พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 1
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๓
ภิกขุนีวิภังค์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุสุนทรีสุนทรี
[๑]โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น นายสาฬหะ
หลานของมิคารมาตา มีความประสงค์จะสร้างวิหารถวายภิกษุณีสงฆ์ จึงเข้าไป
หานางภิกษุณีทั้งหลาย แจ้งความประสงค์ว่า แม่เจ้า กระผมอยากจะสร้างวิหาร
ถวายภิกษุณีสงฆ์ ขอแม่เจ้าจงโปรดให้ภิกษุณีผู้อำนวยการก่อสร้างรูปหนึ่งแก่
กระผม ครั้งนั้นมีสาวสี่พี่น้อง ชื่อนันทา ๑ ชื่อนันทาวดี ๑ ชื่อสุนทรีนันทา ๑
ชื่อถุลลนันทา ๑ บวชอยู่ในสำนักภิกษุณี บรรดาภิกษุณีทั้งสี่นั้น ภิกษุณีสุนทรี
นันทา เป็นบรรพชิตสาวทรงโฉมวิไล น่าพิศพึงชม เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม
มีปรีชา ขยัน ไม่เกียจคร้าน กอปรด้วยปัญญาเลือกฟั้นอันเป็นทางดำเนินใน
การงานนั้น ๆ สามารถพอที่จะทำกิจการงานนั้น ๆ ให้ลุล่วงไป จึงภิกษุณีสงฆ์
ได้สมมติภิกษุณีสุนทรีนันทาให้เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างแก่นายสาฬหะ หลาน
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 2
มิคารมาตา ต่อมาภิกษุณีสุนทรีนันทา ไปสู่เรือนของนายสาฬหะ หลานมิคาร-
มาตาเสมอ โดยแจ้งว่า จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้จอบ จงให้สิ่ว
แม้นายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ก็ไปสู่สำนักนางภิกษุณีเสมอ เพื่อทราบ
กิจการที่ทำแล้ว ที่ยังมิได้ทำ เขาทั้งสองได้มีจิตปฏิพัทธ์ เพราะเห็นกันอยู่เสมอ
ครั้นนายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ไม่ได้โอกาสที่จะประทุษร้ายภิกษุณีสุนทรี-
นันทา จึงได้ตกแต่งภัตตาหารถวายภิกษุณีสงฆ์ เพื่อมุ่งจะประทุษร้ายภิกษุณี
สุนทรีนันทานั้น แล้วให้ปูอาสนะในโรงฉัน จัดอาสนะสำหรับภิกษุณีทั้งหลาย
ที่แก่กว่าภิกษุณีสุนทรีนันทาไว้ส่วนหนึ่ง สำหรับภิกษุณีทั้งหลายที่อ่อนกว่า
ภิกษุณีสุนทรีนันทาไว้ส่วนหนึ่ง จัดอาสนะสำหรับภิกษุณีสุนทรีนันทาไว้ใน
สถานที่อันกำบังนอกฝาเรือน ให้ภิกษุณีผู้เถระทั้งหลายพึงเข้าใจว่า นางนั่งใน
สำนักพวกภิกษุณีผู้นวกะ แม้ภิกษุณีผู้นวกะทั้งหลายก็พึงเข้าใจว่า นางนั่งอยู่ใน
สำนักพวกภิกษุณีผู้เถระ.
ครั้นจัดเสร็จแล้ว ได้ให้คนไปแจ้งภัตกาลแก่ภิกษุณีสงฆ์ ว่าได้เวลา
อาหารแล้ว เจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ภิกษุณีสุนทรีนันทาทราบได้ดีว่า นายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ไม่
ได้ทำอะไรมากมาย ได้ตกแต่งภัตตาหารไว้ถวายภิกษุณีสงฆ์ ด้วยเธอมีความ
ประสงค์จะประทุษร้ายเรา ถ้าเราไป ความอื้อฉาวจักมีแก่เรา จึงใช้ภิกษุณี
อันเตวาสินีไปด้วยสั่งว่า เธอจงไปนำบิณฑบาตมาให้เรา และผู้ใดถามถึงเรา
เธอจงบอกว่าอาพาธ.
ภิกษุณีอันเตวาสินีรับคำสั่งของภิกษุณีสุนทรีนันทาแล้ว.
สมัยนั้น นายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ยืนคอยอยู่ที่ซุ้มประตูข้าง
นอกถามถึงภิกษุณีสุนทรีนันทาว่า แม่เจ้าสุนทรีนันทาไปข้างไหน ขอรับ แม่
เจ้าสุนทรีนันทา ไปข้างไหน ขอรับ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 3
เมื่อเขาถามถึงอย่างนี้แล้ว ภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีสุนทรีนันทา
ตอบกะเขาดังนี้ว่า อาพาธค่ะ ดิฉันจักนำบิณฑบาตไปถวาย.
เขาคิดว่า การที่เราได้ตกแต่งอาหารถวายภิกษุณีสงฆ์ ก็เพราะเหตุแห่ง
แม่เจ้าสุนทรีนันทา จึงสั่งคนให้เลี้ยงดูภิกษุณีสงฆ์แล้วเลี่ยงไปทางสำนักภิกษุณี
สงฆ์.
ก็สมัยนั้น ภิกษุณีสุนทรีนันทายืนคอยมองนายสาฬหะ หลานมิคาร-
มาตาอยู่ข้างนอกซุ้มประตูวัด นางเห็นเขาเดินมาแต่ไกลจึงหลบเข้าสู่สำนักนอน
คลุมศีรษะอยู่บนเตียง.
ครั้นเขาเข้าไปหาแล้ว ได้ถามนางว่า แม่เจ้าไม่สบายหรือขอรับ
ทำไมจึงจำวัดเสียเล่า.
นางตอบว่า นาย การที่สตรีรักใคร่กับคนที่เขาไม่รักตอบ ย่อมเป็น
เช่นนี้แหละค่ะ.
เขากล่าวว่า ทำไมผมจะไม่รักแม่เจ้า ขอรับ แต่ผมหาโอกาสที่จะ
ประทุษร้ายแม่เจ้าไม่ได้ แล้วมีความกำหนัด ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับ
ภิกษุณีสุนทรีนันทา ผู้มีความกำหนัด.
ก็สมัยนั้นแล ภิกษุณีรูปหนึ่งผู้ชราทุพพลภาพ เท้าเจ็บ นอนอยู่ไม่
ห่างจากภิกษุณีสุนทรีนันทา ได้แลเห็นสาฬหะ หลานมิคารมาตา ถึงความ
เคล้าคลึงด้วยกายกับภิกษุณีสุนทรีนันทาผู้กำหนัด ครั้นแล้วจึงเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าสุนทรีนันทา จึงได้มีความกำหนัด ยินดีการเคล้า-
คลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัดเล่า แล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
บรรดาภิกษุสีผู้มีความมักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่
ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน แม่เจ้าสุนทรีนันทา จึง
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 4
ได้มีความกำหนัดยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัดเล่า แต่เจ้า
เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉน ภิกษุณีสุนทรีนันทาจึงได้มีความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของ
บุรุษบุคคลผู้มีความกำหนัดเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีสุนทรีนันทามีความกำหนัด ยินดี
การเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของภิกษุณีสุนทรีนันทาไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุณีสุนทรีนันทาจึงได้มีความกำหนัด ยินดีการเคล้า-
คลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัดเล่า การกระทำของนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่
เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของนางเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระองค์ทรงติเตียนภิกษุณีสุนทรีนันทาโดยอเนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษ
แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความ
เป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็น
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 5
คนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความ
ขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารถนาความ
เพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม
แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั่นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดี
แห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มภิกษุณีผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่
สำราญแห่งภิกษุณีผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่น
แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกภิกษุณีจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๕.๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความกำหนัด ยินดีการลูบก็ดี
คลำก็ดี จับก็ดี ต้องก็ดี บีบเคล้นก็ดี ของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด
ใต้รากขวัญลงไป เหนือเข่าขึ้นมา แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่อ
อุพภชานุมัณฑลิกา หาสังวาลมิได้.
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 6
สิกขาบทวิภังค์
[๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงาน
อย่างใด มีชาติอย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม
เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง. . .ใด.
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ,
ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะ
อรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว, ชื่อว่า ภิกษุณี โดยสมญา, ชื่อว่า ภิกษุณี
โดยปฏิญญา, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุณี, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะ
อรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่า
เป็นผู้เจริญ, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะ
อรรถว่าเป็นพระอเสขะ,ชื่อว่าภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์สองฝ่ายพร้อม
เพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ, บรรดา
ภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีที่สงฆ์สองฝ่ายพร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติ-
จตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์
ในอรรถนี้ .
ที่ชื่อว่า มีความกำหนัด ได้แก่หญิงหรือชายมีความกำหนัดมาก มี
ความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์.
ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่
เปรตผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นคนรู้ความ เป็นผู้สามารถ เพื่อถึง
ความเคล้าคลึงด้วยกาย.
บทว่า ใต้รากขวัญลงไป คือ เบื้องต่ำแห่งรากขวัญลงไป.
บทว่า เหนือเข่าขึ้นมา คือ เบื้องบนแห่งมณฑลเข่าขึ้นมา.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 7
ที่ชื่อว่า ลูบ คือ เพียงลูบไป.
ที่ชื่อว่า คลำ คือ จับเบา ๆ ไปข้างโน้นข้างนี้
ที่ชื่อว่า จับ คือ เพียงจับตัว.
ที่ชื่อว่า ต้อง คือ เพียงถูกต้องตัว.
บทว่า ยินดี . . . การบีบเคล้นก็ดี คือยินดีการรับต้องอวัยวะแล้ว
บีบเคล้น
บทว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเทียบเตียงภิกษุณีรูปก่อน.
อุปมาด้วยบุรุษถูกตัดศีรษะ
คำว่า เป็นปาราชิก อธิบายว่า บุรุษถูกตัดศีรษะแล้วไม่อาจมีสรีระ
คุมกันนั้นเป็นอยู่ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความกำหนัด
ยินดี การลูบก็ดี คลำก็ดี จับก็ดี ต้องก็ดี บีบเคล้นก็ดี ของบุรุษบุคคลผู้
กำหนัด ได้รากขวัญลงไป เหนือเข่าขึ้นมา ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นธิดา
ของพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่กรรมที่พึง
กระทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า
สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุณีนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาส
มิได้.
บทภาชนีย์
[๓] เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกกายด้วยกาย
ใต้รากขวัญลงไป เหนือเข่าขึ้นมา ภิกษุณีต้องอาบัติปาราชิก ถูกของที่เนื่อง
ด้วยกาย ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถูกกายด้วยของที่เนื่องด้วยกาย ต้อง
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 8
อาบัติถุลลัจจัย ถูกของที่เนื่องด้วยกาย ด้วยของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ถูกกายด้วยของที่โยนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ถูกของที่เนื่องด้วยกาย ด้วยของที่
โยนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ถูกของที่โยนให้ ด้วยของที่โยนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๔] กายต่อกายถูกกัน เหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลงมา ภิกษุณี
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ของที่เนืองด้วยกายกับกายถูกกัน ต้องอาบัติทุกกฏ กายกับ
ของที่เนื่องด้วยกายถูกกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกาย กับของที่เนื่อง
ด้วยกายถูกกัน ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของไปถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่
โยนไปถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่โยนไปถูกของที่โยนมา
ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๕] ฝ่ายหนึ่งมีความกำหนัด กายต่อกายถูกกัน ใต้รากขวัญลงไป
เหนือเข่าขึ้นมา ภิกษุณีต้องอาบัติถุลลัจจัย กายถูกของที่เนืองด้วยกาย ต้อง
อาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกาย
ถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่โยนไปถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ของที่โยนไปถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่โยนไปถูกของที่
โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๖] กายถูกกาย เหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลงมา ต้องอาบัติทุกกฎ
กายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฎ ของที่เนื่องด้วยกายถูกกาย ต้อง
อาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยน
ของถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ของที่โยนไปถูกของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๗] เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัด จับต้องกายด้วยกาย ของยักษ์
ก็ดี เปรตก็ดี บัณเฑาะก์ก็ดี สัตว์ดิรัจฉานที่มีกายคล้ายมนุษย์ก็ดี ใต้รากขวัญ
ลงมา เหนือเข่าขึ้นไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย กายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้อง
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 9
อาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกาย
ถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
โยนของถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่โยนไป ถูกของที่โยนมา
ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๘] ถูกกายด้วยกาย เหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลงมา ต้องอาบัติ
ทุกกฏ กายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกกาย
ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกาย ถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
โยนของถูกกาย ด้วยอาบัติทุกกฏ โยนของถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติ-
ทุกกฏ ของที่โยนไปถูกของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๙] ฝ่ายหนึ่งมีความกำหนัด ถูกกายด้วยกาย ใต้รากขวัญลงมา
เหนือเข่าขึ้นไป ต้องอาบัติทุกกฏ กายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฎ
ของที่เนื่องด้วยกายถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกของที่เนื่อง
ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของถูกของที่
เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของไปถูกของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๑๐] กายถูกกาย เหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลงมา ต้องอาบัติทุกกฏ
กายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกกาย ต้อง
อาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยน
ของไปถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฎ โยนของถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ของที่โยนไปถูกของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๑๑] ภิกษุณีไม่ตั้งใจ ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ ไม่ยินดี ๑ วิกลจริต ๑
มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ ภิกษุณีอาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 10
สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก
อรรถกถาปาราชิกกัณฑ์
ในภิกขุนีวิภังค์
เพราะมาถึงลำดับแห่งการสังวรรณนา
ภิกขุนีวิภังค์ ของพวกภิกษุณี ที่พระธรรม
สังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ได้ร้อยกรองไว้ใน
ลำดับแห่งภิกขุวิภังค์ ฉะนั้น เพื่อทำการ
พรรณนาบทที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ในปาราชิก
แห่งภิกขุนีวิภังค์นั้น จึงมีการสังวรรณนา
เริ่มต้น ดังต่อไปนี้.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
แก้อรรถปฐมปาราชิกสิกขาบทของพวกภิกษุณี
ในคำว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา สาวตฺถิย วิหรติ ฯ เป ฯ
สาฬฺโห มิคารนตฺตา นี้ คำว่า สาฬฺโห เป็นชื่อของมิคารนัดดานั้น
เพราะเขาเป็นหลานของนางวิสาขามิคารมารดา. ด้วยเหตุนั้น พระธรรม
สังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า มิคารนตฺตา.
บทว่า นวกมฺมิก แปลว่า ผู้อำนวยนวกรรม.
บทว่า ปณฺฑิตา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต.
บทว่า พฺยตฺตา แปลว่า ประกอบด้วยความเป็นผู้เฉียบแหลม.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 11
บทว่า เมธาวินี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญามีสติเป็นหลักในการ
เรียนบาลี (และ) ด้วยสติปัญญาเป็นหลักในการเรียนอรรถกถา.
บทว่า ทกฺขา แปลว่า ผู้หลักแหลม ความว่า ผู้มีปกติ ทำงานที่
ควรทำได้รวดเร็ว ไม่ผิดพลาด.
บทว่า อนลสา แปลว่า ผู้ปราศจากความเกียจคร้าน.
บทว่า ตตฺรูปายาย แปลว่า เป็นทางดำเนินในการงานเหล่านั้น.
บทว่า วีมสาย แปลว่า ด้วยปัญญาเลือกเฟ้นการงานที่ควรทำ.
บทว่า สมนฺนาคตา แปลว่า ประกอบพร้อม.
สองบทว่า อล สวิธาตุ ได้แก่ เป็นผู้สามารถเพื่อทำการงานนั้น.
สองบทว่า อล สวธาตุ ได้แก่ เป็นผู้สามารถแม้จะจัดการอย่างนี้
ว่า การงานนี้จงเป็นอย่างนี้ และการงานนี้จงเป็นอย่างนั้น.
สองบทว่า กตากต ชานิตุ คือ เพื่อรู้งานที่ทำแล้ว และยังมิได้ทำ.
บทว่า เต มีความว่า ชนทั้งสองนั้น คือ ภิกษุณีสุนทรีนันทากับ
นายสาฬหะนั้น.
บทว่า ภตฺตคฺเค คือ ในสถานที่อังคาส.
บทว่า นิกฺกุฑฺเฑ คือ เป็นที่ลึกซ่อนเร้นอันแสดงให้เห็นคล้าย
มุมฉาก.
สามบทว่า วิสฺสโร เม ภวิสฺสติ มีความว่า เสียงอื้อฉาวจักมีแก่
เรา คือ จักมีเสียงฉาวโฉ่ต่าง ๆ แก่เรา.
บทว่า ปฏิมาเนนฺตี แปลว่า คอยดูอยู่.
บทว่า กยาห ตัดบทเป็น กึ อหึ แปลว่า ทำไม ผม (จะไม่
รักแม่เจ้าเล่า ขอรับ )
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 12
บทว่า ชราทุพฺพลา คือ ทุพพลภาพเพราะชรา.
บทว่า จรณคิลานา คือ ประกอบด้วยโรคเท้าเจ็บ.
บทว่า อวสฺสุตา มีความว่า เป็นผู้มีความกำหนัด คือ เปียกชุ่ม
อยู่ด้วยความกำหนัด ในการเคล้าคลึงกาย. แต่ในบทภาชนะแห่ง บทว่า อวสฺสุตา
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาราคะนั้นทีเดียวจึงตรัสคำว่า สารตฺตา
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สารตฺตา คือ ผู้มีความกำหนัดอย่าง
หนักด้วยกายสังสัคคราคะ ดุจผ้าถูกย้อมด้วยสี ฉะนั้น.
บทว่า อเปกฺขวตี มีความว่า ผู้ประกอบด้วยความเพ่งเล็งที่เป็นไป
ในบุรุษนั้น ด้วยอำนาจแห่งความกำหนัดนั้นนั่นแหละ.
บทว่า ปฏิพทธฺจิตฺตา ได้แก่ เป็นผู้มีจิตดุจถูกความกำหนัดนั้น
ผูกพันไว้ในบุรุษนั้น. แม้ในวิภังค์แห่งบทที่ ๒ ก็มีนัยอย่างนี้.
บทว่า ปุริสปุคฺคลสฺส ได้แก่ บุคคลกล่าวคือบุรุษ.
บทว่า อธกฺขก คือ ใต้รากขวัญลงไป.
บทว่า อุพฺภชานุมณฺฑล คือ เหนือมณฑลเข่าทั้งสอง ขึ้นมา. แต่
ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยลำดับแห่งบททีเดียวว่า เหฏฺกฺ-
ขก อุปริชานุมณฺฑล ใต้รากขวัญเหนือมณฑลเข่า ดังนี้.
ก็ในบทว่า อุปริชานุมณฺฑล นี้ แม้เหนือศอกขึ้นมา ท่านก็
สงเคราะห์เข้าด้วยเหนือมณฑลเข่าขึ้นมาเหมือนกัน. คำที่เหลือบัณฑิตพึงทราบ
โดยนัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในมหาวิภังค์นั่นแล.
สองบทว่า ปุริมาโย อุปาทาย มีความว่า ทรงเทียบเคียงภิกษุณี
๔ รูป ผู้ต้องอาบัติปาราชิกกับด้วยปาราชิกที่ทั่วไป (๔ มีเมถุนเป็นต้น ).
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 13
ก็คำว่า อุพฺภชานุมณฺฑิกา นี้ เป็นเพียงชื่อแห่งอาบัติปาราชิกนี้;
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ทรงวิจารณ์ไว้ในบทภาชนะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่พระองค์ทรงแสดงไว้โดยลำดับ
แห่งบทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติโดยความต่างกันแห่ง
ความเป็นผู้มีความกำหนัดเป็นต้น จึงได้ตรัสคำว่า อุภโต อวสฺสุเต เป็นต้น.
ว่าด้วยทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัดจับต้องกายเป็นต้น
ในคำว่า อุภโ ต อวสฺสุเต เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำว่า อุภโต อวสฺสุเต คือ เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัด.
ความว่า เมื่อภิกษุณีและบุรุษเป็นผู้มีความกำหนัดด้วยกายสังสัคคราคะ.
สามบทว่า กาเยน กาย อามสติ มีความว่า ภิกษุณีจับต้องกาย
ของบุรุษส่วนใดส่วนหนึ่งด้วยกายตามที่กำหนดไว้ หรือว่า บุรุษจับต้องกาย
ของภิกษุณีตามที่กำหนดไว้ ด้วยกาย (ของตน) ส่วนใดส่วนหนึ่ง. เป็นปาราชิก
แก่ภิกษุณีแม้โดยประการทั้งสอง.
สองบทว่า กาเยน กายปฏิพทฺธ คือ (ภิกษุณีถูกต้อง) ของเนื่อง
ด้วยกายของบุรุษด้วยกายของตน มีประการดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ในบทว่า อามสติ นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณี จงจับต้องเองหรือจง
ยินดีการจับต้องของบุรุษนั้นก็ตามที เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน .
สองบทว่า กายปฏิพทฺเธน กาย ได้แก่ ภิกษุณีจับต้องกายของ
บุรุษ ด้วยของเนื่องด้วยกายมีประการดังกล่าวแล้วของตน.
แม้ในบทว่า อามสติ นี้ ก็มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณีจงจับต้องเองหรือ
จงยินดีการจับต้องของบุรุษก็ตามที เป็นถุลลัจจัยทั้งนั้น. แม้ในบทที่เหลือ ก็
พึงทราบวินิจฉัยโดยนัยนี้แล. แต่ถ้าเป็นภิกษุกับภิกษุณีด้วยกัน ในภิกษุกับ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 14
ภิกษุณีนั้น ถ้าภิกษุณีจับต้อง ภิกษุเป็นผู้นิ่งไม่ไหวติงแต่ยินดีด้วยจิต พระวินัย-
ธรไม่ควรปรับภิกษุด้วยอาบัติ. ถ้าภิกษุจับต้อง ภิกษุณีเป็นผู้นิ่งไม่ไหวติง
แต่ยินดี (ยอมรับ) ด้วยจิตอย่างเดียว แม้ไม่ให้ส่วนแห่งกายไหว พระวินัยธร
ก็พึงปรับด้วยปาราชิกในเขตแห่งปาราชิก ด้วยถุลลัจจัยในเขตแห่งถุลลัจจัย
ด้วยทุกกฏในเขตทุกกฏ. เพราะเหตุไร ? เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย. นี้เป็นวินิจฉัย ในอรรถกถาทั้งหลาย. ก็เมื่อมีวินิจฉัย
อย่างนี้ ความที่สิกขาบทนี้มีการทำเป็นสมุฏฐาน ไม่ปรากฏให้เห็น เพราะเหตุ
นั้นความที่สิกขาบทมีการทำเป็นสมุฏฐานนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พวกอาจารย์
กล่าวไว้โดยนัย คือความที่สิกขาบทนั้นมีการทำเป็นสมุฏฐานทั้งนั้นเป็นส่วน
มาก.
บทว่า อุพฺภกฺขก แปลว่า เบื้องบนแห่งรากขวัญทั้งสอง.
บทว่า อโธชานุมณฺฑล แปลว่า ภายใต้แห่งมณฑลเข่าทั้งสอง. อนึ่ง
แม้เหนือข้อศอกขึ้นมา ท่านก็สงเคราะห์เข้าด้วยเหนือมณฑลเข่าเหมือนกัน ใน
บทว่า อโรชานุมณฑล นี้.
ในคำ เอกโต อวสฺสุเต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า เอกโต
ไว้โดยไม่แปลกกัน แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เมื่อภิกษุณีมี
ความกำหนัดเท่านั้น ความต่างแห่งอาบัตินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้.
ในสิกขาบทนี้ มีวินิจฉัยตั้งแต่ต้นดังต่อไปนี้ :- ภิกษุณีกำหนัดด้วย
ความกำหนัดในการเคล้าคลึงกาย ถึงบุรุษก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อมีความยิน
ดีในการเคล้าคลึงกาย ในกายประเทศตั้งแต่รากขวัญลงมา เหนือมณฑลเข่าขึ้น
ไป เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณี. ภิกษุณีมีความกำหนัดในการเคล้าคลึงกาย. ฝ่าย
บุรุษมีความกำหนัดไม่เมถุน หรือมีความรักอาศัยเรือน หรือมีจิตบริสุทธิ์ก็ตาม
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 15
ที เป็นถุลลัจจัย ทั้งนั้น. ภิกษุณีมีความกำหนัดในเมถุน, ฝ่ายบุรุษมีความ
กำหนัดในการเคล้าคลึงกาย หรือมีความกำหนัดในเมถุนหรือมีความรักอาศัย
เรือน หรือมีจิตบริสุทธิ์ก็ตามที เป็นทุกกฏ. ภิกษุณีมีความรักอาศัยเรือน,
ฝ่ายบุรุษมีจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะ ๔ ที่กล่าวแล้วเป็นทุกกฏเหมือนกัน.
ภิกษุณีมีจิตบริสุทธิ์, แต่บุรุษมีจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะ ๔ ที่กล่าวแล้ว
ไม่เป็นอาบัติ. แต่ถ้าเป็นภิกษุ กับภิกษุณี ทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัดในการ
เคล้าคลึงกาย, ฝ่ายภิกษุเป็นสังฆาทิเสส, ภิกษุณีเป็นปาราชิก. ภิกษุณีมีความ
กำหนัดในการเคล้าคลึงกาย, ฝ่ายภิกษุมีความกำหนัดในเมถุนก็ดี ความรัก
อาศัยเรือนก็ดี เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุณี เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ. ทั้งสองฝ่ายมีความ
กำหนัดในเมถุนก็ดี มีความรักอาศัยเรือนก็ดี เป็นทุกกฏเหมือนกันแม้ทั้งสอง
ฝ่าย. ฝ่ายใดมีจิตบริสุทธิ์ ในฐานะ (มีการจับต้องเป็นต้น) ใด, ฝ่ายนั้นไม่เป็น
อาบัติในฐานะนั้น. แม้ทั้งสองฝ่ายมีจิตบริสุทธิ์ก็ไม่เป็นอาบัติแม้ทั้งสองฝ่าย.
ในบทว่า อนาปตฺติ อสญฺจิจฺจ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณี
จับต้องผิดพลาดไปก็ดี ส่งใจไปทางอื่นก็ดี ไม่รู้ว่า ผู้นี้เป็นชาย หรือหญิงก็
ดี ถึงถูกบุรุษนั้นถูกต้องก็ไม่ยินดีผัสสะนั้นก็ดี แม้เมื่อมีการจับต้องก็ไม่เป็น
อาบัติ. คำทีเหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก (ของภิกษุ) เป็นกิริยา สัญญา-
วิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ ดังนี้แล.
อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 16
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา
[๑๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
สุนทรีนันทามีครรภ์กับนายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ได้ปกปิดไว้จนมีครรภ์
อ่อน ๆ เมื่อครรภ์แก่แล้ว จึงสึกออกมาตลอดบุตร ภิกษุณีทั้งหลายได้ถาม
เรื่องนั้นกับภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า นางสุนทรีนันทาสึกไม่นานนัก ก็
คลอดบุตร ชะรอยนางจะมีครรภ์ทั้งเป็นภิกษุณีกระมัง เจ้าข้า.
ถุล. อย่างนั้น เจ้าข้า.
ภิก. ก็แม่เจ้ารู้อยู่ว่าภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก เหตุไฉนจึงไม่โจทด้วย
ตน ไม่บอกแก่คณะเล่า.
ถุล. โทษอันใดของเธอ นั่นเป็นโทษของดิฉัน การเสื่อมเกียรติอันใด
ของเธอ นั่นเป็นการเสื่อมเกียรติของดิฉัน การเสื่อมยศอันใดของเธอ นั่นเป็น
การเสื่อมยศของดิฉัน การเสื่อมลาภอันใดของเธอ นั่นเป็นการเสื่อมลาภของ
ดิฉัน ไฉนดิฉันจักบอกโทษของตน การเสื่อมเกียรติของตน การเสื่อมยศของ
ตน การเสื่อมลาภของตน แก่คนเหล่าอื่นเล่า.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่าแม่เจ้าถุลลนันทารู้อยู่ซึ่งภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก ไฉนจึงไม่โจทด้วยตน ไม่
บอกแก่คณะเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ความเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 17
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น ทรงทำธรรมีกถา แล้วทรงสอบถาม
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา รู้อยู่ว่าภิกษุณี
ล่วงอาบัติปาราชิก ไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่คณะ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี
ถุลลนันทารู้อยู่ว่าภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก ไฉนจึงไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่
คณะ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การ
กระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และ
เพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกภิกษุณี จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๖. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด รู้อยู่ว่าภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก ไม่
โจทด้วยตน ไม่บอกแก่คณะ ในเวลาที่ภิกษุณีนั้นยังดำรงเพศอยู่ก็ดี
เคลื่อนไปแล้วก็ดี ถูกนาสนะแล้วก็ดี ไปเข้ารีตเดียรถีย์เสียก็ดี ภาย
หลังนางจึงบอกอย่างนี้ว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนดิฉันรู้จักภิกษุณี
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 18
นั่นได้ดีทีเดียวว่า นางเป็นพี่หญิง น้องหญิง มีความประพฤติเช่นนี้
และมีความประพฤติเช่นนั้น แต่ดิฉันไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่คณะ
แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่อวัชชปฏิจฉาทิกา หาสังวาสมิได้.
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๓] บทว่า อนึ่ง. . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เองก็ดี คนอื่นบอกแก่เธอก็ดี เจ้าตัวบอกก็ดี.
คำว่า ล่วงอาบัติปาราชิก คือ ต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง ใน
ปาราชิก ๘.
คำว่า ไม่โจทด้วยตน คือ ไม่โจทเอง.
คำว่า ไม่บอกแก่คณะ คือ ไม่บอกแก่ภิกษุณีอื่น ๆ.
[๑๘] พากย์ว่า ในเวลาที่ภิกษุณีนั้น ยังดำรงเพศอยู่ก็ดี เป็น
ต้น อธิบายว่า ภิกษุณีผู้ดำรงอยู่ในเพศของตน ตรัสเรียกว่า ผู้ยังดำรงเพศอยู่
ผู้ถึงมรณภาพ ตรัสเรียกว่า ผู้เคลื่อนไป ผู้สึกเองก็ตาม ถูกผู้อื่นนาสนะเสีย
ก็ตาม ตรัสเรียกว่า ผู้ถูกนาสนะ เข้าไปสู่ลัทธิเดียรถีย์ ตรัสเรียกว่า เข้ารีต
เดียรถีย์.
[๑๕] สองพากย์ว่า ภายหลังนางจึงบอกอย่างนี้ว่า แม่เจ้า
เจ้าข้า เมื่อก่อนดิฉันรู้จักภิกษุณีนั่นได้ดีทีเดียวว่า นางเป็นพี่หญิง
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 19
น้องหญิง มีความประพฤติเช่นนี้ และมีความประพฤติเช่นนี้ แต่
ดิฉันไม่โจทด้วยตน นั้น คือ ไม่โจทเอง.
คำว่า ไม่บอกแก่คณะ คือ ไม่บอกแก่ภิกษุณีอื่น ๆ.
[๑๖] บทว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุณี
รูปก่อน.
อุปมาด้วยใบไม้เหลือง
คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วแล้วไม่ควร
เพื่อจะเป็นของเขียวสดขึ้นได้ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นแหละ รู้อยู่ว่า
ภิกษุณีล่วงปาราชิกธรรมแล้ว เมื่อเธอทอดธุระว่าจักไม่โจทด้วยตน จักไม่บอก
แก่คณะดังนี้เท่านั้น ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นธิดาของพระศากยบุตร เพราะ
เหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่
พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า
สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุณีนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.
อนาปัตติวาร
[๑๗] ภิกษุณีไม่บอกด้วยเกรงว่า ความบาดหมาง ความทะเลาะ
ความแก่งแย่ง ความวิวาท จักมีแก่สงฆ์ ๑ ไม่บอกด้วยเข้าใจว่า สงฆ์จักแตก
กัน สงฆ์จักร้าวรานกัน ๑ ไม่บอกด้วยแน่ใจว่า ภิกษุณีนี้เป็นคนร้ายกาจ
หยาบคาย จักทำอันตรายแก่ชีวิต หรือพรหมจรรย์ ๑ ไม่พบภิกษุณีอื่น ๆ ที่
สมควรจะบอก จึงไม่บอก ๑ ไม่ประสงค์จะปกปิด แต่ยังมิได้บอก ๑ ไม่บอก
ด้วยสำคัญว่า จักปรากฏด้วยการกระทำของเขาเอง ๑ ภิกษุณีวิกลจริต ๑ ภิกษุณี
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 20
อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
วินิจฉัยในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้ :-
แก้อรรถปาฐะบางตอนในทุติยปาราชิก
บทว่า กจฺจิโน สา ตัดบทเป็น กจฺจิ นุ สา แปลว่า ชะรอย
นาง (จะมีครรภ์ทั้งเป็นภิกษุณีกระมัง ?)
บทว่า อวณฺโณ แปลว่า มิใช่คุณ.
บทว่า อกิตฺติ แปลว่า การตำหนิ.
บทว่า อยโส ได้แก่ ความเสียบริวาร, อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ การ
ติเตียนลับหลัง.
คำว่า สา วา อาโรเจติ ได้แก่ นางภิกษุณีผู้ซึ่งต้องปาราชิกแล้ว
ไม่บอกด้วยตนเองก็ดี.
ข้อว่า อฏฺนฺน ปาราชิกาน อญฺตร ได้แก่ ปาราชิก ๔ ที่
สาธารณะกับภิกษุทั้งหลาย และเฉพาะปาราชิก ๔ ที่ไม่ทั่วไปอย่างใดอย่างหนึ่ง.
และปาราชิกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติในภายหลัง เพราะฉะนั้น จึง
ตรัสไว้ในวิภังค์ว่า อฏฺนฺน . แต่บัณฑิตพึงทราบว่า พระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลายจัดตั้งปาราชิกนี้ไว้ในโอกาสนี้ ก็เพราะเป็นคู่กับสิกขาบทก่อน.
สองบทว่า ธุร นิกฺขิตฺตมตฺเต คือ พอเมื่อเธอทอดธุระเสีย ก็
กถาพิสดารในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังได้กล่าวแล้วในทุฏฐุลล-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 21
สิกขาบท ในสัปปาณวรรคนั้นแล. แต่มีความแปลกกันเพียงเท่านี้ว่า จริงอยู่
ในทุฏฐุลลสิกขาบทนั้น เป็นปาจิตตีย์, ในบทนี้เป็นปาราชิก. คำที่เหลือเป็น
เช่นเดียวกันทั้งนั้น.
แม้คำว่า วชฺชปฏิจฺฉาทิกา นี้ ก็เป็นเพียงชื่อแห่งปาราชิกนี้เท่านั้น.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ทรงวิจารณ์ไว้ในบทภาชนะ. คำที่
เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกายวาจากับจิต
เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต
ทุกขเวทนา ดังนี้แล.
อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 22
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาพระพฤติตามพระอริฎฐะผู้เผ่าพรานแร้งที่ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันยก
เสียแล้ว บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้พระพฤติตามพระอริฏฐะผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูกสงฆ์
ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้วเล่า... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันนทาประพฤติตามอริฏฐภิกษุผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูก
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ประพฤติตามอริฏฐภิกษุผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูกสงฆ์
ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้วเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่า ดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 23
พระบัญญัติ
๗. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์พร้อม
เพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ ผู้ไม่
เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย
ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ภิกษุ
นั่นแล อันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย
ตามสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มี
สังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้าอย่าประพฤติตามภิกษุนั่นเลย
แลภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่
อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะ
ครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากนางถูกสวดสมนุภาส
กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย การสละได้อย่างนี้ นั่น
เป็นการดี หากนางไม่สละเสีย แม้ภิกษุณีนั้นก็เป็นปาราชิก ชื่อ
อุกขิตตานุวัตติกา หาสังวาสมิได้.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๙] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมา
เดียวกัน.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 24
ที่ชื่อว่า ถูกยกเสียแล้ว คือ ถูกยกเสียในเพราะไม่เห็นอาบัติ ใน
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือในเพราะไม่สละทิฏฐิบาป.
สองบทว่า ตามธรรม ตามวินัย คือ โดยธรรมอันใด โดยวินัย
อันใด.
บทว่า ตามสัตถุศาสน์ คือ ตามคำสั่งสอนของพระผู้ชำนะกิเลส
ได้แก่ พระพุทธศาสนา.
ที่ชื่อว่า ไม่เอื้อเฟื้อ คือ ไม่เชื่อสงฆ์ บุคคล หรือกรรม.
ที่ชื่อว่า ไม่ทำคืนอาบัติ คือ ถูกสงฆ์ยกเสียแล้ว สงฆ์ยังไม่เรียก
เข้าหมู่.
ที่ชื่อว่า มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย คือ ภิกษุ
ทั้งหลายผู้มีสังวาสเสมอกัน ตรัสเรียกว่าภิกษุผู้สหาย ภิกษุนั้นไม่ร่วมกับภิกษุผู้
สหายเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็น
สหาย.
บทว่า พึงประพฤติตามภิกษุนั้น ความว่า ภิกษุณีนั้นมีความเห็น
อย่างใด มีความพอใจอย่างใด มีความชอบใจอย่างใด แม้ภิกษุณีนั้นก็มีความ
เห็นอย่างนั้น มีความพอใจอย่างนั้น มีความชอบใจอย่างนั้น.
[๒๐] บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุ ผู้
ถูกสงฆ์ยกเสียแล้วนั้น
บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีเหล่าอื่น คือ ภิกษุณี
ที่ได้เห็นได้ยินทั้งหลาย พึงว่ากล่าวดังนี้ว่า แม่เจ้า ภิกษุนั้นแล อันสงฆ์ผู้
พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่
เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้า
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 25
อย่าประพฤติตามภิกษุนั่น พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม
หากนางสละได้ การสละได้ดั่งนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีทั้งหลายทราบเรื่องแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอัน
ภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วว่ากล่าวว่า แม่เจ้า ภิกษุนั่น
แลอันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์
เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย
แม่เจ้าอย่าประพฤติตามภิกษุนั่นเลย พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้
ครั้งที่ ๓ หากเธอสละได้ การสละได้ดั่งนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
[๒๑] ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสอย่างนี้.
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตตุถ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาสมนุภาส
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ประพฤติ
ตามภิกษุผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย
ตามสัตถุศาสน์ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาส
เสมอกันให้เป็นสหาย นางยังไม่ยอมสละวัตถุนั้น ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อ
ให้สละวัตถุนั้น นี้เป็นญัตติ.
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ประพฤติ
ตามภิกษุผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 26
ตามสัตถุศาสน์ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาส
เสมอกันให้เป็นสหาย นางยังไม่ยอมสละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาส
ภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุณีผู้มี
ชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็น
ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
ดิฉันกล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง. . .
ดิฉันกล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม. . .
ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละวัตถุ
นั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
[๒๒] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาราชิก.
[๒๓] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง
ภิกษุณีรูปก่อน.
ทรงอุปมาด้วยศิลาแตก
คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้วเป็น
ของกลับต่อกันสนิทไม่ได้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นแล อันสงฆ์สวดสมนุภาสอยู่
ถึงครั้งที่สาม ยังไม่สละ ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่ใช่ธิดาของพระศากยบุตร
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึง
ทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่า
สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาส
มิได้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 27
บทภาชนีย์
ติกปาราชิก
[๒๔] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติปาราชิก.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติปาราชิก.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง
อาบัติปาราชิก.
ติกทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม. . .ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม. . .ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๕] ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ยอมสละเสีย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ-
กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 28
อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัยในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :-
แก้อรรถปาฐะบางตอนในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ ตามวัตถุที่เป็นจริง.
บทว่า วินเยน ได้แก่ โจทแล้วให้ ๆ การ. ก็บทภาชนะแห่งสองบท
ว่า ธมฺเมน วินเยน นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงเพียง
อธิบายนี้ว่า ผู้ที่ถูกสงฆ์ยกวัตรตามธรรมดาตามวินัย เป็นผู้ถูกยกวัตรชอบแล้ว .
บทว่า สตฺถุ สาสเนน ได้แก่ โดยญัตติสัมปทาและอนุสาวนา-
สัมปทา. แต่ในบทภาชนะแห่งบทว่า สตฺถุ สาสเนน นั้น ตรัสเพียงคำ
ไวพจน์เท่านั้นว่า โดยชินศาสน์ คือ โดยพุทธศาสน์.
ในคำว่า สงฺฆ วา คณ วา เป็นต้น มีวินิฉัยดังนี้ :- ไม่เชื่อ คือ
ไม่ประพฤติตามสงฆ์ผู้ซึ่งทำกรรม คณะ คือ บุคคลมากคน หรือบุคคลคน
เดียวผู้นับเนื่องในสงฆ์นั้น หรือกรรมนั้น อธิบายว่า ไม่ยังความเอื้อเฟื้อให้
เกิดขึ้นในสงฆ์เป็นต้นนั้น .
ในคำว่า สมานสวาสกา ภิกฺขู วุจฺจนฺติ สหายา โส เตหิ สทฺธึ
นตฺถิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ธรรมนี้ คือ กรรมอย่างเดียวกัน อุเทศอย่างเดียว
กัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน ชื่อว่า สังวาสก่อน. สังวาสแห่งภิกษุเหล่า
นั้นเสมอกัน; เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงชื่อว่ามีสังวาสเสมอกัน. ภิกษุทั้งหลาย.
เห็นปานนี้ ตรัสเรียกว่า สหาย เพราะมีภาวะที่เป็นไปร่วมกันในสังวาสนั้น
แห่งภิกษุ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 29
บัดนี้ สังวาสซึ่งเป็นเหตุให้ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น ว่า ผู้มีสังวาส
เสมอกัน ไม่มีแก่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรนั้น ร่วมกับภิกษุเหล่านั้น และเหล่า
ภิกษุที่เธอไม่มีสังวาสนั้นร่วมด้วย เป็นอันเธอมิได้ทำให้เป็นสหายของตน.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายผู้มีสังวาสเสมอ
กัน เรียกว่า เป็นสหายกัน ภิกษุนั้นไม่ร่วมกับภิกษุสหายเหล่านั้น; เพราะ
เหตุนั้น จึงเรียกว่า มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย. คำที่เหลือ
ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังได้กล่าวแล้วในสังฆเภทสิกขาบทเป็นต้น.
สิกขาบทนี้ มีการสวดสมนุภาสเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกาย วาจา
กับจิต เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม
อกุศลจิต ทุกขเวทนา ดังนี้แล.
อรรถกถาปาราชกสิกขาบท ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 30
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๒๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์มีความกำหนัด การที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัดจับมือบ้าง จับชายผ้า
สังฆาฏิบ้าง ยืนด้วยบ้าง สนทนาด้วยบ้าง ไปสู่ที่นัดแนะกันบ้าง ยินดีการที่บุรุษ
มาหาตามนัดบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น
เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั้นบ้าง บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงได้มีความกำหนัด
ยินดีการที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัดจับมือบ้าง จับชายผ้าสังฆาฎิบ้าง ยืนด้วยบ้าง
สนทนาด้วยบ้าง ไปสู่ที่นัดแนะกันบ้าง ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดบ้าง เข้า
ไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพ
อสัทธรรมนั้นบ้างเล่า. . .แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์มีความกำหนัด ยินดีการที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัดจับมือ
บ้าง จับชายผ้าสังฆาฏิบ้าง ยืนด้วยบ้าง สนทนาด้วยบ้าง ไปสู่ที่นัดแนะกัน
บ้าง ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายเพื่อ
ประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั้นบ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 31
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงมีความกำหนัด ยินดีการที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัดจับมือบ้าง จับ
ชายผ้าสังฆาฏิบ้าง ยืนด้วยบ้าง สนทนาด้วยบ้าง ไปสู่ที่นัดแนะกันบ้าง ยินดี
การที่บุรุษมาหาตามนัดบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายเพื่อประโยชน์
แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั้นบ้าง การกระทำของพวกนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๘.๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความกำหนัด ยินดีการที่บุรุษบุคคล
ผู้กำหนัดจับมือก็ดี จับชายผ้าสังฆาฏิก็ดี ยินด้วยก็ดี สนทนาด้วย
ก็ดี ไปสู่ที่นัดหมายกันก็ดี ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดก็ดี เข้าไป
สู่ที่มุงด้วยกันก็ดี ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์
จะเสพอสัทธรรมนั้นก็ดี แม่ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่ออัฏฐวัตถุกา
หาสังวาสมิได้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๗] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 32
ที่ชื่อว่า มีความกำหนัด คือ มีความยินดียิ่ง มีความเพ่งเล็ง มี
จิตปฏิพัทธ์.
ที่ชื่อว่า ผู้กำหนัด คือ กำหนัดนักแล้ว มีความเพ่งเล็ง มีจิต
ปฏิพัทธ์.
ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่
เปรตผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถเพื่อถึงความ
เคล้าคลึงด้วยกาย.
บทว่า ยินดีการจับมือก็ดี ความว่า ที่ชื่อว่า มือ กำหนดตั้งแต่
ข้อศอกถึงปลายเล็บ ภิกษุณียินดีการจับอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลง
มา เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
บทว่า ยินดีการจับชายผ้าสังฆาฏิก็ดี คือ ยินดีการจับผ้านุ่งก็ดี
ผ้าห่มก็ดี เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
บทว่า ยินด้วยก็ดี ความว่า ยืนอยู่ในระยะช่วงมือของบุรุษ เพื่อ
ประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
บทว่า สนทนาด้วยก็ดี ความว่า ยืนพูดอยู่ในระยะช่วงมือของ
บุรุษ เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
บทว่า ไปสู่ที่นัดแนะกันก็ดี ความว่า บุรุษพูดนัดว่า โปรดมา
สู่สถานที่ชื่อนี้ ดังนี้ ภิกษุณีไปเพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติ
ทุกกฏทุก ๆ ก้าว พอย่างเข้าระยะช่วงมือของบุรุษ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
บทว่า ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดก็ดี ความว่า ยินดีการมา
ตามนัดของบุรุษ เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติทุกกฏ พอ
ย่างเข้าระยะช่วงมือ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 33
บทว่า เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันก็ดี ความว่า พอย่างเข้าสู่สถานที่อัน
มุงไว้ด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
บทว่า ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้นก็ดี ความว่า อยู่ใน
ระยะช่วงมือของบุรุษ แล้วทอดกายเพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
[๒๘] บทว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง
ภิกษุณีรูปก่อน.
อุปมาด้วยตาลยอดด้วน
บทว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้วไม่อาจงอก
อีกได้ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำวัตถุถึงที่ ๘ ไม่ใช่สมณะ
ไม่ใช่ธิดาของพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำ
ร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส
สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุณีนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.
อนาปัตติวาร
[๒๙] ไม่จงใจ ๑ เผลอสติ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ ไม่ยินดี ๑ วิกลจริต ๑ มีจิต
ฟุ้งซ่าน ๑ กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 34
[๓๐] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาราชิก ๘ สิกขาบท๑ ดิฉันยกขึ้น
แสดงแล้วแล ภิกษุณีต้องอาบัติปาราชิกอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ได้อยู่ร่วมกับ
ภิกษุณีทั้งหลาย ในภายหลัง เหมือนในกาลก่อน เป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้
ดิฉันขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในอาบัติปาราชิกเหล่านั้นว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์
แล้วหรือ ดิฉันขอถามแม้ครั้งที่สองว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ ดิฉัน
ขอถามแม้ครั้งที่สามว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ แม่เจ้าทั้งหลายเป็นผู้
บริสุทธิ์ในอาบัติปาราชิกเหล่านี้แล้ว เหตุนั้น จึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วย
อย่างนี้แล.
ปาราชิกกัณฑ์ จบ
๑. สิกขาบทที่ ๕ ถึง ๘ เหมือนของภิกษุ แต่ใช้สำนวนต่างโดยควรแก่เพศ ส่วนในอุภโตปาติ-
โมกข นับส่วนหนึ่งที่เหมือนของภิกษุ ตั้งเป็นจำนวนครบ ๔ แล้ว จึงนับส่วนของภิกษุณีต่อจนครบ ๔.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 35
อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
วินิจฉัยในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้ :-
แก้อรรถบางปาฐะและบางเรื่องในจตุตถปาราชิก
บทว่า อวสฺสุตา ได้แก่ ผู้กำหนัดด้วยกายสังสัคคราคะ ด้วยอำนาจ
มิตตสันถวะ กล่าวคือ ความยินดีทางโลกีย์. แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้นั่นแล.
ก็ในคำว่า ปุริสปุคฺคลสฺส หตฺถคฺคหณ วา เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า
การจับมือที่บุคคลผู้ชายทำแล้ว ตรัสเรียกว่า การจับมือแห่งบุรุษบุคคล. แม้
ในการจับชายผ้าสังฆาฎิ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่การจับมือ และการจับแม้อย่าง
อื่นในเขตที่ไม่เป็นปาราชิก บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านรวมเข้าเป็นอันเดียวกัน
เรียกว่าการจับมือ ในคำว่า หตฺถคฺคหณ นี้. ด้วยเหตุนั้นแล ในบทภาชนะ
แห่งบทว่า ทตฺถคฺคหณ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สองบทว่า
หตฺถคฺคหณ วา สาทิเยยฺย มีความว่า ที่ชื่อว่ามือ กำหนดตั้งแต่ข้อศอกไป
จนถึงปลายเล็บ, ภิกษุณียินดีการจับอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้มณฑลเข่า
ลงมา เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. แต่ในบทว่า
อสทฺธมฺโม นี้ การเคล้าคลึงกาย พึงทราบว่า อสัทธรรม ไม่ใช่เมถุนธรรม.
แท้จริงถุลลัจจัยหาใกล้เคียงต่อเมถุนธรรมไม่. อนึ่ง แม้คำว่า เป็นผู้รู้ความ
เป็นผู้สามารถเพื่อถึงความเคล้าคลึงกาย ก็เป็นเครื่องสาธกได้ ในบทว่า อสทฺ-
ธมฺโมนี้.
หากผู้ท้วง จะพึงท้วงว่า คำที่ท่านกล่าวว่า การเคล้าคลึงกาย พึงทราบ
ว่า อสัทธรรม ก็ผิดจากเสทโมจนคาถา ที่ตรัสไว้ในคัมภีร์ปริวารนี้ว่า
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 36
ไม่เสพเมถุนธรรมนั้นในสตรี ๓ จำ-
พวก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในบุรุษ ๓
จำพวก คนไม่ประเสริฐ ๓ จำพวก และ
บัณเฑาะก์ ๓ จำพวก และไม่ประพฤติเมถุน
ในอวัยวะเครื่องเพศ. แต่ความขาดย่อมมี
เพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัย, ปัญหาข้อนี้
ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว ดังนี้.
แก้ว่า ไม่ผิด เพราะกายสังสัคคะ เป็นบุรพภาคแห่งเมถุน. จริงอยู่
ในปริวารนั่นแหละ ได้ตรัสสิกขาบท ๕ มีสุกกวิสัฎฐิเป็นต้น ว่าเป็นบุรพภาค
แห่งเมถุนธรรมอย่างนี้ว่า ข้อที่ว่า พึงทราบบุรพภาคแห่งเมถุนธรรม ได้แก่
สุกกวิสัฏฐิมีสี มีสีมาก กายสังสัคคะ ทุฎฐุลลวาจา วนมนุปปทานะ อัตตกาม
ปาริจริยา (๑การมอบดอกไม้ใบไม้ การให้ของขวัญ) เพราะเหตุนั้น
กายสังสัคคะ จึงชื่อว่า เป็นปัจจัย เพราะเป็นบุรพภาคแห่งเมถุนธรรม.
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในคำว่า เฉชฺช สิยา เมถุนธมฺมปจฺจยา
นี้ โดยปริยายนี้ ด้วยประการฉะนี้. บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในบททั้งปวงโดย
อุบายนี้.
อีกนัยหนึ่ง ในบทภาชนะแห่งสองบทว่า สงฺเกต วา คจฺเฉยฺย
นี้ สองบทว่า อิตฺถนฺนาม อาคจฺฉ มีความว่า ท่านจงมาสู่สถานที่มีชื่อ
อย่างนี้.
๑. วนมนุปฺปทาน วิมติ; เป็น คมนุปฺปาทนนฺติ สญฺจริตฺต.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 37
ข้อว่า อฏฺฐม วตฺถุ ปริปูเรนฺตี อสฺสมณี โหติ มีความว่า
ภิกษุณีทำวัตถุที่ ๘ ให้เต็มบริบูรณ์ โดยนัยใดนัยหนึ่ง จะเป็นโดยอนุโลม
หรือโดยปฏิโลม หรือโดยคั่นเป็นตอนก็ตาม เป็นผู้มิใช่สมณี. ส่วนภิกษุณีใด
ทำวัตถุเดียว หรือ ๗ วัตถุให้เต็มแม้ตั้ง ๗ ครั้ง จะเป็นผู้ชื่อว่ามิใช่สมณีหามิได้
เลย, ภิกษุณีนั้นแสดงอาบัติที่ต้องแล้วย่อมพ้นได้. อีกนัยหนึ่ง ในสิกขาบทนี้
บัณฑิต. พึงทราบอาบัติที่ควรนับ. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
อาบัติที่แสดงแล้วควรนับ (ว่าแสดงแล้ว) ก็มี อาบัติที่แสดงแล้วไม่ควรนับ
(ว่าแสดงแล้ว) ก็มี.
ในคำว่า เทสิตา คณนูปิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
อาบัติที่ภิกษุณีทำการทอดธุระ แสดงว่า บัดนี้เราจักไม่ต้อง จัดว่าควรนับ คือ
ถึงการนับว่าได้แสดงแล้ว ไม่เป็นองค์แห่งปาราชิก. เพราะฉะนั้น ภิกษุณีใด
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ทำการทอดธุระ แสดงแล้ว กลับต้องอีกด้วยอำนาจแห่ง
กิเลส, กลับแสดงอีก. ภิกษุณีนั้นแม้เมื่อทำวัตถุทั้ง ๘ ให้เต็มอย่างนี้ ก็ไม่
เป็นปาราชิก. ก็ภิกษุณีใดต้องแล้ว แสดงทั้ง ๆ ที่ยังมีความอุตสาหะว่า เรา
จักต้องวัตถุอย่างอื่นแม้อีก, อาบัตินั้นของภิกษุณีนั้น ไม่ควรนับ, แม้เธอแสดง
แล้วก็ไม่เป็นอันแสดงเลยคือ ยังไม่ถึงการนับว่าได้แสดงแล้ว ยังเป็นองค์แห่ง
ปาราชิกอยู่ทีเดียว, พอเมื่อวัตถุที่ ๘ ครบบริบูรณ์ เธอก็เป็นปาราชิก. คำที่
เหลือ ตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้น ทางกายวาจากับจิต
เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต
มีเวทนา ๒ ดังนี้แล.
อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบบริบูรณ์
ตามวรรณนานุกรมแล.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 38
สรูปปาราชิก ๘
บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความในคำว่า อุทฺทิฏา โข อยฺยาโย อฏฺ
ปาราชิกา ธมฺมา นี้ อย่างนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้าทั้งหลาย ! ธรรม คือ ปาราชิก
๘ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล โดยเพียงเป็นปาฎิโมกขุทเทสอย่างนี้
คือ ปาราชิก ๔ ที่ทั่วไป ซึ่งทรงปรารภพวกภิกษุบัญญัติไว้ และปาราชิก ๔
เหล่านี้. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วนมหาวิภังค์นั้นแล้ว .
อรรถกถาปาราชิกกัณฑ์ในภิกขุนีวิภังค์ในอรรถกถาพระวินัยปิฎก
ชื่อว่าสมันตปาสาทิกา จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 39
สัตตรสกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย ก็ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบทนี้แล มาสู่อุเทศ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑
เรื่องอุบาสกกับภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสกคนหนึ่ง
ถวายโรงเก็บของแก่ภิกษุณีสงฆ์แล้วถึงอนิจกรรม เขามีบุตรอยู่ ๒ คน ๆ หนึ่ง
เป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส อีกคนหนึ่งเป็นคนมีศรัทธา เลื่อมใส บุตร
ทั้งสองนั้นแบ่งสมบัติของบิดาแล้ว. ต่อมาบุตรคนที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส
จึงได้พูดกับบุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสว่า โรงเก็บของ ๆ เรายังมีอยู่ เรามา
แบ่งกันเถิด เมื่อเขาพูดอย่างนั้นแล้ว บุตรคนที่ศรัทธาเลื่อมใสพูดห้ามว่า เจ้า
อย่าได้พูดอย่างนี้ โรงเก็บของนั้น บิดาของเราได้ถวายภิกษุณีสงฆ์แล้ว .
แม้ครั้งที่สอง บุตรคนที่ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใส ก็พูดว่า โรงเก็บของ ๆ
เรา เราจะแบ่งกัน บุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสก็พูดห้ามว่า เจ้าอย่าได้พูดอย่าง
นี้ โรงเก็บของนั้น บิดาของเราได้ถวายแก่ภิกษุณีสงฆ์แล้ว .
แม้ครั้งที่สาม บุตรคนที่ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใส ก็พูดว่า โรงเก็บของ ๆ
เรา เราจะแบ่งกัน บุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสจึงคิดว่า ถ้าโรงเก็บของนั้นจัก
เป็นของเรา เราก็จักถวายแก่ภิกษุณีสงฆ์ แล้วกล่าวว่า เราจงแบ่งกันเถิด
บังเอิญโรงเก็บของที่เขาทั้งสองแบ่งกันนั้น ได้ตกแก่บุตรคนที่ไม่มีศรัทธา ไม่
เลื่อมใส.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 40
จึงบุตรคนที่ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใสได้เข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย แล้ว
บอกว่า เชิญแม่เจ้าทั้งหลายออกไปเถิดเจ้าข้า เพราะโรงเก็บของเป็นของข้าพเจ้า.
เมื่อเขาบอกอย่างนั้นแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาได้พูดว่า นายอย่าพูด
อย่างนี้ บิดาของพวกนายได้ถวายแก่ภิกษุณีสงฆ์แล้ว.
ต่างเถียงกันอยู่ว่า ถวายแล้ว ไม่ได้ถวาย แล้วฟ้องมหาอำมาตย์ผู้
พิพากษา ๆ ถามว่า แม่เจ้า ใครเล่าจะทราบว่าได้ถวายแล้วแก่ภิกษุณีสงฆ์.
เมื่อเขาถามอย่างนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาย้อนถามว่า พวกท่านได้เห็น
หรือได้ยินไหมว่า ทานที่เขาถวายกันต้องตั้งพยานด้วย.
จึงมหาอำมาตย์เหล่านั้นพูดว่า แม่เจ้าพูดจริงแท้ แล้วได้ตัดสินโรง
เก็บของนั้นให้แก่ภิกษุณีสงฆ์.
ครั้นบุรุษนั้นแพ้คดีแล้ว จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณี
โล้นเหล่านี้ไม่เป็นสมณะ เป็นหญิงฉ้อโกง ไฉนจึงได้ไห้ผู้พิพากษาริบโรงเก็บ
ของ ๆ เราเสียเล่า.
ภิกษุณีถุลลนันทาได้แจ้งความเรื่องนั้นแก่มหาอำมาตย์ ๆ ได้ให้ปรับ
ไหมบุรุษนั้น.
ครั้นบุรุษนั้นถูกปรับไหมแล้ว ได้ให้สร้างที่พักอาชีวกไว้ใกล้ ๆ สำนัก
ภิกษุณี แล้วส่งพวกอาชีวกไปอยู่ด้วยสั่งว่า จงช่วยกันกล่าวล่วงเกินภิกษุณี
พวกนั้น.
ภิกษุณีถุลลนันทาได้แจ้งความนั้นแก่มหาอำมาตย์ ๆ ได้ให้จองจำเขา
แล้ว พวกชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ครั้งแรกพวกภิกษุณี
ได้ให้เจ้าหน้าที่ริบโรงเก็บของ ครั้งที่สองให้ปรับไหม ครั้งที่สามให้จองจำ
คราวนี้เห็นที่จะให้ประหารชีวิต. พวกภิกษุณีได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 41
ติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่าไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ชอบเป็นคนกล่าวหาเรื่องเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่
ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาชอบกล่าวหาเรื่อง จริงหรือ.
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ชอบกล่าวหาเรื่องเล่า การกระทำของนางนั่นไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๙.๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ชอบกล่าวหาเรื่องกับคหบดีก็ดี บุตร
คหบดีก็ดี ทาสก็ดี กรรมกรก็ดี โดยที่สุด แม้สมณะปริพาชก ภิกษุณี
นี้ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะ
แรกทำ.
เรื่องอุบาสกกับภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ . . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ประสงค์ในอรรถนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 42
ที่ชื่อว่า กล่าวหาเรื่อง ได้แก่ ที่เขาเรียกว่าผู้ก่อคดี.
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือนคนใดคนหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า บุตรคหบดี ได้แก่ บุตรหรือพี่น้องชายคนใดคนหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า ทาส ได้แก่ ทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย ทาสสินไถ่ ทาสเชลย.
ที่ชื่อว่า กรรมกร ได้แก่ งานรับจ้าง คนที่ถูกเกณฑ์มา.
ที่ชื่อว่า สมณะปริพาชก ได้แก่บุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เข้าบวชเป็น
ปริพาชก เว้นภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร และสามเณรี.
ภิกษุณีแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ด้วยตั้งใจว่า จักก่อคดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ บอกแจ้งเรื่องของคนหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ แจ้งเรื่องของคนที่ ๒
ต้องอาบัติถุลลัจจัย คดีถึงที่สุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
[๓๓] บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ ความว่า ต้อง
อาบัติพร้อมกับล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ขับออกจากหมู่.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้น ให้มานัตเพื่ออาบัตินั้น
ชักเข้าหาอาบัติเดิม เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่ภิกษุณีรูป
เดียวเพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่าสังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือ เป็นชื่อ
ของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส
อนาปัตติวาร
[๓๔] ภิกษุณีถูกมนุษย์เกาะตัวไป ๑ ขออารักขา ๑ บอกไม่เจาะตัว ๑
วิกลจริต ๑ ภิกษุณีอาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆทิเสสสิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 43
อรรถกถาสัตตรสกัณฑ์
บัดนี้ จักมีการพรรณนาอรรถที่ยังไม่
กระจ่าง แห่งสังฆาทิเสสกัณฑ์ อันเป็น
ลำดับถัดจากปาราชิกมา ดังต่อไปนี้.
สัตตรสสังหาทิเสสสิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีเป็นโจทก์ฟ้องคดีในโรงศาล
บทว่า อุทฺโทสิต แปลว่า โรงเก็บของ.
คำว่า มายฺโย เอว อวจ แปลว่า นาย ! อย่าได้พูดอย่างนั้น.
บทว่า อปินฺวยฺยา ตัดบทเป็น อปิ นุ อยฺยา แปลว่าพ่อคุณ. . .
บ้างไหม ?
บทว่า อุจฺจาวทถ แปลว่า พวกท่านจงกล่าวล่วงเกิน มีคำอธิบายว่า
จงด่า.
บทว่า อุสูยวาทกา ได้แก่ เป็นผู้ชอบกล่าวหาเรื่องด้วยอำนาจความ
ริษยา เพราะมานะ ด้วยอำนาจความริษยา เพราะความโกรธ. แต่เพราะ
ถูลนันทาภิกษุณีนั้น เป็นผู้ชอบก่อคดีโดยสภาพ ฉะนั้น จึงได้ตรัสไว้ในบท
ภาชนะว่า ที่ชื่อว่าชอบกล่าวหาเรื่อง ได้แก่ ที่ท่านเรียกว่า ชอบก่อคดี.
ก็ในคำว่า อฏฺฏการิกา นี้ การวินิจฉัยของพวกตุลาการ ท่านเรียกว่า
คดี ซึ่งทางฝ่ายบรรพชิตเรียกว่า อธิกรณ์ บ้างก็มี.
สองบทว่า ทุติย วา ปริเยสติ มีความว่า ภิกษุณีผู้ก่อคดีแสวง
หาพยาน หรือเพื่อน เป็นทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 44
บทว่า คจฺฉตุ วา มีความว่า จะเป็นสำนัก หรือทางเที่ยวภิกษาจาร
ก็ตามที ภิกษุณีเดินไปยังสำนักงานของพวกตุลาการจากที่ที่ตนยืนอยู่ แล้วเกิด
ความคิดขึ้นว่า เราจักดำเนินคดี เป็นทุกกฏทุก ๆ ย่างเท้า.
สองบทว่า เอกสฺส อาโรเจติ มีความว่า บรรดาชน ๒ คน คนใด
คนหนึ่ง แจ้งถ้อยคำของคนใดคนหนึ่ง คือ ของอีกฝ่ายหนึ่ง แก่พวกตุลาการ
แม้ในคำว่า ทุติยสฺส อาโรเจติ นี้ ก็นัยนี้นั่นแล.
ส่วนวิตถารกถา เพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟันเฝือ ในคำว่า เอกสฺส
อาโรเจติ นี้ ดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุณีเห็นพวกตุลาการ ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยที่สุด แม้ผู้มาสู่
สำนักแห่งภิกษุณีแล้วให้การถ้อยคำของตน เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณี. อุบาสกให้
การถ้อยคำของตน เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุณี. อุบาสกให้การถ้อยคำของตนก่อน
เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณี. ถ้าภิกษุณีนั้นให้การถ้อยคำของตน ภิกษุณีเป็นถุลลัจจัย.
ภิกษุณีพูดกะอุบาสกว่า ท่านนั้นแหละจงแถลงถ้อยคำ (จงให้การปาก
คำ) ของฉันและของท่าน. อุบาสกนั้นให้การถ้อยคำของตนก่อน หรือจงให้
ถ้อยคำของภิกษุณีก่อนก็ตามที เป็นทุกกฏในเพราะให้การครั้งแรก เป็นถุลลัจจัย
ในเพราะให้การครั้งที่ ๒. แม้ในคำว่า อุบาสกพูดกะภิกษุณีว่า ท่านนั่นแหละ
จงให้การถ้อยคำของผมและของท่าน นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ภิกษุณีใช้กัปปิยการกให้แถลง. บรรดากัปปิยการกแล ะอุบาสกนั้น
กัปปิยการกจงให้การถ้อยคำของภิกษุณีก่อนก็ตาม อุบาสกนอกนี้ให้การถ้อยคำ
ของตนก่อนก็ตาม กัปปิยการกจงให้การถ้อยคำของคนทั้ง ๒ ก็ตาม อุบาสก
นอกนี้จงให้การถ้อยคำแม้ของคนทั้ง ๒ ก็ตามที เมื่อชนทั้ง ๒ แถลงบอกอยู่
โดยประการใดประการหนึ่ง เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณีผู้แถลงให้การครั้งแรก เป็น
ถุลลัจจัยในการแถลงให้การครั้งที่ ๒.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 45
แต่เมื่อพวกตุลาการ ฟังถ้อยแถลงของคนทั้ง ๒ ฝ่ายที่แถลงให้การไป
โดยประการอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำการตัดสินแล้ว คดีเป็นอันถึงที่สุด. ในคดี
ที่ถึงที่สุดนั้น ภิกษุณีจะชนะคดีก็ตาม แพ้ก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส.
แต่ถ้าว่า อธิกรณ์ที่ดำเนินเป็นคดีกันแล้ว เป็นเรื่องที่พวกตุลาการเคย
ได้ทราบมาก่อน ถ้าพวกตุลาการเหล่านั้น พอเห็นภิกษุณีและผู้ก่อคดี จึง
กล่าวว่า ไม่มีกิจที่จะต้องสอบสวนพวกท่าน พวกเรารู้เรื่องนี้ แล้วจึงตัดสิน
ให้เสียเองทีเดียว. แม้ในคดีถึงที่สุดเห็นปานนี้ก็ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณี.
สังฆาทิเสสนี้ มีการต้องแต่แรกทำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฐมาปัต-
ตกะ. ความว่า พึงต้องในขณะที่ล่วงละเมิดนั่นเอง. ซึ่งสังฆาทิเสสนั้น มีอัน
อาบัติขณะแรกทำ. แต่ในบทภาชนะ เพื่อแสดงแต่เพียงความประสงค์ พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุ-
ภาส.
ก็ในคำนี้ มีใจความดังต่อไปนี้ :- ภิกษุณีต้องอาบัติพร้อมกับการ
ล่วงละเมิดวัตถุ ไม่ใช่ในเวลาสวดสมนุภาสครั้งที่ ๓ สังฆาทิเสสนี้ชื่อว่า
ปฐมาปัตติกะ เพราะจะพึงต้องพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุ ตั้งแต่แรก
ทีเดียวแล.
สังฆาทิเสสนี้ ชื่อว่า นิสสารณียะ เพราะอรรถว่า ขับออกจากหมู่
ภิกษุณี. ซึ่งสังฆาทิเสสมีการขับออกจากหมู่นั้น. แต่ในบทภาชนะ เพื่อแสดง
แต่เพียงความประสงค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สงฺฆมฺหา นิสฺสารียติ.
ในบทว่า นิสฺสารณีย นั้น บัณฑิตพึงเห็นใจความอย่างนี้ว่า ภิกษุณีต้อง
สังฆาทิเสสใด ถูกขับไล่ออกจากหมู่ สังฆาทิเสสนั้นชื่อว่า นิสสารณียะ.
จริงอยู่ ธรรม คือ อาบัตินั้นใครจะขับออกจากหมู่ไม่ได้เลย แต่ภิกษุณีถูก
ธรรมนั้นขับออกไป เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า นิสสารณียะ ด้วย
อรรถว่า ขับออก.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 46
สองบทว่า อากฑฺฒียมานา คจฺฉติ มีความว่า ภิกษุณีถูกพวก
ชาวบ้านผู้ก่อคดีมาด้วยตนเองหรือส่งทูตมา เรียกตัวไปยังสำนักงานของพวก
ตุลาการ. ต่อจากนั้นผู้ก่อคดีจะแถลงถ้อยคำของตนก่อน หรือถ้อยคำของภิกษุณี
ก่อนก็ตามที ในการแถลงครั้งแรก ก็ไม่เป็นทุกกฏเลย ในการแถลงให้การ
ครั้งที่ ๒ ก็ไม่เป็นถุลลัจจัย. แม้ในคดีที่พวกอำมาตย์ทำการวินิจฉัยถึงที่สุด
ลงแล้ว ก็ไม่เป็นอาบัติเช่นกัน. ถ้าแม้ว่า ผู้ก่อคดีกล่าวกะภิกษุณีว่า ขอให้
ท่านนั่นแหละจงแถลงถ้อยคำของผมและของท่าน. ถึงแม้เมื่อภิกษุณีแถลง
พวกอำมาตย์ได้พึงถ้อยคำแล้ว ทำคดีให้ถึงที่สุด ก็ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน.
ว่าด้วยการขออารักขาจากทางบ้านเมือง
สองบทว่า อารกฺข ยาจติ ได้แก่ ขออารักขาอันเป็นธรรมไม่เป็น
อาบัติ. บัดนี้ เพื่อแสดงวิธีขออารักขาที่เป็นธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า บอกไม่เจาะตัว.
ในคำว่า อนุทฺทิสฺส อาจิกฺขติ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ปรารภอดีต
บอกเจาะตัวก็มี บอกไม่เจาะตัวก็มี แม้ปรารภอนาคตบอกเจาะตัวก็มี บอก
ไม่เจาะตัวก็มี.
ปรารภอดีตบอกเจาะตัวเป็นอย่างไร ? คือ ที่สำนักของภิกษุณี พวก
เด็กชาวบ้าน หรือคนอันธพาลมีนักเลงเป็นต้น พวกใดพวกหนึ่งพระพฤติ
อนาจารก็ดี ตัดต้นไม้ก็ดี ขโมยผลไม้น้อยใหญ่ก็ดี แย่งชิงเอาบริขารก็ดี.
ภิกษุณีเข้าไปหาพวกเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายบอกว่า ที่สำนักของพวกเราถูกทำ
ประทุษกรรมชื่อนี้ เมื่อเขาถามว่า ใครทำ บอกว่า คนโน้นและคนโน้น.
ด้วยอาการอย่างนี้ จัดเป็นการบอกเจาะตัวปรารภอดีต. การบอกเจาะตัวนั้น
ไม่ควร. ถ้าพวกเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายเหล่านั้น ฟังคำนั้นแล้วทำการปรับ
ไหมแก่ชนเหล่านั้น ทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกปรับไหม เป็นสินใช้แก่ภิกษุณี. แม้
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 47
เมื่อมีความประสงค์ว่า เราจักรับเอาสินไหม ก็เป็นสินใช้เหมือนกัน. แต่ถ้า
ภิกษุณีกล่าวว่า ขอให้ท่านปรับไหมผู้นั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ปรับเอาสินไหมประมาณ
๕ มาสก เป็นปาราชิก (แก่ภิกษุณี).
แต่เมื่อเขาถามว่า ใครทำ ภิกษุณีควรกล่าวว่า การที่จะพูดว่า คน
ชื่อโน้น ไม่สมควรแก่เรา ท่านรู้เอาเองเถิด เพราะพวกเราเพียงแต่ขออารักขา
อย่างเดียว ท่านโปรดให้อารักขานั้นแก่พวกเรา และให้นำของที่ถูกลักไปกลับ
คืนมา. การขออารักขาไม่เจาะตัวย่อมเป็นอย่างนี้ . การขออารักขาไม่เจาะตัว
นั้น ควรอยู่.
เมื่อภิกษุณีกล่าวอย่างนั้นแล้ว ถ้าแม้พวกเจ้าหน้าที่รักษากฎหมาย
เหล่านั้น สืบสวนหาตัวผู้ทำแล้ว ทำการปรับไหมแก่คนผู้ทำเหล่านั้น. แม้
สมบัติทุกอย่างที่ถูกเจ้าหน้าที่ปรับไหม ไม่เป็นสินใช้ทั้งไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณี
เลย. แม้เห็นพวกขโมยลักบริขารไปจะกล่าวว่า ขโมย ๆ เพราะต้องการความ
พินาศแก่ขโมยเหล่านั้นก็ไม่ควร. จริงอยู่ แม้เมื่อภิกษุณีกล่าวอย่างนั้น ทรัพย์
สมบัติที่เจ้าหน้าที่ทำการปรับไหมแก่ขโมยเหล่านั้น แม้ทั้งหมด เป็นสินใช้แก่
ภิกษุณี. แต่จะกล่าวกะผู้เชื่อฟังคำของตนว่า ผู้นี้ลักเอาบริขารของเราไป จง
ให้นำบริขารนั้นกลับคืนมา และอย่าลงโทษเขา ดังนี้ ควรอยู่.
พวกภิกษุณีทำการฟ้องร้องคดี เพื่อประโยชน์แก่ทาสชาย ทาสหญิง
และหนองบึงเป็นต้น. คดีนี้ ชื่อว่า อกัปปิยคดี ไม่สมควร.
การบอกเจาะตัวปรารภอนาคตเป็นอย่างไร ? คือ เมื่อชนเหล่าอื่นทำ
อนาจารเป็นต้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ภิกษุณีพูดกะพวกเจ้าหน้าที่ผู้
รักษากฎหมายอย่างนี้ว่า พวกชาวบ้านทำกรรมนี้และกรรมนี้ ในสำนักของพวก
เรา ขอจงให้อารักขาแก่พวกเราเพื่อต้องการไม่ให้ทำต่อไป เมื่อเขาถามว่า
ใครทำอย่างนี้ บอกว่า คนโน้นและคนโน้น อย่างนี้ จัดเป็นการบอกเจาะตัว
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 48
ปรารภอนาคต. แม้การบอกเจาะตัวนั้น ก็ไม่ควร. เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ที่
รักษากฎหมายทำการปรับไหมแก่ชนเหล่านั้น ทรัพย์ที่ถูกปรับทั้งหมดเป็นสิน
ใช้แก่ภิกษุณี โดยนัยก่อนเหมือนกัน. คำที่เหลือเป็นเช่นกับคำก่อน ๆ นั่นแล.
แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย ให้ตีกลองป่าวประกาศว่า จะทำโทษ
ชื่อนี้ แก่พวกคนผู้ทำอนาจารเห็นปานนี้ ในสำนักของภิกษุณี แล้วสืบเสาะหา
ผู้ไม่ตั้งอยู่ในข้อบังคับมาลงโทษ ไม่เป็นสินใช้ ทั้งไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีเลย.
และแม้พวกภิกษุณี ก็มีแนวดำเนินการ ดังแนวดำเนินการที่กล่าวไว้สำหรับ
พวกภิกษุณีนี้เหมือนกัน.
จริงอยู่ การบอกเจาะตัว ไม่สมควรแม้แก่ภิกษุ. เมื่อภิกษุบอกเจาะ
ตัวอย่างนั้น ทรัพย์ที่ถูกเจ้าหน้าที่ทำการปรับไหม เป็นภาคหลวงทั้งหมด เป็น
สินใช้ (แก่ภิกษุ). เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ให้เจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายปรับ
สินไหม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ฝ่ายภิกษุใด บอกไม่เจาะตัวทั้งที่รู้อยู่ว่า
เจ้าหน้าที่เขาจะทำโทษ. และเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายเหล่านั้น สืบหาตัวมา
ลงโทษจนได้. ไม่มีโทษแก่ภิกษุนั้น.
การที่ภิกษุจะเอามีดและขวานเป็นต้นของพวกชาวบ้านผู้ลอบตัดต้นไม้
เป็นต้น ในเขตแดนวัดมาแล้ว เอาก้อนหินทุบ ไม่ควร. ถ้าคมบิ่นไป ภิกษุ
พึงให้ซ่อมแล้วคืนให้. พวกภิกษุวิ่งเข้ามายึดเอาบริขารของคนเหล่านั้นไว้. แม้
การยึดเอาบริขารนั้นไว้ ก็ไม่ควรทำ. เพราะจิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็ว
เมื่อเกิดไถยจิต จะพึงถึงความเป็นผู้ขาดมูลก็ได้. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์
อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
สิกขาบทที่ ๑ ในสัตตรสกสังฆาทิเสส จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 49
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
เรื่องชายาเจ้าลิจฉวีกับภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๕] โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ชายา
ของเจ้าลิจฉวีองค์หนึ่งในพระนครเวสาลีพระพฤตินอกใจ จึงเจ้าลิจฉวีองค์นั้น
รับสั่งกะนางว่า เจ้างดเว้นได้เป็นการดี เราจักทำความพินาศให้แก่เจ้า แม้
นางถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ก็ไม่เชื่อฟัง สมัยนั้น คณะเจ้าลิจฉวีแห่งพระนครเวสาลี
กำลังประชุมกันด้วยกรณียะบางอย่าง จึงเจ้าลิจฉวีองค์นั้นได้กล่าวกะเจ้าลิจฉวี
เหล่านั้นว่า ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ขอจงโปรดอนุญาตสตรีผู้หนึ่งให้แก่ข้าพเจ้า.
คณะถามว่า สตรีผู้นั้นคือใคร.
เจ้าชายสามีของนางตอบว่า คือ ภรรยาของข้าพเจ้า พระพฤตินอกใจ
ข้าพเจ้าจักฆ่านาง.
คณะกล่าวว่า จงเข้าใจเอาเอง รู้เอาเองเถิด.
สตรีผู้นั้นทราบข่าวว่า สามีใคร่จักฆ่าเรา จึงเก็บสิ่งของที่ดี ๆ หนีไป
ยังพระนครสาวัตถี เข้าหาเหล่าเดียรถีย์ขอบวช พวกเดียรถีย์ไม่ปรารถนาจะ
ให้นางบวช นางจึงเข้าไปหาภิกษุณี ขอบวช แม้ภิกษุณีทั้งหลายก็ไม่ปรารถนา
จะให้นางบวช จึงเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทา แสดงห่อของแล้วขอบวช ภิกษุณี
ถุลลนันทารับห่อของ แล้วให้นางบวช.
ครั้นเจ้าลิจฉวินั้นทรงสืบหาสตรีนั้นไปถึงพระนครสาวัตถี พบนางบวช
อยู่ในสำนักภิกษุณี จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ขอเดชะ ชายา
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 50
ของหม่อมฉันลักของมีค่ามาสู่พระนครสาวัตถี ขอพระองค์จงทรงอนุญาตชายา
ของหม่อมฉันผู้นั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระราชารับสั่งว่า พนาย ถ้าเช่นนั้น เชิญท่านค้นหา พบแล้วมา
บอก.
เจ้าลิจฉวีกราบทูลว่า หม่อมฉันเห็นนางบวชอยู่ในสำนักภิกษุณี พระ-
พุทธเจ้าข้า.
พระราชาตรัสว่า ถ้านางบวชอยู่ในสำนักภิกษุณี เราก็ทำอะไรนางไม่
ได้ เพราะพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ขอนางจงพระพฤติ-
พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
จึงเจ้าลิจฉวีนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนเหล่าภิกษุณีจึง
ได้ให้หญิงโจรบวชเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินเจ้าลิจฉวีนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงได้ให้หญิงโจรบวชเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. . .
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้หญิงโจรบวช จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ให้หญิงโจรบวชเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 51
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๐. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด รู้อยู่ว่าหญิงเป็นโจร ผู้ปรากฏ เป็น
นักโทษประหาร ไม่บอกกล่าวพระราชา หมู่ คณะ นายหมวดหรือ
นายกอง รับให้บวช เว้นแต่บวชมาแล้ว ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือ
สังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.
เรื่องชายาเจ้าลิจฉวีกับภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้เองก็ตาม คนอื่นบอกแก่นางก็ตาม เจ้าตัวบอก
ก็ตาม.
ที่ชื่อว่า โจร ความว่า สตรีใดถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ อัน
เป็นส่วนแห่งขโมย ได้ราคาห้ามาสกก็ดี เกินกว่าห้ามาสกก็ดี สตรีนั้นชื่อว่า
เป็นโจร.
ที่ชื่อว่า ถูกประหาร ได้แก่ ผู้ทำกรรมถึงถูกฆ่า.
ที่ชื่อว่า ผู้ปรากฏ คือ ผู้ที่คนอื่นรู้กันแล้วว่า นางนี้จะต้องถูก
ประหาร.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 52
บทว่า ไม่บอกกล่าว คือ ไม่ขออนุญาต.
ที่ชื่อว่า พระราชา ความว่า พระราชาทรงปกครองในถิ่นใด ต้อง
ขอพระบรมราชานุญาตในถิ่นนั้น.
ที่ชื่อว่า หมู่ ตรัสหมายหมู่ภิกษุณี ต้องบอกหมู่ภิกษุณี.
ที่ชื่อว่า คณะ ความว่า คณะปกครองในถิ่นใด ต้องบอกคณะใน
ถิ่นนั้น.
ที่ชื่อว่า นายหมวด ความว่า นายหมวดปกครองในถิ่นใด ต้อง
บอกนายหมวดในถิ่นนั้น.
ที่ชื่อว่า นายกอง ความว่า นายกองปกครองในถิ่นใด ต้องบอก
นายกองในถิ่นนั้น.
บทว่า เว้นแต่บวชมาแล้ว ความว่า เว้นสตรีที่บวชมาแล้ว.
ที่ชื่อว่า บวชมาแล้ว มีสอง คือ บวชมาแล้วในสำนักเดียรถีย์ ๑
บวชมาแล้วในสำนักภิกษุณีเหล่าอื่น ๑
เว้นแต่สตรีที่บวชมาแล้ว ภิกษุณีรับว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะ
ก็ดี อาจารินีก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบ
ญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย จบกรรม
วาจาครั้งสุด อุปัชฌายา ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คณะและอาจารินี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
[๓๗] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเทียบเคียงภิกษุณี
รูปก่อน ๆ.
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับ
ล่วงวัตถุโดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 53
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ขับออกจากหมู่.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้น ให้มานัตเพื่ออาบัติ
นั้น . . .แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
[๓๘] หญิงโจร ภิกษุณีสำคัญว่าหญิงโจร รับให้บวช เว้นแต่บวช
มาแล้วต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
หญิงโจร ภิกษุณีสงสัย รับให้บวช เว้นแต่บวชมาแล้ว ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
หญิงโจร ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่หญิงโจร รับให้บวช เว้นแต่บวช
มาแล้วไม่ต้องอาบัติ.
ไม่ใช่หญิงโจร ภิกษุณีสำคัญว่าโจร รับให้บวช เว้นแต่บวชมาแล้ว
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่หญิงโจร ภิกษุณีสงสัย รับให้บวช เว้นแต่บวชมาแล้ว ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่หญิงโจร ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่หญิงโจร รับให้บวช เว้นแต่
บวชมาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๙] ไม่รู้ รับให้บวช ๑ ขออนุญาตแล้ว รับให้บวช ๑ บวชมา
ในฝ่ายอื่นแล้ว รับให้อยู่ในสำนัก ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติ
แล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 54
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
ในสิกขาบทที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
แก้อรรถบางปาฐะ เรื่องภิกษุณีให้บวชหญิงโจร
บทว่า วรภณฺฑ ได้แก่ ภัณฑะที่มีค่ามาก เช่น แก้วมุกดา แก้วมณี
และแก้วไพฑูรย์เป็นต้น.
บทว่า อปโลเกตฺวา แปลว่า ไม่บอกกล่าว.
บทว่า คณ วา ได้แก่ คณะ มีมัลลคณะและภัททิปุตตคณะ๑
เป็นต้น.
บทว่า ปูค ได้แก่ ธรรมคณะ๒.
บทว่า เสนึ ได้แก่ หมู่ชนผู้เป็นช่างทำของหอมและหมู่ชนผู้เป็น
ช่างหูกเป็นต้น.
จริงอยู่ พระราชาทั้งหลาย ย่อมพระราชทานมอบบ้านและนิคมแก่
หมู่ชนมีคณะเป็นต้น ในสถานที่ใด ๆ ว่า พวกท่านเท่านั้น จงปกครองใน
บ้านและนิคมนี้. ชนพวกนั้นนั่นแหละ ย่อมเป็นใหญ่ในบ้านและนิคมนั้น ๆ.
เพราะเหตุนั้น คำว่า คณ วา เป็นต้นนี้ตรัสหมายเอาชนพวกนั้น.
ก็บรรดาอิสรชนมีพระราชาเป็นต้น นี้ ภิกษุณีแม้ทูลขอพระบรม-
ราชานุญาต หรือบอกกล่าวพวกชนมีคณะเป็นต้นแล้ว ต้องบอกกล่าวภิกษุณี
สงฆ์ด้วย.
๑-๒. สารตฺถทีปนี ๓/๔๐๑ ให้อรรถาธิบายว่า คณะผู้บำเพ็ญบุญกรรม มีจัดตั้งน้ำดื่มและขุด
สระน้ำเป็นต้นไว้ในที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นผู้มีความภักดี ( นับถือ) พระนารายณ์ ชื่อว่ามัลลคณะ. คณะ
ผู้มีความภักดี (นับถือ) พระกุมาร (พระบุตร) ชื่อว่า ภัททิปุตตคณะ. คณะผู้บำเพ็ญบุญกรรม
มีประการต่าง ๆ ซึ่งมีความภักดีต่อพระศาลนา เรียกว่าธรรมคณะ.
ว
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 55
สองบทว่า เปตฺวา กปฺป มีความว่า เว้นหญิงผู้ได้ข้ออ้างเคย
บวชแล้วในหมู่เดียรถีย์ หรือในหมู่ภิกษุณีอื่น. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีการให้หญิงโจรบวชเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางวาจากับ
จิต สำหรับภิกษุณีผู้เมื่อพวกภิกษุณีหลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง ไม่ไปยัง
ขัณฑสีมา ให้หญิงโจรบวชกับบริษัทผู้เป็นนิสิตของตน ในสถานที่ตามที่ตน
นั่งอยู่นั่นแล เกิดขึ้นทางกายวาจากับจิต สำหรับภิกษุณีผู้ไปยังขัณฑสีมา หรือ
แม่น้ำแล้วให้บวช เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยาด้วยอำนาจการไม่บอกกล่าวการ
ให้บวชเป็นสัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม
มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๒ จบ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
เรื่องอันเตวาสิกของพระเถรีภัททกาปิลานี
[๔๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นภิกษุณีอันเตวาสินี
ของพระเถรีภัททากาปิลานี ทะเลาะกับภิกษุณีทั้งหลายแล้วหนีไปสกุลญาติใน
หมู่บ้านตำบลหนึ่ง พระเถรีภัททากาปิลานีไม่เห็นนาง จึงถามภิกษุณีทั้งหลาย
ว่า ภิกษุณีมีชื่อนี้หายไป.
ภิกษุณีทั้งหลายตอบว่า เธอทะเลาะกับภิกษุณีทั้งหลาย แล้วก็หายไป
เจ้าค่ะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 56
พระเถรีขอร้องว่า สกุลญาติของเธออยู่ที่ตำบลบ้านโน้น ขอแม่เจ้า
ช่วยโปรดไปสืบถามดูที่บ้านนั้นที.
ภิกษุณีทั้งหลายไปที่บ้านนั้น พบเธอแล้วถามว่า แม่เจ้า ทำไมเธอ
จึงมาคนเดียวเล่า ไม่ถูกคนรังแกบ้างหรือ.
ภิกษุณีนั้นตอบว่า ไม่ถูกเจ้าข้า.
บรรดาภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ไปในละแวกบ้านคนเดียวเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีผู้เดียวไปในละแวกบ้าน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเข้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ผู้เดียวจึงได้ไปในละแวกบ้านเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขานี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๑. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ผู้เดียวไปสู่ละแวกบ้าน ภิกษุณี
แม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติ
ขณะแรกทำ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 57
ก็สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี
ทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.
เรื่องอันเตวาสินีของพระเถรีภัททากาปิลานี จบ
พระอนุบัญญัติ ๑
เรื่องภิกษุสองรูป
[๔๑] สมัยต่อมา ภิกษุณีสองรูปเดินทางจากเมืองสาเกตไปพระนคร
สาวัตถี ในระหว่างทางต้องข้ามแม่น้ำ จึงภิกษุณีสองรูปนั้นเข้าไปหาพวกคนพาย
เรือแล้ววิงวอนว่า ขอท่านได้โปรดสงเคราะห์ให้พวกข้าพเจ้าข้ามฟากสักหน่อย.
พวกคนเรือกล่าวว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พวกข้าพเจ้าไม่สามารถให้ข้ามแม่
น้ำคราวเดียวสองรูปได้ แล้วคนเรือคนหนึ่งยังภิกษุณีรูปหนึ่งให้ข้ามฟาก เขา
ข้ามถึงฝั่งแล้วได้ข่มขืนใจภิกษุณีรูปที่ข้ามฟาก คนเรือที่ยังไม่ข้ามฟากมาก็ข่ม
ขืนใจภิกษุณีรูปที่ยังไม่ข้ามฟากมา.
เธอทั้งสองนั้นภายหลังพบกันแล้วถามกันขึ้นว่า เธอไม่ถูกรังแกดอก
หรือ.
รูปที่ถูกถามตอบว่า ดิฉันถูก เจ้าค่ะ ก็เธอไม่ถูกรังแกหรือ.
อีกรูปหนึ่งตอบว่า ดิฉันก็ถูก เจ้าค่ะ.
ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีรูปเดียว จึงไปสู่ฝั่งแม่น้ำ แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้พระภาคเจ้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 58
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีรูปเดียวไปสู่ฝั่งแม่น้ำ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีรูปเดียว จึงได้ไปสู่ฝั่งแม่น้ำเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระอนุบัญญัติ ๑
๑๑. ๓. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ผู้เดียวไปสู่ละแวกบ้านก็ดี ผู้
เดียวไปสู่ฝั่งแม่น้ำก็ดี ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อ
นิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.
ก็แลสิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีสองรูป จบ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๒] สมัยต่อมา ภิกษุณีหลายรูปได้พากันไปสู่พระนครสาวัตถีใน
โกศลชนบท เข้าถึงบ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น ในบรรดาภิกษุณีเหล่านั้นรูป
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 59
หนึ่งทรงโฉมวิไลน่าพิศพึงชม บุรุษผู้หนึ่งพอได้เห็นนางก็มีจิตปฏิพัทธ์ จึงเมื่อ
เขาตกแต่งที่พักแรมถวายภิกษุณีเหล่านั้น ได้จัดที่พักแรมสำหรับภิกษุณีสวยนั้น
ไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง คราวนั้นนางกำหนดรู้ได้ทันทีว่า บุรุษผู้นี้ถูกราคะกลุ้ม
รุมแล้ว ถ้ากลางคืนเขาจักเข้าหา ความเสียหายจักมีแก่เรา แล้วไม่บอกลา
ภิกษุณีทั้งหลายหนีไปพักแรมในสกุลอื่น ครั้นเวลาราตรีบุรุษนั้นมาค้นหา
ภิกษุณีสวยนั้น ได้กระทบถึงภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายไม่เห็นภิกษุณีสวย
นั้น จึงพูดกันอย่างนี้ว่า นางตามผู้ชายไปแล้วเป็นแน่.
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ภิกษุณีสาวก็เข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย ๆ ถามนาง
ว่า เธอเดินออกไปกับผู้ชายอื่นหรือ.
นางปฏิเสธว่า ไม่ได้เดินออกไปกับผู้ชาย เจ้าค่ะ แล้วเล่าเรื่องนั้น
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนในราตรี ภิกษุณีจึงได้อยู่แต่ลำพังปราศจากพวกเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ข่าวว่าภิกษุณีผู้เดียวอยู่ปราศจากพวกในราตรี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ผู้เดียว จึงได้อยู่ปราศจากพวกในราตรีเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
ชุนชนที่เลื่อมใสแล้ว. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 60
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระอนุบัญญัติ ๒
๑๑. ๓. ข. อนึ่ง ภิกษุณีใด ผู้เดียวไปสู่ละแวกบ้านก็ดี ผู้เดียว
ไปสู่ฝั่งแม่น้ำก็ดี ผู้เดียวอยู่ปราศจากพวกในราตรีก็ดี ภิกษุณีแม้นี้
ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะ
แรกทำ.
สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๓] สมัยต่อมา ภิกษุณีหลายรูปเดินทางไกลไปพระนครสาวัตถี
ในโกศลชนบท ภิกษุณีรูปหนึ่งในจำนวนนั้นปวดอุจจาระจึงได้เดินล้าหลังไป
แต่ผู้เดียว พวกชาวบ้านพบนางแล้ว ได้ข่มขืนใจ ต่อมานางเข้าไปหาภิกษุณี
พวกนั้น ๆ ได้ถามว่า ทำไมเธอจึงเดินล้าหลังแต่ผู้เดียวเล่า ไม่ถูกคนรังแก
ดอกหรือ.
นางตอบว่า ถูกรังแกมาแล้ว.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีจึงเดินปลีกไปจากคณะแต่ผู้เดียวเล่า. . .แล้วกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 61
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีเดินปลีกไปจากคณะแต่ผู้เดียว จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีผู้เดียวจึงได้เดินปลีกไปจากคณะเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระอนุบัญญัติ ๓
๑๑. ๓. ค. อนึ่ง ภิกษุณีใด ผู้เดียวไปสู่ละแวกบ้านก็ดี ผู้
เดียวไปสู่ฝั่งแม่น้ำก็ดี ผู้เดียวอยู่ปราศจากพวกในราตรก็ดี ผู้เดียว
เดินปลีกไปจากคณะก็ดี ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อ
นิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๔] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . . นี้
ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 62
บทว่า ผู้เดียวเดินไปสู่ละแวกบ้านก็ดี ความว่า บ้านที่มีเครื่อง
ล้อม ย่างเท้าล่วงเขตล้อมก้าวที่หนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ก้าวที่สอง ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส บ้านที่ไม่มีเครื่องล้อม ย่างเท้าอุปจารก้าวที่หนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ก้าวที่สอง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
บทว่า ผู้เดียวเดินไปสู่ฝั่งแม่น้ำก็ดี ความว่า สถานที่ที่นางภิกษุณี
ครองผ้าปกปิดมณฑลสามเดินข้ามน้ำในที่ใดที่หนึ่ง ผ้าอันตรวาสกเปียก ชื่อว่า
แม่น้ำ ย่างเท้าก้าวข้ามที่หนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าข้ามก้าวที่สอง ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส.
บทว่า ผู้เดียวอยู่ปราศจากพวกในราตรีก็ดี ความว่า จวนจะ
ละหัตถบาทเพื่อนภิกษุณีพร้อมกับอรุณขึ้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย ละแล้ว ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส.
บทว่า ผู้เดียวเดินหลีกไปจากคณะก็ดี ความว่า ในป่าไม่มีหมู่
บ้านจวนจะละอุปจารแห่งการมองเห็น หรือได้ยินเสียงเพื่อนภิกษุณี ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ละแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
[๔๕] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง
ภิกษุณีรูปก่อน
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ ความว่า ต้องอาบัติพร้อม
กับการล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ แปลว่า ถูกขับออกจากหมู่
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต . . . แม้เพราะ
เหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 63
อนาปัตติวาร
[๔๖] มีเพื่อนภิกษุณีตามไปด้วยก็ดี ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ จบ
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
ในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
ว่าด้วยเขตย่างเท้าทำให้ภิกษุณีต้องอาบัติ
ในคำว่า อติกฺกาเมนฺติยา นี้ มีวินิจฉัยว่า เมื่อภิกษุณียกเท้าข้าง
หนึ่งก้าวไป เป็นถุลลัจจัย, พอเมื่อก้าวเท้าที่ ๒ ล่วงไป เป็นสังฆาทิเสส.
ในคำว่า อปริกฺขิตฺตสฺส คามสฺส อุปจาร นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณี
เดินเลยที่ควรล้อมไปด้วยเท้าข้างหนึ่ง เป็นถุลลัจจัย, พอเมื่อก้าวเดินไปด้วย
เท้าข้างที่ ๒ เป็นสังฆาทิเสส. อีกนัยหนึ่ง ในคำว่า ปริกฺเขป อติกฺกาเมนฺติยา
เป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบคำพิสดารว่า ภิกษุณีออกจากบ้านของตนไป ไม่
เป็นอาบัติ เพราะละแวกบ้านเป็นปัจจัย. แต่ครั้นออกไปแล้วไปยังละแวกบ้าน
(อื่น) เป็นทุกกฏทุก ๆ ย่างเท้า. แต่เมื่อล่วงเลยเครื่องล้อม หรืออุปจารของ
บ้านอีกบ้านหนึ่ง ไปด้วยเท้าข้างหนึ่ง เป็นถุลลัจจัย, พอก้าวเลยไปด้วยเท้า
ที่ ๒ เป็นสังฆาทิเสส. แม้ภิกษุณีผู้ออกจากละแวกบ้านนั้นไปแล้วกลับเข้ามา
ยังบ้านของตน ก็นัยนี้เหมือนกัน.
แต่ถ้าภิกษุณีอาจจะเข้าไปยังฟื้นที่ของวัดนั่นแลได้ทางกำแพงพัง หรือ
ทางช่องรั้ว, เมื่อเข้าไปอย่างนี้ จัดว่าเป็นผู้เข้าไปยังกัปปิยภูมิ เพราะเหตุนั้น
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 64
จึงสมควร. ถ้าแม้นว่า ภิกษุณีจะเข้าไปด้วยพาหนะมีหลังช้างเป็นต้น หรือ
ด้วยฤทธิ์ ก็ควรเหมือนกัน. เพราะว่า การเดินไปด้วยเท้าเท่านั้น ท่านประสงค์
เอาในสิกขาบทนี้. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ปม
ปาท อติกฺกาเมนฺติยา เป็นต้น .
บ้าน ๒ บ้านมีรั้วติดกันกับวัดของภิกษุณี. วัดของภิกษุณีอยู่ใกล้บ้าน
ใด ภิกษุณีจะเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนั้นแล้ว กลับเข้าสู่วัด เดินไปตามทาง
ของอีกบ้านหนึ่ง ซึ่งถ้ามีทางผ่านท่ามกลางวัดไป ก็ควร. แต่ควรจะกลับมา
จากบ้านนั้นโดยทางนั้นเหมือนกัน. ถ้าภิกษุณีออกมาทางประตูบ้าน. พึงทราบ
ชนิดแห่งอาบัติโดยนัยก่อนนั่นแหละ.
เมื่อภิกษุณีออกจากบ้านของตน พร้อมกับพวกภิกษุณี ด้วยกรณียะ
บางอย่าง ในเวลากลับเข้ามา ช้างหลุดมาก็ดี มีการขับไล่ให้หลีกไปก็ดี พวก
ภิกษุณีนอกนี้รีบเข้าไปยังบ้าน, พึงยืนคอยนอกประตูจนกว่าภิกษุณีอื่นจะมา.
ถ้ายังไม่มา, ภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนชื่อว่าหลีกไปแล้ว, จะเข้าไป ก็ควร.
เมื่อก่อนบ้านเป็นบ้านใหญ่ซึ่งมีวัดภิกษุณีอยู่ท่ามกลาง. ภายหลังคน
๔ คนได้ (ครอบครอง) บ้านนั้นแล้วแบ่งกันใช้สอย กั้นรั้วล้อมไว้เป็นสัด
ส่วน. ภิกษุณีจะไปยังบ้านใดบ้านหนึ่ง จากวัด ควรอยู่. จะเข้าไปยังบ้านอีก
บ้านหนึ่งจากบ้านที่ไปแล้วนั้น ทางประตูบ้าน หรือทางช่องรั้ว ไม่ควร.
ควรย้อนกลับมายังวัดก่อน. เพราะเหตุไร ? เพราะวัดเป็นที่สาธารณะแก่บ้าน
ทั้ง ๔.
ว่าด้วยลักษณะแม่น้ำและภิกษุณีผู้ไปยังฝั่งแม่น้ำ
สองบทว่า อนฺตรวาสโก เตมียติ มีความว่า สถานที่ซึ่งภิกษุณี
ครองผ้าโดยอาการปิดมณฑล ๓ ลุยข้ามไป ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ทางท่า หรือ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 65
มิใช่ท่าในหน้าฝน อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) เปียกแม้เพียงนิ้วหรือ ๒ นิ้ว (ชื่อ
ว่าแม่น้ำ). ลักษณะแห่งแม่น้ำที่เหลือ จักมีแจ้งในนที่นิมิตตกถา. ในเวลาที่
ภิกษุณีลุยข้ามแม่น้ำมีรูปเห็นปานนี้ ทางท่าของแม่น้ำ หรือมิใช่ท่า เมื่อยก
เท้าที่ ๑ ขึ้นวางบนฝั่ง เป็นถุลลัจจัย ในการยกเท้าที่ ๒ เป็นสังฆาทิเสส.
เดินไปตามสะพาน ไม่เป็นอาบัติ. ในเวลาลุยข้ามด้วยเท้า ไม่เป็นอาบัติแม้
แก่ภิกษุณีผู้เหนี่ยวสะพานข้ามไป. แต่ในเวลาข้ามไปทางสะพาน เมื่อเดินไป
เป็นอาบัติเหมือนกัน. แม้ในการไปทางยาน ทางเรือ และทางอากาศเป็นต้น
ก็มีนัยนี้นั่นแล.
เมื่อภิกษุณี (กระโดด) จากฝั่งนี้เหยียบฝั่งโน้นเลย ไม่เป็นอาบัติ.
พวกภิกษุณีไปเพื่อทำการย้อมจีวร ๒-๓ รูปเที่ยวไปแทบฝั่งทั้งสอง ด้วยกิจมี
การรวบรวมพืนมาเป็นต้น ควรอยู่. แต่ถ้าว่า บรรดาภิกษุณีเหล่านี้ บางรูป
ก่อการทะเลาะกันแล้ว ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เป็นอาบัติสองรูปข้ามมาไปด้วยกัน,
รูปหนึ่งทำการทะเลาะกัน ในกลางแม่น้ำ กลับมาสู่ฝั่งนี้อีก ก็เป็นอาบัติ.
เเต่ภิกษุณีรูปนี้เป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานะแห่งภิกษุณีมีเพื่อนหลีกไปของภิกษุณีอีกรูป
หนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุณีผู้ไปสู่ฝั่งโน้น. ภิกษุณีผู้ลง
สู่แม่น้ำเพื่ออาบ หรือเพื่อดื่มน้ำ แล้วกลับขึ้นสู่ฝั่งเดิมนั่นแหละ ไม่เป็นอาบัติ.
ในคำว่า สห อรุณุคฺคมนา นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ถ้าภิกษุณีทำการ
สาธยายก็ดี ความเพียรก็ดี กรรมอะไร ๆ อย่างอื่นก็ดี ทำความคำนึงว่า
เราจักไปยังสำนักแห่งเพื่อนภิกษุณี ก่อนอรุณขึ้นนั่นแล. แต่เมื่อเธอยังไม่ทัน
รู้นั่นแล อรุณขึ้นเสียก่อน, ไม่เป็นอาบัติ. แต่ถ้าว่าเธอพักอยู่ในเอกเทศแห่ง
วิหารโดยความคำนึง หรือโดยมิได้คำนึงว่า เราจักอยู่ในที่นี้แลจนถึงอรุณขึ้น.
เธอไม่ย่างลงสู่หัตถบาสแห่งเพื่อนภิกษุณีในเวลาอรุณขึ้น เป็นสังฆาทิเสส.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 66
จริงอยู่ หัตถบาสเท่านั้น เป็นประมาณในสิกขาบทนี้. ในการล่วงเลยหัตถบาส
ไป แม้ห้องเดียวกัน ก็คุ้มอาบัติไม่ได้.
ในคำว่า อคามเก อรูญฺเ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ที่ชื่อว่าป่า
เฉพาะที่มีลักษณะดังที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า นอกเสาอินทขีลออกไป ที่ทั้งหมดนี้
ชื่อว่าป่า. ก็ป่านี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อคามก เพราะไม่มีบ้าน
อย่างเดียว, ไม่ใช่เพราะเป็นเช่นกับป่าดงดิบ.
เมื่อภิกษุณียังเข้าป่าเช่นนั้น ละอุปจารแห่งการมองเห็นไปแล้ว ถ้า
แม้อุปจารแห่งการได้ยิน ยังมีอยู่ ก็เป็นอาบัติ. ด้วยเหตุนั้น ในอรรถกถา
ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อพวกภิกษุณีเข้าไปสู่ลานมหาโพธิ์ ภิกษุณีรูปหนึ่งยืนอยู่
ข้างนอก เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุณีรูปนั้น . ในพวกภิกษุณีผู้เข้าไปยังโลหปราสาท
ก็ดี ผู้เข้าไปยังบริเวณก็ดี ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในการไหว้พระมหาเจดีย์เป็นต้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง ออกไปทางประตู
ด้านเหนือ เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุณีรูปนั้น. บรรดาภิกษุณีผู้เข้าไปยังถูปาราม
รูปหนึ่งยืนอยู่ข้างนอก, แม้รูปนั้นก็เป็นอาบัติ. ก็บรรดาอุปจารแห่งการมอง
เห็นและอุปจารแห่งการได้ยิน เพื่อนภิกษุณีเห็นภิกษุณีผู้ยืนอยู่ในที่ใด ที่
นั้นชื่อว่า อุปจารแห่งการมองเห็น.
แต่ถ้ามีแม้ม่านกั้นระหว่างอยู่ ภิกษุณี ชื่อว่าละอุปจารแห่งการมองเห็น.
สถานที่ซึ่งเพื่อนภิกษุณียืนอยู่ ได้ยินเสียงของภิกษุณีผู้เปล่งเสียงว่า อยฺเย
ด้วยเสียงดุจเสียงกู่แห่งคนหลงทาง และด้วยเสียงดุจเสียงร้องบอกให้ฟังธรรม
ชื่อว่า อุปจารแห่งการได้ยิน ในโอกาสกลางแจ้ง ถึงไกล ก็จัดเป็นทัสสนูป-
จารได้. ทัสสนูปจารนั้น คุ้มไม่ได้ ในเมื่อภิกษุณีละสวนูปจารเห็นปานนั้นไป.
พอละสวนูปจารเท่านั้น ก็ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 67
ภิกษุณีรูปหนึ่ง เดินทางล้าหลังเพื่อน, ถ้ายังเป็นผู้มีความอุตสาหะ
เดินติดตามไปด้วยตั้งใจว่า เราจักตามให้ทันเดี๋ยวนี้ ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าหาก
ภิกษุณีพวกข้างหน้าไปเสียทางอื่น จัดว่าเป็นผู้มีเพื่อนภิกษุณีหลีกไป ไม่เป็น
อาบัติเหมือนกัน.
บรรดาภิกษุณี ๒ รูปเดินทางไปด้วยกัน รูปหนึ่งไม่อาจตามทัน เดิน
ล้าหลังด้วยคิดว่า เชิญแม่นี้ไปเถิด แม้อีกรูปหนึ่งก็เดินไปด้วยคิดว่า เชิญแม่
นี้ล้าหลังอยู่เถิด เป็นอาบัติทั้งสองรูป.
แต่ถ้าว่า ในภิกษุณี ๒ รูป ผู้กำลังเดินทาง รูปเดินหน้ายึดเอาทาง
สายหนึ่งก็ดี รูปเดินหลังยืดเอาทางสายหนึ่งก็ดี, รูปหนึ่งตั้งอยู่ในฐานแห่งผู้มี
เพื่อนหลีกไปของอีกรูปหนึ่ง จึงไม่เป็นอาบัติแม้ทั้งสองรูป.
บทว่า ปกฺขสงฺกนฺตา วา ได้แก่ ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์. คำที่เหลือ
ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 68
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลี
เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เมื่อสงฆ์จะลงทัณฑกรรมแก่นาง แต่ภิกษุณีถุลลนันทาค้าน
ไว้ ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาได้ไปสู่ตำบลบ้านหนึ่งด้วยกิจจำเป็นบางอย่าง
ครั้นภิกษุณีสงฆ์ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาหลีกไปแล้ว จึงยกภิกษุณีจัณฑกาลี
เสียจากหมู่เพราะไม่เห็นอาบัติ ภิกษุณีถุลลนันทาเสร็จกรณียะนั้นในบ้านแล้ว
กลับมาสู่พระนครสาวัตถีตามเดิม เมื่อนางมาถึง ภิกษุณีจัณฑกาลีไม่ปูอาสนะ
ไม่เข้าไปจัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรจีวร
ไม่ต้อนรับด้วยน้ำดื่ม นางจึงถามภิกษุจัณฑกาลีว่า เหตุไฉนเมื่อเรามาถึงเธอจึง
ไม่ปูอาสนะ ไม่จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตร
จีวร ไม่ต้อนรับด้วยน้ำดื่มเล่า.
ภิกษุณีจัณฑกาลีตอบว่า การที่เป็นเช่นนั้นนั่น เพราะดิฉันเป็นภิกษุณี
ไม่มีที่พึ่ง เจ้าค่ะ.
ภิกษุณีถุลลนันทาถามว่า เหตุไฉนเล่า เธอจึงเป็นคนไม่มีที่พึ่ง
ภิกษุณีจัณฑกาลีชี้แจงว่า เพราะภิกษุณีเหล่านี้คงเข้าใจดิฉันว่า นางนี้
เป็นคนไม่มีที่พึ่ง ไม่มีใครรู้จัก กิจอันเป็นหน้าที่ของนางคนนี้ก็ไม่มีสักอย่าง
จึงได้ยกดิฉันเสียจากหมู่ เพราะไม่เห็นอาบัติ เจ้าค่ะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 69
ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวว่า ภิกษุณีเหล่านั้นเป็นพาล ไม่ฉลาด ไม่รู้
จักกรรมหรือโทษของกรรม กรรมวิบัติ หรือกรรมสมบัติ เราเท่านั้นจึงจะรู้
จักกรรม โทษของกรรม กรรมวิบัติ และกรรมสมบัติ เราจะพึงทำกรรมที่
เราไม่ได้ร่วมทำ หรือจะพึงยังกรรมที่เขาทำแล้วให้กำเริบ แล้วให้ประชุม
ภิกษุณีสงฆ์ด่วน เรียกภิกษุณีจัณฑกาลีให้เข้าหมู่.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของคณะ จึงได้เรียก
ภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์
แล้วให้เข้าหมู่เล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทา ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของคณะ เรียก
ภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุ-
ศาสน์แล้วให้เข้าหมู่ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทา ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของคณะ จึงได้เรียก
ภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ ตามธรรม ตามวินัย ตาม
สัตถุศาสน์แล้วให้เข้าหมู่เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 70
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๒. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้
ฉันทะของคณะ เรียกภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่
ตามธรรม ตามวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์แล้วให้เข้าหมู่ ภิกษุณีแม้นี้
ก็ต้องธรรมคือ สังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะ
แรกทำ.
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๘] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมา
เดียวกัน.
ที่ชื่อว่า ยกเสียจากหมู่ คือ ถูกยกเสียจากหมู่ เพราะไม่เห็นอาบัติ
หรือเพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละคืนทิฏฐิบาป.
บทว่า ตามธรรม ตามวินัย คือตามธรรมใด ตามวินัยใด.
บทว่า อันเป็นสัตถุศาสน์ ได้แก่ ธรรมนั้น วินัยนั้นเป็นคำสั่งสอน
ของพระชินเจ้า คือ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 71
บทว่า ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ คือ ไม่บอกเล่าการกสงฆ์ผู้ทำ
กรรมให้ทราบ.
บทว่า ไม่รู้ฉันทะของคณะ คือ ไม่รู้ความพอใจของคณะ.
ภิกษุณีประสงค์จะเรียกเข้าหมู่ แสวงหาคณะก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้อง
อาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
[๔๙] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง
ภิกษุณีรูปก่อน ๆ.
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ ความว่า ต้องอาบัติพร้อม
กับการล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่สงฆ์.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต . . .แม้เพราะ
เหตุนั้นจึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
ติกะสังฆาทิเสส
[๕๐] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม เรียกเข้า
หมู่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย เรียกเข้าหมู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม เรียกเข้าหมู่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 72
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม . . . ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม . . . ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๕๑] บอกกล่าวการกสงฆ์ผู้ทำกรรม แล้วเรียกเข้าหมู่ ๑ รู้ฉันทะของ
คณะ แล้วเรียกเข้าหมู่ ๑ เรียกภิกษุณีผู้ประพฤติชอบแล้วเข้าหมู่ ๑ เรียกเข้า
หมู่ในเมื่อการกสงฆ์ผู้ทำกรรมไม่มี ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ จบ
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้ :-
ที่วางเท้าที่ล้างแล้ว ชื่อว่า ตั่งรองเท้า. ที่สำหรับรองเท้าที่ยังไม่ได้ล้าง
ชื่อว่า กระเบื้องเช็ดเท้า.
ข้อว่า อนญฺญาย คณสฺส ฉนฺท ได้แก่ ไม่รู้ฉันทะของคณะผู้
กระทำนั้นนั่นแล.
สองบทว่า วตฺเต วตฺตนฺตึ ได้แก่ ผู้ประพฤติชอบในเนตถารวัตร
(วัตรเป็นเหตุสลัดออก) ๔๓ ประเภท. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 73
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฎฐาน เกิดขึ้นทางกายวาจากับจิต
เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม
อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ จบ/I
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา
[๕๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
สุนทรีนันทาเป็นผู้ทรงโฉมวิไล น่าพิศพึงชม คนทั้งหลายแลเห็นนางที่ในโรง
ฉันแล้วมีความพึงพอใจ ต่างถวายโภชนาหารที่ดี ๆ แก่นางผู้มีความพึงพอใจ
นางฉันได้พอแก่ความประสงค์ ภิกษุณีรูปอื่น ๆ ไม่ได้ฉันตามต้องการ.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนแม่เข้าสุนทรีนันทาจึงได้มีความยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเอง
จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ แล้วเคี้ยวฉันเล่า . . . แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีสุนทรีนันทามีความยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเอง
จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ แล้วเคี้ยวฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 74
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณี
สุนทรีนันทา จึงได้ยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเองจากมือของบุรุษ
บุคคลผู้มีความพึงพอใจแล้วเคี้ยวฉันเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๓. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความพอใจ รับของเคี้ยวก็ดีของ
ฉันก็ดี ด้วยมือของตนเอง จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ
แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อ
นิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีความพึงพอใจ คือ มีความยินดียิ่งนัก มีความเพ่งเล็ง
มีจิตปฏิพัทธ์.
ที่ชื่อว่า ผู้มีความพึงพอใจ คือ มีความยินดียิ่งนัก มีความเพ่งเล็ง
มีจิตปฏิพัทธ์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 75
ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่
เปรตผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้ความ สามารถเพื่อจะยินดียิ่งนัก.
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ อย่าง กับน้ำและไม้สีฟัน
นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะทั้งห้า คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑
ขนนแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑.
ภิกษุณีรับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย
กลืนกิน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำกลืน.
[๕๔] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง
ภิกษุณีรูปก่อน ๆ.
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับ
การล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่สงฆ์.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต. . .แม้เพราะ
เหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
รับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
[๕๕] ฝ่ายหนึ่งมีความพอใจ รับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยวจักฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติถุลลัจจัยทุก ๆ คำกลืน รับประเคนน้ำ
และไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 76
ทั้งสองฝ่ายมีความพึงพอใจ รับประเคนจากมือยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย
บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ที่มีกายคล้ายมนุษย์ ด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว
จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุก ๆ คำกลืน รับ
ประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
เขามีความพึงพอใจฝ่ายเดียว รับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน รับประเคนน้ำ
และไม้ชำระฟันต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๕๖] ทั้งสองฝ่ายไม่มีความพึงพอใจ ๑ รู้อยู่ว่าเขาไม่มีความพึงพอใจ
จึงรับประเคน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ จบ
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้ :-
ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ในคำว่า เอกโต อวสฺสุเต นี้บัณฑิต
พึงเห็นว่า ภิกษุณีเป็นผู้มีความพึงพอใจ. แต่ในมหาอรรถกถาท่านไม่ได้กล่าว
คำว่า ฝ่ายหนึ่งมีความพึงพอใจนี้ไว้. คำนั้นสมด้วยพระบาลี. คำที่เหลือตื้น
ทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาดังนี้แล.
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 77
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา
[๕๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
สุนทรีนันทาเป็นผู้ทรงโฉมวิไลน่าพิศพึงชม คนทั้งหลายพบนางที่ในโรงฉัน
แล้ว ต่างมีความพอใจ ถวายโภชนาหารที่ดี ๆ แก่นาง ๆ รังเกียจไม่รับประเคน
ภิกษุณีผู้นั่งรองลำดับจึงถามนางว่า แม่เจ้า เหตุไรแม่เจ้าจึงไม่รับประเคนเล่า
เจ้าค่ะ.
นางตอบว่า เพราะเขามีความพอใจ เจ้าค่ะ.
ภิกษุณีนั้นถามว่า ก็แม่เจ้ามีความพอใจด้วยหรือ.
สุ. ไม่มี เจ้าค่ะ.
ภิ. แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั่น มีความพอใจก็ตาม ไม่มีความพอใจก็
ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความพอใจ นิมนต์เถิด เจ้าค่ะ
บุรุษบุคคลนั้นจักถวายของสิ่งใด เป็นของเคี้ยว หรือของฉันก็ตาม แก่แม่เจ้าๆ
จงรับประเคนของสิ่งนั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด เจ้าค่ะ.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั่น มีความพอใจก็
ตาม ไม่มีความพอใจก็ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความ
พอใจ นิมนต์เถิด เจ้าค่ะ บุรุษบุคคลนั้นจะถวายของสิ่งใด เป็นของเคี้ยว.
หรือของฉันก็ตาม แก่แม่เจ้า แม่เจ้าจงรับประเคนของสิ่งนั้นด้วยมือของตน
แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิดดังนี้เล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 78
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีกล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั่นมีความพอใจก็ตาม ไม่มี
ความพอใจ ก็ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความพอใจ
นิมนต์เถิด เจ้าค่ะ บุรุษบุคคลนั้นจะถวายของสิ่งใด เป็นของเคี้ยวก็ตาม ของ
ฉันก็ตาม แก่แม่เจ้า แม่เจ้าจงรับประเคนของสิ่งนั้น ด้วยมือของตน แล้ว
เคี้ยวหรือฉันเถิด ดังนี้จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั่น มีความพอใจก็ตาม ไม่มี
ความพอใจก็ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความพอใจ
นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ บุรุษบุคคลนั้นจะถวายของสิ่งใด เป็นของเคี้ยวก็ตาม ของ
ฉันก็ตาม แก่แม่เจ้า แม่เจ้าจงรับประเคนของสิ่งนั้น ด้วยมือของตน แล้ว
เคี้ยวหรือฉันเถิด ดังนี้เล่า การกระทำของนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๔. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคล
นั่น มีความพอใจก็ตาม ไม่มีความพอใจก็ตาม จักทำอะไรแก่แม่
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 79
เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความพอใจ นิมนต์เถิด เจ้าค่ะ บุรุษบุคคล
นั้นจะถวายของสิ่งใด เป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตาม แก่แม่เจ้า
ขอแม่เจ้าจงรับประเคนของสิ่งนั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวหรือฉัน
เถิด ดังนี้ ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสชื่อ นิสสารณียะ
มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๘] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า กล่าวอย่างนี้ คือ พูดส่งเสริมว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั่น
มีความพอใจก็ตาม ไม่มีความพอใจก็ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะ
แม่เจ้าไม่มีความพอใจ นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ บุรุษบุคคลนั้นจะถวายของสิ่งใด
เป็นของเคี้ยว หรือของฉันก็ตาม แก่แม่เจ้า ขอแม่เจ้าจงรับประเคนของสิ่ง
นั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีผู้พูดนั้น ด้วยประสงค์จะเคี้ยวจะ
ฉัน ภิกษุณีผู้พูดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีนั้นฉัน ภิกษุณีผู้พูด ต้องอาบัติถุลลัจจัยทุก ๆ คำกลืน.
ภิกษุณีนั้นฉันอาหารเสร็จ ภิกษุณีผู้พูด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูป
ก่อน ๆ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 80
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับ
การล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่.
บทว่า สังฆาทิเลส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต. . . เพราะเหตุนั้น
จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
ภิกษุณีพูดส่งเสริมว่า จงรับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีผู้พูดนั้น ด้วยประสงค์จะเคี้ยวจะ
ฉัน ภิกษุณีผู้พูดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
[๕๙] ฝ่ายหนึ่งมีความพอใจ ภิกษุณีพูดส่งเสริมว่า แม่เจ้า จงเคี้ยว
ก็ตาม จงฉันก็ตาม ซึ่งของเคี้ยวก็ตาม ของฉันก็ตาม ที่รับจากมือของยักษ์
ก็ดี เปรตผู้ชายก็ดี บัณเฑาะก์ผู้ชายก็ดี สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีกายคล้ายมนุษย์
ก็ดี ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีรับประเคนตามคำของผู้พูดนั้น ด้วยประสงค์ว่าจะเคี้ยวจะฉัน
ภิกษุณีผู้พูด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นฉัน ภิกษุณีผู้พูด ต้องอาบัติทุกกฏ
ทุก ๆ คำกลืน ภิกษุณีนั้นฉันเสร็จ ภิกษุณีผู้พูด ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พูดส่งเสริมว่า จงรับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้น ด้วยประสงค์ว่าจะเคี้ยวจะฉัน ภิกษุณี
ผู้พูด ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 81
อนาปัตติวาร
[๖๐] รู้อยู่ว่าเขาไม่มีความพอใจ พูดส่งเสริม ๑ พูดส่งเสริมโดย
เข้าใจว่าเขาโกรธกัน นางคงไม่รับประเคน ๑ พูดส่งเสริมโดยเข้าใจว่า นาง
จักไม่รับประเคน เพราะความเอ็นดูแก่สกุล ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ จบ
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า ยโต ตฺว ไขเป็น ยสฺมา ตฺว แปลว่า เพราะว่า
แม่เจ้า.
ถามว่า อาบัติทั้งหลายมีอาทิว่า พูดส่งเสริม ต้องอาบัติทุกกฏ มี
สังฆาทิเสสเป็นที่สุด จะมีแก่ใคร.
แก้ว่า มีแก่ภิกษุณีผู้พูดส่งเสริม. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้แม้ในคัมภีร์ปริวารว่า
ภิกษุณีไม่ให้ ไม่รับประเคน การ
รับไม่มี ด้วยเหตุนั้น, แต่ต้องอาบัติหนัก
ไม่ใช่อาบัติเบา และการต้องนั้น เพราะ
การบริโภคเป็นปัจจัย ปัญหาข้อนี้ท่านผู้
ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 82
จริงอยู่ คาถานี้ตรัสหมายเอาภิกษุณีผู้พูดส่งเสริมนี้. ส่วนความต่าง
แห่งอาบัติของภิกษุณีผู้พูดส่งเสริมนอกนี้ ทรงจำแนกไว้แล้วในสิกขาบทที่ ๑
แล. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก-
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
อรรถกถาสังมาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ จบ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ เพระเชต-
วัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
จัณฑกาลีทะเลาะกับภิกษุณีทั้งหลาย โกรธ ขัดใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
ขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระธรรม ข้าพเจ้าขอบอกคืน
พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ขอสมณี จะมีเฉพาะสมณีเหล่า
ศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้
ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น
ดังนี้.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนา
ว่าไฉน แม่เจ้าจัณฑกาลี จึงได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอ
บอกคืนพระพุทธเจ้า. . . ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมี
เฉพาะสมณีเหล่าศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มี
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 83
ความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ก็ยังมี ข้าพเจ้าจักพระพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก
สมณีเหล่านั้น ดังนี้เล่า. . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีจัณฑกาลี โกรธ ขัดใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอก
คืนพระพุทธเจ้า. . . ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะ
สมณีเหล่าศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความ
รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก
สมณีเหล่านั้น ดังนี้ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจัณฑกาลีจึงโกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระ-
พุทธเจ้า. . . ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณี
เหล่าศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปพระพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น
ดังนี้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 84
พระบัญญัติ
๑๘.๑๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด โกรธ ขัดใจ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืน
พระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณี
ศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นทีมีความละอาย มีความ
รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักประพฤติพรหมจรรย์ใน
สำนักสมณีเหล่านั้น ดังนั้น ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า แม่เจ้าอย่าได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอ
บอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์
ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดา
เหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรงเกียจ ใคร่
ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณี
เหล่านั้น ดังนั้น ภิกษุณีทั้งหลายจึงกล่าวว่า แม่เจ้าจงยินดียิ่ง
พระธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด และภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายว่า
กล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณี
ทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้น
ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบอยู่สละกรรมนั้นเสีย
สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากพวกเธอไม่สละ ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้อง
ธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อสวด
สมนุภาสครบสามจบ.
๑. สิกขาบทที่ ๑๕ ๑๖ ๑๗ เป็นสาธารณบัญญัติ ฉะนั้นสิกขาบทที่ ๗ นี้ จึงเป็นที่ ๑๘.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 85
สิกขาบทวิภังค์
[๖๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า โกรธ ขัดใจ คือไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.
บทว่า กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า. . .
บอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่มีชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีเหล่าศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร
แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใครต่อสิกขา ก็ยังมี ข้าพเจ้า
จะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้.
[๖๓] บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้ที่พูดอย่างนั้น.
บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุณีเหล่าอื่น คือ จำพวกที่
ได้เห็น ได้ยินเหล่านั้น พึงว่ากล่าวว่า แม่เจ้าอย่าได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่าง
นี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า. . . ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่า
สมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย
มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก
สมณีเหล่านั้นดังนี้ พึงกล่าวว่า แม่เจ้าจงยินดียิ่ง พระธรรมอันพระพุทธเจ้า
ตรัสไว้ดีแล้วจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด พึงว่ากล่าว
แม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๓ หากนางสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็น
การดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีทั้งหลายทราบข่าวแล้วไม่ว่ากล่าว
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้ว
ว่ากล่าวว่า แม่เจ้า อย่าโกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืน
พระพุทธเจ้า. . .ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดา
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 86
เหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา
ก็ยังมี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักภิกษุณีเหล่านั้น ดังนี้ พึง
กล่าวว่า แม่เจ้าจงยินดียิ่ง พระธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติ
พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าว
แม้ครั้งที่ ๓ ถ้าภิกษุณีนั้นสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิธีสวดสมนุภาส
[๖๔] ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็แลสมนุภาสนั้น พึงสวดอย่างนี้ อันภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาสมนุภาส
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ โกรธ
ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืน
พระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่า
สมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มี
ความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประ-
พฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีผู้
มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้า เจ้าข้าขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้โกรธ
ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืน
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 87
พระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีชื่อว่าสมณี
จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความ
ละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติ
พรหมจรรย์ ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น
สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น การสวด
สมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด
แม่เจ้านั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๒. . .
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๓. . .
ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละวัตถุ
นั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
[๖๕] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้งต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง ย่อมระงับ.
[๖๖] บทว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ คือ
ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสจบครั้งที่ ๓ ไม่ใช่ต้องพร้อมกับการล่วงวัตถุ.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต. . . แม้เพราะ
เหตุนั้น จึงตรัสว่า สังฆาทิเสส.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 88
บทภาชนีย์
ติกะสังฆาทิเสส
[๖๗] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๖๘] ภิกษุณีผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ภิกษุณีผู้เสียสละได้ ๑ วิกล-
จริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗ จบ
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้ :-
บัณฑิตพึงทราบอรรถแห่งบทว่า ยาวตติยกะ โดยนัยดังที่ข้าพเจ้า
กล่าวไว้ในมหาวิภังค์นั่นแหละ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้นแล.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 89
สิกขาบทนี้มีการสวดสมนุภาสเป็นสมุฏฐาน เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗ จบ.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๖๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชต-
วัน อารามของอานาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
จัณฑกาลี ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่ง โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้
ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ บรรดา
ภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
จัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว โกรธ ขัดใจ จึงได้กล่าว
อย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ . . . และภยาคติ ดังนี้เล่า แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว โกรธ ขัดใจ
กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ
ดังนี้ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 90
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุไฉน
ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้วจึงได้โกรธ ขัดใจ
กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ
ดังนี้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังใม่
เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๙. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่อง
หนึ่งแล้วโกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ
โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลาย
พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว
อย่าโกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ
โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ แม่เจ้าต่างหาก ถึงฉันทาคติบ้าง โทสาคติ
บ้าง มหาคติบ้าง ภยาคติบ้าง และภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลาย
ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณี
ทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้น
หากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสียได้
การสละได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละ ภิกษุณีแม้นี้ก็
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 91
ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อ
สวดสมนุภาสครบสามจบ.
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ในบทว่า อธิกรณ์เรื่องหนึ่งนั้น ได้แก่ อธิกรณ์
๔ คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑.
ที่ชื่อว่า ถูกตัดสินให้แพ้ ได้แก่ ที่เขาเรียกกันว่าผู้แพ้คดี.
สองบทว่า โกรธ ขัดใจ คือ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.
บทว่า กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ
โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้.
[๗๑] บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีรูปที่กล่าวอย่างนั้น.
บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีพวกอื่น คือ พวกที่
ได้เห็นได้ทราบเหล่านั้น พึงว่ากล่าวว่า แม่เจ้าถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่อง
หนึ่งแล้ว อย่าได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสา-
คติ โมหาคติ และภยาคติ แม่เจ้าต่างหากถึงฉันทาคติบ้าง โทสาคติบ้าง
โมหาคติบ้าง ภยาคติบ้าง ดังนี้ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้ง
ที่สาม หากนางสละได้ การสละได้ดังนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้อง
อาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีทั้งหลายทราบข่าวแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณี
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 92
นั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวมาแม้สู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วว่ากล่าวว่า แม่เจ้า
ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว อย่าได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า
พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ แม่เจ้าต่าง
หากถึงฉันทาคติบ้าง โทสาคติบ้าง โมหาคติบ้าง ภยาคติบ้าง พึงว่ากล่าวแม้
ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากภิกษุณีนั้นสละได้ การสละได้อย่างนี้
นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิธีสวดสมนุภาส
[๗๒] ภิกษุณีนั้น อันภิกษุสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็แลสมนุภาสนั้นพึงสวดอย่างนี้ อันภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้
สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
กรรมวาจาสมนุภาส
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ ผู้นี้
ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่าง
นี้ว่า พวกภิกษุณีสงฆ์ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ
ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น หากความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อสละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อว่า ผู้นี้
ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่าง
นี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ
ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อ
สละวัตถุนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อสละวัตถุนั้น ชอบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 93
แก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้า
ผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง . . .
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม. . .
ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อสละวัตถุนั้น
ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
[๗๓] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อม
ระงับ.
[๗๔] บทว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูป
ก่อน.
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ คือ
ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสจบครั้งที่สาม ไม่ใช่ต้องพร้อมกับการล่วงวัตถุ.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต . . . แม้เพราะ
เหตุนั้น จึงตรัสว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
ติกะสังฆาทิเสส
[๗๕] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 94
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส.
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๗๖] ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ยอมสละ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัม-
มิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ จบ
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า กิสฺมิญฺจิเทว อธิกรเณ ได้แก่ ในบรรดาอธิกรณ์ ๔
อธิกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง. แต่ในบทภาชนะ เพื่อทรงแสดงการจำแนกอธิกรณ์
อย่างเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่
อธิกรณ์ ๔ ดังนี้ . คำที่เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น ตื้นทั้งนั้นแล.
อรรถกถาสังฏาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 95
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เหล่า
ภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา ชอบอยู่คลุกคลีปนเปกัน มีอาจาระ
ทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์
ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ. . .
ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้อยู่คลุกคลีกัน มี
อาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณี-
สงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกันเล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุณีอยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มี
อาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน
จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีจึงได้ชอบอยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มี
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 96
อาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน
เล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๒๐. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม
มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์
ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน ภิกษุณีเหล่านั้นอันภิกษุณีทั้งหลาย
พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า พี่น้องหญิงทั้งหลายแลอยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระ
ทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์
ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด
สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย แล
ภิกษุณีเหล่านั้น อันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่
อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีเหล่านั้น อันภิกษุณีทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาส
กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละวัตถุนั้น หากเธอเหล่านั้นถูกสวด
สมนุกาสกว่าจะครบสามจบอยู่ สละวัตถุนั้นเสียได้ การสละได้อย่าง
นี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ภิกษุณีแม้เหล่านี้ก็ต้องธรรมคือ
สังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อสวดสมนุภาส
ครบสามจบ.
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 97
สิกขาบทวิภังค์
[๗๘] บทว่า อนึ่ง ภิกษุณีทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
หมายสตรีผู้อุปสมบทแล้ว.
ที่ชื่อว่า อยู่คลุกคลีกัน คือ อยู่คลุกคลีด้วยการคลุกคลีทางกายและ
วาจาอันไม่สมควร.
บทว่า มีอาจาระทราม คือ ประกอบด้วยความประพฤติที่เลว.
บทว่า มีเกียรติศัพท์ไม่งาม คือ อื้อฉาวด้วยเสียงเล่าลือที่เสียหาย.
บทว่า มีอาชีวะไม่ชอบ คือ เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพต่ำช้า.
บทว่า มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ คือ เมื่อสงฆ์ทำกรรมแก่เพื่อน
กันย่อมคัดค้าน.
บทว่า ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน คือ ปกปิดความผิด
ของกันและกัน.
[๗๙] บทว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ได้แก่ ภิกษุณีพวกที่อยู่คลุกคลี
ปะปนกัน.
บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีพวกอื่น คือพวกที่ได้
เห็นได้ทราบ เหล่านั้น พึงกล่าวว่า พี่น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระ
ทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบ
ปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลาย จงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อม
สรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒
พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๓ หากภิกษุณีเหล่านั้นสละได้ การสละได้อย่างนี้นั่นเป็น
การดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ พวกภิกษุณีทราบแล้วไม่ว่ากล่าว ก็ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 98
ภิกษุณีเหล่านั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้ว
ว่ากล่าวว่า พี่น้องหญิงทั้งหลายแล อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติ-
ศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของ
พรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัด
อย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่
๓ หากภิกษุณีเหล่านั้นสละได้ การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิธีสวดสมนุภาส
[๘๐] ภิกษุณีเหล่านั้น อันภิกษุณีสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็แลวิธีสวดสมนุภาสนั้นพึงสวดอย่างนี้ อันภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาสมนุภาส
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้ด้วย
มีชื่อนี้ด้วย อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มี
อาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรค
พวกกัน เธอเหล่านั้นยังไม่สละวัตถุนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้
ด้วย เพื่อให้สละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้
ด้วย มีชื่อนี้ด้วย อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม
มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 99
พรรคพวกกัน เธอเหล่านั้นยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาส
ภิกษุณีทั้งหลาย มีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละวัตถุนั้น การ
สวดสมนุภาสภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละ
วัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่
แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๒ . . .
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๓ . . .
ภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย อันสงฆ์สวดสมนุภาส
แล้ว เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
[๘๑] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส
แล้ว อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง ย่อม
ระงับ.
พึงสวดสมนุภาสภิกษุณี ๒-๓ รูป คราวเดียวกันได้ ไม่พึงสวด
สมนุภาสภิกษุณีมากกว่านั้น.
[๘๒] บทว่า ภิกษุณีแม้เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง
ภิกษุณีรูปก่อน.
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ คือ
ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสจบครั้งที่ ๓ ไม่ใช่ต้องพร้อมกับการละเมิดวัตถุ.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่สงฆ์.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต. . . แม้เพราะ
เหตุนั้นจึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 100
บทภาชนีย์
ติกสังฆาทิเสส
[๘๓] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส.
ติกทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๘๔] ยังไม่สวดสมนุภาส ๑ ยอมสละ ๑ วิกลจริต ๑ มีจิตฟุ้งซ่าน
๑ กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ จบ
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า สสฏฺา คือ เป็นผู้คลุกคลีปนเปกัน.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 101
บทว่า อนนุโลมิเกน คือ ไม่สมควรแก่พวกบรรพชิต.
สามบทว่า กายิเกน วาจสิเกน สสฏฺา มีความว่า ผู้คลุกคลี
ด้วยการคลุกคลีอันเป็นไปทางกาย มีการซ้อมข้าว หุงข้าว บดของหอม ร้อย
พวงดอกไม้เป็นต้น เพื่อพวกคฤหัสถ์ และด้วยการคลุกคลีกันอันเป็นไปทาง
วาจา มีการรับส่งข่าวสาสน์และข่าวสาสน์ตอบ และการชักสื่อเป็นต้น แก่พวก
คฤหัสถ์. เกียรติศัพท์ของพวกภิกษุณีเหล่านี้เสียหาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ผู้มีเกียรติศัพท์เสียหาย. ความเป็นอยู่ กล่าวคืออาชีพของพวกภิกษุณีเหล่านี้
เลวทราม เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้มีอาชีพเลวทราม. คำที่เหลือพร้อมทั้ง
สมุฏฐานเป็นต้นตื้นทั้งนั้น.
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ จบ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๘๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทา
ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสแล้วยังกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ภิกษุณีแม้เหล่าอื่น
ที่มีอาจาระเช่นนี้ มีเกียรติศัพท์เช่นนี้ มีอาชีวะเช่นนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณี
สงฆ์เช่นนี้ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกันเช่นนี้ ก็ยังมีในหมู่สงฆ์ ไม่เห็น
สงฆ์ว่าอะไรภิกษุณีเหล่านั้น พวกท่านเท่านั้นถูกสงฆ์ว่ากล่าวด้วยความดูหมิ่น
ด้วยความไม่สุภาพ ด้วยความไม่อดกลั้น ด้วยความขู่เข็ญ และเพราะความที่
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 102
พวกท่านเป็นคนอ่อนแออย่างนี้ว่า พี่น้องหญิงทั้งหลายแล อยู่คลุกคลีกัน มี
อาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์
ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อม
สรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ. . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาถูกสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว จึงยังกล่าวกะ
ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด
อย่าต่างคนต่างอยู่เลย. . . แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญ
ความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้เล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาถูกสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว ยังกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลาย
อย่างนี้ว่าแม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่าง
อยู่เลย. . . แม่เจ้าทั้งหลาย จงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัด
อย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี
ถุลลนันทาถูกสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว ไฉนจึงยังกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ว่า
แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย . . .
แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 103
น้องหญิงทั้งหลายดังนี้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๒๑. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ภิกษุณีแม้
เหล่าอื่นที่มีอาจาระเช่นนี้ มีเกียรติศัพท์เช่นนี้ มีอาชีวะเช่นนี้ มัก
เบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์เช่นนี้ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกันเช่นนี้
ก็ยังมีในสงฆ์ สงฆ์ไม่ว่ากล่าวอะไรภิกษุณีพวกนั้น สงฆ์ว่ากล่าว
เฉพาะพวกท่าน ด้วยความดูหมิ่น ด้วยความไม่สุกาพ ด้วยความไม่
อดกลั้น ด้วยความขู่เข็น แลเพราะความที่พวกท่านเป็นคนอ่อนแอ
อย่างนี้ว่าพี่น้องหญิงทั้งหลายแล อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม
มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์
ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลาย จงแยกกันอยู่เถิด
สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้
ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าอย่าได้
กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด
อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ภิกษุณีแม้เหล่าอื่นมีอาจาระเช่นนี้ มีเกียรติ-
ศัพท์เช่นนี้ มีอาชีวะเช่นนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์เช่นนี้ ชอบ
ปกปิดโทษของพรรคพวกกันเช่นนี้ ก็ยังมีในสงฆ์ สงฆ์ไม่ว่ากล่าว
อะไรภิกษุณีเหล่านั้น สงฆ์ว่ากล่าวเฉพาะพวกท่านด้วยความดูหมิ่น
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 104
ด้วยความไม่สุภาพ ด้วยความไม่อดกลั้น ด้วยความขู่เข็ญ แลเพราะ
ความที่พวกท่านเป็นคนอ่อนแอ อย่างนี้ว่าพี่น้องหญิงทั้งหลายแล อยู่
คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ
มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้า
ทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียว
แก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้ แลภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายว่า
กล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณี
ทั้งหลายพึงสวดสมนุกาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละวัตถุนั้น
หากเธอถูกสวดสมนุกาสกว่าจะครบสามจบอยู่ สละวัตถุนั้นเสีย สละ
ได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือ
สังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อสวดสมนุภาส
ครบสามจบ.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๖] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
จงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ภิกษุณีแม้เหล่าอื่นที่มีอาจาระเช่นนี้
มีเกียรติศัพท์เช่นนี้ มีอาชีวะเช่นนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์เช่นนี้ ชอบปกปิด
โทษของพรรคพวกกันเช่นนี้ ก็ยังมีอยู่ในสงฆ์ สงฆ์ไม่ว่ากล่าวอะไรภิกษุณี
พวกนั้น สงฆ์ว่ากล่าวเฉพาะพวกท่านเท่านั้น.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 105
บทว่า ด้วยความดูหมิ่น ได้แก่ การดูถูก.
บทว่า ด้วยความไม่สุภาพ ได้แก่ ความหยาบคาย.
บทว่า ด้วยความไม่อดกลั้น ได้แก่ การโกรธเคือง.
บทว่า ด้วยความขู่เข็ญ ได้แก่ ความไม่กำหราบ.
บทว่า เพราะความที่พวกท่านเป็นคนอ่อนแอ คือ มีพวกน้อย.
สงฆ์ว่ากล่าวอย่างนี้ว่า พี่น้องหญิงทั้งหลายแล อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระ
ทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบ
ปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อม
สรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้.
บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีรูปที่มักกล่าวเช่นนี้.
บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีพวกอื่น คือ จำพวก
ที่ได้เห็นได้ทราบเหล่านั้นพึงกล่าวว่า แม่เจ้าอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ว่า แม่เจ้า
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย. . . แม่เจ้า
ทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิง
ทั้งหลาย ดังนี้ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๓ หากนางสละได้
การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีทั้งหลาย
ทราบแล้วไม่ว่ากล่าว ก็ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลาย พึงคุมตัวมาแม้สู่ท่ามกลางสงฆ์แล้ว
กล่าวว่า แม่เจ้า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่
คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย. . . แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์
ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้ พึงว่ากล่าวแม้
ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๓ หากนางสละได้ การสละได้อย่างนี้ นั้น
เป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 106
วิธีสวดสมนุภาส
[๘๗] ภิกษุณีนั้น อันสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็แลสมนุภาสนั้น พึงสวดอย่างนี้.
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาสมนุภาส
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูก
สงฆ์สวดสมนุภาสแล้วยังกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ว่า แม่เจ้า
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย
ภิกษุณีแม้เหล่าอื่นที่มีอาจาระเช่นนี้ มีเกียรติศัพท์เช่นนี้ มีอาชีวะ
เช่นนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์เช่นนี้ ชอบปกปิดโทษของพรรค-
พวกกันเช่นนี้ ก็ยังมีในหมู่สงฆ์ สงฆ์ไม่ว่ากล่าวอะไรภิกษุณีพวก
นั้น สงฆ์ว่ากล่าวเฉพาะพวกท่านด้วยความดูหมิ่น ด้วยความไม่สุภาพ
ด้วยความไม่อดกลั้น ด้วยความขู่เข็ญ แลเพราะความที่พวกท่าน
เป็นคนอ่อนแอ อย่างนี้ว่า พี่น้องหญิงทั้งหลายแล อยู่คลุกคลีกัน
มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียน
ภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลายจง
แยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิง
ทั้งหลาย ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น
นี่เป็นญัตติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 107
แม่เจ้าทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูก
สงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว ยังกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ว่า แม่เจ้า
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย
ภิกษุณีแม้เหล่าอื่นที่มีอาจาระเช่นนี้ มีเกียรติศัพท์เช่นนี้ มีอาชีวะ
เช่นนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์เช่นนี้ ชอบปกปิดโทษของพรรค-
พวกกันเช่นนี้ ก็ยังมีอยู่ในหมู่สงฆ์ สงฆ์ไม่ว่ากล่าวอะไรภิกษุณี
พวกนั้น สงฆ์ว่ากล่าวเฉพาะพวกท่านด้วยความดูหมิ่น ด้วยความ
ไม่สุภาพ ด้วยความไม่อดกลั้น ด้วยความขู่เข็ญ แลเพราะความที่
พวกท่านเป็นคนอ่อนแอ อย่างนี้ว่า พี่น้องทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน
มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียด-
เบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลาย
จงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียว แก่พี่น้อง
หญิงทั้งหลาย ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุณี
มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อ
ให้สละวัดถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่
ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง. . .
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม. . .
ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละวัตถุ
นั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
[๘๘] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อต้องอาบัติสังฆา-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 108
ทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อม
ระงับ.
[๘๙] บทว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูป
ก่อน.
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติ. ในเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ คือ
ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสจบครั้งที่สาม ไม่ใช่ต้องพร้อมกับการละเมิดวัตถุ-
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัตเพื่ออาบัตินั้น
ชักเข้าหาอาบัติเดิมเรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่ภิกษุณีรูปเดียว
เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่าสังฆาทิเสสเป็นการขนานนาม
คือ เป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่าสังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
ติกะสังฆาทิเสส
[๙๐] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส.
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 109
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๙๑] ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ยอมสละ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา
๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า เอวาจารา คือ ผู้มีอาจาระอย่างนี้ ความว่า มีอาจาระเช่น
อย่างอาจาระของพวกท่าน. ในบททั้งปวงก็มีนัยเช่นนี้ .
บทว่า อญฺาย แปลว่า ด้วยความดูหมิ่น คือ ด้วยความรู้กดให้ต่ำ.
บทว่า ปริภเวน ได้แก่ ด้วยความรู้เหยียดหยามอย่างนี้ว่า แม่พวกนี้
จักกระทำอะไรได้ ?
บทว่า อกฺขนฺติยา คือ ด้วยความไม่อดกลั้น ความว่า ด้วยความ
โกรธเคือง.
บทว่า เวภสฺสา คือ ด้วยความเป็นผู้มีเสียงขู่เข็ญ ความว่า ด้วย
การขู่ให้หวาดกลัวด้วยประกาศกำลังของตน ๆ.
บทว่า ทุพลฺยา คือ เพราะพวกท่านเป็นคนอ่อนแอ. บัณฑิตพึง
เห็นอรรถสมุจจัยในบททั้งปวงอย่างนี้ว่า ด้วยความดูหมิ่น และด้วยความ
เหยียดหยาม.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 110
บทว่า วิวิจฺจถ แปลว่า พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด. คำที่เหลือ
พร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น ตื้นทั้งนั้นแล.
อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบท ๑๐ จบ
บทสรุป
[๙๒] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท๑ ข้าพเจ้า
ยกขึ้นแสดงแล้วแล ๙ สิกขาบท ให้ต้องอาบัติเมื่อแรกทำ ๘ สิกขาบท ให้
ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ ภิกษุณีล่วงสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่ง
แล้ว ภิกษุณีนั้นต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์สองฝ่าย ภิกษุณีประพฤติมานัต
แล้ว ภิกษุณีสงฆ์มีคณะ ๒๐ อยู่ในสีมาใด พึงเรียกภิกษุณีนั้นเข้าหมู่ในสีมา
นั้น หากภิกษุณีสงฆ์มีคณะ ๒๐ หย่อนแม้รูปหนึ่ง พึงเรียกภิกษุณีนั้นเข้าหมู่
ภิกษุณีนั้นก็ไม่เป็นอันสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว และภิกษุณีเหล่านั้นควรถูกตำหนิ
นี้เป็นความถูกต้องในกรรมนั้น.
ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือสังฆาทิเสสเหล่านั้นว่า ท่าน
ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลาย
เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้
บริสุทธิ์แล้วหรือ แม่เจ้าทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในธรรมคือสังฆาทิเสสเหล่า
นี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้แล.
สัตตรสกัณฑ์ จบ
๑. เติมยาวตติยกะในมหาวิภังค์อีก ๔ สิกขาบท คือ สิกขาบทที่ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ จึงเป็น
๑๗ สิกขาบท.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 111
อรรถกถาสรูปสังฆาทิเสส ๑๗
ในคำว่า อุทฺทิฏฺา โข อยฺยาโย ลตฺตรส สงฺฆาทิเสสา นี้
บัณฑิตพึงทราบปฐมาปัตติกะ ๙ สิกขาบท เพิ่มจากมหาวิภังค์ ๓ สิกขาบทนี้
คือ สัญจริตตสิกขาบท ๑ ทุฏฐโทสะ ๒ สิกขาบท เข้าในลำดับแห่งปฐมา-
ปัตติกะ ๖ สิกขาบท พึงทราบยาวตติยกะ ๘ สิกขาบท เพิ่มยาวตติยกะ ๔
สิกขาบท แม้จากมหาวิภังค์เข้าในลำดับแห่งยาวตติยกะ ๔ สิกขาบท.
บัณฑิต พึงเห็นใจความในคำว่า อุทฺทิฏฺฐา โข เป็นต้นนี้ อย่าง
นี้ว่า ดูก่อนแม่เจ้าทั้งหลาย ธรรม คือ สังฆาทิเสส ๑๗ ทั้งหมด ข้าพเจ้า
ยกขึ้นแสดงแล้วแล โดยมาตรว่า เป็นปาฎิโมกขุทเทส ด้วยประการอย่างนี้.
คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น เว้นแต่ปักขมานัต. ส่วนปักขมานัตนั้น พวกเราจัก
พรรณนาโดยพิสดารในขันธกะแล.
สัตตรสกัณฑวรรณนาในภิกขุนีวิภังค์ ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 112
นิสสัคคิยกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้
แลมาสู่อุเทศ.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๙๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์
พากันสั่งสมบาตรไว้มากมาย ประชาชนเดินเที่ยวชมวิหารเห็นเข้าแล้ว พากัน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้สั่งสมบาตรไว้มาก
มาย ท่านจักทำการขยายบาตร หรือจักออกร้านค้าเครื่องภาชนะ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงพากันทำการสั่งสมบาตรเล่า ครั้นแล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแด่
ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทำการสั่งสมบาตร จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 113
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้พากันทำการสั่งสมบาตรเล่า การกระทำของพวกนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๒๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงทำการสั่งสมบาตร เป็น
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๙๔] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า บาตร มีสองชนิด คือบาตรเหล็ก ๑ บาตรดินเผา ๑.
ขนาดของบาตร
บาตรมี ๓ ขนาด คือ บาตรขนาดใหญ่ ๑ บาตรขนาดกลาง ๑ บาตร
ขนาดเล็ก ๑.
บาตรที่ชื่อว่าขนาดใหญ่ จุข้าวสุกแห่งข้าวสารกึ่งอาฬหกะ ของเคี้ยว
เท่าส่วนที่สี่แห่งข้าวสุก และกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น.
บาตรที่ชื่อว่าขนาดกลาง จุข้าวสุกแห่งข้าวสารหนึ่งนาฬี ของเคี้ยวเท่า
ส่วนที่สี่แห่งข้าวสุก และกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 114
บาตรที่ชื่อว่า ขนาดเล็ก จุข้าวสุกแห่งข้าวสารหนึ่งปัตถะ ของเคี้ยว
เท่าส่วนที่สี่แห่งข้าวสุก และกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น .
ใหญ่กว่านั้นไม่ใช่บาตร เล็กกว่านั้นก็ไม่ใช่บาตร.
บทว่า พึงทำการสั่งสม คือ ไม่ได้อธิษฐาน ไม่ได้วิกัป.
บาตรเป็นนิสสัคคิยะ คือ เป็นนิสสัคคีย์พร้อมกับเวลาอรุณขึ้น จำต้อง
เสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลบาตรเป็นนิสสัคคีย์นั้น ภิกษุณีพึงเสียสละ
อย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
[๙๕] ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า
กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษากว่าทั้งหลาย แล้วนั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าว
อย่างนี้ว่าแม่เจ้า เจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้าล่วงราตรีแล้ว เป็นของจำจะ
สละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์ ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้
ฉลาด ผู้สามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้าเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุณีมีชื่อนี้ เป็นของจำ
จะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้
บาตรใบนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่คณะ
[๙๖] ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มผ้าอุตตราสงค์
เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษากว่าทั้งหลาย แล้วนั่งกระโหย่งประนมมือ
กล่าวอย่างนี้ว่า
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 115
แม่เจ้า เจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า ล่วงราตรีแล้ว เป็นของจำจะ
จะสละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้ฉลาดผู้สามารถพึงรับอาบัติ
พึงคืนบาตรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า ขอแม่เจ้าทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า
บาตรใบนี้ของภิกษุณีมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่แม่เจ้าทั้งหลาย
ถ้าความพร้อมพรั่งของแม่เจ้าทั้งหลายถึงที่แล้ว แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้บาตรใบนี้
แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้ .
เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๙๗] ภิกษุณีรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตตราสงค์
เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า เจ้าข้า บาตรใบนี้
ของดิฉันล่วงราตรีแล้ว เป็นของจำจะสละ ดิฉันสละบาตรใบนี้แก่แม่เจ้า ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้รับเสียสละนั้นพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เสีย
สสะให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้บาตรใบนี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๙๘] บาตรล่วงราตรีแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บาตรล่วงราตรีแล้ว ภิกษุณีสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บาตรล่วงราตรีแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังไม่ล่วง เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บาตรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุณีสำคัญว่า อธิษฐานแล้ว เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 116
บาตรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุณีสำคัญว่าวิกัปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บาตรยังไม่ได้สละให้ไป ภิกษุณีสำคัญว่า สละให้ไปแล้ว เป็น
นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บาตรยังไม่สูญ ภิกษุณีสำคัญว่า สูญแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
บาตรไม่หาย ภิกษุณีสำคัญว่า หายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
บาตรไม่แตก ภิกษุณีสำคัญว่า แตกแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
บาตรไม่ถูกลักไป ภิกษุณีสำคัญว่า ถูกลักไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
[๙๙] บาตรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุณียังไม่ได้สละ ใช้สอย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
บาตรยังไม่ล่วงราตรี ภิกษุณีสำคัญว่า ล่วงแล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
บาตรยังไม่ล่วงราตรี ภิกษุณีสงสัย ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
บาตรยังไม่ล่วงราตรี ภิกษุณีสำคัญว่า ยังไม่ล่วง ใช้สอย ไม่ต้อง
อาบัติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 117
อนาปัตติวาร
[๑๐๐] ภายในอรุณขึ้น ภิกษุณีอธิษฐาน ๑ วิกัป ๑ สละให้ไป ๑
สูญ ๑ หาย ๑ แตก ๑ ถูกขโมยแย่งชิงเอาไป ๑ เพื่อนถือวิสาสะเอาไป ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
เรื่องไม่ยอมคืนบาตรให้
[๑๐๑] สมัยต่อมา ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไม่ยอมคืนบาตรที่เสียสละให้
ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บาตรที่ภิกษุณีเสียสละแล้วจะไม่คืนให้ไม่ได้ รูปใดไม่ยอมคืนให้
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 118
อรรถกถาติงสกกัณฑ์
ธรรมเหล่าใดชื่อว่านิสสัคคีย์ ๓๐ ที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว แก่
พวกภิกษุณี บัดนี้ จะมีวรรณนานุกรมติงส-
นิสสัคคิยธรรมเหล่านั้น ดังต่อไปนี้.
อรรถกถานิสสัคคิยปาจิตตีย์
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑
จำพวกภาชนะ เรียกว่า อามัตตา ในคำว่า อามตฺติกาปณ นี้.
พวกชนผู้ขายภาชนะเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า อามัตติกา. ร้านค้าของชนเหล่า
นั้น ชื่อว่า อามัตติกาปณะ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ออกร้านค้าขาย
ภาชนะนั้น.
สองบทว่า ปตฺตสนฺนิจฺจ กเรยฺย คือ พึงกระทำการสั่งสมบาตร
ความว่า เก็บบาตรไว้ไม่อธิษฐาน หรือไม่วิกัปตลอดวันหนึ่ง. คำทีเหลือ
บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยดังที่ตรัสไว้แล้วในมหาวิภังค์นั่นแล. แต่มีความแปลก
กันเพียงเท่านี้ คือ ในมหาวิภังค์นั้น ได้บริหาร ๑๐ วัน ในสิกขาบทนี้
(บริหาร) แม้วันเดียวก็ไม่มี. คำที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันนั่นแล.
แม้สิกขาบทนี้ ก็มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา
๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติ-
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
อรรถกกาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 119
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๐๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
หลายรูปด้วยกัน จำพรรษาอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยวัตรและอิริยาบถ แต่มีผ้าเก่า มีจีวรเศร้าหมอง ได้พากันไปสู่พระนคร
สาวัตถี พวกอุบาสกอุบายสิกาเห็นภิกษุณีเหล่านั้นแล้วคิดว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรและอิริยาบถ แต่มีผ้าเก่า มีจีวรเศร้าหมอง ท่านเหล่านี้
เห็นจักถูกผู้ร้ายแย่งชิง แล้วได้ถวายอกาลจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุณีถุลลนันทา
อธิษฐานว่า กฐินพวกเรากรานแล้ว ผ้านี้เป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกันเอง.
อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายพบเห็นภิกษุณีเหล่านั้นแล้วได้ถามว่า แม่เจ้า
ทั้งหลายได้จีวรแล้วหรือ.
ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกดิฉันไม่ได้จีวร เพราะ
แม่เจ้าถุลลนันทาอธิษฐานว่า กฐินพวกเรากรานแล้ว ผ้านี้เป็นกาลจีวร แล้ว
ให้แจกกันเอง.
อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้อธิษฐานผ้าอกาลจีวร ว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกัน
เองเล่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้น พากันเพ่งโทษติเตียน
โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้อธิษฐานผ้าอกาลจีวร ว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 120
แจกกันเองเล่า ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ
ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาอธิษฐานผ้าอกาลจีวร ว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้เเจก
กันเอง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้อธิษฐานผ้าอกาลจีวร ว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกัน
เองเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๒๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด อธิษฐานผ้าอกาลจีวร ว่าเป็น
กาลจีวร แล้วแจกกัน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 121
ที่ชื่อว่า อกาลจีวร คือ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน จีวรเกิดได้ถึง ๑๑ เดือน
เมื่อได้กรานกฐินแล้ว จีวรเกิดได้ตลอด ๗ เดือน จีวรที่เขาเจาะจงถวายแม้ใน
กาล นี้ก็ชื่อว่าอกาลจีวร.
ภิกษุณีอธิษฐานว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกัน เป็นทุกกฏในประโยค
เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลจีวรเป็นนิสสัคคีย์นั้น ภิกษุณีพึงเสียสละ
อย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์. . . แม่เจ้า ๆ ข้า อกาลจีวรผืนนี้ของ
ข้าพเจ้า อธิษฐานว่าเป็นกาลจีวร แล้วแจกกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละ
อกาลจีวรผืนนี้แก่สงฆ์ . . . สงฆ์พึงให้อกาลจีวรผืนนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป. . . แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้
อกาลจีวรผืนนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง. . . ข้าพเจ้าให้อกาลจีวรผืน
นี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๐๔] อกาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอกาลจีวร อธิษฐานเป็น
กาลจีวรแล้วแจกกัน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 122
อกาลจีวร ภิกษุณีสงสัย อธิษฐานเป็นกาลจีวร แล้วแจกกัน เป็น
นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อกาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่ากาลจีวร อธิษฐานว่าเป็นกาลจีวร แล้ว
แจกกัน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
กาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่า เป็นอกาลจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ.
กาลจีวร ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
กาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกาลจีวร ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๐๕] สำคัญอกาลจีวรว่าเป็นอกาลจีวร ให้แจกกัน ๑ สำคัญกาล-
จีวรว่าเป็นกาลจีวร ให้แจกกัน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติ
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 123
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ทุจฺโจลา แปลว่า มีผ้าผิดสี ความว่า มีผ้าเก่า.
บทว่า อปยฺยาหิ ตัดบทว่า อปิ อยฺยาหิ แปลว่า แม่เจ้าทั้งหลาย
(ได้จีวรแล้ว ) หรือ ?
สองบทว่า อาทิสฺส ทินฺน มีความว่า จีวรที่เขากล่าวถวายว่า
พวกภิกษุณีผู้มาถึงแล้ว จงแบ่งกันเถิด ดังนี้บ้าง หรือกล่าวถวายว่า ข้าพเจ้า
ถวายผ้านี้แก่คณะ ถวายผ้านี้แก่ท่านทั้งหลาย ดังนี้บ้าง หรือถวายวางไว้ใกล้
เท้า เพราะความต้องการจะถวายบ้าง ชื่อว่าเป็นจีวรที่เขาถวายเจาะจง จีวร
นั่นจัดเป็นอกาลจีวรแม้ทั้งหมด. แต่จีวรที่ได้แล้วอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่
แม่เจ้า พึงน้อมไปตามที่เขาถวายนั่นแหละ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก-
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 124
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๐๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทากับภิกษุณีรูปหนึ่ง ได้เปลี่ยนจีวรกันห่ม ส่วนภิกษุณีรูปนั้นพับจีวร
ที่เปลี่ยนกันนั้น แล้วเก็บไว้ ภิกษุณีถุลลนันทาได้ถามภิกษุณีรูปนั้นดังนี้ว่า
แม่เจ้า จีวรที่เธอเปลี่ยนกันกับดิฉันนั้นอยู่ที่ไหน จึงภิกษุณีรูปนั้นนำจีวรผืน
นั้นออกมาแสดงแก่ภิกษุณีถุลลนันทา ๆ จึงพูดกะภิกษุณีรูปนั้นดังนี้ว่า แม่เจ้า
เธอจงรับจีวรของเธอไป จงนำจีวรของดิฉันผืนนั้นมา นี้จีวรของเธอ ก็ต้อง
เป็นของเธอ นั่นจีวรของดิฉัน ก็ต้องเป็นของดิฉัน เธอจงนำจีวรผืนนั้นของ
ดิฉันมา จงนำจีวรของเธอกลับไป ดังนี้ แล้วได้ชิงเอาคืนมา จึงภิกษุณีรป
นั้นได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาเปลี่ยนจีวรกันกับภิกษุณีแล้ว จึงได้ชิงเอาคืนมาเล่า ครั้น
แล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาเปลี่ยนจีวรกันกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืนมา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 125
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี
ถุลลนันทาเปลี่ยนจีวรกันกับภิกษุณีแล้ว ไฉนจึงได้ชิงเอาคืนมาเล่า การกระทำ
ของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๒๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด เปลี่ยนจีวรกันกับภิกษุณีแล้ว
นางพูดขึ้นในภายหลังอย่างนี้ว่า แม่เจ้า เธอจงรับจีวรของเธอไป
จงนำจีวรของดิฉันผืนนั้นมา นี่จีวรของเธอก็ต้องเป็นของเธอ นั่น
จีวรของดิฉันก็ต้องเป็นของดิฉัน เธอจงนำจีวรผืนนั้นของดิฉันมา
จงนำจีวรของเธอกลับไป ดังนี้ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็น
นิสสัคคียปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๗] บทว่า อนึ่ง . . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า กับภิกษุณี คือ กับภิกษุณีรูปอื่น.
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ ผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์
กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 126
บทว่า เปลี่ยน คือ เปลี่ยนจีวรเนื้อไม่ดีกับจีวรเนื้อดี หรือจีวร
เนื้อดีกับจีวรเนื้อไม่ดี.
บทว่า ชิงเอามา คือ ชิงเอามาเอง เป็นนิสสัคคีย์.
บทว่า ให้ชิงเอามา คือ ใช้คนอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ สั่งครั้งเดียว
ชิงเอามาแม้มากครั้ง ก็เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณี
รูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลจีวรนั้น ภิกษุณีพึงเสียสละอย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์. . . แม่เจ้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าเปลี่ยน
กันกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืนมา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่
สงฆ์. . . สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป. . . แม่เจ้าทั้งหลาย พึงให้
จีวรผืนนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง. . . ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่
แม่เจ้า ดังนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 127
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๐๘] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า อุปสัมบัน เปลี่ยนจีวรกันแล้ว
ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย เปลี่ยนจีวรกันแล้ว ชิงเอามาก็ดี ให้ชิง
เอามาก็ดี เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า อนุปสัมบัน เปลี่ยนจีวรกันแล้ว ชิง
เอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ปัญจกะทุกกฏ
ภิกษุณีเปลี่ยนบริขารอย่างอื่น แล้วชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเปลี่ยนจีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี กับอนุปสัมบัน แล้วชิง
เอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า อุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๑๐๙] ภิกษุณีผู้รับเปลี่ยนนั้นคืนให้เอง หรือถือวิสาสะต่อภิกษุณีผู้
รับเปลี่ยนนั้น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 128
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า หนฺท แปลว่า เชิญท่านรับไป.
สองบทว่า สย อจฺฉินฺทติ มีความว่า เมื่อภิกษุณีให้จีวรผืนเดียว
แล้วชิงมาผืนเดียว เป็นนิสสัคคีย์ตัวเดียว ในจีวรมากผืน ก็เป็นนิสสัคคีย์
มากตัว. ถ้าว่า ชิงเอาจีวรหลายผืนที่เขาพับเก็บไว้รวมกัน เป็นอาบัติตาม
จำนวนวัตถุ. แต่ในจีวรหลายผืนที่เขาห่อรวมกันไว้เป็นอาบัติเดียวเท่านั้น.
คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก-
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ฉะนี้แล.
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 129
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๑๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาอาพาธ มีอุบาสกคนหนึ่งเข้าไปเยี่ยมภิกษุณีถุลลนันทาถึงสำนัก แล้ว
ได้ถามนางดังนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ท่านไม่สบายหรือ จงกรุณาใช้ข้าพเจ้าให้นำ
ของสิ่งไรมาถวาย.
นางตอบว่า อาวุโส ฉันต้องการเนยใส.
อุบาสกนั้น จึงได้ไปนำเนยใสราคาหนึ่งกหาปณะ จากร้านของชาวตลาด
คนหนึ่ง มาถวายภิกษุณีถุลลนันทา.
นางกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ความต้องการของฉันไม่ใช่เนยใส ฉัน
ต้องการน้ำมัน.
อุบาสกนั้น จึงได้เดินกลับเข้าไปหาชาวตลาดคนนั้นแล้วบอกกะเขาดังนี้
ว่า แม่เจ้าไม่ต้องการเนยใสจ้ะ ต้องการน้ำมัน ขอท่านจงรับคืนเนยใสของ
ท่าน โปรดให้น้ำมันแก่ข้าพเจ้า.
ชาวตลาดตอบว่า นี่นาย ถ้าพวกข้าพเจ้าจักรับสิ่งของที่ขายไปแล้วคืน
มาอีก เมื่อไรสินค้าของพวกข้าพเจ้าจึงจักขายหมดไป เนยใสท่านซื้อไปด้วย
ราคาเนยใสแล้ว จงนำราคาค่าน้ำมันมา จึงจักนำน้ำมันไปได้.
อุบาสกผู้นั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาขึ้นในทันใดนั้นแลว่า
แม่เจ้าถุลลนันทาออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้ว ไฉนจึงได้ออกปากขอของอย่าง
อื่นอีกเล่า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 130
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาออกปากขอของอย่างหนึ่งได้แล้ว จึงได้ออกปากขอของอย่างอื่นอีก
เล่า แล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาออกปากขอของอย่างหนึ่งได้แล้ว ออกปากขอของ
อย่างอื่นอีก จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนีนทาออกปากขอของอย่างหนึ่งได้แล้ว จึงได้ออกปากขอของอย่าง
อื่นอีกเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๒๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ออกปากขอของอย่างหนึ่งได้แล้ว
พึงออกปากขอของอย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 131
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๑] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ออกปากขอของอย่างหนึ่งได้แล้ว คือ ขอของสิ่งใดสิ่ง
หนึ่งได้แล้ว.
บทว่า พึงออกปากขอของอย่างอื่นอีก ความว่า เว้นของอย่างใด
อย่างหนึ่งที่ขอแล้วนั้น ขอของอย่างอื่นอีก เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์
ด้วยได้ของมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลของที่ขอได้มานั้น ภิกษุณีพึงเสียสละอย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์. . . แม่เจ้า ของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้ของ
ข้าพเจ้า ๆ ขอของอย่างหนึ่งได้แล้ว จึงขอได้มา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้า
สละของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้แก่สงฆ์. . . สงฆ์พึงให้ของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้แก่ภิกษุณี
มีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป. . . แม่เจ้าทั้งหลาย พึงให้
ของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 132
เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง. . . ข้าพเจ้าให้ของอย่างอื่น
อีกสิ่งนี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๑๒] ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า ของอย่างหนึ่ง ขอของอย่าง
อื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย ขอของอย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของอย่างหนึ่ง ขอของอย่างอื่นอีก
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
มิใช่ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า ของอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ
มิใช่ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๑๓] ขอของสิ่งหนึ่งนั้น และขอแถมของอื่นอีกอย่างรวมกัน ๑
แสดงอานิสงส์แล้วขอ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 133
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า กเยน แปลว่า ด้วยราคา. ได้ยินว่า ภิกษุณีชื่อถุลลนันทานั้น
เข้าใจอยู่ว่า อุบาสกนั้นคืนเนยใสที่ซื้อมาแล้ว จักนำแม้น้ำมันมาได้ จึงได้กล่าว
คำนี้ว่า อาวุโส ! ฉันไม่มีความต้องการด้วยเนยใส ฉันต้องการน้ำมัน.
บทว่า วิญฺาเปตฺวา ได้แก่ บอกให้รู้แล้ว หรือออกปากขอ
แล้วว่า ท่านจงนำของชื่อนี้มา.
สองบทว่า ตญฺเจว วิญฺาเปติ มีความว่า สิ่งใดที่ตนขอก่อน
สิ่งนั้นน้อยไปไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้น จึงขอของนั้นนั่นแลเพิ่ม.
สองบทว่า อญฺญฺจ วิญฺาเปติ มีความว่า ถ้าว่าตนขอเนยใส
ไว้ก่อน แต่เพราะหมอพูดว่า จะต้องเจียวคู่กัน (เจียวรวมเข้าด้วยกัน ) จึงมี
ความต้องการด้วยน้ำมัน เพราะฉะนั้น จึงขอแถมแม้ของอื่นอย่างนี้ว่า เรามี
ความต้องการน้ำมันด้วย.
ข้อว่า อานิสส ทสฺเสตฺวา วิญฺาเปติ มีความว่า ถ้าหากว่า
เนยใสที่เขานำมามีราคาถึงกหาปณะ ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้ว ขออย่างนี้ว่า
ด้วยราคาเท่านี้ จะได้น้ำมัน ๒ เท่า และกิจนี้จะสำเร็จได้ตลอดไป แม้ด้วย
น้ำมันนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจงนำน้ำมันมาเถิด. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์
อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 134
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๑๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาอาพาธ จึงอุบายสกคนหนึ่งเข้าไปเยี่ยมภิกษุณีถุลลนันทาถึงสำนัก แล้ว
ได้ถามนางดังนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ร่างกายยังพอทนได้อยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ
เป็นไปได้อยู่หรือ.
นางตอบว่า อาวุโส ฉันทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้.
อุบาสกนั้นปวารณาว่า ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าจะฝากกหาปณะไว้ที่ร้าน
ของชาวตลาดชื่อโน้น ท่านต้องการสิ่งใด พึงใช้ให้ใคร ๆ ไปนำสิ่งนั้นมา
จากร้านนั้น.
ภิกษุณีถุลลนันทาใช้สิกขมานารูปหนึ่งไปด้วยสั่งว่า แม่สิกขมานา เธอ
จงไปนำน้ำมันราคาหนึ่งกหาปณะ จากร้านของชาวตลาดชื่อโน้น.
นางสิกขมานานั้น จึงได้ไปนำน้ำมันราคาหนึ่งกหาปณะ จากร้านของ
ชาวตลาดนั้นมาถวายแก่ภิกษุณีถุลลนันทา.
ภิกษุณีถุลลนันทาพูดอย่างนี้ว่า แม่สิกขมานา ความต้องการของฉัน
ไม่ใช่น้ำมัน ฉันต้องการเนยใส.
นางสิกขมานานั้น จึงได้เดินกลับเข้าไปหาชาวตลาดนั้น แล้วบอกกะเขา
ดังนี้ว่า ไม่ถูกความประสงค์จ้ะ แม่เจ้าไม่ใช่ต้องการน้ำมัน ต้องการเนยใส
ขอท่านจงรับคืนน้ำมันของท่าน โปรดให้เนยใสแก่ดิฉัน.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 135
ชาวตลาดตอบว่า นี่แน่ะแม่คุณ ถ้าพวกฉันจักรับคืนสิ่งของที่ขายไป
แล้วมาอีก เมื่อไรสินค้าของพวกฉันจึงจักขายได้ น้ำมันท่านซื้อไปด้วยราคา
น้ำมัน แล้วจงนำราคาค่าเนยใสมา จึงจักนำเนยใสไปได้.
ขณะนั้นแล นางสิกขมานาได้ยืนร้องไห้.
ภิกษุณีทั้งหลาย ได้ถามนางสิกขมานานั้น ดังนี้ว่า แน่ะ แม่สิกขมานา
เธอร้องไห้เพราะเหตุไร.
นางสิกขมานานั้น จึงได้แจ้งเรื่องนั้นให้ทราบ.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาสั่งให้จ่ายของอย่างหนึ่งได้แล้ว จึงได้สั่งให้จ่ายของอย่าง
อื่นอีกเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาสั่งให้จ่ายของอย่างหนึ่งได้แล้วสั่งไห้จ่ายของอย่างอื่นอีก
จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาสั่งให้จ่ายของอย่างหนึ่งได้แล้ว จึงได้สั่งให้จ่ายของอย่างอื่น
อีกเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 136
พระบัญญัติ
๓๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด สั่งให้จ่ายของอย่างหนึ่งแล้ว
สั่งให้จ่ายของอย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า สั่งจ่ายของอย่างหนึ่งแล้ว คือ สั่งให้จ่ายของอย่างใดอย่าง
หนึ่งแล้ว.
บทว่า สั่งให้จ่ายของอย่างอื่นอีก ความว่า เว้นของอย่างใดอย่าง
หนึ่งที่สั่งให้จ่ายนั้น สั่งให้จ่ายของสิ่งอื่นอีก เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิส-
สัคคีย์ ด้วยได้ของนั้นมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลของอย่างอื่นอีกที่ขอได้มานั้น อันภิกษุณีพึง
เสียสละอย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ . . . แม่เจ้า ของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้ของ
ข้าพเจ้า สั่งให้จ่ายของสิ่งหนึ่งแล้ว สั่งให้จ่ายได้มา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้า
สละของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้แก่สงฆ์. . . สงฆ์พึงให้ของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้แก่
ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 137
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป. . . แม่เจ้าทั้งหลาย พึงให้
ของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่ภิกษุรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง. . . ข้าพเจ้าให้ของอย่างอื่น
อีก สิ่งนี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๑๖] ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าของอย่างหนึ่ง สั่งให้จ่ายของ
อย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย สั่งให้จ่ายของอย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของอย่างหนึ่ง สั่งให้จ่ายของ
อย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
มิใช่ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า ของอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 138
อนาปัตติวาร
[๑๑๗] สั่งให้จ่ายของสิ่งหนึ่งนั้น และสั่งให้จ่ายของสิ่งอื่นอีกอย่าง
รวมกัน ๑ แสดงอานิสงส์แล้วสั่งให้จ่าย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่
ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-
ได้ยินว่า ภิกษุณีถุลลนันทานั้นสำคัญว่า กุลธิดานี้เป็นผู้มั่งคั่งเราบอก
อย่างนี้แล้ว จักเก็บน้ำมันนี้ไว้ นำแม้เนยใสจากเรือนแห่งตระกูลของตนมา
ถวายเรา จึงได้กล่าวคำว่า สิกฺขมาเน เป็นต้นนี้.
บทว่า เจตาเปตฺวา มีใจความเพียงว่า สั่งให้เข้าใจแล้วเท่านั้น.
คำที่เหลือทั้งหมดเป็นเช่นกับสิกขาบทที่ ๔ ทั้งนั้นแล.
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 139
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวกอุบาสก
อุบาสิกาพากันรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ที่เขาเต็มใจทำบุญเพื่อเป็นมูลค่าจีวร
สำหรับภิกษุณีสงฆ์ ฝากไว้ที่ร้านพ่อค้าผ้าคนหนึ่ง แล้วได้เข้าไปหาภิกษุณี
ทั้งหลายกล่าวคำนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย เจ้าข้า กัปปิยภัณฑ์เพื่อประโยชน์แก่
จีวร พวกข้าพเจ้าได้ฝากไว้ที่ร้านพ่อค้าผ้าชื่อโน้น ขอท่านทั้งหลายกรุณาให้
ไวยาวัจกรไปนำจีวรจากร้านพ่อค้าผู้นั้นมาแจกกันเถิด เจ้าข้า.
ภิกษุณีทั้งหลายให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์นั้นเป็นเภสัช แล้วบริโภคเป็น
ส่วนตัว.
พวกอุบาสกอุบาสิการู้เรื่องแล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ เป็นปัจจัยอย่างอื่น
ไปเล่า . . .
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่งซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ เป็นปัจจัยอย่างอื่นไป
เล่า. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 140
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย
อย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ เป็นปัจจัยอย่างอื่นไป
จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย
อย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ เป็นปัจจัยอย่างอื่นไปเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ด้วย
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าแก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้
อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 141
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๙] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
คำว่า ด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่าง
หนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง คือที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างอื่น.
บทว่า ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ คือ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ไม่ใช่
แก่คณะ ไม่ใช่แก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง.
บทว่า ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ความว่า ทายกถวายกัปปิย-
ภัณฑ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยใด เว้นปัจจัยนั้น ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น
เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ปัจจัยนั้นมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์
คณะหรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลปัจจัยอย่างอื่นที่ได้มานั้น อันภิกษุณีพึง
เสียสละอย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ . . .แม่เจ้า ปัจจัยอย่างอื่นนี้ ของข้าพเจ้า
ให้เปลี่ยนมาด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง
อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละปัจจัย
อย่างอื่นนี้แก่สงฆ์. . . สงฆ์พึงให้ปัจจัยอย่างอื่นนี้ แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 142
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป. . . แม่เจ้าทั้งหลาย พึงให้
ปัจจัยอย่างอื่นนี้ แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง. . . ข้าพเจ้าให้ปัจจัยอย่าง
อื่นนี้ แก่แม่เจ้า ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๒๐] กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย
ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญ
ว่าเขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ได้ปัจจัยที่เสียสละแล้วคืนมา พึงน้อมไปในปัจจัยตามที่เขาถวายไว้
เดิม.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 143
ทุกะทุกกฏ
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่าเขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สงสัย. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่า เขาไม่ได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๒๑] น้อมกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไป ๑ ขออนุญาตจากเจ้าของ แล้ว
น้อมไป ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-
คำว่า ฉนฺทก นี้ เป็นชื่อแห่งบริขาร (สิ่งของเครื่องใช้) ที่เขา
ถวายอันก่อให้เกิดความพอใจ และความชอบใจแก่คนเหล่าอื่น แล้วถือเอา
อย่างนี้ว่า พวกเราจักทำกิจชอบธรรม (บุญกรรม) ชื่อนี้ท่านทั้งหลายจงให้
สิ่งของที่พวกท่านอาจจะให้ได้ .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 144
บทว่า อญฺทตฺถิเกน คือ ที่เขาถวายไว้เพื่อต้องการเป็นมูลค่าแก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง.
บทว่า อญฺญุทฺทิสิเกน คือ ที่เขาถวายเจาะจงไว้อย่างหนึ่ง.
บทว่า สงฺฆิเกน คือ ที่เขาตั้งใจถวายแก่สงฆ์.
สองบทว่า เสสก อุปเนติ มีความว่า สั่งให้จ่ายปัจจัยที่เขาถวาย
กัปปิยภัณฑ์ไว้เป็นมูลค่า แล้วน้อมของที่เหลือไปเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอื่น.
สองบทว่า สามิเก อปโลเกตฺวา มีความว่า ขออนุญาตจากเจ้า
ของแล้วน้อมไปอย่างนี้ว่า พวกท่านถวายกัปปิยภัณฑ์ไว้เพื่อเป็นมูลค่าแห่งจีวร
และจีวรของพวกเรามีอยู่ แต่มีความต้องการด้วยน้ำมันเป็นต้น .
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เพราะอันตรายเช่นนั้น พวกภิกษุณี
พากันทิ้งวัดอพยพหนี ในอันตรายมีรูปเห็นปานนั้น จะแลกเปลี่ยนสิ่งใดสิ่ง
หนึ่ง ควรอยู่. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์
อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
อรรถกถาปัตตวรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 145
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๒๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวก
อุบาสกอุบาสิกาพากันรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ที่เขาเต็มใจทำบุญเพื่อเป็นมูลค่า
จีวรสำหรับภิกษุณีสงฆ์ ฝากไว้ที่ร้านพ่อค้าคนหนึ่ง แล้วได้เข้าไปหาภิกษุณี
ทั้งหลายกล่าวคำนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย เจ้าข้า กัปปิยภัณฑ์เพื่อเป็นมูลค่าจีวร
พวกข้าพเจ้าฝากไว้ที่ร้านพ่อค้าผ้าชื่อโน้น ขอท่านทั้งหลายกรุณาให้ไวยาวัจกร
ไปนำจีวรจากร้านพ่อค้าผ้าผู้นั้นมาแจกกันเถิด เจ้าข้า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ขอให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์นั้นแหละเป็นเภสัชไปบริ-
โภคเป็นส่วนตัว.
อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายทราบเรื่องแล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็น
มูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ ไปเป็นปัจจัย
อย่างอื่น ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่าง
หนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ ไม่เป็นปัจจัยอย่างอื่น ทั้ง
ขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า . . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 146
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่า
ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ ไปเป็นปัจจัยอย่าง
อื่น ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วย จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัย
อย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ ไปเป็นปัจจัยอย่างอื่น
ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ด้วย
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายเพื่อไว้เป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่าง
หนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 147
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
คำว่า ด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่าง
หนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง คือ เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง
บทว่า ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ คือ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ไม่ใช่
แก่คณะ ไม่ใช่แก่ภิกษุณีรูปเดียว.
บทว่า ขอมาเป็นส่วนตัว คือ ขอร้องเขาเอง.
บทว่า ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ความว่า ทายกถวายกัปปิย-
ภัณฑ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยใด เว้นปัจจัยนั้น ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น
เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ปัจจัยนั้นมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์
คณะหรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลปัจจัยที่ได้มานั้น อันภิกษุณีพึงเสียสละ
อย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ . . . แม่เจ้า ปัจจัยอื่นสิ่งนี้ของข้าพเจ้า
ให้เปลี่ยนมาด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศ
ไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็นของจำจะสละ
ข้าพเจ้าสละปัจจัยอื่นสิ่งนี้แก่สงฆ์. . . สงฆ์พึงให้ปัจจัยอื่นสิ่งนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้
ดังนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 148
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไป่หาภิกษุณีหลายรูป. . . แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้
ปัจจัยอื่นสิ่งนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง. . . ข้าพเจ้าให้ปัจจัยอื่นสิ่ง
นี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๒๔] กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่าง
อื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย
ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญ
ว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ได้ปัจจัยที่เสียสละแล้วคืนมา พึงน้อมเข้าไปในปัจจัยตามที่ทายกถวาย
ไว้เดิม.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 149
ทุกะทุกกฏ
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๒๕] น้อมกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไป ๑ ขออนุญาติจากเจ้าของแล้ว
น้อมไป ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า สญฺญาจิเกน คือ ที่ตนขอมาเป็นส่วนตัวเอง. บทนี้แหละ
ทำให้ต่างกันในสิกขาบทที่ ๗ นี้. บทที่เหลือเป็นเช่นกับสิกขาบทที่ ๖. ทั้ง
นั้นแล.
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 150
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๒๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลาย ผู้อาศัยอยู่ในบริเวณหาหมู่บ้านตำบลหนึ่งอัตคัดด้วยข้าวยาคู จึงชาวบ้าน
ตำบลนั้นได้รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ที่เขาเต็มใจทำบุญเพื่อประสงค์เป็นมูลค่า
ข้าวยาคู สำหรับภิกษุณีทั้งหลาย ฝากไว้ที่ร้านชาวตลาดคนหนึ่ง แล้วได้เข้า
ไปหาภิกษุณีทั้งหลาย กล่าวคานี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย เจ้าข้า กัปปิยภัณฑ์เพื่อ
เป็นมูลค่าข้าวยาคู พวกข้าพเจ้าได้ฝากไว้ที่ร้านของชาวตลาดชื่อโน้น ขอท่าน
ทั้งหลายจงให้ไวยาวัจกรไปนำข้าวสารจากร้านชาวตลาดผู้นั้นมาหุงตัมฉันเถิด.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์นั้นเป็นเภสัชไปบริโภค.
ชาวบ้านตำบลนั้นทราบเรื่องแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัย
อย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก เป็นปัจจัย
อย่างอื่นไปเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินเขาเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่
เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย
จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้
อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก มาเป็นปัจจัยอย่างอื่นไปเล่า. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 151
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่า
ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก มา
เป็นปัจจัยอย่างอื่นไป จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง
อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก มาเป็นปัจจัยอย่างอื่นไป
เล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ด้วย
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทศไว้อย่าง
หนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจจะถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 152
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๗] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
คำว่า ด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่าง
หนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง คือ เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง.
บทว่า ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก คือ เพื่อประโยชน์
แก่คณะไม่ใช่สงฆ์ ไม่ใช่ภิกษุณีรูปเดียว.
บทว่า ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ความว่า ทายกถวายกัปปิย-
ภัณฑ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยใด เว้นปัจจัยนั้น ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น
เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ปัจจัยนั้นมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์
คณะ ภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลปัจจัยอย่างอื่นที่ได้มานั้น อันภิกษุณีพึงเสีย
สละอย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ . . . แม่เจ้า ปัจจัยอย่างอื่นนี้ของข้าพเจ้า
ให้เปลี่ยนมาด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศ
ไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้า
สละปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่สงฆ์ . . . สงฆ์พึงให้ปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้
ดังนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 153
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป. . . แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้
ปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง. . . ข้าพเจ้าให้ปัจจัยอย่างอื่น
นี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๒๘] กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง
ภิกษุณีสำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัย
อย่างอื่นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย...
ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญ
ว่าเขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ได้ปัจจัยที่เสียสละแล้วคืนมา พึงน้อมไปในปัจจัยตามที่ทายกถวายไว้
เดิม.
ทุกะทุกกฏ
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 154
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๒๙] น้อมกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไป ๑ ขออนุญาตต่อเจ้าของแล้วน้อม
ไป ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า มหาชนิเกน คือ ที่เขาตั้งใจถวายแก่คณะ (แก่ภิกษุณีหมู่มาก)
บทว่า ที่เขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มากนี้แหละทำให้ต่างกันในสิกขาบทนี้.
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 155
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๓๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลาย
ผู้อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านตำบลหนึ่ง อัตคัดด้วยข้าวยาคู ชาวบ้านตำบลนั้นจึง
ได้รวบรวมเครื่องใช้สอยที่เขาเต็มใจทำบุญเพื่อเป็นมูลค่าข้าวยาคูสำหรับภิกษุณี
ทั้งหลายฝากไว้ที่ร้านชาวตลาดคนหนึ่ง แล้วได้เข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลายกล่าว
คำนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย เจ้าข้า กัปปิยภัณฑ์เพื่อเป็นมูลค่าข้าวยาคู พวกข้าพเจ้า
ฝากไว้ที่ร้านชาวตลาดชื่อโน้น ขอท่านทั้งหลายจงให้ไวยาวัจกรไปนำข้าวสาร
จากร้านชาวตลาดนั้นมาหุงต้มฉันเถิด.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ขอให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์นั้นแหละเป็นเภสัชไป
บริโภคเป็นส่วนตัว.
ชาวบ้านตำบลนั้นทราบเรื่องแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้ เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็น
มูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก
ไปเป็นปัจจัยอย่างอื่น ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำบลนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้เปลี่ยน กัปปิยภัณฑ์ที่เขาบริจาค ไว้เพื่อเป็น
มูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่งอุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก ไป
เป็นปัจจัยอย่างอื่น ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 156
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็น มูลค่าปัจจัย
อย่างหนึ่งอุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มากไปเป็นปัจจัย
ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วย จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพึ่อเป็นมูลค่าปัจจัย
อย่างหนี่งอุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มากไปเป็นปัจจัย
อย่างอื่น ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัต
๓๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ด้วย
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่าง
หนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายภิกษุณีหมู่มาก แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็น
นิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 157
สิกขาบทวิภังค์
[๑๓๑] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
บทว่า ด้วยกัปปิยภัณฑ์ ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัย
อย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง นั้น คือ เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย
อย่างหนึ่ง.
บทว่า ซึ่งเขาตั้งใจถวายภิกษุณีหมู่มาก คือ เพื่อประโยชน์แก่
คณะไม่ใช่สงฆ์ ไม่ใช่ภิกษุณีรูปเดียว.
บทว่า ขอมาเป็นส่วนตัว คือ ขอร้องเขาเอง.
บทว่า ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ความว่า ทายกถวายกัปปิย-
ภัณฑ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยใด เว้นปัจจัยนั้น ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่าง
อื่น เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ปัจจัยนั้นมา ต้องเสียสละแก่
สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย ก็แลปัจจัยอื่นที่ได้มานั้น อันภิกษุณีพึงเสีย
สละอย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ . . . แม่เจ้า ปัจจัยอย่างอื่นนี้ของข้าพเจ้า
ให้เปลี่ยนมาด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศ
ไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็น
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 158
ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่สงฆ์ . . . สงฆ์พึงให้ปัจจัยอย่าง
อื่นนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป. . . แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้
ปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง. . . ข้าพเจ้าให้ปัจจัยอย่าง
อื่นนี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๓๒] กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่าง
อื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย
ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญ
ว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ได้ปัจจัยที่เสียสละแล้วคืนมา พึงน้อมเข้าไปในปัจจัยตามที่ทายกถวาย
ไว้เดิม.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 159
ทุกะทุกกฏ
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๓๓] ภิกษุณีน้อมกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไป ๑ ขออนุญาตต่อเจ้าของ
แล้วน้อมไป ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า สญฺาจิเกน (ขอมาเป็นส่วนตัว) นี้ เกินกว่า บทว่า
มหาชนิเกน (ที่เขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก) นี้ไป.
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 160
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๓๔]่ โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาเป็นพหูสูต ช่างพูด องอาจ สามารถกล่าวถ้อยคำมีหลักฐาน คน
เป็นอันมากต่างพากันเข้าไปสนทนาปราศรัยด้วย ประจวบเวลานั้นบริเวณของ
ภิกษุณีถุลลนันทาชำรุด ชาวบ้านจึงถามภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า เพราะ
เหตุไรแม่เจ้าจึงปล่อยให้บริเวณชำรุด.
นางตอบว่า เพราะคนให้ไม่มี คนทำก็ไม่มี.
จึงชาวบ้านพวกนั้นได้รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้สอยที่เขาเต็มใจทำบุญ
เพื่อเป็นมูลค่าบริเวณ แล้วถวายเป็นกัปปิยภัณฑ์ไว้แก่ภิกษุณีถุลลนันทา ภิกษุณี
ถุลลนันทาได้ขอให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์นั้นแหละ เป็นเภสัช แล้วบริโภคเป็น
ส่วนตัว.
ชาวบ้านเหล่านั้นทราบเรื่องแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่า
ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาทั้งใจถวายบุคคล มาเป็นปัจจัยอย่าง
อื่นไป ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่า
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 161
ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายบุคคล มาเป็นปัจจัย
อย่างอื่นไป ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วย จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัย
อย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายบุคคล มาเป็นปัจจัยอย่างอื่น
ไป ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๓๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ด้วย
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่าง
หนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายบุคคล แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๓๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 162
บุทว่า ด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่าง
หนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง คือ เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง
บทว่า เขาตั้งใจถวายบุคคล คือ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุณีรูปเดียว
ไม่ใช่สงฆ์ ไม่ใช่คณะ.
บทว่า ขอมาเป็นส่วนตัว คือ ขอร้องเขาเอง.
บทว่า ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ความว่า ทายกถวายกัปปิย-
ภัณฑ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยใด เว้นปัจจัยนั้น ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น
เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยได้ปัจจัยนั้นมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์
คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลปัจจัยอย่างอื่นที่ได้มานั้น อันภิกษุณีพึง
เสียสละอย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ . . . แม่เจ้า ปัจจัยอย่างอื่นนี้ของข้าพเจ้า
ให้เปลี่ยนมาด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศ
ไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายบุคคล แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็นของจำจะสละ
ข้าพเจ้าสละปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่สงฆ์ . . . สงฆ์พึงให้ปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่ภิกษุณีมี
ชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป. . . แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้
ปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้ .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 163
เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง. . . ข้าพเจ้าให้ปัจจัยอย่าง
อื่นนี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๓๖] กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่าง
อื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย
ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญ
ว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่าง
อื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ได้ปัจจัยที่เสียสละแล้วคืนมา พึงน้อมเข้าไปในปัจจัยตามที่ทายกถวาย
ไว้เดิม.
ทุกะทุกกฏ
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้ เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 164
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้ เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี
สำคัญว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๓๗] น้อมกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไป ๑ ขออนุญาตจากเจ้าของแล้ว
น้อมไป ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า ปริเวณ อุทฺทฺริยติ ได้แก่ บริเวณทรุดโทรม. ความว่า
กำลังจะพังลง. ก็คำนี้ว่า ที่เขาตั้งใจถวายบุคคล แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เพียง
เท่านี้แหละทำให้ต่างกัน . บทที่เหลือก็เป็นเช่นกับบทต้น ๆ ทั้งนั้นแล.
อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 165
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด เป็นผู้องอาจ สามารถกล่าวถ้อยคำมี
หลักฐาน ครั้นถึงฤดูหนาว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสะพักผ้ากัมพลมีค่ามาก
เสด็จเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาถึงสำนัก ทรงอภิวาทภิกษุณีถุลลนันทาแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุณีถุลลนันทาทูลชี้แจงธรรมีกถาถวาย
ให้ท้าวเธอทรงเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ครั้นท้าวเธอทรงเห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาของภิกษุณีถุลลนันทาเเล้ว ได้ทรง
ปวารณาภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านได้โปรดบอกสิ่งที่ต้อง
ประสงค์.
ภิกษุณีถุลลนันทาทูลว่า ขอถวายพระพร ถ้ามหาบพิตรมีพระราช-
ประสงค์จะพระราชทานแก่อาตมภาพไซร้ ขอได้โปรดพระราชทานผ้ากัมพลผืน
ที่ทรงนี้.
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงถวายผ้ากัมพลแก่ภิกษุณีถุลลนันทา ในทันใด
นั้นแล แล้วเสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงอภิวาทภิกษุณีถุลลนันทา กระทำ
ปทักษิณแล้วเสด็จกลับ.
คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านั้น
เป็นคนมักมาก ไม่สันโดษ ไฉนจึงได้ทูลขอผ้ากัมพลทรงต่อองค์พระราชาเล่า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 166
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงได้ทูลขอผ้ากัมพลทรงต่อองค์พระราชาเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาทูลขอผ้ากัมพลทรงต่อองค์พระราชาจริง
หรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ทูลขอผ้ากัมพลทรงต่อองค์พระราชาเล่า การกระทำ
ของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีผู้จะให้เขาจ่ายผ้าห่มหนัก พึงให้จ่าย
ได้เพียงราคา ๔ กังสะเป็นอย่างยิ่ง ถ้าให้จ่ายยิ่งกว่านั้นเป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 167
สิกขาบทวิภังค์
[๑๓๙] ที่ชื่อว่า ผ้าห่มหนัก ได้แก่ผ้าชนิดหนึ่งที่สำหนับห่มในฤดู
หนาว
บทว่า ผู้จะให้จ่าย คือ ผู้จะขอ.
บทว่า พึงให้จ่ายได้เพียงราคา ๔ กังสะเป็นอย่างยิ่ง คือ ให้
จ่ายผ้ามีราคาเพียง ๖ กหาปนะได้.
คำว่า ถ้าให้จ่ายยิ่งกว่านั้น ความว่า ขอผ้ามีราคาเกินกว่านั้นเป็น
ทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ผ้ามา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือ
ภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลผ้าเป็นนิสสัคคีย์นั้น อันภิกษุณีพึงเสียสละ
อย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ . . .แม่เจ้า ผ้าห่มหนักผืนนี้ของข้าพเจ้า
มีราคาสูงเกิน ๔ กังสะ ขอได้มา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าห่มหนัก
ผืนนี้แก่สงฆ์. . . สงฆ์พึงให้ผ้าห่มหนักผืนนี้แก่ภิกษุณีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป. . . แม่เจ้าทั้งหลาย พึงให้
ผ้าห่มหนักผืนนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่ภิกษุรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง. . . ข้าพเจ้าให้ผ้าห่มหนักผืน
นี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 168
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๔๐] ผ้าห่มหนักมีราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ขอได้มา
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ผ้าห่มหนักมีราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีสงสัย ขอได้มา เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ผ้าห่มหนักมีราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อน ขอได้มา เป็น
นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ผ้าห่มหนักราคาหย่อน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
ผ้าห่มหนักมีราคาหย่อน ๔ กังสะ ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ผ้าห่มหนักมีราคาหย่อน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อน ไม่ต้อง
อาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๔๑] ขอผ้าห่มหนักมีราคา ๔ กังสะ เป็นอย่างยิ่ง ๑ ขอผ้าห่มหนัก
มีราคาหย่อน ๔ กังสะ ๑ ขอต่อญาติ ๑ ขอต่อคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์
ของผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ ทายกประสงค์ให้จ่ายผ้าห่มหนักมีราคา
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 169
แพง แต่ให้จ่ายผ้าห่มหนักมีราคาถูก ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกังมิกา ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบท๑ ที่ ๑ จบ
อรรถกถาจีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๑ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ครุปาปุรณ คือ ผ้าห่มในฤดูหนาว. ชื่อว่า กังสะ ใน
บทว่า จตุกฺกสปรม นี้ มีราคา ๔ กหาปณะ; เพราะฉะนั้น ในบทภาชนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มีค่าเท่ากับ ๑๖ กหาปณะ.
อรรถกถาจีวรวรรค สิกขาบท ที่ ๑๑ จบ
๑. อรรถกถาเป็นสิกขาบทที่ ๑๑
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 170
จีวรวรรค สิกขาบท๑ ที่ ๒
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด เป็นผู้องอาจ สามารถกล่าวถ้อยคำมี
หลักฐาน ครั้นฤดูร้อน พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสะพักผ้าโขมพัสตร์มีค่ามาก
เสด็จเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาถึงสำนัก ทรงอภิวาทภิกษุณีถุลลนันทา แล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่
สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาทูลชี้แจงธรรมีกถา ถวายให้ท้าว
เธอทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ครั้นท้าวเธอทรงเห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาของภิกษุณีถุลลนันทาแล้ว ได้ทรง
ปวารณาภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านได้โปรดบอกสิ่งที่ต้อง
ประสงค์.
ภิกษุณีถุลลนันทาทูลว่า ขอถวายพระพร ถ้ามหาบพิธมีพระราชประ-
สงค์จะพระราชทานแก่อาตมภาพไซร้ ขอได้โปรดพระราชทานผ้าโขมพัสตร์ผืน
ที่ทรงนี้.
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงถวายผ้าโขมพัสตร์แก่ภิกษุณีถุลลนันทาในทัน
ใดนั้นแล แล้วเสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงอภิวาทภิกษุณีถุลลนันทา กระทำ
ปทักษิณแล้วเสด็จกลับ.
คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็น
คนมักมาก ไม่สันโดษ ไฉนจึงได้ทูลขอผ้าโขมพัสตร์ทรงต่อองค์พระราชาเล่า.
๑. อรรถกถาเป็นสิกขาบทที่ ๑๒
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 171
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงได้ทูลขอผ้าโขมพัสตร์ทรงต่อองค์พระราชาเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาทูลขอผ้าโขมพัสตร์ทรงต่อองค์พระราชา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ขอผ้าโขมพัสตร์ทรงต่อองค์พระราชา การกระทำของ
นางนั่นไม่ ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีผู้จะให้เขาจ่ายผ้าห่มเบา พึงให้จ่าย
ได้เพียงราคา ๒ กังสะกึ่งเป็นอย่างยิ่ง ถ้าให้จ่ายยิ่งกว่านั้น เป็น
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ .
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๔๓] ที่ชื่อว่า ผ้าห่มเบา ได้แก่ ผ้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่สำหรับ
ห่มในฤดูร้อน.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 172
บทว่า ผู้จะให้จ่าย คือ ผู้จะขอ.
บทว่า พึงให้จ่ายได้เพียงราคา ๒ กังสะกึ่งเป็นอย่างยิ่ง คือ
ให้จ่ายผ้ามีราคาเพียง ๑๐ กหาปณะได้.
คำว่า ถ้าให้จ่ายยิ่งกว่านั้น ความว่า ขอผ้ามีราคาเกินกว่านั้น เป็น
ทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ผ้ามา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือ
ภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลผ้าเป็นนิสสัคคีย์นั้น อันภิกษุณีพึงเสียสละ
อย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ . . . แม่เจ้า ผ้าห่มเบาผืนนี้ของข้าพเจ้า
มีราคาสูงเกิน ๒ กังสะกึ่ง ขอได้มา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าห่มเบา
ผืนนี้แก่สงฆ์. . . สงฆ์พึงให้ผ้าห่มเบาผืนนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป. . . แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้ผ้า
ห่มเบาผืนนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง . . . ข้าพเจ้าให้ผ้าห่มเบาผืน
นี้แก่แม่เจ้า ดังนี้ .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 173
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๔๔] ผ้าห่มเบามีราคาเกิน ๒ กังสะกึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ขอ
ได้มา เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ผ้าห่มเบามีราคาเกิน ๒ กังสะกึ่ง ภิกษุณีสงสัย ขอได้มา เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ผ้าห่มเบามีราคาเกิน ๒ กึ่งสะกึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อน ขอได้มา
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ผ้าห่มเบามีราคาหย่อน ๒ กังสะกึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
ผ้าห่มเบามีราคาหย่อน ๒ กังสะกึ่ง ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ผ้าห่มเบามีราคาหย่อน ๒ กังสะกึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อน ไม่ต้อง
อาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๔๕] ขอผ้าห่มเบามีราคา ๒ กังสะกึ่งเป็นอย่างยิ่ง ๑ ขอผ้าห่มเบา
มีราคาหย่อน ๒ กังสะกึ่ง ๑ ขอต่อญาติ ๑ ขอต่อคนปวารณา ๑ ขอเพื่อ
ประโยชน์ของผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ ทายกประสงค์ให้จ่ายผ้าห่ม
เบามีราคาแพง แต่ให้จ่ายผ้าห่มเบามีราคาถูก ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 174
บทสรุป
[๑๔๖] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรม คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท๑
ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ แล้วหรือ ข้าพเจ้า
ขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถาม
แม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ แม่เจ้าทั้งหลายเป็นผู้
บริสุทธิ์แล้วในธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จบ
อรรถกถาจีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑๒ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ลหุปาปุรณ คือ ผ้าสำหรับห่มในฤดูร้อน. คำที่เหลือตื้น
ทั้งนั้น แม้ในสิกขาบททั้ง ๒.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
อรรถกถาจีววรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ
๑. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท คือ เอกโตบัญญัติ ๑๒ สิกขาบทเท่านี้ กับอุภโตบัญญัติ ๑๘
สิกขาบท. สมันตปาสาทิกา หน้า ๕๓๒.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 175
สรุปท้ายนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ในคำว่า อุทฺทิฏฺา โข เป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงเห็นใจความอย่างนี้
ว่า ในคำว่า ข้าแต่แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรม คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้าพเจ้า
ยกขึ้นแสดงแล้วแล นี้ ผู้ศึกษาพึงชัก ๒ สิกขาบท คือ โธวนสิกขาบทกับ
ปฏิคคหณสิกขาบท ออกจากจีวรวรรคในมหาวิภังค์แล้วเพิ่มให้เต็มวรรคที่ ๑
ด้วยสิกขาบท คือ ภิกษุณีอธิษฐานอกาลจีวรว่า เป็นกาลจีวร แล้วแจกกัน
กับสิกขาบทว่าด้วยจีวรที่ภิกษุณีแลกเปลี่ยนกันแล้วชิงคืนมา. ต่อไปพึงชัก
๗ สิกขาบทข้างต้นแห่งเอฬกโลมวรรคออกแล้ว เพิ่มอัญญทัตถิกสิกขาบท ๗
สิกขาบทเข้ามาให้เต็มวรรคที่ ๒. ชัก ๓ สิกขาบท คือ ปฐมปัตตสิกขาบท
วัสสิกสาฎิกสิกขาบท และอารัญญกสิกขาบท ออกจากวรรคที่ ๓ แล้วเพิ่ม
วรรคที่ ๓ ให้เต็มด้วยปัตตสันนิจยสิกขาบท ครุปาปุรณสิกขาบท และลหุ-
ปาปุรณสิกขาบท. แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ แม้
ทั้งหมดอย่างนี้ คือ ๑๒ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายเดียว
อย่างนี้ กับ ๑๘ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติแก่ทั้ง ๒ ฝ่าย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
แล ตามแนวทางปาฏิโมกข์ขุทเทส.๑ บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้นแล.
ติงสกกัณฑวรรณนาในภิกขุนีวิภังค์ ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
๑. ปาฐะตรงนี้ข้างต้นเป็น ปาฏิโมกกฺขุทฺเทสมตฺเตน แต่นี้ไปเป็น ปาฏิโมกฺขุทฺเทสมฺคฺเคน. ยุติ
อย่างไร ควรพิจารณา. ม. ปาฏิโมกฺขุทฺเทสมคฺเคน
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 176
ปาจิตติยกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย ก็ธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่
อุเทศ.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสก
คนหนึ่งได้ปวารณากระเทียมไว้แก่ภิกษุณีสงฆ์ว่า แม่เจ้าเหล่าใดต้องการกระ-
เทียม กระผมขอปวารณา และยังได้สั่งคนเฝ้าไร่ไว้ด้วยว่า ถ้าภิกษุณีทั้งหลาย
มาขอ จงถวายท่านไปรูปละ ๒-๓ กำ ก็สมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถีกำลังมี
งานมหรสพ กระเทียมเท่าที่เขานำมาขายได้หมดขาดคราว ภิกษุณีทั้งหลายพา
กันเข้าไปหาอุบาสกคนนั้น แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า อาวุโส พวกอาตมาต้องการ
กระเทียม.
อุบาสกกล่าวว่า ไม่มี เจ้าข้า กระเทียมเท่าที่นำมาแล้วหมดขาดคราว
ขอท่านทั้งหลายได้โปรดไปที่ไร่.
ภิกษุณีถุลลนันทาได้ไปที่ไร่ ขนกระเทียมไปมาก ไม่รู้จักประมาณ
คนเฝ้าไร่จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายไปถึงไร่แล้ว
จึงไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมไปมากมายเล่า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 177
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเฝ้าไร่เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา
ที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา
จึงไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมเอาไปมากมายเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมไปมากมาย จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมเขาไปมากมาย การกระทำ
ของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของนางนั่น
เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่าง
อื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
[๑๔๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีถุลลนันทา โดยอเนก
ปริยายดังนี้แล้ว ทรงกระทำธรรมีกถาอันสมควรแก่เรื่องนั้น อันเหมาะสมแก่
เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วตรัสเล่ากะภิกษุทั้งหลายว่า.
เรื่องหงส์ทอง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาได้เคยเป็น
ปชาบดีของพราหมณ์คนหนึ่ง มีธิดา ๓ คน ชื่อนันทา ๑ นันทวดี ๑ สุนทร-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 178
นันทา ๑ ครั้นพราหมณ์สามีทำลายขันธ์ไปบังเกิดในกำเนิดหงส์ตระกูลหนึ่ง
มีขนเป็นทองทั้งตัว หงส์นั้นสลัดขนให้แก่สตรีเหล่านั้นคนละขน แต่ภิกษุณี
ถุลลนันทาคิดว่า หงส์ตัวนี้สลัดขนให้แก่พวกเราคนละขนเท่านั้น แล้วได้จับ
พระยาหงส์นั้นถอนขนจนเกลี้ยง ขนพระยาหงส์นั้นที่งอกใหม่ได้กลายเป็นสีขาว
ไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นภิกษุณีถุลลนันทาได้เสื่อมจากทองเพราะ
ความโลภจัด มาบัดนี้ เสื่อมจากกระเทียม.
[๑๔๙] ได้สิ่งใดแล้ว ควรยินดีด้วยสิ่งนั้น เพราะความโลภจัดเป็น
เหตุให้เสื่อม เหมือนภิกษุณีถุลลนันทาจับพระยาหงส์ถอนขนแล้ว เสื่อมจาก
ทองฉะนั้น.
[๑๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีถุลลนันทา โดยอเนก-
ปริยายดังนี้แล้ว. . . ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๕๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ฉันกระเทียม เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕๑] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่าที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 179
ที่ชื่อว่า กระเทียม ได้แก่ กระเทียมที่เขาเรียกกันว่าเกิดในแคว้น
มคธ.
ภิกษุณีรับประเคนด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๑๕๒] กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่ากระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กระเทียม ภิกษุณีสงสัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่กระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่ากระเทียม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่า ไม่ใช่กระเทียม ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๕๓] กระเทียมเหลือง ๑ กระเทียมแดง ๑ กระเทียมเขียว ๑
กระเทียมต้นไม่มีเยื่อ ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในแกง ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในเนื้อ ๑
กระเทียมเจียวน้ำมัน ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในน้ำพุทรา ๑ กระเทียมที่ปรุงลง
ในแกงอ่อม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 180
อรรถกถาขุททกกัณฑ์
ธรรมเหล่าใด รวบรวมได้ ๖๖ ข้อ
ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายร้อย-
กรองไว้ ในลำดับแห่งติงสกกัณฑ์ บัดนี้จะ
พรรณนาธรรมแม้เหล่านั้นดังต่อไปนี้.
ปาจิตตีย์
ลสุณวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑
ในบรรดา ๙ วรรคนั้น พึงทราบวินิจฉัย ในสิขาบทที่ ๑ แห่ง
ลสุณวรรคก่อน.
[ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีฉันกระเทียม]
สามบทว่า เทฺว ตโย ภณฺฑกา ได้แก่ จุกกระเทียม ๒-๓ จุก
คำว่า โปฎฺฏลเก นี้ เป็นชื่อของกระเทียมมีเยื่อในสมบูรณ์.
สองบทว่า น มตฺต ชานิตฺวา มีความว่า (ภิกษุณีถุลลนันทานั้น)
ไม่รู้จักประมาณ เมื่อคนเฝ้าไร่ห้ามปรามอยู่ ใช้ให้ (พวกภิกษุณี) ขนเอา
กระเทียมมาเป็นอันมาก.
สองบทว่า อญฺญตร หสโยนึ ได้แก่ กำเนิดหงส์ทอง.
สามบทว่า โส ตาส เอเกก มีความว่า หงส์นั้น เป็นสัตว์
ระลึกชาติได้. ดังนั้นจึงมาหาด้วยความรักในก่อน แล้วสลัดขนให้แก่สตรี
เหล่านั้นคนละขน.ขนนั้นเป็นทองคำแท้ ควรแก่การหลอมการทุบและตัดได้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 181
บทว่า มาคธิก แปลว่า เกิดแล้วในแคว้นมคธ. จริงอยู่ เฉพาะ
กระเทียมที่เกิดในแคว้นมคธ ท่านประสงค์เอาว่า ลสุณ ในสิกขาบทนี้. แม้
กระเทียมนั้นเป็นกระเทียมที่มีเยื่อในสมบูรณ์ ไม่ใช่กระเทียมที่มีเยื่อในเพียงกลีบ
หรือ ๒-๓ กลีบ. แต่ในกุรุนทีท่านไม่กล่าวถึงประเทศที่เกิด กล่าวว่า กระเทียม
มีเยื่อในสมบูรณ์ ชื่อว่า กระเทียมมคธ.
ในคำว่า อชฺโฌหาเร อชฺโฌหาเร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้; ถ้า
ภิกษุณีรวบรวมกระเทียม ๒-๓ จุกเข้าด้วยกันเคี้ยวกลืนกิน เป็นปาจิตตีย์
ตัวเดียว แต่เมื่อภิกษุณีบิออกกินทีละกลีบ เป็นปาจิตตีย์มากตัว ด้วยการนับ
ประโยคแล.
บัณฑิตพึงทราบความแตกต่างกันแห่งกระเทียมเหลืองเป็นต้น โดยสี
หรือโดยเยื่อใน. ว่าด้วยสีก่อน ชื่อว่า กระเทียมเหลือง ย่อมมีสีเหลือง
กระเทียมแดง มีสีแดง กระเทียมเขียวมีใบสีเขียว.
แต่ว่าโดยเยื่อใน (หรือกลีบ) กระเทียมเหลืองมีเยื่อในชั้นเดียว.
กระเทียมแดงมีเยื่อใน ๒ ชั้น. กระเทียมเขียวมีเยื่อใน ๓ ชั้น กระเทียมต้น
ไม่มีเยื่อใน. จริงอยู่ กระเทียมนั้น เป็นเพียงหน่อเท่านั้น. แต่ในมหาปัจจรี
เป็นต้นกล่าวไว้ว่า กระเทียมเหลืองมีเยื่อใน (มีกลีบ) ๓ ชั้น กระเทียมแดง
มีเยื่อใน ๒ ชั้น กระเทียมเขียวมีเยื่อในชั้นเดียว. กระเทียมเหลืองเป็นต้นนั่น
ย่อมควร โดยสภาพทีเดียว
แต่ในการต้มแกงเป็นต้น แม้กระเทียมมคธก็ควร. ความจริง จะใส่
กระเทียมมคธนั้นลง ในแกงถั่วเป็นต้นซึ่งกำลังแกงก็ดี ในกับข้าวชนิดที่ปรุง
ด้วยปลาเนื้อก็ดี ในน้ำมันก็ดี ในน้ำปานะมีน้ำพุทราเป็นต้นก็ดี ในแกงผักดอง
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 182
ที่เปรี้ยวเป็นต้นก็ดี ในแกงอ่อมก็ดี ในแกงอย่างใดอย่างหนึ่ง ชั้นที่สุดแม้ใน
ยาคูและภัตก็ควร. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญ-
ญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓
ฉะนี้แล.
อรรถกถาลสุณวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 183
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุฌีฉัพพัคคีย์
[๑๕๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์ ให้ถอนขนในที่แคบ แล้วเปลือยกายอาบน้ำท่าเดียวกันกับหญิง
แพศยา ในแม่น้ำอจิรวดี พวกหญิงแพศยาพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้ถอนขนในที่แคบเหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกามเล่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินหญิงแพศยาพวกนั้นพากันเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ถอนขนในที่แคบ. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุณีทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ให้ถอนขนในที่แคบ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ถอนขนในที่แคบเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 184
พระบัญญัติ
๕๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้ถอนขนในที่แคบ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่าผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ที่แคบ ได้แก่ รักแร้ทั้งสอง บริเวณทวารเบา.
บทว่า ให้ถอน คือให้ถอนขนแม้เส้นเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ให้
ถอนขนแม้หลายเส้น ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๑๕๖] มีเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้;-
บทว่า สมฺพาเธ คือ โอกาสที่กำบัง. ก็เพื่อแสดงจำแนก โอกาส
ที่กำบัง (ที่ลับ) นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อุโภ อุปกจฺฉกา
มุตฺตกรณ แปลว่า รักแร้ทั้ง ๒ บริเวณทวารเบา.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 185
สองบทว่า เอกมฺปิ โลม มีความว่า ภิกษุณีให้ถอนขนเส้นเดียวหรือ
มากเส้น โดยประโยคเดียว ด้วยกรรไกรก็ดี ด้วยแหนบก็ดี ด้วยของคม
อย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี เป็นปาจิตตีย์มากตัว โดยการนับประโยค ไม่ใช่โดยนับ
เส้นขน.
บทว่า อาพาธปจฺจยา ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีผู้ให้ถอน
เพราะอาพาธ มีฝีและหิดเป็นต้นเป็นปัจจัย. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๔ เกิดขึ้น ทางกาย ๑ ทางกายกับวาจา ๑
ทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 186
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณี ๒ รูป
[๑๕๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
๒ รูป อันความกระสันบีบคั้นแล้ว เข้าห้องน้อยแล้วทำการสัมผัสบริเวณองค์
รหัสกัน ภิกษุณีทั้งหลายพรูกันเข้ามาตามเสียงสัมผัสนั้น แล้วได้ถามสองภิกษุณี
นั้นดังนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย เหตุไฉนพวกท่านจึงทำมิดีมิร้ายกับบุรุษ.
แม่เจ้าทั้งหลาย พวกดิฉันมิได้ทำมิดีมิร้ายกับบุรุษ ภิกษุณีสองรูปนั้น
ตอบแล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ทำการสัมผัสบริเวณองค์รหัสกันเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีทำการสัมผัสบริเวณองค์ระหัสกัน จริงหรือ.
ภิกษุณีทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้ทำการสัมผัสบริเวณองค์รหัสกันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 187
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๕๘. ๓. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะสัมผัสบริเวณองค์รหัส.
เรื่องภิกษุณี ๒ รูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕๘] ที่ชื่อว่า สัมผัสบริเวณองค์รหัส คือ ภิกษุณียินดีสัมผัส
ให้ตบที่องค์รหัส โดยที่สุดแม้ด้วยกลีบบัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๑๕๙] มีเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ตลฆาฏเก คือ ในเพราะสัมผัสบริเวณองค์รหัส (ในเพราะ
สัมผัสบริเวณทวารเบา).
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 188
ในคำว่า อนฺตมโส อุปฺปลปตฺเตนปิ นี้ มีวินิจฉัยว่า กลีบบัว
ค่อนข้างจะโตไป. เมื่อให้ตบแม้ด้วยเกสรบัว ก็เป็นอาบัติเหมือนกัน.
บทว่า อาพาธปจฺจยา มีความว่า จะตบฝี หรือแผล ควรอยู่.
บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ ฉะนี้แล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 189
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๑๖๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น มีพระ
สนมเก่าคนหนึ่งบวชอยู่ในสำนักภิกษุณี ภิกษุณีรูปหนึ่งอันความกระสันบีบคั้น
แล้ว ได้เข้าไปหาภิกษุณีพระสนมรูปนั้นถึงสำนักแล้วถามว่า แม่เจ้า พระราชา
เสด็จไปหาแม่เจ้านาน ๆ ครั้ง แม่เจ้าดำรงอยู่ได้ด้วยอาการอย่างไร.
ภิกษุณีพระสนมตอบว่า ด้วยท่อนยางเกลี้ยง ๆ จ๊ะ.
ภิกษุณีนั้นซักว่า ท่อนยางเกลี้ยงนั่นเป็นอย่างไร.
ภิกษุณีพระสนมนั้น จึงได้บอกท่อนยางเกลี้ยงแก่ภิกษุณีนั้น ๆ ใช้ท่อน
ยางเกลี้ยงแล้วลืมล้างวางทิ้งไว้ ณ ที่ข้างหนึ่ง ภิกษุณีทั้งหลายเห็นท่อนยางเกลี้ยง
มีหมู่แมลงวันตอม จึงพูดเป็นเชิง ถามว่า นี่การกระทำของใคร.
ภิกษุณีนั้นกล่าวตอบอย่างนี้ว่า นี้เป็นการกระทำของดิฉัน.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีจึงได้ใช้ท่อนยางเกลี้อง ๆ เล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีใช้ท่อนยางเกลี้ยง ๆ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 190
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงได้ใช้ท่อนยางเกลี้ยง ๆ เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๕๙. ๔. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะใช้ท่อนยางเกลี้ยง ๆ.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๖๑] ที่ชื่อว่า ท่อนยางเกลี้ยง ๆ ได้แก่ วัตถุที่ทำขึ้นด้วยยาง
ทำขึ้นด้วยไม้ ทำขึ้นด้วยแป้ง ทำขึ้นด้วยดิน.
ภิกษุณียินดีสัมผัส สอดวัตถุโดยที่สุดแม้กลีบอุบลเข้าไปสู่องค์รหัส
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๑๖๒] มีเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติ
แล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 191
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๔
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้;-
บทว่า ปุราณราโชโรโธ ได้แก่ เป็นพระสนมของพระเจ้าแผ่นดิน
ในกาลก่อน คือ ในคราวเป็นคฤหัสถ์.
สองบทว่า จิราจิร คจฺฉติ คือ นาน ๆ พระราชาจึงจะเสด็จมา.
บทว่า ธาเรถ คือ แม่เจ้าอาจ (ดำรงอยู่ได้อย่างไร ?). เมื่อพวก
ภิกษุณีถามว่า นี้กรรมของใคร ? ภิกษุณีนั้นเข้าใจว่า แม้เมื่อเราไม่บอก
ภิกษุณีเหล่านี้ก็จักทำความระแวงสงสัยในเรา จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า นี้เป็นการ
กระทำของดิฉัน.
บทว่า ชตุมฏฺเก ได้แก่ ท่อนเกลี้ยง ๆ ทำด้วยยาง. บทว่า
ชตุมฏฺเก นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งเรื่องเท่านั้น. แต่เมื่อ
สอดท่อนกลม ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเข้าไปเป็นอาบัติทั้งนั้น. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสว่า ชั้นที่สุด สอดแม้กลีบอุบลเข้าไปสู่องค์รหัส
และแม้กลีบอุบลนี้ ก็โตเกินไป แต่เมื่อสอดแม้เพียงเกสรเข้าไปก็อาบัติเหมือน
กัน. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้วใน
ตลฆาฏกสิกขาบทนั้นแล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 192
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
[๑๖๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโคร-
ธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้นพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงพุทธสำนัก ถวายบังคมแล้วได้ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ใต้ลม
กราบทูลว่า มาตุคามมีกลิ่นเหม็น พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ภิกษุณีทั้งหลายจงใช้น้ำชำระ
แล้ว ทรงยังพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ใ่ห้
ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
โปรดประทานให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา
แล้ว ถวายบังคมทำประทักษิณหลีกไปแล้ว พระองค์จึงทรงกระทำธรรมีกถาใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตน้ำชำระ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
เรื่องพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี จบ
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๑๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีรูปหนึ่งทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตน้ำชำระแล้ว จึงใช้น้ำชำระลึกเกินไป ได้ทำให้เกิดแผลขึ้นในองค์
รหัส ดังนั้นนางจึงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้
มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ใช้น้ำ
ชำระลึกเกินไปเล่า. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 193
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีใช้น้ำชำระลึกเกินไป จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงได้ใช้น้ำชำระลึกเกินไปเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีผู้จะใช้น้ำชำระ พึงใช้ชำระลึก
เพียงสองข้อองคุลีเป็นอย่างยิ่ง เกินกว่านั้น เป็นอาบัติปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๖๕] ที่ชื่อว่า น้ำชำระ ได้แก่ น้ำที่เขาเรียกว่าน้ำสำหรับชำระองค์
รหัส.
บทว่า ผู้จะใช้ คือ ผู้จะชะล้าง.
คำว่า พึงใช้ชำระลึกเพียงสองข้อองคุลีเป็นอย่างยิ่ง คือ พึง
ใช้ชำระลึกเพียงสองข้อ ในสององคุลี เป็นอย่างยิ่ง
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 194
คำว่า เกินกว่านั้น ความว่า ภิกษุณียินดีสัมผัสให้ล่วงเลยเข้าไป
โดยที่สุดแม้ชั่วปลายเส้นผม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๑๖๖] เกินสองข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ใช้ชำระ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เกินสองข้อองคุลี ภิกษุณีสงสัย ใช้ชำระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เกินสองข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ถึง ใช้ชำระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ไม่ถึงสองข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ถึงสองข้อองคุลี ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ถึงสองข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ถึง ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๖๗] ใช้ชำระลึกเพียงสองข้อองคุลี ๑ ใช้ชำระลึกไม่ถึงสองข้อ
องคุลี ๑ เพราะเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 195
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า อติคมฺภีร อุทกสุทฺธิก อาทียติ ได้แก่ กระทำการชำระ
ด้วยน้ำให้เข้าข้างในลึกเกินไป.
สองบทว่า เกสคฺคมตฺตปิ อติกฺกาเมติ มีความว่า ภิกษุณีสอด
นิ้วมือนิ้วที่ ๓ หรือนิ้วที่ ๔ เข้าไปตามทางยาว ให้เลยทางด้านลึกเกิน ๒
ข้อนิ้วมือไปแม้เพียงปลายเส้นผม เป็นปาจิตตีย์. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ใน
มหาปัจจรีว่า ภิกษุณี ย่อมไม่ได้เพื่อจะใช้ข้อนิ้วมือ ๓ ข้อของบางนิ้วชำระ จะ
ใช้นิ้วมือ ๓ หรือ ๔ นิ้ว แม้ข้อเดียวชำระก็ไม่ได้. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
แม้สมุฎฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้ว ในตลฆาฏกสิกขาบทนั้นแล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 196
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีภรรยาเก่าของมหาอำมาตย์
[๑๖๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
มหาอำมาตย์ผู้หนึ่ง ชื่ออาโรหันตะ ได้บวชอยู่ในสำนักภิกษุ ภรรยาเก่าของ
ท่านก็ได้บวชอยู่ในสำนักภิกษุณี ต่อมา ภิกษุนั้นทำภิตกิจในสำนักภิกษุณีนั้น
เมื่อภิกษุนั้นกำลังฉันอยู่ ภิกษุณีนั้นได้ยืนปฏิบัติอยู่ใกล้ ๆ ด้วยน้ำฉันและการ
พัดวี แล้วกล่าวถ้อยคำเกี่ยวกับการครองเรือนยั่วยวนอยู่ ภิกษุนั้นจึงรุกราน
นางว่า ดูก่อนน้องหญิง เธออย่าได้ทำเช่นนี้ ข้อนี้ไม่ควร.
เมื่อก่อนท่านได้กระทำอย่างนี้ ๆ แก่ข้าพเจ้า บัดนี้ เพียงเท่านี้ก็ทน
ไม่ได้ นางกล่าวดังนี้แล้วได้ครอบขันน้ำลงบนศีรษะ ประหารด้วยพัด บรรดา
ภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
จึงได้ประหารแก่ภิกษุเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีให้ประหารแก่ภิกษุ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงได้ให้ประหารแก่ภิกษุเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 197
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด เมื่อภิกษุกำลังฉันอยู่ เข้าไป
ปฏิบัติอยู่ใกล้ ๆ ด้วยน้ำฉัน หรือด้วยการพัดวี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีภรรยาเก่าของมหาอำมาตย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๖๙] บทว่า อนึ่ง . . .ใด. ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า เมื่อภิกษุ ได้แก่ เมื่ออุปสัมบัน.
บทว่า กำลังฉันอยู่ คือ กำลังฉันโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง
อยู่.
ที่ชื่อว่า น้ำฉัน ได้แก่ น้ำชนิดหนึ่งสำหรับดื่ม.
ที่ชื่อว่า การพัดวี ได้แก่ เครื่องโบกแกว่งชนิดใดชนิดหนึ่งสำหรับวี.
บทว่า เข้าไปปฏิบัติอยู่ใกล้ ๆ ความว่า อยู่ในหัตถบาส ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๑๗๐] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน เข้าไปปฏิบัติอยู่ใกล้ ๆ
ด้วยน้ำฉัน หรือด้วยพัดวี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 198
อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย เข้าไปปฏิบัติอยู่ใกล้ ๆ ด้วยน้ำฉัน หรือ
ด้วยการพัดวี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน เข้าไปปฏิบัติอยู่ใกล้ ๆ ด้วย
น้ำฉัน หรือด้วยการพัดวี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ฉักกะทุกกฏ
ปฏิบัติอยู่นอกหัตถบาส ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุฉันของเคี้ยว ภิกษุณีเข้าไปปฏิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ.
เข้าไปปฏิบัติอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกขุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๑๗๑] ภิกษุณีถวายเอง ๑ ให้คนอื่นถวาย ๑ สั่งอนุปสัมบันให้
ปฏิบัติ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ภตฺตวิสฺสคฺค แปลว่า ภัตกิจ.
สามบทว่า ปานีเยน จ วิธูปเนน จ อุปติฏฺิตฺวา ความว่า
ยืนเอามือข้างหนึ่งถือขันน้ำ เอามือข้างหนึ่งถือพัด พัควีอยู่ใกล้ ๆ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 199
บทว่า อจฺจาวทติ มีความว่า กล่าวถ้อยคำเกี่ยวกับการครองเรือน
ละเมิดจารีตของบรรพชิตว่า แม้เมื่อก่อน ท่านก็บริโภคอยู่อย่างนี้ ดิฉันก็ทำ
การปรนนิบัติท่านอย่างนี้.
สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ ปานีย มีความว่า น้ำสะอาด หรือน้ำเปรียง
นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำรส และนมสดเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามที.
สองบทว่า ยากาจิ วีชนี คือ ชั้นที่สุดแม้ชายจีวร ก็ชื่อว่าพัด.
ในคำว่า หตฺถปาเส ติฏฺติ อาปตฺติ ปาจิตติยสฺส นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรับปาจิตตีย์ เพราะการยืนเป็นปัจจัยเท่านั้น. แต่
เพราะการประหารเป็นปัจจัย ทรงบัญญัติทุกกฏไว้ในขันธกะ.
สองบทว่า เทติ ทาเปติ มีความว่า ภิกษุณีถวายน้ำดื่ม หรือแกง
เป็นต้นว่า นิมนต์ท่านดื่มน้ำนี้ นิมนต์ท่านฉันกับแกงนี้เถิด. ถวายพัดใบตาล
ว่า นิมนต์ท่านพัดด้วยพัดใบตาลนี้ ฉันเถิด หรือว่าสั่งให้ผู้อื่นถวายน้ำดื่มและ
พัดให้แม้ทั้ง ๒ อย่าง ไม่เป็นอาบัติ.
สองบทว่า อนุปสมฺปนฺน อาณาเปติ คือ สั่งสามเณรีเพื่อให้
ปฏิบัติไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 200
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เป็นฤดู
เกี่ยวข้าวภิกษุณีทั้งหลายขอข้าวเปลือกสด แล้วนำเข้าไปในพระนคร ครั้นถึง
ที่ประตูพระนครคนทั้งหลายพากันกั้นประตูพูดสัพยอกว่า ข้าแต่แม่เจ้าทั้งหลาย
ขอท่านจงให้ส่วนแบ่งบ้าง ดังนี้ แล้วปล่อยไป ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นกลับไป
ถึงสำนักแล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอข้าวเปลือก
สดเขาเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีขอข้าวเปลือกสดเขา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอข้าวเปลือกสดเขาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 201
พระบัญญัติ
๖๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอก็ดี ให้ขอก็ดี คั่วก็ดี ให้
คั่วก็ดี ตำก็ดี ให้ตำก็ดี หุงก็ดี ให้หุงก็ดี ซึ่งข้าวเปลือกสด แล้ว
ฉัน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ข้าวเปลือกสด ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว
ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้.
บทว่า ขอ คือ ขอเอง. บทว่า ให้ขอ คือ ให้ผู้อื่นขอแทน.
บทว่า คั่ว คือ คั่วเอง. บทว่า ให้คั่ว คือ ให้ผู้อื่นคั่ว.
บทว่า ตำ คือ ตำเอง. บทว่า ให้ตำ คือ ให้ผู้อื่นตำ.
บทว่า หุง คือ หุงเอง. บทว่า ให้หุง คือ ให้ผู้อื่นหุง.
ภิกษุณีรับประเคนไว้ด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.
อนาปัตติวาร
[๑๗๔] เพราะเหตุอาพาธ ๑ ขออปรัณชาติ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ-
กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 202
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้ :-
ข้อว่า ภุญฺชิสฺสามีติ ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มี
ความว่า ทุกกฏนี้ ชื่อว่า ปโยคทุกกฏ. เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เป็นทุกกฏ
เพราะการรับประเคนอย่างเดียวเท่านั้น. ยังเป็นทุกกฏ ทุก ๆ ประโยคอีก ใน
การรับประเคนแล้วนำมาจากที่อื่นก็ดี ในการตากให้แห้งก็ดี ในการเตรียมเตา
เพื่อต้องการคั่วกินในวันมีฝนตกพรำก็ดี ในการจัดแจงกระเบื้องก็ดี ในการ
ตระเตรียมทัพพีก็ดี ในการนำฟืนมาก่อไฟก็ดี ในการใส่ข้าวเปลือกลงบน
กระเบื้องก็ดี ในการคั่วด้วยทัพพีก็ดี ในการเตรียมครกและสากเป็นต้นเพื่อจะ
ตำก็ดี ในกิจ มีการตำฝัดและซาว เป็นต้นก็ดี จนถึงเปิบเข้าปากแล้วบดเคี้ยว
ด้วยฟันเพื่อจะกลืนกิน. ในเวลากลืนกิน เป็นปาจิตตีย์มากตัวตามจำนวนคำกลืน
และในสิกขาบทนี้ การขอและการฉัน จัดเป็นประมาณ. เพราะฉะนั้นแม้
ภิกษุณีขอเองใช้ภิกษุณีอื่นให้ทำการคั่วการตำและการหุงต้มแล้วฉันก็เป็นอาบัติ
ถึงใช้ภิกษุณีอื่นให้ขอแล้วกระทำการคั่วฉันเองเป็นต้นก็อาบัติแล.
แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า ภิกษุณีขอข้าวเปลือกสดธรรมดานี้ แม้
กะมารดามาฉัน ก็เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน ข้าวเปลือกสดที่ได้มาโดยมิได้ออก
ปากขอ เมื่อทำการคั่วเป็นต้นเอง หรือใช้ผู้อื่นให้ทำแล้วฉัน เป็นทุกกฏ.
ข้าวเปลือกสดที่ภิกษุณีอื่นได้มาด้วยการออกปากขอ แม้เมื่อทำการคั่วเป็นต้นเอง
หรือใช้ให้ภิกษุณีนั้นทำ หรือใช้ให้ภิกษุณีอื่นทำแล้วฉัน ก็เป็นทุกกฏเหมือน
กัน ท่านยังได้กล่าวไว้อีกว่า ข้าวเปลือกสดที่ภิกษุณีอื่นได้มาด้วยการออกปาก
ขอ ถ้าภิกษุณีทำการคั่วเองเป็นต้นซึ่งข้าวเปลือกสดนั้นแล้วฉัน เป็นปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 203
เหมือนกัน. แต่เมื่อให้ผู้อื่นทำการคั่วเป็นต้นแล้วฉัน เป็นทุกกฏ. คำในมหา
ปัจจรีนั้น ผิดทั้งข้างต้นทั้งข้างปลาย. ที่จริงไม่มีความแปลกกันในการทำเอง
หรือในการใช้ให้ทำ ซึ่งกิจมีการคั่วเป็นต้นนั้น. แต่ในมหาอรรถกถาท่านกล่าว
ไว้โดยไม่แปลกกันว่า เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณีผู้ฉันข้าวเปลือกสดที่ภิกษุณีอื่นออก
ปากขอมา
บทว่า อาพาธปจฺจยา ความว่า ไม่เป็นอาบัติ เพราะออกปากขอ
ข้าวเปลือก เพื่อต้องการทำการนึ่งตัวเป็นต้น (การเข้ากระโจม). ท่านกล่าวไว้
ในมหาปัจจรีว่า ก็การรับเอาข้าวเปลือกที่ได้มาด้วยการไม่ได้ออกปากขอ เพื่อ
ประโยชน์แก่นวกรรม ควรอยู่.
สองบทว่า อปรณฺณ วิญฺญาเปติ มีความว่า เว้นธัญญชาต ๗
ชนิดเสีย ภิกษุณีขออปรัณชาติ มีถั่วเขียวและถั่วเหลืองเป็นต้นก็ดี พืชผลมี
น้ำเต้าและฟักเขียวเป็นต้นก็ดี วัตถุอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ในที่แห่งญาติและ
คนปวารณา ไม่เป็นอาบัติ. แต่จะขอข้าวเปลือกสดแม้ในที่แห่งญาติและคน
ปวารณาไม่ควร. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๔ เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทางวาจา ๑ ทางกาย
กับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 204
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพรหมณ์คนหนึ่ง
[๑๗๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์
คนหนึ่งเป็นข้าราชการ ถูกปลดออกจากราชการแล้วคิดว่าจักทูลขอรับพระ-
ราชทานตำแหน่งเดิมคืน จึงสนานเกล้าแล้วเดินผ่านที่พำนักของภิกษุณีไปสู่
ราชตระกูล ภิกษุณีรูปหนึ่งถ่ายวัจจะลงในหม้อ แล้วเททิ้งออกนอกฝา ราดลง
บนศีรษะของพราหมณ์นั้น ดังนั้น พราหมณ์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ภิกษุณีโล้นเหล่านี้ไม่ใช่สมณะ ไม่มีสมบัติ ไฉนจึงได้เทหม้อคูถลงบน
ศีรษะเล่า เราจักเผาที่พำนักของภิกษุณีเหล่านี้เสีย ดังนั้น จึงถือคบเพลิงเข้าไป
สู่ที่พำนักภิกษุณี อุบาสกคนหนึ่งออกมาจากสำนักภิกษุณี เห็นพราหมณ์นั้น
กำลังถือคบเพลิงผ่านเข้าไปสู่ที่พำนัก จึงถามพราหมณ์ว่า ท่านผู้เจริญ เหตุไร
ท่านถือคบเพลิงเข้าไปสู่ที่พำนักภิกษุณี.
พราหมณ์ตอบว่า ท่านผู้เจริญ เพราะภิกษุณีโล้นเหล่านี้เป็นสตรีไม่มี
สมบัติ เทหม้อคูถลงบนศีรษะของเรา ๆ จึงจักเผาสำนักของภิกษุณีเหล่านี้เสีย.
อุบาสกชี้แจงว่า ไปเถิด ท่านผู้เจริญ นั่นเป็นมงคล ท่านจักได้
ทรัพย์ ๑,๐๐๐ ตำลึง และตำแหน่งเดิมคืน.
ฝ่ายพราหมณ์นั้นสนานเกล้าแล้วไปสู่ราชตระกูล ได้ทรัพย์พระราชทาน
๑,๐๐๐ ตำลึง และตำแหน่งเดิมนั้นคืน อุบาสกนั้นจึงเข้าไปสู่ที่พำนักภิกษุณี
แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายแล้วขู่สำทับ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 205
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เทอุจจาระทิ้งออกภายนอกฝาที่พำนักเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีเทอุจจาระทิ้งออกภายนอกฝาที่พำนัก จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้เทอุจจาระทิ้งออกภายนอกฝาที่พำนักเล่า การกระทำของพวกนาง
นั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจะยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด เทหรือให้เท ซึ่งอุจจาระก็ดี
ปัสสาวะก็ดี หยากเยื่อก็ดี ของเป็นเดนก็ดี ณ ภายนอกฝาที่พำนักก็ดี
ณ ภายนอกกำแพงก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพรามหณ์คนหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 206
ที่ชื่อว่า อุจจาระ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่าคูถ.
ที่ชื่อว่า ปัสสาวะ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่ามูตร.
ที่ชื่อว่า หยากเยื่อ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกว่าขยะมูลฝอย.
ที่ชื่อว่า ของเป็นเดน ได้แก่ อามิสเป็นเดน หรือกระดูก หรือน้ำ
ที่เป็นเดน.
ที่ชื่อว่า ฝา ได้แก่ฝา ๓ ชนิด คือ ฝาอิฐ ฝาศิลา ฝาไม้.
ที่ชื่อว่า กำแพง ได้แก่ กำแพง ๓ ชนิด คือ กำแพงอิฐ กำแพง
ศิลา กำแพงไม้.
บทว่า ภายนอกฝา คือ ข้างนอกฝาที่อยู่.
บทว่า ภายนอกกำแพง คือ ข้างนอกกำแพง.
บทว่า เท ความว่า เทเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้เท ความว่า ใช้คนอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้เขาครั้งเดียว
เขาเทแม้หลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๑๗๗] มองดูก่อนแล้วจึงเท ๑ เทในที่ที่เขาไม่ใช้ ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 207
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-
ราชภัฏ (พระราชทรัพย์) คือ ภาษี ส่วยสาอากรของหลวง พราหมณ์
นี้ยักยอกเอาไป เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงชื่อว่านิพพิฏฐราชภัฏ (ผู้ถูก
ปลดออกจากราชการ). อธิบายว่า ผู้รับตำแหน่งอย่างหนึ่ง ทางด้านส่วยสาอากร
ได้ยักยอกเบียดบังเอาผลกำไรจากตำแหน่งนั้น.
ข้อว่า ตเยว ภฏปถ ยาจิสฺสามิ ได้แก่ พราหมณ์นั้นคิดคำนึง
อยู่ว่า เราถวายส่วยแก่นายหลวงแล้ว จักทูลขอพระราชทานรับตำแหน่งเดิมนั้น
แหละคืน.
บทว่า ปริภาสิ ได้แก่ อุบาสกนั้นขู่สำทับภิกษุณีเหล่านั้นว่า พวก
ท่านอย่าได้ทำอย่างนี้อีกต่อไปนะ.
บทว่า สย ฉฑฺเฑติ มีความว่า เมื่อเททิ้ง ๔ วัตถุทิ้ง ด้วย
ประโยคเดียว เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว. เมื่อทิ้งทีละอย่าง ๆ เป็นอาบัติมาก
ตามจำนวนวัตถุ. แม้ในการสั่ง ก็นัยนี้นั่นแล. ถึงในการทิ้งไม้ชำระฟัน ก็
เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีเหมือนกัน. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุในที่ทั้งปวง. บทที่
เหลือ ตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓
ฉะนี้แล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 208
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๗๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์
คนหนึ่งมีนาข้าวเหนียวอยู่ใกล้ที่พำนักของภิกษุณี ภิกษุณีทั้งหลายเทอุจจาระ
บ้าง ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง ทิ้งลงในนา พราหมณ์
นั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ทำนาข้าวเหนียว
ของข้าพเจ้าให้เสียหายเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพราหมณ์นั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลายจึงได้เทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง
ลงในของเขียวสดเล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีเทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง
ลงในของเขียวสด จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็น
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 209
เดนบ้าง ลงในของเขียวสดเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด เท หรือให้เท ซึ่งอุจจาระก็ดี
ปัสสาวะก็ดี หยากเยื่อก็ดี ของเป็นเดนก็ดี ลงในของเขียวสด เป็น
ปาจิตตีย์ .
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๙] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า อุจจาระ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่าคูถ.
ที่ชื่อว่า ปัสสาวะ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่ามูตร.
ที่ชื่อว่า หยากเยื่อ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่าขยะมูลฝอย.
ที่ชื่อว่า ของเป็นเดน ได้แก่ อามิสเป็นเดน หรือกระดูก หรือน้ำ
ที่เป็นเดน.
ที่ชื่อว่า ของเขียวสด ได้แก่ บุพพัณชาติ อปรัณชาติ ที่
ประชาชนปลูกไว้สำหรับเป็นเครื่องอุปโภคและบริโภค.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 210
บทว่า เท ความว่า เทเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้เท ความว่า ใช้คนอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้เขาครั้ง
เดียว เขาเทแม้หลายครั้ง ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๑๘๐] ของเขียวสด ภิกษุณีสำคัญว่าของเขียวสด เท หรือให้เท
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ของเขียวสด ภิกษุณีสงสัย เท หรือให้เท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ของเขียวสด ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของเขียวสด เท หรือให้เท ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
มิใช่ของเขียวสด ภิกษุณีสำคัญว่า ของเขียวสด ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่ของเขียวสด ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่ของเขียวสด ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของเขียวสด ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๘๑] มองดูก่อนแล้วจึงเท ๑ เทบนคันนา ๑ บอกขออนุญาตต่อ
เจ้าของแล้วเท ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 211
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้:-
หลายบทว่า ย มนุสฺสาน อุปโภคปริโภค โรปิต มีความว่า
ไร่นาหรือสวนผลไม้มีมะพร้าวเป็นต้น ก็ตามที เมื่อเทวัตถุเหล่านั้นทิ้งในที่ซึ่ง
เขาปลูกของเขียวสดไว้แห่งใดแห่งหนึ่ง พึงทราบความต่างแห่งอาบัติโดยนัย
ก่อนนั่นแล.
ภิกษุณีนั่งฉันอยู่ที่ไร่นาหรือสวน เคี้ยวอ้อยเป็นต้น เมื่อจะไปเทน้ำ
เป็นเดนและกระดูกเป็นต้นลงในของเขียวสด ชั้นที่สุด ทิ้งแม้มะพร้าวที่เฉาะ
หัวดื่มน้ำแล้ว ก็เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน, เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ. แต่ในพืชที่เขา
หว่านไว้ในนาที่ไถแล้ว เป็นทุกกฏแก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหมด ตลอดเวลาที่
หน่อยังไม่งอก. จะเทลงในมุมนาเป็นต้น ที่เขายังไม่ได้หว่านพืชก็ดี ในคันนา
เป็นต้นที่ปลูกพืชไม่ขึ้นก็ดี ควรอยู่. จะเทลงแม้ในที่ทิ้งขยะมูลฝอยของพวกชาว
บ้าน ก็ควร.
บทว่า ฉฑฺฑิตกฺเขตฺเต มีความว่า เมื่อพวกชาวบ้านถอนข้าวกล้า
ไปแล้ว ชื่อว่าเป็นนาร้าง. จะเทลงในนาร้างนั้นนั่นแล ควรอยู่. แต่ในไร่นา
ที่พวกชาวบ้านยังเฝ้ารักษาอยู่ ด้วยเข้าใจว่า บุพพัณชาติเป็นต้นที่เกี่ยวแล้ว
จักงอกขึ้นอีก เป็นอาบัติตามวัตถุเหมือนกัน. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นทั้งกิริยาและอกิริยา ฯ ลฯ มีเวทนา
๓ ฉะนี้แล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 212
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๘๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน
วิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้นในพระนครราชคฤห์มีมหรสพบนยอดภูเขา เหล่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ได้
พากันไปดูมหรสพบนยอดภูเขา พวกชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากันไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง
การประโคมดนตรีบ้าง เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้น พากันเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้พากันไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การ
ประโคมดนตรีบ้างเล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์พากันไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การประโคม
ดนตรีบ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงได้พากันไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การประโคมดนตรี
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 213
บ้างเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่
ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๖๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไปดูการฟ้อนรำก็ดี การขับร้อง
ก็ดี การประโคมดนตรีก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ . . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า การฟ้อนรำ ได้แก่ การฟ้อนรำอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า การขับร้อง ได้แก่ เพลงขับร้องอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า การประโคมดนตรี ได้แก่ เครื่องดีดสีตีเป่าอย่างใดอย่าง
หนึ่ง.
ภิกษุณีเดินไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนอยู่ ณ ที่ใด ยังแลเห็น
หรือได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นสายตาไปแล้ว กลับแลดูหรือฟังอีก ก็ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุณีเดินไปเพื่อจะดูเครื่องมหรสพเฉพาะอย่าง ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
ยืนอยู่ ณ ที่ใด ยังแลเห็นหรือได้ยิน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นสายตาไปแล้ว
กลับแลดูหรือฟังอีก ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 214
อนาปัตติวาร
[๑๘๔] ยืนอยู่ในอารามแลเห็นหรือได้ยิน ๑ เขาฟ้อนรำขับร้อง
หรือประโคมผ่านมายังสถานที่ภิกษุณียืนอยู่ นั่งอยู่ หรือนอนอยู่ ๑ เดินสวน
ทางไปแลเห็นหรือได้ยิน ๑ เมื่อมีกิจจำเป็นเดินผ่านไปแลเห็นหรือได้ยิน ๑
มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ลสุณวรรที่ ๑ จบ
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ นจฺจ มีความว่า พวกนักฟ้อนเป็นต้นหรือ
พวกนักเลง จงฟ้อนรำก็ตามที โดยที่สุดแม้นกยูง นกแขกเต้าและลิงเป็นต้น
ฟ้อนรำ ทั้งหมดนั่น จักเป็นการฟ้อนรำทั้งนั้น.
สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ คีต มีความว่า การขับร้องของพวกนักฟ้อน
เป็นต้น หรือการขับร้องกีฬาให้สำเร็จประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วยการสรรเสริญ
คุณพระรัตนตรัย ในเวลาที่พระอริยเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน หรือการขับร้อง
ทำนองสวดธรรมสรภัญญะของพวกภิกษุ ผู้ไม่สำรวมก็ตามที ทั้งหมดนี้จัดเป็น
การขับร้องทั้งนั้น.
สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ วาทิต มีความว่า เครื่องบรรเลงมีที่ขึ้นสาย
เป็นต้น หรือการประโคมกลองเทียมก็ตามที ชั้นที่สุดแม้การตีอุทกเภรี
(กลองน้ำ) ทั้งหมดนี้จัดเป็นการประโคมดนตรีทั้งนั้น.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 215
ข้อว่า ทสฺสนาย คจฺฉติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ได้แก่ ต้อง
อาบัติทุกกฏ โดยนับวาระย่างเท้า.
คำว่า ยตฺถ ฐิตา ปสฺสติ วา สุณาติ วา มีความว่า ภิกษุณี
เมื่อแลดูโดยประโยคเดียวเห็น ได้ฟังการขับร้อง การประโคมดนตรีของชน
เหล่านั้นนั่นแหละ เป็นปาจิตตีย์เพียงตัวเดียว แต่ถ้าเหลียวดูทิศหนึ่งแล้วเห็น
นักฟ้อน เหลียวไปดูทางอื่นอีก เห็นพวกคนขับร้อง มองไปทางอื่น เห็นพวก
คนบรรเลง เป็นอาบัติและอย่าง ๆ หลายตัว. ภิกษุณีย่อมไม่ได้เพื่อจะฟ้อนรำ
หรือขับร้อง หรือประโคมดนตรีแม้เอง. แม้จะบอกคนเหล่าอื่นว่า จงฟ้อนรำ
จงขับร้อง จงบรรเลง ก็ไม่ได้. จะกล่าวว่า อุบาสก ! พวกท่านจงให้การ
บูชาพระเจดีย์ก็ดี จะรับคำว่า ดีละ ในเมื่อเขากล่าวว่า พวกข้าพเจ้าจะทำ
การบำรุงพระเจดีย์ของพวกท่านก็ดี ย่อมไม่ได้. ท่านกล่าวไว้ในทุก ๆ
อรรถกถาว่า เป็นปาจิตตีย์ในฐานะทั้งปวง. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ. แต่เมื่อเขา
กล่าวว่า พวกข้าพเจ้าจะทำการบำรุงพระเจดีย์ของพวกท่าน ภิกษุณีจะกล่าวว่า
อุบาสก ! ชื่อว่า การทำนุบำรุง เป็นการดี ควรอยู่.
สองบทว่า อาราเม ิตา มีความว่า ภิกษุณียืนอยู่ในอารามแลเห็น
หรือได้ยินการฟ้อนรำเป็นต้น ภายในอารามก็ดี ภายนอกอารามก็ดี ไม่เป็น
อาบัติ.
สองบทว่า สติ กรณีเย มีความว่า ภิกษุณีไปเพื่อประโยชน์แก่
สลากภัตเป็นต้น หรือด้วยกรณียะอื่นบางอย่าง เห็นอยู่ หรือได้ยินอยู่ในสถาน
ที่ตนไป ไม่เป็นอาบัติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 216
บทวา อาปาทาสุ มีความว่า ภิกษุณีถูกอุปัทวะเช่นนั้นเบียดเบียน
เข้าไปสู่สถานที่ดูมหรสพ เข้าไปแล้วอย่างนี้ เห็นอยู่ก็ดี ได้ยินอยู่ก็ดี ไม่เป็น
อาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ลสุณวรรค ที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 217
อันธการวรรคที่ ๒
สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี
[๑๘๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ญาติผู้ชาย
ของภิกษุณีอันเตวาสินีแห่งภัททากาปิลานีเถรี ได้จากบ้านไปสู่พระนครสาวัตถี
ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ฝ่ายภิกษุณีนั้นกับญาติผู้ชายนั้นหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วม
บ้าง เจรจาร่วมบ้าง ในเวลาค่ำมืดไม่มีแสงสว่าง.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษในเวลาค่ำมืดที่ไม่มี
แสงสว่างหนึ่งต่อหนึ่งเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง ในเวลาค่ำมืด
ที่ไม่มีแสงสว่าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง จึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง ในเวลาค่ำมืด
ที่ไม่มีแสงสว่างเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 218
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วมก็ดี
เจรจาร่วมก็ดี ในเวลาค่ำคืนไม่มีประทีป เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี จบ
สิกขาบทวิภงค์
[๑๘๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ในเวลาค่ำมืด ได้แก่ เวลาพระอาทิตย์ตกดินแล้ว.
บทว่า ไม่มีประทีป คือ ไม่มีแสงสว่าง.
ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย มิใช่
สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถจะยืนร่วม เจรจาร่วมได้.
บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.
บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือบุรุษหนึ่ง และภิกษุณีรูปหนึ่ง.
บทว่า ยืนร่วมก็ดี คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยืนร่วม หรือเจรจาร่วม พ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม กับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์หรือ
สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 219
อนาปัตติวาร
[๑๘๗] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน ๑ ไม่เพ่งที่ลับ
ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งอันธการวรรค พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อปฺปทีเป คือในที่ไม่มีแสงสว่าง ด้วยบรรดาแสงสว่างมี
ประทีป ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และไฟเป็นต้น แม้อย่างหนึ่ง. ด้วยเหตุนั้น
นั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า อปฺปทีเป นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ว่า อนาโลเก.
บทว่า สลฺลปยฺย วา ได้แก่ กล่าวถ้อยคำเกี่ยวด้วยการครองเรือน
สองบทว่า อรโหเปกฺขา อญฺาวิหิตา มีความว่า ไม่เพ่งความ
ยินดีในที่ลับ เป็นผู้ส่งใจไปอื่น จากความยินดีในที่ลับ ไต่ถามถึงญาติ หรือ
เชื้อเชิญเขาในการถวายทานก็ดี ในการบูชาก็ดี. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจไถยสัตถสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑
ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ
กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ แล.
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 220
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี
[๑๘๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ญาติผู้ชาย
ของภิกษุณีอันเตวาสินีแห่งภัททากาปิลานเถรี ได้จากบ้านไปสู่พระนครสาวัตถี
ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ฝ่ายภิกษุณีนั้นทราบแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ห้ามการยืนร่วมเจรจามาร่วม กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในเวลาค่ำมืด ไม่มีประทีป
จึงยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษผู้นั้นและหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่กำบัง.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อ
หนึ่ง ในสถานที่กำบังเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณียืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่
กำบัง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุ-
ณีจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่กำบังเล่า
การทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 221
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วมก็ดี
เจรจาร่วมก็ดี ในสถานที่กำบัง เป็นปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๙] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่าผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สถานที่กำบัง ได้แก่ สถานที่ที่เขาบังด้วยฝา บานประตู
ลำแพน ม่าน ต้นไม้ เสา หรือฉางข้าว อย่างใดอย่างหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย
มิใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถ จะยืนร่วม เจรจา
ร่วมได้.
บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.
คำว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง และภิกษุณีรูปหนึ่ง.
บทว่า ยินร่วมก็ดี คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้องอาบัติ-
ปาจิตตีย์.
บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 222
ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม พ้นช่วงระยะแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ยืนร่วมหรือเจรจาร่วมกับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์ หรือ
สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๑๙๐] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน ๑ ไม่เพ่งที่ลับยืน
ร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้ :-
เฉพาะคำว่า ปฏิจฺฉนฺเน โอกาเส (สถานที่กำบัง) นี้เท่านั้น
ต่างกัน. บทที่เหลือทั้งหมด เป็นอันเดียวกับสิกขาบทก่อนนั่นแล.
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 223
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี
[๑๙๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ญาติผู้ชาย
ของภิกษุณีอันเตวาสินีแห่งพระภัททากาปิลานีเถรี ได้จากบ้านไปสู่พระนคร
สาวัตถีด้วยกรณียกิจบางอย่าง ฝ่ายภิกษุณีนั้นทราบแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงห้ามการยืนร่วม เจรจาร่วม กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่กำบัง จึง
ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษคนนั้นแหละหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่แจ้ง
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง
ในสถานที่แจ้งเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณียืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่
แจ้ง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่แจ้งเล่า
การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 224
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยินร่วมก็ดี
เจรจาร่วมก็ดี ในสถานที่แจ้ง เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๙๒า บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
ที่ชื่อว่า สถานที่แจ้ง ได้แก่ สถานที่อันมิได้กำบังด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
คือ ฝา บานประตู ลำแพน ม่าน ต้นไม้ เสา หรือฉางข้าว.
ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย
มิใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถจะยืนร่วม เจรจา
ร่วมได้.
บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.
บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง และภิกษุณีรูปหนึ่ง.
บทว่า ยินร่วมก็ดี คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 225
ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม พ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม กับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์ หรือ
สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๑๙๓] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน ๑ ไม่เพ่งที่ลับ ยืน
ร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :-
คำว่า อชฺโฌกาเส (ในสถานที่แจ้ง) ต่างกัน. คำที่เหลือทั้งหมด
เป็นเช่นนั้นนั่นแล.
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 226
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๙๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชต-
วัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทา ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หูบ้าง กับบุรุษ หนึ่งต่อ
หนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณีเป็นเพื่อน
กลับไปบ้าง.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หู
บ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่ง
บ้าง ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้างเล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทายืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หูบ้าง กับบุรุษ
หนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณี
ผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้าง จริงหรือ.
ภิกษุณีทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หูบ้าง กับบุรุษ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 227
หนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณี
ผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้างเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยินร่วมก็ดี เจรจาร่วมก็ดี กระซิบ
ใกล้หูก็ดี กับบุรุษ หนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนก็ดี ในตรอกตันก็ดี ใน
ทางสามแพร่งก็ดี ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๙๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ถนน ได้แก่ ทางเดิน.
ที่ชื่อว่า ตรอกตัน ได้แก่ ทางที่เข้าทางใดออกทางนั้น.
ที่ชื่อว่า ทางสามแพร่ง ได้แก่ชุมทางที่เที่ยวเตร่.
ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย
มิใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถจะยืนร่วม เจรจา
ร่วมได้.
บทว่า กับ คือด้วยกัน.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 228
บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง และภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง.
บทว่า ยินร่วมก็ดี คือ ยืนร่วมในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า กระซิบใกล้หูก็ดี คือ บอกเนื้อความใกล้หูของบุรุษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
พากย์ว่า ภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปก็ดี คือ ประสงค์จะประพฤติ
อนาจาร จึงส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไป ต้องอาบัติทุกกฏ, เมื่อภิกษุณีผู้เป็น
เพื่อนละไปใกล้จะพ้นสายตา หรือสุดเสียงสั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อภิกษุณี
ผู้เป็นเพื่อนพ้นไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยืนร่วม หรือเจรจาร่วม พ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ยืนร่วม หรือเจรจาร่วม กับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์
หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฎ.
อนาปัตติวาร
[๑๙๖] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน ๑ ไม่เพ่งที่ลับ ยืน
ร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ ไม่ประสงค์จะ
ประพฤติอนาจาร มีกิจจำเป็นจึงส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับ ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 229
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-
ที่ใกล้หู ท่านเรียกว่า นิกกัณณิกะ. มีคำอธิบายว่า กระซิบที่ใกล้หู
สองบทว่า สติ กรณีเย มีความว่า มีกิจจำเป็นเพื่อต้องการจะนำ
สลากภัตเป็นต้นมา หรือเพื่อต้องการจะเก็บงำของที่วางไว้ไม่ดีในวัด. คำที่เหลือ
ตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นเดียวกันกับสิกขาบทก่อนทั้งนั้นแล.
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 230
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๑๙๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
รูปหนึ่งเป็นกุลุปิกาของสกุลแห่งหนึ่ง รับภัตตาหารเป็นประจำ ภิกษุณีนั้น
ครั้นเวลาเช้า จึงครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เดินผ่านเข้าไปทางสกุลนั้น
ครั้นถึงจึงนั่งบนอาสนะแล้วไม่บอกลาเจ้าของบ้านกลับไป ทาสีแห่งสกุลนั้นมัว
สาละวนเก็บกวาดเรือน ได้เก็บอาสนะนั้นลงในกระโถน คนในบ้านไม่เห็น
อาสนะ จึงถามภิกษุณีนั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า อาสนะนั้นอยู่ที่ไหน.
ภิกษุณีนั้นปฏิเสธว่า อาวุโส ดิฉันไม่เห็นอาสนะนั้น.
คนเหล่านั้นกล่าวคาดคั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านจงให้อาสนะนั้น
ดังนี้แล้ว ได้บอกเลิกถวายภัตตาหารประจำ ภายหลังเขาชำระเรือนพบอาสนะ
นั้นอยู่ในกระโถน จึงขอขมาโทษภิกษุณีนั้น แล้วได้เริ่มต้นถวายภัตตาหาร
ประจำต่อไป.
ส่วนภิกษุณีนั้นได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็น
ผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีเข้าสู่สกุลใน
เวลาก่อนอาหารนั่งบนอาสนะแล้ว จึงไม่บอกลาเจ้าของบ้านก่อนกลับเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีเข้าสู่สกุลในเวลาก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะแล้ว ไม่บอกลา
เจ้าของบ้านก่อนกลับ จริงหรือ ?
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 231
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีเข้าสู่สกุลในเวลาก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะแล้ว จึงได้ไม่บอกลาเจ้าของ
บ้านก่อนกลับเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๗๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด เข้าไปสู่สกุลทั้งหลาย ในเวลา
ก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะแล้ว ไม่บอกลาเจ้าของบ้าน หลีกไป
เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๙๘] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
ที่ชื่อว่า เวลาก่อนอาหาร คือเวลาอรุณขึ้นทราบเท่าเที่ยงวัน.
ที่ชื่อว่า สกุล ได้แก่สกุล ๔ คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ สกุล
แพศย์ สกุลศูทร.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 232
บทว่า เข้าไป คือ ไปในสกุลนั้น.
ที่ชื่อว่า อาสนะ ได้แก่ เอกเทสที่เขาเรียกกันว่าที่สำหรับนั่งพับ
แพนงเชิง.
บทว่า นั่ง คือ นั่งบนอาสนะนั้น.
คำว่า ไม่บอกลาเจ้าของบ้าน หลีกไป ความว่า ไม่อำลาคนใน
สกุลนั้นซึ่งเป็นเจ้าของถวาย.
เดินพ้นชายคา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในที่แจ้ง เดินล่วงอุปจาร ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๑๙๙] ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้บอกลา หลีกไป
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสงสัย หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสำคัญว่า บอกลาแล้ว หลีกไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
ไม่ใช่สถานที่สำหรับนั่งพับแพนงเชิง ต้องอาบัติทุกกฏ.
บอกลาแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้บอกลา ต้องอาบัติทุกกฏ.
บอกลาแล้ว ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
บอกลาแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกลาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 233
อนาปัตติวาร
[๒๐๐] บอกลาแล้วไป ๑ อาสนะเคลื่อนที่ไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มี
อันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ฆร โสเธนฺตา มีความว่า ได้ยินว่า ชนเหล่านั้นได้มี
ความปริวิตกนี้ว่า การล่วงละเมิดทางกายทางวาจาบางอย่างของพระเถรีไม่
ปรากฏ. พวกเราจงช่วยกันชำระเรือนดูบ้างก่อนเถิด เพราะฉะนั้น พวกเจ้า
ของบ้าน เมื่อชำระเรือนจึงได้พบอาสนะ.
สองบทว่า อโนวสฺสิก อติกฺกมนฺติยา มีความว่า ภิกษุณีเมื่อให้
เท้าแรกก้าวเลยไป เป็นทุกกฏ. เมื่อให้เท้าที่ ๒ ก้าวเลยไปเป็นปาจิตตีย์. แม้
ในการก้าวล่วงอุปจาร ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า คิลานาย คือ ไม่อาจจะบอกลา เพราะอาพาธเช่นนั้น.
บทว่า อาปาทาสุ มีความว่า ที่เรือนเกิดไฟไหม้ขึ้น หรือถูกพวก
โจรปล้น ในอันตรายเห็นปานนี้ ไม่บอกลาหลีกไปเสีย ไม่เป็นอาบัติ. คำที่
เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑
ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 234
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๒๐๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาเข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง บนอาสนะ
ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้าน คนในบ้านกระดากภิกษุณีถุลลนันทา ไม่กล้านั่ง ไม่
กล้านอน บนอาสนะ เขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน แม่เจ้า
ถุลลนันทา จึงได้เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง บน
อาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้านเล่า.
ภิกษุณี ทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอน
บ้าง บนอาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้านเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาเข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง
บนอาสนะไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้าน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 235
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง
บนอาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้านเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๑. ๖ อนึ่ง ภิกษุณีใด เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร
ไม่บอกกล่าวพวกเจ้าของบ้าน นั่งก็ดี นอนก็ดี บนอาสนะ เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๐๒] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า เวลาหลังอาหาร ได้แก่ เวลาเที่ยงล่วงไปแล้ว ตราบเท่า
พระอาทิตย์อัสดงคต.
ที่ชื่อว่า สกุล ได้แก่ สกุล ๔ คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์
สกุลแพศย์ สกุลศูทร.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 236
บทว่า เข้าไป คือ ไปในสกุลนั้น.
คำว่า ไม่บอกกล่าวพวกเจ้าของบ้าน คือ ไม่บอกคนในสกุลนั้น
ซึ่งเป็นเจ้าของถวาย.
ที่ชื่อว่า อาสนะ ได้แก่ สถานที่เขาเรียกกันว่าแท่นหรือเตียงอันว่าง
บทว่า นั่ง คือ นั่งลงบนอาสนะนั้น ต้องอาบัติปาจิตตียะ.
บทว่า นอน คือ นอนลงบนอาสนะนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๒๐๓] มิได้บอกกล่าว ภิกษุณีสำคัญว่ามิได้บอกกล่าว นั่งก็ดี นอน
ก็ดี บนอาสนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
มิได้บอกกล่าว ภิกษุณีสงสัย นั่งก็ดี นอนก็ดี บนอาสนะ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
มิได้บอกกล่าว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกกล่าวแล้ว นั่งก็ดี นอนก็ดี
บนอาสนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
นั่ง ณ สถานอันมิใช่แท่นหรือเตียง ต้องอาบัติทุกกฏ.
บอกกล่าวแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังมิได้บอกกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ.
บอกกล่าวแล้ว ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
บอกกล่าวแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกกล่าวแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 237
อานาปัตติวาร
[๒๐๔ ] บอกแล้ว นั่งก็ดี นอนก็ดี บนอาสนะ ๑ บนอาสนะที่เขา
ปูไว้เป็นประจำ ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่
ต้องอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๖
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อภินีสีเทยฺย แปลว่า พึงนิ่ง. เมื่อนั่งแล้วลุกไป เป็นอาบัติ
ตัวเดียว. เมื่อไม่นั่ง นอนแล้วไป เป็นอาบัติตัวเดียว. เมื่อนั่งแล้วนอน
เป็นอาบัติ ๒ ตัว.
บทว่า ธุวปญฺตฺเต ได้แก่ อาสนะที่เขาปูไว้เป็นประจำ เพื่อ
ประโยชน์แก่ภิกษุณีทั้งหลาย. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนกับกฐินสิกขาบท ฯลฯ มีเวทนา ๓
ฉะนี้แล.
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 238
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๒๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
หลายรูปพากันไปสู่พระนครสาวัตถีในโกศลชนบท พอเข้าถึงบ้านหมู่หนึ่งใน
เวลาเย็นได้เข้าสู่สกุลพราหมณ์สกุลหนึ่ง ขอที่พักแรม พราหมณีจึงได้กล่าว
คำนี้กะภิกษุณีเหล่านั้นว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ขอได้โปรดรอจนกว่าท่านพราหมณ์
จะมา.
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า จนกว่าท่านพราหมณ์จะมา ดังนี้ แล้วได้จัด
ปูลาดเครื่องสำหรับนอนแล้ว บางพวกนั่ง บางพวกนอน.
ตกค่ำพราหมณ์มาเห็นแล้วได้ถามพราหมณีนั้นว่า สตรีเหล่านั้นคือใคร
กัน พราหมณีตอบว่า ภิกษุณีเจ้าค่ะ.
พราหมณ์กล่าวว่า จงขับไล่ไป สตรีศีรษะโล้นเหล่านี้เป็นหญิงเสเพล
ดังนี้ แล้วให้ขับไล่ออกจากเรือนไป.
ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เข้าสู่สกุลในเวลาวิกาล แล้วไม่บอก
เจ้าของบ้าน ปูลาดเองบ้างให้ผู้อื่นปูลาดบ้าง ซึ่งเครื่องนอน แล้วนั่งบ้าง
นอนบ้างเล่า. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 239
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายเข้าสู่สกุลในเวลาวิกาล แล้วไม่บอกพวกเจ้าของบ้าน
ปูลาดเองบ้าง ให้ผู้อื่นปูลาดบ้าง ซึ่งเครื่องนอน แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง จริง
หรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เข้าสู่สกุลในเวลาวิกาล แล้วไม่บอกพวกเจ้าของบ้าน ลาด
เองบ้าง ให้ผู้อื่นลาดบ้าง ซึ่งเครื่องนอน แล้วนั่งบ้าง นอนบ้างเล่า การ
กระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๗๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด เข้าไปสู่สกุลทั้งหลาย ในเวลา
วิกาลไม่บอกพวกเจ้าของบ้าน ลาดก็ดี ให้ลาดก็ดี ซึ่งเครื่องนอน
แล้ว นั่งก็ดี นอนก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๐๖] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 240
ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล ได้แก่ เวลาตั้งแต่อาทิตย์อัศดงคตตราบเท่าถึง
อรุณขึ้น.
ที่ชื่อว่า สกุล ได้แก่ สกุล ๔ คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ สกุล
แพศย์ สกุลศูทร.
บทว่า เข้าไป คือ ไปในสกุลนั้น.
คำว่า ไม่บอกพวกเจ้าของบ้าน คือ ไม่บอกคนในสกุลนั้นซึ่งเป็น
เจ้าของถวาย.
ที่ชื่อว่า เครื่องนอน ได้แก่ เครื่องปูลาด โดยที่สุดแม้เครื่องลาด
ที่ทำด้วยใบไม้.
บทว่า ลาด คือ ลาดเอง.
บทว่า ให้ลาด คือ ใช้คนอื่นลาด.
บทว่า นั่ง คือ นั่งบนเครื่องนอนที่ลาดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า นอน คือ นอนบนเครื่องนอนที่ลาดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๒๐๗] มิได้บอกเจ้าของ ภิกษุณีสำคัญว่ามิได้บอก ลาดก็ดี ให้ลาด
ก็ดี ซึ่งเครื่องนอน แล้วนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
มิได้บอกเจ้าของ ภิกษุณีสงสัย ลาดก็ดี ให้ลาดก็ดี ซึ่งเครื่องนอน
แล้วนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
มิได้บอกเจ้าของ ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ลาดก็ดี ให้ลาดก็ดี ซึ่ง
เครื่องนอน แล้วนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 241
ทุกะทุกกฏ
บอกเจ้าของแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ามิได้บอก ต้องอาบัติทุกกฏ.
บอกเจ้าของแล้ว ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
บอกเจ้าของแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๒๐๘] ภิกษุณีบอกเจ้าของแล้ว ลาดก็ดี ให้ลาดก็ดี ซึ่งเครื่องนอน
แล้วนั่งหรือนอน ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗
แม้ในสิกขาบทที่ ๗ บัณฑิตพึงทราบคำทั้งหมด โดยนัยดังได้กล่าว
แล้วในสิกขาบทที่ ๖ นั่นแล.
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 242
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี
[๒๐๙] โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
อันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี ย่อมตั้งใจปฏิบัติพระภัททากาปิลานีเถรี ๆ
จึงได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีทั้งหลายว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ภิกษุณีรูปนี้ปฏิบัติข้าพเจ้า
โดยเคารพ ข้าพเจ้าจักให้จีวรแก่ภิกษุณีรูปนี้ แต่ภิกษุณีรูปนั้นให้ภิกษุณีอื่น
โพนทะนาโดยให้เชื่อถือผิด เข้าใจผิดว่า แม่เจ้า ข่าวว่า ดิฉันมิได้ปฏิบัติ
แม่เจ้าโดยเคารพ ข่าวว่า แม่เจ้าจักไม่ให้จีวรแก่ดิฉัน ดังนี้ .
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ให้ภิกษุณีอื่นโพนทะนาโดยให้เชื่อถือผิด เข้าใจผิด
เล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีให้ภิกษุณีอื่นโพนทะนา โดยให้เชื่อถือผิด เข้าใจผิด จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงได้ให้ภิกษุณีอื่นโพนทะนาโดยให้เชื่อถือผิด เข้าใจผิดเล่า การกระทำ
ของนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 243
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๗๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้คนอื่นโพนทะนา โดยให้เชื่อ
ผิด เข้าใจผิด เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๑๐] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ . . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า โดยให้เชื่อผิด คือ โดยให้เชื่อเป็นอย่างอื่น.
บทว่า เข้าใจผิด คือ ให้เข้าใจเป็นอย่างอื่น.
บทว่า คนอื่น ได้แก่ อุปสัมบัน ให้อุปสัมบันโพนทะนา ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๒๑๑] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ให้โพนทะนา ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ให้โพนทะนา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า อนุปสัมบัน ให้โพนทะนา ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 244
จตุกกะทุกกฏ
ภิกษุณีให้อนุปสัมบันโพนทะนา ต้องอาบัติทุกปาจิตตีย์.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๑๒] วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อยอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๘
คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๘ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็น
กิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต
เป็นทุกขเวทนาแล.
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 245
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๒๑๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายหาบวิขารของตนไม่พบ ต่างก็ถามภิกษุณีจัณฑกาลีดังนี้ว่า แม่เจ้า
ท่านเห็นบริขารของพวกดิฉันบ้างไหม.
ภิกษุณีจัณฑกาลีเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ข้าพเจ้าคนเดียวเป็น
โจรแน่ละ ข้าพเจ้าคนเดียวเป็นคนไม่ละอายแน่ละ เพราะแม่เจ้าพวกที่หา
บริขารของตนไม่พบ ต่างก็มากล่าวอย่างนี้กะข้าพเจ้าว่า แม่เจ้า ท่านเห็น
บริขารของพวกดิฉันบ้างไหม แม่เจ้าทั้งหลาย ถ้าข้าพเจ้าถือเอาบริขารของ
พวกท่านไป ข้าพเจ้าก็มิใช่สมณะ ย่อมเคลื่อนจากพรหมจรรย์ ต้องตกนรก
แม้แม่เจ้าที่กล่าวอย่างนั้นกะข้าพเจ้าด้วยคำไม่จริง ก็ขอให้เป็นไม่ใช่สมณะ
ต้องเคลื่อนจากพรหมจรรย์ ต้องตกนรก.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าจัณฑกาลีจึงได้แช่งตนและคนอื่นด้วยนรกบ้าง ด้วย
พรหมจรรย์บ้างเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีแช่งตนและคนอื่น ด้วยนรกบ้าง ด้วยพรหมจรรย์บ้าง
จริงหรือ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 246
ภิกษุณีทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจัณฑกาลีจึงได้แช่งตนและคนอื่น ด้วยนรกบ้าง ด้วยพรหมจรรย์บ้าง
เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๗๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด แช่งตนก็ดี คนอื่นก็ดี ด้วยนรก
หรือด้วยพรหมจรรย์ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๑๔] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ตน คือ ตัวของตัวเอง.
บทว่า คนอื่น ได้แก่ อุปสัมบัน แช่ง ด้วยคำว่านรกก็ดี ด้วย
คำว่าพรหมจรรย์ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 247
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๒๑๕] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน แช่งด้วยนรกก็ดี ด้วย
พรหมจรรย์ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย แช่งด้วยนรกก็ดี ด้วยพรหมจรรย์ก็ดี ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน แช่งด้วยนรกก็ดี ด้วย
พรหมจรรย์ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ปัญจกะทุกกฏ
ภิกษุณีแช่งด้วยคำว่ากำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็ดี ด้วยคำว่าเปรตวิสัยก็ดี
ด้วยคำว่าเป็นคนโชคร้ายก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
แช่งอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๑๖] มุ่งอรรถ ๑ มุ่งธรรม ๑ มุ่งสั่งสอน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ-
กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 248
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อภิสเปยฺย ได้แก่ พึงทำการสบถ. อธิบายว่า ที่ชื่อว่าแช่ง
ด้วยนรก ได้แก่ ด่าทอ ปริภาษ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ขอให้เราเกิดใน
นรก เกิดในอเวจีเถิด ขอให้ผู้ขโมย จงเกิดในนรก เกิดในอเวจีเถิด. ที่ชื่อ
ว่า แช่งด้วยพรหมจรรย์ ได้แก่ ด่าทอ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ขอให้เราจง
เป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้นุ่งผ้าขาว เป็นปริพาชิกาเถิด. หรือภิกษุณีนอกนี้ จงเป็น
เช่นนี้เถิด. เป็นปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด แต่เมื่อด่าโดยนัยเป็นต้นว่า ขอให้เรา
เป็นนางสุนัข เป็นนางสุกร เป็นคนตาบอด เป็นคนง่อยเถิด. เว้นนรกและ
และพรหมจรรย์เสีย เป็นทุกกฏทุก ๆ คำพูด.
บทว่า อตฺถปุเรกฺขาราย คือ ผู้กล่าวอรรถกถา.
บทว่า ธมฺมปุเรกฺขาราย คือ ผู้สอนบอกบาลี.
บทว่า อนุสาสนีปุเรกฺขาราย มีความว่า เมื่อตั้งอยู่ในอนุสาสนี
กล่าวสอนอย่างนี้ว่า แม้บัดนี้ ท่านยังเป็นเช่นนี้ ดีละท่านจงงดเว้น ถ้าท่าน
ไม่งดเว้น จักทำกรรมเห็นปานนี้อีก ก็จักเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจ-
ฉานแน่นอน ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก-
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล.
อรรกกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 249
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๒๑๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชต-
วัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
จัณฑกาลี ทะเลาะกับภิกษุณีทั้งหลาย แล้วร้องไห้ประหารตนเอง.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าจัณฑกาลีจึงได้พร่ำตีตนแล้วร้องไห้เล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีจัณฑกาลีพร่ำตีตนแล้วร้องไห้ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจัณฑกาลีจึงได้พร่ำตีตนแล้วร้องไห้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๗๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด พร่ำตีตนแล้วร้องให้ เป็นปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 250
สิกขาบทวิภังค์
[๒๑๘] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
บทว่า ตน คือ ร่างกายของตน.
พร่ำตี แล้วร้องไห้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ดี ไม่ร้องไห้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ร้องไห้ ไม่ตี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๑๙] อันความเสื่อมแห่งญาติ อันความวอดวายแห่งโภคะ หรือ
อันความเบียนแห่งโรคกระทบกระทั่ง จึงร้องไห้ ไม่ตีตน ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อันธการวรรคที่ ๒ จบ
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๑๐ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระ
เป็นสมุฏฐาน เกิดทางกายวาจาและจิต เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล.
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อรรถกถาอันธการวรรคที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 251
ปาจิตตีย์ นัคควรรคที่ ๓
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๒๒๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
หลายรูป เปลือยกายอาบน้ำในแม่น้ำอจิรวดีท่าเดียวกันกับพวกหญิงแพศยา ๆ
ได้พูดยั่วเย้าภิกษุณีเหล่านั้นว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านยังเป็นสาว จะประ-
พฤติพรหมจรรย์ไปทำไมกัน ธรรมดาบุคคลต้องบริโภคกามมิใช่หรือ ต่อภาย
แก่พวกท่านจึงค่อยประพฤติพรหมจรรย์เถิด อย่างนี้พวกท่านจักได้รับประ-
โยชน์ทั้งสองประการ พวกภิกษุณีถูกพวกหญิงแพศยาพูดยั่วเย้าอยู่ ได้เป็นผู้
เก้อเขิน ครั้นกลับไปสู่สำนักแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณี
ทั้งหลายได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย อาศัย
อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑. . . เพื่อถือ
ตามพระวินัย ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง.
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 252
พระบัญญัติ
๗๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด เปลือยกายอาบน้ำ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๒๑] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
บทว่า เปลือยกายอาบน้ำ คือ ไม่นุ่งผ้า หรือไม่ห่มผ้าอาบน้ำ
เป็นทุกกฏในประโยค อาบเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๒๒๒] มีจีวรถูกโจรชิงไป หรือจีวรหาย ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต
๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
อรรถกถาปาจิตตีย์ นัคควรรคที่ ๓
สิกขาบทที่ ๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งนัคควรรค พึงทราบดังนี้:-
บทว่า พฺรหมฺจริย จิณฺเณน คือ ด้วยพรหมจรรย์ที่พวกท่านประ-
พฤติกัน. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ หรือใน
อรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติอย่างนี้ว่า ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 253
บทว่า อจฺฉินฺนจีวรกาย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาผ้า
อาบน้ำ มิได้ทรงหมายเอาจีวรชนิดอื่น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุณีเปลือยกาย
อาบน้ำ เมื่อผ้าอาบน้ำถูกชิงไปก็ดี หายเสียก็ดี ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าแม้นว่า
จีวรคือผ้าอาบน้ำมีค่ามาก ภิกษุณีไม่อาจเพื่อจะนุ่งออกไปภายนอกได้ แม้อย่าง
นี้ จะเปลือยกายอาบน้ำ ก็ควร. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 254
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๒๒๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุณีทั้งหลายแล้ว ภิกษุณีเหล่า
ฉัพพัคคีย์ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแล้ว จึงใช้ผ้า
อาบน้ำไม่มีประมาณ เลื้อยข้างหน้าบ้าง เลื้อยข้างหลังบ้าง เที่ยวไป.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์ จึงได้ใช้ผ้าอาบน้ำไม่มีประมาณเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าอาบน้ำไม่มีประมาณ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงได้ใช้ผ้าอาบน้ำไม่มีประมาณเล่า การกระทำของพวกนาง
นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 255
พระบัญญัติ
๗๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ผู้จะให้ทำผ้าอาบน้ำ พึงให้ทำให้
ได้ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ
ด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้น เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัด
เสีย.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๒๔] ที่ชื่อว่า ผ้าอาบน้ำ ได้แก่ ผ้าสำหรับนุ่งอาบน้ำ
บทว่า ผู้จะให้ทำ อธิบายว่า ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องทำ
ให้ได้ประมาณ ประมาณในคำนั้นดังนี้ คือ โดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ
ด้วยคืบสุคต ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นทุกกฏใน
ประโยค ได้มาพึงตัดเสีย แล้วแสดงอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
จตุกกะปาจิตตีย์
[๒๒๕] ผ้าอาบน้ำที่ตนทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
ผ้าอาบน้ำที่ตนทำค้างไว้ ให้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ผ้าอาบน้ำที่ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ผ้าอาบน้ำที่ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 256
ทุกะทุกกฏ
ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ได้ผ้าอาบน้ำที่คนอื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๒๖] ทำให้ได้ประมาณ ๑ ทำหย่อนกว่าประมาณ ๑ ได้ผ้าอาบน้ำ
ที่ผู้อื่นทำไว้เกินประมาณ ตัดให้ได้ประมาณแล้วใช้สอย ๑ ทำเป็นเพดาน ผ้า
ลาดฟื้นม่าน ฟูก หรือหมอน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๒
คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๒ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖เป็น
กิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มี
จิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 257
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๒๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
รูปหนึ่งเอาผ้าสำหรับทำจีวร ซึ่งมีราคามากมาทำจีวร เย็บจีวรให้เสียไป ภิกษุณี
ถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีรูปนั้นว่า แม่เจ้า ผ้าสำหรับทำจีวรของท่าน
ผืนนี้เนื้อดี แต่ทำจีวรไม่ดี เย็บไม่สวย.
ภิกษุณีรูปนั้นถามว่า แม่เจ้า ดิฉันจักเลาะออก ท่านจักเย็บให้หรือ.
ภิกษุณีถุลลนันทาตอบว่า จ้ะ ดิฉันจักเย็บให้.
ครั้นแล้วภิกษุณีรูปนั้นได้เลาะจีวรนั้นให้แก่ภิกษุณีถุลลนันทา ๆ กล่าว
ว่าดิฉันจักเย็บให้ ดิฉันจักเย็บให้ แล้วไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บ
ดังนั้นภิกษุณีรูปนั้นจึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันนาให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้ว จึงไม่เย็บให้ ไม่
ขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บให้เล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้วไม่เย็บให้ ไม่ขวนขวายให้
ผู้อื่นเย็บให้ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 258
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้ว จึงได้ไม่เย็บให้ ไม่ขวนขวาย
ให้ผู้อื่นเย็บให้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๗๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวรของ
ภิกษุณีแล้ว เธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ทำการขวน-
ขวายเพื่อให้เย็บ พ้น ๔-๕ วันไป เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทวิภังค์
[๒๒๘] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ของภิกษุณี ได้แก่ ภิกษุณีรูปอื่น.
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า เลาะ คือ เลาะด้วยตนเอง.
บทว่า ให้เลาะ คือ ให้ผู้อื่นเลาะ.
คำว่า เธอไม่มีอันตรายในภายหลัง คือ ในเมื่ออันตรายไม่มี.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 259
บทว่า ไม่เย็บ คือ ไม่เย็บด้วยตนเอง.
บทว่า ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้เย็บ คือ ไม่บังคับผู้อื่น.
คำว่า พ้น ๔-๕ วันไป คือเก็บไว้ได้ ๔-๕ วัน พอทอดธุระว่าจัก
ไม่เย็บ จักไม่ทำความขวนขวายเพื่อให้เย็บ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๒๒๙] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี
ซึ่งจีวร แล้วเธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น
๔- ๕ วันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวร แล้วเธอไม่
มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔-๕ วันไป ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวร
แล้วเธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔-๕ วัน
ไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ปัญจกะทุกกฏ
เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งบริขารอย่างอื่น แล้วเธอไม่มีอันตรายใน
ภายหลังไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔-๕ วันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี ของอนุปสัมบัน
แล้วเธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔-๕ วัน
ไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 260
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๓๐] ในเมื่อเหตุจำเป็นมี ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ ทำอยู่เกิน ๔-๕
วัน ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อนนฺตรายิกินี ได้แก่ ผู้ไม่มีอันตราย ด้วยอันตรายแม้
อย่างหนึ่ง ในอันตราย ๑๐ อย่าง.
สองบทว่า ธุร นิกฺขิตฺตมตฺเต มีความว่า ภิกษุณีทอดธุระเสียแล้ว
ถ้าแม้นภายหลังจึงเย็บ เป็นอาบัติเหมือนกัน. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 261
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๒๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุ
ณีพากันฝากผ้าจีวรไว้ในมือของภิกษุณีทั้งหลาย แล้วมีแต่ผ้าอันตรวาสกกับผ้า-
อุตราสงค์เที่ยวจาริกไปตามชนบท ผ้าจีวรเหล่านั้นถูกเก็บไว้นาน ก็ขึ้นรา
ตกหนาว ภิกษุณีพวกที่รับฝาก จึงผึ่งผ้าจีวรเหล่านั้น ภิกษุณีทั้งหลายได้ถาม
ภิกษุณีพวกที่รับฝากว่า แม่เจ้า ผ้าจีวรเหล่านี้ของใครทุกหนาว.
ภิกษุณีพวกที่รับฝากจึงได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้ฝากผ้าจีวรไว้ในมือของภิกษุณีทั้งหลายแล้วมี
แต่ผ้าอันตรสาวกกับผ้าอุตราสงค์ เที่ยวจาริกไปในชนบทเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีฝากผ้าจีวรไว้ในมือของภิกษุณีทั้งหลาย แล้วมีแต่ผ้าอันตร-
วาสกกับผ้าอุตราสงค์ เที่ยวจาริกไปในชนบท จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้ฝากผ้าจีวรไว้ในมือของภิกษุณีทั้งหลาย แล้วมีแต่ผ้าอันตรวาสก
กับผ้าอุตราสงค์ เที่ยวจาริกไปในชนบทเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 262
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๗๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังวาระผลัดเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิ อัน
มีกำหนด ๕ วันให้เกินไป เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ยังวาระผลัดเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิอันมีกำหนด ๕ วัน ให้
เกินไป อธิบายว่า ไม่นุ่ง ไม่ห่ม ไม่ผึ่งผ้าจีวรทั้ง ๕ ผืน ในวันคำรบห้า
ให้เลยวันคำรบห้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๒๓๓] เลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่าเลย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เลย ๕ วัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่เลย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ยังไม่เลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่าเลย ต้องอาบัติทุกกฎ.
ยังไม่เลย ๕ วัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 263
ไม่ต้องอาบัติ
ยังไม่เลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่เลย ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๒๓๔] นุ่ง ห่ม หรือผึ่ง จีวรทั้ง ๕ ผืนในวันคำรบห้า ๑ อาพาธ
๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๔
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-
วัน ๕ วัน ชื่อ ปัญจาหะ. ปัญจาหะนั้นเอง ชื่อว่า ปัญจาหิกะ
วาระผลัดเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิทั้งหลาย ชื่อว่า สังฆาฎิวาระ. การผลัดเปลี่ยนจีวร
๕ ผืน ที่ได้ชื่อว่าสังฆาฎิ โดยอรรถว่า สับเปลี่ยนสลับกันไป ด้วยการบริโภค
ใช้สอยบ้าง ด้วยอำนาจการผึ่งแดดบ้าง. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้ในบทภาชนะว่า ให้จีวร ๕ ผืนล่วงเลยวันคำรบ ๕ ไป.
ก็ในคำว่า อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า ในจีวรผืนเดียว
เป็นอาบัติตัวเดียว ในจีวร ๕ ผืน เป็นอาบัติ ๕ ตัว.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า จีวรมีราคาแพง เป็นขอที่ภิกษุณีไม่
อาจจะบริโภคใช้สอย เพราะอันตรายมีโจรภัยเป็นต้น ในอุปัทวะเห็นปานนี้
ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนกับกฐินสิกขาบท เป็นอกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 264
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๒๓๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
รูปหนึ่งไปบิณฑบาตกลับมาแล้ว แผ่ผึ่งจีวรที่เปียกชุ่มเหงื่อไว้แล้วเข้าสู่วิหาร
ภิกษุณีรูปหนึ่งได้ห่มจีวรผืนที่แผ่ผึ่งไว้นั้นแล้ว เข้าบ้านไปบิณฑบาต ภิกษุณี
เจ้าของออกมาถามภิกษุณีทั้งหลายว่า แม่เจ้าทั้งหลายเห็นจีวรของดิฉันบ้าไหม
ภิกษุณีทั้งหลายแจ้งความนั้นแก่เธอ ๆ จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีจึงไม่บอกกล่าวห่มจีวรของเราไปเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ไม่บอกกล่าวห่มจีวรของภิกษุณีเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีไม่บอกกล่าว ห่มจีวรของภิกษุณี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณี จึงได้ไม่บอกกล่าว ห่มจีวรของภิกษุณีเล่า การกระทำของนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 265
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้จีวรสับเปลี่ยน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า จีวรสับเปลี่ยน ได้แก่ จีวร ๕ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง
ของภิกษุณีผู้อุปสัมบัน.
ภิกษุณีนุ่งก็ดี ห่มก็ดี ซึ่งจีวรที่เจ้าของมิได้ให้เธอ หรือไม่บอกกล่าว
เจ้าของ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๒๓๗] ภิกษุณีอุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า ภิกษุณีอุปสัมบัน ใช้
จีวรสับเปลี่ยน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุณีอุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ใช้จีวรสับเปลี่ยน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุณีอุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า ภิกษุณีอนุปสัมบัน ใช้จีวร
สับเปลี่ยน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 266
จตุกกะทุกกฏ
ภิกษุณีใช้จีวรสับเปลี่ยนของภิกษุณีอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีอนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าภิกษุณีอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีอนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีอนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าภิกษุณีอนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๓๘] เจ้าของให้ หรือบอกกล่าวเจ้าของก่อน นุ่งก็ดี ห่มก็ดี ซึ่ง
จีวรนั้น ๑ ถูกชิงจีวรไป ๑ จีวรหาย ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ-
กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า จีวรสงฺกมนีย คือ จีวรที่สับเปลี่ยนกัน ความว่า จีวรที่
เป็นของภิกษุณีรูปอื่น อันภิกษุณีไม่บอกกล่าวเจ้าของก่อนถือเอาไปจะต้อง
กลับคืนให้.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ถ้าพวกโจรลักเอาผ้าที่ยังไม่ได้ห่มหรือยัง
ไม่ได้นุ่งไป. ในอันตรายเห็นปานนี้ นุ่งห่มไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนกฐินสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา
โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓
มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 267
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๒๓๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ตระกูล
อุปฐากของภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า พวกข้าพเจ้าจักถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์.
ภิกษุณีถุลลนันทาได้ทำการขัดขวางว่า พวกท่านยังมีธุระมาก มีการ
งานที่ยังจะต้องทำมาก.
ต่อมาเรือนแห่งตระกูลนั้นถูกไฟไหม้ พวกเขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ทำไทยธรรมของพวกเราให้เป็น
อันตรายเล่า พวกเราเป็นคนคลาดจากประโยชน์ทั้งสอง คือโภคะและบุญ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงได้ทำลาภ คือ จีวรของหมู่ให้เป็นอันตรายเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา ทำลาภ คือ จีวรของหมู่ให้เป็นอันตราย จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ทำลาภ คือ จีวรของหมู่ให้เป็นอันตรายเล่า การกระทำ
ของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 268
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด ทำลาภ คือ จีวรของหมู่ให้เป็น
อันตราย เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๔๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า หมู่ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีสงฆ์.
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์
กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.
บทว่า ทำ. . .ให้เป็นอันตราย คือ ทำการขัดขวางว่า เขาจะพึง
ถวายจีวรนี้ได้ด้วยวิธีไร ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทำการขัดขวางบริขารอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
ทำการขัดขวางจีวรหรือบริขารอย่างอื่น ของภิกษุณีหลายรูปก็ดี ของ
ภิกษุณีรูปเดียวก็ดี ของอนุปสัมบันก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๔๑] แสดงคุณและโทษแล้วห้าม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 269
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๖
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อญฺ ปริกฺขาร ได้แก่ บริขารชนิดใดชนิดหนึ่ง คือ
สิ่งของมีภาชนะเป็นต้น หรือเภสัชมีเนยใสและน้ำมันเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า อานิสส มีความว่า ภิกษุณีถามว่า พวกท่านมีความประสงค์
จะถวายผ้ามีราคาเท่าไร ? พวกทายกตอบว่า มีราคาเท่านี้. ภิกษุณีพูดอย่างนี้
ว่า พวกท่านจงรอไปก่อน เวลานี้ผ้ามีราคาแพงต่อไปอีกสักหน่อย เมื่อฝ้ายมา
ถึง จักมีราคาพอสมควร แล้วห้ามไว้ ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก-
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 270
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๒๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น มี
อกาลจีวรบังเกิดแก่ภิกษุณีสงฆ์แล้ว ภิกษุณีสงฆ์จึงประชุมใคร่จะแจกกัน แต่
เวลานั้นพวกภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทาได้พากันหลีกไป ภิกษุณี
ถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีทั้งหลายห้ามการแจกจีวรว่า แม่เจ้า ภิกษุณี
ทั้งหลายหลีกไปแล้ว จักแจกจีวรกันยังไม่ได้ก่อน ดังนี้ .
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวกันว่า ยังไม่แจกจีวรก่อน แล้วพากันกลับไป
เมื่อหมู่ภิกษุณีอันเตวาสินีกลับมาแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาจึงสั่งให้แจกจีวรนั้น.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนเจ้าแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ห้ามการแจกจีวรอันเป็นไปโดยชอบธรรมเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาห้ามการแจกจีวร อันเป็นไปโดยชอบธรรม จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ถุลลนันทาจึงได้ห้ามการแจกจีวร อันเป็นไปโดยชอบธรรมเล่า การกระทำของ
นางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 271
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๘๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ห้ามการแจกจีวรอันเป็นไปโดย
ชอบธรรม เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๔๓] บทว่า อนึ่ง. . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
การแจกจีวร ที่ชื่อว่า เป็นไปโดยชอบธรรม คือ ภิกษุณีสงฆ์ ผู้
พร้อมเพรียงประชุมกันแจก.
บทว่า ห้าม คือห้ามว่า การแจกจีวรนี้ด้วยวิธีไร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
[๒๔๔] การแจกเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ห้าม ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
การแจกเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ.
การแจกเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ห้าม ไม่ต้องอาบัติ.
การแจกไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
การแจกไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
การแจกไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 272
อนาปัตติวาร
[๒๔๕] แสดงอานิสงส์แล้วห้าม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่
ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๗
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า วิปฺปกฺกมึสุ มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวกันว่า พวก
ภิกษุณียังรอการมาของภิกษุณีแม้เหล่าอื่นได้ ก็จักรอพวกเรามาบ้างเป็นแน่
จึงได้พากันไปในที่จำเป็นต้องไปนั้น.
บทว่า ปฎิพาเหยฺย แปลว่า พึงห้ามไว้.
บทว่า อานิสส มีความว่า แสดงอานิสงส์ห้ามอย่างนี้ว่า ผ้าผืน
เดียวไม่เพียงพอสำหรับภิกษุณีรูปเดียว พวกท่านจงรอไปก่อน ต่อไปอีกหน่อย
ผ้าจักเกิดขึ้น ต่อนั้นเราจักแบ่งกัน ดังนี้ ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 273
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๒๔๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี-
ถุลลนันทาให้สมณจีวรแก่พวกครูฟ้อนรำบ้าง พวกคนฟ้อนรำบ้าง พวกโดดไม้
สูงบ้าง พวกจำอวดบ้าง พวกเล่นกลองบ้าง ด้วยสั่งว่า พวกท่านจงกล่าวพรรณา
คุณของฉันในที่ชุมชน พวกครูฟ้อนรำก็ดี พวกฟ้อนรำก็ดี พวกโดดไม้สูงก็ดี
พวกจำอวดก็ดี พวกเล่นกลองก็ดี ย่อมกล่าวพรรณนาคุณของภิกษุณีถุลลนันทา
ในที่ชุมชนว่า แม่เจ้าถุลลนันทาเป็นผู้คงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด เป็นผู้
องอาจ เป็นผู้สามารถเจรจา ถ้อยคำมีหลักฐาน ท่านทั้งหลายจงถวายแก่แม่เจ้า
จงทำแก่แม่เจ้า ดังนี้.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงให้สมณจีวรแก่ชาวบ้านเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาให้สมณจีวรเเก่ชาวบ้าน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ถุลลนันทาจึงให้สมณจีวรแก่ชาวบ้านเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 274
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๘๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้สมณีจีวรแก่ชาวบ้านก็ดี
ปริพาชกก็ดี ปริพาชิกาก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๔๗] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . .นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ชาวบ้าน ได้แก่ บุคคลผู้ยังครองเรือนอยู่.
ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ บุรุษคนใดคนหนึ่งผู้นับเนื่องในจำพวก
นักบวชชาย. เว้นภิกษุและสามเณร.
ที่ชื่อว่า ปริพาชิกา ได้แก่ สตรีคนใดคนหนึ่งผู้นับเนื่องในจำพวก
นักบวชหญิง เว้นภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี.
ที่ชื่อว่า สมณจีวร ได้แก่ ผ้าที่เรียกกันว่าทำกัปปะแล้ว ให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๒๔๘] ให้แก่มารดาบิดา ๑ ให้ชั่วคราว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 275
อรรถกถานัคควรรค สิกขบทที่ ๘
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-
พวกชนผู้ฝึกหัดนักฟ้อนรำ ชื่อว่า ครูนักฟ้อนรำ. เหล่าชนผู้ฟ้อนรำ
ชื่อว่า พวกนักฟ้อนรำ. พวกชนผู้ทำการโดดบนราวและบนเชือกเป็นต้น ชื่อว่า
พวกโดดไม้สูง. พวกชนผู้แสดงกล ชื่อว่า พวกจำอวด. พวกชนผู้เล่นด้วยกลอง
ชื่อว่า พวกเล่นกลอง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พวกบรรเลงปี่พาทย์ ก็มี.
ในคำว่า เทติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็น
อาบัติหลายตัวตามจำนวนจีวร. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทว่า มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 276
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๒๔๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ตระกูล
อุปัฎฐากของภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า ถ้า
พวกข้าพเจ้าสามารถก็จักถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์ ครั้นภิกษุณีทั้งหลายจำพรรษา
แล้วได้ประชุมกันประสงค์จะแจกจีวร ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณี
เหล่านั้นว่า แม่เจ้า โปรดรอก่อน ภิกษุณีสงฆ์ยังมีหวังจะได้จีวร.
ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุณีถุลลนันทาว่า ขอเชิญแม่เจ้าไป
สืบดูให้รู้เรื่องจีวรนั้น.
ภิกษุณีถุลลนันทาได้เข้าไปสู่ตระกูลนั้นแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า
อาวุโสทั้งหลาย จงถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์เถิด.
คนในตระกูลตอบว่า แม่เจ้า พวกข้าพเจ้ายังไม่สามารถจะถวายจีวร
แก่ภิกษุณีสงฆ์ได้.
ภิกษุณีถุลลนันทาได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่
เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา
จึงได้ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไปด้วยหวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอนเล่า. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 277
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาได้ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังว่าจะได้จีวรอัน
ไม่แน่นอนจริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังว่าจะได้จีวรอันไม่
แน่นอนเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่
ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๘๔.๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วย
หวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอน เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทวิภังค์
[๒๕๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 278
ที่ชื่อว่า หวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอน ได้แก่ วาจาที่เขาเปล่ง
ออกมาว่า ถ้าพวกข้าพเจ้าสามารถ ก็จักถวาย จักทำ.
ที่ชื่อว่า สมัยจีวรกาล คือ เมื่อกฐินยังไม่ได้กราน มีกำหนดเดือน
หนึ่งท้ายฤดูฝน เมื่อได้กรานกฐินแล้ว มีกำหนด ๕ เดือน.
บทว่า ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ความว่า เมื่อไม่ได้กรานกฐิน
ยังวันที่กฐินเดาะให้ล่วงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
[๒๕๑] จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าจีวรไม่แน่นอน ยังสมัย
จีวรกาลให้ล่วงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสงสัย ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าแน่นอน ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป
ไม่ต้องอาบัติ.
จีวรแน่นอน ภิกษุสำคัญว่าจีวรไม่แน่นอน ต้องอาบัติทุกกฏ.
จีวรแน่นอน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
จีวรแน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าจีวรแน่นอน ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๒๕๒] แสดงอานิสงส์แล้วห้าม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่
ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 279
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๙
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ทุพฺพลจีวรปจฺจาสาย คือ ด้วยความหวังจะได้จีวรอันไม่
แน่นอน.
บทว่า อานิสส มีความว่า ถึงแม้พวกชาวบ้านกล่าวว่า แม่เจ้า
พวกข้าพเจ้ายังไม่อาจ ดังนี้ ก็จริง เมื่อภิกษุณีแสดงอานิสงส์ห้ามอย่างนี้ว่า
เวลานี้ ฝ้ายจักมาถึงแก่ชาวบ้านนั้น บุรุษผู้มีศรัทธาเลื่อมใส จักมา จักถวาย
แน่นอน ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.
สิขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก-
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 280
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องอุบาสกคนหนึ่ง
[๒๕๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสกคน
หนึ่งให้ช่างสร้างวิหารหลังหนึ่งอุทิศสงฆ์ ในงานฉลองวิหารนั้น เขามีความ
ประสงค์จะถวายอกาลจีวรแก่สงฆ์ทั้งสองฝ่าย แต่สมัยนั้น สงฆ์ทั้งสองฝ่ายกราน
กฐินแล้วอุบาสกจึงเข้าไปหาสงฆ์แล้วขอการเดาะกฐิน ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
เพื่อเดาะกฐิน แต่พึงเดาะอย่างนี้.
อันภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงเดาะกฐิน นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ย่อมเดาะกฐิน การ
เดาะกฐิน ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
กฐินอันสงฆ์เดาะแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 281
[๒๕๔] ครั้นแล้ว อุบาสกนั้นเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ขอเดาะกฐิน
ภิกษุณีถุลลนันทาห้ามการเดาะกฐินว่า จีวรจักมีแก่พวกข้าพเจ้า อุบาสกนั้น
จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงไม่ให้การเดาะกฐิน
แก่พวกเราเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทา จึงได้ห้ามการเดาะกฐินอันเป็นไปแล้วโดยธรรมเล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาห้ามการเดาะกฐินอันเป็นไปแล้วโดยธรรม
จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ห้ามการเดาะกฐินอันเป็นไปแล้วโดยธรรมเล่า การ
กระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๕ . ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ห้ามการเดาะกฐินอันเป็นไปแล้ว
โดยธรรมเป็นปาจิตตีย์.
เรื่องอุบาสกคนหนึ่ง จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 282
สิกขาบทวิภังค์
[๒๕๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
การเดาะกฐินที่ชื่อว่า เป็นไปแล้วโดยธรรม คือ ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงประชุมกันเดาะ.
บทว่า ห้าม คือ ห้ามว่า กฐินนี้จะเดาะได้ด้วยวิธีไร ดังนี้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
[๒๕๖] การเดาะเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ห้าม ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
การเดาะเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
การเดาะเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ไม่ต้องอาบัติ.
การเดาะไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
การเดาะไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
การเดาะไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๒๕๗] แสดงอานิสงส์แล้วห้าม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่
ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
นัคควรรคที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 283
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้:-
ในคำว่า กินุทฺธาร น ทสฺสนฺติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- การเดาะ
กฐินเช่นไรสงฆ์ควรให้ เช่นไรไม่ควรให้ คือ การเดาะกฐิน เช่นอย่างที่มี
อานิสงส์มาก มีการกรานเป็นมูล มีอานิสงส์น้อย มีการเดาะเป็นมูล ไม่ควร
ให้. แต่การเดาะกฐินเช่นอย่างที่มีอานิสงส์น้อย มีการกรานเป็นมูล มีอานิ-
สงส์มาก มีการเดาะเป็นมูล ควรให้. การเดาะกฐินแม้มีอานิสงส์เท่า ๆ กัน.
สงฆ์ก็ควรให้ทีเดียว เพื่อรักษาศรัทธาไว้.
บทว่า อานิสส มีความว่า ภิกษุณีแสดงอานิสงส์เห็นปานนี้ว่า
ภิกษุณีสงฆ์มีจีวรเก่า มีลาภมาก ซึ่งมีอานิสงส์แห่งกฐินเป็นมูล แล้วห้ามเสีย
ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อรรถกถานัคควรรคที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 284
ตุวัฏฏวรรคที่ ๔
สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๒๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
สองรูปจำวัดร่วมเตียงกัน คนทั้งหลายเที่ยวเดินชมวิหาร พบเห็นแล้วพากัน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้นอนร่วมเตียงกัน
สองรูป เหมือนหญิงชาวบ้านเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลาย จึงได้จำวัดบนเตียงเดียวกันสองรูปเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีจำวัดร่วมเตียงกันสองรูป จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้จำวัดร่วมเตียงเดียวกันสองรูปเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 285
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๖. ๑. อนึ่ง เหล่าภิกษุณีใด สองรูปนอนในเตียงเดียวกัน
เป็นปาจิตตีย์ .
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๕๙] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
ที่ชื่อว่า เหล่าภิกษุณี ได้แก่ เหล่าสตรีทีเรียกกันว่า ภิกษุณีอุป-
สัมบัน.
พากย์ว่า สองรูปนอนในเตียงเดียวกัน คือ เมื่อรูปหนึ่งนอนแล้ว
อีกรูปหนึ่งจึงนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอนทั้งสองรูป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ลุกขึ้นแล้วนอนต่ออีก ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๒๖๐] รูปหนึ่งนอน อีกรูปหนึ่งนั่ง หรือนั่งทั้งคู่ ๑ วิกลจริตทั้งคู่ ๑
อาทิกัมมิกาทั้งคู่ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 286
ตุวัฏฏวรรคที่ ๔
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งตุวัฏฏวรรค พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ตุวฏฺเฎยฺย แปลว่า พึงนอน. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 287
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณี ๒ รูป
[๒๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
สองรูปจำวัดมีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน คนทั้งหลายเที่ยวชมวิหารพบเห็น
แล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีสองรูปจึงได้จำวัดมี
ผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันดุจหญิงชาวบ้านเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
สองรูปจึงได้จำวัดมีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ข่าวว่าภิกษุณีสองรูปนอนมีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีสองรูป จึงได้นอนมีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันเล่า การกระทำของ
พวกนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 288
พระบัญญัติ
๘๗. ๒. อนึ่ง เหล่าภิกษุณีใด สองรูป มีผ้าลาดและผ้าห่มผืน
เดียวกันนอน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณี ๒ รูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๖๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
ที่ชื่อว่า เหล่าภิกษุณี ได้แก่ เหล่าภิกษุณีที่เรียกกันว่าภิกษุณีอุป-
สัมบัน.
พากย์ว่า สองรูปมีผ้าลาดและผ้าห่มผินเดียวกันนอน นั้น คือ
ลาดก็ผืนนั้น ห่มก็ผืนนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๒๖๓] ผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันภิกษุณีสำคัญว่า ผ้าลาดและ
ผ้าห่มผืนเดียวกันนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน ภิกษุณีสงสัย นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน ภิกษุณีสำคัญว่า ผ้าลาดและผ้าห่มต่าง
ผืนกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
จตุกกะทุกกฏ
ผ้าลาดผืนเดียวกัน ผ้าห่มต่างผืน๑ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ผ้าลาดต่างผืน ผ้าห่มผืนเดียวกัน๒ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๑. ยุ ม. ผ้าลาดผืนเดียวกัน สำคัญว่าเป็นผ้าห่มต่างผืนกัน
๒. ยุ ม. ผ้าลาดต่างผืน สำคัญว่าเป็นผ้าห่มผืนเดียวกัน.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 289
ผ้าลาดและผ้าห่มต่างผืนกัน สำคัญว่าผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ผ้าลาดและผ้าห่มต่างผืนกัน สงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ผ้าลาดและผ้าห่มต่างผืนกัน สำคัญว่าผ้าลาดและผ้าห่มต่างผืนกัน ไม่
ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๒๖๔] ดูผ้าแล้วนอน๑ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติ
แล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๒
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-
ผ้าปูที่นอนและผ้าห่มของภิกษุณี ๒ รูปนี้ ผืนเดียวกัน; เพราะฉะนั้น
เธอทั้ง ๒ จึงชื่อว่า ผู้มีผ้าปูนอนและผ้าห่มผืนเดียวกัน. คำว่า เอกตฺถรณ-
ปาปุรณา นี้ เป็นชื่อแห่งภิกษุณีทั้ง ๒ ผู้ปูชายข้างหนึ่งแห่งผ้าปาวารผ้าปูนอน
และเสื่อลำแพนเป็นต้นอันเคลื่อนที่ได้ แล้วนอนห่มชายข้างหนึ่ง.
สองบทว่า ววฏฺฐาน ทสฺเสตฺวา มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณี
ทั้ง ๒ รูปผู้นอนวางผ้ากาสายะ หรือไม้เท้าคนแก่ ชั้นที่สุดแม้ประคดเอวไว้
ในท่ามกลาง. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์
อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
๑. ยุ วัตถุอันเป็นเครื่องกำหนด.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 290
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๒๖๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชต-
วัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาเป็นคนคงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด เป็นคนองอาจ สามารถกล่าว
ถ้อยคำมีหลักฐาน แม้ภิกษุณีภัททากาปิลานีก็เป็นคนคงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด
เป็นคนองอาจสามารถกล่าวถ้อยคำมีหลักฐาน เป็นผู้ได้รับการสรรเสริญว่าเป็น
เยี่ยมกว่า จึงพากันเข้าไปหาภิกษุณีภัททากาปิลานีก่อน แล้วจึงเข้าไปหาภิกษุณี
ถุลลนันทาต่อภายหลัง ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นคนมักริษยา รู้ได้ดีว่า ธรรมดา
ภิกษุณีผู้สาละวนอยู่ด้วยการอภิปรายที่จะให้คนอื่นรู้เข้าใจเนื้อความแจ่มแจ้ง
ย่อมเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ดังนั้น จึงจงกรม
บ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง บรรยายเองบ้าง ให้ผู้อื่นบรรยาย
บ้าง ท่องบ่นบ้าง เบื้องหน้าภิกษุณีภัททากาปิลานี.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
นาทะว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่แม่เจ้าภัททา
กาปิลานีเล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาแกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ภิกษุณีภัททากาปิลานี
จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 291
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี-
ถุลลนันทาจึงได้แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ภิกษุณีภัททากาปิลานีเล่า การ
กระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่
ภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์ .
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๖๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า แก่ภิกษุณี คือ แก่ภิกษุณีรูปอื่น.
บทว่า แกล้ง คือ รู้ รู้ดี จงใจ ตั้งใจละเมิด.
บทว่า ก่อความไม่สำราญให้ คือ คิดว่าด้วยวิธีนี้ความไม่ผาสุก
จักมีแก่ภิกษุณีรูปนี้ แล้วไม่ขอโอกาส จงกรมก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี สำเร็จการ
นอนก็ดี บรรยายเองก็ดี ให้ผู้อื่นบรรยายก็ดี ท่องบ่นก็ดี ในเบื้องหน้า ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 292
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๒๖๗] อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณีแกล้ง
ก่อความไม่สำราญให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสงสัย แกล้งก่อความไม่สำราญให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี แกล้งก่อความไม่
สำราญให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบันภิกษุณี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๖๘] ไม่ประสงค์จะก่อความไม่สำราญให้ ขอโอกาสแล้ว จึงจงกรม
ก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี สำเร็จการนอนก็ดี บรรยายเองก็ดี ให้ผู้อื่นบรรยายก็ดี
ท่องบ่นก็ดี ในเบื้องหน้า ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 293
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อุฬารสมฺภาวิตา มีความว่า อันคนทั้งหลายยกย่องว่าเป็น
ผู้เยี่ยมกว่า เพราะเป็นผู้บวชจากตระกูลสูง และเพราะเป็นผู้เยี่ยมกว่าโดยคุณ
ทั้งหลาย.
บทว่า อิสฺสาปกตา มีความว่า ผู้ถูกความริษยาย่ำยี คือครอบงำแล้ว.
ภิกษุณีเหล่านี้ มีการอภิปรายมากมาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้
สาละวนอยู่ด้วยการอภิปรายให้คนอื่นเข้าใจ. อธิบายว่า ชี้แจงให้มหาชนเข้าใจ
ตลอดทั้งวัน.
ภิกษุณีเหล่านี้ มีการชี้แจงอรรถให้แจ่มแจ้งมากมาย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ผู้สาละวนอยู่ด้วยการชี้แจงอรรถให้แจ่มแจ้ง.
พึงทราบว่า วิญฺิตติ ได้แก่ การชี้แจงอรรถให้แจ่มแจ้ง โดยนัย
ต่าง ๆ มีเหตุและอุทาหรณ์เป็นต้น. ไม่พึงเข้าใจว่า การออกปากขอ. พึงทราบ
ว่า เป็นอาบัติมากตัว โดยนับการเดินกลับไปมา ในการจงกรม
ในคำว่า ติฏฺติ วา เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอาบัติมากตัว โดย
นับประโยค.
ในคำว่า อุทฺทิสติ วา เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอาบัติมากตัว โดย
การนับบทเป็นต้น คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาตุวีฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 294
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๒๖๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาไม่ช่วยเหลือสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก ทั้งไม่ขวนขวายให้ผู้อื่น
ช่วยเหลือ.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงไม่ช่วยเหลือสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก ทั้งไม่ขวน
ขวายให้ผู้อื่นช่วยเหลือเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาไม่ช่วยเหลือสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก ทั้งไม่ขวน-
ขวายให้ผู้อื่นช่วยเหลือ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ไม่ช่วยเหลือสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก ทั้งไม่ขวน
ขวายให้ผู้อื่นช่วยเหลือเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 295
พระบัญญัติ
๘๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่ช่วยเหลือ ไม่ขวนขวายเพื่อให้
ผู้อื่นช่วยเหลือ ซึ่งสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๗๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ผู้ได้รับความลำบาก ได้แก่ ที่เรียกกันว่าผู้ป่วยใข้.
ที่ชื่อว่า สหชีวินี ได้แก่ ภิกษุณีที่เรียกกันว่าสัทธิวิหารินี.
บทว่า ไม่ช่วยเหลือ คือ ไม่ดูแลด้วยตนเอง.
บทว่า ไม่ขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นช่วยเหลือ คือ ไม่ใช้ผู้อื่น.
พอทอดธุระว่าจักไม่ช่วยเหลือ จักไม่ขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นช่วยเหลือ
ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่ช่วยเหลือ ไม่ขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นช่วยเหลือ ซึ่งอันเตวาสินีก็ดี
อนุปสัมบันก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๗๑] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุ
ขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 296
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๔
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า สติ อนฺตราเย คือ เมื่อมีอันตราย ๑๐ อย่าง.
สองบทว่า ปริเยสิตฺวา น ลภติ คือ ไม่ได้ภิกษุณีอื่นผู้ช่วยเหลือ.
บทว่า คิลานาย คือ อาพาธเสียเอง.
บทว่า อาปทาสุ ได้แก่ เมื่อมีอันตรายเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ.
คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 297
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๒๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ภัททากาปิลานีจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เธอมีกิจจำเป็นบางอย่าง จึงสื่อสาร
ไปในสำนักภิกษุณีถุลลนันทาว่า ถ้าแม่เจ้าถุลลนันทาให้ห้องพักแก่ดิฉัน ๆ จะ
ไปกรุงสาวัตถี.
ภิกษุณีถุลลนันทาตอบไปอย่างนี้ว่า มาเถิด ดิฉันจักให้.
ดังนั้นภิกษุณีภัททากาปิลานีจึงเดินทางจากเมืองสาเกต ไปถึงกรุง
สาวัตถี ภิกษุณีถุลลนันทา ก็ได้ให้ห้องพักแก่นาง.
ก็สมัยนั้นแล ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด เป็นคน
องอาจ สามารถเจรจาถ้อยคำมีหลักฐาน แม้ภิกษุณีภัททากาปิลานีก็เป็นพหูสูต
เป็นคนช่างพูด เป็นคนองอาจ สามารถเจรจาถ้อยคำมีหลักฐาน ทั้งได้รับการ
สรรเสริญยิ่งกว่า คนทั้งหลายลงความเห็นกันว่า แม่เจ้าภัททากาปิลานีเป็น
พหูสูต เป็นคนช่างพูด องอาจ สามารถเจรจาถ้อยคำมีหลักฐาน มีคนนิยม
ยิ่งกว่า จึงพากันเข้าไปหาเธอก่อน แล้วจึงพากันไปหาภิกษุณีถุลลนันทาภาย
หลัง ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นคนมักริษยา รู้ได้ดีว่า ธรรมดาภิกษุณีผู้สาละวน
อยู่ด้วยการอภิปรายที่จะให้คนอื่นรู้ เข้าใจเนื้อความแจ่มแจ้งเหล่านั้น ย่อมเป็น
ผู้มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ดังนี้ จึงโกรธ ขัดใจ
ฉุดคร่าภิกษุณีภัททากาปิลานีออกจากห้องพัก.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 298
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาให้ที่พักแก่แม่เจ้าภัททากาปิลานีแล้ว จึงได้โกรธ ขัดใจ
ฉุดคร่าเธอออกไปเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้ที่พักแก่ภิกษุณีภัททากาปิลานีแล้ว โกรธ ขัดใจ
ฉุดคร่าเธอออกไป จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาให้ที่พักแก่ภิกษุณีภัททากาปิลานีแล้ว จึงได้โกรธ ขัดใจ
ฉุดคร่าเธอออกไปเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๙๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้ห้องพักแก่ภิกษุณีแล้ว โกรธ
ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 299
สิกขาบทวิภังค์
[๒๗๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า แก่ภิกษุณี คือภิกษุณีรูปอื่น.
ที่ชื่อว่า ห้องพัก ได้แก่ อาคารที่เรียกว่าติดบานประตู.
บทว่า ให้ คือให้ด้วยตนเอง.
บทว่า โกรธ ขัดใจ คือ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.
บทว่า ฉุดคร่าเอง ความว่า จับในห้องแล้วคร่าออกมาหน้ามุข ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ จับที่หน้ามุขแล้วคร่าออกมาข้างนอก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ จับ
ฉุดมาครั้งเดียวให้ก้าวพ้นประตูแม้มาก ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้ฉุดคร่า คือ สั่งผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ สั่งครั้งเดียว
ผู้รับสั่งให้ก้าวพ้นประตูแม้มาก ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๒๗๔] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ให้ห้องพัก แล้ว
โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าเองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ให้ห้องพักแล้ว โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่า
เองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ให้ห้องพักแล้ว โกรธ ขัดใจ
ฉุดคร่าเองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 300
อัฏฐกะทุกกฏ
ขนเองก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของเขา ต้องอาบัติทุกกฏ.
ฉุดคร่าเองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี จากสถานที่ไม่มีบานประตู ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
ขนเองก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของเขา ต้องอาบัติทุกกฏ.
ฉุดคร่าเองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งอนุปสัมบัน จากสถานที่มีบานประตู
หรือจากสถานที่ไม่มีบานประตู ต้องอาบัติทุกกฏ.
ขนเองก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของเขา ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๗๕] ฉุดคร่าเองหรือใช้ผู้อื่นฉุดคร่าซึ่งภิกษุณีอลัชชี ขนเองหรือ
ใช้ผู้อื่นขนซึ่งบริขารของเขา ๑ ฉุดคร่าเองหรือใช้ผู้อื่นฉุดคร่าซึ่งภิกษุณีวิกล-
จริต ขนเองหรือใช้ผู้อื่นขนซึ่งบริขารของเขา ๑. . . ซึ่งภิกษุณีผู้ก่อความ
บาดหมาง. . . ๑. . . ซึ่งภิกษุณีผู้ก่อการทะเลาะ.. . ๑ . . . ซึ่งภิกษุณีผู้ก่อการ
วิวาท. . .๑. . . ซึ่งภิกษุณีผู้ก่อการอื้อฉาว. . . ๑. . . ซึ่งภิกษุณีผู้ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์. . .๑ . . . ซึ่งอันเตวาสินีหรือสัทธิวิหารินีผู้ประพฤติไม่ชอบ. . . ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 301
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้ :-
ในคำว่า อญฺญ อาณาเปติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าภิกษุณีผู้ได้
รับสั่งว่า เธอจงฉุดออกไป ฉุดคร่าให้เลยประตูแม้มากออกไป โดยประโยค
เดียว ก็เป็นอาบัติตัวเดียว. ถ้าได้รับสั่งอย่างนี้ว่า จงฉุดให้เลยประตูนี้และนี้
ออกไป ฉุดให้เลยออกไป เป็นอาบัติหลายตัว โดยการนับประตู คำที่เหลือ
ง่ายทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 302
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๒๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
จัณฑกาลีอยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้าง บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้
มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าจัณฑกาลี จึง
ได้อยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้างเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีจัณฑกาลี อยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้าง จริง
หรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจัณฑกาลี จึงได้อยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้างเล่า การ
กระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 303
พระบัญญัติ
๙๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณี อยู่คลุกคลีกับคหบดีก็ดี กับบุตร
คหบดีก็ดี ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า
อย่าได้อยู่คลุกคลีกับคหบดีหรือบุตรคหบดี แม่เจ้าขอจงแยกออก
สงฆ์ย่อมสรรเสริญความแยกออกอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิง แลภิกษุณี
นั้น อันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนี้เที่ยว
ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบ
เพื่อให้สละการกระทำนั้น หากเธอถูกสวดสมนุกาสกว่าจะครบ ๓ จบ
อยู่ สละการกระทำนั้นได้ การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หาก
ไม่สละ เป็นปาจิตตีย์ .
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ
สิกขาบทวิภงค์
[๒๗๗] บทว่า อนึ่ง. . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า คลุกคลี คือ คลุกคลีด้วยการคลุกคลีทางกายและทางวาจา
อันไม่สมควร.
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือนคนใดคนหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า บุตรคหบดี ได้แก่ บุตรหรือพี่น้องชายคนใดคนหนึ่ง.
[๒๗๘] บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีรูปที่คลุกคลี.
บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีพวกอื่น.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 304
ภิกษุณีผู้คลุกคลีนั้น อันภิกษุณีผู้ที่ได้เห็นได้ทราบ พึงว่ากล่าวดังนี้
แม่เจ้าอย่าอยู่คลุกคลีกับคหบดีหรือกับบุตรคหบดี แม่เจ้าขอจงปลีกตัวออก
สงฆ์ย่อมสรรเสริญความปลีกตัวออกอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิง พึงว่ากล่าวแม้
ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากสละได้ การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็น
การดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีผู้ทราบเรื่องแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวไป ณ ท่ามกลางสงฆ์ แล้วว่า
กล่าว ดังนี้ แม่เจ้าอย่าอยู่คลุกคลีกับคหบดีหรือกับบุตรคหบดี ขอจงปลีกตัว
อยู่ต่างหาก สงฆ์ย่อมสรรเสริญความแยกออกอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิง พึงว่า
กล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากสละได้ การสละได้อย่างนี้
นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิธีสวดสมนุภาส
[๒๗๙] ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็แลสมนุภาสนั้นพึงสวดอย่างนี้.
อันภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติ
จตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมนุภาส
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ อยู่คลุกคลี
กับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้าง เธอยังไม่สละวัตถุนั้น ถ้าความ
พรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้
เพื่อให้สละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 305
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ อยู่คลุกคลี
กับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้าง เธอยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวด
สมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุณี
มีชื่อนี้เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึง
เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง. . .
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม. . .
ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละวัตถุ
นั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
[๒๘๐] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้อง
อาบัติทุกกฏสองตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๒๘๑] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 306
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๘๒] ไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ สละได้ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖
ในสิกขาบทที่ ๖ บททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้ มีการสวด
สมนุภาสเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ
กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 307
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๒๘๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน พากันเที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่ว่า
มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ณ ภายในรัฐ เหล่านักเลงพากันประทุษร้าย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า.
ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาริกไปในสถานที่
ซึ่งรู้กันอยู่ว่ารังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ณ ภายในรัฐเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้
กันอยู่ว่ามีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ณ ภายในรัฐ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีจึงได้ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่
ว่ามีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ณ ภายในรัฐเล่า การกระทำของพวกนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้;
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 308
พระบัญญัติ
๙๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยว
จาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่ว่ามีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ณ ภายใน
รัฐ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๘๔] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ณ ภายในรัฐ คือ ในบ้านเมืองของพระเจ้าแผ่นดินที่ตนอยู่
ที่ชื่อว่า มีรังเกียจ คือ มีสถานที่พวกโจรซ่องสุม บริโภค ยืน นั่ง
นอน ปรากฏอยู่ในหนทางนั้น.
ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ มีคนถูกพวกโจรฆ่า ปล้น ทุบตี
ปรากฏอยู่ในหนทางนั้น.
ที่ชื่อว่า ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน คือ เว้นพวกเกวียน
บทว่า เที่ยวจาริกไป คือ ในหมู่บ้าน กำหนดระยะชั่วไก่บินตก
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ระยะบ้าน ในป่าที่ไม่มีบ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ ระยะกึ่งโยชน์.
อนาปัตติวาร
[๒๘๕] ไปกับพวกเกวียน ๑ ไปในสถานที่ปลอดภัย คือ ไม่มีภัยเกิด
ขึ้นเฉพาะหน้า ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 309
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๒๘๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อนพากันเที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่ว่ามี
รังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ภายนอกรัฐ ถูกพวกนักเลงประทุษร้าย
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีจึงไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่ว่า
มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ภายนอกรัฐเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กัน
อยู่ว่ามีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ภายนอกรัฐ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่ว่ามี
รังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้าภายนอกรัฐเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 310
พระบัญญัติ
๙๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยว
จาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่ว่ามีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ภายนอก
รัฐ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๘๗] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ภายนอกรัฐ คือ ในบ้านเมืองของพระเจ้าแผ่นดินอื่น นอก
รัฐที่ตนอยู่.
ที่ชื่อว่า มีรังเกียจ คือ มีสถานที่พวกโจรซ่องสุม บริโภค ยืน นั่ง
นอน ปรากฏอยู่ในหนทางนั้น.
ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ มีคนถูกพวกโจรฆ่า ปล้น ทุบตี
ปรากฏอยู่ในหนทางนั้น.
ที่ชื่อว่า ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน คือ เว้นพวกเกวียน.
บทว่า เที่ยวจาริกไป คือ ในหมู่บ้าน กำหนดระยะชั่วไก่บินตก
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ระยะบ้าน ในป่าที่ไม่มีบ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ ระยะกึ่งโยชน์.
อนาปัติวาร
[๒๘๘] ไปกับพวกเกวียน ๑ ไปในสถานที่ปลอดภัย คือไม่มีภัยเกิด
ขึ้นเฉพาะหน้า ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 311
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๒๘๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราช-
คฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพากันเที่ยวจาริกไปในภายในพรรษา คน
ทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้เที่ยว
จาริกไปในภายในพรรษา เหยียบย่ำหญ้าเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์ชนิดหนึ่ง
ซึ่งมีชีวะ ทำสัตว์เล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ให้ประสพการประหาร.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลายจึงได้เที่ยวจาริกไปในภายในพรรษาเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุณีเที่ยวจาริกไปในภายในพรรษา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีจึงได้เที่ยวจาริกไปในภายในพรรษาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 312
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๙๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด เที่ยวจาริกไปในภายในพรรษา
เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๗] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ในภายในพรรษา คือ ไม่อยู่ตลอดไตรมาสต้น หรือ
ไตรมาสหลัง.
บทว่า เที่ยวจาริกไป คือ ในหมู่บ้าน กำหนดระยะชั่วไก่บินตก
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ระยะบ้าน ในป่าไม่มีบ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ ระยะกึ่งโยชน์
อนาปัตติวาร
[๒๙๑] ไปด้วยสัตตาหกรณียะ ๑ ถูกใคร ๆ รบกวนจึงไป ๑ มี
อันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 313
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๗-๘-๙
ในสิกขาบทที่ ๗-๘-๙ ทุก ๆ บท ตื้นทั้งนั้น . ทุก ๆ สิกขาบท มี
สมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณ-
ณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๗-๘-๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 314
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๒๙๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร-
ราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ในพระนครราชคฤห์นั้นนั่นแหละ ตลอด
ฤดูฝน ตลอดฤดูหนาว ตลอดฤดูร้อน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ทิศทั้งหลายคับแคบเป็นดุจมืดมนแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทิศทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่ภิกษุณีเหล่านี้ ดังนี้ .
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
จึงเล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดี
แห่งสงฆ์ ๑ . . . เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 315
พระบัญญัติ
๙๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด อยู่จำตลอดฤดูฝนแล้ว ไม่หลีก
ไปสู่จาริก โดยที่สุดแม้สิ้นหนทาง ๕ - ๖ โยชน์ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๙๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า อยู่จำตลอดฤดูฝนแล้ว คือ อยู่จำตลอดฤดูฝนสามเดือน
ต้น หรือสามเดือนหลังแล้ว พอทอดธุระว่าจักไม่หลีกไปสู่จาริก สิ้นหนทาง
อย่างต่ำ ๕- ๖ โยชน์ ดังนี้เท่านั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๒๙๔] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาภิกษุณีเป็นเพื่อนแล้วไม่ได้ ๑
อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ตุวัฏฏวรรคที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 316
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า อาหุนฺทริกา แปลว่า คับแคบ.
สองบทว่า ธุร นิกฺขิตฺตมตฺเต มีความว่า ถ้าแม้นว่า ภิกษุณี
ทอดธุระแล้ว ภายหลังจึงหลีกไป เป็นอาบัติเหมือนกัน. แม้เมื่อปวารณาแล้ว
ไปสิ้น ๕ โยชน์ ไม่เป็นอาบัติ. ใน ๖ โยชน์ ไม่มีคำที่จะพึงกล่าวถึงเลย.
ก็ถ้าว่า ภิกษุณีไปได้ ๓ โยชน์ แล้วย้อนกลับมาโดยทางเดิมนั่นแล ไม่ควร.
จะมาโดยทางอื่น ควรอยู่.
บทว่า อนฺตราเย คือ มีอันตราย ๑๐ อย่าง. ภิกษุณีออกไปด้วย
คิดว่า เราจักไปละ แต่ห้วงน้ำหลากมาเต็มแม่น้ำ หรือมีพวกโจรดักซุ่มอยู่
ใกล้ทาง หรือเมฆตั้งเค้ามา จะกลับมา ก็ควร. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชก เป็นอกิริยา สญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค ที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 317
ปาจิตตีย์ จิตตาคารวรรคที่ ๕
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๒๙๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ใน
พระราชอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีลายภาพสวยงามซึ่งจิตกรเขียนไว้ใน
ห้องภาพ คนเป็นอันมากพากันไปดูห้องภาพ แม้ภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์ก็ได้ไป
ดูห้องภาพ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณี
จึงได้ไปดูห้องภาพ เหมือนสตรีชาวบ้านผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์จึงได้ไปดูห้องภาพเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีเหล่านี้ฉัพพัคคีย์ไปดูห้องภาพ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์จึงได้ไปดูห้องภาพเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 318
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๙๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไปดูโรงละครหลวงก็ดี อาคาร
ประกวดภาพก็ดี สถานที่หย่อนใจก็ดี อุทยานก็ดี สระโบกขรณีก็ดี
เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๙๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า โรงละครหลวง ได้แก่ สถานที่เขาสร้างขึ้นไว้ถวายพระ
ราชาเพื่อให้ทรงเพลิดเพลิน เพื่อทรงพระสำราญ.
ที่ชื่อว่า อาคารประกวดภาพ ได้แก่ สถานที่เขาสร้างขึ้นไว้ เพื่อ
ให้คนทั้งหลายชมเล่น เพื่อความรื่นเริง.
ที่ชื่อว่า สถานที่หย่อนใจ ได้แก่ สถานที่เขาสร้างขึ้นไว้เพื่อให้
คนทั้งหลายเล่น เพื่อหย่อนอารมณ์.
ที่ชื่อว่า อุทยาน ได้แก่ อุทยานที่เขาจัดไว้เพื่อให้คนทั้งหลายเล่น
กีฬา เพื่อพักผ่อน.
ที่ชื่อว่า สระโบกขรณี ได้แก่ ชลาลัยที่เขาขุดไว้เพื่อให้คนทั้งหลาย
เล่นกีฬา เพื่อรื่นเริง.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 319
ไปดู ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนอยู่สถานที่ใดมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พ้นสายตาไปแล้วกลับมามองดูอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไปดูอย่างหนึ่ง ๆ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ยืนดูอยู่ในสถานที่ใดมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นสายตาไป
แล้วกลับมามองดูอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๒๙๗] ยืนอยู่ในอารามมองเห็น ๑ เดินไปหรือเดินมาแลเห็น ๑ มี
กิจธุระเดินไปพบเข้า ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
อรรถกถาจิตตาคารวรรคที่ ๕
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งจิตตาคารวรรค พึงทราบดังต่อไปนี้:-
บทว่า ราชาคาร ได้แก่ โรงละครหลวง.
บทว่า จตฺตาคาร ได้แก่ ศาลาแสดงจิตรกรรมน่าเพลิดเพลิน.
บทว่า อาราม ได้แก่ สวนที่เป็นสถานที่หย่อนใจ.
บทว่า อุยฺยาน ได้แก่ อุทยานเป็นที่หย่อนอารมณ์.
บทว่า โปกฺขรณึ ได้แก่ สระโบกขรณีเป็นที่สำหรับเล่นกีฬา เพราะ
เหตุนั้นแล ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสคำว่า ยตฺถ กตฺถจิ
รญฺโ กีฬิตุ เป็นต้น.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 320
ในคำว่า ทสฺสนาย คจฺฉติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ พึงทราบ
วินิจฉัยดังนี้:- เป็นทุกกฏ โดยนับย่างเท้า.
ก็ในคำว่า ยตฺถ ิตา ปสฺสติ นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าภิกษุณียืนใน
ที่เดียวนั่นแหละ ไม่ยกเท้าไปมาดูอยู่ถึง ๕ ครั้ง ก็เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียวเท่านั้น.
แต่เมื่อภิกษุณีมองดูทิศภาคนั้น ๆแล้วดูอยู่ เป็นอาบัติ แยกออกไปหลายตัว.
แต่เป็นทุกกฏแก่ภิกษุในที่ทั้งปวง.
สองบทว่า อาราเม ิตา มีความว่า ชนทั้งหลายสร้างพระราชวัง-
หลวงเป็นต้นใกล้อารามที่อยู่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีมองเห็นพระราชวังหลวง
เป็นต้นนั้น.
สองบทว่า คจฺฉนฺตี วา อาคจฺฉนฺตี วา มีความว่า มองเห็น
พระราชวังหลวงเป็นต้นนั้น ซึ่งมีอยู่ใกล้ทางของภิกษุณีผู้เดินไปเพื่อประโยชน์
แก่บิณฑบาตเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ.
คำว่า สติ กรณีเย คนฺตฺวา มีความว่า ภิกษุณีไปยังราชสำนัก
ด้วยกิจจำเป็นบางอย่าง แล้วเห็น ไม่เป็นอาบัติ.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ภิกษุณีถูกอันตรายบางอย่างรบกวน
หลบเข้าไปแล้วเห็นไม่เป็นอาบัติ. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 321
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๒๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายนั่งนอนบนตั่งบ้าง บนแคร่บ้าง คนทั้งหลายเที่ยวชมวิหารพบเห็นแล้ว
พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้ใช้ตั่งบ้าง แคร่
บ้าง เหมือนสตรีคฤหัสห์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้ใช้ตั่งบ้าง แคร่บ้าง เล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีใช้ตั่งบ้าง แคร่บ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้ใช้ตั่งบ้าง แคร่บ้างเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 322
พระบัญญัติ
๙๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้ตั่งก็ดี แคร่ก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๙๙] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ ตั่งชนิดที่เรียกกันว่าเกินประมาณ.
ที่ชื่อว่า แคร่ ได้แก่ แคร่ที่เขาถักด้วยเครือเถาหญ้านางที่คนหามา
บทว่า ใช้ คือ นั่งก็ดี นอนก็ดี บนตั่งหรือแคร่นั้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๐๐] ใช้ตั่งที่ตัดเท้าแล้ว ๑ ใช้แคร่ที่ทำลายเคลือหญ้านางแล้ว ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 323
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๒
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-
บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นอาบัติมากตัว ด้วยการนับประโยคในกาลนั่งทับ
และนอนทับ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 324
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๓๐๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์ พากันกรอด้าย คนทั้งหลายเที่ยวชมวิหารพบเห็นแล้ว พากัน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้กรอด้ายกัน เหมือน
สตรีชาวบ้านผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงได้กรอด้ายกันเล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์พากันกรอด้าย จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้กรอด้ายกัน การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 325
พระบัญญัติ
๙๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุใด กรอด้าย เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ด้าย ได้แก่ ด้าย ๖ ชนิด คือ ด้ายทำด้วยเปลือกไม้ ทำ
ด้วยฝ้าย ทำด้วยไหม ทำด้วยขนสัตว์ ทำด้วยป่าน ทำด้วยสัมภาระเจือกัน.
บทว่า กรอ คือ กรอเอง เป็นทุกกฏในประโยค ม้วนไป ๆ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๐๓] กรอด้ายที่เขากรอไว้แล้ว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่
ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 326
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อุชฺชวูชฺชเว มีความว่า เมื่อภิกษุณีม้วนด้ายเท่าที่สาวออก
ไปด้วยมือเข้ามา เป็นอาบัติตัวเดียว. แต่เป็นทุกกฏ ในทุก ๆ ประโยค โดย
นับครั้งขยับมือ ตั้งต้นแต่เลือกฝ้ายก่อนจะกรอ.
บทว่า กนฺติตสุตฺต ความว่า กรอด้ายเชิงชายให้ควบกันเป็นต้น
หรือกรอด้ายที่เขากรอไว้ไม่ดีใหม่. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 327
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๐๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายช่วยทำงานของชาวบ้าน บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ช่วยทำงานของชาวบ้านเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุณีช่วยทำงานของชาวบ้าน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงได้ช่วยทำงานของชาวบ้านเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๙๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ทำงานช่วยเหลือสำหรับคฤหัสถ์
เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 328
สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า งานช่วยเหลือสำหรับคฤหัสถ์ คือ ต้มยาคูก็ดี หุงข้าว
ก็ดี ทำของเคี้ยวก็ดี หรือซักผ้าสาฎกก็ดี ผ้าโพกก็ดี ของชาวบ้าน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๐๖] ต้มยาคูถวายสงฆ์ ๑ หุงข้าวถวายสงฆ์ ๑ ในการบูชาเจดีย ๑
ต้มยาคูก็ดี หุงข้าวก็ดี ทำของเคี้ยวก็ดี ซักผ้าสาฎกก็ดี ผ้าโพกก็ดี ให้แก่
ไวยาวัจกรของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๔
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้ :-
ในบทว่า ยาคู วา เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นทุกกฏ โดยนับประโยค
ในทุก ๆ ประโยค ตั้งต้นแต่การบดข้าวสารเป็นต้น . ในข้าวต้มและข้าวสวย
พึงทราบว่า เป็นปาจิตตีย์มากตัว โดยการนับภาชนะ. ในของควรเคี้ยวเป็นต้น
เป็นปาจิตตีย์มากตัว โดยการนับชนิดของ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 329
บทว่า ยาคุปาเน มีความว่า เมื่อพวกชาวบ้านกำลังปรุงข้าวยาคู ทำ
น้ำปานะหรือสังฆภัตเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ภิกษุณีหุงต้มโภชนะอย่างใดอย่าง
หนึ่ง โดยสมบทเข้าร่วมกับชาวบ้านเหล่านั้น ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุณีเป็นเพื่อน
บูชาพระเจดีย์ บูชาของหอมเป็นต้น ควรอยู่.
สองบทว่า อตฺตโน เวยฺยาวจฺจกรสฺส มีความว่า ถ้าแม้นว่า
มารดาและบิดามาหา ภิกษุณีจะวานให้ท่านทำของอย่างใดอย่างหนึ่งให้ เป็น
พัด หรือด้ามไม้กวาดก็ได้ ตั้งในไว้ฐานะแห่งไวยาจักรก่อนแล้วหุงต้มโภชนะ
อย่างใดอย่างหนึ่งให้ ควรอยู่. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๓ ทั้งนั้นแล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 330
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๐๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
รูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทา แล้วได้กล่าวขอร้องว่า ขอเชิญแม่เจ้า
โปรดไปช่วยระงับอธิกรณ์นี้ เธอรับคำว่าได้ แล้วไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวาย
เพื่อระงับ ภิกษุณีรูปนั้นจึงได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า แม่เจ้าถุลลนันทา อันภิกษุณีกล่าวขอร้องว่า ขอเชิญแม่เจ้าได้โปรดช่วย
ระงับอธิกรณ์นี้ ดังนี้ รับคำว่าได้ แล้วไฉนจึงไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายเพื่อ
จะระงับเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทารับปากคำภิกษุณีรูปหนึ่งว่าจะช่วยระงับอธิกรณ์ แล้ว
ไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายเพื่อจะระงับ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี
ถุลลนันทาอันภิกษุณีรูปหนึ่งกล่าวขอร้องว่า ขอเชิญแม่เจ้าช่วยระงับอธิกรณ์นี้
รับคำเขาแล้ว ไฉนจึงไม่ระงับ ไม่ขวนขวายเพื่อจะระงับ การกระทำของนาง
นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 331
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๐๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ผู้อันภิกษุณีกล่าวอยู่ว่า มาเถิด
แม่เจ้า จงช่วยระงับอธิกรณ์นี้ รับคำว่าดีละแล้ว นางไม่มีอันตราย
ในภายหลัง ไม่ระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๘] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า อันภิกษุณี คือ อันภิกษุณีรูปอื่น.
ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิ-
กรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์.
คำว่า มาเถิดแม่เจ้า จะช่วยระงับอธิกรณ์นี้ ความว่า ขอเชิญ
แม่เจ้า โปรดตัดสินอธิกรณ์นี้.
คำว่า นางไม่มีอันตรายในภายหลัง คือ ในเมื่อเหตุขัดขวางไม่มี
บทว่า ไม่ระงับ คือ ไม่ระงับด้วยตนเอง.
บทว่า ไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับ คือไม่ใช้ผู้อื่น.
พอทอดธุระว่าจักไม่ระงับละ จักไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับละ ดังนี้
ต้องอาบัติปาจิตติย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 332
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๐๙] อธิกรณ์ของอุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า ของอุปสัมบัน ไม่
ระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อธิกรณ์ของอุปสัมบัน ภิกษุณีมีความสงสัย ไม่ระงับ ไม่ทำการ
ขวนขวายเพื่อระงับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อธิกรณ์ของอุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า ของอนุปสัมบัน ไม่ระงับ
ไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
จตุกกะทุกกฏ
อธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่ระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อ
ระงับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าของอุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ภิกษุณีมีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ.
อนาปัตติวาร
[๓๑๐] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุ
ขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 333
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๑๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาให้ของเคี้ยวของบริโภค แก่พวกครูฟ้อนรำบ้าง แก่พวกฟ้อนรำบ้าง
แก่พวกโดดไม้สูงบ้าง แก่พวกจำอวดบ้าง แก่พวกเล่นกลองบ้าง ด้วยมือของ
ตน พร้อมกับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวสรรเสริญข้าพเจ้าในที่ชุมนุมชน พวก
ครูฟ้อนรำก็ดี พวกฟ้อนรำก็ดี พวกโดดไม้สูงก็ดี พวกจำอวดก็ดี พวกเล่น
กลองก็ดี ต่างก็สรรเสริญภิกษุณีถุลลนันทาในชุมนุมชนว่า แม่เจ้าถุลลนันทา
เป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด เป็นผู้องอาจ สามารถเจรจาถ้อยคำมีหลักฐาน
ท่านทั้งหลายจงถวายแก่แม่เจ้า จงทำแก่แม่เจ้า ดังนี้ .
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ให้ของเคี้ยวของบริโภคแก่พวกชาวบ้านด้วยมือ
ของตนเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้ของเคี้ยวของบริโภคแก่ชาวบ้านด้วยมือของตนเอง
จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 334
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อสติ อนฺตราเย ได้แก่ เมื่อไม่มีอันตราย ๑๐ อย่าง.
ภิกษุณีทอดธุระแล้ว ภายหลังจึงวินิจฉัย ชื่อว่า ต้องอาบัติก่อนแล้วจึงวินิจฉัย.
สองบทว่า ปริเยสิตฺวา น ลภติ มีความว่า ไม่ได้ภิกษุณีทั้งหลาย
ผู้ร่วมมือ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศล เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 335
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ให้ของเคี้ยวของบริโภคแก่ชาวบ้านด้วยมือของตนเอง
เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๐๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้ของเคี้ยวหรือของบริโภคแก่
ชาวบ้านก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชกาก็ดี ด้วยมือของตัวเอง
เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๑๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ชาวบ้าน ได้แก่ บุคคลผู้ครองเรือนผู้ใดผู้หนึ่ง.
ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ บุรุษผู้ใดผู้หนึ่ง ผู้บวชเป็นปริพาชก
เว้นภิกษุ และสามเณร.
ที่ชื่อว่า ปริพาชิกา ได้แก่ สตรีผู้ใดผู้หนึ่ง ผู้บวชเป็นปริพาชิกา
เว้นภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 336
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว ได้แก่ ของเคี้ยว เว้นโภชนะ ๕ น้ำและไม้
ชำระฟัน นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.
ที่ชื่อว่า ของบริโภค ได้แก่ โภชนะ ๕ คือข้าวสุก ขนมสด ขนม
แห้ง ปลา เนื้อ.
บทว่า ให้ คือ ให้ด้วยกายก็ดี ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ดี ด้วยโยน
ให้ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ให้น้ำ ไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๓๑๓] ใช้ผู้อื่นให้ ๑ มิได้ให้ ๑ วางให้ ๑ ให้ขอลูบไล้ภายนอก ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๖
คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๖ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ใน
อาคารริกสิกขาบท ในนัคควรรคนั่นแล. แต่มีความแปลกกันอย่างนี้;-
อาคาริกสิกขาบทนั้น มีสมุฏฐาน ๖ สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลม
สิกขาบท เพราะท่านกล่าวว่า ด้วยมือของตนเอง เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์
อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 337
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๑๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาใช้ผ้าอาศัยคนเดียว ไม่ยอมสละ ภิกษุณีเหล่าอื่นที่มีประจำเดือน
ย่อมไม่ได้ใช้ บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ใช้ผ้าอาศัยไม่ยอมสละเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาใช้ผ้าอาศัยไม่ยอมสละ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ใช้ผ้าอาศัยไม่ยอมสละเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 338
พระบัญญัติ
๑๐๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด ใช้ผ้าอาศัยไม่ละ เป็นปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๑๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ผ้าอาศัย ได้แก่ ผ้าที่เขาถวายไว้สำหรับให้ภิกษุณีผู้มี
ประจำเดือนใช้.
บทว่า ใช้. . .ไม่ละ คือใช้ ๒-๓ ราตรี ซักในวันที่ ๔ แล้วยัง
ใช้อีก ไม่ยอมให้ภิกษุณี สิกขมานา หรือสามเณรี ใช้บ้าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๑๖] ยังไม่ละ ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ละ ใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังไม่ละ ภิกษุณีมีความสงสัย ใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังไม่ละ ภิกษุณีสำคัญว่าละแล้ว ใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ละแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ล ะ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ละแล้ว ภิกษุณีมีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ละแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าละแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 339
อนาปัตติวาร
[๓๑๗] ละแล้วจึงใช้ ๑ ใช้คราวต่อไป ๑ ภิกษุณีพวกอื่นผู้มีประจำ-
เดือนไม่มี ๑ ถูกแย่งชิงผ้าไป ๑ ผ้าหาย ๑ มีเหตุฉุกเฉิน ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
อรรถกถาจิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๗
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้;-
บทว่า ปุนปริยาเย แปลว่า คราวต่อไป.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า พวกโจรลักจีวรที่มีราคาแพงซึ่งภิกษุณี
เปลื้องออกจากกาย เก็บไว้ดีแล้วไป ในอันตรายเห็นปานนี้ไม่เป็นอาบัติ แก่
ภิกษุณีผู้นุ่งไม่สละ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑
ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 340
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๑๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทา ไม่มอบหมายห้องที่อยู่หลีกไปสู่จาริก ต่อมาห้องที่อยู่ของนางถูก
ไฟไหม้ ภิกษุณีทั้งหลายจึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พวกเราจง
ช่วยกันขนสิ่งของออก.
ภิกษุณีบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พวกดิฉันไม่ขนเจ้าข้า เพราะของสิ่ง
ใดสิ่งหนึ่งหายไป แม่เจ้าจักทวงเอากะพวกเราจนครบ.
เมื่อภิกษุณีถุลลนันทากลับมายังห้องที่อยู่นั้นแล้ว ถามภิกษุณีทั้งหลาย
ว่า แม่เจ้าทั้งหลายได้ช่วยขนสิ่งของออกบ้างหรือเปล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายตอบว่า พวกดิฉันไม่ได้ขนออกเลยเจ้าข้า.
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลายเมื่อห้องที่อยู่ถูกอัคคีภัย จึงได้ไม่ช่วยกันขนสิ่งของออกเล่า.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงไม่มอบหมายห้องที่อยู่ หลีกไปสู่จาริกเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาไม่มอบหมายห้องที่อยู่หลีกไปสู่จาริก จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 341
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ไม่มอบหมายห้องที่อยู่หลีกไปสู่จาริกเล่า การกระทำของ
นางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๐๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่มอบหมายห้องที่อยู่หลีกไปสู่
จาริก เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๑๙] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ห้องที่อยู่ ได้แก่ อาคารที่เรียกกันว่าห้อง มีบานประตูติด
คำว่า ไม่มอบหมาย. . .หลีกไปสู่จาริก นั้น ความว่า ไม่มอบ
หมายแก่ภิกษุณี สิกขมานา หรือสามเณรี เมื่อเดินพ้นเขตห้องที่อยู่ซึ่งมีเครื่อง
ล้อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินพ้นอุปจารห้องที่อยู่ซึ่งไม่มีเครื่องล้อม ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 342
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๒๐] มิได้มอบหมาย ภิกษุณีสำคัญว่ามิได้มอบหมาย หลีกไป
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
มิได้มอบหมาย ภิกษุณีมีความสงสัย หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
มิได้มอบหมาย ภิกษุณีสำคัญว่ามอบหมายแล้ว หลีกไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
ห้องที่อยู่มิได้ติดบานประตู ภิกษุณีมิได้มอบหมาย หลีกไป ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
ห้องที่อยู่ซึ่งมิได้ติดบานประตู ภิกษุณีมอบหมายแล้ว สำคัญว่ามิได้
มอบหมาย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ห้องที่อยู่ซึ่งมิได้ติดบานประตู ภิกษุณีมอบหมายแล้ว มีความสงสัย
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ห้องที่อยู่ซึ่งมิได้ติดบานประตู ภิกษุณีมอบหมายแล้ว สำคัญว่า มอบ-
หมายแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๒๑] มอบหมายแล้วหลีกไป ๑ หลีกไปในเมื่อมีอันตราย ๑ แสวง
หาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 343
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๘
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า อนิสฺสชฺชิตฺวา มีความว่า ไม่มอบให้เพื่อประโยชน์แก่การ
รักษา คือ ไม่มอบหมายอย่างนี้ว่า พึงช่วยกันรักษาดูแลห้องที่อยู่นี้ให้ด้วย
ดังนี้.
สองบทว่า ปริเยสิตฺวา น ลภติ คือ ไม่ได้ผู้ดูแลรักษา.
บทว่า คิลานาย คือ ไม่สามารถจะพูดได้.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เมื่อแว่นแคว้นแตกทะลาย พวกภิกษุณี
ทั้งหลาย ทิ้งอาวาสแล้วหนีไป ในอันตรายเห็นปานนี้ ไม่เป็นอาบัติ. บทที่
เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นกับสิกขาบทถัดไปนั่นแล.
อรรถกถาจิตตคารวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 344
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๓๒๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์พากันเรียนติรัจฉานวิชา คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงเรียนติรัจฉานวิชา เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลาย ได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงได้เรียนติรัจฉานวิชาเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์พากันเรียนติรัจฉานวิชา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้พากันเรียนติรัจฉานวิชาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 345
พระบัญญัติ
๑๐๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด เรียนดิรัจฉานวิชา เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๒๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ติรัจฉานวิชา ได้แก่ ศิลปวิทยาการนอกพระศาสนาชนิดใด
ชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่กอปรด้วยประโยชน์.
บทว่า เรียน คือ เรียนโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆบท เรียน
โดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ตัวอักขระ.
อนาปัตติวาร
[๓๒๔] เรียนหนังสือ ๑ เรียนวิชาท่องจำ ๑ เรียนวิชาป้องกันเพื่อ
ประสงค์คุ้มครองตัว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 346
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๙
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า พาหิรก อนตฺถสหิต ได้แก่ (ศิลปวิทยาการ) ทำลาย
ผู้อื่น มีชนิดเช่นศิลปะเนื่องด้วยช้าง ม้า รถ ธนู และดาบ กับมนต์อาถรรพณ์
มนต์ฝังหุ่น มนต์ทำให้มีอำนาจ มนต์ทำให้ผอมแห้งและวิชาประกอบยาพิษ
เป็นต้น.
บทว่า ปริตฺต ได้แก่ (วิชาป้องกันตัว) มีชนิดเช่นวิชาป้องกันพวก
ยักษ์ และป้องกันพวกนาค (งู) เป็นต้น แม้ทุกอย่าง ย่อมสมควร. บทที่
เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปทโสธรรมสิขาบท เกิดขึ้นทางวาจา ๑ ทาง
วาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ วจีกรรม
มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 347
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๓๒๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์พากันสอนติรัจฉานวิชา คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้สอนติรัจฉานวิชา เหมือนเหล่าสตรีคฤหัสถ์
ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงได้สอนติรัจฉานวิชาเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์สอนติรัจฉานวิชา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้พากันสอนติรัจฉานวิชาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 348
พระบัญญัติ
๑๐๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด สอนติรัจฉานวิชา เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๒๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ขอว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ติรัจฉานวิชา ได้แก่ ศิลปวิทยาการนอกพระศาสนาชนิดใด
ชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่กอปรด้วยประโยชน์.
บทว่า สอน ความว่า สอนโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ บท
สอนโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ตัวอักขระ.
อนาปัตติวาร
[๓๒๗ ] สอนหนังสือ ๑ สอนวิชาท่องจำ ๑ สอนวิชาป้องกันเพื่อ
ประสงค์คุ้มครองตัว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
จิตตาคารวรรคที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 349
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า วาเจยฺย แปลว่า พึงสอน (นี้) แปลกกัน. บทที่เหลือ
พร้อมด้วยสมุฎฐาน เป็นต้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๙
ทั้งนั้นแล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อรรถกถาจิตตาคารวรรคที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 350
ปาจิตตีย์ อารามวรรคที่ ๖
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๒๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
หลายรูปมีจีวรผืนเดียว กำลังทำจีวรกรรมกันอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง
พวกภิกษุณีไม่บอกก่อนเข้าสู่อาราม แล้วพากันเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุ
ทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้
ไม่บอกกล่าวก่อนเข้าไปสู่อารามเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีไม่บอกกล่าวก่อนเข้าไปสู่อาราม จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงไม่บอกกล่าวก่อนเข้าไปสู่อารามเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 351
พระบัญญัติ
๑๐๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่บอกกล่าวก่อน เข้าสู่อาราม
เป็นปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๒๙] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นหลีกไปแล้วจากอาวาสนั้น
พวกภิกษุณีทราบว่าพระคุณเจ้าทั้งหลายหลีกไปแล้ว จึงไม่มาสู่อาราม ครั้น
ภิกษุเหล่านั้นกลับมายังอาวาสนั้นดั่งเดิม ภิกษุณีทั้งหลายทราบว่า พวกพระคุณ-
เจ้ากลับมาแล้วจึงบอกกล่าวก่อนเข้าสู่อาราม เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น กราบไหว้
แล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีเหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย
เหตุไฉนพวกเธอจึงไม่กวาดอาราม ไม่จัดน้ำฉัน น้ำใช้ไข้เล่า.
ภิกษุณีเหล่านั้นชี้แจงว่าเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้วเจ้าข้า ว่าภิกษุณีไม่บอกกล่าวก่อน ไม่พึงเข้าสู่อาราม ฉะนั้น พวก
ดิฉันจึงไม่ได้มา.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาต
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกกล่าวภิกษุที่มีอยู่ก่อนเข้าสู่อาราม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 352
พระอนุบัญญัติ ๑
๑๐๖. ๑. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่บอกกล่าวภิกษุที่มีอยู่ก่อน
เข้าสู่อาราม เป็นปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
[๓๓๐] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นหลีกไปจากอาวาสนั้น แล้ว
กลับไปสู่อาวาสนั้นตามเดิม ภิกษุณีทั้งหลายเข้าใจว่าพระผู้เป็นเจ้าหลีกไปแล้ว
จึงไม่บอกกล่าว เข้าสู่อาราม แล้วได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุณีไม่บอกกล่าวภิกษุที่มีอยู่ ไม่พึงเข้าไปสู่อาราม
ก็พวกเรามิได้บอกกล่าวภิกษุที่มีอยู่ ได้พากันเข้ามาสู่อาราม พวกเราต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์แล้วกระมังหนอ ดังนี้ แล้วได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ทรงบัญญัติ อนุบัญญัติ ๒ ว่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ ๒
๑๐๖. ๑. ข. อนึ่ง ภิกษุณีใด รู้อยู่ไม่บอกกล่าว เข้าไปสู่
อารามที่มีภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทวิภังค์
[๓๓๑] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 353
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือรู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่นาง หรือภิกษุเหล่านั้นบอก.
อารามที่ชื่อว่า มีภิกษุ คือ มีภิกษุอยู่แม้ที่ใต้ต้นไม้.
บทว่า ไม่บอกกล่าวเข้าไปสู่อาราม คือ ไม่บอกกล่าวภิกษุ
สานเณรหรือคนวัด ก้าวล่วงเขตอารามที่มีเครื่องล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อารามที่ไม่มีเครื่องล้อม เมื่อก้าวลงสู่อุปจาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
[๓๓๒] อารามมีภิกษุ ภิกษุณีสำคัญว่ามีภิกษุ ไม่บอกกล่าวภิกษุที่มี
อยู่เข้าไปสู่อาราม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อารามมีภิกษุ ภิกษุณีสงสัย ไม่บอกกล่าวภิกษุที่มีอยู่ เข้าไปสู่อาราม
ต้องอาบัติทุกกฏ.
อารามมีภิกษุ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีภิกษุ ไม่บอกกล่าวภิกษุที่มีอยู่
เข้าไปสู่อาราม ไม่ต้องอาบัติ.
อารามไม่มีภิกษุ ภิกษุณีสำคัญว่ามีภิกษุ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อารามไม่มีภิกษุ ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อารามไม่มีภิกษุ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีภิกษุ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๓๓] ภิกษุมีอยู่ บอกกล่าวแล้วเข้าไป ๑ ภิกษุไม่มี ไม่บอกกล่าว
เข้าไป ๑ เดินมองดูศีรษะภิกษุณีผู้เข้าไปก่อน ๑ ไป ณ สถานที่มีพวกภิกษุณี
ประชุมกัน ๑ หนทางมีผ่านไปทางอาราม ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต
๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 354
อรรถกถาอารามวรรคที่ ๖
อรรถกถาอามวรรค สิกขาบทที่ ๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งอารามวรรค พึงทราบดังนี้:-
ในคำว่า ปริกฺเชป อติกฺกมนฺติยา อุปจาร โอกฺกมนฺติยา นี้
พึงทราบว่า เป็นทุกกฏในย่างเท้าที่ ๑ เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ ๒.
บทว่า สีสานุโลกิกา มีความว่า ภิกษุณีตามเข้าไปคอยดูศีรษะแห่ง
พวกภิกษุณีผู้เข่าไปก่อน ไม่เป็นอาบัติ. พวกภิกษุณีเข้าไปในที่ใดก่อน กระทำ
กิจมีการสาธยายและไหว้พระเจดีย์เป็นต้น จะเข้าไปด้วยตั้งใจว่า เราจะไปสู่
สำนักแห่งภิกษุณีพวกนั้น ในที่นั้น ควรอยู่.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ภิกษุณีถูกอันตรายบางอย่างเบียดเบียน
ในอันตรายเห็นปานนี้ จะเข้าไป ก็ควร คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญา
วิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓
แล.
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 355
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระกัปปิตกะเถระ
[๓๓๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-
ศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ท่านพระกัปปิตกะ อุปัชฌายะ
ของท่านพระอุบาลี ยับยั้งอยู่ในสุสานประเทศ ครั้งนั้น มีภิกษุณีรูปหนึ่งผู้แก่
กว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ถึงมรณภาพลง ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ช่วยกันนำศพออก
ไปเผาแล้วก่อสถูปไว้ใกล้ ๆ ที่อยู่ของท่านพระกัปปิตกะ แล้วพากันไปร้องไห้ ณ
สถูปนั้น จึงท่านพระกัปปิตกะรำคาญเสียงร้องไห้นั้น แล้วได้ทำลายสถูปนั้น
พังกระจาย ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ปรึกษากันเป็นความลับว่า พระกัปปิตกะนี้ทำลาย
สถูปแม่เจ้าของพวกเรา มาพวกเราช่วยกันฆ่าท่านเสียเถิด ภิกษุณีรูปหนึ่งได้แจ้ง
ข้อปรึกษากันนั้นแก่ท่านพระอุบาลี ๆ ได้กราบเรียนเรื่องนั้นให้ท่านพระกัปปิต-
กะทราบ ท่านพระกัปปิตกะได้ออกจากวิหารไปหลบซ่อนอยู่.
ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ได้เดินผ่านเข้าไปทางวิหารของท่านพระ-
กัปปิตกะแล้วช่วยกันขนก้อนหินและก้อนดินทับถมวิหารของท่าน แล้วหลีกไป
ด้วยเข้าใจว่าท่านถึงมรณภาพแล้ว ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ท่านครองอันตรวาสก
แล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลีแต่เช้า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ได้
เห็นท่านยังเดินเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ครั้นแล้วได้พูดกันอย่างนี้ว่า พระกัปปิตกะ
นี้ยังมีชีวิตอยู่ ใครหนอนำเอาความลับของเราไปบอก ครั้นได้ทราบข่าวว่า
พระคุณเจ้าอุบาลีนำไป จึงพากันด่าท่านพระอุบาลีว่า ท่านนี้เป็นคนสำหรับ
คอยรับใช้เมื่อเวลาอาบน้ำ เป็นคนคอยชำระของเปรอะเปื้อน เป็นคนมีสกุลต่ำ
ไฉนจึงได้ลอบนำความลับของเราไปเที่ยวบอกเขาเล่า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 356
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ด่าพระคุณเจ้าอุบาลีเล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์พากันด่าภิกษุอุบาลี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์จึงได้ด่าภิกษุอุบาลีเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๐๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ด่าก็ดี กล่าวขู่ก็ดี ซึ่งภิกษุณี เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องพระกัปปิตกเถระ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๓๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ภิกษุ ได้แก่ อุปสัมบัน.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 357
บทว่า ด่าก็ดี คือ ด่าด้วยวัตถุสำหรับด่าทั้ง ๑๐ อย่าง หรือด้วย
อย่างใดอย่างหนึ่งในทั้ง ๑๐ นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า กล่าวขู่ก็ดี คือ แสดงเรื่องหรืออาการที่น่ากลัว ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๓๖] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ด่าก็ดี กล่าวขู่ก็ดี
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ด่าก็ดี กล่าวขู่ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุสัมบัน ด่าก็ดี กล่าวขู่ก็ดี ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
จตุกะทุกกฏ
ด่าก็ดี กล่าวขู่ก็ดี ซึ่งอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๓๓๗] มุ่งอรรถ ๑ มุ่งธรรม ๑ มุ่งสั่งสอน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา
๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 358
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๒
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อายสมา กปฺปิตโก คือ ท่านผู้มีอายุนี้ เป็นพระเถระ
อยู่ภายในจำนวนภิกษุชฏิลพันรูป.
บทว่า สหริ คือ ให้แพร่งพรายแล้ว (ได้นำไปบอก).
บทว่า สหโต คือ ท่านพระอุบาลีให้แพร่งพรายแล้ว (นำไปบอก).
บทว่า กสาวโฏ แปลว่า ช่างกัลบก. พวกภิกษุณีกล่าวหมายเอา
ผู้ที่นุ่งผ้าย้อมน้ำฝาด กระทำการงาน. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 359
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๓๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
จัณฑกาลีเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เมื่อภิกษุณีสงฆ์ทำกรรมแก่นาง ภิกษุณีถุลลนันทา
ค้าน.
[๓๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีถุลลนันทาได้ไปสู่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง
ด้วยกรณียะบางอย่าง ครั้นภิกษุณีสงฆ์ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาหลีกไปแล้ว
จึงยกวัตรภิกษุณีจัณฑกาลี ในเพราะไม่เห็นอาบัติ ภิกษุณีถุลลนันทาเสร็จ
กรณียกิจในหมู่บ้านนั้นแล้ว กลับมาสู่นครสาวัตถีดังเดิม เมื่อนางมาถึง ภิกษุณี
จัณฑกาลีไม่ปูอาสนะรับ ไม่จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า
ไม่ลุกไปรับบาตรจีวร ไม่ไต่ถามด้วยน้ำฉัน ภิกษุณีถุลลนันนทาได้กล่าวคำนี้กะ
ภิกษุณีจัณฑกาลีว่า ทำไม เมื่อฉันมาถึง เธอจึงไม่ปูอาสนะรับ ไม่จัดตั้งน้ำล้าง
เท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกมารับบาตรจีวร ไม่ได้ถามด้วยน้ำฉัน.
ภิกษุณีจัณฑกาลีตอบว่า การที่เป็นดั่งนี้นั้น เพราะดิฉันเป็นดั่งสตรี
ผู้ไร้ที่พึ่ง เจ้าข้า.
ภิกษุณีถุลลนันทาซักว่า เพราะเหตุไร เธอจึงเป็นดั่งสตรีผู้ไร้ที่พึ่งเล่า
ภิกษุณีจัณฑกาลีแถลงว่า เพราะภิกษุณีเหล่านี้ยกวัตรดิฉันในเพราะ
ไม่เห็นอาบัติ ด้วยเข้าใจว่านางผู้นี้ไร้ที่พึ่ง ไม่สู้จะมีชื่อเสียง ไม่มีใครซึ่งจะ
เป็นผู้ยำเกรงนางผู้นี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 360
ภิกษุณีถุลลนันทาขึ้นเคียดกล่าวติคณะว่า ภิกษุณีเหล่านี้เขลา ภิกษุณี
เหล่านี้ไม่ฉลาด ภิกษุณีเหล่านี้ไม่รู้จักกรรม โทษอันสมควรแก่กรรม กรรม
วิบัติหรือกรรมสมบัติ.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ขึ้งเคียดกล่าวติคณะเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาขึ้งเคียดกล่าวติคณะ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ขึ้งเคียดกล่าวติคณะเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๐๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขึ้นเคียดกล่าวติคณะ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๔๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คื ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรคว่าเป็นผู้ขอ...
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 361
ที่ชื่อว่า ขึ้งเคียด ได้แก่ กิริยาที่เขาเรียกกันว่าโกรธ.
ที่ชื่อว่า คณะ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีสงฆ์.
บทว่า กล่าวติ คือ ติโทษว่า ภิกษุณีเหล่านี้ไม่ฉลาด ภิกษุณี
เหล่านี้ไม่รู้จักกรรม โทษอันสมควรแก่กรรม กรรมวิบัติ หรือกรรมสมบัติ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กล่าวติภิกษุณีหลายรูป ภิกษุณีรูปเดียว หรืออนุปสัมบัน
ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๓๔๑] มุ่งอรรถ ๑ มุ่งธรรม ๑ มุ่งสั่งสอน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา
๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อรรถกถาวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า อนุสาสนีปุเรกฺขาย มีความว่า ภิกษุณีดำรงอยู่ในฝ่ายแห่ง
การพร่ำสอนกล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า แม้เดี่ยวนี้ เธอก็เป็นคนโง่ไม่ฉลาด ไม่
เป็นอาบัติ . คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น . สมุฏฐานเป็นต้นก็เป็นเช่นกับสิกขาบทถัด
ไปนั้นแล.
อรรถกถาอารามวรรค สิขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 362
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์
คนหนึ่งได้นิมนต์ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ไปเยี่ยม
ตระกูลญาติ บางพวกก็ฉันอีก บางพวกได้นำบิณฑบาตไป.
เมื่อเสร็จการเลี้ยงภิกษุณีทั้งหลายแล้ว พราหมณ์ได้กล่าวเชื้อเชิญชาว
เพื่อนบ้านว่า คุณ ๆ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าเลี้ยงดูภิกษุณีทั้งหลายให้อิ่มหนำแล้ว
เชิญมาเถิด ข้าพเจ้าจักเลี้ยงพวกท่านให้อิ่มหนำบ้าง.
พวกเพื่อนบ้านเล่านั้นพากันกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านจักเลี้ยงพวกข้าพเจ้า
ให้อิ่มหนำได้อย่างไร แม้พวกภิกษุณีที่ท่านนิมนต์มาฉันเหล่านั้น ไปถึงเรือน
ของพวกข้าพเจ้าแล้ว บางพวกก็ฉันอีก บางพวกก็นำบิณฑบาตไป.
พราหมณ์นั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย
ฉันอาหารที่เรือนของพวกเราแล้ว จึงได้ไปฉันในที่อื่นอีกเล่า เราไม่มีกำลังพอ
ที่จะถวายให้พอแก่ความต้องการหรือ.
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพราหมณ์นั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลายฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว จึงได้ฉันในที่อื่นอีกเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสยบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ยังฉันในที่อื่นอีก จริงหรือ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 363
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว จึงได้ฉันในที่อื่นอีกเล่า การกระทำของ
นางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๐๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด อันทายกนิมนต์แล้ว หรือห้าม
ภัตแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยว หรือของฉัน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๔๓] บทว่า อนึ่ง . . .ใด . ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพระอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า อันทายกนิมนต์แล้ว คือ นิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ อย่าง ๆ
ใดอย่างหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า ห้ามภัตแล้ว คือ อาสนะปรากฏ โภชนะปรากฏ ตนอยู่
ในหัตถบาส ทายกนำของเข้าไปถวาย การห้ามปรากฏ.
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ เว้นโภชนะ ๕ ยาคู ยามกาลิก สัตตาหกาลิก
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 364
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนม
แห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑.
รับประเคนไว้ด้วยหมายใจว่าจักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๔๔] ทายกนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสำคัญว่านิมนต์แล้ว เคี้ยวก็ดี ฉัน
ก็ดี ซึ่งของเคี้ยว หรือของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทายกนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสงสัย เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยว หรือ
ของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทายกนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ามิได้นิมนต์ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่ง
ของเคี้ยว หรือของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
รับประเคนยามกะลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ไว้เพื่อประสงค์เป็น
อาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน.
อนาปัตติวาร
[๓๔๕] ทายกไม่ได้นิมนต์ ๑ ไม่ได้ห้ามภัต ๑ ดื่มยาคู ๑ บอกเจ้า
ของแล้วฉัน ๑ เมื่อเหตุจำเป็นมี ฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 365
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๔
คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๔ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๔
เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทางกายกับวาจา ๑ ทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑
เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เพราะเป็นอาบัติแก่ภิกษุณีผู้รับนิมนต์แล้ว ไม่บอก
กล่าวก่อนฉันก็มี เป็นกิริยา เพราะเป็นอาบัติ แก่ภิกษุณีผู้ห้ามภัตแล้ว ให้
ทำโภชนะให้เป็นกัปปิยะบ้าง ไม่ให้ทำบ้าง ฉันก็มี เป็นโนสัญญาวิโมกข์
อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีจรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 366
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๓๔๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
รูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตไปในตรอกแห่งหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ผ่านเข้าไปสู่
สกุลแห่งหนึ่ง ครั้นแล้วได้นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นเขานิมนต์ภิกษุณี
รูปนั้นให้ฉันแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า แม่เจ้า แม้ภิกษุณีรูปอื่น ๆ ก็จงมา.
ทันทีนั้น นางคิดว่า ทำไฉนภิกษุณีรูปอื่น ๆ จึงจะไม่มา แล้วได้
เข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลายกล่าวคำนี้ว่า. แม่เจ้า ณ สถานที่โน้นสุนัขดุ โคเปลี่ยวดุ
สถานที่ลื่น ท่านทั้งหลายอย่าได้ไปสถานที่นั้นเลย.
แม้ภิกษุณีอีกรูปหนึ่งก็ได้เที่ยวบิณฑบาตไปในตรอกนั้น เดินผ่านเข้า
ไปถึงสกุลนั้น ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ครั้นคนพวกนั้นนิมนต์ให้
นางฉันแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า แม่เจ้า ทำไมภิกษุณีทั้งหลายจึงไม่ค่อยมา.
ภิกษุณีรูปนั้นจึงได้เล่าเรื่องนั้นแก่เขาเหล่านั้น พวกเขาจึงเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้หวงตระกูลเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีหวงตระกูล จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 367
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงได้หวงตระกูลเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๑๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด เป็นคนตระหนี่ตระกูล เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๔๗] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ตระกูล ได้แก่ ตระกูลทั้ง ๔ คือ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูล
พราหมณ์ ตระกูลแพทย์ ตระกูลศูทร.
บทว่า เป็นคนตระหนี่ตระกูล คือคิดว่า ทำไฉนภิกษุณีทั้งหลาย
จะไม่พึงมา แล้วกล่าวโทษของพวกพ้องในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ หรือกล่าวโทษของภิกษุณีทั้งหลายในสำนักของพวกพ้อง ก็ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 368
อนาปัตติวาร
[๓๔๘] ไม่หวงตระกูล บอกโทษเท่าที่มีอยู่ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ-
กัมมิกา ๑ไม่ต้องอาบัติแล.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-
ความหวงแหนตระกูล ชื่อว่า ความตระหนี่ตระกูล. ความตระหนี่
ตระกูลมีแก่ภิกษุณีนั้น เหตุนั้น ภิกษุณีนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีความตระหนี่ตระกูล
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นคนตระหนี่ตระกูล เพราะอรรถว่าพระพฤติตัวเป็นคน
หวงแหนสกุล.
สองบทว่า กุลสฺส อวณฺณ ได้แก่ กล่าวโทษว่า ตระกูลนั้น
ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส.
สองบทว่า ภิกฺขุนีน อวณฺณ ได้แก่ กล่าวโทษของพวกภิกษุณี
ว่า พวกภิกษุณี เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก.
สองบทว่า สนฺตเยว อาทีนว ได้แก่ บอกโทษมิใช่คุณที่มีอยู่
ของตระกูล หรือของพวกภิกษุณี. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 369
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๔๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
หลายรูปจำพรรษาอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้าน แล้วได้พากันไปสู่พระนครสาวัตถี
ภิกษุณีทั้งหลายได้รุมกันถามภิกษุณีพวกนั้นว่า แม่เจ้าทั้งหลายจำพรรษาอยู่ ณ
ที่ไหน โอวาทการกล่าวสอนได้มีสมณบูรณ์แล้วหรือ.
ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า แม่เจ้า ในอาวาสที่พวกดิฉันจำพรรษาอยู่นั้น
ไม่มีภิกษุเลย การกล่าวสอนจักสมบูรณ์ได้จากไหน.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้จำพรรษาอยู่ในอาวาสที่ไม่มีภิกษุเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีทั้งหลายจำพรรษาอยู่ในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้จำพรรษาอยู่ในอาวาสที่ไม่มีภิกษุเล่า การกระทำของพวก
นางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 370
พระบัญญัติ
๑๑๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด จำพรรษาอยู่ในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ
เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๕๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
อาวาสที่ชื่อว่า ไม่มีภิกษุ ได้แก่ อาวาสที่ภิกษุณีไม่สามารถจะไป
เพื่อรับครุธรรมอันเป็นโอวาท หรือเพื่อประสงค์จะถามอุโบสถและปวารณาได้
ตั้งใจว่าจักอยู่จำพรรษา แล้วจัดแจงเสนาสนะ จัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้
กวาดบริเวณ ต้องอาบัติทุกกฏ พออรุณขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๕๑] มีภิกษุที่อยู่จำพรรษา หลีกไป สึก มรณภาพ หรือไปเข้า
รีดเดียรถีย์ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 371
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๖
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้;-
บทว่า โอวาทาย คือ เพื่อประโยชน์แก่ครุธรรม.
บทว่า สวาสาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การถามอุโบสถและปวารณา.
นี้ความย่อในสิกขาบทนี้. ส่วนความพิสดาร ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในวรรณนา
แห่งภิกษุโนวาทกสิกขาบทนี้นั่นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 372
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๕๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
หลายรูปจำพรรษาอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้าน แล้วได้พากันไปสู่พระนครสาวัตถี
ภิกษุณีทั้งหลายได้พากัน ถามภิกษุณีพวกนั้นว่า เจ้าแม่ทั้งหลายจำพรรษาอยู่ ณ
ที่ไหนได้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์แล้วหรือ.
ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า พวกดิฉันยังมิได้ปวารณาตัวต่อภิกษุสงฆ์เจ้าข้า
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีทั้งหลายอยู่จำพรรษาแล้ว จึงได้ไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์เล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายจำพรรษาแล้วไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจำพรรษาแล้วจึงได้ไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์เล่า การกระทำของพวกนาง
นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 373
พระบัญญัติ
๑๑๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด จำพรรษาแล้ว ไม่ปวารณาต่อ
สงฆ์สองฝ่าย ด้วยสถาน ๓ คือ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วย
รังเกียจก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๕๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า จำพรรษาแล้ว คือ อยู่ตลอดไตรมาสต้น หรือไตรมาส
หลัง.
พอทอดธุระว่า จักไม่ปวารณาต่อสงฆ์สองฝ่าย ด้วยสถาน ๓ คือ ด้วย
ได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๕๔] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุ
ขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 374
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๗
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ปริเยสิตฺวา น ลภติ คือ (แสวงหาแล้ว) ไม่ได้ภิกษุณี
คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น . ความพิสดารแห่งสิกขาบทแม้นี้ ก็ได้กล่าวไว้แล้วใน
ภิกขุโนวาทกสิกขาบทเหมือนกัน.
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 375
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๓๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ
นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น ภิกษุฉัพพัคคีย์
เข้าไปสู่สำนักของภิกษุณีแล้ว จะกล่าวสอนภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ภิกษุณีทั้งหลาย
ได้กล่าวชวนภิกษุณีฉัพพัคคีย์ว่า มาเถิดแม่เจ้า ไปรับโอวาทกันเถิดเจ้าข้า.
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์กล่าวว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พวกเราจะชวนกันไป แม้
เพราะเหตุแห่งโอวาทอันใด พระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์ ก็จะมากล่าวสอนพวกเราด้วย
โอวาทนั้น ณ สถานที่นี้แล้ว.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ไม่ไปรับโอวาทเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีไม่ไปรับโอวาท จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ไม่ไปรับโอวาทเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 376
พระบัญญัติ
๑๑๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่ไปเพื่อโอวาทก็ดี เพื่อธรรม
เป็นเหตุอยู่ร่วมก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๕๗] บทว่า อนึ่ง. . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า โอวาท ได้แก่ ครุธรรม ๘.
ที่ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วม ได้แก่ กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศ
ที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน.
พอทอดธุระว่า จักไม่ไปเพื่อโอวาทก็ดี เพื่อธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมก็ดี
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๕๗] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาภิกษุณีเป็นเพื่อนไม่ได้ ๑
อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 377
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๘
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-
ด้วยคำว่า เอกฺกมฺม เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงอุโบสถ
และปวารณาเท่านั้น. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. ความพิสดารแห่งสิกขาบทแม้นี้
ก็ได้กล่าวไว้แล้ว ในภิกขุโนวาทกสิกขาบทเหมือนกัน.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิกสิกขาบท เป็นอกิริยา สัญญา-
วิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 378
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายไม่ถามอุโบสถก็มี ไม่ขอโอวาทก็มี ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไม่ถามอุโบสถและไม่ขอโอวาท
เล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายไม่ถามอุโบสถและไม่ขอโอวาท จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไม่ถามอุโบสถ ไม่ขอโอวาท การกระทำของพวกนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๑๔. ๙. อนึ่ง ทุก ๆ ระยะกึ่งเดือน ภิกษุณีพึงหวังเฉพาะ
ธรรม ๒ ประการ จากภิกษุสงฆ์ คือการถามอุโบสถ ๑ การเข้าไป
ขอโอวาท ๑ เมื่อฝ่าฝืนธรรม ๒ อย่างนั้น เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 379
สิกขาบทวิภังค์
[๓๕๙] บทว่า ทุกระยะกึ่งเดือน คือ ทุก ๆ วันที่มีอุโบสถ.
ที่ชื่อว่า อุโบสถ ได้แก่ อุโบสถ ๒ อย่าง คือ อุโบสถมีในวัน
๑๔ ค่ำ ๑ อุโบสถมีในวัน ๑๕ ค่ำ ๑.
ที่ชื่อว่า โอวาท ได้แก่ ครุธรรม ๘.
พอทอดธุระว่า จักไม่ถามอุโบสถก็ดี จักไม่ขอโอวาทก็ดี ดังนี้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๖๐] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาภิกษุณีเป็นเพื่อนไม่ได้ ๑
อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๙
คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๙ ตื้นทั้งนั้น. ความพิสดารแห่งสิกขาบทแม้
นี้ก็ได้กล่าวไว้แล้ว ในภิกขุโนวาทกสิกขาบทเหมือนกัน. สิกขาบทนี้ มีการ
ทอกธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ
กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 380
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๓๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
รูปหนึ่งกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้า ครั้นแล้วบุรุษนั้นได้
พยายามประทุษร้ายภิกษุณีรูปนั้น นางได้ส่งเสียงขึ้น ภิกษุณีทั้งหลายได้พากัน
วิ่งเข้าไปถามภิกษุณีนั้นว่า แม่เจ้าส่งเสียงอะไรกัน เมื่อถูกถาม นางได้เล่า
เรื่องนั้นแก่เหล่าภิกษุณี.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง จึงได้ให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้าเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่งให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้า จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้พระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง จึงได้ให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้าเล่า การกระทำของนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 381
พระบัญญัติ
๑๑๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่บอกกล่าวสงฆ์หรือคณะ กับ
บุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ให้บ่งก็ดี ผ่าก็ดี ชะก็ดี ทาก็ดี พันก็ดี แกะก็ดี
ซึ่งฝีหรือบาดแผลอันเกิดในร่มผ้า เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๖๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ร่มผ้า ได้แก่ อวัยวะใต้นาภีลงไป เหนือเข่าขึ้นมา.
บทว่า เกิด คือ เกิดขึ้นในบริเวณนั้น.
ที่ชื่อว่า ฝี ได้แก่ ฝีชนิดใดชนิดหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า แผล ได้แก่ แผลชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า ไม่บอกกล่าว คือ ไม่แจ้งให้ทราบ.
ที่ชื่อว่า สงฆ์ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีสงฆ์.
ที่ชื่อว่า คณะ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีหลายรูป.
ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่เปรต
ผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้สามารถเพื่อประทุษร้ายได้.
บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.
บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง ภิกษุณีรูปหนึ่ง.
สั่งว่า จงบ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อบ่งเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
สั่งว่า จงผ่า ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อผ่าเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 382
สั่งว่า จงชะ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อชะเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
สั่งว่า จงทา ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อทาเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
สั่งว่า จงพัน ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อพันเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
สั่งว่า จงแกะ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อแกะเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๖๓] บอกกล่าวแล้ว ให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะ ให้ทาพัน ให้ หรือ
ให้แกะ ๑ มีสตรีผู้รู้ความอยู่เป็นเพื่อน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อารามวรรคที่ ๖ จบ
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้;-
บทว่า ปสาเข ได้แก่ ในกายท่อนล่าง. จริงอยู่ กายท่อนล่างท่าน
เรียกว่า ปสาขะ เพระเหตุว่า ต้นขาทั้ง ๒ แยกออกไปจากกายท่อนล่างนั้น
ดุจกิ่งแห้งต้นไม้แยกจากต้นไม้ ฉะนั้น .
ในบทว่า ภินฺท เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าภิกษุณีสั่งทุกอย่างว่า
จงบ่ง จงผ่า และอุบาสกนั้นทำตามสั่งอย่างนั้น ภิกษุณีต้องอาณัตติทุกกฏ
(ทุกกฏเพราะสั่ง) ๖ ตัว และปาจิตตีย์ ๖ ตัว. ถ้าแม้นว่า ภิกษุณีสั่งอย่านี้ว่า
อุบาสก ! กิจอย่างใดอย่างหนึ่งที่ควรทำในกายท่อนล่างนี้ ท่านจงกระทำกิจนั้น
ทั้งหมด และอุบาสกนั้น ทำกิจมีการบ่งเป็นต้น แม้ทั้งหมด. เป็นอาบัติ ๑๒
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 383
ตัว คือ เป็นทุกกฏ ๖ ตัว ปาจิตตีย์ ๖ ตัว เพราะคำพูดคำเดียว. แต่ถ้า
ภิกษุณีพูดเพียงอย่างเดียว ในบรรดากิจมีการบ่งเป็นต้นแล้ว สั่งว่า จงทำกิจนี้
และอุบาสกนั้น ทำกิจทั้งหมด เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะการทำกิจที่สั่งเท่านั้น
ในกิจที่เหลือไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โน-
สัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มี
เวทนา ๓ แล.
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อรรถกถาอารามวรรคที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 384
ปาจิตตีย์ คัพภินีวรรคที่ ๗
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๖๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายพากันบวชสตรีมีครรภ์ นางบวชแล้วเที่ยวไปบิณฑบาต คนทั้งหลาย
พูดกันอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงถวายภิกษาแก่แม่เจ้า เพราะแม่เจ้ามีครรภ์
แก่ แล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ให้สตรีมี
ครรภ์บวชเล่า
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลายจึงได้บวชสตรีมีครรภ์เล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีให้สตรีมีครรภ์บวช จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีจึงได้ให้สตรีมีครรภ์บวชเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 385
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๑๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีมีครรภ์ให้บวช เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๖๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สตรีมีครรภ์ ได้แก่ หญิงที่เรียกกันว่ามีบุตรมาเกิด.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร
ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกฏ จบญัตติต้องอาบัติทุกกกฏ จบกรรมวาจา
๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
[๓๖๖] สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่ามีครรภ์ ให้บวช ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 386
สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ ให้บวช ไม่ต้องอาบัติ.
สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่ามีครรภ์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๖๗] สตรีมีครรค์ สำคัญว่าไม่มีครรภ์ ให้บวช ๑ สตรีไม่มีครรภ์
สำคัญว่าไม่มีครรภ์ ให้บวช ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรคที่ ๗
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งคัพภินีวรรค พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อาปนฺนสตฺตา ได้แก่ สตรีผู้มีบุตรเข้ามาเกิดยังท้อง.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 387
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๖๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชต-
วัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายพากันบวชสตรีแม่ลูกอ่อน นางบวชแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาต คน
ทั้งหลายพูดกันอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงถวายภิกษาแก่แม่เจ้า เพราะแม่เจ้า
มีลูก แล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้
สตรีมีลูกอ่อนบวชเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้สตรีแม่ลูกอ่อนบวชเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายให้สตรีแม่ลูกอ่อนบวช จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลายจึงได้ให้สตรีแม่ลูกอ่อนบวชเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 388
พระบัญญัติ
๑๑๒. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีมีลูกอ่อนให้บวช เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๖๙] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สตรีมีลูกอ่อน ได้แก่ หญิงที่เป็นมารดา หรือเป็นแม่นม
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร
ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรม
วาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์. คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
[๓๗๐] สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสำคัญว่ามีลูกอ่อน ให้บวช ต้องอาบัติ-
ปาจิตตีย์
สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสำคัญว่า ไม่ใช่มีลูกอ่อน ให้บวช ไม่ต้อง
อาบัติ.
มิใช่สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสำคัญว่ามีลูกอ่อน ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่มีลูกอ่อน ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 389
อนาปัตติวาร
[๓๗๑] สตรีมีลูกอ่อน สำคัญว่าไม่มีลูกอ่อน ให้บวช ๑ มิใช่สตรี
มีลูกอ่อน สำคัญว่าไม่มีลูกอ่อน ให้บวช ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่
ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ปายนฺตึ ได้แก่ สตรีผู้ยังทารกให้ดื่มน้ำนมอยู่.
สองบทว่า มาตา วา โหติ มีความว่า เป็นมารดาก็ดี เป็นนางนม
ก็ดี แห่งทารกผู้ซึ่งยังดื่มน้ำนม. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. แม้ทั้ง ๒ สิกขาบท
นี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม
วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 390
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชต-
วัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลาย
พากันบวชสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี
สิกขมานาพวกนั้นจึงเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานา ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประ-
การ ตลอด ๒ ปีเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายบวชสิกขมานา ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปีเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . . ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี
แก่สิกขมานา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้สิกขาสมมตินั้นอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 391
วิธีให้สิกขาสมมติ
สิกขมานานั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า
ภิกษุณีทั้งหลาย แล้วนั่งโกระหย่งประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ ว่าดังนี้.
แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขาสมมติใน
ธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒. . . พึงขอแม้ครั้งที่ ๓. . .
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุตย-
กรรมวาจาว่าดังนี้
กรรมวาจา
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางนี้มีชื่อนี้เป็นสิกขมานา
ของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี ต่อ
สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สิกขาสมมติ
ในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี แก่สิกขมานามีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางนี้มีชื่อนี้เป็นสิกขมานา
ของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี
ต่อสงฆ์ ๆ ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี แก่
สิกขมานาชื่อนี้ การให้สิกขาสมมตในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี
แก่สิกขมานาชื่อนี้ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่
ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่
สิกขมานาชื่อนี้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความ
นี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 392
พึงบอกสิกขมานาผู้นั้นว่า เธอจงว่าอย่างนี้.
๑. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป มั่น
ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
๒. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการถือเอาพัสดุ อันเจ้าของเขามิได้
ให้ มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
๓. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการประพฤติผิด มิใช่กิจพรหม-
จรรย์ มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
๔. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการพูดเท็จ มั่น ไม่ละเมิดตลอด
๒ ปี.
๕. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย
อันเป็นฐานประมาท มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
๖. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มั่น
ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้น โดยอเนกปริยายดังนี้แล
แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๑๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ประการ ตลอดสองฝน ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 393
สิกขาบทวิภังค์
[๓๗๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
บทว่า สองฝน คือ สองปี.
ที่ชื่อว่า ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา คือ สิกขาอันภิกษุณียังมิได้ให้หรือ
ให้แล้วแต่สิกขมานาทำขาดเสีย.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร
ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรม
วาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๗๔] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 394
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๓๗๕] บวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด
๒ ปี ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า สิกฺขาสมฺมตึ ทาตุ มีความว่า ถามว่า เพราะเหตุไร
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงประทานให้สงฆ์ ให้สิกขาสมมติ.
แก้ว่า ทรงทำในพระหฤทัยว่า ธรรมดามาตุคาม เป็นคนโลเล ยัง
ไม่ได้ศึกษาในธรรม ๖ ข้อ ถึง ๒ ปี จะบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ได้ลำบาก แต่
ครั้นได้ศึกษาแล้ว จักไม่ลำบากในภายหลัง คือ จักช่วยตัวได้ (จักยิ่งสิกขาบท
๖ ข้อให้สำเร็จได้) จึงได้ทรงประทานให้สงฆ์ ให้สิกขาสมมติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 395
ข้อว่า ปาณาติปาตา เวรมณี เทฺว วสฺสานิ อวีติกฺกมสมา-
ทาน สมาทิยามิ มีความว่า สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป นั้นใด ข้าพเจ้าขอ
สมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง
ไปนั้น ให้เป็นการสมาทานมั่น ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี. ในสิกขาบททั้งปวง
ก็นัยนี้ สิกขาบททั้ง ๖ ข้อนี้ ภิกษุณีสงฆ์พึงให้เหมือนกันแก่สตรี (สามเณรี)
ผู้บวชมาแล้วถึง ๖๐ พรรษา. นางสิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาในสิกขา ๖ ข้อนี้
ไม่พึงให้อุปสมบท.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 396
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายพากันบวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว
แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า มานี่ สิกขมานา เธอ
จงรู้สิ่งนี้ จงให้สิ่งนี้ จงนำสิ่งนี้มา เราต้องการสิ่งนี้ จงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ.
นางเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ดิฉันไม่ใช่สิกขมานา พวก
ดิฉันเป็นภิกษุณี.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายบวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการครบ
๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานา ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการครบ
๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไป
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 397
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . . ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการ
อุปสมบทแก่สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้สมมติการอุปสมบทนั้น อย่างนี้;-
วิธีให้สมมติการอุปสมบท
สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้วนั้น
พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้ว นั่ง
กระหย่งประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า.
แม่เจ้า ดิฉันมีชื่อนี้ เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง. พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :
กรรมวาจา
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ผู้นี้ของแม่เจ้า
ชื่อนี้ ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ขอสมมติ
การอุปสมบทต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง
สมมติการอุปสมบทแก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ประการครบ ๒ ปีแล้ว นี้เป็นญัตติ.
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ผู้นี้ของแม่เจ้า
ชื่อนี้ ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว ขอสมมติ
การอุปสมบทต่อสงฆ์ ๆ ให้สมมติการอุปสมบทแก่สิกขมานาชื่อนี้
ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 398
การให้สมมติการอุปสมบทแก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้ได้ศึกษา
สิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้า
ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
สมมติการอุปสมบทอันสงฆ์ให้แล้วแก่สิกขมานาชื่อนี้ผู้ได้
ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุ-
นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล
แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๑๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม
๖ ประการ ตลอดสองฝนแล้ว อันสงฆ์ยังมิได้สมมติ ให้บวช เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๗๗] บทว่า อนึ่ง . . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ตลอดสองฝน คือ ตลอด ๒ ปี.
ที่ชื่อว่า ผู้ศึกษาสิกขา. . .แล้ว คือ มีสิกขาในธรรม ๖ ประการ
อันได้ศึกษาแล้ว.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 399
ที่ชื่อว่า อันสงฆ์ยังมิได้สมมติ คือ อันสงฆ์ยังไม่ได้ให้สมมติการ
อุปสมบทด้วยญัตติทุติยกรรม.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร
ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา
สองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏสองตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๗๘] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 400
อนาปัตติวาร
[๓๗๙] บวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ
๒ ปี ที่สงฆ์สมมติแล้ว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔
คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๔ ตื้นทั้งนั้น. แต่ถ้าว่า สิกขาสมมติเป็น
อันภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ได้ให้มาก่อน พึงให้แม้ในโรงอุปสมบทนั่นแล. สิกขมานา
ทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่า มหาสิกขมานา.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 401
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๘๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายพากันบวชเด็กหญิงชาวบ้านผู้มีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปี เด็กหญิงเหล่านั้น
อดทนไม่ได้ต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ไม่อดทนต่อ
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน มักไม่อดกลั้นต่อ
ถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย หยาบคาย มีปรกติไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดโนสรีระ
อย่างแรงกล้า หยาบช้า เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ อันอาจพร่าชีวิต
เสีย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชเด็กหญิงชาวบ้าน ผู้มีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปี
เล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายพากันบวชเด็กหญิงชาวบ้านผู้มีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปี
จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากันบวชเด็กหญิงชาวบ้านที่มีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปีเล่า
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 402
เพราะเด็กหญิงที่มีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปี เป็นผู้อดทนไม่ได้ต่อความหนาว
ความร้อน ความหิว ความกระหาย ไม่อดทนต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม
แดด และสัตว์เสือกคลาน มักไม่อดกลั้นต่อถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย หยาบคาย
มีปรกติไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดในสรีระอย่างแรงกล้า หยาบช้า เผ็ดร้อน
ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ อันอาจพร่าชีวิตเสีย ส่วนเด็กหญิงที่มีอายุครบ ๑๒ ปี
เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย อดทนต่อ
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน มีปรกติอดกลั้นต่อ
ถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย หยาบคาย มักอดทนต่อทุกข์เวทนาที่เกิดในสรีระอย่าง
แรงกล้า หยาบช้า เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ อันพร่าชีวิตเสีย การ
กระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ ;-
พระบัญญัติ
๑๒๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังเด็กหญิงชาวบ้านผู้มีอายุหย่อน
๑๒ ฝนให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๘๑] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
ที่ชื่อว่า มีอายุหย่อน ๑๒ ฝน คือ มีอายุไม่ครบ ๑๒ ปี.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 403
ที่ชื่อว่า เด็กหญิงชาวบ้าน ได้แก่ เด็กหญิงที่เขากล่าวกันว่าอาจมี
สามีได้.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร
ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา
สองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
[๓๘๒] เด็กหญิงมีอายุหย่อน ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุหย่อน ๑๒
ปี ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เด็กหญิงมีอายุหย่อน ๑๒ ปี ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
เด็กหญิงมีอายุหย่อน ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ ให้บวช ไม่ต้อง
อาบัติ.
เด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุหย่อน ๑๒ ปี ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
เด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
เด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ ไม่ต้องอาบัติ .
อนาปัตติวาร
[๓๘๓] บวชเด็กหญิงมีอายุหย่อน ๑๒ ปี สำคัญว่ามีอายุครบ ๑ วิกล-
จริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 404
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้ :-
เมื่อภิกษุณียังสิกขมานาผู้มีอายุหย่อนกว่า ๑๒ ปี ให้บวช ด้วยความ
สำคัญว่ามีอายุครบ ไม่เป็นอาบัติ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สิกขมานานั้นก็ไม่
เป็นอุปสัมบันเลย. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 405
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๘๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายพากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ประการตลอด ๒ ปี เธอเหล่านั้นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักสิ่งที่ควรหรือ
ไม่ควร.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษา
สิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุณีพากันบวชเด็กหญิงอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้พากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม
๖ ประการ ตลอด ๒ ปีเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . . ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถารับสั่งกะ
ภิกษุทั้งหลายว่า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 406
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประ-
การ ตลอด ๒ ปี แก่เด็กหญิงผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี.
วิธีให้สิกขาสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้สิกขาสมมตินั้น อย่างนี้:-
อันเด็กหญิงผู้มีอายุครบ ๑๒ ปีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์
เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้
ว่า.
แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นเด็กหญิงของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี
ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย-
กรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจา
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เด็กหญิงนี้ชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อ
นี้ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี
ต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สิกขา
สมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุ
ครบ ๑๒ ปี นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เด็กหญิงนี้ชื่อนี้ ของแม่เจ้า
ชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด
๒ ปี ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 407
แก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี การให้สิกขาสมมติในธรรม ๖
ประการ ตลอด ๒ ปี แก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ชอบแก่
แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้า
ผู้นั้นพึงพูด.
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๖ ปี อันสงฆ์ให้แล้ว
แก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถนั้น พึงกล่าวกะเด็กหญิงผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี
นั้นว่าเธอจงกล่าวอย่างนี้ แล้วพึงกล่าวว่า ดังนี้:-
๑. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป มั่น ไม่
ละเมิดตลอด ๒ ปี . . .
๖. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มั่น
ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้
แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๒๑ .๖. อนึ่ง ภิกษุณี ภิกษุณีเหล่าใด ยังเด็กหญิงมีอายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์
ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอดสองฝนให้บวช เป็น
ปาจิตตีย์.
ภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 408
สิกขาบทวิภังค์
[๓๘๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีอายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์ คือ มีอายุครบ ๑๒ ฝนแล้ว.
ที่ชื่อว่า เด็กหญิง ได้แก่ เด็กหญิงที่เขากล่าวกันว่าอาจมีสามีได้.
บทว่า ตลอดสองฝน คือ ตลอด ๒ ปี.
ที่ชื่อว่า ยังมิได้ศึกษาสิกขา คือ สงฆ์ยังมิได้ให้สิกขา หรือให้
แล้วแต่เธอทำขาดเสีย.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่า จักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี
จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบ
กรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้
อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๘๖] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 409
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๓๘๗] บวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ประการ ตลอดสองปี ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุณีสงฆ์ จะให้สิกขาสมมติแก่หญิงคฤหัสถ์ ผู้มีอายุ ๑๐ ปี แล้ว
ให้เธอผู้มีอายุครบ ๑๒ ปีบริบูรณ์อุปสมบท ควรอยู่.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 410
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๘๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายพากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า มานี่
สิกขมานา เธอจงรู้วัตถุนี้ จงประเคนวัตถุนี้ จงนำวัตถุนี้มา ฉันต้องการวัตถุนี้
เธอจงทำวัตถุนี้ให้เป็นกัปปิยะ
เธอเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า พวกดิฉันไม่ใช่สิกขมานา พวก
ดิฉันเป็นภิกษุณี.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงพากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีพากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ศึกษาสิกขาในธรรม
๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 411
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติเล่า การกระทำของ
พวกนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . . ครั้นแล้ว
ทรงกระทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่เด็กหญิง
อายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีการให้สมมติการอุปสมบทนั้นอันสงฆ์พึง
ให้อย่างนี้:-
วิธีการให้สมมติการอุปสมบท
อันเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปีแล้วนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท่าภิกษุณี
ทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า.
แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นเด็กหญิงของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี
ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบท
ต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
ภิกษุณี ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติ-
ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 412
กรรมวาจา
แม่เจ้าเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เด็กหญิงชื่อนี้ผู้นี้ ของ
แม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง
ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติการอุปสมบทแก่เด็กหญิงชื่อนี้
ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒
ปีแล้ว นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้าเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เด็กหญิงชื่อนี้ผู้นี้ ของ
แม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์ ๆ ให้สมมติการ
อุปสมบทแก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว การให้สมมติการอุปสมบทแก่
เด็กหญิงชื่อนี้ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปีแล้ว ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่
ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
สมมติการอุปสมบท อันสงฆ์ให้แล้วแก่เด็กหญิงชื่น ผู้มี
อายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี
แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว
ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 413
พระบัญญัติ
๑๒๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี
ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอดสองฝนแล้ว อันสงฆ์
ยังมิได้สมมติ ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๘๙] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีอายุครบ ๑๒ ปี คือ มีอายุถึง ๑๒ ฝนแล้ว.
ที่ชื่อว่า เด็กหญิง ได้แก่ สตรีที่เขากล่าวว่าอาจมีสามีได้.
บทว่า ตลอดสองฝน คือ ตลอดสองปี.
ที่ชื่อว่า ผู้ศึกษาสิกขา คือ มีสิกขาในธรรม ๖ ประการอันได้
ศึกษาแล้ว.
ที่ชื่อว่า ยังมิได้สมมติ คือ สงฆ์ยังไม่ได้ให้สมมติการอุปสมบท
ด้วยญัตติทุติยกรรม.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร
ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรม
วาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 414
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๙๐] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๓๙๑] บวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว อันสงฆ์สมมติแล้ว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗
คำทั้งหมด ในสิกขาบทที่ ๗ ตื้นทั้งนั้น. แม้สมุฏฐานเป็นต้น ใน
ทุกสิกขาบท มีสิกขาบทที่ ๓ เป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในสิกขาบท
ที่ ๒ นั่นแล. แต่มีความแปลกกันอย่างนี้:- ในสิกขาบทใดมีสมมติ ใน
สิกขาบทนั้น เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 415
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๙๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาบวชสหชีวินีแล้ว ไม่อนุเคราะห์เอง ไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ ตลอด
๒ ปี สหชีวินีเหล่านั้นจึงเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักสิ่งที่ควรหรือไม่ควร.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาบวชสหชีวินีแล้ว จึงไม่อนุเคราะห์เอง ไม่ให้
ผู้อื่นอนุเคราะห์ตลอด ๒ ปีเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชสหชีวินีแล้ว ไม่อนุเคราะห์เอง ไม่ให้ผู้อื่น
อนุเคราะห์ตลอด ๒ ปี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ถุลลนันทาบวชสหชีวินีแล้ว จึงได้ไม่อนุเคราะห์เอง ไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์
ตลอด ๒ ปีเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 416
พระบัญญัติ
๑๒๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสหชีวินีให้บวชแล้ว ไม่อนุ-
เคราะห์ ไม่ยังผู้อื่นให้อนุเคราะห์ สิ้นสองฝน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สหชีวินี ได้แก่ ภิกษุณีที่เรียกกันว่าสัทธิวิหารินี.
บทว่า ให้บวชแล้ว คือ ให้อุปสมบทแล้ว.
บทว่า สิ้นสองฝน คือ ตลอด ๒ ปี.
บทว่า ไม่อนุเคราะห์ คือ ไม่อนุเคราะห์เอง ด้วยอุเทศ ปริปุจฉา
โอวาท อนุศาสนี.
บทว่า ไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ คือ ไม่บังคับภิกษุณีอื่น.
พอทอดธุระว่า จักไม่อนุเคราะห์เอง จักไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ ๒ ปี
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๙๔] มีอันตราย ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง
๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 417
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๘
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า น อนุคฺคณฺหาเปยฺย มีความว่า ไม่ยังผู้อื่นให้อนุเคราะห์
ด้วยอุเทศเป็นต้นอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ! ท่านจงให้อุเทศเป็นต้นแก่ภิกษุณีนี้.
บทว่า ปริเยสิตฺวา ได้แก่ แสวงหาภิกษุณีอื่นแล้วไม่ได้. เป็นผู้
อาพาธเสียเอง ไม่สามารถจะให้อุเทสเป็นต้นได้ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีนั้น.
คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 418
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๙๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายไม่ติดตามปวัตตินีผู้ให้บวชถึง ๒ ปี เธอจึงเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด
ไม่รู้จักสิ่งที่ควรหรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงไม่ติดตามปวัตตนีผู้ให้บวชตลอด ๒ ปีเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายไม่ติดตามปวัตตีนีผู้ให้บวชถึง ๒ ปี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไม่ติดตามปวัตตินีผู้ให้บวชถึง ๒ ปีเล่า การกระทำของ
พวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๒๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่ติดตามปวัตตินีผู้ให้บวชสิ้น
สองฝน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 419
สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ผู้ให้บวช คือ ผู้ให้อุปสมบท.
ที่ชื่อว่า ปวัตตินี ได้แก่ ภิกษุณีที่เขาเรียกกัน ว่าอุปัชฌาย์.
บทว่า สิ้นสองฝน คือ ตลอด ๒ ปี.
บทว่า ไม่ติดตาม คือ ไม่อุปัฏฐาก.
พอทอดธุระว่า จักไม่ติดตามตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๙๗] อุปัชฌาย์เป็นคนเขลา หรือ เป็นคนไม่ละอาย ๑ อาพาธ ๑
มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๙
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า น อุปฏฺเหยฺย มีความว่า ไม่บำรุงด้วยกิจที่ควรทำนั้น ๆ
อย่างนี้ คือ ด้วยจุณ ด้วยดินเหนียว ด้วยไม้สีฟัน ด้วยน้ำล้างหน้า. คำที่
เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิกสิกขาบท เป็นอกิริยา สัญญา-
วิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลกรรม เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 420
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาบวชสหชีวินีไว้แล้ว ไม่พาไปด้วย ไม่ให้ผู้อื่นพาไปด้วย นายได้
จับตัวไป.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาบวชสหชีวินีไว้แล้ว จึงไม่พาไปด้วย ไม่ให้ผู้อื่นพา
ไปด้วยเล่า นายได้จับตัวไป ถ้าภิกษุณีนี้ พึงไปด้วย นายก็จะไม่พึงจับตัวไป
ได้. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาบวชสหชีวินีไว้แล้ว ไม่พาไปเอง ไม่ให้ผู้อื่นพาไป
นายได้จับตัวไปแล้ว จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาบวชสหชีวินีไว้แล้ว จึงได้ไม่พาไป ไม่ให้ผู้อื่นพาไป นาย
จึงได้จับตัวไป การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 421
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๒๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสหชีวินีให้บวชแล้ว ไม่พา
หลีกไป ไม่ให้พาหลีกไป โดยที่สุดแม้สั้นระยะทาง ๕- ๖ โยชน์
เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๙] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สหชีวินี ได้แก่ ภิกษุณีที่เขาเรียกกันว่าสัทธิวิหารินี.
บทว่า ให้บวชแล้ว คือ ให้อุปสมบทแล้ว.
บทว่า ไม่พาหลีกไป คือ ตนเองไม่พาหลีกไป.
บทว่า ไม่ให้พาหลีกไป คือ ไม่สั่งผู้อื่น.
พอทอดธุระว่า จักไม่พาหลีกไป จักไม่ให้พาหลีกไป โดยที่สุดแม้
สิ้นระยะทาง ๕-๖ โยชน์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๐๐] มีอันตราย ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ภิกษุณีผู้สหาย ๑ มีเหตุขัด-
ข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
คัพภินีวรรคที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 422
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า เนว วูปกาเสยฺย ได้แก่ ไม่พาเอาสหชีวินีไป.
บทว่า น วูปกาสาเปยฺย ได้แก่ ไม่สั่งภิกษุณีอื่นว่า แม่เจ้า !
ขอจงพาภิกษุณีนี้ไป. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรคที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 423
ปาจิตตีย์ กุมารีภูตวรรคที่ ๘
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๐๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายให้สามเณรีมีอายุหย่อน ๒๐ ฝน อุปสมบท เธอเหล่านั้นอดทนไม่ได้
ต่อความหนาว ความร้อน ความหิว กระกระหาย ไม่อดทนต่อสัมผัสแห่ง
เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน มักไม่อดกลั้นต่อถ้อยคำที่เขา
กล่าวร้าย หยาบคาบ มีปรกติไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดในสรีระอย่างแรง
กล้า หยาบช้า เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ อันอาจพร่าชีวิตเสีย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้สามเณรีมีอายุหย่อน ๒๐ ฝน อุปสมบทเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีให้สามเณรี มีอายุหย่อน ๒๐ ฝน อุปสมบท จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้สามเณรี มีอายุหย่อน ๒๐ ฝน อุปสมบทเล่า เพราะ
สามเณรีมีอายุหย่อน ๒๐ ฝน เป็นผู้อดทนไม่ได้ต่อความหนาว ความร้อน
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 424
ความหิว ความระหาย ไม่อดทนต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ
สัตว์เสือกคลาน มักไม่อดกลั้นต่อถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย หยาบคาย มีปรกติ
ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดในสรีระอย่างแรงกล้า หยาบช้า เผ็ดร้อน ไม่
น่ายินดี ไม่น่าพอใจ อันอาจพร่าชีวิตเสีย การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๒๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีผู้เป็นกุมารี มีอายุหย่อน
๒๐ ปี ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๐๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีอายุหย่อน ๒๐ ปี คือ มีอายุยังไม่ถึง ๒๐ ฝน.
ที่ชื่อว่า สตรีผู้ยังเป็นกุมารี ได้แก่ สตรีที่เรียกกันว่าสามเณรี.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี
จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบ
กรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้
อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 425
บทภาชนีย์
[๔๐๓] สามเณรีมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุหย่อน
๒๐ ปี ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
สามเณรีมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
สามเณรีมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุครบแล้ว ให้บวช
ไม่ต้องอาบัติ.
สามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่า มีอายุหย่อน ๒๐ ปี ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
สามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
สามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุครบแล้ว ไม่ต้อง
อาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๐๔] บวชกุมารีผู้มีอายุหย่อน ๒๐ ฝน สำคัญว่ามีอายุครบแล้ว ๑
บวชกุมารีผู้มีอายุครบ ๒๐ ฝนแล้ว สำคัญว่ามีอายุครบแล้ว ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 426
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชต-
วัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายพากันบวชสามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ประการ ตลอด ๒ ปี เธอเหล่านั้นจึงเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควร
หรือไม่ควร.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากันบวชสามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ยังมิได้
ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี เล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายพากันบวชสามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากันบวชสามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . . ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 427
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีผู้ยังเป็นกุมารี มีอายุ ๑๘ ปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสิกขาสมมตินั้น อันภิกษุณีพึงให้อย่างนี้:-
วิธีให้สิกขาสมมติแก่สามเณรีอายุ ๑๘ ปี
อันสามเณรีผู้มีอายุ ๑๘ ปีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์
เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี กล่าว
อย่างนี้ว่า.
แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นสามเณรีของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุ ๑๘ ปี ขอ
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง. พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม
วาจา ว่าดังนี้;-
กรรมวาจา
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีนี้ชื่อนี้ ของแม่เจ้า
ชื่อนี้ มีอายุ ๑๘ ปี ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี
ต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สิกขา
สมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรชื่อนี้ ผู้มีอายุ
๑๘ ปี นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีนี้ชื่อนี้ ของแม่เจ้า
ชื่อนี้ มีอายุ ๑๘ ปี ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี
ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่
สามเณรี ชื่อนี้ ผู้มีอายุ ๑๘ ปี การให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 428
ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีชื่อนี้ มีอายุ ๑๘ ปี ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด
แม่เจ้าผู้นั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี สงฆ์ให้แล้วแก่
สามเณรชื่อนี้ ผู้มีอายุ ๑๘ ปี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถนั้น พึงกล่าวกะสามเณรีผู้มีอายุ ๑๘ ปีนั้น
ว่าเธอจงกล่าวอย่างนี้ แล้วพึงกล่าวว่า ดังนี้;-
๑. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
มั่น ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี.
๒. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้
มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
๓. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากประพฤติผิดมิใช่กิจพรหมจรรย์
มั่น ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี.
๔. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากพูดเท็จ มั่น ไม่ล่วงละเมิด
ตลอด ๒ ปี.
๕. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากน้ำเมาคือสุราเมรัย อันเป็น
ฐานแห่งความประมาท มั่น ไม่ล่วงละเมิด ตลอด ๒ ปี.
๖. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือเว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มั่น
ไม่ล่วงละเมิด ตลอด ๒ ปี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้น โดยอเนกปริยายดังนี้
แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 429
พระบัญญัติ
๑๒๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีผู้เป็นกุมารี มีอายุครบ
๒๐ ปีแล้ว ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ฝน
ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๐๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว คือ มีอายุถึง ๒๐ ฝนแล้ว.
ที่ชื่อว่า สตรีผู้เป็นกุมารี ได้แก่ สตรีที่เรียกกันว่าสามเณรี.
บทว่า ตลอด ๒ ฝน คือ ตลอด ๒ ปี.
ที่ชื่อว่า ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา คือ สงฆ์ยังไม่ได้ให้สิกขา หรือ
ให้แล้วแต่เธอทำขาดเสีย.
บทว่า ให้บวช คือ อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร
ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา
สองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏสองตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 430
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๔๐๗] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๔๐๘] บวชสามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ประการ ตลอด ๒ ปี ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 431
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๐๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายพากันบวชสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ.
ภิกษุณีทั้งหลายพากันกล่าวอย่างนี้ว่า มานี่ สิกขมานา เธอจงรู้วัตถุ
นี้ จงประเคนวัตถุนี้ จงนำวัตถุนี้มา ฉันต้องการวัตถุนี้ เธอจงทำวัตถุนี้ให้
เป็นกัปปิยะ.
เธอเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า พวกดิฉันไม่ใช่สิกขมานา พวก
ดิฉันเป็นภิกษุณี.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่าไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสามเณรี ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุณีพากันบวชสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 432
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้บวชสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประ-
การ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . . ครั้นแล้ว ทรงกระทำ
ธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่สามเณรี
ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีการให้สมมติการอุปสมบทนั้น อันสงฆ์
พึงให้อย่างนี้:-
วิธีการให้สมมติอุปสมบท
อันสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปีแล้วนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า กราบเท้า
ภิกษุณีทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า.
แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นสามเณรีของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๒๐ ปี
ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบท
ต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย-
กรรมวาจา ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 433
กรรมวาจา
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรชื่อนี้ผู้นี้ ของแม่เจ้า
ชื่อนี้ มีอายุครบ ๒๐ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด
๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงไห้สมมติการอุปลมบทแก่สามเณรีชื่อนี้ ผู้มี
อายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี
แล้ว นี้เป็นญัตติ.
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีชื่อนี้ผู้นี้ ของแม่เจ้า
ชื่อนี้มีอายุครบ ๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒
ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่
สามเณรีชื่อนี้ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประ-
การ ตลอด ๒ ปีแล้ว การให้สมมติการอุปสมบทแก่สามเณรีชื่อนี้ มี
อายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี
แล้ว ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้า
ผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
สมมติการอุปสมบท อันสงฆ์ให้แล้วแก่สามเณรีชื่อนี้ ผู้มี
อายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี
แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้น โดยอเนกปริยายดังนี้
แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 434
พระบัญญัติ
๑๒๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีผู้เป็นกุมารี มีอายุครบ
๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ฝนแล้ว อัน
สงฆ์ยังมิได้สมมติ ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๑๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีอายุครบ ๒๐ ปี คือ มีอายุถึง ๒๐ ฝนแล้ว.
ที่ชื่อว่า สตรีผู้เป็นกุมารี ได้แก่ สตรีที่เรียกกันว่าสามเณรี.
บทว่า ตลอด ๒ ฝน คือ ตลอด ๒ ปี.
ที่ชื่อว่า ผู้ได้ศึกษาสิกขา คือ ผู้มีสิกขาในธรรม ๖ ประการอัน
ได้ศึกษาแล้ว.
ที่ชื่อว่า ยังมิได้สมมติ คือ สงฆ์ยังมิได้ให้สมมติการอุปสมบทด้วย
ญัตติทุติยกรรม.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร
ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรม
วาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัช-
ฌาย์ต้องอาบัติปาจิตตีย์ และคณะอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 435
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๔๑๑] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๔๑๒] บวชสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม
๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว อันสงฆ์สมมติแล้ว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 436
อรรถกถากุมารีภูตวรรคที่ ๘
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑-๒-๓
สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ แห่งกุมารีภูควรรค เช่นเดียวกับคิหิคต
สิกขาบททั้ง ๓ นั่นเอง. ก็มหาสิกขมานา ๒ รูปก่อนเขาทั้งหมดบัณฑิตพึงทราบ
ว่า มีอายุล่วง ๒๐ ปีแล้ว มหาสิกขมานาเหล่านั้นจะเป็นสตรีคฤหัสถ์ (เคยมี
สามีแล้ว) หรือมิใช่สตรีคฤหัสถ์ก็ตามที สงฆ์ควรเรียกว่า สิกขมานา เหมือนกัน
ในสมมติกรรมเป็นต้น ไม่ควรเรียกว่า ติหิคตา หรือว่า กุมารีภูตา. ภิกษุณี
สงฆ์พึงให้สิกขาสมมติแก่สตรีคฤหัสถ์ในเวลามีอายุ ๑๐ ปี แล้วทำการอุปสมบท
ในเวลามีอายุ ๑๒ ปี. ให้ในเวลามีอายุ ๑๑ ปี แล้วทำอุปสมบทในเวลามีอายุ
๑๓ ปี. ให้สมมติในเวลามีอายุ ๑๒ ปี ๑๓ ปี ๑๔ ปี ๑๕ ปี ๑๖ ปี ๑๗ ปี และ
๑๘ ปี แล้วพึงกระทำการอุปสมบทในเวลามี ๑๔-๑๕-๑๖-๑๗-๑๘-๑๙-๒๐
ปี. ก็แล ตั้งแต่เวลามีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป สตรีคฤหัสถ์นี้ จะเรียกว่า คิหิคตา
บ้าง ว่า กุมารีภูตาบ้าง ก็ได้. แต่สตรีผู้เป็นกุมารีภูตา ไม่ควรเรียกว่า คิหิคตา
ควรเรียกว่า กุมารีภูตาเท่านั้น. ฝ่ายมหาสิกขมานา จะเรียกว่า คิหิคตาบ้าง
ก็ไม่ควร. จะเรียกว่ากุมารีภูตาบ้าง ก็ไม่ควร. แม้ทั้ง ๓ นาง ควรเรียกว่า
สิกขมานาด้วยอำนาจการให้สิกขาสมมติ.
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑-๒-๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 437
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๑๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวก
ภิกษุณีผู้มีพรรษาหย่อน ๑๒ พากันบวชกุลธิดา ภิกษุณีผู้อุปัชฌายะเหล่านั้น
เป็นคนเขลาไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร แม้สัทธิวิหารินีทั้งหลายก็เป็น
คนเขลาไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีทั้งหลายมีพรรษาหย่อน ๑๒ จึงได้บวชกุลธิดาเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายมีพรรษาหย่อน ๑๒ บวชกุลธิดา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลาย มีพรรษาหย่อน ๑๒ จึงได้บวชกุลธิดาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 438
พระบัญญัติ
๑๒๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีพรรษาหย่อน ๑๒ ยังกุลธิกา
ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๑๔] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
ชื่อว่า มีพรรษาหย่อน ๑๒ คือ มีพรรษายังไม่ถึง ๑๒.
บทว่า ยังกุลธิดาให้บวช คือ ให้กุลธิดาอุปสมบท.
ตั้งใจว่า จักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี
จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบ
กรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณี
ผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๔๑๕] มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว ยังกุลธิดาให้บวช ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรคสิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 439
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๑๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ ได้พากันบวชกุลธิดา ภิกษุณี
อุปัชฌายะเหล่านั้น เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร แม้
สัทธิวิหารินี ก็เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพวกภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ จึงได้พากัน
บวชกุลธิดาเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ ได้พากัน
บวชกุลธิดา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ จึงได้พากันบวช
กุลธิดาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส. . . ครั้นแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 440
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่ภิกษุณี
ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีการสมมติให้อุปสมบทนั้นอันสงฆ์พึงให้
อย่างนี้:-
วิธีให้สมมติการให้อุปสมบทแก่ภิกษุณีผู้มีพรรษาครบ ๑๒
อันภิกษุณีผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้วนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้า
อุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษากว่าแล้ว นั่งกระโหย่งประคอง
อัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า.
แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว ขอสมมติการให้อุปสมบท
ต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
ภิกษุณีนั้นอันสงฆ์พึงกำหนดว่า ภิกษุณีนี้เป็นคนฉลาด มีความละอาย
ถ้าเธอเป็นคนเขลา และไม่มีความละอาย ก็ไม่ควรให้ ถ้าเป็นคนเขลา แต่มี
ความละอาย ก็ไม่ควรให้ ถ้าเป็นคนฉลาด แต่ไม่มีความละอาย ก็ไม่ควร
ให้ ถ้าเป็นคนฉลาดด้วย มีความละอายด้วย จึงควรให้.
ครั้นแล้ว สงฆ์พึงให้สมมติการให้อุปสมบทนั้นอย่างนี้:-
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย-
วาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจา
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้ผู้นี้ มีพรรษา
ครบ ๑๒ แล้ว ขอสมมติการให้อุปสมบทต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติการให้อุปสมบทแก่ภิกษุณี
ชื่อนี้ ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว นี้เป็นญัตติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 441
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้ผู้นี้ มีพรรษาครบ
๑๒ แล้ว ขอสมมติการให้อุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สมมติการให้
อุปสมบทแก่ภิกษุณีชื่อนี้ ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว การให้สมมติ
การให้อุปสมบทแก่ภิกษุณีชื่อนี้ ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว ชอบแก่
แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ่าผู้ใด แม่เจ้า
ผู้นั้นพึงพูด.
การให้สมมติการให้อุปสมบท อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุณีชื่อ
นี้ ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้น โดยอเนกปริยาย ดังนี้
แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๓๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว อัน
สงฆ์ยังมิได้สมมติ ยังกุลธิดาให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๑๗] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว คือ มีพรรษาถึง ๑๒ แล้ว.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 442
ที่ชื่อว่า ยังมิได้สมมติ คือ สงฆ์ยังมิได้ให้สมมติการให้อุปสมบท
ด้วยญัตติทุติยกรรม.
บทว่า ยังกุลธิดาให้บวช คือ ให้กุลธิดาอุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี
สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา
สองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏสองตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๔๑๘] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ให้บวช
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๔๑๙] มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว อันสงฆ์สมมติแล้ว ยังกุลธิดาให้
บวช ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 443
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๔๒๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
จัณฑกาลีเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ ขอสมมติการให้อุปสมบท ภิกษุณีสงฆ์พิจารณา
ดูภิกษุณีจัณฑกาลีในขณะนั้นแล้ว กล่าวว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่คนควร
ให้กุลธิดาบวชก่อน แล้วมิได้ให้สมมติการให้อุปสมบท ภิกษุณีจัณฑกาลีรับ
คำว่า ดีแล้ว.
ครั้นสมัยต่อมา ภิกษุณีสงฆ์สมมติการให้อุปสมบทแก่ภิกษุณีเหล่าอื่น
ภิกษุณีจัณฑกาลีจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ดิฉันคนเดียวเป็นคนเขลา
ดิฉันคนเดียวเป็นคนไม่มีความละอาย เพราะสงฆ์ให้สมมติการให้อุปสมบทแก่
ภิกษุณีเหล่าอื่น ไม่ให้กะดิฉันคนเดียว.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าจัณฑกาลี อันภิกษุณีสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่
สมควรให้กุลธิดาบวชก่อน ดังนี้ รับคำว่า ดีแล้ว ภายหลังจึงได้ถึงการบ่น
ว่าเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีอันสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่สมควร
ให้กุลธิดาบวชก่อน ดังนี้ รับคำว่า ดีแล้ว ภายหลังได้ถึงการบ่นว่า จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 444
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจัณฑกาลีอันภิกษุณีสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่สมควรให้
กุลธิดาบวชก่อน ดังนี้ รับคำว่า ดีแล้ว ภายหลังจึงได้ถึงการบ่นว่าเล่า การ
กระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้. . .
พระบัญญัติ
๑๓๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด อันภิกษุณีสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ดู
ก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่สมควรให้กุลธิดาบวชก่อน ดังนี้ รับคำว่า
ดีแล้ว ภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่า เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๒๑] บทว่า อนึ่ง. . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
คำว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่สมควรให้กุลธิดาบวชก่อน
ความว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่ควรก่อน ที่จะเป็นผู้ให้กุลธิดาอุปสมบท.
คำว่า รับคำว่า ดีแล้ว ความว่า ถึงธรรมคือบ่นว่าในภายหลัง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 445
อนาปัตติวาร
[๔๒๒] บ่นว่าภิกษุณีสงฆ์ผู้ทำ เพราะฉันทาคติ เพราะโทสาคติ
เพราะโมหาคติ เพราะภยาคติ โดยปกติ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่
ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๔-๕-๖
คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ตื้นทั้งนั้น. ทุกสิกขาบท
มีสมุฏฐาน ๓. สิกขาบทที่ ๔ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติ-
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
สิกขาบทที่ ๕ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล. ส่วนว่า
คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสิกขาบทที่ ๕ นี้ว่า สงฺเฆน ปริจฺฉินฺ-
ทิตพฺพา มีใจความว่า อันสงฆ์พึงพิจารณาดู.
สิกขาบทที่ ๖ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ
กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล. แต่คำที่ตรัสไว้ใน
สิกขาบทที่ ๖ นี้ว่า ปริจฺฉินฺทิตฺวา มีใจความว่า ได้พิจารณาดูแล้ว.
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๔-๕-๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 446
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๔๒๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น สิกขมา-
นารูปหนึ่ง เข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาขออุปสมบท ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกะ
สิกขมานารูปนั้นว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักให้จีวรแก่เรา เมื่อได้เช่นนี้ เรา
จึงจะให้เธออุปสมบทแล้วไม่ให้นางอุปสมบท ไม่ขวนขวายเพื่อให้นางอุปสมบท
สิกขมานารูปนั้น จึงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจัก
ให้จีวรแก่เรา เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นางอุปสมบท
ไม่ขวนขวายเพื่อให้นางอุปสมบทเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักให้
จีวรแก่เรา เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นางอุปสมบท
ไม่ขวนขวายเพื่อให้นางอุปสมบท จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักให้จีวรแก่
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 447
เรา เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นางอุปสมบท ไม่ขวน-
ขวายเพื่อให้นางอุปสมบทเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้. . .
พระบัญญัติ
๑๓๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อน
แม่เจ้าถ้าเธอจักให้จีวรแก่เรา เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท
ดังนี้แล้ว นางไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่ให้อุปสมบท ไม่ทำการ
ขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๒๔] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปีแล้ว.
คำว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักให้จีวรแก่เรา เมื่อได้เช่นนี้
เราจึงจะให้เธออุปสมบท ความว่า เมื่อเราได้จีวรแล้ว เราจึงจะให้เธอ
อุปสมบท.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 448
คำว่า นางไม่มีอันตรายในภายหลัง คือ ในเมื่ออันตรายไม่มี.
บทว่า ไม่ให้อุปสมบท คือ ไม่บวชให้ด้วยตนเอง.
บทว่า ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท คือ ไม่มอบหมาย
ภิกษุณีรูปอื่นจัดการแทน.
พอทอดธุระว่า จักไม่ให้อุปสมบท จักไม่ขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท
ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๒๕] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มี
เหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๗
คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๗ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระ
เป็นสมุฏฐาน เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจี
กรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 449
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๔๒๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น สิกขมานา
รูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาขออุปสมบท ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกะ
สิกขมานารูปนั้นว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักติดตามเราตลอด ๒ ปี เมื่อได้ดังนี้
เราจึงจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นางอุปสมบท ไม่ขวนขวายเพื่อให้นาง
อุปสมบท สิกขมานารูปนั้นจึงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่าไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจัก
ติดตามเราตลอด ๒ ปี เมื่อได้ดังนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นาง
อุปสมบท ไม่ขวนขวายเพื่อให้นางอุปสมบทเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักติดตาม
เราตลอด ๒ ปี เมื่อได้ดังนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นางอุปสมบท
ไม่ขวนขวายเพื่อให้นางอุปสมบท จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักติดตามเรา
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 450
ตลอด ๒ ปี เมื่อได้ดังนี้ เราจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นางอุปสมบท
ไม่ขวนขวายเพื่อให้นางอุปสมบทเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้. . .
พระบัญญัติ
๑๓๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า
ถ้าเธอจักติดตามเราตลอด ๒ ปี เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท
ดังนี้แล้ว นางไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่ให้อุปสมบท ไม่ทำการ
ขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันนทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๒๗] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปีแล้ว.
คำว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักติดตามเราตลอด ๒ ปี ความว่า
เธอจักอุปัฏฐากตลอด ๒ ปี.
คำว่า เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท ความว่า. เมื่อ
เธอทำได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 451
คำว่า นางไม่มีอันตรายในภายหลัง คือ ในเมื่ออันตรายไม่มี.
บทว่า ไม่ให้อุปสมบท คือ ไม่บวชให้ด้วยตนเอง.
บทว่า ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท คือ ไม่มอบหมาย
ภิกษุณีรูปอื่นให้จัดการแทน.
พอทอดธุระว่า จักไม่ให้อุปสมบท จักไม่ขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท
ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๒๘] ในเมื่อมีอันตราย ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มี
เหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๘
คำทั้งหมดแม้ในสิกขาบทที่ ๘ ก็ตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้นก็เป็น
เช่นเดียวกับสิกขาบทถัดไปแล.
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 452
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๔๒๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาบวชสิกขมานาชื่อจัณฑกาลี ผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษ ผู้คลุกคลีกับ
เด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศก.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา จึงได้บวชสิกขมานาชื่อจัณฑกาลี ผู้เกี่ยวข้องด้วย
บุรุษ ผู้คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศกเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชสิกขมานาชื่อจัณฑกาลี ผู้เกี่ยวข้องกับบุรุษ ผู้
คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศก จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาชื่อจัณฑกาลี ผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษ ผู้คลุก-
คลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศกเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 453
พระบัญญัติ
๑๓๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษ
ผู้คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศก ให้บวช ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
เรื่องภิภษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๓๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ ชายผู้มีอายุถึง ๒๐ ปี.
ที่ชื่อว่า เด็กหนุ่ม ได้แก่ ชายผู้มีอายุยังไม่ถึง ๒๐ ปี.
ที่ชื่อว่า ผู้เกี่ยวข้องหรือคลุกคลี คือ สังสรรค์กันด้วยความเกี่ยว
ข้องกันทางกายและวาจาอันไม่สมควร.
ที่ชื่อว่า ผู้ดุร้าย ได้แก่ ที่เรียกกันว่า ผู้มักโกรธ.
ที่ชื่อว่า ผู้ยังชายให้ระทมโศก คือ ผู้ก่อทุกข์ นำความโศกมา
ให้แก่ชายอื่น.
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปีแล้ว.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่า จักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตร
ก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณี
ผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 454
อนาปัตติวาร
[๔๓๑] ไม่รู้ ให้อุปสมบท ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า โสกวส มีความว่า นางสิกขมานาใด ทำการนัดหมายแล้ว
(ไม่ไปตามนัด) ยังความโศกให้เข้าไปภายในใจของพวกบุรุษ เพราะฉะนั้น
สิกขมานานั้น จึงชื่อว่า ผู้ยังชายให้ระทมโศก. บวชให้สิกขมานาผู้ยังชายให้
ระทมโศกนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ที่ชื่อว่า ผู้ยัง
ชายให้ระทมโศก คือ ก่อทุกข์ให้เกิดแก่ชายอื่น.
อีกอย่างหนึ่ง นางสิกขมานาแม้นี้ เมื่อไม่ได้สมาคมกับบุรุษย่อมเข้าสู่
ความโศกเศร้าเสียเอง ดุจหญิงเจ้าของเรื่องเข้าสู่เรือนฉะนั้น. นางสิกขมานา
เข้าสู่ความโศกใด ด้วยอาการอย่างนี้ ความโศกนั้นเป็นที่อยู่แห่งสิกขมานานั้น
เหตุนั้น สิกขมานานั้น จึงชื่อว่า มีความโศกเป็นที่อยู่. ด้วยเหตุนั้น พระผู้-
มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ย่อมนำความโศกมา.
บทว่า อชานนฺตี ได้แก่ ไม่รู้ว่า ผู้นี้ เป็นเช่นนี้. คำที่เหลือ
ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 455
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๔๓๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาบวชสิกขมานาผู้อันมารดาบิดาบ้าง อันสามีบ้าง ยังมิได้อนุญาต
มารดาบิดาบ้าง สามีบ้าง จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาที่พวกเรายังมิได้อนุญาตเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินมารดาบิดาบ้าง สามีบ้าง เพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า-
ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาผู้อันมารดาบิดาบ้าง อันสามีบ้าง ยัง
มิได้อนุญาตเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาบวชสิกขมานาผู้อันมารดาบิดาบ้าง สามีบ้าง ยังมิได้
อนุญาต จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาผู้อันมารดาบิดาบ้าง อันสามีบ้าง ยังมิได้
อนุญาตเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่
ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 456
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๓๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใดยังสิกขมานาผู้อันมารดาบิดา
หรือสามียังมิได้อนุญาต ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๓๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มารดาบิดา ได้แก่ ที่เรียกกันว่าผู้ให้กำเนิด.
ที่ชื่อว่า สามี ได้แก่บุรุษผู้หวงแหน.
บทว่า ยังมิได้อนุญาต คือ ยังมิได้บอกลามารดาบิดาหรือสามี.
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประ-
การ ตลอด ๒ ปีแล้ว.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่า จักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตร
ก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบ
กรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณี
ผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๔๓๔] ไม่รู้ ให้อุปสมบท ๑ อนุญาตแล้วจึงให้บวช ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 457
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า อนาปุจฺฉา แปลว่า ไม่บอกกล่าว. พวกภิกษุณีควรบอก
กล่าว ๒ ครั้ง คือ ในคราวบรรพชาครั้ง ๑ ในคราวอุปสมบทครั้ง ๑. แต่พวก
ภิกษุแม้เมื่อบอกกล่าวคราวเดียว ก็ควร.
บทว่า อชานนฺตี ได้แก่ ไม่รู้ว่ามารดาเป็นต้น ยังมีอยู่. คำที่เหลือ
ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานที่สำคัญไม่ซ้ำก่อน ๔ สมุฏฐาน เกิดขึ้นทาง
วาจา ๑ ทางกายกับวาจา ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑. คือ
อย่างไร คือภิกษุณีนั่งในขัณฑสีมา ด้วยกิจที่ควรทำบางอย่างนั่นแล ในกรรม
มีอัพภานกรรมเป็นต้น กล่าวว่า พวกท่านจงเรียกสิกขมานามา พวกเราจัก
ให้เธออุปสมบท ในขัณฑสีมานี้แหละ แล้วอุปสมบทให้ อย่างนี้ชื่อว่า เกิด
ขึ้นทางวาจา ๑. เมื่อภิกษุณีกล่าวตั้งแต่สำนักที่อยู่ว่า เราจักให้อุปสมบท แล้ว
เดินไปยังขัณฑสีมา ชื่อว่า เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑. เมื่อภิกษุณีไม่รู้เลยว่า
เป็นข้อที่ทรงบัญญัติห้ามไว้ ทำการล่วงละเมิด ในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า เกิดขึ้น
ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑. เป็นทั้งกิริยา ทั้งอกิริยา เพราะไม่
ให้ขออนุญาตดูก่อนแล้วให้อุปสมบท เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติ-
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 458
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๔๓๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทานิมนต์พระเถระทั้งหลายมาประชุมกัน ด้วยกล่าวว่า ดิฉันจักบวช
สิกขมานา ครั้นเห็นอาหารของเคี้ยวของฉันมากมาย จึงส่งพระเถระทั้งหลาย
กลับด้วยกล่าวว่า ดิฉันจักยังไม่บวชสิกขมานาก่อน แล้วนิมนต์พระเทวทัต
พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ แสะพระสมุทททัตตะ ผู้โอรสของพระนาง
ขัณฑเทวี มาประชุมกันบวชสิกขมานา.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาด้วยให้ฉันทะค้างเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชสิกขมานาด้วยให้ฉันทะค้าง จริงหรือ,
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาด้วยให้ฉันทะค้างเล่า การกระทำของนาง
นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 459
พระบัญญัติ
๑๓๖. ๑๑. อนึ่ง ภิกษุณี ยังสิกขมานาให้บวช ด้วยให้
ฉันทะค้าง เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๓๖] บทว่า อนึ่ง. . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ด้วยให้ฉันทะค้าง คือ เมื่อที่ประชุมเลิกไปแล้ว.
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปีแล้ว.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่า จักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตร
ก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณี
ผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๔๓๗] ใหัอุปสมบทในเมื่อที่ประชุมยังไม่เลิก ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ-
กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 460
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๑ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ปริวาสิยฉนฺททาเนน คือ โดยให้ฉันทะค้าง. ในคำว่า
การให้ฉันทะค้างนั้น การค้างมี ๔ อย่างคือ ค้างโดยที่ประชุม ๑ ค้างโดย
ราตรี ๑ ค้างโดยฉันทะ ๑ ค้างโดยอัธยาศัย ๑.
ที่ชื่อว่า ค้างโดยที่ประชุม คือ พวกภิกษุกำลังประชุมกันด้วยกรณีย-
กิจบางอย่าง. คราวนั้น เมฆฝนตั้งเค้าขึ้นก็ดี ถูกเขาทำการขับไล่ก็ดี พวก
ชาวบ้านมามุงดูกันก็ดี ภิกษุทั้งหลาย ยังไม่ทันสละฉันทะเลย พากันลุกไป
โดยอ้างว่า ไม่ใช่โอกาส พวกเราจงไปที่อื่นเถอะ. นี้ชื่อว่า ค้างโดยที่ประชุม.
ก็การค้างโดยที่ประชุม ควรจะทำกรรมได้ เพราะภิกษุทั้งหลาย ยังไม่ได้สละ
ฉันทะ แม้ก็จริง ถีงอย่างนั้น ตกกลางคืนพวกภิกษุประชุมกันอีก ด้วยตั้งใจ
ว่า พวกเราจักทำกรรม มีอุโบสถเป็นต้น จึงเชื้อเชิญภิกษุรูปหนึ่ง ด้วย
ตั้งใจว่า จักฟังธรรมจนกว่าภิกษุจะมาประชุมกันทั้งหมด. เมื่อภิกษุนั้นกำลัง
แสดงธรรมกถาอยู่นั่นแหละ อรุณขึ้นเสีย. ถ้าพวกภิกษุนั่งประชุมกันด้วยตั้ง
ใจว่า จักทำจาตุทสีอุโบสถ แล้วทำด้วยตกลงกันว่า ปัณณรสีอุโบสถ ก็ได้.
ถ้านั่งประชุมกันเพื่อทำปัณณรสีอุโบสถ วันแรมค่ำ ๑ ไม่ใช่วันอุโบสถ จะ
ทำอุโบสถ ไม่ควร แต่จะทำสังฆกิจอย่างอื่น ควรอยู่. นี้ชื่อว่า ค้างโดย
ราตรี.
พวกภิกษุประชุมกันอีก ด้วยตั้งใจว่า จักทำสังฆกรรม มีอัพภาน
เป็นต้นบางอย่างนั่นแล. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นนักโหราศาสตร์
กล่าวอย่างนี้ว่า วันนี้ฤกษ์ร้าย (ฤกษ์ทารุณ) พวกท่านจงอย่าทำกรรม
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 461
นี้. ภิกษุพวกนั้นสละฉันทะตามคำของภิกษุนั้นแล้ว ยังนั่งประชุมกันอยู่อย่าง
นั้นแหละ. ทีนั้น ภิกษุรูปอื่นมาพูดขึ้นว่า ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ที่มัว
ถือฤกษ์ยามอยู่ แล้วกล่าวว่า พวกท่านจะทำอะไรด้วยดาวฤกษ์. นี้ชื่อว่า
ค้างโดยฉันทะ และค้างโดยอัธยาศัย. ในการค้างนั่น จะไม่นำฉันทะและ
ปาริสุทธิมาใหม่ทำกรรม ย่อมไม่ควร.
สองบทว่า วุฏฺิตาย ปริสาย ความว่า เมื่อที่ประชุมสละฉันทะ
แล้วเลิกประชุมไปด้วยกายก็ดี ด้วยอาการเพียงสละฉันทะเท่านั้นก็ดี.
ข้อว่า อนาปตฺติ อวุฏฺิตาย ปรสาย มีความว่า เมื่อที่ประชุม
ยังไม่สละฉันทะ ยังไม่เลิกประชุม ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 462
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายบวชสิกขมานาทุกปี ที่สำนักอาศัยไม่เพียงพอ คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานาทุกปีเล่า ที่
สำนักอาศัยจึงไม่เพียงพอกัน.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานาทุกปีเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุณีบวชสิกขมานาทุกปี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีจึงได้บวชสิกขมานาทุกปีเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 463
พระบัญญัติ
๑๓๗. ๑๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาให้บวชทุก ๆ
ฝน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๓๙] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ทุก ๆ ฝน คือ ทุก ๆ ปี.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่า จักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตร
ก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณี
ผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๔๘๐] ให้อุปสมบท เว้นระยะ ๑ ปี ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 464
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๒ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อุปสฺสโย น สมฺมติ ได้แก่ สำนักที่อยู่ไม่เพียงพอกัน.
คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทถัดไป
นั้นแล.
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 465
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๔๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายบวชสิกขมานาสองรูปต่อ ๑ ปี ที่สำนักอาศัยก็ไม่พอดังเดิม คนทั้งหลาย
จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา เหมือนอย่างนั้นว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้
บวชสิกขมานาสองรูปต่อ ๑ ปีเล่า ที่อาศัยจึงไม่พอดังเดิม
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานาสองรูปต่อ ๑ ปีเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีบวชสิกขมานาสองรูปต่อ ๑ ปี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานาสองรูปต่อ ๑ ปีเล่า การกระทำของนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 466
พระบัญญัติ
๑๓๘. ๑๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ฝนหนึ่งยังสิกขมานา ๒ รูปให้
บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๔๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ฝนหนึ่ง คือ ปีหนึ่ง.
บทว่า ยังสิกขมานา ๒ รูปให้บวช คือ ยังสิกขมานา ๒ รูป ให้
อุปสมบท.
ตั้งใจว่า จักยังสิกขมานา ๒ รูป ให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี
อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอา-
บัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด
ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๔๔๓] เว้นระยะปีหนึ่ง บวชสิกขามานารูปเดียว ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ จบ
กุมารีภูตวรรคที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 467
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๓ พึงทราบดังนี้:-
สามบทว่า เอก วสฺส เทฺว ได้แก่ ให้สิกขมานาบวชปีละ ๒ รูป
เว้นระยะ ๑ ปี. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. แม้สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียว
กับที่กล่าวแล้วนั่นแล.
อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ จบ
อรรถกถากุมารีภูตวรรคที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 468
ปาจิตตีย์ ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๔๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์กั้นร่มและสวมรองเท้า คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้ร่มและรองเท้าเหมือนพวกสตรีคฤหัสถ์
ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลาย ได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ใช้ร่มและรองเท้าเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้ร่มและรองเท้า จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงได้ใช้ร่มและรองเท้าเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 469
พระบัญญัติ
๑๓๙. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้ร่มและรองเท้า เป็นปาจิตตีย์.
ก็แลสิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติแล้วแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
[๔๔๕] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีรูปหนึ่งอาพาธ นางเว้นร่มและ
รองเท้าแล้วไม่สบาย ภิกษุณีทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตรมและรองเท้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตร่ม
และรองเท้าแก่ภิกษุณีผู้อาพาธ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๑๓๙. ๑. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด มิใช่ผู้อาพาธ ใช้ร่มและ
รองเท้า เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๔๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือ ผู้ที่เว้นร่มและรองเท้าแล้วก็สบาย.
ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ผู้ที่เว้นร่มและรองเท้าแล้วไม่สบาย.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 470
ที่ชื่อว่า ร่ม มี ๓ ชนิด คือ ร่มผ้าขาว ๑ ร่มลำแพน ๑ ร่มใบไม้ ๑
ที่เขาเย็บเป็นวงกลม.
บทว่า ใช้ คือ ใช้แม้ครั้งเดียว ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๔๔๗] ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ สำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ ใช้ร่มและ
รองเท้าต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ มีความสงสัย ใช้ร่มและรองเท้า ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ สำคัญว่าอาพาธ ใช้ร่มและรองเท้า ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
จตุกะทุกกฏ
ภิกษุณีใช้ร่ม ไม่ใช้รองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีใช้รองเท้า ไม่ใช้ร่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีผู้อาพาธ สำคัญว่ามิได้อาพาธ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีผู้อาพาธ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีผู้อาพาธ สำคัญว่าอาพาธ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๔๘] อาพาธ ๑ ใช้ร่มอยู่ในอาราม ในอุปจารแห่งอาราม ๑ มีเหตุ
จำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 471
อรรถกถาฉัตตวรรคที่๑ ๙
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งฉัตตวรรค๒ พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า สกึปิ ธาเรติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส มีความว่า ในการ
เดินทาง ภิกษุณีกั้นร่มและสวมรองเท้า แม้ตลอดวันโดยประโยคเดียวเท่านั้น
ก็เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว. ถ้าไปถึงที่มีเปือกตมเป็นต้น ถอดรองเท้าแล้ว กั้น
แต่ร่มอย่างเดียวเดินไป เป็นทุกกฏ. ถ้าแม้ว่า เห็นกอไม้เป็นต้น หุบร่มเสีย
แล้ว สวมแต่รองเท้าเดินไป เป็นทุกกฏเหมือนกัน. ถ้าหุบร่มแล้วก็ดี ถอด
รองเท้าแล้วก็ดี กลับกั้นร่มและสวมรองเท้าอีกเป็นปาจิตตีย์. พึงทราบอาบัติ
มากตัวด้วยการนับประโยคอย่างนี้. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
๑-๒. บาลีเป็น ฉัตตปาหนวรรค.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 472
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๔๙] โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถุ ครั้งนั้น ภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์ไปโดยยาน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไปโดยยาน เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงได้ไปโดยยานเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไปโดยยาน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
เหล่าฉัพพัคคีย์จึงได้ไปโดยยานเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 473
พระบัญญัติ
๑๔๐. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไปโดยยาน เป็นปาจิตตีย์.
ก็แลสิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
[๔๕๐] ต่อจากสมัยนั้นแล. ภิกษุณีรูปหนึ่งอาพาธ ไม่สามารถจะเดิน
ไปด้วยเท้าได้ ภิกษุณีทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .
ทรงอนุญาตยาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ยานแก่ภิกษุณีผู้อาพาธ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๑๔๐. ๒. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด มิใช่ผู้อาพาธ ไปโดยยาน
เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๕๑] บทว่า อนึ่ง. . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 474
ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือ ผู้สามารถเดินไปได้ด้วยเท้า.
ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ผู้ไม่สามารถเดินไปด้วยเท้า.
ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ วอ รถ เกวียน คานหาม แคร่ เก้าอี้.
บทว่า ไป คือ ไปแม้ครั้งเดียว ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๔๕๒] ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ สำคัญว่ามิได้อาพาธ ไปโดยยาน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ มีความสงสัย ไปโดยยาน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ สำคัญว่าอาพาธ ไปโดยยาน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีผู้อาพาธ สำคัญว่ามิได้อาพาธ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีผู้อาพาธ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีผู้อาพาธ สำคัญว่าอาพาธ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๕๓] อาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่
ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 475
อรรถกถาฉัพพวรรค สิกขาบทที่ ๒
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้;-
แม้ในคำว่า ยาเนน ยายติ นี้ ก็พึงทราบว่า เป็นอาบัติหลายตัว
ด้วยประการนับประโยคของภิกษุณีผู้ลง ๆ ขึ้น ๆ (ผู้ขึ้นลงบ่อย ๆ). บทที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๑ ทั้งนั้นแล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 476
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๔๕๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
รูปหนึ่งเป็นกุลุปิกาของสตรีคนหนึ่ง ซึ่งสตรีนั้นได้กล่าวขอร้องภิกษุณีรูปนั้น
ว่าข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านได้โปรดนำเครื่องประดับเอวนี้ไปให้แก่หญิงชื่อโน้น
ภิกษุณีนั้นจึงคิดเห็นว่า ถ้าเราจะนำไปด้วยบาตร เสียงดังจักมีแก่เรา แล้วได้
สวมไป เมื่อด้ายขาด เครื่องประดับเอวตกเรี่ยรายลงบนถนน คนทั้งหลาย
พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้เครื่อง
ประดับเอวเหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึง
ได้ใช้เครื่องประดับเอวเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีใช้เครื่องประดับเอว จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงได้ใช้เครื่องประดับเอวเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 477
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๔๑. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้เครื่องประดับเอว เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๕๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า เครื่องประดับเอว ได้แก่ เครื่องประดับเอวชนิดใดชนิด
หนึ่ง.
บทว่า ใช้ คือ ใช้แม้ครั้งเดียว ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๕๖] ใช้ด้ายรัดเอวเพราะเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 478
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้;-
บทว่า วิปฺปกิรึสุ คือ พวงแก้ว๑มณีเครื่องประดับเอว ตกเรี่ยราย
ลง. แม้ในสิกขาบทนี้ ก็พึงทราบว่า เป็นอาบัติมากตัว ด้วยการนับประโยค
ของภิกษุณีผู้ถอดแล้วใช้. สมุฏฐานเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน. ใน
สิกขาบทนี้ เป็นอกุศลจิตอย่างเดียว แล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
๑. ปาฐะโยชนา ๒/๑๖๑ เป็น มณโย.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 479
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๕๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่าไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี เหมือนพวก
สตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
เหล่าฉัพพัคคีย์จึงได้ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรีเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงได้ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรีเล่า การกระทำของพวก
นางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 480
พระบัญญัติ
๑๔๒. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี
เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๕๗] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า เครื่องประดับสำหรับสตรี ได้แก่ เครื่องประดับศีรษะ
เครื่องประดับศอ เครื่องประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว.
บทว่า ใช้ คือ ใช้แม้ครั้งเดียว ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๕๙] เหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔
วินีจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้;-
บรรดาเครื่องประดับ มีเครื่องประดับศีรษะเป็นต้น ภิกษุณีใช้เครื่อง
ประดับชนิดใด ๆ พึงทราบว่า เป็นอาบัติมากตัว โดยนับวัตถุด้วยอำนาจแห่ง
เครื่องประดับนั้น ๆ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๓ นั่นแล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 481
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๖๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
เหล่าฉัพพัคคีย์ สนานกายด้วยน้ำเครื่องประทินมีกลิ่นหอม คนทั้งหลายพากัน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้สนานกายด้วยน้ำ
เครื่องประทีนมีกลิ่นหอม เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้สนานกายด้วยน้ำเครื่องประทีนที่มีกลิ่นหอมเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์อาบน้ำด้วยเครื่องประทีนมีกลิ่นหอม จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้อาบน้ำด้วยเครื่องประทีนมีกลิ่นหอมเล่า การกระทำของ
พวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 482
พระบัญญัติ
๑๔๓. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด อาบน้ำด้วยเครื่องประทิ่นมีกลิ่น
หอม เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๑] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . .นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีกลิ่นหอม ได้แก่ กลิ่นหอมชนิดใดชนิดหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า เครื่องประทิ่น ได้แก่ เครื่องหอมชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า อาบน้ำ คือ ทำให้สะอาด เป็นทุกกฏในประโยค อาบเสร็จ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๖๒] เหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า คนฺธวณฺณเกน คือด้วยเครื่องหอมและเครื่องประเทืองผิว.
คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้นก็เป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๓ ทั้ง
นั้นแล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 483
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๖๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์สนานกายด้วยน้ำกำยานที่อบ คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้อาบน้ำกำยานที่อบ เหมือน
สตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงได้อาบน้ำกำยานที่อบเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์อาบน้ำกำยานที่อบ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้อาบน้ำกำยานที่อบเล่า การกระทำของพวกนางนั้น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 484
พระบัญญัติ
๑๔๔. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด อาบน้ำด้วยกำยานที่อบ เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๔] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า อบ ได้แก่ วัตถุที่อบด้วยของหอมชนิดใดชนิดหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า กำยาน ได้แก่ วัตถุที่เรียกว่า แป้งงา.
บทว่า อาบน้ำ คือ ทำให้สะอาด เป็นทุกกฏในประโยค อาบเสร็จ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๖๕] เหตุอาพาธ ๑ อาบน้ำกำยานธรรมดา ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ-
กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖
คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๖ เป็นเช่นเดียวกันกับคำที่กล่าวแล้วใน
สิกขาบทที่ ๕ นั้นแล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 485
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๖๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายใช้ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง คนทั้งหลายเที่ยวไปในวิหารพบ
เห็นแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้
ใช้ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลายจึงได้ใช้ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีใช้ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีจึงได้ใช้ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้างเล่า การกระทำของพวกนาง
นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 486
พระบัญญัติ
๑๔๕. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังภิกษุณีให้นวดก็ดี ให้ฟั้นก็ดี
เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๗] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ยังภิกษุณี ได้แก่ ภิกษุณีรูปอื่น.
บทว่า ให้นวด คือ ให้บีบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้ฟั้น คือ ให้ขยำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๘๖๘] อาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่
ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 487
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้:-
ในคำว่า อุมฺมทฺทาเปติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า
ในการบีบนวดไม่ปล่อยมือ เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว. ในการบีบนวดปล่อยมือๆ
เป็นอาบัติมากตัว โดยการนับประโยค. แม้ในการขยำก็นัยนี้นั่นแล.
บทว่า คิลานาย ได้แก่ มีอาพาธ โดยที่สุดแม้ด้วยความเมื่อยล้าใน
การเดินทาง.
บทว่า อาปทาสุ ได้แก่ ในอันตรายมีร่างกายสั่นเท้า เพราะความ
กลัวพวกโจรเป็นต้น. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น . สมุฏฐานเป็นต้นเช่นเดียวกัน
กับสิกขาบทที่ ๓ นั้น แล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 488
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๖๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้ง
หลายใช้สิกขมานาให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง คนทั้งหลายเที่ยวไปในวิหารพบ
เห็นแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้
สิกขมานาให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พวก
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้สิกขมานาให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้างเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุณีใช้สิกขมานาให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้ใช้สิกขมานาให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้างเล่า การกระทำของพวกนาง
นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสแล้ว. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 489
พระบัญญัติ
๑๔๖. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาให้นวดก็ดี ให้ฟั้น
ก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปีแล้ว.
บทว่า ให้นวด คือ ให้บีบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้ฟั้น คือ ให้ขยำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๗๑] เหตุอาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 490
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลาย
ใช้สามเณรีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง คนทั้งหลายเที่ยวไปในวิหารพบเห็นแล้ว
พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้สามเณรี
ให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลายจึงได้ใช้สามเณรีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้างเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุณีใช้สามเณรีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีจึงได้ใช้สามเณรีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง การกระทำของพวกนาง
นั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 491
พระบัญญัติ
๑๔๗. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสามเณรีให้นวดก็ดี ให้ฟั้น
ก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สามเณรี ได้แก่ สตรีผู้สมาทานสิกขาบท ๑๐
บทว่า ให้นวด คือ ให้บีบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้ฟั้น คือ ให้ขยำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
เหตุอาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 492
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลาย
ใช้สตรีคฤหัสถ์ให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง คนทั้งหลายเที่ยวไปในวิหารพบเห็น
แล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้
สตรีคฤหัสถ์ให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลายจึงได้ใช้สตรีคฤหัสถ์ให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้างเล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุณีใช้สตรีคฤหัสถ์ให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีจึงได้ใช้สตรีคฤหัสถ์ให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้างเล่า การกระทำของ
พวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 493
พระบัญญัติ
๑๔๘. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีคฤหัสถ์ให้นวดก็ดี ให้
ฟั้นก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สตรีคฤหัสถ์ ได้แก่ สตรีที่เรียกว่าผู้ครองเรือน.
บทว่า ให้นวด คือ ให้บีบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้ฟั้น คือ ให้ขยำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
เหตุอาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘-๙-๑๐
ใน ๓ สิกขาบท มีสิกขาบทที่ ๘ เป็นต้น. คำว่า สิกฺขมานาย
สามเณริยา คิหินิยา นี้เท่านั้นทำให้ต่างกัน. คำที่เหลือ เหมือนกันกับคำ
ที่กล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๗ นั้นแล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘-๙-๑๐ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 494
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าภิกษุ ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกขุณีทั้งหลายจึงได้ไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะ
เบื้องหน้าภิกษุเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าภิกษุ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีจึงได้ไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าภิกษุเล่า การกระทำ
ของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๔๙. ๑๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะ
เบื้องหน้าภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 495
สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
คำว่า เบื้องหน้าภิกษุ คือ ตรงหน้าอุปสัมบันภิกษุ.
บทว่า ไม่ขอโอกาส คือ ไม่บอกกล่าวก่อน.
คำว่า นั่งบนอาสนะ คือ โดยที่สุด แม้นั่งบนฟั้นดิน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๔๗๔] ยังไม่ได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่า ยังไม่ได้ขอโอกาส
นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังไม่ได้ขอโอกาส ภิกษุณีมีความสงสัย นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
ยังไม่ได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่าขอโอกาสแล้ว นั่งบนอาสนะ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังไม่ได้ขอโอกาส ต้องอาบัติทุกกฏ.
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีมีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ขอโอกาสแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 496
อนาปัตติวาร
[๔๗๕] ขอโอกาส นั่งบนอาสนะ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๑ พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า ภิกฺขุสฺส ปุรโต คือ ตรงหน้าจัง ๆ. ก็คำนี้บัณฑิต
พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเอาอุปจาร (ที่ใกล้โดยรอบ ๑๒ ศอก). คำที่เหลือ
ง่ายทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑
ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 497
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนไม่ได้ขอโอกาส ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ถามปัญหากะภิกษุที่ตนยังมิได้
ขอโอกาสเล่า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนยังไม่ได้ขอโอกาส จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงได้ถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนยังมิได้ขอโอกาสเล่า การกระทำของพวก
นางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๕๐. ๑๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนยังมิได้
ขอโอกาส เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 498
สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๗] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
บทว่า ผู้ที่ตนยังมิได้ขอโอกาส คือ ตนยังมิได้บอกกล่าว.
บทว่า ภิกษุ ได้แก่ อุปสัมบันภิกษุ.
คำว่า ถามปัญหา คือ ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระสูตรแล้ว ถาม
พระวินัย หรือพระอภิธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระวินัย แล้วถามพระสูตร หรือพระอภิธรรม
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระอภิธรรม แล้วถามพระสูตร หรือพระวินัย
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๔๗๘] ยังมิได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้ขอโอกาส ถาม
ปัญหา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังมิได้ขอโอกาส ภิกษุณีมีความสงสัย ถามปัญหา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังมิได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่าขอโอกาสแล้ว ถามปัญหา ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้ขอโอกาส ต้องอาบัติทุกกฏ.
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีมีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 499
ไม่ต้องอาบัติ
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าขอโอกาสแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๗๙] ยังภิกษุให้ทำโอกาสแล้วถาม ๑ ยังภิกษุให้ทำโอกาสไม่เจาะ-
จงแล้วถามปัญหาในปิฏกหนึ่ง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๒ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อโนกาสกต ได้แก่ ผู้ที่ตนยังมิได้ทำการขอโอกาสอย่างนี้ว่า
ดิฉันจักถามในสถานที่โน้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บทว่า
ผู้ที่ตนยังมิได้ขอโอกาส คือ ตนยังไม่ได้บอกกล่าว.
บทว่า อนุทฺทิสฺส มีความว่า ไม่กำหนดอย่างนี้ว่า ดิฉันจักถามใน
ฐานะชื่อโน้น กล่าวอย่างนี้อย่างเดียวว่า ดิฉันจะถามข้อที่ควรถาม ซึ่งมีอยู่
พระผู้เป็นเจ้า ! คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปทโสธรรมสิกขาบท เกิดขึ้นทางวาจา ๑
ทางวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณ-
ณัตติวัชชะ วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 500
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๓
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๔๘๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
รูปหนึ่งไม่มีผ้ารัดถัน เข้าไปเพื่อบิณฑะในหมู่บ้าน ลมบ้าหมูพัดเวิกผ้าสังฆาฏิ
ขึ้นที่ถนนนั้น คนทั้งหลายได้ส่งเสียงว่าถันและท้องของแม่เจ้าสวย ภิกษุณี
รูปนั้นถูกคนทั้งหลายเยาะเย้ยได้เป็นผู้เก้อเขิน ครั้นนางไปถึงสำนักแล้ว ได้เล่า
เรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายฟัง.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีจึงไม่มีผ้ารัดถันเข้าบ้านเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีไม่มีผ้ารัดถันเข้าบ้าน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงไม่มีผ้ารัดถันเข้าบ้านเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 501
พระบัญญัติ
๑๕๑. ๑๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่มีผ้ารัดถัน เข้าบ้าน เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๘๑] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ไม่มีผ้ารัดถัน คือปราศจากผ้ารัดนม.
ที่ชื่อว่า ผ้ารัดถัน ได้แก่ ผ้าที่ใช้ปกปิดอวัยวะเบื้องต่ำแต่รากขวัญ
ลงมา เบื้องบนตั้งแต่นาภีขึ้นไป.
คำว่า เข้าบ้าน คือ บ้านที่มีเครื่องล้อม เดินเลยเครื่องล้อมต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๘๒] มีจีวรถูกชิงไป ๑ มีจีวรหาย ๑ อาพาธ ๑ หลงลืมไป ๑
ไม่รู้ตัว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ จบ
ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙ จบ
๑. วรรคที่ ๑๐ ถึงวรรคที่ ๑๖ มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท คือ มุสาวาทวรคที่ ๑๐ มี ๑๐ สิกขาบท
ภูคคามวรรคที่ ๑๑ มี ๑๐ สิกขาบท โภชนวรรคที่ ๑๒ มี ๑๐ สิกขาบท จริตตวรรคที่ ๑๓ มี ๑๐
สิกขาบท โชติวรรคที่ ๑๔ มี ๑๐ สิกขาบท ทิฏฐิวรรคที่ ๑๕ มี ๑๐ สิกขาบท ธัมมิกวรรคที่ ๑๖
มี ๑๐ สิกขาบท รวมอีก ๗๐ สิกขาบท เป็นอุภโตบัญญัติ ผู้ปรารถนาพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว
ในภิกขุวิภังค์โน้นเทอญ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 502
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๓ พึงทราบดังนี้;-
สองบทว่า ปริกฺเขป อติกฺกมนฺติยา คือ เมื่อก้าวไปด้วยเท้าก้าว
แรกเป็นทุกกฏ เมื่อก้าวไปด้วยเท้าก้าวที่ ๒ เป็นปาจิตตีย์. แม้ในอุปจารก็นัยนี้
เหมือนกัน.
ในคำว่า อจฺฉินฺนจีวริกาย เป็นต้น จีวร คือ ผ้ารัดถันนั่นแล
บัณฑิตพึงทราบว่า จีวร.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ผ้ารัดถันมีค่ามาก เมื่อภิกษุณีห่มเดิน
ไป อันตรายจะเกิดขึ้นได้ ไม่เป็นอาบัติในอันตรายเช่นนี้. คำที่เหลือ ง่าย
ทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรคที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 503
บทสรุป
[๔๘๓] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖ ลิกขาบท ข้าพเจ้า
ยกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลาย ในธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖
สิกขาบทนั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าชื่อถามแม้ครั้ง
ที่ ๒ ว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่ ๓ ว่า
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือ
ปาจิตตีย์ทั้ง ๑๖๖ สิกขาบทเหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย
อย่างนี้.
ปาจิตติยกัณฑ์ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 504
บทสรุปธรรม คือปาจิตตีย์
ในคำว่า อุทฺทิฏา โข อยฺยาโย ฉสฺสฏฺิสตา ปาจิตฺติยา
ธมฺมา นี้ พึงทราบว่า สิกขาบท ๑๘๘ ทั้งหมดด้วยกัน คือ สิกขาบทใน
ขุททกะของพวกภิกษุณี ๙๖ สิกขาบท ของพวกภิกษุ ๙๒ สิกขาบท ชักออก
จากสิกขาบท ๑๘๘ นั้นเสีย ๒๒ สิกขาบทนี้ คือ ภิกขุณีวรรค ทั้งสิ้น
(๑๐ สิกขาบท) ปรัมปรโภชนสิกขาบท ๑ อนติริตตโภชนสิกขาบท ๑ อนติ-
ริตเตนอภิหัฏฐุมปวารณสิกขาบท ๑ ปณีตโภชนวิญญัติสิกขาบท ๑ อเจลก
สิกขาบท ๑ ทุฏฐุลลปฏิจฉาทนสิกขาบท ๑ อูนวีสติวัสสูปสัมปาทนสิกขาบท ๑
สิกขาบทว่าด้วยการชักชวนกันเดินทางไกลกับมาตุคาม ๑ ราชันเตปุรัปเวสน
สิกขาบท ๑ สิกขาบทว่าด้วยการไม่บอกลาภิกษุณีทีมีอยู่เข้าบ้านในเวลาวิกาล /
นิสีทนสิกขาบท ๑ วัสสิกสาฎิกสิกขาบท ๑ เหลืออีก ๑๖๖ สิกขาบท เป็น
อันข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ตามแนวทางแห่งปาฎิโมกขุทเทส. เพราะเหตุนั้น
พระธรรมสังคีติกาจารย์ จึงกล่าวว่า อุทฺทิฏฺา โข อยฺยาโย ฉสฺสฏฺิ-
สตา ปาจิตฺติยา ธมฺมา ฯ เป ฯ เอวเมต ธารยามิ ดังนี้.
[วินิจฉัยสมุฏฐานเป็นต้นโดยย่อ]
ในขุททกวรรณนาธิการนั้น มีวินิจฉัยสมุฏฐาน โดยสังเขปดังต่อไปนี้;-
๑๐ สิกขาบทเหล่านี้ คือ คิรัคคสมัชชสิกขาบท ๑ จิตตาคารสิกขาบท
๑ สังฆาณีสิกขาบท ๑ อิตถาลังการสิกขาบท ๑ คันธวัณณกสิกขาบท ๑ วาสิตก-
ปิญญากสิกขาบท ๑ การใช้ภิกษุณีเป็นต้น บีบนวด ๔ สิกขาบท เป็นอจิตตกะ
โลกวัชชะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 505
ก็ในสิกขาบท ๑๐ เหล่านี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้:- สิกขาบทเหล่านี้ชื่อ
ว่าเป็นอจิตตกะ เพราะแม้เว้นจากจิตก็ยังต้อง แต่เมื่อมีจิต ก็เป็นโลกวัชชะ
เพราะจะพึงต้องด้วยอกุศลจิตเท่านั้น สิกขาบทที่เหลือเป็นอจิตตกะ เป็น
ปัณณัตติวัชชะ ทั้งนั้น .
๑๙ สิกขาบทเหล่านี้ คือ โจรีวุฎฐาปนสิกขาบท ๑ คามันตรอาราม
สิกขาบท ๑ ในคัพภินีวรรค ๗ สิกขาบท ตั้งแต่ต้น ในกุมารีภูตวรรค ๕
สิกขาบท ตั้งแต่ต้น ปุริสสังสัฏฐสิกขาบท ๑ ปาริวาสิยฉันททานสิกขาบท ๑
อนุวัสสวุฎฐาปนสิกขาบท ๑ เอกันตริกวุฎฐาปนสิกขาบท ๑ เป็นสจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ ที่เหลือเป็นสจิตตกะ โลกวัชชะ ทั้งนั้นแล.
ขุททกกัณฑวรรณนา ในภิกขุนีวิภังค์ ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 506
ปาฏิเทสนียกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย อนึ่ง ธรรม คือปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบทเหล่านี้แล
มาสู่อุเทศ.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๘๔ ] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์ขอเนยใสเขามาฉัน คนทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอเนยใสเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใคร
จะไม่พอใจ อาหารที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอเนยใสเขามาฉันเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอเนยใสเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 507
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอเนยใสเขามาฉันเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๒๒. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอเนยใสมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง
แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควร
จะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่
ภิกษุณีทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
[๔๘๕] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ พวกภิกษุณีผู้
พยาบาลไข้ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพอทนอยู่หรือ ยังพอ
ให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีอาพาธทั้งหลายตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอเนยใส
เขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ฉันเนยใสนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้
พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ
เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันเนยใสนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 508
ทรงอนุญาตเนยใส
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ภิกษุณีผู้อาพาธขอเนยใสเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๒๒. ๑. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอเนยใสมาฉัน
ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น
สัปปายะควรแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๘๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือเว้นเนยใสก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นเนยใสแล้วไม่มีความผาสุก
ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสที่เกิดจากโคก็ดี ที่เกิดจากแพะก็ดี
ที่เกิดจากกระบือก็ดี หรือเนยใสแห่งสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอมาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้
มารับประเคนไว้ ด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 509
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
[๔๘๗] ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอเนยใสมาฉัน ต้อง
อาบัติปาฏิเทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิ-
เทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๘๘] อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉัน
เนยใสที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันเนยใสของญาติ ๑ ฉันเนยใสของคน
ปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 510
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๘๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์ขอน้ำมันเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอน้ำมันเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใคร
จะไม่พอใจ อาหารที่อร่อยใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำมันเขามาฉันเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอน้ำมันเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำมันเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 511
พระบัญญัติ
๒๒๓. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอน้ำมันมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง
แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควร
จะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
[๔๙๐] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้
พยาบาลไข้ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยัง
พอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอน้ำมัน
เขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ฉันน้ำมันได้นั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุข แต่บัดนี้
พวกดิฉันรังเกียจอยู่วา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ
เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันน้ำมันนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .
ทรงอนุญาตน้ำมัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอน้ำมันเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 512
พระอนุบัญญัติ
๒๒๓. ๒. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอน้ำมันมาฉัน
ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น
สัปปายะควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๙๑] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นน้ำมันก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นน้ำมันแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันที่สกัดจากงา น้ำมันที่สกัดจากเมล็ด
พันธุ์ผักกาด น้ำมันที่สกัดจากมะซาง น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดละหุ่ง น้ำมันที่
สกัดจากเปลวสัตว์.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอมาเพื่อประโยชน์ตนเป็นทุกกฏในประโยค ได้
มารับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
[๔๙๒] ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอน้ำมันมาฉัน ต้อง
อาบัติปาฏิเทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 513
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอน้ำมันมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอน้ำมันมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๙๓] อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉัน
น้ำมันที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันน้ำมันของญาติ ๑ ฉันน้ำมันของคน
ปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 514
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ขอน้ำผึ้งเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอน้ำผึ้งเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ
อาหารที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำผึ้งเขามาฉันเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอน้ำผึ้งเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำผึ้งเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 515
พระบัญญัติ
๒๒๔. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอน้ำผึ้งเขามาฉัน ภิกษุณีนั้น
พึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควร
จะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้
ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ
เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายตอบว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนพวกดิฉัน
ขอน้ำผึ้งเขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ฉันน้ำผึ้งนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่
บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่
กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันน้ำผึ้งนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .
ทรงอนุญาตน้ำผึ้ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุณีผู้อาพาธ ขอน้ำผึ้งมาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 516
พระอนุบัญญัติ
๒๒๔. ๓. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอน้ำผึ้งมา
ฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่
เป็นสัปปายะ ควรแสดงคืน ดิฉันแสดงธรรมคืนนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นน้ำผึ้งก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นน้ำผึ้งแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่ น้ำหวานที่สำเร็จจากแมลงผึ้ง.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค
ได้มารับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอน้ำผึ้งมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอน้ำผึ้งมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 517
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอน้ำผึ้งมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันน้ำผึ้งที่
เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันน้ำผึ้งของญาติ ๑ ฉันน้ำผึ้งของคนปวารณา ๑
ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑
ไม่ต้องอาบัติแล
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 518
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเขตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอ
น้ำอ้อยเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอน้ำอ้อยเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ
อาหารที่อร่อยใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำอ้อยเขามาฉันเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอน้ำอ้อยเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำอ้อยเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส,.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 519
พระบัญญัติ
๒๒๕. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอน้ำอ้อยมาฉัน ภิกษุณีนั้น
พึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควร
จะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้
ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ
เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายตอบว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนพวกดิฉัน
ขอน้ำอ้อยเขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ฉันน้ำอ้อยนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก
แต่บัดนี้พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่
กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันน้ำอ้อยนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน .
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงอนุญาตน้ำอ้อย
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุณี ผู้อาพาธขอน้ำอ้อยเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ ว่าดังนี้;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 520
พระอนุบัญญัติ
๒๒๕. ๔. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอน้ำอ้อยมาฉัน
ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น
สัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อนี้ ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นน้ำอ้อยก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือเว้นน้าอ้อยแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ น้ำหวานที่เกิดจากอ้อย.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค
ได้มา รับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญไม่เป็นไข้ ขอน้ำอ้อยมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอน้ำอ้อยมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิ-
เทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 521
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอน้ำอ้อยมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันน้ำอ้อย
ที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันน้ำอ้อยของญาติ ๑ ฉันน้ำอ้อยของคนปวาร-
ณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 522
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ขอปลาเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอปลาเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ
อาหารที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอปลาเขามาฉันเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอปลาเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอปลาเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 523
พระบัญญัติ
๒๒๖. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอปลามาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง
แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะ
แสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้
ได้ถามภิกษุณีอาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ
เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีอาพาธตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอปลาเขามาฉันได้
ด้วยเหตุที่ฉันปลานั้น พวกดิฉันมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันปลา
นั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .
ทรงอนุญาตปลา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอปลาเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 524
พระอนุบัญญัติ
๒๒๖. ๕. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอปลามาฉัน
ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น
สัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นปลาก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นปลาแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า ปลา ได้แก่ สัตว์ที่เขาเรียกว่าเกิดในน้ำ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค
ได้มารับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฎิ-
เทสนียะทุก ๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอปลามาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอปลามาฉัน ต้องอาบัติปาฎิ-
เทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 525
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอปลามาฉัน ต้องอาบัติปาฏิ-
เทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันปลาที่เหลือ
ของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันปลาของญาติ ๑ ฉันปลาของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อ
ประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่
ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 526
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ขอเนื้อเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอเนื้อเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ อาหาร
ที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอเนื้อเขามาฉันเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอเนื้อเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอเนื้อเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 527
พระบัญญัติ
๒๒๗. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอเนื้อมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง
แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะ
แสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้
ได้ถามภิกษุณีอาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ
เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีอาพาธตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอเนื้อเขามาฉันได้
ด้วยเหตุที่ฉันเนื้อได้นั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจ
อยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้
ฉันเนื้อนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .
ทรงอนุญาตเนื้อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอเนื้อเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีข้างหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 528
พระอนุบัญญัติ
๒๒๗. ๖. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอเนื้อมาฉัน
ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น
สัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นเนื้อก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นเนื้อแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เนื้อ ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้
มา รับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิ-
เสนียะทุก ๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฎิ-
เทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 529
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิ-
เทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันเนื้อที่เหลือ
ของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันเนื้อของญาติ ๑ ฉันเนื้อของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อ
ประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้ายทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่
ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 530
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อา-
รามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอ
นมสดเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมสดเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ
อาหารที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมสดเขามาฉันเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอนมสดเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมสดเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 531
พระบัญญัติ
๒๒๘. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด ขอนมสดมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง
แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควร
แสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
ต่อจากลมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้
ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ
เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีอาพาธตอบว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอนมสดเขา
มาฉันได้ ด้วยเหตุที่ได้ฉันนมสดนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้
พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ
เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันนมสดนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .
ทรงอนุญาตนมสด
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอนมสดเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 532
พระอนุบัญญัติ
๒๒๘. ๗. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอนมสดมาฉัน
ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น
สัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นนมสด ก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นจากนนสดแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า นมสด ได้แก่ น้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ
หรือน้ำนมสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค
ได้มารับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ
ปาฎิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอนมสดมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 533
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอนมสดมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิ-
เทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอนมสดมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฎิเทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอำพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันนมสดที่
เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันนมสดของญาติ ๑ ฉันนมสดของคนปวารณา ๑
ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา
๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
๒
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 534
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ขอนมส้มเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอนมส้มเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ
อาหารที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมส้มเขามาฉันเล่า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอนมส้มเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมส้มเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจะยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 535
พระบัญญัติ
๒๒๙. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอนมส้มมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง
แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะ
แสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้
ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ
เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีผู้อาพาธตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอนมส้มเขามาฉัน
ได้ ด้วยเหตุที่ฉันนมส้มได้นั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉัน
รังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้วจึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่
ไม่ได้ฉันนมส้มนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .
ทรงอนุญาตนมส้ม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอนมส้มเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ ;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 536
พระอนุบัญญัต
๒๒๙. ๘. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอนมส้มมาฉัน
ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น
สัปปายะควรแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นนมส้มก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นนมส้มแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า นมส้ม ได้แก่ นมส้มของสัตว์มีโคเป็นต้น เหล่านั้นแล.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค
ได้มา รับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิ-
เทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 537
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันนมส้ม
ที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันนมส้มของญาติ ๑ ฉันนมส้มของคนปวารณา
๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ-
กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๘ จบ
บทสรุป
[๔๙๔] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท ข้าพเจ้า
ยกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรม คือ ปาฏิเทสนียะ
๘ สิกขาบทนั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้ง
ที่ ๒ ว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่ ๓ ว่า
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาฏิ-
เทสนียะทั้ง ๘ สิกขาเหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย
อย่างนี้.
ปาฏิเทสนียกัณฑ์ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 538
ปาฏิเทสนียวรรณนา
ธรรม ๘ เหล่าใด ชื่อ ปาฏิเทสนียะ
ที่ขึ้นสู่สังคหะ เพียงแต่โดยสังเขป ถัดลำ-
ดับพวกขุททกะมา, วรรณนาธรรมเหล่านั้น
แต่โดยสังเขปเท่านั้น จะดำเนินต่อไปนี้.
ก็ปณีตโภชนะ มีเนยใสและน้ำมันเป็นต้นใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงไว้แล้วในบาลีในพวกปาฏิเทสนียะนี้ เมื่อภิกษุณีออกปากขอปณีต
โภชนะ มีเนยใสและน้ำมันเป็นต้นนั้นนั่นแลมาฉัน เป็นปาฏิเทสนียะ. แต่ใน
เนยใสเป็นต้นนอกพระบาลีทุก ๆ อย่าง เป็นทุกกฏ. คำที่เหลือในปาฏิเทสนียะ
เหล่านี้ ง่ายทั้งนั้น. ก็ปาฏิเทสนียะทั้ง ๘ สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๔ เกิดขึ้น
ทางกาย ๑ วาจา ๑ ทางกายกับวาจา ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา
โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓
มีเวทนา ๓ แล.
ปาฏิเทสนียวรรณนา จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 539
เสขิยกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคือเสขิยะเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.
เสขิยะ สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๙๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เหล่า
ภิกขุณีฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าเลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้าง ชาวบ้านทั้งหลายพากัน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้นุ่งผ้าเลื่อยหน้าบ้าง
เลื่อยหลังบ้าง ดุจดังสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้นุ่งผ้าเลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้าง ครั้นแล้วได้
แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
นุ่งผ้าเลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 540
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้นุ่งผ้าเลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้างเล่า การกระทำของ
พวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้;-
พระบัญญัติ
๒๓๐. ๑. ภิกษุณีพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๙๖] ที่ชื่อว่า นุ่งเป็นปริมณฑล คือ ปิดมณฑลสะดือ มณฑล
เข่า.
ภิกษุณีใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นุ่งผ้าเลื้อยหน้าก็ดี เลื้อยหลังก็ดี
ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๔๙๗] ไม่แกล้ง ๑ ไม่ตั้งใจ ๑ เผลอ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง
๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
เสขิยะ สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 541
ความย่อ๑
เสขิยะ สิกขาบทที่ ๗๕
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เหล่า
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ ชาวบ้าน
พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ถ่ายอุจจาระ
บ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
เหล่าฉัพพัคคีย์จึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ
เล่า ครั้นแล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
๑. เสขิยะสิกขาบทต่อไปนี้ ตั้งแต่สิกขาบทที่ ๒๓๑.๒. ถึง ๓๐๓.๗๔ ท่านมิได้จารึกไว้ เพราะ
เป็นสาธารณบัญญัติ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในมหาวิภังค์โน้น เทอญ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 542
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลง
ในน้ำเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๓๐๔. ๗๕. ภิกษุณีพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงในน้ำ
ก็แลสิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
ทรงอนุญาตแก่ภิกษุณีอาพาธ
[๔๙๙] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ รังเกียจที่จะถ่าย
อุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตที่ให้ภิกษุณีผู้อาพาธถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลง
ในน้ำได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 543
พระอนุบัญญัติ
๓๐๔. ๗๕. ก. ภิกษุณีพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้จัก
ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงในน้ำ.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๐] ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วน
เขฬะลงในน้ำ ภิกษุณีใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงในน้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๕๐๑] ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ถ่ายลงบนบก
แล้วไหลลงน้ำ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ผู้กระสับกระ-
ส่ายเพราะเวทนา ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
เสขิยะ สิกขาบทที่ ๗๕ จบ
บทสรุป
[๕๐๒] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล
ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือเสขิยะเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็น
ผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์
แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ
แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือเสขิยะเหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
เสขิยกัณฑ์ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 544
อธิกรณสมถกัณฑ์ที่สุด
[๕๐๓] อนึ่ง แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้แล
มาสู่อุเทศ.
คือพึงให้สัมมุขาวินัย ๑ พึงให้สติวินัย ๑ พึงให้อมูฬหวินัย ๑ ปฏิญญาต-
กรณะ ๑ เยภุยยสิกา ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ติณวัตถารกะ ๑ เพื่อระงับอธิกรณ์
ที่เกิดแล้วและเกิดแล้ว.
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล
ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือธิกรณสมถะเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย
เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้
บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์
แล้วหรือ แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือ อธิกรณสมถะเหล่านี้ เหตุ
นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
อธิกรณสมถกัณฑ์ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 545
คำนิคม
[๕๐๔] แม่เจ้าทั้งหลาย นิทานข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว .
ธรรมคือปาราชิก ๘ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ประการ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีเท่านี้ มาในพระปาติ-
โมกข์ นับเนื่องในพระปาติโมกข์ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน.
พวกเราทั้งหมดนี้แล พึงเป็นผู้พรอ้มเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาท
กัน ศึกษาในพระปาติโมกข์นั้น เทอญ.
ภิกขุนีวิภังค์ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 546
คาถาสรุปเขิยาธิกรณธรรม
ก็ธรรม ๗๕ ชื่อว่า เสขิยะเหล่าใด
ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายได้ยกขึ้น
แสดงไว้ และธรรมเหล่าใด ชื่อสัตตาธิกร-
ณะ ซึ่งท่านยกขึ้นแสดงไว้ถัดจากลำดับ
เสขิยะเหล่านั้นมา, อรรถวินิจฉัย ธรรมคือ
เสขิยะและอธิกรณะเหล่านั้นอันใด ที่
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในมหาวิภังค์. แม้ใน
ภิกขุนีวิภังค์ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ก็กล่าว
อรรถวินิจฉัยนั้นไว้ เช่นนั้นเหมือนกัน,
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าวอรรถวรรณ-
นาธรรมเหล่านั้นไว้อีกแผนกหนึ่ง, ที่จริง
อรรถวรรณาที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในมหา-
วิภังค์นั้น ชื่อว่าได้กล่าวแล้ว ในภิกขุนีวิภังค์
นี้เหมือนกันแล.
ภิกขุนีวิภังคควรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย.
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้าที่ 547
อุยโยชนคาถาของท่านผู้รจนา
วรรณนาวิภังค์แห่งอุภโตปาฏิโมกข์
ที่พระชินเจ้าตรัสไว้นี้ จบลงแล้ว โดยหา
อันตรายมิได้ ฉันใด ขอสรรพสัตว์ แม้ทุก
หมู่เหล่า จงได้บรรลุมรรคอันละเสียซึ่ง
อาสวะทั้งปวง แล้วประสบพบเห็นแต่ความ
ดับสนิทโดยหาอันตรายมิได้ ฉันนั้น เทอญ.