พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 1
พระวินัยปิฏก
เล่ม ๖
จุลวรรค ปฐมภาค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กัมมขันธกะ
ตัชชนียกรรมที่ ๑
เรื่องภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
เริ่มก่ออธิกรณ์
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นภิกษุพวก
พระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ
ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไป
หาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
ทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง
เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา
อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความ
บาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 2
เพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความ
ละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ จึงได้เป็นผู้ก่อความ
บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน
สงฆ์ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการ
ทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจง
โต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คง
แก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่าย
ของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และ
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไปเล่า ครั้นแล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน
เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและ
พระโลหิตกะ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วม
ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 3
พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบ-
แหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จัก
เป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิด
ขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป
จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ
สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ก่อความบาดหมาง
ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วย
ตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุผู้อื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ
ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบ
ถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน
และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวก
ท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไปเล่า การกระทำของโมฆบุรุษ
เหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 4
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของ
โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส
และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงแสดงโทษและคุณแล้วให้ทำตัชชนียกรรม
[๓] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนภิกษุพวกพระปัณฑุกะ
และพระโลหิตกะ โดยอเนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคน
เลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่
สันโดษ ความคลุกคลีความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย
ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความ
กำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารถนาความเพียร โดย
อเนกปริยาย แล้วทรงทำธรรมมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่
เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระ
ปัณฑุกะและพระโลหิตกะ.
วิธีทำตัชชนียกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีทำตัชชนียกรรม พึงทำอย่างนี้ คือ
ชั้นต้นพึงโจทภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ครั้นแล้ว พึงให้พวก
เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 5
กรรมวาจาทำตัชชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระ
ปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง
ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อ
ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจง
โต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด
เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัว
เขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธี
นั้น ความบาดหมางที่ยังไม้เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้น
แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำตัชชนียกรรมแก่
ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวก
พระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง
...ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่น
ที่ร่วมกันก่อความบาดหมาง......ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวก
ท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวก
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 6
ท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียนและสามารถกว่า
เขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวก
ท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนแผ่กว้างออก
ไป สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และ
พระโลหิตกะ การทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุ-
กะและพระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น
ผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิต-
กะนี้เป็นผู้ก่อความบาดหมาง........ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วย
ตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง
......อธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
ทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบ
ถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบ
แหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย
แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความ
บาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อม
เป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป สงฆ์ทำตัชชนีย-
กรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ การทำ
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 7
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
นี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง.... ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตน
เอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง.......
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง
หลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อย
คำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม
คงแก่เรียน และสามารถว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวก
ผมจักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาด
หมาง ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อความเพิ่มพูนแผ่กว้างออกไป สงฆ์ทำตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ การทำตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู่นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด.
ตัชชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุ-
กะและพระโลหิตกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 8
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑
ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ทำตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๒
[๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ
เพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติ
ที่แสดงแล้ว ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๓
[๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่
โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้ว
ทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 9
หมวดที่ ๔
[๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ
ลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๕
[๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่
สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๖
[๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่
ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 10
หมวดที่ ๗
[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ
เพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ธรรมโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ แล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๘
[๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ
เพราะอาบัติ มิใช่เทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรค
ทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๙
[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ
เพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 11
หมวดที่ ๑๐
[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่
โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๑
[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่
ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๒
[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่
ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 12
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบ
ถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๒
[๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
ต้องอาบัติ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้
แสดง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๓
[๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีเเล้ว คือ โจทก่อน
แล้วทำ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แลเป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 13
หมวดที่ ๔
[๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑
ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๕
[๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถาม
ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๖
[๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำตาม
ปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว
หมวดที่ ๗
[๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 14
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๘
[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
อาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๙
[๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือทำเพราะ
อาบัติยังไม่ได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว .
หมวดที่ ๑๐
[๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อน
แล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 15
หมวดที่ ๑๑
[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลย
ให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเหIรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๒
[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับ
อาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว .
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์
จำนงจะพึงลงตัชชนียกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการ
ทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เป็นพาล
ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วย
การคลุกคลีอันไม่สมควร ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 16
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์
จำนงจะพึงลงตัชชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๒
[๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงตัชชนียกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติ ใน
อธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
จะพึงลงตัชชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๓
[๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมก็ได้ คือ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑
กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
จะพึงลงตัชชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๔
[๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
๓ รูปคือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติ
มาก มีมารยาทไม่สมควร รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุก
คลีอันไม่สมควร ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
๓ รูปนี้แล.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 17
หมวดที่ ๕
[๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่
ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ รูป
หนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
๓ รูปนี้แล.
หมวดที่ ๖
[๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่
ภิกษุ ๓ รูปแม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ รูปหนึ่ง
กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
๓ รูปนี้แล.
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด จบ
วัตร ๑๘ ข้อ ในตัชชนียกรรม
[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
ต้องประพฤติโดยชอบ
วิธีประพฤติเคยชอบในตัชชนียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้ :-
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 18
๕. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัดตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
วัตร ๑๘ ข้อ ในตัชชนียกรรม จบ
วัตรที่ควรระงับและไม่ควรระงับ
[๓๕] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ
และพระโลหิตกะแล้ว พวกนั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดย
ชอบหายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่าง
นี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกผมถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ได้ประพฤติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 19
โดยชอบหายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ พวกผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อ
ไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์
จงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกปัณฑุกะและโลหิตกะ.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[ ๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ:-
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับตัชชนียกรรม.
หมวดที่ ๒
[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก คือ:-
๑. ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นลันเช่นกัน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 20
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับตัชชนียกรรม.
หมวดที่ ๓
[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ :-
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับตัชชนียกรรม.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 21
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ :-
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล้ว สงฆ์พึงระงับ
ตัชชนียกรรม.
หมวดที่ ๒
[๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
ตัชชนียกรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 22
หมวดที่ ๓
[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ :-
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
ตัชชนียกรรม.
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ
วิธีระงับตัชชนียกรรม
[๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมอย่างนี้
คือภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตรา
สงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่านั่งกระโหย่งประคอง
อัญชลีกล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้ .
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 23
คำขอระงับตัชชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วได้ประพฤติ
โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอระงับ
ตัชชนียกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรม
วาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาระงับตัชชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระ-
ปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้
ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่
แล้ว สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ
และพระโลหิตกะ นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระ-
ปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
ประพฤติโดยชอบหายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้
ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
พวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ การระงับตัชชนีย-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 24
กรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า .... การระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
พวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
พูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระ-
โลหิตกะนี้ สงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ
หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับตัชชนียกรรม
สงฆ์ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระ -
โลหิตกะ การระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระ
ปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น
พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ตัชชนียกรรมอันสงฆ์ระงับแล้ว แก่ภิกษุพวกพระ
ปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนิไว้ด้วยอย่างนี้.
ตัชชนียกรรม ที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 25
นิยสกรรม ที่ ๒
เรื่องพระเสยยสกะ
[๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเสยยสกะเป็นพาล ไม่ฉลาด มี
อาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่
สนควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเติม ให้มานัต
อัพภานอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนเล่าท่านพระเสยยสกะจึงได้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มี
มารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่
ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภาน
อยู่เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๔๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน
เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุเเรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุเสยยสกะเป็นพาล ไม่
ฉลาดมีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการ
คลุกคลีอัน ไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติ
เดิม ให้มานัต อัพภานอยู่ จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของโมฆบุรุษนั้น ไม่เหมาะไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 26
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้น จึงได้เป็นพาล ไม่ฉลาด
มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สนควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอัน
ไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้
มานัต อัพภานอยู่เล่า การกระทำของโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่
เลื่อมใสแล้ว.... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ
คือ ให้กลับถือนิสัยอีก.
วิธีทำนิยสกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงทำนิยสกรรมอย่างนี้ คือชั้นต้น
พึงโจทภิกษุเสยยสกะ ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้น
แล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรม
วาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาทำนิยสกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะ
ผู้นี้เป็นพาลไม่ฉลาด มีอาบัติมา มีมรรยาทไม่สมควร
อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่
ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาสชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้
มานัต อัพภานอยู่ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัย
อีก นี่เป็นญัตติ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 27
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะผู้
นี้เป็นพาลไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่
คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่
ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาสชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้
มานัต อัพภานอยู่ สงฆ์ทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะคือ
ให้กลับถือนิสัยอีก การทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะคือ
ให้กลับถือนิสัยอีก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้
นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะผู้นี้เป็นพาล ไม่ฉลาด
มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์
ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย
ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่ สงฆ์
ทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก การ
ทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนินัยอีก
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้
ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า....ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 28
นิยสกรรม อันสงฆ์ทำแล้วแก่พระเสยยสกะ คือ
ให้กลับถือนิสัยอีก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้อย่างนี้.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือทำลับหลัง ๑ ไม่
สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ไม่ทำตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับเเล้วไม่ดี
หมวดที่ ๒
[๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ
เพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เทศนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติ
ที่แสดงแล้ว .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับเเล้วไม่ดี
หมวดที่ ๓
[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจท
ก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 29
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๔
[๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ
ลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๕
[๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือไม่สอบ
ถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับเเล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๖
[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือไม่ทำ
ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 30
หมวดที่ ๗
[๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ
เพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๘
[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรค
ทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๙
[๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ
เพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 31
หมวดที่ ๑๐
[๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๑
[๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้
จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับเเล้วไม่ดี.
หนวดที่ ๑๒
[๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่
ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 32
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถาม
ก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๒
[๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้
แสดง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๓
[๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อน
แล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 33
หมวดที่ ๔
[๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อ
หน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๕
[๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถาม
ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรน เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๖
[๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำคาม
ปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๗
[๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 34
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๘
[๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
อาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว .
หมวดที่ ๙
[๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
อาบัติยังไม่ได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๐
[๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย เเละระงับดีเเล้ว คือ โจทก่อน
แล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 35
หมวดที่ ๑๑
[๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลย
ให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๒
[๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับอาบัติ
แล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว .
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำนง
จะพึงลงนิยสกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ
ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เป็นพาล ไม่ฉลาด
มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลี
อันไม่สมควร ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 36
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
จะพึงลงนิยสกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๒
[๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑
เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
จะพึงลงนิยสกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๓
[๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมก็ได้ คือ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑
กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
จะพึงลงนิยสกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๔
[๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ
๓ รูปคือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มี
อาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร ๑ รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการ
คลุกคลีอันไม่สมควร ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 37
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป
นี้แล.
หมวดที่ ๕
[๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่
ภิกษุ ๓ รูปแม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล รูปหนึ่ง
เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏิฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป
นี้แล.
หมวดที่ ๖
[๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ
๓ รูปแม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ รูปหนึ่งกล่าว
ติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป
นี้แล.
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด จบ
วัตร ๑๘ ข้อ ในนิยสกรรม
[๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้วต้อง
ประพฤติโดยชอบ
วิธีประพฤติโดยชอบในนิยสกรรมนั้น ดังต่อไปนี้ :-
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 38
๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๓ . ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔ . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕ . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๑๖ . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
วัตร ๑๘ ข้อ ในสิยสกรรม จบ
วัตรที่ควรระงับและไม่ควรระงับ
[๗๖] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะแล้ว คือให้
กลับถือนิสัยอีก เธอถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ซ่องเสพคบหานั่งใกล้กัลยาณ-
มิตรขอให้แนะนำ ไต่ถาม ได้เป็นพหูสูต ช่ำชอง ในคัมภีร์ ทรงธรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 39
ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นลัชชี มี
ความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา เธอประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ
แก้ตัวได้ เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผม
ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้วได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไปภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า.
[๗๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
สงฆ์จงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ คือ :-
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับนิยสกรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 40
หมวดที่ ๒
[๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ:-
๑. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับนิยสกรรม.
หมวดที่ ๓
[๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ:-
๑ . ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 41
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับนิยสกรรม.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ:-
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
นิยสกรรม.
หมวดที่ ๒
[๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอัน เช่นกัน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 42
๓. ไม่ต้องอาบัติเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
นิยสกรรม.
หมวดที่ ๓
[ ๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ:-
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
นิยสกรรม.
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 43
วิธีระงับนิยสกรรม
[๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับนิยสกรรมอย่างนี้ คือ
ภิกษุเสยยสกะนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีแล้วกล่าวคำขอระงับนิยส-
กรรมนั้นอย่างนี้ว่าดังนี้ :-
คำระงับนิยสกรรม
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ
หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับนิยสกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจาว่าดังนี้:-
กรรมวาจาระงับนิยสกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะ
รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย
เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม ถ้า
ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับนิยสกรรม
แก่พระเสยยสกะ นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะ
รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 44
เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์
ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ การระงับนิยสกรรมแก่
พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยส-
กรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่
พระเสยยสกะ การระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยส-
กรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่
พระเสยยสกะ การระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด.
นิยสกรรมอันสงฆ์ระงับแล้วแก่พระเสยยสกะ ชอบ
แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
จบ นิยสกรรม ที่ ๒
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 45
ปัพพาชนียกรรมที่ ๓
เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
[๘๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม ภิกษุพวกนั้นประพฤติ
อนาจารเห็นปานดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รด
น้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อย
กรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้
ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อ
เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้
ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเอง
บ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น
นำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม
นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้
ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรีเพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่ง
ตระกูล เพื่อสะใภ้แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสี ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารใน
ภาชนะอันเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบนอาสนะอันเดียว
กันบ้าง นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้าง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 46
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกัน
บ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูล สะใภ้แห่งตระกูล กุลทาสี
ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของหอมและ
เครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิง
ฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้อง
กับหญิงขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิง
ประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง
ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิง
เต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง
เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง
เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้
บ้าง เล่นไถน้อย ๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวง
ทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อย ๆ บ้าง เล่นธนูน้อย ๆ บ้าง เล่นเขียน
ทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี้ม้าบ้าง
หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้า
บ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือ
บ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานเต้นรำ
แล้วพูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้
ดังนี้บ้าง ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่าง ๆ บ้าง.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 47
อุบาสกเล่าเรื่องให้พระฟัง
[๘๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในแคว้นกาสี
เดินทางไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงชนบทกิฏาคีรี
แล้ว ครั้นเวลาเช้าภิกษุนั้นครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาต
ยังชนบทกิฏาคีรี มีอาการเดินไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน
น่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลงสมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ
คนทั้งหลายเห็นภิกษุรูปนั้น แล้วพูดอย่างนี้ว่าภิกษุรูปนี้เป็นใคร
ดูคล้ายคนไม่ค่อยมีกำลัง เหมือนคนอ่อนแอ เหมือนคนมีหน้าสยิ้ว ใคร
เล่าจักถวายบิณฑะแก่ท่านผู้เข้าไปเที่ยวบินฑบาตรูปนี้ ส่วนพระผู้เป็นเจ้า
เหล่าพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะของพวกเรา เป็นผู้อ่อนโยน พูดจา
ไพเราะ อ่อนหวาน ยิ้มเเย้มก่อน มักพูดว่า มาเถิด มาดีแล้ว มีหน้าไม่
สยิ้ว มีหน้าชื่นบาน มักพูดก่อน ใคร ๆ ก็ต้องถวายบิณฑะแก่ท่านเหล่านั้น.
อุบาสกคนหนึ่งได้เเลเห็นภิกษุรูปนั้น กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ใน
ชนบทกิฏาคีรี ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น กราบเรียนถามภิกษุรูป
นั้นว่า พระคุณเจ้าได้บิณฑะบ้างไหม ขอรับ.
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะเลย ท่านผู้มีอายุ.
อุบาสกกล่าวอาราธนาว่า นิมนต์ไปเรือนผมเถิดขอรับ แล้วนำ
ภิกษุรูปนั้นไปเรือน นิมนต์ให้ฉันแล้วเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจักไปที่ไหน
ขอรับ.
ภิ. อาตมาจักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.
อุ. ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้า จงกราบถวายบังคมพระบาทยุคล
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 48
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของ
ผมอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วัดในชนบทกิฏาคีรีเสื่อมถอย ภิกษุพวก
อัสสชิและปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลว
ทราม พวกเธอประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง
ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง
ไม่ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง
ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้
ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง
ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวง
เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทาบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้
ผู้อื่นทำบ้าง ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้างใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน
นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง
ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้พุ่มนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไป
เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น
นำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา
เพื่อกุมารีแห่งตระกูล เพื่อสะใภ้แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสี ภิกษุพวกนั้น
ฉัน อาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบน
อาสนะอันเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาด
อันเดียวกันบ้าง นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและ
คลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูล สะใภ้แห่ง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 49
ตระกูล กุลทาสี ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรง
ดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคม
บ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง
ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิง
ขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง
เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิง
ประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิง
เต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง
เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่น
หมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่าง ๆ
บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อย ๆ บ้าง เล่นหกคะเมน
บ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อย ๆ บ้าง เล่น
ธนูน้อย ๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง
หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง
วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถม้าบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง
ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ
ณ กลางสถานเต้นรำ แล้วพูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจง
ฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่าง
ต่าง ๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธา
ไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อน ๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 50
แล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง พระพุทธ
เจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส พระผู้มีพระภาคเจ้าพึง
ส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่ชนบทกิฏาคีรีเถิด เพื่อวัดในชนบทกิฏาคีรีนี้จะตั้งมั่น
อยู่.
ภิกษุรูปนั้นรับคำของอุบาสกนั้นแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไปโดยทาง
พระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกคหบดี โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พุทธประเพณี
[๘๖] ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับ
พระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี.
ทรงปฏิสันถาร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ
ร่างกายของเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ เธอเดินทางมามี
ความลำบากน้อยหรือ และเธอมาจากไหน.
ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า
ยังพอให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า เเละข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมา มีความ
ลำบากเล็กน้อย ข้าพระพุทธเจ้าจำพรรษาในแคว้นกาสีแล้ว เมื่อจะมายัง
พระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ผ่านชนบทกิฏาคีรี พระ
พุทธเจ้าข้า ครั้นเวลาเช้า ข้าพระพุทธเจ้าครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 51
เข้าไปบิณฑบาตยังชนบทกิฏาคีรี อุบาสกคนหนึ่ง ได้แลเห็นข้าพระพุทธเจ้า
กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ครั้นแล้วได้เข้าไปหาข้าพระพุทธ-
เจ้า กราบไหว้ข้าพระพุทธเจ้าแล้วถามว่า ท่านได้บิณฑะบ้างไหม ขอรับ
ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะเลยผู้มีอายุ เขาพูดว่า นิมนต์ไปเรือน
ผมเถิด ขอรับ แล้วนำข้าพระพุทธเจ้าไปเรือนให้ฉันเเล้วถามว่า พระคุณ
เจ้าจักไปที่ไหน ขอรับ ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า จักไปพระนครสาวัตถี
เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาพูดว่า ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้นขอท่าน
จงกราบถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า
และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วัดใน
ชนบทกิฏาคีรีเสื่อมถอย ภิกษุพวกพระอสัสชิและพระปุนัพพสุกะเป็นเจ้าถิ่น
ในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม พวกเธอประพฤติอนาจาร
เห็นปานนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง ....ประพฤติ
อนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยว
นี้เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายก
ทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทราม
อยู่ครอง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส พระ-
องค์ควรส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่ชนบทกิฏาคีรี เพื่อวัดในชนบทกิฏาคีรีนี้ จะ
พึงตั้งมั่นอยู่ ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามาจากชนบทกิฏาคีรีนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๘๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน
เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 52
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ
ปุนัพพสุกะเป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรีเป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม พวกเธอ
ประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูก
บ้าง.... ประพฤติอนาจารมีอย่างต่าง ๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธา
เลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์
ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป
ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง ดังนี้ จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระ
ทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจ
ของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ประพฤติ
อนาจารเห็นปานดังนี้ คือ ได้ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นปลูก
บ้าง ได้รดน้ำเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง, ได้เก็บดอกไม้เองบ้าง ได้
ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง, ได้ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรอง
บ้าง, ได้ทำมาลัยต่อกันเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง, ได้ทำมาลัยเรียงก้าน
เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง, ได้ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำ
บ้าง, ได้ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง, ได้ทำดอกไม้เทริด
เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง, ได้ทำดอกไม้พวงเองบ้างได้ใช้ให้ผู้อื่นทำ
บ้าง, ได้ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง,
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 53
พวกเธอได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง, ซึ่งมาลัยต่อกัน ได้นำ
ไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง, ซึ่งมาลัยเรียงก้าน ได้นำไปเองบ้าง
ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง, ซึ่งดอกไม้ช่อ ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่น
นำไปบ้าง, ซึ่งดอกไม้พุ่ม ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง,
ซึ่งดอกไม้เทริดได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง, ซึ่งดอกไม้พวง
ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง, ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก
เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งตระกูล เพื่อสะใภ้แห่งตระกูล
เพื่อกุลทาสี.
พวกเธอได้ฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง, ได้ดื่มน้ำในขันใบ
เดียวกันบ้าง, ได้นั่งบนอาสนะอันเดียวกันบ้าง ได้นอนบนเตียงอันเดียว
กันบ้าง, ได้นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้าง, ได้นอนคลุมผ้าห่มผืน
เดียวกันบ้าง, ได้นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับกุลสตรี
กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูลสะใภ้แห่งตระกูล กุลทาสีได้ฉันอาหารในเวลา
วิกาลบ้าง, ได้ดื่มน้ำเมาบ้าง, ได้ทัดทรงดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้
บ้าง, ได้ฟ้อนรำบ้าง, ได้ขับร้องบ้าง, ได้ประโคมบ้าง, ได้เต้นรำบ้าง,
ได้ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ได้ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง, ได้ประโคม
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง, ได้เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง, ได้ฟ้อนรำกับหญิง
ขับร้องบ้าง, ได้ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง, ได้ประโคมกับหญิงขับร้อง
บ้าง, ได้เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง, ได้ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง, ได้
ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง, ได้ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง, ได้เต้นรำ
กับหญิงประโคมบ้าง, ได้ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง, ได้ขับร้องกับหญิง
เต้นรำบ้าง, ได้ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง, ได้เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 54
ได้เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง, ได้เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง,
ได้เล่นหมากเก็บบ้าง, ได้เล่นชิงนางบ้าง, ได้เล่นหมากไหวบ้าง, ได้เล่น
โยนห่วงบ้าง, ได้เล่นไม้หึ่งบ้าง, ได้เล่นฟาดให้เป็นรูปต่าง ๆ บ้าง, ได้
เล่นสะกาบ้าง, ได้เล่นเป่าใบไม้บ้าง, ได้เล่นไถน้อย ๆ บ้าง, ได้เล่นหก
คะเมนบ้าง, ได้เล่นไม้กังหันบ้าง, ได้เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง, ได้เล่น
รถน้อย ๆ บ้าง, ได้เล่นธนูน้อย ๆ บ้าง, ได้เล่นเขียนทายบ้าง, ได้เล่นทายใจ
บ้าง, ได้เล่นเลียนคนพิการบ้าง, ได้หัดขี่ช้างบ้าง, ได้หัดขี่ม้าบ้าง, ได้
หัดขี่รถบ้าง, ได้หัดยิงธนูบ้าง, ได้หัดเพลงอาวุธบ้าง, ได้วิ่งผลัดช้างบ้าง,
ได้วิ่งผลัดม้าบ้าง, ได้วิ่งผลัดรถบ้าง, ได้วิ่งขับกันบ้าง, ได้วิ่งเปี้ยวกันบ้าง,
ได้ผิวปากบ้าง, ได้ปรบมือบ้าง, ได้ปล้ำกันบ้าง, ได้ชกมวยกันบ้าง,
ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานที่เต้นรำแล้ว, ได้พูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้
ว่าน้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง, ได้ให้การคำนับบ้าง ได้
ประพฤติอนาจารมีอย่างต่าง ๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส
แค่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อน ๆ
บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุ
เลวทรามอยู่ครองเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส....ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะว่าไปเถิดสารีบุตรและโมคคัล-
ลานะพวกเธอไปถึงชนบทกิฏาคีรีแล้วจงทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวก
พระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรี เพราะภิกษุพวกนั้น
เป็นสัทธิวิหาริกของพวกเธอ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 55
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า พวกข้าพระพุทธ
เจ้าจะทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจาก
ชนบทกิฏาคีรีได้ด้วยวิธีไร เพราะภิกษุพวกนั้นดุร้าย หยาบคาย พระ-
พุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตรและโมคคัลลานะ ถ้าเช่น
นั้นพวกเธอจงไปพร้อมด้วยภิกษุหลาย ๆ รูป
พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะกราบทูลสนองพระผู้มีพระภาค
เจ้า ว่าอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า.
วิธีทำปัพพาชนียกรรม
[๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล
ปัพพาชนียกรรมพึงทำอย่างนี้ คือ พึงโจทภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ-
ปุนัพพสุกะก่อน ครั้นแล้วพึงให้พวกเธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้น
แล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาทำปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระ
อัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล
มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของ
ภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุล
ทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้วเขาได้เห็นอยู่ด้วย
เขาได้ยินอยู่ด้วย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 56
ปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิ และ
พระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระ
อัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล
มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของ
ภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และ
สกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็น
อยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วยสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ
พวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรี ว่า
ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบท
กิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและ
พระปุนัพพสะกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิ
และพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้น พึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพ
สุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลว
ทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้
เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุ
เหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วยเขาได้ยินอยู่ด้วย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 57
สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ
ปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิ
และพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำ
ปัพพาชนียกรรมเเก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพ-
พสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ
ปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
พูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
เหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม
ความเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้
ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้าย
แล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพา
ชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จาก
ชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ
พวกพระอัสสชิ เเละพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า
ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ใน
ชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 58
ปัพพชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวกพระ
อัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุ
พวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏา
คีรี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้
อย่างนี้.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑
ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๒
[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะ
อาบัติที่แสดงแล้ว ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 59
หมวดที่ ๓
[๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติ
แล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๔
[๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๕
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น
อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่สอบ
ถามก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 60
หมวดที่ ๖
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ
ไม่ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๗
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น
อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะ
ไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๘
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น
อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะ
อาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๙
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น
อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 61
อาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๐
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น
อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจท
ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น
อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้
จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยของค์ ๓ แม้อื่น
อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับ
อาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 62
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบ
ถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๒
[๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้
แสดง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 63
หมวดที่ ๓
[๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อน
แล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว .
หมวดที่ ๔
[๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อ
หน้า ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๕
[๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์
๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบ
ถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนีกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว .
หมวดที่ ๖
[๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำตาม
ปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 64
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๗
[๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ
เพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๘
[๑๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
อาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนีกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๙
[๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
อาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 65
หมวดที่ ๑๐
[๑๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วย
องค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีเเล้ว คือ
โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๑
[๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลย
ให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว .
หมวดที่ ๑๒
[๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วย
องค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีเเล้ว คือ
ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 66
ข้อที่สงฆ์จำนง ๑๔ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์
จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการ
ทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล
ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วย
การคลุกคลีอันไม่สมควร ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๒
[๑๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติ ใน
อธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้ เมื่อสงฆ์จำนง
จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๓
[๑๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 67
หมวดที่ ๔
[๑๐๘] คูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ เล่นคะนองกาย ๑ เล่น
คะนองวาจา เล่นคะนองกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๕
[๑๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ ประพฤติอนาจารทางกาย
๑ ประพฤติอนาจารทางวาจา ๑ ประพฤติอนาจารทางกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๖
[๑๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ บังอาจลบล้างพระบัญญัติ
ทางกาย ๑ บังอาจลบล้างพระบัญญัติทางวาจา ๑ บังอาจลบล้างพระบัญญัติ
ทางกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 68
หมวดที่ ๗
[๑๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ ประกอบมิจฉาชีพทาง
กาย ๑ ประกอบมิจฉาชีพทางวาจา ๑ ประกอบมิจฉาชีพทางกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๘
[๑๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรม
แก่ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อ
การวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่
ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์
ด้วยการคลุกคลีอัน ไม่สมควร ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง
ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๙
[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรม
แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑
รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ใน
อติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง
ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 69
หมวดที่ ๑๐
[๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนีย-
กรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธ-
เจ้า ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง
ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๑๑
[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนีย-
กรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งเล่นคะนองกาย ๑ รูป
หนึ่งเล่นคะนองวาจา ๑ รูปหนึ่งเล่นคะนองกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง
ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๑๒
[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนีย-
กรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งประพฤติอนาจารทาง
กาย ๑ รูปหนึ่งประพฤติอนาจารทางวาจา ๑ รูปหนึ่งพระพฤติอนาจาร
ทางกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง
ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 70
หมวดที่ ๑๓
[๑๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนีย-
กรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งบังอาจลบล้างพระบัญญัติ
ทางกา ๑ รูปหนึ่งบังอาจลบล้างพระบัญญัติทางวาจา ๑ รูปหนึ่งบังอาจ
ลบล้างพระบัญญัติทางกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง
ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๑๔
[๑๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนีย-
กรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทาง
กาย ๑ รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทางวาจา ๑ รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพ
ทางกายและวาจา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง
ปัพพาชนียกรรมก็ได้.
ข้อที่สงฆ์จำนง ๑๔ หมวด จบ
วัตร ๑๘ ข้อในปัพพาชนียกรรม
[๑๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว
ต้องประพฤติโดยชอบ
วิธีประพฤติโดยชอบในปัพพาชนียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 71
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัติ
นั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
วัตร ๑๘ ข้อ ในปัพพาชนียกรรม จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 72
ภิกษุสงฆ์เดินทางไปลงโทษ
[๑๒๐] ครั้งนั้น ภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็น
ประมุขได้ไปสู่ชนบทกิฏาคีรี แล้วลงปัพพาชนียกรรมแก่พวกภิกษุอัสสชิ
และปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะไม่
พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี
พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะเหล่านั้น ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรม
แล้วไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมา
ภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงเพราะความ
พอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง ลำเอียงเพราะ
ความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย....ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่าไฉนพวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว จึง
ได้ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมา
ภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงเพราะ
ความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง ลำเอียง
เพราะความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๑๒๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 73
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพ-
พสุกะถูกสงฆ์สงปัพพาชนียกรรมแล้ว ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อ
หยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการก
สงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง
ลำเอียงเพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี
จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่
กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น ถูกสงฆ์
ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว จึงได้ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่
ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่
ความว่า ลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียง
เพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส....ครั้นแล้วทรงทำธรรมี
กถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
สงฆ์จงระงับปัพพาชนียกรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 74
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ :-
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับปัพพาชนียกรรม.
หมวดที่ ๒
[๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่น อีก คือ:-
๑. ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั่งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับปัพพาชนียกรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 75
หมวดที่ ๓
[๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ:-
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับปัพพาชนียกรรม.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ในปัพพาชนียกรรม จบ
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ :-
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 76
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
ปัพพาชนีกรรม.
หมวดที่ ๒
[๑๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
ปัพพาชนียกรรม.
หมวดที่ ๓
[๑๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ คือ :-
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 77
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
ปัพพาชนียกรรม.
วัตรที่ควรระงับ ๘ ข้อ ในปัพพาชนียกรรม จบ
วิธีระงับปัพพาชนียกรรม
[๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรม
อย่างนี้ คือ ภิกษุที่ถูกลงปัพพาชนียกรรมนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้า
อุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่งกระโหย่ง
ประคองอัญชลี กล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
คำขอระงับปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดย
ชอบ หาเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ข้าพเจ้าขอระงับปัพพาชนีย-
กรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 78
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทรามด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจาว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาระงับปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้
ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย
เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนีย-
กรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับ
ปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้
ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย
เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับปัพพาชนียกรรม
สงฆ์ระงับปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับ
ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความแม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนีย-
กรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 79
ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับปัพพา-
ชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับปัพพาชนียกรรมแก่
ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ปัพพาชนียกรรม อันสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้
ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วย
อย่างนี้.
ปัพพาชนียกรรม ที่ ๓ จบ
ปฏิสารณียกรรม ที่ ๔
เรื่องพระสุธรรม
[๑๒๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระสุธรรมเป็นเจ้าอาวาส เป็น
ช่างก่อสร้าง รับภัตรประจำของจิตตคหบดี ในเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ใน
คราวที่จิตตคหบดีประสงค์จะนิมนต์สงฆ์ คณะ หรือบุคคล จะไม่บอก
ท่านพระสุธรรมก่อน นิมนต์สงฆ์ คณะ หรือบุคคล ไม่เคยมี
สมัยต่อมา พระเถระหลายรูปด้วยกัน คือ ท่านพระสารีบุตร ท่าน
พระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ท่าน
พระมหากัปปีนะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ
ท่านพระอุบาลี ท่านพระอานนท์ และท่านพระราหุล ได้เที่ยวจาริกไป
ในแคว้นกาสี เดินทางไปถึงเมืองมัจฉิกาสณฑ์
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 80
จิตตคหบดีต้อนรับพระอาคันตุกะ
[๑๓๐] จิตตคหบดีได้ทราบข่าวแน่ชัดว่า พระเถระหลายรูปมาถึง
เมืองมัจฉิกาสณฑ์แล้วโดยลำดับ จึงเข้าไปในสำนักของพระเถระ ครั้นแล้ว
จึงอภิวาทพระเถระทั้งหลายแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร
ได้ชี้แจงให้จิตตคหบดีผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ
ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นจิตตคหบดีอันท่านพระสารีบุตรชี้แจง ให้
เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กล่าวคำ
อาราธนานี้แก่พระเถระทั้งหลายว่า ขอพระเถระทั้งหลายจงกรุณารับ
อาคันตุกะภัตรของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้
ด้วยเถิด เจ้าข้า พระเถระทั้งนั้นรับอาราธนาด้วยอาการดุษณีภาพ.
[๑๓๑] ครั้นจิตตคหบดี ทราบการรับอาราธนาของพระเถระ
ทั้งหลายแล้ว ลุกจากที่นั่งไหว้พระเถระทั้งหลาย ทำประทักษิณแล้วเข้าไป
หาท่านพระสุธรรมถึงสำนัก นมัสการเเล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบเรียนอาราธนาท่านพระสุธรรม ดังนี้ว่า ขอพระคุณเจ้า
สุธรรม จงกรุณารับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลปิติและ
ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ พร้อมกับพระเถระทั้งหลายด้วยเถิด เจ้าข้า
ครั้งนั้น ท่านพระสุธรรมคิดว่า ครั้งก่อนๆ จิตตคหบดีนี้ประสงค์
จะนิมนต์สงฆ์ คณะ หรือบุคคล คราวใด จะไม่บอกเราก่อนแล้วนิมนต์
สงฆ์ คณะ หรือบุคคลไม่เคยมี แต่เดี๋ยวนี้ เขาไม่บอกเราก่อน แล้ว
นิมนต์พระเถระทั้งหลาย เดี๋ยวนี้จิตตคหบดีนี้ ลบหลู่เมินเฉย ไม่ยินดี
เราเสียแล้ว จึงได้กล่าวคำนี้แก่จิตตคหบดีว่า อย่าเลย คหบดี อาตมา
ไม่รับนิมนต์
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 81
จิตตคหบดี ได้กราบเรียนอาราธนาท่านพระสุธรรมเป็นคำรบสอง
ว่าขอพระคุณเจ้าสุธรรม จงกรุณารับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญ
กุศลปีติและปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ พร้อมกับพระเถระทั้งหลายด้วยเถิด
เจ้าข้า.
ท่านพระสุธรรมตอบว่า อย่าเลย คหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์.
จิตตคหบดี ได้กราบเรียนอาราธนาท่านพระสุธรรมเป็นคำรบสาม
ว่า ขอพระคุณเจ้าสุธรรม จงกรุณารับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญ
บุญกุศลปีติและปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ พร้อมกับพระเถระทั้งหลายด้วยเถิด
เจ้าข้า.
ท่านพระสุธรรมตอบว่า อย่าเลย คหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์.
ครั้งนั้น จิตตคหบดีคิดว่า จักทำอะไรแก่เรา เมื่อพระคุณเจ้าสุธรรม
รับนิมนต์ หรือไม่รับนิมนต์ แล้วไหว้ท่านพระสุธรรมทำประทักษิณกลับ
ไป.
วิวาทกับคหบดี
[๑๓๒] ครั้งนั้น จิตตคหบดีสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอัน
ประณีต ถวายพระเถระทั้งหลายโดยผ่านราตรีนั้น ท่านพระสุธรรมจึงคิดว่า
ถ้ากระไร เราพึงตรวจดูขาทนียโภชนียาหารที่จิตตคหบดีตกแต่งถวายพระ
เถระทั้งหลาย ครั้นถึงเวลาเช้า นุ่งอันตรราสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่
นิเวศน์ของจิตตคหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย.
ที่นั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระสุธรรม นมัสการแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 82
ท่านพระสุธรรมได้กล่าวคำนี้แก่จิตตคหบดี ผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า
ท่านคหบดี ขาทนียโภชนียาหารนี้ ท่านตกแต่งไว้มากนัก แต่ของสิ่งหนึ่ง
ที่เขาเรียกว่า ขนมแดกงา ไม่มีในจำนวนนี้.
จิตตคหบดีกล่าวความตำหนิว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อพระพุทธพจน์มาก
มายมีอยู่. แต่พระคุณเจ้าสุธรรมมากล่าวว่า ขนมแดกงา ซึ่งเป็นคำเล็กน้อย.
ท่านเจ้าข้า เรื่องเคยมีมาแล้ว พ่อค้าชาวทักษิณาบถ ได้ไปสู่ชนบท
แถบตะวันออก พวกเขานำแม่ไก่มาแต่ที่นั้น ต่อมาแม่ไก่นั้นสมสู่อยู่ด้วย
พ่อกาก็ออกลูกมา คราวใดลูกไก่นั้นปรารถนาจะร้องอย่างกา คราวนั้น
ย่อมร้องเสียงการะคนไก่ คราวใดปรารถนาจะขันอย่างไก่ คราวนั้นย่อม
ขันเสียงไก่ระคนกา ฉันใด เมื่อพระพุทธพจน์มากมายมีอยู่ พระคุณเจ้า
สุธรรมมากล่าวว่า ขนมแดกงา ซึ่งเป็นคำเล็กน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
สุ. คหบดี ท่านด่าอาตมา คหบดี ท่านบริภาษอาตมา คหบดี นั่น
อาวาสของท่าน อาตมาจักหลีกไปจากอาวาสนั้น.
จิ. ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ามิได้ด่ามิได้บริภาษพระคุณเจ้าสุธรรม ขอ
อาราธนาพระคุณเจ้าสุธรรม จงอยู่ในวิหารอัมพาฏกวัน อันเป็นสถาน
รื่นรมย์ เขตเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ข้าพเจ้าจักทำการขวนขวายจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระคุณเจ้าสุธรรม.
ท่านพระสุธรรม ได้กล่าวคำนี้แก่จิตตคหบดีเป็นคำรบสองว่า
คหบดี ท่านด่าอาตมา คหบดี ท่านบริภาษอาตมา คหบดี นั่นอาวาส
ของท่าน อาตมาจักหลีกไปจากอาวาสนั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 83
จิ. ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ามิได้ด่า มิได้บริภาษพระคุณเจ้าสุธรรม ขอ
อาราธนาพระคุณเจ้าสุธรรม จงอยู่ในวิหารอัมพาฏกวัน อันเป็นสถานรื่น
รมย์ เขตเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ข้าพเจ้าจักทำการขวนขวาย จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระคุณเจ้าสุธรรม.
ท่านพระสุธรรม ได้กล่าวคำนี้แก่จิตตคหบดีเป็นคำรบสามว่า คหบดี
ท่านด่าอาตมา คหบดี ท่านบริภาษอาตมา คหบดี นั่นอาวาสของท่าน
อาตมาจักหลีกไปจากอาวาสนั้น .
จิ. พระคุณเจ้าสุธรรมจักไปที่ไหน เจ้าข้า.
สุ. คหบดี อาตมาจักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
จิ. ท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น ถ้อยคำอันใดที่พระคุณเจ้าได้กล่าวแล้ว
และถ้อยคำอันใดที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ขอท่านจงกราบทูลถ้อยคำอันนั้น
ทั้งมวลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ข้อที่พระคุณเจ้าสุธรรมจะพึงกลับมาเมือง
มัจฉิกาสณฑ์อีกนั้น ไม่อัศจรรย์เลย เจ้าข้า.
พระสุธรรมเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
[๑๓๓] ครั้งนั้น ท่านพระสุธรรมเก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตรจีวร
เดินไปทางพระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระเชตวันอารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถวายบังคม
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วกราบทูลถ้อยคำที่คนกับคหบดีโต้ตอบ
กัน ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบทุกประการ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 84
ทรงติเตียน
[๑๓๔] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ
การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้
ไม่ได้ ไม่ควรทำ จิตตคหบดีผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการก
บำรุงสงฆ์ ไฉนเธอจึงได้พูดกด พูดข่ม ด้วยถ้อยคำอันเลวเล่า ดูก่อน
โมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส....ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะพระภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม
คือ ให้เธอขอขมาจิตตคหบดี.
วิธีทำปฏิสารณียกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีทำปฏิสารณียกรรมพึงทำอย่างนี้ พึง
โจทภิกษุสุธรรมก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้น
แล้วภิกษุ ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาทำปฏิสารณียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้
พูดกด พูดข่ม จิตตคหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก
กัปปิยการก ผู้บำรุงสงฆ์ ด้วยถ้อยคำอันเลว ถ้าความ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 85
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปฏิสารณียกรรม
แก่ภิกษุสุธรรม คือให้เธอขอขมาจิตตคหบดี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้
พูดกด พูดข่ม จิตตคหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็น
ทายก กัปปิยการก ผู้บำรุงสงฆ์ ด้วยถ้อยคำอันเลว สงฆ์
ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมา
จิตตคหบดี การทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ
ให้เธอขอขมาจิตตคหบดี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ พูดกด พูดข่ม จิตต
คหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นทายก กัปปิยการก ผู้บำรุง
สงฆ์ ด้วยถ้อยคำอันเลว สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ
สุธรรม คือให้เธอขอขมาจิตตคหบดี การทำปฏิสารณีย-
กรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือให้เธอขอขมาจิตตคหบดี ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ปฏิสารณียกรรมอันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุสุธรรม คือ
ให้เธอขอขมาจิตตคหบดี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 86
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑
ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๒
[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะ
อาบัติที่แสดงแล้ว ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๓
[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้ว
ทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 87
หมวดที่ ๔
[๑๓๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๕
[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๖
[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๗
[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 88
ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๘
[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็น
วรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๙
[๑๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๐
[๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 89
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๑
[๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรค
ทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๒
[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
คือ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด ในปฏิสารณียกรรม จบ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑
สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 90
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๒
[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ
เพราะต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยัง
มิได้แสดง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว
หมวดที่ ๓
[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจท
ก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว .
หมวดที่ ๔
[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อ
หน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 91
หมวดที่ ๕
[๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถาม
ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๖
[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำตาม
ปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๗
[๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
ต้องอาบัติ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว .
หมวดที่ ๘
[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 92
อาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๙
[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
อาบัติ ยังมิได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๐
[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์
๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจท
ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๑
[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์
๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้
จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 93
หมวดที่ ๑๒
[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์
๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับ
อาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๒ หมวด ในปฏิสารณียกรรม จบ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๔ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อสงฆ์
จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรม คือ :-
๑. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งพวกคฤหัสถ์
๒. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งพวกคฤหัสถ์
๓. ขวนขวายเพื่ออยู่มิได้แห่งพวกคฤหัสถ์
๔. คำว่าเปรียบเปรยพวกคฤหัสถ์
๕. ยุยงพวกคฤหัสถ์กับพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
พึงลงปฏิสารณียกรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 94
หมวดที่ ๒
[๑๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปฏิสารณียกรรม คือ :-
๑. พูดติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์
๒. พูดติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์
๓. พูดติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์
๔. พูดกด พูดข่ม พวกคฤหัสถ์ด้วยถ้อยคำอันเลว
๕. รับคำอันเป็นธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ แล้วไม่ทำจริง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
พึงลงปฏิสารณียกรรม.
หมวดที่ ๓
[๑๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรม
แก่ภิกษุ ๕ รูป คือ รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งพวกคฤหัสถ์ ๑ รูป
หนึ่งขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งพวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อยู่
มิได้แห่งพวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งด่าว่าเปรียบเปรยพวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่ง
ยุยงพวกคฤหัสถ์กับพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ
๕ รูปนี้แล.
หมวดที่ ๔
[๑๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่
ภิกษุอีก ๕ รูปแม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งพูดติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวก
คฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งพูดติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 95
ติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งพูดกด พูดข่มพวกคฤหัสถ์ด้วย
ถ้อยคำอันเลว ๑ รูปหนึ่งรับคำอันเป็นธรรมแก่พวกคฤหัสถ์แล้ว ไม่ทำ
จริง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ
๕ รูปนี้แล.
ข้อที่สงฆ์จำนง ๔ หมวด จบ
วัตร ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม
[๑๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว
ต้องประพฤติชอบ
วิธีประพฤติชอบในปฏิสารณียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้:-
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั่งหลายผู้ทำกรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 96
๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
วัตร ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ
ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม
[๑๖๔] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ
ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี เธอถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้วไปเมือง
มัจฉิกาสณฑ์ เป็นผู้เก้อ ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้ จึงกลับมายังพระ-
นครสาวัตถีอีก
ภิกษุทั้งหลายถามอย่างนี้ว่า คุณสุธรรม คุณขอขมาจิตตคหบดีแล้ว
หรือ?
ท่านพระสุธรรมตอบว่า ท่านทั้งหลาย ในเรื่องนี้ ผมได้ไปเมือง
มัจฉิกาสณฑ์แล้ว เป็นผู้เก้อ ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งว่า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 97
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้อนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอ
ขมาจิตตคหบดี.
วิธีให้อนุทูต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล อนุทูตพึงให้อย่างนี้ พึงขอให้ภิกษุรับ
ก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ภิกษุมีชื่อนี้เป็นอนุทูต
แก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอขมาจิตตคหบดี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้ภิกษุมี
ชื่อนี้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อขอขมาจิตตคหบดี
การให้ภิกษุมีชื่อนี้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อขอขมา
จิตตคหบดี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์ให้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม
แล้ว เพื่อขอขมาจิตตคหบดี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงควานนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 98
วิธีขอขมาของพระสุธรรม
[๑๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสุธรรมนั้นพึงไปเมืองมัจฉิกา-
สณฑ์กับภิกษุอนุทูต แล้วขอขมาจิตตคหบดีว่า คหบดีขอท่านจงอดโทษ
อาตมาจะให้ท่านเลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการ
ดีหากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูดว่า คหบดี ขอท่านจงอดโทษ
แก่ภิกษุนี้ ภิกษุนี้จะให้ท่านเลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อ
นั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูดว่า คหบดี ขอ
ท่านจงอดโทษแก่ภิกษุนี้ อาตมาจะให้ท่านเลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้
เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูด
ว่าคหบดี ขอท่านจงอดโทษแก่ภิกษุนี้ตามคำสั่งของสงฆ์ ถ้าเมื่อกล่าว
อย่างนี้เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึง
ให้ภิกษุสุธรรมห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้ว
ให้แสดงอาบัตินั้น ไม่ละทัสสนูปจาร ไม่ละสวนูปจาร.
ขอขมาสำเร็จ และสงฆ์ระงับกรรม
[๑๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสุธรรมไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับภิกษุ
อนุทูต แล้วขอขมาจิตตคหบดี ท่านพระสุธรรมนั้นประพฤติโดยชอบ
หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้
ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ได้ประพฤติโดย
ชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า:-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 99
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับปฏิสารณียกรรมแก่
ภิกษุสุธรรม .
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่
พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ :-
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็สั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับปฏิสารณียกรรม.
หมวดที่ ๒
[๑๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก
สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ :-
๑. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม เพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 100
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับปฏิสารณียกรรม.
หมวดที่ ๓
[๑๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์ไม่พึง
ระงับปฏิสารณียกรรม คือ :-
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับปฏิสารณียกรรม.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 101
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ
หมวดที่ ๑
[๑๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึง
ระงับปฏิสารณียกรรม คือ :-
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
ปฏิสารณียกรรม.
หมวดที่ ๒
[๑๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก
สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ:-
๑. สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
ปฏิสารณียกรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 102
หมวดที่ ๓
[๑๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์พึง
ระงับปฏิสารณียกรรม คือ:-
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
ปฏิสารณียกรรม.
วัตรที่ควรระงับ ๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ
วิธีระงับปฏิสารณียกรรม
[๑๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับปฏิสารณียกรรมพึง
ระงับอย่างนี้ คือ ภิกษุสุธรรมนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียง
บ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าว
คำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 103
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประ-
พฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอ
ระงับปฏิสารณียกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาระงับปฏิสารณียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้
ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย
เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณีย-
กรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง
ระงับปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุสุธรรม นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้
ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย
เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณีย-
กรรมสงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม การระงับ
ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้
นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 104
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้าขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณีย-
กรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับ
ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม การระงับปฏิสารณียกรรม
แก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณีย-
ธรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิ-
สารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม การระงับปฏิสารณียกรรมแก่
ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ปฏิสารณียกรรม อันสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุสุธรรม
ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วย
อย่างนี้.
ปฏิสารณียกรรม ที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 105
อุกเขปนียกรรม ที่ ๕
เรื่องพระฉันนะ
[๑๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม
เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรา-
รถนาจะเห็นอาบัติ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้ว จึงได้ไม่ปรารถนาจะ
เห็นอาบัติเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๑๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุฉันนะต้องอาบัติ
แล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติจริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน โมฆบุรุษนั้นต้องอาบัติแล้วจึงไม่ปรารถนาจะ
เห็นอาบัติเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุนชนที่ยังไม่เลื่อมใส........ครั้นแล้ว ทรงทำ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 106
ธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จง
ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ คือ ห้ามสมโภค
กับสงฆ์.
วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ พึงทำอย่างนี้ คือ พึงโจทภิกษุฉันนะก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอ
ให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้
ต้องอาบิตแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
เห็นอาบิตแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่เป็น
ญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้
ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ สงฆ์ทำอุกเขป-
นียกรรม ฐานไม่เห็นอาบิตแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสม-
โภคกับสงฆ์ การทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
แก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 107
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
พูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่
ปรารถนาจะเห็นอาบัติ สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
เห็นอาบิตแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การทำ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบิตแก่พระฉันนะ คือห้าม
สมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ สงฆ์ทำแล้ว
แก่พระฉันนะคือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต่อๆ ไปว่า
พระฉันนะถูกสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว คือ ห้าม
สมโภคกับสงฆ์.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 108
แล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตาม
ปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี.
หมวดที่ ๒
[๑๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่
เทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี.
หมวดที่ ๓
[๑๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อน
แล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 109
หมวดที่ ๔
[๑๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็น
วรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี.
หมวดที่ ๕
[๑๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑
สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประ-
กอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ
แล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๖
[๑๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑
สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 110
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนีกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี.
หมวดที่ ๗
[๑๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑
สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี.
หมวดที่ ๘
[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะมิใช่อาบัติเป็นเทศนาคามินี ๑ ทำโดย
ไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี.
หมวดที่ ๙
[๑๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 111
และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็น
ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี.
หมวดที่ ๑๐
[๑๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑
สงฆ์ เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี.
หมวดที่ ๑๑
[๑๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียธรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่
เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 112
หมวดที่ ๑๒
[๑๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และระงับแล้วไม่ดี ต่อ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑
สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว
คือทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๒
[๑๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 113
ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคา-
มินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๑ I
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๓
[๑๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
ระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑
ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว .
หมวดที่ ๔
[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
ระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียง
กันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๕
[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 114
ระงับดีแล้ว คือ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์
พร้อมเพรียงกัน ทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๖
[๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
ระงับดีแล้ว คือ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียง
กันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๗
[๑๙๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อม
เพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียธรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๘
[๑๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 115
ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติที่เป็นเทศนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑
สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๙
[๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์
พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๐
[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
ระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อม
เพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๑
[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 116
ระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์
พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว
หมวดที่ ๑๒
[๑๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
ระงับดีแล้ว คือ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อม
เพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์
จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ คือ เป็นผู้ก่อความบาด-
หมางก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑
เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ อย่าคลุกคลี
กับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 117
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์
จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๒
[๒๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น
อีก เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ คือ เป็นผู้
มีศีลวิบัติในอธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิ
วิบัติในอติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์
จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๓
[๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ คือ กล่าวติเตียน
พระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์
จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๔
[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูป คือรูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อ
การทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูป
หนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ รูปหนึ่งอยู่
คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 118
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
เห็นอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.
หมวดที่ ๕
[๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีล
วิบัติในอธิศีล ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่ง
เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
เห็นอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.
หมวดที่ ๖
[๒๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียน
พระพุทธเจ้า ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียน
พระสงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
เห็นอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 119
วัตร ๔๓ ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
[๒๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ต้องประพฤติชอบ
วิธีประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัตินั้น ดังต่อ
ไปนี้ :-
๑. ไม่พึงอุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสสัย
๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ เพราะอาบัติใด
ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงยินดีการยืนรับของปกตัตตะภิกษุ
๑๓. ไม่พึงยินดีอัญชลีกรรมของปกตัตตะภิกษุ
๑๔. ไม่พึงยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตะภิกษุ
๑๕. ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตะภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 120
๑๖. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตะภิกษุ
๑๗. ไม่พึงยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ ไม่พึงยินดีการตั้งตั่งรองเท้า
ให้ของปกตัตตะภิกษุ
๑๘. ไม่พึงยินดีจารตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตะภิกษุ
๑๙. ไม่พึงยินดีการรับบาตรจีวรของปกตัตตะภิกษุ
๒๐. ไม่พึงยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุ
๒๑. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
๒๒. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ
๒๓. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
๒๔. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ
๒๕. ไม่พึงยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
๒๖. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒๗. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๒๘. ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์
๒๙. พึงคบพวกภิกษุ
๓๐. พึงศึกษาสิกขาของภิกษุ
๓๑. ไม่พึงอยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓๒. ไม่พึงอยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกัน กับ
ปกตัตตะภิกษุ
๓๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 121
๓๕. ไม่พึงรุกรานปกตัตตะภิกษุข้างใน หรือข้างนอกวิหาร
๓๖. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓๗. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน
๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๔๐. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๔๓. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
วัตร ๔๓ ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ
สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม
[๒๐๗] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
พระฉันนะ คือห้ามสมโภคกับสงฆ์ เธอถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
เห็นอาบัติแล้ว ได้ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสอื่น ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่น
นั้นไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ
ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เธออันภิกษุทั้งหลายไม่สักการะ ไม่เคารพ
ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงได้ไปจากอาวาสแม้
นั้นสู่อาวาสอื่น ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นแม้นั้น ก็ไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ
ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ
ไม่บูชาเธออันภิกษุทั้งหลายไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 122
เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงได้ไปจากอาวาสแม้นั้นสู่อาวาสอื่น ภิกษุทั้ง
หลายในอาวาสอื่นแม้นั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่
ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เธออัน
ภิกษุทั้งหลายไม่สักการะไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มี
ใครทำสักการะ จึงกลับมาสู่พระนครโกสัมพีอีกตามเดิม ได้ประพฤติโดย
ชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ เข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้ ผมจะพึง
ปฏิบัติอย่างไรต่อไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ๆ ตรัสว่า:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุฉันนะ.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ:-
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 123
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๒
[๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ เพราะอาบัติใดต้อง
อาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๓
[๒๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ:-
๑. ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ
๓. ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 124
๕. ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๔
[๒๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของ
ปกตัตตะภิกษุ
๓. ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ยินดีการรับบาตรจีวร ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๕
[๒๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ:-
๑. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
๒. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ
๓. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 125
๕. ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๖
[๒๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. คบพวกเดียรถีย์
๔. ไม่คบพวกภิกษุ
๕. ไม่ศึกษาสิกขาของภิกษุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๗
[๒๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ:-
๑. อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๒. อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓. อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะ
ภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 126
๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว ไม่ลุกจากอาสนะ
๕. รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๘
[๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ :-
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 127
วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ :-
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๒
[๒๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ เพราะอาบัติใด ไม่
เห็นอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 128
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๓
[๒๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. ไม่ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ไม่ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๕ ไม่ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๔
[๒๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. ไม่ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของปก-
ตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ไม่ยินดีการรับบาตรจีวร ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 129
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๕
[๒๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
๒. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ
๓. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ
๕. ไม่ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๖
[๒๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. ไม่คบพวกเดียรถีย์
๔. คบพวกภิกษุ
๕. ศึกษาสิกขาของภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 130
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล้ว สงฆ์พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๗
[๒๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ:-
๑. อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๒. อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓. อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะ
ภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วลุกจากอาสนะ
๕. ไม่รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
หมวดที่ ๘
[๒๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ.
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 131
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ
วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
[๒๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่
เห็นอาบัติ พึงระงับอย่างนี้
ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า
ภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้น
อย่างนี้ว่าดังนี้ :-
คำขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
เห็นอาบัติแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัว
ได้ ข้าพเจ้าขอระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 132
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนั้น
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประ
พฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอ
ระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมฐาน
ไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ถูก
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติ
โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนีย
กรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ การระงับอุกเขป
นียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้-
นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 133
ประพฤติแล้วแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่เห็นอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
เห็นอาบัติแก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ อันสงฆ์ระงับ
แล้วแก่พระฉันนะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้อย่างนี้.
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ ๕ จบ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
เรื่องพระฉันนะ
[๒๒๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ
โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะต้องอาบัติเเล้ว
ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย....ต่างก็เพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้ว จึงได้ไม่
ปรารถนาจะทำคืนอาบัติเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น เเล้วทรงสอบถามภิกษุทั้ง
หลายว่า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 134
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุฉันนะต้องอาบัติแล้ว ไม่
ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของภิกษุโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจ
ของสมณะใช้ไม่ได้ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษนั้น ต้องอาบัติแล้ว
จึงไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ
ภิกษุโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อควานเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อม
ใส...ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์.
วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
[๒๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่ทำคืนอาบัติ พึงทำอย่างนี้ :-
พึงโจทภิกษุฉันนะก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับ
อาบติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 135
กรรมวาจาทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้
ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้
ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ สงฆ์ทำ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ
ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น
ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่
ปรารถนาจะทำคืนอาบิด สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การ
ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ
ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น
ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 136
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ทำแล้ว
แก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต่อ ๆ ไปว่า
พระฉันนะอันสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว คือ ห้าม
สมโภคกับสงฆ์.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี คือทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี.
หมวดที่ ๒
[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ทำเพราะอาบัติมิใช่
เทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 137
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๓
[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น
วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้
การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๔
[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่
เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑
สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นธรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๕
[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 138
เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ยอมสอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำ
โดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๖
[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่
เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี คือ ไม่ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็น
ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประ-
กอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ
แล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๗
[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น
วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็น
ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 139
หมวดที่ ๘
[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น
วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑
ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๙
[๒๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น
วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ทำโดย
ไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๐
[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น
วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็น
ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 140
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๑
[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น
วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำ
โดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๒
[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็น
วินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่
เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 141
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
ระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อนแล้วทา ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว .
หมวดที่ ๒
[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย
และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนา-
คามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว.
หมวดที่ ๓
[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย
และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การแล้วทำ ๑
ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 142
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว .
หมวดที่ ๔
[๒๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย
และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียง
กันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว.
หมวดที่ ๕
[๒๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย
และระงับดีแล้ว คือ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์
พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว.
หมวดที่ ๖
[๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 143
และระงับดีแล้ว คือ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อม
เพรียงกันทำ ๑
ทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี
แล้ว.
หมวดที่ ๗
[๒๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อม
เพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย ระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๘
[๒๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติเป็นเทศนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์
พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี
แล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 144
หมวดที่ ๙
[๒๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
ระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติที่ยังมิได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์
พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี
แล้ว.
หมวดที่ ๑๐
[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
ระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียง
กันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี
แล้ว .
หมวดที่ ๑๑
[๒๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ
ระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์
พร้อมเพรียงกันทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 145
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี
แล้ว.
หมวดที่ ๑๒
[๒๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย
และระงับดีแล้ว คือ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อม
เพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ประ-
กอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว .
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์
จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือก่อความบาดหมาง
ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑
เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับ
คฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 146
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๒
[๒๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือเป็นผู้มีศีล
วิบัติในอธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ
ในอติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๓
[๒๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น
อีก เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ
กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระ
สงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๔
[๒๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูป คือรูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง
ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูป
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 147
หนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ รูปหนึ่ง
อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.
หมวดที่ ๕
[๒๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือรูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ
ในอธิศีล ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้
มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.
หมวดที่ ๖
[๒๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปแม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียน
พระพุทธเจ้า ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียน
พระสงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 148
วัตร ๔๓ ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
[๒๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ต้องประพฤติชอบ
วิธีประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัตินั้นดังนี้ :-
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้สมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เพราะอาบัติใด
ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
๗. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอัน เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ
๑๓. ไม่พึงยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๑๔. ไม่พึงยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๑๕. ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๑๖. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 149
๑๗. ไม่พึงยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของ
ปกตัตตะภิกษุ
๑๘. ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๑๙. ไม่พึงยินดีการรับบาตร จีวร ของปกตัตตะภิกษุ
๒๐. ไม่พึงยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ
๒๑. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
๒๒. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ
๒๓. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
๒๔. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ
๒๕. ไม่พึงยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
๒๖. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒๗. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๒๘. ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์
๒๙. พึงคบพวกภิกษุ
๓๐. พึงศึกษาสิกขาของภิกษุ
๓๑. ไม่พึงอยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓๒. ไม่พึงอยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกัน กับปกตัตตะภิกษุ
๓๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาส หรือในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับ
ปกตัตตะภิกษุ
๓๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
๓๕. ไม่พึงรุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 150
๓๖. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓๗. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน
๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๔๐. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๔๓. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
วัตร ๔๓ ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ
สงฆ์ลงโทษและระงับ
[๒๕๘] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
แก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ได้ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสอื่น ภิกษุทั้งหลาย
ในอาวาสอื่นนั้น ไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามี
จิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ท่านอันภิกษุทั้งหลาย
ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ
จึงได้ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสอื่น แม้ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่
กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ
ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ท่านอันภิกษุทั้งหลาย ไม่สักการะ ไม่
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 151
เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงได้ไปจากอาวาส
นั้น สู่อาวาสอื่น แม้ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ยืน
รับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับ
ถือ ไม่บูชา ท่านอันภิกษุทั้งหลา ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่
บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงกลับมาสู่พระนครโกสัมพีอีกตามเดิม
ได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงเข้าไปหาภิกษุทั้ง
หลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หาเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัว
ได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์
จงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุฉันนะ.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้รับสมมติแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 152
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๔
[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก
สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-
๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติเพราะอาบัติใดต้อง
อาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๓
[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก
สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:-
๑. ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ
๓. ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 153
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๔
[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก
สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-
๑. ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของปกตัตตะ
ภิกษุ
๓. ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ยินดีการรับบาตรและจีวร ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๕
[๒๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก
สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:-
๑. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
๒. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ
๓. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. กำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ
๕. ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 154
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๖
[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก
สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:-
๑. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. คบพวกเดียรถีย์
๔. ไม่คบพวกภิกษุ
๕. ไม่ศึกษาสิกขาของภิกษุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๗
[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก
สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-
๑. อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๒. อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓. อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะ
ภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วไม่ลุกจากอาสนะ
๕. รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 155
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๘
[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:-
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 156
วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๒
[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก
สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-
๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เพราะอาบัติใด
ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 157
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๓
[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก
สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-
๑. ไม่ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ไม่ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๔
[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่น
อีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:-
๑. ไม่ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของ
ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ไม่ยินดีการรับบาตรจีวร ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 158
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๕
[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่น
อีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-
๑. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
๒. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ
๓. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ
๕. ไม่ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๖
[๒๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ แม้อื่น
อีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติคือ:-
๑. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. ไม่คบพวกเดียรถีย์
๔. คบพวกภิกษุ
๕. ศึกษาสิกขาของภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 159
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๗
[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่น
อีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-
๑. ไม่อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับ
ปกตัตตะภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วลุกจากอาสนะ
๕. ไม่รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
หมวดที่ ๘
[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ แม้อื่น
อีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ :-
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 160
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ
วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่ทำคืนอาบัติ พึงระงับอย่างนี้
ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้
เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับ
กรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
คำขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่คืนอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ
แก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 161
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ประ-
พฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้
ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอุกเขปนีย-
กรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติแก่พระฉันนะ การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ
อาบัติคืนแก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงนิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 162
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับอุเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติแก่พระฉันนะ การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น
พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ อันสงฆ์ระงับ
แล้วแก่พระฉันนะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้อย่างนี้.
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 163
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
เรื่องพระอริฏฐะ
[๒๗๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง มีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้น
ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่
ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพ
ได้จริงไม่, ภิกษุหลายรูปด้วยกันได้ทราบข่าวว่า พระอริฏฐะผู้เกิดใน
ตระกูลพรานแร้งมีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำ
อันตรายธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ แล้วพากันเข้า
ไปหาพระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง ถามว่า อาวุโสอริฏฐะ ได้
ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำ
อันตรายธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ดังนี้ จริงหรือ?
พระอริฏฐะตอบว่า จริงเหมือนอย่างนั้นแล อาวุโสทั้งหลาย
ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่า
เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.
ภิกษุทั้งหลายกล่าวห้ามว่า อาวุโสอริฏฐะ ท่านอย่าได้พูดเช่นนั้น
ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดี
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 164
แน่ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ธรรมอันทำอันตรายไว้โดยปริยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้นอาจทำ
อันตรายแก่ผู้เสพได้จริง กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความ
ยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่ง
นัก กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนร่างกระดูก มี
ทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้ง
หลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ..... กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เปรียบเหมือนคบหญ้า....กามทั้งหลายพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง....กามทั้งหลายพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนความฝัน....กามทั้งหลาย พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนของยืม.....กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่าเปรียบเหมือนผลไม้.......กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ....กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เปรียบเหมือนหอกและหลาว .....กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เปรียบเหมือนศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้ง
หลายนี้มากยิ่งนัก
พระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง แม้อันภิกษุเหล่านั้น ว่ากล่าว
อยู่อย่างนี้ ก็ยังยึดถือทิฏฐิอันเป็นบาปนั้นด้วยความยึดถือมั่นอย่างเดิม กล่าว
ยืนยันว่า ผมกล่าวอย่างนั้นจริง ท่านทั้งหลายผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย
ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 165
ก็เพราะเหตุที่ภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจเปลื้องพระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูล
พรานแร้งจากทิฏฐิอันเป็นบาปนั้นได้ ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[ ๒๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม
พระอริฏฐะ ผู้เกิดในตระกูลพรานแร้งว่า ดูก่อนอริฏฐะ ได้ยินว่า เธอมี
ทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น
หาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ จริงหรือ?
พระอริฏฐะทูลรับว่า ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวอย่างนั้นจริง พระพุทธ
เจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว โดยประการที่
ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพ
ได้จริงไม่.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เพราะเหตุไร เธอจึง
เข้าใจธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนั้นเล่า เรากล่าวธรรมอันทำอันตรายไว้
โดยปริยายเป็นอันมากมิใช่หรือ และธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 166
ได้จริง กามทั้งหลายเรากล่าวว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายเรากล่าวว่า
เปรียบเหมือนร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกาม
ทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ....
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนคบหญ้า.... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า
เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง..... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือน
ความฝัน.... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนของยืม.... กามทั้งหลาย
เรากล่าวว่าเปรียบเหมือนผลไม้.... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือน
เขียงสำหรับสับเนื้อ.... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนหอกและ
หลาว...... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนศีรษะงู มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก เมื่อเป็นเช่นนั้น
เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ตนยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเอง และชื่อ
ว่าประสพบาปมิใช่บุญมาก ข้อนั้นแหละจักเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อ
ทุกข์แก่เธอ ตลอดกาลนาน
ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใส
แล้ว.....ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับ
สงฆ์.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 167
วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป พึงทำอย่างนี้ คือ พึงโจทภิกษุอริฏฐะผู้เกิดใน
ตระกูลพรานแร้งก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจาว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้
เกิดในตระกูลพรานแร้ง มีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิด
ขึ้นว่าเรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว
โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น
หาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้เธอไม่ยอมสละ
ทิฏฐินั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะ
ผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี้เป็น
ญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้
เกิดในตระกูลพรานแร้ง มีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เถิด
ขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว
โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 168
นั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้เธอไม่ยอม
สละทิฏฐินั้น สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ
ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละ
ทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง
คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวควานนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง
มีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า
เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่
ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ เธอไม่ยอมสละทิฏฐินั้น สงฆ์ทำ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุ
อริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์
การทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สะทิฏฐิอันเป็นบาปแก่
ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับ
สงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 169
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป อัน
สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ
ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้อย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุที่อยู่ในอาวาสต่อๆ ไปว่า
ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง อันสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน
เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่
ตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิเป็นบาป ที่
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ
แล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๒
[๒๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน
เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 170
เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะ
อาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ
แล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๓
[ ๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน
เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่
เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลย
ให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ
แล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๔
[๒๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน
เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่
เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 171
หมวดที่ ๕
[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน
เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่
เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่
เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๖
[๒๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน
เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่
เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็น
ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๗
[๒๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน
เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่
เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็น
ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 172
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๘
[๒๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน
เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่
เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑
ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๙
[๒๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม.
ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำ
โดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๐
[๒๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 173
ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่
เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๑
[๒๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม
ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑
ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๒
[๒๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม
ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดย
ไม่เป็นธรรม ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 174
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป จบ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็น
วินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำ
ตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว.
หมวดที่ ๒
[๒๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม
เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติ
เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่ยังมิได้แสดง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว .
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 175
หมวดที่ ๓
[๒๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์. ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม
เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อน
แล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว.
หมวดที่ ๔
[๒๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม
เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์
พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว.
หมวดที่ ๕
[๒๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม
เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑
สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 176
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว .
หมวดที่ ๖
[๒๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม
เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑
สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว .
หมวดที่ ๗
[๒๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน
เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็น
วินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์
พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว .
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 177
หมวดที่ ๘
[๒๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม
เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำ
โดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว.
หมวดที่ ๙
[๒๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม
เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติมิได้แสดง ๑ ทำโดย
ธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว .
หมวดที่ ๑๐
[๓๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม
เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑
สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 178
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว .
หมวดที่ ๑๑
[๓๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็น
วินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม
๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๒
[๓๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม
เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑
สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับ
ดีแล้ว.
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 179
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๓๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์
จำนงจะพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป คือ เป็นผู้ก่อ
ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร ๑ อยู่
คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.
หมวดที่ ๒
[๓๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป คือ
เป็นผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มี
ทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์
จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.
หมวดที่ ๓
[๓๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป คือ
กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระ-
สงฆ์ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 180
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง
พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.
หมวดที่ ๔
[๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความ
บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน
สงฆ์ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร รูป
หนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.
หมวดที่ ๕
[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่ง
เป็นผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร รูป
หนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.
หมวดที่ ๖
[๓๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่ง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 181
กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม รูปหนึ่งกล่าว
ติเตียนพระสงฆ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป จบ
วัตร ๑๘ ข้อ
[๓๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบ
วิธีประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
นั้น ดังต่อไปนี้ :-
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปเพราะ
อาบัติใด ให้พึงต้องอาบัตินั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 182
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน .
วัตร ๑๘ ข้อ
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป จบ
สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม
[๓๑๐] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน
เป็นบาปแก่พระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์
ท่านถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป แล้วสึกเสีย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 183
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย....ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
พระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว จึงได้สึกเสียล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๓๑๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดใน
ตระกูลพรานแร้ง ถูกสงฆ์สงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็น
บาปแล้วสึกเสีย จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
โมฆบุรุษนั้น ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว
จึงได้สึกเสียเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส........ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 184
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๓๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ :-
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.
หมวดที่ ๒
[๓๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก
คือ:-
๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป เพราะ
อาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 185
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.
หมวดที่ ๓
[๓๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ:-
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 186
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[ ๓๑๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.
หมวดที่ ๒
[ ๓๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ:-
๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป เพราะ
อาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 187
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.
หมวดที่ ๓
[๓๑๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ:-
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป จบ
วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
[๓๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐาน
ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป พึงระงับอย่างนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 188
คำขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปนั้น
พึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่ง
กระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
สละทิฏฐิอันเป็นบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤตแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
สละทิฏฐิอันเป็นบาป
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจา ดังนี้ :-
กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูป
นี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็น
บาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์
พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่
ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูป
นี้ ถูกสงฆ์ลงอุปเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 189
บาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาปแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับอุปเขปนียกรรม ฐาน
ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
พูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แล้วประพฤติโดย
ชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป สงฆ์ระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุมีชื่อ
นี้ การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 190
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ ๗ จบ
กัมมขันธกะ ที่ ๑ จบ
ในขันธะนี้มี ๗ เรื่อง
หัวข้อประจำขันธกะ
[๓๑๙] ๑. ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ก่อความบาด
หมางเอง ได้เข้าหาภิกษุผู้เช่นกัน แล้วให้ขมักเขม้นในการก่อความบาด
หมางขึ้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น แม้ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยาย
ตัวออกไป ภิกษุทั้งหลายที่มักน้อย มีศีลเป็นที่รัก ย่อมเพ่งโทษในบริษัท
พระพุทธชินเจ้าผู้สยัมภูอัครบุคคล ผู้ทรงพระสัทธรรม รับสั่งให้ลง
ตัชชนียกรรม ณ พระนครสาวัตถี
ตัชชนียกรรมที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย คือ ทำลับหลังไม่สอบ
ถามก่อนแล้วทำ ไม่ทำตามปฏิญาณ หมวด ๑ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
ทำเพราะอาบัติ มิใช่เทศนาคามินี ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว หมวด ๑
ไม่โจทก่อนแล้วทำ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
หมวด ๑ ทำลับหลัง ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑
ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑
ไม่ทำตามปฏิญาณ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ทำ
เพราะไม่ต้องอาบัติ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑
ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทศนาคามินี ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรค
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 191
ทำ หมวด ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์
เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์
เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่ไห้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็น
ธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ทำโดยไม่เป็น
ธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑
ปราชญ์พึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงกันข้ามกับฝ่ายผิดนั่นแหละ
เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุใด สงฆ์พึงลงตัชชนีย-
กรรมแก่ภิกษุนั้น ผู้ก่อความบาดหมาง เป็นพาล คลุกคลีกับคฤหัสถ์
หมวด ๑ วิบัติในอธิศีล ในอัธยาจาร ในอติทิฏฐิ หมวด ๑ กล่าว
ติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หมวด ๑
สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งก่อความบาด
หมาง รูปหนึ่งเป็นพาล รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมวด ๑ รูปหนึ่ง
วิบัติในศีล รูปหนึ่งวิบัติในอัธยาจาร รูปหนึ่งวิบัติในอติทิฏฐิ หมวด ๑
รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม รูปหนึ่ง
กล่าวติเตียนพระสงฆ์ หมวด
ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบอย่างนี้
คือ ไม่ให้อุปสมบท ไม่ให้นิสัย ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก ไม่สั่งสอน
ภิกษุณี และได้สมมติแล้วก็ไม่สั่งสอน ไม่ต้องอาบัตินั้น ไม่ต้องอาบัติอื่น
อันเช่นกันและอาบัติยิ่งกว่านั้น ไม่ติกรรม ไม่ภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ไม่ห้ามอุโบสถ ปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ไม่ทำการไต่สวน ไม่เริ่มอนุ-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 192
วาทาธิกรณ์ ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ไม่โจทภิกษุอื่น ไม่ให้ภิกษุอื่น
ให้การ และไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
ภิกษุใดประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ให้อุปสมบท ให้นิสัย ให้
สามเณรอุปัฏฐาก สั่งสอนภิกษุณี แม้ได้รับสมมติแล้วก็ยังสั่งสอนและองค์
๕ คือ ต้องอาบัตินั้น ต้องอาบัติอันเช่นกัน และต้องอาบัติที่ยิ่งกว่านั้น
ติกรรม ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม สงฆ์ไม่ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น.
ภิกษุใดประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ คือ ห้ามอุโบสถ ปวารณา ทา
การไต่สวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจทภิกษุอื่น ให้ภิกษุอื่น
ให้การ และให้สู้อธิกรณ์กัน ย่อมไม่ระงับจากตัชชนียกรรม.
ปราชญ์พึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงกันข้ามกับฝ่ายผิดนั้นแหละ.
๒. พระเสยยสกะเป็นพาล มีอาบัติมาก และคลุกคลีกับคฤหัสถ์
พระสัมพุทธเจ้าผู้มหามุนี รับสั่งให้ลงนิยสกรรม.
๓. ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะทั้งหลาย ในชนบท
กิฏาคีรีไม่สำรวม ประพฤติแม้ซึ่งอนาจารมีอย่างต่าง ๆ พระสัมพุทธชิน-
เจ้ารับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรม ในพระนครสาวัตถี.
๔. พระสุธรรมเป็นเจ้าถิ่นของจิตตคหบดีในเมืองมัจฉิกาสณฑ์ด่า
จิตตะผู้อุบาสก ด้วยถ้อยคำกระทบชาติ พระตถาคตรับสั่งให้ลงปฏิสารณีย
กรรม.
๕. พระชินเจ้าผู้อุดม ทรงบัญชาให้ลงอุกเขปนียกรรม ในเพราะ
ไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะผู้ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ในพระนคร
โกสัมพี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 193
๖. พระฉันนะไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัตินั้นแล พระพุทธเจ้าผู้
ดำรงตำแหน่งนายกพิเศษ รับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติต่อไป.
๗. ทิฏฐิอันเป็นบาป อาศัย ความรู้ บังเกิดแก่พระอริฏฐะ พระ
ชินเจ้าดำรัสให้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ นิยสกรรม ปัพพาช-
นียกรรม และปฏิสารณียกรรม ก็เหมือนกัน.
บทเกินเหล่านั้นมีในปัพพาชนียกรรม คือ เล่นคะนอง ประพฤติ
อนาจารลบล้างพระบัญญัติ และมิจฉาชีพ ฐานไม่เห็นและไม่ทำคืนอาบัติ
และฐานไม่สละทิฏฐิ บทเกินเหล่านี้มีในปฏิสารณียกรรมคือ มุ่งความไม่
มีลาภ กล่าวติเตียนมีนามว่า ปัญจกะ ๒ หมวด ๆ ละ ๕ แม้กรรมทั้ง
สอง คือ ตัชชนียกรรม และนิยสกรรม ก็เช่นกัน ปัพพาชนียกรรม
และปฏิสารณียกรรม หย่อนและยิ่งกว่ากัน ๘ ข้อ ๒ หมวด โดยการ
จำแนกอุกเขปนียกรรม ๓ อย่างนั้น เช่นเดียวกัน.
ปราชญ์พึงทราบกรรมที่เหลือ แม้ตามนัยแห่งตัชชนียกรรม เทอญ.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 194
สมันตปาสาทิกา
จุลวรรค
กัมมักขันธกวรรณนา
ตัชชนียกรรม
วินิจฉัยในกัมมักขันธกะเป็นที่ ๑ แห่งจุลวรรค พึงทราบก่อน
ดังนี้ :-
บทว่า ปณฺฑุกโลหิตกา ได้แก่ชน ๒ ในพวกฉัพพัคคีย์ คือ
ปัณฑุกะ ๑ โลหิตกะ ๑ แม้นิสิตทั้งหลายของเธอทั้ง ๒ ก็ปรากฏชื่อว่า
ปัณฑุกะ และ โลหิตกะ เหมือนกัน.
สามบทว่า พลวา พลว ปฏิมนฺเตถ มีความว่า ท่านทั้งหลาย
จงโต้ตอบให้ดี ให้แข็งแรง.
บทว่า อลมตฺถตรา จ คือเป็นผู้สามารถกว่า.
ในองค์ ๓ มี อสมฺมุขา กต เป็นต้น มีความว่า กรรมที่ทำคือ
ฟ้องร้องไม่พร้อมหน้าสงฆ์ ธรรมวินัย และบุคคล, ไม่สอบถามก่อนทำ,
ทำด้วยไม่ปฏิญญาแห่งบุคคลนั้นแล.
บทว่า อเทสนาคามินิยา ได้แก่ ทำด้วยอาบัติปาราชิกหรือ
สังฆาทิเสส.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 195
บรรดาติกะเหล่านี้ ๙ บท ใน ๓ ติกะต้น ทรงผสมทีละบท ๆ กับ
๒ บทนี้ คือ อธมฺเมน กต วคฺเคน กต ตรัสเป็น ๙ ติกะ.
รวมทั้งหมดจึงเป็น ๑๒ ติกะ ด้วยประการฉะนี้.
๑๒ ติกะนี้แล ตรัสไว้แม้ในสุกกปักษ์ ด้วยอำนาจแห่งฝ่ายเป็น
ข้าศึกกัน.
สองบทว่า อนนุโลมิเกหิ คิหิสสคฺเคหิ มีความว่า ด้วยการ
คลุกคลีกับคฤหัสถ์ มีความเป็นผู้มีความเศร้าโศกกับเขาเป็นต้น ซึ่ง
ไม่สมควรแก่บรรพชิต.
ข้อว่า น อุปสมฺปาเทตพฺพ เป็นต้น มีความว่า เป็นอุปัชฌาย์
อยู่แล้ว ไม่พึงให้กุลบุตรอุปสมบท, ไม่พึงให้นิสัยแก่ภิกษุอาคันตุกะ, ไม่
พึงรับสามเณรอื่นไว้ .
สองบทว่า อญฺา วา ตาทิสิกา ได้แก่อาบัติที่เสมอกัน.
บทว่า ปาปิฏฺตรา ได้แก่ อาบัติที่หนักกว่า
กรรม นั้น ได้แก่ ตัชชนียกรรม.
กรรมอันภิกษุเหล่าใดทำแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า ผู้ทำกรรม.
ข้อว่า น สวจนี ย กาตพฺพ มีความว่า คนอันภิกษุใดโจท
แล้วอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจะฟ้องท่านเป็นจำเลยในคดีนี้ และท่านอย่าก้าวออก
จากอาวาสนี้แม้ก้าวเดียว ตลอดเวลาที่อธิกรณ์นั้นยังระงับไม่เสร็จ ภิกษุ
นั้นอันตนไม่พึงทำให้เป็นผู้ให้การ.
บทว่า น อนุวาโท มีความว่า ไม่พึงรับตำแหน่งหัวหน้าในวัด.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 196
บทว่า น โอกาโส มีความว่า ไม่พึงให้ภิกษุอื่นทำโอกาสอย่างนี้
ว่า ท่านจงทำโอกาสแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นผู้ใคร่จะพูดกะท่าน.
ข้อว่า น โจเทตพฺโพ มีความว่า ไม่พึงโจทภิกษุอื่นด้วยวัตถุ
หรืออาบัติ, คือไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การด้วยคำว่า นี้เป็นโทษของท่านหรือ ?
ข้อว่า น สมฺปโยเชตพฺพ มีความว่า ไม่พึงช่วยกันและกัน
ให้ทำความทะเลาะ.
คำว่า ติณฺณ ภิกขเว ภิกฺขูน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ เพื่อแสดงว่า สงฆ์สมควรลงตัชชนียกรรม ด้วยองค์แม้อันหนึ่ง ๆ.
จริงอยู่ ความเป็นผู้ทำความบาดหมาง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
เป็นองค์พิเศษ สำหรับภิกษุผู้ควรขู่, ความเป็นผู้มีอาบัติเนือง ๆ ตรัสไว้
เป็นองค์พิเศษ สำหรับภิกษุควรไร้ยศ, ความเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล ตรัส
ไว้เป็นองค์พิเศษ สำหรับภิกษุผู้ควรขับไล่, แต่สงฆ์สมควรจะทำกรรมแม้
ทั้งหมด ด้วยองค์อันใดอันหนึ่งใน ๓ องค์นี้.
หากจะมีคำท้วงว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น, คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ในจัมเปยยักขันธกะว่า สงฆ์ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรจะลงตัชชนียกรรม.
ฯ ล ฯ อัพภานผู้ควรอุปสมบท, อุบาลี กรรมไม่เป็นธรรมและกรรมไม่
เป็นวินัย ย่อมมีอย่างนี้แล ก็แลเมื่อเป็นอย่างนั้น สงฆ์ย่อมเป็นผู้มีโทษ
ดังนี้ ย่อมแย้งกับคำว่า ติณฺณ ภิกฺขเว ภิกฺขูน เป็นต้นนี้.
เฉลยว่า อันคำนี้จะแย้งกันหามิได้.
เพราะเหตุไร ?
เพราะใจความแห่งคำต่างกัน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 197
จริงอยู่ กรรมสันนิษฐานเป็นใจความแห่งคำนี้ว่า ตชฺชนีย
กมฺมารหสฺส เป็นต้น. สภาพแห่งองค์เป็นใจความแห่งคำ เป็นต้นว่า
ติณฺณ ภิกฺขเว ภิกฺขูน ดังนี้. เพราะเหตุนั้น สงฆ์ประชุมกันทำกรรม
สันนิษฐานว่า จะทำกรรมชื่อนี้ แก่ภิกษุนี้ ดังนี้ ในกาลใด, ในกาลนั้น
ภิกษุนั้นเป็นผู้ชื่อว่า ควรแก่กรรม เพราะเหตุนั้นโดยลักษณะนี้ พึง
เข้าใจว่ากระทำนิยสกรรมเป็นต้น แก่ภิกษุผู้ควรแก่ตัชชนียกรรมเป็นต้น
เป็นกรรมผิดธรรม และเป็นกรรมผิดวินัย.
ก็ในองค์ทั้งหลาย มีความเป็นผู้ทำความบาดหมางเป็นต้น องค์
อันใดอันหนึ่งมีแก่ภิกษุใด. สงฆ์ปรารถนาจะทำแก่ภิกษุนั้น พึงกำหนด
กรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยองค์อันใดอันหนึ่ง ในองค์ และกรรมทั้ง
หลายตามที่ทรงอนุญาตไว้แล้ว พึงทำภิกษุนั้นให้เป็นผู้ควรแก่กรรมแล้วทำ
กรรมเถิด. วินิจฉัยในคำทั้ง ๒ นี้เท่านี้ เมื่อถือเอาวินิจฉัยอย่างนี้ คำหลัง
กับคำต้นย่อมสมกัน.
ในบาลีนั้น กรรมวาจาในตัชชนียกรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้ทำความบาดหมาง แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น เมื่อจะ
ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก สงฆ์พึงทำ
กรรมวาจาด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้เป็นพาล ไม่ฉลาด. จริงอยู่ เมื่อทำอย่าง
นั้น กรรมเป็นอันทำแล้วด้วยวัตถุที่มี, และไม่เป็นอันทำด้วยวัตถุแห่ง
กรรมอื่น.
เพราะเหตุไร?
เพราะเหตุว่า แม้ตัชชนียกรรมนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 198
ให้ทำด้วยวัตถุ กล่าวคือความเป็นผู้พาล เป็นผู้ไม่ฉลาด ดังนี้แล. ใน
กรรมทั้งปวงมีนัยเหมือนกัน.
ข้าพเจ้า จักพรรณนาวัตถุแห่งความประพฤติชอบ ๑๘ อย่าง ใน
ปาริวาสิกักขันธกะ.
สองบทว่า โลม ปาเตนฺติ มีความว่า เป็นผู้หายเย่อหยิ่ง.
อธิบายว่า ประพฤติตามภิกษุทั้งหลาย.
สองบทว่า เนตฺถาร วตฺตนฺติ มีความว่า วัตรนี้เป็นของภิกษุ
ทั้งหลายผู้ออก เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า เนตฺถาร วัตรของผู้ออก.
อธิบายว่า ตนสามารถจะออกจากนิสสารณาด้วยวิธี ๑๘ อย่างใด,
ย่อมประพฤติวิธี ๑๘ อย่างอันนั้นโดยชอบ.
ถามว่า ภิกษุผู้ถูกนิสสารณา บำเพ็ญวัตรสิ้นกาลเท่าไร ?
ตอบว่า ๑๐ วัน หรือ ๒๐ วันก็ได้.
จริงอยู่ ในกัมมักขันธกะนี้ วัตรเป็นของที่ภิกษุพึงบำเพ็ญโดยวัน
เท่านี้เท่านั้น.
นิยสกรรม
วินิจฉัยในเรื่องพระเสยยสกะ พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า อปิสสุ ภิกฺขู ปกตตฺตา มีความว่า ก็แต่ว่าภิกษุทั้ง
หลายย่อมเป็นผู้ขวนขวายเป็นนิตย์
คำที่เหลือเช่นกับคำที่กล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 199
ปัพพาชนียกรรม
เรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในวรรณ-
นาแห่งสังฆาทิเสส๑. แต่วินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า กายิเกน ทเวน
ในเรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะนี้ พึงทราบดังนี้ :-
การเล่นเป็นไปทางกาย เรียกชื่อว่า ความคะนองเป็นไปทางกาย.
แม้ใน ๒ บทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.
ความละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ ในกายทวาร เรียกชื่อว่า
อนาจารเป็นไปทางกาย. แม้ใน ๒ บทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.
ความลบล้างด้วยข้อที่ไม่ศึกษาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในกายทวาร
เรียกชื่อว่า ความลบล้างเป็นไปทางกาย.
อธิบายว่า การผลาญ คือล้างผลาญ. แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็นัยนี้
แล.
การหุงน้ำมันและดองยาเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งเวชกรรมที่ทำแก่
คนที่ทรงห้ามเป็นต้น เรียกชื่อว่า มิจฉาชีพเป็นไปทางกา การรับและ
บอกข่าวสาส์นเป็นต้น ของพวกคฤหัสถ์ เรียกชื่อว่า มิจฉาชีพเป็นไป
ทางวาจา. กิจทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่ามิจฉาชีพเป็นไปทั้งทางกายทั้งทางวาจา.
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.
ปฏิสารณียกรรม
ก็แลวินิจฉัยในเรื่องพระสุธรรม พึงทราบดังนี้:-
๑. สมนฺ ต. ทุติย. ๑๒๗
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 200
บทว่า อนปโลเกตฺวา ได้แก่ ไม่บอกเล่า.
บทว่า เอตทโวจ มีความว่า พระสุธรรมถามว่า คหบดีขาทนีย
โภชนียะนั้น ท่านจัดเอาไว้เพื่อพระเถระทั้งหลายหรือ? ดังนี้แล้วให้
เปิดทั้งหมดเห็นแล้ว จึงได้กล่าวคำนี้.
คำว่า เอกา จ โข อิธ นตฺถิ, ยทิท ติลสงฺคุฬิกา
มีความว่า ขนมนี้ใด เขาเรียกกันว่า ขนมแดกงา, ขนมนั้นไม่มี.
ได้ยินว่า ขนมแปลกชนิดหนึ่ง ได้มีในต้นวงศ์ของคหบดีนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระเถระประสงค์จะด่าคหบดีนั้นกระทบชาติ จึงกล่าว
อย่างนั้น.
คำว่า ยเทว กิญฺจิ เป็นต้น มีความว่า เมื่อพุทธวจนะมีมาก
อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าสุธรรมละพุทธวจนะเป็นอันมากซึ่งเป็นรัตนะเสีย
กล่าวคำว่าขนมแดกงาซึ่งเป็นคำหยาบนั่นแล.
คหบดีแสดงเนื้อความนี้ ด้วยอุทาหรณ์เรื่องลูกไก่ว่า ลูกไก่นั้นไม่
ได้ขันอย่างกา ไม่ได้ขันอย่างไก่ฉันใด, ท่านไม่ได้กล่าวคำของภิกษุ ไม่ได้
กล่าวคำของคฤหัสถ์ฉันนั้น.
ติกะทั้งหลาย มีคำว่า อสมฺมุขา กต เป็นต้น มีประการดังกล่าว
แล้วนั่นแล. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ไม่เหมือนกับภิกษุรูปก่อนๆ.
บรรดาองค์เหล่านั้น มีคำว่า คิหีน อลาภาย เป็นต้น ความว่า
คฤหัสถ์ทั้งหลายจะไม่ได้ลาภด้วยประการใด, เมื่อภิกษุขวนขวายคือ พยา-
ยามด้วยประการนั้น ชื่อว่า ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภ. ในอนัตถะเป็นต้น
ก็นัยนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 201
บรรดาคำเหล่านั้น ความเสียประโยชน์ ชื่อ อนัตถะ.
บทว่า อนตฺถาย ได้แก่ เพื่อความเสียประโยชน์.
ความอยู่ในที่นั้นไม่ได้ ชื่อว่าความอยู่ไม่ได้.
ข้อว่า คิหีน พุทฺธสฺส อวณฺณ มีความว่า กล่าวติพระพุทธ-
เจ้าในสำนักคฤหัสถ์.
ข้อว่า ธมฺมิก ปฏิสฺสว น สจฺจาเปติ มีความว่า ความรับ
จะเป็นจริงได้ด้วยประการใด เธอไม่ทำด้วยประการนั้น; คือ รับการ
จำพรรษาแล้วไม่ไป หรือไม่ทำกรรมเห็นปานนั้นอย่างอื่น.
คำว่า ปญฺจนฺน ภิกฺขเว เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เพื่อแสดงข้อที่ภิกษุผู้ควรแก่กรรม แม้ด้วยองค์อันเดียว.
คำที่เหลือในเรื่องนี้ มีความตื้น และมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนีย-
กรรมทั้งนั้น.
อุกเขปนียกรรม
วินิจฉัยในเรื่องพระฉันนะ พึงทราบดังนี้ :-
คำว่า อาวาสปรมฺปรญฺจ ภิกฺขเว สสถ มีความว่า และ
ท่านทั้งหลายจงบอกในอาวาสทั้งปวง.
ในบทว่า ภณฺฑนการโก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า สงฆ์พึงยก
อาบัติที่ต้อง เพราะปัจจัยมีความบาดหมางเป็นต้น กระทำกรรมเพราะไม่
เห็นอาบัตินั้นนั่นแล.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 202
ติกะทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วเหมือนกัน. แต่ความประพฤติ
ชอบในเรื่องพระฉันนะนี้ มีวัตร ๔๓ ข้อ.
บรรดาวัตรเหล่านั้น ข้อว่า น อนุทฺธเสตพฺโพ ได้แก่ ไม่พึง
โจทภิกษุอื่น.
ข้อว่า น ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ ได้แก่ ไม่พึงยุภิกษุอื่นกับภิกษุอื่นให้
แตกกัน .
ข้อว่า น คิหิโช ได้แก่ ไม่พึงทรงผ้าขาว ผ้าไม่ได้ตัดชาย
และผ้ามีลายดอกไม้.
ข้อว่า น ติตฺถิยธโช ได้แก่ ไม่พึงทรงผ้าคากรองเป็นต้น .
ข้อว่า น อาสาเทตพฺโพ ได้แก่ ไม่พึงรุกรานภิกษุอื่น.
สองบทว่า อนฺโต วา พหิ วา ได้แก่ จากข้างในก็ดี จาก
ข้างนอกก็ดี แห่งกุฎีที่อยู่.
สามบท มีบทว่า น ติตฺถิยา เป็นต้น ตื้นทั้งนั้น.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทที่เหลือทั้งหมด ในปาริวาสิกักขันธกะ.
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.
อุกเขปนียกรรมในเพราะไม่ทำคืนอาบัติ คล้ายกับอุกเขปนียกรรม
ในเพราะไม่เห็นอาบัตินี้แล.
เรื่องอริฏฐภิกษุ ได้กล่าวแล้วในวรรณนาแห่งขุททกกัณฑ์.๑
วินิจฉัยในบทว่า ภณฺฑนการโก เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
๑. สมนต. ทุติย. ๔๖๓.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 203
ภิกษุอาศัยทิฏฐิใด จึงทำความบาดหมางเป็นต้น, พึงทำกรรม ใน
เพราะไม่สละทิฏฐินั้นนั่นแล
บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.
แม้ความประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิลามกนี้
ก็มีวัตร ๔๓ ข้อ เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้.
กัมมักขันธกวรรณนา จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 204
ปาริวาสิกขันธกะ
เรื่องพระอยู่ปริวาส
[๓๒๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิ
กรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การนำน้ำล้างเท้ามาให้
การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลัง
เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย....ต่างก็
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส จึงได้
ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะ
มาให้ การนำที่นอนมาให้ การนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้า
การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรันบาตรจีวร การถูหลังเมื่ออาบน้ำของ
ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๓๒๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน
เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ยินดีการ
กราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 205
การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ด
เท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย
จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี
กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า
การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถู
หลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว....ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงยินดีการกราบไหว้
การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอน
มาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับ
บาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูปใดยิน
ดี ต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 206
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี-
กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งร้องเท้า
การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบนำของ
ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาติกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ
ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุทั้ง
หลายผู้อยู่ปริวาส โดยประการที่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ต้องประพฤติทุกรูป.
ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ
หมวดที่ ๑
[๓๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงประพฤติชอบ
วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-
อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงไห้สามเณรอุปัฏฐาก
ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
สงฆ์ให้ปริวาสเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 207
ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
ไม่พึงติกรรม
ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงทำการไต่สวน
ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
หมวดที่ ๒
[๓๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงไปข้าง
หน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์
ที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ
ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุ เป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 208
ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์
ไม่พึงสมาทานบิณฑปาติกธุดงค์ และ
ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้ง
หลายอย่ารู้เรา.
หมวดที่ ๓
[๓๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปาริวาสเป็นอาคันตุกะ
ไปพึงบอกมีอาคันตุกะมา ก็พึงบอก พึงบอกในอุโบสถ พึงบอกใน
ปวารณา ถ้าอาพาธพึงสั่งทูตให้บอก.
หมวดที่ ๔
[๓๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงออกจาก
อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หา
ภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ
มิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส
ที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หา
ภิกษุมิได้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 209
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส
ที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือ
ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มี
อันตราย .
หมวดที่ ๕
[๓๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงออกจาก
อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น
นานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น
นานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส
ที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
แต่เป็นนานาสังวาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 210
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส
ที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น
มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะ
ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.
หมวดที่ ๖
[๓๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส พึงออกจาก
อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน
สังวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาทที่มีภิกษุ
เป็นสมานสังวาส
พีงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน
สังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น
สมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่
มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
เป็นสมานสังวาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 211
พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่
มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่น
มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้
เทียว.
หมวดที่ ๗
[๓๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงอยู่ในที่
มุงอันเดียวกันในอาวาส กับปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี
เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว พึงลุกออกจากอาสนะ
พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง
ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมอันเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม
สูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 212
หมวดที่ ๘
[๓๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงอยู่ในที่
มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า
ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี
ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า
...กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
...กับภิกษุผู้ควรมานัต
...กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
...กับภิกษุผู้ควรอัพภาน
เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
ในพึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน
เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
เมื่อเธอจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
[๓๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุอยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ พึง
ให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้งภิกษุผู้
อยู่ปริวาสนั้นพึงอัพภาน การกระทำดังนั้นใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 213
รัตติเฉท ๓ อย่าง
[๓๓๑] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้ว
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งเฝ้า ณ ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ท่าน
พระอุบาลีนั่งเฝ้าเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามความข้อนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ความขาดแห่งราตรีของภิกษุผู้อยู่ปริวาส มีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี ความขาดแห่งราตรี ของภิกษุผู้
อยู่ปริวาสมี ๓ คือ อยู่ร่วม ๑ อยู่ปราศ ๑ ไม่บอก ๑ รัตติเฉทของภิกษุ
ผู้อยู่ปริวาสมี ๓ อย่างนี้แล.
พุทธานุญาตให้เก็บปริวาส
[๓๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครสาวัตถี ภิกษุสงฆ์มาประชุม
กันมากมาย ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ไม่สามารถจะชำระปริวาส จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บ
ปริวาส
วิธีเก็บปริวาส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีเก็บปริวาส พึงเก็บอย่างนี้ :-
อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์
เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเก็บ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 214
ปริวาส ปริวาสเป็นอันเก็บแล้ว หรือกล่าวว่า ข้าพเจ้าเก็บปริวาส
ปริวาสก็เป็นอันเก็บแล้ว .
พุทธานุญาตให้สมาทานปริวาส
[๓๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายออกจากพระนครสาวัตถี
ไปในที่นั้น ๆ แล้ว พวกภิกษุผู้อยู่ปริวาสสามารถชำระปริวาสได้ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมา
ทานปริวาส
วิธีสมาทานปริวาส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีสมาทานปริวาส พึงสมาทานอย่างนี้:-
อันภิกษุอยู่ปริวาสนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์
เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำสมาทานว่า ข้าพเจ้า
สมาทานปริวาส ปริวาสเป็นอันสมาทานแล้ว หรือกล่าวคำสมาทานว่า
ข้าพเจ้าสมาทานวัตร ปริวาสก็เป็นอันสมาทานแล้ว.
ปาริวาสิกวัตร จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 215
เรื่องมูลายปฏิกัสสนารหภิกษุ
[๓๓๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะ
มาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระ-
เบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะ
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ....ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพน
ทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม จึงได้ยินดีการกราบ
ไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำ
ที่นอนมาให้ การล้างหน้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า
การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า
แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๓๓๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบ
ถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ควร
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามี
จิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้ง
ตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตร จีวร การถูหลังให้
เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 216
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุก
รับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้
การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร
การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติ
เดิมนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส.......ครั้นแล้ว
ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้
ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมไม่พึงยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม
สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การ
ตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้
เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูปใดยินดีต้องอาบัติทุกกฎ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี
กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การ
ล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร
การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมด้วย
กันตามลำดับผู้แก่พรรษา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ
ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ตามลำดับผู้แก่พรรษา
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 217
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม โดยประการที่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติ
เดิม ต้องพระพฤติทุกรูป.
มูลายปฏิกัสสนารหวัตร
หมวดที่ ๑
[๓๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
พึงประพฤติโดยชอบ วิธีพระพฤติชอบในวัตรนั้น ดังนี้:-
อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
เป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม เพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
ไม่พึงติกรรม
ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 218
ไม่พึงทำการไต่สวน
ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
หมวดที่ ๒
[๓๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
ไม่พึงไปข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์
ที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ
ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุเป็นสมณะไปข้างหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่
สกุล
ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์
ไม่พึงสมาทานบิณฑปาติกธุดงค์ และ
ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่า คน
ทั้งหลายอย่ารู้เรา.
หมวดที่ ๓
[๓๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 219
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นที่มิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หา
ภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นที่มิใช่อาวาสที่หา
ภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส
ที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หา
ภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่
อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ
ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มี
อันตราย.
หมวดที่ ๔
[๓๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่ภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น
นานาสังวาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 220
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มี
ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น
นานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่
อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มี
ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่
อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ
ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะ
ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
หมวดที่ ๕
[๓๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมาน
สังวาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 221
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน
สังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น
สมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาส
ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส
ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น
มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้
เที่ยว.
หมวดที่ ๖
[๓๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี กับ
ปกตัตตะภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 222
เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง
ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม
สูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม
หมวดที่ ๗
[๓๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กันภิกษุผู้อยู่ปริวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี
ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
...กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ที่แก่พรรษากว่า
...กับภิกษุผู้ควรมานัต
...กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
...กับภิกษุผู้ควรอัพภาน
เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 223
เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน
เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
เมื่อเธอจงกรม ณ พื้นดิน ไปพึงจงกรมในที่จงกรม.
[๓๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติ
เดิมเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์
๒๐ รูป ทั้งภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมนั้น พึงอัพภาน การกระทำ
ดังนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
มูลายปฏิกัสสนารหวัตร จบ
เรื่องมานัตตารหภิกษุ
[๓๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัต ยินดีการ
กราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้
การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ด
เท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้ง
หลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย.... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัต จึงได้ยินดี การกราบไหว้ การลุก
รับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้
การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 224
การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัต ยินดีการกราบไหว้ การลุก
รับอัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้
การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร
การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไฉน
ภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัต จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี
กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้าง
เท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การ
ถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การกระทำของภิกษุผู้ควรมานัตนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส....ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ การ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 225
ลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอน
มาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การ
รับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูป
ใดยินดีต้องอาบัติทุกกฏ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี-
กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า
การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลัง
ให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัตด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่
พรรษา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวา-
รณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ควรมานัตด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้
ควรมานัต โดยประการที่ภิกษุผู้ควรมานัต ต้องประพฤติทุกรูป.
มานัตตารหวัตร
หมวดที่ ๑
[๓๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต พึงประพฤติ
ชอบ วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังนี้ :-
อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงให้อุปสมบท
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 226
ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
ตนเป็นผู้ควรมานัตเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
ไม่พึงติกรรม
ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงทำการไต่สวน
ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
หมวดที่ ๒
[๓๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงไปข้าง
หน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 227
พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์
ที่สงฆ์จะพึงให้เธอ
ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุเป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล
ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์
ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกธุดงค์ และ
ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้ง
หลายอย่ารู้เรา.
หมวดที่ ๓
[๓๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต เป็นอาคันตุกะ
ไป พึงบอก มีอาคันตุกะมา ก็พึงบอก พึงบอกในอุโบสถ พึงบอกใน
ปวารณา พึงบอกทุกวัน ถ้าอาพาธ พึงสั่งทูตให้บอก.
หมวดที่ ๔
[๓๔๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงออกจาก
อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่หา
ภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ
มิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 228
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ
มิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่
อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หา
ภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่
อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ
ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุให้ เว้นแต่มี
อันตราย.
หมวดที่ ๕
[๓๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงออกจาก
อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น
นานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มี
ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น
นานาสังวาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 229
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่
อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มี
ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่
อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ
ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะ
ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.
หมวดที่ ๖
[๓๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต พึงออกจาก
อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน
สังวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน
สังวาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 230
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น
สมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาส
ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส
ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น
มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้
เทียว.
หมวดที่ ๗
[๓๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงอยู่ในที่
มุงเดียวกันในอาวาส กับปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี กับ
ปกตัตตะภิกษุ
เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง
ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 231
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม
สูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
หมวดที่ ๘
[๓๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงอยู่ในที่
มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี
ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
...กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
...กับภิกษุผู้ควรมานัตที่แก่กว่า
...กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
...กับภิกษุผู้ควรอัพภาน
เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง อาสนะ
ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน
เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
เมื่อเธอจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 232
[๓๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรมานัตเป็นที่ ๔
พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้งภิกษุ
ผู้ควรมานัตนั้นพึงอัพภาน การกระทำดังนั้น ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ
มานัตตารหวัตร จบ
เรื่องมานัตตจาริกภิกษุ
[ ๓๕๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัตยินดีการ
กราบไหว การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้
การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้อง
เช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย....ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพน
ทะนาว่า ไฉนมานัตตจาริกภิกษุทั้งหลายจึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุก
รับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้
การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร
การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๓๕๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 233
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติ
มานัต ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การ
นำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การ
ทั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของ
ปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไฉน
ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัต จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ
อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การ
ล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร
การถูกหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลายการกระทำของพวกภิกษุผู้ประพฤติมานัตนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส.... ครั้นแล้วทรงทำธรรมมีกถา รับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต ไม่
พึงยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำ
อาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การ
ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของ
ปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูปใดยินดีต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 234
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี-
กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การ
ล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร
การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัต ด้วยกัน ตาม
ลำดับผู้แก่พรรษา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ
ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ประพฤติมานัตด้วยกันตามลำดับผู้เเก่พรรษา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุ
ผู้ประพฤติมานัต โดยประการที่ภิกษุผู้ประพฤติมานัต ต้องประพฤติทุก
รูป.
มานัตตจาริกวัตร
หมวดที่ ๑
[๓๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต พึงประ-
พฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-
อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 235
แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
สงฆ์ให้มานัตเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
ไม่พึงติกรรม
ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงทำการไต่สวน
ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
หมวดที่ ๒
[๓๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต ไม่พึงไป
ข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์
ที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 236
ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุเป็นสมณะนำหน้าหรือตามหลัง เข้าไปสู่สกุล
ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์
ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกธุดงค์ และ
ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้ง
หลายอย่ารู้เรา.
หมวดที่ ๓
[๓๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต เป็น
อาคันตุกะไปพึงบอก มีอาคันตุกะมา ก็พึงบอก พึงบอกในอุโบสถ
พึงบอกในปวารณา พึงบอกทุกวัน ถ้าอาพาธ พึงสั่งทูตให้บอก.
หมวดที่ ๔
[๓๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัตไม่พึงออก
จากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หา
ภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ
มิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่
อาวาสที่หาภิกษุมิได้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 237
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หา
ภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่
อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ
ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.
หมวดที่ ๕
[๓๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัตไม่พึงออก
จากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ แต่เป็น
นานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น
นานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่
อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มี
ภิกษุแต่เป็นนานาสังวาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 238
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่
อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ
ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับสงฆ์
เว้นแต่มีอันตราย.
หมวดที่ ๖
[๓๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต พึงออก
จากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน-
สังวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมาน-
สังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น
สมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาส
ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
เป็นสมานสังวาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 239
พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส
ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น
มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าจะไปถึงในวันนี้เทียว.
หมวดที่ ๗
[๓๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัตไม่พึงอยู่ใน
ที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี กับ
ปกตัตตะภิกษุ
เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว พึงลุกจากอาสนะ
พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง
ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะอันเดียวกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 240
หมวดที่ ๘
[๓๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต ไม่พึงอยู่
ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกัน ในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี
ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะอันเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
...กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม.
...กับภิกษุผู้ควรมานัต
...กับภิกษุผู้ประพฤติมานัตผู้แก่กว่า
...กับภิกษุผู้ควรอัพภาน
เมื่อปักตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จง
กรมสูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม
[๓๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นที่
๔ พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้ง
มานัตตจาริกภิกษุนั้น พึงอัพภาน การกระทำดังนั้น ใช้ไม่ได้และไม่
ควรทำ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 241
รัตติเฉท ๔ อย่าง
[๓๖๕] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นแล้ว
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูล
ถามความข้อนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ความขาดแห่งราตรีของพระภิกษุ
ผู้ประพฤติมานัต มีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี ความขาดแห่งราตรีของภิกษุผู้
ประพฤติมานัตมี ๔ คือ อยู่ร่วม ๑ อยู่ปราศ ๑ ไม่บอก ประพฤติใน
คณะอันพร่อง ๑ รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัตมี ๔ อย่างนี้แล.
พุทธานุญาตให้เก็บมานัต
[๓๖๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครสาวัตถี มีภิกษุสงฆ์เป็นอัน
มากมาประชุมกัน ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัต ไม่สามารถชำระมานัตได้
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บ
มานัต
วิธีเก็บมานัต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีเก็บมานัตพึงเก็บอย่างนี้
ภิกษุผู้ประพฤติมานัตนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตรา-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 242
สงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำเก็บมานัต ว่า
ดังนี้ ข้าพเจ้าเก็บมานัต มานัตเป็นอันเก็บแล้ว หรือกล่าวว่า
ข้าพเจ้าเก็บวัตร มานัตก็เป็นอันเก็บแล้ว.
พุทธานุญาตให้สมาทานมานัต
[๓๖๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายออกจากพระนครสาวัตถี
ไปในที่นั้น ๆ แล้ว พวกภิกษุผู้ประพฤติมานัต สามารถชำระมานัต จึง
กราบทูลเรื่องนั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้สมาทานมานัต
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีสมาทานมานัตพึงสมาทานอย่างนี้
อันภิกษุผู้ประพฤติมานัตนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตรา-
สงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำสมาทานว่าดังนี้
ข้าพเจ้าสมาทานวัตร มานัตเป็นอันสมาทานแล้ว หรือกล่าวคำ
สมาทานว่า ข้าพเจ้าสมาทานวัตร มานัตก็เป็นอันสมาทานแล้ว.
มานัตตจาริกวัตร จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 243
เรื่องอัพภานารหภิกษุ
[๓๖๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้ควรอัพภาน ยินดีการ
กราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้
การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้อง
เช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย .... ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะ-
นาว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายผู้ควรอัพภานจึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุก
รับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้
การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร
การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๓๖๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ควรอัพภาน
ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะ
มาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้ง
กระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของ
ปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 244
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุทั้งหลายผู้ควรอัพภานจึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี-
กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า
การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลัง
ให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกภิกษุผู้ควรอัพภานนั่นไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส... ครั้นแล้วทรงทำธรรมี-
กถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภาน
ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำ
อาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้ง
กระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัต-
ตะภิกษุทั้งหลาย รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี-
กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า
การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลัง
ให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลายผู้ควรอัพภานด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่
พรรษา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา
ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ควร
อัพภานด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 245
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ควรอัพภาน โดยประการที่ภิกษุผู้ควรอัพภานต้องประพฤติ
ทุกรูป.
อัพภานารหวัตร
หมวดที่ ๑
[๓๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานพึงพระพฤติ
ชอบ วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังต่อไปนี้.
ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
ไม่พึงรับ สมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
สงฆ์อัพภานเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
ไม่พึงติกรรม
ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงทำการไต่สวน
ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 246
ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
หมวดที่ ๒
[๓๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงไปข้าง
หน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่
สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ
ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุ เป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล
ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์
ไม่พึงสมาทานปิณฑิปาติกธุดงค์ และ
ไม่พึงให้นำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่า คนทั้ง-
หลายอย่ารู้เรา.
หมวดที่ ๓
[๓๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงออกจาก
อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หา
ภิกษุมิได้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 247
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิ
ได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่
อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หา
ภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่
อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้น
แต่มีอันตราย.
หมวดที่ ๔
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงออกจากอาวาสที่มี
ภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น
นานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มี
ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น
นานาสังวาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 248
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่
อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มี
ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่
อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.
หมวดที่ ๕
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานพึงออกจากอาวาสที่มี
ภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน
สังวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน
สังวาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 249
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น
สมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาส
ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส
ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือ
ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้
เทียว.
หมวดที่ ๖
[๓๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงอยู่
ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกัน ในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกัน ในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี
กับปกตัตตะภิกษุ
เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว พึงลุกจากอาสนะ
พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง
ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 250
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม
สูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
หมวดที่ ๗
[๓๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงอยู่ในที่
มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี
ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
...กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
...กับภิกษุผู้ควรมานัต
...กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
...กับภิกษุผู้ควรอัพภานที่แก่พรรษากว่า
เมื่อเธอนั่งอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน
เมื่อเธอจงกรมในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
เมื่อเธอจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 251
[๓๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานเป็นที่
พึงให้ปริวาสพึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้งภิกษุ
ผู้ควรอัพภานนั้นพึงอัพภาน การกระทำดังนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
อัพภานารหวัตร จบ
ปาริวาสิกขันธกะ ที่ ๒ จบ
ในขันธกะนี้มี ๕ เรื่อง
หัวข้อประจำขันธกะ
[๓๗๖] ๑. ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ยินดีการกราบไหว้ การ
ลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมา
ให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับ
บาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก จึงเพ่งโทษ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส
ผู้ยินดี ทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา และ
ทรงอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ๑ ปวารณา ๑ ผ้าอาบน้ำฝน ๑
การสละภัตร ๑ การรับภัตร ๑ วิธีประพฤติชอบ คือ ภิกษุผู้อยู่ปริวาส
ไม่ไปข้างหน้าปกตัตตะภิกษุ พอใจด้วยที่สุดท้าย ไม่มีสมณะนำหน้าและ
ตามหลังเข้าไปสู่สกุล ไม่สมาทานอารัญญิกธุดงค์ ปิณฑปาติกธุดงค์
ไม่ให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เป็นอาคันตุกะไป และมีอาคันตุกะมา
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 252
ต้องบอก พึงบอกในอุโบสถ ในปวารณา สั่งทูตไห้บอก ไปสู่อาวาส
และถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกัน เมื่อปกตัตตะภิกษุ
นั่ง ณ พื้นดิน ไม่นั่ง ณ อาสนะ เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่งอาสนะต่ำ ไม่นั่ง
อาสนะสูง เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมในที่ต่ำ ไม่จงกรมในที่สูง หรือ
จงกรม ณ พื้นดิน ไม่จงกรมในที่จงกรม ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกัน....
กับภิกษุผู้อยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า ทำกรรมใช้ไม่ได้ รัตติเฉท ชำระ
ปริวาส ภิกษุผู้อยู่ปริวาส พึงทราบวิธีเก็บวัตร สมาทานวัตร ภิกษุ
ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ผู้ควรมานัต ผู้ประพฤติมานัต และผู้ควร
อัพภาน ปราชญ์พึงทราบโดยนัยที่เจือกันอีก
รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ ของภิกษุผู้ประพฤติมานัตมี ๔ ไม่
เท่ากัน และประพฤติมานัตให้ครบวัน กรรม ๒ อย่างคล้ายกัน ๓ อย่าง
นอกนั้นเหมือนกันแล.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 253
ปาริวาสิกักขันธกวรรณนา
ปาริวาสิกวัตรกถา
วินิจฉัยในปาริวาสิกักขันธกะ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า ปาริวาสิกา ได้เเก่ ภิกษุผู้อยู่ปริวาส.
ในคำว่า ปาริวาสิกา นั้น ปริวาสมี ๔ อย่าง คือ อัป-
ปฏิจฉันนปริวาส ๑ ปฏิจฉันนปริวาส ๑ สุทธันตปริวาส ๑ สโมธาน
ปริวาส ๑.
บรรดาปริวาส ๔ อย่างนั้น ติตถิยปริวาส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ในมหาขันธกะอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดแม้อื่นผู้เคย
เป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบท ในธรรมวินัยนี้,
สงฆ์พึงให้ปริวาส ๔ เดือนแก่บุคคลนั้น ดังนี้ ชื่ออัปปฏิจฉันนปริวาส
คำใดที่จะพึงกล่าวในอัปปฏิจฉันนปริวาสนั้น คำนั้นข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ดี
แล้วแล. แต่ว่าอัปปฏิจฉันนปริวาสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงประสงค์
ในปาริวาสิกักขันธกะนี้. ปริวาส ๓ อย่างที่เหลือ สงฆ์พึงให้แก่ภิกษุผู้
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วและปกปิดไว้. คำใดที่จะพึงกล่าวในปริวาส ๓
อย่างนั้น คำนั้นข้าพเจ้าจักพรรณนาในสมุจจยักขันธกะ. ก็แลปริวาส ๓
อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ในปาริวาสิกักขันธกะนี้. เพราะ
เหตุนั้น ภิกษุผู้อยู่ปริวาสอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ ปริวาสนี้ พึงทราบว่า
ปาริวาสิกภิกษุ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 254
สองบทว่า ปกตตฺตาน ภิกฺขูน ได้แก่ภิกษุปกตัตตะที่เหลือ
โดยที่สุดแม้ภิกษุผู้ควรแก่มูลายปฏิกัสสนาเป็นต้น เว้นปาริวาสิกภิกษุผู้ใหม่
กว่าเสีย.
สองบทว่า อภิวาทน ปจฺจุปฏฺาน มีความว่า ภิกษุปกตัตตะ
เหล่านั้น ทำควานเคารพมีอภิวาทเป็นต้น อันใด ปาริวาสิกภิกษุทั้ง-
หลายย่อมยินดี คือ ยอมรับความเคารพอันนั้น. อธิบายว่า ไม่ห้าม
เสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามีจิกมฺม นี้ เป็นชื่อของอภิสมา-
จาริกวัตร มีการพัดลมให้เป็นต้น แก่ภิกษุอื่นซึ่งสมควร เว้นความ
เคารพมีอภิวาทเป็นต้นเสีย.
บทว่า อาสนาภิหาร ได้แก่ การจัดอาสนะให้ คือ หยิบอาสนะ
ไปให้ คือ ปูลาดให้นั่งเอง. แม้ในการจัดที่นอนให้ ก็นัยนี้แล.
บทว่า ปาโททก นั้น ได้แก่ น้ำสำหรับล้างเท้า.
บทว่า ปาทปี นั้น ได้แก่ ตั่งสำหรับรองเท้าที่ล้างแล้ว.
บทว่า ปาทกถลิก นั้น ได้แก่ แผ่นกระดานสำหรับวางเท้า.
ซึ่งยังไม่ได้ล้าง หรือแผ่นกระดานสำหรับเช็ดเท้า.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า คงเป็นอาบัติ
ทุกกฏแก่ภิกษุผู้ยินดี แม้ของสัทธิวิหาริกเป็นต้น . เพราะเหตุนั้น ปาริ-
วาสิกภิกษุนั้น พึงบอกนิสิตทั้งหลายมีสัทธิวิหาริกเป็นต้นนั้น ว่า ข้าพเจ้า
กำลังทำวินัยกรรมอยู่, พวกท่านอย่าทำวัตรแก่ข้าพเจ้าเลย อย่าบอกลา
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 255
เข้าบ้านกะข้าพเจ้าเลย. ถ้าพวกกุลบุตรผู้มีศรัทธาบวชกล่าวว่า ขอท่าน
จงทำวินัยกรรมของท่านเถิด ขอรับ ดังนี้ แล้วยังคงทำวัตร ทั้งบอก
ลาเข้าบ้านด้วย จำเดิมแต่เวลาที่ห้ามแล้วไป ไม่เป็นอาบัติ .
สองบทว่า มิถุ ยถาวุฑฺฒ มีความว่า ในปาริวาสิกภิกษุ
ด้วยกัน ภิกษุใด ๆ เป็นผู้แก่กว่ากันและกัน. เราอนุญาตให้ภิกษุนั้น ๆ
ยินดีอภิวาทเป็นต้นของภิกษุผู้อ่อนกว่าได้.
สองบทว่า ปญฺจ ยถาวุฑฺฒ มีความว่า เราอนุญาตส่วน ๕
ตามลำดับผู้แก่ พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายแม้ผู้ปกตัตตะ เพราะเหตุนั้นเมื่อ
กำลังสวดปาติโมกข์ ปาริวาสิกภิกษุนั่งในหัตถบาส ย่อมควร.
แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า อย่านั่งในลำดับ พึงละลำดับเสีย แต่
อย่านั่งละหัตถบาส.
เมื่อทำปาริสุทธิอุโบสถ พึงนั่งในที่ของสังฆนวกะ และคงนั่งใน
ที่นั้นเอง ทำปาริสุทธิอุโบสถในลำดับของตน.
แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า พึงทำปาริสุทธิอุโบสถในลำดับ. แม้เมื่อ
ทำปวารณาเล่า ก็พึงนั่งในที่ของสังฆนวกะ และคงนั่งในที่นั้นเอง
ปวารณาในลำดับของตน. แม้ผ้าวัสสิกสาฎกที่สงฆ์ตีระฆังแล้วแจกกัน
ปาริวาสิกภิกษุจะรับในที่ซึ่งถึงแก่ตนก็ควร.
ภัตอันภิกษุสละให้ เรียกว่า ภัตที่ภิกษุโอนให้. ก็ถ้าอุทเทสภัต
เป็นต้น ๒-๓ ที่ถึงแก่ปาริวาสิกภิกษุไซร้. แต่เธอมีความหวังเฉพาะปุค-
คลิกภัตอื่น, อุทเทสภัตเป็นต้นเหล่านั้น เธอพึงรับตามลำดับ แล้ว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 256
บอกสละเสียว่า ท่านจงให้ผมรับคราวหลังเถิดขอรับ, วันนี้ความหวัง
เฉพาะภัตของผมมี, พรุ่งนี้ผมจักรับ. ด้วยการเสียสละอย่างนี้ เธอย่อม
ได้เพื่อรับภัตเหล่านั้นในวันรุ่งขึ้น.
ในกุรุนทีกล่าวว่า ในวันรุ่งขึ้น พึงให้แก่ปาริวาสิกภิกษุนั้น
ก่อนภิกษุทั้งปวง. แต่ถ้าเธอไม่รับ ไม่โอนให้เสีย, ในวันรุ่งขึ้นย่อม
ไม่ได้. ภัตที่ภิกษุโอนให้นี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเฉพาะ
ปาริวาสิกภิกษุเท่านั้น.
เพราะเหตุไร? เพราะว่า ยาคู และของขบเคี้ยวเป็นต้นในโรง
อาหาร ย่อมถึงแก่เธอผู้นั่งในที่สังฆนวกะบ้าง ไม่ถึงบ้าง เพราะเหตุนั้น
ภัตที่ภิกษุโอนให้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตเฉพาะเพื่อทำการ
สงเคราะห์แก่ปาริวาสิกภิกษุนั้นว่า เธออย่าต้องลำบากด้วยภิกษาจารเลย.
บทว่า ภตฺต ได้แก่ จตุสาลภัตของสงฆ์ในวิหารที่ภิกษุผู้มา
แล้ว พึงรับไปตามลำดับผู้แก่, ปาริวาสิกภิกษุย่อมได้ภัตนั้น ตามลำดับ
ผู้แก่. แต่ไม่ได้เพื่อไปหรือยืนในแถว. เพราะเหตุนั้น พึงถอยห่างจาก
แถวแล้วยืนในหัตถบาส เอื้อมมือรับอย่างเหยี่ยวโผลงฉวยเอาฉะนั้น.
เธอไม่ได้เพื่อจะใช้อารามิกบุรุษหรือสมณุทเทสให้นำมา. ถ้าเขานามาเอง
ข้อนั้นควรอยู่ แม้ในมหาเปฬภัตของพระราชาก็นัยนี้แล.
ในมหาปัจจรีกล่าวว่า แต่ในจตุสาลภัต ถ้าปาริวาสิกภิกษุ เป็น
ผู้ใคร่จะทำการโอนให้ไซร้, เมื่ออาหารอัน เขายกขึ้นแล้วเพื่อตนพึงบอกว่า
วันนี้ ภัตของเราย่อมมี, พรุ่งนี้เราจักรับ ดังนี้ ในวันรุ่งขึ้นย่อมได้
อาหาร ๒ ส่วน. แม้อุทเทสภัตเป็นต้น พึงถอยห่างจากแถวก่อนจึงรับ .
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 257
และพวกทายกนิมนต์ให้นั่งในที่ใดแล้วอังคาส, พึงเป็นหัวหน้าของพวก
สามเณร เป็นสังฆนวกะของพวกภิกษุ นั่งในที่นั้น.
บัดนี้ วินิจฉัยความประพฤติชอบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นี้.
บทว่า น อุปสมฺปาเทตพฺพ มีความว่า เป็นอุปัชฌาย์ไม่
พึงให้อุปสมบท แต่จะเก็บวัตรแล้วให้อุปสมบท ควรอยู่.
เป็นอาจารย์แล้ว แม้กรรมวาจาก็ไม่ควรสวด, เมื่อภิกษุอื่นไม่มี
จะเก็บวัตรแล้วสวด ควรอยู่.
บทว่า น นิสฺสโ่ย ทาตพฺโพ มีความว่า ไม่พึงให้นิสัย
แก่พวกภิกษุอาคันตุกะ. แม้ภิกษุเหล่าใดได้ถือนิสัยตามปกติเทียว พึง
บอกภิกษุเหล่านั้นว่า ข้าพเจ้ากำลังทำวินัยกรรม. พวกท่านจงถือนิสัย
ในสำนักพระเถระชื่อโน้น อย่าทำวัตรแก่ข้าพเจ้าเลย อย่าบอกลาเข้า
บ้านกะข้าพเจ้าเลย. ถ้าแม้เมื่อบอกอย่างนั้นแล้ว พวกนิสิตก็ยังขืนทำ
แม้พวกเธอยังขืนทำอยู่ จำเดิมแต่กาลที่ได้ห้ามแล้วไป ไม่เป็นอาบัติแก่
ปาริวาสิกภิกษุนั้น.
บทว่า น สามเณโร มีความว่า ไม่พึงรับสามเณรอื่น; แม้
พวกสามเณรที่คนเป็นอุปัชฌาย์รับเอาไว้ ตนก็ควรบอกว่า ข้าพเจ้ากำลัง
ทำวินัยกรรม, พวกเธออย่าทำวัตรแก่ข้าพเจ้าเลย อย่าบอกลาเข้าบ้านกะ
ข้าพเจ้าเลย. ถ้าแม้เมื่อบอกอย่างนั้นแล้ว เธอทั้งหลายยังขืนทำ; แม้เมื่อ
เธอทั้งหลายขืนทำอยู่ เดิมแต่กาลที่ได้ห้ามแล้วไป ไม่เป็นอาบัติแก่
ปาริวาสิกภิกษุนั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 258
ขึ้นชื่อว่า การสมมติให้เป็นผู้สอนนางภิกษุณี ซึ่งเป็นตำแหน่ง
ของผู้เป็นใหญ่ ท่านห้าม, เพราะฉะนั้น ปาริวาสิกภิกษุพึงเรียนแก่ภิกษุ
สงฆ์ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ากำลังทำวินัยกรรม, ท่านทั้งหลายจงรู้ภิกษุ
ผู้สอนนางภิกษุณี หรือพึงมอบภาระแก่ภิกษุผู้สามารถก็ได้ และพึงบอก
นางภิกษุณีทั้งหลายที่พากันมาว่า ท่านทั้งหลาย จงไปหาสงฆ์. สงฆ์จัก
รู้ภิกษุผู้ให้โอวาทแก่ท่านทั้งหลาย หรือพึงบอกว่า ข้าพเจ้ากำลังทำวินัย
กรรม ท่านทั้งหลายจงไปหาภิกษุผู้ชื่อโน้น. เธอจักให้โอวาทแก่ท่าน
ทั้งหลาย.
บทว่า สา อาปตฺติ มีความว่า ไม่พึงถึงการปล่อยสุกกะอีก
ในเมื่อปริวาสเพื่อการปล่อยสุกกะอันสงฆ์ให้แล้ว.
สองบทว่า อญฺา วา ตาทิสิกา ได้แก่ ครุกาบัติมีกาย-
สังสัคคะเป็นต้น.
สองบทว่า ตโต วา ปาปิฏฺตรา ได้แก่ อาบัติปาราชิก,
ในอาบัติ ๗ อาบัติทุพภาสิต เป็นอาบัติเลวทราม อาบัติทุกกฏ เป็น
อาบัติเลวทรามกว่า อาบัติทุกกฏเป็นอาบัติเลวทราม อาบัติปาฏิเทสนียะ
เป็นอาบัติเลวทรามกว่า.
พึงทราบนัยในอาบัติปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย สังฆาทิเสส และปาราชิก
โดยอุบายอย่างนี้.
แม้ในวัตถุทั้งหลายแห่งอาบัติเหล่านั้น พึงทราบความต่างกันโดย
นัยก่อนนั่นแล วัตถุแห่งทุพภาสิตเลวทราม วัตถุแห่งทุกกฏเลวทรามกว่า
แต่ในสิกขาบทที่เป็นปัณณัตติวัชชะ ทั้งวัตถุ ทั้งอาบัติเลวทราม. ส่วน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 259
สิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะ เลวทรามกว่าทั้ง ๒ อย่าง. กรรมวาจาแห่ง
ปริวาสท่านเรียกว่ากรรม, ไม่พึงติด้วยคำเป็นต้นว่า กรรมนั้น ไม่เป็น
อันทำ ทำเสีย หรือด้วยคำเป็นต้นว่า กรรมชนิดนี้เป็นกสิกรรม เป็น
โครักขกรรมด้วยหรือ?
บทว่า กมฺมิกา มีความว่า กรรมอันภิกษุเหล่าใดทำแล้วภิกษุ
เหล่านั้น ท่านเรียกว่า กัมมิกา.
ไม่พึงติภิกษุเหล่านั้นด้วยคำว่า เป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นต้น.
ข้อว่า น สวจนีย กาตพฺพ มีความว่า ไม่พึงทำความ
เป็นผู้มีคำจำต้องกล่าว เพื่อประโยชน์แก่การประวิงหรือเพื่อประโยชน์แก่
การเกาะด้วย.
จริงอยู่ เมื่อจะทำเพื่อประโยชน์แก่การประวิง ย่อมทำอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าจะทำท่านให้เป็นผู้ให้การโนคดีนี้, ท่านอย่าได้ย่างออกจากอาวาสนี้
แม้เพียงก้าวเดียว ตลอดเวลาที่อธิกรณ์ยังระงับไม่เสร็จ ดังนี้, เมื่อจะ
ทำเพื่อประโยชน์แก่การเกาะตัว ย่อมทำอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจะทำท่านให้
เป็นผู้ให้การ, ท่านจงมา ไปต่อหน้าพระวินัยธร พร้อมกับข้าพเจ้า
ไม่พึงทำความเป็นผู้มีคำจำต้องกล่าวทั้ง ๒ อย่างนั้น.
บทว่า น อนุวาโท มีความว่า ไม่พึงรับตำแหน่งหัวหน้าใน
วิหาร, คือ ไม่พึงเป็นผู้สวดปาติโมกข์ หรือเชิญแสดงธรรม ไม่พึง
ทำการเนื่องด้วยความเป็นใหญ่ แม้ด้วยอำนาจสมมติอย่างหนึ่งในสมมติ
๑๓.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 260
บทว่า น โอกาโส มีความว่า ไม่พึงทำโอกาสแก่ภิกษุผู้ปกตัตตะ
อย่างนี้ว่า ท่านจงทำโอกาสแก่ข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าอยากจะพูดกะท่าน, คือ
ไม่พึงโจทด้วยวัตถุหรืออาบัติ, ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การด้วยคำว่า นี้เป็น
โทษของท่านหรือ ?
บทว่า น ภิกฺขู ภิกฺขูหิ สมฺปโยเชตพฺพ มีความว่า ไม่พึง
ช่วยกันและกันให้ทำความทะเลาะ.
บทว่า ปูรโต มีความว่า เป็นสังฆเถระไม่ควรไปข้างหน้า คือ
พึงละการไปใกล้กันเสีย ๑๒ ศอก ไปตามลำพัง. แม้ในการนั่งก็มีนัย
เหมือนกัน .
อาสนะที่จัดว่าสุดท้ายของสังฆนวกะ ในโรงอาหารเป็นต้น ชื่อว่า
อาสนะสุดท้าย, อาสนะสุดท้ายนั้น ควรให้แก่ปาริวาสิกภิกษุนั้น, เธอ
พึงนั่งบนอาสนะนั้น.
สุดท้ายของที่นอนทั้งหลาย ได้แก่ เตียงตั่งที่เลวกว่าเตียงตั่งทั้ง
หมด ชื่อว่า ที่นอนสุดท้าย. จริงอยู่ ปาริวาสิกภิกษุนี้ ไม่ได้เพื่อ
ถือเอาที่นอนในที่ซึ่งถึงแก่ตนตามลำดับพรรษา. แต่ที่นอนที่เลว ซึ่ง
สานด้วยหวายและเปลือกไม้เป็นต้น มีขี้เรือดเกรอะกรัง ที่เหลือจากที่
นอนซึ่งภิกษุทั้งปวงเลือกถือเอาแล้ว ควรให้แก่เธอ.
บทว่า วิหารปริยนฺโต มีความว่า เหมือนอย่างว่า ที่นอน
เป็นฉันใด ที่อยู่ก็เป็นฉันนั้น, อีกอย่างหนึ่ง แม้อาวาสก็ไม่ควรแก่เธอ
ในที่ซึ่งถึงแก่ตนตามลำดับพรรษา. แต่บรรณศาลาที่มีพื้น มาด้วยธุลี
เต็มไปด้วยมูลค้างคาวและหนู ซึ่งเหลือจากที่ภิกษุทั้งปวงเลือกถือแล้ว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 261
ควรให้แก่เธอ. ถ้าภิกษุปกตัตตะทั้งหมด ถือรุกขมูล หรืออัพโภกาส
ไม่เข้าที่มุง, อาวาสทั้งหมดจัดว่าเป็นอาวาสที่ภิกษุเหล่านั้นละเลยเสียแล้ว .
บรรดาอาวาสเหล่านั้น เธอย่อมได้อาวาสที่คนต้องการ.
อนึ่ง ในวันวัสสูปนายิกา เธอย่อมได้เพื่อยืนอยู่ข้างหนึ่งรับปัจจัย
ตามลำดับพรรษา, แต่ไม่ได้เพื่อถือเอาเสนาสนะ. ปาริวาสิกภิกษุผู้ใคร่
จะถือเอาเสนาสนะที่มีผ้าจำนำพรรษาเป็นนิตย์ พึงเก็บวัตรก่อนแล้วจึงถือ
เอา.
บทว่า เตน จ โส สาทิตพฺโพ มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย
ให้อาสนะสุดท้ายเป็นต้นอันใดแก่เธอ, อาสนะสุดท้ายเป็นต้นนั้นแล อัน
เธอพึงรับ .
บทว่า ปุเรสมเณน วา ปจฺฉาสมเณน วา มีความว่า
เธอรับนิมนต์ในที่แห่งญาติและคนปวารณาว่า ขอท่านจงพาภิกษุมาเท่านี้
ดังนี้ แล้วชักชวนอย่างนี้ว่า สกุลชื่อโน้น นิมนต์ภิกษุทั้งหลายขอรับ,
พวกท่านจงมา เราทั้งหลายจงไปในสกุลนั้น ดังนี้ ไม่พึงทำภิกษุผู้
ปกตัตตะ ให้เป็นปุเรสมณะหรือปัจฉาสมณะไป.
แต่ว่าสมควรจะกล่าวโดยปริยายอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ชนทั้ง
หลายในบ้านชื่อโน้น หวังความมาภิกษุทั้งหลาย, ดีแล้วหนอ ถ้า
ท่านทั้งหลายพึงทำความสงเคราะห์แก่ชนเหล่านั้น .
บทว่า น อารญฺิกงฺค มีความว่า เมื่อระอาที่จะบอกแก่
ภิกษุทั้งหลายที่มาแล้ว ๆ ไม่ควรสมาทานอารัญญิกธุดงค์.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 262
อารัญญิกธุดงค์นั้น แม้ภิกษุใดสมาทานแล้วตามปกติ ภิกษุนั้น
พึงชวนภิกษุผู้เป็นเพื่อนรับอรุณในป่า, แต่ไม่ควรไปตามลำพัง.
อนึ่ง เมื่อเบื่อหน่ายการนั่งบนอาสนะสุดท้ายในโรงอาหารเป็น
ต้น ไม่ควรสมาทานแม้ซึ่งปิณฑปาติกธุดงค์ แต่ไม่มีการห้ามแก่ภิกษุผู้
ถือบิณฑบาตตามปกติ.
บทว่า น จ ตปฺปจฺจยา มีความว่า ไม่ควรให้นำบิณฑบาต
ออกไป เพราะเหตุนี้ว่า เราเป็นผู้มีอาหารอันน่าไปแล้วนั่งฉันอยู่ใน
กุฎีที่อยู่นั้นแล จักนับราตรีได้ คือว่า รัตติเฉท พึงมีแก่เราผู้ไปเห็น
ภิกษุมาในบ้านแล้วไม่บอก.
บทว่า มา ม ชานึสุ มีความว่า เธอไม่ได้แม้เพื่อให้
สามเณรหุงต้มฉันที่วัด ด้วยอัธยาศัยนี้ว่า แม้ภิกษุรูปเดียว จงอย่ารู้จัก
เรา, คือพึงเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตนั่งเอง. แต่ปาริวาสิกภิกษุผู้อาพาธ
หรือผู้ขวนขวายในนวกรรม และกิจของอาจารย์อุปัชฌาย์ เป็นต้น
ควรอยู่ในกุฎีทีอยู่แท้. ถ้าภิกษุหลายร้อยรูปเที่ยวอยู่ในบ้าน ไม่สามารถ
จะบอกได้, ควรไปยังคามกาวาสแล้วอยู่ในที่แห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกัน .
แม้เป็นอาคันตุกะมายังวัดบางตำบล ก็พึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลายใน
วัดนั้น. ถ้าเห็นภิกษุทั้งหมดอยู่ในที่เดียวกัน พึงยืนบอกในที่เดียวกันที
เดียว ถ้าภิกษุทั้งหลายแยก ๆ กันอยู่ตามโคนไม้เป็นต้น, พึงไปบอกใน
ที่นั้นๆ. เมื่อจงใจไม่บอก เป็นรัตติเฉทด้วย เป็นทุกกฏเพราะวัตต-
เภทด้วย ถ้าค้นไม่พบบางพวก เป็นแต่รัตติเฉท ไม่เป็นทุกกฏเพราะ
วัตตเภท.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 263
บทว่า อาคนฺตุกสฺส มีความว่า พึงบอกแก่ภิกษุอาคันตุกะรูป
เดียว หรือหลายรูป แม้ที่มาสู่กุฎีที่อยู่ของตน ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
อนึ่ง แม้รัตติเฉทและวัตตเภท ในอาคันตุกาโรจนาธิการนี้ ก็
พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.
ถ้าภิกษุอาคันคุกะพักครู่เดียว หรือไม่พัก ไม่ไปในท่ามกลางวัด
อย่างนั้น. ควรบอกแม้แก่ภิกษุอาคันตะกะเหล่านั้น, ถ้าภิกษุอาคันตุกะ
ไปเสียแต่เมื่อปาริวาสิกภิกษุนั้นยังไม่ทันรู้ แต่ว่าปาริวาสิกภิกษุนี้รู้ในเวลา
ที่ไปเสียแล้ว, พึงไปบอก. เมื่อไม่อาจจะไปทัน คงเป็นแต่รัตติเฉท
ไม่เป็นทุกกฏเพราะวัตตเภท.
ฝ่ายภิกษุอาคันตุกะเหล่าใด ไม่เข้าสู่ภายในวัด เข้าอุปจารสีมา
แล้วไปเสีย, และปาริวาสิกภิกษุนี้ได้ยินเสียงร่ม หรือเสียงไอ หรือ
เสียงจาม ของภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น รู้ว่าเป็นอาคันตุกะ พึงไป
บอก. แม้รู้ในเวลาที่พวกเธอไปแล้ว ก็ควรตามไปบอกจนได้ เมื่อไม่
สามารถจะไปทัน คงเป็นแต่รัตติเฉท ไม่เป็นทุกกฏเพราะวัตตเภท.
ฝ่ายภิกษุอาคันตุกะใด มาในกลางคืนแล้ว ไปเสียในกลางคืนนั่น
เอง แม้ภิกษุอาคันตุกะนั้น ย่อมทำรัตติเฉทแก่ปาริวาสิกภิกษุนั้น. แต่
เพราะไม่รู้ จึงไม่มีอาบัติทุกกฏเพราะวัตตเภท.
ในกุรุนทีกล่าวว่า ถ้าไม่ทันรู้กระทำอัพภานกรรม ๆ นั้น ไม่เป็น
อันทำแท้ เพราะเหตุนั้น ควรนับราตรีให้เกินไว้ แล้วจึงค่อยทำ
อัพภานกรรม. นี้เป็นข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 264
เห็นภิกษุไปเรือในแม่น้ำเป็นต้นก็ดี ยืนอยู่ที่ฟากโน้นก็ดี ไปใน
อากาศก็ดี ตั้งอยู่ในที่ไกลมีภูเขาบนบกและป่าเป็นต้นก็ดี, ถ้ามีความ
กำหนดได้ว่า เป็นภิกษุ พึงไปบอกด้วยเรือเป็นต้นก็ได้ พึงรีบตามไป
บอกก็ได้. เมื่อไม่บอกเป็นรัตติเฉทด้วย เป็นทุกกฏเพราะวัตตเภทด้วย.
ถ้าว่า แม้พยามอยู่ ก็ไม่สามารถจะไปทัน หรือให้ได้ยิน เป็นเพียง
รัตติเฉท ไม่เป็นทุกกฏเพราะวัตตเภท.
ฝ่ายพระสังฆเสนาภยเถระ กล่าวด้วยอำนาจแห่งวิสัยและอวิสัยว่า
ได้ยินว่า เมื่อไม่บอก ในวิสัย (ที่จะบอกได้) เป็นรัตติเฉทด้วย
เป็นทุกกฏเพราะวัตตเภทด้วย, แต่ในอวิสัยไม่มีทั้ง ๒ อย่าง. ส่วนพระ
กรวิกติสสเถระกล่าวว่า ความกำหนดว่า ผู้นี้เป็นสมณะนั่นแลเป็นประ-
มาณ. ถ้าแม้ไม่ใช่วิสัย, ไม่มีทุกกฏ เพราะวัตตเภทเท่านั้น แต่คง
เป็นรัตติเฉทแท้.
บทว่า อุโปสเถ มีความว่า จริงอยู่ ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย
ย่อมมาด้วยตั้งใจว่า เราจักทันอุโบสถ แม้ไปด้วยฤทธิ์ทราบว่า เป็น
วันอุโบสถ ย่อมลงทำอุโบสถกรรม. เพราะเหตุนั้น จึงควรบอกใน
วันอุโบสถ เพื่อชำระอาคันตุกะ. แม้ในปวารณา ก็มีนัยเหมือนกัน
ผู้อาพาธ นั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ไม่สามารถจะไป.
แม้วินิจฉัยในคำว่า ทูเตน นี้ พึงทราบว่า ไม่ควรส่งอนุป-
สัมบันไป. พึงส่งภิกษุให้ไปบอก.
บทว่า อภิกฺขุโก อาวาโส ได้แก่ วัดที่ว่าง, ภิกษุแม้รูป
เดียว ไม่มีในวัดใด ไม่พึงไปเพื่อต้องการอยู่ในวัดนั้น เพราะราตรี
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 265
ที่อยู่ในวัดว่างเปล่านั้น เป็นราตรีที่ไม่ยอมให้นับ. แต่จะอยู่กับภิกษุปก-
ตัตตะ สมควรอยู่. แต่เมื่ออันตราย ๑๐ อย่างมีอยู่ ถึงแม้ว่า ราตรี
ทั้งหลายจะไม่ยอมให้นับ ก็ควรไปเสีย เพื่อพ้นจากอันตรายแท้. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เว้นแต่อันตราย ดังนี้ จึงไม่
ควรทำวินัยกรรมกับภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส. แม้เพราะไม่บอกแก่ภิกษุ
นานาสังวาสเหล่านั้น รัตติเฉทย่อมไม่มี, ที่อยู่นั้นย่อมเป็นเหมือนอาวาส
ไม่มีภิกษุนั่งเอง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ว่า ใน
อาวาสใดเล่า ภิกษุทั้งหลายเป็นนานาสังวาส?
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในอุโบสถักขันธกะนั่นแล.
วินิจฉัยในบทว่า เอกจฺฉนฺเน อาวาเส เป็นต้น พึงทราบ
ดังนี้:-
เสนาสนะที่ทำไว้เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ ชื่อว่าอาวาส.
สถานมีอาทิอย่างนี้ คือ เรือนเจดีย์ เรือนโพธิ ร้านเก็บไม้
กวาด ร้านเก็บไม้ โรงน้ำ เวจกุฎี ซุ้มประตู ชื่อ อนาวาส.
หมวด ๒ แห่งอาวาสและอนาวาสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือ
เอาด้วยบทที่ ๓.
ในมหาปัจจรี กล่าวว่า ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้วไม่ได้เพื่อยู่ใน
โอกาสเหล่านี้ โอกาสอันใดอันหนึ่ง ซึ่งมุงเป็นอันเดียวกัน กำหนด
ด้วยที่ตกแห่งน้ำจากชายคา. แต่ปาริวาสิกภิกษุ ไม่ได้เพื่ออยู่ภายใน
อาวาสเท่านั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 266
ส่วนมหาอรรถกถาแก้ว่า การอยู่นั้น ห้ามด้วยชายคา โดยไม่
แปลกกัน.
ในกุรุนทีแก้ว่า การที่ปาริวาสิกภิกษุและภิกษุที่ถูกสงฆ์ยกวัตรอยู่
ร่วมกับภิกษุปกตัตตะ ในที่มุงด้วยเครื่องมุง ๕ อย่าง เหล่านั้น ท่าน
ห้ามด้วยชายคา.
เพราะเหตุนั้น ปาริวาสิกภิกษุไม่ควรอยู่ในที่มุงอันเดียวกัน แม้
มีอุปจารต่างๆ กัน. ก็ถ้าว่า เป็นภิกษุผู้ปกตัตตะ แม้อุปสมบทในวัน
นั้น เข้าไปนอนก่อนในโอกาสที่มุงอันเดียวกันนี้ ปาริวาสิกภิกษุ แม้
มีพรรษา ๖๐ เข้าไปทีหลังรู้อยู่และนอน เป็นรัตติเฉทด้วย เป็นทุกกฏ
เพราะวัตตเภทด้วย. เมื่อไม่รู้ เป็นแต่รัตติเฉท ไม่เป็นทุกกฏเพราะ
วัตตเภท. แต่ถ้าเมื่อปาริวาสิกภิกษุนั้นนอนก่อน ภิกษุผู้ปกตัตตะเข้าไป
นอนที่หลัง, และปาริวาสิกภิกษุรู้อยู่, เป็นรัตติเฉทด้วย เป็นทุกกฏ
เพราะวัตตเภทด้วย. ถ้าไม่รู้, เป็นเพียงรัตติเฉท ไม่เป็นทุกกฏเพราะ
วัตตเภท.
สองบทว่า วุฏฺาตพฺพ นิมนฺเตตพฺโพ มีความว่า ปาริ-
วาสิกภิกษุ เห็นภิกษุปกตัตตะ แม้อุปสมบทในวันนั้น พึงลุกขึ้นแท้,
และครั้นลุกขึ้นแล้ว ไม่พึงหลบหน้าไปเสีย ด้วยคิดว่า เรานั่งสบายแล้ว
ภิกษุนี้ทำให้เราต้องลุก. ภิกษุปกตัตตะนั้น อันเธอพึงนิมนต์ อย่างนี้
แลว่า ท่านอาจารย์ นี่อาสนะ, นิมนต์นั่งบนอาสนะนี่. ฝ่ายนวก-
ภิกษุผู้ปกตัตตะ ไม่ควรไปยังสำนักพระเถระผู้อยู่ปริวาส ด้วยตั้งใจว่า
เราจะทำพระมหาเถระให้เป็นผู้กระอักกระอ่วน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 267
บทว่า เอลาสเน มีความว่า บนเตียงหรือตั่ง ซึ่งเป็นที่นั่ง
แห่งภิกษุผู้มีพรรษาเท่ากัน.
บทว่า น ฉมาย นิสินฺเน มีความว่า เป็นภิกษุผู้ปกตัตตะ
นั่งบนแผ่นดิน ฝ่ายปาริวาสิกภิกษุไม่พึงนั่งบนอาสนะ โดยที่สุดแม้เป็น
เครื่องลาดหญ้าหรือแม้เป็นเนินทรายที่สูงกว่า แต่จะนั่งเว้นอุปจาระไว้ ๑๒
ศอก ควรอยู่.
บทว่า น เอกจงฺกเม มีความว่า ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม
อันเดียวกับภิกษุผู้ปกตัตตะดังเพื่อนกัน.
คำว่า ฉมาย จงฺกมติ ความว่า เมื่อภิกษุผู้ปกตัตตะจงกรม
อยู่บนแผ่นดิน.
อีกอย่างหนึ่ง นี้เองเป็นบาลี. และพึงทราบเนื้อความในคำนี้
ดังต่อไปนี้:-
เมื่อภิกษุผู้ปกตัตตะจงกรมอยู่ ณ พื้นดินที่ไม่ได้ปั่นแดน ไม่พึงจง-
กรม ณ ที่จงกรมที่ปันแดนเกลี่ยทรายประกอบราวที่เหนี่ยว แม้เป็นที่ต่ำ
และไม่จำเป็นต้องกล่าวอะไรในที่จงกรมที่พร้อมเสร็จด้วยการก่ออิฐ ทั้ง
แวดล้อมด้วยกำแพงแก้ว. แต่ถ้ามีจงกรมที่ล้อมด้วยกำแพงประกอบด้วย
ซุ้มประตู หรือว่ามีที่จงกรมที่กำบังดี ณ ระหว่างเขาระหว่างป่า และ
ระหว่างกอไม้; จะจงกรมในที่จงกรมเช่นนั้นสมควรอยู่, จะเว้นอุปจาระ
จงกรม ณ ที่จงกรมแม้ไม่ได้กำบัง ก็ควร.
วินิจฉัยในคำว่า วุฑฺฒตเรน นี้ พึงทราบดังนี้:-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 268
ในกุรุนทีแก้ว่า ถ้าเมื่อปาริวาสิกภิกษุผู้แก่กว่านอนก่อน ฝ่าย
ปาริวาสิกภิกษุ (ผู้อ่อนกว่า) รู้อยู่ นอนทีหลัง เป็นรัตติเฉทด้วย
เป็นทุกกฏเพราะวัตตเภทด้วยแก่เธอ แต่สำหรับปาริวาสิกภิกษุผู้แก่กว่า
เป็นเพียงรัตติเฉท ไม่เป็นทุกกฏเพราะวัตตเภท. ผู้อ่อนกว่าไม่รู้นอน,
ไม่เป็นวัตตเภทด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย, แต่เป็นรัตติเฉท. ถ้าเมื่อปาริวาสิก
ภิกษุผู้อ่อนนอนก่อน ผู้แก่กว่าจึงนอน, และผู้อ่อนรู้, ราตรีของเธอ
ย่อมขาดด้วย เป็นทุกกฏเพราะวัตตเภทเเก่เธอด้วย. ฝ่ายผู้แก่กว่า เป็น
เพียงรัตติเฉท ไม่เป็นวัตตเภท. ถ้าผู้อ่อนไม่รู้, ไม่เป็นวัตตเภทด้วยกัน
ทั้ง ๒ ฝ่าย แต่คงเป็นรัตติเฉท ถ้าทั้ง ๒ ฝ่ายนอนไม่หลังไม่ก่อนกัน,
ผู้แก่กว่าเป็นเพียงรัตติเฉท. ฝ่ายผู้อ่อนเป็นทั้งรัตติเฉท ทั้งวัตตเภท.
ปาริวาสิกภิกษุ ๒ รูป มีพรรษาเท่ากัน รูปหนึ่งนอนก่อนรูปหนึ่ง
รู้อยู่เทียว นอนทีหลัง, ราตรีของเธอผู้นอนทีหลัง ย่อมขาดและเป็น
ทุกกฏเพราะวัตตเภทแก่เธอด้วย. สำหรับผู้นอนก่อน เป็นเพียงรัตติเฉท
ไม่เป็นวัตตเภท. ถ้าแม้ผู้นอนทีหลังก็ไม่รู้ ไม่มีวัตตเภทด้วยกันทั้ง ๒
ฝ่าย, แต่คงเป็นรัตติเฉท. หากแม้ทั้ง ๒ ฝ่ายนอนไม่หลังไม่ก่อนกัน.
เป็นรัตติเฉทเท่านั้น ไม่เป็นวัตตเภททั้ง ๒ ฝ่าย.
ก็ถ้าปาริวาสิกภิกษุ ๒ รูปพึงอยู่ด้วยกัน. เธอพึงรู้อัชฌาจารของกัน
และกัน จะพึงเป็นผู้ไม่เคารพ หรือมีความเดือดร้อนแล้วต้องอาบัติที่
เลวทรามกว่า หรือสึกเสีย เพราะเหตุนั้น การนอนร่วมกันของพวก
เธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงห้ามโดยประการทั้งปวงฉะนี้แล.
คำที่เหลือ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 269
และในปาริวาสิกวัตตาธิการนี้ ภิกษุผู้ควรแก่มูลายปฏิกัสสนาเป็น
ต้น พึงทราบว่า ตั้งอยู่ในฐานของผู้ปกตัตตะของปาริวาสิกภิกษุเป็นต้น.
วินิจฉัยในคำว่า ปาริวาสิกจตุตฺโถ เจ ภิกฺขเว ปริวาส
นี้ พึงทราบดังนี้ :-
การที่สงฆ์ทำปาริวาสิกภิกษุให้เป็นที่ ๔ ทำกรรมมีให้ปริวาสเป็น
ต้น แก่กันและกัน ย่อมใช้ไม่ได้โดยแท้. ในกรรมมีให้ปริวาสเป็นต้น
เหล่านั้นเท่านั้น ที่ปาริวาสิกภิกษุนี้เป็นคณปูรกะไม่ได้, ในสังฆกรรมที่
เหลือ เป็นได้ และเมื่อคณะไม่ครบ พึงให้ปาริวาสิกภิกษุเก็บวัตรแล้ว
จึงทำให้เป็นคณปูรกะฉะนี้แล.
ปาริวาสิกวัตรกถา จบ
ปริวาส
ก็แลเพราะได้ฟังวัตตกถานี้ พระอุบาลีเถระผู้ทรงวินัยผู้อยู่ ณ ที่เร้น
จึงได้เกิดการรำพึงอย่างนี้ว่า วัตรสำหรับภิกษุผู้อยู่ปริวาส พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้มาก, ในวัตรนี้ รัตติเฉทย่อมมีด้วยเหตุเท่าไรหนอ?
ท่านจึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามเนื้อความนั้น. แม้พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงพยากรณ์แก่ท่าน.
เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อถ โข
อายสฺมา อุปลิ ฯลฯ รตฺติจฺเฉทา ดังนี้.
ใน ๓ อย่างนั้น ที่ชื่อว่าการอยู่ร่วม ได้แก่ การอยู่ด้วยกันที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยมีคำเป็นต้นว่า ในที่มุงอันเดียวกันกับ
ภิกษุผู้ปกตัตตะ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 270
ที่ชื่อว่า อยู่ปราศ ได้แก่ การอยู่ของภิกษุรูปเดียวเท่านั้น.
ที่ชื่อว่า ไม่บอก ได้แก่ ไม่บอกภิกษุอาคันตุกะเป็นต้น .
รัตติเฉท ย่อมมีด้วยเหตุอันหนึ่ง ๆ ในเหตุ ๓ อย่างนี้.
ข้อว่า น สกฺโกนฺติ มีความว่า เมื่อไม่สามารถไปบอกแก่
ภิกษุทั้งปวงในที่นั้น ๆ เพราะข้อที่สงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ ชื่อว่าไม่สามารถจะ
ให้ปริวาสหมดจดได้.
ในสองบทนี้ คือ ปริวาส นิกขิปามิ ๑ วตฺต นิกฺขิปามิ ๑
ปริวาส เป็นอันเก็บแม้ด้วยบทอันหนึ่ง ๆ เป็นอันเก็บเรียบร้อยแท้ด้วย
ทั้ง ๒ บท. แม้ในการสมาทาน ก็มีนัยเหมือนกัน. ภิกษุผู้สมาทาน
วัตร อยู่ปริวาสเสร็จอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะถือมานัต ไม่มีกิจที่จะต้อง
สมาทานวัตรอีก.
จริงอยู่ ภิกษุนั่นคงเป็นผู้สมาทานวัตรอยู่นั่นเอง. เพราะเหตุนั้น
สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรีแก่เธอ, พอเธอประพฤติมานัตแล้วพึงอัพภาน.
เธอเป็นผู้ไม่มีอาบัติ ตั้งอยู่ในส่วนแห่งผู้บริสุทธิ์อย่างนั้นแล้ว จักบำเพ็ญ
ไตรสิกขา กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ด้วยประการฉะนี้.
ปริวาสกถา จบ
ปกตัตตะของกันและกัน
ข้อว่า มูลาย ปฏิกสฺสนารหา ภิกฺขู สาทิยนฺติ ปกตตฺตาน
มีความว่า เว้นภิกษุผู้ควรแก่มูลายปฏิกัสสนาผู้อ่อนกว่าเสีย ได้แก่ภิกษุ
ทั้งหลายที่เหลือ โดยที่สุด แม้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นต้น .
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 271
จริงอยู่ บรรดาภิกษุ ๕ จำพวก คือภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๑ ผู้ควร
แก่มูลายปฏิกัสสนา ๑ ผู้ควรแก่มานัต ๑ ผู้ประพฤติมานัต ๑ ผู้ควร
แก่อัพภาน ๑ เหล่านี้ เว้นภิกษุผู้อ่อนกว่าของตน ๆ เสียที่เหลือทั้งหมด
คงจัดเป็นผู้ปกตัตตะ.
เพราะเหตุไร?
เพราะเหตุที่การอภิวาทเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
ตามลำดับ คือ ตามแก่. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ได้แก่
ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ โดยที่สุด แม้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นต้น . ส่วน
ลักษณะแห่งภิกษุผู้ควรแก่มูลายปฏิกัสสนาเป็นต้นเหล่านั้น จักมีแจ้งข้าง
หน้า. คำที่เหลือในอธิการ ว่าด้วยภิกษุผู้ควรแก่มูลายปฏิกัสสนายินดี
อภิวาทเป็นต้น ของภิกษุผู้ปกตัตตะนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วใน
วัตรของภิกษุผู้ควรแก่มานัตเป็นต้น แม้อื่นจากอธิการนี้ และในวัตร
ของปาริวาสิกภิกษุนั่นแล.
วินิจฉัยแม้ในคำว่า มูลายปฏิกสฺสนารหจตุตฺ เจ เป็นต้น
พึงทราบดังนี้ :-
แม้ภิกษุผู้ควรแก่มูลายปฏิกัสสนาเหล่านั้น ย่อมเป็นคณปูรกะในวินัย
กรรมเหล่านั้นไม่ได้ เหมือนปาริวาสิกภิกษุฉะนั้นแล. ในสังฆกรรมที่
เหลือ เป็นได้.
ความแปลกกันในวัตรของมานัตตจาริกภิกษุ คือ มานัตตจาริก-
ภิกษุ ต้องบอกทุกวัน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 272
ภิกษุ ๔. รูปหรือเกินกว่า ชื่อว่า คณะ คำว่า อูเน คเณ
นี้ ในพวกรัตติเฉท. เพราะเหตุนั้น ถ้าแม้มานัตตจาริกภิกษุ อยู่กับ
ภิกษุ ๓ รูป เป็นรัตติเฉททีเดียว.
ในการเก็บและสมาทานมานัต วินิจฉัยคล้ายกับที่กล่าวแล้วนั่นแล.
คำที่เหลือทุก ๆ แห่ง ตื้นทั้งนั้น ด้วย ประการฉะนี้.
ปาริวาสิกักขันธกวรรณนา จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 273
สมุจจยขันธกะ
เรื่องพระอุทายี
[๓๗๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ
พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้ง
นั้น ท่านพระอุทายี ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ ท่านแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ผมต้อง
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ผมจะพึง
ปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้มานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้แก่
ภิกษุอุทายี.
วิธีให้มานัต
[๓๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้มานัตอย่างนี้
ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้
เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอมานัต
ว่าดังนี้ :-
คำขอมานัต
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า
นั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 274
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ ท่านเจ่าข้า ข้าพเจ้า
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้
ท่านเจ้าข้า แม่ครั้งที่สอง ข้าพเจ้านั้นขอมานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
มิได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัว
หนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้
ท่านเจ้าข้า แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้านั้นขอมานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์.
[๓๗๙] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้มานัต
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้ เธอขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้ แก่ภิกษุอุทายี นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 275
บังไว้ เธอขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ให้
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี การให้มานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้-
นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู่ใดท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวคำนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายี ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอมานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่
ภิกษุอุทายี การให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอมานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 276
ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้
แก่ภิกษุอุทายี การให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุ
อุทายี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความ
นี้ไว้อย่างนี้.
สงฆ์อัพภาน
[๓๘๐] ท่านพระอุทายีนั้น ประพฤติมานัตแล้ว ได้แจ้งแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ผมต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ผมนั้นได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ผม
นั้น ผมนั้นประพฤติมานัตมาแล้ว ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่า
นั้นได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงอัพภานภิกษุอุทายี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 277
วิธีอัพภาน
[๓๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงอัพภานอย่างนี้
ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุ
ผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออัพภาน ว่า
ดังนี้:-
คำขออัพภาน
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นได้ขอ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบัง
ไว้แก่ข้าพเจ้านั้น ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นประพฤติมานัต
แล้ว ขออัพภานกะสงฆ์
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นได้ขอ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นประพฤติมานัตแล้ว
ขออัพภานกะสงฆ์ แม้ครั้งที่สอง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 278
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นได้ขอมานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้
แก่ข้าพเจ้านั้น ท่านเจ้าข้าข้าพเจ้านั้นประพฤติมานัตแล้ว
ขออัพภานกะสงฆ์ แม้ครั้งที่สาม.
[๓๘๒] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาอัพภาน
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้ เธอได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายี-
นั้นประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์ ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงอัพภานภิกษุอุทายี
นี้เป็นญัตติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 279
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้ เธอได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้มานัต ๖ ราตรีเพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้น
ประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์ สงฆ์อัพภาน
ภิกษุอุทายี การอัพภานภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น
พึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอได้ขอมานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๑ ราตรี เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้
แก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว ขอ
อัพภานกะสงฆ์ สงฆ์อัพภานภิกษุอุทายี การอัพภาน
ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 280
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไง้ เธอได้ขอมานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่
ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภาน
กะสงฆ์ สงฆ์อัพภานภิกษุอุทายี การอัพภานภิกษุอุทายี
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุอุทายี อันสงฆ์อัพภานแล้ว ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
ปริวาสวันเดียว
[๓๘๓] สมัยต่อมา ท่านพระอุทายีต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว ท่านจึงแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ท่านทั้งหลาย ผมต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบัง
ไว้วันเดียว ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
สงฆ์จงให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 281
วิธีให้ปริวาสวันเดียว
[๓๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ :-
ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้
เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอปริวาส
วาดังนี้ :-
คำขอปริวาสวันเดียว
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้านั้น ขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ-
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๓๘๕] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาให้ปริวาสวันเดียว
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
วันเดียว เธอขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ ถ้า
ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ปริวาสวัน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 282
เดียว เพื่ออาบิตตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
วันเดียว เธอขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์
ให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายี การให้
ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวเดียว ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว เธอขอปริวาส
วันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาสวันเดียว เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วัน
เดียว แก่ภิกษุอุทายี การให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 283
แก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว อันสงฆ์ให้แล้ว แก่
ภิกษุอุทายี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ อย่างนี้.
สงฆ์ให้มานัต
[๓๘๖] ท่านพระอุทายีนั้นอยู่ปริวาสเเล้ว ได้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย
ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้วันเดียว ข้าพเจ้านั้นได้ขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสวัน
เดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว
แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายี.
วิธีให้มานัต
[๓๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้อย่างนี้ ภิกษุอุทายี
นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า
นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอมานัต ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 284
คำขอมานัต
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว ข้าพเจ้านั้นได้ขอ
ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสวัน
เดียวเพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้วันเดียวแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว
ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๓๘๘] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาให้มานัต
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
วันเดียวเธอขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี เธออยู่
ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 285
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
วันเดียว เธอขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายี เธออยู่
ปริวาสแล้วขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ให้
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายี การให้มานัต ๖
ราตรีเพื่ออาบัติวันหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น
พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 286
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว เธอขอปริวาส
วันเดียว เพื่ออาบิตตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสวันเดียวเพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว
แก่ภิกษุอุทาย เธออยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วัน
เดียวกะสงฆ์ สงฆ์ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี
การให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัพเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้
ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้
นั้น พึงพูด
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ขอสัญเจตนิกา
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วัน เดียว สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี
ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้
อย่างนี้.
สงฆ์อัพภาน
[๓๘๙] ท่านพระอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว ได้แจ้งแก่ภิกษุทั้ง
หลายว่าท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 287
ปิดบังไว้วัน เดียวข้าพเจ้านั้นขอปริวาสวันเดียวเพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ขอสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสวันเดียว
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวแก่ข้าพเจ้า
นั้น ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว ได้ขอมานัต ๖ ราตรีเพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวแก่ข้าพเจ้า
นั้น ข้าพเจ้านั้นประพฤติมานัตแล้ว ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุ
เหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายเพราะเหตุนั้นแลสงฆ์จงอัพภานภิกษุอุทายี.
วิธีอัพภาน
[๓๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงอัพภานอย่างนี้.
ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า
ภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออัพภาน ว่า
ดังนี้:-
คำขออัพภาน
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว ข้าพเจ้านั้นได้ขอ
ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปรวาสวันเดียว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 288
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วัน
เดียวแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว ได้
ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้วันเดียวแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นประพฤติ
มานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์
ข้าพเจ้านั้นประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภาน
กะสงฆ์แม้ครั้งที่สอง
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว ข้าพเจ้านั้นได้ขอ
ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส
วันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้วันเดียวแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว
ได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบัง
ไว้วันเดียวแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นประพฤติมานัตแล้ว
ขออัพภานกะสงฆ์ แม้ครั้งที่สาม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 289
[๓๙๑] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาอัพภาน
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่งชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
วันเดียว เธอได้ขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายี เธออยู่ปริวาสแล้ว
ได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖
ราตรีเพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบัง
ไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี เธอประพฤติมานัตแล้ว ขอ
อัพภานกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงอัพภานภิกษุอุทายีนี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
วันเดียว เธอได้ขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 290
ได้ให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี เธออยู่
ปริวาสแล้ว ได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายี เธอประพฤติ
มานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์ สงฆ์อัพภานภิกษุอุทายี
การอัพภานภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว เธอได้ขอปริวาส
วันเดียว เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสวันเดียว เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียว
แก่ภิกษุอุทายี เธออยู่ปริวาสแล้ว ได้ขอมานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
วันเดียวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรีเพื่ออาบัติตัว
หนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้วันเดียวแก่
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 291
ภิกษุอุทายี เธอประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์
สงฆ์อัพภานภิกษุอุทายี การอัพภานภิกษุอุทายี ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุอุทายีอันสงฆ์อัพภานแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุ
นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
ปริวาส ๕ วัน
[๓๙๒] สมัยต่อมา ท่านพระอุทายีต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๒ วัน ปิดบังไว้ ๓ วัน ปิดบังไว้ ๔ วัน ปิด
บังไว้ ๕ วัน เธอจึงแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้อง
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๒ วัน ปิดบังไว้ ๓ วัน
ปิดบังไว้ ๔ วัน ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่า
นั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่งชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฎฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี.
วิธีให้ปริวาส ๕ วัน
[๓๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้อย่างนี้
ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า
ภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอปริวาสดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 292
คำขอปริวาส ๕ วัน
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้านั้นขอปริวาส
๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิปิดบัง
ไว้ ๕ วันกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๓๙๔] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้ปริวาส ๕ วัน
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน เธอขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ปริวาส ๕ วัน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วันแก่ภิกษุอุทายี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน เธอขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบิตตัวหนึ่ง ชื่อ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 293
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ให้
ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี การให้ปริวาส ๕ วัน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วันแต่ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้
นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอปริวาส
๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันแก่
ภิกษุอุทายี การให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายี
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบิตตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน อันสงฆ์ให้แล้วแก่
ภิกษุอุทายี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ อย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 294
สงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๓๙๕] ท่านพระอุทายีนั้น กำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติตัวหนึ่ง
ในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอจึงแจ้งแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้านั้นได้ขอปริวาส ๕ วัน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้ ๕ วัน แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้า
จะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฎฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้.
วิธีชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๓๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเติม
อย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้
เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่า
ดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 295
คำขอมูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ ข้าพเจ้านั้น
ขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ขอสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้น กำลังอยู่ปริวาส
ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอ
การชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๓๙๗] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจามูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน เธอขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 296
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธอกำลังอยู่
ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้าหา
อาบัติเหตุเพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง
ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕
วัน เธอขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธอกำลังอยู่
ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุ
อุทายีเข้ามาหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ การชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 297
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู่นั้น
พึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอ
ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕
วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธอกำลังอยู่ปริวาส ได้ต้อง
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้ การชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุอุทายีอันสงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้ว เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 298
บังไว้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้
ไว้ อย่างนี้.
สงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๓๙๘] ท่านพระอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว เป็นผู้ควรมานัต ต้อง
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอ
จึงแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้านั้นได้ขอปริวาส ๕ วัน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอ
การชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้
ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว เป็นผู้ควรมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติ
อย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติ
เดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 299
วิธีชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๓๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
อย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่า
ดังนี้:-
คำขอมูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้านั้นขอ
ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕
วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้ ๕ วัน แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส
ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้วควรมานัต ได้
ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ ท่านเจ่าข้า ข้าพเจ้านั้นขอการชักเข้าหา
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 300
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๔๐๐] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจามูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน เธอขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธอกำลัง
อยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฎฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธออยู่ปริวาส
แล้ว ควรมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชัก
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 301
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงชักภิกษุอุทายีเข้าหา
อาบัติเดิมเพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน เธอขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธอกำลัง
อยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข่าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธออยู่ปริวาสแล้ว
ควรมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายี
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 302
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ การชักภิกษุอุทายี
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่างชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม....
ภิกษุอุทายีอันสงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่ง ในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้
ปิดบังไว้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ อย่างนี้.
สงฆ์ให้มานัตเพื่ออาบัติ ๓ ตัว
[๔๐๑] ท่านพระอุทายีนั้น อยู่ปริวาสแล้ว แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย
ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้านั้นขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ข้าพเจ้า
นั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 303
สงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว
ควรมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ข้าพเจ้าได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชัก
ข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่างชื่อสัญเจตนิกาสุก-
กวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติ
อย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุอุทายี.
วิธีให้มานัตเพื่ออาบัติ ๓ ตัว
[๔๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ ภิกษุ
อุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าไหว้เท้าภิกษุผู้แก่
กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอว่าดังนี้:-
คำขอมานัตเพื่ออาบัติ ๓ ตัว
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้านั้นขอ
ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส วัน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 304
๕ วัน แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาสได้ต้อง
อาบัติตัวหนึ่ง ในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้น อยู่ปริวาสแล้วควรมานัต
ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่ง ในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้
ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว
ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว กะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
[๔๐๓] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาให้มานัติเพื่ออาบัติ ๓ ตัว
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน เธอขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 305
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ วันกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธอกำลังอยู่
ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้าหาอาบัติ
เดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ มิได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุอุทายีเข้า
หาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธออยู่ปริวาสแล้ว ควร
มานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้าหาอาบัติ
เดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัจเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุอุทายีเข้า
หาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธออยู่ปริวาสแล้ว ขอ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกะสงฆ์ ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุอุทายี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน เธอขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 306
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่อให้อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธอกำลัง
อยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธออยู่ปริวาส
แล้ว ควรมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชัก
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้
ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้
เธออยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว
กะสงฆ์ สงฆ์ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่
ภิกษุอุทายี การให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่
ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 307
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่ลาม....
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว อันสงฆ์ให้แล้ว
แก่ภิกษุอุทายีชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ อย่างนี้.
กำลังประพฤติมานัตต้องอาบัติในระหว่าง
[๔๐๔] ท่านพระอุทายีนั้น กำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงแจ้ง
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้านั้นจึงขอปริวาส ๕ วัน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบัง
ไว้ ๕ วัน แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาสได้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง
ในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้
ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นอยู่
ปริวาสแล้ว ควรมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชัก
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 308
ข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว
แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังประพฤติมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติ
อย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติ
เดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้ แล้วให้มานัต ๖ ราตรี.
วิธีชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๔๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
อย่างนี้ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่า
ดังนี้ :-
คำขอมูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้านั้นขอปริวาส
๕ น เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 309
แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส ได้ตอง
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว ควรมานัต
ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติ เดิม
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้น
กำลังประพฤติมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้านั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้
กะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 310
[๔๐๖] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจามูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน เธอขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธอกำลังอยู่
ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติ
เดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุอุทายีเข้า
หาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธออยู่ปริวาสแล้ว
ควรมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 311
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธออยู่ปริวาส
แล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุอุทายี
เธอกำลังประพฤติมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการ
ชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงชักภิกษุอุทายีเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน เธอขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธอ
กำลังอยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชัก
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชัก
ภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 312
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธออยู่ปริวาส
แล้วควรมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้า
หาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธออยู่ปริวาสแล้ว
ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกะสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุอุทายี
เธอกำลังประพฤติมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกุกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการ
ชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ชัก
ภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ การชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ชอบแก่ท่านผู้
ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม....
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 313
ภิกษุอุทายี อันสงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้ว เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ อย่างนี้.
วิธีให้มานัต
[๔๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรี
อย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่า
ดังนี้:-
คำขอมานัต
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสฏิ ปิดบังไว้ ๕ วัน .... ข้าพเจ้านั้นอยู่
ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกะ-
สงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ วัน แก่
ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังประพฤติมานัต ได้ต้อง
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัว
หนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบัง
ไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 314
ได้ปิดบังไว้ ท่านเจ่าข้า ข้าพเจ้านั้นขอมานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๔๐๘] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้มานัต
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน .... เธออยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติ ๓ ตัวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุอุทายี เธอกำลังประพฤติมานัต
ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัว
หนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้กะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 315
พึงให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้แก่ภิกษุอุทายี นี้
เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน .... เธออยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติ ๓ ตัวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุอุทายี เธอกำลังประพฤติมานัต
ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุก-
วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติ
เดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอมานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้แก่ภิกษุอุทายี การให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้ แก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 316
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง...
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม....
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ อันสงฆ์ให้
แล้วแก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
สงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้วให้มานัต
[๔๐๙] ท่านพระอุทายีนั้น ประพฤติมานัตแล้ว ควรอัพภาน
ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบัง
ไว้ จึงแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน....ข้าพเจ้านั้น ได้ประพฤติมานัต
แล้ว ควรอัพภาน ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติวันหนึ่ง
ในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วให้มานัต ๖
ราตรี.
วิธีชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๔๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเติม
อย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้นเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า.......
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 317
คำขอมูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิปิดบังไว้ ๕ วัน ...
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจามูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน ....
ภิกษุอุทายีอันสงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้ว เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้ ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ อย่างนี้.
วิธีให้มานัต
[๔๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรี
อย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า....
คำขอมานัต
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกวิสัฏฐิปิดบังไว้ ๕ วัน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 318
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
จตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้มานัต
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน ...
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ อันสงฆ์ให้แล้ว
แก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ อย่างนี้.
สงฆ์ให้อัพภาน
[๔๑๒] ท่านพระอุทายีนั้นประพฤติมานัต จึงแจ้งแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิปิดบังไว้ ๕ วัน.... ข้าพเจ้านั้นประพฤติมานัตแล้ว ข้าพเจ้าจะพึง
ปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงอัพภานภิกษุอุทายี.
วิธีอัพภาน
[๔๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงอัพภานอย่างนี้
ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุ
ผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 319
คำขออัพภาน
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้านั้นขอ
ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ขอสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วันแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส ได้ต้อง
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัว
หนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบัง
ไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว ควรมานัต ได้
ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 320
๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้น
กำลังประพฤติมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอการ
ชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์
ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ในระหว่า ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้
ข้าพเจ้านั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ข้าพเจ้านั้น
ข้าพเจ้านั้นประพฤติมานัต แล้ว ควรอัพภาน ได้ต้อง
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิไม่ได้ปิด
บังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
บังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัว
หนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบัง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 321
ไว้ แก่ข้าพเจ้านั้น ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นประพฤติ
มานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๔๑๔] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาให้อัพภาน
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน เธอขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธอกำลัง
อยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้บีบบังไว้ เธอขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุ
อุทายีหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิไม่ได้ปิดบังไว้ เธออยู่ปริวาสแล้ว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 322
ควรมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุอุทายี
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธออยู่ปริวาสแล้ว
ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุอุทาย
เธอกำลังประพฤติมานัต ได้ต้องอาบัติวันหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชัก
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชัก
ภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ วันหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอมานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้แก่ภิกษุอุทายี เธอประพฤติ
มานัตแล้ว ควรอัพภาน ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 323
ชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏิฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้
ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอ
ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้แก่ภิกษุอุทายี เธอ
ประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์ ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงอัพภานภิกษุอุทายี นี้เป็น
ญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน .... เธอประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์ สงฆ์
อัพภานภิกษุอุทายี การอัพภานภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม....
ภิกษุอุทายี อันสงฆ์อัพภานแล้ว ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 324
สงฆ์ให้ปักขปริวาส
[๔๑๕] สมัยต่อมา ท่านพระอุทายี ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ เธอแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่าท่าน
ทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบัง
ไว้ ๑ ปักษ์ ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
สงฆ์จงให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายี.
วิธีให้ปักขปริวาส
[๔๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ ภิกษุ
อุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่
กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้ :-
คำขอปักขปริวาส
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้านั้นขอปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ปักษ์ กะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอเเม้ครั้งที่สาม
[๔๑๗] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 325
กรรมวาจาให้ปักขปริวาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ เธอขอปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์กะสงฆ์ ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงทีแล้ว สงฆ์พึงให้ปริวาส ๑ ปักษ์
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทาย นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ เธอขอปริวาส ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ปักษ์กะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายี การ
ให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม....
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 326
ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุ
อุทายี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความ
นี้ไว้ อย่างนี้.
สงฆ์ให้สโมธานปริวาส
[๔๑๘] ท่านพระอุทายีนั้น กำลังอยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัว
หนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน จึงแจ้ง
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ ข้าพเจ้านั้นขอปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ กะสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฎฐิ
ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์แก่ผมนั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัว
หนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้าจะ
พึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงชักภิกษุอุทายี
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แล้วให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วย
กัน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 327
วิธีชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๔๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
อย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่า ไหว้
เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้ :-
คำขอมูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ ข้าพเจ้านั้นขอ
ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส
๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่
ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า
นั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ มีดบังไว้ ๕ วัน
กะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๔๒๐] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 328
กรรมวาจาให้มูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ เธอขอปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์กะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายี เธอ
กำลังอยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอการชัก
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงชักภิกษุอุทายีเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ เธอขอปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ขอ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์กะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เธออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายี เธอ
กำลังอยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 329
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอการชัก
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุ
อุทายีเข้าหกอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน การชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน ชอบแก่ท่าน
ผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม....
ภิกษุอุทายี อันสงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้ว เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้ ๕ วัน ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ อย่างนี้.
มโมธานปริวาส
[๔๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้สโมธานปริวาส
เพื่ออาบัติตัวก่อนอย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตรา
สงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้ว
กล่าวคำขอ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 330
คำขอสโมธานปริวาส
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ ข้าพเจ้านั้นขอปริวาส
๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ ปักษ์
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส
ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๕ วัน จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบัง
ไว้ ๕ วัน กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๕ วัน ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอปริวาสประ-
มวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน กะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๔๒๒] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 331
กรรมวาจาให้สโมธานปริวาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ เธอขอปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์กะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายี เธอ
กำลังอยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอปริวาส
ประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะ
สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้
ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัว
หนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน แก่ภิกษุอุทายีนี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 332
๑ ปักษ์ เธอขอปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์กะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายี เธอกำลัง
อยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอปริวาส
ประมวลอาบัติตัวหนึ่งก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน
กะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี การให้ปริวาสประมวล
อาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุ
อุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม....
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 333
ปริวาสประมวลอาบัติก่อนเข้าด้วยกัน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้ ๕ วัน สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
สงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้วให้สโมธานปริวาส
[๔๒๓] ท่านพระอุทายีนั้น อยู่ปริวาสแล้ว ควรมานัต ได้ต้อง
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน
จึงแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้วควร
มานัต ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบัง
ไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้น
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลา เพราะเหตุนั้นแล
สงฆ์จงชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แล้วให้ปริวาสประมวลอาบัติ
ตัวก่อนเข้าด้วยกัน.
วิธีชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๔๒๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
อย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า....
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 334
คำขอมูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ ....
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
จตุตถกรรมวาจาว่า ดังนี้ :-
กรรมวาจาให้มูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ขอสงค์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑
ปักษ์ ....
ภิกษุอุทายี อันสงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้ว เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้ ๕ วัน ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ อย่างนี้.
วิธีให้สโมธานปริวาส
[๔๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้ปริวาสประมวล
อาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกันอย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่ม
ผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า....
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 335
คำขอสโมธานปริวาส
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ ....
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาให้สโมธานปริวาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์....
ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้ ๕ วัน อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
สงฆ์ให้มานัตเพื่ออาบัติ ๓ ตัว
[๔๒๖] พระอุทายีนั้น อยู่ปริวาสแล้ว จึงแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย
ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิ-
สัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์....ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว ข้าพเจ้าจะพึง
ปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 336
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้มานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุอุทายี.
วิธีให้มานัต
[๔๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ ภิกษุ
อุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่
กว่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้ :-
คำขอมานัต
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ ...... .ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
๓ ตัวกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๔๒๘] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ
ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้มานัต
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ ....เธออยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่อ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 337
อาบัติ ๓ ตัวกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่
แล้ว สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวแก่
ภิกษุอุทายี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ ....เธออยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติ ๓ ตัวกะสงฆ์ สงฆ์ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
๓ ตัวแก่ภิกษุอุทายี การให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
๓ ตัวแก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น
ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม....
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว อันสงฆ์ให้
แล้วแก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
กำลังประพฤติมานัตต้องอาบัติอีก
[๔๒๙] พระอุทายีนั้น กำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน จึง
แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์.... ข้าพเจ้านั้นกำลังประพฤติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 338
มานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบัง
ไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
สงฆ์จงชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แล้วให้ปริวาสประมวลอาบัติ
ตัวก่อนเข้าด้วยกัน แล้วให้มานัต ๖ ราตรี.
วิธีชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๔๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
อย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่า....
คำขอมูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ ....
กรรมวาจาให้มูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์....
ภิกษุอุทายี อันสงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้ว เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 339
บังไว้ ๕ วัน ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ อย่างนี้.
วิธีให้สโมธานปริวาส
[๔๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้ปริวาสประมวล
อาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกันอย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้า
อุตราสงค์เฉวียงบ่า....
คำขอสโมธานปริวาส
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์....
กรรมวาจาให้สโมธานปริวาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ ....
ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้ ๕ วัน อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 340
วิธีให้มานัต
[๔๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรี
อย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า....
คำขอมานัต
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์....
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้มานัต
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์....
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน สงฆ์ให้แล้ว
แก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ อย่างนี้.
พระอุทายีต้องอันตราบัติ
[๔๓๓] พระอุทายีนั้น ประพฤติมานัตแล้ว ควรอัพภาน ได้
ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้๕ วัน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 341
จึงแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์.... ข้าพเจ้านั้นประพฤติมานัตแล้ว
ควรอัพภาน ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ
เหตุนั้นแล สงฆ์จงชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แล้วให้ปริวาส
ประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน แล้วให้มานัต ๖ ราตรี.
วิธีชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๔๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
อย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า....
คำขอมูลายปฏิบัติกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์....
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 342
กรรมวาจาให้มูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ ....
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน สงฆ์ให้แล้วแก่
ภิกษุอุทายี ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความ
นี้ไว้ อย่างนี้.
วิธีให้สโมธานปริวาส
[๔๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้ปริวาสประมวล
อาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกันอย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้า
อุตราสงค์เฉวียงบ่า.....
คำขอสโมธานปริวาส
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์....
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบ
ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 343
กรรมวาจาให้สโมธานปริวาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ ....
ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้ ๕ วัน สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
วิธีให้มานัต
[๔๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรี
อย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า.....
คำขอมานัต
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามาร พึงประกาศให้สงฆ์
ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 344
กรรมวาจาให้มานัต
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์....
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน สงฆ์ให้แล้วแก่
ภิกษุอุทายีชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความ
นี้ไว้ อย่างนี้.
สงฆ์อัพภาน
[๔๓๗] พระอุทายีนั้น ประพฤติมานัตแล้ว จึงแจ้งแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์.... ข้าพเจ้านั้นประพฤติมานัตแล้ว ข้าพเจ้า
จะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
เจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงอัพภาน
ภิกษุอุทายี.
วิธีอัพภาน
[๔๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงอัพภานอย่างนี้
ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุ
ผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีแล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 345
คำขออัพภาน
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ ข้าพเจ้านั้นขอ
ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส
๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่
ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ วัน จึงขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้า
นั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้านั้น
ขอปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัว
หนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕
วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้า
ด้วยกัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้า
นั้นอยู่ปริวาสแล้ว ควรมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน จึง
ขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 346
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน
ข้าพเจ้านั้นขอปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสประมวลอาบัติ
ตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ข้าพเจ้านั้น
ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้วจงขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
๓ ตัวกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว
แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นกำลังประพฤติมานัต ได้ต้อง
อาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
บังไว้ ๕ วัน จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักข้าพเจ้านั้นเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๕ วัน ข้าพเจ้านั้นขอปริวาสประมวลอาบัติตัว
ก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัว
หนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 347
วัน แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้นานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้น
ประพฤติมานัตแล้ว ควรอัพภานได้ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง
ในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน
จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ชักข้าพเจ้านั้นหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน
ข้าพเจ้านั้นได้ขอปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสประมวลอาบัติ
ตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ข้าพเจ้านั้น
ข้าพเจ้านั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้นานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัว
หนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 348
วัน แก่ข้าพเจ้านั้น ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นประพฤติ
มานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๔๓๙] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาอัพภาน
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ เธอขอปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์กะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายี เธอ
กำลังอยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอการชัก
เข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ชัก
ภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอปริวาส
ประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 349
สงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธออยู่ปริวาสแล้ว ควร
มานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอการชักเข้าหาอาบัติ
เดิมเพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน กะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุอุทายีเข้า
หาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอปริวาสประมวล
อาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน กะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาสประมวลอาติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติ
ตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธออยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวแก่ภิกษุอุทายี เธอกำลงประ-
พฤติมานัต ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 350
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอปริวาส
ประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะ-
สงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธออยู่ปริวาสแล้ว ขอ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายี เธอประพฤติ
มานัตแล้ว ควรอัพภาน ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอการชัก
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจต-
นิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน เธอขอปริวาส
ประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่งใน
ระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน
กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วย
กัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 351
วิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี เธออยู่ปริวาสแล้ว
ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี
เธอประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์ ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงอัพภานภิกษุอุทายี
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๑ ปักษ์ ....เธอประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์
สงฆ์อัพภานภิกษุอุทายี การอัพภานภิกษุอุทายี ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม....
ภิกษุอุทายี อันสงฆ์อัพภานแล้ว ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
อาบัติสุกกวิสัฏฐิ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 352
อัคฆสโมธานปริวาส
[๔๔๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลาย
ตัว คือ อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้ ๑ วัน อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้ ๒ วัน
อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้ ๓ วัน อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้ ๔ วัน อาบัติตัว-
หนึ่งปิดบังไว้ ๕ วัน อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้ ๖ วัน อาบัติตัวหนึ่งปิด
บังไว้ ๗ วัน อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้ ๘ วัน อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้
๙ วัน อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้ ๑๐ วัน เธอจึงแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติตัวหนึ่ง
ปิดบังไว้ ๑ วัน....อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้ ๑๐ วัน ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติ
อย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
สงฆ์จงให้ปริวาสประมวลกันโดยค่าแห่งอาบัติที่ปิดบังไว้ ๑๐ วัน เพื่อ
อาบัติเหล่านั้น แก่ภิกษุนั้น.
วิธีให้อัคฆสโมธานปริวาส
[๔๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เเล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ ภิกษุนั้น
พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่ง
กระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-
คำขออัคฆสโมธานปริวาส
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ
อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้ ๑ วัน ......อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 353
๑๐ วัน ท่านเจ้าข้าข้าพเจ้านั้นขอปริวาสประมวลกันโดย
ค่าแห่งอาบัติที่ปิดบังไว้ ๑ วัน เพื่ออาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๔๔๒] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาให้อัคฆสโมธานปริวาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติตัวหนึ่งปิดบัง
ไว้ ๑ วัน ... อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้ ๑ วัน เธอขอปริวาส
ประมวลกันโดยค่าแห่งอาบัติที่ปิดบังไว้ ๑๐ วัน เพื่ออาบัติ
เหล่านั้นกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงให้ปริวาสประมวลกันโดยค่าแห่งอาบัติที่ปิดบังไว้
๑๐ วัน เพื่ออาบัติเหล่านั้น แก่ภิกษุมีชื่อ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติตัวหนึ่ง ปิดบัง
ไว้ ๑ วัน ....อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้ ๑๐ วัน เธอขอปริวาส
ประมวลกันโดยค่าแห่งอาบัติที่ปิดบังไว้ ๑๐ วัน เพื่ออาบัติ
เหล่านั้นกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาสประมวลกันโดยค่าแห่ง
อาบัติที่ปิดบังไว้ ๑๐ วัน เพื่ออาบัติเหล่านั้น แก่ภิกษุมี
ชื่อนี้ การให้ปริวาสประมวลกันโดยค่าแห่งอาบัติที่ปิดบัง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 354
ไว้ ๑๐ วัน เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นนิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม....
ปริวาสประมวลกันโดยค่าแห่งอาบัติที่ปิดบังไว้ ๑๐
วัน เพื่ออาบัติเหล่านั้น อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้
ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้
อย่างนี้.
อัคฆสโมธานปริวาส
[๔๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลาย
ตัวคือ อาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้ ๑ วัน อาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ วัน
อาบัติ ๓ ด้วย ปิดบังไว้ ๓ วัน อาบัติ ๔ ตัว ปิดบังไว้ ๔ วัน อาบัติ
๕ ตัว ปิดบังไว้ ๕ วัน อาบัติ ๖ ตัว ปิดบังไว้ ๖ วัน อาบัติ ๗ ตัว
ปิดบังไว้ ๗ วัน อาบัติ ๘ ตัว ปิดบังไว้ ๘ วัน อาบัติ ๙ ตัว ปิดบัง
ไว้ ๙ วัน อาบัติ ๑๐ ตัว ปิดบังไว้ ๑๐ วัน เธอจึงแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติตัวหนึ่ง
ปิดบังไว้ ๑ วัน .... อาบัติ ๑๐ ตัว ปิดบังไว้ ๑๐ วัน ข้าพเจ้าจะพึง
ปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้ปริวาสประมวล
กันโดยค่าเเห่งอาบัติที่ปิดบังไว้นานกว่าทุกตัว เพื่ออาบัติเหล่านั้น แก่ภิกษุ
นั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 355
วิธีให้อัคฆสโมธานปริวาส
[๔๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้อย่างนี้ ภิกษุนั้นพึง
เข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระ-
โหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-
คำขออัคฆสโมธานปริวาส
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
คืออาบัติตัวหนึ่งปิดบังไว้ ๑ วัน .... อาบัติ ๑๐ ตัว ปิดบังไว้
๑๐ วัน ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น ขอปริวาสประมวล
กันโดยค่าแห่งอาบัติที่ปิดไว้นานกว่าทุกตัว เพื่ออาบัติ
เหล่านั้นกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๔๔๕] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ
ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาให้อัคฆสโมธานปริวาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้
รูปนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติตัวหนึ่ง
ปิดบังไว้ ๑ วัน ....อาบัติ ๑๐ ตัว ปิดบังไว้ ๑๐ วัน เธอขอ
ปริวาสประมวลกันโดยค่าแห่งอาบัติที่ปิดบังไว้นานกว่าทุก
ตัว เพื่ออาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 356
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ปริวาสประมวลกันโดยค่าแห่ง
อาบัติที่ปิดบังไว้นานกว่าทุกตัว เพื่ออาบัติเหล่านั้น แก่
ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติตัวหนึ่งปิดบัง
ไว้ ๑ วัน ....อาบัติ ๑๐ ตัว ปิดบังไว้ ๑๐ วัน เธอขอปริวาส
ประมวลกันโดยค่าแห่งอาบัติที่ปิดบังไว้นานกว่าทุกตัว
เพื่ออาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาสประมวลกันโดย
ค่าแห่งอาบัติที่ปิดบังไว้นานกว่าทุกตัว เพื่ออาบัติเหล่านั้น
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้ปริวาสประมวลกันโดยค่าแห่ง
อาบัติที่ปิดบังไว้นานกว่าทุกตัว เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุ
มีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม .....
ปริวาสประมวลกันโดยค่าแห่งอาบัติ ที่ปิดบังไว้
นานกว่าทุกตัว เพื่ออาบัติเหล่านั้น อันสงฆ์ให้แล้วแก่
ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ อย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 357
ปริวาส ๒ เดือน
[๔๔๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒
ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน เธอคิดว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอจึงขอปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส
คิดละอายใจว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
เรานั้นคิดว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉน
หนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือน
กะสงฆ์ จึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือน
กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒
เดือนแก่เรานั้น เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส ติดละอายใจว่า ไฉนหนอ
เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะ
สงฆ์ เธอได้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ข้าพเจ้านั้นได้คิดว่า เราแลต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส
๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ ข้าพเจ้านั้นจึง
ขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่ข้าพเจ้า
นั้น เมื่อข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า เราแลต้องอาบัติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 358
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน เรานั้นได้คิดว่า เราแลต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอ
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ ข้าพเจ้า
นั้นจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่
ข้าพเจ้านั้น เมื่อข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ไฉนหนอ
เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
ดังนี้ ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
สงฆ์จงให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือน
แก่ภิกษุนั้น.
วิธีให้ปริวาส ๒ เดือน
[๔๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ ภิกษุ
นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า
นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-
คำขอปริวาส ๒ เดือน
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือน ข้าพเจ้านั้นได้คิดว่า เราแลต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เรา
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 359
พึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒
เดือนกะสงฆ์ ข้าพเจ้านั้นจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือน
แก่ข้าพเจ้านั้น เมื่อข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส คิด
ละอายใจว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้
๒ เดือน เรานั้นได้คิดว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส
๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
ดังนี้ ข้าพเจ้านั้น ได้ขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัว
หนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒
เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือน แก่ข้าพเจ้า
นั้น เมื่อข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า
ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอก
นี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น
ขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม่นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒
เดือนกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๔๔๘] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ
ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 360
กรรมวาจาให้ปริวาส ๒ เดือน
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้
รูปนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
เธอได้คิดว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอจึงขอ
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือน
กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ปิดบังไว้ ๒ เดือนแต่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส คิด
ละอายใจว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือน เรานั้นได้คิดว่า เราแลต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนไฉนหนอ เราพึงขอ
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือน
กะสงฆ์ ดังนี้ ข้าพเจ้านั้นจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือน
แก่ข้าพเจ้านั้น เมื่อข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอาย
ใจว่า ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ
แม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอขอปริวาส
เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ปริวาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 361
๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือน แก่
ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุนี้มีชื่อนี้
รูปนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
เธอได้คิดว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอจึงขอ
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือน
กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส คิด
ละอายใจว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือน เรานั้นคิดว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส
๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
ข้าพเจ้านั้นจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิด
บังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือน แก่ข้าพเจ้านั้น
เมื่อข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ไฉน
หนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้
ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ ดังนี้ เธอขอปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 362
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือน
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้
นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้
๒ เดือน อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงเทียบเคียงอาบัตินั้นแล้ว อยู่ปริวาส
๒ เดือน.
อยู่ปริวาส ๒ เดือน
[๔๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน เธอคิดอย่างนี้ว่า เราแลต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอ
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอ
จึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติด้วยหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ
เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 363
ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน เรานั้นคิดว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒
ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เรานั้นได้ขอปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เรานั้น เมื่อเรานั้นกำลังอยู่
ปริวาส คิดละอายใจว่า ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่อ
อาบัติแม้นอกนี้ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอจึงขอปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ เดือนแก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นพึงเทียบเคียงอาบัตินั้น แล้วอยู่ปริวาส ๒ เดือน.
[๔๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติตัวหนึ่งรู้ อาบัติ
ตัวหนึ่งไม่รู้ เธอขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวที่เธอรู้ ปิดบังไว้ ๒
เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัตินั้นปิดบังไว้ ๒ เดือน
แก่เธอ เธอกำลังอยู่ปริวาส รู้อาบัติแม้นอกนี้ เธอคิดอย่างนี้ว่า เรา
แลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติตัวหนึ่งรู้
อาบัติตัวหนึ่งไม่รู้ จึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวที่รู้ ปิดบังไว้
๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัตินั้น ปิดบังไว้
๒ เดือน แก่เรานั้น เรานั้นกำลังอยู่ปริวาสรู้อาบัติแม้นอกนี้ ไฉนหนอ
เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เมื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือน
กะสงฆ์ เธอจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 364
เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้
เดือนแก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงเทียบเคียงอาบัตินั้น แล้ว
อยู่ปริวาส ๒ เดือน
[๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติตัวหนึ่งระลึกได้
อาบัติตัวหนึ่งระลึกไม่ได้ เธอขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวที่ระลึก
ได้ ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัตินั้น
ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส ระลึกอาบัติแม้นอก
นี้ได้ เธอคิดอย่างนี้ว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้
๒ เดือน คือ อาบัติตัวหนึ่งระลึกได้ อาบัติตัวหนึ่งระลึกไม่ได้ เรา
นั้นได้ขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติที่ระลึกได้ ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะ
สงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัตินั้น ปิดบังไว้ ๒ เดือน
แก่เรานั้น เรานั้นกำลังอยู่ปริวาส ระลึกอาบัติแม้นอกนี้ได้ ไฉนหนอ
เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะ-
สงฆ์ เธอจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒
เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้แก่เธอ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงเทียบเคียงอาบัตินั้น แล้วอยู่ปริวาส ๒ เดือน
[๔๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ ในอาบัติตัวหนึ่งไม่สงสัย
ในอาบัติตัวหนึ่งสงสัย เธอขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวที่ไม่สงสัย
ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัตินั้น ปิด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 365
บังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส ไม่สงสัยอาบัติแม้นอกนี้
เธอคิดอย่างนี้ว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
คือ ในอาบัติตัวหนึ่งไม่สงสัย อาบัติตัวหนึ่งสงสัย เรานั้นได้ขอปริวาส
๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวที่ไม่สงสัย ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัตินั้น ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เรานั้น
เรานั้นกำลังอยู่ปริวาส ไม่สงสัยในอาบัติแม้นอกนี้ ไฉนหนอ เราจึง
ขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
เธอขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงเทียบเคียงอาบัตินั้น แล้วอยู่ปริวาส
๒ เดือน.
มานัตตารหภิกษุ
[๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติตัวหนึ่งรู้ปิดบังไว้
อาบัติตัวหนึ่งไม่รู้ปิดบังไว้ เธอขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้น
ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้น
ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส มีภิกษุรูปอื่นที่คงแก่
เรียน ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ฉลาด
เฉียบแหลม มีปัญญา มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ขอสิกขา
มาหา เธอถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติอะไร ภิกษุนี้
อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติอะไร ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่าน ภิกษุนี้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 366
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติตัวหนึ่งรู้
ปิดบังไว้ อาบัติตัวหนึ่งไม่รู้ปิดบังไว้ ภิกษุนั้นได้ขอปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติเหล่านั้น ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒
เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้น ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น ท่าน ภิกษุ
นี้ต้องอาบัติเหล่านั้น ภิกษุนี้อยู่ปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น เธอกล่าว
อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย การให้ปริวาสเพื่ออาบัติที่รู้ปิดบังไว้ ชอบ
ธรรม ความชอบธรรมย่อมฟังขึ้น ส่วนการให้ปริวาสเพื่ออาบัติที่ไม่รู้
ปิดบังไว้ ไม่ชอบธรรม ความไม่ชอบธรรม ย่อมฟังไม่ขึ้น ภิกษุ
เป็นผู้ควรมานัตเพื่ออาบัตินี้ .
[๔๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติตัวหนึ่งระลึกได้ปิด
บังไว้ อาบัติตัวหนึ่งระลึกไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอปริวาส ๒ เดือน เพื่อ
อาบัติเหล่านั้น ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติเหล่านั้น ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส
มีภิกษุรูปอื่นที่คงแก่เรียน ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง
มาติกา ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา มีความละอาย มีความ
รังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา มาหา เธอถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
ภิกษุนี้ต้องอาบัติอะไร ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติอะไร ภิกษุเหล่านั้น
ตอบอย่างนี้ว่า ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒
เดือน คือ อาบัติตัวหนึ่งระลึกได้ปิดบังไว้ อาบัติตัวหนึ่งระลึกไม่ได้
ปิดบังไว้ เธอได้ขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้น ปิดบังไว้ ๒
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 367
เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้น ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือนแก่เธอ ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติเหล่านั้น ภิกษุนี้อยู่ปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้น เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย การให้ปริวาส
เพื่อาบัติที่ระลึกไ่ด้ ปิดบังไว้ ชอบธรรม ความชอบธรรมย่อมฟังขึ้น
ส่วนการให้ปริวาส เพื่ออาบัติที่ระลึกไม่ได้ ปิดบังไว้ ไม่ชอบธรรม
ความไม่ชอบธรรมย่อมฟังไม่ขึ้น ภิกษุเป็นผู้ควรมานัต เพื่ออาบัตินี้.
[๔๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติตัวหนึ่งไม่สงสัยปิด
บังไว้ อาบัติตัวหนึ่งสงสัยปิดบังไว้ เธอขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ
เหล่านั้น ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่อ
อาบัติเหล่านั้น ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส มี
ภิกษุรูปอื่นที่คงแก่เรียน ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง
มาติกา ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา มีความละอาย มีความรังเกียจ
ใคร่ต่อสิกขา มาหา เธอถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้อง
อาบัติอะไร ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติอะไร ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้
ว่า ท่าน ภิกษุนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
คือ อาบัติตัวหนึ่งไม่สงสัยปิดบังไว้ อาบัติตัวหนึ่งสงสัยปิดบังไว้ เธอ
ได้ขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้น ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้น ปิดบังไว้ ๒ เดือน แก่
เธอ ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติเหล่านั้น ภิกษุนี้อยู่ปริวาส เพื่ออาบัติ
เหล่านั้น เธอกล่าวอย่างนี้ว่า การให้ปริวาสเพื่อาบัติที่ไม่สงสัยปิดบัง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 368
ไว้ ชอบธรรม ความชอบธรรมย่อมฟังขึ้น ส่วนการให้ปริวาสเพื่อ
อาบัติที่สงสัยปิดบังไว้ ไม่ชอบธรรม ความไม่ชอบธรรม ย่อมฟังไม่
ขึ้น ภิกษุเป็นผู้ควรมานัตเพื่ออาบัตินี้ .
สงฆ์ให้ปริวาส ๑ เดือน
[๔๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒
ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน เธอคิดอย่างนี้ว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่อ
อาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอขอปริวาส ๑ เดือน เพื่อ
อาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือน
เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส
คิดละอายใจว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
เรานั้นคิดว่า เราแล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒
เดือนกะสงฆ์ เรานั้นจึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิด
บังไว้ ๒ เดือนแก่เรานั้น เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า
ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอจึงแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย
ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ข้าพเจ้านั้นคิด
ว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 369
เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
ข้าพเจ้านั้นขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒
เดือนแก่ข้าพเจ้านั้น เมื่อข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า เรา
แล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน เรานั้นคิดว่า เรา
แลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอเราพึงขอ
ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ดังนี้
เรานั้นขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ด้วย ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่
เรานั้น เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจ ไฉนหนอ เราพึงขอ
ปริวาสสำหรับเดือน แม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
กะสงฆ์ ดังนี้ ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุ
นั้นแลสงฆ์จงให้ปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือน แก่ภิกษุนั้น.
วิธีให้ปริวาสสำหรับเดือนนอกนี้
[ ๔๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้อย่างนี้ ภิกษุนั้นพึง
เข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระ-
โหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอว่า ดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 370
คำขอปริวาสสำหรับเดือนนอกนี้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือน ข้าพเจ้านั้นคิดว่า เราแลต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เรา
พึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒
เดือนกะสงฆ์ ข้าพเจ้านั้นขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑
เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่ข้าพเจ้า
นั้น เมื่อข้าพเจ้านั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า
เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
เรานั้นคิดว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่อ
อาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เรานั้น จึงขอ
ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เรานั้น เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส
คิดละอายใจว่า ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือน
แม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
ท่านเจ่าข้า ข้าพเจ้านั้นขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้
เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 371
[๔๕๘] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาให้ปริวาสสำหรับเดือนนอกนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุนี้มีชื่อ
นี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
เธอคิดว่า เราแลต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่อ
อาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอจึงขอ
ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส คิด
ละลายใจว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือน เรานั้นคิดว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส
๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
เรานั้นจึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิด
บังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือน เพื่อ
อาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน แก่เรานั้น เมื่อเรา
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 372
นั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ไฉนหนอ เรา
พึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอขอปริวาสสำหรับเดือน
แม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ปริวาส
สำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้
๒ เดือน แก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้
รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
เธอคิดว่าเราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒
เดือนไฉนหนอเราพึงขอปริวาส ๑ เดือนเพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอจึงขอปริวาส ๑ เดือน
เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
แก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า เราแล
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน เรานั้น
คิดว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒
เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เรานั้นจึงขอปริวาส ๑
เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 373
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือนแก่เรานั้น เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส คิด
ละอายใจว่า ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือน
แม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
เธอจึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส สำหรับ
เดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน แก่
ภิกษุมีชื่อนี้ การให้ปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่อ
อาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนั้น แม้ครั้งที่สาม....
ปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือน อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบ
แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงเทียบเคียงอาบัติตัวก่อน แล้วอยู่
ปริวาส ๒ เดือน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 374
อยู่ปริวาส ๒ เดือน
[๔๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน เธอคิดอย่างนี้ว่า เราแลต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส
๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอขอปริวาส
๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน กะสงฆ์ สงฆ์ให้
ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอ
กำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า เราและต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือน เรานั้นคิดว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เรานั้นจึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่อ
อาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือน
เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เรานั้น เมื่อเรานั้นกำลังอยู่
ปริวาส คิดละอายใจว่า ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้
นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอขอปริวาส
สำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์
สงฆ์ให้ปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒
เดือนแก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงเทียบเคียงอาบัติ ตัวก่อน
แล้วอยู่ปริวาส ๒ เดือน.
[๔๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ เดือนหนึ่งรู้ เดือนหนึ่ง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 375
ไม่รู้ เธอขอปริวาสสำหรับเดือนที่รู้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้
๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาสเดือนที่รู้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้
๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาสรู้เดือนแม้นอกนี้ เธอคิดอย่างนี้
ว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ เดือน
หนึ่งรู้ เดือนหนึ่งไม่รู้ เรานั้นขอปริวาสสำหรับเดือนที่รู้ เพื่ออาบัติ
๒ ด้วย ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสเดือนที่รู้ เพื่อ
อาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะเรานั้น เรานั้นกำลังอยู่ปริวาส รู้เดือน
แม้นอกนี้ ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอจึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้
เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาสสำหรับ
เดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงเทียบเคียงอาบัติตัวก่อน แล้วอยู่ปริวาส ๒ เดือน.
[๔๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ด้วย ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ เดือนหนึ่งระลึกได้ เดือน
หนึ่งระลึกไม่ได้ เธอขอปริวาสสำหรับเดือนที่ระลึกได้ เพื่ออาบัติ ๒ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาสสำหรับเดือนที่ระลึกได้ เพื่อ
อาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เธอกำลังอยู่ปริวาสระลึกเดือน
แม้นอกนี้ได้ เธอคิดอย่างนี้ว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือน คือ เดือนหนึ่งระลึกได้ เดือนหนึ่งระลึกไม่ได้ เรานั้น
ขอปริวาสสำหรับเดือนที่ระลึกได้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒
เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสสำหรับเดือนที่ระลึกได้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 376
ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เรานั้น เรานั้นกำลังอยู่ปริวาสระลึกเดือนแม้นอกนี้
ได้ ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่อ
อาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาสสำหรับเดือน
แม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงเทียบเคียงอาบัติตัวก่อน แล้วอยู่ปริวาส ๒ เดือน
[๔๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ เดือนหนึ่งไม่สงสัย เดือน
หนึ่งสงสัย เธอขอปริวาสเดือนที่ไม่สงสัย เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้
๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาสเดือนที่ไม่สงสัย เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เธอกำลังอยู่ปริวาสไม่สงสัยเดือนแม้นอกนี้ เธอ
คิดอย่างนี้ว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
คือ เดือนหนึ่งไม่สงสัย เดือนหนึ่งสงสัย เรานั้นขอปริวาสเดือนที่ไม่สงสัย
เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสเดือนที่
ไม่สงสัย เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เรานั้น เรานั้นกำลังอยู่
ปริวาสไม่สงสัยเดือนแม้นอกนี้ ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือน
แม้นอกนี้เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ เธอจึงขอ
ปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
กะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงเทียบเคียง
อาบัติตัวก่อน แล้วอยู่ปริวาส ๒ เดือน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 377
มานัตตารหภิกษุ
[๔๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ เดือนหนึ่งรู้ปิดบังไว้ เดือน
หนึ่งไม่รู้ปิดบังไว้ เธอขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบัง
ไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส มีภิกษุรูปอื่นที่คงแก่เรียน
ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ฉลาด เฉียบแหลม
มีปัญญา มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา มาหาเธอ
ถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้ ต้องอาบัติอะไร ภิกษุนี้อยู่
ปริวาสเพื่ออาบัติอะไร ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่าน ภิกษุนี้
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ เดือนหนึ่งรู้
ปิดบังไว้ เดือนหนึ่งไม่รู้ปิดบังไว้ เธอขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่อ
อาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติเหล่านั้น
ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น เธอกล่าวอย่างนี้ว่าท่านทั้งหลาย การ
ให้ปริวาสเพื่อเดือนที่รู้ปิดบังไว้ ไม่ชอบธรรม ความชอบธรรมย่อมฟังขึ้น
ส่วนการให้ปริวาสเพื่อเดือนที่ไม่รู้ปิดบังไว้ ไม่ชอบธรรม ความไม่ชอบ
ธรรมย่อมฟังไม่ขึ้น ภิกษุเป็นผู้ควรมานัต เพื่อเดือนนั้น.
[ ๔๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ เดือนหนึ่งระลึกได้ ปิดบัง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 378
ไว้ เดือนหนึ่งระลึกไม่ได้ ปิดบังไว้ เธอขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส มีภิกษุรูป
อื่นที่คงแก่เรียน ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่
ต่อสิกขา มาหา เธอถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ต้อง
อาบัติอะไร ภิกษุรูปนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติอะไร ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่าง
นี้ว่า ท่าน ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน
คือ เดือนหนึ่งระลึกได้ ปิดบังไว้ เดือนหนึ่งระลึกไม่ได้ ปิดบังไว้ เธอ
ขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ด้วย ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ
ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติเหล่านั้น ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น
ภิกษุรูปที่มานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย การให้ปริวาสเพื่อเดือนที่
ระลึกได้ ปิดบังไว้ ชอบธรรม ความชอบธรรมย่อมฟังขึ้น ส่วนการ
ให้ปริวาสเพื่อเดือนที่ระลึกไม่ได้ ปิดบังไว้ ไม่ชอบธรรม ความไม่
ชอบธรรมย่อมฟังไม่ขึ้น ภิกษุเป็นผู้ควรมานัตเพื่อเดือนนั้น
[๔๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ เดือนหนึ่งไม่สงสัย ปิดบัง
ไว้ เดือนหนึ่งสงสัย ปิดบังไว้ เธอขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒
ตัว ปิดบัง ๒ไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ เมื่อเธอกำลังอยู่ปริวาส มีภิกษุรูป
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 379
อื่น ที่คงแก่เรียน ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง
มาติกา ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา มีความละอาย มีความรังเกียจ
ใคร่ต่อสิกขา มาหา เธอถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้อง
อาบัติอะไร ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติอะไร ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้
ว่า ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือน คือ
เดือนหนึ่งไม่สงสัย ปิดบังไว้ เดือนหนึ่งสงสัย ปิดบังไว้ เธอขอปริวาส
๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส
๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดบังไว้ ๒ เดือนแก่เธอ ท่าน ภิกษุ
นี้ต้องอาบัติเหล่านั้น ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น ภิกษุรูปที่มา
นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย การให้ปริวาสเพื่อเดือนที่ไม่สงสัย
ปิดบังไว้ ชอบธรรน ความชอบธรรมย่อมฟังขึ้น ส่วนการให้ปริวาสเพื่อ
เดือนที่สงสัย ปิดบังไว้ ไม่ชอบธรรม ความไม่ชอบธรรมย่อมฟังไม่ขึ้น
ภิกษุเป็นผู้ควรมานัตเพื่อเดือนนั้น.
สงฆ์ให้สุทธันตปริวาส
[๔๖๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลาย
ตัว เธอไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึก
ที่สุดราตรีไม่ได้ สงสัยในที่สุดอาบัติ สงสัยในที่สุดราตรี จึงแจ้งแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
ข้าพเจ้าไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกในที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึก
ในที่สุดราตรีไม่ได้ สงสัยในที่สุดอาบัติ สงสัยในที่สุดราตรี ข้าพเจ้าจะ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 380
พึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้สุทธันตปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุนั้น.
วิธีให้สุทธันตปริวาส
[๔๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส
อย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า
ภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอว่าดังนี้ :-
คำขอสุทธันตปริวาส
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลาย
ตัว ข้าพเจ้าไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุด
อาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรี ไม่ได้ สงสัยในที่สุดอาบัติ
สงสัยในที่สุดราตรี ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสุทธันต
ปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๔๖๘] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 381
กรรมวาจาให้สุทธันตปริวาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้
รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว เธอไม่รู้ที่สุดอาบัติ
ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรี
ไม่ได้ สงสัยในที่สุดอาบัติ สงสัยในที่สุดราตรี เธอ
ขอสุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์ ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้น แก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้
รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว เธอไม่รู้ที่สุดอาบัติ
ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรี
ไม่ได้ สงสัยในที่สุดอาบัติ สงสัยในที่สุดราตรี เธอ
ขอสุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์ สงฆ์ให้
สุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น แก่ภิกษุมีชื่อนี้ การ
ให้สุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น แก่ภิกษุมีชื่อนี้
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม่ครั้งที่สาม....
สุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น อันสงฆ์ให้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 382
แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
สงฆ์ให้สุทธันตปริวาส
[๔๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส
อย่างนี้ พึงให้ปริวาสอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สุทธันต
ปริวาสอย่างไรเล่า ภิกษุไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุด
อาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้ สงสัยในที่สุดอาบัติ สงสัยในที่สุด
ราตรี พึงให้สุทธันตปริวาส
ภิกษุรู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติได้ ระลึกที่
สุดราตรีไม่ได้ ไม่สงสัยในที่สุดอาบัติ สงสัยในที่สุดราตรี พึงให้
สุทธันตปริวาส
ที่สุดอาบัติบางอย่างภิกษุรู้ บางอย่างไม่รู้ ที่สุดราตรีไม่รู้ ที่สุด
อาบัติบางอย่างระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ที่สุดราตรีระลึกไม้ได้ ใน
ที่สุดอาบัติบางอย่างสงสัย บางอย่างไม่สงสัย ในที่สุดราตรีสงสัย พึ่ง
ให้สุทธันตปริวาส
ที่สุดอาบัติภิกษุไม่รู้ ที่สุดราตรีบางอย่างรู้ บางอย่างไม่รู้ ที่สุด
อาบัติระลึกไม่ได้ ที่สุดราตรีบางอย่างระลึกได้ บางอย่างระลึกไม้ได้ ใน
ที่สุดอาบัติสงสัย ในที่สุดราตรีบางอย่างสงสัย บางอย่างไม่สงสัย พึง
ให้สุทธันตปริวาส
ที่สุดอาบัติภิกษุรู้ ที่สุดราตรีบางอย่างรู้ บางอย่างไม่รู้ ที่สุด
อาบัติระลึกได้ ที่สุดราตรีบางอย่างระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ใน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 383
ที่สุดอาบัติไม่สงสัย ในที่สุดราตรีบางอย่างสงสัย บางอย่างไม่สงสัย พึง
ให้สุทธันตปริวาส
ที่สุดอาบัติบางอย่างภิกษุรู้ บางอย่างไม่รู้ ที่สุดราตรีบางอย่างรู้
บางอย่างไม่รู้ ที่สุดอาบัติบางอย่างระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้
ที่สุดราตรีบางอย่างระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ในที่สุดอาบัติบางอย่าง
สงสัย บางอย่างไม่สงสัย ในที่สุดราตรีบางอย่างสงสัย บางอย่างไม่
สงสัย พึงให้สุทธันตปริวาส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาสอย่างนี้แล.
สงฆ์ให้ปริวาส
[๔๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสอย่างไรเล่า ภิกษุ
รู้ที่สุดอาบัติ รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติได้ ระลึกที่สุดราตรีได้
ไม่สงสัยในที่สุดอาบัติ ไม่สงสัยในที่สุดราตรี พึงให้ปริวาส
ภิกษุไม่รู้ที่สุดอาบัติ รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึก
ที่สุดราตรีได้ สงสัยในที่สุดอาบัติ ไม่สงสัยในที่สุดราตรี พึงให้ปริวาส
ที่สุดอาบัติบางอย่างภิกษุรู้ บางอย่างไม่รู้ ที่สุดราตรีรู้ ที่สุด
อาบัติบางอย่างระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ที่สุดราตรีระลึกได้ ใน
ที่สุดอาบัติบางอย่างสงสัย บางอย่างไม่สงสัย ในที่สุดราตรีไม่สงสัย พึง
ให้ปริวาส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสอย่างนี้แล.
ปริวาส จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 384
เรื่องภิกษุอยู่ปริวาสสึก
[๔๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งสึกกำลังอยู่ปริวาส เธอ
กลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสดังต่อไปนี้ :-
[๔๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สึกกำลังอยู่
ปริวาส ปริวาสของผู้สึกใช้ไม่ได้ หากเธออุปสมบทใหม่ ให้ปริวาส
เดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว
เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่ปริวาสที่เหลือต่อไป.
สึกบวชเป็นสามเณร
[๔๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส สึกบวชเป็นสามเณร ปริวาสของสามเณรใช้ไม่ได้ หากเธอ
อุปสมบทใหม่ ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอัน
ให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่ปริวาสที่เหลือต่อไป.
วิกลจริต
[๔๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส เกิดวิกลจริต ปริวาสของผู้วิกลจริตใช้ไม่ได้ หากเธอหา
วิกลจริต ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดี
แล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่ปริวาสที่เหลือต่อไป.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 385
มีจิตฟุ้งซ่าน
[๔๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส มีจิตฟุ้งซ่าน ปริวาสของเธอผู้มีจิตฟุ้งซ่านใช้ไม่ได้ หากเธอ
มีจิตไม่ฟุ้งซ่านอีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว
เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่ปริวาสที่เหลือต่อไป.
กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
[๔๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส เกิดกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปริวาสของเธอผู้กระสับกระส่าย
เพราะเวทนาใช้ไม่ได้ หากเธอไม่กระสับกระส่ายเพราะเวทนาอีก ให้
ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว
เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่ปริวาสที่เหลือต่อไป.
สงฆ์ยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติ
[๔๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส ถูกสงฆ์ยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติ ปริวาสของเธอผู้ถูกยกวัตรใช้
ไม่ได้ หากเธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาส
ที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่ปริวาส
เหลือต่อไป.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 386
สงฆ์ยกวัตรฐานไม่ทำอาบัติคืน
[๘๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส ถูกสงฆ์ยกวัตรฐานไม่ทำคืนอาบัติ ปริวาสของผู้ถูกยกวัตรใช้
ไม่ได้ หากเธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาส
ที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่ปริวาส
ที่เหลือต่อไป.
สงฆ์ยกวัตรฐานไม่สละทิฏฐิเลวทราม
[๔๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส ถูกสงฆ์ยกวัตรฐานไม่สละทิฏฐิเลวทราม ปริวาสของเธอผู้ถูก
ยกวัตรใช้ไม่ได้ หากเธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่
เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีเเล้ว
พึงอยู่ปริวาสที่เหลือต่อไป.
ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมสึก
[๔๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรชัก
เข้าหาอาบัติเดิมสึกเสีย การชักเข้าหาอาบัติเดิมของเธอผู้สึกแล้วใช้ไม่ได้
หากเธออุปสมบทใหม่ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว
เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว ภิกษุนั้นสงฆ์พึงชักเข้าหา
อาบัติเดิม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 387
สึกบวชเป็นสามเณรและวิกลจริตเป็นต้น
[๔๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรชักเข้า
หาอาบัติเดิม สึกบวชเป็นสามเณร การชักเข้าหาอาบัติเดิมของสามเณร
ใช้ไม่ได้ หากเธออุปสมบทใหม่ ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาส
ที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว ภิกษุนั้น
สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรชักเข้าหาอาบัติ
เดิม เกิดวิกลจริต การชักเข้าหาอาบัติเดิมของเธอผู้วิกลจริตใช้ไม่ได้
หากเธอหายวิกลจริต ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว
เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว ภิกษุนั้นสงฆ์พึงชักเข้าหา
อาบัติเดิม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรชักเข้าหาอาบัติ
เดิม มีจิตฟุ้งซ่าน การชักเข้าหาอาบัติเดิมของเธอผู้มีจิตฟุ้งซ่านใช้ไม่ได้
หากเธอมีจิตไม่ฟุ้งซ่านอีก ให้ปริวาสเติมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้
แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว ภิกษุนั้นสงฆ์พึง
ชักเข้าหาอาบัติเดิม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรชักเข้าหาอาบัติ
เดิม เกิดกระสับกระส่ายเพราะเวทนา การชักเข้าหาอาบัติเดิมของเธอผู้
กระสับกระส่ายเพราะเวทนาใช้ไม่ได้ หากเธอไม่กระสับกระส่ายเพราะ
เวทนาอีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอัน
ให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว ภิกษุนั้นสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติ
เดิม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 388
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรชักเข้าหาอาบัติ
เดิม ถูกสงฆ์ยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติ การชักเข้าหาอาบัติเดิมของเธอ
ผู้ถูกยกวัตรใช้ไม่ได้ หากเธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละ
แก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดี
แล้ว ภิกษุนั้นสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
ถูกสงฆ์ยกวัตรฐานไม่ทำคืนอาบัติ การชักเข้าหาอาบัติเดิมของเธอผู้ถูกยก
วัตรใช้ไม่ได้ หากเธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ
ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว ภิกษุ
นั้นสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรชักเข้าหาอาบัติ
เดิม ถูกสงฆ์ยกวัตรฐานไม่สละทิฏฐิเลวทราม การชักเข้าหาอาบัติเดิม
ของเธอผู้ถูกยกวัตรใช้ไม่ได้ หากเธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิม
นั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็น
อันอยู่ดีแล้ว ภิกษุนั้นสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม.
ควรมานัตสึก
[๔๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต
สึกเสีย การให้มานัตแก่เธอผู้สึกแล้วใช้ไม่ได้ หากเธออุปสมบทใหม่ ให้
ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่
แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น .
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 389
ควรมานัตสึกบวชเป็นสามเณรเป็นต้น
[๔๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต
สึกบวชเป็นสามเณร การให้มานัตแก่สามเณรใช้ไม่ได้ หากเธออุปสมบท
ใหม่ ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว
ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงให้นานัคแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต เกิด
วิกลจริต การให้มานัตแก่เธอผู้วิกลจริตใช้ไม่ได้ หากเธอหายวิกลจริต
ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่
แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต มีจิต
ฟุ้งซ่าน การให้มานัตแก่เธอผู้มีจิตฟุ้งซ่านใช้ไม่ได้ หากเธอไม่มีจิต
ฟุ้งซ่านอีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอัน
ให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต กระสับ-
กระส่ายเพราะเวทนา การให้มานัตแก่เธอผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ใช้ไม่ได้ หากเธอไม่กระสับกระส่ายเพราะเวทนาอีกให้ปริวาสเดิมนั้นแหละ
แก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดี
แล้ว พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ควรมานัต ถูกสงฆ์
ยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติ การให้มานัตแก่เธอผู้ถูกยกวัตรใช้ไม่ได้ หาก
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 390
เธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว
เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงไห้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต ถูกสงฆ์
ยกวัตรฐานไม่ทำคืนอาบัติ การให้มานัตแก่เธอผู้ถูกยกวัตร ใช้ไม่ได้
หากเธอถูกเรียกเข้าใหม่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้
แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต ถูกสงฆ์
ยกวัตรฐานไม่สละทิฏฐิเลวทราม การให้มานัตแก่เธอผู้ถูกยกวัตรใช้ไม่
ได้ หากเธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาส
ทำให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงให้มานัต
แก่ภิกษุนั้น
กำลังประพฤติมานัตสึก
[๔๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สึกกำลัง
พระพฤติมานัต การประพฤติมานัตของผู้สึกแล้ว ใช้ไม่ได้ หากเธอ
อุปสมบทใหม่ ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้วเป็นอัน
ให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัตที่ให้แล้ว เป็นอัน ให้ดี
แล้ว ที่ประพฤติแล้ว เป็นอันประพฤติดีแล้ว พึงประพฤติมานัตที่
เหลือต่อไป.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 391
สึกบวชเป็นสามเณรและวิกลจริตเป็นต้น
[๘๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
ประพฤติมานัตสึกบวชเป็นสามเณร การประพฤติมานัตของสามเณร ใช้
ไม่ได้ หากเธออุปสมบทใหม่ ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาส
ที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัตที่ให้
แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่ประพฤติแล้ว เป็นอันประพฤติดีแล้ว พึง
ประพฤติมานัตที่เหลือต่อไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังพระพฤติมานัต
เกิดวิกลจริต การประพฤติมานัตของเธอผู้เกิดวิกลจริต ใช้ไม่ได้ หาก
เธอหายวิกลจริต ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็น
อันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัตที่ให้แล้ว เป็นอันให้
ดีแล้ว ที่ประพฤติแล้ว เป็นอันประพฤติดีแล้ว พึงพระพฤติมานัตที่
เหลือต่อไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังประพฤติมานัต
มีจิตฟุ้งซ่าน การประพฤติมานัตของเธอผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ใช้ไม่ได้ หาก
เธอมีจิตไม่ฟุ้งซ่านอีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว
เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัตที่ให้แล้ว เป็น
อันให้ดีแล้ว ที่ประพฤติแล้ว เป็นอันประพฤติดีแล้ว พึงประพฤติ
มานัตที่เหลือต่อไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังประพฤติมานัต
กระสับกระส่ายเพราะเวทนา การประพฤติมานัตของเธอผู้กระสับกระส่าย
เพราะเวทนา ใช้ไม่ได้ หากเธอไม่กระสับกระส่ายเพราะเวทนาอีก ให้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 392
ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่
แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัตที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่ประพฤติ
แล้ว เป็นอันประพฤติดีแล้ว พึงประพฤติมานัตที่เหลือต่อไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังประพฤติมานัต
ถูกสงฆ์ยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติ การประพฤติมานัตของเธอผู้ถูกยกวัตร
ใช้ไม่ได้ หากเธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ
ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัต
ที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่ประพฤติแล้ว เป็นอันประพฤติดีแล้ว
พึงประพฤติมานัตที่เหลือต่อไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังพระพฤติมานัต
ถูกสงฆ์ยกวัตรฐานไม่ทำคืนอาบัติ การประพฤติมานัตของเธอผู้ถูกยกวัตร
ใช้ไม่ได้ หากเธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ
ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัต
ที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่ประพฤติแล้ว เป็นอันระพฤติดีแล้ว
พึงประพฤติมานัตที่เหลือต่อไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังประพฤติมานัต
ถูกสงฆ์ยกวัตรฐานไม่สละทิฏฐิเลวทราม การพระพฤติมานัตของเธอผู้ถูก
ยกวัตร ใช้ไม่ได้ หากเธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละ
แก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดี
แล้ว มานัตที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่ประพฤติแล้ว เป็นอัน
ประพฤติดีแล้ว พึงประพฤติมานัตที่เหลือต่อไป.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 393
ควรอัพภานสึก
[๔๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน
สึกเสีย การอัพภานเธอผู้สึกแล้ว ใช้ไม่ได้ หากเธออุปสมบทใหม่ ให้
ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่
แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัตที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่ประพฤติ
แล้ว เป็นอันพระพฤติดีแล้ว สงฆ์พึงอัพภานภิกษุนั้น.
ควรอัพภานสึกบวชเป็นสามเณรเป็นต้น
[๔๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน
สึกบวชเป็นสามเณร การอัพภานสามเณร ใช้ไม่ได้ หากเธออุปสมบท
ใหม่ ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว
ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัตที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่
ประพฤติแล้ว เป็นอันประพฤติดีแล้ว สงฆ์พึงอัพภานภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน เกิด
วิกลจริต การอัพภานเธอผู้วิกลจริต ใช้ไม่ได้ หากเธอหายวิกลจริต
ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่
อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัตที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่ประพฤติ
แล้ว เป็นอันประพฤติดีแล้ว สงฆ์พึงอัพภานภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน มีจิต
ฟุ้งซ่าน การอัพภานเธอผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ใช้ไม่ได้ หากเธอมีจิตไม่ฟุ้ง
ซ่านอีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดี
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 394
แล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัตที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว
ที่ประพฤติแล้ว เป็นอันประพฤติดีแล้ว สงฆ์พึงอัพภานภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน กระสับ
กระส่ายเพราะเวทนา การอัพภานเธอผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ใช้
ไม่ได้ หากเธอไม่กระสับกระส่ายเพราะเวทนาอีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละ
แก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว
มานัตที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่ประพฤติแล้ว เป็นอันประพฤติดี
แล้ว สงฆ์พึงอัพภานภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน ถูก
สงฆ์ยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติ การอัพภานเธอผู้ถูกยกวัตร ใช้ไม่ได้หาก
เธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาสที่ให้แล้ว
เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัตที่ให้แล้ว เป็น
อันให้ดีแล้ว ที่ประพฤติแล้ว เป็นอันประพฤติดีแล้ว สงฆ์พึงอัพภาน
ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน ถูก
สงฆ์ยกวัตรฐานไม่ทำคืนอาบัติ การอัพภานเธอผู้ถูกยกวัตร ใช้ไม่ได้
หากเธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละเเก่เธอ ปริวาสที่ให้
แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีเเล้ว มานัตที่ให้แล้ว
เป็นอันให้ดีแล้ว ที่ประพฤติแล้ว เป็นอันประพฤติดีแล้ว สงฆ์พึง
อัพภานภิกษุนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 395
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน ถูก
สงฆ์ยกวัตรฐานไม่สละทิฏฐิเลวทราม การอัพภานเธอผู้ถูกยกวัตร ใช้ไม่
ได้ หากเธอถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่เธอ ปริวาส
ที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่อยู่แล้ว เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัตที่ให้
แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว ที่ประพฤติดีแล้ว เป็นอันประพฤติดีแล้ว
สงฆ์พึงอัพภานภิกษุนั้น.
ตัวอย่าง ๔๐ เรื่อง จบ
กำลังอยู่ปริวาสต้องอาบัติ
[๔๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ไม่ได้ปิด
บังไว้ ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม.
[๔๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบังไว้
ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาสประมวลอาบัติ
ตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๔๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบังไว้
บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 396
ให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่
เธอ.
[๔๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ไม่ได้
ปิดบังไว้ ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม.
[๔๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณปิดบังไว้
ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาสประมวลอาบัติตัว
ก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ
[๔๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ปิดบัง
ไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และ
ให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่
เธอ.
[๔๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่
มีประมาณบ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้ ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๔๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่
มีประมาณบ้าง ปิดบังไว้ ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และ
ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 397
[๔๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่
มีประมาณบ้าง ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึง
ชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่อ
อาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
ควรมานัต
[๔๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ไม่ได้ปิดบังไว้
ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบังไว้ ภิกษุนั้นอันสงฆ์
พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน
เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบัง
ไว้บ้าง ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาสประมวล
อาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ไม่ได้ปิดบังไว้ ภิกษุนั้น
อันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 398
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ปิดบังไว้ ภิกษุนั้นอัน
สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วย
กัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิด
บังไว้บ้าง ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาส
ประมวลอาบัติ ตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง ไม่
ได้ปิดบังไว้ ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง ปิด
บังไว้ ภิกษุอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาสประมวลอาบัติ
ตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรมานัต ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง ปิด
บังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
และให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้
แก่เธอ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 399
กำลังประพฤติมานัต
[๔๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังประ-
พฤติมานัต ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ไม่ได้
ปิดบังไว้ ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังประพฤติมานัต
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบังไว้ ภิกษุ
นั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้า
ด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังประพฤติมานัต
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบังไว้บ้าง ไม่
ได้ปิดบังไว้บ้าง ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาส
ประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังประพฤติมานัต
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ไม่ได้ปิดบังไว้
ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังประพฤติมานัต
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ปิดบังไว้ ภิกษุ
นั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อน
เข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังประพฤติมานัต
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ปิดบังไว้บ้าง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 400
ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้
ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังประพฤติมานัต
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณ
บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้ ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังประพฤติมานัต
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณ
บ้าง ปิดบังไว้ ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาส
ประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังประพฤติมานัต
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณ
บ้าง ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหา
อาบัติเดิม และให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติ
ตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
ควรอัพภาน
[๔๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัย ควรอัพภาน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ไม่ได้ปิดบังไว้
ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม.
[๕๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบังไว้ ภิกษุ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 401
นั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อน
เข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบังไว้บ้าง
ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาส
ประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ไม่ได้ปิดบังไว้
ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๕๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ปิดบังไว้
ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาสประมวลอาบัติตัว
ก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ควรอัพภาน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ปิดบังไว้บ้าง
ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาส
ประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ควรอัพภาน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณ
บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้ ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 402
[๕๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ควรอัพภาน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณ
บ้าง ปิดบังไว้ ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม และให้ปริวาส
ประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดไว้แก่เธอ.
[๕๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ควรอัพภาน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณ
บ้าง ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงชักเข้าหา
อาบัติเดิม และให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติ
ตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
ตัวอย่าง ๓๖ เรื่อง จบ
มานัตหนึ่งร้อย
สึกอุปสมบทใหม่
[๕๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก เธออุปสมบทใหม่ ไม่
ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
[๕๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก เธออุปสมบทใหม่
ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งหลัง
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 403
[๕๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้แล้วสึก เธออุปสมบทใหม่ ไม่ปิด
บังอาบัติเหล่านั้น พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
[๕๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้แล้วสึก เธออุปสมบทใหม่ ปิดบัง
อาบัติเหล่านั้น พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและ
หลังแล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
[๕๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึก
แล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบัง
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้ง
ก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
[๕๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึก
แล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
และหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 404
[๕๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึก
แล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่า
นั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
และหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
[๕๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึก
แล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
และหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
[๕๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ อาบัติบางอย่าง
ไม่รู้ ปิดบังอาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่
อาบัติเหล่าใดเธอรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วไม่ปิดบัง
ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดเธอไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่า
นั้นแล้วไม่ปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้
ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
[๕๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ อาบัติบางอย่าง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 405
ไม่รู้ ปิดบังอาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่
อาบัติเหล่าใดเธอรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วไม่ปิดบัง
ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้น
แล้วปิดบังไว้ในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้ง
ก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
[๕๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ อาบัติบางอย่าง
ไม่รู้ ปิดบังอาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่
อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ใน
ภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้ว
ไม่ปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
และหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
[๕๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ อาบัติบางอย่าง
ไม่รู้ ปิดบังต้องอาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่
อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ใน
ภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้น
แล้วปิดบังไว้ในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้ง
ก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
[๕๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่าง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 406
ระลึกไม่ได้ ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ได้ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้
เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้ว ได้ปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ไม่ปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึก
ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วไม่ปิดบังในภายหลัง
พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุ
นั้น.
[๕๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างระลึกได้ บางอย่าง
ระลึกไม่ได้ ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอ
สึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วไม่ปิดบังในภายหลังอาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้
ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ปิดบังในภายหลัง พึงให้
ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่
ภิกษุนั้น.
[๕๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คืออาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่าง
ระลึกไม่ได้ ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอสึก
แล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึก
อาบัติเหล่านั้น ได้ปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ปิดบังไว้
เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ไม่ปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสใน
กองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแต่ภิกษุนั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 407
[๕๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่าง
ระลึกไม่ได้ ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอ
สึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ไม่
ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ปิดบังในภายหลัง พึงให้
ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่
ภิกษุนั้น.
[๕๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบาง
อย่าง ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอสึกแล้ว
อุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิด
บังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ
ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
[๕๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติ
บางอย่าง ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอสึกแล้ว
อุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่
ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 408
ก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ
ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
[๕๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบาง
อย่าง ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอสึกแล้ว
อุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบัง
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่
สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตาม
ที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
[๕๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบาง
อย่าง ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอสึกแล้ว
อุปสมบทใหม่ ไม่สงสัยในอาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัย
ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกอง
อาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
สึกบวชเป็นสามเณร
[๕๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึกบวชเป็นสามเณร เธอ
อุปสมบทใหม่ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 409
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึกบวชเป็นสามเณร เธอ
อุปสมบทใหม่ ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่
ปิดบังไว้ครั้งหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้แล้วสึกบวชเป็นสามเณร เธออุปสมบท
ใหม่ ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นพึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้
ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้แล้วสึกบวชเป็นสามเณร เธออุปสมบท
ใหม่ ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้ปริวาสใสกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้
ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึกบวชเป็น
สามเณรแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบัง
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิด
บังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้
ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึกบวช
เป็นสามเณรแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 410
ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบัง
ไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึกบวช
เป็นสามเณรแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิด
บังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่
ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบัง
ไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึกบวชเป็น
สามเณรแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
และหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้
ปิดบังอาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกบวชเป็นสามเณรแล้ว
อุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดเธอรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติ
เหล่านั้นแล้วไม่ปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดเธอไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 411
ก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วไม่ปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกอง
อาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้
ปิดบังอาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกบวชเป็นสามเณรแล้ว
อุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดเธอรู้แล้วปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่า
นั้นแล้วไม่ปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดเธอไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ
ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายด้วย คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้
ปิดบังอาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกบวชเป็นสามเณรแล้ว
อุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดเธอรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติ
เหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดเธอไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้
เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วไม่ปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกอง
อาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้
ปิดบังอาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกบวชเป็นสามเณรแล้ว
อุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดเธอรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติ
เหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดเธอไม่รู้ ไม่ได้ปิดบังไว้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 412
เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกอง
อาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ อาบัติบางอย่าง
ระลึกไม่ได้ ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอ
สึกบวชเป็นสามเณรแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้ปิดบังไว้
เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ไม่ปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใด
ระลึกไม่ได้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ไม่ปิดบังในภาย
หลัง พึงให้ปริวาสไม่กองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัต
แก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึก
ไม่ได้ ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอสึก
บวชเป็นสามเณรแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วปิดบัง
ไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ไม่ปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่า
ใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นใดปิดบังใน
ภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึก
ไม่ได้ ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอสึกบวช
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 413
เป็นสามเณรแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึก
ไม่ได้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ ไม่ปิดบังในภาย
หลังพึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้
มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึก
ไม่ได้ ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอสึกบวช
เป็นสามเณรแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึก
ไม่ได้ไม่ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ปิดบังไว้ในภายหลัง พึง
ให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่
ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอสึกบวชเป็นสามเณร
แล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดสงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่
ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกอง
อาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 414
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอสึกบวชเป็นสามเณร
แล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัย
ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกอง
อาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอสึกบวชเป็นสามเณร
แล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัย
ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัย ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกอง
อาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง เเล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัย ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอสึกบวชเป็นสามเณร
แล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัย
ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้น ในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกอง
อาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 415
วิกลจริต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอเกิดวิกลจริต ครั้นหายแล้ว
ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอเกิดวิกลจริต ครั้นหายแล้ว
ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งหลัง
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้ เธอเกิดวิกลจริต ครั้นหายแล้ว ไม่ปิด
บังอาบัติเหล่านั้น พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้ เธอเกิดวิกลจริต ครั้นหายแล้ว ปิดบัง
อาบัติเหล่านั้น พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและ
หลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอเกิดวิกล
จริต ครั้นหาแล้ว อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 416
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ปิดบังไว้บ้าง เธอเกิดวิกลจริต
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่า
นั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่า
นั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและ
หลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอเกิดวิกลจริต
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่านั้น
ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่า
นั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและ
หลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอเกิดวิกล
จริต ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
และหลัง แล้วให้มานัต แก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบัง
อาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอเกิดวิกลจริต ครั้นหายแล้ว อาบัติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 417
เหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นไม่ปิดบังในภายหลัง
อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นไม่ปิดบังในภาย
หลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัต
แก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบัง
อาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอเกิดวิกลจริต ครั้นหายแล้ว อาบัติ
เหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นไม่ปิดบังไว้ในภายหลัง
อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นปิดบังในภาย
หลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้ว
ให้มานัต แก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติบางอย่างเธอรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบัง
อาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอเกิดวิกลจริต ครั้นหายแล้ว อาบัติ
เหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ในภาย
หลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นไม่ปิด
บังไว้ในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและ
หลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติ
ที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอเกิดวิกลจริต ครั้นหายแล้ว อาบัติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 418
เหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ในภายหลัง
อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ใน
ภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ปิดบัง
อาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอเกิดวิกลจริต ครั้น
หายแล้ว อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติ
เหล่านั้นได้ ไม่ปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดบัง
ไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ ไม่ปิดบังในภายหลัง พึงให้
ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้
ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอเกิดวิกลจริต
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติ
เหล่านั้นได้ ไม่ปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดบัง
ไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้น ได้แล้วปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาส
ในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 419
ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอเกิดวิกลจริต
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้ว ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึก
อาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้
ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ ไม่ปิดบังในภายหลัง พึงให้
ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่
ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้
ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอเกิดวิกลจริต
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดระลึกได้ แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึก
อาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่
ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดบังไว้ในภายหลัง
พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัต
แก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอเกิดวิกลจริต ครั้นหาย
แล้ว อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัย
ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิด
บังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 420
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอเกิดวิกลจริต ครั้น
หายแล้ว อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบัง
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตาม
ที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอเกิดวิกลจริต ครั้น
หายแล้ว อาบัติเหล่าใดไม่สงสัย ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัย ปิดบัง
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัย ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ
ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอเกิดวิกลจริต ครั้น
หายแล้ว อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัย
ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบัง
ไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น .
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 421
มีจิตฟุ้งซ่าน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอมีจิตฟุ้งซ่าน ครั้นหายแล้ว ไม่
ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งภิกษุในธรรนวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอมีจิตฟุ้งซ่าน ครั้นหายแล้ว ปิดบัง
อาบัติเหล่านั้น พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งหลัง
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้ เธอมีจิตฟุ้งซ่าน ครั้นหายแล้ว ไม่ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้น พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้
มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้ เธอมีจิตฟุ้งซ่าน ครั้นหายแล้ว ปิดบังอาบัติ
เหล่านั้น พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอมีจิตฟุ้งซ่าน
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้น
ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่า
นั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
และให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 422
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ปิดบังไว้บ้าง เธอมีจิตฟุ้งซ่าน
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่า
นั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่า
นั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและ
หลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอมีจิตฟุ้งซ่าน
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดได้ปิดบัง ไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่านั้น
ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้น
ในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอมีจิตฟุ้งซ่าน
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดไม่ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่านั้นใน
ภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่านั้นใน
ภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติ
ที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอมีจิตฟุ้งซ่าน ครั้นหายแล้ว อาบัติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 423
เหล่าใดเธอรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นไม่ปิดบังในภายหลัง
อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นไม่ปิดบังในภาย
หลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัต
แก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติที่รู้
ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอมีจิตฟุ้งซ่าน ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดเธอ
รู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นไม่ปิดบังในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดไม่รู้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังในภาย
หลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้ว
ให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติ
ที่ร้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอมีจิตฟุ้งซ่าน ครั้นหายแล้ว อาบัติ
เหล่าใดเธอรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ใน
ภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นไม่
ปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและ
หลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติ
ที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอมีจิตฟุ้งซ่าน ครั้นหายแล้ว อาบัติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 424
เหล่าใดเธอรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ใน
ภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้ว
ปิดบังไว้ในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
และหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้
ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอมีจิตฟุ้งซ่าน
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึก
อาบัติเหล่านั้นได้ ไม่ปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้
ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ ไม่ปิดบังในภายหลัง พึงให้
ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้
ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอมีจิตฟุ้งซ่าน
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติ
เหล่านั้นได้ ไม่ปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดบัง
ไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาส
ในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้
ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอมีจิตฟุ้งซ่าน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 425
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดระลึกได้ แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึก
อาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้
ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้ว ไม่ปิดบังในภายหลัง พึง
ให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่
ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้
ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอมีจิตฟุ้งซ่าน
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติ
เหล่านั้นได้แล้วปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดบัง
ไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ แล้วปิดบังในภายหลัง พึงให้
ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่
ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอมีจิตฟุ้งซ่าน ครั้น
หายแล้ว อาบัติเหล่าใดไม่สงสัย ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิด
บังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัย ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ
ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 426
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอมีจิตฟุ้งซ่าน ครั้น
หายแล้ว อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบัง
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตาม
ที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอมีจิตฟุ้งซ่าน ครั้น
หายแล้ว อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัย ไม่ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัย
ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิด
บังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอมีจิตฟุ้งซ่าน ครั้น
หายแล้ว อาบัติเหล่าใดไม่สงสัย ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบัง
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัย ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่
ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 427
กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ครั้นหายแล้ว ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ครั้นหายแล้ว ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่
ปิดบังไว้ครั้งหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้ เธอกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ครั้น
หายแล้ว ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิด
บังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้ เธอกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ครั้น
หาแล้ว ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบัง
ไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอกระสับ
กระส่ายเพราะเวทนา ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 428
ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิด
บังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอกระสับ
กระส่ายเพราะเวทนา ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบัง
ไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอกระสับ
กระส่ายเพราะเวทนา ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิด
บังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอกระสับ
กระส่ายเพราะเวทนา ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบัง
ไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 429
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติ
ที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ครั้นหาแล้ว
อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นไม่ปิดบังไว้ใน
ภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ ไม่ได้ปิดบังเมื่อก่อน อาบัติเหล่านั้นไม่
ปิดบังไว้ในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติ
ที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ครั้นหายแล้ว
อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นไม่ปิดบังในภาย
หลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้ว
ปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
และหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายด้วย อาบัติบางอย่างเธอรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติ
ที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ครั้นหาย
แล้ว อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบัง
ไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้น
ไม่ปิดบังในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
และหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 430
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติ
ที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ครั้นหายแล้ว
อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังไว้ใน
ภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้ว
ปิดบังไว้ในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน
และหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้
ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอกระสับกระส่าย
เพราะเวทนา ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดบังไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใด
ระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ ไม่ปิดบัง
ในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้ว
ให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้
ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ได้ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอกระสับ
กระส่ายเพราะเวทนา ครั้งหายแล้ว อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้ว ได้ปิดบัง
ไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้ว ปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 431
ระลึกได้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้ว ปิดบังใน
ภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้
ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอกระสับกระส่าย
เพราะเวทนา ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้ว ได้ปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึก
ไม่ได้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ไม่ปิดบังในภาย
หลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้ว
ให้มานัต แก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้
ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ระลึกไม่ได้ เธอกระสับกระส่าย
เพราะเวทนา ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึก
ไม่ได้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดบังใน
ภายหลัง พึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 432
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอกระสับกระส่ายเพราะ
เวทนา ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่
สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบัง
ไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาส
ในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอกระสับกระส่ายเพราะ
เวทนา ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่
สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบัง
ไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสใน
กองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอกระสับกระส่ายเพราะ
เวทนา ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่
สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้
เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสใน
กองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 433
ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอกระสับกระส่ายเพราะ
เวทนา ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่
สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้
เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงให้ปริวาสในกอง
อาบัติ ตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น.
มานัตหนึ่งร้อย จบ
สโมธานปริวาส
สึกอุปสมบทใหม่
[๕๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่ได้ปิดบังไว้แล้ว
สึก เธออุปสมบทใหม่ ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงชักภิกษุนั้นเข้าหา
อาบัติเดิม.
[๕๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่ได้ปิดบังไว้แล้ว
สึก เธออุปสมบทใหม่ ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงชักภิกษุนั้นเข้าหา
อาบัติเดิม และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติ
ตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ปิดบังไว้แล้วสึก
เธออุปสมบทใหม่ ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 434
เดิม และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตาม
ที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ปิดบังไว้แล้วสึก
เธออุปสมบทใหม่ ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม
และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบัง
ไว้แก่เธอ.
[๕๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ปิดบังไว้บ้าง ไม่
ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้
เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบัง
ไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงชักภิกษุนั้นเข้าหา
อาบัติเดิม และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติ
ตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ปิดบังไว้บ้าง ไม่
ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้
เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติ
เดิม และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตาม
ที่ปิดบังไว้เเก่เธอ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 435
[๕๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ปิดบังไว้บ้าง ไม่
ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้
เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้
เมื่อก่อน ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติ
เดิม และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตม
ที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ปิดบังไว้บ้าง ไม่
ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดบังไว้
เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดบังไว้
เมื่อก่อน ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติ
เดิม และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตาม
ที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างเธอ
รู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกแล้ว
อุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดรู้แล้ว ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้น
ไม่ปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้
อาบัติเหล่านั้นไม่ปิดบังในภายหลัง พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 436
พึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้
แก่เธอ.
[๕๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างเธอ
รู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกแล้ว
อุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้น
ไม่ปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติ
เหล่านั้นแล้วปิดบังในภายหลัง พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึง
ให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่
เธอ.
[๕๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างเธอ
รู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกแล้ว
อุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้น
แล้วปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติ
เหล่านั้น ไม่ปิดบังในภายหลัง พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้
ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างเธอ
รู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดบังอาบัติที่รู้ ไม่ปิดบังอาบัติที่ไม่รู้ เธอสึกแล้ว.
อุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 437
แล้วปิดบังในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดบังในภายหลัง พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม
และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบัง
ไว้แก่เธอ
[๕๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างเธอ
ระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติ
ที่ระลึกไม่ได้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้
ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วไม่ปิดบังในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้
ไม่ปิดบังในภายหลัง พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้ปริวาส
ประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างเธอ
ระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติ
ที่ระลึกไม่ได้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้
ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ ไม่ปิดบังในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้ว
ปิดบังในภายหลัง พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้ปริวาส
ประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 438
[๕๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างเธอ
ระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติ
ที่ระลึกไม่ได้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้
ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดบังในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาอาบัติเหล่านั้นได้แล้ว
ไม่ปิดบังในภายหลัง พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้ปริวาส
ประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ
[๕๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างเธอ
ระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดบังอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดบังอาบัติ
ที่ระลึกไม่ได้ เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้
ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ แล้วปิดบังในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ปิดบัง
ในภายหลัง พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้ปริวาสประมวล
อาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ
[๕๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่สงสัยในอาบัติ
บ้างอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบัง
อาบัติที่สงสัย เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบัง
ไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 439
สงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง
พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อน
เข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่สงสัยในอาบัติ
บ้างอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบัง
อาบัติที่สงสัย เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบัง
ไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใด
สงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง
พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อน
เข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่สงสัยในอาบัติ
บ้างอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบัง
อาบัติที่สงสัย เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบัง
ไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใด
สงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง
พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อน
เข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
[๕๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่สงสัยในอาบัติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 440
บางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง ปิดบังอาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบัง
อาบัติที่สงสัย เธอสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบัง
ไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใด
สงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง
พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อน
เข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่เธอ.
สึกบวชเป็นสามเณร
[๕๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่างไม่ได้ปิดบังไว้แล้ว
สึกบวชเป็นสามเณร........
เกิดวิกลจริต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่ปริวาส
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่ได้ปิดบังไว้ เกิดวิกลจริต.....
มีจิตฟุ้งซ่าน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่ปริวาส
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่ได้ปิดบังไว้ เป็นผู้มีจิต
ฟุ้งซ่าน.....
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 441
กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลังอยู่ปริวาส
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่ปิดบังไว้ กระสับกระส่าย
เพราะเวทนา....
...อาบัติเธอปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง พึงให้พิสดาร
เหมือนปริวาส
....อาบัติบางอย่างรู้ บางอย่างไม่รู้....
....อาบัติบางอย่างระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้....
....ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง ปิดบัง
อาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดเธอไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัย
ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดเธอสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้
เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง....
....อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบัง
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่
สงสัยไม่ได้ปิดบังอาบัติเหล่านั้น ในภายหลัง....
....อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัย
ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง....
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 442
....อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบัง
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่
สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และ
พึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้
แก่ภิกษุนั้น .
ควรมานัตเป็นต้น
[๕๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควร
มานัต....
[๕๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กำลัง
ประพฤติมานัต ....
[๕๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควร
อัพภานต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก....
ภิกษุผู้ควรมานัต ภิกษุผู้ประพฤติมานัต และภิกษุควรอัพภาน
พึงให้พิสดารเหมือนภิกษุอยู่ปริวาส ฉะนั้น.
ควรอัพภานสึกบวชเป็นสามเณร
[๕๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควร
อัพภาน ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่ปิดบังไว้แล้ว
สึกบวชเป็นสามเณร.....
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 443
ควรอัพภานเกิดวิกลจริต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่ได้ปิดบังไว้ เกิดวิกลจริต....
ควรอัพภานมีจิตฟุ้งซ่าน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่ได้ปิดบังไว้ มีจิตฟุ้งซ่าน.....
ควรอัพภานกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรอัพภาน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่ปิดบังไว้ กระสับกระส่าย
เพราะเวทนา....
....อาบัติของภิกษุนั้นปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง.... อาบัติ
บางอย่างรู้ บางอย่างไม่รู้.... อาบัติบางอย่างระลึกได้ บางอย่างระลึก
ไม่ได้.... ไม่สงสัยในอาบัติบางอย่าง สงสัยในอาบัติบางอย่าง ปิดบัง
อาบัติที่ไม่สงสัย ไม่ปิดบังอาบัติที่สงสัย เธอกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใดเธอไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัย
ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อ
ก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง.... อาบัติเหล่าใดไม่
สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง
อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 444
ในภายหลัง.... อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบัง
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง.... อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้
ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่า
ใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง
พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้า
ด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่ภิกษุนั้น.
[๕๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณ ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก.... ไม่มี
ประมาณ ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก.... อาบัติมีชื่ออย่างเดียวกัน ไม่ได้
ปิดบังไว้แล้วสึก.... อาบัติมีชื่อต่าง ๆ กัน ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก...
อาบัติเป็นสภาคกัน ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก.... อาบัติไม่เป็นสภาคกัน
ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก.... อาบัติกำหนดได้ ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก....
อาบัติเจือกัน ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก....
ให้มานัตแก่ภิกษุ ๒ รูป
[๕๕๕] ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส พวกเธอมีความเห็น
ว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส รูปหนึ่งปิดบังไว้ รูปหนึ่งไม่ปิดบังไว้ รูปใด
ปิดบังไว้ พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ เเละให้ปริวาสในกองอาบัติ
ตามที่ปิดบังไว้แก่รูปที่ปิดบังนั้น แล้วให้มานัตแก่ภิกษุทั้งสองรูป.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 445
[๕๕๖] ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส พวกเธอสงสัยใน
อาบัติสังฆาทิเสส รูปหนึ่งปิดบังไว้ รูปหนึ่งไม่ได้ปิดบังไว้ รูปใดปิด
บังไว้ พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ และพึงให้ปริวาสในกองอาบัติ
ตามที่ปิดบังไว้แก่รูปที่ปิดบังนั้น แล้วให้มานัตแก่ภิกษุทั้งสองรูป.
[๕๕๗] ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส พวกเธอมีความ
เห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติเจือกัน รูปหนึ่งปิดบังไว้ รูปหนึ่ง
ไม่ได้ปิดบังไว้ รูปใดปิดบังไว้ พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ และพึง
ให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้แก่รูปที่ปิดบังนั้น แล้วให้มานัต
แก่ภิกษุทั้งสองรูป.
[๕๕๘] ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติเจือกัน พวกเธอมีความเห็น
ในอาบัติเจือกันว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส รูปหนึ่งปิดบังไว้ รูปหนึ่งไม่
ได้ปิดบังไว้ รูปใดปิดบังไว้ พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ และพึง
ให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้แก่รูปที่ปิดบังนั้น แล้วให้มานัตแก่
ภิกษุทั้งสองรูป.
[๕๕๙] ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติเจือกัน พวกเธอมีความเห็น
ในอาบัติเจือกันว่า เป็นอาบัติเจือกัน รูปหนึ่งปิดบังไว้ รูปหนึ่งไม่ได้
ปิดบังไว้ รูปใดปิดบังไว้ พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ และพึงให้
ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้แก่รูปที่ปิดบังนั้น แล้วให้มานัตแก่
ภิกษุทั้งสองรูป.
[๕๖๐] ภิกษุ ๒ รูป ต้องลหุกาบัติล้วน พวกเธอมีความเห็น
ในลหุกาบัติล้วนว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส รูปหนึ่งปิดบังไว้ รูปหนึ่ง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 446
ไม่ได้ปิดบังไว้ รูปใดปิดบังไว้ พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ พึง
ปรับทั้งสองรูปตามธรรม.
[๕๖๑] ภิกษุ ๒ รูป ต้องลหุกาบัติล้วน พวกเธอมีความเห็น
ในลหุกาบติดล้วนว่า เป็นลหุกาบัติล้วน รูปหนึ่งปิดบังไว้ รูปหนึ่งไม่
ได้ปิดบังไว้ รูปใดปิดบังไว้ พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ พึงปรับ
ทั้งสองรูปตามธรรม.
[๕๖๒] ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส พวกเธอมีความเห็น
ในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส รูปหนึ่งคิดว่า จักบอก
รูปหนึ่งคิดว่า จักไม่บอก เธอปิดบังไว้ถึงยามหนึ่งบ้าง ปิดบังไว้ถึง
สองยามบ้าง ปิดบังไว้ถึงสามยามบ้าง เมื่ออรุณขึ้นแล้วเป็นอันปิดบัง
อาบัติ รูปใดปิดบังไว้ พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ และให้ปริวาส
ในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้แก่รูปที่ปิดบังนั้น แล้วให้มานัตแก่ภิกษุ
ทั้งสองรูป.
[๕๖๓] ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส พวกเธอมีความเห็น
ในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส จึงไปด้วยคิดว่าจักบอก
รูปหนึ่งเกิดความลบหลู่ขึ้นในระหว่างทางว่า จักไม่บอก เธอปิดบังไว้
ถึงยามหนึ่งบ้าง ปิดบังไว้ถึงสองยามบ้าง ปิดบังไว้ถึงสามยามบ้าง เมื่อ
อรุณขึ้นแล้ว เป็นอันปิดบังอาบัติ รูปใดปิดบังไว้ พึงให้รูปนั้นแสดง
อาบัติทุกกฏ และให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้แก่รูปที่ปิดบัง
นั้น แล้วให้มานัตแก่ภิกษุทั้งสองรูป.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 447
[๕๖๔] ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส พวกเธอมีความเห็น
ในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส แล้วเกิดวิกลจริต ภายหลัง
หายวิกลจริตแล้ว รูปหนึ่งปิดบังไว้ รูปหนึ่งไม่ได้ปิดบังไว้ รูปใดปิด
บังไว้ พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ และพึงให้ปริวาสในกองอาบัติ
ตามที่ปิดบังไว้แก่รูปที่ปิดบังนั้น แล้วให้มานัตแก่ภิกษุทั้งสองรูป.
[๕๖๕] ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส พวกเธอเมื่อปาติ-
โมกข์กำลังแสดงอยู่ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกข้าพเจ้าทราบเดี๋ยวนี้เองแลว่า
ได้ยินว่า ธรรมแม้นี้มาในสูตร นับเนื่องในสูตร มาสู่อุเทสทุกกึ่งเดือน
พวกเธอมีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส รูปหนึ่ง
ปิดบังไว้ รูปหนึ่งไม่ได้ปิดบังไว้ รูปใดปิดบังไว้ พึงให้รูปนั้นแสดง
อาบัติทุกกฏ และพึงให้ปริวาสในกองอาบัติ ตามที่ปิดบังไว้แก่รูปที่ปิด
บังนั้น แล้วให้มานัตแก่ภิกษุทั้งสองรูป.
ภิกษุไม่หมดจดจากอาบัติเดิม ๙ หมวด
หมวดที่ ๑
[๕๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่างเดียว
กันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลังอยู่
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 448
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ไม่ได้ปิด
บังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์
สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม ให้มานัตโดย
ไม่เป็นธรรม อัพภานโดยไม่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น
ยังไม่หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น
หมวดที่ ๒
[๕๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่าง
เดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลัง
อยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบังไว้
จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอ
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่
กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม ให้มานัตโดยไม่
เป็นธรรม อัพภานโดยไม่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยัง
ไม่หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น.
หมวดที่ ๓
[๕๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่าง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 449
เดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลัง
อยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบัง
ไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาส
โดยธรรม ให้มานัตโดยไม่เป็นธรรม อัพภานโดยไม่เป็นธรรม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น.
หมวดที่ ๔
[๕๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่าง
เดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลัง
อยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ไม่ได้
ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์
สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันเป็น
ธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม ให้
มานัตโดยไม่เป็นธรรม อัพภานโดยไม่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นยังไม่หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 450
หมวดที่ ๕
[๕๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่าง
เดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลัง
อยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ปิดบัง
ไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์
ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสในธรรม ให้มานัตโดยไม่
เป็นธรรม อัพภานโดยไม่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยัง
ไม่หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น.
หมวดที่ ๖
[๕๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่าง
เดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลัง
อยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายด้วยในระหว่าง ไม่มีประมาณ
ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติใน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 451
ระหว่าง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธาน
ปริวาสโดยธรรม ให้มานัตโดยไม่เป็นธรรม อัพภานโดยไม่เป็นธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น.
หมวดที่ ๗
[๕๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่าง
เดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลัง
อยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มี
ประมาณบ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาส
โดยธรรม ให้มานัตโดยไม่เป็นธรรม อัพภานโดยไม่เป็นธรรม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น.
หมวดที่ ๘
[๕๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่าง
เดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลัง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 452
อยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายด้วยในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่
มีประมาณบ้าง ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติใน
ระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วย
กรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดย
ธรรม ให้มานัตโดยไม่เป็นธรรม อัพภานโดยไม่เป็นธรรม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น.
หมวดที่ ๙
[๕๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่าง
เดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลัง
อยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่
มีประมาณบ้าง ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ
ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม ให้มานัตโดยไม่เป็นธรรม อัพภานโดยไม่
เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น.
ภิกษุไม่หมดจดจากอาบัติเดิม ๙ หมวด จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 453
ภิกษุหมดจดจากอาบัติเดิม ๙ หมวด
หมวดที่ ๑
[๕๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่างเดียว
กันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ไม่ได้
ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ในระหว่างกะสงฆ์
สงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม ให้มานัตโดย
ธรรม อัพภานโดยธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้ว
จากอาบัติเหล่านั้น.
หมวดที่ ๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่างเดียว
กัน มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนด
ได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์
สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลังอยู่ปริวาส
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบังไว้ จึงขอ
การชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหา
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 454
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม ให้มานัตโดยธรรม อัพภาน
โดยธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น
หมวดที่ ๓
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่างเดียว
กันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบัง
ไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาส
โดยธรรม ให้มานัตโดยธรรม อัพภานโดยธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น.
หมวดที่ ๔
[๕๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่อ
อย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาค
กันบ้าง กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติ
เหล่านั้นกะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 455
เธอกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มี
ประมาณ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาส
โดยธรรม ให้มานัตโดยธรรม อัพภานโดยธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น.
หมวดที่ ๕
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่างเดียว
กันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ปิดบัง
ไว้ เธอขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์
ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม ให้มานัตโดย
ธรรม อัพภานโดยธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้ว
จากอาบัติเหล่านั้น.
หมวดที่ ๖
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่างเดียว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 456
กันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลังอยู่
ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ปิดบัง
ไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะให้สโมธานปริวาสโดย
ธรรม ให้มานัตโดยธรรม อัพภานโดยธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น .
หมวดที่ ๗
[๕๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่อ
อย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างก้นบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาค
กันบ้าง กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่อ
อาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ
เธอกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ในระหว่าง มี
ประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ
ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม ให้มานัตโดยธรรม อัพภานโดยธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 457
หมวดที่ ๘
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่างเดียว
กันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่
มีประมาณบ้าง ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติใน
ระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วย
กรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดย
ธรรม ให้มานัตโดยธรรม อัพภานโดยธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น.
หมวดที่ ๙
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่างเดียว
กันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่
มีประมาณบ้าง ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 458
เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ
ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม ให้มานัตโดยธรรม อัพภานโดยธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น
ภิกษุหมดจดจากอาบัติเดิม ๙ หมวด จบ
ภิกษุหมดจดจากอาบัติ
[๕๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่างเดียว
กันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ไม่ได้
ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์
สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันไม่เป็น
ธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยไม่เป็นธรรม
เธอสำคัญว่าเรากำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง
มีประมาณ ไม่ปิดบังไว้ เธอตั้งอยู่ในภูมินั้น ระลึกอาบัติในระหว่าง
บรรดาอาบัติตัวก่อนได้ ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลังได้
เธอคิดอย่างนี้ว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง
ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาค
กันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เรานั้นขอ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 459
สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เรานั้น เรานั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเรานั้นเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ
ได้ให้สโมธานปริวาสโดยไม่เป็นธรรม เรานั้นสำคัญว่า เราอยู่ปริวาส
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ไม่ได้ปิดบังไว้
เรานั้นตั้งอยู่ในภูนินั้น ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อนได้
ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลังได้ ไฉนหนอ เราพึงขอการ
ชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อน และเพื่อ
อาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติด้วยหลัง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ พึงขอปริวาสโดยธรรม พึงขอมานัตโดยธรรม พึงขอ
อัพภานโดยธรรมกะสงฆ์ ดังนี้ เธอจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดา
อาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ขอ
สโมธานปริวาสโดยธรรม ขอมานัตโดยธรรม ขออัพภานโดยธรรม
กะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติ
ตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมอัน
เป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม ให้
มานัตโดยธรรม อัพภานโดยธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น
หมดจดแล้วจากอาบัติ เหล่านั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 460
[๕๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่าง
เดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบัง
ไว้...... มีประมาณ ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอขอการชัก
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติ
เดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่
ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยไม่เป็นธรรม เธอสำคัญว่า เรา
กำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ
ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอตั้งอยู่ในภูมินั้น ระลึกอาบัติใน
ระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อนได้ ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัว
หลัง เธอคิดอย่างนี้ว่า เราแล ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มี
ประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกัน
บ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง เจือกัน
บ้าง เรานั้นได้ขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เรานั้น เรานั้นกำลังอยู่ปริวาส
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ในระหว่าง มีประมาณ ปิดบังไว้บ้าง
ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
กะสงฆ์ สงฆ์ชักเรานั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 461
กรรมอันไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ได้ให้สโมธานปริวาส
โดยไม่เป็นธรรม เรานั้นสำคัญว่าเรากำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง
เรานั้นตั้งอยู่ในภูมินั้น ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อนได้
ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลังได้ ไฉนหนอ เราพึงขอการ
ชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อน และเพื่อ
อาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ พึงขอสโมธานปริวาสโดยธรรม พึงขอมานัตโดยธรรม
พึงขออัพภานโดยธรรมกะสงฆ์ ดังนี้ เธอขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดา
อาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ขอ
สโมธานปริวาสโดยธรรม ขอมานัตโดยธรรม ขออัพภานโดยธรรม
กะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติ
ตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมอัน
เป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม
ให้มานัตโดยธรรม อัพภานโดยธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น
หมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น.
[๕๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่าง
เดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง
กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 462
กะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอกำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่มีประมาณ ไม่ได้
ปิดบังไว้.... ไม่มีประมาณ ปิดบังไว้...... ไม่มีประมาณ ปิดบังไว้บ้าง
ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
กะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรม
อันไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยไม่
เป็นธรรม เธอสำคัญว่าเรากำลังอยู่ปริวาส.... ให้สโมธานปริวาสโดย
ธรรม ให้มานัตโดยธรรม อัพภานโดยธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น .
[๕๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่อ
อย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาค
กันบ้าง กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่อ
อาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ
เธอกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ
บ้าง ไม่มีประมาณบ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติใน
ระหว่าง ด้วยกรรมอันไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ให้
สโมธานปริวาสโดยไม่เป็นธรรม เธอสำคัญว่า เรากำลังอยู่ปริวาส....
ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม ให้มานัตโดยธรรม อัพภานโดยธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 463
[๕๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่อ
อย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาค
กันบ้าง กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ
เหล่านั้นกะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ เธอ
กำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง
ไม่มีประมาณบ้าง ปิดบังไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
ด้วยกรรมอันไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาส
โดยไม่เป็นธรรม เธอสำคัญว่า เรากำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง ปิดบังไว้
เธอตั้งอยู่ในภูมินั้น ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อนได้ ระลึก
อาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลังได้ เธอคิดอย่างนี้ว่า เราแลต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่อ
อย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาค
กันบ้าง กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เรานั้นได้ขอสโมธานปริวาส
เพื่อ อาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น
แก่เรานั้น เรานั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวใน
ระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง ปิดบังไว้ จึงขอการชัก
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักเรานั้นเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันไม่เป็นธรรม กำเริบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 464
ไม่ควรแก่ฐานะ ได้ให้สโมธานปริวาสโดยไม่เป็นธรรม เรานั้นสำคัญว่า
เรากำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ
บ้าง ไม่มีประมาณบ้าง ปิดบังไว้ เรานั้นตั้งอยู่ในภูมินั้น ระลึกอาบัติ
ในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อนได้ ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัว
หลังได้ ไฉนหนอ เราพึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติใน
ระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อน และเพื่ออาบัติ ในระหว่างบรรดาอาบัติตัว
หลัง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ พึงขอสโมธาน
ปริวาสโดยธรรม พึงขอมานัตโดยธรรม พึงขออัพภานโดยธรรมกะสงฆ์
ดังนี้ เธอจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดา
อาบัติตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรม
อันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ขอสโมธานปริวาสโดยธรรม
ขอมานัตโดยธรรม ขออัพภานโดยธรรมกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติ
เดิม เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่าง
บรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ
ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม ให้มานัตโดยธรรม อัพภานโดยธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น .
[๕๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่อ
อย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาค
กันบ้าง กำหนดได้บ้าง เจือกันบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส เพื่อ
อาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เธอ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 465
เธอกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณ
บ้าง ไม่มีประมาณบ้าง ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง จึงขอการ
ชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันไม่เป็นธรรม กำเริบ
ไม่ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยไม่เป็นธรรม เธอสำคัญว่าเรา
กำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง
ไม่มีประมาณบ้าง ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เธอตั้งอยู่ในภูมินั้น
ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อนได้ ระลึกอาบัติในระหว่าง
บรรดาอาบัติตัวหลังได้ เธอคิดอย่างนี้ว่า เราแลต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัว มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณบ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อ
ต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง เจือ
กันบ้าง เรานั้นได้ขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เรานั้น เรานั้นกำลังอยู่ปริวาส
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณ
บ้าง ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติในระหว่างกะสงฆ์ สงฆ์ได้ชักเรานั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติในระหว่างด้วยกรรมอันไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ได้
ให้สโมธานปริวาสโดยไม่เป็นธรรม เรานั้นสำคัญว่า เรากำลังอยู่ปริวาส
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีประมาณบ้าง ไม่มีประมาณ
บ้าง ปิดบังไว้บ้าง ไม่ได้ปิดบังไว้บ้าง เรานั้นตั้งอยู่ในภูมินั้น ระลึก
อาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อนได้ ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดา
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 466
อาบัติตัวหลังได้ ไฉนหนอ เราพึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติ
ตัวหลัง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ พึงขอ
สโมธานปริวาสโดยธรรม พึงขอมานัตโดยธรรม พึงขออัพภานโดย
ธรรมกะสงฆ์ ดังนี้ เธอจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติใน
ระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัว
หลัง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ขอสโมธาน
ปริวาสโดยธรรม ขอมานัตโดยธรรม ขออัพภานโดยธรรมกะสงฆ์
สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อน
และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติด้วยหลัง ด้วยกรรมอันเป็นธรรม
ไม่กำเริบควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยธรรม ให้มานัตโดยธรรม
อัพภานโดยธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติ
เหล่านั้น.
สมุจจยขันธกะ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 467
หัวข้อประจำขันธกะ
[๕๘๔] อาบัติไม่ได้ปิดบังไว้ ปิดบังไว้วันหนึ่ง ปิดบังไว้ ๒ วัน
๓ วัน ๔ วัน ๕ วัน ปักษ์หนึ่ง สิบวันเป็นต้น หลายเดือน มหา-
สุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติทั้งหลาย ภิกษุสึก อาบัติมีประมาณ ภิกษุ
๒ รูป มีความสำคัญในอาบัตินั้น ๒ รูป มีความสงสัย มีความเห็น
ว่าเจือกัน มีความเห็นว่าเจือและไม่เจือกัน มีความเห็นในกองอาบัติไม่
ล้วนเทียว และมีความเห็นว่าล้วนเช่นนั้นเหมือนกัน รูปหนึ่งปิดบัง
รูปหนึ่งไม่ปิดบัง หลีกไป วิกลจริต กำลังแสดงปาติโมกข์ ความ
หมดจด และไม่หมดจด ในการชักเข้าหาอาบัติเดิม ๑๘ อย่าง นี้เป็น
นิพนธ์ของพวกอาจารย์ผู้อยู่ในมหาวิหาร ผู้จำแนกบทผู้ยังชาวเกาะ
ตามพปัณณิให้เลื่อมใสแต่งไว้ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 468
สมุจจยักขันธก วรรณนา
มานัต ๔ อย่าง
วินิจฉัยในสมุจจยักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
คำว่า ฉารตฺต มานตฺต นี้ มีวินิจฉัยว่า มานัต ๔ อย่าง
คือ อัปปฏิจฉันนมานัต ๑ ปฏิจฉันนมานัต ๑ ปักขมานัต ๑
สโมธานมานัต ๑.
ในมานัต ๔ อย่างนั้น ที่ชื่ออัปปฏิจฉันนมานัต ได้แก่ มานัต
ที่สงฆ์ให้ภิกษุผู้ควรแก่มานัต โดยความเป็นผู้ต้องอาบัติล้วนเท่านั้นไม่ต้อง
ให้ปริวาส เพื่ออาบัติที่ไม่ได้ปิด.
ที่ชื่อปฏิจฉันนมานัต ได้แก่ มานัตที่สงฆ์ให้แก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส
เสร็จแล้ว เพื่ออาบัติที่ปิดไว้.
ที่ชื่อปักขมานัต ได้แก่ มานัตกึ่งเดือนที่สงฆ์ให้แก่นางภิกษุณี
เพื่ออาบัติที่ปิดไว้หรือมิได้ปิด.
ที่ชื่อสโมธานมานัต ได้แก่ มานัตที่สงฆ์รวม คือ ประสบกัน
ให้.
อัปปฏิจฉันนมานัต
บรรดามานัต ๔ อย่างนั้น สโมธานมานัตนี้ พึงทราบว่าเป็น
อัปปฏิจฉันนมานัต ตามพระบาลีว่า มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติที่
ไม่ปิดไว้. เมื่อจะให้สโมธานมานัตนั้น ถ้าภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติตัวเดียว
พึงให้ตามนัยที่กล่าวแล้วในอัปปฏิจฉันนมานัตนี้แล.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 469
ถ้าต้องอาบัติ ๒ ตัว หรือ ๓ ตัว หรือยิ่งกว่านั้น คำว่า เอก
อาปตฺตึ อันท่านกล่าวแล้วฉันใดเล่า. คำว่า เทฺว อาปตฺติโย,
ติสฺโส อาปตฺติโย ก็พึงกล่าวฉันนั้น. แต่ที่ยิ่งกว่านั้น ถ้าแม้เป็น
จำนวนร้อย หรือจำนวนพัน, พึงกล่าวว่า สมฺพหุลา.
วิธีให้สำหรับอาบัติเหล่านั้น ที่สงฆ์จะพึงรวมอาบัติแม้มีวัตถุต่าง ๆ
กันให้ ข้าพเจ้าจักกล่าวในการให้ปริวาส.
เมื่อมานัต อันสงฆ์ทำกรรมวาจาด้วยอำนาจแห่งอาบัติให้แล้วอย่าง
นั้น มานัตตจาริกภิกษุพึงสมาทานวัตร ตามนัยที่กล่าวแล้วว่า มานตฺต
สมาทิยามิ, วตฺต สมาทิยามิ, ดังนี้ นั่นแล ที่สีมาแห่งโรง
ทีเดียว ในที่สุดแห่งกรรมวาจาว่า เอวเมต ธารยามิ.
ครั้นสมาทานแล้ว พึงบอกแก่สงฆ์ในสีมาแห่งโรงนั้นทีเดียวและ
เมื่อจะบอก พึงบอกอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้, ข้าพเจ้านั้นขอมานัต ๖ ราตรี
ต่อสงฆ์ เพื่ออาบัติตัวเดียว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ อันไม่ปิดไว้ ;
สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวเดียว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
อันไม่ได้ปิดไว้แก่ข้าพเจ้านั้น; ข้าพเจ้านั้นพระพฤติมานัตอยู่, ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้าบอกให้รู้ ขอสงฆ์จงทรงข้าพเจ้าไว้ว่า บอกให้รู้ เทอญ. ก็แล
จะถือเอาใจความนี้ บอกด้วยวาจาอย่างใดอย่างหนึ่ง สมควรเหมือน
กัน. ครั้นบอกแล้ว ถ้ามีประสงค์จะเก็บ พึงเก็บในท่ามกลางสงฆ์
ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. เมื่อภิกษุทั้งหลายออกจากสีมาแห่งโรงไปเสีย
จะเก็บในสำนักภิกษุรูปเดียว ก็ควร. ภิกษุผู้ออกจากสีมาแห่งโรงไปแล้ว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 470
จึงกลับได้สติ พึงเก็บในสำนักภิกษุผู้ไปด้วยกัน. ถ้าภิกษุแม้นั้น ก็หลีก
ไปเสีย ยังไม่ได้บอกแก่ภิกษุอื่น รูปใด ที่ในโรง, พึงบอกแก่ภิกษุ
นั้นให้รู้แล้วเก็บเถิด และเมื่อบอก พึงกล่าวว่า เวทิยาตีติ ม อายสฺมา
ธาเรตุ, ขอผู้มีอายุจงทรงข้าพเจ้าไว้ว่า บอกให้รู้ เทอญ ดังนี้ ใน
อวสาน.
เมื่อจะบอกแก่ภิกษุ ๒ รูป พึงกล่าวว่า อายสฺมนฺตา ธาเรนฺตุ.
เมื่อจะบอกแก่ภิกษุ ๓ รูป พึงกล่าวว่า อายสฺมนฺโต ธาเรนฺตุ.
จำเดิมแต่เวลาที่เก็บแล้วไป คงตั้งอยู่ในฐานผู้ปกตัตต์.
ถ้าวัดมีภิกษุน้อย, ภิกษุผู้เป็นสภาคกันอยู่; ไม่ต้องเก็บวัตรนับ
ราตรี ณ ภายในวัดนั่นแล. ถ้าไม่อาจให้หมดจด. พึงเก็บวัตรตามนัยที่
กล่าวแล้วนั่นแล พร้อมด้วยภิกษุ ๔ รูปหรือ ๕ รูป แวะออกจากทาง
ใหญ่นั่งในที่กำบัง ด้วยพุ่มไม้หรือด้วยรั้ว ให้เลย ๒ เลฑฑุบาตจาก
เครื่องล้อมแห่งวัดที่ล้อม จากที่ควรแก่เครื่องล้อมแห่งวัดที่ไม่ได้ล้อม
ในเวลาใกล้รุ่งทีเดียว. พึงสมาทานวัตรแล้วบอกตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
เฉพาะในภายในอรุณ.
ถ้าภิกษุอื่นบางรูปมาที่นั้น ด้วยกิจจำเป็นเฉพาะบางอย่าง ; ถ้า
มานัตตจาริกภิกษุนั่น เห็นภิกษุนั้น หรือได้ยินเสียงของเธอ. ควรบอก
เมื่อไม่บอก เป็นรัตติเฉท ทั้งเป็นวัตตเภท.
ถ้าภิกษุนั้นล้ำอุปจารเข้าไป ๓๒ ศอกแล้วไปเสียแต่เมื่อมานัตตจาริก-
ภิกษุยังไม่ทันรู้, มีแต่รัตติเฉทเท่านั้น ส่วนวัตตเภทไม่มี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 471
ก็แล จำเดิมแต่กาลที่ได้บอกแล้วไป มีภิกษุทั้งหลายเว้นภิกษุ
ไว้รูปหนึ่ง ที่เหลือจะไปเสียในเมื่อมีกิจจำเป็นก็ควร ครั้นอรุณขึ้นแล้ว
พึงเก็บวัตรในสำนักภิกษุนั้น. ถ้าภิกษุแม้นั้นไปเสียก่อนอรุณด้วยกรรม
บางอย่าง มานัตตจาริกภิกษุเห็นภิกษุใดก่อน จะเป็นภิกษุอื่นซึ่งออกจาก
วัดไปก็ตาม เป็นอาคันตุกะก็ตาม พึงบอกแล้วเก็บวัตรในสำนักภิกษุนั้น.
ก็มานัตจาริกภิกษุนี้ บอกแก่คณะและคอยกำหนดความที่มีภิกษุ
หลายรูปอยู่ ด้วยเหตุนั้น โทษเพราะประพฤติในคณะพร่องหรือโทษ
เพราะอยู่ปราศ จึงไม่มีแก่เธอ.
พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า ถ้าไม่เห็นใคร ๆ, พึงไปวัดแล้วเก็บ
ในสำนักภิกษุรูปหนึ่ง ในบรรดาภิกษุที่ไปกับตน.
ส่วนพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า เห็นภิกษุใดก่อน, พึงบอกแล้ว
เก็บในสำนักภิกษุนั้น. นี้เป็นบริหารของภิกษุผู้เก็บวัตรแล้ว .
ภิกษุนั้นครั้นประพฤติมานัต ๖ ราตรีไม่ขาดอย่างนั้นแล้ว พึงขอ
อัพภานในที่ซึ่งมีภิกษุสงฆ์เป็นคณะ ๒๐ รูป. และภิกษุทั้งหลายผู้จะ
อัพภาน พึงทำเธอให้เป็นผู้ควรแก่อัพภานก่อน.
จริงอยู่ ภิกษุนี้ชื่อว่าตั้งอยู่ในฐานผู้ปกตัตต์ เพราะเธอเก็บวัตร
เสียแล้ว. และจะทำอัพภานแก่ปกตัตต์ ย่อมไม่ควร. เพราะฉะนั้น
พึงให้เธอสมาทานวัตร. เธอย่อมเป็นผู้ควรแก่อัพภาน ในเมื่อสมาทาน
วัตรแล้ว. แม้เธอพึงสมาทานวัตรแล้วบอก แล้วขออัพภาน. กิจที่จะ
ต้องสมาทานวัตรอีก ย่อมไม่มีแก่ผู้มีได้เก็บวัตร.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 472
จริงอยู่ ภิกษุผู้มีได้เก็บวัตรนั้น เป็นผู้ควรแก่อัพภาน โดยล่วง
๖ ราตรีเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น เธออันสงฆ์พึงอัพภาน
อัพภานวิธีในอัปปฏิจฉันนาบัตินั้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
พระบาลีว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว อพฺเภตพฺโพ ดังนี้ นั่นแล
แต่อัพภานวิธีนี้ พระองค์ตรัสด้วยอำนาจอาบัติตัวเดียว. ก็ถ้าเป็นอาบัติ
๒-๓ ตัว หรือมากมาย มีวัตถุเดียวหรือมีวัตถุต่าง ๆ กัน . พึงทำ
กรรมวาจาด้วยอำนาจอาบัติเหล่านั้น อัปปฏิจฉันนมานัต สงฆ์พึงให้
ด้วยประการอย่างนี้.
ปริวาส
ก็ปฏิจฉันนมานัต เป็นของที่สงฆ์ควรให้แก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสเพื่อ
อาบัติที่ปกปิดไว้เสร็จแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวปริวาสกถา
ก่อน แล้วจึงจักกล่าวปฏิจฉันนมานัต นั้น
ปริวาสและมานัต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยอาการเป็นอเนกใน
พระบาลีโดยนัยเป็นต้นว่า ถ้ากระนั้น สงฆ์จงให้ปริวาสวันหนึ่งเพื่อ
อาบัติ ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิอันปิดไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายีเถิด
วินิจฉัยที่ท่านได้กล่าวไว้ในอาคตสถานของปริวาสและมานัตนั้นๆ
ถึงความพิสดารเกินไปเหมือนในบาลี ทั้งเป็นวินิจฉัยที่ใคร ๆ ไม่อาจ
กำหนดได้โดยง่าย. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจักประมวลปริวาสและมานัต
นั้นแสดงในอธิการนี้ทีเดียว.
ก็แล ขึ้นชื่อว่าปริวาสนี้ ที่ประสงค์ในพระบาลีนี้ มี ๓ อย่าง
คือ ปฏิจฉันนปริวาส ๑ สุทธันตปริวาส ๑ สโมธานปริวาส ๑ .
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 473
ใน ๓ อย่างนั้น ปฏิจฉันนปริวาส ควรให้เพื่ออาบัติตามที่ปิดไว้
ก่อน.
จริงอยู่ อาบัติของภิกษุบางรูปปิดไว้วันเดียว เหมือนอาบัตินี้ของ
พระอุทายีเถระ, ของบางรูปปิด ๒ วันเป็นต้น เหมือนอาบัติของพระ-
ยุทายีเถระนั่นเอง ซึ่งมาแล้วข้างหน้า, ของบางรูปมีตัวเดียวเหมือน
อาบัตินี้, ของบางรูปมี ๒-๓ ตัวหรือยิ่งกว่านั้น เหมือนที่มาแล้วข้าง
หน้า. เพราะเหตุนั้น เมื่อสงฆ์จะให้ปฏิจฉันนปริวาส ควรทราบความ
ที่อาบัติเป็นอันปิดเป็นทีแรกก่อน.
อาการปิดอาบัติ
ก็แล ขึ้นชื่อว่าอาบัตินี้ ย่อมเป็นอันปิดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง.
หัวข้อในการปิดอาบัตินั้นดังนี้:-
เป็นอาบัติ และรู้ว่าเป็นอาบัติ, เป็นผู้ปกตัตต์ และรู้ว่าเป็นผู้
ปกตัตต์, เป็นผู้ไม่มีอันตราย และรู้ว่าเป็นผู้ไม่มีอันตราย เป็นผู้อาจอยู่
และรู้ว่าเป็นผู้อาจอยู่, เป็นผู้ใคร่จะปิด เเละปิดไว้.
ในหัวข้อเหล่านี้ ๒ ข้อว่า เป็นอาบัติและรู้ว่าเป็นอาบัติ มีอธิบาย
ว่า ภิกษุต้องอาบัติใด จัดว่าเป็นอาบัตินั้นแท้. และแม้เธอก็มีความ
สำคัญในอาบัตินั้นว่า เป็นอาบัติเหมือนกัน. เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้และ
ปิดไว้ เป็นอันปิด. แต่ถ้าภิกษุนี้ มีความสำคัญในอาบัตินั้นว่า เป็น
อนาบัติ ไม่เป็นอันปิด.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 474
ส่วนอนาบัติ ซึ่งภิกษุปิดอยู่ด้วยความสำคัญว่า เป็นอาบัติก็ดี ด้วย
ความสำคัญว่า เป็นอนาบัติก็ดี ไม่เป็นอันปิดเลย.
ภิกษุปิดลหุกาบัติ ด้วยสำคัญว่า เป็นครุกาบัติ ก็ดี ปิดครุ-
กาบัติ ด้วยสำคัญว่า เป็นลหุกาบัติ ก็ดี; อนึ่ง เธออยู่ในพวกอลัชชี
อาบัติไม่เป็นอันปิด.
ภิกษุสำคัญครุกาบัติว่า เป็นลหุกาบัติ และแสดง, อาบัตินั้น
ไม่เป็นอันแสดง ไม่เป็นอันปิด.
รู้จักครุกาบัติว่า เป็นครุกาบัติ แล้วปิดไว้ เป็นอันปิด. ไม่รู้จัก
ว่าเป็นอาบัติหนักอาบัติเบา คิดว่า เราปิดอาบัติ แล้วปิดไว้ เป็นอัน
ปิดแท้.
ภิกษุไม่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ๓ อย่าง ชื่อว่าผู้ปกตัตต์.
ถ้าเธอเป็นผู้มีความสำคัญว่า ตนเป็นผู้ปกตัตตะ ปิดไว้ เป็นอัน
ปิดไว้แท้ ถ้าเธอเป็นผู้มีความสำคัญตนว่า ไม่ใช่ผู้ปกตัตต์ ด้วยเข้าใจ
ว่า สงฆ์ทำกรรมแก่เรา และปิดไว้ ไม่เป็นอันปิดก่อน.
อาบัติแม้ที่ภิกษุมิใช่ผู้ปกตัตต์ ซึ่งมีความสำคัญตนว่าเป็นผู้ปกตัตต์
หรือสำคัญตนว่า มิใช่ผู้ปกตัตต์ ปิดแล้ว ไม่เป็นอันปิดแท้.
จริงอยู่ คำนี้แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ (ในคัมภีร์บริวาร)
ดังนี้ว่า :-
บุคคลต้องครุกาบัติมีส่วนเหลือ. อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อปิดไว้,
บุคคลนั้นไม่ใช่ภิกษุณี แต่ไม่พึงต้องโทษ; ปัญหานี้ ท่านผู้ฉลาดทั้ง
หลายติดกันแล้ว, จริงอยู่ ปัญหานี้ ท่านกล่าวด้วยภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 475
ข้อว่า อนนฺตรายิโก มีความว่า ในอันตราย ๑๐ อย่าง
อันตรายแม้อย่างหนึ่ง ไม่มีแก่ภิกษุใด, ถ้าภิกษุนั้น เป็นผู้มีความ
สำคัญว่าไม่มีอันตราย แล้วปิดไว้. อาบัตินั้นเป็นอันปิดแท้.
ถ้าแม้เธอผู้มีความสำคัญว่า มีอันตรายเพราะอมนุษย์และสัตว์ร้ายใน
เวลากลางคืน เพราะเป็นผู้มีชาติแห่งคนขลาด จึงปิดไว้ อาบัตินั้นไม่
เป็นอันปิดก่อน.
ก็เมื่อภิกษุใดอยู่ในวิหารใกล้ภูเขา ครุกาบัติเป็นของภิกษุนั้นจะต้อง
ข้ามซอกเขาหรือคงหรือแม่น้ำไปบอก. ภัยมีสัตว์ดุร้ายและอมนุษย์เป็นต้น
มีในระหว่างทาง, งูทั้งหลายย่อมนอนในทาง แม่น้ำเต็ม, และเมื่อ
อันตรายนั้นมีอยู่จริง ๆ เธอมีความสำคัญว่ามีอันตราย จึงปิดไว้, อาบัติ
นั้นไม่เป็นอันปิดก่อน.
อนึ่งเมื่อภิกษุผู้มีอันตราย ปิดไว้ด้วยสำคัญว่าไม่มีอันตราย อาบัติ
นั้นไม่เป็นอันปิดเหมือนกัน.
ข้อว่า ปหุ มีความว่า ภิกษุใดอาจเพื่อจะไปสู่สำนักภิกษุ และ
เพื่อจะบอกได้. ถ้าเธอเป็นผู้มีความสำคัญว่าคนอาจ แล้วปิดไว้, อาบัติ
นั้นเป็นอันปิดเทียว. ถ้าที่ปากของเธอเป็นฝีเล็กน้อย. หรือลมเสียดคาง,
หรือฟันปวด, หรือได้ภิกษาน้อย; ก็แลด้วยเหตุเพียงเท่านั้น จะจัดว่า
ไม่อาจบอก ไม่อาจไป หาได้ไม่. ก็แต่ว่าเธอเป็นผู้มีความสำคัญว่า
เราไม่อาจ ภิกษุนี้ เป็นผู้อาจ แต่ชื่อว่าผู้มีความสำคัญ ว่า ตนไม่อาจ.
อาบัติแม้ที่ภิกษุนี้ปิดไว้ จัดว่าไม่เป็นอันปิด.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 476
อนึ่ง อาบัติที่ภิกษุผู้ไม่อาจ คือ ไม่สามารถจะบอกหรือจะไป
จะมีความสำคัญว่า ตนอาจก็ตาม มีความสำคัญว่า ตนไม่อาจก็ตาม
ปิดไว้ ไม่เป็นอันปิดแท้.
ข้อว่า เป็นผู้ใคร่จะปิด และปิดไว้ นี้ ตื้นทั้งนั้น.
แต่ถ้าภิกษุทอดธุระว่า เราจักปิด ครั้นในปุเรภัต หรือปัจฉาภัต
หรือในยามทั้งหลาย มีปฐมยามเป็นต้น หยั่งลงสู่ลัชชีธรรม บอกเสีย
ภายในอรุณนั่นเอง; ภิกษุนี้ ชื่อว่าผู้ใคร่จะปิดแต่ไม่ปิด.
แต่เมื่อภิกษุใด อยู่ในสถานไม่มีภิกษุ ต้องอาบัติแล้วคอยความ
มาแห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกัน หรือไปสู่สำนักของภิกษุผู้เป็นสภาคกันอยู่ล่วง
ไปกึ่งเดือนก็ดี เดือนหนึ่งก็ดี; ภิกษุนี้ ชื่อว่าปิดไว้ ทั้งที่ไม่ประสงค์
จะปิด, แม้อาบัตินี้ก็ไม่เป็นอันปิด.
ฝ่ายภิกษุผู้ใดพอต้องเข้าแล้ว รีบหลีกไปสู่สำนักภิกษุผู้เป็นสภาค
กัน กระทำให้แจ้งเสีย เหมือนบุรุษเหยียบไฟฉะนั้น; ภิกษุนี้ชื่อว่า
ผู้ไม่ประสงค์จะปิด ทั้งไม่ปิด.
แต่ถ้าแม้เห็นภิกษุผู้เป็นสภาคกันแล้วแต่ไม่บอก เพราะกระดากว่า
ผู้นี้เป็นอุปัชฌาย์ของเรา หรือว่า ภิกษุนี้เป็นอาจารย์ของเรา. อาบัติ
เป็นอันปิดแท้.
จริงอยู่ ความเป็นอุปัชฌาย์เป็นต้น ไม่เป็นประมาณในการบอก
อาบัตินี้, ข้อที่ภิกษุไม่ใช่ผู้มีเวรและเป็นสภาคกันเท่านั้น เป็นประมาณ
เพราะเหตุนั้น ควรบอกในสำนักภิกษุซึ่งไม่ใช่ผู้มีเวรและเป็นสภาคกัน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 477
ฝ่ายภิกษุใดเป็นวิสภาคกัน เป็นผู้มุ่งจะฟังแล้วประจาน, ไม่ควร
บอกในสำนักภิกษุเห็นปานนั้น แม้เป็นอุปัชฌาย์.
บรรดากาลเหล่านั้น ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติในปุเรภัตก็ตาม ปัจฉา-
ภัตก็ตาม กลางวันก็ตาม กลางคืนก็ตาม, ควรบอกเสียตั้งแต่อรุณยัง
ไม่ขึ้น. เมื่ออรุณขึ้นแล้วอาบัตินั้นเป็นอันปิดด้วย. ทั้งต้องทุกกฏเพราะ
ความปิดเป็นปัจจัย. จะทำให้แจ้งในสำนักภิกษุผู้ต้องสังฆาทิเสสชนิดเดียว
กัน ไม่ควร.
ถ้าจะทำให้แจ้ง อาบัติเป็นอันเปิดเผย, แต่ภิกษุไม่พ้นอาบัติทุกกฏ;
เพราะเหตุนั้น ควรเปิดเผยในสำนักภิกษุผู้บริสุทธิ์
ในกุรุนทีแก้ว่า และเมื่อจะเปิดเผย จงกล่าวว่า ข้าพเจ้าแจ้ง
อาบัติตัวหนึ่งในสำนักของท่าน, หรือว่า ข้าพเจ้าบอกอาบัติตัวหนึ่งใน
สำนักของท่าน, หรือว่า ข้าพเจ้ากล่าวอาบัติตัวหนึ่งในสำนักของท่าน,
หรือว่า ท่านจงทราบความที่ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง, ก็ได้, จงบอก
โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าแจ้งครุกาบัติตัวหนึ่ง ดังนี้ก็ได้, อาบัติไม่
เป็นอันปิด ด้วยอาการแม้ทั้งปวง. แต่ถ้าภิกษุกล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า
ข้าพเจ้าแจ้งลหุกาบัติ ดังนี้ อาบัตินั้นอันปิดไว้แท้.
อาบัติเป็นอันบอกด้วยอาการทั้ง ๓ อย่าง คือ บอกเฉพาะวัตถุ,
บอกเฉพาะอาบัติ, บอกทั้ง ๒. อันสงฆ์จะให้ปฏิฉันนปริวาส พึงกำหนด
เหตุ ๑๐ เหล่านี้ ทราบความที่อาบัติเป็นอันปิดเสียก่อน ด้วยประการ
ฉะนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 478
วิธีให้ปริวาส
ลำดับนั้น พึงกำหนดวันที่ปิดและอาบัติ, ถ้าปิดไว้วันเดียวเท่านั้น;
พึงให้ขออย่างนี้ว่า:-
อห ภนฺเต เอก อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิก
สุกฺกวิสฏฺึ เอกาหปฏิจฉนฺน.
แล้วพึงสวดกรรมวาจาให้ปริวาส ตามนัยที่กล่าวแล้วในบาลีนี้
นั่นแล.
ถ้าปิดได้ ๒ วัน ๓ วันเป็นต้น พึงให้ขออย่างนี้ว่า :-
ทฺวีหปฏิจฺฉนฺน, ตีหปฏิจฺฉนฺน, จตูหปฏิจฺฉนฺน, ปญฺจาห-
ปฏิจฺฉนฺน, ฉาหปฏิจฺฉนฺน, สตฺตาหปฏิจฺฉนฺน, อฏฺาหปฏิจฺฉนฺน,
นวาหปฏิจฺฉนฺน, ทสาหปฏิจฺฉนฺน, เอกาทสาหปฏิจฺฉนฺน,
ทฺวาทสาหปฏิจฺฉนฺน, เตรสาหปฏิจฺฉนฺน, จุทฺทสาหปฏิจฺฉนฺน.
พึงแต่งคำประกอบตามจำนวนวัน เพียง ๑ วัน ด้วยประการ
ฉะนี้.
สำหรับอาบัติที่ปิดไว้ ๑๕ วัน พึงแต่งคำสวดประกอบว่า ปกฺข-
ปฏิจฺฉนฺน. ตั้งแต่ ๑๕ วันไปจนถึงวันที่ ๒๙ พึงแต่งคำสวดประกอบว่า
อติเรกปกฺขปฏิจฺฉนฺน ตั้งแต่ ๒๙ วันขึ้นไป พึงแต่งคำสวดประกอบ
ว่า มาสปฏิจฺฉนฺน, อติเรกมาสปฏิจฺฉนฺน, ทฺวิมาสปฏิจฺฉนฺน,
อติเรกทฺวิมาสปฏิจฺฉนฺน, เตมาสปฏิจฺฉนฺน, อติเรกเตมาส
ปฏิจฺฉนฺน, จตุมาสปฏิจฺฉนฺน, อติเรกจตุมาสปฏิจฺฉนฺน,
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 479
ปญฺจมาสปฏิจฺฉนฺน, อติเรกปญฺจมาสปฏิจฺฉนฺน ฉมาส, อติเรก-
ฉมาส, สตฺตมาส, อติเรกนวมาส, ทสมาส, อฏิมาส, อติเรก-
อฏฺมาส. นวมาส, อติเรกนวมาส, ทามาส, อติเรกทสมาส,
เอกาทสมาส, อติเรกเอกาทสมาสปฏิจฺฉนฺน.
เมื่อเต็มปี พึงแต่งคำสวดประกอบว่า เอกสวจฺฉรปฏิจฺฉนฺน.
เบื้องหน้าแต่นั้น พึงแต่งคำสำหรับสวดประกอบอย่างนี้ว่า อติ-
เรกเอกสวจฺฉร, ทฺวิสวจฺฉร, อติเรกทฺวิสวจฺฉร, ติสวจฺฉร,
อติเรกติสวจฺฉร, จตุสวจฺฉร, อติเรกจตุสวจฺฉร, ปญฺจสวจฺฉร,
อติเรกปญฺจสวจฺฉรปฏิจฺฉนฺน, ดังนี้ จนถึงว่า สฏฺิสวจฺฉร,
อติเรกสฏฺิสวจฺฉรปฏิจฺฉนฺน หรือแม้ยิ่งกว่านั้น.
และถ้าเป็นอาบัติ ๒ ตัว หรือยิ่งกว่านั้น พึงกล่าวว่า เทฺว
อาปตฺติโย, ติสฺโส อาปตฺติโย, เหมือนที่ได้กล่าวไว้ในที่นี้ว่า เอก
อาปตฺตึ ฉะนั้น. แต่ที่เกินกว่านั้น จะเป็นร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งก็ตาม
สมควรกล่าวว่า สมฺพหุลา.
แม้ในอาบัติที่มีวัตถุต่าง ๆ กัน พึงแต่งคำสวดประกอบด้วยอำนาจ
แห่งจำนวนอย่างนี้ว่า:-
อห ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ
เอก สุกฺกวิสฏฺิ เอก กายสสคฺค เอก ทุฏฺฐุลฺล วาจ เอก
อตฺตกามปาริจริย เอก สญฺจริต เอกาหปฏิจฺฉนฺนาโย หรือด้วย
อำนาจแห่งการระบุวัตถุอย่างนี้ว่า :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 480
อห ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ
นานาวตถุกาโย เอกาหปฏิจฺฉนฺนาโย หรือด้วยอำนาจแห่งการระบุ
ชื่ออย่างนี้ว่า :-
อห ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ
เอกาหปฏิจฉนฺนาโย.
ในวัตถุและชื่อนั้น ชื่อมี ๒ อย่าง คือชื่อที่ทั่วไปของอาบัติที่มีชาติ
เสมอกัน ๑ ชื่อที่ทั่วไปของอาบัติทั้งปวง ๑.
ในชื่อทั้ง ๒ อย่างนั้น คำว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นชื่อที่ทั่วไปของ
อาบัติที่มีชาติเสมอกัน.
คำว่า อาปตฺติ เป็นชื่อที่ทั่วไปของอาบัติทั้งปวง.
เพราะฉะนั้น ควรอยู่ที่จะแต่งคำสวดประกอบ แม้ด้วยอำนาจแห่ง
ชื่อที่ทั่วไปของอาบัติทั้งปวง อย่างนี้ สมฺพหุลา อาปตฺติโย อาปชฺชึ
เอกาหปฏิจฺฉนฺนาโย.
จริงอยู่ วินัยกรรมมีปริวาสเป็นต้นแม้ทั้งปวงนี้ สมควรแท้ที่จะ
แต่งคำสวดประกอบด้วยอำนาจแห่งวัตถุ ด้วยอำนาจแห่งโคตรด้วยอำนาจ
แห่งชื่อ และด้วยอำนาจแห่งอาบัติ.
ในวัตถุและโคตรเป็นต้นนั้น คำว่า สุกฺกวิสฏฺิ เป็นวัตถุด้วย
เป็นโคตรด้วย.
คำว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นชื่อด้วย เป็นอาบัติด้วย
คำว่า กายสสคฺโค เป็นวัตถุด้วย เป็นโคตรด้วย
คำว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นชื่อด้วย เป็นอาบัติด้วย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 481
ในวัตถุเป็นต้นนั้น วัตถุและโคตร เป็นอันถือเอาแล้วด้วยคำว่า
สุกฺกวิสฏฺิ และ กายสสคฺโค เป็นอาทิบ้าง ด้วยคำว่า นานา-
วัตฺถุกาโย บ้าง
ชื่อและอาบัติเป็นอันถือเอาแล้ว ด้วยคำว่า สงฺฆาทิเสโส บ้าง
ด้วยคำว่า อาปตฺติโย บ้าง.
และในบาลีนี้ ทั้งชื่อ ทั้งวัตถุและโคตร เป็นอันถือเอาแล้วแท้
ด้วยคำว่า เอก อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิก สุกฺกวิสฏฺึ.
เหมือนอย่างว่า ในบาลีนี้ ท่านกล่าวว่า อย อุทายิ ภิกฺขุ
ฉันใด, ภิกษุใด ๆ เป็นผู้ต้อง. พึงถือเอาชื่อของภิกษุนั้น ๆ ทำกรรม-
วาจาว่า อย อิตฺถนฺนาโม ภิกฺขุ ฉันนั้น .
ในเวลาจบกรรมวาจา ภิกษุนั้นพึงสมาทานวัตรในสีนาแห่งโรง
ทีเดียว ตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแลว่า ปริวาส สมาทิยามิ วตฺต
สมาทิยามิ ครั้นมาทานแล้ว พึงบอกในท่ามกลางสงฆ์ ในสีมาแห่ง
โรงนั้นแล ก็แล เมื่อจะบอก พึงบอกอย่างนี้ว่า :-
อห ภนฺเต เอก อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิก สุกฺก-
วิสฏฺิ เอกาหปฏิจฺฉนฺน, โสห สงฺฆ์ เอกิสฺสา อาปตฺติยา
สญฺเจตนิกา สุกฺกวิสฏิยา เอกาหปฏิจฺฉนฺนาย เอกาหปริวาส
ยาจึ, ตสฺส เม สงฺโฆ เอกิสฺสา อาปตฺติยา สญฺเจตนิกาย
สกฺกวิสฏิยา เอกาหปฏิจฺฉนฺนาย เอกาหปริวาส อทาสิ. โสห
ปริวสามิ, เวทิยามห ภนฺเต, เวทิยตีติ ม สงฺโฆ ธาเรตุ. ก็แล
สมควรแท้ที่จะถือเอาใจความนี้ บอกด้วยภาษาอย่างใดอย่างหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 482
ครั้นบอกแล้ว ถ้าประสงค์จะเก็บ พึงเก็บในท่ามกลางสงฆ์ ตาม
นัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. เมื่อภิกษุทั้งหลายออกจากโรงไปเสียแล้ว จะเก็บ
ในสำนักภิกษุแม้รูปเดียวก็ควร.
เธอออกจากโรงไปแล้ว จึงกลับได้สติ พึงเก็บในสำนักภิกษุผู้ไป
ด้วยกัน ถ้าภิกษุแม้นั้น ก็หลีกไปเสีย ตนยังไม่ได้บอกวัตรแก่ภิกษุอื่นใด
ที่ในโรง, พึงบอกแก่รูปนั้นแล้วเก็บวัตร และเมื่อบอก พึงกล่าวในที่สุด
ว่า เวทิยตีติ ม อายสฺมา ธาเรตุ เมื่อบอกแก่ภิกษุ ๒ รูป พึง
กล่าวว่า อายสฺมนฺตา ธาเรนฺตุ เมื่อบอกแก่ภิกษุ ๓ รูปหรือเกินกว่า
พึงกล่าวว่า อายสฺมนฺโต ธาเรนฺตุ หรือว่า สงฺโฆ ธาเรตุ จำเดิม
แต่เวลาที่เก็บแล้วไป เธอย่อมตั้งอยู่ในฐานะแห่งปกตัตตะ.
ถ้าวัดมีภิกษุน้อย; ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสภาคกันอยู่ ไม่ต้องเก็บวัตร
พึงทำความกำหนดราตรี ในวัดนั่นแล.
ถ้าไม่อาจให้บริสุทธิ์ได้. พึงเก็บวัตรตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ใน
เวลาใกล้รุ่ง พร้อมด้วยภิกษุรูปหนึ่ง ล่วงอุปจารสีมาออกไป แวะออก
จากทางใหญ่ นั่งในที่กำบัง ตามนัยที่กล่าวแล้วในวรรณนาแห่งมานัตนั่น
แล สมาทานวัตร ตามนัยที่กล่าวแล้ว บอกปริวาสแก่ภิกษุนั้น ในภาย
ในอรุณทีเดียว เมื่อบอก ถ้าภิกษุนั้นเป็นผู้อ่อนกว่า พึงกล่าวว่า อาวุโส
ถ้าเป็นผู้แก่กว่า พึงกล่าวว่า ภนฺเต.
ถ้าภิกษุอื่นบางรูปมายังที่นั้น ด้วยกิจจำเป็นเฉพาะบางอย่าง ถ้า
ปาริวาสิกภิกษุนี้ เห็นเธอ หรือได้ยินเสียงของเธอ ควรบอก เมื่อไม่
บอก เป็นรัตติเฉทและเป็นวัตตเภท ถ้าเธอล้ำอุปจารสีมาเข้าไป ๒ ศอก
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 483
แล้วไปเสีย แต่เมื่อปาริวาสิกภิกษุยังมิทันรู้ มีแต่รัตติเฉท ส่วนวัตตเภท
ไม่มี ครั้นอรุณขึ้นแล้วพึงเก็บวัตร.
พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า หากว่าภิกษุที่ไปด้วยกันนั้น หลีกไป
เสียด้วยกิจจำเป็นเฉพาะบางอย่าง, คนพบภิกษุอื่นรูปใดก่อนภิกษุทั้งหมด
พึงบอกแก่รูปนั้นแลแล้วเก็บ, ถ้าไม่พบใครเลย พึงไปยังวัดแล้วเก็บใน
สำนักภิกษุผู้ไปกับคน.
ฝ่ายพระมหาปทุมัตเถระกล่าวว่า พบภิกษุใดก่อน, พึงบอกแก่
ภิกษุนั้นแล้วเก็บ นี้เป็นบริหารสำหรับภิกษุผู้เก็บวัตรแล้ว .
อาบัติที่ได้ปิดไว้ สิ้นวันเท่าใด เพื่อต้องการจะบรรเทาความ
รังเกียจ พึงอยู่ปริวาสสิ้นวันเท่านั้น หรือเกินกว่านั้นแล้ว เข้าไปหาสงฆ์
สมาทานวัตรแล้ว พึงขอมานัต ด้วยประการฉะนี้.
จริงอยู่ ภิกษุนี้จัดเป็นผู้ควรแก่มานัต ต่อเมื่อเธอสมาทานวัตร
แล้วเท่านั้น เพราะเธอเป็นผู้เก็บวัตร อยู่ปริวาส. แต่กิจที่จะต้องสมาทาน-
วัตรอีก ย่อมไม่มีเเก่ภิกษุผู้มิได้เก็บวัตร, จริงอยู่ เธอเป็นผู้ควรแก่มานัต
ด้วยล่วงวันที่ปิดไว้แท้ เพราะเหตุนั้น สงฆ์ควรให้มานัตแก่เธอทีเดียว.
วิธีให้มานัต
นี้ชื่อว่าปฏิจฉันนมานัต. เมื่อจะให้ปฏิจฉันนมาบัดนั้น ถ้ามีอาบัติ
ตัวเดียว, พึงให้ตามนัยที่กล่าวไว้ในบาลีนั้นแล ถ้ามี ๒ หรือ ๓ ตัว พึง
กำหนดอาบัติและวันแล้วแต่งคำสวดประกอบตามนัยที่กล่าวไว้ในปริวาส
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 484
นั่นแลว่า โสห ปริวุตฺถปริวาโส สงฺฆ ทฺวินฺน๑ ติสฺสนฺน๒
อาปตฺตีน เอกาหปฏิจฺฉนฺน ฉารตฺต มานตฺต ยาจามิ แม้จะ
ประมวลอาบัติที่ไม่ปิด กับอาบัติที่ปิดไว้ให้ก็ควร.
อย่างไร? ภิกษุอยู่ปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดเสร็จแล้ว พึงขอมานัต
เพื่ออาบัติที่ปิดกับอาบัติที่มิได้ปิด รวมกันว่า อห ภนฺเต เอก
อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิก สุกฺกวิสฏฺึ เอกาหปฏิจฺฉนฺน
โสห สงฺฆฺ เอกิสฺสา อาปตฺติยา สญฺเจตนิกาย สุกฺกวิสฏฺิยา
เอกาหปฏิจฺฉนฺนาย เอกาหปริวาส ยาจึ; ตสฺส เม สงฺโฆ
เอกิสสา อาปตฺติยา สญฺเจตนิกาย สุกฺกวิสฏฺิยา เอกาหปฏิจฺ-
ฉนฺนาย เอกาหปริวาส อทาสิ, โสห ปริวุตฺถปริวาโส; อห
ภนฺเต เอก อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิกา สุกฺกวิสฏึ อปฺปฏิจฺ
สุกฺกวิสฏฺิน ปฏิจฺฉนฺนาย จ อปฺปฏิจฺฉนฺนาย จ ฉารตฺต
มานตฺต ยาจามิ
ลำดับนั้น สงฆ์พึงแต่งกรรมวาจาให้เหมาะแก่คำขอนั้น ให้มานัต
แก่มานัตตารหภิกษุนั้น.
ถ้าอาบัติที่ปิดไว้ ๒ ตัว ที่มิได้ปิดตัวเดียว; พึงกล่าวว่า ปฏิจฺ-
ฉฉนฺนานญฺจ อปฺปฏิจฺฉนฺนาย จ.
ถ้าอาบัติที่ปิดไว้ตัวเดียว ที่มิได้ปิด ๒ ตัว พึงกล่าวว่า ปฏิจฺ-
ฉนฺนาย จ อปฺปฏิจฺฉนฺนานญฺจ.
๑. สำหรับอาบัติ ๒ ตัว. ๒. สำหรับอาบัติ ๓ ตัว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 485
ถ้าแม้อาบัติที่ปิดไว้ก็ ๒ ตัว แม้ที่มิได้ปิดก็ ๒ ตัว พึงกล่าวว่า
ปฏิจฺฉนฺนานญฺจ อปฺปฏิฉนฺนานญฺจ.
สงฆ์พึงแต่งกรรมวาจาให้เหมาะ ให้มานัตในอาบัติที่ปิดและมิได้ปิด
ทั้งปวง. และพึงแต่งกรรมวาจาให้เหมาะแก่มานัตนั้น และกระทำอัพภาน
แก่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตแล้ว.
แต่อัพภานในบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งอาบัติ
ตัวเดียว.
มานัตใด อันสงฆ์ย่อมให้ในที่สุดแห่งปริวาส เพื่ออาบัติที่ปิดไว้
ด้วยประการอย่างนี้, มานัตนี้ ชื่อว่า ปฏิจฉันนมานัต .
ตามนัยที่กล่าวแล้วอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิจฉันนปริวาส
และปฏิจฉันนมานัต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในบาลีนี้ ด้วยกรรมวาจา
สำหรับประกอบเป็นตัวอย่างอันเดียวเท่านั้น คือ ด้วยอำนาจแห่งอาบัติ
ตัวเดียว.
ข้าพเจ้าจักกล่าวปักขมานัตและสโมธานมานัต ในที่สุดแห่งปริวาส.
กถาที่เหลือ.
สุทธันตปริวาส
ปริวาสที่เหลือ ๒ อย่าง คือ สุทธันตปริวาส ๑ สโมธาน-
ปริวาส ๑.
ในปริวาส ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อสุทธันทปริวาส ได้แก่ ปริวาสที่ทรง
อนุญาตในเรื่องนี้ว่า เตน โข ปน สมเยน อญฺตโร ภิกฺขุ
สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปนฺโน โหติ, อาปตฺติ-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 486
ปริยนฺต น ชานาติ รตฺติปริยนฺต น ชานาติ. ดังนี้ ในที่สุด
แห่งการประพฤติมานัตที่ไม่เป็นธรรมข้างหน้า.
สุทธันตปริวาสันั้น มี ๒ อย่าง คือ จูฬสุทธันตะ ๑ มหา-
สุทธันตะ ๑ ก็สุทธันตปริวาสนี้ทั้ง ๒ อย่าง สงฆ์พึงให้แก่ภิกษุผู้ไม่รู้
และระลึกไม่ได้ ซึ่งกำหนดราตรีทั้งสิ้นหรือบางราตรี และผู้มีความสงสัย
ในกำหนดราตรีนั้น. แต่ภิกษุจะรู้จำนวนที่สุดแห่งอาบัติว่า เราต้องอาบัติ
เท่านี้ หรือจะไม่รู้ก็ตาม นั่นไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นประมาณ.
จูฬสุทธันตะ ในสุทธันตปริวาส ๒ อย่างนั้น ภิกษุใดแม้อัน
พระวินัยธรถามอยู่ว่า ท่านรู้สึกว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ ตลอดวันหรือปักษ์
หรือเดือน หรือปี โน้นและโน้นหรือ ดังนี้ ตามลำดับตั้งแต่อุปสมบท
มา หรือทวนลำดับตั้งแต่วันที่บอกไปก็ดี จึงตอบว่า ทราบอยู่ ท่านผู้-
เจริญ ข้าพเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์ตลอดกาลเพียงเท่านี้.
สุทธันตปริวาสที่สงฆ์ให้แก่ภิกษุนั้น เรียกว่า จูฬสุทธันตะ ภิกษุ
ผู้รับจูฬสุทธันตปริวาสนั้นอยู่ปริวาส พึงแบ่งกาลเท่าที่ตนรู้สึกว่า ตนเป็น
ผู้บริสุทธิ์ออกเสีย พึงอยู่ปริวาสตลอดเดือน หรือ ๒ เดือนที่เหลือ.
ถ้ากำหนดได้ว่า เราเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์เพียงเดือนเดียว ได้รับปริวาส
แล้ว, กำลังอยู่ปริวาสระลึกเดือนอื่นได้อีก พึงอยู่ปริวาสตลอดเดือนนั้น
ด้วย แท้, ไม่มีกิจที่จะต้องให้ปริวาสอีก.
ถ้ากำหนดได้ว่า เราเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ๒ เดือน ได้รับปริวาสแล้ว,
แต่กำลังอยู่ปริวาส ทำความตกลงใจว่า เราเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์เพียงเดือน
เดียวเท่านั้น พึงอยู่ปริวาสเพียงเดือนเดียวเท่านั้น. ไม่มีกิจที่จะต้องให้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 487
ปริวาสอีก. จริงอยู่ ธรรมดาสุทธันตปริวาสนี้ เขยิบสูงขึ้นก็ได้ ลดต่ำ
ลงก็ได้. นี้เป็นลักษณะของสุทธันตปริวาสนั้น.
ส่วนในการออกอาบัติอื่น มีลักษณะดังนี้ :-
ภิกษุใดทำวินัยกรรมว่า ปิดไว้ สำหรับอาบัติที่มิได้ปิด, อาบัติ
ของภิกษุนั้น ย่อมออก. ส่วนภิกษุใดทำวินัยกรรมว่า ไม่ได้ปิด สำหรับ
อาบัติที่ปิด อาบัติของภิกษุนั้น ไม่ออก. ภิกษุใดทำวินัยกรรมว่า ปิด
ไว้นาน สำหรับอาบัติที่ปิดไว้ไม่นาน, อาบัติของภิกษุ แม้นั้น ย่อม
ออก. ภิกษุใดทำวินัยกรรมว่า ปิดไว้ไม่นาน สำหรับอาบัติปิดไว้นาน.
อาบัติของภิกษุแม้นั้น ไม่ออก. ภิกษุใดต้องอาบัติตัวเดียวทำวินัยกรรม
ว่า หลายตัว อาบัติของภิกษุแม้นั้น ย่อมออก เพราะเว้นอาบัติตัวเดียว
เสียแล้ว หลายตัวก็มีไม่ได้. ฝ่ายภิกษุใดต้องอาบัติหลายตัว แต่ทำวินัย-
กรรมว่า เราต้องอาบัติตัวเดียว, อาบัติของภิกษุแม้นั้น ไม่ออก.
มหาสุทธันตะ ฝ่ายภิกษุใด แม้พระวินัยธรถามอยู่โดยนัยอนุโลม
และปฏิโลมตามที่กล่าวแล้ว ไม่รู้ ระลึกไม่ได้ ซึ่งที่สุดแห่งราตรี หรือ
เป็นผู้มีความสงสัย สุทธันตปริวาสที่สงฆ์ให้แก่ภิกษุนั้น เรียกว่า มหา-
สุทธันตะ. ภิกษุรับปริวาสนั้นแล้ว. พึงอยู่ปริวาสนับราตรีตั้งแต่วันที่รับ
จนถึงวันอุปสมบท.
มหาสุทธันตะนี้ เขยิบสูงขึ้นไม่ได้ แต่ต่ำลงได้ เพราะฉะนั้นถ้า
กำลังอยู่ปริวาส ทำความตกลงใจในกำหนดราตรีไว้ว่า เมื่อเราต้อง
อาบัติ เป็นเวลาเดือน ๑ หรือปี ๑; พึงอยู่ปริวาสเดือน ๑ หรือปี ๑,
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 488
ส่วนลักษณะการขอและการให้ปริวาสในมหาสุทธันตปริวาสนี้ พึงทราบ
ตามนัยที่มาในบาลีข้างหน้านั่นแล.
การสมาทานวัตร ในที่สุดแห่งกรรมวาจา มานัตและอัพภานมีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นเอง. นี้ชื่อว่าสุทธันตปริวาส
สโมธานปริวาส
ที่ชื่อสโมธานปริวาส มี ๓ อย่าง คือ โอธานสโมธาน ๑ อัคฆ-
สโมธาน ๑ มิสสกสโมธาน ๑.
โอธานสโมธาน บรรดาสโมธานปริวาส ๓ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า
โอธานสโมธาน ท่านเรียกปริวาสที่สงฆ์พึงเลิก คือ ล้มวันที่ได้อยู่ปริวาส
แล้วเสีย ประมวลอาบัติที่ต้องภายหลังลงในกำหนดวันเดิม แห่งอาบัติ
เดิมให้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติในระหว่างแล้วปิดไว้
โอธานสโมธานปริวาสนั้น มาแล้วข้างหน้าในพระบาลีนั่นแล โดย
พิสดาร ตั้งต้นแต่คำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้นสงฆ์จงชักอุทายีภิกษุ
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อว่าสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
อันปิดไว้ ๕ วัน แล้วให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเดิม.
ก็วินิจฉัยในโอธานสโมธานนี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุใดรับปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดแล้ว กำลังอยู่ปริวาส หรือเป็น
มานัตตารหะ หรือกำลังประพฤติมานัต หรือเป็นอัพภานารหะ ต้อง
อาบัติอื่นแล้วปิดไว้ เท่าราตรีของอาบัติเดิมหรือหย่อนกว่าก็ดี สงฆ์พึง
เลิกวันที่อยู่ปริวาสแล้ว และวันที่ประพฤติมานัตแล้วเหล่านั้นทั้งหมด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 489
คือทำให้เป็นวันที่ใช้ไม่ได้ ประมวลอาบัติที่ต้องภายหลังลงในอาบัติเดิม
ให้ปริวาสแก่ภิกษุนั้นด้วยมูลายปฏิกัสสนะ.
ภิกษุนั้น พึงอยู่ปริวาสอีก ๑ ปักษ์ทีเดียว. ถ้าอาบัติเดิมปิดไว้ ๑
ปักษ์ อันตราบัติปิดไว้หย่อนปักษ์. แม้ถ้าอันตราบัติปิดไว้ ๑ ปักษ์
พึงอยู่ปริวาส ๑ ปักษ์เหมือนกัน โดยอุบายนี้ พึงทราบวินิจฉัยจนถึง
อาบัติเดิมที่ปิดไว้ ๖๐ ปี. จริงอยู่ ภิกษุผู้อยู่ปริวาสครบ ๖๐ ปี แม้
เป็นมานัตตารหะแล้วปิดอันตราบัติไว้วันหนึ่ง ย่อมเป็นผู้ควรอยู่ปริวาส
๖๐ ปีอีก. เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ก็ถ้าว่าอันตราบัติปิดไว้เกินกว่า
อาบัติเดิมเล่า จะพึงทำอย่างไรในอาบัตินั้น?
พระมหาสุมัตเถระแก้ว่า บุคคลนี้เป็นอเตกิจฉะ, ธรรมดาบุคคล
ที่เป็นอเตกิจฉะ ก็ควรให้ทำให้แจ้งแล้วปล่อยเสีย.
ฝ่ายพระมหาปทุมัตเถระแก้ว่า เพราะเหตุไร บุคคลนี้จึงจะชื่อว่า
เป็นอเตกิจฉะ? ธรรมดาว่า สมุจจยักขันธกะนี้ ย่อมเป็นเหมือนกาล
ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังทรงตั้งอยู่.
ขึ้นชื่อว่าอาบัติ จะปิดไว้ก็ตาม มิได้ปิดไว้ก็ตาม ปิดไว้เท่ากัน
ก็ตาม หย่อนกว่าก็ตาม แม้ปิดไว้เกินก็ตามที; ข้อที่พระวินัยธรเป็น
ผู้สามารถประกอบกรรมวาจานั่นแล เป็นประมาณ ในการเยียวยาอาบัติ
นี้ เพราะเหตุนั้น อันตราบัติใดปิดไว้เกินกว่า, พึงทำอันตราบัตินั้น
ให้เป็นอาบัติเดิม ประมวลอาบัตินอกนี้ลงในอาบัติเดิมนั้นให้ปริวาส.
นี้ชื่อโอธานสโมธาน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 490
อัคฆสโมธาน ที่ชื่ออัคฆสโมธาน คือ บรรดาอาบัติมากหลาย
อาบัติเหล่าใด จะเป็น ๑ ตัวก็ดี ๒ ตัวก็ดี ๓ ตัวก็ดี มากมายก็ดี ที่
ปิดไว้นานกว่าอาบัติทุก ๆตัว , สงฆ์ประมวลด้วยค่าแห่งอาบัติเหล่านั้น
ให้ปริวาสเพื่ออาบัติที่เหลือ ซึ่งปิดไว้หย่อนกว่า ด้วยอำนาจกำหนด
ราตรีแห่งอาบัติเหล่านั้น นี้เรียกว่า อัคฆสโมธาน.
อัคฆสโมธานนั้น ได้มาข้างหน้าแล้วในบาลี โดยนัยเป็นต้นว่า
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสมากหลาย.
อาบัติตัวหนึ่งปิดไว้ ๑ วัน อาบัติตัวหนึ่งปิดไว้ ๒ วัน .
ถามว่า ก็อาบัติของภิกษุใดร้อยตัวปิดไว้ ๑๐ วัน แม้อีกร้อยตัว
ก็ปิดไว้ ๑๐ วัน นับอย่างนี้รวม ๑๐ ครั้ง จึงเป็นอาบัติหนึ่งพัน ปิดไว้
๑๐๐ วัน. ภิกษุนั้น จะพึงทำอย่างไร?
พึงประมวลอาบัติทั้งหมดอยู่ปริวาส ๑๐ วัน. แม้วันตั้งร้อยย่อมเป็น
วันซึ่งภิกษุต้องอยู่ปริวาสจริง ๆ ด้วย ๑๐ วัน หนเดียวเท่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้.
จริงอยู่ แม้คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้แล้วว่า ปาริวาสิก
ภิกษุปิดอาบัติพันตัวไว้ ๑๐๐ ราตรี อยู่ปริวาส ๑๐ ราตรี พึงพ้นได้
ปัญหานี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายติดกันแล้ว. นี้ชื่ออัคฆสโมธาน.
มิสสกสโมธาน ที่มีชื่อมิสสกสโมธาน ได้แก่ ปริวาสที่สงฆ์
รวมอาบัติต่าง ๆ วัตถุเข้าด้วยกันให้.
ในมิสสกสโมธานนั้น มีนัยดังนี้:-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 491
พึงให้ภิกษุนั้นขอ ๓ ครั้งว่า อห ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆา-
ทิเสสา อาปตฺนิโย อาปชฺชึ เอก สุกฺกวิสฏฺิ เอก กายสสคฺค
เอก ทุฏฺฐุลฺลวาจ เอก อตฺตกาม เอก สญฺจริต เอก กุฏิการ
เอก วิหารการ เอก ทุฏฺโทส เอก อญฺภาคิย เอก สงฺฆ-
เภทก เอก เภทานุวตฺตก เอก ทุพฺพจ เอก กุลทูก, โสห
ภนฺเต สงฺฆ ตาส อาปตฺตีน สโนธานปริวาส ยาจามิ. ดังนี้
แล้วพึงให้ปริวาสด้วยกรรมวาจาสมควรแก่คำขอนั้น.
ก็ในมิสสกสโมธานนี้ สมควรแท้ที่จะแต่งกรรมวาจาประกอบด้วย
อำนาจวัตถุบ้าง ด้วยอำนาจโคตรบ้าง ด้วยอำนาจชื่อบ้าง ด้วยอำนาจ
อาบัติบ้าง ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล อย่างนี้ว่า สงฺฆา-
ทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ นานาวตฺถุกาโย ดังนี้ก็ได้ ว่า
สงฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ ดังนี้ก็ได้. นี้ชื่อว่า มิสสก-
สโมธาน.
ส่วนกถาแสดงเรื่องมีอาทิ คือ วัตรที่เก็บและมิได้เก็บในที่สุดแห่ง
กรรมวาจาให้ปริวาสทั้งปวง พึงทราบตามนัยก่อนนั่นแล.
ปริวาสกถา จบ.
ปักขมานัต
บัดนี้ถึงโอกาสแห่งคำที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ข้าพเจ้าจักกล่าว
ปักขมานัต และสโมธานมานัต ในที่สุดแห่งปริวาสกถาที่เหลือ เพราะ
ฉะนั้น มานัต ๒ อย่างนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวมานัตที่สงฆ์พึงให้แก่นาง
ภิกษุณี ชื่อปักขมานัต .
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 492
ก็ปักขมานัต สงฆ์พึงให้กึ่งเดือนเท่านั้น ทั้งอาบัติที่ปิด ทั้งอาบัติ
ที่มิได้ปิด. จริงอยู่ คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุณีผู้ล่วง
ครุกรรม พึงพระพฤติปักขมานัตในอุภโตสงฆ์.
ก็ปักขมานัตนั้น อันนางภิกษุณีทั้งหลาย พึงชำระสีมาของตนให้
หมดจดแล้วให้ในวิหารสีมา หรือเมื่อไม่อาจชำระวิหารสีมาให้หมดจด
พึงให้ประชุมคณะจตุวรรค โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดแล้วให้ในขัณฑสีมา
ก็ได้.
ถ้ามีอาบัติตัวเดียว. พึงแต่งกรรมวาจาประกอบด้วยอำนาจอาบัติ
ตัวเดียว. ถ้ามีอาบัติ ๒ ตัว หรือ ๓ ตัว หรือมากมาย มีวัตถุเดียว
หรือต่าง ๆ วัตถุกัน, พึงถือเอาวัตถุ โคตร นาม และอาบัติที่คน
ปรารถนา แต่งกรรมวาจาประกอบด้วยอำนาจแห่งอาบัติเหล่านั้น ๆ.
อุทาหรณ์ที่พอเป็นทาง ด้วยอำนาจอาบัติตัวเดียว ในปักขมานัต
นั้น ดังนี้:-
นางภิกษุณีผู้ต้องอาบัติ แล้วนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ทำ
อุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้านางภิกษุณีทั้งหลายผู้แก่กว่านั่ง
กระโหย่งประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า อห อยฺเย เอก อาปตฺตึ
อาปชฺชึ คามนฺตร, สาห อยฺเย สงฺฆ เอกิสฺสา อาปตฺติยา
คามนฺตราย ปกฺมานตฺต ยาจามิ. ครั้นให้ขอ ๓ ครั้งอย่างนั้นแล้ว
นางภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ข้าแต่แม่เจ้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางภิกษุณีซึ่งนี้รูปนี้ ต้องอาบัติตัว ๑ ชื่อ
คามันตรา, เธอขอปักขมานัตต่อสงฆ์ เพื่ออาบัติตัว ชื่อคามันตรา
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 493
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้ปักขมานัต เพื่ออาบัติ
ตัว ๑ ชื่อคามันตรา แก่นางภิกษุณีชื่อนี้. นี้เป็นวาจาประกาศให้รู้.
ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า นางภิกษุณีชื่อนี้ ต้องอาบัติตัว ๑
ชื่อคามันตรา, เธอขอปักขมานัต ต่อสงฆ์เพื่ออาบัติตัว ๑ ชื่อคามันตรา
สงฆ์ให้ปักขมานัต เพื่ออาบัติตัว ๑ ชื่อคามันตรา แก่นางภิกษุณีชื่อ
นี้; การให้ปักขมานัต เพื่ออาบัติตัว ๑ ชื่อคามันตรา แก่นางภิกษุณี
ชื่อนี้ ชอบแก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง; ไม่ชอบแก่แม่เจ้ารูป
ใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ เป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ
เป็นครั้งที่ ๓. ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ฯลฯ ปักขมานัตเพื่อ
อาบัติตัว ๑ ชื่อคามันตรา สงฆ์ให้แล้วแก่นางภิกษุณีชื่อนี้ ชอบแก่
สงฆ์. เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความข้อนี้ไว้ อย่างนี้ .
ในที่สุดแห่งกรรมวาจา นางภิกษุณีผู้มานัตตจาริกานั้น พึงสมา-
ทานวัตรแล้ว พึงบอกแก่สงฆ์ ตามนัยที่กล่าวแล้วในภิกษุมานัตตกถา
นั่นแล ใคร่จะเก็บวัตรอยู่ พึงเก็บในท่ามกลางสงฆ์นั้นนั่นแลก็ได้ เมื่อ
นางภิกษุณีทั้งหลายหลีกไปเสียแล้ว พึงเก็บในสำนักนางภิกษุณีรูปเดียว
หรือในสำนักนางภิกษุณีผู้เป็นเพื่อน ตามนัยที่กล่าวแล้วก็ได้.
อนึ่ง พึงบอกเก็บในสำนักนางภิกษุณีอื่นผู้เป็นอาคันตุกะ จำเดิม
แต่เวลาที่เก็บวัตรไป ตั้งอยู่ในฐานผู้ปกตัตตะ. แต่เมื่อสมาทานใหม่จะรับ
อรุณ ไม่ได้เพื่ออยู่ในสำนักนางภิกษุณีทั้งหลายเป็นแท้.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ปักขมานัตอันนางภิกษุณี
พึงประพฤติในอุภโตสงฆ์. เพราะฉะนั้น อาจารย์เละอุปัชฌาย์ของนาง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 494
ภิกษุณีผู้มานัตตจาริกานั้น พึงไปยังวัดแล้วบอกพระมหาเถระ หรือภิกษุ
ผู้เป็นธรรมกถึกรูป ๑ ซึ่งตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งผู้สงเคราะห์ว่า วินัยกรรมที่
จะพึงทำแก่นางภิกษุณีรูป ๑ มีอยู่, พระผู้เป็นเจ้าโปรดส่งภิกษุ ๔ รูป
ไปในสถานที่ทำวินัยกรรมนั้นของเราทั้งหลายเถิด พระมหาเถระหรือภิกษุ
ผู้เป็นธรรมกถึก จะไม่ทำการสงเคราะห์ไม่ได้, ต้องบอกว่า เราจักส่ง
ไปให้.
ในกุรุนทีแก้ว่า นางภิกษุณีผู้ปกตัตตะ ๔ รูป พึงพานางภิกษุณีผู้
ประพฤติมานัตออกไปแต่ภายในอรุณ ให้เกิน๒ เลฑฑุบาตแต่อุปจาระบ้าน
ออกไป แวะออกจากทางใหญ่ นั่งในที่ซึ่งกอไม้และรั้วเป็นต้นกำบังไว้.
พึงให้เกิน ๒ เลฑฑุบาต แม้แต่อุปจาระแห่งวัดออกไป ฝ่ายภิกษุผู้
ปกตัตตะ ๔ รูป พึงไปในที่นั้น. ก็แลครั้นไปแล้ว ไม่พึงนั่งในที่เดียว
กับนางภิกษุณีทั้งหลาย พึงหลีกไปนั่งในที่ไม่ไกลกัน .
ส่วนในมหาปัจจรีเป็นต้นแก้ว่า แม้นางภิกษุณีทั้งหลายก็ควรชวน
อุบาสิกา ๑ คน หรือ ๒ คน ซึ่งเป็นผู้ฉลาดไปด้วย เพื่อประโยชน์แก่
การรักษาตน ฝ่ายภิกษุทั้งหลายพึงชวนอุบาสก ๑ คน หรือ ๒ คนไปด้วย
เพื่อประโยชน์แก่การรักษาตน.
เฉพาะในกุรุนทีแก้ว่า จะละอุปจาระแห่งสำนักภิกษุณีและวัดของ
ภิกษุ ก็ควร, ไม่แก้ว่า จะละอุปจาระแห่งบ้าน ก็ควร. ครั้นภิกษุ
ทั้งหลายและนางภิกษุณีทั้งหลาย นั่งแล้วอย่างนั้น นางภิกษุณีนั้นพึง
สมาทานวัตรว่า มานตฺต สมาทิยามิ วตฺต สมาทิยามิ แล้วพึงบอก
แก่ภิกษุณีสงฆ์ก่อนอย่างนี้ว่า อห อยฺเย เอก อาปตฺตึ อาปชฺชึ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 495
คามนฺตร, สาห สงฆ เอกิสฺสา อาปตฺติยา คามนฺตราย ปกฺข-
มานตฺต ยาจึ. ตสฺมา เม สงฺโฆ เอกิสฺสา อาปตฺติยา คามนฺ-
ตราย ปกฺขมานตฺต อทาสิ. สาห ปกฺขมานตฺต จรามิ. เวทยา-
มห อยฺเย, เวทิยตีติ ม สงฺโฆ ธาเรตุ.
ภายหลัง พึงไปบอกในสำนักภิกษุสงฆ์อย่างนี้ว่า อห อยฺยา
เอก อาปตฺตึ อาปชฺชึ คามนฺตร ฯลฯ เวทยามห อยฺยา,
เวทิยตีติ ม สงฺโฆ ธาเรตุ.
แม้ในปักขมานัตนี้ นางภิกษุณีจะบอกด้วยภาษาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็ควร. พึงนั่งบอกในสำนักแห่งภิกษุณีสงฆ์เท่านั้น. จำเดิมแต่กาลที่บอก
แล้วไป จึงควรไปสู่สำนักแห่งภิกษุทั้งหลาย ถ้าที่นั้นเป็นที่ประกอบ
ด้วยความรังเกียจ. ภิกษุณีทั้งหลายจำนงเฉพาะสถานแห่งภิกษุทั้งหลายใน
ที่เท่านั้น; ภิกษุทั้งหลายพึงคอยอยู่.
ถ้าภิกษุ หรือภิกษุณีรูปอื่น มายังที่นั้น, เมื่อเห็นต้องบอก,
ถ้าไม่บอก เป็นรัตติเฉท, และเป็นทุกกฏ เพราะวัตตเภท. ถ้าเมื่อ
นางภิกษุณีผู้มานัตตจาริกา ไม่รู้ ภิกษุหรือภิกษุณีอื่นล้ำอุปจารเข้ามา
อย่างนั้นแล้ว ไปเสีย. เป็นแต่รัตติเฉท ไม่เป็นทุกกฏเพราะวัตตเภท
ถ้านางภิกษุณีทั้งหลายเป็นผู้ประสงค์จะรีบไปก่อน เพื่อทำวัตรแก่อุปัชฌาย์
เป็นต้น พึงเว้นนางภิกษุณีไว้ ๑ รูปเพื่อป้องกันรัตติวิปปวาสาบัติ คณ-
โอหายนาบัติ และคามันตราบัติ จึงไป. เมื่ออรุณขึ้นแล้ว นางภิกษุณี
นั้น พึงเก็บวัตรในสำนักนางภิกษุณีรูปนั้น. นางภิกษุณีนั้น พึงประพฤติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 496
มานัตครบ ๑๕ ราตรีไม่ขาดด้วยอุบายนี้. ฝ่ายนางภิกษุณีผู้มีได้เก็บวัตร
พึงประพฤติชอบตามนัยที่กล่าวแล้วในปาริวาสิกขันธกะนั้นแล.
ส่วนเนื้อความที่แปลกกัน มีดังต่อไปนี้ :-
ในคำว่า พึงบอกแก่อาคันตุกะ นี้ มีวินิจฉัยว่า ในปุเรภัตหรือ
ปัจฉาภัต ภิกษุหรือภิกษุณีทั้งหลายมีประมาณเท่าใดมาสู่บ้านนั้น. ควร
บอกทั้งหมด. เมื่อไม่บอก เป็นรัตติเฉทด้วย เป็นทุกกฏเพราะวัตต-
เภทด้วย, แม้ถ้าภิกษุบางรูปล้ำคามูปจาระนั้น เข้ามาในราตรีแล้วไปเสีย
เป็นรัตติเฉทเท่านั้น, ย่อมพ้นจากวัตตเภท เพราะความไม่รู้เป็นปัจจัย.
ส่วนในกุรุนทีเป็นต้นแก้ว่า วัตรที่นางภิกษุณีมิได้เก็บ บัณฑิต
พึงกล่าว ตามนัยที่กล่าวแล้วในวัตรของภิกษุทั้งหลาย. คำนั้นปรากฎว่า
สมควรยิ่ง เพราะวัตรทั้งหลายมีปริวาสวัตรเป็นต้น ท่านกำหนดด้วย
อุปจารสีมา. พึงบอกในวันอุโบสถ. พึงบอกในวันปวารณา. ต้องบอก
ทุกวัน แก่ภิกษุ ๔ รูป และนางภิกษุณี ๔ รูป ถ้าภิกษาจารในบ้าน
นั้น ทั่วถึงแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย. ภิกษุเหล่านั้น ๔ รูป พึงไปในบ้าน
นั้นทีเดียว.
ถ้าไม่ทั่วถึง ภิกษุทั้งหลายแม้ไปในที่อื่นแล้วจึงมาในบ้านนั้น ต้อง
แสดงตนไป. หรือพึงทำที่สังเกตไว้ภายนอกบ้านว่า ท่านจะพบพวกเรา
ในที่ชื่อโน้น . หางภิกษุณีนั้นพึงไปสู่ที่หมายไว้แล้วบอก. ไม่พบในที่
หมายไว้ ต้องไปวัดแล้วบอก. ต้องบอกภิกษุทุกรูปในวัด ถ้าไม่อาจ
บอกทั่วทุกรูปได้. ต้องอยู่นอกอุปจารสีมา แล้ววานนางภิกษุณีทั้งหลาย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 497
ไปแทน. พึงบอกแก่ภิกษุ ๔ รูปซึ่งนางภิกษุเหล่านั้นนำมา. ถ้าวัดอยู่
ไกลทั้งน่ารังเกียจ, พึงชวนอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายไปด้วย.
ก็ถ้านางภิกษุณีนี้อยู่ตามลำพัง, ย่อมต้องอาบัติเพราะรัตติวิปปวาส;
เพราะเหตุนั้น สงฆ์พึงสมมตินางภิกษุณีผู้ปกตัตตะรูป ๑ ให้แก่นางภิกษุณี
นั้น เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ในที่มุงอันเดียวกัน. นางภิกษุณีประพฤติ
มานัตไม่ขาด อย่างนั้นแล้ว พึงทำอัพภานตามนัยที่กล่าวแล้วในภิกษุ
สงฆ์ ซึ่งมี ๑ รูปเป็นคณะนั้นแล.
ในกุรุนทีแก้ว่า ถ้ากำลังประพฤติมานัต ต้องอันตราบัติ สงฆ์
พึงชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้ว ให้มานัต เพื่ออาบัตินั้น. นี้ชื่อว่าปักขมานัต.
สโมธานมานัต
ส่วนสโมธานมานัต มี ๓ อย่าง คือ โอธานสโมธาน ๑ อัคฆ-
สโมธาน ๑ มิสสกสโมธาน ๑.
ใน ๓ อย่างนั้น ที่ชื่อโอธานสโมธาน ได้แก่ มานัตที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ข้างหน้า สำหรับพระอุทายีเถระ ผู้กำลังอยู่
ปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดไว้ ๕ วัน ต้องอันตราบัติในปริวาส และในฐานะ
ที่เป็นผู้ควรแก่มานัต ถูกสงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิม โดยบาลีว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้ากระนั้น สงฆ์จงให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่
ภิกษุอุทายี ดังนี้ .
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 498
จริงอยู่ มานัตชนิดนี้ สงฆ์เลิกล้มวันที่อยู่ปริวาสแล้วเสียด้วย
มูลายปฏิกัสสนะซ้ำ ๆ กัน ประมวลให้พร้อมกับอาบัติเดิมทั้งหลาย เพราะ
ฉะนัน จึงเรียกว่า โอธานสโมธาน.
ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า มานัตที่สงฆ์พึงให้แก่ภิกษุผู้อยู่สโมธานปริวาส
แล้ว ชื่อว่าสโมธานมานัต แม้คำนั้น ก็ถูกโดยปริยายนั้น.
ส่วนอัคฆสโมธานและมิสสกสโมธาน ท่านเรียกเฉพาะมานัตที่สงฆ์
พึงให้ในที่สุดแห่งอัคฆสโมธานปริวาสและมิสสกสโมธานปริวาส.
อัคฆสโมธานและมิสสกสโมธานนั้น พึงประกอบให้ตามทำนอง
กรรมวาจาแห่งปริวาส.
คำใดที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ปริวาสและมานัต พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ในบาลีโดยอาการมากมาย ตามนัยมีคำว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้า
กระนั้นสงฆ์จงให้ปริวาส ๑ วัน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ซึ่งปิดไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายีเถิด ดังนี้เป็นอาทิ, วินิจฉัย
อย่างนี้ ที่ท่านกล่าวไว้ในอาคตสถานแห่งปริวาสและมานัตนั้น ย่อมถึง
ความพิสดารเกินไปเหมือนในบาลี, ทั้งเป็นวินิจฉัยที่ใคร ๆ ไม่อาจกำหนด
ได้โดยง่าย. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจักประมวลปริวาสและมานัตนั้น
แสดงในอธิการนี้ทีเดียว ดังนี้ คำนี้นั้นเป็นอันข้าพเจ้าให้สำเร็จพร้อม
โดยอธิบาย ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ .
บัดนี้พระบาลีนี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสก่อน ด้วยอำนาจ
อาบัติตัวเดียวที่มิได้ปิด, พระบาลีนั้น มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 499
เบื้องหน้าแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปริวาสไว้ในพระบาลี
ด้วยอำนาจแห่งอาบัติที่ปิดไว้ ๒ วัน ๓ วัน ๔ วัน ๕ วันเท่านั้น แล้วทรง
แสดงอันตราบัติ จำเดิมแต่ปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดไว้ ๕ วัน.
ก็พระอุทายีต้องอาบัตินั้นแล้ว ย่อมจัดเป็นผู้ควรแก่มุลายปฏิกัสสนะ;
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตมูลายปฏิกัสสนะในอาบัติ
ที่ปิดไว้ ๕ วันเหล่านั้น แก่พระอุทายีนั้น.
แต่ถ้าเธอเก็บวัตรแล้วต้องไซร้ ย่อมเป็นผู้ไม่สนควรแก่มูลาย-
ปฏิกัสสนะ.
เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุที่เธอมิได้ต้องกำลังอยู่ปริวาส เธอตั้งอยู่ในฐานะเป็นผู้
ปกตัตตะแล้วต้อง เธอพึงควรแยกประพฤติมานัตเพื่ออาบัตินั้น. ถ้าเธอ
ผู้เก็บวัตรต้องอาบัติแล้วปิดไว้ไซร้ ต้องอยู่ปริวาสด้วย.
เมื่อมูลายปฏิกัสสนะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ อันสงฆ์ทำแล้ว,
วันที่เธออยู่ปริวาสแล้วทั้งหลาย ย่อมเป็นอันเลิกล้มไปแท้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอันตราบัติในปริวาสแล้ว ทรงแสดง
อันตราบัติแห่งภิกษุผู้ควรแก่มานัตอีก แล้วจึงตรัสมูลายปฏิกัสสนะ ด้วย
ประการฉะนี้
จริงอยู่ เมื่อมูลายปฏิกัสสนะนั้น อันสงฆ์ทำแล้ว. วันที่อยู่ปริวาส
แล้วทั้งหลาย ย่อมเป็นอันเลิกล้มไปแท้. ลำดับนั้น จึงทรงแสดง
สโมธานมานัต เพื่ออาบัติทั้ง ๓ ตัวนั้น แห่งภิกษุผู้อยู่ปริวาสเสร็จแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 500
ลำดับนั้น ได้ทรงแสดงอันตราบัติของภิกษุผู้มานัตตจาริกะแล้ว ตรัส
มูลายปฏิกัสสนะ.
ก็ครั้นเมื่อมูลายปฏิกัสสนะนั้น อันสงฆ์ทำแล้ว; วันที่ประพฤติ
มานัตแล้วก็ดี วันที่อยู่ปริวาสแล้วก็ดี ย่อมเป็นอันเลิกล้มไปแท้. ลำดับ
นั้นทรงแสดงอันตราบัติแห่งภิกษุผู้ควรแก่อัพภานแล้วตรัสมูลายปฏิกัสสนะ.
ครั้นเมื่อมูลายปฏิกัสสนะแม้นั้น อันสงฆ์ทำแล้ว. วันที่อยู่ปริวาส
และประพฤติมานัตแล้ว เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอันเลิกล้มไปแท้.
เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงประกอบอันตราบัติทั้งปวงแสดงอัพภานกรรม.
กรรมวาจา ๕ ชนิด ด้วยอำนาจแห่งอาบัติ ที่ปิดไว้วันเดียวเป็น
ต้น กรรมวาจา ๔ ชนิด ด้วยอำนาจแห่งอันตราบัติทั้งหลาย รวม
เป็นกรรมวาจา ๙ ชนิด เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วใน
ปฏิจฉันนวาระ ด้วยประการฉะนี้.
เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงแสดงสโมธานปริวาสและสโมธานมานัต
ด้วยอำนาจแห่งอันตราบัติที่ปิดไว้ ๕ วัน จำเดิมแต่ภายในแห่งปริวาส
เพื่ออาบัติที่ปิดไว้ปักษ์ ๑.
ก็ในอธิการว่าด้วยสโมธานปริวาสและสโมธานมานัตนี้ เมื่อสงฆ์
ทำมูลายปฏิกัสสนะเพื่ออาบัติที่ต้อง แม้ในเวลาที่เป็นมานัตจาริกะ และ
เป็นมานัตตารหะ. วันที่ประพฤติมานัตแล้วก็ดี วันที่อยู่ปริวาสเสร็จแล้ว
ก็ดี เป็นอันเลิกล้มไปทั้งหมดทีเดียว.
เพราะเหตุไร?
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 501
เพราะเหตุที่ปิดอันตราบัติไว้. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า สงฆ์จงชักเข้าหาอาบัติเดิม จงให้สโมธานปริวาส เพื่อ
อาบัติเดิมแล้ว จงให้มานัต ๖ ราตรี.
เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงประกอบอันตราบัติทั้งปวงแสดงอัพภาน-
กรรม ให้จบเรื่องแห่งอาบัติ ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ.
ลำดับนั้น ทรงแสดงนัย ๒ อย่าง คือ เอกาปัตติมูลกนัย ๑
อาปัตติวัฑฒนกนัย ๑ แล้วทรงแสดงอัคฆสโมธานปริวาส.
แต่นั้น ทรงแสดงเรื่องอาบัติที่ภิกษุแกล้งไม่บอกแล้ว ทรงตั้ง
บาลีโดยนัยมีคำว่า อิธ ปน ภิกฺขเว เป็นต้น เพื่อแสดงกรรมที่จะพึง
กระทำสำหรับอาบัติที่ภิกษุมิได้บอก ด้วยความไม่แกล้งไม่รู้สึกระลึกไม่ได้
และความเป็นผู้มีความสงสัย ในเมื่อลัชชีธรรมหรือความรู้สึก ความ
ระลึกได้ และความเป็นผู้ไม่มีความสงสัย เกิดขึ้นบ้างในภายหลัง.
ลำดับนั้น ทรงตั้งบาลีเหมือนอย่างนั้น เพื่อแสดงข้อที่อาบัติ
ทั้งหลาย ซึ่งปิดไว้ด้วยความไม่รู้สึกระลึกไม่ได้ และความเป็นผู้มีความ
สงสัย ไม่เป็นอันปิด.
ลำดับนั้น ทรงแสดงเรื่องขอปริวาสเดือน ๑ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน แล้วทรงตั้งบาลีโดยนัยหนหลังนั่นแล เพื่อแสดงกรรม
ที่จะพึงกระทำ สำหรับเดือนนอกนี้ ซึ่งไม่ได้บอก ด้วยไม่ได้แกล้ง
ไม่รู้สึกระลึกไม่ได้ และความเป็นผู้มีความสงสัย ในเมื่อลัชชีธรรม
เป็นต้นเกิดขึ้นในภายหลัง เเลเพื่อแสดงข้อที่เดือนซึ่งปิดไว้ ด้วยความ
ไม่รู้สึกระลึกไม่ได้ และความเป็นผู้มีความสงสัย ไม่เป็นอันปิด.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 502
ลำดับนั้น ทรงแสดงสุทธันตปริวาสโดยนัยมีคำว่า อาปตฺติ
ปริยนฺต น ชานาติ รตฺติปริยนฺต น ชานาติ เป็นอาทิ
เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงตั้งบาลีเพื่อทำปาริวาสิกภิกษุให้เป็นตัวอย่าง
แสดงข้อปฏิบัติในคำว่า "สึกแล้วอุปสมบทใหม่" เป็นต้น .
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสสมากหลาย
ในระหว่าง กำหนดนับได้ ไม่ได้ปิดไว้ เป็นต้น มีความว่า กำหนด
นับได้ด้วยอำนาจกำหนดอาบัติ และไม่ได้ปิดไว้.
สองบทว่า ปจฺฉิมสฺมึ อาปตฺติกฺขนฺเธ คือกองอาบัตินั้นคงเป็น
อันเดียวกัน, แต่เพราะปกปิดไว้ในภายหลัง ท่านจึงกล่าวว่า ในกอง
อาบัติ ซึ่งมีในภายหลัง. ถึงในคำว่า ปุริมสฺมึ นี้ก็มีนัยเหมือนกัน.
คำว่า ววตฺถิตา สมฺภินฺนา นี้ เป็นคำยักเรียกอาบัติทั้งหลาย
ที่เป็นสภาคกันและที่เป็นวิสภาคกันนั่นเอง.
เบื้องหน้าแต่นั้น ตรัสคำว่า เทฺว ภิกฺขู เป็นต้น เพื่อแสดง
ข้อปฏิบัติในภิกษุผู้ปิดไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิสฺสก ได้แก่ สังฆาทิเสส ที่เจือ
ด้วยลหุกาบัติ มีถุลลัจจัยเป็นต้น.
บทว่า สุทฺธก ได้แก่ สังฆาทิเสส เว้นกองลหุกาบัติเสียทั้งนั้น.
เบื้องหน้าแต่นั้น ตรัสคำว่า อิธ ปน ภิกขเว ภิกฺขู สมฺพหุลา
สงฺฆาทิเสสา เป็นต้น เพื่อแสดงข้อที่อาบัติเหล่านั้นไม่พ้องกันและ
พ้องกัน .
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 503
บทไรๆ ที่ชื่อว่า ไม่ชัดเจนโดยพยัญชนะหรือโดยอธิบาย ย่อม
ไม่มีในคำนั้น......
เพราะฉะนั้น คำนั้นและคำทั้งปวงที่ไม่ได้กล่าวไว้ก่อนแต่นี้ พึง
ทราบตามแนวเเห่งพระบาลีนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.
สมุจจยักขันธกวรรณนา จบ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 504
สมถขันธกะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่
ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้ง
นั้นแล พระฉัพพัคคีย์ กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยส-
กรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรม
บ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลัง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย....ต่างก็
เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้กระทำกรรม คือ
ตัชชชียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณีย-
กรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลังเล่า แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม
บ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง
อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ลับหลัง จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 505
สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้กระทำกรรม
คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสาร-
ณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลังเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น นั่นไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนผู้ยังไม่เลื่อมใส......ครั้นแล้วทรงทำธรรมมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม คือ ตัชชนียกรรม
ก็ดี นิยสกรรมก็ดี ปัพพาชนียกรรมก็ดี ปฏิสารณียกรรมก็ดี อุกเขป-
นียกรรมก็ดี อันภิกษุไม่พึงทำแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลัง ภิกษุใดทำ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ธรรมวาทีและอธรรมวาทีบุคคล
[๕๘๖] อธรรมวาทีบุคคล ๑ ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ๑ สงฆ์
อธรรมวาที ๑ ธรรมวาทีบุคคล ๑ ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ๑ สงฆ์
ธรรมวาที ๑.
ธรรมฝ่ายดำ ๙ อย่าง
[๕๘๗] ๑. อธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม
ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม
นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์
นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 506
๒. อธรรมวาทีบุคคล ยังภิกษุธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้
พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
๓. อธรรมวาทีบุคคล ยังสงฆ์ธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้
เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้
สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
๔. ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอน ให้
พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
๕. ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ยังภิกษุธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม
ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม
นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์
นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
๖. ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ยังสงฆ์ธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ
ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 507
๗. สงฆ์อธรรมวาที ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ
ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
๘. สงฆ์อธรรมวาที ยังภิกษุธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ
ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้น
ระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
๙. สงฆ์อธรรมวาที ยังสงฆ์ธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้
เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้
สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม.
ธรรมฝ่ายดำ ๙ อย่าง จบ
ธรรมฝ่ายขาว ๙ อย่าง
[๕๘๘] ๑. ธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้
พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 508
๒. ธรรมวาทีบุคคล ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้
พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้น
ระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
๓. ธรรมวาทีบุคคล ยังสงฆ์อธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ
ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
๔. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้
พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
๕. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม
ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้น
ระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
๖. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังสงฆ์อธรรมวาที่ให้ยินยอม ให้พินิจ
ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 509
๗. สงฆ์ธรรมวาที ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้
เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้
สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้
ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
๘. สงฆ์ธรรมวาที ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้
พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้
วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้
ชื่อว่าระงับโดยธรรมเป็นสัมมุขาวินัย
๙. สงฆ์ธรรมวาที ยังสงฆ์อธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้
เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์
ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่า
ระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย.
ธรรมฝ่ายขาว ๙ อย่าง จบ
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร
[๕๘๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร
ราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระทัพพมัลลบุตร มีอายุ ๗ ปีนับแต่เกิด
ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสาวกจะพึง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 510
บรรลุ ท่านได้บรรลุแล้วโดยลำดับทั้งหมด อนึ่ง ท่านไม่มีกรณียกิจ
อะไรที่ยิ่งขึ้นไป หรือกรณียกิจที่ทำเสร็จแล้ว ก็ไม่ต้องกลับสั่งสมอีก.
[๕๙๐] ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้
เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เราแลมีอายุ ๗ ปีนับแต่เกิด ได้ทำ
ให้แจ้งซึ่งพระอรหัต คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสาวกจะพึงบรรลุ
เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับทุกอย่าง อนึ่งเล่า เราไม่มีกรณียกิจอะไรที่ยิ่ง
ขึ้นไป หรือกรณียกิจที่เราทำเสร็จแล้ว ก็ไม่ต้องกลับมาสั่งสมอีก เรา
ควรทำความช่วยเหลือแก่สงฆ์อย่างไรหนอ ลำดับนั้น ท่านพระทัพพ-
มัลลบุตรได้คิดว่า มิฉะนั้น เราควรแต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหาร
แก่สงฆ์.
[๕๙๑] ครั้นท่านพระทัพพมัลลบุตรออกจากที่เร้นในเวลาเย็น
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงพุทธสำนัก ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง เเล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า
หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ณ ตำบลนี้ได้เกิดความวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า ข้า-
พระพุทธเจ้าแล มีอายุ ๗ ปีนับแต่เกิด ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต
คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสาวกจะบรรลุ ข้าพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุ
แล้วโดยลำดับทุกอย่าง อนึ่งเล่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีกรณียกิจอะไรที่ยิ่ง
ขึ้นไป หรือกรณียกิจที่ข้าพระพุทธเจ้าทำเสร็จแล้ว ก็ไม่ต้องกลับสั่งสม
อีก ข้าพระพุทธเจ้าควรทำความช่วยเหลือสงฆ์อย่างไรหนอ พระพุทธ-
เจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า นั้นคิดตกลงใจว่า ถ้ากระไร ข้าพระพุทธเจ้า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 511
ควรแต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหารแก่สงฆ์ ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนา
จะแต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหารแก่สงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ ทัพพะ ถ้าเช่นนั้น
เธอจงแต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหารแก่สงฆ์เถิด ท่านพระทัพพ-
มัลลบุตรทูลรับสนองพระพุทธานุญาตแล้ว.
สมมติภิกษุแต่งตั้งเสนาสนะเป็นต้น
[๕๙๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ใน
เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงสมมติทัพพมัลล-
บุตรให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ เบื้องต้นพึง
ขอให้ทัพพะรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์
ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อม
พรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติท่านพระทัพพ-
มัลลบุตร ให้เป็นผู้แต่งเสนาสนะและแจกอาหาร นี้
เป็นญัตติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 512
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติ
ท่านพระทัพพมัลลบุตรให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะและแจก
อาหาร การสมมติท่านพระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นผู้แต่ง
ตั้งเสนาสนะและแจกอาหาร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้
นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ท่านพระทัพพมัลลบุตร อันสงฆ์สมมติให้เป็นผู้
แต่งตั้งเสนาสนะและแจกอาหารแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุ
นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
[๕๙๓] ก็แล ท่านพระทัพพมัลลบุตรอันสงฆ์สมมติแล้ว ย่อม
แต่งตั้งเสนาสนะสำหรับหมู่ภิกษุผู้เสมอกันรวมไว้เป็นพวก ๆ คือ ภิกษุ
เหล่าใดทรงพระสูตร ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งเดียว
กัน ด้วยประสงค์ว่า พวกเธอจักซักซ้อมพระสูตรกัน ภิกษุเหล่าใด
ทรงพระวินัย ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้น ไว้แห่งเดียวกัน
ด้วยประสงค์ว่า พวกเธอจักวินิจฉัยพระวินัยกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นพระ-
ธรรมกถึก ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งเดียวกัน ด้วย
ประสงค์ว่า พวกเธอจักสนทนาธรรมกัน ภิกษุเหล่าใดได้ฌาน ท่านก็
แต่งตั้งเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งเดียวกัน ด้วยประสงค์ว่า พวก
เธอจักไม่รบกวนกัน ภิกษุเหล่าใดชอบกล่าวดิรัจฉานกถา มีการบำรุงร่าง
กายอยู่มาก ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งเดียวกัน ด้วย
ประสงค์ว่า ท่านเหล่านี้จักอยู่ด้วยความยินดีแม้นี้ ภิกษุเหล่าใดมาในเวลา
ค่ำคืน ท่านก็เข้าจตุตถฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ แล้วแต่งตั้งเสนาสนะ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 513
สำหรับภิกษุแม้เหล่านั้น ด้วยแสงสว่างนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ย่อมแกล้ง
มาแม้เวลาค่ำ ด้วยประสงค์ว่า พวกเราจักได้ดูอิทธิปาฏิหาริย์ของท่าน
พระทัพพมัลลบุตร ดังนี้ก็มี
ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาท่านพระทัพพมัลลบุตร แล้วพูดอย่างนี้ว่า
พระคุณเจ้าทัพพะ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้า
ท่านพระทัพพมัลลบุตรถามภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านปรารถนา
ที่ไหน ผมจะแต่งตั้งที่นั้น ภิกษุเหล่านั้นแกล้งกล่าวอ้างที่ไกล ๆ ว่า
พระคุณเจ้าทัพพะ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่ภูเขา
คิชฌกูฏ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่เหวสำหรับทิ้งโจร
ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ขอ
ท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่ถ้ำสัตตบรรณคูหาข้างภูเขาเวภาระ
ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่เงื้อมเขาสัปปโสณฑิกะใกล้
สีตวัน ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่ซอกเขาโคมฏะ ขอ
ท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่ซอกเขาติณฑุกะ ขอท่านจงแต่ง
ตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่ซอกเขากโปตะ ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะ
ให้พวกข้าพเจ้าที่ตโปทาราม ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่
ชีวกัมพวัน ขอท่านจงแต่งตั้งเสนาสนะให้พวกข้าพเจ้าที่มัททกุจฉิมฤค-
ทายวัน
ท่านพระทัพพมัลลบุตร จึงเข้าจตุตถฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์
มีองคุลีส่องสว่างเดินนำหน้าภิกษุเหล่านั้นไป แม้ภิกษุเหล่านั้นก็เดินตาม
หลังท่านพระทัพพมัลลบุตร ด้วยแสงสว่างนั้นแล ท่านพระทัพพมัลลบุตร
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 514
แต่งตั้งเสนาสนะสำหรับภิกษุเหล่านั้น โดยชี้แจงอย่างนี้ว่า นี่เตียง
นี่ตั่ง นี่ฟูก นี่หมอน นี่ที่ถ่ายอุจจาระ นี่ที่ถ่ายปัสสาวะ นี่น้ำฉัน
นี่น้ำใช้ นี่ไม้เท้า นี่ระเบียบกติกาสงฆ์ ควรเข้าเวลานี้ ควรออกเวลานี้
ครั้นแต่งตั้งเสนาสนะเพื่อภิกษุเหล่านั้นเสร็จแล้ว กลับมาสู่พระเวฬุวัน-
วิหารตามเดิม.
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
[๕๙๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เป็น
พระบวชใหม่และมีบุญน้อย เสนาสนะของสงฆ์ชนิดเลว และอาหารอย่าง
เลว ย่อมตกถึงแก่เธอทั้งสอง ครั้งนั้น ชาวบ้านในพระนครราชคฤห์
ชอบถวายเนยใสบ้าง น้ำมันบ้าง แกงที่มีรสดี ๆ บ้าง ซึ่งจัดปรุงเฉพาะ
พระเถระ ส่วนพระเมตติยะและพระภุมมชกะ เขาถวายอาหารอย่าง
ธรรมดาตามแต่จะหาได้ มีชนิดปลายข้าว มีน้ำส้มเป็นกับ เวลาหลัง
อาหารเธอทั้งสองกลับจากบิณฑบาตแล้ว เที่ยวถามพวกพระเถระว่า ใน
โรงฉันของพวกท่านมีอาหารอะไรบ้าง ขอรับ ในโรงฉันของพวกท่าน
ไม่มีอะไรบ้าง ขอรับ พระเถระบางพวกบอกอย่างนี้ว่า พวกเรามีเนยใส
น้ำมัน แกงที่มีรสอร่อย ๆ ส่วนพระเมตติยะและพระภุมมชกะพูดอย่าง
นี้ว่า พวกข้าพเจ้าไม่มีอะไรเลย ขอรับ มีแต่อาหารอย่างธรรมดาตาม
แต่จะหาได้ เป็นชนิดปลาข้าวมีน้ำส้มเป็นกับ
[๕๙๕] สมัยต่อมา คหบดีผู้ชอบถวายอาหารที่ดี ถวายภัตตาหาร
วันละ ๔ ที่แก่สงฆ์เป็นนิตยภัต เขาพร้อมด้วยบุตรภรรยา อังคาสอยู่
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 515
ใกล้ ๆ ในโรงฉัน คนอื่นๆ ย่อมถามด้วยข้าวสุก กับข้าว น้ำมัน แกง
ที่มีรสอร่อย.
[๕๙๖] คราวนั้น ภัตตุทเทสก์ได้แสดงภัตตาหารของคหบดี ผู้
ชอบถวายอาหารที่ดี แก่พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เพื่อฉันในวัน
รุ่งขึ้น ขณะนั้น ท่านคหบดีไปสู่อารามด้วยกรณียะบางอย่าง เข้าไปหา
ท่านพระทัพพมัลลบุตร นมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่าน
พระทัพพมัลลบุตรแสดงธรรมีกถาให้ท่านคหบดีผู้นั่งแล้ว ให้เห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ครั้นแล้วคหบดีเรียนถามว่า พระคุณเจ้า
แสดงภัตตาหารเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ที่เรือนของกระผมแก่ใคร ขอรับ
ท่านพระทัพพมัลลบุตรตอบว่า อาตมาแสดงให้แก่พระเมตติยะกับพระ-
ภุมมชกะแล้ว ขณะนั้น คหบดีมีความเสียใจว่า ไฉนภิกษุลามกจักฉัน
ภัตตาหารในเรือนเราเล่า แล้วไปเรือนสั่งหญิงคนรับใช้ไว้ว่า แม่สาวใช้
เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตู แล้วอังคาสภิกษุผู้จะมาฉันภัตตาหารในวัน
พรุ่งนี้ด้วยปลายข้าว มีน้ำผักดองเป็นกับ หญิงคนใช้รับคำของคหบดีแล้ว
ครั้งนั้นพระเมตติยะและพระภุมมชกะกล่าวแก่กันว่า คุณ เมื่อวานนี้ท่าน
ภัตตุทเทสก์แสดงภัตตาหารของคหบดีให้พวกเรา พรุ่งนี้คหบดีพร้อมด้วย
บุตรภรรยาจักอังคาสพวกเราอยู่ใกล้ ๆ คนอื่น ๆ จักถามด้วย ข้าวสุก
กับข้าว น้ำมัน แกงที่มีรสอร่อย ๆ เพราะความดีใจนั้นแล ตกกลางคืน
ภิกษุ ๒ รูปนั้น นอนหลับไม่เต็มตื่น ครั้นเวลาเช้า พระเมตติยะและ
พระภุมมชกะครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตร จีวรเดินเข้าไปยังนิเวศน์
ของท่านคหบดี หญิงคนรับใช้นั้นได้แลเห็นพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 516
กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงปูอาสนะถวายที่ซุ้มประตู แล้วกล่าวว่า
นิมนต์นั่งเจ้าค่ะ พระเมตติยะและพระภุมมชกะจึงนึกว่า ภัตตาหารคงจะ
ยังไม่เสร็จเป็นแน่ เขาจึงให้เรานั่งพักที่ซุ้มประตูก่อน ขณะนั้น หญิง
คนรับใช้ ได้นำอาหารปลายข้าวซึ่งมีน้ำผักดองเป็นกับเข้าไปถวาย พลาง
กล่าวว่า นิมนต์ฉันเถิดเจ้าค่ะ
ภิ. น้องหญิง พวกฉันเป็นพระรับนิตยภัต
ญ. ดิฉันทราบว่าพระคุณเจ้าเป็นพระรับนิตยภัต เจ้าค่ะ แต่เมื่อ
วานนี้เอง ท่านคหบดีได้สั่งดิฉันไว้ว่า แม่สาวใช้ เจ้าจงจัดอาสนะไว้
ที่ซุ้มประตู แล้วอังคาสภิกษุผู้จะมาฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ด้วยปลายข้าว
มีน้ำผักดองเป็นกับ นิมนต์ฉันเถิด เจ้าคะ.
พระเมตติยะและพระภุมมชกะพูดกันว่า คุณ เมื่อวานนี้เอง ท่าน
คหบดีไปสู่อารามที่สำนักพระทัพพมัลลบุตร พวกเราคงถูกพระทัพพมัลล-
บุตรยุยงในสำนักคหบดีเป็นแน่ เพราะความเสียใจนั้นแล ภิกษุทั้งสอง
รูปนั้นฉันไม่อิ่ม ครั้นเวลาหลังอาหารกลับจากบิณฑบาตไปสู่อาราม เก็บ
บาตร จีวรแล้ว นั่งรัดเข่าด้วยผ้าสังฆาฏิอยู่ภายนอกซุ้มประตูอาราม
นิ่งอั้น เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่พูดจา
ภิกษุณีเมตติยาไปเยี่ยม
คราวนั้น ภิกษุณีเมตติยาเข้าไปหาพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
แล้วได้กล่าวว่า ดิฉันไหว้ เจ้าค่ะ เมื่อนางกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุ
ทั้งสองรูปก็มิได้ทักทายปราศรัย แม้ครั้งที่สอง.....แม้ครั้งที่สาม นางก็ได้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 517
กล่าวว่าดิฉันไหว้ เจ้าค่ะ แม้ครั้งที่สาม ภิกษุทั้งสองรูป ก็มิได้ทักทาย
ปราศรัย
ภิกษุณีเมตติยาถามว่า ดิฉันผิดต่อพระคุณเจ้าอย่างไร ทำไม
พระคุณเจ้าจึงไม่ทักทายปราศรัยกับดิฉัน
ภิกษุทั้งสองตอบว่า ก็จริงอย่างนั้นแหละ น้องหญิง พวกเรา
ถูกพระทัพพมัลลบุตรเบียดเบียนอยู่ เธอยังเพิกเฉยได้
เม. ดิฉันจะช่วยเหลืออย่างไร เจ้าค่ะ
ภิ. น้องหญิง ถ้าเธอเต็มใจช่วย วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าต้อง
ให้พระทัพพมัลลบุตรสึก
เม. ดิฉันจะทำอย่างไร ดิฉันสามารถจะช่วยเหลือได้ด้วยวิธีไหน
ภิ. มาเถิดน้องหญิง เธอจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบ
ทูลอย่างนี้ว่า กรรมนี้ไม่แนบเนียน ไม่สมควร ทิศที่ไม่มีภัย ไม่มี
จัญไร ไม่มีอันตราย บัดนี้กลับมามีภัย มีจัญไร มีอันตราย ณ สถาน
ที่ไม่มีลม บัดนี้กลับมามีลมแรงขึ้น หม่อมฉันถูกพระคุณเจ้าทัพพมัลล-
บุตรประทุษร้าย คล้ายน้ำถูกไฟเผา พระพุทธเจ้าข้า
นางรับคำของภิกษุทั้งสอง แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า พระพุทธ-
เจ้าข้า กรรมนี้ไม่แนบเนียน ไม่สมควร ทิศที่ไม่มีภัย ไม่มีจัญไร
ไม่มีอันตราย บัดนี้กลับมามีภัย มีจัญไร มีอันตราย ณ สถานที่ไม่
มีลม บัดนี้ กลับมามีลมแรงขึ้น หม่อมฉันถูกพระคุณเจ้าทัพพมัลลบุตร
ประทุษร้าย คล้ายน้ำถูกไฟเผา พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 518
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๕๙๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม
ท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า ดูก่อนทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็น
ผู้ทำกรรมตามที่ภิกษุณีนี้กล่าวหา ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า
พระองค์ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า
แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้า....
แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระทัพพมัลลบุตร
ว่า ดูก่อนทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำกรรมตามที่ภิกษุณี
นี้กล่าวหา ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า พระองค์ย่อมทรงทราบว่า
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่กล่าวแก้คำกล่าวหาเช่นนี้ ถ้า
เธอทำก็จงบอกว่าทำ ถ้าไม่ได้ทำ ก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ
ท. พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเกิดมาแล้ว แม้โดย
ความฝันก็ยังไม่รู้จักเสพเมถุนธรรม จะกล่าวใยถึงเมื่อตื่นอยู่เล่า
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอจงให้ภิกษุณีเมตติยาสึกเสีย และจงสอบสวน
ภิกษุเหล่านี้ ครั้นแล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จเข้าพระวิหาร ลำดับนั้น
ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีเมตติยาสึกแล้ว จึงพระเมตติยะและพระภุมมชกะได้
แถลงเรื่องนี้กะภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านอย่าให้ภิกษุณี
เมตติยาสึกเสียเลย นางไม่ผิดอะไร พวกข้าพเจ้าแค้นเคือง ไม่พอใจ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 519
มีความประสงค์จะให้ท่านพระทัพพมัลลบุตรเคลื่อนจากพรหมจรรย์ จึงได้
ให้นางใส่ไคล้
ภิกษุทั้งหลายถามว่า ก็พวกคุณโจทท่านพระทัพพมัลลบุตร ด้วย
ศีลวิบัติอันหามูลมิได้หรือ
ภิกษุทั้งสองนั้นรับว่า อย่างนั้น ขอรับ
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย....ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จึงได้โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วย
ศีลวิบัติอันหามูลมิได้เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ได้ยินว่าภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะโจททัพพมัลลบุตร ด้วย
ศีลวิบัติอันไม่มีมูล จริงหรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน.... ครั้นแล้วทรงทำธรรมมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์
จงให้สติวินัยแก่ทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ ทัพพมัลลบุตรนั้น
พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่ง
กระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 520
คำขอสติวินัย
ท่านเจ้าข้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะนี้
โจทข้าพเจ้าด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ข้าพเจ้านั้นถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง....
พึงขอแม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ภิกษุเมตติยะ
และภิกษุภุมมชกะนี้ โจทข้าพเจ้าด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล
ข้าพเจ้านั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะ
สงฆ์ แม้ครั้งที่สาม.
[๕๙๘] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้สติวินัย
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะ
เเละภิกษุภุมมชกะนี้ โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีล
วิบัติอันไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สติวินัย แก่ท่านพระ
ทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะ
และภิกษุภุมมชกะนี้ โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีล
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 521
วิบัติอันไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัย
แก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
การให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น
ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะนี้
โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ท่าน
พระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แต่งสติแล้ว ขอ
สติวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร
ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว การให้สติวินัยแต่ท่าน
พระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด
สติวินัย อันสงฆ์ให้แล้วแก่ท่านพระทัพพมัลล-
บุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุ
นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 522
การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี ๕ อย่าง
[๕๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี ๕ อย่าง
นี้ คือ ภิกษุเป็นผู้หมดจด ไม่ต้องอาบัติ ๑ ผู้อื่นโจทเธอ ๑ เธอ
ขอ ๑ สงฆ์ให้สติวินัยแก่เธอ ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมให้ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี ๕ อย่างนี้แล.
เรื่องพระคัคคะ
[๖๐๐] โดยสมัยนั่นแล พระคัคคะวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทพระคัคคะด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต
มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จง
ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้า
วิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลง ได้
ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธอ
อยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ บรรดา
ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย...... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงได้โจทพระคัคคะ ด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มี
จิตแปรปรวน พระพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก
อาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 523
มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลง ได้
ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย ผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธอ
อยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ได้ยินว่าภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุคัคคะ.... จริงหรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียน.....ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์
จงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ คัคคะภิกษุนั้นพึง
เข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระ-
โหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-
คำขออมูฬหวินัย
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสีย
แล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ
ละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วย
วาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทข้าพเจ้า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 524
ด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติ
ละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ
เห็นปานนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกะภิกษุเท่านั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ทั้งทลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว
ข้าพเจ้านั้นวิกลจริล มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิด
กิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้
ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันข้าพเจ้า
กล่าวอยู่แม้อย่างนั้นก็ยังโจทข้าพเจ้าอยู่ตามเดิมว่า ท่าน
ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้านั้น หายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง....
พึงขอแม้ครั้งที่สาม.... ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกล
จริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มี
จิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะ
เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย
ภิกษุทั้งหลายโจทข้าพเจ้าด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มี
จิตแปรปรวนประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติ
แล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกะภิกษุ
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มี
จิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปร
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 525
ปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอัน
มาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้า
ระลึกอาบัติไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้ง-
หลายผู้อันข้าพเจ้ากล่าวอยู่แม้อย่างนี้ ก็ยังโจทข้าพเจ้าอยู่
ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึกอาบัติเห็นปานนี้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัย
กะสงฆ์ แม้ครั้งที่สาม.
[๖๐๑] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทรามด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้อมูฬหวินัย
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า คัคคะภิกษุนี้
วิกลจริตมีจิตแปรปรวน เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้ง
ที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลาย
โจทคัคคะภิกษุด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก
อาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้น
วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่
ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยา-
ยามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 526
หลง ได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่
แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติ
แล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายวิกลจริตแล้ว
ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่
แล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่คัคคะภิกษุผู้หายวิกลจริต
แล้ว นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า คัคคะภิกษุนี้
วิกลจริตมีจิตแปรปรวน เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้ง
ที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลาย
โจทคัคคะภิกษุด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก
อาบัติเห็นปานนี้เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้า
วิกลจริตมีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต
มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะ
เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย
ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว
ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธอ
อยู่ตามเดิมว่าท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปาน
นี้ เธอหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ สงฆ์
ให้อมูฬหวินัยแก่คัคคะภิกษุผู้หายวิกลจริตแล้ว การให้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 527
อมูฬหวินัยแก่คัคคะภิกษุผู้หายวิกลจริตแล้ว ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม....
อมูฬหวินัย อันสงฆ์ให้แล้วแก่คัคคะภิกษุ ผู้หาย
วิกลจริตแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
ให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม ๓ หมวด
[๖๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การให้อมูฬหวินัย ไม่เป็นธรรม
๓ หมวด เป็นธรรม ๓ หมวดนี้ การให้อมูฬหวินัย ไม่เป็นธรรม
๓ หมวด เป็นไฉน?
หมวดที่ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ต้องอาบัติ สงฆ์หรือ
ภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่าท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึก
อาบัติเห็นปานนี้ เธอกำลังระลึก กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน ข้าพเจ้าต้อง
แล้ว แต่ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ไม่ได้ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การ
ให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม.
หมวดที่ ๒
[๖๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ
สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 528
แล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอระลึกได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่าท่าน
ข้าพเจ้าระลึกได้เหมือนความฝัน สงฆ์ให้อมูฬหวินัย แก่เธอ การให้
อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม.
หมวดที่ ๓
[๖๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ
สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ
แล้วจงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายวิกลจริตแล้วแต่ยังทำเป็นวิกลจริต
ว่า ข้าพเจ้าก็ทำอย่างนี้ ท่านทั้งหลายก็ทำอย่างนี้ สิ่งนี้ควรแก่ข้าพเจ้า
สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่านทั้งหลาย สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัย
ไม่เป็นธรรม.
การให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม ๓ หมวด เหล่านี้
ให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม ๓ หมวด จบ
ให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๐๕] การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ๓ หมวดเป็นไฉน? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 529
โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอระลึก
ไม่ได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าต้องอาบัติแล้วแต่ระลึกอาบัติเห็น
ปานนี้ไม่ได้ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม.
หมวดที่ ๒
[๖๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกล-
จริต มีจิตแปรปรวน ได้พระพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอัน
มาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓
รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึกอาบัติเห็น
ปานนี้ เธอระลึกไม่ได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าระลึกได้คล้าย
ความฝัน สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม.
หมวดที่ ๓
[๖๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกล-
จริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอัน
มาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓
รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ
เห็นปานนี้ เธอวิกลจริต ทำอาการวิกลจริตว่า ข้าพเจ้าก็ทำอย่างนี้
แม้ท่านทั้งหลายก็ทำอย่างนี้ สิ่งนี้ควรแม้แก่ข้าพเจ้า สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่าน
ทั้งหลาย สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม.
การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ๓ หมวด เหล่านี้
ให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ๓ หมวด จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 530
ทำกรรมไม่ตามปฏิญาณ
[๖๐๘] สมัยนั้นเเล พระฉัพพัคคีย์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม
บ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง
อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายไม่ตามปฏิญาณ บรรดาภิกษุที่เป็น
ผู้มักน้อย....ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์
จึงได้ทำกรรมคือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรม
บ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง เเก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่
ตามปฏิญาณเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ได้ยินว่าพระฉัพพัคคีย์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยส-
กรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรม
บ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ตามปฏิญาณ จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน.... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมคือ ตัชชนียกรรม
ก็ดี นิยสกรรมก็ดี ปัพพาชนียกรรมก็ดี ปฏิสารณียกรรมก็ดี อุกเขป-
นียกรรมก็ดี อันภิกษุไม่พึงทำแก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ตามปฏิญาณ รูปใด
ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม
[๖๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำตามปฏิญาณที่ไม่เป็นธรรม
อย่างนี้แล ที่เป็นธรรมอย่างนี้ การทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรมอย่างไร?
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 531
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูป
เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับ
เธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น
ธรรม
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูป
เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้าต้องอาบัติถุลลัจจัย สงฆ์ปรับ
เธอด้วยอาบัติถุลลัจจัย การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณ ไม่เป็น
ธรรม
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูป
เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับ
เธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น
ธรรม
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูป
เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับ
เธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น
ธรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 532
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูป
เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้าต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอ
ด้วยอาบัติทุกกฏ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูป
เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้าต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ปรับ
เธอด้วยอาบัติทุพภาสิต การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น
ธรรม
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส....
ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย...
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์....
ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ....
ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ.....
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูป
เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับ
เธอด้วยอาบัติปาราชิก การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น
ธรรม
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูป
เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 533
ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับ
เธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น
ธรรม
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูป
เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่าท่าน
ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ข้าพเจ้าต้องอาบัติถุลลัจจัย สงฆ์ปรับ
เธอด้วยอาบัติถุลลัจจัย การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูป
เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่าท่าน
ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับ
เธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูป
เดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่าท่าน
ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับ
เธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ การปรับอย่างนี้ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น
ธรรม
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุ
รูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่าท่าน
ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ข้าพเจ้าต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอ
ด้วยอาบัติทุกกฏ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 534
ทำตามปฏิภาณเป็นธรรม
[๖๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำตามปฏิญาณเป็นธรรม
อย่างไร?
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุ
รูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ถูกละ
ท่าน ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาราชิก การ
ปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณเป็นธรรม
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส....
ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย....
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์......
ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ....
ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ....
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุ
รูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า
ถูกละท่าน ข้าพเจ้าต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุพภาสิต
การปรับ อย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณเป็นธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ทำตามปฏิญาณเป็นธรรม.
ระงับอธิกรณ์ด้วยเยภุยยสิกา
[๖๑๑] สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะถึงความวิวาทกัน ในท่ามกลางสงฆ์ กล่าวทิ่มแทงกันและกันด้วย
หอกคือปากอยู่ ไม่อาจเพื่อระงับอธิกรณ์นั้นได้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 535
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยเยภุยยสิกา พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๕ ให้เป็นผู้จับฉลาก คือ:-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักฉลากที่จับแล้วและยังไม่จับ
ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา
ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็น
ผู้ให้จับฉลาก นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติ
ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้
เป็นผู้ให้จับฉลาก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้
นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 536
ภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติแล้วให้เป็นผู้จับฉลาก
ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้
อย่างนี้.
การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง
[๖๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง
เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้
การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน ? คือ:-
๑. อธิกรณ์เป็นเรื่องเล็กน้อย
๒. ไม่ลุกลามไปไกล
๓. ภิกษุพวกนั้นระลึกไม่ได้เอง และพวกอื่นก็ให้ระลึกไม่ได้
๔. รู้ว่า อธรรมวาทีมากกว่า
๕ รู้ว่า ไฉน อธรรมวาทีพึงมีมากกว่า
๖. รู้ว่า สงฆ์จักแตกกัน
๗. รู้ว่า ไฉน สงฆ์พึงแตกแยกกัน
๘. อธรรมวาทีภิกษุจับโดยไม่เป็นธรรม
๙. อธรรมวาทีภิกษุจับเป็นพวก ๆ
๑๐. ไม่จับตามความเห็น
การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 537
การจับฉลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง
[๖๑๓] การจับฉลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน? คือ:-
๑. อธิกรณ์ไม่ใช่เรื่องเล็ก
๒. ลุกลามไปไกล
๓. ภิกษุพวกนั้นระลึกได้ และพวกอื่นก็ให้ระลึกได้
๔. รู้ว่า ธรรมวาทีมากกว่า
๕. รู้ว่า ไฉนธรรมวาทีพึงมีมากกว่า
๖. รู้ว่า สงฆ์จักไม่แตกกัน
๗. รู้ว่า ไฉนสงฆ์ไม่พึงแตกกัน
๘. ธรรมวาทีภิกษุจับโดยธรรม
๙. ธรรมวาทีภิกษุพร้อมเพรียงกันจับ
๑๐. จับตามความเห็น
การจับสลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้ .
สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรม
[๖๑๔] สมัยนั้นแล พระอุปวาฬถูกซักถามถึงอาบัติ ในท่าม
กลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไป
กลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระอุปวาฬถูกชักถามถึงอาบัติในท่ามกลาง
สงฆ์ จึงได้ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไป
กลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 538
เจ้าๆ ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าภิกษุ
อุปวาฬถูกซักถามถึงอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณ
แล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ จริงหรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน....ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับ
สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จง
ทำตัสสปาปิยสิกากรรม๑ แก่ภิกษุอุปวาฬ
ก็แล สงฆ์พึงทำอย่างนี้ พึงโจทภิกษุอุปวาฬก่อน ครั้นแล้วพึง
ให้เธอ ให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาทำตัสสปาปิยสิกากรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุปวาฬ
นี้ถูกซักถามถึงอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้ว
ปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา
กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุปวาฬ
นี้ถูกซักถามถึงอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้ว
๑. กรรมอันสงฆ์พึงทำ เพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้บาป สงฆ์ได้ทำแก่ภิกษุอุปวาฬเป็นครั้ง
แรก.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 539
ปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา
กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ
อุปวาฬ การทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬ
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม....
ตัสสปาปิยสิกากรรมอันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุอุปวาฬ
ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้
อย่างนี้.
ตัสสปาปิยสิกากรรมเป็นธรรม ๕ อย่าง
[๖๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำตัสสปาปิยสิกากรรมเป็นธรรม
๕ อย่างนี้ คือ :-
๑. ภิกษุเป็นผู้ไม่สะอาด
๒. เป็นอลัชชี
๓. เป็นผู้ถูกโจท
๔. สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่เธอ
๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำโดยธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำตัสสปาปิยสิกากรรมเป็นธรรม ๕ อย่าง
นี้แล.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 540
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วย
องค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทศนาคามินี ๑
ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
หมวดที่ ๓
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลย ให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับ
อาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม...
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 541
หมวดที่ ๔
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
หมวดที่ ๕
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
หมวดที่ ๖
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
คือ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
หมวดที่ ๗
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 542
หมวดที่ ๘
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี
คือ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑
สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
หมวดที่ ๙
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ทำเพราะอาบัติที่แสดง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม......
หมวดที่ ๑๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
หมวดที่ ๑๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 543
ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรค
ทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
หมวดที่ ๑๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วย ๓
องค์ ๓ เป็นธรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อ
หน้า ๑ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 544
หมวดที่ ๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ
เพราะต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติ
ยังมิได้แสดง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม...
หมวดที่ ๓
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจท
ก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
หมวดที่ ๔
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อ
หน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
หมวดที่ ๕
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบ
ถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม...
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 545
หมวดที่ ๖
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ
ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
หมวดที่ ๗
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ
เพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
หมวดที่ ๘
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ
เพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกัน
ทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม......
หมวดที่ ๙
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ
เพราะอาบัติยังมิได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 546
หมวดที่ ๑๐
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
หมวดที่ ๑๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้
จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม....
หมวดที่ ๑๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับ
อาบัติก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว .
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 547
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อ
สงฆ์จำนง พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง
ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
เป็นพาล ไม่ฉลาด ไม่อาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร ๑ เป็นผู้
คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์
จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม.
หมวดที่ ๒
[๖๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น
อีก เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติใน
อธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์
จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม.
หมวดที่ ๓
[๖๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น
อีก เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม คือกล่าวติเตียนพระพุทธ
เจ้า ๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์
จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 548
หมวดที่ ๔
[๖๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกา-
กรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการ
วิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด
มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร รูปหนึ่งคลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการ
คลุกคลีอันไม่สมควร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่
ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.
หมวดที่ ๕
[๖๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกา-
กรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล
รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติใน
อติทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่
ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.
หมวดที่ ๖
[๖๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกา-
กรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 549
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่
ภิกษุ ๓ รูป นี้แล.
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด จบ
วัตร ๑๘ ข้อ
[๖๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรม
แล้วนั้น ต้องประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในตัสสปาปิยสิกากรรม
นั้น ดังต่อไปนี้ :-
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 550
๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นทำโอกาส
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้กันในอธิกรณ์
คราวนั้น สงฆ์ได้ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่พระอุปวาฬแล้ว
ภิกษุก่อการวุ่นวาย
[๖๒๕] สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมาง เกิดความ
ทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็น
อันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ครั้งนั้น พวก
เธอคิดว่า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาท
อยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าว
ด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้
บางทีอธิกรณ์นั้น จะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ
เพื่อความแตกกันก็ได้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 551
พุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้ :-
[๖๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิด
ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิด
กิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย
กาย ถ้าพวกเธอในหมู่นั้นคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเกิดความบาดหมาง
เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่
สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวก
เราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความ
รุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานั้น ด้วยติณวัตถารกะ.....
วิธีระงับ
[๖๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงระงับอย่างนี้
ภิกษุทุก ๆ รูปพึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด
ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจาระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด
ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่
ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 552
ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจัก
ให้ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็น
ไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความ
แตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์
พึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษ
หนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ
ให้ฝ่ายของคนทราบด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คณะญัตติกรรมวาจา
ขอท่านทั้งหลายจงพึงข้าพเจ้า พวกเราเกิดความ
บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ
กันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อ
ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้
ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึง
แสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตนในท่าม
กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้น
อาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย
และเพื่อประโยชน์แก่ตน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 553
[๖๒๘] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุ
ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของคนทราบด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่าดังนี้ :-
คณะญัตติกรรมวาจา
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความ
บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ
กันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อ
ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้
ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึง
แสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตน ใน
ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก
เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย
และเพื่อประโยชน์แก่ตน.
[๖๒๙] บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด
ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 554
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ
กันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อ
ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดง
อาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตน ในท่ามกลาง
สงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติ
เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และ
เพื่อประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด
ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจัก
ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็
ได้ ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของ
ตน ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มี
โทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์
แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน การแสดงอาบัติ
เหล่านี้ของพวกเรา ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ
เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ชอบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 555
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด
อาบัติเหล่านี้ของพวกเราเว้นอาบัติที่มีโทษหนัก
เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่าม
กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
[๖๓๐] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุ
ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา
ว่าดังนี้.
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด
ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ
กันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อ
ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดง
อาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์
ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่อง
ด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อ
ประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 556
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด
ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้
ประพูดละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ
กันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อ
ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้
ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนใน
ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก
เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้
และเพื่อประโยชน์แก่ตน การแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวก
เรา ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มี
โทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น
พึงพูด
อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก
เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้ว ในท่าม
กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สง ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
[๖๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ
เหล่านั้นเป็นผู้ออกแล้วจากอาบัติเหล่านั้น เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้น
อาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เว้นผู้แสดงความเห็นแย้ง เว้นผู้ไม่ได้อยู่ในที่นั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 557
อธิกรณ์
[๖๓๒] โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุวิวาทกับพวกภิกษุณีบ้าง พวก
ภิกษุณีวิวาทกับพวกภิกษุบ้าง ฝ่ายพระฉันนะเข้าแทรกแซงพวกภิกษุณี
แล้ววิวาทกับพวกภิกษุ ให้ถือฝ่ายภิกษุณี บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย....
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉันนะจึงได้เข้าแทรกแซง
พวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวกภิกษุ ให้ถือฝ่ายภิกษุณีเล่า แล้วกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ได้ยิน
ว่า ภิกษุฉันนะเข้าเเทรกเเซงพวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวกภิกษุ ให้ถือ
ฝ่ายภิกษุณี จริงหรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียน.... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับ สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ ๔ นี้ คือ
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์.
อธิกรณ์ ๔ อย่าง
๑. วิวาทาธิกรณ์
[๖๓๓] ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน? ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม
๒. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 558
๓. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสภาษิต
ไว้
๔. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง
ประพฤติมา
๕. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง
บัญญัติไว้
๖. นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ
๗. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
๘. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง
ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ
ความหมายมั่นในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์.
๒. อนุวาทาธิกรณ์
[๖๓๔] ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุ
ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การ
กล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำ
ความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า
อนุวาทาธิกรณ์.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 559
๓. อาปัตตาธิกรณ์
[๖๓๕] ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน?
อาบัติทั้ง ๕ กอง ซึ่งอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๗ กอง ชื่ออาปัตตา
ธิกรณ์ นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์.
๔. กิจจาธิกรณ์
[๖๓๖] ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน? ความ
เป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์อันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติ
กรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์.
อธิกรณ์ ๔ อย่าง จบ
มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
[๖๓๗] อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งการเถียงกัน ๖
อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งอกุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทา
ธิกรณ์ รากแห่งกุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
รากแห่งการเถียงกัน ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ เป็น
ผู้ถือโกรธ ภิกษุที่มักโกรธ ถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรง
ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์
แม้ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม
ในพระสงฆ์ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้เกิดใน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 560
สงฆ์ การวิวาทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุข
แก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
แก่เทพยดาและมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่ง
การเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้น
พึงพยายามละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็ง
เห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอ
ในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อความยืดยาวไป แห่งรากแห่งการเถียงกันอัน
ลามกนั้นแหละ ความละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วย
อย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไป
ด้วยอย่างนี้.
[๖๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่
ตีเสมอท่าน.....
ภิกษุเป็นผู้มีปรกติอิสสา ตระหนี่....
ภิกษุเป็นผู้อวดดี เจ้ามายา...
ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด....
ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้
ยาก ภิกษุผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น
ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ใน
พระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ
ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขา
ก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้เกิดในสงฆ์ การวิวาทย่อมเป็น
ไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 561
พินาศแก่ขนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพยดาและมนุษย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้
ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้นพึง พยายามมละรากแห่ง
การเถียงกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการเถียง
กันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึง
ปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละ ความ
ละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่ง
รากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้ รากแห่งการ
วิวาท ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์.
อกุศลมูล ๓
[๖๓๙] รากแห่งอกุศล ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตโลภวิวาทกัน
มีจิตโกรธวิวาทกัน มีจิตหลงวิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม
๒. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย
๓. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัส
ภาษิตไว
๔. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง
ประพฤติมา
๕. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง
บัญญัติไว้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 562
๖. นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ
๗. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
๘. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
รากแห่งอกุศล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์.
กุศลมูล ๓
[๖๔๐] รากแห่งกุศล ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตไม่โลภวิวาทกัน
มีจิตไม่โกรธวิวาทกัน มีจิตไม่หลงวิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม......
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.
รากแห่งกุศล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์.
มูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
[๖๔๑] อะไรเป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ รากแห่งการโจท ๖
อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ รากแห่งอกุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่ง
อนุวาทาธิกรณ์ รากแห่งกุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ แม้กาย
ก็เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ แม้วาจาก็เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์.
[๖๔๒] รากแห่งการโจท ๖ อย่าง เป็นมูลเห่งอนุวาทาธิกรณ์
เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ
ถือโกรธ ภิกษุที่มักโกรธ ถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงใน
พระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์แม้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 563
ในสิกขา ภิกษุที่ไม่เคารพยำกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ใน
พระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังการโจทกันให้เกิด
ในสงฆ์ การโจทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็น
สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์แก่เทพดาและมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็น
รากแห่งการโจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอใน
บริษัทนั้น พึงพยายามละรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้า
พวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการโจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก
พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งราก แห่งการโจทกัน
อันลามกนั้นแหละ ความละรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วย
อย่างนี้ การยืดเยื้อแห่งรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไป
ด้วยอย่างนี้ .
[๖๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่
ตีเสมอท่าน
ภิกษุเป็นผู้มีปกติอิสสา ตระหนี่....
ภิกษุเป็นผู้อวดดี เจ้ามายา.....
ภิกษุเป็นผู้ความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด.....
ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้
ยาก ภิกษุที่ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น
ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 564
อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพยำกรงใน
พระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ เเม้ในสิกขา ก็ไม่ทำให้
บริบูรณ์นั้น ย่อมยังการโจทกันให้เกิดในสงฆ์ การโจทกันย่อมเป็นไป
เพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศ
แก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพดาและมนุษย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่งการโจทกันเห็นปานนี้ ทั้ง
ภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละรากแห่ง
การโจทกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการโจท
กันเห็นปานนี้ ทั้งภายในเเละภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึง
ปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้นแหละ ความ
ละรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่ง
รากแห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้
รากแห่งการโจทกัน ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์.
อกุศลมูล ๓
[๖๔๔] อกุศลมูล ๓ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีจิตโลภโจท
ย่อมมีจิตโกรธโจท ย่อมมีจิตหลงโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติหรืออาชีววิบัติ อกุศลมูล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
กุศลมูล ๓
[๖๔๕] กุศลมูล ๓ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีจิตไม่โลภโจท
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 565
ย่อมมีจิตไม่โกรธโจท ย่อมมีจิตไม่หลงโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ
หรืออาชีววิบัติ กุศลมูล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์.
กาย
[๖๔๖] อนึ่ง กาย เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ?
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีผิวพรรณน่ารังเกียจ ไม่น่าดู มี
รูปร่างเล็ก มีอาพาธมาก เป็นคนบอด ง่อย กระจอก หรืออัมพาต
ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุนั้น ด้วยกายใด กายนี้ เป็นมูลแห่งอนุ
วาทาธิกรณ์.
วาจา
[๖๔๗] อนึ่ง วาจา เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน?
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นคนพูดไม่ดี พูดไม่ชัด พูดระราน
ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุนั้น ด้วยวาจาใด วาจานี้ เป็นมูลแห่งอนุ
วาทาธิกรณ์.
มูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์
[๖๔๘] อะไรเป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์?
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์ คือ:-
๑. อาบัติเกิดทางกาย ไม่ใช่ทางวาจา ไม่ใช่ทางจิต ก็มี
๒. อาบัติเกิดทางวาจา ไม่ใช่ทางกาย ไม่ใช่ทางจิต ก็มี
๓. อาบัติเกิดทางกายกับวาจา ไม่ใช่ทางจิต ก็มี
๔. อาบัติเกิดทางกายกับจิต ไม่ใช่ทางวาจา ก็มี
๕. อาบัติเกิดทางวาจากับจิต ไม่ใช่ทางกาย ก็มี
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 566
๖. อาบัติเกิดทางกาย วาจา และจิต ก็มี.
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์.
มูลแห่งกิจจาธิกรณ์
[๖๔๙] อะไรเป็นมูลแห่งกิจจาธิกรณ์?
สงฆ์เป็นมูลอันหนึ่งแห่งกิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต
[๖๕๐] วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต วิวาทาธิกรณ์
เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี.
[๖๕๑] บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นอกุศล เป็น
ไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตเป็น
อกุศลวิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม....
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง
การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ
ความหมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล.
[๖๕๒] บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล เป็น
ไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้มีจิตเป็นกุศล
วิวาทกันว่า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 567
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม....
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง
การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ
ความหมายมั่นในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล.
[๖๕๓] บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต
เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตเป็น
อัพยากฤตวิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม....
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง
การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ
ความหมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต
[๖๕๔ ] อนุวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต อนุ
วาทาธิกรณ์ เป็นกุศลก็มี อกุศลก็มี อัพยากฤตก็มี.
[๖๕๕] บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล
เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิต
เป็นอกุศล ย่อมโจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรือ
อาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วงความ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 568
เป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ใน
เรื่องนั้น อัน ใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล.
[๖๕๖] บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นกุศล
เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิต
เป็นกุศล ย่อมโจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรือ
อาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความ
เป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ใน
เรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นกุศล
[๖๕๗] บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต
เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิต
เป็นอัพยากฤต ย่อมโจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัต ทิฏฐิวิบัติ หรือ
อาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วงความ
เป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ใน
เรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต
[๖๕๘] อาปัติตาธิกรณ์เป็นอกุศล อัพยากฤต อาปัตตาธิกรณ์
เป็นอกุศลก็มี อัพยากฤตก็มี อาปัติตาธิกรณ์เป็นกุศลไม่มี
[๖๕๙] บรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัติตาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล
เป็นไฉน?
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 569
ภิกษุรู้อยู่ เข้าใจอยู่ จงใจ ฝ่าฝืน ละเมิดอาบัติใด นี้เรียกว่า
อาปัตตาธิกรณ์เป็นอกุศล
บรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็น
ไฉน?
ภิกษุไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่จงใจ ไม่ฝ่าฝืน ละเมิดอาบัติใด
นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต.
[๖๖๐] กิจจาธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต กิจจาธิกรณ์
เป็นกุศลก็มี อกุศลก็มี อัพยากฤตก็มี.
[๖๖๑] บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็น
ไฉน?
สงฆ์มีจิตเป็นอกุศล ทำกรรมอันใด คือ อุปโลกนกรรม ญัตติ-
กรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์
เป็นอกุศล .
[๖๖๒] บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นกุศล เป็นไฉน?
สงฆ์มีจิตเป็นกุศล ทำกรรมอันใด คือ อุปโลกนกรรม ญัตติกรรม
ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นกุศล.
[๖๖๓] บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็น
ไฉน ? สงฆ์มีจิตเป็นอัพยากฤต ทำกรรมอันใด คือ อุปโลกนกรรม
ฌัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์
เป็นอัพยากฤต.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 570
วิวาทาธิกรณ์
[๖๖๔] วิวาท เป็นวิวาทาธิกรณ์ วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์
ไม่เป็นวิวาท เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นวิวาทด้วย วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ก็มี
วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็น
วิวาทด้วยก็มี.
[๖๖๕] บรรดาวิวาทนั้น วิวาทที่เป็นวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกัน
ว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม .....
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง
ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัด
กลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิวาทเป็นวิวาทา
ธิกรณ์
บรรดาวิวาทนั้น วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน ? มารดาวิวาท
กับบุตรบ้าง บุตรวิวาทกับมารดาบ้าง บิดาวิวาทกับบุตรบ้าง บุตรวิวาท
กับบิดาบ้าง พี่ชายวิวาทกับน้องชายบ้าง พี่ชายวิวาทกับน้องหญิงบ้าง
น้องหญิงวิวาทกับพี่ชายบ้าง สหายวิวาทกับสหายบ้าง นี้ชื่อว่า วิวาท
ไม่เป็นอธิกรณ์
บรรดาวิวาทนั้น อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท เป็นไฉน?
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 571
อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์
ไม่เป็นวิวาท
บรรดาวิวาทนั้น อธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย เป็น
ไฉน?
วิวาทาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย.
อนุวาทาธิกรณ์
[๖๖๖] การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ การโจทไม่เป็นอธิกรณ์
อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นการโจทด้วย การโจทเป็น
อนุวาทาธิกรณ์ก็มี การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท
ก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นการโจทด้วยก็มี.
[๖๖๗] บรรดาการโจทนั้น การโจทที่เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็น
ไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุ
ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การ
กล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำ
ความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นอันใด นี้ชื่อว่า
การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์
บรรดาการโจทนั้น การโจทที่ไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน ?
มารดากล่าวหาบุตรบ้าง บุตรกล่าวหามารดาบ้าง บิดากล่าวหา
บุตรบ้าง บุตรกล่าวหาบิดาบ้าง พี่ชายกล่าวหาน้องชายบ้าง พี่ชาย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 572
กล่าวหาน้องหญิงบ้าง น้องหญิงกล่าวหาพี่ชายบ้าง สหายกล่าวหาสหาย
บ้าง นี้ชื่อว่า การโจทไม่เป็นอธิกรณ์
บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่ไม่เป็นการโจท เป็นไฉน ?
อาปัตตาธิกรณ์ กิขจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์
ไม่เป็นการโจท
บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย
เป็นไฉน?
อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย.
อาปัตตาธิกรณ์
[๖๖๘] อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์
ไม่เป็นอาบัติ เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นอาบัติด้วย อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์
ก็มี อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย
เป็นอาบัติด้วยก็มี.
[๖๖๙] บรรดาอธิกรณ์นั้น อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน ?
อาบัติ ๕ กองเป็นอาปัตตาธิกรณ์บ้าง อาบัติ ๗ กองเป็นอาปัตตา
ธิกรณ์บ้าง นี้ชื่อว่า อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาอธิกรณ์นั้น อาบัติที่ไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน ?
โสดาบัติ สมาบัติ นี้ชื่อว่า อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์
บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่ไม่เป็นอาบัติ เป็นไฉน?
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 573
กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ไม่
เป็นอาบัติ
บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย
เป็นไฉน ?
อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย.
กิจจาธิกรณ์
[๖๗๐] กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ กิจไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็น
กิจ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ก็มี กิจไม่เป็น
อธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นกิจก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นกิจด้วยก็มี.
[๖๗๑] บรรดาอธิกรณ์นั้น กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน ?
ความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีแห่งสงฆ์อันใด คือ อปโลกน-
กรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้ชื่อว่า กิจ
เป็นกิจจาธิกรณ์
บรรดาอธิกรณ์นั้น กิจไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน ?
กิจที่จะต้องทำแก่พระอาจารย์ กิจที่จะต้องทำแก่พระอุปัชฌายะ
กิจที่จะต้องทำแก่ภิกษุเสมออุปัชฌายะ กิจที่จะต้องทำแก่ภิกษุผู้เสมอพระ
อาจารย์ นี้ชื่อว่า กิจไม่เป็นอธิกรณ์
บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ เป็นไฉน ?
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์
ไม่เป็นกิจ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 574
บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นกิจด้วย เป็น
ไฉน ? กิจจาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย.
วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง
[๖๗๒] วิวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร ?
วิวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๒ คือ สัมมุขาวินัย ๑
เยภุยยสิกา ๑ บางทีวิวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ เยภุยยสิกา
พึงระงับด้วยสมถะอย่างเดียว คือสัมมุขาวินัย บางทีพึงตกลงกันได้ สม
จริงดังที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาท
กันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม
๒. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย
๓ นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัส
ภาษิตไว้
๔. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง
ประพฤติมา
๕. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง
บัญญัติไว้
๖. นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ
๗. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 575
๘. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกนั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้
นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร? ด้วยสัมมุขาวินัย ใน
สัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง ? มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้า
ธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล
ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ? คือ ภิกษุผู้
เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ? ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควร
ฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์
ในสัมมุขาวินัยนั้น
ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น
อย่างไร? คือ อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์
ใด นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขา
วินัยนั้น
ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? คือ โจทก์และ
จำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อม
หน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้นเป็น
ปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน
[๖๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถระงับ
อธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ พวกเธอพึงไปสู่อาวาสที่มีภิกษุมากกว่า หาก
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 576
พวกเธอกำลังไปสู่อาวาสนั้น สามารถระงับอธิกรณ์ได้ในระหว่างทาง นี้
เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย ใน
สัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง? มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้า
ธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล
ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ? คือ ภิกษุ
ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้
ควรฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้า
สงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้น
ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น
อย่างไร ? คือ อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์
ใด นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขา
วินัยนั้น
ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ? คือโจทก์
และจำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความ
พร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็น
ปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.
[๖๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้น กำลังไปสู่อาวาสนั้น
ไม่สามารถระงับอธิกรณ์นั้น ในระหว่างทางได้ พวกเธอไปถึงอาวาสนั้น
แล้ว พึงกล่าวกะภิกษุเจ้าถิ่นว่า ท่านทั้งหลาย อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 577
บังเกิดแล้วอย่างนี้ ขอโอกาสท่านทั้งหลายจงระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม
โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้จะพึงระงับด้วยดี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นเป็นผู้แก่กว่า พวกภิกษุ
อาคันตุกะอ่อนกว่า พวกเธอพึงกล่าวกะภิกษุอาคันตุกะว่า ท่านทั้งหลาย
ขอนิมนต์ท่านทั้งหลายจงรวมอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง สักครู่หนึ่ง
ตลอดเวลาที่พวกข้าพเจ้าจะปรึกษากัน แต่ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นเป็นผู้อ่อน
กว่า พวกภิกษุอาคันตุกะแก่กว่า พวกเธอพึงกล่าวกะภิกษุอาคันตุกะว่า
ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นขอท่านทั้งหลายจงอยู่ ณ ที่นี้สักครู่หนึ่งจนกว่า
พวกข้าพเจ้าจะปรึกษากัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นกำลังปรึกษา คิดกันอย่าง
นี้ว่า พวกเราไม่สามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดย
สัตถุศาสน์ พวกเธอไม่พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้ แต่ถ้ากำลังปรึกษา คิดกัน
อย่างนี้ว่า พวกเรา สามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย
และโดยสัตถุศาสน์ พวกเธอพึงกล่าวกะพวกภิกษุอาคันตุกะว่า ท่านทั้ง
หลาย ถ้าพวกท่านจักแจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติแล้วแก่
พวกเรา เหมือนอย่างพวกเราจักระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และ
โดยสัตถุศาสน์ฉันใด อธิกรณ์นี้จักระงับด้วยดีฉันนั้น อย่างนี้พวกเราจึง
จักรับอธิกรณ์นี้ หากพวกท่านจักไม่แจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่
อุบัติแล้วแก่พวกเรา เหมือนอย่างพวกเราจักระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม
โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ฉันใด อธิกรณ์นี้จักไม่ระงับด้วยดี ฉันนั้น
พวกเราจักไม่รับอธิกรณ์นี้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 578
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุเจ้าถิ่นพึงรอบตอบอย่างนี้ แล้วรับ
อธิกรณ์นั้น ไว้ พวกภิกษุอาคันตุกะนั้น พึงกล่าวกะพวกภิกษุเจ้าถิ่นว่า
พวกข้าพเจ้าจักแจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติแล้ว แก่ท่านทั้ง
หลาย ถ้าท่านสามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดย
สัตถุศาสน์ ระหว่างเวลาเท่านี้ได้ อธิกรณ์จักระงับ ด้วยดีเช่นว่านั้นอย่าง
นี้ พวกข้าพเจ้าจักมอบอธิกรณ์แก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านทั้งหลายไม่
สามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ระหว่าง
เวลาเท่านี้ได้ อธิกรณ์จักไม่ระงับด้วยดีเช่นว่านั้น พวกข้าพเจ้าจักไม่มอบ
อธิกรณ์นี้แก่ท่านทั้งหลาย พวกข้าพเจ้านี้แหละจักเป็นเจ้าของอธิกรณ์นี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุอาคันตุกะพึงรอบคอบอย่างนี้ แล้ว
จึงมอบอธิกรณ์แก่พวกภิกษุเจ้าถิ่น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้
นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับดีแล้ว ระงับด้วยอะไร ? ด้วยสัมมุขาวินัย ใน
สัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง ? มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้า
ธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล....
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น
เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.
อุพพาหิกวิธี
[๖๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์
นั้นอยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นและไม่ทราบความแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 579
เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์คุณ ๑๐ ประการ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกวิธี
องค์คุณ ๑๐ ประการ
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาฏิโมกข์สังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่
ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูตร ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใดไพเราะ
ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ย่อมสรรเสริญพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ธรรมทั้งหลายเห็น
ปานนั้น ย่อมเป็นอันเธอสดับมาก ทรงไว้ สั่งสมด้วยวาจา เข้าไป
เพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยทิฏฐิ
๓. จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิศดาร จำแนกดี สวดดี วินิจฉัย
ถูกต้องโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
๔. เป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ไม่คลอนแคลน
๕. เป็นผู้อาจชี้แจงให้คู่ต่อสู้ในอธิกรณ์ยินยอม เข้าใจ เพ่งเห็น
เลื่อมใส
๖. เป็นผู้ฉลาดเพื่อยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้นให้ระงับ
๗. รู้อธิกรณ์
๘. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์
๙. รู้ความระงับแห่งอธิกรณ์
๑๐. รู้ทางระงับอธิกรณ์
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 580
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
คุณ ๑๐ นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี.
[๖๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึง
ขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์
ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเรา
วินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นและไม่ทราบ
อรรถ แห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย
เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเรา
วินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้น และไม่ทราบ
ความแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้
ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี
การสมมตภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์
นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย อันสงฆ์สมมติแล้ว
เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี ชอบแก่สงฆ์ เหตุ
นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 581
[๖๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถระงับ
อธิกรณ์นั้น ด้วยอุพพาหิกวิธี นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับ
ด้วยอะไร ? ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง? มีความ
พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล....
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น
เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น.
[๖๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์
นั้นอยู่ในบริษัทนั้นพึงมีภิกษุธรรมกถึก เธอจำสูตรไม่ได้เลย จำวิภังค์
แห่งสูตรก็ไม่ได้ เธอไม่ได้สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้า
พยัญชนะ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบ
ด้วยคณะญัตติ ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาคณะญัตติ
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้
เป็นธรรมกถึก เธอจำสูตรไม่ได้เลย จำวิภังค์แห่งสูตรก็
ไม่ได้ เธอไม่ได้สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตาม
เค้าพยัญชนะ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่
แล้ว พวกเราพึงขับภิกษุมีชื่อนี้ให้ออกไป แล้วที่เหลือ
พึงระงับอธิกรณ์นี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นขับภิกษุนั้นออกไปแล้ว
สามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 582
อะไร ? ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง ? มีความพร้อม
หน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล....
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น
เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น.
[๖๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์
นั้นอยู่ ในบริษัทนั้นพึงมีภิกษุธรรมกถึก เธอจำสูตรได้ แต่จำวิภังค์
แห่งสูตรไม่ได้เลย เธอไม่สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้า
พยัญชนะ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบ
ด้วยคณะญัตติ ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาคณะญัตติ
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้
เป็นธรรมกถึก เธอจำสูตรได้ แต่จำวิภังค์แห่งสูตรไม่ได้
เลย เธอไม่สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้า
พยัญชนะ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว
พวกเราพึงขับภิกษุชื่อนี้ให้ออกไป แล้วที่เหลือพึงระงับ
อธิกรณ์นี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นขับภิกษุนั้นออกไปแล้ว
สามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ?
ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง ? มีความพร้อมหน้าธรรม
ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล.....
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 583
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น
เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น.
[๖๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้น ไม่สามารถระงับ
อธิกรณ์นั้น ด้วยอุพพาหิกวิธี พวกเธอพึงมอบอธิกรณ์นั้นแก่สงฆ์ว่า
ท่านเจ้าข้า พวกข้าพเจ้าไม่สามารถระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ขอ
สงฆ์นั่นแหละจงระงับอธิกรณ์นี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วย
เยภุยยสิกา พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๕ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก
คือ
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. พึงรู้จักสลากที่จับแล้วและยังไม่จับ.
ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา
ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็น
ผู้ให้จับสลาก นี้เป็นญัตติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 584
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติ
ภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้จับสลาก การสมมติภิกษุมีชื่อนี้
ให้เป็นผู้ให้จับสลาก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น
ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติแล้ว ให้เป็นผู้ให้จับ
สลาก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความ
นี้ไว้ อย่างนี้.
ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้น พึงให้ภิกษุทั้งหลายจับสลาก ภิกษุพวก
ธรรมวาทีมากกว่า ย่อมกล่าวฉันใด พึงระงับอธิกรณ์นั้น ฉันนั้น นี้
เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร? ด้วยสัมมุขาวินัย และ
เยภุยยสิกา ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง? มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความ
พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล
ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ? คือ ภิกษุผู้เข้า
กรรมมีจำนวนเท่าไร ? ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควร
ฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์
ในสัมมุขาวินัยนั้น
ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัย
นั้นอย่างไร ? คือ อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดย
สัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย
ในสัมมุขาวินัยนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 585
ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ? คือโจทก์
และจำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อม
หน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้น
ก็ในเยภุยยสิกานั้นมีอะไรบ้าง? มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป
ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรมในเยภุยยสิกาอัน
ใด นี้มีในเยภุยยสิกานั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้นเป็น
ปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.
วิธีจับสลาก ๓ วิธี
[๖๘๑] โดยสมัยนั้นแล อธิกรณ์เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้ว
อย่างนี้ ในพระนครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นจึงไม่พอใจด้วยการระงับ
อธิกรณ์ของสงฆ์ ในพระนครสาวัตถี ได้ทราบข่าวว่า ในอาวาสโน้น
มีพระเถระอยู่หลายรูป เป็นผู้คงแก่เรียน ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นลัชชี มี
ความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา หากพระเถระเหล่านั้นพึงระงับอธิกรณ์นี้
โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ อย่างนี้อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วย
ดี จึงไปสู่อาวาสนั้น แล้วเรียนกะพระเถระพวกนั้นว่า ท่านเจ้าข้า
อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้ ขอโอกาส ขอรับ ขอ
พระเถระทั้งหลายจงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดย
สัตถุศาสน์ ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วยดี
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 586
จึงพระเถระพวกนั้นช่วยระงับอธิกรณ์นั้นแล้ว เหมือนอย่างที่สงฆ์
ในพระนครสาวัตถีระงับแล้ว ตามวิธีที่ระงับด้วยดีแล้วฉะนั้น ครั้งนั้น
ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ในพระนครสาวัตถี
นั้น ไม่พอใจด้วยการระงับ อธิกรณ์ของพระเถระมากรูป ได้ทราบข่าวว่า
ในอาวาสโน้น มีพระเถระอยู่ ๓ รูป..... มีพระเถระอยู่ ๒ รูป.......
พระเถระอยู่รูปเดียว เป็นผู้คงแก่เรียน ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นลัชชี มี
ความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา หากพระเถระนั้นพึงระงับอธิกรณ์นี้โดย
ธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ อย่างนี้ อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วย
ดี จึงไปสู่อาวาสนั้น แล้วเรียนกะพระเถระนั้นว่า ท่านขอรับ อธิกรณ์
นี้เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้ ขอโอกาส ขอรับ ขอพระเถระ
จงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ตามวิถี
ทางที่อธิกรณ์นี้จะพึงระงับด้วยดี
พระเถระนั้นจึงช่วยระงับอธิกรณ์นั้นแล้ว เหมือนอย่างที่สงฆ์ใน
พระนครสาวัตถีระงับแล้ว เหมือนอย่างที่พระเถระมากรูประงับแล้ว
เหมือนอย่างที่พระเถระ ๓ รูประงับแล้ว และเหมือนอย่างที่พระเถระ ๒ รูป
ระงับแล้ว ตามวิธีที่ระงับด้วยดีแล้ว ฉะนั้น
ครั้งนั้นภิกษุผู้ที่ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ในพระนคร
สาวัตถี ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระมากรูป ไม่พอใจ
ด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระ ๓ รูป ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 587
ของพระเถระ ๒ รูป ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระรูปเดียว
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
เจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ที่พิจารณาแล้วนั้นเป็นอันสงบระงับดี
แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวิธีจับสลาก ๓ อยู่ คือ ปก
ปิด ๑ กระซิบบอก ๑ เปิดเผย ๑ ตามความยินยอมของภิกษุพวกนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิธีจับสลากปกปิด เป็นไฉน?
ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้น พึงทำสลากให้มีสี และไม่มีสี แล้วเข้า
ไปหาภิกษุทีละรูป ๆ แล้วแนะนำอย่างนี้ว่า นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้
นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ ท่านจงจับสลากที่ชอบใจ เมื่อภิกษุนั้นจับแล้ว
พึงแนะนำว่า ท่านอย่าแสดงแก่ใคร ๆ ถ้ารู้ว่าอธรรมวาทีมากกว่า พึง
บอกว่า สลากจับไม่ดี แล้วให้จับใหม่ ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึง
ประกาศว่า สลากจับดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลากปกปิด
เป็นอย่างนี้แหละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิธีจับสลากกระซิบบอก เป็นไฉน?
ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้น พึงกระซิบบอกที่ใกล้หูของภิกษุแต่ละรูป ๆ
ว่า นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ ท่านจงจับ
สลากที่ชอบใจ เมื่อภิกษุนั้นจับแล้ว พึงแนะนำว่า ท่านอย่าบอกแก่
ใคร ๆ ถ้ารู้ว่า อธรรมวาทีมากกว่า พึงบอกว่า สลากจับไม่ดี แล้ว
ให้จับ ใหม่ ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึงประกาศว่า สลากจับดีแล้ว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 588
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลากกระซิบบอกเป็นอย่างนี้แหละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิธีจับสลากเปิดเผย เป็นไฉน ?
ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึงให้จับสลากเปิดเผย อย่างแจ่มแจ้ง
วิธีจับสลากเปิดเผยเป็นอย่างนี้แหละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลาก ๓ อย่างนี้แล.
อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ อย่าง
[๖๘๒] อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะอย่างไร?
อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๔ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑
สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑
[๖๘๓] บางทีอนุวาทาธิกรณ์ ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือ
อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัม
มุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ
อันไม่มีมูล สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ
อยู่แล้ว ก็แล สงฆ์พึงให้สติวินัยอย่างนี้ :-
วิธีให้สติวินัย
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุ
ผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 589
คำขอสติวินัย
ท่านเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทข้าพเจ้าด้วยศีล
วิบัติ อันไม่มีมูล ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นถึงความไพบูลย์
แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๖๘๔] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้สติวินัย
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมโจทภิกษุมีชื่อนี้ ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล เธอถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้
ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมโจทภิกษุมีชื่อนี้ ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล เธอถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัย
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว การให้
สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 590
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง.......
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม.......
สติวินัยอันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วย
อะไร? ด้วยสัมมุขาวินัยกับสติวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง? มี
ความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย
ความพร้อมหน้าบุคคล....
ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? คือ โจทก์และ
จำเลยทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขา
วินัยนั้น
ในสติวินัยนั้นมีอะไรบ้าง ? มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป
ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือสติวินัย
อันใด นี้มีในสติวินัยนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น
เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน
[๖๘๕] บางทีอนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือ สติ
วินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ พึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง สัมมุขาวินัย ๑
อมูฬหวินัย ๑ บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 591
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิต
แปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทเธอด้วยอาบัติ
ที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้อง
อาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่
สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้า
ระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอ
กล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จง
ระลึกอาบัติเห็นปานนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้หายหลง
แล้ว ก็แล สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคอง
อัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-
คำขออมูฬหวินัย
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้ง
ที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลาย
โจทข้าพเจ้า ด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 592
อาบัติเห็นปานนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกะภิกษุพวกนั้นอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึก
อาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้ง
หลายผู้อันข้าพเจ้ากล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทข้าพเจ้า
อยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว ระลึกอาบัติเห็น
ปานนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬห-
วินัยกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๖๘๖] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ
ด้วยญัตติจตุตถกรรมกรรมวาจาว่า ดังนี้:-
กรรมวาจาให้อมูฬหวินัย
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้
รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจ
อันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทเธอด้วยอาบัติที่เธอ
วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า
ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 593
อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปร
ปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอัน
มาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้า
ระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่
ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้
เธอหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุมีชื่อ
นี้ ผู้หายหลงแล้ว นิเป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้
รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจ
อัน ไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทเธอด้วยอาบัติที่เธอ
วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า
ท่าต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าว
อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปร
ปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอัน
มาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้า
ระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุ
ทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตาม
เดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 594
เธอหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้อมูฬห-
วินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว การให้อมูฬหวินัย
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที้สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม.....
อมูฬหวินัยอันสงฆ์ให้แล้ว แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หาย
หลงแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความ
นี้ไว้ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ?
ด้วยสัมมุขาวินัย กับอมูฬหวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความ
พร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ
พร้อมหน้าบุคคล....
ในอมูฬหวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความ
เข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ
อมูฬหวินัยอันใด นี้มีในอมูฬหวินัยนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น
เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.
[๖๘๗] บางที อนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือสติ-
วินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ พึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑
ตัสสปาปิยสิกา ๑ บางที่พึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 595
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยครุกาบัติ
ในท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านต้องครุกาบัติ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติ
ที่ใกล้ปาราชิกแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า
ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติใกล้ปาราชิก
ภิกษุผู้โจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นนั่นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า
เอาเถิด ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ
อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่า ต้อง
ครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติใกล้ปาราชิก แต่
ระลึกได้ว่า ต้องอาบัติแม้เล็กน้อยเห็นปานนี้
ภิกษุผู้โจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นนั่นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า
เอาเถิด ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้
คืออาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าต้องอาบัติเล็กน้อยชื่อ
นี้ ข้าพเจ้าไม่ถูกถามก็ปฏิญาณ ข้าพเจ้าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ
อาบัติปาราชิกหรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ข้าพเจ้าถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญาณ
หรือ
ภิกษุผู้โจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ก็ท่านต้องอาบัติแม้เล็กน้อย
ชื่อนี้ ท่านไม่ถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญาณ ก็ท่านต้องครุกาบัติเห็นปานนี้
คืออาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ท่านไม่ถูกถามแล้วจัก
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 596
ปฏิญาณหรือ เอาเถิด ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติ
เห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าระลึกได้ว่า ต้อง
ครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก คำ
นั้นข้าพเจ้าพูดเล่น คำนั้นข้าพเจ้าพูดพล่อยไป ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่า
ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมนั่นแก่ภิกษุ
นั้นแล.
วิธีทำตัสสปาปิยสิกากรรม
[๖๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม
อย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาทำตัสสปาปิยสิกา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้
รูปนี้ ถูกซักถามถึงครุกาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธ
แล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา
กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็น
ญัตติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 597
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้
รูปนี้ ถูกซักถามถึงครุกาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธ
แล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา
กล่าวเท็จทั้งที่รู้ สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้
การทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้
ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง...
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม....
ตัสสปาปิยสิกากรรม อันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุมีชื่อ
นี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้
อย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ?
ด้วยสัมมุขาวินัยกับตัสสปาปิยสิกา ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง ? มีความ
พร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ
พร้อมหน้าบุคคล....
ในตัสสปาปิยสิกานั้นมีอะไรบ้าง ? มีกิริยา ความกระทำ ความ
เข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ
ตัสสปาปิยสิกาอันใด นี้มีในตัสสปาปิยสิกานั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น
เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตติย์ที่ติเตียน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 598
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง
[๖๘๙] อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมณะเท่าไร ? อาปัตตาธิกรณ์
ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฎิญาณตกรณะ ๑ ติณวัต
ถารกะ ๑.
[๖๙๐] บางที อาปัตตาธิกรณ์ ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ
ติณวัตถารกะพึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาต
กรณะ ๑ บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องลหุกาบัติแล้วเธอ
พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคอง
อัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ผมแสดงคืน
อาบัตินั้น
ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า ท่านเห็นหรือ
ภิกษุผู้แสดงนั้นพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น
ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ?
ด้วยสัมมุขาวินัยกับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยมีอะไรบ้าง ? มีความ
พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล....
ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ? คือผู้แสดงกับ
ผู้รับแสดง ทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคล
ในสัมมุขาวินัยนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 599
ในปฏิญญาตกรณะนั้น มีอะไรบ้าง ? มีกิริยา ความกระทำ ความ
เข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ
ปฏิญญาตกรณะอันใดนี้มีในปฏิญญาตกรณะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น
เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น หากได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี หาก
ไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุมากรูปด้วยกัน ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติซึ่งนี้ ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัตินั้น
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุพวกนั้นทราบด้วย
คณะญัตติว่า ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ รูปนี้ ระลึก
เปิดเผย ทำให้ตื้น แสดงอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลาย
ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าขอรับอาบัติของภิกษุมีชื่อนี้ แล้วกล่าวว่า เธอเห็น
หรือ
ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น
ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า คุณพึงสำรวมต่อไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร?
ด้วยสัมมุขาวินัยกับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง? มี
ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล.....
ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ? คือ ผู้แสดง
กับผู้รับแสดงทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลใน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 600
สัมมุขาวินัยนั้น ในปฏิญญาตกรณะนั้น มีอะไรบ้าง ? มีกิริยา ความ
กระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่
คัดค้านกรรม คือ ปฏิญญาตกรณะอันใด นี้มีในปฏิญญาตกรณะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น
เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น หากได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี หาก
ไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า
ภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
เจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัตินั้น
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ระลึกเปิดเผย ทำให้
ตื้น แสดงอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงรับ
อาบัติของภิกษุมีชื่อนี้ แล้วพึงกล่าวว่าเธอเห็นหรือ
ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น
ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ?
ด้วยสัมมุขาวินัยกับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง ? มี
ความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ
พร้อมหน้าบุคคล...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น
เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 601
[๖๙๑] บางทีอาปัตตาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ ปฏิญ-
ญาตกรณะพึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ติณวัตถารกะ
๑ บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความบาด-
หมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอัน
ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมากทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย
ถ้าพวกภิกษุในหมู่นั้นคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิด
ความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่สมควรแก่สมณะ
เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเรา
จักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุน
แรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ ด้วยติณวัตถารกะ
วิธีระงับ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์อย่างนี้
ภิกษุทุก ๆ รูป พึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้
ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า
ดังนี้ :-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความ
บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประ-
พฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 602
ด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกัน
ด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความ
รุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า
ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้
ด้วยติณวัตถารกะเว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่อง
ด้วยคฤหัสถ์
บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ
ให้ฝ่ายของตนทราบ ด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คณะญัตติกรรมวาจา
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความ
บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประ-
พฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าว
ด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกัน
ด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความ
รุนแรง เพื่อความร่ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า
ความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึง
แสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย เเละอาบัติของตนในท่าม
กลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก
เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่าน
ทั้งหลายและเพื่อประโยชน์แก่ตน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 603
[๖๙๒] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุ
ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบ ด้วยคณะญัตติ
กรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คณะญัตติกรรมวาจา
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความ
บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจัก
ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน
ก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว
ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของ
ตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะเว้นอาบัติที่มีโทษ
หนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่
ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน.
[๖๙๓] บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด
ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 604
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจัก
ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน
ก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึง
แสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่าม
กลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก
เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่า
นี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด
ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจัก
ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน
ก็ได้ ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของ
ตนในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มี
โทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์
แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน การแสดง
อาบัติเหล่านี้ของพวกเราในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัต-
ถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 605
คฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก
เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่าม
กลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึง
นิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด
ความบาดหมาง.... ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ?
ด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง ? มีความ
พร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ
พร้อมหน้าบุคคล
ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ? ภิกษุผู้เข้ากรรมมี
จำนวนเท่าไร ? พวกเธอมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควรฉันทะมา ผู้
อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัย
นั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 606
ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น
อย่างไร ? อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด
นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น
ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ? ผู้แสดงและผู้รับ
แสดงทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าบุคคล
ในติณวัตถารกะนั้น มีอะไรบ้าง ? มีกิริยา ความกระทำ ความ
เข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ
ติณวัตถารกะอันใด นี้มีในติณวัตถารกะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รื้อฟื้น เป็น
ปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.
กิจจาธิกรณระงับด้วยสมถะอย่างเดียว
[๖๙๔] กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ? กิจจาธิกรณ์ระงับด้วย
สมถะอย่างเดียว คือ สัมมุขาวินัย.
สมถขันธกะ ที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 607
สมถักขันธกวรรณนา
สัมมุขาวินัย
วินิจฉัยในสมถักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางบทมาติกา ๖ มีคำว่า อธมฺมวาที
ปุคฺคโล เป็นต้น ตรัสความพิสดารโดยนัยมีคำว่า อธมฺมวาที
ปุคฺคโล ธมฺมวาทึ ปุคฺคล สญฺาเปติ เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺาเปติ ได้แก่ กล่าวถ้อยคำ
ที่สมกับเหตุ ขู่ให้ยินยอม.
บทว่า นิชฺเฌเปติ คือธรรมวาทีบุคคลนั้นจะจ้องดู คือเล็งแล
เนื้อความนั้น ด้วยประการใด, ย่อมทำด้วยประการนั้น.
สองบทว่า เปกฺเขติ อนุเปกฺเขติ คือธรรมวาทีบุคคลนั้นจะ
เพ่งเล็งและเพ่งเล็งบ่อย ๆ ซึ่งเนื้อความนั้น ด้วยประการใด, ย่อมทำ
ด้วยประการนั้น .
สองบทว่า ทสฺเสติ อนุทสฺเสติ เป็นคำบรรยาแห่งสองบทว่า
เปกฺเขติ อนุปกฺเขติ นั้นแล.
สองบทว่า อธมฺเมน วูปสมติ มีความว่า เพราะเหตุที่
อธรรมวาทีบุคคลนั้น ยังธรรมวาทีบุคคลนั้นให้หลงแล้ว แสดงอธรรม
นั่นเอง โดยนัยมีอาทิว่า นี้เป็นธรรม, อธิกรณ์จึงชื่อว่าระงับโดย
อธรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 608
สองบทว่า ธมฺเมน วูปสมติ มีความว่า เพราะเหตุที่ธรรม-
วาทีบุคคล ไม่ยังอธรรมวาทีบุคคลให้หลงแสดงธรรมนั่นเอง โดยนัยมี
คำว่า นี้เป็นธรรม เป็นต้น. อธิกรณ์จึงชื่อว่า ระงับโดยธรรม.
สติวินัย
ในคำว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ธมฺมิกานิ สติวินยสฺส
ทานานิ นี้ การให้มี ๕ อย่างนี้ คือให้แก่ภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ
๑ ให้แก่ภิกษุถูกโจท ๑ ให้แก่ภิกษุผู้ขอ ๑ สงฆ์ให้เอง ๑ สงฆ์
พร้อมเพรียงกันตามธรรมให้ ๑
ในคำว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า
อันการให้สติวินัย ๕ นี้ ภิกษุย่อมได้ด้วยอำนาจองค์หนึ่ง ๆ หามิได้
เพราะฉะนั้น คำนั้นจึงเป็นสักว่าเทศนาเท่านั้น. แต่การให้สติวินัย
ประกอบด้วยองค์ ๕ จึงชอบธรรม.
ก็แล บรรดาบทเหล่านั้น พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อนุวทนฺติ ได้แก่ โจท. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
อนึ่ง สติวินัยนี้ พึงให้แก่พระขีณาสพเท่านั้น, ไม่พึงให้แก่ภิกษุ
อื่น โดยที่สุดแม้เป็นพระอนาคามี.
ก็สติวินัยนั้นแล พึงให้แก่พระขีณาสพซึ่งถูกภิกษุอื่นโจทเท่านั้น
ไม่พึงให้แก่พระขีณาสพผู้ไม่ถูกโจท.
ก็แล ครั้นเมื่อสติวินัยนั้นอันสงฆ์ให้แล้ว ถ้อยคำของโจทย่อม
ไม่ขึ้น. แม้บุคคลผู้ขืนโจท ย่อมถึงความเป็นผู้อันภิกษุทั้งหลายพึง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 609
รุกรานว่า ภิกษุนี้ เป็นพระขีณาสพ ได้สติวินัยแล้ว, ใครจักเชื่อถือ
ถ้อยคำของท่าน.
อมูฬหวินัย
บทว่า ภาสิตปริกนฺต ได้แก่ กล่าวด้วยวาจา พยายามด้วยกาย
นั่นเทียว อธิบายว่า ฝ่าฝืนกระทำ.
ในคำว่า สรตายสฺมา เอวรูปี อาปตฺตึ อาปชฺชิตา นี้ มี
เนื้อความดังนี้ว่า ผู้มีอายุ จงระลึกถึงอาบัติเห็นปานนี้, ผู้มีอายุ ต้อง
ซึ่งอาบัติเห็นปานนี้ ปาฐะว่า อาปชฺชิตฺวา ก็มี. ความแห่งปาฐะ
นั้นว่า ผู้มีอายุต้องก่อนแล้ว ภายหลังจงระลึกถึงอาบัตินั้น.
เยภุยยสิกา
ในคำว่า เยภุยฺยสิกาย วูปสเมตุ นี้ ธรรมวาทีบุคคลแห่งกิริยา
ใด เป็นผู้มากกว่า กิริยานั้นชื่อ เยภุยยสิกา.
วินิจฉัยการจับสลากที่ไม่เป็นธรรม พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า โอรมตฺตก คือ อธิกรณ์เป็นเรื่องเล็ก คือ มีประมาณ
น้อย เป็นแต่เพียงความบาดหมางเท่านั้น.
บทว่า น จ คติคต คือ อธิกรณ์ไม่ลุกลามไปถึง ๒-๓ อาวาส
หรือไม่ได้วินิจฉัยถึง ๒-๓ ครั้งในอาวาสนั้น ๆ เท่านั้น
บทว่า น จ สริตสาริต คือ อธิกรณ์นั้น ไม่เป็นเรื่องที่ภิกษุ
เหล่านั้นระลึกได้เอง หรือภิกษุเหล่าอื่นเตือนให้ระลึกได้ถึง ๒-๓ ครั้ง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 610
บทว่า ชานาติ คือ เมื่อจับสลากรู้ว่า อธรรมวาทีบุคคล
มากกว่า.
บทว่า อปฺเปว นาม คือ อัธยาศัยของภิกษุนั้นย่อมเป็นดังนี้ว่า
เมื่อสลากอันเราให้ภิกษุทั้งหลายจับอยู่ด้วยอุบายนี้ ชื่อแม้ไฉนอธรรมวาที
บุคคลจะพึงเป็นผู้มากกว่า แม้ในอีก ๒ บท ก็มีนัยเหมือนกัน.
สองบทว่า อธมฺเมน คณฺหนฺติ คือ พวกอธรรมวาที จับ
สลากรูปละ ๒ สลาก ด้วยคิดว่า พวกเราจักเป็นผู้มากกว่า ด้วยการ
จับสลากอย่างนี้.
สองบทว่า วคฺคา คณฺหนฺติ คือ พวกอธรรมวาที สำคัญอยู่
ว่า ธรรมวาที ๒ รูป จับธรรมวาทีสลากอัน ๑ ด้วยการจับสลากอย่าง
นี้ พวกธรรมวาที จักเป็นผู้ไม่มากกว่า
สองบทว่า น จ ยถาทิฏฺิยา คณฺหนฺติ คือ จับสลากฝ่าย
อธรรมวาที ด้วยคิดว่า เราเป็นพวกธรรมวาที จักเป็นฝ่ายมีกำลัง. ใน
การจับสลากที่เป็นธรรม พึงทราบเนื้อความเช่นนี้แล แต่กลับความเสีย.
ครั้นให้จับสลากแล้วอย่างนั้น ถ้าธรรมวาทีเป็นฝ่ายมากกว่า พวกเธอ
กล่าวอย่างใด พึงระงับอธิกรณ์นั้นอย่างนั้น; อธิกรณ์เป็นอันระงับด้วย
เยภุยยสิกา ด้วยประการฉะนี้ นี้เป็นเนื้อความสังเขปในสมถักขันธกะนี้,
ส่วนเนื้อความพิสดาร จักมาข้างหน้าบ้าง.
ตัสสปาปิยสิกากรรม
ผู้ไม่สะอาดนั้น คือ ผู้ประกอบด้วยกายกรรมและวจีกรรมอัน ไม่
สะอาด.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 611
ผู้อลัชชีนั้น คือ ผู้ประกอบด้วยลักษณะแห่งบุคคลผู้อลัชชี มี
แกล้งต้องเป็นต้น.
ผู้เป็นไปกับอนุวาทะนั้น คือ ผู้เป็นไปกับด้วยการโจท.
เหตุ ๓ อย่างด้วยอำนาจองค์ ๓ เหล่านี้ และความกระทำ ๒ นี้
คือการที่สงฆ์ทำ ๑ การที่สงฆ์พร้อมเพรียงทำโดยธรรม ๑ รวมเป็น
ความกระทำแห่งตัสสปาปิยสิกากรรม ๕ ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือใน
ตัสสปาปิยสิกากรรมนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมเป็นต้นนั่นแล.
ส่วนเนื้อความเฉพาะคำในบทว่า ตสฺส ปาปิยสิกากมฺม นี้ พึง
ทราบดังนี้. จริงอยู่ กรรมนี้ท่านเรียก ตัสสปาปิยสิกากรรม เพราะ
ความเป็นกรรมที่สงฆ์พึงทำแก่บุคคลผู้เลวทราม โดยความเป็นคนบาป
หนา.
ติณวัตถารกะ
สองบทว่า กกฺขฬตาย วาฬตาย มีความว่า อธิกรณ์นั้นพึง
เป็นไปเพื่อความหยาบข้า และเพื่อความร้ายกาจ.
บทว่า เภทาย มีความว่า เพื่อความแตกแห่งสงฆ์.
ข้อว่า สพฺเพเหว เอกชฺฌ มีความว่า ไม่พึงนำฉันทะของ
ใคร ๆ มา แม้ภิกษูผู้อาพาธก็พึงนำมาประชุมโดยความเป็นหมู่เดียวกัน ใน
ที่ประชุมนั้นนั่นเทียว.
ในคำว่า ติณวตฺถารเกน วูปสเมยฺย นี้ กรรมนี้ท่านเรียกว่า
ติณวัตถารกะ ก็เพราะเป็นกรรมคล้ายกลบไว้ด้วยหญ้า.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 612
เหมือนอย่างว่า คูถหรือมูตรอันบุคคลเกี่ยวข้องอยู่ ย่อมเบียดเบียน
โดยความเป็นของมีกลิ่นเหม็น, แต่เมื่อคูถหรือมูตรนั้น อันบุคคลกลบ
แล้วด้วยหญ้าปิดมิดชิดดีแล้ว กลิ่นนั้น ย่อมเบียดเบียนไม่ได้ฉันใด;
อธิกรณ์ใด ถึงความเป็นมูลใหญ่มูลน้อย (แห่งอธิกรณ์) อันสงฆ์ระงับอยู่
จะเป็นไปเพื่อความหยาบช้า เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน, อธิกรณ์
นั้น ระงับด้วยกรรมนี้แล้วย่อมเป็นอันระงับด้วยดี เหมือนคูถที่ปิดไว้
ด้วยเครื่องกลบคือหญ้า ข้อนี้ก็ฉันนั้นแล เพราะเหตุนั้น กรรมนี้ท่าน
จึงเรียกว่า ติณวัตถารกะ เพราะเป็นกรรมคล้ายกลบไว้ด้วยหญ้า.
อาบัติที่เป็นโทษล่ำนั้น ได้แก่ ปาราชิกและสังฆาทิเสส.
บทว่า คิหิปฏิสยุตฺต คือเว้นอาบัติที่ต้อง เพราะคำว่าคฤหัสถ์
ด้วยคำเลว และรับแล้วไม่ทำตามรับที่เป็นธรรม.
ข้อว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว เต ภิกฺขู ตาหิ อาปตฺตีหิ
วุฏฺิตา โหนฺติ มีความว่า เมื่อติณวัตถารกกรรมวาจาอันภิกษุทั้ง ๒
ฝ่าย ทำแล้วอย่างนั้นในขณะจบกรรมวาจา ภิกษุมีประมาณเท่าใด ซึ่ง
ประชุมในที่นั้น โดยที่สุดภิกษุผู้หลับก็ดี ผู้เข้าสมาบัติก็ดี ผู้ส่งใจไป
ในที่อื่นก็ดี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ต้องแล้วซึ่งอาบัติทั้งหลายที่เหลือ
เหล่าใด นอกจากอาบัติที่เป็นโทษล่ำ และอาบัติที่เนื่องเฉพาะด้วยคฤหัสถ์
จำเดิมแต่มณฑลแห่งอุปสมบท ย่อมเป็นผู้ออกแล้วจากอาบัติเหล่านั้น
ทั้งปวง.
บทว่า ทิฏฺาวิกมฺม มีความว่า ฝ่ายภิกษุเหล่าใด ทำความ
เห็นแย้งกันและกันว่า ข้อนั้นไม่ชอบใจข้าพเจ้า หรือว่าภิกษุเหล่าใด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 613
แม้ต้องอาบัติกับภิกษุเหล่านั้น แต่ไม่มาในที่ประชุมนั้น หรือว่าภิกษุเหล่า
ใดมาแล้ว มอบฉันทะแล้วนั่งในที่ทั้งหลายมีบริเวณเป็นต้น, ภิกษุเหล่า
นั้น ย่อมเป็นผู้ไม่ออกจากอาบัติเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า เว้นผู้ทำความเห็นแย้ง เว้นผู้มีได้อยู่ในที่นั้น.
อธิกรณ์ ๔
สองบทว่า ภิกฺขุนีน อนูปขชฺช ได้แก่ แทรกแซงภายใน
หมู่นางภิกษุณี. เนื้อความเฉพาะคำแห่งอธิกรณ์ทั้งหลายมีวิวาทาธิกรณ์
เป็นต้น ได้กล่าวแล้วในอรรถกถาแห่งทุฏฐโทสสิกขาบท.
สองบทว่า วิปจฺจตาย โวหาโร ได้แก่ โวหารเพื่อทุกข์แก่
จิต, ความว่า คำหยาบ.
หลายบทว่า โย ตตฺถ อนุวาโท คือการโจทใด ในเมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นโจทอยู่.
บทว่า อนุวทนา นี้ เป็นคำแสดงอาการ. ความว่า กิริยา
ที่โจท.
สองบทว่า อนุลฺลปนา อนุภณนา สักว่าเป็นไวพจน์ของ
กิริยาที่โจทเท่านั้น.
บทว่า อนุสมฺปวงฺกตา มีความว่า ความเป็นผู้คล้อยตามคือ
ความเป็นผู้พลอยประสม ในการโจทนั้นนั่นแล ด้วยกายจิตและวาจา
บ่อย ๆ.
๑. สมนุต. ทุติยา. ๑๐๑.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 614
บทว่า อพฺภุสฺสหนตา ได้แก่ กิริยาที่โจทกระทำความอุต-
สาหะว่า เหตุไร เราจึงจักไม่โจรอย่างนั้นเล่า?
บทว่า อนุพลปฺปทาน คือแสดงเหตุแห่งคำต้น เพิ่มกำลังด้วย
คำหลัง
ในสองบทว่า กิจฺจยตา กรณียตา นี้ มีวิเคราะห์ว่า กรรม
ที่จะพึงกระทำนั่นเอง ชื่อว่า กิจฺจย ความมีแห่งกรรมที่จะพึงกระทำ
ชื่อว่า กิจฺจยตา, ความมีแห่งกิจที่จะต้องกระทำ ชื่อว่า กรณียตา.
คำทั้ง ๒ นั้นเป็นชื่อแห่งสังฆกรรมนั่นเอง
ส่วนคำว่า อปโบกนกมฺม เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เพื่อแสดงประเภทแห่งสังฆกรรมนั้นนั่นแล.
บรรดาสังฆกรรมเท่านั้น กรรมที่ต้องยังสงฆ์ผู้ทั้งอยู่ในสีมาให้หมด
จด นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา สวดประกาศ ๓ ครั้งทำตาม
อนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ชื่อว่า อปโลกนกรรม.
กรรมที่ต้องทำด้วยญัตติอย่างเดียว ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อม
เพรียง ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่า ญัตติกรรม.
กรรมที่ต้องทำด้วยอนุสาวนา มีญัตติเป็นที่ ๒ อย่างนี้ คือญัตติ ๑
อนุสาวนา ๑ ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่น
แล ชื่อว่า ญัตติทุติยกรรม.
กรรมที่ต้องทำด้วยอนุสาวนา ๓ มีญัตติเป็นที ๔ อย่างนี้คือญัตติ
๑ อนุสาวนา ๓ ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง โดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั้นแล ชื่อว่า ญัตติจตุตถกรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 615
บรรดากรรมเหล่านั้น อปโลกนกรรม พึงทำเพียงอปโลกน์. ไม่
ต้องทำด้วยอำนาจญัตติกรรมเป็นต้น. แม้ญัตติกรรม พึงทำตั้งญัตติ
อย่างเดียว. ไม่ต้องทำด้วยอำนาจอปโลกนกรรมเป็นต้น. ส่วนญัตติทุติย
กรรมที่ต้องอปโลกน์ทำก็มี ไม่ต้องอปโลกน์ก็มี. ใน ๒ อย่างนั้น กรรม
หนัก ๖ อย่างนี้ คือสมมติสีมา ถอนสีมา ให้ผ้ากฐิน รื้อกฐิน แสดง
ที่สร้างกุฎี แสดงที่สร้างวัดที่อยู่ ไม่ควรอปโลกน์ทำ; พึงสวดญัตติ
ทุติยกรรมวาจาทำเท่านั้น. กรรมเบาเห็นปานนี้ คือสมมติ ๑๓ ที่เหลือ
และสมมติในการถือเสนาสนะและให้มรดกจีวรเป็นต้น แม้อปโลกน์ทำก็
ควร. แต่ไม่พึงทำด้วยอำนาจญัตติกรรมและญัตติจตุตถกรรมเลย . ญัตติ
จตุตถกรรม ต้องสวดญัตติและกรรมวาจา ๓ ทำเท่านั้น ไม่พึงทำด้วย
อำนาจอปโลกนกรรมเป็นต้นฉะนั้นแล. ความสังเขปในสมถักขันธกะนี้
เท่านี้ .
ส่วนวินิจฉัยแห่งกรรมเหล่านั้น ได้มาแล้วโดยพิสดาร ในกรรม
วรรคท้ายคัมภีร์ปริวาร โดยนัยมีคำว่า อิมานิ จตฺตาริ กมฺมานิ
กติหากาเรหิ วิปชฺชนฺติ เป็นต้น. ก็ในนัยนั้น บทใดยังไม่ชัดเจน
ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทนั้น ในกรรมวรรคนั่นแล.
จริงอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ การพรรณนาในอัฏฐานะจักไม่มี. อนึ่ง
วินิจฉัยจัก เป็นของที่รู้ชัดได้ง่าย เพราะค่าที่กรรมนั้น ๆ ได้ทราบกันมาแล้ว
ตั้งแต่ต้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 616
อธิกรณวิภาค
คำว่า อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ ? ดังนี้ เป็นต้น พึงทราบ
ด้วยอำนาจแห่งบาลีนั่นแล.
ในคำว่า วิวาทาธิกรณ สิยา กุสล เป็นต้น พึงทราบ
เนื้อความโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายย่อมวิวาทกันด้วยจิตตุปบาท
ใด, จิตตุปบาทนั้น ชื่อวิวาทและชื่ออธิกรณ์ เพราะความเป็นเหตุที่
จะต้องระงับด้วยสมถะทั้งหลาย พึงทราบเนื้อความด้วยอำนาจแห่งคำที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าหมายเอาตรัสไว้ในบาลีนี้ว่า อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นกุศลไม่มี.
จริงอยู่ กุศลจิตเป็นองค์ในอาปัตตาธิกรณ์ มีขุดแผ่นดินเป็นต้น
อันใด เมื่อกุศลจิตนั่น ซึ่งเป็นองค์แห่งอาปัตตาธิกรณ์นั่น ที่ถือเอา
โดยความเป็นอาบัติมีอยู่ ใคร ๆ ไม่อาจกล่าวได้ว่า อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็น
กุศลไม่มี.
เพราะเหตุนั้น คำว่า อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นกุศลไม่มี นี้ชื่อว่า
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาจิตที่พอเป็นองค์ หามิได้. แต่ว่า
พระองค์ตรัสหมายเอาความมีแห่งวิกัปป์ดังนี้ :-
อาปัตตาธิกรณ์ใด เป็น โลกวัชชะก่อน อาปัตตาธิกรณ์นั้นเป็น
อกุศลโดยส่วนเดียวเท่านั้น, ความกำหนดว่า กุศลพึงมี ดังนี้ย่อมไม่มี
ในโลกวัชชะนั้น.
ส่วนอาปัตตาธิกรณ์ใด เป็นปัณณัตติวัชชะ, อาปัตตาธิกรณ์นั้น
ย่อมเป็นอกุศลเฉพาะแก่ภิกษุผู้แกล้งก้าวล่วงอยู่ว่า เราจะก้าวล่วงอาบัตินี้,
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 617
แต่อาปัตตาธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นอัพยากฤต โดยความต้องด้วยอำนาจแห่ง
สหไสยเป็นต้น ของภิกษุผู้ไม่แกล้งไม่รู้อะไรเลย เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงหมายเอาความมีแห่งวิกัปป์นี้ ด้วยอำนาจแห่งความแกล้ง
และไม่แกล้ง ในปัณณัตติวัชชะนั้น จึงตรัสคำว่าอาปัตตาธิกรณ์ที่เป็น
อกุศลก็มี. ที่เป็นอัพยากฤตมี, อาปัตตาธิกรณ์เป็นกุศลไม่มี.
ก็ถ้าว่า ใคร ๆ พึงกล่าวว่า ภิกษุมีจิตเป็นกุศล ย่อมต้องอาปัตตา
ธิกรณ์ใด, อาปัตตาธิกรณ์นี้ ท่านกล่าวว่า อาปัตตาธิกรณ์เป็นกุศล.
กุศลจิตจะพึงเข้ากันได้แม้แก่เอฬกโลมสมุฏฐาน และปทโสธรรมเทศนา
สมุฏฐานเป็นต้น ซึ่งเป็นอจิตตกะ. แต่กุศลจิตแม้มีอยู่ในกิริยาที่ต้องนั้น
ก็ไม่จัดเป็นองค์แห่งอาบัติ.
ส่วนกายวาจาที่เคลื่อนไหวเป็นไป ด้วยอำนาจกายวิญญัติ และวจี
วิญญัติ อันใดอันหนึ่งนั้นแล ย่อมเป็นองค์เเห่งอาบัติ. ก็แต่ว่าองค์นั้น
จัดเป็นอัพยากฤต เพราะความที่องค์นั้นเป็นส่วนอันนับเนื่องในรูปขันธ์
ก็แล ในคำว่า ย ชานนฺโต เป็นต้น มีเนื้อความดังนี้:-
จิตใดย่อมเป็นองค์แห่งอาบัติ. รู้อยู่ซึ่งวัตถุด้วยจิตนั้น และรู้อยู่
รู้พร้อมอยู่ กับด้วยอาการคือก้าวล่วงว่า เรากำลังก้าวล่วงวัตถุนี้ และ
เเกล้งคือจงใจ ด้วยอำนาจวีตกกมเจตนา เหยียบย่ำอยู่ด้วยอำนาจความ
พยายาม ฝ่าฝืน คือ ส่งจิตอันปราศจากความรังเกียจไป ย่อมก้าว
ล่วงไป คือ ย่อมต้องอาปัตตาธิกรณ์ใด. วีติกกมะใดของภิกษุนั้นผู้
ก้าวล่วงด้วยประการอย่างนั้น, วีติกกมะนี้ ท่านกล่าวว่าอาปัตตาธิกรณ์
เป็นอกุศล.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 618
เนื้อความแม้ในอัพยากตวาระ พึงทราบดังนี้:-
จิตใดย่อมเป็นองค์แห่งอาบัติ, ไม่รู้อยู่โดยความไม่มีแห่งจิตนั้นทั้ง
ไม่รู้อยู่ ไม่รู้พร้อมอยู่ กับด้วยอาการคือก้าวล่วง ไม่จงใจ โดยความ
ไม่มีวีติกกมะเจตนา ซึ่งเป็นองค์แห่งอาบัติ ไม่ฝ่าฝืน คือไม่ได้ส่งจิต
อันปราศจากความรังเกียจไป โดยความไม่มีความแกล้งเหยียบย่ำย่อมก้าว
ล่วงคือย่อมต้องอาปัตตาธิกรณ์ใด วีติกกมะใดของภิกษุนั้น ผู้ก้าวล่วง
อยู่ด้วยประการอย่างนั้น วีติกกมะนี้ ท่านกล่าวว่า อาปัตตาธิกรณ์เป็น
อัพยากฤต.
ในคำว่า อย วิวาโท โน อธิกรณ เป็นต้น พึงทราบ
เนื้อความอย่างนี้ว่า วิวาทนี้ ไม่จัดเป็นอธิกรณ์ เพราะไม่มีความเป็น
กิจที่จะต้องระงับด้วยสมถะทั้งหลาย.
ในคำว่า ยาวติกา ภิกฺขู กมฺมปฺปตฺตา นี้ พึงทราบว่า
ในกรรมที่จะกระทำด้วยสงฆ์จตุวรรค ภิกษุ ๔ รูป เป็นผู้พอทำกรรมให้
เสร็จ, ในกรรมที่จะพึงกระทำด้วยสงฆ์ปัญจวรรค ภิกษุ ๕ รูปเป็นผู้
พอทำกรรมให้เสร็จ, ในกรรมที่จะพึงทำด้วยสงฆ์ทสวรรค ภิกษุ ๑๐
รูปเป็นผู้พอทำกรรมให้เสร็จ, ในกรรมที่จะพึงทำด้วยสงฆ์วีสติวรรคภิกษุ
๒๐ รูปเป็นผู้พอทำกรรมให้เสร็จ.
บทว่า สุปริคฺคหิต มีความว่า อธิกรณ์นั้น อันภิกษุทั้งหลาย
ผู้เจ้าถิ่น พึงกระทำให้เป็นการอันตนป้องกันรอบครอบดีแล้วจึงรับ.
ก็แล ครั้นรับแล้ว พึงกล่าวว่า วันนี้ พวกเราจะชักจีวร,
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 619
วันนี้ พวกเราจะระบมบาตร, วันนี้ มีกังวลอยู่อย่างหนึ่ง ดังนี้แล้ว
ปล่อยให้ล่วงไป ๒-๓ วัน เพื่อประโยชน์แก่การข่มมานะ.
อุพพาหิกา
ข้อว่า อนนฺตานิ เจว ภสฺสานิ ชายนฺติ มีความว่า ถ้อยคำ
ทั้งหลาย ไม่มีปริมาณเกิดขึ้นข้างนี้และข้างนี้. ปาฐะว่า ภาสานิ ก็มี
เนื้อความเหมือนกันนี้ .
สองบทว่า อุพฺพาหิกาย สมฺมนฺนิตพฺโพ มีความว่า ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ รูป อันสงฆ์พึงอุปโลกน์สมมติ หรือสมมติด้วย
ญัตติทุติยกรรมวาจา ซึ่งกล่าวแล้วข้างหน้า. ก็อันภิกษุทั้งหลายผู้ได้รับ
สมมติแล้วอย่างนั้น พึงนั่งต่างหากแล้ววินิจฉัยอธิกรณ์นั้น หรือพึง
ประกาศแก่บริษัทนั้นนั่นแลว่า ภิกษุเหล่าอื่นอย่าพึงกล่าวคำไร ๆ แล้ว
วินิจฉัยอธิกรณ์นั้นก็ได้.
บทว่า ตตฺรสฺส มีความว่า ภิกษุเป็นธรรมกถึก พึงมีใน
บริษัทนั้น.
สองบทว่า เนว สุตฺต อาคต คือ จำมาติกาไม่ได้.
สองบทว่า โน สุตฺตวิภงฺโค คือ วินัยไม่แม่นยำ.
ข้อว่า พฺยญฺชนฉายาย อตฺถ ปฏิพาหติ มีความว่า พระ
ธรรมกถึกนั้นถือเอาเพียงพยัญชนะเท่านั้น ค้านใจความ คือ เห็นพวก
ภิกษุผู้อันภิกษุผู้วินัยธรทั้งหลายปรับอยู่ด้วยอาบัติ เพราะรับทองเงินและ
นาสวนเป็นต้น จึงกล่าวว่า ทำไมท่านทั้งหลายจึงปรับภิกษุเหล่านี้ด้วย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 620
อาบัติเล่า? กิริยาสักว่างดเว้นเท่านั้น อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
แล้วในสูตรอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายย่อมเป็นผู้งดเว้นจากการรับทองและ
เงิน ดังนี้ มิใช่หรือ ? อาบัติในสูตรนี้ ไม่มี. พระธรรมกถึกรูปหนึ่ง
เมื่อพระวินัยธรบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้นุ่งผ้าเลื้อยรุ่มร่าม เพราะ
พระสูตรที่มาแล้ว จึงกล่าวว่า ทำไมท่านทั้งหลายจึงยกอาบัติแก่ภิกษุ
เหล่านี้เล่า ? ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแต่เพียงการทำความศึกษา
อย่างนี้ว่า พึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งให้เรียบร้อย ดังนี้ เท่านั้น
มิใช่หรือ ? อาบัติในสูตรนี้ไม่มี.
เยภุยยสิกา
วินิจฉัยในคำว่า ยถา พหุตรา ภิกฺขู นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุผู้เป็นธรรมวาทีเกินแม้เพียงรูปเดียว ก็จัดเป็นฝ่ายมากกว่าได้.
ก็จะต้องกล่าวอะไรถึง ๒-๓ รูปเล่า.
บทว่า สญฺตฺติยา มีความว่า เราอนุญาตการจับสลาก ๓ วิธี
เพื่อต้องการให้ภิกษุเหล่านั้นยินยอม.
วินิจฉัยในคำว่า คูฬฺหก เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
ในบริษัทที่หนาแน่นด้วยพวกอลัชชี พึงทำการจับสลากอย่างปกปิด.
ในบริษัทที่หนาแน่นด้วยพวกลัชชี พึงทำการจับสลากอย่างเปิดเผย. ใน
บริษัทที่หนาแน่นด้วยภิกษุพาล พึงทำการจับสลากอย่างกระซิบบอกที่หู.
สองบทว่า วณฺณาวณฺณาโย กตฺวา มีความว่า สลากของฝ่าย
ธรรมวาที และฝ่ายอธรรมวาที ต้องบอกสำคัญคือเครื่องหมาย แล้ว
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 621
ทำให้มีส่วนต่างกันและกันเสีย. ภายหลังพึงเอาสลากเหล่านั้นทั้งหมดใส่ใน
ขนดจีวรแล้วให้จับตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ข้อว่า ทุคฺคโหติ ปจฺจุกฺกฑฺฒิตพฺพ มีความว่า พึงบอกว่า
สลากจับไม่ดี แล้วให้จับใหม่ เพียงครั้งที่ ๓.
ข้อว่า สุคโหติ สาเวตพฺพ มีความว่า ครั้นเมื่อภิกษุผู้เป็นธรรม
วาทีเกินกว่า แม้รูปเดียว พึงประกาศว่า สลากจับดีแล้ว ก็ภิกษุพวก
ธรรมวาทีเหล่านั้น ย่อมกล่าวอย่างใด, อธิกรณ์นั้น พึงให้ระงับอย่างนั้น
ฉะนี้แล.
หากว่า ภิกษุพวกอธรรมวาทีคงเป็นฝ่ายมากกว่าแม้ถึงครั้งที่ ๓
พึงกล่าวว่า วันนี้เวลาไม่เหมาะ พรุ่งนี้ เราทั้งหลายรู้จักกัน แล้วเลิกเสีย
แล้ว เสาะหาผ่ายธรรมวาที เพื่อประโยชน์แก่การทำลายฝ่ายอลัชชีเสีย
ทำการจับสลากในวันรุ่งขึ้น นี้เป็นการจับสลากอย่างปกปิด.
ก็แล พึงทราบวินัยในการจับสลากอย่างกระซิบบอกที่หู.
ในคำว่า คหิเต วตฺตพฺโพ มีความว่า ถ้าพระสังฆเถระจะจับ
สลากอธรรมวาทีไซร้, พึงเรียนให้ท่านทราบอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่าน
เป็นผู้แก่เจริญวัยแล้ว การจับสลากนั่น ไม่ควรแก่ท่าน, อันนี้เป็นอธรรม
วาทีสลาก. พึงแสดงสลากนอกนี้แก่ท่าน, ถ้าท่านจะจับธรรมวาทีสลาก
นั้น, พึงให้. ถ้าว่า ท่านยังไม่ทราบ, ลำดับนั้น พึงเรียนท่านว่า
อย่าบอกแก่ใคร ๆ คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า เปิดเผย นั้น คือ เปิดเผยเนื้อความนั่นเอง.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้าที่ 622
ตัสสปาปียสิกา
วินิจฉัยในคำว่า ปาราชิกสามนฺต วา นี้ พึงทราบดังนี้ :-
ในเพราะเมถุนธรรม อาบัติทุกกฏ ชื่อว่า เฉียดปาราชิก. ในเพราะ
อทินนาทานเป็นต้นที่เหลือ อาบัติถุลลัจจัย ชื่อว่า เฉียดปาราชิก
บทว่า นิเวเนฺต มีความว่า ผู้อำพรางอยู่ด้วยคำว่า ข้าพเจ้า
ระลึกไม่ได้ ดังนี้:-
บทว่า อติเวเติ มีความว่า เธอยิ่งคาดคั้นด้วยคำว่า อิงฺฆา-
ยสฺมา เป็นอาทิ.
ข้อว่า สรามิ โข อห อาวุโส มีความว่า ภิกษุนั้น ปฏิญญา
อย่างนั้น เพื่อต้องการปกปิดอาบัติปาราชิก. เมื่อถูกเธอคาดคั้นยิ่งขึ้นอีก
จึงให้ปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าระลึกได้แล แล้วกล่าวคำว่า คำนั้นข้าพเจ้าพูด
เล่น ดังนี้ เป็นต้น เพราะกลัวว่า ภิกษุเหล่านี้จักยังเราให้ฉิบหายในบัดนี้
สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุนั้น.
หากว่า เธอยังเป็นผู้มีศีล, เธอยังวัตรให้เต็มแล้ว จักได้ความระงับ.
หากว่า เธอจักเป็นผู้ไม่มีศีล, เธอจักเป็นผู้อันสงฆ์ให้ฉิบหายอย่างนั้นเทียว.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
สมถักขันธกวรรณนา จบ.