด ๒ กาลฝนให้บวช ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ยังสามเณรีผู้เป็นเด็กหญิงมีอายุ ๒๐

ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ กาลฝน

ให้บวช.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 256

[๖๑๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสามเณรีผู้

เป็นเด็กหญิงมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด

๒ กาลฝนแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ ให้บวช ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ยังสามเณรีผู้เป็นเด็กหญิงมีอายุ ๒๐

ปีบริบูรณ์ ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ กาลฝนแล้ว แต่

สงฆ์ยังมิได้สมมติให้บวช.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๑๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้มีพรรษา

หย่อน ๑๒ ให้บวช ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป มีพรรษาหย่อน ๑๒ ให้บวช.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 257

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๑๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้มีพรรษาครบ

๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ให้บวช ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยัง

ไม่ได้สมมติให้บวช.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๑๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีอันภิกษุณีสงฆ์

กล่าวอยู่ว่า ดูก่อนแม่เจ้า ท่านยังไม่ควรให้บวชก่อน รับคำว่า ชอบแล้ว

ภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่า ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 258

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลี อันภิกษุณีสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ดูก่อน

แม่เจ้า ท่านยังไม่ควรให้บวชก่อน รับคำว่า ชอบแล้ว ภายหลังถึงธรรมคือ

บ่นว่า.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๑๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้กล่าวกะ

สิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าท่านจักให้จีวรแก่เรา เราจักยังท่านให้อุปสมบท

ตามปรารถนา ภิกษุณีนั้นไม่มีอันตราย ภายหลังไม่ให้อุปสมบท ไม่ทำการ

ขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า

ถ้าท่านจักให้จีวรแก่เรา เราจักยังท่านให้อุปสมบทตามปรารถนา แล้วไม่ให้

อุปสมบท ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 259

[๖๑๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้กล่าวกะ

สิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าท่านจักติดตามเราไปตลอด ๒ ปี เราจักยังท่าน

ให้อุปสมบทตามปรารถนา แล้วไม่ให้อุปสมบท ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้

อุปสมบท ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า

ถ้าท่านจักติดตามเราไปตลอด ๒ ปี เราจักยังท่านให้อุปสมบทตามปรารถนา

แล้วไม่ให้อุปสมบท ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

[๖๒๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานา

ผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษผู้คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศก ให้บวช

ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 260

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทา ยังสิกขมานาผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษ

ผู้คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศกให้บวช.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๒๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานา

อันมารดาบิดาหรือสามียังไม่อนุญาต ให้บวช ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุสลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทายังสิกขมานาอันมารดาบิดาหรือสามี

ยังไม่อนุญาตให้บวช.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๔ คือ บางทีเกิดแต่วาจา ไม่ใช่กาย ไม่ใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กาย

กับวาจา ไม่ใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต ไม่ใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย

กับวาจา และจิต ๑.

[๖๒๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานา

ให้บวชด้วยให้ฉันทะค้างคราว ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 261

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทายังสิกขมานาให้บวช ด้วยให้ฉันทะ

ค้างคราว.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๒๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานา

ให้บวชทุกกาลฝน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ยังสิกขมานาให้บวชทุกกาลฝน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๖๒๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานา

ให้บวชปีละ ๒ รูป ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 262

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปยังสิกขมานาให้บวชปีละ ๒ รูป.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

กุมารีภูตวรรค ที่ ๘ จบ

คำถามและคำตอบฉัตตุปาหนวรรค ที่ ๙

[๖๒๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ใช้ร่มและ

รองเท้า ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้ร่มและรองเท้า.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 263

[๖๒๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไปด้วยยาน ณ

ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไปด้วยยาน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๖๒๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ใช้เครื่อง

ประดับเอว ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้เครื่องประดับเอว.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 264

[๖๒๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ใช้เครื่อง

ประดับสำหรับสตรี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๖๒๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต.

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้อาบน้ำปรุง

เครื่องประเทืองผิวมีกลิ่นหอม ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ อาบน้ำปรุงเครื่องประเทืองผิวที่มี

กลิ่นหอม.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 265

[๖๓๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้อาบน้ำปรุง

กำยานเป็นเครื่องอบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ อาบน้ำปรุงกำยานเครื่องอบ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๖๓๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังภิกษุณีให้

นวด ให้ขยำ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปยังภิกษุณี ให้นวด ให้ขยำ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 266

[๖๓๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานา

ให้นวด ให้ขยำ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ยังสิกขมานาให้นวด ให้ขยำ

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๖๓๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสามเณรีให้

นวด ให้ขยำ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณี ยังสามเณรีหลายรูปให้นวด ให้ขยำ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๖๓๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังหญิงคฤหัสถ์

ให้นวด ให้ขยำ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 267

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ยังหญิงคฤหัสถ์ให้นวด ให้ขยำ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท).

[๖๓๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่ขอโอกาส

นั่งบนอาสนะข้างหน้าภิกษุ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ไม่ขอโอกาสนั่งบนอาสนะข้างหน้า

ภิกษุ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท).

[๖๓๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ถามปัญหากะ

ภิกษุผู้ที่ตนยังมิได้ขอโอกาส ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 268

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนยังมิได้ขอ

โอกาส.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ (เหมือนปทโสธัมมสิกขาบท).

[๖๓๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่มีผ้ารัดถัน

เข้าไปสู่บ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ไม่มีผ้ารัดถันเข้าไปสู้บ้าน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กาย ไม่ใช่วาจา ไม่ใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กาย

กับจิต ไม่ใช่วาจา ๑.

ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙ จบ

ขุททกสิกขาบท ๙ วรรค จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 269

หัวข้อประจำเรื่อง

[๖๓๘] กระเทียม ๑ ถอนขนในที่แคบ ๑ ใช้ของลับกระทบกัน ๑

ทอนยางเกลี้ยง ๑ ใช้น้ำชำระให้สะอาดลึกเกินไป ๑ บำรุงภิกษุกำลังฉัน ๑

ข้าวเปลือกสด ๑ ทิ้งของเป็นเดน ๒ สิกขาบท ๑ ดูฟ้อนรำ ๑.

เวลาค่ำคืน ๑ โอกาสกำบัง ๑ ที่แจ้ง ๑ ถนน เวลาเช้า ๑ เวลา

ภายหลังภัตร เวลาพลบค่ำ ๑ ความถือผิด ๑ แช่งด้วยนรก ๑ ประหาร ๑

เปลือยกาย ๑ ผ้าอาบน้ำฝน ๑ เลาะจีวร ๑ เปลี่ยนผ้าสังฆาฏิมีกำหนด

๕ วัน ๑ จีวรสับเปลี่ยน ๑ หมู่ ๑ การแจกจีวร ๑ สมณจีวร ๑ จีวรไม่

แน่นอน ๑ การเดาะกฐิน ๑

เตียงเดียวกัน ๑ เครื่องลาด ๑ แกล้ง ๑ สหชีวินี ๑ ให้ที่อาศัย ๑

คลุกคลี ๑ เที่ยวจาริกภายใน ๑ เที่ยวจาริกภายนอก ๑ เที่ยวจาริกภายใน

พรรษา ๑ ไม่หลีกไป ๑

โรงละครหลวง ๑ อาสันทิ ๑ กรอด้าย ๑ ธุระของคฤหัสถ์ ๑ ระงับ

อธิกรณ์ ๑ ให้ ๑ ผ้าอาศัย ๑ ที่อยู่ ๑ เรียนติรัจฉานวิชา ๑ บอกติรัจฉานวิชา ๑

อาราม ๑ ด่า ๑ แค้นเคือง ๑ ฉัน ๑ หวงตระกูล ๑ จำพรรษา ๑

ปวารณา ๑ ไม่รับโอวาท ๑ ไม่ขอโอวาท ๑ ที่ง่ามขา ๑

สตรีมีครรภ์ ๑ สตรีแม่ลูกอ่อน ๑ ธรรม ๖ ประการ ๑ สงฆ์ยัง

มิได้สมมติ ๑ มีอายุหย่อน ๑๒ ปี๑ เด็กหญิงมีอายุครบบริบูรณ์แล้ว ๑ สงฆ์

ยังมิได้สมมติ ๑ ยังสหชีวินีให้บวชแล้วไม่อนุเคราะห์ ๑ ไม่ติดตามปวัตตินี ๑

ไม่พาหลีกไป ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 270

สามเณรีที่เป็นเด็กหญิง ๒ สิกขาบท ๑ สงฆ์ยังมิได้สมมติ ๑ ภิกษุณี

มีพรรษาหย่อน ๑๒ ปี ๑ สงฆ์ยังมิได้สมมติ ๑ ยังไม่ควร ๑ ถ้าจักให้ ๑

ตลอด ๒ ปี ๑ สิกขมานาผู้เกี่ยวข้องกับบุรุษ ๑ สิกขมานาอันสามีไม่อนุญาต ๑

ให้ฉันทะค้างคราว ๑ ทุกกาลฝน ๑ ปีละ ๒ รูป ๑

ร่ม ๑ ยาน ๑ เครื่องประดับเอว ๑ เครื่องประดับสำหรับสตรี ๑

อาบน้ำปรุงเครื่องประเทืองผิว ๑ อาบน้ำปรุงกำยาน ๑ ภิกษุณี ๑ สิกขมานา ๑

สามเณรี ๑ หญิงคฤหัสถ์ ๑ นั่งข้างหน้าภิกษุ ๑ ไม่ขอโอกาส ๑ ผ้ารัดถัน ๖.

หัวข้อบอกวรรคเหล่านั้น

[๖๓๙] ลสุณวรรค ๑ รัตตันธการวรรค ๑ นหานวรรค ๑ ตุวัฏฏ-

วรรค ๑ จิตตาคารวรรค ๑ อารามวรรค ๑ คัพภินีวรรค ๑ กุมารีภูตวรรค ๑

ฉัตตุปาหนวรรค ๑.

ปาฏิเทสนียกัณฑ์

คำถามและคำตอบปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท

[๖๔๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ แก่ภิกษุณีผู้ขอเนยใส

มาฉัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 271

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอเนยใสมาฉัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔.

[๖๔๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ แก่ภิกษุณีผู้ขอน้ำมัน

มาฉัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอน้ำมันมาฉัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔.

[๖๔๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ แก่ภิกษุณีผู้ขอน้ำผึ้ง

มาฉัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอน้ำผึ้งมาฉัน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 272

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๕.

[๖๔๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ แก่ภิกษุณีผู้ขอน้ำอ้อย

มาฉัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอน้ำอ้อยมาฉัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔.

[๖๔๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ แก่ภิกษุณีผู้ขอปลา

มาฉัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอปลามาฉัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 273

[๖๔๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ แก่ภิกษุณีผู้ขอเนื้อ

มาฉัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอเนื้อมาฉัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔.

[๖๔๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ แก่ภิกษุณีผู้ขอนมสด

มาฉัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอนมสดมาฉัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 274

[๖๔๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ แก่ภิกษุณีผู้ขอนมสม

มาฉัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอนมส้มมาฉัน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๔ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่

จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑.

ปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท จบ

หัวข้อประจำกัณฑ์

[๖๔๘] พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบทเองคือ

ภิกษุณีขอเนยใส ๑ น้ำมัน ๑ น้ำผึ้ง ๑ น้ำอ้อย ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑ นมสด ๑

นมส้ม ๑

สิกขาบทเหล่าใด ที่บรรยายไว้โดยพิสดารในภิกขุวิภังค์ เพราะย่อ

สิกขาบทเหล่านั้น เป็นกัตถปัญญัติวารที่ ๑ ในภิกขุนีวิภังค์ จบ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 275

กตาปัตติวาร ที่ ๒

ปาราชิกกัณฑ์

คำถามและคำตอบอาบัติปาราชิก

[๖๔๙] ถามว่า ภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของ

บุรุษบุคคลผู้กำหนัด ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้

ผู้กำหนัด ต้องอาบัติ ๓ คือ:-

ยินดีการจับต้องอวัยวะใต้รากขวัญลงมา เหนือหัวเข่าขึ้นไป ต้องอาบัติ

ปาราชิก ๑

ยินดีการจับต้องอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้หัวเข่าลงมา ต้องอาบัติ

ถุลลัจจัย ๑

ยินดีการจับต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๑

ภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด

ต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้.

[๖๕๐] ถามว่า ภิกษุณีผู้ปกปิดโทษ ปกปิดโทษไว้ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ภิกษุณีผู้ปกปิดโทษ ปกปิดโทษไว้ ต้องอาบัติ ๓ คือรู้อยู่

ปกปิดธรรมมีโทษถึงปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก ๑ มีความสงสัยปกปิด ต้อง

อาบัติถุลลัจจัย ๑ ปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑

ภิกษุณีผู้ปกปิดโทษ ปกปิดโทษไว้ ต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 276

[๖๕๑] ถามว่า ภิกษุณีผู้ประพฤติตามพระอริฏฐะผู้ถูกสงฆ์ผู้พร้อม

เพรียงกันยกวัตร ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ต้องอาบัติ

เท่าไร

ตอบว่า ภิกษุณีผู้ประพฤติตามพระอริฏฐะผู้ถูกสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน

ยกวัตร ไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบ

ญัตติเป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้ง

สุด ต้องอาบัติปาราชิก ๑

ภิกษุณีผู้พระพฤติตามพระอริฏฐะ ผู้ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกวัตร

ไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้.

[๖๕๒] ถามว่า ภิกษุณีผู้ยังวัตถุที่* ๘ ให้บริบูรณ์ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ภิกษุณีผู้ยังวัตถุที่ ๘ ให้บริบูรณ์ ต้องอาบัติ ๓ คือ อันบุรุษ

กล่าวว่า จงเดินไปยังห้องชื่อนี้ แล้วเดินไป ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ พอล่วงเข้า

หัตถบาสของบุรุษ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ยังวัตถุที่ ๘ ให้บริบูรณ์ ต้องอาบัติ

ปาราชิก ๑

ภิกษุณียังวัตถุที่ ๘ ให้บริบูรณ์ ต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้.

ปาราชิก จบ

สังฆาทิเสสกัณฑ์

คำถามและคำตอบอาบัติสังฆาทิเสส

[๖๕๓] ภิกษุณีผู้กล่าวให้ร้าย ก่อคดีขึ้น ต้องอาบัติ ๓ คือ บอกแก่

คน ๆ เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ บอกแก่คนที่สอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ คดี

ถึงที่สุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

* วัตถุที่ ๘ คือ ภิกษุณี ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรม ดูข้อ

๒๖ พระวินัยปิฎก เล่ม ๓ หน้า ๓๐

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 277

[๖๕๔] ภิกษุณีรับหญิงโจรให้บวช ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติเป็น

ทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้อง

อาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๖๕๕] ภิกษุณีไปสู่ละแวกบ้านแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติ ๓ คือเดินไป

ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เดินล่วงเขตล้อมไป ๑ ก้าว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ เดินล่วง

เขตล้อมไป ๒ ก้าว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๖๕๖] ภิกษุณีไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของคณะ รับ

ภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่แล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตาม

สัตถุศาสน์ให้เข้าหมู่ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติ เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจา

สองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๖๕๗] ภิกษุณีมีความพอใจ รับของเคี้ยวก็ตาม ของฉันก็ตาม จาก

มือของบุรุษบุคคลผู้มีความพอใจ ด้วยมือของตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๓ คือ

รับไว้ด้วยตั้งใจจักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ทุก ๆ คำกลืน ๑ รับน้ำและไม้ชำระฟันต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

[๖๕๘] ภิกษุณีกล่าวว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั้น มีความพอใจก็ตาม

ไม่มีความพอใจก็ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความพอใจ

นิมนต์เถิด เจ้าข้า บุรุษบุคคลนั้นจะถวายสิ่งใด เป็นของเคี้ยวก็ตาม ของฉัน

ก็ตามแก่แม่เจ้า ขอแม่เจ้าโปรดรับประเคนของสิ่งนั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยว

หรือฉันเถิด ดังนี้แล้วส่งไป ต้องอาบัติ ๓ คือ รับประเคนด้วยตั้งใจจักเคี้ยว

จักฉันตามคำของภิกษุณีนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัยทุก ๆ คำ

กลืน ๑ ฉันเสร็จ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 278

[๖๕๙] ภิกษุณีผู้โกรธ ไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓

จบ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติ เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง เป็น

ถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๖๖๐] ภิกษุณีผู้ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่ง โกรธไม่สละ

กรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติเป็นทุกกฏ

๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติ

สังฆาทิเสส ๑.

[๖๖๑] ภิกษุณีหลายรูปผู้คลุกคลีกันอยู่ ไม่สละกรรมเพราะสวด

สมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติ เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรม

วาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๖๖๒] ภิกษุณีผู้สั่งว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านจงอยู่คลุกคลีกันเถิด

อย่าอยู่ต่างหากกันเลย ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ต้อง

อาบัติ ๓ คือ จบญัตติ เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑

จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

สังฆาทิเสส จบ

นิสสัคคิยปาจิตติยกัณฑ์

คำถามและคำตอบอาบัติในนิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๖๖๓] ภิกษุณีทำการสั่งสมบาตร ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือนิสสัคคิย-

ปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 279

[๖๖๔] ภิกษุณีอธิษฐานอกาลจีวรว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกัน

ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้แจก เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อแจกแล้ว เป็นนิสสัคคิย

ปาจิตตีย์ ๑.

[๖๖๕] ภิกษุณีแลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณีแล้วชิงเอาไป ต้องอาบัติ ๒

คือ ชิงเอาไป เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อชิงเสร็จแล้วเป็นนิสสัคคิย-

ปาจิตตีย์ ๑.

[๖๖๖] ภิกษุณีขอสิ่งของอย่างอื่น แล้วขอสิ่งของอย่างอื่นอีก ต้อง

อาบัติ ๒ คือ กำลังขอ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ขอเสร็จแล้ว เป็นนิสสัคคิย

ปาจิตตีย์ ๑.

[๖๖๗] ภิกษุณีให้จ่ายของสิ่งอื่นแล้วให้จ่ายของสิ่งอื่นอีก ต้องอาบัติ

๒ คือให้จ่าย เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้จ่ายแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๖๖๘] ภิกษุณีให้จ่ายของอย่างอื่น ด้วยบริขารของสงฆ์ที่เขาถวายไว้

เพื่อประโยชน์อย่างอื่น เจาะจงของอย่างอื่น ต้องอาบัติ ๒ คือให้จ่าย เป็น

ทุกกฏในประโยค ๑ ให้จ่ายแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๖๖๙] ภิกษุณีให้จ่ายของอย่างอื่น ด้วยบริขารของสงฆ์ที่เขาถวายไว้

เพื่อประโยชน์อย่างอื่น เจาะจงของอย่างอื่น ที่ขอมาเอง ต้องอาบัติ ๒ คือ

ให้จ่ายเป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้จ่ายแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๖๗๐] ภิกษุณีให้จ่ายของอย่างอื่น ด้วยบริขารของคนหมู่มากที่เขา

ถวายไว้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น เจาะจงของอย่างอื่น ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้จ่าย

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้จ่ายแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 280

[๖๗๑] ภิกษุณีให้จ่ายของอย่างอื่น ด้วยบริขารของคนหมู่มากที่เขา

ถวายเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เจาะจงของอย่างอื่น ที่ขอมาเอง ต้องอาบัติ ๒ ตัว

คือให้จ่าย เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้จ่ายแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๖๗๒] ภิกษุณีให้จ่ายของอย่างอื่น ด้วยบริขารของบุคคลที่เขาถวาย

ไว้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น เจาะจงของอย่างอื่น ที่ขอมาเอง ต้องอาบัติ ๒ คือ

ให้จ่ายเป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้จ่ายแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๖๗๓] ภิกษุณีให้จ่ายผ้าห่มหนาราคาเกินกว่า ๔ กังสะเป็นอย่างยิ่ง

ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้จ่าย เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้จ่ายเสร็จแล้ว

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๖๗๔] ภิกษุณีให้จ่ายผ้าห่มบางราคาเกินกว่า ๒ กังสะกึ่งเป็นอย่างยิ่ง

ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้จ่าย เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อจ่ายให้เสร็จแล้ว

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จบ

ปาจิตติยกัณฑ์

คำถามและคำตอบอาบัติในลสุณวรรคที่ ๑

[๖๗๕] ภิกษุณีฉันกระเทียม ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วยตั้งใจ

ว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

[๖๗๖] ภิกษุณีให้ถอนขนในที่แคบ ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้ถอน

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้ถอนเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๖๗๗] ภิกษุณีใช้ของลับกระทบกัน ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังทำ

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อทำแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 281

[๖๗๘] ภิกษุณีใช้ท่อนยางเกลี้ยง ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังใช้ เป็น

ทุกกฏในประโยค ๑ เนื้อใช้เสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๖๗๙] ภิกษุณีใช้น้ำชำระให้สะอาดลึกเกิน ๒ ข้อองคุลีเป็นอย่างยิ่ง

ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังใช้ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อใช้แล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๖๘๐] ภิกษุณีบำรุงภิกษุผู้กำลังฉัน ด้วยน้ำฉัน ด้วยการพัด ต้อง

อาบัติ ๒ คือ ยืนอยู่ในหัตถบาส ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ ยืนพ้นหัตถบาส

ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

[๖๘๑] ภิกษุณีขอข้าวเปลือกสดมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือรับประเคน

ด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกคำกลืน ๑.

[๖๘๒] ภิกษุณีเทอุจจาระก็ดี ปัสสาวะก็ดี น้ำลายก็ดี หยากเยื่อก็ดี

ของเป็นเดนก็ดี ที่ภายนอกฝา ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังเท เป็นทุกกฏใน

ประโยค ๑ เมื่อเทแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๖๘๓] ภิกษุณีเทอุจจาระก็ดี ปัสสาวะก็ดี น้ำลายก็ดี หยากเยื่อก็ดี

ของเป็นเดนก็ดี บนของเขียวสด ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังเท เป็นทุกกฏใน

ประโยค ๑ เมื่อเทแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๖๘๔] ภิกษุณีไปดูฟ้อนรำก็ดี ขับร้องก็ดี ประโคมก็ดี ต้องอาบัติ ๒

คือ กำลังไป ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ยืนอยู่ในที่ใดมองเห็นหรือได้ยิน ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ๑.

ลสุณวรรคที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 282

คำถามแลคำตอบอาบัติในรัตตันธการวรรคที่ ๒

[๖๘๕] ภิกษุณียืนร่วมกับบุรุษในเวลาค่ำคืน ไม่มีประทีปส่องหนึ่ง

ต่อหนึ่ง ต้องอาบัติ ๒ คือ ยืนอยู่ในหัตถบาส ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ ยืน

พ้นหัตถบาส ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

[๖๘๖] ภิกษุณียืนร่วมกับบุรุษ ในโอกาสอันกำบังหนึ่งต่อหนึ่ง ต้อง

อาบัติ ๒ คือ ยืนอยู่ในหัตถบาส ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ ยืนพ้นหัตถบาส

ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

[๖๘๗] ภิกษุณียืนร่วมกับบุรุษในที่แจ้ง หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติ ๒

คือ ยืนอยู่ในหัตถบาส ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ ยืนพ้นหัตถบาส ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ๑.

[๖๘๘] ภิกษุณียืนร่วมกับบุรุษ ในถนนก็ดี ในตรอกตันก็ดี ใน

ทางสามแพร่งก็ดี หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติ ๒ คือ ยืนอยู่ในหัตถบาส ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ๑ ยืนพ้นหัตถบาส ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

[๖๘๙] ภิกษุณีเข้าไปสู่สกุลในเวลาเช้า นั่งบนอาสนะแล้ว ไม่บอกลา

เจ้าของ กลับไป ต้องอาบัติ ๒ คือ ก้าวเท่าที่ ๑ ล่วงพ้นชายคาไป ต้อง

อาบัติทุกกฏ ๑ ก้าวเท้าที่ ๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๖๙๐] ภิกษุณีเข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังภัตกาล ไม่บอกเจ้าของแล้ว

นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังนั่ง เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อนั่ง

แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๖๙๑] ภิกษุณีเข้าไปสู่สกุลในเวลาวิกาล ไม่บอกเจ้าของ ลาดเองก็ดี

ให้ลาดก็ดี ซึ่งที่นอน แล้วขึ้นนั่ง ต้องอาบัติ ๒ คือ ขึ้นนั่ง เป็นทุกกฏใน

ประโยค ๑ เมื่อขึ้นนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 283

[๖๙๒] ภิกษุณีให้ภิกษุณีรูปอื่นโพนทะนา ด้วยเรื่องที่ถือผิด เข้าใจ

ผิด ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้โพนทะนา เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้

โพนทะนาแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๖๙๓] ภิกษุณีแช่งตนก็ดี ผู้อื่นก็ดี ด้วยนรกก็ดี ด้วยพรหมจรรย์

ก็ดี ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังแช่ง เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อแช่งแล้ว

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๖๙๔] ภิกษุณีประหัตประหารตนแล้ว ร้องไห้ ต้องอาบัติ ๒ คือ

ประหัตประหาร แล้วร้องไห้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ ประหัตประหาร แต่ไม่

ร้องไห้ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

รัตตันธการวรรคที่ ๒ จบ

คำถามและคำตอบอาบัติในนหานวรรคที่ ๓

[๖๙๕] ภิกษุณีเปลือยกายอาบน้ำ ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังอาบ เป็น

ทุกกฏในประโยค ๑ อาบเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๖๙๖] ภิกษุณีให้ทำผ้าอาบน้ำฝนเกินประมาณ ต้องอาบัติ ๒ คือ

ให้ทำเป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้ทำแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๖๙๗] ภิกษุณีเลาะเองก็ดี ให้ผู้อื่นเลาะก็ดี ซึ่งจีวรของภิกษุณีแล้ว

ไม่เย็บ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้เย็บ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ปาจิตตีย์.

[๖๙๘] ภิกษุณีผลัดเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิ อันมีกำหนด ๕ วัน ให้เกิน

ไป ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ปาจิตตีย์.

[๖๙๙] ภิกษุณีใช้จีวรสับเปลี่ยน ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังใช้ เป็น

ทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อใช้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 284

[๗๐๐] ภิกษุณีทำลาภคือจีวรของหมู่ให้เป็นอันตราย ต้องอาบัติ ๒

คือ กำลังทำ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อทำแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๐๑] ภิกษุณีห้ามการแจกจีวร อัน เป็นไปโดยชอบธรรม ต้อง

อาบัติ ๒ คือ กำลังห้าม เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อห้ามแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๗๐๒] ภิกษุณีให้สมณจีวรแก่ชาวบ้านก็ดี ปริพาชกก็ดี ปริพาชิกา

ก็ดี ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังให้ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้แล้ว ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๐๓] ภิกษุณียังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังจะได้จีวรอันไม่

แน่นอน ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้ล่วงไป เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้ล่วงไป

แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๐๔] ภิกษุณีห้ามการเดาะกฐิน อันเป็นไปโดยชอบธรรม ต้อง

อาบัติ ๒ คือ กำลังห้าม เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อห้ามแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

นหานวรรคที่ ๓ จบ

คำถามและคำตอบอาบัติในตุวัฏฏวรรคที่ ๔

[๗๐๕ ] ภิกษุณีสองรูป นอนบนเตียงเดียวกัน ต้องอาบัติ ๒ คือ

กำลังนอน เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อนอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๐๖] ภิกษุณี ๒ รูป มีเครื่องลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันนอน

ต้องอาบัติ ๒ คือ กำกังนอน เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อนอนแล้ว ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 285

[๗๐๗] ภิกษุณีแกล้งทำความไม่ผาสุกแก่ภิกษุณี ต้องอาบัติ ๒ คือ

กำลังทำ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อทำแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๐๘] ภิกษุณีไม่บำรุงสหชีวินีผู้ได้รับทุกข์ ทั้งไม่ทำการขวนขวาย

เพื่อให้ผู้อื่นบำรุง ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือปาจิตตีย์.

[๗๐๙] ภิกษุณีให้ที่อาศัยแก่ภิกษุณีแล้ว โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าออก

ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังฉุดคร่า เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อฉุดคร่าออก

แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๑๐] ภิกษุณีผู้คลุกคลีไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ

ต้องอาบัติ ๒ คือ จบญัตติ เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๗๑๑] ภิกษุณีไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาจิกภายในแว่นแคว้น

ซึ่งรู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ต้องอาบัติ ๒ คือ เดินไป เป็น

ทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อเดินไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

[๗๑๒] ภิกษุณีไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาริกภายนอก

แว่นแคว้น ซึ่งรู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ต้องอาบัติ ๒ คือ

เดินไป เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อเดินไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๑๓] ภิกษุณีเที่ยวจาริกภายในพรรษา ด้วยอาบัติ ๒ คือ เดินไป

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อเดินไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๑๔] ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ไม่หลีกไปสู่จาริก ต้องอาบัติ

ตัวหนึ่ง คือ ปาจิตตีย์.

ตุวัฏฏวรรค ที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 286

คำถามและคำตอบอาบัติในจิตตาคารวรรค ที่ ๕

[๗๑๕] ภิกษุณีไปชมโรงละคนหลวงก็ดี โรงประกวดภาพก็ดี สถานที่

หย่อนใจก็ดี อุทยานก็ดี สระโบกขรณีก็ดี ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังไป เป็น

ทุกกฏในประโยค ๑ ยืนอยู่ในที่ใดมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๑๖] ภิกษุณีใช้สอยอาสันทิก็ดี บัลลังก็ดี ต้องอาบัติ ๒ คือ ใช้

สอย เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อใช้สอยแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๑๗] ภิกษุณีกรอด้าย ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังกรอ เป็นทุกกฏ

ในประโยค ๑ ม้วนไป ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๑๘] ภิกษุณีช่วยทำธุระขอคฤหัสถ์ ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังทำ

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อทำแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๑๙] ภิกษุณีผู้อันภิกษุณีกล่าวว่า มาเถิด แม่เจ้า ขอจงช่วย

ระงับอธิกรณ์นี้ รับคำว่า ดีละ แล้วไม่ช่วยระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อ

ให้ระงับ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือปาจิตตีย์.

[๗๒๐] ภิกษุณีให้ของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี แก่ชาวบ้านก็ดี แก่

ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ด้วยมือของตน ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังให้

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๒๑] ภิกษุณีไม่สละผ้าอาศัยแล้วใช้เสียเอง ต้องอาบัติ ๒ คือ

ใช้สอย เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อใช้สอยแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๒๒] ภิกษุณีไม่มอบหมายที่อยู่แล้วหลีกไปสู่จาริก ต้องอาบัติ ๒

คือ เดินล่วงที่ล้อมก้าวหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เดินล่วงที่ล้อมสองก้าว

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 287

[๗๒๓] ภิกษุณีเรียนติรัจฉานวิชา ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังเรียน

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ บท ๑.

[๗๒๔] ภิกษุณีบอกติรัจฉานวิชา ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังบอก

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ บท ๑.

จิตตาคารวรรค ที่ ๕ จบ

คำถามและคำตอบอาบัติในอารามวรรค ที่ ๖

[๗๒๕] ภิกษุณีรู้อยู่ ไม่บอกกล่าวก่อนเข้าไปสู่อารามที่มีภิกษุ ตอง

อาบัติ ๒ คือ เดินล่วงที่ล้อมก้าวหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เดินล่วงที่ล้อม

สองก้าว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๒๖] ภิกษุณีด่าบริภาษภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ คือ ด่า เป็นทุกกฏ

ในประโยค ๑ เมื่อด่าแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๒๗] ภิกษุณีแค้นเคืองบริภาษคณะ ต้องอาบัติ ๒ คือ บริภาษ

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อบริภาษแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๒๘] ภิกษุณีอันทายกนิมนต์แล้ว หรือห้ามภัตรแล้ว ฉันของเคี้ยว

ก็ดี ของฉันก็ดี ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วยตั้งใจจักเคี้ยว จักฉัน

ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

[๗๒๙] ภิกษุณีหวงตระกูล ต้องอาบัติ ๒ คือ หวง เป็นทุกกฏใน

ประโยค ๑ เมื่อหวงแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๓๐] ภิกษุณีจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ คือ

จัดแจงเสนาสนะ จัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณด้วยตั้งใจจะจำพรรษา ตอง

อาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พร้อมกับอรุณขึ้น ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 288

[๗๓๑] ภิกษุณีจำพรรษาแล้ว ไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ด้วย

สถาน ๒ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ปาจิตตีย์.

[๗๓๒] ภิกษุณีไม่ไปเพื่อรับโอวาท หรือเพื่อร่วมสังฆกรรม ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ปาจิตตีย์.

[๗๓๓] ภิกษุณีไม่ถามอุโบสถก็ดี ไม่ขอโอวาทก็ดี ต้องอาบัติตัวหนึ่ง

คือ ปาจิตตีย์.

[๗๓๔] ภิกษุณีไม่บอกสงฆ์หรือคณะ ให้บุรุษผ่าฝีก็ดี บาดแผลก็ดี

ซึ่งเกิดที่ง่ามขา ตัวต่อตัวร่วมกัน ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้ผ่า เป็นทุกกฏใน

ประโยค ๑ เมื่อผ่าแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

อารามวรรค ที่ ๖ จบ

คำถามและคำตอบอาบัติในคัพภินีวรรค ที่ ๗

[๗๓๕] ภิกษุณียังสตรีมีครรภ์ให้บวช ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้บวช

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้บวชแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๓๖] ภิกษุณียังสตรีแม่ลูกอ่อนให้บวช ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้บวช

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้บวชแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๓๗] ภิกษุณียังสิกขมานาผู้มีสิกขายังไม่ได้ศึกษาในธรรม ๖ ประ-

การ ตลอด ๒ ปี ให้บวช ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้บวช เป็นทุกกฏในประโยค

๑ ให้บวชแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๓๘] ภิกษุณียังสิกขมานาผู้มีสิกขาอันได้ศึกษาในธรรม ๖ ประการ

ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ให้บวช ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้บวช

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้บวชแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 289

[๗๓๙] ภิกษุณียังเด็กหญิงมีอายุหย่อน ๑๒ ปี ให้บวช ต้องอาบัติ

๒ คือ ให้บวช เป็นทุกุกฏในประโยค ๑ เมื่อให้บวชแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๙๐] ภิกษุณียังเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปีแล้ว แต่สิกขายังไม่ได้

ศึกษาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติ ๒ คือให้บวช เป็นทุกกฏ

ในประโยค ๑ ให้บวชแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๔๑] ภิกษุณียังเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี มีสิกขาอันได้ศึกษาใน

ธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่สมมติให้บวช ต้องอาบัติ ๒

คือ ให้บวช เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้บวชแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๔๒] ภิกษุณียังสหชีวินีให้บวชแล้ว ไม่อนุเคราะห์ ไม่ให้ผู้อื่น

อนุเคราะห์ตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ปาจิตตีย์.

[๗๔๓] ภิกษุณีไม่ติดตามปวัตตินีผู้ให้อุปสมบท ตลอด ๒ ปี ต้อง

อาบัติตัวหนึ่ง คือ ปาจิตตีย์.

[๗๔๔] ภิกษุณียังสหชีวินีให้อุปสมบทแล้ว ไม่พาหลีกไปเอง ไม่ยัง

ผู้อื่นให้พาหลีกไป ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ปาจิตตีย์.

คัพภินีวรรค ที่ ๗ จบ

คำถามและคำตอบอาบัติในกุมารีภูตวรรค ที่ ๘

[๗๔๕] ภิกษุณียังสามเณรีที่เป็นเด็กหญิงมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ให้

อุปสมบท ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้อุปสมบท เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้

อุปสมบทแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 290

[๗๔๖] ภิกษุณียังสามเณรีที่เป็นเด็กหญิงมีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว แต่

มีสิกขายังไม่ได้ศึกษาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี ให้อุปสมบท ต้องอาบัติ

๒ คือ ให้อุปสมบท เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้อุปสมบทแล้ว ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๔๗] ภิกษุณียังสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี มีสิกขาอันได้ศึกษา

ในธรรม ๖ ประการตลอด ๒๐ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติให้อุปสมบท ต้อง

อาบัติ ๑ คือ ให้อุปสมบท เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้อุปสมบทแล้ว

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๔๘] ภิกษุณีมีพรรษาหย่อน ๑๒ ให้อุปสมบท ต้องอาบัติ ๒ คือ

ให้อุปสมบท เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้อุปสมบทแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๗๔๙] ภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ. ให้

อุปสมบท ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้อุปสมบท เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้

อุปสมบทแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๕๐] ภิกษุณีผู้อันภิกษุณีกล่าวอยู่ว่า อย่าเพ่อก่อน แม่คุณ ท่าน

อย่ายังสิกขมานาให้อุปสมบท รับคำว่า ดีละ แล้วถึงธรรมคือความบ่นว่าใน

ภายหลัง ต้องอาบัติ ๒ คือ กำลังบ่นว่า เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อบ่นว่า

แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๕๑] ภิกษุณีกล่าวกะสิกขมานาว่า แม่เจ้า ถ้าท่านจักให้จีวรแก่

เรา ๆ จะให้ท่านอุปสมบทตามปรารถนา แล้วไม่ให้อุปสมบท ไม่ทำการขวน-

ขวายเพื่อให้อุปสมบท ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 291

[๗๕๒] ภิกษุณีกล่าวกะสิกขมานาว่า แม่เจ้า ถ้าท่านจักติดตามเรา

ตลอด ๒ ปี เราจักให้ท่านอุปสมบทตามปรารถนา แล้วไม่ให้อุปสมบท ไม่

ทำการขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ปาจิตตีย์.

[๗๕๓] ภิกษุณียังสิกขมานาผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษ ผู้คลุกคลีกับเด็ก

หนุ่มผู้ดุร้าย ยังชายให้ระทมโศก ให้อุปสมบท ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้อุปสมบท

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้อุปสมบทแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๕๔] ภิกษุณียังสิกขมานาผู้อันมารดาบิดา หรือสามียังไม่อนุญาต

ให้อุปสมบท เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้อุปสมบทแล้ว ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

[๗๕๕] ภิกษุณียังสิกขมานาให้บวช ด้วยการให้ฉันทะค้างคราว ต้อง

อาบัติ ๒ คือ ให้บวช เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้บวชแล้ว ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๕๖] ภิกษุณียังสิกขมานาให้บวชทุกปี ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้บวช

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อให้บวชแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๕๗] ภิกษุณียังสิกขมานาให้บวชปีละ ๒ รูป ต้องอาบัติ ๒ คือ

ให้บวช เป็นทุกกฏในประโยค ๑ ให้บวชแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

กุมารีภูตวรรค ที่ ๘ จบ

คำถามและคำตอบอาบัติในฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙

[๗๕๘] ภิกษุณีใช้ร่มและรองเท้า ต้องอาบัติ ๒ คือ ใช้เป็นทุกกฏ

ในประโยค ๑ เมื่อใช้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 292

[๗๕๙] ภิกษุณีไปด้วยยาน ต้องอาบัติ ๒ คือ ไป เป็นทุกกฏใน

ประโยค ๑ เมื่อไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๖๐] ภิกษุณีใช้เครื่องประดับเอว ต้องอาบัติ ๒ คือ ใช้ เป็น

ทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อใช้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๖๑] ภิกษุณีใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี ต้องอาบัติ ๒ คือ ใช้

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อใช้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๖๒] ภิกษุณีอาบน้ำปรุงเครื่องประเทืองผิว ต้องอาบัติ ๒ คือ

อาบ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ อาบเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๖๖๓] ภิกษุณีอาบน้ำปรุงกำยานเป็นเครื่องอบ ต้องอาบัติ ๒ คือ

อาบ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ อาบเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๖๔] ภิกษุณียังภิกษุณีให้นวด ให้ขยำ ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้นวด

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อนวดแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๖๕] ภิกษุณียังสิกขมานาให้นวด ให้ขยำ ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้

นวด เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อนวดแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๖๖] ภิกษุณียังสามเณรีให้นวด ให้ขยำ ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้

นวด เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อนวดแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

ภิกษุณียังหญิงคฤหัสถ์ให้นวด ให้ขยำ ต้องอาบัติ ๒ คือ ให้นวด

เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อนวดแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑

ภิกษุณีไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะข้างหน้าภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ คือ

นั่ง เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

[๗๖๗] ภิกษุณีถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนยังมิได้ขอโอกาส ต้องอาบัติ

๒ คือ ถาม เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อถามแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 293

[๗๖๘] ภิกษุณีไม่มีผ้ารัดถันเข้าไปสู่บ้าน ต้องอาบัติ ๒ คือ เดิน

ล่วงที่ล้อมก้าวที่นึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เดินล่วงที่ล้อมก้าวที่สอง ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

ฉัตตุปาหนวรรค ที่ ๙ จบ

ขุททกสิกขาบท ๙ วรรค จบ

ปาฏิเทสนียกัณฑ์

คำถามและคำตอบอาบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์

[๗๖๙] ภิกษุณีขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเดนด้วย

มุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

[๗๗๐] ภิกษุณีขอน้ำมันมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วย

มุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

[๗๗๑] ภิกษุณีขอน้ำผึ้งมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วย

มุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

[๗๗๒] ภิกษุณีขอน้ำอ้อยมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วย

มุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

[๗๗๓] ภิกษุณีขอปลามาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วยมุ่ง

จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

[๗๗๔] ภิกษุณีขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วยมุ่ง

จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

[๗๗๕] ภิกษุณีขอนมสดมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วย

มุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 294

[๗๗๖] ภิกษุณีขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วย

มุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.

ปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท จบ

กตาปัตติวาร ที่ ๒ จบ

วิปัตติวาร ที่ ๓

[๗๗๗] ถามว่า อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วย

กายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔

ตอบว่า อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของ

บุรุษบุคคลผู้กำหนัด จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็นศีลวิบัติ

บางที่เป็นอาจารวิบัติ . . .

[๗๗๘] ถามว่า อาบัติของภิกษุณีผู้ขอนมส้มมาฉัน จัดเป็นวิบัติ

เท่าไร บรรดาวิบัติ ๔

ตอบว่า อาบัติของภิกษุณีผู้ขอนมส้มมาฉัน จัดเป็นวิบัติอย่างหนึ่ง

บรรดาวิบัติ ๔ คือ อาจารวิบัติ.

วิปัตติวาร ที่ ๓ จบ

สังคหวาร ที่ ๔

[๗๗๙] ถามว่า อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วย

กายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากอง

อาบัติ ๗

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 295

ตอบว่า อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของ

บุรุษบุคคลผู้กำหนัด สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๓ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ

บางทีด้วยกองอาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติ

ทุกกฏ. . .

[๗๘๐] ถามว่า อาบัติของภิกษุณีผู้ขอนมส้มมาฉัน สงเคราะห์ด้วย

กองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗

ตอบว่า อาบัติของภิกษุณีผู้ขอนมส้มมาฉัน สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ

๒ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาฏิเทสนียะ บางทีด้วยกอง

อาบัติทุกกฏ

สังคหวาร ที่ ๔ จบ

สมุฏฐานวาร ที่ ๕

[๗๘๑] ถามว่า อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วย

กายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่ง

อาบัติ ๖

ตอบว่า อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษ

บุคคลผู้กำหนัด เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. . .

[๗๘๒] ถามว่า อาบัติของภิกษุณีผู้ขอนมส้มมาฉัน เกิดด้วยสมุฏฐาน

เท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖

ตอบว่า อาบัติของภิกษุณีผู้ขอนมส้มมาฉัน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔

บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต บางที

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 296

เกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่

กาย วาจา และจิต.

สมุฏฐานวาร ที่ ๕ จบ

อธิกรณวารที่ ๖

[๗๘๓] ถามว่า อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วย

กายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด จัดเป็นอธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔

ตอบว่า อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย ของ

บุรุษบุคคลผู้กำหนัด จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ . . .

[๗๘๔] ถามว่า อาบัติของภิกษุณีผู้ขอนมส้มมาฉัน จัดเป็นอธิกรณ์

อะไร บรรดาอธิกรฌ์ ๔

ตอบว่า อาบัติของภิกษุณีผู้ขอนมส้มมาฉัน จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์

บรรดาอธิกรณ์ ๔.

อธิกรณวาร ที่ ๖ จบ

สมถวาร ที่ ๗

[๗๘๕] ถามว่า อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วย

กายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย ของ

บุรุษบุคคลผู้กำหนัด ย่อมระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วย

สัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

[๗๘๖] ถามว่า อาบัติของภิกษุณีผู้ขอนมส้มมาฉัน ย่อมระงับด้วย

สมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 297

ตอบว่า อาบัติของภิกษุณีผู้ขอนมส้มมาฉัน ย่อมระงับด้วยสมถะ ๓

บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีเกิดด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางที

ด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

สมถวาร ที่ ๗ จบ

สมุจจยวารที่ ๘

[๗๘๗] ถามว่า ภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย ของ

บุรุษบุคคลผู้กำหนัด ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคล

ผู้กำหนัด ต้องอาบัติ ๓ คือ ยินดีการจับต้องอวัยวะใต้รากขวัญลงมา เหนือ

หัวเข่าขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก ๑ ยินดีการจับต้องอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป

ใต้หัวเข่าลงมา ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ยินดีการจับต้องของเนื่องด้วยกาย ต้อง

อาบัติทุกกฏ ๑

ภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย ของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด

ต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้

ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ สงเคราะห์ด้วย

กองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐาน

แห่งอาบัติ ๖ จัดเป็นอธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

บรรดาสมถะ ๗

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 298

ต. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ คือ บางทีเป็น

ศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๓ บรรดากองอาบัติ ๗

คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วย

กองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ เกิดแต่กาย

กับจิต มิใช่วาจา จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๓

บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางที

ด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑. . .

[๗๘๘] ถามว่า ภิกษุณีขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ภิกษุณีขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วย

มุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑

ภิกษุณีขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ เหล่านี้

ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ สงเคราะห์ด้วย

กองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๙ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐาน

แห่งอาบัติ ๖ จัดเป็นอธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

บรรดาสมถะ ๗

ต. อาบัติเหล่านั้นจำเป็นวิบัติอย่างหนึ่ง บรรดาวิบัติ ๔ คืออาจาร-

วิบัติ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๒ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกอง

อาบัติปาฏิเทสนียะ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ บางทีเกิดแต่

กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กายกับวาจามิใช่จิต บางทีเกิดแต่กาย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 299

กับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่กาย วาจาและจิต จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์

บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วย

สัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางดีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

สมุจจยวารที่ ๘ จบ

กัตถปัญญัติวารที่ ๑

ปาราชิก

[๗๘๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะปัจจัย คือ ยินดีการ

เคล้าคลึงด้วยกาย ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีสุนทรีนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีสุนทรีนันทามีความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึง

ด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด

ถ. ในปาราชิกนั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่บัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติไม่มี ในปาราชิกนั้น

ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่สัพพัตถบัญญัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 300

ถ. มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่อสาธารณบัญญัติ

ถ. มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่เอกโตบัญญัติ

ถ. บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๔ ปาราชิกนั้นจัดเข้าในอุเทศไหน นับ

เนื่องในอุเทศไหน

ต. จัดเข้าในนิทาน นับเนื่องในนิทาน

ถ. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร

ต. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่ ๒

ถ. บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน

ต. เป็นศีลวิบัติ

ถ. บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน

ต. เป็นกองอาบัติปาราชิก

ถ. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ ปาราชิกนั้นเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา. . .

ถ. ใครนำมา

ต. พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา.

[๗๙๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะปัจจัย คือ ปกปิดโทษ

ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 301

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทารู้ว่า ภิกษุณีคือธรรมมีโทษถึง

ปาราชิกแล้ว ไม่โจทด้วยตนเอง ไม่บอกแก่คณะ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

[๗๙๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะปัจจัย คือ ไม่

สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาประพฤติตามพระอริฏฐะผู้เคยเป็น

คนฆ่าแร้ง ผู้ถูกสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกวัตร.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

[๗๙๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะปัจจัย คือ ยังวัตถุ

ที่ ๘ ให้เต็ม ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 302

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ยังวัตถุที่ ๘ ให้เต็ม.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

ปาราชิก จบ

สังฆาทิเสส

[๗๙๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะปัจจัย คือ ภิกษุณี

ผู้กล่าวให้ร้าย ก่อคดี ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวให้ร้ายอยู่

ถ. ในสังฆาทิเสสนั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ หรือ

ต. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ ไม่มีในสังฆาทิเสสนั้น

ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่สัพพัตถบัญญัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 303

ถ. มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่อสาธารณบัญญัติ

ถ. มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ

ต. มีแต่เอกโตบัญญัติ

ถ. บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๔ สังฆาทิเสสจัดเข้าในอุเทศไหน นับ-

เนื่องในอุเทศไหน

ต. จัดเข้าในนิทาน นับเนื่องในนิทาน

ถ. สังฆาทิเสสนั้นมาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร

ต. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่ ๓

ถ. บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน

ต. เป็นศีลวิบัติ

ถ. บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน

ต. เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสส

ถ. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สังฆาทิเสสเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต

บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต . . .

ถ. ใครนำมา

ต. พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา.

[๗๙๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ รับ

หญิงโจรให้บวช ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 304

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทารับหญิงโจรให้บวช.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

๒ คือ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑.

[๗๙๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ภิกษุณี

รูปเดียวไปสู่ละแวกบ้าน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่ง เข้าไปสู่ละวกบ้านผู้เดียว.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๓ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๗๙๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ไม่บอก

กล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของคณะ รับภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสีย

จากหมู่แล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ ให้เข้าหมู่ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 305

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะ

ของคณะ รับภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่แล้ว ตามธรรม

ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ ให้เข้าหมู่.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

[๗๙๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ภิกษุณี

มีความพอใจรับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี จากมือของบุรุษบุคคลผู้พอใจ ด้วย

มือของตนแล้วฉัน ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีสุนทรีนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีสุนทรีนันทามีความพอใจ รับอามิสจากมือ

ของบุรุษบุคคลผู้พอใจ.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๑ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 306

[๗๙๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ภิกษุณี

กล่าวว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลผู้นั้นมีความพอใจก็ดี ไม่มีความพอใจก็ดี จักทำ

อะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความพอใจ นิมนต์เถิด เจ้าข้า บุรุษ

บุคคลนั้นจักถวายสิ่งใด เป็นของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี แก่แม่เจ้า ขอแม่เจ้า

จงรับประเคนของสิ่งนั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยว หรือฉันเถิด ดังนี้ แล้ว

ส่งไป ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งกล่าวว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลผู้นั้นมี

ความพอใจก็ดี ไม่มีความพอใจก็ดี จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่

มีความพอใจ นิมนต์เถิด เจ้าข้า บุรุษบุคคลนั้นจะถวายสิ่งใด เป็นของเคี้ยวก็

ดี ของฉันก็ดี แก่แม่เจ้า ขอแม่เจ้า จงรับประเคนของสิ่งนั้นด้วยมือของตน

แล้วเคี้ยว หรือฉันเถิด ดังนี้ แล้วส่งไป.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓.

[๗๙๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ภิกษุณี

โกรธไม่สละกรรมเพราะถูกสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ณ ที่ไหน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 307

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุจัณฑกาลี โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์

ขอบอกคืนสิกขา.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

[๘๐๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ภิกษุณี

ถูกตัดสินให้แห้งอธิกรณ์เรื่องหนึ่ง โกรธ ไม่สละกรรมเพราะถูกสวดสมนุภาสน์

ครบ ๒ จบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้อธิกรณ์เรื่องหนึ่ง

โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงความพอใจด้วย ถึงความขัดเคือง

ด้วย ถึงความหลงด้วย ถึงความกลัวด้วย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 308

[๙๐๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะปัจจัย คือ ภิกษุณี

ทั้งหลายคลุกคลีกัน ไม่สละกรรมเพราะถูกสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปอยู่คลุกคลีกัน.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย

สมุฏฐานอันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท).

[๘๐๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะปัจจัย คือ ภิกษุณี

ส่งไปด้วยสั่งว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าอยู่

ต่างหากกันเลย ไม่สละกรรมเพราะถูกสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ณ ที่ไหน

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาส่งภิกษุณีไป ด้วยสั่งว่า แม่เจ้า

ทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าอยู่ต่างหากกันเลย.

มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง (เหมือนธุรนิกเขปสิกขาบท). . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 309

[๘๐๓) ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ เพราะปัจจัย คือ ขอ

นมส้มมาฉัน ณ ที่ไหน

ต. ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี

ถ. ทรงปรารภใคร

ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์

ถ. เพราะเรื่องอะไร

ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอนมส้มมาฉัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่

กายกับวาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่กาย

วาจา และจิต ๑.

กัตถปัญญัติวาร ที่ ๑ จบ

กติอาปัตติวาร ที่ ๒

ปาราชิก

[๘๐๔] ถาม เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย ภิกษุ

ภิกษุณีต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย ภิกษุ ภิกษุณี

ต้องอาบัติ ๕ ตัว ภิกษุณีกำหนัดยินดีการจับต้องอวัยวะใต้รากขวัญลงมา เหนือ

หัวเข่าขึ้นไป ของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด ต้องอาบัติปาราชิก ๑ ภิกษุถูกต้องกาย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 310

ด้วยกาย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ เอากายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติ

ถุลลัจจัย ๑ เอาของเนื่องด้วยกาย ถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๑

เป็นปาจิตตีย์ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ ๑.

เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย ภิกษุ ภิกษุณีต้องอาบัติ

๕ เหล่านี้.

[๘๐๕] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ปกปิดโทษ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ปกปิดโทษ ต้องอาบัติ ๔ คือ ภิกษุณี

ผู้รู้อยู่ว่า ภิกษุณีต้องธรรมมีโทษถึงปาราชิก ๑ สงสัยปกปิดต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑

ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ ปกปิดอาจารวิบัติต้องอาบัติ

ทุกกฏ ๑.

เพราะปัจจัย คือ ปิดโทษ ต้องอาบัติ ๔ เหล่านี้.

[๘๐๖] ถามว่า เพราะปัจจัย คือไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์

ครบ ๓ จบ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓

จบ ต้องอาบต ๕ คือ ภิกษุณีประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ไม่สละกรรม

เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ จบญัตติเป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง

เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาราชิก ๑ ภิกษุณีประพฤติ

ตามภิกษุผู้ทำลาย ไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ต้องอาบัติ

สังฆาทิเสส ๑ ไม่สละทิฏฐิลามก เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 311

เพราะปัจจัย คือ ไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ต้อง

อาบัติ ๕ เหล่านี้.

[๘๐๗] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ยังวัตถุที่ ๘ ให้เต็มต้องอาบัติ

เท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ยังวัตถุที่ ๘ ให้เต็ม ต้องอาบัติ ๓ คือ

ภิกษุณีอันบุรุษสั่งว่า จงมาสู่ที่ชื่อนี้ แล้วเดินไป ต้องอาบัติทุกกฎ ๑ เมื่อก้าว

เข้าสู่หัตถบาสของบุรุษต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ยังวัตถุที่ ๘ ให้เต็ม ต้องอาบัติ

ปาราชิก ๑.

เพราะปัจจัย คือ ยังวัตถุที่ ๘ ให้เต็ม ต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้.

ปาราชิก จบ

สังฆาทิเสส

[๘๐๘] เพราะปัจจัย คือภิกษุณีกล่าวให้ร้าย ก่อคดี ต้องอาบัติ ๓

คือบอกแก่คนเดียว ต้องอาบัติทุกกฎ ๑ บอกแก่คนที่สอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑

คดีถึงที่สุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๘๐๙] เพราะปัจจัย คือ รับหญิงโจรให้บวช ต้องอาบัติ ๓ คือ

จบญัตติ เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจา

ครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๘๑๐] เพราะปัจจัย คือ ภิกษุณีผู้เดียว ไปสู่ละแวกบ้าน ต้อง

อาบัติ ๓ คือ เดินไป ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เดินล่วงที่ล้อมไปก้าวหนึ่ง ต้อง

อาบัติถุลลัจจัย ๑ เดินล่วงที่ล้อมไป ๒ ก้าว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 312

[๘๑๑] เพราะปัจจัย คือ ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของ

คณะรับภิกษุณี ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกจากหมู่แล้วตามธรรม ตามวินัย

ตามสัตถุศาสน์ให้เข้าหมู่ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติ เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรม-

วาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๘๑๒] เพราะปัจจัย คือ ภิกษุณีพอใจรับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี

จากมือของบุรุษบุคคลผู้พอใจด้วยมือของตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๓ คือ รับ

ประเคนด้วยมุ่งจักเคี้ยวจักฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ทุก ๆ คำกลืน ๑ รับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

[๘๑๓] เพราะปัจจัย คือ ภิกษุณีกล่าวว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั้น

มีความพอใจก็ดี ไม่มีความพอใจก็ดี จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้า

ไม่มีความพอใจ เชิญเถิดเจ้าข้า บุรุษบุคคลนั้น จะถวายสิ่งใด เป็นของเคี้ยว

หรือของฉันก็ดี แก่แม่เจ้า ขอแม่เจ้าจงรับประเคนของสิ่งนั้นด้วยมือของตน

แล้วเคี้ยว หรือฉันเถิดดังนี้แล้วส่งไป ต้องอาบัติ ๓ คือ รับประเคนด้วยมุ่ง

จักเคี้ยว จักฉัน ตามคำของ ภิกษุณีนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ทุก ๆ คำกลืน ๑ ฉันเสร็จต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๘๑๔] เพราะปัจจัย คือ ภิกษุณีโกรธ ไม่สละกรรม เพราะถูกสวด

สมมุภาสน์ครบ ๓ จบ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติ เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรม-

วาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

[๘๑๕] เพราะปัจจัย คือ ภิกษุณีถูกตัดสินให้แพ้อธิกรณ์เรื่องหนึ่ง

โกรธไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบ

ญัตติ เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจา

ครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 313

[๘๑๖] เพราะปัจจัย คือภิกษุณีทั้งหลายคลุกคลีกัน ไม่สละกรรม

เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติเป็นทุกกฏ ๑ จบ

กรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติ

สังฆาทิเสส ๑.

[๘๑๗] เพราะปัจจัย คือ ภิกษุณีส่งภิกษุณีไปด้วยสั่งว่า แม่เจ้า

ทั้งหลาย ขอท่านจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าอยู่ต่างหากกันเลย ไม่สละกรรม

เพราะสวดสมนุภาสน์ ครบ ๓ จบ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติเป็นทุกกฏ ๑ จบ

กรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติ

สังฆาทิเสส ๑.

สังฆาทิเสส จบ

[๘๑๘] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มฉัน ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ

รับประเคนด้วยมุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ ทุก ๆ

คำกลืน ๑

เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ เหล่านี้.

กติอาปัตติวาร ที่ ๒ จบ

วิปัตติวาร ที่ ๓

[๘๑๙] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ การยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย

อาบัติทั้งหลายจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย อาบัติทั้งหลาย

จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือบางทีเป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ. . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 314

ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน อาบัติทั้งหลาย จัดเป็น

วิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉันอาบัติทั้งหลาย จัดเป็น

วิบัติอย่างหนึ่ง คือ อาจารวิบัติ บรรดาวิบัติ ๔.

วิปัตติวาร ที่ ๓ จบ

สังคหวาร ที่ ๔

[๘๒๐] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย อาบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย อาบัติสงเคราะห์

ด้วยกองอาบัติ ๕ บรรดาอาบัติ ๗ กอง คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาราชิก

บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกอง

อาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ. . .

ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน อาบัติสงเคราะห์ด้วยกอง

อาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน อาบัติสงเคราะห์ด้วย

กองอาบัติ ๒ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาฏิเทสนียะ

บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ.

สังคหวารที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 315

สมุฏฐานวารที่ ๕

[๘๒๑] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย อาบัติ

เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย อาบัติเกิด

ด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ บางทีเกิดแต่กาย

กับจิต มิใช่วาจา. . .

ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน อาบัติเกิดด้วยสมุฏฐาน

เท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน อาบัติเกิดด้วยสมุฏฐาน ๔

บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๑ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต บางที

เกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่

กายวาจา และจิต.

สมุฏฐานวารที่ ๕ จบ

อธิกรณวารที่ ๖

[๘๒๒] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย อาบัติ

จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาอธิกรณ์ ๔

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย อาบัติจัดเป็น

อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔. . .

ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน อาบัติจัดเป็นอธิกรณ์ไหน

บรรดาอธิกรณ์ ๔

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 316

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน อาบัติจัดเป็นอาปัตตา-

อธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔.

อธิกรณวารที่ ๖ จบ

สมถวารที่ ๗

[๘๒๓] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย อาบัติ

ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย อาบัติย่อม

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย

ปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑. . .

ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน อาบัติย่อมระงับด้วยสมถะ

เท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน อาบัติย่อมระงับด้วย

สมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑

บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

สมถวารที่ ๗ จบ

สมุจจัยวารที่ ๘

[๘๒๔] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย ภิกษุ

ภิกษุณีต้องอาบัติเท่าไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 317

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย ภิกษุ ภิกษุณี

ต้องอาบัติ ๕ คือ ภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการจับต้องอวัยวะใต้รากขวัญลงมา

เหนือหัวเข่าขึ้นไป ของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด ต้องอาบัติปาราชิก ๑ ภิกษุถูก

ต้องกายด้วยกาย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ เอากายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย

ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ เอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้อง

อาบัติทุกกฏ ๑ เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ ๑

เพราะปัจจัย คือ ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย ภิกษุ ภิกษุณี ต้อง

อาบัติ ๕ เหล่านี้ .

ถ. อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗

เกิดขึ้นด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖

เป็นอธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ต. อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็น

ศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๕ บรรดากองอาบัติ ๗

คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วย

กองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่

กายกับจิต มิใช่วาจา เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๓

บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางที

ด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 318

[๘๒๕] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับ

ประเคนด้วยมุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ

คำกลืน

เพราะปัจจัย คือ ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ เหล่านี้ .

ถ. อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ สงเคราะห์

ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดา

สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ เป็นอธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๓ ระงับด้วยสมถะ

เท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ต. อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติอย่างหนึ่ง บรรดาวิบัติ ๔ คือ

อาจารวิบัติ สงเคราะห์ด้วยกองวิบัติ ๒ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วย

กองอาบัติปาฏิเทสนียะ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ บางทีเกิด

แต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต บางทีเกิดแต่

กายกับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่กายวาจาและจิต เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา

อธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑

ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

สมุจจยวารที่ ๘ จบ

ปัจจัยวาร ๘ จบ

ภิกขุนีวิภังค์ ๑๖ มหาวาร จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 319

ปัญจมสมันตปาสาทิกา

ปริวารวัณณนา

วินัยใด อันพระเถระทั้งหลายจัดเข้า

หมวดโดยชื่อว่า บริวาร เป็นลำดับแห่ง

ขันธกะทั้งหลาย ในศาสนาของพระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้มีบริวารสะอาด มีกองธรรม

เป็นพระสรีระ, บัดนี้ข้าพเจ้าจักละนัยอันมา

แล้วในหนหลังเสีย จักทำการพรรณนาเนื้อ

ความที่ได้ตื้นแห่งวินัยที่ชื่อว่า บริวารนั้น.

[ใสฬสมหาวารวัณณนาในอุภโตวิภังค์ ]

เนื้อความสังเขปแห่งปุจฉา ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ยนฺเตน

ภควตา ฯ เป ฯ ปญฺตฺต ในคัมภีร์บริวารนั้น พึงทราบดังต่อไปนี้ก่อน-

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด ผู้อันพระธรรมเสนาบดีประดิษฐาน

ไว้แล้วซึ่งอัญชลี อันกำลังแห่งความเคารพและนับถือมากในพระสัทธรรมเชิด

ขึ้นแล้ว เหนือเศียรเกล้า ทูลวิงวอนแล้ว จึงทรงแต่งตั้งวินัยบัญญัติ อาศัย

อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ เพื่อความตั้งอยู่ยืนนานของพระศาสนา. พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้กาลที่บัญญัติสิกขาบทนั้น ๆ ผู้เห็นอำนาจประโยชน์

๑๐ ประการแห่งสิกขาบทบัญญัตินั้น ๆ อีกอย่างหนึ่ง ผู้รู้ด้วยญาณทั้งหลาย มี

ปุพเพนิวาสญาณเป็นต้น ผู้เห็นด้วยทิพยจักษุ ผู้รู้ด้วยวิชชา ๓ หรือด้วย

อภิญญา ๖ ผู้เห็นด้วยสมันตจักษุ อันหาสิ่งใดขัดขวางมิได้ในธรรมทั้งปวง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 320

ผู้รู้ด้วยปัญญา ซึ่งสามารถรู้ธรรมทั้งมวล ผู้เห็นแม้ซึ่งรูปทั้งหลาย ที่อยู่ใน

ภายนอกฝาเป็นต้น ซึ่งล่วงวิสัยจักษุแห่งสัตว์ทั้งปวง ด้วยมังสจักษุอันผ่องใส

ยิ่งนัก ผู้รู้ด้วยปัญญาเครื่องแทงตลอด มีสมาธิเป็นปทัฏฐาน ยังประโยชน์ตน

ให้สำเร็จ ผู้เห็นด้วยเทศนาปัญญา มีกรุณาเป็นปทัฏฐาน ยังประโยชน์ผู้อื่น

ให้สำเร็จ ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงบัญญัติปฐมปาราชิกใดไว้

ปฐมปาราชิกนั้น ทรงบัญญัติที่ไหน ? ทรงปรารภใคร จึงบัญญัติ ? ทรง

บัญญัติ เพราะเรื่องอะไร ? ในปฐมปาราชิกนั้น มีบัญญัติหรือ ? ฯลฯ

ปฐมปาราชิกนั้น ใครนำมาแล้ว ?

แต่คำว่า ยนฺเตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมา-

สมฺพุทฺเธน ปม ปารางชก นี้ เป็นแต่เพียงคำขยายของบทต้น ที่มาแล้ว

ในปุจฉาอย่างเดียว ในวาระคำถามและคำตอบเท่านั้น.

ก็แลในวาระคำถามและคำตอบนี้ พึงถามแล้วตอบทีละบท ๆ แม้อีก

เทียว โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ถามว่า ปฐมปาราชิกทรงบัญญัติที่ไหน ?

ตอบว่า ทรงบัญญัติที่กรุงเวสาลี ทรงปรารภใคร ? ทรงปรารภพระสุทินน์

กลันทบุตร.

ข้อว่า เอกา ปญฺตฺติ มีความว่า บัญญติที่ว่า ก็ภิกษุใดพึงเสพ

เมถุนธรรม ภิกษุนั้น เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ นี้เป็นบัญญัติอันหนึ่ง.

ข้อว่า เทฺว อนุปญฺตฺติโย มีความว่า อนุบัญญัติ ๒ นี้ ที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัส ด้วยอำนาจแห่งเรื่องนางลิงว่า อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ

และเรื่องภิกษุวัชชีบุตรว่า สิกฺข อปจฺจกฺขาย.

ปุจฉานี้ว่า ในปฐมปาราชิกนั้น มีบัญญัติหรือ ? มีอนุบัญญัติหรือ ?

มีอนุปันนบัญญัติหรือ ? เป็นอันวิสัชนาแล้ว ๒ ส่วน ด้วยคำมีประมาณเท่านี้

ก็แลเพื่อวิสัชนาส่วนที่ ๓ ท่านจึงกล่าวว่า ในปฐมปาราชิกนั้น ไม่มีอนุปันน-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 321

บัญญัติ. จริงอยู่ ที่ชื่อว่าอนุปันนบัญญัตินี้ ได้แก่ ข้อที่ทรงบัญญัติในเมื่อโทษ

ยังไม่เกิดขึ้น อนุปันนบัญญัตินั้นไม่มี นอกจากที่มาด้วยอำนาจครุธรรม ๘

ของภิกษุณีทั้งหลายเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในปฐมปาราชิกนั้น

ไม่มีอนุปันนบัญญัติ.

ข้อว่า สพฺพตฺถ ปญฺตฺติ นั้น ได้แก่ บัญญัติในที่ทั้งปวง ทั้ง

ในมัชฌิมประเทศ ทั้งในปัจจันตชนบททั้งหลาย.

จริงอยู่ ๔ สิกขาบทนี้ คือ อุปสมบทด้วยคณะมีพระวินัยธรเป็นที่ ๕,

รองเท้าตั้งแต่ ๔ ชั้นขึ้นไป, การอาบน้ำเป็นนิตย์, เครื่องลาดคือหนัง ทรง

บัญญัติเฉพาะในมัชฌิมประเทศเท่านั้น, เป็นอาบัติ เพราะสิกขาบทเหล่านั้น

ในมัชฌิมประเทศนี้เท่านั้น ในปัจจันตชนบททั้งหลาย หาเป็นอาบัติไม่.

สิกขาบทที่เหลือทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่า สัพพัตถบัญญัติ.

ข้อว่า สาธารณปญฺตฺติ นั้น ได้แก่ พระบัญญัติที่ทั่วถึงแก่

ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย.

จริงอยู่ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติเฉพาะแก่ภิกษุล้วน หรือภิกษุณีล้วน

เป็นอสาธารณบัญญัติ. ส่วนสิกขาบทที่ว่า ยา ปน ภิกฺขุนี ฉนฺทโส เมถุน

ธมฺม ปฏิเสเวยฺย อนฺตมโส ติรจฺฉานคเตปิ ปาราชิกา โหติ อสวาสา

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภภิกษุทั้งหลาย บัญญัติแล้ว แม้แก่ภิกษุณี

ทั้งหลาย ในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้ว จริงอยู่ เพียงแต่เรื่องเทียบเคียงเท่านั้น

ของภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้นไม่มี. แต่สิกขาบทมี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ปฐมปาราชิกเป็นสาธารณบัญญัติ.

แม้ในอุภโตบัญญัติ ก็มีนัยเหมือนกัน. จริงอยู่ ในอุภโตบัญญัตินี้

ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น. ปฐมปาราชิก จัดเป็นสาธารณบัญญัติ เพราะ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 322

เป็นสิกขาบทที่ทั่วถึงทั้งแก่ภิกษุทั้งหลาย ทั้งแก่ภิกษุณีทั้งหลาย จัดเป็นอุภโต-

บัญญัติ เพราะเป็นสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแก่ภิกษุและภิกษุณีทั้ง ๒ ฝ่าย ฉะนี้แล.

ส่วนในใจความ ไม่มีความต่างกันเลย.

บทว่า นิทาโนคธ มีความว่า ชื่อว่าหยั่งลงในนิทาน คือ นับเข้า

ในนิทาน เพราะอาบัติทั้งปวงนับเข้าในนิทานุทเทสนี้ว่า ยสฺส สิยา อาปตฺติ,

โส อาวิกเรยฺย.

สองบทว่า ทุติเยน อุทฺเทเสน มีความว่า ปฐมปาราชิกนี้หยั่งลง

ในนิทาน คือ แม้นับเนื่องในนิทานก็จริง แต่ย่อมไม่มาสู่อุเทศ โดยอุเทศ

ที่ ๒ เท่านั้น ดังนี้ว่า ตตฺรีเม จตฺตาโร ปาราชิกา ธมฺมา เป็นอาทิ.

สองบทว่า จตุนฺน วิปตฺตีน ได้แก่ บรรดาวิบัติทั้งหลายมีศีลวิบัติ

เป็นต้น.

จริงอยู่ อาบัติ ๒ กองต้น ชื่อว่าศีลวิบัติ. ๕ กองที่เหลือ ชื่อว่า

อาจารวิบัติ, มิจฉาทิฏฐิและอันตคาหิกทิฏฐิ ชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ สิกขาบท ๖ ที่

ทรงบัญญัติเพราะอาชีวะเป็นเหตุ ชื่อว่าอาชีววิบัติ. บรรดาวิบัติ ๔ เหล่านี้

ปาราชิกนี้ จัดเป็นศีลวิบัติ ด้วยประการฉะนี้.

ข้อว่า เอเกน สมุฏาเนน มีความว่า ปฐมปาราชิกนี้ เกิดขึ้น

ด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง มีองค์ ๒ (คือกายกับจิต).

จริงอยู่ ในองค์ ๒ นี้ จิตเป็นองค์, แต่ภิกษุย่อมต้องอาบัติด้วยกาย.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมเกิดขึ้นแต่กายและจิต.

ข้อว่า ทฺวีหิ สมเถหิ มีความว่า ภิกษุผู้ถูกถามอยู่พร้อมหน้ากัน

ว่า ท่านเป็นผู้ต้องหรือ ? จึงปฏิญญาว่า จริง ข้าพเจ้าเป็นผู้ต้องแล้ว. ความ

บาดหมาง ความทะเลาะ และความแก่งแย่ง เป็นอันสงบในทันทีนั้นเอง,

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 323

ทั้งอุโบสถหรือปวารณา ย่อมเป็นกรรมอันสงฆ์อาจกำจัดบุคคลนั้นเสียแล้ว

กระทำได้; เพราะเหตุนั้น อธิกรณ์นั้นจึงระงับด้วยสมถะ ๒ คือ สัมมุขาวินัย

๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑. และอุปัทวะบางอย่าง ย่อมไม่มี เพราะปัจจัยคือการ

กำจัดบุคคลนั้น.

ส่วนคำใดที่ท่านกล่าวไว้ ในปัญญัติวัคค์ถัดไปว่า กตเมน สมเถน

สมฺมติ คำนั้น ท่านกล่าวหมายเอาเนื้อความนี้ว่า อนาบัติอันภิกษุไม่อาจเพื่อ

ให้หยั่งลงสู่สมถะแล้วกระทำได้.

ข้อว่า ปญฺตฺติ วินโย มีความว่า บัญญัติมีมาติกาที่ตรัสไว้โดย

นัยมีคำว่า โย ปน ภิกฺขุ เป็นอาทิ เป็นวินัย.

บทภาชนะ เรียกว่า วิกัตติ คำว่า วิภัตติ นั่น เป็นชื่อแห่งวิภังค์.

ความละเมิด ชื่อว่า ความไม่สังวร. ความไม่ละเมิด ชื่อว่า สังวร.

ข้อว่า เยส วตฺตติ มีความว่า วินัยปิฎกและอรรถกถา ของ

พระมหาเถระเหล่าใด เป็นคุณแคล่วคล่องทั้งหมด.

ข้อว่า เต ธาเรนฺติ มีความว่า พระมหาเถระเหล่านั้น ย่อมทรง

ไว้ซึ่งปฐมปาราชิกนั่นทั้งโดยบาลี ทั้งโดยอรรถกถา.

จริงอยู่ เนื้อความแห่งปฐมปาราชิกนั่น อันบุคคลผู้ไม่รู้วินัยปิฎก

ทั้งหมด ไม่อาจทราบได้.

ข้อว่า เกนาภฏ มีความว่า ปฐมปาราชิกนี้ ใครนำมาด้วยอำนาจ

บาลี และด้วยอำนาจอรรถกา ตลอดกาลจนทุกวันนี้ ?

ข้อ ปรมฺปราภฏ มีความว่า อันพระมหาเถระทั้งหลายนำมาด้วย

สืบลำดับกัน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 324

ปฐมปาราชิกนี้ อันพระมหาเถระทั้งหลายนำมาด้วยสืบลำดับกันอันใด,

บัดนี้ เพื่อแสดงกิริยาที่สืบลำดับกันอันนั้น พระมหาเถระทั้งหลายครั้งโบราณ

จึงตั้งคาถาไว้โดยนัยมีคำว่า อุปาลิ ทาสโก เจว เป็นอาทิ. ในคาถา

เหล่านั้น คำใดอันข้าพเจ้าพึงกล่าว, คำนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ในนิทาน

วัณณนานั่นแล.

แม้ในปุจฉาวิสัชนาทั้งหลาย มีทุติยปาราชิกเป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย

โดยนัยนี้ ฉะนี้แล.

ปัญญัตติวารวัณณนา ในมหาวิภังค์ จบ

[ว่าด้วยวารต่าง ๆ]

ถัดจากนี้ไป วาร ๗ เหล่านี้ คือ กตาปัตติวาร มีประเภทเป็นต้นว่า

ภิกษุเสพเมถุนธรรมต้องอาบัติเท่าไร ? วิปัตติวาร มีประเภทเป็นต้นว่า อาบัติ

ของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม ย่อมจัดเป็นวิบัติเท่าไร แห่งวิบัติ ๔ อย่าง ?

สังคหวาร มีประเภทเป็นต้นว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม ท่าน

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร แห่งกองอาบัติ ๗ ? สมุฏฐานวาร มีประเภท

เป็นต้นว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม ย่อมเกิดขึ้น ด้วยสมุฏฐานเท่าไร

แห่งสมุฏฐานอาบัติ ๖ ? อธิกรณวาร มีประเภทเป็นต้นว่า อาบัติของภิกษุผู้

เสพเมถุนธรรม จัดเป็นอธิกรณ์ไหน แห่งอธิกรณ์ ๔ ? สมถวาร มีประเภท

เป็นต้นว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร แห่ง

สมถะ ๗ ? และสมุจจยวารอันเป็นลำดับแห่งสมถวารนั้น มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

ถัดจากนั้นไปอีก ๘ วาร ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ คือ ปัญญัตติวาร ๑

เนื่องด้วยปัจจัยอีก โดยนัยเป็นต้นว่า เพราะปัจจัยคือการเสพเมถุนธรรม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 325

ปาราชิกทรงบัญญัติที่ไหน ณ ดังนี้, ๗ วาร มีกตาปัตติวารเป็นอาทิ คล้ายวาร

ก่อน ๆ เนื่องด้วยปัจจัยนั้นเหมือนกัน. แม้วารทั้ง ๘ นั้น ก็มีเนื้อความตื้น

ทั้งนั้น.

วาร ๑๖ ในมหาวิภังค์ คือ ที่มีก่อน ๘ เหล่านี้อีก ๘ ข้าพเจ้าแสดง

แล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ถัดจากวารนั้นไป ๑๖ วาร มาแล้วแม้ในภิกขุนีวิภังค์ โดยนัยนั้น

เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบวาร ๓๒ ในอุภโตวิภังค์เหล่านี้โดยนัยบาลี

นั่นแล ด้วยประการฉะนี้.

จริงอยู่ ใน ๓๒ วารนี้ คำไร ๆ ที่นับว่ามิได้วินิจฉัยแล้วในหนหลัง

ย่อมไม่มี.

โสฬสมหาวาร วัณณนา

ในมหาวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 326

ย่อหัวข้อสมุฏฐาน

[๘๒๖] สังขารทั้งปวงที่ปัจจัยปรุง

แต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และ

บัญญัติ คือ พระนิพพาน ท่านวินิจฉัยว่า

เป็นอนัตตา เมื่อดวงจันทร์ คือ พระพุทธเจ้า

ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์ คือ พระ-

พุทธเจ้า ยังไม่อุทัยขึ้นมา เพียงแต่ชื่อของ

สกาคธรรมเหล่านั้น ก็ยังไม่มีใครรู้จัก พระ

มหาวีรเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีพระจักษุ ทรงทำ

ทุกรกิริยามีอย่างต่าง ๆ ทรงบำเพ็ญบารมี

แล้วเสด็จอุบัติในโลกเป็นไปกับพรหมโลก

พระองค์ทรงแสดงพระสัทธรรม อันดับเสีย

ซึ่งทุกข์ นำมาซึ่งความสุข พระอังคีรส

ศากยมุนี ผู้อนุเคราะห์แก่ประชาทุกถ้วน

หน้า อุดมกว่าสรรพสัตว์ ดุจราชสีห์ ทรง

แสดงพระไตรปิฎก คือ พระวินัย ๑ พระ-

สุตตันตะ ๑ พระอภิธรรม ๑ ซึ่งมีคุณมาก

อย่างนี้ พระสัทธรรมจะเป็นไปได้ ผิว่า

พระวินัย คือ อุภโตวิภังค์ ขันธกะ และ

มาติกา ที่ร้อยกรองด้วยคัมภีร์บริวาร เหมือน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 327

ดอกไม้ร้อยด้วยเส้นด้าย ยังดำรงอยู่ ใน

คัมภีร์บริวารนั้นแล สมุฏฐานท่านจัดไว้แน่

นอน ความเจือปนกัน และนิทานอื่นย่อม

เห็นได้ในพระสูตรข้างหน้า เพราะฉะนั้น

ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักด้วยดีใคร่ต่อธรรม พึง

ศึกษาคัมภีร์บริวารเถิด ในวันอุโบสถ ภิกษุ

และภิกษุณีย่อมสวดสิกขาบท อันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ในวิภังค์ทั้ง ๒

ข้าพเจ้าจักกล่าวสมุฏฐานตามที่รู้ ขอท่าน

ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ปฐมปาราชิกสิกขา-

บท ๑ ทุติยปาราชิกสิกขาบท ๑ ต่อแต่นั้น

สัญจริตสิกขาบท ๑ สมนุภาสนิสิกขาบท ๑

อติเรกจีวรสิกขาบท ๑ เอฬกโลมสิกขาบท

ทั้งหลาย ๑ ปทโสธัมมสิกขาบท ๑ ภูตาโรจน

สิกขาบท ๑ สังวิธานสิกขาบท ๑ เถยยสัตถ-

สิกขาบท ๑ เทศนาสิกขาบท ๑ โจรีวุฏฐาปน

สิกขาบท ๑ รวมกับการบวชสตรีที่มารดา

บิดา หรือสามีไม่อนุญาต จึงเป็นสมุฏฐาน

๑๓ ในอุภโตวิภังค์นี้ นัยแห่งสมุฏฐาน ๑๓

นี้ วิญญูชนทั้งหลาย คิดกันแล้ว ที่คล้าย

คลึงกัน ย่อมปรากฏในสมุฏฐานอันหนึ่ง ๆ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 328

ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน

[๘๒๗] สิกขาบทว่าด้วยเสพเมถุน ๑

สิกขาบทว่าด้วยปล่อยน้ำสุกกะ ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยเคล้าคลึงกาย ๑ อนิยตสิกขาบทที่หนึ่ง

๑ สิกขาบทว่าด้วยนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่

ก่อน ๑ สิกขาบทว่าด้วยฉันบิณฑบาตที่

ภิกษุณีแนะให้เขาถวาย ๑ สิกขาบทว่าด้วย

นั่งในที่ลับกับภิกษุณี ๑ สิกขาบทว่าด้วย

แทรกแซงในสโภชนสกุล ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยนั่งในที่ลับ ๒ สิกขาบท สิกขาบทว่าด้วย

จี้ด้วยนิ้วมือ ๑ สิกขาบทว่าด้วยหัวเราะใน

น้ำ ๑ สิกขาบทว่าด้วยให้ประหาร ๑

สิกขาบทว่าด้วยเงือดเงื้อหอกคือฝ่ามือ ๑

เสขิยวัตร ๕๓ สิกขาบท อธักขกสิกขาบท

ของภิกษุณี ๑ คามันตรคมสิกขาบท ๑

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีพอใจรับของฉันจาก

มือบุรุษ ๑ สิกขาบทว่าด้วยยินดีท่อนยางกลม ๑

กัน ๑ สิกขาบทว่าด้วยยินดีท่อนยางกลม ๑

สิกขาบทว่าด้วยยินดีชำระด้วยน้ำ ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยภิกษุอยู่จำพรรษาแล้วไม่หลีกไปสู่

จาริก ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีไม่ไปรับ

โอวาท ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีไม่ติดตาม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 329

ปวัตตินี ๑ สิกขาบทเหล่านี้รวม ๗๖ สิกขาบท

ท่านจัดไว้เป็นสิกขาบทมีกายกับจิตเป็น

สมุฏฐาน ทุก ๆ สิกขาบทมีสมุฏฐานอันหนึ่ง

เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท ฉะนั้น.

ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน จบ

ทุติยปาราชิกสมุฏฐาน

[๘๒๘] สิกขาบทว่าด้วยถือเอาสิ่ง

ของท่านเจ้าของมิได้ให้ ๑ สิกขาบทว่าด้วย

พรากกายมนุษย์ ๑ สิกขาบทว่าด้วยกล่าว

อวดธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยพูดเคาะด้วยวาจาชั่วหยาบ ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยกล่าวบำเรอตนด้วยกาม ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยตามกำจัดด้วยปาราชิกธรรมไม่มีมูล ๑

สิกขาบทว่าด้วยถือเอาเลศแต่งอธิกรณ์เรื่อง

อื่น ๑ อนิยตสิกขาบทที่สอง ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยให้จีวรแล้วชิงเอาคืนมา ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยน้อมลาภของสงฆ์มาเพื่อตน ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยพูดเท็จ ๑ สิกขาบทว่าด้วยด่า ๑

สิกขาบทว่าด้วยพูดส่อเสียดภิกษุ ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยบอกอาบัติชั่วหยาบ ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยขุดแผ่นดิน ๑ สิกขาบทว่าด้วยพราก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 330

ภูตคาม ๑ สิกขาบทว่าด้วยพูดกลบเกลื่อน ๑

สิกขาบทว่าด้วยโพนทะนา ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยฉุดคร่าออกจากวิหาร ๑ สิกขาบทว่าด้วย

เอาน้ำรด ๑ สิกขาบทว่าด้วยสอนภิกษุณี

เพราะเห็นแก่อามิส ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุ

ฉันเสร็จแล้ว ๑ สิกขาบทว่าด้วยการชวน

ภิกษุเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยการไม่เอื้อเฟื้อ ๑ สิกขาบทว่าด้วยการ

หลอกภิกษุให้กลัวผี ๑ สิกขาบทว่าด้วยการ

ซ่อนบริวาร ๑ สิกขาบทว่าด้วยการแกล้ง

พรากสัตว์จากชีวิต ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุ

รู้อยู่ใช้น้ำมันตัวสัตว์ ๑ สิกขาบทว่าด้วยฟื้น

อธิกรณ์เพื่อทำใหม่ ๑ สิกขาบทว่าด้วยบวช

คนมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ๑ สิกขาบทว่าด้วยการ

อยู่ร่วมกับภิกษุที่สงฆ์ยกวัตร ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยการสมโภคกับสามเณรที่ถูกนาสนะ ๑

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุผู้อันภิกษุทั้งหลายว่า

กล่าวโดยชอบธรรม ๑ สิกขาบทว่าด้วยธรรม

อันเป็นไปเพื่อความยุ่งยิ่ง ๑ สิกขาบทว่าด้วย

การแกล้งทำหลง ๑ สิกขาบทว่าด้วยการโจท

ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ๑ สิกขาบท

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 331

ว่าด้วยการแกล้งก่อความรำคาญ ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยการให้ฉันทะเพื่อกรรมที่เป็นธรรม

แล้วกลับบ่นว่า ๑ สิกขาบทว่าด้วยการให้

จีวรแล่วกลับบ่นว่า ๑ สิกขาบทว่าด้วยการ

น้อมลาภสงฆ์ไปเพื่อบุคคล ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยคำว่าบุรุษบุคคลนั่นจักทำอะไรแก่ท่าน

ได้ สิกขาบทว่าด้วยอธิษฐานอกาลจีวรเป็น

กาลจีวรแล้วให้แจก ๑ สิกขาบทว่าด้วยแลก

จีวรกับภิกษุณีแล้วชิงคืนมา ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยการยกโทษผู้อื่นด้วยความถือผิดเข้าใจ-

ผิด ๑ สิกขาบทว่าด้วยแช่งด้วยนรก ๑

สิกขาบทที่ว่าภิกษุณีใดพึงทำอันตรายแก่จีวร

ลาภของคณะ ๑ สิกขาบทที่ว่าภิกษุณีใดพึง

ห้ามการแจกจีวรอันเป็นธรรม ๑ สิกขาบท

ที่ว่าภิกษุณีใดพึงยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป

ด้วยหวังจะได้จีวรอันไม่แน่นอน ๑ สิกขาบท

ที่ว่าภิกษุณีใดพึงห้ามการเดาะกฐินที่เป็น

ธรรม ๑ สิกขาบททว่าภิกษุณีใดพึงแกล้งก่อ

ความไม่ผาสุกแก่ภิกษุณี ๑ สิกขาบทที่ว่า

ภิกษุณีใดให้ที่อยู่แล้ว ไม่พอใจฉุดคร่าภิกษุณี

ออก ๑ สิกขาบทที่ว่าภิกษุณีใดด่าหรือกล่าว

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 332

ขู่ภิกษุ ๑ สิกขาบทที่ว่าภิกษุณีใดดุร้ายกล่าว

ขู่คณะ ๑ สิกขาบทที่ว่าภิกษุณีใดหวงสกุล ๑

สิกขาบทที่ว่าด้วยการบวชสตรีมีครรภ์ ๑

สิกขาบทที่ว่าด้วยการบวชสตรีแม่ลูกอ่อน ๑

สิกขาบทที่ว่าภิกษุณีใดบวชสิกขมานาผู้ยังไม่

ได้ศึกษาในธรรม ๖ ครบ ๒ ปี ๑ สิกขาบท

ที่ว่าภิกษุณีใดบวชสิกขมานาผู้ศึกษาเสร็จใน

ธรรม ๖ ครบ ๒ ปี แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ๑

สิกขาบทที่ว่าด้วยการบวชสตรีคฤหัสถ์ ๓

สิกขาบท สิกขาบทที่ว่าด้วยการบวชเด็กหญิง

รวม ๓ สิกขาบท สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีมี

พรรษาหย่อน ๑๒ ให้อุปสมบท ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่

สงฆ์ยังไม่ได้สมมติให้อุปสมบท ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยภิกษุณีอันภิกษุณีทั้งหลายอย่าเพ่อก่อน

ท่านอย่ายังสิกขมานาให้อุปสมบท ๑ สิกขา-

บทว่าด้วยภิกษุณียังสิกขมานาผู้มีใจร้ายยัง

ชายให้ระทมโศกให้อุปสมบท ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยให้อุปสมบทด้วยมอบฉันทะที่ค้างคราว ๑

สิกขาบทว่าด้วยให้อุปสมบททุก ๆ ปี ๑

สิกขาบทว่าด้วยให้สิกขมานาบวชปีละ ๒ รูป

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 333

๑ สิกขาบทเหล่านี้รวม ๗๐ สิกขาบท จัด

เป็นสมุฏฐาน ๓ คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่

วาจา แต่วาจากับจิต มิใช่กาย และแต่ทวาร ๓

เหมือนทุติยปาราชิกสิกขาบท ฉะนั้น.

ทุติยปาราชิกสมุฏฐาน จบ

สัญจริตตสมุฏฐาน

[๘๒๙] สิกขาบทว่าด้วยชักสื่อ ๑

สิกขาบทว่าด้วยสร้างกุฏิ ๑ สิกขาบทว่าด้วย

สร้างวิหาร ๑ สิกขาบทว่าด้วยใช้ภิกษุณี

ซักจีวรเก่า ๑ สิกขาบทว่าด้วยรับจีวร ๑

สิกขาบทว่าด้วยใช้ภิกษุณีขอจีวร ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยยินดีเฉพาะผ้าอุตราสงค์และอันตร-

วาสก ๑ สิกขาบทว่าด้วยถึงความกำหนดใน

จีวร ๒ สิกขาบท สิกขาบทว่าด้วยส่งทรัพย์

สำหรับจ่ายจีวรด้วยทูต ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ให้ทำสันถัตเจือไหม ๑ สิกขาบทว่าด้วยให้

ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ให้ทำสันถัตถือเอาขนเจียมดำ ๒ ส่วน ๑

สิกขาบทว่าด้วยใช้สันถัตใหม่ให้ได้ ๖ ปี ๑

สิกขาบทว่าด้วยให้ทำสันถัตสำหรับนั่ง ๑

สิกขาบทว่าด้วยการทอดทิ้งอุเทศ ๑ สิกขาบท

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 334

ว่าด้วยรับรูปิยะ ๑ สิกขาบทว่าด้วยแลก-

เปลี่ยนและซื้อขายมีประการต่าง ๆ รวม ๒

สิกขาบท สิกขาบทว่าด้วยบาตรมีรอยร้าว

หย่อน ๕ แห่ง ๑ สิกขาบทว่าด้วยแสวงหา

ผ้าอาบน้ำฝน ๑ สิกขาบทว่าด้วยขอด้าย ๑

สิกขาบทว่าด้วยเข่าไปหาช่างหูกถึงความ

กำหนดในจีวร ๑ สิกขาบทว่าด้วยวางเช็ด

หน้าจนถึงกรอบประตู ๑ สิกขาบทว่าด้วยให้

จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ๑ สิกขาบทว่าด้วย

เย็บจีวรของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยปวารณาด้วยขนม ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ปวารณาด้วยปัจจัยสี่ ๑ สิกขาบทว่าด้วยการ

ตัดไฟผิง ๑ สิกขาบทว่าด้วยการเก็บรตนะ ๑

สิกขาบทว่าด้วยกล่องเข็ม ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยทำเตียง ๑ สิกขาบทว่าด้วยทำเตียงตั่ง

หุ้มนุ่น ๑ สิกขาบทว่าด้วยทำผ้าปูนั่ง ๑

สิกขาบทว่าด้วยทำผ้าปิดฝี ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยทำผ้าอาบน้ำฝน ๑ สิกขาบทว่าด้วยทำ

จีวรขนาดสุคตจีวร ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณี

ขอของอื่นแล้วขอของอื่นอัก ๑ สิกขาบทที่

ว่าภิกษุณีให้จ่ายของอื่นแล้วให้จ่ายของอื่น

อีก ๑ สิกขาบทที่ว่าภิกษุณีให้จ่ายของอื่น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 335

ด้วยบริขารของสงฆ์ ๒ สิกขาบท สิกขาบท

ที่ว่าภิกษุณีให้จ่ายของอื่นด้วยบริวารของคน

หมู่มาก ๑ สิกขาบทที่ว่าภิกษุณีให้จ่ายของ

อื่นด้วยบริขารส่วนบุคคล ๑ สิกขาบทที่ว่า

ภิกษุณีให้จ่ายผ้าห่มบาง ๑ สิกขาบทที่ว่า

ภิกษุณีให้จ่ายผ้าห่มหนา ๑ สิกขาบทที่ว่า

ภิกษุณีทั้งอาหารเป็นเดน ๒ สิกขาบท

สิกขาบทที่ว่าภิกษุณีให้ทำผ้าอาบน้ำเกิน

ประมาณ ๑ สิกขาบทที่ว่าภิกษุณีให้สมณ-

จีวร ๑ ธรรมคือสิกขาบทเหล่านี้ ๕๐ ถ้วน

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ คือ เกิดแต่กาย มิใช่

วาจาแลจิต เกิดแต่วาจา มิใช่กายแลจิต

เกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต เกิดแต่กายกับ

จิต มิใช่วาจา เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย

และเกิดด้วยทวาร ๓ อนึ่ง สิกขาบทเหล่านี้

มีสมุฏฐาน ๖ เช่นกับสัญจริตตสิกขาบท.

สัญจริตตสมุฏฐาน จบ

สมนุภาสสมุฏฐาน

[๘๓๐] สิกขาบทว่าด้วยทำลายสงฆ์

๑ สิกขาบทว่าด้วยประพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย

สงฆ์ ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุว่ายาก ๑ สิก-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 336

ขาบทว่าด้วยภิกษุประทุษร้ายสกุล ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยปิดอาบัติชั่วหยาบ ๑ สิกขาบทว่าด้วยไม่

สละทิฏฐิ ๑ สิกขาบทว่าด้วยไม่มอบฉันทะ ๑

สิกขาบทว่าด้วยหัวเราะ ๒ สิกขาบท สิกขาบท

ว่าด้วยพูดเสียงดัง ๒ สิกขาบท สิกขาบทว่า

ด้วยมีคำข้าวอยู่ในปากจักไม่พูด ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยภิกษุนั่งบนแผ่นดินแสดงธรรม ๑ สิก-

ขาบทว่าด้วยภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำแสดงธรรม

๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุยืนอยู่แสดงธรรม ๑

สิกขาบทว่าภิกษุไปข้างหลังแสดงธรรม ๑

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุเดินนอกทางแสดงธรรม

๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีปิดโทษ ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ถูกยกวัตร ๑

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุยินดีการจับต้อง ๑

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีรับภิกษุณีเข้าหมู่ ๑

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีบอกคืนพระพุทธเจ้า

เป็นต้น ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีถูกตัดสินให้

แพ้อธิกรณ์เรื่องหนึ่ง ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ภิกษุณีอยู่คลุกคลี ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณี

ประหารตนแล้วร้องไห้ ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ภิกษุณีเลาะจีวรของภิกษุณี ๑ สิกขาบทว่า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 337

ด้วยภิกษุณีไม่บำรุงสหชีวินีผู้ตกกระกำลำบาก

๑ สิกขาบทที่ตรัสซ้ำถึงภิกษุณีอยู่คลุกคลีกัน

๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีไม่ระงับอธิกรณ์ ๑

สิกขาบทที่ว่าด้วยภิกษุณีไม่บอกก่อนเข้าไป

สู่อาราม ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีไม่ปวาร-

ณาโดย ๓ สถาน ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณี

พึงหวังธรรม ๒ อย่างจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่ง

เดือน ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีไม่อนุเคราะห์

และไม่พาสหชีวินีไปจาริก ๒ สิกขาบท สิก-

ขาบทว่าด้วยภิกษุณีพูดให้สิกขมานาถวาย

จีวรแล้วจักบวชให้ ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณี

พูดให้สิกขมานาติดตาม ๑ ธรรม คือ สิกขา-

บทเหล่านี้รวม ๓ สิกขาบท เกิดแต่กาย

วาจาและจิต ทุก ๆ สิกขาบทมีสมุฏฐานอัน

หนึ่ง เหมือนสมนุภาสนสิกขาบท.

สมนุภาสสมุฏฐาน จบ

กฐินสมุฏฐาน

[๘๓๑] สิกขาบทว่าด้วยกฐินอันเดาะ

แล้ว ๓ สิกขาบท สิกขาบทว่าด้วยใช้อติเรก-

บาตร สิกขาบทที่หนึ่ง ๑ สิกขาบทว่าด้วย

เภสัช ๑ สิกขาบทว่าด้วยรับอัจเจกจีวร ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 338

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่ามี

ความรังเกียจเก็บไตรจีวรในละแวกบ้านได้ ๑

สิกขาบทว่าด้วยเมื่อหลีกไปไม่เก็บเตียงหรือ

ตั่ง ๒ สิกขาบท สิกขาบทว่าด้วยเข้าไปสู่

ที่อยู่ภิกษุณีแล้วสอน ๑ สิกขาบทว่าด้วยฉัน

โภชนะทีหลัง ๑ สิกขาบทว่าด้วยห้ามภัตร

แล้วฉันภัตตาหารไม่เป็นเดน ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยรับนิมนต์ ๑ สิกขาบทว่าด้วยวิกัปจีวร ๑

สิกขาบทว่าด้วยไม่ได้รับบอกก่อนเข้าไปใน

พระราชมณเฑียร ๑ สิกขาบทว่าด้วยเข้าบ้าน

ในเวลาวิกาล ๑ สิกขาบทว่าด้วยฉันภัตตา

หารที่ภิกษุณียืนสั่งเสียอยู่ ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ภิกษุณีอยู่เสนาสนะป่ารับของเคี้ยวเป็นต้น ๑

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีพูดให้ร้าย ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยภิกษุณีทำการสั่งสมบาตร ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยภิกษุณีเข้าไปสู่สกุลในเวลาก่อนอา-

หาร ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีเข้าไปสู่สกุล

ในเวลาหลังอาหาร ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณี

เข้าไปสู่สกุลในเวลาวิกาล ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ภิกษุณีผลัดเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิเกินกำหนด ๕

วัน ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีใช้จีวรผลัด-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 339

เปลี่ยน ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีไม่มอบ

หมายจีวรสับเปลี่ยนและที่พัก ๒ สิกขาบท

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีให้ผ่าฝีอันเกิดที่ง่าม

ขา ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีไม่บอกก่อนนั่ง

บนอาสนะข้างหน้าภิกษุ ๑ ธรรม คือ สิกขา-

บทเหล่านี้มี ๒๙ สิกขาบท เกิดแต่กายกับ

วาจา มิใช่จิต และเกิดแต่ทวารทั้ง ๓ ทุก ๆ

สิกขาบทรวมทั้งกฐินสิกขาบท มีสมุฏฐาน ๒

เสมอกัน.

กฐินสมุฏฐาน จบ

เอฬกโลมสมุฏฐาน

[๘๓๒] สิกขาบทว่าด้วยขนเจียม ๑

สิกขาบทว่าด้วยนอนร่วมกัน ๒ สิกขาบท

สิกขาบทว่าด้วยเตียงเท้าเสียบ ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยฉันอาหารในโรงทาน ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ฉันอาหารในเวลาวิกาล ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ฉันอาหารที่ทำการสั่งสม ๑ สิกขาบทว่าด้วย

รับประเคนไม้ชำระฟัน ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ให้อาหารแก่อเจลก ๑ สิกขาบทว่าด้วยไปดู

เสนาอันยกออกไปแล้ว ๑ สิกขาบทว่าด้วย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 340

อยู่ในกองทัพ ๑ สิกขาบทว่าด้วยไปสู่สนามรบ

๑ สิกขาบทว่าด้วยดื่มสุรา ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ยังไม่ถึงกึ่งเดือนอาบน้ำ ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ทำจีวรใหม่ให้เสียสี ๑ ปาฏิเทสนียะ ๒ สิก-

ขาบท สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีฉันกระเทียม

๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีเข้าไปปฏิบัติภิกษุผู้

กำลังฉัน ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีไปดู

ฟ้อนรำ ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีเปลือยกาย

อาบน้ำ ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณี ๒ รูป

ใช้ผ้าปูนอนและผ้าห่มผืนเดียวกัน นอนด้วย

กัน ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณี ๒ รูป นอน

เตียงเดียวกัน ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีไม่มี

พวกเที่ยวจาริกภายในแว่นแคว้น ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยภิกษุณีไม่มีพวกเที่ยวจาริกภายนอก

แว่นแคว้น ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีหลีกไป

สู่จาริกภายในพรรษา ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ภิกษุณีไปดูโรงละคร ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ภิกษุณีใช้สอยเก้าอี้นอน ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ภิกษุณีกรอด้าย ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีช่วย

ทำธุระของคฤหัสถ์ ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณี

ให้ของเคี้ยวด้วยมือของตนแก่ชาวบ้านเป็น-

ต้น ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีจำพรรษาใน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 341

อาวาสที่ไม่มีภิกษุ ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณี

ใช้ร่ม ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีไปด้วยยาน ๑

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีใช้เครื่องประดับเอว ๑

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีใช้เครื่องประดับสำ-

หรับสตรี ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีอาบน้ำ

ปรุงเครื่องประเทืองผิว ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ภิกษุณีอาบน้ำปรุงกำยานเป็นเครื่องอบ ๑

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีใช้ภิกษุณีนวด ๑ สิก-

ขาบทว่าด้วยภิกษุณีใช้สิกขมานานวด ๑ สิก-

ขาบทว่าด้วยภิกษุณีใช้สามเณรีนวด ๑ สิกขา-

บทว่าด้วยภิกษุณีใช้สตรีคฤหัสถ์นวด ๑ สิก-

ขาบทว่าด้วยภิกษุณีผู้เข้าบ้านไม่มีผ้ารัดถัน

ต้องอาบัติ ๑ รวมเป็น ๔๔ สิกขาบท เกิด

แต่กาย มิใช่วาจากับจิต เกิดแต่กายกับจิต

มิใช่วาจา ทุก ๆ สิกขาบท รวมทั้งเอฬก-

โลมสิกขาบท มีสมุฏฐาน ๒ เสมอกัน.

เอฬกโลมสมุฏฐาน จบ

ปทโสธัมมสมุฏฐาน

[๘๓๓] สิกขาบทว่าด้วยสอนธรรม

แก่อนุปสัมบันว่าพร้อมกัน ๑ สิกขาบทว่า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 342

ด้วยแสดงธรรมแก่มาตุคาม ยิ่งกว่า ๕-๖ คำ

เว้นแต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสา ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ยังไม่ได้รับสมมติสั่งสอนภิกษุณี ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยภิกษุได้รับสมมติแล้วสอนภิกษุณีเมื่อ

พระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยภิกษุณีเรียนและบอกติรัจฉานวิชา ๒

สิกขาบท สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีไม่ขอ

โอกาสก่อนถามปัญหา ๑ สิกขาบทเหล่านี้

รวม ๗ สิกขาบท เกิดแต่วาจา มิใช่กาย

และจิต เกิดแต่วาจากับจิต แต่มิใช่เกิดแต่

กาย ทุก ๆ สิกขาบท มีสมุฏฐาน ๒ เหมือน

ปทโสธัมมสมุฏฐาน ฉะนั้น.

ปทโสธัมมสมุฏฐาน จบ

อัทธานสมุฏฐาน

[๘๓๔] สิกขาบทว่าด้วยชักชวน

ภิกษุณีเดินทางไกล ๑ สิกขาบทว่าด้วย

ชักชวนภิกษุณีลงเรือลำเดียวกัน ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยขอโภชนะอันประณีต ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยชักชวนมาตุคามเดินทางด้วยกัน ๑

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีถอนขนในที่แคบ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 343

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีขอข้าวเปลือก ๑

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีรับนิมนต์แล้วฉัน

ภัตตาหาร ๑ ปาฏิเทสนียะของภิกษุณี ๘

สิกขาบท สิกขาบทเหล่านี้ร่วม ๑๕ สิกขาบท

เกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต เกิดแต่กาย

กับวาจา มิใช่เกิดแต่จิต เกิดแต่กายกับจิต

มิใช่เกิดแต่วาจา เกิดแต่กายวาจาและจิต

เป็น ๔ สมุฏฐาน พระพุทธเจ้าผู้มีพระญาณ

ทรงบัญญัติว่า มีวินัยเสมอกับอัทธาน-

สมุฏฐาน.

อัทธานสมุฏฐาน จบ

เถยยสัตถสมุฏฐาน

[๘๓๕] สิกขาบทว่าด้วยชักชวนพวก

เกวียนผู้เป็นโจรเดินทางร่วม ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยยืนแอบฟัง ๑ สิกขาบทว่าด้วยขอแกง

และข้าวสุก ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณียืน

ร่วมกับบุรุษในเวลาค่ำคืน ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยภิกษุณียืนร่วมกับบุรุษในโอกาสกำบัง ๑

สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณียินร่วมกับบุรุษในที่

กลางแจ้ง ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณียืนร่วม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 344

กับบุรุษในตรอกตัน ๑ รวมสิกขาบทเหล่านี้

๗ สิกขาบท เกิดแต่กายกับจิต มิใช่เกิด

แต่วาจา เกิดแต่ทวาร ๓ สิกขาบทเหล่านี้

มีสมุฏฐาน ๒ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ได้ทรงแสดงแล้วว่า

เหมือนเถยยสัตถสมุฏฐาน.

เถยยสัตถสมุฏฐาน จบ

ธัมมเทสนาสมุฏฐาน

[๘๓๖] พระตถาคตทั้งหลาย ย่อม

ไม่แสดงธรรมแก่คนมีร่มในมือ ๑ มีไม้พลอง

ในมือ ๑ มีศัสตราในมือ ๑ มีอาวุธในมือ ๑

สวมเขียงเท้า ๑ สวมรองเท้า ๑ ไปในยาน ๑

อยู่บนที่นอน ๑ นั่งรัดเข่า ๑ โพกศีรษะ ๑

คลุมศีรษะ ๑ รวมเป็น ๑๑ สิกขาบทพอดี

เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่เกิดแต่กาย ทุก ๆ

สิกขาบทมีสมุฏฐานอันหนึ่งเสมอกับธัมม-

เทสนาสมุฏฐาน.

ธัมมเทสนาสมุฏฐาน จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 345

ภูตาโรจนสมุฏฐาน

[๘๓๗] สิกขาบทว่าด้วยบอกอุต-

ริมนุสธรรมที่มีจริง เกิดแต่กายมิใช่เกิดแต่

วาจา มิใช่เกิดแต่จิต เกิดแต่วาจา มิใช่เกิด

แต่กาย และมิใช่เกิดแต่จิต เกิดแต่กายกับ

วาจา มิใช่เกิดแต่จิต ชื่อว่าภูตาโรจนสมุฏ-

ฐาน ย่อมเกิดแต่สมุฏฐาน ๓.

ภูตาโรจนสมุฏฐาน จบ

โจรีวุฏฐาปนสมุฏฐาน

[๘๓๘] สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีรับ

หญิงโจรให้บวช เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่

เกิดแต่กาย และเกิดโดยทวารทั้ง ๓ โจรี-

วุฏฐาปนสมุฏฐานนี้ พระพุทธเจ้าผู้ธรรม

ราชาทรงตั้งไว้ว่า มีสมุฏฐาน ๒ ไม่ซ้ำกัน.

โจรีวุฏฐาปนสมุฏฐาน จบ

อนนุญาตสมุฏฐาน

[๘๓๙] สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีบวช

สตรีที่มารดาบิดา หรือสามีมิได้อนุญาต เกิด

แต่กายวาจามิใช่เกิดแต่กาย และมิใช่เกิดแต่

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 346

จิต เกิดแต่กายกับวาจามิใช่เถิดแต่จิต เกิด

แต่วาจากับจิต มิใช่เกิดแต่กาย เกิดแต่กาย

วาจาจิต ๓ สถานจึงมีสมุฏฐาน ๔ ไม่ซ้ำกัน.

อนนุญาตสมุฏฐาน จบ

[๘๔๐] ก็สมุฏฐาน ๑๓ ทรงแสดง

ไว้ดีแล้วโดยย่อ ๆ เป็นเหตุทำความไม่หลง

อนุโลมแก่ธรรมที่เป็นแบบ วิญญูชนเมื่อทรง

จำสมุฏฐานนี้ไว้ได้ ย่อมไม่หลงในสมุฏฐาน

แล.

ย่อหัวข้อสมุฏฐาน จบ

สมุฏฐานสีส วัณณนา

ก็แลวินิจฉัยในสมุฏฐานกถา อันเป็นอันดับแห่งโสฬสมหาวารนั้น

พึงทราบดังนี้:-

คาถาว่า อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา มีความว่า บัญญัติคือนิพพาน

ท่านวินิจฉัยว่า เป็นอนัตตา. (เมื่อดวงจันทร์ คือ พระพุทธเจ้ายังไม่เกิดขึ้น

เมื่อดวงอาทิตย์ คือ พระพุทธเจ้ายังไม่อุทัยขึ้นมา).

บทว่า สภาคธมฺมาน ได้แก่ สังขตธรรมที่มีส่วนเสมอกันด้วยอาการ

มีอาการคือไม่เที่ยงเป็นต้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 347

ข้อว่า นามมตฺต น ายติ มีความว่า แม้เพียงแต่ชื่อ (แห่ง

สังขตธรรมเหล่านั้น) ย่อมไม่ปรากฏ.

บทว่า ทุกฺขหานึ ได้แก่ บำบัดทุกข์เสีย.

บาทคาถาว่า ขนฺธกา ยา จ มาติกา มีความว่า ขันธกะทั้งหลาย

และมาติกาเหล่าใด. อนึ่ง บาลีก็เหมือนกันนี้.

บาทคาถาว่า สมุฏฺานนิยโต กต มีความว่า สมุฏฐานที่ท่านทำ

ให้เป็นของแน่นอน คือ จัดไว้เป็นหลักที่แน่ ชื่อว่า นิยตสมุฏฐาน.

การสงเคราะห์ ๓ สิกขาบท คือ ภูตาโรจนสิกขาบท โจรีวุฏฐาปน-

สิกขาบท และอนนุญญาตสิกขาบท ด้วยคำว่า สมุฏฺานนยโต กต นั่น

อันบัณฑิตพึงพิจารณา.

จริงอยู่ ๓ สิกขาบทนี้เท่านั้น เป็นนิยตสมุฏฐาน คือ เป็นสมุฏฐาน

ที่ไม่เจือปนกับสมุฏฐานเหล่าอื่น.

บาทคาถาว่า สมฺเภทนิทานญฺจญฺ มีความว่า ความเจือปนกัน

และเหตุแม้อื่น, บัณฑิตพึงพิจารณา การถือเอาความเจือปนกันแห่งสมุฏฐาน

ใน ๒ คำนั้น ด้วยคำว่า สัมเภท. จริงอยู่ เว้น ๓ สิกขาบทนั้นเสีย สิกขาบท

ที่เหลือ จัดเป็นสัมภินนสมุฏฐาน. บัณฑิตพึงตรวจดูนิทาน กล่าวคือประเทศ

ที่บัญญัติ แห่งสิกขาบททั้งหลายด้วยคำว่า นิทาน.

บาทคาถาว่า สุตฺเต ทิสฺสนฺติ อุปริ มีความว่า ๓ ส่วนนี้ คือ

สมุฏฐานนิยม สัมเภท นิทาน แห่งสิกขาบททั้งหลาย ย่อมเห็นได้ คือ ย่อม

ปรากฏในสูตรเท่านั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 348

บรรดาสมุฏฐานนิยม สัมเภท และนิทานนั้น สมุฏฐานนิยมและ

สัมเภท ในปุริมนัยก่อน ย่อมปรากฏในคำว่า ย่อมเกิดขึ้นด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง

คือกายกับจิต เป็นอาทิ. ส่วนนอกจากนี้ ชื่อนิทาน ย่อมปรากฏในเบื้องหน้า

อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว ในกรุงเวสาลี ในกรุงราชคฤห์

ในกรุงสาวัตถี ในเมืองอาฬวี ในกรุงโกสัมพี ในแคว้นสักกะทั้งหลาย และใน

แคว้นภัคคะทั้งหลาย. บัณฑิตพึงทราบว่า คำนี้จักปรากฏในละครซึ่งมาข้างหน้า

เนื้อความแห่งคาถาว่า วิภงฺเค ทฺวีสุ เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้:-

ในวันอุโบสถ ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมสวดสิกขาบทใด อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ในวิภังค์ทั้ง ๒, ข้าพเจ้าจักกล่าวสมุฏฐานตาม

สมควรแก่สิกขาบทนั้น; ท่านทั้งหลายจงฟังคำนั้นของข้าพเจ้า.

บทว่า สญฺจริตฺตานุภาสญฺจ ได้แก่ สัญจริตตสิกขาบทและสมนุ-

ภาสนสิกขาบท.

สองบทว่า อติเรกกญฺจ จีวร ได้แก่ อติเรกจีวรสิกขาบท อธิบายว่า

กฐินสิกขาบท.

สองบทว่า โลมานิ ปทโสธมฺโม ได้แก่ เอฬกโลมสิกขาบททั้งหลาย

และปทโสธัมมสิกขาบท.

บทว่า ภูตสวิธาเนน จ ได้แก่ ภูตาโรจนสิกขาบท และการ

ชักชวนเดินทางไกล.

บทว่า เถยฺยเทสนโจรญฺจ ได้แก่ เถยยสัตถสิกขาบท การแสดง

ธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีร่มในมือ และโจรีวุฏฐาปนสิกขาบท.

สองบทว่า อนนุญฺาตาย เตรส มีความว่า สมุฏฐานเหล่านี้

รวมกับการบวชสตรีที่มารดาบิดาหรือสามีไม่อนุญาต จึงเป็นสมุฏฐาน ๑๓.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 349

บาทคาถาว่า สทิสา อิธ ทิสฺสเร มีความว่า ในอุภโตวิภังค์นี้

สมุฏฐานทั้งหลายที่คล้ายกัน แม้เหล่าอื่น ย่อมปรากฏ ในสมุฏฐานอันหนึ่ง ๆ

ในบรรดาสมุฏฐาน ๑๓ เหล่านี้.

[ว่าด้วยปฐมปาราชิกสมุฏฐาน]

บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า เมถุน สุกฺกสสคฺโค เป็นต้น เพื่อแสดง

สมุฏฐานเหล่านี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมถุน พึงทราบก่อน. สมุฏฐานใหญ่

อันหนึ่ง ชื่อว่าปฐมปาราชิก. สมุฏฐานที่เหลือ คล้ายกับปฐมปาราชิกสมุฏฐาน

นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกฺกสสคฺโค ได้แก่ สุกกวิสัฏฐิสมุฏฐาน

และกายสังสัคคสมุฏฐาน.

บาทคาถาว่า อนิยตา ปฐมิกา ได้แก่ อนิยตสิกขาบทที่ ๑.

บาทคาถาว่า ปุพฺพูปปริปาจิตา ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า ชาน

ปุพฺพูปคต ภิกฺขุ และภิกขุนีปริปาจิตปิณฑปาตสิกขาบท

บาทคาถาว่า รโห ภิกฺขุนิยา สห ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการนั่ง

ในที่ลับกับภิกษุณี.

บาทคาถาว่า สโภชเน รโห เทฺว จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วย

การนั่งแทรกแซง ในสโภชนสกุล และรโหนิสัชชสิกขาบททั้ง ๒.

บาทคาถา องฺคุลิ อุทเก หส ได้แก่ อังคุลีปโฏทกสิกขาบท

และอุทเกหัสสธัมมสิกขาบท.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 350

บาทคาถาว่า ปหาเร อุคฺคิเร เจว ได้แก่ ปหารทานสิกขาบท

และตลสัตติกอุคคิรณสิกขาบท.

บาทคำถาว่า เตปญฺาสา จ เสขิยา ได้แก่ เสขิยสิกขาบท ๕๓

มีปริมัณฑลนิวาสนสิกขาบทเป็นอาทิ ที่ท่านกล่าวไว้ในที่สุดแห่งขุททกวัณณนา

เหล่านี้ คือ:-

ปริมัณฑลกสิกขาบท ๒, สุปฏิจฉันนกสิกขาบท ๒,

สุสังวุตสิกขาบท ๒, โอกขิตตจักขุกสิกขาบท ๒, อุกขิตตกายก

สิกขาบท ๒, กายัปปจาลิกสิกขาบท ๒, พาหุปปจาลิกสิกขาบท

๒, สีสัปปจาลิกสิกขาบท ๒, ขัมภกสิกขาบท ๒, โอคุณฐิต-

สิกขาบท ๒, อุกกุฏิกสิกขาบท ๑, ปัลลัตถิกสิกขาบท ๑,

ลักกัจจปฏิคคหณสิกขาบท ๑, ปัตตสัญญิตาสิกขาบท ๑, สม-

สูปกสิกขาบท ๑, สมติตติกสิกขาบท ๑, สักกัจจภุญชิสส

สิกขาบท ๑, ปัตตสัญญีภุญชิสสสิกขาบท ๑, สปทานภุญชิสส

สิกขาบท ๑, สมสูปกภุญชิสสสิกขาบท ๑, ถูปิกตสิกขาบท ๑,

พยัญชนสิกขาบท ๑, อุชฌานสัญญิสิกขาบท ๑, นาติมหันตกวฬ

สิกขาบท ๑, มัณฑลอาโลปสิกขาบท ๑, อนาหตสิกขาบท ๑,

สัพพหัตถสิกขาบท ๑, ปิณฑุกเขปกสิกขาบท ๑, กวฬาวัจเฉทก

สิกขาบท ๑, อวคัณฑกสิกขาบท ๑, หัตถนิทธูนกสิกขาบท ๑,

สิตถาวการกสิกขาบท ๑, ชิวหานิจฉารกสิกขาบท ๑, จปุจปุ-

การกสิกขาบท ๑, สุรุสุรุการกสิกขาบท ๑, หัตถนิลเลห

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 351

สิกขาบท ๑, ปัตตนิลเลหสิกขาบท ๑, โอฎฐนิลเลหสิกขาบท ๑,

สามิสสิกขาบท ๑, สสิตถกสิกขาบท ๑, และปกิณณกสิกขาบท ๓

เหล่านี้ คือ ยืนถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ๑, ยืนหรือนั่งถ่ายอุจจาระ

ปัสสาวะบ้วนน้ำลายลงในของเขียว ๑, ยืนหรือนั่งถ่ายอุจจาระ

ปัสสาวะบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ๑.

บาทคาถาว่า อธกฺขคามาวสฺสุตา ได้แก่ อธักขกสิกขาบท

คามันตรคมนสิกขาบท และสิกขาบทว่าด้วยการที่ภิกษุณีผู้มีจิตกำหนัดรับของ

ควรเคี้ยว จากมือของบุรุษผู้มีจิตกำหนัด ของภิกษุณีทั้งหลาย.

บาทคาถาว่า ตลมตฺกญฺจ สุทฺธิกา ได้แก่ ตลฆาฏกสิกขาบท

ชตุมัตถกสิกขาบท และอุทกสุทธิกาสิกขาบท สาทิยนสิกขาบท

บาทคาถาว่า วสฺส วุตฺถา จ โอวาท ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า วสฺสฺ

วุตฺถา ฉ ปญฺจ โยชนานิ และสิกขาบทว่าด้วยการไม่ไปเพื่อโอวาท.

บาทคาถาว่า นานุพนฺเธ ปวตฺตินึ มีความว่า สิกขาบทเหล่านี้มี

๗๖ รวมทั้งวุฏฐาปิตปวัตนนนุพันธสิกขาบท.

สองบทว่า อิเม สิกฺขา ได้แก่ สิกขาบททั้งหลายเหล่านี้. ศัพท์ว่า

อิเม ท่านทำให้ผิดลิงค์เสีย.

บาทคาถาว่า กายมานสิกา กตา ความว่า สิกขาบทเหล่านี้ ท่าน

จัดเป็นสิกขาบทมีกายกับจิตเป็นสมุฏฐาน.

[ว่าด้วยทุติยปาราชิกสมุฏฐาน]

บทว่า อทินฺน นี้ พึงทราบก่อน. คำว่าอทินนาทาน หรือคำว่า

ทุติยปาราชิก เป็นสมุฏฐานใหญ่อันหนึ่ง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 352

บทที่เหลือ เป็นเช่นกับอทินนาทานนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิคฺคหุตฺตรึ ได้แก่ มนุสสวิคคหสิกขาบท

และอุตตริมนุสสธัมมสิกขาบท.

สองบทว่า ทุฏฺฐุลฺลา อตฺตกามิน ได้แก่ ทุฏฐุลลวาจสิกขาบท

และอัตตกามปาริจริยสิกขาบท.

สองบทว่า อมูลา อญฺภาคิยา ได้แก่ ทุฏฐโทสสิกขาบททั้ง ๒.

สองบทว่า อนิยตา ทุติยิกา ได้แก่ อนิยตสิกขาบทที่ ๒.

สองบทว่า อจฺฉินฺเท ปริณามเน ได้แก่ การให้จีวรเองแล้ว

ชิงเอามา และการน้อมลาภของสงฆ์มาเพื่อตน.

บาทคาถาว่า มุสาโอมสเปสุณา ได้แก่ มุสาวาทสิกขาบท ๑

โอมสวาทสิกขาบท ๑ ภิกขุเปสุญญสิกขาบท ๑.

สองบทว่า ทุฏฐุลฺลา ปวีขเณ ได้แก่ ทุฏฐุลลาปัตติอาโรจน-

สิกขาบท ๑ ปฐวีขณนสิกขาบท ๑.

สามบทว่า ภูต อญฺาย อุชฺฌเป ได้แก่ ภูตคามสิกขาบท

อัญญวาทกสิกขาบท และอุชฌาปนกสิกขาบท.

สองบทว่า นิกฑฺฒน สิญฺจนญฺจ ได้แก่ วิหารโตนิกัฑฒนสิกขาบท ๑

อุทเกนติณาทิสิญจนสิกขาบท ๑.

สองบทว่า อามิสเหตุ ภุตฺตาวี ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า อามิสเหตุ

ภิกฺขุนิโย โอวทนฺติ ๑, สิกขาบทว่าด้วยปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จแล้ว ด้วย

ขอเคี้ยวเป็นต้น อันมิใช่เดน ๑.

สามบทว่า เอหิ อนาทริ ภึสา ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า เอหาวุโส

คาม วา เป็นต้น ๑, อนาทริยสิกขาบท ๑, ภิกษุภิงสาปนกสิกขาบท ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 353

สองบทว่า อปนิเธ จ ชีวิต ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการซ่อน

บริขารมีบาตรเป็นต้น ๑, สิกขาบทว่าด้วยการแกล้งปลงชีวิตสัตว์ ๑.

สามบทว่า ชาน สปฺปาณก กมฺม ได้แก่ ชานังสัปปาณกอุทก

สิกขาบท ๑, ปุนกัมมายุโกฏนสิกขาบท ๑.

บทว่า อูนสวาสนาสนา ได้แก่ อูนวีสติวัสสสิกขาบท ๑, สิกขาบท

ว่าด้วยการอยู่ร่วมกับภิกษุที่ถูกสงฆ์ยกวัตร ๑, นาสิตกสามเณรสัมโภคสิกขาบท ๑.

บทว่า สทธมฺมิกวิเลขา ได้แก่ สหธัมมิกวุจจมานสิกขาบท ๑

สิกขาบทที่มาว่า วิเลขาย สวตฺตนฺติ ๑.

สองบทว่า โมโห อมูลเกน จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยเป็น

ปาจิตตีย์ เพราะความเป็นผู้แสร้งทำหลง ๑, สิกขาบทว่าด้วยการโจทด้วยอาบัติ

สังฆาทิเสสไม่มีมูล ๑.

สามบทว่า กุกฺกุจฺจ จีวร ทตฺวา ได้แก่ กุกกุจจอุปปาทน สิกขาบท

๑, สิกขาบทว่าด้วยการให้ฉันทะเพื่อกรรมที่เป็นธรรมแล้วกลับบ่นว่า ๑,

สิกขาบทว่าด้วยการให้จีวรแล้วกลับบ่นว่า ๑.

สองบทว่า ปริณเมยฺย ปุคฺคเล ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยน้อมลาภ

สงฆ์ไปเพื่อบุคคล.

บาทคาถาว่า กินฺเต อกาลอจฺฉินฺเท ได้แก่ สิกขาบทที่มาว่า

พระผู้เป็นเจ้า บุรุษบุคคลนั่น จักทำประโยชน์อะไรแก่ท่าน ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยการอธิษฐานอกาลจีวร ว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกัน ๑, สิกขาบทว่า

ด้วยการแลกจีวรกับภิกษุณีแล้วชิงเอามา ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 354

สองบทว่า ทุคฺคหิ นิรเยน จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการยกโทษ

ผู้อื่น ด้วยเครื่องที่จับไม่ถนัด ใคร่ครวญไม่ดี ๑ สิกขาบทว่าด้วยการแช่ง

ด้วยนรก หรือพรหมจรรย์ ๑.

สามบทว่า คณ วิภงฺค ทุพฺพล ได้แก่ สิกขาบทที่ตรัสว่า ภิกษุณี

ใด พึงทำอันตรายแก่จีวรลาภของคณะ ๑ ที่ตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงห้ามการ

แจกจีวรที่เป็นธรรม ๑ ที่ตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงก้าวล่วงจีวรกาลสมัยเสีย ด้วย

จำนงเฉพาะซึ่งจีวรอันไม่มั่นคง ๑.

บาทคาถาว่า กินาผาสุปสฺสย ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีโด พึงห้ามการรื้อกฐินที่เป็นธรรม ๑ ภิกษุณีใด พึง

แกล้งทำความไม่สำราญแก่ภิกษุณี ๑ ภิกษุณีใดให้ที่อยู่แก่ภิกษุณีแล้ว โกรธ

ไม่พอใจ พึงฉุดคร่านางก็ดี ๑.

สองบทว่า อกฺโกสจณฺฑี มจฺฉรี ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงด่าก็ดี ซึ่งภิกษุ ๑ ภิกษุณีใด เป็นผู้ดุร้าย พึง

กล่าวขู่คณะ ๑ ภิกษุณีใด พึงเป็นผู้หวงตระกูล ๑.

สองบทว่า คพฺภินี จ ปายนฺติยา ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังสตรีมีครรภ์ให้บวช ๑ ภิกษุณีโด พึง

ยังสตรีผู้ยังต้องให้บุตรดื่มนมให้บวช ๑.

หลายบทว่า เทฺว วสฺสา สิกฺขา สงฺเฆน ได้แก่ สิกขาบทที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาใน

ธรรม ๖ ครบ ๒ ปี ให้บวช ๑ ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานาผู้ศึกษาเสร็จ

แล้วในธรรม ๖ แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ให้บวช ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 355

สองบทว่า ตโย เจว คิหิคตา ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังสตรีมีคฤหัสถ์ ผู้มีอายุหย่อน ๑๒ ปี ให้บวช ๑

ภิกษุณีใด พึงยังสตรีคฤหัสถ์ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปีแล้ว แต่ยังไม่ศึกษาในธรรม

๖ ครบ ๒ ปี ให้บวช ๑ ภิกษุณีใด พึงยังสตรีคฤหัสถ์ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี

แล้ว ได้ศึกษาในธรรม ๖ ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ ให้บวช ๑.

สองบทว่า กุมารีภูตา ติสฺโส จ ได้แก่ สตรีผู้เป็นนางกุมารี

๓ จำพวก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยนัยมีคำว่า ภิกษุณีใด พึงยังสตรีผู้เป็น

นางกุมารี มีอายุหย่อน ๒๐ ปีให้บวช เป็นต้น.

บทว่า อูนทฺวาทสสมฺมตา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ภิกษุณีใด มีพรรษาหย่อน ๑๒ พึงเป็นอุปัชฌาย์ยังนางสิกขมานาให้

อุปสมบท ๑ ภิกษุณีโด มีพรรษาครบ ๑๒ แล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ พึง

เป็นอุปัชฌาย์ ยังนางสิกขมานาให้อุปสมบท ๑.

สองบทว่า อลนฺตา ว โสกาวสฺส ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ผู้อันนางภิกษุณีใดกล่าวอยู่ว่า อย่าเพ่อก่อน

แม่คุณ เธออย่ายังนางสิกขมานา ให้บวช ดังนี้เป็นต้น ๑ ภิกษุณีใด พึงยัง

นางสิกขมานา ผู้มีใจร้ายยังความโศกให้ครอบงำใจบุรุษให้บวช ๑.

สามบทว่า ฉนฺทา อนุวสฺสา จ เทฺว ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานาให้อุปสมบทด้วยการ

มอบฉันทะที่ตกค้าง ๑ ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานา ให้อุปสมบทตามปี ๑

ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานา ให้อุปสมบทปีละ ๒ รูป ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 356

สามบทว่า สมุฏฺานา ติกา กตา มีความว่า ๗ สิกขาบทนี้จัด

เป็นติกสมุฏฐาน (คือ เกิดโดยทวาร ๓).

[ว่าด้วยสัญจริตตสมุฏฐาน]

สามบทว่า สญฺจริ กุฏิ วิหาโร ได้แก่ สัญจริตตสิกขาบท ๑

สัญญาจิกายกุฏิกรณสิกขาบท ๑ มหัลลกวิหารกรณสิกขาบท ๑.

สองบทว่า โธวนญฺจ ปฏิคฺคโห ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการให้

ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ชักจีวรเก่า ๑ จีวรปฏคคหณสิกขาบท ๑.

สองบทว่า วิญฺตฺตุตฺตริ อภิหฏฐุ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการออก

ปากขอจีวรกะคฤหบดีผู้มิใช่ญาติ ๑ สิกขาบทว่าด้วยยินดียิ่งกว่าอุตราสงค์ และ

อันตรวาสกนั้น ๑.

สองบทว่า อุภินฺน ทูตเกน จ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่มาว่า

จีวรเจตาปน อุปกฺขฏ โหติ และสิกขาบทว่าด้วยค่าจีวรที่เขาส่งไปด้วยทูต.

หลายบทว่า โกสิยา สุทฺธเทฺวภาคา ฉพฺพสฺสานิ นิสีทน

ได้แก่ ๕ สิกขาบท มีสิกขาบทที่ว่า โกสิยมิสฺสก สนฺถต เป็นต้น.

สองบทว่า ริญฺจนฺติ รูปิกา เจว ได้แก่ เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท

ที่มาในคัมภีร์วิภังค์ว่า ริญฺจนฺติ อุทฺเทส ๑ รูปียปฏิคคหณสิกขาบท ๑.

สองบทว่า อุโภ นานปฺปการกา ได้แก่ ๒ สิกขาบท คือ รูปิย-

สังโวหารสิกขาบทและกยวิกกยสิกขาบท.

สองบทว่า อูนพนฺธนวสฺสิกา ได้แก่ อูนปัญจพันธนปัตตสิกขาบท

๑ วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 357

สองบทว่า สุตฺต วิกปฺปเนน จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยออกปาก

ขอด้ายให้ช่างหูกทอจีวร ๑ สิกขาบทว่าด้วยการเข้าไปหาช่างหูกถึงความกำหนด

ในจีวร ๑.

บทว่า ทฺวารทานสิพฺพินี จ ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า ด้วยวางเช็ดหน้าเพียงไรแต่กรอบแห่งประตู ๑ ภิกษุณีใด พึงให้

จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ๑ ภิกษุใด พึงเย็บจีวรของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ๑.

บทว่า ปูวปจฺจยโชต จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการปวารณาด้วย

ขนมหรือด้วยสัตตุผง เพื่อนำไปตามปรารถนา ๑ จาตุมาสปัจจยปวารณา-

สิกขาบท ๑ โชติสมาทหนสิกขาบท ๑.

หลายบทว่า รตน สูจ มญฺโจ จ ตุล นิสีทนกณฺฑ จ วสฺสิกา จ

สุคเตน ได้แก่ รตนสิกขาบท ๑ และ ๗ สิกขาบท มีสูจิฆรสิกขาบทเป็นต้น.

หลายบทว่า วิญฺตฺติ อญฺเจตาปนา, เทฺวสงฺฆิกา มหาชนิกา

เทฺว ปุคฺคลา ลหุกา ครุ ได้แก่ ๙ สิกขาบท มีสิกขาบทว่า อนึ่ง ภิกษุณี

ใด พึงออกปากขอกะคนอื่นแล้ว ออกปากขอกะคนอื่นอีก เป็นต้น.

สามบทว่า เทฺว วิฆาสา สาฏิกา จ ได้แก่ วิฆาสสิกขาบททั้ง

๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงทิ้งเองก็ดี พึงยังผู้อื่นให้ทิ้ง

ก็ดี ซึ่งอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือหยากเยื่อ หรืออาหารที่เป็นเดน ภายนอก

ฝาก็ตาม ภายนอกกำแพงก็ตาม ๑ ภิกษุณีใดพึงทิ้งเองก็ดี พึงยังผู้อื่นให้ทิ้งก็ดี

ซึ่งอุจจาระหรือปัสสาวะหรือหยากเยื่อ หรืออาหารที่เป็นเดน ในของสดเขียว ๑

และอุทกสาฏิกสิกขาบท.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 358

คำว่า สมณจีวเรน จ นั่น ท่านกล่าวหมายเอาพระบาลีนี้ว่า

สมณจีวร ทเทยฺย.

[ว่าด้วยสมนุภาสนสมุฏฐาน]

บทว่า เภทานุตฺตทุพฺพจทูสทุฏฐุลฺลทิฏฺิ จ ได้แก่ สังฆเภท-

สิกขาบท ๑ เภทานุวัตตกสิกขาบท ๑ ทุพพจสิกขาบท ๑ กุลทูสกสิกขาบท ๑

ทุฎฐุลลาปัตติปฏิจฉาทนสิกขาบท ๑ ทิฏฐิอัปปฏินิสสัชชสิกขาบท ๑.

สามบทว่า ฉนฺท อุชฺชคฺฆิกา เทฺว จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วย

ไม่มอบฉันทะไปเสีย ๑ และ ๒ สิกขาบทว่าด้วยการไปและการนั่งในละแวก

บ้าน และทั้งหัวเราะลั่น.

บทว่า เทฺวปฺปสทฺทา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่ว่า เราจักเป็นผู้มีเสียง

น้อย ไปในละแวกบ้าน ๑ นั่งในละแวกบ้าน ๑.

บทว่า น พฺยาหเร ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า เราจักไม่พูดด้วยปากที่

ยังมีคำข้าว.

หลายบทว่า ฉมา นีจาสเน าน, ปจฺฉโต อุปฺปเถน จ

ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุนั่งที่แผ่นดิน แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่ง

บนอาสนะ ๑ นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง

๑ ผู้ยืนอยู่ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่ง ๑ ผู้ไปข้างหลัง แสดงธรรม

แก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ไปข้างหน้า ๑ ผู้เดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่บุคคลไม่

เป็นไข้ ผู้ไปในทาง ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 359

สองบทว่า วชฺชานุวตฺติ คหณา ได้แก่ ปาราชิก ๓ สิกขาบท

กล่าวคือ วัชชปฏิจฉาทนสิกขาบท ๑ อุกขิตตานุวัตตนสิกขาบท ๑ หัตถคห-

ณาทิสิกขาบท ๑

สองบทว่า โอสาเร ปจฺจาจิกฺขนา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ไม่บอกเล่าสงฆ์ผู้กระทำ ไม่ทราบความพอใจ

ของคณะ. พึงถอนโทษ (ภิกษุณี ผู้อันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงยกวัตรแล้ว โดย

ธรรมโดยวินัย โดยสัตถุศาสน์) ๑. ภิกษุณีใดโกรธเคือง มีใจไม่แช่มชื่น

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ากล่าวคืนพระพุทธเจ้า ดังนี้เป็นต้น ๑.

หลายบทว่า กิสฺมึ สสฏฺา เทฺว วธิ ได้แก่ หลายสิกขาบทที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด อันสงฆ์ทำภายหลัง ในอธิกรณ์บางเรื่อง

เท่านั้น ดังนี้ ๑ อนึ่ง ภิกษุณีทั้งหลายเป็นผู้คลุกคลีกันอยู่ดังนี้ ๑ อนึ่ง

ภิกษุณีใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คลุกคลีกันอยู่เถิด แม่เจ้า

ดังนี้เป็นต้น ๑ ภิกษุณีใด พึงประหารข่วนตัวแล้วร้องไห้ดังนี้ ๑.

สองบทว่า วิสิพฺเพ ทุกฺขิตาย จ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงเลาะเองก็ดี ให้ผู้อื่นเลาะก็ดี ซึ่งจีวรของ

ภิกษุณี ๑ ภิกษุณีใด พึงไม่บำรุงเองก็ดี ไม่พึงให้ผู้อื่นบำรุงก็ดี ซึ่งสหชีวินี

ผู้ถึงทุกข์ ๑.

หลายบทว่า ปุน สสฏฺา น วูปสเม ได้แก่ สังสัฏฐสิกขาบท

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซ้ำอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงอยู่คลุกคลีด้วยคหบดีก็ดี

ด้วยบุตรของคหบดีก็ดี ๑ และสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด

ผู้อันภิกษุณีกล่าวอยู่ว่า มาเถิด แม่เจ้าท่านจงยังอธิกรณ์นี้ให้ระงับ ดังนี้ รับ

แล้วว่า สาธุ ภายหลังเธอผู้ไม่มีอันตราย พึงไม่ยังอธิกรณ์ให้ระงับ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 360

สองบทว่า อารามญฺจ ปวารณา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด รู้อยู่ ซึ่งอารามอันมีภิกษุ ไม่ไต่ถามก่อน พึงเข้าไป

ดังนี้ ๑ ภิกษุณีใด จำพรรษาแล้ว พึงไม่ปวารณาด้วยสถาน* ๓ . . .ให้อุภโต

สงฆ์ ดังนี้ ๑.

หลายบทว่า อนฺวชฑฺฒมาส สหชีวินี เทฺว ได้แก่ สิกขาบทที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธรรม ๒ อย่าง (คือ อุโบสถ ๑ การเข้าไปหา

เพื่อโอวาท ๑) อันภิกษุณีพึงหวังเฉพาะจากสงฆ์ทุกกึ่งเดือน และ ๒ สิกขาบท

ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังสหชิวินีให้บวชแล้ว ไม่อนุเคราะห์

ตลอด ๒ พรรษา ๑ ภิกษุณีใด พึงยังสหชีวินีให้บวชแล้ว ไม่พาไปเอง ๑.

สองบทว่า จีวร อนุพนฺธนา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงพูดกะนางสิกขมานาว่า แน่ะแม่เจ้า ถ้าว่า เธอจักให้

จีวรแก่เราไซร้ ด้วยอย่างนั้น เราจักยังเธอให้อุปสมบท ดังนี้เป็นต้น ๑ ภิกษุณี

ใด พึงพูดกะนางสิกขมานาว่า แน่ะแม่เจ้า ถ้าว่า เธอจักติดตามเราไปตลอด

๒ พรรษาไซร้ ด้วยอย่างนั้น เราจักยังเธอให้อุปสมบท ดังนี้ ๑.

ธรรม ๓๗ เหล่านี้ (ทั้งหมด เป็นสมุฏฐานอันหนึ่ง มีองค์ ๓ คือ

กาย วาจา จิต เหมือนสมนุภาสนสมุฏฐาน).

[ว่าด้วยกฐินสมุฏฐาน]

สามบทว่า อุพฺภต กิน ตีณิ ได้แก่ ๓ สิกขาบทข้างต้นที่พระผู้มี

พระภาคตรัสว่า ครั้นจีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุรื้อเสียแล้ว.

* คือ ทิฏฺเน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 361

สองบทว่า ปม ปตฺตเภสชฺช ได้แก่ ปัตตสิกขาบทที่ ๑ ที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงทรงอดิเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง และ

สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เภสัชอันควรลิ้ม.

สองบทว่า อจฺเจกกญฺจาปิ สาสงฺก ได้แก่ อัจเจกจีวรสิกขาบท ๑

สาสังกสิกขาบท อันเป็นลำดับแห่งอัจเจกจีวรสิกขาบทนั้นเอง ๑.

สองบทว่า ปกฺกมนฺเตน วา ทุเว ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ในภูตคามวรรคว่า เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ซึ่งเตียง

เป็นต้นนั้น.

สองบทว่า อุปสฺสย ปรมฺปรา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณีแล้ว พึงสอนภิกษุณีทั้งหลาย ๑ เป็น

ปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะทีหลัง ๑.

สองบทว่า อนติริตฺต นิมนฺตนา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุใด ฉันเสร็จห้ามเสียแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของ

เคี้ยวก็ตาม ซึ่งของฉันก็ตาม อันไม่เป็นเดน ๑ ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มี

ภัตรอยู่แล้ว ๑.

สามบทว่า วิกปฺป รญฺโ วิกาเล ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุใด วิกัปจีวรเอง . . . ๑ ของพระราชาผู้กษัตริย์ ๑

ภิกษุใด . . . พึงเข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล ๑.

บทว่า โวสาสารญฺเกน จ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า ถ้าภิกษุณีมายืนยันสั่งเสียอยู่ในที่นั้น ๑ ภิกษุใดอยู่ในเสนาสนะป่า

เห็นปานนั้น รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ก่อน ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 362

สองบทว่า อุสูยา สนฺนิจยญฺจ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด มักพูดด้วยความริษยา ๑ ภิกษุณีใด พึงทำการ

สะสมบาตร ๑.

หลายบทว่า ปุเร ปจฺฉา วิกาเล จ ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงเข้าไปสู่สกุลทั้งหลาย ในเวลาก่อน

อาหาร ดังนี้ ๑ อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงเข้าไปสู่สกุลทั้งหลายในเวลาภายหลัง

อาหาร ดังนี้ ๑ อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงเข้าไปสู่สกุลทั้งหลาย ในเวลาวิกาล

ดังนี้ ๑.

สองบทว่า ปญฺจาหิกา สงฺกมนี ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังการผลัดสังฆาฏิ ให้ก้าวล่วง ๕ วันไป ๑

ภิกษุณีใด พึงทรงจีวรที่ตนยืมมา ซึ่งจะต้องส่งคืน ๑.

สองบทว่า เทฺวปิ อาวสเถน จ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสรวมกับที่พักอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด ไม่มอบหมายจีวรในที่พัก

พึงบริโภค ไม่มอบหมายที่พัก พึงหลีกไปสู่ที่จะริก.

สองบทว่า ปสาเข อาสเน เจว ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ไม่บอกซึ่งฝี (หรือพุพอง) อันเกิดที่โคนขา

(กะสงฆ์หรือกะคณะ) ๑. ภิกษุณีใด ไม่ขออนุญาตก่อนพึงนั่งบนอาสนะข้าง

หน้าภิกษุ ๑.

๒๙ สิกขาบทเหล่านี้ (ย่อมเกิดโดยทวาร ๓ คือ กายกับวาจาแต่ไม่

เกิดโดยลำพังจิต ทุกสิกขาบทรวมทั้งกฐินสิกขาบทมีสมุฏฐาน ๒ เสมอกัน).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 363

[ว่าด้วยเอฬกโลมสมุฏฐาน]

สามบทว่า เอฬกโลมา เทฺว เสยฺยา ได้แก่ เอฬกโลมสิกขาบท

๑ และสหไสยสิกขาบ ๒.

บทว่า อาหจฺจปิณฺโภชน ได้แก่ อาหัจจปาทกสิกขาบท และ

อาวสถปิณฑโภชนสิกขาบท.

บทว่า คณวิกาลสนฺนิธิ ได้แก่ ๓ สิกขาบท คือ คณโภชนสิกขาบท

๑ วิกาลโภชนสิกขาบท ๑ สันนิธิการกสิกขาบท ๑.

บทว่า ทนฺตโปเณนเจลกา ได้แก่ ทันตโปณสิกขาบทและอเจลก

สิกขาบท.

สามบทว่า อุยฺยุตฺต วเส อุยฺโยธิ ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า พึงไปเพื่อดูเสนาอันยกออกแล้ว พึงอยู่ในกองทัพ พึงไป

สู่สนามรบก็ดี ฯลฯ ไปดูกองทัพก็ดี.

สามบทว่า สุรา โอเรน นหายนา ได้แก่ สุราปานสิกขาบท ๑

โอเรนัฑฒมาสังนหานสิกขาบท ๑.

สามบทว่า ทุพฺพณฺเณ เทฺว เทสนิกา ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ติณฺณ ทุพฺพณฺณกรณาน ๑ ปาฏิเทสนียะ ๒ สิกขาบท

ที่เหลือจากที่ตรัสแล้ว ๑.

สองบทว่า ลสุณุตฺติฏฺเ นจฺจนา ได้แก่ ลสุณสิกขาบท ๑ สิกขาบท

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงเข้าไปปฏิบัติภิกษุผู้กำลังฉัน ด้วย

น้ำฉันก็ดี ด้วยการพัดก็ดี ๑. สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด

พึงไปดูการฟ้อนก็ดี การประโคมก็ดี ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 364

ต่อจากนี้ไป พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย เขียนเพี้ยนบาลี. ผู้

ศึกษาพึงทราบลำดับ ในคำว่า นหาน อตฺถรณ เสยฺยา เป็นอาทินี้

เหมือนเนื้อความที่ข้าพเจ้าอธิบาย (ต่อไป).

สามบทว่า นหาน อตฺถรณ เสยฺยา ได้แก่ ๓ สิกขาบททีพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีเหล่าใด พึงเปลือยกายอาบน้ำ ภิกษุณีเหล่าใด พึง

ใช้ผู้ปูนอนและผ้าห่มผืนเดียวกัน นอนด้วยกัน ๒ รูป ภิกษุณีเหล่าใด พึง

นอนบนเตียงเดียวกัน ๒ รูป.

สามบทว่า อนฺโตรฏเ ตถา พหิ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ไม่มีพวก พึงเที่ยวจาริกไป. . .ในที่ซึ่งรู้กันว่า

น่ารังเกียจภายในแคว้น ไม่มีพวก เที่ยวจาริกไป . . .ในที่ซึ่งรู้กันว่าน่ารังเกียจ

ภายนอกแคว้น.

สองบทว่า อนฺโตวสฺส จิตฺตาคาร ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงหลีกไปสู่จาริก ภายในกาลฝน ภิกษุณีใด

พึงไปเพื่อดูพระราชวังก็ดี เรือนงามก็ดี ฯลฯ สระโบกขรณีก็ดี.

สองบทว่า อาสนฺทิ สุตฺตกนฺตนา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงใช้สอยอาสันทิหรือบัลลังก์ พึงกรอด้าย.

สองบทว่า เวยฺยาวจฺจ สหตฺถา จ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงทำความขวนขวายแก่คฤหัสถ์ พึงให้ของ

เคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน แก่ชาวบ้านก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่

ปริพาชิกาก็ดี.

คำว่า อภิกฺขุกาวาเสน จ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา

สิกขาบทนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสไม่มีภิกษุ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 365

สามบทว่า ฉตฺต ยานญฺจ สงฺฆาณึ ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ไม่อาพาธ พึงใช้ร่มและรองเท้า ไม่เป็นไข้

พึงไปด้วยยาน ภิกษุณีใด พึงใช้เข็มขัด.

สองบทว่า อลงฺการ คนฺธวาสิต ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่ ภิกษุณีใด พึงทรงไว้ซึ่งเครื่องแต่งตัวสำหรับสตรี พึงอาบด้วย

ของหอมและสี พึงอาบด้วยแป้งอบ.

ด้วยบทว่า ภิกฺขุนี เป็นต้น ตรัส ๔ สิกขาบท มีสิกขาบทว่า

ภิกษุณีใด พึงใช้ภิกษุณีให้นวด เป็นอาทิ.

สองบทว่า อสงฺกจฺฉิกา อาปตฺติ ได้แก่ อาบัติที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด ไม่มีประคดอกเข้าบ้าน ต้องปาจิตตีย์.

บาทคาถาว่า จตฺตาริสา จตุตฺตรี ได้แก่ ๔๔ สิกขาบทเหล่านี้

ทั้งหมด.

หลายบทว่า กาเยน น วาจาจิตฺเตน กายจิตฺเตน น วาจโต

มีความว่า เกิดทางกายและกายกับจิต ไม่เกิดทางวาจากับจิตไม่เกิดทางวาจา.

คำว่า ทุกสิกขาบท มีสมุฏฐาน ๒ ชื่อว่าเอฬกโลมสมุฏฐานเสมอกัน

นี้ มีเนื้อความชัดเจนแล้ว.

[ว่าด้วยปทโสธัมมสมุฏฐาน]

สองบทว่า ปทญฺตฺร อสมฺมตา ได้แก่ ๓ สิกขาบท ที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุใด พึงยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมโดยบท ๑, ภิกษุใด

พึงแสดงธรรมแก่มาตุคาม ยิ่งกว่า ๖-๕ คำ เว้นแต่มีบุรุษผู้รู้เตียงสา ๑,

ภิกษุใด ไม่ได้รับสมมติสั่งสอนพวกภิกษุณี ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 366

คำว่า ตถา อตฺถงฺคเตน จ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา

สิกขาบทนี้ว่า เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว สั่งสอนพวกภิกษุณี.

สองบทว่า ติรจฺฉานวิชฺชา เทฺว ได้แก่ ๒ สิกขาบท ที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงเรียนติรัจฉานวิชชา ๑, พึงบอก

ติรัจฉานวิชชา ๑.

คำว่า อโนกาเส จ ปุจฺฉนา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา

สิกขาบทนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงถามปัญหากะภิกษุซึ่งตนไม่ขอโอกาสก่อน.

[ว่าด้วยอัทธานสมุฏฐาน]

สองบทว่า อทฺธานนาว ปณีต ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุใด ชักชวนกันแล้ว เดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี ๑,

ชักชวนกันแล้วขึ้นเรือลำเดียวกับภิกษุณี ๑, ภิกษุใด มิใช่อาพาธ ขอโภชนะ

อันประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน ๑.

สองบทว่า มาตุคาเมน สงฺฆเร ได้แก่ สิกขาบทคือชักชวนกันแล้ว

ไปกับมาตุคาม ๑, สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงนำ

(ถอน-โกน-ตัด) ขนในที่แคบ ๑.

สองบทว่า ธญฺ นิมนฺติตา เจว ได้แก่ สิกขาบทที่ตรัสว่า ภิกษุณีใด

พึงขอข้าวเปลือก ๑, ภิกษุณีใด รับนิมนต์แล้วก็ดี ห้ามโภชนะแล้วก็ดี พึง

เคี้ยวของเคี้ยวก็ตาม พึงฉันของฉันก็ตาม ๑.

บทว่า อฏฺ จ ได้แก่ ปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท ที่ตรัสเพื่อภิกษุณี

ทั้งหลาย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 367

[ว่าด้วยเถยยสัตถสมุฏฐาน]

สองบทว่า เถยฺยสตฺถ อุปสฺสุติ ได้แก่ สิกขาบทคือชักชวนแล้ว

เดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกเกวียนพวกตั่งผู้เป็นโจร ๑, สิกขาบทคือยืน

แอบฟัง ๑.

คำว่า สูปวิญฺาปเนน จ นี้ ตรัสหมายเอาการออกปากขอแกง

และข้าวสุก.

สามบทว่า รตฺติ ฉนฺนญฺจ โอกาส ได้แก่ ๓ สิกขาบท ที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงยืนร่วมหรือพึงเจรจาตัวต่อตัวกับบุรุษ

ในราตรีที่มืดไม่มีไฟ ๑, ในโอกาสกำบัง ๑, ในที่กลางแจ้ง ๑.

คำว่า พฺยูเหน สตฺตมา นี้ ตรัสหมายเอาสิกขาบทที่มาเป็นลำดับ

แห่งสิกขาบทนั้นนั่นแลว่า กับบุรุษที่ถนนหรือที่ตรอกตัน.

ธัมมเทสนสมุฏฐาน ๑๑ สิกขาบท ตื้นทั้งนั้น.

พึงทราบสมุฏฐานที่เจือกันอยู่นี้ก่อน :-

ส่วนนิยตสมุฏฐานมี ๓ อย่าง, นิยตสมุฏฐานนั้น มีเฉพาะแต่ละสิกขาบท

เท่านั้น, เพื่อแสดงนิยตสมุฏฐานนั้นเฉพาะแผนก จึงตรัสคำว่า ภูต กาเยน

ชายติ เป็นต้น. คำนั้นตื้นทั้งนั้น.

บทว่า เนตฺติธมฺมานุโลมิก ได้แก่ อนุโลม แก่ธรรมกล่าวคือ

บาลีแห่งวินัย.

สมุฏฐานสีสวัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 368

กติปุจฉาวาร

อาบัติเป็นต้น

[๘๔๑] อาบัติมีเท่าไร กองอาบัติมีเท่าไร วินีตวัตถุมีเท่าไร ความ

ไม่เคารพมีเท่าไร ความเคารพมีเท่าไร วินีตวัตถุมีเท่าไร วิบัติมีเท่าไร

สมุฏฐานแห่งอาบัติมีเท่าไร มูลแห่งวิวาทมีเท่าไร มูลแห่งการโจทมีเท่าไร

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกันมีเท่าไร เรื่องทำความแตกร้าวกันมีเท่าไร

อธิกรณ์มีเท่าไร สมถะมีเท่าไร.

[๘๔๒] อาบัติมี ๕ กองอาบัติมี ๕ วินีตวัตถุมี ๕ อาบัติมี ๗ กอง

อาบัติมี ๗ วินีตวัตถุมี ๗ ความไม่เคารพมี ๖ ความเคารพมี ๖ วินีตวัตถุมี ๖

วิบัติมี ๔ สมุฏฐานแห่งอาบัติมี ๖ มูลแห่งวิวาทมี ๖ มูลแห่งการโจทมี ๖

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกันมี ๖ เรื่องทำความแตกร้าวกันมี ๑๘

อธิกรณ์มี ๔ สมถะมี ๗.

อาบัติ ๕

[๘๔๓] ในหัวข้อเหล่านั้นอาบัติ ๕ เป็นไฉน ? คือ อาบัติปาราชิก

อาบัติสังฆาทิเสส อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฏ นี้อาบัติ ๕.

กองอาบัติ ๕

[๘๔๔] ในหัวข้อเหล่านั้น กองอาบัติ ๕ เป็นไฉน ? คือ กองอาบัติ

ปาราชิก กองอาบัติสังฆาทิเสส กองอาบัติปาจิตตีย์ กองอาบัติปาฏิเทสนียะ

กองอาบัติทุกกฏ นี้กองอาบัติ ๕.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 369

วินีตวัตถุ ๕

[๘๘๕] ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๕ เป็นไฉน ? คือ การเว้น

ไกล การเว้นขาด การงดเว้น เจตนาเครื่องเว้นจากกองอาบัติ ๕ ความไม่

ประกอบ ความไม่ทำ ความไม่แกล้งต้อง ความไม่ละเมิดขอบเขต การกำจัด

กองอาบัติ ๕ ด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ นี้วินีตวัตถุ ๕.

อาบัติ ๗

[๘๔๖] ในหัวข้อเหล่านั้น อาบัติ ๗ เป็นไฉน ? คือ อาบัติปาราชิก

อาบัติสังฆาทิเสส อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติ

ทุกกฏ อาบัติทุพภาสิต นี้อาบัติ ๗.

กองอาบัติ ๗

[๘๔๗] ในหัวข้อเหล่านั้น กองอาบัติ ๗ เป็นไฉน ? คือ กองอาบัติ

ปาราชิก กองอาบัติสังฆาทิเสส กองอาบัติถุลลัจจัย กองอาบัติปาจิตตีย์ กอง

อาบัติปาฏิเทสนียะ กองอาบัติทุกกฏ กองอาบัติทุพภาสิต นี้กองอาบัติ ๗.

วินีตวัตถุ ๗

[๘๔๘] ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๗ เป็นไฉน ? คือ การเว้นไกล

การเว้นขาด การงดเว้น เจตนาเครื่องเว้นจากกองอาบัติ ๗ ความไม่ประกอบ

ความไม่ทำ ความไม่แกล้งต้อง ความไม่ละเมิดขอบเขต การกำจัดกองอาบัติ ๗

ด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ นี้วินีตวัตถุ ๗.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 370

ความไม่เคารพ ๖

[๘๔๙] ในหัวข้อเหล่านั้น ความไม่เคารพ ๖ เป็นไฉน ? คือ ความ

ไม่เคารพในพระพุทธเจ้า ความไม่เคารพในพระธรรม ความไม่เคารพใน

พระสงฆ์ ความไม่เคารพในสิกขา ความไม่เคารพในอัปปมาท ความไม่เคารพ

ในปฏิสันถาร นี้ความไม่เคารพ ๖.

ความเคารพ ๖

[๘๕๐] ในหัวข้อเหล่านั้น ความเคารพ ๖ เป็นไฉน ? คือ ความ

เคารพในพระพุทธเจ้า ความเคารพในพระธรรม ความเคารพในพระสงฆ์

ความเคารพในสิกขา ความเคารพในอัปปมาท ความเคารพในปฏิสันถาร

นี้ความเคารพ ๖.

วินีตวัตถุ ๖

[๘๕๑] ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๖ เป็นไฉน ? คือ การเว้นไกล

การเว้นขาด การงดเว้น เจตนาเครื่องเว้นจากความไม่เคารพ ๖ ความไม่

ประกอบความไม่ทำ ความไม่แกล้งต้อง ความไม่ละเมิดขอบเขต การกำจัด

ความไม่เคารพ ๖ ด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ นี้วินีตวัตถุ ๖.

วิบัติ ๔

[๘๕๒] ในหัวข้อเหล่านั้น วิบัติ ๔ เป็นไฉน ? คือ ศีลวิบัติ

อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาชีววิบัติ นี้วิบัติ ๔.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 371

สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖

[๘๕๓] ในหัวข้อเหล่านั้น สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ เป็นไฉน ? คือ

อาบัติเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต ก็มี อาบัติเกิดแต่วาจา มิใช่กาย มิใช่จิต

ก็มี อาบัติเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต ก็มี อาบัติเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา

ก็มี อาบัติเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ก็มี อาบัติเกิดแต่กายวาจาและจิต ก็มี

นี้สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖.

มูลแห่งการวิวาท ๖

[๘๕๔] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลแห่งวิวาท ๖ เป็นไฉน ? คือ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ เป็นผู้ถือโกรธ ภิกษุผู้ที่มักโกรธ ถือโกรธนั้น

ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์ ย่อมไม่ทำ

ให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม

และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ การ

วิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความ

พินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้า

พวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอใน

บริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูล

แห่งวิวาทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติ

เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งวิวาทอัน

ลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น

ย่อมมีด้วยอย่างนี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 372

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ เป็นผู้ตีเสมอท่าน ภิกษุที่เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอ

ท่านนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์

อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรงใน

พระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น

ย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่

เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์

แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายใน

ทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นเสีย

ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอใน

บริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความ

ละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่ง

วิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้.

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปกติอิสสา เป็นผู้มีปกติตระหนี่ ภิกษุผู้ที่มีปกติ

อิสสา มีปกติตระหนี่นั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา

พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มี

ความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขา

ก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูล

แก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความ

ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็น

ปานนี้ได้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่ง

วิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ทั้งภายใน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 373

ทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูล

แห่งวิวาทอันลามก ความละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความ

เป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้.

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้อวดดี เป็นผู้เจ้ามายา ภิกษุผู้ที่อวดดี เจ้ามายานั้น

ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่

ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา

พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาท

ในสงฆ์การวิวาทย่อมมี เพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก

เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์

ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอ

ในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็น

มูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติ

เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งวิวาทอัน

ลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น

ย่อมมีด้วยอย่างนี้

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ภิกษุผู้ที่มี

ความปรารถนาลามก มีความเห็นผิดนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงใน

พระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุ

ผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรมและพระสงฆ์อยู่ แม้ใน

สิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความ

ไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 374

เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูล

แห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึง

พยายามละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็น

ปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติ เพื่อความเป็น

ไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นย่อม

มีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วย

อย่างนี้

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลด

ได้ยากภิกษุผู้ที่ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น

ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรมและพระสงฆ์อยู่ ย่อม

ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา

พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาท

ในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชน

มาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดา

และมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้งภาย

นอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวก

เธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัท

นั้น พึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความ

ละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่ง

วิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ นี้มูลแห่งวิวาท ๖

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 375

มูลแห่งการโจท ๖

[๘๕๕] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลแห่งการโจท ๖ เป็นไฉน ? คือ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ ถือโกรธ ภิกษุผู้ที่มักโกรธถือโกรธนั้น ย่อม

ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อม

ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา

พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการ

โจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชน

มาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดา

และมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้งภาย

นอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นเสีย ถ้า

พวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอ

ในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น

ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปแห่งมูลแห่ง

การโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ เป็นผู้ดีเสมอท่าน ภิกษุผู้ที่ลบหลู่ดีเสมอท่าน

นั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์

อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระ

ศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อม

ก่อการโจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็น

สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่

เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายใน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 376

และภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น

เสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก

พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งการโจทอัน

ลามกนั้น ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็น

ไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปกติอิสสา เป็นผู้มีปกติตระหนี่ ภิกษุผู้ที่มีปกติ-

อิสสามีปกติตระหนี่นั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม

และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพยำเกรง

ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น

ย่อมก่อการโจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่

เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์

แก่เทวดา และมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ทั้งภาย

ในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละมูลแห่งการโจทอันลามก

นั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก

พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งการโจท

อันลามกนั้น ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็น

ไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้อวดดี เป็นผู้เจ้ามายา ภิกษุผู้ที่อวดดีเจ้ามายานั้น

ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่

ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา

พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 377

โจทในสงฆ์ การโจทย่อมมี เพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่

ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา

และมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้งภาย

นอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นเสีย ถ้า

พวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอ

ในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามก

นั้น ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อ

ไปแต่งมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก เป็นผู้มีความเห็นผิด ภิกษุ

เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิดนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรง

ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่

แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการโจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อ

ความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก

เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูล

แห่งการโจทเห็นปานนี้ ได้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึง

พยายามละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการ

โจทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติ เพื่อ

ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งการโจทอัน

ลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามก

นั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 378

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้นปลดได้

ยาก ภิกษุผู้ที่ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้นปลดได้ยากนั้น ย่อม

ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อม

ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา

พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการ

โจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่

ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดา

และมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้ง

ภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นเสีย

ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวก

เธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามก

นั้น ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไป

ต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ นี้มูลแห่งการโจท ๖

สาราณียธรรม ๖ ประการ

[๘๕๖] ในหัวข้อเหล่านั้น ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ๖

เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อน

สพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้

ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน

เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอัน

เดียวกัน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 379

อนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบ ด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารี

ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน

ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความ

ไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหม-

จารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึก

ถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน

เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอัน

เดียวกัน.

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่หวงลาภที่เกิดโดยธรรม ที่ตนหาได้โดยชอบธรรม

โดยที่สุดแม้แต่อาหารที่นับเนื่องในบาตร ไว้บริโภคเป็นผู้บริโภคร่วมกับเพื่อน

สพรหมจารีผู้มีศีล ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก

ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ

ความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลเสมอกับเพื่อนสพรหมจารีใน ศีลทั้งหลาย ที่ไม่

ขาด ไม่ทะลุ ไม่ต่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันกิเลส

ไม่จับต้องเป็นไปเพื่อสมาธิ ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้ง

แห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความ

สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความ

เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกับเพื่อนสพรหมจารีในทิฏฐิอันประเสริฐ

นำออกจากทุกข์ นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ทำตามพร่ำสอน ทั้งใน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 380

ที่แจ้งทั้งในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็น

ที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน

เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นี้สาราณียธรรม ๖.

เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘

[๘๕๗] ในหัวข้อเหล่านั้น เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. แสดงสภาพมิใช่ธรรมว่า เป็นธรรม

๒. แสดงธรรมว่า สภาพมิใช่ธรรม

๓. แสดงสภาพมิใช่วินัยว่า เป็นวินัย

๔. แสดงวินัยว่า สภาพมิใช่วินัย

๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคต

ทรงภาษิต ตรัสไว้

๖. แสดงสิงที่พระตถาคตได้ทรงภาษิต ตรัสไว้แล้วว่า พระตถาคต

มิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้

๗. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตทรง

ประพฤติมา

๘. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตมิได้ทรง

ประพฤติมา

๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตทรง

บัญญัติไว้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 381

๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรง

บัญญัติไว้

๑๑. แสดงอาบัติว่า มิใช่อาบัติ

๑๒. แสดงสิ่งมิใช่อาบัติว่า เป็นอาบัติ

๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า อาบัติหนัก

๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า อาบัติเบา

๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า อาบัติหาส่วนเหลือมิได้

๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า อาบัติมีส่วนเหลือ

๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ

๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ.

นี้เรื่องทำการแตกร้าว ๑๘.

อธิกรณ์ ๔

[๘๕๘] ในหัวข้อเหล่านั้น อธิกรณ์ ๔ เป็นไฉน ? คือวิวาทาธิกรณ์ ๑

อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑ นี้ อธิกรณ์ ๔.

สมณะ ๗

[๘๕๙] ในหัวข้อเหล่านั้น สมถะ ๗ เป็นไฉน ? คือสัมมุขาวินัย ๑

สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ เยภุยยสิกา ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑

ติณวัตถารกะ ๑ นี้ สมถะ ๗.

กติปุจฉาวาร จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 382

หัวข้อประจำวาร

[๘๖๐] อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ และอาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ

อีกอย่างละ ๗ ความไม่เคารพ ความเคารพ วินีตวัตถุอีก ๗ วิบัติ สมุฏฐาน

แห่งอาบัติ มูลแห่งการวิวาท และการโจท ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึก

ถึงกัน เรื่องทำการแตกร้าว อธิกรณ์และสมถะ ๗ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

แล้ว รวมเป็น ๑๗ บท.

กติปุจฉาวารวัณณนา

[วินิจฉัยในคำว่า กติ อาปตฺติโย เป็นต้น]

บัดนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ตั้งบทมาติกาโดยนัย มีคำว่า

กติ อาปตฺติโย เป็นอาทิแล้ว กล่าววิภังค์ด้วยอำนาจนิทเทสและปฏินิทเทส

เพื่อให้เกิดความฉลาด ในส่วนทั้งหลายมีอาบัติเป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กติ อาปตฺติโย เป็นคำถามถึงอาบัติ

ซึ่งมาในมาติกาและในวิภังค์. แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยเหมือนกัน. จริงอยู่ ใน

บทที่ ๒ นี้ อาบัติสิ้นเชิงทีเดียว ท่านกล่าวว่า กอง ด้วยอำนาจแห่งหมวด.

คำที่ว่า วินีตวตฺถูนิ เป็นคำถามถึงความระงับอาบัติเหล่านั้น.

จริงอยู่ ๓ บทว่า วินีต วินโย วูปสโม นี้ โดยใจความเป็นอัน

เดียวกัน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 383

เนื้อความแห่งบทในคำว่า วินีตวตฺถูนิ นี้ พึงทราบดังนี้ว่า วัตถุ

เป็นเครื่องกำจัดอาบัตินั่นเอง ชื่อว่าวินีตวัตถุ.

บัดนี้ เมื่ออคารวะเหล่าใดมีอยู่ อาบัติจึงมี, เมื่ออคารวะเหล่าใดไม่มี

อาบัติย่อมไม่มี, เพื่อแสดงอคารวะเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวคำถาม ๒ ข้อว่า

กติ อคารวา เป็นต้น . ส่วนคำว่า วินีตวตฺถูนิ นี้ เป็นคำถามถึงการกำจัด

อคารวะเหล่านั้น.

ก็เพราะอาบัติเหล่านั้น ที่จัดว่าไม่ถึงความวิบัติย่อมไม่มี ฉะนั้น

คำที่ว่า กติ วิปตฺติโย นี้ จึงเป็นคำถามถึงความมีวิบัติแห่งอาบัติทั้งหลาย.

คำที่ว่า กติ อาปตฺติสมุฏานา นี้ เป็นคำถามถึงสมุฏฐานแห่ง

อาบัติเหล่านั้นเอง.

คำที่ว่า วิวาทมูลานิ อนุวาทมูลานิ เหล่านี้ เป็นคำถามถึงมูลแห่ง

วิวาทและอนุวาทที่มาว่า วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์.

คำที่ว่า สาราณียา ธมฺมา นี้ เป็นคำถามถึงธรรมที่ทำความไม่มี

แห่งมูลของวิวาทและอนุวาท.

คำที่ว่า เภทกรวตฺถูนิ นี้ เป็นคำถามถึงวัตถุที่ก่อความแตก ซึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคำว่า อธิกรณ์เป็นไปเพื่อแตกกันก็ดี เป็นอาทิ.

คำที่ว่า อธิกรณานิ นี้ เป็นคำถามถึงธรรมที่เกิดขึ้น ในเมื่อมี

เภทกรวัตถุ.

คำที่ว่า สมถา นี้ เป็นคำถามถึงธรรมที่สำหรับระงับอธิกรณ์

เหล่านั้นแล.

คำที่ว่า ปญฺจ อาปตฺติโย ตรัสด้วยอำนาจอาบัติซึ่งมาในมาติกา.

คำที่ว่า สตฺต ตรัสด้วยอำนาจอาบัติซึ่งมาในวิภังค์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 384

[ว่าด้วยวิเคราะห์แห่งอารติศัพท์เป็นต้น]

ที่ชื่อว่า อารติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นไกลจากกองอาบัติเหล่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่เว้นอย่างกวดขันจากกองอาบัติเหล่านั้น ชื่ออารติ.

ที่ชื่อว่า วิรติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นเสียต่างหากจากกองอาบัติ

เหล่านั้น.

ที่ชื่อว่า ปฏิวิรติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นเฉพาะหนึ่ง ๆ จากกอง

อาบัติเหล่านั้น.

ที่ชื่อว่า เวรมณี เพราะวิเคราะห์ว่า ขับเวรสีย คือยังเวรให้สาบสูญ

ที่ชื่อว่า อกิริยา เพราะวิเคราะห์ว่า วิรัตินั่น เป็นเหตุอันภิกษุไม่

ทำกองอาบัติเหล่านั้น.

ที่ชี่อว่า อกรณ เพราะเป็นข้าศึกต่อความกระทำกองอาบัติที่จะพึง

เกิดขึ้น ในเมื่อวิรัตินั้นไม่มี.

ที่ชื่อว่า อนชฺฌาปตฺติ เพราะเป็นข้าศึกต่อความต้องกองอาบัติ.

ที่ชื่อว่า เวลา เพราะเป็นเหตุผลาญ. อธิบายว่า เพราะเป็นเหตุคลอน

คือเพราะเป็นเหตุพินาศ.

ที่ชื่อว่า เสตุ เพราะวิเคราะห์ว่า ผูกไว้ คือตรึงไว้ ได้แก่ คุมไว้

ซึ่งทางเป็นที่ออกไป. คำว่า เสตุ นี้ เป็นชื่อแห่งกองอาบัติทั้งหลาย. เสตุนั้น

อันภิกษุย่อมสังหารด้วยวิรัตินั่น เพราะฉะนั้น วิรัตินัน จึงชื่อ เสตุฆาโต.

แม้ในนิทเทสแห่งวินีตวัตถุที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้แล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 385

[ว่าด้วยอคาวะ ๖]

วินิจฉัยในคำว่า พุทฺเธ อคารโว เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-

ผู้ใด เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงอยู่ไม่ไปสู่ที่บำรุง เมื่อพระพุทธเจ้า

ปรินิพพานแล้ว ไม่ไปสู่เจติยสถาน โพธิสถาน ไม่ไหว้เจดีย์หรือต้นโพธิ

กางร่มและสวมรองเท้าเที่ยวไปบนลานเจดีย์ พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่มีความ

เคารพในพระพุทธเจ้า.

ฝ่ายผู้ใด อาจอยู่แท้ แต่ไม่ไปสู่ที่ฟังธรรม ไม่สวดสรภัญญะไม่กล่าว

ธรรมกถา ทำลายโรงธรรมสวนะเสียแล้วไป มีจิตฟุ้งซ่านหรือไม่เอื้อเฟื้อนั่งอยู่

พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่มีความเคารพในพระธรรม.

ผู้ใด ไม่ประจงตั้งไว้ซึ่งความยำเกรง ในพระเถระ ภิกษุใหม่และ

ภิกษุผู้ปูนกลาง แสดงความคะนองกาย ในทีทั้งหลายโรงอุโบสถและโรงวิตก

เป็นต้น ไม่ไหว้ตามลำดับผู้แก่ พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่มีความเคารพใน

พระสงฆ์.

ฝ่ายผู้ใด ไม่สมาทานศึกษาไตรสิกขาเสียเลย พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่

มีความเคารพในสิกขา.

ฝ่ายผู้ใด ทั้งอยู่ในความประมาท คือในความอยู่ปราศจากสติเท่านั้น

ไม่พอกพูนลักษณะความไม่ประมาท พึงทราบว่า ผู้นั้นไม่มีความเคารพใน

ความไม่ประมาท

อนึ่ง ผู้ใด ไม่กระทำเสียเลย ซึ่งปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ คือ อามิส-

ปฏิสันถาร ธรรมปฏิสันถาร พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่มีความเคารพในปฏิสันถาร.

เนื้อความในคาวรนิทเทส พึงทราบโดยบรรยายอันแผกจากที่กล่าวแล้ว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 386

[วิวาทมูลนิทเทส]

วินิจฉัยในวิวาทมูลนิทเทส พึงทราบดังนี้:-

เนื้อความแห่งข้อว่า สตฺถริปิ อคารโว เป็นอาทิ พึงทราบตามนัย

ที่กล่าวแล้ว ในความไม่มีความเคารพในพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั่นแล.

บทว่า อปฺปฏิสฺโส ได้แก่ ไม่ประพฤติถ่อมตน คือ ไม่ยกพระ-

ศาสดาให้เป็นใหญ่อยู่.

บทว่า อชฺฌตฺต วา ความว่า (ถ้าว่า ท่านทั้งหลายพึงเล็งเห็น

มูลแห่งวิวาทเห็นปานนั้น) ในสันดานของตนก็ดี ในพวกของตนก็ดี ในบริษัท

ของตนก็ดี.

บทว่า พทิทฺธา วา ความว่า ในสันดานของผู้อื่นก็ดี ในพวกของ

ผู้อื่นก็ดี.

สองบทว่า ตตฺถ ตุมฺเห ความว่า ทั้งในสันดานของตนและผู้อื่น

หรือทั้งในบริษัทของตนและผู้อื่น อันต่างกันด้วยมีในภายในและมีในภายนอก

นั้น.

สองบทว่า ปหานาย วายเมยฺยาถ มีความว่า ท่านทั้งหลายพึง

พยายามเพื่อละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั่นแล ด้วยนัยทั้งหลาย มีเมตตาภาวนา

เป็นอาทิ.

จริงอยู่ วิวาทมูลนั้น ทั้งที่มีในภายใน ทั้งที่มีในภายนอกย่อมละเสีย

ได้ ด้วยนัยมีเมตตาภาวนาเป็นต้น.

บทว่า อนวสฺสวาย ได้แก่ เพื่อความไม่เป็นไป.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 387

บทว่า สนฺทิฏฺิปรามาสี มีความว่า ย่อมยึดถือความเห็นของตน

เท่านั้น คือ ข้อใด อันตนได้เห็นแล้ว ย่อมยึดข้อนั้นว่า ข้อนี้เท่านั้น เป็น

จริง.

บทว่า อาธานคาหี ได้แก่ มักยึดไว้อย่างมั่นคง.

[อนุวาทมูลนิทเทส]

อนุวาทมูลนิทเทส เสมอด้วยวิวาทมูลนิทเทสนั่นเอง ก็จริง ถึงกระนั้น

ในวิวาทมูลนิทเทสและอนุวาทมูลนิทเทสนี้ ย่อมมีความแปลกกันดังนี้ว่า โทษ

ทั้งหลาย มีความโกรธและความผูกโกรธกันเป็นต้น ของภิกษุทั้งหลาย ผู้

วิวาทกันอาศัยเภทกรวัตถุ ๑๘ จัดเป็นมูลแห่งวิวาท ก็แลเมื่อวิวาทกันอย่างนั้น

ย่อมถึงวิบัติอย่างใด อย่างหนึ่ง ในวิบัติเป็นต้นแล้ว โจทกันและกันว่า ภิกษุ

ชื่อโน้น ต้องวิบัติชื่อโน้น บ้าง ว่า ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิก บ้าง ว่า ท่าน

เป็นผู้ต้องสังฆาทิเสส บ้าง. โทษทั้งหลาย มีความโกรธและความผูกโกรธ

กันเป็นต้น ของภิกษุทั้งหลายผู้โจทกันและกันอย่างนั้น จัดเป็นมูลแห่งอนุวาท.

[สาราณีธัมมนิทเทส]

วินิจฉัยในสาราณียธัมมนิทเทส ดังนี้:-

กายกรรมที่กระทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา ชื่อเมตตากายกรรม.

สองบทว่า อาวิ เจว รโห จ ได้แก่ ทั้งต่อหน้า ทั้งลับหลัง.

ในกายกรรม ๒ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งต่อหน้าและลับหลังนั้น การถึงความเป็น

สหาย ในการงานทั้งหลายมีจีวรกรรมเป็นอาทิ ของภิกษุใหม่ทั้งหลาย ชื่อ

เมตตากายกรรมต่อหน้า. ส่วนสามีจิกรรมทั้งปวง แม้ต่างโดยกิจมีล้างเท้าและ

พัดลมเป็นต้นให้พระเถระทั้งหลาย ชื่อเมตตากายกรรม ต่อหน้า.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 388

การเก็บงำ ภัณฑะทั้งหลายมีภัณฑะไม้เป็นต้น ที่ภิกษุใหม่และพระ-

เถระทั้ง ๒ พวกเก็บงำไว้ไม่ดี ไม่ทำความดูหมิ่นในภิกษุใหม่และพระเถระ

เหล่านั้น ประหนึ่งเก็บงำสิ่งของที่ตนเก็บไว้ไม่ดีฉะนั้นชื่อเมตตากายกรรม

ลับหลัง.

ข้อว่า อยมฺปิ ธมฺโม สาราณีโย มีความว่า ธรรมกล่าว คือ

เมตตากายกรรมนี้ อันเพื่อพรหมจรรย์ทั้งหลายพึงระลึกถึง. อธิบายว่า บุคคล

ใด ยังสติให้เกิด กระทำธรรมกล่าวคือเมตตากายกรรมนั้น ธรรมคือเมตตา

กายกรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นทำแล้วแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นมีจิต

เลื่อมใสแล้ว ย่อมระลึกถึงบุคคลนั้นว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษจริง.

บทว่า ปิยกรโณ มีความว่า ธรรมคือเมตตากายกรรมนั้นย่อมทำ

บุคคลนั้น ให้เป็นที่รักของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

บทว่า ครุกรโณ มีความว่า ธรรมนั้น ย่อมทำบุคคลนั้น ให้เป็น

ที่เคารพของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

วินิจฉัยในคำว่า สงฺคหาย เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-

ธรรมนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้อันเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย

พึงสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความเป็นผู้พร้อมเพรียง เพื่อความ

เป็นพวกเดียวกัน กับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้น.

วินิจฉัยในคำว่า เมตฺต วจีกมฺม เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-

การกล่าวยกย่องอย่างนี้ว่า ท่านเทวเถระ ท่านติสสเถระ ชื่อเมตตา

วจีกรรม ต่อหน้า. ส่วนการกล่าวถ้อยคำที่ส่อความรัก ของบุคคลผู้สอบถาม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 389

ถึงท่าน ในเมื่อท่านไม่อยู่ในสำนัก อย่างนี้ว่า ท่านเทวเถระของพวกเรา

ไปไหน ? ท่านติสสเถระของพวกเรา ไปไหน ? เมื่อไรหนอ ท่านจักมา ?

ดังนี้ ชื่อเมตตาวจีกรรม ลับหลัง.

ก็แลการลืมตาอันสนิทสนมด้วยความรัก กล่าวคือเมตตาแลดูด้วยหน้า

อันชื่นบาน ชื่อเมตตามในกรรม ต่อหน้า. การคำนึงถึงเสมอว่า ท่านเทวเถระ

ท่านติสสเถระ จงเป็นผู้ไม่มีโรค มีอาพาธน้อย ชื่อเมตตามโนกรรม ลับหลัง.

บทว่า อปฺปฏิวิภตฺตโภคี มีความว่า ย่อมแบ่งอามิสไว้สำหรับตัว

แล้ว บริโภคหามิได้ แบ่งไว้เฉพาะบุคคลแล้ว บริโภคหามิได้.

ก็ภิกษุใด ย่อมแบ่งไว้บริโภคว่า เราจักให้แก่ภิกษุเหล่าอื่นเท่านั้น

จักบริโภคด้วยตนเองเท่านี้ หรือว่า เราจักให้แก่ภิกษุโน้นและภิกษุโน้นเท่านี้

จักบริโภคด้วยตนเองเท่านี้ ภิกษุนี้ ชื่อว่าผู้แบ่งบริโภคโดยเฉพาะ.

ฝ่ายภิกษุผู้ตั้งอยู่ในสาราณียธรรมนี้ ไม่ทำอย่างนั้น ถวายบิณฑบาต

อันตนนำมาตั้งแต่ที่พระเถระ แล้วฉันส่วนที่ยังเหลือจากที่พระเถระรับเอาไว้.

พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า แม้จะไม่ให้แก่บุคคลผู้ทุศีล ก็

ควร เพราะพระบาลีว่า สีลวนฺเตหิ, แต่อันภิกษุผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม

พึงให้แก่ผู้มีศีลและผู้ทุศีลทั้งปวงทีเดียว.

แม้เลือกให้แก่ภิกษุผู้อาพาธและพยาบาลไข้ ผู้อาคันตุกะ ผู้เตรียมจะ

ไปและผู้ขวนขวายในการงานมีจีวรกรรมเป็นต้น ก็ควร. เพราะว่า ภิกษุเลือก

บุคคลเหล่านั้นแล้วให้อยู่ จะชื่อว่าเป็นอันทำการจำแนกบุคคลหามิได้. จริงอยู่

เพราะภิกษุทั้งหลายผู้เช่นนี้ เป็นผู้มีลาภฝืดเคือง จึงควรทำให้เป็นส่วนพิเศษ

แท้ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้บำเพ็ญสาราณียธรรมนี้ จึงทำการเลือกให้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 390

วินิจฉัยในบทว่า อขณฺฑานิ เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-

บรรดาอาบัติ ๗ กอง สิกขาบทของภิกษุใดเป็นคุณสลายเสียข้างต้น

หรือข้างปลาย ศีลของภิกษุนั้น ชื่อว่าด้วน เปรียบเหมือนผ้าขาดที่ชายโดยรอบ

ฉะนั้น.

ฝ่ายสิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสียตรงท่ามกลาง ศีลของภิกษุนั้น

ซึ่งว่า เป็นช่อยทะลุ เปรียบเหมือนผ้าที่เป็นช่องทะลุตรงกลางฉะนั้น.

สิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสีย ๒-๓ สิกขาบทโดยลำดับ ศีลของ

ภิกษุนั้น ชื่อว่าด่าง เปรียบเหมือนแม่โคซึ่งมีสีตัวดำและแดงเป็นต้น อย่างใด

อย่างหนึ่ง สลับกับสีซึ่งไม่เหมือนกันที่ผุดขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง ฉะนั้น.

สิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสียในระหว่าง ๆ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่า

พร้อย เปรียบเหมือนแม่โคที่พราวเป็นดวงด้วยสีไม่เหมือนกันในระหว่าง ๆ

ฉะนั้น.

ส่วนศีลของภิกษุใด ไม่ทำลายโดยประการทั้งปวง ศีลเหล่านั้นของ

ภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่ด้วน ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย.

ก็ศีลเหล่านี้นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นไท เพราะทำ

ความเป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ เพราะเป็นศีลที่ท่านผู้รู้ยกย่อง อันกิเลสไม่

จับต้อง เพราะเป็นศีลที่ตัณหาและทิฏฐิจับต้องไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ เพราะ

ยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไปพร้อม.

สองบทว่า สีลสามญฺคโต วิหรติ มีความว่า ผู้มีศีลเข้าถึงความ

เป็นผู้เสมอกัน กับภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลงาม ซึ่งอยู่ในทิศาภาคเหล่านั้น ๆ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 391

สองบทว่า ยาย ทิฏฺิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ที่สัมปยุตด้วยมรรค.

บทว่า อริยา ได้แก่ หาโทษมิได้.

บทว่า นิยฺยาติ ได้แก่ พาออกไป.

บทว่า ตกฺกรสฺส ได้แก่ ผู้มีปกติทำอย่างนั้น.

บทว่า ทุกฺขกฺขยาย ได้แก่ เพื่อสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวง.

คำที่เหลือ จนถึงประเภทสมถะเป็นที่สุด มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

กติปุจฉาวาร วัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 392

วีสติวาร

สมุฏฐานวารแห่งอาบัติ ๖ ที่ ๑

[๘๖๑] มีผู้ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก

หรือ ตอบว่า ไม่ต้องเลย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือ ตอบว่า บางทีต้อง

ต้องอาบัติถุลลัจจัย หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือ ตอบ

ว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติ

ทุกกฏ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติทุพภาษิต หรือ ตอบว่าไม่

ต้องเลย.

[๘๖๒] มีผู้ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก

หรือ ตอบว่า ไม่ต้องเลย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือ ตอบว่า บางทีต้อง

ต้องอาบัติถุลลัจจัย หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือ

ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ หรือ ตอบว่า ไม่ต้องเลย ต้อง

อาบัติทุกกฏ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติทุพภาสิต หรือ ตอบว่า

ไม่ต้องเลย.

[๘๖๓] มีผู้ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก

หรือ ตอบว่า ไม่ต้องเลย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือ ตอบว่า บางทีต้อง

ต้องอาบัติถุลลัจจัย หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือ ตอบ

ว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติ

ทุกกฏ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติทุพภาสิต หรือ ตอบว่า ไม่

ต้องเลย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 393

[๘๖๔] มีผู้ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก

หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือ ตอบว่า บางทีต้อง

ต้องอาบัติถุลลัจจัย หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือ

ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้อง

อาบัติทุกกฏ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติทุพภาสิต หรือ ตอบว่า

ไม่ต้องเลย.

[๘๖๕] มีผู้ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก

หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือ ตอบว่า บางทีต้อง

ต้องอาบัติถุลลัจจัย หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือ

ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ หรือ ตอบว่า ไม่ต้องเลย ต้อง

อาบัติทุกกฏ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติทุพภาสิต หรือ ตอบว่า

บางทีต้อง.

[๘๖๖] มีผู้ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก

หรือ ตอบว่า บางที่ต้อง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือ ตอบว่า บางทีต้อง

ต้องอาบัติถุลลัจจัย หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือ

ตอบว่า บางทีต้อง ต้องถุลลัจจัย หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง

ต้องอาบัติทุกกฏ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติทุพภาสิต หรือ ตอบว่า

ไม่ต้องเลย.

สมุฏฐานวารแห่งอาบัติ ๖ ที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 394

กตาปัตติวารแห่งสมุฏฐานอาบัติ ๖ ที่ ๒

[๘๖๗] ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ คือ

๑. ภิกษุสำคัญว่าควร สร้างกุฎีด้วยอาการขอเอาเอง ไม่ให้สงฆ์แสดง

พื้นที่ เกินประมาณ มีผู้จับจองไว้ ไม่มีชานรอบ เป็นทุกกฏในประโยค

๒. เมื่อยังไม่วางก้อนดินอีกก้อนหนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

๓. เมื่อวางดินก้อนนั้นเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๔. ภิกษุสำคัญว่าควรฉันโภชนะในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. ภิกษุสำคัญว่าควร รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี จากมือของภิกษุณี

มิใช่ญาติ ผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ด้วยมือของตนมาฉันต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ เหล่านี้.

ถามว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ สงเคราะห์

ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดา

สมุฏฐานอาบัติ ๖ จัดเป็นอธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ

เท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือบางทีเป็น

ศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๕ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกอง

อาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์

บางทีด้วยกองอาบัติปาฏิเทสนียะ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่

กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 395

จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือบางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย

ปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย กับติณวัตถารกะ ๑.

[๘๖๘] ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติ ๔ คือ

๑. ภิกษุสำคัญว่าควร สั่งว่า จงทำกุฎีให้ฉัน เขาทำกุฎีให้เธอ มิได้

ให้สงฆ์แสดงพื้นที่ เกินประมาณ มีผู้จับจองไว้ ไม่มีชานรอบ เป็นทุกกฏใน

ประโยค

๒. เมื่อยังไม่วางก้อนดินอีกก้อนหนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

๓. เมื่อวางดินก้อนนั้นเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๔. ภิกษุสำคัญว่าควร สอนธรรมแก่อนุปสัมบันว่าพร้อมกันต้อง

อาบัติปาจิตตีย์

ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติ ๔ เหล่านี้.

ถามว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔. . . ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็น

ศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๔ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกอง

อาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์

บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 396

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่

วาจา มิใช่กาย มิใช่จิต

จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย

ปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย กับติณวัตถารกะ ๑.

[๘๖๙] ถามว่า ด้วยสมุฏฐานที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ด้วยสมุฏฐานที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ คือ

๑. ภิกษุสำคัญว่าควร จัดการสร้างกุฎี ไม่ให้สงฆ์แสดงพื้นที่ เกิน

ประมาณ มีผู้จับจองไว้ ไม่มีชานรอบ เป็นทุกกฏในประโยค

๒. เมื่อยังมิได้วางก้อนดินอีกก้อนหนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

๓. เมื่อวางดินก้อนนั้นเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๔. ภิกษุสำคัญว่าควร ขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์ตนมาฉัน

ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. ภิกษุสำคัญว่าควร ไม่ห้ามภิกษุณีผู้สั่งเสียอยู่แล้วฉัน ต้องอาบัติ

ปาฏิเทสนียะ

ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ เหล่านี้.

ถามว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ . . . ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็น

ศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๕ บรรดากองอาบัติ

๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางที

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 397

ด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติปาฏิเทสนียะ บางทีด้วยกองอาบัติ

ทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่

กายกับวาจา มิใช่จิต

จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๑ บรรดาสมถะ ๑ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย

ปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

[๘๗๐] ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติท่าไร

ตอบว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ คือ

๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติปาราชิก.

๒. ภิกษุสำคัญว่าควร สร้างกุฎีด้วยอาการขอเอาเอง มิได้ให้สงฆ์

แสดงที่ เกินประมาณ มีผู้จับจองไว้ ไม่มีชานรอบ เป็นทุกกฏในประโยค

๓. เมื่อยังไม่วางคืนอีกก้อนหนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

๔. เมื่อวางก้อนดินนั้นเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๕. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควร ฉันโภชนะในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควร รับของของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี จากมือ

ภิกษุณีมิใช่ญาติ ผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ด้วยมือตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาฏิ-

เทสนียะ

ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ เหล่านี้.

ถามว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ . . . ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 398

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็น

ศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๖ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกอง

อาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย

บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติปาฏิเทสนียะ บางทีด้วยกอง

อาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กาย

กับจิต มิใช่วาจา

จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย

ปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

[๘๗๑] ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ คือ

๑. ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบคงำ กล่าว

อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มี ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก

๒. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควร สั่งว่า จงสร้างกุฎีให้ฉัน เขาสร้างกุฎีให้

เธอมิได้ให้สงฆ์แสดงพื้นที่ เกินประมาณ มีผู้จับจองไว้ ไม่มีชานรอบ เป็น

ทุกกฏในประโยค

๓. เมื่อยังไม่ได้วางก้อนดินอีกก้อนหนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

๔. เมื่อวางก้อนดินก้อนนั้นแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 399

๕. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควร สอนธรรมแก่อนุปสัมบันว่าพร้อมกัน ต้อง

อาบัติปจิตตีย์

๖. ภิกษุไม่ประสงค์จะด่า ไม่ประสงค์จะดูหมิ่น ไม่ประสงค์จะทำให้

เก้อเขิน กล่าวคำเลวทราม ด้วยประสงฆ์จะล้อเล่น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ เหล่านี้.

ถามว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไรบรรดาวิบัติ ๔ . . . ระงับด้วย

สมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางที

เป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๖ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกอง

อาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย

บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ บางทีด้วยกองอาบัติ

ทุพภาสิต

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๗ คือ เกิดแต่วาจา

กับจิตมิใช่กาย

จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑

ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

[๘๗๒] ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ คือ

๑. ภิกษุชวนกันไปลักทรัพย์ ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 400

๒. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควร จัดการสร้างกุฎี มิได้ให้สงฆ์แสดงพื้นที่

เกินประมาณ มีผู้จับจองไว้ ไม่มีชานรอบ เป็นทุกกฏในประโยค

๓. เมื่อยังไม่ได้วางก้อนดินอีกก้อนหนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

๔. เมื่อวางก้อนดินก้อนนั้นเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๕. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควร ขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตน

มาฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. ภิกษุสำคัญว่าไม่ควร ไม่ห้ามภิกษุณีผู้สั่งเสียอยู่แล้วฉัน ต้องอาบัติ

ปาฏิเทสนียะ

ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ เหล่านี้.

ถามว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ สงเคราะห์

ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดา

สมุฏฐานอาบัติ ๖ จัดเป็นอธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ

เท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางที

เป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๖ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกอง

อาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย

บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติปาฏิเทสนียะ บางทีด้วยกอง

อาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กาย

วาจาและจิต จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๓

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 401

บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางที

ด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

กตาปัตติวารแห่งสมุฏฐานอาบัติ ๖ ที่ ๒ จบ

อาปัตติสมุฏฐานคาถาที่ ๓

[๘๗๓] สมุฏฐานเกิดแต่กาย อัน

พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นพระนิพพาน ทรง

เกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก ตรัสบอก

แล้ว อาบัติเกิดแต่สมุฏฐานนั้นมีเท่าไร

ข้าพเจ้าขอถาม ข้าแต่ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์

ขอท่านบอกข้อนั้น.

สมุฏฐานเกิดแต่กาย อันพระพุทธเจ้า

ผู้ทรงเห็นพระนิพพาน ทรงเกื้อกูลสัตว์โลก

ทรงเห็นวิเวกตรัสบอกแล้ว อาบัติเกิดแต่

สมุฏฐานนั้นมี ๔ ข้าแต่ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์

ข้าพเจ้าบอกข้อนั้นแก่ท่าน.

สมุฏฐานเกิดแต่วาจา อันพระ-

พุทธเจ้าผู้ทรงเห็นพระนิพพาน ทรงเกื้อกูล

แก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวกตรัสบอกแล้ว

อาบัติเกิดแต่สมุฏฐานนั้นมีเท่าไร ข้าพเจ้า

ขอถาม ข้าแต่ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ขอท่าน

บอกข้อนั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 402

สมุฏฐานเกิดแต่วาจา อันพระ-

พุทธเจ้าผู้ทรงเห็นพระนิพพาน ทรงเกื้อกูล

แก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก ตรัสบอกแล้ว

อาบัติเกิดแต่สมุฏฐานนั้นมี ๔ ข้าแต่ท่านผู้

ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าบอกข้อนั้นแก่ท่าน.

สมุฏฐานเกิดแต่กาย เกิดแต่วาจา

อันพระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นพระนิพพาน ทรง

เกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก ตรัสบอก

แล้ว อาบัติเกิดแต่สมุฏฐานนั้นมีเท่าไร

ข้าพเจ้าขอถาม ข้าแต่ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์

ขอท่านบอกข้อนั้น.

สมุฏฐานเกิดแต่กาย เกิดแต่วาจา

อันพระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นพระนิพพาน ทรง

เกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก ตรัสบอก

แล้ว อาบัติเกิดแต่สมุฏฐานนั้นมี ๕ ข้าแต่

ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าบอกข้อนั้น

แก่ท่าน.

สมุฏฐานเกิดแต่กาย เกิดแต่จิต อัน

พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นพระนิพพาน ทรง

เกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก ตรัส

บอกแล้ว อาบัติเกิดแต่สมุฏฐานนั้นมีเท่าไร

ข้าพเจ้าขอถาม ข้าแต่ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์

ขอท่านบอกข้อนั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 403

สมุฏฐานเกิดแต่กาย เกิดแต่จิต อัน

พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นพระนิพพาน ทรง

เกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก ตรัสบอก

แล้ว อาบัติเกิดแต่สมุฏฐานนั้นมี ข้าแต่ท่าน

ผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าบอกข้อนั้นแก่ท่าน.

สมุฏฐานเกิดแต่วาจา เกิดแต่จิต อัน

พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นพระนิพพาน ทรง

เกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก ตรัส

บอกแล้ว อาบัติเกิดแต่สมุฏฐานนั้นมีเท่าไร

ข้าพเจ้าขอถาม ข้าแต่ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์

ขอท่านบอกข้อนั้น.

สมุฏฐานเกิดแต่วาจา เกิดแต่จิต อัน

พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นพระนิพพาน ทรง

เกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก ตรัสบอก

แล้ว อาบัติเกิดแต่สมุฏฐานนั้นมี ๖ ข้าแต่

ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าบอกข้อนั้น

แก่ท่าน.

สมุฏฐานเกิดแต่กาย เกิดแต่วาจา

เกิดแต่จิต อันพระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นพระ-

นิพพาน ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็น

วิเวก ตรัสบอกแล้ว อาบัติเกิดแต่สมุฏฐาน

นั้นมีเท่าไร ข้าพเจ้าขอถาม ข้าแต่ท่านผู้

ฉลาดในวิภังค์ ขอท่านบอกข้อนั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 404

สมุฏฐานเกิดแต่กาย เกิดแต่วาจา

เกิดแต่จิต อันพระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นพระ-

นิพพาน ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็น

วิเวก ตรัสบอกแล้ว อาบัติเกิดแต่สมุฏฐาน

นั้นมี ๖ ข้าแต่ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้า

บอกข้อนั้นแก่ท่าน

อาปัตติสมุฏฐานคาถาที่ ๓ จบ

วิปัตติปัจจัยวารที่ ๔

[๘๗๔] ถามว่า เพราะปัจจัยคือศีลวิบัติ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัยคือ ศีลวิบัติ ต้องอาบัติ ๔ คือ

๑. ภิกษุณีรู้อยู่ ปิดปาราชิกธรรม ต้องอาบัติปาราชิก

๒. สงสัย ปิดไว้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

๓. ภิกษุปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. ปิดอาบัติชั่วหยาบของตน ต้องอาบัติทุกกฏ

เพราะปัจจัยคือศีลวิบัติ ต้องอาบัติ ๔ เหล่านี้.

ถามว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔. . .ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางที

เป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 405

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๔ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกอง

อาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์

บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กาย

วาจาและจิต จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๓

บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางที

ด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

[๘๗๕] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ อาจารวิบัติ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ อาจารวิบัติ ต้องอาบัติ ๑ คือ ปิดอาจาร-

วิบัติต้องอาบัติทุกกฏ

เพราะปัจจัย คือ อาจารวิบัติ ต้องอาบัติ ตัว ๑ นี้

ถามว่า อาบัตินั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ . . . ระงับด้วย

สมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัตินั้นจัดเป็นวิบัติอันหนึ่ง บรรดาวิบัติ ๔ คืออาจารวิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติหนึ่ง บรรดากองอาบัติ ๗ คือด้วยกองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กาย

วาจา และจิต จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๓

บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฎิญญาตกรณะ

๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑ .

[๘๗๖] ถามว่า เพระปัจจัย คือทิฏฐิวิบัติ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือทิฏฐิวิบัติ ต้องอาบัติ ๒ คือ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 406

๑. ไม่สละทิฏฐิอันลามก เพราะสวดประกาศห้ามครบ ๓ จบญัตติเป็น

ทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง เป็นอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

๒. จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เพราะปัจจัย คือ ทิฏฐิวิบัติ ต้องอาบัติ ๒ เหล่านี้.

ถามว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ . . . ๔ ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๑ บรรดาวิบัติ ๔ คืออาจาร-

วิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๒ บรรดาด้วยกองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วย

กองบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือเกิดแต่กาย

วาจาและจิต

จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑

ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย กับติณวัตถารกะ ๑.

[๘๗๗] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ อาชีววิบัติ ด้วยอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ อาชีววิบัติต้องอาบัติ ๖ คือ

๑. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุผู้ปรารถนา

ลามกอันความปรารถนาครอบงำ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มี ไม่เป็นจริง

ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 407

๒. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุถึงความ

เป็นผู้เที่ยวสื่อ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๓. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า

ภิกษุใด อยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์ เมื่อผู้ฟังเข้าใจ ต้อง

อาบัติถุลลัจจัย

๔. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุขอโภชนะ

อันประณีต เพื่อประโยชน์ตนมาฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุณีขอโภชนะ

อันประณีต เพื่อประโยชน์ตนมาฉัน ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ

๖. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุไม่อาพาธ

ขอแกงก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์ตนมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ

เพราะปัจจัย คือ อาชีววิบัติ ต้องอาบัติ ๖ เหล่านี้.

ถามว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ . . . ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือบางที

เป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๖ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกอง

อาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย

บางทีด้วยกองบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติปาฏิเทสนียะ บางทีด้วยกอง

อาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 408

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ บางทีเกิดแต่กาย

มิใช่วาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่วาจา มิใช่กาย มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่

กายกับวาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่วาจา

กับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑

จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสันมุขาวินัย ๑

ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย กับติณวัตถารกะ ๑.

วิปัตติปัจจัยวาร ที่ ๔ จบ

อธิกรณปัจจัยวาร ที่ ๕

[๘๗๘] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ วิวาทาธิกรณ์ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือวิวาทาธิกรณ์ ต้องอาบัติ ๒ คือ

๑. ด่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. ด่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

เพราะปัจจัย คือ วิวาทาธิกรณ์ ต้องอาบัติ ๒ เหล่านี้ .

ถามว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ . . . ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติหนึ่ง บรรดาวิบัติ คืออาจาร-

วิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๒ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกอง

อาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 409

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ บางทีเกิดแต่กาย

กับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย

วาจาและจิต ๑

จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย

ปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย กับติณวัตถารกะ ๑.

[๘๗๙] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ อนุวาทาธิกรณ์ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ อนุวาทาธิกรณ์ ต้องอาบัติ ๓ คือ

๑. ภิกษุโจทภิกษุด้วยปาราชิกธรรมอันไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๒. โจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสสอันไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. โจทด้วยอาจารวิบัติอันไม่มีมูล ต้องอาบัติทุกกฏ

เพราะปัจจัย คือ อนุวาทาธิกรณ์ ต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้.

ถามว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ . . . ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางที

เป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๓ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกอง

อาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ บางทีเกิดแต่กาย

กับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย

วาจาและจิต ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 410

จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑

ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย กับติณวัตถารกะ ๑.

[๘๘๐] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ อาปัตตาธิกรณ์ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ อาปัตตาธิกรณ์ ต้องอาบัติ ๔ คือ

๑. ภิกษุณีรู้อยู่ปกปิดปาราชิกธรรม ต้องอาบัติปาราชิก

๒. สงสัยปกปิด ต้องอาบัติถุลลัจจัย

๓. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. ปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ

เพราะปัจจัย คือ อาปัตตาธิกรณ์ ต้องอาบัติ ๔ เหล่านี้.

ถามว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ . . . ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางที

เป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๔ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกอง

อาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์

บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กาย

วาจาและจิต

จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 411

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑

ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย กับติณวัตถารกะ.

[๘๘๑] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ กิจจาธิกรณ์ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะปัจจัยคือ กิจจาธิกรณ์ ต้องอาบัติ ๕ คือ

๑. ภิกษุณีประพฤติตามภิกษุผู้สงฆ์ยกวัตร ไม่สละกรรมเพราะสวด

ประกาศห้ามครบ ๓ จบ จบญัตติ เป็นทุกกฏ

๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง เป็นถุลลัจจัย

๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาราชิก

๔. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่สละกรรมเพราะสวด

ประกาศห้ามครบ ๓ จบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๕. ไม่สละทิฏฐิลามก เพราะสวดประกาศห้ามครบ ๓ จบ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์

เพราะปัจจัย คือ กิจจาธิกรณ์ ต้องอาบัติ ๕ เหล่านี้.

ถามว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔. . .ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางที

เป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๕ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกอง

อาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย

บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 412

เกิดด้วยสมุฏฐานหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กาย

วาจา และจิต

จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑

ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย กับติณวัตถารกะ ๑.

[๘๘๒] ถามว่า เว้นอาบัติ ๗ และเว้นกองอาบัติ ๗ เสีย อาบัติ

นอกนั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร

บรรดากองอาบัติ ๗ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ จัดเป็น

อธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

ตอบว่า เว้นอาบัติ ๗ และเว้นกองอาบัติ ๗ เสีย อาบัตินอกนั้นไม่

จัดเป็นวิบัติข้อไหน บรรดาวิบัติ ๔ ไม่สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติไหน บรรดา

กองอาบัติ ๗ ไม่เกิดด้วยสมุฏฐานไหน บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ ไม่จัดเป็น

อธิกรณ์ข้อไหน บรรดาอธิกรณ์ ๔ ไม่ระงับด้วยสมถะข้อไหน บรรดาสมถะ

๗ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะเว้นอาบัติ ๗ และเว้นกองอาบัติ ๗ เสีย

ไม่มีอาบัติอย่างอื่นอีก.

อธิกรณปัจจัยวารที่ ๕ จบ

อนันตรเปยยาล จบ

หัวข้อบอกวาร

[๘๘๓] กติปุจฉาวาร ๑ สมุฏฐานวาร ๑ กตาปัตติวาร ๑ อาปัตติ

สมุฏฐานวาร ๑ วิปัตติวาร ๑ กับอธิกรณวาร ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 413

ปริยายวารที่ ๖

[๘๘๔] วิวาทาธิกรณ์มีอะไรเป็นประธาน มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร

มีภูมิเท่าไร มีเหตุเท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการเท่าไร วิวาทา-

ธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

อนุวาทาธิกรณ์มีอะไรเป็นประธาน มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิ

เท่าไร มีเหตุเท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุโจทด้วยอาการเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์

ระงับด้วยสมถะเท่าไร

อาปัตตาธิกรณ์มีอะไรเป็นประธาน มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิ

เท่าไร มีเหตุเท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุไม่ต้องด้วยอาการเท่าไร อาปัตตา-

ธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร

กิจจาธิกรณ์มีอะไรเป็นประธาน มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิ

เท่าไร มีเหตุเท่าไร มีมูลเท่าไร กิจเกิดด้วยอาการเท่าไร กิจจาธิกรณ์ย่อม

ระงับด้วยสมถะเท่าไร.

[๘๘๕] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์มีอะไรเป็นประธาน

ตอบว่า มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นประธาน มีความ

ไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง เป็นประธาน

ถ. มีฐานเท่าไร

ต. มีฐาน คือ เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘

ถ. มีวัตถุเท่าไร

ต. มีวัตถุทำความแตกร้าวกัน ๑๘

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 414

ถ. มีภูมิเท่าไร

ต. มีภูมิ คือ วัตถุทำความแตกร้าวกัน ๑๘

ถ. มีเหตุเท่าไร

ต. มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓

ถ. มีมูลเท่าไร

ต. มีมูล ๑๒

ถ. ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการเท่าไร

ต. ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการ ๒ คือ เห็นว่าเป็นธรรม ๑ เห็นว่าไม่

เป็นธรรม ๑

ถ. วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ ด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย

เยภุยยสิกา ๑.

[๘๘๖] ถามว่า อนุวาทาธิกรณ์มีอะไรเป็นประธาน

ตอบว่า มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นประธาน มีความ

ไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง เป็นประธาน

ถ. มีฐานเท่าไร

ต. มีฐาน คือ วิบัติ ๔

ถ. มีวัตถุเท่าไร

ต. มีวัตถุ คือ วิบัติ ๔

ถ. มีภูมิเท่าไร

ต. มีภูมิ คือ วิบัติ ๔

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 415

ถ. มีเหตุเท่าไร

ต. มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓

ถ. มีมูลเท่าไร

ต. มีมูล ๑๔

ถ. ภิกษุโจทด้วยอาการเท่าไร

ต. ภิกษุโจทด้วยอาการ ๒ คือ ด้วยวัตถุ ๑ ด้วยอาบัติ ๑

ถ. อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ ด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย

สติวินัย ๑ ด้วยอมูฬหวินัย ๑ ด้วยตัสสปาปิยสิกา ๑.

[๘๘๗] ถามว่า อาปัตตาธิกรณ์มีอะไรเป็นประธาน

ตอบว่า มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นประธาน มีความ

ไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง เป็นประธาน

ถ. มีฐานเท่าไร

ต. มีฐาน คือ กองอาบัติ ๗

ถ. มีวัตถุเท่าไร

ต. มีวัตถุ คือ กองอาบัติ ๗

ถ. มีภูมิเท่าไร

ต. มีภูมิ คือ กองอาบัติ ๗

ถ. มีเหตุเท่าไร

ต. มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 416

ถ. มีมูลเท่าไร

ต. มีมูล คือ สมุฏฐานอาบัติ ๖

ถ. ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไร

ต . ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ คือ ไม่ละอาย ๑ ไม่รู้ ๑ สงสัย

แล้วขืนทำ ๑ สำคัญว่าควรในของไม่ควร ๑ สำคัญว่าไม่ควรในของควร ๑

ลืมสติ ๑

ถ. อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ ด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย

ปฏิญญาตกรณะ ๑ ด้วยติณวัตถารกะ ๑.

[๘๘๘] ถามว่า กิจจาธิกรณ์มีอะไรเป็นประธาน

ตอบว่า มีความ โลภ ความโกรธ ความหลง เป็นประธาน มีความ

ไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง เป็นประธาน

ถ. มีฐานเท่าไร

ต. มีฐาน คือ กรรม ๔

ถ. มีวัตถุเท่าไร

ต. มีวัตถุ คือ กรรม ๔

ถ. มีภูมิเท่าไร

ต. มีภูมิ คือ กรรม ๔

ถ. มีเหตุเท่าไร

ต. มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 417

ถ. มีมูลเท่าไร

ต. มีมูล ๑ คือ สงฆ์

ถ. กิจเกิดด้วยอาการเท่าไร

ต. กิจเกิดด้วยอาการ ๒ คือ ด้วยญัตติ ๑ ด้วยอุปโลกน์ ๑

ถ. กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะอย่างหนึ่ง คือ ด้วยสัมมุขาวินัย.

[๘๘๙] ถามว่า สมถะ มีเท่าไร

ตอบว่า สมถะมี ๗ คือ สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญ-

ญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ สมถะมี ๗ เหล่านี้

ถ. บางทีสมถะ ๗ เหล่านี้ เป็นสมถะ ๑๐ สมถะ ๑๐ เป็นสมถะ ๗

ด้วยอำนาจวัตถุโดยปริยาย หรือ

ต. บางทีเป็นได้ ก็บางทีเป็นได้อย่างไร คือ วิวาทาธิกรณ์มีสมถะ ๒

อนุวาทาธิกรณ์มีสมถะ ๔ อาปัตตาธิกรณ์มีสมถะ ๓ กิจจาธิกรณ์มีสมถะ ๑

อย่างนี้ที่สมถะ ๗ เป็นสมถะ ๑๐ สมถะ ๑๐ เป็นสมถะ ๗ ด้วยอำนาจวัตถุ

โดยปริยาย.

ปริยายวาร ที่ ๖ จบ

สาธารณวาร ที่ ๗

[๘๙๐] ถามว่า สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่วิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร

ไม่ทั่วไปแก่วิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่อนุวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร

ไม่ทั่วไปแก่อนุวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์ สมถะเท่าไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 418

ไม่ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์ สมถะเท่าไร

ไม่ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์

ตอบว่า สมถะ ๒ อย่าง ทั่วไปแก่วิวาทาธิกรณ์ คือ สัมมุขาวินัย

เยภุยยสิกา สมถะ ๕ อย่าง ไม่ทั่วไปแก่วิวาทาธิกรณ์ คือ สติวินัย อมูฬห-

วินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ

สมถะ ๔ อย่าง ทั่วไปแก่อนุวาทาธิกรณ์ คือ สัมมุขาวินัย สติวินัย

อมูฬหวินัย ตัสสปาปิยสิกา สมถะ ๓ อย่าง ไม่ทั่วไปแก่อนุวาทาธิกรณ์ คือ

เยภุยยสิกา ปฏิญญาตกรณะ ติณวัตถารกะ

สมถะ ๓ อย่าง ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์ คือ สัมมุขาวินัย ปฏิญ-

ญาตกรณะ ติณวัตถารกะ สมถะ ๔ อย่าง ไม่ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์ คือ

เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ตัสสปาปิยสิกา

สมถะอย่างหนึ่ง ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์ คือ สัมมุขาวินัย สมถะ ๖

อย่าง ไม่ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์ คือ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญ-

ญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ.

สาธารณวาร ที่ ๗ จบ

ตัพภาคิยวาร ที่ ๘

[๘๙๑] ถามว่า สมถะเท่าไร เป็นไปในส่วนนั้นแห่งวิวาทาธิกรณ์

สมถะเท่าไร เป็นไปในส่วนอื่นแห่งวิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็นไปในส่วน

นั้นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็นไปในส่วนอื่นแห่งอนุวาทาธิกรณ์

สมถะเท่าไร เป็นไปในส่วนอื่นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็นไปใน

ส่วนนั้นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ สมถะเท่าไรเป็นไปในส่วนอื่นแห่งกิจจาธิกรณ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 419

ตอบว่า สมถะ ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนนั้นแห่งวิวาทาธิกรณ์ คือ

สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สมถะ ๕ อย่าง เป็นไปในส่วนอื่นแห่งวิวาทาธิกรณ์

คือ สติวินัย อมูฬหวินัย ปฎิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ

สมถะ ๔ อย่าง เป็นไปในส่วนนั้นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ คือ สัมมุขาวินัย

สติวินัย อมูฬหวินัย ตัสสปาปิยสิกา สมถะ ๓ อย่าง เป็นไปในส่วนอื่นแห่ง

อนุวาทาธิกรณ์ คือ เยภุยยสิกา ปฏิญาณตกรณะ ติณวัตถารกะ

สมถะ ๓ อย่าง เป็นไปในส่วนนั้นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ คือ สัมมุขา-

วินัย ปฏิญญาตกรณะ ติณวัตถารกะ สมถะ ๔ อย่าง เป็นไปในส่วนอื่นแห่ง

อาปัตตาธิกรณ์ คือ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ตัสสปาปิยสิกา

สมถะอย่างหนึ่ง เป็นไปในส่วนนั้นแห่งกิจจาธิกรณ์ คือ สัมมุขาวินัย

สมถะ ๖ อย่าง เป็นไปในส่วนอื่นแห่งกิจจาธิกรณ์ คือ เยภุยยสิกา สติวินัย

อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ.

ตัพภาคิยวาร ที่ ๘ จบ

วารที่ ๙ ว่าด้วยสมถะทั่วไปแก่สมถะ

[๘๙๒] สมถะทั่วไปแก่สมถะ สมถะไม่ทั่วไปแก่สมถะ สมถะบาง-

อย่างทั่วไปแก่สมถะ สมถะบางอย่างไม่ทั่วไปแก่สมถะ

ถามว่า อย่างไร สมถะบางอย่างทั่วไปแก่สมถะ อย่างไร สมถะ

บางอย่างไม่ทั่วไปแก่สมถะ

ตอบว่า เยภุยยสิกา ทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่สติวินัย

อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 420

สติวินัย ทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ

ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา

อมูฬหวินัย ทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่ปฏิญญาตกรณะ

ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย

ปฏิญญาตกรณะ ทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่ตัสสปาปิยสิกา

ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย

ตัสสปาปิยสิกา ทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่ติณวัตถารกะ

เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ

ติณวัตถารกะ ทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่เยภุยยสิกา สติวินัย

อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา

สมถะบางอย่าง ทั่วไปแก่สมถะอย่างนี้ สมถะบางอย่าง ไม่ทั่วไปแก่

สมถะอย่างนี้.

วารที่ ๙ ว่าด้วยสมถะทั่วไป แก่สมถะ จบ

วารที่ ๑๐ ว่าด้วยสมถะเป็นไปในส่วนนั้นแห่งสมถะ

[๘๙๓] สมถะเป็นไปในส่วนนั้นแห่งสมถะ สมถะเป็นไปในส่วนอื่น

แห่งสมถะ สมถะบางอย่าง เป็นไปในส่วนนั้นแห่งสมถะ สมถะบางอย่างเป็น

ไปในส่วนอื่นแห่งสมถะ

ถามว่า อย่างไร สมถะบางอย่างเป็นไปในส่วนนั้นแห่งสมถะ อย่างไร

สมถะบางอย่าง เป็นไปในส่วนอื่นแห่งสมถะ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 421

ตอบว่า เยภุยยสิกาเป็นไปในส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัยเป็นไปในส่วน

อื่นแห่งสติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ

สติวินัยเป็นไปในส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นไปในส่วนอื่นแห่งอมู-

ฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา

อมูฬหวินัยเป็นไปในส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นไปในส่วนอื่นแห่ง

ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย

ปฏิญญาตกรณะเป็นไปในส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นไปในส่วนอื่น

แห่งตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย

ตัสสปาปิยสิกาเป็นไปในส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นไปในส่วนอื่น

แห่งติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ

ติณวัตถารกะ เป็นไปในส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นไปในส่วนอื่น

แห่งเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา

สมถะบางอย่าง เป็นไปในส่วนนั้นแห่งสมถะอย่างนี้ สมถะบางอย่าง

เป็นไปในส่วนอื่นแห่งสมถะอย่างนี้.

วารที่ ๑๐ ว่าด้วยสมถะเป็นไปในส่วนนั้นแห่งสมถะ จบ

สมถสัมมุขาวินัยวารที่ ๑๑

[๘๙๔] สมถะ คือ สัมมุขาวินัย สัมมุขาวินัย คือ สมถะ สมถะ

คือ เยภุยยสิกา เยภุยยสิกา คือ สมถะ สมถะ คือ สติวินัย สติวินัย คือ

สมถะ สมถะ คือ อมูฬหวินัย อมูฬหวินัย คือ สมถะ สมถะ คือ

ปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาตกรณะ คือ สมถะ สมถะ คือ ตัสสปาปิยสิกา

ตัสสปาปิยสิกา คือ สมถะ สมถะ คือ ติณวัตถารกะ ติณวัตถารกะ คือ สมถะ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 422

สมถะเหล่านี้ คือ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญญาตกรณะ

ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เป็นสมถะ มิใช่เป็นสัมมุขาวินัย สัมมุขาวินัย

เป็นสมถะ และเป็นสัมมุขาวินัย

สมถะเหล่านี้ คือ สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-

ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย เป็นสมถะ มิใช่เป็นเยภุยยสิกา

เยภุยยสิกา เป็นสมถะ และเป็นเยภุยยสิกา

สมถะเหล่านี้ คือ อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา

ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา เป็นสมถะ มิใช่เป็นสติวินัย สติวินัย

เป็นสมถะ และเป็นสติวินัย

สมถะเหล่านี้ คือ ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ

สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัยเป็นสมถะ มิใช่เป็นอมูฬหวินัย อมูฬหวินัย

เป็นสมถะ และเป็นอมูฬหวินัย

สมถะเหล่านี้ คือ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย

เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย เป็นสมถะ มิใช่เป็นปฏิญญาตกรณะ

ปฏิญญาตกรณะ เป็นสมถะ และเป็นปฏิญญาตกรณะ

สมถะเหล่านี้ คือ ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัย

อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เป็นสมถะ มิใช่เป็นตัสสปาปิยสิกา ตัสสปาปิยสิกา

เป็นสมถะ และเป็นตัสสปาปิยสิกา

สมถะเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย

ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา เป็นสมถะ มิใช่เป็นติณวัตถารกะ ติณวัตถารกะ

เป็นสมถะ และเป็นติณวัตถารกะ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 423

[๘๙๕] วินัย คือ สัมมุขาวินัย สัมมุขาวินัย คือ วินัย วินัย คือ

เยภุยยสิกา เยภุยยสิกา คือ วินัย วินัย คือ สติวินัย สติวินัย คือ วินัย

วินัย คือ อมูฬหวินัย อมูฬหวินัย คือ วินัย วินัย คือ ปฏิญญาตกรณะ

ปฏิญญาตกรณะ คือ วินัย วินัย คือ ตัสสปาปิยสิกา ตัสสปาปิยสิกา คือ

วินัย วินัย คือ ติณวัตถารกะ ติณวัตถารกะ คือ วินัย.

สมถสัมมุขาวินัยวารที่ ๑๑ จบ

วินัยวารที่ ๑๒

[๘๙๖] วินัย บางอย่างเป็นสัมมุขาวินัย บางอย่างไม่เป็นสัมมุขาวินัย

สัมมุขาวินัย เป็นวินัย และเป็นสัมมุขาวินัย

วินัยบางอย่างเป็นเยภุยยสิกา บางอย่างไม่เป็นเยภุยยสิกา เยภุยยสิกา

เป็นวินัย และเป็นเยภุยยสิกา

วินัยบางอย่างเป็นสติวินัย บางอย่างไม่เป็นสติวินัย สติวินัย เป็นวินัย

และเป็นสติวินัย

วินัยบางอย่างเป็นอมูฬหวินัย บางอย่างไม่เป็นอมูฬหวินัย อมูฬหวินัย

เป็นวินัย และเป็นอมูฬหวินัย

วินัยบางอย่างเป็นปฏิญญาตกรณะ บางอย่างไม่เป็นปฏิญญาตกรณะ

ปฏิญญาตกรณะ เป็นวินัย และเป็นปฏิญญาตกรณะ

วินัยบางอย่างเป็นตัสสปาปิยสิกา บางอย่างไม่เป็นตัสสปาปิยสิกา

ตัสสปาปิยสิกา เป็นวินัย และเป็นตัสสปาปิยสิกา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 424

วินัยบางอย่างเป็นติณวัตถารกะ บางอย่างไม่เป็นติณวัตถารกะ ติณ-

วัตถารกะเป็นวินัย แสะเป็นติณวัตถารกะ.

วินัยวารที่ ๑๒ จบ

กุศลวารที่ ๑๓

[๘๙๗] สัมมุขาวินัย เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต

เยภุยยสิกา เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต

สติวินัย เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต

อมูฬหวินัย เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต

ปฏิญญาตกรณะ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต

ตัสสปาปิยสิกา เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต

ติณวัตถารกะ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต

สัมมุขาวินัย บางทีเป็นกุศล บางทีเป็นอัพยากฤต สัมมุขาวินัย เป็น

อกุศลไม่มี

เยภุยยสิกา บางทีเป็นกุศล บางทีเป็นอกุศล บางทีเป็นอัพยากฤต

สติวินัย บางทีเป็นกุศล บางทีเป็นอกุศล บางทีเป็นอัพยากฤต

อมูฬหวินัย บางทีเป็นกุศล บางทีเป็นอกุศล บางทีเป็นอัพยากฤต

ปฏิญญาตกรณะ บางทีเป็นกุศล บางทีเป็นอกุศล บางทีเป็นอัพยากฤต

ตัสสปาปิยสิกา บางทีเป็นกุศล บางทีเป็นอกุศล บางทีเป็นอัพยากฤต

ติณวัตถารกะ บางทีเป็นกุศล บางทีเป็นอกุศล บางทีเป็นอัพยากฤต.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 425

[๘๙๘] วิวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต อนุวาทาธิกรณ์

เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต อาปัตตาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต

กิจจาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต

วิวาทาธิกรณ์ บางทีเป็นกุศล บางทีเป็นอกุศล บางทีเป็นอัพยากฤต

อนุวาทาธิกรณ์ บางทีเป็นกุศล บางทีเป็นอกุศล บางทีเป็นอัพยากฤต

อาปัตตาธิกรณ์ บางทีเป็นกุศล บางทีเป็นอกุศล บางทีเป็นอัพยากฤต

อาปัตตาธิกรณ์ เป็นกุศลไม่มี

กิจจาธิกรณ์ บางเป็นกุศล บางทีเป็นอกุศล บางทีเป็นอัพยากฤต

กุศลวารที่ ๑๓ จบ

จักรเปยยาล ยัตถวาร ที่ ๑๔

[๔๙๙] เยภุยยสิกาใช้ได้ ณ ที่ใด สัมมุขาวินัยใช้ได้ ณ ที่นั้น สัมมุ-

ขาวินัยใช้ได้ ณ ที่ใด เยภุยยสิกาใช้ได้ ณ ที่นั้น ณ ที่นั้นใช้สติวินัย

อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะไม่ได้

สติวินัยใช้ได้ ณ ที่ใด สัมมุขาวินัยใช้ได้ ณ ที่นั้น สัมมุขาวินัยใช้ได้

ณ ที่ใด สติวินัยใช้ได้ ณ ที่นั้น ณ ที่นั้นใช้อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ

ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ และเยภุยยสิกาไม่ได้

อมูฬหวินัยใช้ได้ ณ ที่ใด สัมมุขาวินัยไม่ได้ ณ ที่นั้น สัมมุขาวินัย

ใช้ได้ ณ ที่ใด อมูฬหวินัยใช้ได้ ณ ที่นั้น ณ ที่นั้นใช้ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-

ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา และสติวินัยไม่ได้

ปฏิญญาตกรณะใช้ได้ ณ ที่ใด สัมมุขาวินัยใช้ได้ ณ ที่นั้น สัมมุขา-

วินัยใช้ได้ ณ ที่ใด ปฏิญญาตกรณะใช้ได้ ณ ที่นั้น ณ ที่นั้นใช้ตัสสปาปิยสิกะ

ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย และอมูฬหวินัยไม่ได้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 426

ตัสสปาปิยสิกใช้ได้ ณ ที่ใด สัมมุขาวินัยใช้ได้ ณ ที่นั้น สัมมุขาวินัย

ใช้ได้ ณ ที่ใด ตัสสปาปิยสิกาใช้ได้ ณ ที่นั้น ณ ที่นั้นใช้ติณวัตถารกะ เยภุยย-

สิกา สติวินัย อมูฬหวินัย และปฏิญญาตกรณะไม่ได้

ติณวัตถารกะใช้ได้ ณ ทีใด สัมมุขาวินัยใช้ได้ ณ ที่นั้น สัมมุขาวินัย

ใช้ได้ ณ ที่ใด ติณวัตถารกะใช้ได้ ณ ที่นั้น ณ ที่นั้นใช้เยภุยยสิกา สติวินัย

อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ และตัสสปาปิยสิกาไม่ได้.

[๙๐๐] เยภุยยสิกา ณ ที่ใด สัมมุขาวินัยมี ณ ที่นั้น สัมมุขาวินัย

มี ณ ที่ใด เยภุยยสิกามี ณ ที่นั้น ณ ที่นั้นไม่มีสติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญ-

ญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ

สติวินัยมี ณ ที่ใด สัมมุขาวินัยมี ณ ที่นั้น สัมมุขาวินัยมี ณ ที่ใด

สติวินัยมี ณ ที่นั้น ณ ที่นั้นไม่มีอมูฬหวินัย ปฏิญญาติกรณะ ตัสสปาปิยสิกา

ติณวัตถารกะ และเยภุยยสิกา คือ (จัดสัมมุขาวินัยเป็นมูล). . . ติณวัตถารกะ

มี ณ ที่ใด สัมมุขาวินัยมี ณ ที่นั้น สัมมุขาวินัยมี ณ ที่ใด ติณวัตถารกะมี

ณ ที่นั้น ณ ที่นั้น ไม่มีเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ

และตัสสปาปิยสิกา.

จักรเปยยาล ยัตถวาร ที่ ๑๔ จบ

สมยวาร ที่ ๑๕

[๙๐๑] สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยกับเยภุยยสิกา สมัยนั้น

เยภุยยสิกาใช้ได้ ณ แห่งใด สัมมุขาวินัยใช้ได้ ณ แห่งนั้น สัมมุขาวินัยใช้ได้

ณ แห่งใด เยภุยยสิกาใช้ได้ ณ แห่งนั้น สติวินัย อมูฬหวินัย ปฎิญญาตกรณะ

ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ ใช้ไม่ได้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 427

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยกับสติวินัย สมัยนั้น สติวินัย

ใช้ได้ ณ แห่งใด สัมมุขาวินัยใช้ได้ ณ แห่งนั้น สัมมุขาวินัยใช้ได้ ณ แห่งใด

สติวินัยใช้ได้ ณ แห่งนั้น แต่ ณ แห่งนั้น อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ

ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ และเยภุยยสิกา ใช้ไม่ได้

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยกับอมูฬหวินัย สมัยนั้น อมู-

ฬหวินัยใช้ได้ ณ แห่งใด สัมมุขาวินัยใช้ได้ ณ แห่งนั้น สัมมุขาวินัย ใช้ได้

ณ แห่งใด อมูฬหวินัยใช้ได้ ณ แห่งนั้น แต่ ณ แห่งนั้นปฏิญญาตกรณะ

ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา และสติวินัย ใช้ไม่ได้

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย กับปฏิญญาตกรณะ สมัยนั้น

ปฏิญญาตกรณะใช้ได้ ณ แห่งใด สัมมุขาวินัยใช้ได้ ณ แห่งนั้น สัมมุขาวินัย

ใช้ได้ ณ แห่งใด ปฏิญญาตกรณะใช้ได้ ณ แห่งนั้น แต่ ณ แห่งนั้น ตัสส-

ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย และอมูฬหวินัย ใช้ไม่ได้

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยกับตัสสปาปิยสิกา สมัยนั้น

ตัสสปาปิยสิกาใช้ได้ ณ แห่งใด สัมมุขาวินัยใช้ได้ ณ แห่งนั้น สัมมุขาวินัย

ใช้ได้ ณ แห่งใด ตัสสปาปิยสิกาใช้ได้ ณ แห่งนั้น แต่ ณ แห่งนั้น ติณวัต-

ถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย และปฏิญญาตกรณะ ใช้ไม่ได้

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ สมัยนั้น

ติณวัตถารกะใช้ได้ ณ แห่งใดสัมมุขาวินัยใช้ได้ ณ แห่งนั้น สัมมุขาวินัยใช้ได้

ณ แห่งใด ติณวัตถารกะใช้ได้ ณ แห่งนั้น แต่ ณ แห่งนั้น เยภุยยสิกา

สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ และตัสสปาปิยสิกา ใช้ไม่ได้.

สมยวาร ที่ ๑๕ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 428

สังสัฏฐวาร ที่ ๑๖

[๙๐๒] ถามว่า ธรรมเหล่านี้ คือ อธิกรณ์ก็ดี สมถะก็ดี รวมกัน

หรือแยกกันและนักปราชญ์พึงได้เพื่อยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ทำให้ต่างกัน

ธรรมเหล่านี้ คืออธิกรณ์ก็ดี สมถะก็ดี รวมกันไม่แยกกัน และนักปราชญ์พึง

ได้เพื่อยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ทำให้ต่างกัน หรือ

ตอบว่า ข้อนั้นนักปราชญ์ไม่พึงกล่าวว่าอย่างนั้น ธรรมเหล่านี้คือ

อธิกรณ์ก็ดี สมถะก็ดี รวมกัน ไม่แยกกัน และนักปราชญ์ไม่พึงได้เพื่อยักย้าย

บัญญัติธรรมเหล่านี้ทำให้ต่างกัน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้แล้วมิใช่หรือว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ ๔ นี้ สมถะ ๗ อธิกรณ์

ระงับด้วยสมถะ สมถะระงับด้วยอธิกรณ์ อย่างนี้ ธรรมเหล่านี้จึงรวมกัน ไม่

แยกกัน และนักปราชญ์ไม่พึงได้เพื่อยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ทำให้ต่างกัน.

สังสัฏฐวาร ที่ ๑๖ จบ

สัมมันติวาร ที่ ๑๗

[๙๐๓] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์

ระงับด้วยสมถะเท่าไร อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร กิจจาธิกรณ์ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร

ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑

เยภุยยสิกา ๑

อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑

อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 429

อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญ-

ญาตกรณะ ๑ ติณวัตถารกะ ๑

กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะอย่างหนึ่ง คือ สัมมุขาวินัย

ถ. วิวาทาธิกรณ์กับอนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. วิวาทาธิกรณ์กับอนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๕ อย่าง คือ

สัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑

ถ. วิวาทาธิกรณ์กับอาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. วิวาทาธิกรณ์กับอาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๔ อย่างคือ

สัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ติณวัตถารกะ ๑

ถ. วิวาทาธิกรณ์กับกิจจธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. วิวาทาธิกรณ์กับกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัม-

มุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑

ถ. อนุวาทาธิกรณ์กับอาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. อนุวาทาธิกรณ์กับอาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๖ อย่าง คือ

สัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑

ติณวัตถารกะ ๑

ถ. อนุวาทาธิกรณ์กับกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. อนุวาทาธิกรณ์กับกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๔ อย่าง คือ

สัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑

ถ. อาปัตตาธิกรณ์กับกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. อาปัตตาธิกรณ์ดับกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ

สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ติณวัตถารกะ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 430

ถ. วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ และอาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วย

สมถะเท่าไร

ต. วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ และอาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วย

สมถะ ๗ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑

ปฏิญญาตกรณะ ๑ ตัสสาปาปิยสิกา ๑ ติณวัตถารกะ ๑

ถ. วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ

เท่าไร

ต. วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ

๕ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ตัสส-

ปาปิยสิกา ๑

ถ. วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์

ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์

ระงับด้วยสมถะ ๗ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑ สติวินัย

อมูฬหวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ติณวัตถารกะ ๑.

สัมมันติวารที่ ๑๗ จบ

สัมมันติ นสัมมันติวารที่ ๑๘

[๙๐๔] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วย

สมถะเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร

อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร กิจจาธิกรณ์

ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 431

ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ สัมมุขาวินัย ๑

เยภุยยสิกา ๑ ไม่ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑

ปฏิญญาตกรณะ ๑ ตัสสปาปิยสิก ๑ ติณวัตถารกะ ๑

อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ สัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑

อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ไม่ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ เยภุยยสิกา ๑

ปฏิญญาตกรณะ ๑ ติณวัตถารกะ ๑

อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ๑

ติณวัตถารกะ ๑ ไม่ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ เยภุยยสิกา ๑ สติวินัย ๑

อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑

กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัยไม่ระงับด้วยสมถะ ๖

คือ เยภุยยสิกา ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ปฎิญญาตกรณะ ๑ ตัสส-

ปาปิยสิกา ๑ ติณวัตถารกะ ๑

ถ. วิวาทาธิกรณ์กับอนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร

ต. วิวาทาธิกรณ์กับอนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ สัมมุขา

วินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ไม่ระงับ

ด้วยสมถะ ๒ คือ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ติณวัตถารกะ ๑

ถ. วิวาทาธิกรณ์กับอาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะท่าไร ไม่ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร

ต. วิวาทาธิกรณ์กับอาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ สัมมุขา

วินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ติณวัตถารกะ ๑ ไม่ระงับด้วย

สมถะ ๓ คือ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 432

ถ. วิวาทาธิกรณ์กับกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร

ต. วิวาทาธิกรณ์กับกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ สัมมุขาวินัย ๑

เยภุยยสิกา ๑ ไม่ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ปฏิญญาต-

กรณะ ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ติณวัตถารกะ ๑

ถ. อนุวาทาธิกรณ์กับอาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่

ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. อนุวาทาธิกรณ์กับอาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ สัมมุขา-

วินัย ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑

ติณวัตถารกะ ๑ ไม่ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ เยภุยยสิกา

ถ. อนุวาทาธิกรณ์กับกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร

ต. อนุวาทาธิกรณ์กับกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ สัมมุขา

วินัย ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ไม่ระงับด้วยสมถะ ๓

คือ เยภุยยสิกา ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ติณวัตถารกะ ๑

ถ. อาปัตตาธิกรณ์กับกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับ

ด้วยสมถะเท่าไร

ต. อาปัตตาธิกรณ์กับกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ สัมมุขา

วินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ติณวัตถารกะ ๑ ไม่ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ

เยภุยยสิกา ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 433

ถ. วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ และอาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วย

สมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ และอาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วย

สมถะ ๗ คือ สัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑

ปฏิญญาตกรณะ ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ติณวัตถารกะ ๑

ถ. วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ

เท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๕

คือ สัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑

ไม่ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ ปฏิญาตกรณะ ๑ ติณวัตถารกะ ๑

ถ. อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วย

สมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์ ระงับด้วย

สมถะ ๖ คือ สัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑

ตัสสปาปิยสิกา ๑ ติณวัตถารกะ ๑ ไม่ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ เยภุยยสิกา

ถ. วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์

ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ต. วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์

ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ สัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑

ปฏิญญาตกรณะ ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ติณวัตถารกะ ๑.

สัมมันติ นสัมมันติวารที่ ๑๘ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 434

สมถาธิกรณวารที่ ๑๙

[๙๐๕] ถามว่า สมถะ ระงับด้วยสมถะ สมถะ ระงับด้วยอธิกรณ์

อธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ อธิกรณ์ ระงับด้วยอธิกรณ์ หรือ

ตอบว่า สมถะบางอย่างระงับด้วยสมถะ สมถะบางอย่างไม่ระงับ

ด้วยสมถะ สมถะบางอย่างระงับด้วยอธิกรณ์ สมถะบางอย่างไม่ระงับด้วย

อธิกรณ์ อธิกรณ์บางอย่างระงับด้วยสมถะ อธิกรณ์บางอย่างไม่ระงับด้วยสมถะ

อธิกรณ์บางอย่าง ระงับด้วยอธิกรณ์ อธิกรณ์บางอย่าง ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์.

[๙๐๖] ถามว่า อย่างไร สมถะบางอย่าง ระงับด้วยสมถะ สมถะ

บางอย่าง ไม่ระงับด้วยสมถะ

ตอบว่า เยภุยยสิกา ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยสติวินัย

อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ

สติวินัย ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยอมูฬหวินัย ปฏิญญาต-

กรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ และเยภุยยสิกา

อมูฬหวินัย ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยปฏิญญาตกรณะ

ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภะยยสิกา และสติวินัย

ปฏิญญาตกรณะ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยตัสสปาปิยสิกา

ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย และอมูฬหวินัย

ตัสสปาปิยสิกา ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยติณวัตถารกะ

เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย และปฎิญญาตกรณะ

ติณวัตถารกะ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย

อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ และตัสสปาปิยสิกา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 435

อย่างนี้ สมถะบางอย่าง ระงับด้วยสมถะ อย่างนี้ สมถะบางอย่าง

ไม่ระงับด้วยสมถะ.

[๙๐๗] ถามว่า อย่างไร สมถะบางอย่าง ระงับด้วยอธิกรณ์ อย่างไร

สนถะบางอย่าง ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์

ตอบว่า สัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์

อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์

เยภุยยสิกา ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์

แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์

สติวินัย ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์

แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์

อมูฬหวินัย ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์

แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์

ปฏิญญาตกรณะ ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัต-

ตาธิกรณ์ แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์

ตัสสปาปิยสิกา ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตา-

ธิกรณ์ แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์

ติณวัตถารกะ ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตา-

ธิกรณ์ แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์

อย่างนี้ สมถะบางอย่าง ระงับด้วยอธิกรณ์ อย่างนี้ สมถะบางอย่าง

ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 436

[๙๐๘] ถามว่า อย่างไร อธิกรณ์บางอย่างระงับด้วยสมถะ อย่างไร

อธิกรณ์บางอย่างไม่ระงับด้วยสมถะ

ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา ไม่

ระงับด้วยสติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา และตัณวัต-

ถารกะ

อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย และ

ตัสสปาปิยสิกา ไม่ระงับด้วยภุยยสิกา ปฏิญญาตกรณะ และติณวัตถารกะ

อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ปฏิญญาตกรณะ และติณวัต-

ถารกะ ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย และตัสสปาปิยสิกา

กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย

อมูฬหวินัย ปฏิญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ

อย่างนี้ อธิกรณ์บางอย่างระงับด้วยสมถะ อย่างนี้ อธิกรณ์บางอย่าง

ไม่ระงับด้วยสมถะ.

[๙๐๙] ถามว่า อย่างไร อธิกรณ์บางอย่างระงับด้วยอธิกรณ์ อย่างไร

อธิกรณ์บางอย่างไม่ระงับด้วยอธิกรณ์

ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์

อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์

อนุวาทาธิกรณ์ ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตา-

ธิกรณ์ แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์

อาปัตตาธิกรณ์ ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตา-

ธิกรณ์ แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 437

กิจจาธิกรณ์ ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์

แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์

อย่างนี้ อธิกรณ์บางอย่างระงับด้วยอธิกรณ์ อย่างนี้ อธิกรณ์บาง

อย่างไม่ระงับด้วยอธิกรณ์.

[๙๑๐] สมถะทั้ง ๖ อย่าง อธิกรณ์ทั้ง ๔ อย่าง ระงับด้วยสัมมุขาวินัย

แต่สัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยอะไร.

สมถาธิกรณวาร ที่ ๑๙ จบ

สมุฏฐาเปติวาร ที่ ๒๐

[๙๑๑]่ ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ยังอธิกรณ์ ๔ ข้อไหนให้เกิด

ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ไม่ยังอธิกรณ์ ๔ ข้อไหนให้เกิด แต่เพราะปัจจัย

คือ วิวาทาธิกรณ์ อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดขึ้นได้

มีอุปมาเหมือนอะไร

เหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า

นี้ เป็นธรรม นี้ ไม่เป็นธรรม

นี้ เป็นวินัย นี้ ไม่เป็นวินัย

นี้ พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้ พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสภาษิตไว้

นี้ พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้ พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง

ประพฤติมา

นี้ พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้ พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติ

ไว้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 438

นี้ เป็นอาบัติ นี้ ไม่เป็นอาบัติ

นี้ เป็นอาบัติเบา นี้ เป็นอาบัติหนัก

นี้ เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้ เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

นี้ เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้ เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง การ

กล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความ

หมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในวิวาทา-

ธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์

เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น

จัดเป็นกิจจาธิกรณ์

เพราะปัจจัย คือ วิวาทาธิกรณ์ อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้.

[๙๑๒] ถามว่า อนุวาทาธิกรณ์ยังอธิกรณ์ ๔ ข้อไหนให้เกิด

ตอบว่า อนุวาทาธิกรณ์ไม่ยังอธิกรณ์ ๔ ข้อไหนให้เกิด แต่เพราะ

ปัจจัย คือ อนุวาทาธิกรณ์ อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้

มีอุปมาเหมือนอะไร

เหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยเหล่านี้ ย่อมโจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ

อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง

การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่ม

กำลังให้ ในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์

สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาท

ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตา-

ธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 439

เพราะปัจจัย คือ อนุวาทาธิกรณ์ อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้.

[๙๑๓] ถามว่า อาปัตตาธิกรณ์ยังอธิกรณ์ ๔ ข้อไหนให้เกิด

ตอบว่า อาปัตตาธิกรณ์ไม่ยังอธิกรณ์ ๔ ข้อไหนให้เกิด แต่เพราะ

ปัจจัย คือ อาปัตตาธิกรณ์ อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดขึ้นได้

มีอุปมาเหมือนอะไร

เหมือนกองอาบัติทั้ง ๕ ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ กองอาบัติทั้ง ๗ ก็ชื่อ

อาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์

สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอาปัตตาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาท

ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตา-

ธิกรณ์ สงฆ์ย่อมทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์

เพราะปัจจัย คือ อาปัตตาธิกรณ์ อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้.

[๙๑๔] ถามว่า กิจจาธิกรณ์ยังอธิกรณ์ ๕ ข้อไหนให้เกิด

ตอบว่า กิจจาธิกรณ์ไม่ยังอธิกรณ์ ๔ ข้อไหนให้เกิด แต่เพราะปัจจัย

คือ กิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้

มีอุปมาเหมือนอะไร

เหมือนความมีแห่งกรรมที่จะพึงทำ ความมีแห่งกิจที่จะต้องทำ แห่ง

สงฆ์ อันใด คือ อุปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถ-

กรรม นี้ เรียกว่า กิจจาธิกรณ์

สงฆ์ย่อมวิวาทกันในกิจจาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาท

ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตา-

ธิกรณ์ สงฆ์ย่อมทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 440

เพราะปัจจัย คือ กิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้.

สมุฏฐานเปติวาร ที่ ๒๐ จบ

สมถเภท

[๙๑๕] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นอธิกรณ์ ๔ ข้อไหนแอบอิง

อธิกรณ์ข้อไหน นับเนื่องถึงอธิกรณ์ข้อไหน สงเคราะห์ด้วยอธิกรณ์ข้อไหน

อนุวาทาธิกรณ์จัดเป็นอธิกรณ์ ๔ ข้อไหน แอบอิงอธิกรณ์ข้อไหน

นับเนื่องถึงอธิกรณ์ข้อไหน สงเคราะห์ด้วยอธิกรณ์ข้อไหน

อาปัตตาธิกรณ์ จัดเป็นอธิกรณ์ ๔ ข้อไหน แอบอิงอธิกรณ์ข้อไหน

นับเนื่องถึงอธิกรณ์ข้อไหน สงเคราะห์ด้วยอธิกรณ์ข้อไหน

กิจจาธิกรณ์ จัดเป็นอธิกรณ์ ๔ ข้อไหน แอบอิงอธิกรณ์ข้อไหน นับ

เนื่องถึงอธิกรณ์ข้อไหน สงเคราะห์ด้วยอธิกรณ์ข้อไหน

ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

แอบอิงวิวาทาธิกรณ์ นับเนื่องถึงวิวาทาธิกรณ์ สงเคราะห์ด้วยวิวาทาธิกรณ์

อนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ แอบอิง

อนุวาทาธิกรณ์ นับเนื่องถึงอนุวาทาธิกรณ์ สงเคราะห์ด้วยอนุวาทาธิกรณ์

อาปัตตาธิกรณ์ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ แอบอิง

อาปัตตาธิกรณ์ นับเนื่องถึงอาปัตตาธิกรณ์ สงเคราะห์ด้วยอาปัตตาธิกรณ์

กิจจาธิกรณ์ จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ แอบอิงกิจจา-

ธิกรณ์ นับเนื่องถึงกิจจาธิกรณ์ สงเคราะห์ด้วยกิจจาธิกรณ์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 441

[๙๑๖] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ บ่งถึงสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗

แอบอิงอาศัยสมถะเท่าไร นับเนื่องในสมถะเท่าไร สงเคราะห์ด้วยสมถะเท่าไร

ระงับด้วยสมถะเท่าไร

อนุวาทาธิกรณ์ บ่งถึงสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗ อิงอาศัยสมถะ

เท่าไร นับเนื่องในสนถะเท่าไร สงเคราะห์ด้วยสมถะเท่าไร ระงับด้วยสมถะ

เท่าไร

อาปัตตาธิกรณ์ บ่งถึงสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗ อิงอาศัยสมถะเท่า

ไร นับเนื่องในสมถะเท่าไร สงเคราะห์ด้วยสมถะเท่าไร ระงับด้วยสมถะเท่าไร

กิจจาธิกรณ์ บ่งถึงสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗ อิงอาศัยสมถะเท่าไร

นับเนื่องในสมถะเท่าไร สงเคราะห์ด้วยสมถะเท่าไร ระงับด้วยสมถะเท่าไร

ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ บ่งถึงสมถะ ๒ บรรดาสมถะ ๗ อิงอาศัยสมถะ

๒ นับเนื่องในสมณะ ๒ สงเคราะห์ด้วยสมถะ ๒ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ

สัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑

อนุวาทาธิกรณ์ บ่งถึงสมถะ ๔ บรรดาสมถะ ๗ อิงอาศัยสมถะ ๔

นับเนื่องในสมถะ ๔ สงเคราะห์ด้วยสมถะ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ สัมมุ-

ขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑

อาปัตตาธิกรณ์ บ่งถึงสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ อิงอาศัยสมถะ ๓

นับเนื่องในสมถะ ๓ สงเคราะห์ด้วยสมถะ ๓ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ สัมมุ-

ขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ติณวัตถารกะ ๑

กิจจาธิกรณ์ บ่งถึงสมถะ ๑ บรรดาสมถะ ๗ อิงอาศัยสมถะ ๑ นับ

เนื่องในสมถะ ๑ สงเคราะห์ด้วยสมถะ ๑ ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย.

สมถเภท จบ

วีสติวาร จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 442

หัวข้อประจำวาร

[๙๑๗] ปริยายวาร ๑ สาธารณวาร ๑ ตัพภาติยวาร ๑ สมถสา-

ธารณวาร ๑ สมถตัพภาติยวาร ๑ สมถสัมมุขาวินัยวาร ๑ วินัยวาร ๑ กุศลวาร

๑ ยัตถวาร ๑ สมยวาร ๑ สังสัฏฐวาร ๑ สัมมันติวาร ๑ นสัมมันติวาร ๑

สมถาธิกรณวาร ๑ สมุฏฐาเปิวาร ๑ อธิกรณ์บ่งถึงอธิกรณ์ ๑.

หัวข้อประจำวาร จบ

ขันธกปุจฉา

คำถามแลคำตอบอาบัติ

[๙๑๘] ข้าพเจ้าจักถามอุปสัมปทาขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อม

ทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบอุปสัมปทาขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ ตัว.

[๙๑๙] ข้าพเจ้าจักถามอุโบสถขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบอุโบสถขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระ

บัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ ตัว.

[๙๒๐] ข้าพเจ้าจักถามวัสสูปนายิกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อม

ทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 443

ข้าพเจ้าจักตอบวัสสูปนายิกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ ตัว.

[๙๒๑] ข้าพเจ้าจักถามปวารณาขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ เท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบปวารณาขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ ตัว.

[๙๒๒] ข้าพเจ้าจักถามจัมมสัญญุตตขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อม

ทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบจัมมสัญญุตตขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ ตัว.

[๙๒๓] ข้าพเจ้าจักถามเภสัชชขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบเภสัชชขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ ตัว.

[๙๒๔] ข้าพเจ้าจักถามกฐินขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบกฐินขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระ-

บัญญัติสูงสุด ในกฐินขันธกะนั้น ไม่มีปรับอาบัติ.

[๙๒๕] ข้าพเจ้าจักถามจีวรสัญญุตตขันธกะ. พร้อมทั้งนิทาน พร้อม

ทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบจีวรสัญญุตตขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๓ ตัว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 444

[๙๒๖] ข้าพเจ้าจักถามจัมเปยยขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบจัมเปยยขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๑ ตัว.

[๙๒๗] ข้าพเจ้าจักถามโกสัมพิกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบโกสัมพิกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๑ ตัว.

[๙๒๘] ข้าพเจ้าจักถามกัมมขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบกัมมขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระ-

บัญญัติสงสุดปรับอาบัติ ๑ ตัว.

[๙๒๙] ข้าพเจ้าจักถามปาริวาสิกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบปาริวาสิกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ ตัว.

[๙๓๐] ข้าพเจ้าจักถามสมุจจยขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบสมุจจยขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระ-

บัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๑ ตัว.

[๙๓๑] ข้าพเจ้าจักถามสมถขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 445

ข้าพเจ้าจักตอบสมถขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระ-

บัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๒ ตัว.

[๙๓๒] ข้าพเจ้าจักถามขุททกวัตถุขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อม

ทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบขุททกวัตถุขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๓ ตัว.

[๙๓๓] ข้าพเจ้าจักถามเสนาสนขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบเสนาสนขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๓ ตัว.

[๙๓๔] ข้าพเจ้าจักถามสัพฆเภทขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบสังฆเภทขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๒ ตัว.

[๙๓๕] ข้าพเจ้าจักถามขันธกะว่าด้วยสมาจาร พร้อมทั้งนิทาน พร้อม

ทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบขันธกะว่าด้วยสมาจาร พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๑ ตัว.

[๙๓๖] ข้าพเจ้าจักถามขันธกะว่าด้วยปาติโมกข์ พร้อมทั้งนิทาน

พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบขันธกะว่าด้วยปาติโมกข์ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๑ ตัว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 446

[๙๓๗] ข้าพเจ้าจักถามภิกขุนีขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบภิกขุนีขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๒ ตัว.

[๙๓๘] ข้าพเจ้าจักถามปัญจสติกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบปัญจสติกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุด ในปัญจสติกขันธกะนั้น ไม่มีปรับอาบัติ.

[๙๓๙] ข้าพเจ้าจักถามสัตตสติกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง

นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

ข้าพเจ้าจักตอบสัตตสติกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ

พระบัญญัติสูงสุด ในสัตตสติกขันธกะนั้น ไม่มีปรับอาบัติ.

ขันธกปุจฉาที่ ๑ จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๙๔๐] อุปสัมปทาขันธกะ ๑ อุโปสถขันธกะ ๑ วัสสูปนายิกขันธกะ ๑

ปวารณาขันธกะ ๑ จัมมขันธกะ ๑ เภสัชชขันธกะ ๑ กฐินขันธกะ ๑ จีวร-

ขันธกะ ๑ จัมเปยยขันธกะ ๑ โกสัมพิกขันธกะ ๑ กัมมขันกะ ๑ ปาริวาสิก

ขันธกะ ๑ สมุจจยขันธกะ ๑ สมถขันธกะ ๑ ขุททขันธกะ ๑ เสนาสนขันธกะ ๑

สังฆเภทขัธกะ ๑ สมาจารขันธกะ ๑ ปาติโมกขฐปนขันธกะ ๑ ภิกขุนีขันธกะ ๑

ปัญจสติกขันธกะ ๑ สัตตสติกขันธกะ ๑.

หัวข้อประจำเรื่อง จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 447

ขันธกปุจฉาวัณณนา

สองบทว่า อุปสมฺปท ปุจฺฉิสฺส มีความว่า ข้าพเจ้าจักถามถึง

อุปสัมปทาขันธกะ.

สองบทว่า สนิทาน สนิทฺเทส มีความว่า ข้าพเจ้าจักถามพร้อม

ด้วยต้นเหตุ และอธิบาย.

หลายบทว่า สมุกฺฏฺปทาน กติ อาปตฺติโย มีความว่า บทเหล่าใด

เป็นบทอุกฤษฏ์ คือ เป็นบทสูงสุด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอุปสัม-

ปทาขันธกะนั้น บทอุกฤษฏ์โดยย่อ มีอาบัติเท่าไร ?

อาบัติใด ? อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติด้วยบทใด ?, อาบัติ

นั้น ๆ ท่านกล่าวว่า อาบัติแห่งบทนั้น ๆ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

บทสูงสุดทั้งหลาย มีอาบัติเท่าไร ?

สองบทว่า เทฺว อาปตฺติโย มีความว่า เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้

ยังบุคคลมีอายุหย่อน ๒ ปีให้อุปสมบท, เป็นทุกกฏในบททั้งปวงที่เหลือ.

บทว่า ติสฺโส มีความว่า ในอุโปสถักขันธกะ มีอาบัติ ๓ อย่างนี้

คือ เป็นถุลลัจจัย เพราะทำอุโบสถแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มุ่งความแตกกันเป็นใหญ่

แก่ผู้กล่าวอยู่ว่า ภิกษุเหล่านี้ จงฉิบทาย. ภิกษุเหล่านี้ จงวอดวาย, ประโยชน์

อะไร ด้วยภิกษุเหล่านั้น, เป็นปาจิตตีย์ แม้เพราะทำอุโบสถร่วมกับภิกษุผู้ถูก

สงฆ์ยกวัตร, เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.

บทว่า เอกา มีความว่า ในวัสสูปนายิกขันธกะ มีอาบัติทุกกฏ

ชนิดเดียวเท่านั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 448

บทว่า ติสฺโส มีความว่า แม้ในปวารณาขันธกะ ก็มีอาบัติ ๓ อย่างนี้

คือ เป็นถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้มุ่งความแตกกันเป็นใหญ่ ปวารณาอยู่, เป็น

ปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ปวารณากับภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร, เป็นทุกกฏ เพราะบท

ทั้งหลายที่เหลือ.

บทว่า ติสฺโส มีความว่า แม้ในจัมมสังยุตต์ ก็มีอาบัติ ๓ อย่างนี้

คือ เป็นปาจิตตีย์ แก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ผู้จับแม่โคสาวให้ (จมน้ำ) ตาย,

เป็นถุลลัจจัย เพราะมีจิตกำหนัดถูกองคชาต, เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลาย

ที่เหลือ.

แม้ในเภสัชชขันธกะ ก็มีอาบัติ ๓ อย่างนี้ คือ เป็นถุลลัจจัย (แก่

ภิกษุผู้ทำสัตถกรรม) ใกล้ที่แคบประมาณ ๒ นิ้ว โดยรอบ (แห่งวัจจมัคค์และ

ปัสสาวมัคค์), เป็นปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนยาคู, เป็นทุกกฏ เพราะบท

ทั้งหลายที่เหลือ.

กฐิน พระผู้มีพระภาคเจ้าเพียงแต่ทรงบัญญัติเท่านั้น, ไม่มีอาบัติใน

กฐินขันธกะนั้น.

ในจีวรสังยุตต์ มีอาบัติ ๓ เหล่านี้ คือ เป็นถุลลัจจัย เพราะจีวร

คากรองและเปลือกไม้คากรอง, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะอติเรกจีวร, เป็น

ทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.

แม้ในจัมมเปยยักขันธกะ ก็มีอาบัติทุกกฏชนิดเดียวเท่านั้น.

แม้ในโกสัมพิกขันธกะ กรรมขันธกะ ปาริวาสิกขันธกะและสมุจจย-

ขันธกะ ก็มีอาบัติทุกกฏชนิดเดียวเท่านั้น.

ในสมถขันธกะ มีอาบัติ ๒ เหล่านี้ คือ ภิกษุณีผู้มอบฉันทะย่อมบ่น

ว่า เธอต้องปาจิตตีย์ มีการบ่นว่าเป็นเหตุ เป็นทุกกฏเพราะบททั้งหลายที่เหลือ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 449

ในขุททกวัตถุกขันธกะ มีอาบัติ ๓ เหล่านี้ คือ ภิกษุตัดองคชาตของ

ตน ต้องถุลลัจจัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะกลืนอาหารที่สำรอกออกมาค้างอยู่ใน

ปาก เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.

ในเสนาสนขันธกะ มีอาบัติ ๓ เหล่านี้ คือ เป็นถุลลัจจัยเพราะจำ

หน่ายครุภัณฑ์ เป็นปาจิตตีย์ เพราะฉุดคร่าออกจากสำนักของสงฆ์ เป็นทุกกฏ

เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.

ในสังฆเภทักขันธกะ มีอาบัติ ๒ เหล่านี้ คือ เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุ

ผู้พลอยสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์ เพราะคณโภชนะ.

ในวัตตขันธกะ ที่ท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักถามถึงสมาจาร มีอาบัติ

ทุกกฏชนิดเดียวเท่านั้น. อาบัติทุกกฏนั้น เป็นเพราะความไม่เอื้อเฟื้อในวัตร

ทั้งปวง.

ในปาฏิโมกขัฏฐปนขันธกะ ก็เหมือนกัน.

ในภิกขุนีขันธกะ มีอาบัติ ๒ เหล่านี้ คือ เป็นปาจิตตีย์ เพราะไม่

ปวารณา เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.

ในปัญจสติกขันธกะและสัตตสติกขันธกะ ท่านยกธรรมล้วน ๆ ขึ้นสู่

หมวด ไม่มีอาบัติในขันธกะทั้ง ๒ นั้น ฉะนี้แล.

ขันธกปุจฉา วัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 450

เอกุตตริกะ

หมวด ๑

ว่าด้วยธรรมก่ออาบัติเป็นต้น

[๙๔๑] พึงรู้ธรรมที่ก่ออาบัติ พึงรู้ธรรมที่ไม่ก่ออาบัติ พึงรู้อาบัติ

พึงรู้อนาบัติ พึงรู้อาบัติเบา พึงรู้อาบัติหนัก พึงรู้อาบัติมีส่วนเหลือ พึงรู้

อาบัติหาส่วนเหลือมิได้ พึงรู้อาบัติชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติไม่ชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติ

ที่ทำคืนได้ พึงรู้อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ พึงรู้อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติ

ที่ไม่เป็นเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติที่ทำอันตราย พึงรู้อาบัติที่ไม่ทำอันตราย

พึงรู้อาบัติที่ทรงบัญญัติพร้อมทั้งโทษ พึงรู้อาบัติที่ทรงบัญญัติไม่มีโทษ พึงรู้

อาบัติที่เกิดแต่การทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดแต่การไม่ทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดแต่การทำ

และไม่ทำ พึงรู้อาบัติก่อน พึงรู้อาบัติหลัง พึงรู้อาบัติระหว่างอาบัติก่อน พึงรู้

อาบัติระหว่างแห่งอาบัติหลัง พึงรู้อาบัตินับเข้าในจำนวนที่แสดงแล้ว พึงรู้อาบัติ

ไม่นับเข้าในจำนวนที่แสดงแล้ว พึงรู้บัญญัติ พึงรู้อนุบัญญัติ พึงรู้อนุปันน-

บัญญัติ พึงรู้สัพพัตถบัญญัติ พึงรู้ปเทสบัญญัติ พึงรู้สาธารณบัญญัติ พึงรู้

อสาธารณบัญญัติ พึงรู้เอกโตบัญญัติ พึงรู้อุภโตบัญญัติ พึงรู้อาบัติมีโทษหนัก

พึงรู้อาบัติมีโทษเบา พึงรู้อาบัติที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ พึงรู้อาบัติที่ไม่เกี่ยวกับ

คฤหัสถ์ พึงรู้อาบัติที่แน่นอน พึงรู้อาบัติที่ไม่แน่นอน พึงรู้บุคคลผู้ทำที่แรก

พึงรู้บุคคลไม่ทำทีแรก พึงรู้บุคคลผู้ต้องอาบัติไม่เป็นนิจ พึงรู้บุคคลผู้ต้อง

อาบัติเนือง ๆ พึงรู้บุคคลผู้เป็นโจทก์ พึงรู้บุคคลผู้เป็นจำเลย พึงรู้บุคคลผู้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 451

ฟ้องไม่เป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกฟ้องไม่เป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ฟ้องเป็นธรรม

พึงรู้บุคคลผู้ถูกฟ้องเป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้แน่นอน พึงรู้บุคคลผู้ไม่แน่นอน

พึงรู้บุคคลผู้ควรต้องอาบัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่ควรต้องอาบัติ พึงรู้บุคคลผู้ถูกสงฆ์

ยกวัตร พึงรู้บุคคลผู้ไม่ถูกสงฆ์ยกวัตร พึงรู้บุคคลผู้ถูกนาสนะ พึงรู้บุคคลผู้

ถูกนาสนะ พึงรู้บุคคลผู้มีสังวาสเสมอกัน พึงรู้บุคคลผู้มีสังวาสต่างกัน พึงรู้

การงดปาติโมกข์ แล.

หมวด ๑ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๙๔๒] ก่ออาบัติและไม่ก่ออาบัติ อาบัติและอนาบัติ อาบัติเบาและ

อาบัติหนัก อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ อาบัติชั่วหยาบและ

ไม่ชั่วหยาบ อาบัติทำคืนได้และทำคืนไม่ได้ อาบัติแสดงได้และแสดงไม่ได้

อาบัติทำอันตรายและไม่ทำอันตราย อาบัติมีโทษและไม่มีโทษ อาบัติเกิดแต่

การทำและไม่ทำ อาบัติเกิดแต่การทำด้วยการไม่ได้ทำด้วย อาบัติที่ต้องก่อน

และต้องหลังอันตราบัติ อาบัติที่นับเข้าในจำนวนและไม่นับเข้าในจำนวน

บัญญัติและอนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติและปเทสบัญญัติ

สาธารณบัญญัติและอสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติและอุภโตบัญญัติ อาบัติ

ชั่วหยาบและไม่ชั่วหยาบ อาบัติเกี่ยวกับคฤหัสถ์และไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ อาบัติ

แน่นอนและไม่แน่นอน บุคคลผู้ทำทีแรกและไม่ได้ทำทีแรก ผู้ต้องอาบัติไม่

เป็นนิจ ผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ โจทก์และจำเลย ผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้องเป็นธรรม

ผู้แน่นอนและแน่ไม่นอน ผู้ควรต้องอาบัติและไม่ควรต้องอาบัติ ผู้ถูกยกวัตร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 452

และไม่ถูกยกวัตร ผู้ถูกนาสนะและไม่ถูกนาสนะ ผู้มีสังวาสเสมอกันและมีสังวาส

ต่างกัน การงด หัวข้อดังกล่าวนี้จัดเป็นหมวด ๑.

หัวข้อประจำหมวด จบ

หมวด ๒

ว่าด้วยสัญญาวิโมกข์เป็นต้น

[๙๔๓] มีอยู่ อาบัติเป็นสัญญาวิโมกข์ มีอยู่ อาบัติมิใช่สัญญาวิโมกข์

มีอยู่ อาบัติของภิกษุผู้ได้สมาบัติ มีอยู่ อาบัติของภิกษุผู้ไม่ได้สมาบัติ มีอยู่

อาบัติเกี่ยวด้วยสัทธรรม มีอยู่ อาบัติเกี่ยวด้วยบริขารของตน มีอยู่ อาบัติ

เกี่ยวด้วยบริขารของผู้อื่น มีอยู่ อาบัติเกี่ยวด้วยบุคคล คือตนเอง มีอยู่

อาบัติเกี่ยวด้วยบุคคลอื่น มีอยู่ ภิกษุพูดจริงต้องอาบัติหนัก มีอยู่ ภิกษุพูด

เท็จต้องอาบัติเบา มีอยู่ ภิกษุพูดเท็จต้องอาบัติหนัก มีอยู่ ภิกษุพูดจริงต้อง

อาบัติเบา มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอยู่บนแผ่นดินจงต้อง อยู่ในอากาศไม่ต้อง มีอยู่

อาบัติ ภิกษุอยู่ในอากาศจึงต้อง อยู่บนแผ่นดินไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติภิกษุออก

ไปจึงต้อง เข้าไปไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเข้าไปจึงต้อง ออกไปไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุถือเอาจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ถือเอาจึงต้อง มีอยู่

อาบัติ ภิกษุสมาทานจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่สมาทานจึงต้อง มีอยู่

อาบัติ ภิกษุทำจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ทำจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุ

ให้จึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ให้จึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุรับจึงต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่รับจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องเพราะบริโภค มีอยู่

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 453

อาบัติ ภิกษุต้องเพราะไม่บริโภค มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกลางคืนไม่ต้อง

ในกลางวัน มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน มีอยู่

อาบัติ ภิกษุต้องเพราะอรุณขึ้น มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องไม่ใช่เพราะอรุณขึ้น

มีอยู่ อาบัติภิกษุตัดจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ตัดจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ

ภิกษุปิดจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ปิดจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุทรงไว้

จึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ทรงไว้จึงต้อง.

ว่าด้วยอุโบสถเป็นต้น

[๙๔๔] อุโบสถมี ๒ คืออุโบสถในวันสิบสี่ ๑ อุโบสถในวันสิบห้า ๑

ปวารณามี ๒ คือ ปวารณาในวันสิบสี่ ๑ ปวารณาในวันสิบห้า ๑

กรรมมี ๒ คือ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ กรรมแม้อื่นอีกมี ๒

คือ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑

วัตถุแห่งกรรมมี ๒ คือวัตถุแห่งอปโลกนกรรม ๑ วัตถุแห่งญัตติ-

กรรม ๑ วัตถุแห่งกรรมแม้อื่นอีกมี ๒ คือ วัตถุแห่งญัตติทุติยกรรม ๑ วัตถุ

แห่งญัตติจตุตถกรรม ๑

โทษแห่งกรรมมี ๒ คือ โทษแห่งอปโลกนกรรม ๑ โทษแห่งญัตติ-

กรรม ๑ โทษแห่งกรรมแม้อื่นอีกมี ๒ คือ โทษแห่งญัตติทุติยกรรม ๑ โทษ

แห่งญัตติจตุตถกรรม ๑

สมบัติแห่งกรรมมี ๒ คือ สมบัติแห่งอปโลกนกรรม ๑ สมบัติแห่ง

ญัตติกรรม ๑ สมบัติแห่งกรรมแม้อื่นอีกมี ๒ คือ สมบัติแห่งญัตติทุติยกรรม

๑ สมบัติแห่งญัตติจตุตถกรรม ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 454

ภูมิของภิกษุนานาสังวาสมี ๒ คือ ตนเองทำตนให้มีสังวาสต่างกัน ๑

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกภิกษุนั้นเสีย เพราะไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ

หรือเพราะไม่สละทิฏฐิ ๑

ภูมิของภิกษุสมานสังวาสมี ๒ คือ ตนเองทำตนให้มีสังวาสเสมอกัน ๑

สงฆ์พร้อมเพรียงกันเรียกภิกษุนั้นผู้ถูกยกวัตร เพราะไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่

ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิ เข้าหมู่ ๑.

ว่าด้วยปาราชิกเป็นต้น

[๙๔๕] ปาราชิกมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

สังฆาทิเสสมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

ถุลลัจจัยมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

ปาจิตตีย์มี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

ปาฏิเทสนียะมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

ทุกกฏมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

ทุพภาสิตมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

อาบัติของภิกษุมี ๗ ของภิกษุณีก็มี ๗

กองอาบัติของภิกษุมี ๗ ของภิกษุณีก็มี ๗

สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๒ คือ ด้วยกรรม ๑ ด้วย ให้จับสลาก ๑.

ว่าด้วยบุคคล

[๙๘๖] บุคคล ๒ พวก สงฆ์ไม่พึงอุปสมบท คือ ผู้มีกาลบกพร่อง ๑

ผู้มีอวัยวะบกพร่อง ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 455

บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก สงฆ์ไม่พึงอุปสมบท คือ ผู้มีวัตถุวิบัติ ๑

ผู้มีการกระทำเสียหาย ๑

บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก สงฆ์ไม่พึงอุปสมบท คือ ผู้ไม่บริบูรณ์ ๑

ผู้บริบูรณ์ แต่ไม่อุปสมบท ๑

ไม่ควรอาศัยบุคคล ๒ พวกอยู่ คือ ผู้อลัชชี ๑ ผู้พาล ๑

ไม่ควรให้นิสัย แก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้อลัชชี ๑ ผู้ลัชชีแต่ไม่ขอ ๑

ควรให้นิสัย แก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้โง่ ๑ ผู้ลัชชีแต่ขอ ๑

บุคคล ๒ พวก ไม่ควรต้องอาบัติ คือ พระพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจก-

พุทธเจ้า ๑

บุคคล ๒ พวก รวมต้องอาบัติ คือ ภิกษุ ๑ ภิกษุณี ๑

บุคคล ๒ พวก ไม่ควรแกล้งต้องอาบัติ คือ ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๑

ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล ๑

บุคคล ๒ พวก ควรแกล้งต้องอาบัติ คือ ภิกษุปุถุชน ๑ ภิกษุณี

ปุถุชน ๑

บุคคล ๒ พวก ไม่ควรแกล้งประพฤติล่วงวัตถุเป็นไปกับด้วยโทษ

คือ ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๑ ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล ๑

บุคคล ๒ พวก ควรแกล้งประพฤติล่วงวัตถุเป็นไปกับด้วยโทษ คือ

ภิกษุปุถุชน ๑ ภิกษุณีปุถุชน ๑.

ว่าด้วยคัดค้านเป็นต้น

[๙๔๗] การคัดค้านมี ๒ คือ คัดค้านด้วยกาย ๑ คัดค้านด้วยวาจา ๑

การขับออกจากหมู่มี ๒ คือ มีอยู่ บุคคลยังไม่ถึงการขับออก ถ้าสงฆ์

ขับบุคคลนั้นออก บางคนเป็นอันขับออกดีแล้ว ๑ บางคนเป็นอันขับออกไม่ดี ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 456

การเรียกเข้าหมู่มี ๒ คือ มีอยู่ บุคคลยังไม่ถึงการเรียกเข้าหมู่ ถ้า

สงฆ์เรียกบุคคลนั้นเข้าหมู่ บางคนเป็นอันเรียกเข้าหมู่ดีแล้ว ๑ บางคนเป็นอัน

เรียกเข้าหมู่ไม่ดี ๑

ปฏิญญามี ๒ คือ ปฏิญญาด้วยกาย ๑ ปฏิญญาด้วยวาจา ๑

การรับ มี ๒ คือ รับด้วยกาย ๑ รับด้วยของเนื่องด้วยกาย ๑

การห้ามมี ๒ คือ ห้ามด้วยกาย ๑ ห้ามด้วยวาจา ๑

การลบล้างมี ๒ คือ ลบล้างสิกขา ๑ ลบล้างโภคะ ๑

โจทมี ๒ คือ โจทด้วยกาย ๑ โจทด้วยวาจา ๑.

ว่าด้วยความกังวลเป็นต้น

[๙๔๘] กฐินมีปลิโพธ ๒ คือ ปลิโพธในอาวาส ๑ ปลิโพธในจีวร ๑

กฐินไม่มีปลิโพธ ๒ คือ ไม่มีปลิโพธในอาวาส ๑ ไม่มีปลิโพธในจีวร ๑

จีวรมี ๒ คือ คหบดีจีวร ๑ บังสุกุลจีวร ๑

บาตรมี ๒ คือ บาตรเหล็ก ๑ บาตรดิน ๑

เชิงบาตรมี ๒ คือ เชิงบาตรทำด้วยดีบุก ๑ เชิงบาตรทำด้วยตะกั่ว ๑

อธิษฐานบาตรมี ๒ คือ อธิษฐานด้วยกาย ๑ อธิษฐานด้วยวาจา ๑

อธิษฐานจีวรมี ๒ คือ อธิษฐานด้วยกาย ๑ อธิษฐานด้วยวาจา ๑

วิกัปมี ๒ คือ วิกัปต่อหน้า ๑ วิกัปลับหลัง ๑

วินัยมี ๒ คือ วินัยของภิกษุ ๑ วินัยของภิกษุณี ๑

อรรถที่สำเร็จในวินัยมี ๒ คือ ข้อบัญญัติ ๑ ข้ออนุโลมบัญญัติ ๑

วินัยมีความขัดเกลา ๒ คือ กำจัดสิ่งไม่ควรด้วยอริยมรรค ๑ ความ

ทำพอประมาณในสิ่งที่ควร ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 457

ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่างเป็นต้น

[๙๔๙] ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ คือ ต้องด้วยกาย ๑ ต้อง

ด้วยวาจา ๑

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๒ คือ ออกด้วยกาย ๑ ออกด้วยวาจา ๑

ปริวาสมี ๒ คือ ปฎิจฉันนปริวาส ๑ อัปปฏิจฉันนปริวาส ๑

ปริวาสแม้อย่างอื่นมีอีก ๒ คือ สุทธันตปริวาส ๑ สโมธานปริวาส ๑

มานัตมี ๒ คือ ปฎิจฉันนมานัต ๑ อัปปฏิจฉันนมานัต ๑

มานัตแม้อย่างอื่นมีอีก ๒ คือ ปักขมานัต ๑ สโมธานมานัต ๑

รัตติเฉทของบุคคล ๒ คือ ของปริวาสิกภิกษุ ๑ ของมานัตจาริก-

ภิกษุ ๑.

ว่าด้วยไม่เอื้อเฟื้อเป็นต้น

[๙๕๐] ความไม่เอื้อเฟื้อมี ๒ คือ ไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล ๑ ไม่

เอื้อเฟื้อต่อธรรม ๑

เกลือมี ๒ ชนิด คือ เกลือเกิดแต่กำเนิด ๑ เกลือแต่น้ำต่าง ๑

เกลือแม้อื่นอีก ๒ ชนิด คือ เกลือทะเล ๑ เกลือดำ ๑

เกลือแม้อื่นอีก ๒ ชนิด คือ เกลือสินเธาว์ ๑ เกลือดินโปร่ง ๑

เกลือเเม้อื่นอีก ๒ ชนิด คือ เกลือโรมกะ ๑ เกลือปักขัลลกะ ๑

บริโภคมี ๒ คือ บริโภคภายใน ๑ บริโภคภายนอก ๑

ด่ามี ๒ คือ ด่าอย่างคนเลว ๑ ด่าอย่างผู้ดี ๑

ส่อเสียดด้วยอาการ ๒ คือ เพื่อทำตนให้เป็นที่รัก ๑ เพื่อมุ่งทำลาย ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 458

ภิกษุร่วมฉันเป็นหมู่ด้วยอาการ ๒ คือ เพราะเขานิมนต์ ๑ เพราะ.

ขอเขา ๑

วัน เข้าพรรษามี ๒ คือ วันเข้าพรรษาต้น ๑ วันเข้าพรรษาหลัง ๑

งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๒ งดปาติโมกข์เป็นธรรมมี ๒.

ว่าด้วยบุคคลพาลและบัณฑิต

[๙๕๑] บุคคลพาลมี ๒ คือ ผู้รับภาระที่ยังไม่มาถึง ๑ ผู้ไม่รับภาระ

ที่มาถึงแล้ว ๑

บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้ไม่รับภาระที่ยังไม่มาถึง ๑ ผู้รับภาระที่มา

ถึงแล้ว ๑

บุคคลพาลแม้อื่นอีก ๒ คือ ผู้สำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร ๑ ผู้สำคัญ

ว่าไม่ควรในสิ่งที่ควร ๑

บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้สำคัญว่าไม่ควรในสิ่งที่ไม่ควร ๑ ผู้สำคัญ

ว่าควรในสิ่งควร ๑

บุคคลพาลแม้อื่นอีก ๒ คือ ผู้สำคัญในอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ๑ ผู้

สำคัญในอาบัติว่าเป็นอนาบัติ ๑

บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้สำคัญในอาบัติว่าเป็นอาบัติ ๑ ผู้สำคัญ

ในอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ ๑

บุคคลพาลแม้อื่นอีก ๒ คือ ผู้สำคัญในอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ ผู้

สำคัญในธรรมว่าเป็นอธรรม ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 459

บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้สำคัญในอธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ ผู้สำคัญ

ในธรรมว่าเป็นธรรม ๑

บุคคลพาลแม้อื่นอีก ๒ คือ ผู้สำคัญในสภาพมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๑

ผู้สำคัญในวินัยว่าสภาพมิใช่วินัย ๑

บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้สำคัญในสภาพมิใช่วินัยว่าสภาพมิใช่วินัย ๑

ผู้สำคัญในวินัยว่าวินัย ๑.

ว่าด้วยอาสวะ

[๙๕๒] อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้ประพฤติ

รังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติรังเกียจ ๑ ผู้ไม่พระพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติ

รังเกียจ ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้ไม่พระพฤติ

รังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติรังเกียจ ๑ ผู้ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติ

รังเกียจ ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ ผู้สำคัญใน

สิ่งไม่ควรว่าควร ๑ ผู้สำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในสิ่ง

ไม่ควรว่าไม่ควร ๑ ผู้สำคัญในสิ่งที่ควรว่าควร ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ ผู้สำคัญ

ในอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ๑ ผู้สำคัญในอาบัติว่าเป็นอนาบัติ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 460

อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในอนาบัติ

ว่าเป็นอนาบัติ ๑ ผู้สำคัญในอาบัติว่าเป็นอาบัติ ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ ผู้สำคัญ

ในอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ ผู้สำคัญในธรรมว่าเป็นอธรรม ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในอธรรม

ว่าเป็นอธรรม ๑ ผู้สำคัญในธรรมว่าเป็นธรรม ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ ผู้สำคัญ

ในสภาพมิใช่วินัยว่าวินัย ๑ ผู้สำคัญในวินัยว่าสภาพมิใช่วินัย ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในสภาพ

มิใช่วินัยว่าสภาพมิใช่วินัย ๑ ผู้สำคัญในวินัยว่าวินัย ๑.

หมวด ๒ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๙๕๓] สัญญา ๑ ศรัทธา ๑ สัทธรรม

๑ บริขาร ๑ บุคคล ๑ จริง ๑ ภูมิ ๑

ออกไป ๑ ถือเอา ๑ สมาทาน ๑ ทำ ๑ ให้ ๑

รับ ๑ บริโภค ๑ กลางคืน ๑ อรุณ ๑ ตัด ๑

ปกปิด ๑ ทรงไว้ ๑ อุโบสถ ๑ ปวารณา ๑

กรรม ๑ กรรมอื่นอีก ๑ วัตถุ ๑ วัตถุอื่น

อีก ๑ โทษ ๑ โทษอื่นอีก ๒ สมบัติสอง

อย่าง ๑ นานาสังวาสก์ ๑ สมานสังวาสก์ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 461

ปาราชิก ๑ สังฆาทิเสส ๑ ถุลลัจจัย ๑

ปาจิตตีย์ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฏ ๑

ทุพภาสิต ๑ อาบัติเจ็ด ๑ กองอาบัติเจ็ด ๑

สงฆ์แตกกัน ๑ อุปสมบท ๑ อุปสมบทอีก

สอง ๑ ไม่อาศัยอยู่ ๑ ไม่ให้ ๑ อภัพบุคคล ๑

ภัพบุคคล ๑ แกล้ง ๑ มีโทษ ๑ คัดค้าน ๑

ขับออกจากหมู่ ๑ เรียกเข้าหมู่ ๑ ปฏิญญา ๑

รับ ๑ ห้าม ๑ ลบล้าง ๑ โจท ๑ กฐิน

๒ อย่าง ๑ จีวร ๑ บาตร ๑ เชิงบาตร ๑

อธิษฐาน ๒ อย่าง ๑ วิกัป ๒ วินัย ๑ อรรถ

ที่สำเร็จในวินัย ๑ ความขัดเกลา ๑ ต้อง ๑

ออก ๑ ปริวาส ๒ อย่าง ๑ มานัต ๒ อย่าง ๑

รัตติเฉท ๑ ไม่เอื้อเฟื้อ ๑ เกลือ ๒ ชนิด ๑

เกลืออื่นอีก ๓ ชนิด บริโภค ๑ ด่า ๑

ล่อเสียด ๑ ฉันหมู่ ๑ วันจำพรรษา ๑ งด

ปาติโมกข์ ๑ ภาระ ๑ สมควร ๑ อนาบัติ ๑

อธรรม ๑ วินัย อาสวะ ๑.

หัวข้อประจำหมวด จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 462

หมวดที่ ๓

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระชนม์อยู่เป็นต้น

[๙๕๔] มีอยู่ อาบัติ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์ ภิกษุ

จึงต้อง เมื่อปรินิพพานแล้ว ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ภิกษุจึงต้อง

เมื่อยังทรงพระชนม์ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์ก็ดี ปรินิพพาน

แล้วก็ดี ภิกษุต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาล หาต้องในเวลาวิกาลไม่

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในเวลาวิกาล หาต้องในกาลไม่

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาล และในเวลาวิกาล

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกลางคืน หาต้องในกลางวันไม่

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกลางวัน หาต้องในกลางคืนไม่

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกลางคืน และกลางวัน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษา ๑๐ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ จึงต้อง มีพรรษา ๑๐ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษา ๑๐ และมีพรรษาหย่อน ๑๐ ก็ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษา ๕ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๕ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๕ จึงต้อง มีพรรษา ๕ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษา ๕ และมีพรรษาหย่อน ๕ ก็ต้อง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 463

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นกุศล จึงต้อง มีจิตเป็นอกุศลไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอกุศล จึงต้อง มีจิตเป็นกุศลไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤต จึงต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยสุขเวทนา จึงต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยทุกขเวทนา จึงต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยอทุกขมสุขเวทนา จึงต้อง.

ว่าด้วยวัตถุแห่งการโจทเป็นต้น

[๙๕๕] วัตถุแห่งการโจทมี ๓ คือ เห็น ๑ ได้ยิน ๑ รังเกียจ ๑

การให้จับสลากมี ๓ คือ ปกปิด ๑ เปิดเผย ๑ กระซิบที่หู ๑

ข้อห้ามมี ๓ คือ ความมักมาก ๑ ความไม่สันโดษ ๑ ความไม่ขัดเกลา ๑

ข้ออนุญาตมี ๓ คือ ความมักน้อย ๑ ความสันโดษ ๑ ความขัดเกลา ๑

ข้อห้ามแม้อื่นอีก ๓ คือ ความมักมาก ๑ ความไม่สันโดษ ๑ ความ

ไม่รู้จักประมาณ ๑

ข้ออนุญาตมี ๓ คือ ความมักน้อย ๑ ความสันโดษ ๑ ความรู้จัก

ประมาณ ๑

บัญญัติมี ๓ คือ บัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติ ๑

บัญญัติแม้อื่นอีก ๓ คือ สัพพัตถบัญญัติ ๑ ปเทสบัญญัติ ๑

สาธารณบัญญัติ ๑

บัญญัติที่แม้อื่นอีก ๓ คือ อสาธารณบัญญัติ ๑ เอกโตบัญญัติ ๑

อุภโตบัญญัติ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 464

ว่าด้วยภิกษุโง่และฉลาดเป็นต้น

[๙๕๖] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเป็นผู้โง่ จึงต้อง เป็นผู้ฉลาดไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเป็นผู้ฉลาด จึงต้อง เป็นผู้โง่ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเป็นผู้ทั้งโง่ทั้งฉลาด จึงต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาฬปักษ์ ไม่ต้องในชุณหปักษ์

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในชุณหปักษ์ ไม่ต้องในกาฬปักษ์

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องทั้งในกาฬปักษ์ และชุณหปักษ์

มีอยู่ การเข้าพรรษาย่อมควรในกาฬปักษ์ หาควรในชุณหปักษ์ไม่

มีอยู่ ปวารณาในวันมหาปวารณา ย่อมควรในชุณหปักษ์ หาควร

ในกาฬปักษ์ไม่

มีอยู่ สังฆกิจที่เหลือ ย่อมควรทั้งในกาฬปักษ์และชุณหปักษ์

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุย่อมต้องในฤดูหนาว ไม่ต้องในฤดูร้อนและใน

ฤดูฝน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุย่อมต้องในฤดูร้อน ไม่ต้องในฤดูหนาวและใน

ฤดูฝน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุย่อมต้องในฤดูฝน ไม่ต้องในฤดูร้อนและในฤดู

หนาว

มีอยู่ อาบัติ สงฆ์ต้อง คณะ และบุคคล ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ คณะต้อง สงฆ์ และบุคคล ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ บุคคลต้อง สงฆ์ และคณะ ไม่ต้อง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 465

มีอยู่ สังฆอุโบสถและสังฆปวารณา ควรแก่สงฆ์ ไม่ควรแก่คณะ

และบุคคล

มีอยู่ คณะอุโบสถ และคณะปวารณา ควรแก่คณะ ไม่ควรแก่สงฆ์

และบุคคล

มีอยู่ อธิษฐานอุโบสถ และอธิษฐานปวารณา ควรแก่บุคคล ไม่

ควรแก่สงฆ์ และคณะ.

ว่าด้วยการปิดเป็นต้น

[๙๕๗] การปิดมี ๓ คือ ปิดวัตถุ ไม่ปิดอาบัติ ๑ ปิดอาบัติ ไม่

ปิดวัตถุ ๑ ปิดทั้งวัตถุและอาบัติ ๑

เครื่องปกปิดมี ๓ คือ เครื่องปกปิด คือ เรือนไฟ ๑ เครื่องปกปิด

คือ น้ำ ๑ เครื่องปกปิด คือ ผ้า ๑

สิ่งที่กำบังไม่เปิดเผยนำไปมี ๓ คือ มาตุคาม กำบังไม่เปิดเผยนำไป ๑

มนต์ของพวกพราหมณ์กำบังไม่เปิดเผยนำไป ๑ มิจฉาทิฏฐิกำบังไม่เปิดเผย

นำไป ๑

สิ่งที่เปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรืองมี ๓ คือ ดวงจันทร์เปิดเผย ไม่กำบัง

จึงรุ่งเรื่อง ๑ ดวงอาทิตย์เปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรื่อง ๑ ธรรมวินัยอันพระ-

ตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรือง ๑

การให้ถือเสนาสนะมี ๓ คือ ให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น ๑ ให้ถือ

ในวันเข้าพรรษาหลัง ๑ ให้ถือพ้นระหว่างนั้น ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 466

ว่าด้วยอาพาธเป็นต้น

[๙๕๘] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธ จึงต้อง ไม่อาพาธ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่อาพาธ จึงต้อง อาพาธไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธและไม่อาพาธก็ต้อง.

ว่าด้วยงดปาติโมกข์เป็นต้น

[๙๕๙] การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรมมี ๓ การงดปาติโมกข์ เป็น

ธรรมมี ๓

ปริวาสมี ๓ คือ ปฏิฉันนปริวาส ๑ อัปปฏิฉันนปริวาส ๑ สุทธันต-

ปริวาส ๑

มานัตมี ๓ คือ ปฏิฉันนมานัต ๑ อัปปฏิฉันนมานัต ๑ ปักขมานัต ๑

รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ คือ อยู่ร่วม ๑ อยู่ปราศ ๑ ไม่บอก ๑.

ว่าด้วยต้องอาบัติภายในเป็นต้น

[๙๖๐] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายใน ไม่ต้องภายนอก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายนอก ไม่ต้องภายใน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องทั้งภายในทั้งภายนอก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในสีมา ไม่ต้องภายนอกสีมา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายนอกสีมา ไม่ต้องภายในสีมา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในสีมา ทั้งภายนอกสีมา ๖

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 467

ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่างเป็นต้น

[๙๖๑] ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ต้องด้วยกาย ๑

ต้องด้วยวาจา ๑ ต้องด้วยกายวาจา ๑

ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๓ คือ ต้องในท่ามกลางสงฆ์ ๑

ต้องในท่ามกลางคณะ ๑ ต้องในสำนักบุคคล ๑

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๓ คือ ออกด้วยกาย ๑ ออกด้วยวาจา ๑

ออกด้วยกายวาจา ๑

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๓ คือ ออกในท่ามกลางสงฆ์

๑ ออกในท่ามกลางคณะ ๑ ออกในสำนักบุคคล ๑

ให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรมมี ๓ ให้อมูฬหวินัยเป็นธรรมมี ๓.

ว่าด้วยข้อที่สงฆ์จำนงเป็นต้น

[๙๖๒] ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงตัชชนียกรรม

คือเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว

ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาลไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑

เป็นผู้คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงนิยสกรรม คือ เป็น

ผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่อ

อธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑

เป็นผู้คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 468

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงปัพพาชนียกรรม คือ

เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว

ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร

๑ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงปฏิสารณียกรรม คือ

เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว

ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑

ด่าบริภาษคฤหัสถ์ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐาน

ไม่เห็นอาบัติ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท

ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มี

มรรยาทไม่สมควร ๑ ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐาน

ไม่ทำคืนอาบัติ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท

ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มี

มรรยาทไม่สมควร ๑ ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐาน

ไม่สละคืนทิฏฐิอันเลวทราม คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ

ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด

มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ ไม่ปรารถนาจะสละคืนทิฏฐิอันเลวทราม ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 469

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงตั้งใจจับให้มั่น คือ เป็น

ผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่อ

อธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑

คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็น

พาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้มีศีล

วิบัติในอธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติ-

ทิฏฐิ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยการเล่นทางกาย ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นทางวาจา ๑ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยการเล่นทางกายและวาจา ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยอนาจารทางกาย ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางวาจา ๑ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยอนาจารทั้งทางกายและวาจา ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยการลบล้างทางกาย ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยการลบล้างทางวาจา ๑ เป็นผู้

ประกอบด้วยการลบล้างทางกายและวาจา ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยมิจฉาชีพทางกาย ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางวาจา ๑ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยมิจฉาชีพทั้งกายและวาจา ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 470

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ ต้องอาบัติ

ถูกสงฆ์ลงโทษแล้ว ทำการอุปสมบท ๑ ให้นิสัย ๑ ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ สงฆ์ลงโทษ

เพราะอาบัติใดต้องอาบัตินั้น ๑ ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๑ ต้องอาบัติอันเลว

ทรามกว่านั้น ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ พูดติพระ-

พุทธเจ้า ๑ พูดติพระธรรม ๑ พูดติพระสงฆ์ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ งดอุโบสถ ณ ท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัด

เสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าก่อความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่ง

แย่ง ความวิวาท แล้วทำอุโบสถ คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็น

ปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ งดปวารณา ณ ท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัด

เสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าก่อความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่ง-

แย่ง ความวิวาท แล้วทำปวารณา คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็น

ปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์ไม่พึงให้สังฆสมมติอะไร ๆ คือ เป็น

อลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์ไม่พึงกล่าว คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็น

พาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งหัวหน้า

อะไร คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 471

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงอาศัยอยู่ คือ เป็นอลัชชี ๑

เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงให้นิสัย คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑

ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ จะให้ทำโอกาส คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็น-

พาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงเชื่อถือคำให้การ คือ เป็นอลัชชี ๑

เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ อันใคร ๆ ไม่พึงถามวินัย คือ เป็นอลัชชี ๑

เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงถามวินัย คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็น

พาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงตอบวินัย คือ เป็น

อลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงตอบวินัย คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็น

พาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงให้คำซักถาม คือ

เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนาวินัยด้วยกัน

คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 472

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงให้กุลบุตรอุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย

ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑.

ว่าด้วยอุโบสถเป็นต้น

[๙๖๓] อุโบสถมี ๓ คือ อุโบสถวันสิบสี่ ๑ อุโบสถวันสิบห้า ๑

อุโบสถสามัคคี ๑

อุโบสถแม้อื่นอีก ๓ คือ สังฆอุโบสถ ๑ คณอุโบสถ ๑ ปุคคล

อุโบสถ ๑

อุโบสถแม้อื่นอีก ๓ คือ สุตตุทเทส ๑ ปาริสุทธิอุโบสถ ๑ อธิษ-

ฐานอุโบสถ ๑

ปวารณามี ๓ คือ ปวารณาวันสิบสี่ ๑ ปวารณาวันสิบห้า ๑ ปวาร-

ณาสามัคคี ๑

ปวารณาแม้อื่นอีก ๓ คือ สังฆปวารณา ๑ คณปวารณา ๑ ปุคคล

ปวารณา ๑

ปวารณาแม้อื่นอีก ๓ คือ ปวารณา ๓ หน ๑ ปวารณา ๒ หน ๑

ปวารณามีพรรษาเท่ากัน ๑

บุคคลไปอบายไปนรกมี ๓ คือ ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็น

พรหมจารี ไม่ละปฏิญญาข้อนี้ ๑ โจทพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์

บริสุทธิ์ ด้วยอพรหมจรรย์อันไม่มีมูล ๑ มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

กามทั้งหลายไม่มีโทษ ถึงความเป็นผู้หมกมุ่นในกามทั้งหลาย ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 473

อกุศลมูลมี ๓ คือ อกุศลมูล คือ โลภะ ๑ อกุศลมูล คือ โทสะ ๑

อกุศลมูล คือ โมหะ ๑

กุศลมูลมี ๓ คือ กุศลมูล คือ อโลภะ ๑ กุศลมูล คือ อโทสะ ๑

กุศลมูล คือ อโมหะ ๑

ทุจริตมี ๓ คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑

สุจริตมี ๓ คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติโภชนะ ๓ ในสกุล เพราะทรงอาศัย

อำนาจประโยชน์ ๓ คือ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก เพื่ออยู่ผาสุกแห่งภิกษุผู้มีศีล

เป็นที่รัก ๑ เพื่อประสงค์ว่าพวกมักมากอย่าอาศัยฝักฝ่ายทำลายสงฆ์ ๑ เพื่อทรง

อนุเคราะห์สกุล ๑

พระเทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ อย่าง ครอบงำย่ำยี จึงเกิดในอบาย

ตกนรกชั่วกัลป์ ช่วยเหลือไม่ได้ คือความปรารถนาลามก ๑ ความมีมิตรชั่ว ๑

พอบรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต่ำก็เลิกเสียในระหว่าง ๑

สมมติมี ๓ คือ สมมติไม้เท้า ๑ สมมติสาแหรก ๑ สมมติไม้เท้า

และสาแหรก ๑

เขียงรองเท้าที่ตั้งอยู่ประจำเลื่อนไปมาไม่ได้มี ๓ คือ เขียงรองเท้าถ่าย

วัจจะ ๑ เขียงรองเท้าถ่ายปัสสาวะ ๑ เขียงรองเท้าสำหรับชำระ ๑

สิ่งของสำหรับถูเท้ามี ๓ คือ ก้อนกรวด ๑ กระเบื้องถ้วย ๑ ฟองน้ำ

ทะเล ๑.

หมวด ๓ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 474

หัวข้อประหมวด

[๙๖๔] ทรงพระชนม์ ๑ กาล ๑

กลางคืน ๑ พรรษาสิบ ๑ พรรษาห้า ๑ กุศล

จิต ๑ เวทนา ๑ วัตถุแห่งการโจท ๑ สลาก

๑ ข้อห้าม ๒ อย่าง ๑ ข้อบัญญัติ ๑ ข้อ

บัญญัติอื่นอีก ๒ อย่าง ๑ โง่ ๑ กาฬปักษ์ ๑

ควร ๑ ฤดูหนาว ๑ สงฆ์ ๑ แก่สงฆ์ ๑

การปิด ๑ เครื่องปกปิด ๑ สิ่งกำบัง ๑ สิ่ง

เปิดเผย ๑ เสนาสนะ ๑ อาพาธ ๑ ปาติโมกข์

๑ ปริวาร ๑ มานัต ๑ ปริวาสิกภิกษุ ๑

ภายใน ๑ ภายในสีมา ๑ ต้องอาบัติ ต้อง

อาบัติอีก ๑ ออกจากอาบัติ ๑ ออกจากอาบัติ

อื่นอีก ๑ อมูฬหวินัย ๒ อย่าง ๑ ตัชชนียกรรม

๑ นิยสกรรม ๑ ปัพพาชนียกรรม ๑ ปฏิสารณี-

ยกรรม ๑ ไม่เห็นอาบัติ ๑ ไม่ทำคืนอาบัติ ๑

ไม่สละคืนทิฏฐิ ๑ จับให้มั่น ๑ กรรม ๑

อธิศีล ๑ คะนอง ๑ อนาจาร ๑ ลบล้าง ๑

อาชีวะ ๑ ต้องอาบัติ ๑ ต้องอาบัติเช่นนั้น ๑

พูดติ ๑ งดอุโบสถ ๑ งดปวารณา ๑ สมมติ

๑ กล่าวว่า ๑ หัวหน้า ๑ ไม่อาศัยอยู่ ๑

ไม่ให้นิสัย ๑ ไม่ทำโอกาส ๑ ไม่ทำการไต่

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 475

สวน ๑ ไม่ถาม ๒ อย่าง ๑ ไม่ตอบ ๒ อย่าง

๑ แม้ซักถามก็ไม่พึงให้ ๑ สนทนา ๑

อุปสมบท ๑ นิสัย ๑ ให้สามเณรอุปัฏฐาก

อุโบสถ ๓ หมวด ๓ อย่าง ๑ ปวารณา ๓

หมวด ๔ อย่าง ๑ เกิดในอุบาย ๑ อกุศล ๑

กุศล ๑ ทุจริต ๑ สุจริต ๑ โภชนะ ๓ อย่าง

๑ อสัทธรรม ๑ สมมติ ๑ เขียงรองเท้า ๑

สิ่งของถูเท้า ๑ หัวข้อตามที่กล่าวนี้รวมอยู่

ในหมวด ๓.

หัวข้อประจำหมวด จบ

หมวด ๔

ว่าด้วยต้องและออกจากอาบัติเป็นต้น

[๙๖๕] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของผู้อื่น

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของตน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของตน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของผู้อื่น

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยกาย ออกด้วยวาจา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจา ออกด้วยกาย

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยกาย ออกด้วยกาย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 476

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจา ออกด้วยวาจา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุหลับแล้ว จึงต้อง ตื่นแล้ว จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุตื่นแล้ว จึงต้อง หลับแล้ว จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุหลับแล้ว จึงต้อง หลับแล้ว จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุตื่นแล้ว จึงต้อง ตื่นแล้ว จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ตั้งใจ จึงต้อง ตั้งใจ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุตั้งใจ จึงต้อง ไม่ตั้งใจ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ตั้งใจ จึงต้อง ไม่ตั้งใจ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุตั้งใจ จึงต้อง ตั้งใจ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องอยู่ จึงแสดง แสดงอยู่ จึงต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องอยู่ จึงออก ออกอยู่ จึงต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยกรรม

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยกรรม

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม.

ว่าด้วยอนริยโวหารเป็นต้น

[๙๖๖] โวหารอันไม่ประเสริฐ มี ๔ คือ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่เห็นว่า

เห็น ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่ได้ยินว่าได้ยิน ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่ทราบ

ว่าทราบ ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่รู้ว่ารู้ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 477

โวหารอันประเสริฐ มี ๔ คือ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่เห็นว่าไม่เห็น ๑

ความกล่าวในสิ่งที่ไม่ได้ยินว่าไม่ได้ยิน ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่ทราบว่าไม่ทราบ

๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่รู้ว่าไม่รู้ ๑

โวหารอันไม่ประเสริฐแม้อื่นอีก ๔ คือ ความกล่าวในสิ่งที่เห็นว่าไม่

เห็น ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ได้ยินว่าไม่ได้ยิน ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ทราบว่าไม่

ทราบ ๑ ความกล่าวในสิ่งที่รู้ว่าไม่รู้ ๑

โวหารอันประเสริฐ มี ๔ คือ ความกล่าวในสิ่งที่เห็นว่าเห็น ๑ ความ

กล่าวในสิ่งที่ได้ยินว่าได้ยิน ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ทราบว่าทราบ ๑ ความกล่าว

ในสิ่งที่รู้ว่ารู้ ๑

ปาราชิกของภิกษุ ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔

ปาราชิกของภิกษุณี ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๔

บริขารมี ๔ คือ มีอยู่ บริขารควรรักษา คุ้มครอง นับว่าเป็น

สมบัติของเรา ควรใช้สอย ๑ มีอยู่ บริขารควรรักษา คุ้มครอง แต่ไม่นับ

ว่าเป็นสมบัติของเรา ควรใช้สอย ๑ มีอยู่ บริขารรักษา คุ้มครอง แต่ไม่นับ

ว่าเป็นสมบัติของเรา ไม่ควรใช้สอย ๑ มีอยู่ บริขารไม่ควรรักษา ไม่ควร

คุ้มครอง ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา ไม่ควรใช้สอย ๑.

ว่าด้วยต้องและออกจากอาบัติเป็นต้น

[๙๖๗] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องต่อหน้า ออกลับหลัง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องลับหลัง ออกต่อหน้า

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องต่อหน้า ออกต้อหน้า

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องลับหลัง ออกลับหลัง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 478

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่รู้อยู่ จึงต้อง รู้อยู่ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุรู้อยู่ จึงต้อง ไม่รู้อยู่ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุรู้อยู่ จึงต้อง รู้อยู่ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่รู้อยู่ จึงต้อง ไม่รู้อยู่ จึงออก.

ว่าด้วยต้องอาบัติเป็นต้น

[๙๖๘] ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๔ คือ ต้องด้วยกาย ๑ ต้องด้วย

วาจา ๑ ต้องด้วยกายและวาจา ๑ ต้องด้วยกรรมวาจา ๑

ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๔ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ๑ ใน

ท่ามกลางคณะ ๑ ในสำนักบุคคล ๑ เพราะเพศเปลี่ยนแปลง ๑

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๔ คือ ออกด้วยกาย ๑ ออกด้วย

วาจา ๑ ออกด้วยกายด้วยวาจา ๑ ออกด้วยกรรมวาจา ๑

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๔ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ๑

ในท่ามกลางคณะ ๑ ในสำนักบุคคล ๑ เพราะเพศเปลี่ยนแปลง ๑

ภิกษุละเพศอันเป็นเพศเดิม ตั้งอยู่ในเพศสตรี อันเกิด ณ ภายหลัง

พร้อมกับการได้เพศใหม่ วิญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป

ภิกษุณีละเพศสตรีอันเป็นเพศเดิม ตั้งอยู่ในเพศบุรุษอันเกิด ณ ภาย-

หลัง พร้อมกับการได้เพศใหม่ วิญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป

การโจทมี ๔ คือ โจทด้วยศีลวิบัติ ๑ โจทด้วยอาจารวิบัติ ๑ โจท

ด้วยทิฏฐิวิบัติ ๑ โจทด้วยอาชีววิบัติ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 479

ปริวาสมี ๔ คือ ปฏิจฉันนปริวาส ๑ อัปปฏิจฉันนปริวาส ๑ สุท-

ธันตปริวาส ๑ สโมธานปริวาส ๑

มานัตมี ๔ คือ ปฏิจฉันนมานัต ๑ อัปปฏิจฉันนมานัต ๑ ปักขมา-

นัต ๑ สโมธานมานัต ๑

รัตติเฉทของมานัตตจาริกภิกษุมี ๔ คือ อยู่ร่วม ๑ อยู่ปราศ ๑ ไม่

บอก ๑ ประพฤติในคณะอันหย่อน ๑

พระบัญญัติที่ทรงยกขึ้นแสดงเองมี ๔

ของที่รับประเคนไว้ฉันมี ๘ คือ ยาวกาลิก ๑ ยามกาลิก ๑ สัตตาห-

กาลิก ๑ ยาวชีวิก ๑

ยามหาวิกัฏ มี ๔ คือ คูถ ๑ มูตร ๑ เถ้า ๑ ดิน ๑

กรรมมี ๔ คือ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑

ญัตติจตุตถกรรม ๑

กรรมแม้อื่นอีก ๔ คือ กรรมเป็นวรรคโดยอธรรม ๑ กรรม

พร้อมเพรียงโดยอธรรม ๑ กรรมเป็นวรรคโดยธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียง

โดยธรรม ๑

วิบัติมี ๔ คือ ศีลวิบัติ ๑ อาจารวิบัติ ๑ ทิฏฐิวิบัติ ๑ อาชีววิบัติ ๑

อธิกรณ์มี ๔ คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตา-

ธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑

ผู้ประทุษร้ายบริษัทมี ๔ คือ ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้

ประทุษร้ายบริษัท ๑ ภิกษุณีผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๑

อุบาสกผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๑ อุบายสิกาผู้ทุศีล

มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 480

ผู้งามในบริษัทมี ๔ คือ ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งามใน

บริษัท ๑ ภิกษุณีผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งามในบริษัท ๑ อุบาสกผู้มีศีล

มีธรรมงาม เป็นผู้งามในบริษัท ๑ อุบาสิกาผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งาม

ในบริษัท ๑.

ว่าด้วยพระอาคันตุกะเป็นต้น

[๙๖๙] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาคันตุกะต้อง ภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเจ้าถิ่นต้อง ภิกษุอาคันตุกะ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาคันตุกะและภิกษุเจ้าถิ่น ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุผู้เตรียมไป ต้อง ภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเจ้าถิ่น ต้อง ภิกษุผู้เตรียมไป ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุเจ้าถิ่น ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ต้อง.

ว่าด้วยสิกขาบทมีวัตถุต่างกันเป็นต้น

[๙๗๐] ความที่สิกขาบท มีวัตถุต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมี

อาบัติต่างกัน ไม่มี

ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกันมีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ไม่มี

ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน และมีอาบัติต่างกัน มีอยู่

ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน และมีอาบัติต่างกัน ไม่มีเลย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 481

ความที่สิกขาบทมีวัตถุเป็นสภาคกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติ

เป็นสภาคกัน ไม่มี

ความที่สิกขาบทมีอาบัติเป็นสภาคกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุ

เป็นสภาคกัน ไม่มี

ความที่สิกขาบทมีวัตถุเป็นสภาคกัน และมีอาบัติเป็นสภาคกัน มีอยู่

ความที่สิกขาบทมีวัตถุเป็นสภาคกัน และมีอาบัติเป็นสภาคกัน ไม่มีเลย.

ว่าด้วยพระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติเป็นต้น

[๙๗๑] มีอยู่ อาบัติ พระอุปัชฌาย์ต้อง สัทธิวิหาริกไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ สัทธิวิหาริกต้อง พระอุปัชฌาย์ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ พระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก ต้อง

มีอยู่ อาบัติ พระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ พระอาจารย์ต้อง อันเตวาสิกไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ อันเตวาสิกต้อง พระอาจารย์ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ พระอาจารย์และอันเตวาสิกต้อง

มีอยู่ อาบัติ พระอาจารย์และอันเตวาสิกไม่ต้อง.

ว่าด้วยปัจจัยแห่งการขาดพรรษาเป็นต้น

[๙๗๒] การขาดพรรษาไม่ต้องอาบัติมีปัจจัย ๔ คือ สงฆ์แตกกัน ๑

มีพวกภิกษุประสงค์จะทำลายสงฆ์ ๑ มีอันตรายแก่ชีวิต ๑ มีอันตรายแก่

พรหมจรรย์ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 482

วจีทุจริตมี ๔ คือ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูด

เพ้อเจ้อ ๑

วจีสุจริตมี ๔ คือ พูดจริง ๑ พูดไม่ส่อเสียด ๑ พูดคำสุภาพ ๑

พูดพอประมาณ ๑.

ว่าด้วยถือเอาทรัพย์เป็นต้น

[๙๗๓] มีอยู่ ภิกษุถือเอาทรัพย์เอง ต้องอาบัติหนัก ใช้ผู้อื่น ต้อง

อาบัติเบา

มีอยู่ ภิกษุถือเอาทรัพย์เอง ต้องอาบัติเบา ใช้ผู้อื่น ต้องอาบัติหนัก

มีอยู่ ภิกษุถือเอาทรัพย์เองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติหนัก

มีอยู่ ภิกษุถือเอาทรัพย์เองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติเบา

มีอยู่ บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรลุกรับ

มีอยู่ บุคคลควรลุกรับ แต่ไม่ควรอภิวาท

มีอยู่ บุคคลควรอภิวาทและควรลุกรับ

มีอยู่ บุคคลไม่ควรอภิวาทและไม่ควรลุกรับ

มีอยู่ บุคคลควรแก่อาสนะ แต่ไม่ควรอภิวาท

มีอยู่ บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรแก่อาสนะ

มีอยู่ บุคคลควรแก่อาสนะและอภิวาท

มีอยู่ บุคคลไม่ควรแก่อาสนะและไม่ควรอภิวาท.

ว่าด้วยต้องอาบัติในกาลเป็นต้น

[๙๗๔] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาล ไม่ต้องในเวลาวิกาล

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในเวลาวิกาล ไม่ต้องในกาล

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 483

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาลและในเวลาวิกาล

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องในกาล และไม่ต้องในเวลาวิกาล

มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ควรในกาล ไม่ควรในเวลาวิกาล

มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ควรในเวลาวิกาล ไม่ควรในกาล

มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ควรในกาลและในเวลาวิกาล

มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ไม่ควรในกาลและในเวลาวิกาล

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในปัจจันติมชนบท ไม่ต้องในมัชฌิมชนบท

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในมัชฌิมชนบท ไม่ต้องในปัจจันติมชนบท

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในปัจจันติมชนบทและมัชฌิมชนบท

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องในปัจจันติมชนบทและมัชฌิมชนบท

มีอยู่ วัตถุ ย่อมควรในปัจจันติมชนบท ไม่ควรในมัชฌิมชนบท

มีอยู่ วัตถุ ย่อมควรในมัชฌิมชนบท ไม่ควรในปัจจันติมชนบท

มีอยู่ วัตถุ ย่อมควรในปัจจันติมชนบทและมัชฌิมชนบท

มีอยู่ วัตถุ ย่อมไม่ควรในปัจจันติมชนบทและมัชฌิมชนบท

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในภายใน ไม่ต้องในภายนอก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในภายนอก ไม่ต้องในภายใน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในและภายนอก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องภายในและภายนอก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในสีมา ไม่ต้องภายนอกสีมา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายนอกสีมา ไม่ต้องภายในสีมา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในสีมาและภายนอกสีมา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 484

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องภายในสีมาและภายนอกสีมา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในบ้าน ไม่ต้องในป่า

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในป่า ไม่ต้องในบ้าน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในบ้านและในป่า

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องในบ้านและในป่า.

ว่าด้วยการโจทเป็นต้น

[๙๗๕] การโจทมี ๔ คือ โจทชี้วัตถุ ๑ โจทชี้อาบัติ ๑ โจทห้าม

สังวาส ๑ โจทห้ามสามีจิกรรม ๑

กิจเบื้องต้นมี ๔

ความพร้อมพรั่งถึงที่แล้วมี ๔

อาบัติปาจิตตีย์มีเหตุมิใช่อย่างอื่นมี ๔

สมมติภิกษุมี ๔

ถึงอคติมี ๔ คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึง

ภยาคติ ๑ ไม่ถึงอคติมี ๔ คือ ไม่ถึงฉันทาคติ ๑ ไม่ถึงโทสาคติ ๑ ไม่ถึง

โมหาคติ ๑ ไม่ถึงภยาคติ ๑

ภิกษุอลัชชีประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมทำลายสงฆ์ คือ ถึงฉันทาคติ ๑

ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑

ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมสมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้ว

ให้สามัคคี คือไม่ถึงฉันทาคติ ๑ ไม่ถึงโทสาคติ ๑ ไม่ถึงโมหาคติ ๑ ไม่ถึง

ภยาคติ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่ควรถามวินัย คือ ถึงฉันทาคติ ๑

ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 485

อันภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่ควรถามวินัย คือ ถึงฉันทาคติ ๑

ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่พึงตอบวินัย คือ ถึงฉันทาคติ ๑

ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑

อันภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่พึงตอบวินัย คือ ถึงฉันทาคติ ๑

ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่พึงให้คำซักถามคือ ถึงฉันทาคติ ๑

ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่พึงสนทนาวินัยด้วย คือ ถึงฉันทาคติ ๑

ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑.

ว่าด้วยภิกษุอาพาธต้องอาบัติเป็นต้น

[๙๗๖] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธต้อง ไม่อาพาธไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่อาพาธต้อง อาพาธ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธก็ดี ไม่อาพาธก็ดี ย่อมต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธก็ดี ไม่อาพาธก็ดี ไม่ต้อง.

ว่าด้วยงดปาติโมกข์

[๙๗๗] งดปาติโมกข์ ไม่ประกอบด้วยธรรมมี ๔ งดปาติโมกข์

ประกอบด้วยธรรมมี ๔.

หมวด ๔ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 486

หัวข้อประจำหมวด

[๙๗๘] วาจาของตน ๑ กาย ๑ หลับ ๑

ไม่ตั้งใจ ๑ ต้องอาบัติ ๑ กรรม ๑ โวหาร

๔ อย่าง ๑ ปาราชิกของภิกษุ ๑ ปาราชิก

ของภิกษุณี ๑ บริขาร ๑ ต่อหน้า ๑ ไม่รู้ ๑

กาย ๑ ท่ามกลาง ๑ ออกจากอาบัติ ๒ อย่าง

๑ ได้เพศใหม่ ๑ โจท ๑ ปริวาส ๑ มานัต ๑

รัตติเฉทของมานัตตจาริกภิกษุ ๑ พระบัญญัติ

ที่ทรงยกขึ้นแสดงเอง ๑ กาลิกที่รับประเคน

๑ ยามหาวิกัฏ ๑ กรรม ๑ กรรมอีก ๑

วิบัติ ๑ อธิกรณ์ ๑ ทุศีล ๑ โสภณ ๑

อาคันตุกภิกษุ ๑ คมิกภิกษุ ๑ ความที่

สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ๑ ความที่สิกขาบท

เป็นสภาคกัน ๑ อุปัชฌาย์ ๑ อาจารย์ ๑

ปัจจัย ๑ วจีทุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ ถือเอา

ทรัพย์ ๑ บุคคลควรอภิวาท ๑ บุคคลควร

แก่อาสนะ ๑ กาล ๑ ควร ๑ ปัจจันติม-

ชนบท ๑ ควรในปัจจันติมชนบท ๑ ภายใน ๑

ภายในสีมา ๑ บ้าน ๑ โจท ๑ กิจเบื้องต้น ๑

ความพร้อมพรั่งถึงที่แล้ว ๑ อาบัติปาจิตตีย์

มีเหตุมิใช่อื่น ๑ สมมติ ๑ อคติ ๑ ไม่ถึง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 487

อคติ ๑ อลัชชี ๑ มีศีลเป็นที่รัก ๑ ควรถาม

๒ อย่าง ๑ ควรตอบ ๒ อย่าง ๑ ซักถาม ๑

สนทนา ๑ อาพาธ ๑ งดปาติโมกข์ ๑.

หัวข้อประจำหมวด ๔ จบ

หมวด ๕

ว่าด้วยอาบัติเป็นต้น

[๙๗๙] อาบัติมี ๕ กองอาบัติมี ๕ วินีตวัตถุมี ๕ อนันตริยกรรม

มี ๕ บุคคลที่แน่นอนมี ๕ อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรมมี ๕ ต้องอาบัติด้วย

อาการ ๕ อาบัติมี ๕ เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย

ภิกษุไม่เข้ากรรมด้วยอาการ ๕ คือ ตนเองไม่ทำกรรม ๑ ไม่เชิญ

ภิกษุอื่น ๑ ไม่ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ ๑ เมื่อสงฆ์ทำกรรมย่อมคัดค้าน ๑ เมื่อ

สงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้ว เห็นว่าไม่เป็นธรรม ๑

ภิกษุเข้ากรรมด้วยอาการ ๕ คือ ตนเองทำกรรม ๑ เชิญภิกษุอื่น ๑

ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ ๑ เมื่อสงฆ์ทำกรรม ไม่คัดค้าน ๑ เมื่อสงฆ์ทำกรรท

เสร็จแล้ว เห็นว่าเป็นธรรม ๑

ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต กิจ ๕ อย่างควร คือไม่บอกลาเที่ยวไป ๑

ฉันเป็นหมู่ได้ ๑ ฉันโภชนะทีหลังได้ ๑ ความไม่ต้องคำนึง ๑ ความไม่ต้อง

กำหนดหมาย ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 488

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ จะเป็นภิกษุเลวทรามก็ดี จะเป็นภิกษุมี

ธรรมอันไม่กำริบก็ดี ย่อมถูกระแวง ถูกรังเกียจ คือ มีหญิงแพศยาเป็น

โคจร ๑ มีหญิงหม้ายเป็นโคจร ๑ มีสาวเทื้อเป็นโคจร ๑ มีบัณเฑาะก์เป็น

โคจร ๑ มีภิกษุณีเป็นโคจร ๑

น้ำมันมี ๕ คือ น้ำมันงา ๑ น้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๑ น้ำมัน

มะซาง ๑ น้ำมันละหุ่ง ๑ น้ำมันเปลวสัตว์ ๑

น้ำมันเปลวสัตว์มี ๕ คือ น้ำมันเปลวหมี ๑ น้ำมันเปลวปลา ๑

น้ำมันเปลวปลาฉลาม ๑ น้ำมันเปลวหมู ๑ น้ำมันเปลวลา ๑

ความเสื่อมมี ๕ คือ ความเสื่อมญาติ ๑ ความเสื่อมโภคสมบัติ ๑

ความเสื่อม คือ โรค ๑ ความเสื่อมศีล ๑ ความเสื่อมทางทิฏฐิ คือ เห็นผิด ๑

ความถึงพร้อมมี ๕ คือ ความถึงพร้อมแห่งญาติ ๑ ความถึงพร้อม

แห่งโภคสมบัติ ๑ ความถึงพร้อมแห่งความไม่มีโรค ๑ ความถึงพร้อมแห่ง

ศีล ๑ ความถึงพร้อมแห่งความเห็นชอบ ๑

นิสัยระงับจากพระอุปัชฌาย์มี ๕ คือ พระอุปัชฌาย์หลีกไป ๑ สึก ๑

ถึงมรณภาพ ๑ ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ส่งบังคับ ๑

บุคคล ๕ จำพวกไม่ควรให้อุปสมบท คือ มีกาลบกพร่อง ๑ มีอวัยวะ

บกพร่อง ๑ มีวัตถุวิบัติ ๑ มีความกระทำเสียหาย ๑ ไม่บริบูรณ์ ๑

ผ้าบังสุกุลมี ๕ คือ ผ้าตกที่ป่าช้า ๑ ผ้าตกที่ตลาด ๑ ผ้าหนูกัด ๑

ผ้าปลวกกัด ๑ ผ้าถูกไฟไหม้ ๑

ผ้าบังสุกุลแม้อื่นอีก ๕ คือ ผ้าที่วัวกัด ๑ ผ้าที่แพะกัด ๑ ผ้าที่ห่ม-

สถูป ๑ ผ้าที่เขาทิ้งในที่อภิเษก ๑ ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 489

อวหารมี ๕ คือ เถยยาวหาร ๑ ปสัยหาวหาร ๑ ปริกัปปาวหาร ๑

ปฏิจฉันนาวหาร ๑ กุสาวหาร ๑

มหาโจรที่มีปรากฏอยู่ในโลก มี ๕

ภัณฑะที่ไม่ควรจ่าย มี ๕

ภัณฑะที่ไม่ควรแบ่ง มี ๕

อาบัติที่เกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต มี ๕

อาบัติที่เกิดแต่กายและวาจา มิใช่จิต มี ๕

อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี มี ๕

สงฆ์มี ๕ ปาติโมกขุเทศ มี ๒

ในชนบทชายแดนทุกแห่ง คณะมีพระวินัยธรเป็นที่ ๕ ให้กุลบุตร

อุปสมบทได้

การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ กรรมมี ๕

อาบัติที่เป็นยาวตติยกา มี ๕

ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุไม่ควรบริโภคอกัปปิยวัตถุ ๕ คือ ของที่เขาไม่ให้ ๑ ไม่ทราบ ๑

เป็นอกัปปิยะ ๑ ยังไม่ได้รับประเคน ๑ ไม่ทำให้เป็นเดน ๑

ภิกษุควรบริโภคกัปปิยวัตถุ ๕ คือ ของที่เขาให้ ๑ ทราบแล้ว ๑

เป็นกัปปิยะ ๑ รับประเคนแล้ว ๑ ทำให้เป็นเดน ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 490

การให้ไม่จัดเป็นบุญ แต่โลกสมมติว่าเป็นบุญมี ๕ คือ ให้น้ำเมา ๑

ให้มหรสพ ๑ ให้สตรี ๑ ให้โคผู้ ๑ ให้จิตรกรรม ๑

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยากมี ๕ คือ ราคะบังเกิดแล้วบรรเทา

ได้ยาก ๑ โทสะบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑ โมหะบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑

ปฏิภาณบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑ จิตที่คิดจะไปบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑

การกวาดมีอานิสงส์ ๕ คือ จิตของตนเลื่อมใส ๑ จิตของผู้อื่น

เลื่อมใส ๑ เทวดาชื่นชม ๑ สั่งสมกรรมที่เป็นไปเพื่อให้เกิดความเลื่อมใส ๑

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑

การกวาดมีอานิสงส์แม้อื่นอีก ๕ คือ จิตของตนเลื่อมใส ๑ จิตของ

ผู้อื่นเลื่อมใส ๑ เทวดาชื่นชม ๑ เป็นอันทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา ๑

ชุมชนมีในภายหลังถือเป็นทิฏฐานุคติ ๑

ว่าด้วยองคคุณของพระวินัยธร

[๙๘๐] พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่

กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๑ ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๑ ไม่กำหนด

ที่สุดถ้อยคำของตน ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่นแล้วปรับอาบัติ ๑ ย่อม

ปรับอาบัติโดยไม่เป็นธรรม ๑ ย่อมปรับอาบัติไม่ตามปฏิญญา ๑

วินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ กำหนดที่สุด

ถ้อยคำของตน ๑ กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๑ กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน

ทั้งกำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่นแล้วปรับอาบัติ ๑ ย่อมปรับอาบัติตามธรรม ๑

ย่อมปรับอาบัติตามปฏิญญา ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 491

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นคนเขลาคือ ไม่

รู้จักอาบัติ ๑ ไม่รู้จักมูลของอาบัติ ๑ ไม่รู้จักเหตุเกิดอาบัติ ๑ ไม่รู้จักการ

ระงับอาบัติ ๑ ไม่รู้จักทางระงับอาบัติ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอาบัติ ๑

รู้จักมูลของอาบัติ ๑ รู้จักเหตุเกิดอาบัติ ๑ รู้จักการระงับอาบัติ ๑ รู้จักทาง

ระงับอาบัติ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่รู้จัก

อธิกรณ์ ๑ ไม่รู้จักมูลของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้จักเหตุเกิดของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้จัก

ความระงับของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติอันให้ถึงความระงับแห่งอธิกรณ์ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอธิกรณ์

รู้จักมูลของอธิกรณ์ ๑ รู้จักเหตุเกิดของอธิกรณ์ ๑ รู้จักความระงับของ

อธิกรณ์ ๑ รู้จักข้อปฏิบัติอันให้ถึงความระงับแห่งอธิกรณ์ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่

รู้จักวัตถุ ๑ ไม่รู้จักเหตุเป็นเค้ามูล ๑ ไม่รู้จักบัญญัติ ๑ ไม่รู้จักอนุบัญญัติ ๑

ไม่รู้จักทางแห่งถ้อยคำอันเข้าอนุสนธิกันได้ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักวัตถุ ๑

รู้จักเหตุเป็นเค้ามูล ๑ รู้จักบัญญัติ ๑ รู้จักอนุบัญญัติ ๑ รู้จักทางแห่งถ้อยคำ

อันเข้าอนุสนธิกันได้ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่

รู้จักบัญญัติ ๑ ไม่รู้จักตั้งบัญญัติ ๑ ไม่ฉลาดในเบื้องต้น ๑ ไม่ฉลาดในเบื้องปลาย ๑

ไม่รู้จักกาล ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 492

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นรู้ฉลาด คือ รู้จักญัตติ ๑

รู้จับตั้งญัตติ ๑ ฉลาดในเบื้องต้น ๑ ฉลาดในเบื้องปลาย ๑ รู้จักกาล ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่

อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้จักอาบัติมีส่วน

เหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑

ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ให้ดี ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอาบัติ

และมิใช่อาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้จักอาบัติมีส่วนเหลือและ

อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ยึดถือ

ใส่ใจใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ด้วยดี ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่

รู้จักอาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้จักอาบัติ

มีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่ว-

หยาบ ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้โดยพิสดาร จำแนกไม่ถูกต้อง สวดไม่

คล่องแคล่ว วินิจฉัยไม่ถูกต้อง โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ ๑

พระวินิยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอาบัติ

และมิใช่อาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้จักอาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ

ไม่มีส่วนเหลือ ๑ รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ จำปาติโมกข์

ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง สวดได้คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องดี

โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 493

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่

รู้จักอาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้จักอาบัติมี

ส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่ว-

หยาบ ๑ ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอาบัติ

และไม่ใช่อาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้จักอาบัติมีส่วนเหลือและ

อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ฉลาดใน

การวินิจฉัยอธิกรณ์ ๑.

ว่าด้วยภิกษุอยู่ป่าเป็นต้น

[๙๘๑] ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ คือ เพราะเป็นผู้เขลา เพราะเป็นผู้

งมงายจึงอยู่ป่า ๑ เป็นผู้ปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงอยู่ป่า ๑

เพราะมัวเมา เพราะจิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า ๑ เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า

และพระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงอยู่ป่า ๑ เพราะอาศัยความมักน้อย

สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และเพราะอาศัยความเป็นแห่งการอยู่ป่ามี

ประโยชน์ด้วยความปฏิบัติตามนี้ จึงอยู่ป่า ๑

ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตมี ๕

ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลมี ๕

ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้มี ๕

ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้ามี ๕

ภิกษุผู้ถืออยู่กลางแจ้งมี ๕

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 494

ภิกษุผู้ถือผ้าสามผืนมี ๕

ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับมี ๕

ภิกษุผู้ถือการนั่งมี ๕

ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้มี ๕

ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียวมี ๕

ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลังมี ๕

ภิกษุผู้ถือการฉันเพราะในบาตรมี ๕ คือ เพราะเป็นผู้เขลา เพราะเป็น

ผู้งมงาย จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๑ เป็นผู้ปรารถนาลามก ถูกความ

ปรารถนาครอบงำ จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๑ เพราะมัวเมา เพราะจิต

ฟุ้งซ่าน จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๑ เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า และ

พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๑ เพราะ

อาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และเพราะอาศัยความ

เป็นแห่งการฉันเฉพาะในบาตรมีประโยชน์ด้วยความปฏิบัติตามนี้ จึงถือการฉัน

เฉพาะในบาตร ๑.

ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย

[๙๘๒] ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้

อุโบสถ ๑ ไม่รู้อุโบสถกรรม ๑ ไม่รู้ปาติโมกข์ ๑ ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑

มีพรรษาหย่อนห้า ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้อุโบสถ ๑ รู้

อุโบสถกรรม ๑ รู้ปาติโมกข์ ๑ รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาห้า หรือมี

พรรษาเกินห้า ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 495

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้

ปวารณา ๑ ไม่รู้ปวารณากรรม ๑ ไม่รู้ปาติโมกข์ ๑ ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑

มีพรรษาหย่อนห้า ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้ปวารณา ๑ รู้

ปวารณากรรม ๑ รู้ปาติโมกข์ ๑ รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาห้า หรือมี

พรรษาเกินห้า ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้

อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือ

และอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ มี

พรรษาหย่อนห้า ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้อาบัติและมิใช่

อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วน

เหลือ ๑ รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ มีพรรษาห้า หรือมีพรรษา

เกินห้า ๑

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้อุโบสถ ๑

ไม่รู้อุโบสถกรรม ๑ ไม่รู้ปาติโมกข์ ๑ ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษา

หย่อนห้า ๑

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้อุโบสถ ๑ รู้

อุโบสถกรรม ๑ รู้ปาติโมกข์ ๑ รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาห้า หรือมี

พรรษาเกินห้า ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 496

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่

รู้ปวารณา ๑ ไม่รู้ปวารณากรรม ๑ ไม่รู้ปาติโมกข์ ๑ ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑

มีพรรษาหย่อนห้า ๑

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัย คือ รู้ปวารณา ๑ รู้

ปวารณากรรม ๑ รู้ปาติโมกข์ ๑ รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษา ๕ หรือมี

พรรษาเกินห้า ๑

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ ศีล ไม่

รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้อาบัติมีส่วน

เหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑

มีพรรษาหย่อนห้า ๑

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้อาบัติและมิใช่

อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วน

เหลือ ๑ รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ มีพรรษาห้า หรือมีพรรษา

เกินห้า ๑

โทษในกรรมไม่น่าเสื่อมใสเป็นต้น

[๙๘๓] กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษ ๕ คือ ตนเองก็ติเตียนตน ๑

ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียน ๑ กิตติศัพท์อันทรามย่อมขจรไป ๑ หลง-

ไหลทำกาละ ๑ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 497

กรรมที่น่าเลื่อมใสมีคุณ ๕ คือ ตนเองก็ไม่ติเตียนตน ๑ ผู้รู้ทั้งหลาย

ใคร่ครวญแล้วก็สรรเสริญ ๑ กิตติศัพท์อันดีย่อมขจรไป ๑ ไม่หลงใหลทำ

กาละ ๑ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ๑

กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษแม้อื่นอีก ๕ คือ ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส

ย่อมไม่เลื่อมใส ๑ คนบางคนพวกที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ๑ เขา

ไม่เป็นอันทำคำสอนของพระศาสดา ๑ หมู่ชนมีในภายหลัง ย่อมถือเป็น

ทิฏฐานุคติ ๑ จิตของเขาไม่เลื่อมใส ๑

กรรมที่น่าเลื่อมใสมีคุณ ๕ คือ ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมเลื่อมใส ๑

ผู้ที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป ๑ เขาเป็นอันทำคำสอนของพระศาสดา ๑

หมู่ชนมีในภายหลัง ย่อมถือเป็นทิฏฐานุคติ ๑ จิตของเขาย่อมเลื่อมใส ๑

ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลมีโทษ ๕ คือ ต้องอาบัติเพราะไม่บอกลาเที่ยวไป

๑ ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ ๑ ต้องอาบัติเพราะอาสนะกำบัง ๑ แสดงธรรมแก่

มาตุคามด้วยวาจาเกิน ๕ -๖ คำ ต้องอาบัติ ๑ เป็นผู้มากด้วยความดำริในกาม

อยู่ ๑

ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล คลุกคลีอยู่ในตระกูลเกินเวลา มีโทษ ๕ คือ

เห็นมาตุคามเนือง ๆ ๑ เมื่อมีการเห็นก็มีการเกี่ยวข้อง ๑ เมื่อมีการเกี่ยวข้อง

ก็ต้องคุ้นเคย ๑ เมื่อมีความคุ้นเคยก็มีจิตกำหนัด ๑ เมื่อมีจิตกำหนัด ก็หวัง

ข้อนี้ได้ คือ เธอจักไม่ยินดีพระพฤติพรหมจรรย์ หรือจักต้องอาบัติที่เศร้า-

หมองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจักบอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 498

ว่าด้วยพืชและผลไม้

[๙๘๔] พืชมี ๕ ชนิด คือ พืชเกิดจากเงา ๑ พืชเกิดจากต้น ๑ พืช

เกิดจากข้อ ๑ พืชเกิดจากยอด ๑ พืชเกิดจากเมล็ด ๑

ผลไม้ที่ควรบริโภคด้วยวิธีอันควรแก่สมณะมี ๕ คือ จี้ด้วยไฟ ๑ กรีด

ด้วยศัสตรา ๑ จิกด้วยเล็บ ๑ ไม่มีเมล็ด ๑ เขาปล้อนเมล็ดออกแล้วเป็นที่ห้า ๑.

ว่าด้วยวิสุทธิ ๕

[๙๘๕] วิสุทธิมี ๕ คือ ภิกษุแสดงนิทานแล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วย

สุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ ๑

แสดงนิทาน แสดงปาราชิก ๔ แล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วยสุตบท นี้

เป็นวิสุทธิข้อที่ ๒

แสดงนิทาน แสดงปาราชิก ๔ แสดงสังฆาทิเสส ๑๓ แล้ว นอกนั้น

พึงสวดด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ ๓

แสดงนิทาน แสดงปาราชิก ๔ แสดงสังฆาทิเสส ๑๓ แสดงอนิยต ๒

แล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ ๔

สวดโดยพิสดารอย่างเดียว เป็นวิสุทธิข้อที่ ๕

วิสุทธิแม้อื่นอีก ๕ คือ สุตตุทเทศ ๑ ปาริสุทธิอุโบสถ ๑ อธิษฐาน

อุโบสถ ๑ สามัคคีอุโบสถ ๑ ปวารณาเป็นที่ห้า ๑.

ว่าด้วยอานิสงส์การทรงวินัยเป็นต้น

[๙๘๖] การทรงวินัยมีอานิสงส์ ๕ คือ กองศีลของตนเป็นอันคุ้มครอง

รักษาดีแล้ว ๑ ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้ ๑ กล้าพูดใน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 499

ท่ามกลางสงฆ์ ๑ ข่มด้วยดีซึ่งข้าศึกโดยสหธรรม ๑ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้ง

มั่นแห่งพระสัทธรรม ๑

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มี ๕

การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มี ๕.

หมวด ๕ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๙๘๗] อาบัติ ๑ กองอาบัติ ๑ วินีต

วัตถุ ๑ อนันตริยกรรม ๑ บุคคล ๑ อาบัติมี

อันตัดเป็นวินัยกรรม ๑ ต้องอาบัติ ๑ ปัจจัย ๑

ไม่เข้ากรรม ๑ เข้ากรรม ๑ กิจควร ๑ ภิกษุ

ถูกระแวง ๑ น้ำมัน ๑ เปลวมัน ๑ ความเสื่อม

๑ ความเจริญ ๑ ความระงับ ๑ บุคคลไม่ควร

อุปสมบท ๑ ผ้าบังสุกุลที่ตก ณ ป่าช้า ๑ ผ้า

บังสุกุลที่โคกัด ๑ การลัก ๑ โจร ๑ สิ่งของ

ไม่ควรจ่าย ๑ สิ่งของไม่ควรแบ่ง ๑ อาบัติ

เกิดแต่กาย ๑ เกิดแต่กายและวาจา ๑ เป็น

เทสนาคามินี ๑ สงฆ์ ๑ ปาติโมกขุทเทศ ๑

ปัจจันติมชนบท ๑ อานิสงส์กฐิน ๑ กรรม ๑

อาบัติเป็นยาวตติยกา ๑ ปาราชิก ๑ ถุลลัจจัย

๑ ทุกกฏ ๑ ของเป็นอกัปปิยะ ๑ ของเป็น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 500

กัปปิยะ ๑ สิ่งที่ให้แล้วไม่เป็นบุญ ๑ สิ่งที่

บรรเทาได้ยาก ๑ การกวาด ๑ การกวาดอย่าง

อื่นอีก ๑ ถ้อยคำ ๑ อาบัติ ๑ อธิกรณ์ ๑ วัตถุ ๑

ญัตติ ๑ อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ปาติโมกข์

ทั้งสอง ๑ อาบัติเบาและอาบัติเป็นที่แปด ๑

จงทราบฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้ อยู่

ป่า ๑ ถือเที่ยวบิณฑบาต ๑ ทรงผ้าบังสุกุล ๑

อยู่โคนไม้ อยู่ป่าช้า ๑ อยู่ที่แจ้ง ๑ ทรงผ้า

๓ ผืน ๑ ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับแถว ๑

ถือการนั่ง ๑ ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ ๑

ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว ๑ ถือการห้าม

ภัตรที่ถวายทีหลัง ๑ ถือฉันข้าวในบาตร ๑

อุโบสถ ๑ ปวารณา ๑ อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑

บทฝ่ายดำและฝ่ายขวาดังข้างต้นนี้ สำหรับ

ภิกษุณีก็เหมือนกัน กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส ๑

กรรมที่น่าเลื่อมใส ๑ กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส

และน่าเลื่อมใสอื่นอีก ๒ อย่าง ภิกษุเข้าไป

สู่สกุล ๑ ภิกษุคลุกคลีอยู่เกินเวลา ๑ พืช ๑

ผลไม้ควรแก่สมณะ ๑ วิสุทธิ ๑ วิสุทธิแม้อื่น

อีก ๑ อานิสงส์การทรงพระวินัย ๑ งดปาติ-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 501

โมกข์ไม่เป็นธรรม ๑ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑.

หมวดห้าล้วนที่กล่าวแล้วจบ

หัวข้อประจำหมวด ๕ จบ

หมวด ๖

ว่าด้วยความไม่เคารพเป็นต้น

[๙๘๘] ความไม่เคารพมี ๖ ความเคารพมี ๖ วินีตวัตถุมี ๖ สามีจิ-

กรรมมี ๖ สมุฏฐานอาบัติมี ๖ อาบัติมีอันตัดเป็นวินัยกรรมมี ๖ ภิกษุต้อง

อาบัติด้วยอาการ ๖ การทรงวินัยมีอานิสงส์ ๖ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๖ ภิกษุ

อยู่ปราศจากไตรจีวร ๖ ราตรี จีวรมี ๖ ชนิด น้ำย้อมมี ๖ ชนิด อาบัติเกิดแต่

กายกับจิตมิใช่วาจามี ๖ อาบัติ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กายมี ๖ อาบัติเกิด

แต่กายวาจาและจิตมี ๖ กรรมมี ๖ มูลแห่งวิวาทมี ๖ มูลแห่งการโจทมี ๖

สาราณียธรรมี ๖ ผ้าอาบน้ำฝนยาว ๖ คืบ พระสุคต จีวรพระสุคตกว้าง ๖ คืบ

พระสุคต นิสัยระงับจากพระอาจารย์มี ๖ อนุบัญญัติในการอาบน้ำมี ๖ ภิกษุ

ถือเอาจีวรที่ทำค้างไว้แล้วหลีกไป เก็บเอาจีวรที่ทำค้างแล้วหลีกไป.

ว่าด้วยองค์ ๖ แห่งพระอุปัชฌาย์

[๙๘๙] ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย

ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 502

เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้มีพรรษาสิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย

ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีลของพระอเสขะด้วยตน และชักชวนผู้อื่นใน

กองศีล ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิของพระอเสขะด้วยตน และชักชวนผู้อื่น

ในกองสมาธิ ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญาของพระอเสขะด้วยตน และชักชวนผู้อื่น

ในกองปัญญา ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติของพระอเสขะด้วยตน และชักชวนผู้อื่น

ในกองวิมุตติ ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะของพระอเสขะด้วยตน และ

ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้มีพรรษาสิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย

ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ มีศรัทธา ๑ มีความละอาย ๑ มีความเกรงกลัวบาป

๑ ปรารภความเพียร ๑ มีสติตั้งมั่น ๑ มีพรรษาสิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 503

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย

ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ไม่มีศีลวิบัติในอธิศีล ๑ ไม่มีอาจารวิบัติในอัธยา-

จาร ๑ ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๑ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ๑ มีปัญญา ๑ มีพรร-

ษาสิบ หรือพรรษาเกินสิบ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย

ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ อาจพยาบาลเอง หรือสั่งให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวา-

สิกหรือสิทธิวิหาริกผู้อาพาธ ๑ อาจระงับเองหรือวานผู้อื่นให้ช่วยระงับความ

กระสันอันเกิดขึ้นแล้ว ๑ อาจบรรเทาเองหรือวานผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อ

หน่ายอันเกิดขึ้นโดยธรรม ๑ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักวิธีออกจากอาบัติ ๑ มีพรรษา

ได้สิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย

ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ อาจฝีกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในสิกขา

อันเป็นส่วนอภิสมาจาร ๑ อาจแนะนำอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในสิกขาเป็น

ส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ๑ อาจแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป ๑ อาจแนะนำ

ในวินัยอันยิ่งขึ้นไป ๑ อาจเปลื้องทิฏฐิผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม ๑ มีพรรษาได้

สิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย

ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ รู้อาบัติ ๑ รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑

รู้อาบัติหนัก ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี สวดคล่องแคล่ว

วินิจฉัยถูกต้องโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ ๑ มีพรรษาได้สิบ หรือมีพรรษา

เกินสิบ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 504

ว่าด้วยงดปาติโมกข์

[๙๙๐] งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๖ งดปาติโมกข์เป็นธรรมมี ๖.

หมวด ๖ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๙๙๑] อคารวะ ๑ คารวะ ๑ วินีต-

วัตถุ ๑ สามีจิกรรม ๑ สมุฏฐานอาบัติ ๑

สิกขาบทมีการตัดเป็นวินัยกรรม ๑ อาการ ๑

อานิสงส์ ๑ สิกขาบทว่าด้วยอย่างยิ่ง ๑

อยู่ปราศ ๖ ราตรี ๑ จีวร ๑ น้ำย้อม ๑

อาบัติเกิดแต่กายกับจิต ๑ วาจากับจิต ๑

กายวาจาและจิต ๑ กรรม ๑ มูลแห่งวิวาท ๑

มูลแห่งการโจท ๑ ด้านยาว ๑ ด้ายกว้าง ๑

นิสัยระงับ ๑ อนุบัญญัติ ๑ ถือเอาจีวรที่ทำ

ค้าง ๑ เก็บเอาจีวรที่ทำค้าง ๑ อเสขธรรม ๑

ชักชวนผู้อื่นในอเสขธรรม ๑ มีศรัทธา ๑

อธิศีล ๑ พยาบาลผู้อาพาธ ๑ ฝึกปรือใน

อภิสมาจาร ๑ รู้อาบัติ ๑ งดปาติโมกข์ไม่

เป็นธรรม ๑ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑.

หัวข้อประจำหมวด ๖ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 505

หมวด ๗

ว่าด้วยอาบัติเป็นต้น

[๙๙๒] อาบัติมี ๗ กองอาบัติมี ๗ วินีวัตถุมี ๓ สามีจิกรรมมี ๓

ทำตามปฏิญญาไม่ชอบธรรมมี ๗ ทำตามปฏิญญาชอบธรรมมี ๗ กิจ ๗ อย่าง

ภิกษุไปด้วยสัตตาหกรณียะ ไม่ต้องอาบัติ ทรงวินัยมีอานิสงส์ ๗ สิกขาบท

ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๗ เพราะอรุณขึ้นเป็นนิสสัคคีย์มี ๗ สมถะมี ๗ กรรมมี ๗

ข้าวเปลือกดิบมี ๗ สร้างกุฎีด้านกว้างร่วมใน ๗ คืบ คณะโภชน์ อนุบัญญัติ

มี ๗ ภิกษุรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุถือเอา

จีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป เก็บจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป ภิกษุไม่เห็นอาบัติ

ภิกษุเห็นอาบัติ ภิกษุทำคืนอาบัติ งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๗ งดปาติโมกข์

เป็นธรรมมี ๗.

ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร

[๙๙๓] ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ เป็นพระวินัยธรได้ คือรู้อาบัติ ๑

รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ เป็นผู้มีศีล สำรวมใน

ปาติโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย

สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ สำหรับฌาน ๔ ฝ่ายกุศลเจตสิก เป็น

เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่

ลำบาก ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ

ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบันนี้แหละเข้าถึงอยู่ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 506

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๗ เป็นพระวินัยธรได้ คือรู้อาบัติ ๑

รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสละ

สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใดไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะ

ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น เธอสดับมาก ทรงไว้ สั่งสมด้วยวาจา

เพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ๑ สำหรับฌาน ๔ ฝ่ายกุศลเจตสิกเป็น

เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้ไม่ยาก ได้ไม่

ลำบาก ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ

ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๗ เป็นพระวินัยธรได้ คือรู้อาบัติ ๑

รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองได้โดย

พิสดาร จำแนกดี สวดคล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้อง โดยสูตร โดยอนุ-

พยัญชนะ ๑ สำหรับฌาน ๔ ฝ่ายกุศลเจตสิก เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน

เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ๑ ทำให้แจ้งซึ่ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตน

เอง ในปัจจุบันนี้แหละเข้าถึงอยู่ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๗ เป็นพระวินัยธรได้ คือรู้อาบัติ ๑

รู้สิ่งนี้ใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก

คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง

หกชาติบ้าง เจ็ดชาติบ้าง แปดชาติบ้าง เก้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 507

บ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติ

บ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน

มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น

มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น

มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น

เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น

เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้

มาเกิดในภพนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อม

ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

ย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี

มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์

ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต

วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ

ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ สัตว์เหล่านั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน

พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ สัตว์เหล่านั้น

เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลัง

อุปบัติเลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ

อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วย

ประการฉะนี้ ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะ เพราะสิ้น

อาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 508

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ ย่อมงาม คือ รู้อาบัติ ๑ รู้สิ่งมิใช่

อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ เป็นผู้มีศีล . . . สมาทานศึกษาอยู่ใน

สิกขาบททั้งหลาย ๑ สำหรับฌาน ๔ ฝ่ายกุศลเจตสิก เป็นเครื่องอยู่สบายใน

ปัจจุบัน เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ๑ ทำให้

แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ด้วยตนเอง ในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๗ ย่อมงาม คือ รู้อาบัติ ๑

รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ เป็นผู้มีสุตะมาก. . .แทงตลอด

ด้วยดีด้วยทิฏฐิ ๑ สำหรับฌาน ๔ ฝ่ายกุศลเจตสิก เป็นเครื่องอยู่สบายใน

ปัจจุบัน เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ๑ ทำให้

แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ด้วยตนเอง ในปัจจุบันนี้แหละเข้าถึงอยู่ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๗ ย่อมงาม คือ รู้อาบัติ ๑

รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองได้โดย

พิสดาร จำแนกดี สวดคล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้อง โดยสูตร โดยอนุ-

พยัญชนะ ๑ สำหรับฌาน ๔ ฝ่ายกุศลเจตสิก เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน

เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ๑ ทำให้แจ้งซึ่ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย

ตนเอง ในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๗ ย่อมงาม คือ รู้อาบัติ ๑

รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 509

. . .๑ เล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี

มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์เป็นไปตามกรรม. . . ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

ไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันนี้แหละ

เข้าถึงอยู่ ๑.

ว่าด้วยอสัทธรรมและสัทธรรม

[๙๙๔] อสัทธรรม ๗ คือ ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีความละอาย ๑ ไม่มี

ความเกรงกลัว ๑ มีการฟังน้อย ๑ เกียจคร้าน ๑ หลงลืมสติ ๑ มีปัญญาทราม ๑

สัทธรรมมี ๗ คือ มีศรัทธา ๑ มีความละอาย ๑ มีความเกรงกลัว ๑

มีการฟังมาก ๑ ปรารภความเพียร ๑ มีสติตั้งมั่น ๑ มีปัญญา ๑.

หมวด ๗ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๙๙๕] อาบัติ ๑ กองอาบัติ ๑ วินีตวัตถุ ๑ สามีจิกรรม ๑ ทำ

ตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม ๑ ทำตามปฏิญญาเป็นธรรม ๑ สัตตาหะ ไปไม่ต้อง

อาบัติ ๑ อานิสงส์ ๑ อย่างยิ่ง ๑ อรุณ ๑ สมถะ ๑ กรรม ๑ ข้าวเปลือกดิบ ๑

สร้างกุฏิด้านกว้าง ๑ คณโภชน์ ๑ เจ็ดวันเป็นอย่างยิ่ง ๑ ถือเอา ๑ เก็บไป ๑

ไม่เห็นอาบัติ ๑ เห็นอาบัติ ๑ ทำคืนอาบัติ ๑ งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม ๑

งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑ วินัยธร ๔ อย่าง ๑ ภิกษุงาม ๔ อย่าง ๑ อสัทธรรม

๗ อย่าง ๑ สัทธรรม ๗ อย่าง ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วแล.

หัวข้อประจำหมวด ๗ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 510

หมวด ๘

ว่าด้วยอานิสงส์เป็นต้น

[๙๙๖] ภิกษุเห็นอานิสงส์ ๘ ไม่พึงยกภิกษุนั้นฐานไม่เห็นอาบัติ

ภิกษุเห็นอานิสงส์ ๘ พึงแสดงอาบัตินั้น เพราะความเชื่อแม้ต่อผู้อื่น อาบัติ

สังฆาทิเสสเป็นยาวตติยกะมี ๘ ประจบตระกูลด้วยอาการ ๘ จีวรบังเกิดมีมาติกา

๘ กฐินเดาะมีมาติกา ๘ น้ำปานะมี ๘ ชนิด พระเทวทัตต์ มีจิตอันอสัท-

ธรรม ๘ อย่างครอบงำย่ำยี จึงไปสู่อบาย ตกนรก ชั่วกัป ช่วยไม่ได้ โลกธรรม

มี ๘ ครุธรรมมี ๘ อาบัติปาฏิเทสนียะมี ๘ มุสาวาทมีองค์ ๘ องค์อุโบสถมี

๘ องค์แห่งความเป็นทูตมี ๘ วัตรแห่งเดียรถีย์มี ๘ อัจฉริยะอัพภูตธรรมใน

มหาสมุทรมี ๘ อัจฉริยะอัพภูตธรรมในพระธรรมวินัยนี้มี ๘ ภัตตาหารที่ไม่

เป็นเดนมี ๘ ภัตตาหารที่เป็นเดนมี ๘ เภสัชเป็นนิสสัคคิยะเมื่อรุ่งอรุณที่ ๘

ปาราชิกมี ๘ ภิกษุณียังวัตถุที่ ๘ ให้บริบูรณ์สงฆ์พึงนาสนะเสีย ภิกษุณียัง

วัตถุที่ ๘ ให้บริบูรณ์ แม้แสดงอาบัติแล้ว ก็ไม่เป็นอันแสดง อุปสมบทมีวาจา

๘ พึงลุกรับภิกษุณี ๘ พวก พึงให้อาสนะแก่ภิกษุณี ๘ พวก อุบายสิกาขอพร

๘ ภิกษุประกอบด้ายองค์ ๘ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี การทรง

วินัยมีอานิสงส์ ๘ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๘ ภิกษุผู้ถูกลงตัสสปาปิยสิกากรรม

พึงประพฤติชอบในกรรม ๘ งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๘ งดปาติโมกข์เป็น

ธรรมมี ๘.

หมวด ๘ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 511

หัวข้อประจำหมวด

[๙๙๗] ไม่ยกภิกษุนั้น ๑ เชื่อผู้อื่น ๑ อาบัติสังฆาทิเสสเป็นยาวต-

ติยกะ ๑ ประจบ ๑ มาติกา ๑ กฐินเดาะ ๑ น้ำปานะ ๑ อสัทธรรมครอบงำ ๑

โลกธรรม ๑ ครุธรรม ๑ อาบัติปาฏิเทสนียะ ๑ มุสาวาท ๑ อุโบสถ ๑

องค์แห่งทูต ๑ ติตถิยวัตร ๑ มหาสมุทร ๑ อัพภูตธรรมในพระธรรนวินัย ๑

โภชนะไม่เป็นเดน ๑ โภชนะเป็นเดน ๑ เภสัชเป็นนิสสัคคีย์ ๑ ปาราชิก ๑

วัตถุที่แปด ๑ ไม่แสดง ๑ อุปสมบท ๑ ลุกรับ ๑ ให้อาสนะ ๑ พร ๑ ให้

โอวาท ๑ อานิสงส์ ๑ อย่างยิ่ง ๑ ประพฤติในธรรมแปด ๑ งดปาติโมกข์

ไม่เป็นธรรม ๑ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศ

หมวดแปดไว้ดีแล้วแล.

หัวข้อประจำหมวด ๘ จบ

หมวด ๙

ว่าด้วยอาฆาตวัตถุเป็นต้น

[๙๙๘] อาฆาตวัตถุมี ๙ อุบายกำจัดอาฆาตมี ๙ วินีตวัตถุมี ๙

อาบัติสังฆาทิเสสเป็นปฐมาปัตติกะมี ๙ สงฆ์แตกกันเพราะภิกษุ ๙ รูป โภชนะ

อันประณีตมี ๙ เป็นทุกกฏเพราะมังสะ ๙ ชนิด ปาติโมกขุทเทศมี ๙ สิกขาบท

ที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๙ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลมี ๙ มานะมี ๙ จีวรที่ควรอธิษฐาน

มี ๙ จีวรไม่ควรวิกัปมี ๙ จีวรพระสุคตยาว ๙ คืบ การให้ไม่เป็นธรรมมี ๙

การรับไม่เป็นธรรมมี ๙ บริโภคไม่เป็นธรรมมี ๙ การให้เป็นธรรมมี ๓ การ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 512

รับเป็นธรรมมี ๓ บริโภคเป็นธรรมมี ๓ สัญญัติไม่เป็นธรรมมี ๙ สัญญัติ

เป็นธรรมมี ๙ กรรมไม่เป็นธรรมหมวด ๙ มี ๒ หมวด กรรมเป็นธรรมหมวด

๙ มี ๒ หมวด งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๙ งดปาติโมกข์เป็นธรรมมี ๙.

หมวด ๙ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๙๙๙] อาฆาตวัตถุ ๑ อุบายกำจัด ๑ วินีตวัตถุ ๑ อาบัติเป็นปฐมา-

ปัตติกะ ๑ สงฆ์แตกกัน ๑ โภชนะประณีต ๑ มังสะ ๑ อุเทศ ๑ อย่างยิ่ง ๑

ตัณหา ๑ มานะ ๑ อธิษฐาน ๑ วิกับ ๑ คืบ ๑ ให้ ๑ รับ ๑ บริโภค ๑

ให้รับ และบริโภคที่เป็นธรรมอย่างละสาม ๑ สัญญัติที่ไม่เป็นธรรม ๑ ที่เป็น

ธรรม ๑ หมวด ๙ สองหมวดสองอย่าง ๑ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑ ไม่เป็น

ธรรม ๑.

หัวข้อประจำหมวด ๙ จบ

หมวด ๑๐

ว่าด้วยอาฆาตวัตถุเป็นต้น

[๑,๐๐๐] อาฆาตวัตถุมี ๑๐ อุบายกำจัดอาฆาตวัตถุมี ๑๐ วินีตวัตถุ

มี ๑๐ มิจฉาทิฏฐินีวัตถุ ๑๐ สัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมี ๑๐

มิจฉัตตมี ๑๐ สัมมัตตะมี ๑๐ อกุศลกรรมบถมี ๑๐ กุศลกรรมบถมี ๑๐ จับ

สลากไม่เป็นธรรมมี ๑๐ จับสลากเป็นธรรมมี ๑๐ สามเณรมีสิกขาบท ๑๐

สามเณรประกอบด้วยองค์ ๑๐ พึงให้สึกเสีย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 513

ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร

[๑,๐๐๑] พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้เขลา คือไม่

กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๑ ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๑ ไม่กำหนด

ที่สุดถ้อยคำของตน และไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่นแล้วปรับอาบัติ ๑ ปรับ

อาบัติโดยไม่เป็นธรรม ๑ ปรับอาบัติไม่ตามปฏิญญา ๑ ไม่รู้อาบัติ ๑ ไม่รู้

มูลของอาบัติ ๑ ไม่รู้เหตุเกิดของอาบัติ ๑ ไม่รู้ความดับของอาบัติ ๑ ไม่รู้ข้อ

ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาบัติ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ กำหนดที่สุด

ถ้อยคำของตน ๑ กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๑ กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน

และกำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่นแล้วปรับอาบัติ ๑ ปรับอาบัติตามธรรม ๑

ปรับอาบัติตามปฏิญญา ๑ รู้อาบัติ ๑ รู้มูลของอาบัติ ๑ รู้เหตุเกิดของอาบัติ ๑

รู้ความดับของอาบัติ ๑ รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาบัติ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๑๐ นับว่า เป็นผู้เขลา คือ ไม่

รู้อธิกรณ์ ๑ ไม่รู้มูลของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้เหตุเกิดของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้ความ

ดับของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้วัตถุ ๑

ไม่รู้เหตุเป็นเค้ามูล ๑ ไม่รู้บัญญัติ ๑ ไม่รู้อนุบัญญัติ ๑ ไม่รู้ทางแห่งถ้อยคำ

อันเข้อนุสนธิกันได้ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้อธิกรณ์ ๑

รู้มูลของอธิกรณ์ ๑ รู้เหตุเกิดของอธิกรณ์ ๑ รู้ความดับของอธิกรณ์ ๑ รู้ข้อ

ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอธิกรณ์ ๑ รู้วัตถุ ๑ รู้เหตุเป็นเค้ามูล ๑ รู้บัญญัติ ๑

รู้บัญญัติ ๑ รู้ทางแห่งถ้อยคำอันเข้าอนุสนธิกันได้ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 514

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๑๐ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่

รู้ญัตติ ๑ ไม่รู้การตั้งญัตติ ๑ ไม่ฉลาดในเบื้องต้น ๑ ไม่ฉลาดในเบื้องปลาย ๑

ไม่รู้กาล ๑ ไม่รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑

ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ

ไม่ชั่วหยาบ ๑ ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้ญัตติ ๑

รู้การตั้งญัตติ ๑ ฉลาดในเบื้องต้น ๑ ฉลาดในเบื้องปลาย ๑ รู้กาล ๑ รู้อาบัติ

และมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ

ไม่มีส่วนเหลือ ๑ ผู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ เป็นผู้ยึดถือ ใส่ใจ

ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๑. นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่

รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้อาบัติมีส่วน

เหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑

จำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้โดยพิสดาร จำแนกไม่ดี สวดไม่คล่องแคล่ว วินิจฉัย

ไม่ถูกต้อง โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ ๑ ไม่รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้

อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑

ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้อาบัติและ

มิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มี

ส่วนเหลือ ๑ รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองได้

โดยพิสดาร จำแนกดี สวดคล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้อง โดยสูตร โดย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 515

อนุพยัญชนะ ๑ รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้

อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่ว-

หยาบ ๑ ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ ๑.

ว่าด้วยอุพพหิกาเป็นต้น

[๑,๐๐๒] ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๑. สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประ-

โยชน์ ๑๐ การเข้าไปสู่ภายในพระราชฐานมีโทษ ๑๐ ทานวัตถุมี ๑๐ รัตนะมี

๑๐ ภิกษุสงฆ์มีวรรค ๑๐ คณะสงฆ์มีวรรค ๑๐ พึงให้อุปสมบท ผ้าบังสุกุลมี

๑๐ จีวรสำหรับใช้สอยมี ๑๐ ทรงอดิเรกจีวรมี ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง น้ำสุกกะ

มี ๑๐ สตรีมี ๑๐ ภรรยามี ๑๐ ภิกษุในพระนครเวสาลีแสดงวัตถุ ๑๐ บุคคล

ไม่ควรไหว้มี ๑๐ เรื่องสำหรับด่ามี ๑๐ กล่าวคำส่อเสียดด้วยอาการ ๑๐

เสนาสนะมี ๑๐ ขอพร ๑๐ งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๑๐ งดปาติโมกข์เป็น

ธรรมมี ๑๐ ยาคูมีอานิสงส์ ๑๐ อกัปปิยมังสะมี ๑๐ สิกขาบทว่าด้วยอย่างยิ่งมี

๑๐ ภิกษุมีพรรษา ๑๐ ฉลาดสามารถ ควรให้บรรพชา อุปสมบท ควรให้

นิสัย ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก ภิกษุณีมีพรรษา ๑๐ ฉลาดสามารถ ควรให้

บรรพชาอุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณรีอุปัฏฐาก ภิกษุณีมีพรรษา ๑๐

ฉลาดสามารถ พึงยินดีการสมมติให้บวช ภิกษุณีมีพรรษา ๑๐ ควรให้สิกขา

แก่สตรีคฤหัสถ์.

หมวด ๑๐ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 516

หัวข้อประจำหมวด

[๑,๐๐๓] อาฆาตวัตถุ ๑ อุบายกำจัด ๑ วินีตวัตถุ ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑

สัมมาทิฏฐิ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิ ๑ มิจฉัตตะ ๑ สัมมัตตะ ๑ อกุศลกรรมบถ ๑

กุศลธรรมบถ ๑ จับสลากเป็นธรรม ๑ จับสลากไม่เป็นธรรม ๑ สามเณร ๑

นาสนะ ๑ ถ้อยคำ ๑ อธิกรณ์ ๑ ญัตติ ๑ อาบัติเบาอีก ๑ อาบัติหนัก ๑

จงรู้ฝ่ายดำ ฝ่ายขาว เหล่านี้ไว้ อุพพาหิกา ๑ สิกขาบท ๑ ภายในพระราชฐาน ๑

ทานวัตถุ ๑ รัตนะ ๑ คณะสงฆ์ทสวรรค ๑ คณะสงฆ์ทสวรรคให้อุปสมบท ๑

ผ้าบังสุกุล ๑ จีวรสำหรับใช้สอย ๑ สิบวัน ๑ น้ำสุกกะ ๑ สตรี ๑ ภรรยา ๑

วัตถุสิบ ๑ คนไม่ควรไหว้ ๑ เรื่องสำหรับด่า ๑ คำส่อเสียด ๑ เสนาสนะ ๑

พร ๑ งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม ๑ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑ ยาคู ๑ มังสะ ๑

อย่างยิ่ง ๑ ภิกษุ ๑ ภิกษุณี ๑ ให้บวช ๑ สตรีคฤหัสถ์ ๑ หมวดสิบ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศไว้ถูกต้องแล้วแล.

หัวข้อประจำหมวด ๑๐ จบ

หมวด ๑๑

ว่าด้วยบุคคลเป็นต้น

[๑,๐๐๔] บุคคล ๑๑ จำพวก ที่เป็นอนุปสัมบัน ไม่ควรให้อุปสมบท

ที่เป็นอุปสัมบัน ควรให้สึกเสีย รองเท้าไม่ควรมี ๑๑ ชนิด บาตรไม่สมควร

มี ๑๑ ชนิด จีวรไม่สมควรมี ๑๑ ชนิด สิกขาบทเป็นยาวตติยกะมี ๑๑ พึง

ถามอันตรายิกธรรม ๑๑ ของภิกษุณี จีวรควรอธิษฐานมี ๑๑ จีวรไม่ควร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 517

วิกัปมี ๑๑ จีวรเป็นนิสสัคคีย์เมื่อรุ่งอรุณที่ ๑๑ ลูกดุมที่สมควรมี ๑๑ ลูกถวิน

ที่สมควรมี ๑๑ แผ่นดินไม่ควรมี ๑๑ แผ่นดินที่สมควรมี ๑๑ การระงับนิสัย

มี ๑๑ บุคคลไม่ควรไหว้ ๑๑ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๑๑ ขอพร ๑๑ โทษ

แห่งสีมามี ๑๑ บุคคลผู้ด่าบริภาษต้องได้รับโทษ ๑๑ อย่าง เมื่อเมตตาเจ-

โตวิมุตติอันบุคคลเสพมาแต่แรก ให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้ดุจยาน

ที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งพระพฤติส่งสมเนือง ๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึง

หวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ หลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝันร้าย ๑ เป็น

ที่รักของพวกมนุษย์ ๑ เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑ เทพยดารักษา ๑ ไฟก็ดี

ยาพิษก็ดี ศัสตราก็ดี ไม่ต้องบุคคลนั้น ๑ จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑ สีหน้า

ผุดผ่อง ๑ ไม่หลงทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไปย่อมเกิดใน

พรหมโลก ๑ เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลเสพมาแต่แรกให้เจริญแล้ว ทำ

ให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสม

เนือง ๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ นี้แล.

หมวด ๑๑ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๑,๐๐๕] ให้สึก ๑ รองเท้า ๑ บาตร ๑ จีวร ๑ สิกขาบทเป็น

ยาวตติยกะ ๑ พึงถาม ๑ อธิษฐาน ๑ วิกัป ๑ อรุณ ๑ ลูกดุม ๑ ลูกถวิน ๑

แผ่นดินไม่ควร ๑ แผ่นดินควร ๑ นิสัย ๑ บุคคลไม่ควรไหว้ ๑ อย่างยิ่ง ๑

พร ๑ โทษ สีมา ๑ ด่า ๑ เมตตา ๑ จัดเป็นหมวด ๑๑.

เอกุตตริกะ จบ

1

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 518

หัวข้อลำดับหมวด

[๑,๐๐๖] หมวดยิ่งกว่าหนึ่งไม่มีมลทิน คือ หมวด ๑ หมวด ๒

หมวด ๓ หมวด ๔ หมวด ๕ หมวด ๖ หมวด ๗ หมวด ๘ หมวด ๙

หมวด ๑๐ และหมวด ๑๑ อันพระพุทธเจ้าผู้มหาวีระ มีธรรมอันปรากฏแล้ว

ผู้คงที่ ทรงแสดงแล้ว เพื่อความเกื้อกูล แก่สรรพสัตว์แล.

หัวข้อลำดับหมวด ๑๑ จบ

เอกุตตริก วัณณนา

วินิจฉัยในเอกุตตริกนัย มีคำว่า อาปตฺติกรา ธมฺมา ชานิตพฺพา

เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-

[พรรณนาหมวด ๑]

อาปัตติสมุฏฐาน ๖ ชื่อกรรมก่ออาบัติ. จริงอยู่ บุคคลย่อมต้องอาบัติ

ด้วยอำนาจแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก่ออาบัติ.

สมถะ ๗ ชื่อธรรมก่ออาบัติ.

สองบทว่า อาปตฺติ ชานิตพฺพา ได้แก่ พึงรู้จักอาบัติที่ท่านกล่าว

ไว้ในสิกขาบทและวิภังค์นั้น ๆ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 519

บทว่า อนาปตฺติ ได้แก่ พึงรู้จักอนาบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ไม่ยินดีอยู่.

บทว่า ลหุกา ได้แก่ พึงรู้จักอาบัติ ๕ อย่าง โดยความหมดจดด้วย

วินัยกรรมที่เบา.

บทว่า ครุกา ได้แก่ พึงรู้จักอาบัติสังฆาทิเสส โดยความหมดจด

โดยวินัยกรรมที่หนัก และพึงรู้จักอาบัติปาราชิก โดยความเป็นอาบัติที่ไม่

สามารถ เพื่อน้อมเข้าไปสู่ความเป็นอนาบัติ โดยอาการไร ๆ.

บทว่า สาวเสสา ได้แก่ พึงรู้จักอาบัติที่เหลือ เว้นปาราชิกเสีย.

บทว่า อนวเสสา ได้แก่ อาบัติปาราชิก.

อาบัติ ๒ กอง หยาบร้าย. อาบัติที่เหลือ ไม่หยาบร้าย.

อาบัติที่ยังทำคืนได้ ๒ หมวด เช่นกับอาบัติที่มีส่วนเหลือ ๒ หมวด

อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒ หมวด รวมเข้ากับอาบัติเบา ๒ หมวด.

อาบัติทั้ง ๗ กอง ชื่อว่า ธรรมทำอันตราย. อาบัติที่ภิกษุแกล้งละเมิด

ย่อมทำอันตรายแก่สวรรค์และนิพพาน เพราะฉะนั้น อาบัติที่ภิกษุแกล้งละเมิด

จึงชื่อว่าทำอันตราย.

ส่วนอาบัติที่มีโทษตามพระบัญญัติ อันภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ละเมิดแล้วหาทำ

อันตรายแก่สวรรค์และนิพพานไม่ เพราะฉะนั้น อาบัติที่มีโทษตามพระบัญญัติ

จึงชื่อว่าไม่ต่ำอันตราย.

ทางแห่งสวรรค์และนิพพาน อันอันตรายิกาบัติไม่ห้ามแล้ว แม้แก่

ภิกษุผู้ต้องอันตรายิกาบัติแล้ว แสดงอาบัติที่เป็นเทสนาคามินีเสีย ออกจาก

อาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินีเสียแล้วถึงความบริสุทธิ์ และผู้ตั้งอยู่ในภูมิของสามเณร

ฉะนี้แล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 520

อาบัติที่มีโทษทางโลก ชื่อว่า อาบัติที่ทรงบัญญัติพร้อมทั้งโทษ.

อาบัติที่มีโทษตามพระบัญญัติ ชื่อว่า อาบัติที่ทรงบัญญัติไม่มีโทษ.

ภิกษุทำอยู่จึงต้องอาบัติใด อาบัตินั้น ชื่อว่าเกิดเพราะกระทำเหมือน

อาบัติปาราชิก.

ภิกษุยังไม่ทำอยู่ จึงต้องอาบัติใด อาบัตินั้น ซึ่งว่าเกิดเพราะไม่ทำ

เหมือนอาบัติที่ต้องเพราะไม่อธิษฐานจีวร.

ภิกษุทำอยู่ด้วย ไม่ทำอยู่ด้วย ย่อมต้องอาบัติใด อาบัตินั้น ชื่อว่า

เกิดเพราะทำและไม่ทำ เหมือนอาบัติในกุฏการสิกขาบท.

อาบัติที่ต้องที่แรก ชื่อว่าปุพพาบัติ. อาบัติที่ภิกขุผู้อยู่ปริวาสเป็นต้น

ต้องในภายหลัง ชื่อว่าอปราบัติ.

อันตราบัติแห่งวิธีเครื่องหมดจด อันสงฆ์ให้ในอาบัติเดิม ชื่อว่า

อันตราบัติแห่งปุพพาบัติทั้งหลาย.

อันตรายบัติแห่งวิธีเครื่องหมดจด กล่าวคืออัคฆสโมธาน ชื่อว่าอัน-

ตราบัติแห่งอปราบัติ.

ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า อาบัติที่ต้องก่อน ชื่อปุพพาบัติ อาบัติที่ต้องใน

เวลาที่ควรแก่มานัตต์ ชื่ออปราบัติ อาบัติที่ต้องในปริวาส ชื่ออันตราบัติแห่ง

ปุพพาบัติ อาบัติที่ต้องในขณะประพฤติมานัตต์ ชื่ออันตราบัติแห่งอปราบัติ.

แม้คำนี้ ก็ถูกโดยปริยายอันหนึ่ง.

อาบัติใด อันภิกษุทำความทอดธุระแสดงเสีย ด้วยตั้งใจว่า เราจัก

ไม่ต้องอีก. อาบัตินั้น ชื่อว่าอันภิกษุแสดงแล้ว นับเข้าในจำนวน (อาบัติที่

แสดงแล้ว).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 521

อาบัติใด อันภิกษุไม่ทำความทอดธุระ แสดงเสียด้วยจิตที่ยังมีความ

อุกอาจ ไม่บริสุทธิ์ทีเดียว อาบัตินั้น ชื่อว่าอันภิกษุแสดงแล้ว ไม่นับเข้าใน

จำนวน.

จริงอยู่ อาบัตินี้แม้แสดงแล้ว ก็ไม่นับเข้าในจำนวนอาบัติที่แสดงแล้ว.

ในวัตถุที่ ๘ ย่อมเป็นเฉพาะปาราชิก แก่ภิกษุณี.

ใน ๙ บท มีบทที่ว่า ปญฺตฺติ ชานิตพฺพา เป็นอาทิ พึงทราบ

วินิจฉัย ตามนัยที่กล่าวแล้วในข้อถามถึงปฐมปาราชิกนั่นแล.

อาบัติหนัก ที่ทรงบัญญัติเพราะโทษล่ำ ชื่อว่าอาบัติมีโทษล่ำ

อาบัติเบา ชื่อว่าอาบัติมีโทษไม่ล่ำ.

อาบัติของพระสุธัมมัตเถระ และอาบัติที่ต้องเพราะแกล้งทำคำรับที่

เป็นธรรมให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่าอาบัติเนื่องโดยตรงกับคฤหัสถ์.

อาบัติทั้งหลายที่เหลือ ชื่อว่าอาบัติไม่เนื่องโดยทรงกับคฤหัสถ์.

อาบัติที่นับว่าเป็นอนันตริยกรรม ๕ ชื่อว่าอาบัติเที่ยง. อาบัติที่เหลือ

ชื่อว่าอาบัติไม่เที่ยง.

ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ มีพระสุทินนเถระเป็นต้น ชื่อว่าภิกษุผู้ทำทีแรก.

ภิกษุผู้ก่อนอนุบัญญัติ มีพระมักกฏีสมณะเป็นอาทิ ชื่อว่าภิกษุ ผู้ไม่ได้ทำทีแรก.

ภิกษุใด ต้องอาบัติในบางคราวบางครั้ง ภิกษุนั้น ชื่อว่าผู้ต้องอาบัติ

ไม่เป็นนิตย์.

ภิกษุใด ต้องเป็นนิตย์ ภิกษุนั้น ชื่อว่าต้องอาบัติเนือง ๆ.

ภิกษุใด ฟ้องภิกษุอื่นด้วยวัตถุหรืออาบัติ ภิกษุนั้น ชื่อว่าโจทก์.

ฝ่ายภิกษุใด ถูกฟ้องอย่างนั้น ภิกษุนี้ ชื่อว่าจำเลย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 522

ภิกษุผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ๑๕ ประการ ฟ้องด้วยวัตถุไม่จริง ชื่อว่า

ผู้ฟ้องไม่เป็นธรรม. ภิกษุผู้จำเลยถูกโจทก์นั้นฟ้องอย่างนั้น ชื่อว่า ผู้ถูกฟ้อง

ไม่เป็นธรรม.

โจทก์และจำเลยที่เป็นธรรม พึงทราบโดยปริยายอันแผกกัน.

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมทั้งหลาย อันเที่ยงโดยความเป็นธรรมผิดก็ดี

อันเที่ยงโดยความเป็นธรรมชอบก็ดี ชื่อว่าผู้เที่ยง.

บุคคลผู้แผกไป ชื่อว่าผู้ไม่เที่ยง.

พระสาวกทั้งหลาย ชื่อว่าผู้พอเพื่อต้องอาบัติ. พระพุทธเจ้าและพระ

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ไม่พอเพื่อต้องอาบัติ.

บุคคลที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ชื่อว่าผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร.

บุคคลที่ถูกสงฆ์ลงกรรม ๔ อย่างที่เหลือ มีตัชชนียกรรมเป็นต้น

ชื่อว่าผู้ไม่ถูกสงฆ์ยกวัตร.

จริงอยู่ ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเป็นต้นนี้ ไม่ยังอุโบสถหรือ

ปวารณาหรือธรรมบริโภค หรืออามิสบริโภคให้กำเริบ.

เฉพาะบุคคลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ฉิบหายเสียด้วยลิงคนาสนาทัณฑ-

กัมมนาสนาและสังวาสนาสนา อย่างนี้ว่า สงฆ์พึงยิ่งเมตติยาภิกษุณีให้ฉิบหาย

บุคคลผู้ประทุษร้ายพึงให้ฉิบหาย สมณุทเทสชื่อกัณฏกะ สงฆ์พึงให้ฉิบหาย

ดังนี้ ชื่อว่าผู้ถูกนาสนา บุคคลทั้งปวงที่เหลือ ชื่อว่าผู้ไม่ถูกนาสนา.

ธรรมที่เป็นที่อยู่ร่วมกัน มีอุโบสถเป็นอาทิ กับบุคคลใดมีอยู่ บุคคลนี้

ชื่อว่าผู้มีสังวาสเสมอกัน. บุคคลนอกนั้น ชื่อว่าผู้มีสังวาสต่างกัน.

บุคคลผู้มีสังวาสต่างกันนั้น มี ๒ พวก คือกัมมนานาสังวาสพวกหนึ่ง

ลัทธินานาสังวาสพวกหนึ่ง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 523

สองบทว่า ปน ชานิตพฺพ มีความว่า พึงทราบการงดปาฏิโมกข์

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย การงดปาฏิโมกข์

ไม่เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๑

[พรรณนาหมวด ๒]

วินิจฉัยในหมวด ๒ พึงทราบดังนี้:-

อาบัติเป็นสจิตตกะ เป็นสัญญาวิโมกข์ อาบัติเป็นอจิตตกะ เป็นโน-

สัญญาวิโมกข์.

อาบัติเพราะอวดอุตริมนุสธรรมที่จริง ชื่อว่าอาบัติของภิกษุผู้ได้

สมาบัติ.

อาบัติเพราะอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่จริง ชื่อว่าอาบัติของภิกษุผู้

ไม่ได้สมาบัติ.

อาบัติในปทโสธัมมสิกขาบทเป็นต้น ชื่อว่าอาบัติเนื่องโดยเฉพาะด้วย

สัทธรรม.

อาบัติเพราะทุฏฐุลลวาจา ชื่อว่าอาบัติเนื่องโดยเฉพาะด้วยอสัทธรรม.

อาบัติเพราะบริโภคบริขารที่ไม่ควรอย่างนี้ คือ เพราะไม่เสียสละวัตถุ

เป็นนิสสัคคีย์ก่อนบริโภค เพราะตากบาตรและจีวรไว้นาน เพราะไม่ซักจีวรที่

โสมม เพราะไม่ระบมบาตรที่สนิมจับ ชื่อว่า อาบัติเนื่องโดยเฉพาะด้วยบริขาร

ของตน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 524

อาบัติที่พึงต้อง ในเพราะไปเสียด้วยไม่บอกสั่งการที่วางบริขารมีเตียง

และตั่งเป็นอาทิของสงฆ์ ไว้กลางแจ้งเป็นต้น ชื่อว่า อาบัติเนื่องโดยเฉพาะ

ด้วยบริขารของผู้อื่น.

อาบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เป็นอาบัติแก่ภิกษุ

ผู้มีหลังอ่อน ผู้มีองคชาตยาว ผู้หนีบองคชาตด้วยขา ชื่อว่าอาบัติเนื่องโดย

เฉพาะด้วยบุคคลคือตนเอง.

อาบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ในเพราะเมถุนธรรม กายสังสัคคะ

และให้ประหารเป็นอาทิ ชื่อว่าอาบัติเนื่องโดยตรงด้วยบุคคลอื่น.

ภิกษุเมื่อพูดจริงว่า หล่อนมีหงอน ย่อมต้องอาบัติหนัก. เมื่อพูดเท็จ

ย่อมต้องอาบัติเบา โดยพระบาลีว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะสัมปชานมุสาวาท.

เมื่อพูดเท็จ เพราะอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีจริง ต้องอาบัติหนัก

เมื่อพูดจริง เพราะอวดอุตริมนุสธรรมที่มีจริง ต้องอาบัติเบา.

ภิกษุเมื่อนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ภายในสีมา ด้วยตั้งใจว่า เราจักทำ

สังฆกรรมเป็นพวก ชื่อว่าอยู่บนแผ่นดิน ต้อง (อาบัติ).

ก็ถ้าว่า เธอพึงตั้งอยู่ในอากาศแม้เพียงองคุลีเดียว ไม่พึงต้อง; เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อยู่ในอากาศ ไม่ต้อง.

เมื่อภิกษุเมื่อนั่งทับ ซึ่งเตียงหรือตั่ง อันมีเท้าเสียบในตัวบนร้านสูง

ซึ่งว่าอยู่ในอากาศ ต้อง (อาบัติ).

ก็ถ้าว่า เธอพึงตั้งเตียงและตั่งนั้นบนภาคพื้นแล้วจึงนอน ไม่พึงต้อง;

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อยู่บนภาคพื้น ไม่ต้อง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 525

ภิกษุผู้เตรียมจะไป เมื่อไม่ยังคมิยวัตรให้เต็มไปเสีย ชื่อว่าออกไปอยู่

ต้อง (อาบัติ) เข้าไปอยู่ ไม่ต้อง.

ภิกษุอาคันตุกะ ไม่ยังอาคันตุกวัตรให้เต็ม กางร่มสวมรองเท้าเข้าไป

อยู่ ชื่อว่าเข้าไปอยู่ ต้อง (อาบัติ) ออกไปอยู่ ไม่ต้อง.

ภิกษุณี เมื่อถือเอาการชำระให้สะอาดด้วยน้ำ ลึกเกินไป ชื่อว่าถือเอา

อยู่ ต้อง (อาบัติ).

ฝ่ายภิกษุ เมื่อไม่ถือเอาสีสำหรับทำให้เศร้าหมอง บริโภคจีวร ชื่อว่า

ไม่ถือเอาอยู่ ต้อง (อาบัติ).

เมื่อสมาทานวัตรของเดียรถีย์ มีมูควัตรเป็นต้น ชื่อว่าสมาทานอยู่

(อาบัติ).

ฝ่ายภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นต้นก็ดี ผู้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเป็นต้นก็ดี

เมื่อไม่สมาทานวัตรของตน ชื่อว่าไม่สมาทานอยู่ ต้อง (อาบัติ).

คำที่ว่า มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่สมาทานอยู่ ย่อมต้อง ดังนี้ท่านกล่าว

หมายเอาภิกษุเหล่านั้น.

ภิกษุผู้เย็บจีวรของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติก็ดี ผู้ทำเวชกรรม ภัณฑาคาริก-

กรรมและจิตรกรรมก็ดี ชื่อว่าที่ทำอยู่ ต้อง (อาบัติ) ผู้ไม่ทำอุปัชฌายวัตร

เป็นต้น ชื่อว่าไม่ทำอยู่ ต้อง (อาบัติ).

ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ชื่อว่าให้อยู่ ต้อง (อาบัติ). เมื่อ

ไม่ให้บริขารมีจีวรเป็นต้น แก่สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิก ชื่อว่าไม่ให้อยู่ ต้อง

(อาบัติ).

เมื่อถือเอาจีวรของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ชื่อว่ารับอยู่ ต้อง (อาบัติ).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 526

เมื่อไม่ถือเอาซึ่งโอวาท โดยพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย โอวาทอัน

ภิกษุณีไม่พึงรับไม่ได้ ดังนี้ ชื่อว่าไม่รับอยู่ ต้อง (อาบัติ).

เมื่อไม่เสียสละนิสสัคคิยวัตถุก่อนบริโภค ชื่อว่าต้อง (อาบัติ) เพราะ

บริโภค.

เมื่อยังวาระผลัดสังฆาฏิซึ่งมี ๕ วัน ให้ก้าวล่วงไป ชื่อว่าต้อง (อาบัติ)

เพราะไม่บริโภค.

ชื่อว่าย่อมต้อง (อาบัติ) ในราตรีเป็นที่นอนในเรือนร่วมกัน. เมื่อ

ไม่ปิดประตู เร้นอยู่ ชื่อว่าต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน.

เมื่อต้องอาบัติที่ตรัสไว้ เพราะก้าวล่วง ๑ ราตรี ๖ ราตรี ๗ วัน ๑๐

วันและเดือนหนึ่ง ชื่อว่าต้องเพราะอรุณขึ้น.

เมื่อห้ามข้าวแล้วฉัน ชื่อว่าต้อง ไม่ใช่เพราะอรุณขึ้น.

เมื่อตัดอยู่ซึ่งภูตคามและองคชาต ชื่อว่าตัดอยู่จึงต้อง.

เมื่อไม่ปลงผมและไม่ตัดเล็บ ชื่อว่าไม่ตัดอยู่จึงต้อง.

เมื่อปิดอาบัติไว้ ชื่อว่าปิดอยู่จึงต้อง. และชื่อว่าไม่ปกปิดอยู่ต้องอาบัติ

นี้ (ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส) ว่า อันภิกษุพึงปกปิดด้วยหญ้าหรือใบไม้แล้ว

จึงไป ฝ่ายภิกษุผู้เปลือย อย่าพึงไปเลย ภิกษุใดไป ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ.

เมื่อทรงไว้ ซึ่งผ้าคากรองเป็นต้น ชื่อว่าทรงไว้ จึงต้อง.

ชื่อว่าไม่ทรงไว้จึงต้องอาบัตินี้ (ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส) ว่า ภิกษุ

บาตรนี้ เธอพึงทรงไว้จนกว่าจะแตก.

ข้อว่า อตฺตนา วา อตฺตาน นานาสวาสก กโรติ มีความว่า

เมื่อสงฆ์ ๒ ฝ่ายนั่งในสีมาเดียวกัน ภิกษุนั่งในฝ่ายหนึ่ง ถือเอาลัทธิของอีกฝ่าย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 527

หนึ่ง ชื่อว่าตนเองทำตนเองให้เป็นนานาสังวาสก์ ของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น

ในฝ่ายที่ตนนั่งนั้น. ตนนั่งแล้วในสำนักของภิกษุเหล่าใด แม้เป็นคณปูรกะของ

ภิกษุณีเหล่านั้น ซึ่งว่าย่อมยังกรรมให้กำเริบ เพราะตนไม่มาเข้าหัตถบาสของ

อีกฝ่ายหนึ่ง.

แม้ในสมานสังวาสก์ก็มีนัยเหมือนกัน. จริงอยู่ ภิกษุนั้น ชอบใจลัทธิ

ของพวกใด ย่อมเป็นสมานสังวาสก์ของพวกนั้น เป็นนานาสังวาสก์ของอีก

พวกหนึ่ง.

ข้อว่า สตฺต อาปตฺติโย สตฺต อาปตฺติกฺขนฺธา มีความว่า

หมวด ๒ (แห่งอาบัติ) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยอำนาจแห่งชื่อว่า

มี ๒ ชื่อเท่านั้น อย่างนี้ คือ ชื่อว่าอาบัติ เพราะเป็นวีติกกมะที่จะพึงต้อง

ชื่อว่ากอง เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่.

วินิจฉัยในคำว่า กมฺเมน วา สลากคาเหน นี้ พึงทราบ

ดังนี้:-

อุทเทสและกรรมเป็นอันเดียวกัน. โวหารอนุสาวนาและการจับสลาก

เป็นอันเดียวกัน. โวหารอนุสาวนาและการจับสลาก เป็นบุพภาค. กรรมและ

อุทเทสเป็นสำคัญ.

บุคคลผู้มีอายุหย่อน ๒๐ ปี ชื่อว่าผู้มีกาลบกพร่อง. บุคคลผู้มีบรรพชา

โทษต่างโดยชนิดมีผู้มีมือด้วนเป็นต้น ชื่อว่าผู้มีอวัยวะบกพร่อง.

บัณเฑาะก์ สัตว์ดิรัจฉาน และอุภโตพยัญชนก ชื่อว่าผู้มีวัตถุวิบัติ.

อภัพบุคคล ๘ ที่ยังเหลือ มีผู้ลักสังวาสเป็นต้น ชื่อว่าผู้มีความ

กระทำเสียหาย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 528

ผู้มีกรรมอันตนทำเสีย ชื่อว่าผู้มีความกระทำเสียหาย. อธิบายว่า ผู้ถึง

ฐานแห่งอภัพบุคคล เพราะกรรมของตนที่ทำเองในอัตภาพนี้ทีเดียว.

ผู้มีบาตรจีวรไม่ครบ ชื่อว่าผู้ไม่บริบูรณ์. บุคคลไม่ขออุปสมบทชื่อว่า

บุคคลไม่ขอ.

สองบทว่า อลชฺชิสฺส จ พาลสฺส จ มีความว่า ภิกษุอลัชชีแม้

หากว่าเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ภิกษุพาล แม้หากว่า เป็นผู้มีพรรษา ๖๐ อัน

ภิกษุไม่พึงอาศัยอยู่ทั้ง ๒.

วินิจฉัยในคำว่า พาลสฺส จ อลชฺชิสฺส จ ยาจติ นี้ พึงทราบ

ดังนี้ :-

นิสัยอันบุคคลผู้ให้นิสัย พึงให้ แม้ด้วยสั่งบังคับว่า เธอจงถือนิสัย

ในสำนักภิกษุผู้โง่. แต่พึงให้แก่ภิกษุลัชชีผู้ขออยู่แท้.

บทว่า สาติสาร มีความว่า เมื่อประพฤติล่วงวัตถุใด ย่อมต้องอาบัติ

วัตถุนั้น ชื่อว่าเป็นไปกับด้วยโทษ.

การคัดค้าน ด้วยกายวิการ มีหัตถวิการเป็นอาทิ ชื่อว่าคัดค้านด้วยกาย.

ข้อว่า กาเยน วา ปฏิชานาติ ได้แก่ ปฏิญญาด้วยกายวิการมี

หัตถวิการเป็นต้น.

การล้างผลาญ ชื่อว่าการเข้าไปทำร้าย.

การล้างผลาญสิกขา ชื่อว่าการเข้าไปทำร้ายสิกขา.

การล้างผลาญเครื่องบริโภค ชื่อว่าการเข้าไปทำร้ายโภคะ.

ใน ๒ อย่างนั้น พึงทราบการล้างผลาญสิกขาของภิกษุผู้ไม่ศึกษาสิกขา

๓. พึงทราบการล้างผลาญโภคะ ของภิกษุผู้ใช้สอยเครื่องบริโภคของสงฆ์ หรือ

ของบุคคลเสียหายไป.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 529

ข้อว่า เทวฺ เวนยิกา ได้แก่ อรรถ ๒ อย่างสำเร็จในวินัย.

ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ด้วยอำนาจวัตถุที่ควรและไม่ควร

ในวินัยปิฎกทั้งสิ้น ชื่อว่าข้อบัญญัติ. ที่ชื่อว่าอนุโลมบัญญัติ พึงเห็นใน

มหาปเทส ๔.

การผลาญปัจจัยเสีย ชื่อว่ารื้อสะพาน. อธิบายว่า ภิกษุพึงทำกรรม

อันไม่ควรด้วยจิตใด การที่ไม่ยังจิตแม้นั้นให้เกิดขึ้น ชื่อว่าการรื้อสะพานเสีย.

การกระทำโดยประมาณ คือโดยพอเหมาะ อธิบายว่า ความตั้งอยู่ใน

ความพอเหมาะ ชื่อว่าความเป็นผู้กระทำพอประมาณ.

ข้อว่า กาเยน อาปชฺชติ มีความว่า ต้องอาบัติที่เกิดทางกายทวาร

ด้วยกาย. ต้องอาบัติที่เกิดทางวจีทวาร ด้วยวาจา.

ข้อว่า กาเยน วุฏฺาติ มีความว่า แม้เว้นการแสดงในติณวัตถารก-

สมถะเสีย ชื่อว่าย่อมออกด้วยกายเท่านั้น. แต่เมื่อแสดงแล้วออก ชื่อว่าย่อม

ออกด้วยวาจา.

บริโภคด้วยการกลืนกิน ชื่อว่าบริโภคภายใน. การทาศีรษะเป็นอาทิ

ชื่อว่าบริโภคภายนอก.

ข้อว่า อนาคต ภาร วหติ มีความว่า ภิกษุผู้มีได้เป็นเถระแต่นำ

ภาระมีถือพัดและเชิญแสดงธรรมเป็นอาทิ ที่พระเถระทั้งหลายจะพึงนำ คือ

เริ่มความเพียรที่จะรับภาระนั้น.

ข้อว่า อาคต ภาร น วทติ มีความว่า ภิกษุผู้เป็นเถระ แต่ไม่

ทำกิจของพระเถระ. อธิบายว่า ให้เสื่อมเสียกิจทั้งปวงมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นเถระแสดงธรรมเองบ้าง, อนุญาตให้ภิกษุผู้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 530

เถระเชิญภิกษุอื่นบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตปาฏิโมกข์ให้เป็นกิจมีพระเถระ

เป็นใหญ่.

ข้อว่า น กุกฺกุจฺจายิตพฺพ กุกฺกุจฺจายติ มีความว่า ประพฤติ

รังเกียจ ทำสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ.

ข้อว่า กุกฺกุจฺจายิตพฺพ น กุกฺกุจฺจายติ มีความว่า ภิกษุไม่

พระพฤติรังเกียจทำสิ่งที่น่ารังเกียจ. อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายของภิกษุ ๒

พวกนั่น ย่อมเพิ่มพูนทั้งกลางวันและกลางคืน.

เนื้อความแม้ในหมวด ๒ อันเป็นลำดับไป พึงทราบด้วยอำนาจแห่ง

เนื้อความ ที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

บทที่เหลือ นับว่ามีเนื้อความชัดทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วใน

บทนั้น ๆ.

พรรณนาหมวด ๒ จบ

[พรรณนาหมวด ๓]

วินิจฉัยในหมวด ๓ พึงทราบดังนี้:-

หลายบทว่า อตฺถาปตฺติ ติฏฺนฺเต ภควติ อาปชฺชติ มีความว่า

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงอยู่ ภิกษุจึงต้องอาบัติใด อาบัตินั้นมีอยู่. มีนัย

เหมือนกันทุกบท.

บรรดาอาบัติเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงอยู่ ภิกษุจึงต้อง

อาบัติ เพราะโลหิตุปบาท. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ภิกษุจึงต้อง

ยังทรงอยู่ไม่ต้องอาบัติ เพราะร้องเรียกพระเถระด้วยวาทะว่า อาวุโส เป็น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 531

ปัจจัย เพราะพระบาลีว่า อานนท์ ก็บัดนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ย่อมร้องเรียก

กันและกัน ด้วยวาทะว่า อาวุโส โดยเวลาที่เราล่วงไปเสีย ท่านทั้งหลายไม่

พึงร้องเรียกกันและกันอย่างนั้น, อานนท์ ภิกษุผู้เถระอันภิกษุผู้ใหม่ พึง

ร้องเรียกด้วยวาทะว่า ภทนฺเต หรือว่า อายสฺมา ดังนี้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงอยู่ก็ตาม ปรินิพพานแล้วก็ตาม เว้น

อาบัติ ๒ เหล่านี้เสีย ภิกษุย่อมต้ออาบัติที่เหลือ.

เมื่อห้ามเสียแล้ว ฉันของเคี้ยวของฉันที่ไม่เป็นเดน ชื่อว่าต้องอาบัติ

ในกาล หาต้องในวิกาลไม่. แต่ย่อมต้องอาบัติเพราะวิกาลโภชน์ในวิกาล หา

ต้องในกาลไม่. ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ ทั้งในกาลและวิกาล.

ในเวลากลางคืน ย่อมต้องอาบัติเพราะนอนในเรือนร่วมกัน, ในเวลา

กลางวัน ย่อมต้องอาบัติเพราะไม่ปิดประตูเร้นอยู่. ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ

ทั้งกลางคืนและกลางวัน.

ภิกษุผู้พาล ไม่ฉลาด เมื่อให้บริษัทอุปัฏฐาก ด้วยคิดว่า เรามี

พรรษา ๑๐ เรามีพรรษาเกิน ๑๐ ผู้มีพรรษาครบ ๑๐ ย่อมต้อง ผู้มีพรรษา

หย่อน ๑๐ ไม่ต้อง.

ภิกษุใหม่หรือปูนกลาง เมื่อให้บริษัทอุปัฏฐาก ด้วยคิดว่า เราเป็น

บัณฑิต เราเป็นคนฉลาด ผู้มีพรรษาหย่อน ๑๐ ย่อมต้อง ผู้มีพรรษาครบ ๑๐

ไม่ต้อง.

ทั้งภิกษุผู้มีพรรษาครบ ๑๐ ทั้งภิกษุผู้มีพรรษาหย่อน ๑๐ ย่อมต้อง

อาบัติที่เหลือ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 532

ภิกษุผู้พาล ไม่ฉลาด เมื่อไม่ถือนิสัยอยู่ ด้วยคิดว่า เรามีพรรษา

ครบ ๕ ผู้มีพรรษาครบ ๕ ย่อมต้อง.

ภิกษุใหม่ไม่ถือนิสัยอยู่ ด้วยคิดว่า เราเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด

ผู้มีพรรษาหย่อน ๕ ย่อมต้อง. ทั้งภิกษุผู้มีพรรษาครบ ๕ ทั้งภิกษุผู้มีพรรษา

หย่อน ๕ ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ.

ภิกษุผู้มีจิตเป็นกุศล ย่อมต้องอาบัติเห็นปานนี้ คือ บอกธรรมกะ

อนุปสัมบันโดยบท, แสดงธรรมแก่มาตุคาม.

ภิกษุผู้มีจิตเป็นอกุศล ย่อมต้องอาบัติต่างโดยชนิด มีปาราชิก, สุกก-

วิสัฏฐิ, กายสังสัคคะ, ทุฏฐุลละ, อัตตกามปาริจริยา, ทุฏฐโทสะ, สังฆเภทะ,

ปหารทานะ, ตลสัตติกะ เป็นต้น.

ผู้มีจิตเป็นอัพยากฤต ย่อมต้องอาบัติ มีไม่แกล้งนอนในเรือนร่วมกัน

เป็นต้น. พระอรหันต์ย่อมต้องอาบัติใด ภิกษุผู้มีจิตเป็นอัพยากฤต ย่อมต้อง

อาบัตินั้นทั้งหมด.

ภิกษุผู้พร้อมเพรียงด้วยสุขเวทนา ย่อมต้องอาบัติต่างชนิดมีเมถุนธรรม

เป็นต้น.

ผู้พร้อมเพรียงด้วยทุกขเวทนา ย่อมต้องอาบัติต่างชนิดมีทุฏฐโทสะ

เป็นต้น.

ผู้พร้อมเพรียงด้วยสุขเวทนา ย่อมต้องอาบัติใด ภิกษุผู้มีตนมัธยัสถ์

(วางเฉย) เมื่อต้องอาบัตินั้นแล ชื่อว่าผู้พร้อมเพรียงด้วยอทุกขมสุขเวทนาต้อง

(อาบัติ).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 533

ข้อว่า ตโย ปฏิกฺเขปา มีความว่า ข้อห้าม ๓ อย่าง ของพระผู้มี

พระภาคพุทธเจ้า คือ ความเป็นผู้มักมาก ความเป็นผู้ไม่สันโดษในปัจจัย ๔

ความไม่รักษาข้อปฏิบัติอันขูดเกลากิเลส, ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แล อันพระผู้มี

พระภาคพุทธเจ้าทรงห้ามแล้ว.

ส่วนธรรม ๓ อย่าง มีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้น อันพระผู้มีพระ-

ภาคพุทธเจ้าทรงอนุญาตแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๓ อย่าง

ทรงอนุญาต.

ภิกษุให้บริษัทอุปัฏฐาก ด้วยคิดว่า เรามีพรรษาครบ ๑๐ ไม่ถือนิสัย

ด้วยคิดว่า เรามีพรรษาครบ ๕ ผู้โง่เขลาต้อง ผู้ฉลาดไม่ต้อง.

ผู้มีพรรษาหย่อน ๑๐ คิดว่า เราเป็นผู้ฉลาด เมื่อให้บริษัทอุปัฏฐาก

เพราะความเป็นพหุสุตบุคคล และผู้มีพรรษาหย่อน ๕ ไม่ถือนิสัย ผู้ฉลาดต้อง

ผู้โง่เขลาไม่ต้อง.

ทั้งผู้ฉลาด ทั้งผู้โง่เขลา ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ.

เมื่อไม่เข้าพรรษา ย่อมต้องในกาฬปักข์ ไม่ต้องในชุณหปักข์. เมื่อ

ไม่ปวารณาในวันมหาปวารณา ย่อมต้องในชุณหปักข์ ไม่ต้องในกาฬปักข์.

ย่อมต้องอาบัติที่เหลือทั้งในกาฬปักข์และชุณหปักข์.

การเข้าพรรษา ย่อมสำเร็จในกาฬปักข์ ไม่สำเร็จในชุณหปักข์.

ปวารณาในวันมหาปวารณา ย่อมสำเร็จ ในชุณหปักข์ ไม่สำเร็จใน

กาฬปักข์.

สังฆกิจที่ทรงอนุญาตที่เหลือ ย่อมสำเร็จทั้งในกาฬปักข์และชุณหปักข์.

ภิกษุนุ่งผ้าอาบน้ำฝนที่วิกัปป์เก็บไว้ในวันปาฏิบทหลัง แต่เพ็ญเดือน

กัตติกาหลัง ย่อมต้องในฤดูเหมันต์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 534

แต่ในกุรุนที กล่าวว่า ไม่ถอนในวันเพ็ญเดือนกัตติกาหลัง ย่อมต้อง

ในฤดูเหมันต์. คำในอรรถกถากุรุนทีแม้นั้นท่านกล่าวชอบ. เพราะพระผู้มี

พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เราอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐานตลอด ๔ เดือน ต่อแต่

นั้นไป อนุญาตให้วิกัปป์

เมื่อฤดูร้อนยังเหลือกว่า ๑ เดือน ภิกษุแสวงหา และเมื่อฤดูร้อนยัง

เหลือกว่ากึ่งเดือน ภิกษุทำนุ่ง ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติในคิมหฤดู.

เมื่อมีผ้าอาบน้ำฝน แต่เปลือยกายอาบน้ำฝน ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติใน

ฤดูฝน.

สงฆ์เมื่อทำปาริสุทธิอุโบสถหรืออธิษฐานอุโบสถ ย่อมต้องอาบัติ.

คณะเมื่อทำสุตตุทเทสและอธิฏฐานอุโบสถ ย่อมต้องอาบัติ.

ภิกษุผู้เดียว เมื่อทำสุตตุทเทส ย่อมต้องอาบัติ. แม้ในปวารณาก็

นัยนี้แล.

สังฆอุโบสถ และสังฆปวารณา ย่อมสำเร็จแก่สงฆ์เท่านั้น.

คณะอุโบสถ และคณะปวารณา ย่อมสำเร็จแก่คณะเท่านั้น.

อธิษฐานอุโบสถและอธิษฐานปวารณา ย่อมสำเร็จแก่บุคคลเท่านั้น.

[ว่าด้วยการปิด ๓ อย่างเป็นต้น ]

เมื่อกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าต้องปาราชิก เป็นต้น ชื่อว่าปิดวัตถุ ไม่ปิด

อาบัติ.

เมื่อกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าได้เสพเมถุนธรรม เป็นต้น ชื่อว่าปิดอาบัติ

ไม่ปิดวัตถุ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 535

ภิกษุใด ไม่บอกวัตถุ ไม่บอกอาบัติ, ภิกษุนี้ ชื่อว่าปิดทั้งวัตถุทั้ง

อาบัติ.

ที่ชื่อว่าที่กำบัง เพราะปกปิดไว้.

ที่กำบัง คือเรือนไฟ ชื่อว่า ชนฺตาฆรปฏิจฺฉาทิ. แม้ในที่กำบัง

นอกนี้ ก็มีนัยเหมือนกัน.

ภิกษุผู้ปิดประตูอยู่ภายในเรือนไฟ ควรทำบริกรรม. แม้ภิกษุผู้แช่อยู่

ในน้ำ ก็ควรทำบริกรรมนั้นเหมือนกัน. แต่ไม่ควรขบเคี้ยวหรือฉันในสถาน

ทั้ง ๒

ของอันปกปิด คือ ผ้า ควรในที่ทั้งปวง

ภิกษุผู้ปกปิด (กาย) ด้วยของปกปิด คือ ผ้านั้นแล้ว สมควรทำกิจ

ทั้งปวง.

บทว่า วหนฺติ มีความว่า ย่อมไป คือย่อมออกไป ได้แก่ ไม่ได้

ความติเตียนหรือคำคัดค้าน. ดวงจันทร์ พ้นจากเมฆ หมอก ควัน ธุลีและ

ราหูแล้ว เปิดเผยดี ย่อมรุ่งเรือง, อันสิ่งเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง กำบังแล้ว

ย่อมไม่รุ่งเรือง. ควงอาทิตย์ก็เหมือนกัน. แม้ธรรมวินัยที่ภิกษุเปิดเผยจำแนก

แสดงอยู่แล จึงรุ่งเรือง, ปกปิดไว้หารุ่งเรืองไม่.

[ว่าด้วยอาบัติที่ผู้อาพาธต้องเป็นต้น]

ภิกษุผู้อาพาธ เมื่อออกปากขอเภสัชอย่างอื่น ในเมื่อจำเป็นต้องทำ

ด้วยเภสัชอย่างอื่น ย่อมต้อง (อาบัติ).

ผู้ไม่อาพาธ เมื่อออกปากขอเภสัช ในเมื่อไม่จำเป็นต้องทำด้วยเภสัช

ย่อมต้อง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 536

ภิกษุทั้งอาพาธและไม่อาพาธ ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ.

ข้อว่า อนฺโต อาปชฺชติ โน พหิ มีความว่า เมื่อสำเร็จการ

นอนเข้าไปเบียด (ภิกษุเข้าไปก่อน) ย่อมต้อง.

ข้อว่า พหิ อาปชฺชติ โน อนฺโต มีความว่า เมื่อตั้งเตียง

เป็นต้นของสงฆ์ไว้กลางแจ้งแล้วหลีกไป ชื่อว่าย่อมต้องในภายนอก. ย่อมต้อง

อาบัติที่เหลือทั้งภายในและภายนอก.

ข้อว่า อนฺโต สีมาย มีความว่า ภิกษุอาคันตุกะ เมื่อไม่แสดง

อาคันตุกวัตร กางร่มสวมรองเท้า เข้าสู่วิหาร แต่พอเข้าอุปจารสีมา ก็ต้อง.

ข้อว่า พหิ สีมาย มีความว่า ภิกษุเตรียมจะไป เมื่อไม่บำเพ็ญ-

คมิกวัตร มีเก็บงำภัณฑะไม้เป็นต้น หลีกไป แต่พอก้าวล่วงอุปจารสีมาก็ต้อง.

ย่อมต้องอาบัติที่เหลือทั้งภายในสีมาและภายนอกสีมา.

[ว่าด้วยอาบัติที่ต้องในท่ามกลางสงฆ์เป็นต้น]

เมื่อภิกษุผู้แก่กว่า มีอยู่ ภิกษุไม่ได้รับเผดียงกล่าวธรรมชื่อว่าต้องใน

ท่ามกลางสงฆ์. ในท่ามกลางคณะก็ดี ในสำนักบุคคลก็ดี ก็นัยนี้แล.

ออก (จากอาบัติ) ด้วยติณวัตถารกสมถะ ชื่อว่าออกด้วยกาย.

เมื่อภิกษุไม่ยังกายให้ไหว แสดงด้วยวาจา อาบัติชื่อว่าออกดด้วยวาจา.

เมื่อทำกิริยาทางกายประกอบกับวาจาแสดง อาบัติชื่อว่าออกดด้วยกาย

ด้วยวาจา.

อาบัติที่เป็นทั้งเทสนาคามินีทั้งวุฏฐานคามินี ย่อมออกในท่ามกลาง

สงฆ์. แต่ว่า เพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินีเท่านั้น ย่อมออกในท่ามกลางคณะ

และบุคคล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 537

[ว่าด้วยองค์เป็นเหตุลงโทษและเพิ่มโทษ]

สองบทว่า อาคาฬฺหาย เจเตยฺย มีความว่า สงฆ์พึงตั้งใจเพื่อความ

แน่นเข้า คือเพื่อความมั่นคง. อธิบายว่า สงฆ์เมื่อปรารถนา พึงลงอุกเขปนีย-

กรรม แก่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเป็นต้นแล้วไม่ยังวัตรให้เต็ม.

ในคำว่า อลชฺชี จ โหติ พาโล จ อปกตตฺโต จ นี้ มี

ความว่า ไม่พึงลงโทษด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ว่า ผู้นี้เป็นผู้โง่ ไม่รู้จักธรรมและ

อธรรม หรือว่า ผู้นี้มิใช่ปกตัตต์ ไม่รู้จักอาบัติและมิใช่อาบัติ. พึงลงโทษแก่

ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ซึ่งมีความเป็นผู้โง่เป็นมูลและมีความเป็นไม่ใช่ผู้ปกตัตต์เป็น

มูล.

ผู้ต้องอาบัติ ๒ กอง ชื่อว่าผู้เสียศีลในอธิศีล.

ผู้ต้องอาบัติ ๕ กอง ชื่อว่าผู้เสียอาจาระ.

ผู้ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ ชื่อว่าผู้เสียทิฏฐิ.

พึงลงโทษแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้ไม่เห็น ไม่ทำคืนอาบัติ และผู้ไม่ยอม

สละทิฏฐิเท่านั้น.

อนาจารต่างโดยชนิดมีเล่นการพนันเป็นต้น ด้วยเครื่องเล่นมีสกา

เป็นอาทิ ชื่อว่าเล่นทางกาย.

อนาจารต่างโดยชนิดมีทำเปิงมางปากเป็นต้น ชื่อว่าเล่นทางวาจา.

อนาจารทางทวารทั้ง ๒ ต่างโดยชนิดมีฟ้อนและขับเป็นต้น ชื่อว่าเล่น

ทางวาจา.

๑. ปาสากาทีหิ, ปาสก =Throw = ทอดลูกบาท - เล่นสกา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 538

อนาจารทวารทั้ง ๒ ต่างโดยชนิดมีฟ้อนและขับเป็นต้น ชื่อว่าเล่นทาง

กายและทางวาจา.

ความก้าวล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติในกายทวาร ชื่อว่าอนาจารทางกาย

ความก้าวล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติในวจีทวาร ชื่อว่าอนาจารทางวาจา

ความก้าวล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติในทวารทั้ง ๒ ชื่อว่าอนาจารทาง

กายทวารและทางวจีทวาร.

สองบทว่า กายิเกน อุปฆาติเกน ได้แก่ ด้วยการไม่ศึกษา

สิกขาบทที่ทรงบัญญัติในกายทวาร.

จริงอยู่ ภิกษุใดไม่ศึกษาสิกขาบทนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าผลาญสิกขาบท

นั้น. เพราะเหตุนั้น การไม่ศึกษานั้น ของภิกษุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การ

ผลาญเป็นไปทางกาย. แม้ใน ๒ สิกขาบทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.

ข้อว่า กายิเกน มิจฺฉาชีเวน ได้แก่ ด้วยการรับใช้ของคฤหัสถ์

มีเดินส่งข่าวเป็นต้นก็ดี ด้วยเวชกรรมมีฝ่าฝีเป็นต้นก็ดี.

บทว่า วาจสิเกน ได้แก่ ด้วยรับหรือบอกข่าว (ของคฤหัสถ์)

เป็นต้น. บทที่ ๓ ท่านกล่าวด้วยอำนาจประกอบบททั้ง ๒ เข้าด้วยกัน.

หลายบทว่า อล ภิกฺขุ มา ภณฺฑน มีความว่า อย่าเลยภิกษุ

เธออย่าทำความบาดหมาง อย่าทำความทะเลาะ อย่าทำความแก่งแย่ง อย่าก่อ

วิวาท.

บทว่า น โวหริตพฺโพ ได้แก่ ไม่พึงว่ากล่าวอะไรเลย.

จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่สำคัญที่จะพึงฟังถ้อยคำของภิกษุเช่นนั้น

แม้ว่ากล่าวอยู่.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 539

ข้อว่า น กิสฺมิญฺจิ ปจิเจกฏฺาเน มีความว่า (ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๓ คือเป็นอลัชชีเป็นต้น ) อันสงฆ์ไม่พึงตั้งไว้ในตำแหน่งหัวหน้า

ไร ๆ คือแม้ตำแหน่งเดียว มีถือพัด (อนุโมทนา) เป็นต้น.

สองบทว่า โอกาส การาเปนฺตสฺส มีความว่า (ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๓ คือเป็นอลัชชี เป็นต้น ) ซึ่งขอโอกาสอยู่อย่างนี้ว่า ขอท่านจงให้

โอกาส ข้าพเจ้าอยากพูดกะท่าน.

ข้อว่า นาล โอกาสกมฺม กาตุ มีความว่า โอกาสอันภิกษุไม่พึง

ทำว่า ท่านจักทำอะไร ? ดังนี้ .

ข้อว่า สวจนีย นาทาตพฺพ มีความว่า คำให้การ ไม่ควรเชื่อถือ

คือแม้ถ้อยคำ ก็ไม่ควรฟัง ไม่ควรไปในที่ซึ่งเธอประสงค์จะเกาะตัวไป.

หลายบทว่า ตีหงฺเคหิ สมนฺนาคตสฺส ภิกฺขุโน วินโย มีความว่า

ภิกษุนั้นย่อมรู้วินัยโด วินัยนั้นย่อมเป็นวินัยของเธอ วินัยนั้น อันสงฆ์ไม่

พึงถาม.

สองบทว่า อนุโยโค น ทาตพฺโพ มีความว่า สงฆ์ไม่พึงให้

โอกาสเพื่อถาม แก่ภิกษุพาลนั้น ผู้ถามอยู่ว่า นี้ควรหรือ ? เธออันสงฆ์พึง

ตอบว่า จงถามภิกษุอื่น. แม้ภิกษุใด ย่อมถามภิกษุนั้น ภิกษุนั้น อันภิกษุ

ผู้บัณฑิตพึงกล่าวว่า ท่านจงถามภิกษุอื่น เพราะเหตุนั้น ภิกษุพาลนั้น อัน

ภิกษุอื่นไม่พึงถามเลยทีเดียว คือคำถามของภิกษุพาลนั้น อันใคร ๆ ไม่พึงฟัง.

สองบทว่า วินโย น สากจฺฉิตพฺโพ มีความว่า ปัญหาวินัยอัน

ใคร ๆ ไม่พึงสนทนา คือเรื่องที่ควรหรือไม่ควร ก็ไม่พึงสนทนา (กับภิกษุ

พาลนั้น).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 540

[ว่าด้วยขาวอบาย ๓ พวกเป็นต้น]

สองบทว่า อิทมปฺปหาย ได้แก่ ไม่สละลัทธิมีความเป็นผู้ปฏิญ-

ญาว่า ตนเป็นพรหมจารีบุคคลเป็นต้นนั่น.

สองบทว่า สุทฺธ พฺรหฺมจารึ ได้แก่ ภิกษุผู้ขีณาสพ.

สองบทว่า ปาตพฺยต อาปชฺชติ ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ตกไปคือ

การเสพ.

แต่เพราะพระบาลีว่า อิทมปฺปหาย บุคคลนั้น พึงละความปฏิญญา

ว่าตนเป็นพรหมจารีบุคคลนั้นเสียแล้ว ขอขมาพระขีณาสพเสียว่า ข้าพเจ้ากล่าว

เท็จ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าพเจ้า แล้วสละลัทธิที่ว่า โทษในกามทั้งหลายไม่มี

เสีย ทำการชำระคติให้สะอาด.

อกุศลทั้งหลายด้วย รากเหง้าทั้งหลาย ชื่อว่าอกุศลมูล อีกอย่างหนึ่ง

รากเหง้าของอกุศลทั้งหลาย ชื่อว่าอกุศลมูล. แม้ในกุศลมูล ก็นัยนี้แล.

ความประพฤติชั่วหรือความประพฤติผิดรูป ชื่อว่าทุจริต.

ความประพฤติเรียบร้อยหรือความพระพฤติที่ดี ชื่อว่าสุจริต.

ทุจริต ที่ทำด้วยกายอันเป็นทางสำหรับทำ ชื่อว่ากายทุจริต.

ในบททั้งปวง ก็นัยนี้แล. คำที่เหลือ นับว่าชัดเจนแล้ว เพราะมีนัย

ดั่งกล่าวแล้วในที่นั้น ๆ ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๓ จบ

(พรรณนาหมวด ๔)

[ว่าด้วยประเภทของอาบัติ]

วินิจฉัยในหมวด ๔ พึงทราบดังนี้:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 541

ข้อว่า สกวาจาย อาปชฺชติ ปรวาจาย วุฏฺาติ มีความว่าภิกษุ

ต้องอาบัติต่างโดยชนิดมีปทโสธัมมาบัติเป็นอาทิ เนื่องด้วยวจีทวาร ถึงสถาน

ที่ระงับด้วยติณวัตถารกะแล้ว ย่อมออกด้วยกรรมวาจาของภิกษุอื่น.

ข้อว่า ปรวาจาย อาปชฺชติ สถวาจาย วุฏฺาติ มีความว่า

ภิกษุต้องด้วยกรรมวาจาของภิกษุอื่น เพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก เมื่อแสดงใน

สำนักของบุคคล ชื่อว่าออกด้วยวาจาของตน.

ข้อว่า สกวาจาย อาปชฺชติ สกวาจาย วุฏฺาติ มีความว่า

ภิกษุต้องอาบัติต่างโดยชนิดมีปทโสธัมมาบัติเป็นอาทิ เนื่องด้วยวจีทวารด้วย

วาจาของตน แม้เมื่อแสดงแล้วออกเสียเอง ชื่อว่าออกด้วยวาจาของตน.

ข้อว่า ปรวาจาย อาปชฺชติ ปรวาจาย วุฏฺาติ มีความว่า

ภิกษุต้องสังฆาทิเสส มีสวดสมนุภาสน์เพียงครั้งที่ ๓ ด้วยกรรมวาจาของผู้อื่น

แม้เมื่อออก ชื่อว่าย่อมออกด้วยกรรมวาจามีปริวาสกันมวาจาเป็นต้นของภิกษุ

อื่น.

วินิจฉัยในจตุกกะเหล่าอื่นจากปฐมจตุกกะนั้น พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุต้องอาบัติที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยกาย เมื่อแสดงเสียชื่อว่า

ออกด้วยวาจา.

ต้องอาบัติที่เป็นไปทางวจีทวาร ด้วยวาจา ชื่อว่าย่อมออกดด้วยกาย

เพราะติณวัตถารกสมถะ.

ต้องอาบัติที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยกาย ชื่อว่าย่อมออกจากอาบัติที่

เป็นไปทางกายทวารนั้นแล ด้วยกาย เพราะติณวัตถารกสมถะ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 542

ต้องอาบัติที่เป็นไปทางวจีทวาร ด้วยวาจา เมื่อแสดงอาบัตินั้นแลเสีย

ชื่อว่าออกด้วยวาจา.

ภิกษุผู้หลับ ย่อมต้องอาบัติที่จะพึงต้องตามจำนวนแห่งขน เพราะกาย

ถูกเตียงของสงฆ์ที่ไม่ลาดด้วยเครื่องลาดของตน และอาบัติที่จะพึงต้องเพราะ

นอนในเรือนร่วมกัน. และเมื่อตื่นแล้วรู้ว่าตนต้องแล้วแสดงเสีย ชื่อว่าตื่นแล้ว

ออก แต่เมื่อตื่นอยู่ ต้องแล้ว นอนในสถานที่ระงับด้วยติณวัตถารกะ ชื่อว่า

กำลังตื่นต้อง หลับไป ออก. แม้ ๒ บทเบื้องหลัง ก็พึงทราบโดยทำนองที่

กล่าวแล้วนั่นแล.

ภิกษุผู้ไม่มีความตั้งใจ ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติที่เป็นอจิตตกะ. เมื่อแสดง

เสียในภายหลัง ชื่อว่ามีความตั้งใจออก.

ภิกษุผู้มีความตั้งใจ ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติที่เป็นสจิตตกะ. เธอนอนอยู่

ในสถานที่ระงับด้วยติณวัตถารกะ ชื่อว่าไม่มีความตั้งใจออก. แม้ ๒ บทที่

เหลือ ก็พึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแล.

ภิกษุใด แสดงสภาคาบัติ ภิกษุนี้ชื่อว่าแสดงอาบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง

มีปาจิตตีย์เป็นต้น ต้องคือทุกกฏ เพราะการแสดงเป็นปัจจัย. จริงอยู่ เมื่อแสดง

อาบัตินั้น ย่อมต้องทุกกฏ. แต่เมื่อต้องทุกกฏนั้น ชื่อว่าย่อมออกจากอาบัติ-

ปาจิตตีย์เป็นต้น. เมื่อออกจากอาบัติมีปาจิตตีย์เป็นต้น ชื่อว่าย่อมต้องทุกกฏ

นั้น. จตุกกะนี้ว่า อตฺถิ ปิปชฺชนฺโต เทเสติ ดังนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าว

หมายเอาประโยคอันหนึ่งเท่านั้น ของบุคคลผู้หนึ่ง ด้วยประการฉะนี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 543

[วินิจฉัยในกัมมจตุกกะ]

วินิจฉัยในกัมมจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุต้องอาบัติเพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก ด้วยกรรม, เมื่อแสดงเสีย

ชื่อว่าออกด้วยมิใช่กรรม.

ต้องอาบัติเพราะปล่อยสุกกะเป็นต้น ด้วยมิใช่กรรม, ย่อมออกด้วย

กรรม มีปริวาสเป็นอาทิ.

ต้องอาบัติเพราะสมนุภาสน์ ด้วยกรรมเท่านั้น ย่อมออกด้วยกรรม.

ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ ด้วยมิใช่กรรม ย่อมออกด้วยมิใช่กรรม.

[วินิจฉัยในปริกขารจตุกกะ]

วินิจฉัยในปริกขารจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

บริขารของตนเป็นที่ ๑. บริขารของสงฆ์เป็นที่ ๒. บริขารของเจดีย์

เป็นที่ ๓. บริขารของคฤหัสถ์เป็นที่ ๔. ก็ถ้าว่า บริขารของคฤหัสถ์นั้น เป็น

ของที่เขานำมา เพื่อประโยชน์แก่บาตร จีวร นวกรรมและเภสัช. ภิกษุจะให้

กุญแจ และให้บริขารนั้นอยู่ข้างในก็ควร.

[วินิจฉัยในสัมมุขจตุกกะ]

วินิจฉัยในสัมมุขจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุต้องอาบัติเพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก ต่อหน้าสงฆ์แท้, แต่ใน

เวลาออกไม่มีกิจที่สงฆ์จะต้องทำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าออกลับหลัง.

ต้องอาบัติ เพราะปล่อยสุกกะเป็นต้น ลับหลัง ย่อมออกต่อหน้าสงฆ์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 544

ต้องอาบัติสมนุภาสน์ต่อหน้าสงฆ์เท่านั้น ย่อมออกต่อหน้า.

ย่อมต้องอาบัติที่เหลือต่างโดยชนิด มีสัมปชานมุสาวาทเป็นต้นลับหลัง

และออกก็ลับหลัง.

อชานันตจตุกกะ เหมือนกับอจิตตกจตุกกะ.

[ว่าด้วยเพศกลับ]

บทว่า ลิงฺคปาตุภาเวน มีความว่า เมื่อเกิดเพศกลับแก่ภิกษุหรือ

ภิกษุณีผู้นอนแล้วเท่านั้น จึงเป็นอาบัติเพราะนอนร่วมเรือนกัน.

คำว่า ลิงฺคปาตุภาเวน นี้แล ท่านกล่าวเจาะจงอาบัติ เพราะนอน

ร่วมเรือนกันนั้น.

ก็อาบัติที่ไม่ทั่วไป แก่ภิกษุและภิกษุณีทั้ง ๒ ฝ่าย ย่อมออกเพราะ

ความปรากฏแห่งเพศ.

[วินิจฉัยในสหปฏิลาภจตุกกะ]

วินิจฉัยในสหปฏิลาภจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

เพศของภิกษุใด ย่อมเปลี่ยนไป, ภิกษุนั้น พร้อมกับได้เพศ (ใหม่)

ย่อมละเพศบุรุษเดิมเสีย ด้วยอำนาจแห่งเพศที่เกิดขึ้นก่อน และด้วยความเป็น

เพศประเสริฐ ตั้งอยู่ในเพศสตรีอันเกิด ณ ภายหลัง. กายวิญญัตติและวจีวิญญัตติ

ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแห่งจริตของบุรุษและอาการของบุรุษเป็นต้น ย่อมระงับไป

บัญญัติที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ภิกษุก็ดี บุรุษก็ดี ย่อมดับไป. ก็สิกขาบท ๔๖

เหล่าใด อันไม่ทั่วไปด้วยภิกษุณีทั้งหลาย. ไม่เป็นอาบัติ เพราะสิกขาบท

เหล่านั้นเลย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 545

ก็วินิจฉัยในจตุกกะที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-

เพศของภิกษุณีใด ย่อมเปลี่ยนไป, ภิกษุณีนั้น ย่อมละเพศสตรีที่

นับว่าเกิดภายหลัง เพราะเกิดขึ้นภายหลังบ้าง เพราะความเป็นเพศทรามบ้าง

ตั้งอยู่ในเพศบุรุษ ที่นับว่าเกิดก่อน โดยประการดังกล่าวแล้ว. วิญญัตติซึ่ง

แผกจากที่กล่าวแล้ว ย่อมระงับไป. บัญญัติที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ภิกษุณี ก็ดี

สตรี ก็ดี ย่อมดับไป. สิกขาบท ๑๓๐ เหล่าใด อันไม่ทั่วไปด้วยภิกษุทั้งหลาย,

ไม่เป็นอาบัติ เพราะสิกขาบทเหล่านั้นเลย.

สองบทว่า จตฺตาโร สามุกฺกสา ได้แก่ มหาปเทส ๔. จริงอยู่

มหาปเทส ๔ นั้น ท่านกล่าวว่า สามุกฺกสา เพราะเป็นข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงรื้อขึ้น คือยกขึ้นตั้งไว้เอง ในเมื่อยังไม่เกิดเรื่องขึ้น.

บทว่า ปริโภคา ได้แก่ กลืนของที่ควรกลืน.

ส่วนน้ำ เพราะไม่เป็นกาลิก ไม่ได้รับประเคน ก็ควร.

ยาวกาลิกเป็นต้น ที่ไม่ได้รับประเคน ไม่ควรกลืน.

ยามหาวิกัฏ ๔ อย่าง เพราะเป็นของเฉพาะกาล ควรกลืนในกาลที่

ตรัสไว้อย่างไร.

สองบทว่า อุปาสโก สีลวา ได้แก่ ผู้ครองศีล ๕ หรือศีล ๑๐.

[วินิจฉัยในอาคันตุกาทิจตุกกะ]

วินิจฉัยในอาคันตุกาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุผู้กางร่มสวมรองเท้า คลุมศีรษะเข้าสู่วิหารและเที่ยวไปในวิหาร

นั้น เฉพาะเป็นอาคันตุกะจึงต้อง เป็นเจ้าถิ่นไม่ต้อง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 546

ฝ่ายภิกษุผู้ไม่ทำอาวาสิกวัตร เป็นเจ้าถิ่น จึงต้อง เป็นอาคันตุกะ

ไม่ต้อง ทั้ง ๒ พวก ย่อมต้องอาบัติที่เป็นทางกายทวารและวจีทวารที่เหลือ.

ทั้งอาคันตุกะ ทั้งเจ้าถิ่น ย่อมไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน).

วินิจฉัยแม้ในคมิยจตุกกะ. พึงทราบดังนี้:

ภิกษุผู้ไม่ยังคมิยวัตรให้เต็มไปเสีย เป็นผู้เตรียมจะไป จึงต้อง, เป็น

เจ้าถิ่น ไม่ต้อง.

เมื่อไม่ทำอาวาสิกวัตร เป็นเจ้าถิ่น จึงต้อง ผู้เตรียมจะไป ไม่ต้อง.

ทั้ง ๒ พวก ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ. ทั้ง ๒ พวก ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป

(แก่ตน).

[วินิจฉัยในวัตถุนานัตตตาทิจตุกกะ]

วินิจฉัยในวัตถุนานัตตตาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ความที่ปาราชิก ๔ มีวัตถุต่าง ๆ กันและกันแล ย่อมมี, ความที่

ปาราชิก ๔ มีอาบัติต่างกันและกันหามีไม่. จริงอยู่ อาบัติปาราชิกนั้นทั้งหมด

คงเป็นอาบัติปาราชิกเหมือนกัน. แม้ในสังฆาทิเสสเป็นต้น ก็นัยนี้แล.

ส่วนโยชนาในคำว่า อาปตฺตินานตฺตตา น วตฺถุนานตฺตตา นี้

พึงทราบโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ความเป็นต่างกันแห่งอาบัติแล ย่อมมีอย่างนี้

คือ เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณี เพราะเคล้าคลึงกันและกัน

ด้วยกาย แห่งภิกษุและภิกษุณี, ความเป็นต่างกันแห่งวัตถุหามีไม่, ความ

เคล้าคลึงกันด้วยกายแล เป็นวัตถุแห่งอาบัติแม้ทั้ง ๒,

อนึ่ง เพราะฉันกระเทียม เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุณี เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 547

พึงทราบความที่ปาราชิก ๔ กับสังฆาทิเสส ๑๓ มีวัตถุต่างกัน และ

มีอาบัติต่างกัน.

พึงทราบความที่สังฆาทิเสสเป็นต้น กับอนิยตเป็นต้น มีวัตถุต่างกัน

และมีอาบัติต่างกันอย่างนั้น.

ความที่วัตถุเป็นของต่างกัน (และ) ความที่อาบัติเป็นของต่างกัน ไม่มี

แก่ภิกษุและภิกษุณีผู้ต้องปาราชิก ๔ ข้างต้น พ้องกัน.

ในภิกษุและภิกษุณีผู้ต้องอาบัติต่างกันก็ตาม ในภิกษุและภิกษุณีผู้ต้อง

อาบัติที่ทั่วไป (แก่กันและกัน) ที่เหลือก็ตาม มีนัยเหมือนกัน.

[วินิจฉัยในวัตถุสภาคาทิจตุกกะ]

วินิจฉัยในวัตถุสภาคาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

เพราะภิกษุกับภิกษุณีเคล้าคลึงกันด้วยกาย มีความที่วัตถุเป็นสภาคกัน

ไม่มีความที่อาบัติเป็นสภาคกัน.

ในปาราชิก ๔ มีความที่อาบัติเป็นสภาคกัน ไม่มีความที่วัตถุเป็น

สภาคกัน. ในสังฆาทิเสสเป็นอาทิ มีนัยเหมือนกัน.

ในปาราชิก ๔ ของภิกษุและภิกษุณี มีความที่วัตถุเป็นสภาคกันด้วย

มีความที่อาบัติเป็นสภาคกันด้วย. ในอาบัติที่ทั่วไปทั้งปวงก็นัยนี้.

ในอาบัติที่ไม่ทั่วไป ความที่วัตถุเป็นสภาคกันก็ไม่มี และความที่อาบัติ

เป็นสภาคกันก็ไม่มี.

ก็ปัญหาที่ ๑ ในจตุกกะต้น เป็นปัญหาที่ ๒ ในจตุกกะนี้, และปัญหา

ที่ ๒ ในจตุกกะต้นนั้น เป็นปัญหาที่ ๑ ในจตุกกะนี้. ไม่มีความทำต่างกันใน

ปัญหาที่ ๓ และที่ ๔.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 548

[วินิจฉัยในอุปัชฌายจตุกกะ]

วินิจฉัยในอุปัชฌายจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ก็เพราะไม่ทำวัตรที่อุปัชฌาย์พึงทำแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌาย์ต้องอาบัติ,

สัทธิวิหาริกไม่ต้อง.

เมื่อไม่ทำวัตรอันสัทธิวิหาริกพึงทำแก่อุปัชฌาย์ สัทธิวิหาริกย่อมต้อง

อาบัติ, อุปัชฌาย์ไม่ต้อง.

สัทธิวิหาริกและอุปัชฌาย์ทั้ง ๒ ฝ่าย ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ. ทั้ง ๒ ฝ่าย

ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป. แม้ในอาจริยจตุกกะ ก็นัยนี้แล.

[วินิจฉัยในอาทิยันตจตุกกะเป็นอาทิ]

วินิจฉัยในอาทิยันตจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เข้าของไม่ได้ให้บาท ๑ หรือเกินกว่าบาทด้วยมือ

ของตน ต้องอาบัติหนัก. ใช้ผู้อื่นด้วยสั่งบังคับว่า ท่านจงถือเอาทรัพย์หย่อน

กว่าบาท ต้องอาบัติเบา. ๓ บทที่เหลือ พึงทราบโดยนัยนี้.

วินิจฉัยในอภิวาทนารหจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

สำหรับภิกษุณีทั้งหลายก่อน ในโรงฉัน แม้อุปัชฌาย์อยู่ถัดจากภิกษุณี

องค์ที่ ๙ ไป ก็เป็นผู้ควรอภิวาท แต่ไม่ควรลุกรับ. และสำหรับภิกษุผู้กำลัง

ฉันค้าง ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เป็นผู้ใหญ่กว่า ย่อมเป็นผู้ควรอภิวาท แต่ไม่ควร

ลุกรับโดยไม่แปลกกัน.

ภิกษุแม้อุปสมบทในวันนั้น ไปถึงสำนักแล้ว เป็นผู้ควรลุกรับ แต่

ไม่ควรอภิวาท ของภิกษุผู้อยู่ปริวาส แม้มีพรรษา ๖๐.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 549

ในสถานที่ไม่ทรงห้าม ภิกษุที่เป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้ควรอภิวาทและควร

ลุกรับของภิกษุใหม่. ฝ่ายภิกษุใหม่ เป็นผู้ไม่ควรอภิวาท ไม่ควรลุกรับ ของ

ภิกษุผู้ใหญ่.

บทที่ ๑ แห่งอาสนารหจตุกกะ กับบทที่ ๒ ในจตุกกะก่อน และบท

ที่ ๒ แห่งอาสนารหจตุกกะ กับบทที่ ๑ ในจตุกกะก่อน เหมือนกันโดยใจความ.

[วินิจฉัยในกาลจตุกกะเป็นอาทิ]

วินิจฉัยในกาลจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุเมื่อห้าม (โภชนะ) แล้วฉัน ชื่อว่าต้องในกาล ไม่ต้องในวิกาล.

เมื่อต้องอาบัติเพราะวิกาลโภชน์ ชื่อว่าต้องในวิกาล ไม่ต้องในกาล.

เมื่อต้องอาบัติที่เหลือ ชื่อว่าต้องทั้งในกาลและในวิกาล. เมื่อไม่ต้อง

อาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ชื่อว่าไม่ต้องทั้งในกาลทั้งในวิกาล.

วินิจฉัยในปฏิคคหิตจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

อามิสที่รับประเคนก่อนภัตกาล ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล.

น้ำปานะ ควรในวิกาล ไม่ควรในกาลในวันรุ่งขึ้น.

สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ควรทั้งในกาลและในวิกาล.

กาลิก ๓ มียาวกาลิกเป็นต้น ที่ล่วงกาลของตน ๆ และอกัปปิยมังสะ

เป็นอุคคหิตก์และอาหารที่รับประเคน (ค้าง) ไว้ ไม่ควรทั้งในกาลและในวิกาล.

วินิจฉัยในปัจจันติมจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

เมื่อผูกสีมาในทะเล ชื่อว่าต้องในปัจจันติมชนบท ไม่ต้องในมัชฌิม

ชนบท.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 550

เมื่อให้อุปสมบทด้วยคณะปัญจวรรค และเมื่อทรงไว้ซึ่งรองเท้า ๔ ชั้น

อาบน้ำเป็นนิตย์และเครื่องปูลาดหนัง ชื่อว่าต้องในมัชฌิมชนบท ไม่ต้องใน

ปัจจันติมชนบท.

แม้ภิกษุผู้กล่าวอยู่ว่า ๔ วัตถุนี้ ไม่ควรในปัจจันติมชนบทนี้ ชื่อว่า

ต้องในปัจจันติมชนบท.

ฝ่ายภิกษุผู้กล่าวอยู่ว่า ๔ วัตถุนี้ ควรในมัชฌิมชนบทนี้ ชื่อว่าต้อง

ในมัชฌิมชนบท.

ภิกษุย่อมต้องอาบัติที่เหลือ ในมัชฌิมชนบทและในปัจจันติมชนบท

แม้ทั้ง ๒. ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ในที่ไหน ๆ.

วินิจฉัยในจตุกกะที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-

วัตถุทั้ง ๔ ประการ มีอุปสมบทด้วยคณะปัญจวรรคเป็นต้น ควรใน

ปัจจันติมชนบท.

แม้การที่ภิกษุแสดงว่า นี้ควร ก็ควรในปัจจันติมชนบทนั้นเหมือนกัน

แต่ไม่ควรในมัชฌิมชนบท.

ส่วนการที่ภิกษุแสดงว่า นี้ไม่ควร ควรในมัชฌิมชนบท ไม่ควรใน

ปัจจันติมชนบท. วัตถุที่เหลืออันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตเกลือ ๕ ชนิด เป็นต้น, วัตถุนั้นควรในชนบททั้ง ๒.

ส่วนวัตถุใด ทรงห้ามว่า ไม่ควร, วัตถุนั้น ไม่ควรในชนบทแม้ทั้ง ๒.

[วินิจฉัยในอันโตอาทิจตุกกะ]

วินิจฉัยในอันใดอาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุย่อมต้องอาบัติเพราะนอนเบียดเป็นต้น ในภายใน ไม่ต้องใน

ภายนอก.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 551

เมื่อวางเสนาสนะมีเตียงของสงฆ์เป็นต้น ไว้กลางแจ้งแล้วหลีกไปเสีย

ชื่อว่าต้องในภายนอก ไม่ท้องในภายใน. ที่เหลือชื่อว่าต้องทั้งภายในและ

ภายนอก. อาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ชื่อว่าไม่ต้องทั้งภายในทั้งภายนอก.

วินิจฉัยในอันโตสีมาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุอาคันตุกะ เมื่อไม่ยังวัตรให้เต็ม ชื่อว่าต้องในภายในสีมา.

ภิกษุผู้เตรียมจะไป เมื่อไม่ยังวัตรให้เต็ม ชื่อว่าต้องในภายนอกสีมา.

ภิกษุย่อมต้องอาบัติเพราะมุสาวาทเป็นต้น ทั้งภายในสีมาและภายนอก

สีมา. ย่อมไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ในที่ไหน ๆ.

วินิจฉัยในคามจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุย่อมต้องอาบัติที่ทรงตั้งไว้ควรศึกษา อันเนื่องเฉพาะด้วยละแวก

บ้าน ในบ้าน, ไม่ต้องในป่า.

ภิกษุณีเมื่อให้อรุณขึ้น ย่อมต้องในป่า, ไม่ต้องในบ้าน.

ภิกษุย่อมต้องอาบัติเพราะมุสาวาทเป็นต้น ทั้งในบ้านและในป่า ย่อม

ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ในที่ไหน ๆ.

[วินิจฉัยในปุพพกิจจาทิจตุกกะ]

สองบทว่า จตฺตาโร ปุพฺพกิจฺจา ความว่า พระอรรถกถาจารย์

กล่าวว่า กรรม ๔ อย่างนี้คือ การปัดกวาด ตามประทีป ตั้งน้ำฉันน้ำใช้

พร้อมทั้งปูลาดอาสนะ เรียกว่า ปุพพกรณ์. ส่วนกิจ ๔ อย่างนี้ คือ นำฉันทะ

ปาริสุทธิ บอกฤดู นับภิกษุและสอนภิกษุณี พึงทราบว่า ปุพพกิจ.

สองบทว่า จตฺตาโร ปตฺตกลฺลา มีความว่า วันอุโบสถ ๑ ภิกษุ

ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร เธอเป็นผู้มาแล้ว ๑ สภาคาบัติไม่มี ๑ บุคคลควร

เว้นไม่มีในหัตถบาสสงฆ์นั้น ๑ รวมเรียกว่าปัตตกัลละ ฉะนี้แล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 552

สองบทว่า จตฺตาริ อนญฺปาจิตฺติยานิ มีความว่า ปาจิตตีย์ ๔

สิกขาบทนี้คือ สิกขาบทว่าด้วยสำเร็จการนอนเบียด, สิกขาบทที่ว่า เอหาวุโส

คาม วา นิคม วา เป็นอาทิ, สิกขาบทว่าด้วยแกล้งก่อความรำคาญ,

สิกขาบทว่าด้วยแอบฟัง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ทำความหมาย

อย่างนี้เท่านั้นให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.

สองบทว่า จตสฺโส ภิกฺขุสมฺมติโย มีความว่า สมมติในที่อื่น

พ้นจากสมมติ ๑๓ ที่มาแล้วอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรี

๑ เว้น เสียแต่ภิกษุได้สมมติ, ถ้าภิกษุ. . .พึงไห้ทำสันถัตอื่นใหม่ เว้นแต่ภิกษุ

ได้สมมติ, ถ้าเธออยู่ปราศจากยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, พึงบอก

อาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ.

[วินิจฉัยในคิลานจตุกกะ]

วินิจฉัยในคิลานจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

เมื่อออกปากขอเภสัชอื่น ด้วยความเป็นผู้ละโมบ ในเมื่อมีกิจที่จะ

ต้องทำด้วยเภสัชอื่น ภิกษุผู้อาพาธต้อง (อาบัติ).

เมื่อออกปากขอเภสัช ในเมื่อมีกิจที่จะต้องทำด้วยของมิใช่เภสัช ภิกษุ

ไม่อาพาธต้อง.

ภิกษุผู้อาพาธและไม่อาพาธทั้ง ๒ ย่อมต้องอาบัติเพราะมุสาวาท

เป็นต้น. ทั้ง ๒ ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน).

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๔ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 553

[พรรณนาหมวด ๕ ]

วินิจฉัยในหมวด ๕ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า ปญฺจ ปุคฺคลา นิยตา นี้ บ่งถึงบุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม

นั่นเอง.

ขึ้นชื่อว่าอาบัติ มีการตัดเป็นวินัยกรรม ๕ พึงทราบในเพราะเตียงตั่ง

และผ้าปูนั่ง ผ้าปิดฝี ผ้าอาบน้ำฝนและสุคตจีวร ซึ่งเกินประมาณ.

บทว่า ปญฺจหากาเรหิ มีความว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติ ด้วยอาการ

๕ เหล่านี้ คือ ความเป็นผู้ไม่ละอาย ความไม่รู้ ความเป็นผู้สงสัยแล้วขืนทำ

ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าควรในของที่ ไม่ควร ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่

ควรในของที่ควร.

ข้อว่า ปญฺจาปตฺติโย มุสาวาทฺปจฺจยา ได้แก่ ปาราชิก ถุลลัจจัย

ทุกกฏ สังฆาทิเสส และปาจิตตีย์.

บทว่า อนามนฺตจาโร ได้แก่ ความไม่มีแห่งการต้องบอกลาจึง

เทียวไปนี้ว่า ภิกษุไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในสกุลทั้งหลาย

ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี.

บทว่า อนธิฏฺาน มีความว่า การฉันต้องคำนึงถึงสมัยที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะฉันเป็นหมู่ ชื่อว่า

ความคำนึง. การที่ไม่ต้องทำอย่างนั้น ชื่อว่าความไม่ต้องคำนึง.

ความหมายอันใด ในโภชนะทีหลัง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว,

การที่ไม่ต้องทำความหมายอันนั้น ชื่อว่าความไม่ต้องหมาย.

จริงอยู่ ๕ วัตถุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้วด้วยธุดงค์ของภิกษุ

ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั่นเอง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 554

บทว่า อุสฺสงกิตปริสงฺกิโต มีความว่า เป็นผู้อันภิกษุทั้งหลาย

ผู้ได้เห็นได้ฟัง ระแวงแล้วและรังเกียจแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแม้เป็นพระขีณาสพ ผู้มีอันไม่กำเริบเป็นธรรมดา

ก็เป็นผู้ถูกระแวงถูกรังเกียจ. เพราะเหตุนั้น อโคจรทั้งหลาย อันภิกษุพึงเว้น

จริงอยู่ ภิกษุผู้ปรากฏเสมอในอโคจรเหล่านั้น ย่อมไม่พ้นจากความเสื่อมยศ

หรือจากความติเตียน.

[ว่าด้วยผ้าบังสุกุลเป็นอาทิ]

บทว่า โสสานิก ได้แก่ ผ้าที่ตกที่ป่าช้า.

บทว่า อาปณก ได้แก่ ผ้าที่ตกที่ประตูตลาด.

บทว่า ถูปจีวร ได้แก่ ผ้าที่เขาห่มจอมปลวกทำพลีกรรม.

บทว่า อภิเสกิก ได้แก่ จีวรที่เขาทิ้งที่สถานที่อาบน้ำ หรือที่สถาน

ที่อภิเษกของพระราชา.

บทว่า คตปฏิยาคต ได้แก่ ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมาอีก.

มหาโจร ๕ จำพวก ได้กล่าวแล้วในอุตริมนุสธัมมสิกขาบท*.

ข้อว่า ปญฺจาปตฺติโย กายโต สมุฏหนฺติ มีความว่า ภิกษุต้อง

อาบัติ ๕ ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๑ ได้แก่ อาบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ในอันตรเปยยาลอย่างนี้ว่า ภิกษุมีความสำคัญว่าควรทำกุฎีด้วยการขอเขาเอง.

ข้อว่า ปญฺจาปตฺติโย กายโต จ วาจโต จ มีความว่า ภิกษุ

ย่อมต้องอาบัติ ๕ ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๓ คือ ย่อมต้องอาบัติที่พระผู้มี

* มหาวิภังค์ ๑/๑๖๙.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 555

พระภาคเจ้าตรัสไว้ ในอันตรเปยยาลนั้นแลอย่างนี้ว่า ภิกษุมีความสำคัญว่าควร

ชักชวนกันทำกุฎี ดังนี้.

บทว่า เทสนาคามินิโย มีความว่า เว้นปาราชิกและสังฆาทิเสสเสีย

ได้แก่อาบัติที่เหลือ.

สองบทว่า ปญฺจ กมฺมานิ ได้แก่ กรรม ๕ คือ ตัชชนียกรรม

นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม และปฏิสารณียกรรมรวม ๔ และอุกเขปนียกรรม

ทั้ง ๓ อย่าง ๑.

สองบทว่า ยาวตติยเก ปญฺจ ได้แก่ อาบัติ ๓ คือ ปาราชิก

ถุลลัจจัย ทุกกฏ ของภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้อันสงฆ์ยกวัตร ผู้ไม่ยอมสละ

เพราะสมนุภาสน์ เพียงครั้งที่ ๓. สังฆาทิเสส เพราะสมนุภาสน์ในเภทกานุ-

วัตตกสิกขาบทเป็นต้น. ปาจิตตีย์ เพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก.

บทว่า อทินฺน ได้แก่ ของที่ผู้อื่นไม่ประเคน.

บทว่า อวิทิต ได้แก่ ชื่อว่าไม่ทราบ เพราะไม่มีเจตนาว่า เรารับ

ประเคน.

บทว่า อกปฺปิย ได้แก่ ของที่ไม่ได้ทำให้ควร ด้วยสมณกัปปะ ๕.

ก็หรือว่าเนื้อที่ไม่ควร โภชนะที่ไม่ควร แม้อื่น ก็ชื่อว่า ของไม่ควร.

บทว่า อกตาติริตฺต ได้แก่ ของภิกษุห้ามโภชนะแล้ว ไม่ได้ทำ

ให้เป็นเดน.

บทว่า สมชฺชทาน ได้แก่ การให้มหรสพคือฟ้อนเป็นต้น

บทว่า อุสภทาน ได้แก่ การปล่อยโคผู้ในภายในแห่งฝูงโค.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 556

บทว่า จิตตกมฺมทาน มีความว่า การที่ให้สร้างอาวาสแล้วทำ

จิตรกรรมในอาวาสนั้น สมควร. แต่คำว่า จิตฺตกมฺมทาน นี้ท่านกล่าวหมาย

เอาการให้จิตรกรรมที่เป็นลายรูปภาพ.

จริงอยู่ ทาน ๕ อย่างนี้ โลกสมมติกันว่าเป็นบุญก็จริง แต่ที่แท้ หา

เป็นบุญไม่ คือเป็นอกุศลนั่นเอง.

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพูด เรียกว่า ปฏิภาณ ในคำว่า อุปฺปนฺน

ปฏิภาณ นี้. ความว่า ธรรม ๕ อย่างนี้ อันบุคคลบรรเทาได้ยาก เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรเทาได้ไม่ง่าย. แต่บุคคลอาจ บรรเทาได้ด้วยเหตุที่เป็น

อุบาย คือด้วยการพิจารณาและพร่ำสอนเป็นต้น ที่เหมาะกัน.

[อานิสงส์แห่งการกวาด]

ใน ๒ บทว่า สกจิตฺต ปสีทติ นี้ มีเรื่องเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์.

ได้ยินว่า พระปุสสเทวเถระ ผู้อยู่ที่กาฬันทกาฬวิหาร กวาดลานเจดีย์

ทำอุตรางสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แลดูลานเจดีย์ซึ่งเกลี่ยทรายไว้เรียบร้อย ราว

กะลาดด้วยดอกย่างทราย ให้เกิดปีติและปราโมทย์มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์

ได้ยืนอยู่แล้ว. ในขณะนั้น มารได้จำแลงเป็นลิงดำเกิดแล้วที่เชิงเขา เรี่ย

รายโคมัยไว้เกลื่อน ที่ลานเจดีย์ ไปแล้ว. พระเถระไม่ได้อาจเพื่อบรรลุ

พระอรหัต, กวาดแล้ว ได้ไปเสีย. แม้ในวันที่ ๒ มาร ได้จำแลงเป็นโค

แก่ กระทำประการแปลกเช่นนั้นนั่นแล. ในวันที่ ๓ ได้นิรมิตอัตภาพเป็น

มนุษย์ มีเท้าแก เดินเอาเท้าคุ้ยรอบไป. พระเถระคิดว่า บุรุษแปลกเช่นนี้

ไม่มีในโคจรตามประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ นี่คงเป็นมารแน่ละ จึงกล่าว

ว่า เจ้าเป็นมารหรือ ? มารตอบว่า ถูกละผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นมาร บัดนี้

ไม่ได้อาจเพื่อจะลวงท่านละ. พระเถระถามว่า ท่านเคยเห็นพระตถาคต

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 557

หรือ ? มารตอบว่า แน่ละเคยเห็น. พระเถระกล่าวว่า ธรรมดามาร ย่อม

เป็นผู้มีอานุภาพใหญ่ เชิญท่านนิรมิตอัตภาพให้คล้ายอัตภาพของพระผู้มีพระ-

ภาคพุทธเจ้าก่อน. มารกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่สามารถนิรมิตรูปเช่นนั้น ผู้เจริญ

แต่เอาเถอะ ข้าพเจ้าจักนิมิตรูปเทียมที่จะพึงเห็นคล้ายรูปนั้น ดังนี้ แล้วได้

จำแลงเพศของตนตั้งอยู่ด้วยอัตภาพคล้ายพระรูปของพระพุทธเจ้า. พระเถระแล

ดูมารแล้วคิดว่า มารนี้ มีราคะ โทสะ โมหะ ยังงามถึงเพียงนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าจะทรงงามอย่างไรหนอ ? เพราะว่า พระองค์ปราศจากราคะ โทสะ

โมหะ โดยประการทั้งปวง ดั่งนี้แล้ว ได้ปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เจริญ

วิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว. มารกล่าวว่า ผู้เจริญ ข้าพเจ้าถูกท่านลวงแล้ว.

ฝ่ายพระเถระกล่าวว่า มารแก่ จะมีประโยชน์อะไร ที่เราจะลวงคนเช่นท่าน.

ภิกษุหนุ่มชื่อทัตตะ แม้ในโลกันตรวิหาร กวาดลานเจดีย์แล้วแลดู

ได้โอทาตกสิณ, ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิดแล้ว, ภายหลังเจริญวิปัสสนา กระทำ

ให้แจ้งซึ่งผล ๓.

ใน ๒ บทว่า ปรจิตฺต ปสีทติ นี้ มีเรื่องเหล่านี้ เป็นอุทาหรณ์

ภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ กวาดลานเจดีย์ใกล้ท่าชัมพุโกละแล้ว ได้เอามือ

ถือตะกร้าเทหยากเยื่อเที่ยวยืนอยู่. ในขณะนั้น พระเถระชื่อติสสทัตตะลงจากเรือ

แลดูลานเจดีย์ ทราบว่า เป็นสถานที่เธอผู้มีจิตอบรมแล้วกวาดไว้ จึงถาม

ปัญหาตั้งพันนัย. ฝ่ายพระติสสะแก้ได้ทั้งหมด.

พระเถระในวิหารแม้บางตำบล กวาดลานเจดีย์แล้ว ทำวัตรเสร็จ

พระเถระ ๔ รูปผู้ไหว้เจดีย์มาจากโยนกประเทศ เห็นลานเจดีย์แล้ว ไม่เข้า

ข้างใน ยืนอยู่ที่ประตูนั่นเอง พระเถระรูปหนึ่ง ตามระลึกได้ ๘ กัป รูปหนึ่ง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 558

ตามระลึกได้ ๑๖ กัป รูปหนึ่งตามระลึกได้ ๒๐ กัป รูปหนึ่งตามระลึกได้ ๓๐

กัป.

ในคำว่า เทวตา อตฺตมนา โหนฺติ นี้ มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ในวิหารตำบล ๑ กวาดลานเจดีย์และลาน

โพธิ์แล้ว ไปอาบน้ำ. เทพดาทั้งหลายมีจิตเลื่อมใสว่า ตั้งแต่กาลที่สร้างวิหาร

นี้มา ไม่มีภิกษุที่เคยบำเพ็ญวัตรกวาดอย่างนี้ จึงพากันมา ได้ยืนถือดอกไม้

อยู่ในมือ. พระเถระมาแล้วกล่าวว่า พวกท่านเป็นชาวบ้านไหน ? เทพดาจึง

กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าอยู่ที่นี่เอง เลื่อมใสในวัตรของท่านว่า ตั้งแต่

กาลที่สร้างวิหารนี้มา ไม่มีภิกษุที่เคยบำเพ็ญวัตรกวาดอย่างนี้ จึงยืนถือดอกไม้

อยู่ในมือ.

ในบทว่า ปสาทิกสวตฺตนิย นี้ มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.

ได้ยินว่า ถ้อยคำนี้ ปรารภบุตรอมาตย์คนหนึ่ง และพระอภัยเถระ

เกิดขึ้นว่า บุตรอมาตย์จะเป็นผู้น่าเลื่อมใส หรือว่าพระอภัยเถระจะเป็นผู้น่า

เลื่อมใสหนอ ? ญาติทั้งหลายพูดกันว่า เราทั้งหลายจักแลดูชนทั้ง ๒ นั้นในที่

เดียวกัน จึงแต่งตัวบุตรอมาตย์แล้วได้พากันไปด้วยความคิดว่า จักให้ไหว้

พระมหาเจดีย์. ฝ่ายมารดาของพระเถระ ให้ทำจีวรมีราคาบาทหนึ่ง* ส่งไปให้

บุตรด้วยสั่งว่า บุตรของเราจงให้ปลงผมแล้วห่มจีวรนี้ มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม

จงไหว้พระมหาเจดีย์. บุตรอมาตย์มีญาติห้อมล้อมขึ้นสู่ลานเจดีย์ ทางประตู

ด้านปราจีน. พระอภัยเถระมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ขึ้นสู่ลานเจดีย์ ทางประตูด้าน

ทักษิณ มาพบกับบุตรอมาตย์นั้นที่ลานเจดีย์ จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านเท

* บาลีบางฉบับเป็นปาสาทิก แปลว่า น่าเลื่อมใสก็มี.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 559

หยากเยื่อ ในที่ซึ่งพระมหัลลกเถระได้กวาดไว้จะจับคู่แข่งกับเราหรือ ? ได้ยิน

ว่า ในอัตภาพที่ล่วงไปแล้วพระอภัยเถระ เป็นพระมหัลลกเถระ ได้กวาดลาน

เจดีย์ที่กาชรคาม. บุตรอมาตย์เป็นมหาอุบาสก ถือหยากเยื่อไปเทในที่ซึ่งท่าน

กวาดไว้.

หลายบทว่า สตฺถุ สาสน กต โหติ มีความว่า ชื่อว่า วัตรคือ

การกวาดนี้ อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญ.

เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ทำวัตรคือการกวาดนั้น จึงเป็นอันได้ทำตามคำ

สอนของพระศาสดา. เรื่องต่อไปนี้ เป็นอุทาหรณ์ในข้อนั้น.

ได้ยินว่า พระสารีบุตร ไปสู่หิมวันตประเทศ ไม่กวาดูก่อนนั่งเข้า

นิโรธที่เงื้อมตำบลหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงระลึกถึง ก็ทรงทราบความที่

พระเถระไม่กวาดก่อนนั่ง จึงเสด็จมาทางอากาศทรงแสดงรอยพระบาทไว้ในที่

ซึ่งมิได้กวาดข้างหน้าพระเถระแล้วเสด็จกลับ. พระเถระออกจากสมาบัติแล้ว

เห็นรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประจงตั้งไว้ซึ่งความละอายและ

และความเกรงกลัวอย่างแรงกล้า คุกเข่าลงคิดว่า พระศาสดาได้ทรงทราบความ

ที่เราไม่กวาดก่อนนั่งแล้วหนอ บัดนี้เราจักขอให้พระองค์ทรงทำการทักท้วงใน

ท่ามกลางสงฆ์ ไปสู่สำนักของพระทศพล ถวายบังคมแล้วนั่ง. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า เธอไปไหน ? สารีบุตร แล้วตรัสว่า บัดนี้ การที่ไม่กวาด

ก่อนนั่ง ไม่สมควรแก่เธอ ผู้ตั้งอยู่ในตำแหน่งเป็นรองถัดเราไป. จำเดิมแต่

นั้นมา พระเถรเมื่อยืน แม้ในสถานที่ปลดลูกดุม ได้เอาเท้าเขี่ยหยากเยื่อแล้ว

จึงยืน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 560

[ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร]

หลายบทว่า อตตโน ภาสปริยนฺต น อุคฺคณฺหาติ มีความว่า

ไม่กำหนดที่สุดแห่งถ้อยคำของตน อย่างนี้ว่า ในคดีนี้ ได้สูตรเท่านี้ ได้

วินิจฉัยเท่านี้ เราจักกล่าวสูตรและวินิฉัยเท่านี้.

แต่เมื่อไม่กำหนดอย่างนี้ว่า นี้เป็นคำต้น นี้เป็นคำหลังของโจทก์ นี้

เป็นคำต้น นี้เป็นคำหลังของจำเลย ในคำของโจทก์และจำเลยนี้ คำที่ควรเชื่อ

ถือเท่านี้ คำที่ไม่ควรเชื่อถือเท่านี้ ชื่อว่า ไม่กำหนดที่สุดแห่งถ้อยคำของผู้อื่น.

สองบทว่า อาปตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักความทำต่างกัน

แห่งอาบัติ ๗ กองว่า ปาราชิกหรือสังฆาทิเสส เป็นต้น.

บทว่า มูล มีความว่า มูลของอาบัติมี ๒ คือ กายและวาจา ไม่รู้

จักมูล ๒ นั้น.

บทว่า สมุทย มีความว่า สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ ชื่อว่าเหตุเกิดของ

อาบัติ ไม่รู้จักเหตุของอาบัติ ๖ นั้น. มีคำอธิบายว่า ไม่รู้จักวัตถุ ของอาบัติ

มีปาราชิกเป็นต้น บ้าง.

บทว่า นโรธ มีความว่า ไม่รู้จักเหตุดับของอาบัติอย่างนี้ว่า อาบัติ

นี้ย่อมดับ คือ ย่อมระงับด้วยการแสดง อาบัตินี้ ด้วยการอยู่กรรม.

อนึ่ง เมื่อไม่รู้จักสมถะ ๗ ชื่อว่าไม่รู้จักข้อปฏิบัติเป็นทางให้ถึงความ

ดับแห่งอาบัติ.

วินิจฉัยในหมวด ๕ แห่งอธิกรณ์ พึงทราบดังนี้:-

ความว่า ไม่รู้วิภาคนี้ คือ อธิกรณ์ ๔ ชื่อว่า อธิกรณ์. มูล ๓๓ ชื่อว่า

มูลแห่งอธิกรณ์. วิวาทาธิกรณ์ มีมูล ๑๒. อนุวาทาธิกรณ์ มีมูล ๑๔.

อาปัตตาธิกรณ์ มีมูล ๖. กิจจาธิกรณ์ มีมูล ๑. มูลเหล่านั้นจักมีแจ้งข้างหน้า.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 561

สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์ ชื่อว่าเหตุเกิดแห่งอธิกรณ์. วิวาทาธิกรณ์

อาศัยเภทกรวัตถุ ๑๘ เกิดขึ้น อนุวาทาธิกรณ์ อาศัยวิบัติ ๔ เกิดขึ้น อาปัต-

ตาธิกรณ์ อาศัยกองอาบัติ ๗ เกิดขึ้น กิจจาธิกรณ์ อาศัยสังฆกิจ ๔ อย่าง

เกิดขึ้น.

สองบทว่า อธิกรณนิโรธ น ชานาติ มีความว่า ไม่อาจเพื่อจะ

หยั่งถึงเค้าเงื่อนจากเค้าเงื่อน ให้วินิจฉัยถึงความระงับโดยธรรม โดยวินัย โดย

สัตถุศาสนา.

อนึ่ง เมื่อไม่รู้จักสมถะ ๗ อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ ๒

อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ ๔ อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ ๓ อธิกรณ์นี้

ระงับด้วยสมถะ ๑ ชื่อว่าไม่รู้จักข้อปฏิบัติเป็นทางให้ถึงความดับแห่งอธิกรณ์.

สองบทว่า วตฺถุ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักวัตถุแห่งอาบัติ ๗

กองอย่างนี้ว่า นี้เป็นวัตถุแห่งปาราชิก นี้เป็นวัตถุแห่งสังฆาทิเสส.

บทว่า นิทาน ได้แก่ ไม่รู้ว่า สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติแล้วในนคร

นี้ บรรดานครทั้งหลาย ๗ สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติในนครนี้.

สองบทว่า ปญฺตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ผู้ไม่รู้จักบัญญัติแรกใน

สิกขาบทนั้น ๆ.

บทว่า อนุปญฺตฺตึ ได้แก่ ไม่รู้จักบัญญัติเพิ่มเติม.

บทว่า อนุสนฺธิวจนปถ ได้แก่ ไม่รู้จักเพื่อจะกล่าวด้วยอำนาจความ

สืบเนื่องกันแห่งถ้อยคำ และความสืบเนื่องกันแห่งวินิจฉัย.

สองบทว่า ตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักญัตติทุก ๆ อย่าง.

หลายบทว่า ตฺติยา กรณ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้จักกิจ

ที่จะพึงทำด้วยญัตติ. ชื่อว่าญัตติกรรม ย่อมใช้ใน ๙ สถาน มีโอสารณาเป็นต้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 562

ไม่รู้ว่า เป็นผู้เข้ากรรมแล้วด้วยญัตติ ในญัตติทุติยกรรมและญัตติจตุตถกรรม.

หลายบทว่า น ปุพฺพกุสโล โหติ น อปรกุสโล มีความว่า

ไม่รู้จักคำที่จะพึงสวดก่อน และคำที่จะพึงสวดทีหลังบ้าง ไม่รู้ว่า ธรรมดาญัตติ

ต้องตั้งก่อน ไม่ควรตั้งทีหลัง บ้าง.

สองบทว่า อกาลกญฺญู จ โหติ มีความว่า ไม่รู้จักเวลา คือ ไม่ได้

รับเผดียง ไม่ได้รับเชิญ ก็สวด คือ ไม่รู้จักทั้งกาลญัตติ ทั้งเขตญัตติ ทั้ง

โอกาสแห่งญัตติ.

[ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่า]

สองบทว่า มนฺทตฺตา โมมูหตฺตา ได้แก่ ไม่รู้จักอานิสงส์ในธุดงค์

เพราะเป็นคนงมงายด้วยไม่รู้ทั่วทุก ๆ อย่าง.

บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ปรารถนาปัจจัยลาภ ด้วยการอยู่ป่านั้น.

บทว่า ปวิเวก ได้แก่ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.

บทว่า อิทมฏฺิต มีวิเคราะห์ว่า ประโยชน์แห่งการอยู่ป่านั้น ย่อม

มีด้วยปฏิบัติงามนี้ เพราะเหตุนั้น การอยู่ป่านั้น ชื่อว่า อิทมฏฺิ (มีประโยชน์

ด้วยการปฏิบัติงามนี้). ความเป็นแห่งการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติงามนี้

ชื่อว่า อิทมฏฺิตา, อาศัยการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติงามนี้นั่นแล,

อธิบายว่า ไม่อิงโลกามิสน้อยหนึ่งอื่น.

[ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย]

สองบทว่า อุโปสถ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถ ๙ อย่าง.

บทว่า อุโปสถกมฺม ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถกรรม ๔ อย่าง ต่าง

โดยชนิดมีเป็นวรรคโดยอธรรมเป็นต้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 563

บทว่า ปาฏิโมกฺข ได้แก่ ไม่รู้จักมาติกา ๒ อย่าง.

บทว่า ปาฏิโมกฺขุทฺเทส ได้แก่ ไม่รู้จักปาฏิโมกขุทเทส ๙ อย่าง

แม้ทั้งหมด.

บทว่า ปวารณ ได้แก่ ไม่รู้จักปวารณา ๙ อย่าง. ปวารณากรรม

คล้ายกับอุโบสถกรรมนั่นแล.

[วินิจฉัยในอปาสาทิกปัญจกะ]

วินิจฉัยในอปาสาทิกปัญจกะ พึงทราบดังนี้:-

อกุศลกรรม มีกายทุจริตเป็นต้น เรียกว่ากรรมไม่น่าเลื่อมใส.

กุศลกรรม มีกายสุจริตเป็นต้น เรียกว่ากรรมน่าเลื่อมใส.

บทว่า อติเวล มีความว่า คลุกคลีอยู่ในสกุลทั้งหลายเกินเวลา คือ

สิ้นกาลมากกว่า อยู่ในวิหารน้อย. การที่กิเลสทั้งหลายหยั่งลงในภายใน ชื่อว่า

ช่อง.

บทว่า สงฺกิลิฏ ได้แก่ อาบัติต่างโดยชนิดในเพราะทุฏฐุลลวาจา

และอาบัติในเพราะกายสังสัคคะเป็นอาทิ.

วินิจฉัยในวิสุทธิปัญจกะ พึงทราบดังนี้:-

ปวารณาทั้ง ๙ อย่าง พึงทราบโดยปวารณาศัพท์.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๕ จบ

[พรรณนาหมวด ๖]

วินิจฉัยในหมวด ๖ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ฉ สามีจิโย ได้แก่ สามีจิกรรม ๖ เฉพาะในภิกขุ-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 564

ปาฏิโมกข์เหล่านี้ คือ ภิกษุนั้นก็เป็นอันมิได้อัพภาน, และภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น

ก็เป็นอันพระพุทธเจ้าจะพึงทรงติเตียน นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, ว่า ท่าน

จงทวงเอาทรัพย์ของท่านคืน, ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย ดังนี้ นี้เป็น

สามีจิกรรมในเรื่องนั้น, ว่า ภิกษุ นี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้ กว่าจะแตก

ดังนี้ นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, นำออกจากที่นั้นแล้วพึงแบ่งปันกับภิกษุ

ทั้งหลาย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, อันภิกษุผู้ศึกษาอยู่ ควรรู้ถึง, ควร

สอบถาม, ควรตริตรอง, นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, ด้วยหมายว่า ของผู้ใด

ผู้นั้นจักได้เอาไป นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.

สองบทว่า ฉ เฉทนกา ได้แก่ อาบัติ ๕ ที่กล่าวไว้ในหมวด ๕

กับผ้าสำหรับอาบน้ำของภิกษุณีรวมเป็น ๖.

บทว่า ฉหากาเรหิ ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่ละอาย, ความไม่รู้,

ความเป็นผู้สงสัยแล้วขืนทำ, ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าควร ในของที่ไม่ควร,

ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ควร ในของที่ควร ความลืมสติ.

ในอาการ ๖ นั้น เมื่อต้องอาบัติ เพราะไตรจีวรและสัตตาหกาลิก

ก้าวล่วง ๑ ราตรี ๖ ราตรี และ ๗ วันเป็นต้น ชื่อว่าต้องเพราะความลืมสติ.

ที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้น.

หลายบทว่า ฉ อานิสสา วินยธเร ได้แก่ อานิสงส์ ๕ ที่กล่าว

แล้วในหมวด ๕ รวมเป็น ๖ กับทั้งอานิสงส์นี้ คือ อุโบสถเป็นหน้าที่ของ

พระวินัยธรนั้น.

สองบทว่า ฉ ปรมานิ มีความว่า พึงทรงอติเรกจีวรไว้ ๑๐ วัน

เป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ ๑ เดือนเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุนั้น พึง

ยินดีจีวรมีอุตราสงค์กับอันตรวาสกเป็นอย่างยิ่งจากจีวรเหล่านั้น, พึงเข้าไป

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 565

ยืนนิ่งต่อหน้า ๖ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้

ให้ได้ ๖ ปี เพราะฉะนั้น สันถัตใหม่อันภิกษุพึงทรงไว้โดยกาลมี ๖ ปีเป็น

อย่างยิ่ง, (ขนเจียมเหล่านั้น) อันภิกษุ. . .พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอด

ระยะทาง ๓ โยชน์เป็นอย่างยิ่ง, พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง,

พึงเก็บ (เภสัชเหล่านั้น) ไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุนั้น พึงอยู่

ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุณี พึงจ่ายผ้าห่มหนาวมีราคา

๑๖ กหาปณะเป็นอย่างยิ่ง. ภิกษุณี พึงจ่ายผ้าห่มฤดูร้อน มีราคา ๑๐ กหาปณะ

เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุณี (เมื่อทำความสะอาดด้วยน้ำ) พึงล้วงได้ ๒ องคุลีเป็น

อย่างยิ่ง, เขียงเท้าเตียง ให้มี ๘ นิ้วเป็นอย่างยิ่ง, ไม้ชำระฟัน ให้มี ๘ นิ้ว

เป็นอย่างยิ่ง รวมเป็นอย่างยิ่ง ๑๔ นี้ ด้วยประการฉะนี้.

ในอย่างยิ่ง ๑๔ นั้น ๖ ข้อแรก เป็นหมวด ๖ อันหนึ่ง, ต่อไปนั้น

พึงจัดหมวด ๖ เหล่าอื่นบ้าง โดยนัยมีอาทิ คือ ชักออกเสียหมวดหนึ่ง ที่ยัง

เหลือจัดเข้าเป็นหมวดอันหนึ่ง ๆ.

สองบทว่า ฉ อาปตฺติโย ได้แก่ หมวดหก ๓ หมวดที่กล่าวแล้ว

ในอันตรเปยยาล.

สองบทว่า ฉ กมฺมานิ ได้แก่ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาช-

นียกรรม ปฏิสารณียกรรม รวมเป็น ๔ ทั้งกรรม ๒ ที่กล่าว เพราะไม่เห็น

อาบัติ และเพราะไม่ทำคืนอาบัติ รวมเป็น ๑, กรรม ๑ เพราะไม่ยอมสละ

ทิฏฐิลามก.

บทว่า ฉ นหาเน ได้แก่ (อนุบัญญัติ ๖) เพราะอาบน้ำ ยังหย่อน

กึ่งเดือน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 566

หมวดหก ๒ หมวดว่าด้วยจีวรที่ทำค้างเป็นต้น ได้อธิบายไว้แล้วใน

กฐินขันธกะ.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๖ จบ

[พรรณนาหมวด ๗]

วินิจฉัยในหมวด ๗ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า สตฺต สามีจิโย มีความว่า พึงทราบสามีจิกรรม ๗

เพราะเพิ่มข้อว่า ภิกษุณีนั้น ก็เป็นอันมิได้อัพภาน ภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้น

ก็เป็นอันพระพุทธเจ้าจะพึงทรงติเตียน นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น นี้เข้า

ในสามีจิกรรม ๖ ที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง.

หลายบทว่า สตฺต อธมฺมิกา ปฏิญฺาตกรณา ได้แก่ ทำตาม

ปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรม ๗ ที่ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะ อย่างนี้ว่า ภิกษุ

ต้องปาราชิก อันภิกษุผู้ต้องปาราชิก โจทอยู่ จึงปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้อง

สังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยสังฆาทิเสส, ชื่อว่าทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม.

แม้ทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม ก็ได้ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะนั้นแล.

หลายบทว่า สตฺตนฺน อนาปตฺติ สตฺตาหกรณีเยน คนฺตุ นี้

ได้กล่าวแล้วในวัสสูปนายิกขันธกะ.

สองบทว่า สตฺตานิสสา วินยธเร มีความว่า อานิสงส์ ๕ ที่กล่าว

แล้วในหมวด ๕ กับ ๒ อานิสงส์นี้ คือ อุโบสถ ปวารณาเป็นหน้าที่ของ

พระวินัยธรนั้น จึงรวมเป็น ๗.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 567

สองบทว่า สตฺต ปรมานิ ได้แก่ อย่างยิ่งที่กล่าวแล้วในหมวด ๖

นั่นแล พึงจัดด้วยอำนาจหมวด ๗.

หมวดเจ็ด ๒ หมวด มีว่าด้วยจีวรที่ทำแล้วเป็นอาทิ ได้แสดงแล้วใน

กฐินขันธกะ. หมวดเหล่านี้ คือ อาบัติที่ต้องเห็น ไม่มีแก่ภิกษุ, อาบัติที่

ต้องเห็น มีแก่ภิกษุ, อาบัติที่ต้องทำคืน มีแก่ภิกษุ, เป็นหมวดเจ็ด ๓ หมวด.

อธัมมิกะ ๒ หมวด, ธัมมิกะ ๑ หมวด. ทั้ง ๓ หมวดนั้น ได้แสดง

แล้วในจัมเปยยขันธกะ.

บทว่า อสทฺธมฺมา ได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษ หรือธรรมที่ไม่สงบ

อธิบายว่า ธรรมไม่งาม คือ เลว ลามก.

บทว่า สทฺธมฺมา ได้แก่ ธรรมของสัตบุรุษ คือ ของพระอริยะ

มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือธรรมที่สงบ, อธิบายว่า ธรรมที่งาม คือ สูงสุด.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๗ จบ

[พรรณนาหมวด ๘]

วินิจฉัยในหมวด ๘ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า อฏฺานิสเส ได้แก่ อานิสงส์ ๘ ที่ตรัสไว้ในโกสัมพิกขันธกะ

อย่างนี้ คือ เราทั้งหลายจักไม่ทำอุโบสถกับภิกษุนี้ จักเว้นภิกษุนี้เสีย ทำอุโบสถ

ไม่พึงปวารณากับภิกษุนี้, จักไม่ทำสังฆกรมกับภิกษุนี้, จักไม่นั่งบนอาสนะ

กับภิกษุนี้, จักไม่นั่งในที่ดื่มยาคูกับภิกษุนี้, จักไม่นั่งในหอฉันกับภิกษุนี้, จัก

ไม่อยู่ในที่มุงอันเดียวกันกับภิกษุนี้, จักไม่ทำการกราบ, ลุกขึ้นรับ, อัญชลีกรรม

สามิจิกรรม, ตามลำดับผู้แก่กับภิกษุนี้, เว้นภิกษุนี้เสีย จึงจักทำ แม้ในหมวด

๘ ที่ ๒ ก็นัยนี้แล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 568

จริงอยู่ แม้หมวด ๘ ที่ ๒ นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ใน

โกสัมพิกขันธกะอย่างนี้เหมือนกัน.

สองบทว่า อฏฺ ยาวตติยกา ได้แก่ สังฆาทิเสสที่เป็นยาวคติยกะ ๔

ในสังฆาทิเสส ๑๓ ของภิกษุทั้งหลาย สังฆาทิเสสที่เป็นยาวตติยกะ ๔ ที่ไม่

ทั่วไปด้วยพวกภิกษุ ในสังฆาทิเสส ๑๗ ของภิกษุณีทั้งหลาย จึงรวมเป็น

ยาวตติยกะ ๘.

หลายบทว่า อฏฺหากาเรหิ กุลานิ ทูเสติ มีความว่า ย่อม

ประทุษร้ายตระกูล ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ คือ ด้วยดอกไม้บ้าง, ผลไม้บ้าง,

จุณณ์บ้าง, ดินเหนียวบ้าง, ไม้สีฟันบ้าง, ไม้ไผ่บ้าง, เยียวยาทางแพทย์บ้าง,

รับใช้ส่งข่าวบ้าง.

มาติกา ๘ (เพื่อเกิดขึ้นแห่งจีวร) กล่าวแล้วในจีวรขันธกะมาติกา ๘

ข้อหลัง (เพื่อรื้อกฐิน) ได้กล่าวแล้วในกฐินขันธกะ.

สองบทว่า อฏฺหิ อสทฺธมฺเมหิ มีความว่า ด้วยลาภ มิใช่ลาภ

ด้วยยศ มิใช่ยศ ด้วยสักการะ มิใช่สักการะ ด้วยความเป็นผู้มีปรารถนาลามก

ด้วยความเป็นผู้มีปาปมิตร.

ชื่อว่าโลกธรรม ๘ คือ ยินดีในลาภ ยินร้ายในมิใช่ลาภ ยินดีในยศ

สรรเสริญ สุข ยินร้ายในมิใช่ยศ นินทา ทุกข์.

สองบทว่า อฏฺงฺคิโก มุสาวาท ได้แก่ มุสาวาทที่ประกอบ

ด้วยองค์ ๘ คือ ๗ องค์ที่มาในบาลีกับองค์นี้ คือ ตั้งความหมายจึงเป็น

มุสาวาทประกอบด้วยองค์ ๘.

สองบทว่า อฏฺ อุปสถงฺคานิ ได้แก่ องค์ ๘ ที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 569

ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาของที่เขา

ไม่ให้ ไม่พึงกล่าวเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึง

เว้นจากเมถุนธรรมความประพฤติไม่ประ-

เสริฐ ไม่พึงบริโภคอาหาร ในเวลาวิกาล

ตลอดราตรี ไม่พึงทัดทรงระเบียบดอกไม้

ไม่พึงไล้ทาเครื่องหอม พึงนอนบนเตียงบน

พื้น หรือบนเครื่องลาดที่สมควร บัณฑิต

ทั้งหลายกล่าวอุโบสถมีองค์ ๘ นี้แล อัน

พระพุทธจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศ

แล้ว

สองบทว่า อฏฺ ทูเตยฺยงฺคานิ ได้แก่ องค์ ๘ ที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสไว้ในสังฆเภทขันธกะ โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ เป็นผู้ฟังด้วย เป็นผู้ให้ผู้อื่นฟังด้วย.

ติตถิยวัตร ได้ทรงแสดงแล้วในมหาขันธกะ.

ของเคี้ยวของฉัน ไม่เป็นเดนและเป็นเดน ได้ทรงแสดงแล้วใน

ปวารณาสิกขาบท.

สองบทว่า อฏฺนฺน ปจฺจุฏฺาตพพ มีความว่า ในโรงฉันพึงลุก

ขึ้นรับแก่ภิกษุณีผู้แก่ทั้งหลาย แม้อาสนะก็พึงให้แก่ภิกษุณีเหล่านั้นแท้.

บทว่า อุปาสิกา ได้แก่ นางวิสาขา.

สองบทว่า อฏฺานิสสา วินยธเร มีความว่า พึงทราบอานิสงส์ ๘

เพราะเติมอานิสงส์ ๓ นี้ คือ อุโบสถ ปวารณา สังฆกรรม เป็นหน้าที่ของ

วินัยธรนั้น เข้าในอานิสงส์ ๕ ที่กล่าวแล้วในหมวด ๕.

๑. องฺ . ติกะ ๒๐/๒๗๖. ๒. มหาวคฺค. ๔/๑๔๓. ๓. มหาวิภงฺค. ๒/๓๓๒.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 570

สองบทว่า อฏฺ ปรมานิ ได้แก่ พึงทราบอย่างยิ่งทั้งหลาย ที่

กล่าวแล้วในหนหลังนั่นเอง แต่จัดด้วยอำนาจหมวด ๘.

หลายบทว่า อฏฺสุ ธมฺเมสุ สมฺมาวตฺติตพฺพ ได้แก่ ในธรรม

๘ ที่ทรงแสดงในสมถขันธกะ โดยนัยมีข้อว่า ไม่พึงงดอุโบสถแก่ภิกษุผู้ปก-

ตัตต์ ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุผู้ปกตัตต์ เป็นอาทิ.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๘ จบ

[พรรณนาหมวด ๙]

วินิจฉัยในหมวด ๙ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า นว อาฆาตวตฺถูนิ ได้แก่ อาฆาตวัตถุ ๙ มีผูกอาฆาต

ว่า เขาได้พระพฤติไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เป็นอาทิ.

สองบทว่า นว อาฆาตปฏิวินยา ได้แก่ อุบายกำจัดอาฆาต ๙

มีข้อว่า บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตเสีย ด้วยคิดว่า เมื่อเราผูกอาฆาตอยู่ว่า เขา

ได้ประพฤติไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ความไม่ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์นั้น

เราจะพึงได้ในบุคคลนี้ จากไหน ดังนี้ เป็นอาทิ.

สองบทว่า นว วินีตวตฺถูนิ ได้แก่ ความงด ความเว้น ความ

กำจัดเสียด้วยอริยมรรค จากวัตถุแห่งอาฆาต ๙.

หลายบทว่า นวหิ สงฺโฆ ภิชฺชติ ได้แก่ ความแตกแห่งสงฆ์

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี ความร้าวแห่งสงฆ์และความแตกแห่งสงฆ์

ย่อมมีภิกษุ ๙ รูปบ้าง เกินกว่า ๙ รูปบ้าง ดังนี้.

สองบทว่า นว ปรมานิ ได้แก่ พึงทราบอย่างยิ่งทั้งหลายที่กล่าว

แล้วในหนหลังนั่นแล แต่จัดด้วยอำนาจหมวด ๙.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 571

ธรรมชื่อว่ามีตัณหาเป็นมูล ได้แก่ ความแสวงอาศัยตัณหา ลาภอาศัย

ความแสวง. ตัดสินอาศัยลาภ. ความรักด้วยความพอใจอาศัยตัดสิน. ความ

ตกลงใจอาศัยความรักด้วยความพอใจ. ความหวงอาศัยความตกลงใจ. ความ

ตระหนี่อาศัยความหวง. ความอารักขาอาศัยความตระหนี่. การฉวยไม้พลอง

การฉวยศัสตรา ทะเลาะแก่งแย่งโต้เถียง กล่าวว่า มึง ๆ ความส่อเสียดและ

กล่าวเท็จ มีความอารักขาเป็นเหตุ.

บทว่า นววิธมานา ได้แก่ มานะของบุคคล ผู้ดีกว่าว่า " เราเป็น

คนดีกว่า" เป็นต้น.

สองบทว่า นว จีวรานิ มีความว่า จีวรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

โดยนัยมีอาทิว่า ไตรจีวร หรือว่า ผ้าอาบน้ำฝน.*

บทว่า น วิกปฺเปตพฺพานิ มีความว่า จีวรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

แล้ว ไม่ควรวิกัปป์.

หลายบทว่า นว อธมฺมิกานิ ทานานิ มีความว่า ทานที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า น้อมลาภที่เขานำมาเพื่อสงฆ์ ไปเพื่อสงฆ์หมู่อื่น

ก็ตาม เพื่อเจดีย์ก็ตาม เพื่อบุคคลก็ตาม. น้อมลาภที่เขานำมาเพื่อเจดีย์ ไปเพื่อ

เจดีย์อื่นก็ตาม เพื่อสงฆ์ก็ตาม, เพื่อบุคคลก็ตาม น้อมลาภที่เขานำมาเพื่อบุคคล

ไปเพื่อบุคคลอื่นก็ตาม เพื่อสงฆ์ก็ตาม เพื่อเจดีย์ก็ตาม.

หลายบทว่า นวปฏิคฺคหา ปริโภคา ได้แก่ รับและบริโภคทาน

เหล่านั้นเอง.

หลายบทว่า ตีณิ ธมฺมิกานิ ทานานิ ได้แก่ ทาน ๓ นี้ คือ

ให้ของที่เขาถวายสงฆ์แก่สงฆ์เท่านั้น, ให้ของที่เขาถวายเจดีย์แก่เจดีย์เท่านั้น,

* ติจีวรนฺติ วา วสฺสิกสาฏิกาติ วา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 572

ให้ของที่เขาถวายบุคคลแก่บุคคลเท่านั้น. แม้การรับและบริโภค ก็คือรับและ

บริโภคทาน ๓ นั้นแล.

หลายบทว่า นว อธมฺมิกา สญฺตฺติโย ได้แก่ ติกะ ๓ ที่ทรง

แสดงแล้วในสมถขันธกะอย่างนี้ คือ บุคคลเป็นอธัมมวาที, ภิกษุมากหลายเป็น

อธัมมวาที, สงฆ์เป็นอธัมมวาที. แม้บัญญัติที่ชอบธรรมก็ทรงแสดงแล้วใน

สมถขันธกะนั้นแล โดยนัยมีอาทิว่า บุคคลเป็นธัมมวาที ดังนี้.

หมวดเก้า ๒ หมวด ในกรรมไม่เป็นธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสไว้แล้วด้วยอำนาจแห่งปาจิตตีย์ ในนิทเทสแห่งสิกขาบทที่ ๑ แห่งโอวาท

วรรค.*

หมวดเก้า ๒ หมวด ในกรรมเป็นธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

แล้ว ด้วยอำนาจแห่งทุกกฏ ในนิทเทสแห่งสิกขาบทที่ ๑ แห่งโอวาทวรรคนั้น

เหมือนกัน.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๙ จบ

[พรรณนาหมวด ๑๐]

วินิจฉัยในหมวด ๑๐ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ทส อาฆาตวตฺถูนิ ได้แก่ อาฆาตวัตถุ ๙ ที่กล่าวแล้ว

ในหมวด ๙ กับข้อนี้ว่า ก็หรือ อาฆาต ย่อมเกิดขึ้นในอัฏฐานะ จึงรวมเป็น

๑๐. แม้อุบายกำจัดอาฆาต พึงทราบอุบาย ๙ ที่กล่าวแล้วในหมวด ๙ นั้น

รวนเป็น ๑๐ ทั้งข้อนี้ว่า ก็หรือ อาฆาตเกิดในอัฏฐานะ จึงกำจัดอาฆาตเสีย

ด้วยพิจารณาว่า ข้อนั้น เราจะพึงได้ในผู้นี้จากไหน.

* มหาวีภงฺค ๒/๑๗๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 573

สองบทว่า ทส วินีตวตฺถูนิ ได้แก่ วินีตวัตถุ ๑๐ กล่าว คือ

เว้นจากอาฆาตวัตถุ ๑๐.

สองบทว่า ทสวตฺถุกา มิจฺฉาทิฏิ ได้แก่ พึงทราบด้วยอำนาจ

แห่งวัตถุว่า ผลแห่งทานอันบุคคลให้แล้ว ไม่มี เป็นอาทิ.

สัมมาทิฏฐิ พึงทราบด้วยอำนาจวัตถุว่า ผลแห่งทานอันบุคคลให้แล้ว

มีอยู่ เป็นอาทิ.

ส่วนอันตคาหิกทิฏฐิ พึงทราบด้วยอำนาจแห่งความเห็นว่า โลกเที่ยง

เป็นอาทิ.

มิจฉัตตะ ๑๐ มีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้น มีมิจฉาวิมุตติเป็นปริโยสาน. ทิฎฐิ

ที่ตรงกันข้าม เป็นสัมมัตตะ.

การจับสลาก ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะ.

หลายบทว่า หสหงฺเคหิ สมนฺนาคโต ภิกฺขุ อุพฺพาหิกาย

สมฺมนฺนิตพฺโพ ได้แก่ ด้วยองค์ ๑๐ ที่ตรัสไว้ในสมถขันธกะ โดยนัยมี

คำว่า เป็นผู้มีศีล เป็นต้น.

โทษ ๑๐ ประการ ในการเข้าสู่ภายในวังหลวง ได้ทรงแสดงแล้วใน

ราชสิกขาบท*.

สองบทว่า ทส ทานวตฺถูนิ ได้แก่ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ระเบียบ

ของหอม เครี่องทา ที่นอน ที่พัก เชื้อประทีป.

สองบทว่า ทส รตนานิ ได้แก่ แก้ว ๑๐ ประการ มีมุกดา มณี

ไพฑูรย์ เป็นต้น.

สองบทว่า ทส ปสุกูลานิ มีความว่า อุปสัมบทพึงทำความขวนขวาย

ในจีวรเหล่านี้ คือ ผ้าที่ตกที่ป่าช้า ผ้าที่ตกที่ประตูตลาด ผ้าที่หนูกัด ผ้าที่

* มหาวิภงฺค. ๒/๔๘๔.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 574

ปลวกกัด ผ้าที่ถูกไฟไหม้ ผ้าที่โคกัด ผ้าที่แพะกัด ผ้าห่มจอมปลวก ผ้าที่

เขาทิ้งในที่อภิเษก ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา.

ในอรรถกถากุรุนทีกล่าวว่า จีวรสาธารณะ ๑๐ นั้น ได้แก่ จีวร ๑๐

ชนิด ด้วยอำนาจจีวรที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อม

ทรงจีวรทั้งหลายมีจีวรเขียวล้วนเป็นต้น.

แต่ในมหาอรรถกถากล่าวว่า ได้แก่ จีวร ๑๐ ชนิด เพิ่มผ้าอาบน้ำ

หรือผ้าคาดนม (ของภิกษุณี) เข้าในจีวรที่ควร ๙ ชนิด.

บุคคลที่ไม่ควรไหว้ ได้แสดงแล้วในเสนาสนขันธกะ.

อักโกสวัตถุ ได้แสดงแล้วในโอมสวาทสิกขาบท.

อาการ ๑๐ ได้แสดงแล้วในเปสุญญสิกขาบท.

สองบทว่า ทส เสนาสนานิ ได้แก่ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน

เครื่องรองรักษาพื้น เสื่อสำหรับปูทับข้างบน ท่อนหนังสำหรับรองนั่ง ผ้าปูนอน

เครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้.

หลายบทว่า ทส วรานิ ยาจึสุ มีความว่า นางวิสาขาได้ขอพร

๘ ประการ, พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงขอพร ๑ หมอชีวกได้ขอพร ๑.

อานิสงส์แห่งยาคู และอกัปปิยมังสะ ได้ทรงแสดงแล้วในเภสัชช-

ขันธกะ.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๑๐ จบ

๑. มหาวภงฺค. ๒/๑๖๔. ๒. มหาวิภงฺก. ๒/๖๘๔.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 575

[พรรณนาหมวด ๑๑]

วินิจฉัยในหมวด ๑๑ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า เอกาทส ได้แก่ บุคคล ๑ พวก มีบัณเฑาะก์เป็นต้น.

สองบทว่า เอกาทส ปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้า ๑๐ อย่าง เป็น

วิการแห่งรัตนะ เขียงเท้าไม้ ๑, ส่วนเขียงเท้าทำด้วยหญ้าสามัญ หญ้าปล้อง

และหญ้ามุงกระต่ายเป็นต้น จัดเข้าพวกเขียงเท้าไม้เหมือนกัน.

สองบทว่า เอกาทส ปตฺตา ได้แก่ บาตรที่ทำด้วยรตนะ ๑๐ ชนิด

รวมทั้งบาตรที่ทำด้วยทองแดงหรือทำด้วยไม้.

สองบทว่า เอกาทส จีวรานิ ได้แก่ จีวรเขียวล้วนเป็นต้น.

สองบทว่า เอกาทส ยาวตติยกา ได้แก่ อุกขิตตานุวัตติกา ๑

สังฆาทิเสสของภิกษุณี ๘ อริฏฐสิกขาบท ๑ จัณฑกาฬีสิกขาบท ๑.

อันตรายิกธรรมทั้งหลาย อันภิกษุณีผู้สวดกรรมวาจาพึงถาม มีข้อว่า

น สีมนิมิตฺตา เป็นต้น ชื่อว่าอันตรายิกธรรม ๑๑.

หลายบทว่า เอกาทส จีวราน อธิฏฺาตพฺพานิ ได้แก่ ไตรจีวร

ผ้าอาบน้ำฝน ผ้านิสีทนะ ผ้าปูนอน ผ้าปิดฝี ผ้าเช็ดหน้า บริขารโจล

ผ้าอาบน้ำ ผ้าคาดนม.

บทว่า น วิกปฺเปตพฺพานิ มีความว่า จีวร ๑๑ ชนิดนั้นแล จำเดิม

แต่กาลที่อธิษฐานแล้ว ไม่ควรวิกัปป์.

ลูกดุมและลูกถวิน มี ๑๑ อย่าง รวมทั้งที่ถักด้วยด้าย. ทั้งหมดนั้น

ได้แสดงแล้วในขุททกขันธกะ.

ปฐพี ได้แสดงแล้วในปฐวีสิกขาบท*.

* มหาวิภงฺค. ๒/๒๓๐.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 576

ระงับนิสัย จากอุปัชฌาย์ ๕ จากอาจารย์ ๖ รวมเป็น ๑๑ อย่างนี้.

บุคคลไม่ควรไหว้ รวมทั้งบุคคลผู้เปลือยกายจึงเป็น ๑๑, บุคคลไม่

ควรไหว้ทั้งหมดนั้น ได้แสดงแล้วในเสนาสนขันธกะ.

อย่างยิ่ง ๑๑ พึงทราบในอย่างยิ่ง ๑๔ ที่กล่าวแล้วในหนหลัง แต่จัด

ด้วยอำนาจหมวด ๑๑.

สองบทว่า เอกาทส วรานิ ได้แก่ พร ๑๐ ประการที่กล่าวแล้ว

ในหนหลัง กับพรที่พระนางมหาปชาบดีทูลขอ.

สีมาโทษ ๑๑ อย่าง จักมาในกัมมวรรค โดยนัยมีคำว่า สมมติสีมา

เล็กเกินนัก เป็นอาทิ.

ขึ้นชื่อว่า โทษ ๑๑ ประการ ในบุคคลผู้ด่า ผู้กล่าวขู่ พึงทราบโดย

พระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นใด ผู้ด่า ผู้กล่าวขู่เพื่อนพรหมจรรย์

ทั้งหลาย มักด่าว่าพระอริยะ, ข้อที่ภิกษุนั้น ไม่พึงประสบความฉิบหาย ๑๑

อย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส. ความฉิบหาย ๑๑ อย่าง คือ

อะไรบ้าง ? คือ ภิกษุนั้นไม่บรรลุคุณที่ไม่บรรลุ ๑ เสื่อมจากคุณที่ได้บรรลุ

แล้ว ๑ สัทธรรมของภิกษุนั้นไม่ผ่องใส ๑ ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้มีความดูหมิ่น

ในพระสัทธรรม ๑ เบื่อหน่ายประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ต้องอาบัติที่เศร้าหมอง

อย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ลาสิกขาเวียนมาเป็นคนเลว ๑ ถูกความเจ็บไข้คือโรค

อย่างหนัก ๑ ถึงความคลั่งเป็นบ้า ๑ ย่อมหลงใหลทำกาลกิริยา ๑ เบื้องหน้า

แต่มรณะเพราะแตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑. ก็

พระพุทธวจนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า สัทธรรม ในบทว่า

สทฺธมฺมสฺส นี้.

บทว่า อาเสวิตาย ได้แก่ เสพมาตั้งแต่แรก.

บทว่า ภาวิตาย ได้แก่ ให้สำเร็จ หรือให้เจริญ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 577

บทว่า พหุลีกตาย ได้แก่ กระทำบ่อย ๆ.

บทว่า ยานีกตาย ได้แก่ ทำให้คล้ายยานที่เทียมไว้ดีแล้ว.

บทว่า วตฺถุกตาย ได้แก่ ทำให้เป็นคุณตั้งมั่น โดยประการที่จะ

ตั้งมั่น.

บทว่า อนุฏฺิตาย ได้แก่ ประพฤติเนือง ๆ. อธิบายว่า อธิษฐาน

เป็นนิตย์.

บทว่า ปริจิตาย ได้แก่ สะสมโดยรอบ คือ สะสมในทิศทั้งปวง

คือ สะสมทั่วถึง. อธิบายว่า ให้เจริญยิ่ง ๆ.

บทว่า สุสมารทฺธาย ได้แก่ ปรารภดีพร้อม. อธิบายว่า น้อมเข้า

ไปสู่ความเป็นผู้ชำนาญ.

สองบทว่า น ปาปก สุปิน มีความว่า ไม่ฝันเห็นเฉพาะที่ลามก

เท่านั้น, แต่ย่อมฝันเห็นที่ดี คือ ที่เป็นเหตุแห่งความเจริญ.

สองบทว่า เทวตา รกฺขนติ มีความว่า อารักขเทวดาทั้งหลาย

ย่อมจัดตั้งการรักษาที่ชอบธรรม.

หลายบทว่า ตุวฏ จิตฺต สมาธิยติ ได้แก่ จิตย่อมตั้งมั่น (เป็น

สมาธิ) เร็ว.

สองบทว่า อุตฺตรึ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต มีความว่า เมื่อไม่กระทำ

ให้แจ้งซึ่งพระอรหัต ซึ่งยิ่งกว่าเมตตาฌานขึ้นไป คงเป็นเสขบุคคลหรือปุถุชน

ก็ตาม เมื่อทำกาลกิริยา ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

เอกุตตรกวัณณนา มีพรรณนาหมวด ๑๑ เป็นที่สุด จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 578

อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชนา

อุโปสถกรรมเป็นต้น

[๑,๐๐๗] อุโบสถกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

ปวารณากรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

ตัชชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

นิยสกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น

ที่สุด

ปัพพาชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

ปฏิสารณียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

อุกเขปนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้นต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

การให้ปริวาส มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

การชักเข้าหาอาบัติเดิม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 579

การให้มานัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

อัพภาน มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

อุปสัมปทากรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

การระงับตัชชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

การระงับนิยสกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี

อะไรเป็นที่สุด

การระงับปัพพาชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

การระงับปฏิสารณียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

การระงับอุกเขปนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

สติวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น

ที่สุด

ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 580

การสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่าม

กลาง มีอะไรเป็นที่สุด

การสมมติให้อยู่ปราศจากไตรจีวร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น

ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

การสมมติสันถัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

การสมมติให้ทิ้งรูปิยะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี

อะไรเป็นที่สุด

การสมมติให้รับผ้าสาฎก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

การสมมติให้รับบาตร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี

อะไรเป็นที่สุด

การสมมติไม้เท้า มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

การสมมติสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี

อะไรเป็นที่สุด

การสมมติไม้เท้าและสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่าม

กลาง มีอะไรเป็นที่สุด.

ถามและตอบอุโบสถกรรมเป็นต้น

[๑,๐๐๙] ถามว่า อุโบสถกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น

ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 581

ตอบว่า อุโบสถกรรม มีสามัคคีเป็นเบื้องต้น มีการกระทำเป็นท่าม

กลาง มีความสำเร็จเป็นที่สุด

ถ. ปวารณากรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี

อะไรเป็นที่สุด

ต. ปวารณากรรม มีสามัคคีเป็นเบื้องต้น มีการกระทำเป็นท่ามกลาง

มีการสำเร็จเป็นที่สุด

ถ. ตัชชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

ต. ตัชชนียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง

มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. นิยสกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

ต. นิยสกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาาง

มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. ปัพพาชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี

อะไรเป็นที่สุด

ต. ปัพพาชนียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่าม

กลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. ปฏิสารณียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี

อะไรเป็นที่สุด

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 582

ต. ปฏิสารณียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่าม

กลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. อุกเขปนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี

อะไรเป็นที่สุด

ต. อุกเขปนียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่าม

กลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การให้ปริวาส มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

ต. การให้ปริวาส มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง

มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การชักเข้าหาอาบัติเดิม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

ต. การชักเข้าหาอาบัติเดิม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติ

เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การให้มานัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

ต. การให้มานัต มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง

มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. อัพภาน มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น

ที่สุด

ต. อัพภาน มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง

มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 583

ถ. อุปสัมปทากรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี

อะไรเป็นที่สุด

ต. อุปสัมปทากรรม มีบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง

มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การระงับตัชชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

ต. การระงับตัชชนียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มี

ญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การระงับนิยสกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

ต. การระงับนิยสกรรม มีความพระพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติ

เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การระงับปัพพาชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่าม

กลาง มีอะไรเป็นที่สุด

ต. การระงับปัพพาชนียกรรม มีความพระพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มี

ญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การระงับปฏิสารณียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่าม

กลาง มีอะไรเป็นที่สุด

ต. การระงับปฏิสารณียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มี

ญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 584

ถ. การระงับอุกเขปนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่าม

กลาง มีอะไรเป็นที่สุด

ต. การระงับอุกเขปนียกรรม มีความพระพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มี

ญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. สติวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

ต. สติวินัย มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง มี

กรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด.

ต. อมูฬหวินัย มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง

มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี

อะไรเป็นที่สุด

ต. ตัสสปาปิยสิกา มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น

ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็น เบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร

เป็นที่สุด

ต. ติณวัตถารกะ มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง

มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น

ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 585

ต. การสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มี

ญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การสมมติให้อยู่ปราศจากไตรจีวร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไร

เป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

ต. การสมมติให้อยู่ปราศจากไตรจีวร มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น

มีญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การสมมติสันถัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี

อะไรเป็นที่สุด

ต. การสมมติสันถัต มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น

ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การสมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น

ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

ต. การสมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มี

ญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การสมมติให้รับผ้าสาฎก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น

ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

ต. การสมมติให้รับผ้าสาฎก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติ

เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การสมมติให้รับบาตร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

ต. การสมมติให้รับบาตร มีวัตถุและบุคคลเป็นเมื่อเบื้องต้น มีญัตติ

เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 586

ถ. การสมมติไม้เท้า มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

ต. การสมมติไม้เท้า มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น

ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การสมมติสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

ต. การสมมติสาแหรก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น

ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

ถ. การสมมติไม้เท้าและสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น

ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

ต. การสมมติไม้เท้าและสาแหรก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มี

ญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด.

ถามและตอบอุโบสถกรรมเป็นต้น จบ

อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชนา วัณณนา

วินิจฉัยในคำแก้คำถามทั้งหลายมีคำถามว่า อะไรเป็นเบื้องต้นของ

อุโบสถกรรม เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า สามคฺคี อาทิ มีความว่า กายสามัคคีของภิกษุทั้งหลาย

ผู้คิดว่า จักทำอุโบสถ แล้วชำระสีมา นำฉันทะและปาริสุทธิมา ประชุมกัน

เป็นเบื้องต้นของอุโบสถกรรม.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 587

สองบทว่า กิริยา มชฺเฌ มีความว่า กิริยาที่กระทำบุพกิจสวด

ปาฏิโมกข์ เป็นท่ามกลางของอุโบสถกรรม.

สองบทว่า นิฏฺาน ปริโยสาน มีความว่า ความจบปาฏิโมกข์

ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหมดทีเดียว พึงเป็นผู้พร้อมเพรียง ชื่นชมยินดีด้วยดีอยู่

เป็นผู้ไม่วิวาทอยู่ ศึกษาในพระปาฏิโมกข์นั้น เป็นที่สุด (ของอุโบสถกรรม).

หลายบทว่า ปวารณากมฺมสฺส สามคฺคี อาทิ มีความว่า กาย-

สามัคดีของภิกษุทั้งหลายผู้คิดว่า จักทำปวารณา แล้วชำระสีมา นำฉันทะและ

ปวารณามา ประชุมกัน เป็นเบื้องต้นของปวารณากรรม.

สองบทว่า กิริยา มชฺเฌ มีความว่า ปวารณาญัตติและปวารณากถา

เป็นท่ามกลาง (ของปวารณากรรม).

คำของภิกษุผู้สังฆนวกะที่ว่า ข้าพเจ้าเห็นอยู่ จักทำคืน เป็นที่สุด

(ของปวารณากรรม).

ภิกษุย่อมเป็นผู้ควรแก่กรรม ด้วยวัตถุใด วัตถุนั้น ชื่อว่าวัตถุใน

กรรมทั้งหลาย มีตัชชนียกรรมเป็นต้น.

บุคคลที่ก่อวัตถุนั้น ชื่อว่าบุคคล.

สองบทว่า กมฺมวาจา ปริโยสาน มีความว่า คำสุดท้ายแห่ง

กรรมวาจานั้น ๆ อย่างนี้ว่า ตัชชนียกรรม อันสงฆ์ทำแล้ว แก่ภิกษุชื่อนี้

ควรแก่สงฆ์ เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง, ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ เป็นที่สุด

ของกรรมทั้งหลาย มีตัชชนียกรรมเป็นต้น.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาอุโปสถาทิปุจฉาวิสัชนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 588

อัตถวเสปกรณ์

อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ

[๑,๐๐๙] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบท แก่พระสาวกทั้งหลาย

เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่ผาสุกแห่งภิกษุ

ผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด

อาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสจากชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ-

สัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑.

[๑,๐๑๐] สิ่งใดเป็นความรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นความผาสุกแห่ง

สงฆ์ สิ่งใดเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก

สิ่งใดเป็นไปเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งนั้นเป็นไปเพื่ออยู่ผาสุกแห่งภิกษุผู้มีศีล

เป็นที่รัก สิ่งใดเป็นไปเพื่ออยู่ผาสุกแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก สิ่งนั้นเป็นไป

เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเป็นไปเพื่อป้องกันอาสวะอัน

จะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต

สิ่งใดเป็นไปเพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อความ

เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใดเป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่

ยังไม่เลื่อมใส สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งใด

เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนผู้ที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อความ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 589

ตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม สิ่งใดเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม สิ่งนั้น

เป็นไปเพื่ออนุเคราะห์พระวินัย.

[๑,๐๑๑] สิ่งใดเป็นความรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นความผาสุกแห่ง

สงฆ์ สิ่งใดเป็นความรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้น เป็นไปเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก

สิ่งใดเป็นความรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่ออยู่ผาสุกแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็น

ที่รัก สิ่งใดเป็นความรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้น เป็นไปเพื่อป้องกันอาสวะอันจะ

บังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเป็นความรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อกำจัด

อาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต สิ่งใดเป็นความรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไป

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใดเป็นความรับว่าดีแห่งสงฆ์

สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งใดเป็นความรับ

ว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม สิ่งใดเป็นความ

รับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่ออนุเคราะห์พระวินัย.

[๑,๐๑๒] สิ่งใดเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อข่มบุคคล

ผู้เก้อยาก สิ่งใดเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่ออยู่ผาสุกแห่งภิกษุ

ผู้มีศีลเป็นที่รัก สิ่งใดเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อป้องกันอาสวะ

อันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อกำจัด

อาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต สิ่งใดเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไป

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใดเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์

สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งใดเป็นความ

ผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม สิ่งใดเป็นความ

ผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่ออนุเคราะห์พระวินัย สิ่งใดเป็นความผาสุก

แห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นความรับว่าดีแห่งสงฆ์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 590

[๑,๐๑๓] สิ่งใดเป็นไปเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก. . .สิ่งใดเป็นไปเพื่ออยู่

ผาสุกแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก. . . สิ่งใดเป็นไปเพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด

ในปัจจุบัน. . .สิ่งใดเป็นไปเพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต. . . สิ่งใด

เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . . สิ่งใดเป็นไปเพื่อความ

เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . . สิ่งใดเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ-

สัทธรรม. . . สิ่งใดเป็นไปเพื่ออนุเคราะห์พระวินัย สิ่งนั้นเป็นความรับว่าดี

แห่งสงฆ์ สิ่งใดเป็นไปเพื่ออนุเคราะห์พระวินัย สิ่งนั้นเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์

สิ่งใดเป็นไปเพื่ออนุเคราะห์พระวินัย สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก

สิ่งใดเป็นไปเพื่ออนุเคราะห์พระวินัย สิ่งนั้นเป็นไปเพื่ออยู่ผาสุกแห่งภิกษุผู้มี

ศีลเป็นที่รัก สิ่งใดเป็นไปเพื่ออนุเคราะห์พระวินัย สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อป้องกัน

อาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเป็นไปเพื่ออนุเคราะห์พระวินัย สิ่งนั้น

เป็นไปเพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต สิ่งใดเป็นไปเพื่ออนุเคราะห์

พระวินัย สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใด

เป็นไปเพื่ออนุเคราะห์พระวินัย สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่

เลื่อมใสแล้ว สิ่งใดเป็นไปเพื่ออนุเคราะห์พระวินัย สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อความ

ตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม.

[๑,๐๑๔] อรรถหนึ่งร้อย ธรรมหนึ่งร้อย นิรุตติสองร้อย ญาณสี่ร้อย

มีในอัตถวเสปกรณ์.

อัตถวเสปกรณ์ จบ

มหาวรรค จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 591

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๐๑๕] หมวดธรรมเหล่านี้ของภิกษุ ๑๖ ของภิกษุณี ๑๖ คือ

หมวด ๑ ถึงหมวด ๘ ในคำถามและปัจจัย และหมวด ๑ ถึงหมวด ๘ ใน

คำถามและปัจจัยอีก เปยยาล อันตราเภท และเอกุตตริกะ ปวารณา อัตถว-

เสปกรณ์ สงเคราะห์เข้ามหาวรรค.

หัวข้อประจำเรื่อง จบ

อัตถวเสปกรณ วัณณนา

วินิจฉัยในอัตถวเสปกรณ์ พึงทราบดังนี้:-

ในคำว่า ทส อตฺถวเส เป็นต้น คำที่ควรกล่าว ได้กล่าวใน

วัณณนาแห่งปฐมปาราชิกแล้วแล.*

ในบททั้งหลายมีบทว่า ย สงฺฆสุฏฺฐุ ต สงฺฆผาสุ เป็นอาทิ

บทต้น ๆ เป็นเนื้อความของบทหลัง ๆ.

ก็ด้วยทำให้เป็นบทตั้งทีละบท ในทุก ๑๐ บท ประกอบ ๑๐ ครั้ง

รวมร้อยบทนี้ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในคำว่า อรรถร้อยหนึ่ง ธรรม

ร้อยหนึ่ง เป็นต้น. พึงทราบอรรถร้อยหนึ่ง ด้วยอำนาจบทหลัง ๆ ในร้อย

บทนั้น. พึงทราบร้อยธรรม ด้วยอำนาจบทต้น ๆ.

อีกอย่างหนึ่ง สิกขาบทอันพระตถาคตทรงอำนาจประโยชน์ ๑๐ เหล่า

ใด ทรงบัญญัติแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย อำนาจประโยชน์ ๑๐ เหล่าใด อัน

ข้าพเจ้าพรรณนาแล้ว ในอรรถกถาแห่งปฐมปาราชิกในหนหลัง โดยนัยมีอาทิ

* สมนฺต ปม. ๒๕๘.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 592

อย่างนี้ว่า บรรดาอำนาจประโยชน์ ๑๐ นั้น ความเห็นชอบของสงฆ์ คือ ความ

ยอมรับคำว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า ดุจความยอมรับคำในที่มาว่า ดีแล้ว เทวะ

ชื่อว่าสังฆสุฏฐุตา.

ก็ภิกษุใด ยอมรับคำของพระตถาคต ความยอมรับคำนั้น ของภิกษุ

นั้น ย่อมมี เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ลิ้นกาลนาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงกระทำให้แจ้งซึ่งเนื้อความนี้ว่า เราจักบัญญัติ เพื่อสงฆ์

ยอมรับคำของเราว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า จักแสดงโทษในการที่ไม่ยอมรับ และ

อานิสงส์ในการที่ยอมรับก่อนจึงจะบัญญัติ จักไม่บัญญัติกดขี่ด้วยหักหาญ ดังนี้

จึงตรัสว่า เพื่อเห็นชอบของสงฆ์. พึงทราบอรรถร้อยหนึ่งเพราะอำนาจประโยชน์

เหล่านั้น มาแล้วในคัมภีร์บริวารนี้ ๑๐ ครั้ง และพึงทราบ ธรรมร้อยหนึ่ง

ด้วยอำนาจบทที่ส่องอรรถนั้น.

พึงทราบนิรุตติสองร้อยเหล่านี้ คือ ด้วยอำนาจแห่งนิรุตติที่ส่องอรรถ

ร้อยนิรุตติ ด้วยอำนาจแห่งนิรุตติที่เป็นตัวธรรมดา ร้อยนิรุตติ.

และพึงทราบญาณสี่ร้อย คือ ร้อยญาณ ในร้อยอรรถ ร้อยญาณ ใน

ในร้อยธรรม สองร้อยญาณ ในสองร้อยนิรุตติ.

จริงอยู่ คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ร้อยอรรถ ร้อยธรรม

สองร้อยนิรุตติ รวมเป็นสี่ร้อยญาณ มีในอำนาจประโยชน์ที่เป็นเหตุเริ่มทำ

คำนี้ ทรงอาศัยอรรถเป็นต้นนั้น ตรัสแล้ว ฉะนี้แล.

พรรณนาอัตถวเสปกรณ์ จบ

มหาวัคควัณณนา

ในอรรถกถาวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา จบแล้ว

ด้วยประการฉะนี้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 593

คาถาสังคณิกะ

ท่านพระอุบาลีเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา

[๑,๐๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ถามว่า ท่านห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือดู

เหมือนมีความมุ่ง มา ณ สถานที่นี้ เพื่อ

ประสงค์อะไร

ท่านพระอุบายลีกราบทูลว่า สิกขาบท

ที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในวินัยทั้งสอง ย่อม

มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ สิกขาบทเหล่านั้น

มีเท่าไร ทรงบัญญัติไว้ ณ พระนครกี่แห่ง

พ. ปัญญาของท่านดี ท่านสอบถาม

โดยแยบคาย เพราะฉะนั้น เราจักบอกแก่

ท่าน ตามที่ท่านเป็นผู้ฉลาดถาม

สิกขาบทที่บัญญัติไว้ในวินัยทั้งสอง

ย่อมมาสู่อุเทศทุกวันในอุโบสถ สิกขาบท

เหล่านั้นมี ๓๕๐ สิกขาบท ตถาคตบัญญัติไว้

ณ พระนคร ๗ แห่ง.

[๑,๐๑๗] อุ. สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ

ไว้ ณ พระนคร ๗ แห่ง ๆ ไหนบ้าง ขอ

พระองค์ได้โปรดแจ้งพระนคร ๗ แห่งนั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 594

แก่ข้าพระพุทธเจ้า ๆ ได้ฟังทางแห่งพระดำ-

รัสของพระองค์แล้ว จะปฏิบัติ ข้อนั้นจะพึง

มีเพื่อความเกื้อกูลแก่พวกข้าพระพุทธเจ้า

พ. สิกขาบทเทล่านั้น บัญญัติ ไว้ ณ

พระนครเวสาลี ๑ พระนครราชคฤห์ ๑

พระนครสาวัตถี ๑ พระนครอาฬวี ๑ พระ-

นครโกสัมพี ๑ สักกชนบท ๑ ภัคคชนบท ๑.

สิกขาบทบัญญัติ

[๑,๐๑๘] อุ. สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ

ไว้ ณ พระนครเวสาลี มีเท่าไร ณ พระนคร

ราชคฤห์ มีเท่าไร ณ พระนครสาวัตถี มี

เท่าไร ณ พระนครอาฬวี มีเท่าไร ณ พระ-

นครโกสัมพี มีเท่าไร ณ สักกชนบท มีเท่าไร

ณ ภัคคชนบท มีเท่าไร พระองค์อันข้าพระ-

พุทธเจ้าทูลถามแล้ว ขอได้โปรดตอบข้อนั้น

แก่ข้าพระพุทธเจ้า

พ. สิกขาบทที่บัญญัติไว้ ในพระ-

นครเวสาลีมี ๑๐ สิกขาบท ในพระนคร

ราชคฤห์มี ๒๑ สิกขาบท ในพระนครสาวัตถี

รวมทั้งหมด มี ๒๙๔ สิกขาบท ในพระนคร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 595

อาฬวี มี ๖ สิกขาบท ในพระนครโกสัมพี

มี ๘ สิกขาบทในสักกชนบท มี ๘ สิกขาบท

ในภัคคชนบท มี ๓ สิกขาบท

สิกขาบทเหล่าใดได้บัญญัติไว้ใน

พระนครเวสาลี ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น

ตามที่จะกล่าวต่อไป สิกขาบทว่าด้วยเสพ-

เมถุน ๑ สิกขาบทว่าด้วยฆ่ามนุษย์ ๑ สิกขา-

บทว่าด้วยอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีจริง ๑

สิกขาบทว่าด้วยทรงอติเรกจีวร ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยหล่อสันถัตด้วยขึ้นเจียมดำล้วน ๑

สิกขาบทว่าด้วยอวดอุตริมนุสธรรมที่มีจริง

๑ สิกขาบทว่าด้วยภัตรทีหลัง ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยไม้ชำระฟัน ๑ สิกขาบทว่าด้วยให้

ของเคี้ยวของฉันแก่อเจลก ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยภิกษุณีด่าภิกษุ ๑ รวมสิกขาบทที่บัญญัติ

ไว้ในพระนครเวสาลี เป็น ๑ สิกขาบท

สิกขาบทเหล่าใดที่บัญญัติไว้ใน

พระนครราชคฤห์ ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่า

นั้น ตามที่จะกล่าวต่อไป สิกขาบทว่าด้วย

ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ณ พระนคร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 596

ราชคฤห์ ๑ สิกขาบทว่าด้วยตามกำจัดภิกษุ

รวม ๒ สิกขาบทว่าด้วยทำลายสงฆ์และประ-

พฤติตามรวม ๒ สิกขาบทว่าด้วยรับอันตร-

วาสก ๑ สิกขาบทว่าด้วยแลกเปลี่ยนรูปิยะ ๑

สิกขาบทว่าด้วยขอด้าย ๑ สิกขาบทว่าด้วย

บ่นว่า ๑ สิกขาบทว่าด้วยฉันโภชนะที่ภิกษุณี

แนะให้เขาถวาย ๑ สิกขาบทว่าด้วยอาหาร

ในโรงทาน ๑ สิกขาบทว่าด้วยฉันหมู่ ๑

สิกขาบทว่าด้วยฉันในเวลาวิกาล ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยเที่ยวไปในสกุล ๑ สิกขาบทว่าด้วย

อาบน้ำ ๑ สิกขาบทว่าด้วยบวชคนมีอายุไม่

ครบ ๑ สิกขาบทว่าด้วยให้จีวร ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยฉันโภชนะที่ภิกษุณียืนสั่งเสีย ๑ สิก-

ขาบทว่าด้วยเทียวยอดเขา ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยจาริก ๑ สิกขาบทเหล่านี้บัญญัติไว้ ใน

พระราชคฤห์ รวมกับการให้ฉันทะในกรรม

นั้นแหละ เป็น ๒๑ สิกขาบท

สิกขาบทเหล่าใดบัญญัติไว้ในพระ-

นครสาวัตถี ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น

ตามที่กล่าวต่อไป ปาราชิก ๔ ของภิกษุณี

สังฆาทิเสส ๑๖ อนิยต ๒ นิสสัคคิยะ ๒๔

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 597

สิกขาบทที่เรียกว่าขุททกสิกขาบทมี ๑๕๖

สิกขาบทที่ควรติเตียน ๑๐ สิกขาบทเสขิยวัตร

๗๒ สิกขาบท รวมสิกขาบททั้งหมดที่บัญญัติ

ไว้ ในพระนครสาวัตถี ๒๙๔ สิกขาบท

สิกขาบทเหล่าใดบัญญัติไว้ ในพระ

นครอาฬวี ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ดัง

จะกล่าวต่อไป สิกขาบทว่าด้วยให้ทำกุฎี ๑

สิกขาบทว่าด้วยทำสันถัตเจือไหม ๑ สิกขา-

บทว่าด้วยนอนร่วมกับอนุปสัมบัน ๑ สิกขา-

บทว่าด้วยขุดดิน ๑ สิกขาบทว่าด้วยพราก

ภูตคาม ๑ สิกขาบทว่าด้วยน้ำมีตัวสัตว์เอา

รดหญ้าหรือดิน ๑ สิกขาบทเหล่านี้รวม ๖

สิกขาบท บัญญัติไว้ในพระนครอาฬวี

สิกขาบทเหล่าใดบัญญัติไว้ ในพระ

นครโกสัมพี ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น

ดังจะกล่าวต่อไป สิกขาบทว่าด้วยให้ทำวิหาร

ใหญ่ ๑ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุว่ายากสอน

ยาก ๑ สิกขาบทว่าด้วยแกล้งพูดคำอื่นกลบ

เกลื่อน ๑ สิกขาบทว่าด้วยกรอบประตู ๑

สิกขาบทว่าด้วยดื่มสุราเมรัย ๑ สิกขาบทว่า

ด้วยไม่เอื้อเฟื้อ ๑ สิกขาบทว่าด้วยกล่าวโดย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 598

ชอบธรรม ๑ รวมเป็น ๘ สิกขาบททั้งดื่ม

น้ำนม

สิกขาบทเหล่าใดบัญญัติไว้ ในสัก-

กชนบท ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ดังจะ

กล่าวต่อไป สิกขาบทว่าด้วยให้ซักขนเจียม ๑

สิกขาบทว่าด้วยบาตรมีรอยร้าวหย่อน ๕

แห่ง ๑ สิกขาบทว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณีถึงที่

อยู่ ๑ สิกขาบทว่าด้วยขอเภสัช ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยกล่องเข็ม ๑ สิกขาบทว่าด้วยเสนา-

สนะป่า ๑ รวม ๖ สิกขาบทนี้บัญญัติไว้ ณ

พระนครกบิลพัสดุ์ สิกขาบทว่าด้วยทำความ

สะอาดด้วยน้ำ ๑ สิกขาบทว่าด้วยไม่รับโอ-

วาท ๑ ตถาคตได้กล่าวไว้ในหมู่ภิกษุณี

สิกขาบทเหล่าใดบัญญัติไว้ ในภัค-

คชนบท ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ดังจะ

กล่าวต่อไป สิกขาบทว่าด้วยติดไฟผิง ๑

สิกขาบทว่าด้วยมือเปื้อนอามิส ๑ สิกขาบท

ว่าด้วยล้างบาตรมีเมล็ดข้าวสุก ๑ สิกขาบท

เหล่านี้ คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๗

นิสสัคคิยะ ๘ ขุททกะ ๓๒ ปาฏิเทสนียะ

สิกขาบทที่น่าติ ๒ เสขิยวัตร ๓ อันพระ-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 599

พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูง-

ศักดิ์ บัญญัติไว้ใน ๖ พระนคร รวม ๕๖

สิกขาบท ในพระนครสาวัตถี พระโคดมผู้

มียศ บัญญัติไว้ทั้งหมดรวม ๒๙๔ สิกขาบท.

ทรงพยากรณ์อาบัติหนักและอาบัติเบาเป็นต้น

[๑,๐๑๙] อุ. ข้าพระพุทธเจ้า ได้ทูล

ถามปัญหาข้อใดกะพระองค์ พระองค์ได้

ทรงแก้ปัญหาข้อนั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้า ได้

ทรงแก้ปัญหานั้น ๆ โดยมิได้เป็นอย่างอื่น

ข้าพระพุทธเจ้า ขอทูลถามปัญหาข้ออื่นกะ

พระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดตอบปัญหา

นั้นต่อไป คือ อาบัติหนัก ๑ อาบัติเบา ๑

อาบัติมีส่วนเหลือ ๑ อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑

อาบัติชั่วหยาบ ๑ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑

สิกขาบทเป็นยาวตติยกะ ๑ สิกขาบททั่วไป ๑

สิกขาบทไม่ทั่วไป ๑ สิกขาบทที่จำแนก

ไว้ ระงับด้วยสมถะเหล่าใด ๑ ขอพระองค์

ได้โปรดชี้แจงสิกขาบทนี้แม้ทั้งมวล พระ- ฅ

พุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจะฟังพระดำรัส

ของพระองค์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 600

พ. อาบัติหนักมี ๓๐ ศีลวิบัติและ

อาจารวิบัติในอาบัติหนักเหล่านั้น อาบัติ

ปาราชิกที่ไม่มีส่วนเหลือมี ๘ อาบัติใดหนัก

อาบัตินั้นชั่วหยาบ อาบัติใดชั่วหยาบ อาบัติ

นั้นเป็นศีลวิบัติ อาบัติปาราชิก อาบัติ

สังฆาทิเสส เรียกชื่อว่าศีลวิบัติ อาบัติ

ถุลลัจจัย ปาจิตติยะ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ

ทุพภาสิต คือด่าประสงค์จะล้อเล่น.

อาบัตินี้นั้นรวมเรียกว่า อาจารวิบัติ.

ทิฏฐิวิบัติ

[๑,๐๒๐] บุคคลมีปัญญาเขลา อัน

โมหะครอบงำ ถูกอสัทธรรมรุมล้อม ย่อม

ถือทิฏฐิวิบัติ กล่าวตู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

อาบัตินี้นั้นรวมเรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ

อาชีววิบัติ

[๑,๐๒๑] ภิกษุผู้ปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ ย่อมอวด

อุตริมนุสธรรม อันไม่มีไม่เป็นจริง เพราะเหตุอาชีวะ เพราะการณ์อาชีวะ

ภิกษุถึงความเที่ยวชักสื่อ เพราะเหตุอาชีวะ เพราะการณ์อาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า

ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเป็นอรหันต์ เพราะเหตุอาชีวะ เพราะ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 601

การณ์อาชีวะ ภิกษุณีขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์ตนมาฉัน เพราะ

เหตุอาชีวะ เพราะการณ์อาชีวะ ภิกษุไม่อาพาธ ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อ

ประโยชน์ตนมาฉัน เพราะเหตุอาชีวะ เพราะการณ์อาชีวะ อาบัตินี้นั้นรวม

เรียกว่า อาชีววิบัติ.

ยาวตติยกสิกขาบท

[๑,๐๒๒] ยาวตติยกสิกขาบท ๑๑ นั้น

ท่านจงฟัง ดังจะกล่าวต่อไป อุกขิตตานุ-

วัตติกสิกขาบท ๑ ยาวตติยกสิกขาบท ๘

อริฏฐสิกขาบท ๑ จัณฑกาลีสิกขาบท ๑

สิกขาบทเหล่านี้นั้น ชื่อยาวตติยกสิกขาบท.

ทรงพยากรณ์เฉทนกสิกขาบทและเภทนกสิกขาบทเป็นต้น

[๑,๐๒๓] อุ. สิกขาบทว่าด้วยการตัดมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการ

ทำลายมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการรื้อมีเท่าไร สิกขาบทว่าเป็นปาจิตตีย์มิใช่อื่น

มีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการสมมติภิกษุมีเท่าไร สิกขาบทที่ว่าเป็นความชอบ

มีเท่าไร สิกขาบทที่ว่าอย่างยิ่งมีเท่าไร สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ทรงบัญญัติว่ารู้อยู่ มีเท่าไร

พ. สิกขาบทว่าด้วยการตัดมี ๖ สิกขาบท ว่าด้วยการทำลายมี ๑

สิกขาบทว่าด้วยการรื้อมี ๑ สิกขาบทที่ว่าเป็นปาจิตตีย์ มิใช่อื่นมี ๔ สิกขาบท

ว่าด้วยการสมมติภิกษุมี ๔ สิกขาบทที่ว่าเป็นความชอบมี ๗ สิกขาบทที่ว่า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 602

อย่างยิ่งมี ๑๔ สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์

ทรงบัญญัติไว้ว่า รู้อยู่มี ๑๖.

จำนวนสิกขาบทของภิกษุเป็นต้น

[๑,๐๒๔] สิกขาบทของภิกษุมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถรวม ๒๒๐

สิกขาบท ของภิกษุณีมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถรวม ๓๐๔ สิกขาบท

สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๘๖ สิกขาบท

สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท

สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ทั่วไปรวม ๑๗๖ สิกขาบท

สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกันมี ๑๗๔ สิกขาบท.

ประเภทสิกขาบทของภิกษุ

[๑,๐๒๕] สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐

สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ ท่านจง

ฟังสิกขาบทเทล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป

ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒

นิสสัคคิยะ ๓๐ ถ้วน ขุททกะ ๙๒ ปาฏิ-

เทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ สิกขาบทของภิกษุ

รวม ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ.

ประเภทสิกขาบทของภิกษุณี

[๑,๐๒๖] สิกขาบทของภิกษุณี ๓๐๔

สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ ท่าน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 603

จงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป

ปาราชิก ๘ สังฆาทิเสส ๑๗ นิสสัคคิยะ

๓๐ ถ้วน ขุททกะ ๑๖๖ ปาฏิเทสนียะ ๘

เสขิยะ ๗๕ สิกขาบทของภิกษุณีรวม ๓๐๔

สิกขาบทมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ.

อสาธารณสิกขาบทของภิกษุ

[๑,๐๒๗] สิกขาบทของภิกษุ ที่ไม่

ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ ท่านจงฟังสิกขาบท

เหล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป สังฆาทิเสส ๖

รวมเป็น ๘ ทั้งอนิยต ๒ สิกขาบท นิสสัค

คิยะ ๑๒ รวมกันเป็น ๒๐ ขุททกะ ๒๒

ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทของภิกษุไม่ทั่วไป

กับภิกษุณี รวม ๔๖ สิกขาบท.

อสาธารณสิกขาบทของภิกษุณี

[๑,๐๒๘] สิกขาบทของภิกษุณี ที่ไม่

ทั่วไปกับภิกษุมี ๑๓๐ ท่านจงฟังสิกขาบท

เหล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป ปาราชิก ๔

สังฆาทิเสส ๑๐ ที่สงฆ์ขับออกจากหมู่

นิสสัคคิยะ ๑๒ ขุททกะ ๙๖ ปาฏิเทสนียะ ๘

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 604

สิกขาบทของภิกษุณี ที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ

รวม ๑๓๐.

สิกขาบทที่ไม่ทั่วไปของทั้งสองฝ่าย

[๑,๐๒๙] สิกขาบทของทั้งสองฝ่าย

ที่ไม่ทั่วไปมี ๑๗๖ ท่านจงฟังสิกขาบท

เหล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป ปาราชิก ๔

สังฆาทิเสส ๑๖ อนิยต ๒ นิสสัคคิยะ ๒๔

ขุททกะ ๑๑๘ ปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท

ของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ทั่วไป รวม ๑๗๖.

สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน

[๑,๐๓๐] สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่

ศึกษาร่วมกันมี ๑๗๔ ท่านจงฟังสิกขาบท

เหล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป ปาราชิก ๔

สังฆาทิเสส ๗ นิสสัคคิยะ ๑๘ ขุททกะ ๗๐

ถ้วน เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท ของทั้งสองฝ่าย

ที่ศึกษาร่วมกัน รวม ๑๗๔ สิกขาบท.

อาบัติที่ระงับไม่ได้

[๑,๐๓๑] บุคคลผู้ต้องปาราชิกเหล่า-

ใด ๘ จำพวก ไม่ควรเข้าใกล้ เปรียบเสมอ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 605

ด้วยโคนต้นตาล บุคคลผู้ต้องปาราชิก

เหล่านั้น ย่อมไม่งอกงามเปรียบเหมือนใบ

ไม้เหลือง ศีลาหนา คนศีรษะขาด ต้นตาล

ยอดด้วน ฉะนั้น.

อาบัติที่ระงับได้

[๑,๐๓๒] สังฆาทิเสส ๒๓ อนิยต ๒

นิสสัคคิยะ ๔๒ ปาจิตตีย์ ๑๘๘ ปาฏิเทสนียะ

๑๒ เสขิยะ ๗๕ ระงับด้วยสมณะ ๓ คือ

สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ติณ-

วตถารกะ ๑.

ส่วนที่ทรงจำแนก

[๑,๐๓๓] อุโบสถ ๒ ปวารณา ๒

กรรม ๔ อันพระชินเจ้าทรงแสดงแล้ว

อุเทศ ๕ และอุเทศ ๔ ย่อมไม่มีโดยประการ

อื่น และกองอาบัติมี ๗.

อธิกรณ์

[๑,๐๓๔] อธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ

๗ คือ ระงับด้วยสมถะ ๒ ด้วยสมถะ ๔

ด้วยสมถะ ๓ แต่กิจจาธิกรณ์ระงับด้วย

สมถะ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 606

วิเคราะห์ปาราชิก

[๑,๐๓๕] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า

ปาราชิก ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว

ต่อไป บุคคลเป็นผู้เคลื่อนแล้ว ผิดพลาด

แลเหินห่างจากสัทธรรม อนึ่ง แม้สังวาสก็

ไม่มีในผู้นั้น เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียก

อาบัตินั้นว่า ปาราชิก.

วิเคราะห์สังฆาทิเสส

[๑,๐๓๖] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า สังฆา

ทิเสส ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว

ต่อไป สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชักเข้าหา

อาบัติเดิมให้มานัต อัพภาน เพราะเหตุนั้น

เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า สังฆาทิเสส.

วิเคราะห์อนิยต

[๑,๐๓๗] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า อนิยต

ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป

กองอาบัติชื่อว่าอนิยต เพราะไม่แน่ บท

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำแล้วโดยมิใช่

ส่วนเดียว บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอย่างใด

อย่างหนึ่ง เรียกว่า อนิยต.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 607

วิเคราะห์ถุลลัจจัย

[๑,๐๓๘] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ถุล-

ลัจจัย ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว

ต่อไป ภิกษุแสดงอาบัติถุลลัจจัย ในที่ใกล้

ภิกษุรูปหนึ่ง แ ละภิกษุรับอาบัตินั้น โทษ

เสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น

จึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย.

วิเคราะห์นิสสัคคิยะ

[๑,๐๓๙] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า นิส-

สัคคิยะ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว

ต่อไป ภิกษุเสียสละในท่ามกลางสงฆ์ ท่าม

กลางคณะ และต่อหน้าภิกษุรูปหนึ่ง ๆ แล้ว

จึงแสดงข้อละเมิดใด เพราะเหตุนั้น จึง

เรียกข้อละเมิดนั้นว่า นิสสัคคิยะ.

วิเคราะห์ปาจิตตีย์

[๑,๐๔๐] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า

ปาจิตตีย์ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว

ต่อไป ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตก ย่อม

ฝืนต่ออริยมรรค เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 608

แห่งจิต เพราะเหตุนั้น จึงเรียกความละเมิด

นั้นว่า ปาจิตตีย์.

วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ

[๑,๐๔๑] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ปาฏิ-

เทสนียะ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว

ต่อไป ภิกษุไม่มีญาติ หาโภชนะได้ยาก

รับมาเองแล้วฉัน เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ

ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ภิกษุณีสั่งเสียอยู่ใน

ที่นั้นตามพอใจ ภิกษุไม่ห้าม ฉันอยู่ในที่นั้น

เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ ภิกษุไม่อาพาธ

ไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์

น้อย เขามิได้นำไปถวายแล้วฉันในที่นั้น

เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ ภิกษุใดถ้าอยู่ในป่า

ที่น่ารังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ฉันภัตตาหาร

ที่เขาไม่ได้บอกในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรม

ที่น่าติ ภิกษุณีไม่มีญาติ ขอโภชนะที่ผู้อื่น

ยืดถือว่าเป็นของเรา คือ เนยใส น้ำมัน

น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมส้ม

ด้วยตนเอง ชื่อว่า ถึงธรรมที่น่าติ ในศาสนา

ของพระสุคต.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 609

วิเคราะห์ทุกกฏ

[๑,๐๔๒] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุกกฏ

ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป

กรรมใดผิดพลั้งและพลาด กรรมนั้นชื่อว่า

ทำไม่ดี คนทำความชั่วอันใด ในที่แจ้ง

หรือในที่ลับ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมประกาศ

ความชั่วนั้นว่า ทำชั่ว เพราะเหตุนั้น กรรม-

นั่นจึงเรียกว่า ทุกกฏ.

วิเคราะห์ทุพภาสิต

[๑,๐๔๓] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุพ-

ภาสิต ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว

ต่อไป บทใด อันภิกษุกล่าวไม่ดี พูดไม่ดี

และเศร้าหมอง วิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียน

บทใด เพราะเหตุนั้น บทนั้น จึงเรียกว่า

ทุพภาสิต.

วิเคราะห์เสขิยะ

[๑,๐๔๔] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า เสขิยะ

ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป

ข้อนี้เป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทาง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 610

และเป็นข้อระวัง คือ สำรวม ของพระเสขะ

ผู้ศึกษาอยู่ ผู้ดำเนินไปตามทางตรง สิกขา

ทั้งหลาย เช่นด้วยสิกขานั้นไม่มี เพราะ

เหตุนั้น สิกขานั้น จึงเรียกว่า เสขิยะ.

อุปมาอาบัติและอนาบัติ

เรือนคืออาบัติอันภิกษุปิดไว้ ย่อมรั่ว

เรือนคืออาบัติอันภิกษุเปิดแล้ว ย่อมไม่รั่ว

เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงเปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้

เมื่อเป็นอย่างนั้น เรือนคืออาบัตินั้น ย่อม

ไม่รั่ว ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค อากาศ

เป็นทางไปของหมู่ปักษี ความเสื่อมเป็นคติ

ของธรรมทั้งหลาย นิพพานเป็นภูมิที่ไปของ

พระอรหันต์.

คาถาสังคณิกะ จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๐๔๕] สิกขาบทที่ทรงบัญญัติใน ๗ พระนคร ๑ วิบัติ ๔ อย่าง ๑

สิกขาบทของภิกษุ และของภิกษุณีทั่วไป ๑ ไม่ทั่วไป ๑ นี้เป็นถ้อยคำที่รวม

ไว้ด้วยคาถา เพื่ออนุเคราะห์พระศาสนา.

หัวข้อประจำเรื่อง จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 611

ปฐมคาถาสังคณิก วัณณนา

บาทคาถาว่า เอกส จีวร กตฺวา มีความว่า ท่านกระทำจีวร

เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง อธิบายว่า ห่มอุตราสงค์เรียบร้อย.

บาทคาถาว่า ปคฺคณฺหิตฺวาน อญฺชลึ มีความว่า ยกอัญชลีอัน

รุ่งเรืองด้วยประชุมแห่งนิ้วทั้ง ๑๐.

บาทคาถาว่า อาสึสมานรูโปว ความว่า ดูเหมือนจะมุ่งหวัง.

บาทคาถาว่า กิสฺส ตฺว อิธมาคโต มีความว่า ท่านปรารถนา

ประโยชน์อะไร มาในที่นี้ เพราะเหตุไร ?

ใครกล่าวอย่างนี้ ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ตรัสอย่างนั้นกะใคร ?

กะท่านพระอุบาลี. ท่านพระอุบาลี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามคาถานี้ว่า

(สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ) ในวินัยทั้ง ๒ (ย่อมมาสู่อุทเทสในวันอุโบสทั้งหลาย

สิกขาบทเห่ลานั้น มีเท่าไร ? ทรงบัญญัติในนครเท่าไร ?) ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำว่า ปัญญาของท่านดีเป็นต้น

ทรงตอบคำถามนั้นของท่าน. มีนัยเหมือนกันทุกปัญหา.

พระอุบาลีเถระทูลถามปัญหาทั้งปวงเหล่านี้ ในพุทธกาล ด้วยประการ

ฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบเอง. ส่วนในสังคีติกาล พระมหากัสสป-

เถระถาม พระอุบาลีเถระตอบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า ภทฺทโก เต อุมฺมงฺโค มีความว่า

ปัญญาของท่านดี. จริงอยู่ ปัญญาเรียกว่า อุมมังคะ เพราะผุดขึ้นจากมืด คือ

อวิชชาตั้งอยู่.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 612

ศัพท์ว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถคือเหตุ. ความว่า ท่าน

ถามเราเพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น เราจักตอบแก่ท่าน.

อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถคือยอมรับ.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำ ด้วยคำว่า เอาเถิด. นี้จึงตรัสว่า เรา

จักตอบ.

เฉพาะ ๓ สิกขาบทนี้ คือ ติดไฟผิง มือเปื้อนอามิส น้ำล้างบาตร

มีเมล็ดข้าวสุก ทรงบัญญัติในภัคคชนบท.

สองบทว่า ยนฺตฺว อปุจฺฉิมฺหา มีความว่า ข้าพเจ้าได้ทูลถามปัญหา

ใดกะพระองค์.

บทว่า อกิตฺตยิ คือ พระองค์ได้ตรัสแล้ว.

บทว่า โน คือ แก่ข้าพเจ้า.

สองบทว่า ตนฺต พฺยากต มีความว่า คำใด ๆ อันข้าพเจ้าได้ทูล

ถามแล้ว คำนั้น ๆ อันพระองค์ทรงแก้แล้ว.

บทว่า อนญฺถา ความว่า มิได้ทรงแก้บ่ายเบี่ยงโดยประการอื่น.

[วิบัติ ๔]

ชื่อว่า สีลวิบัติ ย่อมไม่มีในปัญหาในคำว่า เย ทุฏฺฐุลฺลา สา

ลีลวิปตฺติ นี้ แม้โดยแท้ ถึงกระนั้น คำว่า เย ทุฏฺฐุลฺลา สา สีลวิปตฺติ

นี้ ท่านกล่าวแล้ว ด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะแก้ทุฏฺฐุลลาบัติ.

จริงอยู่ ในวิบัติ ๔ ทุฏฐุลลาบัติ สงเคราะห์ด้วยวิบัติ ๑ อทุฏฐุลลาบัติ

สงเคราะห์ด้วยวิบัติ ๓. เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า เย ทุฏฺฐุลฺลา สา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 613

สีลวิปตฺติ แล้ว จึงกล่าวว่า ปาราชิก สังฆาทิเสส เรียกว่า สีลวิบัติ เพื่อ

แสดงสีลวิบัตินั้นเอง โดยพิสดาร.

บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า ถุลฺลจฺจย เป็นอาทิ เพื่อแสดงอทุฏจุลลาบัติ

ด้วยอำนาจวิบัติ ๓.

ในคำเหล่านั้น คำว่า โย จาย อกฺโกสติ หสฺสาธิปฺปาโย นี้

ท่านกล่าว เพื่อชี้วัตถุแห่งทุพภาสิต.

บทว่า อพฺภาจิกฺขติ มีความว่า เมื่อกล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรม

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตู่.

หลายบทว่า อย สา อาชีววิปตฺติสมฺมตา มีความว่า ชื่อว่า

อาชีววิบัติ ที่ประมวลด้วย ๖ สิกขาบทนี้ สมมติว่าวิบัติที่ ๔ ฉะนี้แล.

คำถามว่า อทุฏฺฐุลฺล นี้ เป็นอันเฉลยแล้ว ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

[ประมวลสิกขาบท]

บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า เอกาทส เป็นอาทิ เพื่อเฉลยปัญหาที่ว่า

เย จ ยาวตติยกา. ก็เพราะปัญหาที่ว่า เย จ ยาวตติยกา นี้ ท่าน

เฉลยแล้วด้วยอำนาจจำนวน อย่างนี้ว่า ยาวตติยกสิกขาบท ๑๑, เพราะฉะนั้น

ท่านจึงถามอันตราปัญหาเหล่าอื่น มีคำว่า เฉทนกสิกขามีเท่าใด ? เป็น

อาทิ ด้วยอำนาจสืบต่อแห่งจำนวนนั่นเอง.

ท่านกล่าวว่า ฉ เฉทนกานิ เป็นอาทิ ก็เพื่อเฉลยอันตราปัญหา

เหล่านั้น. ในคำเฉลยนั้น คำว่า เภทนกสิกขาบท ๑ อุททาลนกสิกขาบท ๑

สิกขาบท ๑๖ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า รู้อยู่ นี้แล ตรัสภายหลัง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 614

บทที่เหลือ ได้จำแนกไว้ในมหาวัคค์หมดแล้ว.

ก็ในคำที่ตรัสภายหลังนั้น สองบทว่า เอก เภทนก ได้แก่ สูจิ-

ฆรสิกขาบท.

สองบทว่า เอก อุทฺทาลนก ได้แก่ ดูโลนัทธมัญจปิฐสิกขาบท.

บทว่า โสรส ได้แก่ โสฬส (คือ ๑๖).

สองบทว่า ชานนฺติ ปญฺตฺตา ได้แก่ สิกขาบทที่ตรัสอย่างนี้ว่า

รู้อยู่ ทรงบัญญัติแล้ว.

สิกขาบทเหล่านั้น พึงทราบอย่างนี้ คือ:-

ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน รู้อยู่สำเร็จการ

นอนเบียดภิกษุผู้เข้าไปก่อน รู้อยู่ว่า น้ำมีตัวสัตว์ รดเองก็จาม ใช้ให้รดก็ตาม

ซึ่งหญ้าหรือดิน รู้อยู่ ฉันบิณฑบาต อันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย รู้อยู่ มุ่งหมาย

จะยกโทษ พอเธอฉันแล้วเป็นปาจิตตีย์ รู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ รู้อยู่ พื้น

อธิกรณ์ที่ตัดสินเสร็จแล้วโดยธรรม รู้อยู่ ปิดอาบัติชั่วหยาบ รู้อยู่ ยังบุคคล

มีปีหย่อน ๒๐ ให้อุปสมบท รู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทางสายเดียวกันกับพวก

เกวียนพวกต่างที่เป็นโจร รู้อยู่ กินร่วมก็ดี . . . . กับภิกษุผู้กล่าวอย่างนั้น ยัง

ไม่ได้ทำธรรมอันสมควร รู้อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูกให้นาสนะแล้ว

อย่างนั้น รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล ภิกษุณี รู้อยู่

ไม่โจทด้วยตนเอง ซึ่งภิกษุณีผู้ล่วงธรรมถึงปาราชิก รู้อยู่ ว่าสตรีเป็นนางโจร

อันชนทั้งหลายรู้ว่าต้องโทษประหาร ไม่บอก รู้อยู่ ไม่บอกก่อน เข้าไปสู่อาราม

ที่มีภิกษุ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 615

[จำแนกสิกขาบท]

บัดนี้ ท่านจะเฉลยปัญหาแรกนี้ว่า สาธารณ อสาธารณ จึงกล่าว

คำว่า วีส เทฺว สตานิ เป็นอาทิ.

บรรดาสิกขาบทที่ทั่วไปและไม่ทั่วไปเหล่านั้น วินิจฉัยในสิกขาบท

ทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปด้วยเหล่าภิกษุณี พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ฉ สงฺฆาทิเสสา ได้แก่ สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท ๑ กาย-

สังสัคคสิกขาบท ๑ ทุฏฐุลลวาจสิกขาบท ๑ อัตตกามปาริจริยสิกขาบท ๑

กุฏิการสิกขาบท ๑ วิหารสิกขาบท ๑.

สองบทว่า เทฺวอนิยเตหิ อฏฺิเม ได้แก่ สิกขาบทเหล่านี้รวม

เป็น ๘ กับอนิยต ๒ สิกขาบท.

สองบทว่า นิสฺสคฺคิยา ทฺวาทส ได้แก่ สิกขาบท ๑๒ เหล่านี้

คือ จีวรโธวนะ ๑ จีวรปฏิคคหะ ๑ โกเสยยะ ๑ สุทธกาฬกะ ๑ เทวภาคะ ๑

ฉัพพัสสะ ๑ นิสีทนสันถัต ๑ โลมสิกขาบท ๒ ปฐมปัตตะ ๑ วัสสิกสาฏิกะ ๑

อารัญญกะ คือ สาสังกะ ๑.

สองบทว่า ทฺวาวีสติ ขุทฺทกา ได้แก่ สิกขา ๒๒ ที่ประกาศแล้วใน

ขุททกกัณฑ์ เหล่านี้ คือ ภิกขุนีวัคค์ทั้งสิ้น ปรัมปาโภชนสิกขาบท อนติ-

ริตตสิกขาบท อภิหัฏฐุปวารณาสิกขาบท ปณีตโภชนาสิกขาบท อเจลกสิกขาบท

โอนวีสติวัสสสิกขาบท ทุฏฐุลลัจฉาทนสิกขาบท มาตุคามสังวิธานสิกขาบท

อนิกขันตราชกสิกขาบท ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ เข้าบ้านในวิกาล นิสีทนสิกขา-

บท วัสสิกสาฏิกสิกขาบท.

วินิจฉัยแม้ในสิกขาบทที่ไม่ทั่วไป ด้วยภิกษุทั้งหลาย พึงทราบดังนี้:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 616

หลายบทว่า สงฺฆมฺหา ทส นิสฺสเร ได้แก่ สิกขาบทที่ตรัสไว้

ในวิภังค์อย่างนี้ว่า ๑๐ สิกขาบท อันสงฆ์พึงขับออกจากหมู่. แต่ ๑๐ สิกขาบท

มาในมาติกาอย่างนี้ว่า สังฆาทิเสสที่ต้องเสีย.

สองบทว่า นิสฺสคฺคิยานิ ทฺวาทส ได้แก่ นิสสัคคีย์ที่ทรงจำแนก

ไว้ในภิกขุนีวิภังค์เท่านั้น.

แม้ขุททกสิกขาบท ก็ได้แก่ ขุททกสิกขาบทที่ทรงจำแนกในภิกษุนี-

วิภังค์นั้นเอง.

ปาฏิเทสนียะ ๘ ก็เหมือนกัน. สิกขา ๑๓๐ ของพวกภิกษุณี ไม่ทั่วไป

ด้วยภิกษุทั้งหลายอย่างนี้.

ในตอนที่แก้สิกขาบทที่ทั่วไปนี้ คำทีเหลือ ตื้นทั้งนั้น.

[กองอาบัติที่ระงับไม่ได้]

บัดนี้ พระอุบาลีเถระ เมื่อจะแก้ปัญหานี้ว่า ก็กองอาบัติเป็นต้น

อันท่านจำแนก ย่อมระงับด้วยสมถะเหล่าใด ? ดังนี้ จึงกล่าวว่า บุคคลผู้

พ่ายแพ้ ๘ พวกแล เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น ท่านแสดงข้อที่บุคคลผู้พ่าย ๘ พวกนั้นเป็นผู้มีภัย

เฉพาะหน้า ด้วยบทว่า ทุราสทา นี้.

จริงอยู่ ผู้พ่ายเหล่านั้น เป็นราวกะงูเห่าเป็นต้น ยากที่จะเข้าใกล้

คือยากที่จะเข้าเคียง ยากที่จะเข้าหา อันบุคคลเกี่ยวข้องอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ตัดรากเหง้า.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 617

บทว่า ตาลวตฺถุสมูปมา มีความว่า เปรียบสมด้วยการถอนต้นตาล

หมดทั้งต้น กระทำให้เป็นสักว่าวัตถุแห่งตาล. ต้นตาลที่บุคคลกระทำให้เป็น

สักว่าวัตถุ เป็นต้นไม้ที่กลับคืนเป็นปกติอีกไม่ได้ฉันใด บุคคลผู้พ่าย ๘ พวก

นั้น ย่อมเป็นผู้กลับคืนอย่างเดิมอีกไม่ได้ฉันนั้น.

พระอุบาลีเถระ ครั้นแสดงอุปมาที่ทั่วไปอย่างนี้แล้ว จะแสดงอุปมา

ซึ่งกล่าวเฉพาะสำหรับผู้หนึ่ง ๆ อีก จึงกล่าวว่า เปรียบเหมือนใบไม้เหลือง

เป็นอาทิ.

บาทคาถาว่า อวิรูฬฺหิ ภวนิติ เต มีความว่า ใบไม้เหลืองเป็นอาทิ

เหล่านั่น เป็นของมีอันไม่งอกงาม โดยความเป็นของเขียวสดอีกเป็นต้น เป็น

ธรรมดาฉันใด, แม้บุคคลผู้พ่ายทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่งอกงามโดย

ความเป็นผู้มีศีลตามปกติอีกเป็นธรรมดา.

ในคำว่า ก็กองอาบัติเป็นต้น อันท่านจำแนก ย่อมระงับด้วยสมถะ

เหล่าใดนี้ คำอย่างนี้ว่า กองอาบัติเป็นต้น อันท่านจำแนก คือ ปาราชิก ๘

เหล่านี้ก่อน ย่อมไม่ระงับด้วยสมถะเหล่าใด ๆ เป็นอันแสดงแล้ว ด้วยคำมี

ประมาณเท่านี้.

[กองอาบัติที่ระงับได้]

ส่วนคำว่า เตวีส สงฺฆาทิเสสา เป็นอาทิ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อ

แสดงอาบัติเครื่องจำแนกเป็นต้นที่ระงับได้.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ตีหิ สมเถหิ นี้ เป็นคำกล่าวครอบ

สมถะทั้งหมด.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 618

จริงอยู่ สังฆาทิเสส ย่อมระงับด้วยสมถะ ๒ เท่านั้น, หาระงับด้วย

ติณวัตถารกสมถะไม่, ที่เหลือย่อมระงับด้วยสมถะทั้ง ๓.

คำว่า เทฺว อุโปสถา เทฺว ปวารณา นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจ

ภิกษุและภิกษุณี, จริงอยู่ คำนั่นท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจแสดงสักว่าส่วน

อันท่านจำแนกเท่านั้น หาได้กล่าวด้วยอำนาจการระงับด้วยสมถะทั้งหลายไม่.

จริงอยู่ ส่วนอันท่านจำแนก อธิบายว่า ส่วนที่ควรแจกออก ๔ แม้

เหล่านี้ คือ ภิกขุอุโบสถ ภิกขุณีอุโบสถ ภิกขุปวารณา ภิกขุณีปวารณา.

สองบทว่า จตฺตาริ กมฺมานิ ได้แก่ อุโบสถกรรม มีที่เป็นวรรค

โดยอธรรมเป็นอาทิ.

หลายบทว่า ปญฺเจว อุทฺเทสา จตุโร ภวนฺติ อนญฺถา มี

ความว่า อุทเทสของภิกษุมี ๕ ของภิกษุณีมี ๔ โดยประการอื่น ไม่มี.

พึงทราบส่วนจำแนกแม้อื่นอีกเหล่านี้ คือ กองอาบัติมี ๗ อธิกรณ์

มี ๔, ก็ส่วนจำแนกเหล่านี้ ย่อมระงับด้วยสมถะทั้งหลาย, เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวคำว่า สตฺตหิ สมเถหิ เป็นอาทิ.

อีกประการหนึ่ง อาบัติเหล่าใด อาศัยส่วนจำแนกแม้เหล่านี้แล คือ

อุโบสถ ๒ ปวารณา ๒ กรรม ๔ อุทเทส ๕ อุทเทส ๔ มี, อุทเทสโดย

ประการอื่น ไม่มี, เกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า นสฺสนฺเต เต วันสฺสนฺเต เต,

อาบัติเหล่านั้น ย่อมระงับด้วยสมถะทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วนั่นแล,

เพราะเหตุนั้น ส่วนจำแนกเหล่านั้น อันบัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวแล้ว

เพื่อแสดงความระงับอาบัติทั้งหลายที่มีส่วนจำแนกนั้นเป็นมูลบ้าง.

สองบทว่า กิจฺจ เอเกน มีความว่า กิจจาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วย

สมถะเดียว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 619

[วิเคราะห์ปาราชิก]

พระอุบาลี ครั้นแก้ปัญหาทั้งปวงตามลำดับแห่งคำถามอย่างนี้แล้ว

บัดนี้ จะแสดงเพียงคำอธิบายเฉพาะอย่าง แห่งกองอาบัติที่ประมวลไว้ในคำว่า

อาปตฺติกฺขนฺธา จ ภวนฺติ สตฺต จึงกล่าวคำว่า ปาราชิก เป็นอาทิ.

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาที่ ๑ ว่า ปาราชิก เป็นต้น มีเนื้อความ

ดังต่อไปนี้:-

บรรดาบุคคลปาราชิก อาบัติปาราชิก และสิกขาบทปาราชิก ชื่ออาบัติ

ปาราชิกนี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว, บุคคลผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้น

ย่อมเป็นผู้พ่าย คือ ถึงความแพ้ เป็นผู้เคลื่อน ผิด ตก อันความละเมิดทำ

ให้ห่างจากสัทธรรม. เมื่อบุคคลนั้นไม่ถูกขับออก (จากหมู่) ก็ไม่มีสังวาส

ต่างโดยอุโบสถและปวารณาเป็นต้นอีก. ด้วยเหตุนั้น ปาราชิกนั่น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น คือ เพราะเหตุนั้น อาบัติปาราชิกนั่น พระผู้มี

พระภาคเ จ้าจึงตรัสว่า ปาราชิก.

ก็ในบทว่า ปาราชิก นี้ มีความสังเขปดังนี้:-

บุคคลย่อมเป็นผู้พ่ายด้วยอาบัติปาราชิกนั้น เพราะเหตุนั้น อาบัติ

ปาราชิกนั่น ท่านจึงกล่าวว่า ปาราชิก.

[วิเคราะห์สังฆาทิเสส]

คำว่า สงฺโฆว เทติ ปริวาส เป็นอาทิ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดง

แต่เนื้อความเท่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อพยัญชนะ แม้ในคาถาที่ ๒.

ก็ในบทว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นอาทินี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 620

การออกจากอาบัตินั้นใด ของภิกษุผู้ต้องอาบัตินี้แล้วใคร่จะออก สงฆ์

อันภิกษุนั้นพึงปรารถนา ในกรรมเบื้องต้นแห่งการออกจากอาบัตินั้น เพื่อ

ประโยชน์แก่การให้ปริวาส และในกรรมที่เหลือจากกรรมเบื้องต้น คือใน

ท่ามกลาง เพื่อประโยชน์แก่การให้มานัต หรือเพื่อประโยชน์แก่การให้มานัตต์

กับมูลายปฏิกัสสนะ และในที่สุดเพื่อประโยชน์แก่อัพภาน. ก็ในกรรมทั้งหลาย

มีปริวาสกรรมเป็นต้นนี้ กรรมแม้อย่างหนึ่ง เว้นสงฆ์เสีย อันใคร ๆ ไม่อาจ

ทำได้ ฉะนี้แล.

สงฆ์อันภิกษุพึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้น และในกรรมที่เหลือแห่ง

กองอาบัตินั้น เหตุนั้น กองอาบัตินั้น ชื่อว่าสังฆาทิเสส.

[วิเคราะห์อนิยต]

เนื้อความแห่งคาถาที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า อนิยโต น นิยโต มีความว่า เพราะไม่แน่ กองอาบัตินี้

จึงได้ชื่อว่าอนิยต.

คำที่ว่า ไม่แน่ นี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะสิกขาบทนี้ ปรับอาบัติ

ไม่จำกัดส่วนอันเดียว. อธิบายว่า สิกขาบทนี้ ปรับอาบัติโดยส่วนอันเดียวไม่ได้.

สิกขาบทนี้ ปรับอาบัติโดยส่วนเดียวไม่ได้อย่างไร ? อย่างนี้

บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอันใดอันหนึ่ง อันพระวินัยธรพึงปรับ.

จริงอยู่ ท่านกล่าวไว้ในอนิยตสิกขาบทนั้นว่า ภิกษุนั้น อันพระวินัยธร

พึงปรับด้วยธรรม ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง. เพราะเหตุนั้น กองอาบัตินั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า อนิยต คือ กล่าวว่า ไม่แน่.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 621

เหมือนอย่างว่า บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอันใดอันหนึ่ง ท่านกล่าวใน

กองอาบัตินั้น กองอาบัติ ชื่อว่าอนิยต ฉันใด, บรรดาฐานะ ๒ ฐานะอันใด

อันหนึ่ง ท่านกล่าวในกองอาบัติใด กองอาบัติแม้นั้น ก็ชื่อว่าอนิยตเหมือนกัน

ฉันนั้น.

[วิเคราะห์ถุลลัจจัย]

เนื้อความแห่งคาถาที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-

บาทคาถาว่า อจฺจโย เตน สโม นตฺถิ มีความว่า บรรดาโทษ

ที่เป็นเทสนาคามี โทษที่ล่ำ เสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี ด้วยเหตุนั้น ความ

ละเมิดนั้น ท่านจึงเรียกอย่างนั้น. อธิบายว่า ความละเมิดนั้น ท่านเรียกว่า

ถุลลัจจัย เพราะเป็นโทษล่ำ.

[วิเคราะห์นิสสัคคีย์]

เนื้อความแห่งคาถาที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-

หลายบทว่า นิสฺสชฺชิตฺวา ย เทเสติ เตเนต มีความว่า ความ

ละเมิดนั้น ท่านเรียกนิสสัคคิยะ เพราะต้องสละแล้วจึงแสดง.

[วิเคราะห์ปาจิตตีย์]

เนื้อความคาถาที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-

บาทคาถาว่า ปาเตติ กุสล ธมฺม มีความว่า ความละเมิดนั้น

ยังกุศลจิตกล่าวคือกุศลธรรม ของบุคคลผู้แกล้งต้องให้ตกไป เพราะเหตุนั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 622

ความละเมิดนั้น ชื่อว่ายังจิตให้ตกไป เพราะฉะนั้น ความละเมิดนั้น ชื่อว่า

ปาจิตติยะ.

ก็ปาจิตติยะ ย่อมยังจิตให้ตกไป, ปาจิตติยะนั้น ย่อมผิดต่ออริยมรรค

และย่อมเป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต. เพราะเหตุนั้น คำว่า ผิดต่อ

อริยมรรค และคำว่า เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต ท่านจึงกล่าวแล้ว.

[วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ]

ในปาฏิเทสนียคาถาทั้งหลาย คำว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่มีญาติ เป็นอาทิ

ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงความกระทำความเป็นธรรมที่น่าติ ซึ่งพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ. ก็อาบัตินั้น ท่านเรียกว่า

ปาฏิเทสนียะ เพราะจะต้องแสดงคืน.

[วิเคราะห์ทุกกฏ]

เนื้อความแห่งทุกกฏคาถา พึงทราบดังนี้:-

คำว่า ผิด แย้ง พลาด นี้ทั้งหมด เป็นคำยักเรียก ทุกกฏที่กล่าว

ไว้ในคำนี้ว่า ยญฺจ ทุกฺกฏ.

จริงอยู่ กรรมใด อันบุคคลทำไม่ดี หรือทำผิดรูป กรรมนั้น ชื่อว่า

ทุกกฏ. ก็ทุกกฏนั้นแล ชื่อว่าผิด เพราะเหตุที่ไม่ทำตามประการที่พระศาสดา

ตรัส ชื่อว่าแย้ง เพราะเป็นไปแย้งกุศล ชื่อว่าพลาด เพราะไม่ย่างขึ้นสู่ข้อ

ปฏิบัติในอริยมรรค.

ส่วนคำว่า ย มนุสฺโส กเร นี้ แสดงข้อควรเปรียบในทุกกฏนี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 623

เนื้อความแห่งคำนั้นว่า มนุษย์ในโลก ทำบาปใด ในที่แจ้งหรือใน

ที่ลับ, บัณฑิตทั้งหลายประกาศบาปนั้นว่า ทุกกฏ ฉันใด, ทุกกฏแม้นี้ ก็ฉันนั้น

ชื่อว่าบาป เพราะเป็นกรรมลามก อันพระพุทธเจ้าทรงเกลียด เพราะเหตุนั้น

พึงทราบว่า ทุกกฏ.

[วิเคราะห์ทุพภาสิต]

เนื้อความแห่งทุพภาสิตคาถา พึงทราบดังนี้:-

บาทคาถาว่า ทุพภาสิต ทุราภฏฺ มีความว่า บทใดอันภิกษุกล่าว

คือพูด เจรจาชั่ว เหตุนั้น บทนั้น ชื่อว่าอันภิกษุกล่าวชั่ว: อธิบายว่า บทใด

อันภิกษุกล่าวชั่ว บทนั้น เป็นทุพภาสิต.

มีคำที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งน้อยหนึ่ง; ความว่า อนึ่ง บทใด เศร้าหมอง

บทนั้น เป็นบทเศร้าหมอง เพราะเหตุใด; อนึ่ง วิญญูชนทั้งหลาย ย่อมติ

เพราะเหตุใด; อธิบายว่า ท่านผู้รู้แจ้งทั้งหลาย ติบทนั้น เพราะเหตุใด.

บาทคาถาว่า เตเนต อิติ วุจฺจติ มีความว่า เพราะความเป็นบท

เศร้าหมอง และแม้เพราะความติแห่งวิญญูชนนั้น บทนั้น ท่านย่อมกล่าว

อย่างนั้น คือ บทนั้น ท่านกล่าวว่า ทุพฺภาสิต.

[วิเคราะห์เสขิยะ]

เนื้อความแห่งเสขิยคาถา พึงทราบดังนี้:-

พระอุบาลีเถระ แสดงความที่พระเสขะมี โดยนัยมีคำว่า อาทิ เจต

จรณญฺจ เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ในบทว่า เสขิย นี้ จึงมีเนื้อความสังเขป

ดังนี้ว่า นี้เป็นข้อควรศึกษาของพระเสขะ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 624

คำว่า ปาราชิกนฺต ย วุตฺต เป็นอาทินี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าว

เพื่อแสดงเนื้อความ ที่มิได้สงเคราะห์ด้วยปัญหาที่ว่า ครุกลหุกญฺจาปิ เป็นต้น

แต่สงเคราะห์ด้วยคำอ้อนวอนนี้ว่า หนฺท วากฺย สุโณม เต (เอาเถิด

เราจะฟังคำของท่าน).

[อุปมาแห่งอาบัติอนาบัติ]

แม้ในบทว่า ฉนฺนมติวสฺสติ เป็นต้น ก็นัยนี้แล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺนมติวสฺสติ มีความว่า เรือนที่มิได้

มุงด้วยเครื่องมุงมีหญ้าเป็นต้น ย่อมเปียกก่อน. แต่เรือนกล่าวคืออาบัตินี้ อัน

ภิกษุปิดไว้แล้ว ย่อมเปียก.

จริงอยู่ ภิกษุเมื่อปิดอาบัติแรกไว้ ย่อมต้องอาบัติอื่นใหม่.

สองบทว่า วิวฏฺ นาติวสฺสติ มีความว่า เรือนที่ไม่เปิด คือมุงดี

แล้ว ย่อมไม่เปียกฝนก่อน. แต่เรือนกล่าวคืออนาบัตินี้ อันภิกษุเปิดแล้ว

ย่อมไม่เปียก.

จริงอยู่ ภิกษุเมื่อเปิดเผยอาบัติแรก แสดงอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี

เสีย ออกจากอาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินีเสีย ย่อมประดิษฐานในส่วนหมดจด.

เมื่อสำรวมต่อไป ย่อมไม่ต้องอาบัติอื่น.

บาทคาถาว่า ตสฺมา ฉนฺน วิวเรถ มีความว่า เพราะเหตุนั้น

เมื่อแสดงอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี และออกจากอาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินี ชื่อว่า

เปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 625

บาทคาถาว่า เอวนฺต นาติวสฺสติ มีความว่า ก็เรือนกล่าวคืออาบัติ

นั่น อันภิกษุเปิดเผยแล้วอย่างนั้น ย่อมไม่เปียก.

บาทคาถาว่า คติ มิคาน ปวน มีความว่า ป่าใหญ่ คือป่าที่

หนาแน่นด้วยต้นไม้เป็นต้น เป็นคติ คือเป็นที่พึ่งของมฤคทั้งหลายผู้อันพาล

มฤคมีเสือโคร่งเป็นอาทิให้ล้มในกลางแจ้ง. มฤคเหล่านั้น ถึงป่านั้นแล้ว ย่อม

โล่งใจ. โดยนัยนี้แล อากาศเป็นทางไปของเหล่าปักษี, ความเสื่อมเป็นคติ

ของธรรมทั้งหลาย คือว่า ความพินาศเป็นทางของสังขตอรรมแม้ทั้งปวง

เพราะอรรถว่าต้องถึงเข้าเป็นแน่.

จริงอยู่ สังขตธรรมเหล่านั้น จะไม่ถึงความพินาศ สามารถทนอยู่

หามิได้. ส่วนนิพพานดำรงอยู่แม้นาน เป็นคติของพระอรหันต์ อธิบายว่า

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นทางไปด้านเดียวของพระอรหันตขีณาสพ.

ปฐมคาถาสังคณิก วัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 626

อธิกรณเภท

ว่าด้วยอธิกรณ์ ๔ อย่างเป็นต้น

[๑,๐๔๖] อธิกรณ์มี ๔ อย่าง คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑

อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑ นี้อธิกรณ์ ๔

ถามว่าการฟื้นอธิกรณ์ ๔ นี้ มีเท่าไร

ตอบว่า การฟื้นอธิกรณ์ ๔ นี้มี ๑๐ คือ ฟื้นวิวาทาธิกรณ์มี ๒ ฟื้น

อนุวาทากรณ์มี ๔ ฟื้นอาปัตตาธิกรณ์มี ๓ ฟื้นกิจจาธิกรณ์มี ๑ การฟื้น

อธิกรณ์ ๔ นี้รวมมี ๑๐

ถ. เมื่อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์

ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อฟื้น

กิจจาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร

ต. เมื่อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะ ๒ อย่าง เมื่อฟื้นอนุวาทา-

ธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะ ๔ อย่าง เมื่อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะ ๓ อย่าง

เมื่อฟื้นกิจจาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะอย่างเดียว.

ว่าด้วยฟื้นอธิกรณ์เป็นต้น

[๑,๐๔๗] ถามว่า การฟื้นมีเท่าไร ด้วยอาการเท่าไร จึงนับว่าฟื้น

บุคคลประกอบด้วยองค์เท่าไร ชื่อว่าฟื้นอธิกรณ์ บุคคลกี่พวก เมื่อฟื้นอธิกรณ์

ต้องอาบัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 627

ตอบว่า การฟื้นมี ๑๒ ด้วยอาการ ๑๐ จึงนับว่าฟื้น บุคคลประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ชื่อว่าฟื้นอธิกรณ์ บุคคล ๔ จำพวก เมื่อฟื้นอธิกรณ์ต้องอาบัติ

การฟื้น ๑๒ อย่าง เป็นไฉน คือ ฟื้นกรรมที่ยังไม่ได้ทำ ๑ กรรม

ที่ทำแล้วไม่ดี ๑ กรรมที่ต้องทำใหม่ ๑ กรรมที่ยังทำไม่เสร็จ ๑ กรรมที่ทำ

เสร็จแล้วไม่ดี ๑ กรรมที่ต้องทำอีก ๑ กรรมที่ยังไม่ได้วินิจฉัย ๑ กรรมที่

วินิจฉัยไม่ถูกต้อง ๑ กรรมที่ต้องวินิจฉัยใหม่ ๑ กรรมที่ยังไม่ระงับ ๑ กรรม

ที่ระงับแล้วไม่ดี ๑ กรรมที่ต้องระงับใหม่ ๑ นี้การฟื้น ๑๒ อย่าง

ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นไฉน จึงนับว่าฟื้น คือ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่ง

เกิดในที่นั้น ๑ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่งเกิดในที่นั้นแต่ระงับแล้ว ๑ ฟื้นอธิกรณ์ในระ-

หว่างทาง ๑ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่งไปแล้วในระหว่างทาง ๑ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่งไปแล้ว

ในที่นั้น ๑ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่งไปแล้วในที่นั้นแต่ระงับแล้ว ๑ ฟื้นสติวินัย ๑ ฟื้น

อมูฬหวินัย ๑ ฟื้นตัสสปาปิยสิกา ๑ ฟื้นติณวัตถารกะ ๑ ด้วยอาการ ๑๐ นี้

จึงนับว่าฟื้น

บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นไฉน ชื่อว่าฟื้นอธิกรณ์ คือ บุคคล

ถึงฉันทาคติฟื้นอธิกรณ์ ๑ ถึงโทสาคติฟื้นอธิกรณ์ ๑ ถึงโมหาคติฟื้นอธิกรณ์ ๑

ถึงภยาคติฟื้นอธิกรณ์ ๑ บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ นี้ ชื่อว่าฟื้นอธิกรณ์

บุคคล ๔ จำพวกเป็นไฉน เมื่อฟื้นอธิกรณ์ต้องอาบัติ คือ

ภิกษุผู้อุปสมบทในวันนั้น ฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ฟื้น

ภิกษุอาคันตุกะ ฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ฟื้น

ภิกษุผู้ทำ ฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ฟื้น

ภิกษุผู้ทำให้ฉันทะ ฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ฟื้น

รวมบุคคล ๔ จำพวกฟื้นอธิกรณ์ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 628

ว่าด้วยนิทานแห่งอธิกรณ์ ๔ เป็นต้น

[๑,๐๔๘] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็น

สมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็น

สมุฏฐาน

อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ มีวิวาทเป็นนิทาน มีวิวาทเป็นสมุทัย มี

วิวาทเป็นชาติ มีวิวาทเป็นแดนเกิดก่อน มีวิวาทเป็นองค์ มีวิวาทเป็นสมุฏฐาน

อนุวาทาธิกรณ์ มีอนุวาทเป็นนิทาน มีอนุวาทเป็นสมุทัย มีอนุวาท

เป็นชาติ มีอนุวาทแดนเกิดก่อน มีอนุวาทเป็นองค์ มีอนุวาทเป็นสมุฏฐาน

อาปัตตาธิกรณ์ มีอาบัติเป็นนิทาน มีอาบัติเป็นสมุทัย มีอาบัติเป็น

ชาติ มีอาบัติเป็นแดนเกิดก่อน มีอาบัติเป็นองค์ มีอาบัติเป็นสมุฏฐาน

กิจจาธิกรณ์ มีกิจเป็นนิทาน มีกิจเป็นสมุทัย มีกิจเป็นชาติ มีกิจ

เป็นแดนเกิดก่อน มีกิจเป็นองค์ มีกิจเป็นสมุฏฐาน

ถ. วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น

ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 629

อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น

ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น

ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ต. วิวาทาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ

มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

อนุวาทาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ

มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

อาปัตตาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ

มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

กิจจาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มี

เหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

ถ. วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น

ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น

ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 630

กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ต. วิวาทาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น

ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนก่อนเกิด มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

อนุวาทาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น

ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

อาปัตตาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น

ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

กิจจาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ

มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน.

ว่าด้วยมูลอธิกรณ์เป็นต้น

[๑,๐๔๙] ถามว่า อธิกรณ์ ๔ มีมูลเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร

ตอบว่า อธิกรณ์ ๔ มีมูล ๓๓ มีสมุฏฐาน ๓๓

ถ. อธิกรณ์ ๔ มีมูล ๓๓ เป็นไฉน

ต. วิวาทาธิกรณ์ มีมูล ๑๒ อนุวาทาธิกรณ์ มีมูล ๑๔ อาปัตตา-

ธิกรณ์ มีมูล ๖ กิจจาธิกรณ์ มีมูล ๑ คือ สงฆ์

รวมอธิกรณ์ ๔ มีมูล ๓๓

ถ. อธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓ เป็นไฉน

ต. วิวาทาธิกรณ์ มีเรื่องทำความแตกกัน ๑๘ เป็นสมุฏฐาน อนุ-

วาทาธิกรณ์ มีวิบัติ ๔ เป็นสมุฏฐาน อาปัตตาธิกรณ์ มีกองอาบัติ ๗ เป็น

สมุฏฐาน กิจจาธิกรณ์ มีกรรม ๔ เป็นสมุฏฐาน รวมอธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 631

ว่าด้วยวิวาทาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติเป็นต้น

[๑,๐๕๐] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติ หรือมิใช่อาบัติ

ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ มิใช่อาบัติ

ถ. ก็เพราะวิวาทาธิกรณ์ เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ หรือ

ต. ถูกแล้ว เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ

ถ. เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร

ต. เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๒ ตัว คือ ด่า

อุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ ด่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เพราะ

วิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๒ ตัวนี้

ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติอะไร บรรดาวิบัติ ๔ เป็นอธิกรณ์อะไร

บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ เกิด

ด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ใน

ฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร

ต. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๑ บรรดาวิบัติ ๔ คือ อาจารวิบัติ

เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๒ บรรดา

กองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ ระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ

กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ๑ ท่ามกลางคณะ ๑

สำนักบุคคล ๑ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย

ปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 632

ว่าด้วยอนุวาทาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติเป็นต้น

[๑,๐๕๑] ถามว่า อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติ

ตอบว่า อนุวาทาธิกรณ์ มิใช่อาบัติ

ถ. ก็เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ หรือ

ต. ถูกแล้ว เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ

ถ. เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร

ต. เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ ตัว คือ ตาม

กำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตาม

กำจัดด้วยสังฆาทิเสสอันไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ ตามกำจัดด้วยอาจาร-

วิบัติไม่มีมูล ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้อง

อาบัติ ๓ ตัวนี้

ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ จัดเป็นอธิกรณ์

อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗

เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร

ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร

ต. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางที

เป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๓ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติ

สังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ อาบัติหนักระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ

กิจจาธิกรณ์ ระงับในฐานะ ๑ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 633

สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญาตกรณะ ๑ อาบัติเบาระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ

กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ๑ ท่ามกลางคณะ ๑

สำนักบุคคล ๑ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย

ปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

ว่าด้วยอาปัตตาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติเป็นต้น

[๑,๐๕๒] ถามว่า อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติ

ตอบว่า อาปัตตาธิกรณ์ มิใช่อาบัติ

ถ. ก็เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ หรือ

ต. ถูกแล้ว เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ

ถ. เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร

ต. เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๔ ตัว คือ

ภิกษุณีรู้อยู่ ปกปิดปาราชิกธรรมอันภิกษุณีต้องแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก ๑

สงสัยปกปิดไว้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ๑ ปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็น

ปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ ตัวนี้

ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ จัดเป็นอธิกรณ์

อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗

เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ใน

ฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 634

ต. อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็น

ศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๔ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติ

ปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางที

ด้วยกองอาบัติทุกกฏ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ

เกิดแต่กาย วาจา และจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ระงับด้วยอธิกรณ์อะไรไม่ได้

ระงับในฐานะอะไรไม่ได้ ระงับด้วยสมถะอะไรไม่ได้ อาบัติเบา ระงับด้วย

อธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ระงับในฐานะ ๓ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ๑ ท่ามกลาง

คณะ ๑ สำนักบุคคล ๑ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑

ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

ว่าด้วยกิจจาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติเป็นต้น

[๑,๐๕๓] ถามว่า กิจจาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติ

ตอบว่า กิจจาธิกรณ์ มิใช่อาบัติ

ถ. ก็เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ หรือ

ต. ถูกแล้ว เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ

ถ. เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร่

ต. เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๕ ตัว คือ ภิกษุณี

ที่ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกยกวัตร ไม่สละเพราะสวดประกาศครบ ๓ จบ จบญัตติ

เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด

ต้องอาบัติปาราชิก ๑ ภิกษุพระพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่สละเพราะสวด

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 635

ประกาศครบ ๓ จบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ภิกษุไม่สละทิฏฐิลามกเพราะ

สวดประกาศครบ ๓ จบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย

ต้องอาบัติ ๕ ตัวนี้

ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ จัดเป็นอธิกรณ์

อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗

เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร

ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร

ต. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็น

ศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔

สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๕ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติ-

ปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางที

ด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ บรรดา

สมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต อาบัติทีไม่มีส่วนเหลือ

ระงับด้วยอธิกรณ์อะไรไม่ได้ ระงับในฐานะอะไรไม่ได้ ระงับด้วยสมถะอะไร

ไม่ได้ อาบัติหนัก ระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับในฐานะ ๑

คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑

อาบัติเบา ระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ

ท่ามกลางสงฆ์ ๑ ท่ามกลางคณะ ๑ สำนักบุคคล ๑ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ

บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับ

ติณวัตถารกะ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 636

อธิบายวิวาทาธิกรณ์

[๑,๐๕๔] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ มีอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์

กิจจาธิกรณ์ ไหม

ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ ไม่มีอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจา-

ธิกรณ์ แต่เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์

กิจจาธิกรณ์ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือน ภิกษุทั้งหลายใน

พระธรรมวินัยนี้ วิวาทกันว่า

นี้ เป็นธรรม นี้ ไม่เป็นธรรม

นี้ เป็นวินัย นี้ ไม่เป็นวินัย

นี้ พระตถาคตตรัสภาษิตไว้ นี้ พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิตไว้

นี้ พระตถาคตทรงประพฤติมา นี้ พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา

นี้ พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้ พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้

นี้ เป็นอาบัติ นี้ ไม่เป็นอาบัติ

นี้ เป็นอาบัติเบา นี้ เป็นอาบัติหนัก

นี้ เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้ เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

นี้ เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้ เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าว

ต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่น

ในเรื่องนั้น อันใด นี้ เรียกว่าวิวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในวิวาทาธิกรณ์

จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท

ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็น

กิจจาธิกรณ์ เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์

กิจจาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 637

อธิบายอนุวาทาธิกรณ์

[๑,๐๕๕] ถามว่า อนุวาทาธิกรณ์ มีอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์

วิวาทาธิกรณ์ ไหม

ตอบว่า อนุวาทาธิกรณ์ ไม่มีอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทา-

ธิกรณ์ แต่เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์

วิวาทากรณ์ ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนภิกษุทั้งหลายใน

พระธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ

การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม

การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้น อันใด นี้ เรียกว่า

อนุวาทาธิกรณ์

สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาท

ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตา-

ธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะอนุวาทาธิกรณ์

เป็นปัจจัย อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้.

อธิบายอาปัตตาธิกรณ์

[๑,๐๕๖] ถามว่า อาปัตตาธิกรณ์ มีกิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์

อนุวาทาธิกรณ์ ไหม

ตอบว่า อาปัตตาธิกรณ์ ไม่มี กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวา-

ทาธิกรณ์ แต่เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์

อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือน กองอาบัติทั้ง ๕

ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ กองอาบัติทั้ง ๗ ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 638

สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอาปัตตาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาท

ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตา-

ธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะอาปัตตาธิกรณ์

เป็นปัจจัย กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้.

อธิบายกิจจาธิกรณ์

[๑,๐๕๗] ถามว่า กิจจาธิกรณ์ มีวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์

อาปัตตาธิกรณ์ ไหม

ตอบว่า กิจจาธิกรณ์ ไม่มีวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตา-

ธิกรณ์ แต่เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์

อาปัตตาธิกรณ์ ย่อมมิได้ เปรียบเหมืออะไร เปรียบเหมือนความมีแห่งกิจ

ความมีแห่งกรณียะ ของสงฆ์อันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติ-

ทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่ากิจจาธิกรณ์

สงฆ์ย่อมวิวาทกันในกิจจาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาท

ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตา-

ธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะกิจจาธิกรณ์

เป็นปัจจัย วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้.

อธิบายสมถะ

[๑,๐๕๘] สติวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีใน

ที่ใด สติวินัยมีในที่นั้น อมูฬพวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 639

วินัยมีในที่ใด อมูฬหวินัยมีในที่นั้น ปฏิญญาตกรณะมีในที่ใด สัมมุขาวินัย

มีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ปฏิญญาตกรณะมีในที่นั้น เยภุยยสิกามีใน

ที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด เยภุยยสิกามีในที่นั้น

ตัสสปาปิยสิกามีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ตัสส-

ปาปิยสิกามีในที่นั้น ติณวัตถารกะมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัย

มีในทีใด ติณวัตถารกะมีในที่นั้น.

อธิกรณ์ระงับ

[๑,๐๕๙] สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย กับสติวินัย สมัย

นั้นสติวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด สติวินัยมี

ในที่นั้น แต่ในที่นั้น ไม่มีอมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสส-

ปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย กับอมูฬหวินัย . . .

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวนัย กับปฏิญญาตกรณะ. . .

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย กับเยภุยยสิกา. . .

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย กับตัสสปาปิยสิกา. . .

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย กับติณวัตถารกะ สมัยนั้น

ติณวัตถารกะมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัย มีในที่ใด ติณวัต-

ถารกะมีในที่นั้น แต่ในที่นั้นไม่มีสติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุ-

ยยสิกา และตัสสปาปิยสิกา.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 640

ว่าด้วยสมถะรวมกัน

[๑,๐๖๐] ถามว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี

รวมกันหรือแยกกัน และนักปราชญ์ พึงได้เพื่อยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้

ทำให้ต่างกัน หรือ

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี. . .

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี. . .

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี. . .

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี. . .

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี รวมกันหรือ

แยกกันและนักปราชญ์ พึงได้เพื่อยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ทำให้ต่างกัน หรือ

ตอบว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี รวมกันไม่

แยกกัน และนักปราชญ์ไม่ได้เพื่อยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ ทำให้ต่างกัน

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี. . .

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี. . .

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี. . .

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี. . .

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี รวมกันไม่แยก

กัน และนักปราชญ์ไม่ได้เพื่อยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ ท่าให้ต่างกัน.

ว่าด้วยนิทานเป็นต้นแห่งสมถะ ๗

[๑,๐๖๑] ถามว่า สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย

มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 641

สติวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มี

อะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ปฏิญญาตกรณะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

เยภุยยสิกา มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มี

อะไรเป็นแดนเกิดก่อน อะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ตอบว่า สัมมุขาวินัย มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทาน

เป็นชาติ มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

สติวินัย มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ

มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

อมูฬหวินัย มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ

มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

ปฏิญญาตกรณะ มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็น

ชาติ มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 642

เยภุยยสิกา มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ

มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

ติสสปาปิยสิกา มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็น

ชาติ มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

ติณวัตถารกะ มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็น

ชาติ มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

ถ. สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น

ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

สติวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร

เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นเเดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ปฏิญญาตกรณะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น

ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

เยภุยยสิกา มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มี

อะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ติณวิตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

อะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 643

ต. สัมมุขาวินัย มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ

มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุสมุฏฐาน

สติวินัย มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุ

เป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

อมูฬหวินัย มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มี

เหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

ปฏิญญาตกรณะ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ

มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

เยภุยยสิกา มีเหตุเป็นนิทาน เหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุ

เป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

ตัสสปาปิยสิกา มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ

มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

ติณวัตถารกะ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มี

เหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

ถ. สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น

ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

สติวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มี

อะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 644

ปฏิญญาตกรณะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น

ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

เยภุยยสิกา มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ต. สัมมุขาวินัย มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น

ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

สติวินัย มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มี

ปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

อมูฬหวินัย มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ

มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

ปฏิญญาตกรณะ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น

ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

เยภุยยสิกา มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ

มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

ตัสสปาปิยสิกา มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น

ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

ติณวัตถารนะ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น

ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 645

ว่าด้วยมูลและสมุฏฐานแห่งสมถะ

[๑,๐๖๒] ถามว่า สมถะ ๗ มีมูลเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร

ตอบว่า สมถะ ๗ มีมูล ๒๖ มีสมุฏฐาน ๓๖

ถ. สมถะ ๗ มีมูล ๒๖ อะไรบ้าง

ต. สัมมุขาวินัยมีมูล ๔ คือ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ๑ ความพร้อมหน้า

ธรรม ๑ ความพร้อมหน้าวินัย ๑ ความพร้อมหน้าบุคคล ๑

สติวินัยมีมูล ๔ อมูฬหวินัยมีมูล ๔. ปฏิญญาตกรณะมีมูล ๒ คือ ผู้

แสดง ๑ ผู้รับแสดง ๑ เยภุยยสิกามีมูล ๔ ตัสสปาปิยสิกามีมูล ๔ ติณวัตถารกะ

มีมูล ๔ คือ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ๑ ความพร้อมหน้าธรรม ๑ ความพร้อม

หน้าวินัย ๑ ความพร้อมหน้าบุคคล ๑

สมถะ ๗ มีมูลรวม ๒๖

ถ. สมถะ ๗ มีสมุฏฐาน ๓๖ อะไรบ้าง

ต. การประกอบ การกระทำ การเข้าถึงเอง การขอร้อง กิริยาที่

ยินยอมไม่คัดค้าน กรรม คือ สติวินัย

การประกอบ การกระทำ การเข้าถึงเอง การขอร้อง กิริยาที่ยินยอม

ไม่คัดค้าน กรรม คือ อมูฬหวินัย.

การประกอบ การกระทำ การเข้าถึงเอง การขอร้อง กิริยาที่ยินยอม

ไม่คัดค้าน กรรม คือ ปฏิญญาตกรณะ

การประกอบ การกระทำ การเข้าถึงเอง การขอร้อง กิริยาที่ยินยอม

ไม่คัดค้าน กรรม คือ เยภุยยสิกา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 646

การประกอบ การกระทำ การเข้าถึงเอง การขอร้อง กิริยาที่ยินยอม

ไม่คัดค้าน กรรม คือ ตัสสปาปิยสิกา

การประกอบ การกระทำ การเข้าถึงเอง การขอร้อง กิริยาที่ยินยอม

ไม่คัดค้าน กรรม คือ ติณวัตถารกะ

สมถะ ๗ มีสมุฏฐานรวม ๓๖.

ว่าด้วยอรรถต่างกันเป็นต้น

[๑,๐๖๓] ถามว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี

มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกันหรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี มีอรรถต่างกัน

มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี มีอรรถต่าง

กัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี มีอรรถต่างกัน มี

พยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี มีอรรถต่างกัน

มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ

ธรรมเหล่านี้ คือ สันมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี มีอรรถต่างกัน

มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ

ตอบว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี มีอรรถและ

พยัญชนะต่างกัน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 647

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี มีอรรถและ

พยัญชนะต่างกัน

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี มีอรรถและ

พยัญชนะต่างกัน

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี มีอรรถและ

พยัญชนะต่างกัน

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี มีอรรถและ

พยัญชนะต่างกัน

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี มีอรรถและ

พยัญชนะต่างกัน.

ว่าด้วยวิวาทาธิการณ์

[๑,๐๖๔ ] วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่

เป็นวิวาท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย บางทีวิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์

บางทีวิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ บางทีอธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท บางทีเป็นอธิกรณ์ด้วย

เป็นวิวาทด้วย

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์

ภิกษุทั้งหลายไม่พระธรรมวินัยนี้ วิวาทกันว่า

นี้ เป็นธรรม นี้ ไม่เป็นธรรม

นี้ เป็นวินัย นี้ ไม่เป็นวินัย

นี้ พระตถาคตตรัสภาษิตไว้ นี้ พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิตไว้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 648

นี้ พระตถาคตทรงประพฤติมา นี้ พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา

นี้ พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้ พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้

นี้ เป็นอาบัติ นี้ ไม่เป็นอาบัติ

นี้ เป็นอาบัติเบา นี้ เป็นอาบัติหนัก

นี้ เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้ เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

นี้ เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้ เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าว

ต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่น

ในเรื่องนั้นอันใด นี้วิวาท เป็นวิวาทาธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร วิวาท ไม่เป็นอธิกรณ์

มารดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตรทะเลาะกับมารดาบ้าง

บิดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตรทะเลาะกับบิดาบ้าง

พี่ชายทะเลาะกับน้องชายบ้าง พี่ชายทะเลาะกับน้องหญิงบ้าง

น้องหญิงทะเลาะกับพี่ชายบ้าง เพื่อนทะเลาะกับเพื่อนบ้าง

นี้วิวาท ไม่เป็นอธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อธิกรณ์ ไม่เป็นวิวาท

อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ นี้อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย วิวาทา-

ธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 649

ว่าด้วยอนุวาทาธิกรณ์

[๑,๐๖๕] การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ การโจทไม่เป็นอธิกรณ์

อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย บางทีการโจท

เป็นอนุวาทาธิกรณ์ บางทีการโจท ไม่เป็นอธิกรณ์ บางทีอธิกรณ์ไม่เป็น

การโจท บางทีเป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นการโจทด้วย

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์

ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ

อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง

การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่ม

กำลังให้ ในเรื่องนั้นอันใด นี้การโจท เป็นอนุวาทาธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร การโจท ไม่เป็นอธิกรณ์

มารดาฟ้องบุตรบ้าง บุตรฟ้องมารดาบ้าง บิดาฟ้องบุตรบ้าง บุตร

ฟ้องบิดาบ้าง พี่ชายฟ้องน้องชายบ้าง พี่ชายฟ้องน้องหญิงบ้าง น้องหญิงฟ้อง

พี่ชายบ้าง เพื่อนฟ้องเพื่อนบ้าง นี้การโจทไม่เป็นอธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท

อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ นี้อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย อนุ-

วาทาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย.

ว่าด้วยอาปัตตาธิกรณ์

[๑,๐๖๖] อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์

ไม่เป็นอาบัติ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย บางทีอาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 650

บางทีอาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ บางทีอธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ บางทีเป็นอธิกรณ์ด้วย

เป็นอาบัติด้วย

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์

กองอาบัติทั้ง ๕ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ กองอาบัติทั้ง ๗ เป็นอาปัตตา-

ธิกรณ์ นี้อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์

โสดาบัติ สมาบัติ นี้อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ

กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ นี้อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย อาปัตตา-

ธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย.

ว่าด้วยกิจจาธิกรณ์

[๑,๐๖๗] กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ กิจไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ

เป็นกิจด้วย เป็นอธิกรณ์ด้วย บางทีกิจเป็นกิจจาธิกรณ์ บางทีกิจไม่เป็น

อธิกรณ์ บางทีอธิกรณ์ไม่เป็นกิจ บางทีเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย

ในข้อนั้น อย่างไร กิจเป็นกิจจาธิกรณ์

ความมีแห่งกิจ ความมีแห่งกรณียะของสงฆ์อันใด คือ อุปโลกนกรรม

ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้กิจเป็นกิจจาธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร กิจไม่เป็นอธิกรณ์

กิจที่พึงทำแก่พระอาจารย์ กิจที่พึงทำแก่พระอุปัชฌาย์ กิจที่พึงทำแก่

ภิกษุปูนอุปัชฌาย์ กิจที่พึงทำแก่ภิกษุปูนอาจารย์ นี้กิจไม่เป็นอธิกรณ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 651

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ

วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ นี้อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย

กิจจาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย.

อธิกรณเภท จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๐๖๘] อธิกรณ์ ๑ การฟื้น ๑ อาการ ๑ บุคคล ๑ นิทาน ๑

เหตุ ๑ ปัจจัย ๑ มูล ๑ สมุฏฐาน ๑ เป็นอาบัติ ๑ มีอธิกรณ์ ๑ ในที่ใด ๑

แยก นิทาน ๑ เหตุ ๑ ปัจจัย ๑ มูล ๑ สมุฏฐาน ๑ พยัญชนะ ๑ วิวาท ๑

อธิกรณ์ ๑ ตามที่กล่าวนี้ จัดลงในประเภทอธิกรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล.

หัวข้อประจำเรื่อง จบ

อธิกรณเภท วัณณนา

[รื้อสมถะด้วยรื้ออธิกรณ์]

วินิจฉัยในอธิกรณเภท พึงทราบดังนี้:-

พระอุบาลีเถระ ครั้นกล่าวรื้ออธิกรณ์ว่า การรื้อ ๑๐ เหล่านี้แล้ว

ได้กล่าวว่า เมื่อรื้อวิวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อสมถะเท่าไร ? เป็นอาทิ เพื่อแสดง

การรื้อสมถะ เพราะรื้ออธิกรณ์อีก.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 652

ในบทเหล่านั้น หลายบทว่า วิวาทาธิกรณ อุกฺโกเฏนฺโต เทฺว

สมเถ อุกฺโกเฏติ มีความว่า ย่อมรื้อ คือปฏิเสธค้านสมถะ ๒ นี้ คือ

สัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑.

หลายบทว่า อนุวาทาธิกรณ อุกฺโกเฏนฺโต จตฺตาโร มีความว่า

ย่อมรื้อสมถะ ๔ เหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ตัสสปาปิยสิกา.

หลายบทว่า อาปตฺตาธิกรณ อุกฺโกเฏนฺโต ตโย ได้แก่ ย่อมรื้อ

สมถะ ๓ นี้ คือ สัมมุขาวินัย ปฏิญญาตกรณะ ติณวัตถารกะ.

หลายบทว่า กิจฺจาธิกรณ อุกฺโกเฏนฺโต เอก มีความว่า ย่อมรื้อ

สมถะ ๑ นี้ คือ สัมมุขาวินัย.

[การรื้อ ๑๒]

บรรดาการรื้อ ๑๒ ในวาระที่ตอบคำถามว่า การรื้อมีเท่าไร ? เป็นอาทิ

การรื้อ ๓ ก่อน มีอาทิคือ กรรมที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำ ย่อมได้ในอนุวาทาธิกรณ์

ที่ ๒ โดยพิเศษ.

การรื้อสมถะ ๓ มีอาทิคือ อธิกรณ์ที่สงฆ์ยังมิได้ชำระ ย่อมได้ใน

วิวาทาธิกรณ์ที่ต้น.

การรื้อสมถะ ๓ มีอาทิคือ อธิกรณ์ที่สงฆ์ยังมิได้วินิจฉัย ย่อมได้ใน

อาปัตตาธิกรณ์ที่ ๓.

การรื้อ ๓ มีอาทิคือ อธิกรณ์ที่สงฆ์ยังมิได้ระงับ ย่อมได้ในกิจจา-

ธิกรณ์ที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง การรื้อแม้ทั้ง ๑๒ ย่อมได้ในอธิกรณ์แต่ละอย่างแท้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 653

[อาการ ๑๐ แห่งการรื้อ]

หลายบทว่า ตตฺถชาตก อธิกรณ อุกฺโกเฏติ มีความว่า ในวัดใด

มีอธิกรณ์ เพื่อต้องการบริกขารมีบาตรและจีวรเป็นต้นเกิดขึ้น โดยนัยมีอาทิว่า

บาตรของข้าพเจ้า ภิกษุนี้ถือเอาเสีย, จีวรของข้าพเจ้า ภิกษุนี้ถือเอาเสีย, พวก

ภิกษุเจ้าอาวาสประชุมกันในวัดนั้นเอง ไกล่เกลี่ยพวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกแก่ตน

ให้ยินยอมว่า อย่าเลย ผู้มีอายุ แล้วให้อธิกรณ์ระงับ ด้วยวินิจฉัยนอกบาลี

แท้ ๆ. นี้ชื่อว่าอธิกรณ์เกิดในที่นั้น อธิกรณ์นั้นระงับแล้ว เฉพาะด้วยวินิจฉัย

แม้ใด วินิจฉัยแม้นั้น เป็นสมถะอันหนึ่งแท้. เป็นปาจิตตีย์ แม้แก่ภิกษุผู้รื้อ

อธิกรณ์นี้.

สองบทว่า ตตฺถชาตก วูปสนฺต มีความว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลาย

ผู้เจ้าถิ่น ไม่สามารถให้อธิกรณ์นั้นระงับได้ไซร้. ทีนั้น ภิกษุอื่นเป็นพระเถระ

ผู้ทรงวินัยมาถามว่า อาวุโส ทำไมอุโบสถหรือปวารณาในวัดนี้ จึงงดเสีย ?

และเมื่อภิกษุเหล่านั้นเล่าอธิกรณ์นั้นแล้ว จึงวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ด้วยสูตร โดย

ขันธกะและบริวาร ให้ระงับเสีย. อธิกรณ์นี้ ชื่อว่าเกิดในที่นั้นระงับแล้ว.

คงเป็นปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุผู้รื้ออธิกรณ์นั่น.

บทว่า อนฺตรามคฺเค มีความว่า หากว่า ภิกษุผู้เป็นข้าศึกแก่ตน

เหล่านั้นกล่าวว่า เราไม่ยอมตกลงในคำตัดสินของพระเถระนี้ พระเถระนี้

ไม่ฉลาดในวินัย พระเถระทั้งหลาย ผู้ทรงวินัยอยู่ ในบ้านชื่อโน้น เราจักไป

ตัดสินกันที่บ้านนั้น ดั่งนี้ กำลังไปกัน ในระหว่างทางนั่นเอง กำหนดเหตุได้

จึงตกลงกันเสียเอง หรือภิกษุเหล่าอื่น ยังภิกษุเหล่านั้นให้ตกลงกันได้ อธิกรณ์

แม้นี้ เป็นอันระงับแท้. ภิกษุใดรื้ออธิกรณ์ในระหว่างทางที่ระงับอย่างนี้ คง

เป็นปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุนั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 654

สองบทว่า อนฺตรามคฺเค วูปสนฺต มีความว่า อนึ่ง อธิกรณ์

เป็นอันระงับ ด้วยความยินยอมกะกันและกันเอง หรือด้วยการที่ภิกษุผู้เป็น

สภาคกันให้ตกลงกันเสีย หามิได้เลย.

ก็แต่ว่า พระวินัยธรรูปหนึ่งเดินสวนทางมา เห็นแล้วถามว่า ผู้มีอายุ

พวกท่านจะไปไหนกัน ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ไปบ้านชื่อโน้น ด้วยเหตุ

ชื่อนี้ จึงกล่าวว่า อย่าเลยผู้มีอายุ จะมีประโยชน์อะไร ด้วยไปที่นั้น ? แล้ว

ยังอธิกรณ์นั้น ให้ระงับ โดยธรรม โดยวินัย ในที่นั้นเอง นี้ชื่อว่าอธิกรณ์

ระงับในระหว่างทาง. คงเป็นปาจิตตีย์ แม้แก่ภิกษุผู้รื้ออธิกรณ์นั่น.

สองบทว่า ตตฺถ คต มีความว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุเหล่านั้น แม้อัน

พระวินัยธรกล่าวอยู่ว่า อย่าเลย ผู้มีอายุ จะมีประโยชน์อะไรด้วยไปที่นั่น ?

ตอบว่า เราจักไปให้ถึงการตัดสินในที่นั้นเอง ไม่เอื้อเฟื้อถ้อยคำของพระวินัยธร

คงไปจนได้ ครั้นไปแล้ว บอกเนื้อความนั่น แก่พวกภิกษุผู้เป็นสภาคกัน.

สภาคภิกษุทั้งหลายห้ามปรามว่า อย่าเลย ผู้มีอายุ ขึ้นชื่อว่า การประชุมสงฆ์

เป็นการหนักแล้ว ให้พากันนั่งวินิจฉัยให้ตกลงกันในที่นั่นเอง. อธิกรณ์แม้นี้

ย่อมเป็นอันระงับแท้. ภิกษุใดรื้ออธิกรณ์ไปในที่นั้น ซึ่งระงับแล้วอย่างนี้ คง

เป็นปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุนั้น.

หลายบทว่า ตตฺถ คต วูปสนฺต มีความว่า อนึ่ง อธิกรณ์นั้น

เป็นอันระงับ ด้วยกิริยาที่ให้ตกลงกันของสภาคภิกษุทั้งหลายก็หามิได้แล.

ก็แต่ว่า พระวินัยธรทั้งหลาย ให้ระงับอธิกรณ์นั้นซึ่งให้ประชุมสงฆ์

บอกในท่ามกลางสงฆ์ นี้ชื่อว่าอธิกรณ์ไปในที่นั้นระงับแล้ว. คงเป็นปาจิตตีย์

แม้แก่ภิกษุผู้รี้ออธิกรณ์นั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 655

บทว่า สติวินัย มีความว่า เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รื้อสติวินัยอัน

สงฆ์ให้แล้วแก่พระขีณาสพ.

ในอมูฬหวินัย ที่สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุผู้บ้าก็ดี ในตัสสปาปิยสิกาอันสงฆ์

ให้แล้วแก่ภิกษุผู้มีบาปหนาแน่นก็ดี มีนัยเหมือนกัน.

สองบทว่า ติณวตฺถารก อุกฺโกถเฏติ มีความว่า เมื่ออธิกรณ์อัน

สงฆ์ระงับแล้ว ด้วยติณวัตถารกสมถะ ธรรมดาอาบัติ ที่ภิกษุเข้าไปหาภิกษุ

รูปหนึ่งนั่งกระโหย่งประณมมือแสดงเสีย ชื่อว่าย่อมออก.

ก็ภิกษุแม้กล่าวอย่างนี้ว่า ชื่อว่าการออกจากอาบัติ แม้ของภิกษุผู้

หลับอยู่ นี้ใด การออกจากอาบัตินั่น ไม่ชอบใจข้าพเจ้า ดังนี้ ชื่อว่ารื้อติณ-

วัตถารกะ. คงเป็นปาจิตตีย์ แม้แก่ภิกษุนั้น.

[ว่าด้วยองค์ ๔ เป็นเหตุรื้ออธิกรณ์]

หลายบทว่า ฉนฺทาคตึ ฯ เป ฯ คจฺฉนฺโต อธิกรณ อุกฺโกเฏติ

มีความว่า ภิกษุเป็นพระวินัยธร เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม เป็นอาทิ รื้ออธิ-

กรณ์ที่สงฆ์วินิจฉัยเสร็จแล้วในกาลก่อน ด้วยอาการรื้อ ๑๒ อย่าง ๆ ใดอย่าง

หนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่ชนที่รักมีอุปัชฌาย์เป็นต้นของตน ชื่อว่าถึงฉันทาคติ

รื้ออธิกรณ์.

ก็ในภิกษุผู้เป็นข้าศึกกัน ๒ รูป ภิกษุผู้มีอาฆาตในฝ่ายหนึ่งเกิดขึ้นโดย

นัยเป็นต้นว่า เขาได้ประพฤติความฉิบหายแก่เรา เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม

เป็นต้น รื้ออธิกรณ์ที่สงฆ์วินิจฉัยเสร็จแล้วในกาลก่อน ด้วยการรื้อ ๑๒ อย่าง ๆ

ใดอย่างหนึ่ง เพื่อยกความแพ้ให้แก่ภิกษุผู้เป็นข้าศึกนั้น ชื่อว่าถึงโทสาคติ รื้อ

อธิกรณ์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 656

ฝ่ายภิกษุผู้โง่งมงาย เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม เป็นต้น เพราะ

ความที่ตนเป็นคนโง่งมงายนั่นเอง รื้ออธิกรณ์โดยนัยกล่าวแล้วนั้นแล ชื่อว่า

ถึงโมหาคติ รื้ออธิกรณ์

ก็ถ้าว่า ในภิกษุ ๒ รูปผู้เป็นข้าศึกกัน รูปหนึ่งเป็นผู้อิงกรรมที่ไม่

สม่ำเสมอ อิงทิฏฐิและอาศัยผู้มีกำลัง เพราะเป็นผู้อิงกายกรรมเป็นต้น ที่

ไม่สม่ำเสมอ อิงมิจฉาทิฏฐิ คือความยึดถือ และอาศัยภิกษุผู้มีชื่อเสียง มี

พรรคพวกมีกำลัง. เพราะกลัวภิกษุนั้นว่า ผู้นี้จะพึงทำอันตรายแก่ชีวิต หรือ

อันตรายแก่พรหมจรรย์ของเรา เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม เป็นอาทิ รื้ออธิกรณ์

โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่าถึงภยาคติ รื้ออธิกรณ์.

[ว่าด้วยผู้รื้ออธิกรณ์ต้องอาบัติ]

บทว่า ตทหุปสมฺปนฺโน มีความว่า สามเณรรูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาด

เป็นพหุสุตะ เธอเห็นภิกษุทั้งหลายผู้แพ้ในการตัดสินแล้วเป็นผู้ซบเซา จึงถาม

ว่า เหตุไรพวกท่านจึงพากันซบเซา ? ภิกษุเหล่านั้น จึงบอกเหตุนั้นแก่เธอ.

เธอจึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า เอาเถิด ขอรับ ท่านจงอุปสมบทให้ผม

ผมจักยังอธิกรณ์นั้นให้ระงับเอง. ภิกษุเหล่านั้น ยังเธอให้อุปสมบท. เธอ

ตีกลองให้สงฆ์ประชุมกันในวันรุ่งขึ้น. ลำดับนั้น เธออันภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า

สงฆ์ใครให้ประชุม ? จึงตอบว่า ผม ให้ประชุมเพราะเหตุไร ? เมื่อวาน

อธิกรณ์วินิจฉัยไม่ดี ผมจักวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ในวันนี้. ก็เมื่อวานคุณไป

ข้างไหนเสีย ? ผมยังเป็นอนุปสัมบัน ขอรับ แต่วันนี้ผมเป็นอุปสัมบันแล้ว.

เธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวว่า อาวุโส สิกขาบทนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 657

ทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เช่นคุณ ว่า ภิกษุผู้อุปสมบทในวันนั้นรื้อต้อง

อุกโกฏนกปาจิตตีย์ จงไปแสดงอาบัติเสีย. แม้ในอาคันตุกะก็นัยนี้แล.

บทว่า การโก มีความว่า ภิกษุทั้งหลายผู้แพ้ พูดกะภิกษุรูปหนึ่ง

ผู้ไปสู่บริเวณวินิจฉัยอธิกรณ์พร้อมกับสงฆ์ ว่า ทำไมพวกท่านจึงตัดสินอธิกรณ์

อย่างนั้นเล่า ขอรับ ควรตัดสินอย่างนี้ มิใช่หรือ ? ภิกษุนั้นกล่าวว่า เหตุไร

ท่านจึงไม่พูดอย่างนี้เสียก่อนเล่า ? ดังนี้ ชื่อว่ารื้ออธิกรณ์นั้น ภิกษุใดเป็น

ผู้ทำ รื้ออธิกรณ์อย่างนั้น เป็นอุกโกฏนกปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุนั้น.

บทว่า ฉนฺททายโก มีความว่า ภิกษุรูปหนึ่งมอบฉันทะในการ

วินิจฉัยอธิกรณ์แล้ว เห็นพวกภิกษุผู้เป็นสภาคกันแพ้มาเป็นผู้ซบเซาจึงกล่าวว่า

พรุ่งนี้แล ข้าพเจ้าจักตัดสินเอง ให้สงฆ์ประชุมกันแล้ว อันภิกษุทั้งหลาย

กล่าวว่า ให้ประชุมสงฆ์ เพราะเหตุไร ? จึงตอบว่า เมื่อวาน อธิกรณ์ตัด

สินไม่ดี วันนี้ ข้าพเจ้าจักตัดสินอธิกรณ์นั้นเอง. ก็เมื่อวาน ท่านไปไหนเสีย

เล่า ? ข้าพเจ้ามอบฉันทะแล้วนั่งอยู่. เธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวว่า อาวุโส

สิกขาบทนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เช่นท่าน

ว่า ผู้มอบฉันทะ รื้อ ต้องอุกโกฏนกปาจิตตีย์ จงไปแสดงอาบัติเสีย.

[ว่าด้วยนิทานเป็นต้นแห่งอธิกรณ์]

วินิจฉัยในคำว่า วิวาทาธิกรณ กึนิทาน เป็นอาทิพึงทราบดังนี้:-

ชื่อว่ามีอะไรเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า อะไรเป็นเหตุอำนวยแห่ง

อธิกรณ์นั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 658

ชื่อว่ามีอะไรเป็นสมุทัย เพราะอรรถว่า อะไรเป็นเหตุเป็นแดนเกิด

พร้อมแห่งอธิกรณ์นั้น.

ชื่อว่ามีอะไรเป็นชาติ เพราะอรรถว่า อะไรเป็นกำเนิดแห่งอธิกรณ์นั้น.

ชื่อว่ามีอะไรเป็นสมุฏฐาน เพราะอรรถว่า อะไรเป็นแดนเกิดก่อน

อะไรเป็นองค์ อะไรเป็นที่เกิดแห่งอธิกรณ์นั่น.

บทเหล่านี้ทั้งหมด เป็นไวพจน์ของเหตุนั่นเอง.

วินิจฉัยแม้ในคำว่า วิวาทนิทาน เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-

ชื่อว่ามีวิวาทเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า วิวาทกล่าวคือเรื่องก่อความ

แตกกัน ๑๘ ประการ เป็นเหตุอำนวยแห่งวิวาทาธิกรณ์นั่น.

คำว่า วิวาทนิทาน นั่น ท่านกล่าวด้วยอำนาจวิวาทซึ่งอาศัยการ

เถียงกันเกิดขึ้น.

ชื่อว่ามีอนุวาทเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า การโจทเป็นเหตุอำนวย

แห่งอนุวาทาธิกรณ์นั้น.

แม้คำว่า อนุวาทนทาน นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจอนุวาทที่อาศัย

การโจทกันเกิดขึ้น.

ชื่อว่ามีอาบัติเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า อาบัติเป็นเหตุอำนวยแห่ง

อาปัตตาธิกรณ์นั้น.

คำว่า อาปตฺตินิทาน นั่น ท่านกล่าวด้วยอำนาจอาบัติที่อาศัยความ

ด้วยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติ ซึ่งมีอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย.

ชื่อว่ามีกิจเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า กิจ ๔ อย่าง เป็นเหตุอำนวย

แห่งกิจจาธิกรณ์นั้น. อธิบายว่า สังฆกรรม อย่าง เป็นเหตุแห่งกิจจาธิกรณ์

นั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 659

คำว่า กิจฺจยนิทาน นั่น ท่านกล่าวด้วยอำนาจกิจทั้งหลายที่อาศัย

การที่จำต้องทำเกิดขึ้น มีสมนุภาสน์เพียงครั้งที่ ๓ เป็นต้น แก่ภิกษุณีผู้

ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร.

นี้เป็นวาจาประกอบเฉพาะบทเดียว ในฝ่ายวิสัชนาอธิกรณ์ทั้ง ๔.

ทุก ๆ บทพึงประกอบโดยทำนองนี้.

ในวิสัชนามีคำว่า มีเหตุเป็นนิทาน เป็นอาทิ แห่งทุติยปุจฉา พึง

ทราบภาวะแห่งนิทานเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งกุศลเหตุอกุศลเหตุและอัพยากต

เหตุ ๙ หมวด.

ในวิสัชนาแห่งตติยปุจฉา พึงทราบว่าต่างกันแต่สักว่าพยัญชนะ. จริง

อยู่ เหตุนั่นแล ท่านกล่าวว่า ปัจจัย ในตติยปุจฉานี้.

[ว่าด้วยมูลเป็นต้นแห่งอธิกรณ์]

วินิจฉัย ในวาระที่ตอบคำถามถึงมูล พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ทฺวาทส มูลานิ ได้แก่ มูล ๑๒ ซึ่งเป็นไปในภายใน

สันดานเหล่านี้ คือ วิวาทมูล ๖ มีโกรธ ผูกโกรธ และความแข่งดีเป็นอาทิ

โลภะ โทสะ และโมหะ ๓ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ๓.

สองบทว่า จุทฺทส มูลานิ ได้แก่ มูล ๒ นั้นเอง กับกายและ

วาจาจึงรวมเป็น ๑๔.

สองบทว่า ฉ มูลานิ ได้แก่ มูล ๖ มีกายเป็นต้น.

วินิจฉัยในวาระที่ตอบคำถามถึงสมุฏฐาน พึงทราบดังนี้:-

เรื่องก่อความแตกกัน ๑๘ ประการ เป็นสมุฏฐานแห่ง (วิวาทาธิกรณ์)

จริงอยู่ วิวาทาธิกรณ์นั่น ย่อมตั้งขึ้นในเรื่องก่อความแตกกัน ๑๘ ประการ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 660

เหล่านั่น หรือว่าย่อมตั้งขึ้น เพราะเรื่องก่อความแตกกันเหล่านั่น เป็นตัวเหตุ-

ด้วยเหตุนั้น เรื่องก่อความแตกกันเหล่านั่น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสมุฏฐาน

แห่งวิวาทาธิกรณ์นั้น. ในอธิกรณ์ทั้งปวงก็นัยนี้.

ในนัยอันต่างกันโดยคำว่า วิวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรือ ? เป็นอาทิ

คำว่า ด้วยอธิกรณ์อันหนึ่ง คือ กิจจาธิกรณ์ นี้ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดง

บรรดาอธิกรณ์ทั้งหลาย เฉพาะอธิกรณ์ที่เป็นเครื่องระงับอาบัติทั้งหลาย. แต่

กองอาบัติเหล่านั้น จะระงับด้วยกิจจาธิกรณ์โดยส่วนเดียวเท่านั้นหามิได้. เพราะ

ธรรมดากิจจาธิกรณ์จะสำเร็จแก่ภิกษุผู้แสดงในสำนักบุคคลหามิได้.

สองบทว่า น กตเมน สมเถน มีความว่า อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ

นั้น หาระงับเหมือนอาบัติที่มีส่วนเหลือไม่. เพราะว่าอาบัติที่เป็นอนวเสสนั้น

อันภิกษุไม่อาจแสดง คือ ไม่อาจตั้งอยู่ในส่วนหมดจด จำเดิมแต่อนว-

เสสาบัตินั้น.

นัยว่า วิวาทาธิกรณ โหติ อนุวาทาธิกรณ เป็นอาทิ ตื้น

ทั้งนั้น.

เบื้องหน้าแต่นั้น ท่านกล่าวปุจฉา ๖ คู่ ไม่เว้นสัมมุขาวินัย มีคำว่า

ยตฺถ สติวินโย เป็นอาทิ, ท่านประกาศเนื้อความแล้ว ด้วยวิสัชนาปุจฉา

เหล่านั้นแล.

[ว่าด้วยสมถะระคนและไม่ระคนกัน]

วินิจฉัยในวาระที่แก้คำถามถึงสมถะที่ระคนกันเป็นอาทิ พึงทราบดัง

นี้:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 661

บทว่า สสฏฺา มีความว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขวินัยก็ดี

สติวินัยก็ดี ชื่อว่าระคนกัน คือไม่แยกกัน เพราะสมถะทั้ง ๒ สำเร็จในขณะ

แห่งกรรมวาจาให้สติวินัยนั่นเอง. ก็เพราะความสำเร็จแห่งสมถะทั้ง ๒ เป็นดุจ

ความเนื่องกันแห่งกาบกล้วยในต้นกล้วย ใคร ๆ ไม่สามารถจะแสดงการแยก

สมถะเหล่านั้นออกจากกัน. ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ก็แลใคร ๆ ไม่สามารถ

บัญญัติการแยกพรากธรรมเหล่านี้ออกจากกันได้. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

[ว่าด้วยนิทานเป็นต้นแห่งสมถะ]

วินิจฉัยในวาระที่แก้คำถามว่า กึนิทาโน พึงทราบดังนี้:-

สัมมุขาวินัย ชื่อว่ามีนิทานเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า มีนิทานเป็น

เหตุอำนวย.

ในนิทานเหล่านั้น นี้คือ ความเป็นต่อหน้าสงฆ์ ความเป็นต่อหน้า

ธรรม ความเป็นต่อหน้าวินัย ความเป็นต่อหน้าบุคคล เป็นนิทานแห่งสัมมุขา-

วินัย. พระขีณาสพ ผู้ถึงความไพบูลย์ด้วยสติซึ่งได้ถูกโจท เป็นนิทานแห่ง

สติวินัย.

ภิกษุบ้า เป็นนิทานแห่งอมูฬหวินัย.

ความพร้อมหน้าแห่งบุคคลทั้ง ๒ คือ ผู้แสดงและผู้เป็นที่แสดงเป็น

นิทานแห่งปฏิญาตกรณะ.

ความที่สงฆ์เป็นผู้ไม่สามารถจะระงับอธิกรฌ์ ของภิกษุทั้งหลายผู้เกิด

บาดหมางกัน เป็นนิทานแห่งเยภุยยสิกา.

บุคคลผู้บาปหนา เป็นนิทานแห่งตัสสปาปิยสิกา.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 662

อัชฌาจารไม่สมควรแก่สมณะมาก ของภิกษุทั้งหลายผู้บาดหมางกัน

เป็นนิทานแห่งติณวัตถารกะ.

วาระว่าด้วยเหตุและปัจจัย มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

[ว่าด้วยสมุฏฐานแห่งสมถะ]

คำแก้คำถามถึงมูล ตื้นทั้งนั้น.

ในคำถามถึงสมุฏฐาน ท่านกล่าวว่า สมถะทั้ง ๗ มีสมุฏฐาน ๓๖

อะไรบ้าง ? ดังนี้ แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น ท่านก็จำแนกสมุฏฐาน ๖ แห่ง

สมถะ ๖ เท่านั้น เพราะสัมมุขาวินัยไม่มีสมุฏฐานเพราะไม่มีกรรมสงเคราะห์.

บรรดาบทเหล่านั้น ญัตติพึงทราบว่า กรรมกิริยา.

การหยุดในเวลาควรหยุด ด้วยญัตตินั่นแล พึงทราบว่า กรณะ.

การเข้าไปเอง อธิบายว่า ความกระทำกรรมนั้นด้วยตนเอง พึงทราบ

ว่า อุปคมนะ.

การที่เข้าถึงความอัญเชิญ อธิบายว่า การเชิญผู้อื่นมีสัทธิวิหาริกเป็น

ต้นว่า ท่านจงทำกรรมนี้ พึงทราบว่า อัชฌุปคมนะ.

กิริยาที่ยินยอม อธิบายว่า ได้แก่ การมอบฉันทะอย่างนี้ว่า สงฆ์จง

ทำกรรมนั่นแทนข้าพเจ้า เรียกว่าอธิวาสนา.

กิริยาที่ไม่คัดค้านว่า กรรมนั้นไม่ชอบใจข้าพเจ้า, พวกท่านอย่าทำ

อย่างนั้น เรียกว่า อัปปฏิโกสนา.

พึงทราบสมุฏฐาน ๓๖ ด้วยอำนาจหมวดหก ๖ หมวด ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 663

คำแก้คำถามถึงอรรถต่างกัน ตื้นทั้งนั้น.

วินิจฉัยในคำแก้คำถามถึงอธิกรณ์ พึงทราบดังนี้:-

หลายบทว่า อย วิวาโท โน อธิกรณ มีความว่า การเถียงกัน

แห่งชนทั้งหลายมีมารดากับบุตรเป็นต้น จัดเป็นวิวาท เพราะเป็นการกล่าว

แย้งกัน, แต่ไม่จัดเป็นอธิกรณ์ เพราะไม่มีความเป็นเหตุที่ต้องระงับด้วยสมถะ

ทั้งหลาย. แม้ในอนุวาทเป็นต้น ก็นัยนี้แล.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

อธิกรณเภท วัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 664

คาถาสังคณิกะอีกนัยหนึ่ง

เรื่องโจทเป็นต้น

[๑,๐๖๙] ท่านพระอุบายลีทูลถามว่า

การโจทเพื่อประสงค์อะไร การสอบสวน

เพื่อเหตุอะไร สงฆ์เพื่อประโยชน์อะไร ส่วน

การลงมติเพื่อเหตุอะไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การโจท

เพื่อประสงค์ให้ระลึกถึงความผิด การสอบ

สวนเพื่อประสงค์จะข่ม สงฆ์เพื่อประชาชน

ให้ช่วยกันพิจารณา ส่วนการลงมติ เพื่อให้

การวินิจฉัยแต่ละเรื่องเสร็จสิ้นไป

เธออย่าด่วนพูด อย่าพูดเสียงดุดัน

อย่ายั่วความโกรธถ้าเธอเป็นผู้วินิจฉัยอธิกรณ์

อย่าพูดโดยผลุนผลัน อย่ากล่าวถ้อยคำชวน

วิวาท ไม่กอปรด้วยประโยชน์ วัตรคือการ

ซักถามอนุโลมแก่สิกขาบทอันพระพุทธเจ้าผู้

เฉียบแหลม มีพระปัญญาทรงวางไว้ ตรัส

ไว้ดีแล้ว ในพระสูตรอุภโตวิภังค์ ในพระ-

วินัย คือ ขันธกะ ในอนุโลม คือ บริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 665

ในพระบัญญัติ คือ วินัยปิฎก และในอนุ-

โลมิกะ คือ มหาประเทศ เธอจงพิจารณา

วัตรคือการซักถามนั้น อย่าให้เสียคติที่เป็น

ไปในสัมปราภพ เธอผู้ใฝ่หาประโยชน์เกื้อ

กูล จงซักถามถ้อยคำที่กอปรด้วยประโยชน์

โดยกาล สำนวนที่กล่าวโดยผลุนผลันของ

จำเลยและโจทก์ เธออย่าพึงเชื่อถือ โจทก์

ฟ้องว่าต้องอาบัติ แต่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้

ต้องอาบัติ เธอต้องสอบสวนทั้งสองฝ่ายพึง

ปรับตามคำรับสารภาพ และถ้อยคำสำนวน

คำรับสารภาพ เรากล่าวไว้ในหมู่ภิกษุลัชชี

แต่ข้อนั้น ไม่มีในหมู่ภิกษุอลัชชี อนึ่ง ภิกษุ

อลัชชีพูดมาก เธอพึงปรับตามถ้อยคำสำ-

นวน ดังกล่าวแล้ว.

อลัชชีบุคคล

[๑,๐๗๐] อุ. อลัชชีเป็นคนเช่นไร

คำรับสารภาพของผู้ใดฟังไม่ขึ้น ข้าพระ-

พุทธเจ้าทูลถามพระองค์ถึงข้อนั้น คนเช่นไร

พระองค์ตรัสเรียกว่า อลัชชีบุคคล

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 666

พ. ผู้ที่แกล้งต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ

และถึงอคติ คนเช่นนี้เราเรียกว่า อลัชชี

บุคคล.

ลัชชีบุคคล

[๑,๐๗๑] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า

แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่าคนเช่นนี้

เป็นอลัชชีบุคคล แต่ข้าพระพุทธเจ้าทูลถาม

พระองค์ถึงข้ออื่น คนเช่นไร พระองค์ตรัส

เรียกว่า ลัชชีบุคคล

พ. ผู้ที่ไม่แกล้งต้องอาบัติ ไม่ปกปิด

อาบัติ ไม่ถึงอคติคนเช่นนี้เราเรียกว่า ลัชชี

บุคคล.

บุคคลผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม

[๑,๐๗๒] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า

แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่า คนเช่นนี้

ตรัสเรียกว่า ลัชชีบุคคล แต่ข้าพระพุทธเจ้า

ทูลถามพระองค์ถึงผู้อื่น คนเช่นไรตรัสเรียก

ว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 667

พ. ภิกษุโจทโดยกาลไม่ควร ๑ โจท

ด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ๑ โจทด้วยคำหยาบ ๑

โจทด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

มุ่งร้ายโจทไม่มีเมตตาจิตโจท ๑ คนเช่นนี้

เราเรียกว่า ผู้โจทก์ ไม่เป็นธรรม.

บุคคลผู้โจทก์เป็นธรรม

[๑,๐๗๓] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า

แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่า คนเช่นนี้

ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม แต่ข้า

พระพุทธเจ้า ทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น

คนเช่นไรตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม

พ. ภิกษุโจทโดยกาล ๑ โจทด้วย

เรื่องจริง ๑ โจทด้วยคำสุภาพ ๑ โจทด้วย

คำประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มีเมตตาจิตโจท

ไม่มุ่งร้ายโจท ๑ คนเช่นนี้เราเรียกว่า ผู้โจทก์

เป็นธรรม.

คนโจทก์ผู้โง่เขลา

[๑,๐๗๔] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า

แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่า บุคคล

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 668

เช่นนี้ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม แต่ข้า

พระพุทธเจ้า ทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น คน

เช่นไรตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้เขลา

พ. บุคคลไม่รู้คำต้นและคำหลัง ๑

ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง ๑ ไม่รู้ทาง

แห่งถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน ๑ ไม่ฉลาดต่อ

ทางแห่งถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน ๑ คนเช่นนี้

เราเรียกว่าโจทก์ผู้เขลา.

คนโจทก์ผู้ฉลาด

[๑,๐๗๕] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า

แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่า คนเช่นนี้

ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้เขลา แต่ข้าพระพุทธเจ้า

ทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น คนเช่นไรตรัส

เรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด

พ. บุคคลรู้คำต้นและคำหลัง ๑

ฉลาดในคำต้นและคำหลัง ๑ รู้ทางแห่งถ้อย

คำอันต่อเนื่องกัน ๑ ฉลาดต่อทางแห่งถ้อยคำ

อันต่อเนื่องกัน ๑ คนเช่นนี้เราเรียกว่า

โจทก์ผู้ฉลาด.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 669

การโจท

[๑,๐๗๖] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า

แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่า คนเช่นนี้

ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด แต่ข้าพระพุทธเจ้า

ขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น อย่างไร พระ-

องค์ตรัสเรียกว่า การโจท

พ. เพราะเหตุที่โจทด้วยศีลวิบัติ ๑

อาจารวิบัติ ๑ ทิฏฐิวิบัติ ๑ และแม้ด้วย

อาชีววิบัติ ๑ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า การโจท.

คาถาสังคณิกะอีกนัยหนึ่ง จบ

ทุติยคาถาสังคณิก วัณณนา

วินิจฉัยในทุติยคาถาสังคณิกะ พึงทราบดังนี้:-

วาจาที่แสดงไล่เลียงวัตถุและอาบัติ ชื่อว่าโจทนา.

วาจาที่เตือนให้นึกถึงโทษ ชื่อว่าสารณา.

สองบทว่า สงฺโฆ กิมตฺถาย มีความว่า ประชุมสงฆ์เพื่อประโยชน์

อะไร ?

บาทคาถาว่า มติกมฺม ปน กิสฺส การณา มีความว่า ความเข้าใจ

ความประสงค์ ตรัสว่า มติกรรม มติกรรมนั้น ตรัสไว้เพราะเหตุแห่งอะไร ?

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 670

บาทคาถาว่า โจทนา สารณตฺถาย มีความว่า วาจาสำหรับไล่เลียง

มีประการดังกล่าวแล้ว เพื่อประโยชน์ที่จะเตือนให้นึกถึงโทษที่บุคคลผู้เป็น

จำเลยนั้นได้กระทำแล้ว.

บาทคาถาว่า นิคฺคหตฺถาย สารณา มีความว่า ส่วนวาจาที่จะ

เตือนให้นึกถึงโทษ เพื่อประโยชน์ที่จะข่มบุคคลนั้น.

บาทคาถาว่า สงฺโฆ ปริคฺคหตฺถาย มีความว่า สงฆ์ผู้ประชุมกัน

ณ ที่นั้น เพื่อประโยชน์ที่จะช่วยกันวินิจฉัย. อธิบายว่า เพื่อประโยชน์ที่จะ

พิจารณาว่า เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม คือเพื่อประโยชน์ที่จะทราบว่า

อธิกรณ์นั้นได้วินิจฉัยถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง.

บาทคาถาว่า มติกมฺม ปน ปาฏิเยกฺก มีความว่า ความเข้าใจ

ความประสงค์ของพระเถระผู้เป็นนักพระสูตร และพระเถระผู้เป็นนักวินัย

ทั้งหลาย ก็เพื่อให้วินิจฉัยสำเร็จเป็นแผนก ๆ.

หลายบทว่า มา โข ปฏิฆ มีความว่า อย่าก่อความโกรธในจำเลย

หรือโจทก์.

หลายบทว่า สเจ อนุวิชฺชโก ตุว มีความว่า ถ้าว่าท่านเป็นพระ-

วินัยธรนั่งวินิจฉัยอธิกรณ์ ซึ่งหยั่งลงในท่ามกลางสงฆ์.

บทว่า วิคฺคาหิย มีความว่า (ท่านอย่าได้กล่าวถ้อยคำชวนวิวาท)

ซึ่งเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้หรือ ?

บทว่า อนตฺถสญฺหิติ มีความว่า อย่ากล่าวถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความ

เสื่อมเสีย คือทำบริษัทให้ปั่นป่วนลุกลามขึ้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 671

วินิจฉัยในบทว่า สุตฺเต วินเย เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-

อุภโตวิภังค์ ชื่อว่าสูตร, ขันธกะ ชื่อว่าวินัย, บริวาร ชื่อว่าอนุโลม,

วินัยปิฎกทั้งสิ้น ชื่อว่าบัญญัติ, มหาปเทส ๔ ชื่อว่าอนุโลมิกะ.

บาทคาถาว่า อนุโยควตฺต นิสาเมถ มีความว่า ท่านจงพิจารณา

วัตรในการชักถาม.

บาทคาถาว่า กุสเลน พุทฺธิมตา กต มีความว่า อันพระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้เฉียบแหลมเป็นบัณฑิต บรรลุความสำเร็จแห่งพระญาณ ทรง

นำออกตั้งไว้.

บทว่า สุวุตฺต มีความว่า อันพระองค์ทรงแต่งตั้งไว้ดีแล้ว.

บทว่า สิกฺขาปทานุโลมิก มีความว่า เหมาะแก่สิกขาบททั้งหลาย

เนื้อความเฉพาะบทเท่านี้ก่อน.

ส่วนพรรณนาโดยย่อพร้อมทั้งอธิบายในคาถานี้ ดังนี้:-

ถ้าว่า ท่านผู้ว่าอรรถคดี อย่ากล่าวผลุนผลัน อย่ากล่าวถ้อยคำชวน

วิวาท ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ก็วัตรในการซักถามอันใด อันพระโลกนาถ

ผู้ฉลาดมีปัญญาทรงจัดไว้ แต่งตั้งไว้ดี ในสูตรเป็นต้นเหล่านั้น อนุโลมแก่

สิกขาบททั้งปวง, ท่านจะพิจารณา คือจงตรวจดูอนุโยควัตรนั้น.

บาทคาถาว่า คติ น นาเสนฺโต สมฺปรายิก มีความว่า จงพิจารณา

อนุโยควัตร อย่าให้เสียคติคือความสำเร็จในสัมปรายภพของตน, จริงอยู่ ภิกษุ

ใดไม่พิจารณาอนุโยควัตรนั้น ซักถาม, ภิกษุนั้นย่อมให้เสียคติของตนที่เป็น

ในสัมปรายภพ, เพราะเหตุนั้น จงพิจารณาอย่าให้เสียคตินั้นได้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 672

บัดนี้ พระอุบาลีเถระกล่าวคำว่า หิเตสี เป็นอาทิ เพื่อแสดงอนุ-

โยควัตรนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิเตสี ได้แก่ ผู้แสวงคือผู้ใฝ่หาประโยชน์,

อธิบายว่า จงเข้าไปตั้งไมตรีและธรรมเป็นบุพภาคแห่งไมตรีไว้.

บทว่า กาเล ได้แก่ ในกาลที่จัดว่าสมควร คือ ในกาลที่สงฆ์เชิญ

เท่านั้น, อธิบายว่า ท่านจงซักถาม ในมือสงฆ์มอบภาระแก่ท่าน.

บาทคาถาว่า สหสา โวหาร มา ปธาเรสิ มีความว่า สำนวน

ที่กล่าวโดยผลุนผลัน คือถ้อยคำที่กล่าวโดยผลุนผลันใด ของโจทก์และจำเลย

เหล่านั้น อย่าคัด คือ อย่าถือเอาสำนวนนั้น.

ความสืบสมแห่งคำให้การ เรียกว่าความสืบเนื่อง ในบาทคาถาว่า

ปฏิญฺานุสนฺธิเตน การเย นี้, เพราะเหตุนั้น พึงปรับตามคำสารภาพและ

ความสืบสม, อธิบายว่า พึงกำหนดความสืบสมแห่งคำให้การ แล้วจึงปรับ

ตามคำสารภาพ.

อีกอย่างหนึ่ง พึงปรับตามคำรับสารภาพและตามความสืบสม, อธิบาย

ว่า พึงปรับตามคำรับสารภาพของจำเลยผู้เป็นลัชชี พึงปรับตามความสืบสม

แห่งความประพฤติของจำเลยผู้อลัชชี.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาว่า เอว ปฏิญฺา ลชฺชีสุ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า วตฺตานุสนฺธิเตน การเย มีความว่า

พึงปรับตามความสืบสมแห่งความประพฤติ, อธิบายว่า คำรับสารภาพใด กับ

ความประพฤติของอลัชชีนั้นสมกัน, พึงปรับตามคำสารภาพนั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 673

บทว่า สญฺจิจฺจ ได้แก่ ต้องทั้งรู้.

บทว่า ปริคูหติ ได้แก่ ปิดไว้ คือ ไม่แสดง ไม่ออกเสีย.

บาทคาถาว่า ลจฺจ อหปิ ชานามิ ความว่า คำใดอันพระองค์

ตรัสแล้ว คำนั้นเป็นจริง, แม้ข้าพระองค์ก็รู้คำนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน

สองบทว่า อญฺญฺจ ตาห มีความว่า ก็แลข้าพระองค์จะทูลถาม

พระองค์ถึงอลัชชีชนิดอื่น.

บาทคาถาว่า ปุพฺพาปร น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้ถ้อยคำที่ตน

กล่าวไว้ในกาลก่อน และตนกล่าวในภายหลัง.

บทว่า อโกวิโท ได้แก่ ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลังนั้น.

บาทคาถาว่า อนุสนฺธิวจนปถ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้ถ้อยคำ

ที่สืบสมแห่งคำให้การ และถ้อยคำที่สืบสมแห่งคำตัดสิน.

บาทคาถาว่า สีสวิปตฺติยา โจเทติ คือโจทด้วยกองอาบัติ ๒.

บทว่า อาจารทิฏฺิยา ได้แก่ โจทด้วยอาจารวิบัติและทิฏฐิวิบัติ.

เมื่อจะโจทด้วยอาจารวิบัติ ย่อมโจทด้วยกองอาบัติ ๕, เมื่อจะโจทด้วยทิฏฐิวิบัติ

ย่อมโจทด้วยมิจฉาทิฏฐิและอันตคาหิกทิฏฐิ.

บาทคาถาว่า อาชีเวนปิ โจเทติ มีความว่า โจทด้วยสิกขาบท ๖

ซึ่งบัญญัติไว้ เพราะอาชีวะเป็นเหตุ.

บทที่เหลือที่ในทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

ทุติยคาถาสังคณิกวัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 674

โจทนากัณฑ์

ข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์

[๑,๐๗๗] ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงถามโจทก์ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่าน

โจทภิกษุรูปนี้นั้น โจทเพราะเรื่องอะไร ท่านโจทด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ

หรือโจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าโจทด้วยศีลวิบัติ

โจทด้วยอาจารวิบัติ หรือว่าข้าพเจ้าโจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์

พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ท่านรู้ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรือ ถ้า

โจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้ศีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติ ภิกษุ

ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ก็ศีลวิบัติเป็นไฉน

อาจารวิบัติเป็นไฉน ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔

สังฆาทิเสส ๑๓ นี้จัดเป็นศีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ

ทุพภาสิต นี้เป็นอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ นี้เป็นทิฏฐิวิบัติ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่าน

โจทภิกษุรูปนี้นั้น โจทด้วยเรื่องที่เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง หรือด้วยเรื่อง

ที่รังเกียจ ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่เห็น โจทด้วยเรื่อง

ที่ได้ยินได้ฟัง หรือว่าข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่รังเกียจ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านโจท

ภิกษุรูปนี้ ด้วยเรื่องที่เห็นนั้น ท่านเห็นอะไร เห็นอย่างไร เห็นเมื่อไร เห็น

ที่ไหน ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 675

สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ หรือ ท่านอยู่ที่ไหน

และภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่อง

ที่เห็น แต่ว่าข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึง

ซักถามอย่างนี้ว่า ข้อที่ท่านโจทภิกษุรูปนี้ ด้วยเรื่องได้ยินได้ฟังนั้น ท่านได้

ยินได้ฟังอะไร ได้ยินได้ฟังว่าอย่างไร ได้ยินได้ฟังเมื่อไร ท่านได้ยินได้ฟังที่

ไหน ท่านได้ยินได้ฟังว่า ภิกษุนี้ ต้องอาบัติปาราชิก หรือ ท่านได้ยินได้ฟัง

ว่า ภิกษุนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ

ทุพภาสิต หรือ ท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุ หรือ ได้ยินได้ฟังต่อภิกษุณี

สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอำมาตย์

เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ หรือ

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่

ได้ยินได้ฟัง แต่ข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่รังเกียจ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่าน

โจทภิกษุรูปนี้ ด้วยเรื่องที่รังเกียจนั้น ท่านรังเกียจอะไร รังเกียจว่าอย่างไร

รังเกียจเมื่อไร รังเกียจที่ไหน ท่านรังเกียจว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือ

ท่านรังเกียจว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ

ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ ท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุจึงรังเกียจ หรือ ท่านได้ยิน

ได้ฟังต่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา

ราชมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์แล้วรังเกียจ หรือ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 676

เปรียบเทียบอธิกรณ์

[๑,๐๗๔] เรื่องที่เห็นสมด้วยเรื่องที่

เห็น เรื่องที่เห็นเทียบกันได้กับเรื่องที่เห็น

แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการเห็น

บุคคลนั้น ถูกรังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับ

อาบัติตามปฏิญญา พึงทำอุโบสถกับบุคคล

นั้น เรื่องที่ได้ยินได้ฟังสมด้วยเรื่องที่ได้ยิน

ได้ฟัง เรื่องที่ได้ยินได้ฟังเทียบกันได้กับ

เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ

เพราะอาศัยการได้ยินได้ฟัง บุคคลนั้นถูก

รังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับอาบัติตามปฏิญ-

ญา พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้น เรื่องที่ได้

ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ เรื่องที่ได้ทราบ

เทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ทราบ แต่บุคคลนั้น

ไม่ยอมรับเพราะอาศัยการได้ทราบ บุคคล

นั้นถูกรังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับอาบัติ

ตามปฏิญญา พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้นเกิด.

ว่าด้วยเบื้องต้นของการโจทเป็นต้น

[๑,๐๗๙] ถามว่า การโจท มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่าม-

กลาง มีอะไรเป็นที่สุด

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 677

ตอบว่า การโจท มีขอโอกาสเป็นเบื้องต้น มีการทำเป็นท่ามกลาง

มีการระงับเป็นที่สุด

ถ. การโจท มีมูลเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร โจทด้วยอาการ

เท่าไร

ต. การโจท มีมูล ๒ มีวัตถุ ๓ มีภูมิ ๕ โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง

ถ. การโจทมีมูล ๒ เป็นไฉน

ต. การโจท มีมูล ๑ การโจทไม่มีมูล ๑ นี้การโจทมีมูล ๒

ถ. การโจท มีวัตถุ ๓ เป็นไฉน

ต. เรื่องที่เห็น ๑ เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง ๑ เรื่องที่รังเกียจ ๑ นี้การโจท

มีวัตถุ ๓

ถ. การโจท มีภูมิ ๕ เป็นไฉน

ต. จักพูดโดยกาลอันควร จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร ๑ จักพูดด้วยคำ

จริง จักไม่พูดด้วยคำไม่จริง ๑ จักพูดด้วยคำสุภาพ จักไม่พูดด้วยคำหยาบ ๑

จักพูดด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่พูดด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์

๑ จักมีเมตตาจิตพูด จักไม่มุ่งร้ายพูด ๑ นี้การโจทมีภูมิ ๕

ถ. โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง เป็นไฉน

ต. โจทด้วยกายหรือโจทด้วยวาจา นี้โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง.

ข้อปฏิบัติของโจทก์และจำเลยเป็นต้น

[๑,๐๘๐] โจทก์ควรปฏิบัติอย่างไร จำเลยควรปฏิบัติอย่างไร สงฆ์

ควรปฏิบัติอย่างไร ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ควรปฏิบัติอย่างไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 678

ถามว่า โจทก์ ควรปฏิบัติอย่างไร

ตอบว่า โจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ อย่างแล้วจึงโจทผู้อื่น คือ จักพูด

โดยกาลอันควร จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร ๑ จักพูดด้วยคำจริง จักไม่พูดด้วย

คำไม่จริง ๑ จักพูดด้วยคำสุภาพ จักไม่พูดด้วยคำหยาบ ๑ จักพูดด้วยคำ

ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่พูดด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ จักมีเมตตา

จิตพูด จักไม่มุ่งร้ายพูด ๑ โจทก์ควรปฏิบัติอย่างนี้

ถ. จำเลย ควรปฏิบัติอย่างไร

ต. จำเลย พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ในความสัตย์ ๑ ใน

ความไม่ขุ่นเคือง ๑ จำเลยควรปฏิบัติอย่างนี้

ถ. สงฆ์ ควรปฏิบัติอย่างไร

ต. สงฆ์พึงรู้คำที่เข้าประเด็นและไม่เข้าประเด็น สงฆ์ควรปฏิบัติ

อย่างนี้

ถ. ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ ควรปฏิบัติอย่างไร

ต. ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงระงับอธิกรณ์นั้น โดยประการที่

อธิกรณ์นั้นจะระงับโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์

ควรปฏิบัติอย่างนี้.

ว่าด้วยอุโบสถเป็นต้น

[๑,๐๘๑] ถามว่า อุโบสถเพื่อประ-

โยชน์อะไร ปวารณาเพื่อเหตุอะไร ปริวาส

เพื่อประโยชน์อะไร การชักเข้าหาอาบัติเดิม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 679

เพื่อเหตุอะไร มานัตเพื่อประโยชน์อะไร

อัพภานเพื่อเหตุอะไร

ตอบว่า อุโบสถเพื่อประโยชน์แก่

ความพร้อมเพรียง ปวารณาเพื่อประโยชน์

แก่ความหมดจด ปริวาสเพื่อประโยชน์แก่

มานัต การชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่อประโยชน์

แก่นิคคหะ มานัต เพื่อประโยชน์แก่อัพภาน

อัพภานเพื่อประโยชน์แก่ความหมดจด ภิกษุ

ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์มีปัญญาทราม โง่เขลา และ

ไม่มีความเคารพในสิกขา บริภาษพระเถระ

ทั้งหลาย เพราะฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ

โมหาคติ เป็นผู้ขุดตนกำจัดอินทรีย์แล้ว

เพราะกายแตกย่อมเข้าถึงนรก ภิกษุผู้วินิจฉัย

อธิกรณ์ไม่พึงเห็นแก่อามิส และไม่พึงเห็น

แก่บุคคล ควรเว้นสองอย่างนั้นแล้ว ทำตาม

ที่เป็นธรรม โจทก์เป็นผู้มักโกรธ มักถือโกรธ

ดุร้าย แสร้งกล่าวบริภาษย่อมปลูกอนาบัติว่า

อาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน

โจทก์กระซิบใกล้หูคอยจับผิด ยัง

การวินิจฉัยให้บกพร่อง เสพทางผิด ย่อม

ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่า

ย่อมเผาตน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 680

โจทก์ฟ้องโดยกาลอันไม่ควร ฟ้อง

ด้วยคำไม่จริง ฟ้องด้วยคำหยาบ ฟ้องด้วย

คำไม่ประกอบด้วยประโยชน์มุ่งร้ายฟ้องไม่มี

เมตตาจิตฟ้อง ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์

เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน

โจทก์ไม่รู้ธรรมและอธรรมไม่ฉลาด

ในธรรมและอธรรม ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ

โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน

โจทก์ไม่รู้วินัยและอวินัย ไม่ฉลาด

ในวินัยและอวินัย ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ

โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน

โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงภาษิต

แล้ว และมิได้ทรงภาษิต ไม่ฉลาดในสิ่งที่

พระพุทธเจ้าทรงภาษิตแล้ว และไม่ได้ภาษิต

ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่า

ย่อมเผาตน

โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงประ-

พฤติและไม่ได้ทรงประพฤติ ไม่ฉลาดในสิ่ง

ที่พระพุทธเจ้าทรงประพฤติ และไม่ได้ทรง

ประพฤติ ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่น

นั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน โจทก์ไม่รู้สิ่งที่ทรง

บัญญัติ และไม่ได้ทรงบัญญัติ ไม่ฉลาดใน

สิ่งที่ทรงบัญญัติ และไม่ได้ทรงบัญญัติ ปลูก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 681

อนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อม

เผาตน

โจทก์ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ไม่

ฉลาดในอาบัติและอนาบัติ ปลูกอนาบัติว่า

อาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน โจทก์

ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ไม่ฉลาดใน

อาบัติเบาและอาบัติหนัก ปลูกอนาบัติว่า

อาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน

โจทก์ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือ และ

อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ไม่ฉลาดในอาบัติมี

ส่วนเหลือ และอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ปลูก

อนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อม

เผาตน

โจทก์ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบ และอาบัติ

ไม่ชั่วหยาบ ไม่ฉลาดในอาบัติชั่วหยาบ และ

อาบัติไม่ชั่วหยาบ ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ

โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน

โจทก์ไม่รู้คำต้นและคำหลัง ไม่

ฉลาดต่อคำต้นและคำหลัง ปลูกอนาบัติว่า

อาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน

โจทก์ไม่รู้ทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน ไม่

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 682

ฉลาดต่อทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน ปลูก

อนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อม

เผาตน แล.

โจทนากัณฑ์ จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๐๘๒] คำสั่งสอน การโจท ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ เบื้องต้นมูลอุโบสถ

คติต้องอยู่ในโจทนากัณฑ์แล.

โจทนากัณฑก วัณณนา

[กิจของภิกษุผู้ว่าอรรถคดี]

บัดนี้ พระอุบาลีเถระเริ่มคำว่า อนุวิชฺชเกน เป็นอาทิ เพื่อแสดง

กิจอันพระวินัยธรพึงกระทำ ในการฟ้องร้องที่เกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น.

ในคำนั้น คาถาว่า ทิฏฺ ทิฏฺเน เป็นต้น มีเนื้อความดังนี้:-

ภิกษุรูปหนึ่ง กำลังออกหรือกำลังเข้าไป โดยสถานที่อันเดียวกันกับ

มาตุคามผู้หนึ่ง อันโจทก์เห็นแล้ว. โจทก์นั้นจึงฟ้องภิกษุนั้นเป็นจำเลยด้วย

อาบัติปาราชิก; ฝ่ายจำเลยยอมรับการเห็นของโจทก์นั้น แต่จำเลยยังไม่ถึง

ปาราชิก จึงไม่ปฏิญญา เพราะอิงการเห็นนั้น. ในคำของโจทก์และจำเลยนี้

การใดอันโจทก์นั้นเห็นแล้ว การนั้นสมด้วยคำที่ว่าได้เห็นของโจทก์นั้น นี้ว่า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 683

จำเลยอันข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. แต่เพราะเหตุที่ฝ่ายจำเลยไม่

ยอมปฏิญญาโทษ เพราะอาศัยการเห็นนั้น จึงชื่อว่าผู้ถูกรังเกียจโดยไม่บริสุทธิ์

อธิบายว่า เป็นผู้รังเกียจโดยไม่มีมูล. สงฆ์พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้นตาม

ปฏิญญาที่ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์ ของบุคคลนั้น. ใน ๒ คาถาที่เหลือ มี

นัยอย่างนี้แล.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนากิจของภิกษุผู้ว่าอรรถคดี จบ

[ว่าด้วยเบื้องต้นของโจทนาเป็นอาทิ]

วินิจฉัยในปุจฉาวิสัชนามีอาทิว่า อะไรเป็นเบื้องต้นของโจทนา พึง

ทราบดังนี้:-

หลายบทว่า สจฺเจ จ อกุปฺเป จ มีความว่า จำเลยพึงตั้งอยู่ใน

ธรรม ๒ ประการ คือ ให้การตามจริง ๑ ไม่ขุ่นเคือง ๑ คือว่าการใดอันตน

กระทำหรือมิได้กระทำ การนั้นแล อันตนพึงให้การ (เช่นนั้น). และไม่พึง

ให้เกิดความขุ่นเคืองในโจทก์ หรือในภิกษุผู้ว่าอรรถคดี หรือในสงฆ์.

สองบทว่า โอติณฺณาโนติณฺณ ชานิตพฺพ มีความว่า สงฆ์พึงรู้

ถ้อยคำอันเข้าประเด็นและไม่เข้าประเด็น. ในคำนั้น มีวิธีสำหรับรู้ดังนี้:-

สงฆ์พึงรู้ว่า คำต้นของโจทก์เท่านี้ คำหลังเท่านี้ คำต้นของจำเลย

เท่านี้ คำหลังเท่านี้.

พึงกำหนดลักษณะที่ควรเชื่อถือของโจทก์ พึงกำหนดลักษณะที่ควร

เชื่อถือของจำเลย พึงกำหนดลักษณะที่ควรเชื่อถือของภิกษุผู้ว่าอรรถคดี. ภิกษุ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 684

ผู้ว่าอรรถคดี เมื่อยังการพิจารณาให้บกพร่องแม้มีประมาณน้อย อันสงฆ์พึง

สั่งว่า ผู้มีอายุ ท่านจงพิจารณาให้ดีบังคับคดีให้ตรง. สงฆ์พึงปฏิบัติอย่างนี้.

วินิจฉัยในคำว่า เยน ธมฺเมน เยน วินเยน เยน สตฺถุสาสเนน

อธิกรณ วูปสมฺมติ นี้ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า ธมฺโม ได้แก่ เรื่องที่เป็นจริง.

บทว่า วินโย ได้แก่ กิริยาที่โจทก์ และกิริยาที่จำเลยให้การ.

บทว่า สตฺถุสาสน ได้แก่ ญัตติสัมปทาและอนุสาวนสัมปทา.

จริงอยู่ อธิกรณ์ย่อมระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสนา

นั่น เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ว่าอรรถคดี พึงโจทด้วยวัตถุที่เป็นจริง แล้วให้

จำเลยระลึกถึงอาบัติ และยิ่งอธิกรณ์นั้นให้ระงับด้วยญัตติสัมปทาและอนุสาวน-

สัมปทา. ภิกษุผู้ว่าอรรถคดีพึงปฏิบัติอย่างนี้.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

แม้ปุจฉาวิสัชนามีอาทิว่า อุโบสถ เพื่อประโยชน์อะไร ? ก็ตื้น

เหมือนกันแล.

วินิจฉัยในอวสานคาถาทั้งหลาย พึงทราบดังนี้:-

บาทคาถาว่า เถเร จ ปริภาสติ มีความว่า เมื่อจะทำความดูหมิ่น

ย่อมคำว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่รู้อะไร.

บาทคาถาว่า ขโต อุปหตินฺทฺริโย มีความว่า ชื่อว่าผู้มีคนอันขุด

แล้ว เพราะความที่ตนเป็นสภาพอันตนเองขุดแล้ว ด้วยความเป็นผู้ถึงความ

ลำเอียงด้วยฉันทาคติเป็นต้นนั้น และด้วยการด่านั้น และชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อัน

ตนเองจัดเสียแล้ว เพราะความที่อินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้น เป็นคุณอันตนเอง

ขจัดเสียแล้ว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 685

สองบาทคาถาว่า นิรย คจฺฉติ มฺเมโธ น จ สิกฺขาย คารโว

มีความว่า ผู้มีตนอันขุดแล้ว มีอินทรีย์อันตนขจัดแล้วนั้น ชื่อว่าผู้มีปัญญา

ทราม เพราะไม่มีปัญญา และชื่อว่าไม่มีความเคารพในการศึกษา เพราะไม่

ศึกษาในสิกขา ๓ เพราะแตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึงนรก.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ควรอิงอามิส (และไม่ควรอิงบุคคล

พึงเว้นส่วนทั้ง ๒ นั้น เสีย) กระทำตามธรรม.

เนื้อความแห่งคำนั้นว่า ไม่พึงกระทำ เพราะอิงอามิส จริงอยู่ เมื่อ

ถือเอาอามิสมีจีวรเป็นต้น ที่โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ ชื่อว่ากระทำ

เพราะอิงอามิส ไม่พึงกระทำอย่างนั้น.

หลายบทว่า น จ นิสฺสาย ปุคฺคล มีความว่า เมื่อลำเอียงเพราะ

ความรักเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ผู้นี้ เป็นอุปัชฌาย์ของเรา หรือว่า ผู้นี้

เป็นอาจารย์ของเรา ชื่อว่ากระทำเพราะอิงบุคคล ไม่พึงกระทำอย่างนั้น. ทางที่

ถูก พึงเว้นส่วนทั้ง ๒ นั้นเสีย กระทำตามที่เป็นธรรมเท่านั้น.

บาทคาถาว่า อุปกณฺณก ชปฺเปติ มีความว่า กระซิบที่ใกล้หูว่า

ท่านจงพูดอย่างนี้ อย่าพูดอย่างนี้.

สองบทว่า ชิมฺห เปกฺขติ มีความว่า ย่อมแส่หาโทษเท่านั้น.

บทว่า วีติหรติ ได้แก่ ยังการวินิจฉัยให้บกพร่อง.

สองบทว่า กุมฺมคฺค ปฏิเสวติ มีความว่า ย่อมชี้อาบัติ.

สองบทว่า อกาเลน จ โจเทติ มีความว่า ผู้อันพระเถระมิได้

เชื้อเชิญ โจทในสมัยมิใช่โอกาส.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 686

บาทคาถาว่า ปุพฺพาปร น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้คำต้นและ

คำหลัง.

บาทคาถาว่า อนุสนฺธิวจนกถ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้ถ้อย

คำ ด้วยอำนาจความสืบสมแห่งคำให้การ และความสืบสมแห่งคำวินิจฉัย.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

โจทนากัณฑก วัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 687

จูฬสงคราม

ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม

[๑,๐๘๓] อันภิกษุผู้เข้าสงความเมื่อเข้าหาสงฆ์พึงเป็นผู้มีจิตยำเกรง

มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์ พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง รู้จักการนั่งไม่เบียดภิกษุ

ผู้เถระ ไม่ห้ามภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยอาสนะ. พึงนั่งอาสนะตามสมควร ไม่พึงพูด

เรื่องต่าง ๆ ไม่พึงพูดเรื่องดิรัจฉานกถา พึงกล่าวธรรมเอง หรือพึงเชื้อเชิญ

ภิกษุรูปอื่น ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ

อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัย

อธิกรณ์ ไม่พึงถามถึงอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงอาจารย์ ไม่พึงถามถึงสัทธิวิหาริก

ไม่พึงถามถึงอันเตวาสิก ไม่พึงถามถึงภิกษุปูนอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงภิกษุ

ปูนอาจารย์ ไม่พึงถามถึงชาติ ไม่พึงถามถึงชื่อ ไม่พึงถามถึงโคตร ไม่พึง

ถามถึงอาคม ไม่พึงถามถึงตระกูล ไม่พึงถามถึงชาติภูมิ เพราะเหตุไร เพราะ

ความรักหรือความชังจะพึงมีในบุคคลนั้น เมื่อมีความรักหรือความชัง พึง

ลำเอียงเพราะความชอบบ้าง พึงลำเอียงเพราะความชังบ้าง พึงลำเอียงเพราะ

ความหลงบ้าง พึงลำเอียงเพราะความกลัวบ้าง

ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์

อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัยอธิ-

กรณ์ พึงเป็นผู้หนักในสงฆ์ ไม่พึงเป็นผู้หนักในบุคคล พึงเป็นผู้หนักใน

พระสัทธรรม ไม่พึงเป็นผู้หนักในอามิส พึงเป็นผู้ไปตามอำนาจแห่งคดี ไม่

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 688

พึงเป็นผู้เห็นแก่บริษัท พึงวินิจฉัยโดยกาลอันควร ไม่พึงวินิจฉัยโดยกาลไม่

ควร พึงวินิจฉัยด้วยคำจริง ไม่พึงวินิจฉัยด้วยคำไม่จริง พึงวินิจฉัยด้วยคำสุภาพ

ไม่พึงวินิจฉัยด้วยคำหยาบ พึงวินิจฉัยด้วยคำประกอด้วยประโยชน์ ไม่พึงวินิจ-

ฉัยด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พึงเป็นผู้มีเมตตาจิตวินิจฉัย ไม่พึงเป็น

ผู้มุ่งร้ายวินิจฉัย ไม่พึงเป็นผู้กระซิบที่หู ไม่พึงคอยจับผิด ไม่พึงขยิบตา ไม่

พึงเลิกคิ้ว ไม่พึงชะเง้อศีรษะ ไม่พึงทำวิการแห่งมือ ไม่พึงแสดงปลายนิ้วมือ

พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง พึงเป็นผู้รู้จักการนั่ง พึงนั่งบนอาสนะของตน ทอดตา

ชั่วแอก เพ่งเนื้อความและไม่ลุกจากอาสนะไปข้างไหน ไม่พึงยังการวินิจฉัย

ให้บกพร่อง ไม่พึงเสพทางผิด ไม่พึงพูดส่ายคำ พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วน ไม่

ผลุนผลันไม่ดุดัน เป็นผู้อดได้ต่อถ้อยคำ พงเป็นผู้มีเมตตาจิต คิดเอ็นดูเพื่อ

ประโยชน์ พึงเป็นผู้มีกรุณา ขวนขวายเพื่อประโยชน์ พึงเป็นผู้ไม่พูดพล่อย

เป็นผู้พูดมีที่สุด พึงเป็นผู้ไม่ผูกเวร ไม่ขัดเคือง พึงรู้จักตน พึงรู้จักผู้อื่น

พึงสังเกตโจทก์ พึงสังเกตจำเลย พึงกำหนดรู้ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม พึงกำหนด

รู้ผู้ถูกโจทไม่เป็นธรรม พึงกำหนดรู้ผู้โจทก์เป็นธรรม พึงกำหนดรู้ผู้ถูกโจท

เป็นธรรม พึงกำหนดข้อความอันสองฝ่ายกล่าวมิให้ตกหล่น ไม่แซมข้อความ

อันเขาไม่ได้กล่าว พึงจำบทพยัญชนะ อันเข้าประเด็นไว้เป็นอย่างดีสอบสวน

จำเลย แล้วพึงปรับตามคำรับสารภาพ โจทก์หรือจำเลยประหม่าพึงพูดเอาใจ

เป็นผู้ขลาด พึงพูดปลอบ เป็นผู้ดุ พึงห้ามเสีย เป็นผู้ไม่สะอาดพึงตัดเสีย

เป็นผู้ตรง พึงประพฤติต่อด้วยความอ่อนโยน ไม่พึงถึงฉันทาคติ โทสาคติ

โมหาคติ ภยาคติ พึงวางตนเป็นกลาง ทั้งในธรรม ทั้งในบุคคล

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 689

ก็แล ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ เมื่อวินิจฉัยอธิกรณ์ด้วยอาการ อย่างนี้

ชื่อว่า เป็นผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดา เป็นที่รักที่ชอบใจที่เคารพ ที่

สรรเสริญ แห่งสพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญู.

ว่าด้วยประโยชน์แห่งสูตรเป็นต้น

[๑,๐๘๔] สูตร เพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง ข้ออุปมา เพื่อ

ประโยชน์แก่การชี้ความ เนื้อความ เพื่อประโยชน์ที่ให้เขาเข้าใจ การย้อนถาม

เพื่อประโยชน์แก่ความดำรงอยู่ การขอโอกาส เพื่อประโยชน์แก่การโจท

การโจท เพื่อประโยชน์แก่การให้จำเลยระลึกโทษ การให้ระลึก เพื่อประโยชน์

แก่ความเป็นผู้มีถ้อยคำอันจะพึงกล่าว ความเป็นผู้มีถ้อยคำอันจะพึงกล่าว เพื่อ

ประโยชน์แก่การกังวล การกังวล เพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัย การวินิจฉัย

เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา การพิจารณา เพื่อประโยชน์แก่การถึงฐานะและ

มิใช่ฐานะ การถึงฐานะและมิใช่ฐานะ เพื่อประโยชน์ข่มบุคคลผู้เก้อยาก เพื่อ

ประโยชน์ยกย่องภิกษุมีศีลเป็นที่รัก สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่การสอดส่องและ

รับรอง บุคคลที่สงฆ์อนุมีติแล้ว ตั้งอยู่ในตำแหน่งผู้ใหญ่ ตั้งอยู่ในตำแหน่ง

ผู้ไม่แกล้งกล่าวให้ผิด.

ประโยชน์แห่งวินัยเป็นต้น

วินัยเพื่อประโยชน์แก่ความสำรวม ความสำรวมเพื่อประโยชน์แก่

ความไม่เดือดร้อน ความไม่เดือดร้อนเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์ ความ

ปราโมทย์เพื่อประโยชน์แก่ความปีติ ความปีติเพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 690

ปัสสัทธิเพื่อประโยชน์แก่ความสุข ความสุขเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ สมาธิเพื่อ

ประโยชน์แก่ความรู้เห็นตามเป็นจริง ความรู้เห็นตามเป็นจริงเพื่อประโยชน์แก่

ความเบื่อหน่าย ความเบื่อหน่ายเพื่อประโยชน์แก่ความสำรอก ความสำรอก

เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ วิมุตติเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ วิมุตติ-

ญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่ความดับสนิทหาปัจจัยมิได้ การกล่าววินัย มี

อนุปาทาปรินิพพานนั้นเป็นประโยชน์ การปรึกษาวินัยมีอนุปาทาปรินิพพาน

นั้นเป็นประโยชน์ เหตุมีอนุปาทาปรินิพพานนั้นเป็นประโยชน์ ความเงี่ยโสต

สดับมีอนุปาทาปรินิพพานนั้นเป็นประโยชน์ คือ ความพ้นวิเศษแห่งจิต เพราะ

ไม่ยึดมั่น.

อนุโยควัตร

[๑,๐๘๕] เธอจงพิจารณาวัตร คือ

การซักถาม อนุโลมแก่สิกขาบท อันพระ-

พุทธเจ้าผู้เฉียบแหลม มีพระปัญญา ทรง

วางไว้ ตรัสไว้ดีแล้ว อย่าให้เสียคติที่เป็นไป

ในสัมปรายภพ

ภิกษุใดไม่รู้ วัตถุ วิบัติ อาบัติ

นิทาน คำต้น คำหลัง สิ่งที่ทำแล้ว และยัง

ไม่ได้ทำโดยเสมอ และเป็นผู้ไม่เข้าใจอาการ

ภิกษุผู้เช่นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ไม่ควรเลือก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 691

อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้กรรม อธิกรณ์

และไม่เข้าใจสมถะ เป็นผู้กำหนัดขัดเคือง

และหลงย่อมลำเอียงเพราะกลัว เพราะหลง

ไม่เข้าใจในสัญญัติ ไม่ฉลาดในการพินิจ

เป็นผู้ได้พรรคพวก ไม่มีความละอาย มี

กรรมดำ ไม่เอื้อเฟื้อ ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่ควรเลือก

ภิกษุใดรู้วัตถุ วิบัติ อาบัติ นิทาน

คำต้น คำหลัง สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ

โดยเสมอและเป็นผู้เข้าใจอาการ ภิกษุผู้เช่น

นั้น ๆ แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ควรเลือก

อนึ่ง ภิกษุใดรู้กรรม อธิกรณ์ และ

เข้าใจสมถะ เป็นผู้ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง

และไม่หลง ไม่ลำเอียง เพราะกลัว เพราะ

หลง เข้าใจในสัญญัติ ฉลาดในการพินิจ

เป็นผู้ได้พรรคพวก มีความละอาย มีกรรม

ขาว มีความเคารพ ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ควรเลือก

จูฬสงคราม จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 692

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๐๘๖] มีจิตยำเกรง ๑ ถาม ๑ หนักในสงฆ์ มิใช่ในบุคคล ๑

สูตรเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง ๑ วินัยเพื่ออนุเคราะห์ ๑ หัวข้อตามที่

กล่าวนี้มีอุเทศอย่างเดียวกัน ท่านจัดไว้ในจูฬสงครามแล.

จูฬสังคาม วัณณนา

วินิจฉัยในจูฬสงคราม พึงทราบดังนี้:-

ประชุมสงฆ์เพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัยอธิกรณ์ เรียกว่าสงคราม ใน

คำว่า ภิกษุผู้เข้าสงคราม. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่ตน และเป็น

ข้าศึกต่อพระศาสนา ย่อมประชุมกัน แสดงสัตถุศาสนา นอกธรรมนอกวินัย

ในที่ประชุมสงฆ์นั้น เหมือนอย่างภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองไพศาลีฉะนั้น.

ภิกษุใด ย่ำยีลัทธิของภิกษุผู้เป็นข้าศึกเหล่านั้นเสีย เข้าในที่ประชุม

สงฆ์นั้น เพื่อประโยชน์แก่การแสดงวาทะของตน วางอำนาจยังการวินิจฉัยให้

เป็นไป, ผู้นั้นชื่อว่าผู้เข้าสงคราม ประหนึ่งพระยสเถระฉะนั้น. ภิกษุผู้เข้า

สงครามนั้น เมื่อเข้าหาสงฆ์ พึงเป็นผู้มีจิตยำเกรงเข้าหาสงฆ์.

บทว่า นีจจิตฺเตน ได้แก่ ผู้ลดธงคือมานะลงเสีย มีจิตมีมานะอัน

กำจัดเสียแล้ว.

บทว่า รโชหรณสเมน ได้แก่ มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดเท้า, อธิบายว่า

เมื่อเท้าเปื้อนหรือไม่เปื้อนอันบุคคลเช็ดอยู่ ความยินดีความยินร้าย ย่อมไม่มี

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 693

แก่ผ้าเช็ดเท้าฉันใด, พึงเป็นผู้มีจิตไม่ยินดีไม่ยินร้ายในอิฏฐารมณ์และ

อนิฏฐารมณ์ฉันนั้น.

สองบทว่า ยถาปฏิรูเป อาสเน มีความว่า พึงรู้อาสนะตามที่สมควร

นั่งในที่ซึ่งถึงแก่ตน ไม่หันหลังให้ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ.

บทว่า อนานากถิเกน ได้แก่ ไม่กล่าวถ้อยคำที่ไม่มีประโยชน์นั้น ๆ

ซึ่งมีประการต่าง ๆ.

บทว่า อติรจฺฉานกถิเกน ได้แก่ ไม่กล่าวติรัจฉานกถา มีเรื่อง

พระราชาเป็นต้น ที่ได้เห็นก็ดี ได้ฟังก็ดี ได้ทราบก็ดี.

หลายบทว่า สาม วา ธมฺโม ภาสิตพฺโพ มีความว่า ถ้อยคำที่อิง

เรื่องที่ควรและไม่ควร หรือที่อิงรูปารูปปริเฉท และลำดับแห่งสมถะ ลำดับ

แห่งวิปัสสนา วัตรในการยืนและนั่งเป็นต้น ในที่ประชุมสงฆ์ ชื่อว่าธรรม.

ธรรมเห็นปานนี้ พึงกล่าวเองก็ได้ เชิญภิกษุอื่นกล่าวก็ได้. ภิกษุใด สามารถ

เพื่อกล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้น ภิกษุนั้น อันตนพึงเชิญว่า ผู้มีอายุ ปัญหา

เกิดขึ้นแล้วในท่ามกลางสงฆ์ ท่านพึงกล่าว.

หลายบทว่า อริโย วา ตุณฺหีภาโว นาติมญฺิตพฺโพ มีความว่า

พระอริยเจ้าทั้งหลายเมื่อนั่งนิ่ง หาได้นั่งอย่างพาลปุถุชนไม่ ย่อมฉวยกัมมัฏฐาน

อย่างใดอย่างหนึ่งนั่ง, พระอริยเจ้าผู้มีการนิ่งเป็นปกติ ด้วยอำนาจทำกัมมัฏฐาน

ไว้ในใจอย่างนี้ ชื่อว่ามีความนิ่งเป็นปกติ. พระอริยเจ้านั้น อันภิกษุผู้เข้า

สงครามไม่พึงดูถูกว่า มีประโยชน์อะไรด้วยการร่ำเพียรในกัมมัฏฐาน. อธิบายว่า

คนพึงฉวยกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ตนนั่ง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 694

สองบทว่า น อุปชฺฌาโย ปุจฺฉิตพฺโพ มีความว่า ไม่ควรถามว่า

อุปัชฌาย์ของท่านชื่อไร ?. ในบททั้งปวง ก็นัยนี้แล.

บทว่า น ชาติ มีความว่า ไม่ควรถามถึงชาติอย่างนี้ว่า ท่านเป็น

ชาติกษัตริย์หรือ ? ท่านเป็นชาติพราหมณ์หรือ ?

บทว่า น อาคโม มีความว่า ไม่ควรถามถึงปริยัติที่เรียน อย่างนี้ว่า

ท่านกล่าวทีฆนิกายหรือ ? ท่านกล่าวมัชฌิมนิกายหรือ ?

สกุลและประเทศ พึงทราบด้วยอำนาจสกุลกษัตริย์เป็นต้น.

หลายบทว่า อาตฺรสฺส เปม วา โทโส วา มีความว่า ความรัก

หรือความชังในบุคคลนั้น พึงมีด้วยอำนาจแห่งเหตุเหล่านั่นอย่างใดอย่างหนึ่ง.

สองบทว่า โน ปริสกปฺปิเยน มีความว่า ไม่พึงเป็นผู้เห็นแก่บริษัท

คือคล้อยตามบริษัท; อธิบายว่า สิ่งใดชอบใจบริษัท สิ่งนั้นแลไม่พึงจงใจ

คือหมายใจกล่าว.

สองบทว่า น หตฺถมุทฺธา ทสฺเสตพฺพา มีความว่า ไม่พึงทำวิการ

แห่งมือ เพื่อหมายรู้ในข้อที่ควรกล่าวและไม่ควรกล่าว.

สองบทว่า อตฺถ อนฺวิธิยนฺเตน มีความว่า พึงคอยกำหนดให้รู้

ตลอดซึ่งกาลวินิจฉัยเท่านั้น คือ พึงนั่งพิจารณาโดยรอบคอบอย่างนี้ สูตรนี้

อ้างได้ เราจักกล่าวสูตรนี้ ในวินิจฉัยนี้.

หลายบทว่า น จ อาสนา วุฏฺาตพฺพ มีความว่า ไม่พึงลุกจาก

ที่นั่งเที่ยวไปในบริเวณที่ชุมนุม. เพราะว่า เมื่อพระวินัยธรลุก บริษัททั้งปวง

ย่อมลุก.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 695

บทว่า น วีติหาตพฺพ มีความว่า ไม่พึงให้วินิจฉัยบกพร่อง.

สองบทว่า น กุมฺมคฺโค เสวิตพฺโพ มีความว่า ไม่พึงชี้อาบัติ.

สองบทว่า อสาหสิเกน ภวิตพฺพ มีความว่า ไม่พึงเป็นผู้ทำโดย

ผลุนผลัน. อธิบายว่า ไม่พึงกล่าวถ้อยคำให้ผิดพลาดโดยความผลุนผลัน.

บทว่า วจนกฺขเมน มีความว่า พึงเป็นผู้มีปกติอดได้ซึ่งถ้อยคำที่

หยาบคาย.

บทว่า หิตปริสกฺกินา มีความว่า พึงเป็นผู้แสวงหาประโยชน์ คือ

ขวนขวายเพื่อประโยชน์. ในบททั้ง ๒ มีอธิบายดังนี้ ว่า กรุณาและธรรมเป็น

ส่วนเบื้องต้นแห่งกรุณา อันภิกษุผู้เข้าสงครามพึงให้เข้าไปตั้งไว้.

บทว่า อนุรุตเตน ได้แก่ ไม่พึงเป็นผู้กล่าวถ้อยคำหยาบคาย.

อธิบายว่า ถ้อยคำที่ไม่ดี กล่าวคือถ้อยคำชวนวิวาท เรียกว่าถ้อยคำที่หยาบคาย,

คำหยาบคายนั้น อันภิกษุผู้เข้าสงครามไม่ควรกล่าว.

สองบทว่า อตฺตา ปริคฺคเหตพฺโพ มีความว่า พึงตรวจดูตน

อย่างนี้ว่า เราสามารถจะวินิจฉัย คือระงับอธิกรณ์หรือไม่หนอ ? อธิบายว่า

พึงรู้ประมาณตน.

สองบทว่า ปโร ปริคฺคเหตพฺโพ มีความว่า พึงตรวจดูผู้อื่นอย่างนี้ว่า

บริษัทนี้ เป็นลัชชีหรือหนอ ? อัน เราอาจจะให้ยินยอมหรือไม่ ?

สองบทว่า โจทโก ปริคฺคเหตพฺโพ มีความว่า พึงตรวจดูโจทก์

อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นโจทก์โดยธรรมหรือไม่หนอ ?

สองบทว่า จุทิตโก ปริคฺคเทตพฺโพ มีความว่า พึงตรวจดูจำเลย

อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นจำเลยโดยธรรมหรือไม่ ?

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 696

สองบทว่า อธมฺมโจทโก ปริคฺคเหตพฺโพ มีความว่า พึงรู้

ประมาณโจทก์นั้น. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.

สองบทว่า วตฺต อหาเปนฺเตน มีความว่า ไม่พึงยังถ้อยคำอัน

โจทก์และจำเลยกล่าวให้ตกหล่น.

สองบทว่า อวุตฺต อปฺปกาเสนฺเตน มีความว่า ไม่พึงแซมข้อ

ความซึ่งมิได้เข้าประเด็น.

สองบทว่า เวโป ปหาเสตพฺโพ มีความว่า โจทก์หรือจำเลยเป็น

ผู้อ่อน คือเป็นผู้โง่เขลา พึงช่วยเหลือ คือพึงปลุกใจให้อาจหาญว่า ท่านเป็น

บุตรของสกุลมิใช่หรือ ? แล้วชี้แจงธรรมเนียมในการซักถามแล้ว จับการซัก

ถามแก่ผู้โง่เขลานั้น.

สองบทว่า ภิรุ อสฺสาเสตพฺโพ มีความว่า โจทก์หรือจำเลยใด

เกิดความสะทกสะท้านขึ้น เพราะไม่เคยเข้าสู่ท่ามกลางสงฆ์หรือท่ามกลางคณะ,

ภิกษุเช่นนั้น อันภิกษุผู้ว่าอรรถคดีพึงพูดปลอบว่า ท่านอย่ากลัวเลย จงวางใจ

ให้การเถิด, พวกเราจักเป็นผู้สนับสนุนท่าน ดังนี้ก็ได้ แล้วชี้แจงธรรมเนียม

ในการซักถาม.

สองบทว่า จณฺโฑ นิเสเธตพฺโพ มีความว่า เป็นผู้ดุร้ายพึงรุก

รานเสีย คือพึงกำหราบเสีย.

สองบทว่า อสุจิ วิภาเวตพฺโพ มีความว่า เป็นอลัชชี พึงประกาศ

แล้วให้แสดงอาบัติเสีย.

สองบทว่า อุชุ มทฺทเวน มีความว่า ภิกษุใดเป็นผู้ตรง มีศีล

เว้นจากความโกงทางกายเป็นต้น, ภิกษุนั้น อันผู้ว่าอรรถคดีพึงพระพฤติต่อ

ด้วยความอ่อนโยนเท่านั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 697

ในคำว่า ธมฺเมสุ จ ปุคฺคเลสุ จ นี้ ภิกษุใด เป็นผู้หนักใน

ธรรม มิได้เป็นผู้หนักในบุคคล, ภิกษุนี้แล พึงทราบว่า ผู้วางตนเป็นกลาง

ทั้งในธรรมทั้งในบุคคล.

[ว่าด้วยประโยชน์แห่งสูตรเป็นอาทิ]

วินิจฉัยในคำว่า สุตฺต สสนฺทนตฺถาย เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-

ก็แต่ว่า ภิกษุผู้ว่าอรรถคดี ซึ่งเป็นที่รักที่ชอบใจที่เคารพและที่นับถือ

ของเพื่อนพรหมจารีอย่างนี้นั้น พึงทราบว่า ในบรรดาสูตรเป็นต้น ที่อ้างมา

สูตรเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง คือเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนอาบัติ

และอนาบัติ.

สองบทว่า โอปมฺม นิทสฺสนตฺถาย มีความว่า ข้ออุปมาเพื่อ

ประโยชน์แก่การชี้เนื้อความ.

สองบทว่า อตฺโถ วิญฺาปนตฺถาย มีความว่า เนื้อความเพื่อ

ประโยชน์แก่การที่จะให้เข้าใจ.

สองบทว่า ปฏิปุจฉา ปนตฺถาย มีความว่า การย้อนถามเพื่อ

ประโยชน์แก่ความมั่นคงของบุคคล.

สองบทว่า โอกาสกมฺม โจทนตฺถาย มีความว่า (การขอโอกาส)

เพื่อประโยชน์แก่การโจทด้วยวัตถุหรือด้วยอาบัติ.

สองบทว่า โจทนา สารณตฺถาย มีความว่า (การโจท) เพื่อ

ประโยชน์แก่การที่จะให้จำเลยระลึกถึงโทษน้อยใหญ่.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 698

สองบทว่า สารณา สวจนียตฺถาย มีความว่า การที่ให้จำเลย

ระลึกถึงโทษน้อยโทษใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นผู้มีถ้อยคำอันตนจะพึง

ให้การ.

สองบทว่า สวจนีย ปลิโพธตฺถาย มีความว่า ความเป็นผู้มีถ้อย

คำอันตนจะพึงให้การ เพื่อประโยชน์แก่การกักไว้อย่างนี้ว่า ท่านอย่าก้าวออก

ไปแม้ก้าวเดียวจากอาวาสนี้.

สองบทว่า ปลิโพโธ วินิจฺฉยตฺถาย มีความว่า (การกักไว้) เพื่อ

ประโยชน์แก่การให้ตั้งวินิจฉัย.

สองบทว่า วินิจฺฉโย สนฺตีรณตฺถาย มีความว่า การวินิจฉัย

เพื่อประโยชน์แก่การไตร่ตรอง คือ พิจารณาโทษและมิใช่โทษ.

การไตร่ตรอง เพื่อประโยชน์ที่จะหยั่งฐานะและอฐานะ คือ เพื่อ

ประโยชน์ที่จะรู้อาบัติ อนาบัติ ครุกาบัติ ลหุกาบัติ.

สองบทว่า สงฺโฆ สมฺปริคฺคหสมฺปฏิจฺฉนตฺถาย มีความว่า สงฆ์

เพื่อประโยชน์แก่การรับรองวินิจฉัย และเพื่อประโยชน์ที่จะรู้ว่าอธิกรณ์นั้นอัน

ผู้ว่าอรรถคดี วินิจฉัยชอบหรือไม่ชอบ.

สองบทว่า ปจฺเจกฏฺายิโน อวิสวาทกฏฺายิโน มีความว่า

บุคคลเหล่านั้น ซึ่งตั้งอยู่ในตำแหน่งผู้เป็นใหญ่ โดยความเป็นอิสริยาธิบดี

และในฐานะแห่งผู้ไม่แกล้งกล่าวให้ผิด อันสงฆ์ไม่พึงรุกราน.

[ว่าด้วยประโยชน์แห่งวินัยเป็นอาทิ]

บัดนี้ พระอุบาลีเถระกล่าวคำว่า วินัยเพื่อประโยชน์แก่สังวร เป็น

ต้น เพื่อแสดงเนื้อความ เพื่อปิดโอกาสแห่งถ้อยคำของชนทั้งหลาย ผู้มีปัญญา

อ่อน ซึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชื่อว่าวินัยจะมีประโยชน์อะไร.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 699

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า วินโย สวรตฺถาย มีความว่าวินัย

บัญญัติแม้ทั้งสิ้น เพื่อประโยชน์แก่ความสำรวมกายทวารและวจีทวาร คือ

เป็นอุปนิสัย อธิบายว่า เป็นปัจจัยแก่ศีล มีอาชีวปาริสุทธิศีลเป็นที่สุด. ใน

บททั้งปวง ก็นัยนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายมีความไม่เดือดร้อนเป็นต้น นี้ มีคำ

อธิบายว่า ความไม่มีความเดือดร้อนแห่งจิต ด้วยอำนาจแห่งบุญที่ได้กระทำ

ไว้ และบาปที่มิได้กระทำไว้ ชื่อว่า ความไม่เดือดร้อน.

ปีติอย่างอ่อน ไม่รุนแรง ชื่อว่าปราโมทย์.

ปีติอย่างแรง มีกำลัง ชื่อว่าปีติ.

ความระงับความกระวนกระวายในกายและจิต ชื่อว่าปัสสัทธิ.

สุขทางกายทางจิต ชื่อว่าสุข.

จริงอยู่ สุขทั้ง ๒ อย่างนั้น. ย่อมเป็นอุปนิสัยปัจจัยแห่งสมาธิ.

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ชื่อว่าสมาธิ.

วิปัสสนาอย่างอ่อน ชื่อว่ายถาภูตญาณทัสสนะ. ยถาภูตญาณทัสสนะนี้

เป็นชื่อของญาณที่รู้ความเกิดและความเสื่อม.

จริงอยู่ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ย่อมเป็นอุปนิสัยปัจจัยแห่งวิปัสสนา

อย่างอ่อน.

วิปัสสนาอย่างแรง ซึ่งจัดเป็นชั้นยอด เป็นเหตุให้ถึงความปลีกตัวเสีย

ชื่อว่านิพพิทา.

อริยมรรค ชื่อว่าวิราคะ

อรหัตผล ชื่อว่าวิมุตติ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 700

จริงอยู่ อริยมรรคแม้ทั้ง ๔ อย่าง ย่อมเป็นอุปนิสัยปัจจัยแห่งอรหัต.

ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่าวิมุตติญาณทัสสนะ.

สองบทว่า วิมุตฺติาณทสฺสน อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถาย มี

ความว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เพื่อประโยชน์แก่ความดับสนิทหาปัจจัยมิได้.

จริงอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะนั้น ชื่อว่าเป็นปัจจัยแก่ความดับสนิทหาปัจจัยมิได้

เพราะเมื่อวิมุตติญาณทัสสนะอันโยคาพจรบรรลุโดยลำดับแล้ว กิเลสและกอง

ทุกข์พึงดับสนิทแน่แท้ ฉะนี้แล.

สองบทว่า เอตทตฺถา กถา มีความว่า ธรรมดาว่าวินัยกถานี้ มี

อนุปาทาปรินิพพานนั้นเป็นประโยชน์. ความพิจารณาวินัยนั่นแล ชื่อว่า

มันตนา.

บทว่า อุปนิสา มีความว่า แม้ความเป็นธรรมเป็นปัจจัยสืบต่อกัน

ไป เป็นต้นว่า วินัยเพื่อประโยชน์แก่สังวร นี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่อนุปาทา-

ปรินิพพานนั้น. ความเงี่ยโสตลงพึงถ้อยคำที่เป็นปัจจัยสืบต่อกันไปนี้ ชื่อว่า

ความเงี่ยโสตสดับ. ญาณใดเกิดขึ้นเพราะได้ฟังเนื้อความนี้ ญาณแม้นั้นก็เพื่อ

ประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพานนั้น.

หลายบทว่า ยทิท อนุปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข มีความว่า

ความพ้นพิเศษแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ๔ กล่าวคืออรหัตผลนี้

ใด, ความพ้นพิเศษแห่งจิตแม้นั้น ก็เพื่อประโยชน์นี้ คือเพื่อประโยชน์แก่

อปัจจัยปรินิพพานนั่นแล.

[อนุโยควัตตคาถา]

บรรดาอนุโยควัตตคาถาทั้งหลาย คาถาต้นมีเนื้อความดังกล่าวแล้ว

นั่นแล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 701

ในคำว่า วตฺถุ วิปตฺตึ อาปตฺตึ นิทาน อาการอโกวิโท

ปุพฺพาปร น ชานาติ พึงทำการเชื่อมบทว่า วตฺถ เป็นต้น ด้วยบทว่า

น ชานาติ. พึงทำการเชื่อมบทว่า อโกวิโท ด้วยบทว่า ส เวตาทิสโก

นี้.

เพราะเหตุนั้น พึงทราบวาจาเครื่องประกอบในคำว่า วตฺถุ เป็นต้น

นี้ ดังต่อไปนี้:-

ภิกษุใด ไม่รู้จักวัตถุแห่งวิติกกมะมีปาราชิกเป็นต้น, ไม่รู้วิบัติ ๔

อย่าง, ไม่รู้อาบัติ ๗ อย่าง, ไม่รู้นิทานอย่างนี้ว่า สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติ

แล้ว ในนครชื่อโน้น, ไม่รู้จักเบื้องต้นและเบื้องปลายว่า นี้เป็นคำต้น นี้เป็น

คำหลัง, ไม่รู้จักกรรมที่ทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำว่า นี้ทำแล้ว นี้ยังมิได้ทำ.

ในบทว่า สเมน จ มีคำอธิบายว่า ไม่รู้จักกรรมที่ทำแล้วหรือยัง

ได้ทำ ด้วยความไม่รู้เสมอ ของภิกษุไม่รู้เบื้องต้นและเบื้องปลายนั้นนั่นเอง.

พึงทราบการเชื่อมกับบทว่า น ชานาติ อย่างนี้ก่อน.

ก็แลวินิจฉัยในคำว่า อาการอโกวิโท ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

พึงทราบดังนี้:-

บทว่า อาการอโกวิโท ได้แก่ ผู้ไม่เข้าใจเหตุและมิใช่เหตุ. ภิกษุ

นี้ใด ไม่รู้วัตถุเป็นต้น และไม่เข้าใจอาการ, ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่ควรเลือก ด้วยประการฉะนี้.

พึงทำการเชื่อมบทแม้เหล่านี้ว่า กมฺมญฺจ อธิกรณญฺจ ด้วยบทว่า

น ชานาติ นั่นแล.

ก็แลวาจาสำหรับประกอบ ในคำว่า กมฺมญฺจ เป็นต้นนั้น ดังต่อ

ไปนี้:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 702

ภิกษุนี้ใด ไม่รู้จักกรรม และไม่รู้จักอธิกรณ์ เหมือนอย่างนั้นแล,

ทั้งไม่เข้าใจสมถะ ๗ ประการด้วย. อนึ่ง ผู้กำหนัดแล้ว ขัดเคืองแล้ว และ

หลงแล้ว เพราะกิเลสมีราคะเป็นต้น ย่อมลำเอียงเพราะกลัวด้วยความกลัว

ย่อมลำเอียงเพราะเขลา ด้วยความงมงาย, อนึ่ง เพราะเหตุที่ตนเป็นผู้กำหนัด

และเพราะเหตุที่ตนเบาผู้ขัดเคือง จึงลำเอียงเพราะความชอบ เพราะความชัง.

อนึ่ง หาเป็นผู้ฉลาดในบัญญัติไม่ เพราะไม่เป็นผู้สามารถที่จะยังผู้อื่น

ให้ยินยอม. อนึ่ง ไม่ฉลาดในการชี้ขาด เพราะเป็นผู้ไม่สามารถในการชี้เหตุ

และมิใช่เหตุ.

ชื่อว่าผู้ได้พรรคพวก เพราะได้บริษัทที่แม้นกับตน, ชื่อว่าผู้ไม่มี

ความละอาย เพราะเป็นผู้ห่างจากหิริ, ชื่อว่าผู้มีกรรมดำ เพราะเป็นผู้พร้อม

เพรียงด้วยกรรมดำทั้งหลาย, ชื่อว่าผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เพราะไม่มีความเอื้อเฟื้อใน

ธรรมและความเอื้อเฟื้อในบุคคล. ภิกษุเช่นนั้น ๆ แล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ผู้ไม่ควรเลือก. คือ อันสงฆ์ไม่ควรพิจารณาได้แก่ ไม่ควรแลดู,

อธิบายว่า ไม่ควรสมมติตั้ง ไว้ในตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่ โดยความเป็นอิสริยา-

ธิบดี.

โยชนานัย แม้แห่งคาถาฝ่ายขาว ก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่น

แล.

จูฬสังคาม วัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 703

มหาสงคราม

ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม

[๑,๐๘๗] อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อกล่าวในสงฆ์ พึงรู้วัตถุ พึงรู้

วิบัติ พึงรู้อาบัติ พึงรู้นิทาน พึงรู้อาการ พึงรู้คำต้นและคำหลัง พึงรู้สิ่งที่

ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ พึงรู้กรรม พึงรู้อธิกรณ์ พึงรู้สมถะ ไม่พึงถึงฉันทาคติ

โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ พึงชี้แจงในสถานะควรชี้แจง พึงพินิจในสถานะ

ควรพินิจ พึงเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง พึงเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส

ไม่พึงหมิ่นพรรคพวกอื่น ด้วยเข้าใจว่า เราได้พรรคพวกแล้ว ไม่พึงหมิ่นผู้มี

สุตะน้อย ด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก ไม่พึงหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่า ด้วยเข้าใจ

ว่า เราเป็นผู้แก่กว่า ไม่พึงพูดเรื่องที่ยังไม่ถึง ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วตก

หล่นจากธรรมจากวินัย อธิกรณ์นั้นย่อมระงับด้วยธรรม ด้วยวินัย ด้วยสัตถุ-

ศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับด้วยอย่างนั้น.

ว่าด้วยการรู้วัตถุ

[๑,๐๘๘] คำว่า พึงรู้จักวัตถุ นั้น คือ พึงรู้วัตถุแห่งปาราชิก ๘

สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งอนิยต ๒

สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งนิสสัคคิยะ ๔๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘

สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งทุกกฏทั้งหลาย

พึงรู้วัตถุแห่งทุพภาสิตทั้งหลาย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 704

ว่าด้วยการรู้วิบัติ

[๑,๐๘๙] คำว่า พึงรู้วิบัติ คือ พึงรู้ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิ

วิบัติ อาชีววิบัติ.

ว่าด้วยการรู้อาบัติ

[๑,๐๙๐] คำว่า พึงรู้อาบัติ นั้น คือ พึงรู้อาบัติปาราชิก อาบัติ

สังฆาทิเสส อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฏ

อาบัติทุพภาสิต.

ว่าด้วยการรู้นิทาน

[๑,๐๙๑] คำว่า พึงรู้นิทาน นั้น คือ พึงรู้นิทานแห่งปาราชิก ๘

สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งอนิยต ๒

สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งนิสสัคคิยะ ๔๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาจิตตีย์

๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่ง

ทุกกฏทั้งหลาย พึงรู้นิทานแห่งทุพภาสิตทั้งหลาย.

ว่าด้วยการรู้อาการ

[๑,๐๙๒] คำว่า พึงรู้อาการ นั้น คือ พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ

พึงรู้จักคณะโดยอาการ พึงรู้จักบุคคลโดยอาการ พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ พึง

รู้จักจำเลยโดยอาการ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 705

ข้อว่า พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ

อย่างนี้ว่า สงฆ์หมู่นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดย

สัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ

ข้อว่า พึงรู้จักคณะโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักคณะโดยอาการ

อย่างนี้ว่า คณะนี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุ-

ศาสน์หรือไม่หนอ

ข้อว่า พึงรู้จักบุคคลโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักบุคคลโดย

อาการ อย่างนี้ว่า บุคคลผู้นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย

โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ

ข้อว่า พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ

อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จักตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ แล้วโจทก์ผู้อื่น หรือไม่หนอ

ข้อว่า พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ

อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ตั้งอยู่ในธรรม ๒ ข้อ คือ ให้การตามจริงและไม่โกรธ

หรือไม่หนอ.

ว่าด้วยรู้คำต้นและคำหลัง

[๑,๐๙๓] คำว่า พึงรู้คำต้นและคำหลัง นั้น คือ พึงรู้คำต้น

และคำหลังอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ย้ายวัตถุจากวัตถุ ย้ายวิบัติจากวิบัติ ย้ายอาบัติจาก

อาบัติ ปฏิเสธแล้วกลับปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วกลับปฏิเสธ หรือสับเรื่องอื่นด้วย

เรื่องอื่นหรือไม่หนอ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 706

ว่าด้วยรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ

[๑,๐๙๔] คำว่า พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ นั้น คือ พึง

รู้เมถุนธรรม พึงรู้อนุโลมแก่เมถุธรรม พึงรู้บุพภาคแห่งเมถุน

ข้อว่า พึงรู้เมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้ความร่วมกันเป็นคู่ ๆ

ข้อว่า พึงรู้อนุโลมแก่เมถุนธรรม นั้น คือ ภิกษุอมองค์กำเนิด

ของภิกษุอื่น ด้วยปากของตน

ข้อว่า พึงรู้บุพภาคแห่งเมถุนธรรม นั้น คือ สี สิ่งมิใช่สี

การเคล้าคลึงด้วยกาย วาจาชั่วหยาบ การบำเรอตนด้วยกาม การยังวรรณะ

ให้เกิด.

ว่าด้วยรู้กรรม

[๑,๐๙๕] คำว่า พึงรู้กรรม นั้น ได้แก่ พึงรู้กรรม ๑๖ อย่าง คือ

พึงรู้อปโลกนกรรม ๔ อย่าง พึงรู้ญัตติกรรม ๔ อย่าง พึงรู้ญัตติทุติยกรรม

๔ อย่าง พึงรู้ญัตติจตุตถกรรม ๔ อย่าง.

ว่าด้วยรู้อธิกรณ์

[๑,๐๙๖] คำว่า พึงรู้อธิกรณ์ นั้น ได้แก่ พึงรู้อธิกรณ์ ๔ คือ

พึงรู้วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์.

ว่าด้วยรู้สมถะ

[๑,๐๙๗] คำว่า พึงรู้สมถะ นั้น ได้แก่ พึงรู้สมถะ ๗ คือ พึง

รู้สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิย-

สิกา ติณวัตถารกะ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 707

ว่าด้วยไม่ถึงฉันทาคติ

[๑,๐๙๘] คำว่า ไม่พึงถึงฉันทาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงฉัน-

ทาคติ ถึงอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ คิดว่า ท่านผู้นี้เป็นอุปัชฌาย์ของ

เรา เป็นอาจารย์ของเรา เป็นสัทธิวิหาริกของเรา เป็นอันเตวาสิกของเรา

เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์ของเรา เป็นผู้ร่วมอาจารย์ของเรา เป็นผู้เคยเห็นกันมากับ

เรา เป็นผู้เคยร่วมคบกันมากับเรา หรือท่านผู้นี้เป็นญาติสาโลหิตของเรา ดังนี้

เพื่ออนุเคราะห์ผู้นั้น เพื่อตามรักษาท่านผู้นั้น จึงแสดงอธรรมว่าธรรม

แสดงธรรมว่าอธรรม แสดงอวินัยว่าวินัย แสดงวินัยว่าอวินัย แสดงสิ่งที่พระ-

ตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิต ว่าพระตถาคตตรัสภาษิตแล้ว แสดงสิ่งที่พระตถาคต

ตรัสภาษิตแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิต แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้

ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรง

ประพฤติมาแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา แสดงสิ่งที่พระตถาคต

ไม่ได้ทรงบัญญัติ ว่าพระตถาคตทรงบัญญัติเเล้ว แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรง

บัญญัติแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติ แสดงอนาบัติว่าอาบัติ แสดง

อาบัติว่าอนาบัติ แสดงอาบัติเบาว่าอาบัติหนัก แสดงอาบัติหนักว่าอาบัติเบา

แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าอาบัติไม่มีส่วนเหลือ แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า

อาบัติมีส่วนเหลือ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่

ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุถึงฉันทาคติด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติ

เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ

พินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ภิกษุผู้ถึงฉันทาคติด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุดถูกกำจัด เป็น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 708

ผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงติเตียน และย่อมประสบบาปมิใช่บุญมาก

ภิกษุเมื่อถึงฉันทาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.

ว่าด้วยไม่ถึงโทสาคติ

[๑,๐๙๙] คำว่า ไม่พึงถึงโทสาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงโทสาคติ

ถึงอย่างไร ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ก่อความพินาศ

แก่เราแล้ว ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้กำลังก่อความพินาศแก่เรา ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้

จักก่อความพินาศแก่เรา ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ก่อความพินาศแก่เราผู้เป็นที่รัก

ที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้กำลังก่อความพินาศแก่เราผู้เป็นที่รักที่พอใจ ผูก

อาฆาตว่า ผู้นี้จักก่อความพินาศแก่เราผู้เป็นที่รักที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ได้

ก่อประโยชน์แก่เราผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้กำลังก่อ

ประโยชน์แก่เราผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ก่อประโยชน์

แก่เราผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจ ภิกษุนั้นอาฆาต ปองร้าย ขุ่นเคือง อัน

ความโกรธครอบงำ เพราะอาฆาตวัตถุ ๙ อย่างนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม

แสดงธรรมว่าอธรรม. . . แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดง

อาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุผู้ถึงโทสาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้

ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก

เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ

มนุษย์ ภิกษุผู้ถึงโทสาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุด

ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนติเตียน และย่อมประสบบาป

มิใช่บุญมาก ภิกษุเมื่อถึงโทสาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 709

ว่าด้วยไม่ถึงโมหาคติ

[๑,๑๐๐] คำว่า ไม่พึงถึงโมหาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงโมหาคติ

ถึงอย่างไร ภิกษุเป็นผู้กำหนัด ย่อมถึงด้วยอำนาจความกำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง

ย่อมถึงด้วยอำนาจความขัดเคือง เป็นผู้หลง ย่อมถึงด้วยอำนาจความหลง เป็นผู้

ลูบคลำ ย่อมถึงด้วยอำนาจทิฏฐิ ภิกษุเป็นผู้หลงงมงาย ถูกโมหะครอบงำ

ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม. . . แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า

อาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุผู้ถึงโมหาคติ

เพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ

ไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล

เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ภิกษุผู้ถึงโมหาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อม

บริหารตนให้ถูกขุดถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงติเตียน

และย่อมประสบบาปมิใช่บุญมาก ภิกษุเมื่อถึงโมหาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.

ว่าด้วยไม่ถึงภยาคติ

[๑,๑๐๑] คำว่า ไม่พึงถึงภยาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงภยาคต

ถึงอย่างไร ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ คิดว่า ผู้นี้อาศัยความประพฤติ

ไม่เรียบร้อย อาศัยความยึดถือ อาศัยพรรคพวกมีกำลัง เป็นผู้ร้ายกาจหยาบคาย

จักทำอันตรายแก่ชีวิต หรือทำอันตรายแก่พรหมจรรย์ ดังนี้ จึงขลาด เพราะ

กลัวต่อผู้นั้น ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม. . . แสดงอาบัติ

ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุ

ผู้ถึงภยาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 710

เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ

ไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ภิกษุผู้ถึงภยาคติเพราะวัตถุ ๑๘

อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุดถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชน

พึงติเตียน และย่อมประสบบาปมิใช่บุญมาก ภิกษุเมื่อถึงภยาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.

นิคมคาถา

[๑,๑๐๒] ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม

เพราะชอบ เพราะชัง เพราะกลัว เพราะหลง

ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อมเหมือนดวงจันทร์ใน

วันข้างแรม ฉะนั้น.

ไม่ถึงฉันทาคติ

[๑,๑๐๓] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอวินัยว่า อวินัย ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงวินัยว่า วินัย ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิตว่า พระตถาคตไม่ได้ตรัส

ภาษิต ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตตรัสภาษิตว่า พระตถาคถตรัสภาษิต ชื่อว่า

ไม่ถึงฉันทาคติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 711

ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตไม่ได้

ทรงพระพฤติมา ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตประพฤติมาว่า พระตถาคตประพฤติมา

ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติว่า พระตถาคตไม่ได้ทรง

บัญญัติ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติว่า พระตถาคตทรงบัญญัติ

ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอนาบัติว่า อนาบัติ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติว่า อาบัติ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติเบาว่า อาบัติเบา ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติหนักว่า อาบัติหนัก ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า อาบัติมีส่วนเหลือ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ชื่อว่า ไม่ถึง

ฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ.

ไม่ถึงโทสาคติ

[๑,๑๐๔] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ไม่ถึงโทสาคติ

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงโทสาคติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 712

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงโทสาคติ. . .

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงโทสาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงโทสาคติ

อย่างนี้ชื่อว่าภิกษุ ไม่ถึงโทสาคติ.

ไม่ถึงโมหาคติ

[๑,๑๐๕] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ . . .

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ.

ไม่ถึงภยาคติ

[๑,๑๐๖] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ. . .

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 713

นิคมคาถา

[๑,๑๐๗] ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม

เพราะชอบ เพราะชัง เพราะกลัว เพราะหลง

ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยมเหมือนดวงจันทร์

ในวันข้างขึ้น ฉะนั้น.

ว่าด้วยให้เข้าใจ

[๑,๑๐๘] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะควร

ให้เข้าใจ

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ. . .

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะ

ควรให้เข้าใจ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ให้เข้าใจ

ในสถานะควรให้เข้าใจ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ.

ว่าด้วยพินิจ

[๑,๑๐๙] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ย่อมพินิจในสถานะ

ควรพินิจ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 714

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ. . .

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ย่อมพินิจใน

สถานะควรพินิจ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ย่อมพินิจ

ในสถานะควรพินิจ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ.

ว่าด้วยเพ่งเล็ง

[๑,๑๑๐] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ย่อมเพ่งเล็งในสถานะ

ควรเพ่งเล็ง

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง. . .

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ย่อมเพ่งเล็งใน

สถานะควรเพ่งเล็ง

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ย่อมเพ่งเล็ง

ในสถานะควรเพ่งเล็ง

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง.

ว่าด้วยความเลื่อมใส

[๑,๑๑๑] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า เลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ย่อมเลื่อมใสในสถานะ

ควรเลื่อมใส

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 715

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ย่อมเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส. . .

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ย่อมเลื่อมใสใน

สถานะควรเลื่อมใส

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ย่อมเลื่อมใส

ในสถานะควรเลื่อมใส

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ย่อมเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส.

ว่าด้วยดูหมิ่นพรรคพวกอื่น

[๑,๑๑๒] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นพรรคพวกอื่นด้วย

เข้าใจว่า เราได้พรรคพวกแล้ว

ตอบว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรนวินัยนี้ เป็นผู้ได้พรรคพวก ได้

บริวาร มีพรรคพวก มีญาติ คิดว่า ผู้นี้ไม่ได้พรรคพวก ไม่ได้บริวาร ไม่

มีพรรคพวก ไม่มีญาติ จึงดูหมิ่นภิกษุนั้น ย่อมแสดงอธรรมว่า ธรรม

แสดงธรรมว่า อธรรม. . . แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดง

อาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ดูหมิ่นพรรคพวกอื่น ด้วยเข้าใจว่า เราได้พรรค

พวกแล้ว.

ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุมีสุตะน้อย

[๑,๑๑๓] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ดูหมิ่นท่านผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจ

ว่า เรามีสุตะมาก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 716

ตอบว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ

สั่งสมสุตะ ดูหมิ่นภิกษุนั้นว่า ท่านผู้นี้มีสุตะน้อย มีอาคมน้อย ทรงจำไว้ได้

น้อย ย่อมแสดงอธรรมว่า ธรรม แสดงธรรมว่า อธรรม. . . แสดงอาบัติ

ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่น ภิกษุมีสุตะน้อย ด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะ

มาก.

ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่า

[๑,๑๑๘] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่า ด้วยเข้า

ใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า

ตอบว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นเถระ รู้ราตรีบวชนาน

ดูหมิ่นภิกษุนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้อ่อนกว่า ไม่มีชื่อเสียง มีสุตะน้อย ไม่รู้

พระนิพพานอันปัจจัยอะไรทำไม่ได้ ถ้อยคำของผู้นี้จักทำอะไรไม่ได้ ย่อมแสดง

อธรรมว่า ธรรม แสดงธรรมว่า อธรรม. . . แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติ

ไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้

แก่กว่า.

ว่าด้วยไม่พูดเรื่องที่ยังไม่มาถึง

[๑,๑๑๕] คำว่า ไม่พูดเรื่องที่ยังไม่มาถึง นั้น คือ ไม่เก็บเอา

คำพูดที่ไม่เข้าประเด็น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 717

คำว่า ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วตกหล่น จากธรรม จากวินัย

นั้น คือ สงฆ์ประชุมกัน เพื่อประโยชน์อันใด ไม่พึงยังประโยชน์อันนั้นให้

บกพร่องจากธรรม จากวินัย.

ว่าด้วยธรรมวินัยสัตถุศาสน์

[๑,๑๑๖] คำว่า ด้วยธรรมใด คือด้วยเรื่องจริง

คำว่า ด้วยวินัยใด คือ โจทก์แล้วให้จำเลยให้การ

คำว่า ด้วยสัตถุศาสน์ใด คือ ด้วยญัตติสัมปทา ด้วยอนุสาวน-

สัมปทา

ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์

พากย์ว่า อธิกรณ์นั้นย่อมระงับด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วย

สัตถุศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับด้วยอย่างนั้น มีใจความว่า อน

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงถามโจทก์ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่ภิกษุ

รูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องอะไร ท่านงดเพราะศีลวิบัติ งดเพราะอาจารวิบัติ

งดเพราะทิฏฐิวิบัติ หรือ

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า งดเพราะศีลวิบัติ งดเพราะอาจารวิบัติ หรือ

ว่า งดเพราะทิฏฐิวิบัติ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ท่านรู้ศีลวิบัติ อาจาร-

วิบัติทิฏฐิวิบัติ หรือ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 718

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้ศีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้

ทิฏฐิวิบัติ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงชักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ก็ศีลวิบัติเป็น

อย่างไร อาจารวิบัติเป็นอย่างไร ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้เป็นศีลวิบัติ

ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้เป็นอาจารวิบัติ มิจฉา

ทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ นี้เป็นทิฏฐิวิบัติ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงด

ปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องที่ได้เห็น งดเพราะเรื่องที่ได้ยิน

ได้ฟัง งดเพราะเรื่องที่รังเกียจ หรือ

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า งดเพราะเรื่องที่ได้เห็น งดเพราะเรื่องที่ได้ยิน

ได้ฟัง หรือว่า งดเพราะเรื่องที่รังเกียจ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงด

ปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้เห็นนั้น ท่านเห็นเรื่องอะไร เห็นว่า

อย่างไร เห็นเมื่อไร เห็นที่ไหน ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ ต้องอาบัติปาราชิก หรือ

ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฎิเทสนียะ

ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ อนึ่ง ท่านอยู่ที่ไหน และภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่าน

ทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ได้งดปวารณา แก่ภิกษุ

รูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้เห็น ก็แต่ว่า ข้าพเจ้างดปวารณา เพราะเรื่องที่ได้ยิน

ได้ฟัง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 719

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงด

ปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้ยินได้ฟังนั้น ท่านได้ยินได้ฟังอะไร

ได้ยินได้ฟังว่าอย่างไร ได้ยินได้ฟังเมื่อไร ได้ยินได้ฟังที่ไหน ท่านได้ยินได้

ฟังว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านได้ยินได้ฟังว่า ภิกษุรูปนี้ต้อง

อาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ

ท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุ หรือ ได้ยินได้ฟังต่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณร

สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของ

เดียรถีย์ หรือ

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ได้งดปวารณา แก่ภิกษุ

รูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง ก็แต่ว่า ข้าพเจ้างดปวารณา เพราะเรื่องที่

รังเกียจ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงด

ปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ เพราะเรื่องที่รังเกียจนั้น ท่านรังเกียจอะไร รังเกียจว่า

อย่างไร รังเกียจเมื่อไร รังเกียจที่ไหน ท่านรังเกียจว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ

ปาราชิก หรือ ท่านรังเกียจว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย

ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ ท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุแล้ว

รังเกียจ หรือท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี

อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์

จึงรังเกียจ หรือ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 720

เปรียบเทียบอธิกรณ์

[๑,๑๑๗] เรื่องที่เห็นสมด้วยเรื่องที่

เห็น เรื่องที่เห็นเทียบกันได้กับเรื่องที่เห็น

แก่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการเห็น

บุคคลนั้นถูกรังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับ

อาบัติตามปฏิญญา พึงทำปวารณากับบุคคล

นั้น

เรื่องที่ได้ยินได้ฟังสมด้วยเรื่องที่ได้

ยินได้ฟัง เรื่องที่ได้ยินได้ฟังเทียบกันได้กับ

เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ

เพราะอาศัยการได้ยินได้ฟัง บุคคลนั้นถูก

รังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับอาบัติตาม

ปฏิญญา พึงทำปวารณาบุคคลนั้น เรื่อง

ที่ได้ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ

เรื่องที่ได้ทราบเทียบกันได้กับเรื่องที่

ได้ทราบ แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะ

อาศัยการได้ทราบ บุคคลนั้นถูกรังเกียจโดย

ไม่มีมูล พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา พึงทำ

ปวารณากับบุคคลนั้นเถิด.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 721

จำแนกการเห็น

[๑,๑๑๘] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ถามถึงอะไร

คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ถามถึงอะไร

คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ถามถึงอะไร

คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น ถามถึงอะไร.

[๑,๑๑๙] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ถามถึงวัตถุ ถามถึงวิบัติ

ถามถึงอาบัติ ถามถึงอัธยาจาร

ข้อว่า ถามถึงวัตถุ นั้น คือ ถามถึงวัตถุปาราชิก ๘ ถามถึงวัตถุ

สังฆาทิเสส ๒๓ ถามถึงวัตถุอนิยต ๒ ถามถึงวัตถุนิสัคคิยะ ๔๒ ถามถึงวัตถุ

ปาจิตตีย์ ๑๘๘ ถามถึงวัตถุปาฏิเทสนียะ ๑๒ ถามถึงวัตถุทุกกฏทั้งหลาย ถาม

ถึงวัตถุทุพภาสิตทั้งหลาย

ข้อว่า ถามถึงวิบัติ นั้น คือ ถามถึงศีลวิบัติ ถามถึงอาจารวิบัติ

ถามถึงทิฏฐิวิบัติ ถามถึงอาชีววิบัติ

ข้อว่า ถามถึงอาบัติ นั้น คือ ถามถึงอาบัติปาราชิก ถามถึงอาบัติ

สังฆาทิเสส ถามถึงอาบัติถุลลัจจัย ถามถึงอาบัติปาจิตตีย์ ถามถึงอาบัติปาฏิ-

เทสนียะ ถามถึงอาบัติทุกกฏ ถามถึงอาบัติทุพภาสิต

ข้อว่า ถามถึงอัธยาจาร นั้น คือ ถามถึงการร่วมกันเป็นคู่ ๆ.

[๑,๑๒๐] คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ได้แก่ถามถึงเพศ ถาม

ถึงอิริยาบถ ถานถึงอาการ ถามถึงประการอันแปลก

ข้อว่า ถามถึงเพศ นั้น หมายถึงว่า สูงหรือต่ำ ดำหรือขาว

ข้อว่า ถามถึงอิริยาบถ นั้น หมายถึงว่า เดินหรือยืน นั่งหรือนอน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 722

ข้อว่า ถามถึงอาการ นั้น หมายถึงเพศคฤหัสถ์ เพศเดียรถีย์หรือ

เพศบรรพชิต

ข้อว่า ถามถึงประการอันแปลก นั้น หมายถึงเดินไปหรือยืนอยู่

นั่งหรือนอน.

[๑,๑๒๑] คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น คือ ถามถึงกาล ถามถึง

สมัย ถามถึงวัน ถามถึงฤดู

ข้อว่า ถามถึงกาล นั้น หมายถึงเวลาเช้า เวลาเที่ยง หรือเวลา

เย็น

ข้อว่า ถามถึงสมัย นั้น หมายถึงสมัยเช้า สมัยเที่ยง หรือสมัย

เย็น

ข้อว่า ถามถึงวัน นั้น หมายถึงก่อนอาหาร หรือหลังอาหาร

กลางคืนหรือกลางวัน ข้างแรมหรือข้างขึ้น

ข้อว่า ถามถึงฤดู นั้น หมายถึงฤดูหนาว ฤดูร้อน หรือฤดูฝน.

[๑,๑๒๒] คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น คือ ถามถึงสถานที่ ถาม

ถึงพื้นที่ ถามถึงโอกาส ถามถึงประเทศ

ข้อว่า ถามถึงสถานที่ นั้น หมายถึงพื้นที่หรือแผ่นดิน ธรณี

หรือทางเดิน

ข้อว่า ถามถึงพื้นที่ นั้น หมายถึงแผ่นดินหรือภูเขา หินหรือ

ปราสาท

ข้อว่า ถามถึงโอกาส นั้น หมายถึงในโอกาสด้านตะวันออก หรือ

โอกาสด้านตะวันตก โอกาสด้านเหนือ หรือโอกาสด้านใต้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 723

ข้อว่า ถามถึงประเทศ นั้น หมายถึงในประเทศด้านตะวันออก

หรือ ประเทศด้านตะวันตก ในประเทศด้านเหนือ หรือประเทศด้านใต้.

มหาสงคราม จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๑๒๓] วัตถุ นิทาน อาการ คำต้น

คำหลัง สิ่งที่ทำแล้ว สิ่งที่ยังไม่ได้ทำ กรรม

อธิกรณ์ และสมถะ และลำเอียง เพราะชอบ

เพราะชัง เพราะหลง และเพราะกลัว ให้

เข้าใจและพินิจ เพ่งเล็ง เลื่อมใส มีพรรค-

พวก มีสุตะ แก่กว่า เรื่องที่ยังไม่มาถึง

เรื่องที่มาถึงแล้ว โดยธรรม โดยวินัย และ

แม้โดยสัตถุศาสน์ ชื่อว่า มหาสงคราม แล.

หัวข้อประจำเรื่อง จบ

มหาสังคาม วัณณา

วินิจฉัยในมหาสังคาม พึงทราบดังนี้:-

หลายบทว่า วตฺถุโต วา วตฺถุ สงฺกมติ มีความว่า โจทก์-

กล่าวว่า วัตถุแห่งปฐมปาราชิก อันข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว หรือว่าวัตถุแห่งปฐม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 724

ปาราชิก อันข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว เมื่อถูกถาม คือ ถูกคาดคั้นเข้าอีก กลับ

กล่าวว่า วัตถุแห่งปฐมปาราชิก ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน วัตถุแห่งทุติย-

ปาราชิก อันข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว หรือว่า วัตถุแห่งทุติยปาราชิก อันข้าพเจ้า

ได้ยินแล้ว. พึงทราบการย้ายวัตถุที่เหลือ การย้ายวิบัติจากวิบัติ และการย้าย

อาบัติจากอาบัติ โดยนัยนี้แล.

ฝ่ายภิกษุใดกล่าวว่า ข้าพเจ้าหาได้เห็นไม่ หาได้ยินไม่ดั่งนี้แล้ว ภาย

หลังกล่าวว่า ข้อนั้น แม้ข้าพเจ้าก็ได้เห็น หรือว่า ข้อนั้น แม้ข้าพเจ้าก็ได้

ยิน กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้เห็น หรือว่าข้าพเจ้าได้ยิน ดังนี้แล้ว ภายหลังกลับ

กล่าวว่า ข้าพเจ้าหาได้เห็นไม่ หาได้ยินไม่ ภิกษุนั้น พึงทราบว่า ปฏิเสธ

แล้วกลับปฏิญญา ปฏิญญาแล้วกลับปฏิเสธ. ภิกษุนี้แล ชื่อว่าสับเรื่องอื่นด้วย

เรื่องอื่น.

สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท ด้วยอำนาจสีมีสีเขียวเป็นต้น และความเป็นผู้ไม่มี

โรค ท่านกล่าวว่า วณฺโณ อรณฺโณ. สัญจริตสิกขาบท ท่านกล่าวว่า

วณฺณมนุปฺปาทน (ยังการขอให้เกิดตามขึ้น) ๓ สิกขาบทมีกายสังสัคค

สิกขาบทเป็นต้น ท่านกล่าวตามรูปเดิมนั่นเอง. ๕ สิกขาบทนี้ พึงทราบว่า

เป็นบุพภาค คือ บุพประโยคของเมถุนธรรม ด้ายประการฉะนี้.

อปโลกนกรรม ๔ นั้น ได้แก่ กรรมเป็นวรรค* โดยธรรมเป็นต้น.

แม้ในกรรมที่เหลือ ก็นัยนี้แล.

หมวด ๔ สี่หมวด จงรวมเป็น ๑๖ ด้วยประการฉะนี้.

หลายบทว่า พหุชนอหิตาย ปฏิปนฺโน โหติ มีความว่า จริง

อยู่ เมื่ออธิกรณ์อันพระวินัยธร วินิจฉัยด้วยฉันทาคติอย่างนั้น สงฆ์ในวัดนั้น

* ตามฉบับในลาน เป็น วคฺคาทีนิ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 725

ย่อมแตกกันเป็น ๒ ฝ่าย. แม้ภิกษุณีทั้งหลายผู้อาศัยโอวาทเป็นอยู่ ก็ย่อมเป็น

๒ ฝ่าย. พวกอุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี เด็กชายก็ดี เด็กหญิงก็ดีย่อมเป็น ๒ ฝ่าย

แม้เหล่าอารักขเทวดาของชนเหล่านั้น ก็ย่อมแตกกันเป็น ๒ ฝ่ายเหมือนกัน.

ต่อแต่นั้นเทวดาทั้งหลาย นับภุมมเทวดาเป็นต้น จนถึงอกนิฏฐพรหม ย่อม

แยกเป็น ๒ ฝ่ายด้วย.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ภิกษุผู้ลำเอียงด้วยฉันทาคติเป็นต้น

ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก ฯลฯ เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อ

ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่ชนเป็นอันมาก ทั้งเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย.

บทว่า วิสมนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อาศัยกายกรรมเป็นต้น ซึ่งไม่

เรียบร้อย.

บทว่า คหณนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อาศัยความถือ กล่าวคือ มิจฉาทิฏฐิ

และอันตคาหิกทิฏฐิ.

บทว่า พลวนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อาศัยภิกษุผู้มีชื่อเสียง ซึ่งมีกำลัง.

สองบทว่า ตสฺส อวชานนฺโต ได้แก่ ดูหมิ่นถ้อยคำของภิกษุนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตสฺส นั้น เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิ-

ภัตติ. อธิบายว่า ดูหมิ่นภิกษุนั้น.

สองบทว่า ย อตฺถาย มีความว่า เพื่อประโยชน์ใด.

สองบทว่า ต อตฺถ มีความว่า ประโยชน์นั้น.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น. ฉะนี้แล.

มหาสังคาม วัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 726

กฐินเภท

ว่าด้วยกฐินไม่เป็นอันกรานเป็นต้น

[๑,๑๒๔] กฐินใครไม่ได้กราน กฐินใครได้กราน กฐินไม่เป็นอัน

กราน ด้วยอาการอย่างไร กฐินเป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร.

กฐินไม่เป็นอันกราน

[๑,๑๒๕] คำว่า กฐินใครไม่ได้กราน นั้น ความว่า กฐิน

บุคคล ๒ พวก คือ ภิกษุผู้ไม่ได้กราน ๑ ภิกษุผู้ไม่อนุโมทนา ๑ ไม่เป็น

อันกราน กฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ ไม่เป็นอันกราน.

กฐินเป็นอันกราน

[๑,๑๒๖] คำว่า กฐินใครได้กราน นั้น ความว่า กฐิน บุคคล

๒ พวกนี้ คือ ภิกษุผู้กราน ๑ ภิกษุผู้อนุโมทนา ๑ เป็นอันกราน กฐิน

บุคคล ๒ พวกนี้ เป็นอันกราน.

เหตุที่กฐินไม่เป็นอันกราน

[๑,๑๒๗] คำว่า กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร นั้น

คือ กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการ ๒๔ คือ:-

๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงขีดรอย

๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงซักผ้า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 727

๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงกะผ้า

๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงตัดผ้า

๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเนาผ้า

๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเย็บด้น

๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำลูกดุม

๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำรังดุมให้มั่น

๙. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาต

๑๐. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาตด้านหน้า

๑๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงดามผ้า

๑๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงย้อมเป็นสีหม่น

๑๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงผ้าที่ทำนิมิตได้มา

๑๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา

๑๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ยืมเขามา

๑๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน

๑๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคิยะ

๑๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้ทำกัปปะพินทุ

๑๙. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าสังฆาฏิ

๒๐. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าอุตราสงค์

๒๑. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าอันตรวาสก

๒๒. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ๕ ซึ่ง

ตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑล เสร็จในวันนั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 728

๒๓. กฐินไม่เป็นอันกราน นอกจากบุคคลกราน

๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมา อนุโมทนา

กฐินนั้น

กฐินไม่เป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.

อธิบายเหตุที่ไม่ได้กรานบางข้อ

[๑,๑๒๘] ที่ชื่อว่า ทำนิมิต คือ ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักกราน

กฐินด้วยผืนผ้านี้

ที่ชื่อว่า พูดเลียบเคียง คือ ภิกษุพูดเลียบเคียงด้วยคิดว่า จักยัง

ผ้ากฐินให้เกิดด้วยการพูดเลียบเคียงนี้

ผ้าที่ทายกไม่ได้หยิบยกให้เรียกว่าผ้ายืมเขามา

ที่ชื่อว่า ผ้าเก็บไว้ค้างคืน มี ๒ อย่าง คือ ผ้าทำค้างคืน ๑ ผ้า

เก็บไว้ค้างคืน ๑

ที่ชื่อว่า ผ้าเป็นนิสสัคคิยะ คือ ภิกษุกำลังทำอยู่ อรุณขึ้นมา

กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้.

เหตุที่กฐินเป็นอันกราน

[๑,๑๒๙] คำว่า กฐินอันเป็นกราน ด้วยอาการเท่าไร นั้น

ความว่า กฐินย่อมเป็นอันกรานด้วยอาการ ๑๗ อย่าง ดังต่อไปนี้

๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าไหม

๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเทียมใหม่

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 729

๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเก่า

๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าบังสุกุล

๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าตกตามร้าน

๖. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา

๗. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา

๘. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืนเขามา

๙. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้เก็บไว้ค้างคืน

๑๐. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้เป็นนิสสัคคิติยะ

๑๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าทำกัปปะพินทุแล้ว

๑๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าสังฆาฏิ

๑๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอุตราสงค์

๑๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอันตรวาสก

๑๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ซึ่งตัดดีแล้ว

ทำให้มีมณฑล เสร็จในวันนั้น

๑๖. กฐินเป็นอันกราน เพราะบุคคลกราน

๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่ในสีมา อนุโมทนา

กฐินนั้น

กฐินเป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้ กฐินเป็นอันกราน ด้วย

อาการ ๑๗ อย่างนี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 730

ธรรมที่เกิดพร้อมกัน

[๑,๑๓๐] ถามว่า ธรรมเท่าไร ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน

ตอบว่า ธรรม ๑๕ อย่าง ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน คือ

มาติกา ๘ ปลิโพธ ๒ อานิสงส์ ๕ ธรรม ๑๕ อย่างนี้ ย่อมเกิดพร้อมกับ

การกรานกฐิน.

ธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งประโยคเป็นต้น

[๑,๑๓๑] ประโยค มีธรรมเท่าไรเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็น

ปัจจัยโดยสมันนตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสย-

ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัย

โดยสหชาตปัจจัย

บุพกรณ์. . .

การถอนผ้า . . .

การอธิษฐานผ้า . . .

การกราน. . .

มาติกา และปลิโพธ. . .

วัตถุ มีธรรมเท่าไรเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดย

สมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย

เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย

สหชาตปัจจัย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 731

บุพกรณ์เป็นปัจจัย

[๑,๑๓๒] ประโยค มีบุพกรณ์เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็น

ปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสย-

ปัจจัย บุพกรณ์ มีประโยคเป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย ประโยค มีบุพกรณ์

เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่าง เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.

การถอนผ้าเป็นปัจจัย

[๑,๑๓๓] บุพกรณ์ มีการถอนผ้าเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็น

ปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสย-

ปัจจัย การถอนผ้า มีบุพกรณ์เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย บุพกรณ์ มีการ

ถอนผ้าเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่าง เป็นปัจจัยโดยสหชาต

ปัจจัย.

การอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัย

[๑,๑๓๔] การถอนผ้า มีการอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย

เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย

อุปนิสสยปัจจัย การอธิษฐานผ้า มีการถอนเป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย การ

ถอนผ้า มีการอธิษฐานเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่าง เป็น

ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.

การกรานเป็นปัจจัย

[๑,๑๓๕] การอธิษฐานผ้า มีการกรานเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย

เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 732

อุปนิสสยปัจจัย การกรานมีการอธิษฐานเป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย การ

อธิษฐานผ้า มีการกรานเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่าง เป็น

ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.

มาติกาและปลิโพธเป็นปัจจัย

[๑,๑๓๖] การกราน มีมาติกาและปลิโพธเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย

เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุป-

นิสสยปัจจัย มาติกาและปลิโพธ มีการกราน เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย

การกราน มีมาติกาและปลิโพธ เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕

อย่าง เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.

ความหวังและหมดหวังเป็นปัจจัย

[๑,๑๓๗] วัตถุ มีความหวังและหมดหวังเป็นปัจจัย โดยอนันตรปัจจัย

เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย

อุปนิสสยปัจจัย ความหวังและหมดหวัง มีวัตถุเป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย

วัตถุมีความหวังและหมดหวัง เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาติปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่าง

เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.

นิทานเป็นต้นแห่งบุพกรณ์เป็นต้น

[๑,๑๓๘] ถามว่า บุพกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย

มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 733

การถอนผ้า มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

การอธิษฐานผ้า มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

การกราน มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

มาติกาและปลิโพธ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไร

เป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ความหวังและหมดหวัง มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไร

เป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ตอบว่า บุพกรณ์ มีประโยคเป็นนิทาน มีประโยคเป็นสมุทัย มี

ประโยคเป็นชาติ มีประโยคเป็นแดนเกิดก่อน มีประโยคเป็นองค์ มีประโยค

เป็นสมุฏฐาน

การถอนผ้า มีบุพกรณ์เป็นนิทาน มีบุพกรณ์เป็นสมุทัย มี

บุพกรณ์เป็นชาติ มีบุพกรณ์เป็นแดนเกิดก่อน มีบุพกรณ์เป็นองค์ มีบุพกรณ์

เป็นสมุฏฐาน

การอธิษฐานผ้า มีการถอนเป็นนิทาน มีการถอนเป็นสมุทัย มีการ

ถอนเป็นชาติ มีการถอนเป็นแดนเกิดก่อน มีการถอนเป็นองค์ มีการถอน

เป็นสมุฏฐาน

การกราน มีการอธิษฐานเป็นนิทาน มีการอธิษฐานเป็นสมุทัย มีการ

อธิษฐานเป็นชาติ มีการอธิษฐานเป็นแดนเกิดก่อน มีการอธิฐานเป็นองค์

มีการอธิษฐานเป็นสมุฏฐาน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 734

มาติกาและปลิโพธ มีการกรานเป็นนิทาน มีการกรานเป็นสมุทัย มี

การกรานเป็นชาติ มีการกรานเป็นแดนเกิดก่อน มีการกรานเป็นองค์ มีการ

กรานเป็นสมุฏฐาน

ความหวังและหมดหวัง มีวัตถุเป็นนิทาน มีวัตถุเป็นสมุทัย มีวัตถุ

เป็นชาติ มีวัตถุเป็นแดนเกิดก่อน มีวัตถุเป็นองค์ มีวัตถุเป็นสมุฏฐาน

ถ. ประโยค มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

บุพกรณ์. . .

การถอนผ้า . . .

การอธิษฐานผ้า. . .

การกราน. . .

มาติกาและปลิโพธ . . .

วัตถุ. . .

ความหวังและหมดหวัง มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไร

เป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ต. ประโยค มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มี

เหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

บุพกรณ์. . .

การถอนผ้า. . .

การอธิษฐานผ้า. . .

การกราน. . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 735

มาติกาและปลิโพธ. . .

วัตถุ. . .

ความหวังและหมดหวัง มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุ

เป็นชาติ มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

ถ. ประโยค มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

บุพกรณ์. . .

การถอนผ้า. . .

การอธิษฐานผ้า. . .

การกราน. . .

มาติกาและปลิโพธ. . .

วัตถุ. . .

ความหวังและหมดหวัง มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไร

เป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ต. ประโยค มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ

มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

บุพกรณ์. . .

การถอนผ้า. . .

การอธิษฐานผ้า. . .

การกราน. . .

มาติกาและปลิโพธ. . .

วัตถุ. . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 736

ความหวังและหมดหวัง มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัย

เป็นชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน.

สงเคราะห์ธรรม

[๑,๑๓๙] ถามว่า บุพกรณ์ สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร

ตอบว่า บุพกรณ์ สงเคราะห์ด้วยธรรม ๗ อย่าง คือ ซักผ้า ๑

กะผ้า ๑ ตัดผ้า ๑ เนาผ้า ๑ เย็บผ้า ๑ ย้อมผ้า ๑ ทำกัปปะพินทุ ๑ บุพกรณ์

สงเคราะห์ด้วยธรรม ๗ นี้

ถ. การถอนผ้า สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร

ต. การถอนผ้า สงเคราะห์ด้วยธรรม ๓ อย่าง คือ ผ้าสังฆาฏิ ๑ ผ้า

อุตราสงค์ ๑ ผ้าอันตรวาสก ๑

ถ. การอธิษฐานผ้า สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร

ต. การอธิษฐานผ้า สงเคราะห์ด้วยธรรม ๓ อย่าง คือ ผ้าสังฆาฏิ ๑

ผ้าอุตราสงค์ ๑ ผ้าอันตรวาสก ๑

ถ. การกราน สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร

ต. การกราน สงเคราะห์ด้วยธรรมอย่างเดียว คือ เปล่งวาจา.

มูลเหตุแห่งกฐินเป็นต้น

[๑,๑๔๐] ถามว่า กฐินมีมูลเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร

ตอบว่า กฐิน มีมูลอย่างเดียว คือ สงฆ์ มีวัตถุ ๓ คือ ผ้าสังฆาฏิ ๑

ผ้าอุตราสงค์ ๑ ผ้าอันตรวาสก ๑ มีภูมิ ๖ คือ ผ้าทำด้วยเปลือกไม้ ๑ ผ้า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 737

ทำด้วยฝ้าย ๑ ผ้าทำด้วยไหม ๑ ผ้าทำด้วยขนสัตว์ ๑ ผ้าทำด้วยป่าน ๑ ผ้าทำ

ด้วยสัมภาระเจือกัน ๑.

เบื้องต้นแห่งกฐินเป็นต้น

[๑,๑๔๑] ถามว่า กฐิน มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง

มีอะไรเป็นที่สุด

ตอบว่า กฐิน มีบุพกรณ์เป็นเบื้องต้น มีการทำเป็นท่ามกลาง มี

การกรานเป็นที่สุด.

องค์ของภิกษุผู้ กรานกฐิน

[๑,๑๔๒] ถามว่า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร ไม่ควรกรานกฐิน

ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร ควรกรานกฐิน

ตอบว่า ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ ไม่ควรกรานกฐิน ภิกษุประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ควรกรานกฐิน

ถ. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ไม่ควรกรานกฐิน

ต. ภิกษุไม่รู้บุพกรณ์ ๑ ไม่รู้การถอนผ้า ๑ ไม่รู้การอธิษฐานผ้า ๑

ไม่รู้การกราน ๑ ไม่รู้มาติกา ๑ ไม่รู้ปลิโพธ ๑ ไม่รู้การเคาะกฐิน ๑ ไม่รู้

อานิสงส์ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ไม่ควรกรานกฐิน

ถ. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ควรกรานกฐิน

ต. ภิกษุรู้บุพกรณ์ ๑ รู้การถอนผ้า ๑ รู้การอธิษฐานผ้า ๑ รู้การ

กราน ๑ รู้มาติกา ๑ รู้ปลิโพธ ๑ รู้การเดาะกฐิน ๑ รู้อานิสงส์ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ควรกรานกฐิน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 738

การกรานกฐิน

[๑,๑๔๓] ถามว่า บุคคลพวกไหนกรานกฐินไม่ขึ้น บุคคลพวกไหน

กรานกฐินขึ้น

ตอบว่า บุคคล ๓ พวกกรานกฐินไม่ขึ้น บุคคล ๓ พวกกรานกฐินขึ้น

ถ. บุคคล ๓ พวกเหล่าไหน กรานกฐินไม่ขึ้น

ต. บุคคลอยู่นอกสีมาอนุโมทนา ๑ เมื่ออนุโมทนาไม่เปล่งวาจา ๑

เมื่อเปล่งวาจาไม่ให้ผู้อื่นรู้ ๑ บุคคล ๓ พวกเหล่านี้ กรานกฐินไม่ขึ้น

ถ. บุคคล ๓ พวกเหล่าไหน กรานกฐินขึ้น

ต. บุคคลอยู่ในสีมาอนุโมทนา ๑ เมื่ออนุโมทนาเปล่งวาจา ๑ เมื่อ

เปล่งวาจาให้ผู้อื่นรู้ ๑ บุคคล ๓ พวกนี้กรานกฐินขึ้น.

วัตถุวิบัติเป็นต้น

[๑,๑๔๔] ถามว่า การกรานกฐินเท่าไรไม่ขึ้น การกรานกฐินเท่าไรขึ้น

ตอบว่า การกรานกฐิน ๓ อย่าง ไม่ขึ้น การกรานกฐิน ๓ อย่าง ขึ้น

ถ. การกรานกฐิน ๓ อย่างเหล่าไหน ไม่ขึ้น

ต. ผ้าเป็นของวิบัติโดยวัตถุ ๑ วิบัติโดยกาล ๑ วิบัติโดยการกระทำ ๑

การกรานกฐิน ๓ อย่างนี้ ไม่ขึ้น

ถ. การกรานกฐิน ๓ อย่างเหล่าไหน ขึ้น

ต. ผ้าเป็นของถึงพร้อมด้วยวัตถุ ๑ ถึงพร้อมด้วยกาล ๑ ถึงพร้อม

ด้วยการกระทำ ๑ การกรานกฐิน ๓ อย่างนี้ ขึ้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 739

ควรรู้ กฐินเป็นต้น

[๑,๑๔๕] พึงรู้จักกฐิน พึงรู้จักการกรานกฐิน พึงรู้จักเดือนที่กราน

กฐิน พึงรู้จักวิบัติแห่งการกรานกฐิน พึงรู้จักสมบตแห่งการกรานกฐิน พึงรู้

จักการทำนิมิต พึงรู้จักการพูดเลียบเคียง พึงรู้จักผ้าทียืมเขามา พึงรู้จักผ้า

ที่เก็บไว้ค้างคืน พึงรู้จักผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์.

วิภาคคำว่าพึงรู้ จักกฐินเป็นต้น

[๑,๑๔๖] คำว่า พึงรู้จักกฐิน นั้น ความว่า การรวบรวม การ

ประชุมชื่อ การตั้งชื่อ การเรียกชื่อ ภาษา พยัญชนะ การกล่าวธรรมเหล่า

นั้น รวมเรียกว่า กฐิน

คำว่า พึงรู้จักเดือนที่กรานกฐิน คือ พึงรู้จักเดือนท้ายแห่งฤดูฝน

คำว่า พึงรู้จักวิบัติแห่งการกรานกฐิน ได้แก่ พึงรู้จักวิบัติแห่ง

การกรานกฐิน ด้วยอาการ ๒๔ อย่าง

คำว่า พึงรู้จักสมบัติแห่งการกรานกฐิน ได้แก่ พึงรู้จักสมบัติ

แห่งการกรานกฐิน ด้วยอาการ ๑๗ อย่าง

คำว่า พึงรู้จักการทำนิมิต คือ ท่านิมิตว่า จักกรานกฐิน ด้วย

ผ้าผืนนี้

คำว่า พึงรู้จักการพูดเลียบเคียง คือ ทำการพูดเลียบเคียงด้วยคิด

ว่าจักยังผ้ากฐินให้เกิด ด้วยการพูดเลียบเคียงนี้

คำว่า พึงรู้จักผ้าที่ยืมเขามา คือ รู้จักผ้าที่ทายกมิได้หยิบยกให้

คำว่า พึงรู้จักผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน คือ พึงรู้จักผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน

๒ อย่าง คือ ทำค้างคืน ๑ เก็บไว้ค้างคืน ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 740

คำว่า พึงรู้จักผ้าเป็นนิสสัคคีย์ นั้น คือ เมื่อภิกษุกำลังทำผ้าอยู่

อรุณขึ้นมา.

อธิบายการกรานกฐิน

[๑,๑๔๗] คำว่า พึงรู้จักการกรานกฐิน นั้น มีอธิบาย ถ้าผ้า

กฐินบังเกิดแก่สงฆ์ สงฆ์พึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุผู้กรานพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุ

ผู้อนุโมทนาพึงปฏิบัติอย่างไร

สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินแก่ภิกษุผู้กราน กฐินด้วยญัตติทุติยกรรม

ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงซักขยำให้สะอาดแล้ว กะ ตัด เย็บ ย้อม

ทำพินทุกัปปะแล้วกรานกฐินในวันนั้นเทียว ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้า

สังฆาฏิ พึงถอนผ้าสังฆาฏิผืนเก่าเสีย พึงอธิษฐานผ้าสังฆาฏิผืนใหม่ เปล่งวาจา

ว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้า

อุตราสงค์ พึงถอนผ้าอุตราสงค์ผืนเก่าเสีย พึงอธิษฐานผ้าอุตราสงค์ผืนใหม่

เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าอุตราสงค์ผืนนี้ ถ้าประสงค์จะกรานกฐิน

ด้วยผ้าอันตวาสก พึงถอนผ้าอันตวาสกผืนเก่าเสีย พึงอธิษฐานผ้าอันตรวาสก

ผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าอันตรวาสกผืนนี้

อันภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า

ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกราน

กฐินเป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด

ภิกษุผู้อันโมทนาเหล่านั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคอง

อัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็น

ธรรม เราทั้งหลายอนุโมทนา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 741

ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์

เฉวียงบ่า ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานแล้ว

การกรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด

ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคอง

อัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็น

ธรรม เราทั้งหลายอนุโมทนา

ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียง

บ่า ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การ

กรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านอนุโมทนาเถิด

ภิกษุผู้อนุโมทนานั้น พึงห่มผ้าอุคราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี

กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม

ข้าพเจ้าอนุโมทนา.

กรานกฐิน

[๑,๑๔๘] ถามว่า สงฆ์กรานกฐิน คณะกรานกฐิน บุคคลกราน

กฐิน หรือ

ตอบว่า สงฆ์หาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคล

กรานกฐิน ถ้าสงฆ์หาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคล

กรานกฐิน ได้ชื่อว่า สงฆ์ไม่ได้กรานกฐิน คณะไม่ได้กรานกฐิน แต่บุคคล

กรานกฐิน

ถ. สงฆ์สวดปาติโมกข์ คณะสวดปาติโมกข์ บุคคลสวดปาติโมกข์

หรือ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 742

ต. สงฆ์หาได้สวดปาติโมกข์ไม่ คณะหาได้สวดปาติโมกข์ไม่ แต่

บุคคลสวดปาติโมกข์ สงฆ์หาได้สวดปาติโมกข์ไม่ คณะหาได้สวดปาติโมกข์ไม่

แต่บุคคลสวดปาติโมกข์ ได้ชื่อว่า สงฆ์ไม่ได้สวดปาติโมกข์ คณะไม่ได้สวด

ปาติโมกข์ แต่บุคคลสวดปาติโมกข์ หรือเพราะความสามัคคีแห่งสงฆ์ เพราะ

ความสามัคคีแห่งคณะ เพราะบุคคลสวด ได้ชื่อว่า สงฆ์สวดปาติโมกข์ คณะ

สวดปาติโมกข์ บุคคลสวดปาติโมกข์ ฉันใด สงฆ์หาได้กรานกฐินไม่ คณะ

หาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคลกรานกฐิน เพราะสงฆ์อนุโมทนา เพราะคณะ

อนุโมทนา เพราะบุคคลกราน ได้ชื่อว่า สงฆ์กรานกฐิน คณะกรานกฐิน

บุคคลกรานกฐิน ฉันนั้นเหมือนกัน.

แก้ปัญหาปลิโพธในมาติกา ๘

[๑,๑๔๙] ท่านมหากัสสปถามว่า การ

เดาะกฐินมีการหลีกไปเป็นที่สุด อันพระ-

สุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้

สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึง

การเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน

ท่านพระอุบาลีตอบว่า การเดาะกฐิน

มีการหลีกไปเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้

เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้

แล้ว ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้ง

อาวาสนี้เสียละ ปลิโพธในจีวรขาดก่อน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 743

ปลิโพธในอาวาสขาดพร้อมกับภิกษุนั้น ไป

นอกสีมา.

[๑,๑๕๐] ม. การเดาะกฐินมีการทำ

เสร็จเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้า

ขอถามท่าน ถึงการเดาะกฐินนั่น ปลิโพธ

อย่างไหนดูก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีการทำเสร็จเป็น

ที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่ง

พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อภิกษุ

หลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสียสละ

ปลิโพธในอาวาสขาดก่อน เมื่อจีวรสำเร็จ

ปลิโพธในจีวรขาด.

[๑,๑๕๑] ม. การเดาะกฐินมีการตก-

ลงใจเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้า

ขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั่น ปลิโพธ

อย่างไหนขาดก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีการตกลงใจเป็น

ที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่ง

พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อภิกษุ

หลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสียละ

ปลิโพธ ๒ อย่าง ขาดพร้อมกัน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 744

[๑,๑๕๒] ม. การเดาะกฐินมีความ

เสียเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้า

ขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั่น ปลิโพธ

อย่างไหนขาดก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีการเสียเป็นที่สุด

อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระ-

ราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อภิกษุหลีกไป

ด้วยคิดว่าจักทิ้งอาวาสนี้เสียละ ปลิโพธใน

อาวาสขาดก่อน ปลิโพธในจีวรขาดเมื่อจีวร

เสียหาย.

[๑,๑๕๓] ม. การเดาะกฐินมีการฟัง

เป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้า

ขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั่น ปลิโพธ

อย่างไหนขาดก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีการฟังเป็นที่สุด

อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชา

ผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วย

คิดว่าจักทิ้งอาวาสนี้เสียละ ปลิโพธในจีวร

ขาดก่อน ปลิโพธในอาวาสขาดพร้อมกับ

การฟังของภิกษุนั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 745

[๑,๑๕๔] ม. การเดาะกฐินมีความ

สิ้นหวังเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็น

เผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว

ก็ข้าพเจ้าขอถามท่าน ถึงการเดาะกฐินนั่น

ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีความสิ้นหวังเป็น

ที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่ง

พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อภิกษุ

หลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสียละ

ปลิโพธในอาวาสขาดก่อน ปลิโพธในจีวร

ขาดต่อเมื่อสิ้นความหวังในจีวรแล้ว.

[๑,๑๕๕] ม. การเดาะกฐินมีการก้าว

ล่วงสีมาเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็น

เผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว

ก็ข้าพเจ้าขอถามท่าน ถึงการเดาะกฐินนั่น

ปลิโพธอย่างไหนดูก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีการก้าวล่วงสีมา

เป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อ

ภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทั้งอาวาสนี้เสียละ

ปลิโพธในจีวรขาดก่อน ปลิโพธในอาวาส

ขาดเมื่อภิกษุนั้นไปนอกสีมา.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 746

[๑,๑๕๖] ม. การเดาะกฐินมีการเดาะ

พร้อมกัน อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้า

ขอถามท่าน ถึงการเดาะกฐินนั่น ปลิโพธ

อย่างไหนขาดก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีการเดาะพร้อมกัน

อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ แห่งพระ-

ราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อภิกษุหลีกไป

ด้วยคิดว่าจักทิ้งอาวาสนี้เสียละ ปลิโพธทั้ง ๒

ขาดพร้อมกัน.

การเดาะกฐิน

[๑,๑๕๗] ถามว่า การเดาะกฐินที่

สงฆ์เป็นใหญ่มีเท่าไร การเดาะกฐินที่บุคคล

เป็นใหญ่มีเท่าไร การเดาะกฐินที่สงฆ์ไม่

เป็นใหญ่ บุคคลไม่เป็นใหญ่มีเท่าไร

ตอบว่า การเดาะกฐินที่สงฆ์เป็น

ใหญ่มีอย่างเดียว คือ การเดาะในระหว่าง

การเดาะกฐินที่บุคคลเป็นใหญ่มี ๔

อย่าง คือ เดาะกฐินมีการหลีกไปเป็นที่สุด ๑

มีการทำเสร็จเป็นที่สุด ๑ มีความตกลงใจ

เป็นที่สุด ๑ มีความก้าวล่วงสีมาเป็นที่สุด ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 747

การเดาะกฐินที่สงฆ์ไม่เป็นใหญ่ ที่

บุคคลไม่เป็นใหญ่มี ๔ อย่าง คือ การเดาะ

กฐินมีการเสียเป็นที่สุด ๑ มีการฟังเป็นที่

สุด ๑ มีความสิ้นหวังเป็นที่สุด ๑ มีการ

เดาะกฐินพร้อมกัน ๑.

การเดาะกฐินภายในสีมาเป็นต้น

[๑,๑๕๘] ถามว่า การเดาะกฐินเท่าไร เดาะภายในสีมา การเดาะ

กฐินเท่าไร เดาะภายนอกสีมา การเดาะกฐินเท่าไร บางอย่างเดาะภายในสีมา

บางอย่างเดาะภายนอกสีมา

ตอบว่า การเดาะกฐิน ๒ อย่าง เดาะภายในสีมา คือ เดาะในระหว่าง

๑ เดาะพร้อมกัน ๑

การเดาะกฐิน ๓ อย่าง เดาะภายนอกสีมา คือ การเดาะกฐินมีความ

หลีกไปเป็นที่สุด ๑ มีความฟังเป็นที่สุด ๑ มีความก้าวล่วงสีมาเป็นที่สุด ๑

การเดาะกฐิน ๔ อย่าง บางอย่างเดาะภายในสีมา บางอย่างเดาะ

ภายนอกสีมา คือ การเดาะกฐินมีการทำเสร็จเป็นที่สุด ๑ มีความตกลงใจเป็น

ที่สุด ๑ มีความเสียเป็นที่สุด ๑ มีความสิ้นหวังเป็นที่สุด ๑.

การเดาะกฐินเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้น

[๑,๑๕๙] ถามว่า การเดาะกฐินเท่าไร เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน การ

เดาะกฐินเท่าไร เกิดด้วยกัน ดับต่างกัน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 748

ตอบว่า การเดาะกฐิน ๒ อย่างที่เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน คือ เดาะใน

ระหว่าง ๑ เดาะพร้อมกัน ๑

การเดาะกฐินนอกนั้น เกิดด้วยกัน ดับต่างกัน.

กฐินเภท จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๑๖๐] ใคร ด้วยอย่างไร ธรรม ๑๕ อย่าง นิทาน เหตุ ปัจจัย

สงเคราะห์ มูล เบื้องต้น ประเภท บุคคล บุคคล ๓ การเดาะกฐิน ๓

พึงรู้ การกราน การสวด ปลิโพธ เป็นใหญ่ สีมา เกิดขึ้นและดับ.

ปริวาร จบ

กฐินเภท วัณณนา

[ธรรมที่เกิดพร้อมกับกรานกฐิน]

วินิจฉัยในกฐิน พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า อฏฺ มาติกา ได้แก่ มาติกา ๘ มีปักกมนันติกา

(กำหนดด้วยการหลีกไปเป็นที่สุด) เป็นต้น ที่ตรัสไว้ในขันธกะ. แม้ปลิโพธ

และอานิสงส์ก็ได้ตรัสไว้ในหนหลังแล้วแล.

[ว่าด้วยอนันตรปัจจัยเป็นอาทิ]

บทว่า ปโยคสฺส ได้แก่ ประโยคมีการหาน้ำมาเป็นต้น ที่ภิกษุ

กระทำเพื่อประโยชน์แก่บุพกรณ์ ๗ อย่าง มีซักจีวรเป็นต้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 749

หลายบทว่า กตเม ธมฺมา อนนฺตรปจฺจเยน ปจฺจโย มีความว่า

ธรรมเหล่าไหนเป็นธรรมสืบลำดับ โดยเนื่องด้วยประโยคที่ยังไม่มา ย่อมเป็น

ปัจจัย.

บทว่า สมนนฺตรปจฺจเยน มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ถึงธรรมที่สืบลำดับกันเป็นปัจจัย ด้วยธรรมที่สืบลำดับกันเป็นปัจจัยโดยตรง

นั่นเอง แต่ทำให้ใกล้ชิดกว่า.

บทว่า นิสฺสยปจฺจเยน มีความว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นเหมือนเข้า

ใกล้ความเป็นธรรมเป็นที่อาศัย คือความเป็นธรรมเป็นที่รองรับแห่งประโยค

ที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นปัจจัย.

บทว่า อุปนิสฺสยปจฺจเยน มีความว่า ตรัสถามถึงธรรมที่อาศัย

เป็นปัจจัย ด้วยธรรมเป็นที่อาศัยเป็นปัจจัย ซึ่งใกล้ชิดกันนั่นเอง แต่ทำให้

ใกล้ชิดกว่า.

ตรัสถามถึงภาวะแห่งธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย ด้วยบทว่า ปุเรชาต-

ปจฺจเยน นี้.

ตรัสถามถึงภาวะแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น ไม่ก่อนไม่หลัง เป็น

ปัจจัย ด้วยบทว่า สหชาตปจฺจเยน นี้.

บทว่า ปุพฺพกรณสฺส ได้แก่ บุพกรณ์ มีการซักจีวรเป็นต้นด้วย.

บทว่า ปจฺจุทฺธรสฺส ได้แก่ การถอนไตรจีวรมีสังฆาฏิผืนเก่า

เป็นต้น.

บทว่า อธิฏฺานสฺส ได้แก่ อธิษฐานจีวรกฐิน.

บทว่า อตฺถารสฺส ได้แก่ การกรานกฐิน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 750

หลายบทว่า มาติกานญฺจ ปลิโพธานญฺจ ได้แก่ มาติกา ๘ และ

ปลิโพธ ๒.

บทว่า วตฺถุสฺส ได้แก่ วัตถุควรแก่กฐิน มีสังฆาฏิเป็นต้น.

คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

[ว่าด้วยปัจจัยประโยคเป็นอาทิ]

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถามถึงบุพกรณ์เป็นต้น ซึ่งได้โดย

ความเป็นปัจจัย และประโยคเป็นต้น ซึ่งไม่ได้โดยความเป็นปัจจัย อย่างนั้น

ทั้งหมดแล้ว บัดนี้ จะแสดงบุพกรณ์ เป็นต้น ซึ่งได้โดยความเป็นปัจจัย

แห่งประโยคเป็นต้นนั่นแล แล้วจึงตรัสคำวิสัชนา โดยนัยมีคำว่า ปุพฺพกรณ

ปโยคสฺส เป็นต้น.

เนื้อความแห่งคำวิสัชนา พึงทราบดังนี้:-

ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยในคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปโยคสฺส

กตเม ธมฺมา เป็นต้น, บุพกรณ์เป็นปัจจัย โดยอนันตรปัจจัยแห่งประโยค

เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย นิสสยปัจจัย และอุปนิสสปัจจัยแห่งประโยค.

จริงอยู่ บุพกรณ์แม้ทั้ง ๗ อย่าง ย่อมเป็นปัจจัยโดยปัจจัย ๔ เหล่า-

นี้แห่งประโยค เพราะเหตุที่ประโยคนั้น อันภิกษุย่อมกระทำเพื่อประโยชน์แก่

บุพกรณ์ อันตนพึงให้สำเร็จด้วยประโยคนั้น. แต่ประโยคนั้น ย่อมไม่ได้แม้

ซึ่งธรรมอันหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายที่ได้อุทเทสแล้ว ในความเป็นปุเรชาตปัจจัย

ประโยคนั้น ชื่อว่าเป็นปุเรชาตปัจจัยเองแห่งบุพกรณ์โดยแท้ เพราะเมื่อ

ประโยคมี บุพกรณ์จึงสำเร็จ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ประโยคเป็นปัจจัยแห่งบุพกรณ์ โดยเป็นปุเรชาตปัจจัย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 751

อนึ่ง ประโยคย่อมได้ปัจฉาชาตปัจจัย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าจึงตรัสว่า บุพกรณ์เป็นปัจจัยแห่งประโยค โดยเป็นปัจฉาชาตปัจจัย.

จริงอยู่ ประโยคนั้น อันภิกษุย่อมทำ เพื่อประโยชน์แก่บุพกรณ์ ซึ่งเกิด

ภายหลัง. แต่เว้นธรรม ๑๕ กล่าวคือ มาติกาปลิโพธและอานิสงส์เสียแล้ว

ในบรรดาธรรมมีประโยคเป็นอาทิ ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ย่อมไม่ได้สหชาต-

ปัจจัย. เพราะว่า ธรรม ๑๕ นั้นเท่านั้น ย่อมสำเร็จพร้อมกันกับการกราน

กฐิน เพราะฉะนั้น จึงเป็นสหชาตปัจจัยอาศัยกันและกันได้. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรม ๑๕ เป็นปัจจัย โดยเป็นสหชาตปัจจัย.

วิสัชนาบททั้งปวง พึงทราบโดยอุบายนี้.

ปุจฉาวิสัชนามีอาทิว่า บุพกรณ์มีอะไรเป็นนิทาน ตื้นทั้งนั้น.

[ว่าด้วยนิทานแห่งประโยคเป็นอาทิ]

วินิจฉัยในวิสัชนาสองปัญหาว่า ประโยคมีอะไรเป็นนิทาน เป็นอาทิ

พึงทราบดังนี้ :-

ในคำว่า ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นนิทาน นี้ จีวร ๖ ชนิด

พึงทราบว่า เป็นเหตุและเป็นปัจจัย. จริงอยู่ จีวรเหล่านั้นแลเป็นเหตุ จีวร

เหล่านั้นเป็นปัจจัยแห่งธรรมทั้งปวงมีบุพประโยคเป็นต้น. เมื่อจีวร ๖ ชนิด

ไม่มี ประโยคก็หามีไม่ บุพกรณ์เป็นต้นก็หามีไม่แล เพราะเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน เป็นต้น.

วินิจฉัยในสังคหวาร พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า วจีเภเทน ได้แก่ การลั่นวาจานี้ว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วย

สังฆาฏินี้, ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยอุตราสงค์นี้ ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยอันตรวา-

สกนี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 752

วินิจฉัยในกติมูลาทิปุจฉาวิสัชนา พึงทราบดังนี้:-

การถอนและการอฐิษฐาน ชื่อว่ากิริยาในท่ามกลาง.

[ว่าด้วยวิบัติแห่งกฐินเป็นอาทิ]

สองบทว่า วตฺถุวิปนฺนญฺจ โหติ ได้แก่ เป็นผ้าไม่ควร. ผ้าที่

พวกทายกถวายในวันนี้ สงฆ์ให้แก่ภิกษุผู้กรานกฐินในวันพรุ่งนี้ ชื่อว่าวิบัติ

โดยกาล. ผ้าที่ตัดแล้วไม่ทำให้เสร็จในวันนั้นนั่นเอง ชื่อว่าวิบัติ โดยการ

กระทำ.

วินิจฉัยในวิสัชนาคำถามที่ว่า กิน ชานิตพฺพ เป็นอาทิ พึง

ทราบดังนี้:-

สองบทว่า เตสเยว ธมฺมาน มีความว่า เมื่อธรรมทั้งหลายมีรูป

ธรรมเป็นต้น เหล่าใดมีอยู่ ชื่อกฐินจึงมี ความประสมคือประมวลรูปธรรม

เป็นต้นเหล่านั้น. ก็ด้วยคำว่า นาม นามกมฺม เป็นต้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงว่า คำว่า กฐินนี้ สักว่าเป็นนามในธรรมเป็นอันมาก โดย

ปรมัตถ์ ธรรมอันหนึ่งหามีไม่.

สองบทว่า จตุวีสติยา อากาเรหิ มีความว่า (พึงทราบวิบัติแห่ง

การกรานกฐิน) ด้วยเหตุที่กล่าวแล้วในหนหลัง มีคำว่า น อุลฺลิกฺขิตมตฺเตน

เป็นต้น.

สองบทว่า จตุวีสติยา อากาเรหิ มีความว่า (พึงทราบสมบัติแห่ง

การกรานกฐิน) ด้วยเหตุที่กล่าวแล้วในหนหลัง มีคำว่า กฐินเป็นอันกราน

แล้วด้วยผ้าใหม่ เป็นต้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 753

คำใดอันพึงจะกล่าวในนิมิตกรรมเป็นอาทิ คำทั้งปวงนั้น ได้กล่าว

ไว้แล้วในวัณณนาแห่งกฐินขันธกะ.

[ว่าด้วยการรื้อแห่งกฐิน]

สองบทว่า เอกุปฺปาทา เอกนิโรธา มีความว่า การรื้อแห่งกฐิน

แม้เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยกัน แม้เมื่อดับ ย่อมดับด้วยกัน.

สองบทว่า เอกุปฺปาทา นานานิโรธา มีความว่า การรื้อแห่ง

กฐิน เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยกัน, เมื่อดับ ย่อมดับต่างคราวกัน.

มีคำอธิบายอย่างไร ? การรื้อแม้ทั้งปวง ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันกับ

การกราน, จริงอยู่ เมื่อมีการกราน การรื้อย่อมมีเป็นธรรมดา

ในบรรดาการกรานกฐิน ๘ เหล่านี้ สองเบื้องต้น เมื่อจะดับย่อมดับ

คือถึงความรื้อ พร้อมกันกับการกราน. จริงอยู่ ความดับแห่งการกราน และ

ความเป็นแห่งการรื้อ แห่งกฐินุทธาร ๒ นั่น ย่อมมีในขณะเดียวกัน นอกนี้

ย่อมดับต่างคราวกัน. เมื่อกฐินุทธารมปักกมนันติกาเป็นต้นแม้เหล่านั้น ถึง

แล้วซึ่งความเป็นอาการรื้อ การกรานก็ยังคงอยู่.

คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

กฐินเภท วัณณนา จบ

จบปัญญัตติวัคค วัณณนา

ในอรรถกถาวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 754

อุปาลิปัญจกะ

อนิสสิตวรรคที่ ๑

ท่านพระอุบาลีเข้าเฝ้า

[๑,๑๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน

พระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

แล้วทูลถามปัญหาว่า ดังนี้:-

องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย

พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล จะไม่ถือนิสัย

อยู่ตลอดชีวิตไม่ได้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕

จะไม่ถือนิสัยอยู่ตลอดชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่รู้อุโบสถ

๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม

๓. ไม่รู้ปาติโมกข์

๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ

๕. มีพรรษาหย่อนห้า

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสัยอยู่ตลอด

ชีวิตไม่ได้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 755

องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ตลอดชีวิต

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. รู้อุโบสถ

๒. รู้อุโบสถกรรม

๓. รู้ปาติโมกข์

๔. รู้ปาติโมกขุทเทศ

๕. มีพรรษาได้ห้าหรือเกินห้า

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ตลอด

ชีวิต

องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่

ตลอดชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่รู้ปวารณา

๒. ไม่รู้ปวารณากรรม

๓. ไม่รู้ปาติโมกข์

๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ

๕ . มีพรรษาหย่อนห้า

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสัยอยู่ตลอด

ชีวิตไม่ได้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 756

องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ตลอดชีวิต

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. รู้ปวารณา

๒. รู้ปวารณากรรม

๓. รู้ปาติโมกข์

๔. รู้ปาติโมกขุทเทศ

๕. มีพรรษาได้ห้า หรือเกินห้า

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ตลอด

ชีวิต

องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่

ตลอดชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ

๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก

๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ

๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ

๕. มีพรรษาหย่อนห้า

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสัยอยู่ตลอด

ชีวิตไม่ได้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 757

องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ตลอดชีวิต

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ

๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก

๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ

๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ

๕. มีพรรษาได้ห้า หรือเกินห้า

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ตลอด

ชีวิต

ภิกษุผู้ที่ไม่ควรอุปสมบทเป็นต้น

[๑,๑๖๒] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล

ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึง

ให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่อาจพยาบาลเองหรือส่งผู้อื่นให้พยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิ-

วิหาริกผู้อาพาธ

๒. ไม่อาจระงับเองหรือให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน

๓. ไม่อาจบรรเทาเองหรือให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอัน

เกิดขึ้นโดยธรรม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 758

๔. ไม่อาจแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป

๕. ไม่อาจแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่

พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

ภิกษุผู้ควรให้อุปสมบทเป็นต้น

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย

พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. อาจพยาบาลเองหรือสั่งผู้อื่นให้พยาบาลอันเตวาสิก หรือสัทธิวิหาริก

ผู้อาพาธ

๒. อาจระงับเองหรือให้ผู้อื่นช่วยงับความกระสัน

๓. อาจบรรเทาเองหรือให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอันเกิดขึ้น

โดยธรรม

๔. อาจแนะนำในธรรมอันยิงขึ้นไป

๕. อาจแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้

นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

ภิกษุผู้ไม่ควรให้อุปสมบทเป็นต้นอีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงให้อุปสมบท

ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 759

๑. ไม่อาจฝึกปรืออันเตวาสิก หรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาเป็นส่วน

อภิสมาจาร

๒. ไม่อาจแนะนำอันเตวาสิก หรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาเป็นส่วน

เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์

๓. ไม่อาจแนะนำในศีลอันยิ่งขึ้นไป

๔. ไม่อาจแนะนำในจิตอันยิ่งขึ้นไป

๕. ไม่อาจแนะนำในปัญญาอันยิ่งขึ้นไป

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่

พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

ภิกษุผู้ควรให้อุปสมบทเป็นต้น

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย

พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. อาจฝึกปรืออันเตวาสิก หรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาเป็นส่วนอภิ-

สมาจาร

๒. อาจแนะนำอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาเป็นส่วนเบื้องต้น

แห่งพรหมจรรย์

๓. อาจแนะนำในศีลอันยิ่งขึ้นไป

๔. อาจแนะนำในจิตอันยิ่งขึ้นไป

๕. อาจแนะนำในปัญญาอันยิ่งขึ้นไป

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้

นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 760

องค์ ๕ ของภิกษุผู้ถูกลงโทษ

[๑,๑๖๓] อุ. พระพุทธเจ้าข้า สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย

องค์เท่าไรหนอแล

พ. ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อะไร

บ้าง คือ:-

๑. เป็นอลัชชี

๒. เป็นพาล

๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ

๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

๕. มีอาชีววิบัติ

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล

๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร

๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ

๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

๕. มีอาชีววิบัติ

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 761

๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความคะนองกาย

๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความคะนองวาจา

๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความคะนองกายและวาจา

๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

๕. มีอาชีววิบัติ

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. เป็นผู้ประพฤติอนาจารทางกาย

๒. เป็นผู้ประพฤติอนาจารทางวาจา

๓. เป็นผู้ประพฤติอนาจารทางกาย และทางวาจา

๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

๕. มีอาชีววิบัติ

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความลบล้างทางกาย

๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความลบล้างทางวาจา

๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความลบล้างทางกายและทางวาจา

๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

๕. มีอาชีววิบัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 762

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางกาย

๒. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางวาจา

๓. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางกายและวาจา

๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

๕. มีอาชีววิบัติ

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ แต่ยังให้อุปสมบท

๒. ให้นิสัย

๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. ยินดีการสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ยังสอนภิกษุณี

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ถูกสงฆ์ลงโทษเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น

๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

๓. ต้องอาบัติที่เลวกว่านั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 763

๔. ติเตียนกรรม

๕. ติเตียนภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. พูดติพระพุทธเจ้า

๒. พูดติพระธรรม

๓. พูดติพระสงฆ์

๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

๕. มีอาชีววิบัติ

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

อนิสสิตวรรค ที่ ๑ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๑๖๔] อุโบสถ ๑ ปวารณา ๑ อาบัติ ๑ อาพาธ ๑ อภิสมาจาร ๑

อลัชชี ๖ อธิศีล ๑ คะนอง ๑ อนาจาร ๑ ลบล้าง ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ อาบัติ ๑

เพราะอาบัติใด ๑ ติพระพุทธเจ้า ๑ รวมเป็นวรรค ที่ ๑ แล.

นัปปฏิปัสสัมภนวรรค ที่ ๒

องค์ของภิกษุที่ไม่ควรระงับกรรม

[๑,๑๖๕] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล

สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 764

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ ยังให้อุปสมบท

๒. ให้นิสัย

๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. ยินดีการสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ยังสอนภิกษุณี

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับ

กรรม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ถูกสงฆ์ลงโทษเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น

๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

๓. ต้องอาบัติที่เลวกว่านั้น

๔. ติกรรม

๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับ

กรรม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. พูดติพระพุทธเจ้า

๒. พูดติพระธรรม

๓. พูดติพระสงฆ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 765

๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

๕. มีอาชีววิบัติ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับ

กรรม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. เป็นอลัชชี

๒. เป็นพาล

๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ

๔. ทำการย่ำยีในข้อวัตร

๕. ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม.

คุณสมบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม

[๑,๑๖๖] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เข้าสงความ เมื่อเข้าหาสงฆ์

พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์

พ. ดูก่อนอุบาลี อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้งธรรม

๕ อย่างไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ ธรรม ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์

๑. พึงมีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์

๒. พึงเป็นผู้รู้จักอาสนะ รู้จักการนั่ง

๓. ไม่เบียดภิกษุผู้เถระ ไม่เกียดกันอาสนะภิกษุผู้อ่อนกว่า พึงนั่ง

อาสนะอันควร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 766

๔. ไม่พึงพูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พึงพูดดิรัจฉานกถา

๕. พึงกล่าวธรรมด้วยตนเอง หรือเชิญผู้อื่นกล่าว ไม่พึงดูหมิ่น

อริยดุษณีภาพ

ดูก่อนอุบาลี ถ้าสงฆ์ทำกรรมที่ควรพร้อมเพรียงกันทำ ถ้าในกรรมนั้น

ภิกษุไม่ชอบใจ จะพึงทำความเห็นแย้งก็ได้ แล้วควบคุมสามัคคีไว้ ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะเธอคิดว่า เราอย่ามีความเป็นต่าง ๆ จากสงฆ์เลย

ดูก่อนอุบาลี อัน ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์ พึงตั้งธรรม

๕ อย่างนี้ไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์เถิด.

องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์

[๑,๑๖๗] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล

เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชน

หมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่

เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่

ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. เป็นผู้มีความคิดมืดมน

๒. พูดซัดผู้อื่น

๓. ไม่ฉลาดให้ถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน

๔. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร

๕. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 767

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อม

ไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็น

ที่ชอบใจของชนหมู่มาก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่

ปรารถนาของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชน

หมู่มาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่เป็นผู้มีความคิดมืดมน

๒. ไม่พูดซัดผู้อื่น

๓. ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน

๔. โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร

๕. ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อม

เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจ

ของชนหมู่มาก

องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เมื่อพูดในสงฆ์

ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก และไม่

เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. เป็นผู้อวดอ้าง

๒. เป็นผู้รุกราน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 768

๓. ยึดถืออธรรม

๔. ค้านธรรม

๕. กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มาก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อม

ไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็น

ที่ชอบใจของชนหมู่มาก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่

ปรารถนาของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของ

ชนหมู่มาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่เป็นผู้อวดอ้าง

๒. ไม่เป็นผู้รุกราน

๓. ยึดถือธรรม

๔. ค้านอธรรม

๕. ไม่กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มาก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อม

เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจ

ของชนหมู่มาก

องค์ของภิกษุพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เมื่อพูดในสงฆ์

ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่

เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 769

๑. พูดข่มขู่

๒. พูดไม่ให้โอกาสผู้อื่น

๓. ไม่โจททามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร

๔. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร

๕. ไม่ชี้แจงคามความเห็น

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อม

ไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็น

ที่ชอบใจของชนหมู่มาก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่

ปรารถนาของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของ

ชนหมู่มาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่พูดข่มขู่

๒. พูดให้โอกาสผู้อื่น

๓. โจทตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร

๔. ปรับตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร

๕. ชี้แจงตามความเห็น

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อม

เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจ

ของชนหมู่มาก.

อานิสงส์ในการเรียนวินัย

[๑,๑๖๘] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์เท่าไร

หนอแล

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 770

พ. ดูก่อนอุบาลี ในการเรียนวินัยมีอานิสงส์ ๕ นี้ อานิสงส์ ๕ อะไร

บ้าง คือ:-

๑. กองศีลเป็นอันตนคุ้มครองรักษาไว้ด้วยดี

๒. เป็นที่พึ่งพิงของผู้ถูกความสงสัยครอบงำ

๓. เป็นผู้แกล้วกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์

๔. ข่มขี่ข้าศึกได้ด้วยดีโดยสหธรรม

๕. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม

ดูก่อนอุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ ๕ นี้แล.

นัปปฏิปัสสัมภนวรรค ที่ ๒ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๑๖๙] ต้องอาบัติ ๑ เพราะอาบัติใด ๑ พูดติเตียน ๑ อลัชชี ๑

สงคราม ๑ มีความคิดมืดมน ๑ อวดอ้าง ๑ ข่มขู่ ๑ เรียนวินัย ๑.

โวหารวรรคที่ ๓

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์

[๑,๑๗๐] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึงพูดในสงฆ์

พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕

อะไรบ้าง คือ:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 771

๑. ไม่รู้อาบัติ

๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ

๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ

๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ

๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร

บ้าง คือ:-

๑. รู้อาบัติ

๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ

๓. รู้ประโยคอาบัติ

๔. รู้ความระงับอาบัติ

๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่รู้อธิกรณ์

๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 772

๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์

๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์

๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร

บ้าง คือ:-

๑. รู้อธิกรณ์

๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์

๓. รู้ประโยคอธิกรณ์

๔. รู้ความระงับอธิกรณ์

๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. พูดข่มขู่

๒. พูดไม่ให้โอกาสผู้อื่น

๓. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 773

๔. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร

๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร

บ้าง คือ:-

๑. ไม่พูดข่มขู่

๒. พูดให้โอกาสผู้อื่น

๓. โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร

๔. ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร

๕. ชี้แจงตามความเห็น

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ

๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก

๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ

๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 774

ภิกษุควรพูดในสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร

บ้าง คือ:-

๑. รู้อาบัติและอนาบัติ

๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก

๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ

๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่รู้กรรม

๒. ไม่รู้การทำกรรม

๓. ไม่รู้วัตถุของกรรม

๔. ไม่รู้วัตรของกรรม

๕. ไม่รู้ความระงับกรรม

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร

บ้างคือ:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 775

๑. รู้กรรม

๒. รู้การทำกรรม

๓. รู้วัตถุของกรรม

๔. รู้วัตรของกรรม

๕. รู้ความระงับกรรม

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์

องค์ ๕ อะไรบ้างคือ:-

๑. ไม่รู้วัตถุ

๒. ไม่รู้นิทาน

๓. ไม่รู้บัญญัติ

๔. ไม่รู้บทที่ตกในภายหลัง

๕. ไม่รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร

บ้างคือ:-

๑. รู้วัตถุ

๒. รู้นิทาน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 776

๓. รู้บัญญัติ

๔. รู้บทที่ตกในภายหลัง

๕. รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรพูดในสงฆ์

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ถึงฉันทาคติ

๒. ถึงโทสาคติ

๓. ถึงโมหาคติ

๔. ถึงภยาคติ

๕. เป็นอลัชชี

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕

อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่ถึงฉันทาคติ

๒. ไม่ถึงโทสาคติ

๓. ไม่ถึงโมหาคติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 777

๔. ไม่ถึงภยาคติ

๕. เป็นลัชชี

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ถึงฉันทาคติ

๒. ถึงโทสาคติ

๓. ถึงโมหาคติ

๔. ถึงภยาคติ

๕. ไม่ฉลาดในวินัย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร

บ้าง คือ:-

๑. ไม่ถึงฉันทาคติ

๒. ไม่ถึงโทสาติ

๓. ไม่ถึงโมหาคติ

๔. ไม่ถึงภยาคติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 778

๕. ฉลาดในวินัย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่รู้ญัตติ

๒. ไม่รู้การทำญัตติ

๓. ไม่รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ

๔. ไม่รู้สมถะแห่งญัตติ

๕. ไม่รู้ความระงับแห่งญัตติ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร

บ้าง คือ:-

๑. รู้ญัตติ

๒. รู้การทำญัตติ

๓. รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ

๔. รู้สมถะแห่งญัตติ

๕. รู้ความระงับแห่งญัตติ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 779

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่รู้สุตตะ

๒. ไม่รู้สุตตานุโลม

๓. ไม่รู้วินัย

๔. ไม่รู้วินยานุโลม

๕. ไม่ฉลาดในฐานะและอฐานะ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร

บ้าง คือ:-

๑. รู้สุตตะ

๒. รู้สุตตานุโลม

๓. รู้วินัย

๔. รู้วินยานุโลม

๕. ฉลาดในฐานะและอฐานะ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 780

๑. ไม่รู้ธรรม

๒. ไม่รู้ธรรมานุโลม

๓. ไม่รู้วินัย

๔. ไม่รู้วินยานุโลม

๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำปลาย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร

บ้าง คือ:-

๑. รู้ธรรม

๒. รู้ธรรมานุโลม

๓. รู้วินัย

๔. รู้วินยานุโลม

๕. ฉลาดในคำต้นและคำปลาย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์.

โวหารวรรค ที่ ๓ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๑๗๑] อาบัติ ๑ อธิกรณ์ ๑ ข่มขู่ ๑ รู้อาบัติ ๑ กรรม ๑

วัตถุ ๑ อลัชชี ๑ ไม่ฉลาด ๑ ญัตติ ๑ ไม่รู้สุตตะ ๑ ไม่รู้ธรรม ๑ รวม

เป็นวรรคที่ ๓ แล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 781

ทิฏฐาวิกรรมวรรคที่ ๔

การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม

[๑,๑๗๒] อุ. การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม มีเท่าไรหนอแล

พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรมนี้ มี ๕ อย่าง

๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-

๑. ทำความเห็นแย้งในอนาบัติ

๒. ทำความเห็นแย้งในอาบัติที่ไม่เป็นเทสนาคามินี

๓. ทำความเห็นแย้งในอาบัติที่แสดงแล้ว

๔. ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔-๕ รูป

๕. ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ

ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล

การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม

ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรมนี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่าง

อะไรบ้าง คือ:-

๑. ทำความเห็นแย้งในอาบัติ

๒. ทำความเห็นแย้งในอาบัติเป็นเทสนาคามินี

๓. ทำความเห็นแย้งในอาบัติอันยังมิได้แสดง

๔. ไม่ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔-๕ รูป

๕. ไม่ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ

ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 782

การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรมอีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม แม้อื่นอีก ๕ อย่าง

๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-

๑. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุนานาสังวาสก์

๒. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกัน

๓. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุมิใช่ปกตัตตะ

๔. ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔- ๕ รูป

๕. ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ

ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล

การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม

ดูก่อนอุบาลี การทำควานเห็นแย้งที่เป็นธรรมนี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่าง

อะไรบ้าง คือ:-

๑. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุสมานสังวาสก์

๒. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาเดียวกัน

๓. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุผู้เป็นปกตัตตะ

๔. ไม่ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔- ๕ รูป

๕. ไม่ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ

ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.

การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้

[๑,๑๗๓] อุ. การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้ มีเท่าไรหนอแล พระ

พุทธเจ้าข้า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 783

พ. ดูก่อนอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้นี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่าง

อะไรบ้าง คือ:-

๑. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย

๒. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย

๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย

๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่อง

ด้วยกาย

๕. ของเขาให้ด้วยโยนให้ ไม่รู้ประเคนด้วยกาย หรือด้วยของ

เนื่องด้วยกาย

ดูก่อนอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้ มี ๕ อย่าง นี้แล

การรับประเคนที่ใช้ได้

ดูก่อนอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้นี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง

คือ :-

๑. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย

๒. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย

๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย

๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย

๕. ของเขาให้ด้วยโยนให้ รับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่อง

ด้วยกาย

ดูก่อนอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้ ๕ อย่าง นี้แล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 784

ของที่ไม่เป็นเดน

[๑,๑๗๔] อุ. ของที่ไม่เป็นเดน มีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง

คือ:-

๑. ภิกษุไม่ทำให้เป็นกัปปิยะ

๒. ไม่รับประเคน

๓. ไม่ยกส่งให้

๔. ทำนอกหัตถบาส

๕. มิได้กล่าวว่า ทั้งหมดนั่นพอละ

ดูก่อนอุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนมี ๕ อย่าง นี้แล

ของที่เป็นเดน

ดูก่อนอุบาลี ของที่เป็นเดนนี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-

๑. ภิกษุทำให้เป็นกัปปิยะ

๒. รับประเคน

๓. ยกส่งให้

๔. ทำในหัตถบาส

๔. กล่าวว่า ทั้งหมดนั่นพอละ

ดูก่อนอุบาลี ของที่เป็นเดน ๕ อย่าง นี้แล.

การห้ามภัตร

[๑,๑๗๕] อุ. การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการเท่าไร พระพุทธ

เจ้าข้า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 785

พ. ดูก่อนอุบาลี กากห้ามภัตร ย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕ อย่าง ๕

อย่างอะไรบ้าง คือ:-

๑. การฉันยังปรากฏอยู่

๒. โภชนะปรากฏอยู่

๓. ผู้ให้อยู่ในหัตถบาส

๔. เขาน้อมของเข้ามา

๕. การห้ามปรากฏ

ดูก่อนอุบาลี การห้ามภัตร ย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕ นี้แล.

ทำตามปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรม

[๑,๑๗๖] อุ. การทำตามปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรม มีเท่าไร พระพุทธ-

เจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี การทำตามปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรมนี้มี ๕ อย่าง ๕

อย่างอะไรบ้าง คือ:-

๑. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่

ปฏิญญาว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็น

ทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม

๒. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่

ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ จัดเป็นทำตาม

ปฏิญญาไม่เป็นธรรม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 786

๓. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิ-

เทสนียะ แต่ปฏิญญาว่าต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุกกฏ จัดเป็น

ทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม

๔. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ

เธอถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับเธอ

ด้วยอาบัติปาราชิก จัดเป็นทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม

๕. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติทุกกฏ เธอถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่

ปฏิญญาว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับเธอด้วย

อาบัติปาฏิเทสนียะ จัดเป็นทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม

ดูก่อนอุบาลี การทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.

ทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม

ดูก่อนอุบาลี การทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรมนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่าง

อะไรบ้าง คือ:-

๑. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก

ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาราชิก จัดเป็นทำตาม

ปฏิญญาที่เป็นธรรม

๒. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เธอถูกโจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสส

ปฏิญญาว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็น

ทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 787

๓. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาจิตตีย์

ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ จัดเป็นทำตาม

ปฏิญญาที่เป็นธรรม

๔. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิ-

เทสนียะ ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ

จัดเป็นทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม

๕. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติทุกกฏ เธอถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ ปฏิญญา

ว่าต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุกกฏ จัดเป็นทำตามปฏิญญาที่

เป็นธรรม

ดูก่อนอุบาลี การทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรมมี ๕ อย่างนี้แล.

ไม่ควรทำโอกาส

[๑,๑๗๗] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ขอให้ทำโอกาส

สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่

ควรทำโอกาส องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. เป็นอลัชชี

๒. เป็นพาล

๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ

๔. เป็นผู้พูดประสงค์ให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์

๕. ไม่เป็นผู้พูดประสงค์ให้ออกจากอาบัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 788

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์

ไม่ควรทำโอกาส

ควรทำโอกาส

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำ

โอกาส องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. เป็นลัชชี

๒. เป็นบัณฑิต

๓. เป็นปกตัตตะ

๔. เป็นผู้พูดประสงค์ให้ออกจากอาบัติ

๕. ไม่เป็นผู้พูดประสงค์ให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์

ควรทำโอกาส.

ไม่ควรสนทนาวินัย

[๑,๑๗๘] อุ. ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสนทนาวินัยกับภิกษุประกอบด้วย

องค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พ. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนาวินัย กับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่รู้วัตถุ

๒. ไม่รู้นิทาน

๓. ไม่รู้บัญญัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 789

๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง

๕. ไม่รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนาวินัย กับภิกษุผู้ประกอบด้วย

องค์ ๕ นี้แล

ควรสนทนาวินัย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนาวินัย กับภิกษุผู้ประกอบด้วย

องค์ ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. รู้วัตถุ

๒. รู้นิทาน

๓. รู้บัญญัติ

๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง

๕. รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิเข้ากันได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนาวินัย กับภิกษุผู้ประกอบด้วย

องค์ ๕ นี้แล.

ถามปัญหา

[๑,๑๗๙]่ อุ. การถามปัญหามีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี การถามปัญหานี้ มี ๕ อย่าง ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ภิกษุถามปัญหา เพราะความรู้น้อย เพราะงมงาย

๒. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงถาม

ปัญหา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 790

๓. ถามปัญหาเพราะความดูหมิ่น

๔. เป็นผู้ไม่ประสงค์จะรู้ จึงถามปัญหา

๕. ถามปัญหาด้วยมนสิการว่า ถ้าเราถามปัญหาขึ้น ภิกษุจะพยากรณ์

โดยชอบเทียว การพยากรณ์ดังนี้นั้นเป็นความดี ถ้าเราถามปัญหาแล้ว เธอจัก

ไม่พยากรณ์โดยชอบเทียว เราจักพยากรณ์แก่เธอโดยชอบเทียว

ดูก่อนอุบาลี การถามปัญหา ๕ นี้แล.

การอวดอ้างมรรคผล

อุ. การอวดอ้างมรรคผล มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี การอวดอ้างมรรคผลนี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไร

บ้างคือ:-

๑. ภิกษุอวดอ้างมรรคผล เพราะความรู้น้อย เพราะความงมงาย

๒. ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงอวด

อ้างมรรคผล

๓. อวดอ้างมรรคผล เพราะวิกลจริต เพราะจิตฟุ้งซ่าน

๔. อวดอ้างมรรคผล เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ

๕. อวดอ้างมรรคผลที่เป็นจริง

ดูก่อนอุบาลี การอวดอ้างมรรคผล ๕ อย่าง นี้แล.

วิสุทธิ ๕

[๑,๑๘๐] อุ. วิสุทธิมีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี วิสุทธินี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 791

สวดนิทานแล้ว นอกนั้นสวดด้วยสุตบท นี้จัดเป็นวิสุทธิที่ ๑ สวด

นิทาน สวดปาราชิก ๔ แล้ว นอกนั้นสวดด้วยสุตบท นี้จัดเป็นวิสุทธิที่ ๒

สวดนิทาน สวดปาราชิก สวดสังฆาทิเสส ๑๓ แล้ว นอกจากนั้นสวดด้วย

สุตบท นี้จัดเป็นวิสุทธิที่ ๓ สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓

สวดอนิยต ๒ แล้วนอกนั้นสวดด้วยสุตบท นี้จัดเป็นวิสุทธิที่ ๔ สวดโดย

พิสดารทีเดียว จัดเป็นวิสุทธิที่ ๕

ดูก่อนอุบาลี วิสุทธิ ๕ อย่าง นี้แล.

โภชนะ ๕

[๑,๑๘๑] อุ. โภชนะมีเท่าไร หนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี โภชนะนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-

๑. ข้าวสุก

๒. นมสด

๓. ขนมแห้ง

๔. ปลา

๕. เนื้อ

ดูก่อนอุบาลี โภชนะ ๕ อย่าง นี้แล.

ทิฏฐาวิกรรมวรรค ที่ ๔ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๑๘๒] ทำความเห็นแย้ง ๑ ทำความเห็นแย้งอีกนัยหนึ่ง ๑ รับ

ประเคน ๑ ของเป็นเดน ๑ ห้ามภัตร ๑ ปฏิญญา ๑ ขอโอกาส ๑ สนทนา ๑

ถามปัญหา ๑ อวดอ้างมรรคผล ๑ วิสุทธิ ๑ โภชนะ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 792

อัตตาทานวรรค ที่ ๕

หน้าที่ของโจทก์

[๑,๑๘๓] อุ. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดธรรม

เท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดธรรม

๕ อย่างไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น ธรรม ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ:-

๑. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดอย่างนี้

ว่า เราเป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราเป็นผู้ประกอบด้วย

ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวนหรือ ธรรมนั้นของ

เรามีอยู่หรือไม่มี

ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่

ใช่เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวน

จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านศึกษาความประพฤติทางกายก่อน จะมีคนว่า

กล่าวต่อเธอดังนี้

๒. ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนด

อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีความพระพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราเป็นผู้

ประกอบด้วยความพระพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวนหรือ

ธรรมนั้นของเรามีอยู่หรือไม่มี

ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความพระพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่

ใช่เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบ-

สวน จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านศึกษาความประพฤติทางวาจาก่อน จะ

มีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 793

๓. ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนด

อย่างนี้ว่า เมตตาจิตไม่มีอาฆาต เราเข้าไปตั้งไว้แล้วในหมู่เพื่อนสพรหมจารี

หรือธรรมนั้นของเรามีอยู่หรือไม่มี

ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ได้เข้าไปตั้งเมตตาจิตไม่มีอาฆาตในหมู่เพื่อน

สพรหมจารี จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตาจิตในหมู่เพื่อน

สพรหมจารีก่อน จะมีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้

๔. ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนด

อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะหรือหนอ ธรรมเหล่านั้น

ใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์

พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น

เราได้ฟังมาก ทรงจำไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ธรรม

นั้นของเรามีอยู่หรือไม่มี

ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ

ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ

พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง

ธรรมเห็นปานนั้น เธอหาได้ฟังมาก ทรงจำไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี

แล้วด้วยปัญญาไม่ จะมีผู้กล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านเรียนคัมภีร์ก่อน จะมีคนว่า

กล่าวต่อเธอดังนี้

๕. ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนด

อย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะคล่องแคล่วดี

วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ หรือธรรมนั้นของเรามีอยู่

หรือไม่มี

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 794

ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้จำปาติโมกข์ทั้งสอง โดยพิสดาร

สวดไพเราะ คล่องแคล่วดี วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ

ไม่ได้ มีผู้ถามว่า ท่าน สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ที่ไหน เธอถูกถาม

ดังนี้ ย่อมตอบไม่ถูกต้อง จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านเล่าเรียนวินัยก่อน

จะมีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุโจทก์ประสงค์โจทผู้อื่น พึงกำหนดธรรม ๕ อย่างนี้

ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่นเถิด.

หน้าที่ของโจทก์อีกนัยหนึ่ง

[๑,๑๘๔] อุ. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรมเท่าไร

ไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕

อย่างไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น ธรรม ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-

๑. เราจักพูดโดยกาลอันควร จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร

๒. เราจักพูดด้วยคำจริง จักไม่พูดด้วยคำเท็จ

๓. เราจักพูดด้วยคำสุภาพ จักไม่พูดด้วยคำหยาบ

๔. เราจักพูดด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่พูดด้วยคำไม่ประ-

กอบด้วยประโยชน์

๕. เราจักมีเมตตาจิตพูด จักไม่มุ่งร้ายพูด

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ อย่าง

นี้ไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่นเถิด.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 795

โจทก์ควรใฝ่ใจถึงธรรม

[๑,๑๘๕] อุ. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม

เท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า

ดูก่อนอุบายี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม

๕ อย่างไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น ธรรม ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ:-

๑. ความการุญ

๒. ความหวังประโยชน์

๓. ความเอ็นดู

๔. ความออกจากอาบัติ

๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕

อย่างนี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น.

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้ทำโอกาส

[๑,๑๘๖] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ขอให้ทำโอกาส

สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์

ไม่ควรทำโอกาส องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์

๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์

๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 796

๔. เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด

๕. ถูกชักเข้า ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ซัก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์

ไม่ควรทำโอกาส

องค์ของภิกษุผู้ควรให้ทำโอกาส

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำ

โอกาส องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. เป็นผู้มีความพระพฤติทางกายบริสุทธิ์

๒. เป็นผู้มีความพระพฤติทางวาจาบริสุทธิ์

๓. เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์

๔. เป็นบัณฑิต ผู้ฉลาด

๕. ถูกซักเข้า อาจให้คำตอบข้อที่ซัก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์

ควรทำโอกาส.

รับอธิกรณ์

[๑,๑๘๗] อุ. ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์ ประกอบ

ด้วยองค์เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ ์

ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 797

๑. ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราประสงค์จะ

รับอธิกรณ์นี้ เป็นกาลสมควรหรือไม่ที่จะรับอธิกรณ์นี้ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่าง

นี้ว่า เป็นกาลไม่สมควรที่จะรับอธิกรณ์นี้ หาใช่เป็นกาลสมควรไม่ อธิกรณ์นั้น

ภิกษุไม่พึงรับไว้

๒. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เป็นกาลสมควรที่จะรับอธิกรณ์

นี้หาใช่เป็นการไม่สมควรไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เราประสงค์จะรับ

อธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า

อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องไม่จริง หาใช่เป็นเรื่องจริงไม่ อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับไว้

๓. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริง หาใช่

เป็นเรื่องไม่จริงไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เราประสงค์จะรับอธิกรณ์นี้

อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์

นี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ หาใช่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ อธิกรณ์นั้น

ภิกษุไม่พึงรับไว้

๔. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้ ประกอบด้วยประ-

โยชน์ หาใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เมื่อเรา

รับอธิกรณ์นี้ไว้ จักได้ภิกษุผู้เคยเห็นเคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรมโดยวินัย

หรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ จักไม่ได้ภิกษุ

ผู้เคยเห็นเคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรมโดยวินัย อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับไว้

๕. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้จักได้

ภิกษุผู้เคยเห็นเคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรมโดยวินัย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อ

ไปว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 798

ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความถือต่างแห่งสงฆ์

ความกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์หรือไม่ ถ้าภิกษุ

พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ

ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความ

ถือต่างแห่งสงฆ์ ความกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์

อธิกรณ์นั้นภิกษุไม่พึงรับไว้

ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความ

บาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์

ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความถือต่างแห่งสงฆ์ ความกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมี

การนั้นเป็นเหตุจักไม่มีแก่สงฆ์ อธิกรณ์นั้น ภิกษุพึงรับไว้

ดูก่อนอุบาลี อธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุรับไว้

จักไม่ก่อความเดือดร้อนให้แม้ในภายหลังแล.

องค์แห่งภิกษุผู้มีอุปการะมาก

[๑,๑๘๘] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เป็นผู้มีอุปการะ

มากแก่ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่

ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาท

และโคจรอยู่ เป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน

สิกขาบททั้งหลาย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 799

๒. เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งาม

ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้ง

อรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น เธอเป็น

ผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา

๓. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่อง

แคล่ววินิจฉัยถูกต้อง โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ

๔. เป็นผู้ตั้งอยู่ในวินัย ไม่ง่อนแง่น

๕. เป็นผู้สามารถให้คู่ความทั้งสองเบาใจ ให้เข้าใจ ให้เพ่งพินิจ

พิจารณา เลื่อมใส

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่

ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ เป็นผู้มีอุปการะมาก

แก่ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์

๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์

๓. เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์

๔. เป็นบัณฑิต ผู้ฉลาด

๕. ถูกซักเข้า อาจให้คำตอบข้อที่ซัก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล เป็นผู้มีอุปการะ

มากแก่ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 800

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ เป็นผู้มีอุปการะมาก

แก่ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. รู้วัตถุ

๒. รู้นิทาน

๓. รู้บัญญัติ

๔. รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง

๕. รู้ถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้มีอุปการะมาก

แก่ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์.

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม

[๑,๑๘๙] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึงซักถาม

พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงซักถาม องค์ ๕

อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่รู้สุตตะ

๒. ไม่รู้สุตตานุโลม

๓. ไม่รู้วินัย

๔. ไม่รู้วินยานุโลม

๕. ไม่ฉลาดในฐานะและอฐานะ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงซักถาม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 801

องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงซักถาม องค์ ๕ อะไรบ้าง

คือ :-

๑. รู้สุตตะ

๒. รู้สุตตานุโลม

๓. รู้วินัย

๔. รู้วินยานุโลม

๕. ฉลาดในฐานะและอฐานะ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถามอีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงซักถาม องค์

๕ อะไร บ้าง คือ :-

๑. ไม่รู้ธรรม

๒. ไม่รู้ธรรมานุโลม

๓. ไม่รู้วินัย

๔. ไม่รู้วินยานุโลม

๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงซักถาม องค์ ๕ อะไรบ้าง

คือ :-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 802

๑. รู้ธรรม

๒. รู้ธรรมานุโลม

๓. รู้วินัย

๔. รู้วินยานุโลม

๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถามอีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงซักถาม องค์

๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่รู้วัตถุ

๒. ไม่รู้นิทาน

๓. ไม่รู้บัญญัติ

๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง

๕. ไม่รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงซักถาม องค์ ๕ อะไรบ้าง

คือ :-

๑. รู้วัตถุ

๒. รู้นิทาน

๓. รู้บัญญัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 803

๔. รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง

๕. รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถามอีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงซักถาม องค์

อะไรบ้าง คือ:-

๑. ไม่รู้อาบัติ

๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ

๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ

๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ

๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงซักถาม องค์ ๕ อะไรบ้าง

คือ :-

๑. รู้อาบัติ

๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ

๓. รู้ประโยคอาบัติ

๔. รู้ความระงับอาบัติ

๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงซักถาม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 804

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถามอีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงซักถาม องค์

๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่รู้อธิกรณ์

๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์

๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์

๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์

๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงซักถาม องค์ ๕ อะไรบ้าง

คือ :-

๑. รู้อธิกรณ์

๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์

๓. รู้ประโยคอธิกรณ์

๔. รู้ความระงับอธิกรณ์

๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงซักถาม.

อัตตาทานวรรค ที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 805

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๑๙๐] บริสุทธิ์ ๑ กาล ๑ ความการุญ ๑ โอกาส ๑ รับอธิกรณ์ ๑

อธิกรณ์ ๑ และอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง ๑ วัตถุ ๑ สุตตะ ๑ ธรรม ๑ วัตถุอีก

นัยหนึ่ง ๑ อาบัติ ๑ อธิกรณ์ ๑.

ธุดงควรรคที่ ๖

ถืออยู่ป่าเป็นต้น

[๑,๑๙๑] อ. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่านี้มี ๕ จำพวก ๕ จำพวก อะไรบ้าง

คือ :-

๑. เพราะเป็นผู้เขลา งมงาย จึงถืออยู่ป่า

๒. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ จึงถือ

อยู่ป่า

๓. เพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน จึงถืออยู่ป่า

๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้า สรรเสริญ

จึงถืออยู่ป่า

๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และ

เพราะอาศัยความเป็นแห่งการอยู่ป่ามีประโยชน์ ด้วยความปฏิบัติงามนี้ จึงถือ

อยู่ป่า

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ จำพวก นี้แล

อุ. ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า. . .

อุ. ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า. . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 806

อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า . . .

อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้า มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า. . .

อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ในที่แจ้ง มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า. . .

อุ. ภิกษุผู้ถือทรงผ้าสามผืน มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า. . .

อุ. ภิกษุผู้ถือเที่ยวตามแถว มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า . . .

อุ. ภิกษุผู้ถือการนั่ง มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า . . .

อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธ-

เจ้าข้า . . .

อุ. ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว มีเท่าไรหนอแล พระพุทธ-

เจ้าข้า. . .

อุ. ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลัง มีเท่าไรหนอ

แล พระพุทธเจ้าข้า. . .

อุ. ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตร มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรนี้มี ๕ จำพวก ๕

จำพวกอะไรบ้าง คือ :-

๑. เพราะเป็นผู้เขลา งมงาย จึงถือฉันเฉพาะในบาตร

๒. เพราะผู้มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ จึง

ถือฉันเฉพาะในบาตร

๓. เพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน จึงถือฉันเฉพาะในบาตร

๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ

จึงถือฉันเฉพาะในบาตร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 807

๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และ

อาศัยความเป็นแห่งการฉันเฉพาะในบาตร มีประโยชน์ ด้วยความปฏิบัติงามนี้

จึงถือฉันเฉพาะในบาตร

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรมี ๕ จำพวก นี้แล.

ธุดงควรรค ที่ ๖ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๑๙๒] ถืออยู่ป่า ๑ ถือเที่ยวบิณฑบาต ๑ ถือทรงผ้าบังสุกุล ๑ ถือ

อยู่โคนไม้ ๑ ถืออยู่ป่าช้าเป็นที่ครบห้า ๑ ถืออยู่ในที่กลางแจ้ง ๑ ถือทรงผ้าสาม

ผืน ๑ ถือเที่ยวตามแถว ๑ ถือการนั่ง ๑ ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ ๑ ถือ

นั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว ๑ ถือห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลัง ๑ ถือ

ฉันเฉพาะในบาตร ๑.

มุสาวาทวรรค ที่ ๗

มุสาวาท

[๑,๑๙๓] อุ. มุสาวาท มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี มุสาวาทนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ :-

๑. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติปาราชิก

๒. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๓. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติถุลลัจจัย

๔. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 808

๕. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติทุกกฏ

ดูก่อนอุบาลี มุสาวาท ๕ อย่าง นี้แล.

งดอุโบสถหรือปวารณา

[๑,๑๙๔] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล

งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์ที่กล่าวกำจัดเสียว่า อย่าเลย

ภิกษุ เธออย่าได้ทำความบาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่าได้ทำความ

แก่งแย่ง อย่าได้ทำความวิวาทกัน ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ งดอุโบสถหรือปวารณา ใน

ท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำความบาด-

หมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่าได้ทำความแก่งแย่ง อย่าได้ทำความวิวาท

กัน ดังนี้แล้ว ทำอุโบสถหรือปวารณา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นอลัชชี

๒. เป็นพาล

๓. มิใช่ปกตัตตะ

๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์

๕. หาใช่เป็นผู้กล่าวประสงค์ให้ออกจากอาบัติไม่

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถหรือปวารณา

ในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำความ

บาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่าได้ทำความแก่งแย่ง อย่าได้ทำความ

วิวาทกัน ดังนี้ แล้วทำอุโบสถ หรือปวารณา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 809

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ งดอุโบสถหรือ

ปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำ

ความบาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่าได้ทำความแก่งแย่ง อย่าได้ทำ

ความวิวาทกัน ดังนี้แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์

๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์

๓ . เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์

๔. เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด

๕. เป็นผู้ก่อความบางหมาง ก่อความทะเลาะ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถ หรือปวารณา

ในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำความ

บาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่าได้ทำความแก่งแย่ง อย่าได้ทำความ

วิวาทกัน ดังนี้แล้วทำอุโบสถ หรือปวารณา.

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้คำซักถาม

[๑,๑๙๕] อุ. สงฆ์ไม่พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุประกอบด้วยองค์

เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี สงฆ์ไม่พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุประกอบด้วยองค์

๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ

๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 810

๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ

๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และอาบัติที่ทำคืนไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์ไม่พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕

นี้แล

องค์ของภิกษุผู้ควรให้คำซักถาม

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. รู้อาบัติและอนาบัติ

๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก

๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ

๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และอาบัติที่ทำคืนไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕

นี้แล.

ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕

[๑,๑๙๖] อุ. ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไรหนอแล พระพุทธ-

เจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อาการ ๕ อะไรบ้าง

คือ :-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 811

๑. ด้วยไม่ละอาย

๒. ด้วยไม่รู้

๓. ด้วยสงสัยแล้วขืนทำ

๔. ด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร

๕. ด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๕ อาการ ๕ อะไร

บ้าง คือ:-

๑. ด้วยไม่ได้เห็น

๒. ด้วยไม่ได้ฟัง

๓. ด้วยหลับ

๔. ด้วยเข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น

๕. ด้วยลืมสติ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล.

เวร ๕

[๑,๑๙๗] อุ. เวรมีเท่าไร่หนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี เวรนี้มี ๕ เวร ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ฆ่าสัตว์มีชีวิต

๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้

๓. ประพฤติผิดในกาม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 812

๔. พูดเท็จ

๕. เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมา คือ สุราและ

เมรัย

ดูก่อนอุบาลี เวร ๕ นี้แล.

เจตนางดเว้น ๕

[๑,๑๙๘] อุ. เจตนางดเว้น มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี เจตนางดเว้นนี้ มี ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เจตนางดเว้น จากฆ่าสัตว์มีชีวิต

๒. เจตนางดเว้น จากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้

๓. เจตนางดเว้น จากการประพฤติผิดในกาม

๔ เจตนางดเว้น จากพูดเท็จ

๕. เจตนางดเว้น จากเหตุเป็นที่ดังแห่งความประมาท เพราะดื่มน้ำ

เมา คือ สุราและเมรัย

ดูก่อนอุบาลี เจตนางดเว้น ๕ นี้แล.

ความเสื่อม ๕

[๑,๑๙๙] อุ. ความเสื่อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ความเสื่อมนี้ มี ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ความเสื่อมจากญาติ

๒. ความเสื่อมจากโภคทรัพย์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 813

๓. ความเสื่อมคือมีโรค

๔. ความเสื่อมจากศีล

๕. ความเสื่อมคือเห็นผิด

ดูก่อนอุบาลี ความเสื่อม ๕ นี้แล.

ความถึงพร้อม ๕

[๑,๒๐๐] อุ. ความถึงพร้อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ความถึงพร้อมนี้ มี ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ความถึงพร้อมด้วยญาติ

๒. ความถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์

๓. ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค

๔. ความถึงพร้อมด้วยศีล

๕. ความถึงพร้อมด้วยเห็นชอบ

ดูก่อนอุบาลี ความถึงพร้อมมี ๕ นี้แล.

มุสาวาทวรรค ที่ ๗ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๒๐๑] มุสาวาท ๑ ย่ำยี ๑ ย่ำยีอีกนัยหนึ่ง ๑ ซักถาม ๑ อาบัติ

๑ อาบัติอีกนัยหนึ่ง ๑ เวร ๑ เจตนางดเว้น ๑ ความเสื่อม ๑ ความถึง

พร้อม ๑ รวมเป็นวรรคที่ ๗.

หัวข้อประจำวรรค จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 814

ภิกขุนีโอวาทวรรคที่ ๘

องค์สำหรับลงโทษ

[๑,๒๐๒] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่าย

เดียว พึงลงโทษได้ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว

พึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เปิดกายอวดภิกษุณีทั้งหลาย

๒. ถลกขาอ่อนอวดภิกษุณีทั้งหลาย

๓. เปิดองค์กำเนิดอวดภิกษุณีทั้งหลาย

๔. เปิดไหล่ทั้งสองอวดภิกษุณีทั้งหลาย

๕. พูดเคาะภิกษุณี ชักจูงพวกคฤหัสถ์ให้สมสู่กับภิกษุณี

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว

พึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ภิกษุณีสงฆ์ฝ่าย

เดียว พึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ขวนขวายเพื่อความเสื่อมลาภแห่งภิกษุณีทั้งหลาย

๒. ขวนขวายเพื่อความพินาศแห่งภิกษุณีทั้งหลาย

๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุณีทั้งหลาย

๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย

๕. ยุยงภิกษุกับภิกษุณีให้แตกกัน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 815

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว

พึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว

พึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. ขวนขวายเพื่อความเสื่อมลาภแห่งภิกษุณีทั้งหลาย

๒. ขวนขวายเพื่อความพินาศแห่งภิกษุณีทั้งหลาย

๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุณีทั้งหลาย

๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย

๕. ชักจูงภิกษุให้สมสู่กับภิกษุณีทั้งหลาย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว

พึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น.

องค์สำหรับลงโทษภิกษุณี

[๑,๒๐๓] อุ. ภิกษุณีประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์พึงลงโทษ

พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ องค์

๕ อะไรบ้าง คือ:-

๑. เปิดกายอวดภิกษุทั้งหลาย

๒. ถลกขาอ่อนอวดภิกษุทั้งหลาย

๓. เปิดองค์กำเนิดอวดภิกษุทั้งหลาย

๔. เปิดไหล่ทั้งสองอวดภิกษุทั้งหลาย

๕. พูดเคาะภิกษุ ชักจูงให้สมสู่กับสตรีคฤหัสถ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 816

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุณีประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ขวนขวายเพื่อความเสื่อมลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย

๒. ขวนขวายเพื่อความพินาศแห่งภิกษุทั้งหลาย

๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย

๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย

๕. ยุยงภิกษุณีกับภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก

๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ขวนขวายเพื่อความเสื่อมลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย

๒. ขวนขวายเพื่อความพินาศแห่งภิกษุทั้งหลาย

๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย

๔ . ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย

๕. ชักจูงภิกษุณีให้สมสู่กับภิกษุ

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

องค์ของภิกษุไม่ควรให้โอวาท

[๑,๒๐๔] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึงให้โอวาท

แก่ภิกษุณีทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 817

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงให้โอวาทแก่

ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นอลัชชี

๒. เป็นพาล

๓. ไม่ใช่ปกตัตตะ

๔. เป็นผู้พูดประสงค์ให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์

๕. หาใช่เป็นผู้พูดประสงค์ให้ออกจากอาบัติไม่

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้โอวาทแก่

ภิกษุณีทั้งหลาย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงให้โอวาทแก่

ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์

๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์

๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์

๔. เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด

๕. ถูกซักเข้า ไม่สามารถให้คำตอบข้อที่ซักถาม

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้โอวาทแก่

ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางกาย

๒. เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางวาจา

๓. เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางกายและวาจา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 818

๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย

๕. คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควรอยู่

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้โอวาทแก่

ภิกษุณีทั้งหลาย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงให้โอวาทแก่

ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นอลัชชี

๒. เป็นพาล

๓. ไม่ใช่ปกตัตตะ

๔. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ

๕. เป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้โอวาทแก่

ภิกษุณีทั้งหลาย.

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรรับให้โอวาท

[๑,๒๐๕] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึงรับให้

โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงรับให้โอวาทแก่

ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางกาย

๒. เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางวาจา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 819

๓. เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางกายและวาจา

๔. ด่าบริภาษภิกษุณี

๕. เป็นผู้คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร

อยู่

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงรับให้โอวาทแก่

ภิกษุณีทั้งหลาย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงรับให้โอวาท

แก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นอลัชชี

๒. เป็นพาล

๓. ไม่ใช่ปกตัตตะ

๔. เป็นผู้เตรียมจะไป

๕. อาพาธ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงรับให้โอวาทแก่

ภิกษุณีทั้งหลาย.

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย

[๑,๒๐๖] อุ. ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์

เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วย

องค์ ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 820

๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ

๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ

๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ

๔. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ

๕. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕

นี้แล

องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ

๒. เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ

๓. เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ

๔. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ

๕. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาอีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์แม้

อื่นอีก ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา

๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 821

๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา

๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่วิมุต

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕

นี้แล

องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา

๒. เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา

๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา

๕. พิจารณาจิตตามที่วิมุต

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕

นี้แล.

ภิกขุนีโอวาทวรรค ที่ ๘ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๒๐๗] ภิกษุณีฝ่ายเดียวพึงลงโทษ ๑ ภิกษุณีพึงลงโทษอีก ๒ นัย

ลงโทษภิกษุณี ๓ อย่าง ๑ ไม่ให้โอวาท ๑ ไม่ให้โอวาทอีก ๒ นัย ๑ ไม่รับ

ให้โอวาทตรัสไว้ ๒ อย่าง ๑ ในการสนทนาตรัสไว้ ๒ หมวด ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 822

อุพพาหิกวรรคที่ ๙

ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกา

[๑,๒๐๘] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์ไม่พึงสมมติ

ด้วยอุพพาหิกา พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย

อุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นผู้ไม่ฉลาดในอรรถ

๒. เป็นผู้ไม่ฉลาดในธรรม

๓. เป็นผู้ไม่ฉลาดในนิรุตติ

๔. เป็นผู้ไม่ฉลาดในพยัญชนะ

๕. เป็นผู้ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย

อุพพาหิกา.

สมมติด้วยอุพพาหิกา

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นผู้ฉลาดในอรรถ

๒. เป็นผู้ฉลาดในธรรม

๓. เป็นผู้ฉลาดในนิรุตติ

๔. เป็นผู้ฉลาดในพยัญชนะ

๕. เป็นผู้ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 823

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงสมมติด้วย

อุพพาหิกา

ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ สงฆ์ไม่พึงสมมติ

ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ

๒. เป็นผู้ลบหลู่ ถูกความลบหลู่ครอบงำ

๓. เป็นผู้ตีเสมอ ถูกความตีเสมอครอบงำ

๔. เป็นผู้มีปกติริษยา ถูกความริษยาครอบงำ

๕. เป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้นปลดได้ยาก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย

อุพพาหิกา

สมมติด้วยอุพพหิกา

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ

๒. ไม่เป็นผู้ลบหลู่ ไม่ถูกความลบหลู่ครอบงำ

๓. ไม่เป็นผู้ตีเสมอ ไม่ถูกความตีเสมอครอบงำ

๔. ไม่เป็นผู้มีปกติริษยา ไม่ถูกความริษยาครอบงำ

๕. ไม่เป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถืออย่างแน่นแฟ้นปลดได้ง่าย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 824

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงสมมติด้วย

อุพพาหิกา

ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง

ก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ สงฆ์ไม่พึงสมมติ

ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. โกรธ

๒. พยาบาท

๓. เบียดเบียน

๔. ยั่วให้โกรธ

๕. ไม่อดทน ไม่รับอนุสาสนีโดยเคารพ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย

อุพพาหิกา

สมมติด้วยอุพพาหิกา

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่โกรธ

๒. ไม่พยาบาท

๓. ไม่เบียดเบียน

๔. ไม่ยั่วให้โกรธ

๕. เป็นผู้อดทน มีปกติรับอนุสาสนีโดยเคารพ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 825

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงสมมติด้วย

อุพพาหิกา

ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ สงฆ์ไม่พึงสมมติ

ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:

๑. เป็นผู้ล่อให้หลง ให้ระลึกไม่ได้

๒. เป็นผู้พูดไม่ให้ทำโอกาส

๓. ไม่เป็นผู้โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร

๔. ไม่เป็นผู้ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร

๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย

อุพพาหิกา

สมมติด้วยอุพพหิกา

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. เป็นผู้เตือนให้ระลึก ไม่ใช่ล่อให้หลง

๒. เป็นผู้พูดให้ทำโอกาส

๓. เป็นผู้โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร

๔. เป็นผู้ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร

๕. ชี้แจงตามความเห็น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 826

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงสมมติด้วย

อุพพาหิกา

ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ สงฆ์ไม่พึงสมมติ

ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ถึงฉันทาคติ

๒. ถึงโทสาคติ

๓. ถึงโมหาคติ

๔. ถึงภยาคติ

๕. เป็นอลัชชี

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย

อุพพาหิกา

สมมติด้วยอุพพาหิกา

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ

๑. ไม่ถึงฉันทาคติ

๒. ไม่ถึงโทสาคติ

๓. ไม่ถึงโมหาคติ

๔. ไม่ถึงภยาคติ

๕. เป็นลัชชี

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 827

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงสมมติด้วย

อุพพาหิกา

ไม่สมมติด้วยอุพพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ สงฆ์ไม่พึงสมมติ

ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ถึงฉันทาคติ

๒. ถึงโทสาคติ

๓. ถึงโมหาคติ

๔. ถึงภยาคติ

๕. ถึงฉลาดในวินัย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย

อุพพาหิกา

สมมติด้วยอุพพหิกา

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่ถึงฉันทาคติ

๒. ไม่ถึงโทสาคติ

๓. ไม่ถึงโมหาคติ

๔. ไม่ถึงภยาคติ

๕. ฉลาดในวินัย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 828

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงสมมติด้วย

อุพพาหิกา.

องค์ของภิกษุผู้โง่แท้

[๑,๒๐๙] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ถึงความนับว่า

เป็นผู้โง่แท้ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ถึงความนับว่าเป็นผู้โง่

แท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่รู้สุตตะ

๒. ไม่รู้สุตตานุโลม

๓. ไม่รู้วินัย

๔. ไม่รู้วินยานุโลม

๕. ไม่ฉลาดในฐานะและอฐานะ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้

โง่แท้

องค์ของภิกษุผู้ฉลาดแท้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้

ฉลาดแท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ

๑. รู้สุตตะ

๒. รู้สุตตานุโลม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 829

๓. รู้วินัย

๔. รู้วินยานุโลม

๕. ฉลาดในฐานะและอฐานะ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้

ฉลาดแท้

องค์ของภิกษุผู้โง่แท้อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ถึงความนับว่าเป็น

ผู้โง่แท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่รู้ธรรม

๒. ไม่รู้ธรรมานุโลม

๓. ไม่รู้วินัย

๔. ไม่รู้วินยานุโลม

๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้

โง่แท้

องค์ของภิกษุผู้ฉลาดแท้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ถึงความนับว่าเป็นผู้ฉลาดแท้

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. รู้ธรรม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 830

๒. รู้ธรรมานุโลม

๓. รู้วินัย

๔. รู้วินยานุโลม

๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้

ฉลาดแท้

องค์ของภิกษุผู้โง่แท้อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ถึงความนับว่าเป็น

ผู้โง่แท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่รู้วัตถุ

๒. ไม่รู้นิทาน

๓. ไม่รู้บัญญัติ

๔. ไม่รู้บทอันตกหล่นภายหลัง

๕. ไม่รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้

โง่แท้

องค์ของภิกษุผู้ฉลาดแท้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ถึงความนับว่าเป็นผู้ฉลาดแท้

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 831

๑. รู้วัตถุ

๒. รู้นิทาน

๓. รู้บัญญัติ

๔. รู้บทอันตกหล่นภายหลัง

๕. รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้

ฉลาดแท้

องค์ของภิกษุผู้โง่แท้อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ถึงความนับว่าเป็น

ผู้โง่แท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่รู้อาบัติ

๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ

๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ

๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ

๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้

โง่แท้

องค์ของภิกษุผู้ฉลาดแท้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ถึงความนับว่าเป็นผู้ฉลาดแท้

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 832

๑. รู้อาบัติ

๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ

๓. รู้ประโยคอาบัติ

๔. รู้การระงับอาบัติ

๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้

ฉลาดแท้

องค์ของภิกษุผู้โง่แท้อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ถึงความนับว่าเป็นผู้

โง่แท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่รู้อธิกรณ์

๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์

๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์

๔. ไม่ผู้ความระงับอธิกรณ์

๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้

โง่แท้

องค์ของภิกษุผู้ฉลาดแท้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ถึงความนับว่า เป็นผู้ฉลาด

แท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 833

๑. รู้อธิกรณ์

๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์

๓. รู้ประโยคอธิกรณ์

๔. รู้ความระงับอธิกรณ์

๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้

ฉลาดแท้.

อุพพาหิกาวรรคที่ ๙ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๒๑๐] ไม่ฉลาดในอรรถ ๑ มักโกรธ ๑ ยั่วให้โกรธ ๑ ล่อให้หลง

๑ ถึงฉันทาคติ ๑ ไม่ฉลาด ๑ ไม่ฉลาดอีก ๑ สุตตะ ๑ ธรรม ๑ วัตถุ ๑ อาบัติ

๑ อธิกรณ์ ฝ่ายละ ๒ ๆ ท่านประกาศแล้วทั้งหมด ขอท่านทั้งหลายจงรู้ฝ่าย

ดำและฝ่ายขาวเทอญ.

อธิกรณวูปสมวรรคที่ ๑๐

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์

[๑,๒๑๑] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ควรระงับ

อธิกรณ์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 834

๑. ไม่รู้อาบัติ

๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ

๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ

๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ

๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕

อะไรบ้าง คือ :-

๑. รู้อาบัติ

๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ

๓. รู้ประโยคอาบัติ

๔. รู้ความระงับอาบัติ

๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 835

๑. ไม่รู้อธิกรณ์

๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์

๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์

๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์

๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕

อะไรบ้าง คือ :-

๑. รู้อธิกรณ์

๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์

๓. รู้ประโยคอธิกรณ์

๔. รู้ความระงับอธิกรณ์

๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ถึงฉันทาคติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 836

๒. ถึงโทสาคติ

๓. ถึงโมหาคติ

๔. ถึงภยาคติ

๕. เป็นอลัชชี

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕

อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่ถึงฉันทาคติ

๒. ไม่ถึงโทสาคติ

๓. ไม่ถึงโมหาคติ

๔. ไม่ถึงภยาคติ

๕. เป็นลัชชี

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ถึงฉันทาคติ

๒. ถึงโทสาคติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 837

๓. ถึงโมหาคติ

๔. ถึงภยาคติ

๕. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕

อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่ถึงฉันทาคติ

๒. ไม่ถึงโทสาคติ

๓. ไม่ถึงโมหาคติ

๔. ไม่ถึงภยาคติ

๕. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับ

อธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่รู้วัตถุ

๒. ไม่รู้นิทาน

๓. ไม่รู้บัญญัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 838

๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง

๕. ไม่รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕

อะไรบ้าง คือ :-

๑. รู้วัตถุ

๒. รู้นิทาน

๓. รู้บัญญัติ

๔. รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง

๕. รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับ

อธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ถึงฉันทาคติ

๒. ถึงโทสาคติ

๓. ถึงโมหาคติ

๔. ถึงภยาคติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 839

๕. ไม่ฉลาดในวินัย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕

อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่ถึงฉันทาคติ

๒. ไม่ถึงโทสาคติ

๓. ไม่ถึงโมหาคติ

๔. ไม่ถึงภยาคติ

๕. ฉลาดในวินัย

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับ

อธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ถึงฉันทาคติ

๒. ถึงโทสาคติ

๓. ถึงโมหาคติ

๔. ถึงภยาคติ

๕. เป็นผู้หนักในบุคคล ไม่หนักในสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 840

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕

อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่ถึงฉันทาคติ

๒. ไม่ถึงโทสาคติ

๓. ไม่ถึงโมหาคติ

๔. ไม่ถึงภยาคติ

๕. เป็นผู้หนักในสงฆ์ ไม่หนักในบุคคล

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับ

อธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ถึงฉันทาคติ

๒. ถึงโทสาคติ

๓. ถึงโมหาคติ

๔. ถึงภยาคติ

๕. เป็นผู้หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕

อะไรบ้าง คือ :-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 841

๑. ไม่ถึงฉันทาคติ

๒. ไม่ถึงโทสาคติ

๓. ไม่ถึงโมหาคติ

๔. ไม่ถึงภยาคติ

๕. เป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

สงฆ์แตกกัน

[๑,๒๑๒] อุ. สงฆ์แตกกันด้วยอาการเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ อาการ ๕ อะไรบ้าง

คือ กรรม อุเทศ ๑ ชี้แจง ๑ สวดประกาศ ๑ ให้จับสลาก ๑ ดูก่อน

อุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ นี้แล.

สังฆราชีและสังฆเภท

[๑,๒๑๓] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ที่ตรัสว่า ความร้าวรานแห่งสงฆ์นั้น

ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงเป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึงความแตกแห่ง

สงฆ์ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงเป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ทั้งความแตก

แห่งสงฆ์

พ. ดูก่อนอุบาลี อาคันตุกวัตรนั่น เราบัญญัติไว้แล้ว สำหรับภิกษุ

พวกอาคันตุกะ เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวก

อาคันตุกะไม่ประพฤติในอาคันตุกวัตร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 842

ดูก่อนอุบาลี แม้อย่างนี้แล เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึง

ความแตกแห่งสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี อาวาสิกวัตรนั่น เราบัญญัติไว้แล้ว สำหรับภิกษุพวก

เจ้าถิ่นเมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุเจ้าถิ่นไม่ประ-

พฤติในอาวาสิกวัตร

ดูก่อนอุบาลี แม้อย่างนี้แล เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึง

ความแตกแห่งสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี ภัตตัคควัตรในโรงภัตรนั่น เราบัญญัติไว้แล้ว สำหรับ

ภิกษุทั้งหลาย ตามลำดับผู้แก่กว่า ตามลำดับราตรี ตามสมควร คือ อาสนะ

ที่ดี น้ำที่สะอาด ก้อนข้าวที่ดี เมื่อสิกขาบท อันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่าง

นี้แล้ว พวกพระใหม่เกียดกันอาสนะในโรงภัตรสำหรับพระเถระเสีย

ดูก่อนอุบาลี แม้อย่างนี้ เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึงความ

แตกแห่งสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี เสนาสนวัตรในเสนาสนะนั่น เราบัญญัติไว้แล้ว สำหรับ

ภิกษุทั้งหลาย ตามลำดับผู้แก่กว่า ตามลำดับราตรี ตามสมควร เมื่อสิกขาบท

อันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว พวกพระใหม่เกียดกันเสนาสนะของ

พระเถระเสีย

ดูก่อนอุบาลี แม้อย่างนี้ เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึงความ

แตกแห่งสงฆ์

ดูก่อนอุบาลี อุโบสถอย่างเดียวกัน ปวารณาอย่างเดียวกัน สังฆกรรม

อย่างเดียวกัน กรรมใหญ่น้อยอย่างเดียวกัน ภายในสีมานั่น เราบัญญัติไว้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 843

แล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุ

ทั้งหลายต่างทำความแตกแยกกัน แล้วคุมกันเป็นคณะแยกทำอุโบสถ แยกทำ

ปวารณา แยกทำสังฆกรรม แยกทำกรรมใหญ่น้อย ภายในสีมานั่นแหละ

ดูก่อนอุบาลี แม้อย่างนี้ เป็นทั้งความร้าวรานแห่งสงฆ์ ทั้งความ

แตกแห่งสงฆ์แล.

อธิกรณวูปสมวรรคที่ ๑๐ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๒๑๔] อาบัติ อธิกรณ์ ลำเอียงเพราะรักใคร่ ได้ยินได้ฟังน้อย

วัตถุ ไม่ฉลาด บุคคล อามิส สงฆ์แตกกัน ความร้าวรานแห่งสงฆ์ และ

ความแตกแห่งสงฆ์.

สังฆเภทวรรที่ ๑๑

ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์มีโทษ

[๑,๒๑๕] อุ. ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล

เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้ไป

อบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑

แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑

อำพรางความเห็นด้วยกรรม ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 844

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้

ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เป็น

ผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑

แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็น

อวินัย ๑ อำพรางความเห็นด้วยอุเทศ ๑

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผุ้

ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑

แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย

๑ ชี้แจงอำพรางความเห็น ๑

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้

ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑

แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็น

อวินัย ๑ อำพรางความเห็นด้วยสวดประกาศ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 845

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้

ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑

แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็น

อวินัย ๑ อำพรางความเห็นด้วยให้จับสลาก ๑

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไป

อบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑

แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย

๑ อำพรางความถูกใจด้วยกรรม ๑. . .

. . . อำพรางความถูกใจด้วยอุเทศ . . .

. . . ชี้แจงอำพรางความถูกใจ. . .

. . . อำพรางความถูกใจด้วยสวดประกาศ. . .

. . . อำพรางความถูกใจด้วยให้จับสลาก. . .

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไป

อบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 846

ดู ก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑

แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย

๑ อำพรางความพอใจด้วยกรรม ๑ . . .

. . . อำพรางความพอใจด้วยอุเทศ. . .

. . . ชี้แจงอำพรางความพอใจ . . .

. . . อำพรางความพอใจด้วยสวดประกาศ. . .

. . . อำพรางความพอใจด้วยให้จับสลาก. . .

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้

ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก

เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑

แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็น

อวินัย ๑ อำพรางสัญญาด้วยกรรม ๑. . .

. . . อำพรางสัญญาด้วยอุเทศ. . .

. . . ชี้แจงอำพรางสัญญา . . .

. . . อำพรางสัญญาด้วยสวดประกาศ . . .

. . . อำพรางสัญญาด้วยให้จับสลาก. . .

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไป

อบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้.

สังฆเภทวรรค ที่ ๑๑ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 847

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๒๑๖] อำพรางความเห็นด้วยกรรม อุเทศ ชี้แจง สวดประกาศ

และให้จับสลาก รวม ๕ นี้ อิงความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ และ

สัญญา ๓ อย่างนั้น มีนัยตามแนว ๕ อย่างนั้นแล.

ทุติยสังฆเภทวรรค ที่ ๑๒

ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่มีโทษ

[๑,๒๑๗] อุ. ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์เท่าไร หนอแล

เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้ไม่ไป

อบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง

ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่

อำพรางความเห็นด้วยกรรม ๑

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่

ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ ไม่

เป็นผู้ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง

ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่

อำพรางความเห็นด้วยอุเทศ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 848

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้

ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็น

ผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง

ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑

ชี้แจงไม่อำพรางความเห็น ๑

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่

ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยามิได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็น

ผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง

ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่

อำพรางความเห็นด้วยสวดประกาศ ๑

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่

ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็น

ผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง

ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่

อำพรางความเห็นด้วยให้จับฉลาก ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 849

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่

ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็น

ผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง

ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่

อำพรางความถูกใจด้วยกรรม ๑ . . .

. . .ไม่อำพรางความถูกใจด้วยอุเทศ. . .

. . . ชี้แจงไม่อำพรางความถูกใจ . . .

. . .ไม่อำพรางความถูกใจด้วยสวดประกาศ. . .

. . .ไม่อำพรางความถูกใจด้วยให้จับฉลาก. . .

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้

ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็น

ผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง

ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่

อำพรางความชอบใจด้วยกรรม ๑. . .

. . .ไม่อำพรางความชอบใจด้วยอุเทศ. . .

. . .ชี้แจงไม่อำพรางความชอบใจ. . .

. . .ไม่อำพรางความชอบใจด้วยสวดประกาศ. . .

. . .ไม่อำพรางความชอบใจด้วยให้จับฉลาก. . .

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 850

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้

ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยามิได้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็น

ผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง

ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่

อำพรางสัญญาด้วยกรรม ๑

. . .ไม่อำพรางสัญญาด้วยอุเทศ. . .

. . .ชี้แจงไม่อำพรางสัญญา. . .

. . .ไม่อำพรางสัญญาด้วยสวดประกาศ. . .

. . .ไม่อำพรางสัญญาด้วยให้จับฉลาก. . .

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้

ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้.

ทุติยสังฆเภทวรรค ที่ ๑๒ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๒๑๘] ไม่อำพรางความเห็นด้วยกรรม อุเทศ ชี้แจง สวดประกาศ

และให้จับฉลาก รวม ๕ นี้อิงความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ และ

สัญญา ๓ อย่างนี้ มีนัยตามแนว ๕ อย่างนั้น ขอท่านทั้งหลาย จงรู้วิธี ๒๐

ถ้วนในฝ่ายขาว เหมือนวิธี ๒๐ ถ้วน ในฝ่ายดำข้างหลัง ฉะนั้นเทอญ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 851

อาวาสิกวรรค ที่ ๑๓

องค์ของภิกษุเจ้าอาวาส

[๑,๒๑๙] อุ. ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยองค์เท่าไร หนอแล

เก็บของสงฆ์ที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์

ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ถึงฉันทาคติ

๒. ถึงโทสาคติ

๓. ถึงโมหาคติ

๔. ถึงภยาคติ

๕. ใช้สอยของสงฆ์ดุจของส่วนตัว

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของ

สงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ตาม

ที่นำมาเก็บไว้ เหมือนส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่ถึงฉันทาคติ

๒. ไม่ถึงโทสาคติ

๓. ไม่ถึงโมหาคติ

๔. ไม่ถึงภยาคติ

๕. ไม่ใช้สอยของสงฆ์ ดุจของส่วนตัว

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์

ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 852

การชี้แจงวินัย

[๑,๒๒๐] อุ. การชี้แจงวินัย ที่ไม่เป็นธรรมมีเท่าไร หนอแล

พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี การชี้แจงวินัยที่ไม่เป็นธรรมนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่าง

อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ชี้แจงอธรรมว่าเป็นธรรม

๒. ชี้แจงธรรมว่าเป็นอธรรม

๓. ชี้แจงอวินัยว่าเป็นวินัย

๔. ชี้แจงวินัยว่าเป็นอวินัย

๕. บัญญัติข้อที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติ ถอนข้อที่พระพุทธเจ้า

ทรงบัญญัติแล้วเสีย

ดูก่อนอุบาลี การชี้แจงวินัยที่ไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล

ดูก่อนอุบาลี การชี้แจงวินัยที่เป็นธรรมนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่าง อะไร

บ้าง

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ชี้แจงอธรรมว่าเป็นอธรรม

๒. ชี้แจงธรรมว่าเป็นธรรม

๓. ชี้แจงอวินัยว่าเป็นอวินัย

๔. ชี้แจงวินัยว่าเป็นวินัย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 853

๕. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนสิ่งที่พระพุทธ

เจ้าทรงบัญญัติแล้ว

ดูก่อนอุบาลี การชี้แจงวินัยที่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.

องค์ของภิกษุผู้แจกภัตร

[๑,๒๒๑] อุ. ภิกษุผู้แจกภัตร ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เก็บ

ของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตร ประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์

ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ถึงฉันทาคติ

๒. ถึงโทสาคติ

๓. ถึงโมหาคติ

๔. ถึงภยาคติ

๕. ไม่รู้ภัตรที่แจกแล้วและยังไม่ได้แจก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตร ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของ

สงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตร ประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ตาม

ที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่ถึงฉันทาคติ

๒. ไม่ถึงโทสาคติ

๓. ไม่ถึงโมหาคติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 854

๔. ไม่ถึงภยาคติ

๕. รู้ภัตรที่แจกแล้วและยังไม่ได้แจก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตร ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของ

สงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์

องค์ของภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะเป็นต้น

อุ. ภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะ ประกอบด้วยองค์เท่าไร หนอแล . . .

ภิกษุผู้รักษาคลังเก็บพัสดุ. . .

ภิกษุผู้รับจีวร. . .

ภิกษุผู้แจกจีวร. . .

ภิกษุผู้แจกยาคู . . .

ภิกษุผู้แจกผลไม้. . .

ภิกษุผู้แจกของเคี้ยว. . .

ภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย. . .

ภิกษุผู้ให้รับผ้าสาฎก. . .

ภิกษุผู้ให้รับบาตร. . .

ภิกษุผู้ใช้คนทำงานวัด. . .

ภิกษุผู้ใช้สามเณร ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เก็บของสงฆ์ตาม

ที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณร ประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของ

สงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 855

๑. ถึงฉันทาคติ

๒. ถึงโทสาคติ

๓. ถึงโมหาคติ

๔. ถึงภยาคติ

๕. ไม่รู้จักสามเณรที่ใช้แล้ว และยังไม่ได้ใช้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเถร ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บ

ของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณร ประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์

ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. ไม่ถึงฉันทาคติ

๒. ไม่ถึงโทสาคติ

๓. ไม่ถึงโมหาคติ

๔. ไม่ถึงภยาคติ

๕. รู้จักสามเณรที่ใช้แล้วและยัง ไม่ได้ใช้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณร ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บ

ของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์.

อาวาสิกวรรค ที่ ๑๓ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๒๒๒] ภิกษุเจ้าอาวาส ๑ ชี้แจงวินัย ๑ ภิกษุผู้แจกภัตร ๑ ภิกษุ

ผู้แต่งตั้งเสนาสนะ ๑ ภิกษุรักษาคลังเก็บพัสดุ ๑ ภิกษุผู้รับจีวร ๑ ภิกษุผู้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 856

แจกจีวร ๑ แจกยาคู ๑ แจกผลไม้ ๑ แจกของเคี้ยว ๑ แจกของเล็กน้อย ๑

ภิกษุผู้ให้รับผ้าสาฎก ๑ ให้รับบาตร ๑ ภิกษุผู้ใช้คนทำงานวัด ๑ ภิกษุผู้ใช้

สามเณร.

หัวข้อประจำวรรค จบ

กฐินัตถารวรรคที่ ๑๔

อานิสงส์กรานกฐิน

[๑,๒๒๓] อุ. การกรานกฐิน มีอานิสงส์เท่าไรหนอแล พุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี การกรานกฐิน มีอานิสงส์ ๕ นี้ อานิสงส์ ๕ อะไร

บ้าง คือ :-

๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา

๒. เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ

๓. ฉันคณะโภชน์ได้

๔. เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา

๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นจักเป็นของพวกเธอ

ดูก่อนอุบาลี การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ นี้แล.

โทษของการนอนลืมสติ

[๑,๒๒๔] อุ. บุคคลผู้นอนลืมสติไม่รู้ตัว นอนหลับ มีโทษเท่าไร

หนอแล พระพุทธเจ้าข้า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 857

พ. ดูก่อนอุบาลี บุคคลผู้ลืมสติไม่รู้สึกตัว นอนหลับ มีโทษ ๕ นี้

โทษ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. หลับไม่สบาย

๒. ตื่นขึ้นไม่สบาย

๓. ฝันเห็นสิ่งเลวทราม

๔. เทวดาไม่รักษา

๕. น้ำอสุจิเคลื่อน

ดูก่อนอุบาลี บุคคลผู้ลืมสติไม่รู้สึกตัวนอนหลับมีโทษ ๕ นี้แล

อานิสงส์ของการนอนมีสติ

ดูก่อนอุบาลี บุคคลผู้ตั้งสติ รู้สึกตัวอยู่ นอนหลับ มีอานิสงส์ ๕ นี้

อานิสงส์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-

๑. หลับสบาย

๒. ตื่นขึ้นสบาย

๓. ไม่ฝันเห็นสิ่งเลวทราม

๔. เทวดารักษา

๕. น้ำอสุจิไม่เคลื่อน

ดูก่อนอุบาลี บุคคลผู้ตั้งสติ รู้สึกตัวอยู่ นอนหลับ มีอานิสงส์ ๕ นี้แล.

บุคคลไม่ควรไหว้

[๑,๒๒๕] อุ. ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ มีเท่าไรหนอแล

พระพุทธเจ้าข้า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 858

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้นี้มี ๕ ๕ อะไร

บ้าง คือ:-

๑. ภิกษุผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๒. ภิกษุผู้เข้าไปสู่ถนน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๓. ภิกษุผู้อยู่ในที่มืด อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๔. ภิกษุผู้ไม่เอาใจใส่ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๕. ภิกษุผู้หลับ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้มี ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ แม้อื่นอีก ๕ ๕

อะไรบ้าง คือ :-

๑. ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้เวลาดื่มยาคู

๒. ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ในโรงภัตร

๓. ภิกษุผู้เป็นศัตรู อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๔. ภิกษุผู้กำลังคิดเรื่องอื่น อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๕. ภิกษุกำลังเปลือยกาย อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ แม้อื่นอีก ๕ ๕

อะไรบ้าง คือ :-

๑. ภิกษุกำลังเคี้ยว อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๒. ภิกษุกำลังฉัน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๓. ภิกษุกำลังถ่ายอุจจาระ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 859

๔. ภิกษุกำลังถ่ายปัสสาวะ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๕. ภิกษุถูกสงฆ์ยกวัตร อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ แม้อื่นอีก ๕ ๕

อะไรบ้าง คือ :-

๑. ภิกษุผู้อุปสมบททีหลัง อันภิกษุผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้

๒. อนุปสัมบัน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๓. ภิกษุมีสังวาสต่างกัน มีพรรษาแก่กว่า เป็นอธรรมวาที อัน

ภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๔. สตรี อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๕. บัณเฑาะก์ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

ดูก่อนอุบาลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕ นี้แล

ดูก่อนอุบาลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ แม้อื่นอีก ๕ ๕

อะไรบ้าง คือ :-

๑. ภิกษุอยู่ปริวาส อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๒. ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๓. ภิกษุผู้ควรมานัต อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๔. ภิกษุประพฤติมานัต อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

๕. ภิกษุผู้ควรอัพภาน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้

ดูก่อนอุบายลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕ นี้แล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 860

บุคคลควรไหว้

[๑,๒๒๖] อุ. ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายควรไหว้ มีเท่าไรหนอแล

พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอุบาลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายควรไหว้นี้ มี ๕ ๕ อะไร

บ้าง คือ :-

๑. ภิกษุผู้อุปสมบทก่อน อันภิกษุผู้อุปสมบททีหลังควรไหว้

๒. ภิกษุผู้มีสังวาสต่างกัน มีพรรษาแก่กว่า แต่เป็นธรรมวาที อัน

ภิกษุทั้งหลายควรไหว้

๓. พระอาจารย์ อันภิกษุทั้งหลายควรไหว้

๔. พระอุปัชฌาย์ อันภิกษุทั้งหลายควรไหว้

๕. พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันประชา ทั้งสมณะและ

พราหมณ์ ทั้งเทพดามนุษย์ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ควรไหว้

ดูก่อนอุบาลี บุคคลอันภิกษุควรไหว้ ๕ นี้แล

ธรรมของภิกษุอ่อนกว่ากับภิกษุแก่กว่า

[๑,๒๒๗] อุ. พระพุทธเจ้าข้า อันภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของ

ภิกษุผู้แก่กว่า พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วไหว้เท้า

พ. ดูก่อนอุบาลี อันภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า พึง

ตั้งธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วไหว้เท้า ธรรม ๕ อะไรบ้าง

ดูก่อนอุบาลี อันภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า

๑. พึงห่มผ้าเฉวียงบ่า

๒. ประคองอัญชลี

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 861

๓. นวดเท้าด้วยฝ่ามือทั้งสอง

๔. มีความรัก

๕. มีความเคารพ แล้วไหว้เท้า

ดูก่อนอุบาลี อันภิกษุผู้อ่อนกว่า เมือไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า พึงเข้า

ไปตั้งธรรม ๕ นี้ไว้ในตน แล้วไหว้เท้า.

กฐินนัตถารวรรค ที่ ๑๔ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๒๒๘] กรานกฐิน ๑ หลับ ๑ ละแวกบ้าน ๑ ดื่มยาคู ๑ เคี้ยว ๑

อุปสมบทก่อน ๑ อยู่ปริวาส ๑ บุคคลควรไหว้ ๑ ภิกษุอ่อนกว่าไหว้ภิกษุ

แก่กว่า ๑.

อุปาลิปัญจกะ จบ

หัวข้อบอกวรรคเหล่านั้น

[๑,๒๒๙] อนิสสิตวรรค ๑ กรรมวรรค ๑ โวหารวรรค ๑ ทิฏฐา-

วิกัมมวรรค ๑ โจทนาวรรค ๑ ธุตังควรรค ๑ มุสาวาทวรรค ๑ ภิกขุนี

โอวาทวรรค ๑ อุพพาหิกวรรค ๑ อธิกรณวูปสมวรรค ๑ สังฆเภทวรรค ๑

สังฆเภท ๕ อย่างเหมือนก่อน๑ อาวาสิกวรรค ๑ กฐินัตถารวรรค ๑ รวม

๑๔ วรรค ท่านประกาศไว้ดีแล้วแล.

๑. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค ๒. อัตตาทานวรรค ๓. ทุติสังเภทวรรค.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 862

อุปาลิปัญจก วัณณนา

[ว่าด้วยองค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ถือนิสัย]

วินิจฉัยในอุบายลิปัญหา พึงทราบดังนี้:-

คำถามที่ว่า กตีหิ นุ โข ภนฺเต มีสัมพันธ์ ดังนี้:-

ได้ยินว่า พระเถระอยู่ในที่ลับ มานึกถึงหมวด ๕ เหล่านี้ ทั้งหมด จึง

เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคิดว่า บัดนี้เราจักทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า

ให้พระองค์ทรงวางแบบแผน เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุเหล่านี้ มีภิกษุผู้ถือนิสัย

อยู่เป็นต้น แล้วทูลถามปัญหา โดยนัยมีคำว่า กตีหิ นุ โข ภนฺเต

เป็นอาทิ.

วินิจฉัยในคำวิสัชนาปัญหาเหล่านั้น พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า อุโปสถ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถ ๙ อย่าง.

สองบทว่า อุโปสถกมฺม น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถ-

กรรม ๔ อย่าง ต่างโดยกรรมเป็นวรรคโดยอธรรมเป็นต้น.

สองบทว่า ปาฏิโมกฺข น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมาติกา ๒.

สองบทว่า ปาฏิโมกฺขุทฺเทส น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักปาฏิ-

โมกขุทเทส ๙ อย่าง คือ ของภิกษุ ๕ อย่าง ของภิกษุณี ๔ อย่าง.

สองบทว่า ปวารณ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักปวารณา ๙ อย่าง.

สองบทว่า ปวารณากมฺม น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักปวารณา-

กรรม ๘ อย่าง ต่างโดยชนิดมีกรรมเป็นวรรคโดยอธรรมเป็นต้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 863

สองบทว่า อาปตฺตานาปตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้อาบัติ

และอนาบัติ ที่ทรงแสดงในสิกขาบทนั้น ๆ.

สองบทว่า อาปนฺโน กมฺมกโต มีความว่า ภิกษุต้องอาบัติแล้ว,

กรรมย่อมเป็นกิจอันสงฆ์ทำแล้ว เพราะการต้องนั้นเป็นปัจจัย.

[ว่าด้วยกรรมของภิกษุไม่ควรระงับ]

สองบทว่า กมฺม น ปฏิปฺปสฺสมฺเภตพฺพ มีความว่า กรรม

ของภิกษุนั้น อันสงฆ์ไม่พึงให้ระงับ เพราะเหตุที่เธอประพฤติ โดยคล้อยตาม

พรรคพวก. อธิบายว่า เหมือนบุคคลที่ถูกล่ามไว้ด้วยเชือก อันตนจะพึงแก้

เสียฉะนั้น.

[ว่าด้วยองค์ ๕ ของภิกษุผู้เข้าสงคราม]

หลายบทว่า สเจ อุปาลิ สงฺโฆ สมคฺคกรณียานิ กมฺมานิ

กโรติ มีความว่า ถ้าว่าสงฆ์กระทำกรรมมีอุโบสถเป็นต้น อันภิกษุทั้งหลาย

ผู้พร้อมเพรียงกันพึงกระทำ, อันความอุดหนุน (แก่การทะเลาะ) อันภิกษุ

ไร ๆ ไม่พึงให้ ในเมื่อกรรมสามัคคีมีอุโบสถและปวารณาเป็นต้น ต้องงดไว้.

ก็ถ้าว่า สงฆ์ให้แสดงโทษล่วงเกินแล้วกระทำสังฆสามัคคีก็ดี กระทำการระงับ

อธิกรณ์ด้วยตินวัตถารกวินัย แล้วกระทำอุโบสถและปวารณาก็ดี, กรรมเห็น

ปานนี้ จัดเป็นกรรมที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงพึงกระทำ.

บทว่า ตตฺเร เจ มีความว่า ถ้าว่าในกรรมเช่นนั้น ไม่ชอบใจแก่

ภิกษุไซร้, พึงกระทำความเห็นแย้งก็ได้ ควบคุมความพร้อมเพรียงเห็นปานนั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 864

ไว้. ความถือผิดอย่างนั้น ไม่ควรถือไว้. ก็ในกรรมใด ภิกษุทั้งหลายแสดง

พระศาสนานอกธรรมนอกวินัย ในกรรมนั้นความเห็นแย้ง ใช้ไม่ได้ เพราะ

ฉะนั้น สงฆ์พึงห้ามเสียแล้วหลีกไป.

[ว่าด้วยองค์ ๕ ของภิกษุผู้กล่าวไม่เป็นที่รัก]

บทว่า อุสฺสิตมนฺตี จ มีความว่า ผู้มีความรู้มากมักกล่าววาจา ซึ่ง

หนาแน่นด้วยโลภะ โทสะ และมานะ มีวาจาโสมม ไม่แสดงประโยชน์.

บทว่า นิสฺสิตชปฺปิ มีความว่า ไม่สามารถจะกล่าวถ้อยคำให้สม

แก่ความมีความรู้มากโดยธรรมดาของตน. โดยที่แท้ย่อมอ้างผู้อื่นกล่าวอย่างนี้

ว่า พระราชาได้ตรัสกับเราอย่างนี้, มหาอำมาตย์โน้น กล่าวอย่างนี้, อาจารย์

หรืออุปัชฌาย์ของเราชื่อโน้น กล่าวอย่างนี้, พระเถระผู้ทรงไตรปิฎก พูดกับ

เราอย่างนี้.

บทว่า น จ ภาสานุสนฺธิกุสโล มีความว่า เป็นผู้ไม่ฉลาดใน

ถ้อยคำที่เป็นเงื่อนของเรื่องราว และในถ้อยคำที่เป็นเงื่อนของคำวินิจฉัย.

สองบทว่า น ยถาธมฺเม ยถาวินเย มีความว่า ไม่เป็นผู้โจท

เตือนให้ระลึกถึงอาบัติด้วยวัตถุที่เป็นจริง.

สองบทว่า อสฺสาเทตา โหติ ความว่า ย่อมยกบางคนขึ้นอ้าง

โดยนัยเป็นต้นว่า อาจารย์ของข้าพเจ้า เป็นผู้ทรงไตรปิฎกอย่างใหญ่ เป็น

ธรรมกถึกอย่างเยี่ยม.

วินิจฉัยในทุติยบท พึงทราบดังนี้ :-

ย่อมรุกรานบางคน โดยนัยเป็นต้นว่า เขาจะรู้อะไร.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 865

สองบทว่า อธมฺม คณฺหาติ ได้แก่ ยึดถือธรรมที่เป็นฝ่ายไม่นำ

ออกจากทุกข์.

สองบทว่า ธมฺม ปฏิพาหติ ได้แก่ ค้านธรรมที่เป็นฝ่ายนำออก

จากทุกข์. . .

หลายบทว่า สมฺผญฺจ พหุ ภาสติ ได้แก่ กล่าวค้อยคำที่ไร้

ประโยชน์มากมาย.

หลายบทว่า ปสยฺห ปวตฺตา โหติ มีความว่า เป็นผู้อันพระ

สังฆเถระมิได้เชิญ เมื่อภาระอันท่านมิได้มอบให้ อาศัยความทะนงตัวอย่าง

เดียว บังอาจกล่าวในกาลมิใช่โอกาส.

สองบทว่า อโนกาสกมฺม การาเปตฺวา มีความว่า เป็นผู้ไม่ให้

ภิกษุอื่นให้โอกาสเสียก่อนก็กล่าว.

หลายบทว่า น ยถาทิฏฺิยา พฺยากตา โหติ มีความว่าเป็นผู้

ไม่พยากรณ์ยืนยันความเห็นของตน กลับเป็นผู้งดความเห็น (ส่วนตัว) เสีย

มีความเห็นว่าเป็นธรรมเป็นต้น ในอธรรมเป็นอาทิ กล่าวไม่ตรงตามจริง.

[ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ไม่ควรพูดในสงฆ์]

หลายบทว่า อาปตฺติยา ปโยค น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า

อาบัตินี้เป็นกายประโยค, อาบัตินี้เป็นวจีประโยค.

หลายบทว่า อาปตฺติยา วูปสม น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า

อาบัตินี้ระงับด้วยการแสดง, อาบัตินี้ระงับด้วยการออก, อาบัตินี้ไม่ระงับด้วย

การแสดง ไม่ระงับด้วยการออก.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 866

หลายบทว่า น อาปตฺติยา วินิจฺฉยกุสโล โหติ ได้แก่ ไม่รู้

ว่า อาบัตินี้ มีในวัตถุนี้ คือ ไม่อาจเพื่อยกอาบัติขึ้นยืนยันตามสมควรแก่โทษ.

สองบทว่า อธิกรณสมุฏฺาน น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า

อธิกรณ์นี้ อาศัยเภทกรวัตถุ ๑๘ ตั้งขึ้น, อธิกรณ์นี้ อาศัยวิบัติ ๔ ตั้งขึ้น,

อธิกรณ์นี้ อาศัยกองอาบัติ ๕ หรือ ๗ ตั้งขึ้น, อธิกรณ์นี้ อาศัยสังฆกิจ ๔

อย่างตั้งขึ้น.

สองบทว่า ปโยค น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า อธิกรณ์นี้ มี

ประโยคเป็นต้นเค้า ๑๒ อธิกรณ์นี้ มีประโยคเป็นต้นเค้า ๑๔, อธิกรณ์นี้ มี

ประโยคเป็นต้นเค้า ๖, อธิกรณ์นี้ ประโยคเป็นต้นเค้า ๑. อธิบายว่า จริงอยู่

ต้นเค้าตามที่เป็นของตนนั่นเองแห่งอธิกรณ์ทั้งหลาย จัดเป็นประโยค, ไม่รู้จัก

ประโยคแม้ทั้งปวงนั้น.

สองบทว่า วูปสม น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า อธิกรณ์นี้ ระงับ

ด้วยสมถะ ๒, อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ ๔, อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ ๓

อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ ๑.

หลายบทว่า น อธิกรณสฺส วินิจฺฉยกุสโล โหติ ได้แก่ ไม่

รู้เพื่อวินิจฉัยอธิกรณ์ให้ถึงความระงับ.

สองบทว่า กมฺม น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักกรรม ๗ อย่าง มี

ตัชชนียกรรมเป็นต้น.

หลายบทว่า กมฺมสฺส กรณ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า กรรม

นี้ ควรทำโดยอุบายนี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 867

หลายบทว่า กมฺมสฺส วตฺถุ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า นี้เป็น

วัตถุแห่งตัชชนียกรรม, นี้เป็นวัตถุแห่งนิยสกรรมเป็นต้น.

หลายบทว่า กมฺมสฺส วตฺต น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักวัตร ๑๘

ประการแห่งกรรม ๘ ในหนหลัง ในกรรม ๗ ชนิด และวัตร ๔๓ ประการ

แห่งอุกเขปนียกรรม ๓ อย่าง.

หลายบทว่า กมฺมสฺส วูปสม น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า ภิกษุ

ใดประพฤติวัตรแล้วขอ กรรมของภิกษุนั้น อันสงฆ์ควรให้ระงับ, โทษอัน

สงฆ์พึงให้แสดง.

สองบทว่า วตฺถุ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักวัตถุแห่งกองอาบัติ ๗.

สองบทว่า นิทาน น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า สิกขาบทนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติในนครนี้, สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติในนครนี้.

สองบทว่า ปญฺตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักบัญญัติทั้ง ๓

อย่าง ด้วยอำนาจบัญญัติ อนุบัญญัติ และอนุปปันนบัญญัติ.

สองบทว่า ปทปจฺฉาภฏฺ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักบทที่ควร

จัดไว้ข้างหน้า, คือเมื่อตนควรจะกล่าวว่า พุทฺโธ ภควา กลับประกอบให้

สับหน้าลับหลังกันเสียว่า ภควา พุทฺโธ.

หลายบทว่า อกุสโล จ โหติ วินเย ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดใน

บาลีและอรรถกถาแห่งวินัย.

หลายบทว่า ตฺตึ น ชานาติ มีความว่า ก็โดยย่อ ญัตติมี ๒

อย่าง คือ ญัตติที่แสดงอย่างนี้ว่า เอสา ตฺติ ๑ ญัตติที่ไม่แสดง ๑. ใน

ญัตติ ๒ อย่างนั้น ญัตติใด ไม่แสดงอย่างนั้น, ญัตตินั้น จัดเป็นกรรมญัตติ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 868

ญัตติใดแสดง, ญัตตินั้น จัดเป็นกรรมปาทญัตติ, ไม่รู้จักญัตตินั้น โดย

ประการทั้งปวง.

หลายบทว่า ตฺติยา กรณ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักการ

กระทำกรรมญัตติ ใน ๙ สถาน. ไม่รู้จักการกระทำกรรมปาทญัตติ ใน ๒

สถาน.

สองบทว่า ตฺติยา อนุสาวน ได้แก่ ไม่รู้ว่า ญัตตินี้ มี

อนุสาวนา ๑ ญัตตินี้ มีอนุสาวนา ๓.

หลายบทว่า ตฺติยา สมถ น ชานาติ มีความว่า สมถะ ๔

อย่างนี้ใด คือ สติวินัย อมูฬหวินัย ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ ไม่เว้น

จากญัตติ, ไม่รู้จักสมถะนั้นว่า ระงับด้วยญัตติ

หลายบทว่า ตฺติยา วูปสม น ชานาติ มีความว่า อธิกรณ์

ใด ระงับด้วยญัตติสมถะ ๔ อย่างนี้ ไม่รู้จักความระงับนั้นแห่งอธิกรณ์นั้นว่า

ความระงับนี้ ทำด้วยญัตติ.

สองบทว่า สุตฺต น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักอุภโตวิภังค์.

สองบทว่า สุตฺตานุโลม น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส ๔.

สองบทว่า วินย น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักขันธกะและบริวาร.

สองบทว่า วินยานุโลม น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส

นั่นเอง.

สองบทว่า น จ านาานกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในเหตุ

และมิใช่เหตุ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 869

สองบทว่า ธมฺม น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักปิฎก ๒ ที่เหลือ

นอกจากวินัยปิฎก.

สองบทว่า ธมฺมานุโลม น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส

๔ ฝ่ายสุตตันตะ.

สองบทว่า วนย น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักขันธกะและบริวาร

นั่นเอง.

สองบทว่า วินยานุโลม น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส ๔.

ก็อุภโตวิภังค์ เป็นอันท่านไม่สงเคราะห์ ในข้อว่า ไม่รู้จักวินัย นี้.

เพราะเหตุนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีว่า บทว่า วินย ได้แก่ ไม่รู้จัก

วินัยปิฎกทั้งสิ้น คำนั้นควรถือเอา.

สองบทว่า น จ ปุพฺพาปรกุสโล โหติ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาด

ในคำต้นและคำหลัง.

คำที่เหลือในบททั้งปวง นับว่าตื้นทั้งนั้น เพราะเป็นคำที่ควรทราบ

โดยปฏิปักขนัยต่อคำที่กล่าวแล้ว และเพราะเป็นคำที่ได้เปิดเผยแล้วในหนหลัง

ฉะนี้แล.

จบพรรณนาอนิสสิตวัคค์ นปฏิปปัสสัมภนวัคค์ และโวหารวัคค์.

[ว่าด้วยทำความเห็นแย้ง]

วินิจฉัยในทิฏฐาวิกัมมวัคค์ พึงทราบดังนี้:-

การทำความเห็นให้แจ้ง ชื่อว่าทำความเห็นแย้ง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 870

คำว่า ทิฏฺาวิกมฺม นี้ เป็นชื่อของวินัยกรรม กล่าวคือการแสดง

อาบัติ ซึ่งประกาศลัทธิ.

บทว่า อนาปตฺติยา ทิฏฺึ อาวิกโรติ มีความว่า แสดงอนาบัติ

แท้ ๆ ว่าเป็นอาบัติ.

บทว่า อเทสนาคามินิยา ได้แก่ ทำความเห็นแย้งในครุกาบัติ

อธิบายว่า แสดงอาบัติสังฆาทิเสสและปาราชิก.

บทว่า เทสิตาย ได้แก่ ทำความเห็นแย้งแม้ในลหุกาบัติที่แสดงแล้ว.

อธิบายว่า แสดงอาบัติที่แสดงแล้วซ้ำอีก.

สองบทว่า จตูหิ ปญฺจหิ ได้แก่ ทำความเห็นแย้ง อย่างที่ภิกษุ

๔-๕ รูปทำความเห็นแย้งกัน. อธิบายว่า ๔-๕ คนแสดงอาบัติพร้อมกัน.

บทว่า มโนมานเสน มีความว่า ทำความเห็นแจ้งด้วยนึกไว้ในใจ

กล่าวคือคิดไว้ ได้แก่ แสดงอาบัติด้วยจิตเท่านั้น หาได้ลั่นวาจาไม่.

บทว่า นานาสวาสกสฺส มีความว่า ทำความเห็นแจ้ง คือ แสดง

อาบัติ ในสำนักภิกษุผู้มีสังวาสก์ต่างกันโดยลัทธิ หรือภิกษุผู้มีสังวาสก์ต่างกัน

โดยกรรม.

บทว่า นานาสีมาย มีความว่า ทำความเห็นแจ้ง ในสำนักภิกษุ

แม้ผู้เป็นสมานสังวาสก์ แต่ตั้งอยู่ในต่างสีมา. จริงอยู่ การที่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน

มาฬกสีมา แสดงอาบัติแก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในสีมันตริกก็ดี การที่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน

สีมันตริก แสดงอาบัติแก่ภิกษุแม้ผู้ตั้งอยู่ในอวิปปวาสสีมาก็ดี ไม่ควร.

บทว่า อปกตตฺตสฺส มีความว่า แสดงในสำนักแห่งภิกษุผู้อันสงฆ์

ยกวัตร หรือภิกษุผู้ถูกสงฆ์งดอุโบสถและปวารณาเสีย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 871

[ว่าด้วยโอกาสกรรม]

หลายบทว่า นาล โอกาสกมฺม กาตุ มีความว่า ไม่ควรเพื่อ

กระทำ. อธิบายว่า อันภิกษุไม่พึงกระทำ.

ภิกษุผู้อันสงฆ์ยกวัตร และภิกษุผู้ถูกสงฆ์งดอุโบสถและปวารณา ชื่อ

ว่าภิกษุมิใช่ผู้ปกตัตต์ แม้ในโอกาสกรรมนี้.

บทว่า จาวนาธิปฺปาโย ได้แก่ ผู้ใคร่จะให้เคลื่อนจากศาสนา.

[ว่าด้วยถามปัญหา]

สองบทว่า มนฺทตฺตา โมมูหตฺตา มีความว่า เพราะความเป็นผู้

โง่ เพราะความเป็นผู้งมงาย จึงไม่สามารถทั้งเพื่อจะแก้ ทั้งเพื่อจะรู้ จะ

ประกาศความที่ตนเป็นผู้งมงายอย่างเดียวเท่านั้น จึงถามคล้ายคนบ้า.

บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ถามด้วยความปรารถนาลามกว่า ชนจัก-

สรรเสริญเรา ด้วยอุบายอย่างนี้.

บทว่า ปริภวา ได้แก่ เป็นผู้ใคร่จะยกความดูหมิ่นจึงถาม. แม้ใน

อัญญพยากรณ์ ก็มีนัยเหมือนกัน.

คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

ทิฏฐาวิกัมมวัคควัณณา จบ

คำใดที่จะพึงกล่าว ในอัตตาทานวัคค์และธุตังควัคค์, คำนั้นทั้งหมด

ได้กล่าวแล้วในหนหลังแล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 872

[ว่าด้วยมุสาวาท]

วินิจฉัยในมุสาวาทวัคค์ พึงทราบดังนี้:-

มุสาวาทที่จัดเป็นปาราชิกคามี เพราะอรรถว่า ถึงปาราชิก, อธิบายว่า

ถึงความเป็นอาบัติปาราชิก. แม้ในมุสาวาทนอกนี้ ก็มีนัยเหมือนกัน.

ในมุสาวาท ๕ อย่างนั้น มุสาวาทที่เป็นไปโดยอวดอุตริมนุสธรรม

ที่ไม่มี (ในตน) เป็นปาราชิกคามี, มุสาวาทที่เป็นไปโดยตามกำจัด ด้วย

ปาราชิกไม่มีมูล เป็นสังฆาทิเสสคามี, มุสาวาทที่ภิกษุกล่าว (อวดอุตริมนุส-

ธรรมที่ไม่มี) โดยปริยายแก่บุคคลผู้เข้าใจความ เป็นต้นว่า ภิกษุใดอยู่ใน

วิหารของท่าน เป็นถุลลัจจัยคามี, มุสาวาทที่ภิกษุกล่าวโดยปริยายแก่บุคคลผู้

ไม่เข้าใจความ เป็นทุกกฏคามี, มุสาวาทที่มาว่า เป็นปาจิตตีย์ เพราะกล่าว

เท็จทั้งรู้ พึงทราบว่า เป็นปาจิตติยคามี.

[ว่าด้วยอาการเป็นเหตุต้องอาบัติ]

บทว่า อทสฺสเนน ได้แก่ ไม่เห็นพระวินัยธร. จริงอยู่ ภิกษุเมื่อ

เกิดความรังเกียจในของที่ควรและไม่ควรขึ้น ได้พบพระวินัยธรแล้ว สอบถาม

ถึงความที่เป็นของควรและไม่ควรแล้ว จะพึงละของที่ไม่ควรเสีย ทำแต่ที่ควร

แต่เมื่อไม่พบพระวินัยธรนั้นกระทำ แม้ซึ่งสิ่งที่ไม่ควร ด้วยสำคัญว่าควร ก็

ย่อมต้องอาบัติ. อาบัติที่จะพึงต้องด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุไม่ต้อง เพราะพบ

พระวินัยธร, ต้องเพราะไม่พบเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า เพราะไม่เห็น.

บทว่า อสฺสวเนน มีความว่า อันภิกษุผู้อยู่แม้ในวิหารเดียวกันไป

สู่ที่บำรุงของพระวินัยธร ไม่ถามถึงสิ่งที่ควรและไม่ควร หรือไม่ฟังสิ่งที่ควร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 873

และไม่ควร ซึ่งท่านกล่าวแก่ภิกษุเหล่าอื่น ย่อมต้องอาบัติแท้. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะไม่ฟัง.

บทว่า ปสุตฺตตา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้หลับเสีย. จริงอยู่ ภิกษุ

ย่อมต้องอาบัติเพราะนอนร่วมเรือน เพราะความเป็นผู้หลับก็ได้.

อนึ่ง ภิกษุเมื่อต้องอาบัติ เพราะความเป็นผู้มีความสำคัญว่า ควรใน

ของที่ไม่ควร ชื่อว่ามีความสำคัญนั้น ต้องอาบัติ.

เพราะลืมสติ ภิกษุย่อมต้องอาบัติที่จะพึงต้องด้วยอำนาจแห่งเหตุมีก้าว

ล่วงราตรี ๑ เป็นต้น.

คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

มุสาวาทวัคค วัณณนา จบ

[ว่าด้วยองค์เป็นเหตุลงโทษ]

วินิจฉัยในภิกขุนีวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า อลาภาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การไม่ได้ปัจจัย ๔,

อธิบายว่า ภิกษุย่อมขวนขวาย คือพยายาม โดยประการที่ภิกษุณีทั้งหลายไม่

ได้ปัจจัย.

บทว่า อตฺถาย ได้แก่ ขวนขวาย บอกข่าวที่ให้โทษอันก่อให้เกิด

ความเสียหาย.

บทว่า อนาวาสาย ได้แก่ เพื่อต้องการจะไม่ให้อยู่, อธิบายว่า

เพื่อต้องการกำจัดออกเสียจากคามเขตเป็นที่อยู่.

บทว่า สมฺปโยเชติ ได้แก่ ชักสื่อเพื่อประโยชน์แก่การเสพอสัทธรรม.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 874

พระอุบาลีเถระหมายเอากรรม ๗ อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงทูลถามว่า

ภิกษุสงฆ์พึงทำกรรมแก่ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรพระเจ้าข้า ?

บทว่า น สากจฺฉาตพฺโพ มีความว่า ไม่ควรกล่าวเรื่องราวต่าง

โดยเรื่องควรไม่ควร กำหนดนาม รูป สมถะ และวิปัสสนาเป็นอาทิ. ก็

เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ขีณาสพหาแกล้งกล่าวให้ผิดไม่ ท่านเป็นเจ้าของเรื่องราวเห็น

ปานนั้นกล่าว ภิกษุนอกนั้นหาได้เป็นเจ้าของไม่ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงห้ามในปัญจกะที่ ๑ ว่า นาเสกฺเขน แล้วตรัสในปัญจกะที่ ๒ ว่า

อเสกฺเขน เป็นอาทิ.

บทว่า น อตฺถปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต มีความว่า เป็นผู้บรรลุ

ปฏิสัมภิทา คือเป็นผู้บรรลุญาณอันถึงความแตกฉาน ในอรรถกถาหามิได้.

บทว่า น ธมฺมปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต มีความว่า เป็นผู้บรรลุญาณ

อันแตกฉาน ในธรรมคือบาลี หามิได้.

บทว่า น นิรุตฺติปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต มีความว่า เป็นผู้บรรลุญาณ

อันแตกฉาน ในภาษาคือโวหารที่จะพึงกล่าว หามิได้.

บทว่า น ปฏิภาณปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต มีความว่า มิได้เป็นผู้

บรรลุความแตกฉาน ในญาณทั้งหลาย มีอัตถปฏิสัมภิทาญาณเป็นต้น ที่นับว่า

ปฏิภาณ (คือไหวพริบ).

สองบทว่า ยถาวิมุตฺต น ปจฺจเวกฺขติ มีความว่า เป็นผู้มิได้ใช้

สติเครื่องพิจารณา ๑๙ ประเภท พิจารณาจิตตามที่พ้นแล้วด้วยอำนาจผลวิมุตติ

๔ อย่าง.

คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

ภิกขุนีวัคค วัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 875

[ว่าด้วยองค์แห่งภิกษุผู้ควรแก่อุพพาหิกา]

วินิจฉัยในอุพพาหิกวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า น อตฺถกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอรรถกถา คือ

เป็นผู้ไม่เฉียบแหลมในการถอดใจความ.

บทว่า น ธมฺมกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในบาลี คือเป็นผู้

ไม่อาจหาญในบาลี เพราะไม่เรียนจากปากอาจารย์.

บทว่า น นิรุตฺติกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการกล่าวด้วย

ภาษาอื่น.

บทว่า น พฺยญฺชนกุสโล มีความว่า เป็นผู้ไม่ฉลาดในการใช้

พยัญชนะให้กลมกล่อม เนื่องด้วยสิถิลและธนิตเป็นต้น อธิบายว่า เป็นผู้ไม่

เชี่ยวชาญในกระบวนอักษร.

บทว่า น ปุพฺพาปรกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในเบื้องต้น และ

เบื้องปลายแห่งอรรถ ในเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งธรรม ในเบื้องต้นและ

เบื้องปลายแห่งนิรุตติ ในเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งพยัญชนะ และในคำต้น

และคำหลัง.

บททั้งหลายมีบทว่า โกธโน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

เพราะมีเหตุที่ภิกษุผู้อันความโกรธเป็นต้นครอบงำแล้ว ย่อมไม่รู้จักเหตุและ

มิใช่เหตุ ไม่สามารถจะตัดสินได้.

หลายบทว่า อปสาเรตา โหติ น สาเรตา มีความว่า เป็นผู้

ให้งมงาย คือไม่เตือนให้เกิดสติขึ้น, อธิบายว่า เคลือบคลุม คือปกปิดถ้อยคำ

ของโจทก์และจำเลยเสีย ไม่เตือนให้ระลึก.

คำที่เหลือในอุพพาหิกวัคค์นี้ ตื้นทั้งนั้นแล.

อุพพาหิกวัคควัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 876

[ว่าด้วยผู้หนัก]

วินิจฉัยในอธิกรณวูปสมวัคค์ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ปุคฺคลครุ โหติ มีความว่า ภิกษุผู้คิดถึงเหตุว่า ผู้นี้

เป็นอุปัชฌาย์ของเรา, ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา ดังนี้เป็นต้น หวังความชำนะ

แก่บุคคลนั้น จึงแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม.

สองบทว่า สงฺฆครุ โหติ มีความว่า เนื้อวินิจฉัยไม่ละธรรมและ

วินัยเสีย ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าหนักในสงฆ์.

เมื่อถือเอาปัจจัยมีจีวรเป็นต้นวินิจฉัย ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าหนักในอามิส.

เมื่อไม่ถือเอาปัจจัยมีจีวรเป็นต้นเหล่านั้น วินิจฉัยตามธรรม ย่อมเป็น

ผู้ชื่อว่าหนักในสัทธรรม.

[ว่าด้วยสังฆเภท]

หลายบทว่า ปญฺจหิ อุปาลิ อากาเรหิ มีความว่า สงฆ์ย่อมแตก

เพราะเหตุ ๕.

วินิจฉัยในคำว่า กมฺเมน อุทฺเทเสน โวหรนฺโต อนุสาวเนน

สลากคาเหน นี้ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า กมฺเมน ได้แก่ กรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรรม ๔ อย่าง

มีอปโลกนกรรมเป็นต้น.

บทว่า อุทฺเทเสน ได้แก่ อุทเทสอย่างใดอย่างหนึ่ง ในปาฏิโมก-

ขุทเทส ๕.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 877

บทว่า โวหรนฺโต ได้แก่ ชี้แจง คือกล่าว อธิบายว่า แสดงเรื่อง

ก่อความแตกกัน ๑๘ อย่าง มีแสดงอธรรมว่าธรรมเป็นอาทิ เพราะอุปัตติเหตุ

เหล่านั้น ๆ.

บทว่า อนุสาวเนน ได้แก่ การลั่นวาจาประกาศใกล้หู โดยนัย

เป็นต้นว่า พวกท่านรู้ไหม ? ว่าเราออกบวชจากสกุลสูง และว่าเราเป็นพหูสูต,

ควรแก่พวกท่านละหรือ ที่ยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า บุคคลอย่างเรานะ จะพึง

ให้ถือเอาสัตถุศาสนานอกธรรมนอกวินัย สำหรับเราอเวจีจะเย็นคล้ายสระนีลุบล

เทียวหรือ ? เราจะไม่กลัวอบายหรือ ?

บทว่า สลากคาเหน ได้แก่ การที่ประกาศอย่างนั้น พยุงจิตของ

ภิกษุเหล่านั้น กระทำให้เป็นผู้ไม่หวนกลับเป็นปกติแล้ว ให้จับสลากว่า พวก

ท่านจงจับสลากนี้.

ก็ในอาการ ๕ อย่างนี้ กรรมเท่านั้น หรืออุทเทส เป็นสำคัญ. ส่วน

การแถลงการประกาศและการให้จับสลาก เป็นส่วนเบื้องต้น. จริงอยู่ เมื่อ

แถลงด้วยอำนาจแสดง เรื่อง ๑๘ ประการ ประกาศเพื่อปลุกให้เกิดความพอใจ

ในคำแถลงนั้น ให้จับสลากแล้วก็ดี สงฆ์ก็หาเป็นอันเธอได้ทำลายไม่, แต่เมื่อใด

เธอให้ภิกษุ ๔ รูปหรือเกินกว่าจับสลากอย่างนั้นแล้ว ทำกรรม หรืออุทเทส

แผนกหนึ่ง, เมื่อนั้นสงฆ์เป็นอันเธอได้ทำลายแล้วแท้.

ด้วยประการอย่างนี้ เป็นอันข้าพเจ้าได้ประกาศเนื้อความที่ตนเองได้

กล่าวไว้ ในสังฆเภทขันธกวัณณนา อย่างนี้ว่า ครั้นเมื่อภิกษุทั้งหลายแสดง

วัตถุอันใดอันหนึ่งแม้วัตถุเดียว ในวัตถุ ๑๘ แล้ว ให้ภิกษุทั้งหลายหมายรู้ด้วย

เหตุนั้น ๆ ว่า ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้, ดังนี้ ให้จับสลาก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 878

แล้วทำสังฆกรรมแผนกหนึ่ง สงฆ์ย่อมเป็นอันแตกกัน, ส่วนในคัมภีร์บริวาร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี สงฆ์ย่อมแตกกันด้วยอาการ ๕ เป็นอาทิ,

คำนั้นกับลักษณะแห่งสังฆเภทนี้ ที่ตรัสในสังฆเภทขันธกะนี้ โดยใจความ ไม่มี

ความแตกต่างกัน, และข้าพเจ้าจักประกาศข้อที่ไม่แตกต่างกันแห่งคำนั้น ๆ ใน

คัมภีร์บริวารนั้นแล.

[ว่าด้วยสังฆราชี]

บทว่า ปญฺตฺเตต มีความว่า วัตรนั่น เราบัญญัติแล้ว, บัญญัติ

ไว้ที่ไหน ? ในวัตตขันธกะ. จริงอยู่ วัตร ๑๔ หมวด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบัญญัติแล้ว ในวัตตขันธกะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า อุบาลี

อาคันตุกวัตรนั่น อันเราบัญญัติแล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้อาคันตุกะ เป็นอาทิ.

หลายบทว่า เอวปิ โข อุปาลิ สงฺฆราชิ โหติ โน จ

สงฺฆเภโท มีความว่า จริงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ย่อมมีแต่เพียงความ

ร้าวรานแห่งสงฆ์เท่านั้น, ความแตกแห่งสงฆ์ยังไม่มีก่อน; ก็แต่ว่าความ

ร้าวรานแห่งสงฆ์นี้ เมื่อขยายตัวออกโดยลำดับ ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกแห่ง

สงฆ์ได้.

บทว่า ยถารตฺต ความว่า สมควรแก่ปริมาณแห่งราตรี คือ ตาม

ลำดับพระเถระ.

สองบทว่า อาเวณิภาว กริตฺวา ได้แก่ ทำความกำหนดไว้แผนกหนึ่ง.

สองบทว่า กมฺมากมฺมานิ กโรนฺติ มีความว่า ย่อมกระทำกรรม

ทั้งหลายทั้งเล็กทั้งใหญ่ จนชั้นสังฆกรรมอื่น ๆ อีก.

คำที่เหลือ ในอธิกรณวูปสมวัคค์แม้นี้ ตื้นทั้งนั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 879

[ว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์]

วินิจฉัยในสังฆเภทวัคค์ทั้ง ๒ พึงทราบดังนี้ :-

หลายบทว่า วินิธาย ทิฏฺึ กมฺเมน มีความว่า ภิกษุเป็นผู้มี

ความเห็นในอธรรมเป็นต้นเหล่านั้นอย่างนี้เทียวว่า เหล่านี้ เป็นอธรรมเป็นต้น

ยืนยันความเห็นนั้น แสดงอธรรมเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยอำนาจธรรมเป็นต้น

แล้วแยกกระทำกรรม.

ภิกษุทำกรรมที่ยืนยันความเห็นอันใด, พร้อมกับกรรมที่ยืนยันความ

เห็น ที่เธอกระทำแล้วอย่างนั้น ๆ ย่อมมีองค์ ๕ ด้วยประการอย่างนี้.

พระบาลีที่ว่า อิเมหิ โข อุปาลิ ปญฺจหงฺเคหิ นี้ เป็นคำ

ประกอบเนื้อความ ในปัญจ ะ ๑. ปัญจกะทั้งปวง พึงทราบโดยนัยนี้.

อนึ่ง องค์ ๓ มีการแถลงเป็นต้น แม้ในสังฆเภทวัคคนี้ ตรัสแล้ว

ด้วยอำนาจองค์เป็นบุพภาคเหมือนกัน. แต่ความเป็นผู้เยียวยาไม่ได้ พึงทราบ

ด้วยอำนาจกรรมและอุทเทสนั่นแล.

คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.

คำน้อยหนึ่ง ซึ่งมีนัยอันข้าพเจ้ามิได้กล่าวแล้วในหนหลัง มิได้มีเลย

ในสังฆเภทวัคค์นี้.

วินิจฉัยในอาวาสิกวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-

สองบทว่า ยถาภต นิกฺขิตฺโต มีความว่า (บริขารของสงฆ์) อันตน

นำมาตั้งไว้ ฉันใด.

บทว่า วินยพฺยากรณา ได้แก่ แก้ปัญหาวินัย.

บทว่า ปริณาเมติ ได้แก่ ย่อมกำหนด คือ ย่อมแสดง ย่อมกล่าว.

คำที่เหลือในวัคค์นี้ ตื้นทั้งนั้นแล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 880

[ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรไหว้]

วินิจฉัยในกฐินัตถารวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า โอตมสิโก ได้แก่ ผู้อยู่ในที่มืด, จริงอยู่ เมื่อภิกษุไหว้

บุคคลผู้อยู่ในที่มืดนั้น หน้าผากจะพึงกระทบที่เท้าเตียงเป็นต้นเข้าก็ได้.

บทว่า อสมนฺนาหรนโต ได้แก่ ผู้ไม่เอาใจใส่การไหว้ เพราะเป็น

ผู้ขวนขวายในกิจการ.

บทว่า สุตฺโต ได้แก่ ผู้หยั่งลงสู่ความหลับ.

บทว่า เอกาวตฺโต มีความว่า บุคคลผู้เวียนมาข้างเดียว คือ ตั้งอยู่

ในฝ่ายข้าศึก ได้แก่ บุคคลไม่ถูกส่วนกัน เป็นไพรีกัน บุคคลนี้ ท่านกล่าว

ว่าไม่ควรไหว้. เพราะว่า บุคคลนี้ อันภิกษุไหว้อยู่ จะพึงประหารเอาด้วยเท้า

ก็ได้.

บทว่า อญฺาวิหิโต ได้แก่ ผู้กำลังคิดเรื่องอื่น.

บทว่า ขาทนฺโต ได้แก่ ผู้กำลังฉันขนมและของเคี้ยวเป็นต้น อยู่.

บุคคลผู้กำลังถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ชื่อว่าอันภิกษุไม่ควรไหว้

เพราะเป็นผู้อยู่ในโอกาสไม่สมควร.

บทว่า อุกฺขิตฺตโก มีความว่า บุคคลผู้อันสงฆ์ยกวัตร ด้วยอุกเขป-

นียกรรม แม้ทั้ง ๓ อย่าง ไม่ควรไหว้.

แต่บุคคล ๔ จำพวก อันสงฆ์ลงโทษด้วยตัชชนียกรรมเป็นต้น ควร

ไหว้. แม้อุโบสถปวารณา ย่อมได้กับบุคคลเหล่านั้น.

ก็ในบรรดาบุคคลที่ไม่ควรไหว้ ที่กล่าวแล้วตั้งแต่ต้น เป็นอาบัติแก่

ภิกษุผู้ไหว้อยู่ ซึ่งบุคคลผู้เปลือยกาย และบุคคลผู้อันสงฆ์ยกวัตรเท่านั้น,

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 881

ส่วนการไหว้บุคคลนอกจากนั้น อันท่านห้าม ก็เพราะผลคือไม่สมควร และ

เพราะเหตุที่กล่าวแล้วในระหว่าง.

ต่อนี้ไป บุคคลแม้ทั้ง ๑๐ จำพวก มีผู้อุปสมบทภายหลังเป็นต้น

จัดเป็นไม่ควรไหว้ เพราะเป็นวัตถุแห่งอาบัติโดยตรง. จริงอยู่ ย่อมเป็น

อาบัติแก่ภิกษุผู้ไหว้อยู่ซึ่งบุคคลเหล่านั้น โดยวินัยกำหนดทีเดียว.

ในปัญจกะ ๕ เหล่านี้ เป็นอนาบัติแก่ภิกษุผู้ไหว้ ซึ่งชน ๑๓ จำพวก

เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไหว้ชน ๑๒ จำพวก ด้วยประการฉะนี้.

สองบทว่า อาจริโย วนฺทิโย มีความว่า อาจารย์ทั้ง ๕ จำพวกนี้

คือ ปัพพชาจารย์ อุปสัมปทาจารย์ นิสสยาจารย์ อุทเทสาจารย์ โอวาทาจารย์

อันภิกษุควรไหว้.

คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

กฐินัตถาวรวัคควัณณนา จบ

และอุปาลิปัญจกวัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 882

สมุฏฐาน

ภิกษุไม่มีความจงใจต้องอาบัติเป็นต้น

[๑,๒๓๐] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่มีความจงใจต้อง มีความจงใจออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีความจงใจต้อง ไม่มีความจงใจออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่มีความจงใจต้อง ไม่มีความจงใจออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีความจงใจต้อง มีความจงใจออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกขุมีจิตเป็นกุศลต้อง มีจิตเป็นกุศลออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง มีจิตเป็นอกุศลออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง มีจิตเป็นอัพยาฤตออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง มีจิตเป็นกุศลออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง มีจิตเป็นอกุศลออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง มีจิตเป็นอัพยากฤตออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง มีจิตเป็นกุศลออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง มีจิตเป็นอกุศลออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง มีจิตเป็นอัพยากฤตออก.

ปาราชิก ๔

[๑,๒๓๑] ถามว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ตอบว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิด

แต่กายกับจิต มิใช่วาจา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 883

ถ. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่

กายกับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่

กาย วาจาและจิต ๑

ถ. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่

กายกับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่

กาย วาจาและจิต ๑

ถ. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เกิดด้วยสมุกฐานเท่าไร

ต. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่

กายกับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่

กาย วาจาและจิต ๑.

ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ

สังฆาทิเสส ๑๓

[๑,๒๓๒] ถามว่า สังฆาทิเสสของภิกษุผู้พยายามปล่อยอสุจิ เกิดด้วย

สมุฏฐานเท่าไร

ตอบว่า สังฆาทิเสสของภิกษุผู้พยายามปล่อยอสุจิ เกิดด้วยสมุฏฐาน

อันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา

ถ. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม เกิด

ด้วยสมุฏฐานเท่าไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 884

ต. สังฆาทิเสสของภิกษุถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม เกิด

ด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา

ถ. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้พูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ เกิดด้วย

สมุฏฐานเท่าไร

ต. สังฆาทิเสสของภิกษุพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่วาจากับ

จิตมิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑

ถ. สังฆาทิเสสของภิกษุ ผู้กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามใน

สำนักมาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. สังฆาทิเสสของภิกษุ ผู้กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามใน

สำนักมาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑

บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑

ถ. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ถึงความเป็นผู้เที่ยวชักสื่อ เกิดด้วยสมุฏฐาน

เท่าไร

ต. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ถึงความเป็นผู้เที่ยวชักสื่อ เกิดด้วยสมุฏฐาน

๖ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่วาจา มิใช่กาย

มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่

วาจา ๑ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และ

จิต ๑

ถ. สังฆาทิเสสของภิกษุให้ทำกุฏี ด้วยอาการขอเอาเอง เกิดด้วย

สมุฏฐานเท่าไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 885

ต. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้ทำกุฎี ด้วยอาการขอเอาเอง เกิดด้วย

สมุฏฐาน ๖ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่วาจา

มิใช่กาย มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กาย

กับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย

วาจาและจิต ๑

ถ. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้ทำกุฎีใหญ่ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้ทำกุฎีใหญ่ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ คือ

บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่วาจา มิใช่กาย มิใช่จิต

๑ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑

บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑

ถ. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอัน

หามูลมิได้ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก

อันหามูลมิได้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑

บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑

ถ. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ถือเอาเอกเทศบางอย่าง แห่งอธิกรณ์อันเป็น

เรื่องอื่น ให้เป็นเพียงเลศ ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรม อันมีโทษถึงปาราชิก

เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ถือเอาเอกเทศบางอย่าง แห่งอธิกรณ์อัน

เป็นเรื่องอื่น ให้เป็นเพียงเลศ ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรม อันมีโทษถึงปาราชิก

เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่

วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 886

ถ. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่สละกรรม เมื่อสวดประกาศ

ครบ ๓ จบ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่สละกรรมเมื่อสวดประกาศ

ครบ ๓ จบ เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต

ถ. สังฆาทิเสสของภิกษุรู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย ไม่สละกรรม

เมื่อสวดประกาศครบ ๓ จบ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย ไม่สละกรรม

เมื่อสวดประกาศครบ ๓ จบ เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือเกิดแต่กาย วาจา

และจิต

ถ. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ว่ายาก ไม่สละกรรมเมื่อสวดประกาศครบ

๓ จบ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ว่าอยาก ไม่สละกรรมเมื่อสวดประกาศครบ

๓ จบ เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจาและจิต

ถ. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล ไม่สละกรรมเมื่อสวดประ-

กาศครบ ๓ จบ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ต. สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล ไม่สละกรรมเมื่อสวดประ-

กาศครบ ๓ จบ เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต.

สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ

เสขิยวัตร

[๑,๒๓๓] . . .ถามว่า ทุกกฏของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อถ่ายอุจ-

จาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงในน้ำ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 887

ตอบว่า ทุกกฏของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย กับจิต

มิใช่วาจา.

เสขิตวัตร จบ

ปาราชิก ๔

[๑,๒๓๔] ถามว่า ปาราชิก ๔ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ตอบว่า ปาราชิก ๔ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับ

จิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย

วาจา และจิต ๑.

สังฆาทิเสส ๑๓

[๑,๒๓๕] ถามว่า สังฆาทิเสส ๑๓ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ตอบว่า สังฆาทิเสส ๑๓ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ คือ บางทีเกิดแต่กาย

มิใช่วาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่วาจา มิใช่กาย มิใชจิต ๑ บางทีเกิดแต่

กายกับวาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่

วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑.

อนิยต ๒

[๑,๒๓๖] ถามว่า อนิยต ๒ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ตอบว่า อนิยต ๒ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต

มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย ๑ วาจา

และจิต ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 888

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐

[๑,๒๓๗] ถามว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ตอบว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ คือ บางทีเกิด

แต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่วาจา มิใช่กาย มิใช่จิต ๑ บาง

ทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑ บาง

ทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑.

ปาจิตตีย์ ๙๒

[๑,๒๓๘] ถามว่า ปาจิตตีย์ ๙๒ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ตอบว่า ปาจิตตีย์ ๙๒ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ คือ บางทีเกิดแต่กาย

มิใช่วาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่วาจา มิใช่กาย มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่

กายกับวาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิด

แต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑.

ปาฏิเทสนียะ ๔

[๑,๒๓๙] ถามว่า ปาฏิเทสนียะ ๔ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ตอบว่า ปาฏิเทสนียะ ๔ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ คือ บางทีเกิดแต่

กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิด

แต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 889

เสขิยะ ๗๕

[๑,๒๔๐] ถามว่า เสขิยะ ๗๕ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

ตอบว่า เสขิยะ ๗๕ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับ

จิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย

วาจา และจิต ๑.

สมุฏฐาน จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๒๔๑] ไม่มีความจงใจ ๑ มีจิตเป็นกุศล ๑ สมุฏฐานทุกสิกขาบท

๑ ขอท่านทั้งหลายจงรู้สมุฏฐาน โดยรู้ตามธรรมเทอญ.

สมุฏฐาน วัณณนา

วินิจฉัยในคำว่า อจิตฺตโก อาปชฺชติ เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้ :-

ภิกษุผู้ไม่แกล้ง แต่ต้องโทษตามพระบัญญัติ มีสหไสยเป็นต้น ชื่อ

ว่าไม่มีความจงใจต้อง, เมื่อแสดงเสีย ชื่อว่ามีความจงใจออก

ภิกษุผู้แกล้งต้องโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามีความจงใจต้อง, เมื่อ

ออกด้วยติณวัตถารกวินัย ชื่อว่าไม่มีความจงใจออก.

เมื่อออกอาบัติที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล ด้วยติณวัตถารกวินัย ชื่อ

ว่าไม่มีความจงใจต้อง ไม่มีความจงใจออก.

เมื่อแสดงอาบัตินอกนี้ ชื่อว่ามีความจงใจต้อง มีความจงใจออก.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 890

เมื่อคิดว่า เราจะทำธรรมทาน กระทำธรรมเป็นต้นโดยบท ชื่อว่ามี

จิตเป็นกุศลต้อง.

เมื่อมีจิตเบิกบานว่า เราทำตามคำพร่ำสอนของพระพุทธเจ้า แสดง

(อาบัติ) ชื่อว่ามีจิตเป็นกุศลออก.

เมื่อเป็นผู้ถึงความเสียใจแสดง ชื่อว่ามีจิตเป็นอกุศลออก.

เมื่อหลับเสีย ออกด้วยติณวัตถารกวินัย ชื่อว่ามีจิตเป็นอัพยากฤตออก.

เมื่อทำความละเมิดมีหลอนให้กลัวเป็นต้น แล้วถึงความดีใจว่า เรา

ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แสดง (อาบัติ) ชื่อว่ามีจิตเป็นอกุศลต้อง มี

จิตเป็นกุศลออก.

ถึงความเสียใจเทียวแสดง ชื่อว่ามีจิตเป็นอกุศลออก.

เมื่อออกด้วยติณวัตถารกวินัย ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่ามีจิต

เป็นอัพยากฤตออก.

เมื่อต้องอาบัติเพราะนอนร่วมเรือน ในสมัยที่หยั่งลงสู่ความลับ ชื่อ

ว่ามีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง.

ส่วนคำว่า มีจิตเป็นกุศลออก เป็นอาทิ พึงทราบในอาบัติที่ต้อง

เพราะนอนร่วมเรือนนี้ ตามนัยที่กล่าวนั่นแล.

คำว่า ปม ปาราชิก กตีหิ สมุฏฺาเนหิ เป็นอาทิ นับว่าตื้น

ทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหลัง.

สมุฏฐานใด ๆ ได้แก่อาบัติใด ๆ, สมุฏฐานและอาบัตินั้น ๆ ทั้งมวล

เป็นอันได้กล่าวเสร็จแล้ว โดยกำหนดอย่างสูง ในคำว่า ปาราชิก ๔ ย่อมเกิด

ด้วยสมุฏฐาน ๓ เป็นอาทิ.

สมุฏฐาน วัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 891

ทุติยคาถาสังคณิกะ

อาบัติทางกายเป็นต้น

[๑,๒๔๒] ถามว่า อาบัติทางกายจัด

ไว้เท่าไร ทางวาจาจัดไว้เท่าไร เมื่อปกปิด

ต้องอาบัติเท่าไร อาบัติมีการเคล้าคลึงเป็น

ปัจจัยมีเท่าไร

ตอบว่า อาบัติทางกายจัดไว้ ๖ ทาง

วาจาจัดไว้ ๖ เมื่อปกปิดต้องอาบัติ ๓ อาบัติ

มีการเคล้าคลึงเป็นปัจจัยมี ๕.

ต้องอาบัติเมื่ออรุณขึ้นเป็นต้น

[๑,๒๔๓] ถามว่า อาบัติเพราะอรุณ

ขึ้นมีเท่าไร อาบัติชื่อยาวตติยกา มีเท่าไร

อาบัติชื่ออัตถวัตถุกาในศาสนานี้ มีเท่าไร

สงเคราะห์สิกขาบทและปาติโมกขุทเทศทั้ง

มวลด้วยอุเทศเท่าไร

ตอบว่า อาบัติเพราะอรุณขึ้น มี ๓

อาบัติชื่อยาวตติยกามี ๓ อาบัติชื่ออัตถวัตถุ-

กา ในศาสนานี้มี ๑ สงเคราะห์สิกขาบท

และปาติโมกขุทเทศทั้งมวล ด้วยนิทานุเทศ

อย่างเดียว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 892

มูลแห่งวินัยเป็นต้น

[๑,๒๔๔] ถามว่า มูลแห่งวินัยที่พระ-

พุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มีเท่าไร อาบัติหนักใน

ฝ่ายวินัยตรัสไว้เท่าไร อาบัติเพราะปิดอาบัติ

ชั่วหยาบมีเท่าไร

ตอบว่า มูลแต่งวินัยที่พระพุทธเจ้า

ทรงบัญญัติไว้มี ๒ อาบัติหนักในฝ่ายวินัย

ตรัสไว้ ๒ อาบัติเพราะปิดอาบัติชั่วหยาบ

มี ๒.

ต้องอาบัติในละแวกบ้านเป็นต้น

[๑,๒๔๕] ถามว่า อาบัติในละแวก

บ้านมีเท่าไร อาบัติมีฝั่งนทีเป็นปัจจัยมีเท่าไร

เป็นอาบัติถุลลัจจัย เพราะเนื้อกี่ชนิด เป็น

อาบัติทุกกฏเพราะเนื้อกี่ชนิด

ตอบว่า อาบัติในละแวกบ้านมี ๔

อาบัติมีฝั่งนทีเป็นปัจจัยมี ๔ เป็นอาบัติ

ถุลลัจจัย เพราะเนื้อชนิดเดียว เป็นอาบัติ

ทุกกฏเพราะเนื้อ ๙ ชนิด.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 893

ต้องอาบัติทางวาจาในราตรีเป็นต้น

[๑,๒๔๖] ถามว่า อาบัติทางวาจาใน

กลางคืนมีเท่าไร อาบัติทางวาจาในกลางวัน

มีเท่าไร เมื่อไห้ ต้องอาบัติเท่าไร เมื่อรับ

ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า อาบัติทางวาจาในกลางคืน

มี ๒ อาบัติทางวาจาในกลางวันมี ๒ เมื่อให้

ต้องอาบัติ ๓ เพราะรับ ต้องอาบัติ ๔.

ต้องอาบัติเป็นเทสนาคามินีเป็นต้น

[๑,๒๔๗] ถามว่า อาบัติเป็นเทสนา-

คามินี มีเท่าไร อาบัติที่ทำคืนได้ จัดไว้

เท่าไร อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ในศาสนานี้

พระพุทธเจ้าเป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์

ตรัสไว้เท่าไร

ตอบว่า อาบัติเป็นเทสนาคามินีมี ๕

อาบัติที่ทำคืนได้จัดไว้ ๖ อาบัติที่ทำคืนไม่ได้

ในศาสนานี้ พระพุทธเจ้าเป็นเผ่าแห่งพระ-

ราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้อย่างเดียว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 894

ต้องอาบัติหนักในฝ่ายวินัยเป็นต้น

[๑,๒๔๘] ถามว่า อาบัติหนักใน

ฝ่ายวินัยเป็นไปทางกายและวาจา ตรัสไว้

เท่าไร ธัญรสในเวลาวิกาลมีเท่าไร สมมติ

ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจามีเท่าไร

ตอบว่า อาบัติหนักในฝ่ายวินัยเป็น

ไปทางกายและวาจาตรัสไว้ ๒ ธัญรสใน

เวลาวิกาลมีอย่างเดียว สมมติด้วยญัตติจตุต-

ถกรรมวาจามีอย่างเดียว.

อาบัติปาราชิกทางกายเป็นต้น

[๑,๒๔๙] ถามว่า อาบัติปาราชิกทาง

กายมีเท่าไร ภูมิของภิกษุผู้มีสังวาสเท่าไร

รัตติเฉทของภิกษุกี่พวก และพระบัญญัติ

เรื่องสองนิ้วมีเท่าไร

ตอบว่า อาบัติปาราชิกทางกายมี ๒

ภูมิของภิกษุผู้มีสังวาสมี ๒ รัตติเฉทของภิกษุ

๒ พวก และพระบัญญัติเรื่องสองนิ้วมี ๒.

ต้องอาบัติเพราะทำร้ายตัวเองเป็นต้น

[๑,๒๕๐] ถามว่า เพราะทำร้ายตัว

เอง ต้องอาบัติเท่าไร สงฆ์แตกกัน ด้วย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 895

อาการเท่าไร อาบัติชื่อปฐมาปัตติการใน

ศาสนานี้ มีเท่าไร ทำญัตติมีเท่าไร

ตอบว่า เพราะทำร้ายตนเอง ต้อง

อาบัติ ๒ สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๒ อาบัติ

ชื่อปฐมาปัตติการในศาสนานี้มี ๒ ทำญัตติมี ๒.

ต้องอาบัติเพราะปาณาติบาตเป็นต้น

[๑,๒๕๑] ถามว่า อาบัติเพราะปาณา-

ติบาต มีเท่าไร อาบัติปาราชิกเนื่องด้วยวาจา

มีเท่าไร อาบัติเกี่ยวด้วยพูดเคาะ ตรัสไว้

เท่าไร อาบัติเกี่ยวด้วยเที่ยวชักสื่อ ตรัส ไว้

เท่าไร

ตอบว่า อาบัติเพราะปาณาติบาตมี

๓ อาบัติปาราชิกเนื่องด้วยวาจา มี ๓ อาบัติ

เกี่ยวด้วยพูดเคาะ ตรัสไว้ ๓ และเกี่ยวด้วย

เที่ยวชักสื่อ ตรัสไว้ ๓.

บุคคลไม่ควรให้อุปสมบทเป็นต้น

[๑,๒๕๒] ถามว่า บุคคลที่ไม่ควรให้

อุปสมบท มีเท่าไร กรรมสงเคราะห์มีเท่าไร

บุคคลที่ถูกนาสนะตรัสไว้เท่าไร อนุสาวนา

เดียวกันสำหรับบุคคล มีจำนวนเท่าไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 896

ตอบว่า บุคคลที่ไม่ควรให้อุปสมบท

มี ๓ พวก กรรมสงเคราะห์มี ๓ อย่าง บุคคล

ที่ถูกนาสนะตรัสไว้ ๓ พวก อนุสาวนาเดียว

กัน สำหรับบุคคลมีจำนวน ๓ คน.

ต้องอาบัติเพราะอทินนาทานเป็นต้น

[๑,๒๕๓] ถามว่า อาบัติเพราะอทิน-

นาทาน มีเท่าไร อาบัติเพราะเมถุนเป็น

ปัจจัยมีเท่าไร เมื่อตัดเป็นอาบัติเท่าไรเพราะ

การทิ้งเป็นปัจจัยเป็นอาบัติเท่าไร

ตอบว่า อาบัติเพราะอทินนาทานมี

๓ อาบัติเพราะเมถุนเป็นปัจจัยมี ๔ เมื่อตัด

เป็นอาบัติ ๓ ตัว อาบัติเพราะการทิ้งเป็น

ปัจจัยมี ๕.

ปรับอาบัติควบกันเป็นต้น

[๑,๒๕๔] ถามว่า ในภิกขุโมวาทก-

วรรค อาบัติทุกกฏ กับปาจิตตีย์ หมวดที่

ตรัสไว้เป็น ๙ ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น เป็นเท่าไร

ภิกษุณีเท่าไร เป็นอาบัติแก่ภิกษุเพราะจีวร

ตอบในภิกขุโนวาทกวรรค อาบัติ

ทุกกฏกับปาจิตตีย์ ที่ตรัสไว้หมวด ๙ ใน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 897

สิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๔ ภิกษุณี ๒ พวก

เป็นอาบัติแก่ภิกษุเพราะจีวร.

ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะเป็นต้น

[๑,๒๕๕] ถามว่า อาบัติปาฏิเทสนียะ

สำหรับภิกษุณีที่ตรัสไว้เท่าไร เพราะขอข้าว

เปลือกดิบมาฉัน ปรับอาบัติทุกกฏกับ

ปาจิตตีย์ หรือ

ตอบว่า อาบัติปาฏิเทสนียะ ที่ตรัส

แก่ภิกษุณี ปรับอาบัติไว้ ๙ เพราะขอข้าว

เปลือกดิบมาฉัน ปรับอาบัติทุกกฏกับ

ปาจิตตีย์.

ต้องอาบัติเพราะเดินเป็นต้น

[๑,๒๕๖] ถามว่า ผู้เดินต้องอาบัติ

เท่าไร ผู้นั่งต้องอาบัติเท่าไร และผู้นอน

ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ผู้เดินต้องอาบัติ ๔ ผู้ยืน

ต้องอาบัติเท่ากัน ผู้นั่งต้องอาบัติ ๔ และ

ผู้นอนต้องอาบัติเท่ากัน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 898

ต้องอาบัติในเขตเดียวกัน

[๑,๒๕๗] ถามว่า อาบัติปาจิตตีย์

ทั้งหมด มีเท่าไร ที่ต่างวัตถุกันภิกษุพึงต้อง

ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง

ตอบว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดมี ๕

ที่ต่างวัตถุกัน ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน

ไม่ก่อน ไม่หลัง.

[๑,๒๕๘] ถามว่า อาบัติปาจิตตีย์

ทั้งหมด มีเท่าไร ที่ต่างวัตถุกันภิกษุพึงต้อง

ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง

ตอบว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดมี ๙

ที่ต่างวัตถุกัน ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน

ไม่ก่อน ไม่หลัง.

วิธีแสดงอาบัติ

[๑,๒๕๙] ถามว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้ง

หมด มีเท่าไร ที่ต่างวัตถุกันอันพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว

ภิกษุพึงแสดงดด้วยวาจาเท่าไร

ตอบว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดมี ๕

ที่ต่างวัตถุกัน อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่ง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 899

พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว ภิกษุพึงแสดง

ด้วยวาจอย่างเดียว.

[๑,๒๖๐] ถามว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้ง

หมดมีเท่าไร ที่ต่างวัตถุกัน อันพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว

ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาเท่าไร

ตอบว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดมี ๙

ที่ต่างวัตถุกัน อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่ง

พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว ภิกษุพึงแสดง

ด้วยวาจาอย่างเดียว.

[๑,๒๖๑] ถามว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้ง-

หมดมีเท่าไร ที่ต่างวัตถุกันอันพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว

ภิกษุพึงแสดงระบุอะไร

ตอบว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดมี ๕

ที่ต่างวัตถุกัน อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่ง

พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว ภิกษุพึงแสดง

ระบุวัตถุ.

[๑,๒๖๒] ถามว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้ง

หมดมีเท่าไร ที่ต่างวัตถุนี้ อันพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว

ภิกษุพึงแสดงระบุวัตถุ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 900

ตอบว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดมี ๙

ที่ต่างวัตถุกัน อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่ง

พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว ภิกษุพึงแสดง

ระบุวัตถุ.

ยาวตติยกาบัติเป็นต้น

[๑,๒๖๓] ถามว่า เพราะสวดประกาศ

ครบ ๓ จบ เป็นอาบัติเท่าไร เพราะการ

กล่าวเป็นปัจจัย เป็นอาบัติเท่าไร ภิกษุเคี้ยว

ต้องอาบัติเท่าไร เพราะฉันเป็นปัจจัย เป็น

อาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะสวดประกาศครบ

๓ จบ เป็นอาบัติ ๓ เพราะการกล่าวเป็น

ปัจจัย เป็นอาบัติ ๖ ภิกษุเคี้ยวต้องอาบัติ ๓

ตัว เพราะฉันเป็นปัจจัย เป็นอาบัติ ๕.

ฐานะแห่งยาวตติยกาบัติเป็นต้น

[๑,๒๖๔] ถามว่า ยาวตติยกาบัติทั้ง-

มวล ย่อมถึงฐานะเท่าไร อาบัติมีแก่คนกี่

พวก และอธิกรณ์ มีแก่คนก็พวก

ตอบว่า ยาวตติยกาบัติทั้งมวลย่อม

ถึงฐานะ ๕ อาบัติมีแก่สหธรรมิก ๕ และ

อธิกรณ์ มีแก่สหธรรมิก ๕.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 901

วินิจฉัยเป็นต้น

[๑,๒๖๕] ถามว่า วินิจฉัยมีแก่บุคคล

กี่พวก การระงับ มีแก่บุคคลกี่พวก บุคคล

กี่พวกไม่ต้องอาบัติ และภิกษุย่อมงามด้วย

ฐานะเท่าไร

ตอบว่า วินิจฉัยมีแก่สหธรรมิก ๕

พวก การระงับมีแก่สหธรรมิก ๕ พวก

สหธรรมิก ๕ พวก ไม่ต้องอาบัติ และภิกษุ

ย่อมงามด้วยเหตุ ๓ สถาน.

อาบัติทางกายในราตรีเป็นต้น

[๑,๒๖๖] ถามว่า อาบัติทางกายใน

ราตรีมีเท่าไร ทางกายในกลางวันมีเท่าไร

ภิกษุเพ่งดูต้องอาบัติเท่าไร เพราะบิณฑบาต

เป็นปัจจัยเป็นอาบัติเท่าไร

ตอบว่า อาบัติทางกายในราตรีมี ๒

ทางกายในกลางวันมี ๒ ภิกษุเพ่งดูต้องอาบัติ

ตัวเดียว เพราะบิณฑบาตเป็นปัจจัย เป็น

อาบัติตัวเดียว.

ภิกษุที่สงฆ์ยกวัตรเป็นต้น

[๑,๒๖๗] ถามว่า ภิกษุเห็นอานิสงส์

เท่าไร จึงแสดง เพราะเชื่อผู้อื่น ภิกษุถูก

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 902

ยกวัตรตรัสไว้มีเท่าไร ความประพฤติชอบมี

เท่าไร

ตอบว่า ภิกษุเห็นอานิสงส์ ๘ อย่าง

จึงแสดงเพราะเชื่อผู้อื่น ภิกษุผู้ถูกยกวัตร

ตรัสไว้ มี ๓ พวก ความประพฤติชอบมี

๔๓ ข้อ.

มุสาวาทเป็นต้น

[๑,๒๖๘] ถามว่า มุสาวาทถึงฐานะ

เท่าไร ที่ตรัสว่าอย่างยิ่งมีเท่าไร ปาฏิเทสนียะ

มีกี่สิกขาบท การแสดงโทษของบุคคลกี่

จำพวก

ตอบว่า มุสาวาทถึงฐานะ ที่ตรัส

ว่าอย่างยิ่ง มี ๑๔ สิกขาบท ปาฏิเทสนียะมี

๒ สิกขาบท การแสดงโทษของบุคคล ๔

จำพวก.

องค์ของมุสาวาทเป็นต้น

[๑,๒๖๙] ถามว่า มุสาวาทมีองค์

เท่าไร องค์อุโบสถมีเท่าไร องค์ของผู้ควร

เป็นทูต มีเท่าไร ติตถิยวัตร มีเท่าไร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 903

ตอบว่า มุสาวาทมีองค์ ๘ องค์

อุโบสถมี ๘ องค์ของผู้ควรเป็นทูตมี ๘ ติตถิ-

ยวัตรมี ๘.

อุปสัมปทาเป็นต้น

[๑,๒๗๐] ถามว่า อุปสัมปทามีวาจา

เท่าไร ภิกษุณีพึงลุกรับภิกษุณีกี่พวก พึงให้

อาสนะแก่ภิกษุณีกี่พวก ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุ-

ณีต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเท่าไร

ตอบว่า อุปสัมปทามีวาจา ๘ ภิกษุณี

พึงลุกรับ ภิกษุณี ๘ พวก พึงให้อาสนะแก่

ภิกษุณี ๘ พวก ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี ต้อง

ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘.

ความขาดเป็นต้น

[๑,๒๗๑] ถามว่า ความขาดมีแก่คน

เท่าไร อาบัติถุลลัจจัยมีแก่คนเท่าไร บุคคล

เท่าไรไม่ต้องอาบัติ อาบัติและอนาบัติของ

คนทั้งหมดมีวัตถุอย่างเดียวกัน หรือ

ตอบว่า ความขาดมีแก่คนผู้เดียว

อาบัติถุลลัจจัยนี้แก่คน ๔ พวก บุคคล ๔

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 904

พวกไม่ต้องอาบัติ อาบัติและอนาบัติของคน

ทั้งหมดมีวัตถุอย่างเดียวกัน.

กรรมเนื่องด้วยญัตติเป็นต้น

[๑,๒๗๒] ถามว่า อาฆาตวัตถุมีเท่าไร

สงฆ์แตกกัน ด้วยเหตุเท่าไร อาบัติชื่อ

ปฐมาปัตติกาในศาสนานี้มีเท่าไร ทำด้วย

ญัตติมีเท่าไร

ตอบว่า อาฆาตวัตถุมี ๙ สงฆ์แตก

กันด้วยเหตุ ๙ อย่าง อาบัติชื่อปฐมาปัตติกา

ในศาสนานี้มี ๙ อย่าง ทำด้วยญัตติมี ๙.

บุคคลไม่ควรกราบไหว้เป็นต้น

[๑,๒๗๓] ถามว่า บุคคลเท่าไร อัน

ภิกษุณีไม่พึงทราบไหว้ และไม่พึงทำอัญชลี

กรรม และสามีจิกรรม เพราะทำแก่บุคคล

เท่าไร ต้องอาบัติทุกกฏ ทรงจีวร มีกำหนด

เท่าไร

ตอบว่า บุคคล ๑๐ พวก อันภิกษุ

ไม่พึงกราบไหว้ ไม่พึงทำอัญชลีกรรม และ

สามีจิกรรม เพราะทำแก่บุคคล ๑๐ พวกต้อง

อาบัติทุกกฏ ทรงจีวรมีกำหนด ๑๐ วัน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 905

ให้จีวรเป็นต้น

[๑,๒๗๔] ถามว่า จีวรควรให้แก่

บุคคลในศาสนานี้ ผู้จำพรรษาแล้วกี่พวก

เมื่อมีผู้รับแทนควรให้แก่บุคคลกี่พวก และ

ไม่ควรให้แก่บุคคลกี่พวก

ตอบว่า จีวรควรให้แก่สหธรรมิก ๕

ในศาสนานี้ ผู้จำพรรษาแล้ว เมื่อมีผู้รับแทน

ควรให้แก่บุคคล ๗ พวก ไม่ควรให้แก่

บุคคล ๑๖ พวก.

ภิกษุอยู่ปริวาส

[๑,๒๗๕] ถามว่า ชั่ว ๑๐๐ ราตรี

ภิกษุอยู่ปริวาสปิดอาบัติไว้กี่ร้อย ต้องอยู่

ปริวาสกี่ราตรีจึงจะพ้น

ตอบว่า ชั่ว ๑๐๐ ราตรี ภิกษุอยู่

ปริวาสปิดอาบัติไว้ ๑๐ ร้อยราตรี ต้องอยู่

ปริวาส ๑๐ ราตรึ จึงจะพ้น.

โทษแห่งกรรม

[๑,๒๗๖] ถามว่า โทษแห่งกรรม

อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 906

ศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร กรรมไม่เป็นธรรมทั้ง-

หมดที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัย ในพระนครจัมปา

มีเท่าไร

ตอบว่า โทษแห่งกรรมอันพระพุทธ

เจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี

๑๒ กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัยในพระนคร-

จัมปาล้วนไม่เป็นธรรม.

กรรมสมบัติ

[๑,๒๗๗] ถามว่า กรรมสมบัติอัน

พระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูง

ศักดิ์ตรัสไว้มีเท่าไร กรรมเป็นธรรมทั้งหมด

ที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัย ในพระนครจัมปามี

เท่าไร

ตอบว่า กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔

อย่าง กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัยในพระ-

นครจัมปาล้วนเป็นธรรม.

กรรม ๖ อย่าง

[๑,๒๗๘] ถามว่า กรรมอันพระ-

พุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 907

ตรัสไว้เท่าไร กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัยใน

พระนครจัมปา ที่เป็นธรรมมีเท่าไร ที่ไม่

เป็นธรรมมีเท่าไร

ตอบว่า กรรม อันพระพุทธเจ้าผู้

เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๖

อย่าง บรรดากรรม ๖ นี้ กรรมอันพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส

ไว้ในเรื่องวินัย ในพระนครจัมปา ที่เป็น

ธรรมอย่างเดียว ที่ไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง.

กรรม ๔ อย่าง

[๑,๒๗๙] ถามว่า กรรมอันพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส

ไว้เท่าไร กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัยในพระ

นครจัมปา ที่เป็นธรรมมีเท่าไร ที่ไม่เป็น

ธรรมมีเท่าไร

ตอบว่า กรรมอันพระพุทธเจ้า ผู้เป็น

เผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔ อย่าง

บรรดากรรม ๔ นี้ กรรมอันพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ใน

เรื่องวินัย ในพระนครจัมปา ที่เป็นธรรมมี

อย่างเดียว ที่ไม่เป็นธรรมมี ๓ อย่าง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 908

อาบัติระงับและไม่ระงับ

[๑,๒๘๐] ถามว่า กองอาบัติใด อัน

พระอนันตชินเจ้าผู้คงที่ ผู้ทรงเห็นวเวก

ทรงแสดงแล้ว ในกองอาบัตินั้น กองอาบัติ

เท่าใดเว้นสมถะเสีย ย่อมระงับ ข้าแต่ท่าน

ผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าถามข้อนั้น ขอท่าน

จงบอก

ตอบว่า กองอาบัติใดอันพระอนัน-

ตชินเจ้าผู้คงที่ ผู้ทรงเห็นวิเวก ทรงแสดง

แล้ว ในกองอาบัตินั้น กองอาบัติกองเดียว

เว้นสนถะเสีย ย่อมระงับ ข้าแต่ท่านผู้ฉลาด

ในวิภังค์ ข้าพเจ้าบอกข้อนั้น แก่ท่าน.

ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย

[๑,๒๘๑] ถามว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์

ไปสู่อบายอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระ

ราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลาย

ขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย

ตกนรกชั่วกัลป์อันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่า

แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘ ขอท่าน

จงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระวินัย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 909

ภิกษุทำลายสงฆ์ไม่ไปสู่อบาย

[๑,๒๘๒] ถามว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์

ไม่ไปสู่อบายอันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่ง

พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้า

ทั้งหลายขอฟังวิสัย ของท่านผู้รู้เฉพาะพระ-

วินัย

ตอบว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ไป

อบาย อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระ-

ราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘ ขอท่านจงฟังวิสัย

ของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระวินัย.

หมวด ๘

[๑,๒๘๓] ถามว่า หมวด ๘ อันพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส

ไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัย ของ

ท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า หมวด ๘ อันพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘

หมวด ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้า ผู้รู้

เฉพาะวินัย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 910

กรรม ๑๖ อย่าง

[๑,๒๘๔] ถามว่า กรรมอันพระพุทธ-

เจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้

เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัย ของท่าน

ผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็น

เผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๖ ขอ

ท่านจงฟังวิสัย ของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระ-

วินัย.

โทษแห่งกรรม ๑๒

[๑,๒๘๕] ถามว่า โทษแห่งกรรม

อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูง

ศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟัง

วิสัยของท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า โทษแห่งกรรม อันพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส

ไว้ ๑๒ อย่าง ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้า

ผู้รู้เฉพาะพระวินัย.

กรรมสมบัติ ๔

[๑,๒๘๖] ถามว่า กรรมสมบัติ อัน

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 911

ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอฟังวิสัย

ของท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า กรรมสมบัติ อันพระพุทธ-

เจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้

๔ อย่าง ขอท่านจงพึงวิสัย ของข้าพเจ้าผู้รู้

เฉพาะวินัย.

กรรม ๖

[๑,๒๘๗] ถามว่า กรรม อันพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส

ไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของ

ท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า กรรม อันพระพุทธเจ้า ผู้

เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๖

อย่าง ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้

เฉพาะ พระวินัย.

กรรม ๔

[๑,๒๘๘] ถามว่า กรรมอันพระพุทธ-

เจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้

เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่าน

ผู้รู้เฉพาะพระวินัย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 912

ตอบว่า กรรม อันพระพุทธเจ้าผู้

เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔

อย่าง ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้

เฉพาะพระวินัย.

ปาราชิก ๘

[๑,๒๘๙] ถามว่า ปาราชิก อันพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส

ไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอฟังวิสัยของ

ท่านผู้รู้เฉพาะวินัย

ตอบว่า ปาราชิก อันพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๘

ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระ-

วินัย.

สังฆาทิเสส ๒๓

[๑,๒๙๐] ถามว่า สังฆาทิเสส อัน-

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์

ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอฟังวิสัย

ของท่านผู้รู้ เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า สังฆาทิเสส อันพระพุทธ-

เจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 913

๒๓ ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะ

พระวินัย.

อนิยต ๒

[๑,๒๙๑] ถามว่า อนิยต อันพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส

ไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอฟังวิสัยของ

ท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า อนิยต อันพระพุทธเจ้า ผู้

เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๒ ขอ

ท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระ-

วินัย.

นิสสัคคิยะ ๔๒

[๑,๒๙๒] ถามว่า นิสสัคคิยะ อัน -

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์

ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัย

ของท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า นิสสัคคิยะ อันพระพุทธ-

เจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้

๔๒ ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะ

พระวินัย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 914

ปาจิตติยะ ๑๘๘

[๑,๒๙๓] ถามว่า ปาจิตติยะ อัน-

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์

ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัย

ของท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า ปาจิตติยะ อันพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘๘

ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระ-

วินัย.

ปาฏิเทสนียะ ๑๒

[๑,๒๙๔ ] ถามว่า ปฏิเทสนียะ อัน

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์

ของท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า ปาฏิเทสนียะ อันพระพุทธ

เจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้

๑๒ ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะ

พระวินัย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 915

เสขิยะ ๗๕

[๑,๒๙๕] ถามว่า เสขิยะ อันพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส

ไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของผู้รู้

เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า เสขิยะ อันพระพุทธเจ้าผู้

เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๗๕

ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระ-

วินัย.

ปัญหาข้อใด ท่านถามแล้วด้วยดีฉัน

ใด ปัญหาข้อนั้นข้าพเจ้าตอบแล้วด้วยดีฉัน

นั้น อนึ่ง ในคำถามและคำตอบจะไม่อ้างถึง

สูตรอะไรไม่มีแล.

ทุติยคาถาสังคณิกะ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 916

อปรทุติยคาถาสังคณิกวัณณนา

วินิจฉัยในวิสัชนาคาถาว่า กตาปตฺติโย กายิกา เป็นอาทิ พึงทราบ

ดังนี้ :-

[อาบัติทางกายเป็นต้น]

บาทคาถาว่า ฉ อาปตฺติโย กายิกา มีความว่า อาบัติทั้งหลาย

ที่ท่านกล่าวไว้ในอันตรเปยยาล โดยนัยมีคำว่า ภิกษุต้องอาบัติ ๖ ด้วยอาปัตติ

สมุฏฐานที่ ๔ คือ ภิกษุเสพเมถุนธรรมต้องปาราชิก เป็นต้น. จริงอยู่ อาบัติ

เหล่านั้นตรัสว่า เนื่องด้วยกาย เพราะเกิดขึ้นในกายทวาร.

สองบทว่า ฉ วาจสิกา มีความว่า อาบัติทั้งหลาย ที่ตรัสไว้ใน

อันตรเปยยาลนั้นแล โดยนัยมีคำว่า ภิกษุต้องอาบัติ ๖ ด้วยอาปัตติสมุฏฐาน

ที่ ๕ คือ ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาลามกครอบงำแล้ว

ดังนี้เป็นต้น.

สองบทว่า ฉาเทนฺตสฺส ติสฺโส มีความว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณี

ผู้ปกปิดโทษ, เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุ เพราะปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส, เป็นทุกกฏ

เพราะปกปิดอาบัติชั่วหยาบของตน.

สองบทว่า ปญฺจ สสคฺคปจฺจยา มีความว่า อาบัติ ๕ มีการ

เคล้าคลึงด้วยกายเป็นปัจจัยเหล่านี้ คือ เพราะเคล้าคลึงด้วยกาย เป็นปาราชิก

แก่ภิกษุณี, เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุ, เพราะกายกับของเนื่องด้วยกายถูกกัน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 917

เป็นถุลลัจจัย, เพราะของที่ซัดไปกับของเนื่องด้วยกายถูกกัน เป็นทุกกฏ.

เพราะจี้ด้วยนิ้วมือ เป็นปาจิตตีย์.

[อาบัติเพราะอรุณขึ้นเป็นต้น]

สองบทว่า อรุณุคฺเค ติสฺโส มีความว่า เพราะอรุณขึ้น ภิกษุย่อม

ต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้ คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยอำนาจก้าวล่วง ๑ ราตรี

๖ ราตรี ๗ วัน ๑๐ วัน และ ๑ เดือน, เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณี เพราะอยู่

ปราศ (จากเพื่อน) ตลอดราตรี, ภิกษุปิดอาบัติไว้ตลอดยามที่ ๑ ก็ดี ปิดไว้

ตลอดยามที่ ๒ ก็ดี ตลอดยามที่ ๓ ก็ดี อาบัติเป็นอันเธอปิดเมื่ออรุณขึ้นแล้ว

เธอชื่อว่าย่อมปิดอาบัติไว้ พึงให้เธอแสดงอาบัติทุกกฏ.

สองบทว่า เทฺว ยาวตติยกา มีความว่า อาบัติชื่อยาวตติยกา มี ๑๑*

แต่แบ่งเป็น ๒ ด้วยอำนาจพระบัญญัติ คือ ยาวตติยกาบัติ ของภิกษุ ยาว-

ตติยกาบัติ ของภิกษุณี.

สองบทว่า เอเกตฺถ อฏฺวตฺถุกา มีความว่า อาบัติอย่างหนึ่ง

ของภิกษุณีทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่าอัฏฐวัตถุกา ในศาสนานี้นี่.

สองบทว่า เอเกน สพฺพสงฺคโห มีความว่า สงเคราะห์สิกขาบท

ทั้งมวล และปาฏิโมกขุทเทศทั้งมวล เข้าด้วยนิทานุทเทสอันเดียวนี้ว่า ภิกษุใด

มีอาบัติอยู่, ภิกษุนั้น พึงเปิดเผยเสีย.

[มูลแห่งวินัยเป็นต้น]

หลายบทว่า วินยสฺส เทฺว มูลานิ มีความว่า (มูลแห่งวินัยมี ๒

คือ) กาย ๑ วาจา ๑.

* ที่ถูก ๑๒ คือภิกษุ ๔ ภิกษุณี ๘.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 918

หลายบทว่า ครุกา เทฺว วุตฺตา มีความว่า (อาบัติหนักท่านกล่าวได้

๒ คือ) ปาราชิกและสังฆาทิเสส.

สองบทว่า เทฺว ทุฏฺฐุลฺลจฺฉาทนา มีความว่า ขึ้นชื่อว่าอาบัติ

เพราะปิดโทษชั่วหยาบ มี ๒ เหล่านี้ คือ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณีผู้ปิดโทษ

(คือปาราชิกของภิกษุณีอื่น) เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ปิดสังฆาทิเสส (ของภิกษุ

อื่น).

[อาบัติในละแวกบ้านเป็นต้น]

สองบทว่า คามนฺตเร จตสฺโส มีความว่า อาบัติ ๔ อย่าง ด้วย

อำนาจทุกกฏ ปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย และสังฆาทิเสส เพราะละแวกบ้านเหล่านี้

คือ ภิกษุกับภิกษุณีชวนกัน ต้องทุกกฏ. เข้าอุปจารบ้านอื่น ต้องปาจิตตีย์,

เมื่อภิกษุณี ไปสู่ละแวกบ้าน ในบ้านที่ล้อมเป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้าที่ ๑, เป็น

สังฆาทิเสส ในย่างเท้าที่ ๒, เป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้าที่ ๑ ที่ก้าวเข้าอุปจาร

แห่งบ้านไม่ได้ล้อม, เป็นสังฆาทิเสส ในย่างเท้าที่ ๒.

สองบทว่า จตสฺโส นทีปารปจฺจยา มีความว่า อาบัติ ๔ อย่าง

เหล่านี้ คือ ภิกษุกับภิกษุณีชวนกัน ต้องทุกกฏ, ลงเรือ ต้องปาจิตตีย์,

เมื่อภิกษุณี (รูปเดียว) ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ในเวลาข้าม เป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้า

ที่ ๑, เป็นสังฆาทิเสส ในย่างเท่าที่ ๒.

สองบทว่า เอกมเส ถุลฺลจฺจย มีความว่า (ภิกษุย่อมต้องถุลลัจจัย)

เพราะเนื้อแห่งมนุษย์

สองบทว่า นวมเสสุ ทุกฺกฏ มีความว่า (ภิกษุย่อมต้องทุกกฏ)

ในเพราะอกัปปิยมังสะที่เหลือ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 919

[อาบัติทางวาจาในราตรีเป็นต้น]

หลายบทว่า เทฺว วาจสิกา รตฺตึ มีความว่า ภิกษุณียืนพูดใน

หัตถบาสกับบุรุษ ในเวลามืด ๆ ค่ำ ๆ ไม่มีแสงไฟ ต้องปาจิตตีย์, เว้นหัตถบาส

ยืนพูด ต้องทุกกฏ.

หลายบทว่า เทฺว วาจสิกา ทิวา มีความว่า ภิกษุณียืนพูดใน

หัตถบาสกับบุรุษ ในโอกาสที่ปิดบัง ในกลางวัน ต้องปาจิตตีย์, เว้นหัตถบาส

ยืนพูด ต้องทุกกฏ.

สองบทว่า ททมานสฺส ติสฺโส มีความว่า เป็นอาบัติ ๓ อย่าง

แก่ภิกษุผู้ให้อย่างนี้ คือ มีประสงค์จะให้ตาย ให้ยาพิษแก่มนุษย์ ถ้าว่า เขาตาย

ด้วยยาพิษนั้น ภิกษุต้องปาราชิก, ให้แก่ยักษ์และเปรต ถ้าว่า ยักษ์และเปรต

นั้นตาย ภิกษุต้องถุลลัจจัย, ให้แก่สัตว์ดิรัจฉาน ถ้าว่า มันตาย ภิกษุต้อง

ปาจิตตีย์, แม้เพราะให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ก็ต้องปาจิตตีย์.

สองบทว่า จตฺตาโร จ ปฏิคฺคเห มีความว่า เป็นสังฆาทิเสส

เพราะจับมือและจับช้องผม, ต้องปาราชิก เพราะอมองคชาตด้วยปาก ต้อง

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะรับจีวรของภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ, ต้องถุลลัจจัยแก่ภิกษุณี

ผู้กำหนัด รับของเคี้ยว ของบริโภค จากมือบุรุษผู้กำหนัด, กองอาบัติ ๔

ย่อมมีในเพราะรับ ด้วยประการอย่างนี้.

[อาบัติเป็นเทสนาคามินีเป็นต้น]

สองบทว่า ปญฺจ เทสนาคามินิโย ได้แก่ ลหุกาบัติ ๕ กอง.

สองบทว่า ฉ สปฺปฏิกมฺมา มีความว่า เว้นปาราชิกเสียแล้ว อาบัติ

ที่เหลือ (มีทางจะทำคืนได้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 920

สองบทว่า เอเกตฺถ อปฺปฏิกมฺมา มีความว่า (อาบัติที่ทำคืนไม่ได้

ในศาสนานี้ มีอย่างเดียว คือ) อาบัติปาราชิก.

หลายบทว่า วินยครุกา เทฺว วุตฺตา ได้แก่ ปาราชิกและสังฆาทิเสส.

บทว่า กายวาจสิกานิ จ มีความว่า สิกขาบททั้งมวลทีเดียว เป็น

ไปในทางกายและวาจา. ไม่มีแม้เพียงสิกขาบทเดียว ที่ทรงบัญญัติในโนทวาร.

หลายบทว่า เอโก วิกาเล ธญฺรโส ได้แก่ ยาดองด้วยเกลือ.

จริงอยู่ รสแห่งธัญชาติชนิดหนึ่งนี้แล ควรในวิกาล.

หลายบทว่า เอกา ตฺติจตุตฺเถนต สมฺมติ ได้แก่ สมมติภิกษุ

ผู้สอนภิกษุณี. จริงอยู่ สมมติด้วยญัตติจตุตถกรรมอันเดียวนี้เท่านั้น อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว.

[ปาราชิกทางกายเป็นต้น]

หลายบทว่า ปาราชิกา กายิกา เทฺว ได้แก่ เมถุนธรรมปาราชิก

ของภิกษุ และกายสังสัคคปาราชิกของภิกษุณี.

สองบทว่า เทฺว สวาสกภูมิโย มีความว่า ภิกษุทำตนให้เป็น

สมานสังวาสก์ด้วยตนเอง, หรือสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ประกาศถอนภิกษุผู้ถูกสงฆ์

ยกวัตรนั้นเสีย.

แต่ในกุรุนที กล่าวสังวาสกภูมิไว้ ๒ อย่าง ๆ นี้ คือ ภูมิแห่งสมาน

สังวาสก์ ๑ ภูมิแห่งนานาสังวาสก์ ๑.

สองบทว่า ทฺวินฺนญฺจ รตฺติจฺเฉโท ได้แก่ รัตติจเฉทของภิกษุผู้

อยู่ปริวาร ๑ ของภิกษุผู้ประพฤติมานัตต์ ๑.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 921

หลายบทว่า ปญฺตฺต ทฺวงฺคุลา ทุเว ได้แก่ พระบัญญัติว่าด้วย

สองนิ้ว ๒ อย่าง คือ พระบัญญัติที่ว่า (ภิกษุณีเมื่อถือเอาให้สะอาดด้วยน้ำ)

พึงถือเอาเพียง ๒ ข้อแห่งนิ้วมือเป็นอย่างยิ่งนี้ ๑ พระบัญญัติที่ว่า ภิกษุไว้ผม

๒ นิ้วหรือ ๒ เดือน นี้ ๑.

[อาบัติเพราะทำร้ายตัวเองเป็นต้น]

หลายบทว่า เทวฺ อตฺตาน วธิตฺวาน มีความว่า ภิกษุณีทำร้าย

ตัวเอง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ทำร้าย ร้องไห้ ต้องปาจิตตีย์ ทำร้าย

ไม่ร้องให้ ต้องทุกกฏ.

หลายบทว่า ทฺวีหิ สงฺโฆ ภิชฺชติ มีความว่า (สงฆ์ย่อมแตกกัน

ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ) ด้วยกรรม ๑ ด้วยจับสลาก ๑.

สองบทว่า เทวฺตฺถ ปมาปตฺติกา มีความว่า ในวินัยแม้ทั้งสิ้นนี้

มีอาบัติต้องแต่แรกทำ ๒ อย่าง เนื่องด้วยพระบัญญัติแห่งภิกษุและภิกษุณีทั้ง

๒ ฝ่าย. แต่โดยประการนอกนี้ ปฐมาปัตติกาบัตินั้น ย่อมมี ๑๘ คือ ของ

ภิกษุ ๙ ของภิกษุณี ๙.

หลายบทว่า ตฺติยา กรณา ทุเว มีความว่า ญัตติกิจมี ๒ คือ

ญัตติที่เป็นกรรมเอง ๑ ญัตติที่เป็นบาทแห่งกรรม ๑, ญัตติกิจย่อมเป็นกรรม

เอง ใน ๙ สถาน, ตั้งอยู่โดยความเป็นบาทแห่งกรรมใน ๒ สถาน.

[อาบัติเพราะปาณาติบาตเป็นต้น]

สองบทว่า ปาณาติปาเต ติสฺโส มีความว่า (ในเพราะปาณาติบาต)

ย่อมมีอาบัติ ๓ เหล่านี้ คือ ภิกษุขุดหลุมพรางไว้ ไม่เจาะจง (ผู้ใด), ถ้า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 922

มนุษย์ตาย ต้องปาราชิก; ต้องถุลลัจจัย เพราะยักษ์และเปรตตาย, ต้อง

ปาจิตตีย์ เพราะสัตว์ดิรัจฉานตาย.

หลายบทว่า วาจา ปาราชิกา ตโย มีความว่า (อาบัติปาราชิก

เนื่องด้วยวาจา ๓ คือ) ปาราชิกในวัชชปฏิจฉาทิกาสิกขาบท ๑ ในอุกขิตตานุ-

วัตติกาสิกขาบท ๑ ในอัฏฐวัตถุกาสิกขาบท ๑.

แต่ในกุรุนที ท่านกล่าวไว้ ๓ อย่างนี้ คือ ปาราชิกเพราะอทินนาทาน

และฆ่ามนุษย์ โดยสั่งบังคับ และเพราะอวดอุตริมนุสธรรม.

สองบทว่า โอภาสนา ตโย ได้แก่ สังฆาทิเสสเพราะพูดสรรเสริญ

และติพาดพิงทวารหนักทวารเบา, ถุลลัจจัย เพราะพูดสรรเสริญและติพาดพิง

อวัยวะใต้รากขวัญลงมา เหนือช่วงเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนักทวารเบาเสีย,

ทุกกฏ เพราะพูดสรรเสริญและติพาดพิงอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้ช่วงเข่า

ลงมา.

สองบทว่า สญฺจริตฺเตน วา ตโย มีความว่า อาบัติ ๓ กองมี

เพราะการชักสื่อเป็นเหตุ เหล่านี้ คือ ภิกษุรับคำ พูดชักสื่อ กลบมาบอก ต้อง

สังฆาทิเสส, รับคำ พูดชักสื่อ ไม่กลับมาบอก ต้องถุลลัจจัย รับคำ ไม่พูด

ชักสื่อ ไม่กลับมาบอก ต้องทุกกฏ.

[บุคคลที่ไม่ควรให้อุปสมบทเป็นต้น]

หลายบทว่า ตโย ปุคฺคลา น อุปสมฺปาเทตพฺพา มีความว่า

(บุคคลอันสงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท ๓ จำพวก คือ) บุคคลผู้มีกาล คือ อายุ

ไม่ครบ ๑ ผู้มีอวัยวะบกพร่อง ๑ ผู้วิบัติโดยวัตถุ ๑. เหตุที่ทำบุคคล ๓ จำพวก

นั้นให้ต่างกัน ได้กล่าวแล้ว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 923

อีกประการหนึ่ง ในบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลใด ไม่บริบูรณ์ด้วย

บาตรและจีวร และบุคคลใด บริบูรณ์แต่ไม่ขอ, บุคคลเหล่านี้แล ท่าน

สงเคราะห์ ด้วยบุคคลผู้มีอวัยวะบกพร่องโดยเฉพาะ. ฝ่ายบุคคลผู้มีความกระทำ

เลวทราม มีผู้ฆ่ามารดาเป็นต้น พึงทราบว่าสงเคราะห์ ด้วยบุคคลผู้วิบัติโดย

วัตถุโดยเฉพาะ กล่าวคือ บัณเฑาะก์อุภโตพยัญชนก และสัตว์ดิรัจฉาน.

จริงอยู่ นัยนี้ ท่านกล่าวไว้ในกุรุนที.

หลายบทว่า ตโย กมฺมาน สงฺคหา ได้แก่ (กรรมสังคหะ ๓ อย่าง

คือ) วาจากำหนดญัตติ คำประธานที่ทำค้าง คำระบุกรรมที่เสร็จไปแล้ว.

ในกรรมสังคหะ ๓ นั้น กรรมทั้งหลายอันท่านสงเคราะห์ด้วยลักษณะ

๓ เหล่านี้ คือ วาจาที่สวดต่างโดยคำว่า ทเทยฺย กเรยฺย เป็นอาทิ ชื่อว่า

วาจากำหนดญัตติ คำสวดประกาศต่างโดยคำว่า เทติ กโรติ เป็นอาทิ ชื่อว่า

คำประธานที่ทำค้าง, คำสวดประกาศต่างโดยคำว่า ทินฺน กต เป็นอาทิ ชื่อว่า

คำระบุกรรมที่เสร็จไปแล้ว.

กรรมทั้งหลายอันท่านสงเคราะห์ด้วยลักษณะ ๓ แม้อื่นอีก คือ ด้วย

วัตถุ ญัตติ อนุสาวนา. จริงอยู่ กรรมที่พร้อมด้วยวัตถุ พร้อมด้วยญัตติ

และพร้อมด้วยอนุสาวนา จึงจัดเป็นกรรมแท้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

กรรมสังคหะมี ๓.

ขึ้นชื่อว่า บุคคลที่สงฆ์นาสนะเสีย ท่านกล่าวไว้ ๓ จำพวก ได้แก่

บุคคล ๓ จำพวกที่สงฆ์ให้นาสนะเสีย ด้วยอำนาจลิงคนาสนา สังวาสนาสนา

และทัณฑกรรมนาสนา พึงทราบ (โดยบาลี) อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย จง

นาสนะเมตติยาภิกษุณีเสีย, บุคคลผู้ประทุษร้าย สงฆ์พึงให้นาสนะเสีย, สามเณร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 924

ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ภิกษุพึงให้นาสนะเสีย, ท่านทั้งหลาย จงให้นาสนะ-

กัณกฏสามเณรเสีย.

สองบทว่า ติณฺณนฺน เอกวาจิกา มีความว่า อนุสาวนาอันเดียว

ควรแก่ชน ๓ มีอุปัชฌาย์เดียวกัน ต่างอาจารย์กัน โดยพระบาลีว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อทำบุคคล ๒ -๓ คน ในอนุสาวนาเดียวกัน.

[อาบัติเพราะอทินนาทานเป็นต้น]

สองบทว่า อทินฺนาทาเน ติสฺโส มีความว่า ในเพราะ (อทินนาทาน)

บาทหนึ่ง หรือเกินกว่าบาท เป็นปาราชิก, เกินกว่า ๑ มาสก ต่ำกว่า ๕ มาสก

เป็นถุลลัจจัย, ๑ มาสก หรือหย่อนมาสก, เป็นทุกกฏ.

สองบทว่า จตสฺโส เมถุนปจฺจยา มีความว่า ภิกษุเสพเมถุนใน

ทวารที่สัตว์ยังไม่กัด ต้องปาราชิก. ในทวารที่สัตว์กัดแล้วโดยมาก ต้อง

ถุลลัจจัย, สอดองคชาตเข้าไปในปากที่อ้ามิให้กระทบ ต้องทุกกฏ, ภิกษุณีต้อง

ปาจิตตีย์ เพราะขุนเพ็ดทำด้วยยาง.

สองบทว่า ฉินฺทนฺตสฺส ติสฺโส มีความว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้

(ลัก) ตัดต้นไม้ใหญ่, เป็นปาจิตตีย์ แก่ผู้ตัดภูตคาม, เป็นถุลลัจจัย แก่ผู้ตัด

องคชาต.

สองบทว่า ปญฺจ ฉฑฺฑิตปจฺจยา มีความว่า ภิกษุทั้งยาพิษ ไม่

เจาะจง ถ้ามนุษย์ตายเพราะยาพิษนั้น ต้องปาราชิก, เมื่อยักษ์และเปรตตาย

ต้องถุลลัจจัย, เมื่อสัตว์ดิรัจฉานตาย ต้องปาจิตตีย์ เพราะทิ้ง คือ ปล่อยสุกกะ

เป็นสังฆาทิเสส, เพราะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะในของเขียว ต้องทุกกฏ ใน

เสขิยวัตร, อาบัติ ๕ กองนี้ย่อมมี เพราะวัตถุที่ทิ้งเป็นปัจจัย.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 925

[ปรับอาบัติควบกันเป็นต้น]

หลายบทว่า ปาจิตฺติเยน ทุกฺกฏา กตา มีความว่า ท่านปรับ

ทุกกฏควบกับปาจิตตีย์ด้วย ในสิกขาบททั้ง ๑๐ ในภิกขุโนวาทกวัคค์.

หลายบทว่า จตุเรตฺถ นวกา วุตฺตา มีความว่า ในสิกขาบทที่ ๑

นั่นแล ท่านกล่าวหมวด ๙ ไว้ ๔ หมวดอย่างนี้ คือ ในกรรมไม่เป็นธรรม

๒ หมวด ในกรรมเป็นธรรม ๒ หมวด.

สองบทว่า ทฺวินฺนปิ จีวเรน จ มีความว่า เพราะจีวรเป็นต้นเหตุ

ย่อมเป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ให้จีวร แก่ภิกษุณี ๒ พวก อย่างนี้ คือ เป็นปาจิตตีย์

แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณี ผู้อุปสมบทในสำนักภิกษุทั้งหลาย, เป็นทุกกฏ

แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณี ผู้อุปสมบทในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย.

ปาฏิเทสนียะ ๘ มาแล้วในบาลีแล.

หลายบทว่า ภุญฺชนฺตามกธญฺเน ปาจิตฺติเยน ทุกฺกฏา กตา

มีความว่า ท่านปรับทุกกฏควบกับปาจิตตีย์ด้วย แก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอข้าว

เปลือกฉัน.

[อาบัติเพราะเดินเป็นต้น]

สองบทว่า คจฺฉนฺตสฺส จตสฺโส มีความว่า เป็นอาบัติ ๔ กองนี้

แก่ผู้ไป คือ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ชวนกันเดินทาง กับภิกษุณี หรือมาตุคาม,

เป็นปาจิตตีย์ เมื่อเข้าอุปจารบ้าน, ภิกษุณีใด ไปสู่ละแวกบ้านรูปเดียว เมื่อ

ภิกษุณีนั้น เข้าอุปจารบ้าน เป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้าที่ ๑, เป็นสังฆาทิเสส

ในย่างเท้าที่ ๒.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 926

สองบทว่า ิตสฺส วาปิ ตตฺตกา มีความว่า อาบัติ ๔ กองนั่นแล

ย่อมมีแม้แก่ผู้ยืนอยู่, อย่างไร ? อย่างนี้ คือ ภิกษุณี ยืนในหัตถบาสของ

บุรุษด้วยอำนาจมิตตสันถวะ ในที่มืด หรือในโอกาสกำบัง ต้องปาจิตตีย์,

ยืนเว้นหัตถบาส ต้องทุกกฏ. ในเวลาอรุณขึ้น ยืนเว้นหัตถบาสของภิกษุณี

ซึ่งเป็นเพื่อน ต้องถุลลัจจัย, เว้นหัตถบาสยืน ต้องสังฆาทิเสส.

หลายบทว่า นิสินฺนสฺส จตสฺโส อาปตฺติโย นิปนฺนสิสาปิ

ตตฺตกา มีความว่า ก็แม้ถ้าว่า ภิกษุณีนั้น นั่งก็ตาม นอนก็ตาม เธอย่อม

ต้องอาบัติ ๔ กองนั้นนั่นแล.

[อาบัติมากต้องในเขตเดียวกัน]

สองบทว่า ปญฺจ ปาจิตฺติยานิ มีความว่า เภสัช ๕ ที่ภิกษุรับ

ประเคนแล้วไม่ปนกัน ใส่ไว้ในภาชนะต่างกันก็ตาม ในภาชนะเดียวกันก็ตาม.

เพราะล่วง ๗ วัน ภิกษุนั้น ย่อมต้องปาจิตตีย์หมดทั้ง ๕ ตัว ต่างวัตถุกัน

ในขณะเดียวกัน. ไม่พึงกล่าวว่า ต้องอาบัตินี้ก่อน อาบัตินี้ภายหลัง.

สองบทว่า นว ปาจิตฺติยานิ มีความว่า ภิกษุใด ออกปากขอ

โภชนะประณีต ๙ อย่าง เคล้าคำข้าวคำหนึ่ง รวมกันกับโภชนะประณีตเหล่านั่น

เทียว เปิบเข้าปาก ให้ล่วงลำคอเข้าไป, ภิกษุนี้ ย่อมต้องปาจิตตีย์ หมดทั้ง

๙ ตัว ต่างวัตถุกัน ในขณะเดียวกัน. ไม่พึงกล่าวว่า ต้องอาบัตินี้ก่อน อาบัตินี้

ภายหลัง.

[วิธีแสดงอาบัติ]

สองบทว่า เอกวาจาย เทเสยฺย มีความว่า ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจา

อันเดียว อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ารับประเคนเภสัช ๕ ให้ล่วง ๗ วันไป

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 927

ต้องอาบัติ ๕ จึงแสดงคืนอาบัติเหล่านั้นในสำนักท่าน อาบัติเหล่านั่น เป็นอัน

เธอแสดงแล้วแท้; ไม่มีกิจที่จะต้องทำด้วยวาจา ๒-๓ ครั้ง. แม้ในวิสัชนาที่ ๒

ก็พึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าออกปากขอโภชนะประณีต ๙ อย่างฉัน

ต้องอาบัติ ๙ จึงแสดงคืนอาบัติเหล่านั้น ในสำนักท่าน.

หลายบทว่า วตฺถ กิตฺเตตฺวา เทเสยฺย มีความว่า พึงแสดงระบุ

วัตถุ อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ารับประเคนเภสัช ๕ ให้ล่วง ๗ วันไป,

ข้าพเจ้าแสดงอาบัติเหล่านั้นตามวัตถุ ในสำนักท่าน. อาบัติทั้งหลาย เป็นอัน

ภิกษุนั้นแสดงแล้วแท้. ไม่มีกิจที่จะต้องระบุชื่ออาบัติ. แม้ในวิสัชนาที่ ๒ ก็

พึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าออกปากขอโภชนะประณีต ๙ อย่าง ฉันแล้ว,

ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัติเหล่านั้น ตามวัตถุ ในสำนักท่าน.

[ยาวตติยกาบัติเป็นต้น]

สองบทว่า ยาวตติยเก ติสฺโส มีความว่า อาบัติ ๓ กองในยาวตติยกะ

เหล่านี้ คือ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณีผู้พระพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร, เป็น

สังฆาทิเสส แก่ภิกษุทั้งหลาย มีพระโกกาสิกะเป็นต้น ผู้ประพฤติตามพระ-

เทวทัตต์ผู้ทำลายสงฆ์ และเป็นปาจิตตีย์แก่นางจัณฑกาฬีภิกษุณี เพราะไม่

สละทิฏฐิลามก.

สองบทว่า ฉ โวหารปจฺจยา มีความว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติ ๖

มีวาจาที่ตนประกอบเป็นปัจจัย. อย่างไร ? อย่างนี้ คือ เพราะอาชีวะเป็นเหตุ

เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุมีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาลามก

ครอบงำแล้ว อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มี ไม่จริง ต้องปาราชิก, เพราะ

อาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุถึงความชักสื่อ ต้องสังฆาทิเสส

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 928

เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ (อวดโดยปริยายว่า) ภิกษุใด

อยู่ในวิหารของท่าน ฯลฯ ต้องถุลลัจจัย เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะ

เป็นการณ์ ภิกษุออกปากขอโภชนะประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน ต้อง

ปาจิตตีย์, เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุณีออกปากขอ

โภชนะประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน ต้องปาฏิเทสนียะ, เพราะอาชีวะ

เป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุไม่อาพาธ ออกปากขอแกงหรือข้าวสุก

เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน ต้องทุกกฏ.

สองบทว่า ขาทนฺตสฺส ติสฺโส มีความว่า ภิกษุต้องถุลลัจจัย

เพราะเนื้อมนุษย์, ต้องทุกกฏ เพราะอกัปปิยมังสะที่เหลือ, เป็นปาจิตตีย์

แก่ภิกษุณี เพราะกระเทียม.

สองบทว่า ปญฺจ โภชนปจฺจยา มีความว่า ภิกษุณีผู้กำหนัดรับ

โภชนะจากมือของบุคคลคือบุรุษผู้กำหนัด เติมเคล้าให้ระคนกันกลืนเข้าไป,

อนึ่ง ถือเอาเนื้อมนุษย์ กระเทียม โภชนะประณีตที่ตนออกปากขอเพื่อประโยชน์

แก่ตน และอกัปปิยมังสะที่เหลือ เติมเคล้าให้ระคนกันกลืนเข้าไป, ย่อมต้อง

อาบัติ ๕ มีโภชนะเป็นปัจจัย เหล่านี้ คือ สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์

ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ.

[ฐานะ ๕ แห่งยาวตติยกาบัติเป็นต้น]

สองบทว่า ปญฺจ านานิ มีความว่า ยาวตติยกาบัติทั้งปวง ย่อม

ถึงฐานะ ๕ อย่างนี้ คือ สำหรับภิกษุณี ผู้ประพฤติตามภิกษุอันสงฆ์ยกวัตร

ไม่ยอมสละ ด้วยวาจาประกาศเพียงครั้งที่ ๓ เพราะญัตติ ต้องทุกกฏ, เพราะ

กรรมวาจา ๒ ต้องถุลลัจจัย, ในที่สุดแห่งกรรมวาจา ต้องปาราชิก, [สำหรับ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 929

ภิกษุ] เพราะบากบั่นเพื่อทำลายสงฆ์เป็นต้น เป็นสังฆาทิเสส และเพราะไม่

ย่อมสละทิฏฐิลามกเป็นปาจิตตีย์.

สองบทว่า ปญฺจนฺนญฺเจว อาปตฺติ มีความว่า ขึ้นชื่อว่าอาบัติ

ย่อมมีแก่สหธรรมิกทั้ง ๕. ในสหธรรมิกทั้ง ๕ นั้น โดยนิปปริยาย อาบัติย่อม

มีแก่ภิกษุและภิกษุณี ๓ พวกเท่านั้น. แต่สำหรับนางสิกขมานาสามเณรและ

สามเณรี อาบัติย่อมมีโดยปริยายนี้ว่า ความเป็นของไม่ควร ย่อมไม่ควร.

สหธรรมิก ๓ นั้น ภิกษุไม่พึงให้แสดงอาบัติ, แต่พึงลงทัณฑกรรมแก่พวกเธอ.

สองบทว่า ปญฺจนฺน อธิกรเณน จ มีความว่า ก็แลอธิกรณ์ย่อม

มีแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ เหมือนกัน. จริงอยู่ วินิจฉัยโวหาร เพื่อประโยชน์แก่

บริขารมีบาตรและจีวรเป็นต้น ของสหธรรมิกทั้ง ๕ นั่นแล เรียกว่าอธิกรณ์

ส่วนวินิจฉัยโวหาร ของคฤหัสถ์ ย่อมจัดเป็นอัฏฏกรรม (คือการว่าคดี).

หลายบทว่า ปญฺจนฺน วินิจฺฉโย โหติ มีความว่า ขึ้นชื่อว่า

วินิจฉัยของสหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านั่นเอง ก็มีอยู่.

สองบทว่า ปญฺจนฺน วูปสเมน จ มีความว่า อธิกรณ์ของ

สหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านั่นแล ที่ได้วินิจฉัยแล้ว ชื่อว่าเป็นอันระงับไป.

สองบทว่า ปญฺจนฺนญฺเจว อนาปตฺติ มีความว่า ขึ้นชื่อว่า

อนาบัติ ย่อมมีแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านั่นแล.

หลายบทว่า ตีหิ าเนหิ โสภติ มีความว่า ภิกษุย่อมงามโดย

เหตุ ๓ มีสงฆ์เป็นต้น. จริงอยู่ บุคคลผู้กระทำความละเมิดแล้วกระทำคืน

อาบัติที่ยังทำคืนได้ ในท่ามกลางสงฆ์ หรือในท่ามกลางคณะหรือในสำนัก

บุคคล ย่อมเป็นผู้มีศีลใหม่เอี่ยม กลับตั้งอยู่ตามเดิม. เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า ย่อมงามโดยสถาน ๓.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 930

[อาบัติทางกายในราตรีเป็นต้น]

หลายบทว่า เทฺว กายิกา รตฺตึ มีความว่า ภิกษุณี ต้องอาบัติ

ทางกายทวารเป็นแดนเกิด ๒ อย่าง ในราตรี คือ เมื่อสำเร็จการยืนนั่งและ

นอน ในหัตถบาสของบุรุษ ในเวลามืด ๆ ค่ำ ๆ ต้องปาจิตตีย์; เมื่อสำเร็จ

การยืนเป็นอาทิ ละหัตถบาส ต้องทุกกฏ.

หลายบทว่า เทฺว กายิกา ทิวา มีความว่า ภิกษุณี ต้องอาบัติ

๒ กอง ในโอกาสที่กำบัง ในเวลากลางวัน โดยอุบายนั้นแล.

หลายบทว่า นิชฺฌนฺตสฺส เอกา อาปตฺติ มีความว่า อาบัติกอง

เดียวนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เพ่งดู [โดยบาลี] ว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็แลอันภิกษุผู้

กำหนัดแล้ว ไม่พึงเพ่งดูองค์กำเนิดแห่งมาตุคาม ภิกษุใดพึงเพ่งดู ภิกษุนั้น

ต้องทุกกฏ.

สองบทว่า เอกา ปิณฺฑปาติปจฺจยา ได้แก่ อาบัติทุกกฏที่ตรัส

ในบาลีนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็แลอันภิกษุไม่พึงแลดูหน้า ของทายิกาผู้ถวาย

ภิกษา. จริงอยู่ โดยที่สุด แลดูหน้าแม้ของสามเณรผู้ถวายข้าวต้มหรือกับข้าว

ก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน.

แต่ในกุรุนทีกล่าวว่า คำว่า อาบัติกองเดียว เพราะบิณฑบาตเป็น

ปัจจัย ได้แก่ เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุฉันบิณฑบาตซึ่งภิกษุณีแนะนำให้ถวาย.

[ภิกษุที่สงฆ์ยกวัตรเป็นต้น]

สองบทว่า อฏฺานิสเส สมฺปสฺส ได้แก่ อานิสงส์ที่ตรัสไว้ใน

โกสัมพิกขันธกะ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 931

หลายบทว่า อุกฺขิตฺตกา ตโย วุตฺตา ได้แก่ (ภิกษุที่สงฆ์ยกวัตร

๓ พวก เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ) เพราะไม่เห็นอาบัติ ๑ เพราะไม่ทำ

คืน ๑ เพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก ๑.

สองบทว่า เตจตฺตาฬิส สมฺมาวตฺตนา ได้แก่ ความประพฤติ

ชอบ ในวัตรทั้งหลาย มีประมาณเท่านั้น ของภิกษุที่ถูกสงฆ์ยกวัตรเหล่านั้น

นั้นแล.

สองบทว่า ปญฺจฏฺาเน มุสาวาโท มีความว่า มุสาวาท ย่อม

ถึงฐานะ ๕ กล่าวคือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์และทุกกฏ.

หลายบทว่า จุทฺทส ปรมนฺติ วุจฺจติ ได้แก่ สิกขาบทที่กล่าว

แล้วในหนหลัง โดยนัยมี ๑๐ วันอย่างยิ่ง เป็นอาทิ.

สองบทว่า ทฺวาทส ปาฏิเทสนียา ได้แก่ ปาฏิเทสนียะของภิกษุ

๔ ของภิกษุณี ๘.

สองบทว่า จตุนฺน เทสนาย จ ความว่า การแสดงโทษล่วงเกิน

ของบุคคล ๔ จำพวก. ถามว่า ก็การแสดงโทษล่วงเกิน ๔ อย่างนั้น คือ

ข้อไหนบ้าง ? คือ ชื่อว่า การแสดงโทษล่วงเกินของบุคคล ๔ จำพวกนี้ คือ

การแสดงโทษล่วงเกินของนายขมังธนูผู้มุ่งไปฆ่า ซึ่งพระเทวทัตจัดส่งไป

การแสดงโทษล่วงเกิน แห่งอุปัฏฐายิกาของพระอนุรุทธเถระ การแสดงโทษ

ล่วงเกินของวัฑฒลิจฉวี การแสดงโทษล่วงเกินของภิกษุทั้งหลาย ผู้กระทำ

อุกเขปนียกรรมแก่พระวาสภคามิยัตเถระแล้วกลับมา.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 932

[มุสาวาทมีองค์ ๘ เป็นต้น]

สองบทว่า อฏงฺคิโก มุสาวาโท มีความว่า มุสาวาทที่ประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ตั้งต้นแต่องค์ที่ว่า ก่อนแต่พูด ผู้นั้น มีความคิดว่า เราจักพูด

ปด ดังนี้ มีองค์ว่า ยันความจำ เป็นที่สุดจัดว่ามุสาวาท ประกอบด้วยองค์ ๘.

แม้องค์อุโบสถ ๘ ก็ได้กล่าวแล้ว โดยนัยมีคำว่า ไม่พึงฆ่าสัตว์

เป็นอาทิ.

สองบทว่า อฏฺ ทูเตยฺยงฺคานิ ได้แก่ (องค์เกื้อกูลแก่ความเป็น

ทูต ๘ ประการ) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสังฆเภทกขันธกะ โดยนัย

มีคำว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ฟังเอง และให้ผู้อื่นฟัง

เป็นอาทิ.

ติตถิยวัตร ๘ ได้กล่าวแล้วในมหาขันธกะ

คำว่า อุปสัมปทา มีวาจา ๘ ท่านกล่าวหมายถึงอุปสมบทของภิกษุณี

ทั้งหลาย.

สองบทว่า อฏฺนฺน ปจฺจุฏาพฺพ มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลาย

นอกนี้ พึงลุกขึ้นให้อาสนะแก่ภิกษุณี ๘ รูป ในหอฉัน.

สองบทว่า ภิกฺขุโนวาทโก อฏฺหิ มีความว่า ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อันสงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี.

วินิจฉัยในคาถาว่า เอกสฺส เฉชฺช พึงทราบดังนี้ :-

ในชน ๙ ภิกษุใด ให้จับสลากทำลายสงฆ์ ความขาด ย่อมมีแก่ภิกษุ

นั้นแล คือ ย่อมต้องปาราชิกเหมือนอย่างพระเทวทัตต์. เป็นถุลลัจจัย แก่

บุคคล ๔ คน ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ เหมือนภิกษุทั้งหลายมีพระ-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 933

โกกาลิกะเป็นต้น. ไม่เป็นอาบัติแก่บุคคล ๔ คน ผู้เป็นธรรมวาที. ก็อาบัติ

และอนาบัติเหล่านี้ ของคนทั้งปวง มีวัตถุอันเดียวกัน คือ มีสังฆเภทเป็น

วัตถุเท่านั้น.

[กรรมเนื่องด้วยญัตติเป็นต้น]

วินิจฉัยในคาถาว่า นว อาฆาตวตฺถูนิ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า นวหิ มีความว่า สงฆ์ย่อมแตกกัน เพราะภิกษุ ๙ รูป.

หลายบทว่า ตฺติยา การณา นว มีความว่า กรรมที่สงฆ์พึงทำ

ด้วยญัตติ มี ๙ อย่าง.

คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. . .

หลายบทว่า ทส ปุคฺคลา นาภิวาเทตพฺพา ได้แก่ ชน (ที่ไม่

ควรไหว้) ๑๐ จำพวก ที่ตรัสไว้ ในเสนาสนขันธกะ.

สองบทว่า อญฺชลิสามิเจน จ มีความว่า อัญชลีกรรมพร้อมทั้ง

สามีจิกรรม อันภิกษุไม่พึงทำแก่ชน ๑๐ จำพวกนั้น. อธิบายว่า วัตรในขันธกะ

มีถามถึงน้ำดื่มและฉวยพัดใบตาลเป็นต้น อันภิกษุไม่พึงแสดงแก่ชน ๑๐ จำพวก

นั้น อัญชลีก็ไม่พึงประคอง.

สองบทว่า ทสนฺน ทุกฺกฏ มีความว่า เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ทำ

อย่างนั้น แก่คน ๑๐ จำพวกนั้นแล.

สองบทว่า ทส จีวรธารณา ความว่า อนุญาตให้ทรงอติเรกจีวร

ไว้ ๑๐ วัน.

หลายบทว่า ปญฺจนฺน วสฺส วุตฺถาม ทาตพฺพ อิธ จีวร

ได้แก่ พึงให้ต่อหน้าสหธรรมิกทั้ง ๕ ทีเดียว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 934

สองบทว่า สตฺตนฺน สนฺเต มีความว่า เมื่อมีผู้รับแทนที่สมควร

พึงให้ลับหลังก็ได้ แก่ชน ๗ จำพวกนี้ คือ ภิกษุผู้หลีกไปต่างทิศ ภิกษุบ้า

ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ภิกษุผู้ถูกเวทนาครอบงำ และภิกษุสงฆ์ยกวัตร ๓ พวก.

สองบทว่า โสฬสนฺน น ทาตพฺพ มีความว่า ไม่ควรให้แก่ชน

ที่เหลือ ๑๖ จำพวกมีบัณเฑาะก์เป็นต้น ที่ตรัสไว้ ในจีวรขันธกะ.

หลายบทว่า กติสต รตฺติสต อาปตฺตึ ฉาทยิตฺวาน มีความว่า

ภิกษุปิดอาบัติกี่ร้อย ไว้ร้อยราตรี.

หลายบทว่า ทสสต รตฺติสต อาปตฺตึ ฉาทยิตฺวาน มีความว่า

ภิกษุปิดอาบัติ ๑ พัน ไว้ร้อยราตรี.

ก็ความสังเขปในคำนี้ ดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุใด ต้องอาบัติสังฆาทิเสสวันละร้อย ปิดไว้ร้อยละ ๑๐ วัน. อาบัติ

๑ พัน ย่อมเป็นอันภิกษุนั้นปิดไว้ร้อยราตรี. ภิกษุนั้น พึงขอปริวาสว่า อาบัติ

เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ข้าพเจ้าปิดไว้ ๑๐ วัน แล้วเป็นปาริวาสิกะ อยู่ปริวาส

๑๐ ราตรี พึงพ้นได้.

[ว่าด้วยกรรมโทษเป็นอาทิ]

หลายบทว่า ทฺวาทส กมฺมโทสา วุตฺตา มีความว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสกรรมโทษ ๑๒ นับกรรมละ ๓ ๆ ในกรรม ๑ ๆ อย่างนี้คือ

อปโลกนกรรม เป็นวรรคโดยอธรรม พร้อมเพรียงโดยอธรรม เป็นวรรค

โดยธรรม; แม้ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม ก็เหมือนกัน.

สองบทว่า จตสฺโส กมฺมสมฺปตฺติโย มีความว่า กรรมสมบัติ

ที่ตรัสไว้ ๔ ประการ อย่างนี้ คือ อปโลกนกรรม พร้อมเพรียงโดยธรรม

แม้กรรมที่เหลือ ก็เหมือนกัน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 935

สองบทว่า ฉ กมฺมานิ มีความว่า กรรม ๖ อย่าง ที่ตรัสไว้อย่างนี้

คือ กรรมไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค กรรมพร้อมเพรียง กรรมเป็นวรรค

โดยอาการเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงโดยอาการเทียมธรรม กรรมพร้อม-

เพรียง โดยธรรม.

หลายบทว่า เอเกตฺถ ธมฺมิกา กตา มีความว่า ในกรรม ๖

อย่างนี้ กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรมอย่างเดียวเท่านั้น ตรัสเป็นกรรมที่ชอบ

ธรรม.

แม้ในคำตอบในคาถาที่ ๒ กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมนั่นแล ก็

เป็นกรรมชอบธรรม (เหมือนกัน).

[ว่าด้วยอาบัติระงับและไม่ระงับ]

สองบทว่า ย เทสิต มีความว่า กองอาบัติเหล่าใด อันพระอนัน-

ตชินเจ้าทรงแสดงแล้วตรัสแล้ว คือประกาศแล้ว.

วินิจฉัยในคำว่า อนนฺตชิเนน เป็นต้น พึงทราบดังนี้ :-

นิพพานเรียกว่า อนันตะ เพราะเว้นจากความเป็นธรรมมีที่สุดรอบที่

บัณฑิตจะกำหนดได้. นิพพานนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปราบปรามกอง

กิเลส ชำนะแล้ว ชำนะเด็ดขาดแล้ว คือ บรรลุแล้ว ถึงพร้อมแล้ว เปรียบ

เหมือนราชสมบัติอันพระราชาทรงปราบปรามหมู่ข้าศึกได้แล้วฉะนั้น. เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า อนันตชินะ.

พระอนันตชินะนั้นแล ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะเป็นผู้ไม่มีวิการ ในเพราะ

อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. พระองค์ทรงเห็นวิเวก ๔ กล่าวคือ ตทังควิเวก

วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก เพราะ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 936

ฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้เห็นวิเวก. กองอาบัติเหล่าใด อันพระอนันตชินะ ผู้คงที่

ผู้เห็นวิเวกนั้นทรงแสดงแล้ว.

ในคำว่า เอเกตฺถ สมฺมติ วินา สมเถหิ นี้ มีบทสัมพันธ์ดังนี้ :-

กองอาบัติ ๗ เหล่าใด อันพระศาสดาทรงแสดงแล้ว ในกองอาบัติ ๗

นั้น อาบัติแม้กองหนึ่ง เว้นจากสมถะทั้งหลายเสีย หาระงับไม่. โดยที่แท้

ธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมด คือ สมถะ ๖ อธิกรณ์ ๔ ย่อมระงับ คือย่อมถึง

ความประกอบโดยชอบ ด้วยสัมมุขาวินัย. แต่ในธรรมเหล่านี้ สัมมุขาวินัย

อย่างเดียวแล เว้นสมถะทั้งหลายเสียย่อมระงับ คือ ย่อมถึงความเป็นสมถะได้.

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าความเว้นจากสมถะอื่นเสีย สำเร็จไม่ได้ แห่งสัมมุขาวินัยนั้น

หามีไม่ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในอาบัติ ๗ กองนี้ อาบัติกองหนึ่ง

เว้นสมถะเสียก็ระงับได้. เนื้อความนี้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายโดย

อธิบายนี้ก่อน. แต่ข้าพเจ้าถือเอาเนื้อความเพียงปฏิเสธแห่งนิบาต คือวินา ชอบ

ใจเนื้อความนี้ที่ว่า ข้อว่า เอเกตฺถ สมฺมติ วินา สมเถหิ มีความว่า

ในอาบัติ ๗ กองนั่น กองอาบัติปาราชิกกองเดียว เว้นสมถะเสีย ก็ระงับได้

คือ ย่อมระงับด้วยสมถะทั้งหลายหามิได้. จริงอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้

ตรัสคำนี้ว่า อาบัติใดไม่มีส่วนเหลือ อาบัตินั้น ย่อมระงับด้วยอธิกรณ์ไหน

หามิได้ ย่อมระงับในสถานไหน หามิได้ ย่อมระงับด้วยสมถะไหน หามิได้.

[ผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย]

บทว่า ฉอูนทิยฑฺฒสตา มีความว่า พึงทราบบุคคลผู้ทำลายสงฆ์

ต้องไปสู่อบาย ๑๔๔ พวก ด้วยอำนาจหมวดแปด ๑๘ หมวดเนื่องด้วยเภทกร-

วัตถุ ๑๘ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสังฆเภทขันธกะอย่างนี้ว่า อุบาลี

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 937

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีความเห็นในประเภทแห่งอธัมมทิฏฐินั้น ว่า ไม่เป็น

ธรรม มีความเห็นในประเภทแห่งอธัมมทิฏฐินั้น ว่า เป็นธรรม มีความ

สงสัยในประเภทแห่งอธัมมทิฏฐินั้น มีความเห็นในประเภทแห่งธัมมทิฏฐินั้นว่า

เป็นอธรรม มีความสงสัยในประเภทแห่งธัมมทิฏฐินั้น มีความเห็นในประเภท

แห่งผู้มีความสงสัยนั้น ว่า เป็นอธรรม มีความเห็นในประเภท แห่งผู้มีความ

สงสัยนั้น ว่า เป็นธรรม มีความสงสัยในประเภทแห่งผู้มีความสงสัยนั้น ย่อม

แสดงอธรรม ว่าเป็นธรรม.

สองบทว่า อฏฺารส นาปายิกา ได้แก่ ชน ๑๘ พวก ที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัส ในที่สุดแห่งสังฆเภทขันธกะ นับหมวดละพวกอย่างนี้ว่า

อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีความเห็นในประเภทแห่งธัมมทิฏฐินั้น ว่า

เป็นธรรม ไม่ยืนยันความเห็น ไม่อิงความพอใจ ไม่อิงความชอบใจ ย่อม

แสดงธรรม ว่า เป็นธรรม ย่อมสวดประกาศ ให้จับสลาก ด้วยคำว่า นี้

เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสนา ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบ

ใจสลากนี้ อุบาลี ภิกษุแม้นี้แลเป็นผู้ทำลายสงฆ์ แต่หาไปสู่อบายไม่ หาไป

สู่นรกไม่ หาตั้งอยู่ตลอดกัลป์ไม่ มิใช่ผู้เยียวยาไม่ได้.

หมวดแปด ๑๘ หมวด ได้กล่าวเสร็จแล้วในคำวิสัชนาด้วยบุคคลผู้ทำ

ลายสงฆ์ ๑๔๔ พวก.

วิสัชนาคาถาทั้งปวง มีว่า กติ กมฺมานิ เป็นต้น ตื้นทั้งนั้นฉะนี้แล.

อปรทุติยคาถาสังคณิก วัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 938

เสทโมจนคาถา

[๑,๒๙๖] บุคคลไม่มีสังวาสกับภิกษุ

และภิกษุณี การสมโภคบางอย่าง อันภิกษุ

และภิกษุณีย่อมไม่ได้ในบุคคลนั้น ไม่ต้อง

อาบัติเพราะไม่อยู่ปราศ ปัญหาข้อนี้ ท่าน

ผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๒๙๗] ครุภัณฑ์ ๕ อย่าง อัน

พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสว่า

ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้จำหน่าย ผู้ใช้สอย

ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย คิดกันแล้ว.

[๑,๒๙๘] ข้าพเจ้าไม่กล่าวถึง บุคคล

๑๐ จำพวก เว้นบุคคล ๑๑ จำพวกเสีย ภิกษุ

ไหว้ผู้แก่กว่าต้องอาบัติ ปัญหาข้อนี้ ท่าน

ผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๒๙๙] ภิกษุไม่ใช่ผู้ถูกยกวัตร ไม่

ใช่ผู้อยู่ปริวาส ไม่ใช่ผู้ทำลายสงฆ์และไม่

ใช่ผู้หลีกไปเข้ารีตตั้งอยู่ในภูมิของภิกษุผู้มี

สังวาสเสมอกัน ไฉนจงไม่ทั่วไปแก่สิกขา

ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย คิดกันแล้ว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 939

[๑,๓๐๐] บุคคลเข้าถึงธรรม ไต่ถาม

กุศลที่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ผู้เป็นอยู่

ไม่ใช่ผู้ตาย ไม่ใช่ผู้นิพพาน ท่านผู้รู้ทั้ง-

หลายเรียกบุคคลนั้นว่าอย่างไร ปัญหาข้อนี้

ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายติดกันแล้ว.

[๑,๓๐๑] ไม่พูดถึงอวัยวะเหนือราก-

ขวัญขึ้นไป เว้นอวัยวะใต้สะดือลงมา ภิกษุ

พึงต้องอาบัติปาราชิกเพราะเมถุนธรรมเป็น

ปัจจัยได้อย่างไร ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาด

ทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๐๒] ภิกษุทำกุฎีด้วยอาการขอ

เอาเอง ไม่ได้ให้สงฆ์แสดงพื้นที่ เกินประ-

มาณ มีผู้จองไว้ หาชานรอบมิได้ ไม่ต้อง

อาบัติ ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย

คิดกันแล้ว.

[๑,๓๐๓] ภิกษุทำกุฎีด้วยอาการขอ

เอาเอง ให้สงฆ์แสดงฟื้นที่แล้วได้ประมาณ

ไม่มีผู้จอง มีชานรอบ แต่ต้องอาบัติ ปัญหา

ข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย คิดกันแล้ว.

[๑,๓๐๔] ไม่ประพฤติประโยคอะไร

ทางกาย และไม่พูดคนอื่น ๆ ด้วยวาจา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 940

แต่ต้องอาบัติหนักซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความขาด

ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๐๕] สัตบุรุษ ไม่ทำความชั่ว

อะไรทางกายและทางวาจา แม้ทางใจผู้นั้น

ถูกสงฆ์นาสนะแล้วชื่อว่าถูกนาสนะด้วยดี

เพราะเหตุใด ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้ง-

คิดกันแล้ว.

[๑,๓๐๖] ภิกษุไม่เจรจากับมนุษย์

ไร ๆ ด้วยวาจา และไม่กล่าวถ้อยคำกะผู้อื่น

แต่ต้องอาบัติทางวาจา มิใช่ทางกาย ปัญหา

ข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๐๗] สิกขาบท อันพระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐพรรณนาไว้แล้วสังฆาทิเลส ๔

สิกขาบท ภิกษุณีต้องทั้งหมด ด้วยประโยค

เดียวกัน ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย

คิดกันแล้ว.

[๑,๓๐๘] ภิกษุณี ๒ รูป อุปสมบท

แต่สงฆ์ฝ่ายเดียว ภิกษุรับจีวรแต่มือของ

ภิกษุณี ๒ รูป ต้องอาบัติต่างกัน ปัญหา

ข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 941

[๑,๓๐๙] ภิกษุ ๔ รูป ชวนกันไป

ลักครุภัณฑ์ ๓ รูปเป็นปาราชิก รูป ๑ ไม่เป็น

ปาราชิก ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย

คิดกันแล้ว.

[๑,๓๑๐] สตรีอยู่ข้างใน ภิกษุอยู่

ข้างนอก ช่องไม่มีในเรือนนั้น ภิกษุจะพึง

ต้องอาบัติปาราชิกเพราะเมถุนธรรมเป็น

ปัจจัยได้อย่างไร ปัญหาข้อนี้ ท่านทั้งหลาย

คิดกันแล้ว.

[๑,๓๑๑] ภิกษุรับประเคนน้ำมัน น้ำ

ผึ้ง น้ำอ้อย และเนยใสด้วยตนเองแล้วเก็บ

ไว้ เมื่อยังไม่ล่วงสัปดาห์ เมื่อปัจจัยมีอยู่

ฉัน ต้องอาบัติ ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาด

ทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๑๒] อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

อาบัติสุทธิกปาจิตตีย์ ภิกษุต้องพร้อมกัน

ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๑๓] ภิกษุ ๒๐ รูป มาประชุม

กันสำคัญว่าพร้อมเพรียงจึงทำกรรม ภิกษุ

อยู่ในที่ ๒ โยชน์ พึงยังกรรมนั้นให้เสียได้

เพราะปัจจัยคือเป็นวรรค ปัญหาข้อนี้ ท่าน

ผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 942

[๑,๓๑๔] ภิกษุต้องครุกาบัติล้วน ๖๔

ที่ทำคืนได้ ด้วยอาการเพียงย่างเท้า และด้วย

กล่าววาจาคราวเดียวกัน ปัญหาข้อนี้ท่านผู้

ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๑๕] ภิกษุนุ่งผ้าอันตรวาสก

ห่มผ้าสังฆาฏิ ๒ ชั้น ผ้าทั้งหมดนั้นเป็น

นิสสัคคีย์ ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย

คิดกันแล้ว.

[๑,๓๑๖] ญัตติก็ไม่ใช่ กรรมวาจา

ก็ไม่เชิง และพระชินเจ้า ก็ไม่ได้ตรัสว่า

เอหิภิกขุ แม้สรณคมน์ก็ไม่มีแก่เธอ แต่

อุปสัมปทาของเธอไม่เสีย ปัญหาข้อนี้ ท่าน

ผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๑๗] บุคคลผู้โฉดเขลา ฆ่า

สตรีซึ่งมิใช่มารดา และฆ่าบุรุษซึ่งมิใช่บิดา

ฆ่าบุคคลผู้มิใช่อริยะ แต่ต้องอนันตริยกรรม

เพราะเหตุนั้น ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาด

ทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๑๘] บุคคลผู้โฉดเขลา ฆ่าสตรี

ผู้เป็นมารดา ฆ่าบุรุษผู้เป็นบิดาครั้นฆ่าบิดา

มารดาแล้ว แต่ไม่ต้องอนันตริยกรรมเพราะ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 943

โทษนั้น ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย

คิดกันแล้ว.

[๑,๓๑๙] ภิกษุไม่โจท ไม่สอบสวน

แล้วทำกรรมแก่บุคคลผู้อยู่ลับหลัง และ

กรรมที่ทำแล้วเป็นอันทำชอบแล้ว ทั้งการก

สงฆ์ไม่ต้องอาบัติ ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาด

ทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๒๐] ภิกษุโจท สอบสวนแล้ว

ทำกรรมแก่บุคคลผู้อยู่ต่อหน้า และกรรมที่

ทำแล้วไม่เป็นอันทำ ทั้งการกสงฆ์ก็ต้อง

อาบัติ ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิด

กันแล้ว.

[๑,๓๒๑] ภิกษุตัด ต้องอาบัติก็มี

ไม่ต้องอาบัติก็มี ภิกษุปกปิดต้องอาบัติก็มี ไม่

ต้องอาบัติก็มี ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาด

ทั้งหลายคิดกันแล้ว

[๑,๓๒๒] ภิกษุพูดจริง ต้องอาบัติ

หนัก พูดเท็จต้องอาบัติเบา พูดเท็จต้อง

อาบัติหนัก และพูดจริงต้องอาบัติเบา ปัญหา

ข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 944

[๑,๓๒๓] ภิกษุบริโภคจีวรที่อธิษฐาน

แล้ว ย้อมด้วยน้ำย้อมแล้ว แม้กัปปะก็ทำ

แล้ว ยังต้องอาบัติ ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาด

ทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๒๔] เมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว

ภิกษุฉันเนื้อ เธอไม่ใช่ผู้วิกลจริต ไม่ใช่ผู้

มีจิตฟุ้งซ่าน และไม่ใช่ผู้กระสับกระส่าย

เพราะเวทนา แต่เธอไม่ต้องอาบัติ ก็ธรรม

ข้อนั้น อันพระสุคตทรงแสดงแล้ว ปัญหา

ข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๒๕] เธอไม่ใช่ผู้มีจิตกำหนัด

และไม่ใช่ผู้มีไถยจิต และแม้ผู้อื่นเธอก็ไม่

ได้คิดจะฆ่า ความขาดย่อมมีแก่เธอผู้ให้จับ

สลาก เป็นอาบัติถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้จับ

ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๒๖] ไม่ใช่เสนาสนะป่าที่รู้กัน

ว่ามีความรังเกียจ และไม่ใช่สงฆ์ให้สมมติ

ทั้งกฐินเธอไม่ได้กราน เธอเก็บจีวรไว้ ณ

ที่นั้นเอง แล้วไปตั้งกึ่งโยชน์เมื่ออรุณขึ้น

เธอนั่นแหละไม่ต้องอาบัติ ปัญหาข้อนี้ ท่าน

ผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 945

[๑,๓๒๗] อาบัติทั้งมวลที่เป็นไปทาง

กาย มิใช่ทางวาจา ต่างวัตถุกัน ภิกษุต้อง

ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง ปัญหา

ข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๒๘] อาบัติทั้งมวลที่เป็นไปทาง

วาจา มิใช่ทางกายต่างวัตถุกัน ภิกษุต้องใน

ขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง ปัญหาข้อนี้

ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๒๙] ไม่เสพเมถุนนั้นในสตรี ๓

จำพวก บุรุษ ๓ จำพวก คนไม่ประเสริฐ

๓ จำพวก และบัณเฑาะก์ ๓ จำพวก และ

ไม่ประพฤติเมถุนในอวัยวะที่ปรากฏ แต่

ความขาดย่อมมีเพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัย

ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๓๐] ขอจีวรกะมารดา และไม่

ได้น้อมลาภไปเพื่อสงฆ์ เพราะเหตุไร ภิกษุ

นั้นจึงต้องอาบัติ แต่ไม่ต้องอาบัติเพราะ

บุคคลผู้เป็นญาติ ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาด

ทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๓๑] ผู้โกรธ ย่อมให้สงฆ์ยินดี

ผู้โกรธ ย่อมถูกสงฆ์ติเตียน ก็ธรรมที่เป็น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 946

เหตุให้สงฆ์สรรเสริญผู้โกรธนั้น ชื่ออะไร

ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๓๒] ผู้แช่มชื่น ย่อมให้สงฆ์

ยินดี ผู้แช่มชื่น ย่อมถูกสงฆ์ติเตียน ก็ธรรม

ที่เป็นเหตุให้สงฆ์ติเตียนผู้แช่มชื่นนั้นชื่อ

อะไร ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิด

กันแล้ว.

[๑,๓๓๓] ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ และทุกกฏ

ในขณะเดียวกัน ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาด

ทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๓๔] ทั้งสองมีอายุครบ ๒๐ ปี

ทั้งสองมีอุปัชฌาย์คนเดียวกัน มีอาจารย์คน

เดียวกัน มีกรรมวาจาอันเดียวกัน รูปหนึ่ง

เป็นอุปสัมบัน รูปหนึ่งเป็นอนุปสัมบัน

ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๓๕] ผ้าที่ไม่ได้ทำกัปปะ และ

ไม่ได้ย้อมด้วยน้ำย้อม ภิกษุปรารถนา พึง

แสวงหามานุ่งห่ม และเธอไม่ต้องอาบัติ ก็

ธรรมอันนั้นพระสุคตทรงแสดงแล้ว ปัญหา

ข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 947

[๑,๓๓๖] ภิกษุณีไม่ให้ ไม่รับ การ

รับไม่มีด้วยเหตุนั้น แต่ต้องอาบัติหนัก มิใช่

อาบัติเบา และการต้องนั้น เพราะการ

บริโภคเป็นปัจจัย ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาด

ทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๓๗] ภิกษุณีไม่ไห้ ไม่รับ การ

รับไม่มีด้วยเหตุนั้น แต่ต้องอาบัติเบา ไม่ใช่

อาบัติหนัก และการต้องนั้น เพราะการ

บริโภคเป็นปัจจัย ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาด

ทั้งหลายคิดกันแล้ว.

[๑,๓๓๘] ภิกษุณีต้องอาบัติหนักมี

ส่วนเหลือ ปกปิดไว้ เพราะอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อ ไม่ใช่ภิกษุณีก็ไม่ต้องโทษ ปัญหา

ข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

เสทโมจนคาถา จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๓๓๙] ไม่มีสังวาส ไม่จำหน่าย บุคคล ๑๐ ไม่ใช่ผู้ถูกยกวัตร

เข้าถึงธรรม อวัยวะเหนือรากขวัญ ต่อนั้น ทำกุฎีด้วยอาการขอเอาเอง ๒

สิกขาบท ไม่ประพฤติประโยคทางกาย แต่ต้องอาบัติหนัก ไม่ทำความชั่ว

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 948

ทางกายแต่ถูกสงฆ์ นาสนะชอบแล้ว ไม่เจรจา สิกขาบท ชน ๒ คน และ

ชน ๔ คน สตรี น้ำมัน นิสสัคคีย์ ภิกษุ ย่างเท้าเดิน นุ่งผ้า ไม่ใช่ญัตติ

ฆ่าสตรีมิใช่มารดา ฆ่าบุรุษมิใช่บิดา ไม่โจท โจท ตัด พูดจริง ผ้าที่อธิษฐาน

พระอาทิตย์อัสดงแล้ว ไม่กำหนัด มิใช่เสนาสนะป่า อาบัติทางกาย ทางวาจา

สตรี ๓ จำพวก มารดาโกรธให้ยินดี แช่มชื่น ต้องสังฆาทิเสส สองคน

ผ้าไม่ได้ทำกัปปะ ไม่ให้ ไม่ให้ต้องอาบัติหนัก คาถาที่คิดจนเหงื่อไหล เป็น

ปัญหาที่ท่านผู้รู้ให้แจ่มแจ้งแล้วแล.

หัวข้อประจำเรื่อง จบ

เสทโมจนคาถา วัณณนา

วินิจฉัยในเสทโมจนคาถา พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า อสวาโส มีความว่า ผู้ไม่มีสังวาส ด้วยสังวาส มีอุโบสถ

และปวารณาเป็นต้น.

หลายบทว่า สมฺโภโค เอกจฺโจ ตหึ น ลพฺภติ มีความว่า

การสมโภคที่ไม่สมควร อันภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมไม่ได้ในบุคคลนั้น

แต่บุคคลนั้น อันภิกษุณีผู้มารดาเท่านั้น ย่อมได้เพื่อทำการเลี้ยงดูด้วยอาการ

ให้อาบน้ำและให้บริโภคเป็นต้น .

สองบทว่า อวิปฺปวาเสน อนาปตฺติ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติ

เพราะนอนร่วมเรือน (แก่ภิกษุณี).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 949

หลายบทว่า ปญฺหา เมสา กุสเลหิ จินฺติตา มีความว่า ปัญหา

ข้อนี้ อันผู้ฉลาดคือบัณฑิตทั้งหลาย คิดกันแล้ว.

คำตอบปัญหานั้น พึงทราบด้วยภิกษุณีผู้เป็นมารดาของทารก.

จริงอยู่ คำตอบนั้น ตรัสหมายถึงบุตรของภิกษุณีนั้น.

คาถาว่าด้วยของไม่ควรจำหน่าย ตรัสหมายถึงครุภัณฑ์. ก็เนื้อความ

แห่งคาถานั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้ว ในวาระที่วินิจฉัยด้วยภัณฑ์.

หลายบทว่า ทส ปุคฺคเล น วทามิ มีความว่า ข้าพเจ้าไม่กล่าว

ถึงบุคคล ๑๐ จำพวก ที่กล่าวแล้วในเสนาสนขันธกะ.

หลายบทว่า เอกาทส วิวชฺชิย มีความว่า มิได้กล่าวถึงบุคคลควร

เว้น ๑๑ จำพวก ที่ได้กล่าวแล้วในมหาขันธกะ. ปัญหานี้ตรัสหมายถึงภิกษุผู้

เปลือยกาย.

ปัญหาที่ว่า กถ นุ สิกฺขาย อสาธารโณ นี้ ตรัสหมายถึง

ภิกษุผู้เคยเป็นช่างโกนผม. จริงอยู่ ภิกษุผู้เคยเป็นช่างโกนผมนี้ ไม่ได้เพื่อ

รักษามีดโกนไว้. แต่ภิกษุเหล่าอื่น ย่อมได้; เพราะเหตุนั้นภิกษุผู้เคยเป็นช่าง

โกนผม จึงชื่อว่าผู้ไม่ทั่วไม่เฉพาะสิกขา.

ปัญหาที่ว่า ต ปุคฺคล กตม วทนฺติ พุทฺธา นี้ ตรัสหมายถึง

พระพุทธนิรมิต.

สองบทว่า อโธนาภึ วิวชฺชิย มีความว่า เว้นภายใต้สะดือเสีย.

ปัญหานี้ตรัสหมายถึงตัวกพันธะ ไม่มีศีรษะ ที่มีตาและปากอยู่ที่อก.

๑. ตัวกะพันธะ เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ซึ่งจัดเข้าในพวกอมนุษย์ ท่านว่าเป็น สัตว์ อยู่คงกระพัน

ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก. ทำนองเดียวกับตัวเวตาลกระมัง คำว่าอยู่คงกระพัน ก็ออกมาจากคำนี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 950

ปัญหาที่ว่า ภิกขุ สญฺาจิกาย กุฏึ นี้ ตรัสหมายถึงกุฎีมีหญ้า

เป็นเครื่องมุง.

ปัญหาที่ ๒ กล่าวหมายถึงกุฎีที่แล้วด้วยดินล้วน.

ปัญหาที่ว่า อาปชฺเชยฺย ครุก เฉชฺชวตฺถุ นี้ ตรัสหมายถึง

ภิกษุณีผู้ปิดโทษ.

ปัญหาที่ ๒ ตรัสหมายถึงอภัพบุคคล มีบัณเฑาะก์เป็นต้น. จริงอยู่

อภัพบุคคลเหล่านั่น ทั้ง ๑๑ จำพวก ต้องปาราชิกในเพศคฤหัสถ์แล้วแท้.

บทว่า วาจา ได้แก่ ไม่บอกวาจา.

หลายบทว่า คิร โน จ ปเร ภเณยฺย มีความว่า ภิกษุไม่พึง

เปล่งแม้ซึ่งสำเนียงด่าบุคคลเหล่าอื่น ด้วยหมายว่า ชนเหล่านี้ จักฟังอย่างนี้

ปัญหานี้ ตรัสหมายถึงมุสาวาทนี้ว่า ภิกษุใด ไม่พึงเปิดเผยอาบัติซึ่งมีอยู่

สัมปชานมุสาวาททุกกฏ ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น จริงอยู่ ธรรมดาอาบัติในมโนทวาร

ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้นั่งนิ่งด้วยปฏิญญาไม่เป็นธรรม แต่เพราะเหตุที่ไม่เปิด

เผยอาบัติ ซึ่งควรเปิดเผย อาบัตินี้ พึงทราบว่า เกิดแต่การไม่กระทำใน

วจีทวารของภิกษุนั้น.

ปัญหาที่ว่า สงฺฆาทิเสสา จตุโร นี้ ตรัสหมายถึงภิกษุณีผู้ก้าวลง

สู่ฝั่งแม่น้ำ ที่นับเนื่องในละแวกบ้าน ในเวลาอรุณขึ้น. จริงอยู่ ภิกษุณีนั้น

แต่พอออกจากบ้านของตน ในเวลาใกล้รุ่ง ก้าวลงสู่ฝั่งแม่น้ำ ซึ่งมีประการ

ดังกล่าวแล้ว ในเวลาอรุณขึ้น ย่อมต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๔ ตัว ซึ่งกำหนด

ด้วยการอยู่ปราศจากเพื่อนตลอดราตรี ไปสู่ละแวกบ้านตามลำพัง ไปสู่ฝั่ง

แม่น้ำตามลำพัง ล้าหลังพวกไปคนเดียว พร้อมกันทีเดียว.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 951

ปัญหาที่ว่า สิยา อาปตฺติโย นานา นี้ ตรัสหมายถึงภิกษุณี ๒

รูป ผู้อุปสมบท แต่สงฆ์ฝ่ายเดียว. จริงอยู่ ในภิกษุณี ๒ รูปนั้นเป็นปาจิตตีย์

แก่ภิกษุผู้รับ (จีวร) จากมือภิกษุณี ผู้อุปสมบท ในสำนักภิกษุทั้งหลายฝ่าย

เดียว. เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้รับจากมือภิกษุณี ผู้อุปสมบท ในสำนักภิกษุณี

ทั้งหลายฝ่ายเดียว.

หลายบทว่า จตุโร ชนา สวิธาย มีความว่า อาจารย์ ๑ และ

อันเตวาสิก ๓ ลักภัณฑะ ๖ มาสก. คือ ของอาจารย์ ลักด้วยมือของตนเอง

๓ มาสก สั่งให้ลักอีก ๓ มาสก เพราะฉะนั้น อาจารย์ต้องถุลลัจจัย. ฝ่ายของ

พวกอันเตวาสิก ลักด้วยมือของตนเองรูปละ ๑ มาสก สั่งให้ลักรูปละ ๕ มาสก

เพราะเหตุฉะนี้นั้น อันเตวาสิกทั้ง ๓ จึงต้องปาราชิกด้วยประการอย่างนี้.

ความย่อในคาถานี้เท่านี้. ส่วนความพิสดาร ได้กล่าวไว้แล้ว ในสังวิธาวหาร-

วัณณนา ในอทินนาทานปาราชิก.

ปัญหาที่ว่า ฉิทฺท ตสฺมึ ฆเร นตฺถิ นี้ ตรัสหมายถึงกุฎีที่บัง

ด้วยผ้าเป็นต้น และวัตถุที่กำหนดเป็นเครื่องลาดได้.

คาถาว่า เตล มธุ ผาณิต ตรัสหมายถึงความกลับเพศ

คาถาว่า นิสฺสคฺคิเยน ตรัสหมายถึงการน้อมลาภสงฆ์. จริงอยู่

ภิกษุใด น้อมจีวร ๒ ผืน จากลาภที่เขาน้อมไปแล้วเพื่อสงฆ์ คือ จีวรผืน ๑

เพื่อตน ผืน ๑ เพื่อภิกษุอื่น ด้วยประโยคอันเดียวว่า ท่านจงให้แก่ข้าพเจ้า

ผืน ๑ แก่ภิกษุนั้นผืน ๑. ภิกษุนั้นต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ และสุทธิกปาจิตตีย์

พร้อมกัน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 952

ปัญหาที่ว่า กมฺมญฺจ ต กุปฺเปยฺย วคฺคปจฺจยา นี้ ตรัสหมาย

ถึงคามสีมา ในนครทั้งหลาย มีกรุงพาราณสีเป็นต้น ซึ่งมีประมาณ ๑๒ โยชน์.

คาถาว่า ปทวีติหารมตฺเตน ตรัสหมายเอาการชักสื่อ ก็เนื้อความ

แห่งคาถานั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ในวัณณนาแห่งสัญจริตสิกขาบทนั่นแล.

ปัญหาที่ว่า สพฺพานิ ตานิ นิสฺสคฺคิยานิ นี้ ตรัสหมายถึงการ

ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซัก, จริงอยู่ แม้ถ้าว่า ภิกษุณีถือเอามุมไตรจีวร ซึ่ง

กาขี้รดเปื้อนโคลนซักด้วยน้ำ ไตรจีวรที่อยู่ในกายของภิกษุนั่นแล เป็น

นิสสัคคีย์.

หลายบทว่า สรณคมนมฺปิ น จ ตสฺส อตฺถิ มีความว่า แม้

การอุปสมบทด้วยสรณคมน์ ก็ไม่มี. ปัญหานี้ ตรัสหมายถึงการอุปสมบท

ของพระนางมหาปชาบดี.

บาทคาถาว่า หเนยฺย อนริย มนฺโท มีความว่า คนเขลาพึง

ฆ่าบุคคลแม้นั้น เป็นหญิงก็ตาม เป็นชายก็ตาม ซึ่งไม่ใช่พระอริยบุคคล.

ปัญหานี้ ตรัสหมายถึงบิดาซึ่งกลายเป็นหญิง และมารดาซึ่งกลายเป็นชาย

เพราะเพศกลับ.

ปัญหาที่ว่า น เตนานนฺตร ผุเส นี้ ตรัสหมายถึงมารดาบิดา

เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ดั่งมารดาของมิคสิงคดาบส และบิดาของสีหกุมารเป็นต้น.

คาถาว่า อโจทยิตฺวา ตรัสหมายถึงการอุปสมบทด้วยทูต.

คาถาว่า โจทยิตฺวา ตรัสหมายถึงการอุปสมบทของอภัพบุคคล มี

บัณเฑาะก์เป็นต้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 953

แต่คำที่มาในกุรุนทีว่า คาถาที่ ๑ ตรัสหมายถึงกรรมไม่พร้อมหน้า

๘ อย่าง ที่ ๒ ตรัสหมายถึงกรรมของภิกษุผู้ไม่มีอาบัติ.

สองบทว่า ฉินฺทนฺตสฺส อนาปตฺติ ได้แก่ เป็นปาราชิก แก่

ภิกษุผู้ตัดหญ้าและเถาวัลย์ เป็นถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้ตัดองคชาต.

สองบทว่า ฉินฺทนฺตสฺส อนาปตฺติ คือ ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุ

ผู้ปลงผมและตัดเล็บ.

บทว่า ฉาเทนฺตสฺส คือ เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ปิดอาบัติ.

บทว่า อนาปตฺติ คือ ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้มุงเรือนเป็นต้น.

วินิจฉัยในคาถาว่า สจฺจ ภณนฺโต พึงทราบดังนี้ :-

ภิกษุพูดคำจริง กะสตรีผู้มีหงอน และคนกะเทยว่า เธอมีหงอน เธอ

มี ๒ เพศ ดังนี้ ย่อมต้องครุกาบัติ. แต่เป็นลหุกาบัติ แก่ภิกษุผู้กล่าวเท็จ

เพราะสัมปชานมุสาวาท. เมื่อกล่าวเท็จ เพราะอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีจริง

ต้องครุกาบัติ. เป็นลหุกาบัติ แก่ภิกษุผู้พูดจริง เพราะอวดอุตริมนุสธรรม

ที่มีจริง.

คาถาว่า อธิฏฺิต ตรัสหมายถึงภิกษุผู้ไม่สละก่อน บริโภคจีวรที่

เป็นนิสสัคคีย์.

คาถาว่า อตฺถงฺคเต สุริเย ตรัสหมายถึงภิกษุผู้มักอ้วก.

คาถาว่า น รตฺตจิตฺโต มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุมีจิตกำหนัด ต้องเมถุนธรรมปาราชิก มีเถยยจิต ต้องอทินนา-

ทานปาราชิก ยังผู้อื่นไห้จงใจเพื่อตาย ต้องมนุสสวิคคหปราชิก. แต่ภิกษุผู้

ทำลายสงฆ์ มิใช่ผู้มีจิตกำหนัดและมิใช่ผู้มีเถยยจิต ทั้งเธอหาได้ชักชวนผู้อื่น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 954

เพื่อตายไม่เลย. แต่ความขาดย่อมมี คือเป็นปาราชิก แก่เธอผู้ให้สลาก. เป็น

ถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้รับสลาก คือ ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์.

ปัญหาที่ว่า คจฺเฉยฺย อฑฺฒโยชน นี้ ตรัสหมายถึงโคนต้นไม้ของ

สกุลหนึ่ง เช่นต้นไทรที่งามสล้าง.

คาถาว่า กายิกานิ ตรัสหมายถึงภิกษุผู้จับรวบเส้นผมหรือนิ้วมือ

ของหญิงมากคนด้วยกัน.

คาถาว่า วาจสิกานิ นี้ ตรัสหมายถึงภิกษุผู้กล่าวคำชั่วหยาบโดยนัย

เป็นต้นว่า เธอทุกคนมีหงอน.

หลายบทว่า ติสฺสิตฺถิโย เมถุน ต น เสเว มีความว่าไม่ได้

เสพเมถุนแม้ในหญิง ๓ จำพวกที่ตรัสไว้.

สองบทว่า ตโย ปุริเส มีความว่า จะได้เข้าหาชายทั้ง ๓ จำพวก

แล้วเสพเมถุน ก็หาไม่.

สองบทว่า ตโย จ อนริยปณฺฑเก มีความว่า จะได้เข้าหาชน

๖ จำพวกแม้เหล่านี้ คือ คนไม่ประเสริฐ ๓ จำพวก กล่าวคืออุภโตพยัญชนก

และบัณเฑาะก์ ๓ จำพวก แล้วเสพเมถุน ก็หาไม่.

สองบทว่า น จาจเร เมถุน พฺยญฺชนสฺมึ มีความว่า ประพฤติ

เมถุนแม้ด้วยอำนาจอนุโลมปาราชิก ก็หาไม่.

ข้อว่า พึงมีความขาดเพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ได้แก่ พึงเป็น

ปาราชิก เพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ปัญหาดังว่ามานี้ ตรัสหมายถึงอัฏฐวัตถุ-

กปาราชิก (ของภิกษุณี). จริงอยู่ ย่อมมีความขาดเพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัย

แก่ภิกษุณีนั้น ผู้พยายามอยู่ เพื่อถึงความเคล้าคลึงด้วยกายอันเป็นบุพภาค

แห่งเมถุนธรรม.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 955

คาถาว่า มาตร จีวร นี้ ตรัสหมายถึงการเตือนให้เกิดสติเพื่อได้

ผ้าวัสสิกสาฏิก ในเวลาหลังสมัย.

ก็แลวินิจฉัยแห่งคาถานั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ในวัณณนาแห่ง

วัสสิกสาฏิกสิกขาบทนั่นแล.

คาถาว่า กุทฺโธ อาราธโก โหติ ตรัสหมายถึงวัตรของเดียรถีย์.

ความพิสดารแห่งคำนั้น ตรัสแล้วในติตถิยวัตรนั่นเองว่า อัญเดียรถีย์ผู้บำเพ็ญ

วัตร เมื่อคุณของพวกเดียรถีย์ อันชนอื่นสรรเสริญอยู่ โกรธแล้ว ย่อมเป็น

ผู้ยังภิกษุทั้งหลายให้ยินดี. เมื่อคุณแห่งรัตนตรัยอันชนอื่นสรรเสริญอยู่ โกรธ

แล้ว ย่อมเป็นผู้อันภิกษุทั้งหลายพึงติเตียน.

แม้คาถาที่ ๓ ก็ตรัสหมายถึงติตถิยวัตรนั้นแล.

คาถาว่า สงฺฆาทิเสส เป็นต้น ตรัสหมายถึงภิกษุณี ผู้กำหนัดรับ

บิณฑบาต จากมือของบุรุษผู้กำหนัดแล้ว คลุกกับเนื้อมนุษย์ กระเทียม โภชนะ

ประณีต และอกัปปิยมังสะที่เหลือ แล้วกลืนกิน.

คาถาว่า เอโก อนุปสมฺปนฺโน เอโก อุปสมฺปนฺโน เป็นต้น

ตรัสหมายถึงสามเณรผู้ไปในอากาศ. ก็ถ้าว่า ในสามเณร ๒ รูป ๆ หนึ่งเป็น

ผู้นั่งพ้นแผ่นดิน แม้เพียงปลายเส้นผมเดียว ด้วยฤทธิ์. สามเณรนั้นย่อมเป็น

อนุปสัมบันแท้. แม้สงฆ์นั่งในอากาศ ก็ไม่พึงทำกรรมแก่อนุปสัมบันผู้อยู่บน

พื้นดิน. ถ้าทำ, กรรมย่อมกำเริบ.

คาถาว่า อกปฺปกต ตรัสหมายถึงภิกษุผู้มีจีวรอันโจรชิงไป. ก็แม้

วินิจฉัยแห่งคาถานั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว โดยพิสดารในสิกขาบทนั้นแล.

หลายบทว่า น เทติ นปฺปฏิคฺคณฺหาติ มีความว่า แม้ภิกษุณีผู้

ใช้ก็มิได้ให้, ภิกษุณีผู้รับใช้ก็มิได้รับจากมือของภิกษุณีผู้ใช้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 956

หลายบทว่า ปฏิคฺคโห เตน น วิชฺชติ มีความว่า ด้วยเหตุ

นั้นแล ภิกษุณีผู้ใช้ก็หาได้มีการรับจากมือของภิกษุณีผู้ใช้ไม่.

สองบทว่า อาปชฺชติ ครุก มีความว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้นภิกษุณี

ผู้ใช้ ย่อมต้องอาบัติสังฆาทิเสส เพราะเหตุที่ภิกษุณีผู้ที่ตนใช้ไปรับบิณฑบาต

จากมือบุรุษผู้กำหนัด.

สองบทว่า ตญฺจ ปริโภคปจฺจยา มีความว่า ก็แลภิกษุณีผู้ใช้

เมื่อจะต้องอาบัตินั้น ย่อมต้องเพราะการบริโภคของภิกษุณีผู้รับใช้นั้น เป็นปัจจัย

จริงอยู่ ย่อมเป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้ใช้ ในขณะเสร็จการฉันของภิกษุณีผู้รับ

ใช้นั้น

คาถาที่ ๒ ท่านกล่าวหมายถึงการใช้ไปในการรับน้ำและไม้สีฟันของ

ภิกษุณีผู้ใช้นั้นเอง.

หลายบทว่า น ภิกขุนี โน จ ผุเสยฺย วชฺช มีความว่าจริง

อยู่ ภิกษุณีต้องสังฆาทิเสสตัวใดตัวหนึ่ง ใน ๑๗ ตัวแล้ว แม้ปิดไว้ด้วยไม่เอื้อ

เพื่อ ก็ไม่ต้องโทษ คือไม่ต้องอาบัติใหม่อื่น เพราะการปิดเป็นปัจจัย เธอ

ย่อมได้ปักขมานัตต์เท่านั้น เพื่ออาบัติที่ปิดไว้ก็ตาม ไม่ปิดไว้ก็ตาม. ก็แล

บุคคลนี้ แม้จะไม่ใช่ภิกษุณี, แต้ต้องครุกาบัติ มีส่วนเหลือแล้วปิดไว้ ก็ไม่

ต้องโทษ.

ได้ยินว่า ปัญหาที่ว่า ปญฺหา เมสา กุสเลหิ จินฺติตา นี้ ท่าน

กล่าวหมายถึงภิกษุผู้อันสงฆ์ยกวัตร. จริงอยู่ (สงฆ์) ไม่มีวินัยกรรมกับภิกษุ

นั้น, เพราะเหตุนั้น เธอต้องสังฆาทิเสสแล้ว แม้ปิดไว้ก็ไม่ต้องโทษ ฉะนี้แล.

เสทโมจนคาถา วัณณนา จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 957

ปัญจวรรค

กรรมวรรค ที่ ๑

กรรม ๔

[๑,๓๔๐] กรรม ๔ อย่าง คือ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑

ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑

ถามว่า กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการเท่าไร

ตอบว่า กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการ ๕ คือ โดยวัตถุ ๑

โดยญัตติ ๑ โดยอนุสาวนา ๑ โดยสีมา ๑ โดยบริษัท ๑.

วัตถุวิบัติ

[๑,๓๔๑] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยวัตถุ อย่างไร

ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยวัตถุอย่างนี้คือ กรรมที่ควรทำพร้อมหน้า

แต่สงฆ์ทำลับหลัง ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ

กรรมที่ควรสอบถามก่อนทำ แต่สงฆ์ไม่สอบถามก่อนทำ ชื่อว่ากรรม

ไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ

กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา แต่สงฆ์ไม่ทำตามปฏิญญา ชื่อว่ากรรม

ไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม

วิบัติโดยวัตถุ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 958

สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ชื่อว่ากรรมไม่

เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ชื่อว่ากรรม

ไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ทำนิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ชื่อว่ากรรมไม่เป็น

ธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ชื่อว่ากรรมไม่เป็น

ธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ชื่อว่ากรรม

ไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ชื่อว่ากรรม

ไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ให้ปริวาส แก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ชื่อว่ากรรมไม่เป็น

ธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม

วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ชื่อว่ากรรมไม่เป็น

ธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานอุปสมบท ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติ

โดยวัตถุ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 959

สงฆ์ทำอุโบสถในวันมิใช่อุโบสถ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดย

วัตถุ

สงฆ์ปวารณาในวันมิใช่ปวารณา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดย

วัตถุอย่างนี้ กรรมย่อมวิบัติโดยวัตถุ.

ญัตติวิบัติ

[๑,๓๔๒] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติ อย่างไร

ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติ ด้วยอาการ ๕ คือ :-

๑. ไม่ระบุวัตถุ

๒. ไม่ระบุสงฆ์

๓. ไม่ระบุบุคคล

๔. ไม่ระบุญัตติ

๕. ตั้งญัตติภายหลัง

กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติ ด้วยอาการ ๕ นี้.

อนุสาวนาวิบัติ

[๑,๓๔๓] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนา อย่างไร

ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนา ด้วยอาการ ๕ คือ :-

๑. ไม่ระบุวัตถุ

๒. ไม่ระบุสงฆ์

๓. ไม่ระบุบุคคล

๔. ทิ้งญัตติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 960

๕. สวดในกาลไม่ควร

กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนา ด้วยอาการ ๕ นี้.

สีมาวิบัติ

[๑,๓๔๔] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา อย่างไร

ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา ด้วยอาการ ๑๑ อย่าง คือ :-

๑. สมมติสีมาเล็กเกิน

๒. สมมติสีมาใหญ่เกิน

๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด

๔. สมมติสีมาใช้เงาเป็นนิมิต

๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต

๖. ภิกษุอยู่ภายนอกสีมาสมมติสีมา

๗. สมมติสีมาในนที

๘. สมมติสีมาในสมุทร

๙. สมมติสีมาในชาตสระ

๑๐. คาบเกี่ยวสีมาด้วยสีมา

๑๑. ทับสีมาด้วยสีมา

กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา ด้วยอาการ ๑๑ อย่างนี้.

บริษัทวิบัติ

[๑,๓๔๕] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัท อย่างไร

ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่าง คือ :-

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 961

๑. ในกรรมอันสงฆ์ จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เช้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุ

อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๒. ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๓. ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อม

หน้ากันคัดค้าน

๔. ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๕. ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๖. ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๗. ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 962

๘. ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๙. ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๑๐. ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๑๑. ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๑๒. ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน.

กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัท ด้วยอาการ ๑๒ นี้

กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำเป็นต้น

[๑,๓๔๖] ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็น

ผู้เข้ากรรม ปกตัตตะนอกนั้น เป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด

ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 963

ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๕ รูป เป็นผู้เข้า

กรรม ปกตัตตะนอกนั้น เป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุ

นั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม

ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๑๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม

ปกตัตตะนอกนั้น เป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่

เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม

ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม

ปกตัตตะนอกนั้น เป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่

เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม.

กรรม ๔

[๑,๓๔๗] กรรม ๔ คือ ๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม ๓.

ญัตติทุติยกรรม ๔. ญัตติจตุตถกรรม

ถามว่า กรรม ๔ นี้ ย่อมวิบัติ โดยอาการเท่าไร

ตอบว่า กรรม ๔ นี้ ย่อมวิบัติ โดยอาการ ๕ คือ :-

๑. โดยวัตถุ

๒. โดยญัตติ

๓. โดยอนุสาวนา

๔. โดยสีมา

๕. โดยบริษัท.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 964

วัตถุวิบัติ

[๑,๓๔๘] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยวัตถุ อย่างไร

ตอบว่า สงฆ์ให้บัณเฑาะก์อุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติ

โดยวัตถุ

สงฆ์ให้คนไถยสังวาสอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ให้คนผู้เข้ารีตเดียรถีย์อุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติ

โดยวัตถุ

สงฆ์ให้ดิรัจฉานอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ให้คนผู้ฆ่ามารดาอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ให้คนผู้ฆ่าบิดาอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ให้คนผู้ฆ่าพระอรหันต์อุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติ

โดยวัตถุ

สงฆ์ให้คนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม

วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ให้คนผู้ทำลายสงฆ์อุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดย

วัตถุ

สงฆ์ให้คนผู้ยังพระโลหิตห้ออุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติ

โดยวัตถุ

สงฆ์ให้คนผู้สองเพศอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ

สงฆ์ให้คนผู้มีอายุหย่อน ๒๐ ปีอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม

วิบัติโดยวัตถุ

อย่างนี้ กรรมย่อมวิบัติโดยวัตถุ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 965

ญัตติวิบัติ

[๑,๓๔๙] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติ อย่างไร

ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติ ด้วยอาการ ๕ คือ :-

๑. ไม่ระบุวัตถุ

๒. ไม่ระบุสงฆ์

๓. ไม่ระบุบุคคล

๔. ไม่ระบุญัตติ

๕. ตั้งญัตติภายหลัง

กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติ ด้วยอาการ ๕ นี้.

อนุสาวนาวิบัติ

[๑,๓๕๐] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาอย่างไร

ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนา ด้วยอาการ ๕ คือ :-

๑. ไม่ระบุวัตถุ

๒. ไม่ระบุสงฆ์

๓. ไม่ระบุบุคคล

๔. ทิ้งญัตติ

๕. สวดในกาลไม่ควร

กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนา ด้วยอาการ ๕ นี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 966

สีมาวิบัติ

[๑,๓๕๑] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาอย่างไร

ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา ด้วยอาการ ๑๑ อย่าง คือ :-

๑. สมมติสีมาเล็กเกิน

๒. สมมติสีมาใหญ่เกิน

๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด

๔. สมมติสีมาใช้เงาเป็นนิมิต

๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต

๖. ภิกษุอยู่ภายนอกสีมาสมมติสีมา

๗. สมมติสีมาในนที

๘. สมมติสีมาในสมุทร

๙. สมมติสีมาในชาตสระ

๑๐. คาบเกี่ยวสีมาด้วยสีมา

๑๑. ทับสีมาด้วยสีมา

กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา ด้วยอาการ ๑๑ อย่างนี้.

บริษัทวิบัติ

[๑,๓๕๒] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติ โดยบริษัทอย่างไร

ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัท ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง คือ :-

๑. ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน

เท่าไร พวกเธอยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้า

กันคัดค้าน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 967

๒. ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน

เท่าไร พวกเธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้า

กันคัดค้าน

๓. ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน

เท่าไร พวกเธอมาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้า

กันคัดค้าน

๔. ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมี

จำนวนเท่าไร พวกเธอยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๕. ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๖. ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๗. ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๘. ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 968

๙. ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๑๐. ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๑๑. ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

๑๒. ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มี

จำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่

พร้อมหน้ากันคัดค้าน

กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัท ด้วยอาการ ๑๒ นี้.

อปโลกนกรรมเป็นต้น

[๑,๓๕๓] ถามว่า อปโลกนกรรมถึงฐานะเท่าไร ญัตติกรรมถึงฐานะ

เท่าไร ญัตติทุติยกรรมถึงฐานะเท่าไร ญัตติจตุตถกรรมถึงฐานะเท่าไร

ตอบว่า อปโลกนกรรมถึงฐานะ ๕ อย่าง ญัตติกรรมถึงฐานะ ๙ อย่าง

ญัตติทุติยกรรมถึงฐานะ ๗ อย่าง ญัตติจตุตถกรรมถึงฐานะ ๗ อย่าง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 969

ฐานะแห่งอปโลกนกรรม

[๑,๓๕๔] ถามว่า อปโลกนกรรมถึงฐานะ ๕ เป็นไฉน

ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา ภัณฑุกรรม พรหมทัณฑ์ ทั้งกรรม

ลักษณะเป็นคำรบ ๕ อปโลกนกรรมถึงฐานะ ๕ นี้.

ฐานะแห่งญัตติกรรม

[๑,๓๕๕] ถามว่า ญัตติกรรมถึงฐานะ ๙ เป็นไฉน

ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา อุโบสถ ปวารณา สมมติ การให้

การรับ การเลื่อนปวารณาออกไป ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๙ ญัตติกรรม

ถึงฐานะ ๙ นี้.

ฐานะแห่งญัตติทุติยกรรม

[๑,๓๕๖] ถามว่า ญัตติทุติยกรรม ถึงฐานะ ๗ อย่าง เป็นไฉน

ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ การถอน การแสดง

ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗ ญัตติทุติยกรรมถึงฐานะ ๗ นี้.

ฐานะแห่งญัตติจตุตถกรรม

[๑,๓๕๗] ถามว่า ญัตติจตุตถกรรม ถึงฐานะ ๗ อย่าง เป็นไฉน

ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ นิคคหะ สมนุภาสน์

ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗ ญัตติจตุตถกรรมถึงฐานะ ๗ นี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 970

กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำเป็นต้น

[๑,๓๕๘] ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็น

ผู้เข้ากรรม ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุ

นั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม

ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๕ รูป เป็นผู้เข้ากรรม

ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็น

ผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม

ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๑๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม

ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่

เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม

ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒ รูป เป็นผู้เข้า

กรรม ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้น

ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม.

กรรมวรรคที่ ๑ จบ

อรรถวสวรรคที่ ๒

ทรงบัญญัติสิกขาบท

[๑,๓๕๙] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจ ๒

ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 971

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการ คือ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็น

ที่รัก ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการ คือ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะ

อันจักบังเกิดในอนาคต ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการ คือ เพื่อป้องกันเวรอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดเวรอันจัก

บังเกิดในอนาคต ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการ คือ เพื่อป้องกันโทษอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดโทษอัน

จักบังเกิดในอนาคต ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 972

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการ คือ เพื่อป้องกันภัยอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดภัยอันจัก

บังเกิดในอนาคต ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการ คือ เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด

อกุศลธรรมอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการ คือ เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ ๑ เพื่อเข้าไปตัดฝักฝ่ายของพวกภิกษุ

ผู้มีความปรารถนาลามก ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการ คือ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใส

ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 973

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการ คือ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒

ประการนี้.

อรรถวสวรรค ที่ ๒ จบ

ปัญญัติวรรคที่ ๓

ทรงบัญญัติปาติโมกข์เป็นต้น

[๑,๓๖๐] พระตถาคตทรงบัญญัติปาติโมกข์แก่สาวก อาศัยอำนาจ

ประโยชน์ ๒ ประการ . . . ทรงบัญญัติปาติโมกขุทเทศ ทรงบัญญัติการงด

ปาติโมกข์ ทรงบัญญัติปวารณา ทรงบัญญัติการงดปวารณา ทรงบัญญัติ

ตัชชนียกรรม ทรงบัญญัตินิยสกรรม ทรงบัญญัติปัพพาชนียกรรม ทรงบัญญัติ

ปฏิสารณียกรรม ทรงบัญญัติอุกเขปนียกรรม ทรงบัญญัติการให้ปริวาส ทรง

บัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม ทรงบัญญัติการให้มานัต ทรงบัญญัติอัพภาน

ทรงบัญญัติโอสารนียกรรม ทรงบัญญัตินิสสารนียกรรม ทรงบัญญัติการ

อุปสมบท ทรงบัญญัติอปโลกนกรรม ทรงบัญญัติญัตติกรรม ทรงบัญญัติ

ญัตติทุติยกรรม ทรงบัญญัติญัตติจตุตถกรรม.

ปัญญัติวรรค ที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 974

ปัญญัติวรรค ที่ ๔

[๑,๓๖๑] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทที่ยังมิได้บัญญัติ ทรง

บัญญัติเพิ่มเติมสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ทรง

บัญญัติสติวินัย ทรงบัญญัติอมูฬหวินัย ทรงบัญญัติปฏิญญาตกรณะ ทรงบัญญัติ

เยภุยยสิกา ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา ทรงบัญญัติติณวัตถารกะ คือ เพื่อ

ความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการ คือ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุมีศีลเป็น

ที่รัก ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการ คือ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด

อาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการ คือ เพื่อป้องกันเวรอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดเวรอัน

จักบังเกิดในอนาคต ๑

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 975

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการ คือ เพื่อป้องกันโทษอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดโทษ

อันจักบังเกิดในอนาคต ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการ คือ เพื่อป้องกันภัยอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดภัยอันจัก

บังเกิดในอนาคต ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการ คือ เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด

อกุศลธรรมอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการ คือ เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ ๑ เพื่อตัดฝักฝ่ายของผู้ปรารถนาลามก ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการนี้

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 976

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการ คือ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการนี้

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการ คือ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑

พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์

๒ ประการนี้.

ปัญญัติวรรค ที่ ๔ จบ

นวสังคหวรรค ที่ ๕

สังคหะ ๙ อย่าง

[๑,๓๖๒] สังคหะมี ๙ อย่าง คือ วัตถุสังคหะ ๑ วิบัติสังคหะ ๑

อาบัติสังคหะ ๑ นิทานสังคหะ ๑ บุคคลสังคหะ ๑ ขันธสังคหะ ๑ สมุฏฐาน-

สังคหะ ๑ อธิกรณสังคหะ ๑ สมถสังคหะ ๑.

ให้บอกเรื่อง

[๑,๓๖๓] เมื่ออธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ถ้าคู่ความทั้งสองมาถึง สงฆ์พึง

ให้ทั้งสองบอกเรื่อง ครั้นแล้วพึงฟังปฏิญญาทั้งสอง แล้วพึงพูดกะคู่ความทั้ง

สองว่า เมื่อพวกเราระงับอธิกรณ์นี้แล้ว ท่านทั้งสองจักยินดี หรือ ถ้าทั้งสอง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 977

รับว่า ข้าพเจ้าทั้งสองจักยินดี สงฆ์พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้ ถ้าบริษัทมีอลัชชีมาก

สงฆ์พึงระงับด้วยอุพพาหิกา ถ้าบริษัทมีคนพาลมาก สงฆ์พึงแสวงหาพระวินัย-

ธร อธิกรณ์นั้นจะระงับ โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ใด สงฆ์พึง

ระงับอธิกรณ์นั้น โดยอย่างนั้น.

พึงรู้วัตถุเป็นต้น

[๑,๓๖๔] พึงรู้วัตถุ พึงรู้โคตร พึงรู้ชื่อ พึงรู้อาบัติ

คำว่า เมถุนธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า อทินนาทาน เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า มนุสสวิคคหะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า อุตริมนุสธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า สุกกวิสัฏฐิ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า กายสังสัคคะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า ทุฏฐุลลวาจา เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 978

คำว่า อัตตกาม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า สัญจริตตะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า ให้ทำกุฎีด้วยอาการขอเอาเอง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า ให้ทำวิหารใหญ่ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกไม่มีมูล เป็น

ทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า ถือเอาเอกเทศบางอย่างแห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้

เป็นเพียงเลศ แล้วตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก เป็นทั้ง

วัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า การที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุ-

ภาสน์ครบ ๓ จบ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า การที่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์

ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ เป็นทั้งวัตถุ เป็น

ทั้งโคตร

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 979

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า การที่ภิกษุผู้ว่ายากไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์

ครบ ๓ จบ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า การที่ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลไม่สละกรรม เพราะสวด

สมนุภาสน์ครบ ๓ จบ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

คำว่า การอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อถ่ายอุจจาระปัสสาวะหรือ

บ้วนเขฬะลงในน้ำ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

คำว่า ทุกกฏ เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติแล.

นวสังคหวรรค ที่ ๕ จบ

หัวข้อประจำวรรค

[๑,๓๖๕] อปโลกนกรรม ๑ ญัตติ-

กรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม

๑ วัตถุ ๑ ญัตติ ๑ อนุสาวนา ๑ สีมา ๑

บริษัท ๑ พร้อมหน้า ๑ สอบถาม ๑ ปฏิญญา

๑ ควรสติวินัย ๑ วัตถุ ๑ สงฆ์ ๑ บุคคล ๑

ญัตติ ๑ ตั้งญัตติภายหลัง ๑ วัตถุ ๑ สงฆ์ ๑

บุคคล ๑ สวดประกาศ ๑ สวดในกาลไม่ควร

๑ สีมาเล็กเกิน ๑ สีมาใหญ่เกิน ๑ สีมามี

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 980

นิมิตขาด ๑ สีมาใช้เงาเป็นนิมิต ๑ สีมาไม่มี

นิมิต ๑ อยู่นอกสีมาสมมติสีมา ๑ สมมติสีมา

ในนที ๑ ในสมุทร ๑ ในชาตสระ ๑ คาบ

เกี่ยวสีมา ๑ ทับสีมาด้วยสีมา ๑ กรรมอันสงฆ์

จตุวรรคพึงทำ ๑ กรรมอันสงฆ์ปัญจวรรค

พึงทำ ๑ กรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ๑

กรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ๑ ไม่นำฉันทะ

มา ๑ นำฉันทะมา ๑ บุคคลผู้เข้ากรรม ๑

ผู้ควรฉันทะ ๑ ผู้ควรธรรม ๑ อปโลกน-

กรรม ๕ สถาน ๑ ญัตติกรรม ๙ สถาน ๑

ญัตติทุติยกรรม ๗ สถาน ๑ ญัตติจตุตถ-

กรรม ๗ สถาน ๑ ความรับว่าดี ๑ ความ

ผาสุก ๑ บุคคลผู้เก้อยาก ๑ ภิกษุมีศีลเป็น

ที่รัก ๑ อาสวะ ๑ เวร ๑ โทษ ๑ ภัย ๑

อกุศลธรรม ๑ คฤหัสถ์ ๑ บุคคลผู้ปรารถ-

นาลามก ๑ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ ชุมชน

ที่เลื่อมใสแล้ว ๑ ความตั้งอยู่แห่งพระสัท-

ธรรม ๑ อนุเคราะห์พระวินัย ๑ ปาติโมกขุ-

เทศ ๑ งดปาติโมกข์ ๑ งดปวารณา ๑

ตัชชนียกรรม ๑ นิยสกรรม ๑ ปัพพาชนิย-

กรรม ๑ ปฏิสารณียกรรม ๑ อุกเขปนียกรรม

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 981

๑ ปริวาส ๑ อาบัติเดิม ๑ มานัต ๑ อัพภาน

๑ โอสารณา ๑ นิสสารณา ๑ อุปสมบท ๑

อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติย-

กรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑ ยังมิได้ทรง

บัญญัติ ๑ ทรงบัญญัติซ้ำ ๑ สัมมุขาวินัย ๑

สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑

เยภุยยสิกา ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ติณวัตถา-

รกะ ๑ วัตถุ ๑ วิบัติ ๑ อาบัติ ๑ นิทาน ๑

บุคคล ๑ ขันธ์ ๑ สมุฏฐาน ๑ อธิกรณ์ ๑

สมถะ ๑ สังคหะ ๑ ชื่อ ๑ และอาบัติ ๑

ดังนี้แล.

คัมภีร์ปริวาร จบ

คาถาส่งท้าย

[๑,๓๖๖] ก็พระวินัยธร ผู้เรืองนาม

มีปัญญามาก ทรงสุตะ มีวิจารณญาณ สอบ

สวนแนวทางของท่านบุรพาจารย์ในที่นั้น ๆ

แล้วคิดเขียนข้อพิสดาร และสังเขปนี้ในสาย

กลาง ตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งจะนำความ

สะดวกมาให้แก่เหล่าศิษย์ คัมภีร์นี้เรียกว่า

ปริวาร มีทุกเรื่องพร้อมทั้งลักษณะ มีอรรถ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 982

โดยอรรถในสัทธรรม มีธรรมโดยธรรมใน

บัญญัติ ห้อมล้อมพระศาสนาดุจสาครล้อม

รอบชมพูทวีป ฉะนั้น

พระวินัยธรเมื่อไม่รู้คัมภีร์ปริวาร

ไฉนจะวินิจฉัยโดยธรรมได้ ความเคลือบ-

แคลงของพระวินัยธรใดที่เกิดในวิบัติ วัตถุ

บัญญัติ อนุบัญญัติ บุคคล เอกโตบัญญัติ

อุภโตบัญญัติ โลกวัชชะ และปัณณัตติวัชชะ

ย่อมขาดสิ้นไปด้วยคัมภีร์ปริวาส พระเจ้า

จักรพรรดิ สง่างามในกองทัพใหญ่ฉันใด

ไกรสรสง่างามในท่ามกลางฝูงมฤคฉันใด

พระอาทิตย์แผ่ซ่านด้วยรัศมี ย่อมสง่างาม

ฉันใด พระจันทร์สง่างามในหมู่ดาราฉันใด

พระพรหมสง่างามในหมู่พรหมฉันใด ท่านผู้

นำสง่างามในท่ามกลางหมู่ชนฉันใด พระ-

สัทธรรมวินัยย่อมงามสง่าด้วยคัมภีร์ปริวาร

ฉันนั้นแล.

พระวินัยปิฎก จบบริบูรณ์

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 983

ปัญจวัคควัณณนา

วินิจฉัยในกัมมวรรค พึงทราบดังนี้ :-

ความแตกต่างกันแห่งกรรม ๔ อย่าง ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในสมถขันธ-

กะแล. แม้ได้กล่าวแล้วก็จริง ถึงกระนั้น กรรมวินิจฉัยนี้ เมื่อได้กล่าวมา

ตั้งแต่ต้น ย่อมเป็นวินิจฉัยที่ชัดเจน, เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวข้อที่ควร

กล่าว ในกัมมวรรคนี้ จำเดิมแต่ต้นทีเดียว.

คำว่า จตฺตาริ นี้ เป็นคำบอกกำหนดจำนวนแห่งกรรมทั้งหลาย.

คำว่า กมฺมานิ เป็นคำชี้กรรมที่กำหนดไว้แล้ว.

[ความต่างแห่งกรรม ๔]

กรรมที่ต้องยังสงฆ์ผู้ตั้งอยู่ในสีมาให้หมดจด นำฉันทะของภิกษุผู้ควร

ฉันทะมา สวดประกาศ ๓ ครั้ง ทำตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ชื่อว่า

อปโลกนกรรม.

กรรมที่ต้องทำด้วยญัตติอย่างเดียว ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง

ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่าญัตติกรรม.

กรรมที่ต้องทำด้วยอนุสาวนา มีญัตติเป็นที่ ๒ อย่างนี้ คือ ญัตติ ๑

อนุสาวนา ๑ ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล

ชื่อว่าญัตติทุติยกรรม.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 984

กรรมที่ต้องทำด้วยอนุสาวนา ๓ มีญัตติเป็นที่ ๔ อย่างนี้ คือ ญัตติ ๑

อนุสาวนา ๓ ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล

ชื่อว่าญัตติจตุตถกรรม.

บรรดากรรมเหล่านั้น อปโลกนกรรม พึงทำเพียงอปโลกน์, ไม่

ต้องทำด้วยอำนาจญัตติกรรมเป็นต้น. อนึ่ง ญัตติกรรม พึงทำตั้งญัตติอย่าง

เดียว, ไม่ต้องทำด้วยอำนาจอปโลกนกรรมเป็นต้น.

ส่วนญัตติทุติยกรรม ที่ต้องอปโลกน์ทำก็มี ไม่ต้องอปโลกน์ทำก็มี.

ใน ๒ อย่างนั้น กรรมหนัก ๖ อย่างนี้ คือ สมมติสีมา ถอนสีมา ให้ผ้า-

กฐิน รื้อกฐิน แสดงที่สร้างกุฎี แสดงที่สร้างวิหาร ไม่ควรอปโลกน์ทำ; พึง

สวดญัตติทุติยกรรมวาจาทำเท่านั้น.

กรรมเบาเหล่านี้ คือ สมมติ ๑๓ ที่เหลือ และสมมติมีการให้ถือ

เสนาสนะและให้มฤดกจีวรเป็นต้น ควรเพื่อทำทั้งอปโลกน์.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "แต่ญัตติทุติยกรรมนั้น ไม่ควรทำด้วยอำ-

นาจญัตติกรรมและญัตติจตุตถกรรมแท้. เมื่อทำด้วยอำอาจญัตติจตุตถกรรม

ย่อมเป็นกรรมมั่นคงกว่า; เพราะเหตุนั่น ควรทำ." คำของพระอาจารย์พวกนั้น

ได้ถูกค้านแล้วเสียว่า "ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ความสังกระแห่งกรรมย่อมมี เพราะ

เหตุนั้น จึงไม่ควรทำ."

ก็ถ้าว่า กรรมนั้นเสียโดยอักขระก็ดี เสียโดยบทก็ดี มีบทที่สวดไม่ชัด

ก็ดีไซร์, การที่สวดซ้ำ ๆ เพื่อชำระกรรมนั้นก็ควร. การสวดซ้ำ ๆ นี้ เป็น

ทัฬหีกรรมของกรรมที่ไม่กำเริบ, คงคืนเป็นกรรมในกรรมที่กำเริบ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 985

ญัตติจตุตถกรรม ต้องทำทั้งสวดญัตติและกรรมวาจา ๓ ไม่พึงทำด้วย

อำนาจกรรมอื่น มีอปโลกนกรรมเป็นต้น

หลายบทว่า ปญฺจหากาเรหิ วิปชฺชนฺติ มีความว่า กรรม ๔ นี้

ย่อมวิบัติโดยเหตุ ๕ ประการ.

[กรรมวิบัติโดยวัตถุ]

ในข้อว่า กรรมที่ควรทำพร้อมหน้า สงฆ์ทำไม่พร้อมหน้า กรรมไม่

เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ นี้ กรรมที่ควรทำพร้อมหน้าก็มี กรรมที่ควรทำ

ไม่พร้อมหน้าก็มี. ใน ๒ อย่างนั้น ขึ้นชื่อว่ากรรมที่ควรทำไม่พร้อมหน้ามี ๘

อย่าง คือ อุปสมบทด้วยทูต คว่ำบาตร หงายบาตร อุมมัตตกสมมติ ที่

สงฆ์พึงทำแก่ภิกษุบ้า เสขสมมติแก่สกุลพระเสขะ พรหมทัณฑ์แก่พระฉันน

ภิกษุ ปกาสนียกรรมให้แก่พระเทวทัตต์ อวันทิยกรรมที่ภิกษุณีสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุ

ผู้แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใส. กรรมทั้งปวงนั้น พึงทราบตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าว

แล้วในที่มานั้น ๆ แล. กรรมทั้ง ๘ อย่างนี้ อันสงฆ์ทำแล้วไม่พร้อมหน้า

ย่อมเป็นอันทำด้วยดี ไม่กำเริบ.

กรรมทั้งปวงที่เหลือ ควรทำพร้อมหน้าเท่านั้น, คือ พึงทำให้อิงสัม-

มุขาวินัย ๔ อย่างนี้ คือ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม

ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล.

อันกรรมทั้งปวงที่ทำแล้วด้วยประการอย่างนั้น ย่อมเป็นอันทำดีแล้ว.

แต่กรรมเหล่านั้น ที่ไม่ทำอย่างนั้น ย่อมจัดเป็นกรรมวิบัติโดยวัตถุ เพราะ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 986

ทำเว้นวัตถุ กล่าวคือสัมมุขาวินัยนี้เสีย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กรรม

ที่ควรทำพร้อมหน้า สงฆ์ทำไม่พร้อมหน้า กรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ.

แม้ในกรรมทั้งหลาย มีกรรมที่ควรทำด้วยสอบถามเป็นต้น การทำ

กิจมีสอบถามเป็นต้นนั่นแล จัดเป็นวัตถุ. พึงทราบความที่กรรมแม้เหล่านั้น

วิบัติโดยวัตถุ เพราะกระทำเว้นวัตถุนั้นเสีย. แต่ข้อนี้ เป็นเพียงเนื้อความ

เฉพาะคำ ในคำที่ว่า ปฏิปุจฺฉากรณีย เป็นต้น

หลายบทว่า ปฏิปุจฺฉากรณีย อปฺปฏิปุจฺฉา กโรติ มีความว่า

กรรมที่ควรถามแล้วจึงโจท แล้วให้จำเลยให้การกระทำ สงฆ์กระทำไม่ถาม

ไม่โจท ไม่ให้จำเลยให้การเสียเลย.

หลายบทว่า ปฏิญฺาย กรณีย อปฺปฏิญฺาย กโรติ มีความว่า

ว่า กรรมที่ควรยกปฏิญญาเป็นหลัก ทำตามปฏิญญาซึ่งจำเลยให้อย่างไร, สงฆ์

กระทำโดยหักโหม แก่ภิกษุผู้คร่ำคราญบ่นเพ้ออยู่ด้วย ไม่ยอมปฏิญญา

บทว่า สติวินยารหสฺส ได้แก่ พระขีณาสพ เช่นพระทัพพมัลล-

บุตรเถระ.

บทว่า อมูฬฺหวินยารหสฺส ได้แก่ ภิกษุบ้า เช่นคัคคภิกษุ.

บทว่า ตสฺสปาปิยสกากมฺมารหสฺส ได้แก่ ภิกษุผู้มีบาปหนาแน่น

เช่นอุปวาฬภิกษุ.

นัยในบททั้งปวง ก็เช่นนี้แล.

หลายบทว่า อนฺโปสเถ อุโปสถ กโรติ มีความว่า ทำอุโบสถ

ในวันที่มิใช่วันอุโบสถ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 987

วันสามัคคีของสงฆ์ผู้แตกกันและวันที่ ๑๔ และวันที่ ๑๕ ค่ำ (ตามนัย)

ที่กล่าวแล้ว ใน ๑๑ เดือนที่เหลือ เว้นเดือนกัตติกาเสีย ชื่อว่าวันอุโบสถ.

เมื่อทำอุโบสถในวันอื่น เว้นวันอุโบสถทั้ง ๓ ประการอย่างนั้นเสีย

ชื่อว่าท่าอุโบสถในวันมิใช่วันอุโบสถ.

ก็ในวัดใด ภิกษุทั้งหลายวิวาทกันเพราะเหตุเล็กน้อย เพื่อประโยชน์

แก่บริขารมีบาตรและจีวรเป็นต้น จึงงดอุโบสถหรือปวารณาเสีย. เมื่ออธิกรณ์

นั้นวินิจฉัยแล้ว ภิกษุทั้งหลายในวัดนั้นย่อมไม่ได้เพื่อกล่าวว่า พวกเราเป็นผู้

พร้อมเพรียงกัน แล้วทำสามัคคีอุโบสถในวันอันเป็นระหว่าง. เมื่อกระทำ

อุโบสถ ชื่อว่าเป็นอันกระทำในวันมิใช่วันอุโบสถ.

สองบทว่า อปวารณาย ปวาเรติ มีความว่า สงฆ์ปวารณาในวัน

มิใช่วันปวารณา.

วันสามัคคีของสงฆ์ผู้แตกกัน ๑ วันที่สงฆ์เลื่อนไปตั้งไว้ ๑ ในเดือน

กัตติกาเตือนเดียว และวันกลางเดือน ๒ ครั้ง ชื่อว่าวันปวารณา.

เมื่อปวารณาในวันอื่น เว้นวันปวารณาทั้ง ๔ ประการอย่างนี้เสีย

ชื่อว่าปวารณาในวันมิใช่วันปวารณา. แม้ในการปวารณานี้ ภิกษุทั้งหลายย่อม

ไม่ได้เพื่อทำสามัคคีปวารณา ในเพราะวิวาทมีประมาณน้อยระงับลง. เมื่อทำ

ปวารณา ย่อมเป็นอันกระทำในวันมิใช่วันปวารณา.

อีกอย่างหนึ่ง แม้เมื่อสงฆ์ให้อุปสมบทบุคคลผู้มีปีหย่อน ๒๐ หรือ

บุคคลผู้เคยต้องอันติมวัตถุ หรืออภัพบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ในอภัพบุคคล ๑๑

ย่อมเป็นกรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ.

กรรมทั้งหลายย่อมวิบัติโดยวัตถุ ด้วยประการฉะนี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 988

[กรรมวิบัติโดยญัตติ]

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในวิบัติโดยญัตติ ดังต่อไปนี้ :-

สองบทว่า วตฺถุ น ปรามสติ มีความว่า สงฆ์ทำกรรมมีอุปสมบท

เป็นต้นแก่บุคคลเหล่าใด ไม่ระบุบุคคลนั้น คือไม่ระบุชื่อบุคคลนั้น ได้แก่

สวดว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า อุปสัมปทาเปกขะของท่านพุทธ-

รักขิต ในเมื่อควรสวดว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ธัมมรักขิตนี้

เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านพุทธรักขิต ไม่ระบุวัตถุอย่างนี้.

สองบทว่า สงฺฆ น ปรามสติ มีความว่า ไม่ระบุชื่อสงฆ์ คือ

สวดว่า ท่านผู้เจริญ ขอจงฟังข้าพเจ้า ธัมมรักขิตนี้ ดังนี้ ในเมื่อควรสวดว่า

ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ธัมมรักขิตนี้ ไม่ระบุสงฆ์อย่างนี้.

สองบทว่า ปุคฺคล น ปรามสติ มีความว่า ภิกษุใด เป็น อุปัชฌาย์

ของอุปสัมปทาเปกขะ ไม่ระบุภิกษุนั้น คือ ไม่ระบุชื่อของภิกษุนั้น ได้แก่

สวดว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ธัมมรักขิตนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ

ดังนี้ ในเมื่อควรสวดว่า ท่านผู้เจริญ ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ธัมมรักขิตนี้

เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านพุทธรักขิต ไม่ระบุบุคคลอย่างนี้.

สองบทว่า ตฺตึ น ปรามสติ มีความว่า ไม่ระบุญัตติโดย

ประการทั้งปวง คือ ในญัตติทุติยกรรม ไม่ตั้งญัตติ กระทำอนุสาวนากรรม

ด้วยกรรมวาจาเท่านั้น. แม้ในญัตติจตุตถกรรม ก็ไม่ตั้งญัตติ กระทำอนุสาวนา-

กรรม ด้วยกรรมวาจาเท่านั้น ๔ ครั้ง ไม่ระบุญัตติอย่างนี้.

หลายบทว่า ปจฺฉา วา ตฺตึ เปตึ มีความว่า กระทำอนุ-

สาวนากรรม ด้วยกรรมวาจาก่อน แล้วจึงกล่าวว่า เอสา ตฺติ แล้วกล่าว

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 989

ว่า ขมติ สงฺฆสฺส ตสฺมา ตุณฺหี เอวเมต ธารยามิ. ตั้งญัตติภายหลัง

อย่างนี้. กรรมวิบัติโดยญัตติ ด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

[กรรมวิบัติโดยอนุสาวนา]

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในวิบัติโดยอนุสาวนา ดังต่อไปนี้ :-

วัตถุเป็นต้น พึงทราบก่อนตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. ก็การไม่ระบุ

วัตถุเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมมีอย่างนี้ :-

ในอนุสาวนาที่ ๑ ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ ก็ดี ในอนุสาวนา

ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ว่า ทุติยมฺปิ เอตมตฺถิ วทามิ, ตติยมฺปิ เอตมตฺถ วทามิ

สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ ก็ดี เมื่อควรจะสวดต่อว่า อย ธมฺมรกฺขิโต

อายสฺมโต พุทธฺรกฺขิตสฺส อุปสมฺปทาเปกฺโข ภิกษุสวดเสียว่า สุณาตุ

เม ภนฺเต สงฺโฆ, อายสฺมโต พุทธฺรกฺขิตสฺส ดังนี้ ชื่อว่าไม่ระบุวัตถุ.

เมื่อควรจะสวดว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อย ธมฺมรกฺขิโต

สวดเสียว่า สุณาตุ เม ภนฺเต อย ธมฺมรกฺขิโต ดังนี้ ชื่อว่าไม่ระบุสงฆ์

เมื่อควรจะสวดว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อย ธมฺมรกฺขิโต

อายสฺมโต พุทธฺรกฺขิตสฺส สวดเสียว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อย

ธมฺมรกฺขิโต อุปสมฺปทาเปกฺโข ดังนี้ ชื่อว่าไม่ระบุบุคคล

สองบทว่า สาวน หาเปติ มีความว่า ไม่กระทำการสวดประกาศ

ด้วยกรรมวาจาโดยประการทั้งปวง. คือ ตั้งญัตติเท่านั้น ๒ ครั้ง ในญัตติทุติย-

กรรม ตั้งญัตติเท่านั้น ๔ ครั้ง ในญัตติจตุตถกรรม. ทิ้งวาจาประกาศเสียอย่างนี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 990

แม้ภิกษุใด เมื่อตั้งญัตติหนหนึ่งแล้วสวดกรรมวาจาหนหนึ่งทิ้งอักขระ

หรือบทเสีย หรือว่าผิดในญัตติทุติยกรรม แม้ภิกษุนี้ชื่อว่าทิ้งวาจาประกาศเสีย

เหมือนกัน.

ส่วนในญัตติจตุตถกรรม เมื่อตั้งญัตติหนหนึ่งแล้ว สวดประกาศด้วย

กรรมวาจา เพียงครั้งเดียวหรือ ๒ ครั้งก็ดี เมื่อทิ้งอักขระหรือบทเสียก็ดี เมื่อ

ว่าผิดก็ดี พึงทราบว่า ทิ้งอนุสาวนาเสียแท้.

ก็วินิจฉัยในคำว่า ทุรุตฺต กโรติ นี้ พึงทราบดังนี้ :-

อันภิกษุใด ว่าอักขระอื่นในเมื่อตนควรว่าอักขระอื่น ภิกษุนี้ ชื่อว่า

ว่าผิด. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้จะสวดกรรมวาจาพึงสนใจให้ดี ซึ่งประเภทแห่ง

พยัญชนะ ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ความแตกฉานด้วยปัญญาเครื่องรู้พยัญชนะ ๑๐

อย่าง คือ สิถิล ธนิต ทีฆะ รัสสะ ครุ ลหุ นิคหิต สัมพันธ์ ววัตถิตะ

วิมุตต์.

ก็ในประเภทแห่งพยัญชนะ ๑๐ ตัวนี้ พยัญชนะที่ ๑ และที่ ๓ ใน

วรรคทั้ง ๕ ชื่อว่าสิถิล (เสียงเพลา). พยัญชนะที่ ๒ และที่ ๔ ในวรรค

เหล่านั้นแล ชื่อว่าธนิต (เสียงแข็ง)

สระที่จะพึงว่าโดยระยะยาว ได้แก่ สระ อา เป็นต้น ชื่อว่าทีฆะ.

สระที่จะพึงว่าโดยระยะสั้นกึ่งระยะยาวนั้น ได้แก่สระ อะ เป็นต้น

ชื่อว่ารัสสะ.

ทีฆะนั่นเองชื่อว่าครุ อีกอย่างหนึ่ง สระที่สั้นกล่าวไว้มีพยัญชนะสะกด

ข้างหลังอย่างนี้ว่า อายสฺมโต พุทฺธรกฺขิตตฺเถรสฺส ยสฺส นกฺขมติ

จัดเป็นครุ. รัสสะนั่นเอง ชื่อว่าลหุ อีกอย่างหนึ่ง สระที่กล่าวไม่ให้มีพยัญชนะ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 991

สะกดข้างหลังอย่างนี้ว่า อายสฺมโต พุทฺธรกฺขิตเถรสฺส ยสฺส น ขมติ

ก็จัดเป็นลหุ.

อักขระที่ว่าหุบปากกดกรณ์ไว้ไม่ปล่อย ทำเสียงให้ขึ้นจมูกชื่อว่า

นิคหิต.

บทที่ว่าเชื่อมกับบทอื่น เช่น ตุณฺหสฺส หรือว่า ตุณฺหิสฺส ชื่อว่า

สัมพันธ์.

บทที่แยกว่า ไม่เชื่อมกับบทอื่น เช่น ตุณฺหิ อสฺส ชื่อว่าววัตถิตะ.

อักขระที่ว่าเปิดปาก ไม่ทำเสียงให้ขึ้นจมูก ปล่อยเสียง ไม่กดกรณ์ไว้

ชื่อว่าวิมุตต์.

ในพยัญชนะประเภทมีสิถิลเป็นต้นนั้น บทที่จะพึงว่า สุณาตุ เม

ภนฺเต ว่า ต เป็น ถ เสีย สุณาถุ เม ชื่อว่าทำสิถิลให้เป็นธนิต

และบทอันจะพึงว่า ปตฺตกลฺล เอสา ตฺติ ว่า เป็น เสีย ว่า

ปตฺถกลฺล เอสา ตฺถิ เป็นต้น ก็เหมือนกัน.

บทอันจะพึงว่า ภนฺเต สงฺโฆ ว่า เป็น ว่า เป็น

เสียว่า พนฺเต สงฺโค ชื่อว่าทำธนิตให้เป็นสิถิล.

ส่วนบทอันจะพึงเปิดปากว่า สุณาตุ เม ว่าหุบปากให้เสียงขึ้นจมูก

เป็น สุณนฺตุ เม ก็ดี บทอันจะพึงเปิดปากว่า เอสา ตฺติ ว่าหุบปาก

ให้เสียงขึ้นจมูกเป็น เอส ตฺติ ก็ดี ชื่อว่า ว่าวิมุตต์ให้เป็นนิคหิต.

คำอันจะพึงหุบปากให้เสียงขึ้นจมูกว่า ปตฺตกลฺล ว่าเปิดปากไม่ทำ

ให้เสียงขึ้นจมูกว่า ปตฺตกลฺลา ชื่อว่า วินิคหิตให้เป็นวิมุตต์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 992

พยัญชนะ ๔ เหล่านี้ คือ เมื่อควรว่าให้เป็นสิถิล ว่าเป็นธนิต เมื่อ

ควรว่าให้เป็นธนิต ว่าเป็นสิถิล เมื่อควรว่าให้เป็นเป็นวิมุตต์ ว่าเป็นนิคหิต

เมื่อควรว่าให้เป็นนิคหิต ว่าเป็นวิมุตต์ ย่อมทำกรรมให้เสีย ในภายใน

กรรมวาจา ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ภิกษุผู้สวดอย่างนั้น ว่าอักขระอื่น

ในเมื่ออักขระอื่นอันตนควรว่าท่านกล่าวว่า ว่าผิด.

อันภิกษุผู้สวดกรรมวาจา ควรว่าอักขระนั้น ๆ แล ให้ถูกต้องตาม

ฐานอย่างนี้ คือ ใน พยัญชนะ ๖ นอกนี้ มีทีฆะและรัสสะเป็นต้นว่าทีฆะให้คง

ในที่แห่งทีฆะ ว่ารัสสะให้คงในที่แห่งรัสสะ อย่าให้ประเพณีอันมาแล้วโดย

ลำดับสูญเสีย ทำกรรมวาจา.

แต่ถ้าภิกษุผู้สวดกรรมวาจาไม่ว่าอย่างนั้น เมื่อควรจะว่าให้เป็นทีฆะว่า

เป็นรัสสะเสีย หรือเมื่อควรจะว่าให้เป็นรัสสะ ว่าเป็นทีฆะเสียก็ดี เมื่อควรจะว่า

ให้เป็นครุ ว่าเป็นลหุเสีย หรือเมื่อควรจะว่าให้เป็นลหุ ว่าเป็นครุเสียก็ดี

อนึ่ง เมื่อควรจะว่าให้เชื่อมกัน ว่าแยกกันเสีย หรือเมื่อควรจะว่าให้แยกกัน

ว่าเชื่อมกันเสียก็ดี. แม้เมื่อว่าอย่างนี้ กรรมวาจาก็ไม่เสีย. จริงอยู่ พยัญชนะ

๖ นี้ ไม่ยังกรรมให้เสีย.

ก็คำใด ที่พระสุตตันติกเถระทั้งหลายกล่าวว่า กลายเป็น ได้

กลายเป็น ได้ กลายเป็น ได้ กลายเป็น ได้

กลายเป็น ได้ กลายเป็น ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อควรจะว่า

เป็นต้น ว่าเป็น เป็นต้น เสีย ก็ไม่ผิด. คำนั้นถึงกรรมวาจาแล้วย่อมไม่

ควร. เพราะเหตุนั้น พระวินัยธร ไม่พึงว่า เป็น ฯ ลฯ ไม่พึงว่า

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 993

เป็น พึงสวดกรรมวาจา ชำระภาษาตามควรแก่บาลี หลีกโทษ ที่กล่าว

แล้ว แห่งภาษาคือพยัญชนะทั้ง ๑๐ อย่างเสีย. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยประการนอกนี้

แล้ว ชื่อว่าทิ้งสาวนาเสีย.

สองบทว่า อกาเล วา สาเวติ มีความว่า งดญัตติไว้ ทำอนุ-

สาวนากรรมเสียก่อน ในสมัยมิใช่กาล คือ มิใช่โอกาสแห่งสาวนาแล้ว ตั้ง

ญัตติต่อภายหลัง

กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนา ด้วยอาการ ๕ นี้ ด้วยประการฉะนี้.

[กรรมวิบัติโดยสีมา]

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในวิบัติโดยสีมา ดังต่อไปนี้ :-

สีมาใด ไม่จุภิกษุได้ ๒๑ รูป สีมานั้น จัดว่าสีมาเล็กเกินไป.

แต่ในกุรุนทีว่า ภิกษุ ๒๑ รูป ไม่อาจเพื่อนั่งในสีมาใด สีมานั้น

จัดว่าเล็กเกินไป. เพราะเหตุนั้น สีมาเห็นปานนี้อันสงฆ์สมมติแล้วก็ตาม เป็น

อันไม่ได้สมมติ ย่อมต้องเป็นเช่นกับคามเขต. กรรมที่ทำในสีมานั้น ย่อมเสีย.

แม้ในสีมาที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้.

ก็นัยสีมาเหล่านี้ สีมาใด เป็นแดนอันสงฆ์สมมติเกิด ๓ โยชน์แม้

เพียงปลายเส้นผมเดียว สีมานั้น จัดว่าใหญ่เกินไป.

สีมามีนิมิตไม่ต่อกัน เรียกว่า สีมามีนิมิตขาด.

ภิกษุทักนิมิตในทิศตะวันออกแล้ว ทักในทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนือ

วนไปโดยลำดับกัน แล้วทักซ้ำนิมิตที่เคยทักแล้ว ในทิศตะวันออกอีก แล้ว

จึงหยุด จึงจะควร. สีมาย่อมเป็นแดนมีนิมิตไม่ขาดอย่างนี้. ก็ถ้าว่า ทักมา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 994

ตามลำดับแล้ว ทักนิมิตในทิศเหนือแล้ว หยุดเสียแค่ทิศเหมือนนั่นเอง, สีมา

ย่อมมีนิมิตขาด.

สีมาใด ที่สงฆ์สมมติ จัดเอาต้นไม้มีเปลือกแข็งก็ดี ตอไม้ก็ดี กองดิน

กองทรายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ซึ่งไม่ควรเป็นนิมิต ให้เป็นนิมิตอันหนึ่งใน

ระหว่าง สีมานั้นจัดเป็นสีมามีนิมิตขาดอีกชนิดหนึ่ง.

สีมาใดที่สงฆ์สมมติ กะเอาเงาภูเขาเป็นต้นเงาอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้

เป็นนิมิต สีมานั้น ชื่อว่ามีฉายาเป็นนิมิต.

สีมาใด ที่สงฆ์สมมติ ไม่ทักนิมิตโดยประการทั้งปวง, สีมานั้น ชื่อว่า

หานิมิตมิได้.

ภิกษุทักนิมิตแล้ว ยืนอยู่ภายนอกนิมิตสมมติสีมา ชื่อว่ายืนอยู่นอกสีมา

สมมติสีมา.

ภิกษุสมมติสีมาในน่านน้ำมีแม่น้าเป็นต้นเหล่านี้ ชื่อว่าสมมติสีมาใ น

แม่น้ำ ในทะเล ในสระเกิดเอง. สีมานั้น แม้สงฆ์สมมติแล้วอย่างนั้น ย่อม

ไม่เป็นอันสมมติเลย เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำทั้งปวง ไม่ใช่สีมา

ทะเลทั้งปวง ไม่ใช่สีมา, สระเกิดเองทั้งปวง ไม่ใช่สีมา.

หลายบทว่า สีมาย สีม สมฺภินฺทติ มีความว่า คาบเกี่ยวสีมา

ของผู้อื่นด้วยสีมาของตน.

บทว่า อชฺโฌตฺถรติ ได้แก่ สมมติทับสีมาของผู้อื่น ด้วยสีมา

ของตน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 995

ในการสมมติสีมานั้น ความคาบเกี่ยวกันและความทับกันจะมีได้ด้วย

ลักษณะอย่างใด, ลักษณะทั้งปวงนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้วในอุโบสถ

ขันธกะ.

สีมาทั้ง ๑๑ อย่างนี้ ไม่จัดเป็นสีมา เป็นเท่ากับคามเขตเท่านั้น. กรรม

ที่สงฆ์นั่งทำในสีมาเหล่านั้น ย่อมเสีย ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา ด้วยอาการ ๑๑ เหล่านี้.

[กรรมวิบัติโดยปริสะ]

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในวิบัติแห่งกรรมโดยปริสะ ดังต่อไปนี้ :-

ไม่มีคำน้อยหนึ่งที่จัดว่าไม่ตื้น.

ลักษณะของภิกษุผู้เข้ากรรมและภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะ ในกรรมวิบัติ

โดยปริสะนั้น ที่ข้าพเจ้าควรกล่าวก็มีบ้าง แต่ท่านได้กล่าวไว้ข้างหน้าแล้วแล

โดยนัยเป็นต้นว่า จตฺตาโร ภิกฺขู ปกตตฺตา กมฺมปฺปตฺตา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ปกตตฺตา กมฺมปฺปตฺตา มีความว่า

ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุ ๔ รูปผู้มีตนเป็นปกติ คือ ผู้อันสงฆ์มิได้

ยกวัตร อันสงฆ์มิได้ลงโทษ ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ภิกษุ ๔ รูป ผู้เข้ากรรม คือ

ผู้ควร ผู้สมควร ได้แก่เป็นเจ้าของแห่งกรรม. กรรมนั้น เว้นพวกเธอเสีย

ย่อมทำไมได้. ฉันทะก็ดี ปาริสุทธิก็ดี ของพวกเธอยังไม่มา. ฝ่ายภิกษุที่เหลือ

ถ้าแม้มีประมาณพันรูป. ถ้าว่าเป็นสมานสังวาสก์ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ฉันทะ

ทั้งหมดทีเดียว. พวกเธอมอบฉันทะและปาริสุทธิแล้ว จะมาหรือไม่มาก็ตาม.

ส่วนกรรมคงตั้งอยู่.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 996

แต่สงฆ์ทำกรรมมีปริวาสเป็นต้น แก่ภิกษุใด, ภิกษุนั้นมิใช่ผู้เข้ากรรม

ทั้งมิใช่ผู้ควรแก่ฉันทะ. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นอันท่านเรียกว่า กัมมารหบุคคล

ก็เพราะเหตุที่สงฆ์จัดบุคคลนั้นให้เป็นวัตถุกระทำกรรม.

แม้ในกรรมที่เหลืด ก็นัยนี้แล.

ท่านกล่าวนัยเป็นต้นว่า จตตาริ กมฺมานิ ไว้อีก ก็เพื่อแสดข้อที่

อภัพบุคคลมีบัณเฑาะก์เป็นต้น ไม่จัดเป็นวัตถุ.

คำที่เหลือ ในนัยนี้ ตื้นทั้งนั้น.

[ว่าด้วยอปโลกนกรรม]

บัดนี้ เพื่อแสดงประเภทแห่งกรรมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า

อปโลกนกมฺม กติ านนิ คจฺฉติ เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทที่ว่า อปโลกนกรรม ย่อมถึงฐานะ ๕

เหล่าไหน ? ฐาน ะ ๕ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา ภัณฑุกรรม

พรหมทัณฑ์ ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๕ นี้ คำที่ว่า โอสารณา นิสสารณา

นั้น ท่านกล่าวแล้ว เพื่อเป็นบทที่ไพเราะ. แต่นิสสารณามีก่อน โอสารณา

มีภายหลัง.

[นิสสารณาและโอสารณา]

ใน ๒ อย่างนั้น ทัณฑกรรมนาสนาที่สงฆ์ทำแก่กัณฏกสามเณร พึง

ทราบว่าเป็นนิสสารณา. เพราะเหตุนั้น ในบัดนี้ แม้ถ้าสามเณรกล่าวโทษ

พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์, แสดงสิ่งที่ไม่ควรว่าควร, เป็นผู้มีความ

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 997

เห็นผิด ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ; สามเณรนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึง

ห้ามปราม ให้สละความยึดถือนั้นเสีย เพียงครั้งที่ ๓, หากเธอไม่ยอมสละ

พึงให้ประชุมสงฆ์กล่าวว่า จงสละเสีย, หากเธอไม่ยอมสละ ภิกษุผู้ฉลาดพึงทำ

อปโลกนกรรมลงโทษเธอ.

ก็แลกรรมอันภิกษุนั้นพึงทำอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถาม

สงฆ์ว่า สามเณรชื่อนี้ ๆ มีความเห็นผิด มักกล่าวโทษพระพุทธ พระธรรม

พระสงฆ์, สามเณรเหล่าอื่นย่อมได้การนอนร่วมกับภิกษุทั้งหลาย ๒-๓ คืน

อันใด การลงโทษเธอ เพื่อไม่ได้การนอนร่วมนั้น ชอบใจสงฆ์หรือ ? ท่าน

ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถามสงฆ์เป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถามสงฆ์

เป็นครั้งที่ ๓ ว่า สามเณรชื่อนี้ ๆ มีความเห็นผิด ฯลฯ การลงโทษเธอ เพื่อ

ไม่ได้การนอนร่วมนั้น ชอบใจสงฆ์หรือ ? การลงโทษนั้น ชอบใจสงฆ์;

เจ้าคนเสีย เจ้าจงไปเสีย เจ้าจงฉิบหายเสีย.

โดยสมัยอื่น สามเณรนั้นขอโทษว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้กระทำ

อย่างนั้น เพราะความเป็นผู้เขลา เพราะไม่รู้ เพราะเป็นผู้ไม่พิจารณา, ข้าพเจ้า

นั้นขอขมาสงฆ์ ดังนี้ พึงให้เธอขอเพียงครั้งที่ ๓ แล้ว ถอนโทษด้วย

อปโลกนกรรมนั่นแล.

ก็แลสามเณรนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงถอนโทษอย่างนี้ :-

ภิกษุผู้ฉลาด พึงสวดประกาศ โดยอนุมัติของสงฆ์ในท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถามสงฆ์ว่า สามเณรชื่อนี้ ๆ มีความเห็นผิด มักกล่าวโทษ

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันสงฆ์ลงโทษแล้ว เพื่อไม่ได้การนอนร่วม

กับภิกษุทั้งหลาย ๒-๓ คืน ซึ่งสามเณรเหล่าอื่นได้, บัดนี้ สามเณรนี้นั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 998

เสงี่ยมแล้ว เว้นได้แล้ว ประพฤติเจียมตัว หันเข้าหาลัชชีธรรมแล้ว ตั้งมั่น

ในหิริโอตตัปปะแล้ว ได้ทำทัณฑกรรมแล้ว สารภาพโทษอยู่; การให้ความ

พร้อมเพรียงด้วยกายสมโภคเหมือนในกาลก่อน แก่สามเณรนี้ ชอบใจ สงฆ์

หรือ ? พึงสวดอย่างนี้ ๓ ครั้ง. อปโลกนกรรมย่อมถึงโอสารณาและนิสสารณา

ด้วยประการฉะนี้.

ภัณฑุกรรม ข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้ว ในมหาขันธกวัณณนา.

[พรหมทัณฑ์]

พรหมทัณฑ์ อันพระอานนทเถระได้กล่าวไว้แล้ว ในปัญจสติกขันธกะ.

ก็แลพรหมทัณฑ์นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ เพราะพระฉันนะ

รูปเดียวหามิได้. ภิกษุแม้อื่นใด เป็นผู้มีปากร้าย เสียดสี ด่า ข่มภิกษุทั้งหลาย

ด้วยถ้อยคำหยาบคายอยู่. สงฆ์พึงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุแม้นั้น.

ก็แลพรหมทัณฑ์นั้น พึงลงอย่างนี้ :-

ภิกษุผู้ฉลาด พึงสวดประกาศโดยอนุมัติของสงฆ์ ในท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านผู้เจริญ ภิกษุชื่อนี้ มีปากร้าย เสียดสีภิกษุทั้งหลาย ด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย

อยู่, ภิกษุนั้น พึงกล่าวคำที่คนปรารถนาจะกล่าว, ภิกษุชื่อนี้ อันภิกษุทั้งหลาย

ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงตักเตือน ไม่พึงพร่ำสอน, ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถาม

สงฆ์ว่า การลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุชื่อนี้ ของใจสงฆ์หรือ ? ข้าพเจ้าถาม

เป็นครั้งที่ ๒ ฯ ล ฯ ข้าพเจ้าถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า การลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ

ชื่อนี้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? ท่านผู้เจริญ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 999

พรหมทัณฑ์อันสงฆ์พึงระงับแก่ภิกษุนั้น ผู้ประพฤติชอบแล้ว ขอโทษ

อยู่โดยสมัยอื่น. ก็แลสงฆ์พึงระงับอย่างนี้ :-

ภิกษุผู้ฉลาด พึงสวดประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุ

สงฆ์ได้ลงพรหมทัณฑ์ แก่ภิกษุโน้น, ภิกษุนั้น เสงี่ยมแล้ว ประพฤติเจียมตัว

หันเข้าหาลัชชีธรรมแล้ว ตั้งมั่นในหิริโอตตัปปะแล้ว พิจารณาแล้ว ตั้งอยู่ใน

สังวรต่อไป, ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถามสงฆ์ว่า การระงับพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ

นั้น ชอบใจสงฆ์หรือ ?. พึงกล่าวอย่างนี้ เพียงครั้งที่ ๓ ระงับพรหมทัณฑ์เสีย

ด้วยอปโลกนกรรมแล.

[กรรมลักษณะ]

สองบทว่า กมฺมลกฺขณญฺเว ปญฺจม มีความว่า ในเรื่องเหล่านี้

ที่ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุฉัพพัคคีย์ เอาน้ำโคลนรด ภิกษุณีทั้งหลาย

ด้วยหมายว่า แม้ไฉนภิกษุณีทั้งหลายพึงรักใคร่ในพวกเรา เปิดกายอวดภิกษุณี-

ทั้งหลาย, ถลกขาอวดภิกษุณีทั้งหลาย, เปิดองคชาตแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย

พูดเกี้ยวภิกษุณีทั้งหลาย ชักสื่อกับภิกษุณีทั้งหลายด้วยหมายว่า แม้ไฉน ภิกษุณี

ทั้งหลายพึงรักใคร่ในพวกเรา ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติทุกกฏแก่

ภิกษุเหล่านั้น แล้วทรงอนุญาตอวันทิยกรรมอันใด ไว้ในภิกขุนีขันธกะอย่างนี้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุนั้น, ครั้งนั้นแล ภิกษุ

ทั้งหลายได้มีความรำพึงเช่นนี้ว่า ทัณฑกรรม อันเราจะพึงทำอย่างไรหนอ ?

จึงกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์จึงตรัสว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุนั้นอันภิกษุณีสงฆ์ พึงทำให้เป็นผู้อันตนไม่ควรไหว้ ดังนี้.

อวันทิยกรรมนั้น ย่อมเป็นกรรมลักษณะแท้ ย่อมเป็นฐานะที่ครบ ๕ แห่ง

อปโลกนกรรมนี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1000

จริงอยู่ อวันทิยกรรมนั้น เป็นลักษณะคือกรรมแห่งอปโลกนกรรม

นั้น หาหลายเป็นอย่างอื่นมีโอสารณาเป็นต้นไม่. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า

กรรมลักษณะ. การทำอวินทิยกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ใน

ภิกขุนีขันธกะนั้นแล้วแล.

อีกประการหนึ่ง เพื่อแสดงอวันทิยกรรมนั้นกับทั้งกิริยาที่ระงับโดย

พิสดาร ข้าพเจ้าจะกล่าวไว้ในกัมมวัคค์แม้นี้ :-

ภิกษุณีผู้ขลาด พึงสวดประกาศโดยอนุมัติของภิกษุณีสงฆ์ ซึ่งประชุม

กันในสำนักภิกษุณีว่า แม่เจ้า ข้าพเจ้าถามภิกษุณีสงฆ์ว่า พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้น

แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย, การทำพระผู้เป็นเจ้านั้น ให้เป็น

ผู้อันภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงไหว้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? ข้าพเจ้าถามภิกษุณีสงฆ์

เป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ เป็นครั้งที่ ๓ ว่า แม่เจ้า พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้น แสดง

อาการไม่น่าเลื่อมใส แก่ภิกษุณีทั้งหลาย, การทำพระผู้เป็นเจ้านั้น ให้เป็นผู้

อันภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงไหว้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? อวันทิยกรรมอันภิกษุณีสงฆ์

พึงสวดประกาศ ๓ ครั้ง ทำด้วยอปโลกนกรรมอย่างนี้.

จำเดิมแต่นั้น ภิกษุนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงไหว้. ถ้าว่าภิกษุนั้น

อันภิกษุณีทั้งหลายไม้ไหว้อยู่ กลับเกิดหิริและโอตตัปปะขึ้นแล้ว ประพฤติ

ชอบไซร้, ภิกษุณีทั้งหลายอันเธอพึงขอโทษ. เมื่อจะขอโทษ ไม่พึงไปสู่สำนัก

ภิกษุณี พึงเข้าหาสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปหนึ่ง ในวิหารนั่นเอง นั่งกระโหย่ง

ประคองอัญชลี ขอโทษว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาแล้ว จะตั้งอยู่ใน

สังวรต่อไป, จักไม่แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสอีก, ขอภิกษุณีสงฆ์ จงอดโทษ

แก่ข้าพเจ้าเถิด.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1001

สงฆ์หรือคณะนั้น พึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไป หรือภิกษุรูปหนึ่งนั้นพึงไป

เองทีเดียว แล้วกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายว่า ภิกษุนี้พิจารณาแล้ว ตั้งอยู่ในสังวร

ต่อไป ภิกษุณีสงฆ์ อันภิกษุนี้สารภาพโทษแล้ว ขอโทษแล้ว, ขอภิกษุณี

สงฆ์ จงทำภิกษุนี้ให้เป็นผู้อันตนพึงไหว้เถิด. ภิกษุนั้น อันภิกษุณีสงฆ์พึงทำ

ให้เป็นผู้อันตนพึงไหว้.

ก็แลเมื่อจะทำ พึงทำอย่างนี้ :-

ภิกษุณีผู้ฉลาด พึงสวดประกาศ โดยอนุมัติของภิกษุณีสงฆ์ผู้ประชุม

กันในสำนักภิกษุณีว่า แม้เจ้า ข้าพเจ้าถามภิกษุณีสงฆ์ว่า พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้น

แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย; พระผู้เป็นเจ้านั้น อันภิกษุณี

สงฆ์ทำให้เป็นผู้อันตนไม่พึงไหว้แล้ว หันเข้าหาลัชชีธรรม พิจารณาแล้ว ตั้ง

อยู่ในสังวรต่อไป สารภาพโทษแล้ว ขอโทษภิกษุณีสงฆ์อยู่, การทำพระผู้

เป็นเจ้านั้น ให้เป็นผู้อันภิกษุณีทั้งหลายพึงไหว้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? พึงกล่าว

๓ ครั้ง. ภิกษุนั้น อันภิกษุณีสงฆ์พึงทำให้เป็นผู้อันตนพึงไหว้ด้วยอปโลกน-

กรรมนั่นแล อย่างนี้.

[กรรมลักษณวินิจฉัย]

ก็ในกัมมวัคค์นี้ มีวินิจฉัยกรรมลักษณะแม้ที่พ้นจากบาลี พึงทราบ

ดังต่อไปนี้ :-

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า กรรมลักษณะ ทรงบัญญัติมีภิกษุณีสงฆ์เป็นมูล

แต่ย่อมได้แก่ภิกษุสงฆ์ด้วยแท้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1002

ก็ภิกษุสงฆ์ทำอปโลกนกรรมใด ในโรงสลาก โรงยาคู โรงภัตต์

และโรงอุโบสถ, อปโลกนกรรมแม้นั้น เป็นกรรมลักษณะแท้.

อันการที่ภิกษุผู้ฉลาด ให้ประชุมสงฆ์แล้ว สวดประกาศเพียงครั้งที่

๓ ทำอปโลกนกรรม ให้จีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจีวรถูกโจรชิง ผู้มีจีวรเก่า

และผู้มีจีวรหาย ย่อมควร. แต่ของเล็กน้อยมีเข็มเป็นต้น มีประเภทซึ่งกล่าว

แล้วในเสนาสนขันธกวัณณนา อันภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย แม้ไม่ต้องอปโลกน์

ก็ให้แก่ภิกษุผู้ทำจีวรได้. ภิกษุผู้แจกของเล็กน้อยนั้นเท่านั้น เป็นใหญ่ในการ

ให้ของเล็กน้อยเหล่านั้น. เมื่อจะให้ของที่เกินกว่านั้น ต้องอปโลกน์ให้. เพราะ

ว่าสงฆ์เป็นเจ้าของในการให้ของที่เกินกว่านั้น.

แม้คิลานเภสัช ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในเสนาสนขันธกวัณณนานั้น

อันภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย พึงให้เองก็ได้. พึงอปโลกน์ให้แก่ภิกษุผู้ต้อง

การมาก.

ก็แต่ว่า ภิกษุใด ไม่มีกำลังก็ดี เป็นง่อยก็ดี ขาดทางภิกษาจารก็ดี

อาพาธหนักก็ดี, สำหรับภิกษุนั้น เมื่อจะให้ข้าวสารหนึ่งทะนาน หรือกึ่งทะนาน

ทุก ๆ วัน หรือจะให้ข้าวสาร ๕ ทะนานหรือ ๑๐ ทะนานเฉพาะวันเดียว จาก

กัลปนาสงฆ์ที่เกิดในที่นั้น ในอาวาสใหญ่ทั้งหลาย ต้องทำอปโลกนกรรมให้.

เพื่อจะปลดกังวลคือหนี้แก่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักก็ดี จะให้เสนาสนะที่ไม่ต้องย้าย

แก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูตช่วยภาระของสงฆ์ก็ดี จะให้เบี้ยเลี้ยงแก่อารามิกชนมีกัปปิย-

การกเป็นต้น ผู้ทำกิจของสงฆ์ก็ดี จากกัลปนาสงฆ์ที่เกิดในอาวาสนั้น ควรให้

ด้วยอปโลกนกรรมเท่านั้น.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1003

จะให้บำรุงอาวาสของสงฆ์ จากกัลปนาสงฆ์ที่เกิดขึ้นในอาวาสนั้นซึ่ง

ทายกถวาย ด้วยอำนาจจตุปัจจัย ก็ควร. แต่เพื่อตัดคำติเตียนว่า ภิกษุนี้

ย่อมจัดการ ด้วยถือคนเป็นใหญ่ จึงควรถามสงฆ์ที่ในโรงสลากเป็นต้น หรือ

ในที่ประชุมอื่นเสียก่อน จึงให้บำรุง.

อาวาสอันภิกษุผู้ฉลาดพึงอปโลกน์แล้วให้บำรุง แม้จากกัลปนาสงฆ์ที่

เกิดขึ้นในอาวาสนั้นที่ทายกเจาะจงถวาย เพื่อประโยชน์แกจีวรและบิณฑบาต.

แม้จะไม่อปโลกน์ ก็ควร. แต่เพื่อตัดคำติเตียนซึ่งเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้

กล้าจริงนะ ให้บำรุงอาวาสจากกัลปนาสงฆ์ที่เขาให้ เพื่อประโยชน์แก่จีวรและ

บิณฑบาต จึงควรทำอปโลกนกรรมก่อน แล้วจึงให้บำรุง.

เมื่อทำฉัตรหรือเวทีที่เจดีย์ หรือเรือนโพธิ หรือหอฉันซึ่งยังไม่ได้

ทำก็ดี จะปฏิสังขรณ์สิ่งที่ทรุดโทรมก็ดี จะทำการก่อด้วยปูนก็ดี ชักชวนพวก

ชาวบ้านช่วยทำ ก็ควร. ถ้าไม่มีผู้ทำ, พึงให้ทำจากรายได้ที่ฝากไว้เพื่อเจดีย์.

แม้เมื่อรายได้ที่ฝากไว้ไม่มี ก็พึงทำอปโลกนกรรมแล้วให้จัดทำ จากกัลปนา-

สงฆ์ที่เกิดขึ้นในอาวาสนั้น จะอปโลกน์แล้วกระทำกิจของเจดีย์แม้ด้วยทรัพย์

ของสงฆ์ก็ควร. แม้อปโลกน์แล้วทำกิจของสงฆ์ด้วยทรัพย์ของเจดีย์หาควรไม่.

แต่จะถือเอาเป็นของยืมแล้วใช้คืนให้อย่างเดิม ควรอยู่.

แต่การที่ภิกษุทั้งหลายผู้ทำสุธากรรมเป็นต้นที่เจดีย์ เมื่อไม่ได้อาหาร

พอยังอัตภาพให้เป็นไป จากภิกขาจารหรือจากสงฆ์ จะจ่ายอาหารพอยังอัตภาพ

ให้เป็นไป จากทรัพย์ของเจดีย์มาฉัน กระทำวัตร (ทดแทน) ก็ควร.

จะทำสังฆภัตรด้วยปลาและเนื้อเป็นต้น ด้วยอ้างว่า เราทำวัตร หา

ควรไม่.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1004

ต้นไม้มีผลเหล่าใด แม้ที่ปลูกไว้ในวัด เป็นของที่สงฆ์หวงห้าม ย่อม

ได้การบำรุง. ภิกษุทั้งหลายย่อมตีระฆังแล้วแบ่งกันฉัน ซึ่งผลทั้งหลายแห่ง

ต้นไม้เหล่าใด, ในต้นไม้เหล่านั้น ไม่ควรทำอปโลกนกรรม

ส่วนต้นไม้มีผลเหล่าใด อันสงฆ์ไม่หวงห้าม, ในต้นไม้เหล่านั้นแล

ควรทำอปโลกกรรม. ก็อปโลกนกรรมนั้น ควรทำแม้ในโรงสลาก โรงยาคู

โรงภัตร และที่ประชุมอื่น. อนึ่ง ในโรงอุโบสถก็ควรทำแท้. เพราะ ฉันทะ

และปาริสุทธิของภิกษุทั้งหลาย แม้ผู้มิได้มาในโรงอุโบสถนั้น อันภิกษุรูปหนึ่ง

ย่อมนำมา. เพราะเหตุนั้น อปโลกนกรรมนั้น ย่อมเป็นกรรมที่ชำระให้หมด

จดดี.

ก็แลเมื่อจะทำ พึงทำอย่างนี้ :-

ภิกษุผู้ฉลาด พึงสวดประกาศโดยอนุมัติของภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ

ข้าพเจ้าถามสงฆ์ว่า สิ่งใดเป็นของสงฆ์ มีราก เปลือก ใบ หน่อ ดอก และ

ผล ซึ่งควรขบฉันได้เป็นต้น มีอยู่ ภายในสีมาในวัดนี้, การที่ภิกษุทั้งหลาย

ที่มาแล้ว ๆ บริโภคสิ่งทั้งปวงนั้นตามสบาย ชอบใจสงฆ์หรือ ? พึงถาม ๓

ครั้ง. อปโลกนกรรมนั้น อันภิกษุ ๔ -๕ รูปทำแล้ว ก็เป็นอันใช้ได้แท้.

ภิกษุ ๒-๓ รูปอยู่ในวัดแม้ใด, อปโลกนกรรมแม้ที่ภิกษุเหล่านั้นนั่ง

ทำแล้วในวัดนั้น ย่อมเป็นเช่นกับอปโลกนกรรมที่สงฆ์ทำแล้วแท้. อนึ่ง ใน

วัดใด มีภิกษุรูปเดียว, กติกวัตรแม้ที่ภิกษุนั้น ผู้นั่งกระทำบุพกรณ์และ

บุพกิจกระทำแล้วในวันอุโบสถ ย่อมเป็นเช่นกับอปโลกนกรรมที่สงฆ์กระทำ

แล้วเหมือนกัน.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1005

ก็แลกติกวัตรนั้น อันภิกษุผู้จะทำ แม้ทำตามคราวแห่งผลไม้ก็ควร.

กำหนดทำอย่างนี้ว่า ๔ เดือน ๖ เดือน ๑ ปี ก็ตาม, ไม่กำหนดทำก็ตาม ควร

ทั้งนั้น

ในคราวที่กำหนด พึงบริโภคตามที่กำหนดไว้ แล้วทำใหม่. ในคราว

ที่ไม่กำหนด ควรเพียงกาลที่ต้นไม้ทั้งหลายยังทรงอยู่. ต้นไม้เหล่าอื่นแม้ใด

ที่เพาะแล้ว ด้วยพืชทั้งหลายแห่งต้นไม้เหล่านั้น, กติกานั้นแล ใช้สำหรับต้น

ไม้เหล่านั้นด้วย

ก็ถ้าว่า เป็นต้นไม้ที่เพาะปลูกในวัดอื่น, สงฆ์ในวัดซึ่งเป็นผู้ที่ปลูก

เท่านั้น เป็นเจ้าของต้นไม้เหล่านั้น.

ต้นไม้แม้เหล่าใด อันใคร ๆ นำพืชมาจากที่อื่น ปลูกลงทีหลังในวัด

ดั้งเดิม, สำหรับต้นไม้เหล่านั้น ต้องทำกติกาอย่างอื่น. เมื่อทำกติกาแล้ว ต้น

ไม้เหล่านั้น ย่อมตั้งอยู่ในฐานเป็นของบุคคล. ควรบริโภคผลเป็นต้นตามสบาย.

ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายในวัดดั้งเดิมนี้ ล้อมโอกาสนั้น ๆ ทำบริเวณไว้

แล้วทำนุบำรุงอยู่. ภิกษุเหล่าใด ทำนุบำรุง, ต้นไม้เหล่านั้น ตั้งอยู่ในฐาน

เป็นของบุคคลแห่งภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่าอื่นย่อมไม่ได้เพื่อบริโภค. แต่

ภิกษุผู้ทำนุบำรุงเหล่านั้น ต้องให้ส่วนที่ ๑๐ แก่สงฆ์ แล้วจึงบริโภค

แม้ภิกษุใด เอากิ่งไม้ล้อมรักษาไว้กลางวัด แม้ภิกษุนั้น ก็นัยนี้แล.

ด้วยความดีใจว่า พระเถระมาแล้ว สามเณรทั้งหลายจึงนำผลไม้น้อย

ใหญ่มาถวายภิกษุผู้ควรยกย่อง ซึ่งไปสู่วัดเก่าแก่. ถ้าว่าในกาลครั้งเดิม ภิกษุ

ผู้เป็นพหูสูต ทรงปริยัติธรรมทั้งสิ้น อยู่ในวัดนั้น. ภิกษุนั้นพึงบริโภค โดย

ไม่ต้องมีความรังเกียจว่า ในวัดนี้จักมีกติกาที่ทำไว้ยั่งยืนเป็นแน่. ผลไม้น้อย

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1006

ใหญ่ในวัด ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์ คือไม่ยังธุดงค์

ให้เสีย.

สามเณรทั้งหลายถวายผลไม้น้อยใหญ่เป็นอันมาก แก่อาจารย์ และ

อุปัชฌาย์ของตน, ภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่ได้ย่อมโพนทะนา การโพนทะนานั้น

ก็เป็นสักว่าโพนทะนาเท่านั้น.

แต่ถ้าเป็นคราวที่ภิกษาฝืดเคือง, ชนทั้ง ๖๐ อาศัยขนุนต้นเดียวเลี้ยง

ชีวิต. ในกาลเช่นนั้น ต้องแบ่งกันกิน เพื่อประโยชน์จะทำการสงเคราะห์ให้

ทั่วถึงกัน. ทำเช่นนี้เป็นการชอบ.

ก็แล้ววัตรตามกติกา ยังไม่ระงับเพียงใด, ผลไม้ที่ภิกษุเหล่านั้นฉัน

แล้ว เป็นอันฉันแล้วด้วยดีแท้เพียงนั้น. ก็เมื่อไรเล่า วัตรตามกติกา จึงจะ

ระงับ ?. ในกาลใด สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงประชุมกันสวดประกาศว่า ตั้งแต่วัน

นี้ไป ภิกษุทั้งหลายจงแบ่งกันฉัน, ในกาลนั้น วัตรตามกติกา ย่อมระงับ.

อนึ่ง ในวัดที่มีภิกษุรูปเดียวเมื่อคำประกาศ แม้อันภิกษุรูปเดียวประกาศ กติกา

เดิม ย่อมระงับเหมือนกัน.

ถ้าว่า เมื่อกติการะงับแล้ว สามเณรทั้งหลายหาได้ยังผลไม้ทั้งหลาย

ให้หล่นจากต้นไม่ หาได้เก็บผลไม้จากพื้นดินถวายภิกษุทั้งหลายไม่, เที่ยว

เหยียบย่ำผลไม้หล่นแล้วเสียด้วยเท้า. สงฆ์พึงเพิ่มผลไม้ให้แก่สามเณรเหล่า

นั้น ตั้งแต่เสี้ยวที่ ๑๐ จนถึงกึ่งส่วนแห่งผลไม้. เพราะได้เพิ่มส่วน พวกเธอ

จักนำมาถวายแน่แท้.

ในคราวที่ภิกษากลับหาได้ง่ายอีก เมื่อกัปปิยการกทั้งหลาย มาทำการ

ล้อมด้วยกิ่งไม้เป็นต้น รักษาต้นไม้ไว้ ไม่ต้องให้ส่วนเพิ่มแก่พวกสามเณร

พึงแบ่งกันบริโภค.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1007

ชนทั้งหลาย จากบ้านรอบวัดคิดว่า ในวัดมีผลไม้น้อยใหญ่ จึงมาของ

เพื่อประโยชน์แก่คนไข้หรือหญิงมีครรภ์ว่า ขอท่านจงให้มะพร้าว ๑ ผล, จง

ให้มะม่วง ๑ ผล จงให้ขนุนสำมะลอ ๑ ผล; ถามว่า ควรให้หรือไม่ควร ?

ตอบว่า ควรให้. เพราะว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายไม่ให้ พวกเขาจะพากันเสียใจ.

แต่เมื่อจะให้ ต้องให้ประชุมสงฆ์ สวดประกาศเพียงครั้งที่ ๓ ทำอปโลกนกรรม

ให้หรือพึงทำกติกวัตรตั้งไว้.

ก็แลกติกวัตรนั้น อันสงฆ์พึงทำอย่างนี้ :-

ภิกษุผู้ฉลาด พึงสวดประกาศโดยอนุมัติของสงฆ์ว่า ชนทั้งหลาย จาก

บ้านรอบวัดมาขอผลไม้น้อยใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่คนไข้เป็นต้น, การที่ไม่

ห้ามชนเหล่านั้น ผู้ถือเอามะพร้าว ๒ ผล ตาล ๒ ผล ขนุน ๒ ผล มะม่วง

๕ ผล กล้วย ๕ ผล และการที่ไม่ห้ามชนเหล่านั้น ผู้ถือเอาผลไม้จากต้นไม้

โน้น ชอบใจแก่ภิกษุสงฆ์ ดังนี้ พึงสวด ๓ ครั้ง. จำเดิมแต่นั้น ชนเหล่านั้น

เมื่อระบุชื่อคนไข้เป็นต้นขอ อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงกล่าวว่า เอาเถิด. แต่พึง

บอกวัตรว่า สงฆ์ได้ตกลงไม่ห้ามชนทั้งหลาย ผู้ถือเอาผลมะพร้าวเป็นต้น โดย

จำกัดชื่อนี้ และผู้ถือเอาผลไม้จากต้นไม้โน้น. แต่ไม่พึงเที่ยวตามบอกว่า

มะม่วงต้นนี้ มีผลอร่อย ท่านจงเก็บจากต้นนี้.

อนึ่ง ภิกษุผู้อันสงฆ์สมมติแล้ว พึงให้กิ่งส่วนแก่ชนเหล่านั้น ผู้มา

แล้วในเวลาแบ่งผลไม้. ภิกษุที่สงฆ์ไม่ได้สมมติ พึงอปโลกน์ให้. บุคคลผู้สิ้น

เสบียงก็ดี พ่อค้าเกวียนผู้จะเดินทางก็ดี อิสรชนอื่นก็ดีมาขอ พึงอปโลกน์ให้.

เมื่อเขาเก็บกินโดยพลการ ก็ไม่พึงห้าม. เพราะเขาโกรธแล้ว จะพึงตัดต้นไม้

เสียก็ได้ จะพึงทำความฉิบหายอย่างอื่นก็ได้. เมื่อเขามายังบริเวณส่วนตัวบุคคล

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1008

ขอโดยชื่อคนไข้ ภิกษุผู้เป็นเจ้าของ พึงบอกว่า ฉันปลูกไว้เพื่อประโยชน์แก่

ร่มเงาเป็นต้น. ถ้าผลมี ท่านจงรู้เองเถิด.

ก็ถ้าว่า ต้นไม้ทั้งหลายมีผลดก. ภิกษุเอาหนามสะไว้ ฉันผลเป็น

คราว ๆ. ภิกษุนั้น เมื่อไม่หวังตอบแทนแล้ว ก็พึงให้. เมื่อเขาเก็บเอาโดย

พลการ ก็ไม่พึงห้าม. เหตุในข้อที่ไม่ควรห้ามนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วใน

หนหลังแล.

สวนผลไม้ของสงฆ์มี แต่ไม่ได้ในการบำรุง. หากว่า ภิกษุบางรูป

บำรุงสวนนั้น ด้วยมุ่งวัตรเป็นใหญ่, สวนนั้นยังคงเป็นของสงฆ์. แม้ถ้าว่า

สงฆ์มอบให้เป็นภาระของภิกษุผู้สามารถบางรูปว่า สัตบุรุษ ท่านจงช่วยบำรุง

สวนนี้ให้เถิด, หากภิกษุนั้น บำรุงด้วยมุ่งวัตร, แม้อย่างนี้ ก็ยังเป็นของสงฆ์.

แต่สงฆ์พึงให้ส่วนเพิ่มเพียงเสี้ยวที่ ๓ หรือกึ่งส่วน แก่ภิกษุนั้นผู้หวังส่วนเพิ่ม.

ก็แลเมื่อเธอกล่าวว่า เป็นกรรมหนัก แล้วไม่ปรารถนาด้วยส่วนเพิ่ม

เพียงเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวบ้างว่า ท่านจงทำผลไม้ทั้งหมดให้เป็นของ

ท่านคนเดียว จงให้เพียงส่วนที่ ๑๐ เป็นส่วนมูลค่า แล้วบำรุงเถิด. แต่ไม่พึง

ให้ด้วยอำนาจขาดมูลค่า เพราะสวนนั้นเป็นครุภัณฑ์.

ภิกษุผู้ให้ส่วนแห่งมูลค่าแล้วฉันนั้น ให้สร้างเสนาสนะที่อยู่ซึ่งยังไม่ได้

สร้างบ้าง ท่านุบำรุงเสนาสนะที่เขาสร้างไว้แล้วบ้าง แล้วมอบสวนแก่พวก

นิสสิต. แม้พวกนิสสิตนั้น ก็พึงให้ส่วนแห่งมูลค่า.

ก็ภิกษุทั้งหลายสามารถจะบำรุงเองในกาลใด, ในกาลนั้น สงฆ์ไม่พึง

ให้ภิกษุเหล่านั้นบำรุง, ไม่พึงห้าม ในกาลที่ผลไม้อันพวกเธอได้บำรุงแล้ว.

พึงห้ามในเวลาที่เริ่มจะบำรุงเท่านั้น. พึงกล่าวว่า พวกท่านได้ฉันมากแล้ว,

บัดนี้อย่าบำรุงเลย, ภิกษุสงฆ์จักบำรุงเอง.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1009

ก็ถ้าว่า ผู้บำรุงด้วยมุ่งวัตรก็ไม่มี ผู้บำรุงด้วยหวังส่วนเพิ่มก็ไม่มี, ทั้ง

สงฆ์ก็ไม่สามารถจะบำรุงเองไซร้, ภิกษุรูป ๑ ไม่เรียนสงฆ์ก่อน บำรุงเอง

ทำให้เจริญแล้วหวังส่วนเพิ่ม, ส่วนเพิ่มอันสงฆ์พึงเพิ่มให้ด้วยอปโลกนกรรม.

อปโลกนกรรมแม้ทั้งปวงนี้ จัดเป็นกรรมลักษณะแท้. อปโลกนกรรม

ย่อมถึงฐานะ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

[ญัตติกรรม]

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัย ในประเภทแห่งฐานแห่งญัตติกรรม ดังต่อ

ไปนี้ :-

วาจาสำหรับเรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้ามา อย่างนี้ว่า ขอสงฆ์จงฟัง

ข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีอายุชื่อนี้ ข้าพเจ้าสอนซ้อม

เขาแล้ว, ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอผู้มีชื่อนี้พึงมา เพราะฉะนั้น

ผู้มีชื่อนี้อันข้าพเจ้าพึงเรียกว่า เจ้าจงมา ดังนี้ ชื่อว่าโอสารณา.

วาจาสำหรับถอนภิกษุผู้ธรรมกถึกออก ในอุพพาหิกวินิจฉัย อย่างนี้ว่า

ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า, ภิกษุผู้มีชื่อนี้รูปนี้เป็นธรรมกถึก, สูตรของ

พระธรรมกถึกนี้ หามาไม่, วิภังค์แห่งสูตรก็หามาไม่, เธอไม่พิจารณาอรรถ

ค้านอรรถด้วยเงาแห่งพยัญชนะ, ถ้าความพรั่งพร้อมของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว,

พึงถอนภิกษุชื่อนี้ออกเสีย พวกเราที่เหลือพึงระงับอธิกรณ์นี้ ดังนี้ ชื่อว่า

นิสสารณา.

ญัตติที่ตั้งด้วยอำนาจอุโบสถกรรมอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญขอสงฆ์จงฟัง

ข้าพเจ้า อุโบสถวันนี้ที่ ๑๕, ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงทำ

อุโบสถ ดังนี้ ชื่อว่าอุโบสถ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1010

ญัตติที่ตั้งด้วยอำนาจปวารณากรรมอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟัง

ข้าพเจ้า ปวารณาวันนี้ที่ ๑๕, ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึง

ปวารณา ดังนี้ ชื่อว่าปวารณา.

ญัตติที่ตั้ง เพื่อสมมติตนเองหรือผู้อื่นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอ

สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้, ถ้าความ

พรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงสอนซ้อมผู้ที่มีชื่อนี้, ดังนี้ก็ดี, ว่า

ถ้าความพรั่งพร้อมของภิกษุถึงที่แล้ว, ผู้มีชื่อนี้ พึงสอนซ้อมผู้ที่มีชื่อนี้ ดังนี้ก็ดี,

ว่า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, ข้าพเจ้าพึงถามอันตรายิกธรรมกะ

ผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ก็ดี, ว่า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, ผู้มีชื่อนี้ พึง

ถามอันตรายิกธรรมกะผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ก็ดี, ว่า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่

แล้ว, ข้าพเจ้าพึงถามวินัยกะผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ก็ดี ว่า ถ้าความพรั่งพร้อม

สงฆ์ถึงที่แล้ว, ผู้มีชื่อนี้ พึงถามวินัยกะผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ก็ดี ว่า ถ้าความพรั่งพร้อม

ของสงฆ์ถึงที่แล้ว, ข้าพเจ้าอันผู้มีชื่อนี้ถามวินัยแล้ว ขอวิสัชนา ดังนี้ก็ดี, ว่า

ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว ผู้มีชื่อนี้ อันผู้มีชื่อนี้ถามวินัยแล้ว พึง

วิสัชนา ดังนี้ก็ดี ชื่อว่าสมมติ.

การคืนบริขารมีจีวรและบาตรที่ภิกษุอื่นเสียสละเป็นต้น อย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า จีวรนี้ ของภิกษุผู้มีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์

อันเธอสละแล้วแก่สงฆ์, ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงคืนจีวรนี้

แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ว่า ถ้าความพรั่งพร้อมของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ท่านทั้งหลาย

พึงคืนจีวรนี้ แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ ชื่อว่าการให้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1011

การรับอาบัติอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศว่า ท่าน

ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ รูปนี้ ระลึกได้เปิดเผย ทำให้ตื้น

แสดงอาบัติ. ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของ

ภิกษุผู้มีชื่อนี้, ว่า ถ้าความพรั่งพร้อมของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ข้าพเจ้าพึง

รับอาบัติของภิกษุผู้มีชื่อนี้, เธออันภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า ท่านเห็นหรือ ? เมื่อ

เธอตอบว่า ขอรับ ข้าพเจ้าเห็น พึงกล่าวว่า ท่านพึงสำรวจต่อไป ดังนี้

ชื่อว่าการรับ.

ปวารณาที่สงฆ์ทำอย่างนี้ คือ ภิกษุเจ้าถิ่นผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ

ว่า ขอท่านทั้งหลายผู้เจ้าถิ่น จงฟังข้าพเจ้า, ถ้าความพรั่งพร้อมของท่านทั้งหลาย

ถึงที่แล้ว, บัดนี้ เราทั้งหลายพึงทำอุโบสถ พึงสวดปาฏิโมกข์ พึงปวารณา

ในกาฬปักษ์อันจะมาข้างหน้า. ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้ก่อความ

บาดหมางกัน ก่อความทะเลาะกัน ก่อการวิวาทกัน ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ หน่วง

อยู่ตลอดกาฬปักษ์นั้นไซร้ ภิกษุเจ้าถิ่นผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุเจ้าถิ่น

ทั้งหลายทราบว่า ขอท่านทั้งหลายผู้เจ้าถิ่น จงฟังข้าพเจ้า, ถ้าความพรั่งพร้อม

ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, บัดนี้ เราทั้งหลายพึงทำอุโบสถ พึงสวดปาฏิโมกข์,

พึงปวารณาในชุณหปักษ์อันจะมาข้างหน้า ดังนี้ ชื่อว่าเลื่อนปวารณาออกไป.

ญัตติที่ครอบทั่วไป อันเป็นต้นแห่งญัตติทั้งปวง ซึ่งกระทำด้วยติณ-

วัตถารกสมถะอย่างนี้ คือ ภิกษุทุก ๆ รูปพึงประชุมในที่เดียวกัน, ครั้นประชุม

กันแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์

จงฟังข้าพเจ้า, เมื่อเราทั้งหลายเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกันอยู่

ได้ประพฤติอัชฌาจารไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ต่างกล่าวซัดกัน, ถ้าเรา

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1012

ทั้งหลายจะพึงปรับกันและกัน ด้วยอาบัติเหล่านี้, ข้อนั้นจะพึงเป็นอธิกรณ์ก็ได้,

อธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน,

ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยติณวัตถารกะ

เว้นอาบัติมีโทษล่ำ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์เสีย ดังนี้ ชื่อว่ากรรมลักษณะ.

ญัตติ ๒ นับฝ่ายละ ๑ ญัตติ ต่อจากสัพพสังคาหิกาญัตตินั้นไป ก็

เหมือนกัน.

ญัตติกรรมมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว ย่อมถึงฐานะ ๙ เหล่านี้ คือ

โอสารณา นิสสารณา อุโบสถ ปวารณา สมมติ การให้ การรับ การเลื่อน

ปวารณาออกไป และกรรมลักษณะเป็นที่ ๙ ด้วยประการฉะนั้น.

[ญัตติทุติยกรรม]

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในประเภทแห่งฐานะแห่งญัตติทุติยกรรม ดัง

ต่อไปนี้ :-

พึงทราบนิสสารณาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในขันธกะ. ด้วยอำนาจ

คว่ำบาตรแก่วัฑฒลิจฉวี และโอสารณาที่ตรัสด้วยอำนาจหงายบาตรแก่วัฑฒ-

ลิจฉวีนั้นแล.

พึงทราบสมมติ เนื่องด้วยสมมติเหล่านี้ คือ สมมติสีมา สมมติแดน

ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร สมมติสันถัต สมมติพระภัตตุทเทสก์ สมมติภิกษุผู้

เสนาสนคาหาปกะ สมมติภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง สมมติภิกษุผู้รับแจกจีวร

สมมติภิกษุผู้แจกจีวร สมมติภิกษุผู้แจกยาคู สมมติภิกษุผู้แจกของเคี้ยว สมมติ

ภิกษุผู้แจกผลไม้ สมมติภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย สมมติภิกษุผู้รับผ้า สมมติ

ภิกษุผู้ปัตตคาหาปกะ สมมติภิกษุผู้ใช้คนวัด สมมติภิกษุผู้ใช้สามเณร.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1013

การให้ พึงทราบด้วยอำนาจการให้จีวรกฐิน และให้จีวรมรดก.

การถอน พึงทราบด้วยอำนาจการรื้อกฐิน.

การแสดง พึงทราบด้วยอำนาจแสดงฟื้นที่สร้างกุฎี และพื้นที่สร้าง

วิหาร.

กรรมลักษณะ พึงทราบด้วยอำนาจญัตติทุติยกรรมวาจา ๒ ที่ท่าน

กล่าวไว้ในติณวัตถารกสมถะ คือ เว้นญัตติ ๓ อย่าง คือ สัพพสังคาหิกาญัตติ

และญัตติในฝ่ายหนึ่ง ๆ ฝ่ายละ ๑ ญัตติเสีย ได้แก่ กรรมวาจาอีกฝ่ายละ ๑.

ญัตติทุติยกรรม ย่อมถึงฐานะ ๗ นี้ ด้วยประการนี้.

[ญัตติจตุตถกรรม]

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในประเภทแห่งฐานแห่งญัตติจตุตถกรรม ดัง

ต่อไปนี้ :-

นิสสารณา พึงทราบด้วยอำนาจกรรม ๗ อย่าง มีตัชชนียกรรมเป็นต้น.

โอสารณา พึงทราบด้วยอำนาจการระงับกรรมเหล่านั้นแล.

สมมติ พึงทราบด้วยอำนาจสมมติภิกษุผู้สอนภิกษุณี.

การให้ พึงทราบด้วยอำนาจการให้ปริวาสและให้มานัต.

นิคคหะ พึงทราบด้วยอำนาจมูลายปฏิกัสสกรรม.

สมนุภาสนา พึงทราบด้วยอำนาจสมนุภาส ๑๑ อย่างเหล่านี้ คือ

อุกขิตตานุวัตตกสิกขาบท ยาวตติยกสิกขาบท ๘ (ของภิกษุณี) อริฏฐสิกขาบท

และจัณฑาลีสิกขาบท ยาวตติยกสิกขาบทนั้นเหล่านี้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1014

ส่วนกรรมลักษณะ พึงทราบด้วยอำนาจแห่งอุปสมบทกรรม และ

อัพภานกรรม.

ญัตติจตุตถกรรม ย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

พระอุบาลีเถระ ครั้นแสดงธรรม กรรมวิบัติ และความถึงประเภท

แห่งฐานะแห่งกรรมทั้งหลาย ที่เว้นจากวิบัติด้วยประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้

จะแสดงจำนวนแห่งสงฆ์ผู้กระทำกรรมเหล่านั้น จึงกล่าวสืบไปว่า ในกรรม

ที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ เป็นอาทิ. เนื้อความแห่งคำนั้น บัณฑิตพึงทราบ โดย

นัยที่ได้กล่าวแล้ว ในวัณณนาแห่งกรรมวิบัติโดยปริสะนั่นเทียว ฉะนี้แล.

พรรณากัมมวัคค์ จบ

[ประโยชน์แห่งการบัญญัติสิกขาบท]

บัดนี้ พระอุบาลีเถระ ได้เริ่มคำว่า เทฺว อตฺถวเส ปฏิจฺจ เป็นต้น

เพื่อแสดงอานิสงส์ ในการที่ทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่ง

กรรมเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า ทิฏฺธมฺมิกาน อาสวาน สวราย

มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่การระวัง คือ เพื่อประโยชน์แก่การปิด ซึ่งเวร

อันเป็นไปในทิฏฐธรรม ๕ มีปาณาติบาตเป็นต้น.

หลายบทว่า สมฺปรายิกาน อาสวาน ปฏิฆาตาย มีความว่า เพื่อ

ประโยชน์แก่การกำจัด คือ เพื่อประโยชน์แก่การตัดขาด ได้แก่ เพื่อประโยชน์

แก่การไม่เกิดขึ้น แห่งเวรอันเป็นไปในสัมปรายภพกล่าวคือวิปากทุกข์.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1015

หลายบทว่า ทิฏฺธมฺมิกาน เวราน สวราย มีความว่า เพื่อ

ประโยชน์แก่การปิดซึ่งเวร ๕ เหล่านั้นแล.

สองบทว่า สมฺปรายิกาน เวราน มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่

การกำจัดวิปากทุกข์เหล่านั้นแล.

หลายบทว่า ทิฏฺธมฺมิกาน วชฺชาน สวราย มีความว่า เพื่อ

ประโยชน์แก่การปิดซึ่งเวร ๕ เหล่านั้น.

สองบทว่า สมฺปรายิกาน วชฺชาน มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่

การกำจัดวิปากทุกข์เหล่านั้นแล. จริงอยู่ วิปากทุกข์นั่นแล อันพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า โทษ ในที่นี้ ก็เพราะเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงเว้น.

สองบทว่า ทิฏฺธมฺมิกาน ภยาน มีความว่า ภัยเหล่านี้ คือ

ความติ การโจท กรรมมีตัชชนียกรรมเป็นต้น การงดอุโบสถและปวารณา

กรรมที่ประจานความเสียหาย ชื่อว่าภัยเป็นไปในทิฏฐธรรม, เพื่อประโยชน์

แก่การระวังภัยเหล่านั้น,

ส่วนภัยเป็นไปในสัมปรายภพ ก็คือวิปากทุกข์นั่นเอง, เพื่อประโยชน์

แก่การระวังสัมปรายิกภัยเหล่านั้น.

สองบทว่า ทิฏฺธมฺมิกาน อกุสลาน มีความว่า เพื่อประโยชน์

แก่การระวังอกุศล มีเวร ๕ และอกุศลกรรมบถ ๑ เป็นประเภท.

อนึ่ง วิปากทุกข์นั่นเอง ท่านกล่าวว่า อกุศลเป็นไปในสัมปรายภพ

เพราะอรรถว่าไม่ปลอดภัย, เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดอกุศลเหล่านี้.

สองบทว่า คิหีน อนุกมฺปาย มีความว่า เพื่อประโยชน์ที่จะ

อนุเคราะห์แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจรักษาศรัทธาไว้.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1016

สองบทว่า ปาปิจฺฉาน ปกฺขุปจฺเฉทาย มีความว่า คณโภชน-

สิกขาบท อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อประโยชน์ที่จะทำลายการ

ควบคุมกันเป็นพวก แห่งบุคคลผู้มีความปรารถนาลามกทั้งหลาย.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.

ก็ในข้อที่ยังเหลืออยู่นี้ จะพึงมีคำใดที่ข้าพเจ้าควรกล่าว, คำทั้งปวงนั้น

ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในวัณณนาแห่งปฐมปาราชิกเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

บรรยายประโยชน์ในสิกขาบท จบ

[พรรณนาปัญญัตติวัคค์]

บรรดาธรรมมีปาฏิโมกข์เป็นต้น ปาฏิโมกขุทเทสของภิกษุมี ๕ อย่าง,

ของภิกษุณีมี ๔ อย่าง.

บรรดากรรมมีให้ปริวาสเป็นต้น สองบทว่า โอสารณีย ปญฺตฺต

มีความว่า โอสารณียกรรม ทรงบัญญัติสำหรับภิกษุผู้ประพฤติในวัตร ๑๘

หรือ ๔๓. อธิบายว่า ภิกษุอันสงฆ์ย่อมเรียกเข้าหมู่ ด้วยกรรมใด กรรมนั้น

ทรงบัญญัติแล้ว.

สองบทว่า นิสฺสารณีย ปญฺตฺต มีความว่า ภิกษุผู้ก่อความ

บาดหมางเป็นต้น อันสงฆ์ย่อมขับออกจากหมู่ด้วยกรรมใด กรรมนั้นทรง

บัญญัติแล้ว.

[อานิสงส์แห่งบัญญัติ]

บรรดาบทมีบทว่า อปญฺตฺเต เป็นต้น สองบทว่า อปญฺตฺเต

ปญฺตฺต มีความว่า กองอาบัติทั้ง ๗ ชื่อว่าบัญญัติ ในสิกขาบทที่ใคร ๆ ไม่

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1017

ได้บัญญัติในระหว่าง นอกจากพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธะ พระโกนาคมน-

สัมมาสัมพุทธะ และพระกัสสปสัมมาสัมพุทธะ.

วินีตกถามีมักกฏีวัตถุเป็นต้น ชื่อว่าอนุบัญญัติ ในสิกขาบทที่ทรง

บัญญัติไว้แล้ว.

คำที่เหลือ ในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาอานิสังสวัคค์ จบ

[ว่าด้วยประมวล]

บัดนี้ พระอุบาลี กล่าวคำว่า นว สงฺคหา เป็นต้น เพื่อแสดง

ประมวลสิกขาบททั้งปวงเป็น ๙ ส่วน โดยอาการแต่ละอย่าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วตฺถุสงฺคโห ได้แก่ ประมวลด้วยวัตถุ.

เนื้อความเฉพาะบท แม้ในบทที่เหลือ ก็พึงทราบอย่างนี้.

ก็ในบทว่า วตฺถุสงฺคโห เป็นต้นนี้ มีอัตถโยชนา ดังต่อไปนี้ :-

ประมวลด้วยวัตถุ พึงทราบก่อนอย่างนี้ว่า ก็สิกขาบททั้งปวง ชื่อว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลด้วยวัตถุ เพราะเหตุว่า ไม่มีแม้แต่สิกขาบท

เดียวที่ทรงบัญญัติ ในเพราะเหตุมิใช่วัตถุ.

อนึ่ง ประมวลด้วยวิบัติ พึงทราบอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่อาบัติ ๒ กอง

ทรงประมวลด้วยสีลวิบัติ, อาบัติ ๕ กอง ทรงประมวลด้วยอาจารวิบัติ, ๖

สิกขาบท ทรงประมวลด้วยอาชีววิบัติ ฉะนั้น สิกขาบทแม้ทั้งปวง ชื่อว่า

ทรงประมวลแล้วด้วยวิบัติ.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1018

อนึ่ง ประมวลด้วยอาบัติ พึงทราบอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่ไม่มีแม้แต่

สิกขาบทเดียว ซึ่งพ้นจากอาบัติ ๗ กอง ฉะนั้น สิกขาบททั้งปวง ชื่อว่าทรง

ประมวลแล้วด้วยอาบัติ.

อนึ่ง ประมวลด้วยนิทาน พึงทราบอย่างนี้ว่า สิกขาบททั้งปวง ทรง

บัญญัติแล้วใน ๗ นคร เพราะฉะนั้น ชื่อว่าทรงประมวลแล้วด้วยนิทาน.

อนึ่ง ประมวลด้วยบุคคล พึงทราบอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่ไม่มีแม้แต่

สิกขาบทเดียว ที่ทรงบัญญัติในเมื่อไม่มีบุคคลผู้พระพฤติล่วง ฉะนั้น สิกขาบท

ทั้งปวง ชื่อว่าทรงประมวลแล้วด้วยบุคคล.

อนึ่ง สิกขาบททั้งปวง ทรงประมวลแล้ว ด้วยอาบัติ ๕ กอง และ

๗ กอง. สิกขาบททั้งหมดนั้น เว้นจากสมุฏฐาน ๖ เสีย ย่อมเกิดไม่ได้ เพราะ

ฉะนั้น ชื่อว่าทรงประมวลแล้วด้วยสมุฏฐาน.

อนึ่ง สิกขาบททั้งปวง ทรงประมวลแล้ว ด้วยอาปัตตาธิกรณ์ใน

บรรดาอธิกรณ์ ๔. สิกขาบททั้งปวง ย่อมถึงความระงับด้วยสมถะ ๗ เพราะ

ฉะนั้น ชื่อว่าทรงประมวลแล้วด้วยสมถะ.

แม้ประมวลด้วยกอง อธิกรณ์ สมุฏฐาน และสมถะ ในบทว่า

ขนฺธสงฺคโห เป็นอาทินี้ ก็พึงทราบอย่างนี้.

คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล ฉะนี้แล.

พรรณนาสังคหวัคค์ ในอัฏฐกถาวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

และพรรณนาบทที่มีเนื้อความไม่ตื้น

แห่งคัมภีร์บริวาร ก็จบดังนี้แล

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1019

วินัยฏฐกถาวสานคาถา

พระโลกนาถผู้ชำนะ เมื่อจะทรงแนะนำบุคคลผู้

ควรแนะนำ ได้ตรัสวินัยปิฎกใด ซึ่งแสดงจำแนกโดย

อุถโตวิภังค์ ขันธกะ และบริวาร, อรรถกถาชื่อสมันต-

ปาสาทิกาแห่งวินัยปิฎกนั้น จบบริบูรณ์แล้ว โดยคันถะ

ประมาณ ๒๗,๐๐๐ ถ้วน ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้แล.

ในคำที่ว่า อรรถกถาวินัย ปลูกความเลื่อมใส

รอบด้านนั้น มีคำอธิบายในข้อที่อรรถกถาชื่อสมันต

ปาสาทิกา เป็นคัมภีร์ปลูกความเลื่อมใสรอบด้าน ดังนี้ :-

ในสมันตปาสาทิกานี้ ไม่ปรากฏคำน้อยหนึ่งที่ไม่

น่าเลื่อมใสแก่วิญญู ชนทั้งหลายผู้พิจารณาอยู่ โดยสืบ

ลำดับแห่งอาจารย์ โดยแสดงประเภทแห่งนิทานและ

วัตถุ โดยเว้นลัทธิของฝ่ายอื่น โดยความหมดจดแห่งลัทธิ

ของตน โดยชำระพยัญชนะให้หมดจด โดยเนื้อความ

เฉพาะบท โดยลำดับแห่งบาลีและโยชนา โดยวินิจฉัย

ในสิกขาบท และโดยแสดงประเภทแห่งนัยที่สมแก่

วิภังค์ เพราะฉะนั้นอรรถกถาแห่งวินัย ซึ่งพระโลกนาถ

ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกผู้ฉลาดในการฝึกชนที่ควร

แนะนำ ได้ตรัสไว้แล้วอย่างนั้นนี้ จึงบ่งนามว่า

" สมันตปาสาทิกา" แล.

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1020

ข้าพเจ้าเมื่ออยู่ที่ปราสาท อันห้อม-

ล้อมด้วยกำแพงทองสะพรั่งด้วยต้นไม้มี

ร่มเงาอันเย็น มีสระน้ำพร้อมมูล เป็นที่

รื่นรมย์ใจ ซึ่งอุบายสกผู้ปรากฏนามว่า

มหานิคมสามี ผู้เกิดในสกุลสูงเลื่อมใสใน

พระรัตนตรัย ด้วยศรัทธาไม่อากูล บำรุง

พระสงฆ์ทุกเมื่อได้สร้างไว้ใกล้เรือนเป็นที่

บำเพ็ญเพียรอันสูงลิ่ว ซึงภิกษุสงฆ์ผู้มีจาริต-

สีลอันสะอาดอาศัยอยู่ ที่ตั้งอยู่ทางด้านใต้

แห่งมหาวิหาร อันประดับด้วยต้นมหาโพธิ

ของพระศาสดา ซึ่งประดิษฐานอยู่บนภูมิภาค

ในอุทยานมีนามว่ามหาเมฆวัน (ข้าพเจ้า)

ได้ฟังอรรถกถาซึ่งพระเถระในเกาะสีหล ได้

รจนาไว้ทั้ง ๓ คัมภีร์ เหล่านี้คือ มหา-

อรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที ใน

สำนักพระเถระผู้ปรากฏโดยนามว่า "พุทธ

มิตต์" ซึ่งเป็นนักปราชญ์ รู้ทั่วถึงพระวินัย

มีชื่อเสียง มาคำนึงพระพุทธสิริเถระผู้มี

ศีลและอาจาระอันสะอาด จึงได้เริ่มรจนา

อรรถกถาวินัยอันใด ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์

อรรถกถาวินัยนี้ ข้าพเจ้าได้เริ่มรจนา ใน

ปีที่ ๒๐ ถ้วน ซึ่งเป็นปีที่เกษมมีชัย ของ

พระเจ้าสิริบาล ผู้เป็นที่อาศัยอยู่แห่งสิริ มี

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1021

พระยศ ทรงปกครองลังกาทวีปทั้งสิ้น ให้

ปราศจากเสี้ยนหนาม สำเร็จเรียบร้อยเมื่อ

ย่างเข้าปีที่ ๒๑

อรรถกถาวินัยนี้ เข้าถึงความสำเร็จ

ได้ ในโลกซึ่งคับคั่งด้วยอุปัทวะ โดยกาล

เพียงปีเดียว โดยปราศจากอุปัทวะฉันใด,

ความริเริ่มทั้งปวง ที่อิงอาศัยธรรม ห่าง

อุปัทวะของสัตว์โลกทั้งมวล จงพลันสำเร็จ

ฉันนั้นเถิด.

อนึ่ง บุญใด ซึ่งข้าพเจ้าผู้มีความ

นับถือพระสัทธรรมมากรจนาอรรถกถานี้

เพื่อให้พระธรรมตั้งอยู่ยั่งยืน ได้สร้างสม

แล้ว, ด้วยอานุภาพแห่งบุญทั้งมวลนั้น ขอ

สัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้เสวยรสแห่งพระ-

สัทธรรมของพระธรรมราชาเถิด, ขอพระ

สัทธรรม จงตั้งอยู่ตลอดกาลนานเถิด, ขอ

ฝนจงตกตามฤดูกาล ยังประชาให้ชุ่มชื่น

ตลอดกาลนานเถิด, ขอพระราชา จง

ปกครองแผ่นดินโดยธรรมเถิด ฉะนี้แล.

อรรถกถาวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา อันพระเถระ

ผู้อันครูทั้งหลายขนานนามว่า "พุทธโฆสะ" ผู้ประดับ

ด้วยศรัทธาปัญญาและความเพียรอันบริสุทธิ์ยิ่ง ผู้รุ่งเรือง

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 1022

ด้วยกองคุณมีศีลอาจาระ ความซื่อตรง และความ

อ่อนโยนเป็นต้น ผู้สามารถหยั่งลงสู่ชัฏ คือ สัทธิของตน

และลัทธิฝ่ายอื่น ผู้ประกอบด้วยความเฉียบแหลมด้วย

ปัญญา ผู้มีอานุภาพแห่งญาณไม่ติดขัด ในสัตถุศาสนา

กับทั้งอรรถกถาอันต่างด้วยปริยัติ คือ พระไตรปิฎก

ผู้รู้ไวยากรณ์มาก เป็นมหากวีนักพูดประเสริฐ ทุกคำ

ที่ควรพูดในกาลที่ควร ผู้ประกอบด้วยถ้อยคำอันสละ

สลวยไพเราะอย่างยิ่ง ซึ่งเปล่งออกโดยง่าย ซึ่งให้เกิด

แก่กรณสมบัติ ผู้เป็นเครื่องประดับวงศ์ของพระเถระ

ทั้งหลาย ผู้อยู่ในมหาวิหาร ผู้ยังเถรวงศ์ให้สว่าง มี

ปัญญามั่นคงดีในอุตริมนุสธรรม อันประดับด้วยคุณ มี

อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทาเป็นต้นเป็นประเภท มีปฏิ-

สัมภิทาญาณอันแตกฉานเป็นบริวารผู้มีปัญญาไพบูล

หมดจดดี ได้รจนาแล้วนี้ จบแล้ว.

แม้พระนามว่า "พุทโธ" ของพระ-

โลกเชษฐ์ ผู้มีพระหฤทัยสะอาดคงที่ แสวง

หาคุณใหญ่หลวง ยังเป็นไปอยู่ ในโลก

ในโลก แสดงนัย เพื่อความหมดจดแห่งศีล

ในโลก แสดงนัย เพื่อความหมดจดแห่งศีล

แก่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้แสวงหาพระนิพพาน

เป็นที่หลีกออกจากโลกตราบนั้น เทอญ.

อรรถกถาวินัย จบแล้ว

๑. พูดทั้งผูกทั้งแก้ (?)