พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 1
พระวินัยปิฎก
เล่มที่ ๕
มหาวรรค ภาคที่ ๒
ขอนอมน้อมแดพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จัมมขันธกะ
เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราซ เสวย
ราชสมบัติเป็นอิสราธิบดี ในหมู่บ้านแปดหมื่นตำบล ก็สมัยนั้น ในเมืองจัมป
มีเศรษฐีบุตรชื่อโสณโกฬิวิสโคตร เป็นสุขุมาลชาติ ที่ฝ่าเท้าทั้งสองของเขามี
ขนงอกขึ้น คราวหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช มีพระบรมราชโอง-
การโปรดเกล้า ให้ราษฏรในตำบลแปดหมื่นนั้นประชุมกันแล้ว ทรงส่งทูตไป
ในสำนักเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะ ดุจมีพระราชกรณียกิจสักอย่างหนึ่ง ด้วย
พระบรมราชโองการว่า เจ้าโสณะจงมา เราปรารถนาให้เจ้าโสณะมา มารดา
บิดาของเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะจึงได้พูดตักเตือนเศรษฐีบุตรนั้นว่า พ่อโสณะ
พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรเท้าทั้งสองของเจ้า ระวังหน่อย
พ่อโสณะ เจ้าอย่าเหยียดเท้าทั้งสองไปทางที่พระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ จงนั่งขัด
สมาธิตรงพระพักตร์ของพระองค์ เมื่อเจ้านั่งแล้ว พระเจ้าอยู่หัว จักทอด
พระเนตรเท้าทั้งสองได้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 2
ครั้งนั้น ชนบริวารทั้งหลายได้นำเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะไปด้วย
คานหาม ลำดับนั้น เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร จอม
เสนามาคธราช ถวายบังคมแล้วนั่งขัดสมาธิตรงพระพักตร์ของท้าวเธอ ๆ ได้ทอด
พระเนตรเห็นโลมชาติที่ฝ่าเท้าทั้งสองของเขา แล้วทรงอนุศาสน์ประชาราษฎร
ในตำบลแปดหมื่นนั้นในประโยชน์ปัจจุบัน ทรงส่งไปด้วยพระบรมราโชวาทว่า
ดูก่อนพนาย เจ้าทั้งหลายอันเราสั่งสอนแล้วในประโยชน์ปัจจุบัน เจ้าทั้งหลาย
จงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ของเราพระองค์นั้นจักทรงสั่งสอนเจ้าทั้งหลาย
ในประโยชน์ภายหน้า ครั้งนั้นพวกเขาพากันไปทางภูเขาคิชฌกูฏ.
พระสาคตเถระแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
ก็สมัยนั้น ท่านพระสาคตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า พวก
เขาจึงพากันเข้าไปหาท่านพระสาคตะ แล้วได้กราบเรียนว่า ท่านขอรับ
ประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนี้ เข้ามาในที่นี้ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ขอประทานโอกาสขอรับ ขอพวกข้าพเจ้าพึงได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน
พระสาคตะบอกว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงอยู่ ณ ที่นี้สักครู่หนึ่งก่อน จนกว่า
อาตมาจะกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ ดังนี้ และเมื่อพวกเขากำลัง
เพ่งมองอยู่ข้างหน้า ท่านพระสาคตะดำลงไปในแผ่นหินอัฒจันทร์ผุดขึ้นตรง
พระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า พระพุทธเจ้าข้า ประชาชนชาวตำบลแปหมื่นนี้พากันเข้ามา ณ ที่นี้เพื่อ
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ย่อมทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้ พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนสาคตะะ ถ้ากระนั้นเธอจงปูลาดอาสนะ ณ
ร่มเงาหลังวิหาร ท่านพระสาคตะทูลสนองพระพุทธดำรัสว่า ทราบเกล้า ฯ แล้ว
พระพุทธเจ้าข้า แล้วถือตั่งดำลงไปตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 3
ประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนั้นกำลังเพ่งมองอยู่ตรงหน้า จึงผุดจากแผ่นหิน
อัฒจันทร์แล้วปูลาดอาสนะในร่มเงาหลังพระวิหาร.
เสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระวิหาร แล้วประทับนั่ง
เหนือพระพุทธอาสน์ที่จัดไว้ ณ ร่มเงาหลังพระวิหาร ประชาชนชาวตำบลแปด
หมื่นนั้นจึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง และพวกเขาพากันสนใจแต่ท่านพระสาคตะเท่านั้น หาได้สนใจต่อพระผู้
มีพระภาคเจ้าไม่ ทันทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจ
ของพวกเขาด้วยพระทัยแล้ว จึงตรัสเรียกท่านพระสาคตะมารับสั่งว่า ดูก่อน
สาคตะ ถ้ากระนั้น เธอจงแสดงอิทธิปาฏิหารย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของ
มนุษย์ให้ยิ่งขึ้นไปอีก.
ท่านพระสาคตะทูลรับสนองพระพุทธาณัติว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า
แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง บังหวน
ควันบ้าง โพลงไฟบ้าง หายตัวบ้าง ในอากาศกลางหาว ครั้นแสดงอิทธิ
ปฏิหารย์ อันเป็นธรรมยวดยิ่งของมนุษย์หลายอย่าง ในอากาศกลางหาว
แล้วลงมาซบศีรษะลงที่พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดา
ของข้าพระพุทธเจ้า ๆ เป็นสาวก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระ-
ศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ๆ เป็นสาวกดังนี้.
ประชาชนตำบลแปดหมื่นนั้นจึงพูดสรรเสริญว่า ชาวเราผู้เจริญ
อัศจรรย์นัก ประหลาดแท้ เพียงแต่พระสาวกยังมีฤทธิ์มากถึงเพียงนี้ ยังมี
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 4
อานุภาพมากถึงเพียงนี้ พระศาสดาต้องอัศจรรย์แน่ ดังนี้ แล้วพากัน สนใจต่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น หาสนใจต่อท่านพระสาคตะไม่.
ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจ
ลำดับนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพวก
เขาด้วยพระทัย แล้วทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา
ศีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่งกามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และ
อานิสงส์ในการออกบรรพชา เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ
มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรง
ประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง
คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงคาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจาก
มลทิน ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความคับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน
ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้นพวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรม
แล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว
ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นใน
คำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธเจ้าข้า ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธ
เจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเหล่านี้ขอถึงพระผู้มี-
ตระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 5
จำพวกข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเติมแต่วันนี้เป็น
ต้นไป
เศรษฐีบุตรโสณ - โกฬิวิสะออกบวช
[๒] ครั้งนั้น เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้มีความปริวิตก ดังนี้ ว่า
ด้วยวิธีอย่างไร ๆ เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว
อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้สมบูรณ์โดยส่วนเดียว
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ไฉนหนอ เราพึง
ปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ครั้น
ประชาชนเหล่านั้นชื่นชมยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่ง
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว หลังจากประชาชน
พวกนั้นหลีกไปแล้วไม่นานนัก เขาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง .
เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้กราบทูลคำนี้แต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ด้วยวิธีอย่างไร ๆ ข้าพระพุทธเจ้าจึง
จะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่จะประ-
พฤติพรหมจรรย์นี้ ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียว ดุจสังข์
ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวดครองผ้า
กาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้
ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด พระพุทธเจ้าข้า เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้รับ
บรรพชา อุปสมบทในพุทธสำนักแล้ว ก็แลท่านพระโสณะอุปสมบทแล้วไม่
นาน ได้พำนักอยู่ ณ ป่าสีตวัน ท่านปรารภความเพียรเกินขนาด เดินจงกรม
จนเท้าทั้ง ๒ แตก สถานที่เดินจงกรมเปื้อนโลหิต ดุจสถานที่ฆ่าโค ฉะนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 6
ครั้งนั้น ท่านพระโสณะไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตก
แห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า บรรดาพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ปรารภ
ความเพียรอยู่ เราก็เป็นรูปหนึ่ง แต่ไฉน จิตของเราจึงยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นเล่า สมบัติในตระกูลของเราก็ยังมีอยู่ เราอาจบริโภค
สมบัติและบำเพ็ญกุศล ถ้ากระไร เราพึงสึกเป็นคฤหัสถ์แล้ว บริโภคสมบัติและ
บำเพ็ญกุศล ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของ
ท่านด้วยพระทัยแล้ว จึงทรงอันตรธานที่คิชฌกูฏบรรพต มาปรากฏพระองค์
ณ ป่าสีตวัน เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยีอด
ฉะนั้น คราวนั้น พระองค์พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวจาริกตาม
เสนาสนะ ได้เสด็จเข้าไปทางสถานที่เดินจงกรมของท่านพระโสณะ ได้ทอด
พระเนตรเห็นสถานที่เดินจงกรมเปื้อนโลหิต ครั้นแล้วจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
มารับสั่งถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สถานที่เดินจงกรมแห่งนี้ของใครหนอ
เปื้อนโลหิต เหมือนสถานที่ฆ่าโค.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ท่านพระโสณะปรารภความเพียรเกินขนาด
เดินจงกรมจนเท้าทั้ง ๒ แตก ถามที่เดินจงกรมแห่งนี้ของท่านจึงเปื้อนโลหิต
ดุจสถานที่ฆ่าโค ฉะนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จเข้าไปทางที่อยู่ของท่านพระ
โสณะ ครั้นแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่จัดไว้ถวาย แม้ท่านพระโสณะก็
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งเฝ้าอยู่.
ตั้งความเพียรสม่ำเสมอเทียบเสียงพิณ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระโสณะผู้นั่งเฝ้าอยู่ว่า ดูก่อน
โสณะ เธอไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 7
บรรดาพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นรูป
หนึ่ง แต่ไฉน จิตของเราจึงยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
เล่า สมบัติในตระกูลของเราก็ยังมีอยู่ เราอาจบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล
ถ้ากระไร เราพึงสึกเป็นคฤหัสถ์แล้วบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล ดังนี้ มิใช่
หรือ ?
ท่านพระโสณะทูลรับว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อครั้งเธอยัง
เป็นคฤหัสถ์ เธอฉลาดในเสียงสายพิณ มิใช่หรือ ?
โส. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณ
ของเธอตึงเกินไป คราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม ?
โส. หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสาย
พิณของเธอหย่อนเกินไป คราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม ?
โส. หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ ดูก่อนโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณ
ของเธอไม่ตึงนัก ไม่หย่อนนัก ตั้งอยู่ในคุณภาพสม่ำเสมอ คราวนั้น พิณของ
เธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม ?
โส. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนโสณะ เหมือนกันนั่นแล ความเพียรที่ปรารภเกินไปนัก
ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่ย่อหย่อนนัก ก็เป็นไปเพื่อเกียจ-
คร้านเพราะเหตุนั้นแล เธอจงตั้งความเพียรแต่พอเหมาะจงทราบข้อที่อินทรีย์
ทั้งหลายเสมอกัน และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 8
ท่านพระโสณะทูลรับสนองพระพุทธพจน์ว่า จะปฏิบัติตามพระพุทธ-
โอวาทอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนท่านพระ-
โสณะด้วยพระโอวาทข้อนี้แล้ว ทรงอันตรธานที่ป่าสีตวันต่อหน้าท่านพระโสณะ.
แล้วมาปรากฏพระองค์ ณ คิชฌกูฏบรรพต เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียด
แขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
พระโสณะสำเร็จพระอรหัตผล
ครั้นกาลต่อมา ท่านพระโสณะได้ตั้งความเพียรแต่พอเหมาะ ทราบ
ข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายเสมอกัน และได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอ ครั้นแล้วได้
หลีกออกอยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไป ไม่นานเท่าไรนัก
ได้ทำให้แจ้งซึ่งคุณพิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องประสงค์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตน
เอง ในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่แล้ว ได้รู้ชัดแล้วว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิ
ได้มี ก็แลบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านพระโสณะได้เป็นพระอรหันต์รูป
หนึ่งแล้ว.
พรรณนาคุณของพระขีณาสพ
[๓] ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้คิดว่า ถ้า
กระไรเราพึงพยากรณ์อรหัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ครั้นแล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 9
พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์
ของคนได้ถึงแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้นย่อมน้อมใจ ไปสู่เหตุ ๖ สถาน คือ:-
๑. น้อมใจไปสู่บรรพชา.
๒. น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด.
๓. น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน.
๔. น้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน.
๕. น้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา และ.
๖. น้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล.
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญเห็นเช่น
นี้ว่า ท่านผู้นี้อาศัยคุณแต่เพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ จึงน้อมใจไปสู่
บรรพชา ดังนี้พระพุทธเจ้าข้า ก็ข้อนี้ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำ
จะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจสู่บรรพชา โดย
ที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศ
จากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ, จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโมหะ
เพราะสิ้นโมหะ.
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัย สำคัญเห็น
เช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมใจ
ไปในความเงียบสงัด ดังนี้ พระพุทธเจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุ-
ขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยัง
มีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจไปสู่ความ
เงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่ความ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 10
เงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ, จึงน้อมใจไปสู่ความ
เงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ.
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัย สำคัญเห็น
เช่นนี้ ว่า ท่านผู้นี้เชื่อถือสีลัพพตปรามาส โดยความเป็นแก่นสารเป็นแน่ จึง
น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน ดังนี้ พระพุทธเจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่าง
นั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจทำควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึง
น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสนราคะ, จึง
น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ,
จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ.
...จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะ
สิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะ
สิ้นโทสะ, จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะ
สิ้นโมหะ.
...จึงน้อมใจไปสู่ควานสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะ
สิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้น
โทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ,
...จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะ
สิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้น
โทสะ, จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้น
โมหะ.
พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ
ผ่านมาสู่คลองจักษุ ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำ
จิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็น
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 11
ธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความ
ดับของจิตนั้น.
แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต . . .
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ . . .
แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา. . .
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย . . .
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลอง
ใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้
เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติดังมั่นไม่
หวั่นไหวและภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความคับของจิตนั้น.
พระพุทธเจ้าข้า ภูเขาล้วนแล้วด้วยศิลา ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็น
แต่งทึบอันเดียวกัน แม้หากฝนเจือลมอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันออก ก็ยัง
ภูเขานั้นให้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านไม่ได้เลย.
แม้หากฝนเจือลมอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันตก . . .
แม้หากฝนเจือลมอย่างแรง พัดมาแต่ทิศเหนือ . . .
แม้หากฝนเจือลมอย่างแรง พัดมาแต่ทิศใต้ ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหว
สะเทือนสะท้านไม่ได้เลย แม้ฉันใด.
พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ
ผ่านมาสู่คลองจักษุ ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้น แล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ย่อมไม่
ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้
เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและ
ความดับของจิตนั้น.
แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต. . .
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ . . .
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 12
แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา . . .
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย . . .
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลอง
ใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพนักแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้
เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่
หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น ฉัน
นั้นเหมือนกันแล.
นิคมคาถา
[๔] ภิกษุผู้น้อมไปสู่บรรพชา ๑ ผู้
น้อมไปสู่ความเงียบสงัดแห่งใจ ๑ ผู้น้อมไป
สู่ความไม่เบียดเบียน ๑ ผู้น้อมไปสู่ความสิ้น
อุปาทาน ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา ๑ ผู้
น้อมไปสู่ความไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมมี
จิตหลุดพ้นโดยชอบ เพราะเห็นความเกิด
และความดับแห่งอายตนะ ภิกษุมีจิตหลุดพ้น
แล้วโดยชอบ มีจิตสงบนั้น ไม่ต้องกลับ
สะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็
ไม่มี เปรียบเหมือนภูเขาที่ล้วนแล้วด้วยศิลา
เป็นแท่งทึบ อันเดียวกัน ย่อมไม่สะเทือน
ด้วยลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ
และธรรมารมณ์ ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่
น่าปรารถนาทั้งสิ้น ย่อมทำท่านผู้คงที่ให้
หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น จิตของท่านตั้งมั่น
หลุดพ้นแล้ว ท่านย่อมพิจารณาเห็นคาวาม
เกิด และความดับของจิตนั้นด้วย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 13
ทรงอนุญาตรองเท้า
[๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ด้วย
วิธีอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ที่พวกกุลบุตรพยากรณ์อรหัตกล่าวแต่เนื้อความ
และไม่น้อมเข้าไปหาตน ก็แต่ว่าโมฆบุรุษบางจำพวกในธรรมวินัยนี้พยากรณ์
อรหัต ทำทีเหมือนเป็นของสนุก ภายหลังต้องทุกข์เดือดร้อน ดังนี้ ต่อแต่
นั้นพระองค์รับสั่งกะท่านพระโสณะว่า ดูก่อนโสณะ เธอเป็นสุขุมาลชาติ เรา
อนุญาตตรองเท้าชั้นเดียวแก่เธอ.
ท่านพระโสณะกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าละเงินประมาณ ๘๐ เล่ม
เกวียน และละกองพลกอปรด้วยช้าง ๗ เชือก ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
แล้ว จักมีผู้กล่าวแก่พระพุทธเจ้าว่า โสณโกฬิวิสะละเงินประมาณ ๘๐ เล่ม
เกวียน และละกองพลกอปรด้วยช้าง ๗ เชือก ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
แล้ว เดี๋ยวนี้ยังข้องอยู่ในเรื่องรองเท้าชั้นเดียว ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักได้ทรง
อนุญาตแก่พระภิกษุสงฆ์ แม้ข้าพระพุทธเจ้าจักใช้สอย ถ้าจักไม่ทรงอนุญาต
แก่พระภิกษุสงฆ์ แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็จักไม่ใช้สอย พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าชั้นเดียว ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้า ๒ ชั้น ไม่พึง
สวมรองเท้า ๓ ชั้น ไม่พึงสวมรองเท้าหลายชั้น รูปใดสวม ต้อองอาบัติทุกกฏ
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้าสีต่าง ๆ
[๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าสีเขียวล้วน. . สวม
รองเท้าสีเหลืองล้วน . . . สวมรองเท้าสีแดงล้วน . . . สวมรองเท้าสีบานเย็นล้วน
. . สวมรองเท้าสีดำล้วน. . . สวมรองเท้าสีแสดล้วน . . .สวมรองเท้าสีชมพูล้วน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 14
ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าสีเขียวล้วน ไม่พึงสวมรองเท้าสี
เหลืองล้วน ไม่พึงสวมรองเท่าสีแดงล้วน ไม่พึงสวมรองเท้าสีบานเย็นล้วน
ไม่พึงสวนรองเท้าสีดำล้วน ไม่พึงสวมรองเท้าสีแสดล้วน ไม่พึงสวมรองเท้า
สีชมพูล้วน รูปใดสวน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้ามีหูไม่สมควร
สมัยต่อมา พระฉัพพัคดีย์สวมรองเท้ามีหูสีเขียว . . . สวมรองเท้ามีหูสี
เหลือง . . . สวมรองเท้ามีหูสีแดง . . . สวมรองเท้ามีหูสีบานเย็น . . . สวมรองเท้า
มีหูสีดำ . . . สวมรองเท้ามีหูสีแสด . . .สวมรองเท้ามีหูสีชมพู ชาวบ้านพากัน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีเขียว ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีเหลือง ไม่
พึงสวมรองเท้ามีหูสีแดง ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีบานเย็น ไม่พึงส้วมรองเท้ามี
หูสีดำ ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีแสด ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีชมพู รูปใดสวม
ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติทรงห้ามสวมรองเท้าบางชนิด
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าติดแผ่นหนังหุ้มส้น. . . สวมรอง
เท้าหุ้มแข้ง . . .สวมรองเท้าปกหลังเท้า . . . สวมรองเท้ายัดนุ่น. . . สวมรองเท้ามี
หูลายคล้ายขนปีกนกกระทำ. . .สวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาเกาะ. . .
สวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาแพะ . . . สวมรองเท้าที่ทำประกอบหูงอน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 15
ดุจหางแมลงป่อง . . . สวมรองเท้าที่เย็บด้วยขนปีกนกยูง . . . สวมรองเท้าอัน
วิจิตร คนทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรง
บัญญัติห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าติดแผ่นหนังหุ้นส้น
ไม่พึงสวนรองเท้าหุ้มแข้งไม่พึงสวมรองเท้าปกหลังเท้า ไม่พึงสวมรองเท้ายัดนุ่น
ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูลายคล้ายขนปีกนกกระทำ ไม่พึงสวมรองเท้าที่ทำหูงอนมี
สัณฐานดุจเขาแกะ ไม่พึงสวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาแพะ ไม่พึง
สวมรองเท้าที่ทำประกอบหูงอนดุจหางแมลงป่อง ไม่พึงสวมรองเท้าที่เย็บด้วย
ขนปีกนกยูง ไม่พึงสวมรองเท้าอันวิจิตร รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติทรงห้ามสวนรองเท้าขลิบหนัง
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าขลิบด้วยหนังราชสีห์. . .สวม
รองเท้าขลิบด้วยหนังเสือโคร่ง . . . สวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือเหลือง . . . สวม
รองเท้าขลิบด้วยหนังชะมด . . . สวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนาก. . . สวมรองเท้า
ขลิบด้วยหนังแมว . . . สวมรองเท้าขลิบด้วยหนังค่าง . . . สวมรองเท้าขลิบด้วย
หนังนกเค้า คนทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรง
บัญญัติห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังราชสีห์
ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือโคร่ง ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือ
เหลือง ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังชะมด ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนัง
นาก ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังแมว ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังค่าง
ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนกเค้า รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 16
ทรงอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว
[๗] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว
ทรงถือบาตรจีวร เสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ มี
ภิกษุรูปหนึ่งเป็นปัจฉาสมณะ แต่ภิกษุรูปนั้นเดินเขยกตามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ไปเบื้องพระปฤษฎางค์ อุบายสกคนหนึ่งสวมรองเท้าหลายชั้น ได้เห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้ากำลังเสด็จพระพุทธดำเนินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงถอดรองเท้า
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น อภิวาทแล้ว
จึงได้ถามว่า เพราะอะไร พระผู้เป็นเจ้าจึงเดินเขยก ขอรับ.
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า เพราะเท้าทั้งสองของอาตมาแตก
อ. นิมนต์พระผู้เป็นเจ้ารับรองเท้า ขอรับ.
ภิ. อย่าเลย ท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามรองเท้าหลายชั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า เธอรับรองเท้านั้นได้ ภิกษุ.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รองเท้า
หลายชั้นที่ใหม่ ภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ห้ามสวมรองเท้าในที่บางแห่ง
[๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงฉลองพระบาท
เสด็จพระพุทธดำเนินอยู่ในที่แจ้ง ภิกษุผู้เถระทั้งหลายทราบว่า พระศาสดามิได้
ทรงฉลองพระบาทเสด็จพระพุทธดำเนินอยู่ ดังนี้ จึงเดินไม่สวมรองเท้า เมื่อ
พระศาสดาเสด็จพระพุทธดำเนินมิได้ทรงฉลองพระบาทแม้เมื่อภิกษุผู้เถระ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 17
ทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรองเท้า แต่พระฉัพพัคคีย์เดินสวมรองเท้า บรรดาภิกษุที่
เป็นผู้มักน้อย. . . เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จพระ-
พุทธดำเนินมิได้ทรงฉลองพระบาท แม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรอง
เท้า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้เดินสวมรองเท้าเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าเมื่อเราผู้ศาสดาเดินมิได้สวมรองเท้า แม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่
สวมรองเท้า แต่พระฉัพพัคคีย์เดินสวมรองเท้า จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรา
ผู้ศาสดาเดินมิได้สวมรองเท้า แม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรองเท้า
แต่ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้เดินสวมรองเท้าเล่า อันคฤหัสถ์ชื่อเหล่านี้นุ่งห่ม
ผ้าขาวยังมีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติเสมอภาค ในอาจารย์
ทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งศิลปะซึ่งเป็นเครื่องเลี้ยงชีพอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พึงงามในธรรมวินัยนี้เป็นแน่ ถ้าพวกเธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวดีแล้ว
อย่างนี้ จะพึงมีดวามเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติเสมอภาค อยู่ใน
อาจารย์ ในภิกษุปูนอาจารย์ ในอุปัชฌายะ ในภิกษุปูนอุปัชฌายะ การกระทำ
ของเหล่าโมฆบุรุษนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
อาจารย์ ภิกษุปูนอาจารย์ อุปัชฌายะ ภิกษุปูนอุปัชฌายะ เดินมิได้สวมรอง
เท้า ภิกษุไม่พึงเดินสวมรองเท้า รูปใดเดินสวมรองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าภายในอาราม รูปใดสวม ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 18
ภิกษุอาพาธเป็นหน่อที่เท้า
[๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นหน่อที่เท้า ภิกษุ
ทั้งหลายพยุงภิกษุรูปนั้นให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ให้ถ่ายปัสสาวะบ้าง พระผู้มีพระภาค
เจ้าเสด็จเที่ยวจาริกตานเสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกภิกษุกำลังพยุงภิกษุ
รูปนั้นให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ให้ถ่ายปัสสาวะบ้าง จึงเสด็จเข้าไปใกล้ภิกษุพวกนั้น
แล้วได้ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้อาพาธเป็นอะไร ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลว่า ท่านรูปนี้อาพาธเป็นหน่อที่เท้า พวกข้าพระพุทธเจ้าต้อง
พยุงท่านรูปนี้ให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ให้ถ่ายปัสสาวะบ้าง พระพุทธเจ้าข้า.
พระพุทธานุญาตให้สวมรองเท้าเป็นพิเศษ
[ ๑๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีเท้าชอกช้ำ หรือมีเท้าแตก หรืออาพาธ
มีหน่อที่เท้า สวมรองเท้าได้.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายมีเท้ามิได้ล้าง ขึ้นเตียงบ้างขึ้นตั่งบ้าง ทั้งจีวร
ทั้งเสนาสนะ ย่อมเสียหาย พวกภิกษุจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวมรอง
เท้าในขณะที่คิดว่าประเดี่ยวจักขึ้นเตียง หรือขึ้นตั่ง.
สมัยต่อมา เวลากลางคืน ภิกษุทั้งหลายเดินไปสู่โรงอุโบสถก็ดี สู่ที่
ประชุมก็ดี ย่อมเหยียบตอบบ้าง หนามบ้าง ในที่มืด เท้าทั้งสองได้รับบาดเจ็บ
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 19
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ภายในอาราม เราอนุญาตให้สวมรองเท้า และใช้คบเพลิง ประทีป
ไม้เท้าได้.
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าไม้
ครั้นต่อมา ถึงเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี พระฉัพพัคคีย์ลุกขึ้นสวม
เขียงเท้าที่ทำด้วยไม้ แล้วเดินอยู่กลางแจ้ง มีเสียงขฏะขฏะ ดังอึกทึก กล่าว
ดิรัจฉานกถามีเรื่องต่าง ๆ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์
เรื่องขุนพล เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน
เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม
เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเปิดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล
เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ เหยียบแมลงตายเสียบ้าง ยัง
ภิกษุทั้งหลายให้เคลื่อนจากสมาธิบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . ต่างก็เพ่ง
โทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ เมื่อเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี
ได้ลุกขึ้นสวมเขียงเท้าที่ทำด้วยไม้แล้วเดินอยู่กลางแจ้ง มีเสียงขฏะขฎะ ดังอึกทึก
กล่าวดิรัจฉานกถา มีเรื่องต่าง ๆ คือพูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร. . . เรื่องความ
เจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ เหยียบแมลงตายเสียบ้าง ยังภิกษุทั้งหลาย
ให้เคลื่อนจากสมาธิ แล้วจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ เมื่อปัจจุสมัยแห่งราตรี ได้ลุกขึ้นสวมเขียงเท้าที่ทำด้วย
ไม้ แล้ว เดินอยู่กลางแจ้ง มีเสียงขฏะขฏะ ดังอึกทึก กล่าวดิรัจฉานกถามีเรื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 20
ต่าง ๆ คือพูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร. . . เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วย
ประการนั้น ๆ เหยียบแมลงตายเสียบ้าง ยังภิกษุทั้งหลายให้เคลื่อนจากสมาธิ
บ้าง จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าที่ทำด้วยไม้ อันภิกษุ
ไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าใบตาล
[๑๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครราชคฤห์
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่จาริกทางพระนครพาราณสี
เสด็จพระพุทธดำเนินสู่จาริกโดยลำดับ ถึงพระนครพาราณสี ทราบว่า พระ-
องค์ประทับอยู่ในป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสีนั้น.
ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม
เขียงเท้าไม้ จึงให้ตัดต้นตาลเล็ก ๆ แล้วเอาใบตาลมาทำเขียงเท้าสวม ต้นตาล
เล็ก ๆ นั้นถูกตัดแล้วย่อมเหี่ยวแห้ง ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉน พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงได้ให้ตัดต้นตาลเล็ก ๆ แล้วเอาใบตาล
มาทำเขียงเท้าสวมเล่า ต้นตาลเล็ก ๆ ถูกตัดแล้ว ย่อมเหี่ยวแห้ง พระสมณะเชื้อ
สายศากยบุตรเบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ ภิกษุทั้งหลายได้ยิน
ชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 21
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์สั่งให้ตัดต้นตาลเล็ก ๆ แล้วเอาใบตาลมาทำเขียงเท้าสวม
ต้นตาลเล็ก ๆ นั้นถูกตัดแล้ว ย่อมเหี่ยวแห้ง จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไฉน
โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ให้ตัดต้นตาลเล็ก ๆ แล้วเอาใบตาลทำเขียงเท้าสวมเล่า
ต้นตาลเล็ก ๆ นั้นถูกตัดแล้ว ย่อมเหี่ยวแห้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ
ชาวบ้านมีความสำคัญในต้นไม้ว่ามีชีวะ การกระทำของเหล่าโมฆบุรุษนั้น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าสานด้วยใบตาล อัน
ภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าไม้ไผ่
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเขียง
เท้าสานด้วยใบตาล จึงได้ให้ตัดต้นไม้ไผ่เล็ก ๆ แล้ว เอาใบไผ่มาทำเขียงเท้า
สวม ไม้ไผ่เล็ก ๆ นั้น ถูกตัดแล้ว ย่อมเหี่ยวแห้ง ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ให้จัดไม้ไผ่
เล็ก ๆ แล้วเอาใบไผ่มาทำเขียงเท้าสวมเล่า ไม้ไผ่เล็ก ๆ นั้นถูกตัดแล้วย่อม
เหี่ยวแห้ง พระสมถะเชื้อสายศากยบุตรย่อมเบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมี
ชีวะ ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 22
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า. . .ครั้น แล้วรับ สั่งกะ
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเขียงเท้าสานด้วยใบไผ่ อันภิกษุไม่พึง
สวม รูปใดสวน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าต่างชนิด
[๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครพาราณสี
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินจาริกทางนครภัททิยะ เสด็จ
พระพุทธดำเนินจาริกโดยลำดับถึงพระนครภัททิยะ ทราบว่า พระองค์ประทับ
อยู่ในป่าชาติยาวัน เขตพระนครภัททิยะนั้น.
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวพระนครภัททิยะ ตั้งหน้าพากเพียร
ตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสาน
ด้วยหญ้าทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ทำเอง
บ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง
ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก
ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ พวกเธอละเลยอุเทศ
ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่าง
ก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนเล่าพวกภิกษุชาวพระนครภัททิยะ จึง
ได้ทั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้
ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียง
เท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสาน
ด้วยหญ้าปล้อง ได้ทำเองบ้าง ได้ส่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง
ได้เองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก ได้ทำเองบ้าง ได้สั่ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 23
ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ภิกษุเหล่านั้นได้ล่ะเลยอุเทศ ปริปุจฉา
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุชาวพระนครภัททิยะตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลาย
อยู่ คือ ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ทำเองบ้าง สั่ง
ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่ง
เขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วย
ใบเป้ง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก ทำเองบ้าง สั่ง
ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ย่อมละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล
อธิจิต อธิปัญญา จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
เล่าโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ
ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ได้ทำเองบ้าง ได้
สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำ
บ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียง
เท้าสานด้วยใบเป้ง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก
ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ โมฆบุรุษเหล่านั้น
ได้ละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การกระทำของเหล่าโมฆบุรุษนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส . . . ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าสานด้วยหญ้า เขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 24
ต่าย เขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง เขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง เขียงเท้าสานด้วย
แฝก เขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ เขียงเท้าประดับด้วยทองคำ เขียงเท้าประดับ
ด้วยเงิน เขียงเท้าประดับด้วยแก้วมณี เขียงเท้าประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ เขียง
เท้าประดับด้วยแก้วผลึก เขียงเท้าประกอบด้วยทองสัมฤทธิ์ เขียงเท้าประดับ
ด้วยกระจก เขียงเท้าทำด้วยดีบุก เขียงเท้าทำด้วยสังกะสี เขียงเท้าทำด้วยทอง
แดง รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฎ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เขียงเท้าบางชนิดที่สำหรับสวมเดิน อัน
ภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงเท้าที่ตรึงอยู่กับที่ ไม่ใช่สำหรับ
ใช้สวมเดิน ๓ ชนิด คือ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายอุจจาระ ๑ เขียงเท้าที่
สำหรับเหยียบถ่ายปัสสาวะ ๑ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบในที่ชำระ ๑.
พระพุทธบัญญัติห้ามจับโค
[๑๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ในพระนครภัททิยะ
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินจาริกทางพระนครสาวัตถี เสด็จ
พระพุทธดำเนินจาริกโดยลำดับถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประ-
ทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น.
ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์จับโคกำลังข้ามแม่น้ำอจิรวดี ที่เขา
บ้าง ที่หูบ้าง ที่คอบ้าง ที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีจิตกำหนัด ถูกต้ององค์
กำเนิดบ้าง กดลูกโคให้จมน้ำตายบ้าง ประชาชนทั้งหลาย พากันเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้จับโคกำลัง
ข้ามน้ำ ที่เขาบ้าง ที่หูบ้าง ที่คอบ้าง ที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีจิตกำหนัด
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 25
ถูกต้ององค์กำเนิดบ้าง กดลูกโคให้จมน้ำตายบ้าง เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจับเขาโค หูโค คอโค หางโค ไม่พึงขี่หลังโค รูปใด
จับแลขึ้นขี่ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง องค์กำเนิดโค อันภิกษุมีจิตกำหนัด ไม่
พึงถูกต้อง รูปใดถูกต้อง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุไม่พึงฆ่าลูกโค รูปใดฆ่า
พึงปรับอาบัติตามธรรม.
เรื่องยาน
[๑๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคียี์ขี่ยานซึ่งเทียมด้วยโคตัวเมีย
มีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคตัวผู้ มีสตรีเป็นสารถีบ้าง ประชาชนจึง
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวไปเล่นน้ำในแม่น้า
คงคาและแม่น้ำมหี ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง-
ไปด้วยยาน รูปใดไปต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไปพระนครสาวัตถีในโกศลชนบทเพื่อเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่อาพาธเสียกลางทาง และได้หลีกจากทางนั่งอยู่ ณ
โคนไม้แห่งหนึ่งประชาชนพบภิกษุนั้น จึงเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจะไปไหน
ขอรับ ?
ภิกษุนั้นตอบว่า อาตมาจะไปพระนครสาวัตถุ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เจ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 26
ป. นิมนต์มา ไปด้วยกันเถิด ขอรับ.
ภิ. อาตมาไม่อาจ เพราะกำลังอาพาธ.
ป. นิมนต์มาขึ้นยานเถิด ขอรับ.
ภิ. ไม่ได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามยาน.
ภิกษุนั้นรังเกียจอยู่ ดังนั้นจึงไม่ยอมขึ้นยาน ครั้นไปถึงพระนครสาวัตถี
แล้วจึงแจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตยานแก่ภิกษุผู้อาพาธ.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้คิดกันว่า ยานที่ทรงอนุญาตนั้นเทียมด้วยโค
ตัวเมีย หรือเทียมด้วยโคตัวผู้ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานที่เทียม
ด้วยโคตัวผู้และยานที่ใช้มือลาก.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไม่ผาสุกอย่างแรง เพราะความกระเทือนแห่ง
ยาน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตเก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานหามมีตั่งนั่ง และเปลผ้า
ที่เขาผูกติดกับไม้คาน.
พระพุทธบัญญัติห้ามใช้ที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่
[๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ใช้ที่นั่งและที่นอนอันสูงใหญ่
คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว
เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 27
ดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและ
เสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว
เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาด
ขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาด
ในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดี
ทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง ชาวบ้านเที่ยวชม
วิหารไปพบเข้า จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนเหล่าคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงใช้ที่นั่งและที่นอนอันสูงใหญ่ คือ เขียงมีเท้าสงเกินประมาณ เตียง
มีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตร
ลวดลายเครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้
เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็น
ต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทอง
และเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนาง-
ฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่อง-
ลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด
เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามใช้หนังผืนใหญ่
[๑๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์รู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
ห้ามที่นั่งและที่นอนอันสูงใหญ่ จึงใช้หนังผืนใหญ่ คือ หนังสีหะ หนังเสือโคร่ง
หนังเสือเหลือง หนังเหล่านั้นตัดตามขนาดเตียงบ้าง ตัดตามขนาดตั่งบ้าง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 28
ปูลาดไว้ภายในเตียงบ้าง ปูลาดไว้ภายนอกเตียงบ้าง ปูลาดไว้ภายในตั่งบ้าง
ปูลาดไว้ภายนอกตั่งบ้าง ชาวบ้านเที่ยวชมวิหารไปพบเข้า จึงเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ไม่พึงใช้หนังผืนใหญ่ คือ หนังสีหะ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง รูปใด
ใช้ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องภิกษุใจร้าย
[๑๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์รู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ห้ามหนังผืนใหญ่ จึงใช้หนังโค หนังเหล่านั้นตัดตามขนาดเตียงบ้าง ตัดตาม
ขนาดตั่งบ้าง ปูลาดไว้ภายในเตียงบ้าง ปูลาดไว้ภายนอกเตียงบ้าง ปูลาดไว้ภาย
ในตั่งบ้าง ปูลาดไว้ภายนอกตั่งบ้าง.
มีภิกษุใจร้ายรูปหนึ่ง เป็นกุลุปกะของอุบาสกใจร้ายคนหนึ่ง ครั้นเวลา
เช้าภิกษุใจร้ายรูปนั้นนุ่งอันตรวาสก ถือบาตรจีวรแล้วเดินเข้าไปในบ้านของ
อุบาสกใจร้ายคนนั้น แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ อุบาสกใจร้ายคนนั้น
จึงเข้าไปหาภิกษุใจร้ายรูปนั้น นมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัย
นั้นลูกโคของอุบาสกใจร้ายคนนั้น เป็นสัตว์กำลังรุ่น รูปร่างเข้าที น่าดูน่าชม
งามคล้ายลูกเสือเหลือง ภิกษุใจร้ายรูปนั้น จึงจ้องมองดูมันด้วยความสนใจ ทีนั้น
อุบาสกใจร้ายได้กล่าวคำนี้กะภิกษุใจร้ายว่า พระคุณเจ้าจ้องมองดูมัน ด้วยความ
สนใจเพื่อประสงค์อะไรขอรับ ภิกษุใจร้ายรูปนั้น ตอบว่า อาวุโส อาตมา
ต้องประสงค์หนังของมัน ทีนั้น อุบาสกใจร้ายจึงฆ่ามันแล้วได้ถลกหนังถวาย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 29
แก่ภิกษุใจร้ายรูปนั้น ๆ ได้เอาผ้าสังฆาฏิห่อหนังเดินไป ครั้งนั้น แม่โค มี
ความรักลูก จึงเดินตามภิกษุใจร้ายรูปนั้นไปข้างหลัง ๆ ภิกษุทั้งหลายถามภิกษุ
ใจร้ายรูปนั้นว่า อาวุโส ทำไมแม่โคตัวนี้จึงเดินตามท่านมาข้างหลัง ๆ ขอรับ
ภิกษุใจร้ายรูปนั้น ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย แม้ผมเองก็ไม่ทราบว่า มันเดิน
ตานผมมาข้างหลัง ๆ ด้วยเหตุอะไร ขณะนั้น ผ้าสังฆาฏิของภิกษุใจร้ายรูปนั้น
เปื้อนเลือด ภิกษุทั้งหลาย จึงถามภิกษุใจร้ายรูปนั้นว่า อาวุโส ก็ผ้าสังฆาฏิ
ผืนนี้ ท่านห่ออะไรไว้ ขอรับ ภิกษุใจร้ายรูปนั้นได้แจ้งความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโสก็ท่านชักชวนให้เขาฆ่าสัตว์หรือขอรับ ภิกษุใจร้าย
ตอบว่า อย่างนั้นขอรับ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึงชักชวนให้เขาฆ่าสัตว์เล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ติเตียนการฆ่าสัตว์ ทรงสรรเสริญการงดจากการฆ่าสัตว์ โดยอเนกปริยายมิใช่
หรือ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระพุทธบัญญัติห้ามใช้หนังโค
[๑๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน
เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุใจ
ร้ายนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอชักชวนให้เขาฆ่าสัตว์ จริงหรือ ?
ภิกษุใจร้ายนั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ
จึงได้ชักชวนให้เขาฆ่าสัตว์เล่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เราติเตียนการฆ่าสัตว์ สรรเสริญ
การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ไว้ โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ การกระทำของเธอนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . . ครั้นแล้ว ทรงทำ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 30
ธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงชักชวน
ในการฆ่าสัตว์ รูปใด ชักชวน พึงปรับอาบัติตามธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง หนังโคอันภิกษุไม่พึงใช้ รูปใดใช้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ หนึ่งอะไร ๆ ภิกษุไม่พึงใช้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมา เตียงก็ดี ตั่งก็ดี ของชาวบ้าน เขาหุ้มด้วยหนัง ถักด้วย
หนัง ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่นั่งทับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
นั่งทับเตียงตั่งที่เป็นอย่างของคฤหัสถ์ แค่ไม่อนุญาตให้ นอนทับ.
สมัยต่อมา วิหารทั้งหลายเขาผูกรัดด้วยเชือกหนัง ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ
ไม่นั่งพิง แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้นั่งพิงเฉพาะเชือก.
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้าเข้าบ้าน
[๑๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าเข้าบ้าน คน
ทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนเหล่าคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึ่งสวมรองเท้าเข้าบ้าน รูปใดสวม
เข้าไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตให้ภิกษุอาพาธสวมรองเท้าเข้าบ้าน
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเว้นรองเท้าเสียไม่อาจเข้าบ้านได้ ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธสวมรองเท้าเข้าบ้านได้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 31
เรื่องพระโสณกุฏิกัณณะ
[ ๒๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ปปาตะบรรพต
เขตกุรรฆระนครในอวันตีชนบท ก็คราวนั้นอุบาสกชื่อโสณกุฏิกัณณะ เป็น
อุปัฏฐากของท่านพระมหากัจจานะ ได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ นมัสการ
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อุบาสกโสณกุฏิกัณณะนั่งอยู่ ณ ที่นั่นแล ได้
กราบเรียนคำนี้กะท่านพระมหากัจจานะว่า ท่านขอรับ ด้วยวิธีอย่างไร ๆ
กระผมจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระคุณเจ้าแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่
จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียว
ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย กระผมปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้า
กาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ากรุณาโปรดให้กระผม
บวชเถิด ขอรับ เมื่ออุบาสกโสณกุฏิกัณณะกราบเรียนเช่นนี้แล้ว ท่านมหา
กัจจานะได้กล่าวคำนี้กะอุบาสกโสณกุฏิกัณณะว่า โสณะ การประพฤติพรหมจรรย์
ซึ่งต้องนอนผู้เดียว บริโภคอาหารหนเดียวจนตลอดชีพ ทำได้ยากนักแล เอา
เถอะ โสณะ จงเป็นคฤหัสถ์อยู่ในจังหวัดนี้แหละ แล้วประกอบตามพระ
พุทธศาสนา ประกอบตามพรหมจรรย์ ซึ่งต้องนอนผู้เดียว บริโภคอาหารหน
เดียว ควรแก่กาลเถิด.
คราวนั้น ความตั้งใจบรรพชาซึ่งได้เกิดแก่อุบาสกโสณกุฏิกัณณะนั้น
สงบลงแล้ว .
แม้ครั้งที่สองแล อุบาสกโสณกุฏิกัณณะ . . .
แม้ครั้งที่สามแล อุบาสกโสณกุฏิกัณณะได้เข้าไปหาท่านพระมหา-
กัจจานะนมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อุบาสกโสณกุฏิกัณณะนั่งอยู่ ณ
ที่นั้นแล ได้กราบเรียนคำนี้กะท่านพระมหากัจจานะว่า ท่านขอรับ ด้วยวิธี
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 32
อย่างไร ๆ กระผมจึงจะรู้ตัวถึงธรรมที่พระคุณเจ้าแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยัง
ครองเรือนอยู่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดย
ส่วนเดียวดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย กระผมปรารถนาจะปลงผมและหนวด
ครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ากรุณาโปรดให้
กระผมบวชเถิด ขอรับ.
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัจจานะให้อุบาสกโสณกุฏิกัถณะบรรพชาแล้ว.
ก็สมัยนั้น อวันตีชนบทอันทั้งอยู่แถบใต้ มีภิกษุน้อยรูป ท่านพระ
มหากัจจานะจัดหาพระภิกษุสงฆ์แต่ที่นั้น ๆ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยาก
ลำบากท่อล่วงไปถึง ๓ ปี จึงอุปสมบทให้ท่านพระโสณะได้.
พระโสณเถระรำพึงแล้วอำลาเข้าเฝ้า
ครั้งนั้น ท่านพระโสณะจำพรรษาแล้ว ไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้
มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เราได้
ยินมาอย่างชัดเจนว่า เป็นผู้เช่นนี้และเช่นนี้ แต่เรามิได้เฝ้าต่อพระพักตร์ เรา
ควรไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น. หากพระ
อุปัชฌายะจะพึงอนุญาตแก่เรา ครั้นเวลาสายัณห์ ท่านออกจากที่หลีกเร้นแล้ว
จึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว
กราบเรียนว่าท่านขอรับ กระผมไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ได้มีความ
ปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เราได้ยินมา
อย่างชัดเจนว่า เป็นผู้เช่นนี้และเช่นนี้ แต่เรามิได้เฝ้าต่อพระพักตร์ เราควร
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น หากพระ-
อุปัชฌายะจะพึงอนุญาตแก่เรา ท่านขอรับ กระผมจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น หากท่านพระอุปัชฌายะจะอนุญาตแก่
กระผม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 33
อาณัติกพจน์ของพระอุปัชฌายะ ๕ ประการ
ท่านพระมหากัจจานะ กล่าวว่าดีละ ดีละ โสณะ จงไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น จักเห็นพระองค์ผู้น่าเลื่อมใส
ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส มีพระอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ทรงถึงความ
ฝึกกายและความสงบจิตอันสูงสุด ทรงทรมานแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์อัน
สำรวมแล้ว ผู้ไม่ทำบาป โสณะ ถ้าเช่นนั้น จงถวายบังคมพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าตามที่เราสั่งว่า ท่านพระมหากัจจานะ
อุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคม พระยุคลบาทของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า :-
๑. พระพุทธเจ้าข้า อวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป ข้าพระพุทธ-
เจ้าได้จัดหาภิกษุสงฆ์แต่ที่นั้น ๆ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยากลำบาก
นับแต่วันข้าพระพุทธเจ้าบรรพชาล่วงไป ๓ ปี จึงได้อุปสมบท ถ้ากระไรเฉพาะ
ในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงอนุญาตอุปสมบทด้วย
คณะสงฆ์น้อยรูปกว่านี้ได้.
๒. พระพุทธเจ้าข้า พื้นดินในอวันตีทักชิณาบถ มีดินสีคำมาก
ขรุขระ ดื่นดาษด้วยระแหงกีบโค ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตตรองเท้าหลายชั้น.
๓. พระพุทธเจ้าข้า คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถนิยมการอาบน้ำ
ถือว่าน่าทำให้บริสุทธิ์ ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 34
๔. พระพุทธเจ้าข้า ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ หนัง
แกะ หนังแพะ หนังมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง
หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด ในอวันตีทักขิณาบถก็มีหนังเครื่อง
ลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้น เหมือนกันแล ถ้ากระไร
เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตหนังเครื่องลาด
คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค.
พระพุทธเจ้า เดี๋ยวนี้คนทั้งหลายฝากถวายจีวรเพื่อหมู่ภิกษุผู้อยู่
นอกสีมา ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวายจีวรผืนนี้ แก่ท่านผู้มีชื่อนี้ ดังนี้
ภิกษุผู้รับฝากมาบอกว่า อาวุโส คนทั้งหลายมีชื่อนี้ ถวายจีวรแก่ท่านแล้ว พวก
ภิกษุผู้รับคำบอกเล่า รังเกียจไม่ยินดีรับ ด้วยคิดว่า พวกเราต้องการของ
เป็นนิสสัคคีย์ ถ้ากระไร ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสชี้แจงในเรื่องจีวร.
พระโสณเถระเข้าเฝ้า
ท่านพระโสณะรับคำของท่านพระมหากัจจานะแล้วลุกจากอาสนะ อภิ-
วาทท่านพระมหากัจจานะทำประทักษิณแล้วเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรเดินไป
ทางที่จะไปพระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระวิหารเชตวันอารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน
อานนท์ เธอจงจัดเสนาสนะต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้ ท่านพระอานนท์จึง
คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระบัญชาใช้เราเพื่อภิกษุรูปใดว่า ดูก่อนอานนท์
เธอจงจัดเสนาสนะต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อม
ปรารถนาจะประทับอยู่ในพระวิหารแห่งเดียวกับภิกษุรูปนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 35
ปรารถนาจะประทับอยู่ในพระวิหารแห่งเดียวกับท่านพระโสณะเป็นแน่ ดังนี้ จึง
จัดเสนาสนะต้อนรับท่านพระโสณะ ในพระวิหารอันเป็นที่ประทับของพระผู้มี
พระภาคเจ้า.
ถวายเทศน์ในพระวิหาร
[๒๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่แจ้งจนดึกจึงเสด็จ
เข้าพระวิหาร แม้ท่านพระโสณะก็ยับยั้งอยู่ในที่แจ้งจนดึกจึงเข้าพระวิหาร ครั้น
เวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตื่นพระบรรทมแล้วทรง
อัชเฌสนาท่านพระโสณะว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงกล่าวธรรมตามถนัด ท่านพระ
โสณะกราบทูลสนองพระพุทธบัญชาว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้
สวดพระสูตรทั้งหลาย อันมีอยู่ในอัฏฐกวรรค จนหมดสิ้นโดยสรภัญญะ ครั้น
จบสรภัญญะของท่านพระโสณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระปราโมทย์โปรด
ประทานสาธุการว่า ดีละ ดีละ ภิกษุ สูตรทั้งหลายที่มีในอัฏฐกวรรคเธอเรียน
มาดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงจำได้แม่นยำดี เธอเป็นผู้ประกอบด้วยวาจา
ไพเราะเพราะพริ้ง ไม่มีโทษ ให้เข้าใจรู้ความได้แจ่มชัด เธอมีพรรษาต่ำไร
ภิกษุ ?
ท่านพระโสณะกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ามีพรรษาเดียว พระพุทธ
เจ้าข้า.
ภ. เพราะเหตุไร เธอจึงมัวประพฤติชักช้าเช่นนั้นเล่า ภิกษุ ?
โส. ข้าพระพุทธเจ้าเห็นโทษในกามทั้งหลายนานแล้ว แต่เพราะ
ฆาราวาสคับแคบ มีกิจมาก มีกรณียมาก จึงได้พระพฤติชักช้าอยู่ พระพุทธ
เจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 36
ทรงเปล่งพระอุทาน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความข้อนี้แล้ว จึงทรงเปล่ง
พระอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-
อารยชนเห็นโทษในโลก ทราบธรรมที่
ปราศจากอุปธิแล้ว ฉะนั้น จึงไม่ยินดีในบาป
เพราะคนสะอาดย่อมไม่ยินดีในบาป.
กราบทูลอาณัติกพจน์ของพระอุปัชฌายะ ๕ ประการ
[๒๒] ลำดับนั้น ท่านพระโสณะคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลัง
โปรดปรานเรา เวลานี้ควรกราบทูลถ้อยคำที่พระอุปัชฌายะของเราสั่งมา ดังนี้
แล้วลุกจากที่นั่ง ห่มจีวรเฉวียงบ่า หมอบลงที่พระบาทยุคลของพระผู้มี
พระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้วได้กราบทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระ-
พุทธเจ้าข้า ท่านพระมหากัจจานะอุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายบังคม
พระยุคลบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า และสั่งให้ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูล
อย่างนี้ว่า:-
๑. พระพุทธเจ้าข้า อวันตีทุกขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป ข้าพระพุทธ-
เจ้าได้จัดหาภิกษุสงฆ์แต่นั้น ๆ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยากลำบากนับ
แต่วันที่ข้าพระพุทธเจ้าบรรพชาล่วงไป ๓ ปี จึงได้อุปสมบท ถ้ากระไร เฉพาะ
ในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตอุปสมบท ด้วยคณะ
สงฆ์น้อยรูปกว่านี้ได้.
๒. พระพุทธเจ้าข้า พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก
ขรุขระ ดื่มดาษด้วยระแหงกีบโค ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักิขิณาบถ ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตครองเท้าหลายชั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 37
๓. พระพุทธเจ้าข้า คนทั้งหลา ในอวันตีทักขิณาบถนิยมการอาบน้ำ
ถือว่าน้ำทำให้บริสุทธิ์ ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถขอพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตอาบน้ำได้เป็นนิตย์.
๔. พระพุทธเจ้าข้า ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ
หนังแกะ หนังแพะ หนึ่งมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง
หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด ในอวันตีทักขิณาบถก็มี หนังเครื่อง
ลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้ากระไร
เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตหนังเครื่อง
ลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค.
๕ พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้คนทั้งหลายฝากถวายจีวรแก่หมู่ภิกษุผู้อยู่
นอกสีมา ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวายจีวรผืนนี้แก่ท่านผู้มีชื่อนี้ ดังนี้
ภิกษุผู้รับฝากมาบอกว่า อาวุโส คนทั้งหลายมีชื่อนี้ถวายจีวรแก่ท่านแล้ว พวก
ภิกษุผู้ได้รับคำบอกเล่า รังเกียจไม่ยินดีรับคำบอกเล่า รังเกียจไม่ยินดีบอก
เล่า รังเกียจไม่ยินดีรับ ด้วยคิดว่า พวกเราไม่ต้องการของเป็นนิสสัคคีย์ ถ้า
กระไร ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสชี้แจงในเรื่องจีวร.
ทรงพุทธานุญาตพิเศษ
[๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูปเรา
อนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธรเป็นที่ ๕ ได้ ทั่วปัจจันต๑ ชนบท.
๑. จังหวัดภายในเป็นศูนย์กลางของประเทศ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 38
กำหนดเขตปัจจันตชนบทและมัชณิมชนบท
บรรดาชนบทเหล่านั้น ปัจจัยนทชนบท มีกำหนดเขต ดังนี้ :-
ในทิศบูรพามีนิคมชื่อกชังคละ ถัดนิคมนั้นมาถึงมหาสาลนคร นอก
นั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิม๑ ชนบท.
ในทิศอาคเนย์ มีแม่น้ำชื่อสัลลวตี นอกแม่น้าสัลลวตีนั้นออกไป
เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท.
ในทิศทักษิณ มีนิคมชื่อเสตกัณณิกะ นอกนิคมนั้นออกไปเป็นปัจจันต
ชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท.
ในทิศปัจฉิม มีพราหมณคามชื่อถูนะ นอกนั้นออกไป เป็นปัจจันต
ชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท.
ในทิศอุคร มีภูเขาชื่ออุสีรธชะ นอกนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท
ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบท ด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธร
เป็นที่ ๕ ได้ ทั่วปัจจันตชนบทเห็นปานนี้.
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก
ดื่นดาษด้วยระแหงกีบโค เราอนุญาตรองเท้าหลายชั้น ทั่วปัจจันตชนบท.
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถ นิยมการ
อาบน้ำถือว่าน้ำทำให้บริสุทธิ์ เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ทั่วปัจจันต-
ชนบท.
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ
หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง
หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด ในอวันตีทักขิณาบถ ก็มีหนังเครื่อง
๑. จังหวัดภายในเป็นศูนย์กลางของประเทศ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 39
ลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้นเหมือนกันแล เราอนุญาต
หนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ทั่วปัจจันตชนบท.
๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คนทั้งหลายในโลกนี้ฝากถวายจีวรเพื่อ
หมู่ภิกษุอยู่นอกสีมา ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อ
นี้ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ยินดีได้ จีวรนั่นยังไม่ควรนับ
ราตรีตลอดเวลาที่ ยังไม่ถึงมือ.
จัมมขัมธกะ ที่ ๕ จบ
ในขันธกะนี้มี ๖๓ เรื่อง
หัวข้อประจำขันธกะ
[๒๔] พระเจ้าแผ่นดินมคธ ทรงปกครองพลเมือง ๘๐,๐๐๐ ตำบล
รับสั่งให้โสณเศรษฐีเข้าเฝ้า ๑ พระสาคตเถระแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นธรรม
ยวดยิ่งของมนุษย์มากมาย ณ คิชฌกูฎบรรพต ๑ โสณเศรษฐีบุตรออกบวช และ
ปรารภความเพียรเกินขนาด เดินจงกรมจนเท้าแตก ๑ เปรียบเทียบความเพียร
ด้วยสายพิณ ๑ ทรงอนุญาตรองเท้าชั้นเดียว ๑ ทรงห้ามรองเท้าสีเขียว ๑ รอง
เท้าสีเหลือง ๑ รองเท้าสีแดง ๑รองเท้าสีบานเย็น ๑ รองเท้าสีดำ ๑ รองเท้าสีแสด ๑
รองเท้าสีชมพู ๑ รองเท้ามีหูวิจิตร ๑ รองเท้าหุ้มส้น ๑ รองเท้าหุ้มแข้ง ๑ รอง
เท้าที่ยัดด้วยนุ่น ๑ รองเท้าที่มีลายคล้ายขนปีกนกกระทา ๑ รองเท้าที่ทำหูงอนมี
สัณฐานดุจเขาแกะ ๑ รองเท้าที่หูงอนมีสัณฐานดุจเขาแพะ ๑ รองเท้าที่ทำประกอบ
หูงอนดุจหางแมลงป่อง ๑ รองเท้าที่เย็บด้วยขนปีกนกยูง ๑ รองเท้าที่วิจิตร ๑ รอง
เท้าที่ขลิบด้วยหนังราชสีห์ ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังเสือโคร่ง ๑ รองเท้าที่ขลิบ
ด้วยหนังเสือเหลือง ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังชะมด ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังนาก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 40
๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังแมว ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังค่าง ๑ รองเท้าที่ขลิบ
ด้วยหนังนกเค้า ๑ เท้าแตก ๑ สวมรองเท้าในวัด ๑ เท้าเป็นหน่อ ล้างเท้า ตอ
ไม้และสวมเขียงเท้าเดินเสียงดังขฏะ ขฏะ ๑ เขียงเท้าสานด้วยใบตาล ๑ เขียง
เท้าสานด้วยใบไผ่ ๑ เขียงเท้าสานด้วยหญ้า ๑ เชียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย
๑ เขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ๑ เขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง ๑ เขียงเท้าสานด้วย
แฝก ๑ เขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ๑ เขียงเท้าประดับด้วยทองคำและเงิน ๑ เขียง
เท้าประดับด้วยแก้วมณี ๑ เขียงเท้าประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ ๑ เขียงเท้าประดับ
ด้วยแก้วผลึก ๑ เขียงเท้าทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ๑ เขียงเท้าประดับด้วยกระจก ๑
เขียงเท้าทำด้วยดีบุก ๑ เขียงเท้าทำด้วยสังกะสี ๑ เขียงเท้าทำด้วยทองแดง ๑
จับโค ๑ ขี่ยานและภิกษุอาพาธ ๑ ยานเทียมด้วยโคตัวผู้ ๑ คานหาม ๑ ที่นั่ง
และที่นอน ๑ หนังผืนใหญ่ ๑ หนังโค ๑ ภิกษุ ใจร้าย ๑ เตียงตั่งของพวกคฤหัสถ์
ที่หุ้มหนัง ๑ สวมรองเท้าเข้าบ้าน และภิกษุอาพาธ ๑ พระมหากัจจานะ ๑
พระโสณะ สวดสูตรอันมีอยู่ในอัฏฐกวรรค โดยสรภัญญะและพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นนายกได้ทรงประทานพร ๕ อย่างนี้ แก่พระโสณะเถระ คือ อนุญาตสงฆ์
ปัญจวรรคทำการอุปสมบทได้ ๑ สวมรองเท้าหลายชั้นได้ ๑. อาบน้ำได้เป็น
นิคย์ ๑ ใช้หนังเครื่องลาดได้ ๑ ทายกถวายจีวร เมื่อยังไม่ถึงมือภิกษุ ยังไม่ต้อง
นับราตรี ๑.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 41
อรรถกถาจัมมขันธกะ
เรื่องพระโสณโกลิวิสเถระ
บทว่า อิสฺสราธิปจฺจ ได้แก่ ประกอบด้วยอิสรภาพและความเป็น
ใหญ่ยิ่ง.
บทว่า รชฺช ได้แก่ ความเป็นพระราชา หรือกิจที่พระราชาจะพึง
ทรงทำ.
วินิจฉัยในข้อว่า โสโณ นาม โกลิวิโส นี้ พึงทราบดังนี้.
คำว่า โลณะ เป็นชื่อของเศรษฐีบุตรนั้น คำว่า โกลิวิสะ เป็นโคตร.
สองบทว่า ปาทตเลสุ โลมานิ มีความว่า ที่ฝ่าเท้าทั้งสองของ
เศรษฐีบุตรนั้นแดง มีขนอันละเอียดมีสีคล้ายดอกอัญชัน งดงามดังนายช่าง
ได้ตกแต่งแล้ว.
ได้ยินว่า ในกาลก่อน โสณเศรษฐีบุตรนั้น ได้เป็นหัวหน้าของบุรุษ
แปดหมื่นคน พร้อมด้วยบุรุษเหล่านั้น ช่วยกันสร้างบรรณศาลาในสถานที่อยู่
ของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้ววางผ้าปาวารขนสัตว์อย่างงามของคนทำให้เป็น
ผ้าเช็ดเท้า ในสถานเป็นที่เหยียบด้วยเท้าของพระปัจเจกพุทธเจ้า. และทุก ๆ
คนได้อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าตลอดไตรมาส นี้เป็นความประกอบ
บุพกรรมของโสณเศรษฐีบุตรนั้นกับบุรุษแปดหมื่นคนเท่านั้น.
บทว่า คามิกสหสฺสานิ ได้แก่ กุลบุตรแปดหมื่น ซึ่งอยู่ในบ้าน
เหล่านั้น.
สองบทว่า เกนจิเทว กรณีเยน มีความว่า คล้ายกับมีราชกิจอะไร ๆ
ที่ควรทำ. แต่ราชกิจเล็กน้อยที่ควรทำของท้าวเธอก็หามีไม่นอกจากเพื่อต้อง
การทอดพระเนตรตัวเขา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 42
ได้ยินว่า พระราชาเมื่อจะให้กุลบุตรทั้งแปดหมื่นนั้น ประชุมกัน ได้ให้
ประชุมกันแล้วด้วยทรงเห็นอุบายว่า ด้วยอุบายอย่างนี้ โสณะจะไม่ระแวง
จักมา.
สองบทว่า ทิฏฺธมฺมิเก อตฺเถ มีความว่า พระเจ้าพิมพิสารทรง
อนุศาสน์ประโยชน์ซึ่งเกื้อกูลในโลกนี้ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า การงานทั้งหลาย
มีกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้น ควรทำตามธรรม มารดาบิดาควรเลี้ยง
ตามธรรม
สามบทว่า โส โน ภควา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา
ทั้งหลายนั้น จักทรงพร่ำสอนท่านทั้งหลายในประโยชน์ซึ่งเป็นไปในสัมปราย
ภพ.
สองบทว่า ภควนฺต ปฏิเวเทมิ มีความว่า เราจะทูลพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าให้ทรงทราบ.
สองบทว่า ปาฏิกาย นิมฺมุชฺชิตฺวา มีความว่า ดำลงในศิลาคล้าย
อัฒจันทร์ในภายใต้แห่งบันได.
หลายบทว่า ยสฺสทานิ ภนฺเต ภควา กาล มฌฺติ มีความว่า
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอยู่ซึ่งกาลแห่งประโยชน์ เพื่อทำความเกื้อกูล
ไรเล่าแก่ชนชาวบ้านเหล่านั้น.
บทว่า วิหารปฺปจฺฉายาย ได้แก่ ในร่มเงาที่ท้ายวิหาร.
บทว่า สมนฺนาหรนฺติ ได้แก่ ทำในใจบ่อย ๆ ด้วยอำนาจความ
เลื่อมใส.
สองบทว่า ภิยฺโยโส มตฺตาย มีความว่า ท่านจงแสดงอิทธิปาฏิ-
หาริย์วิเศษกว่าอีก โดยประมาณยิ่งเถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 43
บทว่า อนฺตรธายติ ได้แก่ เป็นรูปที่มองไม่เห็น.
สองบทว่า โลหิเตน ผุฏฺโฐ ได้แก่ เป็นที่จงกรมซึ่งเปื้อนเลือด.
บทว่า ควาฆาตน มีความว่า เป็นเช่นกับสถานที่ฆ่าโคทั้งหลาย.
บทว่า กุสโล ได้แก่ ผู้ฉลาดในการดีดพิณ.
สองบทว่า วีณาย ตนฺติสฺสเร ได้แก่ เสียงแห่งสายพิณ.
บทว่า อจฺจายิกา ได้แก่ เป็นสายที่ขึงตึงนัก คือกวดเขม็งนัก
บทว่า สรวตี ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยเสียง.
บทว่า กมฺมุญฺา ได้แก่ ควรแก่การงาน.
บทว่า อติสิถิลา ได้แก่ เป็นสายที่หย่อนนัก.
สามบทว่า สเม คุเณ ปตฏฺฐิตา ได้แก่ ขึงกะให้เสียงเป็นกลาง ๆ.
สองบทว่า วิริยสมถ อธิฏฺาฐาหิ มีความว่า ท่านจงอธิษฐานสมถะ
อันสัมปยุตด้วยความเพียร, อธิษฐานว่า จงประกอบด้วยความสงบเนื่องด้วย
ความเพียร.
สามบทว่า อินฺทฺริยานญฺจ สมต ปฏิวิชฺฌ มีความว่า จงทราบ
ข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายมีสัทธาเป็นต้น ต้องเป็นของเสมอ ๆ กัน คือเท่า ๆ กัน
คือจงเข้าใจข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายที่คนประกอบอยู่ บรรดาอินทรีย์เหล่านั้น
สัทธาและปัญญา และปัญญากับสัทธา ความเพียรกับสมาธิ และสมาธิกับ
ความเพียร ต้องพอดี ๆ กัน.
ข้อว่า ตตฺถ จ นิมิตฺต คณฺหาหิ มีความว่า เมื่อความสม่ำ
เสมอกันนั้นมีอยู่, นิมิตเป็นราวกะเงาในกระจกพึงเกิดขึ้น ท่านจงถือเอา
นิมิตนั้น คือ สมถนิมิต วิปัสสนานิมิต มรรคนิมิต ผลนิมิต ความว่า จง
ให้นิมิตนั้นเกิด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 44
สองบทว่า อญฺ พฺยากเรยฺย มีความว่า เราพึงให้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบว่า เราเป็นอรหันต์.
บทว่า ฉฏฺฐานานิ ได้แก่เหตุ ๖ ประการ.
สองบทว่า อธิมุตฺโจ โหติ มีความว่า เป็นผู้ตรัสรู้ คือทำให้
ประจักษ์แล้วดำรงอยู่.
บททั้งปวงว่า เนกฺขมฺมาธิมุตฺโต เป็นต้น พระโสณโกลิวิสะกล่าว
ด้วยอำนาจพระอรหัต. จริงอยู่ พระอรหัต เรียกว่าเนกขัมมะ เพราะออกจาก
กิเลสทั้งปวง เรียกว่าวิเวก เพราะสงัดจากกิเลสเหล่านั้นเอง, เรียกว่าความไม่
เบียดเบียน เพราะไม่มีความเบียดเบียน, เรียกว่าความสิ้นตัณหา เพราะเกิด
ขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นตัณหา, เรียกว่าความสิ้นอุปาทาน เพราะเกิดในที่สุด
แห่งความสิ้นอุปาทาน, เรียกว่าความไม่หลงงมงาย เพราะไม่มีความหลงงมงาย.
สองบทว่า เกวล สทฺธามตฺตก มีความว่า ท่านผู้มีอายุนี้อาศัย
คุณมาตรว่าศรัทธาล้วน ๆ ปราศจากปฏิเวธ คือไม่เจือปนระคนด้วยปัญญา
เครื่องตรัสรู้.
บทว่า ปฏิจย ได้แก่ เจริญด้วยทำซ้ำซาก.
บทว่า วีตราคตตา ได้แก่ เป็นผู้ตรัสรู้พระอรหัตกล่าวคือ เนกขัมมะ
แล้วดำรงอยู่ เพราะราคะเป็นกิเลสไปปราศแล้วด้วยตรัสรู้มรรคนั่นเอง อธิบาย
ว่า อยู่ด้วยธรรมสำหรับอยู่คือผลสมาบัติ คือเป็นผู้มีใจน้อมไปในผลสมบัตินั้น
แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ลาภสกฺการสิโลก ได้แก่ ความได้ปัจจัยสี ๑ ความที่
ปัจจัยสี่เหล่านั้นและเขาทำดีต่อ ๑ ความกล่าวเยินยอ ๑.
บทว่า นิกามยมาโน ได้แก่ ต้องการ คือปรารถนา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 45
บทว่า ปวิเวกาธิมุตฺโต มีความว่า พยากรณ์อรหัตอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าน้อมไปในวิเวก.
บทว่า สีลพฺพตปรามาส ได้แก่ สักว่าความถือที่ถืออิงศีลและพรต.
บทว่า สารโต ปจฺจาคจฺฉนฺโต ได้แก่ ทราบอยู่โดยความเป็น
แก่นสาร.
บทว่า อพฺยาปชฺฌาธิมุตฺโต มีความว่า พยากรณ์อรหัตซึ่งหาความ
เบียดเบียนมิได้. เนื้อความในวาระทั้งปวง พึงทราบโดยนัยนี้.
บทว่า ภุสา ได้แก่ มีกำลัง.
หลายบทว่า เนวสฺสา จิตฺต ปริยาทิยนฺติ มีความว่า อารมณ์
เหล่านั้น ไม่สามารถจะยืดจิตของพระขีณาสพนั้นตั้งอยู่ได้.
บทว่า อมิสฺสีกต มีความว่า จิตของท่านอันอารมณ์ทำไห้เจือด้วย
กิเลสไม่ได้. อธิบายว่า อารมณ์ทั้งหลาย่อมทำจิตให้เป็นธรรมชาติเจือกับ
กิเลสทั้งหลาย เพราะไม่มีกิเลสเหล่านั้น จิตของท่านจึงชื่อว่าอันอารมณ์ทำให้
เจือด้วยกิเลสไม่ได้.
บทว่า ิต ได้แก่ ตั้งมัน.
บทว่า อเนญฺชปฺปตฺต ได้แก่ ถึงความไม่หวั่นไหว.
บทว่า วยญฺจสฺสานุปสฺสติ ได้แก่ เห็นทั้งควานเกิด ทั้งความดับ
แห่งจิตนั้น.
สองบทว่า เนกฺขมฺม อธิมุตฺตสฺส ได้แก่ ตรัสรู้พระอรหัตทั้งอยู่.
พระอรหัตนั่นเอง พระโสณโกลิวิสเถระ กล่าวแล้วแม้ด้วยบทที่เหลือทั้งหลาย.
บทว่า อุปาทานกฺขยสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถแห่งทุคติยาวิภัตติ.
สองบทว่า อสมฺโมหญฺจ เจตโส ได้แก่ และความไม่หลงงมงาย
แห่งจิต. ภิกษุนั้นน้อมไปแล้วด้วย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 46
สองบทว่า ทิสฺวา อายตนุปฺปาท ได้แก่ เห็นความเกิดและความ
ดับแห่งอายตนะทั้งหลาย.
หลายบทว่า สมฺมา จิตฺต วิมุจฺจติ มีความว่า จิตย่อมหลุดพ้น
ด้วยอำนาจผลสมาบัติ เพราะข้อปฏิบัติเครื่องเห็นแจ้งนี้ โดยชอบคือตามเหตุ
ตามนัย ได้แก่ น้อมไปในนิพพานเป็นอารมณ์.
บทว่า สนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ มีจิตเยือกเย็น.
บทว่า ตาทิโน คือจัดว่าผู้คงที่ เพราะไม่หวั่นไหว ด้วยความยินดี
ยินร้าย ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์.
สองบทว่า อญฺ พฺยากโรนฺติ ได้แก่ พยากรณ์อรหัต.
สองบทว่า อตฺโถ จ วุตฺโต มีความว่า ตนอันผู้อื่นจะทราบว่า
เป็นอรหันต์ ด้วยเนื้อความใด เนื้อความนั้น อันกุลบุตรทั้งหลายกล่าวแล้ว.
ส่วนเนื้อความแห่งสูตร พึงถือเอาจากวรรณนาแห่งสุตตันตะเถิด.
สองบทว่า อตฺตา จ อนุปนีโต มีความว่า ทั้งไม่น้อมตนเข้าไป
ด้วยอำนาจพยัญชนะอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเป็นอรหันต์.
หลายบทว่า อถ จ ปนิเธกจฺเจ โมฆปุริสา มีความว่า ฝ่ายบุรุษ
เปล่าเหล่าอื่น ทำที่เหมือนสนุก พยากรณ์อรหัตผลซึ่งไม่มีเลย ทำให้มีด้วยเหตุ
สักว่าถ้อยคำ.
ว่าด้วยรองเท้า
บทว่า เอกปลาสิก ได้แก่ ชั้นเดียว.
วินิจฉัยในคำว่า อสีติสกฏวาเห นี้ พึงทราบดังนี้:-
สองเล่มเกวียน พึงทราบว่าเป็นหนึ่งวาหะ.
วินิจฉัยในคำว่า สตฺตหตฺถิกญฺจ อนีก นี้ พึงทราบดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 47
ปริมาณนี้คือ ช้างพัง ๖ เชือก กับช้างพลาย ๑ เชือก เป็นอนีกะหนึ่ง
๗ อนีกะเช่นนี้ ชื่อว่า สัตตหัตถิกอนีกะ.
บทว่า ทิคุณา ได้แก่ ๒ ชั้น.
บทว่า ติคุณา ได้แก่ ๓ ชั้น รองเท้ามีชั้นตั้งแต่ ๔ ชั้นขึ้นไป
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รองเท้าหลายชั้น.
บทว่า สพฺพนีลกา ได้แก่ เขียวล้วนทีเดียว. แม้ในสีท่าง ๆ มี
เหลืองล้วนเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. ก็บรรดารองเท้าสีเหล่านั้น รองเท้า
เขียวคราม มีสีคล้ายสีดอกผักตบ รองเท้าเหลืองมีสีคล้ายดอกกรรณิการ์ รอง-
เท้าแดง มีสีคล้ายดอกชบา รองเท้าแดงสำลาน คือแดงอ่อน มีสีคล้ายฝาง
รองเท้าดำ มีสีคล้ายสีลูกประคำดีควาย รองเท้าแดงเข้ม มีสีคล้ายหลังตะขาบ
รองเท้าแดงกลาย ๆ มีสีเจือกัน คล้ายสีใบไม้เหลือง, แต่ในกุรุนทีแก้ว่ามีสีคล้าย
ดอกบัวหลวง. บรรดารองเท้าเหล่านี้ ภิกษุได้ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว เอาผ้าเช็ค
น้ำยาทำลายสีเสียแล้วสวม ควรอยู่. แม้ทำลายสีเสียเพียงเล็กน้อย ก็ควร
เหมือนกัน.
บทว่า นีลวทฺธิกา ได้แก่ รองเท้าที่มีหูเท่านั้นเขียว. แม้ในสีทั้งปวง
มีสีเหลืองเป็นต้น มีนัยเหมือนกัน. แม้รองเท้าที่มีหูเขียวเป็นต้น เหล่านั้น
ก็พึงทำลายสีเสียแล้วจึงค่อยสวม.
บทว่า ขลฺลกพทฺธา ได้แก่ รองเท้าที่ทำติดแผ่นหนังที่พื้นขึ้นมา
เพื่อปิดส้น. รองเท้าของชาวโยนกเรียกว่า รองเท้าหุ้มเป็นกระบอกได้แก่
รองเท้าที่ปิดเท้าทั้งหมดจนถึงแข้ง.
บทว่า ปาลิคุณฺิมา ได้แก่ รองเท้าที่หุ้มหลังเท้า ปิดแค่เพียงบน
หลังเท่านั้น ไม่ปิดแข้ง.
บทว่า ตูลปุณฺณิกา ได้แก่ รองเท้าที่ทำยัดด้วยปุยนุ่น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 48
บทว่า ติตฺติรปตฺติกา ได้แก่รองเท้าที่มีหูงดงาม เช่นกับปีกนกกระทา.
บทว่า เมณฺฑวิสาณวทฺธิกา ได้แก่ รองเท้าที่ทำประกอบหูมี
สัณฐานคล้ายเขาแกะ ที่ปลายเชิงงอน แม้ในรองเท้าที่มีหูดังเขาแพะเป็นต้น ก็
นัยนี้แล.
บทว่า วิจฺฉิกาฬิกา ได้แก่ รองเท้าที่ทำประกอบหูมีสัณฐานดังหาง
แมลงป่อง ที่ปลายเชิงงอนนั้นเอง.
บทว่า โมรปิฺชปริสิพฺพิตา ได้แก่ รองเท้าที่เย็บที่ฟื้นก็ดี ที่หู
ก็ดี ด้วยขนปีกนกยูงต่างด้าย.
บทว่า จิตฺรา ได้แก่ รองเท้าที่งดงามต่าง ๆ. แม้ในรองเท้าเหล่านั้น
ภิกษุได้ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว ถ้าเป็นของที่อาจเอาสิ่งที่ไม่ควรเหล่านั้น เป็นต้น
ว่า หนังหุ้มส้นออกเสียได้ พึงเอาออกเสียแล้วใช้เถิด. แต่เมื่อสิ่งที่ไม่ควร
มีหนังหุ้มส้นเป็นต้นนั้น ยังมีอยู่ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ใช้. รองเท้าที่ทำประกอบ
หนังราชสีห์ที่ริมโดยรอบเหมือนติดอนุวาตในจีวร ชื่อว่า รองเท้าขลิบด้วย
หนังราชสีห์.
บทว่า อุลูกจมฺมปริกฺขตา ได้แก่ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังนกเค้าแมว
ถึงในรองเท้าเหล่านี้ ชนิคใดชนิดหนึ่ง พึงเอาหนังนั้นออกแล้วสวมเถิด.
บทว่า โอมุกฺก ได้แก่ สวมแล้วถอดออก.
บทว่า นวา ได้แก่ ยังมิได้ใช้.
บทว่า อภิชีวนิกสฺส มีความว่า คฤหัสถ์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอยู่
เฉพาะ คือสำเร็จการเลี้ยงชีวิต ด้วยศิลปะใด มีความเคารพในอาจารย์เพราะ
เหตุแห่งศิลปะนั้น.
ในคำว่า อิธ โข ต ภิกฺขเว นี้. บทว่า ต เป็นเพียงนิบาตความ
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . . พึงงามในธรรมวินัยนี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 49
สองบทว่า ย ตุมฺเห ได้แก่ เย ตุมฺเห อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบาย
ว่า ยทิ ตุมฺเห จริงอยู่ นิบาต คือ ย ใช้ในอรรถแห่ง ยทิ ศัพท์.
วินิจฉัยในคำว่า อาจริเยสุ เป็นอาทิ เฉพาะอาจารย์ ๔ พวกนี้ คือ
บรรพชาจารย์ อุปสัมปทาจารย์ นิสสยาจารย์ อุทเทสาจารย์ จัดเป็นอาจารย์
แท้ในบทว่า อาจริเยสุ นี้. ภิกษุมีพรรษา ๖ พอเป็นอาจารย์ของภิกษุผู้
ไม่มีพรรษาได้. ด้วยว่า ภิกษุผู้ไม่มีพรรษานั้นจักอาศัยเธออยู่ในกาลที่ตนมี
พรรษา ๔, ด้วยประการอย่างนี้ แม้ภิกษุเหล่านี้ จัดว่าผู้พอเป็นอาจารย์ได้แท้
คือ ภิกษุผู้มีพรรษา ๗ พอเป็นอาจารย์ของภิกษุพรรษาเดียวได้, ผู้มีพรรษา
๘ พอเป็นอาจารย์ผู้มีพรรษา ๒ ได้, ผู้มีพรรษา ๙ พอเป็นอาจารย์ของผู้
มีพรรษา ๓ ได้ ผู้มีพรรษา ๑๐ พอเป็นอาจารย์ของผู้มีพรรษา ๔ ได้ผ่ายภิกษุ
ผู้เป็นเพื่อนเห็น เพื่อนคบของอุปัชฌาย์ก็ดี, ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้
ใหญ่กว่า ๑๐ พรรษาก็ดี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าผู้ปูนอุปัชฌาย์. เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ ไม่สวมรองเท้าก้าวเดินอยู่ ย่อมเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้สวมรองเท้าก้าวเดิน. ที่ชื่อว่าอาพาธเป็นหน่อที่เท้าได้แก่เนื้อคล้ายเดือย เป็น
ของยื่นออกจากพื้นเท้า.
ว่าด้วยเขียงเท้า
บทว่า ติณปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า หินฺตาลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยใบเป้ง เขียงเท้า
ที่ทำแล้ว แม้ด้วยใบเต่าร้าง ไม่ควรเหมือนกัน.
บทว่า กมลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าที่ชื่อว่า กมล-
วรรณ พระอาจารย์บางพวกกล่าวว่า เขียงเท้าที่ทำด้วยแฝก ดังนี้ก็มี.
บทว่า กมฺพลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยขนเจียม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 50
บทว่า อสงฺกมนียาโย ได้แก่ เขียงเท้าที่ตั้งไว้เป็นอันดีบนพื้นไม่
คลอน เคลื่อนที่ไม่ได้.
ว่าด้วยยาน
สองบทว่า องฺคชาต ฉุปนฺติ ได้แก่ ถูกองคชาตด้วยองคชาตนั่น
เอง.
สองบทว่า โอคาเหตฺวา มาเรนฺติ ได้แก่ ยึดไว้แน่นให้ตายภายใน
น้ำ.
บทว่า อิตฺถียุตฺเตน ได้แก่ เทียมด้วยโคตัวเมีย.
บทว่า ปุริสนฺตเรน ได้แก่ มีบุรุษเป็นสารถี.
บทว่า ปุริสยุตฺเตน ได้แก เทียมด้วยโคผู้.
บทว่า อิตฺถนฺตเรน ได้แก่ มีสตรีเป็นสารถี.
บทว่า คงฺคามหิยาย ได้แก่ การกีฬาในแม่น้ำคงคาและแม่น้ามหี.
วินิจฉัยในข้อว่า ปุริสยุตฺต หตฺถวฏฺฏก นี้ พึงทราบดังนี้:-
ยานที่เทียมด้วยโคผู้ จะมีสตรีเป็นสารถี หรือมีบุรุษเป็นสารถีก็ตาม,
ควร. ส่วนยานที่ลากไปด้วยมือ สตรีลาก หรือบุรุษลากก็ตาม, ควรเหมือน
กัน.
บทว่า ยานุคฺฆาเตน มีความว่า กายทั้งปวง ของภิกษุนั้นย่อม
สั่นคลอน เพราะความเหวี่ยงไปแห่งยาน ความไม่สำราญ ย่อมเสียดแทงเพราะ
ปัจจัยนั้น.
บทว่า สิวิก ได้แก่ คานหามมีตั่งนั่ง.
บทว่า ปาฏงฺกึ ได้แก่ เปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 51
ว่าด้วยอุจจาสยนะและมหาสยนะ
วินิจฉัยในข้อว่า อุจฺจาสยนมหาสยนานิ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ที่นอนสูงนั้น ได้แก่ เตียงที่เกินประมาณ; ที่นอนใหญ่นั้นได้แก่
เครื่องลาดเป็นอกัปปิยะ.
ในอาสันทิเป็นต้น อาสันทิ นั้น ได้แก่ ที่นั่งอันเกินประมาณ
บัลลังก์ นั้น ได้แก่ ที่นั่งที่เขาทำรูปสัตว์ร้ายติดไว้ที่เท้า.
โคณกะ นั้น ได้แก่ ผ้าโกเชาว์ ผืนใหญ่มีขนยาว. ได้ยินว่าขนผ้า
แห่งโกเชาว์นั้น ยาวเกินสี่นิ้ว.
จิตตกะ นั้น ได้แก่ เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะซึ่งวิจิตรด้วยรูป
สัตว์ร้าย
ปฏิกา นั้น ได้แก่ เครื่องลาดขาว ทำด้วยขนแกะ.
ปฏลิกา นั้น ได้แก่ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ มีลายดอกไม้แน่น
เนื่องกัน เรียกกันว่า ผ้าชาวโยนก ผ้าคนทมิฬ.
ตูลิกา นั้น ได้แก่ ฟูกที่ยัดนุ่นตามปกตินั่นเอง.
วิกติกา นั้น ได้แก่ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยรูปราชสีห์
และเสือโคร่งเป็นต้น .
อุทฺธโลมี นั้น ได้แก่ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ มีขนขึ้นข้างเดียว
ปาฐะว่า อุทฺธโลมี ก็มี.
เอกันตโลมี นั้น ได้แก่ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ มีขนขึ้นทั้ง
สองข้าง
กฏิสสะ นั้น ได้แก่ เครื่องปูนอนที่ทอด้วยด้ายทองแกมไหมขลิบ
ด้วยทอง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 52
โกเสยยะ นั้น ได้แก่ ผ้าปูที่นอนที่ทอด้วยเส้นไหมขลิบด้วยทอง:
แต่เป็นไหมล้วนใช้ได้.
กุตตกะ นั้น ได้แก่ เครื่องปูนอนที่ทำด้วยขนแกะ ใหญ่พอนางฟ้อน
๑๖ คนยืนรำได้.
หัตถัตถระ และ อัสสัตถระ ได้แก่ เครื่องลาดบนหลังช้างและ
หลังม้านั้นเอง. และในรถัตถระ ก็มีนัยเหมือนกัน.
อชินปเวณิ นั้น ได้แก่ เครื่องลาดที่ทำเป็นชั้น ซึ่งเย็บซ้อนกัน
ด้วยหนังเสือ โดยขนาดเท่าตัวเตียง.
กทลีมิคปวรปัจจัตถรณะ นั้น ได้แก่ เครื่องปูนอนอย่างดีที่สุด.
ได้ยินว่า ชนทั้งหลายทาบหนังชะมดบนผ้าขาวแล้วเย็บติดกัน ทำเป็นเครื่อง
ลาดนั้น.
สอุตตรัจฉทัง นั้น ได้แก่ ที่นอนที่มีเพดาน ข้างบนพร้อม
อธิบายว่า ที่นอนที่พร้อมด้วยเพดานแดงซึ่งติดไว้ข้างบน. ถึงมีเพดานขาว
เมื่อมีเครื่องลาดที่เป็นอกัปปิยะอยู่ข้างใต้ ย่อมไม่ควร แต่เมื่อไม่มี ควรอยู่.
อุภโตโลหิตกุปธานะ นั้น ได้แก่ ที่นอนมีหมอนแดงสองข้าง
แห่งเตียง คือ หมอนศีรษะหนึ่ง หมอนหนุนเท้าหนึ่ง ที่นอนชนิดนี้ไม่ควร.
แต่ว่า หมอนใดลูกเดียวเท่านั้น ที่หน้าสองข้างจะแดงก็ตาม มีสีดังดอกบัวหลวง
ก็ตาม วิจิตรก็ตาม ถ้าประกอบด้วยประมาณ หมอนนั้น ย่อมควร. ส่วน
หมอนใหญ่ทรงห้าม.
ทีปิจฉาปะ ได้แก่ ลูกเสือเหลือง.
บทว่า โอคุมฺผิยนฺติ มีความว่า ขนทั้งหลายใช้เชือกหนังร้อยผูกที่
พรึงรองฝาเป็นต้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 53
บทว่า อภินิสีทิต มีความว่า (เราอนุญาต) เพื่อภิกษุนั่งทับ คือ
พิงได้.
วินิจฉัยในข้อว่า คิลาเนน ภิกฺขุนา สอุปาหเนน นี้ พึงทราบ
ดังนี้:-
ภิกษุใดจัดว่าผู้อาพาธไม่สวมรองเท้า ไม่สามารถจะเข้าบ้านได้.
เรื่องพระโสณกุฏิกัณณะ
บทว่า กุรรฆเร ได้แก่ ในเมืองมีชื่ออย่างนั้น, โคจรตามของพระ-
มหากัจจายนะนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ กล่าวด้วยบทว่า กุรรฆเร นั้น.
สองบทว่า ปปาเต ปพฺพเต ได้แก่ ที่ภูเขาปปาต. สถานเป็นที่
อยู่ของท่าน พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวด้วยสองบทว่า ปปาเต ปพฺพเต
นั้น.
คำว่า โสณะ เป็นชื่อของอุบาสกนั้น. ก็และอุบาสกนั้นทรงเครื่อง
ประดับหูมีราคาโกฏิหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า กุฏิกัณณะ ความว่า
โกฏิกัณณะ.
บทว่า เอกเสยฺย ได้แก่ การนอนของบุคคลผู้เดียว ความว่า
พรหมจรรย์ ประกอบด้วยการเป็นที่ประกอบความเพียรเนือง ๆ.
บทว่า ปาสาทิก ได้แก่ ให้เกิดความเลื่อมใส.
บทว่า ปสาทนีย นี้ เป็นคำกล่าวซ้ำเนื้อความของบทว่า ปาสาทิก
นั้นแล.
บทว่า อุตฺตมทมถสมถ ได้แก่ ความฝึกและความสงบคือปัญญาและ
สมาธิอันอุดม, ความว่า ความสงบกายและสงบจิตดังนี้ ก็ได้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 54
บทว่า ทนฺต มีความว่า ชื่อว่าผู้ทรมานแล้ว เพราะกิเลสเครื่องดิ้นรน
ซึ่งเป็นช้าศึกทั้งปวงเป็นของเด็ดขาดไปแล้ว, อธิบายว่า ผู้สิ้นกิเลสแล้ว.
บทว่า คุตฺต ได้แก่ ผู้คุ้มครองแล้วด้วยความป้องปก คือความ
ระวัง.
บทว่า ยตินฺทฺริย ได้แก่ ทรงชนะอินทรีย์แล้ว.
บทว่า นาค ได้แก่ ผู้เว้นจากบาป, ความว่า ผู้ปราศจากกิเลส.
หลายบทว่า ตุณฺณ เม วสฺสาน อจฺจเยน มีความว่า ต่อล่วงไป
สามเดือนจำเติมแต่วันบรรพชาของข้าพเจ้า.
สองบทว่า อุปสมฺปท อลตฺถ ความว่า ข้าพเจ้าจึงได้อุปสมบท.
บทว่า กณฺหุตฺตรา ได้แก่ มีดินดำยิ่งนัก, ความว่า มีดินดำเป็น
ก้อนนูนขึ้น.
บทว่า โคกณฺฏกหตา คือ เป็นภาคพื้นที่ถูกทำให้เสียด้วยระแหง
กีบโคซึ่งตั้งขึ้นจากพื้นที่ถูกกีบโคเหยียบ. ได้ยินว่า รองเท้าชั้นเดียวไม่อาจ
กันระแหงกีบโคเหล่านั้นได้, พื้นแผ่นดินเป็นของแข็งขรุขระด้วยประการดังนี้.
ติณชาติมีอยู่ ๔ อย่างเหล่านี้ คือ เอรคุ คือหญ้าตีนกา ๑ โมรคุ คือหญ้า
หางนกยูง ๑ มัชชารุ คือหญ้าหนวดแมว ๑ ชันตุ คือหญ้าหางช้าง ๑ ชนทั้ง
หลายย่อมทำเสื่อลำแพนและเสื่ออ่อนด้วยหญ้าเหล่านี้.
บรรดาติณชาติ ๔ ชนิดนั้น หญ้าเอรคุนั้น ได้แก่หญ้าทราย; หญ้าทราย
นั้นเป็นของหยาบ; หญ้าโมรคุมียอดสีแดงละเอียดอ่อน มีสัมผัสสบาย; เสื่อที่
ทำด้วยหญ้าโมรคุนั้น เมื่อนอนแล้วพอลุกขึ้นเป็นของฟูขึ้นอีกได้. ชนทั้งหลาย
ย่อมทำแม้ซึ่งผ้าสาฎกด้วยหญ้ามัชชารุ; หญ้าชันตุมีสีคล้ายแก้วมณี.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 55
สองบทว่า เสนาสน ปญฺาเปสิ มีความว่า พระอานนท์ผู้มีอายุ
ได้ปูฟูกหรือเสื่อลำแพน. ก็แลครั้นปูแล้วจึงบอกแก่พระโสณะว่า ผู้มีอายุ พระ
ศาสดามีพระประสงค์จะอยู่ในที่มุงที่บังอันเดียวกับท่าน, เสนาสนะสำหรับท่าน
เราจัดไว้แล้ว ในพระคันธกุฏีนั่นเอง.
หลายบทว่า ปฏิกาตุ ต ภิกฺขุ ธมฺโม ภาสิตุ. มีความว่าธรรมจง
รับหน้าที่ต่อญาณ กล่าวคือปฏิญาณ เพื่อสวด.
บทว่า อฏฺกวคฺคิกานิ๑ มีความว่า พระโสณะผู้มีอายุได้สวด
พระสูตร ๑๖ สูตรมีกามสูตรเป็นต้น ที่ว่าเป็นอัฏฐกวัคคิกะ๒ เหล่านั้น.
บทว่า วิสฺสฏฺาย คือ มี อักขระอันสละสลวย.
บทว่า อเนลคลาย มีความว่า ความเป็นวาจาประกอบด้วยโทษ
ย่อมไม่มี.
สองบาทคาถาว่า อริโ ย น รมตี ปาเป, ปาเป น รมติ สุจิ๓
มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คนสะอาดย่อมไม่ยินดีในบาป เพื่อ
แสดงเนื้อความวิเศษว่า จริงอยู่ บุคคลใด ประกอบด้วยคุณธรรมเครื่องเป็น
ผู้สะอาดทางกายวาจาและใจ, บุคคลนั้น ย่อมไม่ยินดีในบาป; เพราะฉะนั้น
เฉพาะพระอริยเจ้า ชื่อว่าไม่ยินดีในบาป,
หลายบทว่า อย ขฺวสฺส กาโล ความว่า เวลานี้แลพึงเป็นกาล.
บทว่า ปริทสฺสิ ได้แก่ สั่งมาแล้ว.
ในคำนี้ว่า อย ขฺวสฺส กาโล. . . . ปริทสฺสิ มีคำอธิบายดังนี้ว่า
อุปัชฌาย์ของเรา ให้เรารับทราบคำสั่งอันใดมาว่า เธอพึงทูลเรื่องนี้ด้วย เรื่อง
นี้ด้วย, เวลานี้ พึงเป็นกาลแห่งคำสั่งนั้น, เอาเถิด เราจะทูลคำสั่งนั้นเดี๋ยวนี้.
๑. อฏฺกวคฺคิกานีติ : อฏฺกวคฺคภูตานิ กามสุตฺตาทีนิ โสฬสสุตฺตานีติ สารตฺถทีปนี.
๒. เป็นวรรคที่ ๔ แห่งสตตนิบาต ขททกนิกาย ๓๙๓. ๓ มหาวคฺค. ทุติย. ๓๔.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 56
บทว่า วินยธรปญฺจเมน คือมีอาจารย์ผู้สวดประกาศเป็นที่ ๕.
วินิจฉัยในข้อว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว สพฺพปจฺจนฺติเมสุ ชน-
ปเทสุ คณงฺคณุปาหน นี้ พึงทราบดังนี้:-
รองเท้าที่ทำด้วยหนังชนิดใดชนิดหนึ่ง เว้นหนังมนุษย์เสีย ย่อมควร
แม้ในถุงรองเท้า ฝักมีดและฝักกุญแจ ก็นัยนี้แล.
ว่าด้วยหนัง
ก็แลวินิจฉัยในคำว่า จมฺมานิ อตฺถรณานิ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุจะปูหนังแกะและหนังแพะอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วนอนหรือนั่ง
ก็ควร.
วินิจฉัยในหนังมฤค พึงทราบดังนี้:-
หนังแห่งมฤคชาติ คือเนื้อทราย เนื้อสมัน เนื้อฟาน กวาง เนื้อถึก
ละมั่งเหล่านี้ เท่านั้นควร. ส่วนหนังแห่งสัตว์เหล่าอื่นไม่ควร.
ลิง ค่าง นางเห็น ชะมด และสัตว์ร้ายเหล่าใดเหล่าหนึ่งบรรดามี,
หนังของสัตว์เหล่านั้นไม่ควร.
ในสัตว์เหล่านั้น ที่ชื่อว่าสัตว์ร้าย ได้แก่ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือ
เหลือง หมี เสือดาว. แต่จะไม่ควรเฉพาะสัตว์เหล่านี้ พวกเดียวเท่านั้น หามิ
ได้; อันหนังของสัตว์เหล่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าไม่ควร เว้นสัตว์
เหล่านั้นเสีย สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ ชั้นที่สุด แม้โค กระบือ กระต่าย แมว
เป็นต้น รวมทั้งหมด พึงทราบว่า สัตว์ร้ายเหมือนกันในอรรถนี้. จริงอยู่
หนังของสัตว์ทุก ๆ ชนิดไม่ควร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 57
ข้อว่า น ต ตาว คณนูปค, ยาว น หตฺถ คจฺฉติ มีความว่า
จีวรซึ่งชนทั้งหลายนำมาแล้ว แต่ยังมิได้ถวายก็ดี. จีวรที่เขาฝากไปให้ แต่ยังมิได้
บอกว่า จีวรเกิดขึ้นแก่ท่านแล้ว ดังนี้ก็ดี เพียงใด; จีวรนี้ยังไม่ต้องนับ
วัน, คือไม่ควรเพื่ออธิษฐาน, อธิบายว่า ยังไม่เข้าถึงความถือเอาที่ควรอธิษ-
ฐานเพียงนั้น. แต่จีวรที่เขานำมาถวายแล้ว ก็ดี, จีวรที่เขาฝากไปให้และบอก
แล้ว ก็ดี, จีวรที่ภิกษุได้ฟังว่า เกิดแล้ว ก็ดี ในกาลใด; จำเติมแต่กาลนั้น
ไป ภิกษุย่อมได้บริหาร ๑๐ วันเท่านั้น ฉะนั้นแล.
อรรกถาจัมมขันธกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 58
เภสัชชขันธกะ
ภิกษุอาพาธในฤดูสารท
[๒๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายอันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารทถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก
แม้ข้าวสวยที่ ฉันแล้วก็พุ่งออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้า
หมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นซูบผอมเศร้าหมอง มีผิวพรรณ
ไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ครั้นแล้วจึงตรัสเรียกท่าน
พระอานนท์มารับสั่งถามว่า ดูก่อนอานนท์ ทำไมหนอ เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายจึง
ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่ง
ด้วยเอ็น.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลาย
อันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารทถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก แม้ข้าว
สวยที่ฉันแล้วก็พุ่งออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้าหมองมี
ผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น.
พระพุทธานุญาตเภสัช ๕ ในกาล
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในที่สงัดทรงหลีกเร้นอยู่ได้มีพระ
ปริวิตกแห่งพระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายอันอาพาธซึ่งเกิดชุม
ในฤดูสารท ถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็พุ่ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 59
ออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มี
ผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เราจะพึงอนุญาตอะไรหนอ เป็น
เภสัชแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นเภสัชอยู่ในตัว และเขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้ง
จะพึงสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตว์โลก และจะไม่พึงปรากฏเป็นอาหาร
หยาบ ทีนั้นพระองค์ได้มีพระปริวิตกสืบต่อไปว่า เภสัช ๕ นี้แล คือ เนยใส
เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นเภสัชอยู่ในตัว และเขาสมมติว่าเป็นเภสัช
ทั้งสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตว์โลก และไม่ปรากฏเป็นอาหารหยาบ
ผิฉะนั้น เราพึงอนุญาตเภสัช ๕ นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคนในกาลแล้ว
บริโภคในกาล ครั้นเวลาสายัณห์พระองค์เสด็จออกจากที่หลีกเร้น ทรงทำ
ธรรมีกถา ในเหตุเพราะเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้
ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายอันอาพาธซึ่งเกิด
ชุมในฤดูสารทถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็
พุ่งออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี
มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เราจะพึงอนุญาตอะไรหนอ เป็น
เภสัชแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นเภสัชอยู่ในตัวและเขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้งจะ
พึงสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตว์โลก และไม่ปรากฏเป็นอาหารหยาบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกสืบต่อไปว่า เภสัช ๕ นี้แล
เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นเภสัชอยู่ในตัว และเขาสมมติว่า
เป็นเภสัชทั้งสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตว์โลก และไม่ปรากฏเป็น อาหาร
หยาบ ผิฉะนั้น เราพึงอนุญาตเภสัช ๕ นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคน
ในกาลแล้วบริโภคในกาล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคน
เภสัช ๕ นั้นในกาล แล้วบริโภคในกาล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 60
พระพุทธานุญาติเภสัช ๕ นอกกาล
[๒๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัช ๕ นั้น ในกาล
แล้วบริโภคในกาล โภชนาหารของพวกเธอชนิดธรรมดา ชนิดเลว ไม่ย่อย
ไม่จำต้องกล่าวถึงโภชนาหารที่ดี พวกเธออันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารทนั้น
และอันความเบื้อภัตตาหารนี้ถูกต้องแล้ว เพราะเหตุ ๒ ประการนั้น ยิ่งเป็นผู้
ซูบผอมเศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วย
เอ็นมากขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นซึ่งซูบผอม
เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวพรรณเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น
มากขึ้น ครั้นแล้ว จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์ มารับสั่งถามว่า ดูก่อนอานนท์
ทำไมหนอ เดี๋ยวนี้พระภิกษุ ทั้งหลายยิ่งซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี
มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลาย
รับประเคนเภสัช ๕ นั้นในกาลแล้วบริโภคในกาล โภชนาหารของพวกเธอชนิด
ธรรมดา ชนิดเลว ไม่ย่อย ไม่จำต้องกล่าวถึงโภชนาหารที่ดี พวกเธออัน
อาพาธซึ่งเกิดในฤดูสารทนั้น และอันความเบื่อภัตตาหารนี้ถูกต้องแล้ว เพราะ
เหตุ ๒ ประการนั้น ยิ่งเป็นผู้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิว-
เหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้า
มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับ สั่งว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช ๕ นั้น แล้วบริโภคได้ทั้งให้กาล
ทั้งนอกกาล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 61
พระพุทธานุญาตน้ำมันเปลว
[๒๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย
น้ำมันเปลว เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันเปลวเป็น
เภสัช คือ น้ำมันเปลวหมี น้ำมันเปลวปลา น้ำมันเปลวปลาฉลาม น้ำมัน
เปลวหมู น้ามันเปลวลา ที่รับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในกาล
บริโภคอย่างน้ำมัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในวิกาล เจียวในวิกาล
กรองในวิกาล หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับปะเคนในกาล เจียวในวิกาล กรอง
ในวิกาล หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรอง
ในวิกาล หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองใน
กาล หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ไม่ต้องอาบัติ.
พระพุทธานุญาตมูลเภสัช
[๒๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย
รากไม้เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรากไม้ที่เป็นเภสัช คือ
ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู ก็หรือมูลเภสัช
แม้ชนิดอื่นใดบรรดามีที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 62
ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนมูลเภสัช
เหล่านั้นแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี
ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตเครื่องบดยา
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยรากไม้ที่เป็น
เภสัชชนิดละเอียด จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตัวหินบด ลูกหินบด.
พระพุทธานุญาตกสาวเภสัช
[๒๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย
น้ำฝาดเป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำฝาดที่เป็นเภสัช คือ
น้ำฝาดสะเดา น้ำฝาดมูกมัน น้ำฝาดกระดอมหรือขี้กา น้ำฝาดบรเพ็ดหรือพญา
มือเหล็ก น้ำฝาดกถินพิมาน ก็หรือกสาวเภสัชแม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่
สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่
ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนกสาวเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บ
ไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค
ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตปัณณเภสัช
[ ๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย
ใบไม้เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตใบไม้ที่เป็นเภสัช คือ ใบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 63
สะเดา ใบมูกมัน ใบกระคอมหรือขี้กา ใบกะเพรา หรือแมงลัก ใบผาย ก็หรือ
ปัณณเภสัชแม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว
ในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค
รับประเคนปัณณเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้
บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตผลเภสัช
[๓๑] ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย
ผลไม้เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผลไม้ที่เป็นเภสัช คือ ลูก
พิลังกาสา ดีปรี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ ก็
หรือผลเภสัชแม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวใน
ของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับ
ประเคนผลเภสัชเหล่านั้นแล้ว เก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้
เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตชตุเภสัช
[๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย
ยางไม้เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยางไม้ที่เป็นเภสัช คือ ยาง
อันไหลออกจากต้นหิงคุ ยางอันเขาเคี่ยวจากก้านและใบแห่งต้นหิงคุ ยางอันเขา
เคี่ยวจากใบแห่งต้นหิงคุ หรือเจือของอื่นด้วยยางอันไหลออกจากยอดไม้ตกะ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 64
ยางอันไหลออกจากใบแห่งต้นตกะ ยางอันเขาเดี่ยวจากใบหรือไหลออกจากก้าน
แห่งต้นตกะ กำยานก็หรือชตุเภสัชชนิดอื่นในบรรดามีที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่
ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของ
ควรบริโภค รับประเคนชตุเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมี
เหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตโลณเภสัช
[๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล. ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย
เกลือเป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเกลือที่เป็นเภสัช คือ เกลือ
สมุทร เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เกลือดินโป่ง เกลือหุง ก็หรือโลณเภสัชชนิด
อื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่
สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับ ประเคนโลณเภสัช
เหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี
ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตโลณเภสัช
[ ๓๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเวลัฏฐสีสะ อุปัชฌาย์ของท่านพระ
อานนท์ อาพาธเป็นโรคฝีดาษหรืออีสุกอีใส ผ้านุ่งผ้าห่มกรังอยู่ที่ตัว เพราะ
น้ำเหลืองของโรคนั้น ภิกษุทั้งหลายเอาน้ำชุบ ๆ ผ้าเหล่านั้นแล้วค่อย ๆ ดึงออก
มา พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินตามเสนาสนะ. ได้ทอดพระเนตร
เห็นภิกษุพวกนั้น กำลังเอาน้ำชุบ ๆ ผ้านั้นแล้วค่อย ๆ ดึงออกมา ครั้นแล้วเสด็จ
พระพุทธดำเนินเข้าไปทางภิกษุเหล่านั้น ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 65
ภิกษุรูปนี้อาพาธด้วยโรคอะไร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
ท่านรูปนี้อาพาธด้วยโรคฝีดาษ หรืออีสุกอีใส ผ้ากรังอยู่ที่ตัว เพราะน้ำเหลือง
พวกข้าพระพุทธเจ้าเอาน้ำชุบ ๆ ผ้าเหล่านั้น แล้วค่อย ๆ ดึงออกมา.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตเภสัชชนิดผง สำหรับภิกษุผู้เป็นผีก็ดี พุพองก็ดี สิวก็ดี
โรคฝีดาษ หรือ อีสุกอีใสก็ดี มีกลิ่นตัวแรงก็ดี.
เราอนุญาตโคมัย ดินเหนียว กากน้ำย้อม สำหรับภิกษุไม่อาพาธ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ครก สาก.
พระพุทธานุญาตเครื่องกรอง
[๓๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย
ยาผงที่กรองแล้ว จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวัตถุเครื่องกรองยาผง.
ภิกษุอาพาธมีความต้องการด้วยยาผงที่ละเอียด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองยา.
พระพุทธานุญาตเนื้อดิบและเลือดสด
[๓๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเพราะผีเข้า พระอาจารย์
พระอุปัชฌายะช่วยกันรักษาเธอ ก็ไม่สามารถแก้ไขให้หายโรคได้ เธอเดินไป
ที่เขียงแล่หมู แล้วเคี้ยวกินเนื้อดิบ ดื่มกินเลือดสด อาพาธเพราะผีเข้าของเธอ
นั้นหายดังปลิดทิ้ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเนื้อดิบ เลือดสด
ในเพราะอาพาธเกิดแต่ผีเข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 66
พระพุทธานุญาตยาตาเป็นต้น
[๓๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคนัยน์ตา ภิกษุ
ทั้งหลายจูงเธอไปให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
พระพุทธดำเนินตามเสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกภิกษุนั้นกำลังจูงภิกษุ
รูปนั้นไปให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง จึงเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทาง
ภิกษุพวกนั้น แล้วได้ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้อาพาธเป็น
อะไร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ท่านรูปนี้อาพาธเป็นโรคนัยน์ตา พวกข้าพระ
พุทธเจ้าคอยจูงท่านรูปนี้ไปให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตยาตา คือ ยาตาที่ปรุงด้วยเครื่องปรุงหลายอย่าง ยาตาที่ทำ
ด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ ยาตาที่เกิดในกระแสน้ำเป็นต้น หรดาลกลีบทอง เขม่าไฟ.
พวกภิกษุอาพาธมีความต้องการด้วยเครื่องยาที่จะบดผสมกับยาตา จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้จันทน์ กฤษณา กะลัมพัก ใบเฉียง แห้วหมู.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเก็บยาตาชนิดผงไว้ในโอบ้าง ในขันบ้าง ผง
หญ้าบ้าง ฝุ่นบ้าง ปลิวลง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกลักยาตา
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้กลักยาตาชนิดต่าง ๆ คือ ชนิดที่ทำด้วย
ทองคำบ้าง ชนิดที่ทำด้วยเงินบ้าง คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
เหมือนเหล่าคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง
ใช้กลักยาตาชนิดต่าง ๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 67
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกลักยาตาที่ทำด้วยกระดูก ทำด้วยงา
ทำด้วยเขา ทำด้วยไม้อ้อ ทำด้วยไม้ไผ่ ทำด้วยไม้ ทำด้วยยาง ทำด้วยผลไม้
ทำด้วยโลหะ ทำด้วยเปลือกสังข์.
สมัยต่อมา กลักยาตาไม่มีฝาปิด ผงหญ้าบ้าง ฝุ่นบ้าง ปลิวตกลง
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.
ฝาปิดยังตกได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกด้าย แล้วพันกับกลักยาตา.
กลักยาตาแตก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถักหุ้มด้วยด้าย.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลาย ป้ายยาตาด้วยนิ้วมือ นัยน์ตาช้ำ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ป้ายยาตา.
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้ไม้ป้ายตาชนิดต่าง ๆ คือ ที่ทำด้วยทองคำ
บ้าง ที่ทำด้วยเงินบ้าง คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือน
เหล่าคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ไม้
ป้ายยาตาชนิดต่าง ๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ป้ายยาตาที่ทำด้วยกระดูก ทำด้วย
งา ทำด้วยเขา . . . ทำด้วยเปลือกสังข์.
สมัยต่อมา ไม้ป้ายยาตาทกลงที่พื้นเปื้อน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เราอนุญาตภาชนะสำหรับเก็บไม้ป้ายยาตา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 68
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายบริหารกลักยาตาบ้าง ไม้ป้ายยาตาบ้าง ด้วย
มือ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงกลักยาตา.
หูถุงสำหรับสะพายไม่มี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
เชือกผูกเป็นสายสะพาย.
พระพุทธานุญาตน้ำมันเป็นต้น
[๓๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะปวดศีรษะ ภิกษุทั้ง-
หลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย
ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันทาศีรษะ โรคปวดศีรษะยังไม่หาย ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตการนัดถุ์ น้ำมันที่นัดถุ์ไหลออก ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้ง-
หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสำหรับนัดถุ์.
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้กล้องสำหรับนัดถุ์ชนิดต่าง ๆ คือ ชนิด
ที่ทำด้วยทองคำบ้าง ชนิดที่ทำด้วยเงินบ้าง คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า เหมือนเหล่าคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงใช้กล้องสำหรับนัดถุ์ชนิดต่าง ๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสำหรับ นัดถุ์ที่ทำด้วยกระดูก. . .
ทำด้วยเปลือกสังข์.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 69
ท่านพระปิลินทวัจฉะนัดถุ์ไม่เท่ากัน ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลายเราอนุญาตกล้องสำหรับนัดถุ์ประกอบด้วยหลอดคู่ โรคปวดศีรษะยังไม่
หาย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สูดควัน ภิกษุทั้งหลาย
จุดเกลียวผ้าแล้วสูดควันนั้นนั่นแหละ คอแสบร้อน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตกล้องสูควัน .
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้กล้องสูดควันชนิดต่าง ๆ คือ ชนิดที่ทำ
ด้วยทองคำบ้าง ชนิดที่ทำด้วยเงินบ้าง คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า เหมือนเหล่าคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงใช้กล้องสูดควันชนิดต่าง ๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสูดควันที่ทำด้วยกระดูก. . .ทำ
ด้วยเปลือกสังข์.
สมัยต่อมา กล้องสูดควันไม่มีฝาปิด ตัวสัตว์เข้าไปได้ ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายบริหารกล้องสูดควันด้วยมือ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตถุงกล้องสูดควัน กล้องสูดควันเหล่านั้นอยู่รวมกันย่อม
กระทบกันได้ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 70
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงคู่ หูสำหรับ
สะพายไม่มี ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูกเป็นสาย
สะพาย.
พระปิลินทวัจฉะเถระอาพาธเป็นโรคลม
[๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะอาพาธเป็นโรคลม พวก
แพทย์ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า ต้องหุงน้ำมันถวาย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันที่หุง ในน้ำมันที่หุงนั้นแล แพทย์ต้องเจือน้ำเมา
ด้วย ภิกษุทั้งหลายาจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เจือน้ำเมาลงในน้ำมัน
ที่หุง.
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์หุงน้ำมันเจือน้ำเมาลงไปเกินขนาด ดื่มน้ำมัน
นั้นแล้วเมา ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงดื่มน้ำมันที่เจือน้ำเมาลง
ไปเกินขนาด รูปใดดื่ม พึงปรับอาบัติตามธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำมันซึ่งเจือน้ำเมา ชนิดที่เขา
หุงไม่ปรากฏสี กลิ่น และรสของน้ำเมา.
สมัยต่อมา น้ำมันที่พวกภิกษุหุงเจือน้ำเมาลงไปเกินขนาดมีมาก ครั้ง
นั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า จะพึงปฏิบัติในน้ำมันที่เจือน้ำเมาลงไป
เกินขนาดอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 71
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตั้งเอาไว้เป็น
ยาทา.
สมัยต่อมา ท่านพระปิลินทวัจฉะหุงน้ำมันไว้มาก ภาชนะสำหรับ
บรรจุน้ำมันไม่มี ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลักจั่น ๓ ชนิด
คือ ลักจั่นทำด้วยโลหะ ๑ ลักจั่นทำด้วยไม้ ๑ ลักจั่นทำด้วยผลไม้ ๑.
สมัยต่อมา ท่านพระปิลินทวัจฉะอาพาธเป็นโรคลมตามอวัยวะ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้ง
หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการเข้ากระโจม โรคลมยังไม่หาย
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการรมใบไม้ต่าง ๆ โรคลมยังไม่
หาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตการรมใหญ่ โรคลมยังไม่หาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำที่ต้มเดือดด้วยใบไม้ต่าง
ชนิด โรคลมยังไม่หาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอ่างน้ำ.
อาพาธโรคลมเสียดยอกตามข้อ
[๔๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะ อาพาธ เป็นโรคลม
เสียดยอกตามข้อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระบายโลหิต
ออก โรคลมเสียดยอกตามข้อยังไม่หาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 72
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตเพื่อให้ดูดโลหิตออกด้วยเขา.
อาพาธเท้าแตก
[๔๑] ก็โดยสมัยนั้นแล เท้าของท่านพระปิลินทวัจฉะแตก ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้ง
หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาทาเท้า โรคยังไม่หาย ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้ง
หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปรุงน้ำมันทาเท้า.
อาพาธเป็นโรคฝี
[๔๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคฝี ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการผ่าตัด. ภิกษุนั้นต้องการน้ำฝาด ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำฝาด. ภิกษุนั้นต้องการงาที่บดแล้ว
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตงาที่บดแล้ว. ภิกษุนั้นต้องการยาพอก
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตภิกษุทั้ง
หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาพอก. ภิกษุนั้นต้องการผ้าพันแผล
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าพันแผล. แผลคัน ภิกษุทั้งหลาย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 73
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ชะด้วยน้ำแป้งเมล็ดพันธุ์ผักกาด. แผลชิ้น
หรือเป็นฝ้า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รมควัน.
เนื่องอกยื่นออกมา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดด้วยก้อน
เกลือ. แผลไม่งอก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันทาแผล.
น้ำมันไหลเยิ้ม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าเก่าสำหรับซับ
น้ำมันและการรักษาบาดแผลทุกชนิด.
พระพุทธานุญาตยามหาวิกัฏ ๔ อย่าง
[๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ใช้ยามหาวิกัฏอย่าง คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน ต่อมาภิกษุทั้งหลาย
ติดสงสัยว่า ยามหาวิกัฏไม่ต้องรับประเคน หรือต้องรับประเคน จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุรับประเคน ในเมื่อมีกัปปิยการก เมื่อกัปปิยการก
ไม่มี ให้ภิกษุหยิบบริโภคเองได้.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งดื่มยาพิษเข้าไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 74
หลาย เราอนุญาต ให้คืนน้ำเจือคูถ ต่อมา ภิกษุทั้งหลายคิดสงสัยว่า น้ำเจือคูถ
นั้นจะไม่ต้องรับประเคน หรือต้องรับประเคน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
คูถที่ภิกษุหยิบไว้ตอนกำลังถ่าย นั่นแหละเป็นอันประเคนแล้ว ไม่ต้องรับ
ประเคนอีก.
ภิกษุอาพาธด้วยโรคต่าง ๆ
[ ๔๔] ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธถูกยาแฝด ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายจากดินรอยไถซึ่งติดผาล.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นพรรดึก ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำด่างอามิส.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผอมเหลือง ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดองน้ำมูตรโค.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผิวหนังภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ทำการลูบไล้ด้วยของหอม.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งมีกายกอปรด้วยโทษมาก ภิกษุทั้งหลายกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาประจุถ่าย ภิกษุนั้นมีดวามต้องการน้ำข้าวใส
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 75
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำข้าวใส มีความต้องการด้วยน้ำ
ถั่วเขียวต้มที่ไม่ข้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อ นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำถั่วเขียวต้ม
ที่ไม่ข้น มีความต้องการด้วยน้ำถั่วเขียวต้มที่ข้นนิดหน่อย ภิกษุทั้งหลายกราบ
ทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำถั่วเขียวต้มที่ข้นนิดหน่อย มีความต้องการด้วยน้ำ
เนื้อต้ม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำเนื้อต้ม.
พระปิลินทวัจฉะเถระซ่อมแปลงเงื้อมเขา
[๔๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะ กำลังให้คนชำระ
เงื้อมเขา ในเขตพระนครราชคฤห์ ประสงค์จะทำให้เป็นสถานที่เร้น ขณะนั้น
พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชเสด็จพระราชดำเนินไปหาท่านพระปิลินท-
วัจฉะถึงสำนัก ทรงอภิวาทแล้วประทับเหนือพระราชอาสน์อันควรส่วนข้างหนึ่ง
ได้ตรัสถามท่านพระปิลินทวัจฉะว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า พระเถระกำลังให้เขาทำ
อะไรอยู่
ท่านพระปิลินทวัจฉะถวายพระพรว่า อาตมภาพกำลังให้เขาชำระเงื้อม
เขาประสงค์ให้เป็นสถานที่เร้น ขอถวายพระพร.
พิ. พระคุณเจ้าต้องการคนทำการวัดบ้างไหม ?
ปิ. ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ทรงอนุญาตคนทำการ
วัด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 76
พิ. ถ้าเช่นนั้น โปรดทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วบอกให้ข้าพเจ้า
ทราบ.
ท่านพระปิลินทวัจฉะรับพระราชโองการว่า จะปฏิบัติอย่างนั้น ขอ
ถวายพระพร แล้วชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชให้เห็นแจ้ง
สมาทานอาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธ-
ราช อันท่านพระปิลินทวัจฉะชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้ทรงสมาทาน อาจหาญ
ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากพระราชอาสน์ทรงอภิวาทท่านพระปิลินท-
วัจฉะ ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ.
หลังจากนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะ ส่งสมณฑูตไปในสำนักพระผู้
พระภาคเจ้า กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช
มีพระราชประสงค์จะถวายคนทำการวัด ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธานุญาตอารามิก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเหตุเพราะเป็น
เค้ามูลนั้นในเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้มีตนทำการวัด .
พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช เสด็จพระราชดำเนินไปหาท่าน
พระปิลินทวัจฉะถึงสำนักเป็นคำรบสอง ทรงอภิวาทแล้วประทับเหนือพระราช
อาสน์อันควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วตรัสถามพระปิลินทวัจฉะว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า
คนการวัด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้วหรือ ?
ท่านพระปิลินทวัจขฉะถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร ทรงอนุญาต
แล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 77
พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าจักถวายคนทำการวัคแก่
พระคุณเจ้า.
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงรับปฏิญาณถวาย
คนทำการวัดแก่ท่านพระปิลินทวัจฉะดังนั้นแล้ว ทรงลืมเสีย ต่อนานมาทรง
ระลึกได้จึงตรัสถามหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทั้งปวงผู้หนึ่งว่า พนาย คนทำ
การวัดที่เราได้รับปฏิญาณจะถวายแก่พระคุณเจ้านั้น เราได้ถวายไปแล้วหรือ ?
มหาอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ ยังไม่ได้พระราชทาน พระพุทธ
เจ้าข้า.
พระราชาตรัสถามว่า จากวันนั้นมานานกี่ราตรีแล้ว.
ท่านมหาอำมาตย์นับราตรีแล้วกราบทูลในทันใดนั้นแลว่า ขอเดชะ
๕๐๐ ราตรี พระพุทธเจ้าข้า.
พระราชารับสั่งว่า พนาย ถ้าเช่นนั้น จงถวายท่านไป ๕๐๐ คน ท่าน
มหาอำมาตย์รับพระบรมราชโองการว่าเป็นดังโปรดเกล้า ขอเดชะ แล้วได้จัด
คนทำการวัดไปถวายท่านพระปิลินทวัจฉะ ๕๐๐ คน หมู่บ้านของคนทำการวัด
พวกนั้นได้ตั้งอยู่แผนกหนึ่ง คนทั้งหลายเรียกบ้านตำบลนั้นว่า ตำบลบ้าน
อารามิกบ้าง ตำบลบ้านปิลินทวัจฉะบ้าง.
นิรมิตมาลัยทองคำ
[๘๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะได้เป็นพระกุลุปกะ ใน
หมู่บ้านตำบลนั้น ครั้นเช้าวันหนึ่ง ท่านครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ สมัยนั้น ในตำบลบ้านนั้นมีมหรสพ
พวกเด็ก ๆ ตกแต่งกายประดับดอกไม้ล่นมหรสพอยู่ พอดี ท่านพระปิลินทวัจฉะ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 78
เที่ยวบิณฑบาตไปทามลำดับในตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ ได้เข้าไปถึงเรือนคน
ทำการวัคผู้หนึ่ง ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย.
ขณะนั้น ธิดาของสตรีผู้ทำการวัดนั้น เห็นเด็ก ๆ พวกอื่นตกแต่งกาย
ประดับดอกไม้แล้ว ร้องอ้อนว่า ขอจงให้ดอกไม้แก่ดิฉัน ขอจงให้เครื่องตก
แต่งกายแก่ดิฉัน.
ท่านเพระปิลินทวัจฉะจึงถามสตรีผู้ทำการวัดคนนั้นว่า เด็กหญิงคนนี้
ร้องอ้อนอยากได้อะไร ?
นางกราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เด็กหญิงคนนี้เห็นเด็ก ๆ พวกอื่นตก
แต่งกายประดับดอกไม้ จึงร้องอ้อนขอว่า ขอจงให้ดอกไม้แก่ดิฉัน ขอจงไห้
เครื่องตกแต่งกายแก่ดิฉัน ดิฉันบอกว่า เราเป็นคนจนจะได้ดอกไม้มาจากไหน
จะได้เครื่องตกแต่งมาจากไหน ?
ขณะนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะหยิบขดหญ้าพวกหนึ่งส่งไห้แล้วกล่าวว่า
เจ้าจงสวมขดหญ้าพวงนี้ลงบนศีรษะเด็กหญิงนั้น ทันใดนั้นนางได้รับขดหญ้า
สวมลงที่ศีรษะเด็กหญิงนั้น ขดหญ้านั้น ได้กลายเป็นระเบียบดอกไม้ทองคำงาม
มากน่าดู น่าชม ระเบียบดอกไม้ทองคำเช่นนั้น แม้ในพระราชฐานก็ไม่มี.
คนทั้งหลายกราบทูลแด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า ขอเดชะ
ระเบียบดอกไม้ทองคำที่เรือนของคนทำการวัดชื่อโน้นงามมาก น่าดู น่าชม
แม้ในพระราชฐานก็ไม่มี เขาเป็นคนเข็ญใจจะได้มาแค่ไหน เป็นต้องได้มาด้วย
โจรกรรมแน่นอน.
จึงท้าวเธอสั่งให้จองจำตระกูลคนทำการวัดนั้นแล้ว.
ครั้นเช้าวันที่ ๒ ท่านพระปิลินทวัจฉะครองอันตรวาสกแล้วถือบาตร
จีวรเข้าไปบิณฑบาตถึงตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ เมื่อเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 79
ตรอกในตำบลบ้านปิลินทวัจฉะได้เดินผ่านไปทางเรือนคนทำการวัดผู้นั้น ครั้น
แล้วได้ถามคนที่คุ้นเคยกันว่า ตระกูลคนทำการวัดไปไหนเสีย ?
คนพวกนั้นกราบเรียนว่า เขาถูกรับสั่งให้จองจำ เพราะเรื่องระเบียบ
ดอกไม้ทองคำ เจ้าข้า.
ทันใดนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะได้ เข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ นั่งเหนือ
อาสนะที่เขาจัดถวาย.
ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช เสด็จเข้าไปหาท่าน
พระปิลินทวัจฉะ ทรงอภิวาทแล้วประทับเหนือพระราชอาสน์อันควรส่วนข้าง
หนึ่ง.
ท่านพระปิลินทวัจฉะได้ทูลถามพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ผู้
ประทับเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า ขอถวายพระพร ตระกูลคนทำการวัดถูกรับสั่งให้
จองจำด้วยเรื่องอะไร ?
พระเจ้าพิมพิสารตรัสตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า เพราะที่เรือนของเขา
มีระเบียบดอกไม้ทองคำอย่างงามมาก น่าชม แม้ที่ในวังก็ยังไม่มี เขาเป็นคน
จนจะได้มาแต่ไหน เป็นต้องได้มาด้วยโจรกรรมอย่างแน่นอน.
ขณะนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้า
พิมพิสารจอมเสนามาคราชว่า จงเป็นทอง ปราสาทนั้นได้กลายเป็นทองไป
ทั้งหมด แล้วได้ถวายพระพรถามว่า ขอถวายพระพร ก็นี่ทองมากมายเท่านั้น
มหาบพิตรได้มาแค่ไหน.
พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า ข้าพเจ้าทราบแล้ว นี้เป็นอิทธานุภาพของ
พระคุณเจ้า ดังนี้ แล้วรับสั่งให้ปล่อยตระกูลคนทำการวัดนั้นพ้นพระราชอาญา
ไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 80
พระพุทธานุญาตเภสัช ๕
[๔๗] ประชาชนทราบข่าวว่า ท่านพระปิลินทวัจฉะแสดงอิทธิ
ปาฏิหาริย์อันเป็นธรรมยวดยิ่งของมนุษย์ ในบริษัทพร้อมทั้งพระราชา ต่างพา
กันยินดีเลื่อมใสยิ่ง นำเภสัช ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ามัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
มาถวายท่านพระปิลินทวัจฉะ แม้ตามปกติท่านก็ได้เภสัช ๕ อยู่เสมอ ท่านจึง
แบ่งเภสัชที่ได้มาถวายแก่บริษัท แต่บริษัทของท่านเป็นผู้มักมาก เก็บเภสัชที่
ได้ ๆ มาไว้ในกระถางบ้าง ในหม้อน้ำบ้าง จนเต็ม บรรจุลงในหม้อกรองน้ำ
บ้าง ในถุงย่ามบ้าง จนเต็มแล้ว แขวนไว้ที่หน้าต่าง เภสัช เหล่านั้นก็เยิ้มซึม
แม้สัตว์จำพวกหนูก็เกลื่อนกล่นไปทั่ววิหาร คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมไปตาม
วิหารพบเข้า ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า สมณะเชื้อสายศากยบุตร
เหล่านั้นมีเรือนคลังในภายใน เหมือนพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช
ฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย
จึงได้พอใจในความมักมากเช่นนี้ แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุทั้งหลาย พอใจในความมักมากเช่นนี้ จริงหรืออ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า . . . ครั้นแล้วทรงทำธรร-
มีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ คือ
เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนของนั้น แล้ว พึง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 81
เก็บไว้ฉัน ได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป พึงปรับอาบัติตาม
ธรรม.
ภาณวารว่าด้วยทรงอนุญาตเภสัช ที่ ๑ จบ
พระพุทธานุญาตงบน้ำอ้อย
[๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครสาวัตถีตาม
พระพุทธาภิรย์แล้วเสด็จพุทธดำเนินไปทางพระนครราชคฤห์ท่านพระกังขา
เรวตะได้แวะเข้าโรงทำงบน้ำอ้อย ในระหว่างทาง เห็นเขาผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง
ลงในงบน้ำอ้อย จึงรังเกียจว่า งบน้ำอ้อยเจืออามิส เป็นอกัปปิยะ ไม่ควรจะ
ฉันในเวลาวิกาล ดังนี้ จึงพร้อมด้วยบริษัทไม่ฉันงบน้ำอ้อย แม้พวกภิกษุที่
เชื่อฟังคำท่านก็พลอยไม่ฉันงบน้ำอ้อยไปด้วย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คนทั้งหลายผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย เพื่อประสงค์อะไร ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เพื่อประสงค์ให้เกาะกันแน่น พระพุทธเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ถ้าคนทั้งหลายผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย เพื่อประสงค์ให้
เกาะกันแน่นงบน้ำอ้อยนั้นก็ยังถึงความนับว่า งบน้ำอ้อยนั้นแหละ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันงบน้ำอ้อยตามสบาย.
พระพุทธานุญาตถั่วเขียว
ท่านพระกังขาเรวตะ ได้เห็นถั่วเขียวงอกขึ้นในกองอุจจาระ ณ ระหว่าง
ทาง แล้วรังเกียจว่า ถั่วเขียวเป็นอกัปปิยะ แม้ต้มแล้วก็ยังงอกได้ จึงพร้อม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 82
ด้วยบริษัทไม่ฉันถั่วเขียว แม้พวกภิกษุที่เชื่อฟังคำของท่านก็พลอยไม่ฉันถั่ว-
เขียวไปด้วย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถั่วเขียวแม้ที่ต้มแล้ว ถ้ายัง
งอกได้ เราอนุญาตให้ฉันถั่วเขียวได้ตามสบาย.
พระพุทธอนุญาตยาดองโลมโสจิรกะ
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคลมเกิดในอุทร ท่านได้ดื่มยา
คองโลณโสจิรกะ โรคลมเกิดในอุทรของท่านหายขาด ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันยาคองโลณโสจิรกะได้ตามสบาย แต่
ภิกษุไม่อาพาธต้องเจือน้ำฉันอย่างน้ำปานะ.
ประชวรโรคลมเกิดในพระอุทร
[๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินโดยลำดับ
เสด็จถึงพระนครราชคฤห์ ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร อัน
เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์นั้น คราวนั้น
พระองค์ประชวรโรคลนเกิดในพระอุทร ท่านพระอานนท์จึงดำริว่า แม้เมื่อ
ก่อนพระผู้มีพระภาคเจ้าประชวรโรคลมเกิดในพระอุทร ก็ทรงพระสำราญได้
ด้วยยาคูปรุงด้วยของ ๓ อย่างจึงของาบ้าง ข้าวสารบ้าง ถั่วเขียวบ้าง ด้วยตน
เอง เก็บไว้ในภายในที่อยู่ ต้มด้วยในเองในภายในที่อยู่ แล้วน้อมเข้าไปถวาย
พระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดดื่มยาคูปรุงด้วยของ
๓ อย่าง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 83
พุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อม
ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม
พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่ง
ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรง
กำจัดด้วยข้อปฏิบัติ.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วย
อาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน
อานนท์ ยาคูนี้ได้มาแค่ไหน ?
ท่านพระอานนท์กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบทันที.
ทรงตำหนิท่านพระอานนท์
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนอานนท์ การกระทำ
ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควร
ทำ ดูก่อนอานนท์ ไฉนเธอจึงได้พอใจในความมักมากเช่นนี้เล่า ดูก่อน
อานนท์ อามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ เป็นอกัปปิยะ แม้ที่หุงต้มในภายในที่
อยู่ ก็เป็นอกัปปิยะแม้ที่หุงต้มเอง ก็เป็นอกัปปิยะ. การกระทำของเธอนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายดังต่อไปนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 84
พระพุทธบัญญัติห้ามอามิสที่เป็นอันโตวุตถะเป็นต้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ ที่หุง
ต้มในภายในที่อยู่ และที่หุงต้มเอง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ หุงต้มในภาย
ในที่อยู่ และหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ หุงต้มในภาย
ในที่อยู่แต่ผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ แต่หุงต้มใน
กายนอกและหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก แต่หุงต้มในภาย
ใน และหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้ออาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ แต่หุงต้นใน
กายนอก และผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงค้มในภายใน แค่
ผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายนอก
แต่หุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายนอก
และผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉัน อามิสนั้นและ ไม่ต้องอาบัติ.
พระพุทธานุญาตให้อุ่นโภชนาหาร
[๕๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงห้ามภัตตาหารที่หุงต้มเอง จึงรังเกียจในโภชนาหารที่ต้องอุ่น แล้วกราบทูล
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 85
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุ่นภัตตาหารที่ต้องอุ่น.
พระพุทธานุญาตอามิสที่เป็นอันโตวุตถะเป็นต้น
[๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระนครราชคฤห์บังเกิดทุพภิกขภัย คน
ทั้งหลายนำเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของควรเคี้ยวบ้าง มายังอาราม
ภิกษุทั้งหลายให้เก็บของเหล่านั้นไว้ข้างนอก สัตว์ต่าง ๆ กินเสียบ้าง พวกโจร
ลักเอาไปบ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บไว้ ณ ภาย
ในได้.
กัปปิยการกทั้งหลายเก็บอามิสไว้ข้างในแล้ว หุงต้มข้างนอก พวกคน
กินเดนพากันห้อมล้อม.
ภิกษุทั้งหลายไม่พอใจฉัน แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้หุงต้มในภายใน.
ในคราวเกิดทุพภิกขภัย พวกกัปปิยการกนำสิ่งของไปเสียมากมายถวาย
ภิกษุเพียงเล็กน้อย.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุงต้มเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ ที่หุงต้ม
ในภายในที่อยู่ และที่หุงต้มเอง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 86
ผลไม้กลางทาง
[๕๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปด้วยกันจำพรรษาในกาสี
ชนบทแล้ว เดินทางไปสู่พระนครราชคฤห์ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ใน
ระหว่างทางไม่ได้โภชนาหารที่เศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์ พอแก่ความ
ต้องการเลย ถึงของขบเคี้ยวคือผลไม้มาก แต่ก็หากัปปิยการกไม่ได้ ต่างพา
กันลำบาก ครั้น เดินทางไปพระนครราชคฤห์ ถึงพระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถาน
ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม
นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.
พุทธประเพณี
ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคัน-
ตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายร่างกายของพวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ เดินทาง
มามีความลำบากน้อยหรือ และพวกเธอมาจากไหนเล่า ?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็นไป
ได้พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้าจำพรรษาในกาสีชนบทแล้วเดินทางมา
พระนครราชคฤห์ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พระเวฬุวันนี้ ในระหว่างทาง
ไม่ได้โภชนาหารที่เศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์ พอแก่ความต้องการเลย
ถึงของขบเคี้ยว คือผลไม้มีมาก แต่ก็หากัปปิยการกไม่ได้ เพระเหตุนั้น พวก
ข้าพระพุทธเจ้าจึงเดินทางมามีความลำบาก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 87
พระพุทธานุญาตให้รับประเคนของที่เป็นอุคคหิต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาต ภิกษุเห็นของขบเคี้ยว คือ ผลไม้ในที่ใด ถึงกัปปิยการก
ไม่มี ก็ให้หยิบนำไปเอง พบกัปปิยการกแล้ว วางไว้บนพื้นดิน ให้กัปปิยการก
ประเคนแล้วฉัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนสิ่งของที่ภิกษุถูกต้อง
แล้วได้.
พราหมณ์ถวายงาและน้ำผึ้งใหม่
[๕๓] ก็โดยสมัยนั้นแล งานใหม่และน้ำผึ้งใหม่บังเกิดแก่พราหมณ์
ผู้หนึ่ง พราหมณ์จึงได้ติดตกลงว่า ผิฉะนั้น เราพึงถวายงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่
แก่ภิกษุสงฆ์ มีองค์พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ครั้นแล้วได้ไปในพุทธสำนัก
ครั้นถึงแล้วได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการทูลประศรัยพอ
ให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พราหมณ์ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณา
โปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าในวันพรุ่งนี้ เพื่อเจริญบุญกุศล และ
ปีติปราโมทย์แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นพราหมณ์นั้น
ทราบการรับนิมนต์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกลับไป แล้วสั่งให้ตกแต่ง
ของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้คนไปกราบทูลภัตกาล
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 88
ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว
ถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของพราหมณ์นั้น ครั้นถึงแล้ว
ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พราหมณ์นั้น
จึงอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอัน
ประณีต ด้วยมือของตน ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยจนเสร็จแล้ว ทรงนำ
พระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตรแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงชี้แจงพราหมณ์นั้นผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ให้เห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้วลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ ครั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับแล้วไม่ทันนานพราหมณ์นั้นระลึกขึ้นได้ว่า เราคิด
ว่าจักถวายงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่ จึงได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข เพื่อถวายไทยธรรมเหล่าใด ไทยธรรมเหล่านั้นเราลืมถวาย ผิฉะนั้น
เราพึงให้เขาจัดงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่บรรจุขวดและหม้อนำไปสู่ อาราม ดังนี้
แล้วให้เขาจัดงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่บรรจุขวดและหม้อนำไปสู่อาราม เข้าไปใน
พุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ข้าพระพุทธเจ้าคิดว่าจักถวายงาใหม่
และน้ำผึ้งใหม่ จึงได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อถวายไทย
ธรรมเหล่าใด ไทยธรรมเหล่านั้นข้าพระพุทธเจ้าลืมถวาย ขอท่านพระโคตม
โปรดรับงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงถวาย
แก่ภิกษุทั้งหลาย.
ก็คราวนั้นอัตคัดอาหาร ภิกษุทั้งหลายรับสิ่งของเล็กน้อยแล้วห้ามเสีย
บ้าง พิจารณาแล้วห้ามเสียบ้าง เป็นอันว่าพระสงฆ์ล้วนเป็นผู้ห้ามภัตรทั้งนั้น
ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่รับประเคน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 89
พระพุทธานาญาตให้ฉันโภชนะไม่เป็นเดน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้ง
หลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด เราอนุญาตให้ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตร
แล้ว ฉันโภชนะอันไม่เป็นเดน ซึ่งนำมาจากสถานที่ฉัน.
ตระกูลอุปัฏฐากของพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๔] ก็สมัยนั้นแล ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ได้ส่งของเคี้ยวไปเพื่อถวายพระสงฆ์ สั่งว่า ต้องมอบให้พระคุณเจ้าอุปนนท์
ถวายสงฆ์แต่เวลานั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตร กำลังเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน
ครั้นชาวบ้านพวกนั้นไปถึงอารามแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า พระคุณเจ้าอุปนนท์
ไปไหน เจ้าข้า ?
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนั้นเข้าไปบิณฑบาต
ในบ้านแล้ว.
ชาวบ้านสั่งว่าท่านเจ้าข้า ของเคี้ยวนี้ต้องมอบให้พระคุณเจ้าอุปนนท์
ถวายภิกษุสงฆ์.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงรับประเคนเก็บไว้จนกว่าอุปนนท์จะมา
ครั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตร เข้าไปเยี่ยมตระกูลทั้งหลายก่อนเวลา
ฉันแล้วมาถึงต่อกลางวัน ก็คราวนั้นเป็นสมัยทุพภิกขภัย ภิกษุทั้งหลายรับสิ่ง
ของเล็กน้อยแล้วห้ามเสียบ้าง พิจารณาแล้วห้ามเสียบ้าง เป็นอันว่าภิกษุสงฆ์
ล้วนเป็นผู้ห้ามภัตรทั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับประเคน,
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 90
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉันเสร็จห้ามภัตร
แล้ว ฉันโภชนะอันไม่เป็นเดน ซึ่งรับประเคนไว้ในปุเรภัตรได้
.
พระสารีบุตรเถระอาพาธ
[๕๕] ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินมุ่งไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จ
จาริกโดยลำดับ ถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ในพระ-
วิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น วันต่อมา
ท่านพระวารีบุตรอาพาธเป็นไข้ตัวร้อน ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเยี่ยม
ท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโส สารีบุตร เมื่อก่อนท่าน
อาพาธเป็นไข้ตัวร้อน รักษาหายด้วยเภสัชอะไร.
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า รักษาหายด้วยรากกบัวและเง่าบัว.
ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้หายตัวไปในพระวิหารเชตวันทันที มา
ปรากฏอยู่ ณ ริมฝั่งสระโบกขรณีมันทากินี เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียด
แขนที่ดู้ หรือดู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
ช้างเชือกหนึ่งได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังมาแต่ไกล ครั้น
แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า นิมนต์พระคุณเจ้ามหาโมค-
คัลลานะมา พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะมาดีแล้ว พระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งไร
ข้าพเจ้าจะถวายสิ่งนั้น เจ้าข้า.
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ฉันประสงค์เง่าบัวและรากบัว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 91
ช้างเชือกนั้นสั่งช้างอีกเชือกหนึ่งทันทีว่า พนาย ผิฉะนั้น เจ้าจงถวาย
เง่าบัวและรากบัวแก่พระคุณเจ้า จนพอแก่ความต้องการ.
ช้างเชือกที่ถูกใช้นั้นลงสู่สระโบกขรณีมันทากินี จึงใช้งวงถอนเง่าบัว
และรากบัวล้างน้ำให้สะอาด ม้วนเป็นเห่อเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ทันใดนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายตัวไปที่ริมฝั่งสระโบกชรณีมันทากินี
มาปรากฏตัวทีพระวิหารเชตวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้
หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น แม้ช้างเชือกนั้นก็ได้หายไปตรงริมฝั่งสระโบกขรณี
มันทากินี มาปรากฏตัวที่พระวิหารเชตวัน ได้ประเคนเง่าบัวและรากบัวแก่
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ แล้วหายตัวไปจากพระวิหารเชตวัน มาปรากฏตัวที่
ริมฝั่งสระโบกขรณีมันทากินี ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะน้อมเง่าบัว
และรากบัวเข้าไปถวายท่านพระสารีบุตร เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเง่าบัวและ
รากบัวแล้ว โรคไข้ตัวร้อนก็หายทันที เง่าบัวและรากบัวยังเหลืออยู่มากมาย
ก็แลสมัยนั้นอัตคัดอาหาร ภิกษุทั้งหลายรับสิ่งของเล็กน้อยแล้วห้าม
เสียบ้าง พิจารณาแล้วห้ามเสียบ้าง เป็นอันว่าภิกษุสงฆ์ล้วนเป็นผู้ห้ามภัตรทั้ง
นั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับประเคน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว
ฉันโภชนะอันไม่เป็นเดน ซึ่งเกิดในป่า เกิดในสระบัว.
พระพทุธานุญาตผลไม้ที่ใช้เพราะพันธุ์ไม่ได้
[๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครสาวัตถีมีของฉัน คือ ผลไม้เกิด
ขึ้นมาก แต่กัปปิยการกไม่มี ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่ฉันผลไม้ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 92
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ที่ใช้เพาะพันธุ์ไม่ได้ หรือที่ปล้อนเมล็ดออก
แล้ว ยังมิได้ทำกัปปะก็ฉันได้.
พระพุทธบัญญัติห้ามทำสัตถกรรม
[๕๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี
ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครราชคฤห์ เสด็จ
พระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ ถึงพระนครราชคฤห์ ทราบว่า พระ
องค์ประทับอยู่ในพระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต
เขตพระนครราชคฤห์นั้น คราวนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคริดสีดวงทวาร
นายแพทย์ชื่ออากาสโคตตะกำลังทำการผ่าตัดทวารหนักด้วยศัสตรา ขณะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินตามเสนาสนะ เสด็จไปถึงวิหารที่อยู่
ของภิกษุรูปนั้น นายแพทย์อากาสโคตตะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จ
มาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขออาราธนาท่าน
พระโคดมเสด็จมาทอดพระเนตรวัจจมรรคของภิกษุรูปนี้ เหมือนปากคางคก.
ทรงประชุนภิกษุทั้งหลาย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า โมฆบุรุษนี้เยาะเย้ยเรา
จึงเสด็จกลับจากที่นั้นแล แล้วรับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ในวิหารหลังโน้น มีภิกษุอาพาธหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า มี พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นอาพาธเป็นอะไร ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 93
ภิ. ท่านรูปนั้นอาพาธเป็นโรคริดสีดวงทวาร นายแพทย์อากาสโคตตะ
ทำการผ่าตัดทวารหนักด้วยศัสตรา พระพุทธเจ้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของโมฆบุรุษนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
ไม่ควรทำ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้นจึงได้ให้ทำสัตถกรรมในที่
แคบเล่า ในที่แคบมีผิวเนื้ออ่อน แผลงอกเต็มยาก ผ่าตัดไม่สะดวก การกระทำ
ของโมฆบุรุษนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ไม่พึงทำสัตถกรรมในที่แคบ รูปใดให้ทำ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระพุทธบัญญัติห้ามทำวัตถิกรรม
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามทำการ
ผ่าตัดทวารหนักด้วยศัสตรา จึงเลี่ยงให้ทำการรัดหัวไส้ บรรดาภิกษุที่มักน้อย
. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ทำ
วัตถิกรรมเล่าแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ทำวัตถิกรรม จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า. . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมี-
กถา รับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ทำสัตถกรรม
หรือวัตถิกรรมในที่ประมาณ ๒ นิ้ว โดยรอบแห่งที่แคบ รูปใดให้ทำ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 94
อุบาสิกาสุปปิยาถวายเนื้อขา
[๕๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครพาราณสี เสด็จ
พระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับถึงพระนครพาราณสีแล้ว ทราบว่า
พระองค์ประทับอยู่ ณ อิสิปตนะมฤคทายวันเขตพระนครพาราณสีนั้น สมัยนั้น
อุบาสกสุปปิยะและอุบาสิกาสุปปิยา ๒ คน เป็นผู้เลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการก
บำรุงพระสงฆ์อยู่ในพระนครพาราณสี วันหนึ่ง อุบาสิกาสุปปิยาไปสู่อาราม
เที่ยวเยี่ยมวิหารและบริเวณทั่วทุกแห่ง แล้วเรียนถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุ
รูปไรอาพาธ ภิกษุรูปไรโปรดให้ดิฉันนำอะไรมาถวาย เจ้าข้า.
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งดื่มยาถ่ายและได้บอกอุบาสิกาสุปปิยาว่า ดูก่อน
น้องหญิง อาตมาดื่มยาถ่าย อาตมาต้องการน้ำเนื้อต้ม.
อุบาสิกาสุปปิยารับคำว่า ดิฉันจักนำมาถวายเป็นพิเศษ เจ้าข้า แล้ว
ไปเรือนสั่งชายคนรับใช้ว่า เจ้าจงไปหาซื้อเนื้อสัตว์ที่เขาขายมา.
ชายคนรับใช้รับคำอุบาสิกาสุปปิยาว่า ขอรับกระผม แล้วเที่ยวหาซื้อ
ทั่วพระนครพาราณสีก็มิได้พบเนื้อสัตว์ที่เขาขาย จึงได้กลับไปหาอุบาสิกาสุปปิยา
แล้วเรียนว่า เนื้อสัตว์ที่เขาขายไม่มี ขอรับ เพราะวันนี้ห้ามฆ่าสัตว์.
อุบาสิกาสุปปิยาจึงได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุอาพาธรูปนั้นแล เมื่อ
ไม่ได้ฉันน้ำเนื้อต้ม อาพาธจักมากขึ้นหรือจักถึงมรณภาพ การที่เรารับคำแล้ว
ไม่จัดหาไปถวายนั้น เป็นการไม่สมควรแก่เราเลย ดังนี้ แล้วได้หยิบมีดหั่น
เนื้อมาเชือดเนื้อขา ส่งให้หญิงคนรับใช้สั่งว่า แม่สาวใช้ ผิฉะนั้น แม่จงต้ม
เนื้อนี้แล้วนำไปถวายภิกษุรูปที่อาพาธอยู่ในวิหารหลังโน้น อนึ่ง ผู้ใดถามถึงฉัน
จงบอกว่าป่วย แล้วเอาผ้าห่มพันขา เข้าห้องนอนบนเตียง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 95
ครั้งนั้น อุบาสกสุปปิยะไปเรือนแล้วถามหาหญิงคนรับใช้ว่า แม่สุปปิยา
ไปไหน ?
หญิงคนรับใช้ตอบว่า คุณนายนอนในห้อง เจ้าข้า.
จึงอุบาสกสุปปิยะเข้าไปหาอุบาสิกาสุปปิยาถึงในห้องนอน แล้วได้
ถามว่า เธอนอนทำไม อุบาสิกา
ดิฉันไม่สบายค่ะ อุบาสก.
เธอป่วยเป็นอะไร ?
ทีนั้น อุบายสิกาสุปปิยาจึงเล่าเรื่องนั้นให้อุบาสกสุปปิยะทราบ.
ขณะนั้น อุบาสกสุปปิยะร่าเริงดีใจว่า อัศจรรย์นัก ชาวเราไม่เคยมี
เลย ชาวเรา แม่สุปปิยานี้มีศรัทธาเลื่อมใสถึงแก่สละเนื้อของตนเอง สิ่งไรอื่น
ทำไมนางจักให้ไม่ได้เล่า แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่งอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อุบายสกสุปปิยะนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเ จ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระ-
สงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธะจ้าในวันพรุ่งนี้ เพื่อ
เจริญมหากุศล และปีติปราโมทย์ แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นอุบาสกสุปปิยะทราบการรับนิมนต์ของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ
แล้วกลับไป และสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยผ่านราตรีนั้น
แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธ
เจ้าข้าภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก แล้ว
ถือบาตรจีวรเสด็จไปสู่นิเวศน์ของอุบาสกสุปปิยะ ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือ
พุทธอาสน์ที่เขาจัดถวายพร้อมด้วยพระสงฆ์ อุบาสกสุปปิยะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 96
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถานอุบาสกสุปปิยะผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่งว่า อุบาสิกาสุปปิยาไปไหน ?
อุ. นางป่วย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ถ้าเช่นนั้น เชิญอุบาสิกาสุปปิยามา.
อุ. นางไม่สามารถ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ถ้าเช่นนั้น พวกเธอช่วยกันพยุงพามา.
ขณะนั้น อุบาสกสุปปิยะได้พยุงอุบาสิกาสุปปิยามาเฝ้า พร้อมกับนางได้
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า แผลใหญ่เพียงนั้นได้งอกเต็ม มีผิวพรรณเรียบสนิท
เกิดโลมชาติทันที อุบายสกสุปปิยะและอุบาสิกาสุปปิยา จึงพากันร่าเริงยินดีว่า
อัศจรรย์นักชาวเรา ไม่เคยมีเลยชาวเรา พระตถาคตทรงมีพระฤทธิ์มาก ทรง
มีพระอานุภาพมาก เพราะพอเห็นพระองค์เท่านั้น แผลใหญ่โตยังงอกขึ้นเต็ม
ทันที มีผิวพรรณเรียบสนิท เกิดโลมชาติ แล้วอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน จนยังพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จแล้ว ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตรแล้ว นั่ง
อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชี้แจงให้อุบาสกสุปปิยะแลอุบาสิกาสุปปิยา
เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับ
เสด็จกลับ.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๕๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน
เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปไหนขอเนื้อต่ออุบาสิกาสุปปิยา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 97
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ทูลรับต่อพระผู้มี
พระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า ได้ขอเนื้อต่ออุบายสิกาสุปปิยา พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เขานำมาถวายแล้ว หรือ ภิกษุ ?
ภิ. เธอฉันเมาถวายแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอฉันแล้วหรือ ภิกษุ ?
ภิ. ฉันแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอพิจารณาหรือเปล่า ภิกษุ ?
ภิ. มิได้พิจารณา พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ
จึงไม่ได้พิจารณา แล้วฉันเนื้อเล่า เธอฉันเนื้อมนุษย์แล้ว การกระทำของเธอ
นั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . . ครั้นแล้วทรง
ทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า:-
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสมีอยู่ เขาสละเนื้อ
ของเขาถวายก็ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ รูปใดฉัน
ต้องอาบัติถุลลัจจัย อนึ่ง ภิกษุยังมิได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ รูปใดฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อช้าง
[ ๖๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ช้างหลวงล้มลงหลายเชือก สมัยอัตคัตอาหาร
ประชาชนพากันบริโภคเนื้อช้าง และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 98
ทั้งหลายฉันเนื้อช้าง ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ-
สมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้อช้างเล่า เพราะช้างเป็นราชพาหนะ ถ้า
พระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ คงไม่ทรงเลื่อมใสต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่ ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อช้าง รูปใดฉัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อม้า
สมัยต่อมา ม้าหลวงตายมาก สมัยนั้นอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภค
เนื้อม้า และถวายแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อม้า ประชาชน
จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงได้
ฉันเนื้อม้าเล่า เพราะม้าเป็นราชพาหนะ ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ คงไม่ทรง
เลื่อมใสต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อม้า รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อสุนัข
สมัยต่อมา ถึงคราวอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อสุนัข
และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อสุนัข ประชาชน
จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงได้
ฉันเนื้อสุนัขเล่า เพราะสุนัขเป็นสัตว์น่าเกลียด น่าชัง ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสุนัข รูปใดฉัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 99
พระพุทะบัญญัติห้ามฉันเนื้องู
สมัยต่อมา ถึงคราวอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้องู และ
ถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้องู ประชาชนจึงเพ่ง
โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้องู
เล่า เพราะงูเป็นสัตว์น่าเกลียดน่าชัง แม้พระยานาคชื่อสุปัสสะก็เข้าไปใน
พุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า บรรดานาคที่ไม่มี
ศรัทธา ไม่เลื่อมใสมีอยู่ มันคงเบียดเบียนพวกภิกษุจำนวนน้อยบ้าง ขอประ-
ทานพระวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดกรุณาอยู่ฉัน
เนื้องู ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระยานาคสุปัสสะเห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นพระยานาคสุปัสสะอันพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณกลับไป.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้องู รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อราชสีห์
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าราชสีห์แล้วบริโภคเนื้อราชสีห์ และถวายแก่
พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อราสีห์แล้วอยู่ในป่า ฝูงราชสีห์ฆ่า
พวกภิกษุเสีย เพราะได้กลิ่นเนื้อราชสีห์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อราชสีห์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 100
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือโคร่ง
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือโคร่งแล้วบริโภคเนื้อเสือโคร่งและถวาย
แก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อเสือโคร่งแล้วอยู่ในป่า เหล่าเสือ
โคร่งฆ่าพวกภิกษุเสียเพราะได้กลิ่นเนื้อเสือโคร่ง ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือโคร่ง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือเหลือง
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือเหลือง แล้วบริโภคเนื้อเสือเหลืองและ
ถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อเสือเหลืองแล้วอยู่ในป่า
เหล่าเสือเหลืองฆ่าพวกภิกษุเสีย เพราะได้กลิ่นเนื้อเสือเหลือง ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉัน เนื้อเสือเหลือง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อหมี
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าหมีแล้วบริโภคเนื้อหมี และถวายแก่พวก
ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อหมีแล้วอยู่ในป่า เหล่าหมีฆ่าพวกภิกษุ
เสียเพราะได้กลิ่นเนื้อหมี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ
ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อหมี
รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือดาว
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือดาวแล้วบริโภคเนื้อเสือดาว และถวาย
แก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อเสือดาวแล้วอยู่ในป่า เหล่า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 101
เสือดาวฆ่าพวกภิกษุเสีย เพราะได้กล่นเนื้อเสือดาว ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือดาว รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
สุปปิยภาณวาร ที่ ๒ จบ
เรื่องพราหมณ์ถวายยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวาน
[๖๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครพาราณสี
ตามพระพุทธาภิรมย์แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินมุ่งไปทางอันธกวินทะชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป คราวนั้นประชาชนชาวชน-
บทบรรทุกเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของควรเคี้ยวบ้าง เป็นอันมาก
มาในเกวียน เดินติดตามภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมาข้างหลัง ๆ
ด้วยตั้งใจว่า ได้โอกาสเมื่อใดจักทำภัตตาหารถวายเมื่อนั้น อนึ่ง คนกินเดน
ประมาณ ๕๐๐ คนก็พลอยเดินติดตามไปด้วย ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
พระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับเสด็จถึงอันธกวินทชนบท.
ขณะนั้นพราหมณ์คนหนึ่ง ยังหาโอกาสไม่ได้ จึงดำริในใจว่าเราเดิน
ติดตามภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมากว่า ๒ เตือนแล้ว ด้วยหมายใจว่า
ได้โอกาสเมื่อใด จักทำภัตตาหารถวายเมื่อนั้น แต่ก็หาโอกาสไม่ได้ อนึ่ง เรา
ตัวคนเดียวและยังเสียประโยชน์ทางฆราวาสไปมาก ไฉนหนอ เราพึงตรวจดู
โรงอาหารสิ่งใดไม่มีในโรงอาหาร เราพึงตกแต่งสิ่งนั้นถวาย แล้วจึงตรวจดู
โรงอาหารมิได้เห็นมีของ ๒ สิ่ง คือยาคู ๑ ขนมปรุงด้วยน้ำหวาน ๑ จึงเข้าไป
หาท่านพระอานนท์ถึงสำนัก ครั้นแล้วได้กราบเรียนคำนี้แด่ท่านพระอานนท์ว่า
ข้าแต่พระคุณเจ้าอานนท์ ข้าพเจ้าหาโอกาสในที่นี้ไม่ได้จึงได้ดำริในใจว่า ตน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 102
เดินติดตามภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมากว่า ๒ เตือนแล้ว ด้วยหมาย
ใจว่าได้โอกาสเมื่อใดจักทำภัตตาหารถวายเมื่อนั้น แต่ก็หาโอกาสไม่ได้ อนึ่ง
ตนตัวคนเดียวและยังเสียประโยชน์ทางฆราวาสของตนไปมาก ไฉนหนอตนพึง
ตรวจดูโรงอาหาร สิ่งใดไม่มีในโรงอาหาร พึงตกแต่งสิ่งนั้นถวาย ดังนี้ ข้า
แด่พระคุณเจ้าอานนท์ข้าพเจ้านั้นตรวจดูโรงอาหาร มิได้เห็นมีของ ๒ สิ่ง คือ
ยาคู ๑ ขนมปรุงด้วยน้ำหวาน ๑ ถ้าข้าพเจ้าตกแต่งยาคู และขนมปรุงด้วยน้ำ
หวานถวาย ท่านพระโคดมจะพึงรับของข้าพเจ้าไหม เจ้าข้า ?.
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นฉันจักทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าทันที.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้นพราหมณ์จงตก
แต่ง ถวายเถิด.
ท่านพระอานนท์ บอกพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นท่าน
ตกแต่งถวายได้ละ.
พราหมณ์นั้น จึงตกแต่งยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวานมากมายโดยผ่าน
ราตรีนั้น แล้วน้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ขอท่านพระ
โคดมโปรดกรุณรับยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวานของข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวาย
แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ รังเกียจไม่รับ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด.
พราหมณ์นั้นจึงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยยาคู
และขนมปรุงด้วยน้ำหวานมากมายด้วยมือของตน จนยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
เสวยเสร็จล้างพระหัตถ์แล้ว ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ให้ห้ามภัตรแล้ว
จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 103
ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่าง
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะพราหมณ์นั้น ผู้นั่งอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่างนี้ ๑๐ อย่าง
เป็นไฉน คือ ผู้ให้ข้าวยาคู. ชื่อว่าให้อายุ ๑ ให้วรรณะ ๑ ให้สุข ๑ ให้กำลัง
๑ ให้ปฏิภาณ ๑ ข้าวยาคูที่ดื่มแล้วกำจัดความหิว ๑ บรรเทาความระหาย ๑ ทำ
ลมให้เดินคล่อง ๑ ล้างลำไส้ ๑ ย่อยอาหารใหม่ที่เหลืออยู่ ๑ ดูก่อนพราหมณ์
ข้าวยาคูมีคุณ ๑. อย่างนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสอนุ-
โมทนาคาถาดังต่อไปนี้:-
คาถาอนุโมทนา
[๖๒] ทายกใดถวายข้าวยาคูโดย
เคารพตามกาล แก่ปฏิคาหก ผู้สำรวมแล้ว
บริโภคโภชนะอันผู้อื่นถวาย ทายกนั้นชื่อว่า
ตามเพิ่มให้ซึ่งสถานะ ๑๐ อย่างแก่ปฏิคาหก
นั้น อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ
ย่อมเกิดแก่ปฏิคาหกนั้น แต่นั้นยาคูย่อมกำ-
จัดความหิว ความระหาย ทำลมให้เดินคล่อง
ล้างลำไส้ และย่อยอาหาร ยาคูนั้นพระสุคต-
ตรัสสรรเจริญว่าเป็นเภสัช เพราะเหตุนั้น
แล มนุษย์ชนที่ต้องการสุขยั่งยืนปรารถนา
สุขที่เลิศ หรือยากได้ความงามอันเพริศพริ้ง
ในมนุษย์ จึงควรแท้เพื่อถวายข้าวยาคู.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 104
พระพุทธานุญาตข้าวยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวาน
[๖๓] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่พราหมณ์นั้นด้วย ๓
คาถานี้แล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับกลับไป.
ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตข้าวยาคู และขนมปรุงด้วยน้ำหวาน.
เรื่องมหาอำมาตย์ผู้เลื่อมใส
[๖๔] ประชาชนทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตยาคู
และขนมปรุงด้วยน้ำหวานแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงตกแต่งยาคูที่แข้นและขนมปรุง
ด้วยน้ำหวานถวายแต่เช้า ภิกษุทั้งหลายที่ได้รับอังคาสด้วยยาคูที่แข้นและขนม
ปรุงด้วยน้ำหวานแต่เช้า ฉันภัตตาหารในโรงอาหารไม่ได้ตามที่คาดหมาย คราว
นั้น มหาอำมาตย์คนหนึ่งผู้เริ่มเลื่อมใส ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุขเพื่อฉันในวันรุ่งขึ้นและได้มีความคิดว่า ถ้ากระไร เราพึงตกแต่งสำรับ
มังสะ ๑,๒๕๐ ที่ เพื่อภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป น้อมเข้าไปถวายภิกษุรูปละ ๑ สำรับ
แล้วสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีตและสำรับมังสะ ๑,๒๕0 ที่ โดย
ผ่านราตรีนั้น แล้วสั่ง ให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่าถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว.
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือ
บาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินสู่นิเวศน์ของมหาอำมาตย์ผู้เริ่มเลื่อมใสนั้น แล้ว
ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยพระสงฆ์ มหาอำมาตย์
ผู้เริ่มเลื่อมใสนั้น จึงอังคาสภิกษุทั้งหลายอยู่ในโรงอาหาร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 105
ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า จงถวายแต่น้อยเถิดท่าน จงถวายแต่น้อย
เถิดท่าน.
ท่านมหาอำมาตย์กราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านทั้งหลายอย่ารับ
แต่น้อย ๆ ด้วยคิดว่า นี้เป็นมหาอำมาตย์ที่เริ่มเลื่อมใส กระผมตกแต่งที่ขาทนีย
โภชนียาหารไว้มาก กับสำรับมังสะ ๑,๒๕0 ที่ จักน้อมเข้าไปถวายภิกษุรูปละ
๑ สำรับขอท่านทั้งหลายกรุณารับให้พอแก่ความต้องการเถิด เจ้าข้า.
ภิกษุทั้งหลายว่า ท่าน พวกอาตมภาพรับแต่น้อย ๆ มิใช่เพราะเหตุ
นั้นเลย แต่เพราะพวกอาตมภาพได้รับอังคาสด้วยยาคูที่แข้น และขนมปรุง
ด้วยน้ำหวานแต่เช้า ฉะนั้น พวกอาตมภาพจึงขอรับแต่น้อย ๆ.
ทันใดนั้น มหาอำมาตย์ผู้เริ่มเลื่อมใสนั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย อันกระผมนิมนต์แล้วจึงได้ฉันยาคูที่แข้นของ
ผู้อื่นเล่า กระผมไม่สามารถจะถวายให้พอแก่ความต้องการหรือ แล้วโกรธไม่
พอใจ เพ่งจะหาโทษให้ ได้บรรจุบาตรของภิกษุทั้งหลายเต็มพลางกล่าวว่า
ท่านทั้งหลายจะฉันก็ได้ นำไปก็ได้ ครั้นแล้ว อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน จนยังพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จแล้วนำพระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามบัตรแล้ว นั่งเฝ้าอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชี้แจงแก่มหาอำมาตย์ผู้เริ่มเลื่อมใสนั้น ซึ่งนั่ง
เฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
กลับไม่ทันนาน มหาอำมาตย์ผู้เริ่มเลื่อมใสนั้นได้บังเกิดความรำคาญและความ
เดือดร้อนว่า มิใช่ลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่ว แล้วหนอ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 106
เราไม่ได้ดีแล้วหนอ เพราะเราโกรธไม่พอใจ เพ่งจะหาโทษให้ ได้บรรจุ
บาตรของภิกษุทั้งหลายเต็มพลางกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะฉันก็ได้ นำไปก็ได้
อะไรหนอแล เราสร้างสมมาก คือ บุญหรือบาป ครั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าถวายบงคมนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึงกราบทูลว่า พระพุทธ-
เจ้าข้า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับไม่ทัน นาน ความรำคาญและความ
เดือนร้อนได้บังเกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้า ณ ที่นั้น ว่า มิใช่ลาภของข้าพระพุทธเจ้า
หนอ ลาภของข้าพระพุทธเจ้าไม่มีหนอ ข้าพระพุทธเจ้าได้ชั่วแล้วหนอ ข้าพระ-
พุทธเจ้าไม่ได้ดีแล้วหนอ เพราะข้าพระพุทธเจ้าโกรธไม่พอใจ เพ่งจะหาโทษ
ให้ ได้บรรจุบาตรของภิกษุทั้งหลายเต็มพลางกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะฉันก็ได้
นำไปก็ได้ อะไรหนอแล ข้าพระพุทธเจ้าสร้างสมไว้มาก คือ บุญหรือบาป
ดังนี้ อะไรกันแน่ที่ข้าพระพุทธเจ้าสร้างสมมาก คือ บุญหรือบาป พระพุทธ
เจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า อาวุโส ท่านนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยทานอัน
เลิศใค ท่านชื่อว่าสร้างสมบุญไว้มากเพราะทานอันเลิศนั้น เมล็ดข้าวสุกเมล็ด
หนึ่ง ๆ ของท่าน อันภิกษุรูปหนึ่ง ๆ ผู้เลิศด้วยคุณสมบัติอันใด รับไปแล้ว
ท่านชื่อว่าสร้างสมบุญไว้มาก เพราะภิกษุผู้เลิศด้วยคุณสมบัติอันนั้น สวรรค์
เป็นอันท่านปรารภไว้แล้ว.
ลำดับนั้น มหาอำมาตย์ผู้เริ่มเลื่อมใสนั้น ได้ทราบว่าเป็นลาภของตน
ได้ดีแล้ว บุญมากอันคนสร้างสมแล้ว สวรรค์อันตนปรารภไว้แล้ว ก็ร่าเริง
ดีใจลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณกลับไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 107
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายอันทายกนิมนต์ไว้แห่งอื่น ฉันยาคู
ที่แข้นของผู้อื่นจริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันยาคูที่แข้น
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
โมฆบุรุษเหล่านั้น อันทายกนิมนต์ไว้แห่งอื่น จึงได้ฉัน ยาคที่แข้นของผู้อื่นเล่า
การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส. . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุอันทายกนิมนต์ไว้แห่งอื่น ไม่พึงฉันยาคูที่แข้นของผู้อื่นรูปใด
ฉัน พึงปรับอาบัติตามธรรม.
เรื่องพราหนณ์เวลัฏฐกัจจานะถวายงลบนาอ้อย
[๖๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอันธกวินทชนบท
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินมุ่งไปทางพระนครราชคฤห์
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป คราวนั้น พราหมณ์เวลัฏฐ-
กัจจานะ เดินทางไกลแต่พระนครราชคฤห์ไปยังอันธกวินทชนบท พร้อมด้วย
เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่มล้วนบรรทุกหม้องบน้ำอ้อยเต็มทุกเล่ม พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นเวลัฏฐกัจจานะกำลังมาแต่ไกล ครั้นแล้ว
เสด็จแวะออกจากทางประทับนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 108
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ จึงเดินเข้าไปถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะถวาย
งบน้ำอ้อย แก่ภิกษุรูป ๑ หม้อ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนำ
งบน้าอ้อยมาแต่เพียงหม้อเดียว.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า แล้วนำงบน้ำอ้อยมาแต่หม้อเดียว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หม้องบน้ำอ้อย ข้าพระพุทธเจ้านำ
มาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไร ต่อไป ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงถวาย
งบน้ำอ้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า แล้วถวายงบน้ำอ้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า งบน้ำอ้อยข้าพระพุทธเจ้าถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย พระ-
พุทธเจ้าข้า แต่งบน้ำอ้อยนี้ยังเหลืออยู่มาก ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงถวาย
งบน้ำอ้อยแก่ภิกษุทั้งหลายจนพอแกความต้องการ.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่าเป็นอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า แล้ว ถวายงบน้ำอ้อยแก่ภิกษุทุกรูป จนพอแก่ความต้องการ
แล้วได้ทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า งบน้ำอ้อยข้าพระพุทธเจ้าถวายแก่ภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 109
ทั้งหลายจนพอแก่ความต้องการแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แต่งบน้ำอ้อยนี้ยังเหลือ
อยู่มาก ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ. ถ้าเช่นนั้น เธอจงอังคาส
ภิกษุทั้งหลายด้วยงบน้ำอ้อยให้อิ่มหนำ.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า แล้วอังคาสภิกษุทั้งหลายด้วยงบน้ำอ้อยให้อิ่มหนำ ภิกษุบาง
พวกบรรจุงบน้ำอ้อยเต็มบาตรบ้าง เต็มหม้อกรองน้ำบ้าง เต็มถุงย่ามบ้าง ครั้น
พราหมณ์เวลัฎฐกัจจานะอังคาสภิกษุทั้งหลายด้วยงบน้ำอ้อยให้อิ่มหนำแล้วได้ทูล
คำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภิกษุทั้งหลายอันข้าพระพุทธเจ้าอังคาสด้วยงบ
น้ำอ้อยให้อิ่มหนำแล้วพระพุทธเจ้าข้า แต่งบน้ำอ้อยนี้ยังเหลืออยู่มาก ข้าพระ-
พุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้งบ
น้ำอ้อยแก่พวกคนกินเดน.
พราหมณ์เวลัฎฐกจัจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า แล้วจึงให้งบน้ำอ้อยแก่พวกคนกินเดน แล้วได้ทูลคำนี้แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า งบน้ำอ้อยข้าพระพุทธเจ้าให้พวกคนกินเดนแล้ว พระ-
พุทธเจ้าข้า แต่งบน้ำอ้อยนี้ยังเหลืออยู่มาก ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้
งบน้ำอ้อยแก่พวกคนกินเดน จนพอแก่ความต้องการ.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า แล้ว จึงให้งบน้ำอ้อยแก่พวกคนกินเดน จนพอแก่ความต้อง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 110
การแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า งบน้ำอ้อยข้าพระพุทธเจ้าให้พวก
คนกินเดนจนพอแก่ความต้องการแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แต่งบน้ำอ้อยนี้ยังเหลือ
อยู่มาก ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป พระพุทธเจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเลี้ยงดู
พวกคนกินเดนให้อิ่มหนำ ด้วยงบน้ำอ้อย.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่าง
นั้นพระพุทธเจ้าข้า แล้วเลี้ยงดูพวกคนกินเดนให้อิ่มหนำด้วยงบน้ำอ้อย คน
กินเดนบางพวกบรรจุงบน้ำอ้อยเต็มกระป๋องบ้าง เต็มหม้อน้ำบ้าง ห่อเต็ม
ผ้าขาวปูลาดบ้าง เต็มพกบ้าง ครั้นพราหมณ์เวลัฎฐกัจจานะเลี้ยงดูพวกคนกิน
เดนไห้อิ่มหนำด้วยงบน้ำอ้อย แล้วทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พวกคน
กินเดนอันข้าพระพุทธเจ้าเลี้ยงดูด้วยงบน้ำอ้อยให้อิ่มหนำแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
แต่งบน้ำอ่อยนี้ยังเหลืออยู่มาก ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป พระ
พุทธเจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ทั่วโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลกพรหมโลก ทั่วทุกหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์
เราไม่เล็งเห็นบุคคลผู้ที่บริโภคงบน้ำอ้อยนั้นแล้วจะให้ย่อยได้ดี นอกจากตถาคต
หรือสาวกของตถาคต ดูก่อนกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงทิ้งงบน้ำอ้อยนั้นเสีย
ในสถานที่อันปราศจากของเขียงสด หรือจงเทเสียในน้ำซึ่งปราศจากตัวสัตว์.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า แล้วเทงบน้ำอ้อยนั้นลงในน้ำซึ่งปราศจากตัวสัตว์ งบน้ำอ้อย
ที่เทลงในน้ำนั้น เดือดพลุ่ง ส่งเสียงดังจิฏิจิฏิ พ่นไอพ่นควันทันที เปรียบ
เหมือนผาลที่ร้อนโชนตลอดวันอันบุคคลจุ่มลงในน้ำ ย่อมเดือดพลุ่ง ส่งเสียง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 111
ดังจิฏิจิฏิ พ่นไอพ่นควันอยู่ แม้ฉันใด งบน้ำอ้อยที่เทลงในน้ำนั้น ย่อม
เดือดพล่าน ส่งเสียงดังจิฏิจิฏิ พ่นไอพ่นควันอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ สลดใจ บังเกิดโลมชาติชูชนทันที แล้ว
เข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง.
ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจ
เมื่อพราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา สีลกถา
สัคคกถา ซึ่งโทษแห่งกามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และอานิสงส์ในความ
ออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพราหมณ์เวลัฏฐกัจจา-
นะมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่อง-
ใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดง
ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจาก
ธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดแก่พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ณ ที่นั่งนั้นแลว่า สิ่ง
ใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา
ดุจผ้าสะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดีฉะนั้น ครั้นพราหมณ์
เวลัฏฐกัจจานะได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว
มีธรรมอันหยังลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความ
สงสัยแล้ว ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา
ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธ-
เจ้าข้า ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 112
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจ
ว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้า
พระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเติมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
พระพุทธานุญาตงบน้ำอ้อย
[๖๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะ
ทางโดยลำดับ เสด็จถึงพระนครราชคฤห์แล้ว ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต
เขตพระนครราชคฤห์นั้น ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์มีงบน้ำอ้อยมาก ภิกษุ
ทั้งหลายรังเกียจว่า ผู้ไม่อาพาธ จึงไม่ฉันงบน้ำอ้อย แล้วกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตงบน้ำอ้อยแก่ภิกษุผู้อาพาธ และงบน้ำอ้อยละลายน้ำแก่ภิกษุผู้ไม่
อาพาธ.
ทรงรับอาคารพังแรม
[๖๗] ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์
ทามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินมุ่งไปทางตำบลบ้านปาฏลิพร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่จำหวน ๑,๒๕๐ รูป เสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะทาง
โดยลำดับถึงตำบลบ้านปาฏลิแล้ว อุบาสกอุบาสิกาชาวตำบลบ้านปาฏลิได้ทราบ
ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงตำบลบ้านปาฏลิแล้ว จึงพากันเข้าไปเฝ้า
ณ พลับพลาที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 113
ข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้อุบาสกอุบาสิกาชาวตำบลบ้านปาฏลิผู้
นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา.
ครั้นอุบาสก อุบาสิกาชาวตำบลบ้านปาฏลิอันพระผู้มีพระภาคเจ้าชี้แจง
ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลคำนี้
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรด
ทรงรับอาคารพักแรมของพวกข้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ ครั้นอุบาสกอุบาสิกาชาวตำบลบ้านปาฏลิทราบ
การทรงรับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วพากันเดินไปทางอาคารพักแรม ปูลาดดาดเพดาน
ทั่วอาคารพักแรมทุกแห่ง จัดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามแระทีปน้ำมัน แล้ว
พากันเข้าไปยังพลับพลาที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกเขายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำ
นี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้าปูลาดดาด
เพดานอาคารพักแรมทุกแห่ง จัดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันไว้แล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบกาล อันควรในบัดนี้ พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตร
จีวรแล้ว เสด็จไปทางอาคารพักแรมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรงชำระพระบาทยุดล
แล้วเสด็จเข้าสู่อาคารพักแรม ประทับนั่งพิงเสากลางผินพระพักตร์ไปทางทิศ
ตะวันออก แม้ภิกษุสงฆ์เล่าก็ล้างเท้าแล้ว เข้าสู่อาคารพักแรม นั่งพิงฝาด้าน
ตะวันตก ผินหน้าไปทางทิศตะวันออก ห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้
อุบาสกอุบาสิกาชาวตำบลบ้านปาฏลิก็ล้างเท้าแล้วเข้าสู่อาคารพักแรม นั่งพิงฝา
ด้านตะวันออก ผินหน้าไปทางตะวันตก ห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 114
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาโปรดอุบาสก อุบาสิกา ชาว
ตำบลบ้านปาฏลิ ดังต่อไปนี้:-
โทษแห่งศีลวิบัติ ๕ ประการ
[๖๘] ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลมี ๕
ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย คนทุศีล ผู้มีศีล
วิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ใหญ่หลวง เพราะเหตุแห่ง
ความประมาท นี้เป็นโทษข้อที่ ๑ แห่งศีลวิบัติ ของตนทุศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง โทษข้ออื่นยังมีอีก ชื่อเสียงอันลามก
ของตนทุศีล ผู้มีศีลวิบัติย่อมเฟื่องพุงไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ แห่งศีลวิบัติ
ของคนทุศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง โทษข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีล ผู้มีศีลวิบัติ
เขาไปหาบริษัทใด ๆ เช่น ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหดีบริษัท
สมณบริษัท ย่อมเป็นผู้ครั่นคร้าม ขวยเขินเข้าไปหาบริษัทนั้น ๆ นี้เป็นโทษ
ข้อที่ ๓ แห่งศีลวิบัติ ของคนทุศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง โทษข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีล ผู้มีศีลวิบัติ
ย่อมเป็นผู้หลงทำกาละ นี้เป็นโทษข้อที่ ๔ แห่งศีลวิบัติ ของคนทุศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง โทษข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีล ผู้มีศีลวิบัติ
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็น
โทษข้อที่ ๕ แห่งศีลวิบัติ ของคนทุศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล มี ๕ ประการ
นี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 115
อานิสงส์แห่งศีลสมบัติ ๕ ประการ
[๖๙] ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลมี ๕
ประการเหล่านั้น ๕ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย คนมีศีล ถึง
พร้อมด้วยศีลในโลก ย่อมได้กองโภคทรัพย์ใหญ่หลวง เพราะเหตุแห่งความ
ไม่ประมาท นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ แห่งศีลสมบัติ ของคนมีศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง อานิสงส์ข้ออื่นยังมีอีก ชื่อเสียงอันดีงาม
ของคนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเฟื่องฟุ้งไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ แห่ง
ศีลสมบัติ ของคนมีศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง อานิสงส์ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อม
ด้วยศีล เข้าไปหาบริษัทใด ๆ เช่น ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดี-
บริษัท สมณบริษัท ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ขวยเขินเข้าไปหาบริษัทนั้น ๆ
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ แห่งศีลสมบัติ ของคนมีศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง อานิสงส์ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อม
ด้วยศีล ย่อมไม่หลงทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ แห่งศีลสมบัติ ของคน
มีศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง อานิสงส์ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อม
ด้วยศีล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็น
อานิสงส์ข้อที่ ๕ แห่งศีลสมบัติ ของคนมีศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติ ของคนมีศีล มี ๕
ประการ นี้แล.
[๗๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจง ให้อุบาสกอุบาสิกาของ
ตำบลบ้านปาฏลิเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาจนดึกดื่นแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 116
ทรงส่งกลับด้วยรับสั่งว่า ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ราตรีจวนสว่างแล้ว บัดนี้
พวกเธอจงรู้กาลที่จะกลับเถิด อุบาสกอุบาสิกาชาวตำบลบ้านปาฏลิ รับสนอง
พระพุทธดำรัสว่า พระพุทธเจ้าข้า แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วพากันกลับ ครั้นอุบาสกอุบาสิกาชาวตำบลบ้าน
ปาฏลิกลับไปไม่ทันนาน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จเข้าสุญญาคารแล้ว.
เรื่องสุนีธะวัสสการะมหาอำมาตย์
[๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ๒ ท่านชื่อ สุนีธะ ๑
วัสสการะ ๑ กำลังจัดการสร้างพระนคร ณ ตำบลบ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาว
วัชชี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตื่นบรรทมในเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี ได้ทรง
เล็งทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงวิสัยของมนุษย์ ทอดพระเนตรเห็นเทวดาเป็นอัน
มากกำลังยึดถือที่ดินในตำบลบ้านปาฏลิ คือ ในประเทศที่ใด พวกเทวดามี
ศักดิ์ใหญ่ยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์สูง ๆ ต่างก็น้อมจิต
เพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด พวกเทวดาที่มีศักดิ์ชั้น
กลางยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ที่มีศักดิ์ชั้นกลาง ๆ ต่างก็น้อมจิต
เพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดาที่มีศักดิ์ชั้นต่ำยึด
ถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ชั้นต่ำ ๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้างนิเวศน์
ลงในประเทศที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน
อานนท์ พวกไหนกำลังสร้างนครลงที่ตำบลบ้านปาฏลิ.
อ. มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ชื่อ สุนีธะ ๑ วัสสการะ ๑ กำลังสร้าง
นครลงที่ตำบลบ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาววัชชี พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 117
ภ. ดูก่อนอานนท์ สุนีธะ กับ วัสสการะ ๒ มหาอำมาตย์แห่งมคธ
รัฐกำลังสร้างนครลงในตำบลบ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาววัชชีเหมือนได้ปรึกษา
กับพวกเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ฉะนั้น อานนท์ เมื่อเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรีนี้
เราลุกขึ้น ได้เล็งทิพจักขุอันบริสุทธิ์ล่วงวิสัยของมนุษย์ เห็นพวกเทวดาเป็นอัน
มากกำลังยึดถือที่ดินในตำบลบ้านปาฏลิ คือ ในประเทศที่ใด พวกเทวดามี
ศักดิ์สูง ๆ ยึดถือที่ดินพวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์สูง ๆ ต่างก็น้อมจิต
เพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดามีศักดิ์ชั้นกลาง ๆ
ยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ชั้นกลาง ๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อ
สร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดาผู้มีศักดิ์ชั้นต่ำ ๆ ยึดถือ
ที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ชั้นต่ำ ๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้าง
นิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น อานนท์ ตลอดสถานที่อันเป็นย่านชุมนุมแห่ง
อารยชน และเป็นทางค้าขาย พระนครนี้ จักเป็นพระนครชั้นเอก เป็นทำเล
ค้าขาย ชื่อปาฏลิบุตร และเมืองปาฏลิบุตรจักบังเกิดอันตราย ๓ ประการ คือ
บังเกิดแต่ไฟ ๑ บังเกิดแต่น้ำ ๑ บังเกิดแต่ภายใน คือ แตกสามัคคีกัน ๑.
[๗๒] ครั้งนั้น ท่านสุนีธะมหาอำมาตย์และท่านวัสสการะมหาอำมาตย์
แห่งมคธรัฐ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้ทูลปราศรัยกับ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึง
กันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลอาราธนา
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอท่านพระโคดม พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงพระ-
กรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อเจริญกุศลและปีติ
ปราโมทย์ในวันนี้ด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนา
โดยดุษณีภาพ ครั้นสุนีธะมหาอำมาตย์และวัสสการะมหาอำมาตย์ ทราบพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 118
อาการที่ทรงรับอาราธนาแล้ว ลุกจากที่นั่งกลับไป ครั้นตกแต่งของเคี้ยวของ
ฉันอันประณีตแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรง
ถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางสถานที่อังคาส ของสองมหาอำมาตย์
แห่งมคธรัฐครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้งสองมหาอำมาตย์อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตน จนยังพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เสวยเสร็จแล้วทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ให้ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีjพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่สองหาอำมาตย์นั้น
ด้วยพระคาถาเหล่านั้น ว่าดังนี้:-
คาถาอนุโมทนา
[๗๓] บัณฑิตชาติอยู่ในประเทศใด
เลี้ยงดูท่านผู้มีศีล ผู้สำรวม ประพฤติพรหม-
จรรย์ในประเทศนั้น และได้อุทิศทักษิณาแก่
เหล่าเทพดาผู้สถิตในสถานที่นั้นเทพดาเหล่า
นั้นอันบัณฑิตชาติบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบ
อันบัณฑิตชาตินับถือแล้วย่อมนับถือตอบ
ซึ่งบัณฑิตชาตินั้น แต่นั้น ย่อมอนุเคราะห์
บัณฑิตชาตินั้น ดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้
เกิดแต่อก ฉะนั้น คนที่เทพดาอนุเคราะห์
แล้ว ย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 119
[๗๔] ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่สองมหาอำมาตย์
ด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว ทรงลุกจากพระพุทธอาสน์เสด็จกลับ สองมหา-
อำมาตย์จึงตามส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์ด้วยความ
ประสงค์ว่า วันนี้ พระสมณโคดมจักเสด็จออกทางประตูด้านใด ประตูด้าน
นั้นจักมีนามว่า ประตูพระโคดม จักเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาโดยท่าใด ท่านั้น
จักมีนามว่า ท่าพระโคดม ต่อมาประตูที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธ
ดำเนินผ่านไปนั้น ได้ปรากฏนามว่า ประตูพระโคดม
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางแม่น้ำคงคา
ก็เวลานั้น แม้น้ำคงคากำลังเปี่ยม น้ำเสมอตลิ่ง พอกาดื่มกินได้ คนทั้งหลาย
ใคร่จะไปจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น ต่างก็หาเรือ ต่างก็หาแพ ต่างก็ผูกแพลูกบวบ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นคนเหล่านั้นต่างก็พากันหาเรือ หาแพ
ผูกแพลูกบวบ ประสงค์จะข้ามจากฝั่งนี้ไปสู่ฝั่งโน้น จึงได้ทรงอันตรธาน ณ
ฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคา ไปปรากฏ ณ ฝั่งโน้นพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ดุจบุรุษมีกำลัง
เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความข้อนี้แล้ว จึงทรงเปล่ง
พระอุทานนี้ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-
ชนเหล่าใดจะข้ามแม่น้ำที่ห้วงลึก
ชนเทล่านั้นต้องสร้างสะพานแล้วสละสระ
น้อยเสีย จึงข้ามสถานอันลุ่มเต็มด้วยน้ำได้
ส่วนคนที่จะข้ามแม่น้ำน้อยนี้ ก็ผูกแพข้าม
ไปได้ แต่พวกคนมีปัญญา เว้นแพเสียก็ข้าม
ได้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 120
ทรงแสดงจตุราริยสัจ
[๗๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทาง
ตำบลบ้านโกฏิ ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลบ้านโกฏินั้น.
ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราและพวกเธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไป ตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่
ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราและพวกเธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ได้ตรัสรู้
ไม่ได้แทงตลอดทุกขอริยสัจ. . . ทุกขสมุทยอริยสัจ. . . ทุกขนิโรธอริยสัจ. . . ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ ทุกขมุทย-
อริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น อันเราและ
พวกเธอได้ตรัสรู้แล้ว ได้แทงตลอดแล้ว ตัดตัณหาในภพได้ขาดแล้ว ตัณหา
ที่จะนำไปเกิดก็สิ้นแล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีกต่อไป.
นิคมคาถา
[๗๖] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตาม
เป็นจริง จึงต้องท่องเที่ยวไปในชาตินั้น ๆ
ตลอดเวลานาน อริยสัจเหล่านั้นนั่น เราและ
พวกเธอได้เห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปเกิด
เราและพวกเธอได้ถอนขึ้นแล้ว รากแห่ง
ทุกข์ เราและพวกเธอได้ตัดขาดแล้ว บัดนี้
ไม่มีการเกิดอีก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 121
เรื่องเจ้าลิจฉวีชาวพระนครเวสาลี
[๗๗] นางอัมพปาลีหญิงงามเมืองได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาค-
เจ้าเสด็จมาโดยลำดับถึงตำบลบ้านโกฏิแล้ว จึงให้จัดยวดยานที่งาม ๆ แล้วขึ้น
สู่ยวดยานที่งาม ๆ มียวดยานที่งาม ๆ ออกไปจากพระนครเวสาลี เพื่อเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ไปด้วยยวดยานตลอดพื้นที่ที่ยวดยานจะไปได้ แล้วลง
จากยวดยานเดินด้วยเท้าเข้าไปถึงพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้นาง
เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นนางอัมพปาลีคณิกา
อันพระผู้มีพระภาค เจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาค
เจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของหม่อมฉันเพื่อ
เจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนา
โดยดุษณีภาพ ครั้นนางทราบพระอาการที่ทรงรับอาราธนาแล้ว ลุกจากที่นั่ง
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณกลับไป.
พวกเจ้าลิจฉวีชาวพระนครเวสาลี ได้ทรงสดับข่าวว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเสด็จมาโดยลำดับ ถึงตำบลบ้านโกฏิแล้ว จึงพากันจัดยวดยานที่งาม ๆ
เสด็จขึ้นสู่ยวดยานที่งาม ๆ ออกไปจากพระนครเวสาลี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า เจ้าลิจฉวีบางพวกเขียว คือ มีพระฉวีเขียว ทรงวัตถาลังการเขียว
บางพวกเหลือง คือ มีพระฉวีเหลือง ทรงวัตถาลังการเหลือง บางพวกแดง
คือ มี พระฉวีแดง ทรงวัตถาลังการแดง บางพวกขาว คือ มีพระฉวีขาว ทรง
วัตถาลังการขาว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 122
ขณะนั้น นางอัมพปาลีคณิกา ทำให้งอนรถกระทบงอนรถ แอก
กระทบแอก ล้อกระทบล้อ เพลากระทบเพลา ของเจ้าลิจฉวีหนุ่ม ๆ เจ้าลิจ-
ฉวีเหล่านั้นจึงได้ตรัสถามนางว่า แม่อัมพปาลี เหตุไฉนเธอจึงได้ทำให้งอนรถ
กระทบงอนรถ แอกกระแทกแอก ล้อกระแทกล้อ เพลากระทบเพลา ของ
เจ้าลิจฉวีหนุ่ม ๆ ของพวกเราเล่า.
อัม. จริงอย่างนั้น พ่ะยะค่ะ เพราะหม่อมฉันได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้.
ลจ. แม่อัมพปาลี เธอจงให้ภัตตาหารมื้อนี้แก่พวกฉัน ด้วยราคาแสน
กษาปณ์เถิด.
อัม. แม้ว่าฝ่าพระบาท จะพึงประทาน พระนครเวสาลีพร้อมทั้ง
ชนบทแก่หม่อมฉัน ๆ ก็ถวายภัตตาหารมื้อนั้นไม่ได้ พ่ะยะค่ะ.
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงได้ทรงดีดพระองคุลีตรัสว่า ท่านทั้งหลาย พวก
เราแพ้แม่อัมพปาลีแล้ว ท่านทั้งหลาย พวกเราแพ้แม่อัมพปาลีแล้ว จึงพากัน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ได้ทอดพระเนตรเห็นเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นกำลัง
เสด็จมาแต่ไกลครั้นแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่าใดไม่เคยเห็นเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ก็จงแลดูพวกเจ้าลิจฉวี พิจารณาดู
เทียบเตียงดู พวกเจ้าลิจฉวีกับพวกเทพเจ้าชั้นคาวดึงส์เถิด เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
จึงได้เสด็จไป ด้วยยวดยาน ตลอดพื้นที่ที่ยวดยานจะไปได้ แล้วเสด็จลงจาก
ยวดยานทรงดำเนินด้วยพระบาท เข้าไปถึงพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่งอยู่ ณ ทีควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงชี้แจงให้เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ทรงเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงได้กราบทูลอาราธนาพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 123
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์พรอันด้วยภิกษุสงฆ์ทรงพระกรุณาโปรดรับภัต-
ตาหารของพวกข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศล และปีติปราโมทย์ ในวัน
พรุ่งนี้ด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนลิจฉวีทั้งหลาย อาตมารับนิมนต์
ฉันภัตตาหารของนางอัมพปาลีคณิกา เพื่อเจริญบุญกุศล และปีติปราโมทย์
ในวันพรุ่งนี้แล้ว.
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นทรงดีดองคุลีแล้วตรัสในทันใดนั้นว่า ท่านทั้งหลาย
พวกเราแพ้นางอัมพปาลีคณิกาแล้ว ท่านทั้งหลาย พวกเราแพ้นางอัมพปาลี-
คณิกาแล้ว และได้ทรงเพลิดเพลินยินดีตามภาษิตของพระผู้มีพระ ๆ ภาคเจ้า
เสด็จลุกจากที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำประทักษิณ แล้ว
เสด็จกลับ.
นางอัมพปาลี ถวายอัมพปาลีวัน
ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ตำบลบ้านโกฏิตาม
พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินไปทางเมืองนาทิกา ทราบว่า
พระองค์ประทับอยู่ที่พระตำหนักตึก เขตเมืองนาทิกานั้น.
ส่วนนางอัมพปาลีคณิกา สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต ใน
สวนของตนโดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าว่าถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ขณะนั้นเป็นเวลาเข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว
ถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่สถานที่อังคาสของนางอัมพปาลีคณิกา
ครั้งถึงแล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
นางอัมพปาลีคณิกา จึงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนีย
โภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 124
แล้ว จนทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ให้ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง นางได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หม่อมฉันขอถวาย
สวนอัมพปาลีวันนี้ แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประนุข พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเป็นสังฆารามแล้ว ครั้น แล้วพระองค์ทรงชี้แจงให้
นางอัมพปาลีเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา เสด็จลุกจาก
พระพุทธอาสน์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินไป ทางป่ามหาวัน ทราบว่า พระองค์
ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันเขตพระนครเวสาลีนั้น.
เรื่องเจ้าลิจฉวีชาวพระนครเวสาลี จบ
ลิจฉวีภาณวาร จบ
เรื่องสีหะเสนาบดี
ทรงดำริเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
[๗๘] ก็โดยสมัยนั่นแล เจ้าลิจฉวีบรรดาที่มีชื่อเสียง มีคนรู้จัก นั่ง
ประชุมพร้อมกัน ณ ท้องพระโรงต่างพากันตรัสสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรม
คุณ พระสังฆคุณ โดยอเนกปริยาย และเวลานั้น สีหะเสนาบดีสาวกของนิครนถ์
นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้นด้วย จึงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นจักเป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่ต้องสงสัยเลย คงเป็นความจริง เจ้าลิจฉวี
บรรดาที่มีชื่อเสียง มีคนรู้จักเหล่านี้จึงได้นั่งประชุมพร้อมกัน ณ ท้องพระโรง
ต่างพากันตรัสสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณโดยอเนก
ปริยาย ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 125
พระองค์นั้น แล้วจึงได้เข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงสำนัก ครั้นแล้วไหว้นิครนถ์
นาฏบุตร นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งและได้แจ้งความประสงค์นี้ แก่นิครนถ์
นาฏบุตรว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอยากจะไปเฝ้าพระสมณโคดม.
อกิริยวาทกถา
นิครนถ์นาฏบุตรพูดค้านว่า ท่านสีหะ ก็ท่านเป็นคนกล่าวการทำ ไฉน
จึงจักไปเฝ้าพระสมณโคดมผู้เป็นคนกล่าวการไม่ทำเล่า เพราะพระสมณโคดม
เป็นผู้กล่าวการไม่ทำ ทรงแสดงธรรมเพื่อการไม่ทำ และทรงแนะนำสาวกตาน
แนวนั้น.
ขณะนั้น ความตระเตรียมในอันจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าของสีหะ
เสนาบดีได้เลิกล้มไป.
แม้ครั้งที่ ๒.
แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าลิจฉวีบรรดาที่มีชื่อเสียง มีคนรู้จักได้นั่งประชุม
พร้อมกัน ณ ท้องพระโรง ต่างพากันตรัสสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ
พระสังฆคุณ โดยอเนกปริยาย ท่านสีหะเสนาบดีก็ได้คิดเป็นครั้งที่ ๓ ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่
ต้องสงสัยเลยคงเป็นความจริง เจ้าลิจฉวีบรรดาที่มีชื่อเสียง มีคนรู้จักเหล่านี้
จึงได้มานั่งประชุมพร้อมกัน ณ ท้องพระโรง ต่างพากันตรัสสรรเสริญพระพุทธ-
คุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ โดยอเนกปริยาย ก็พวกนิครนถ์ เราจะ
บอกหรือไม่บอกจักทำอะไรแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะไม่บอกพวกนิครนถ์ ไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเลยทีเดียว จึงเวลาบ่าย
สีหะเสนาบดีออกจากพระนครเวสาลีพร้อมด้วยรถ ๕๐๐ คัน ไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ไปด้วยยวดยานตลอดพื้นที่ที่ยวดยานจะผ่านไปได้ แล้วลงจาก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 126
ยวดยานเดินเข้าไปถึงพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง สีหะเสนาบดีนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบ
ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า.
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าทราบมาว่า พระสมณโคดมกล่าวการ
ไม่ทำ ทรงแสดงธรรมเพื่อการไม่ทำ และทรงแนะนำสาวกตามแนวนั้น บุคคล
จำพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวการไม่ทำ ทรงแสดงธรรมเพื่อ
การไม่ทำและทรงแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้นั้น ได้กล่าวตามที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำอันไม่เป็นจริง กล่าว
อ้างเหตุสมควรแก่เหตุ เพราะถ้อยคำที่สมควรพูดบางอย่างที่มีเหตุผล จะไม่มา
ถึงฐานะที่วิญญูชนจะพึงติเตียนบ้างหรือ เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่ประสงค์จะ
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พระพุทธดำรัสตอบ
[๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า มีอยู่จริง สีหะ เหตุที่เขา
กล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวการไม่ทำ แสดงธรรมเพื่อการไม่ทำ และ
แนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
มีอยู่จริง สีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม กล่าวการ
ทำแสดงธรรมเพื่อการทำ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
มีอยู่จริง สีหะ เหตุที่เรากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวความ
ชาดสูญ แสดงธรรมเพื่อความขาดสูญ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้
ชื่อว่ากล่าวถูก.
มีอยู่จริง สีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างรังเกียจ
แสดงธรรมเพื่อความรังเกียจ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 127
มีจริงอยู่ สีหะ เหตุที่เขตกล่าวหาเราว่า พระสมณโคเมช่างกำจัด
แสดงธรรมเพื่อความกำจัด และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
มีจริงอยู่ สีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคตมช่างเผาผลาญ
แสดงธรรมเพื่อความเผาผลาญ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่า
กล่าวถูก.
มีจริงอยู่ สีหะ เหตุที่เขากล่าหาเราว่า พระสมณโคดมไม่ผุดเกิด
แสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดเกิด และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่า
กล่าวถูก.
มีอยู่จริง สีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม กล่าวเป็น
ผู้เบาใจ แสดงธรรมเพื่อความเบาใจ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้
ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวการไม่ทำ
แสดงธรรมเพื่อการไม่ทำ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก
นั้นเป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขา
กล่าวหาเราว่าพระสมณโคดมกล่าวการไม่ทำ แสดงธรรมเพื่อการไม่ทำ และ
แนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่กล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวการทำ
แสดงธรรมเพื่อการทำ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกนั้น
เป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะเรากล่าวการทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
เรากล่าวการทำสิ่งที่เป็นกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระ
สมณโคดมกล่าวการทำ แสดงธรรมเพื่อการทำ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น
ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 128
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่กล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวความขาด
สูญ แสดพรธรรมเพื่อความขาดสูญ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่า
กล่าวถูกนั้น เป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่งราคะ
โทสะ โมหะ เรากล่าวความขาดสูญแห่งสถานะที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล
เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวความขาดสูญ แสดพรธรรมเพื่อ
ความขาดสูญ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างรังเกียจ
แสดงธรรมเพื่อความรังเกียจ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว
ถูกนั้น เป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะเรารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต เรารังเกียจความถึงพร้อมแก่สถานะที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้
แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างรังเกียจ แสดงธรรมเพื่อความ
รังเกียจ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างกำจัด
แสดงธรรมเพื่อความกำจัด และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว
ถูกนั้น เป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ
โมหะ แสดงธรรมเพื่อกำจัด สถานะที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่
เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างกำจัด แสดงธรรมเพื่อความกำจัดและ
แนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างเผา-
ผลาญ แสดงธรรมเพื่อความเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกนั้น เป็นอย่างไร
ดูก่อนสีหะ เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมควรเผาผลาญ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งควรเผาผลาญ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 129
อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้
มีในภายหลัง มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นคน
ช่างเผาผลาญ ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าว
หาเราว่า พระสมณโคดมช่างเผาผลาญ แสดงธรรมเพื่อความเผาผลาญ และ
แนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมไม่ผุดเกิด
แสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดเกิด และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่า
กล่าวถูกนั้น เป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การ
เกิดในภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอด
ด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้น
ว่า เป็นคนไม่ผุดเกิด ดูก่อนสีหะ การนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพ
ใหม่ ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำ
ไม่ให้มีในภายหลัง มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าว
หาเราว่า พระสมณโคดมไม่ผุดเกิด แสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดเกิด และ
แนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นผู้เบา
ใจ แสดงธรรมเพื่อความเบาใจ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่า
กล่าวถูกนั้น เป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะเราเบาใจ ด้วยธรรมที่ให้เกิด
ความโล่งใจอย่างสูงและเพื่อความเบาใจ และแนะนำสาวกตามแนวนอน นี้แล
เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นผู้เบาใจ แสดงธรรมเพื่อความเบาใจ
และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 130
แสดงตนเป็นอุบาสก
[๘๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านสีหะเสนาบดี ได้
กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิต
ของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนก
ปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง.
แก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยทั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้
ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึง
สรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
ภ. ดูก่อนสีหะ เธอจงทำการที่ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ เพราะการ
ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ เป็นความดีสำหรับคนมีชื่อเสียงเช่นเธอ
สี พระพุทธเจ้าข้า โดยพระพุทธดำรัสแม้นี้ ข้าพระพุทธเจ้ายินดี
พอใจยีงกว่าคาดหมายไว้ เพราะพระองค์ตรัสอย่างนี้กะข้าพระพุทธเจ้าว่า ดูก่อน
สีหะ เธอจงทำการที่ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ เพราะการใคร่ครวญเสียก่อน
แล้วทำ เป็นความดีสำหรับคนมีชื่อเสียงเช่นเธอ ความจริง พวกอัญญเดียรถีย์
ได้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก พึงยกธงเที่ยวประกาศทั่วพระนครเวสาลีว่า สีหะ
เสนาบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพวกเราแล้ว แต่ส่วนพระองค์สิ มาตรัสอย่างนี้
กะข้าพระพุทธเจ้าว่า ดูก่อนสีหะ เธอจงทำการที่ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ
เพราะการใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ เป็นความดีสำหรับคนมีชื่อเสียงเช่นเธอ
ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ แม้ครั้งที่ ๒ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสก
ผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเติมแต่วันนี้เป็นต้นไป พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 131
ภ. นานนักแล สีหะ ตระกูลของเธอได้เป็นสถานที่รับรองพวก
นิครนถ์มา ด้วยเหตุนั้น เธอพึงสำคัญเห็นบิณฑบาตว่าเป็นของควรให้นิครนถ์
เหล่านั้นผู้เข้าไปถึงแล้ว.
สี. โดยพระพุทธดำรัสแม้นี้ ข้าพระพุทธเจ้ายินดี พอใจยิ่งกว่า
คาดหมายไว้ เพราะพระองค์ตรัสอย่างนี้กะข้าพระพุทธเจ้าว่า นานนักแล สีหะ
ตระกูลของเธอได้เป็นสถานที่รับรองพวกนิครนถ์มา ด้วยเหตุนั้น เธอพึงสำคัญ
บิณฑบาตว่าเป็นของควรให้นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปถึงแล้ว ดังนี้ ข้าพระ-
พุทธเจ้าได้ทราบว่า พระสมณโคดมรับสั่งอย่างนี้ว่า ควรให้ทานแก่เราผู้เดียว
ไม่ควรให้ทานแก่คนพวกอื่น ควรให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้
ทานแก่สาวกของศาสดาอื่น เพราะทานที่ให้แก่เราเท่านั้น มีผลมาก ทานที่
ให้แก่คนพวกอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น มีผลมาก ทาน
ที่ให้แก่สาวกของศาสดาอื่นไม่มีผลมาก แต่ส่วนพระองค์ทรงชักชวนข้าพระ-
พุทธเจ้า ในการให้แม้ในพวกนิครนถ์ แต่ข้าพระพุทธเจ้าจักรู้กาลในข้อนี้เอง
ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ แม้ครั้งที่ ๓ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสก
ผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเติมแต่วันนี้เป็นต้นไป พระพุทธเจ้าข้า.
สีหะเสนาบดี ได้ธรรมจักษุ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่สีหะเสนาบดี
คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่งกามอันต่ำทราม
อันเศร้าหมอง และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า
สีหะเสนาบดีมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิต
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 132
ผ่องใสแล้ว จึงได้ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรง
ยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็น
ธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดแก่สีหะเสนาบดี ณ สถานที่นั่ง
นั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความ
ดับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมเป็นอย่างดี
ฉะนั้น.
ครั้นสีหะเสนาบดีเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแจ่มแจ้ง
แล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความ
สงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา
ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับภิกษุ
สงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญ
กุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นสีหะเสนาบดีทราบอาการที่ทรงรับอาราธนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำ
ประทักษิณกลับไป ต่อมาสีหะเสนาบดีใช้มหาดเล็กผู้หนึ่งว่า พนาย เจ้าจงไป
หาซื้อเนื้อสดที่เขาขาย แล้วสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตโดย
ผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้มหาดเล็กไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ครั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรสาวก ถือบาตราจีวร
เสด็จพระพุทธดำเนินไปทางนิเวศน์ของสีหะเสนาบดี ครั้นถึงแล้วประทับนั่ง
เหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมกับ ภิกษุสงฆ์.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 133
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกนิครนถ์เป็นอันมาก พากันประคองแขน คร่ำ-
ครวญไปตามถนน หนทางสี่แยก สามแยกทั่วทุกสายในพระนครเวสาลีว่า วันนี้
สีหะเสนาบดีล้มสัตว์ของเลี้ยงตัวอ้วน ๆ ทำอาหารถวายพระสมณโคตม พระ-
สมณโคดมทรงทราบอยู่ยังเสวยเนื้อนั้นซึ่งเขาทำเฉพาะเจาะจงตน ขณะนั้น
มหาดเล็กผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าสีหะเสนาบดีทูลกระซิบว่า ขอเดชะ ฝ่าพระบาทพึง
ทราบว่านิครนถ์มากมายเหล่านั้น พากันประคองแขนคร่ำครวญไปตามถนน
หนทางสี่แยกสามแยก ทั่วทุกสายในพระนครเวสาลีว่า วันนี้สีหะเสนาบดี ล้ม
สัตว์ของเลี้ยงตัวอ้วน ๆ ทำอาหารถวายพระสนณโคดม พระสมณโคดมทรง
ทราบอยู่ ยังเสวยเนื้อนั้นซึ่งเขาทำเฉพาะเจาะจงตน.
สีหะเสนาบดีตอบว่า ช่างเถิดเจ้า ท่านเหล่านั้นมุ่งติเตียนพระพุทธเจ้า
มุ่งติเตียนพระธรรม มุ่งติเตียนพระสงฆ์มานานแล้ว แต่ก็กล่าวตู่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยถ้อยคำอันไม่มี เปล่า เท็จ ไม่จริง ยังไม่หนำใจ
ส่วนพวกเราไม่ตั้งใจปลงสัตว์จากชีวิต แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเลย.
ครั้งนั้น สีหะเสนาบดีอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วย
ขาทนียโภชนียาหารอัน ประณีตด้วยมือของตน ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวย
เสร็จ จนทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตแล้ว นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้สีหะเสนาบดีผู้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่งเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรง
ลุกจากที่ประทับเสด็จกลับไป.
เรื่องสีหะเสนาบดี จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 134
หระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อที่ทำเฉพาะ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ไม่พึงฉันเนื้อที่เขาทำจำเพาะ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฎ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ปลา เนื้อ ที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม
คือไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ.
พระพุทธบัญญัติห้ามภัตตาหารบางชนิด
[๘๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระนครเวสาลีมีภิกษาหารมาก มีข้าวกล้า
งอกงาม บิณฑบาตก็หาง่าย ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตร
แสวงหาก็ทำได้ง่าย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
ทรงพระปริวิตกอย่างนี้ว่า ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคราว
อัตคัดอาหารมีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหารที่เก็บไว้ภายในที่
อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับ
ประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉัน
ในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้น ภิกษุ
ทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือหนอ ?
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ประทับพักเร้น แล้ว
รับสั่งถามพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้ง
หลาย เมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีขาวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหาร
ทีเก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหาร
ที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหาร
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 135
ที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหรที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหาร
เหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือ ?
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ยังฉัน อยู่พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้า-
มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าว
กล้าน้อยบิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาการที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้ม
ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑
อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑
อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้น เราห้ามจำเดิมแต่
วันนี้เป็นต้นไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ อาหาร
ที่หุงต้มภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มเอง อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่
รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น อาหาร
ที่รับประเคนฉันในปุเรภัต อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ยังไม่เป็น
เคน ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ไม่พึงฉัน รูปใดฉัน พึงปรับอาบัติตาม
ธรรม.
พระพุทธานุญาตกัปปิยภูมิ
[๘๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนชาวชนบทบรรทุกเกลือบ้าง น้ำมัน
บ้าง ข้าวสารบ้าง ของขบฉันบ้าง ไว้ในเกวียนเป็นอันมาก แล้วตั้งวงล้อม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 136
เกวียนอยู่นอกซุ้มประตูพระอารามคอยท่าว่าเมื่อใด เราทั้งหลายได้ลำดับที่จะ
ถวาย เมื่อนั้นเราจักทำภัตตาหารถวาย ฝนตั้งเค้ามาจะตกใหญ่ จึงคนเหล่านั้น
พากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์กราบเรียนว่า ท่านพระอานนท์เจ้าข้า เกลือ
น้ำมัน ข้าวสาร และของขบฉันเป็นอันมาก พวกข้าพเจ้าบรรทุกไว้ในเกวียน
ตั้งอยู่ที่หน้าวัดนี้ และฝนตั้งเค้ามาจะตกใหญ่ ท่านพระอานนท์เจ้าข้า พวก
ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร จึงท่านพระอานนท์กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงสมมติวิหารที่ตั้งอยู่
สุดเขตวัด ให้เป็นสถานที่เก็บของกัปปิยะแล้วให้เก็บไว้ในสถานที่ที่สงฆ์จำนง
หมาย คือวิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้าก็ได้.
วิธีสมมติกัปปิยภูมิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม-
วาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติกัปปิยภูมิ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นกัปปิยภูมิ นี้เป็น
ญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้
ให้เป็นกัปปิยภูมิ การสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู่นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
พูด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 137
วิหารมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นกัปปิยภูมิแล้ว ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้น จงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
สมัยต่อมา ชาวบ้านต้มข้าวต้ม หุงข้าวสวย ต้มแกง สับเนื้อ ผ่า
ฟืน ส่งเสียงเซ็งแซ่เกรียวกราว ณ สถานที่กัปปิยภูมิ ที่สงฆ์สมมติไว้นั้นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตื่นบรรทมในเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรีได้
ทรงสดับเสียงเซ็งแซ่เกรียวกราว และเสียงการ้องก้อง ครั้นแล้วรับสั่งถามท่าน
พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เสียงเซ็งแช่เกรียวกราว และเสียงการ้องก้องนั้น
อะไรกันหนอ.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ชาวบ้านมาต้ม
ข้าวต้ม หุงข้าวสวย ต้มแกง สับเนื้อ ผ่าฟืน ณ สถานที่กัปปิยภูมิ ซึ่งสงฆ์สมมติ
ไว้นั้นแล เสียงเซ็งแซ่เกรียวกราว และเสียงการ้องนั่นคือเสียงนั้น พระพุทธ-
เจ้าข้า.
พระพุทธานุญาตกัปปิภูมิ ๓ ชนิด
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
ข้าวต้ม ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้สถานที่กัปปิยภูมิซึ่งสงฆ์สมมติ รูปใดใช้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสถานที่กัปปิยภูมิ ๓ ชนิด คือ อุสสาว-
นันติกา ๑ โคนิสาทิกา ๑ คหปติกา ๑.
พระพุทธานุญาติกัปปิยภูมิ ๔ ชนิด
สมัยต่อมา ท่านพระยโสชะอาพาธ ชาวบ้านนำเภสัชมาถวายท่าน
ภิกษุทั้งหลายให้เก็บเภสัชเหล่านั้นไว้ข้างนอก สัตว์กินเสียบ้าง ขโมยลักไป
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 138
เสียบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้สถานที่
กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสถานที่กัปปิยภูมิ ๔ ชนิดคือ อุสสาว-
นันติกา ๑ โคนิสาทิกา ๑ คหปติกา ๑ สมมติกา ๑.
เรื่องเมณฑกะคหบดี
[๘๓] ก็โดยสมัยนั้นแล เมณฑกะคหบดีตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนคร
ภัททิยะ ท่านมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ ท่านสระเกล้า แล้วให้กวาดฉาง
ข้าวนุ่งอยู่นอกประตู ท่อธารข้าวเปลือกตกจากอากาศเต็มฉาง ภริยามีอิทธานุ-
ภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุน้ำหนึ่งอาฬหกใบเดียว
เท่านั้น และหม้อแกงหม้อหนึ่ง เลี้ยงอาหารแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร
อาหารนั้นไม่หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ บุตรมีอิทธานุภาพเห็น
ปานฉะนี้ คือ เขาถือถุงจุเงินพันหนึ่ง ถุงเดียวเท่านั้น แล้วแจกเบี้ยหวัดกลางปี
แก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร เงินนั้นไม่หมดสิ้น ตลอดเวลาที่ถุงเงินยังอยู่
ในมือของเขา สะใภ้มีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระเฌอจุข้าว
๔ ทะนานใบเดียวเท่านั้น แล้วแจกข้าวกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร
ข้าวนั้นมิได้หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ ทาสมีอิทธานุภาพเห็น
ปานฉะนี้ คือเมือเขาไถนาด้วยไถคันเดียว มีรอยไถถึง ๗ รอย.
พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชได้ทรงสดับข่าวว่า เมณฑกะคหบดี
ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนครภัททิยะแคว้นของพระองค์ เธอมีอิทธานุภาพเห็น
ปานฉะนี้ คือ เธอสระเกล้าแล้วให้กวาดฉางข้าว นั่งอยู่นอกประตู ท่อธาร
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 139
ข้าวเปลือกตกจากอากาศเต็มฉาง ภริยามีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่ง
ไกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุน้ำหนึ่งอาฬหกใบเดียวเท่านั้น และหม้อแกงหม้อ
หนึ่ง เลี้ยงอาหารแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร อาหารนั้นไม่หมดสิ้นตลอด
เวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ บุตรมีอิทธานุภาพเห็นปานะนี้ คือ เขาถือถุงจุเงิน
พันเหนึ่งถุงเดียวเท่านั้นแล้วแจกเบี้ยหวัดกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร
เงินนั้นไม่หมดสิ้น ตลอดเวลาที่ถุงเงินยังอยู่ในมือของเขา สะใภ้มีอิทธานุ-
ภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระเฌอจุข้าว ๔ ทะนานใบเดียวเท่านั้น แล้ว
แจกข้าวกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร ข้าวนั้นมิได้หมดสิ้นตลอดเวลา
ที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ ทาสมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เมื่อเขาไถนาด้วย
ไถคันเดียว มีรอยไถถึง ๗ รอย.
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ตรัสเรียกมหา-
อำมาตย์ผู้สำเร็จราชการมารับสั่งว่า ข่าวว่าเมณฑกะคหบดีตั้งบ้านเรือนอยู่ใน
พระนครภัททิยะแคว้นของเรา เธอมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เธอสระ
เกล้าแล้วให้กวาดฉางข้าวนั่งอยู่นอกประตู ต่อธารข้าวเปลือกตกจากอากาศเต็ม
ฉาง ภริยามีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุ
น้ำหนึ่งอาฬหกใบเดียวเท่านั้น และหม้อแกงใบหนึ่ง เลี้ยงอาหารแก่บุรุษที่
เป็นทาสและกรรมกร อาหารนั้นไม่หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่
บุตรมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เขาถือถุงจุเงินพันหนึ่งถุงเดียวเท่านั้น แล้ว
แจกเบี้ยหวัดกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกรเงินนั้นไม่หมดสิ้นตลอดเวลา
ที่ถุงเงินยังอยู่ในมือของเขา สะใภ้มีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้
กระเฌอจุข้าว ๔ ทะนานใบเดียวเท่านั้น แล้วแจกข้าวกลางปีแก่บุรุษที่เป็น
ทาสและกรรมกร ข้าวนั้นมิได้หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลูกไปจากที่ ทาส
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 140
มีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เมื่อเขาไถนาด้วยไถคันเดียว มีรอยไถถึง ๗ รอย
พนาย เธอจงไปดูให้รู้เห็นเหมือนอย่างเราได้เห็นด้วยตนเอง.
ท่านมหาอำมาตย์รับพระบรมราชโองการของพระเจ้าพิมพิสารจอม-
เสนามาคธราชว่า เป็นดังพระราชประสงค์ พระพุทธเจ้าข้า แล้วพร้อมด้วย
เสนา ๔ เหล่า เดินทางไปยังภัททิยนคร บทจรไปโดยลำดับจนถึงเมืองภัททิยะ
เข้าไปหาเมณฑกะคหบดี ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะเมณฑกะคหบดีว่า ท่าน
คหบดี ความจริงข้าพเจ้ามาโดยมีพระบรมราชโองการว่า พนาย ข่าวว่าเมณฑกะ
คหบดีตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนครภัททิยะแคว้นของเรา ครอบครัวของเธอมี
อิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เธอสระเกล้าแล้วให้กวาดฉางข้าว นั่งอยู่นอก
ประตู ท่อธารข้าวเปลือกตกจากอากาศเต็มฉาง ภริยามีอิทธานุภาพเห็นปาน
ฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุน้ำหนึ่งอาฬหกใบเดียวเท่านั้น และ
หม้อแกงหม้อหนึ่ง เลี้ยงอาหารแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร อาหารนั้นไม่
หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ บุตรมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ
เขาถือถุงจุเงินพันหนึ่งถุงเดียวเท่านั้น แล้วแจกเบี้ยหวัดกลางปีแก่บุรุษที่เป็น
ทาสและกรรมกร เงินนั้นไม่หมดสิ้นตลอดเวลาที่ถึงเงินยังอยู่ในมือของเขา
สะใภ้มีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระเฌอจุข้าว ๘ ทะนานใบ
เดียวเท่านั้น และแจกข้าวกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร ข้าวนั้นมิได้
หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ ทาสมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ
เมื่อเขาไถนาด้วยไถคันเดียว มีรอยไถถึง ๗ รอย พนาย เธอจงไปดูให้รู้เห็น
เหมือนอย่างเรา ได้เห็นด้วยตนเอง ท่านคหบดี ข้าพเจ้าขอชมอิทธานุภาพ
ของท่าน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 141
เมณฑกะคหบดีจึงสระเกล้าแล้ว ให้กวาดฉางข้าว นั่งอยู่นอกประตู
ท่อธารข้าวเปลือกตกลงมาจากอากาศเต็มฉาง.
มหาอำมาตย์สรรเสริญว่า ท่านคหบดี อิทธานุภาพของท่าน ข้าพเจ้า
ได้เห็นแล้ว ขอชมอิทธานุภาพของภรรยาท่าน.
เมณฑกะคหบดีสั่งภรรยาในทันใดว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงเลี้ยงอาหาร
แก่เสนา ๔ เหล่า.
ขณะนั้น ภรรยาท่านเมณฑกะคหบดีได้นั่งใกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุ
น้ำหนึ่งอาฬหกใบเดียวเท่านั้น กับหม้อแกงหม้อหนึ่ง แล้วเลี้ยงอาหารแก่เสนา
๔ เหล่า อาหารนั้นมิได้หมดสิ้นไปตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่.
มหาอำมาตย์สรรเสริญว่า ท่านคหบดี อิทธานุภาพของภรรยาท่าน
ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ขอชมอิทธานุภาพของบุตรท่าน.
เมณฑกะคหบดีจึงสั่งบุตรว่า ถ้าเช่นนั้น พ่อจงแจกเบี้ยหวัดกลางปี
แก่เสนา ๔ เหล่า.
ขณะนั้น บุตรของท่านเมณฑกะคหบดีถือถุงจุเงินพันหนึ่ง ถุงเดียว
เท่านั้น แล้วได้แจกเบี้ยหวัดกลางปีแก่เสนา ๔ เหล่า เงินนั้นมิได้หมดสิ้นไป
ตลอดเวลาที่ถุงเงินยังอยู่ในมือของเขา.
ท่านมหาอำมาตย์สรรเสริญว่า ท่านคหบดี อิทธานุภาพของบุตรท่าน
ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ขอชมอิทธานุภาพของสะใภ้ท่าน.
เมณฑกะคหบดีสั่งสะใภ้ทันทีว่า ถ้าเช่นนั้น แม่จงแจกข้าวกลางปีแก่
เสนา ๔ เหล่า.
ขณะนั้น สะใภ้ของเมณฑกะคหบดีได้นั่งใกล้กระเฌอจุข้าว ๔ ทะนาน
ใบเดียวเท่านั้น แล้วได้แจกข้าวกลางปีแก่เสนา ๔ เหล่า ข้าวนั้นมิได้หมดสิ้น
ไปตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 142
มหาอำมาตย์สรรเสริญว่า ท่านคหบดี อิทธานุภาพของสะใภ้ท่าน
ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ขอชมอิทธานุภาพของทาสท่าน.
เมณ. อิทธานุภาพของทาสข้าพเจ้า ท่านต้องชมที่นา ขอรับ.
ม. ไม่ต้องละท่านคหบดี แม้อิทธานุภาพของทาสท่าน ก็เป็นอัน
ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ครั้นเสร็จราชการนั้นแล้ว ท่านมหาอำมาตย์นั้นพร้อม
ด้วยเสนา ๔ เหล่า ก็เดินทางกลับพระนครราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมิมสาร
จอมเสนามาคธราช กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบทุกประการ.
[๘๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครเวสาลีตาม
พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางพระนครภัททิยะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่
ใหญ่ ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จจาริกโดยลำดับ ได้เสด็จถึงพระนครภัททิยะ
แล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน เขตพระนครภัททิยะนั้น.
พระพุทธคุณ
เมณฑกะคหบดีได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ พระสมณะโคดม
ศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จโดยลำดับถึงพระนครภัททิยะ
ประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน เขตพระนครภัททิยะ ก็พระกิตติศัพท์อันงามของ
ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนนี้ ๆ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงบรรลุ
วิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของทวยเทพและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น
ผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 143
ทั้งสมณะพราหมณ์ ทวยเทพและมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้ง
พยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น
เป็นความดี.
หลังจากนั้น เมณฑกะคหบดีให้จัดแจงยวดยานที่งาม ๆ แล้วขึ้นสู่ยวด
ยานที่งาม ๆ มียวดยานที่งาม ๆ หลายคันแล่นออกจากพระนครภัททิยะไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พวกเดียรถีย์เป็นอันมาก ได้เห็นเมณฑกะคหบดีกำลังมาแต่ไกลเทียว
ครั้นแล้วได้ทักถามเมณฑกะคหบดีว่า ท่านคหบดี ท่านจะไปที่ไหน ?
เมณ. ข้าพเจ้าจะไปเฝ้าพระสมณโคดม เจ้าข้า.
ค. คหบดี ก็ท่านเป็นกิริยวาท จะไปเฝ้าสมณโคดมผู้เป็นอกิริยวาท
ทำไม เพราะพระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท แสดงธรรมเพื่อความไม่ทำ และ
แนะนำสาวกตามแนวนั้น.
ลำดับนั้น เมณฑกะคหบดีคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
จักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้ไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้น เดียรถีย์
พวกนี้จึงพากันริษยา แล้วไปด้วยยวดยานตลอดภูมิภาคที่ยวดยานจะไปได้ ลง
จากยวดยานแล้ว เดินเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง
อยู่ ณ ที่ควรส่วนช้างหนึ่ง.
ทรงแสดงธรรมโปรด
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่เมณฑกะคหบดี ผู้นั่ง
อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 144
ซึ่งโทษแห่งกามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และอานิสงส์ในความออกจากกาม
ขณะเมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ท่านเมณฑกะคหบดีมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน
มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศ
พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
ได้เกิดแก่ท่านเมณฑกะคหบดี ณ สถานที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด
ขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมคา ดุจผ้าที่สะอาดปราศจาก
มลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น.
แสงตนเป็นอุบาสก
ครั้นเมณฑกะคหบดีเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแจ่มแจ้ง
แล้ว หยังลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความ
สงสัยถึงความเป็นผู้องอาจ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบ
ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธ-
เจ้าข้า ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศ
ธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่
ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยประสงค์ว่า คน
มีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็น
อุบายสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอพระองค์พร้อม
กับภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญ
บุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวัน พรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 145
ภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยดุษณีภาพ ครั้นเมณฑกะคหบดีทราบการรับ
อาราธนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมทำประทักษิณ
กลับไปแล้วสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้
เจ้าหน้าที่ไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธ
เจ้าข้า ภัตาหารเสร็จแล้ว.
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระ ๆ ภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร
เสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทางนิเวศน์ของเมณฑกะคหบดี ครั้นถึงแล้วประทับ
นั่งเหนือพุทธอาสน์ที่จัดไว้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.
ขณะนั้น ภรรยา บุตร สะใภ้ และทาส ของเมณฑกะคหบดีได้
เช้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่เขาทั้งหลาย คือ ทรงประกาศทานกถา
สีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่งกามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และอานิสงส์
ในความออกจากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ชนเหล่านั้นมีจิตคล่อง มีจิต
อ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศ
พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
ได้เกิดแก่เขาทั้งหลาย ณ สถานที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน
ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น.
ครั้นชนเหล่านั้นเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแจ่มแจ้ง
แล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความ
สงสัยแล้ว ถึงความเป็นผู้องอาจ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 146
ได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระพุทธเจ้าข้า ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรง
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของคว่ำ เปิด
ของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยประสงค์ว่า
คนมีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเหล่านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายว่า เป็นอุบาสกอุบาสิกาผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
ครั้นเมณฑกะคหบดีอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วย
ขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตนจนยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวย
เสร็จทรงนำพระหัตถ์จากบาตรให้ห้ามภัตแล้วจึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ได้กราบทูลปวารณาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ตราบใดที่พระองค์ยังประทับอยู่
ณ พระนครภัททิยะ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายภัตตาหารเป็นประจำแก่ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จ
กลับไป.
เมณฑกะคหบดีอังคาสพระสงฆ์
[๘๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครภัททิยะตาม
พระพุทธาภิรมย์แล้ว ไม่ได้ทรงลาเมณฑกะคหบดี เสด็จพระพุทธดำเนินไปทาง
ชนบทอังคุตตราปะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เมณฑกะ
คหบดีได้ทราบข่าวแน่ชัดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินไปทาง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 147
ชนบทอังคุตตราปะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป จึงสั่งทาส
และกรรมกรว่า พนายทั้งหลาย ถ้ากระนั้น พวกเจ้าจงบรรทุกเกลือบ้าง น้ำมัน
บ้าง ข้าวสารบ้าง ของขบฉันบ้าง ลงในเกวียนให้มาก ๆ และคนเลี้ยงโค
๑,๒๕๐ คน จงพาแม่โคนม ๑,๒๕๐ ตัว มาด้วย เราจักเลี้ยงพระสงฆ์ด้วย
น้ำนมสดอันรีดใหม่ที่มีน้ำนมยังอุ่น ๆ ณ สถานที่ ๆ เราได้พบพระผู้มี
พระภาคเจ้า ครั้นเมณฑกะคหบดีตามไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ระหว่างทาง
กันดาร จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วได้กราบทูลอาราธนาว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับ
ภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญ
บุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ
อาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นเมณฑกะคหบดี ทราบการทรงรับอาราธนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมทำประทักษิณกลับไปแล้วสั่ง
ให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต โดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้คนไปกราบ
ทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหาร
เสร็จแล้ว.
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตร
จีวรเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าสถานที่อังคาสของเมณฑกะคหบดี ครั้นแล้ว
ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เมณฑกะ
คหบดีจึงสั่งคนเลี้ยงโค ๑,๒๕๐ คนว่า พนายทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นจงช่วยกัน
จับแม่โคนมคนละตัวแล้วยืนใกล้ ๆ ภิกษุรูปละคน ๆ เราจักเลี้ยงพระด้วย
น้ำนมสดอันรีดใหม่ที่มีน้ำยังอุ่น ๆ ครั้นแล้วได้อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต และด้วยน้ำนมสดอันรีดใหม่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 148
ด้วยมือของตน จนให้ห้ามภัตแล้ว ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยอมรับประเคน
น้ำนมสด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงรับประเคน
ฉันเถิด.
เมื่อเมณฑกะคหบดีอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วย
ขาทนียโภชนียาหารอันประณีต และด้วยน้ำนมสดรีดใหม่ด้วยมือของตนจนยัง
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จ ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตแล้ว
ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมณฑกะคหบดีนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า หนทาง
กันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย
ขอประทานพระวโรกาสขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตเสบียงเดินทางแก่ภิกษุทั้ง-
หลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า
เมณฑกานุญาต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จ
กลับไป หลังจากนั้นพระองค์ทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยข้น เนยใส
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย หนทางกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุ
ไม่มีเสบียงจะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย เราอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้คือ
ภิกษุต้องการข้าวสาร พึงแสวงหาข้าวสาร ต้องการถั่วเขียว พึงแสวงหาถั่วเขียว
ต้องการถั่วราชมาส พึงแสวงหาถั่วราชมาส ต้องการเกลือ พึงแสวงหาเกลือ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 149
ต้องการน้ำอ้อย พึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมัน พึงแสวงหาน้ำมัน ต้อง
การเนยใส ก็พึงแสวงหาเนยใส.
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้
ในมือกัปปิยการกสั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วย
กัปปิยภัณฑ์นี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิย-
ภันฑ์นั้นไว้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยาย
ไร ๆ เลย.
เรื่องเกณิยชฏิล
[๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะ
ทางโดยลำลับ เสด็จถึงอาปณนิคมแล้ว เกณิยชฎิลได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่าน
ผู้เจริญ พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จโดยลำดับ
ถึงอาปณนิคมแล้ว ก็พระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคตมพระองค์นั้น
ขจรไปแล้ว อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรง
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงบรรลุวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของ
ทวยเทพและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำ
โลกนี้พรอ้มทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง
ของพระองค์เอง แล้วทรงสั่งสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ ทวยเทพ
และมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง
การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 150
หลังจากนั้น เกณิยชฎิลได้ดำริว่า เราจะให้นำอะไรไปถวายพระสมณ-
โคดมดีหนอ จึงได้ดำริต่อไปว่า บรรดาฤษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์
คือ ฤษีอัฎฐกะ ฤษีวามกะ ฤษีวามเทวะ ฤษีเวสสามิตตะ ฤษียมตัคคิ ฤษี
อังคีรสะ ฤษีภารทวาชะ ฤษีวาเสฏฐะ ฤษีกัสสปะ ฤษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์
บอกมนต์มาก่อนพวกพราหมณ์ในบัดนี้ ขับตามกล่าวตามซึ่งบทมนต์ของเก่านี้
ที่ท่านขับแล้วบอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้องตามที่
กล่าวไว้บอกไว้ เป็นผู้เว้นฉันในราตรี งดฉันในเวลาวิกาล ฤษีเหล่านั้นได้ยินดี
น้ำปานะเห็นปานนี้ แม้พระสมณโคดมก็เว้นฉันในราตรี งดฉันในเวลาวิกาล
ก็ควรจะยินดีน้ำปานะเห็นปานนี้บ้าง แล้วสั่งให้ตกแต่งน้ำปานะเป็นอันมาก ให้
คนหาบไปถึงพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นผ่านการกราบทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ขอท่านพระโคดมโปรดทรงรับน้ำปานะของ ข้าพระพุทธเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เกณิยะ ถ้าเช่นนั้นจงถวายแก่ภิกษุทั้งลาย
ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยอมรับประเคน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงขอรับประเคนฉันเถิด ครั้งนั้นเกณิยชฎิลได้อังคาส
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุช ด้วยน้ำปานะเป็นอันมากด้วยมือของตน
ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ล้างพระหัตถ์ จนนำพระหัตถ์จากบาตรให้ห้ามภัตแล้ว
ได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงชี้แจงให้เกณิยชฎิลผู้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 151
ครั้งนั้น เกณิยชฎิลอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมา-
ทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรงพระกรุณาโปรดจง
รับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าเพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้
ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนว่า เกณิยะ ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป
และท่านก็เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่พราหมณ์.
เกณิยชฎิล ได้ทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นคำรบสองว่า แม้
ภิกษุสงฆ์จะมีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป และข้าพระพุทธเจ้าได้เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่
พราหมณ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรง
พระกรุณาโปรดจงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติ-
ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนเกณิยะว่า ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป
และท่านก็เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่พราหมณ์.
เกณิยชฎิล ก็ได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นคำรบ ๓ ว่า
แม้ภิกษุสงฆ์จะมีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป และ.ข้าพระพุทธเจ้าได้เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่
พราหมณ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรง
พระกรุณาโปรดจงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติ
ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้น เกณิยชฎิล
ทราบอาการรับอาราธนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่งกลับไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 152
พระพุทธานุญาติน้ำอัฏฐบาน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิดคือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑ น้ำ
ปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผล
กล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะซาง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือ
องุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ด
ข้าวเปลือก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอก
มะซาง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.
ครั้งนั้น เกณิยชฎิลสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต ณ อาศรม
ของตนโดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่าถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดมภัตตาหารเสร็จแล้ว ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนิน
ไปทางอาศรมของเกณิยชฎิล ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่
เขาจัดถวาย พร้อมกับภิกษุสงฆ์ เกณิยชฎิลจึงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุข ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยมือของตน ยังพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จ จนนำพระหัตถ์จากบาตร ให้ห้ามภัตแล้ว ได้นั่งอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 153
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงอนุโมทนาเกณิยชฎิลด้วยคาถาเหล่านี้ ว่า
ดังนี้:-
[๘๗] ยัญทั้งหลายมีการบูชาไฟเป็น
หัวหน้า สาวิตติฉันท์เป็นยอดของฉันท-
ศาสตร์ พระมหาราชเจ้าเป็นประมุขของ-
มนุษยนิกร สมุทรสาครเป็นประธานของ
แม่น้ำทั้งหลาย ดวงจันทร์ใหญ่กว่าดวงดาว
นักษัตรในอากาศ ดวงภาณุมาศใหญ่กว่า
บรรดาสิ่งของที่มีแสงร้อนทั้งหลาย ฉันใด
พระสงฆ์ ย่อมเป็นใหญ่สำหรับทายกผู้หวัง
บุญบำเพ็ญทานอยู่ฉันนั้น .
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาเกณิยชฎิล ด้วยคาถาเหล่านั้น
แล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.
เตรียมการต้อนรับพระพุทธเจ้า
[๘๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อาปณนิคมคาม
พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกไปทางพระนครกุสินารา พร้อมด้วยภิกษุ
หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป.
พวกมัลลกษัตริย์ชาวพระนครกุสินารา ได้ทรงทราบข่าวแน่ถนัดว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาพระนครกุสินารา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป มัลลกษัตริย์เหล่านั้นได้ตั้งกติกาไว้ว่า ผู้ใดไม่ต้อนรับ
เสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จะต้องถูกปรับสินไหมเป็นเงิน ๕๐๐ กษาปณ์ สมัย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 154
นั้น โรชะมัลลกษัตริย์เป็นพระสหายของพระอานนท์ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครกุสินาราแล้ว พวกมัลลกษัตริย์ชาวพระนคร
กุสินาราได้จัดการต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์
รับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พักทรงอภิวาท
แล้วประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ท่านพระอานนท์ได้ปราศรัยกะโรชะมัลลกษัตริย์ผู้ประทับยืน ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่งว่า ท่านโรชะ การรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของท่านโอฬารแท้.
โรชะมัลลกษัตริย์ตรัสว่า พระคุณเจ้าอานนท์ พระพุทธเจ้าก็ดี พระ
ธรรมก็ดี พระสงฆ์ก็ดี ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าใหญ่โต พวกญาติต่างหากได้ตั้ง
กติกาไว้ว่า ผู้ไม่ต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จะต้องถูกปรับสินไหม
เป็นเงิน ๕๐๐ กษาปณ์ ข้าพเจ้านั้นแลได้ต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเช่น
นี้เพราะกลัวพวกญาติปรับสินไหม.
ทันใดท่านพระอานนท์แสดงความไม่พอใจว่า ไฉน โรชะมัลลกษัตริย์
จึงได้ตรัสอย่างนี้ แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม นั่งเฝ้าอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคะเจ้าว่า พระพุทธ-
เจ้าข้า โรชะมัลลกษัตริย์ผู้นี้ เป็นคนมีชื่อเสียง มีคนรู้จักมาก และความ
เลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ ของคนที่มีผู้รู้จักมากเช่นนี้ มีอิทธิพลมากนัก
ขอประทานพระวโรกาสขอพระองค์ทรงกรุณาโปรดบันดาลให้โรชะมัลลกษัตริย์
เลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ การที่จะบันดาลให้โรชะ-
มัลลกษัตริย์เลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้นั้น ตถาคตทำได้ไม่ยากเลย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 155
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่เมตตาจิตไปยังโรชะมัลลกษัตริย์
แล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จเข้าพระวิหาร ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์ อันพระ-
เมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกต้องแล้ว ได้เที่ยวค้นหาตามวิหาร ตาม
บริเวณทั่วทุกแห่งดุจโคแน่ลูกอ่อน แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า
เวลานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับ อยู่
ที่ไหน เพราะข้าพเจ้าใคร่จะเฝ้าพระองค์
ภิกษุทั้งหลายถวายพระพรว่า ท่านโรชะ พระวิหารนั่นเขาปิดพระ-
ทวารเสียแล้ว ขอท่านโปรดสงบเสียง เสด็จเข้าไปทางพระวิหารนั้น ต่อย ๆ
ย่องเข้าไปที่หน้ามุข ทรงกระแอมแล้วทรงเคาะพระทวารเถิด พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจักทรงเปิดพระทวารรับท่าน ถวายพระพร.
โรชะมัลลกษัตริย์ได้ธรรมจักษุ
ขณะนั้น โรชะมัลลกษัตริย์ทรงสงบเสียง เสด็จเข้าไปทางพระวิหาร
ซึ่งปิดพระทวารเสียแล้วนั้น ค่อย ๆ ย่องเข้าไปที่หน้ามุข ทรงกระแอมแล้ว
เคาะบานพระทวาร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดพระทวารรับ จึงโรชะมัลล-
กษัตริย์เสด็จเข้าพระวิหาร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่งเฝ้า
อยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่โรชะ-
มัลลกษัตริย์ คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่ง
กามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และอานิสงส์ในความออกจากกาม ขณะเมื่อ
พระองค์ทรงทราบว่าโรชะมัลลกษัตริย์มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจาก
นิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 156
ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้บังเกิดแก่โรชะมัลลกษัตริย์
ณ สถานที่ประทับนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย่อม
ด้วยดี ฉะนั้น โรชะมัลลกษัตริย์ได้ทรงเห็นธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้ง
ได้หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย
ถึงความเป็นผู้องอาจ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำ
น้ำแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าขอประทานพระวโรกาส ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย
โปรดรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของข้า
พระพุทธเจ้าผู้เดียว อย่ารับของตนอื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโรชะ แม้อริยบุคคลผู้ได้เห็นธรรม
แล้วด้วยญาณของพระเสขะ ด้วยทัสสนะของพระเสขะเหมือนอย่างท่าน ก็คงมี
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอ พระคุเนเจ้าทั้งหลายคงกรุณารับจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของพวกเราเท่านั้น คงไม่รับของผู้อื่นเป็น
แน่ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจักรับปัจจัยของท่านด้วย ของตนอื่นด้วย.
ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนทั้งหลายได้จัดตั้งลำดับภัตตาหารอันประ-
ณีตไว้ที่นครกุสินารา ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์ไม่ได้ลำดับที่จะถวายภัตตาหารจึง
ได้ทรงดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงตรวจดูโรงอาหาร สิ่งใดไม่มีในโรงอาหาร
เราพึงตกแต่งสิ่งนั้นถวาย ครั้นแล้วทรงตรวจดูในโรงอาหาร ไม่ทอดพระเนตร
เห็นของ ๒ อย่าง คือผักสด ๑ ของขบฉันที่ทำด้วยแป้ง ๑ จึงเสด็จเข้าไปหา
ท่านพระอานนท์ ครั้นแล้วได้ทูลหารือว่า ท่านพระอานนท์เจ้าข้า เมื่อข้าพเจ้า
ไม่ได้ลำดับที่จะถวายภัตตาหาร ณ สถานที่แห่งนี้ ได้มีความดำริว่า ไฉนหนอ
เราะพึงตรวจดูโรงอาหาร สิ่งใดไม่มีในโรงอาหาร เราพึงตกแต่งสิ่งนั้นถวาย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 157
ท่านพระอานนท์เจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นเมื่อตรวจดูโรงอาหาร ไม่ได้เห็นของ ๒
อย่าง คือ ผักสด ๑ ของขบฉันที่ทำด้วยแป้ง ๑ หากข้าพเจ้าพึงตกแต่งผักสด
และของขบฉันที่ทำด้วยแป้งถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงรับของข้าพเจ้า
หรือไม่ เจ้าข้า.
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า ท่านโรชะ ถ้ากระนั้นอาตมาจะทูล
ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดู แล้วได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ ถ้าเช่นนั้นจงให้เขาตกแต่งเถิด.
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า ท่านโรชะ ถ้ากระนั้น ท่านจงตกแต่ง
ถวาย.
โรชะมัลลกษัตริย์ จึงสั่งให้ตกแต่งผักสดและของขบเคี้ยวที่ทำด้วยแป้ง
เป็นอันมาก โดยผ่านราตรีนั้นแล้ว น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพลาง
กราบทูลว่าขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงโปรดรับผักสด และของขบฉันที่ทำด้วย
แป้ง ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโรชะ ถ้าเช่นนั้น จงถวายภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่รับประเคน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด ขณะนั้น โรชะมัลลกษัตริย์
ทรงอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยผักสด และของขบฉันที่
ทำด้วยแป้งมากมาย ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ล้าง
พระหัตถ์แล้ว จนทรงนำพระหัตถ์จากบาตร ให้ห้ามภัตแล้ว ได้ประทับเฝ้า
อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้โรชะมัลลกษัตริย์
ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ทรงเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 158
พระพุทธนุญาติผักและแป้ง
ภายหลังพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาแล้ว ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผักสดทุกชนิด และของขบที่ทำด้วยแป้ง
ทุกชนิด.
เรื่องวุฑฒบรรพชิต
[๘๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระนครกุสินารา
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินสู่อาตุมานครพร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป สมัยนั้นมีภิกษุบวชภายแก่รูปหนึ่ง เคย
เป็นช่างกัลบก อาศัยอยู่ในอาตุมานคร เธอมีบุตรชายสองคน เป็นเด็กพูดจา
อ่อนหวาน มีไหวพริบดี ขยัน แข็งแรง มีฝีมือยอดเยี่ยมในการช่างกัลบก
ของตนดีเท่าอาจารย์ เธอได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาสู่
อาตุมานคร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป ครั้นแล้วได้แจ้ง
ความประสงค์อันนั้นแก่บุตรทั้งสองนั้นว่า พ่อทั้งหลาย ข่าวว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ากำลังเสด็จสู่อาตุมานคร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐
ไปเถิด พ่อทั้งสอง จงถือเครื่องมือตัดผมและโกนผมกับทะนานและถุง เที่ยว
ไปตัดและโกนผม ตามบ้านเรือนทุกแห่ง แลกเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสาร
บ้าง ของขบฉันบ้าง พ่อจักทำยาคูที่ดื่มได้ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จมา
ถึงแล้ว.
บุตรชายทั้งสองรับคำสั่งของหลวงพ่อว่า จะปฏิบัติเช่นนั้น แล้วถือ
เครื่องมือตัดผมโกนผมกับทะนานและถุง เที่ยวไปตัดและโกนผมตามบ้านเรือน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 159
ทุกแห่ง แลกเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของขบฉันบ้าง ชาวบ้าน
เห็นเด็กสองคนนั้น พูดจาอ่อนหวาน มีไหวพริบดี แม้ผู้ที่ไม่ประสงค์จะให้
ตัดและโกนผม ก็ให้ตัดให้โกนผม ถึงให้ตัดให้โกนผมแล้ว ก็ให้ค่าแรงมาก
เป็นอันว่าเด็กทั้งสองคนนั้น เก็บรวบรวมเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง
ของขบฉันบ้าง ได้เป็นอันมาก.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ เสด็จถึงอาตุมานครแล้ว
ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่ภูสาคารเขตอาตุมานครนั้น พระขรัวคานั้น
จึงสั่งให้คนตกแต่งข้าวยาคูเป็นอันมากโดยผ่านราตรีนั้นแล้ว น้อมถวายพระผู้มี-
พระภาคเจ้า กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงโปรดรับ
ข้าวยาคูของข้าพระพุทธเจ้า.
พุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ย่อม
ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม
พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัด
ด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วย
อาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่าง ๑ จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
พระสาวกทั้งหลายอย่าง ๑.
ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามพระขรัวตานั้นว่า ดูก่อน
ภิกษุ ข้าวยาคูนี้เธอได้มาจากไหน พระขรัวตาจึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ
ทุกประการ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 160
ห้ามภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกเก็บรักษามีดโกน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของ
เธอนั้นไม่เหมะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
ไฉนเธอบวชแล้วจึงได้ชักจูงทายกในส่งอันไม่ควรเล่า การกระทำของเธอนั้น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . . ครั้นแล้ว ทรงทำ
ธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่พึง
ชักจูงทายกในสิ่งอันไม่ควร รูปใดชักจูง ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบก ไม่พึงเก็บรักษา
เครื่องตัดโกนผมไว้สำหรับตัว รูปใดเก็บรักษาไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตผลไม้
[ ๙๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อาตุมานครตามพระ-
พุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพุทธดำเนินไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกโดย
ลำดับ ถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น เวลานั้น ของขบฉันคือ
ผลไม้ในนครสาวัตถีมีดาษดื่นมาก ภิกษุทั้งหลายจึงได้มีความสงสัยว่า ของขบ
ฉันคือผลไม้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วหรือมีได้ทรงอนุญาต แล้ว
ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผลไม้
ทุกชนิด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 161
พืชของสงฆ์และของบุคคล
[ ๙๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พืชของสงฆ์เขาเพาะปลูกในที่ของบุคคล
พืชของบุคคลเขาเพาะปลูกในที่ของสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืช
ของสงฆ์ที่เพาะปลูกในที่ของบุคคล พึงให้ส่วนแบ่ง แล้วบริโภค พืชของ
บุคคลที่เพาะปลูกในที่ของสงฆ์ พึงให้ส่วนแบ่ง แล้วบริโภค.
พระพุทธานุญาตมหาประเทศ ๔
[๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระบัญญัติ
บางสิ่งบางอย่างว่า สิ่งใดหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ สิ่งใดไม่
ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระมีพระภาคเจ้า.
วัตถุเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง ๘ ข้อ ดังต่อไปนี้.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หาก
สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้น ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร
หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร
หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร
หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 162
พระพุทธานุญาตกาลิกระคน
[๙๓] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ยามกาลิกระคน
กับยาวกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิก ควรหรือ
ไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับยาวกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ สัตตาหกาลิก-
ระคนกับยามกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับยามกาลิก ควร
หรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดังนี้.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยามกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนใน
วันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล.
๒. สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรใน
กาล ไม่ควรในวิกาล.
๓. ยาวชีวิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล
ไม่ควรในวิกาล.
๔. สัตตาหกาลิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่ว
ยาม ล่วงยามแล้วไม่ควร.
๕. ยาวชีวิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่วยาม
ล่วงยามแล้วไม่ควร.
๖. ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรตลอด
๗ วัน ล่วง ๗ วันแล้วไม่ควร.
เภสัชชขันธกะที่ ๖ จบ
ในขันธกะนี้มี ๑๐๖ เรื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 163
หัวข้อประจำขันธกะ
[๙๓] ๑. เรื่องอาพาธที่เกิดชุมในฤดูสารท ๒. เรื่องฉันเภสัชนอก
กาล ๓. เรื่องน้ำมันเปลวสัตว์เป็นยา ๔. เรื่องรากไม้ที่เป็นตัวยา ๕. เรื่อง
รากไม้ทำยาผง ๖. เรื่องน้ำฝาด ๗. เรื่องใบไม้ ๘. เรื่องผลไม้ ๙. เรื่อง
ยางไม้ ๑๐. เรื่องเกลือ ๑๑. เรื่องมูลโค ๑๒. เรื่องยาผงและวัตถุเครื่อง
ร่อนยา ๑๓. เรื่องเนื้อดิบเลือดสด ๑๔. เรื่องยาตา ๑๕. เรื่องเครื่องยา
ผสมกับยาตา ๑๖. เรื่องกลักยาตาชนิดต่าง ๆ และกลักยาตาไม่มีฝาปิด ๑๗.
เรื่องไม้ป้ายยาตา ๑๘. เรื่องภาชนะเก็บไม้ป้ายยาตา ถุงกลักยาตา และเชือก
ผูกเป็นสายสะพาย ๑๙. เรื่องน้ำมันหุงทาศีรษะ ๒๐. เรื่องการนัตถุ์
๒๑. เรื่องกล้องนัตถุ์ยา ๒๒. เรื่องสูดควัน กล้องสูดควัน ฝาปิดกล้องสูด
ควัน ๒๓. เรื่องถุงเก็บกล้องสูดควัน ๒๔. เรื่องน้ำมันหุง ๒๕. เรื่องน้ำ
เมาที่ผสมในน้ำมันที่หุง ๒๖. เรื่องน้ำมันเจือน้ำเมามาก ๒๗. เรื่องน้ำมัน
เจือน้ำเมามากใช้เป็นยาทา ๒๘. เรื่องลักจั่น ๒๙. เรื่องเข้ากระโจม
๓๐. เรื่องรมด้วยใบไม้ต่าง ๆ ๓๑. เรื่องการรมใหญ่และเอาใบไม้มาต้มรม
๓๒. เรื่องอ่างน้ำ ๓๓. เรื่องระบายเลือดออก ๓๔. เรื่องกอกโลหิตด้วยเขา
๓๕. เรื่องยาทาเท้า ๓๖. เรื่องปรุงน้ำมันทาเท้า ๓๗. เรื่องผ่าฝี ๓๘. เรื่อง
ชะแผลด้วยน้ำฝาด ๓๙. เรื่องงาที่บดแล้ว ๔๐. เรื่องยาพอกแผล ๔๑. เรื่อง
ผ้าพันแผล ๔๒. เรื่องชะแผลด้วยน้ำแป้งพันธุ์ผักกาด ๔๓. เรื่องรมแผล
ด้วยควัน ๔๔. เรื่องตัดเนื้องอกด้วยก้อนเกลือ ๔๕. เรื่องน้ำมันทาแผล
๔๖. เรื่องผ้าปิดกันน้ำมันเยิ้ม ๔๗. เรื่องยามหาวิกัฏ ๔๘. เรื่องรับประเคน
๔๙. เรื่องดื่มน้ำเจือคูถและหยิบคูถเมื่อกำลังถ่าย ๕๐. เรื่องดื่มน้ำที่ละลายจาก
ดินติดผาลไถ ๕๑. เรื่องดื่มน้ำด่างอามิส ๕๒. เรื่องดื่มน้ำสมอดองมูตร
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 164
๕๓. เรื่องทาของหอม ๕๔. เรื่องดื่มยาถ่าย ๕๕. เรื่องน้ำข้าวใส ๕๖. เรื่อง
น้ำถั่วเขียวต้มที่ไม่ข้น ๕๗. เรื่องน้ำถั่วเขียวที่ข้นนิดหน่อย ๕๘. เรื่องน้ำต้ม
เนื้อ ๕๙. เรื่องชำระเงื้อมเขา และพระราชทานคนทำการวัด ๖๐. เรื่อง
ฉันเภสัชที่เก็บไว้ ๗ วัน ๖๑. เรื่องน้าอ้อย ๖๒. เรื่องถั่วเขียว ๖๓. เรื่อง
ยาดองโลณโสจิรกะ ๖๔. เรื่องอามิสที่หุงต้มเอง ๖๕. เรื่องภัตตาหารที่ต้อง
อุ่น ๖๖. เรื่องให้เก็บที่หุงต้มอามิสในภายในและหุงต้มเอง เมื่อคราวอัตคัด
อาหารต่อไปอีก ๖๗. เรื่องรับประเคนผลไม้ที่เป็นอุคคหิตได้ ๖๘. เรื่อง
ถวายงา ๖๙. เรื่องของขบฉันที่รับประเคนไว้ตอนเช้า ๗๐. เรื่องเป็นไข้
ตัวร้อน ๗๑. เรื่องฉัน ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออก ๗๒. เรื่องริดสีดวงทวาร
๗๓. เรื่องสัคถกรรมและวัตถิกรรม ๗๔. เรื่องอุบาสิกาสุปปิยา ๗๕. เรื่อง
ทรงห้ามฉันเนื้อมนุษย์ ๗๖. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อช้าง ๗๗. เรื่องทรงห้าม
ฉันเนื้อม้า ๗๘. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อสุนัข ๗๙. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้องู
๘๐. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อราชสีห์ ๘๑. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อเสือโคร่ง
๘๒. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อเสือเหลือง ๘๓. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อหมี ๘๔. เรื่อง
ทรงห้ามฉันเนื้อเสือดาว ๘๕. เรื่องคอยโอกาสถวายภัตร และข้าวยาคู
๘๖. เรื่องมหาอำมาตย์เริ่มเลื่อมใส เป็นต้น เหตุให้ทรงห้ามภิกษุรับนิมนต์ไว้
แห่งหนึ่งแล้วไปฉันในที่อื่น ๘๗. เรื่องถวายงา น้ำอ้อย ๘๘. เรื่องทรงรับ
อาคารพักแรม ๘๙. เรื่องมหาอำมาตย์สุนีธะและวัสสการะ ๙๐. เรื่องแม่น้ำ
คงคา ๙๑. เรื่องเสด็จตำบลบ้านโกฏิ ทรงแสดงอริยสัจจกถา ๙๒. เรื่อง
นางอัมพปาลีคณิกา ๙๓. เรื่องเจ้าลิจฉวี ๙๔. เรื่องอุทิสมังสะ ๙๕. เรื่อง
พระนครเวสาลีหาอาหารได้ง่าย ๙๖. เรื่องทรงห้ามอามิสที่เป็นอันโตวุตถะ
เป็นต้นใหม่ ๙๗. เรื่องฝนทั้งเค้า ๙๘. เรื่องพระยโสชะอาพาธ ๙๙. เรื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 165
เมณฑกะคหบดี ถวายปัญจโครสกับเสบียงเดินทาง ๑๐๐. เรื่องเกณิยชฏิลถวาย
น้ำอัฏฐบาน คือ น้ำผลมะม่วง น้ำผลหว้า น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มี
เมล็ด น้ำผลมะชาง น้ำผลจันทน์ น้ำเง่าบัว น้ำผลมะปราง ๑๐๑. เรื่อง
โรชะมัลลกษัตริย์ถวายผักสดและของขบฉันที่สำเร็จด้วยแป้ง ๑๐๒. เรื่องภิกษุ
ช่างกัลบกในเมืองอาตุมา ๑๐๓ เรื่องผลไม้ดาษดื่นในพระนครสาวัตถี
๑๐๔. เรื่องพืช ๑๐๕. เรื่องเกิดสงสัยในพระบัญญัติบางสิ่งบางอย่าง ๑๐๖. เรื่อง
กาลิกระคน.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
อรรถกถาเภสัชชขันธกะ
ว่าด้วยเภสัช
วินิจฉัยในเภสัชชขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า สารทิเกน อาพาเธน ได้แก่ อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน
เกิดขึ้นในสารทกาล๑ จริงอยู่ ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมเปียกด้วยน้ำฝนบ้าง
ย่อมเหยียบย่ำโคลนบ้าง แดดย่อมกล้าในระหว่าง ๆ บ้าง เพราะเหตุนั้น ดีของ
ภิกษุเหล่านั้นย่อมเป็นของซึมเข้าไปในลำใส้.
สองบทว่า อาหารตฺถญฺจ ผเรยฺย มีความว่า วัตถุพึงยังประโยชน์
ด้วยอาหารให้สำเร็จ.
๑ กล่าวตามฤดู ๖ ในตำราแพทย์ ไท, สารทฤต ได้แก่ เดือนสิบเอ็ดกับเดือนสิบสอง และว่า
เป็นไข้เพื่อลม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 166
บทว่า นจฺฉาเทนฺติ มีความว่า ย่อมไม่ยอมไป, คือไม่สามารถจะ
ระงับโรคลมได้
บทว่า สิเนสิกานิ ได้แก่ โภชนะที่สนิท.
บทว่า ภตฺตจฺฉาทเกน คือ ความไม่ย่อมแห่งอาหาร.
ในคำว่า กาเล ปฏิคฺคหิต เป็นต้น มีความว่า รับประเคน เจียว
กรอง ในเมื่อเวลาเที่ยงยังไม่ล่วงเลยไป.
สองบทว่า เตลปริโภเคน ปริภุญฺชิตุ มีความว่า เพื่อบริโภค
อย่างบริโภคน้ำมัน ซึ่งเป็นสัตตาหกาลิก.
บทว่า วจตฺถ ได้แก่ ว่านที่เหลือ.
สองบทว่า นิสท นิสทโปต ได้แก่ ตัวหินบดและลุกหินบด.
ชื่อว่า ปัคควะ นั้น เป็นชาติไม้เถา (ได้แก่บอระเพ็ด).
บทว่า นตฺตมาล ได้แก่ กระถินพิมาน.
วินิจฉัยในบทว่า อจฺฉวส เป็นอาทิ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวใน
อรรถกถาแห่งนิสสัคคิยกัณฑ์๑ นั่นแล.
แม้วินิจฉัยในมูลเภสัชเเป็นต้น ก็ได้กล่าวแล้วในขุททกวรรณน๒
เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น คำใด ๆ ที่ไม่ได้กล่าวแล้วในก่อน ข้าพเจ้าจัก
พรรณนาเฉพาะคำนั้น ๆ ในที่นี้. หิงคุ หิงคุชตุ และหิงคุสิปาฏิกา ก็คือ
ชาตแห่งหิงคุนั่งเอง. ตกะ ตกปัตติ และตกปัณณิยะ ก็คือชาติครั่งนั่นเอง.
เกลือสมุทรนั้น ได้แก่ เกลือที่เกิดตามฝั่งทะเลเหมือนทราย.
ชื่อว่า กาฬโลณะ นั้น ได้แก่ เกลือตามปกติ.
เกลือสินเธาว์นั้น ได้แก่ เกลือมีสีชาว เกิดตามภูเขา.
๑. สมนฺต. ทุติย. ๒๕๕. ๒. สมนฺต. ทุติย. ๔๑๓.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 167
ชื่อว่า อุพภิทะ นั้น ได้แก่ เกลือที่เป็นหน่อขึ้นจากแผ่นดิน.
ชื่อว่า พิละ นั้น ได้แก่ เกลือที่เขาหุงกับเครื่องปรุงทุกอย่าง เกลือ
นั้นแดง.
บทว่า ฉกน ได้แก่ โคมัย.
สองบทว่า กาโย วา ทุคฺคนฺโธ มีความว่า กลิ่นตัวของภิกษุ
บางรูป เหมือนกลิ่นตัวแห่งสัตว์มีม้าเป็นต้น จุรณแห่งไม้ซึกและดอกดำเป็น
ต้น หรือจุรณแห่งเครื่องหอมทุก ๆ อย่าง ควรแก่ภิกษุแม้นั้น
บทว่า รชนนิปกฺก ได้แก่ กากเครื่องย้อม. ภิกษุจะตำแม้ซึ่งจุรณ
ตามปกติแล้วแช่น้ำอาบ ก็ควร. แม้จุรณตามปกตินั้น ย่อมถึงความนับว่า
กากเครื่องย้อมเหมือนกัน.
อมนุษย์เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสด เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
ไม่ได้เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดนั้น. อมนุษย์ ครั้นเคี้ยวกินและดื่มแล้ว
ได้ออกไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า อาพาธเกิด
แต่อมนุษย์นั้นของเธอย่อมระงับ.
คำว่า อญฺชน นี้ เป็นคำกล่าวครอบยาตาทั้งหมด.
บทว่า กาฬญฺชน ได้แก่ ชาติแห่งยาตาชนิดหนึ่ง หรือยาตาที่หุงด้วย
เครื่องปรุงทุกอย่าง.
บทว่า รสญฺชน ได้แก่ ยาตาที่ทำด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ.
บทว่า โสตญฺชน ได้แก่ ยาตาที่เกิดในกระแสน้ำเป็นต้น.
หรดาล กลีบทอง ชื่อเครุกะ.
ชื่อว่า กปัลละ นั้น ได้แก่ เขม่าที่เอามาจากเปลวประทีป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 168
ชื่อว่า จันทนะ ได้แก่ จันทน์ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีจันทน์แดงเป็นต้น.
เครื่องยาทาทั้งหลายมีกฤษณาเป็นต้น ปรากฏแล้ว. เครื่องยาแม้เหล่าอื่นมีอุบล
เขียวเป็นต้น ย่อมควรเหมือนกัน.
บทว่า อญฺชนุปปึสเนหิ ได้แก่ เครื่องยาทั้งหลายที่จะพึงบดผสม
กับยาตา. แค่เครื่องบดยาตาไร ๆ จะไม่ควรหามิได้.
บทว่า อฏฺิมย มีความว่า ภาชนะยาตาที่แล้วด้วยกระดูกที่เหลือ
เว้นกระดูกมนุษย์.
บทว่า ทนฺตมย ได้แก่ ภาชนะยาตาที่แล้วด้วยงา ทุกอย่างมีงาช้าง
เป็นต้น.
ขึ้นชื่อว่า ภาชนะที่ไม่ควร ย่อมไม่มีในภาชนะที่ทำด้วยเขาเลย. ภาชนะ
ยาคาที่แล้วด้วยไม้อ้อ เป็นต้น เป็นของควรโดยส่วนเดียวแท้.
บทว่า สลาโกธานิย มีความว่า ชนทั้งหลายย่อมเก็บไม้ด้ามยาตา
ในที่เก็บอัน ใค เราอนุญาตที่เก็บอันนั้น เป็นกลักก็ตาม เป็นถุงก็ตาม.
บทว่า อสวทฺธก นั้น ได้แก่ หูสำหรับสะพายแห่งถุงยาตา.
สองบทว่า ยมก นตฺถุกรณึ ได้แก่ กล้องยานัตถ์อันเดียวเป็น
หลอดคู่ มีรูเท่ากัน.
ข้อว่า อนุชานามิ ภิกฺเว เตลปาก มีความว่า การหุงน้ามัน
ทุกชนิด เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต ให้ใส่เครื่องยาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงได้แท้.
บทว่า อติปกฺขิตฺตมชฺชานิ มีความว่า มีน้ำเมาอันตนใส่เกิน
เปรียบไป, อธิบายว่า ปรุงใส่น้ำเมามากไป.
ลมในอวัยวะใหญ่น้อย ชื่ออังควาตะ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 169
บทว่า สมฺภารเสท ได้แก่ การเข้ากระโจมด้วยใบไม้ที่จะพึงหักได้
ต่าง ๆ อย่าง.
บทว่า มหาเสท มีความว่า เราอนุญาตให้นึ่งร่างกายด้วยบรรจุ
ถ่านไฟให้เต็มหลุม ประมาณเท่าตัวคนแล้ว กลบด้วยฝุ่นและทรายเป็นต้น
ลาดใบไม้ที่แก้ลมได้ต่าง ๆ ชนิด บนหลุมนั้น แล้วนอนพลิกไปพลิกมาบน
ใบไม้นั้น ด้วยตัวอันทาน้ำมันแล้ว.
บทว่า ภงฺโคทก ได้แก่ น้ำที่ต้มเดือดด้วยใบไม้ต่าง ๆ ที่จะพึง
หักได้. พึงรดตัวด้วยใบไม้เหล่านั้นและน้ำ เข้ากระโจม.
บทว่า อุทโกฏฺก ได้แก่ ซุ้มน้ำ. ความว่า เราอนุญาตให้ใช้
อ่างหรือรางที่เต็มด้วยน้ำอุ่นแล้วลงในอ่างหรือรางนั้น ทำการนึ่งให้เหงือออก.
สองบทว่า ปพฺพวาโต โหติ มีความว่า ลมย่อมออกตามข้อ ๆ.
สองบทว่า โลหิต โมเจตุ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุปล่อย
โลหิตด้วยมีด.
สองบทว่า มชฺช อภิสงฺขริตุ มีความว่า เท้าที่ผ่าแล้ว จะหาย
เป็นปกติได้ด้วยน้ำเมาใด เราอนุญาตให้ภิกษุใส่ยาต่าง ๆ ลงในกะลามะพร้าว
เป็นต้นปรุงน้ำเมานั้น คือ ให้หุงยาเป็นท สบายแก่เท้าทั้งสอง.
สองบทว่า ติลกกฺเกน อตฺโถ มีความว่า คือการด้วยงาทั้งหลาย
ที่บดแล้ว.
บทว่า กพฬิก มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุพอกแป้งที่ปากแผล.๑
บทว่า สาสปกุฑฺเฑน มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุชะล้างด้วย
แป้งเมล็ดผักกาด.
๑. กพฬิกาติ. อปนาหเภสชฺชนฺติ วิมติวิโนทนี. ยาสำหรับพอก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 170
บทว่า วุฑฺฒุมส ได้แก่ เนื้อที่งอกขึ้นดังเดือย.
บทว่า วิกาสิก ได้แก่ ผ้าเก่าสำหรับกันน้ำมัน.
สองบทว่า สพฺพ วณปฏิกมฺม มีความว่า ขึ้นชื่อว่าการรักษาแผล
ทุกอย่างบรรดามี เราอนุญาตททั้งหมด.
สองบทว่า สาม คเหตฺวา มีความว่า ยามหาวิกัตินี้ อันภิกษุผู้ถูก
งูกัคอย่างเดียวเท่านั้น พึงถือเอาฉันเอง หามิได้ เมื่อพิษอันสัตว์กัดแล้ว แม้
อย่างอื่น ภิกษุก็พึงถือเอาฉันเองได้ แต่ในเหตุเหล่าอื่น รับประเคนแล้วเท่า
นั้นจึงควร.
ข้อว่า น ปฏิคฺคาหาเปตพฺโพ มีความว่า ถ้าคูถถึงภาคพื้นแล้ว
ต้องรับประเคน แต่จะถือเอาเองซึ่งคูถที่ยังไม่ถึงภาคพื้นควรอยู่. โรคที่เกิด
ขึ้นแต่น้ำซึ่งสตรีให้เพื่อทำให้อยู่ในอำนาจ ชื่อว่าอาพาธเกิดแต่ยาอันหญิง
แม่เรือนให้.
บทว่า สิตาโลลึ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุเอาดินที่ติดผาลของ
ผู้ไถนาด้วยไถ ละลายน้ำดื่ม.
บทว่า ทุฏฺคหณิโก มีความว่า ผู้มีไฟธาตุเผาอาหารเสีย อธิบาย
ว่า อุจจาระออกยาก.
บทว่า อามิสขาร มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุเผาข้าวสุกที่ตาก
แห้งให้ไหม้ แล้วดื่มน้ำต่างที่ไหลออกจากเถ้านั้น.
บทว่า มุตฺตหริฏก ได้แก่ สมอไทยที่ดองด้วยมูตรโค.
บทว่า อภิสนฺนกาโย ได้แก่ มีกายเป็นโทษมาก.
บทว่า อจฺฉากญฺชิก ได้แก่ น้ำข้าวใส.
บทว่า อกฏยูส ได้แก่ น้ำถั่วเขียวต้ม ที่ไม่ข้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 171
บทว่า กฏากฏ ได้แก่ น้ำถั่วเขียวต้มนั่นเอง แต่ข้นหน่อย.
บทว่า ปฏิจฺฉาทนเยน ได้แก่ รสแห่งเนื้อ.
ว่าด้วยอันโตวุตถะเป็นต้น
ข้อว่า สเจ ภิกฺขเว ปกฺกาปิ มคฺคา ชายนฺติ มีความว่าถั่วเขียว
ที่ต้มแล้ว ถ้าแน้เป็นขึ้นได้ไซร้ ถั่วเขียวเหล่านั้น ภิกษุพึงฉันได้ตามสบาย
ด้วยว่า ถั่วเขียวเหล่านั้น จักเป็นกัปปิยะแท้ เพราะเป็นของต้มแล้ว.
บทว่า อนโตวุตฺถ ได้แก่ ค้างอยู่ในอกัปปิยกุฏี.
วินิจฉัยในคำว่า สาม ปกฺก นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุจะหุงต้มอามิสอย่างใดอย่างหนึ่งเองไม่ควร เฉพาะอามิสที่สุกแล้ว
จะอุ่นควรอยู่.
แม้ชนทั้งหลายใส่ใบผักชีก็ดี ขิงก็ดี เกลือก็ดี ลงในข้าวต้มที่ร้อน
สำหรับภิกษุนั้น ภิกษุจะคนแม้ซึ่งข้าวต้มนั้น ย่อมไม่ควร แต่จะคนด้วยคิด
จะให้ข้าวต้มเย็น ควรอยู่ แม้ได้ข้าวสุกที่เป็นท้องเล็นแล้วจะปิดไว้ ย่อมไม่
ควร. แต่ถ้าชนทั้งหลายปิดแล้วถวายมา จะปิดไว้ ควรอยู่ หรือจะปิดไว้ด้วย
คิดว่า ข้าวสุกจงอย่าเย็น ควรอยู่.
อนึ่ง ในนมสดและมี (นมเปรี้ยวอย่างข้น ) เป็นต้น ที่เขาต้มเดือด
แล้วครั้งหนึ่ง ภิกษุจะก่อไฟ ควรอยู่ เพราะการทำให้สุกอีก พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาต.
สองบทว่า อุกฺกปิณฺฑกาปิ ขาทนฺติ มีความว่า แมว หนู เหี้ย
และพังพอน ย่อมกินเสีย.
บทว่า ทมกา นั้น ได้แก่ คนกินเดน.
สองบทว่า ตโต นีหฏ ได้แก่ โภชนะที่ทายกนำอกจากที่ซื่งภิกษุ
รับนิมนต์ฉัน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 172
สองบทว่า วนฏฺ โปกฺขรฏ มีความว่า เกิดในป่า และใน
กอปทุม.
บทว่า อพีช ได้แก่ ผลไม้ที่ยังอ่อม มีเมล็ดจะไม่งอกหน่อได้.
บทว่า นิพฺพฏพีช ได้แก่ ผลมะม่วงและขนุนเป็นต้น ที่จะหึง
ปล้อนเมล็ดออกแล้วฉัน.
ว่าด้วยสัตถกรรมเป็นต้น
สองบทว่า ทุโรปโย วโณ มีความว่า แผลย่อมงอกยาก. คือว่า
หายเป็นปกติได้โดยยาก.
สองบทว่า ทุปฺปริหาร สติถ มีความว่า ในที่เคย ระวังมีดยาก.
สองบทว่า สตฺถกมฺม วา วตฺถิกมฺม วา มีความว่า ในโอกาส
ตามที่กำหนดแล้วไม่ควรทำการตัด หรือการผ่า หรือการเจาะ หรือการรีด
ด้วยของมีดมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นมีดก็ตาม เข็มก็ตาม หนามก็ตาม หอก
ก็ตาม สะเก็ดหินก็ตาม เล็บก็ตาม เพราะกรรมมีการตัดเป็นต้นนั้นทั้งหมด
ย่อมเป็นสัตถกรรมแท้.
อนึ่ง ไม่ควรทำแม้ซึ่งการบีบหัวไส้ด้วยของอย่างได้อย่างหนึ่งจะเป็น
หนังก็ตาม ผ้าก็ตาม เพราะว่า การบีบนั้นทั้งหมด เป็นวัตถิกรรมเหมือนกัน
ก็ในพระบาลีนี้ คำว่า สองนิ้วโดยรอบแห่งที่แคบ นี้ตรัสหมายเอา
เฉพาะสัตถกรรม. ส่วนวัตถิกรรมทรงห้ามแต่ในที่แคบเท่านั้น. แต่จะหยอด
น้ำด่างก็ดี จะรัดด้วยเชือกชนิดใดชนิดหนึ่งก็ดีที่หัวไส้นั้น ควรอยู่. ถ้าหัวไส้
นั้นขาดออกด้วยน้ำด่างหรือเชือกนั้น เป็นอันขาดด้วยดี.
ถึงโรคอัณฑะโตก็ไม่ควรทำสัตถกรรม เพราะเหตุนั้น ไม่ควรทำ
สัตถกรรมด้วยคิดว่า เราจะผ่าอัณฑะควักเอาเม็ดออกทำให้หายโต. แต่ในการ
ย่างด้วยไฟและทายา ไม่มีการห้าม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 173
ในทวารหนัก กรวยใบไม้และเกลียวชุดที่ทายาแล้วก็ดี หลอดไม้ไผ่
ก็ดี ซึ่งสำหรับหยอดน้ำด่าง และกรอกน้ำมัน ย่อมควร.
ว่าด้วยเนื้อที่ควรและไม่ควร
บทว่า ปวตฺตมส ได้แก่ เนื้อของสัตว์ที่ตายแล้วนั้นเอง.
บทว่า มาฆาโต มีความว่า วันนั้น ใคร ๆ ไม่ได้เพื่อจะปลงสัตว์
น้อยหนึ่งจากชีวิต.
มีดสำหรับเชือดเนื้อเรียกว่า โปตถยิกะ.
บทว่า กิมฺปิมาย พึงตัดว่า กิมฺปิ อิมาย.
คำว่า น ภควา อุสฺสหติ มีความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านาง
ไม่สามารถจะมาได้.
บทว่า ยตฺร หิ นาม มีความว่า ชื่อเพราะเหตุไร ?
บทว่า ปฏิเวกขิ ได้แก่ วิมสิ แปลว่า เธอพิจารณาแล้วหรือมี
คำอธิบายว่า เธอสอบถามแล้วหรือ ?
บทว่า อปฺปฏิเวกฺขิตฺวา ได้แก่ อปฺปฏิปุจฺฉิตฺวา แปลว่าไม่
สอบถามแล้ว. ก็ถ้า ภิกษุรู้อยู่ว่า นี้เป็นเนื้อชนิดนั้น กิจที่จะสอบถาม ย่อม
ไม่มี แต่เมื่อไม่รู้ ต้องถามก่อนจึงฉัน.
วินิจฉัยในคำว่า สุนมส นี้ พึงทราบดังนี้:-
สุนัขป่าย่อมเป็นเหมือนสุนัขบ้าน. เนื้อสุนัขป่านั้นควร.๑
ฝ่ายสุนัขใด เกิดด้วยแม่สุนัขบ้านกับพ่อสุนัขป่าผสมกัน หรือด้วยแม่
สุนัขป่ากับพ่อสุนัขบ้านผสมกัน เนื้อของสุนัขนั้น ไม่ควร. เพราะสุนัข
นั้นช่องเสพทั้งสองฝ่าย.
๑. นำจะไม่ควร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 174
บทว่า อหิมส มีความว่า เนื้อแห่งทีฆชาติซึ่งไม่มีเท้าชนิดใดชนิด
หนึ่ง ไม่ควร. เนื้อราชสีห์ เป็นต้นเป็นของชัดแล้วทั้งนั้น.
ก็บรรดาอกัปปิยมังสะเหล่านั้น เนื้อมนุษย์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงห้าม ก็เพราะมนุษย์มีชาติเหมือนตน เนื้อช้างและม้า ที่ทรงห้ามก็เพราะ
เป็นราชพาหนะ เนื้อสุนัขและเนื้องูที่ทรงห้าม ก็เพราะเป็นของสกปรก เนื้อ
๕ อย่างมีเนื้อราชสีห์เป็นต้น ที่ทรงห้าม ก็เพื่อต้องการความไม่มีอันตรายแก่
คน ฉะนั้นแล.
เนื้อก็ดี กระดูกก็ดี เลือดก็ดี หนังก็ดี ขนก็ดี แห่งสัตว์ ๑๐ ชนิด
มีมนุษย์เป็นต้นแหล่านี้ ไม่ควรทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อภิกษุรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ฉันอย่างใดอย่างหนึ่ง คงเป็นอาบัติแท้
รู้เมื่อใด พึงแสดงเมื่อนั้น. ไม่ถามก่อน รับด้วยตั้งใจว่า เราจักฉัน ต้อง
ทุกกฏ แม้เพราะรับ. รับด้วยตั้งใจว่า จักถามก่อนจึงฉัน ไม่เป็นอาบัติ.
อนึ่ง เป็นอาบัติเฉพาะแก่ภิกษุผู้รู้แล้วฉันเนื้อที่เป็นอุททิสสมังสะ เธอ
รู้ในภายหลัง ไม่ควรปรับอาบัติ.
ว่าด้วยทรงอนุญาตยาคูเป็นต้น
บทว่า เอกโก มีความว่า เราไม่มีเพื่อนเป็นที่สอง.
ข้อว่า ปหูต ยาคุญฺจ มธุโคฬิกญฺจ ปฏิยาทาเปฺวา มีความว่า
ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นให้ตกแต่งยาคุเป็นต้น ใช้ทรัพย์หมดไปแสนหนึ่ง
ในที่สุดแห่งอนุโมทนาคาถา พึงทำการเชื่อมบทว่า ปตฺถยต อิจฺฉต
ด้วยคำว่า อลเมว ทาตุ นี้ แปลว่า ควรแท้ที่จะให้แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย
ผู้อยากได้.
ก็ถ้า ปาฐะว่า ปตฺตยตา อิจฺฉตา มีอยู่ไซร้ ปาฐะนั้นแลพึงถือ
เอา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 175
บทว่า โภชฺชยาคุ ได้แก่ ยาคูที่ยังการห้ามให้เกิด.
บทว่า ยทคฺเคน มีความว่า ทำยาคูใดให้เป็นต้น.
หลายบทว่า สคฺคา เต อารทฺธา มีความว่า บุญเป็นเหตุให้เกิด
ในสวรรค์ ท่านได้สร้างสมแล้ว.
สองบทว่า ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ มีความว่า ภิกษุนั้นพึงให้ทำ
ตาธรรม ด้วยปรัมปรโภชนสิกขาบท เพราะว่า การห้าม (โภชนะ) ย่อมมี
เพราะยาคูที่ควรฉัน.
สองบทว่า นาหนฺต กจฺจาน มีความว่า ได้ยินว่า เทวดาทั้งหลาย
เติมโอชะอันละเอียดลงในน้ำอ้อยงบที่เหลือนั้น น้ำอ้อยงบที่เหลือนั้น ย่อม
ไม่ถึงความย่อยไปได้ สำหรับชนเหล่าอื่น; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า คิลานสฺส คุฬ มีความว่า เราอนุญาตน้ำอ้อยงบภายหลังภัต
แก่ภิกษุผู้อาพาธด้วยพยาธิเห็นปานนั้น.
บทว่า สพฺพสนฺถรึ มีความว่า อาวสถาคาร (เรือนเป็นที่พักแรม)
จะเป็นสถานอันปูลาดทั่วถึงด้วยประการใด ได้ปูลาดแล้วด้วยประการนั้น.
บทว่า สุนีธวสฺสการา ได้แก่ พราหมณ์ ๒ คน คือ สุนีธะ ๑
วัสสการะ ๑ เป็นมหาอำมาตย์ของพระเจ้าแผ่นดินมคธ.๑
สองบทว่า วชฺชีน ปฏิพาหาย มีความว่า เพื่อต้องการตัดทาง
เจริญแห่งราชสกุลแคว้นวัชชีเสีย.
บทว่า วตฺถูนิ ได้แก่ ที่ปลูกเรือน.
๑. ดูความพิสดารในมหาปรินิพพานสูตร ที. มหา. ๑๐/๘๕.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 176
หลายบทว่า จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุ มีความว่า ได้
ยินว่า เทวดาเหล่านั้น สิงในสรีระของชนทั้งหลาย ผู้รู้ท่านายชัยภูมิ แล้ว
น้อมจิตไปอย่างนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะเทวดาทั้งหลายนั้น จักกระทำสักการะตามสมควรแก่เรา
ทั้งหลาย.
บทว่า ตาวตึเสหิ มีความว่า ได้ยินว่า เสียงที่ว่า บัณฑิตทั้งหลาย
ชาวดาวดึงส์ หมายเอาท้าวสักกเทวราชและพระวิสสุกรรมเฟื่องฟุ้งไปโนโลก
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตาวตึเสหิ. อธิบายว่า สุนีธอมาตย์
และวัสสการอมาตย์นั้นราวกับได้หารือเทพเจ้าชาวดาวดึงส์แล้ว จึงได้สร้าง.
บทว่า ยาวตา อริยาน อายตน มีความว่า ชื่อว่าสถานเป็นที่
ประชุมแห่งมนุษย์ผู้เป็นอริยะทั้งหลาย มีอยู่เท่าใด.
บทว่า ยาวตา วณิชฺชปโถ มีความว่า ชื่อว่า สถานเป็นที่ซื้อและ
ขาย ด้วยอำนาจแห่งกองสินค้าที่นำมาแล้วนั่นเทียว ของพ่อค้าทั้งหลาย มีอยู่
เท่าใด.
สองบทว่า อิท อคฺคนคร มีความว่า เมืองปาฏลีบุตร ซึ่งเป็นแดน
แห่งพระอริยะ เป็นสถานแห่งการค้าขาย ของมนุษย์เหล่านั้น นี้จักเป็นเมือง
ยอด.
บทว่า ปุฏเภทน ได้แก่ เป็นสถานที่แก้ห่อสินค้า. มีคำอธิบายว่า
จักเป็นสถานทีแก้มัดสินค้าทั้งหลาย.
วินิจฉัยบทว่า อคฺคิโต วา เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 177
วา ศัพท์ ใช้ในสมุจจัยถะ จริงอยู่ บรรดาส่วนเหล่านั้น อันตราย
จักมีแก่ส่วนหนึ่ง จากไฟ, แก่ส่วนหนึ่ง จากน้ำ, แก่ส่วนหนึ่ง จากภายใน
คือ ความแตกแยกแห่งกันและกัน.
บทว่า อุฬุมฺป ได้แก่ ชลพาหนะที่เขาทำตอกลิ่นสลัก เพื่อประโยชน์
แก่การข้ามฟาก.
บทว่า กุลฺล ได้แก่ ชลพาหนะที่เขาทำผูกมัดด้วยเถาวัลย์เป็นต้น.
คำว่า อณฺณว นี้ เป็นชื่อของอุทกสถาน ทั้งลึกทั้งกว้าง ราวโยชน์
หนึ่ง โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดแห่งกำหนดทั้งปวง.
แม่น้ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ในบทว่า สร นี้. มีคำอธิบาย
ว่า ชนเหล่าใดจะข้ามสระ คือ ตัณหา ทั้งลึกทั้งกว้าง ชนเหล่านั้น ทำสะพาน
กล่าวคือ อริยมรรค สละ คือ ไม่แตะต้องเลยซึ่งสระน้อยทั้งหลาย จึงข้าม
สถานอันลุ่มเต็มด้วยน้ำได้, ก็ชนนี้ แม้ปรารถนาจะข้ามน้ำ มีประมาณน้อยนี้
ย่อมผูกแพแล, ส่วนพระพุทธเจ้า และพระพุทธสาวกทั้งหลาย เป็นชนผู้มี
ปัญญา เว้น แพเสียทีเดียว ก็ข้ามได้.
บทว่า อนนุโพธา มีความว่า เพราะไม่ตรัสรู้.
บทว่า สนฺธาวิต มีความว่า แล่นไปแล้ว ด้วยอำนาจที่ออกจาก
ภพไปสู่ภพ.
บทว่า สสริต มีความว่า ท่องเที่ยวไปแล้ว ด้วยอำนาจการไป
บ่อย ๆ.
สองบทว่า มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจ คือเราด้วย ท่านทั้งหลายด้วย.
อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความในคำว่า สนฺธาวิต สสริต นี้ อย่างนี้ว่า ความ
แล่นไป ความท่องเที่ยวไป ได้มีแล้วแก่เราด้วย แก่ท่านทั้งหลายด้วย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 178
บทว่า สสิต ได้แก่ ท่องเที่ยว.
สองบทว่า ภวเนตฺตี สมูหตา มีความว่า เชือกคือตัณหาเป็นเหตุ
ไป คือแล่นจากภพ (ไปสู่ภพ) อันเราทั้งหลายกำจัด คือตัด ได้แก่ทำให้เป็น
ไปไม่ได้ด้วยดีแล้ว.
เรื่องเจ้าลิจฉวี
คำว่า เชียว นี้ เป็นคำรวบรัดเอาส่วนทั้งปวงเข้าไว้.
บทว่า นีลวณฺณา เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงวิภาคแห่งคำว่า เขียว
นั้นแล. ในบรรดาสีเหล่านั้น สีเขียวเป็นสีปกติของเจ้าลิจฉวี เหล่านั้น หามิได้
คำว่า เขียว นั้น ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งข้อที่เครื่องไล้ทาเขียว เป็นของ
งดงาม.
บทว่า ปฏิวฏฺเฏสิ ได้แก่ ปหาเรสิ แปลว่า โดน.
สองบทว่า สาหาร ทชฺเชยฺยาถ มีความว่า พึงประทานกรุงเวสาลี
กับทั้งชนบท.
สองบทว่า องฺคุลี โปเถสุ มีความว่า ได้ทรงสั่นพระองคุลี.
บทว่า อมฺพกาย ได้แก่ อิตฺถิกาย แปลว่า อันหญิง.
บทว่า โอโลเกถ คือ จงเห็น.
บทว่า อปโลเกถ คือ จงดูบ่อย ๆ.
บทว่า อุปสหรถ ได้แก่ จงเทียบเคียง อธิบายว่า จงเทียบลิจฉวี
บริษัทนี้ ด้วยบริษัทแห่งเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ด้วยจิตของท่านทั้งหลาย คือว่า
จงดูทำให้สมกันแก่เทพเจ้าชั้นดาวดึงส์.
ว่าด้วยอุททิสสมังสะ
ข้อว่า ธมฺมสฺส จ อนุธมฺม พฺยากโรนฺติ มีความว่า ชนเหล่า
นั้น ย่อมกล่าวเหตุสมควรแก่เหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแลหรือ ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 179
สองบทว่า สหธมฺมิโก วาทานุวาโท มีความว่า ก็วาทะของพระองค์
เป็นเหตุซึ่งชนเหล่าอื่นกล่าวแล้ว บางอย่าง คือ แม้มีประมาณน้อย ไม่มา
ถึงเหตุที่วิญญูชนจะพึงติเตียนหรือ ? มีคำอธิบายว่า วาทะเป็นประธานของ
พระองค์ ที่เป็นเหตุน่าติเตียนไม่มี แม้โดยเหตุทั้งปวงหรือ ?
บทว่า อนพฺภกฺขาตุกามา มีความว่า ข้าพเจ้า ไม่มีประสงค์จะ
กล่าวข่ม
บทว่า อนุวิจฺจการ มีคำอธิบายว่า ท่านจงทำการที่พึงรู้ตาม คือ
คิด พิจารณาแล้ว จึงทำ.
บทว่า าตมนุสฺสาน ได้แก่ (มนุษย์) ผู้มีชื่อเสียงในโลก.
สองบทว่า สาธุ โหติ มีความว่า จะเป็นความดี.
สองบทว่า ปฏาก ปริหเรยฺยุ มีความว่า อัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย
พึงยกธงแผ่นผ้า เที่ยวเป่าร้องในเมือง.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะพวกเขาคิดว่า ความเป็นใหญ่จักมีแก่พวกเราด้วย
อุบายอย่างนี้.
บทว่า โอปานภูต มีความว่า (สกุลของท่าน) แต่งไว้แล้ว คือ
เตรียมไว้แล้วเป็นดุจบ่อน้ำ.
บทว่า กุล ได้แก่ นิเวศน์.
สองบทว่า ทาตพฺพ มญฺเยฺยาสิ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทักเตือนว่า ท่านอย่าตัดไทยธรรมของนิครนถ์เหล่านั้นเสียเลย แต่ท่านพึง
สำคัญซึ่งไทยธรรม อันตนควรให้แก่นิครนถ์เหล่านั้น ผู้มาถึงเข้าแล้ว.
บทว่า โอกาโร ได้แก่ ความกระทำต่ำ คือ ความเป็นของทราม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 180
บทว่า สามุกฺกสิกา ได้แก่ (ธรรมเทศนา) ที่พระองค์เองทรงยก
ขึ้น อธิบายว่า ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกเหล่าอื่น.
บทว่า อุทฺทิสฺสกต ได้แก่ มังสะที่เขาทำเฉพาะตน.
บทว่า ปฏิจฺจกมฺม มีความว่า มังสะที่เขาเจาะจงตนกระทำอีกอย่าง
หนึ่ง คำว่า ปฏิจจกรรม นี้ เป็นชื่อของนิมิตกรรม. แม้มังสะ ท่านเรียกว่า
ปฏิจจกรรม นี้ เป็นชื่อของนิมิตกรรม. แม้มังสะ ท่านเรียกว่า ปฏิจจกรรม
ก็เพราะเหตุว่า ในมังสะนี้มีปฏิจจกรรมนั้น. จริงอยู่ ผู้ใดบริโภคมังสะเห็น
ปานนั้น. ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น อธิบายว่า กรรม คือ การ
ฆ่าสัตว์ย่อมมีแม้แก่ผู้นั้น เหมือนมีแก่ผู้ฆ่าเอง.
บทว่า น ชีรนฺติ มีความว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เมื่อกล่าวตู่อยู่
ชื่อย่อมไม่สร่างไป อธิบายว่า ย่อมไม่มีถึงที่สุดแห่งการกล่าวตู่. กถาแสดง
มังสะมีความบริสุทธิ์โดยส่วนสาม ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งสังฆเภท
สิกขาบท๑
ว่าด้วยกัปปิยภูมิ
บทว่า ปจฺจนฺติม นี้ สักว่าตรัส แต่ว่า ถึงวิหารใกล้ก็ควรจะสมมติ
ได้ เพราะพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ย สงฺโฆ อากงฺขติ แปลว่า สงฆ์หวังจะ
สมมติที่ใด แม้จะไม่สวดกรรมวาจา สมมติด้วยอปโลกน์แทน ก็ควรเหมือน
กัน.
บทว่า สกฏปริวตฺตก มีความว่า พักอยู่ ประหนึ่งทำให้ห้อมล้อม
ด้วยเกวียนทั้งหลาย.
๑. สมนฺต. ทุติย. ๑๑๕.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 181
บทว่า กาโกรวสทฺท ได้แก่ เสียงร้องก้องแห่งกาทั้งหลายซึ่งประชุม
กัน แต่เช้ามืดทีเดียว เพื่อต้องการจะกินเหยื่อที่เขาทิ้งแล้ว ในที่นั้น ๆ. พระ-
เถระชื่อยโสชะ เป็นบุรุษเลิศแห่งบรรพชิตห้าร้อย ในเวลาจบกปิลสูตร.
วินิจฉัยในบทว่า อุสฺสาวนนฺติก เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
กัปปิยภูมิ ชื่ออุสสาวนันติกา พึงทำก่อนอย่างนี้ ที่อยู่ใด เขาทำเสียบ
บนเสาหรือในเชิงฝา ศิลาที่รองเสาภายใต้ที่อยู่นั้น มีคติอย่างพื้นดินเหมือนกัน.
ก็แล เมื่อจะให้ทั้งเสาแรก หรือเชิงฝาแรก ภิกษุหลายรูปพึงล้อม
กันเข้า เปล่งวาจาว่า กปฺปิยกุฏิ กโรม แปลว่า เราทำกัปปิยกุฏิ เมื่อชน
ทั้งหลายช่วยกันยกขึ้นให้ตั้งลง พึงจับเองหรือยกเองก็ได้ ให้ตั้งเสาหรือเชิงฝา.
ส่วนในกุรุนทีและมหาปัจจรี ท่านแก้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พึงให้ตั้งลง
กล่าวว่า กัปปิยกุฏิ กัปปิยกุฏิ.
ในอันธกอรรถกถา แก้ว่า พึงกล่าวว่า สงฺฆสฺส กปฺปิยกุฏึ
อธิฏฺามิ แปลว่า ข้าพเจ้า อธิษฐานกัปปิยกุฏิเพื่อสงฆ์. แต่ถึงแม้จะไม่
กล่าวคำนั้น ย่อมไม่มีโทษในเพราะคำที่กล่าวแล้ว ตามนัยที่กล่าวไว้ในอรรถ-
กถาทั้งหลายเท่านั้น. แต่ในอธิการว่าด้วยการทำกัปปิยภูมิ ชื่ออนุสสาวนันติกานี้
มีลักษณะที่ทั่วไปดังนี้ ขณะที่เสาตั้งลง และขณะที่จบคำ เป็นเวลาพร้อมกัน
ใช้ได้. แต่ถ้า เมื่อคำยังไม่ทันจบ เสาตั้งลงก่อน หรือเมื่อเสานั้นยังไม่ทัน
ตั้งลง คำจบเสียก่อน. กัปปิยกุฏิ ไม่เป็นอันได้ทำ. เพราะเหตุนั้นแล ใน
มหาปัจจรี ท่านจึงแก้ว่า ภิกษุมากองค์ด้วยกัน พึงล้อมกันเข้าแล้วกล่าว.
ด้วยว่า ความจบคำและความตั้งลงแห่งเสาของภิกษุรูปหนึ่ง ในภิกษุเหล่านี้
จักมีพร้อมกันได้เป็นแน่ ก็แล ในกุฎีทั้งหลายที่มีฝาก่อด้วยอิฐ ศิลาหรือดิน
ข้างใต้ถุนจะก่อก็ตามไม่ก่อก็ตาม ภิกษุทั้งหลายปรารถนาจะให้ตั้งฝาขึ้นตั้งแต่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 182
อิฐหรือศิลา หรือก้อนดินอันใด พึงถือเอาอิฐหรือศิลา หรือก้อนดินอันนั้น
ก่อนอันอื่นทั้งหมด ทำกัปปิยกุฏิตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล แต่อิฐเป็นต้น ที่
ก่อขึ้นบนพื้นภายใต้แห่งอิฐก้อนแรกเป็นต้นแห่งฝา ไม่ควร. ส่วนเสาย่อมขึ้น
ข้างบน เพราะเหตุนั้น เสาจึงควร.
ในอันธกอรรถกถาแก้ว่า จริงอยู่ เมื่อใช้เสา พึงอธิษฐานเสา ๔ ต้นที่
๔ มุม เมื่อใช้ฝาที่ก่ออิฐเป็นต้น พึงอธิษฐานอิฐ ๒๓ แผ่นที่ ๔ มุม. แต่ถึง
กัปปิยกุฏิที่ไม่ทำอย่างนั้น ก็ไม่มีโทษ เพราะว่าคำที่กล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย
เท่านั้น ย่อมเป็นประมาณ.
กัปปิยกุฏิ ชื่อ โคนิสาทิกา มี ๒ อย่าง คือ อารามโคนิสาทิกา ๑
วิหารโคนิสาทิกา ๑. ใน ๒ อย่างนั้น ในวัดโค อารามก็ไม่ได้ล้อม เสนาสนะ
ทั้งหลายก็ไม่ล้อม วัดนี้ ชื่ออารามโคสาทิกา, ในวัดใด เสนาสนะล้อมทั้งหมด
หรือล้อมบางส่วน อารามไม่ได้ล้อม วัดนี้ชื่อวิหารโคนิสาทิกา. ข้อที่อาราม
ไม่ได้ล้อมนั่นแล เป็นประมาณในโคนิสาทิกาทั้ง ๒ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
แต่ในกุรุนที่และมหาปัจจรีแก้ว่า อารามที่ล้อมกึ่งหนึ่งก็ดี ล้อมมากกว่ากึ่งก็ดี
จัดเป็นอารามที่ล้อมได้. ในอารามที่ล้อมกึ่งหนึ่งเป็นต้นนี้ ควรจะได้กัปปิยกุฏิ.
บทว่า คหปติ มีความว่า ชนทั้งหลายทำอาวาสแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้า
ถวายกัปปิยกุฏิ ขอท่านจงใช้สอยเถิด กัปปิยกุฏินี้ ชื่อ คฤหบดี. แม้เขากล่าว
ว่า ข้าพเจ้าถวายเพื่อทำกัปปิยกุฏิ ดังนี้ ย่อมควรเหมือนกัน. ส่วนในอันธก
อรรถกถาแก้ว่า ของที่รับจากมือของสหธรรมิกที่เหลือเว้นภิกษุเสีย และของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง ของเป็นสันนิธิและของที่ค้างภายใน เป็นของ ๆ
สหธรรมิกที่เหลือ และของเทวดามนุษย์เหล่านั้น ย่อมควรแก่ภิกษุ เพราะเหตุ
นั้น เรือนแห่งสหธรรมิกเหล่านั้น หรือกัปปิยกุฏิที่สหธรรมิกเหล่านั้น ถวาย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 183
จึงเรียกว่า คฤหบดี. มิใช่แต่เท่านั้น ท่านยังกล่าวอีกว่า เว้นวัดของภิกษุสงฆ์
เสีย ที่อยู่ของพวกนางภิกษุณี หรือของพวกอารามิกบุรุษ หรือของพวก
เดียรถีย์ หรือของเหล่าเทวดา หรือของพวกนาค หรือแม้วิมานแห่งพวกพรหม
ย่อมเป็นกัปปิยกุฏิได้ คำนั้นท่านกล่าวชอบ เพราะว่า เรือนเป็นของสงฆ์เอง
ก็ดี เป็นของภิกษุก็ดี เป็นกุฏิของคฤหบดี ไม่ได้.
กัปปิยกุฏิ ที่ภิกษุสวดประกาศทำด้วยกรรมวาจา ชื่อสัมมตกาฉะนั้นแล.
อามิสใดค้างอยู่ในกัปปิยภูมิ ๔ เหล่านี้ อามิสนั้นทั้งหมด ไม่นับว่า
อันโตวุตถะ เพราะว่า กัปปิยกุฏิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่อปลด
เปลื้องอันโตวุตถะและอันโตปักกะ ของภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ส่วนอามิสใด
เป็นของสงฆ์ก็ดี เป็นของบุคคลก็ดี เป็นของภิกษุหรือภิกษุณีก็ดี ซึ่งเก็บค้าง
ไว้ในเรือน ซึ่งพอจะเป็นอาบัติเพราะสหไสยได้ ในอกัปปิยภูมิ ค้างอยู่แม้ราตรี
เดียว อามิสนั้นเป็นอันโตวุตถะ และอามิสที่ให้สุกในเรือนนั้น ย่อมจัดเป็น
อันโตปักกะ อามิสนั้นไม่ควร. แต่ของที่เป็นสัตตาหกาลิกและยาวชีวิกควรอยู่
วินิจฉัยในอันโตวุตถะและอันโตปักกะนั้น พึงทราบดังนี้:-
สามเณรนำอามิสมีข้าวสารเป็นต้น ของภิกษุมาเก็บไว้ในกัปปิยกุฏิ
รุ่งขึ้น หุงถวาย อามิสนั้น ไม่เป็นอันโตวุตถะ.
สามเณรเอาของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเนยใสเป็นต้น ที่เก็บไว้ในอกัปปิยกุฎิ
ใส่ลงในอามิส มีข้าวสุกเป็นต้นนั้นถวาย อามิสนั้นจัดเป็นมุขสันนิธิ. แต่ใน
มหาปัจจรีแก้ว่า อามิสนั้นเป็นอันโตวุตถะ. ความกระทำต่างกันในมุขสันนิธิ
และอันโตวุตถะนั้น ก็เพียงแต่ชื่อเท่านั้น.
ภิกษุเอาเนยใสที่เก็บไว้ในอกัปปิยกุฏิและผักที่เป็นยาวชีวิกทอดเข้าด้วย
กันแล้วฉัน ผักนั้นเป็นของปราศจากอามิส ควรฉันได้เจ็ดวัน. ถ้าภิกษุฉันปน
กับอามิส ผักนั้นเป็นอันโตวุตถะด้วย เป็นสามปักกะด้วย. ความระคนกันแห่ง
กาลิกทุกอย่าง พึงทราบโดยอุบายนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 184
ถามว่า ก็กัปปิยกุฏิเหล่านี้ เมื่อไรจะละวัตถุเล่า ?
ตอบว่า ควรทราบอุสสาวนันติกาก่อน กัปปิยกุฏิใดที่เขาทำเสียบบน
เสา หรือในเชิงฝา กัปปิยกุฏินั้น จะละวัตถุ ต่อเมื่อเสาและเชิงฝาทั้งปวงถูก
รื้อเสียแล้ว. แต่ชนทั้งหลายเปลี่ยนเสาหรือเชิงฝาเสีย เสาหรือเชิงฝาใด ยังคงอยู่
กัปปิยกุฏิย่อมตั้งอยู่บนเสาหรือเชิงฝานั้น แต่ย่อมละวัตถุ ต่อเมื่อเสาหรือเชิงฝา
ถูกเปลี่ยนแล้วทั้งหมด. กัปปิยกุฏิที่ก่อด้วยอิฐเป็นต้น ย่อมละวัตถุ ในเวลาที่
วัตถุต่าง ๆ เป็นต้นว่าอิฐหรือศิลาหรือก้อนดิน ที่วางไว้เพื่อรองฝาบนที่ซึ่ง
ก่อขึ้น เป็นของพินาศไปแล้ว. ส่วนกัปปิยกุฏิที่อธิษฐานด้วยอิฐเป็นต้นเหล่าใด
เมื่ออิฐเป็นต้น เหล่านั้น แม้ถูกรื้อเสียแล้ว แต่อิฐเป็นต้นอื่นจากอิฐเดิมนั้น
ยังคงที่อยู่ กัปปิยกุฏิ ยังไม่ละวัตถุก่อน. กัปปิยกุฏิชื่อโคนิสาทิกา ย่อมละวัตถุ
ต่อเมื่อเขาทำการล้อมด้วยกำแพงเป็นต้น ภิกษุควรได้กัปปิยกุฏิในอารามนั้นอีก.
แต่ถ้า เครื่องล้อมมีกำแพงเป็นต้นเป็นของพังไปที่นั้น ๆ แม้อีก โคทั้งหลาย
ย่อมเข้าไปทางที่พังนั้น ๆ กุฏินั้น ย่อมกลับเป็นกัปปิยกุฏิอีก. ส่วนกัปปิยกุฏิ
๒ ชนิดนอกนี้ จะละวัตถุ ต่อเมื่อเครื่องมุงทั้งปวงผุพังหมดไปเหลือแต่เพียง
กลอน. ถ้าบนกลอนทั้งหลาย ยังมีเครื่องมุงเป็นผืนติดกันเป็นแถบ แม้
หย่อมเดียว ยังรักษาอยู่.
ถามว่า ก็ในวัดใด ไม่มีกัปปิยภูมิทั้ง ๔ เหล่านี้ ในวัดนั้นจะพึงทำ
อย่างไร ?
ตอบว่า ภิกษุพึงให้แก่อนุปสัมบัน ทำให้เป็นของเธอแล้วฉัน.
ในข้อนั้น มีเรื่องสาธก ดังนี้:-
ได้ยินว่า พระกรวิกติสสเถระผู้หัวหน้าแห่งพระวินัยธร ได้ไปสู่สำนัก
ของพระมหาสิวัตเถระ. ท่านเห็นหม้อเนยใสด้วยแสงประทีปจึงถามว่า นั่นอะไร
ขอรับ ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 185
พระเถระตอบว่า ผู้มีอายุ หม้อเนยใส เรานำมาจากบ้านเพื่อต้องการ
ฉันเนยใส ในวันที่มีอาหารน้อย.
ลำดับนั่น พระติสสเถระจึงบอกกับท่านว่า ไม่ควร ขอรับ.
ในวันรุ่งขึ้น พระเถระจึงให้เก็บไว้ที่หน้ามุข. รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง
พระติสสเถระมาเห็นหม้อเนยใสนั้น จึงถามอย่างนั้นแล้ แล้วบอกว่าการเก็บไว้
ในที่ซึ่งควรเป็นอาบัติเพราะสหไสย ไม่สมควร ขอรับ
รุ่งขึ้น พระเถระให้ยกออกไปเกิบไว้ข้องนอก. พวกโจรลักหม้อเนยใส
นั้นไป. ท่านจึงพูดกะพระติสสเถระผู้มาในวันรุ่งขึ้นว่า ผู้มีอายุ เมื่อท่านบอก
ว่า ไม่ควร หม้อนั้นเก็บไว้ข้างนอก ถูกพวกโจรลักไปแล้ว.
ลำดับนั้น พระติสสเถระ จึงแนะท่านว่า หม้อเนยใสนั้นพึงเป็นของ
อันท่านควรให้แก่อนุปสัมบันมิใช่หรือ ขอรับ ? เพราะว่าครั้นให้แก่อนุปสัมบัน
แล้ว จะทำให้เป็นของฉัน ก็ย่อมควร.
ว่าด้วยปัญจโครสและเสบียงทาง
เรื่องเมณฑกเศรษฐี ชัดเจนแล้ว.
ก็แต่ว่า ในเรื่องเมณฑกเศรษฐีนี้ คำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ปญฺจ
โครเส มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุฉันโครส ๕ เหล่านี้
ด้วยการบริโภคแผนกหนึ่งบ้าง.
วินิจฉัยในคำว่า ปาเถยฺย ปริเยสิตุ นี้ พึ่งทราบดังต่อไปนี้:-
ถ้าชนบางพวกทราบแล้วถวายเองทีเดียว อย่างนั้นนั่น เป็นการดี ถ้า
เขาไม่ถวาย พึงแสวงหาจากสำนักญาติและคนปวารณาหรือด้วยภิกขาจารวัตร,
เมื่อไม่ได้ด้วยอาการอย่างนั้น พึงขอจากสำนักแห่งคนที่ไม่ใช่ผู้ปวารณาก็ได้.
ในทางที่จะต้องไปเพียงวันเดียว พึงแสวงหาเสบียงเพื่อประโยชน์แก่อาหาร
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 186
วันเดียว. ในทางไกล ตนจะข้ามกันดารไปได้ด้วยเสบียงเท่าใด พึงแสวงหา
เท่านั้น.
ว่าด้วยน้ำอัฏฐบาน
สองบทว่า กาเชหิ คาหาเปตฺวา มีความว่า ใช้คนให้ขนหม้อน้ำ
ผลพุทรา ซึ่งปรุงดีแล้ว พันหม้อ ด้วยหาบห้าร้อย.
คำว่า เอตสฺมึ นิทาเน เอตสฺมึ ปกรเณ ธมฺมึ กถ กตฺวา
มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย
ดีละ เมื่อเธอไม่ดื่มน้ำปานะ ชื่อว่าไม่ยังวาทะให้เกิดขึ้นว่า พวกสาวกของ
พระสมณโคดม เป็นผู้มักมากด้วยปัจจัย, และชื่อว่า ได้ทำความเคารพในเรา,
และชื่อว่า ท่านทั้งหลายได้ยังคาวาม เคารพอันดีให้เกิดแก่เรา เราเลื่อมใสเป็น
อย่างดี ด้วยเหตุนี้ ของท่านทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ แล้วตรัสคำเป็น
ต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต น้ำปานะ ๘ อย่าง.
บรรดาน้ำปานะ ๘ อย่างนั้น อัมพปานะนั้น ได้แก่น้ำปานะที่ทำด้วย
น้ำผลมะม่วงดิบหรือสุก. ในมะม่วงดิบและมะม่วงสุก ๒ อย่างนั้น เมื่อจะทำ
ด้วยมะม่วงดิบ พึงทุบมะม่วงอ่อนแช่น้ำ ผึ่งแดดให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ แล้ว
กรอง ปรุงด้วยน้ำผึ้ง น้ำตาลกรวดและการบูรเป็นต้น ที่รับประเคนในวันนั้น.
อัมพปานะที่ภิกษุทำอย่างนี้ ย่อมควรในปุเรภัตเท่านั้น. ส่วนอัมพปานะที่พวก
อนุปสัมบันทำ ซึ่งภิกษุได้มารับประเคนในปุเรภัต ย่อมควร แม้ด้วยบริโภค
เจืออามิสในปุเรภัต, ที่รับประเคนในปัจฉาภัต ย่อมควร โดยบริโภค
ปราศจากอามิส จนถึงเวลาอรุณขึ้น. ในน้ำปานะทุกชนิดก็นัยนี้.
อนึ่ง ในน้ำปานะเหล่านั้น ชัมพุปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำ
ด้วยผลหว้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 187
โจจปานะ นั้น ได้แก่ น้าปานะที่ทำด้วยผลกลัวมีเมล็ด.
โมจปานะ นั้น ได้แก่ น้าปานะที่ทำด้วยผลกลัวไม่มีเมล็ด.
มธุกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยรสชาติแห่งผลมะซาง.
และ มธุกปานะ นั้น เจือนำจึงควร ล้วน ๆ ไม่สมควร
มุททิกปาระ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นผลจันทน์ในน้ำทำเหมือน
อัมพปานะ.
สาลุกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นเง่าอุบลแดงและอุบล
เขียวเป็นต้นทำ.
ผารุสกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลมะปราง อย่าง
อัมพปานะ. อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร.
สุกด้ายไฟไม่ควร.
ว่าด้วยรส ๔ อย่าง
ธัญญผลรส นั้น ได้แก่ รสแห่งข้าว ๗ ชนิด ๑
ฑากรส นั้น ได้แก่ รสแห่งผักที่สุก. จริงอยู่ รสแห่งผักที่เป็น
ยาวกาลิก ย่อมควรในปุเรภัตเท่านั้น. รสแห่งผักที่เป็นยาวชีวิกที่สุกพร้อมกับ
เนยใสเป็นต้น ที่รับประเคนเก็บไว้ ควรฉันได้เจ็ดวัน. แต่ถ้ารสแห่งผักนั้น
สุกด้วยน้ำล้วน ควรฉันได้จนตลอดชีวิต. ภิกษุจะต้มผักที่เป็นยาวชีวิกนั้นให้สุก
พร้อมกับนมสดเป็นต้นเองไม่ควร. แม้ที่ชนเหล่าอื่นให้สุกแล้ว ย่อมนับว่ารส
ผักเหมือนกัน. ส่วนในกุรุนที แก้ว่า รสแม้แห่งผักซึ่งเป็นยาวกาลิก ที่คั้น
ในน้ำเย็นทำก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร.
๑.๑. สาลิ (ศาลิ) ข้าสาลี Rice ๒. วีหิ (วฺรีหิ) ข้าวเปลือก Rice. Pabby ๓. กุทรูส
(กุทรุษ) หญ้ากับแก้ ข้าวชนิดหนึ่ง A Kind of graiืืืืืn ๔. โคธูม (โคธูม) ข้าวละมาน
Wheat. ๕. วรก (วรก) ลูกเดือย The bean Phaseolus trilobus. ๖. ยว (ยว)
ข้าวยวะ Corn barleys. ๗. กงฺคุ (กงฺคุ) ข้าวฟ่าง Panic seed.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 188
วินิจฉัยในข้อว่า เปตฺวา มธุกปุปฺผรส นี้ พึงทราบดังนี้:-
รสดอกมะซางจะสุกด้วยไฟ หรือสุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ตามย่อมไม่ควร
ในปัจฉาภัต ชนทั้งหลายถือเอารสดอกไม้อันใดซึ่งสุกแล้ว ทำให้เป็นน้ำเมา
รสแห่งดอกไม้นั้น ย่อมไม่ควรแต่ต้น แม้ในปุเรภัต. ส่วนดอกมะซาง จะ
สดหรือแห้ง หรือคั่วแล้ว หรือคลุกน้ำอ้อยแล้วก็ตามที เขายังไม่ทำให้เป็น
น้ำเมา จำเดิมแต่ดอกชนิดใด ดอกชนิดนั้นทั้งหมด ย่อมควรในปุเรภัต รส
อ้อยที่ไม่มีกาก ควรในปัจฉาภัต. รส ๔ อย่างเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงอนุญาตน้ำปานะ ได้ทรงอนุญาตไว้ด้วยประการฉะนั้นแล.
ว่าด้วยผักและแป้ง
เรื่องแห่งมัลละชื่อโรชะ ชัดเจนแล้วทั้งนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สพฺพญฺจ ฑาก ได้แก่ ผักชนิดใด
ชนิดหนึ่ง ซึ่งทอดด้วยเนยใสเป็นต้นก็ดี ไม่ได้ทอดก็ดี.
บทว่า ปิฏฺขาทนีย ได้แก่ ของควรเคี้ยวที่แล้วด้วยแป้ง. ได้ยิน
ว่า เจ้าโรชะให้ตกแต่งของทั้งสองอย่างนี้ สิ้นทรัพย์ไปแสนหนึ่ง.
สองบทว่า สงฺคร อกสุ มีความว่า ได้ทำข้อบังคับ.
หลายบทว่า อุฬาร โข เต อิท มีความว่า การต้อนรับพระผู้มี
พระภาคเจ้าของท่านนี้ เป็นกิจดีแล.
หลายบทว่า นาห ภนฺเต อานนฺท พหุกโต มีความว่าเจ้าโรชะ
นั้น แสดงว่า เราจะได้มาที่นี่ด้วยความเลื่อมใสและความนับถือมาก ซึ่งเป็น
ไปในพระพุทธเจ้าเป็นต้น หามิได้.
เรื่องภิกษุเคยเป็นช่างโกนผม
บทว่า มญฺชุกา ได้แก่ เป็นผู้มีถ้อยคำไพเราะ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 189
บทว่า ปฏภาเฌยฺยกา มีความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยไหวพริบใน
ศิลปะของตน.
บทว่า ทกฺขา เป็นผู้ฉลาดหรือเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน.
บทว่า ปริโยทาตสิปฺปา ได้แก่ ผู้มีศิลปะหาโทษมิได้.
บทว่า นาฬิยาวาปเกน ได้แก่ ทะนานและถึง. มีคำอธิบายว่า
ชนทั้งหลายย่อมกรอก คือ ย่อมใส่ข้าวสารที่ได้แล้ว ๆ ในภาชนะใด ภาชนะ
นั้น ชื่อ อาวาปกะ แปลว่า ถุง.
วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว นหาปิตปุพฺเพน ขุรภณฺฑ นี้พึง
ทราบดังนี้:-
ภิกษุผู้เคยเป็นช่างโกนผม ไม่ควรเก็บรักษามีดโกนไว้เลย แต่จะปลง
ผมด้วยมีดโกนเป็นของผู้อื่น ควรอยู่. ถ้าจะถือเอาค่าจ้างปลงไม่ควร. ภิกษุใด
ไม่เคยเป็นช่างโกนผม แม้ภิกษุนั้นจะรักษามีดโกนไว้ ย่อมควร; ถึงแม้จะถือ
เอามีดโกนเล่มนั้นหรือเล่มอื่นปลงผม ก็ควร.
สองบทว่า ภาค ทตฺวา มีความว่า พึงให้ส่วนที่ ๑๐. ได้ยินว่า
การให้ส่วนที่ ๑๐ นี้ เป็นธรรมเนียมเก่า ในชมพูทวีป เพราะเหตุ นั้น พึง
แบ่งเป็น ๑๐ ส่วนแล้ว ให้แก่พวกเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่ง.
มหาปเทส ๔
เพื่อประโยชน์ที่ภิกษุทั้งหลายจะได้ถือไว้เป็นแบบ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสมหาปเทส (คือ หลักสำหรับอ้างใหญ่) ๔ ข้อเหล่านั้น ว่า ย ภิกฺขเว
มยา อิท น กปฺปติ เป็นต้น.
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย เมื่อถือเอาสูตรสอบสวนดูในมหา-
ปเทสนั้น ได้เห็นความข้อนี้ว่า.
ด้วยพระบาลีว่า เปตฺวา ธญฺผลรส นี้ ธัญญชาติ ๗ ชนิด
เป็นอันห้ามแล้วว่า ไม่ควรในปัจฉาภัต. มหาผล ๙ อย่าง คือ ผลตาล ผล
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 190
มะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม ฟักทอง
เป็นอันทรงห้าม และอปรัณณชาติทุกชนิด มีคติอย่างธัญญชาติเหมือนกัน.
มหาผลและอปรัณณชาตินั้น ไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็จริง ถึงกระนั้น ย่อมเข้ากับ
สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรในปัจฉาภัต.
น้ำปานะ ๘ อย่าง ทรงอนุญาตไว้ น้ำปานะแห่งผลไม้เล็กมี หวาย
มะชาม มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น มีคติอย่างอฏัฐบาน
แท้ น้ำปานะแห่งผลไม้เหล่านั้น ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ก็จริง. ถึงกระนั้น ย่อม
เข้ากับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ; เพราะฉะนั้น จึงควร.
ในกุรุนทีแก้ว่า จริงอยู่ เว้นรสแห่งเมล็ดข้าวกับทั้งสิ่งที่อนุโลมเสีย
แล้ว ขึ้นชื่อว่าน้ำผลไม้อื่น ที่ไม่ควร ย่อมไม่มี น้ำผลไม้ทุกชนิดเป็นยาม
กาลิกแท้.
จีวรพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ๖ ชนิด. จีวรอื่นอีก ๖ ชนิดที่
อนุโลมจีวรเหล่านั้น คือ ผ้าทุกุละ ผ้าแคว้นปัตตุนนะ ผ้าเมืองจีน ผ้าเมือง
แขก ผ้าสำเร็จด้วยฤทธิ์ ผ้าเทวดาให้ พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายอนุญาต
แล้ว.
บรรดาผ้าเหล่านั้น ผ้าปัตตุนนะนั้น ได้แก่ ผ้าที่เกิดด้วยไหมใน
ปัตตุนประเทศ. ผ้า ๒ ชนิด เรียกตามชื่อของประเทศนั่นเอง. ผ้า ๓ ชนิด
นั้น อนุโลมผ้าไหม ผ้าทุกุละ อนุโลมผ้าป่าน นอกจากนี้ ๒ ชนิด อนุโลม
ผ้าฝ้ายหรือผ้าทุกอย่าง.
บาตรพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม ๑๑ อย่าง อนุญาต ๒ อย่าง คือ
บาตรเหล็ก บาตรดิน. ภาชนะ ๓ อย่าง คือ ภาชนะเหล็ก ภาชนะดิน ภาชนะ
ทองแดง อนุโลมแก่บาตรนั้นแล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 191
กระติกน้ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ๓ อย่าง คือ กระติก
โลหะ กระติกไม้ กระติกผลไม้. ภาชนะน้ำ ๓ อย่าง คือ คนโทน้ำ ขันทอง
ห้าว หม้อตักน้ำ อนุโลมกระติกน้ำ ๓ อย่างนั้นแล. แต่ในกุรุนทีแก้ว่า สังข์
สำหรับใส่น้ำฉัน และขันน้ำ อนุโลมแก่กระติกเหล่านั้น.
ประคดเอวทรงอนุญาตไว้ ๒ ชนิด คือ ประคดทอเป็นแผ่น ประคด
ไส้สุกร ประคดเอวที่ทำด้วยผืนผ้า และด้วยเชือกอนุโลมประคด ๒ ชนิดนั้น
ร่มทรงอนุญาตไว้ ๓ ชนิด คือ ร่มขาว ร่มรำแพน ร่มใบไม้, ร่ม
ใบไม้ใบเดียว อนุโลมตามร่ม ๓ ชนิดนั้นเอง; แม้ของอื่น ๆ ที่เข้ากับสิ่งที่
ควรและไม่ควร ผู้ปฏิบัติพึงพิจารณาดูบาลีและอรรถกถาแล้วทราบตามนัยนี้
เถิด.
ว่าด้วยกาลิกระคนกัน
คำว่า ตทหุปฏิคฺคหิต ถาเล กปฺปติ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายเอารสที่เจือกันทุกอย่าง. ก็ถ้าน้ำปานะเป็นของที่รับประเคนปนกับ
มะพร้าวทั้งผล ยังไม่ได้ปอกเปลือก เอามะพร้าวออกเสียแล้ว น้ำปานะนั้น
ควรแม้ในเวลาวิกาล.
พวกทายกถวายข้าวปายาสเย็น วางก้อนสัปปิไว้ข้างบน เนยใสใครไม่
ปนกับข้าวปายาส จะเอาเนยใสนั้นออกไว้ฉัน ๗ วันก็ควร.
แม้ในสัตตาหกาลิกที่เหลือ มีน้ำผึ้งและน้ำตาลที่เป็นแท่งเป็นต้น ก็นัย
นี้แล.
พวกทายกถวายบิณฑบาต ประดับด้วยกระวานและลูกจันทน์เป็นต้น
บ้าง กระวานและลูกาจันทน์เป็นต้นนั้น พึงยกออกล้างไว้ฉันได้ตลอดชีวิต ใน
ขิงที่เขาใส่ในยาคูถวายเป็นต้นก็ดี. ในชะเอมที่เขาใส่แม้ในน้ำเป็นอาทิ แล้ว
ถวายเป็นต้น ก็ดี มีนัยเหมือนกันแล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 192
กาลิกใด ๆ เป็นของมีรสระคนปนกันไม่ได้อย่างนั้น กาลิกนั้น ๆ แม้
รับประเคนรวมกัน; ล้างหรือปอกเสียจนบริสุทธิ์แล้วฉัน ด้วยอำนาจแห่งกาล
ของกาลิกนั้น ๆ ย่อมควร. แต่ถ้ากาลิกใดเป็นของมีรสแทรกกันได้ ปนกัน
ได้ กาลิกนั้น ย่อมไม่ควร.
จริงอยู่ ยาวกาลิกย่อมชักกาลิกทั้ง ๓ มียามกาลิกเป็นต้น ซึ่งมีรส
เจือกับตน เข้าสู่สภาพของตน ถึงยามกาลิก ก็ชักกาลิก แม้ ๒ มีสัตตาห
กาลิกเป็นต้น เข้าสู่สภาพของตน สัตตาหกาลิกเล่า ย่อมชักยาวชีวิกที่ระคน
เข้ากับตน เข้าสู่สภาพของตนเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบสันนิษฐาน
ว่า ยาวชีวิกที่รับประเคนในวันนั้นก็ดี รับประเคนในวันก่อน ๆ ก็ดี ปนกับ
สัตตาหกาลิกนั้น ซึ่งรับประเคนในวันนั้น ควรเพียง ๗ วัน ปนกับสัตตาห
กาลิกที่รับประเคนไว้ ๒ วัน ควรเพียง ๖ วัน ปนกับสัตตาหกาลิกที่รับประ-
เคนไว้ ๓ วัน ควรเพียง ๕ วัน ปนกับสัตตาหกาลิกที่รับประเคนไว้ ๗ วัน
ควรในวันนั้นเท่านั้น ก็เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ยาวชีวิกที่รับประเคนในวันนั้น ปนกับสัตตาหกาลิก ควร ๗ วัน
ตรัสว่า ยาวชีวิกที่รับประเคนแล้ว คือปนกับสัตตาหกาลิก ควร ๗ วัน ก็
เมื่อกาลิก ๓ นี้ก้าวล่วงกาล ยาม และ ๗ วัน พึงทราบอาบัติด้วยอำนาจวิกาล
โภชนสิกขาบท สันนิธิสิกขาบท และเภสัชชสิกขาบท.
ก็แล ในกาลิก ๔ นี้ กาลิก ๒ คือ ยาวกาลิก ๑ ยามกาลิก ๑ นี้
เท่านั้น เป็นอันโตวุตถะด้วย เป็นสันนิธิการกะด้วย: แค่สัตตาหกาลิกและยาว
ชีวิก แม้จะเก็บไว้ในอกัปบียกุฏิ ก็ควร. ทั้งไม่ให้เกิดสันนิธิด้วย ดังนี้แล.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
อรรถกถาเภสัชชขันธกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 193
กฐินขันธกะ
ภิกษุปาไฐยรัฐเดินทางเข้าเฝ้า
[๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเขตวันอาราม
ของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุปาไฐยรัฐจำนวน
๓๐ รูป ล้วนถืออารัญญิกธุดงค์ บิณปาติกธุดงค์ และเตจีวริกธุดงค์ เดิน
ทางไปพระนครสาวัตถุเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจวนถึงวันเข้าพูดพรรษา
ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี จึงจำพรรษา ณ
เมืองสาเกต ในระหว่างทาง ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้ ๆ เรา ระยะทางห่างเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเราก็
ไม่ได้เฝ้าพระองค์ ครั้นล่วงไตรมาส ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาทำปวารณา
เสร็จแล้ว เมื่อฝนยังตกชุก พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลน มีจีวร
ชุ่มชื้นด้วยน้ำ ลำบากกาย เดินทางไปถึงพระนครสาวัตถี พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกคหบดี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง.
การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศัยกับพระอาคันทุกะทั้ง
หลายนั่นเป็นพุทธประเพณี.
พุทธประเพณี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอยังพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอ
เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่
ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 194
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พวกข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้ พวกยัง
อัตภาพให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้
พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบาก
ด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้าในชุมนุมนี้เป็นภิกษุ
ปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป เดินทางมาพระนครสาวัตถุ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษา
ในพระนครสาวัตถุ จึงจำพรรษา ณ เมืองสาเกต ในระหว่างทาง พวกข้า
พระพุทธเจ้านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้ ๆ
เรา ระยะทางห่างเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเร้าก็ไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นล่วงไตรมาส พวกข้าพระพุทธเจ้าออกพรรษาทำปวารณาเสร็จแล้ว เมื่อ
ฝนยังตกชุก พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลน มีจีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ
ลำบากกาย เดินทางมา พระพุทธเจ้าข้า.
พระพุทธานุญาตใต้กรานกฐิน
[๙๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาแล้วได้กรานกฐิน
พวกเธอผู้ได้กรานกฐินแล้ว จักได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ:-
๑. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา.
๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ.
๓. ฉันคณะโภชน์ได้.
๔. ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา.
๕. จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 195
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ จักได้แก่เธอทั้งหลาย
ผู้ได้กรานกฐินแล้ว.
วิธีกรานกฐิน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด
ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าเจ้า ผ้ากฐินผืนนั้นเกิดแล้วแก่
สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงจงพึงข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่
สงฆ์ สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน การให้
ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงเป็นนิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน
ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั่นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินเป็นอันกราน อย่างนี้ไม่เป็น
อันกราน.
กฐินไม่เป็นอันกราน
[๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินไม่เป็นอันกราน คือ:-
๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงขีดรอย.
๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงซักผ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 196
๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงกะผ้า.
๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงตัดผ้า.
๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเนาผ้า.
๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเย็บต้น.
๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำลูกดุม.
๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำรังคุม.
๙. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาต.
๑๐. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาตด้าน
หน้า.
๑๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงดามผ้า.
๑๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงย้อมเป็นสีหม่นเท่านั้น.
๑๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ท่านิมิตได้มา.
๑๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา.
๑๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ยืมเขามา.
๑๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน.
๑๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์.
๑๘. กฐินไม่เป็นอัน กราน ด้วยผ้าที่มิได้ทำกัปปะพินทุ.
๑๙. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าสังฆาฏิเสีย.
๒๐. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าอุตราสงค์เสีย.
๒๑. กรินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าอันตรวาสกเสีย.
๒๒. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกิน ๕ ซึ่ง
ตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น .
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 197
๒๓. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากการกรานแห่งบุคคล.
๒๘. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนา
กฐินนั้น แม้อย่างนี้ กฐินก็ชื่อว่าไม่เป็นอันกราน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินไม่เป็นอันกราน.
กฐินเป็นอันกราน
[๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินเป็นอันกราน คือ:-
๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าใหม่.
๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเทียมใหม่.
๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเก่า.
๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าบังสุกุส.
๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ตกตามร้าน.
๖. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา.
๗. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา.
๘. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา.
๙. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน.
๑๐. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เป็นนิสสัคคีย์.
๑๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ทำกัปปะพินทุแล้ว.
๑๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าสังฆาฏิ.
๑๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอุตราสงค์.
๑๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอันตรวาสก.
๑๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกิน ๕ ซึ่งตัดดีแล้ว
ทำให้มีมณฑลเสร็จในวัน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 198
๑๖. กฐินเป็นอันกราน เพราะการแห่งบุคคล.
๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนากฐิน
นั้น แม้อย่างนี้ กฐินก็ชื่อว่าเป็นอันกราน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินเป็นอันกราน.
[๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินเป็นอันเดาะ ?
มาติกา ๘
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาติกาเพื่อเดาะกฐิน ๘ ข้อนี้ คือ
๑. กำหนดด้วยหลีกไป. ๒. กำหนดด้วยจีวรทำเสร็จ.
๓. กำหนดด้วยตกลงใจ. ๔. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
๕. กำหนดด้วยได้ยินข่าว. ๖. กำหนดด้วยสิ้นหวัง.
๗. กำหนดด้วยล่วงเขต. ๘. กำหนดด้วยเคาะพร้อมกัน.
อาทายสัตตกะที่ ๑
[๑๐๐] ๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป
ด้วยคิดว่าจักไม่กลับมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยหลีกไป
๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิด
ความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับมา
ละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวร
เสร็จ.
๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิด
ความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุ
นั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 199
๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิด
ความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ
แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอ ที่กำลังทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การเดาะ
กฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา เธอ
อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่าในอาวาส
นั้น กฐินเดาะเสียแล้ว การเคาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยได้ยินข่าว.
๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา
เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จ คิดว่าจักกลับมา จัก
กลับมา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยล่วงเขต.
๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา เธอ
อยู่นอกสีมา ทำให้จีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จ คิดว่าจักกลับมา จักกลับมา
แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย
อาทายสัตตกะที่ ๑ จบ
สมาทายสัตตะ ที่ ๒
[๑๐๑] ๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำเสร็จแล้ว หลีกไป
ด้วยคิดว่าจักไม่กลับมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยหลีกไป
๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิด
ความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอ
ให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 200
๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความ
คิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยตกลงใจ.
๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความ
คิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้
ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น ได้เสียหรือหาย การเดาะกฐินของภิกษุ
นั้นกำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
๕. ภิกษุได้กรายนกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา
เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่า ใน
อาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยได้ยินข่าว.
๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธอ
อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา จักกลับ
มาล่วงเขต.
๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธอ
อยู่ ณ ภายนอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับมา
จักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น พร้อมกับภิกษุ
ทั้งหลาย.
สมาทายสัตตกะ ที่ ๒ จบ
อาทายฉักกะ ที่ ๓
[๑๐๒] ๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ค้างไว้หลีกไป เธออยู่
นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 201
จักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย
ทำจีวรเสร็จ.
๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา
เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับมา การเดาะกฐินของ
ภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา
เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ
แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุ
นั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับ
มา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ทราบข่าวว่า
ในอาวาสนั้นกฐินเดาะแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยได้ยินข่าว.
๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจัก
กลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับ
มา จักกลับมา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุ
นั้น กำหนดด้วยล่วงเขต.
๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจัก
กลับมา เธออยู่นอกสีมา ไห้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจัก
กลับมา จักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น พร้อม
กับภิกษุทั้งหลาย.
อาทายฉักกะ ที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 202
สมาทายฉักกะ ที่ ๔
[๑๐๓] ๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธอ
อยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้
แหละจักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด
ด้วยทำจีวรเสร็จ.
๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอก
สีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับมา การเดาะกฐิน
ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอก
สีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จัก
ไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น ได้เสียหรือหาย การ
เดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจัก
กลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่า
ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยได้
ยินข่าว.
๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจัก
กลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับ
มาจักกลับมา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุ
นั้นกำหนดด้วยล่วงเขต.
๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจัก
กลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 203
จักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น พร้อมกับภิกษุ
ทั้งหลาย.
สมาทายฉักกะ ที่ ๔ จบ
การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จเป็นต้น
[๑๐๔] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา
เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ
มา เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวร
เสร็จ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกลีมา เกิดความ
คิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยตกลงใจ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกลีมา เกิดความ
คิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วไห้
ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอทีทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
[๑๐๕] ภิกษุได้กรานกินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยทั้งใจว่าจักไม่
กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความติดอย่างนี้ว่า จักไห้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภาย
นอกสีมานี้แหละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด
ด้วยทำจีวรเสร็จ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยตั้งใจว่าจักไม่กลับมา
เธออยู่นอกสีมา เกิดความติดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผื่นนี้ การเดาะกฐิน
ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 204
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า จักไม่กลับมา
เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้จีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ
แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การเดาะกฐินของ
ภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
[๑๐๖] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยไม่ตั้งใจ คือ
เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิด
ความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมาน แหล่ะ จักไม่กลับ
เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปด้วยไม่ตั้งใจ คือ เธอไม่ได้
คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิด
อย่างนี้ว่าจักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด
ด้วยตกลงใจ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปด้วยไม่ตั้งใจ คือ เธอไม่ได้
คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิด
อย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับแล้วให้ทำจีวร
ผืนนั้นจีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้หรือเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด
ด้วยผ้าเสียหาย.
[๑๐๗] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา
เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่าจักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ
จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย
ทำจีวรเสร็จ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 205
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปด้วยตั้งใจว่าจักกลับมา เธออยู่
นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะ
กฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่
นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ
จักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การ
เดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่
นอกสีนา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่า ในอาวาสนั้น
กฐินเดาะแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยได้ยินข่าว.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่
นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา จักกลับมา
แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย
ล่วงเขต.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่
นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดจักกลับมา จักกลับมา
แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.
[๑๐๘] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป. (นักปราชญ์พึงให้
พิสดารอย่างนี้ ดุจอาทายวาร)
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิด
ความคิดอย่างนี้ว่า จักไห้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอ
ให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
(นักปราชญ์พึงให้พิสดารอย่างนี้ ดุจสมาทายวาร)
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 206
[๑๐๙] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอก
สีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จัก
ไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย
ทำจีวรเสร็จ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา
เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของ
ภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา
เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ
แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การเดาะกฐิน
ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
[๑๐๐] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิด
ว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ
ภายนอกสีมานี้แหละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักไม่
กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ แหละ
การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักไม่
กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภาย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 207
นอกสีมานี้แหละแล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย
การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
[๑๑๑] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยไม่ทั้งใจ
คือไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิด
ความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ
เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยไม่ตั้งใจ คือ
ไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับ เธออยู่นอกสีมา เกิดความ
คิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยตกลงใจ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยไม่ตั้งใจ คือ
ไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความ
คิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้
ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การเดาะกฐินของภิกษุ
นั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
[๑๑๒] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยคิดว่า
จักกลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ
ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐิน
ของภิกษุนั้นกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 208
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา
เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ
การเคาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับ
มา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมา
นี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย
การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา
เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่า ในอาวาส
นั้นกฐินเดาะเสียแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยได้ยินข่าว.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับ
มา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา
จักกลับมา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยล่วงเขต
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับ
มา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา จัก
กลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น พร้อมกับภิกษุ
ทั้งหลาย.
อาทายภาณวาร จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 209
ความสิ้นหวัง ๑๒ หมวด
[๑๑๓] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร เธออยู่
นอกสีมา เข้าไปยิ่งที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง
เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอ
ให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร เธออยู่นอกสีมา
เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่าง
นี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด
ด้วยตกลงใจ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร เรออยู่นอกสีมา
เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สิ้นหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่าง
นี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืน
นั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด
ด้วยผ้าเสียหาย.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร เธออยู่นอกสีมา
เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมาน
แหละ จักไม่กลับ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น เธอสิ้นหวังว่าจะได้
จีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยสิ้นหวัง.
[๑๑๔] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า
จักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง
ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ
เธอให้ทำจีวรผืนนี้ในเสร็จ การเดาะกฐินขอองภิกษุนั้น กำหนดด้วยการทำจีวร
เสร็จ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 210
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักไม่กลับ
มา เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้
ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยตกลงใจ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักไม่กลับ
มา เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้
ตามหวัง เธอติดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ เธอ
ให้ทำจีวรผืนนี้ในเสร็จ จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การเดาะกฐิน
ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักไม่กลับ
มา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวร
นี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น เธอสิ้นหวัง
ว่าจะได้จีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยสิ้นหวัง.
[๑๑๕] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวรโดยไม่ได้
ตั้งใจ คือ เธอไม่ได้คิดว่าจะกลับ และไม่คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา
เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่าง
นี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ภายนอกสีนานี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวร
ผืนนั้นเสร็จ การเคาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร โดยไม่ตั้งใจ คือ
เธอไม่ได้คิดว่าจะกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้า
ไปยังทีซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า
จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย
ตกลงใจ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 211
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร โดยไม่ตั้งใจ คือ
เธอไม่ได้คิดว่าจะกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้า
ไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า
จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้น
เสร็จ จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด
ด้วยผ้าเสียหาย.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร โดยไม่ตั้งใจ คือ
เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิด
ความคิดอย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ
จักไม่กลับ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น เธอสิ้นหวังว่าจะได้จีวรนั้น
การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยสิ้นหวัง.
ความสิ้นหวัง ๑๒ หมวด จบ
ความสมหวัง ๑๒ หนวด
[๑๑๖] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่า
จักกลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้สมหวัง
ไม่ได้ผิดหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ
จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด
ด้วยทำจีวรเสร็จ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา
เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้สมหวัง ไม่ได้ผิดหวัง
เธอติดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยตกลงใจ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 212
ภิกษุได้กรานกรินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา
เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้สมหวัง ไม่ได้ผิดหวัง
เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอ
ให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การเดาะกฐิน
ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา
เธออยู่นอกสีมา เกิดความติดอย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ
ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วเข้าไปยิ่งที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรผืนนั้น
เธอสิ้นหวังว่าจะได้จีวรผืนนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยสิ้นหวัง.
[๑๑๗] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่า
จักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ได้ยินข่าวว่า ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว จึง
คิดอย่างนี้ว่า เพราะกฐินในอาวาสนั้นเดาะ จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวร
นี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ เธอเข้าไม่ยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้สมหวัง
ไม่ได้ผิดหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ
จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด
ด้วยทำจีวรเสร็จ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจะกลับมา
เธออยู่นอกสีมา ได้ยินข่าวว่า ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว จึงคิดอย่างนี้ว่า
เพราะกฐินในอาวาสนั้นเคาะ จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอก
สีมานี้แหละ เธอเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้สมหวัง ไม่ได้ผิดหวัง
เธอคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยตกลงใจ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 213
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจะกลับมา
เธออยู่นอกสีมา ได้ยินข่าวว่า ในอาวาสันนกฐินเดาะเสียแล้ว จึงคิดอย่างนี้
ว่า เพราะกฐินในอาวาสนั้นเดาะ จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ ภาย
นอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น เธอสิ้น
หวังจะได้อย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ
แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น ได้เสียหรือหาย การเดาะกฐิน
ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา
เธออยู่นอกสีมา ได้ทราบข่าวว่า ในอาวาสนั้น ๆ กฐินเดาะเสียแล้ว จึงคิดอย่างนี้
ว่า เพราะกฐินในอาวาสนั้นเดาะ จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ ภาย
นอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น เธอสิ้นหวัง
จะได้จีวรผืนนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยสิ้นหวัง.
[๑๑๘] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า
จักกลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้สมหวัง
ไม่ได้ผิดหวัง เธอให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่า
ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยได้ยิน
ข่าว.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา
เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ
ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น เธอ
สิ้นหวังจะได้จีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยสิ้นหวัง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 214
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่าจักกลับ
มา เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้สมหวัง ไม่ได้ผิด
หวัง เธอให้ทำจีวรนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับมา จักกลับมา
ล่วงคราวเดาะกฐินนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยล่วงเขต.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา
เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้สมหวัง ไม่ได้ผิดหวัง
เธอให้ทำจีวรนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า. จักกลับมา จักกลับมา แล้ว
กลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.
ความสมหวัง ๑๒ หมวด จบ
กรณียะ ๑๒ หมวด
[๑๑๙] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง เธอ
อยู่นอกสีมา มีความหวังจะได้จีวร เธอเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้
ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง จึงคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมา
นี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด
ด้วยทำจีวรเสร็จ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง เธออยู่นอกสีมา
มีความหวังว่าจะได้จีวร เธอเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง
ไม่ได้คามหวัง จึงคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐิน
ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง เธออยู่นอกสีมา
มีความหวังว่าจะได้จีวร เธอเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง
ไม่ได้ตามหวัง จึงคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมาน แหละ จัก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 215
ไม่กลับ จึงให้ทำจีวรนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น ได้เสียหรือหาย การเดาะ
กฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง เธออยู่นอกสีมา
มีความหวังว่าจะได้จีวร จึงคิดอย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี้
ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับละ จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น
เธอสิ้นหวังว่า จะได้จีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยสิ้นหวัง.
[๑๒๐] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง คิดว่า
จักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่าจะได้จีวร จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมี
หวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้
ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ แล้วให้ทำจีวรนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของ
ภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง คิดว่าจักไม่
กลับมา เธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่าจะได้จีวร จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่า
จะได้จีวรนั้น ได้ไม่สนหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอติดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำ
จีวรนี้ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง คิดว่าจักไม่
กลับมา เธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่าจะได้จีวร จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่า
จะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวร
นี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ แล้วให้ทำจีวรนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสีย
หรือหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง คิดว่าจักไม่กลับ
เธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่าจะได้จีวร จึงติดอย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังทีซึ่ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 216
มีหวังว่าจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้
จีวรนั้น เธอสิ้นหวังว่าจะได้จีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย
สิ้นหวัง.
[๑๒๑] ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง โดย
ไม่ตั้งใจ คือ เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา เธอ
อยู่นอกสีมา มีความหวังว่าจะได้จีวร จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น
ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอติดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอก
สีมานี้แหละ จักไม่กลับ จึงให้ทำจีวรนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนด ด้วยทำจีวรเสร็จ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง โดยไม่ดังใจ
คือ เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา
มีความหวังว่าจะได้จีวร จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง
ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรนี้ จักไม่กลับละ การเดาะ
กฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง โดยไม่ตั้งใจ
คือ เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา
มีความหวังว่าจะได้จีวร จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง
ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จัก
ไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การเดาะ
กฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง โดยไม่จงใจ
คือ เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 217
มีความหวังว่าจะได้จีวร จึงคิดอย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี้
ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับละ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวร
นั้น เธอสิ้นหวังที่จะได้จีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยสิ้น
หวัง.
กรณียะ ๑๒ หมวด จบ
หวังได้ส่วนจีวร ๙ วิธี
[๑๒๒] ๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ จึงหลีกไป
แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร เธอไปสู่ทิศแล้ว ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส จำ
พรรษาที่ไหน และส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน เธอตอบอย่างนี้ว่า ผมจำพรรษา
ในอาวาสโน้น และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้น ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้
ว่า อาวุโส ท่านจงนำจีวรนั้นมา พวกผมจักทำจีวรให้ ณ ที่นี้ เธอกลับไป
สู่อาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโส ส่วนจีวรของผมอยู่ที่ไหน ภิกษุ
เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส มีส่วนจีวรของท่าน ๆ จักไปไหน เธอตอบ
อย่างนี้ว่า ผมจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น จักทำจีวรให้
ผม ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ไม่ควร อาวุโส อย่าไปเลย พวกผม
จักช่วยทำจีวรให้ ณ ที่นี้ เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอก
สีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ จึงหลีกไป . . .
การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 218
๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ จึงหลีกไป. . .
การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
[๑๒๓] ๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ จึงหลีกไป
แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร เธอนั้นไปสู่ทิศแล้ว ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส
จำพรรษาที่ไหน และส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน เธอตอบอย่างนี้ว่า ผมจำ
พรรษาในอาวาสโน้น และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้น ภิกษุเหล่านั้น กล่าว
อย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านจงไปนำจีวรนั้นมา พวกผมจักทำจีวรให้ ณ ที่นี้ เธอ
กลับไปสู่อาวาสนั้นแล้ว ถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโส ส่วนจีวรของผมอยู่ที่
ไหน ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ในส่วนจีวรของท่าน เธอถือจีวรนั้น
ไปสู่อาวาสแห่งนั้น ภิกษุทั้งหลายในระหว่างทางถามเธอว่า อาวุโส จักไปไหน
เธอตอบอย่างนี้ว่า ผมจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น จักทำ
จีวรให้ผม ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ไม่ควร อาวุโส อย่าไปเลย พวกผม
จักทำจีวรให้ ณ ที่นี้ เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ
จักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำ
จีวรเสร็จ.
๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ จึงหลีกไป แต่ยิ่ง
หวังได้ส่วนจีวร เธอนั้นไปสู่ทิศแล้ว ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส
จำพรรษาที่ไหน และส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน เธอตอบอย่างนี้ว่า ผม
จำพรรษาในอาวาสโน้น และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้น ภิกษุเหล่านั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส จงไปนำจีวรนั้นมา พวกผมจักทำจีวรให้ ณ ที่
นี้ เธอกลับไปสู่อาวาสนั้นแล้ว ถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโส ส่วนจีวรของผม
อยู่ที่ไหน ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส นี้ส่วนจีวรของท่าน เธอถือ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 219
จีวรนั้นไปสู่อาวาสแห่งนั้น ภิกษุทั้งหลายในระหว่างทางถามเธอว่า อาวุโส
จักไปไหน เธอตอบอย่างนี้ว่า ผมจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ภิกษุทั้งหลายใน
อาวาสนั้นจักทำจีวรให้ผม ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ไม่ควร อาวุโส อย่าไป
เลย พวกผมจักทำจีวรให้ ณ ที่นี้ เธอคิดอย่างนี้ ว่าจักไม่ให้ทำจีวรนี้ จักไม่
กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ จึงหลีกไป แต่
ยังหวังได้ส่วนจีวร เธอนั้นไปสู่ทิศแล้ว ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส
จำพรรษาที่ไหน และส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน เธอตอบอย่างนี้ว่า ผม
จำพรรษาในอาวาสโน้น และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้น ภิกษุเหล่านั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส จงไปนำจีวรนั้นมา พวกผมจักทำจีวรให้ ณ
ที่นี้ เธอกลับไปสู่อาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโส ส่วนจีวรของ
ผมอยู่ที่ไหน ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส นี้ส่วนจีวรของท่าน เธอ
ถือจีวรนั้นไปสู่อาวาสแห่งนั้น ภิกษุทั้งหลายในระหว่างทางถามเธอนั้น ว่าอาวุโส
จักไปไหน เธอตอบอย่างนี้ว่า ผมจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ภิกษุทั้งหลาย
ในอาวาสนั้นจักทำจีวรให้ผม ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ไม่ควร อาวุโส
อย่าไปเลย พวกผมจักทำจีวรให้ ณ ที่นี้ เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ
ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น
ได้เสียหรือหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
[๑๒๔] ๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศจึงหลีกไป
แต่ยังหวังจะได้จีวร เธอนั้นไปสู่ทิศแล้ว ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส
จำพรรษาที่ไหน และส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน เธอตอบอย่างนี้ว่า ผม
จำพรรษาในอาวาสโน้น และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้น ภิกษุเหล่านั้น
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 220
กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส จงไปนำจีวรนั้นมา พวกผมจักทำจีวรให้ ณ ที่
นี้ เธอกลับไปสู่อาวาสนั้นแล้ว ถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโส ส่วนจีวรของ
ผมอยู่ที่ไหน ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า นี้ส่วนจีวรของท่าน เธอถือจีวรนั้น
มาสู่อาวาสนั้น เมื่อเธอมาถึงอาวาสนั้นแล้ว ได้คิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้
ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับละ เธอให้ทำจีวรนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของ
ภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
๘. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศจึงหลีกไป. . . .เธอคิด
อย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับละ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยตกลงใจ.
๙. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศจึงหลีกไป . . . เธอคิด
อย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับละ เธอให้
ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การเดาะกฐินของ
ภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
หวังได้ส่วนจีวร ๙ วิธี จบ
ผาสุวิหาร คือ อยู่ตามสบาย ๕ ข้อ
[๑๒๕] ๑. ภิกษุใดกรานกฐินแล้ว ต้องการจะอยู่ตามสบาย จึงถือ
จีวรหลีกไปด้วยตั้งใจว่า จักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบาย
จักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้า
ในอาวาลนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เรา
จักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้า
ความสบายไม่มีแก่เรา เราจักกลับ เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จัก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 221
ให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ที่นี้แหละ จักไม่กลับละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การ
เดาะกฐินขางภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ต้องการจะอยู่ตามสบาย จึงถือจีวรหลีก
ไปด้วยตั้งใจว่า จักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา
เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น
ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่อาวาส
ชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่
มีแก่เรา เราจักกลับ เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวร
ผืนนี้ จักไม่กลับละ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยตกลงใจ.
๓ ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ต้องการจะอยู่ตามสบาย จึงถือจีวรหลีก
ไป ด้วยตั้งใจว่า จักไปสู่อาวาลชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่
เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาส
นั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่
อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความ
สบายไม่มีแก่เรา เราจักกลับ เธออยู่นอกสีมาเกิดความติดอย่านี้ว่า จักให้ทำ
จีวรผืนนี้ ณ ที่นี้ แหละ จักไม่กลับละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ จีวรของเธอ
ที่ทำอยู่นั้น ได้เสียหรือหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยผ้าเสียหาย
๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ต้องการจะอยู่ตามสบาย จึงถือจีวรหลีก
ไป ด้วยดังใจว่า จักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่
เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าใน
อาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจัก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 222
ไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้า
ความสบายไม่มีแก่เรา เราจักกลับ เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้น
ทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับ จักกลับ จนล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอก
สีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยล่วงเขต.
๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ต้องการจะอยู่ตามสบาย จึงถือจีวรหลีก
ไป ด้วยตั้งใจว่า จะไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา
เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น
ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่อาวาส
ชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่
มีแก่เรา เราจักกลับ เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำเสร็จแล้ว
คิดว่าจักกลับ จักกลับ กลับมาทันกฐินเดาะ การเคาะกฐินของภิกษุนั้น
พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.
ผาสุวิหาร คือ อยู่ตามสบาย ๕ ข้อ จบ
ปลิโพธและส้นปลิโพธ
[๑๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กฐินมีปลิโพธ ๒ และสิ้นปลิโพธ ๒.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินมีปลิโพธ ๒ คือ อาวาส.
ปลิโพธ ๑ จีวรปลิโพธ ๑
ปลิโพธ ๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาวาสปลิโพธเป็นอย่างไร ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังอยู่ในอาวาสนั้น หรือ
หลีกไปผูกใจอยู่ว่าจักกลับมา อย่างนี้แลชื่อว่าอาวาสปลิโพธ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 223
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จีวรปลิโพธเป็นอย่างไร ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่ได้ทำจีวร หรือทำ
ค้างไว้ก็ดี ยังไม่สิ้นความหวังว่าจะได้จีวรก็ดี อย่างนี้แลชื่อว่าจีวรปลิโพธ.
ก่อนภิกษุทั้งหลาย กฐินมีปลิโพธ ๒ อย่างนี้แล.
สิ้นปลิโพธ ๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินสิ้นปลิโพธ ๒ คือสิ้นอาวาส
ปลิโพธ ๑ สิ้นจีวรปลิโพธ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ้นอาวาสปลิโพธอย่างไร ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ หลีกไปจากอาวาสนั้น ด้วย
สละใจ วางใจ ปล่อยใจ ทอดธุระว่าจักไม่กลับมา อย่างนี้แล ชื่อว่าสิ้น
อาวาสปลิโพธ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ้นจีวรปลิโพธเป็นอย่างไร ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำจีวรเสร็จแล้วก็ดี ทำ
เสียก็ดี ทำหายเสียก็ดี ทำไฟไหม้เสียก็ดี สิ้นความหวังว่าจะได้จีวรก็ดี อย่าง
นี้แล ชื่อว่าสิ้นจีวรปลิโพธ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กฐินสิ้นปลิโพธมี ๒ อย่างนี้แล.
กฐินขันธกะ ที่ ๗ จบ
ในขันธกะนี้มี ๑๒ เรื่อง และเปยยาลมุข ๑๑๘
หัวข้อประจำขันธกะ
[๑๒๗] ๑. ภิกษุชาวปาไฐยรัฐ ๓๐ รูป จำพรรษาอยู่ในเมืองสาเกต
รัญจวนใจ ออกพรรษาแล้วมีจีวรเปียกปอนมาเฝ้าพระพุทธชินเจ้า ๒. ต่อไปนี้
เป็นเรื่องกฐิน คือได้อานิสงส์กฐิน ๕ คือ:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 224
ก เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา ข. เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรครบ
สำรับ ค. ฉันคณโภชน์ได้ ง. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา จ. จีวรลาภ
อันเกิดในทีนั้น เป็นของภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว.
๓ ญัตติทุติยกรรมวาจา ๔. อย่างนี้กฐินเป็นอันกราน อย่างนี้ไม่เป็นอันกราน
คือ กฐินกรานด้วยอาการ เพียงขีดรอย ชัก กะ ตัด เนา เย็บ ด้น ทำลูกดุม
ทำรังคุม ประกอบผ้าอนุวาต ประกอบผ้าอนุวาตด้านหน้า ดามผ้า ย้อม ทำ
นิมิต พูดเลียบเคียงผ้าที่ยืมเขามา เก็บไว้ค้างคืน เป็นนิสสัคคิยะ ไม่ได้ทำ
กัปปะพินทุ นอกจากไตรจีวร นอกจากจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ซึ่งตัดดี
แล้วทำให้เป็นจีวรมีมณฑลนอกจากบุคคลกราน กรานโดยไม่ชอบ ภิกษุอยู่
นอกสีมาอนุโมทนากฐินอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าไม่เป็นอันกราน
๕. กฐินกรานด้วยผ้าใหม่ ผ้าเทียมใหม่ ผ้าเก่า ผ้าบังสุกุล ผ้าตกตามร้าน
ผ้าที่ไม่ได้ท่านิมิต ผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา ไม่ใช่ผ้าที่ยืมเขามา ไม่ใช่
ผ้าที่ทำค้างคืน ไม่ใช่เป็นผ้านิสสัคคิยะ ผ้าที่ทำกัปปะพินทุแล้ว ผ้าไตรจีวร
ผ้ามีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ซึ่งตัดดีแล้วทำให้เป็นจีวรมีมณฑลเสร็จในวันนั้น
บุคคลกราน กรานโดยชอบ ภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนา อย่างนี้ชื่อว่ากราน
กฐิน ๖. มาติกาเพื่อเดาะกฐิน ๘ ข้อ คือ:-
๑. กำหนดด้วยหลีกไป ๒. กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ๓. กำหนดด้วย
ตกลงใจ ๔. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย ๕. กำหนดด้วยได้ยินข่าว ๖. กำหนดด้วย
สิ้นหวัง ๗. กำหนดด้วยล่วงเขต ๘. กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน.
๗. อาทายสัตตกะ ๗ วิธี คือ:-
๑. ถือจีวรที่ทำเสร็จแล้วไปคิดว่าจักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุ
นั้นกำหนดด้วยหลีกไป ๒. ถือจีวรไปนอกสีมา คิดว่าจักทำ ณ ที่นี้ จักไม่
กลับละ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ๓. ถือจีวรไปนอก
สีมา คิดว่าจักไม่ให้ทำ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยตก-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 225
ลงใจ ๔. ถือจีวรไปนอกสีมา คิดว่าจักให้ทำจีวร ณ ที่นี้ จักไม่กลับละ กำลัง
ทำ จีวรเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด้วยผ้าเสียหาย ๕. ถือจีวร
ไป คิดว่าจักกลับ ให้ทำจีวรนอกสีมา ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่า
ในอาวาสนั้น กฐินเดาะแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยได้ยินข่าว
๖. ถือจีวรไปคิดว่าจักกลับ ไห้ทำจีวรนอกสีมา ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วอยู่ นอก
สีมาจนกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยล่วงเขท ๗. ถือจีวรไป
คิดว่าจักกลับ ให้ทำจีวร ณ ภายนอกสีมาครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับ
จักกลับ กลับทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.
๘. สมาทายสัตตกะมี ๗ วิธี ๙. อาทายฉักกะและสมาทายฉักกะ คือ ถือจีวรที่ทำ
ค้างไว้ไปอย่างละ ๖ วิธี ในมีการเดาะ กำหนดด้วยหลีกไป ๑๐. อาทายภาณวาร
กล่าวถึงภิกษุถือจีวรไปนอกสีมาคิดว่าจักให้ทำจีวร มี ๓ มาติกา คือ:-
๑. กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ๒. กำหนดด้วยตกลงใจ ๓. กำหนดด้วย
ผ้าเสียหาย กล่าวถึงภิกษุถือผ้าหลีกไป คิดว่าจักไม่กลับไปนอกสีมาแล้วคิดว่าจัก
ทำมี ๓ มาติกา คือ:-
๑. กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ๒. กำหนดด้วยตกลงใจ ๓. กำหนดด้วย
ผ้าเสียหาย กล่าวถึงภิกษุถือจีวรหลีกไป ด้วยไม่ได้ตั้งใจภายหลังเธอคิดว่าจักไม่
กลับ มี ๓ นัย กล่าวถึงภิกษุถือจีวรไป คิดว่าจักกลับ อยู่นอกสีมา คิดว่าจัก
ทำจีวร จักไม่กลับ ให้ทำจีวรเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยทั้ง
จีวรเสร็จ ด้วยตกลงใจ ด้วยผ้าเสียหาย ด้วยได้ยินข่าว ด้วยล่วงเขท ด้วย
เดาะพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย รวมเป็น ๑๕ ภิกษุนำจีวรหลีกไปและนำจีวรทีทำ
ค้างไว้หลีกไปอีก ๔ วาระก็เหมือนกัน รวมทั้งหมด ๑๕ วิธี หลีกไปด้วยสิ้น
หวัง ด้วยหวังว่าจะได้ หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง ทั้งสามอย่างนั้น นักปราชญ์.
พึงทราบโดยนัยอย่างละ ๑๒ วิธี.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 226
๑๑. หวังได้ส่วนจีวร ผาสุวิหาร คือ อยู่ตามสบาย ๕ ข้อ ๑๒. กฐินมีปลิโพธ
และสิ้นปลิโพธ นักปราชญ์พึงแต่งหัวขอคามเค้าความเทอญ.
หัวข้อประจำขันกะ จบ
อรรถกฐินขันธกะ
เรื่องภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ
วินิจฉัยในกฐินขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ปาเยฺยกา มีความว่า เป็นชาวจังหวัดปาเฐยยะ. มีคำ
อธิบายว่า ทางค้านทิศตะวันตก ในแคว้นโกศล มีจังหวัดชื่อปาเฐยยะ,
ภิกษุเหล่านั้น มีปกติอยู่ในจังหวัดนั้น. คำว่า ปาเยฺยกา นั้น เป็นชื่อของ
พวกพระภัททวัคคิยเถระ ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมพระบิดาของพระเจ้าโกศล ใน
พระเถระ ๓๐ รูปนั้น รูปที่เป็นใหญ่กว่าทุก ๆ รูป เป็นพระอนาคามี รูปที่
ด้อยกว่าทุก ๆ รูปเป็นพระโสดาบัน; ที่เป็นพระอรหันต์ หรือปุถุชน แม้
องค์เดียวก็ไม่มี.
บทว่า อารญฺถา มีความว่า มีปกติอยู่ป่า ด้วยอำนาจสมาทาน
ธุดงค์, ไม่ใช่สักว่าอยู่ป่า. ถึงในข้อที่ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นต้น
ก็มีนัยเหมือนกัน.
อันที่จริง คำว่า มีปกติอยู่ป่า นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจธุดงค์ที่เป็น
ประธาน แต่ภิกษุเหล่านี้ สมาทานธุดงค์ทั้ง ๑๓ ทีเดียว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 227
บทว่า อุทถสงฺคเห มีความว่า เมื่อภูมิภาคถูกน้ำท่วม คือ ขังแช่
แล้ว, อธิบายว่า ทั้งที่เอนทั้งที่ลุ่ม เป็นที่มีน้ำเป็นอันเดียวกัน.
บทว่า อุทกจิกฺขลฺล มีดวามว่า ในที่ซึ่งเธอทั้งหลายเหยียบแล้ว
เหยียบแล้ว น้ำโคลนย่อมกระฉูดขึ้นถึงตะโพก, ทางลิ้นเช่นนี้.
บทว่า โอกปุณฺเณหิ มีความว่า ชุ่มโชกด้วยน้ำ.
ได้ยินว่า จีวรของพวกเธอ มีเนื้อแน่น, น้ำซึ่งตกที่จีวรเหล่านั้น จึง
ไม่ไหลไปเพราะเป็นผ้าเนื้อแน่น, ย่อมติดค้างอยู่เหมือนห่อผูกไว้ ; เพราะ
ฉะนั้นเท่านี้จึงกล่าวว่า มีจีวรชุ่มโชกด้วยน้ำ. ปาฐะว่า โอฆปุณฺเณหิ ก็มี.
วินิจฉัยในคำว่า อวิวทมานา วสฺส วสิมฺหา นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุเหล่านั้น อยู่ไม่ผาสุก เพราะไม่มีความสำราญด้วยเสนาสนะใน
ฐานที่ตนเป็นอาคันตุกะ และเพราะเป็นผู้กระวนกระวายในใจ ด้วยไม่ได้เฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้น พวกเธอจึงไม่ทูลว่า พวกข้าพระองค์ไม่
วิวาทกัน จำพรรษาเป็นผาสุก.
ข้อว่า ธมฺมึ กถ กตฺวา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอน
อนมตัคคิยกถาแก่ภิกษุเหล่านั้น. เธอทั้งหมดเทียว ได้บรรลุพระอรหันในเวลา
จบกถา แล้วได้เหาะไปในอากาศ จากที่ซึ่งตนนั่งทีเดียว. พระธรรมสังคาหกา
จารย์ทั้งหลายหมายเอาอนมตัคคิยกถานั้นกล่าวว่า ธมฺมึ กถ กตฺวา ภายหลัง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า ถ้าการกรานกฐิน จักได้เป็นการที่เราได้บัญญัติ
แล้วไซร้ ภิกษุเหล่านั้น จะเก็บจีวรไว้ผืนหนึ่งแล้ว มากับอันตรวาสกและ
อุตราสงค์จะไม่ต้องลำบากอย่างนั้น; ก็ธรรมดาการกรานกฐินนี้ อันพระพุทธเจ้า
ทุก ๆ พระองค์ ทรงบัญญัติแล้ว ดังนี้. มีพระประสงค์จะทรงอนุญาตการ
กรานกฐิน จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา, ก็แล ครั้นตรัสเรียกมาแล้ว จึงตรัส
คำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว เป็นอาทิ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 228
ว่าด้วยอานิสงส์ ๕
วินิจฉัยในคำนั้น พึงทราบดังนี้:-
ในคำว่า อตฺถตกินาน โว นี้ โว อักษร สักว่านิบาต, ความ
ว่า ผู้กรานกฐินแล้ว. จริงอยู่ เมื่อเป็นอย่างนั้น คำว่า โส เนส ภวิสฺสติ
ข้างหน้า จึงจะสมกัน.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โว นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตตินั่นเอง. ส่วนในคำว่า
โส เนส นี้ มีความว่า จีวรที่เกิดขึ้นนั้น จักเป็นของภิกษุทั้งหลาย ผู้กราน-
กฐินแล้วเที่ยว.
บรรดาอานิสงส์ ๕ นั้น ข้อว่า อนามนฺตจาโร มีความว่า กฐิน
อันสงฆ์ยังไม่รื้อ๑เพียงใด, การเที่ยวไปไม่บอกลา จักควรเพียงนั้น; คือจักไม่
เป็นอาบัติเพราะจาริตตสิกขาบท.
ข้อว่า อสมาทานจาโร ได้แก่ เที่ยวไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปด้วย.
ความว่า การอยู่ปราศจากจีวร จักควร.
ข้อว่า คณโภชน มีความว่า แม้การฉันคณโภชน์ จักควร. ข้อว่า
ยาวทตฺถจีวร มีความว่า ต้องการด้วยจีวรเท่าใด. จีวรเท่านั้น ไม่ต้อง
อธิษฐาน ไม่ต้องวิกัป จักควร.
ข้อว่า โย จ ตตฺถ จีวรูปฺปาโท มีความว่า จะเป็นจีวรของภิกษุ
สามเณรผู้มรณภาพในสีมาที่ได้กรานกฐินแล้วนั้น หรือจีวรที่ทายกถวายเฉพาะ
สงฆ์ หรือจีวรที่จ่ายมาด้วยค่ากัลปนาของสงฆ์ ซึ่งเกิดขึ้นในสีมานั้น ก็ตามที,
จีวรใดเป็นของสงฆ์เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง, จีวรนั้น จักเป็นของ
พวกเธอ.
๑. อุพฺภต แปลตามพากย์เขมรว่า เดาะ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 229
ว่าด้วยผู้ได้กรานกฐิน
วินิจฉัยในคำว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว กิน อตฺถริตพฺพ นี้
พึงทราบดังนี้:-
ในมหาปัจจรีแก้ว่า ถามว่า ใครได้กรานกฐิน ใครไม่ได้ ?
ตอบว่า ว่าด้วยอำนาจแห่งจำนวนก่อน. ภิกษุ ๕ รูปเป็นอย่างต่ำ
ย่อมได้กราน, อย่างสูงแม้แสนก็ได้. หย่อน ๕ รูป ไม่ได้.
ว่าด้วยอำนาจภิกษุผู้จำพรรษา. ภิกษุผู้จำพรรษาในปุริมพรรษา
ปวารณาในวันปฐมปวารณาแล้ว ย่อมได้, ภิกษุผู้มีพรรษาขาด หรือจำพรรษา
ในปัจฉิมพรรษา ย่อมไม่ได้; แม้ภิกษุที่จำพรรษาในวัดอื่นก็ไม่ได้. และภิกษุ
ทั้งปวงผู้จำพรรษาหลัง เป็นคณปูรกะของภิกษุผู้จำพรรษาต้นก็ได้, แต่พวกเธอ
ไม่ได้อานิสงส์ อานิสงส์ย่อมสำเร็จแก่พวกภิกษุนอกนี้เท่านั้น. ถ้าภิกษุผู้
จำพรรษาต้น มี ๔ รูปหรือ ๓ รูปหรือ ๒ รูปหรือรูปเดียว, พึงนิมนต์ภิกษุผู้
จำพรรษาหลังมาเพิ่มให้ครบคณะแล้ว กรานกฐินเถิด. ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาต้น
มี ๔ รูป, มีสามเณรอายุครบอยู่รูปหนึ่ง, หากสามเณรนั้นอุปสมบทในพรรษา
หลัง, เธอเป็นคณปูรกะได้ ทั้งได้อานิสงส์ด้วย
แม้ในข้อว่า มีภิกษุ ๓ สามเณร ๒, มีภิกษุ ๒, สามเณร ๓, มีภิกษุ
รูปเดียว สามเณร ๔ นี้ ก็มีนัยอย่างนี้แล. ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาต้น ไม่เข้าใจ
ในการกรานกฐิน. พึงหาพระเถระผู้กล่าวคัมภีร์ขันธกะ ซึ่งเข้าใจในการกราน
กฐิน นิมนต์มา; ท่านสอนให้สวดกรรมวาจา ให้กรานกฐิน แล้วรับทาน
แล้วจักไป. ส่วนอานิสงส์ย่อมสำเร็จแก่ภิกษุนอกนี้เท่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 230
ว่าด้วยผู้ถวายกฐิน
กฐินใครถวาย จึงใช้ได้ ?
บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์หรือสหธรรมิกทั้ง ๕๑ คนใดคนหนึ่งถวายก็ใช้ได้.
ธรรมเนียมของผู้ถวายกฐิน มีอยู่; ถ้าเขาไม่รู้ธรรมเนียมนั้น.
จึงถามว่า กฐินควรถวายอย่างไร เจ้าข้า ภิกษุพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า
ควรถวายผ้าพอทำไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้ ในเวลากลางวัน ว่า พวกข้าพเจ้า
ถวายผ้ากฐินจีวร, ควรถวายเข็มเท่านี้เล่มด้ายเท่านี้ น้ำย้อมเท่านี้ เพื่อทำจีวร
นั้นและถวายยาคูและภัตแก่พวกภิกษุเท่านี้รูป ผู้ช่วยทำ. ฝ่ายภิกษุผู้จะกราน
กฐินพึงกรานกฐินซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมโดยชอบ. เมื่อจะกราน ต้องรู้จักธรรม
เนียม.
จริงอยู่ แม้ผ้าที่เปื้อนน้ำข้าว โดยสืบเนื่องมาแต่เรื่องช่างหูกทีเดียว
ก็ใช้ไม่ได้, แม้ผ้าเก่าก็ใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ได้ผ้าสำหรับกรานกฐินแล้ว
ต้องซักให้สะอาด ตระเตรียมเครื่องมือสำหรับทำจีวร มีเข็มเป็นต้นไว้แล้ว
พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย ช่วยกันเย็บย่อมจีวรที่เย็บเสร็จ ให้กัปปพินทุแล้ว
กรานกฐินในวันนั้นทีเดียว. ถ้ากฐินนั้นยังไม่ทันได้กราน, ผู้อื่นนำผ้ากฐินมา;
และถวายผ้าอานิสงส์กฐินอื่น ๆ เป็นอันมาก, ผู้ใดถวายอานิสงส์มาก, พึงกราน
ด้วยผ้ากฐินของผู้นั้นเถิด. แต่ต้องชี้แจงให้ทายกอีกฝ่ายหนึ่งยินยอม.
ว่าด้วยผู้ควรกราน
ก็กฐินใครควรกราน ?
สงฆ์ให้จีวรกฐินแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้น ควรกราน.
ก็สงฆ์ควรให้ใครเล่า ?
๑ สหธรรมิก ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามาเณร สามเณรี.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 231
ภิกษุใดมีจีวรเก่า, ควรให้แก่ภิกษุนั้น. ถ้าภิกษุมีจีวรเก่าหลายรูปพึง
ให้แก่ผู้เฒ่า. ในหมู่ผู้เฒ่าเล่า ภิกษุใดเป็นมหาบุรุษสามารถทำจีวรเสร็จทัน
กรานในวันนั้น, ควรให้แก่ภิกษุนั้น ถ้าผู้เฒ่าไม่สามารถ ; ภิกษุผู้อ่อนกว่า
สามารถ; พึงให้แก่เธอ. แต่สงฆ์ควรทำความสงเคราะห์แก่พระมหาเถระ,
เพราะฉะนั้น สงฆ์พึงเรียนท่านว่า ขอท่านจงรับเถิด, พวกข้าพเจ้าจักช่วยทำ
ถวาย. ในไตรจีวรผืนใดคร่ำคร่า, ควรให้เพื่อประโยชน์แก่ผืนนั้น. ตามปกติ
พระมหาเถระครองจีวรสองชั้น พึงให้เพื่อพอทำได้สองชั้น. ถ้าแม้ท่านครอง
จีวรชั้นเดียวแต่เนื้อแน่น, แต่ผ้ากฐินเนื้อบาง ; พึงให้ให้พอสองชั้นทีเดียว เพื่อ
จะได้เหมาะสมทรง. ถึงแม้ท่านพูดอยู่ว่า เมื่อไม่ได้เราก็จะครองชั้นเดียว
ก็ควรให้สองชั้น, แต่ถ้าภิกษุใดเป็นผู้มีปกติโลภ. ไม่ควรให้แก่ภิกษุนั้น.
ท่านผู้รับนั้นเล่า ก็ไม่ควรรับด้วยคิดว่า เรากรานกฐินแล้ว ภายหลัง
จักเลาะออกทำเป็นจีวรสองผืน
ว่าด้วยกฐินวัตร
ก็แล เพื่อจะแสดงวิธีที่จะพึงให้แก่ภิกษุที่สงฆ์จะให้ พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ทรงปรารภว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็แล กฐินอันภิกษุพึงกรานอย่างนี้ ดังนี้
แล้ว จึงตรัสกรรมวาจาสำหรับให้ก่อน มีคำว่า สุณาตุ เม ภนฺเต เป็นต้น.
ก็เมื่อกฐินอันสงฆ์ให้อย่างนี้แล้ว หากผ้ากฐินนั้นเป็นของมีบริกรรมเสร็จสรรพ
แล้ว อย่างนั้นนั่นเป็นการดี: หากมีบริกรรมยังไม่สำเร็จ แม้ภิกษุรูปหนึ่ง
จะไม่ช่วยทำด้วยถือตัวว่า เราเป็นเถระ หรือว่า เราเป็นพหุสสุตะ ดังนี้ไม่
ได้; การชักเย็บและย้อม ภิกษุทั้งหมดต้องประชุมช่วยกันให้สำเร็จ ก็ข้อนี้
ชื่อกฐินวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 232
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระก็ได้ทรงทำ
กฐินวัตรมาแล้ว ในอดีตกาล. ได้ยินว่า พระอัครสาวกของพระองค์ชื่อสุชาต
เถระ ได้รับกฐิน. พระศาสดาได้ทรงนั่งทำกฐินวัตรนั้น พร้อมด้วยภิกษุ
หกล้านแปดแสนรูป.
วิธีกราน
อันภิกษุผู้กราน พึงถือเอาผ้ากฐินที่ทำเสร็จสรรพแล้วกรานกฐินตาม
วิธีท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์บริวาร๑ มีคำเป็นต้นว่า ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วย
สังฆาฏิ พึงถอนสังฆาฏิเก่า อธิษฐานสังฆาฏิใหม่ พึงลั่นวาจาว่า ข้าพเจ้า
กรานกฐิน ด้วยสังฆาฏินี้ ก็แล ครั้นกรานแล้ว พึงให้ภิกษุทั้งหลยอนุโมทนา
ตามวิธีที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์บริวาร๒ มีคำเป็นอาทิอย่างนี้แลว่า ภิกษุผู้กราน
กฐินนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประณมมือ
กล่าวอย่างนี้ว่า อตฺถต ภนฺเต สงฺฆสฺส กิน ธมฺมิโก ถินตฺถาโร
อนุโมทถ ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม
ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด, ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านี้ พึงทำผู้อุตราสงค์
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประณมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุกฐินของสงฆ์กรานแล้ว
การกรานกฐินเป็นธรรม เราอนุโมทนา; ฝ่ายพวกภิกษุนอกนี้ พึงอนุโมทนา
กฐินเป็นภิกษุทุก ๆ รูปกรานแล้ว ด้วยประการอย่างนี้.
แท้จริง ในคัมภีร์บริวาร๓ ท่านกล่าวว่า กฐินเป็นอันบุคคลสองฝ่าย
คือ ผู้กรานหนึ่ง ผู้อนุโมทนาหนึ่ง กรานแล้ว. ทั้งได้กล่าวไว้อีกว่า สงฆ์
หาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ บุคคลกรานกฐิน; แต่พระสงฆ์
อนุโมทนา เพราะคณะอนุโมทนา เพราะบุคคลกราน กฐินได้ชื่อว่า สงฆ์ได้
๑. ปริวาร. ๔๓๕. ๒. ปริวาร. ๔๓๖ ๓. นัย -ปริวาร. ๔๓๘.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 233
กราน คณะได้กราน บุคคลได้กราน ก็เมื่อกฐินกรานแล้วอย่างนั้น ถ้าแล
พวกทายกถวายอานิสงส์ที่นำมาพร้อมกับกฐินจีวรว่า ภิกษุรูปใดได้รับผ้ากฐิน
ของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุรูปนั้น ดังนี้ ภิกษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่.
ถ้าเขาไม่ทันได้สั่งเสียไว้ ถวายแล้วก็ไป ภิกษุสงฆ์เป็นใหญ่; เพราะเหตุนั้น
ถ้าแม้จีวรที่เหลือทั้งหลาย ของภิกษุผู้กรานเป็นของชำรุด สงฆ์พึงอปโลกน์ให้
ผ้าเพื่อประโยชน์แก่จีวร แม้เหล่านั้น. ส่วนกรรมวาจาคงใช้ได้ครั้งเดียวเท่า
นั้น. ผ้าอานิสงส์กฐินที่ยังเหลือ พึงแจกกันโดยลำดับแห่งผ้าจำนำพรรษา.
เพราะไม่มีลำดับ พึงแจกตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา. คุรุภัณฑ์ไม่ควรแจก. แต่ถ้า
ในสีมาเดียวมีหลายวิหาร ต้องให้ภิกษุทั้งปวงประชุมกรานกฐินในที่เดียวกัน;
จะกรานกันเป็นแผนก ๆ ไม่ควร.
อนัตถตาการและอัตถตาการ
ก็บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิธีที่กฐินจะเป็นอันกราน และไม่เป็นอันกราน
โดยพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็แลกฐินเป็นอัน
กรานแล้วด้วยอย่างนี้ ไม่เป็นอันกรานแล้วด้วยอย่างนี้ เมื่อจะทรงแสดง
อกรณียกิจ มหาภูมิกะ และอนัตถตลักขณะก่อน จึงทรงแสดงอาการ ๒๔
มีคำว่า อุลฺลิขิตตมฺตเตน เป็นต้น , ต่อจากนั้นไป เมื่อจะทรงแสดงอัตถต-
ลักขณะ จึงทรงแสดงอาการ ๑๗ มีคำว่า อหเตน อตฺถต เป็นอาทิ. จริง
อยู่ แม้ในคัมภีร์บริวาร ท่านก็ได้กล่าวลักษณะอย่างนี้เหมือนกันว่า กฐินไม่
เป็นอันกรานด้วยอาการ ๒๔ กฐินเป็นอันกรานด้วยอาการ ๑๗.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุลฺลิขิตมติเตน ได้แก่ ด้วยสักว่ากะ
ประมาณด้านยาวและค้านกว้าง. จริงอยู่ เมื่อจะกะประมาณ ย่อมใช้เล็บเป็น
ต้นกรีด แสดงที่กำหนดตัดอันนั้น หรือที่หน้าผากเป็นต้น เพื่อจำประเทศนั้นๆ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 234
เพราะเหตุนั้น การกะประมาณนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สักว่ายกขึ้น
จด.
บทว่า โธวนมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าชักผ้ากฐิน.
บทว่า จีวรวจารณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่ากะอย่างนี้ว่า จงเป็น
จีวร ๕ ขัณฑ์ หรือว่า จงเป็นจีวร ๗ ขัณฑ์ หรือว่า จงเป็นจีวร ๙ ขัณฑ์
หรือว่า จงเป็นจีวร ๑๑ ขันฑ์.
บทว่า เฉทนมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าตัดผ้าตามที่กะไว้แล้ว.
บทว่า พนฺธนมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าเนาด้วยด้ายเนา.
บทว่า โอวฏฺฏิยกรณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าเย็บตามยาวคามแนว
ด้ายที่เนา.
บทว่า กณฺฑูสกรณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าติดห่วงผ้า.
บทว่า ทฬฺหีกมฺมกรณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าเย็บผ้าดามสองผืนติด
ปะกันเข้า.
อีกอย่างหนึ่ง มีความว่า ด้วยสักว่าเย็บผ้ากฐิน ทำให้เป็นผ้าตามท้อง
แห่งผ้าดามผืนแรกที่เชื่อมติดไว้แล้ว ดังนี้บ้าง.
ในมหาปัจจรี กล่าวว่า ด้วยติดผ้ารองจีวรปกติ. ส่วนในกุรุนที
กล่าวว่า ด้วยสักว่าเชื่อมผ้าคามต้องเข้า เพื่อทำจีวรที่เย็บไว้ชั้นเดียวตามปกติ
ให้เป็นสองชั้น.
บทว่า อนุวาตกรณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าติดอนุวาตด้านยาว.
บทว่า ปริภณฺฑกรณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าติดอนุวาตด้านกว้าง.
บทว่า โอวฏฺเฏยฺยกรณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าเพิ่มผ้าคามเข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 235
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยสักว่าถือเอาผ้าจากจีวรกฐิน ติดเข้าที่ผ้าจีวรกฐิน
ผืนอื่น.
บทว่า กมฺพลมทฺทนมตฺเตน คือ ด้วยจีวรที่ใส่ลงในน้ำย้อมเพียง
ครั้งเดียว มีสีดังงาช้าง หรือมีสีดังใบไม้เหลีอง. แต่ถ้าแม้ย้อมครั้งเดียวหรือ
สองครั้ง ก็ได้สี ใช้ได้.
บทว่า นิมิตฺตกเตน คือ ด้วยผ้าที่ภิกษุทำนิมิตอย่างนี้ว่า เราจัก
กรานกฐินด้วยผ้านี้. จริงอยู่ ในคัมภีร์บริวารท่านกล่าวไว้เพียงเท่านี้ แต่ใน
อรรถกถาทั้งหลายกล่าวว่า ด้วยผ้าที่ภิกษุท่านิมิตได้มาอย่างนี้ว่า ผ้านี้ดี อาจ
กรานกฐินด้วยผ้าน้ำได้.
บทว่า ปริกถากเตน คือ ด้วยผ้าที่ภิกษุให้เกิดขึ้นด้วยพูดเลียบเคียง
อย่างนี้ว่า การถวายผ้ากฐิน สม ควรอยู่ ทายกเจ้าของกฐินย่อมได้บุญมาก ขึ้น
ชื่อว่า ผ้ากฐิน เป็นของบริสุทธิ์จริง ๆ จึงจะสมควร แม้มารดาของตน ก็
ไม่ควรออกปากขอ ต้องเป็นดังผ้าที่ลอยมาจากอากาศนั่นแล จึงจะเหมาะ.
บทว่า กุกฺกุกเตน คือ ด้วยผ้าที่ยืมมา.
ในบทว่า สนฺนิธิกเตน นี้ สันนิธิมี ๒ อย่าง คือกรณสันนิธิ ๑
นิจยสันนิธิ ๑ ในสันนิธิ ๒ อย่างนั้น การเก็บไว้ทำ ไม่ทำเสียให้เสร็จในวัน นั้น
ทีเดียว ชื่อกรณสันนิธิ. สงฆ์ได้ผ้ากฐินในวันนี้ แต่ถวายในวันรุ่งขึ้น นี้ชื่อ
นิจยสันนิธิ.
บทว่า นิสฺสคฺคิเยน คือ ด้วยผ้าที่ข้ามราตรี. แม้ในคัมภีร์บริวาร
ท่านก็กล่าวว่า ผ้าที่ภิกษุกำลังทำอยู่ อรุณขึ้นมาชื่อผ้านิสสัคคีย์
บทว่า อกปฺปกเตน คือ ด้วยผ้าที่ไม้ได้ทำกัปปพินทุ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 236
ในข้อว่า อญฺตฺร สงฺฆาฏิยา เป็นต้น มีความว่า กฐินที่กราน
ด้วยผ้าลาดเป็นต้น ซึ่งเป็นผ้าอื่น นอกจากผ้าสังฆาฏิ ผ้าอุตราสงค์ และผ้า
อันตรวาสก ไม่เป็นอันกราน.
ข้อว่า อญฺตฺร ปญฺจเกน วา อติเรกปญฺจเกน วา มีความว่า
กฐินที่กรานด้วยผ้าที่ทำเป็น ๕ ขัณฑ์ หรือเกินกว่า ๕ ขัณฑ์ แสดงมหามณฑล
และอัฑฒมณฑลเท่านั้น จึงใช้ได้. ด้วยว่า เมื่อทำอย่างนั้น จีวรเป็นอันทำได้
มณฑล เว้นจีวรนั้นเสีย กฐินที่กรานด้วยผ้าอื่นที่ไม่ได้ตัด หรือด้วยผ้าที่มี
ขัณฑ์ ๒ มีขัณฑ์ ๓ มีขัณฑ์ ๔ ใช้ไม่ได้.
ข้อว่า อญฺตฺร ปุคฺคลสฺส อตฺถารา มีความว่า กฐิน ไม่เป็น
อันกราน ด้วยการกรานของสงฆ์ หรือของคณะอื่น เพราะเว้นการกรานของ
บุคคลเสีย.
ข้อว่า นิสีมฎฺโ อนุโมทติ มีความว่า ภิกษุผู้อยู่ภายนอก
อุปจารสีมาอนุโมทนา.
บทว่า อหเตน คือ ด้วยผ้าที่ยังไม่ได้ใช้.
บทว่า อหตกปฺเปน คือ ด้วยผ้าเทียมใหม่ คือที่ซักแล้ว ครั้ง
เดียวหรือ ๒ ครั้ง.
บทว่า ปิโลติกาย คือ ด้วยผ้าเก่า.
บทว่า ปสุกูเลน คือ ด้วยผ้าบังสุกุลที่เกิดในเขต ๒๓ ในกุรุนที
และมหาปัจจรี แก้ว่า ได้แก่ ด้วยจีวรที่ภิกษุผู้ถือบังสุกุลทำด้วยผ้าที่คนเที่ยว
ขอได้มา.
บทว่า อาปณเกน มีความว่า ทายกเก็บผ้าเก่าที่ตกตามประตูร้าน
ตลาด ถวายเพื่อประโยชน์แก่กฐิน กฐินที่กรานแล้วแม้ด้วยผ้านั้นย่อมใช้ได้
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 237
บทที่เหลือพึงทราบโดยความแผกจากที่กล่าวแล้ว. แต่ในที่นี้ ใน
อรรถกถามากหลาย ได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ธรรมเท่าไรย่อมเกิดพร้อมกับการ
กรานกฐิน คำนั้นทั้งหมด พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ได้ยกขึ้นสู่บาลี
ในคัมภีร์บริวารไว้แล้วแล; เพราะฉะนั้น พึงทราบตามนัยที่มาแล้วในคัมภีร์
บริวารนั้นเถิด. เพราะว่าข้อความไร ๆ แห่งการกรานกฐินจะเสียหายไป เพราะ
ไม่กล่าวคำนั้นไว้ในที่นี้ก็หามิได้.
ว่าด้วยการรื้อกฐิน๑
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการกรานกฐินอย่างนี้แล้ว บัดนี้
จะทรงแสดงการรื้อ จึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว อุพฺภต โหติ กิน
เป็นต้น แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็กฐินจะเป็นอันรื้ออย่างไร ?
วินิจฉัยในคำนั้น พึงทราบดังนี้:-
มาติกา นั้น ได้แก่ หัวข้อ อธิบายว่า แม่บท. จริงอยู่ หัวข้อ ๘
นั้น ยังการรื้อกฐินให้เกิด.
ใน มาติกา เหล่านั้น ที่ชื่อว่า ปักกมนันติกา เพราะมีความ
หลีกไปเป็นทีสุด. ถึงมาติกาที่เหลือ ก็พึงทราบอย่างนี้.
บทว่า น ปจฺเจสฺส มีความว่า เราจักไม่มาอีก.
ก็ในการรื้อกฐินมีการหลีกไปเป็นที่สุดนี้ จีวรปลิโพธขาดก่อน อาวาส
ปลิโพธขาดทีหลัง จริงอยู่ เมื่อภิกษุหลีกไปเสียอย่างนั้น จีวรปลิโพธย่อม
ขาดในภายในสีนาทีเดียว, อาวาสปลิโพธิ ขาดในเมื่อล่วงสีมาไป.
อันที่จริง ถึงในคัมภีร์บริวาร ท่านก็กล่าวว่า:-
๑. กฐินุทฺธาร การเดาะกฐิน ก็ว่า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 238
การรื้อกฐิน มีการทลีกไปเป็นที่สุด
พระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพระอาทิตย์ตรัสไว้แล้ว,
เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทิ้งอาวาส
นี้เสียละ ดังนี้ จีวรปลิโพธขาดก่อน อาวาส
ปลิโพธขาดที่หลัง.
สองบทว่า จีวร อาทาย มีความว่า ถือเอาจีวรที่ยังไม่ทำ (หลีกไป)
บทว่า พหิสีมาคตสฺส มีความว่า ไปสู่วัดอื่นที่ใกล้เคียง.
สองบทว่า เอว โหติ มีความว่า ความรำพึงอย่างนั้นย่อมมีเพราะ
ได้เห็นเสนาสนะที่ผาสุก หรือสหายสมบัติในวัดนั้น.
ส่วนการรื้อกฐินมีความเสร็จเป็นที่สุดนี้ อาวาสปลิโพธขาดก่อน จริงอยู่
อาวาสปลิโพธนั้น ย่อมขาด ในเมื่อสักว่าเกิดความคิดในจิตขึ้นว่า เราจักไม่
กลับมาละ เท่านั้น. อันที่จริง ถึงในคัมภีร์บริวารท่านก็กล่าวว่า:-
การรื้อกฐินมีความเสร็จเป็นที่สุด
พระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพระอาทิตย์ตรัสไว้แล้ว,
เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทิ้งอาวาส
นิเสียละ ดังนี้ อาวาสปลิโพธขาดก่อน
จีวรปลิโพธขาด ก่อเมื่อจีวรเสร็จแล้ว.
แม้ในการแจกมาติกาที่เหลือ พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ แต่ในมาติกาที่เหลือ
มีแปลกกันดังนี้:-
ในการรื้อกฐินมีความตกลงใจเป็นที่สุด ปลิโพธทั้งสองย่อมขาดพร้อม
กัน ในเมื่อมาตรว่าความคิดเกิดขึ้นว่า เราจักไม่ให้ทำจีวรนี้ละ เราจักไม่กลับ
มาละ ดังนี้ทีเดียว. แท้จริง (ในคัมภีร์บริวาร) ท่านก็กล่าวไว้ว่า:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 239
การรื้อกฐินมีความตกลงใจเป็นที่สุด
พระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพระอาทิตย์ตรัสไว้แล้ว,
เมื่อภิกษุหลีกไปด้วย คิดว่า เราจักทิ้งอาวาส
นี้เสียละ ดังนี้ ปลิโพธทั้งสองขาดไม่ก่อน
ไม่หลังกัน.
ความขาดปลิโพธในการรื้อกฐินทั้งปวง พึงทราบโดยนัยอย่างนี้:-
ก็แล ความขาดปลิโพธนั้น บัณฑิตอาจทราบได้ตามนัยที่กล่าวนี้
และตามที่มีมาในคัมภีร์บริวาร, เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าวโดยพิสดาร
ส่วนความสังเขปในกฐินุทธาร ๕ มี นาสนนฺติกา เป็นต้นนี้ ดังนี้:-
ในการรื้อกฐินที่มีความเสียเป็นที่สุด อาวาสปลิโพธขาดก่อน เมื่อจีวร
เสีย จีวรปลิโพธจึงขาด.
ที่มีการฟังเป็นที่สุด จีวรปลิโพธขาดก่อน อาวาสปลิโพธขาดพร้อม
กับการฟังของภิกษุนั้น.
ที่มีความสิ้นหวังเป็นที่สุด อาวาสปลิโพธขาดก่อน, จีวรปลิโพธขาด
ต่อเมื่อสิ้นความหวังจะได้จีวรแล้ว.
ก็การรื้อกฐินมีความสิ้นหวังเป็นที่สุดนี้ มีหลายประเภท มีการแสดง
คลุกคละกันไปกับการรื้อนอกจากนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมได้ในที่ซึ่งไม่
ได้หวัง, ไม่ได้ในที่ซึ่งหวัง, เธอมีความรำพึงอย่างนี้ว่า เราจักทำจีวรนี้ในที่
นี้ละ, จักไม่กลับละ ดังนี้, เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแยกตรัส
ให้พิสดารข้างหน้า, ไม่ตรัสไว้ในลำดับนี้. แต่ได้ตรัสการรื้อกฐินมีความก้าว
ล่วงสีมาเป็นที่สุด เป็นลำดับแห่งการรื้อกฐินมีการฟังเป็นที่สุดในลำดับนี้.
ในการรื้อกฐินที่มีความก้าวล่วงสีมาเป็นที่สุดนั้น จีวรปลิโพธขาดก่อน,
อาวาสปลิโพธย่อมขาดต่อภิกษุนั้นอยู่นอกสีมา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 240
ในการรื้อกฐิน ที่มีการรื้อพร้อมกัน ปลิโพธ ๒ ขาดไม่ก่อนไม่หลังกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกฐินุทธาร ๗ ในอาทายวารอย่าง
นี้แล้ว, จึงทรงแสดงกฐินุทธาร ๗ เหล่านั้นแลอีกแห่งจีวรที่ภิกษุทำค้างไว้ ใน
สมาทายวารบ้าง ตามที่เหมาะในอาทายสมาทายวารบ้าง.
เบื้องหน้าแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกฐินุทธารทั้งหลาย ซึ่ง
สมด้วยนัยเป็นต้นว่า อนธิฏฺิเตน ซึ่งพาดพิงถึงวิธีนี้ว่า เราจักไม่กลับ ดัง
นี้เท่านั้น, ไม่พาดถึงวิธีนี้ว่า เราจักกลับภายในสีมา เราจักไม่กลับ ดังนี้ เลย.
เบื้องหน้าแต่นั้น ครั้นทรงแสดงกฐินุทธารที่มีความสิ้นหวังเป็นที่สุด
หลายครั้ง โดยนัยอันคลุกคละกับกฐินุทธารนอกนี้ ด้วยนัยเป็นต้นว่า จีวรา-
ลาย ปกฺกมฺติ แล้วทรงแดสงกฐินุทธารทั้งหลายที่สมควรใน มาติกา มี
นิฏฺานนฺติกา เป็นอาทิ เนื่องด้วยภิกษุผู้ไปสู่ทิศ และเนื่องด้วยภิกษุผู้มี
ความอยู่สำราญอีก.
ครั้นทรงแสดงกฐินุทธารโดยประเภทอย่างนี้แล้ว, บัดนี้ จะทรงแสดง
ปลิโพธซึ่งเป็นปฏิปักษ์แก่ปลิโพธทั้งหลาย ที่ตรัสไว้ว่า:-
ปลิโพธทั้งหลาย ย่อมขาดด้วยกฐินุทธารนั้น ๆ ดังนี้ จึงตรัส
คำว่า ภิกษุทั้งหลาย ปลิโพธแห่งกฐินมีองค์ ๒ เหล่านี้ ดังนี้ เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺเตน มีความว่า อาวาสนั้นเป็นสถาน
อันภิกษุสละแล้ว ด้วยความสละอันใด ชื่อ ความสละอันนั้น ด้วยความ
สละนั้น.
แม้ในความวางและความปล่อยก็นัยนี้แล คำที่เหลือทุก ๆ สถาน ตื้น
ทั้งนั้นฉะนี้และ.
อรรถกถากฐินขันธกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 241
จีวรขันธกะ
เรื่องคนมีทรัพย์ ชาวพระนครราชคฤห์
[๑๒๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ
เวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น พระนครเวสาลี เป็นบุรีมั่งคั่ง กว้างขวาง มีคนมาก มีคนคับคั่ง
และมีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มี
สวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ และมีหญิงงามเมือง
ชื่ออัมพปาลีเป็นสตรีทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบด้วยผิวพรรณ
เฉิดฉายยิ่ง ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี คนทั้งหลาย
ที่มีความประสงค์ต้องการพาตัวไปร่วมอภิรมย์ด้วย ราคาตัวคืนละ ๕๐ กษาปณ์
พระนครเวสาลีงามเพริศพริ้งยิ่งกล่าวประมาณ เพราะนางอัมพปาลีหญิงงามเมือง
นั้น ครั้งนั้น พวกคนมีทรัพย์คณะหนึ่ง เป็นชาวพระนครราชคฤห์ ได้เดินทาง
ไปพระนครเวสาลีด้วยกรณียะบางอย่าง และได้เห็นพระนครเวสาลีมั่งคั่ง กว้าง
ขวาง มีคนมาก มีคนคับคั่ง และมีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง
มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีสวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗
สระ และมีนางอัมพปาลีหญิงงามเมืองผู้ทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบ
ด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี
คนทั้งหลายที่มีความประสงค์ต้องการตัวไปร่วมอภิรมย์ด้วย ราคาตัวคืนละ ๕๐
กษาปณ์ และพระนครเวสาลี งามเพริศพริ้งยิ่งกว่าประมาณ เพราะนางอัมพ-
ปาลีหญิงงามเมืองนั้น ครั้นพวกเขาเสร็จกรณียะนั้นในพระนครเวสาลีแล้ว กลับ
มาพระนครราชคฤห์ตามเดิม เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ครั้น
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 242
แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่ท้าวเธอว่า ขอเดชะฯ พระนครเวสาลี เป็นบุรีที่มั่งคั่ง
กว้างขวาง มีคนมาก มีคนคับคั่ง และมีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗
หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีสวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี
๗,๗๐๗ สระ และมีนางอัมพปาลีหญิงงามเมืองผู้ทรงโฉมสคราญตาน่าเส้นหา
ประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉาย ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้องและประโคม
ดนตรี คนทั้งหลายประสงค์ต้องการพาตัวไปร่วมอภิรมย์ด้วยราคาตัวคืนละ ๕๐
กษาปณ์ และพระนครเวสาลีงามเพริศพริ้งยิ่งกว่าประมาณ เพราะนางอัมพปาลี
หญิงงามเมืองนั้น ขอเดชะฯ แม้ชาวเราจะตั้งหญิงงามเมืองขึ้นบ้าง ก็จะเป็น
การดี
พระราชารับสั่ง พนาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงเสาะหากุมารีผู้มี
ลักษณะงามเช่นนั้น ที่ควรจะคัดเลือกให้เป็นหญิงงามเมือง.
กำเนิดชีวกโกมารภัจจ์
ก็สมัยนั้น ในพระนครราชคฤห์ มีกุมารีชื่อสาลวดีเป็นสตรีทรงโฉม
สดราญตาน่าเสน่หา ประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง พวกคนมีทรัพย์ชาว
พระนครราชคฤห์ จึงได้คัดเลือกกุมารีสาลวดีเป็นหญิงงามเมือง ครั้นนางกุมารี
สาลวดีได้รับเลือกเป็นหญิงงามเมืองแล้ว ไม่ช้านานเท่าไรนักก็ได้เป็นผู้ชำนาญ
ในการฟ้อนรำ ขับร้องบรรเลงเครื่องดนตรี มีคนที่มีความประสงค์ต้องการ
ตัวไปร่วมอภิรมย์ ราคาตัวคืนละ ๑๐๐ กษาปณ์ ครั้นมิช้ามินาน นางสาลวดี
หญิงงามเมืองก็ตั้งครรภ์ นางจึงมีความคิดเห็นว่า ธรรมดาสตรีมีครรภ์ไม่เป็น
ที่พอใจของพวกบุรุษ ถ้าใคร ๆ ทราบว่าเรามีครรภ์ ลาภผลของเราจักเสื่อม
หมด ถ้ากระไร เราควรแจ้งให้เขาทราบว่าเป็นไข้ ต่อมานางได้สั่งคนเฝ้าประตู
ไว้ว่า ดูก่อนนายประตู โปรดอย่าให้ชายใด ๆ เข้ามา และผู้ใดถามหาดิฉัน
จงบอกให้เขาทราบว่าเป็นไข้นะ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 243
คนเฝ้าประตูนั้นรับคำนางสาลวดีหญิงงามเมืองว่า จะปฏิบัติตามคำสั่ง
เช่นนั้น หลังจากนั้น อาศัยความแก่แห่งครรภ์นั้น นางได้คลอดบุตรเป็นชาย
และสั่งกำชับทาสีว่า แม่สาวใช้ จงวางทารกนี้ลงบนกระด้งเก่า ๆ แล้วนำออก
ไปทิ้งกองหยากเยื่อ.
ทาสีนั้นรับคำนางว่า ทำเช่นนั้นได้ เจ้าค่ะ ดังนี้ แล้ววางทารกนั้น
ลงบนกระด้งเก่า ๆ นำออกไปทิ้งไว้ ณ กองหยากเยื่อ.
ก็ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เจ้าขายอภัย กำลังเสด็จเข้าสู่พระราชวัง ได้
ทอดพระเนตรเห็นทารกนั้นอันฝูงกาห้อมล้อมอยู่ ครั้นแล้วได้ถามมหาดเล็กว่า
พนาย นั้นอะไร ฝูงการุมกันตอม ?
ม. ทารก พ่ะย่ะค่ะ
อ. ยังเป็นอยู่หรือ พนาย ?
ม. ยังเป็นอยู่ พ่ะย่ะค่ะ
อ. พนาย ถ้าเช่นนั้น จงนำทารกนั้น ไปที่วังของเรา ให้นางนมเลี้ยงไว้.
คนเหล่านั้นรับสนองพระบัญชาว่า อย่างนั้น พ่ะย่ะค่ะ แล้วนำทารก
นั้นไปวังเจ้าชายอภัย มอบแก่นางนมว่า โปรดเลี้ยงไว้ด้วย อาศัยคำว่า ยังเป็น
อยู่ เขาจึงขนานนามทารกนั้นว่า ชีวก ชีวกนั้น อันเจ้าชายรับสั่งให้เลี้ยงไว้ เขา
จึงได้ตั้งนามสกุลว่า โกมารภัจจ์ ต่อมาไม่นานนัก ชีวกโกมารภัจจ์ก็รู้เตียงสา
จึงเข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่เจ้าชายอภัยว่า ใครเป็นมารดาของ
เกล้ากระหม่อม ใครเป็นบิดาของเกล้ากระหม่อม พ่ะย่ะค่ะ.
เจ้าชายรับสั่งว่า พ่อชีวก แม้ถึงตัวเราก็ไม่รู้จักมารดาของเจ้า ก็แต่ว่า
เราเป็นบิดาของเจ้า เพราะเราได้ให้เลี้ยงเจ้าไว้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 244
ชีวกโกมารภัจจ์จึงมีความคิดเห็นว่า ราชสกุลเหล่านั้นแล คนที่ไม่มี
ศิลปะจะเข้าฟังพระบารมี ทำไม่ได้ง่าย ถ้ากระไร เราควรเรียนวิชาแพทย์ไว้.
เรียนศิลปะทางแพทย์
[๑๒๙] ก็โดยสมัยนั้นแล นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ตั้งสำนักอยู่ ณ
เมืองตักกสิลา ชีวกโกมารภัจจ์ จึงไม่ทูลลาเจ้าชายอภัย ลอบเดินทางไป
เมืองตักกสิลาเดินรอนแรมไปโดยลำดับถึงเมืองตักกสิลา แล้วเข้าไปหานายแพทย์
ผู้นั้น ครั้นแล้วได้กราบเรียนคำนี้แก่นายแพทย์ว่า ท่านอาจารย์ กระผมประ-
สงค์จะศึกษาศิลปะ.
นายแพทย์สั่งว่า พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้น จงศึกษาเถิด.
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ เรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย
และวิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม ครั้นล่วงมาได้ ๗ ปี ชีวกโกมารภัจจ์คิดว่า ตัว
เราเรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้ก็ไม่ลืม แล ะ
เราเรียนมาได้ ๗ ปี แล้วยังไม่สำเร็จศิลปะนี้ เมื่อไรจักสำเร็จเสียที จึงเข้าไป
หานายแพทย์ผู้นั้นแล้วได้เรียนถามว่า ท่านอาจารย์ กระผมเรียนวิชาได้มาก
เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม และกระผมได้เรียนมา
เป็นเวลา ๗ ปีก็ยังไม่สำเร็จ เมื่อไรจักสำเร็จสักทีเล่า ขอรับ.
นายแพทย์ตอบว่า พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้น เธอจงถือเสียมเที่ยวไปรอบเมือง
ตักกสิลา ระยะทาง ๑ โยชน์ ตรวจดูสิ่งใดไม่ใช่ตัวยา จงขุดสิ่งนั้นมา.
ชีวกโกมารภัจจ์รับคำนายแพทย์ว่า เป็นเช่นนั้นท่านอาจารย์ ดังนั้น
แล้วถือเสียมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง ๑ โยชน์ มิได้เห็นสิ่งใดที่ไม่
เป็นตัวยาสักอย่างหนึ่ง จึงเดินทางกลับเข้าไปหานายแพทย์ และได้กราบเรียน
คำนี้ต่อนายแพทย์ว่า ท่านอาจารย์กระผมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง ๑
โยชน์แล้ว มิได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นยาสักอย่างหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 245
นายแพทย์บอกว่า พ่อชีวก เธอศึกษาสำเร็จแล้ว เท่านี้ก็พอที่เธอ
จะครองชีพได้ แล้วได้ให้เสบียงเดินทางเล็กน้อยแก่ชีวกโกมารภัจจ์.
ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ถือเสบียงเล็กน้อยนั้นแล้ว ได้เดินทางมุ่งไป
พระนครราชคฤห์ ครั้นเดินทางไปเสบียงเพียงเล็กน้อยนั้นได้หมดลงที่เมือง
สาเกตในระหว่างทาง จึงเกิดความปริวิตกว่าหนทางเหล่านี้แลกันดารอัตคัดน้ำ
อัตคัดอาหาร คนไม่มีเสบียงจะเดินไป ทำไม่ได้ง่าย จำเราจะต้องหาเสบียง.
ภาคปฏิบัติงานแพทย์
[๑๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภรรยาเศรษฐีที่เมืองสาเกต เป็นโรคปวด
ศีรษะอยู่ ๗ ปี นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถ
รักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก ชีวกโกมารภัจจ์จึงเข้าไปสู่เมืองสาเกต
ถามคนทั้งหลายว่า พนาย ใครเจ็บไข้บ้าง ฉันจะรักษา คนทั้งหลายพากัน
บอกว่า ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีนั้นปวดศีรษะอยู่ ๗ ปี เชิญไปรักษาภรรยา
เศรษฐีเถิดท่านอาจารย์ ชีวกโกมารภัจจ์จึงเดินทางไปบ้านเศรษฐีคหบดี ครั้น
ถึงแล้วได้สั่งคนเฝ้าประตูว่า พ่อนาย ท่านจงไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า
นายขอรับ หมอมาแล้ว เขามีความประสงค์จะเยี่ยมนาย.
คนเฝ้าประตูรับคำชีวกโกมารภัจจ์ว่า เป็นอย่างนั้นขอรับ อาจารย์
ดังนั้นแล้วเข้าไปหาภรรยาเศรษฐี แล้วได้กราบเรียนว่า นายขอรับ หมอ
มาแล้ว เขามีความประสงค์จะเยี่ยมนาย.
ภรรยาเศรษฐีถามว่า พ่อนายเฝ้าประตู หมอเป็นคนเช่นไร ?
พ. เป็นหมอหนุ่ม ๆ ขอรับ.
ภ. ไม่ละ พ่อนายเฝ้าประตู หมอหนุ่ม ๆ จักทำอะไรแก่ฉันได้ นาย
แพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ได้
ขนเงินไปเป็นอันมาก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 246
นายประตูนั้น จึงเดินออกมาหาชีวกโกมารภัจจ์ แล้วได้เรียนว่า ท่าน
อาจารย์ ภรรยาเศรษฐีพูดอย่างนี้ว่า ไม่ละ พ่อนายเฝ้าประตู หมอหนุ่ม ๆ จัก
ทำอะไรแก่ฉันได้ นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่
สามารถรักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก.
ชี. พ่อนายเฝ้าประตู ท่านจงไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า นาย
ขอรับ หมอสั่งมาอย่างนี้ว่า ขอนายอย่าเพิ่งให้อะไร ๆ ต่อเมื่อหายโรคแล้ว
นายประสงค์จะให้สิ่งใด จึงค่อยให้สิ่งนั้นเถิด
นายประตูรับคำชีวกโกมารภัจจ์ว่า เป็นอย่างนั้น ขอรับอาจารย์ ดังนั้น
แล้วเข้าไปหาภรรยาเศรษฐี ได้กราบเรียนว่า นายขอรับ หมอบอกข่าวมา
อย่างนี้ว่า ขอนายอย่าเพิ่งให้อะไร ๆ ก่อน ต่อเมื่อนายหายโรคแล้วประสงค์
จะให้สิ่งใด จึงค่อยให้สิ่งนั้นเถิด.
ภรรยาเศรษฐีสั่งว่า พ่อนายประตู ถ้าเช่นนั้นเชิญหมอมา.
นายประตูรับคำภรรยาเศรษฐีว่า อย่างนั้นขอรับ แล้วเข้าไปหาชีวก
โกมารภัจจ์ แล้วได้แจ้งให้ทราบว่า ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีขอเชิญท่าน
เข้าไป.
เริ่มรักษาภรรยาเศรษฐี
ลำดับนั้นชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปหาภรรยาเศรษฐี ครั้นแล้วตรวจดูความ
ผันแปรของภรรยาเศรษฐี แล้วได้กล่าวคำนี้แก่ภรรยาเศรษฐีว่า นายขอรับ
ผมต้องการเนยใสหนึ่งซองมือ ครั้นภรรยาเศรษฐีสั่งให้หาเนยใสหนึ่งซองมือ
มาให้ชีวกแล้ว ชีวกโกมารภัจจ์จึงหุงเนยใสหนึ่งซองมือนั้น กับยาต่าง ๆ ให้
ภรรยาเศรษฐีนอนหงายบนเตียง แล้วให้นัตถุ์ ขณะนั้นเนยใสที่ให้นัตถุ์นั้น
ได้พุ่งออกจากปาก ภรรยาเศรษฐีจึงถ่มเนยใสนั้นลงในกระโถน สั่งทาสีว่า แม่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 247
สาวใช้จงเอาสำลีซับเนยใสนี้ไว้ ชีวกโกมารภัจจ์จึงได้คิดว่า แปลกจริงพวกเรา
แม่บ้านคนนี้ช่างสกปรก เนยใสนี้จำเป็นจะต้องทั้ง ยังใช้ให้ทาสีเอาสำลีซับไว้
ส่วนยาของเรามีราคาแพง ๆ มากกว่าปล่อยให้เสีย แม่บ้านคนนี้จักให้ขวัญข้าว
อะไรแก่เราบ้าง.
ขณะนั้นภรรยาเศรษฐีสังเกตรู้อาการอันแปลของชีวกโกมารภัจจ์ แล้ว
ได้ถามคำนี้แก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า อาจารย์ท่านแปลกใจอะไรหรือ ?
ชี. เวลานี้เรากำลังคิดอยู่ว่า แปลกจริงแม่บ้านคนนี้ช่างสกปรกเหลือ
เกิน เนยใสนี้จำเป็นจะต้องทิ้ง ยิ่งใช้ให้ทาสีเอาสำลีซับไว้ ส่วนยาของเรามี
ราคาแพง ๆ มากกว่าปล่อยให้เสีย แม่บ้านคนนี้จักให้ขวัญข้าวอะไรแก่เราบ้าง
ภ. อาจารย์ พวกดิฉันชื่อว่าเป็นคนมีเหย้าเรือน จำเป็นจะต้องรู้จัก
สิ่งที่ควรสงวน เนยใสนี้ยังดีอยู่จะใช้เป็นยาสำหรับทาเท้าพวกทาสหรือกรรมกร
ก็ได้ ใช้เป็นน้ำมันเติมตะเกียงก็ได้ อาจารย์ท่านอย่าได้คิดวิตกไปเลย ค่าขวัญ
ข้าวของท่านจักไม่ลดน้อย.
คราวนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้กำจัดโรคปวดศีรษะของภรรยาเศรษฐี ซึ่ง
เป็นมา ๗ ปีให้หาย โดยวิธีนัตถุ์ ยาคราวเดียวเท่านั้น ครั้นภรรยาเศรษฐีหาย
โรคแล้ว ได้ให้รางวัลชีวกโกมารภัจจ์เป็นเงิน ๔,๐๐๐ กษาปณ์ บุตรเศรษฐี
ได้ทรามว่ามารดาของเราหายโรคแล้ว ได้ให้รางวัลเพิ่มอีก ๔,๐๐๐ กษาปณ์
บุตรสะใภ้ได้ทราบว่าแม่ผัวของเราหายโรคแล้ว ก็ได้ให้รางวัล ๔,๐๐๐ กษาปณ์
เศรษฐีคหบดีทราบว่าภรรยาของเราหายโรคแล้วได้เพิ่มรางวัลให้อีก ๔,๐๐๐
กษาปณ์ และให้ ทาส ทาสี รถม้าด้วย ชีวกโกมารภัจจ์จึงรับ เงิน ๑๖๐๐๐ กษาปณ์
กับทาส ทาสี และรถม้าเดินทางมุ่งไปพระนครราชคฤห์ ถึงพระนครราชคฤห์
โดยลำดับ เข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย ครั้นแล้วได้กราบทูลว่าเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 248
กับทาส ทาสี และรถม้านี้เป็นการกระทำครั้งแรกของเกล้ากระหม่อม ขอให้
ฝ่าพระบาทจงทรงพระกรุณาโปรดรับด่าเลี้ยงดูเกล้ากระหม่อมเถิด พระเจ้าข้า.
พระราชกุมารรับสั่งว่า อยู่เลย พ่อชีวก ทรัพย์นี้จงเป็นของเจ้า
คนเดียวเถิด และเจ้าจงสร้างบ้านอยู่ในวังของเราเถิด.
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับพระบัญชาเจ้าชายอภัยว่า เป็นพระกรุณายิ่งพระ
เจ้าข้า แล้วได้สร้างบ้านอยู่ในวังของเจ้าชายอภัย.
เรื่องพระเจ้าพิมพิสารทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก
[๑๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรง
ประชวรโรคริดสีดวงงอก พระภูษาเบื้อนพระโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้วพา
กันเย้ยหยันว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์
แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ พระราชาทรงเก้อเพราะคำเย้ยหยัน
ของพวกพระสนมนั้น ต่อมาท้าวเธอได้ตรัสเล่าความนั้นแก่เจ้าชายอภัยว่า พ่อ
อภัย พ่อป่วยเป็นโรคเช่นนั้นถึงกับภูษาเปื้อนโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้ว
พากันเยย้หยันว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ย่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระ-
องค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ เอาเถอะ พ่ออภัย เจ้าช่วยหา
หมอชนิดที่พอจะรักษาพ่อได้ให้ทีเถิด.
อ. ขอเดชะ นายชีวกผู้นี้เป็นหมอประจำข้าพระพุทธเจ้า ยังหนุ่ม
ทรงคุณวุฒิ เธอจักรักษาพระองค์ได้.
พ. พ่ออภัย ถ้าเช่นนั้นพ่อจงสั่งหมอชีวก เขาจักได้รักษาพ่อ.
ครั้งนั้นเจ้าชายอภัย สั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เจ้าจงไป
รักษาพระเจ้าอยู่หัว ชีวกโกมารภัจจ์รับสนองพระบัญชาว่าอย่างนั้นพระเจ้าข้า
แล้วเอาเล็บตักยาเดินไปในราชสำนัก ครั้นถึงแล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 249
เสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักตรวจโรคของพระองค์ แล้วรักษาโรค
ริดสีควงงอกของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช หายขาดด้วยทายาเพียง
ครั้งเดียวเท่านั้น.
ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงหายประชวรจึงรับสั่ง
ให้สตรี ๕๐๐ นาง ตกแต่งเครื่องประดับทั้งปวง ให้เปลื้องออกทำเป็นห่อแล้ว
ได้มีพระราชโองการแก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เครื่องประดับทั้งปวง
ของสตรี ๕๐๐ นางนี้จงเป็นของเจ้า.
ชี. อย่าเลย พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงโปรดระลึกว่าเป็น
หน้าที่ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด.
พ. ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงบำรุงเรากับพวกฝ่ายใน และภิกษุสงฆ์มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประมุข.
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า.
เรื่องเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์
[๑๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์ป่วยเป็นโรค
ปวดศีรษะอยู่ ๗ ปี นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคน มารักษา ก็ไม่
สามารถรักษาให้หาย ขนเงินไปเป็นอันมาก อนึ่ง เศรษฐีนั้นถูกนายแพทย์
บอกคืน นายแพทย์บางพวกได้ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจ-
กรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗.
ครั้งนั้นพวกคนร่ำรวยชาวพระนครราชคฤห์ได้มีความปริวิตกว่า
เศรษฐีคหบดีผู้นี้แล มีอุปการมากแก่พระเจ้าอยู่หัวและชาวนิคม แต่ท่านถูก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 250
นายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐี
คหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรม
ในวันท ๗ ก็ชีวกผู้นี้เป็นนายแพทย์หลวงที่หนุ่มทรงคุณวุฒิ ถ้าเช่นนั้นพวก
เราพึงทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะให้รักษาเศรษฐีคหบดี แล้ว
จึงพากันไปในราชสำนัก ครั้นถึงแล้วได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลแด่พระเจ้าพิม-
พิสารจอมเสนามาคธราชว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
เศรษฐีคหบดีผู้นี้มีอุปการะมากแก่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทและชาวนิคม แต่ท่าน
ถูกนายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐี
คหบดี จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจ-
กรรมในวันที่ ๗ ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลี
พระบาทจงทรงมีพระบรมราชโองการสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อได้รักษาเศรษฐี
คหบดี.
ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงมีพระราชดำรัสสั่ง
ชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เจ้าจงไปรักษาเศรษฐีคหบดี.
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า อย่างนั้นขอเดชะ
แล้วไปหาเศรษฐีคหบดี สังเกตอาการที่ผิดแปลกของเศรษฐีคหบดีแล้ว ได้
ถามเศรษฐีคหบดีว่า ท่านคหบดี ถ้าฉันรักษาท่านหายโรค จะพึงมีรางวัล
อะไรแก่ฉันบ้าง.
ศ. ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน และตัวข้าพเจ้า
ก็ยอมเป็นทาสของท่าน.
ชี. ท่านคฤหบดี ท่านอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้ไหม ?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 251
ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจะนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้ไหม ?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้ไหม ?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้า อาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้.
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ให้เศรษฐีคหบดีนอนบนเตียง มัดไว้กับเตียง
ถลกหนังศีรษะ เปิดรอยประสานกระโหลกศีรษะ นำสัตว์มีชีวิตออกมาสองตัว
แล้วแสดงแก่ประชาชนว่า ท่านทั้งหลายจงดูสัตว์มีชีวิท ๒ ตัวนี้ เล็กตัวหนึ่ง
ใหญ่ตัวหนึ่ง พวกอาจารย์ที่ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรม
ในวันที่ ๕ เพราะท่านได้เห็นสัตว์ตัวใหญ่นี้ มันจักเจาะกินมันสมองของเศรษฐี
คหบดีในวันที่ ๕ เศรษฐีคหบดีถูกมันเจาะกินมันสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม
สัตว์ตัวใหญ่นี้ ชื่อว่าอันอาจารย์พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว ส่วนพวกอาจารย์ที่
ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ เพราะท่านได้เห็น
สัตว์ตัวเล็กนี้ มันจักเจาะกินมันสมองของเศรษฐีคหบดีในวันที่ ๗ เศรษฐี
คหบดีถูกมันเจาะกินมันสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม สัตว์ตัวเล็กนี้ ชื่อว่า
อันอาจารย์พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว ดังนี้ แล้วปิดแนวประสานกระโหลกศีรษะ
เย็บหนังศีรษะแล้วได้ทายาสมานแผล.
ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดีได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า
ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้
ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้าง
เดียวตลอด ๗ เดือนได้ดังนี้ มิใช่หรือ ?
ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่
ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 252
ชี. ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนเถิด.
ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวาคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า
ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้าง
ที่สองตลอด ๗ เดือนได้ ดังนี้ มิใช่หรือ ?
ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่
ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนหงายตลอด ๗ เดือนเถิด.
ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์
ว่าท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนหงาย
ตลอด ๗ เดือนได้ ดังนี้ มิใช่หรือ ?
ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่
ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ถ้าฉันไม่บอกท่านไว้ ท่านก็นอนถึงเท่านั้นไม่ได้
แต่ฉันทราบอยู่ก่อนแล้ว เศรษฐีคหบดีจักหายโรคในสามสัปดาห์ ลุกขึ้นเถิด
ท่านหายป่วยแล้ว ท่านจงรู้ จะให้รางวัลอะไรแก่ฉัน ?
ศ. ท่านอาจารย์ ก็ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน ตัวข้าพเจ้าก็
ยอมเป็นทาสของท่าน.
ชี. อย่าเลย ท่านคหบดี ท่านอย่าได้ให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดแก่ฉัน
เลย และท่านก็ไม่ต้องยอมเป็นทาสของฉัน ท่านจงทูลเกล้าถวายทรัพย์แก่
พระเจ้าอยู่หัวแสนกษาปณ์ ให้ฉันแสนกษาปณ์ก็พอแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 253
ครั้นเศรษฐีคหบดีหายป่วย ได้ทูลเกล้าถวายทรัพย์แด่พระเจ้าอยู่หัว
แสนกษาปณ์. ได้ให้แก่ชีวกโกมารภัจจ์ แสนกษาปณ์.
เรื่องบุตรเศรษฐีป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้
[๑๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสีผู้เล่นกีฬา
หกคะเมน ได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้ ข้าวยาคูที่เธอดื่มเข้าไปก็ดี ข้าวสวย
ที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรค
นั้นเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่ง
ด้วยเอ็น ครั้งนั้นเศรษฐีชาวพระนครพาราณสีได้มีความปริวิตกดังนี้ว่าบุตรของ
เราได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่
ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก บุตรของเรานั้นจึงซูบผอม เศร้าหมอง
มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นเพราะโรคนั้น ถ้ากระไร เรา
พึงไปพระนครราชคฤห์แล้วทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะได้
รักษาบุตรของเรา ต่อแต่นั้นเศรษฐีชาวพระนครพาราณสีไปพระนครราชฤห์
แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ.
บุตรของข้าพระพุทธเจ้าได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่
เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เธอจึงซูบผอม
เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เพราะโรคนั้น
ขอพระราชทานพระราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงมีพระราชโอง
การสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อจะได้รักษาบุตรของข้าพระพุทธเจ้า.
ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงมีพระราช
ดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า ไปเถิด พ่อชีวก เจ้าจงไปพระนครพาราณสี
แล้วรักษาบุตรของเศรษฐีชาวกรุงพาราณสี.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 254
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระราชโองการว่า อย่างนั้นขอเดชะ ฯ
แล้วไปพระนครพาราณสี เข้าไปหาเศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี สังเกต
อาการที่ผิดแปลกของเศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี เชิญประชาชนให้ออก
ไปเสีย ขึงม่านมัดเศรษฐีบุตรไว้กับเสา ให้ภรรยาอยู่ข้างหน้า ผ่าหนังต้อง
นำเนื้องอกที่ลำไส้ออกแสดงแก่ภรรยาว่า เธอจงดูความเจ็บป่วยของสามีเธอ
ข้าวยาคูที่สามีเธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่สามีเธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระ
และปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรคนี้ สามีเธอนี้จึงซูบผอม เศร้าหมอง
มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นดังนี้ แล้วตัดเนื้องอกใน
ลำไส้ออก สอดใส่ลำไส้กลับดังเดิม แล้วเย็บหนังท้องทายาสมานแผล ต่อมา
ไม่นานเท่าไรนัก เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี ได้หายโรคแล้ว.
ครั้งนั้น เศรษฐีชาวพระนครพาราณสีคิดว่า บุตรของเราหายโรคพ้น
อันตรายแล้ว จึงให้รางวัลแก่ชีวกโกมารภัจจ์เป็นเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ ชีวก
โกมารภัจจ์รับเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์นั้นเดินทางกลับมาสู่พระนครราชคฤห์ตาม
เดิม.
เรื่องพระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงประชวรโรคผอมเหลือง
[๑๓๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าจัณฑปัชโชตราชาในกรุงอุชเชนี
ทรงประชวรโรคผอมเหลือง นายแพทย์ที่ใหญ่ ๆ มีชื่อเสียงโด่งดังหลายคน มา
รักษาก็ไม่อาจทำให้โรคหาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก ครั้งนั้น พระเจ้าจัณฑปัช-
โชตได้ส่งราชทูตถือพระราชสาสน์ ไปในพระราชสำนักพระเจ้าพิมพิสาร จอม
เสนามาคธราชมีใจความว่า หม่อมฉันเจ็บป่วยเป็นอย่างนั้น ขอพระราชทาน
พระราชวโรกาสขอพระองค์โปรดสั่งหมอชีวก เขาจักรักษาหม่อมฉัน พระ-
เจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช จึงได้ดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า ไปเถิด
พ่อชีวก เจ้าจงไปเมืองอุชเชนีรักษาพระเจ้าจัณฑปัชโชต.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 255
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระราชโองการ แล้วเดินทางไปเมือง
อุชเชนี เข้าไปในพระราชสำนัก แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าจัณฑปัชโชต ได้ตรวจอาการ
ที่ผิดแปลกของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่ท้าวเธอว่า ขอ
เดชะ ฯ ข้าพระพุทธเจ้าจักหุงเนยใส พระองค์จักเสวยเนยใสนั้น.
พระเจ้าจัณฑปัชโชตรับสั่งห้ามว่า อย่าเลย นายชีวก ท่านเว้นเนยใสเสีย
อาจรักษาเราให้หายโรคได้ด้วยวิธีใด ท่านจงทำวิธีนั้นเถิด เนยใสเป็นของน่า
เกลียด น่าสะอิดสะเอียนสำหรับฉัน.
ขณะนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้มีความปริวิตกว่า พระเจ้าอยู่หัวพระองค์
นี้แลทรงประชวรเช่นนี้ เราเว้นเนยใสเสีย ไม่อาจรักษาพระองค์ให้หายโรคได้
เอาละเราควรหุงเนยใสให้มีสี กลิ่น รส เหมือนน้ำฝาด ดังนี้ แล้วได้หุง
เนยใสด้วยเภสัชนานาชนิด ให้มีสี กลิ่น รส เหมือนน้ำฝาด ครั้นแล้วฉุก
คิดได้ว่า เนยใสที่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เสวยแล้ว เมื่อย่อย จักทำให้เรอ
พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ทรงเกรี้ยวกราด จะพึงรับสั่งให้พิฆาตเราเสียก็ได้ ถ้า
กระไรเราพึงทูลลาไว้ก่อน วันต่อมาจึงไปในพระราชสำนัก เข้าเฝ้าพระเจ้า
จัณฑปัชโชต แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่ท้าวเธอว่า ขอเดชะฯ พวกข้าพระพุทธเจ้า
ชื่อว่าเป็นนายแพทย์ จักถอนรากไม้มาผสมยาชั่วเวลาครู่หนึ่งเช่นที่ประสงค์นั้น
ขอประทานพระราชวโรกาส ขอฝ่าละอองธุลีพระบาท จงทรงมีพระราชโอง
การตรัสสั่งเจ้าพนักงานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลายว่า หมอชีวก
ต้องการไปด้วยพาหนะใด จงไปด้วยพาหนะนั้น ปรารถนาไปทางประตู
ใด จงไปทางประตูนั้น ต้องการไปเวลาใดจงไปเวลานั้น ปรารถนาจะเข้ามา
เวลาใด จงเข้ามาเวลานั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชตจึงได้มีพระราชดำรัสสั่งเจ้าพนัก
งานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลาย ตามที่หมอชีวกกราบทูลขอพระ
ราชานุญาตไว้ทุกประการ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 256
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าจัณฑปัชโชตมีช้างพังชื่อภัททวดี เดินทางได้
วันละ ๕๐ โยชน์ หมอชีวกโกมารภัจจ์จึงได้ทูลถวายเนยใสนั้นแด่พระเจ้าจัณฑ-
ปัชโชตด้วยกราบทูลว่า ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงเสวยน้ำฝาด ครั้นให้
พระเจ้าจัณฑปัชโชตเสวยเนยใสแล้วก็ไปโรงช้างหนีออกจากพระนครไปโดย
ช้างพังภัทวดี. ขณะเดียวกันนั้น เนยใสที่พระเจ้าจัณฑปัชโชตเสวยนั้นย่อย ได้
ทำให้ทรงเรอขึ้น พระเจ้าจัณฑปัชโชตจึงได้รับสั่งแก่พวกมหาดเล็กว่า พนายทั้ง
หลาย เราถูกหมอชีวกชาติชั่วลวงให้ดื่มเนยใส พวกเจ้าจงค้นจับหมอชีวกมา
เร็วไว.
พวกมหาดเล็กกราบทูลว่า หมอชีวกหนีออกจากพระนครไปโดยช้าง
พังภัททวดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าจัณฑปัชโชตมีมหาดเล็กชื่อกากะ ซึ่งอาศัยเกิด
กับอมนุษย์ เดินทางได้วันละ ๖๐ โยชน์ พระเจ้าปัชโชตจึงดำรัสสั่งกากะมหาด
เล็กว่า พ่อนายกากะ เจ้าจงไปเชิญหมอชีวกกลับมา ด้วยอ้างว่า ท่านอาจารย์
พระเจ้าอยู่หัวรับส่งให้เชิญท่านกลับไป ขึ้นชื่อว่าหมอเหล่านี้แลมีมารยามาก
เจ้าอย่ารับวัตถุอะไร ๆ ของเขา.
ครั้งนั้น กากะมหาดเล็กได้เดินไปทันชีวกโกมารภัจจ์ ผู้กำลังรับ
ประทานอาหารมื้อเช้าในระหว่างทางเขตพระนครโกสัมพี จึงได้เรียนแก่ชีวก
โกมารภัจจ์ว่าท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้เชิญท่านกลับไป.
ชี. นายกากะ ท่านจงรออยู่เพียงชั่วเวลาที่เรารับประทานอาหาร
เชิญท่านรับประทานอาหารด้วยกันเถิด.
ก. ช่างเถิด ท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งข้าพเจ้าไว้ว่า นาย
กากะ ขึ้นชื่อว่าหมอเหล่านี้มีมารยามาก อย่ารับวัตถุอะไร ๆ ของเขา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 257
ทันใดนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ ได้แซกยาทางเล็บ พลางเคี้ยวมะขาม
ป้อมและดื่มน้ำรับประทาน แล้วได้ร้องเธอเชิญกากะมหาดเล็กว่า เชิญนาย
กากะมาเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำรับประทานด้วยกัน กากะมหาดเล็กจึงคิดว่า
หมอคนนี้แลกำลังเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำรับประทาน คงไม่มีอะไรจะให้
โทษ แล้วเคี้ยวมะขามป้อมครึ่งผล และดื่มน้ำรับประทาน มะขามป้อมครึ่ง
ผลที่เขาเคี้ยวนั้นได้ระบายอุจจาระออกมาในที่นั่งเอง.
ครั้งนั้น กากะมหาดเล็กได้เรียนถามชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านอาจารย์
ชีวิตของข้าพเจ้าจะรอดไปได้หรือ ?
ชีวกโกมารภัจจ์ตอบว่า อย่ากลัวเลย พ่อนายกากะ ท่านจักไม่มี
อันตราย แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงเกรี้ยวกราด จะพึงรับสั่งให้พิฆาตเราเสียก็ได้
เพราะเหตุนั้นเราไม่กลับละ แล้วมอบช้างพังภัททวดีแก่นายกากะ เดินทางไป
พระนครราชคฤห์รอนแรมไปโดยลำดับ ถึงพระนครราชคฤห์แล้วเข้าเฝ้าพร ะ
เจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช กราบทูล เรื่องราวนั้นให้ทรงทราบทุก
ประการ.
พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งว่า พ่อชีวก เจ้าไม่กลับไปนั้นชื่อว่าได้ทำ
ถูกแล้ว เพราะพระราชาองค์นั้นเหี้ยมโหด จะพึงสั่งให้สำเร็จโทษเจ้าเสียก็ได้.
ครั้นพระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงหายประชวร ทรงส่งราชทูตไปที่สำนัก
ชีวกโกมารภัจจ์ว่า เชิญหมอชีวกมา เราจักให้พร.
ชีวกกราบทูลตอบไปว่า ไม่ต้องไปก็ได้ พระพุทธเจ้าข้า ขอใต้ฝ่า
ละอองธุลีพระบาทจงทรงโปรดอนุสรณ์ถึงความดีของข้าพระพุทธเจ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 258
พระราชทานผ้าสิไวยกะ
ก็โดยสมัยนั่นแล ผ้าสิไวยกะคู่หนึ่งบังเกิดแก่พระเจ้าจัณฑปัชโชต เป็น
ผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐ มีชื่อเด่น อุดม และเป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้งหลายเป็นอัน
มากตั้งหลายคู่ ทั้งหลายร้อยคู่ หลายพันคู่ หลายแสนคู่
ครั้งนั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงส่งผ้าสิไวยกะคู่นั้น ไปพระราชทาน
แก่ชีวกโกมารภัจจ์ ชีวกโกมารภัจจ์จึงได้มีความดำริว่าผ้าสิไวยกะนี้ พระเจ้า
จัณฑปัชโชตส่งมาพระราชทาน เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐ มีชื่อเด่น อุดม
และเป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้งหลายเป็นอันมาก ดังหลายคู่ ตั้งหลายร้อยคู่ หลายพันคู่
หลายแสนคู่ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
หรือพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชแล้ว ใครอื่นไม่ควรอย่างยิ่งเพื่อใช้ผ้า
สิไวยกะคู่นี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระโสถถ่าย
[ ๓๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมักหมม
ด้วยสิ่งอันเป็นโทษ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน
อานนท์ กายของตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ ตถาคตต้องการจะฉัน
ยาถ่าย.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เดินไปหาชีวกโกมารภัจจ์ ครั้น ถึงแล้วได้
กล่าวคำนี้กะชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านชีวก พระกายของพระตถาคตหมักหมม
ด้วยสิ่งอันเป็นโทษ พระตถาคตต้องการจะเสวยพระโอสถถ่าย ชีวกโกมารภัจจ์
กล่าวว่าพระคุณเจ้า ถ้าอย่างนั้น ขอท่านจงโปรดทำพระกายของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าให้ชุ่มชื่นสัก ๒ - ๓ วัน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 259
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทำพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้
ชุ่มชื่น ๒ - ๓ วันแล้ว เดินไปหาชีวกโกมารภัจจ์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้กะ
ชีวกโกมารภัจจ์ว่า.
ท่านชีวก พระกายของพระตถาคตชุ่มชื่นแล้ว บัดนี้ ท่านรู้กาลอัน
ควรเถิด.
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า การที่เราจะพึงทูล
ถวายพระโอสถถ่ายที่หยาบแด่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่สมควรเลย ถ้ากระไร
เราพึงอบก้านอุบล ๓ ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วทูลถวายพระตถาคต ครั้นแล้วได้
อบก้านอุบล ๓ ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้
ทูลถวายก้านอุบลก้านที่หนึ่งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงสูดก้านอุบลก้านที่ ๑ นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้จัก
ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๒ แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรง
สูดก้านอุบลก้านที่ ๒ นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้จักยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้
ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๓ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
กราบทูลว่าพระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจนทรงสูดก้านอุบลก้านที่ ๓
นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้จักยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง ด้วย
วิธีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงถ่ายถึง ๓๐ ครั้ง.
ครั้นชีวกโกมารภัจจ์ ทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ
กลับไป ขณะเมื่อชีวกโกมารภัจจ์เดินออกไปนอกซุ่มประตู แล้วได้มีความปริวิตก
ดังนี้ว่า เราทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 260
พระกายของพระตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จักไม่ยังพระผู้มีพระภาค
เจ้าให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง จักให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ถ่ายแล้วจักสรงพระกาย ครั้นสรงพระกายแล้ว จักถ่ายอีกดรั้งหนึ่ง อย่างนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของชีวก
โกมารภัจจ์ด้วยพระทัยแล้ว รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ ชีวกโกมาร-
ภัจจ์ กำลังเดินออกไปนอกซุ้มประตูวิหารนี้ ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เรา
ถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้ว พระกาย
ของพระตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จักไม่ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้
ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง จักให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถ่าย
แล้วจักทรงสรงพระกาย ครั้นสรงพระกายแล้วจักถ่ายอีกดรั้งหนึ่ง อย่างนี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงจัดเตรียม
น้ำร้อนไว้.
พระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว จัดเตรียมน้ำร้อนไว้ถวาย
ต่อมา ชีวกโกมารภัจจ์ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้านั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค
เจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถ่ายแล้วหรือ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เราถ่ายแล้ว ชีวก.
ชี. พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้ากำลังเดินออกไปนอกซุ้มประตู
พระวิหารนี้ ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เราถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้ว พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมักหมม
ด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จักไม่ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง จักให้ถ่าย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 261
เพียง ๒๙ ครั้ง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถ่ายแล้วจักสรงพระกาย ครั้นสรง
พระกายแล้วจักถ่ายอีกดรั้งหนึ่งอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงถ่ายครบ ๓๐
ครั้ง พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงโปรดสรงพระกาย ขอพระ-
สุดจงโปรดสรงพระกาย.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรงน้ำอุ่น ครั้นสรงแล้ว ทรงถ่าย
อีกดรั้งหนึ่งอย่างนี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง ลำดับ
นั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ควรเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่าง ๆ จนกว่า
จะมีพระกายเป็นปกติ.
ต่อมาไม่นานนัก พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เป็นปกติแล้ว.
กราบทูลขอพร
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ ถือผ้าสิไวยกะคู่นั้นไปในพุทธสำนัก ครั้น
ถึงแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ชีวก-
โกมารภัจจ์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระ-
พุทธเจ้าจะขอประทานพรต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าสักอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า
ภ. พระตถาคตทั้งหลายเลิกให้พรเสียแล้ว ชีวก.
ชี. ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพรที่สมควรและไม่มีโทษ พระพุทธ
เจ้าข้า.
ภ. จงว่ามาเถิด ชีวก.
ชี. พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระสงฆ์ทรงถือผ้าบังสุกุล
เป็นปกติอยู่ ผ้าสิไวยกะของข้าพระเจ้าคู่นี้ พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงส่งมาพระ
ราชทาน เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐ มีชื่อเสียงเด่นอุดม และเป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 262
หลายเป็นอันมาก ตั้งหลายคู่ ตั้งหลายร้อยคู่ หลายพันคู่ หลายแสนคู่ ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดรับผ้าคู่สิไวยกะของข้าพระพุทธเจ้า
และขอจงทรงพระพุทธานุญาตคหบดีจีวรแก่พระสงฆ์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผ้าคู่สิไวยกะแล้ว ครั้นแล้ว ทรงชี้แจงให้
ชีวกโกมารภัจจ์ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้น
ชีวกโกมารภัจจ์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ
ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประ-
ทักษิณกลับไป.
พระพุทธานุญาติคหบดีจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตคหบดีจีวร รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุล รูปใด
ปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร แต่เราสรรเสริญการยินดี ด้วยปัจจัยตามมีดาม
ได้.
[๑๓๖] ประชาชนในพระนครราชคฤห์ได้ทราบข่าวว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย ต่างพากันยินดีร่าเริงว่า
บัดนี้แล พวกเราจักถวายทาน จักบำเพ็ญบุญ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย เพียงวันเดียวเท่านั้น จีวรหลายพันผืนได้
เกิดขึ้นในพระนครราชคฤห์ ประชาชนชาวชนบทได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย ต่างพากันยินดีร่าเริงว่า บัดนี้
แล พวกเราจักถวายทาน จักบำเพ็ญบุญเพราะพระผู้พระภาคเจ้าทรงอนุญาต
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 263
คหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย เพียงวันเดียวเท่านั้น จีวรหลายพันผืนได้เกิดขึ้น
แม้ในชนบท.
พระพุทธานุญาตปาวารและผ้าโกเชาว์
[๑๓๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ผ้าปาวารเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแค่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตผ้าปาวาร.
ผ้าปาวารแกมไหม เกิดขึ้นแก่พระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรา
อนุญาตผ้าปาวารแกมไหม.
ผ้าโกเชาว์เกิดขึ้นแก่พระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าโกเชาว์
ปฐมภาณวาร จบ
พระพุทธนุญาตผ้ากัมพล
[๑๓๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้ากาสีทรงพระกรุณาส่งผ้ากัมพล
มีราคาครึ่งกาสี คือ ควรราคากึ่งกาสี มาพระราชทานแก่ชีวกโกมารภัจจ์ ครั้ง
นั้น ชีวกโกมารภัจจ์รับพระราชทานผ้ากัมพลราคากึ่งกาสีนั้นแล้ว เข้าไปใน
พุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ชีวกโกมารภัจจ์นั่งเฝ้าเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ผ้ากัมพลของข้าพระพุทธเจ้าผืนนี้ราคาครึ่งกาสี คือ
ควรราคากึ่งกาสี พระเจ้ากาสีทรงพระกรุณาส่งมาพระราชทาน ขอพระผู้มีพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 264
ภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดรับผ้ากัมพลของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์
และความสุขแก่ข้าพระพุทธเจ้า ตลอดกาลนานด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผ้ากัมพล ครั้นแล้วทรงชี้แจงให้ชีวกโกมาร
ภัจจ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นชีวกโกมาร
ภัจจ์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจง ให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ
กลับไป.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้า
กมพล.
พระพุทธานุณาตคหบดีจีวร ๖ ชนิด
[๑๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล จีวรทั้งเนื้อดีและเลวเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ครั้ง
นั้นภิกษุทั้งหลายไว้มีความปริวิตกดังนี้ว่า จีวรชนิดไรหนอแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาต ชนิดไรไม่ทรงอนุญาต แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวร ๖
ชนิด คือจีวรทำด้วยเปลือกไม้ ๑ ทำด้วยฝ้าย ๑ ทำด้วยไหม ๑ ทำด้วยขนสัตว์
๑ ทำด้วยป่าน ๑ ทำด้วยของเจือกัน ๑.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายที่ยินดีคหบดีจีวรนั้นพากันรังเกียจ ไม่
ยินดีผ้าบังสุกุลด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตจีวรอย่างเดียวเท่านั้น
ไม่ใช่ ๒ อย่าง จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ยินดีคหบดีจีวร ยินดีผ้าบังสุกุลได้
แต่เราสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรทั้งสองนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 265
เรื่องขอส่วนแบ่ง
[๑๔๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปด้วยกัน เดินทางไกลไปใน
โกศลชนบท บางพวกแวะเข้าสุสาน เพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุล บางพวกไม่รอ
คอย บรรดาภิกษุที่แวะเข้าสุสานเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลนั้น ต่างก็ได้ผ้าบังสุกุล
พวกที่ไม่รอคอยนั้นพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ขอท่านจงให้ส่วนแบ่งแก่
พวกข้าพเจ้าบ้าง ภิกษุพวกนั้นพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราไม่ให้ส่วนแบ่ง
แก่ท่าน เพราะเหตุไรพวกท่านจึงไม่รอคอยเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ไม่ปรารถนา ไม่ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุพวกที่ไม่รอคอย.
สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปด้วยกัน เดินทางไกลไปในโกศลชนบท
บางพวกแวะเข้าสุสานเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุล บางพวกรอคอยอยู่ บรรดาพวก
ที่แวะเข้าสุสานเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลนั้น ต่างก็ได้ผ้าบังสุกุล พวกภิกษุที่รอคอย
อยู่นั้น พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลายขอพวกท่านจงให้ส่วนแบ่งแก่พวกข้าพเจ้า
บ้าง ภิกษุพวกนั้น พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกข้าพเจ้าจักไม่ให้ส่วน
แบ่งแก่พวกท่าน เพราะเหตุไรพวกท่านจึงไม่แวะเข้าไปเล่า แล้วกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้
ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่ปรารถนา ก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุพวกที่รอคอย.
สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปด้วยกัน เดินทางไกลไปในโกศลชนบท
บางพวกแวะเข้าสุสานก่อน เพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุล บางพวกแวะเข้าทีหลัง
ภิกษุที่แวะเข้าสุสานก่อนเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลนั้น ต่างก็ได้ผ้าบังสุกุล พวก
ภิกษุที่แวะเข้าทีหลังไม่ได้จึงพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ขอพวกท่านจงให้
ส่วนแบ่งแก่พวกข้าพเจ้าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า พวกข้าพเจ้าจักไม่ให้
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 266
ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน เพราะเหตุไรพวกท่านจึงแวะเข้าไปทีหลังเล่า แล้วกราบ
ทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่ปรารถนาไม่ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุพวกที่แวะเข้า
ไปทีหลัง.
สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปด้วยกัน เดินทางไกลไปในโกศลชนบท ภิกษุ
เหล่านั้น แวะเข้าสุสาน เพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลพร้อมกัน บางพวกได้ผ้าบังสุกุล
บางพวกไม่ได้ พวกที่ไม่ได้พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ขอพวกท่านจงให้
ส่วนแบ่งแก่พวกข้าพเจ้าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
พวกข้าพเจ้าจักไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมพวกท่านจึงหาไม่ได้เล่า แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุทั้งหลายที่แวะ
เข้าไปพร้อมกัน.
สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปด้วยกัน เดินทางไกลไปในโกศลชนบท ภิกษุ
เหล่านั้นนัดแนะกันแล้วแวะเข้าสุสาน เพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุล บางพวกได้ผ้า
บังสุกุล บางพวกไม่ได้ พวกที่ไม่ได้พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ขอพวก.
ท่านจงให้ส่วนแบ่งแก่พวกข้าพเจ้าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง
หลายพวกข้าพเจ้าจักไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมพวกท่านจึงหาไม่ได้เล่า
แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุพวกที่
นัดแนะกันไว้แล้ว แวะเข้าไป.
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับจีวร
[๑๔๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนถือจีวรมาสู่อาราม พวกเขาหา
ภิกษุ เจ้าหน้าที่รับไม่ได้จึงนำกลับไป จีวรเกิดขึ้นน้อย ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 267
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตไห้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร คือ:-
๑. ไม่ถึงความล่าเอียงเพราะความชอบพอ.
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง.
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย.
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่รับไว้ และยังมิได้รับ.
วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.
สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร นี้
เป็นญัตติ.
ท่านเจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้
เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น ฟังเป็นผู้นั่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด.
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวรแล้ว ชอบแก่
สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 268
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้เก็บจีวร
[๑๘๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร รับ
จีวรแล้วทิ้งไว้ในที่นั้นแหละ แล้วหลีกไป จีวรเสียหาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร คือ:-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ.
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง.
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย.
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ.
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่เก็บไว้ และยังมิได้เก็บ.
วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.
สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้า น้ำที่เก็บจีวร นี้
เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้
ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บ
จีวรชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 269
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ชอบแก่
สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระพุทธอนุญาตเรือนคลัง
[๑๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ได้
เก็บจีวรไว้ในมณฑปบ้าง ที่โคนไม้บ้าง ที่ชายคาบ้าง ที่กลางแจ้งบ้าง จีวร
ถูกหนูกัดบ้าง ถูกปลวกกินบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ
วิหาร เพิง เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้า ที่สงฆ์จำหมายให้เป็นเรือนคลัง.
วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้
สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง นี้เป็น
ญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้
ให้เป็นเรือนคลัง การสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
พูด.
สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นเรือนคลังแล้ว ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 270
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง
[๑๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล จีวรในเรือนคลังของสงฆ์ ไม่มีตนเฝ้า
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่
รักษาเรือนคลัง คือ:-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ.
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง.
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย.
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่รักษา และยังมิได้รักษา.
วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.
สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษา
เรือนคลัง นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ่าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้
เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้า
ที่รักษาเรือนคลัง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 271
สงฆ์สมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง
แล้วชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระพุทธบัญญัติห้ามย้ายเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง
[๑๔๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ย้ายเจ้าหน้าที่รักษาเรือน
คลัง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงย้ายเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง รูปใดย้าย
ต้องอาบัติทุกกฏ.
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้แจกจีวร
[๑๔๖] ก็โดยสมัยนั้นแล จีวรในเรือนคลังของสงฆ์มีมาก ภิกษุทั้ง
หลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ผู้อยู่พร้อมหน้าแจก.
สมัยต่อมา สงฆ์ทั้งปวงกำลังแจกจีวรได้ส่งเสียงอื้ออึง ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ปรกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร คือ:-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ.
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง.
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ.
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่แจกแล้ว และยังมิได้แจก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 272
วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.
สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประ-
กาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร
นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้
เป็นเจ้าหน้าที่แจกาจีวร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจก
จีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้น พึงพูด.
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรแล้ว ชอบ
แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนิไว้ด้วยอย่างนี้.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็น เจ้าหน้าที่แจกจีวร ได้มีความปริวิตกดังนี้
ว่าควรแจกจีวรอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแค่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
แนะวิธีแจกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คัดเลือกผ้าก่อน แล้วดี
ราคาคิดถัวกัน นับภิกษุ ผูกผ้าเป็นมัด ๆ แล้วตั้งส่วนจีวรไว้.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร ได้มีความปริวิตกว่า
พึงให้ส่วนจีวรแก่สามเณรอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนกึ่ง
หนึ่งให้แก่พวกสามเณร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 273
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาจะรีบเดินทางไปกับส่วนของตน
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนของคนแก่ภิกษุผู้รีบเดินทางไป.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง ปรารถนาจะรีบเดินทางไปกับส่วนพิเศษ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนพิเศษในเมื่อให้สิ่งของทดแทนสมกัน.
ครั้งนั้น ภิกษุเจ้าหน้าที่แจกจีวรคิดว่า พึงให้ส่วนจีวรอย่างไรหนอ
คือพึงให้ตามลำดับภิกษุผู้มา หรือพึงให้ตามลำดับภิกษุผู้แก่พรรษา จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้สมยอมส่วนที่บกพร่อง แล้วทำการจับสลาก.
พระพุทธนุญาตน้ำย้อมเป็นต้น
[๑๔๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายย้อมจีวรด้วยโคมัยบ้าง ด้วย
ดินแดงบ้าง จีวรมีสีคล้ำ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม ๖ อย่าง คือ น้ำย้อม
เกิดแต่รากหรือเง่า ๑ น้ำย้อมเกิดแต่ต้นไม้ ๑ น้ำย้อมเกิดแต่เปลือกไม้ ๑ น้ำ
ย้อมเกิดแต่ใบไม้ ๑ น้ำย้อมเกิดแต่ดอกไม้ ๑ น้ำย้อมเกิดแต่ผลไม้ ๑.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายย้อมจีวรด้วยน้ำย้อมที่เย็น จีวรมีกลิ่นสาบ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้อย้อมขนาดเล็กเพื่อต้มน้ำย้อม.
น้ำย้อมล้นหม้อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกตะกร้อกันล้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 274
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่าน้ำย้อมต้มสุกแล้ว หรือยังไม่สุก จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้หยดหยาดน้ำลงในน้ำ หรือหลังเล็บ.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายยกหม้อน้ำย้อมลง ทำหม้อกลิ้งไป หม้อแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกระบวยตักน้ำย้อมอันเป็นภาชนะมีด้าม.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายไม่มีภาชนะสำหรับย้อม จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
อ่างสำหรับย้อม หม้อสำหรับย้อม.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายขยำจีวรในถาดบ้าง ในบาตรบ้าง จีวรฉีกขาด
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรางสำหรับย้อม.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายตากจีวรบนพื้นดิน จีวรเปื้อนฝุ่น ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องรองทำด้วยหญ้า.
เครื่องรองทำด้วยหญ้าถูกปลวกกัด ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ราวจีวร สายระเดียง.
ภิกษุทั้งหลายตากจีวรตอนกลาง น้ำย้อมหยดออกทั้งสองชาย ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกมุมจีวรไว้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 275
มุมจีวรชำรุด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แค่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตด้ายผูกมุมจีวร.
น้ำย้อมหยดออกชายเดียว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ย้อมจีวร
พลิกกลับไปกลับมา แต่เมื่อหยาดน้ำยังหยดไม่ขาดสาย อย่าหลีกไป.
สมัยต่อมา จีวรเป็นผ้าเนื้อแข็ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จุ่ม
ลงในน้ำ
สมัยต่อมา จีวรเป็นผ้ากระค้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทุบ
ด้วยฝ่ามือ.
พระพุทธบัญญัติห้ามใช้จีวรที่ไม่ตัด
[๑๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ใช้จีวรที่ไม่ได้ตัด ใช้จีวร
ที่ย้อมน้ำฝาด มีสีเหมือนงาช้าง ประชาชนจึงพากันเพ่งโทษติเตียน โพนทะนา
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงใช้จีวรที่มิได้ตัด รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญชาให้แต่งจีวร
[๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางทักขิณาติรีชนบท พระ-
องค์ทอดพระเนตรเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นต้นนาสีเหลี่ยม
พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่าง ๆ ด้วยคันนา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 276
สั้น ๆ พูนคันนาเชื่อมกันดังทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกัน
ไป ครั้นแล้ว รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์เธอเห็นนาของชาวมคธ
ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูน
คันนาคั่นในระหว่าง ๆ ด้วยคันนาสั้น ๆ พูนคันนาเชื่อมกันดังทาง ๔ แพร่ง
ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกันไปหรือไม่ ?
อา. เห็นตามพระพุทธดำรัส พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลายให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่ ?
อา. สามารถ พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิรีชนบทตามพระ-
พุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จกลับมาพระนครราชคฤห์อีก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์
แต่งจีวรสำหรับภิกษุหลายรูป ครั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กราบทูล
ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงทอดพระเนตรจีวรที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสสรรเสริญท่านพระอานนท์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์เป็นคนเจ้าปัญญา อานนท์ได้ซาบซึ้ง
ถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อได้โดยกว้างขวาง อานนท์ทำผ้าชื่อกุสิก็ได้
ทำผ้าชื่ออัฑฒกุสิก็ได้ ทำผ้าชื่อมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่ออัทฒมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่อ
วิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่ออนุวิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่อดีเวยยกะก็ได้ ทำผ้าชื่อชังเฆย-
ยกะก็ได้ และทำผ้าชื่อพาหันตะก็ได้จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วย
ศัสตรา สมควรแก่สมณะและพวกศัตรูไม่ต้องการ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 277
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิตัด ผ้าอุตราสงค์ตัด ผ้า
อันตรวาสกตัด.
เสด็จพระพุทธดำเนินทางไกล
[๑๕0] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครราชคฤห์
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครเวสาลี พระองค์
เสด็จพระพุทธดำเนินทางไกลระหว่างพระนครราชคฤห์ และระหว่างพระนคร
เวสาลีต่อกัน ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุหลายรูป หอบผ้าพะรุงพะรัง บ้างก็
ทูนห่อผ้า ที่พับดังฟูกขึ้นบนศีรษะ บ้างก็แบกขึ้นบ่า บ้างก็กะเดียดไว้ที่สะเอว
เดินมาอยู่ ครั้นแล้ว ได้ทรงดำริว่า โมฆบุรุษเหล่านี้ เวียนเมาเพื่อความมักมาก
ในจีวรเร็วนัก เราจะพึงกั้นเขต ตั้งกฎในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย ครั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลี
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์ เขตพระนครเวสาลีนั้น
ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผ้าจีวรผืนเดียว ประทับนั่ง
อยู่กลางแจ้งตอนกลางคืน ขณะน้ำค้างตก ในราตรีเหมันตฤดู กำลังหนาว
ตั้งอยู่ระหว่างเดือน ๓ กับเดือน ๔ ต่อกัน ความหนาวไม่ได้มีแก่พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อปฐมยามผ่านไปแล้ว ความหนาวจึงได้มีแก่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ จึงห่มจีวรผืนที่สอง ความหนาวไม่ได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อมัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ความหนาวจึงได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ จึงทรง
ห่มจีวรผืนที่สาม ความหนาวไม่ได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อปัจฉิมยามผ่าน
ไปแล้ว ขณะรุ่งอรุณแห่งราตรีอันเป็นเบื้องต้นแห่งความสดชื่น ความหนาว
ได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ จึงทรงห่มจีวรผืนที่สี่ ความหนาวไม่ได้มีแก่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 278
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ได้ทรงพระดำริว่า กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ ที่เป็นคน
ขี้หนาว กลัวต่อความหนาว อาจดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยผ้าสามผืน ไฉนหนอเรา
เราจะพึงกั้นเขต ตั้งกฎ ในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย เราพึงอนุญาตผ้าสามผืน.
พระพุทธนุญาตไตรจีวร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลายว่า เราเดินทางไกลในระหว่างพระนครราชคฤห์ และระหว่างพระนครเว-
สาลีต่อกัน ได้เห็นภิกษุหลายรูปในธรรมวินัยนี้ หอบผ้าพะรุงพรัง บ้างก็
ทูนห่อผ้าที่พับดังฟูกขึ้นบนศีรษะบ้างก็แบกขึ้นบ่า บ้างก็กระเดียดไว้ที่สะเอว
เดินมาอยู่ ครั้นแล้วเราได้ดำริว่าโมฆบุรุษเหล่านี้ เวียนมาเพื่อความมักมาก
ในจีวรเร็วนัก ไฉนหนอเราจะพึงกั้นเขต ตั้งกฎ ในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราครองผ้าผืนเดียว นั่งอยู่กลางแจ้ง ณ ตำบล
นี้ตอนกลางคืน ขณะน้ำค้างตก ในราตรีเหมันตฤดู กำลังหนาว ตั้งอยู่
ระหว่างเดือน ๓ กับระหว่างเดือน ๔ ต่อกัน ความหนาวมิได้มีแก่เรา เมื่อ
ปฐมยามผ่านไปแล้วความหนาวจึงได้มีแก่เรา เราจึงห่มจีวรผืนที่สอง ความ
หนาวมิได้มีแก่เรา เมื่อมัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ความหนาวได้มีแก่เรา เราจึง
ห่มจีวรผืนที่สาม ความหนาวมิได้มีแก่เรา เมื่อปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ขณะ
รุ่งอรุณแห่งราตรีอันเป็นเบื้องต้น แห่ความสดชื่น ความหนาวจึงได้มีแก่เรา
เราจึงห่มจีวรผืนที่สี่ ความหนาวมิได้มีแก่เรา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 279
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้ดำริว่า กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ ที่เป็น
คนขี้หนาว กลัวต่อความหนาว ก็อาจดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยผ้าสามผืน ไฉนหนอ
เราจะพึงกั้นเขต ตั้งกฎ ในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย เราจะพึงอนุญาตไตรจีวร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไตรจีวร คือ ผ้าสังฆาฏิ ๒ ชั้น
ผ้าอุตราสงค์ชั้นเดียว ผ้าอันตรวาสกชั้นเดียว.
พระพุทธบัญญัติอดิเรกจีวร
[๑๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตไตรจีวร จึงใช้จีวรสำรับหนึ่งสำหรับเข้าบ้าน สำรับหนึ่งสำหรับ
อยู่ในอาราม สำรับหนึ่งสำหรับลงสรงน้ำ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . .
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ทรงอดิเรกจีวรเล่า
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึ่งทรงอดิเรกจีวร รูปใดทรง พึงปรับอาบัติตามธรรม.
สมัยต่อมา อดิเรกจีวรบังเกิดขึ้นแก่ท่านเพระอานนท์ และท่านประสงค์
จะถวายจีวรนั้นแค่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านพระสารีบุตรอยู่ถึงเมืองสาเกต
ท่านพระอานนท์จึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า
ภิกษุไม่พึงทรงอดิเรกจีวร ก็อดิเรกจีวรนี้บังเกิดแก่เรา และเราก็ใคร่จะถวาย
จีวรผืนนี้แก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านอยู่ถึงเมืองสาเกต เราพึงปฏิบัติอย่างไร
หนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า อานนท์ยังอีกนานเท่าไร สารีบุตรจึง
จะกลับมา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 280
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ยังอีก ๙ วัน หรือ ๑๐ วัน พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหละหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง.
พระพุทธานุญาตให้วิกัปอดิเรกจีวร
สมัยต่อมา อดิเรกจีวรบังเกิดแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ได้มีความปริวิตกว่า พวกเราจะพึงปฏิบัติในอดิเรกจีวรอย่างไรหนอ แล้วกราบ
ทูลเรื่องนั้นแค่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้วิกัปอดิเรกจีวร.
พระพุทธานุญาตผ้าปะเป็นต้น
[๑๕๒] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครเวสาลีตาม
พระพุทธาภิมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครพาราณสี เสด็จ
พระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ ถึงพระนครพาราณสี ทราบว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อิสิปตนะมฤคทายวันเขตพระนครพาราณสีนั้น
สมัยนั้น ผ้าอันตรวาสกของภิกษุรูปหนึ่งขาดทะลุ และท่านได้มีความปริวิตกว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้า ๓ ผืน คือ ผ้าสังฆาฏิสองชั้น ผ้าอุตราสงค์
ชั้นเดียว ผ้าอันตรวาสกชั้นเดียว ก็ผ้าอันตรวาสกของเรานี้ขาดทะลุ ไฉนหนอ
เราพึงดามผ้าปะ โดยรอบจักเป็นสองชั้นตรงกลางจักเป็นชั้นเดียว ดังนี้แล้ว
คามผ้าปะทันที พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินไปตามเสนาสนะ ได้
ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นกำลังดามผ้าปะ ครั้นแล้วเสด็จเข้าไปใกล้ภิกษุนั้น
ได้ตรัสถามว่า เธอกำลังทำอะไร ภิกษุ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 281
ภิ. กำลังปะผ้า พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดีละ ดีละ ภิกษุ เป็นการชอบแท้ ภิกษุ ที่เธอดามผ้าปะ.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิ ๒ ชั้น ผ้าอุตราสงค์ชั้นเดียว ผ้าอันตรวาสกชั้นเดียว
สำหรับผ้าใหม่มีกัปปะใหม่ ผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ผ้าอุตราสงค์ ๒ ชั้น อันตรวาสก
๒ ชั้น สำหรับผ้าที่เก็บไว้ล่วงฤดู พึงทำอุตสาหะในผ้าบังสุกุลจนพอต้องการ
หรือทำอุตสาหะในผ้าที่ตกจากร้านตลาด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปะ การชุน รังดุม ลูกดุม การ
ทำให้มั่น .
เรื่องนางวิสาขา มิคารมาตา
[๑๕๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครพาราณสี
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จ
พระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ ถึงพระนครสาวัตถี ทราบว่าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกะคหบดี เขต
พระนครสาวัตถีนั้น ครั้งนั้น นางวิสาขา มิคารมาตา เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้
นางผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
นางผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มี-
พระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของหม่อม-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 282
ฉันเพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยดุษณีภาพ ครั้นนางทราบการรับ
อาราธนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
เจ้าทำประทักษิณกลับไป ครั้นผ่านราตรีนั้นไป ฝนตั้งเค้าขึ้นในทวีปทั้ง ๔ ตก
ลงมาห่าใหญ่.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ฝนตกในเขตวันฉันใด ตกในทวีปทั้ง ๔ ก็ฉันนั้น พวกเธอจงสรง
สนานกายกันเถิด เพราะเป็นครั้งสุดท้ายที่ฝนห่าใหญ่ตั้งเค้าขึ้นในทวีปทั้ง ๔.
ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระพุทธบัญชาว่า เป็นดังพระพุทธดำรัส
พระพุทธเจ้าข้า แล้วพากันเปลื้องผ้าสรงสนานกายอยู่.
ครั้งนั้น นางวิสาขา มิคารมาตา สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของบริโภค
อันประณีต แล้วสั่งทาสีว่า ไปเถิดแม่ เจ้าจงไปอารามแล้วแจ้งภัตกาลว่า ถึง
เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าข้า.
ทาสีนั้นรับคำว่า เป็นเช่นนั้น เจ้าข้า แล้วไปวัด ได้เห็นภิกษุเปลื้องผ้า
สรงสนานกาย ครั้นแล้วเข้าใจผิดคิดว่า ในอารามไม่มีภิกษุ มีแต่พวกอาชีวก
สรงสนานอยู่ จึงกลับไปบ้านได้แจ้งความแก่นางวิสาขา มิคารมาตาว่า นาย
ภิกษุไม่มีในอาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงสนานอยู่ เจ้าค่ะ.
นางวิสาขา มิคารมาตา เป็นสตรีฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญารู้ได้ทัน
ทีว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายคงเปลื้องผ้าพากันสรงสนานกายเป็นแน่ นางคนนี้
เขลา จึงสำคัญว่า ไม่มีภิกษุในอาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงสนานกายอยู่ จึง
สั่งสาวใช้ว่าไปเถิดแม่ทาสี เจ้าจงไปอาราม แล้วแจ้งภัตกาลว่า ถึงเวลาแล้ว
ภัตตาหารเสร็จแล้วเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 283
ครั้นเวลาต่อมา ภิกษุเหล่านั้น ทำตัวให้เย็น มีกายงาม ต่างถือจีวร
เข้าไปสู่ที่อยู่ตามเดิม ทาสีนั้นจึงไปวัดไม่เห็นภิกษุทั้งหลาย จึงเข้าใจผิดคิดว่า
ไม่มีภิกษุในอาราม อารามว่างเปล่า จึงกลับไปบ้านแล้วแจ้งความนั้นแก่นาง
วิสาขา มิคารมาตาว่า ไม่มีภิกษุในอาราม อารามว่างเปล่า เจ้าค่ะ.
นางวิสาขา มิคารมาตา เป็นสตรีฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญารู้ได้
ทันทีว่าพระคุณเจ้าทั้งหลาย คงทำตัวให้เย็น มีกายงาม ต่างถือจีวรเข้าไปสู่ที่
อยู่ตามเดิมเป็นแน่ นางคนนี้เขลาจึงสำคัญว่า ไม่มีภิกษุในอาราม อารามว่าง
เปล่า แล้วสั่งสาวใช้อีกว่า ไปเถิดแม่ทาสี เจ้าจงไปอาราม แล้วแจ้งภัตกาล
ว่า ถึงเวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอจงเตรียมบาตรจีวร ถึงเวลาภัตตาหารแล้ว.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธบัญชาว่า เป็นอย่างนั้น พระ
พุทธเจ้าข้า.
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร
เสด็จหายไปในพระเชตวัน มาปรากฏที่ซุ้มประตูบ้านนางวิสาขา มิคารมาตา
ดุจบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น พระองค์ประทับนั่ง
เหนือพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย พร้อมด้วยพระสงฆ์.
ขณะนั้น นางวิสาขา มิคารมาตา กล่าวว่า ชาวเราผู้เจริญ น่าอัศจรรย์
จริงหนอ ชาวเราผู้เจริญประหลาดจริงหนอ พระตถาคต ชื่อว่ามีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากเพราะเมื่อห้วงน้ำไหลนองไปเพียงเข่าบ้าง เพียงสะเอวบ้า เท้า
หรือจีวรของภิกษุแม้รูปหนึ่ง ก็ไม่ได้เบียกน้ำ ดังนี้แล้ว ร่าเริง เบิกบานใจ
อังคาสภิกษุสงฆ์แม้พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 284
ด้วยมือของตน ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จแล้ว จนทรงนำพระหัตถ์ออก
จากบาตรให้ห้ามภัตรแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า หม่อมฉันทูลขอประทานพร ๘ ประการต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ตถาคตเลิกไห้พรเสียแล้ว วิสาขา.
วิ. หม่อมฉันทูลขอประทานพรที่สมควรและไม่มีโทษ พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ภ. จงบอกมาเถิด วิสาขา.
วิ. พระพุทธเจ้าข้า สำหรับพระสงฆ์ หม่อมฉันปรารถนาจะถวายผ้า
วัสสิกสาฎก จะถวายภัตเพื่อพระอาคันตุกะ จะถวายภัตเพื่อพระที่เตรียมจะไป
จะถวายภัตเพื่อพระอาพาธ จะถวายภัตเพื่อพระที่พยาบาลพระอาพาธ จะ
ถวายเภสัชสำหรับพระอาพาธ จะถวายยาคูประจำ และสำหรับภิกษุณีสงฆ์
หม่อมฉัน ปรารถนาจะถวายอุทกสากฎ จนตลอดชีพ.
ภ. วิสาขา ก็เธอเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงขอพร ๘ ประการ
ต่อตถาคต.
วิ. พระพุทธเจ้าข้า วันนี้หม่อมฉันสั่งทาสีว่า ไปเถิด แม่ทาสี เจ้า
จงไปอาราม แล้วบอกภัตกาลว่า ภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าข้า และนางก็ไปวัด
ได้เห็นภิกษุทั้งหลายเปลื้องผ้าสรงสนานกายอยู่ เข้าใจผิดคิดว่า ไม่มีภิกษุใน
อาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงสนานกายอยู่ จึงกลับมาบ้าน แล้วรายงานแก่
หม่อมฉันว่า นายไม่มีภิกษุในอาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงสนานกายอยู่.
๑. พระพุทธเจ้าข้า ความเปลือยกายไม่งาม น่าเกลียด น่าชัง
หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายผ้าวัสสิกสาฎกแก่พระสงฆ์
จนตลอดชีพ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 285
๒. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระอาคันตุกะไม่ชำนาญ
หนทาง ไม่รู้จักที่โคจร ย่อมเที่ยวบิณฑบาตลำบาก ท่านฉันอาคันตุกภัตของ
หม่อมฉันพอชำนาญหนทาง รู้จักที่โคจร จักเที่ยวบิณฑบาตได้ไม่ลำบาก
หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายอาคันตุกภัตแก่พระสงฆ์
จนตลอดชีพ.
๓. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้เตรียมตัวจะไปมัว
แสวงหาภัตตาหารเพื่อตนอยู่ จักพลาดจากหมู่เกวียน หรือจักถึงสถานที่ที่คน
ต้องการจะไปอยู่เมือพลบค่ำ จักเดินทางลำบาก ท่านฉันคมิกภัตของหม่อมฉัน
แล้ว จักไม่พลาดจากหมู่เกวียน หรือจักถึงสถานที่ที่ตนต้องการจะไปอยู่ไม่
พลบค่ำ จักเดินทางไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนา
จะถวายคมิกภัตแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.
๔. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระอาพาธไม่ได้
โภชนาหารที่เป็นสัปปายะ อาพาธกำเริบ หรือท่านจักถึงมรณภาพ เมื่อท่าน
ฉันคิลานภัตของหม่อมฉัน อาพาธจักทุเลา ท่านจักไม่ถึงมรณภาพ หม่อมฉัน
เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคิลานภัตแก่สงฆ์ จนตลอดชีพ.
๕. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้พยาบาลพระอาพาธ
มัวแสวงหาภัตตาหารเพื่อตน จักนำภัตตาหารไปถวายพระอาพาธจนสาย ตนเอง
จักอดอาหาร ท่านได้ฉันคิลานุปัฏฐากภัตของหม่อมฉันแล้ว จักนำภัตตาหาร
ไปถวายพระอาพาธตามเวลา ตนเองก็จักไม่อดอาหาร หม่อมฉันเห็นอำนาจ
ประโยชน์นี้จึงปรารถนาจะถวายคิลานุปัฏฐากภัตแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.
๖. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระอาพาธไม่ได้เภสัช
ที่เป็นสัปปายะ อาพาธจักกำเริบ หรือจักถึงมรณภาพ เมื่อท่านฉันคิลานเภสัช
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 286
ของหม่อมฉันแล้ว อาพาธจักทุเลา ท่านจักไม่มรณภาพ หม่อมฉันเห็นอำนาจ
ประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคิลานเภสัชแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.
๗. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงเห็นอานิสงส์
๑๐ ประการ ได้ทรงอนุญาตยาคูไว้แล้ว ที่เมืองอันธกวินทะ หม่อมฉันเห็น
อานิสงส์ตามที่พระองค์ตรัสนั้น จึงปรารถนาจะถวายยาคูประจำแก่สงฆ์ จน
ตลอดชีพ.
๘. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุณีทั้งหลายเปลือยกายอาบน้ำร่วมท่ากับหญิง
แพศยา ณ แม่น้ำอจิรวดีนี้ หญิงแพศยาเหล่านั้นพากันเย้ยหยันภิกษุณีว่า แม่เจ้า
พวกท่านกำลังสาวประพฤติพรหมจรรย์จะได้ประโยชน์อะไร ควรบริโภค
กามมิใช่หรือ พระพฤติพรหมจรรย์ต่อเมื่อแก่เฒ่า อย่างนี้ จักเป็นอันพวก
ท่านยึดส่วนทั้งสองไว้ได้ ภิกษุณีเหล่านั้นถูกพวกหญิงแพศยาเย้ยหยันอยู่ ได้
เป็นผู้เก้อ ความเปลือยกายของมตุคามไม่งาม น่าเกลียค น่าชัง หม่อมฉัน
เห็นอำนาจประโยชน์นี้จึงปรารถนาจะถวายผ้าอุทกสาฎก แก่ภิกษุณีสงฆ์ จน
ตลอดชีพ.
ภ. วิสาขา ก็เธอเห็นอานิสงฆ์อะไร จึงขอพร ๘ ประการต่อตถาคต
วิ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ จำพรรษาใน
ทิศทั้งหลายแล้ว จักมาพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระองค์ แล้วจักทูลถามว่า
ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพแล้ว ท่านมีดติอย่างไร มีภพหน้าอย่างไร พระพุทธเจ้า
ข้า พระองค์จักทรงพยากรณ์ภิกษุนั้นในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
หรืออรหัตผล หม่อมฉันจักเข้าไปหาภิกษุพวกนั้น แล้วเรียนถามว่า พระคุณ
เจ้ารูปนั้นเคยมาพระนครสาวัตถีไหมเจ้าข้า ถ้าท่านเหล่านั้นจักตอบแก่หม่อ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 287
ฉันว่า ภิกษุนั้นเคยมาพระนครสาวัตถี หม่อมฉันจักถึงความตกลงใจในการมา
ของพระคุณเจ้ารูปนั้นว่า พระคุณเจ้ารูปนั้นคงใช้สอยผ้าวัสสิกสาฎก คงฉัน
อาคันตุกภัต คมิกภัต คิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช หรือยาคู
ประจำเป็นแน่ เมื่อหม่อมฉันระลึกถึงกุศลนั้นอยู่ ความปลื้มใจจักบังเกิด เมื่อ
หม่อมฉันปลื้มใจแล้ว ความอิ่มใจจักบังเกิด เมื่อมีใจอิ่มเอิบแล้ว กายจักสงบ
เมื่อมีกายสงบแล้ว จักเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตจักตั้งมั่น จักเป็นอันหม่อม
ฉันได้อบรมอินทรีย์ อบรมพละ อบรมโพชฌงค์นั้น หม่อมฉันเห็นอานิสงส์นี้
จึงขอประทานพร ประการต่อพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดีละ ดีละ วิสาขา ดีแท้ วิสาขา เธอเห็นอานิสงส์นี้ จึงขอ
พร ๘ ประการต่อตถาคต เราอนุญาตพร ๘ ประการแก่เธอ.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนานางวิสาชา มิคารมาตา
ด้วยพระคาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้:-
คาถาอนุโมทนา
[๑๕๔] สตรีใด ไห้ข้าวและน้ำ มีใจ
เบิกบานแล้ว สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นสาวิกา
ของพระสุคต ครอบงำความตระหนี่แล้ว
บริจาคทานอันเป็นเหตุแห่งสวรรค์ เป็น
เครื่องบรรเทาความโศก นำมาซึ่งความสะ
สตรีนั้น อาศัยมรรคปฏิบัติ ปราศจากธุลี
ไม่มีกิเลศเครื่องยั่วใจ ย่อมได้กำลังและอาย
เป็นทิพย์ สตรีผู้ประสงค์บุญนั้น เป็นคนมี
สุข สมบูรณ์ด้วยอนามัย ย่อมปลื้มใจใน
สวรรค์สิ้นกาลนาน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 288
พระพุทธนุญาตผ้าวัสสิกสาฏกเป็นต้น
[๑๕๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนา นางวิสาขา
มิคารมาตา ด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับกลับไป ครั้นแล้ว
ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้ว
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าวัสสิกสาฏก อาคัน-
ตุกภัต คมิกภัต คิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช ยาคูประจำ
อนุญาตผ้าอุทกสาฎก สำหรับภิกษุณีสงฆ์.
วิสาขาภาณวาร จบ
พระนอนหลับลืมสติ
[๑๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายฉันโภชนาหารอันประณีตแล้ว
นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว
น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน เสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้ามีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปตาม
เสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ ครั้น แล้วรับสั่ง
ถามพระอานนท์ว่าอานนท์ เสนาสนะนั่นเปรอะเปื้อนอะไร ?
อา. พระพุทธเจ้าข้า เดี่ยวนี้ภิกษุทั้งหลายฉันโภชนาหารอันประณีต
แล้วนอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้
สึกตัว น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝันเสนาสนะนี้นั้นจึงเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิพระ-
พุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 289
ภ. ข้อที่กล่าวมานั่นย่อมเป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อที่กล่าวมานั่นย่อม
เป็นอย่างนั้น อานนท์ ความจริง เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับ ลืมสติ ไม่
รู้สึกตัว น้ำอสุจิจึงเคลื่อนเพราะความฝัน ภิกษุเหล่าใดนอนหลับ มีสติตั้งมั่น
รู้สึกตัว น้ำอสุจิของภิกษุเหล่านั้นไม่เคลื่อน อนึ่ง น้ำอสุจิของภิกษุปุถุชน ผู้
ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ไม่เคลื่อน ข้อที่น้ำอสุจิของพระอรหันต์จะพึง
เคลื่อนนั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย วันนี้เรามีอานนท์เป็นปัจฉาสมณะเที่ยวเดินไปตามเสนาสนะ ได้เห็น
เสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ จึงได้ถามอานนท์ว่า เสนาสนะนั่นเปรอะเปื้อน
อะไร อานนท์ชี้แจงว่า พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายฉันโภชนาหารอัน
ประณีตแล้ว นอนหลับลืมสติ ไม่รู้สึกตัว เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับลืมสติ
ไม่รู้สึกตัว น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน เสนาสนะน้ำนั้นจึงได้เปรอะเปื้อน
น้ำอสุจิ เราได้กล่าวรับรองว่าข้อที่กล่าวมานั่นย่อมเป็นอย่างนั้น อานนท์
ข้อที่กล่าวมานั่นย่อมเป็นอย่างนั้น อานนท์ ความจริง เมื่อภิกษุเหล่านั้น
นอนหลับลืมสติ ไม่รู้สึกตัว น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน ภิกษุเหล่าใด
นอนหลับ มีสติทั้งมั่น รู้สึกตัว น้ำอสุจิของภิกษุเหล่านั้นไม่เคลื่อน อนึ่ง
น้ำอสุจิของภิกษุปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ไม่เคลื่อน ข้อที่
น้าอสุจิของพระอรหันต์จะพึงเคลื่อนนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 290
นอนหลับลืมสติมีโทษ ๕ ประการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ
๕ ประการนี้ คือ หลับเป็นทุกข์ ๑ ตื่นเป็นทุกข์ ๑ เห็นความฝันอันลามก ๑
เทพดาไม่รักษา ๑ อสุจิเคลื่อน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืม
สติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ ๕ ประการนี้แล.
นอนหลับคุมสติมีคุณ ๕ ประการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติดังมั่น รู้สึกตัวอยู่ มีคุณ
๕ ประการนี้ คือ หลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่เห็นความฝันอันลามก
๑ เทพดารักษา ๑ อสุจิไม่เคลื่อน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ
มีสติตังมั่น รู้สึกตัว มีคุณ ๕ ประการนี้แล
พระพุทธานุญาตผ้านิสีทนะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้านิสีทนะ เพื่อรักษากาย รักษาจีวร
รักษาเสนาสนะ.
พระพุทธานุญาตผ้าปัจจัตถรณะ
สมัยต่อมา ผ้านิสีทนะเล็กเกินไป ป้องกันเสนาสนะได้ไม่หมด ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุต้องการผ้าปูนอนใหญ่เพียงใด เราอนุญาตให้ทำผ้าปูนอน
ใหญ่เพียงนั้น.
พระพุทธานุญาตผ้าปิดฝี
[๑๕๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเวลัฏฐสีสะพระอุปัชฌาย์ของท่าน
พระอานนท์ อาพาธเป็นโรคฝีดาดหรืออีสุกสีใส ผ้านุ่งผ้าห่มกรังอยู่ที่ตัวเพราะ
น้ำหนองของโรคนั้น ภิกษุทั้งหลายเอาน้ำชุบ ๆ ผ้าเหล่านั้น แล้วค่อย ๆ ดึง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 291
ออกมา ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินไปตามเสนาสนะ
ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังเอาน้ำชุบ ๆ ผ้านั้นแล้วต่อย ๆ ดึงออกมา
ครั้นแล้ว จึงเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทางภิกษุเหล่านั้น ได้ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้อาพาธเป็นโรคอะไร ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านรูปนี้อาพาธเป็นโรค
ฝีดาดหรืออีสุกอีใส ผ้ากรังอยู่ที่ตัว เพราะน้ำหนอง พวกข้าพระพุทธเจ้าเอา
น้ำชุบ ๆ ผ้าเหล่านั้นแล้วค่อย ๆ ดึงออกไป.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปิดฝีแก่ภิกษุที่อาพาธ เป็นฝีก็ดี เป็นพุพองก็ดี
เป็นสิวก็ดี เป็นโรคฝีดาด หรือ อีสุกอีใสก็ดี.
พระพุทธานุญาต ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดปาก
[๑๕๘] ครั้งนั้น นางวิสาขา มิคารมาตา ถือผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็คปาก
เข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าเข้า ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดรับผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดปากของหม่อมฉัน ซึ่ง
จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่หม่อนฉัน ตลอดกาลนานด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผ้าเช็คหน้า ผ้าเช็ดปาก ครั้นแล้วได้ทรง
ชี้แจง ให้นางวิสาขา มิคารมาตา เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา ครั้นนางวิสาขา มิคารมาตา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทำประทักษิณกลับไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 292
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เราอนุญาตผ้าเช็คหน้า ผ้าเช็คปาก.
องค์ของการถือวิสาสะ ๕ ประการ
[๑๕๙] ก็โดยสมัยนั้นแล เจ้าโรชะมัลลกษัตริย์ เป็นพระสหายของ
ท่านพระอานนท์ ได้ฝากผ้าโขมพัสตร์ผืนเก่า ๆ ไว้กับท่านพระอานนท์ และ
ท่านพระอานนท์ก็มีความต้องการด้วยผ้าโขมพัสตร์ผืนเก่า ๆ ภิกษุทั้งหลายจึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตให้ถือวิสาสะแก่บุคคลผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ เคยเห็นกันมา ๑ เคยคบกันมา ๑ เคยบอกอนุญาต
กันไว้ ๑ เขายังมีชีวิตอยู่ ๑ รู้ว่าเมื่อเราถือเอาแล้ว เขาจักพอใจ ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือวิสาสะแก่บุคคลที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้.
พระพุทธานุญาตผ้าบริขาร
[๑๖๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายมีไตรจีวรบริบูรณ์แต่ยังต้อง
การผ้ากรองน้ำบ้าง ถุงบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าบริขาร.
พระพุทธานุญาตผ้าที่ต้องอธิฐานและวิกัป
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อนุญาตไตรจีวรบ้าง ผ้าอาบน้ำฝนบ้าง ผ้าปูนงบ้าง ผ้าปูนอนบ้าง ผ้าปิดฝี
บ้าง ผ้าเช็ดหน้าบ้าง ผ้าเช็ดปากบ้าง ผ้าบริขารบ้าง ผ้าทั้งหมดนั้น ต้องอธิษ-
ฐานหรือวิกัปหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าไตรจีวร เราอนุญาตให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัป
ผ้าวัสสิกสาฎกให้อธิษฐานตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน พ้นจากนั้น ให้วิกัป
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 293
ผ้านิสีทนะ ให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัป ผ้าปัจจัตถรณะ ให้อธิษฐาน ไม่ใช่
ให้วิกัป ผ้าปิดฝี ให้อธิษฐานตลอดเวลาที่อาพาธ พ้นจากนั้นให้วิกัป ผ้า
เช็คหน้า ผ้าเช็ดปาก ให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัป ผ้าบริขาร ให้อธิษฐาน ไม่
ใช่ให้วิกัป.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความสงสัยว่า ผ้าขนาดเล็กเพียงเท่าไรหนอ
ต้องวิกัป จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ผ้าขนาดเล็กยาว ๘ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้ว โดยนิ้วพระสุคต เราอนุญาต
ให้วิกัป.
สมัยต่อมา ผ้าอุตราสงค์ที่ทำด้วยผ้าบังสุกุล ของท่านพระมหากัสสป
เป็นของหนัก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำการเย็บด้วยด้าย.
มุมสังฆาฏิไม่เสมอกัน ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เจียนมุมที่
ไม่เสมอออกเสีย.
ด้ายลุ่ยออก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติดผ้าอนุวาต ผ้าหุ้มขอบ.
สมัยต่อมา แผ่นผ้าสังฆาฏิลุ่ยออก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เย็บ
ตะเข็บดังตาหมากรุก.
พระพุทธานุาญาตผ้าที่ตัดและไม่ตัด
[๑๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อสงฆ์กำลังทำจีวรให้ภิกษุรูปหนึ่ง ผ้า
ตัดทั้งหมดไม่พอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 294
อนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าที่ต้องตัด ๒ ผืน ไม่ต้องตัด
๑ ผืน.
ผ้าต้องตัด ๒ ผืน ไม่ต้องผืนหนึ่ง ผ้าก็ยังไม่พอ ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตผ้า ๒ ผืนไม่ต้องตัด ผืนหนึ่งต้องตัด.
ผ้า ๒ ผืนไม่ต้องตัด ผืนหนึ่งต้องตัด ผ้าก็ยังไม่พอ ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้น แดพระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาต ให้เพิ่มผ้าเพลาะ แต่ผ้าทุกผืนที่ไม่ได้ตัด ภิกษุไม่พึงใช้ รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระให้ผ้าแก่โยมมารดาบิดาได้
[๑๖๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ผ้าเกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปหนึ่งหลายผืนและท่าน
ปรารถนาจะให้ผ้านั้นแก่โยมมารดาบิดา ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุให้ด้วย
รู้ว่ามารดาบิดา เราจะพึงว่าอะไร เราอนุญาตให้สละแก่มารดาบิดา แต่ภิกษุ
ไม่พึงทำศรัทธาไทยให้ตกไป รูปใดทำให้ตกไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติให้ครองผ้า ๒ ผืนเข้าบ้าน
[๑๖๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเก็บสังฆาฏิไว้ในวิหารอันธวัน
แล้วครองผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกเข้าบ้านบิณฑบาตคนร้ายขโมยผ้าสังฆาฎิ
นั้นไป ภิกษุนั้นจึงใช้ผ้าเก่า ครองจีวรคร่ำคร่า.
ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า อาวุโส เพราะเหตุไร จึงใช้ผ้าเก่าครอง
จีวรคร่ำคร่าเล่า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 295
ภิกษุนั้นตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมเก็บผ้าสังฆาฏิไว้ในวิหารอันธวัน
นี้แล้วครองอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต คนร้ายขโมย
ผ้าสังฆาฏินั้นไป เพราะเหตุนั้น ผมจึงใช้ผ้าเก่า ครองจีวรคร่ำคร่า.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกไม่พึงเข้าบ้าน
รูปใดเข้าไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมา ท่านพระอานนท์ ลืมสติครองแต่ผ้าอุคราสงฆ์กับผ้าอันตร-
วาสกเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวคำนี้แก่ท่านพระอานนท์ว่า
อาวุโสพระอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติห้ามไว้แล้ว มิใช่หรือว่า
ภิกษุมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก ไม่พึงเข้าบ้าน ดังนี้ ไฉนพระคุณเจ้า
จึงมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกเข้าบ้านเล่า.
พระอานนท์ตอบว่าจริง ขอรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติห้าม
ไว้แล้วว่า ภิกษุมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกไม่พึงเข้าบ้าน ก็แต่ว่า ผม
เข้าบ้านด้วยลืมสติ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เหตุที่เก็บผ้าไตรจีวรไว้ได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าสังฆาฏิไว้ได้ มี ๕ อย่างนี้ คือ เจ็บไข้ ๑ สังเกตเห็น
ว่าฝนจะตก ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ได้กรานกฐิน ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายเหตุที่เก็บผ้าสังฆาฏิไว้ได้มี ๕ อย่างนี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 296
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้ำอุตราสงค์ไว้ได้มี ๕ อย่างนี้ คือ
เจ็บไข้ ๑ สังเกตเห็นว่าฝนจะตก ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ได้
กรานกฐิน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอุตราสงค์ไว้ได้มี ๕ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอันตรวาสกไว้ได้มี ๕ อย่างนี้ คือ
เจ็บไข้ ๑ สังเกตเห็นว่าฝนจะตก ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ได้
กรานกฐิน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอันตรวาสกไว้ได้มี ๕ อย่างนี้
แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอาบน้ำฝนไว้ได้มี ๕ อย่างนี้ ดือ
เจ็บไข้ ๑ ไปนอกสีมา ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ผ้าอาบน้ำฝน
ยังไม่ได้ทำหรือทำค้างไว้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอาบน้ำฝนไว้ได้
มี ๕ อย่างนี้แล.
ถวายจีวรเป็นขอสงฆ์
[๑๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแส ภิกษุรูปหนึ่งจะพรรษาอยู่แต่ผู้เดียว คน
ทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่าภิกษุ ๔
รูปเป็นอย่างน้อยชื่อว่าสงฆ์ แต่เรารูปเดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วย
เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายแก่สงฆ์ ดังนี้ ถ้าไฉนเราจะพึงนำจีวรของ
สงฆ์เหล่านี้ไปพระนครสาวัตถี กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุ จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว จนถึงเวลาเดาะกฐิน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุจำพรรษารูปเดียว ประชาชน
ในถิ่นนั้นถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียว จนถึงเวลาเดาะกฐิน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 297
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอยู่รูปเดียวตลอดฤดูกาล ประชาชนในถิ่นนั้น
ได้ถวายจีวรเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ภิกษุรูปนั้นจึงได้ดำริดังนี้
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุ ๔ รูปเป็นอย่างน้อยชื่อว่าสงฆ์
แต่เราอยู่ผู้เดียว และคนเหล่านั้นได้ถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้า
ถวายแก่สงฆ์ ถ้าไฉนเราจะพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปพระนครสาวัตถี ครั้น
แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปพระนครสาวัตถี แจ้งความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตไห้สงฆ์ผู้อยู่พร้อมหน้ากันแจก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุอยู่ผู้เดียวตลอดฤดูกาล ประชา -
ชนในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่าพวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุรูปนั้นอธิษฐานจีวรเหล่านั้นว่า จีวรเหล่านี้ของเรา
ถ้าเมื่อภิกษุรูปนั้นยังไม่ได้อธิษฐานจีวรนั้น มีภิกษุรูปอื่นมา พึงให้ส่วนแบ่ง
เท่า ๆ กัน ถ้าเมื่อภิกษุ ๒ รูปกำลังแบ่งจีวรนั้น แต่ยังมิได้จับสลาก มีภิกษุ
รูปอื่นมา พึงให้ส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน ถ้าเมื่อภิกษุ ๓ รูปกำลังแบ่งจีวรนั้น และ
จับสลากเสร็จแล้วมีภิกษุรูปอื่นมา พวกเธอไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องให้ส่วนแบ่ง.
สมัยต่อมา มีพระเถระ ๒ พี่น้อง คือ ท่านพระอิสิทาส ๑ ท่านพระ
อิสิภัตตะ ๑ จำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี ได้ไปอาวาสไกลบ้านแห่งหนึ่ง-
คนทั้งหลายกล่าวกันว่า นาน ๆ พระเถระทั้งสองชะได้มา จึงได้ถวายภัตตาหาร
พร้อมทั้งจีวร.
พวกภิกษุประจำถิ่นถามพระเถระทั้งสองว่า ท่านเจ้าข้า จีวรของสงฆ์
เหล่านั้น เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระคุณเจ้าทั้งสอง พระคุณเจ้าทั้งสองจักยินดีรับ
ส่วนแบ่งไหม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 298
พระเถระทั้งสองตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงแล้ว โดยประการที่จีวรเหล่านั้นเป็นของพวกท่านเท่า
นั้น จนถึงเวลาเดาะกฐิน.
สมัยต่อมา ภิกษุ ๓ รูป จำพรรษาอยู่ในพระนครราชคฤห์ ประ-
ชาชนในเมืองนั้นถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ภิกษุ
เหล่านั้นจึงได้ดำริดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่าภิกษุ รูปเป็น
อย่างน้อยชื่อว่าสงฆ์ แต่เรามี ๓ รูปด้วยกัน และคนเหล่านี้ถวายจีวรด้วยเปล่ง
วาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ สมัยนั้น
พระเถระหลายรูป คือ ท่านพระนีลวาสี ท่านพระสาณวาสี ท่านพระโคปกะ
ท่านพระภคุ และท่านพระผลิกสันทานะ อยู่ ณ วัดกุกกุฏาราม เขตนครปาตลี-
บุตร ภิกษุเหล่านั้นจึงเดินทางไปนครปาตลีบุตร แล้วเรียนถามพระเถระ
ทั้งหลาย ๆ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกเรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
แล้ว โดยประการที่จีวรเหล่านั้นเป็นของพวกท่านเท่านั้น จนถึงเวลาเดาะกฐิน.
เรื่องพระอุปนันท์
[๑๖๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุปนันศากยบุตร จำพรรษาอยู่
ในพระนครสาวัตถี ได้ไปอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในวัดนั้น
ปรารถนาจะแบ่งจีวร จึงประชุมกัน ภิกษุเหล่านั้น พูดอย่างนี้ว่า อาวุโส
ภิกษุทั้งหลายจักแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ
ท่านพระอุปนันท์ ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับส่วน
จีวรแต่อาวาสนั้นไปวัดอื่น แม้ภิกษุทั้งหลายในวัดนั้นก็ปรารถนาจะแบ่งจีวร
จึงประชุมกัน และพูดอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่งจีวรของสงฆ์
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 299
เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ท่านพระอุปนันท์ตอบว่า
อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับส่วนจีวรแต่อาวาสนั้นไปวัดอื่น
แม้ภิกษุทั้งหลายในวัดนั้นก็ปรารถนาจะแบ่งจีวรจึงประชุมกัน แลก็พูดอย่างนี้
ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านั้นแล ท่านจักยินดีส่วนแบ่ง
ไหม ขอรับ ท่านพระอุปนันท์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ
แล้วได้รับจีวรแต่อาวาสแม้นั้น ถือจีวรห่อใหญ่กลับมาพระนครสาวัตถีตามเดิม.
ภิกษุทั้งหลายชมเชยอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้าอุปนันท์ ท่านเป็นผู้มีบุญ
มากจีวรจึงเกิดขึ้นแก่ท่านมากมาย.
อุป. อาวุโสทั้งหลาย บุญของผมที่ไหน ผมจำพรรษาอยู่ในพระนคร
สาวัตถีนี้ ได้ไปอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง พวกภิกษุในวัดนั้น ปรารถนาจะ
แบ่งจีวร จึงประชุมกัน พวกเธอกล่าวกะผม อย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลาย
จักแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ผมตอบว่า
อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับส่วนจีวรแต่อาวาสนั้นไปวัดอื่น
แม้ภิกษุในวัดนั้น ก็ปรารถนาจะแบ่งจีวร จึงประชุมกันและพวกเธอก็ได้
กล่าวกะผมอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่าน
จักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ผมตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ
แล้วได้รับส่วนจีวรแต่อาวาสนั้น ไปวัดอื่น แม้ภิกษุในวัดนั้น ก็ปรารถนาจะ
แบ่งจีวร จึงประชุมกันและกล่าวกะผมอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่ง
จีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ผมตอบว่า อาวุโส
ทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับเอาส่วนจีวรแต่อาวาสแม้นั้น เพราะ
อย่างนี้ จีวรจึงเกิดขึ้นแก่ผมมากมาย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 300
ภิ. พระคุณเจ้าอุปนันท์ ท่านจำพรรษาในวัคหนึ่ง แล้วยังยินดีส่วน
จีวรในอีกวัดหนึ่งหรือ ?
อุป. อย่างนั้น ขอรับ.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตร จำพรรษาในวัดหนึ่งแล้ว จึงได้ยินดีส่วน
จีวรในอีกวัคหนึ่งเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนนท์
ข่าวว่าเธอจำพรรษาในวัดหนึ่งแล้ว ยินดีส่วนจีวรในอีกวัดหนึ่ง จริงหรือ ?
ท่านพระอุปนันท์ทูลรับว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจำ
พรรษาในวัดหนึ่งแล้ว ไฉนจึงได้ยินดีส่วนจีวรในอีกวัดหนึ่งเล่า การกระทำ
ของเธอนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส...ครั้นแล้ว
ทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจำพรรษา
ในวัดหนึ่งแล้วไม่พึงยินดีส่วนจีวรในวัดอื่น รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฎ.
สมัยต่อมา ท่านพระอุปนันทศากยบุตร รูปเดียวจำพรรษาอยู่สองวัด
ด้วยคิดว่าโดยวิธีอย่างนี้ จีวรจักเกิดขึ้นแก่เรามาก ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มี
ความสงสัยว่า พวกเราจักให้ส่วนจีวรแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรอย่างไรหนอ
แล้วกราบทูลเรี่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแนะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงให้
ส่วนแบ่งแก่โมฆบุรุษส่วนเดียว.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ภิกษุรูปเดียว จำพรรษาอยู่ ๒ วัค ด้วยคิด
ว่า โดยวิธีอย่างนี้ จีวรจักเกิดขึ้นแก่เรามาก ถ้าภิกษุจำพรรษาโนวัดโน้นกึ่ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 301
หนึ่ง วัดโน้น กึ่งหนึ่ง พึงให้ส่วนจีวรในวัดโน้นกึ่งหนึ่ง วัดโน้นกึ่งหนึ่ง หรือ
จำพรรษาในวัดใดมากกว่า พึงให้ส่วนจีวรในวัดนั้น.
เรื่องพระอาพาธโรคท้องร่วง
[๑๖๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคท้องร่วง นอน
จมกองมูตรกองคูถของตนอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีท่านอานนท์เป็น
ปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปตามเสนาสนะ ได้เสด็จเข้าไปทางที่อยู่
ของภิกษุรูปนั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปนั้น นอนจมกองมูตรกองคูถ
ของตนอยู่ครั้นแล้วเสด็จเข้าไปใกล้ภิกษุรูปนั้น แล้วตรัสถามว่า เธออาพาธ
เป็นโรคอะไรภิกษุ ?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าอาพาธเป็นโรคท้องร่วง พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอมีผู้พยาบาลไหมเล่า ภิกษุ ?
ภิ. ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ ?
ภิ. เพราะข้าพระพุทธเจ้ามิได้ทำอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ฉะนั้นภิกษุ
ทั้งหลายจึงไม่พยาบาลข้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอไปตัก
น้ำมาเราจักสรงน้ำภิกษุรูปนี้.
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธบัญชาว่า เป็นดังนั้น พระ-
พุทธเจ้าข้าดังนี้แล้ว ตักน้ำมาถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรดน้ำ ท่านพระ
อานนท์ขัดสี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกศีรษะ ท่านพระอานนท์ยกเท้าแล้ว วาง
บนเตียง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 302
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า
ในวิหารหลังโน้น มีภิกษุอาพาธหรือ ภิกษุทั้งหลาย ?
ภิ. มี พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ภิกษุรูปนั้นอาพาธเป็นโรคอะไร ภิกษุทั้งหลาย ?
ภิ. ท่านรูปนั้น อาพาธเป็นโรคท้องร่วง พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ภิกษุรูปนั้น มีผู้พยาบาลไหมเล่า ภิกษุทั้งหลาย ?
ภิ. ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ ?
ภิ. เพราะท่านรูปนั้นมิได้ทำอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ฉะนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายจึงไม่พยาบาลท่านรูปนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดาไม่มีบิดา ผู้ใดเล่าจะพึง
พยาบาลพวกเธอ ถ้าพวกเธอจักไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงอุปัฏฐากเรา ผู้นั้นพึงพยาบาลภิกษุอาพาธ ถ้ามี
อุปัชฌายะๆ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีอาจารย์ ๆ
พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีสัทธิวิหาริก ๆ พึงพยาบาล
จนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีอันเตวาสิก ๆ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต
หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึงพยาบาล
จนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์
พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์
สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ หรือภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์
ต้องพยาบาล ถ้าไม่พยาบาลต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 303
องค์ของภิกษุอาพาธที่พยาบาลได้ยาก ๕ อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้พยาบาล
ได้ยาก คือ ไม่ทำความสบาย ๑ ไม่รู้ประมาณในความสบาย ๑ ไม่ฉันยา ๑ ไม่
บอกอาการไข้ตามจริงแก่ผู้พยาบาลที่มุ่งประโยชน์ คือ ไม่บอกอาการไข้ที่กำเริบ
ว่ากำเริบ อาการไข้ที่ทุเลาว่าทุเลา อาการไข้ที่ทรงอยู่ว่าทรงอยู่ ๑ มีนิสัยเป็น
คนไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดปรากฏในร่างกาย อันกล้าแข็ง รุนแรง ไม่
เป็นทียินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันจะพร่าชีวิตเสีย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
อาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้พยาบาลได้ยาก.
องค์ขอภิกษุอาพาธที่พยาบาลได้ง่าย ๕ อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้พยาบาล
ได้ง่าย คือทำความสบาย ๑ รู้ประมาณในความสบาย ๑ ฉันยา ๑ บอกอาการ
ป่วยไข้ตามจริงแก่ผู้พยาบาลที่มุ่งประโยชน์ คือบอกอาการไข้ที่กำเริบว่ากำเริบ
อาการไข้ที่ทุเลาว่าทุเลา อาการไข้ที่ทรงอยู่ว่าทรงอยู่ ๑ มีนิสัยเป็นคนอดทนต่อ
ทุกขเวทนา อันกล้าแข็ง รุนแรง ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันจะพร่า
ชีวิตเสีย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็น
ผู้พยาบาลได้ง่าย.
องค์ของภิกษุผู้ไม่เข้าใจพยาบาล ๕ อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควร
พยาบาลไข้ คือเป็นผู้ไม่สามารถเพื่อประกอบยา ๑ ไม่รู้จักของแสลงและไม่
แสลง คือนำของแสลงเข้าไปให้ กันของไม่แสลงออกเสีย ๑ พยาบาลไข้เห็น
แก่อามิสไม่มีจิตเมตตา ๑ เป็นผู้เกลียดที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ เขฬะ หรือ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 304
ของที่อาเจียนออกไป ๑ เป็นผู้ไม่สามารถจะชี้แจงไห้คนไข้เห็นแจ้ง สมาทาน
อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาในกาลทุกเมื่อ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้
พยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพยาบาลไข้.
องค์ของภิกษุผู้เข้าใจพยาบาล ๕ อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ที่ประกอบองค์ ๕ ควร
พยาบาลไข้ คือเป็นผู้สามารถประกอบยา ๑ รู้จักของแสลง และไม่แสลง คือ
กันของแสลงออก นำของไม่แสลงเข้าไปไห้ ๑ มีจิตเมตตาพยาบาลไข้ ไม่เห็น
แก่อามิส ๑ เป็นผู้ไม่เกลียดที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ เขฬะ หรือของที่อาเจียน
ออกไปเสีย ๑ เป็นผู้สามารถที่จะชี้แจงให้คนไข้ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ
ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ในกาลทุกเมื่อ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพยาบาลไข้
ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพยาบาลไข้.
เรื่องให้บาตรจีวรของผู้ถึงมรณะภาพแก่คิลานุปัฏฐาก
[๑๖๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไกลไปในโกศลชนบท
ได้เข้าไปอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง บรรดาภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุ
เหล่านั้นจึงได้ปรึกษาตกลงกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
สรรเสริญการพยาบาลภิกษุอาพาธ ผิฉะนั้น พวกเราจงพยาบาลภิกษุรูปนี้เถิด
แล้วพากันพยาบาลภิกษุอาพาธนั้น เธออันภิกษุเหล่านั้นพยาบาลอยู่ได้ถึงมรณะ-
ภาพ ภิกษุเหล่านั้นจึงถือบาตรจีวรของเธอไปพระนครสาวัตถี แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุถึง
มรณะภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก
เราอนุญาตให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตร แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 305
วิธีให้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรอย่างนี้ คือ ภิกษุ
ผู้พยาบาลไข้นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า:-
ท่านเจ้าข้า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของท่าน.
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม
วาจา ว่าดังนี้ :-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีซึ่งนี้ถึงมรณภาพ
นี้ไตรจีวร และบาตร ของเธอ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุพยาบาลไข้ นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้มรณภาพ
นี้ไตรจีวรและบาตรของเธอ สงฆ์ให้ไตรจีวรและบาตรนั้นแก่ภิกษุ
พยาบาลไข้ การให้ไตรจีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด.
สงฆ์ให้จีวรและบาตรนั้นแก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้แล้ว ชอบแก่
สงฆ์ เขตุนั้นจึงนิ่ง ข้าเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
สามเณรถึงมรณภาพ
สมัยต่อมา สามเณรรูปหนึ่งถึงมรณภาพ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสามเณรถึง
มรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก เรา
อนุญาตให้สงฆ์มอบจีวรและบาตรให้ก็ภิกษุผู้พยาบาลไข้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 306
วิธีให้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้จีวรและบาตรอย่างนี้ คือภิกษุผู้
พยาบาลไข้นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สามเณร
มีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของเธอ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึ่ง
ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้จีวรและบาตร
ท่านเจ้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้าสามเณรมีชื่อนิถึงมรณภาพ
นี้จีวรและบาตรของเธอ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์
พึงให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ
นี้จีวรและบาตรของเธอ สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาล
ไข้ การให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้แล้ว ชอบแก่
สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
ภิกษุและสามเณรช่วยกันพยาบาลไข้
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณรรูปหนึ่ง ช่วยกันพยาบาลภิกษุอาพาธ
เธออันภิกษุและสามเณรนั้นพยาบาลอยู่ ได้ถึงมรณภาพ ภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้น
จึงได้มีความปริวิตกว่า เราพึงให้ส่วนจีวรแก่สามเณรผู้พยาบาลไข้อย่างไรหนอ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้มอบส่วนแก่สามเณรผู้พยาบาลไข้เท่า ๆ กัน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 307
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งมีของใช้มาก มีบริขารมาก ได้ถึงมรณภาพ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายเมื่อภิกษุถึงมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาล
ไข้มีอุปการะมากเราอนุญาให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตรให้แก่ภิกษุผู้พยาบาล
ไข้ บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นลหุภัณฑ์ ลหุบริขาร สิ่งนั้นเราอนุญาต
ให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันแบ่ง บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นครุภัณฑ์ ครุ
บริขาร สิ่งนั้นเป็นของสงฆ์ผู้อยู่ในจตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ไม่ควร
แบ่ง ไม่ควรแจก.
เรื่องสมาทานติตถิยวัตรมีเปลือยกายเป็นต้น
[๑๖๘] ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุรูปหนึ่งเปลือยกายเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพรรณนาคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความ
ขัดเกลา ความกำจัดอาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร
โดยอเนกปริยาย การเปลือยกายนี้ ย่อมเป็น ไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความกำจัดอาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ
เพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตการเปลือยกายแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย
เถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การ
กระทำของเธอนั้นไม่สมควร. . . ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้สมาทานการ
เปลือยกายที่พวกเดียรถีย์สมาทานเล่า การกระทำของเธอนั้นไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 308
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมาทานการเปลือยกายที่
พวกเดียรถีย์สมาทาน รูปใดสมาทานต้องอาบัติถุลลัจจัย.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งนุ่งผ้าคากรอง . . . รูปหนึ่งนุ่งผ้าเปลือกไม้
กรอง . . . รูปหนึ่งนุ่งผ้าผลไม้กรอง . . . รูปหนึ่งนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยผมคน. . .รูป
หนึ่งนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์. . . รูปหนึ่งนุ่งผ้าทำด้วยปีกนกเค้า . . .รูปหนึ่งนุ่ง
หนังเสือ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพรรณนาคุณแห่งความมัก
น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่
สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย หนังเสือนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความ
มักน้อย ความสันโดษ ความขัคเกลา ความกำจัดอาการที่น่าเลื่อมใส ความ
ไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประ-
ทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตหนังเสือ-
แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่นไม่สมควร. . . ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้ทรงหนังเสืออันเป็น
ธงชัยของเดียรถีย์เล่า การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงหนังเสืออันเป็นธงชัยของเดียรถีย์ รูปใด
ทรง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งนุ่งผ้าทำด้วยก้านดอกรัก. . . รูปหนึ่งนุ่งผ้าทำ
ด้วยเปลือกปอ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพรรณนาคุณแห่งความมักน้อย ความ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 309
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ
ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ผ้าทำด้วยเปลือกปอนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมไส
การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประ-
ทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตผ้าทำ
ด้วยเปลือกปอแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่นไม่สมควร. . . ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้นุ่งผ้าทำด้วยเปลือก
ปอเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส. . .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอ รูปใดนุ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระฉัพพัคคีย์ทรงจีวรสีครามล้วนเป็นต้น
[๑๖๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทรงจีวรสีครามล้วน ทรง
จีวรสีเหลืองล้วน ทรงจีวรสีแดงล้วน ทรงจีวรสีบานเย็นล้วน ทรงจีวรสีดำ
ล้วน ทรงจีวรสีแสดล้วน ทรงจีวรสีชมพูล้วน ทรงจีวรที่ไม่ตัดชาย ทรงจีวร
มีชายยาว ทรงจีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ ทรงจีวรมีชายเป็นแผ่น สวมเสื้อ
สวมหมวก ทรงผ้าโพก ประชาชนพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรง
จีวรสีความล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีเหลืองล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีบานเย็นล้วน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 310
ไม่พึงทรงจีวรสีดำล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีแสดล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีชมพูล้วน
ไม่พึงทรงจีวรที่ไม่ตัดชาย ไม่พึงทรงจีวรมีชายยาว ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็น
ลายดอกไม้ ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็นแผ่น ไม่พึงสวมเสื้อ ไม่พึงสวมหมวก
ไม่พึงทรงผ้าโพก รูปใดทรง ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องจีวรยังไม่เกิดแก่ผู้จำพรรษ
[๑๗๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยิ่ง
ไม่เกิดขึ้น หลีกไปเสียบ้าง สึกเสียบ้าง ถึงมรณภาพบ้าง ปฏิญาณเป็นสามเณร
บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันเติมวัตถุบ้าง ปฏิ-
ญาณเป็นผู้วิกลจริตบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งสร้างบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้กระ-
สับกระส่ายเพราะเวทนาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติบ้าง
ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยก
เสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามกบ้าง ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์บ้าง ปฏิญาณเป็นคน
ลักเพศบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีดเดียรถีย์บ้าง ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง
ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่า
พระอรหันต์บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณีบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ทำลาย
สงฆ์บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ทำร้ายพระศาสนาจนถึงห้อพระโลหิตบ้าง ปฏิญาณเป็น
อุภโตพยัญชนกบ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแนะนำ ดังต่อไปนี้:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยังไม่
เกิดขึ้นหลีกไปเสีย เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่ สงฆ์พึงให้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 311
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร
ยังไม่เกิดขึ้น สึกเสีย ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอก
ลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันเติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุ ที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร
ยังไม่เกิดขึ้น ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งสร้าง ปฏิญาณ
เป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็น
อาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิฌาณเป็นผู้ถูกสงฆ์
ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่ สงฆ์พึงให้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร
ยังไม่เกิดขึ้น ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์. . . ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็น
เจ้าของ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร
เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน หลีกไปเสีย เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่
สงฆ์พึงให้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร
เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน สึกเสีย ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็น
สามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันเติมวัตถุ สงฆ์เป็น
เจ้าของ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร
เกิดขึ้นแต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้ง
สร้าง ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย-
ฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญาณ
เป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่
สงฆ์พึงให้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 312
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อต้น ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวร
เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ . . . ปฏิญาณเป็น
อุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้ง
หลายที่จำพรรษาแล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่าย
หนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ นั่นเป็น
ของสงฆ์ฝ่ายเดียว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้ง
หลายที่จำพรรษาแล้ว สงฆ์แตกกัน คนทังหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่าย
หนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายนั้นเหมือนกัน ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์
นั่นเป็นของสงฆ์ฝ่ายเดียว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้ง
หลายที่จำพรรษาแล้ว สงฆ์แตกกัน ท่านทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่าย
หนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายฝ่ายหนึ่ง นั่นเป็น
ของเฉพาะฝ่ายหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้ง
หลายที่จำพรรษา สงฆ์แตกกัน ในทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง
ถวายจีวรในฝ่ายนั้นเหมือนกัน ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ฝ่ายหนึ่ง
นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุทั้ง
หลายที่จำพรรษา แต่ยังมิทันได้แบ่ง สงฆ์แตกกัน พึงแบ่งส่วนให้ภิกษุทุกรูป
เท่า ๆ กัน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 313
เรื่องพระเรวตเถระฝากจีวร
[๑๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเรวตะฝากจีวรแก่ภิกษุรูปหนึ่งไป
ถวายท่านพระสารีบุตร ด้วยสั่งว่า จงถวายจีวรผืนนี้แก่พระเถระ ในระหว่าง
ทางภิกษุรูปนั้นจึงได้ถือเอาจีวรนั้นเสีย เพราะวิสาสะต่อท่านพระเรวตะ.
กาลต่อมา ท่านพระเรวตะมาพบท่านพระสารีบุตร จึงเรียนถามว่า
ผมฝากจีวรมาถวายพระเถระ ๆ ได้รับจีวรนั้นแล้วหรือ ขอรับ ?
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ผมยังไม่เห็นจีวรนั้นเลย.
ท่านพระเรวตะจึงได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ผมฝากจีวรมาแก่ท่าน
ให้ถวายพระเถระ ไหนจีวรนั้น ?
ภิกษุนั้นตอบว่า ผมได้ถือเอาจีวรนั้นเสีย เพราะวิสาสะต่อท่าน ขอรับ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแนะนำ ดังต่อไปนี้:-
เรื่องถือวิสาสะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยส่ง
ว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทางเพราะ
วิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือ
เอาไม่ถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่ง
ว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทาง
เพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก
ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 314
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า
จงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้ฝาก
ถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐาน
ถูกต้องแล้ว ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในชื่อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า
จงใหัจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้รับ
ถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูก
ต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่ง
ว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า
ทั้งสองรูปถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นมรดกของผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐาน
ถูกต้อง อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า
ฉันให้จีวร ผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทาง
เพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ
ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า
ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทาง เพราะ
วิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือ
เอาไม่ถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า
ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้ฝาก
ถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูก
ต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 315
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า
ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้รับ
ถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้อง
ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า
ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ทั้ง
สองรูปถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิฐานเป็นจีวรมรดกของผู้ฝากชื่อว่าอธิษฐาน
ไม่ถูกต้อง อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้อง.
จีวรที่เกิดขึ้นมี ๘ มาติกา
[๑๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาติกาเพื่อจีวรเกิดขึ้นนี้ มี ๘ ศีล:-
๑. ถวายแก่สีมา.
๒. ถวายตามกติกา.
๓. ถวายในสถานที่จัดภิกษา.
๔. ถวายแก่สงฆ์.
๕. ถวายแก่อุภโตสงฆ์
๖. ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว.
๗. ถวายเจาะจง.
๘. ถวายแก่บุคคล.
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สีมา คือ ภิกษุมีจำนวนเท่าใดอยู่ภายในสีมา ภิกษุ
เหล่านั้นพึงแบ่งกัน.
ที่ชื่อว่า ถวายตามติกา คือ วัดมีหลายแห่ง ยอมให้มีลาภเสมอกัน
เมื่อทายกถวายในวัดหนึ่ง ชื่อว่าเป็นอันถวายทุกวัด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 316
ที่ชื่อว่า ถวายในสถานที่จัดภิกษา คือถวายในสถานที่ ๆ ทายกทำ
ลักการะประจำแก่สงฆ์.
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ คือ สงฆ์อยู่พร้อมหน้ากันแบ่ง.
ที่ชื่อว่า ถวายแก่อุภโตสงฆ์ คือ แม้มีภิกษุมากมีภิกษุณีรูปเดียว ก็
พึงให้ฝ่ายละครึ่ง แม้มีภิกษุณีมาก มีภิกษุรูปเดียว ก็พึงให้ฝ่ายละครึ่ง.
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว คือภิกษุมีจำนวนเท่าใด จำ-
พรรษาอยู่ในอาวาสนั้น ภิกษุเหล่านั้นพึงแบ่งกัน.
ที่ชื่อว่า ถวายเจาะจง คือ ถวายเฉพาะยาคู ภัตาหารของควรเคี้ยว
จีวร เสนาสนะ หรือเภสัช.
ที่ชื่อว่า ถวายแก่บุคคล คือ ถวายด้วยวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรผืนนี้
แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
จีวรขันธกะที่ ๘ จบ
ในขัมธกะ มี ๙๖ เรื่อง
หัวข้อประจำขันธกะ
[๑๗๓] ๑. เรื่องคนมั่งมีชาวพระนครราชคฤห์ เห็นหญิงงามเมืองใน
พระนครเวสาถี กลับมาพระนครราชคฤห์ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้พระราชา
ทรงทราบ ๒. เรื่องบุตรชายของนางสาลวาดี ซึ่งภายหลังเป็นโอรสของเจ้าชาย
อภัยเพราะเหตุที่ยังมีชีวิต เจ้าชายจึงประทานชื่อว่าชีวก ๓. เรื่องชีวกเดินทาง
ไปเมืองตักกสิลา เรียนวิชาแพทย์สำเร็จเป็นหมอใหญ่ได้รักษาโรค ซึ่งเป็นอยู่
ถึง ๗ ปี หายด้วยการให้นัตถุ์ยา ๔. เรื่องรักษาโรคริดสีดวงงอกของพระเจ้าพิมพิ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 317
สารหายด้วยการทายา ๕. เรื่องพระราชทานตำแหน่งแพทย์หลวงประจำพระองค์
พระสนม นางกำนัล พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ๖. เรื่องรักษาเศรษฐีชาวพระนคร
ราชคฤห์ ๗. เรื่องรักษาเนื้องอกในลำไส้ ๘. เรื่องรักษาโรคสำคัญของพระเจ้า
จัณฑปัชโชตหายด้วยให้เสวยพระโอสถผสมเปรียงได้รับพระราชทานผ้าคู่สิไวย-
กะเป็นรางวัล ๙. เรื่องสรงพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งหมักหมมด้วยสิ่ง
อันเป็นโทษให้สดชื่น ๑๐ . หมอชีวกทูลถวายพระโอสถ ๓๐. ครั้ง โดยอบก้าน
อุบล ๓ ก้านด้วยยา ๑๐. เมื่อพระตถาคตมีพระกายเป็นปกติแล้ว หมอชีวกทูล
ขอประทานพร ๑๒. ทรงรับผ้าคู่สิไวยกะ ๑๓. พระพุทธานุญาตจีวรที่คฤหัสถ์
ถวาย ๑๔. เรื่องจีวรบังเกิดมากในพระนครราชคฤห์ ๑๕. เรื่องพระพุทธานุญาต
ผ้าปาวาร ผ้าไหม ผ้าโกเชาว์ ๑๖. เรื่องผ้ากัมพลมีราคากึ่งกาสี ๑๗. เรื่องผ้า
ชนิดดี ชนิดเลว ทรงสรรเสริญความสันโดษ ๑๘. เรื่องคอยและไม่คอย และ
ก่อนและหลังและพร้อมกันทำกติกากันไว้ ๑๙. เรื่องทายกนำจีวรกลับคืนไป ๒๐.
เรื่องสมมติเรือนคลัง ๒๑. เรื่องรักษาผ้าในเรือนคลัง ๒๒. เรื่องสั่งย้ายเจ้าหน้า
ที่รักษาเรือนคลัง ๒๓. เรื่องจีวรบังเกิดมาก ๒๔. เรื่องแจกกันส่งเสียงโกลาหล
๒๕. เรื่องจะแบ่งกันอย่างไร ๒๖. เรื่องจะให้แบ่งกันอย่างไร ๒๗. เรื่องแลกส่วน
ของตน ๒๘. เรื่องให้ส่วนพิเศษ ๒๙. เรื่องจะให้ส่วนจีวรอย่างไร ๓๐. เรื่องย้อม
จีวรด้วยโคมัย ๓๑. เรื่องย้อมด้วยน้ำเย็นและน้ำร้อน ๓๒. เรื่องน้ำย้อมล้น ๓๓.
เรื่องไม่รู้ว่าน้ำย้อมสุกหรือไม่สุก ๓๔. เรื่องยกหม้อน้ำย้อมลง ๓๕. เรื่องไม่มี
ภาชนะย้อม ๓๖. เรื่องขยำจีวรในถาด ๓๗. เรื่องตากจีวรบนพื้นดิน ๓๘. เรื่อง
ปลวกกัด ๓๙. เรื่องตากจีวรตรงกลาง ๔๐. ชายจีวรชำรุด ๔๑. เรื่องน้ำย้อมหยด
ออกชายเดียว ๔๒. เรื่องจีวรแข็ง ๔๓. เรืองจีวรกระด้าง ๔๔. เรื่องใช้จีวรไม่ได้ตัด
๔๕. เรื่องตัดจีวรตามแบบคันนา ๔๖. เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตร
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 318
เห็นพวกภิกษุแบกห่อจีวร ๔๗. เรื่องพระศากยมุนีทรงทูตลองอนุญาตผ้า ๓ ผืน
๔๘. เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทรงอดิเรกจีวรสำรับอื่นเข้าบ้าน ๔๙. เรื่องอดิเรกจีวร
เกิดขึ้น ๕๐. เรื่องอันตรวาสกขาดทะลุ ๕๑. เรื่องฝนตกพร้อมกัน ทวีป ๕๒.
เรื่องนางวิสาขาขอประทานพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝน อาคันทุกภัต คมิกภัต
คิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต เภสัช ยาคูประจำ และถวายอุทกสาฎกแก่ภิกษุณีสงฆ์
๕๓. เรื่องฉันโภชนะประณีต ๕๔. เรื่องผ้าปูนั่งเล็กเกินไป ๕๕. เรื่องฝีดาษหรือ
อีสุกอีใส ๕๖. เรื่องผ้าเช็ดหน้า เช็ดปาก ๕๗. เรื่องผ้าเปลือกไม้ ๕๘. เรื่องไตร
จีวรบริบูรณ์ ๕๙. เรื่องอธิษฐาน ๖๐. เรื่องจีวรขนาดเล็กเท่าไรควรวิกัป ๖๑.
เรื่องผ้าอุตราสงค์ที่ทำด้วยผ้าบังสุกุลหนัก ๖๒. เรื่องชายสังฆาฏิไม่เสมอกัน ๖๓.
เรื่องด้ายลุ่ย ๖๔. เรื่องแผ่นผ้าสังฆาฏิลุ่ย ๖๕. เรื่องผ้าไม่พอ ๖๖. เรื่องผ้าดาม
๖๗. เรื่องจีวรเกิดขึ้นมาก ๖๘. เรื่องเก็บจีวรไว้ในวิหารอันธวัน ๖๙. เรื่องเผลอ
สติ ๗๐. ภิกษุรูปเดียวจำพรรษา ๗๑. เรื่องภิกษุอยู่รูปเดียวตลอดฤดูกาล
๗๒. เรื่องพระเถระสองพี่น้อง ๗๓. เรื่องภิกษุ ๓ รูป จำพรรษาในพระนคร
ราชคฤห์ ๗๔. เรื่องพระอุปนันทะจำพรรษาแล้วไปวัดใกล้บ้าน ได้รับส่วนแบ่ง
แล้วกลับมาพระนครสาวัตถีตามเดิม ๗๕. เรื่องพระอุปนันทะจำพรรษา ๒ วัด
๗๖. เรื่องภิกษุอาพาธเป็นโรคท้องร่วง ๗๗. เรื่องภิกษุอาพาธ ๗๘. เรื่องภิกษุ
และ6สามเณร ๒ รูป อาพาธ ๗๙. เรื่องเปลือยกาย ๘๐. เรื่องนุ่งผ้าคากรอง
๘๑. เรื่องนุ่งผ้าเปลือกไม้กรอง ๘๒. เรื่องนุ่งผ้าผลไม้กรอง ๘๓. เรื่องนุ่งผ้า
กัมพลทำด้วยผมคน ๘๔. เรื่องนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์ ๘๕. เรื่องนุ่งผ้า
กัมพลทำด้วยขนปีกนกเค้า ๘๖. เรื่องนุ่งหนังเสือ ๘๗ เรื่องนุ่งผ้าทำด้วยก้าน
ดอกรัก ๘๘. เรื่องนุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอ ๘๙. เรื่องทรงจีวรสีล้วน ๆ คือ ลีคราม
สีแดง สีบานเย็น สีสด สีชมพู ทรงจีวรไม่ตัดชาย มีชายยาว มีชายเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 319
ลายดอกไม้ มีชายเป็นแผ่น สวมเสื้อ สวมหมวก ใช้ผ้าโพกศีรษะ ๙๐. เรื่อง
จีวรยังไม่เกิดขึ้น ภิกษุหลีกไปเสีย ๙๑. เรื่องสงฆ์แตกกัน ๙๒. เรื่องถวายจีวร
แก่สงฆ์ในฝ่ายหนึ่ง ๙๓. เรื่องท่านพระเรวตะฝากจีวร ๙๔. เรื่องถือวิสาสะ
๙๕. เรื่องอธิษฐาน ๙๖. เรื่องมาติกาของจีวร ๘ ข้อ.
อรรถกถาจีวรขันธกะ
เรื่องหมอชีวก
วินิจฉัยในจีวรขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ปทกฺขา ได้แก่ เฉียบแหลม คือ ฉลาด.
บทว่า อภิสฏา ได้แก่ ไปหา.
ถามว่า ชนเหล่าไรไปหา ?
ตอบว่า พวกมนุษย์ผู้มีความต้องการ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อตฺถิกาน อตฺถิกาน มนุสฺสาน ดังนี้
เพราะทรงใช้ฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.
หลายบทว่า ปญฺาสาย จ รตฺตึ คจฺฉติ มีความว่า นางอัมพปาลี
คณิกาถือเอาทรัพย์ ๕๐ กหาปณะแล้วไปคืนหนึ่ง ๆ.
บทว่า เนคโม ได้แก่ หมู่กุฎุมพี.
ข้อว่า สาลวติ กุมารึ คณิก วุฏฺาเปสิ มีความว่า ทวยนาครให้
ทรัพย์สองแสน พระราชาพระราชทานสามแสน และแดงกำหนดอารามอุทยาน
และพาหนะเป็นต้นต้น อย่างอื่นแล้ว ให้นางสาลวดีรับรอง อธิบายว่า ทรงตั้งไว้
ในตำแหน่งนางนครโสภิณี.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 320
หลายบทว่า ปฏิสเตน จ รตฺติ คจฺฉติ มีความว่า ไปอยู่ร่วมกัน
คืนละ ๑๐๐ กหาปณะ.
สองบทว่า คิลาน ปฏิเวเทยฺย มีความว่า เราพึงให้ทราบความ
ที่เราเป็นคนเจ็บ.
บทว่า กตฺตรสุปฺเป ได้แก่ กระดังเก่า.
บทว่า ทิสาปาโมกฺโข มีความว่า เป็นคนที่มีชื่อเสียง คือเป็น
ใหญ่ มีคนรู้จักทั่วทุกทิศ.
เพราะเหตุไร ? ชีวกจึงถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ ใครเป็นมารดาของ
หย่อมฉัน ?
ได้ยินว่า เด็กหลวงเหล่าอื่น ซึ่งเล่นอยู่ด้วยกัน เมื่อเกิดทะเลาะกัน
ขึ้น ย่อมกล่าวกะชีวกนั้นว่า เจ้าลูกไม่มีแม่ ไม่มีพ่อ.
เหมือนอย่างว่า ในงานมหรสพเป็นต้น ญาติทั้งหลายมีน้ำและป้า
เป็นต้น ย่อมส่งของขวัญบางสิ่งบางอย่าง ไปให้แก่เด็กเหล่าอื่นฉันใด ใครจะ
ส่งของขวัญไร ๆ ไปให้แก่ชีวกนั้น ฉันนั้น หามิได้ เพราะเหตุนั้น เขาคำนึงถึง
เหตุทั้งปวงนั้นแล้ว เพื่อทราบว่า เราเป็นผู้ไม่มีแม่แน่หรือหนอ ? จึงทูลถามว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ใครเป็นมารดา ใครเป็นบิดาของหม่อมฉัน ?
สองบทว่า ยนฺนูนาห สิปฺป มีความว่า ชีวกคิดว่า อย่ากระนั้น
เลย เราพึงศึกษาศิลปะทางแพทย์เถิด.
ได้ยินว่า เขาได้มีความรำพึงอย่างนี้ว่า หัตถิศิลปะและอัศวศิลปะ
เป็นต้นเหล่านี้แล เนื่องด้วยเบียดเบียนผู้อื่น. ศิลปะทางแพทย์มีเมตตาเป็น
ส่วนเบื้องต้น เนื่องด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เขา
จึงหมายเอาเฉพาะศิลปะทางแพทย์ คิดว่า อย่างกระนั้นเลย เราพึงศึกษาศิลปะเถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 321
อีกอย่างหนึ่ง นับแต่กัลป์นี้ไปแสนกัลป์ ชีวกนี้ได้เห็นแพทย์ผู้เป็น
อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ซึ่งมีคุณแผ่ไปใน
ภายในบริษัททั้งสี่ว่า หมอนี้เป็นพุทธอุปัฏฐาก จึงคิดว่า ทำอย่างไรหนอ เรา
จะพึงถึงฐานันดรเช่นนี้บ้าง ? แล้วถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุขตลอด ๗ วัน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้กระทำความ
ปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในอนาคตกาล ข้าพระองค์พึงเป็น
พุทธอุปัฏฐากบ้าง เหมือนอย่างหมอคนโน้น เป็นอุปัฏฐากของพระองค์เถิด.
ชีวกนั้น ผู้แม้อันความปรารถนาเดิมนั้นเตือนใจอยู่ จึงหมายเอา
เฉพาะศิลปะทางแพทย์ คิดว่า อย่ากระนั้นเลย เราพึงศึกษาศิลปะเถิด.
ก็ในสมัยนั้น พวกพ่อค้าชาวเมืองตักกสิลา ได้ไปเพื่อเฝ้าอภัยราชกุมาร
ชีวกถามพ่อค้าเหล่านั้นว่า พวกท่านมาจากไหน ?
เขาได้ตอบว่า มาจากเมืองตักกสิลา.
จึงถามว่า ในเมืองนั้นมีอาจารย์ผู้สอนศิลปะทางแพทย์ไหม ?
ได้ฟังว่า เออ กุมาร แพทย์ผู้เป็นทิศาปาโมกข์ อาศัยอยู่ในเมือง
ตักกสิลา.
จึงสั่งว่า ถ้ากระนั้น เวลาที่ท่านจะไป ท่านพึงบอกเราด้วย.
พ่อค้าเหล่านั้น ได้กระทำตามสั่ง. เขาไม่ทูลลาพระบิดา ได้ไปเมือง
ตักกสิลากับพ่อค้าเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าว
ไม่ทูลลาอภัยราชกุมาร เป็นอาทิ.
หลายบทว่า อิจฺฉามห อาจริย สิปฺป สิกฺขิตุ มีความว่า ได้ยิน
ว่า แพทย์นั้นเห็นเขาเข้าไปหาอยู่.
จึงถามว่า พ่อ เป็นใครกัน ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 322
เขาตอบว่า ผมเป็นนัดดาของพระเจ้าพิมพิสารมหารราช เป็นบุตร
ของอภัยราชกุมาร
แพทย์ถามว่า ก็เหตุไรเล่า พ่อจึงมาที่นี่ ?
ลำดับนั้น เขาจึงตอบว่า เพื่อศึกษาศิลปะในสำนักของท่าน. แล้ว
กล่าวว่า ท่านอาจารย์ ผมอยากศึกษาศิลปะ.
ข้อว่า พหุญฺจ คณฺหาติ มีความว่า ศิษย์เหล่าอื่นมีขัตติราชกุมาร
เป็นต้น ให้ทรัพย์แก่อาจารย์แล้ว ไม่กระทำการงานไร ๆ ศึกษาแต่ศิลปะเท่า
นั้นฉันใด, ชีวกนั้นหาได้กระทำฉันนั้นไม่. ส่วนเขาไม่ไห้ทรัพย์ไร ๆ เป็น
อย่างธัมมันตวาสิก กระทำการงานของอุปัชฌาย์ ในเวลาหนึ่ง ศึกษาในเวลา
หนึ่งเท่านั้น แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น กุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร เพราะตน
เป็นผู้มีปัญญา ย่อมเรียนได้มาก เรียนได้เร็ว ย่อมจำทรงไว้ดี ทั้งศิลปะที่
ขาเรียนแล้ว ย่อมไม่หลงลืม.
วินิจฉัยยินดีว่า สตฺต จ เม วสฺสานิ อธิยนฺตสฺส นยิมสฺส
สิปฺปสฺส อนฺโต ปญฺายติ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ได้ยินว่า เพียง ๗ ปี ชีวกนี้เรียนแพทยศิลปะจบเท่าที่อาจารย์รู้ทั้ง
หมด ซึ่งศิษย์เหล่าอื่นเรียนถึง ๑๖ ปี.
ฝ่ายท้าวสักกเทวราชได้มีพระรำพึงอย่างนี้ว่า ชีวกนี้จักเป็นอุปัฏฐาก
มีความคุ้นเคยอย่างยอดของพระพุทธเจ้า เอาเถิด เราจะให้เขาศึกษาการประ-
กอบยา. จึงเข้าสิงในสรีระของอาจารย์ ให้ชีวกนั้นศึกษาการประกอบยา โดย
วิธีที่แพทย์สามารถรักษาโรคไม่มีส่วนเหลือยกเว้นวิบากของกรรมเสีย ให้หาย
ด้วยการประกอบยาขนานเดียวเท่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 323
ส่วนเขาสำคัญว่า เราเรียนในสำนักอาจารย์ เพราะฉะนั้น พอท้าว
สุกกะปล่อยด้วยทรงดำริว่า บัดนี้ชีวกสามารถเพื่อเยียวยาได้ เขาจึงติดอย่างนั้น
แล้วถามอาจารย์.
ส่วนอาจารย์ทราบดีว่า ชีวกนี้ไม่ได้เรียนศิลปะด้วยอานุภาพของเรา
เรียนด้วยอานุภาพของเทวดา จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เตนหิ ภเณ.
สามบทว่า สมนฺตา โยชน อาหิณฺฑนฺโต มีความว่า ออกทาง
ประตูด้านหนึ่ง ๆ วันละประตู เที่ยวไปตลอด ๔ วัน.
สามบทว่า ปริตฺต ปาเถยฺย อทาสิ มีความว่า ได้ให้เสบียงมีประ-
มาณน้อย.
เพราะเหตุไร ?
ได้ยินว่า แพทยาจารย์นั้น ได้มีความวิตกอย่างนี้ว่า ชีวกนี้เป็นบุตร
ของมหาสกุล พอไปถึงเท่านั้น จักได้สักการะใหญ่ จากสำนักบิดาและปู่
เหตุนั้น เขาจักไม่รู้คุณของเราหรือของศิลปะ แต่เขาสิ้นเสบียงในกลางทางแล้ว
จักต้องใช้ศิลป แล้วจักรู้คุณของเราและของศิลปะแน่แท้ เพราะเหตุนั้น จึง
ให้เสบียงแต่น้อย.
บทว่า ปสเทน คือ ฟายมือหนึ่ง.
บทว่า ปิจุนา คือ ปุยฝ้าย.
บทว่า ยตฺร หิ นาม คือชื่อใด ?
บทว่า กิมฺปิมาย ตัคบทเป็น กิมฺปิ เม อย.
สามบทว่า สพฺพาลงการ ตุยฺห โหตุ มีความว่า ได้ยินว่าพระ
ราชาทรงดำริว่า หากว่า หมอชีวกจักถือเอาเครื่องประดับทั้งปวงนี้ไซร้ เรา
จักตั้งเขาในตำแหน่งพอประมาณ หากว่า เขาจักไม่รับเอาไซร้ เราจักตั้งเขา
ให้เป็นคนสนิทภายในวัง ดังนี้ จึงตรัสอย่างนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 324
อภัยราชกุมารก็ดี พวกนางระบำทั้งหลายก็ดี บังเกิดความคิดว่า ไฉน
หนอ ชีวกจะไม่พึงถือเอา ? ถึงเขาก็เหมือนจะทราบความคิดของชนเหล่านั้น
จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นี้เป็นเครื่องประดับของอัยยิกาหม่อนฉัน อัน
เครื่องประดับนี้ ไม่สมควรที่หม่อมฉันจะรับไว้ ดังนี้แล้ว กราบทูลว่า อล เทว
เป็นอาทิ.
พระราชาทรงเลื่อมใส พระราชทานเรือนอันพร้อมสรรพด้วยเครื่อง
ประดับทั้งปวง สวนอัมพวัน บ้านมีส่วยแสนหนึ่งประจำปี และสักการะใหญ่
แล้วตรัสดำเป็นต้นว่า เตนหิ ภเณ.
หลายบทว่า อธิการ เม เทโว สรตุ มีความว่า ขอจงทรงระลึก
ถึงอุปการะแห่งกิจการที่หม่อมฉันได้ทำไว้.
สองบทว่า สีสจฺฉวึ อุปฺปาเฏตฺวา ได้แก่ ถลกหนังศีรษะ.
สองบทว่า สิพฺพินึ วินาเมตฺวา ได้แก่ เปิดรอยประสาน.
ถามว่า เพราะเหตุไร หมอชีวกจึงกล่าวว่า คฤหบดี ท่านอาจหรือ ?
ตอบว่า หมอชีวกทราบว่า ได้ยินว่า สมองศีรษะย่อมไม่อยู่ที่ได้
เพราะการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ, แต่เมื่อเศรษฐีนั้นนอนนิ่ง ไม่กระเทือน ๓
สัปดาหะ สองศีรษะจักอยู่ที่ได้ ดังนี้ แล้วคิดว่า อย่ากระนั้นเลย เศรษฐี
พึงปฏิญญาข้างละ ๗ เดือน ๆ แต่พึงนอนเพียงข้างละ ๗ วัน ๆ จึงกล่าวอย่าง
นั้น.
ด้วยเหตุนั้นแล หมอชีวกจึงกล่าวข้างหน้าว่า ก็แต่ว่า ท่านอันเรารู้
แล้ว โดยทันทีทีเดียว.
หลายบทว่า นาห อาจริย สกฺโกมิ มีความว่า ได้ยินว่า ความ
เร่าร้อนใหญ่ บังเกิดขึ้นในสรีระของเศรษฐีนั้น, เพราะเหตุนั้น เขาจึงกล่าว
อย่างนั้น .
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 325
สองบทว่า ตีหิ สตฺตาเหน คือ ๓ ข้าง ๆ ละสัปดาหะหนึ่ง.
สองบทว่า ชน อุสฺสาเรตฺวา คือ ให้ไล่คนออกไปเสีย.
เรื่องพระเจ้าจัณฑปัชโชต
สามบทว่า เชคุจฺฉ เม สปฺปิ มีความว่า ได้ยินว่า พระราชานี้
มีกำเนิดแห่งแมลงป่อง, เนยไสเป็นยาและเป็นของปฏิกูลของแสลงป่องทั้งหลาย
เพราะกำจัดพิษแมลงป่องเสีย; เพราะฉะนั้น ท้าวเธอจึงรับสั่งอย่างนั้น.
สองบทว่า อุทฺเทก ทสฺสุติ คือ จักให้อาเจียน.
สองบทว่า ปญฺาสโยชนิกา โหติ มีความว่า ช้างพังชื่อภัททวติกา
เป็นพาหนะสามารถเดินทางได้ ๕๐ โยชน์.
แต่พระราชานั้นจะมีแต่ช้างพังอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้, ถึงช้างพลาย
ชื่อว่านาฬาคิรี ย่อมเดินทางได้ ๑๐๐ โยชน์. ม้า ๒ ตัว คือเวลุกัณณะตัวหนึ่ง
มุญชเกสะตัวหนึ่ง ย่อมเดินทางได้ ๑๒๐ โยชน์. ทาสชื่อกากะ ย่อมเดินทาง
ได้ ๖๐ โยชน์.
ได้ยินว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่บังเกิดขึ้น วันหนึ่งเมื่อกุลบุตร ผู้
หนึ่งนั่งเพื่อจะบริโภค พระปัจเจกพุทธเจ้ายืนอยู่ที่ประตูแล้วได้ไปเสีย. บุรุษ
คนหนึ่ง บอกแก่กุลบุตรนั้นว่า พระปัจเจกพระพุทธเจ้ามาแล้วไปเสียแล้ว.
กุลบุตรนั้นได้ฟังจึงบอกว่า ท่านจงไป, จงนำบาตรมาโดยเร็ว ดังนี้ ให้นำ
บาตรมาแล้ว ให้ภัตที่เตรียมไว้สำหรับตนทั้งหมดส่งไป.
บุรุษนอกนี้ นำบาตรนั้นส่งไปถึงมือของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วได้
กระทำความปรารถนาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ด้วยประกอบความขวนขวายทาง
กาย ที่ข้าพเจ้ากระทำแก่ท่านนี้ ข้าพเจ้าเกิดในที่ไร ๆ ขอจงเป็นผู้พร้อมมูล
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 326
ด้วยพาหนะเถิด. บุรุษนั้นเกิดเป็นพระราชา ทรงพระนามว่าจัณฑปัชโชตนี้๑
ในบัดนี้, ความสมบูรณ์ด้วยพาหนะนี้ มีด้วยความปรารถนานั้น.
สามบทว่า นเขน เภสชฺช โอลุมฺเปตฺวา คือ แทรกยาลงด้วยเล็บ,
อธิบายว่า ใส่.
สองบทว่า สปฺปึ ปาเยตฺวา คือ ให้ดื่มเนยใสด้วย บอกวิธีจัด
อาหารแก่นางบำเรอทั้งหลายด้วย.
บทว่า นิจฺฉาเรสิ ได้แก่ ถ่ายแล้ว.
ผ้าอวมงคลซึ่งเขาทิ้งเสียที่ป่าช้าในอุตตรกุรุทวีป ชื่อผ้าสิเวยยกะ. ได้ยิน
ว่า มนุษย์ทั้งหลายในทวีปนั้น เอาผ้านั้นนั่นแลห่อหุ้มคนตายแล้วทั้งเสีย. นก
หัสดีลิงค์ทั้งหลาย กำหนดห่อคนทายนั้นว่า ชิ้นเนื้อ แล้วเฉี่ยวนำไปวางที่ยอด
เขาหิมพานต์ เปลื้องผ้าออกแล้วกิน. ครั้งนั้นพวกพรานไพรพบผ้าเข้าแล้วนำ
มาถวายพระราชา. ผ้าสิเวยยกะเป็นของที่พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงได้แล้วด้วย
ประการอย่างนี้.
อาจารย์บางเหล่ากล่าวว่า หญิงผู้ฉลาดในแคว้นสีวี ฟันด้ายด้วยขน
สัตว์ ๓ เส้น, ผ้าสิเวยยกะนั้น เป็นผ้าที่ทอด้วยด้ายนั้น ดังนี้
ว่าด้วยทรงอนุญาตผ้าปาวารเป็นต้น
บทว่า สิเนเหถ มีความว่า ก็พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าเศร้า
หมองหรือไม่เศร้าหมอง. เพราะว่า เทวดาทั้งหลาย ย่อมแทรกทิพยโอชาใน
อาหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกเมื่อ, ก็แต่ว่า น้ำยางย่อมยังโทษทั้งหลายให้
ชุ่มแช่อยู่ในพระสรีระทั้งสิ้น. ย่อมกระทำเส้นเอ็นทั้งหลายให้เพลีย; ด้วยเหตุ
นั้น หมอชีวกนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.
๑. ดุเรื่องในสามาวตีวตฺถุ อปฺปมาทวคฺค ธมฺมปทฏฺกถา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 327
สองบทว่า ตีณิ อุปฺปลหตฺถานิ มีความว่า อุบลกำหนึ่ง เพื่อ
บำบัดโทษอย่างหยาบ กำหนึ่งเพื่อบำบัดโทษอย่างปานกลาง กำหนึ่งเพื่อบำบัด
โทษอย่างละเอียด.
หลายบทว่า น จิรสฺเสว ปกตตฺโต อโหสิ มีความว่า ก็เมือพระ
กายเป็นปกติแล้วอย่างนั้น ชาวเมืองทั้งหลายได้ตระเตรียมทานไว้. หมอชีวกมา
แล้ว ได้กราบทูลความข้อนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
วันนี้ พวกชาวเมืองประสงค์จะถวายทานแด่พระองค์ ขอพระองค์เสด็จเข้าสู่
ละแวกบ้าน เพื่อบิณฑบาตเถิด. พระมหาโมคคัลลานเถระคิดว่า วันนี้ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าสมควรได้ปฐมบิณฑบาตจากที่ไหนหนอและ ? ลำดับนั้น ท่านติด
ว่า โสณเศรษฐีบุตร จำเดิมแต่ทำนามะ ย่อมบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีหอม
ซึ่งทำนุบำรุงด้วยรดน้ำนมสด ไม่สาธารณ์ด้วยชนเหล่าอื่น เราจักนำบิณฑบาต
จากโสณเศรษฐีบุตรนั้น มาเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านไปด้วยฤทธิ์ แสดงตน
บนพื้นปราสาทของโสณเศรษฐีบุตรนั้น.
เขาได้รับบาตรของพระเถระแล้ว ถวายบิณฑบาตอย่างประณีต. และ
ได้เห็นอาการจะไปของพระเถระ จึงกล่าวว่า นิมนต์ฉันเถิด ขอรับ. พระเถระ
บอกเนื้อความนั้น. เขากล่าวว่า นิมนต์ฉันเถิด ขอรับ, กระผมจักถวายส่วน
อื่นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้พระเถระฉันแล้ว ได้อบบาตรด้วยของหอมแล้ว
ถวายบิณฑบาต. พระเถระได้นำบาตรนั้นมาถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. ถึงพระ
เจ้าพิมพิสารก็ทรงดำริว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคจักเสวยอะไร ? จึงเสด็จมาวิหาร
พอเสด็จเข้าไป ก็ทรงได้กลิ่นบิณฑบาต ได้เป็นผู้มีพรูประโยคสงค์จะเสวย. ก็
เทวดาทั้งหลาย แทรกโอชาในบิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ยังอยู่ในภา.-
ชนะ ๒ ครั้งเท่านั้น คือ บิณฑบาตที่นางสุชาดาถวาย ๑ ที่นายจุนกัมมารบุตร
ไว้ถวาย ในคราวปรินิพพาน ๑, ในบิณฑบาตอื่น ๆ ได้แทรกที่ละคำ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 328
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบความอยากของพระราชา
จึงรับสั่งให้ถวายบิณฑบาตหน่อยหนึ่ง ซึ่งเทวดายังมิได้แทรกโอชาลง แก่
พระราชา. ท้าวเธอเสวยแล้วทูลถามว่า โภชนะนำมาจากอุตตกุรุทวีปหรือ
พระเจ้าข้า ร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร ไม่ได้นำมาจากอุตตร-
กุรุทวีป, โดยที่แท้นี่เป็นโภชนะของคฤหบดีบุตร ชาวแคว้นของพระองค์
นั่นเอง ดังนี้แล้ว ทรงบอกสมบัติของโสณะ. พระราชาทรงฟังเนื้อความ
นั้นแล้ว มีพระประสงค์จะทอดพระเนตรโสณะ ได้ทรงกระทำความมาของ
โสณะพร้อมด้วยกุลบุตรแปดหมื่นคน ตามนัยที่กล่าแล้วในจัมมขันธกะ.
กุลบุตรเหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เป็นพระ-
โสดาบัน. ฝ่ายโสณะบวชแล้วทั้งอยู่ในพระอรหัต. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้ารับ
สั่งให้ถวายบิณฑบาตแก่พระราชาก็เพื่อประโยชน์นี้แล.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้วอย่างนั้น, ลำดับนั้น
แล หมอชีวกโกมารภัจจ์ ถือคู่ผ้าสิเวยยกะนั้นแล้ว ฯลฯ ได้กราบทูลเนื้อความ
นั้น.
วินิจฉัยในคำว่า อติกฺกนฺตวรา นี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วใน
มหาขันธกะนั้นและ.
ข้อว่า ภควา ภนฺเต ปสุกูลิโก ภิกฺขุสงฺโฆ จ มีความว่า จริง
อยู่ ในระหว่างนี้ คือ ตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความเป็นพระพุทธเจ้า จน
ถึงเรื่องนี้เกิดขึ้น เป็นเวลา ๒๐ ปี, ภิกษุใด ๆ ไม่ยินดีคฤหบดีจีวร, ภิกษุทั้ง
ปวงได้เป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเท่านั้น: ด้วยเหตุนั้น หมอชีวกนี้ จึงกราบทูล
อย่างนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 329
บทว่า คหปติจีวร ได้แก่ จีวรอันคหบดีทั้งหลายถวาย.
สองบทว่า ธมฺมิยา กถาย คือ ถ้อยคำอันประกอบพร้อมด้วย
อานิสงส์แห่งการถวายผ้า
บทว่า อิตริตเรนนาปิ คือ มีค่าน้อยก็ตาม มีค่ามากก็ตาม, ความว่า
อย่างใดอย่างหนึ่ง. ผ้าห่มที่ทำด้วยฝ้ายชนิดที่มีขน ชื่อผ้าปาวาร.
ในคำว่า อนุชานมิ ภิกฺขเว โกชว นี้ มีความว่า ผ้าโกเชาว์
คือ ผ้าลาด ตามปกติเท่านี้ จึงควร, ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่ ไม่ควร. ผ้าโกเชาว์
นั้น ทำด้วยขนสัตว์คล้ายผ้าปาวาร.
ว่าด้วยทรงอนุญาตจีวร ๖ ชนิด
พระเจ้ากาสีนั้น คือพระราชาแห่งชนชาวกาสี, ท้าวเธอเป็นน้องร่วม
พระบิดาเดียวกับพระเจ้าปเสนทิ.
วินิจฉัยในบทว่า อฑฺฒกาสิย นี้ พึงทราบดังนี้:-
หนึ่งพันเรียกว่ากาสีหนึ่ง ผ้ากัมพลมีราคาพันหนึ่ง ชื่อมีค่ากาสีหนึ่ง,
แต่ผ้ากัมพลผืนนี้ มีราคา ๕๐, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีค่ากึ่งกาสี,
ด้วยเหตุนี้แล พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า ควรแก่ราคากึ่งกาสี.
บทว่า อุจฺจาวจานิ คือ ดีและไม่ดี. ผ้าที่ทำเจือกันด้วยด้ายห้าชนิด
มีด้ายเปลือกไม้เป็นต้น ชื่อผ้าภังคะ บางอาจารย์กล่าวว่า ผ้าที่ทำด้วยปอเท่านั้น
ดังนี้บ้าง.
ข้อว่า เอกเยว ภควตา จีวร อนุญฺาต น เทฺว มีความว่า
ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น กำหนดเนื้อความแห่งบทอันหนึ่งว่า ด้วยจีวรตามมี
ตามได้ อย่างนี้ว่า ด้วยจีวรเป็นของคหบดีหรือด้วยผ้าบังสุกุล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 330
บทว่า นาคเมสุ มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น ไม่รออยู่ จนกว่าพวก
เธอจะมาจากป่าช้า, คือหลีกไปเสียก่อน.
สามบทว่า นากามา ภาค ทาตุ มีความว่า ไม่ปรารถนาจะให้ก็
อย่าให้, แต่ถ้าปรารถนาจะให้ไซร้, ควรให้.
บทว่า อาคเมสุ คือ รออยู่ในที่ใกล้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่อยากให้ ต้องให้
ส่วนแบ่งแก่ภิกษุทั้งหลายผู้คอย. ก็ถ้าว่า มนุษย์ทั้งหลายถวายว่า ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ผู้มาที่นี่เท่านั้น จงถือเอา, หรือกระทำเครื่องหมายไว้ว่า ท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย ผู้มาถึงแล้ว จงถือเอา ดังนี้แล้วไปเสีย, จีวรย่อมถึงแก่ภิกษุแม้
ทุกรูป ผู้มาถึงแล้ว. ถ้าเขาทิ้งไว้แล้วไปเสีย, ภิกษุผู้ถือเอาเท่านั้นเป็นเจ้าของ.
สองบทว่า สทิสา โอกฺกมึสุ มีความว่า เข้าไปทุกรูป, หรือเข้า
ไปโดยทิศเดียวกัน.
หลายบทว่า เต กติก กตฺวา มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น ทำกติกา
กันไว้แต่ภายนอกว่า เราจักแบ่งผ้าบังสุกุลที่ได้แล้วถือเอาทั่วกิน
ว่าด้วยเจ้าหน้าที่รับจีวรเป็นต้น
วินิจฉัยในข้อว่า โย น ฉนฺทาคตึ คจฺฉติ เป็นอาทิ พึงทราบ
ดังนี้.
ในภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร ภิกษุผู้รับของปิยชนทั้งหลายมีญาติ
เป็นต้นของตน แม้มาทีหลัง ก่อนกว่า, หรือรับแสดงความพอใจในทายกบ้าง
คน. หรือน้อมมาเพื่อคน ด้วยความเป็นผู้มีโลภเป็นปกติ, ชื่อว่าถึงความลำเอียง
เพราะความชอบพอ. ภิกษุใดรับของทายกแม้มาก่อนกว่า ทีหลังด้วยอำนาจ
ความโกรธ, หรือรับทำอาการดูหมิ่นในคนจน. หรือทำลาภันตรายแก่สงฆ์
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 331
อย่างนี้ว่า ที่เก็บในเรือนของท่านไม่มีหรือ, ท่านจงถือเอาของ ๆ ท่านไปเถิด.
ภิกษุนี้ชื่อว่าถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง. ฝ่ายภิกษุใดหลงลืมสติ ไม่
รู้ตัว ภิกษุนี้ ชื่อถึงความลำเอียงเพราะงมงาย ภิกษุผู้รับของอิสรชนทั้งหลาย แม้
มาทีหลัง ก่อนกว่า เพราะความกลัว, หรือหวาดหวั่นอยู่ว่า ตำแหน่งผู้รับ จีวรนี้
หนักนัก, ชื่อถึงความลำเอียงเพราะกลัว. ภิกษุผู้รู้อยู่ว่า จีวรนี้ด้วย นี้ด้วย
เรารับแล้ว. และส่วนนี้ เราไม่ได้รับ ชื่อรู้จักจีวรที่รับแล้ว และไม่ได้รับ เพราะ
เหตุนั้น ภิกษุใด ไม่ลำเอียงด้วยอำนาจแห่งฉันทาคติเป็นต้น, รับตามลำดับ
ผู้มา ไม่ทำให้แปลกกันในคนที่เป็นญาติ และมิใช่ญาติ คนมั่งมีและคนจน,
เป็นผู้ประกอบด้วยศีลาจารปฏิบัติ มีสติ มีปัญญา เป็นพหูสูต สามารถเพื่อ
กระทำอนุโมทนาด้วยบทและพยัญชนะอันเรียบร้อย ด้วยวาจาอันสละสลวย ยัง
ความเลื่อมใสให้เกิดแก่ทายกทั้งหลาย; ภิกษุเห็นปานนี้สงฆ์ควรสมมติ.
ก็วินิจฉัยในข้อว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว สมฺมนฺนิตพฺโพ นี้
พึงทราบดังนี้:-
สมควรแท้ที่จะสมมติในท่ามกลางสงฆ์ทั้งปวง ภายในวัดก็ได้ ใน
ขัณฑสีมาก็ได้ ด้วยกรรมวาจาตามที่ตรัสนั้นก็ได้ ด้วยอปโลกน์ก็ได้ ก็อัน
ภิกษุซึ่งสงฆ์สมมติแล้ว อย่างนั้น ไม่พึงอยู่ในกุฎีที่อยู่หลังสุดท้ายหรือในที่ทำ
ความเพียร. ก็แต่ว่า ชนทั้งหลายผู้มาแล้ว จะพบได้ง่าย ในที่ใด พึงวางพูด
ไว้ข้างตัว นุ่งห่มเรียบร้อยนั่งในที่แห่งกุฎีอยู่ใกล้เช่นนั้น.
สองบทว่า ตตฺเถว อุชฺฌิตฺวา มีความว่า ภิกษุเจ้าหน้าที่รับจีวร
กล่าวว่า การรับเท่านั้น เป็นธุระของพวกข้าพเจ้า แล้วทั้งไว้ในที่ซึ่งตนรับ
นั้นเองแล้วไปเสีย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 332
บทว่า จีวรปฏิคฺคาหก ได้แก่ ภิกษุผู้รับจีวรซึ่งคหบดีทั้งหลาย
ถวายแก่สงฆ์.
บทว่า จีวรนิทาหก ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร.
ในคำว่า โย น ฉนฺทาคตึ เป็นอาทิ ในอธิการว่าด้วยสมมติ
เจ้าหน้าที่เก็บจีวรนี้ และในอธิการทั้งปวงนอกจากนี้ พึงทราบวินิจฉัยตามนัย
ที่กล่าวนั้นนั่นแล. ถึงวินิจฉัยในการสมมติ ก็พึงทราบโดยท่านองดังกล่าวแล้ว
เหมือนกัน.
วินิจฉัยในคำว่า วหาร วา เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
ที่อยู่อันใดพลุกพล่านด้วยชนทั้งหลาย มีคนวัดและสามเณร เป็นต้น
ในท่ามกลางวัด เป็นกุฎีที่อยู่ก็ตาม เป็นเพิงก็ตาม อยู่ในสถานเป็นที่ประชุม
ของชนทั้งปวง ที่อยู่อันนั้น ไม่พึงสมมติ. อนึ่งเสนาสนะปลายแดน ก็ไม่ควร
สมมติ. อันการที่ภิกษุทั้งหลายไปสู่ขัณฑสีมานั่งในขัณฑสีมา สมมติภัณฑาคาร
นี้ ย่อมไม่ควร ต้องสมมติในท่ามกลางวัดเท่านั้น.
วินิจฉัยในข้อว่า คุตฺตคุตฺตญฺจ ชาเนยฺย นี้ พึงทราบดังนี้:-
โทษไร ๆ ในสัมภาระทั้งหลายมีหลังคาเป็นต้น แห่งเรือนคลังใดไม่มี
ก่อน เรือนหลังนั้น ชื่อว่าคุ้มได้ ฝ่ายเรือนคลังใด มีหญ้าสำหรับมุง หรือ
กระเบื้องสำหรับมุง พังไป ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง หรือมีช่องในที่บางแห่ง มีฝา
เป็นต้น ที่มีฝนรั่วได้ หรือมีทางเข้าแห่งสัตว์ทั้งหลายมีหนูเป็นต้น หรือปลวก
ขึ้นได้ เรือนคลังนั้นทั้งหมดชื่อว่าคุ้มไม่ได้ พึงตรวจดูเรือนคลังนั้นแล้วซ่อม-
แชม. ในฤดูหนาวพึงปิดประตูและหน้าต่างให้ดี เพราะว่าจีวรย่อมตกหนาว ๑
เพราะความหนาว. ในฤดูร้อน ประตูและหน้าต่าง ควรเปิดเพื่อให้ลมเข้าใน
ระหว่าง ๆ. ด้วยว่า เมื่อทำอย่างนั้น ชื่อว่ารู้จักเรือนคลังที่คุ้มได้และคุ้มไม่ได้.
๑. สีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูกแดดเป็นต้น สีตก เรียกว่า ตกหนาว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 333
ก็เจ้าหน้าที่ทั้ง ๓ นี้ มีเจ้าหน้าที่รับจีวรเป็นต้น ต้องรู้จักวัตรของ
ตน.
บรรดาเจ้าหน้าที่ทั้ง ๓ นั้น ผ้าทุกชนิดที่ชนทั้งหลายถวายว่า กาลจีวร
ก็ดี ว่า อกาลจีวร ก็ดี ว่า อัจเจกจีวร ก็ดี ว่า วัสสิกสาฏิกา ก็ดี ว่า ผ้านิสีทนะ
ก็ดี ว่า ผ้าปูลาด ก็ดี ว่า ผ้าเช็ดหน้า ก็ดี อันเจ้าหน้าที่รับจีวรไม่ควรรับปน
รวมเป็นกองเดียวกัน; พึงรับจัดไว้เป็นแผนก ๆ แล้วบอกอย่างนั้นแล มอบ
แก่เจ้าหน้าที่เก็บจีวร เจ้าหน้าที่เก็บจีวรเล่า เมื่อจะมอบแก่เจ้าหน้าที่ผู้รักษา
เรือนคลัง พึงบอกมอบหมายว่า นี่กาลจีวร ฯลฯ นี่ผ้าเช็ดหน้า. ฝ่ายเจ้าหน้าที่
ผู้รักษาเรือนคลัง ทำเครื่องหมายเก็บไว้เป็นแผนก ๆ อย่างนั้นเหมือนกัน.
ภายหลังเมื่อสงฆ์สั่งว่า จงนำกาลจีวรมา พึงถวายเฉพาะกาลจีวร ; ฯลฯ เมื่อ
สงฆ์สั่งว่า จงนำผ้าเช็ดหน้ามา พึงถวายเฉพาะผ้าเช็ดหน้าเท่านั้น. เจ้าหน้าที่
รับจีวร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว เจ้าหน้าที่เก็บจีวร ทรงอนุญาต
แล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง ก็ทรงอนุญาตแล้ว เพื่อความเป็นผู้มักมาก
หามิได้ เพื่อความไม่สันโดษหามิได้ โดยที่แท้ ทรงอนุญาตแล้ว เพื่อ
อนุเคราะห์สงฆ์ ด้วยประการฉะนี้.
ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลาย จะพึงถือเอาจีวรที่ทายกนำมาแล้ว ๆ แบ่งกัน
ไซร้ เธอทั้งหลาย จะไม่ทราบจีวรที่ทายกนำมาแล้ว ไม่พึงทราบจีวรที่ทายก
ยังมิได้นำมา ไม่พึงทราบจีวรที่ตนไห้แล้ว ไม่พึงทราบจีวรที่ตนยังไม่ได้ให้
ไม่พึงทราบจีวรที่ภิกษุได้แล้ว ไม่พึงทราบจีวรที่ภิกษุยังไม่ได้; จะพึงถวาย
จีวรที่ทายกนำมาแล้ว ๆ ในเถรอาสน์ หรือจะพึงตัดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ถือ
เอา; เมื่อเป็นเช่นนี้ การใช้สอยจีวรไม่เหมาะ ย่อมมีได้; ทั้งไม่เป็นอันได้
ทำความสงเคราะห์ทั่วถึงกัน. ก็แต่ว่า ภิกษุทั้งหลายเก็บจีวรไว้ในเรือนคลัง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 334
แล้ว ในคราวมีจีวรมาก จักให้จีวรแก่ภิกษุรูปละไตรบ้าง รูปละ ๒ ผืน ๆ บ้าง
รูปละผืน ๆ บ้าง เธอทั้งหลายจักทราบจีวรที่ภิกษุได้แล้วและยังไม่ได้ ครั้น
ทราบความที่จีวรซึ่งภิกษุยังไม่ได้ จักสำคัญเพื่อทำความสงเคราะห์กันฉะนี้.
ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรไห้ย้าย
วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ภณฺฑาคาริโก วุฏฺาเปตพฺโพ นี้
พึงทราบดังนี้:-
พึงรู้จักภิกษุที่ไม่ควรให้ย้ายแม้อื่นอีก จริงอยู่ ไม่ควรให้ย้ายภิกษุ ๔
พวก คือ ภิกษุผู้แก่กว่า ๑ ภิกษุเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ๑ ภิกษุผู้อาพาธ ๑
ภิกษุได้เสนาสนะจากสงฆ์ ๑ ในภิกษุ พวกนั้น ภิกษุผู้แก่กว่า อันภิกษุผู้
อ่อนกว่า ไม่พึงให้ย้าย เพราะท่านเป็นผู้แก่กว่าตน, ภิกษุเจ้าหน้าที่รักษา
เรือนคลัง ไม่พึงให้ย้าย เพราะเรือนคลังอันสงฆ์สมมติมอบไห้ ภิกษุผู้อาพาธ
ไม่พึงให้ย้าย เพราะค่าที่เธอเป็นผู้อาพาธ, แต่ว่า สงฆ์มอบที่อยู่อันสำราญกระทำ
ให้เป็นสถานที่ไม่ต้องให้ย้าย แก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต มีอุปการะมาก ด้วยอุทเทส
และปริปุจฉาเป็นต้น ผู้ช่วยภาระ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้เป็นพหูสู นั้น ไม่
พึงให้ย้าย เพราะค่าที่เธอเป็นผู้มีอุปการะ และเพราะค่าที่เสนาสนะเป็นของ
อันเธอได้จากสงฆ์ ฉะนี้แล.
ว่าด้วยเจ้าหน้าที่แจกจีวร
สองบทว่า อุสฺสนฺน โหติ มีความว่า จีวรมีมากต้องจัดกองไว้คือ
เรือนคลังไม่จุพอ.
บทว่า สมฺมุขีภูเตน คือ ยืนอยู่ภายในอุปจารสีมา.
บทว่า ภาเชตุ มีความว่า เพื่อให้ประกาศเวลา แจกกันตามลำดับ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 335
สองบทว่า โกลาหล อกาสิ คือ ได้ทำเสียงดังอย่างนี้ว่า ท่านจง
ให้แก่อาจารย์ของเรา ท่านจงให้แก่อุปัชฌาย์ของเรา.
วินิจฉัยในองค์ของเจ้าหน้าที่แจกจีวร พึงทราบดังนี้:-
เมื่อให้จีวรที่มีราคามาก แม้ยังไม่ถึง (ลำดับ) แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ชอบ
พอกัน ชื่อถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ. ไม่ให้จีวรมีราคามาก แม้ถึง
แก่ภิกษุผู้แก่กว่าเหล่าอื่น แต่กลับเอาจีวรมีราคาน้อยให้ชื่อถึงความลำเอียง
เพราะความเกลียดชัง. ภิกษุผู้งมงายด้วยความเขลา ไม่รู้จักธรรมเนียมการให้
จีวร ชื่อถึงความลำเอียงเพราะงมงาย เพราะกลัวแม้แต่ภิกษุอ่อนผู้มีปากกล้า
จึงให้จีวรมีราคามากที่ยังไม่ทันถึง (ลำดับ) ชื่อถึงความลำเอียงเพราะกลัว.
ภิกษุใดไม่ถึงความลำเอียงอย่างนั้น คือ เป็นผู้เที่ยงตรง เป็นผู้พอดี วางเป็น
กลางต่อภิกษุทั้งปวง ภิกษุเห็นปานนี้สงฆ์ควรสมมติ.
บทว่า ภาชิตาภาชิต มีความว่า ภิกษุผู้ทราบอยู่ว่า ผ้าแจกไป
แล้ว เท่านี้ ยังมิได้แจกเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทราบผ้าที่แจกแล้ว
และยังมิได้แจก.
บทว่า อุจฺจินิตฺวา มีความว่า คัดเลือกผ้าทั้งหลายอย่างนี้ ว่านี่เนื้อ
หยาบ นี่เนื้อละเอียด นี่เนื้อแน่น นี่เนื้อบาง นี่ใช้แล้ว นี่ยังไม่ได้ใช้ นี่ยาว
เท่านี้ นี่กว้างเท่านี้.
บทว่า ตุลยิตฺวา มีความว่า ทำการกำหนดราคาอย่างนี้ว่า ผืนนี้ดี
ราคาเท่านี้ ผืนนี้ราคาเท่านี้.
สองบทว่า วณฺณาวณฺณ กตฺวา มีความว่า ถ้าเฉพาะผืนหนึ่ง ๆ
ซึ่งมีราคาผืนละ ๑๐ กหาปณะ ๆ พอทั่วกัน อย่างนั้น นั่นเป็นการดี; ถ้าไม่พอ
ผืนใด ดีราคา ๙ หรือ ๘ กหาปณะ ผืนนั้นควบกับผืนอื่น ซึ่งมีราคา ๑
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 336
กหาปณะ และมีราคา ๒ กหาปณะจัดส่วนเท่า ๆ กัน โดยอุบายนี้แล.
ข้อว่า ภิกฺขู คเณตฺวา วคฺค พนฺธิตฺวา มีความว่า หากว่าเมื่อแจก
ทีละรูป ๆ วันไม่พอ เราอนุญาตให้นับภิกษุพวกละ ๑๐ รูป ๆ จัดส่วนจีวรเป็น
หมวด ๆ หมวดละ ๑๐ ส่วน ๆ ทำเป็นมัดอันเดียวกันตั้งเป็นส่วนจีวรอันหนึ่ง
เมื่อส่วนจีวรได้จัดตั้งไว้อย่างนี้แล้วพึงให้จับสลาก แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็พึงจับ
สลากแจกกันอีก.
วินิจฉัยในข้อว่า สามเณราน อุฑฺฒปฏิวึส นี้ พึงทราบดังนี้:-
สามเณรเหล่าใด เป็นอิสระแก่ตน ไม่ทำการงานที่ควรทำของภิกษุ
สงฆ์ ขวนขวายในอุทเทสและปริปุจฉา ทำวัตรปฏิบัติแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์
เท่านั้น ไม่ทำแก่ภิกษุเหล่าอื่น เฉพาะสามเณรเหล่านั้น พึงให้กึ่งส่วน ฝ่าย
สามเณรเหล่าใด ทำกิจที่ควรทำของภิกษุสงฆ์เท่านั้น ทั้งปุเรภัตและปัจฉาภัต
พึงให้ส่วนเท่ากัน แก่สามเณรเหล่านั้น. แต่คำนี้กล่าวเฉพาะด้วยอกาลจีวร
ซึ่งเกิดขึ้นหลังสมัย ได้เก็บไว้ในเรือนคลัง ส่วนกาลจีวรต้องให้เท่า ๆ กันแท้.
ผ้าจำนำพรรษา ซึ่งเกิดในที่นั้น ภิกษุและสามเณรพึงทำผาติกรรม
แก่สงฆ์มีผูกไม้กวาดเป็นต้น แล้วถือเอา. จริงอยู่ การทำหัตถกรรมมีผูก
ไม้กวาดเป็นต้น เป็นวัตรของภิกษุสามเณรทั้งปวง ในการถือเอาผ้าจำนำพรรษา
นี้ ทั้งใน (อกาล) จีวรที่เก็บไว้ในเรือนคลัง (ตามปกติ). ถ้าว่า สามเณรทั้ง
หลาย มากระทำการร้องขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ พวกผมต้มข้าวต้ม พวกผมหุง
ข้าวสวย พวกผมปิ้งของควรเคี้ยว พวกผมถางหญ้า พวกผมหาไม้สีฟันมา
พวกผมทำสะเก็ดน้ำย้อมให้ควรถวาย ก็อะไรเล่า ที่ชื่อว่าพวกผมไม่ได้ทำ
พึงให้ส่วนเท่ากันแก่สามเณรเหล่านั้นเทียว. การให้ส่วนเท่ากัน เมื่อพวก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 337
สามเณรทำการร้องขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาสามเณรผู้กระทำผิด
และสามเณรผู้มีความกระทำไม่ปรากฏ. แต่ในกุรุนทีแก้ว่า หากว่า สามเณร
ทั้งหลายวิงวอนว่า ท่านผู้เจริญ พวกผมไม่ทำงานของสงฆ์ เพราะเหตุอะไร
พวกผมจักทำ พึงให้ส่วนเท่ากัน.
บทว่า อุตฺตริตุกาโม มีความว่า ผู้ประสงค์จะข้ามแม่น้ำหรือทาง
กันดาร คือ ผู้ได้พวกแล้วประสงค์จะหลีกไปสู่ทิศ.
คำว่า สก ภาค ทาตุ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อความ
นี้ว่า เมื่อขนจีวรออกจากเรือนคลังจัดกองไว้แล้ว ตีระฆังแล้ว ภิกษุสงฆ์ประ-
ชุมกันแล้ว. ภิกษุผู้ได้พวกแล้วประสงค์จะไป อย่าต้องพลัดพรากจากพวก.
เพราะฉะนั้น เมื่อจีวรยังมิได้ขนออกก็ดี ระฆังยังมิได้ก็ดี สงฆ์ยังมิได้ประชุม
กันก็ดี ไม่ควรให้. แต่เมื่อจีวรขนออกแล้ว ตีระฆังแล้ว ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน
แล้ว ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร พึงคะเนดูว่า ส่วนของภิกษุนี้พึงมีเท่านี้
แล้วให้จีวรตามความคาดคะเน; เพราะว่าไม่อาจให้เท่า ๆ กัน เหมือนชั่งด้วย
ตราชั่งได้ เพราะฉะนั้น จะหย่อนไปหรือเกินไปก็ตามที จีวรที่ให้แล้ว โดย
คาดคะเนโดยนัยอย่างนี้ เป็นอันให้ด้วยดีแท้; หย่อนไปก็ไม่ต้องแถมให้อีก
เกินไปก็ไม้ต้องเอาคืนฉะนี้แล.
ข้อว่า อติเรกภาเคน มีความว่า ภิกษุมี ๑๐ รูป ทั้งผู้ก็มี ๑๐ ผืน
เหมือนกัน ในผ้าเหล่านั้น ผืนหนึ่งตีราคา ๑๒ กหาปณะ ผืนที่เหลือตีราคา
ผืนละ ๑๐ กหาปณะ; เมื่อได้จับสลากในผ้าทั้งปวงด้วยอำนาจ ตีราคาผืนละ ๑๐
กหาปณะเท่ากัน สลากในผ้ามีราคา ๑๒ กหาปณะ ให้ตกแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้น
เป็นผู้ประสงค์จะไปทั้งส่วนที่เกินนั้น ด้วยกล่าวว่า จีวรของเราย่อมพอเพียง
ด้วยส่วนเท่านี้ ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ผู้มีอายุ ส่วนที่เกิน ต้องเป็นของสงฆ์;
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 338
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำนั้น จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
เพื่อให้ส่วนที่เกิน ในเมื่อเธอให้สิ่งของสำหรับทดแทนแล้ว ดังนี้ เพื่อแสดง
เนื้อความนั้นว่า ชื่อว่าน้อยย่อมไม่มีในของสงฆ์และของคณะ ภิกษุพึงทำความ
สำรวมในของสงฆ์และของคณะทั้งปวง ถึงภิกษุผู้จะถือเอาก็พึงรังเกียจ.
ในบทว่า อนุกฺเขเป ทินฺเน นั้น มีความว่า ขึ้นชื่อว่าสิ่งของสำหรับ
ทดแทน ได้แก่กัปปิยภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะพึงทดแทน คือพึงใช้แทน
ให้ ในส่วนของภิกษุนั้น ที่เกินไปเท่าใด เมื่อกัปปิยภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งมีราคาเท่านั้น อันเธอให้แล้ว.
ความบกพร่องในคำว่า วิกลเก โตเสตฺวา นี้ มี ๒ คือ:- บกพร่อง
จีวร ๑ บกพร่องบุคคล ๑.
ที่ชื่อว่าความบกพร่องจีวร พึงทราบดังนี้:-
ผ้าถึงภิกษุรูปละ ๕ ผืน ๆ ทั่วกัน, ทั้งยังมีผ้าเหลือ. แต่ไม่พอรูปละ
ผืน ๆ, พึงตัดให้ ; ก็แล เมื่อจะตัด พึงทำให้เป็นท่อนให้พอแก่จีวร มี
อัฑฒมณฑลเป็นต้น หรือบริขารอื่นมีถุงใส่รองเท้าเป็นต้น; โดยกำหนดอย่าง
ต่ำที่สุด สมควรตัดท่อนให้กว้างเพียง ๔ นิ้ว ยาวพอแก่อนุวาต. แต่ไม่พึงทำ
เป็นท่อนจนใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นข้อที่จีวรไม่เพียงพอ ชื่อว่าความบกพร่อง
จีวร ในคำว่า วิกลเก โตเสตฺวา นี้ ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อตัดจีวรให้แล้ว จีวรนั้นเป็นของแถมให้ภิกษุทั้งหลายพอใจ
ลำดับนั้นพึงทำการจับสลาก; ในอันธกอรรถกถาแก้ว่า ถึงหากว่า ในส่วนของ
ภิกษุรูปหนึ่ง ผ้าจะไม่พอผืน ๑ หรือ ๒ ผืน, พึงแถมสมณบริขารอย่างอื่นใน
ส่วนนั้น ภิกษุใดพอใจด้วยส่วนนั้น พึงให้ส่วนนั้นแก่ภิกษุนั้นแล้ว พึงทำการ
จับฉลากในภายหลัง; แม้นี้ก็ชื่อว่า ความบกพร่องจีวร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 339
ที่ชื่อว่า ความบกพร่องบุคคล พึงทราบดังนี้:-
เมื่อนับภิกษุจัดเป็นหมวด ๆ ละ ๑๐ รูป หมวดหนึ่งไม่ครบ มีภิกษุอยู่
๘ รูปหรือ ๙ รูป พึงให้แก่ภิกษุเหล่านั้น ๘ ส่วน หรือ ๙ ส่วนว่า ท่านทั้ง
หลาย จงนับส่วนเหล่านี้แบ่งแจกกันเกิด. ข้อที่บุคคลไม่เพียงพอนี้ ชื่อความ
บกพร่องบุคคล ตัวประการฉะนี้. ก็เมื่อให้เป็นแผนกแล้ว จีวรนั้นย่อมเป็น
ของที่ให้ภิกษุทั้งหลายพอใจได้, ครั้นให้พอใจได้อย่างนั้นแล้ว พึงทำการจับ
สลาก.
อีกอย่างหนึ่ง ข้อว่า วิกลเก โตเสตฺวา มีความว่า ส่วนจีวรใดบก
พร่อง, พึงเอาบริขารอื่นแถมส่วนจีวรนั้นให้เท่ากันแล้วพึงทำการจับสลาก
ว่าด้วยน้ำย้อม
บทว่า ฉกเณน ได้แก่ โคมัย.
บทว่า ปณฺฑุมตฺติกาย ได้แก่ ดินแดง.
วินิจฉัยในน้ำย้อมเกิดแต่หัวเป็นอาทิ พึงทราบดังนี้;-
เว้นขมิ้นเสีย น้ำย้อมเกิดแต่หัว ควรทุกอย่าง. เว้นฝางกับแกแลเสีย
น้ำย้อมเกิดแต่ลำต้น ควรทุกอย่าง. ต้นไม้มีหนามชนิดหนึ่ง ชื่อแกแล,
น้ำย้อมเกิดแต่ลำต้น แห่งแกแลนั้น เป็นของมีสีคล้ายหรดาล เว้นโลดกับ
มะพูดเสีย น้ำย้อมเกิดแต่เปลือก ควรทุกอย่าง. เว้นใบมะเกลือกับใบครามเสีย
น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้ ควรทุกอย่าง. แต่ผ้าที่คฤหัสถ์ใช้แล้ว สมควรย้อมด้วย
ใบมะเกลือครั้งหนึ่ง. เว้นดอกทองกวาวกับดอกดำเสีย น้ำย้อมเกิดแต่ดอก
ควรทุกอย่าง. ส่วนในน้ำย้อมเกิดแต่ผล ผลอะไร ๆ จะไม่ควรหามิได้.
น้ำย้อมที่ไม่ได้ต้ม เรียกว่าน้ำเย็น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 340
ตะกร้อสำหรับกันล้นนั้น ได้แก่ เครื่องสำหรับกันกลม ๆ. ความว่า
เราอนุญาตให้ใส่เครื่องกันนั้นตั้งไว้กลางหม้อน้ำย้อมแล้ว จึงใส่น้ำย้อม. ด้วยว่า
เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว น้ำย้อมย่อมไม่ละ
สองบทว่า อุทเก วา นขปิฏฺิกาย วา มีความว่า ก็ถ้าว่า น้ำ
ย้อมเป็นของสุกแล้ว, หยาตน้ำที่ใส่ในถาดน้ำ ย่อมไม่ซ่านไปเร็ว. แม้หยดลง
บนหลังเล็บ ย่อมค้างอยู่ ไม่ซ่านออก.
บทว่า รชนุรุงฺก ได้แก่ กระบวยตักน้ำย้อม.
บทว่า ทณฺฑกถาลิก ได้แก่ กระบวยนั่นเอง พร้อมทั้งด้าม.
บทว่า รชนโกลมฺพ ได้แก่ หม้อสำหรับย้อม.
บทว่า มทฺทนฺติ ได้แก่ ขยำกดลง.
หลายบทว่า น จ อจฺฉนฺเน ถเว ปกฺกมฺตุ มีความว่า หยาด
น้ำย้อมยังไหลไม่ขาดเพียงใด, ภิกษุไม่ควรไปในที่อื่นเพียงนั้น.
บทว่า ปตฺถินฺน คือจีวรเป็นของกระด้าง เพราะย้อมเกินไป,
อธิบายว่า น้ำย้อมจับเกินไป.
สองบทว่า อุทเก โอสาเทตุ มีความว่า เพื่อแช่ไว้ในน้ำ. ก็แล
เมื่อน้ำย้อมออกแล้วพึงเทน้ำนั้น ทิ้งแล้วพึงบีบจีวร
บทว่า ทนฺตกสาวานิ ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย้อมจีวรครั้งเดียว
หรือสองครั้งใช้จีวรมีสีดังสีงาช้าง.
ว่าด้วยจีวรตัด
บทว่า อจฺจิพทฺธ คือ มีกระทงนาเนื่องกันเป็นสี่เหลี่ยม.
บทว่า ปาลิพฺทธ คือ พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง.
บทว่า มริยาทพทฺธ คือ พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 341
บทว่า สิงฺฆาฏกพทฺธ คือ พูนคันนาเชื่อมกันดังทาง ๔ แพร่ง
ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกันไป, อธิบายว่า มีสัณฐานดังทาง ๔ แพร่ง
สองบทว่า อุสฺสหสิ ตฺว อานนฺท มีความว่า อานนท์ เธอ
อาจหรือ ?
บทว่า สวิทฺหิตุ ได้แก่ เพื่อทำ.
สองบทว่า อุสฺสหามิ ภควา มีความว่า ท่านอานนท์แสดงว่า
ข้าพระองค์ อาจตามนัยที่พระองค์ประทาน.
บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ โย นาม
วินิจฉัยในคำว่า กุสิมฺปิ นาม เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
คำว่า กุสิ นี้ เป็นชื่อแห่งผ้ายาว มีอนุวาตด้านยาวและด้านกว้าง
เป็นต้นต้น.
คำว่า อฑฺฒกุสิ เป็นชื่อแห่งผ้าสั้นในระหว่าง ๆ.
มณฑล นั้น ได้แก่ กระทงใหญ่ ในขัณฑ์อันหนึ่ง ๆ แห่งจีวรมี
๕ ขัณฑ์.
อัฑฒมณฑล นั้น ได้แก่ กระทงเล็ก.
วิวัฏฏะ นั้น ได้แก่ ขัณฑ์ตรงกลางที่เย็บมณฑลกับอัฑฒมณฑล
ติดกัน.
อนุวิวัฏฏะ นั้น ได้แก่ ๒ ขัณฑ์ที่สองข้างแห่งวิวัฎฏะนั้น.
คีเวยยกะ นั้น ได้แก่ ผ้าตามอื่นที่เย็บด้วยด้าย เพื่อทำไห้ทนทาน
ในที่ ๆ พันคอ.
ชังเฆยยกะ นั้น ได้แก่ ผ้าที่เย็บอย่างนั้นเหมือนกัน ในที่ ๆ ปก
แข้ง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 342
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่า คีเวยยกะ และ ชังเฆยยกะ นั้น
เป็นชื่อแห่งผ้าที่ตั้งอยู่ในที่แห่งคอและในที่แห่งแข้ง.
พาหันตะ นั้น ได้แก่ ขัณฑ์อันหนึ่ง ๆ นอกอนุวิวัฏฏะ
คำว่า กุสิมฺปิ นาม เป็นอาทินี้ พระอาจารย์ทั้งหลายวิจารณ์แล้ว
ด้วยจีวรมี ๕ ขัณฑ์ ด้วยประการฉะนี้แล.
อีกประการหนึ่ง คำว่า อนุวิวัฏฏะ นี้ เป็นชื่อแห่ง ๒ ขัณฑ์ โดย
ข้างอันหนึ่ง แห่งวิวัฏฏะ เป็นชื่อแห่ง ๓ ขัณฑ์บ้าง ๔ ขัณฑ์บ้างโดยข้างอัน
หนึ่งแห่งวิวัฏฏะ.
คำว่า พาหันตะ นี้ เป็นชื่อแห่งชายทั้งสอง (แห่งจีวร) ที่ ภิกษุ
ห่มจีวรได้ขนาดพอดี ม้วนพาดไว้บนแขน มีด้านหน้าอยู่นอก.
จริงอยู่ นัยนี้แล ท่านกล่าวในมหาอรรถกถา.
ว่าด้วยไตรจีวร
สองบทว่า จีวเรหิ อุพฺภณฺฑิกเต มีความว่า ผู้อันจีวรทั้งหลาย
ทำให้เป็นผู้มีสิ่งของอันทนต้องยกขึ้นแล้ว คือ ทำให้เป็นเหมือนชนทั้งหลายผู้
ขนของ, อธิบายว่า ผู้อันจีวรทั้งหลายให้มาถึงความเป็นผู้มีสิ่งของอันตนต้อง
ขน.
จีวร ๒-๓ ผืน ที่ภิกษุซ้อนกันเข้าแล้ว พับโดยท่วงทีอย่างฟูกเรียกว่า
ฟูก ในบทว่า จีวรภิสึ นี้.
ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นทำในใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า จักเสด็จ
กลับจากทักขิณาคิรีชนบทเร็ว เมื่อจะไปในชนบทนั้น จึงได้เก็บจีวรที่ได้ใน
เรื่องหมอชีวกไว้แล้วจึงไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 343
ก็บัดนี้พวกเธอสำคัญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า จักเสด็จมาพร้อมด้วย
จีวร จึงถือเอา (จีวร) หลีกไป.
บทว่า อนฺตรฏฺกาสุ มีความว่า (ความหนาว) ได้ตั้งอยู่ในระหว่าง
เดือน ๓ เดือน ๔.
หลายบทว่า น ภควนฺต สีต อโหสิ มีความว่า ความหนาวไม่
ได้มีแล้ว แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า สีตาลุกา ได้แก่ กุลบุตรผู้มีความหนาวเป็นปกติ คือผู้
ลำบากด้วยความหนาว โดยปกติเทียว.
หลายบทว่า เอตทโหสิ เยปิ โข เต กุลปุตฺตา มีความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ประทับนั่งในกลางแจ้ง จะไม่ทรงทราบเนื้อความนี้หา
มิได้ แต่ได้ทรงทำอย่างนั้น เพื่อให้มหาชนยินยอม.
สองบทว่า ทฺวิคุณ สงฺฆาฏิ ได้แก่ สังฆาฏิ ๒ ชั้น.
บทว่า เอกจฺจิย ได้แก่ ชั้นเดียว.
เพื่อตัดโอกาสแห่งถ้อยคำที่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังพระอัตภาพ
ให้เป็นไป ด้วยจีวร ๔ ผืน ด้วยพระองค์เอง, แต่ทรงอนุญาตไตรจีวรแก่เราทั้ง
หลาย ดังนี้ จึงทรงอนุญาตสังฆาฏิ ๒ ชั้น, ทรงอนุญาตจีวรนอกนี้ชั้นเดียว,
จริงอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ จีวรของภิกษุเหล่านั้นจักเป็น ๔ ผืน ด้วยประการฉะนั้นแล
สองบทว่า อคฺคฬ อจฺฉุเปยฺย มีความว่า เราพึงดามท่อนผ้าเก่า
ในที่ซึ่งทะลุ.
บทว่า อหตกปฺปาน ได้แก่ ชักแล้วครั้งเดียว.
บทว่า อุตุทฺตาน ได้แก่ เก็บไว้โดยฤดู คือโดยกาลนาน, มีคำ
อธิบายว่า ผ้าเก่าที่มีสีตกแล้ว.
บทว่า ปาปณิเก ได้แก่ จีวรที่เก่า ที่ตกจากร้านตลาด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 344
สองบทว่า อุสฺสาโห กรณีโย ได้แก่ พึงทำการแสวงหา. แต่
เขตกำหนดไม่มี, จะแสวงหามาแม้ตั้งร้อยผืนก็ควร. จีวรนี้ทั้งหมด พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสสำหรับภิกษุผู้ยินดี.
วินิจฉัยในข้อว่า อคฺคฬ ตุนฺน นี้ พึงทราบดังนี้:-
ท่อนผ้าที่ภิกษุยกขึ้นทาบให้ติดกัน ชื่อผ้าปะ, การเย็บเชื่อมด้วยด้าย
ชื่อการชุน.
ห่วงเป็นที่ร้อยกลัดไว้ ชื่อรังคุม. ลูกสำหรับกลัด เรียกลูกดุม.
ทัฬหีกัมมะ นั้น ได้แก่ ท่อนผ้าที่ประทับลง ไม่รื้อ (ผ้าเก่า)
ทำให้เป็นชั้นรอง.
เรื่องนางวิสาชา มีเนื้อความตื้น. เรื่องอื่นจากเรื่องนางวิสาขานั้น ได้
วินิจฉัยแล้วในหนหลังแล.
บทว่า โสวคฺคิก ได้แก่ ทำให้เป็นเหตุแห่งสวรรค์. ด้วยเหตุนั้น
แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์.
ทานใด ย่อมกำจัดความโศกเสีย เหตุนั้น ทานนั้น ชื่อโสกนุท
บรรเทาความโศกเสีย.
บทว่า อนามยา คือ ผู้ไม่มีโรค.
สองบทว่า สคฺคมฺหิ กายมฺหิ ได้แก่ ผู้เกิดในสวรรค์
ว่าด้วยถือวิสาสะเป็นต้น
สามบทว่า ปุถุชฺชนา ถาเมสุ วีตราคา ได้แก่ ปุถุชนผู้ได้ฌาน.
บทว่า สนฺทิฏฺโ ได้แก่ เพื่อนที่สักว่าเคยเห็นกัน.
บทว่า สมฺภตฺโต ได้แก่ เพื่อนผู้ร่วมสมโภค คือเพื่อนสนิท.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
บทว่า อาลปิโต ได้แก่ ผู้อันเพื่อนสั่งไว้อย่างนี้ว่า ท่านต้องการ
สิ่งใดซึ่งเป็นของเรา. ท่านพึงถือเอาสิ่งนั้นเถิด.
วิสาสะย่อมขึ้นด้วยองค์ ๓ เหล่านี้ คือ ยังเป็นอยู่ ๑ เมื่อของนั้นอันตน
ถือเอาแล้ว เจ้าของเป็นผู้พอใจ ๑ กับองค์อันใดอันหนึ่งใน ๓ องค์เหล่านั้น.
บทว่า ปสุกูลิกโต คือ ผ้าอุตราสงค์ที่ทำด้วยผ้าบังสุกุล
สองบทว่า ครุโก โหติ คือ เป็นของหนัก เพราะทาบผ้าปะในที่
ซึ่งชำรุดแล้ว ๆ.
สองบทว่า สุตฺตลูข กาตุ มีความว่า เพื่อทำการเย็บตรึงด้วยด้าย
เท่านั้น.
บทว่า วิกณฺโณ คือ เมื่อชักด้ายเยีบ มุมสังฆาฏิข้างหนึ่งเป็นของ
ยาวไป.
สองบทว่า วิกณฺณ อุทฺธริตุ คือ เพื่อเจียนมุมที่ยาวเสีย.
บทว่า โอถิริยนฺติ คือ ลุ่ยออกจากมุมที่ตัด.
สองบทว่า อนุวาต ปริภณฺฑ ได้แก่ อนุวาตและผ้าหุ้มขอบ.
สองบทว่า ปตฺตา ลชฺชนฺติ คือ ด้ายทั้งหลายที่เย็บในหน้าผ้าใหญ่
ย่อมหลุดออก คือ ผ้าลุ่ยออกจากผ้าผืนเก่านั้น .
สองบทว่า อฏฺปทก กาตุ คือ เพื่อเย็บหน้าผ้าด้วยตะเข็บอย่าง
รอยในกระดานหมากรุก.
สองบทว่า อนฺวาธกปิ อาโรเจตุ คือ เพื่อเพิ่มผ้าดาม. แต่ผ้าดาม
นี้ พึงเพิ่มในเมื่อผ้าไม่พออ, ถ้าผ้าพอ ไม่ควรเพิ่มผ้าดาม พึงตัดเท่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 346
ว่าด้วยทำสัทธาไทยให้ตกเป็นต้น
วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว สทฺธาเทยฺย นี้ พึงทราบดังนี้:-
เมื่อให้แก่ญาติที่เหลือทั้งหลาย ซึ่งยังสัทธาไทยให้ตกไปแท้, ส่วน
มารดาบิดาแม้ตั้งอยู่ในความเป็นพระราชา ถ้าปรารถนา พึงให้.
บทว่า คิลาโน ได้แก่ ผู้ไม่สามารถจะถือเอาไปได้ เพราะเป็น
ผู้อาพาธ.
บทว่า วสฺสิกสงฺเกต ได้แก่ ๔ เดือนในฤดูฝน.
บทว่า นทีปาร ได้แก่ ภัตเป็นของอันภิกษุพึงฉันที่ฝั่งแม่น้ำ.
บทว่า อคฺคฬคุตฺติวิหาโร มีความว่า ก็กุฎีที่อยู่มีลิ่มเป็นเครื่อง
คุ้มครองเท่านั้น เป็นประมาณในความเป็นผู้อาพาธ ความกำหนด หมายความ
ว่า เป็นเดือนมีในฤาดูฝน ความไปสู่ฝั่งแม่น้ำ และความมีกฐินอันกรานแล้ว
เหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว. จริงอยู่ ภิกษุเก็บไว้ในกุฎีที่อยู่ที่คุ้มครองเท่านั้น จึง
ควรไปในภายนอก เก็บไว้ในกุฎีที่อยู่ที่ไม่ได้คุ้มครองไม่ควรไป. แต่กุฎีที่อยู่
ของภิกษุผู้อยู่ป่า. ย่อมไม่เป็นกุฎีที่อยู่คุ้มครองด้วยดี อันภิกษุผู้อยู่ป่านั้น พึง
เก็บไว้ ในหม้อสำหรับเก็บของแล้วซ่อมไว้ในที่อันมิดชิดดี มีโพรงศิลา และ
โพรงไม้เป็นต้นแล้วจึงไป.
ว่าด้วยผ้าที่เกิดขั้นในจีวรกาล
ข้อว่า ตุยฺเหว ภิกฺขุ ตาหิ จีวรานิ มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้
ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใคร ๆ อื่นไม่เป็นใหญ่
แห่งจีวรเหล่านั้น.
ก็แล ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว จึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อ
แสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความรังเกียจถือเอา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
ข้อว่า ตสฺเสว ตานิ จีวรานิ ยาว กินสฺส อุพภาราย มีความ
ว่า หากว่า ได้ภิกษุครบคณะ กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้น เป็น
ของเธอตลอด ๕ เดือน; ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดจีวรมาสเดือนเดียวเท่านั้น.
จีวรใด ๆ อันพวกทายกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ก็ดี ถวายว่า ข้าพเจ้า
ถวายเฉพาะสงฆ์ ก็ดี ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ก็ดี
ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายผ้าจำนำพรรษา ก็ดี ถึงแม้ว่า จีวรมรดกยิ่งมิได้แจก
ภิกษุทั้งหลายเข้าไปสู่วัดนั้น ๆ จีวรทั้งปวงนั้น ย่อมเป็นของภิกษุผู้กรานกฐินนั้น
เท่านั้น ภิกษุนั้น ถือเอาผ้าจำนำพรรษาแม้ใด จากทุนทรัพย์ไวยาวัจกร
ตั้งไว้ประกอบดอกเบี้ย เพื่อประโยชน์แก่ผ้าจำนำพรรษา หรือจากกัลปนา
สงฆ์อันเกิดในวัดนั้น ผ้าจำนำพรรษานั้นทั้งหมดเป็นอันเธอถือเอาด้วยดีแท้.
จริงอยู่ ในคำว่า ตสฺเสว ตานิ จิวรานิ ยาว กินสฺส อุพฺการาย
นี้ มีลักษณะดังนี้:-
ผ้าที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ด้วยอาการใด ๆ ก็ตาม ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้กราน
กฐินแล้วตลอด แก่ภิกษุไม่ได้กรานกฐิน ตลอดจีวรมาสเดือนหนึ่ง.
ส่วนผ้านี้ใดที่ทายกบอกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาในวัดนี้ หรือ
ว่า ข้าพเจ้าถวายผ้าจำนำพรรษา ผ้านั้นย่อมถึงแม้แก่ภิกษุผู้มิได้กรานกฐิน
ตลอด ๕ เดือน. ผ้าจำนำพรรษาที่เกิดขึ้น นอกจากผ้าที่กล่าวแล้วนั้น ภิกษุ
พึงถามดูว่า นี่เป็นผ้าจำนำพรรษาสำหรับพรรษาที่ล่วงไปแล้วหรือ ? หรือว่า
สำหรับพรรษาที่ยังไม่มา เหตุไรจึงต้องถาม ? เพราะผ้านั้นเกิดขึ้นหลังสมัย
ว่าด้วยผ้าที่เกิดขึ้นในฤดูกาล
บทว่า อุตุกาล ได้แก่ กาลอื่นจากฤดูฝน.
วินิจฉัยในคำว่า ตานิ จีวรานิ อาทาย สาวตฺถึ คนฺตฺวา นี้ พึง
ทราบดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 348
จีวรเหล่านั้น ย่อมเป็นของสงฆ์ในที่ ๆ เธอไปถึงแล้ว ๆ เท่านั้น ผ้า
สักว่าอันภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วเท่านั้น เป็นประมาณในการถือเอาจีวรนี้: เพราะ
เหตุนั้น หากภิกษุบางพวกเดินสวนทางนา ถามว่า ไปไหนคุณ ได้ฟังเนื้อ
ความนั้นแล้วกล่าวว่า เราทั้งหลายไม่เป็นสงฆ์หรือคุณ ? แล้วแบ่งกันถือเอา
ในที่นั้นทีเดียว เป็นอันถือเอาด้วยดี. แม้ถ้าว่า ภิกษุนั้นและออกจากทาง เข้า
สู่วัดหรืออาสนศาลาบางแห่งก็ดี เมื่อเที่ยวบิณฑบาต เข้าสู่เฉพาะเรือนหลัง
หนึ่งก็ดี ก็แล ภิกษุทั้งหลายในที่นั้น เห็นเธอแล้วถามเนื้อความนั้นแล้วแบ่ง
กันถือเอา เป็นอันถือเอาด้วยดีเหมือนกัน.
วินิจฉัยในข้อว่า อธิฏฺาตุ นี้ พึงทราบดังนี้:-
อันภิกษุผู้จะอธิษฐาน พึงรู้จักวัตร ความพิสดารว่า ภิกษุนั้นพึงที่
ระฆังประกาศเวลาแล้ว คอยหน่อยหนึ่ง ถ้าภิกษุทั้งหลายมาตามสัญญาระฆัง
หรือตามกำหนดเวลา พึงแบ่งกับภิกษุเหล่านั้น; ถ้าไม่มา พึงอธิษฐานว่า จีวร
เหล่านี้ ถึงแก่เรา เมื่ออธิษฐานแล้วอย่างนั้น จีวรทั้งปวงเป็นของเธอเท่านั้น.
ส่วนลำดับไม่คงอยู่. ถ้ายกขึ้นที่ละผืน ๆ ถือเอาอย่างนี้ว่า นี้ส่วนที่ ๑ ถึง
แก่เรา นี่ส่วนที่ ๒, อันจีวรทีเธอถือเอาแล้ว เป็นอันถือเอาแล้วด้วยดี; แต่
ลำดับคงตั้งอยู่. จีวรเป็นอันภิกษุผู้แม้ให้ถึงถือเอาอยู่อย่างนั้น อธิษฐานแล้ว
เหมือนกัน แต่ถ้าภิกษุดีระฆังหรือไม่ดีก็ตาม ประกาศเวลาหรือไม่ประกาศก็
ตาม ถือเอาด้วยทำในใจว่า ที่นี่มีแต่เราเท่านั้น จีวรเหล่านี้ย่อมเป็นของเฉพาะ
เรา จีวรเหล่านั้น เป็นอันถือเอาไม่ชอบ. หากเธอถือเอาด้วยทำในใจว่า ที่นี่
ไม่มีใคร ๆ อื่น จีวรเหล่านี้ย่อมถึงแก่เรา เป็นอันถือเอาด้วยดี.
สองบทว่า ปาติเต กุเส มีความว่า เมื่อสลากในส่วนอันหนึ่งสักว่า
ให้จับแล้ว แม้ถ้ามีภิกษุตั้งพันรูป จีวรชื่อว่าอันภิกษุทั้งปวงถือเอาแล้ว แท้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 349
ข้อว่า นากามา ภาโค ทาตพฺโพ มีความว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลาย
เป็นผู้ประสงค์จะให้ตามชอบใจของตนไซร้ จงให้เถิด. แม้ในอนุภาคก็มีนัย
อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า สจีวรานิ มีความว่า ชนทั้งหลายพูดกันว่า เราทั้งหลายจัก
ถวาย แม้ซึ่งกาลจีวรแก่สงฆ์ จากส่วนอันจะพึงถวายแก่พระเถระนี้เทียว เมื่อ
กาลจีวรนั้น อันเราทั้งหลายจัดไว้แผนกหนึ่ง จะช้าเกินไป ดังนี้แล้ว ได้ทำภัต
ทั้งหลายพร้อมทั้งจีวรโดยทันทีทีเดียว.
หลายบทว่า เถเร อาคมฺม อุปฺปนฺนานิ มีความว่า จีวรเหล่านี้
พลันเกิดขึ้นเพราะความเลื่อมใสในท่านทั้งหลาย.
ข้อว่า สงฺฆสฺส เทมาติ จีวรานิ เทนฺติ มีความว่า ชนทั้งหลาย
ถวายล่าช้าจนตลอดจีวรกาลทั้งสิ้นทีเดียว. ส่วนใน ๒ เรื่องก่อน พระธรรม
สังคาหกาจารย์กล่าวว่า อทสุ เพราะชนทั้งหลายมีการถวายอันกำหนดแล้ว
สองบทว่า สมฺพหุลา เถรา ได้แก่ พระเถระผู้เป็นหัวหน้าแห่ง
พระวินัยธรทั้งหลาย. ก็แล เรื่องนี้กับเรื่องพระเถระสองพี่น้องก่อนเกิดขึ้นเมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพานแล้ว ส่วนพระเถระเหล่านี้เป็นผู้เคยเห็นพระตถาคต
เพราะเหตุนั้น ในเรื่องก่อน ๆ พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวแล้ว
ตามนัยที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้นั้นแล.
สองบทว่า คมากาวาส อคมาสิ มีความว่า พระอุปนันทศากย-
บุตรนั้น กำหนดแล้วเทียว ซึ่งกาลเป็นที่แบ่งจีวรว่า แม้ไฉนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อแบ่งจีวรกัน พึงทำความสงเคราะห์แก่เราบ้าง ? ดังนี้ จึงได้ไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 350
บทว่า สาทิยิสฺสสิ คือ จักถือเอาหรือ ? จริงอยู่ ในเรื่องนี้ส่วน
ย่อมไม่ถึงแก่พระอุปนันทศากยบุตรนั้น แม้โดยแท้ ถึงกระนั้นภิกษุเหล่านั้น
ได้กล่าวว่า ท่านจักรับหรือ ? ดังนี้ ก็ด้วยทำในใจว่า พระเถระนี้ เป็น
ชาวกรุง เป็นธรรมกถึก มีปากกล้า.
ก็วินิจฉัยในข้อว่า โย สาทิเยยฺย, อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ พึงทราบ
ดังนี้.
เป็นลหุกาบัติก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น จีวรที่ถือเอาแล้ว ก็ควรคืนให้ใน
ที่ซึ่งคนถือเอา; แม้หากว่า จีวรเหล่านั้นเป็นของเสียหายไปก็ดี เก่าไปก็ดี
ย่อมเป็นสินใช้แก่ภิกษุนั้นแท้. ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงให้ เมื่อ
เธอไม่ให้ พึงให้ปรับตามราคาของในเมื่อทอดธุระ.
บทว่า เอกาธิปฺปาย มีความว่า ท่านทั้งหลาย จงให้ส่วนเป็นที่
ประสงค์อันเดียว คือ ส่วนแห่งบุคคลผู้เดียวเท่านั้น. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จะทรงวางแบบ จึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงอาการสำหรับ
ภิกษุจะพึงให้ส่วนเฉพาะบุคคลผู้เดียวนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า สเจ อมุตฺร อุปฑฺฒ อมุตฺร
อุปฑฺฒ มีความว่า หากว่า ภิกษุนั้น อยู่ในวัดตำบลละวันหนึ่งบ้าง ๗ วัน
บ้าง บุคคลผู้เดียว ย่อมได้ส่วนใด ในวัดตำบลหนึ่ง ๆ พึงให้วัดละกึ่งส่วน ๆ.
จากส่วนนั้น ๆ. ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียว ชื่อเป็นอันภิกษุทั้งหลายให้แล้ว
ด้วยประการฉะนี้.
ข้อว่า ยตฺถ วา ปน พหุตร มีความว่า ถ้าภิกษุอยู่ในวัดหนึ่งรับ
แต่อรุณเท่านั้น โดยวาระ ๗ วันในวัดนอกนี้ ด้วยประการอย่างนี้เธอชื่อว่าอยู่
มากกว่าในวัดก่อน; เพราะฉะนั้น พึงให้ส่วนจากวัดที่อยู่มากกว่านั้นแก่เธอ:
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 351
ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียว เป็นอันภิกษุทั้งหลายให้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้
บ้าง. ก็การให้ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยหลาย
วัดมีสีมาเดียวกัน แต่ต่างลาภ ต่างอุปจาระกัน. ส่วนในวัดที่ต่างสีมากัน การ
ถือเสนาสนะย่อมระงับ. เพราะเหตุนั้น สิ้นแห่งจีวรในวัดนั้น ย่อมไม่ถึง
(แก่เธอ). แต่สิ่งของที่เหลือทั้งหมด มีอามิสและเภสัชเป็นต้น ย่อมถึงแก่
ภิกษุผู้อยู่ภายในสีมา ในวัดที่มีสีมาเดียวกัน และวัดที่มีสีมาต่าง ๆ กันทั้งปวง.
ว่าด้วยคิลานุปัฏฐาก
สองบทว่า มญฺจเก นิปาเตสุ มีความว่า ครั้นล้างแล้วอย่างนั้น
นุ่งผ้ากาสาวะผืนอื่นให้แล้ว จึงให้นอนบนเตียน; ก็แลพอให้นอนแล้ว พระ-
อานนท์ผู้มีอายุ ได้ซักผ้ากาสาวะที่เปื้อนมูตรและกรีสแล้วได้ทำการชำระล้าง
ที่พื้น.
ข้อว่า โย ภิกฺขเว ม อุปฏฺเหยฺย โส คิลาน อุปฏฺเหยฺย มี
ความว่า ภิกษุใด พึงอุปัฏฐากเราด้วยทำตามโอวาทานุศาสนี, ภิกษุนั้น พึง
อุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธเถิด.
ในข้อนี้ มีเนื้อความดังนี้ว่า ภิกษุผู้ทำตามโอวาทของเรา พึงอุปัฏ-
ฐากภิกษุผู้อาพาธ และในข้อนี้ ไม่ควรถือเอาเนื้อความอย่างนี้ว่า การอุปัฏฐาก
พระผู้มีพระภาคเจ้า กับอุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธเป็นเช่นเดียวกัน.
ข้อว่า สงฺเฆน อุปฏฺาเปตพฺโพ มีความว่า ภิกษุเหล่านี้อุปัช-
ฌาย์เป็นต้น ของภิกษุใด ไม่มีในวัดนั้น ภิกษุใดเป็นอาคันตุกะเที่ยวไปรูป
เดียว, ภิกษุนั้น เป็นภาระของภิกษุสงฆ์ เพราะเหตุนั้น เธออันสงฆ์พึงอุปัฏฐาก
ถ้าไม่อุปัฏฐาก เป็นอาบัติแก่สงฆ์ทั้งสิ้น.
ก็แล ในภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งวาระพยาบาล ภิกษุใด ไม่พยาบาลในวาระ
ของตน เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้นเท่านั้น. แม้พระสังฆเถระก็ไม่พ้นจากวาระ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 352
ถ้าสงฆ์ทั้งสิ้นไว้ภาระแก่ภิกษุรูปหนึ่ง หรือภิกษุผู้บริบูรณ์ด้วยวัตรรูป
หนึ่ง รับรองว่า ข้าพเจ้าจักพยาบาลเอง แล้วปฏิบัติอยู่ สงฆ์พ้นจากอาบัติ.
ในข้อว่า อภิกฺกนฺต วา อภิกฺกมติ เป็นอาทิ พึงเห็นใจความ
อย่างนี้ว่า:-
ภิกษุผู้อาพาธไม่ชี้แจงอาพาธอันกำเริบอยู่ตามจริงว่า เมื่อข้าพเจ้า
บริโภคยาชื่อนี้ อาพาธกำเริบ เมื่อข้าพเจ้าบริโภคยาชื่อนี้ อาพาธค่อยทุเลา
เมื่อข้าพเจ้าบริโภคยาชื่อนี้ อาพาธทรงอยู่.
บทว่า นาล มีความว่าผู้ไม่เหมาะ คือไม่สมควรเพื่อพยาบาล.
สองบทว่า เภสชฺช สวิธาตุ มีความว่า เป็นผู้ไม่สามารถเพื่อ
ประกอบยา.
บทว่า อามิสนฺตโร มีวิเคราะห์ว่า อามิสเป็นเหตุของภิกษุนั้น
เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อผู้มีอามิสเป็นเหตุ. เหตุท่านเรียกว่า อนฺตร ความว่า
ภิกษุผู้มีอามิสเป็นเหตุ ปรารถนายาคู ภัต บาตร และจีวร จึงพยาบาล.
บทว่า กาลกเต คือ เพราะทำกาลกิริยา.
วินิจฉัยในข้อว่า คิลานุปฏฺาถาน ทาตุ นี้ พึงทราบดังนี้:-
บาตรและจีวร ของภิกษุผู้ทำกาลกิริยานั้น อันสงฆ์ให้แก่ภิกษุผู้
พยาบาล ด้วยกรรมวาจาที่ตรัสเป็นลำดับไปก็ดี อปโลกน์ให้ก็ดี ย่อมเป็นอัน
ให้เหมือนกัน, ควรทั้งสองอย่าง.
ในข้อว่า ย ตตฺถ ลหุภณฺฑ ย ตตฺถ ครุภณฺฑ ข้าพเจ้าจัก
พรรณนาความกระทำต่างกันแห่งลหุภัณฑ์และครุภัณฑ์ข้างหน้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 353
วินิจฉัยในลาภของภิกษุผู้พยาบาลไข้
ส่วนในลาภของภิกษุผู้พยาบาลไข้ มีวินิจฉัยตั้งแต่ต้น ดังต่อไปนี้:-
หากภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นพยาบาล ภิกษุไข้ทำกาลกิริยา, เป็นเจ้าของ
ทั้งหมด.
หากว่า บางพวกทำเวร. บางพวกไม่ทำเวรเลย, ภิกษุไข้ทำกาลกิริยา,
ในกาลกิริยาอย่างนั้นของภิกษุนั้น อาจารย์บางพวกกล่าวว่าภิกษุแม้ทั้งปวง พึง
ทำในวาระที่ถึงคน, เพราะฉะนั้นภิกษุแม้ทั้งปวงเป็นเจ้าของ
บางพวกกล่าวว่า ภิกษุไข้นั้น อันภิกษุเหล่าใดพยาบาล ภิกษุเหล่า
นั้นเท่านั้น ย่อมได้, ภิกษุนอกจากนั้น ไม่ได้.
ถ้าว่า เมื่อสามเณรแม้ทำกาลกิริยา จีวรของเธอมีอยู่. พึงให้แก่ผู้
พยาบาลไข้, ถ้าจีวรไม่มี, สิ่งใดมี พึงให้สิ่งนั้น. เมื่อบริขารอื่นมีอยู่ พึงทำ
ให้เป็นส่วนแห่งจีวรให้.
ทั้งภิกษุและสามเณร ถ้าว่าพยาบาลเท่ากัน, พึงให้ส่วนเท่ากัน
หากว่า สามเณรเท่านั้นพยาบาล, กิจสักว่าช่วยจัดแจงเท่านั้นเป็นของ
ภิกษุ พึงให้ส่วนใหญ่แก่สามเณร.
ถ้าว่า สามเณรต้มยาคูด้วยน้ำที่ภิกษุนำมา ทำกิจสักว่าให้รับประเคน
เท่านั้น, ภิกษุพยาบาล, พึงให้ส่วนใหญ่แก่ภิกษุ.
ภิกษุหลายรูป เป็นผู้พร้อมเพรียงช่วยกันพยาบาลทั้งหมด, พึงให้ส่วน
เท่ากัน แก่เธอทั่วกัน.
ก็ในภิกษุเหล่านี้ รูปใดพยาบาลโดยพิเศษ, พึงให้ส่วนพิเศษแก่ภิกษุ
นั้น.
อนึ่ง ผู้ใดหุงต้มยาคูและภัตให้ หรือจัดแจงอาบน้ำ โดยเนื่องด้วยผู้
พยาบาลไข้ วันหนึ่ง, แม้ผู้นั้น ก็จัดว่า ผู้พยาบาลไข้เหมือนกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 354
ภิกษุใดไม่เข้าใกล้ ส่งแต่ยาและข้าวสารเป็นต้นบ้าง, ภิกษุนี้ไม่จัดว่า
ผู้พยาบาลไข้.
ฝ่ายภิกษุใด แสวงหาให้อนุปสัมบันถือมา, ภิกษุนี้จัดเป็นผู้พยาบาลไข้
แท้, พึงให้ส่วนแม้แก่ภิกษุนั้น.
รูปหนึ่งพยาบาลด้วยเพ่งวัตรเป็นใหญ่, รูปหนึ่งพยาบาลด้วยหวังลาภ
ในเวลาที่ภิกษุไข้มรณภาพ เธอทั้งสองจำนง, พึงให้แก่เธอทั้งสองรูป
รูปหนึ่งพยาบาลแล้ว ไปในที่ไหน ๆ เสีย ด้วยธุระของภิกษุไข้ หรือ
ด้วยธุระของตน คิดว่า เราจักมาพยาบาลอีก แม้ภิกษุนี้ก็ควรให้.
รูปหนึ่งพยาบาลอยู่นานแล้ว ทอดธุระไปเสียว่า บัดนี้ เราไม่สามารถ
แม้ถ้าว่า ภิกษุไข้มรณภาพในวันนั้นเอง ไม่พึงให้ส่วนแห่งผู้พยาบาล.
ขึ้นชื่อว่า ผู้พยาบาลไข้ เป็นคฤหัสถ์ หรือเป็นบรรพชิต หรือโดย
ที่สุด แม้เป็นมาตุคามก็ตามที ทุกคนย่อมได้ส่วน. หากว่าของภิกษุนั้น มี
แต่สักว่าบาตรและจีวรเท่านั้น, ของอื่นไม่มี. บาตรและจีวรทั้งหมด พึงให้แก่
ผู้พยาบาลไข้เท่านั้น, แม้หากว่า จะตีราคาตั้งพัน.
แค่ผู้พยาบาลเหล่านั้น ย่อมไม่ได้บริขารแม้มากอย่างอื่น บริขาร
อย่างอื่น ย่อมเป็นของสงฆ์เท่านั้น. สิ่งจองที่เหลือมากและมีราคามาก ไตร
จีวรมีราคาน้อย, บริขารคือไตรจีวรพึงถือเอาจากสิ่งของที่เหลือนั้นให้. ก็
บาตรไตรจีวรนั้นทั้งหมดอันผู้พยาบาลไข้ ย่อมได้จากของสงฆ์เทียว
ก็ถ้าว่า ภิกษุไข้นั้น ยังเป็นอยู่ทีเดียว ได้ปลงบริขารของตนทั้งหมด
ให้แก่ใคร ๆ เสีย, หรือว่าใคร ๆ ได้ถือวิสาสะเอาเสีย, ของนั้นเธอให้แล้วแก่
ผู้ใด, และอันผู้ใดถือเอาแล้ว, ย่อมเป็นของผู้นั้น เท่านั้น, ผู้พยาบาลไข้ย่อมได้
ด้วยความชอบใจของผู้นั้นเท่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 355
ฝ่ายบริขารทั้งหลายที่ภิกษุไข้ไม่ได้ให้แก่บุคคลเหล่าอื่น เก็บไว้ในที่
ไกล ย่อมเป็นของสงฆ์ในที่นั้น ๆ เท่านั้น.
ถ้าเป็นของ ๒ เจ้าของมิได้แบ่งกัน, เมื่อฝ่ายหนึ่งทำกาลกิริยา อีก
ฝ่ายหนึ่งย่อมเป็นเจ้าของ, ในของแม้มากเจ้าของ ก็นัยนี้แล.
เมื่อเจ้าของมรณภาพ ทั้งหมด ย่อมเป็นของสงฆ์.
ถึงหากว่า ภิกษุผู้เป็นเจ้าของเหล่านั้น ไม่แบ่งกัน ให้แก่นิสิตทั้งหลาย
มีสัทธิวิหาริกเป็นต้น, ไม่เป็นอันให้เลย, ต่อสละให้แล้วจึงเป็นอันให้ด้วยดี,
เมื่อภิกษุผู้เป็นเจ้าของเหล่านั้น แม้มรณภาพแล้วย่อมเป็นของนิสิตทั้งหลาย มี
สัทธิวิหาริกเป็นต้น เท่านั้น, ไม่เป็นของสงฆ์.
ว่าด้วยจีวรที่ไม่ควร
วินิจฉัยในจีวรคากรองเป็นอาทิ. พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อกฺถนาล ได้แก่ จีวรที่ทำด้วยก้านรัก.
ผ้าที่ทำด้วยปอ เรียกว่าผ้าเปลือกไม้. ผ้าที่เหลือ ได้กล่าวไว้แล้วใน
อรรถกถาแห่งปฐมปาราชิก.๑
ในผ้าเหล่านั้น เฉพาะผ้าเปลือกไม้ ปรับทุกกฏ ในผ้าที่เหลือปรับ
ถุลลัจจัย.
ส่วนผ้าเปลือกรัก ผ้ากาบกล้วยและผ้าเปลือกละหุ่ง มีคติอย่างผ้า
เปลือกไม้เหมือนกัน.
จีวรมีสีเขียวล้วนเป็นต้น พึงสำรอกสีเสีย ย้อมใหม่แล้วจึงใช้ ถ้า
เป็นของที่ไม่อาจสำรอกสีได้, พึงให้กระทำเป็นผ้าปูลาดหรือพึงแทรกไว้ใน
ท่ามกลางจีวรสองขัน.
๑. สมนฺต. ปฐม. ๒๗๙.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 356
ความเป็นต่าง ๆ กันแห่งสีของจีวรเหล่านั้น มีนัยดังกล่าวแล้วใน
รองเท้านั่นแล.
ผ้าทั้งหลายที่มีชายไม่ได้ตัดและมีชายยาว พึงตัดชายเสียแล้ว จึงใช้.
ภิกษุได้เสื้อแล้วเลาะออกย้อมใช้ ย่อมควร. แม้ในผ้าโพกก็นัยนี้แล.
ส่วนหมวกเป็นของที่ทำด้วยเปลือกไม้ จะทำหมวกนั้น ให้เป็นของ
สำหรับเช็ดเท้าก็ควร.
ว่าด้วยผู้ควรรับจีวรเป็นต้น
สองบทว่า ปฏิรูเป คาหเก มีความว่า ถ้าภิกษุบางรูปรับเอาด้วย
กล่าวว่า เรารับแทนภิกษุนั้น พึงให้. ด้วยประการอย่างนี้แล บรรดาบุคคล
๒๓ คน เหล่านั้น ไม่ได้ ๑๖ คน ได้ ๗ คน ฉะนี้แล.
สองบทว่า สงฺโฆ ภิชฺชติ มีความว่า ภิกษุทั้งหลายแตกกันเป็น
๒ ฝ่าย เหมือนภิกษุชาวเมืองโกสัมพี.
สองบทว่า เอกสฺมึ ปกฺเข มีความว่า ชนทั้งหลายถวายน้ำทักขิโณทก
และวัตถุมีของหอมเป็นต้นในฝ่ายหนึ่ง. ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง.
บทว่า สงฺฆสฺเสเวต มีความว่า จีวรนั้น ย่อมเป็นของสงฆ์ทั้งสิ้น
คือ ของทั้งสองฝ่าย, ทั้งสองฝ่ายพึงตีระฆังแล้วแบ่งด้วยกัน.
บทว่า ปกฺขสฺเสเวต มีความว่า เมื่อชนทั้งหลายถวายอย่างนั้น น้ำ-
อันเขาถวายแล้วแก่ฝ่ายใด, น้ำนั่นแลย่อมเป็นของฝ่ายนั้น จีวรอันถวายแล้ว
แก่ฝ่ายใด จีวรย่อมเป็นของฝ่ายนั้นเท่านั้น.
ในมหาอรรถกถาแก้ว่า ก็ในที่ใด น้ำทักขิโณทกเป็นประมาณ ในที่
นั้น ฝ่ายหนึ่งย่อมได้จีวร เพราะคนได้น้ำทักขิโณทก ฝ่ายหนึ่งก็ย่อมได้
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 357
เพราะค่าที่จีวรนั้นแลตนได้แล้ว, เพราะฉะนั้น สองฝ่ายพึงเป็นผู้พร้อมกัน
แจกกันตามลำดับผู้แก่.
ได้ยินว่า นี่เป็นลักษณะในสมุทรอื่น๑ (คือชมพูทวีป)
ส่วนในข้อว่า ตสฺมึเยว ปกฺเข นี้ มีความว่า ฝ่ายนอกนี้ไม่เป็น
ใหญ่เลยทีเดียว.
เรื่องส่งจีวรไปชัดเจนแล้วแล.
มาติกา ๘ แห่งความเกิดขั้นแห่งจีวร
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเป็นต้นว่า อฏฺิมา ภิกฺขเว
มาติกา เพื่อแสดงเขตเป็นที่ได้จีวรที่ตรัสแล้ว จำเติมแต่ต้น.
คำว่า สีมาย เทติ เป็นอาทิ ตรัสโดยนัยปุคคลาธิษฐาน.
ก็บรรดามาติกาเหล่านี้ การถวายแก่สีมา เป็นมาติกาที่ ๑. การถวาย
ตามกติกา เป็นมาติกาที่ ๒, การถวายในที่ซึ่งตกแต่งภิกษา เป็นมาติกาที่ ๓,
การถวายแก่สงฆ์ เป็นมาติกาที่ ๔, การถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย เป็นมาติกาที่ ๕,
การถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา เป็นมาติกาที่ ๖, การถวายจำเพาะ เป็นมาติกาที่
๗, การถวายแก่บุคคลเป็นมาติกาที่ ๘.
วินิจฉัยในมาทิกาเหล่านั้น พึงทราบดังนี้:-
เมื่อทายกถวายพาดพิงถึงสีมาอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สีมา ชื่อถวาย
แก่สีมา. ในมาติกาทั้งปวงก็นัยนี้แล.
ถวายแก่สีมา
ก็ในมาติกาที่ ๑ นี้ว่า ถวายแก่สีมา ในมาติกานิทเทสต้นที่ว่า ทายก
ถวายแก่สีมา, ภิกษุมีจำนวนเท่าใดอยู่ภายในสีมา ภิกษุเหล่านั้นพึงแจกกัน
ดังนี้ พึงทราบสีมา ๑๕ ชนิดก่อน คือ:-
๑. ปรสมุทฺเทติ ชมฺพูทีเปติ สารตฺถ จ วิมติ จ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 358
ขัณฑสีมา อุปจารสีมา สมานสังวาสสีมา อวิปปวาสสีมา ลาภสีมา
คามสีมา นิคมสีมา นครสีมา อัพภันตรสีมา อุทกุกเขปสีมา ชนปทสีมา รัฐสีมา
รัชสีมา ทีปสีมา จักกวาฬสีมา.
บรรดาสีมาเหล่านั้น ขัณฑสีมา ได้กล่าวแล้วในสีมากถา. อุปจารสีมา
เป็นแดนที่กำหนดด้วยเครื่องล้อมแห่งวัดที่ล้อม ด้วยที่ควรแก่การล้อมแห่งวัด
ที่ไม่ได้ล้อม.
อีกอย่างหนึ่ง จากสถานที่ภิกษุประชุมกันเป็นนิตย์ หรือจากโรงฉัน
อันตั้งอยู่ริมเขตวัด หรือจากอาวาสที่อยู่ประจำ ภายใน ๒ ชั่วเลฑฑุบาต ของ
บุรุษผู้มีแรงปานกลางเข้ามา พึงทราบว่าเป็นอุปจารสีมา. ก็อุปจารสีมานั้น
เมื่ออาวาสขยายกว้างออกไป ย่อมขยายออก เมื่ออาวาสร่นแคบเข้า ย่อม
แคบเข้า.
แต่ในมหาปัจจรีแก้ว่า อุปจารสีมานั้น เมื่อภิกษุเพิ่มขึ้น ย่อมกว้าง
ออก เนื่องด้วยลาภ, ถ้าภิกษุทั้งหลายนั่งเต็ม ๑๐๐ โยชน์ติดเนื่องเป็นหมู่เดียว
กับพวกภิกษุผู้ประชุมในวัด. แม้ที่ตั้ง ๑๐๐ โยชน์ ย่อมเป็นอุปจารสีมาด้วย,
ลาภย่อมถึงแก่ภิกษุทั่วกัน. แม้สมานสังวาลสีมาและอวิปปวาสสีมาทั้ง ๒ มีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่น และ.
ชนชื่อว่า ลาภสีมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหาได้ทรงอนุญาตไม่, พระ
ธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายก็ไม่ได้ตั้งไว้, ก็แต่ว่าพระราชาและมหาอมาตย์ของ
พระราชาให้สร้างวัดแล้ว กำหนดพื้นที่โดยรอบคาวุตหนึ่งบ้าง กึ่งโยชน์บ้าง
โยชน์หนึ่งบ้าง ปักเสาจารึกชื่อว่า นี้เป็นลาภสีมาสำหรับวัดของเรา แล้วปัก
แดนไว้ว่า สิ่งใดเกิดขึ้นภายในเขตนี้, สิ่งนั้นทั้งหมด เราถวายแก่วัดของเรา
นี้ชื่อว่า ลาภสีมา. ถึงคามสีมา นิคมสีมา นครสีมา อัพภันตรสีมา และ
อุทกุกเขปสีมา ก็ได้กล่าวแล้วเหมือนกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 359
ชนปทสีมา นั้น ชนบทเป็นอันมาก มีภายในแคว้นกาสีและโกศล
เป็นต้น, ในชนบทเหล่านั้น แดนกำหนดแห่งชนบทอันหนึ่ง ๆ ชื่อชนปทสีมา.
แดนกำหนดแห่งแคว้นกาสีและโกศลเป็นต้น ชื่อรัชสีมา.๑
สถานเป็นที่เป็นไปแห่งอาณาของพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่ง ๆ อย่างนี้
คือ พหิโภค โจลโภค เกรฏฺโภค ชื่อรัช สีมา.
เกาะใหญ่ และเกาะเล็ก ซึ่งกำหนดด้วยสมุทรเป็นที่สุด ชื่อทีปสีมา
แดนที่กำหนดด้วยภูเขาจักรวาลเท่านั้น ชื่อจักกวาฬสีมา.
ในสีมาเหล่านั้น ที่กล่าวแล้วด้วยประการอย่างนี้ เมื่อทายกเห็นสงฆ์
ประชุมกันในขัณฑสีมา ด้วยกรรมบางอย่าง จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์
ในสีมานี้เท่านั้น ดังนี้. ภิกษุมีจำนวนเท่าใดอยู่ภายในขัณฑสีมา ภิกษุเหล่า
นั้น พึงแบ่งกัน. เพราะว่าจีวรนั้นย่อมถึงแก่ภิกษุเหล่านั้นเท่านั้น, ไม่ถึงแก่
ภิกษุเหล่าอื่น แม้ผู้ตั้งอยู่ที่สีมันตริก หรือที่อุปจารสีมา. แค่ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้
ตั้งอยู่บนต้นไม้หรือบนภูเขา ซึ่งขึ้นอยู่ในขัณฑสีมา หรือผู้อยู่ท่ามกลางแผ่นี้
ดินภายใต้ขัณฑสีมา เป็นแท้.
อนึ่ง จีวรที่ทายกถวายว่า ถวายแก่สงฆ์ในอุปจารสีมานี้ ย่อมถึงแม้แก่
ภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในขัณฑสีมาและสีมันตริก.
ส่วนจีวรที่ทายกถวายว่า ถวายแก่สมานสังวาสสีมา ย่อมไม่ถึงแก่ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในขัณฑสีมาและสีมันตริก.
จีวรที่ทายกถวายในอวิปปวาสสีมา และลาภสีมา ย่อมถึงแก่ภิกษุทั่ง
หลายผู้อยู่ร่วมในสีมาเหล่านั้น.
๑. สทฺธมฺมปฺปชโชติกา ปฐม ๑๖ ว่า รฏนฺติ ชนปเทกเทส ฯ ชนปโทติ กาสีโกสลาทิชนปโท ?
ถือเอาความว่า รัฐ เล็กกว่าชนบท ชนบทคือประเทศ. แต่ตามที่แก้ในที่นี้ กลับตรงกันข้าม จึง
ขอฝากนักศึกษาไว้ด้วย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 360
ส่วนจีวรที่ทายกถวายในคามสีมาเป็นต้น ย่อมถึงแม้แก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน
พัทธสีมา ภายในแห่งสีมาเหล่านั้น.
จีวรที่ถวายในอัพภันตรสีมา และอุทกุกเขปสีมา ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้อยู่
ภายในสีมาเหล่านั้นเท่านั้น.
ในชนปทสีมา รัฐสีมา รัชสีมา ทีปสีมา และจักกวาฬสีมา มีวินิจฉัย
เช่นดังกล่าวแล้วในคามสีมาเป็นต้นนั่นแล.
ก็ถ้าว่าทายกอยู่ในชมพูทวีป กล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายสงฆ์ในตามพ-
ปัณณิทวีป ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไปจากตามพปัณณิทวีป ย่อมได้เพื่อรับแทนภิกษุ
ทั้งปวง. แม้หากว่า ภิกษุผู้ชอบพอกันรูปหนึ่งในชมพูทวีปนั้นเอง จะรับส่วน
แทนภิกษุทั้งหลายที่ชอบพอกันไซร้, ไม่พึงห้ามเธอ. ในการถวายของทายก
ผู้ถวายของพาดพิงถึงสีมา พึงทราบวินิจฉัยอย่างนี้ก่อน.
ฝ่ายทายกใด ไม่เข้าใจที่จะพูดว่า ในสีมาโน้น รู้แต่เพียงคำว่า สีมา
อย่างเดียวเท่านั้น มาวัดกล่าวว่า ถวายแก่สีมา หรือว่า ถวายสงฆ์ผู้ตั้งอยู่ใน
สีมา ดังนี้.
พึงถามทายกนั้นว่า ขึ้นชื่อว่าสีมา มีหลายอย่าง, ท่านพูดหมายเอา
สีมาอย่างไหน ?
ถ้าเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้จักว่า สีมาชนิดโน้น ๆ สงฆ์ผู้ตั้งอยู่ในสีมา
จงแบ่งกันถือเอาเถิด ดังนี้.
สงฆ์ในสีมาไหน จะพึงแบ่งกัน ?
ได้ยินว่า พระมหาสิวัตเถระกล่าวว่า สงฆ์ในอวิปปวาสสีมาพึงแบ่ง
กัน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 361
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านว่า ธรรมดาอวิปปวาสสีมา
ประมาณตั้ง ๓ โยชน์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุผู้ดังอยู่ใน ๓ โยชน์จักรับลาภได้.
ผู้ตั้งอยู่ใน ๓ โยชน์ จักพึงบำเพ็ญอาคันตุกวัตรเข้าสู่อาราม, ผู้เตรียมจะไปจัก
เดินทาง ๓ โยชน์ จึงจักบอกมอบเสนาสนะ, สำหรับผู้ปฏิบัตินิสัย ๆ จักระงับ
ต่อเมื่อล่วง ๓ โยชน์ไป, ผู้อยู่ปริวาส จักพึงก้าวล่วง ๓ โยชน์แล้ว รับอรุณ.
ภิกษุณีตั้งอยู่ในระยะ ๓ โยชน์ จักพึงบอกเล่าการที่จะเข้าสู่อาราม กิจนี้ทั้ง
หมดสมควรทำด้วยอำนาจแดนกำหนดแห่งอุปจารสีมาเท่านั้น, เพราะเหตุนั้น
สงฆ์ตั้งอยู่ในอุปจารสีมาเท่านั้นพึงแบ่งกัน.
ถวายตามกติกา
บทว่า กติกาย ได้แก่ กติกา มีลาภเสมอกัน. ด้วยเหตุนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อาวาสมากหลายมีลาภเสมอกัน
ในหลายอาวาสมีลาภเสมอกันนั้น พึงดังกติกาอย่างนี้:-
ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในวิหารหนึ่ง ระบุชื่อวัดที่ตนมีประสงค์จะ
สงเคราะห์ ปรารถนาจะทำให้เป็นแดนมีลาภเสมอกัน กล่าวเหตุอย่างใดอย่าง
หนึ่งว่า วัดโน้น เป็นวัดเก่า หรือว่า วัดโน้น เป็นที่พระพุทธเจ้าเคยอยู่
หรือว่า วัคโน้น มีลาภน้อย แล้วประกาศ ๓ ครั้งว่า การที่ทำวัดนั้นกับวัด
แม้นี้ ให้เป็นแดนมีลาภอันเดียวกัน พอใจสงฆ์ ดังนี้.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุแม้นั่งแล้วในวัดนั้น เธอย่อมเป็นเหมือน
นั่งแล้วในวัดนี้, อันสงฆ์แม้ในวัดนั้น พึงทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ ภิกษุแม้นั่งแล้วในวัดนี้, เธอย่อมเป็นเหมือนผู้นั่งแล้วในวัดนั้น.
เมื่อแบ่งลาภกันอยู่ในวัดหนึ่ง, อันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอีกวัดหนึ่ง สมควรได้รับส่วน
แบ่งด้วย. วัดแม้มาก ก็พึงกระทำให้เป็นที่มีลาภอันเดียวกันกับวัดอันหนึ่ง
โดยอุบาอย่างนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 362
ถวายในที่ซึ่งตกแต่งภิกษา
บทว่า ภิกขาปญฺตฺติยา ได้แก่ ในสถานเป็นที่ตกแต่งทานบริจาค
ของตน. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทานบริจาคที่ประจำ
อันตนทำแก่สงฆ์ในวัดใด.
พึงทราบเนื้อความแห่งคำนั้น ดังนี้:-
ภัตทานของสงฆ์ ซึ่งเป็นของทายกผู้ถวายจีวรนี้ เป็นไปในวัดใดก็ดี,
ทายกทำภิกษุทั้งหลายในวัดใด ให้เป็นภาระของตน นิมนต์ให้ฉันในเรือนทุก
เมื่อก็ดี, ในวัดใดเขาสร้างที่อยู่ไว้ก็ดี, ในวัดใดเขาถวายสลากภัตเป็นต้นเป็น
นิตย์ก็ดี, แต่วัดแม้ทั้งสิ้นอันทายกใดสร้าง, ในวัดนั้น ของทายกนั้น ไม่มีคำ
ที่จะพึงกล่าวเลย. ภัตบริจาคเหล่านี้ จัดเป็นภัตบริจาคประจำ, เพราะเหตุนั้น
ถ้าเขากล่าวว่าภัตบริจาคประจำของข้าพเจ้ากระทำอยู่ในวัดใด, ข้าพเจ้าถวายใน
วัดนั้น หรือว่า ท่านจงให้ในวัดนั้น แม้หากว่า มีภัตบริจาคประจำในที่หลาย
แห่ง, จีวรนั้นเป็นอันเขาถวายทั่วทุกแห่งทีเดียว.
ก็ถ้าว่า ในวัดหนึ่งมีภิกษุมากกว่า, ภิกษุเหล่านั้น พึงบอกว่า ในวัด
ที่มีภัตบริจาคเป็นประจำของพวกท่าน วัดหนึ่งมีภิกษุมาก วัดหนึ่งมีภิกษุน้อย.
ถ้าหากเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาตามจำนวนภิกษุเถิด สมควรแบ่งถือ
เอาตามนั้น.
ก็ในคำว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาตามจำนวนภิกษุเถิด นี้ ผ้าและเภสัช
เป็นต้น แม้น้อย ย่อมแบ่งกันได้โดยง่าย, แต่ถ้าว่าเตียงหรือตั่งมีตัวเดียวเท่านั้น,
พึงถามเขาแล้ว พึงให้สำหรับวัดหรือเสนาสนะแม้ในวัดหนึ่งที่เขาสั่ง ถ้าเขา
กล่าวว่า ภิกษุโน้นจงถือเอา ดังนี้ควรอยู่.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 363
หากว่าเขากล่าวว่า ท่านจงให้สำหรับวัดที่มีภัตบริจาคเป็นประจำของ
ข้าพเจ้า ดังนี้แล้ว ไม่ทันได้สั่งการไปเสีย, แม้สงฆ์จะสงการก็ควร.
ก็แล สงฆ์พึงสั่งการอย่างนี้:-
พึงสั่งว่า ท่านจงให้ในสถานเป็นที่อยู่ของพระสังฆเถระ. ถ้าในที่นั้น.
มีเสนาสนะบริบูรณ์ ในที่ใดเสนาสนะไม่เพียงพอ, พึงให้ในที่นั้น. ถ้าว่า
ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า ในที่อยู่ของข้าพเจ้า ไม่มีของใช้สำหรับเสนาสนะพึงให้
ในที่นั้น.
ถวายแก่สงฆ์
ข้อว่า สงฺฆสฺส เทติ มีความว่า ทายกเข้าไปยังวัดกล่าวว่า ข้าพเจ้า
ถวายจีวรเหล่านั้นแก่สงฆ์.
ข้อว่า สมฺมุขีภูเตน มีความว่า สงฆ์ผู้ทั้งอยู่ในอุปจารสีมา พึงตีระฆัง
ให้ประกาศเวลาแล้วแจกกัน. ภิกษุผู้จะรับส่วนแทนภิกษุผู้ตั้งอยู่ในสีมาแต่มาไม่
ทัน ไม่ควรห้าม. วัดใหญ่, เมื่อถวายผ้าตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา, พระมหาเถระ
ผู้เฉื่อยช้าย่อมมาภายหลัง, อย่าพึงกล่าวกะท่านว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถวาย
ถึงภิกษุมีพรรษา ๒๐ ลำดับของท่าน เลยไปเสียแล้ว, พึงเว้นลำดับไว้ถวาย
แก่พระมหาเถระเหล่านั้น เสร็จแล้วจึงถวายตามลำดับภายหลัง. ภิกษุทั้งหลาย
ได้ฟังข่าวว่า ได้ยินว่า ที่วัดโน้น จีวรเกิดขึ้นมาก จึงพากันมาจากวัดซึ่งตั้ง
อยู่ในระยะโยชน์หนึ่งบ้าง, พึงให้จำเดิมแต่ที่ซึ่งเธอทั้งหลายมาทันแล้ว ๆ เข้า
ลำดับ. เฉพาะที่เธอมาไม่ทันเข้าอุปจารสีมาแล้ว เมื่ออันเตวาสิกเป็นต้นจะ
รับแทน ก็ควรให้แท้. อันเตวาสิกเป็นต้น กล่าวว่า ท่านจงให้แก่ภิกษุผู้ตั้ง
อยู่ภายนอกอุปจารสีมาดังนี้ ไม่พึงให้.
ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ประตูวัดของตน หรืออยู่ภายในวัด ของทนที
เดียว เป็นผู้เนื่องเป็นอันเดียวกับภิกษุทั้งหลายผู้เข้าอุปจารสีมาไซร้, สีมาชื่อว่า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 364
ขยายออกด้วยอำนาจบริษัท, เพราะฉะนั้น ควรให้. แม้เมื่อให้จีวรแก่
สังฆนวกะแล้ว, ก็ควรถวายแก่พระเถระทั้งหลายผู้มาภายหลังเหมือนกัน.
อนึ่ง เมื่อส่วนที่สองได้ยกขึ้นสู่เถรอาสน์แล้ว ส่วนที่หนึ่ง ย่อมไม่ถึง
แก่ภิกษุทั้งหลายทีมาแล้ว, พึงให้ตามลำดับพรรษา ตั้งแต่ส่วนที่สองไป. ถ้า
ในวัดหนึ่ง มีภิกษุ ๑๐ รูป ทายกถวายผ้า ๑๐ ผืนว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์; ผ้า
เหล่านั้น พึงแจกกันรูปละผืน. ถ้าภิกษุเหล่านั้น ถือเอาไปทั้งหมดทีเดียว
ด้วยคิดว่า ผ้าเหล่านั้น ถึงแก่พวกเรา ดังนี้ไซร้, เป็นอันให้ถึง (แก่ตน) ไม่
ดี; ทั้งเป็นอันถือเอาไม่ดี; ผ้าเหล่านั้น ย่อมเป็นของสงฆ์ในที่ซึ่งเธอไปถึง
เข้าแล้วนั่นแล.
อนึ่ง จะชักออกผืนหนึ่ง ถวายแก่สังฆเถระว่า ผืนนี้ถึงแก่ท่าน ดัง
นี้แล้ว ถือเอาผ้าที่เหลือออด้วยคิดว่า ผ้าเหล่านี้ ถึงแก่พวกเรา ดังนี้ ควรอยู่.
ทายกนำผ้ามาผืนเดียว ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายไม่แบ่ง
กัน ถือเอาด้วยคิดว่า ผ้านี้ถึงแก่พวกเรา; ผ้านั้นเป็นอันเธอทั้งหลายให้ถึงแก่
ตน ไม่ชอบ ทั้งเป็นอันถือเอาไม่ชอบ. ควรเอามีดหรือขมิ้นเป็นต้น ทำให้
เป็นรอย ให้ส่วนหนึ่งแก่พระสังฆเถระว่า ตอนนี้ถึงแก่ท่าน แล้วถือเอาส่วน
ที่เหลือว่า ตอนนี้ถึงแก่พวกเรา. จะทำการกำหนดปันกัน ด้วยลายดอกไม้ หรือ
ผลไม้ หรือเครือวัลย์แห่งผ้านั้นเอง ไม่ควร. ถ้าชักเส้นด้ายออกเส้นหนึ่ง
ถวายแก่พระเถระว่า ตอนนี้ ถึงแก่ท่าน แล้วถือเอาว่า ส่วนที่เหลือออถึงแก่พวก
เรา ควรอยู่. ผ้าที่ภิกษุตัดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แบ่งกัน ควรแท้.
เมื่อจีวรทั้งหลายเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในวัค ซึ่งมีภิกษุรูปเดียว หากภิกษุ
นั้น ถือเอาว่า จีวรทั้งหมดย่อมถึงแก่เรา ตามนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่น
เอง, เป็นอันเธอถือเอาชอบ, ส่วนลำดับไม่ดังอยู่. หากเธอยกขึ้นทีละผืน ๆ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 365
ถือเอาว่า ผ้านี้ถึงแก่เรา. ลำดับย่อมตั้งอยู่. บรรดาลำดับที่ไม่ตั้งอยู่ และตั้งอยู่
ทั้งสองนี้ เมื่อลำดับไม่ตั้งอยู่ครั้นจีวรอื่นเกิดขึ้นอีก ถ้าภิกษุรูปหนึ่งมา, เธอ
ทั้งสองพึงตัดตรงกลางถือเอา. เมื่อลำดับตั้งอยู่ ครั้นจีวรอื่นเกิดขึ้นอีก ถ้าภิกษุ
อ่อนกว่ามา, ลำดับย่อมถึงภายหลัง, ถ้าภิกษุผู้แก่กว่ามา, ลำดับย่อมถึงก่อน.
ถ้าไม่มีภิกษุอื่น, พึงให้ถึงแก่ในถือเอาอีก.
แต่จีวรที่เขาถวายพาดพิงถึงสงฆ์ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งว่า
ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ก็ดี ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุสงฆ์ ก็ดี ไม่ควรแก่
ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล, เพราะเหตุที่เธอกล่าวคำว่า ข้าพเจ้างดคหบดีจีวรเสีย,
สมาทานองค์ของผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แต่ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล
เพราะเหตุที่จีวรนั้น เป็นอกัปปิยะหามิได้, แม้ภิกษุสงฆ์อปโลกน์ให้แล้วก็
ไม่ควรรับ. ก็และภิกษุให้จีวรใดซึ่งเป็นของตน, จีวรนั้นชื่อของที่ภิกษุให้
ควรอยู่ แต่ว่าจีวรนั้นไม่เป็นผ้าบังสุกุล. แม้เนื้อเป็นเช่นนั้น, ธุดงค์ย่อม
ไม่เสีย.
อนึ่ง เมื่อทายกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย, ข้าพเจ้าถวาย
แก่พระเถระทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมควรแม้แก่ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล. แม้จีวรที่ทายก
ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายผ้านี้ แก่สงฆ์ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงทำถุงใส่รองเท้า
ถึงบาตร ผ้ารัดเข่าและสายสะพายเป็นต้นด้วยผ้านี้ ดังนี้ ย่อมควร. ผ้าที่ทายก
ถวายเพื่อประโยชน์แก่ถุงบาตรเป็นต้น มีมาก, เป็นของเพียงพอแม้เพื่อประ
โยชน์แก่จีวรจะกระทำจีวรจากผ้านั้นห่ม ก็ควร. ก็หากว่าสงฆ์ตัดผ้าที่เหลือ
จากแจกกันแล้ว แจกให้เพื่อประโยชน์แก่ถุงรองเท้าเป็นต้น, จะถือเอาจากผ้า
นั้นไม่ควร. แต่ผ้านั้นพวกเจ้าของจัดการเองนั้นแลควรอยู่ นอกนั้นไม่ควร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 366
แม้เมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายเพื่อประโยชน์แก่ผ้าผูกกระบอก
กรองเป็นต้น แก่สงฆ์ผู้ถือผ้าบังสุกุล ดังนี้ สมควรถือเอา. ขึ้นชื่อว่าบริขาร
แม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล ก็พึงปรารถนา ในผ้าที่เขาถวายเพื่อให้เป็นผ้าผูกกระ-
บอกกรองเป็นต้นเหล่านั้น ผ้าใดเป็นของเหลือเพื่อ จะน้อมผ้านั้นเข้าในจีวร
บ้าง ก็ควร. ทายกถวายด้วยแก่สงฆ์ ด้วยนั้น แม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล ก็ควร
รับ.
วินิจฉัยในผ้าที่ทายกเข้าไปสู่วัดแล้วถวายว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรเหล่านี้
แก่สงฆ์ เท่านี้ก่อน. ก็ถ้าว่า ทายกเห็นภิกษุทั้งหลายผู้เดินทางไปภายนอก
อุปจารสีมาแล้ว บอกแก่พระสังฆเถระ หรือพระสังฆนวกะว่า ข้าพเจ้าถวาย
สงฆ์ แม้ถ้าบริษัทตั้งแผ่ไปโยชน์หนึ่ง เนื่องเป็นอัน เดียวกัน ย่อมถึงแก่ภิกษุ
ทั่วกัน; ฝ่ายภิกษุเหล่าใดไม่ทันบริษัทเพียง ๑๐ ศอก ไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่านั้น .
ถวายแก่สงฆ์สองฝ่าย
วินิจฉัยในมาติกาว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย นี้ พึงทราบดังนี้:-
เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย ก็ดี ถวายแก่สงฆ์โดยส่วน ๒
ก็ดี ถวายแก่สงฆ์ ๒ พวก ก็ดี กล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ภิกษุณีสงฆ์
ด้วย ก็ดี ผ้านั้นเป็นอันเขาถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่ายแท้.
ข้อว่า อุปฑฺฒ ทาตพฺพ มีความว่า พึงทำเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน
ให้ส่วนหนึ่ง. เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่ายด้วยแก่ท่านด้วย ถ้ามีภิกษุ
๑๐ รูป ภิกษุณี ๑๐ รูป พึงทำให้เป็น ๒๑ ส่วน; ให้แก่บุคคลส่วนหนึ่ง ให้
แก่สงฆ์ ๑๐ ส่วน ให้แก่ภิกษุณีสงฆ์ ๑๐ ส่วน; ส่วนเฉพาะบุคคลอันภิกษุใด
ได้แล้ว ภิกษุนั้น ย่อมได้เพื่อถือเอาตามลำดับพรรษาของตนจากสงฆ์อีก.
เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุที่เธออันเขารวมเข้าด้วยศัพท์ว่า อุภโตสงฆ์. แม้
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 367
ในผ้าที่เขาบอกถวายว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่ายด้วย แก่เจดีย์ด้วย ก็มีนัยเหมือน
กัน. แต่ในคำถวายนี้ ไม่มีส่วนที่จะถึงแก่เจดีย์จากสงฆ์ มีแต่ส่วนที่เท่ากับส่วน
ที่ถึงแก่บุคคลผู้หนึ่งเท่านั้น.
อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่ายด้วย แก่ท่านด้วย
แก่เจดีย์ด้วย พึงทำให้เป็น ๒๒ ส่วน ให้ภิกษุ ๑๐ ส่วน ให้แก่ภิกษุณี ๑๐ ส่วน.
ให้แก่บุคคลส่วนหนึ่ง ให้แก่เจดีย์ส่วนหนึ่ง; ในบุคคลและเจดีย์นั้น บุคคล
ย่อมได้เพื่อถือเอาอีกตามลำดับพรรษาของตน จากสงฆ์ด้วย, สำหรับเจดีย์พึงได้
ส่วนเดียวเท่านั้น.
อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ภิกษุณีทั้งหลาย
ด้วย อย่าแบ่งกลางให้ พึงนับภิกษุและภิกษุณีแล้วให้.
อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ภิกษุณีทั้งหลายด้วย
แก่ท่านด้วย บุคคลไม่ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง; ย่อมได้เฉพาะส่วนเดียว จาก
ลำดับที่ถึงเท่านั้น เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุที่บุคคลอันเขารวมเข้าด้วยศัพท์
ว่าภิกษุสงฆ์ แม้เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ภิกษุทั้งหลายด้วย
แก่ท่านด้วย แก่เจดีย์ด้วย เจดีย์ได้ส่วนเท่าบุคคลผู้หนึ่ง บุคคลไม่ได้ส่วนอีก
แผนกหนึ่ง เพราะฉะนั้น พึง ให้แก่เจดีย์ส่วนหนึ่ง ที่เหลือพึงนับภิกษุและ
ภิกษุณีแจกกัน. แม้เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุด้วย แก่ภิกษุณีด้วย อย่า
แบ่งกลางให้ พึงแบ่งตามจำนวนบุคคลเท่านั้น เมื่อเขากล่าวอย่างนี้ว่า ถวาย
แก่ภิกษุด้วย แก่ภิกษุณีด้วย แก่ท่านด้วย ดังนี้ก็ดี, กล่าวอย่างนี้ว่า ถวาย
แก่ภิกษุด้วย แก่ภิกษุณีด้วย แก่เจดีย์ด้วย ดังนี้ก็ดี, กล่าวอย่างนี้ว่า ถวาย
แก่ภิกษุด้วย แก่ภิกษุณีด้วย แก่ท่านด้วย แก่เจดีย์ด้วย ดังนี้ก็ดี, เจดีย์ได้
ส่วนเดียว บุคคลไม่มีส่วนอีกแผนกหนึ่ง พึงนับภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายเท่า
นั้น แจกกัน. เหมือนอย่างว่า ข้าพเจ้ายก ภิกษุสงฆ์ไห้เป็นต้น อธิบายความ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 368
ฉันใด บัณฑิตพึงยกภิกษุณีสงฆ์ไห้เป็นต้นบ้าง อธิบายความ ฉันนั้น. เมื่อ
เขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ท่านด้วย, บุคคลไม่ได้ส่วนอีกแผนก
หนึ่ง พึงถือเอาตามลำดับพรรษาเท่านั้น.
อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่เจดีย์ด้วย, เจดีย์
ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง, แม้เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ท่านด้วย
แก่เจดีย์ด้วย, เจดีย์เท่านั้น ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง บุคคลไม่ได้. แก่เมื่อเขา
กล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย แก่ท่านด้วย บุคคลไม่ได้ส่วนอีกแผนก
หนึ่ง. แต่เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย แก่เจดีย์ด้วย เจดีย์ย่อม
ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง แม้เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย แก่ท่าน
ด้วย แก่เจดีย์ด้วย เจดีย์เท่านั้น ย่อมได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง บุคคลไม่ได้.
พึงยกภิกษุณีสงฆ์ให้เป็นต้นบ้าง ประกอบเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน
ถามว่า เฉพาะในกาลก่อน ทายกทั้งหลายถวายทานแก่สงฆ์สองฝ่าย
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งตรงกลาง ภิกษุนั่ง
ข้างขวา ภิกษุณีนั่งข้างซ้าย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสังฆเถระแห่งสงฆ์
๒ ฝ่าย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบริโภคปัจจัยที่พระองค์ได้ด้วยพระ-
องค์เองบ้าง รับสั่งให้แก่ภิกษุทั้งหลายบ้าง. ส่วนในบัดนี้ คนผู้ฉลาดทั่งหลาย
ตั้งพระปฏิมาหรือพระเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ แล้วถวายทานแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ตั้งบาตรบนเชิงข้างหน้าแห่งพระปฏิมาหรือพระเจดีย์
แล้วถวายทักษิโณทกกล่าวว่า ขอถวายแด่พระพุทธเจ้า ดังนี้แล้ว ใส่ของควร
เคี้ยว ของควรบริโภคอันใดเป็นที่หนึ่งใบบาตรนั้น หรือนำมายังวัด ถวาย
บิณฑบาตและวัตถุมีระเบียบและของหอมเป็นต้น กล่าวว่า นี้ถวายพระเจดีย์,
จะพึงปฏิบัติอย่างไร ในของควรเคี้ยวและของควรบริโภคนั้น ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 369
ตอบว่า วัตถุมีระเบียบและของหอมเป็นต้น ควรยกวางไว้ที่พระเจดีย์
ก่อน ผ้าพึงใช้ทำธงแผ่นผ้า น้ำมันพึงใช้ตามประทีป ส่วนบิณฑบาตและ
เภสัชมีน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น พึงให้แก่บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่
ผู้รักษาพระเจดีย์เป็นประจำ เมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเป็นประจำ สนควรจะ
ตั้งไว้ดังภัตที่ตนเองนำมากระทำวัตรแล้วฉัน. ในเวลากระชั้น ฉันเสียแล้ว
จึงทำวัตรต่อภายหลัง ก็ควรเหมือนกัน . ก็เมื่อเขากล่าว ขอท่านทั้งหลายจง
นำสิ่งนี้ไปทำการบูชาพระเจดีย์ ดังนี้. บรรดาวัตถุมีระเบียบและของหอมเป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ในที่ไกล ก็ควรนำไปบูชา แม้เมื่อเขากล่าวว่า ขอจง
นำไปเพื่อภิกษุสงฆ์ ควรนำไป. ก็หากว่าเมื่อภิกษุกล่าวว่า เราจักเที่ยวบิณฑ-
บาต ที่อาสนศาลามีภิกษุ เธอทั้งหลายจักนำไป เขากล่าวว่า ท่านผู้เจริฐ
ข้าพเจ้าถวายท่านนั้นแล สมควรฉัน. ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุกำลังนำไปตั้งใจว่า
จักถวายภิกษุสงฆ์ เวลาจวนเสียในระหว่างทางเทียว สมควรให้ถึงแก่ตนแล้ว
ฉันเถิด.
ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา
ข้อว่า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา มีความว่า ทายกเข้าไปยังวิหารแล้ว
ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรเหล่านี้ แก่สงฆ์ผู้จำพรรษา.
ข้อว่า ยาวติกา ภิกฺขู ตสฺมึ อาวาเส วสฺส วุตฺถา มีความว่า
ภิกษุมีจำนวนเท่าไร จำพรรษาแรก ไม่ทำให้ขาดพรรษา ภิกษุเหล่านั้น พึง
แจกกัน; จีวรนั้นไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่าอื่น. เมื่อผู้รับแทนมี พึงให้แม้แก่ภิกษุ
ผู้หลีกไปสู่ทิศจนกว่าจะรื้อกฐิน. พระอาจารย์ทั้งหลายผู้เข้าใจลักษณะกล่าวว่า
แต่เมื่อไม่ได้กรานกฐิน ก็แลจีวรที่เขาบอกถวายอย่างนั้น ในภายในเหมันตฤดู
ย่อมถึงแม้แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาหลัง. ส่วนในอรรถกถาทั้งหลาย หา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 370
ได้สอดส่องข้อนี้ไว้ไม่. ก็ถ้าว่า ทายกตั้งอยู่ภายนอกอุปจารสีมากล่าวว่า ข้าพเจ้า
ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา, จีวรนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งปวงผู้มาถึงเข้า. ถ้าเขา
กล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาในวัดโน้น. ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำ
พรรษาในวัดนั้นเท่านั้น จนกว่าจะรื้อกฐิน. ก็ถ้าว่าเขากล่าวอย่างนั้น จำเดิม
แต่วันต้นแห่งคิมหฤดูไป ย่อมถึงแก่ภิกษุทั่งปวงผู้พร้อมหน้ากันในวัดนั้น.
เพราะเหตุไร ? เพราะจีวรนั้นเกิดขึ้นภายหลังสมัย. เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่
ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา ดังนี้ ในภายในพรรษาทีเดียว ภิกษุผู้ขาดพรรษา
ย่อมไม่ได้ เฉพาะภิกษุผู้จำพรรษาตลอดจึงได้. ส่วนในจีวรมาส เมื่อเขา
กล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา. ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำ
พรรษาในปัจฉิมพรรษาเท่านั้น ไม่ถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในปุริม-
พรรษาและผู้ขาดพรรษา. จำเดิมแต่จีวรมาสไปจนถึงวันสุดท้ายแห่งเหมันตฤดู
เมื่อเขากล่าวว่า ถวายผ้าจำนำพรรษา, กฐินจะได้กรานหรือไม่ได้กรานก็ตามที่
ผ้านั้นย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาที่ล่วงไปแล้วเท่านั้น.
อนึ่ง เมื่อเขากล่าวจำเดิมแต่วันต้นแห่งคิมหฤดูไป. พึงยกมาติกาขึ้นว่า
สำหรับกาลจำพรรษาที่เป็นอดีต ล่วงไปแล้ว ๕ เดือน กาลจำพรรษาที่เป็น
อนาคต ต่อล่วงไป ๔ เดือน จึงจักมี ท่านให้แก่สงฆ์ผู้จำพรรษาไหน. ถ้าเขา
กล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาที่ล่วงไปแล้ว ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้ง
หลายผู้อยู่จำตลอดภายในพรรษานั้น เท่านั้น. ภิกษุผู้ชอบกัน ย่อมได้เพื่อรับ
แทนภิกษุผู้หลีกไปสู่ทิศ. ถ้าเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุผู้จำพรรษาในพรรษาที่
จะมาข้างหน้า พึงเก็บผ้านั้นไว้ ถือเอาในวันเข้าพรรษา หากว่าที่อยู่คุ้มครอง
ไม่ได้ ทั้งมีโจรภัย; เมื่อภิกษุกล่าวว่า ไม่อาจเก็บไว้ หรือไม่อาจถือเที่ยวไป
เขาบอกว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่พร้อมแล้ว พึงแจกกันถือเอา. หากว่า
เขากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ได้ถวายผ้าใด แก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 371
ในพรรษาที่ ๓ แต่พรรษานี้ไป ข้าพเจ้าถวายผ้านั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้จำพรรษาภายในพรรษานั้น. ถ้าภิกษุเหล่านั้นหลีกไปสู่ทิศเสียแล้ว ภิกษุอื่น
ผู้คุ้นเคยกัน จะรับแทน; พึงให้. ถ้าเหลืออยู่รูปเดียวเท่านั้น นอกจากนั้น
มรณภาพหมด ย่อมถึงแก่ภิกษุรูปเดียวนั่นแลทั้งหมด. ถ้าว่า แม้รูปเดียวก็
ไม่มี ย่อมเป็นของสงฆ์; ผ้านั้นภิกษุผู้พร้อมหน้ากัน พึงแจกกัน
ถวายจำเพาะ
ข้อว่า ถวายจำเพาะ มีความว่า เขาเจ้าจง คือกำหนดหมายถวาย.
ในบทว่า ยาคุยา เป็นอาทิ มีเนื้อความดังนี้.
เขาเจาะจงถวายในข้าวต้ม หรือข้าวสวย หรือของควรเคี้ยวหรือจีวร
หรือเสนาสนะ หรือเภสัช.
ในบทเหล่านั้น มีโยชนาดังนี้:-
ทายกนิมนต์ภิกษุด้วยข้าวต้มประจำวันนี้ หรือประจำวันพรุ่ง แล้วถวาย
ข้าวต้มแก่พวกเธอผู้เข้าสู่เรือนแล้ว ครั้นถวายเสร็จแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายฉัน
ข้าวต้มแล้วจึงถวายว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรเหล่านี้ แก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายผู้ฉัน
ข้าวต้มของข้าพเจ้า. จีวรนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ ได้ฉันข้าวต้มแล้ว
เท่านั้น ส่วนข้าวต้มอันภิกษุเหล่าใดผู้ผ่านไปทางประตูเรือน หรือผู้เข้าไปสู่เรือน
ด้วยภิกขาจารวัตรจึงได้ หรือข้าวต้มที่ชนทั้งหลายนำบาตรของภิกษุเหล่าใดมา
จากอาสนศาลาแล้วนำไปถวาย, หรือข้าวต้มอันพระเถระทั้งหลายส่งไป เพื่อ
ภิกษุเหล่าใด ย่อมไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่านั้น. แต่ถ้าว่าภิกษุแม้เหล่าอื่น กับภิกษุที่
ได้รับนิมนต์มากันมาก นั่งเต็มทั้งภายในเรือนและนอกเรือน หากทายกกล่าว
อย่างนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จะเป็นผู้ได้รับนิมนต์ หรือไม่ได้รับนิมนต์
ก็ตาม ข้าวต้มข้าพเจ้าได้ถวายแล้ว แก่พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใด ผ้าเหล่านี้ จง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 372
เป็นของพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงเหล่านั้น ดังนี้ ย่อมถึงทั่วกัน. ฝ่ายภิกษุเหล่าใด
ได้ข้าวต้ม จากมือพระเถระ ย่อมไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่านั้น. ถ้าเขากล่าวว่า พระ-
ผู้เป็นเจ้าเหล่าใดฉันข้าวต้มของข้าพเจ้า ผ้าเหล่านี้ จงเป็นของพระผู้เป็นเจ้า
เหล่านั้นจนทั่วกัน ดังนี้ ย่อมถึงทั่วกัน. แม้ในข้าวสวยและของควรเคี้ยว ก็
นัยนั้น แล.
บทว่า จีวเร วา มีความว่า ถ้าทายกผู้เคยถวายจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย
ซึ่งตนนิมนต์ให้จำพรรษาแม้ในกาลก่อน ให้ภิกษุฉันแล้วกล่าวว่า ในกาลก่อน
ข้าพเจ้าได้ถวายจีวรแก่พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใด จีวรนี้ก็ดี เนยใส น้ำผึ้งและน้ำ
อ้อยเป็นต้นก็ดี จงเป็นของพระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นแล ทุกอย่างย่อมถึงแก่ภิกษุ
เหล่านั้น เท่านั้น.
บทว่า เสนาสเน วา มีความว่า เมื่อเขากล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าใด
อยู่ในที่อยู่หรือในบริเวณที่ข้าพเจ้าสร้าง ผ้านี้จงเป็นของพระผู้เป็นเจ้านั้น ย่อม
เป็นของภิกษุนั้นเท่านั้น.
บทว่า เภสชฺเช วา มีความว่า เมื่อเขากล่าวว่า พวกข้าพเจ้าถวาย
เภสัชมีเนยใสเป็นต้น แก่พระเถระทั้งหลายทุกเวลา เภสัชเหล่านั้น อันพระ
เถระเหล่าใดได้แล้ว; ผ้านี้จงเป็นของพระเถระเหล่านั้นเท่านั้น ดังนี้, ย่อมเป็น
ของพระเถระเหล่านั้นเท่านั้น.
ถวายแก่บุคคล
ข้อว่า ถวายแก่บุคคล มีความว่า เขาถวายลับหลังอย่างนี้ว่าข้าพเจ้า
ถวายจีวรนี้แก่ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ หรือวางไว้แทบบาทมูลถวายต่อหน้าอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถวายจีวรนี้ แก่ท่านดังนี้ก็ดี. ก็ถ้าว่าเขากล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าถวายจีวรนี้แก่ท่านด้วย แก่อันเตวาสิกทั้งหลายของท่านด้วย ดังนี้.
ย่อมถึงแก่พระเถระและเหล่าอันเตวาสิก. ภิกษุมาเพื่อเรียนอุทเทส และผู้เรียน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 373
แล้วจะไปมีอยู่, ย่อมถึงแม้แก่เธอ. เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุทั้ง
หลายผู้เที่ยวอยู่เป็นนิตย์กับท่าน ย่อมถึงแก่อุทเทสันเตวาสิกทั้งปวง ผู้กระทำ
วัตรเรียนอุทเทสและปริปุจฉาเป็นต้นเที่ยวไปอยู่. นี้เป็นวินิจฉัยในบทนี้ว่า
ถวายแก่บุคคล. คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
อรรถกถาจีวรขันธกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 374
จัมเปยยขันธกะ
เรื่องพระกัสสปโคตร
[๑๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ริมฝั่งสระ
โบกขรณีชื่อคัคครา เขตจัมปานคร ครั้งนั้น บ้านวาสภคามตั้งอยู่ในกาสี
ชนบท พระชื่อกัสสปโคตรเป็นเจ้าอาวาส ในวาสภคามนั้นฝักใฝ่ในการก่อสร้าง
ถึงความขวนขวายว่า ทำไฉน ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา พึงมา ที่มาแล้ว
พึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้พึงถึงความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ สมัยต่อมา
ภิกษุหลายรูป เที่ยวจาริกในกาสีชนบท ได้ไปถึงวาสภคาม พระกัสสปโคตร
ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงปูอาสนะ ดังน้ำล้างเท้า ตั่ง
รองเท้า กระเบื้องเช็คเท้า ลุกไปรับบาตรจีวร นิมนต์ให้ฉันน้ำ ได้จัดแจง
การสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร พระอาคันตุกะ
เหล่านั้น จงได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอาวาสรูปนี้ดีมาก
ได้จัดแจการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ผิฉะนั้น
พวกเราจงพักอยู่ในวาสภคามนี้แหล่ะ ครั้นแล้วได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นนั่นเอง
พระกัสสปโคตรจึงได้มีความปริวิตกว่า ความลำบากโดยฐานเป็นอาคันตุกะ
ของพระอาคันตุกะเหล่านี้ สงบหายแล้ว พระอาคันตุกะที่ไม่ชำนาญในที่โคจร
เหล่านี้ บัดนี้ชำนาญในที่โคจรแล้ว อันการทำความขวนขวายในสกุลคนอื่น
จนตลอดชีวิต ทำได้ยากมาก และการขอก็ไม่เป็นที่พอใจของคนทั้งหลาย ถ้า
กระไรเราพึงเลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ดังนี้แล้ว
ได้เลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 375
พระอาคันตุกะเหล่านั้นจึงได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อ
ก่อนแล พระเจ้าอาวาสรูปนี้ จัดแจงการสรงน้ำ จัดแจงกระทั่งยาคู ของควร
เคี้ยว ภัตตาหาร บัดนี้เธอเลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว
ภัตตาหาร อาวุโสทั้งหลาย เดี๋ยวนี้พระเจ้าอาวาสรูปนี้ชั่วเสียแล้ว ผิฉะนั้น
พวกเราจงยกพระเจ้าอาวาสนี้เสีย ต่อมาพระอาคันตุกะเหล่านั้นประชุมกันแล้ว
ได้กล่าวคำนี้ต่อพระกัสสปโคตรว่า อาวุโส เมื่อก่อนแล ท่านได้จัดแจงการ
สรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร บัดนี้ ท่านนั้นเลิกจัด
แจงยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหารเสียแล้ว ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็น
อาบัตินั้นไหม
พระกัสสปโคตรกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น
พระอาคันตุกะเหล่านั้น จึงได้ยกพระกัสสปโคตรเสียฐานไม่เห็นอาบัติ
ทันที พระกัสสปโคตรจึงได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เราไม่รู้ข้อนั้นว่า นั่นอาบัติ
หรือมิใช่อาบัติ เราต้องอาบัติแล้วหรือไม่ต้อง ถูกยกเสียแล้วหรือไม่ถูกยกเสีย
โดยธรรมหรือไม่เป็นธรรม กำเริบหรือไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะหรือไม่ควร
แก่ฐานะ ถ้ากระไรเราพึงไปจัมปานครแล้วทูลถามเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ครั้นแล้วเก็บเสนาสนะถือบาตรจีวรเดินทางไปจัมปานคร บทจรไป
โดยลำดับถึงจัมปานครเข้าไปในพระพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พุทธประเพณี
ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอา-
คันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 376
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสปฏิสันถารต่อพระกัสสปโคตรว่า
ภิกษุเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ เธอเดินทางมามี
ความลำบากน้อยหรือ และเธอมาจากไหน ?
พระกัสสปโคตรกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนอยู่ได้ ยังพอให้
อัตภาพเป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า และข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาไม่สู้ลำบาก
พระพุทธเจ้าข้า วาสภคามตั้งอยู่ในกาสีชนบท ข้าพระพุทธเจ้าเป็นเจ้าอาวาส
ในวาสภคามนั้น ฝักใฝ่ในการก่อสร้าง ถึงความขวนขวายว่า ทำไฉน ภิกษุ
ผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา พึงมา ที่มาแล้วพึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้พึง
ถึงความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์
ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเที่ยวจาริกในกาสีชนบทได้ไปถึงวาสภคาม
ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังมาแต่ไกลเทียว จึงปูอาสนะตั้งน้ำล้าง
เท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ได้ลุกไปรับบาตรจีวร นิมนต์ให้ฉันน้ำ
ได้จัดแจงการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร พระอา-
คันตุกะเหล่านั้นจึงได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอาวาสรูปนี้ดีมาก
ได้จัดแจงการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคูของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ผิฉะนั้น
พวกเราจงพักอยู่ในวาสภคามนี้แหละ. ครั้นแล้วได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นนั่นเอง
ข้าพระพุทธเจ้านั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า ความลำบากโดยฐานะเป็นอาคันตุกะ
ของพระอาคันตุกะเหล่านี้ สงบหายแล้ว ท่านพระอาคันคุกะที่ไม่ชำนาญในที่
โคจรเหล่านี้ บัดนี้เป็นผู้ชำนาญในที่โคจรแล้ว อันการทำความขวนขวายใน
สกุลคนอื่นจนตลอดชีวิต ทำได้ยากมาก และการขอก็ไม่เป็นที่พอใจของคน
ทั่งหาย ถ้ากระไร เราพึงเลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร
ข้าพระพุทธเจ้านั้นได้เลิกทำความขวนขวายในยาคูของควรเคี้ยว ภัตตาหารแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 377
พระอาคันตุกะเหล่านั้น จึงได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อ
ก่อนแลพระเจ้าอาวาสรูปนี้จัดแจงการสรงน้ำ จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว
ภัตตาหาร บัดนี้ เธอเลิกจัดแจงยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร อาวุโสทั้ง
หลาย เดี๋ยวนี้พระเจ้าอาวาสรูปนี้ชั่วเสียแล้ว ผิฉะนั้น พวกเราจงยกพระเจ้า
อาวาสรูปนี้เสีย ต่อมาจึงประชุมกัน ได้กล่าวคำนี้กะข้าพระพุทธเจ้าว่า เมื่อ
ก่อนแล ท่านได้จัดแจงการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว
ภัตตาหาร บัดนี้ ท่านนั้นเลิกจัดแจงยาคู องควรเคี้ยว ภัตตาหารเสียแล้ว
อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้น ไหม ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า
อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น พระอาคันตุกะเหล่านั้น จึงยกข้าพระ-
พุทธเจ้าเสียฐานไม่เห็นอาบัติทันที ข้าพระพุทธเจ้าได้มีความปริวิตกว่า เราไม่
รู้ข้อนั้นว่า นั่นอาบัติ หรือมิใช่อาบัติ เราต้องอาบัติแล้วหรือไม่ต้อง ถูกยก
เสียแล้วหรือไม่ถูกยก โดยธรรมหรือไม่เป็นธรรม กำเริบหรือไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะหรือไม่ควรแก่ฐานะ ถ้ากระไร เราพึงไปจัมปานคร แล้วทูลถาม
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้ามาจากวาสภคามนั้น พระพุทธ-
เจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุ นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหา
มิได้ เธอไม่ต้องอาบัติ เธอต้องอาบัติหามิได้ เธอไม่ถูกยกเสีย เธอถูกยกเสีย
หามิได้ เธอถูกยกเสียโดยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ไปเกิด
ภิกษุ เธอจงอาศัยอยู่ในวาสภคามนั้นแหละ.
พระกัสสปโคตรทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้นพระพุทธ-
เจ้าข้า แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว
กลับไปวาสภคาม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 378
ครั้งนั้น ความรำคาญ ความเดือนร้อน ได้มีแก่พระอาคันตุกะเหล่า
นั้น ว่า มิใช่ลาภของพวกเราหนอ ลาภของพวกเราไม่มีหนอ พวกเราได้ชั่ว
แล้วหนอ พวกเราไม่ได้ดีแล้วหนอ เพราะพวกเรายกภิกษุผู้บริสุทธิ์หาอาบัติ
มิได้เสีย เพราะเรื่องไม่ควร เพราะเหตุไม่ควร อาวุโสทั้งหลาย ผิฉะนั้น
พวกเราจงไปจัมปานครแล้วแสดงโทษที่ล่วงเกิน โดยความเป็นโทษล่วงเกิน
ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อมาพระอาคันตุกะเหล่านั้น เก็บงำเสนาสนะ
ถือบาตรจีวรเดินไปทางจัมปานครบทจรไปโดยลำดับ ถึงจัมปานคร เข้าไปใน
พระพุทธสำนักถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พุทธประเพณี
ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอา-
คันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสปฏิสันถารแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ พวก
เธอเดินทางมามีความลำบากน้อยหรือ และพวกเธอมาแต่ไหน ?
อา. พวกข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้ พระ
พุทธเจ้าข้า และพวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาไม่สู้ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า
วาสภคามตั้งอยู่ในกาสีชนบท พวกข้าพระพุทธเจ้ามาแต่วาสภคามนั้น พระ
พุทธเจ้าข้า.
ภ. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอใช่ไหมที่ยกภิกษุเจ้าอาวาสเสีย ?
อา. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยกภิกษุเจ้าอาวาสเสีย เพราะเรื่องอะไร
เพราะเหตุอะไร ?
อา. เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 379
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติห้าม
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ
พวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่สมควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่
ควรทำ ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนพวกเธอจึงได้ยกภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติเสีย
เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควรเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . . ครั้น แล้วทรงทำ
ธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่บริสุทธิ์ไม่มี
อาบัติ อันภิกษุไม่พึงยกเสีย เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไรสมควร รูป
ใดยกเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ทันใดภิกษุเหล่านั้นลุกจากที่นั่ง ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าซบเศียรลงที่
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า พระพุทธเจ้าข้า โทษที่ล่วงเกินได้ล่วงพวกข้าพระพุทธเจ้าผู้เขลา ผู้หลง
ไม่ฉลาด เพราะพวกข้าพระพุทธเจ้าได้ยกโทษภิกษุที่บริสุทธิ์ หาอาบัติมิได้เสีย
เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระ-
กรุณารับโทษที่ล่วงเกินของข้าพระพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยความเป็นโทษล่วงเกิน
เพื่อความสำรวมต่อไป พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เอาเถิด โทษที่ล่วง
เกินได้ล่วงพวกเธอผู้เขลา ผู้หลง ไม่ฉลาด เพราะพวกเธอได้ยกภิกษุที่บริสุทธิ์
หาอาบัติมิได้เสีย เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร แต่เพราะพวก
เธอเห็นโทษล่วงเกิน โดยความเป็นโทษล่วงเกิน แล้วทำคืนตามธรรม เรา
รับโทษนั้นของพวกเธอละ แท้จริง ข้อที่ภิกษุเห็นโทษล่วงเกิน โดยความ
เป็นโทษล่วงเกิน แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นั่นเป็นความ
เจริญในอารยะวินัย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 380
อุกเขปนียกรรม
[๑๗๕] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายในเมืองจัมปา ทำกรรมเห็นปานนี้
คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม
ทำกรรมเป็นวรรคโดยธรรม ทำกรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ทำกรรม
พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง รูป
เดียวยกภิกษุ ๒ รูปเสียบ้าง รูปเดียวยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง รูปเดียวยกสงฆ์
เสียบ้าง ๒ รูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ๒ รูปยกภิกษุ ๒ รูปเสียบ้าง ๒
รูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ๒ รูปยกสงฆ์เสียบ้าง หลายรูปยกภิกษุรูปเดียว
เสียบ้าง หลายรูปยกภิกษุ ๒ รูปเสียบ้าง หลายรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง
หลายรูปยกสงฆ์เสียบ้าง สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มัก
น้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายในเมืองจัมปา
จึงได้กระทำกรรมเห็นปานนี้เล่า คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม . . .
สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายในเมืองจัมปาทำกรรมเห็นปานนี้ คือทำกรรมเป็นวรรคโดย
ไม่เป็นธรรม สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน. . . ครั้นแล้ว ทรงธรรมีกถารับสั่ง
ก็ภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-
กรรมที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้
[๑๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรมใช้ไม่ได้
และไม่ควรทำ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 381
ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุ ๒ รูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ภิกษุรูปเดียวยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ภิกษุ ๒ รูปกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ. .
ภิกษุ ๒ รูปยกภิกษุ ๒ รูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ภิกษุ ๒ รูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ภิกษุ ๒ รูปยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ภิกษุหลายรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ภิกษุหลายรูปยกภิกษุ ๒ รูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ภิกษุหลายรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ภิกษุหลายรูปยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
กรรม ๔ ประเภท
[๑๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมนี้มี ๔ ประเภท คือกรรมเป็น
วรรคโดยไม่เป็นธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ๑ กรรมเป็น
วรรคโดยธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 382
อธิบายกรรม ๔ ประเภท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่เป็นวรรคโดย
ไม่เป็นธรรมนี้ ชื่อว่ากำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะไม่เป็นธรรม เพราะ
เป็นวรรค กรรมเห็นปานนี้ ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียง
โดยไม่เป็นธรรมนี้ ชื่อว่ากำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะไม่เป็นธรรม กรรม
เห็นปานนี้ ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่เป็นวรรคโดย
ธรรมนี้ ชื่อว่ากำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะเป็นวรรค กรรมเห็นปานนี้ ไม่
ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียง
โดยธรรมนี้ ชื่อว่าไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ เพราะเป็นธรรม เพราะพร้อม
เพรียง กรรมเห็นปานนี้ควรทำ และเราก่อนุญาต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังกล่าวนั้นแล พวกเธอพึงสำเหนียก
อย่างนี้แหละว่า พวกเราจักทำกรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรม.
พระฉัพพัคคีย์ทำกรรมหลายอย่าง
[๑๗๘] โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำ
กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ทำ
กรรมเป็นวรรคโดยธรรม ทำกรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ทำกรรมพร้อม
เพรียงโดยเทียมธรรม ทำกรรมบกพร่องด้วยญัตติแต่สมบูรณ์ด้วยอนุสาวนา
บ้าง ทำกรรมบกพร่องด้วยอนุสาวนาแต่สมบูรณ์ด้วยญัตติบ้าง ทำกรรมบกพร่อง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 383
ทั้งญัตติบกพร่องทั้งอนุสาวนาบ้าง ทำกรรมเว้นจากกรรมบ้าง ทำกรรมเว้น
จากวินัยบ้าง ทำกรรมเว้นจากสัตถุศาสน์บ้าง ทำกรรมที่ถูกด้านแล้วและขืน
ทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะบ้าง.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่
เป็นธรรม. . . ทำกรรมที่ถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควร
แก่ฐานะบ้างเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็น
ธรรม. . .ทำกรรมที่ถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควร
แก่ฐานะบ้างจริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน. . .ครั้นแล้ ทรงทำธรรมีกถารับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่าดังนี้:-
กรรมที่ใช้ไม่ได้
[๑๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม
ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 384
ถ้ากรรมบกพร่องด้วยญัตติ สนบูรณ์ด้วยอนุสาวนา ใช้ไม่ได้ และ
ไม่ควรทำ.
ถ้ากรรมบกพร่องด้วยอนุสาวนา สมบูรณ์ด้วยญัตติ ใช้ไม่ได้ และไม่
ควรทำ.
ถ้ากรรมบกพร่องทั้งญัตติ บกพร่องทั้งอนุสาวนา ใช้ไม่ได้ และไม่
ควรทำ.
กรรมแม้แผกจากธรรม ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
กรรมแม้แผกจากวินัย ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
กรรมแม้แผกจากสัตถุศาสน์ ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ถ้ากรรมที่ถูกคัดค้านแล้ว และขืนทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควร
แก่ฐานะ ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
กรรม ๖ ประเภท
[๑๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมนี้มี ๖ ประเภทคือ กรรมไม่เป็น
ธรรม ๑ กรรมเป็นวรรค ๑ กรรมพร้อมเพรียง ๑ กรรมเป็นวรรคโดยเทียม
ธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม ๑.
อธิบายกรรมไม่เป็นธรรม
[๑๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกรรมไม่เป็นธรรม เป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติอย่าง
เดียว และไม่สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยญัตติ ๒ ครั้ง และไม่สวด
กรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 385
ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาอย่างเดียว และ
ไม่ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจา ๒ ครั้ง และ
ไม่ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติอย่างเดียว และไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติ ๒ ครั้ง ด้วยตั้ง
ญัตติ ๓ ครั้ง ด้วยตั้งญัตติ ๔ ครั้ง และไม่สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่
เป็นธรรม.
ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาอย่างเดียว
และไม่ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจา ๒ ครั้ง ด้วย
สวดกรรมวาจา ๓ ครั้ง ด้วยสวดกรรมวาจา ครั้ง และไม่ตั้งญัตติ ชื่อว่า
กรรมไม่เป็นธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อธิบายกรรมเป็นวรรค
[๑๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมเป็นวรรค เป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่
พร้อมหน้ากันคัดค้าน ซึ่งว่ากรรมเป็นวรรค.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 386
ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น
มาประชุม แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้าหน้าคัดค้าน
ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค.
ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น
มาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อ
ว่ากรรมเป็นวรรค.
ในญัตติจตุตถกรรม ภิกษุเข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น ไม่
มาประชุม ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน
ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค
ในญัตติจตุตถกรรมถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น
มาประชุม แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุที่ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน
ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค.
ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น
มาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน
ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมเป็นวรรค.
อธิบายกรรมพร้อมเพรียง
[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียง เป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าใด ภิกษุเหล่านั้น มาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อม
หน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 387
ในญัตติจตุตถกรรม ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น
มาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่า
กรรมพร้อมเพรียง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียง.
อธิบายกรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม
[๑๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งกรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม
เป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน
ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม
ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็น
วรรคโดยเทียมธรรม.
ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุ
ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุ
ผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากัน คัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม.
ในญัตติทุติยกรรมถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุ
ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควร
ฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม
ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุ
ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควร
ฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม.
ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง
ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม ไม่นำฉันทะของ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 388
ภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียม
ธรรม.
ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุ
ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควร
ฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม.
อธิบายกรรนพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม
[๑๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม
เป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน
ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น มาประชุม นำ
ฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อม
เพรียงโดยเทียมธรรม.
ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุ
ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควร
ฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม
อธิบายกรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม
[๑๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรมเป็น
ไฉน ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 389
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุตั้งญัตติก่อน ทำ
กรรมด้วยสวดกรรมวาจาหนเดียวภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุ
เหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่
คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุตั้งญัตติก่อน ทำ
กรรมด้วยสวดกรรมวาจา ๓ ครั้งภายหลัง ภิกษุเข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุ
เหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่
คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม.
สงฆ์ ๕ ประเภท
[๑๘๗] สงฆ์มี ๕ คือ ภิกษุสงฆ์จตุวรรค ๑. ภิกษุสงฆ์ปัญจวรรค
๑ ภิกษุสงฆ์ทสวรรค ๑. ภิกษุสงฆ์วีสติวรรค ๑ . และภิกษุสงฆ์อติเรกวีสติวรรค ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุสงฆ์เหล่านั้น ภิกษุสงฆ์จตุวรรคพร้อม
เพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง เว้นกรรม ๓ อย่าง คือ
อุปสมบท ปวารณา อัพภาน.
ภิกษุสงฆ์ปัญจวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรม
ทุกอย่าง เว้น กรรม ๒ อย่าง คือ อุปสมบทในมัชฌิมชนบท และอัพภาน.
ภิกษุสงฆ์ทสวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรม
ทุกอย่าง เว้นอัพภานกรรมอย่างเดียว.
ภิกษุสงฆ์วีสติวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรม
ทุกอย่าง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 390
ภิกษุสงฆ์อดิเรกวีสติวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้
ในกรรมทุกอย่าง.
กรรมที่สงฆ์จตุวรรคทำ
[๑๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์จตุวรรคจะทำ สงฆ์
มีภิกษุณีเป็นที่ ๔ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ถ้ากรรมที่สงฆ์จตุวรรคจะทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๔. . .มีสามเณร
เป็นที่ ๔. . . มีสามเณรีเป็นที่ ๔. . . มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาเป็นที่ ๔. . . มีภิกษุ
ผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๔ . . . มีภิกษุถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติเป็นที่ ๔. . .
มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๔. . . มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย
ฐานไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๔. . . มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๔. . . มีภิกษุลักเพศเป็น
ที่ ๔ . . . มีภิกษุผู้เข้ารีดเดียรถีย์เป็นที่ ๔ . . . มีสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ ๔. . . มี
ภิกษุผู้ทำมาตุฆาตเป็นที่ ๔. . . มีภิกษุผู้ทำปิตุฆาตเป็นที่ ๔. . . มีภิกษุผู้ทำ
อรหันตฆาตเป็นที่ ๔ . . . มีภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๔. . . มีภิกษุผู้ทำ
สังฆเภทเป็นที่ ๔ . . .มีภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาทเป็นที่ ๔. . . มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่
๔ . . . มีภิกษุนานาสังวาสเป็นที่ ๔. . . มีภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกันเป็นที่ ๔ . . .
มีภิกษุอยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๔ . . . สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด มีผู้นั้นเป็นที่.
ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
กรรมที่สงฆ์จตุวรรคทำ จบ
กรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำ
[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำ สงฆ์มี
ภิกษุณีเป็นที่ ๕ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 391
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็น
ที่ ๕ . . . มีสามเณรเป็นที่ ๕. . . มีสามเณรีเป็นที่ ๕. . . มีภิกษุผู้บอกลาสิกขา
เป็นที่ ๕. . .มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๕. . .มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่
เห็นอาบัติเป็นที่ ๕. . . มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๕ . . .
มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๕ . . .มีบัณเฑาะก์เป็นที ๕. . .
มีภิกษุลักเพศเป็นที่ ๕. . . มีภิกษุผู้เข้ารีดเดียรถีย์เป็นที่ ๕. . . มีสัตว์ดิรัจฉาน
เป็นที่ ๕. . . มีภิกษุผู้ทำมาตุฆาตเป็นที ๕ . . . . มีภิกษุผู้ทำปิตุฆาตเป็นที่ ๕ . . .
มีภิกษุผู้ทำอรหันตฆาเป็นที่ ๕. . . มีภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๕. . . มี
ภิกษุผู้ทำสังฆเภทเป็นที่ ๕. . . มีภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาทเป็นที่ ๕ . . . มีอุภโต
พยัญชนกเป็นที่ ๕. . . มีภิกษุนานาสังวาสเป็นที่ ๕. . . มีภิกษุอยู่ในสีมาต่างกัน
เป็นที่ ๕. . . มีภิกษุผู้อยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๕. . . สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด
มีผู้นั้นเป็นที่ ๕ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
กรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำ จบ
กรรมที่สงฆ์ทสวรรคทำ
[๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ทสวรรคทำ สงฆ์มี
ภิกษุณีเป็นที่ ๑๐ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ทสวรรคทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็น
ที่ ๑๐.. ..มีสามเณรเป็นที ๑๐. . มีสามเณรีเป็นที่ ๑๐ . . . มีภิกษุผู้บอกลาสิกขา
เป็นที่ ๑๐ . . . มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๑๐ . . . มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย
ฐานไม่เห็นอาบัติเป็นที่ ๑๐. . . มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติเป็น
ที่ ๑๐. . . มีภิกษุผู้ถกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฎฐิบาปเป็นที่ ๑. . . . มีบัณเฑาะก์
เป็นที่ ๑๐. . . มีภิกษุลักเพศเป็นที่ ๑๐ มีภิกษุผู้เข้ารีดเดียรถีย์เป็นที่ ๑๐.. . .มี
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 392
สัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ ๑๐. . . มีภิกษุผู้ทำมาตุฆาตเป็นที่ ๑๐. . . มีภิกษุผู้ทำ
ปิตุฆาตเป็นที่ ๑๐. . . มีภิกษุผู้ทำอรหันตฆาตเป็นที่ ๑๐. . . มีภิกษุผู้ประทุษร้าย
ภิกษุณีเป็นที่ ๑๐ . . . มีภิกษุผู้ทำสังฆเภทเป็นที่ ๑๐ . . . มีภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาท
เป็นที่ ๑๐ . . . มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๑๐. . . มีภิกษุนานาสังวาสเป็นที่ ๑๐. . .
มีภิกษุอยู่ในสีมาต่างกันเป็นที่ ๑๐ . .. มีภิกษุผู้อยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๑๐
. . . สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด มีผู้นั้น เป็นที่ ๑๐ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และ
ไม่ควรทำ.
กรรมที่สงฆ์ทสวรรคทำ จบ
กรรมที่สงฆ์วีสติวรรคทำ
[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์วีสติวรรคทำ สงฆ์มี
ภิกษุณี เป็นที่ ๒๐ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์วีสติวรรคทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็น
ที่ ๒๐. . . มีสามเณรเป็นที่ ๒๐ . . . มีสามเณรีเป็นที่ ๒๐ . . . มีภิกษุผู้บอก
ลาสิกขาเป็นที่ ๒๐. . . มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๒๐. . . มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์
ยกเสียฐานไม่เห็นยาบัติเป็นที่ ๑๐ . . . มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ
เป็นที่ ๒๐. . . มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๒๐... มี
บัณเฑาะก์เป็นที่ ๒๐. . . มีภิกษุลักเพศเป็นที่ ๒๐. . . มีภิกษุผู้เข้ารีดเดียรถีย์
เป็นที่ ๒๐. . . มีสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ ๒๐. . . มีภิกษุผู้ทำมาตุฆาตเป็นที่ ๒๐. . .
มีภิกษุผู้ทำปิตุฆาตเป็นที่ ๒๐ . . . มีภิกษุผู้ทำอรหันตฆาตเป็นที่ ๒๐. . . มี
ภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๒๐. . . มีภิกษุผู้ทำสังฆเภทเป็นที่ ๒๐ . . . มี
ภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาทเป็นที่ ๒๐. . . มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๒๐. . . มีภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 393
นานาสังวาสเป็นที่ ๒๐. . . มีภิกษุอยู่ในสีมาต่างกันเป็นที่ ๒๐. . .[๑] สงฆ์ทำ
กรรมแก่ผู้ใด ผู้นั้นเป็นที่ ๒๐ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
กรรมที่สงฆ์วิสติวรรคทำ จบ
กรรมที่สงฆ์จตุวรรคเป็นต้นทำ
[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ พึง
ให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นเป็นที่
๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเป็นที่ ๔
พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติ
เดิมนั้นเป็นที่ ๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรมานัตเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส
พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้ควรมานัตนั้นเป็นที่ ๒๐ พึง
อัพภาน กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นที่๔ พึงให้
ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นที่ ๒๐
พึงอัพภาน กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส
พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้ควรอัพภานนั้นเป็นที่ ๒๐ พึง
อัพภาน กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
๑. โบราณ,พม่า เพิ่มมีภิกษุผู้อยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๒๐.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 394
ปฏิโกสนา ๒ อย่าง
[๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ขึ้น
บางคนคัดค้านไม่ขึ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครเล่าค้านในท่ามกลางสงฆ์ไม่ขึ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี คัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ไม่ขึ้น.
สิกขมานา. . .
สามเณร. . .
สามเณรี. . .
ภิกษุผู้บอกลาสิกขา . . .
ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ. . .
ภิกษุวิกลจริต. . .
ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน. . .
ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา . . .
ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ . . .
ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ . . .
ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฏฐิบาป. . .
บัณเฑาะก์. . .
ภิกษุลักเพศ . . .
ภิกษุเข้ารีดเดียรถีย์. . .
สัตว์ดิรัจฉาน. . .
ภิกษุผู้ฆ่ามารดา. . .
ภิกษุผู้ฆ่าบิดา. . .
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 395
ภิกษุผู้ฆ่าพระอรหันต์. . .
ภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณี. . .
ภิกษุผู้ทำสังฆเภท. . .
ภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาท. . .
อุภโตพยัญชนก. . .
ภิกษุนานาสังวาส. . .
ภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกัน. . .
ภิกษุผู้อยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์ . . .
สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด ผู้นั้นคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ไม่ขึ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้แล คัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ไม่ขึ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครเล่าคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ขึ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุปกตัตตะมีลังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน.
โดยที่สุดแม้ภิกษุผู้นั่งอยู่บนอาสนะติดกันบอกให้รู้ คัดค้านในท่าม
กลางสงฆ์ขึ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล คัดด้านในท่ามกลางสงฆ์ขึ้น.
นิสสรณา ๒ อย่าง
[๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสสรณาการขับออกนี้มี ๒ อย่าง คือ
มีบุคคลที่ยังไม่ถึงการขับออก ถ้าสงฆ์ขับเธอออก บางคนเป็นอันสงฆ์ขับออก
ดีแล้ว บางคนเป็นอันสงฆ์ขับออกไม่ดี.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลชนิดไรที่ยังไม่ถึงการขับออก ถ้า
สงฆ์ขับเธอออก เป็นอันขับออกไม่ดี.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 396
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ
ถ้าสงฆ์ขับเธอออก เป็นอันขับออกไม่ดี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่ายังไม่ถึงการขับออก ถ้าสงฆ์
ขับเธอออกเป็นอันขับออกไม่ดี.
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลชนิดไรที่ยังไม่ถึงการขับออก ถ้า
สงฆ์ขับเธอออก เป็นอันขับออกดีแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพาล ไม่ฉลาด มี
อาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลี
อันไม่สมควร ถ้าสงฆ์ขับเธอออก เป็นอันขับออกดีแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่ายังไม่ถึงการขับออก ถ้า
สงฆ์ขับเธอออก เป็นอันขับออกดีแล้ว.
โอสารณา ๒ อย่าง
[๑๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอสารณาการรับเข้าหมู่นี้มี ๒ อย่าง
คือมีบุคคลที่ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอเข้าหมู่ บางคนเป็นอันรับเข้าดี
บางคนเป็นอันรับเข้าไม่ดี.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลชนิดไรที่ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้า
สงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าไม่ดี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณเฑาะก์ยิ่งไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอ
เข้าหมู่เป็นอันรับ เข้าไม่ดี.
คนลักเพศ. . .
คนเข้ารีดเดียรถีย์ . . .
สัตว์ดิรัจฉาน. . .
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 397
คนผู้ฆ่ามารดา. . .
คนผู้ฆ่าบิดา. . .
คนผู้ฆ่าพระอรหันต์. . .
คนผู้ประทุษร้ายภิกษุณี
คนผู้ทำสังฆเภท. . .
คนผู้ทำโลหิตุปบาท. . .
อุภโตพยัญชนก ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็น
อันรับเข้าไม่ดี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่ายังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้า
สงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าไม่ดี.
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลชนิดไรที่ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่
ถ้าสงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนมือด้วน ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับ
เธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว.
คนเท้าด้วน. . .
คนทั้งมือและเท้าด้วน . . .
คนหูขาด . . .
คนจมูกแหว่ง . . .
คนทั้งหูขาดจมูกแหว่ง . . .
คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด. . .
คนมีง่ามมือง่ามเท้าขาด. . .
คนเอ็นขาด
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 398
คนมือเป็นแผ่น. . .
คนค่อม. . .
คนเตี้ย. . .
คนคอพอก...
คนมีเครื่องหมายติดตัว . . .
คนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย. . .
คนถูกประกาศให้จับ. . .
คนเท้าปุก. . .
คนมีโรคเรื้อรัง. . .
คนแปลกเพื่อน. . .
คนตาบอดข้างเดียว. . .
คนง่อย. . .
คนกระจอก. . .
คนเป็นโรคอัมพาต...
คนมีอิริยาบถขาด. . .
คนชราทุพพลภาพ . . .
คนตาบอดสองข้าง. ..
คนใบ้ . . .
คนหูหนวก. . .
คนทั้งบอดและใบ้. . .
คนทั้งบอดและหนวก. . .
คนทั้งใบ้และหนวก. . .
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 399
คนทั้งบอด ใบ้ และหนวกยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์ร้บเธอเข้าหมู่
เป็นอันรับ เข้าดีแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่ายังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้า
สงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว .
วาสภคามภาณวาร ที่ ๑ จบ
อุกเขปนียกรรมที่ไม่เป็นธรรม
[๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็น
อาบัติ สงฆ์หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้อง
อาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม ?
เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลายผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น สงฆ์ยกเธอเสีย
ฐานไม่เห็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืน
อาบัตินั้นเสียเธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะทำคืน สงฆ์
ยกเธอเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สละทิฏฐิลามก สงฆ์หรือภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามก
นั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยก
เธอเสียฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็นอาบัติ และไม่ทำคืนอาบัติ
สงฆ์หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 400
ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น เสียเธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น ไม่มีอาบัติที่จะทำคืน สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ
และฐานไม่ทำคืน ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็นอาบัติ และไม่สละทิฏฐิลามก
สงฆ์หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว
ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม ท่านมีทิฏฐิลามก จงละทิฏฐิลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้
ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น ไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอ
เสียฐานไม่เห็นอาบัติ และฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิ-
ลามก สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้อง
อาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้นเสีย
เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะทำคืน ไม่มีทิฏฐิลามกที่
จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่า
กรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ ไม่
สละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส
ท่าน ต้องอาบัติแล้วท่านเห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น เสีย ท่านมีทิฏฐิ-
ลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติ
ที่จะเห็น ไม่มีอาบัติที่จะทำคืน ไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่
เห็นอาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็น
ธรรม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 401
[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็น
อาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้อง
อาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม เธอกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผม
เห็นขอรับ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำคืนอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลาย
รูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัติ
นั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมจักทำคืนขอรับ สงฆ์ยกเธอ
เสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิ
ลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมจักสละ ขอรับ สงฆ์ยก
เธอเสียฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ และทำคืนอาบัติ . . .
เป็นผู้เห็นอาบัติ และสละทิฏฐิลามก . . .
เป็นผู้ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก . . .
เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็น
อาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้นเสีย
เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมเห็นขอรับ ผมจักทำคืนขอรับ ผมจัก
สละขอรับ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่
สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 402
อุกเขปนียกรรมที่เป็นธรรม
[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ
สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติ
แล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้น ไหม เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติ
ที่จะเห็น สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำคืนอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลาย
รูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัติ
นั้น เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะทำคืน สงฆ์ยกเธอ
เสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิ
ลามกนั้น เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์
ยกเธอเสียฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ . . .
เป็นผู้เห็นอาบัติ และสละทิฏฐิลามก . . .
เป็นผู้ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก. . .
เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือ ภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็น
อาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้น เธอ
พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น ไม่มีอาบัติที่จะทำคืน
ไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม่คืนอาบัติ
และฐานไม่สละคืนทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 403
พระอุบาลีทูลถามปัพพาชนียกรรมเป็นต้น
[๑๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลคำ
นี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้า แต่สงฆ์ผู้พร้อม
เพรียงกันกลับทำในที่ลับหลัง การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย
หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็น
ธรรมไม่เป็นวินัย.
อุ. สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ทำกรรมที่ควรสอบถาม แต่ทำโดยไม่สอบ
ถาม. . . ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยมิได้ปฏิญาณ. . . ให้อมูฬหวินัย
แก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย. . . ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย. . .
ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยกากรรม . . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรตัชชนียกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม. . . ทำ
ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม . . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรปฏิสารณียกรรม. . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม. . . ชักภิกษุ
ผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม. . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม. . .
อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต . . . ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน ให้อุปสมบทกุลบุตร การ
กระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า
ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้า แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับทำเสียในที่ลับหลัง
อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้
สงฆ์ย่อมมีโทษ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 404
อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำกรรมที่ควรสอบถาม แต่ทำโดยไม่
สอบถาม. . .ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยมิได้ปฏิญาณ . . . ให้อมูฬห-
วินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย . . . ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย
ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม . . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ควรตัชชนียกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม. . . ทำ
ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม. . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ควรปฏิสารณียกรรม. . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม. . . ชัก
ภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม. . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติ
เดิม . . . อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต . . . ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร
อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้
สงฆ์ย่อมมีโทษ.
[๒๐๐] อุ. กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ทำในที่พร้อมหน้า การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรมเป็นวินัยหรือหนอ
พระพุทธเจ้าข้า ?
ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย.
อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำกรรมที่ควรสอบถามแล้วทำโดยการ
สอบถาม . . . ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยการปฏิญาณ . . . ให้สติวินัย
แก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย. . . ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย. . . ทำ
ตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม . . . ทำตัชชนียกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม . . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม . . . ทำ
ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม. . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ควรปฏิสารณียกรรม . . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม . . .
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 405
ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส. . . ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชักเข้าหา
อาบัติเดิม. . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต . . . อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน. . .
อุปสมบทกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย
หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?
ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย กรรม
ที่ควรทำในที่พร้อมหน้า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำในที่พร้อมหน้า อย่างนี้แล
อุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่
มีโทษ.
อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำกรรมที่ควรสอบถามแล้วทำโดยสอบ
ถาม. . . ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยการปฏิญาณ. . . ให้สติวินัยแก่
ภิกษุผู้ควรสติวินัย. . . ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย . . .ทำตัสสปาปิย-
สิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม. . . ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร
ตัชชนียกรรม . . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรม
แก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม . . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณีย
กรรม . . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม . . . ให้ปริวาสแก่
ภิกษุผู้ควรปริวาส . . . ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม. . .
ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต. . . อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน. . . อุปสมบท
กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย
และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.
[๒๐๑] อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬิหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติ
วินัย . . . ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ครองอมูฬหวินัย การกระทำนั้น ชื่อว่า กรรม
เป็นธรรม เป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 406
ภ. อุบายลี ถารกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย.
อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬห-
วินัย . . . ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกาธรรม . . . ทำตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม. . . ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุควร
ตัชชนียกรรม. . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม. . . ทำตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม . . .
ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม . . .ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรปัพพาชนียกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม . . .
ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ปฎิสารณียกรรม. . . ทำปฎิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรอุกเขปนียกรรม . . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม . . . ทำอุกเขป-
นียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส. . . ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติ . . . ให้
ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม . . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหา
อาบัติเดิม . . . ชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหาอาบัติเดิม . . . อัพภานภิกษุผู้ควร
มานัต . . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภาน. . . ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานให้อุปสม-
บทกุลบุตร. . . อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็น
ธรรม เป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?
ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย อุบาลี
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย . . . ให้สติวินัยแก่ภิกษุ
ผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรอมูฬห
วินัย. . .ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม . . . ทำตัชชนียกรรมแก่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 407
ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม. . . ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนีย
กรรม. . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม . . . ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ควรนิยสกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม. . . ทำนิยส-
กรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม. . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพา
ชนียกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม. . . ทำอุก-
เขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม . . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรอุกเขปนียกรรม . . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม. . . ทำอุก-
เขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส . . . ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติ . . .
ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม . . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชัก
เข้าหาอาบัติเดิม . . . ชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหาอาบัติเดิม . . . อัพภานภิกษุผู้
ควรมานัต . . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภาน. . . ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานอุป-
สมบทกุลบุตร. . . อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แลอุบาลีชื่อว่ากรรม
ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.
[๒๐๒] อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย
. . . ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็น
ธรรม เป็นวินัย หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?
ภ. อุบาลี การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย.
อุ สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย . . .
ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม . . . ทำตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม . . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม . . .
ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม. . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรปฎิสารณียกรรม. . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม
. . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส . . . ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชัก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 408
เข้าหาอาบัติเดิม. . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต. . . อัพภานภิกษุผู้ควร
อัพภาน. . . อุปสมบทกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้นชื่อว่ากรรม
เป็นธรรม เป็นวินัย หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?
ภ. อุบาลี การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย อุบาลี
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย . . . ให้อมูฬหวินัยแก่
ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย
และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย . . .
ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม . . . ทำตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม . . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม . . . ทำ
ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม . . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม . . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนีย
กรรม . . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส . . . ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้
ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม. . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต . . . อัพภานภิกษุผู้
ควรอัพภาน. . . อุปสมบทกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่า
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.
[๒๐๓] ครั้งนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย
อย่างนี้แลภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการ
กระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมม่โทษ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 409
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย . . .
ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย . . ท่านิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย . . .
ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย. . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร
สติวินัย. . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย . . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้
ควรสติวินัย. . . ชักภิกษุผู้ควรสติวินัยเข้าหาอาบัติเดิม . . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควร
สติวินัย . . . อัพภานภิกษุผู้ควรสติวินัย . . . ให้ภิกษุผู้ควรสติวินัยให้อุปสมบท
กุลบุตร อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬห-
วินัยอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการ
กระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย . . .
ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร
อมูฬหวินัย . . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย. . . ทำอุกเขปนีย-
กรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย. . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย. . .
ชักภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยเข้าหาอาบัติเดิม . . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย
. . . อัพภานภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย . . . ให้ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยให้อุปสมบท-
กุลบุตร. . . ใหัสติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลายชื่อ
ว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิย-
สิกากรรม . . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม . . . ทำปัพพา-
ชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม . . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 410
ควรตัสสปาปิยสิกากรรม . . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกา
กรรม. . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม. . . ให้สติวินัยแก่ภิกษุ
ผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม. . . ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรจตัสสปาปิยสิกากรรม
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระ
ทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม . . .
ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม . . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร
ปัพพาชนียกรรม. . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุควรปฏิสารณียกรรม. . . ให้
ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม . . . ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม
. . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม. . . อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต. . .
ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร. . . ให้สติวินัยแก่กุลบุตรผู้ควรอุป-
สมบท. . . ให้อมูฬหวินัยแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท. . . ทำตัสสปาปิยสิกากรรม
แก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท. . . ทำตัชชนียกรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท. . .
ทำนิยสกรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่กุลบุตรผู้ควร
อุปสมบท. . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท . . . ทำอุกเขปนีย-
กรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท. . . ให้ปริวาสแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท. . .
ชักกุลบุตรผู้ควรอุปสมบทเข้าหาอาบัติเติม. . . ให้มานัตแก่กุลบุตรผู้ควรอุป-
สมบท. . . อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า
กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ
อุบาลีปุจฉาภาณวาร ที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 411
ตัชชนียกรรม
[๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความ
บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ
รูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น
วรรคโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้น
สู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ไปปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนีย-
กรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกัน
โดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้น
สู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้นภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลง
ตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค
โดยธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาส
แม้อื่น แม้นอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโส
ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรค โดยธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ
พวกเราจะลงตัชชนีกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรมลง
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้
ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวก
เราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรมลง
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 412
[๒๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ
ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง
หลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ
ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็
ได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อม
เพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม
แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุ
รูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้นภิกษุทั้งหลายก็ได้
ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดย
ธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้ว
ได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไป
จากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็ได้ปรึกษาตก
ลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยเทียม
ธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้ว
ได้พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น
ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้นภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลง
กันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลายภิกษุรูปนี้แลถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยเทียม
ธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้ว
ได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 413
[๒๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ
ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง
หลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท
ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ
ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น
ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษา
ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยธรรม
ลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น
วรรคโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาส
นั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้
ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยเทียมธรรมลงตัชชนีย-
กรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียง
กันโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่
อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโส
ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรม
เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดย
ไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่
อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนีย-
กรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียง
กันโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น .
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 414
[๒๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ
ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน
สงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้
แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้น ไปจาก
อาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื้น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกัน
อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยเทียมธรรม
ลงตัชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้
พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไป
จากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้นภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลง
กันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยเทียม
ธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้ว
ได้เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่
อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนีย-
กรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียง
กันโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาส
นั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้นภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลง
ตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค
โดยธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 415
[๒๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ
ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน
สงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง
หลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท
ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ
ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็
ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียง
กันโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ
ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูป
นั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้นภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษา
ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่
เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้
แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุ
รูปนั้น ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้
ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียง
กันโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจงลงตัชชนียกรรมแก่เธอ
ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น
ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตก
ลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยธรรมลง
ตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค
โดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 416
นิยสกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมเป็นต้น
[๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เขลา ไม่
ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลี
อันไม่สมควร ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาท
ไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร เอาล่ะ พวก
เราจะลงนิยสกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงนิยสกรรม
แก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ก็ได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูก
สงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงนิยสกรรม เอาละ พวกเราจะลงนิยสกรรม
แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลงนิยสกรรมแก่ภิกษุรูป
นั้น. . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม. . . พร้อมเพรียง
กันโดยเทียมธรรม . . . พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.
ปัพพาชนียกรรม
[๒๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประทุษร้าย
ตระกูลมีมารยาทเลวทรามในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกัน
อย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ประทุษร้ายตระกูล มีมารยาท
เลวทราม เอาละพวกเราจะลงปัพพาชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค
โดยไม่เป็นธรรมลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้น
สู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงปัพพาชนีย-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 417
กรรม เอาละ พวกเราจะลงปัพพาชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียง
กันโดยไม่เป็นธรรมลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น. . . เป็นวรรคโดยธรรม
เป็นวรรคโดยเทียมธรรม . . . พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม. . . พึงแต่ง
จักรเหมือนหนหลัง.
ปฏิสารณียกรรม
[๒๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมด่า ย่อม
บริภาษพวกคฤหัสถ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ย่อมด่า ย่อมบริภาษพวกคฤหัสถ์ เอาละ พวก
เราจะลงปฏิสารณียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลง
ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม. . . เป็น
วรรคโดยธรรม . . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม . . . พร้อมเพรียงกัน โดยเทียม
ธรรม. . พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.
อุกเขปนียกรรม
[๒๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติและ
ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกัน อย่าง
นี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ
เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้
เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียถรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น
. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรค
โดยเทียมธรรม . . . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม. . . พึงแต่งจักรเหมือน
หนหลัง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 418
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว ไม่
ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่าง
นี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืน
อาบัติ เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่เธอ ดังนี้
แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุรูปนั้น. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม. . . เป็นวรรคโดยธรรม. . .
เป็นวรรคโดยเทียมธรรม. . . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม. . . พึงแต่งจักร
เหมือนหนหลัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ปรารถนาจะสละ
ทิฏฐิบาปในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง
หลาย ภิกษุรูปนี้แล ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะลงอุก-
เขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม
ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่
เป็นธรรม. . .เป็นวรรคโดยธรรม. . .เป็นวรรคโดยเทียมธรรม . . . พร้อมเพรียง
กันโดยเทียมธรรม. . . พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.
ขอระงับตัชชนียกรรม
[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง
ตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้
ขอระงับตัชชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้
ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดย
ชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 419
พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยเป็นธรรมระงับ
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้
ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
สงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนี้แล้ว เอาละ
พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยเป็นธรรม
ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น. . . เป็นวรรคโดยธรรม . . . เป็นวรรคโดย
เทียมธรรมะ. . . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนีย-
กรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับ
ตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโส
ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย
เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะ
ระงับตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ระงับ
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น . . . เป็นวรรคโดยธรรมะ. . . เป็นวรรคโดยเทียม
ธรรม. . . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม . . . เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนีย-
กรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับ
ตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโส
ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย
เย่อหยิ่ง พระพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาล่ะ พวกเราจะ
ระงับตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรมระงับตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุรูปนั้น. . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม . . . พร้อมเพรียงถันโดยเทียมธรรม
. . . เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม . . .
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 420
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม
แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับตัชชนีย-
กรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับ
ตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ระงับตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุรูปนั้น. . . จึงพร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม. . . เป็นวรรคโดยไม่เป็น
ธรรม. . . พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม. . . เป็นวรรคโดยธรรม . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนีย-
กรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ขอระงับตัชชนีย-
กรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว พระพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประ-
พฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับนียกรรม เอาละ พวกเราจะงับตัชชนีย-
กรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงก้นโดยเทียมธรรม ระงับตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุรูปนั้น . . . เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่
เป็นธรรม. . . เป็นวรรคโดยธรรม . . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม. . .
ขอระงับนิยสกรรม
[๒๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยส-
กรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับนิยส
กรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประ-
พฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับนิยสกรรม เอาละ พวกเราจะระงับนิยสกรรมแก่เธอ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 421
ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับนิสยกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น . . .
พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรคโดย
เทียมธรรม. . . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม. . . พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.
ขอระงับปัพพาชนียกรรม
[๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง
ปัพพาชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึง
ขอระงับปัพพาชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่าง
นี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว พระพฤติ
โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม
เอาละ พวกเราจะระงับปัพพาชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดย
ไม่เป็นธรรม ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่
เป็นธรรม. . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม . . . พร้อม
เพรียงกันโดยเทียมธรรม . . . พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง
ขอระงับปฏิสารณียกรรม
[๒๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสาร-
ณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ
ระงับปฏิสารณียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้
ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติ
โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม
เอาละ พวกเราจะระงับปฏิสารณียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่
เป็นธรรม ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น . . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 422
เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม . . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม . . . พร้อม
เพรียงกัน โดยเทียมธรรม. . . พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.
ขอระงับอุกเขปนียกรรม
[๒๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ในเรื่องนั้น
ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อ
หยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ เอา
ละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น
วรรคโดยธรรมระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น. . . พร้อม
เพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรคโดยเทียม
ธรรม. . . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม . . . พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย-
กรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเชปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เอาละ
พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น
วรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูป
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 423
นั้น. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม. . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็น
วรรคโดยเทียมธรรม. . . พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม. . . พึงแต่งจักร
เหมือนหนหลัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย-
กรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ จึงขอระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระรับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาป เอาละ
พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่เธอ ดังนี้ แล้ว
ได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิแก่ภิกษุรูป
นั้น . . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม . . . เป็น
วรรคโดยเทียมธรรม . . . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม. . . พึงแต่งจักร
เหมือนหนหลัง.
ตัชชนียกรรม
[๒๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความ
บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ
รูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้
เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่
ประชุมนั้นกล่าวดัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 424
กันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง
ทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่าง
นี้ว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่
เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่
ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
[๒๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ
ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่านี้ว่า อาวุโส
ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ
ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม
กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็น
วรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอัน
ทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา
ภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็น
ธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ
กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
[๒๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ
ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน
สงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 425
ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อ-
ฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้
แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่
ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อม.
เพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดย
เทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม
เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่
ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรคโดยธรรม และพวกที่กล่าว
อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
[๒๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ
ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อ-
ฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้
แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่
ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียง
กันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม
กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่
ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวก
ที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า
กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุ
ในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 426
[๒๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ
ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อถารวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน
ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ
รูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อม
เพรียงกันโดยเทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุม
นั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม
กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่
ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในทีประชุมนั้น
พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าว
อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
นิยสกรรม
[๒๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นคนเขลา
ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการ
คลุกคลีอันไม่สมควร ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาท
ไม่สมควรอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร เอาละ พวกเรา
จะลงนิยสกรรมแก่เธอ ดังนี้แล้ว เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงนิยสกรรมแก่
ภิกษุรูปนั้น. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม. . .
เป็นวรรคโดยเทียมธรรม. . . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม. . . สงฆ์ผู้อยู่ใน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 427
ที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรค
โดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ
กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุใน
ที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม
และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรม
ต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที ฯ ๕ วาระนี้
ท่านย่อไว้.
ปัพพาชนียกรรม
[๒๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมประทุษร้าย
สกุล มีความประพฤติเลวทราม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกัน
อย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติ
เลวทราม เอาละ พวกเราจะลงปัพพาชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค
โดยไม่เป็นธรรม ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น . . . พร้อมเพรียงกัน โดย
ไม่เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม. . .
พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม. . . สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า
กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรม
เป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดย
เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 428
กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สอง
พวกนี้เป็นธรรมวาที ฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
ปฏิสารณียกรรม
[๒๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมด่า ย่อม
บริภาษพวกคฤหัสถ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ย่อมด่า ย่อมบริภาษพวกคฤหัสถ์ เอาล่ะ พวก
เราจะลงปฏิสารณียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม. ลง
ปฎิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม . . .
เป็นวรรคโดยธรรม . . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม . . . พร้อมเพรียงกันโดย
เทียมธรรม. . . สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวดัดค้านว่ากรรมเป็นวรรคโดย
ไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม
กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม กรรม
ไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
เทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำ
ไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรม
วาที ฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
อุกเขปนียกรรม
[๒อ๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว
ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ เอาละ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 429
พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น
วรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น. . .
พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม. . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรคโดย
เทียมธรรม. . . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม. . . สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น
กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดย
ไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ
กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่
กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้
ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดา
ภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที ฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัย ต้องอาบัติแล้วไม่
ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ. . . เอาละ
พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่เรา ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค
โดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น . . .
พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม... เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรคโดยเทียม
ธรรม. . .พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม . . . สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าว
คัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็น
ธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 430
กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่
กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า
กรรมไม่เป็นอัน ทำกรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุใน
ที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที ฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ปรารถนาจะสละ
ทิฏฐิบาปในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุรูปนี้แล ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม
ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุก-
เขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็น
ธรรม... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม... พร้อมเพียงกัน
โดยเทียมธรรม... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวดัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค
โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดย
ธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม
กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียง
กันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็น
อันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็น
ธรรมวาที ฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
ขอระงับตัชชนียกรรม
[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง
ตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้วตัวได้ จึงขอ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 431
ระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ
หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแ ก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาล่ะ พวก
เราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับ
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวดัดค้านว่า กรรม
เป็นวรรคโดยไม่เป็นกรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น
วรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า
กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่ากรรมไม่เป็นอันทำ
กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สอง
พวกนี้เป็นธรรมวาที.
[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง
ตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ
ระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ
หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวก
เราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม
ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า
กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรม
เป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 432
ใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ ว่า
กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่
เป็นอันทำ กรรมไม่เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่
ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง-
ตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ
ระงับ ตัชชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ
หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวก
เราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรม ระงับ
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรม
เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น
เป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่ากรรม
เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ
กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้นสอง
พวกนี้เป็นธรรมวาที.
[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง-
ตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ
ระงับตัชชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 433
หายเย่อหยิ่ง พระพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวก
เราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ระงับ
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรม
เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น
วรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรม
เป็นวรรคโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม
เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้
เป็นธรรมวาที.
[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง-
ตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ
ระงับตัชชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ
หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวก
เราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงถันโดยเทียมธรรม
ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า
กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรม
เป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อองทำ
ใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้
กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็น
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 434
อันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุม
นั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที
ขอระงับนิยสกรรม
[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง-
นิยสกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง
หลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับนิยสกรรม เอาละ พวกเราจะระงับ
นิยสกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับนิยสกรรม
แก่ภิกษุรูปนั้น. . . พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม. . . เป็นวรรคโดยธรรม
. . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม . . . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม . . . สงฆ์
ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรค
โดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม
เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่
ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และ
พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอัน ทำไม่ชอบ กรรมต้อง
กำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นเป็นธรรมวาที ฯ ๕ วาระนี้
ท่านย่อไว้.
ขอระงับปัพพชนียกรรม
[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพ-
พาชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวไป จึงขอ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 435
ระงับปัพพาชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้
ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรม แล้วประพฤติ
โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม
เอาละ พวกเราจะระงับปัพพาชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดย
ไม่เป็นธรรม ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น . . . พร้อมเพรียงกันโดย
ไม่เป็นธรรม เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม . . . พร้อม
เพรียงกันโดยเทียมธรรม. . . สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรม
เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น
วรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียม
ธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อม
เพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม
เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้
เป็นธรรมวาที ฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
ขอระงับปฏิสารณียกรรม
[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิ-
สารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ
ระงับปฎิสารณียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้
ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปฎิสารณียกรรม แล้วประพฤติ
โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฎิสารณียกรรม
เอาละ พวกเราจะระงับปฏิสารณียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดย
ไม่เป็นธรรม ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น. . . พร้อมเพรียงกันโดย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 436
ไม่เป็นธรรม. . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม . . .
พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม. . . สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า
กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรม
เป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดย
เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมไม่เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอัน ทำ
กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น
สองพวกนี้เป็นธรรมวาที ฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
ขอระงับอุกเขปนียกรรม
[๒๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุก-
เขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ
แก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ เอาละ
พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น
วรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น
. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม. . . เป็นวรรคโดยธรรม... เป็นวรรค
โดยเทียมธรรม... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุม
นั้น กล่าวีคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 437
กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่
ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น
พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าว
อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที ฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย-
กรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วพระพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เอาละ
พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น
วรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น
พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม . . . พร้อมเพรียง
กันโดยเทียมธรรม. . . สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค
โดยไม่เป็นธรรม การพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดย
ธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม การพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม
กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียง
กันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็น
อันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้
เป็นธรรมวาที ฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 438
[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุก-
เขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประ-
พฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปในเรื่องนั้น ถ้า
ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาป เอาละ
พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น
วรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูป
นั้น. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม . . . เป็น
วรรคโดยเทียมธรรม .. . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม... สงฆ์ผู้อยู่ในที่
ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียง
กันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม
กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่
ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น
พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าว
อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้ เป็นธรรมวาทีฯ ๕ วาระแม้นี้ท่านย่อไว้.
จัมเบปยยขันธกะ ที่ ๙ จบ
ในขันธกะนี้มี ๓๖ เรื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 439
หัวข้อประจำขันธกะ
[๒๓๗] ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครจัมปา ภิกษุ
ผู้อยู่ในวาสภคามได้ทำความขวนขวายในสิ่งจำปรารถนาแก่พวกพระอาคันตุกะ
ครั้นทราบว่าพวกท่านชำนาญในสถานที่โคจรดีแล้ว จึงเลิกทำความขวนขวายใน
กาลนั้น แต่ต้องถูกพวกพระอาคันตุกะยกเสียเพราะเหตุที่ไม่ทำ จึงได้ไปเฝ้าพระ
ชินเจ้า ๒. ภิกษุทั้งหลายในนครจัมปาทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม
พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรคโดยธรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม
พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียว ภิกษุรูปเดียวยก
ภิกษุ ๒ รูป หลายรูปที่เป็นสงฆ์ก็มี ภิกษุ ๒ รูป ภิกษุหลายรูปยกกันก็มี
และสงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันก็มี ๓. พระสัพพัญญูผู้ประเสริฐทรงทราบแล้ว
ตรัสห้ามว่าไม่เป็นธรรม ๔. กรรมใดวิบัติโดยญัตติ อนุสาวนาสมบูรณ์
วิบัติโดยอนุสาวนาสมบูรณ์ด้วยญัตติ วิบัติทั้งสองอย่าง ทำกรรมแผกจากธรรม
แผกจากวินัย แผกจากสัตถุศาสน์ กรรมที่ถูกคัดค้านกำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ
๕. กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรค
โดยเทียมธรรม พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม พระตถาคตทรงอนุญาตกรรม
พร้อมเพรียงโดยธรรมเท่านั้น ๖. สงฆ์มี ๕ ประเภท คือสงฆ์จตุวรรค
สงฆ์ปัญจวรรค สงฆ์ทสวรรค สงฆ์วีสติวรรค และสงฆ์อดิเรกวีสติวรรค
๗. ยกอุปสมบทกรรม ปวารณากรรม กับอัพภานกรรม นอกนั้น สงฆ์
จตุวรรคทำได้ ๘. ยกกรรม ๒ อย่าง คือ อุปสมบทในมัชฌิมประเทศและ
อัพภานกรรม นอกนั้นสงฆ์ปัญจวรรคทำได้ทั่งสิ้น ๙. ยกอัพภานกรรม
อย่างเดียวนอกนั้นสงฆ์ทสวรรคทำได้ ๑๐. กรรมทุกอย่าง สงฆ์วีสติวรรค
ทำได้ทั้งสิ้น ๑๑. ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี ภิกษุผู้บอกลาสิกขา
ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม้ทำคืนอาบัติ
ฐานไม้สละทิฏฐิอันเป็นบาป บัณเฑาะก์ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีดเดียรถีย์
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 440
สัตว์ดิรัจฉาน คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี
คนทำลายสงฆ์ คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้องพระโลหิต อุภโตพยัญชนก
ภิกษุนานาสังวาส ภิกษุอยู่ต่างสีมากัน ภิกษุอยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์ สงฆ์ทำกรรม
แก่ผู้ใด มีผู้นั้นเป็นที่ครบจำนวนสงฆ์ รวม ๒๔ จำพวก พระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าทรงห้าม เพราะพวกนั้น เป็นคณะปูรกะไม่ได้ ๑๒. สงฆ์มีปาริวาสิกภิกษุ
เป็นที่ ให้ปริวาสชักเข้าหาอาบัติเติม ให้มานัต หรือพึงอัพภาน เป็นกรรมใช้
ไม่ได้ และไม่ควรทำ มีมูลายปฏิกัสสนารหภิกษุเป็นที่ ๔ มีมานัตตารหภิกษุ
เป็นที่ ๔ มี มานัตจาริกภิกษุเป็นที่ ๔ มีอัพภานารหภิกษุเป็นที่ ๔ รวม ๕ จำ-
พวก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศว่าทำสังฆกรรมใช้ไม่ได้ ๑๓. ภิกษุณี
สิกขมานา สามแร สามเณรี ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ
วิกลจริต ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ภิกษุถูกยกเพราะ
ไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ เพราะไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป บัณเฑาะก์
คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีดเดียรถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คน
ฆ่าพระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี ภิกษุผู้ทำสังฆเภท คนทำโลหตุปบาท
อุภโตพยัญชนก ภิกษุนานาสังวาสะ ภิกษุผู้อยู่ต่างสีมากัน ภิกษุอยู่ในเวหาสด้วย
ฤทธิ์ และภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงกรรม รวม ๒๗ จำพวกนี้ค้านไม้ขึ้น ๑๔. ภิกษุ
ผู้เป็นปกตัตตะค้านขึ้น ๑๕. ภิกษุผู้บริสุทธิ์ถ้าสงฆ์ไล่ออก เป็นอันไล่ออก
ไม่ดี ๑๖. ภิกษุพาล ถ้าสงฆ์ไล่ออก เป็นอัน ไล่ออกดี ๑๗. บัฬเฑาะก์
คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีดเดียระถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คนฆ่า
พระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี ภิกษุทำสังฆเภท คนทำโลหิตุปบาท อุภโต-
พยัญชนกรวม ๑๑ จำพวกนี้รับเข้าหมู่ไม่ควร ๑๘. คนมือด้วน คนเท้าด้วน
คนทั้งมือและเท้าด้วนทั้งสอง คนหูขาด คนจมูกแหว่ง คนทั้งหูขาดและจมูก
แหว่งทั้งสอง คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด คนมีง่ามมือ ง่ามเท้าขาด คนเอ็นขาด
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 441
คนมือเป็นแผ่น คนค่อม คนเตี้ย คนคอพอก คนมีเครื่องหมายตดตัว คนมี
รอยเฆี่ยนด้วยหวาย คนถูกหมายประกาศจับตัว คนเท้าปุก คนมีโรคเรื้อรัง
คนแปลกเพื่อน คนตาบอดข้างเดียว คนง่อย คนกระจอก คนเป็นโรคอัมพา
คนมีอิริยาบถขาด คนชราทุพพลภาพ คนตาบอด ๒ ข้าง คนใบ้ คนหูหนวก
คนทั้งบอดและใบ้ คนทั้งบอดและหนวก คนทั้งใบ้และหนวก คนทั้งบอดใบ้
และหนวก เหล่านี้ รวม ๒๓ จำพวกพอดี รับคนเหล่านั้น เข้าหมู่ได้ พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว ๑๙. กรรม ๗ อย่าง คือการยกภิกษุผู้ไม่
เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ ๑ ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ๑ ไม่เห็นไม่ทำคืน
อาบัติ ๑ ไม่เห็นอาบัติ ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ๑ ไม่ทำคืนอาบัติ ไม่สละทิฎฐิ
อันเป็นบาป ๑ ไม่เห็น ไม่ทำคืน ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ๑ เป็นกรรม ไม่
เป็นธรรม ๒๐. กรรม ๗ อย่างนั้น แม้ที่อนุวัตรตามภิกษุผู้ต้องอาบัติ
ก็เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ๒๑. กรรมอีก ๗ อย่าง ที่อนุวัตรตามภิกษุผู้ต้อง
อาบัติ เป็นกรรมที่ชอบธรรม ๒๒. กรรมที่ควรทำต่อหน้ากลับทำลับหลัง ๑
กรรมที่ควรทำด้วยซักถาม กลับทำโดยไม่ซักถาม ๑ กรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ
กลับทำโดยไม่ปฏิญาณ ๑ ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ๑ ทำตัสสปาปิย-
สิกากรรมแก่ ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ๑ ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผ้ควรตัสสปาปิย-
สิกากรรม ๑ ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ๑ ลงปัพพาชนียกรรม
แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ๑ ลงปฎิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ๑
ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ๑ ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควร
อุกเขปนียกรรม ๑ ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม ๑ ให้มานัตแก่ภิกษุ
ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ๑ อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ๑ ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน
ให้อุปสมบทกุลบุตร ๑ ทำกรรมอย่างอื่นแก่ภิกษุอื่น ๑ รวม ๑๖ อย่างนี้ เป็น
กรรมใช้ไม่ได้ ๒๓. ทำกรรมนั้น ๆ แก่ภิกษุนั้น ๆ รวม ๑๖ อย่างนี้ เป็น
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 442
กรรมใช้ได้ ๒๔. ภิกษุอื่นยกภิกษุอื่นเสียรวม ๑๖ อย่างนี้เป็นกรรมใช้ไม่ได้
๒๕. ทำกรรมมีมูลอย่างละ ๒ แก่ภิกษุนั้น รวม ๑๖ อย่างแม้เหล่านั้นเป็น
กรรมใช้ได้ ๒๖. จักรมีมูลอย่างละหนึ่ง พระชินเจ้าตรัสว่า ใช้ไม่ได้
๒๗. ภิกษุก่อความบาดหมางสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ได้ลงตัชชนีย-
กรรม ๒๘. ภิกษุนั้นไปอารามอื่นภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้นได้พร้อมเพรียง
โดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ๒๙. ภิกษุทั้งหลายในอาวาส
อื่นเป็นวรรคโดยธรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรมก็มี พร้อมเพรียงโดยเทียม
ธรรมก็มี ไม่ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น ๓๐. บทเหล่านั้น คือ พร้อมเพรียง
โดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรคโดยธรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม และพร้อม
เพรียงโดยเทียมธรรม ปราชญ์ผู้มีปัญญาพึงผูกให้เป็นจักรทำให้มีมูลอย่างละ
หนึ่ง ๓๑. สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้พาล ไม่ฉลาด ๓๒. สงฆ์ลง
ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ๓๓. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม
แก่ภิกษุผู้ด่าคฤหัสถ์ ๓๔.. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำหมู่ทรงภาษิตอุกเขปนีย-
กรรมแก่ภิกษุผู้ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
๓๕. ภิกษุมีปัญญาพึงทำตัชชนียกรรมให้ถูกต้องตามระเบียบวินัย ภิกษุประพฤติ
เรียบร้อยอนุวัตรตามระเบียบวินัยเหล่านั้นแหละ ขอระงับกรรมเหล่านั้นโดยนัย
แห่งกรรมในหนหลัง ๓๖. ในกรรมนั้น ๆ แล สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น
กล่าวคัดค้านว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำ
ใหม่ และเมื่อกรรมระงับ ภิกษุเหล่านั้นเป็นธรรมวาที พระมหามุนีทรงเห็น
ภิกษุพวกเข้ากรรมได้รับความลำบากโดยกรรมวิบัติ จึงทรงชี้วิธีระงับไว้ ดุจ
นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ชี้บอกตัวยาไว้ ฉะนั้น.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 443
อรรถกถาจัมเปยยขันธกะ
วินิจฉัยในจัมเปยยขันธกะ
วินิจฉัยในจัมเปยยขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
หลายบทว่า คคฺคราย โปกฺขรณิยา ตีเร คือที่ฝั่งแห่งสระโบกรณี
ซึ่งหญิงมีชื่อว่าคัคคราสร้าง.
บทว่า ตนฺติพทฺโธ มีความว่า ชื่อผู้เนื่องเฉพาะในความขวนขวาย
เพราะข้อที่ความขวนขวายเป็นกิจอันเธอพึงทำในอาวาสนั้น.
วินิจฉัยในข้อว่า อุสฺสุกฺกมฺปิ อกาสิ ยาคุยา เป็นอาทิ พึงทราบ
ดังนี้:-
สมควรทำความขวนขวายแต่ในที่ซึ่งชนทั้งหลายสั่งไว้ว่า เมื่อภิกษุ
อาคันตุกะมา ท่านพึงบอก, ไม่สมควรทำในที่ซึ่งเขาไม่ได้สั่งไว้.
ข้อว้า คจฺฉ ตว ภิกฺขุ มีความว่า พระศาสดาได้ทรงเห็นว่า
เสนาสนะในอาวาสนั้นนั่นแลของภิกษุนั้น เป็นที่สบาย, ด้วยเหตุนั้นแล จึง
ตรัสว่า เธอจงสำเร็จการอยู่ในวาสภคามนั้นแล.
ความกระทำต่างแห่งคำว่า อธมฺเมน วคฺคกมฺม ถโรนฺติ เป็น
อาทิ จักมาในบาลีข้างหน้าเป็นแท้.
ข้อว่า อญฺตราปิ ธมฺมา กมฺม กโรนฺติ มีความว่า ภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ ทำกรรม เว้นจากธรรมบ้าง; อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะนี้เองเป็นบาลี;
กรรมที่ทำด้วยวัตถุเป็นจริง จัดเป็นกรรมที่ทำตามธรรม; ความว่า ภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ ไม่ทำอย่างนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 444
แม้ในข้อว่า อญฺตฺราปิ วินยา กมฺม อฌฺตฺราปิ สตฺถุ-
สาสนา กมฺม ก็นัยนี้แล. ก็ในวินัยและสัตถุศาสนานี้ การโจทและการประกาศ
ชื่อวินัย. ญัตติสัมปทาและอนุสาวนสัมปทา ชื่อสัตถุศาสนา, ความว่า ภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ทำกรรมเว้นจากการโจท การประกาศญัตติสัมปทา และอนุสาวน
สัมปทาเหล่านั้น.
บทว่า ปฏิกฺกฏฺกต ได้แก่ กรรมที่ถูกคัดค้านและอันเธอขืนทำ.
กรรมใด อันภิกษุขืนทำในเมื่อภิกษุเหล่าอื่นคัดค้านอยู่, กรรมนั้นจัดเป็น กรรม
ที่ถูกคัดค้านและอันภิกษุขืนทำ; ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ทำกรรมเช่นนั้นบ้าง.
กรรมหก
ก็ในคำว่า ฉยิมานิ ภิกฺขเว กมฺมานิ อธมฺมกมฺม เป็นอาทิ
คำว่า ธรรม เป็นชื่อแห่งบาลี. เพราะเหตุนั้น กรรมใดสงฆ์ไม่ทำโดยบาลี
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้. กรรมนั้น พึงทราบว่า กรรมไม่เป็นธรรม.
ความสังเขปในฉกัมมาธิการนี้ เท่านี้. ส่วนความพิสดารมาแล้วในบาลีนั่นแล.
ก็ความพิสดารนั้นแล มาแล้วด้วยอำนาจแห่งญัตติทุติยกรรมและญัตติ
จตุตถกรรมเท่านั้น. อันในญัตติกรรมไม่มีความลดหย่อนหรือความทำโดย
ประการอย่างอื่น เหมือนในญัตติทุติยกรรมและญัตติจตุตถกรรม, ส่วนอป-
โลกนกรรมอันภิกษุย่อมทำเพียงสวดประกาศ; เพราะฉะนั้นญัตติกรรมและ
อปโลกนกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงแสดงไว้ในบาลี. ข้าพเจ้า
จักพรรณนาวินิจฉัยแห่งกรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดข้างหน้า.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ปญฺจ สงฺฆา เป็นอาทิ เพื่อ
แสดงประเภทแห่งสงฆ์ทั้งหลาย ผู้จะพึงทำกรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรม ซึ่ง
เป็นที่หก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 445
บทว่า กมฺมปฺปตฺโต คือ ผู้เข้ากรรม ได้แก่ผู้ประกอบในกรรมคือ
ผู้ควรกรรม ความว่า ไม่ควรเพื่อทำกรรมใด ๆ หามิได้.
คำว่า จตุวคฺคกรณญฺเจ ภิกฺขเว กมฺม ภิกฺขุนีจตุตฺโถ เป็น
อาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อแสดงวิบัติแห่งกรรมโดยบริษัท.
ในคำนั้น บุคคลผู้มีสังวาสต่างกันเพราะกรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงถือเอา ด้วยอุกขิตตกศัพท์. บุคคลผู้มีสังวาสต่างกันเพราะลัทธิ ทรงถือ
เอาด้วยนานาสังวาสกศัพท์.
สองบทว่า นานาสีมาย ิตจตุตฺโถ มีความว่า เป็นจตุวรรคกับ
ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในหัตถบาสที่สีมันตริกหรือภายนอกสีมา.
คำว่า ปาริวาสิกจตุตฺโถ เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อ
แสดงวิบัติโดยบริษัทแห่งปริวาสกรรมเป็นต้นเท่านั้น. ข้าพเจ้าจักพรรณนา
วินิจฉัยแห่งกรรม เหล่านั้น ข้างหน้า.
เพื่อแสดงข้อที่กรรมถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ เป็นกรรมกำเริบและ
ไม่กำเริบ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า เอกจฺจสฺส ภิกฺขเว สงฺฆสฺส
มชฺเฌ ปฏิกฺโกสนา รูหติ เป็นต้น.
บทว่า ปกตตฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีศีลไม่วิบัติ คือ ผู้ไม่ต้องปาราชิก.
บทว่า อนนฺตริกสฺส ได้แก่ ผู้นั่งเป็นลำดับแห่งตน. เพื่อแสดง
ข้อที่กรรมทั้งหลายเป็นของกำเริบและไม่กำเริบ โดยวัตถุพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสคำว่า เทฺว มา ภิกฺขเว นิสฺสารณา เป็นต้น . บรรดาคำเหล่านั้น
คำว่า อปฺปตฺโต นิสฺสารณ, ตญฺเจ สงฺโฆ นิสฺสาเรติ, สุนิสฺสาริโต
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาปัพพาชนียกรรม. จริงอยู่ สงฆ์ย่อมขับ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 446
ให้ออกจากวัด ด้วยปัพพาชนียกรรม, เพราะฉะนั้น ปัพพาชนียกรรมนั้น ท่าน
จึงเรียกว่า นิสสารณา. ก็เพราะเหตุที่ไม่เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล. บุคคลนั้น
จึงไม่ถึงปัพพาชนียกรรมนั้น. ด้วยลักษณะแผนกหนึ่ง. แต่ว่า เพราะเหตุที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สงฆ์หวังอยู่พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่บุคคลนั้น
ดังนี้ บุคคลนั้น จึงจัดว่า เป็นผู้อันสงฆ์ขับออกด้วยดีแล้ว.
นิสสารณา
ข้อว่า ตญฺเจ สงฺโฆ นิสฺสาเรติ มีความว่า หากสงฆ์ขับออก
ด้วยอำนาจแห่งตัชชนียกรรมเป็นต้นไซร้ บุคคลนั้น ชื่อว่า ถูกขับออกด้วย
ดี เพราะเหตุที่ในวินัยว่าด้วยตัชชนียกรรมเป็นต้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตนิสสารณาด้วยองค์แม้อันหนึ่งอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์จำนง
อยู่พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ พวก คือ เป็นผู้ทำความบาดหมาง เป็นผู้
ทำการทะเลาะ เป็นผู้ทำการวิวาท เป็นผู้ทำการอื้อฉาว เป็นผู้ก่ออธิกรณ์ใน
สงฆ์ พวกหนึ่ง, เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร พวก
หนึ่ง, อยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอัน ไม่สมควร พวกหนึ่ง.
โอสารณา
กิริยาที่เรียกเข้าหมู่ ชื่อโอสารณา.
ในเรื่องโอสารณานั้น ข้อว่า ตญฺเจ สงฺโฆ โอสาเรติ ได้แก่
เรียกเข้าหมู่ ด้วยอำนาจอุปสมบทกรรม.
บทว่า โทสาริโต มีความว่า บุคคลนั้น สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วแม้
ตั้งพันครั้ง ก็คงเป็นอนุปสัมบันนั่นเอง. ฝ่ายอาจารย์และอุปัชฌาย์ย่อมมีโทษ
การกสงฆ์ที่เหลือก็เหมือนกัน, ใคร ๆ ไม่พ้นจากอาบัติ. อภัพพบุคคล ๑๑
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 447
จำพวกเหล่านี้ สงฆ์เรียกเข้าหมู่ใช้ไม่ได้เลย ด้วยประการฉะนี้. ส่วนบุคคล
๓๒ จำพวก มีตนมือด้วนเป็นต้น เรียกเข้าหมู่โดยชอบ, สงฆ์ให้อุปสมบท
แล้ว ย่อมเป็นอุปสัมบันแท้, บุคคลเหล่านั้น ใคร ๆ จะว่ากล่าวอะไร ๆ
ไม่ได้. แต่อาจารย์กับอุปัชฌาย์และการกสงฆ์ย่อมไม่มีโทษ ใคร ๆ ไม่พ้น
จากอาบัติ.
เพื่อแสดงกรรมไม่เป็นธรรมด้วยอำนาจวัตถุไม่เป็นจริง และกรรมเป็น
ธรรมด้วยอำนาจวัตถุเป็นจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า อธิ ปน ภิกฺขเว
ภิกฺขุสฺส น โหติ อาปตฺติ ทฏฺพฺพา เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏินิสฺสชฺเชตา คือ ทิฏฐิลามกอันจะ
พึงสละเสีย. กรรมเป็นธรรมและไม่เป็นธรรม ด้วยอำนาจวัตถุนั้นแล พระผู้-
มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ ในอุบาลีปัญหาก็มี. ในอุบาลีปัญหานั้น มีนัย ๒
คือ นัยมีมูลอันเดียว ๑ นัยมีมูลสอง ๑ นัยมีมูลอันเดียวชัดเจนแล้ว. ในนัย
มีมูลสอง สติวินัยกับอมูฬหวินัย ท่านทำ ให้เป็นคำถามอันเดียวกัน ฉันใด,
แม้อมูฬหวินัยเป็นต้น กับตัสสปาปิยสิกาเป็นต้น ก็พึงทำให้เป็นคำถามอันเดียว
กันฉันนั้น. ส่วนในข้อสุดท้าย คำว่า อุปสมฺปทรห อุปสมฺปาเทติ ย่อม
เป็นบทอันเดียวกันแท้. ข้างหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบบทที่เหลือ
ทั้งหลายกับบทอันหนึ่ง ๆ ทำสติวินัยแม้แห่งภิกษุให้เป็นต้น.
เพื่อแสดงวิบัติในกรรม ๗ อย่าง มีตัชชนียกรรมเป็นต้น พร้อมทั้ง
กิริยาที่ระงับ จัดเป็นหมวด ด้วยอำนาจบทเหล่านั้น คือ อธมฺเมน วคฺค
อธมฺเมน สมคฺค ธมฺเมน วคฺค ธมฺมปฏิรูปเกน วคฺค ธมฺมปฏิรูปเกน
สมคฺค พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิธ ปน ภิกฺขเว ภิกฺขุ ภณฺฑการโก
เป็นอาทิ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 448
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนปาทาโน ได้แก่ ผู้เว้นจากมรรยาท,
อาการเป็นเครื่องกำหนด เรียกว่ามรรยาท. ความว่า ผู้เว้นจากความกำหนด
อาบัติ. เบื้องหน้าแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบาลีนั้นเอง เทียบเตียงกับ
บทว่า อกต กมฺม เป็นต้น เพื่อแสดงประเภท แห่งกรรมที่ถูกคัดค้านแล้ว
และขืนทำ. ในบาลีนั้น ใคร ๆ ไม่สามารถจะทราบคำใด ๆ โดยท่านองแห่ง
บาลีหามิได้, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่พรรณนาให้พิสดาร ฉะนั้นแล.
อรรถกถาจัมเปยยขันธกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 449
โกสัมพิขันธกะ
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๒๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ
โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ยังมีภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติแล้ว มี
ความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่า
ไม่เป็นอาบัติ สมัยต่อมา ภิกษุรูปนั้นกลับมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็น
อาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นจึง
ได้ถามภิกษุนั้นว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติ ท่านเห็นอาบัตินั้นหรือไม่ ภิกษุ
รูปนั้น ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น ภายหลังภิกษุเหล่า
นั้นหาสมัครพรรคพวกได้ จึงยกภิกษุรูปนั้นเสียเพราะไม่เห็นอาบัติ.
แท้จริง ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้คงแก่เรียน ช่ำชองคัมภีร์ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีความละอาย รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อ
สิกขา ภิกษุรูปนั้นจึงเข้าไปหาบรรดาภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา
แล้วได้กล่าวคำนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้
ผมไม่ต้องถูกยก ผมต้องถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ
ไม่ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายจงกรุณาเป็นฝักฝ่ายของผมโดยธรรม โดยวินัย
ด้วยเถิด ภิกษุรูปนั้น ได้ภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมา เป็นฝักฝ่ายแล้ว
ได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกัน มาว่า อาวุโส
ทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องอาบัติ ผมต้อองอาบัติ
หามิได้ ผมไม่ต้องถูกยก ผมเป็นผู้ถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็น
ธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายจงกรุณาเป็นฝักฝ่ายของผม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 450
โดยธรรม โดยวินัยด้วยเถิด ดังนี้ ได้พวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็น
เคยคบกันมา เป็นฝักฝ่าย.
ครั้งนั้น พวกภิกษุที่สนับสนุนผู้ถูกยกเหล่านั้น ได้เข้าไปหาภิกษุพวก
ที่ยกแล้วได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกที่ยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั้นไม่เป็นอาบัติ
นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุนั้นต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุ
นั้นไม่ต้องถูกยก ภิกษุนั้นเป็นผู้ถูกยกหามิได้ ภิกษุนั้นถูกยกด้วยกรรมไม่เป็น
ธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ.
เมื่อภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวกยก ได้
กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่น
ไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นต้องอาบัติ ไม่ต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นต้อง
ถูกยกแล้ว ไม่ต้องถูกยกหามิได้ ภิกษุนั้น ถูกยกแล้วด้วยกรรมเป็นธรรม
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายอย่าสนับสนุน อย่าตามห้อมล้อม
ภิกษุผู้ถูกยกนั้นเลย.
ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกเหล่านั้น อันภิกษุพวกยกว่ากล่าวอยู่แม้
อย่างนี้แล ก็ยังสนับสนุน ยังตามห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกยกนั้นอย่างเดิมนั่น แหละ.
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าเฝ้ากราบทูลให้ทรงทราบ
[๒๓๙] ครั้นต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นนั่งเฝ้าเรียบร้อย
แล้ว ได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุรูปหนึ่ง
ในวัดโฆสิตารามนี้ต้องอาบัติ ท่านมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ แต่
ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ ครั้นต่อมา ท่านกลับมี
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 451
ความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้น
ว่าเป็นอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นจึงได้กล่าวคำนี้แก่ท่านว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติ
ท่านเห็นอาบัตินั้นหรือไม่ ท่านตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึง
เห็น ภายหลังภิกษุเหล่านั้นหาสมัครพรรคพวกได้แล้ว จึงยกท่านเสีย เพราะ
ไม่เห็นอาบัติ แท้จริง ท่านรูปนั้น เป็นผู้คงแก่เรียน ช่ำชองคัมภีร์ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาดมีปัญญา มีความละอาย รังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา จึงเข้าไปหาบรรดาภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา แล้ว
ได้กล่าวคำนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผม
ไม่ต้องอาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องถูกยก ผมต้องถูกยกหามิได้
ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายจง
กรุณาเป็นฝักฝ่ายของผมโดยธรรม โดยวินัยด้วยเถิด แล้วได้พวกภิกษุที่เป็น
เพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมาเป็นฝักฝ่าย และส่งทูตไปในสำนักภิกษุชาวชนบท
ที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมาว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่น
เป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องอาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องถูกยก
ผมต้องถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ
ขอท่านทั้งหลายจงกรุณาเป็นฝักฝ่ายของผมโดยธรรม โดยวินัยด้วยเถิด แล้วได้
ภิกษุพวกชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา เป็นฝักฝ่าย.
ครั้งนั้น ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยก เข้าไปหาภิกษุพวกยกแล้ว ได้
กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติ
หามิได้ ภิกษุรูปนั้น ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุนั้นต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่
ต้องถูกยก ภิกษุรูปนั้นต้องถูกยกหามิได้ ภิกษุรูปนั้นถูกยกด้วยกรรมไม่เป็น
ธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 452
เมื่อภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวกยกได้กล่าว
คำนี้ แก่ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่
เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้น ต้องอาบัติ ไม่ต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นต้องถูกยก
ไม่ต้องถูกยกหามิได้ ภิกษุนั้นถูกยกด้วยกรรมเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่
ฐานะ ขอท่านทั้งหลายอย่าสนับสนุน อย่าตามห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกยกนั้นเลย.
เมื่อภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกเหล่านั้น อันภิกษุพวกยกว่ากล่าวอยู่
แม้อย่างนี้ ก็ยังสนับสนุน ยังตามห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกยกนั้นอย่างเดิมนั่นแหละ
พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงประทานพระโอวาท
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว ภิกษุ
สงฆ์แตกกันแล้ว จึงทรงลุกจากที่ประทับ เสด็จเข้าไปทางภิกษุพวกยก ครั้นถึง
แล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ครั้นพระองค์ประทับนั่งแล้วได้ตรัส
ประทานพระพุทโธวาทแก่ภิกษุพวกยกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าสำ-
คัญภิกษุอันตนพึงยกเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยนึกว่า พวกเราเฉลียวฉลาด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้วมีความเห็น
ในอาบัตินั้น ว่าไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ
ถ้าพวกเธอรู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นพหุสูต. . . ผู้ใคร่ต่อสิกขา
ถ้าพวกเราจักยกภิกษุรูปนี้ เพราะไม่เห็นอาบัติ จักทำอุโบสถร่วมกับภิกษุรูปนี้
ไม่ได้ จักต้องทำอุโบสถแยกจากภิกษุรูปนี้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ
ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแยกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การ
กำหนดแห่งสงฆ์การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์
ภิกษุทั้งหลายผู้เกรงแค่ความแตกนั้น ไม่พึงยกภิกษุนั้น เพราะไม่เห็นอาบัติ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 453
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้วมี
ความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้น
ว่าเป็นอาบัติ ถ้าพวกเธอรู้จักภิกษุรูปนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นพหูสูต . . .
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ถ้าพวกเราจักยกภิกษุรูปนี้ เพราะไม่เห็นอาบัติ.
จักปวารณาร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องปวารณาแยกจากภิกษุรูปนี้.
จักทำสังฆกรรมร่วมกับภิกษุรูปนไม่ได้ จักต้องทำสังฆกรรมแยกจาก
ภิกษุรูปนี้.
จักนั่งบนอาสนะร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องนั่งบนอาสนะแยกจาก
ภิกษุรูปนี้.
จักนั่งในสถานที่ดื่มยาคูร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องนั่งในสถานที่
ดื่มยาคูแยกจากภิกษุรูปนี้.
จักนั่งในโรงภัตร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องนั่งในโรงภัตแยกจาก
ภิกษุรูปนี้.
จักอยู่ในที่มุงที่บังอันเดียวกัน ร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องอยู่ในที่มุง
ที่บังอันเดียวกันแยกจากภิกษุรูปนี้.
จักทำอภิวาท ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมตามลำดับ ผู้แก่พรรษา
ร่วมกับ ภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องทำอภิวาท ต้อนรับอัญชลีกรรม สามีจิกรรม
ตามลำดับผู้แก่พรรษา แยกจากภิกษุรูปนี้.
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความ
แตกแยกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานะแห่งสงฆ์ การกำหนดแห่งสงฆ์ การกระทำ
ต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีข้อนั้น เป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายผู้เกรงแต่ความ
แตกกัน ไม่พึงยกภิกษุรูปนั้น เพราะไม่เห็นอาบัติ.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสข้อความนั้น แก่ภิกษุพวกยกแล้ว ทรงลุก
จากที่ประทับเสด็จพระพุทธเนินเข้าไปทางภิกษุพวกที่สนับสนุนผู้ถูกยก แล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 454
ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ครั้นพระองค์ประทับนั่งแล้ว ได้ตรัส
ประทานพระพุทโธวาทแก่ภิกษุพวกที่สนับสนุนผู้ถูกยกว่า ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย
พวกเธอต้องอาบัติแล้ว อย่าสำคัญอาบัติว่าไม่ต้องทำคืน ด้วยเข้าใจว่า พวก
เราไม่ต้องอาบัติ พวกเราไม่ต้องอาบัติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว มีความ
เห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่า
เป็นอาบัติ ถ้าเธอรู้จักภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่าท่านเหล่านี้ แลเป็นพหูสูต . . . ผู้
ใคร่ต่อสิกขา คงจะไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาติ ภยาคติ เพราะเหตุ
แห่งเรา หรือเพราะเหตุแห่งภิกษุเหล่าอื่น ถ้าภิกษุเหล่านั้นจักยกเรา เพราะไม่
เห็นอาบัติ พวกเธอจักทำอุโบสถร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องทำอุโบสถแยกจากเรา
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแยกแห่ง
สงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความกำหนดแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่ง
มีข้อนั้น เป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์ ภิกษุผู้เกรงแต่ความแตกกัน พึงยอมแสดงอาบัติ
นั้นเสีย แม้ด้วยความเชื่อผู้อื่น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว มี
ความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้น
ว่า เป็นอาบัติ ถ้าเธอรู้จักภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ท่านเหล่านั้นแลเป็นพหุสูต. . .
ผู้ใคร่ต่อสิกขาคงจะไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ เพราะเหตุแห่ง
เรา หรือเพราะเหตุแห่งภิกษุอื่น ถ้าภิกษุเหล่านี้จักยกเรา เพราะไม่เห็นอาบัติ.
จักปวารณาร่วมกับ เราไม่ได้ จักต้องปวารณาแยกจากเรา.
จักทำสังฆกรรมร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องทำสังฆกรรมแยกจากเรา.
จักนั่งเหนืออาสนะร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องนั่งเหนืออาสนะแยกจากเรา.
จักนั่งในสถานที่ดื่มยาคูร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องนั่งในสถานที่ดื่มยาดู
แยกจากเรา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 455
จักนั่งในโรงภัตร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องนั่งในโรงภัตแยกจากเรา.
จักอยู่ในที่มุงที่บังอันเดียวร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องอยู่ในที่มุงที่บังอัน
เดียวแยกจากเรา.
จักทำอภิวาท ต้อนรับอัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามลำดับผู้แก่พรรษา
กับเราไม่ได้ จักต้องทำอภิวาท ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามลำดับ
ผู้แก่พรรษาเว้นจากเรา.
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตก
แยกแห่งสงฆ์ ความกำหนดแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมี ข้อนั้นเป็น
เหตุจักมีแก่สงฆ์ ภิกษุผู้เกรงแค่ความแตกกัน พึงยอมแสดงอาบัตินั้น เสีย แม้
ด้วยความเชื่อผู้อื่น.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสข้อความนั้นแก่ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูก
ยกแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.
แยกกันทำอุโบสถในสีมาเป็นต้น
[๒๔๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุพวกที่สนับสนุนผู้ถูกยก ทำอุโบสถ
ทำสังฆกรรม ภายในสีมานั้นเอง ส่วนภิกษุพวกยกไปทำอุโบสถ ทำสังฆกรรม
นอกสีมา กาลต่อมา ภิกษุผู้ยกรูปหนึ่ง เข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระ
ผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้กราบทูลคำนี้แต่พระผู้มี
พระภาคเจ้าว่าพระพุทธเจ้าข้า ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกนั่น ทำอุโบสถ ทำ
สังฆกรรม ภายในสีมานั่งเอง ส่วนพวกข้าพระพุทธเจ้า เป็นภิกษุพวกยกต้อง
ไปทำอุโบสถ ทำสังฆกรรมนอกสีมา พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุพวกที่สนับสนุนผู้
ถูกยกนั้น จักทำอุโบสถ ทำสังฆกรรม ภายในสีมานั้นเอง ถูกตามญัตติและ
อนุสาวนา ที่เราบัญญัติไว้ กรรมของพวกเธอนั่น เป็นธรรม ไม่กำเริบ ควร
แก่ฐานะ ถ้าพวกเธอเป็นภิกษุพวกยกจักทำอุโบสถ ทำสังฆกรรมภายในสีมา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 456
นั่งเอง ถูกตามญัตติ และอนุสาวนา ที่เราบัญญัติไว้ แม้กรรมของพวกเธอ
นั้น ก็เป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุ
พวกนั้นมีสังวาสต่างจากพวกเธอ และพวกเธอก็มีสังวาสต่างจากภิกษุพวกนั้น.
นานาสังวาสภูมิ ๒ อย่าง
ดูก่อนภิกษุ ภูมิของภิกษุนานาสังวาสนี้มี ๒ อย่าง คือ ภิกษุทำตน
เป็นนานาสังวาสด้วยตน ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันยกภิกษุนั้น เพราะไม่เห็นอาบัติ
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ๑.
ดูก่อนภิกษุ ภูมิของภิกษุนานาสังวาส ๒ อย่างนี้แล.
สมานสังวาสภูมิ ๒ อย่าง
ดูก่อนภิกษุ ภูมิของภิกษุสมานสังวาสนี้มี ๒ อย่าง คือ ภิกษุทำตน
เป็นสมานสังวาสด้วยตน ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันรับภิกษุนั้น ผู้ถูกยกเพราะไม่
เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป เข้าหมู่ ๑.
ดูก่อนภิกษุ ภูมิของภิกษุสมานสังวาส ๒ อย่างนี้แล.
เรื่องความบาดหมางกันเป็นต้น
[๒๔๑] ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมางเกิดความ
ทะเลาะ ถึงการวิวาทกัน ย่อมแสดงกายกรรม วจีกรรม อันไม่สมควรต่อกัน
และกัน ทำปรามาสกันด้วยมือ ในโรงภัต ในละแวกบ้าน คนทั้งหลายเพ่ง
โทษ ติเตียน โพนทนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลาย จึง
ได้เกิดความหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงการวิวาท แสดงกายกรรม วจี-
กรรม อันไม่สมควรต่อกันและกัน ทำปรามาสกันด้วยมือ ในโรงภัต ใน
ละแวกบ้านเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุ
ทั้งหลาย จึงได้เกิดความบาดหมาง. . . ทำปรามาสกันด้วยมือ ในโรงภัต
ในละแวกบ้านเล่า แล้วได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 457
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุทั้งหลาย เกิดความบาดหมาง. . . ทำปรามาสกันด้วยมือ ในโรง-
ภัต ในละแวกบ้าน จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วทรงห้าม
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน. . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว แต่ยังทำ
กิจอันไม่เป็นธรรม เมื่อถ้อยคำไม่ชวนให้ชื่นชมต่อกันเป็นไปอยู่ พวกเธอพึง
นั่งเหนืออาสนะ โดยนึกในใจว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พวกเราจักไม่แสดงกาย
กรรม วจีกรรม อันไม่สมควรต่อกันและกัน จักไม่ทำปรามาสกันด้วยมือ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว แต่ยังทำกิจที่เป็นธรรม เมื่อถ้อยคำ
อันชวนให้ชื่นชมต่อกันเป็นไปอยู่ พวกเธอพึงนั่งในแถวมีอาสนะอันหนึ่งคั่นใน
ระหว่าง.
[๒๔๒] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมาง เกิดความ
ทะเลาะถึงการวิวาทกัน ย่อมทิ่มแทงกันด้วยหอกคือปาก ในท่ามกลางสงฆ์อยู่
ภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นได้.
ครั้งนั้น มีภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุรูปนั้น ยืนเฝ้าเรียบร้อยแล้ว
ได้กราบทูล คำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายใน
วัดโฆสิตารามนี้ เกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงการวิวาทกัน ย่อม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 458
ทิ่มแทงกันด้วยหอกคือปาก ในท่ามกลางสงฆ์อยู่ ภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจระงับ
อธิกรณ์นั้นได้ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงโปรดอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ด้วยเถิด พระพุทธ-
เจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยอาการดุษณี ครั้นแล้วได้เสด็จ
เข้าไปหาภิกษุนั้น ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ประทับนั่งแล้วได้
ตรัสคำนี้แก่ภิกษุเหล่านั้นว่า อย่าเลย ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าบาดหมาง
อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาทกันเลย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้
แล้ว ภิกษุอธรรมวาทีรูปหนึ่งได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรม จงทรงพระกรุณารอก่อน ขอพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน
อยู่เถิด พวกข้าพระพุทธเจ้าจักปรากฏ ด้วยความบาดหมาง ด้วยความทะเลาะ
ด้วยความแก่งแย่ง ด้วยการวิวาทนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ แก่ภิกษุเหล่านั้นเป็นคำรบสองว่า อย่า
เลยภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาท
กันเลย.
ภิกษุอธรรมวาที่นั้น ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นคำรบ
สองว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรม จงทรงพระกรุณารอก่อน
พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบสุขวิหารธรรมใน
ปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์จักปรากฏ ด้วยความบาดหมาง ด้วยความทะเลาะ
ด้วยความแก่งแย่ง ด้วยการวิวาทนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
[๒๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดัง
นี้ :-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 459
เรื่องทีฆาวุกุมาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครพาราณสี ได้มี
พระเจ้ากาสีพระนามว่าพรหมทัต ทรงเป็นกษัตริย์มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก
มีพระราชสมบัติมาก มีรี้พลมาก มีพระราชพาหนะมาก มีพระราชอาณาจักร
ใหญ่ มีคลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์ และคลังธัญญาหารสมบูรณ์ ส่วนพระเจ้า
โกศลพระนามทีฆีติ ทรงเป็นกษัตริย์ขัดสน มีพระราชทรัพย์น้อย มีพระราช.
สมบัติน้อย มีรี้พลน้อย มีพระราชพาหนะน้อย มีพระราชอาณาจักรเล็ก มี
คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหารไม่สู้จะบริบูรณ์.
ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช เสด็จกรีธาจาตุรงคเสนาไปโจมตี
พระเจ้าทีฆีติโกศลราช พระเจ้าทีฆีติโกศลราชได้ทรงสดับข่าวว่า พระเจ้า
พรหมทัตกาสิาราช เสด็จกรีธาจาคุรงคเสนามาโจมตีพระองค์ จึงทรงพระราช-
ดำริว่า พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชทรงเป็นกษัตริย์มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก
มีพระราชสมบัติมาก มีรี้พลมาก มีพระราชพาหนะมาก มีพระราชอาณาจักร
ใหญ่ มีคลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหารบริบูรณ์ ส่วนเราเป็น
กษัตริย์ขัดสน มีพระราชทรัพย์น้อย มีพระราชสมบัติน้อย มีรี้พลน้อย มี
พระราชพาหนะน้อย มีพระราชอาณาจักรเล็ก มีคลังศัสคราวุธยุทธภัณฑ์แ ะ
คลังธัญญาหารไม่สู้จะบริบูรณ์ เราไม่สามารถจะต่อยุทธกับพระเจ้าพรหมทัต-.
กาสิกราช แม้แต่เพียงศึกเดียว ถ้ากะไร เราพึงรีบหนีออกจากพระนครไป
เสียก่อนดีกว่า ครั้นแล้วได้ทรงพาพระมเหสีเสด็จหนีออกจากพระนครไปเสีย
ก่อน ฝ่ายพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ทรงยึดรู้พลพาหนะ ชนบท คลัง
ศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหาร ของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชไว้ได้แล้ว
เสด็จเข้าครอบครองแทน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 460
ครั้งนั้น พระเจ้าทีฆีติโกศลราช พร้อมกับพระมเหสีได้เสด็จหนีไป
ทางพระนครพาราณสี เสด็จบทจรโดยลำดับบรรดาถึงพระนครพาราณสีแล้ว
ข่าวว่าท้าวเธอพร้อมกับมเหสี ทรงปลอมแปลงพระองค์มิให้ใครรู้จัก ทรงนุ่ง
ห่มเยี่ยงปริพาชกเสด็จอาศัยอยู่ในบ้านของช่างหม้อ ซึ่งตั้งอยู่ชายแดนแห่งหนึ่ง
เขตพระนครพาราณสีนั้น ครั้นต่อมาไม่นานเท่าไรนัก พระมเหสีของพระเจ้า
ทีฆีติโกศลทรงตั้งพระครรภ์ พระนางเธอนั้นทรงแพ้พระครรภ์เห็นปานนี้คือ
เมื่อยามรุ่งอรุณ ทรงปรารถนาจะทอดพระเนตรจตุรงคเสนา ผู้ผูกสอดสรวม
เกราะยืนอยู่ในสนามรบและจะทรงเสวยน้ำล้างพระแสงขรรค์ จึงได้กราบทูลคำ
นี้แด่พระราชสามีในทันทีว่า ขอเดชะ หม่อมฉันมีครรภ์ ได้เกิดแพ้ครรภ์เห็น
ปานนี้คือ เมื่อยามรุ่งอรุณ หม่อมฉันปรารถนาจะดูจตุรงคเสนา ผู้ผูกสอดสรวม
เกราะยืนอยู่ในสนามรบ และจะดื่มน้ำล้างพระแสงขรรค์ พระพุทธเจ้าข้า.
พระราชารับสั่งว่า แม่เทวี เราทั้งสองกำลังตกยาก จะได้จตุรงคเสนา
ผู้ผูกสอดสรวมเกราะยืนอยู่ในสนามรบ และน้ำล้างพระขรรค์มาแต่ไหน.
พระราชเทวีกราบทูลว่า ถ้าหม่อมฉันไม่ได้ คงตายแน่ พระพุทธเจ้า
ข้า.
ก็สมัยนั้น พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชเป็นสหาย
ของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช พระเจ้าทีฆีติโกศลราชจึงเสด็จเข้าไปหาพราหมณ์
ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ครั้นถึงแล้วได้ตรัสดำนี้แก่ท่านพราหมณ์
ว่า เกลอเอ๋ย เพื่อนหญิงของเพื่อนมีครรภ์ นางแพ้ท้องมีอาการเห็นปานนี้คือ
เมื่อยามรุ่งอรุณ นางปรารถนาจะดูจตุรงคเสนา ผู้ผูกสอดสรวมเกราะยืนอยู่ใน
สนามรบ และจะดื่มน้ำล้างพระแสงขรรค์.
พราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลว่า ขอเดชะ ถ้ากระนั้น หม่อมฉันจะขอ
เฝ้าพระเทวีก่อน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 461
ลำดับนั้น พระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช ได้เสด็จเข้าไปหา
พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้า
พรหมทัตกาสิกราช ได้แลเห็นพระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช กำลังเสด็จ
มาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางพระ
มเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช แล้วเปล่งอุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า ท่านผู้เจริญ
พระเจ้าโกศลประทับอยู่ในพระอุทรแน่แล้ว พระเจ้าโกศลประทับอยู่ในพระอุทร
แน่แล้ว พระเจ้าโกศลประทับอยู่ในพระอุทรแน่แล้ว เพราะฉะนั้น พระเทวี
อย่าได้เสียพระทัย เมื่อยามรุ่งอรุณ จักได้ทอดพระเนตรจตุรงคเสนา ผู้ผูกสอด
สรวมเกราะยืนอยู่ในสนามรบ และจักได้ทรงเสวยน้ำล้างพระแสงขรรค์เป็นแน่
พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช จึงเข้าไปในพระราช-
สำนัก ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชว่า ขอเดชะ นิมิตทั้ง
หลายปรากฏตามกำหนดวิธีการ คือในเวลารุ่งอรุณพรุ่งนี้ จตุรงคเสนาจะผูก
สอดสรวมเกราะยืนอยู่ในสนามรบ และเจ้าพนักงานจะเอาน้ำล้างพระแสงขรรค์
ด้วย พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชจึงมีพระบรมราชโองการสั่งเจ้า
พนักงานทั้งหลายว่า ดูก่อนพนาย พราหมณ์ปุโรหิตสั่งการอย่างใด พวกเจ้า
จงทำอย่างนั้น
พระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชได้ทอดพระเนตรจตุรงคเสนา ผู้
ผูกสอดสรวมเกราะยืนอยู่ในสนามรบ และได้เสวยน้ำล้างพระแสงขรรค์ในเวลา
รุ่งอรุณ สมความปรารถนา ครั้นต่อมาทรงอาศัยความแก่แห่งพระครรภ์นั้น
ได้ประสูติพระราชโอรส พระชนกชนนีได้ขนานพระนามพระราชโอรสนั้นว่า
ทีฆาวุ และต่อมาไม่ช้านานเท่าไร ทีฆาวุราชกุมารก็ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา ครั้ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 462
นั้น พระเจ้าทีฆีติโกศลราชดำริว่า พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชนี้ ก่อความ
พินาศให้แก่พวกเรามากมาย ได้ช่วงชิงเอารี้พล พาหนะ ชนบท คลังศัส-
ตราวุธยุทธภัณฑ์ และคลังธัญญาหาร ของพวกเราไป ถ้าท้าวเธอจักสืบทราบ
ถึงพวกเรา คงสั่งให้ประหารชีวิตหมดทั้งสามคน ถ้ากระไร เราพึงให้พ่อทีฆาวุ-
กุมารหลบอยู่นอกพระนคร ครั้นแล้วได้ให้ทีฆาวุราชกุมารหลบอยู่นอก
พระนคร ครั้นทีฆาวุราชกุมารหลบอยู่นอกพระนคร ไม่นานเท่าไรนัก ก็ได้
ศึกษาศิลปะสำเร็จทุกสาขา.
พระเจ้าโกศลและพระมเหสีถูกจับ
[๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยนั้น นายช่างกัลบกของพระเจ้า
ทีฆีติโกศลราชได้สวามิภักดิ์อยู่ในพระเจ้าพรหมทักาสิกราช เขาได้เห็นพระเจ้า
ทีฆีติโกศลราช พร้อมมเหสีทรงปลอมแปลงพระกายมิให้ใครรู้จัก ทรงนุ่ง
ห่มเยี่ยงปริพาชก เสด็จอาศัยอยู่ในบ้านของช่างหม้อ ซึ่งตั้งอยู่ ณ ชายแดนแห่ง
หนึ่งเขตพระนครพาราณสี ครั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชได้
กราบทูลว่า ขอเดชะ พระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมกับมเหสีทรงปลอมแปลง
พระกายมิให้ใครรู้จัก ทรงนุ่งห่มเยี่ยงปริพาชก เสด็จอาศัยอยู่ในบ้านของช่าง
หม้อ ซึ่งทั้งอยู่ ณ ชายแดนแห่งหนึ่ง เขตพระนครพาราณสี พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช จึงมีพระบรมราชโองการสั่งเจ้า
พนักงานทั้งหลายว่า ดูก่อนพนาย ถ้ากระนั้น พวกเจ้าจงไปจับพระเจ้าทีฆีติ
โกศลราชพร้อมกับพระเมเหสี.
พวกเขาทูลรับ สนองพระบรมราชโองการว่า เป็นดังกระแสรับสั่ง พระ
พุทธเจ้าข้า ดังนั้น แล้วไปจับพระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมกับพระมเหสีมา
ถวาย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 463
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช จึงมีพระบรมราชโองการสั่งเจ้าพนักงาน
ทั้งหลายว่า ดูก่อนพนาย ถ้ากระนั้น พวกเจ้าจงเอาเชือกที่เหนียว ๆ มัดพระ
เจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมกับ พระมเหสี มัดให้แน่น ให้มีพระพาหาไพล่หลัง
กล้อนพระเกสา แล้วนำตระเวนไปตามถนน ตามตรอกทุกแห่ง ด้วยวัชฌเภรีมี
สำเนียงอันคมคาย แล้วให้ออกไปทางประตูค้านทักษิณ บั่นตัวออกเป็น ๔
ท่อนวางเรียงไว้ในหลุม ๔ ทิศ ทางด้านทักษิณแห่งพระนคร.
พวกเขาทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นดังพระกระแสรับสั่ง
พระพุทธเจ้าข้า ดังนั้นแล้ว ได้เอาเชือกอย่างเหนียวมัดพระเจ้าทีฆีติโกศลราช
พร้อมกับมเหสี มัดให้แน่นให้มีพระพาหาไพล่หลัง กล้อนพระเกสาแล้วนำ
ตระเวนไปตามถนน ตามตรอกทั่วทุกแห่งด้วยวัชฌเภรีมีสำเนียงอันคมคาย.
ครั้งนั้น ทีฆาวุราชกุมารได้ทรงดำริดังนี้ ว่า นานมาแล้วที่เราได้เยี่ยม
พระชนกชนนี ถ้ากระไร เราพึงไปเฝ้าเยี่ยมพระชนกชนนี ครั้นแล้วเข้าไปสู่
พระนครพาราณสี ได้ทอดพระเนตรเห็นเจ้าพนักงานทั้งหลายเอาเชือกอย่าง
เหนียว ๆ มัดพระชนกชนนีจนแน่น ให้มีพระพาหาไพล่หลัง กล้อนพระเกสา
แล้ว นำตระเวนไปตามถนนตามตรอก ด้วยวัชฌเภรีมีสำเนียงอันคมคาย ครั้น
แล้วเสด็จพระดำเนินเข้าไปใกล้พระชนกชนนี
พระราโชวาทของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช
พระเจ้าทีฆีติโกศลราช ได้ทอดพระเนตรเห็นทีฆาวุราชกุมารเสด็จพระ-
ดำเนินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้ตรัสพระบรมราโชวาทนี้แก่ทีฆาวุราชกุมาร
ว่า พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อม
ไม่ระงับได้เพราะไม่จองเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่จองเวร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 464
เมื่อท้าวเธอตรัสอย่างนี้แล้ว เจ้าพนักงานเหล่านั้น ได้ทูลคำนี้แด่ท้าว
เธอว่า พระเจ้าทีฆีติโกศลราชนี้เป็นผู้วิกลจริตจึงบ่นเพ้ออยู่ ที่ฆาวุของพระ
องค์คือใคร พระองค์ตรัสอย่างนี้กะใครว่า พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้า
อย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่
จองเวร
พระเจ้าทีฆีติโกศลราช ตรัสว่า พนาย เราไม่ได้เสียจริตบ่นเพ้ออยู่ แต่
ผู้ใดรู้เรื่อง ผู้นั้นจักเข้าใจ.
พระเจ้าทีฆีติโกศลราช ได้ตรัสพระบรมราโชวาทนี้แก่ทีฆาวุราชกุมาร
เป็นคำรบสองว่า . . .
พระเจ้าทีฆีติโกศราช ได้ตรัสพระบรมราโชวาทนี้แก่ทีฆาวุราชกุมาร
เป็นคำรบสามว่า พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้ง
หลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับ ได้เพราะไม่จองเวร
เจ้าพนักงานเหล่านั้น ได้ทูลคำนี้แค่พระเจ้าทีฆีติโกศลราชเป็นคำรบ ๓
ว่า เจ้าทีฆีทิโกศลนี้เป็นผู้วิกลจริต จึงบ่นเพ้ออยู่ ทีฆาวุของพระองค์คือใคร
พระองค์ตรัสกะใครอย่างนี้ว่า เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้ง
หลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่จองเวร.
พระเจ้าทีฆีติโกศลราชตรัสว่า พนาย เราไม่ได้เสียจริตบ่นเพ้ออยู่
แต่ผู้ใดรู้เรื่อง ผู้นั้นจักเข้าใจ.
พนักงานเหล่านั้น จึงได้นำพระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมกับพระมเหสี
ไปตามถนน ตามตรอกทั่วทุกแห่ง แล้วให้ออกไปทางประตูด้านทักษิณ บั่น
พระกายเป็น ๔ ท่อน วางเรียงไว้ในหลุม ๔ ทิศ ด้านทักษิณแห่งพระนคร
วางยามคอยระวังเหตุการณ์ไว้แล้วกลับไป ครั้งนั้น ทีฆาวุราชกุมาร เข้าไปสู่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 465
พระนครพาราณสี นำสุรามาเลี้ยงพวกเจ้าหน้าที่อยู่ยาม เมื่อเวลาที่คนเหล่านั้นเมา
ฟุบลง ทีฆาวุราชกุมารจึงจัดหาฟืนมาวางเรียงกันไว้ ยกพระบรมศพของพระ-
ชนกชนนีขึ้นสู่พระจิตกาธาร ถวายพระเพลิง แล้วประนมพระหัตถ์ทำประ-
ทักษิณพระจิตกาธาร ๓ รอบขณะนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ประทับ
อยู่ชั้นบนแห่งปราสาทอันประเสริฐได้ทอดพระเนตรเห็นทีฆาวุราชกุมาร กำลัง
ทรงประนมพระหัตถูทำประทักษิณพระจิตการธาร ๓ รอง ครั้นแล้วได้ทรงพระ-
ดำริแน่ในพระทัยว่า เจ้าคนนั้นคงเป็นญาติหรือสายโลหิต ของพระเจ้าทีฆิติ-
โกศลราชแน่นอน น่ากลัวจะก่อความฉิบหายแก่เรา ช่างไม่มีใครบอกเราเลย.
ครั้งนั้น ทีฆาวุราชกุมารเสด็จหลบเข้าป่าไป ทรงกันแสงร่ำไห้ จน
พอแก่เหตุ ทรงซับน้ำพระเนตร แล้วเสด็จเข้าพระนครพาราณสี ไปถึงโรง
ช้างใกล้พระบรมมหาราชวัง แล้วได้ตรัสคำนี้แก่นายหัตถาจารย์ว่า ท่านอาจารย์
ข้าพเจ้าปรารถนาจะศึกษาศิลปะ.
นายหัคถาจารย์ตอบว่า ถ้ากระนั้น เชิญมาศึกษาเถิดพ่อหนุ่มน้อย
อยู่มาวันหนึ่ง ทีฆาวุราชกุมาร ทรงตื่นบรรทมตอนปัจจุสมัยแห่งราตรีแล้ว
ทรงขับร้อง และดีดพิณคลอเสียงเจื้อยแจ้วอยู่ที่โรงช้าง.
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ทรงตื่นบรรทมเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี
ได้ทรงสดับเสียงเพลงและเสียงพิณที่ดีดคลอเสียงอัน เจื้อยแจ้วดังแว่วมาทางโรง
มงคลหัตถี จึงมีพระดำรัสถามพวกมหาดเล็กว่า แน่ะพนาย ใครตื่นในเวลาเช้า
มืดแห่งราตรีแล้ว ขับร้องและดีดพิณแว่วมาทางโรงช้าง.
พวกมหาดเล็กกราบทูลว่า ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า
ปกกระหม่อม ชายหนุ่มศิษย์ของนายหัตถาจารย์ชื่อโน้น ตื่นในเวลาเข้ามืดแห่ง
ราตรีแล้ว ขับร้องและดีดพิณคลอเสียงอันเจื้อยแจ้วดังที่โรงช้าง พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 466
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัส ว่า พนาย ถ้ากระนั้น จงพาชายหนุ่ม
มาเฝ้า พวกเขาทูลรับ สนองพระบรมราชโองการแล้ว พาทีฆาวุราชกุมารมาเฝ้า
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชจึงได้ตรัสถามทีฆาวุราชกุมารว่า พ่อชายหนุ่ม เจ้า
ตื่นในเวลาเช้าแห่งราตรีแล้ว ขับร้องและดีดพิณคลอเสียงอันเจื้อยแจ้วดังทาง
โรงช้างหรือ ?
ทีฆาวุราชกุมารทูลรับว่า เป็นดังพระกระแสรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า พ่อชายหนุ่ม ถ้ากระนั้น เจ้าจง
ขับร้องและดีดพิณไป.
ทีฆาวุราชกุมารทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นดังพระกระแส
รับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า ดังนั้น แล้วประสงค์จะให้ทรงโปรดปราน จึงขับร้อง
และดีดพิณด้วยเสียงไพเราะ.
ทีนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า พ่อชายหนุ่ม เจ้าจงอยู่รับ
ใช้เราเถิด.
ทีฆาวุราชกุมารทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นดังพระกระแส
รับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า ดังนั้น แล้วจึงประพฤติทำนองตื่นก่อนนอนทีหลัง
คอยเฝ้าฟังพระราชดำรัสใช้ ประพฤติให้ถูกพระอัธยาศัย เจรจาถ้อยคำไพเราะ
ต่อพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ครั้นต่อมาไม่นานนักท้าวเธอทรงแต่งตั้งทีฆาวุ
ราชกุมาร ไว้ในตำแหน่งผู้ไว้วางพระราชหฤทัย ใกล้ชิดสนิทภายใน อยู่มา
วันหนึ่ง ท้าวเธอได้ตรัสคำนี้แก่ทีฆาวุราชกุมารว่า พ่อชายหนุ่ม ถ้ากระนั้น
เจ้าจงเทียมรถ พวกเราจักไปล่าเนื้อ.
ทีฆาวุราชกุมารทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นดังพระราช
กระแสรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า แล้วจัดเทียมรถไว้เสร็จ ได้กราบทูลคำนี้แด่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 467
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชว่า ขอเดชะ รถพระที่นั่งเทียมเสร็จแล้ว พระ-
พุทธเจ้าข้า บัดนี้ ขอจงทรงพระกรุณาโปรดทราบกาลอันควรเถิด พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช เสด็จขึ้นราชรถ ทีฆาวุ-
ราชกุมารขับราชรถไป แต่ขับราชรถไปโดยวิธีที่หมู่เสนาได้แยกไปทางหนึ่ง
ราชรถได้แยกไปทางหนึ่ง ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชเสด็จไปไกล
แล้วได้ตรัสคำนี้แก่ทีฆาวุราชกุมารว่า พ่อชายหนุ่ม ถ้ากระนั้น เจ้าจงจอดรถ
เราเหนื่อยอ่อนจักนอนพัก.
ทีฆาวุราชกุมารทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นดังพระราช
กระแสรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า ดังนั้นแล้วจอคราชรถนั่งขัดสมาธิอยู่ที่พื้นดิน
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช จึงทรงพาดพระเศียรบรรทมอยู่บนตักของทีฆาวุ
ราชกุมาร เมื่อท้าวเธอทรงเหน็ดเหนื่อยมา เพียงครู่เดียวก็บรรทมหลับ.
ขณะนั้น ทีฆาวุราชกุมารคิดถึงความหลังว่า พระเจ้าพรหมทัตกาสิก-
ราชนี้แล ทรงก่อความฉิบหายแก่พวกเรามากมาย ท้าวเธอทรงช่วงชิงรี้พล
ราชพาหนะ ชนบท คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหารของพวกเราไป
และยังได้ปลงพระชนมชีพพระชนกชนนีของเราเสียด้วย เวลานี้เป็นเวลาที่เรา
พบคู่เวร ดังนี้จึงชักพระแสงขรรค์ออกจากฝัก แต่เจ้าชายได้ทรงยั้งพระทัยไว้ได้
ในทันทีว่า พระชนกได้ทรงสั่งเราไว้เมื่อใกล้สวรรคตว่า พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่า
เห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อม
ระงับได้เพราะไม่จองเวร การที่เราจะละเมิดพระดำรัสสั่งของพระชนกนั้น ไม่
สมควรแก่เราเลย ดังนี้ แล้วสอดพระแสงขรรค์เข้าไว้ในฝัก.
ทีฆาวุราชกุมาร ได้ทรงคิดถึงความหลังเป็นคำรบสองว่า. . .
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 468
ทีฆาวุราชกุมาร ได้ทรงคิดถึงความหลังเป็นคำรบสามว่า พระเจ้า
พรหมทัตกาสิกราชนี้แล ทรงก่อความฉิบหายแก่พวกเรามากมาย ท้าวเธอทรง
ช่วงชิงรี้พลราชพาหนะ ชนบท คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหารของ
พวกเราไป และยังได้ปลงพระชนมชีพพระชนกชนนีของเราเสียด้วย เวลานี้เป็น
เวลาที่เราพบคู่เวรดังนี้ จึงชักพระแสงขรรค์ออกจากฝัก แต่ก็ทรงยั้งพระทัยไว้
ได้ทันที เป็นค้ำรบสามว่า พระชนกได้ตรัสสั่งไว้เมื่อใกล้สวรรคตว่า พ่อทีฆาวุ
เจ้าอย่าเห็นแก่ยาวเจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่
ย่อมระงับ ได้เพราะไม่จองเวร การที่เราจะละเมิดพระดำรัสสั่งของพระชนกนั้น
ไม่สมควรแก่เราเลยดังนี้ แล้วทรงสอดพระแสงขรรค์เข้าไว้ในฝักตามเติม
ขณะนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ทรงกลัว หวั่นหวาด สะดุ้ง
พระทัยรีบเสด็จลุกขึ้น ทีฆาวุราชกุมารได้กราบทูลคำนี้แด่พระเจ้าพรหมทัต-
กาสิกราชในทันทีว่าขอเดชะ เพราะอะไรหรือพระองค์จึงทรงกลัว หวั่นหวาด
สะดุ้งพระทัย รีบเสด็จลุกขึ้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสตอบว่า พ่อชายหนุ่ม ฉันฝันว่า
ทีฆาวุราชกุมาร โอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชฟาดฟันฉันด้วยพระแสงขรรค์
ณ ที่นี้ เพราะเหตุนั้น ฉันจึงกลัว หวั่นหวาด ตกใจรีบลุกขึ้น
ทันใดนั้น ทีฆาวุราชกุมารจับพระเศียรของพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช
ด้วยพระหัตถ์ซ้าย ชักพระแสงขรรค์ด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วได้กล่าวคำขู่แก่
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คือ ทีฆาวุราช-
กุมาร โอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชคนนั้น พระองค์ทรงก่อความฉิบหาย-
แก่พวกข้าพระพุทธเจ้ามากมาย คือ ทรงช่วงชิงรี้พล ราชพาหนะ ชนบท
คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์ และคลังธัญญาหาร ของข้าพระพุทธเจ้าไป มิหนำ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 469
ซ้ำยังปลงพระชนกชีพพระชนกชนนีของข้าพระพุทธเจ้าเสียด้วย เวลานี้เป็นเวลา
ที่ข้าพระพุทธเจ้าพบคู่เวรละ.
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชจึงซบพระเศียรลงแทบยุคลบาทของทีฆาวุ-
ราชกุมาร แล้วได้ตรัสคำวิงวอนแก่เจ้าชายว่า พ่อทีฆาวุ พ่อจงให้ชีวิต แก่ฉัน
พ่อทีฆาวุ พ่อจงให้ชีวิตแก่ฉันด้วยเถิด.
เจ้าชายกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าหรือจะเอื้อมอาจทูลเกล้าถวายชีวิต
แก่พระองค์ พระองค์ต่างหากควรพระราชทานชีวิตแก่ข้าพระพุทธเจ้า.
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า พ่อทีฆาวุ ถ้าเช่นนั้น พ่อจงให้
ชีวิตแก่ฉัน และฉันก็ให้ชีวิตแก่พ่อ.
ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช และทีฆาวุราชกุมาร ต่างได้ให้
ชีวิตแก่กันและกัน ได้จับพระหัตถ์กัน และได้ทำการสบถ เพื่อไม่ทำร้ายกัน
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชจึงได้ตรัสดำนี้แก่ทีฆาวุราชกุมารว่า พ่อทีฆาวุ ถ้า
กระนั้นพ่อจงเทียมรถไปกันเถอะ.
ทีฆาวุราชกุมารทูลรับสนองพระบรมราชโอองการว่า เป็นดังพระกระแส
รับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า ดังนั้น แล้วเทียมรถ ได้กราบทูลพระเจ้าพรหม.
ทัตกาสิกราชว่า รถพระที่นั่งเทียมเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้า บัดนี้ ขอพระ
องค์โปรดทรงทราบกาลอันควรเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชจึงเสด็จในรถทรงแล้ว ทีฆาวุราชกุมารขับ
รถไป ได้ขับรถไปโดยวิธีไม่นานนักก็มาพบกองทหาร ครั้นพระเจ้าพรหมทัต-
กาสิกราชเสด็จเข้าสู่พระนครพาราณสีแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้เรียกประชุม
หมู่อำมาตย์ราชบริพาร ได้ตรัสถามความเห็นข้อนี้ว่า พ่อนายทั้งหลาย ถ้าพวก
ท่านพบทีฆาวุราชกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช จะพึงทำอะไรแก่เขา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 470
อำมาตย์บางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ พวกข้าพระพุทธเจ้า
จะพึงตัดมือ จะพึงตัดเท้า จะพึ่งตัดทั้งมือและเท้า จะพึงตัดหู จะพึงตัดจมูก
จะพึงตัดทั่งหูและจมูก จะพึงตัดศีรษะพระพุทธเจ้าข้า.
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า พ่อนายทั้งหลาย ชายหนุ่มผู้นี้แล
คือ ทีฆาวุราชกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชคนนั้น ชายหนุ่มผู้นี้ใคร ๆ
จะทำอะไรไม่ได้ เพราะชายหนุ่มผู้นี้ได้ให้ชีวิตแก่เรา และเราก็ได้ให้ชีวิตแก่
ชายหนุ่มผู้นี้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามความข้อนี้แก่ทีฆาวุราชกุมารว่า พ่อทีฆาวุ
พระชนกของเธอได้ตรัสคำใดไว้ เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่า
เห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่เวร
ทั้งหลายย่อมระงับได้ เพราะไม่จองเวร ดังนี้ พระชนกของเธอได้ตรัสดำนั้น
หมายความว่าอย่างไร ?
ทีฆาวุราชกุมารกราบทูลว่า ขอเดชะ พระชนกของข้าพระพุทธเจ้าได้
ตรัสพระบรมราโชวาทอันใดแลไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว ดัง
นี้หมายความว่า เจ้าอย่าได้จองเวรให้ยืดเยื้อ เพราะฉะนั้น พระชนกของข้า
พระพุทธเจ้า จึงได้ตรัสพระบรมราโชวาทอันนี้แลไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า เจ้า
อย่าเห็นแก่ยาว พระชนกของข้าพระพุทธะเจ้า ได้ตรัสพระบรมราโชวาทอันใด
แลไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น ดังนี้ หมายความว่า เจ้าอย่า
แตกร้าวจากมิตรเร็วนัก เพราะฉะนั้น พระชนกของข้าพระพุทธเจ้า จึงได้ตรัส
พระบรมราโชวาทอันนี้แลไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น พระชนก
ของข้าพระพุทธเจ้าได้ตรัสพระบรมราโชวาทอันใดแลไว้ เมื่อใกล้จะสวรรคต
ว่า พ่อทีฆาวุ เวรทั้งหลาย ย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะ
ไม่จองเวร ดังนี้ หมายความว่าพระชนกชนนีของข้าพระพุทธเจ้า ถูกพระองค์
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 471
ปลงพระชนมชีพเสีย ถ้าข้าพระพุทธเจ้า จะพึงปลงพระชนมชีพของพระองค์
เสียบ้าง คนเหล่าใดใคร่ความเจริญแก่พระองค์ คนเหล่านั้นจะพึงปลงชีวิตข้า
พระพุทธเจ้า คนเหล่าใดใคร่ความเจริญแก่ข้าพระพุทธเจ้า คนเหล่านั้นจะพึง
ปลงชีวิตคนเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เวรนั้น ไม่พึงระงับเพราะเวร แต่มาบัด
นี้ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานชีวิตแก่ข้าพระพุทธเจ้า และข้า
พระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถวายพระชนมชีพแก่พระองค์ เป็นอันว่าเวรนั้นระงับแล้ว
เพราะไม่จองเวร พระชนกของข้าพระพุทธเจ้า จึงได้ตรัสพระบรมราโชวาทอัน
นี้แลไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า พ่อทีฆาวุ เวรทั้งหลายย่อมไม่งับเพราะเวรเลย
แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่จองเวร พระพุทธเจ้า.
ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีเลย ทีฆาวุราชกุมารนี้เป็นบัณฑิต จึงได้เข้าใจความ
แห่งภาษิต อันพระชนกตรัสแล้วโดย่อได้โดยพิสดาร แล้วทรงพระกรุณาโปรด
พระราชทานคืนรี้พล ราชพาหนะ ชนบท คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลัง
ธัญญาหารอัน เป็นพระราชสมบัติของพระชนก และได้พระราชทานพระราชธิดา
อภิเษกสมรสด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขันติ โสรัจจะ เห็นปานนี้ ได้มีแล้วแก่พระ
ราชาเหล่านั้น ผู้ถืออาชญา ผู้ถือศัสตราวุธ ก็การที่พวกเธอบวชในธรรมวินัย
อันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ จะพึงอดทนและสงบเสงี่ยมนั้น ก็จะพึงงามในธรรม
วินัยนี้แน่.
[๒๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระโอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้นเป็น
คำรบสามว่า อย่าเลย ภิกษุทั้งหลาย อย่าบาดหมางกัน อย่าแก่งแย่งกัน
อย่าวิวาทกันเลย อธรรมวาทีภิกษุรูปนั้น ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 472
ภาคเจ้าเป็นคำรบสามว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของ
แห่งธรรมได้โปรดทรงยับยั้งเถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดทรงมีความ
ขวนขวายน้อย ประกอบสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระพุทธเจ้า
จักปรากฏด้วยความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง การวิวาทนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพระดำริว่า โมฆบุรุษเหล่านี้หัวดื้อนักแล เราจะให้
โมฆบุรุษเหล่านี้เข้าใจกัน ทำไม่ได้ง่ายเลย ดังนี้ แล้วเสด็จลุกจากพระพุทธ-
อาสนะกลับไป.
ทีฆาวุภาณวาร ที่ ๑ จบ
[๒๔๖] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว
ทรงถือบาตรจีวรเสด็จเข้าพระนครโกสัมพีเพื่อบิณฑบาต เสด็จเที่ยวบิณฑบาต
ที่พระนครโกสัมพีแล้ว ครั้นเวลาบ่าย เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทรงเก็บเสนา
สนะถือบาตรจีวร ประทับยืนท่ามกลางพระสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ว่า
ดังนี้:-
เวรุปสมคาถา
[๒๔๗] ภิกษุมีเสียงดังเป็นเสียงเดียว
กัน จะได้สำคัญตัวว่า เป็นพาล ไม่มีเลย
สักรูปเดียว ยิ่งเมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่ได้
สำคัญเหตุอื่น ภิกษุทั้งหลายลืมติ สำคัญ
ตัวว่าเป็นบัณฑิต ช่างพูด เจ้าคาราม พูดไป
ตามที่ตนปรารถนาจะยื่นปากพูด ไม่รู้สึก
ว่าความทะเลาะเป็นเหตุชักพาไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 473
ก็คนเหล่าใดจองเวรไว้ว่า คนโน้น
ด่าเรา ตีเรา ชนะเรา ได้ลักสิ่งของของเรา
ไป เวรของคนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ ส่วนคน
เหล่าใดไม่จองเวรไว้ว่า ตนโน้น ด่าเรา ตีเรา
ชนะเรา ได้ลักสิ่งของของเราไป เวรของ
คนเหล่านั้นย่อมสงบ.
แต่ไหนแต่ไรมา เวรทั้งหลายในโลก
นี้ย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับ
เพราะไม่จองเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.
ก็คนเหล่าอื่นไม่รู่สึกว่า พวกเรา
กำลังยับเยิน ณ ท่ามกลางสงฆ์นี้ ส่วนคน
เหล่าใด ในท่ามกลางสงฆ์นั้น รู้สึกเพราะ
ความรู้สึกของคนเหล่านั้น ความหมายมั่น
ย่อมระงับ.
คนเหล่าใดบั่นกระดูก ผลาญชีวิต
ลักทรัพย์ คือ โคและม้า คนเหล่านั้นถึง
ช่วงชิงแว่นแคว้นกัน ก็ยังคบทาสมาคมกัน
เหตุไฉนพวกเธอจึงคบหาสมาคมกันไม่ได้
เล่า.
ถ้าบุคคลพึงได้สหายมีปัญญา เที่ยว
ไปด้วยกัน เป็นนักปราชญ์คอยช่วยเหลือกัน
เขาครอบงำอันตรายทั้งปวงเสียได้ พึงพอใจ
มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น ถ้าไม่ได้สหายมี
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 474
ปัญญา เที่ยวไปด้วยกัน เป็นนักปราชญ์คอย
ช่วยเหลือกัน พึงเที่ยวไปคนเดียว ดุจพระ
ราชาทรงสละแว่นแคว้นคือราชอาณาจักร
และดุจช้างมาตังคะ ละฝูงเที่ยวไปในป่า
ฉะนั้น การเที่ยวไปคนเดียวดีกว่า เพราะคุณ
เครื่องเป็นสหายไม่มีในคนพาล พึงเที่ยวไป
คนเดียว และไม่พึงทำบาป ดุจช้างมาตังคะ
มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปในป่าแต่ลำพัง
ฉะนั้น.
เสด็จพาลกโลณการกคาม
[๒๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังประทับอยู่ท่ามกลางสงฆ์
ตรัสพระคาถาเหล่านี้ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพาลกโลณการกคาม ก็
สมัยนั้นท่านพระภคุพักอยู่ที่บ้านพาลกโลณการกคาม ได้แลเห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้ากำลังเสด็จพระพุทธดำเนินมาแค่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้จัดที่ประทับ
ตั้งน้ำล้างพระบาท ตั่งรองพระบาท กระเบื้องเช็ดพระบาท ไปรับเสด็จรับบาตร
จีวร พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือพุทธอาสนะที่จัดไว้ ครั้นแล้วให้ล้าง
พระยุคลบาท ฝ่ายท่านพระภคุถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งเฝ้าอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้แก่ท่านพระภคุผู้นั่งอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนภิกษุ เธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพ
เป็นไปได้หรือ เธอไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาตหรือ ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 475
ท่านพระภคุกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้า ยังพอทนได้ ยังพอให้
อัตภาพเป็นไปได้ และพระพุทธเจ้าก็ไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต
พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงชี้แจงให้ท่านพระภคุเห็นแจ้ง สมาทาน
อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถา แล้วเสด็จลุกจากที่ประทับ เสด็จพุทธดำเนิน
ไปทางปาจีนวังสทายวัน
ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ
พักอยู่ที่ปราจีนวิ่งสทายวัน คนเฝ้าสวนได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จ
มาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระ
สมณะ พระองค์อย่าเสด็จเข้ามาสู่สวนนี้ เพราะในสวนนี้มีกุลบุตรอยู่ ๓ ท่าน
ต่างกำลังมุ่งประโยชน์ของตนอยู่ พระองค์อย่าได้ทำความไม่สำราญแก่พวกนั้น
เลย.
ท่านพระอนุรุทธะได้ยินเสียงคนเฝ้าสวน กำลังโต้ตอบอยู่กับพระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงได้บอกคนเฝ้าสวนว่า นายทายบาล ท่านอย่าห้ามพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเลย พระองค์เป็นศาสดาของพวกเรา เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ
ครั้นแล้วเข้าไปหาท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ ได้แจ้งความข้อนี้
แก่ท่านทั้งสองว่า จงรีบออกไปเถิด พวกท่าน จงรีบออกไปเถิด พวกท่าน
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว โดยลำดับ ท่านพระ
อนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ จึงพากันลุกไปรับเสด็จพระผู้มี
พระภาคเจ้า รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งปูอาสนะ
รูปหนึ่งตั้งน้ำล้างพระบาทตั่งรอง พระบาท กระเบื้องเช็คพระบาท พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าประทับ นั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่จัดไว้ ครั้นแล้วให้ล้างพระยุคลบาท
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 476
ท่านเหล่านั้นก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า
อนุรุทธะพวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ ไม่ลำบาก
ด้วยอาหารบิณฑบาตหรือ ?
พวกท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า พวกข้าพระพุทธเจ้า ยังพอทนได้
ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้ และพวกข้าพระพุทธเจ้า ไม่ลำบากด้วยอาหาร
บิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนพวกอนุรุทธะ ก็พวกเธอยังพร้อมเพรียงกัน ยังปรองดอง
กัน ไม่วิวาทกัน เป็นดุจน้ำนมสดกับน้ำ มองดูกันด้วยดวงตาอันเป็นที่รักอยู่
หรือ ?
อ. ข้าพระพุทธเจ้าเหล่านั้นยังพร้อมเพรียงกัน ยังปรองดองกัน ไม่
วิวาทกัน เป็นดุจน้ำนมสดกับน้ำ มองดูกันด้วยดวงตาอันเป็นที่รักอยู่ โดยส่วน
เดียว พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนพวกอนุรุทธะ พวกเธอพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่
วิวาทกัน เป็นดุจน้ำนมสดกับน้า มองดูกันด้วยดวงตาอันเป็นที่รักอยู่ ด้วย
วิธีอย่างไรเล่า ?
สมัคคีธรรม
อ. พระพุทธเจ้าข้า ในข้อนี้ข้าพระพุทธเจ้ามีความติดอย่างนี้ว่า เป็น
ลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เราได้อยู่ร่วมกับเพื่อนสพรหมจารีเห็น
ปานนี้ ข้าพระพุทธเจ้านั้น ได้เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม
เมตตามโนกรรมไว้ในท่านเหล่านี้ ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ข้าพระพุทธเจ้านั้นมี
ความติดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงวางจิตของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิต
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 477
ของท่านเหล่านี้เท่านั้น ดังนี้แล้ววางจิตของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิตของท่าน
เหล่านี้แหละ กายของพวกข้าพระพุทธเจ้าต่างกัน ก็จริงแล แต่จิตเป็นเหมือน
ดวงเดียวกัน พระพุทธเจ้า.
ฝ่ายท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละ ต่างได้กราบทูลคำนี้แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็มีความติดอย่างนี้ว่า
เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เราได้คืออยู่ร่วมกับเพื่อนสพรหมจารีเห็น
ปานนี้ ข้าพระพุทธเจ้านั้น ได้เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตา-
มโนกรรมไว้ในท่านเหล่านั้น ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ข้าพระพุทธเจ้านั้นมีความ
คิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงวางจิตของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิตของท่าน
เหล่านี้เท่านั้น ดังนี้ แล้ววางจิตของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิตของท่านเหล่านั้น
แหละ กายของพวกข้าพระพุทธเจ้าต่างกันก็จริงแล แต่จิตเป็นเหมือนดวงเดียว
กัน พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ยังปรองดอง
กัน ไม่วิวาทกัน เป็นดุจน้ำนมสดกับน้ำ มองดูกันด้วยดวงตาอัน เป็นที่รักอยู่
ด้วยวิธีอย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนพวกอนุรุทธะ ก็พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
เผากิเลส มีตนส่งไปอยู่หรือ ?
อ. พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มี
ตนส่งไปอยู่โดยส่วนเดียว พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนพวกอนุรุทธะ พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผา
กิเลส มีตนส่งไปอยู่ ด้วยวิธีอย่างไรเล่า ร
อ พระพุทธเจ้าข้า ในข้อนี้ บรรดาพวกข้าพระพุทธเจ้า รูปใด
บิณฑบาตลับจากบ้านก่อน รูปนั้นก็ปูอาสนะตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 478
กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างสำรับกับข้าวแล้วตั้งไว้ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ รูปใด
บิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง ถ้ามีอาหารที่ฉันแล้วเหลืออยู่ ถ้าต้องการก็ฉัน
ถ้าไม่ต้องการ ก็เททิ้งในที่ปราศจากของเขียวสด หรือล้างเสียในน้ำที่ไม่มีตัว
สัตว์ รูปนั้นรื้ออาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กรเบื้องเช็ดเท้า ล้างสำรับ
กับข้าวแล้วเก็บไว้เก็บน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดโรงฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อ
น้ำใช้ หรือหม้อน้ำในวัจจกุฎีว่างเปล่า รูปนั้นก็ตักน้ำตั้งไว้ ถ้ารูปนั้นไม่
สามารถ พวกข้าพระพุทธเจ้าก็กวักมือเรียกเพื่อนมา แล้วช่วยกันตักยกเข้าไป
ตั้งไว้ แต่พวกข้าพระพุทธเจ้ามิได้บ่นว่า เพราะข้อนั้น เป็นเหตุเลย และพวก
ข้าพระพุทธเจ้า นั่งประชุมกัน ด้วยธรรมมีกถาตลอดคืนยังรุ่งทุก ๆ ๕ วัน พวก
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่ประมาท มีตนส่งไปอยู่ ด้วยวิธีอย่างนี้แล พระพุทธ-
เจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงชี้แจง ให้ท่านพระอนุรุทธะ
ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากที่ประทับ เสด็จพระพุทธดำเนินไปทางตำบล
บ้านปาริไลยกะ เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบลบ้านปาริไลยกะ ทราบว่าพระ-
องค์ประทับอยู่ที่โคนไม้รังใหญ่ ในไพรสณฑ์รักขิตวัน เขตตำบลบ้าน
ปาริไลยกะนั้น.
เรื่องช้างใหญ่ปาริไลยกะ
[๒๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปในที่สงัดทรงหลีกเร้น
อยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งพระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราวุ่นด้วยภิกษุ
ชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น อยู่ไม่สำราญเลย เดี๋ยวนี้ เราว่างเว้นจาก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 479
ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น อยู่คนเดียว ไม่มีเพื่อน เป็นสุข
สำราญดี.
แม้ช้างใหญ่เชือกหนึ่งก็ยุ่งอยู่ด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่
ลูกช้างเล็ก ได้กินแต่หญ้ายอดด้วน ส่วนกิ่งไม้ที่พระยาช้างนั้นหักลงมากยังไว้
ช้างเหล่านั้นก็กินหมด ได้ดื่มแต่น้ำขุ่น ๆ เมื่อพระยาช้างนั้นลงและขึ้นจากท่า
ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป ต่อมาพระยาช้างนั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เรายุ่ง
อยู่ด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ ลูกช้างเล็ก ได้กินแต่หญ้ายอดด้วน
ส่วนกิ่งไม้ที่เราหักลงมากองไว้ ช้างเหล่านั้นก็กินหมด ได้ดื่มแต่น้าขุ่น ๆ เมื่อเรา
ลงและขึ้นจากท่า ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป ไฉนหนอ เราพึงหลีกออกจาก
โขลงอยู่แต่ผู้เดียว ครั้นแล้ว ได้หลีกออกจากโขลงเดินไปทางบ้านปาริไลยกะ
ไพรสณฑ์รักชิตวันควงไม้รังใหญ่ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วใช้งวงตัก
น้ำฉันน้ำใช้เข้าไปตั้งไว้เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า และปราบสถานที่ให้ปราศจาก
ของเขียวสด ครั้นกาลต่อมาพระยาช้างนั้นได้คำนึงว่า เมื่อก่อนเรายุ่งด้วยช้าง
พลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ ลูกช้างเล็ก อยู่ไม่ผาสุกเลย ได้กินแต่หญ้ายอดด้วน
ส่วนกิ่งไม้ที่เราหักลงมากองไว้ ช้างเหล่านั้นก็กินหมด ได้ดื่มแต่น้ำขุ่น ๆ เมื่อ
เราลงและขึ้นจากท่า ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป เดี๋ยวนี้ เราว่างเว้นจากช้าง
พลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ ลูกช้างเล็ก อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน เป็นสุข
สำราญดี.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความเงียบสงัดของพระองค์
และทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของพระยาช้างนั้นด้วยพระทัย จึงทรงเปล่ง
อุทานนี้ขึ้นในเวลานั้น ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 480
จิตของพระยาช้างผู้มีงางามดจงอนรถนั้นเสมอด้วยจิตของ
ท่านผู้ประเสริฐ เพราะเป็นผู้เดียวยินดีในป่าเทมือนกัน.
[๒๕๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ทีตำบลบ้านปาริไลยกะ
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จ
จาริกโดยลำดับถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่พระเขตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น.
อุบาสกอุบาสิกาชาวพระนครโกสัมพีไม่อภิวาท
[๒๕๑] ครั้งนั้น อุบายสกอุบายสิกาชาวพระนครโกสัมพีได้หารือกันดัง
นี้ว่า พระคุณเจ้าเหล่าภิกษุชาวพระนครโกสัมพีนี้ ทำความพินาศใหญ่โตแก่พวก
เรา พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกท่านเหล่านี้รบกวน จึงเสด็จหลีกไปเสีย เอาละ พวก
เราไม่ต้องอภิวาท ไม่ต้องลุกรับ ไม่ต้องทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม ไม่
ต้องทำสักการะ ไม่ต้องเคารพ ไม่ต้องนับถือ ไม่ต้องบูชาซึ่งพระคุณเจ้าเหล่า
ภิกษุชาวพระนครโกสัมพี แม้เข้ามาบิณฑบาต ก็ไม่ต้องถวายบิณฑบาต ท่าน
เหล่านี้ ถูกพวกเราไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีสักการะ
อย่างนี้ จักหลีกไปเสีย หรือจักสึก หรือจักให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโปรด
ครั้นแล้วไม่อภิวาท ไม่ลุกรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม ไม่สักการะ
ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ซึ่งพวกภิกษุชาวพระนครโกสัมพี แม้เข้ามา
บิณฑบาตก็ไม่ถวายบิณฑบาต.
ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวพระนครโกสัมพี ถูกอุบาสกอุบาสิกาชาวพระ-
นครโกสัมพี ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีสักการะ
จึงพูดกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย มิฉะนั้น พวกเราพึงไปพระนครสาวัตถี
แล้วระงับอธิกรณ์นี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้ว เก็บงำเสนาสนะ
ถือบาตรจีวร พากันเดินทางไปพระนครสาวัตถี.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 481
พระสารีบุตรเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ
[๒๕๒] ท่านพระสารีบุตรได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวพระนครโกสัมพี
ผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพระพุทธสำนัก
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระสารี-
บุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธ
เจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวพระนครโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการ
ทะเลา ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น พากันมาสู่
พระนครสาวัตถี ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธ-
เจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า สารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงดำรงอยู่ตาม
ธรรม.
สา. ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงทราบธรรมอย่างไร พระพุทธเข้า ?
วัตถุสำหรับอธรรมวาที ๑๘ ประการ
พ. สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ
คือภิกษุในธรรมวินัยนี้:-
๑. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรมะ
๒. แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม.
๓. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย.
๔. แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย.
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัส ไว้ ว่า
พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 482
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ ว่าพระตถาคตมิได้
ทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้.
๗. แสดงมรรยาทอันพระตถาคต มิได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคต
ทรงประพฤติมา.
๘. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว ว่าพระตถาคต
มิได้ทรงประพฤติมา.
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าอันพระตถาคตทรง
บัญญัติไว้.
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรง
บัญญัติไว้.
๑๑. แสดงสิ่งที่มิใช่อาบัติ ว่าเป็นอาบัติ.
๑๒. แสดงสิ่งที่เป็นอาบัติ ว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ.
๑๓. แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติหนัก.
๑๔. แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติเบา.
๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้.
๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ.
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถี ๑๘ ประการนี้ แล.
วัตถุสำหรับธรรมวาที ๑๘ ประการ
สารีบุตร และพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 483
๑. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม.
๒. แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม.
๓. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย.
๔. แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย.
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัส ไว้ ว่า
พระตถาคตได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้.
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ ว่าพระตถาคตทรง
ภาษิตไว้ ตรัสไว้.
๗. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคต
มิได้ทรงประพฤติมา.
๘. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรง
ประพฤติมา.
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรง
บัญญัติไว้.
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตทรงบัญญัติ
ไว้.
๑๑. แสดงสิ่งมิใช่อาบัติ ว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ.
๑๒. แสดงสิ่งที่เป็นอาบัติ ว่าเป็นอาบัติ.
๑๓. แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติเบา.
๑๔. แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติหนัก.
๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ.
๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 484
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ.
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.
สารีบุตร เธอพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.
พระเถรานุเถระเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ
[๒๕๓] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้สดับข่าว...
ท่านพระมหากสัสปะได้สดับข่าว...
ท่านพระมหากัจจานะได้สดับข่าว...
ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้สดับข่าว...
ท่านพระมหากัปปินะได้สดับข่าว...
ท่านพระมหาจุนทะได้สดับข่าว...
ท่านพระอนุรุทธะได้สดับข่าว...
ท่านพระเรวตะได้สดับข่าว...
ท่านพระอุบาลีได้สดับข่าว...
ท่านพระอานนท์ได้สดับข่าว...
ท่านพระราหุลได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง
ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น
พากันมาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้วนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้ทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า
ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี
ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไรพระพุทธเจ้าข้า ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 485
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ราหุล ถ้าเช่นนั้น เธอจงดำรงอยู่ตามธรรม.
ราหุล ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงทราบธรรมหรืออธรรมอย่างไร พระพุทธ.
เจ้าข้า ?
พ. ราหุล เธอพึงทราบ อธรรมวาที่ภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ...
ราหุล เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.
ราหุล และพึงทราบธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ...
ราหุล เธอพึงทราบธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีเข้าเฝ้าทูลถามข้าปฏิบัติ
[๒๕๔] พระเถรีมหาปชาบดีโคตมี ได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมือง
โกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระ-
เถรีมหาปชาบดีโคตมียืนเฝ้าเรียบร้อยแล้ว ทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ที่ก่อความ
บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี หม่อมฉันจะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไร
พระพุทธเจ้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โคตมี ถ้าเช่นนั้น เธอจงพึงธรรมภิกษุ
สองฝ่าย ครั้นฟังธรรมในสองฝ่ายแล้ว ภิกษุเหล่าใดในสองฝ่ายนั้นเป็นธรรม
วาที เธอจงพอใจความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ และความเชื่อถือ
ของภิกษุฝ่ายธรรมวาทีนั้น อนึ่ง วัตรอย่างหนึ่งอย่างใดอันภิกษุณีสงฆ์พึงหวัง
แต่ภิกษุสงฆ์ วัตรทั้งนั้นหมดอันเธอพึงหวังแต่ธรรมวาทีภิกษุฝ่ายเดียว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 486
อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าทูลถามข้อปฏิบัติ
[๒๕๕] อนาถบิณฑิกคหบดีได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่
ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้น
แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อนาถ-
บิณฑิกคหบดีนั่งเฝ้าเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง
ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น
พากันมาสู่พระนครสาวัตถี ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คหบดี ถ้ากระนั้น ท่านจงถวายทานใน
ภิกษุสองฝ่าย ครั้นถวายทานภิกษุในสองฝ่ายแล้ว จงพึงธรรมในสองฝ่ายครั้น
ฟังธรรมในสองฝ่ายแล้ว ภิกษุเหล่าใดในสองฝ่ายนั้น เป็นธรรมวาที ท่านจง
พอใจในความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ เละความเธอถือ ของภิกษุ
ฝ่ายธรรมวาทีนั้น.
นางวิสาขามิคารมาตาเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ
[๒๕๖] นางวิสาขามิคารมาตาได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที
ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้น
แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งเฝ้าอยู่ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง นาง-
วิสาขามิคารมาตานั่งเฝ้าเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ที่ก่อความ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 487
บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี หม่อมฉันจะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้น
อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วิสาขา ถ้ากระนั้น เธอจงถวายทานใน
ภิกษุสองฝ่าย ครั้นถวายทานในสองฝ่ายแล้ว จงฟังธรรมในสองฝ่าย ครั้นฟัง
ธรรมในสองฝ่ายแล้ว ภิกษุเหล่าใดในสองฝ่ายนั้นเป็นธรรมวาที เธอจงพอใจ
ในความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ และความเธอถือ ของภิกษุฝ่ายธรรม.
วาทีนั้น.
[๒๕๗] ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ได้ไปถึงพระนคร
สาวัตถี โดยลำดับ ท่านพระสารีบุตรจึงเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นแล้วถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามข้อ
ปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมือง
โกสัมพี ที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาถึงพระนครสาวัตถีแล้วโดยลำดับ
ข้าพระพุทธเจ้า จะพึงจัดเสนาสนะสำหรับภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธ-
เจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สารีบุตร ถ้ากระนั้น เธอพึงให้เสนาสนะ
ที่ว่าง.
สา. ก็ถ้าเสนาสนะว่างไม่มี จะพึงปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า ?
พ. สารีบุตร ถ้ากระนั้น พึงทำเสนาสนะให้ว่างแล้วให้ แต่เราไม่ได้
กล่าวว่า พึงห้ามเสนาสนะแก่ภิกษุผู้แก่พรรษา โดยปริยายอะไร ๆ หามิได้เลย
รูปใดห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 488
สา. ในอามิสเล่า จะพึงปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.
พ. สารีบุตร พึงแบ่งอามิสให้ภิกษุทั้งหมดเท่า ๆ กัน.
รับภิกษุผู้ถูกยกเข้าหมู่
[๒๕๘] ครั้งนั้น ภิกษุผู้ถูกยกรูปนั้น พิจารณาถึงธรรมและวินัยอยู่
ได้สำนึกข้อนี้ว่า นั้นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ เราเป็นผู้ต้องอาบัติ
แล้ว ไม่เป็นผู้ต้องอาบัติหามิได้ เราเป็นผู้ถูกยกแล้ว ด้วยกรรมเป็นธรรม ไม่
กำเริบ ควรแก่ฐานะ ครั้นแล้วเข้าไปหาภิกษุพวกที่สนับสนุนภิกษุผู้ถูกยก แล้ว
ได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกนั้นว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็น
อาบัติหามิได้ ผมเป็นผู้ต้องอาบัติ ไม่เป็นผู้ต้องอาบัติหามิได้ ผมเป็นผู้ถูกยก
แล้ว ไม่เป็นผู้ถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรมเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควร
แก่ฐานะ มาเถิดท่านทั้งหลาย ขอได้กรุณารับผมเข้าหมู่ด้วยเถิด ขอรับ.
ลำดับนั้น ภิกษุพวกที่สนับสนุนภิกษุผู้ถูกยกเหล่านั้น พาภิกษุถูกยก
รูปนั้น เข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง
เฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ถูกยกรูปนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็น
อาบัติ นั้นไม่เป็นอาบัติหามิได้ ผมเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว ไม่เป็นผู้ต้องอาบัติ
หามิได้ ผมเป็นผู้ถูกยกแล้ว ไม่เป็นผู้ถูกยกหามิได้ ผมเป็นผู้ถูกยกแล้วด้วย
กรรมเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ มาเถิด ท่านทั้งหลาย ขอได้กรุณา
รับผมเข้าหมู่ด้วยเถิด ขอรับ ดังนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่น
ไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุนั่นต้องอาบัติแล้ว ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติหามิได้
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 489
ภิกษุนั่นถูกยกแล้ว ภิกษุนั้นไม่ถูกยกหามิได้ ภิกษุนั่นถูกยกแล้วด้วยกรรมเป็น
ธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ เพราะภิกษุนั้นต้องอาบัติ ถูกยกแล้ว และ
เห็นอาบัติ ฉะนั้น พวกเธอจงรับภิกษุนั้นเข้าหมู่.
ภิกษุพวกที่สนับสนุนภิกษุผู้ถูกยกเหล่านั้น จึงรับภิกษุผู้ถูกยกรูปนั้น
เข้าหมู่แล้ว เข้าไปหาภิกษุพวกยกถึงที่อยู่ ได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกยกว่า
อาวุโสทั้งหลาย ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง การวิวาทแห่ง
สงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์
การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุนั้นนั้น ต้องอาบัติแล้ว
ถูกยกแล้ว เห็นอาบัติ และสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว เอาละ พวกเราจะทำสังฆสามัคคี
เพื่อระงับเรื่องนั้น.
ภิกษุพวกยกเหล่านั้น จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นแล้วถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้านั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุพวกที่สนับสนุนภิกษุผู้ถูกยกเหล่านั้น
กล่าวอย่างนี้ อาวุโสทั้งหลาย ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง
การวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้านรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกัน
แห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ได้มีแล้ว เพราะเรื่องใด ภิกษุนั้นนั้น
ต้องอาบัติแล้ว ถูกยกแล้ว เห็นอาบัติแล้ว และสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว เอาละ
พวกเราจะทำสังฆสามัคดี เพื่อระงับเรื่องนั้น ดังนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้าจะ
พึงปฏิบัติอย่างไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?
พระพพุทธานุญาตไห้ทำสังฆสามัคคี
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นต้อง
อาบัติแล้ว ถูกยกแล้ว เห็นอาบัติแล้ว และสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว ถ้าเช่นนั้น
สงฆ์จงทำสังฆสามัคคี เพื่อระงับ เรื่องนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 490
วิธีทำสังฆสามัคคี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสังฆสามัคคีพึงทำอย่างนี้ คือภิกษุทั้งหลาย
ทั้งที่อาพาธ ทั้งที่ไม่อาพาธ พึงประชุมพร้อมกันทุก ๆ รูป รูปไหนจะให้ฉันทะ
ไม่ได้ ครั้นประชุมกันแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึ่งประกาศให้สงฆ์ทราบ
ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาทำสังฆสามัคคี
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ความบาดหมาง ความ
ทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์
ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่ง
สงฆ์ได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุนั่นนั้นต้องอาบัติแล้ว ลูกยกแล้ว
เห็นอาบัติแล้ว และสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ความบาดหมาง ความ-
ทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์
ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่ง
สงฆ์ ได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุนั่นนั้นต้องอาบัติแล้ว ถูกยกแล้ว
เห็นอาบัติแล้ว และสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว สงฆ์ทำสังฆสามัคคีเพื่อ
ระงับเรื่องนั้น การทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
สงฆ์ทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้นแล้ว ความแตกแต่ง
สงฆ์ถูกกำจัดแล้ว การถือต่างกันแห่งสงฆ์ ลูกกำจัดแล้ว การทำต่าง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 491
กันแห่งสงฆ์กำจัดแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
สงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ ในขณะนั้นเทียว.
สังฆสามัคคี ๒ อย่าง
[๒๕๙] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลี เข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นแล้ว
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบ
ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ความบาดหมาง ความ
ทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความ
ร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมี
เพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ทัน วินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ
จากมูลเหตู แล้วทำสังฆสามัคดี สังฆสามัคดีนั้น เป็นธรรมหรือหนอ พระ
พุทธเจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า อุบาลี ความบาดหมาง ความทะเลาะ
ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่ง
สงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด
สงฆ์ยังไม่ทัน วินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้ว
ทำสังฆสามัคดี สังฆสามัคคีนั้น ไม่เป็นธรรม.
อุ. พระพุทธเจ้าข้า ก็ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง
ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่าง
กันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่อง
นั้นสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีนั้น
เป็นธรรมหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 492
พ. อุบาลี ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความ
วิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่ง
สงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้น สาว
เข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีนั้นเป็นธรรม.
อ. สังฆสามัคคีมีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พ. อุบาลี สังฆสามัคคีมี ๒ อย่าง คือ สังฆสามัคคีเสียอรรถแต่ได้
พยัญชนะ ๑ สังฆสามัคคีได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะ ๑.
๑. อุบาลี สังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะเป็นไฉนเล่า ?
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์
ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำ
ต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ทันวินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่
ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี นี้เรียกว่าสังฆสามัคคี
เสียอรรถแต่ได้พยัญชนะ.
๒. อุบาลี สังฆสามัคคี ได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะเป็นไฉนเล่า ?
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์
ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำ
ต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้น สาวเข้าไปถึง
มูลเหตุจากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี นี้เรียกว่า สังฆสามัคคีที่ได้ทั้งอรรถ
ได้ทั้งพยัญชนะ อุบาลี สังฆสามัคคี ๒ อย่างนี้แล.
ลำดับนั้น ท่านพระอุบาลีลุกจากอาสน์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
คาถา ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 493
อุบาลีคาคา
[๒๖๐] อุ. เมื่อกิจของสงฆ์ การ
ปรึกษาวินัย การตีความวินัย และการวินิจฉัย
ความแต่งวินัยเกิดขึ้นแล้ว ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ เป็นคนชนิดไร จึงมีอุปการะมาก เป็น
คนชนิดไร จึงควรยกย่อง ในพระธรรม-
วินัยนี้.
พ. เบื้องต้น ภิกษุไม่ถูกตำหนิโดย
ศีล หมั่นตรวจมรรยาท และสำรวม
อันทรีย์เรียบร้อย ศัตรูเตียนไม่ได้โดยธรรม
เพราะเธอไม่มีความผิดที่ฝ่ายศัตรูจะพึงล่าว
ถึงเธอ ผู้เช่นนั้น ตั้งอยู่ในศีลวิสุทธิ์ เป็นผู้
แกล้วกล้า พูดจาฉาดฉาน เข้าที่ประชุมไม่
สะดุ้ง ไม่ประหม่า กล่าวล้อคำมีเหตุ ไม่
ไห้เสียความ ถึงถูกถามปัญหาในที่ประชุม
ก็เช่นนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่นิ่งอั้น ไม่เก้อ
เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญ กล่าวถ้อยคำถูกกาล
เหมาะแก่การพยากรณ์ ย่อมยังหมู่วิญญูชน
ให้พอใจ มีความเคารพในภิกษุทั้งหลาย ที่
แก่พรรษากว่า เป็นผู้แกล้วกล้าในอาจริย-
วาทของตน สามารถเพื่อจะวิจารณ์ ชำนาญ
ในถ้อยคำที่จะพึงกล่าว ฉลาดจับข้อพิรุธของ
ฝ่ายศัตรู เป็นเหตุให้ฝ่ายศัตรูถึงความถูก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 494
ปราบ และมหาชนก็ยินยอม อนึ่ง ภิกษุนี้
ย่อมไม่ลบล้างลัทธิเป็นที่เชื่อถือ คืออาจริย-
วาทของตน แก้ปัญหาได้ไม่คิดขัด สามารถ
ในหน้าที่ทูต และยอมรับทำกิจของสงฆ์ ดุจ
รับบิณฑบาตของที่เขานำมาบูชาฉะนั้น ถูก
คณะภิกษุส่งไปให้ทำหน้าที่เจรจา ก็ไม่ทะนง
ตัวว่า ตนทำได้ เพราะการทำหน้าที่เจรจา
นั้น ภิกษุต้องอาบัติเพราะวัตถุมีประมาณ
เท่าใด และการออกจากอาบัติย่อมมีด้วยวิธี
ใด วิภังค์ทั้งสองนั้นมาแล้วด้วยแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาดในวิธีการออกจากอาบัติ
อนึ่งภิกษุทำกรรมมีก่อความบาดหมางเป็น
ต้นเหล่าใด ย่อมถึงการขับออก และถูกขับ
ออก ด้วยเรื่องเช่นใด เธอฉลาดในวิภังค์
ย่อมเข้าใจ วิธีการรับเข้าหมู่ แม่นั้น ที่ควร
ทำแก่ภิกษุประพฤติวัตรนั้นเสร็จแล้ว มี
ความเคารพในพระผู้เจริญกว่า คือที่เป็นผู้-
ใหญ่ ปานกลาง และผู้ใหม่ เป็นบัณฑิต
ประพฤติประโยชน์แก่มหาชนในโลกนี้ ภิกษุ
ผู้เช่นนั้นนั่น จึงควรยกย่องในธรรมวินัยนี้แล.
โกสัมพิขันธกะที่ ๑๐ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 495
หัวข้อประจำขันธกะ
[๒๖๑] เรื่องสมเด็จพระชินวรประทับในพระนครโกสัมพีภิกษุวิวาท
กันเพราะไม่เห็นอาบัติ และยกกันเพราะเหตุเล็กน้อย. เรื่องทรงแนะนำให้
ภิกษุแสดงอาบัติ. เรื่องภิกษุผู้สนับสนุนฝ่ายถูกยกทำอุโบสถภายในสีมานั้นเอง.
เรื่องบ้านพาลกโลณการกคาม. เรื่องเสด็จพระพุทธดำเนินสู่ปาจีนวังสทายวัน.
เรื่องเสด็จพระพุทธดำเนินสู่ป่าปาริไลยกะ. เรื่องเสด็จพระพุทธดำเนินสู่
พระนครสาวัตถี. เรื่องพระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระโกลิตะ
พระมหากัสสปะ พระมหากัจจานะ พระมหาโกฏฐิตะ พระมหากัปปินะ
พระมหาจุนทะ พระอนุรุทธะ พระเรวตะ พระอุบาลี พระอานนท์ พระราหุล
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี อนาถบิณฑิกคหบดี และนางวิสาขามิคารมาตา
เข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ. เรื่องเสนาสนะว่าง. เรื่องจัดเสนาสนะให้ว่า.
เรื่องแบ่งอามิสให้เท่า ๆ กัน. เรื่องทำสังฆสามัคคี. ภิกษุรูปไรจะให้
ฉันทะไม่ได้. เรื่องพระอุบาลีเข้าเฝ้าทูลถามสังฆสามัคคีในศาสนาของพระ
ชินเจ้า. เรื่องไม่ถูกตำหนิโดยศีล.
มหาวรรคภาคที่ ๒ จบ
อรรถกถาโกสัมพิขันธกะ
วินิจฉัยในโถสัมพิขันธกะ
วินิจฉัยในโกสัมพิขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
ในคำว่า ต ภิกฺขุ อาปตฺติยา อทสฺสเน อุกฺขิปึสุ นี้ มีอันปุพพิกถา
ดังต่อไปนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 496
ได้ยินว่า ภิกษุ ๒ รูป คือ พระวินัยธร ๑ พระสุตตันติกะ ๑ อยู่ใน
อาวาสเดียวกัน. ในภิกษุ ๒ รูปนั้น วันหนึ่ง พระสุตตันติกภิกษุเข้าไปยังเว็จ-
กุฏิ ค้างน้ำชำระที่เหลือไว้ในภาชนะแล้วออกไป. พระวินัยธรเข้าไปทีหลัง
เห็นน้ำนั้น ออกไปแล้วจึงถามภิกษุนั้นว่า:-
ผู้มีอายุ ท่านเหลือน้ำนี้ไว้หรือ ?
ขอรับ ผู้มีอายุ
ท่านไม่รู้ว่าเป็นอาบัติในเพราะเหลือน้ำไว้นี้หรือ ?
ขอรับ ผมไม่รู้.
ผู้มีอายุ มีอาบัติเพราะเหตุนี้.
ถ้ามี, ผมจักแสดง.
ผู้มีอายุ แต่ถ้าท่านไม่แกล้ง ทำด้วยไม่มีสติ. ก็ไม่มีอาบัติ.
พระสุตตันติกะนั้น ได้เป็นผู้มีความเห็นอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ.
ฝ่ายพระวินัยธร ได้บอกแก่เหล่านิสิตของตนว่า พระสุตตันติกะนี้ แม้ต้อง
อาบัติอยู่ ก็ยังไม่รู้. นิสิตเหล่านั้น พบพวกนิสิตของพระสุตตันติกะนั้นเข้า
จึงกล่าวว่า อุปัชฌาย์ของพวกท่าน แม้ต้องอาบัติแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ.
นิสิตเหล่านั้นจึงมาบอกแก่อุปัชฌาย์. เธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า วินัยธรนี้ แต่ก่อน
พูดว่า ไม่เป็นอาบัติ มาบัดนี้พูดว่า เป็นอาบัติ เธอพูดปด. นิสิตเหล่านั้น
จึงไปก่อการทะเลาะกะกันและกันอย่างนี้ว่า อุปัชฌาย์ของพวกท่านพูดปด. ลำดับ
นั้น พระวินัยธรได้โอกาส จึงได้ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นอาบัติแก่
เธอ. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์พึงกล่าวว่า ได้ยกวัตรภิกษุนั้น
เพราะไม่เห็นอาบัติ.
วินิจฉัยในคำว่า ภินฺโน ภิกฺขุสงฺโฆ ภินฺโน ภิกฺขุสงฺโฆ นี้พึง
ทราบดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 497
ภิกษุสงฆ์ยังไม่แตกกันก่อน, เช่นอย่างว่า เมื่อฝนตก ชนทั้งหลาย
ย่อมกล่าวว่า บัดนี้ข้าวกล้าสำเร็จแล้ว, จริงอยู่ ข้าวกล้านั้นจักสำเร็จเป็นแน่
ข้อนี้ฉันใด; ด้วยเหตุนี้ ต่อไป ภิกษุสงฆ์จักแตกกันแน่แท้ ข้อนี้ก็ฉันนั้น.
จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้นแลจักแตกกันด้วยอำนาจความทะเลาะ, จักแตกกันด้วย
อำนาจสังฆเภทหามิได้; เพระเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า แตกกัน
แล้ว. ส่วนคำที่ตรัสซ้ำในข้อนี้ พึงทราบด้วยอำนาจเนื้อความที่ปรากฏ.
ข้อว่า เอตมตฺถ ภาสิตฺวา อฏฺายาสนา ปกฺกามิ มีคำถามว่า
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว จึงเสด็จหลีกไปเสีย
ตอบว่า ก็ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสกะเหล่าภิกษุผู้ยกวัตร
ว่า ภิกษุนั้น อันท่านทั้งหลายยกวัตรแล้ว โดยมิใช่เหตุ หรือจะพึงตรัสกะ
เหล่าภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกยกวัตรว่า ท่านทั้งหลายต้องอาบัติ ภิกษุ
เหล่านั้น จะพึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นฝักฝ่ายแห่งภิกษุเหล่านี้, พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นฝักฝ่ายแห่งภิกษุเหล่านี้, และผูกอาฆาต; เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงตั้งเพียงแบบแผนเท่านั้น จึงทรงภาษิตเนื้อความนั้น
แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไปเสีย.
ในข้อว่า อตฺตนา ว อตฺตาน นี้ มีความว่า ภิกษุใด นั่งในฝ่าย
แห่งเหล่าอธรรมวาที ผู้มีกรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรยกวัตร ถามว่า
พวกท่านกล่าวอย่างไร ได้ฟังลัทธิของพวกเธอและของอีกฝ่ายหนึ่ง ยังจิต
ให้เกิดขึ้นว่า ภิกษุเหล่านี้ เป็นอธรรมวาที, ภิกษุนอกจากนี้ เป็นธรรมวาที;
ภิกษุนี้คงนั่งในท่ามกลางแห่งพวกภิกษุอธรรมวาทีนั้น ย่อมเป็นนานาสังวาสก์
ของพวกเธอ; ย่อมยังกรรมให้กำเริบ, ชื่อว่ายังกรรมของอีกฝ่ายหนึ่งให้กำเริบ
ด้วย เพราะข้อที่เธอไม่มาเข้าหัตถบาส. ภิกษุย่อมทำคนให้เป็นนานาสังวาสก์
ด้วยตนเอง ด้วยประการอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 498
แม้ในข้อว่า สมานสวาสก นี้ มีความว่า ภิกษุใด นั่งในฝ่าย
อธรรมวาทีทราบว่า พวกนี้เป็นอธรรมวาที พวกนอกจากนี้เป็นธรรมวาที
แล้วเข้าไปในท่ามกลางของพวกนั้น, นั่งแล้วในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถืออยู่ว่า พวก
นี้เป็นธรรนวาที. ภิกษุนี้พึงทราบว่า ทำตนให้เป็นสมานสังวาสก์ด้วยตนเอง.
ในคำว่า กายกมฺม วจึกมฺม นี้ มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น เมื่อ
ประหารกันด้วยกาย พึงทราบว่า ยังกายกรรมให้เป็นไป เมื่อกล่าวคำหยาบ
พึงทราบว่า ยังวจีกรรมให้เป็นไป.
สองบทว่า หตฺปรามส กโรนฺติ มีความว่า ภิกษุเหล่านั้นกระทำ
การตีกันและกันด้วยมือ ด้วยอำนาจความโกรธ.
บทว่า อธมฺมิยมาเน ได้แก่ ผู้ทำอยู่ซึ่งกิจทั้งหลาย อันไม่สมควร
แก่ธรรม.
สองบทว่า อสมฺโมทิกาย วตฺตมานาย คือ เมื่อถ้อยคำอันชวน
ให้บันเทิง ไม่เป็นไปอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะนี้เองเป็นบาลี. ความว่า เมื่อ
ถ้อยคำเป็นเครื่องบันเทิงพร้อม ไม่เป็นไปอยู่.
วินิจฉัยในข้อว่า เอตฺตาวตา น อญฺมญฺ นี้ พึงทราบดังนี้:-
พึงทำให้เป็น ๒ แถว นั่งเว้นอุปจารไว้. ส่วนในฝ่ายผู้กระทำกรรม
สมควรแก่ธรรม เมื่อถ้อยคำอันชวนให้บันเทิงเป็นไปอยู่ พึงนั่งในแถวมีอาสนะ
คั่นในระหว่าง คือ พึงนั่งเว้นอาสนะอันหนึ่ง ๆ ไว้ในระหว่าง.
ในบทว่า มา ภณฺฑน เป็นต้น พึงถือเอาปาฐะที่เหลือว่า อกตฺถ
เห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำความบาดหมางกัน.
บทว่า อธมฺมวาที ได้แก่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ในพวกภิกษุผู้
ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกยกวัตร. อันภิกษุนี้ เป็นผู้ใคร่ประโยชน์แด่พระผู้มี-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 499
พระภาคเจ้า. ได้ยินว่า ความประสงค์ของภิกษุนี้ ดังนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ ถูก
ความโกรธครอบงำ ย่อมไม่เธอฟังคำของพระศาสดา, พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่า
ต้องทรงลำบากตักเตือนภิกษุเหล่านั้นเลย เพราะฉะนั้น เธอจึงทูลอย่างนั้น.
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสด้วยทรงเอ็นดูแก่ภิกษุเหล่านั้น
พวกเธอจักได้ความรู้สึกแล้วงดเว้นในภายหลังบ้าง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนตฺถโต ตัดบทว่า อนตฺโถ อโต.
มีคำอธิบายว่า ความเสื่อมเสียจักมีแก่เราจากบุรุษนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อนตฺถโต ได้แก่ อนตฺถโท แปลว่า บุรุษ
นั้นจักเป็นผู้ให้ความฉิบหาย. คำที่เหลือชัดเจนแล้ว .
ก็วินิจฉัยในคาถาว่า ปุถุสทฺโท เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
ชนชื่อว่าผู้มีเสียงดัง เพราะเขามีเสียงมากคือใหญ่ ชนผู้เป็นเช่นเดียว
กัน ชื่อว่าชนผู้สมกัน. มีคำอธิบายว่า จริงอยู่ ชนผู้ทำความบาดหมางกันนี้
ทั้งหมด เป็นผู้มีเสียงดังเพราะเปล่งเสียงรอบด้านและเป็นเช่นกัน.
บาทคาถาว่า น พาโล โกจิ มญฺถ มีความว่า ในชนนิกายนั้น
ใคร ๆ แม้คนหนึ่ง (ไม่) สำนึกในเลยว่า เราเป็นพาล, ทุก ๆ คนเป็นผู้มี
ความสำคัญว่า เราเป็นบัณฑิตทั้งนั้น.
บาทคาถาว่า นาญฺ ภิยฺโย อมญฺรุ มีความว่า ใคร ๆ แม้
ผู้หนึ่ง ไม่สำนึกตนเลยว่า เราเป็นพาล, และยิ่งกว่านั้น เมื่อสงฆ์แตกกันอยู่
ไม่สำนึกถึงเหตุอันหนึ่งแม้คนอื่น คือ เหตุอันนี้ว่า สงฆ์แตกกันเพราะเราเป็น
เหตุ.
บทว่า ปริมุฏฺา ได้แก่ ผู้หลงลืมสติ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 500
บาทคาถาว่า วาจาโคจรภาณิโน คือ ทำอาเทศ ร อักษรให้เป็น
รัสสะ, ความว่า ผู้มีวาจาเป็นโคจร หาใช่ผู้มีสติปัฏฐานเป็นต้น เป็นโคจรไม่.
บทว่า ภาณิโน ได้แก่ ผู้มักกล่าวถ้อยคำ.
บาทคาถาว่า ยาวจฺฉนฺติ มุขายาม มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น ตน
ปรารถนาจะต่อปากกันเพียงใด, ย่อมเป็นผู้มักกล่าวยืดไปเพียงนั้น, แม้รูปหนึ่ง
ก็ไม่ทำความสยิ้วหน้าด้วยความเคารพต่อสงฆ์.
สองบทว่า เยน นีตา มีความว่า อันความทะเลาะใดนำไปสู่ความ
เป็นผู้ไม่มีละอายนี้.
สองบทว่า น ต วิทู มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น ไม่รู้ซึ่งความทะเลาะ
นั้นว่า ความทะเลาะนี้ มีโทษอย่างนี้.
บาทคาถาว่า เย จ ต อุปนยฺหนฺติ มีความว่า ชนเหล่าใดเข้าไป
ผูกอาการที่ว่า ผู้นี้ได้ด่าเรา, เป็นต้นนั้นไว้.
บทว่า สนนฺตโน คือ เป็นของเก่า.
บทว่า ปเร มีความว่า เว้นพวกบัณฑิตเสีย ชนเหล่าอื่นจากบัณฑิต
นั้น คือ ผู้ก่อความบาดหมางกัน ชื่อว่าชนเหล่าอื่น. ชนเหล่าอื่นนั้น เมื่อทำ
การทะเลาะอยู่ท่ามกลางสงฆ์นี้ ย่อมไม่รู้เสียเลยทีเดียวว่าเราทั้งหลายยุบยับ
คือป่นปี้ ฉิบหาย ไปสู่ที่ใกล้ความตายเนือง ๆ คือ สม่ำเสมอ.
บาทคาถาว่า เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ มีความว่า ฝ่ายชนเหล่า
ใดเป็นบัณฑิตในท่ามกลางสงฆ์นั้น ทราบชัดว่า เราทั้งหลายไปสู่ที่ใกล้แห่ง
ความตาย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 501
บาทคาถาว่า ตโต สมฺนนฺติ เมธคา มีความว่า จริงอยู่ ชน
เหล่านั้น เมื่อทราบอย่างนั้น ยังโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น ย่อมปฏิบัติเพื่อ
ความเข้าไปสงบแห่งความหมายมั่น คือความทะเลาะเสีย.
คาถาว่า อฏฺิจฺฉิทา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเจ้า-
พรหมทัต และทีฆาวุกุมาร. ความว่า ความพร้อมเพรียง แม้แห่งชนเหล่านั้น
ยังมีได้, เหตุไร ความพร้อมเพรียงของท่านทั้งหลายจะมีไม่ได้เล่า ? กระดูก
ของมารดาบิดาอันพวกท่านเหล่าใด ก็หาได้ถูกดัดเสียไม่เลย, ชีวิตก็หาได้ถูก
ผลาญเสียไม่, โค ม้าและทรัพย์ทั้งหลายก็หาได้ถูกลักไม่.
คาถาว่า สเจ ลเภถ เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อแสดง
คุณแห่งสหายผู้เป็นบัณฑิตและโทษแห่งสหายผู้เป็นพาล.
บาทคาถาว่า อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ มีความว่า พึงย่ำยี
อันตรายที่ปรากฏ และอันตรายที่ซ่อนเร้นเสีย มีใจชื่นชมกับด้วยสหายนั้น มี
สติเที่ยวไป.
หลายบทว่า ราชาว รฏฺ วิชิต มีความว่า พระราชาทรง
พระนามว่า มหาชนก และพระมหาราชาทรงพระนามว่า อรินทมะทรงละ
แว่นแคว้น คือ ดินแดงเป็นที่ยินดีของพระองค์เสีย เที่ยวไปตามลำพัง ฉันใด,
พึงเที่ยวไป ฉันนั้น.
สองบทว่า มาตงฺครญฺเว นาโค มีความว่า เหมือนช้างใหญ่
ละโขลง เที่ยวไปในป่า.
สัตว์มีงวงเรียกช้าง.
คำว่า นาค นี้ เป็นชื่อแห่งผู้เป็นใหญ่. มีคำอธิบายว่า เหมือนอย่างว่า
ช้างใหญ่ผู้เลี้ยงมารดา เที่ยวไปในป่าแต่ลำพังทั้งไม่ได้ทำบาปทั้งหลาย ฉันใด;
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 502
อนึ่ง ช้างปาริเลยยกะ เที่ยวไปในป่าตามลำพัง, ทั้งไม่ได้ทำบาปทั้งหลาย
ฉันใด: บุคคลพึงเที่ยวไปตามลำพัง ทั้งไม่พึงทำบาปทั้งหลายก็ฉันนั้น.
หลายบทว่า ปาริเลยฺยเก วิหรติ รกฺขิตวนสณฺเฑ มีความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไปอาศัยบ้านชื่อปาริเลยยกะ. เสด็จอยู่ในรักขิต
ไพรสณฑ์.
บทว่า หตฺถินาโค ได้แก่ ช้างใหญ่.
บทว่า หตฺถิกลเภหิ ได้แก่ ลูกช้าง.
บทว่า ทตฺถิจฺฉาเปหิ ได้แก่ ลูกช้างอ่อน ซึ่งยังดื่มนม.
บทว่า ฉินฺนคฺคานิ มีความว่า เคี้ยวกินหญ้า มียอดซึ่งช้างเหล่า
นั้นไปข้างหน้า ๆ ตะพ่วนเสีย คือ คล้ายตอซึ่งเหลือจากที่เคี้ยวกินแล้ว.
ข้อว่า โอภคฺโคภคฺค มีความว่า อันช้างใหญ่นั้นหักให้ตกลงจากที่
สูงแล้ว.
สองบทว่า อสฺส สาขาภงค ความว่า ช้างเหล่านั้นย่อมเคี้ยวกิน
กิ่งไม้ที่พึงหัก ซึ่งเป็นของช้างใหญ่นั่น.
บทว่า อาวิลานิ มีความว่า ช้างใหญ่นั้น ย่อมดื่มน้ำเจือตม ซึ่ง
ช้างเหล่านั้น เมื่อลงดื่มก่อนลุยเสียแล้ว.
บทว่า โอคาหา คือจากท่า.
สองบทว่า นาคสฺส นาเคน คือ แห่งสัตว์ใหญ่ คือ ช้าง ด้วยผู้เป็น
ใหญ่ คือ พระพุทธเจ้า.
บทว่า อีสาทนฺตสฺส คือ ผู้มีงาเช่นกับงอนรถ.
บาทคาถาว่า ยเทโก รมตี วเน มีความว่า สัตว์ใหญ่ คือ ช้าง
แม้นี้ เป็นผู้เดียว คือเงียบสงัด รื่นรมย์ในป่า เหมือนผู้ประเสริฐ คือ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 503
พระพุทธเจ้า. เพราะฉะนั้น จิตของสัตว์ใหญ่นั้น ชื่อว่า เสมอด้วย ท่านผู้
ประเสริฐ คือเป็นเช่นเดียวกัน ด้วยความยินดีในความเป็นผู้เดียว.
พึงทราบความในคำว่า ยถารนฺต วิหริตฺวา นี้ว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จอยู่บ้านปาริเลยยกะนั้น ตลอดไตรมาส. คำที่พูดกัน ได้แพร่
หลายไปในที่ทั้งปวงว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุชาวเมือง
โกสัมพีเบียดเบียนด้วยเหตุเท่านี้ จึงเสด็จเข้าป่าอยู่ตลอดไตรมาส.
หลายบทว่า อถ โข โกสมฺพิกา อุปาสกา มีความว่า ครั้งนั้น
แล พวกอุบายสกชาวเมืองโกสัมพี ได้พึงถ้อยคำที่เจรจากันนี้.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาเภทกรวัตถุ ๑๘ มีคำว่า อธมฺม ธมฺโม เป็นต้น
ในสังฆเภทขันธกะ.
บทว่า อาทาย ได้แก่ ฝั่งแห่งลัทธิ.
บทว่า วิวิตฺต ได้แก่ ว่าง.
หลายบทว่า ต อุกฺขิตฺตก ภิกฺขุ โอสาเรตฺวา มีความว่า
พาภิกษุผู้ถูกยกวัตรนั้น ไปนอกสีมา ให้แสดงอาบัติแล้ว เรียกเข้าหมู่ด้วยกรรม
วาจา.
สองบทว่า ตาวเทว อุโปสโถ มีความว่า พึงทำสามัคคีอุโบสถ
ตามนัยที่กล่าวแล้วในอุโปสถขันธกะในวันนั้นทีเดียว.
หลายบทว่า อมูลา มูล คนฺตฺวา มีความว่า ไม่ออกจากมูลไป
หามูล อธิบายว่า ไม่วินิจฉัยวัตถุนั้น.
ข้อว่า อย วุจฺจติ อุปาลี สงฺฆสามัคฺคี อตฺถาเปตา พฺยญฺชนุ-
เปตา มีความว่า สังฆสามัคคีนี้ ปราศจากอรรถ แต่อาศัยเพียงพยัญชนะว่า
สังฆสามัคคดี นี้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 504
อรรถแห่งคาถา
สองบทว่า สงฺฆสฺส กิจฺเจสุ มีความว่า เมื่อกิจทีจะพึงกระทำ เกิด
ขึ้นแก่สงฆ์.
บทว่า มนฺตนาสุ ได้แก่ เมื่อการปรึกษาวินัย.
สองบทว่า อตฺเถสุ ชาเตสุ ได้แก่ เมื่อเนื้อความแห่งวินัยเกิดขึ้น.
บทว่า วินิจฺฉเยสุ ได้แก่ ครั้นวินิจฉัยอรรถเหล่านั้นแล.
บทว่า มหตฺถิโก ได้แก่ ผู้มีอุปการะมาก.
บทว่า ปคฺคหารโห ได้แก่ สมควรเพื่อยกย่อง.
บาทคาถาว่า อนานุวชฺโช ปเมน สีลโต มีความว่า ใน
ชั้นต้น ทีเดียว ใคร ๆ ก็ติเตียนไม่ได้โดยศีลก่อน.
บทว่า อเวกฺขิตาจาโร คือ ผู้มีอาจาระอันคนพิจารณาแล้ว ได้แก่
ผู้มีอาจาระอันตนคอยตรวจตราแล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า มีปกติ ทำความรู้สึก
ตัว ในเมื่อมองดู ในเมื่อเหลียวแล.
ส่วนในอรรถกถาทั้งหลายแก้ว่า ผู้มีอาจาระไม่ปกปิด คือผู้ระวังตัวดี.
บทว่า วิสยฺห ได้แก่ องอาจ.
สองบทว่า อนุยฺยุตฺต ภณ คือ เมื่อพูด ไม่นอกเหตุอันควรคือ
ไม่เข้ากัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า จริงอยู่ บุคคลนั้น ย่อมพูดไม่นอก
เหตุอันควร, คือไม่พูดปราศจากเหตุด้วยความริษยา หรือด้วยอำนาจความ
ลำเอียง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ยังประโยชน์ให้เสีย. ฝ่ายบุคคลผู้พูดด้วย
ความริษยา หรือด้วยอำนาจความลำเอียง ชื่อว่าย่อมยังประโยชน์ให้เสีย
บุคคลนั้นไปในบริษัทย่อมประหม่าและสะทกสะท่าน, บุคคลใด ไม่เป็นผู้เช่น
นี้, บุคคลนี้สมควรเพื่อยกย่อง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 505
คาถาว่า ตเถว ปญฺห พึงทราบให้ชัดอีกสักหน่อย, เนื้อความแห่ง
คาถานั้น บุคคลผู้พูดไม่นอกเหตุอันสมควร ย่อมไม่ยังประโยชน์ให้เสียฉันใด
เขาเป็นผู้ถูกถามปัญหา ในท่ามกลางบริษัท ย่อมไม่เป็นผู้เก้อ ก็ฉันนั้นนั่นแล.
จริงอยู่ ผู้ใด ไม่รู้อรรถ ผู้นั้น ย่อมนิ่งอัน, ผู้ใด ไม่อาจเพื่อตอบ
ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้เก้อ. ฝ่ายผู้ใด รู้อรรถด้วย อาจเพื่อตอบด้วย ผู้นั้น ย่อม
ไม่นิ่งอัน ไม่เป็นผู้เก้อ.
บทว่า กาลาคต มีความว่า เหมาะในกาลที่สมควรกล่าว.
บทว่า พฺยากรณารห ความว่า ชื่อว่าเป็นพยากรณ์ที่สมควร เพราะ
เข้ากับใจความแห่งปัญหา.
บทว่า วโจ ได้แก่ เมื่อพูด อธิบายว่า เมื่อกล่าวถ้อยคำเห็นปาน
นั้น.
บทว่า รญฺเชติ ได้แก่ ย่อมให้พอใจ.
บทว่า วิญฺญูปริส ความว่า ยังบริษัทแห่งวิญญูชนทั้งหลาย.
สองบทว่า อาเจรกมฺหิ จ สเก มีความว่า เป็นผู้แกล้วกล้า ใน
วาทะแห่งอาจารย์ของตน.
สองบทว่า อล ปเมตุ มีความว่า เป็นผู้สามารถเพื่อพิจารณา คือ
เพื่อชั่งดูเหตุนั้น ๆ ด้วยปัญญา.
สองบทว่า ปคุโณ มีความว่า ผู้ได้ทำความสั่งสมไว้ คือ ได้ความ
ช่องเสพจนคุ้น.
บทว่า กเถตเว ได้แก่ ในคำที่จะพึงกล่าว.
บทว่า วิรทฺธโกวิโท ได้แก่ ผู้ฉลาด คือรู้ทัน ในเหตุอันพิรุธ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 506
คาถาว่า ปจฺจตฺถิกา เยน วชนฺติ นี้ พระผู้มีพระภาคตรัส เพื่อ
แสดงคำที่จะพึงกล่าว ซึ่งเป็นที่ชำนาญ. จริงอยู่ ในคาถามี้ มีเนื้อความดังนี้:-
ด้วยถ้อยคำเช่นใด อันตนกล่าวแล้ว ข้าศึกทั้งหลาย ย่อมถึงความถูก
ปราบ, และมหาชนย่อมถึงความยินยอม, อธิบายว่า ถึงความตกลงตามคำ
ประกาศ.
จริงอยู่บุคคลนี้ เมื่อกล่าว ชื่อว่าย่อมไม่ลบล้างลัทธิเป็นที่เชื่อถือของ
ตน คือวาทะแห่งอาจารย์ตน.
อธิกรณ์เกิดขึ้น เพราะเรื่องใด, เมื่อแก้ปัญหา สมควรแก่เรื่องนั้น
คือไม่ทำความขัดขวาง แก่เรื่องนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ชำนาญในคำที่จะพึงกล่าวเช่น
นั้น.
สองบทว่า ทูเตยฺยกมฺเมสุ อล มีความว่า ชื่อว่าผู้สามารถในกรรม
เนื่องด้วยทูตของสงฆ์เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยองค์แห่งทูต ๘ ประการ ชื่อ
ว่าผู้ยอมรับ เพราะอรรถว่า รับด้วยดี คือ โดยง่าย.
มีคำอธิบายดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาอยู่อมรับด้วยดี ซึ่งสักการะอันเขาพึง
นำมาคำนับคือบิณฑาหารอันชื่อว่า ขอคำนับ ชื่อฉันใด. บุคคลนี้ ย่อมเป็น
ผู้ยอมรับในกิจทั้งหลายของสงฆ์ ด้วยน้ำใจอันมีปีติและโสมนัสเป็นแท้ ข้อนี้ก็
ฉันนั้น, ความว่า เป็นผู้รับช่วยกิจนั้น ในบรรดากิจของสงฆ์.
สองบทว่า กร วโจ มีความว่า เมื่อทำหน้าที่เจรจา.
สองบทว่า น เตน มญฺติ มีความว่า ย่อมไม่ประพฤติถือตัว.
และเย่อหยิ่งว่า เราทำ. เราช่วยภาระสงฆ์ เพราะการทำหน้าที่เจรจาอันนั้น.
บทว่า อาปชฺชติ ยาวตเกสุ มีความว่า เมื่อจะต้องอาบัติย่อม
ต้องในวัตถุมีประมาณเท่าใด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 507
สามบทว่า โหติ ยถา จ วุฏฺิติ๑ มีความว่า และความออก
อาบัตินั้น ย่อมมีด้วยประการใด.
สองบทว่า เอเต วิภงฺคา มีความว่า ย่อมต้องในวัตถุเหล่าใดและ
ความออกย่อมมีด้วยประการใด, วิภังค์ทั้งสองเหล่านี้ของภิกษุนั้น ซึ่งส่องเนื้อ
ความเหล่านี้ มาดีแล้ว คือมาถูกต้องแล้ว.
บาทคาถาว่า อปตฺติวุฏฺานปทสิส โกวิโท คือ ผู้ฉลาดในเหตุ
แห่งการออกอาบัติ.
สองบทว่า ยานิ จาจร มีความ อนึ่ง เมื่อประพฤติซึ่งกรรมมี
ความก่อความบาดหมางเป็นต้น เหล่าใด จึงถึงความถูกขับออกด้วยอำนาจ
ตัชชนียกรรมเป็นอาทิ
บาทคาถาว่า โอสารณ ต วุสิตสฺส ชนฺตุโน มีความว่า เมื่อ
บุคคลอยู่จบพรตนั้นแล้ว, การเรียกเข้าหมู่อันใด สงฆ์พึงทำให้, ย่อมรู้การ
เรียกเข้าหมู่แม้นั้น.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
อรรถกถาโกสัมพิขันธกะ จบ.
อรรถกถามหาวรรค ในอรรถกถา ชื่อสมันตปาสาทิกา
จบบริบูรณ์ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง วรรณนานี้ ไม่มีอุปัทวะ จบบริบูรณ์แล้วฉันใด ขอปวงชน
จงถึงความสงบ หาอุปัทวะมิได้ ฉันนั้นแล.
๑. อิ. วุฏฺาติ