ไปหน้าแรก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 1

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๒

มหาวิภังค์ ทุติยภาค

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปาจิตติยภัณฑ์

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระหัตถกะ ศากยบุตร

[๑๗๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นพระ

หัตถกะ ศากยบุตรเป็นคนพูดสับปลับ ท่านเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าว

ปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จ

ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน.

พวกเดียรถีย์พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระหัตถกะ

ศากยบุตรเจรจาอยู่กับพวกเรา จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฎิเสธ

เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว

ทำให้คลาดเคลื่อนเล่า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 2

ภิกษุทั้งหลายได้ยินเดียรถีย์พวกนั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่

จึงเข้าไปหาพระหัตถกะ ศากยบุตรถึงสำนัก ครั้นแล้วได้ถามพระหัตถกะว่า

อาวุโสหัตถกะ ข่าวว่าท่านเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าว

รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ พูด

นัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน จริงหรือ.

พระหัตถกะ ศากยบุตรตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าพวกเดียรถีย์

เหล่านี้ เราต้องเอาชนะด้วยวิธีใครวิธีหนึ่ง เราไม่ควรให้ความชนะแก่เดียรถีย์

พวกนั้น.

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่

ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระหัตถกะ ศากยบุตร

เจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฎิเสธ เอา

เรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้

คลาดเคลื่อนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ

เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม พระหัตถกะ

ศากยบุตรว่า จริงหรือหัตถกะ ข่าวว่าเธอเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธ

แล้วรับ กล่าวรับแล้ว ปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ

ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน.

พระหัตถกะ ศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 3

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ

เจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฎิเสธ

เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว

ทำให้คลาดเคลื่อนเล่า การกระทำของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส

ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว

โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั้น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยัง

ไม่เลื่อมใส และเพื่อ ความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.

ทรงบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรง ติเตียนพระหัตถกะ ศากยบุตร โดยอเนก

ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก

ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลีความเกียจคร้าน

ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความ

สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ

ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น

ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักกับบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่ง

ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก เพื่อป้องกัน อาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อ

กำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 4

เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่น

แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๕๐.๑ เป็นปาจิตตีย์ในเพราะสัมปชานมุสาวาท.

เรื่องพระหัตถกะ ศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๗๔] ที่ชื่อว่า สัมปชานมุสาวาท ได้แก่ วาจา เสียงที่เปล่ง

ถ้อยคำเป็นแนวทาง การเปล่งวาจา เจตนาที่ให้เขาเข้าใจทางวาจา ของบุคคล

ผู้จงใจจะพูดให้คลาดจากความจริง ได้แก่คำพูดของอนารยชน ๘ อย่าง คือ

ไม่เห็น พูดว่าข้าพเจ้าเห็น ๑ ไม่ได้ยิน พูดว่าข้าพเจ้าได้ยิน ๑ ไม่ทราบ

พูดว่าข้าพเจ้าทราบ ๑ ไม่รู้ พูดว่าข้าพเจ้ารู้ ๑ เห็น พูดว่าข้าพเจ้าไม่เห็น .

ได้ยิน พูดว่าข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ๑ ทราบ พูดว่าข้าพเจ้าไม่ทราบ ๑ รู้ พูดว่า

ข้าพเจ้าไม่รู้ ๑.

บทภาชนีย์

[๑๗๕] ที่ชื่อว่า ไม่เห็น คือ ไม่เห็นด้วยตา

ที่ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินด้วยหู.

ที่ชื่อว่า ไม่ทราบ คือ ไม่ได้สูดดมด้วยจมูก ไม่ได้ลิ้มด้วยลิ้น ไม่

ได้สัมผัสด้วยกาย.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 5

ที่ชื่อว่า ไม่รู้ คือ ไม่รู้ด้วยใจ.

ที่ชื่อว่า เห็น คือ เห็นด้วยตา.

ที่ชื่อว่า ได้ยิน คือ ได้ยินด้วยหู

ที่ชื่อว่า ทราบ คือ ได้สูดดมด้วยจมูก ได้ลมด้วยลิ้น ได้สัมผัสด้วยกาย.

ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ด้วยใจ.

อาการของการกล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้

ไม่เห็น - ว่าเห็น

[๑๗๖] ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓

อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓

ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ

๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น

กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จ ว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น

กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความความ

ถูกใจ ๖อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ

๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น

กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ

๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 6

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ

๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น

กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใ จ

๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ได้ยิน - ว่าได้ยิน

ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง

ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ทราบ - ว่าทราบ

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๔ อย่าง....... ด้วยอาการ ๕ อย่าง........ ด้วยอาการ ๖ อย่าง .. . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่รู้ - ว่ารู้

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๗ อย่าง . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ว่าเห็น และได้ยิน

[๑๗๗] ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็นและได้ยินด้วย

อาการ ๓ อย่าง.... ด้วยอาการ ๔ อย่าง..... ด้วยอาการ ๕ อย่าง......ด้วย

อาการ ๖ อย่าง........ ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 7

ไม่เห็น ว่าเห็น และทราบ

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และทราบ ด้วยอาการ ๓

อย่าง . . . ด้วยอาการ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ว่าเห็น และรู้

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง

. . .ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ว่าเห็น ได้ยิน และทราบ

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และทราบ ด้วย

อาการ ๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ

๖ อย่าง . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ว่าเห็น ได้ยิน และรู้

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และรู้ ด้วยอาการ

๓ อย่าง . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ว่าเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้ ด้วย

อาการ๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ

๖ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 8

ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน และทราบ

ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ

๓ อย่าง . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง.. . ด้วยอาการ

๖ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน และรู้

ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และรู้ ด้วยอาการ ๓

อย่าง . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ อย่าง . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง

. . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน และเห็น

ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และเห็น ด้วยอาการ

๓ อย่าง . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน ทราบ และรู้

ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และรู้ ด้วย

อาการ ๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ

การ ๖ อย่าง ..... ด้วยอาการ ๗ อย่าง....... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน ทราบ และเห็น

ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และเห็น ด้วย

๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 9

ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน ทราบ รู้ และเห็น

ไม่ไค้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวว่าข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ รู้ และเห็น ด้วย

อาการ ๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . ด้วยอา-

การ ๖ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ทราบ ว่าทราบ และรู้

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓

อย่าง . . .ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง

. . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ทราบ ว่าทราบ และเห็น

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และเห็น ด้วยอาการ

๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ทราบ ว่าทราบ เเละได้ยิน

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และได้ยิน ด้วยอาการ

๓ อย่าง . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . .. ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ทราบ ว่าทราบ รู้ และเห็น

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ รู้ และเห็น ด้วยอาการ

๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 10

ไม่ทราบ ว่าทราบ รู้ และได้ยิน

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ รู้ และได้ยิน ด้วย

อาการ ๓ อย่าง . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . ด้วย

อาการ ๖ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ทราบ ว่าทราบ รู้ เห็น และ ได้ยิน

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ รู้ เห็น และได้ยิน

ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . .

ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่รู้ ว่ารู้ และเห็น

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และเห็น ด้วยอาการ อย่าง. . .

ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง .....

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่รู้ ว่ารู้ และได้ยิน

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และได้ยิน ด้วยอาการ ๓

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่รู้ ว่ารู้ และทราบ

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง

. . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 11

ไม่รู้ ว่ารู้ เห็น และได้ขึ้น

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ เห็น และได้ยิน ด้วยอาการ

๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ

๖ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่รู้ ว่ารู้ เห็น และทราบ

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ เห็น และทราบ ด้วยอาการ

๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ

๖ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่รู้ ว่ารู้ เห็น ได้ยิน และทราบ

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ เห็น ได้ยิน และทราบ ด้วย

อาการ ๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๖ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น ว่าไม่เห็น

[๑๗๘] เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าไม่เห็น ด้วยอาการ ๓

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ยิน ว่าไม่ได้ยิน

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 12

ทราบ ว่าไม่ทราบ

ทราบ ภิกษุรู้อยู้กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าไม่ทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รู้ ว่าไม่รู้

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าไม่รู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๘ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น ว่าได้ยิน

[๑๗๙] เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น ว่าทราบ

เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . .. ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น ว่ารู้

เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 13

เห็น ว่าได้ยิน และทราบ

เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น ว่าได้ยิน และรู้

เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง

. . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น ว่าได้ยิน ทราบ และรู้

เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และรู้ ด้วยอาการ

๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ

๖ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ยิน ว่าทราบ

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ยิน ว่ารู้

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 14

ได้ยิน ว่าเห็น

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .

ด้วยอาการ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ยิน ว่าทราบ และรู้

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ยิน ว่าทราบ และเห็น

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และเห็น ด้วยอาการ ๓

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ยิน ว่าทราบ รู้ และเห็น

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ รู้ และเห็น ด้วยอาการ

๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ

๖ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทราบ ว่ารู้

ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 15

ทราบ ว่าเห็น

ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทราบ ว่าได้ยิน

ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๘ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทราบ ว่ารู้ และเห็น

ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และเห็น ด้วยอาการ ๓

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทราบ ว่ารู้ และได้ยิน

ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และได้ยิน ด้วยอาการ ๓

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทราบ ว่ารู้ เห็น และได้ยิน

ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ เห็น และได้ยิน ด้วยอาการ

๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ

๖ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 16

รู้ ว่าเห็น

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๗ อย่าง . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รู้ ว่าได้ยิน

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รู้ ว่าทราบ

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รู้ ว่าเห็น และได้ยิน

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง

ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รู้ ว่าเห็น และทราบ

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง...

ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 17

รู้ ว่าเห็น ได้ยิน และทราบ

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ

๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖

อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น สงสัย

[๑๘๐] เห็น ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่าเห็น จำไม่ได้ว่าเห็น หลง

ลืมว่าเห็น รู้อยู่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . . ด้วย

อาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...ข้าพเจ้าเห็น และทราบ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...ข้าพเจ้าเห็น และรู้. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...ข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และทราบ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...ข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และรู้. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...ข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ได้ขึ้น สงสัย

ได้ยิน ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่าได้ยิน จำไม่ได้ว่าได้ยิน หลง

ลืมว่าได้ยิน รู้อยู่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง

ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง. . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 18

...ข้าพเจ้าได้ยิน และรู้. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...ข้าพเจ้าได้ยิน และเห็น. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และรู้. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และเห็น. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ รู้ และเห็น . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทราบ - สงสัย

ทราบ ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่าทราบ จำไม่ได้ว่าทราบ หลงลืม

ว่าทราบ รู้อยู่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง. . .

ด้วยอาการ ๔ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . .

ด้วยอาการ ๗ อย่าง. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าทราบ และเห็น . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...ข้าพเจ้าทราบ และได้ยิน . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...ข้าพเจ้าทราบ รู้ และเห็น . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...ข้าพเจ้าทราบ รู้ และได้ยิน .. . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...ข้าพเจ้าทราบ รู้ เห็น และได้ยิน. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รู้ ภิกษุสงสัย กำหนดไม้ได้ว่ารู้ จำไม่ได้ว่ารู้ หลงลืมว่ารู้ รู้อยู่

กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้ารู้ และเห็นด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๔ อย่าง...

ด้วยอาการ ๕ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๖ อย่าง . . . ด้วยอาการ ๗ อย่าง . . .

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 19

. . .ข้าพเจ้ารู้ และได้ยิน. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้ารู้ และทราบ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .ข้าพเจ้ารู้ เห็น และได้ยิน . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้ารู้ เห็น และทราบ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้ารู้ เห็น ได้ยิน และทราบ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๑๘๑] ภิกษุพูดพลั้ง ๑ ภิกษุพูดพลาด ๑ [ชื่อว่าพูดพลั้ง คือพูด

เร็วไป ชื่อว่าพูดพลาด คือตั้งใจว่าจักพูดคำอื่น แต่กลับพูดไปอีกอย่าง] ภิกษุ

วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 20

ขุททกกัณฑวรรณนา

ขุททกสิกขาบทเหล่าใด สงเคราะห์

ตามวรรคเป็น ๙ วรรค ประดิษฐานอยู่ด้วยดี

แล้ว บัดนี้ จะมีการพรรณนาสิกขาบท

เหล่านั้น ดังต่อไปนี้:-

ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑

มุสาวาทสิขาบทที่ ๑

บรรดาวรรค ๙ เหล่านั้น (บรรดาขุททกสิกิขาบทเหล่านั้น) พึงทราบ

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งมุสาวาทวรรดูก่อน.

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระหัตถกะ]

คำว่า หตฺถโก เป็นชื่อของพระเถระนั้น. บุตรของพวกเจ้าศากยะ

ชื่อว่าศากยบุตร. ได้ยินว่า ในครั้งพุทธกาล บุรุษแปดหมื่นคน ได้ออกบวช

จากศากยตระกูล. ท่านพระหัตถกะนั้น เป็นคนใดคนหนึ่ง บรรดาบุรุษ

แปดหมื่นคนนั้น.

บทว่า วาทกฺขิตฺโต มีความว่า ถูกคำพูดที่ตนกำหนดไว้อย่างนี้ว่า

เราจักกระทำวาทะ (ทำการโต้วาทะกัน) ซัดไป คือ ผลักไป อธิบายว่า ดันไป

คือ ส่งไปสู่สำนักของพวกปรวาที. อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระหัตถกะนั้น ถูกจิต

ของตนซัดไปในวาทะ. ย่อมปรากฏในสถานที่ซึ่งมีการโต้วาทะกันทุกครั้งไป.

แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าถูกซัดไปในวาทะ (เป็นคนพูดสับปลับ).

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 21

ข้อว่า อวชานิตฺวา ปฏิชานาติ มีความว่า พระหัตถกะนั้น

กำหนดโทษบางอย่างในคำพูดของตนได้ ถลากไถลไปว่า นี้ไม่ใช่คำพูดของเรา

เมื่อพูดไป ๆ สังเกตได้ว่าไม่มีโทษ แล้วยอมรับว่า นี้ เป็นคำพูดของเราละ.

ข้อว่า ปฏิชานิตฺวา อวชานาติ มีความว่า ท่านเมื่อกำหนดอานิสงส์

ในคำพูดบางอย่างได้ ก็ยอมรับว่า นี้ เป็นคำพูดของเรา เมื่อพูดต่อไปอีก

กำหนดโทษในถ้อยคำนั้นได้ ก็ถลากไถลไปว่า นี้ ไม่ใช่คำพูดของเรา ดังนี้.

ข้อว่า อญฺเญนญฺ ปฏิจรติ มีความว่า ย่อมกลบเกลื่อน คือ

ย่อมปกปิด ได้แก่ ทับถมเหตุอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุอย่างหนึ่ง คือ กล่าวเหตุว่า

รูปไม่เที่ยง เพราะเป็นของพึงรู้ได้ แล้วกลับกล่าวเหตุเป็นต้นว่า เพราะมี

ความเกิดเป็นธรรมดา.

แต่ในกุรุนที ท่านกล่าวว่า ย่อมพูดเรื่องอื่นเป็นอันมาก เพราะเหตุ

ที่จะปกปิดปฏิญญาและความถลากไถลนั่น.

ในคำว่า เอตสฺส เป็นต้นนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า เธอย่อม

กล่าวคำเป็นอันมากมีอาทิอย่างนี้ว่า ใครกล่าว ? กล่าวว่าอย่างไร ? กล่าวที่ไหน ?

ดังนี้ เพื่อปกปิดคำปฏิญญาและคำถลากไถลนั้น.

ในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้อีกว่า ถลากไถลแล้วปฏิญาณ และ

ปฏิญาณแล้วถลากไถล นั่นแหละ ชื่อว่า กลบเกลื่อนเรื่องอื่นด้วยเรื่องอื่น.

สองบทว่า สมฺปชานมุสา ภาสติ ได้แก่ กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่.

หลายบทว่า สงฺเกต กตฺวา วิสวาเทติ มีความว่า ทำการนัดหมายว่า

การโต้วาทะ จงมีในประเทศชื่อโน้น ในบรรดากาลมีปุเรภัตเป็นต้น ชื่อโน้น

ดังนี้ แล้วไปก่อน หรือหลังจากเวลาที่ตนนัดหมายไว้ แล้วกล่าวว่า จงดูเอาเถิด

ผู้เจริญ ! พวกเดียรถีย์ ไม่มาแล้ว แพ้แล้ว ดังนี้ หลีกไปเสีย.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 22

บทว่า สมฺปชานมุสาวาเท ได้แก่ ในเพราะการพูดเท็จทั้งที่รู้ตัว

แล้วและกำลังรู้.

บทว่า วิสวาทนปุเรกฺขารสฺส ได้แก่ ผู้พูดทำจิตที่คิดจะพูดให้

คลาดเคลื่อนไว้เป็นเบื้องหน้า.

เจตนายังคำพูดอันนับเนื่องในมิจฉาวาจาให้ตั้งขึ้น ชื่อว่า วาจา.

ท่านแสดงเสียงอันตั้งขึ้นด้วยเจตนานั้น ด้วยคำว่า คิรา.

ทางแห่งถ้อยคำ ชื่อว่า พยบถ. ก็วาจานั่นแล ท่านเรียกว่า พยบถ

เพราะเป็นแนวทางแม้ของชนเหล่าอื่น ผู้ถึงทิฏฐานุคติ.

การเปล่งวาจาที่มีความเข้าใจกันว่าคำพูด ชื่อว่า วจีเภท. วาจามี

ชนิดต่าง ๆ กันนั่นเอง ท่านเรียกอย่างนี้ (ว่าวจีเภท).

วจีวิญญัตติ ชื่อว่า วิญญัตติที่เป็นไปทางวาจา. ด้วยอาการอย่างนั้น

ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ด้วยบทแรก ท่านพระอุบาลีกล่าวเพียงเจตนาล้วน, ด้วย

๓ บทท่ามกลาง กล่าวเจตนาที่ประกอบด้วยเสียงซึ่งตั้งขึ้นด้วยเจตนานั้น. ด้วย

บทเดียวสุดท้าย กล่าวเจตนาที่ประกอบด้วยวิญญัตติ.

โวหาร (คำพูด) ของเหล่าชนผู้ไม่ใช่พระอริยเจ้า คือเหล่าพาลปุถุชน

ชื่อว่า อนริยโวหาร.

พระอุบาลีเถระ. ครั้นแสดงสัมปชานมุสาวาทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ

จะแสดงลักษณะแห่งอนริยโวหาร ที่นับเป็นสัมปชานมุสาวาท ซึ่งกล่าวไว้ใน

ที่สุด จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อทิฏฺ นาม ดังนี้.

[อรรถาธิบายอนริยโวหาร ๘ อย่าง]

ในคำว่า อทิฏฺ เป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบอรรถโดยนัยนี้ว่า

ถ้อยคำ หรือ เจตนาเป็นเหตุยังถ้อยคำนั้นให้ตั้งขึ้น ของภิกษุผู้กล่าวเรื่องที่ตน

ไม่เห็นอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเห็น ชื่อว่า อนริยโวหารอย่างหนึ่ง.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 23

อีกนัยหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐาน ในคำว่า อทิฏฺ ทิฏฺ

เม เป็นต้นนี้ว่า อารมณ์ที่ตนไม่ได้รับด้วยอำนาจแห่งจักษุชื่อว่า ไม่เห็น,

ที่ไม่ได้รับด้วยอำนาจแห่งโสตะ ชื่อว่า ไม่ได้ยิน, ที่ไม่ได้รับ ทำให้ดุจเนื่อง

เป็นอันเดียวกันกับอินทรีย์ ๓ ด้วยอำนาจแห่งฆานินทรีย์เป็นต้น ชื่อว่า

ไม่ทราบ, ที่วิญญาณล้วน ๆ อย่างเดียว นอกจากอินทรีย์ ๕ ไม่ได้รับ ชื่อว่า

ไม่รู้.

แต่ในพระบาลี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาโดยนัยอันปรากฏชัด

ทีเดียวอย่างนี้ว่า ที่ชื่อว่า ไม่เห็น คือ ไม่เห็นด้วยตา ฉะนี้แล.

ก็บรรดาอารมณ์ที่ได้เห็นเป็นต้น ที่ตนเองก็ดี คนอื่นก็ดี เห็นแล้ว

ชื่อว่า ทิฏฐะทั้งนั้น. อารมณ์ที่ชื่อว่า สุตะ มุตะ และวิญญาตะก็อย่างนี้ นี้

เป็นบรรยายหนึ่ง. ส่วนอีกบรรยายหนึ่ง อารมณ์ใดที่ตนเห็นเอง อารมณ์นั้น

จัดเป็นทิฎฐะแท้. ในสุตะเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนั้น. ก็อารมณ์ใดที่คนอื่นเห็น

อารมณ์นั้น ย่อมตั้งอยู่ในฐานะแห่งอารมณ์ที่ตนได้ยิน. แม้อารมณ์มีสุตะ

เป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้.

บัดนี้ พระอุบาลีเถระ เมื่อจะยกอาบัติขึ้นแสดงด้วยอำนาจแห่งอนริย-

โวหารเหล่านั้น จึงกล่าวคำว่า ตีหากาเรหิ เป็นต้น . บัณฑิตพึงทราบ-

เนื้อความแห่งคำว่า ตีหากาเรหิ เป็นต้นนั้น โดยนัยดังที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว

ในวรรณนาบาลีจตุตถปาราชิก มีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุกล่าวสัมปชานมุสาวาทว่า

ข้าพเจ้าบรรลุปฐมฌาน ต้องอาบัติปาราชิกโดยอาการ ๓ ดังนี้นั่นแล. จริงอยู่

ในบาลีจตุตถปาราชิกนั้น ท่านกล่าวไว้เพียงคำว่า ปม ฌาน สมาปชฺชึ.

ข้าพเจ้าบรรลุปฐมฌานแล้ว อย่างเดียว, ในสิกขาบทนี้ กล่าวไว้ว่า อทิฏฺ

ทิฏฺ เม ไม่เห็นพูดว่า ข้าพเจ้าเห็น ดังนี้. และในบาลีจตุตถปาราชิกนั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 24

กล่าวไว้ว่า อาปตฺติ ปาราชิกสฺส (ต้องอาบัติปาราชิก) ในสิกขาบทนี้

กล่าวว่า อาปตฺตฺ ปาจิตฺติยสฺส (ต้องอาบัติปาจิตตีย์) ดังนี้. มีความแปลก

กันเพียงในวัตถุและอาบัติอย่างนี้. คำที่เหลือมีลักษณะอย่างเดียวกันแท้แล.

แม้คำเป็นต้นว่า ตีหากาเรหิ ทิฏฺเ เวมติโก ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัย

ดังกล่าวแล้ว ในวรรณนาบาลีทุฏฐโทสสิกขาบทเป็นต้น อย่างนี้ว่า ทิฏฺสฺส

โหติ ปาราชิก ธมฺม อชฺฌาปชฺชนฺโน ทิฏฺเ เวนติโก (ภิกษุผู้โจทก์

นั้นได้เห็นภิกษุผู้ต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในสิ่งที่ได้เห็น) ดังนี้นั่น แล.

ก็ในสิกขาบทนี้ เพียงแต่คำบาลีเท่านั้น แปลกกัน (จากบาลีจตุตถปาราชิก) .

ส่วนในเนื้อความพร้อมทั้งเถรวาท ไม่มีการแตกต่างอะไรกันเลย.

สองบทว่า สหสา ภณติ ความว่า ภิกษุไม่ได้ไตร่ตรอง หรือ

ไม่ได้ใคร่ครวญ พูดโดยเร็วถึงสิ่งที่ไม่เห็นว่า ข้าพเจ้าเห็น.

คำว่า อญฺ ภณิสฺสามีติ อญฺณ ภณติ ความว่า เมื่อตนควร

จะกล่าวคำว่า จีวร (จีวร) ไพล่กล่าวว่า จีร (นาน) ดังนี้เป็นต้น เพราะ

ความเป็นผู้อ่อนความคิด เพราะเป็นผู้เซอะ เพราะความพลาดพลั้ง. แต่ภิกษุใด

ผู้อันสามเณรเรียนถามว่า ท่านขอรับ ! เห็นอุปัชฌาย์ของกระผมบ้างไหม

ดังนี้ กระทำการล้อเลียน กล่าวว่า อุปัชฌาย์ของเธอจักเทียมเกวียนบรรทุกฟืน

ไปแล้วกระมัง หรือว่า เมื่อสามเณรได้ยินเสียงสุนัขจิ้งจอกแล้ว ถามว่า นี้เสียง

สัตว์อะไร ขอรับ ! กล่าวว่า นี้เสียงของพวกคนผู้ช่วยกันยกล้อที่ติดหล่ม

ของมารดาเธอ ผู้กำลังไปด้วยยาน ดังนี้ อย่างนั้นกล่าวคำอื่นไม่ใช่เพราะเล่น

ไม่ใช่เพราะพลั้ง, ภิกษุนั่น ย่อมต้องอาบัติแท้. ยังมีถ้อยคำอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

ปูรณกถา คือ ภิกษุรูปหนึ่ง ได้น้ำมันเล็กน้อยในบ้าน แล้วกลับมาสู่วิหาร

พูดกะสามเณรว่า เธอไปไหนเสีย วันนี้ บ้านมีแต่น้ำมัน อย่างเดียว ดังนี้ ก็ดี

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 25

ได้ชิ้นขนมที่เขาวางไว้ในกระเช้า และพูดกะสามเณรว่า วันนี้ คนทั้งหลาย

ในบ้าน เอากระเช้าหลายใบใส่ขนมไป ดังนี้ก็ดี นี้จัดเป็นมุสาวาทเหมือนกัน.

คำที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม

วจีกรรม อกุศลจิตมีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

มุสาวาทสิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 26

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๑๘๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ -

เชตวัน อารามของอานาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับพวก ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มี

ศีลเป็นที่รัก คือด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูล

บ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง

คำด่าที่ทรามบ้าง .

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่

ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์ ทะเลาะ

กับภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก จึงได้กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่า

สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง

โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้างเล่า แล้ว

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ

เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า

จริงหรือภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก

กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือคำว่า สบประมาท กระทบกำเนิด

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 27

บ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง

กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพร ะภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มี

ศีลเป็นที่รัก คือด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง

การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่า

ที่ทรามบ้าง การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน

ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . . ครั้นแล้ว

ทรงกระทำธรรมีกถารับส่งกะภิกษุทั้งหลายดังต่อไปนี้.

เรื่องโคนันทิวิสาล

[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์คนหนึ่ง

ในเมื่องตักกศิลา มีโคถึกตัวหนึ่งชื่อนันทิวิสาล ครั้งนั้นโคถึกชื่อนันทิวิสาล

ได้กล่าวคำนี้กะพราหมณ์นั้นว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปพนันกับเศรษฐี

ด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูก

เนื่องกันไปได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จึงพราหมณ์นั้นได้ทำการพนันกับเศรษฐีด้วย

ทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑,๐๐๐ เล่มที่ผูกเนื่อง

กันไปได้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 28

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพราหมณ์นั้นได้ผูกเกวียน ๑,๐๐๐ เล่มให้

เนื่องกัน เทียมโคถึกนันทิวิสาลเสร็จแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า จงฉุดไป เจ้าโคโกง

จงลากไป เจ้าโคโกง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น โคถึกนันทิวิสาลได้ยืนอยู่ในที่เดิมนั่นเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้นแล พราหมณ์นั้นแพ้พนัน เสียทรัพย์

๑,๐๐๐ กษาปณ์แล้วได้ซบเซา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อมา โคถึกนันทิวิสาลได้ถามพราหมณ์นั้นว่า

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ เหตุไรท่านจึงซบเซา.

พ. ก็เพราะเจ้าทำให้เราต้องแพ้ เสียทรัพย์ไป ๑,๐๐๐ กษาปณ์ นั่น

ละซิ เจ้าตัวดี.

น. ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ก็ท่านมาเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่า

โกงทำไมเล่า ขอท่านจงไปอีกครั้งหนึ่ง จงพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐

กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้า จักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้

แต่อย่าเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่าโกง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้นแล พราหมณ์นั้นได้พนันกับเศรษฐี

ด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูก

เนื่องกันไปได้ ครั้นแล้วได้ผูกเกวียน ๑๐๐ เล่มให้เนื่องกัน เทียมโคถึก

นันทิวิสาลแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า เชิญฉุดไปเถิด พ่อรูปงาม เชิญลากไปเถิด

พ่อรูปงาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล โคถึกนันทิวิสาลได้ลากเกวียน ๑๐๐

เล่ม ซึ่งผูกเนื่องกันไปได้แล้ว.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 29

[๑๘๔] บุคคลควรกล่าวแต่ถ้อยคำ

เป็นที่จำเริญใจ ไม่ควรกล่าวถ้อยคำอันไม่

เป็นที่จำเริญใจ ในกาลไหน ๆ เพราะเมื่อ

พราหมณ์กล่าวถ้อยคำเป็นที่จำเริญใจ โคถึก

นันทิวิสาลได้ลากเกวียนหนักไป ยังพราหมณ์

นั้นให้ได้ทรัพย์ และได้ดีใจเพราะพราหมณ์

ได้ทรัพย์โดยการกระทำของตนนั้นแล.

[๑๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งนั้น คำด่า คำสบประมาทก็

มิได้เป็นที่พอใจของเรา ไฉน ในบัดนี้ คำด่า คำสบประมาท จักเป็นที่

พอใจเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน

ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงอย่างนี้ว่า

ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๕๑.๒. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๘๖] ที่ชื่อว่า โอมสวาท ได้แก่คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจด้วย

อาการ ๑๐ อย่าง คือ ชาติ ๑ ชื่อ ๑ โคตร ๑ การงาน ๑ ศิลป ๑ โรค ๑

รูปพรรณ ๑ กิเลส ๑ อาบัติ ๑ คำด่า ๑.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 30

บทภาชนีย์

[๑๘๗] ที่ชื่อว่า ชาติ ได้แก่ชาติ ๒ คือ ชาติทราม ๑ ชาติอุกฤษฏ์ ๑

ที่ชื่อว่า ชาติทราม ได้แก่ชาติคนจัณฑาล ชาติคนจักสาน ชาติ

พราน ชาติคนช่างหนัง ชาติคนเทดอกไม้ นี้ชื่อว่าชาติทราม.

ที่ชื่อว่า ชาติอุกฤษฏ์ ได้แก่ชาติกษัตริย์ ชาติพราหมณ์ นี้ชื่อว่า

ชาติอุกฤษฎ์.

[๑๘๘] ที่ชื่อว่า ชื่อ ได้แก่ชื่อ ๒ คือ ชื่อทราม ๑ ชื่ออุกฤษฎ์ ๑.

ที่ชื่อว่า ชื่อทราม ได้แก่ ชื่ออวกัณณกะ ชวกัณณกะ ธนิฏฐะ

สวิฎฐกะ กุลวัฑฒกะ ก็หรือชื่อที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น

ไม่นับถือกันในชนบทนั้น ๆ นี้ชื่อว่าชื่อทราม

ที่ชื่อว่า ชื่ออุกฤษฏ์ ได้แก่ชื่อที่เกี่ยวเนื่องด้วยพุทธะ ธัมมะ สังฆะ

ก็หรือชื่อที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกัน

ในชนบทนั้น ๆ นี้ชื่อว่าชื่ออุกฤษฏ์.

[๑๘๙] ที่ชื่อว่า โคตร ได้แก่วงศ์ตระกูล มี ๒ คือ วงศ์ตระกูล

ทราม ๑ วงศ์ตระกูลอุกฤษฏ์ ๑.

ที่ชื่อว่า วงศ์ตระกูลทราม ได้แก่วงศ์ตระกูลภารทวาชะ ก็หรือ

วงศ์ตระกูล ที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันใน

ชนบทนั้น ๆ นี้ชื่อว่าวงศ์ตระกูลทราม.

ที่ชื่อว่า วงศ์ตระกูลอุกฤษฏ์ ได้แก่วงศ์ตระกูลโคตมะ วงศ์ตระกูล

โมคคัลลานะ วงศ์ตระกูลกัจจายนะ วงศ์ตระกูลวาเสฏฐะ ก็หรือวงศ์ตระกูลที่

เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในชนบท

นั้น ๆ นี้ชื่อว่าวงศ์ตระกูลอุกฤษฏ์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 31

[๑๙๐] ที่ชื่อว่า การงาน ได้แก่งานที่ทำ มี ๒ คือ งานทราม ๑

งานอุกฤษฎ์ ๑.

ที่ชื่อว่า งานทราม ได้แก่งานช่างไม้ งานเทดอกไม้ ก็หรืองานที่

เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในชนบทนั้น ๆ

นี้ชื่อว่างานทราม.

ที่ชื่อว่า งานอุกฤษฏ์ ได้แก่งานทำนา งานค้าขาย งานเลี้ยงโค

ก็หรืองานที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกัน

ในชนบทนั้น ๆ นี้ชื่อว่างานอุกฤษฎ์.

[๑๙๑] ที่ชื่อว่า ศิลป ได้แก่วิชาการช่าง มี ๒ คือ วิชาการ

ช่างทราม ๑ วิชาการช่างอุกฤษฏ์ ๑.

ที่ชื่อว่า วิชาการช่างทราม ได้แก่ วิชาการช่างจักสาน วิชาการ

ช่างหม้อ วิชาการช่างหูก วิชาการช่างหนัง วิชาการช่างกัลบก ก็หรือวิชาการ

ช่างที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในชนบท

นั้น ๆ นี้ชื่อว่าวิชาการช่างทราม.

ที่ชื่อว่า วิชาการช่างอุกฤษฏ์ ได้แก่วิชาการช่างนับ วิชาการช่าง

คำนวณ วิชาการช่างเขียน ก็หรือวิชาการช่างที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม

ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในชนบทนั้น ๆ นี้ชื่อว่าวิชาการช่างอุกฤษฏ์.

[๑๙๒] โรค แม้ทั้งปวง ชื่อว่าทราม แต่โรคเบาหวาน ชื่อว่า

โรคอุกฤษฏ์.

[๑๙๓] ที่ชื่อว่า รูปพรรณ ได้แก่รูปพรรณมี ๒ คือ รูปพรรณ

ทราม ๑ รูปพรรณอุกฤษฏ์ ๑.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 32

ที่ชื่อว่า รูปพรรณทราม คือ สูงเกินไป ต่ำเกินไป ดำเกินไป

ขาวเกินไป นี้ชื่อว่ารูปพรรณทราม.

ที่ชื่อว่า รูปพรรณอุกฤษฏ์ คือไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ดำนัก

ไม่ขาวนัก นี้ชื่อว่ารูปพรรณอุกฤษฎ์.

[๑๙๔] กิเลส แม้ทั้งปวง ชื่อว่าทราม.

[๑๙๕] อาบัติ แม้ทั้งปวง ชื่อว่าทราม แต่โสตาบัติ สมาบัติ ชื่อว่า

อาบัติอุกฤษฎ์.

[๑๙๖] ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่คำด่า มี ๒ คือ คำด่าทราม ๑ คำด่า

อุกฤษฏ์ ๑.

ที่ชื่อว่า คำด่าทราม ได้แก่คำด่าว่า เป็นอูฐ เป็นแพะ เป็นโค

เป็นลา เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นสัตว์นรก สุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวัง

ได้แต่ทุคติ คำด่าที่เกี่ยวด้วย ยะอักษร ภะอักษร หรือนิมิตของชายและนิมิต

ของหญิง นี้ชื่อว่าคำด่าทราม.

ที่ชื่อว่า คำด่าอุกฤษฏ์ ได้แก่ คำคำว่า เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด

เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ทุคติของท่านไม่มี ท่านต้อง

หวังได้แต่สุคติ นี้ชื่อว่าคำด่าอุกฤษฏ์.

อุปสัมบันด่าอุปสัมบัน

พูดกดกระทบชาติ

[๑๙๗] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีชาติทราม ด้วยกล่าวกระทบชาติ

ทราม คือ พูดกะอุปสัมบันชาติคนจัณฑาล...ชาติคนจักสาน...ชาติพราน

...ชาติคนช่างหนัง...ชาติคนเทดอกไม้ ว่าเป็นชาติคนจัณฑาล ว่าเป็นชาติ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 33

คนจักสาน ว่าเป็นชาติพราน ว่าเป็นชาติคนช่างหนัง ว่าเป็นชาติคนเทดอกไม้

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบชาติ

[๑๙๘] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันกำเนิดอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบชาติ

ทราม คือ พูดกะอุปสัมบันกำเนิดกษัตริย์ . . . กำเนิดพราหมณ์ ว่าเป็นชาติ

คนจัณฑาล ว่าเป็นชาติคนจักสาน ว่าเป็นชาติพราน ว่าเป็นชาติคนช่างหนัง

ว่าเป็นชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบชาติ

[๑๙๙] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันกำเนิดทราม ด้วยกล่าวกระทบชาติ

อุกฤษฎ์ คือ พูดกะอุปสัมบันกำเนิดคนจัณฑาล . . .กำเนิดคนจักสาน. . .กำเนิด

พราน. . .กำเนิดคนช่างหนัง. . .กำเนิดคนเทดอกไม้ ว่าเป็นชาติกษัตริย์ ว่า

เป็นชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบชาติ

[๒๐๐] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันกำเนิดอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบชาติ

อุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันกำเนิดกษัตริย์. . . กำเนิดพราหมณ์ ว่าเป็นชาติ

กษัตริย์ ว่าเป็นชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 34

อุปสันบันด่าอุปสัมบัน

พูดกดกระทบชื่อ

[๒๐๑] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีชื่อทรามด้วยกล่าวกระทบชื่อทราม

คือ พูดกะอุปสัมบันชื่ออวกัณณกะ ... ชื่อชวกัณณกะ... ชื่อธนิฏฐกะ.. .

ชื่อสวิฏฐกะ... ชื่อกุลวัฑฒกะ ว่าท่านอวกัณณกะ ว่าท่านชวกัณณกะ ว่า

ท่านธนิฏฐกะ ว่าท่านสวิฎฐกะ ว่าท่านกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบชื่อ

[๒๐๒] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีชื่ออุกฤษฏ์ด้วยกล่าวกระทบชื่อทราม

คือ พูดกะอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต ... ชื่อธัมมรักขิต... ชื่อสังฆรักขิต ว่า

ท่านอวกัณณกะ ว่าท่านชวกัณณกะ ว่าท่านธนิฏฐกะ ว่าท่านสวิฏฐกะ ว่า

ท่านกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบชื่อ

[๒๐๓] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีชื่อทรามด้วยกล่าวกระทบชื่ออุกฤษฎ์

คือ พูดกะอุปสัมบันชื่ออวกัณณกะ... ชื่อชวกัณณกะ... ชื่อธนิฏฐกะ. . .

ชื่อสวิฎฐกะ... ชื่อกุลวัฑฒกะ ว่าท่านพุทธรักขิต ว่าท่านธัมมรักขิต ว่าท่าน

สังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 35

พูดยกยอกระทบชื่อ

[๒๐๔] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสันบันมีชื่ออุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบชื่อ

อุกฤษฎ์ คือพูด กะอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต . . . ชื่อธัมมรักขิต . . . สังฆรักขิต

ว่าท่านพุทธรักขิต ว่าท่านธัมมรักขิต ว่าท่านสังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

อุปสัมบันด่าอุปสัมบัน

พูดกดกระทบโคตร

[๒๐๕] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีโคตรทรามด้วยกล่าวกระทบโคตร

ทราม คือพูดกะอุปสัมบันโกสิยโคตร. . . ภารทวาชโคตร ว่าท่านโกสิยโคตร

ว่าท่านภารทวาชโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบโคตร

[๒๐๖] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีโคตรอุกฤษฎ์ด้วยกล่าวกระทบโคตร

ทราม คือ พูดกะอุปสันบันโคตมโคตร.. . โมคคัลลานโคตร . . . กัจจายน-

โคตร . . . วาเสฏฐโคตร ว่าท่านโกสิยโคตร ว่าท่านภารทวาชโคตร ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบโคตร

[๒๐๗] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีโคตรทรามด้วยกล่าวกระทบโคตร

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 36

อุกฤกษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันโกสิยโคตร. . .ภารทวาชโคตร ว่าท่านโคตม-

โคตร ว่าท่านโมคคัลลานโคตร ว่าท่านกัจจายนโคตร ว่าท่านวาเสฏฐโคตร

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบโคตร

[๒๐๘] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีโคตรอุกฤษฎ์ด้วยกล่าวกระทบโคตร

อุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันโคตมโคตร . . . โมคคัลลานโคตร. . . กัจจายน-

โคตร . . . วาเสฏฐโคตร ว่าท่านโคตมโคตร ว่าท่านโมคคัลลานโคตร ว่าท่าน

กัจจายนโคตร ว่าท่านวาเสฏฐโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ

คำพูด.

อุปสัมบันด่าอุปสัมบัน

พูดกระทบการงาน

[๒๐๙] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีการงานทราม ด้วยกล่าวกระทบ

การงานทราม คือ พูดกะอุปสัมบันเป็นช่างไม้. . . เป็นคนเทดอกไม้ ว่าท่าน

ทำงานช่างไม้ ว่าท่านทำงานเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบการงาน

[๒๑๐] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีการงานอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 37

การงานทราม คือพูดกะอุปสัมบันเป็นชาวนา . . . เป็นพ่อค้า . . . เป็นคนเลี้ยงโค

ว่าท่านทำงานช่างไม้ ว่าท่านทำงานเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบการงาน

[๒๑๑] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีการงานทราม ด้วยกล่าวกระทบ

การงานอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันเป็นช่างไม้ . . . เป็นคนเทดอกไม้ ว่า

ท่านทำงานไถนา ว่าท่านทำงานค้าขาย ว่าท่านทำงานเลี้ยงโค ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบการงาน

[๒๑๒] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีการงานอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

การงานอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันเป็นชาวนา. . . เป็นพ่อค้า ... เป็นคน

เลี้ยงโค ว่าท่านทำงานไถนา ว่าท่านทำงานค้าขาย ว่าท่านทำงานเลี้ยงโค

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

อุปสัมบันด่าอุปสัมบัน

พูดกระทบศิลป

[๒๑๓] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีวิชาการช่างทราม ด้วยกล่าวกระทบ

วิชาการช่างทราม คือ พูดกะอุปสัมบันมีวิชาการช่างจักสาน . . . มีวิชาการช่าง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 38

หม้อ . . . มีวิชาการช่างหูก . . . มีวิชาการช่างหนัง . . . มีวิชาการช่างกัลบก ว่า

ท่านมีวิชาการช่างจักสาน ว่าท่านมีวิชาการช่างหม้อ ว่าท่านมีวิชาการช่างหูก

ว่าท่านมีวิชาการช่างหนัง ว่าท่านมีวิชาการช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบศิลป

[๒๑๔] อุปสัมบันปรารถจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีวิชาการช่างอุกฤษฎ์ด้วยกล่าวกระทบ

วิชาการช่างทราม คือ พูดกะอุปสัมบันวิชาการช่างนับ... มีวิชาการช่างคำนวณ

... มีวิชาการช่างเขียน ว่าท่านมีวิชาการช่างจักสาน ว่าท่านมีวิชาการช่างหม้อ

ว่าท่านมีวิชาการช่างหูก ว่าท่านมีวิชาการช่างหนัง ว่าท่านมีวิชาการช่างกัลบก

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบศิลป

[๒๑๕] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีวิชาการช่างทราม ด้วยกล่าวกระทบ

วิชาการช่างอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอุปสัมบันมีวิชาการช่างจักสาน . . . มีวิชาการ

ช่างหม้อ . . . มีวิชาการช่างหูก . . . มีวิชาการช่างหนัง . . . มีวิชาการช่างกัลบก

ว่าท่านมีวิชาการช่างนับ ว่าท่านมีวิชาการช่างคำนวณ ว่าท่านมีวิชาการช่าง

เขียน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบศิลป

[๒๑๖] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีวิชาการช่างอุกฤษฏ์ด้วยกล่าวกระทบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 39

วิชาการช่างอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันมีวิชาการช่างนับ . . . มีวิชาการช่าง

คำนวณ.. . มีวิชาการช่างเขียน. . . ว่าท่านมีวิชาการช่างนับ ว่าท่านมีวิชาการ

ช่างคำนวณ ว่าท่านมีวิชาการช่างเขียน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุก ๆ คำพูด.

อุปสัมบันด่าอุปสัมบัน

พูดกดกระทบโรค

[๒๑๗] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีโรคทราม ด้วยกล่าวกระทบโรคทราม

คือ พูดกะอุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน . . . โรคฝี. . .โรคกลาก . . โรคมองคร่อ...

โรคลมบ้าหมู ว่าท่านเป็นโรคเรื้อน ว่าท่านเป็นโรคฝี ว่าท่านเป็นโรคกลาก

ว่าท่านเป็นโรคมองคร่อ ว่าท่านเป็นโรคลมบ้าหมู ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบโรค

[๒๑๘] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีโรคอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบโรค

ทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้เป็นโรคเบาหวาน ว่าท่านเป็นโรคเรื้อน ว่าท่าน

เป็นโรคฝี ว่าท่านเป็นโรคกลาก ว่าท่านเป็นโรคมองคร่อ ว่าท่านเป็นโรค

ลมบ้าหมู ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบโรค

[๒๑๙] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีโรคทราม ด้วยกล่าวกระทบโรค

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 40

อุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน. . .โรคฝี. . .โรคกลาก. . .โรค

มองคร่อ . . . โรคลมบ้าหมู ว่าท่านเป็นโรคเบาหวาน ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบโรค

[๒๒๐] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีโรคอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบโรค

อุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้เป็นโรคเบาหวาน ว่าท่านเป็นโรคเบาหวาน

ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

อุปสัมบันด่าอุปสันบัน

พูดกดกระทบรูปพรรณ

[๒๒๑] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีรูปพรรณทราม ด้วยกล่าวกระทบ

รูปพรรณทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้สูงเกินไป . . . ต่ำเกินไป . . .ดำเกินไป. . .

ขาวเกินไป ว่าท่านเป็นคนสูงนัก ว่าท่านเป็นคนต่ำนัก ว่าท่านเป็นคนคำนัก

ว่าท่านเป็นคนขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบรูปพรรณ

[๒๒๒] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีรูปพรรณอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบ

รูปพรรณทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ไม่สูงนัก ...ไม่ต่ำนัก. ..ไม่ดำนัก. . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 41

ไม่ขาวนัก ว่าท่านเป็นคนสูงนัก ว่าท่านเป็นคนต่ำนัก ว่าท่านเป็นคนคำนัก

ว่าท่านเป็นคนขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบรูปพรรณ

[๒๒๓] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีรูปพรรณทราม ด้วยกล่าวกระทบ

รูปพรรณอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้สูงเกินไป . .. ต่ำเกินไป. . .ดำเกินไป...

ขาวเกินไป ว่าท่านเป็นคนไม่สูงนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ต่ำนัก ว่าท่านเป็นคน

ไม่ดำนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดยกยอกระทบรูปพรรณ

[๒๒๔] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีรูปพรรณอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

รูปพรรณอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ไม่สูงเกินไป. . .ไม่ต่ำเกินไป. . . ไม่

ดำเกินไป ...ไม่ขาวเกินไป ว่าท่านเป็นคนไม่สูงนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ด่านัก

ว่าท่านเป็นคนไม่ดำนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

อุปสัมบันด่าอุปสัมบัน

พูดกดกระทบกิเลส

[๒๒๕] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีกิเลสทราม ด้วยกล่าวกระทบกิเลส

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 42

ทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม . . .ผู้ถูกโทสะย่ำยี. .. ผู้ถูกโมหะ

ครอบงำ ว่าท่านถูกราคะกลุ้มรุม ว่าท่านถูกโทสะย่ำยี ว่าท่านถูกโมหะครอบงำ

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบกิเลส

[๒๒๖] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีกิเลสอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

กิเลสทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ . . . ปราศจากโทสะ .. .

ปราศจากโมหะ ว่าท่านถูกราคะกลุ้มรุม ว่าท่านถูกโทสะย่ำยี ว่าท่านถูกโมหะ

ครอบงำ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบกิเลส

[๒๒๗] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีกิเลสทราม ด้วยกล่าวกระทบกิเลส

อุกฤษฎ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม . . . ถูกโทสะย่ำยี . . .ถูกโมหะ

ครอบงำ ว่าท่านปราศจากราคะ ว่าท่านปราศจากโทสะ ว่าท่านปราศจากโมหะ

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบกิเลส

[๒๒๘] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีกิเลสอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

กิเลสอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ .. . ปราศจากโทสะ ...

ปราศจากโมหะ ว่าท่านปราศจากราคะ ว่าท่านปราศจากโทสะ ว่าท่านปราศจาก

โมหะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 43

อุปสัมบันด่าอุปสัมบัน

พูดกดกระทบอาบัติ

[๒๒๙] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทราม ด้วยกล่าวกระทบ

อาบัติทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติปาราชิก. . .ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

...ผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย . . . ผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ . . . ผู้ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ. . .

ผู้ต้องอาบัติทุกกฏ . . . ผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต ว่าท่านต้องอาบัติปาราชิก ว่าท่าน

ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ว่าท่านต้องอาบัติถุลลัจจัย ว่าท่านต้องอาบัติปาจิตตีย์

ว่าท่านต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ว่าท่านต้องอาบัติทุกกฏ ว่าท่านต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบอาบัติ

[๒๓๐] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

อาบัติทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้คือโสดาบัติ ว่าท่านต้องอาบัติปาราชิก

ว่าท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสส ว่าท่านต้องอาบัติถุลลัจจัย ว่าท่านต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ว่าท่านต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ ว่าท่านต้องอาบัติทุกกฏ ว่าท่านต้อง

อาบัติทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบอาบัติ

[๒๓๑] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทราม ด้วยกล่าวกระทบ

อาบัติอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติปาราชิก . . . ผู้ต้องอาบัติสังฆา-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 44

ทิเสส . . . ผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย . . . ผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ . . . ผู้ต้องอาบัติปฎิเทส-

นียะ . . . ผู้ต้องอาบัติทุกกฏ . . . ผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต ว่าท่านถึงโสดาบัติ ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบอาบัติ

[๒๓๒] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

อาบัติอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ต้องโสดาบัติ ว่าท่านต้องโสดาบัติ ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

อุปสันบันด่าอุปสัมบัน

พูดกดระทบคำสบประมาท

[๒๓๓] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติทราม ด้วยกล่าว

กระทบคำด่าทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ . . . มีความ

ประพฤติดังแพะ . . . มีความประพฤติดังโค . . . มีความประพฤติดังลา . . .มีความ

ประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน . . . มีความประพฤติดังสัตว์นรก ว่าท่านเป็นอูฐ ว่า

ท่านเป็นแพะ ว่าท่านเป็นโค ว่าท่านเป็นลา ว่าท่านเป็นสัตว์ติรัจฉาน ว่าท่าน

เป็นสัตว์นรก สุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบคำสบประมาท

[๒๓๔] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 45

กระทบคำด่าทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต .. . ผู้ฉลาด . . . ผู้มี

ปัญญา. . . ผู้พหูสูต... ผู้ธรรมกถึก ว่าท่านเป็นอูฐ ว่าท่านเป็นแพะ ว่าท่าน

เป็นโค ว่าท่านเป็นลา ว่าท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ว่าท่านเป็นสัตว์นรก สุคติ

ของท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบคำสบประมาท

[๒๓๕] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติทราม ด้วยกล่าว

กระทบคำด่าอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ . . .มีความ

ประพฤติดังแพะ . . .มีความพระพฤติดังโค . . . มีความประพฤติดังลา. . . มีความ

ประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน... มีความพระพฤติดังสัตว์นรก ว่าท่านเป็นบัณฑิต

ว่าท่านเป็นคนฉลาด ว่าท่านเป็นคนมีปัญญา ว่าท่านเป็นคนพหูสูต ว่าท่าน

เป็นธรรมกถึก ทุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบคำสบประมาท

[๒๓๖] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าว

กระทบคำด่าอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต.. . ผู้ฉลาด... ผู้มี

ปัญญา. . . ผู้พหูสูต ... ผู้ธรรมกถึก ว่าท่านเป็นบัณฑิต ว่าท่านเป็นคนฉลาด

ว่าท่านเป็นคนมีปัญญา ว่าท่านเป็นพหูสูต ว่าท่านเป็นธรรมกถึก ทุคติของ

ท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ

คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 46

อุปสัมบันด่าอุปสัมบัน

พูดเปรยกระทบชาติทราม ว่ามีบางพวก

[๒๓๗] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนั้น คือกล่าวว่า มีภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ บางพวกเป็นชาติคนจัณฑาล บางพวกเป็นชาติคนจักสาน บางพวก

เป็นชาติพราน บางพวกเป็นชาติคนช่างหนัง บางพวกเป็นชาติดนเทดอกไม้

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

[๒๓๘] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนั้น คือกล่าวว่า มีภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ บางพวกเป็นชาติกษัตริย์ บางพวกเป็นชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบนามทราม ว่ามีบางพวก

[๒๓๙] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนั้น คือกล่าวว่า มีภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ บางพวกชื่ออวกัณณกะ บางพวกชื่อชวกัณณกะ บางพวกชื่อธนิฎฐกะ

บางพวกชื่อสวิฎฐกะ บางพวกชื่อกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบนามอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . . มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกชื่อพุทธรักขิต บางพวกชื่อ

ธัมมรักขิต บางพวกชื่อสังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 47

พูดเปรยกระทบโคตรทราม ว่ามีบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโกสิยโคตร บางพวกเป็น

ภารทวาชโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโคตรอุกฤกฏ์ ว่ามีบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโคตมโคตร บางพวกเป็น

โมคคัลลานโคตร บางพวกเป็นกัจจายนโคตร บางพวกเป็นว่าเสฏฐโคตร

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบการงานทราม ว่ามีบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวก ทำงานช่างไม้ บางพวกทำงาน

เทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกทำงานไถนา บางพวกทำงาน

ค้าขาย บางพวกทำงานเลี้ยงโค ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆคำพูด.

พูดเปรยกระทบศีลปทราม ว่ามีบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกมีวิชาการช่างจักสาน บาง

พวกมีวิชาการช่างหม้อ บางพวกมีวิชาการช่างหูก บางพวกมีวิชาการช่างหนัง

บางพวกมีวิชาการช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกมีวิชาการช่างนับ บางพวกมี

วิชาการช่างคำนวณ บางพวกมีวิชาการช่างเขียน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 48

พูดเปรยกระทบโรคทราม ว่าบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโรคเรื้อน บางพวกเป็น

โรคฝี บางพวกเป็นโรคกลาก บางพวกเป็นโรคมองคร่อ บางพวกเป็นโรค

ลมบ้าหมู ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโรคเบาหวาน ดังนี้ ต้อง

อาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณทราม ว่ามีบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกสูงเกินไป บางพวกต่ำเกินไป

บางพวกดำเกินไป บางพวกขาวเกินไป ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกไม่สูงนัก บางพวกไม่ต่ำนัก

บางพวกไม่ดำนัก บางพวกไม่ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเปรยกระทบกิเลสทราม ว่ามีบางพวก

มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกถูกราคะกลุ้มรุม บางพวกถูก

โทสะย่ำยี บางพวกถูกโมหะครอบงำ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 49

พูดเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกปราศจากราคะ บางพวก

ปราศจากโทสะ บางพวกปราศจากโมหะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติทราม ว่ามีบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกต้องอาบัติปาราชิก บางพวก

ต้องอาบัติสังฆาทิเสส บางพวกต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกต้องอาบัติปาจิตตีย์

บางพวกต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ บางพวกต้องอาบัติทุกกฏ บางพวกต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกถึงโสดาบัติ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่ามีบางพวก

...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกมีความประพฤติดังอูฐ บาง

พวกมีความพระพฤติดังแพะ บางพวกมีความพระพฤติดังโค บางพวกมีความ

ประพฤติดังลา บางพวกมีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน บางพวกมีความ

ประพฤติดังสัตว์นรก สุคติของภิกษุรูปนั้นไม่มี ภิกษุพวกนั้นต้องหวังได้แต่

ทุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

[๒๔๐] ...มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นบัณฑิต บาง

พวกเป็นคนฉลาด บางพวกเป็นคนมีปัญญา บางพวกเป็นพหูสูต บางพวก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 50

เป็นธรรมกถึก ทุคติของภิกษุบางพวกนั้นไม่มี ภิกษุบางพวกนั้นต้องหวังได้

แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

อุปสัมบันด่าอุปสัมบัน

พูดเปรยกระทบชาติทราม ว่าพวกไรกันแน่

[๒๔๑] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนี้ คือกล่าวว่า ภิกษุจำพวกใดกันแน่

เป็นชาติคนจัณฑาล.. .ชาติคนจักสาน ...ชาติพราน . ..ชาติคนช่างหนัง. ..

ชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่เป็นชาติกษัตริย์ . ..ชาติพราหมณ์ ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบนามทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกใดกันแน่ ชื่ออวกัณณกะ . . . ชื่อชวกัณณกะ... ชื่อ

ธนิฏฐกะ...ชื่อสวิฏฐกะ. .. ชื่อกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบนามอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรฉันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ชื่อพุทธรักขิต. .. ชื่อธัมมรักขิต.. . ชื่อ

สังฆรักขิ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโคตรทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นโกสิยโคตร. .. ภารทวาชโคตร ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 51

พูดเปรยกระทบโคตรอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นโคตมโคตร.. . โมคคัลลานโคตร...

กัจจายนโคตร ...วาเสฏฐโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบการงานทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นช่างไม้. . .คนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นคนทำงานไถนา. . . เป็นคนทำงาน

ค้าขาย . . . เป็นคนทำงานเลี้ยงโค . . . ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบศิลปทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ มีวิชาการช่างจักสาน. . .มีวิชาการช่างหม้อ

. . . มีวิชาการช่างหูก . . . มีวิชาการช่างหนัง . . . มีวิชาการช่างกัลบก . . . ต้อง

อาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่.

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ มีวิชาการช่างนับ .. . มีวิชาการช่างคำนวณ

. . . มีวิชาการช่างเขียน. . . ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโรคทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นโรคเรื้อน. . . โรคฝี. . . โรคกลาก . ..

โรคมองคร่อ .. . โรคลมบ้าหมู . ..ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 52

พูดเปรยกระทบอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นโรคเบาหวาน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ สูงเกินไป. . . ต่ำเกินไป . . . ดำเกินไป . . .

ขาวเกินไป ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นคนไม่สูงนัก. . .ไม่ต่ำนัก . ..ไม่ดำนัก

...ไม่ขาวนัก. . .ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบกิเลสทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ถูกราคะกลุ้มรุม . . . ถูกโทสะย่ำยี ...ถูก

โมหะครอบงำ ...ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ปราศจากราคะ . . .ปราศจากโทสะ . .

ปราศจากโมหะ ...ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ต้องอาบัติปาราชิก .. .อาบัติสังฆาทิเสส

. . .อาบัติถุลลัจจัย ...อาบัติปาจิตตีย์ . ..อาบัติปาฎิเทสนียะ . ..อาบัติทุกกฏ

. . .อาบัติทุพภาสิต .. .ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 53

พูดเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ถึงโสดาบัติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ มีความประพฤติดังอูฐ . . . แพะ . . .โค

. . . ลา . . .สัตว์ดิรัจฉาน . . .สัตว์นรก สุคติของภิกษุพวกนั้น ไม่มี ภิกษุ

พวกนั้นต้องหวังได้แต่ทุคติ . . .ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นบัณฑิต . . . เป็นคนฉลาด . . .มีปัญญา

. . . พหูสูต . . . ธรรมกถึก ทุคติของภิกษุพวกนั้น ไม่มี ภิกษุพวกนั้นต้องหวัง

ได้แต่สุคติ . .. ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชาติทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

[๒๔๒] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนั้น คือกล่าวว่า พวกเราไม่ใช่ชาติ

คนจัณฑาล ...ไม่ใช่ชาติคนจักสาน . . .ไม่ใช่ชาติทราม ...ไม่ใช่ชาติคน

ช่างหนัง . ..ไม่ใช่ชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่ชาติกษัตริย์ . ..ไม่ใช่ชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 54

พูดเปรยกระทบชื่อทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ชื่ออวกัณณกะ .. .ไม่ใช่ชื่อชวกัณณกะ ...ไม่ใช่

ชื่อธนิฏฐกะ ... ไม่ใช่ชื่อสวิฎฐกะ .. .ไม่ใช่ชื่อกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชื่ออุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ชื่อพุทธรักขิต . . .ไม่ใช่ชื่อธัมมรักขิต ...ไม่ใช่

ชื่อสังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโคตรทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่โกสิยโคตร . . .ไม่ใช่ภารทวาชโคตร ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโคตรอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่โคตมโคตร . . .ไม่ใช่โมคคัลลานโคตร . . .ไม่ใช่

กัจจายนโคตร . . .ไม่ใช่วาเสฎฐโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ

คำพูด.

พูดเปรยกระทบการงานทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่ช่างไม้ . .. ไม่ใช่คนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้อง

อาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่คนทำงานไถนา . . .ไม่ใช่คนทำงานค้าขาย .. .ไม่ใช่

คนทำงานเลี้ยงโค ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 55

พูดเปรยกระทบศิลปทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่มีวิชาการช่างจักสาน . . . ไม่ใช่มีวิชาการช่างหม้อ

...ไม่ใช่มีวิชาการช่างหูก . . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างหนัง . . .ไม่ใช่มีวิชาการ

ช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่มีวิชาการช่างนับ . . . ไม่ใช่มีวีชาการช่างคำนวณ...

ไม่ใช่มีวิชาการช่างเขียน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโรคทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นโรคเรื้อน . . . ไม่ใช่เป็นโรคฝี . . .ไม่ใช่เป็น

โรคกลาก .. .ไม่ใช่เป็นโรคมองคร่อ . . .ไม่ใช่เป็นโรคลมบ้าหมู ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นโรคเบาหวาน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่สูงเกินไป . ..ไม่ใช่ต่ำเกินไป .. .ไม่ใช่ดำเกินไป

. . .ไม่ใช่ขาวเกินไป ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ไม่สูงนัก . . .ไม่ใช่ไม่ต่ำนัก . ..ไม่ใช่ไม่ดำนัก

. . . ไม่ใช่ไม่ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 56

พูดเปรยกระทบกิเลสทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ถูกราคะกลุ้มรุม . . .ไม่ใช่ถูกโทสะย่ำยี . . .ไม่ใช่

ถูกโมหะครอบงำ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ปราศจากราคะ . . . ไม่ใช่ปราศจากโทสะ . . . ไม่ใช่

ปราศจากโมหะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก . . . อาบัติสังฆาทิเสส . . .

อาบัติถุลลัจจัย . . .อาบัติปาจิตตีย์ . . . อาบัติปาฏิเทสนียะ . . . อาบัติทุกกฏ

...อาบัติทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติอุกฤษ ์ ว่าไม่ใช้พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นผู้ถึงโสดาบัติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่มีความประพฤติดังอูฐ . . . แพะ . . .โค . .. ลา . ..

สัตว์ดิรัจฉาน . . . สัตว์นรก สุคติของพวกเราไม่มี พวกเราต้องหวังได้แต่ทุคติ

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นบัณฑิต . . .ไม่ใช่คนฉลาด . . . ไม่ใช่คนมี

ปัญญา .. .ไม่ใช่พหูสูต . . . ไม่ใช่ธรรมกถึก ทุคติของพวกเราไม่มี พวกเรา

ต้องหวังได้แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 57

อุปสัมบันด่าอนุอุปสัมบัน

พูดกดกระทบชาติ

[๒๔๓] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันชาติทราม ด้วยกล่าวกระทบชาติ

ทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันชาติคนจัณฑาล . . .ชาติคนจักสาน . . .ชาติพราน

. . . ชาติคนช่างหนัง . . .ชาติคนเทดอกไม้ ว่าเป็นชาติคนจัณฑาล ว่าเป็น

ชาติคนจักสาน ว่าเป็นชาติพราน ว่าเป็นชาติคนช่างหนัง ว่าเป็นชาติคน

เทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบชาติ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันชาติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

ชาติทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันชาติกษัตริย์ . . .ชาติพราหมณ์ ว่าเป็นชาติ

คนจัณฑาล ว่าเป็นชาติคนจักสาน ว่าเป็นชาติพราน ว่าเป็นชาติคนช่างหนัง

ว่าเป็นชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบชาติ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันชาติทราม ด้วยกล่าวกระทบชาติ

อุกฤษฎ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันชาติคนจัณฑาล. . . ชาติคนจักสาน. . .ชาติพราน

. . .ชาติคนช่างหนัง . . . ชาติคนเทดอกไม้ ว่าเป็นชาติกษัตริย์ ว่าเป็นชาติ -

พราหมณ์ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 58

พูดยกยอกระทบชาติ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันชาติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

ชาติอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันชาติกษัตริย์ ...ชาติพราหมณ์ ว่าเป็น

ชาติกษัตริย์ ว่าเป็นชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำพูด.

พูดกดกระทบชื่อ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีชื่อทราม ด้วยกล่าวกระทบชื่อ

ทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันชื่ออวกัณณกะ... ชื่อชวกัณณกะ...ชื่อธนิฏฐกะ

...ชื่อสวิฏฐกะ ...ชื่อกุลวัฑฒกะ ว่าท่านอวกัณณกะ ว่าท่านชวกัณณกะ

ว่าท่านธนิฏฐกะ ว่าท่านสวิฏฐกะ ว่าท่านกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบชื่อ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีชื่ออุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบชื่อ

ทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต . . .ชื่อธัมมรักขิต ...ชื่อสังฆรักขิต

ว่าท่านอวกัณณะ ว่าท่านชวกัณณกะ ว่าท่านธนิฎฐกะ ว่าท่านสวิฎฐกะ ว่า

ท่านกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบชื่อ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีชื่อทราม ด้วยกล่าวกระทบชื่อ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 59

อุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันชื่ออวกัณณกะ...ชี่อชวกัณณกะ...ชื่อธนิฏฐกะ

. . . ชื่อสวิฏฐกะ . ..ชี่อกุลวัฑฒกะ ว่าท่านพุทธรักขิต ว่าท่านธัมมรักขิต ว่า

ท่านสังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้องทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบชื่อ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีชื่ออุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบชื่อ

อุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต ... ชื่อธัมมรักขิต ...ชื่อสังรักขิต

ว่าท่านพุทธรักขิต ว่าท่านธัมมรักขิต ว่าท่านสังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้อง

อาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดกระทบโคตร

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีโคตรทราม ด้วยกล่าวกระทบ

โคตรทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันโกสิยโคตร . . .ภารทวาชโคตร ว่าท่าน

โกสิยโคตร ว่าท่านภารทวาชโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบโคตร

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีโคตรอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

โคตรทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันโคตมโคตร . . . โมคคัลลานโคตร. . .

กัจจายนโคตร . . . วาเสฎฐโคตร ว่าท่านโกสิยโคตร ว่าท่านภารทวาชโคตร

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 60

พูดประชดกระทบโคตร

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีโคตรทราม ด้วยกล่าวกระทบ

โคตรอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุสัมบันโกสิยโคตร . . .ภารทวาชโคตร ว่าท่าน

โคตมโคตร ว่าท่านโมคคัลลานโคตร ว่าท่านกัจจายนโคตร ว่าท่านวาเสฎฐ-

โคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบโคตร

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีโคตรอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบ

โคตรอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันโคตมโคตร . . .โมคคัลลานโคตร . . .

กัจจายนโคตร . . วาเสฏฐโคตร ว่าท่านโคตมโคตร ว่าท่านโมคคัลลานโคตร

ว่าท่านกัจจายนโคตร ว่าท่านวาเสฎฐโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดกระทบการงาน

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีการงานทราม ด้วยกล่าวกระทบ

การงานทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันเป็นช่างไม้ . . .เป็นคนเทดอกไม้ ว่าท่าน

เป็นช่างไม้ ว่าท่านเป็นคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 61

พูดกดให้เลวกระทบการงาน

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีการงานอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

การงานทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันทำงานไถนา .. .ทำงานค้าขาย . . .ทำงาน

เลี้ยงโค ว่าท่านเป็นช่างไม้ ว่าท่านเป็นคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบการงาน

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีการงานทราม ด้วยกล่าวกระทบ

การงานอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันเป็นช่างไม้ . ..เป็นคนเทดอกไม้ ว่า

ท่านทำงานไถนา ว่าท่านทำงานค้าขาย ว่าท่านทำงานเลี้ยงโค ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบการงาน

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีการงานอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

การงานอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันทำงานไถนา...ทำงานค้าขาย . . .ทำงาน

เลี้ยงโค ว่าท่านทำงานไถนา ว่าท่านทำงานค้าขาย ว่าท่านทำงานเลี้ยงโค

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดกระทบศิลป

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีวิชาการช่างทราม ด้วยกล่าว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 62

กระทบวิชาการช่างทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันมีวิชาการช่างจักสาน . . .มีวิชา

การช่างหม้อ . . . มีวิชาการช่างหูก . . . มีวิชาการช่างหนัง . . . มีวิชาการช่าง

กัลบก ว่าท่านมีวิชาการช่างจักสาน ว่าท่านมีวิชาการช่างหม้อ ว่าท่านมีวิชา

การช่างหูก ว่าท่านมีวิชาการช่างหนัง ว่าท่านมีวิชาการช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบศิลป

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีวิชาการช่างอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าว

กระทบวิชาการช่างทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันมีวิชาการช่างนับ . . .มีวิชาการ

ช่างคำนวณ . . .มีวิชาการช่างเขียน ว่าท่านมีวิชาการช่างจักสาน ว่าท่านมี

วิชาการช่างหม้อ ว่าท่านมีวิชาการช่างหูก ว่าท่านมีวิชาการช่างหนัง ว่าท่าน

มีวิชาการช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด..

พูดประชดกระทบศิลป

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีวิชาการช่างทราม ด้วยกล่าวกระทบ

วิชาการช่างอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันมีวิชาการช่างจักสาน .. .มีวิชาการ

ช่างหม้อ . . . มีวิชาการช่างหูก . . . มีวิชาการช่างหนัง . . . มีวิชาการช่างกัลบก

ว่าท่านมีวิชาการช่างนับ ว่าท่านมีวิชาการช่างคำนวณ ว่าท่านมีวิชาการช่าง

เขียน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 63

พูดยกยอกระทบศิลป

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีวิชาการช่างอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าว

กระทบวิชาการช่างอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันมีวิชาการช่างนับ . . .มีวิชา

การช่างคำนวณ.. .มีวิชาการช่างเขียน ว่าท่านมีวิชาการช่างนับ ว่าท่านมี

วิชาการช่างคำนวณ ว่าท่านมีวิชาการช่างเขียน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดกระทบโรค

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีโรคทราม ด้วยกล่าวกระทบโรค

ทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน . . .โรคฝี...โรคกลาก . ..โรค

มองคร่อ . . . โรคลมบ้าหมู ว่าท่านเป็นโรคเรื้อน ว่าท่านเป็นโรคฝี ว่าท่าน

เป็นโรคกลาก ว่าท่านเป็นโรคมองคร่อ ว่าท่านเป็นโรคลมบ้าหมู ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบโรค

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีโรคอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบ

โรคทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้เป็นโรคเบาหวาน ว่าท่านเป็นโรคเรื้อน

ว่าท่านเป็นโรคฝี ว่าท่านเป็นโรคกลาก ว่าท่านเป็นโรคมองคร่อ ว่าท่านเป็น

โรคลมบ้าหมู ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 64

พูดประชดกระทบโรค

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีโรคทราม ด้วยกล่าวกระทบโรค

อุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน . ..โรคฝี . . . โรคกลาก . ..

โรคมองคร่อ . . .โรคลมบ้าหมู ว่าท่านเป็นโรคเบาหวาน ดังนี้เป็นต้น ต้อง

อาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบโรค

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีโรคอุกฤษฦ ์ ด้วยกล่าวกระทบ

โรคอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้เป็นโรคเบาหวาน ว่าท่านเป็นโรค

เบาหวาน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดกระทบรูปพรรณ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีรูปพรรณทราม ด้วยกล่าวกระทบ

รูปพรรณทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้สูงเกินไป .. .ต่ำเกินไป ...ดำเกินไป

. . . ขาวเกินไป ว่าท่านเป็นคนสูงนัก ว่าท่านเป็นคนต่ำนัก ว่าท่านเป็นคนดำ

นัก ว่าท่านเป็นคนขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบรูปพรรณ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีรูปพรรณอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 65

กระทบรูปพรรณทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้ไม่สูงนัก . ..ไม่ต่ำนัก ...ไม่

ดำนัก . . .ไม่ขาวนัก ว่าท่านเป็นคนสูงนัก ว่าท่านเป็นคนต่ำนัก ว่าท่าน

เป็นคนดำนัก ว่าท่านเป็นคนขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดประชดกระทบรูปพรรณ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีรูปพรรณทราม ด้วยกล่าวกระทบ

รูปพรรณอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้สูงเกินไป ... ต่ำเกินไป . . .ดำเกินไป

. . . ขาวเกินไป ว่าท่านเป็นคนไม่สูงนัก ว่าท่าเป็นคนไม่ต่ำนัก ว่าท่านเป็น

คนไม่ดำนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดยกยอกระทบรูปพรรณ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีรูปพรรณอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าว

กระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้ไม่สูงเกินไป.. .ไม่ต่ำเกินไป

. . . ไม่ดำเกินไป . . .ไม่ขาวเกินไป ว่าท่านเป็นคนไม่สูงนัก ว่าท่านเป็นคน

ไม่ต่ำนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ดำนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดกระทบกิเลส

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีกิเลสทราม ด้วยกล่าวกระทบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 66

กิเลสทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ...ถูกโทสะย่ำยี ...ผู้ถูก

โมหะครอบงำ ว่าท่านถูกราคะกลุ้มรุม ว่าท่านถูกโทสะย่ำยี ว่าท่านถูกโมหะ

ครอบงำ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบกิเลส

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีกิเลสอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

กิเลสทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ . . .ปราศจากโทสะ . . .

ปราศจากโมหะ ว่าท่านถูกราคะกลุ้มรุม ว่าท่านถูกโทสะย่ำยี ว่าท่านถูกโมหะ

ครอบงำ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบกิเลส

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสันบันมีกิเลสทราม ด้วยกล่าวกระทบ

กิเลสอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม . . .ถูกโทสะย่ำยี ...

ถูกโมหะครอบงำ ว่าท่านปราศจากราคะ ว่าท่านปราศจากโทสะ ว่าท่าน

ปราศจากโมหะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบกิเลส

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันมีกิเลสอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

กิเลสอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ. . .ปราศจากโทสะ

. . . ปราศจากโมหะ ว่าท่านปราศจากราคะ ว่าท่านปราศจากโทสะ ว่าท่าน

ปราศจากโมหะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 67

พูดกดกระทบอาบัติ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทราม ด้วยกล่าวกระทบ

อาบัติทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้ต้องอาบัติปาราชิก . . .ผู้ต้องอาบัติ-

สังฆาทิเสส . . . ผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย . . . ผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ . . . ผู้ต้องอาบัติ

ปาฏิเทสนียะ. . . ผู้ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต ว่าท่านต้องอาบัติ

ปาราชิก ว่าท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสส ว่าท่านต้องอาบัติถุลลัจจัย ว่าท่านต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ว่าท่านต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ว่าท่านต้องอาบัติทุกกฏ ว่าท่าน

ต้องอาบัติทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบอาบัติ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันผู้ถึงอาบัติอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบ

อาบัติทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้ต้องโสดาบัติ ว่าท่านต้องอาบัติปาราชิก

ว่าท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสส ว่าท่านต้องอาบัติถุลลัจจัย ว่าท่านต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ว่าท่านต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ ว่าท่านต้องอาบัติทุกกฏ ว่าท่านต้อง

อาบัติทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบอาบัติ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทราม ด้วยกล่าวกระทบ

อาบัติอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้ต้องอาบัติปาราชิก ... ผู้ต้องอาบัติ

สังฆาทิเสส . . . ผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย . . . ผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ . . . ผู้ต้องอาบัติ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 68

ปาฎิเทสนียะ ... ผู้ต้องอาบัติทุกกฏ ... ผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต ว่าท่านถึง

โสดาบัติ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดยกยอกระทบอาบัติ

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันผู้ถึงอาบัติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบ

อาบัติอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้ถึงโสดาบัติ ว่าท่านถึงโสดาบัติ ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดกระทบคำสบประมาท

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันผู้มีความประพฤติทราม ด้วยกล่าว

กระทบคำด่าทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ . . .มีความ

ประพฤติดังแพะ ...มีความพระพฤติดังโค . . . มีความประพฤติดังลา . . .มี

ความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน ...มีความพระพฤติดังสัตว์นรก ว่าท่านเป็นอูฐ

ว่าท่านเป็นแพะ ว่าท่านเป็นโค ว่าท่านเป็นลา ว่าท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน

ว่าท่านเป็นสัตว์นรก สุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดกดให้เลวกระทบคำคำสบประมาท

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันผู้มีความพระพฤติอุกฤษฎ์ ด้วย

กล่าวกระทบคำด่าทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต ...ผู้ฉลาด

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 69

. . . ผู้มีปัญญา. . . ผู้พหูสูต .... ผู้ธรรมกถึก ว่าท่านเป็นอูฐ ว่าท่านเป็นแพะ

ว่าท่านเป็นโค ว่าท่านเป็นลา ว่าท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ว่าท่านเป็นสัตว์นรก

สุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดประชดกระทบคำสบประมาท

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสันบันผู้มีความประพฤติทราม ด้วยกล่าว

กระทบคำด่าอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้มีความพระพฤติดังอูฐ มีความ

พระพฤติดังแพะ . . . มีความประพฤติดังโค . . . มีความประพฤติดังลา. . . มี

ความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน . . . มีความประพฤติดังสัตว์นรก ว่าท่านเป็น

บัณฑิต ว่าท่านเป็นคนฉลาด ว่าท่านเป็นคนมีปัญญา ว่าท่านเป็นพหูสูต

ว่าท่านเป็นธรรมกถึก ทุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด

พูดยกยอกระทบคำสบประมาท

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดกะอนุปสัมบันผู้มีความประพฤติอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าว

กระทบคำด่าอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต . . . ผู้ฉลาด. . . ผู้มี

ปัญญา. . . ผู้พหูสูต . . . ผู้ธรรมกถึก ว่าท่านเป็นบัณฑิต ว่าท่านเป็นคนฉลาด

ว่าท่านเป็นคนมีปัญญา ว่าท่านเป็นพหูสูต ว่าท่านเป็นธรรมกถึก ทุคติของ

ท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 70

พูดเปรยกระทบชาติทราม ว่ามีบางพวก

[๒๔๔] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุป-

สันบัน ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนั้น คือกล่าวว่า มีอนุปสัมบัน

ในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นชาติคนจัณฑาล บางพวกเป็นชาติคนจักสาน

บางพวกเป็นชาติพราน บางพวกเป็นชาติคนช่างหนัง บางพวกเป็นชาติคน

เทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนี้ คือกล่าวว่า มีอนุปสัมบันในพระ-

ธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นชาติกษัตริย์ บางพวกเป็นชาติพราหมณ์ ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชื่อทราม ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนี้ คือกล่าวว่า มีอนุปสัมบันในพระ-

ธรรมวินัยนี้ บางพวกชื่ออวกัณณกะ บางพวกชื่อชวกัณณกะ บางพวกชื่อ

ธนิฎฐกะ บางพวกชื่อสวิฏฐกะ บางพวกชื่อกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น ต้อง

อาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชื่ออุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกชื่อพุทธรักขิต บางพวก

ชื่อธัมมรักขิต บางพวกชื่อสังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 71

พูดเปรยกระทบโคตรทราม ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโกสิยโคตร บาง

พวกเป็นภารทวาชโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโคตรอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

...มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโคตมโคตร บาง

พวกเป็นโมคคัลลานโคตร บางพวกเป็นกัจจายนโคตร บางพวกเป็นวาเสฏฐ-

โคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบการงานทราม ว่ามีบางพวก

มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกทำงานช่างไม้ บางพวก

ทำงานเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

... มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกทำงานไถนา บางพวก

ทำงานค้าขาย บางพวกทำงานเลี้ยงโค ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเปรยกระทบศิลปทราม ว่ามีบางพวก

... มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกมีวิชาการช่างจักสาน

บางพวกมีวิชาการช่างหม้อ บางพวกมีวิชาการช่างหูก บางพวกมีวิชาการช่าง

หนัง บางพวกมีวิชาการช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 72

พูดเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกมีวิชาการช่างนับ บาง

พวกมีวิชาการช่างคำนวณบางพวกมีวิชาการช่างเขียน ดังนี้เป็นต้น ต้อง

อาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโรคทราม ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโรคเรื้อน บางพวกเป็น

โรคฝี บางพวกเป็นโรคกลาก บางพวกเป็นโรคมองคร่อ บางพวกเป็นโรค

ลมบ้าหมู ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโรคเบาหวาน ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณทราม ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกสูงเกินไป บางพวกต่ำ

เกินไป บางพวกดำเกินไป บางพวกขาวเกินไป ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

.... มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกไม่สูงนัก บางพวกไม่ต่ำ

นัก บางพวกไม่ดำนัก บางพวกไม่ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 73

พูดเปรยกระทบกิเลสทราม ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกถูกราคะกลุ้มรุม บางพวก

ถูกโทสะย่ำยี บางพวกถูกโมหะครอบงำ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกปราศจากราคะ บาง

พวกปราศจากโทสะ บางพวกปราศจากโมหะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติทราม ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสันบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกต้องอาบัติปาราชิก

บางพวกต้องอาบัติสังฆาทิเสส บางพวกต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ บางพวกต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ บางพวกต้องอาบัติทุกกฏ บางพวก

ต้องอาบัติ ทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกถึงโสดาบัติ ดังนี้เป็น

ต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกมีความพระพฤติดังอูฐ

บางพวกมีความประพฤติดังแพะ บางพวกมีความประพฤติดังโค บางพวกมี

ความพระพฤติดังลา บางพวกมีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน บางพวกมีความ

ประพฤติดังสัตว์นรก สุคติของอนุปสัมบันพวกนั้นไม่มี อนุปสัมบันพวกนั้น

ต้องหวังได้แต่ทุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 74

พูดเปรยกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นบัณฑิต บางพวก

เป็นคนฉลาด บางพวกเป็นคนมีปัญญา บางพวกเป็นพหูสูต บางพวกเป็น

ธรรมกถึก ทุคติของอนุปสัมบันพวกนั้นไม่มี อนุปสัมบันพวกนั้นต้องหวังได้

แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชาติทราม ว่าพวกไรกันแน่

[๒๔๕] อนุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุป-

สัมบัน ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนี้ คือกล่าวว่า อนุปสัมบัน

จำพวกไรกันแน่ เป็นชาติคนจัณฑาล . . .ชาติคนจักสาน . . .ชาติพราน

. . . ชาติคนช่างหนัง . . .ชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . . อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นชาติกษัตริย์ ...ชาติพราหมณ์

. . . ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบนามทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . . อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ ชื่ออวกัณณกะ ...ชื่อชวกัณณกะ

. . . ชื่อธนิฏฐกะ . .. ชื่อสวิฏฐกะ. . .ชื่อกุลวัฑฒกะ . . .ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบนามอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ ชื่อพุทธรักขิต . . .ชื่อธัมมรักขิต

. . .ชื่อสังฆรักขิต . . .ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 75

พูดเปรยกระทบโคตรทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นโกสิยโคตร . . . ภารทวาชโคตร

. . . ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโคตรอุกฤษ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นโคตมโคตร . . .โมคคัลลานโคตร

. . .กัจจายนโคตร . . . วาเสฏฐโคตร . . . ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบการงานทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นช่างไม้ . .. เป็นคนเทดอกไม้

. . . ต้องอาบัติทุกกฎ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นคนทำงานไถนา . . . เป็นคน

ทำงานค้าขาย . . . เป็นคนทำงานเลี้ยงโค . . . ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบศิลปทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ มีวิชาการช่างจักสาน . . . มีวิชาการ

ช่างหม้อ . . . มีวิชาการช่างหูก . . . มีวิชาการช่างหนัง . . . มีวิชาการช่างกัลบก

. . . ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสันบันจำพวกไรกันแน่ มีวิชาการช่างนับ . . . มีวิชาการช่าง

คำนวณ. ..มีวิชาการช่างเขียน ...ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโรคทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นโรคเรื้อน . . .โรคฝี . . .โรค

กลาก . . .โรคมองคร่อ . . .โรคลมบ้าหมู ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 76

พูดเปรยกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นโรคเบาหวาน . . . ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ . ..สูงเกินไป ...ต่ำเกินไป ...ดำ

เกินไป . . .ขาวเกินไป . . .ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นคนไม่สูงนัก . . . ไม่ต่ำนัก...

ไม่ดำนัก . . . ไม่ขาวนัก . ..ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด

พูดเปรยกระทบกิเลสทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . . อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ ถูกราคะกลุ้มรุม . . . ถูกโทสะย่ำยี

. . .ถูกโมหะครอบงำ ... ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . . อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ ปราศจากราคะ . . . ปราศจากโทสะ

. . .ปราศจากโมหะ .. .ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด

พูดเปรยกระทบอาบัติทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ ต้องอาบัติปาราชิก ... อาบัติสังฆา-

ทิเสส . . .อาบัติถุลลัจจัย . . .อาบัติปาจิตตีย์ . . . อาบัติปาฎิเทสนียะ. . .

อาบัติทุกกฏ. . . อาบัติทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ ถึงโสดาบัติ .. . ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 77

พูดเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ มีความประพฤติดังอูฐ. . . แพะ

. . .โค . . .ลา . . .สัตว์ดิรัจฉาน ...สัตว์นรก สุคติของอนุปสัมบันพวกนั้น

ไม่มี อนุปสัมบันพวกนั้นต้องหวังได้แต่ทุคติ. . . ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นบัณฑิต . . .เป็นคนฉลาด . . .เป็น

คนมีปัญญา . . .พหูสูต ...ธรรมกถึก ทุคติของอนุปสัมบันพวกนั้นไม่มี

อนุปสัมบันพวกนั้นต้องหวังได้แต่สุคติ . . .ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชาติทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนี้ คือกล่าวว่า พวกเราไม่ใช่ชาติคน

จัณฑาล ...ไม่ใช่ชาติคนจักสาน .. .ไม่ใช่ชาติพราน . . .ไม่ใช่ชาติคน

ช่างหนัง ...ไม่ใช่ชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ชาติกษัตริย์ . . .ไม่ใช่ชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชื่อทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่ชื่ออวกัณณกะ...ไม่ใช่ชื่อชวกัณณกะ . . .ไม่ใช่

ชื่อธนิฏฐกะ . . .ไม่ใช่ชื่อสวิฏฐกะ ไม่ใช่ชื่อกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น ต้อง

อาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 78

พูดเปรยกระทบชื่ออุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ชื่อพุทธรักขิต . . .ไม่ใช่ชื่อธัมมรักขิต . . .ไม่ใช่

ชื่อสังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโคตรทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่โกสิยโคตร . . .ไม่ใช่ภารทวาชโคตร ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโคตรอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่โคตมโคตร . . .ไม่ใช่โมคคัลลานโคตร . . . ไม่ใช่

กัจจายนโคตร . . .ไม่ใช่วาเสฏฐโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเปรยกระทบการงานทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ช่างไม้ . ..ไม่ใช่คนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้อง

อาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่คนทำงานไถนา .. .ไม่ใช่คนทำงานค้าขาย ...ไม่ใช่

คนทำงานเลี้ยงโค ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฎ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบศิลปทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่มีวิชาการช่างจักสาน . . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างหม้อ

. . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างหูก . . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างหนัง . . .ไม่ใช่มีวิชาการ

ช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 79

. . .พวกเราไม่ใช่มีวิชาการช่างนับ . . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างคำนวณ

. . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างเขียน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโรคทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นโรคเรื้อน . . .ไม่ใช่เป็นโรคฝี . . . ไม่ใช่เป็น

โรคกลาก . . .ไม่ใช่เป็นโรคมองคร่อ . . .ไม่ใช่เป็นโรคลมบ้าหมู ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นโรคเบาหวาน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่สูงเกินไป . . .ไม่ใช่ต่ำเกินไป . . . ไม่ใช่ดำเกินไป

. . .ไม่ใช่ขาวเกินไป ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ไม่สูงนัก . . . ไม่ใช่ไม่ต่ำนัก . . .ไม่ใช่ไม่ดำนัก

. . .ไม่ใช่ไม่ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบกิเลสทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่ถูกราคะกลุ้มรุม . . .ไม่ใช่ถูกโทสะย่ำยี . . .ไม่ใช่

ถูกโมหะครอบงำ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ปราศจากราคะ . . . ไม่ใช่ปราศจากโทสะ . . . ไม่ใช่

ปราศจากโมหะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 80

พูดเปรยกระทบอาบัติทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก . . .อาบัติสังฆาทิเสส . . .อาบัติ

ถุลลัจจัย . ..อาบัติปาจิตตีย์ . . . อาบัติปาฎิเทสนียะ ...อาบัติทุกกฏ ... อาบัติ

ทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นผู้ถึงโสดาบัติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่มีความประพฤติดังอูฐ . . . แพะ . . . โค . . . ลา

. . .สัตว์ดิรัจฉาน . . . สัตว์นรก สุคติของพวกเราไม่มี พวกเราต้องหวังได้แต่

ทุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นบัณฑิต . ..ไม่ใช่เป็นคนฉลาด . . .ไม่ใช่เป็น

คนมีปัญญา .. .ไม่ใช่พหูสูต .. .ไม่ใช่ธรรมกถึก ทุคติของพวกเราไม่มี

พวกเราต้องหวังได้แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

อุปสัมบันล้ออุปสัมบัน

พูดล้อกดกระทบชาติ

[๒๔๖] อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาท

อุปสัมบัน ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะ

อุปสัมบันชาติทราม ด้วยกล่าวกระทบชาติทราม คือพูดกะอุปสันบันชาติคน

จัณฑาล . . . ชาติคนจักสาน . . .ชาติพราน . . .ชาติคนช่างหนัง . . .ชาติคน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 81

เทดอกไม้ ว่าเป็นชาติคนจัณฑาล ว่าเป็นชาติคนจักสาน ว่าเป็นชาติพราน

ว่าเป็นชาติคนช่างหนัง ว่าเป็นชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบชาติ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันชาติ

อุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบชาติทราม คือ พูดกะอุปสัมบันชาติกษัตริย์ . . . ชาติ

พราหมณ์ ว่าเป็นชาติคนจัณฑาล ว่าเป็นชาติคนจักสาน ว่าเป็นชาติพราน

ว่าเป็นชาติคนช่างหนัง ว่าเป็นชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบชาติ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบัน

ชาติทราม ด้วยกล่าวกระทบชาติอุกฤษฎ์ คือพูดกะอุปสัมบันชาติคนจัณฑาล

. . . ชาติคนจักสาน . . .ชาติพราน . . .ชาติคนช่างหนัง .. .ชาติคนเทดอกไม้

ว่าเป็นชาติกษัตริย์ ว่าเป็นชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อยกยอกระทบชาติ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันชาติ

อุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบชาติอุกฤษฏ์ คือพูดกะอุปสัมบันชาติกษัตริย์ . . .ชาติ

พราหมณ์ ว่าเป็นชาติกษัตริย์ ว่าเป็นชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 82

พูดล้อกดกระทบชื่อ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

ชื่อทราม ด้วยกล่าวกระทบชื่อทราม คือพูดกะอุปสัมบันชื่ออวกัณณกะ .. . ชื่อ

ชวกัณณกะ ...ชื่อธนิฎฐกะ ...ชื่อสวิฏฐกะ ... ชื่อกุลวัฑฒกะ ว่าท่าน

อวกัณณกะ ว่าท่านชวกัณณกะ ว่าท่านธนิฏฐกะ ว่าท่านสวิฏฐกะ ว่าท่าน

กุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบชื่อ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

ชื่ออุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบชื่อทราม คือพูดกะอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต ...

ชื่อธัมมรักขิต . . . ชื่อสังฆรักขิต ว่าท่านอวกัณณกะ ว่าท่านชวกัณณกะ ว่า

ท่านธนิฏฐกะ ว่าท่านสวิฏฐกะ ว่าท่านกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบชื่อ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสมบันมี

ชื่อทราม ด้วยกล่าวกระทบชื่ออุกฤษฏ์ คือพูดกะอุปสัมบันชื่ออวกัณณกะ

... ชื่อชวกัณณกะ...ชื่อธนิฎฐกะ ...ชื่อสวิฏฐกะ ...ชื่อกุลวัฑฒกะ ว่าท่าน

พุทธรักขิต ว่าท่านธัมมรักขิต ว่าท่านสังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 83

พูดล้อยกยอกระทบชื่อ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมีชื่อ

อุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบชื่ออุกฤษฏ์ ลือพูดกะอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต . . .

ชื่อธัมมรักขิต . . .ชื่อสังฆรักขิต ว่าท่านพุทธรักขิต ว่าท่านธัมมรักขิต ว่า

ท่านสังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดกระทบโคตร

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

โคตรทราม ด้วยกล่าวกระทบโคตรทราม คือพูดกะอุปสัมบันโกสิยโคตร

. . . ภารทวาชโคตร ว่าท่านโกสิยโคตร ว่าท่านภารทวาชโคตร ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบโคตร

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

โคตรอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบโคตรทราม คือพูดกะอุปสัมบันโคตมโคตร

โมคคัลลานโคตร . . . กัจจายนโคตร . . . วาเสฏฐโคตร ว่าท่านโกสิยโคตร

ว่าท่านภารทวาชโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบโคตร

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

โคตรทราม ด้วยกล่าวกระทบโคตรอุกฤษฏ์ คือพูดกะอุปสัมบันโกสิยโคตร

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 84

. . . ภารทวาชโคตร ว่าท่านโคตมโคตร ว่าท่านโมคคัลลานโคตร ว่าท่าน

กัจจายนโคตร ว่าท่านวาเสฏฐโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ

คำพูด.

พูดล้อยกยอกระทบโคตร

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

โครตอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบโคตรอุกฤษฏ์ คือพูดกะอุปสัมบัน โคตมโคตร

. . .โมคคัลลานโคตร. . . กัจจายนโคตร . . .วาเสฎฐโคตร ว่าท่านโคตมโคตร

ว่าท่านโมคคัลลานโคตร ว่าท่านกัจจายนโคตร ว่าท่านวาเสฏฐโคตร ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดกระทบการงาน

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

การงานทราม ด้วยกล่าวกระทบการงานทราม คือพูดกะอุปสัมบันเป็นช่างไม้

. . .เป็นคนเทดอกไม้ ว่าท่านทำงานช่างไม้ ว่าท่านทำงานเทดอกไม้ ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบการงาน

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

การงานอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบการงานทราม คือพูดกะอุปสัมบันเป็นชาวนา

. . .เป็นพ่อค้า . . . เป็นคนเลี้ยงโค . . . ว่าท่านทำงานช่างไม้ ว่าท่านทำงาน

เทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 85

พูดล้อประชดกระทบการงาน

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสันบันมี

การงานทราม ด้วยกล่าวกระทบการงานอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอุปสัมบันเป็น

ช่างไม้ . . . เป็นคนเทดอกไม้ ว่าท่านทำงานไถนา ว่าท่านทำงานค้าขาย ว่าท่าน

ทำงานเลี้ยงโค ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อยกยอกระทบการงาน

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

การงานอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบการงานอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันเป็น

ชาวนา . . . เป็นพ่อค้า . .เป็นคนเลี้ยงโค ว่าท่านทำงานไถนา ว่าท่านทำงาน

ค้าขาย ว่าท่านทำงานเลี้ยงโค ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อกดกระทบศิลป

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

วิชาการช่างทราม ด้วยกล่าวกระทบวิชาการช่างทราม คือ พูดกะอุปสัมบันมี

วิชาการช่างจักสาน . . . มีวิชาการช่างหม้อ . . . มีวิชาการช่างหูก . . . มีวิชาการ

ช่างหนัง . . .มีวิชาการช่างกัลบก ว่าท่านมีวิชาการช่างจักสาน ว่าท่านมี

วิชาการช่างหม้อ ว่าท่านมีวิชาการช่างหูก ว่าท่านมีวิชาการช่างหนัง ว่าท่าน

มีวิชาการช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 86

พูดล้อกดให้เลวกระทบศิลป

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสันบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

วิชาการช่างอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบวิชาการช่างทราม คือ พูดกะอุปสัมบัน

มีวิชาช่างนับ . . .มีวิชาการช่างคำนวณ. . . มีวิชาการช่างเขียน ว่าท่านมี

วิชาการช่างจักสาน ว่าท่านมีวิชาการช่างหม้อ ว่าท่านมีวิชาการช่างหูก ว่าท่าน

มีวิชาการช่างหนัง ว่าท่านมีวิชาการช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบศิลป

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

วิชาการช่างทราม ด้วยกล่าวกระทบวิชาการช่างอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอุปสัมบัน

มีวิชาการช่างจักสาน . . . มีวิชาการช่างหม้อ . . . มีวิชาการช่างหูก . .. มีวิชาการ

ช่างหนัง . . . มีวิชาการช่างกัลบก ว่าท่านมีวิชาการช่างนับ ว่าท่านมีวิชาการ

ช่างคำนวณ ว่าท่านมีวิชาการช่างเขียน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อยกยกกระทบศิลป

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

วิชาการช่างอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบวิชาการช่างอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอุปสัมบัน

มีวิชาการช่างนับ . . . มีวิชาการช่างคำนวณ . . . มีวิชาการช่างเขียน ว่าท่าน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 87

มีวิชาการช่างนับ ว่าท่านมีวิชาการช่างคำนวณ ว่าท่านมีวิชาการช่างเขียน

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดกระทบโรค

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

โรคทราม ด้วยกล่าวกระทบโรคทราม คือพูดกะอุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน

. . .โรคฝี . . .โรคกลาก . . . โรคมองคร่อ . . . โรคลมบ้าหมู ว่าท่านเป็น

โรคเรื้อน ว่าท่านเป็นโรคฝี ว่าเป็นโรคกลาก ว่าเป็นโรคมองคร่อ ว่าเป็น

โรคลมบ้าหมู ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบโรค

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

โรคอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบโรคทราม คือพูดกะอุปสัมบันผู้เป็นโรคเบาหวาน

ว่าท่านเป็นโรคเรื้อน ว่าท่านเป็นโรคฝี ว่าท่านเป็นโรคกลาก ว่าท่านเป็น

โรคมองคร่อ ว่าท่านเป็นโรคลมบ้าหมู ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบโรค

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสันบันมี

โรคทราม ด้วยกล่าวกระทบโรคอุกฤษฎ์ คือพูดกะอุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน

. . . โรคฝี . . . โรคกลาก . . . โรคมองคร่อ . . . โรคลมบ้าหมู ว่าท่านเป็น

โรคเบาหวาน ดังนี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 88

พูดล้อยกยอกระทบโรค

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

โรคอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบโรคอุกฤษฏ์ คือพูดกะอุปสัมบันผู้เป็นโรคเบาหวาน

ว่าท่านเป็นโรคเบาหวาน ดังนี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดกระทบรูปพรรณ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

รูปพรรณทราม ด้วยกล่าวกระทบรูปพรรณทราม คือพูดกะอุปสัมบันผู้สูง

เกินไป . . . ต่ำเกินไป . . . ดำเกินไป . . . ขาวเกินไป ว่าท่านเป็นคนสูงนัก

ว่าท่านเป็นคนต่ำนัก ว่าท่านเป็นคนดำนัก ว่าท่านเป็นคนขาวนัก ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบรูปพรรณ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

รูปพรรณอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบรูปพรรณทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ไม่

สูงนัก ...ไม่ต่ำนัก . . .ไม่ดำนัก . . .ไม่ขาวนัก ว่าท่านเป็นคนสูงนัก ว่าท่าน

เป็นคนต่ำนัก ว่าท่านเป็นคนดำนัก ว่าท่านเป็นคนขาวนัก ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบรูปพรรณ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ. แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกับอุปสัมบันมี

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 89

รูปพรรณทราม ด้วยกล่าวกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ คือพูดกะอุปสัมบันผู้สูง

เกินไป . . .ต่ำเกินไป . . . ดำเกินไป . . . ขาวเกินไป ว่าท่านเป็นคนไม่สูงนัก

ว่าท่านเป็นคนไม่ต่ำนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ดำนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ขาวนัก

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อยกยอกระทบรูปพรรณ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

รูปพรรณอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบรูปพรรณอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้

ไม่สูงเกินไป . . . ไม่ต่ำเกินไป . . .ไม่ดำเกินไป . . .ไม่ขาวเกินไป ว่าท่าน

เป็นคนไม่สูงนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ต่ำนัก ว่าท่านเป็นคนไม่ดำนัก ว่าท่านเป็น

คนไม่ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดกระทบกิเลส

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

กิเลสทรามด้วยกล่าวกระทบกิเลสทรามคือ พูดกะอุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม

. . . ถูกโทสะย่ำยี . . . ถูกโมหะครอบงำ ว่าท่านถูกราคะกลุ้มรุม ว่าท่านถูก

โทสะย่ำยี ว่าท่านถูกโมหะครอบงำ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ

คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบกิเลส

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนำจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

กิเลสอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบกิเลสทรามคือ พูดกะอุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 90

. . . ปราศจากโทสะ . . . ปราศจากโมหะ ว่าท่านถูกราคะกลุ้มรุม ว่าท่านถูก

โทสะย่ำยี ว่าท่านถูกโมหะครอบงำ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ

คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบกิเลส

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

กิเลสทราม ด้วยกล่าวกระทบกิเลสอุกฤษฎ์ คือพูดกะอุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม

. . . ถูกโทสะย่ำยี . . . ถูกโมหะครอบงำ ว่าท่านปราศจากราคะ ว่าท่านปราศจาก

โทสะ ว่าท่านปราศจากโมหะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อยกยอกระทบกิเลส

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันมี

กิเลสอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ปราศจาก

ราคะ . . . ปราศจากโทสะ . . . ปราศจากโมหะ ว่าท่านปราศจากราคะ ว่าท่าน

ปราศจากโทสะ ว่าท่านปราศจากโมหะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดกระทบอาบัติ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันผู้ต้อง

อาบัติทราม ด้วยกล่าวกระทบอาบัติทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติ

ปาราชิก . . . ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส . . . ผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย . . . ผู้ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ . . . ผู้ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ . . . ผู้ต้องอาบัติทุกกฏ . . . ผู้ต้องอาบัติ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 91

ทุพภาสิต ว่าท่านต้องอาบัติปาราชิก ว่าท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสส ว่าท่านต้อง

อาบัติถุลลัจจัย ว่าท่านต้องอาบัติปาจิตตีย์ ว่าท่านต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ว่า

ท่านต้องอาบัติทุกกฏ ว่าท่านต้องอาบัติทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบอาบัติ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันผู้

ต้องอาบัติอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบอาบัติทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ต้อง

โสดาบัติ ว่าท่านต้องอาบัติปาราชิก ว่าท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสส ว่าท่านต้อง

อาบัติถุลลัจจัย ว่าท่านต้องอาบัติปาจิตตีย์ ว่าท่านไม่ต้องปาฏิเทสนียะ ว่า

ท่านต้องอาบัติทุกกฏ ว่าท่านต้องอาบัติทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบอาบัติ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันผู้

ต้องอาบัติทราม ด้วยกล่าวกระทบอาบัติอุกฤษฎ์ คือพูดกะอุปสัมบันผู้ต้อง

อาบัติปาราชิก . . . ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส . . .ผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย . . . ผู้ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ . . .ผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ . . .ผู้ต้องอาบัติทุกกฏ . . .ผู้ต้อง

อาบัติทุพภาสิต ว่าท่านต้องโสดาบัติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ

คำพูด.

พูดล้อยกยอกระทบอาบัติ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันผู้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 92

ต้องอาบัติอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้ต้อง

โสดาบัติ ว่าท่านต้องโสดาบัติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดกระทบคำสบประมาท

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันผู้มี

ความประพฤติทราม ด้วยกล่าวกระทบคำด่าทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้มี

ความประพฤติดังอูฐ . . . มีความประพฤติดังแพะ . . . มีความประพฤติดังโค

. . มีความประพฤติดังลา . .. มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน . . . มีความ

ประพฤติดังสัตว์นรก ว่าท่านเป็นอูฐ ว่าท่านเป็นแพะ ว่าท่านเป็นโค ว่าท่าน

เป็นลา ว่าท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ว่าท่านเป็นสัตว์นรก สุคติของท่านไม่มี

ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อกดให้เลวกระทบคำสบประมาท

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันผู้มี

ความประพฤติอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบคำด่าทราม คือ พูดกะอุปสัมบันผู้เป็น

บัณฑิต . . . ผู้ฉลาด . . .ผู้มีปัญญา . .. ผู้พหูสูต . . .ผู้ธรรมกถึก ว่าท่าน

เป็นอูฐ ว่าท่านเป็นแพะ ว่าท่านเป็นโค ว่าท่านเป็นลา ว่าท่านเป็นสัตว์

ดิรัจฉาน ว่าท่านเป็นสัตว์นรก สุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบคำสบประมาท

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันผู้มี

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 93

ความพระพฤติทราม ด้วยกล่าวกระทบคำด่าอุกฤษฏ์ คือพูดกะอุปสัมบันผู้มี

ความประพฤติดังอูฐ . . . มีความประพฤติดังแพะ . . .มีความประพฤติดังโค

. . .มีความประพฤติดังลา . . .มีความพระพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน . . .มีความ

ประพฤติดังสัตว์นรก ว่าท่านเป็นบัณฑิต ว่าท่านเป็นคนฉลาด ว่าท่านเป็น

คนมีปัญญา ว่าท่านเป็นพหูสูต ว่าท่านเป็นธรรมกถึก ทุคติของท่านไม่มี

ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อยกยอกระทบคำสบประมาท

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอุปสัมบันผู้มี

ความพระพฤติอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบคำด่าอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอุปสัมบันผู้

เป็นบัณฑิต . . . ผู้ฉลาด . . . ผู้มีปัญญา . . . ผู้พหูสูต . .. ผู้ธรรมกถึก ว่าท่าน

เป็นบัณฑิต ว่าท่านเป็นคนฉลาด ว่าท่านเป็นคนมีปัญญา ว่าท่านเป็นพหูสูต

ว่าท่านเป็นธรรมกถึก ทุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชาติทราม ว่ามีบางพวก

[๒๔๗] อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุป-

สัมบัน ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดเปรย

อย่างนี้คือ กล่าวว่ามีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นชาติคนจัณฑาล บาง

พวกเป็นชาติคนจักสาน บางพวกเป็นชาติพราน บางพวกเป็นชาติคนช่างหนัง

บางพวกเป็นชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

อุปสันบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ไม่

ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดเปรยอย่างนั้น คือ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 94

กล่าวว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นชาติกษัตริย์ บางพวกเป็น

ชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชื่อทราม ว่ามีบางพวก

. . . มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกชื่ออวกัณณกะ บางพวกชื่อ

ชวกัณณกะ บางพวกชื่อธนิฏฐกะ บางพวกชื่อสวิฎฐกะ บางพวกชื่อกุลวัฑฒกะ

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด .

พูดล้อเปรยกระทบชื่ออุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกชื่อพุทธรักขิต บางพวกชื่อ

ธัมมรักขิต บางพวกชื่อสังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ

คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโคตรทราม ว่ามีบางพวก

. . . มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโกสิยโคตร บางพวกเป็น

ภารทวาชโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโคตรอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโคตมโคตร บางพวกเป็น

โมคคัลลานโคตร บางพวกเป็นกัจจายนโคตร บางพวกเป็นวาเสฏฐโคตร

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบการงานทราม ว่ามีบางพวก

. . .มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกทำงานช่างไม้ บางพวกทำ

งานเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 95

พูดล้อเปรยกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . . มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกทำงานไถนา บางพวกทำการ

ค้าขาย บางพวกทำงานเลี้ยงโค ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบศิลปทราม ว่ามีบางพวก

. . .มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกมีวิชาการช่างจักสาน บางพวก

มีวิชาการช่างหม้อ บางพวกมีวิชาการช่างหูก บางพวกมีวิชาการช่างหนัง

บางพวกมีวิชาการช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกมีวิชาการช่างนับ บางพวกมี

วิชาการช่างคำนวณบางพวกมีวิชาการช่างเขียน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโรคทราม ว่ามีบางพวก

. . .มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโรคเรื้อน บางพวกเป็น

โรคฝี บางพวกเป็นโรคกลาก บางพวกเป็นโรคมองคร่อ บางพวกเป็นโรค

ลมบ้าหมู ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโรคเบาหวาน ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบรูปพรรณทราม ว่ามีบางพวก

. . .มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกสูงเกินไป บางพวกต่ำเกินไป

บางพวกดำเกินไป บางพวกขาวเกินไป ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 96

พูดล้อเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . . มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกไม่สูงนัก บางพวกไม่ต่ำนัก

บางพวกไม่ดำนัก บางพวกไม่ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบกิเลสทราม ว่ามีบางพวก

. . . ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกถูกราคะกลุ้มรุม บางพวกถูก

โทสะย่ำยี บางพวกโมหะครอบงำ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกปราศจากราคะ บางพวก

ปราศจากโทสะ บางพวกปราศจากโมหะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบอาบัติทราม ว่ามีบางพวก

. . .มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกต้องอาบัติปาราชิก บางพวก

ต้องอาบัติสังฆาทิเสส บางพวกต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกต้องอาบัติปาจิตตีย์

บางพวกต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ บางพวกต้องอาบัติทุกกฏ บางพวกต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกต้องโสดาบัติ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่ามีบางพวก

. . .มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกมีความพระพฤติดังอูฐ บางพวก

มีความประพฤติดังแพะ บางพวกมีความพระพฤติดังโค บางพวกมีความ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 97

ประพฤติดังลา บางพวกมีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน บางพวกมีความ

ประพฤติดังสัตว์นรก สุคติของภิกษุพวกนั้นไม่มี ภิกษุพวกนั้นต้องหวังได้แต่

ทุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นบัณฑิต บางพวกเป็น

คนฉลาด บางพวกเป็นคนมีปัญญา บางพวกเป็นพหูสูต บางพวกเป็นธรรมกถึก

ทุคติของภิกษุพวกนั้นไม่มี ภิกษุพวกนั้นต้องหวังได้แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชาติทราม ว่าพวกไรกันแน่

[๒๔๘] อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาท

อุปสัมบัน ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูด

เปรยอย่างนี้ คือ กล่าวว่าภิกษุจำพวกไรกันแน่เป็นชาติคนจัณฑาล. . . ชาติคน

จักสาน. . ชาติพราน. . .ชาติคนช่างหนัง. . .ชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นชาติกษัตริย์ . . .ชาติพราหมณ์ ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชื่อทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ชื่ออวกัณณกะ ... ชื่อชวกัณณกะ ...ชื่อ

ธนิฏฐกะ . ..ชื่อสวิฎฐกะ .. .ชี่อกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 98

พูดล้อเปรยกระทบชื่ออุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ชื่อพุทธรักขิต . . .ชื่อธัมมรักขิต . . . ชื่อ

สังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อเปรยกระทบโคตรทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นโกสิยโคตร . . . ภารทวาชโคตร ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อเปรยกระทบโคตรอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นโคตมโคตร. ..โมคคัลลานโคตร . . .

กัจจายนโคตร. . .วาเสฎฐโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุกๆคำพูด

พูดล้อเปรยกระทบการงานทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นช่างไม้. . .คนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นคนทำงานไถนา . . .ทำงานค้าขาย . . .

ทำงานเลี้ยงโค . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อเปรยกระทบศิลปทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ มีวิชาการช่างจักสาน . . . มีวิชาการช่างหม้อ

. . . มีวิชาการช่างหูก . . .มีวิชาการช่างหนัง . . . มีวิชาการช่างกัลบก . . . ต้อง

อาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ มีวิชาการช่างนับ . . . มีวิชาการช่างคำนวณ

. . .มีวิชาการช่างเขียน. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 99

พูดล้อเปรยกระทบโรคทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นโรคเรื้อน . . . โรคฝี. . . โรคกลาก. . .

โรคมองคร่อ.. .โรคลมบ้าหมู . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นโรคเบาหวาน ดังนี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบรูปพรรณทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ สูงเกินไป . . . ต่ำเกินไป . . . ดำเกินไป

. . . ขาวเกินไป. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นคนไม่สูงนัก . . .ไม่ต่ำนัก . ..ไม่ดำนัก

. . .ไม่ขาวนัก.. .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบกิเลสทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ถูกราคะกลุ้มรุม . . . ถูกโทสะย่ำยี ...ถูก

โมหะครอบงำ . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ปราศจากราคะ . . .ปราศจากโทสะ. . . .

ปราศจากโมหะ . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบอาบัติทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ต้องอาบัติปาราชิก . . . อาบัติสังฆาทิเสส . . .

อาบัติถุลลัจจัย ... อาบัติปาจิตตีย์ . .. อาบัติปฏิเทสนียะ .. . อาบัติทุกกฏ...

อาบัติทุพภาสิต. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 100

พูดล้อเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ต้องโสดาบัติ . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ มีความประพฤติดังอูฐ . . . แพะ . . . โค . . .

ลา. .. สัตว์ดิรัจฉาน. . . สัตว์นรก สุคติของภิกษุพวกนั้นไม่มี ภิกษุพวกนั้น

ต้องหวังได้แต่ทุคติ. . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบลำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นบัณฑิต . . .เป็นคนฉลาด ...เป็นคนมี

ปัญญา...เป็นพหูสูต...เป็นธรรมกถึก ทุคติของภิกษุพวกนั้นไม่มี ภิกษุ

พวกนั้นต้องหวังได้แต่สุคติ . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชาติทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

[๒๔๙] อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาท

อุปสัมบัน ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูด

เปรยอย่างนั้น คือกล่าวว่า พวกเราไม่ใช่ชาติคนจัณฑาล . . .ไม่ใช่ชาติคนจักสาน

. . .ไม่ใช่ชาติพราน...ไม่ใช่ชาติคนช่างหนัง. ..ไม่ใช่ชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่ชาติกษัตริย์ . . . ไม่ใช่ชาติพราหมณ์ .. . ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 101

พูดล้อเปรยกระทบชื่อทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ชื่ออวกัณณกะ. ..ไม่ใช่ชื่อชวกัณณกะ . .. ไม่ใช่ชื่อ

ธนิฎฐกะ. . . ไม่ใช่ชื่อสวิฏฐกะ .. . ไม่ใช่ชื่อกุลวัฑฒกะ . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชื่ออุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ชื่อพุทธรักขิต . . . ไม่ใช่ชื่อธัมมรักขิต .. . ไม่ใช่ชื่อ

สังฆรักขิต. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโคตรทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่โกสิยโคตร . . . ไม่ใช่ภารทวาชโคตร . . . ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโคตรอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่โคตมโคตร . . . ไม่ใช่โมคคัลลานโคตร . . . ไม่ใช่

กัจจายนโคตร . . . ไม่ใช่วาเสฏฐโคตร . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อเปรยกระทบการงานทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่ช่างไม้ . . .ไม่ใช่คนเทดอกไม้ . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่คนทำงานไถนา . . . ไม่ใช่คนทำงานค้าขาย. . . ไม่ใช่

คนทำงานเลี้ยงโค. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบศิลปทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่มีวิชาการจักสาน . . . ไม่ใช่มีวิชาการช่างหม้อ . . .

ไม่ใช่มีวิชาการช่างหูก. . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างหนัง . . . ไม่ใช่มีวิชาการช่างกัลบก

. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 102

พูดล้อเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่มีวิชาการช่างนับ . . . ไม่ใช่มีวิชาการช่างคำนวณ. . .

ไม่ใช่มีวิชาการช่างเขียน . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโรคทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นโรคเรื้อน . . . ไม่ใช่เป็นโรคฝี . . . ไม่ใช่เป็น

โรคกลาก . . .ไม่ใช่เป็นโรคมองคร่อ . . .ไม่ใช่เป็นโรคลมบ้าหมู . . . ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่เป็นโรคเบาหวาน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบรูปพรรณทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่สูงเกินไป . . . ไม่ใช่ต่ำเกินไป . . . ไม่ใช่ดำเกินไป . . .

ไม่ใช่ขาวเกินไป. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ไม่สูงนัก . . ไม่ใช่ไม่ต่ำนัก . . . ไม่ใช่ไม่ดำนัก . . .

ไม่ใช่ไม่ขาวนัก . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบกิเลสทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ถูกราคะกลุ้มรุม. . . ไม่ใช่ถูกโทสะย่ำยี . . ไม่ใช่ถูก

โมหะครอบงำ. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ปราศจากราคะ . . . ไม่ใช่ปราศจากโทสะ . . . ไม่ใช่

ปราศจากโมหะ . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 103

พูดล้อเปรยกระทบอาบัติทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก . . . อาบัติสังฆาทิเสส. . .

อาบัติถุลลัจจัย . . . อาบัติปาจิตตีย์ . . . อาบัติปาฎิเทสนียะ . . .อาบัติทุกกฏ . . .

อาบัติทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นผู้ต้องโสดาบัติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่มีความพระพฤติดังอูฐ . . . แพะ . . . โค . . .ลา

. . . สัตว์ดิรัจฉาน . . . สัตว์นรก สุคติของพวกเราไม่มี พวกเราต้องหวังได้แต่

ทุคติ. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อเปรยกระทบคำสบประมาทอุกฤกฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นบัณฑิต . . .ไม่ใช่คนฉลาด ... ไม่ใช่คนมีปัญญา

. . .ไม่ใช่พหูสูต . . . ไม่ใช่ธรรมกถึก ทุคติของพวกเราไม่มี พวกเราต้อง

หวังได้แต่สุคติ . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

อุปสัมบันอุปสัมบัน

พูดล้อกดกระทบชาติ

[๒๕๐] อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาท

อนุปสัมบัน ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูด

กะอนุปสัมบันมีชาติทราม ด้วยกล่าวกระทบชาติทราม คือ พูดกะอนุปสัมบัน

มีชาติคนจัณฑาล . . . มีชาติคนจักสาน . . .มีชาติพราน . . .มีชาติคนช่างหนัง

มีชาติคนเทดอกไม้ ว่าเป็นชาติคนจัณฑาล ว่าเป็นชาติคนจักสาน ว่าเป็น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 104

ชาติพราน ว่าเป็นชาติคนช่างหนัง ว่าเป็นชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบชาติ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีชาติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบชาติทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันมีชาติกษัตริย์

. . . มีชาติพราหมณ์ ว่าเป็นชาติคนจัณฑาล ว่าเป็นชาติคนจักสาน ว่าเป็น

ชาติพราน ว่าเป็นชาติคนช่างหนัง ว่าเป็นชาติคนเทดอกไม้ . . . ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบชาติ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ใม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีชาติทราม ด้วยกล่าวกระทบชาติอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันชาติคนจัณฑาล

. . . ชาติคนจักสาน . . . ชาติพราน . . .ชาติคนช่างหนัง . . .ชาติคนเทดอกไม้

ว่าเป็นชาติกษัตริย์ ว่าเป็นชาติพราหมณ์ ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อยกยอกระทบชาติ

. . .อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะลบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีชาติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบชาติอุกฤษฎ์ คือพูดกะอนุปสัมบันมีชาติกษัตริย์

. . .มีชาติพราหมณ์ ว่าเป็นชาติกษัตริย์ ว่าเป็นชาติพราหมณ์ . . . ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 105

พูดล้อกดกระทบชื่อ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีชื่อทราม ด้วยกล่าวกระทบชื่อทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันชื่ออวกัณณกะ

. . . ชื่อชวกัณณกะ . . .ชื่อธนิฎฐกะ . . .ชื่อสวิฏฐกะ . .. ชื่อกุลวัฑฒกะ ว่าท่าน

อวกัณณกะ ว่าท่านชวกัณณกะ ว่าท่านธนิฏฐกะ ว่าท่านสวิฏฐกะ ว่าท่าน

กุลวัฑฒกะ . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบชื่อ

อุปสันบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีชื่ออุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบชื่อทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต

. . . ชื่อธัมมรักขิต . . . ชื่อสังฆรักขิต ว่าท่านอวกัณณกะ ว่าท่านชวกัณณกะ

ว่าท่านธนิฎฐกะ ว่าท่านสวิฎฐกะ ว่าท่านกุลวัฑฒกะ . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบชื่อ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีชื่อทราม ด้วยกล่าวกระทบชื่ออุกฤษฏ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันชื่ออวกัณณกะ

. . . ชื่อชวกัณณกะ ...ชื่อธนิฏฐกะ . .. ชื่อสวิฏฐกะ . ..ชื่อกุลวัฑฒกะ ว่าท่าน

พุทธรักขิต ว่าท่านธัมมรักขิต ว่าท่านสังฆรักขิต . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 106

พูดล้อยกยอกระทบชื่อ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีชื่ออุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบชื่ออุกฤษฎ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต

. . .ชื่อธัมมรักขิต .. .ชื่อสังฆรักขิต ว่าท่านพุทธรักขิต ว่าท่านธัมมรักขิต

ว่าท่านสังฆรักขิต . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อกดกระทบโคตร

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีโคตรทราม ด้วยกล่าวกระทบโคตรทราม คือพูดกะอนุปสัมบันโกสิยโคตร

. . .ภารทวาชโคตร ว่าท่านโกสิยโคตร ว่าท่านภารทวาชโคตร . . . ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดกระทบโคตร

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีโครตอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบโคตรทราม คือพูดกะอนุปสัมบันโคตมโคตร

. . .โมคคัลลานโคตร . . . . กัจจายนโคตร . . . วาเสฏฐโคตร ว่าท่านโกสิยโคตร

ว่าท่านภารทวาชโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อประชดกระทบโคตร

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 107

มีโคตรทราม ด้วยกล่าวกระทบโคตรอุกฤษฎ์ คือพูดกะอนุปสัมบันโกสิยโคตร

. . . ภารทวาชโคตร ว่าท่านโคตมโคตร ว่าท่านโมคคัลลานโคตร ว่าท่าน

กัจจายนโคตร ว่าท่านวาเสฎฐโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ

คำพูด.

พูดล้อยกยอกระทบโคตร

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีโคตรอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบโคตรอุกฤษฎ์ คือพูดกะอนุปสัมบันโคตมโคตร

. . . โมคคัลลานโคตร . . . กัจจายนโคตร . . . วาเสฎฐโคตร ว่าท่านโคตมโคตร

ว่าท่านโมคคัลลานโคตร ว่าท่านกัจจายนโคตร ว่าท่านวาเสฏฐโคตร ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดกระทบการงาน

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีการงานทราม ด้วยกล่าวกระทบการงานทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันเป็น

ช่างไม้ . . . เป็นคนเทดอกไม้ ว่าท่านทำงานช่างไม้ ว่าท่านทำงานเทดอกไม้

. . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบการงาน

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 108

มีการงานอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบการงานทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันเป็น

ชาวนา . . . เป็นพ่อค้า . . . เป็นคนเลี้ยงโค ว่าท่านทำงานช่างไม้ ว่าท่านทำ

งานเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบการงาน

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีการงานทราม ด้วยกล่าวกระทบการงานอุกฤษฏ์ คือพูดกะอนุปสัมบันเป็น

ช่างไม้ . . . เป็นคนเทดอกไม้ ว่าท่านทำงานไถนา ว่าท่านทำงานค้าขาย

ว่าท่านทำงานเลี้ยงโค ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อยกยอกระทบการงาน

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีการงานอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบการงานอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอนุปสัมบันเป็น

ชาวนา . . . เป็นพ่อค้า . .. เป็นคนเลี้ยงโค ว่าท่านทำงานไถนา ว่าท่านทำ

งานค้าขาย ว่าท่านทำงานเลี้ยงโค ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดกระทบศิลป

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีวิชาการช่างทราม ด้วยกล่าวกระทบวิชาการช่างทราม คือ พูดกะอนุปสัมบัน

มีวิชาการช่างจักสาน . . .มีวิชาการช่างหม้อ . . . มีวิชาการช่างหูก . . . มีวิชา

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 109

การช่างหนัง . . . มีวิชาการช่างกัลบก ว่าท่านมีวิชาการช่างจักสาน ว่าท่านมี

วิชาการช่างหม้อ ว่าท่านมีวิชาการช่างหูก ว่าท่านมีวิชาการช่างหนัง ว่าท่าน

มีวิชาการช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบศิลป

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีวิชาการช่างอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบวิชาการช่างทราม คือพูดกะอนุปสัมบัน

มีวิชาการช่างนับ . . . มีวิชาการช่างคำนวณ . . . มีวิชาการช่างเขียน ว่าท่านมี

วิชาการช่างจักสาน ว่าท่านมีวิชาการช่างหม้อ ว่าท่านมีวิชาการช่างหูก ว่าท่าน

มีวิชาการช่างหนัง ว่าท่านมีวิชาการช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบศิลป

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีวิชาการช่างทราม ด้วยกล่าวกระทบวิชาการช่างอุกฤษฏ์ คือพูดกะอนุปสัมบัน

มีวิชาการช่างจักสาน . . . มีวิชาการช่างหม้อ . . . มีวิชาการช่างหูก. . . มีวิชาการ

ช่างหนัง . . . มีวิชาการช่างกัลบก ว่าท่านมีวิชาการช่างนับ ว่าท่านมีวิชาการ

ช่างคำนวณ ว่าท่านมีวิชาการช่างเขียน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 110

พูดล้อยกยอกระทบศิลป

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกับอนุปสัมบัน

มีวิชาการช่างอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบวิชาการช่างอุกฤษฏ์ คือ พูดกะ

อนุปสัมบันมีวิชาการช่างนับ . . . มีวิชาการช่างคำนวณ. . . มีวิชาการช่างเขียน

ว่าท่านมีวิชาการช่างนบ . . . ช่างคำนวณ . . . ช่างเขียน ดังนี้เป็นต้น ต้อง

อาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดกระทบโรค

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีโรคทราม ด้วยกล่าวกระทบโรคทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน

. . . โรคฝี . . . โรคกลาก . . . โรคมองคร่อ . . .โรคลมบ้าหมู ว่าท่านเป็น

โรคเรื้อน . .. โรคฝี . . . โรคกลาก . . .โรคมองคร่อ . . .โรคลมบ้าหมู ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบโรค

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศแต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีโรคอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบโรคทราม คือพูดกะอนุปสัมบันผู้เป็นโรค

เบาหวาน ว่าท่านเป็นโรคเรื้อน. . .โรคฝี. . . โรคกลาก . . . โรคมองคร่อ . . .

โรคลมบ้าหมู ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 111

พูดล้อประชดกระทบโรค

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีโรคทราม ด้วยกล่าวกระทบโรคอุกฤษฏ์ คือพูดกะอนุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน

. . .โรคฝี . . .โรคกลาก . . . โรคมองคร่อ . . .โรคลมบ้าหมู ว่าท่านเป็นโรค

เบาหวาน ดังนี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อยกยอกระทบโรค

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีโรคอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบโรคอุกฤษฎ์ คือพูดกะอนุปสัมบันผู้เป็นโรค

เบาหวาน ว่าท่านเป็นโรคเบาหวาน ดังนี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อกดกระทบรูปพรรณ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีรูปพรรณทราม ด้วยกล่าวกระทบรูปพรรณทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้

สูงเกินไป. . .ต่ำเกินไป . . .ดำเกินไป . . . ขาวเกินไป ว่าท่านเป็นคนสูงนัก. . .

ต่ำนัก. . .ดำนัก. . .ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด

พูดล้อกดให้เลวกระทบรูปพรรณ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 112

มีรูปพรรณอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบรูปพรรณทราม คือ พูดกะอนุปสัมบัน

ผู้ไม่สูงนัก.. .ไม่ต่ำนัก ...ไม่ดำนัก . . .ไม่ขาวนัก ว่าท่านเป็นคนสูงนัก.. .

ต่ำนัก... คำนัก.. .ขาวนัก. . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบรูปพรรณ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีรูปพรรณทราม ด้วยกล่าวกระทบรูปพรรณอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอนุปสัมบัน

ผู้สูงเกินไป. . .ต่ำเกินไป . . .ดำเกินไป . ..ขาวเกินไป ว่าท่านเป็นคนไม่สูงนัก

. . . ไม่ต่ำนัก . . . ไม่ดำนัก . . .ไม่ขาวนัก . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อยกยอกระทบรูปพรรณ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีรูปพรรณอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบรูปพรรณอุกฤษฎ์ คือ พูดกะอนุปสัมบัน

ผู้ไม่สูงเกินไป . . . ไม่ต่ำเกินไป . . . ไม่ดำเกินไป . . . ไม่ขาวเกินไป ว่าท่าน

เป็นต้นไม่สูงนัก. . . ไม่ต่ำนัก. .. ไม่ดำนัก. .. ไม่ขาวนัก. . . ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดกระทบกิเลส

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีกิเลสทราม ด้วยกล่าวกระทบกิเลสทราม คือพูดกะอนุปสัมบันผู้ถูกราคะ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 113

กลุ้มรุม . . . ถูกโทสะย่ำยี . . . ถูกโมหะครอบงำ ว่าท่านถูกราคะกลุ้มรุม ว่าท่าน

ถูกโทสะย่ำยี ว่าท่านถูกโมหะครอบงำ. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบกิเลส

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบันมี

กิเลสอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบกิเลสทรามคือ พูดกะอนุปสัมบันผู้ปราศจาก

ราคะ . . . ปราศจากโทสะ. . . ปราศจากโมหะ ว่าท่านถูกราคะกลุ้มรุม ว่าท่าน

ถูกโทสะย่ำยี ว่าท่านถูกโมหะครอบงำ. ..ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบกิเลส

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีกิเลสทราม ด้วยกล่าวกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ คือพูดกะอนุปสัมบันผู้ถูกราคะ

กลุ้มรุม . . . ถูกโทสะย่ำยี . . . ถูกโมหะครอบงำ ว่าท่านปราศจากราคะ. . .

ปราศจากโทสะ. . . ปราศจากโมหะ. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อยกยอกระทบกิเลส

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

มีกิเลสอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ คือพูดกะอนุปสัมบันผู้ปราศจาก

ราคะ. . . ปราศจากโทสะ . . . ปราศจากโมหะ ว่าท่านปราศจากราคะ. . .

ปราศจากโทสะ... ปราศจากโมหะ ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 114

พูดล้อกดกระทบอาบัติ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

ผู้ต้องอาบัติทราม ด้วยกล่าวกระทบอาบัติทราม คือพูดกะอนุปสัมบันผู้ต้อง

อาบัติปาราชิก . . . ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส . . . ผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย . . . ผู้ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ... ผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. .. ผู้ต้องอาบัติทุกกฏ ... ผู้ต้อง

อาบัติทุพภาสิต ว่าท่านต้องอาบัติปาราชิก . . . สังฆาทิเสส . . . ถุลลัจจัย . . .

ปาจิตตีย์. . . ปาฎิเทสนียะ. . . ทุกกฏ . . . ทุพภาสิตดังนี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบอาบัติ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกับอนุปสัมบัน

ผู้ต้องอาบัติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบอาบัติทราม คือ พูดกะอนุปสัมบันผู้ต้อง

โสดาบัติ ว่าท่านต้องอาบัติปาราชิก . . .อาบัติสังฆาทิเสส . . .อาบัติถุลลัจจัย .. .

อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปฏิเทสนียะ. . . อาบัติทุกกฏ.. . อาบัติทุพภาสิต ดังนี้

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบอาบัติ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

ผู้ต้องอาบัติทราม ด้วยกล่าวกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ คือพูดกะอนุปสัมบันผู้ต้อง

อาบัติปาราชิก . . . อาบัติสังฆาทิเสส . . . .อาบัติถุลลัจจัย . . . อาบัติปาจิตตีย์ ...

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 115

อาบัติปาฎิเทสนียะ . . . อาบัติทุกกฏ. . . อาบัติทุพภาสิต ว่าท่านต้องโสดาบัติ

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อยกยอกระทบอาบัติ

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

ผู้ต้องอาบัติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบอาบัติอุกฤษฎ์ คือพูดกะอนุปสัมบันผู้

ต้องโสดาบัติ ว่าท่านต้องโสดาบัติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ

คำพูด.

พูดล้อกดกระทบคำสบประมาท

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

ผู้มีความประพฤติทราม ด้วยกล่าวกระทบคำด่าทราม คือ พูดกะอนุปสัมบัน

ผู้มีความประพฤติดังอูฐ... แพะ. .. โค.. . ลา. .. สัตว์ดิรัจฉาน. . . มีความ

ประพฤติดังสัตว์นรก ว่าท่านเป็นอูฐ . . .แพะ . . .โค .. . ลา . . . สัตว์ดิรัจฉาน

ว่าท่านเป็นสัตว์นรก สุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ...ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อกดให้เลวกระทบคำสบประมาท

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

ผู้มีความประพฤติอุกฤษฎ์ ด้วยกล่าวกระทบคำด่าทราม คือ พูดกะอนุปสัมบัน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 116

ผู้เป็นบัณฑิต. .. ผู้ฉลาด . . . ผู้มีปัญญา . .. ผู้พหูสูต . .. ผู้ธรรมกถึก ว่าท่าน

เป็นอูฐ. . . แพะ. . .โค .. . ลา . . . สัตว์ดิรัจฉาน ว่าท่านเป็นสัตว์นรก สุคติ

ของท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ. ..ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อประชดกระทบคำสบประมาท

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

ผู้มีความประพฤติทราม ด้วยกล่าวกระทบคำด่าอุกฤษฏ์ คือพูดกะอนุปสัมบัน

ผู้มีความพระพฤติดังอูฐ . . . แพะ . . . โค . . . ลา . . . สัตว์ดิรัจฉาน . . . มีความ

พระพฤติดังสัตว์นรก ว่าท่านเป็นบัณฑิต ... คนฉลาด ... คนมีปัญญา...

พหูสูต ว่าท่านเป็นธรรมกถึก ทุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ...

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อยกยอกระทบคำสบประมาท

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะอนุปสัมบัน

ผู้มีความประพฤติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบคำด่าอุกฤษฏ์ คือพูดกะอนุปสัมบัน

ผู้เป็นบัณฑิต ... ผู้ฉลาด ... ผู้มีปัญญา ... ผู้พหูสูต ... ผู้ธรรมกถึก ว่าท่าน

เป็นบัณฑิต... คนฉลาด... คนมีปัญญา. . . พหูสูต ว่าท่านเป็นธรรมกถึก

ทุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 117

อุปสัมบันล้ออนุปสัมบัน

พูดล้อเปรยกระทบชาติทราม ว่ามีบางพวก

[๒๕๑] อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาท

อันปสัมบัน ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูด

เปรยอย่างนี้ คือกล่าวว่า มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นชาติ

คนจัณฑาล บางพวกเป็นชาติคนจักสาน บางพวกเป็นชาติพราน บางพวก

เป็นชาติคนช่างหนัง บางพวกเป็นชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาทอนุปสัมบัน

ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดเปรยอย่างนั้น

คือกล่าวว่า มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นชาติกษัตริย์ บาง-

พวกเป็นชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชื่อทราม ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกชื่ออวกัณณกะ บางพวก

ชื่อชวกัณณกะ บางพวกชื่อธนิฎฐกะ บางพวกชื่อสวิฏฐกะ บางพวกชื่อ

กุลวัฑฒกะ...ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชื่ออุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . . มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกชื่อพุทธรักขิต บางพวก

ชื่อธัมมรักขิต บางพวกชื่อสังฆรักขิต . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 118

พูดล้อเปรยกระทบโคตรทราม ว่ามีบางพวก

. . . มีอนุปสันบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโกสิยโคตร บางพวก

เป็นภารทวาชโคตร. . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโคตรอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . . มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโคตมโคตร.. .

โมคคัลลานโคตร . . . กัจจายนโคตร . . . วาเสฏฐโคตร . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบการงานทราม ว่ามีบางพวก

. . . มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกทำงานช่างไม้ . . .ทำงาน

เทดอกไม้ ดังนี้ เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . . มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกทำงานไถนา . . . ทำการ

ค้าขาย . . . ทำงานเลี้ยงโค . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบศิลปทราม ว่ามีบางพวก

. . . มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกมีวิชาการช่างจักสาน

. . . ช่างหม้อ . . . ช่างหูก . . . ช่างหนัง . . . ช่างกัลบก . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . . มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกมีวิชาการช่างนับ...

ช่างคำนวณ. . . ช่างเขียน. . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 119

พูดล้อเปรยกระทบโรคทราม ว่ามีบางพวก

. . . มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโรคเรื้อน โรคฝี.. .

. . .โรคลาก .. .โรคมองคร่อ...โรคลมบ้าหมู. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุกๆ

คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นโรคเบาหวาน ดังนี้

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบรูปพรรณทราม ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกสูงเกินไป.. .ต่ำเกินไป

. . .ดำเกินไป. . . ขาวเกินไป...ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกไม่สูงนัก . .. ไม่ต่ำนัก

ไม่ดำนัก .. .ไม่ขาวนัก. ..ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบกิเลสทรามว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกถูกราคะกลุ้มรุม.. ถูก

โทสะย่ำยี . ..ถูกโมหะครอบงำ...ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . . มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกปราศจากราคะ...

ปราศจากโทสะ. . .ปราศจากโมหะ. . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 120

พูดล้อเปรยกระทบอาบัติทราม ว่ามีบางพวก

. . . มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกต้องอาบัติปาราชิก

. . . อาบัติสังฆาทิเสส . . .อาบัติถุลลัจจัย . . . อาบัติปาจิตตีย์ . . .อาบัติปาฎิ-

เทสนียะ .. .อาบัติทุกกฏ . .. ต้องอาบัติทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกต้องโสดาบัติ ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกมีความประพฤติดังอูฐ

. . . ดังแพะ . . .โค . . . ดังลา . . . ดังสัตว์ดิรัจฉาน . . .ดังสัตว์นรก สุคติ

ของท่านพวกนั้นไม่มี ท่านพวกนั้นต้องหวังได้แต่ทุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้อง

อาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นบัณฑิต ...เป็น

คนฉลาด ...เป็นคนมีปัญญา ...เป็นพหูสูต ...เป็นธรรมกถึก ทุคติของ

ท่านพวกนั้นไม่มี ท่านพวกนั้นต้องหวังได้แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 121

อุปสันบันล้ออนุปสัมบัน

พูดล้อเปรยกระทบชาติทราม ว่าพวกไรกันแน่

[๒๕๒] อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาท

อนุปสัมบัน ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูด

เปรยอย่างนี้ คือกล่าวว่า อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นชาติคนจัณฑาล

. . .ชาติคนจักสาน . . .ชาติพราน . ..ชาติคนช่างหนัง . . .ชาติคนเทดอกไม้

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นชาติกษัตริย์ .. .ชาติพราหมณ์

. . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชื่อทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ ชื่ออวกัณณกะ ...ชื่อชวกัณณกะ

. . .ชื่อธนิฎฐกะ . . .ชื่อสวิฎฐกะ . ..ชื่อกุลวัฑฒกะ . .. ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชื่ออุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ ชื่อพุทธรักขิต . ..ชื่อธัมมรักขิต

. . . ชื่อสังฆรักขิต ... ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโคตรทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นโกสิยโคตร . ..ภารทวาชโคตร

. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโคตรอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นโคตมโคตร . . .โมคคัลลานโคตร

. . . กัจจายนโคตร . . .วาเสฏฐโคตร . ..ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 122

พูดล้อเปรยกระทบการงานทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นช่างไม้ . ..ช่างเทดอกไม้.. .

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นคนทำงานไถนา . . . ทำงานค้าขาย

. . .ทำงานเลี้ยงโค . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบศิลปทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ มีวิชาการช่างจักสาน . . .มีวิชาการ

ช่างหม้อ . . .มีวิชาการช่างหูก . . . มีวิชาการช่างหนัง . . . มีวิชาการช่างกัลบก

. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันว่าพวกไรกันแน่ มีวิชาการช่างนับ . . .มีวิชาการช่าง

คำนวณ . . . มีวิชาการช่างเขียน . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโรคทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นโรคเรื้อน. . .โรคฝี. . . โรคกลาก

. . .โรคมองคร่อ . . .โรคลมบ้าหมู . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นโรคเบาหวาน . . .ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบรูปพรรณทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ สูงเกินไป. . .ต่ำเกินไป . . .ดำเกินไป

. . .ขาวเกินไป . .. ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 123

พูดล้อเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นคนไม่สูงนัก . . .ไม่ต่ำนัก. . .

ไม่ดำนัก . . .ไม่ขาวนัก . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบกิเลสทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ ถูกราคะกลุ้มรุม . . .ถูกโทสะย่ำยี

. . . ถูกโมหะครอบงำ . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . . อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ ปราศจากราคะ . . . ปราศจากโทสะ

. . . ปราศจากโมหะ ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบอาบัติทรามว่า พวกไรกันแน่

. . . อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ ต้องอาบัติปาราชิก . . . อาบัติ

สังฆาทิเสส . . .อาบัติถุลลัจจัย . . . อาบัติปาจิตตีย์ . . . อาบัติปาฎิเทสนียะ

. . .อาบัติทุกกฏ . . . อาบัติทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ ต้องโสดาบัติ . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ มีความประพฤติดังอูฐ . . .แพะ

. . .โค . . .ลา . . . สัตว์ดิรัจฉาน . . . สัตว์นรก สุคติของอนุปสัมบันพวกนั้น

ไม่มี อนุปสัมบันพวกนั้นต้องหวังได้แต่ทุคติ . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ

คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 124

พูดล้อเปรยกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

...อนุปสัมบันจำพวกไรกันแน่ เป็นบัณฑิต . . .เป็นคนฉลาด. . .เป็น

คนมีปัญญา . . .เป็นพหูสูต . . .เป็นธรรมกถึก ทุคติของอนุปสัมบันพวกนั้น

ไม่มี อนุปสัมบันพวกนั้น ต้องหวังได้แต่สุคติ . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ

คำพูด.

อุปสัมบันล้ออนุปสัมบัน

พูดล้อเปรยกระทบชาติทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

[๒๕๓] อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาท

อนุปสัมบัน ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูด

เปรยอย่างนี้ คือกล่าวว่า พวกเราไม่ใช่ชาติคนจัณฑาล . . . ไม่ใช่ชาติคนจักสาน

. . .ไม่ใช่ชาติพราน...ไม่ใช่ชาติคนช่างหนัง. . .ไม่ใช่ชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ชาติกษัตริย์ ...ไม่ใช่ชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชื่อทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่ชื่ออวกัณณกะ .. .ไม่ใช่ชื่อชวกัณณกะ . ..ไม่ใช่

ชื่อธนิฏฐกะ . . .ไม่ใช่ชื่อสวิฎฐกะ . . .ไม่ใช่ชื่อกุลวัฑฒกะ . . .ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบชื่ออุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ชื่อพุทธรักขิต .. .ไม่ใช่ชื่อธัมมรักขิต . ..ไม่ใช่ชื่อ

สังฆรักขิต . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 125

พูดล้อเปรยกระทบโคตรทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่โกสิยโคตร . . .ไม่ใช่ภารทวาชโคตร . . .ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโคตรอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่โคตมโคตร . . .ไม่ใช่โมคคัลลานโคตร . . . ไม่ใช่

กัจจายนโคตร . . .ไม่ใช่วาเสฏฐโคตร . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบการงานทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ช่างไม้ . . . ไม่ใช่คนเทดอกไม้ . . . ต้องอาบัติ

ทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่คนทำงานไถนา . . .ไม่ใช่คนทำงานค้าขาย . . .ไม่ใช่

คนทำงานเลี้ยงโค . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบศิลปทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่มีวิชาการช่างจักสาน . . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างหม้อ

. . . ไม่ใช่มีวิชาการช่างหูก . . . ไม่ใช่มีวิชาการช่างหนัง . . . ไม่ใช่มีวิชาการช่าง

กัลบก . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่มีวิชาการช่างนับ . . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างคำนวณ

. . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างเขียน . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบโรคทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่เป็นโรคเรื้อน . .ไม่ใช่เป็นโรคฝี . . .ไม่ใช่เป็น

โรคกลาก . . .ไม่ใช่เป็นโรคมองคร่อ . . . ไม่ใช่เป็นโรคลมบ้าหมู . . .ต้อง

อาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 126

พูดล้อเปรยกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นโรคเบาหวาน . . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ

คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบรูปพรรณทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่สูงเกินไป . . . ไม่ใช่ต่ำเกินไป . . . ไม่ใช่ดำเกินไป

. . . ไม่ใช่ขาวเกินไป .. .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่ไม่สูงนัก . ..ไม่ใช่ไม่ต่ำนัก . . ไม่ใช่ไม่ดำนัก

...ไม่ใช่ไม่ขาวนัก . ..ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบกิเลสทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่ถูกราคะกลุ้มรุม . . .ไม่ใช่ถูกโทสะย่ำยี . . .ไม่ใช่

ถูกโมหะครอบงำ . .. ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่ปราศจากราคะ .. .ไม่ใช่ปราศจากโทสะ . . .ไม่ใช่

ปราศจากโมหะ .. .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบอาบัติทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก . . . อาบัติสังฆาทิเสส . . .

อาบัติถุลลัจจัย ...อาบัติปาจิตตีย์ . . .อาบัติปาฏิเทสนียะ . .. อาบัติทุกกฏ

. . . อาบัติทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 127

พูดล้อเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่เป็นผู้ต้องโสดาบัติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุพภาสิต

ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่มีความประพฤติดังอูฐ . . . ดังแพะ . . .ดังโค . . .

ดังลา . . . ดังสัตว์ดิรัจฉาน . . . ดังสัตว์นรก สุคติของพวกเราไม่มี พวกเรา

ต้องหวังได้แต่ทุคติ. . . ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

พูดล้อเปรยกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่เป็นบัณฑิต .. .ไม่ใช่คนฉลาด .. .ไม่ใช่คนมีปัญญา

. . . ไม่ใช่เป็นพหูสูต . . .ไม่ใช่เป็นธรรมกถึก ทุคติของพวกเราไม่มี พวกเรา

ต้องหวังได้แต่สุคติ . . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ทุก ๆ คำพูด.

อานาปัตติวาร

[๒๕๔] ภิกษุมุ่งอรรถ ๑ ภิกษุมุ่งธรรม ๑ ภิกษุมุ่งสั่งสอน ๑ ภิกษุ

วิกลจริต ๑ ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ ภิกษุ

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 128

มุสาวาทวรรค โอมลวาทสิกขาบทที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถเรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์และโคนันทิวิสาล]

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอมสนฺติ คือ ย่อมกล่าวเสียดแทง.

บทว่า ขุสนฺติ คือ ย่อมด่า.

บทว่า วมฺเภนฺติ คือ ย่อมขู่กรรโชก.

ด้วยบทว่า ภูตปุพฺพ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเรื่องนี้มาแสดง

เพื่อทรงตำหนิการกล่าวเสียดแทง.

คำว่า นนฺทิ ในคำว่า นนฺทิวิสาโล นาม (นี้) เป็นชื่อของโคถึก

นั้น. ก็โคถึกนั้น มีเขายาวใหญ่ เพราะเหตุนั้น เจ้าของจึงตั้งชื่อว่า นันทิวิสาล,

โดยสมัยนั้น พระโพธิสัตว์เป็นโคถึกชื่อนันทิวิสาล. พราหมณ์เลี้ยงดูโคถึกนั้น

อย่างดีเหลือเกิน ด้วยอาหารมียาคูและข้าวสวยเป็นต้น . ครั้งนั้น โคนันทิวิสาล

นั้น เมื่อจะอนุเคราะห์พราหมณ์ จึงกล่าวคำว่า เชิญท่านไปเถิด ดังนี้เป็นต้น .

สองบทว่า ตตฺเถวอฏฺาสิ มีความว่า แม้ในกาลแห่งอเหตุกปฏิสนธิ

โคนันทิวิสาลย่อมรู้จักคำกล่าวเสียดแทงของผู้อื่นได้ โดยเป็นคำไม่เป็นที่พอใจ;

เพราะฉะนั้น มันใคร่เพื่อแสดงโทษแก่พราหมณ์ จึงได้ยืนนิ่งอยู่.

หลายบทว่า สกฏสต อติพทฺธ ปวฏฺเฏสิ มีความว่า พระโพธิสัตว์

เมื่อจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่จอดไว้ตามลำดับสอดไม้ไว้ภายใต้ กระทำให้

ต่อเนื่องกันอันบรรทุกเต็มด้วยถั่วเขียว ถั่วเหลือง และทรายเป็นต้น. เกวียน

๑๐๐ เล่ม เป็นของอันตนจะต้องลากไปอีก ในเมื่อกำถึงส่วนของกำแรกตั้งอยู่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 129

ก่อนแล้ว แม้ก็จริง ถึงกระนั้น (พระโพธิสัตว์) ก็ได้ลากไปตลอดที่ประมาณ

ชั่ว ๑๐๐ เล่มเกวียน เพื่อให้เกวียนเล่มหลังจอดในที่เกวียนเล่มหน้าจอดอยู่.

จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่มีการกระทำที่ย่อหย่อน.

บาทคาถาว่า เตน จตฺตมโน อหุ มีความว่า โคนันทิวิสาลนั้น

มีใจเบิกบาน เพราะการได้ทรัพย์นั้นของพราหมณ์ และเพราะการงานของตน.

ก็ในคำว่า อกฺโกเสนปิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะจำแนก

ไว้ข้างหน้าว่า คำด่ามี ๒ อย่าง คือ คำด่าที่เลว ๑ คำด่าที่ดี ๑; เพราะฉะนั้น

จึงไม่ตรัสเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ในก่อนว่า ย่อมด่าด้วยคำที่เลวบ้าง ตรัสไว้

อย่างนี้ว่า อกฺโกเสน (โดยคำสบประมาท) ดังนี้.

[แก้อรรถโอมสวาทเป็นต้น ]

ชาติแห่งคนการช่างถากไม้ชื่อว่า เวณชาติ.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เวฬุการชาติ ดังนี้ก็มี.

ชาติแห่งพรานเนื้อเป็นต้น ชื่อว่า เนสาทชาติ.

ชาติแห่งคนการช่างทำหนัง ชื่อว่า รถการชาติ (ชาติแห่งคนทำรถ).

ชาติแห่งคนเทดอกไม้ ชื่อว่า ปุกฺกุสชาติ.

คำว่า อวกณฺณกา เป็นชื่อของพวกทาส; เพราะฉะนั้น จึงเป็น

คำเลว.

บทว่า โอาต แปลว่า ที่เขาเย้ยหยัน. ภิกษุบางพวกสวดว่า

อุญฺาต ดังนี้ก็มี.

บทว่า อวุญฺาต แปลว่า ที่เขาเหยียดหยาม.

บทว่า หีฬิต แปลว่า ที่เขาเกลียดชัง.

บทว่า ปริภูต แปลว่า ที่เขาดูหมิ่นว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยคนนี้.

บทว่า อจิตีกต แปลว่า ที่เขาไม่กระทำความเคารพยกย่อง.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 130

การงานช่างไม้ ชื่อว่า โกฏฐกกรรม. นิ้วหัวแม่มือ ชื่อว่า มุทธา

(วิชาการช่างนับ). การนับที่เหลือมีการนับไม่ขาดสายเป็นต้น ชื่อว่า คณนา

(วิชาการช่างคำนวณ). อักษรเลข ชื่อว่า เลขา (วิชาการช่างเขียน). โรค

เบาหวาน ท่านเรียกว่า โรคอุกฤษฏ์ เพราะไม่มีเวทนา.

บทว่า ปาฎิกงฺขา แปลว่า พึงปรารถนา.

สองบทว่า ยกาเรน วา ภกาเรน วา มีความว่า คำด่าที่ประกอบ

ย อักษร และ ภ อักษร (ชื่อว่า เป็นคำด่าที่เลว).

ในคำว่า กาฏโกฏจิกาย วา (นี้) นิมิตแห่งบุรุษชื่อว่า กาฏะ นิมิต

แห่งสตรีชื่อว่า โกฏจิกา. คำด่าที่ประกอบด้วยบททั้งสองนั่นอันใด คำด่านั่น

ชื่อว่า เลวแล.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยกอาบัติขึ้นปรับ ด้วยอำนาจ

แห่งชนิดของอักโกสวัตถุมีชาติเป็นต้นเหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อุปสมฺ-

ปนฺโน อุปสมฺปนฺน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น สามบทว่า ขุเสตุกาโม วมฺเภตุกาโม

มงฺกุกตฺตุกาโม มีความว่า ผู้ประสงค์จะด่า ประสงค์จะติเตียน ประสงค์จะ

ทำให้อัปยศ.

สองบทว่า หีเนน หีน ได้แก่ ด้วยคำกล่าวถึงชาติอันเลว คือ

ด้วยชาติที่เลว. บัณฑิตพึงทราบอรรถในบททั้งปวง โดยอุบายอย่างนี้.

อนึ่ง บรรดาบทเหล่านี้ ภิกษุ เมื่อกล่าวให้เลวด้วยถ้อยคำอันเลว

ถึงจะกล่าวคำจริงก็ตาม ถึงอย่างนั้น เธอก็ต้องปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด เพราะ

เป็นผู้ประสงค์จะกล่าวเสียดแทง. และเมื่อกล่าวให้เป็นคนเลวด้วยคำที่ดี แม้

จะกล่าวคำไม่จริงก็ตาม, ถึงอย่างนั้น ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้

เพราะเป็นผู้ประสงค์จะกล่าวเสียดสี ไม่ใช่ด้วยสิกขาบทก่อน. ฝ่ายภิกษุใด

กล่าวคำเป็นต้นว่า เจ้าเป็นจัณฑาลดี เจ้าเป็นพราหมณ์ดี เจ้าเป็นจัณฑาลชั่ว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 131

เจ้าเป็นพราหมณ์ชั่ว ดังนี้, แม้ภิกษุนั้น พระวินัยธรพึงปรับด้วยอาบัติ

เหมือนกัน.

ก็ในวาระว่า สนฺติ อิเธกจฺเจ เป็นต้นนี้ เป็นอาบัติทุกกฏ เพราะ

เป็นคำกล่าวกระทบกระทั่ง. แม้ในวาระว่า เย-นูน-น-มย ดังนี้เป็นต้น

ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในอนุปสัมบัน เป็นทุกกฏอย่างเดียว ในวาระทั้ง ๔.

แต่ด้วยคำว่า โจโรสิ คณฺเภทโกสิ (เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนทำลายปม)

เป็นต้น ทุก ๆ วาระ เป็นทุกกฏเหมือนกัน ทั้งอุปสัมบันทั้งอนุปสัมบัน.

อนึ่ง เพราะความประสงค์จะเล่น เป็นทุพภาษิตทุก ๆ วาระ ทั้งอุปสัมบัน

ทั้งอนุปสัมบัน. ความเป็นผู้มีความประสงค์ในอันล้อเลียนและหัวเราะ ชื่อว่า

ความเป็นผู้มีความประสงค์จะเล่น ก็ในสิกขาบทนี้ เว้นภิกษุเสีย สัตว์ทั้งหมด

มีนางภิกษุณีเป็นต้น บัณฑิตพึงทิราบว่า ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอนุปสัมบัน.

ในคำว่า อตฺถปุเรกขารสฺส เป็นต้น พึงทราบว่า ภิกษุผู้กล่าว

อรรถแห่งพระบาลี ชื่อว่า อัตถปุเรกขาระ (ผู้มุ่งอรรถ). ผู้บอกสอนพระบาลี

พึงทราบว่า ธัมมปุเรกขาระ (ผู้มุ่งธรรม). ผู้ตั้งอยู่ในการพร่ำสอน กล่าว

โดยนัยเป็นต้นว่า ถึงบัดนี้ เจ้าเป็นคนจัณฑาล, เจ้าก็อย่าได้ทำบาป, อย่าได้

เป็นคนมีมืดมามืดไปเป็นเบื้องหน้า ดังนี้, พึงทราบว่า ชื่อว่า อนุสาสนี-

ปุเรกขาระ (ผู้มุ่งสอน). บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เกิดทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม

วจีกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนา ฉะนี้แล.

แต่ในอาบัติเหล่านี้ อาบัติทุพภาษิต เกิดทางวาจากับจิต เป็นกิริยา

สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ อกุศลจิต มีเวทนา ๒ คือ สุขเวทนา ๑ อุเปกขา-

เวทนา ๑.

โอมสวาทสิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 132

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๒๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระฉัพพัคคีย์ เก็บเอาคำส่อเสียดของพวกภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง เกิดทะเลาะ

ถึงวิวาทกัน ไปบอกคือฟังคำของฝ่ายนี้แล้ว บอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลาย

ฝ่ายนี้ ฟังคำของฝ่ายโน้น แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เพราะ

เหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น.

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่

ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้เก็บเอา

คำส่อเสียดของพวกภิกษุ ผู้ก่อความบาดหมาง เกิดทะเลาะถึงวิวาทกันไปบอก

คือฟังคำของฝ่ายนี้แล้ว บอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ ฟังคำของฝ่ายโน้น

แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เพราะเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยัง

ไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ไม่เพราะเหตุ

เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอเก็บเอาคำส่อเสียดของพวกภิกษุผู้ก่อความ

บาดหมาง เกิดทะเลาะ ถึงวิวาทกันไปบอก คือ ฟังคำของฝ่ายนี้ แล้วบอก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 133

แก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ ฟังคำของฝ่ายโน้น แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อ

ทำลายฝ่ายโน้น เพราะเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้น

แล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้เก็บเอาคำส่อเสียดของพวกภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง เกิดทะเลาะ

ถึงวิวาทกันไปบอก คือฟังคำของฝ่ายนี้ แล้วบอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลาย

ฝ่ายนี้ ฟังคำของฝ่ายโน้น แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เพราะ

เหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น การ

กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๕๒.๓. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะส่อเสียดภิกษุ.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๕๖] ที่ชื่อว่า ส่อเสียด ขยายความว่า วัตถุสำหรับเก็บมาส่อเสียด

มีได้ด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ของคนผู้ต้องการจะให้เขาชอบ ๑ ของคนผู้

ประสงค์จะให้เขาแตกกัน ๑.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 134

ภิกษุเก็บเอาวัตถุสำหรับส่อเสียดมากล่าวโดยอาการ ๑๐ อย่าง คือ

ชาติ ๑ ชื่อ ๑ โคตร ๑ การงาน ๑ ศิลป ๑ โรค ๑ รูปพรรณ ๑ กิเลส ๑

อาบัติ ๑ คำด่า ๑.

บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า ชาติ ได้แก่กำเนิด มี ๒ คือ กำเนิดทราม ๑ กำเนิดอุกฤษฎ์ ๑.

ที่ชื่อว่า กำเนิดทราม ได้แก่กำเนิดคนจัณฑาล กำเนิดคนจักสาน

กำเนิดพราน กำเนิดคนช่างหนัง กำเนิดคนเทดอกไม้ นี่ชื่อว่ากำเนิดทราม.

ที่ชื่อว่า กำเนิดอุกฤษฏ์ ได้แก่กำเนิดกษัตริย์ กำเนิดพราหมณ์

นี่ชื่อว่า กำเนิดอุกฤษฏ์. ฯลฯ*.

ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่คำด่ามี ๒ คำ คำด่าทราม ๑ คำด่าอุกฤษฏ์ ๑.

ที่ชื่อว่า คำด่าทราม ได้แก่คำด่าว่า เป็นอูฐ เป็นแพะ เป็นโค

เป็นลา เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นสัตว์นรก สุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวัง

ได้แต่ทุคติ คำด่าที่เกี่ยวด้วยยะอักษร ภะอักษร หรือนิมิตของชายและนิมิต

ของหญิง นี่ชื่อว่า คำด่าทราม.

ที่ชื่อว่า คำด่าอุกฤษฏ์ ได้แก่คำด่าว่า เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด

เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ทุคติของท่านไม่มี ท่านต้องหวัง

ได้แต่สุคติ นี่ชื่อว่า คำด่าอุกฤษฎ์.

อุปสัมบันส่อเสียดอุปสัมบัน

พูดเหน็บแนมกระทบชาติทราม

[๒๕๗] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่าเป็นชาติคนจัณฑาล...

* ที่ ฯลฯ ไว้นี้ หมายถึง นาม โคตรเป็นต้น พึงดูในสิกขาบทที่ ๒ ข้อ ๑๘๘

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 135

ชาติคนจักสาน. . . ชาติพราน. . .ชาติคนช่างหนัง. . .ชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบชาติอุกฤษฏ์

[๒๕๘] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่าเป็นชาติกษัตริย์ . .

เป็นชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบชื่อทราม

[๒๕๙] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบัน ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า ชื่อว่าอวกัณณกะ . . .

ชื่อชวกัณณกะ...ชื่อธนิฎฐกะ...ชื่อสวิฏฐกะ...ชื่อกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบชื่ออุกฤษฏ์

[๒๖๐] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่าชื่อพุทธรักขิต ...

ชื่อธัมมรักขิต . . .ชื่อสังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบโคตรทราม

[๒๖๑] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่าเป็น โกสิยโคตระ ...

ภารทวาชโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบโคตรอุกฤษฏ์

[๒๖๒] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ ถูกเหน็บแนมท่านว่า เป็นโคตมโคตร...

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 136

โมคคัลลานโคตร . . .กัจจายนโคตร. . .วาเสฎฐโคตร ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบการงานทราม

[๒๖๓] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นคนทำงาน

ช่างไม้. . . เป็นคนทำงานเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบการงานอุกฤษฏ์

[๒๖๔] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นคนทำงานไถนา

. . . ทำงานค้าขาย . . . ทำงานเลี้ยงโค ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบศิลปทราม

[๒๖๕] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า มีวิชาการช่าง

จักสาน ... มีวิชาการช่างหม้อ . . . มีวิชาการช่างหูก . . .มีวิชาการช่างหนัง .. .

. . .มีวิชาการช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบศิลปอุกฤษฏ์

[๒๖๖] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า มีวิชาการช่างนับ

. . .มีวิชาการช่างคำนวณ . . . มีวิชาการช่างเขียน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 137

พูดเหน็บแนมกระทบโรคทราม

[๒๖๗] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นโรคเรื้อน...

โรคฝี. . โรคกลาก . . . โรคมองคร่อ . .. โรคลมบ้าหมู ดังนี้เป็นต้น ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบโรคอุกฤษฏ์

[๒๖๘] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอำคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นโรคเบาหวาน

ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบรูปพรรณทราม

[๒๖๙] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นคนสูงเกินไป...

ต่ำเกินไป. . . ดำเกินไป.. .ขาวเกินไป ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์

[๒๗๐] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นคนไม่สูงนัก...

ไม่ต่ำนัก ... ไม่ดำนัก. . .ไม่ขาวนัก ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบกิเลสทราม

[๒๗๑] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม

. . .ถูกโทสะย่ำยี . . . ถูกโมหะครอบงำ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ

คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 138

พูดเหน็บแนมกระทบกิเลสอุกฤษฏ์

[๒๗๒] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นผู้ปราศจากราคะ

...ปราศจากโทสะ. . . ปราศจากโมหะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบอาบัติทราม

[๒๗๓] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นผู้ต้องอาบัติ

ปาราชิก . . . อาบัติสังฆาทิเสส . . .อาบัติถุลลัจจัย . . .อาบัติปาจิตตีย์. . . อาบัติ

ปาฎิเทสนียะ . . .อาบัติทุกกฏ. . .อาบัติทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบอาบัติอุกฤษฏ์

[๒๗๔] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า ต้องโสดาบัติ ดังนี้

เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบคำสบประมาททราม

[๒๗๕] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นอูฐ. . .เป็นแพะ

.... เป็นโค . . . เป็นลา. . . . เป็นสัตว์ดิรัจฉาน . . . เป็นสัตว์นรก สุคติของท่าน

ไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเหน็บแนมกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์

[๒๗๖] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นบัณฑิต . . .เป็น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 139

คนฉลาด . . . เป็นคนมีปัญญา. . . เป็นพหูสูต. . . เป็นธรรมกถึก ทุคติของ

ท่านไม่มี ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบชาติทราม ว่ามีบางพวก

[๒๗๗] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ บางพวกเป็นชาติคนจัณฑาล .. . เป็นชาติคนจักสาน .. . เป็นชาติพราน

...เป็นชาติคนช่างหนัง. .. เป็นชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่

ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

[๒๗๘] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ บางพวกเป็นชาติกษัตริย์. . . ชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้น

ไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบชื่อทราม ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกชื่ออวกัณณกะ . . . ชื่อชวกัณณกะ ... ชื่อธนิฏฐกะ ... ชื่อสวิฎฐกะ . ..

ชื่อกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้อง

อาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 140

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบชื่ออุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกชี่อพุทธรักขิต ... ชื่อธัมมรักขิต ... ชื่อสังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ภิกษุ

นั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบโคตรทราม ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกเป็นโกสิยโคตร . . . เป็นภารทวาชโคตร ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่ว่า

คนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบโคตรอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกเป็นโคตมโคตร . . . บางพวกเป็นโมคคัลลานโคตร . . . บางพวกเป็น

กัจจายนโคตร . . . บางพวกเป็นวาเสฏฐโคตร ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น

ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบการงานทราม ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกเป็นคนทำงานช่างไม้. .. เป็นคนทำงานเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ภิกษุ

นั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 141

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกเป็นคนทำงานไถนา . . . เป็นคนทำงานค้าขาย . . . เป็นคนทำงานเลี้ยงโค

ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่านดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบศิลปทราม ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกมีวิชาการช่างจักสาน . . . มีวิชาการช่างหม้อ . . . มีวิชาการช่างหูก . . .

มีวิชาการช่างหนัง. . . มีวิชาการช่างกัลบก ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น

ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกมีวิชาการช่างนับ . . . มีวิชาการช่างคำนวณ. . . มีวิชาการช่างเขียน

ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนบกระทบโรคทราม ว่ามีบางพวก

อุปสัมมันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกเป็นโรคเรื้อน. . . โรคฝี. . . โรคกลาก. . . โรคมองคร่อ. . . โรค

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 142

ลมบ้าหมู ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกเป็นโรคเบาหวาน . . . ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบรูปพรรณทราม ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกสูงเกินไป . . . ต่ำเกินไป . . . ดำเกินไป . . . ขาวเกินไป . . . ภิกษุนั้น

ไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า. มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกไม่สูงนัก.. . ไม่ต่ำนัก . . . ไม่ดำนัก. . . ไม่ขาวนัก . . . ภิกษุนั้นไม่ว่า

คนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบกิเลสทราม ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกถูกราคะกลุ้มรุม ... ถูกโทสะย่ำยี. . . ถูกโมหะครอบงำ. . . ภิกษุนั้น

ไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 143

พูดเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกปราศจากราคะ . . . ปราศจากโทสะ . . . ปราศจากโมหะ . . . ภิกษุนั้น

ไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติทราม ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกต้องอาบัติปาราชิก . . . อาบัติสังฆาทิเสส . . .อาบัติถุลลัจจัย . . . อาบัติ

ปาจิตตีย์ . . . อาบัติปาฏิเทสนียะ .. . อาบัติทุกกฏ . . .อาบัติทุพภาสิต ภิกษุนั้น

ไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกต้องโสดาบัติ. . . ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้อง

อาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบคำสบประมาททราม ว่ามีบางพวก

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บางพวกมีความประพฤติดังอูฐ . . . ดังแพะ. . . ดังโค. . . ดังลา. . . ดังสัตว์

ดิรัจฉาน. . . ดังสัตว์นรก สุคติของภิกษุพวกนั้นไม่มี ภิกษุพวกนั้นต้องหวัง

ได้แต่ทุคติ. . . ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 144

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก

[๒๗๙] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรม-

วินัยนี้ บางพวกเป็นบัณฑิต ... เป็นคนฉลาด . .. เป็นคนมีปัญญา ...เป็น

พหูสูต .. . เป็นธรรมกถึก ทุคติของภิกษุพวกนั้นไม่มี ภิกษุพวกนั้นต้องหวัง

ได้แต่สุคติ . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชาติทราม ว่าพวกไรกันแน่

[๒๘๐] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า ภิกษุจำพวกไรกัน แน่

เป็นชาติคนจัณฑาล .. . ชาติคนจักสาน . . .ชาติพราน . . . ชาติคนช่างหนัง

. . .ชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า ภิกษุจำพวกไรกัน แน่

เป็นชาติกษัตริย์ .. .ชาติพราหมณ์ . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน

ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชื่อทราม ว่าพวกไรกันแน่

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสันบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า ภิกษุจำพวกไรกันแน่

ชื่ออวกัณณกะ . . .ชื่อชวกัณณกะ . . .ชื่อธนิฏฐกะ . . .ชื่อสวิฎฐกะ . . .ชื่อ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 145

กุลวัฑฒกะ . ..ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชื่ออุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า ภิกษุจำพวกไรกันแน่

ชื่อพุทธรักขิต . . . ชื่อธัมมรักขิต .. .ชื่อสังฆรักขิต . .. ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น

ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโคตรทราม ว่าพวกไรกันแน่

...ภิกษุจำพวกไรกันแน่เป็นโกสิยโคตร . . . ภารทวาชโคตร . . . ภิกษุ

นั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโคตรอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

...ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นโคตมโคตร .. . โมคคัลลานโคตร

. . .กัจจายนโคตร . . .วาเสฏฐโคตร . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน

ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบการงานทราม ว่าพวกไรกันแน่

...ภิกษุจำพวกไรกันแน่เป็นช่างไม้ ...คนเทดอกไม้ ... ภิกษุนั้น

ไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

...ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นคนทำงานไถนา ... เป็นคนทำงาน

ค้าขาย ... เป็นคนทำงานเลี้ยงโค .. .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 146

พูดเปรยกระทบศิลปทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ มีวิชาการช่างจักสาน . . . มีวิชาการช่างหม้อ

. . .มีวิชาการช่างหูก . . . มีวิชาการช่างหนัง . . . มีวิชาการช่างกัลบก . . .ภิกษุ

นั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ มีวิชาการช่างนับ . . . มีวิชาการช่างคำนวณ

...มีวิชาการช่างเขียน .. .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้อง

อาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโรคทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นโรคเรื้อน... โรคฝี.. . โรคกลาก...

โรคมองคร่อ. .. โรคลมบ้าหมู .. .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นโรคเบาหวาน . ..ภิกษุนั้น ไม่ว่าคนอื่น

ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกัน แน่ สูงเกินไป . . .ต่ำเกินไป . . .ดำเกินไป

. . .ขาวเกินไป . . . ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 147

พูดเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ไม่สูงนัก . . .ไม่ต่ำนัก . . .ไม่ดำนัก. . .

ไม่ขาวนัก . ..ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบกิเลสทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ถูกราคะกลุ้มรุม . . . ถูกโทสะย่ำยี . . . ถูก

โมหะครอบงำ . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ปราศจากราคะ . . .ปราศจากโทสะ. . .

ปราศจากโมหะ . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่นว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติทราม ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ต้องอาบัติปาราชิก . . .อาบัติสังฆาทิเสส

. . .อาบัติถุลลัจจัย . . .อาบัติปาจิตตีย์ . . .อาบัติปาฎิเทสนียะ . . .อาบัติทุกกฏ

อาบัติทุพภาสิต . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่นนี้ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่าพวกไรกันแน่

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ ต้องโสดาบัติ . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น

ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 148

พูดเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่าพวกไรกันแน่

. . . ภิกษุจำพวกไรกันแน่ มีความประพฤติดังอูฐ . . .ดังแพะ . . .ดังโค

. . . ดังลา . . .ดังสัตว์ดิรัจฉาน . . .ดังสัตว์นรก สุคติของภิกษุพวก นั้นไม่มี

ภิกษุพวกนั้น ต้องหวังได้แต่ทุคติ . . .ภิกษุนั้น ไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์

. . .ภิกษุจำพวกไรกันแน่ เป็นบัณฑิต . . .เป็นคนฉลาด . . .เป็นคน

มีปัญญา . . .เป็นพหูสูต . . .เป็นธรรมกถึก ทุคติของภิกษุพวกนั้นไม่มี ภิกษุ

พวกนั้น ต้องหวังได้แต่สุคติ . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบชาติทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

[๒๘๑] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้พูดเปรยเหน็บแนมว่า พวกเราไม่ใช่ชาติ

คนจัณฑาล . . .ไม่ใช่ชาติคนจักสาน . . .ไม่ใช่ชาติพราน . . .ไม่ใช่ชาติคน

ช่างหนึ่ง ...ไม่ใช่ชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่า

เฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไป

บอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า พวกเราไม่ใช่ชาติกษัตริย์

. . .ไม่ใช่ชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน

ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 149

พูดเปรยกระทบชื่อทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไป

บอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า พวกเราไม่ใช่ชื่อ

อวกัณณกะ . . . ไม่ใช่ชื่อชวกัณณกะ . . .ไม่ใช่ชื่อธนิฎฐกะ . . .ไม่ใช่ชื่อ

สวิฏฐกะ . . .ไม่ใช่ชื่อกุลวัฑฒกะ ...ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้

ต้องอาบัติทุกกุฎ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบชื่ออุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .ภิกษุชื่อนี้พูดเปรยเหน็บแนมว่า พวกเราไม่ใช่ชื่อพุทธรักขิต. . .

ไม่ใช่ชื่อธัมมรักขิต . . .ไม่ใช่ชื่อสังฆรักขิต . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะ

ท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโคตรทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

พวกเราไม่ใช่โกสิยโคตร . . .ไม่ใช่ภารทวาชโคตร . . . ภิกษุนั้น

ไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโคตรอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

พวกเราไม่ใช่โคตมโคตร . . .ไม่ใช่โมคคัลลานโคตร . . .ไม่ใช่

กัจจายนโคตร . . .ไม่ใช่วาเสฏฐโคตร . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน

ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบการงานทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

พวกเราไม่ใช่ช่างไม้ . . .ไม่ใช่คนเทดอกไม้ . . .ภิกษุนั้น ไม่ว่า

คนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 150

พูดเปรยเหน็บแนมกระทบการงานอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ทำงานไถนา . . .ไม่ใช่คนทำงานค้าขาย . . .ไม่ใช่

คนทำงานเลี้ยงโค . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบศิลปทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

...พวกเราไม่ใช่มีวิชาการช่างจักสาน . . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างหม้อ

. . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างหูก . . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างหนัง . . .ไม่ใช่มีวิชาการ

ช่างกัลบก ...ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบศิลปอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่มีวิชาการช่างนับ . . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างคำนวณ

. . .ไม่ใช่มีวิชาการช่างเขียน . . . ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโรคทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นคนโรคเรื้อน . . .ไม่ใช่เป็นโรคฝี. . .ไม่ใช่เป็น

โรคกลาก . . .ไม่ใช่เป็นโรคมองคร่อ . ..ไม่ใช่เป็นโรคลมบ้าหมู .. ภิกษุ

นั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบโรคอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นโรคเบาหวาน . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่า

เฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 151

พูดเปรยกระทบรูปพรรณทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่สูงเกินไป . . .ไม่ใช่ต่ำเกินไป . . .ไม่ใช่ดำเกินไป

. . .ไม่ใช่ขาวเกินไป . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ไม่สูงนัก . . .ไม่ใช่ไม่ต่ำนัก . . .ไม่ใช่ไม่ดำนัก

. . . ไม่ใช่ไม่ขาวนัก . . .ภิกษุนั้น ไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบกิเลสทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ถูกราคะกลุ้มรุม . . . ไม่ใช่ถูกโทสะย่ำยี . . . ไม่ใช่

ถูกโมหะครอบงำ . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ทุกุๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่ปราศจากราคะ . . .ไม่ใช่ปราศจากโทสะ . . .ไม่ใช่

ปราศจากโมหะ . . .ภิกษุนั้น ไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบอาบัติทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก . . .สังฆาทิเสส . . .ถุลลัจจัย

. . .ปาจิตตีย์ . . .ปาฏิเทสนียะ . . .ทุกกฏ . . .ทุพภาสิต . . .ภิกษุนั้นไม่ว่า

คนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 152

พูดเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . . พวกเราไม่ใช่เป็นผู้ต้องโสดาบัติ . . . ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่า

เฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด..

พูดเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่มีความประพฤติดังอูฐ . . .ดังแพะ . . .ดังโค. . . .ดังลา

. . .ดังสัตว์ดิรัจฉาน . . .ดังสัตว์นรก สุคติของพวกเราไม่มี พวกเราต้องหวัง

ได้แต่ทุคติ . . .ภิกษุนั้น ไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทุก ๆ คำพูด.

พูดเปรยกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา

. . .พวกเราไม่ใช่เป็นบัณฑิต . . .ไม่ใช่เป็นคนฉลาด . . .ไม่ใช่เป็น

คนมีปัญญา . . .ไม่ใช่เป็นพหูสูต . . .ไม่ใช่เป็นธรรมกถึก ทุคติของพวกเรา

ไม่มี พวกเราต้องหวังได้แต่สุคติ . . .ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้

ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.

ต้องอาบัติตามวัตถุ

[๒๘๒] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด

ไปบอกแก่อุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอนุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 153

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอนุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก

แก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อานาปัตติวาร

[๒๘๓] ภิกษุไม่ต้องการจะให้เขาชอบ ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะให้เขา

แตกกัน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

มุสาวาทวรรค เปสุญญาวาทสิกขาบทที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์]

บทว่า ภณฺฑนซาตาน ได้แก่ ผู้เกิดบาดหมางกันแล้ว. ส่วนเบื้องต้น

แห่งความทะเลาะกัน ชื่อว่า ภัณฑนะ (ความบาดหมาง). คือ การปรึกษา

กันในฝักฝ่ายของตน อาทิว่า เมื่อเขากล่าวคำอย่างนี้ว่า กรรมอย่างนี้ อัน

คนนี้และคนนี้กระทำแล้ว พวกเราจักกล่าวอย่างนี้ (ชื่อว่า ภัณฑนะ ความ

บาดหมาง). การล่วงละเมิดทางกายและวาจา ให้ถึงอาบัติ ชื่อว่า กลหะ

(การทะเลาะ). การกล่าวขัดแยงกัน ชื่อว่า วิวาทะ. พวกภิกษุผู้ถึงความวิวาท

กันนั้น ชื่อว่า วิวาทาปันนะ.

บทว่า เปสุญฺ ได้แก่ ซึ่งวาจาส่อเสียด. มีคำอธิบายว่า ซึ่งวาจา

ทำให้สูญเสียความเป็นที่รักกัน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 154

บทว่า ภุกฺขุเปสุญฺเ ได้แก่ ในเพราะคำส่อเสียดภิกษุทั้งหลาย,

อธิบายว่า ในเพราะคำส่อเสียดที่ภิกษุฟังจากภิกษุแล้วนำเข้าไปบอกแก่ภิกษุ.

สองบทว่า ทฺวีหิ อากาเรหิ ได้แก่ ด้วยเหตุ ๒ อย่าง.

บทว่า ปิยกมฺยสฺส วา คือ ของผู้ปรารถนาให้คนเป็นที่รักของเขาว่า

เราจักเป็นที่รักของผู้นี้ อย่างนั้น หนึ่ง

บทว่า เภทาธิปฺปายสฺส วา คือ ของผู้ปรารถนาความแตกร้าว

แห่งคนหนึ่งกับคนหนึ่ง ว่า คนนี้จักแตกกันกับคนนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ หนึ่ง.

บททั้งปวง มีบทว่า ชาติโต วา เป็นอาทิ มีนัยดังกล่าวแล้วใน

สิกขาบทก่อนนั่นแล. แม้ในสิกขาบทนี้ ชนทั้งหมดจนกระทั่งนางภิกษุณีเป็นต้น

ก็ชื่อว่า อนุปสัมบัน.

สองบทว่า น ปิยกมฺยสฺส น เภทาธิปฺปายสฺส มีความว่า ไม่

เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เห็น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังด่า และรูปหนึ่งอดทนได้แล้วกล่าว

เพราะคนเป็นผู้มักติคนชั่วอย่างเดียว โดยท่านองนี้ว่า โอ! คนไม่มียางอาย

จักสำคัญคนดีชื่อแม้เช่นนี้ว่า ตนควรว่ากล่าวได้เสมอ บทที่เหลือมีอรรถตื้น

ทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ วาจากับจิต ๑

กายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม

วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ฉะนั้นแล.

เปสุญญวาทสิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 155

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๒๘๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระฉัพพัคคีย์ยังเหล่าอุบายสกให้กล่าวธรรมโดยบท พวกอุบายสกจึงไม่เคารพ

ไม่ยำเกรง ไม่พระพฤติให้ถูกอัธยาศัยในหมู่ภิกษุอยู่.

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่

ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ยังเหล่า

อุบายสกให้กล่าวธรรมโดยบท เหล่าอุบายสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ประพฤติ

ให้ถูกอัธยาศัยในหมู่ภิกษุอยู่ แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ

เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอยังเหล่าอุบาสก ให้กล่าวธรรมโดยบท

เหล่าอุบายสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ประพฤติให้ถูกอัธยาศัยในหมู่ภิกษุอยู่

จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ยังเหล่าอุบาสกให้กล่าวธรรมโดยบทเล่า พวกอุบายสกจึงไม่เคารพ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 156

ไม่ยำเกรง ไม่ประพฤติให้ถูกอัธยาศัยในหมู่ภิกษุอยู่ ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย

การกระทำของพวกเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๕๓.๔. อนึ่ง ภิกษุใดยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมโดยบท

เป็นปาจิตตีย์.

เรื่อง พระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๘๕] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด .. .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่า

อนุปสัมบัน.

[๒๘๖] ที่ชื่อว่า โดยบท ได้แก่ บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ.

ที่ชื่อว่า บท คือ ขึ้นต้นพร้อมกัน ให้จบลงพร้อมกัน.

ที่ชื่อว่า อนุบท คือ ขึ้นต้นต่างกัน ให้จบลงพร้อมกัน.

ที่ชื่อว่า อนุอักขระ คือ ภิกษุสอนว่า รูป อนิจฺจ อนุปสัมบัน

กล่าวพร้อมกันว่า รู ดังนี้ แล้วหยุด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 157

ที่ชื่อว่า อนุพยัญชนะ คือ ภิกษุสอนว่า รูป อนิจฺจ อนุปสัมบัน

เปล่งเสียงรับว่า เวทนา อนิจฺจา.

บท ก็ดี อนุบท ก็ดี อนุอักขระ ก็ดี อนุพยัญชนะ ก็ดี ทั้งหมด

นั้น ชื่อว่าธรรมโดยบท.

ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ บาลีที่เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิภาษิต

เทวตาภาษิต ซึ่งประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม.

บทว่า ให้กล่าว คือ ให้กล่าวโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ บท

ให้กล่าวโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ อักขระ.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๒๘๗] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้กล่าวธรรม

โดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 158

ไม่ต้องอาบัติ

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ไม่

ต้องอาบัติ.

อานาปัตติวาร

[๒๘๘] ภิกษุให้สวดพร้อมกัน ๑ ท่องพร้อมกัน ๑ อนุปสัมบันผู้

กล่าวอยู่ สวดอยู่ ซึ่งคัมภีร์ที่คล่องแคล่วโดยมาก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

มุสาวาทวรรค ปทโสธัมมสิกขาบทที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ ดังต่อไปนี้

[แก้อรรถบางปาฐะว่าด้วยการสอนธรรมโดยบท]

บทว่า อปฺปติสฺสา ได้แก่ ไม่ยำเกรง, อธิบายว่า เมื่อพวกภิกษุ

ฉัพพัคคีย์กล่าวว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ! แม้ถ้อยคำก็ไม่อยากฟัง คือ ไม่

เอื้อเฟื้อ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ไม่มีความยำเกรง ไม่ประพฤติอ่อนน้อม.

บทว่า อสภาควุตฺติกา ได้แก่ ผู้มีความเป็นอยู่ไม่ถูกส่วนกัน ;

อธิบายว่า ผู้มีความประพฤติไม่ดำเนินไปเหมือนอย่างที่พวกอุบาสกควร

ประพฤติในหมู่ภิกษุ

คำว่า ปทโส ธมฺม วาเจยฺย ความว่า ให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ

รวมกัน (กับ อนุปสัมบัน), อธิบายว่า ให้กล่าว (ธรรม) เป็นโกฏฐาส ๆ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 159

(เป็นต้นส่วน ๆ). ก็เพราะบทที่มีชื่อว่าโกฎฐาสนั้น มีอยู่ ๔ อย่าง. ฉะนั้น เพื่อ

แสดงบททั้ง ๔ อย่างนั้น พระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ในบทภาชนะว่า บท

อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ.

บรรดาบทเป็นต้นนั้น บท หมายเอาคาถาบาทหนึ่ง. อนุบท หมายเอา

บาทที่สอง. อนุอักขระ หมายเอาอักขระตัวหนึ่ง ๆ (หมายเอาอักขระแต่ละตัว).

อนุพยัญชนะ หมายเอาพยัญชนะตัวท้ายคล้ายกับพยัญชนะตัวต้น. ผู้ศึกษาพึง

ทราบความต่างกัน ในบทเป็นต้นนั่นอย่างนี้ คือ อักขระแต่ละตัวชนิดใด

ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า อนุอักขระ ประชุมอักขระ ชื่อว่า อนุพยัญชนะ, ประชุม

อักขระและอนุพยัญชนะ ชื่อว่า บท, บทแรก ชื่อว่า บทเหมือนกัน บท

ที่สอง ชื่อว่า อนุบท.

บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปท นาม เอกโต ปฏฺ-

เปตฺวา เอกโต โอสาเปนฺติ ต่อไป เมื่อภิกษุให้กล่าวธรรม เนื่องด้วย

คาถา เริ่มบทแต่ละบทนี้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา พร้อมกันกับอนุปสัมบัน

แล้วให้จบลงก็พร้อมกัน. แม้สำหรับภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ ก็พึงปรับปาจิตตีย์

หลายตัวตามจำนวนบท.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อนุปท นาม ปาเฏกฺก ปฏฺเปตฺวา

เอกโต โอสาเปนฺติ ต่อไป :- เมื่อพระเถระกล่าวว่า มโนปุพฺพงฺคมา

ธมฺมา ดังนี้ สามเณรกล่าวบทนั้นไม่ทัน จึงกล่าวบทที่สองพร้อมกันว่า

มโนเสฏฺา มโนมยา. ภิกษุและสามเณรทั้งสองรูปนี้ ชื่อว่าขึ้นต้นต่างกัน

ให้จบลงพร้อมกัน. แม้สำหรับภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ ก็พึงปรับปาจิตตีย์หลายตัว

ตามจำนวนอนุบท.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 160

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อนฺวกฺขร นาม รูป อนิจฺจนฺติ

วุจฺจมาโน รูติ โอปาเตติ ต่อไป:- ภิกษุสอนสามเณรว่า แน่ะสามเณร !

เธอจงว่า รูป อนิจฺจ กล่าวพร้อมกันเพียงรู- อักษรเท่านั้น แล้วหยุดอยู่.

แม้สำหรับภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ ก็พึงปรับปาจิตตีย์หลายตัวตานจำนวนอนุ-

อักขระ. และแม้ในคาถาพันธ์ บัณฑิตก็ย่อมได้นัยเช่นนี้เหมือนกันแท้ทีเดียว.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อนุพฺยญฺชน นาม รูป อนิจฺจนฺติ

วุจฺจมาโน เวทนา อนิจฺจาติ สทฺท นิจฺฉาเรติ ต่อไป:- สามเณร

ให้บอกสูตรนี้ว่า รูป ภิกฺขเว อนิจฺจ เวทนา อนิจฺจา เป็นต้น พระเถระ

บอกว่า รูป อนิจจ ดังนี้ เปล่งวาจากล่าวอนิจจบทนี้ว่า เวทนา อนิจฺจา

พร้อมกับอนิจจบทของพระเถระว่า รูป อนิจฺจ นี้ เพราะเป็นผู้มีปัญญาว่องไว.

แม้สำหรับภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ พระวินัยธรก็พึงปรับปาจิตตีย์หลายตัวตาม

จำนวนอนุพยัญชนะ. ส่วนความสังเขปในบทเหล่านี้มีดังนี้ว่า บรรดาบท

เป็นต้นนี้ ภิกษุกล่าวบทใด ๆ พร้อมกัน ย่อมต้องอาบัติด้วยบทนั้น ๆ.

[ว่าด้วยภาษิต ๔ มีพุทธภาษิตเป็นต้น]

วินัยปิฎกทั้งสิ้น อภิธรรมปิฎก ธรรมบท จริยาปิฎก อุทาน

อติวุทคกะ ชาตกะ สุตตนิบาท วิมานวัตถุ เปตวัตถุ และพระสูตรทั้งหลาย

มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น ชื่อว่า พุทธภาษิต.

ธรรมที่พวกสาวกผู้นับเนื่องในบริษัท ๔ ภาษิตไว้ มีอนังคณสูตร

สัมมาทิฏฐิสูจร อนุมานสูตร จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตรเป็นต้น ชื่อว่า

สาวกภาษิต.

ธรรมที่พวกปริพาชกภายนอกกล่าวไว้ มีอาทิอย่างนี้ คือ ปริพาชก

วรรคทั้งสิ้น คำปุจฉาของพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นอันเตวาสิกของพราหมณ์

ชื่อพาวรี ชื่อว่า อิสิภาษิต.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 161

ธรรมที่พวกเทวดากล่าวไว้ ชื่อว่า เทวตาภาษิต. เทวจตาภาษิตธรรม

นั้น บัณฑิตพึงทราบ ด้วยอำนาจแห่งเรื่องมีเทวดาสังยุตต์ เทวปุตตสังยุตต์

มารสังยุตต์ พรหมสังยุตต์ และสักกสังยุตต์เป็นต้น .

บทว่า อตฺถูปสญฺหิโต ได้แก่ ธรรมที่อาศัยอรรถกถา.

บทว่า ธมฺมูปสญฺหิโต ได้แก่ ธรรมที่อาศัยพระบาลี. แม้ด้วยบท

ทั้งสองนี้ พระอุบาลีเถระกล่าวธรรมที่อาศัยนิพพานซึ่งปราศจากวัฎฏะนั่นเอง.

จะกล่าวถึงธรรมที่อาศัยนิพพานซึ่งปราศจากวัฎฏะ แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น ก็เป็น

อาบัติแก่.ภิกษุผู้ให้กล่าวธรรมที่ขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๓ คราว โดยบทเหมือนกัน . ไม่

เป็นอาบัติแม้ไม่คำที่อาศัยพระนิพพาน ซึ่งท่านรจนาไว้ โดยผูกเป็นคาถาโศลก

เป็นต้น ด้วยอำนาจภาษาต่าง ๆ.

แม้ในสูตรที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่สังคีติ ๓ คราว เช่นนี้ คือ กุลุมพสูตร

ราโชวาทสูตร ติกขินทริยสูตร จตุปริวัตตสูตร และนันโทปนันทสูตร ก็เป็น

อาบัติเหมือนกัน ถึงการทรมานพญานาค ชื่อว่าอปลาละ อาจารย์ก็กล่าวไว้

(ด้วยอำนาจก่อให้เกิดอาบัติ) แต่ในมหาปัจจรีท่านปฎิเสธ (อธิบายว่าไม่ เป็น

อาบัติ).

ในปฏิภาณส่วนตัวของพระเถระ ในเมณฑกมิลินทปัญหา ไม่เป็น

อาบัติ. (แต่) เป็นอาบัติในถ้อยคำที่พระเถระนำมากล่าว เพื่อให้พระราชาทรง

ยินยอม.

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ก็ปกรณ์ทั้งหลายมีอาทิ คือ วัณณปิฎก

อังคุลิมาลปิฎก รัฐปาลครรชิต อาลวกครรชิต คุฬหอุมมังคะ คุฬหเวสสันดร

คุฬหวินัย เวทัลลปิฎก เป็นต้น ไม่เป็นพุทธพจน์แท้

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ธรรมชื่อว่า สีลูปเทส พระธรรมเสนาบดี

กล่าวไว้ ในธรรมนั้น เป็นอาบัติเหมือนกัน ยังมีปกรณ์แม้อื่น เช่น มัคคกถา

* เป็นพระสูตรฝ่ายมหายาน ของเราไม่มี-ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 162

อารัมมณกถา วุฑฒิกรัณฑกญาณวัตถุ และอสุภกถาเป็นต้น ในปกรณ์

เหล่านั้น ท่านจำแนกโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ไว้. ในธุดงคปัญหา ท่านจำแนก

ปฏิปทาไว้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นอาบัติในปกรณ์เหล่านั้น.

แต่ในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวอาบัติไว้ ในจำพวก

ราโชวาทสูตร ติกขินทริยสูตร จตุปริวัตตสูตร นันโทปนันทสูตร กุลุมพสูตร*

นั่นแล ซึ่งไม่ขึ้นสู่สังคีติ แล้วกำหนดอรรถไว้ดังนี้ว่า บรรดาคำที่เหลือ เฉพาะ

คำที่ท่านนำมาจากพุทธพจน์กล่าวไว้เท่านั้น เป็นวัตถุแห่งอาบัติ นอกจากนี้

หาเป็นไม่.

คำว่า เอกโต อุทฺทิสาเปนฺโต มีความว่า ภิกษุแม้เรียนบาลีร่วม

กับอนุปสัมบันกล่าวพร้อมกัน ไม่เป็นอาบัติ.

ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- อุปสัมบันกับอนุปสัมบันนั่นแล้ว

ขอให้อาจารย์สวด อาจารย์คิดว่า เราจะสวดแก่อุปสัมบันและอนุปสัมบัน

ทั้งสองผู้นั่งแล้ว จึงสวดพร้อมกันกับเธอเหล่านั้น. เป็นอาบัติแก่อาจารย์ เป็น

อนาบัติแก่ภิกษุผู้เรียนเอาพร้อมกับอนุปสัมบัน. แม้อุปสัมบันกับอนุปสัมบัน

ทั้งสองยืนเรียนอยู่ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน ภิกษุหนุ่มนั่ง สามเณรยืน, ไม่

เป็นอาบัติแก่อาจารย์ผู้บอก ด้วยคิดว่า เราจะกล่าวแก่ภิกษุผู้นั่ง. ถ้าภิกษุหนุ่ม

ยืน ฝ่ายสามเณรนั่ง ไม่เป็นอาบัติแม้แก่อาจารย์ผู้ ล่าวอยู่ ด้วยติดว่า เราจะ

กล่าวแก่ภิกษุผู้ยืน.

ถ้าสามเณรรูปหนึ่งงอยู่ในระหว่างภิกษุมากรูป เป็นอจิตตกาบัติแก่

อาจารย์ผู้ให้กล่าวธรรมโดยบทในเพราะสามเณรนั่งอยู่ด้วย.

ถ้าสามเณรยืนหรือนั่งละอุปจารเสีย เพราะสามเณรไม่นับเนื่องอยู่ใน

พวกภิกษุที่อาจารย์ให้กล่าว (ธรรมโดยบท) เธอจึงถึงการนับว่า เรียนเอาคัมภีร์

เล็ดลอดออกไปโดยทิศาภาคหนึ่ง; เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติ(แก่อาจารย์)

* เป็นพระสูตรฝ่ายมหายาน ของเราไม่มี. - ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 163

คำว่า เอกโต สชฺฌาย กโรนฺโต มีความว่า อุปสันบันเมื่อกระทำ

การสาธยายร่วมกันกับอนุปสัมบัน สวดพร้อมกันกับอนุปสัมบันนั้นแล ไม่เป็น

อาบัติ. แม้ภิกษุเรียนอุเทศในสำนักแห่งอนุปสัมบัน สวดร่วมกับอนุปสัมบันนั้น

ก็ไม่เป็นอาบัติ. เพราะว่า แม้อุปสัมบันนี้ก็ถึงอันนับว่า กระทำสาธยายพร้อม

กันแท้.

คำว่า เยภุยฺเยน ปคุณ คณฺ ภณนฺต โอปาเตติ มีความว่า

ถ้าในคาถาเดียวกัน บาทหนึ่ง ๆ ยังจำไม่ได้ ที่เหลือจำได้ นี้ชื่อว่าคัมภีร์ที่

คล่องแคล่ว โดยมาก. แม้ในพระสูตร ผู้ศึกษาก็พึงทราบโดยนัยนี้. ไม่เป็น

อาบัติแก่ภิกษุผู้ทักให้คัณฐะนั้นค้างอยู่ จึงสวดแม้พร้อมกันด้วยกล่าวว่า เธอ

จงสวดอย่างนี้.

สองบทว่า โอสาเรนฺต โอปาเตติ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่

ภิกษุผู้กล่าวกะอนุปสัมบันผู้สวดสูตรวกวนอยู่ ในท่ามกลางบริษัทว่า เธอจง

สวดอย่างนี้ แล้วสวดแม้พร้อมกันกับอนุปสัมบันนั้น. ก็ดำใดที่ท่านกล่าวไว้

ในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้นนี้ว่า ภิกษุผู้อันอนุปสัมบันกล่าวว่า ท่านอยู่สวด

กับผม ถ้าสวดเป็นอนาบัติ ดังนี้. คำนั้นไม่มีในมหาอรรถกถา. ก็ภาวะแห่ง

คำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้น นั้นไม่มีเลย ถูกแล้ว (ก็ความที่

อาบัติไม่มีแก่ภิกษุนั้นเลย ถูกแล้ว). เพราะเหตุไร ? เพราะอาบัติเกิดจากการ

กระทำ. แต่เมื่อมีการถือเอาอรรถนอกนี้ สิกขาบทนี้ จะพึงเป็นทั้งกิริยาทั้ง

อกิริยาบท ที่เหลือในสิกขาบทนี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีธรรมโดยบทเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางวาจา ๑ วาจา

กับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ วจีกรรม

มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ปทโสธัมมสิกขาบทที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 164

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระนวกะ

[๒๘๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ

อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี ครั้งนั้น พวกอุบาสกพากันมาสู่อารามเพื่อ

ฟังธรรม เมื่อพระธรรมกถึกแสดงธรรมจบแล้ว ภิกษุชั้นเถระกลับไปยังที่อยู่

ภิกษุชั้นนวกะสำเร็จการนอนร่วมกับพวกอุบายยสกอยู่ในศาลาที่ฟังธรรมนั้นเอง

เผลอสติ ไม่รู้สึกตัว เป็นผู้เปลือยกายละเมื่อ กรนอยู่.

พวกอุบาสกต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่าไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย

จึงได้สำเร็จการนอนเผลอสติ ไม่รู้สึกตัว เป็นผู้เปลือยกายละเมอ กรนอยู่เล่า.

ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกเหล่านั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่

บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา

ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงได้สำเร็จการนอน

ร่วมกับอนุปสัมบันเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุ

ทั้งหลายสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน

โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้สำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันเล่า การกระทำ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 165

ของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

หรือเพื่อด้วยยามเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๕๔. ๕. ก. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับ อนุปสัมบัน

เป็นปาจิตตีย์ .

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระนวกะ จบ

เรื่องสามเณรราหุล

[๒๙๐] กาลต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองอาฬวี ตาม

พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครโกสัมพี เสด็จ

จาริกโดยลำดับ ถึงพระนครโกสัมพีแล้ว ข่าวว่าพระองค์ประทับอยู่ ณ พทริ-

การาม เขตพระนครโกสัมพีนั้น

ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวคำนี้กะท่านสามเณรราหุลว่า อาวุโสราหุล พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงสำเร็จการนอนร่วมกับ อนุป-

สัมบัน อาวุโสราหุล ท่านจงรู้สถานที่ควรนอน

วันนั้น ท่านสามเณรราหุลหาที่นอนไม่ได้จึงสำเร็จการนอนในวัจจกุฎี

ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตื่นบรรทมแล้ว ได้

เสด็จไปวัจจกุฎี ครั้นถึงจึงทรงพระกาสะ แม้ท่านราหุลก็กะแอมรับ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 166

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานว่า ใครอยู่ในวัจจกุฎีนี้

ท่านสามเณรราหุลทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าราหุล พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานว่า ดูก่อนราหุล เหตุไรเธอจึงนอน ณ ที่นี้

จึงท่านสามเณรราหุล กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้สำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๒-๓ คืน...

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้แสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๕๔. ๕. ข. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน

ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องสามเณรราหุล จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๙๑] บทว่า อนึ่ง ...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. ..

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...

นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์โนอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้น ภิกษุ นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน.

บทว่า ยิ่งกว่า ๒ ๓ คืน คือเกินกว่า ๒-๓ คืน4

บทว่า ร่วม คือด้วยกัน.

ที่ชื่อว่า การนอน ได้แก่ภูมิสถานเป็นที่นอนอันเขามุงทั้งหมด บัง

ทั้งหมด มุงโดยมาก บังโดยมาก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 167

คำว่า สำเร็จการนอน ความว่า ในวันที่ ๔ เมื่อพระอาทิตย์อัส-

คงคตแล้ว อนุปสัมบันนอนแล้ว ภิกษุนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุนอนแล้ว อนุปสัมบันนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

หรือนอนทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ลุกขึ้นแล้ว กลับนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๒๙๒] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สำเร็จการนอน

ร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า

๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ

ในสถานที่มุงกึ่ง บังกึ่ง ภิกษุสำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน

ต้องอาบัติทุกกฏ

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า

๒- ๓ คืน ต้องอาบัติทุกกฏ

อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้อง

อาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 168

ไม่ต้องอาบัติ

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า

๒-๓ คืน ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๒๙๓] ภิกษุอยู่ ๒-๓ คืน ๑ ภิกษุอยู่ไม่ถึง ๒-๓ คืน ๑ ภิกษุ

อยู่ ๒ คืนแล้วคืนที่ ๓ ออกไปก่อนอรุณ แล้วอยู่ใหม่ ๑ อยู่ในสถานที่มุงทั้ง

หมด ไม่บังทั้งหมด ๑ อยู่ในสถานที่บังทั้งหมด ไม่มุงทั้งหมด ๑ อยู่ใน

สถานที่ไม่มุงโดยมาก ไม่บังโดยมาก ๑ อนุปสัมบันนอน ภิกษุนั่ง ๑ ภิกษุ

นอน อนุปสัมบันนั่ง ๑ หรือนั่งทั้งสอง ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิ-

กะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 169

มุสาวาทวรรค สหเสยยสิกขาบทที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถเรื่องพระนวกะและสามเณรราหุล]

สองบทว่า มุฏฺสฺสตี อสมฺปชานา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วย

อำนาจการไม่ทำสติสัมปชัญญะในบุรพภาค. ก็ในกาลที่จิตจิตหยั่งสู่ภวังค์ สติ-

สัมปชัญญะจักมีแต่ที่ไหน ?

บทว่า วิกุชฺชมานา คือ ละเมออยู่.

บทว่า กากากจฺฉมานา ได้แก่ เปล่งเสียงไม่มีความหมาย ดุจ

เสียงกา ทางจมูก.

บทว่า อุปาสกา ได้แก่ พวกอุบาสกที่ลุกขึ้นก่อนกว่า.

สองบทว่า เอตทโวจุ มีความว่า ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวคำนี้ว่า

" ท่านราหุล ! สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว ดังนี้ ด้วย

เคารพในสิกขาบทนั่นเที่ยว. แต่โดยปกติ เพราะความเคารพในพระผู้มีพระภาค

เจ้า และเพราะท่านราหุลเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ภิกษุเหล่านั้น เมื่อท่านราหุล

นั้นมายังที่อยู่ จึงปูลาดเตียงเล็ก ๆ หรือพนักพิง อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่

แล้วถวายจีวร (สังฆาฎิ) หรืออุตราสงค์ เพื่อต้องการให้ทำเป็นเครื่องหนุน-

ศีรษะ. ในข้อที่ท่านพระราหุลเป็นผู้ใคร่ในการศึกษานั้น (มีคำเป็นเครื่องสาธก)

ดังต่อไปนี้.

ทราบว่า ภิกษุทั้งหลาย เห็นท่านราหุลนั้นกำลังมาแต่ไกลเทียว ย่อม

วางไม้กวาดกำและกระเช้าเทขยะไว้ข้างนอก. ต่อมา เมื่อภิกษุพวกอื่นกล่าวว่า

ท่านผู้มีอายุ นี้ใครเอามาวางทิ้งไว้ ดังนี้ ภิกษุอีกพวกหนึ่งจะกล่าวว่าอย่างนี้ว่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 170

ท่านผู้เจริญ ท่านราหุลเที่ยวมาในประเทศนี้ ชะรอยเธอวางทิ้งไว้กระมัง.

ส่วนท่านราหุลนั้น ไม่เคยพูดแม้ในวันหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่การกระทำของผมขอรับ

เก็บงำไม้กวาดกำเป็นต้นนั้นแล้ว ขอขมาภิกษุทั้งหลายก่อน จึงไป.

หลายบทว่า วจฺจกุฏิย เสยฺย กปฺเปสิ มีความว่า ท่านราหุลนั้น

เพิ่มพูนอยู่ซึ่งความเป็นผู้ใคร่ในสิกขานั้นนั่นเอง จึงไม่ไปสู่สำนักแห่งพระธรรม

เสนาบดี พระมหาโมคคัลลานะ และพระอานนทเถระเป็นต้น สำเร็จการนอน

ในเวจกุฎีที่บังคนของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ได้ยินว่า กุฎีนั้น เขาติดบานประตู

ไว้ ทำการประพรมด้วยของหอม มีพวงดอกไม้แขวนไว้เค็ม ตั้งอยู่ ดุจเจติย-

สถาน ไม่ควรแก่การบริโภคใช้สอยของตนเหล่าอื่น.

สองบทว่า อุตฺตริ ทฺวิรตฺตติรตฺต มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ทรงประทานบริหารสิ้น ๓ ราตรี เพื่อต้องการทำความสงเคราะห์แก่พวก

สามเณร. จริงอยู่ การที่ภิกษุให้พวกเด็กในสกุลบวชแล้ว ไม่อนุเคราะห์ ไม่

สมควร.

บทว่า สหเสยฺย คือ การนอนร่วมกัน. แม้การนอน กล่าวคือ

การทอดกาย ท่านเรียกว่า ไสย. ภิกษุทั้งหลายนอนในเสนาสนะใด แม้

เสนาสนะนั้น (ท่านเรียกว่า ไสย ที่นอน). บรรดาที่นอนสองอย่างนั้น เพื่อ

ทรงแสดงเสนาสนะก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยา นาม

สพฺพจฺฉนฺนา ดังนี้

เพื่อทรง แสดงการเหยียดกาย จึงตรัสคำมีว่า อนุปสมฺปนฺเน นิปนฺเน

ภิกฺขุ นิปชฺชติ (เมื่ออนุปสัมบันนอน ภิกษุก็นอน) เป็นต้น. เพราะฉะนั้น

ในคำว่า เสยฺย กปฺเปยฺย นี้ มีเนื้อความดังนี้ว่า ภิกษุเข้าไปสู่ที่นอน

กล่าวคือเสนาสนะ พึงสำเร็จ คือ พึงจัดแจง ได้แก่ ยังการนอน คือ การ

เหยียดกายให้สำเร็จ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 171

[อธิบายลักษณะแห่งที่นอนคือเสนาสนะต่าง ๆ กัน]

ก็ด้วยบทว่า สพฺพจฺฉนฺนา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสลักษณะ

แห่งที่นอน กล่าวคือเสนาสนะนั้น. เพราะเหตุนั้น เสนาสนะใด มุงทั้งหมด

ทีเดียว ในเบื้องบนด้วยเครื่องมุง ๕ ชนิด หรือด้วยวัตถุอะไร ๆ อื่นก็ตาม,

ที่นอนนี้ ชื่อว่ามุงทั้งหมด.

แต่ในอรรถกถาทั้งหลาย ท่านถือเอาโวหารที่ปรากฎ กล่าวด้วยอำนาจ

คำคล่องปากว่า ที่นอนอันมุงด้วยเครื่องมุง ๕ ชนิด ชื่อว่า มุงทั้งหมด ดังนี้

แม้ท่านกล่าวคำนั้นไว้แล้วก็จริง, ถึงกระนั้น ก็ไม่อาจทำให้ไม่เป็นอาบัติแม้แก่

ภิกษุผู้อยู่ในกุฎีผ้าได้ เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา พึงทราบเครื่องมุงและเครื่องบัง

ในสิกขาบทนี้ ชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งสามารถปิดบังได้.

จริงอยู่ เมื่อถือเอาเครื่องมุง ๕ ชนิดเท่านั้น การนอนร่วมในกุฎี

แม้ที่มุงด้วยไม้กระดาน ก็ไม่พึงมีได้. ก็เสนาสนะใด ที่เขากั้นทั้งแต่พื้นดิน

จนจดหลังคาด้วยกำแพง หรือด้วยวัตถุอะไร ๆ อื่นก็ตาม โดยที่สุด แม้ด้วย

ผ้า ที่นอนนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า บังทั้งหมด.

ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถากุรุนทีว่า ที่นอนแม้ที่เขากั้นด้วยเครื่องกั้นมี

กำแพงเป็นต้น สูงศอกคืบโดยบรรยายอย่างต่ำที่สุด ไม่จดหลังคา จัดว่าบัง

ทั้งหมดเหมือนกัน. ก็เพราะที่ที่มุงข้างบนมากกว่า ที่ไม่ได้มุงน้อย หรือว่าที่

ที่เขากั้นโดยรอบมากกว่า ที่ไม่ได้กั้นน้อย ฉะนั้น ที่นอนนี้ จึงชื่อว่า มุง-

โดยมาก บังโดยมาก.

ก็ปราสาทที่ประกอบด้วยลักษณะอย่างนี้ ถ้าแม้นมีถึง ๗ ชั้น มีอุปจาร

เดียวกัน หรือว่า ศาลา ๔ มุข มีห้องตั้งร้อย ก็ถึงอันนับว่า ที่นอนอันเดียว

กันแท้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงที่นอนนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ใน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 172

วันที่ ๔ เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงคตแล้ว อนุปสัมบันนอน ภิกษุก็นอน ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ดังนี้ . และเป็นปาจิตตีย์ โดยเพียงแต่นอนบนที่นอนนั้นเท่านั้น .

ก็ถ้าว่า มีสามเณรมากรูป ภิกษุรูปเดียว เป็นปาจิตตีย์หลายตัวตาม

จำนวนสามเณร ถ้าหากว่าสามเณรเหล่านั้นผุดลงผุดนอน ภิกษุต้องอาบัติทุก ๆ

ประโยคของสามเณรเหล่านั้น. ก็ด้วยการผุดลงผุดนอนของภิกษุ เป็นอาบัติ

แก่ภิกษุ เพราะประโยคของภิกษุนั่นเอง.

ถ้าภิกษุมากรูป สามเณรรูปเดียว . แม้สามเณรรูปเดียว ก็ทำให้เป็น

อาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด. แม้ด้วยการผุดลงผุดนอนของสามเณรนั้น ก็เป็นอาบัติ

แก่ภิกษุทั้งหลายเหมือนกัน. ถึงในความที่ภิกษุและสามเณรมากรูปด้วยกัน ทั้ง

สองฝ่าย ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

[อธิบายจตุกกะ ๔ มีอาวาสจตุกกะเป็นต้น]

อีกนัยหนึ่ง ในสิกขาบทนี้ พึงทราบหมวด ๔ แม้มียำวาสแห่งเดียว

เป็นต้น. ความพิสดารว่า ภิกษุใด สำเร็จการนอนร่วมกันกับอนุปสัมบันเพียง

คนเดียวในอาวาสแห่งเดียวกันสิ้น ๓ ราตรี เป็นอาบัติทุกวัน จำเดิมแต่วันที่ ๔

แก่ภิกษุแม้นั้น ฝ่ายภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมสิ้น ๓ ราตรี กับอนุปสัมบัน

ต่างกันหลายคน ในอาวาสแห่งเดียวนั่นเอง เป็นอาบัติทุกวันแก่ภิกษุแม้นั้น

(จำเดิมแต่วันที่ ๔) แม้ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วม สิ้น ๓ ราตรีกับอนุปสัมบัน

เพียงคนเดียวเท่านั้น ในอาวาสต่าง ๆ กัน เป็นอาบัติทุก ๆ วัน แม้แก่ภิกษุ

นั้น (จำเดิมแต่วันที่ ๔). แม้ภิกษุใดเดินทางสิ้นระยะตั้ง ๑๐๐ โยชน์ สำเร็จ

การนอนร่วม (สิ้น ๓ ราตรี) กับอนุปสัมบันต่างกันหลายคน ในอาวาสต่าง ๆ

กันเป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้นทุก ๆ วัน นับแค่วันที่ ๔ ไป.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 173

ก็ชื่อว่า สหเสยยาบัตินี้ ย่อมเป็นแม้กับสัตว์เดียรัจฉาน เพราะพระ

บาลีว่า ที่เหลือ เว้นภิกษุ ชื่อว่า อนุปสัมบัน. ในสหเสยยาบัตินั้น การ-

กำหนดสัตว์เดียรัจฉาน พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในเมถุนธรรมาบัตินั่น แล.

เพราะเหตุนั้น ถ้าแม้นว่า บรรดาสัตว์เดียรัจฉานชนิด ๔ เท้า มีเหี้ย แมว

และตะกวดเป็นต้น เดียรัจฉานบางชนิดเข้าไปนอนอยู่ในที่มีอุปจารอันเดียวกัน

ในเสนาสนะเป็นที่อยู่ของภิกษุ จัดเป็นการนอนร่วมเหมือนกัน . ถ้าว่ามันเข้า

ไปทางโพรงของหัวไม้ขื่อ (คาน) มีโพรง ที่ตั้งอยู่ข้างบนฝาแห่งปราสาทที่เขา

สร้างไว้เบื้องบนเสาทั้งหลาย ซึ่งมีฝาไม่เชื่อมต่อกันกับพื้นชั้นบน แล้วนอน

อยู่ภายในไม้ขื่อ ออกไปทางโพรงนั้นนั่นเอง. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วม

ภายใต้ปราสาท

ถ้ามีช่องบนหลังคา มันเข้าไปตามช่องนั้น อยู่ภายในหลังคาแล้วออก

ไปทางช่องเดิมนั้นแล, เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วมภายในหลังคาที่พื้นชั้นบน

ซึ่งมีอุปจารต่างกัน, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนที่พื้นชั้นล่าง. ถ้าพวกภิกษุขึ้น

ทางด้านในปราสาททั้งนั้น ใช้สอยฟันทั้งหมด พื้นทั้งหมดมีอุปจารเดียวกัน

เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนบนพื้นใดพื้นหนึ่ง บรรดาพื้นทั้งหมดนั้น.

ภิกษุผู้นอนในเสนาสนะที่มีฝาเป็นเพิง ซึ่งสร้างโดยอาการคล้ายกับสภา

นกพิราบเป็นต้น เข้าไปนอนอยู่ในที่ทั้งหลาย มีเต้าที่ทำเป็นรูปสัตว์ร้ายเป็นต้น

เป็นอาบัติเหมือนกัน. นกพิราบเป็นต้น นอนในภายในชายคาที่ยื่นออกไป

ภายนอกเครื่องล้อม (ฝาผนังกั้น) ไม่เป็นอาบัติ . ถ้าแม้นเสนาสนะ กลมหรือ

สี่เหลี่ยมจตุรัส มีห้องตั้ง ๑๐๐ ห้อง ด้วยแถวห้องที่มีหลังคาเดียวกัน. ถ้าพวก

ภิกษุเข้าไปในเสนาสนะนั้นทางประตูสาธารณะประตูหนึ่งแล้ว เลยเข้าไปใน

ห้องทั้งหมด ซึ่งมีอุปจารห้องที่มิได้กั้นด้วยกำแพงต่างหาก เมื่ออนุปสัมบัน

นอนแล้ว แม้ในห้องหนึ่ง ก็เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ทั้งหลายผู้นอนในทุก ๆ ห้อง.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 174

ถ้าห้องทั้งหลายมีหน้ามุข. และหน้ามุขไม่ได้มุงข้างบน, ถ้าแม้นเป็น

ที่มีพื้นที่สูง อนุปสัมบันนอนที่หน้ามุข ไม่ทำให้เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหลายผู้

นอนในห้อง. แต่ถ้าว่า หน้ามุขมีหลังคาต่อเนื่องกันกับหลังคาแห่งห้องทีเดียว.

อนุปสัมบันนอนที่หน้ามุขนั้น ทำให้เป็นอาบัติแก่ภิกษุทุกรูป. เพราะเหตุไร ?

เพราะเป็นห้องมุงทั้งหมด และบังทั้งหมด. จริงอยู่ เครื่องกั้นห้องนั่นแหละ

เป็นเครื่องกั้นหน้ามุขนั้นด้วยแล. สมจริงโดยนัยนี้แหละ ในอรรถกถาทั้งหลาย .

ท่านอาจารย์จึงปรับอาบัติไว้ ในซุ้มประตูทั้ง ๔ แห่งเครื่องกั้น (ฝาผนัง)

โลหปราสาท. แต่คำใดที่ท่านกล่าวไว้ ในอรรถกถาอันธกะว่า คำว่า ในหน้ามุข

ที่ไม่ได้กั้น เป็นอนาบัติ ท่านกล่าวหมายเอาหน้ามุขบนพื้น นอกจากพื้นดิน

ดังนี้. คำนั้น ท่านกล่าวหมายเอาห้องแถวที่มีหลังคาอันเดียวกัน ซึ่งสร้างไว้

เป็นสัดส่วนต่างหาก ในแคว้นอันธกะก็คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า . บนพื้นนอกจาก

พื้นดิน ในอรรถกถาอันธกะนั้น ไม่มีในอรรถกถาทั้งหลายเลย ทั้งไม่สมด้วย

พระบาลี. ความจริงพื้นดินแม้สูงถึง ๑๐ ศอก ก็ไม่ถึงการนับว่า เป็นเครื่อง

กั้นได้. เพราะฉะนั้น แม้คำใดที่ท่านกล่าวประมาณแห่งพื้นดินไว้ในสิกขาบท

ที่ ๒ ในอันธกอรรถกถานั้น แล้วกล่าวว่า ฐาน กล่าวคือพื้นดินนั่น ชื่อว่า

กั้นด้วยอุปจารเดียวกัน ดังนี้, คำนั้น บัณฑิตไม่ควรถือเอา.

มหาปราสาทแม้เหล่าใด ที่มีทรวดทรงเป็นศาลาหลังเดียว ๒ หลัง ๓

หลัง และ ๔ หลัง. ภิกษุล้างเท้าในโอกาสหนึ่งแล้ว เข้าไป อาจเดินเวียนรอบไป

ได้ในที่ทุกแห่ง. แม้ในมหาปราสาทเหล่านั้น ภิกษุย่อมไม่พ้นจากสหเสยยาบัติ

ถ้าว่ามหาปราสาทเป็นที่อันเขาสร้างกำหนดอุปจารไว้ในที่นั้น ๆ, เป็นอาบัติ

เฉพาะในที่มีอุปจารเดียวกันเท่านั้น .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 175

พวกช่างทำกำแพงกั้นในท่ามกลาง แห่งมณฑปซึ่งมีหลังคาฉาบปูนขาว

ประกอบด้วยประตู ๒ ช่อง อนุปสัมบันเข้าไปทางประตูหนึ่งนอนอยู่ในเขตหนึ่ง

และภิกษุนอนอยู่ในเขตหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติ. ที่กำแพงมีช่อง แม้พอสัตว์ดิรัจฉาน

มีเหี้ยเป็นต้น เข้าไปได้. พวกเหี้ยนอนอยู่ในเขตหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน

เพราะเรือนไม่ชื่อว่ามีอุปจารเดียวกับด้วยช่อง ถ้าว่า พวกช่างเจาะตรงกลาง

กำแพง แล้วประกอบประตูไว้ เป็นอาบัติ เพราะเป็นที่มีอุปจารเดียวกัน.

ภิกษุทั้งหลายปิดบานประตูนั้นแล้วนอน เป็นอาบัติเหมือนกัน. เพราะการปิด

ประตู เรือนจะชื่อว่ามีอุปจารต่างกัน หรือประตูจะชื่อว่าไม่ใช่ประตูหามิได้เลย.

เพราะบานประตูเขากระทำไว้เพื่อประโยชน์สำหรับใช้สอย ด้วยการปิดเปิดได้

ตามสบาย ไม่ใช่เพื่อต้องการจะตัดการใช้สอย. ก็ถ้าว่าภิกษุทั้งหลาย เอา

จำพวกอิฐปิดประตูนั้นซ้ำอีก ไม่จัดว่าเป็นประตู ย่อมตั้งอยู่ในภาวะที่มีอุปจาร

ต่าง ๆ กัน ตามเดิมนั่นแล.

เรือนเจดีย์มีหน้ามุขยาว บานประตูบานหนึ่งอยู่ด้านใน. บานหนึ่ง

อยู่ด้านนอก อนุปสัมบันนอนในระหว่างประตูทั้ง ๓ ย่อมทำให้เป็นอาบัติแก่

ภิกษุผู้นอนภายในเรือนเจดีย์ เพราะมีอุปจารเดียวกัน.

มีคำทักท้วงว่า ในคำว่า ทีฆมุข เป็นต้นนั้น อาจารย์ผู้ท้วงท่านใด

พึงมีความประสงค์ดังนี้ว่า ชื่อว่า ความเป็นที่มีอุปจารเดียวกัน และมีอุปจาร

ต่างกันนี้ พระผู้นี้พระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วใน อุทโทสิตสิกขาบท. แต่ใน

สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเพียงเท่านี้ว่า ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่

ที่นอนอันเขามุงทั้งหมด บังทั้งหมด มุงโดยมาก บังโดยมาก ดังนี้เท่านั้น,

และห้องที่ปิดประตูแล้ว จัดว่าบังทั้งหมดเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ในเรือน

แห่งเจดีย์นั้น จึงเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบัน ผู้นอนภายใน

เท่านั้น, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบันผู้นอนภายนอก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 176

อาจารย์ผู้ท้วงนั้น อันสกวาทีพึงกล่าวค้านอย่างนี้ว่า ก็ในเรือนแห่ง

เจดีย์ที่ไม่ปิดประตู เหตุไร จึงเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วนกับอนุปสัมบันผู้

นอนในภายนอกเล่า ?.

อาจารย์ผู้ท้วง จะพึงเฉลยว่า เพราะหน้ามุขกับท้องเป็นที่มุงทั่งหมด

สกวาที ถามว่า ก็เมื่อปิดห้องแล้ว หลังคารื้อออกได้หรือ ?.

อาจารย์ผู้โจทก์เฉลยว่า รื้อออกไม่ได้, เพราะหน้ามุขกับต้องบังทั้งหมด

จึงรื้อไม่ได้.

สกวาที ถามว่า ผนังกั้น (หน้ามุข) รื้อออกได้หรือ ?.

อาจารย์ผู้โจทก์จักกล่าวแน่นอนว่า รื้อออกไม่ได้ (เพราะ) อุปจาร

กั้นไว้ด้วยบานประตู. อาจารย์ผู้โจทก์จักดำเนินไปไกลแสนไกล โดยนัยอย่างนั้น

แล้วจักวกกลับมาหาความมีอุปจารเดียวกัน และอุปจารต่างกันนั่นแหละอีก.

อีกนัยหนึ่ง ถ้าหากว่า เนื้อความจะพึงเป็นอันเข้าใจได้ง่ายด้วยเหตุ

สักว่าพยัญชนะอย่างเดียวไซร้, ที่นอนมุงด้วยเครื่องมุง ๕ ชนิด ชนิดใด

ชนิดหนึ่งเท่านั้น จึงจะจัดเป็นที่นอนได้ ตามพระบาลีที่ว่า มุงทั้งหมด ที่นอน

มุงด้วยเครื่องมุงอย่างอื่นไม่ใช่. และเมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ไม่พึงเป็นอาบัติในที่นอน

ซึ่งมุงด้วยไม้กระดานเป็นต้น. เพราะไม่มีความเป็นอาบัตินั้น สิกขาบทที่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อันใด, ประโยชน์อันนั้น นั่นแหละ

พึงเสียไป. จะเสียประโยชน์อันนั้นไปหรือหาไม่ก็ตามที; ทำไมจะไปถือเอาคำ

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้เล่า ? หรือว่าใครเล่ากล่าวว่า ควรเชื่อถือ

ถ้อยคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้

ไว้ในอนิยตสิกขาบททั้งสองว่า อาสนะ ที่ชื่อว่ากำบัง คือ เป็นอาสนะที่เขา

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 177

กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือฉาง อย่างใด

อย่างหนึ่ง* ดังนี้.

เพราะฉะนั้น ในอนิยตสิกขาบทนั้น ท่านถือเอาอาสนะที่เขากำบังด้วย

วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ฉันใด, ถึงในสิกขาบทนี้ บัณฑิตก็พึงถือเอาเสนาสนะ

นั้น ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น เสนาสนะใด ๆ จะเล็กหรือใหญ่ก็ตามที เกี่ยว

เนื่องหรือไม่เกี่ยวเนื่องด้วยวัตถุอื่น ยาวหรือกลม หรือ ๔ เหลี่ยมจตุรัสก็ตาม

มีพื้นชั้นเดียว หรือมีพื้นมากชั้นก็ตาม ซึ่งมีอุปจารเดียวกัน เป็นสหเสยยาบัติ

ในเสนาสนะนั้น ๆ ทั้งหมด ซึ่งมุงทั้งหมด บังทั้งหมด หรือมุงโดยมาก ด้วย

เครื่องกำบังอย่างใดอย่างหนึ่งแล.

ในคำว่า มุ่งกึ่งหนึ่ง บังกึ่งหนึ่ง ต้องทุกกฏ นี้ ในมหาปัจจรีก็กล่าวว่า

เป็นทุกกฏเหมือนกัน แม้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า มุงทั้งหมด บังกึ่งหนึ่ง. แต่ใน

มหาอรรถกถากล่าวว่า ในเสนาสนะที่มุงทั้งหมด บังโดยมาก เป็นปาจิตตีย์

ในเสนาสนะมุงทั้งหมด บังกึ่งหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์ มุงโดยมาก บังกึ่งหนึ่ง

เป็นปาจิตตีย์ บังทั้งหมด มุงโดยมาก เป็นปาจิตตีย์ บังทั้งหมด มุงกึ่งหนึ่ง

เป็นปาจิตตีย์, บังโดยมาก มุงกึ่งหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์ เป็นปาจิตตีย์ ๗ ตัว

รวมกับปาจิตตีย์ที่ตรัสไว้ในบาลี. (ในมหาอรรถกถา) กล่าวว่า ในเสนาสนะ

มุงทั้งหมด บังเล็กน้อย เป็นทุกกฏ มุงโดยมาก บังเล็กน้อย เป็นทุกกฏ

บังทั้งหมด มุงเล็กน้อย เป็นทุกกฏ บังโดยมาก มุงเล็กน้อย เป็นทุกกฏ

เป็นทุกกฏ ๕ ตัว รวมกับทุกกฏในบาลี. ในเสนาสนะที่มุงกึ่งหนึ่ง บังเล็กน้อย

เป็นอนาบัติ. บังกึ่งหนึ่ง มุงเล็กน้อย เป็นอนาบัติ มุงเล็กน้อย บังเล็กน้อย

เป็นอนาบัติ.

* วิ. มหา. ๑๔/๓๓.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 178

ก็ในคำว่า ในสถานที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด นี้ ท่านกล่าวว่า

มีความประสงค์เอาเปนัมพมณฑปวรรณ. พื้นดินย่อมไม่ถึงอันนับว่าเป็นผนัง

กั้นได้ ฉันใด, แม้ด้วยคำว่า ในที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด นี้ บัณฑิตก็

พึงทราบคำว่า พื้นดิน ไม่ถึงอันนับว่าเป็นผนังกั้นได้นี้ ฉันนั้น. บทที่เหลือ

มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทาง

กายกับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม

มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนั้นแล.

สหเสยยสิกขาบทที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 179

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระอนุรุทธเถระ

[๒๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน

พระอนุรุทธะเดินทางไปพระนครสาวัตถีในโกศลชนบท ได้ไปถึงหมู่บ้าน

แห่งหนึ่ง ณ เวลาเย็น ก็แลสมัยนั้น ในหมู่บ้านั้นมีสตรีผู้หนึ่ง จัดเรือนพัก

สำหรับอาคันตุกะไว้ จึงท่านพระอนุรุทธะเข้าไปหาสตรีนั้น แล้วได้กล่าวคำนี้

กะสตรีนั้นว่า ดูก่อนน้องหญิง ถ้าเธอไม่หนักใจ อาตมาขอพักแรมในเรือนพัก

สักคืนหนึ่ง.

สตรีนั้นเรียนว่า นิมนต์พักแรมเถิด เจ้าข้า.

พวกคนเดินทางแม้เหล่าอื่นก็เข้าไปหาสตรีนั้น แล้วได้กล่าวคำนี้กะ

สตรีนั้นว่า คุณนายขอรับ ถ้าคุณนายไม่หนักใจ พวกข้าพเจ้าขอพักแรมใน

เรือนพักสักคืนหนึ่ง.

นางกล่าวว่า พระคุณเจ้าสมณะนั่นเข้าไปพักแรมอยู่ก่อนแล้ว ถ้าท่าน

อนุญาต ก็เชิญพักแรมได้.

จึงคนเดินทางพวกนั้น พากัน เข้าไปหาท่านอนุรุทธะแล้ว ได้กล่าว

คำนี้กะท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านขอรับ ถ้าท่านไม่หนักใจ พวกกระผมขอ

พักแรมคืน ในเรือนพักสักคืนหนึ่ง.

ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า เชิญพักเถิดจ้ะ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 180

อันที่จริง สตรีนั้นได้มีจิตปฏิพัทธ์ในท่านพระอนุรุทธะพร้อมกับขณะ

ที่ได้เห็น ดังนั้นนางจึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่าน

เจ้าข้า พระคุณเจ้าปะปนกับคนพวกนี้จักพักผ่อนไม่สบาย ทางที่ดีดิฉันควรจัด

เตียงที่มีอยู่ ข้างในถวายพระคุณเจ้า.

ท่านพระอนุรุทธะรับด้วยดุษณีภาพ.

ครั้งนั้น นางได้จัดเตียงที่มีอยู่ข้างในด้วยตนเองถวายท่านพระอนุรุทธะ

แล้วประดับตกแต่งร่างกายมีกลิ่นแห่งเครื่องหอม เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ

แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้ามีรูปงามนัก

น่าดู น่าชม ส่วนดิฉันก็มีรูปงามยิ่ง น่าดู น่าชม ทางที่ดีดิฉัน ควรจะเป็น

ภรรยาของพระคุณเจ้า.

เมื่อนางพูดอย่างนี้ ท่านพระอนุรุทธะได้นิ่งเสีย.

แม้ครั้งที่ ๒ . . .*

แม้ครั้งที่ ๓ นางก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านเจ้าข้า

พระคุณเจ้ามีรูปงามนัก น่าดู น่าชม ส่วนดิฉันก็มีรูปงามยิ่ง น่าดู น่าชม

ทางที่เหมาะขอพระคุณเจ้าจงรับปกครองดิฉันและทรัพย์สมบัติทั้งหมด.

แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอนุรุทธะก็ได้นิ่งเสีย.

ลำดับนั้น นางได้เปลื้องผ้าออกแล้ว เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง

นอนบ้าง เบื้องหน้าท่านพระอนุรุทธะ ฝ่ายท่านพระอนุรุทธะ สำรวมอินทรีย์

ไม่แลดู ไม่ปราศรัยกะนาง ดังนั้นนางจึงอุทานว่า น่าอัศจรรย์นัก พ่อเอ๋ย

ไม่น่าจะมีเลยหนอ พ่อผู้จำเริญ คนเป็นอันมากยอมส่งทรัพย์มาให้เรา ๑๐๐

กษาปณ์บ้าง ๑,๐๐๐ กษาปณ์บ้าง ส่วนพระสมณะรูปนี้ เราวิงวอนด้วยตนเอง

* หมายความว่านางได้กล่าวและท่านพระอนุรุทธะได้นิ่งเหมือนครั้งที่ ๑.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 181

ยังไม่ปรารถนาจะรับปกครองเราและสมบัติทั้งหมด ดังนี้แล้วจึงนุ่งผ้าซบศีรษะ

ลงที่เท้าของท่านพระอนุรุทธะแล้วได้กล่าวคำขอขมาต่อท่านดังนี้ว่า ท่านเจ้าข้า

โทษล่วงเกินได้เป็นไปล่วงดิฉัน ตามคนโง่ ตามคนหลง ตามคนไม่ฉลาด

ดิฉัน ผู้ใดได้ทำความผิดเห็นปานนั้นไปแล้ว ขอพระคุณเจ้าโปรดรับโทษที่เป็น

ไปล่วง โดยความเป็นโทษเป็นไปล่วงของดิฉันผู้นั้น เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด

เจ้าข้า.

ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า เชิญเถิดน้องหญิง โทษล่วงเกิน ได้เป็นไป

ล่วงเธอ ตามคนโง่ ตามคนเขลา ตามคนไม่ฉลาด เธอได้ทำอย่างนี้แล้ว

เพราะเล็งเห็นโทษที่เป็นไปล่วง โดยความเป็นโทษเป็นไปล่วงจริง แล้วทำคืน

ตามธรรม เราขอรับโทษที่ล่วงเกินนั้นของเธอไว้ ดูก่อนน้องหญิง ข้อที่บุคคล

เล็งเห็นโทษที่เป็นไปล่วง โดยความเป็นโทษเป็นไปล่วงจริง แล้วยอมคำคืน

ตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นี่แหละเป็นความเจริญในอริยวินัย.

ครั้นราตรีนั้นผ่านพ้นไป นางได้อังคาสท่านพระอนุรุทธะ ด้วย

ขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตนจนให้ห้ามภัตแล้ว กราบไหว้ท่าน

พระอนุรุทธะผู้ฉันเสร็จนำมือออกจากบาตรแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ท่านพระอนุรุทธะได้ชี้แจงให้สตรีผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งนั้น ให้เห็นแจ้ง

สมาทานอาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้ว นางได้กล่าวคำนี้กะท่าน

พระอนุรุทธะว่า ท่านเจ้าข้า ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ภาษิตของท่าน

ไพเราะนัก พระคุณเจ้าอนุรุทธะได้ประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้

เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง

หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยประสงค์ว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ดิฉันนี้

ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 182

ขอพระคุณเจ้าจงจำดิฉันนี้ว่าเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้

เป็นต้นไป ต่อจากนั้น ท่านพระอนุรุทธะเดินทางไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว

ได้แจ้งความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย

มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาบท ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน

ท่านพระอนุรุทธะจึงได้สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคามเล่า ครั้นแล้วภิกษุ

เหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูก่อนอนุรุทธะ

ข่าวว่า เธอสำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม จริงหรือ.

ท่านพระอนุรุทธะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนอนุรุทธะ ไฉนเธอจึง

ได้สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคามเล่า การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความ

เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส

แล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๕๕.๖. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับ มาตุคาม เป็น

ปาจิตตีย์

เรื่องพระอนุรุทธเถระ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 183

สิกขาบทวิภังค์

[๒๙๕] บทว่า อนึ่ง .. ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด.. .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต

ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัว เมีย โดยที่สุดแม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น ไม่ต้องกล่าว

ถึงสตรีผู้ใหญ่.

บทว่า ร่วม คือ ด้วยกัน.

ที่ชื่อว่า การนอน ได้แก่ ภูมิสถานเป็นที่นอน อันเขามุงทั้งหมด

บังทั้งหมด มุงโดยมาก บังโดยมาก.

คำว่า สำเร็จการนอน ความว่า เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว

มาตุคามนอนแล้ว ภิกษุนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุนอนแล้ว มาตุคามนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

หรือนอนทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ลุกขึ้นแล้ว กลับนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๒๙๖] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม สำเร็จการนอนร่วม ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

มาคุคาม ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามิใช่มาตุคาม สำเร็จการนอนร่วม ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 184

จตุกกทุกกฏ

ในสถานที่มุงกึ่ง บังกึ่ง ภิกษุสำเร็จการนอนร่วม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุสำเร็จการนอนร่วม กับหญิงยักษ์ก็ดี หญิงเปรตก็ดี บัณเฑาะก์

ก็ดี สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม สำเร็จการนอนร่วม ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

มิใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามิใช่มาตุคาม สำเร็จการนอนร่วม ไม่

ต้องอาบัติ

อานาปัตติวาร

[๒๙๗] ในสถานที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด ๑ ในสถานที่บังทั้งหมด

ไม่มุงทั้งหมด ๑ ในสถานที่ ไม่มุงโดยมาก ไม่บังโดยมาก ๑ มาตุคามนอน

ภิกษุนั่ง ๑ ภิกษุนอน มาตุคามนั่ง ๑ นั่งทั้งสอง ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่ ๖ จบ

มุสาวาทวรรค ทุติยสหเสยยสิกขาบทที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยสหเสยยสิกขาบทดังต่อไปนี้

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องท่านพระอนุรุทะ]

บทว่า อาวสถาคาร ได้แก่ เรือนพักของพวกอาคันตุกะ.

สองบทว่า ปตฺต โหติ ได้แก่ เป็นสถานที่อันนางจัดสร้างไว้

เพราะความเป็นผู้ประสงค์บุญ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 185

ข้อว่า เยน สา อิตฺถี เตนุปสงฺกมิ มีความว่า ท่านพระอนุรุทธะ

ฟังคำของพวกชาวบ้านว่า มีเรือนพักอันเขาจัดไว้ ณ ที่ชื่อโน้น ดังนี้ จึงเข้า

ไปหา

บทว่า คนฺธคนฺธินี มีวิเคราะห์ว่า กลิ่นแห่งของหอม มีกฤษณา

และกำยานเป็นต้น ชื่อว่า กลิ่นของหอม, กลิ่นของหอมนั้นมีแก่หญิงนั้น .

เหตุนั้น หญิงนั้นจึงชื่อว่า คันธคันธินี ผู้มีกลิ่นเครื่องหอม.

สองบทว่า สาฏก นิกฺขิปิตฺวา มีความว่า หญิงนั้นติดว่า แม้

ไฉนหนอ . เมื่อพระผู้เป็นเจ้านั้น เห็นประการอันแปลกแม้นี้แล พึงเกิดความ

กำหนัด ดังนี้ จึงได้กระทำอย่างนั้น.

บทว่า โอกฺขิปิตฺวา ได้แก่ ทอดลง (ซึ่งอินทรีย์)

ความผิดพลาด ชื่อว่า โทษล่วงเกิน.

สองบทว่า ม อจฺจคฺคมา ได้แก่ เป็นไปล่วง คือ ครอบงำซึ่งดิฉัน.

บทที่เหลือบัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในสิกขาบทก่อนนั่นแล. ก็

ความแปลกกัน มีเพียงอย่างนี้ คือ ในสิกขาบทก่อนเป็นอาบัติ ในวันที่ ๔,

ในสิกขาบทนี้ เป็นอาบัติแม้ในวันแรก. เป็นทุกกฏ (แก่ภิกษุผู้สำเร็จการนอน

ร่วมกัน) กับนางยักษ์และนางเปรตผู้มีรูปปรากฏ และสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย

เฉพาะที่เป็นวัตถุแห่งเมถุนธรรม. ก็แล สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียที่เหลือเป็นอนาบัติ.

แม้สมุฎฐานเป็นต้น ก็เช่นเดียวกับสิกขาบทก่อนนั่นเอง ฉะนั้นแล.

ทุติยสหเสยยสิกขาบทที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 186

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระอุทายี

[๒๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน

พระอุทายีเป็นพระกุลุปกะในพระนครสาวัตถี เข้าไปสู่สกุลเป็นอันมาก ครั้งหนึ่ง

เวลาเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเข้าไปสู่สกุลแห่ง

หนึ่ง เวลานั้นหญิงแม่เรือนนั่งอยู่ที่ประตูเรือน หญิงสะใภ้ในเรือนนั่งอยู่ที่ประตู

ห้องนอน จึงท่านพระอุทายีเดินผ่านไปทางหญิงแม่เรือน แล้วแสดงธรรม ณ

ที่ใกล้หูหญิงแม่เรือน ขณะนั้น หญิงสะใภ้ในเรือนมีความสงสัยว่า พระสมณะ

นั้น เป็นชายชู้ของแม่ผัว หรือพูดเกี้ยว ครั้นท่านพระอุทายีแสดงธรรม ณ ที่

ใกล้หูหญิงแม่เรือนแล้ว เดินผ่านไปทางหญิงสะใภ้ในเรือนแล้ว แสดงธรรมใน

ที่ใกล้หูหญิงสะใภ้ในเรือน. ฝ่ายหญิงแม่เรือนมีความสงสัยว่า พระสมณะนั้น

เป็นชายชู้ของหญิงสะใภ้ในเรือน หรือพูดเกี้ยว เมื่อท่านพระอุทายีแสดงธรรม

ในที่ใกล้หูหญิงสะใภ้ในเรือนกลับไปแล้ว จึงหญิงแม่เรือนได้ถามหญิงสะใภ้ใน

เรือนว่า นี่นางหนู พระสมณะนั้นได้พูดอะไรแก่เจ้า.

หญิงสะใภ้ตอบว่า ท่านแสดงธรรมแก่ดิฉัน เจ้าค่ะ แล้วถามว่า

ก็ท่านได้พูดอะไรแก่คุณแม่ เจ้าค่ะ.

แม่ผัวตอบว่า แม้แก่เรา ท่านก็แสดงธรรม.

สตรีทั้งสองนั้นต่างเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าอุทายี

จึงได้แสดงธรรมในที่ใกล้หูมาตุคามเล่า ธรรมดาพระธรรมกถึก ควรแสดง

ธรรมด้วยเสียงชัดเจนเปิดเผย มิใช่หรือ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 187

ภิกษุทั้งหลายได้ยินสตรีทั้งสองนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดา

ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา

ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้แสดงธรรมแก่

มาตุคามเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า

เธอแสดงธรรมแก่มาตุคาม จริงหรือ.

ท่านพระอุทายีรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้แสดงธรรมแก่มาตุคามเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ

เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่

เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๕๖.๗. ก. อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคาม เป็น

ปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ .

เรื่องพระอุทายี จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 188

เรื่องอุบาสิกา

[๒๙๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกอุบาสิกาพบภิกษุทั้งหลาย แล้วได้

กล่าวนิมนต์ว่า ข้าแด่พระคุณเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาพระคุณเจ้าแสดงธรรม.

ภิกษุเหล่านั้นตอบปฏิเสธว่า ดูก่อนน้องหญิง การแสดงธรรมแก่

มาตุคามไม่ควร.

พวกอุบาสิกาอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนา .

แสดงธรรมเพียง ๕-๖ คำ พวกข้าพเจ้าก็สามารถจะรู้ทั่วถึงธรรม แม้ด้วย

ถ้อยคำเพียงเท่านี้.

ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง การแสดงธรรมแก่มาตุคาม

ไม่ควร ดังนี้แล้ว รังเกียจ ไม่แสดงธรรม.

พวกอุบาสิกาต่างพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้า

ทั้งหลาย อันเราอาราธนาอยู่ จึงไม่แสดงธรรมเล่า.

ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสิกาพวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ จึง

กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ

เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงธรรมแก่มาตุคามได้เพียง ๕-๖ คำ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้

พระอนุบัญญัติ

๕๖. ๗. ข. อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคาม ยิ่งกว่า

๕-๖ คำ เป็นปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 189

ก็สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ แก่ภิกษุ-

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้

เรื่องอุบาสิกา จบ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๓๐๐] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตให้แสดงธรรมแก่มาตุคามได้เพียง ๕-๖ คำ จึงให้บุรุษผู้ไม่รู้เดียงสา

นั่งใกล้ ๆ แล้วแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ บรรดาภิกษุที่มักน้อย

สันโดษมีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียน

โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ให้บุรุษผู้ไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ ๆ แล้ว

แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอให้บุรุษผู้ไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ ๆ แล้ว แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน

๕-๖ คำ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ให้บุรุษผู้ไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ ๆ แล้วแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน

๕-๖ คำเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน

ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 190

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้.

พระอนุบัญญัติ

๕๖. ๗. ค. อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามยิ่งกว่า

๕-๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ เป็นปาจิตตย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๐๑] บทว่า อนึ่ง ..ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด.

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. ..นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต

ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นผู้รู้เดียงสา สามารถทราบถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต

ทุพภาษิต ชั่วหยาบและสุภาพ.

บทว่า ยิ่งกว่า ๕-๖ คำ คือ เกินกว่า ๕-๖ คำ

ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ถ้อยคำที่เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิภาษิต

เทวตาภาษิต ซึ่งประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม.

บทว่า แสดง คือ แสดงโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ บท

แสดงโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ อักขระ

คำว่า เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ คือ ยกไว้แต่บุรุษผู้รู้ความ

อยู่ด้วย

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 191

บุรุษที่ชื่อว่า ผู้รู้เดียงสา คือเป็นผู้สามารถทราบถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต

ทุพภาษิต ชั่วหยาบและสุภาพ.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๓๐๒] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม แสดงธรรมยิ่งกว่า ๕-๖ คำ

เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

มาตุคาม ภิกษุสงสัย แสดงธรรมยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษ

ผู้รู้เดียงสาอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่า มิใช่มาตุคาม แสดงธรรมยิ่งกว่า ๕ - ๖ คำ

เว้น ไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

ภิกษุแสดงธรรมแก่หญิงยักษ์ หญิงเปรต บัณเฑาะก์หรือสัตว์ดิรัจฉาน

ตัวเมีย มีกายคล้ายมนุษย์ ยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เว้น ไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่

ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่า มาตุคาม.. .ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย .. .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่มาตุคาม ภิกษุ สำคัญว่ามิใช่มาตุคาม . ..ไม่ต้องอาบัติ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 192

อนาปัตติวาร

[๓๐๓] มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย ๑ ภิกษุแสดงธรรมเพียง ๕-๖ คำ ๑

ภิกษุแสดงธรรมหย่อนกว่า ๕-๖ คำ ๑ ภิกษุลุกขึ้นแล้วนั่งแสดงธรรมต่อไป ๑

มาตุคามลุกขึ้นแล้วนั่งลงอีก ภิกษุแสดงแก่มาตุคามนั้น ๑ ภิกษุแสดงแก่

มาตุคามอื่น ๑ มาตุคามถามปัญหา ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วกล่าวแก้ ๑ ภิกษุ

แสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นอยู่ มาตุคามฟังอยู่ด้วย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

มุสาวาทวรรค ธรรมเทศนาสิกขาบทที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๗ ดังต่อไปนี้

[แก้อรรถปฐมบัญญัตติ เรื่องพระอุทายี]

หญิงแม่เจ้าเรือน ชื่อว่า ฆรณี

บทว่า นิเวสทฺวาเร ได้แก่ ที่ประตูใหญ่แห่งนิเวศน์ (เรือน).

หญิงสะใภ้ในเรือนนั้น ชื่อว่า ฆรสุณหา.

บทว่า อาวสถทฺวาเร ได้แก่ ที่ประตูห้องนอน.

บทว่า วิสฏฺเน ได้แก่ ด้วยเสียงชัดเจนดี.

บทว่า วิวเฏน ได้แก่ เปิดเผย คือ ไม่คลุมเคลือ.

สองบทว่า ธมฺโม เทเสตพฺโพ มีความว่า พระธรรมกถึกควร

แสดงธรรม อันต่างโดยสรณะและศีล เป็นต้นนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 193

บทว่า อญฺาตุ คือ (สามารถ) จะรู้ทั่วถึงได้

สองบทว่า วิญฺญุนา ปุริสวิคฺคเหน มีความว่า (เว้น) จากบุรุษ

ผู้รู้เดียงสา (ผู้รู้ความหมาย) ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่ดิรัจฉาน แม้ผู้

แปลงเพศเป็นบุรุษ.

หลายบทว่า อนาปตฺติ วิญฺญุนา ปุริสวิคฺคเหน มีความว่า

ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแม้มากแก่หญิงผู้ยืนอยู่กับบุรุษผู้รู้เดียงสา.

บทว่า ฉปฺปญฺจวาจาหิ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุผู้แสดง

(ธรรม) ด้วยวาจา ๕-๖ คำ. ในคำว่า ฉปฺปญฺจวาจาหิ นั้น บัณฑิตพึง

ทราบประมาณแห่งวาจาโนธรรมทั้งปวงอย่างนั้น คือ คาถาบทหนึ่ง ชื่อว่า วาจา

คำหนึ่ง. หากว่า ภิกษุเป็นผู้ประสงค์ จะกล่าวอรรถกถา หรือว่า เรื่องมี

เรื่องธรรมบทและชาดกเป็นต้น จะกล่าวเพียง ๕-๖ บทเท่านั้น ควรอยู่.

เมื่อจะกล่าวพร้อมด้วยบาลี พึงกล่าวธรรมอย่าให้เกิน ๖ บท อย่างนี้ คือ

จากพระบาลีบทหนึ่ง จากอรรถกถา ๕ บท. จริงอยู่ ธรรมมีประเภทดังกล่าว

ในปทโสธรรม จัดเป็นธรรมเหมือนกันหมด แม้ในสิกขาบทนี้.

สองบทว่า ตสฺมึ เทเสติ คือ แสดงในขณะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง

คำว่า ตสฺมึ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ, ความว่า ย่อมแสดง

แก่หญิงนั้น.

สองบทว่า อญฺสฺส มาตุคามสฺส มีความว่า ภิกษุนั่งบนอาสนะ

เดียว แสดง (ธรรม) แม้แก่มาตุคามตั้ง ๑๐๐ คน อย่างนี้ คือ แสดงแก่หญิง

คนหนึ่งแล้ว แสดงแม้แก่หญิงอื่นผู้มาแล้ว ๆ อีก. ในอรรถกถามหาปัจจรี

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 194

ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุกล่าวว่า รูปจะแสดงคาถาแก่พวกท่านคนละคาถา พวก

ท่านจงฟังคาถานั้น ดังนี้ แล้วแสดง (ธรรม) แก่พวกมาตุคามผู้นั่งประชุม

กันอยู่ ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุทำความใฝ่ใจตั้งแต่แรกว่า เราจักกล่าวคาถาแก่

หญิงคนละคาถา ดังนี้ แล้วบอกให้รู้ก่อนจึงแสดง สมควรอยู่.

หลายบทว่า ปญฺห ปุจฺฉติ ปญฺห ปุฏฺโ กเถติ มีความว่า

มาตุคามถามว่า ท่านเจ้าค่ะ . ชื่อว่าทีฆนิกายแสดงอรรถอะไร ? ภิกษุถูกถาม

ปัญหาอย่างนี้ ถ้าแม้น จะกล่าวทีฆนิกายทั้งหมด ก็ไม่เป็นอาบัติ คำที่เหลือ

ในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีธรรมโดยบทเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นทางวาจา ๑ วาจากับ

จิต ๑ เป็นทั้งกิริยา ทั้งกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติ-

วัชชะ วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ธรรมเทศนาสิกขาบทที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 195

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา

[๓๐๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร

ศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคย

เห็นร่วมคบทากันมา จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา

วัชชีชนบทเกิดทุพภิกขภัย

ก็แลสมัยนั้น วัชชีชนบทอัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง

มีข้าวคายฝอย ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการ

ถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย จึงภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า บัดนี้วัชชีชนบท

อัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีข้าวตายฝอย ต้องมีสลากซื้อ

อาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้

ง่าย พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงก้น ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษา

เป็นผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยอุบายอย่างไรหนอ.

มติของที่ประชุม

ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจะช่วย

กันอำนวยกิจการอันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์เถิด เมื่อเป็นเช่นนั่น พวกเขา

จักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อม

เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจักไม่ลำบาก

ด้วยบิณฑบาต

ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า ไม่ควร ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไร

ด้วยการช่วยกันอำนวยกิจการ อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ ท่านทั้งหลาย

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 196

ผิฉะนั้น พวกเราจงช่วยกันนำข่าวสาส์นอันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์เถิด

เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนั้น

พวกเราจักเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็น

ผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต

ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไร

ด้วยการช่วยกันอำนวยกิจการอันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ จะประโยชน์อะไร

ด้วยการช่วยกันนำข่าวสาส์นอันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์ ท่านทั้งหลาย

ผิฉะนั้น พวกเราจักกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ว่า

ภิกษุรูปโน้น ได้ปฐมฌาน รูปโน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ติยฌาน รูปโน้น

ได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้น เป็นพระสกทาคามี รูปโน้น

เป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูปโน้น ได้

อภิญญา ๖ ดังนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ . พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา

ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราก็จะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน

อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต.

ภิกษุเหล่านั้น มีความเห็นร่วมกันว่า อาวุโสทั้งหลาย การที่พวกเรา

พากันกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์นี้แหละ

ประเสริฐที่สุด แล้วพากันกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกัน และกันแก่พวก

คฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้น ได้ปฐมฌาน รูปโน้น ได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้คติยฌาน

รูปโน้น ได้จตุตถฌาน รูปโน้น เป็นพระโสดาบัน รูปโน้น เป็นพระสกทาคามี

รูปโน้น เป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูป

โน้นได้อภิญญา ๖ ดังนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 197

ประชาชนพากันยินดี

ครั้นต่อมาประชาชนเหล่านั้นพากันยินดีว่า เป็นลาภของพวกเราหนอ

พวกเราได้ดีแล้วหนอ ที่มีภิกษุทั้งหลายผู้ทรงคุณพิเศษเห็นปานนี้ อยู่จำพรรษา

เพราะก่อนแค่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่อยู่จำพรรษาของพวกเรา จะมีคุณสมบัติ

เหมือนภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้ไม่มีเลย โภชนะชนิดที่พวกเขาจะถวาย

แก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่บริโภคด้วยตน ไม่ให้มารดา บิดา บุตร ภรรยา

คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของเคี้ยว ของลิ้ม น้ำดื่ม

ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่ดื่มด้วยตน ไม่ให้มารดา

บิดา บุตร ภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต

จึงภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้มีน้ำนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีสีหน้าสดชื่น มีผิวพรรณ

ผุดผ่อง.

ประเพณีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

[๓๐๕] ก็การที่ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้านั่นเป็นประเพณีครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาสแล้ว เก็บ

เสนาสนะถือบาตรจีวรหลีกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครเวสาลี ถึงพระนคร

เวสาลี ป่ามหาวัน กูฏคารศาลา โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวาย

บังคมแล้วนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ภิกษุต่างทิศมาเฝ้า

ก็โดยสมัยนั้น แล พวกภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ในทิศทั้งหลาย เป็นผู้ผอม

ซูบซีด มีผิวพรรณหมอง เหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ส่วนภิกษุ

พวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา เป็นผู้มีน้ำนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีสีหน้าสดชื่น มี

ผิวพรรณผุดผ่อง.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 198

ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะ

อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระ-

อาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ร่างกายของพวกเธอ

ยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม เพรียงกัน

ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต

หรือ.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้

เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจ

กัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระ

พุทธเจ้าข้า.

พุทธประเพณี

พระตถาคตทั้งหลาย ทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่

ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม

พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระตถาคตทรง

กำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลานย่อมทรงสอบถามภิกษุ

ทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติ

สิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.

ตรัสถาม

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน

อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 199

ภิกษุเหล่านั้น ได้กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบแล้ว.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คุณวิเศษของพวกเธอนั่น มีจริงหรือ

ภิ. มีจริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้กล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์เพราะเหตุ

แห่งต้องเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ

ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๕๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใดบอกอุตริมนุสธรรมแก่อนุปสัมบัน

เป็นปาจิตตีย์ เพราะมีจริง.

เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๐๖] บทว่า อนึ่ง. . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้

ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน ความว่า ยกเว้น ภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่า

อนุปสัมบัน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 200

บทภาชนีย์

[๓๐๗] ที่ชื่อว่า อุตริมนุสธรรม ได้ แก่ ฌาน วิโมกข์

สมาธิ สมาบัติ ฌาณทัสสนะ การทำมรรคให้เกิด การทำผลให้แจ้ง

การละกิเลส ความเปิดจิต ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.

[๓๐๘] ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ติยฌาน

จตุตถฌาน.

ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิ-

หิตวิโมกข์.

ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ.

ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิต-

สมาบัติ

ที่ชื่อว่า ฌาณ ได้แก่ วิชชา ๓.

ที่ชื่อว่า การทำมรรคให้เกิด ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔

อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘.

ที่ชื่อว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

. . .สกทาคามิผล . . . อนาคามิผล . ..อรหัตผล.

ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ . . .โทสะ. . . . โมหะ.

ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิต

จากโทสะ ความเปิดจิตจากโมหะ.

ที่ชื่อว่า ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ ความยินดียิ่ง

ในเรือนอันว่างเปล่าด้วยปฐมฌาน . . . ด้วยทุติยฌาน .. . ด้วยคติยฌาน ... ด้วย

จตุตถฌาน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 201

บอกปฐมฌาน

[๓๐๙] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ปฐมฌานแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่

ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้า

ปฐมฌานแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้

ปฐมฌาน ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ

ในปฐมฌาน ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำ

ให้แจ้งแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกทุติยฌาน

[๓๑๐] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ทุติยฌานแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานอยู่ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าทุติยฌานแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌาน ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในทุติยฌาน ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .ทุติยฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 202

บอกตติยฌาน

. . .เข้าตติยฌานแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าตติยฌานอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าตติยฌานแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์. .

. . .เป็นผู้ได้ตติยฌาน . ..ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในตติยฌาน .. .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ตติยฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกจตุตถฌาน

. . .เข้าจตุตถฌานแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าจตุตถฌานอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าจตุตถฌานแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้จตุตถฌาน . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในจตุตถฌาน . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .จตุตถฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกสุญญตวิโมกข์

[๓๑๑] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

สุญญตวิโมกข์แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์อยู่ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สุญญตวิโมกข์ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในสุญญตวิโมกข์ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .สุญญตวิโมกข์ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 203

บอกอนิมิตตวิโมกข์

. . .เข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าอนิมิตตวิโมกข์อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้อนิมิตตวิโมกข์ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในอนิมิตตวิโมกข์ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .อนิมิตตวิโมกข์ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกอัปปณิหิตวิโมกข์

. . .เข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าอัปปณิหิตวิโมกข์อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้อัปปณิหิตวิโมกข์ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในอัปปณิหิตวิโมกข์ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .อัปปณิหิตวิโมกข์ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกสุญญตสมาธิ

. . .ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิอยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสุญญตสมาธิแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สุญญตสมาธิ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในสุญญตสมาธิ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .สุญญตสมาธิข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 204

บอกอนิมิตตสมาบัติ

. . .เข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าอนิมิตตสมาธิอยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้อนิมิตตสมาธิ . ..ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในอนิมิตตสมาธิ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .อนิมิตตสมาธิข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกอัปปหิตสมาธิ

. . .เข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าอัปปณิหิตสมาธิอยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาธิ .. .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในอัปปณิหิตสมาธิ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .อัปปณิหิตสมาธิข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกสุญญตสมาบัติ

[๓๑๒] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

สุญญตสมาบัติแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติอยู่ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสุญญตสมาบัติแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สุญญตสมาบัติ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในสุญญตสมาบัติ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .สุญญตสมาบัติ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 205

บอกอนิมิตตสมาบัติ

. . .เข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าอนิมิตตสมาบัติอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้อนิมิตตสมาบัติ .. .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในอนิมิตตสมาบัติ . ..ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .อนิมิตตสมาบัติ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกอัปปณิหิตสมาบัติ

. . .เข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าอัปปณิหิตสมาบัติอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ . ..ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในอัปปณิหิตสมาบัติ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .อัปปณิหิตสมาบัติ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว. . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกวิชชา ๓

[๓๑๓] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

วิชชา ๓ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าวิชชา ๓ อยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าวิชชา ๓ แล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้วิชชา ๓ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในวิชชา ๓ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. ..วิชชา ๓ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 206

บอกสติปัฏฐาน

[๓๑๔] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

สติปัฏฐาน ๔ แล้วดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าสติปัฏฐาน ๔ อยู่ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้สติปัฏฐาน ๔ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .สติปัฏฐาน ๔ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตทิย์.

บอกสัมมัปปธาน ๔

. . .ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าสัมมัปปธาน ๔ อยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เป็นผู้เข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้สัมมัปปธาน ๔ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เป็นผู้ชำนาญในสัมมัปปธาน ๔ . ..ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .สัมมัปปธาน ๔ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกอิทธิบาท ๔

. . .ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าอิทธิบาท ๔ อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้อิทธิบาท ๔ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในอิทธิบาท ๔ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .อิทธิบาท ๔ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 207

บอกอินทรีย์ ๕

[๓๑๕] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

อินทรีย์แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าอินทรีย์ ๕ อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้อินทรีย์ ๕ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในอินทรีย์ ๕ .. . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .อินทรีย์ ๕ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกพละ ๕

. . .ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าพละ ๕ อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าพละ ๕ แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้พละ ๕ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในพละ ๕ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .พละ ๕ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกโพชฌงค์ ๗

[๓๑๖] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

โพชฌงค์ ๗ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าโพชฌงค์ ๗ อยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้โพชฌงค์ ๗ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 208

. . .เป็นผู้ชำนาญในโพชฌงค์ ๗ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .โพชฌงค์ ๗ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกอริยมรรคมีองค์ ๘

[๓๑๗] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

อริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้อริยมรรคมีองค์ ๘ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในอริยมรรคมีองค์ ๘ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกโสดาปัตติผล

[๓๑๘] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

โสดาปัตติผลแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เข้าโสดาปัตติผลอยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าโสดาปัตติผลแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้โสดาปัตติผล . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในโสดาปัตติผล . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .โสดาปัตติผล ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกสกทาคามิผล

. . .ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าสกทาคามิผลอยู่ . ..ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 209

. . .เป็นผู้เข้าสกทาคามิผลแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้สกทาคามิผล . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในสกทาคามิผล. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .สกทาคามิผล ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกอนาคามิผล

. . .ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าอนาคามิผลอยู่ . .. ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าอนาคามิผลแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้อนาคามิผล . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในอนาคามิผล . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .อนาคามิผล ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกอรหัตผล

. . .เข้าอรหัตผลแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าอรหัตผลอยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าอรหัตผลแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในอรหัตผล . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .อรหัตผลข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกสละ ราคะ โทสะ โมหะ

[๓๑๙] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสันบันว่า ราคะข้าพเจ้า

สละแล้ว ตายแล้ว พ้นแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ดังนี้

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 210

. . .โทสะ ข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .โมหะ ข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .บอกจิตเปิดจากราคะ โทสะ โมหะ

[๓๒๐] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบัน ว่า จิตของข้าพเจ้า

เปิดจากราคะ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานในสุญญาคาร

[๓๒๑] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ปฐมฌานในสุญญาคารแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานในสุญญาคารอยู่ . ..ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานในสุญญาคารแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานในสุญญาคาร . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานในสุญญาคาร . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานในสุญญาคารข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้วะ . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานในสุญญาคาร

. . .ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานในสุญญาคารแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าทุติยฌานในสุญญาคารอยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าทุติยฌานในสุญญาคารแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ทุติยฌานในสุญญาคาร . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญทุติยฌานในสุญญาคาร . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌานในสุญญาคารข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 211

บอกเข้าตติยฌานในสุญญาคาร

. . .ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานในสุญญาคารแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าตติยฌานในสุญญาคารอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าตติยฌานในสุญญาคารแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ตติยฌานในสุญญาคาร. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญตติยฌานในสุญญาคาร. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ตติยฌานในสุญญาคาร ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าจตุตถฌานในสุญญาคาร

. . .ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานในสุญญาคารแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าจตุตถฌานในสุญญาคารอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าจตุตถฌานในสุญญาคารแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้จตุตถฌานในสุญญาคาร. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในจตุตถฌานในสุญญาคาร. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .จตุตถฌานในสุญญาคาร ข้าพเจ้า ทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและทุติยฌาน

[๓๒๒] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ปรมฌานทุติยฌานแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปรมฌานและทุติยฌานอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและทุติยฌานแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและทุติยฌาน. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 212

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและทุติยฌาน. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและทุติยฌาน ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ...ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกเข้าปฐมฌานและตติยฌาน

. . . ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและตติยฌานแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . . เข้าปฐมฌานและตติยฌานอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . . เป็นผู้เข้าปฐมฌานและตติยฌานแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . . เป็นผู้ได้ปฐมฌานและตติยฌาน... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . . เป็นผู้ชำนาญในปรมฌานและตติยฌาน... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . . ปฐมฌานและตติยฌาน ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและจตุตฌาน

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและจตุตถฌานแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและจตุตถฌานอยู่ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและจตุตถฌานแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและจตุตถฌาน ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและจตุตถฌาน. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและจตุตถฌาน ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์

[๓๒๓] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 213

. . .เข้าปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและอนิมิตตวิโมกข์

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตตวิโมกข์แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติ .

ปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและอนิมิตตวิโมกข์อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและอนิมิตตวิโมกข์แล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและอนิมิตตวิโมกข์ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและอนิมิตตวิโมกข์. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและอนิมิตตวิโมกข์ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 214

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์. . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . . ปฐมฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและสุญญตสมาธิ

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสุญญตสมาธิแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เข้าปฐมฌานเเละสุญญตสมาธิอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและสุญญตสมาธิแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและสุญญตสมาธิ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและสุญญตสมาธิ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและสุญญตสมาธิ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและอนิมิตตสมาธิ

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตตสมาธิแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและอนิมิตตสมาธิอยู่. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและอนิมิตตสมาธิแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและอนิมิตตสมาธิ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและอนิมิตตสมาธิ. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและอนิมิตตสมาธิ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 215

บอกเข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิ

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์

. . .เข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิ. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิ . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์

. . .ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์

บอกเข้าปฐมฌานและสุญญตสมาบัติ

[๓๒๔] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ปฐมฌานและสุญญตสมาบัติแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและสุญญตสมาบัติอยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและสุญญตสมาบัติแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและสุญญตสมาบัติ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและสุญญตสมาบัติ. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและสุญญตสมาบัติ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและอนิมิตสมาบัติ

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตตสมาบัติแล้ว. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและอนิมิตตสมาบัติอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 216

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและอนิมิตทสมาบัติแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและอนิมิตตสมาบัติ .. .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและอนิมิตตสมาบัติ ...ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและอนิมิตตสมาบัติ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติ

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตสมธิแล้ว ...ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ผู้ชำนาญในปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติ ...ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและอัปปณิหิคสมาบัติ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและวิชา ๓

[๓๒๕] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ปฐมฌานและวิชชา ๓ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและวิชชา ๓ อยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและวิชชา ๓ แล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและวิชชา ๓. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 217

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและวิชชา ๓ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและวิชชา ๓ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๔

[๓๒๖] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ปฐมฌาน และสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๔ อยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๔ แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๔. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๔. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๔ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและสัมมัปปธาน ๔

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสัมมัปปธาน ๔ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและสัมมัปปธาน ๔ อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและสัมมัปปธาน ๔ แล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและสัมมัปปธาน ๔ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญปฐมฌานและสัมมัปปธาน ๔. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและสัมมัปปธาน ๔ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 218

บอกเข้าปฐมฌานและอิทธิบาท ๔

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ แล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและอินทรีย์ ๔

[๓๒๗] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ปฐมฌานและอินทรีย์ ๕ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและอินทรีย์ ๕ อยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและอินทรีย์ ๕ แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและอินทรีย์ ๕ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและอินทรีย์ ๕ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและอินทรีย์ ๕ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและพละ ๕

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและพละ ๕ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและพละ ๕ อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 219

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและพละ ๕ แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปรมฌานและพละ ๕ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปรมฌานและพละ ๕ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและพละ ๕ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗

[๓๒๘] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ แล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘

[๓๒๙] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ อยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว . . .ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 220

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและอริยมรรคมีองก์ ๘ . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและโสดาปัตติผล

[๓๓๐] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ปฐมฌานและโสดาปัตติผลแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและโสดาปัตติผลอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและโสดาปัตติผลแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตติย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและโสดาปัตติผล . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและโสดาปัตติผล . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและโสดาปัตติผล ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและสกทาคามิผล

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสกทาคามิผลแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและสกทาคามิผลอยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและสกทาคามิผลแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและสกทาคามิผล . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและสกทาคามิผล . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและสกทาคามิผล ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 221

บอกเข้าปฐมฌานและอนาคามิผล

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนาคามิผลแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและอนาคามิผลอยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและอนาคามิผลแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและอนาคามิผล . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและอนาคามิผล . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและอนาคามิผล ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและอรหัตผล

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอรหัตผลแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานและอรหัตผลอยู่ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานและอรหัตผลแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌานและอรหัตผล . . . ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌานและอรหัตผล . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานและอรหัตผล ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและสละราคะ

[๓๓๑] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ปฐมฌานแล้ว และราคะข้าพเจ้าสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว

สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานอยู่ และราคะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 222

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว และราคะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌาน และราคะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน และราคะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว และราคะข้าพเจ้าสละแล้ว . . .

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและสละโทสะ

. . .เข้าปฐมฌานแล้ว และโทสะข้าพเจ้าสละแล้ว ...ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานอยู่ และโทสะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว และโทสะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌาน และโทสะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน และโทสะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว และโทสะข้าพเจ้าสละแล้ว. . .

ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกเข้าปฐมฌานและสละโมหะ

. . .เข้าปฐมฌานแล้ว และโมหะข้าพเจ้า สละแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 223

. . .เข้าปฐมฌานอยู่ และโมหะข้าพเจ้าสละแล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว และโมหะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌาน และโมหะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน และโมหะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว และโมหะข้าพเจ้า สละแล้ว . . .

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมณานและจิตเปิดจากราคะ

[๓๓๒] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

เข้าปฐมฌานแล้ว และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานอยู่ และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌาน และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . .

ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ

. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 224

บอกเข้าปฐมฌานและจิตเปิดจากโทสะ

. . .ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ ดังนี้

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานอยู่ และจิตของ ข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ . . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌาน และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ. . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ . . .

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ

. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าปฐมฌานและจิตเปิดจากโทสะ

. . .เข้าปฐมฌานแล้ว และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เข้าปฐมฌานอยู่ และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ. . . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ปฐมฌาน และจิตของข้าพเจ้าจากโมหะ . . . ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 225

. . .เป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ . . .

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ

. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและตติยฌาน

[๓๓๓] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ทุติยฌานและตติยฌานแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าทุติยฌานและตติยฌานอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ทุติยฌานและตติยฌาน . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในทุติยฌานและตติยฌาน . ..ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌานและตติยฌาน ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . . ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและจตุตถฌาน

. . . ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและจตุตถฌานแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เข้าทุติยฌานและจตุตถฌานอยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าทุติยฌานและจตุตถฌานแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ทุติยฌานและจตุตถฌาน. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในทุติยฌานและจตุตถฌาน. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌานและจตุตถฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว. . ..ต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 226

บอกเข้าทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์

. . .ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

. . .เข้าทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์อยู่ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้เข้าทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์แล้ว . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ได้ทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์.. . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .เป็นผู้ชำนาญในทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์...ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว . . .ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและอนิมิตตวิโมกข์

. . .ทุติยฌานและอนิมิตตวิโมกข์.. .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .บอกเข้าทุติยฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์

. . .ทุติยฌานแเละอัปปณิหิตวิโมกข์ ...ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและสมาธิ

. . .ทุติยฌานและสุญญตสมาธิ. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌานและอนิมิตตสมาธิ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌานและะอัปปณิหิตสมาธิ ...ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

๑. ที่. . .ไว้นี้ หมายความว่าข้าพเจ้า.

๒. ที่. . .ไว้นี้ หมายความว่า เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ และทำ

ให้แจ้ง.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 227

บอกเข้าทุติยฌานและสมาบัติ

. . .ทุติยฌานและสุญญตสมาบัติ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌานและอนิมิตตสมาบัติ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌานและอัปปณิหิตสมาบัติ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและวิชชา ๓

. . .ทุติยฌานและวิชชา ๓ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและสติปัฏฐาน ๔

. . .ทุติยฌานและสติปัฏฐาน ๔ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและสัมมัปปธาน ๔

. . .ทุติยฌานและสัมมัปปธาน ๔ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและอิทธิบาท ๔

. . .ทุติยฌานและอิทธิบาท ๔ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกทุติยฌานและอินทรีย์ ๕

. . .ทุติยฌานและอินทรีย์ ๕ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและพละ ๕

. . .ทุติยฌานและพละ ๕ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและโพชฌงค์ ๗

. . .ทุติยฌานและโพชฌงค์ ๗ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘

. . .ทุติยฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 228

บอกเข้าทุติยฌานและอริยผล ๔

. . .ทุติยฌานและโสดาปัตติผล . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌานและสกทาคามิผล . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .ทุติยฌานและอนาคามิผล...ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌานและอรหัตผล . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและละกิเลส

. . .ทุติยฌานและราคะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว

สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌานและโทสะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌานและโมหะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและจิตเปิดจากกิเลส

. . .ทุติยฌาน และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌาน และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .ทุติยฌาน และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกเข้าทุติยฌานและปฐมฌาน

. . .ทุติยฌานและปฐมฌาน . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าปฐมฌาน

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า จิตของข้าพเจ้าเปิด

จากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ดังนี้

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 229

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และเข้าปฐมฌานได้แล้ว ดังนี้ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ดังนี้ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และเป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน ดังนี้

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว

ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าทุติยฌาน

. . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้

แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งทุติยฌาน ดังนี้ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าตติยฌาน

. . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า

ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งตติยฌาน ดังนี้ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าจตุตถฌาน

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า

ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งจตุตถฌาน ดังนี้

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 230

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าวิโมกข์

...จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า

ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งสุญญตวิโมกข์ ดังนี้

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ . . . ซึ่ง

อนิมิตตวิโมกข์ .. .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ . . . ซึ่ง

อัปปณิหิตวิโมกข์... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าสมาธิ

...จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า

ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งสุญญตสมาธิ ดังนี้

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . . ซึ่งอนิมิตต-

สมาธิ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

...จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . . ซึ่งอัปปณิ-

หิตสมาธิ ...ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าสมาบัติ

...จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . . ซึ่งสุญญต-

สมาบัติ ...ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . ซึ่งสุญญต-

สมาบัติ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 231

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . . ซึ่งอัปปณิ-

หิตสมาบัติ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าวิชชา ๓

. . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . . ซึ่งวิชชา ๓

ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าสติปัฏฐาน ๔

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . . ซึ่งสติ-

ปัฏฐาน ๔ . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าอิทธิบาท ๔

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะและข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . .ซึ่งอิทธิบาท ๔

. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าอินทรีย์ ๕

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะและข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . . ซึ่งอินทรีย์ ๕

. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าพละ ๕

...จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . . ซึ่งพละ ๕

. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าโพชฌงค์ ๗

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะและข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . . ซึ่งโพชฌงค์ ๗

. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 232

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . . ซึ่งอริยมรรค

มีองค์ ๘. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและเข้าอริยผล ๔

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . . ซึ่งโสดา-

ปัตติผล . . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . . ซึ่งสกทา-

คามิผล . . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . .ซึ่งอนาคามิผล

...ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว . . . ซึ่งอรหัตผล

...ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและสละกิเลส

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และราคะข้าพเจ้าสละแล้ว ตายแล้ว

. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และโทสะข้าพเจ้าสละแล้ว ตายแล้ว

. . .ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และโมหะข้าพเจ้าสละแล้ว ตายแล้ว

...ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บอกจิตเปิดจากโมหะและจากราคะ

. . .จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ

ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 233

บอกจิตเปิดจากโมหะและจากโทสะ

...จิตของข้าพเจ้า เปิดจากโมหะ และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ

ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกรวมทุกอย่าง

[๓๓๔] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว

เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งปฐมฌาน

...ทุติยฌาน. . .ตติยฌาน.. .จตุตถฌาน...สุญญตวิโมกข์... อนิมิตตวิโมกข์

...อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ . ..อนิมิตตสมาธิ ...อัปปณิหิตสมาธิ

...สุญญตสมาบัติ . . .อนิมิตตสมาบัติ . ..อัปปณิหิตสมาบัติ .. .วิชชา ๓. . .

สติปัฏฐาน ๔ . . . สัมมัปปธาน ๔. . . อิทธิบาท ๔. ..อินทรีย์ ๕. ..พละ ๕ . . .

โพชฌงค์ ๗ . . . อริยมรรคมีองค์ ๘ . . . โสดาปัตติผล . . . สกทาคามิผล . . .

อนาคามิผล . . . อรหัตผล . . . ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว

สละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . โมหะ

ข้าพเจ้าสละแล้ว . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . . จากโทสะ . . . และจาก

โมหะ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

วัตถุกามวารกถา

ประสงค์จะบอกเข้าปฐมฌาน

[๓๓๕] บทว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะบอกแก่อนุปสัมบันว่า

ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ดังนี้ เมื่อเขา

เข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 234

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ดังนี้ เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว . . . เรื่อเขาเข้าใจ

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิ แล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติแล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 235

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว . . .เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว. . .เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 236

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตผลแล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว

สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ดังนี้ เมื่อเขาเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อ

ไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทกคน.

. . .แต่บอกว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

. . .แต่บอกว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

. . .แต่บอกว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .แต่บอกว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ประสงค์จะบอกเข้าทุติฌาน

[๓๓๖] บทว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะบอกแก่อนุปสัมบันว่า

ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว . . . เมื่อเขา

เข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ *

* ที่ ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ ไว้นี้หมายถึงว่า ประสงค์จะบอกว่า เข้าทุติยฌาน แต่บอกว่า

เข้าจตุตถฌาน เข้าวิโมกข์ เข้าสมาธิ เข้าสมาบัติ ตลอดถึงจิตเปิดจากโมหะ .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 237

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ

บทว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะบอกแก่อนุปสัมบันว่า จิตของ

ข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ

... แต่บอกว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สัพพมูลกนัย

บทว่า บอก คือภิกษุประสงค์จะบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้า

ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์

อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ

อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔

อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดา -

ปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผลแล้ว ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว

คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โทสะข้าพเจ้า

สละแล้ว . . . โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ และจิต

ของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ แต่บอกว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ . . . เมื่อ

เขาเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

๑. หมายถึงประสงค์จะบอกว่าเข้าตติยฌาน แต่บอกว่าเข้าจตุตถฌาน เข้าวิโมกข์

เข้าสมาธิ เข้าสมาบัติ ตลอดถึงจิตเปิดจากโทสะ.

๒. หมายถึงประสงค์จะบอกว่าจิตเปิดจากโมหะ แต่บอกว่าเข้าทุติยฌาน ตติยฌาน

เป็นต้น ไปถึงจิตเปิดจากราคะ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 238

บอกเข้าทุติยฌานและตติยฌาน

[๓๓๗] บทว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะบอกแก่อนุปสัมบันว่า

ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว . . . แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌาน

แล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ *

. . .แต่บอกว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว . . . เมื่อเขาเข้าใจ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.

บอกภิกษุอื่นเข้าปฐมฌาน

[๓๓๘] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ภิกษุใดอยู่

ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ

ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว . . . ซึ่งทุติยฌาน

. . . ติยฌาน . . . จตุตถฌาน . . . สุญญตวิโมกข์ . . . อนิมิตตวิโมกข์ . . .

อัปปณิหิตวิโมกข์ . . . สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ . . . อัปปณิหิตสมาธิ . . .

สุญญตสมาบัติ . . . อนิมิตทสมาบัติ. . . อัปปณิหิตสมาบัติ . . . วิชชา ๓ . . .

สติปัฏฐาน ๔. . . สัมมัปปธาน ๔ . . . อิทธิบาท ๔ . . . อินทรีย์ ๕ . . . พละ

๕ . . . โพชฌงค์ ๗ . . . อริยมรรคมีองค์ ๘. . .โสดาปัตติผล . . .สกทาคามิผล

. . .อนาคามิผล . . .อรหัตผล . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . . ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ราคะภิกษุนั้นสละแล้ว ตายแล้ว

ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . โทสะภิกษุนั้นสละ

แล้ว . . . โมหะภิกษุนั้นสละแล้ว . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

* ที่ ฯ ล ฯ และนี้ ... ผู้ต้องการทราบพิสดารพึงดูในเล่ม ๑ ภาค ๒ หน้า ๕๔๔ ข้อ ๒๗๙

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 239

. . .ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ . . . ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

. . .จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโมหะ . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว

เป็นผู้ใด เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานในสัญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌาน

ในสุญญาคาร . . . ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร. ..

ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ภิกษุใดใช้สอยวิหาร

ของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ

ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ*

. . .ภิกษุใดใช้สอยวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้

แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานในสุญญาคาร . . . ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

. . .ทุติยฌานในสุญญาคาร . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .ตติยฌานในสุญญาคาร . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .จตุตถฌานในสุญญาคาร . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของ

ท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง

ซึ่งปฐมฌาน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ*

* ที่ ฯ ล ฯ และ . . . นี้ ผู้ต้องการทราบพิสดารพึงดูในเล่ม ๑ ภาค ๒ หน้า ๕๔๔

ข้อ ๒๗๙

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 240

. . .ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว

เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร . . . ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ภิกษุใดบริโภคบิณฑ-

บาตของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ

ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ *

. . .ภิกษุใดบริโภคบิณฑบาตของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า

ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร

ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ภิกษุใดใช้สอยเสนาสนะ

ของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ

ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ *

. . . ภิกษุใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า

ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร . . .

ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ภิกษุใดบริโภคเครื่องยา

อันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็น

ผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน . . .ต้องอาบัติทุกกฏ

ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ ฯ ล ฯ *

* ที่ ฯ ล ฯ และ . . . ไว้นี้ พึงทราบตามนัยแห่งจตุตถปาราชิกโน้นเถิด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 241

. . .ภิกษุใดบริโภคเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่าน ภิกษุนั้น

เข้าแล้ว . . . ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๓๓๙] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า วิหารของท่าน

อันภิกษุใดอาศัยแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้

ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ*

. . . วิหารของท่านอันภิกษุใดอาศัยแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว . . . ซึ่ง

จตุตถฌานในสุญญาคาร...ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า จีวรของท่านอันภิกษุใด

ใช้สอยแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ

ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ*

. . .จีวรของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว . . . ซึ่ง

จตุตถฌาน ในสุญญาคาร. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสันบันว่า บิณฑบาตของท่านอัน

ภิกษุใดบริโภคแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ ได้ เป็นผู้

ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ*

. . .บิณฑบาตของท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว. . .ซึ่ง

จตุตถฌานนสุญญาคาร. .. ต้องอาบัติทุกกฏ.

* ที่ ฯลฯ ไว้นี้ พึงทราบตามนัยแห่งจตุตถปาราชิกโน้นเถิด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 242

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า เสนาสนะของท่านอัน

ภิกษุใดใช้สอยแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้

ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน. .. ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

...เสนาสนะของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว .. . ซึ่ง

จตุตถฌานในสุญญาคาร...ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า เครื่องยาอันเป็นปัจจัย

ของภิกษุไข้ของท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้

แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ .

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

. . .เครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่านอัน ภิกษุใดบริโภคแล้ว

ภิกษุนั้นเข้าแล้ว . ..ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๓๔๐] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ท่านอาศัย

ภิกษุใด ได้ถวายวิหารแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้

เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน...ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

. . .ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายวิหารแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว . . . ซึ่ง

จตุตถฌานในสุญญาคาร. . ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ท่านอาศัยภิกษุใดได้

ถวายจีวรแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ

ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน.. .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 243

. . .ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายจีวรแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว . . . ซึ่ง

จตุตถฌานในสุญญาคาร . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้

ถวายบิณฑบาตแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้

ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

. . .ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายบิณฑบาตแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว . . .ซึ่ง

จตุตถฌานในสุญญาคาร . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ท่านอาศัยภิกษุใดได้

ถวายเสนาสนะแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้

ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

. . .ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเสนาสนะแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว . . .ซึ่ง

จตุตถฌานในสุญญาคาร. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ท่านอาศัยภิกษุใดได้

ถวายเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้แล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้

แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

. . .ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้แล้ว

ภิกษุนั้นเข้าแล้ว. . . ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร.. .ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 244

อนาปัตติวาร

[๓๔๑] ภิกษุบอกอุตริมนุสธรรมที่มีจริง แก่อุปสัมบัน ๑ ภิกษุ

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

มุสาวาทวรรค ภูตาโรจนสิกขาบทที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา]

คำใดที่ข้าพเจ้าควรจะกล่าวก่อนในวัตถุกถา, คำนั้นทั้งหมด มีนัยดัง

ที่กล่าวแล้วในจตุตถปาราชิกวรรณนานั่นแล. ส่วนความแปลกกัน ดังต่อไปนี้.

ในจตุตถปาราชิกนั้น พวกภิกษุบอกอุตริมนุสธรรมอันไม่มีจริง ในสิกขาบทนี้

บอกอุตริมนุสธรรมที่มีจริง. ปุถุชนทั้งหลาย บอกอุตริมนุสธรรมแม้ที่มีจริง.

อริยเจ้าทั้งหลายไม่บอก. จริงอยู่ ชื่อว่า ปยุตตวาจา (วาจาที่เปล่งเพราะเหตุ

เเห่งท้อง) ไม่มีแก่พระอริยเจ้าทั้งหลาย. แต่เมื่อผู้อื่น บอกคุณของตนเอง

ท่านก็ไม่ห้ามคนเหล่าอื่น และยินดีปัจจัยทั้งหลายที่เกิดขึ้น โดยอาการที่ไม่

ทราบว่าเกิดขึ้น (เพราะการบอกคุณของตน).

ก็ในคำว่า อถโข เต ภิกฺขุ ภควโต เอตมตฺถ อาโรเจสุ เป็นต้น

บัณฑิตพึงทราบว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด กล่าวคุณแห่งอุตริมนุสธรรม

ภิกษุเหล่านั้น ได้กราบทูลแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย คุณวิเสสของพวกเธอ มีจริงหรือ ? ก็ภิกษุเหล่านั้นแม้ทั้งหมดทูล

รับปฏิญาณว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! มีจริง, เพราะว่า อุตริมนุสธรรม

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 245

มีจริงในภายใน แม้แห่งพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ครั้งนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า โมฆปุริสา เพราะภิกษุเหล่านั้นปะปนด้วยพระอริยะ

ตรัสว่า กถญฺหิ นาม ตุมฺเห ภิกขเว แล้ว จึงตรัสคำมีอาทิว่า อุทรสฺส

การณา ดังนี้.

ในคำมีคำว่า กถญฺหิ นาม ตุมฺเห ภิกฺขเว เป็นต้นนั้น เพราะ

พระอริยเจ้าทั้งหลาย ฟังคำของตนเหล่าอื่น ถูกพวกชาวบ้านผู้มีความเลื่อมใส

ถามอยู่ โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ได้ยินว่า พระผู้เป็นเจ้า เป็น

โสดาบันหรือ ! ดังนี้ มีปกติเห็นว่าไม่มีโทษ ในเมื่อสิกขาบทที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ายังไม่ได้ทรงบัญญัติ จึงปฏิญาณการบรรลุคุณวิเสส ของตนและของ

คนเหล่าอื่น เพราะเป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์, และท่านเหล่านั้น เมื่อปฏิญาณอย่างนี้

แม้ยินดีอยู่ซึ่งบิณฑบาตที่ปุถุชนเหล่าอื่นกล่าวคุณแห่งอุตริมนุสธรรมเพราะเหตุ

แห่งท้องให้เกิดขึ้นแล้ว ด้วยความเป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ จึงเป็นเหมือนกล่าวคุณ

แห่งอุตริมนุสธรรม เพราะเหตุแห่งท้อง; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

โดยสัพพสังคาหิกนัยนั่นแลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าว

ชมอุตริมนุสธรรมของกันและกัน แกคฤหัสถ์ทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งท้องเล่า ?

ดังนี้. คำที่เหลือเป็นเช่นเดียวกับเรื่องจตุตถปาราชิกทั้งนั้นแล.

แม้ในวิภังค์แห่งสิกขาบท ในจตุตถปาราชิกนั้น เป็นปาราชิกกับ

ถุลลัจจัยอย่างเดียว, ในสิกขาบทนี้ เป็นปาจิตตีย์และทุกกฏ เพราะเป็นคุณ

มีจริง, นี้เป็นความแปลกกัน. บทที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแล. คำว่า

บอกคุณวิเสสที่มีจริง แก่อนุปสัมบัน (นี้) ท่านกล่าวหมายเอาอุตริมนุสธรรม

นั่นเอง. จริงอยู่ ภิกษุผู้ถูกรบเร้าถามในเวลาปรินิพพานและในกาลอื่น จะ

บอกคุณที่มีจริงแก่อุปสัมบันก็ควร. อนึ่ง จะบอกคุณ คือ สุตะ ปริยัติ และศีล

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 246

แม้แก่อนุปสัมบันก็ควร, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ, แต่คำว่า

อุมฺมตฺตกสฺส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้ในสิกขาบทนี้. เพราะเหตุไร ?

ท่านวิจารณ์ไว้ในอรรถกถามหาปัจจรีว่า เพราะท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่มี

ความบ้า หรือจิตฟุ้งซ่าน ดังนี้. แต่ท่านผู้ได้ฌาน พึงเป็นบ้าได้ในเมื่อฌาน

เสื่อม. แม้สำหรับท่านผู้นั้นก็ไม่ควรกล่าวอนาบัติ ซึ่งมีการบอกฌานที่มีจริง

เป็นปัจจัย เพราะฌานที่มีจริงนั่นแหละไม่มีฉะนี้แล บทที่เหลือมีอรรถตื้น

ทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ ชื่อว่า ภูตาโรจนสิกขาบท เกิดขึ้นโดยสมุฏฐาน ๓ ที่

มิได้ตรัสไว้ในเบื้องต้น คือ ทางกาย ๑ ทางวาจา ๑ ทางกายกับวาจา ๑

เป็นกิริยา ในสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม

มีจิต ๒ โดยเป็นกุศลจิตกับอัพยากตจิต มีเวทนา ๒ โดยเป็นสุขเวทนา กับ

อุเบกขาเวทนา ฉะนี้แล.

ภูตาโรจนสิกขาบทที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 247

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๓๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระ

อุปนันทศากยบุตร กำลังเป็นผู้ก่อการทะเลาะกับพระฉัพพัคคีย์ ท่านต้องอาบัติ

ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ แล้วได้ขอปริวาสเพื่ออาบัตินั้นต่อสงฆ์ ๆ ได้ให้ปริวาส

เพื่ออาบัตินั้นแก่ท่าน ก็แลสมัยนั้น ในพระนครสาวัตถีมีสังฆภัทของประชาชน

หมู่หนึ่ง ท่านกำลังอยู่ปริวาส จึงนั่งท้ายอาสนะในโรงภัต พระฉัพพัคคีย์ได้

กล่าวกะอุบาสกเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนั่น

เป็นพระประจำตระกูลที่พวกท่านสรรเสริญ ได้พยายามปล่อยอสุจิด้วยมือที่

บริโภคของที่เขาถวายด้วยศรัทธา ท่านต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฎฐิแล้ว

ได้ขออยู่ปริวาสเพื่ออาบัตินั้นต่อสงฆ์ ๆ ได้ให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น แก่ท่าน

แล้ว ท่านกำลังอยู่ปริวาส จึงนั่งท้ายอาสนะ.

บรรดาภิกษุที่มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่

ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้บอก

อาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบันเล่า. . . แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 248

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบันเล่า การกระทำของพวก

เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ

เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๕๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุใด บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ แก่

อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นปาจิตตีย์ .

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๔๓] บทว่า อนึ่ง . . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ . . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุรูปอื่น.

อาบัติที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ ปาราชิก และสังฆาทิเสส ๑๓.

ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ เว้นภิกษุและภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่า

อนุปสัมบัน.

บทว่า บอก คือ บอกแก่สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต.

บทว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ คือ ยกเว้นแต่ภิกษุที่สงฆ์

สมมติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 249

บทภาชนีย์

[๓๔๔] การสมมติภิกษุ กำหนดอาบัติ ไม่กำหนดสกุลก็มี การสมมติ

ภิกษุ กำหนดสกุล ไม่กำหนดอาบัติก็มี การสมมติภิกษุ กำหนดอาบัติและ

กำหนดสกุลก็มี การสมมติภิกษุ ไม่กำหนดอาบัติ ไม่กำหนดสกุลก็มี

ที่ชื่อว่า กำหนดอาบัติ คือ สงฆ์กำหนดอาบัติว่า พึงบอกตามจำ-

นวนอาบัติเท่านี้

ที่ชื่อว่า กำหนดสกุล คือ สงฆ์กำหนดสกุลว่า พึงบอกในสกุล

มีจำนวนเท่านี้

ที่ชื่อว่า กำหนดอาบัติและกำหนดสกุล คือ สงฆ์กำหนดอาบัติ

และกำหนดสกุลไว้ว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้ ในสกุลมีจำนวนเท่านี้

ที่ชื่อว่า ไม่กำหนดอาบัติ ไม่กำหนดสกุล คือ สงฆ์ไม่ได้กำ-

หนดอาบัติ และไม่ได้กำหนดสกุลไว้ว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้ ใน

สกุลมีจำนวนเท่านี้.

[๓๔๕] ในการกำหนดอาบัติภิกษุบอกอาบัติอื่นนอกจากอาบัติที่สงฆ์

กำหนดไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ในการกำหนดสกุล ภิกษุบอกในสกุลอื่นนอกจากสกุลที่สงฆ์กำหนดไว้

ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ในการกำหนดอาบัติและกำหนดสกุล ภิกษุบอกอาบัตินอกจากอาบัติที่

สงฆ์กำหนดให้ ในสกุลนอกจากสกุลที่สงฆ์กำหนดให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ในการไม่กำหนดอาบัติ ไม่กำหนดสกุล บอก ไม่ต้องอาบัติ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 250

ติกปาจิตตีย์

[๓๔๖] อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าอาบัติชั่วหยาบ บอกแก่อนุป-

สัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสงสัย บอกแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้

รับสมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่อาบัติชั่วหยาบ บอกแก่อนุปสัมบัน

เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

[๓๔๗] ภิกษุบอกอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุบอกอัชฌาจารที่ชั่วหยาบก็ตาม ไม่ชั่วหยาบก็ตาม แก่อนุปสัมบัน

ต้องอาบัติทุกกฏ.

อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่า อาบัติชั่วหยาบ . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสงสัย. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๓๔๘] ภิกษุบอกวัตถุ ไม่บอกอาบัติ ๑ ภิกษุบอกอาบัติ ไม่บอก

วัตถุ ๑ ภิกษุได้รับสมมติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 251

มุสาวาทวรรค ทุฏฐุลลาโรจนสิขาบทที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๙ ดังต่อไปนี้

[แก้อรรถ เรื่องอาบัติชั่วหยาบ]

ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาราชิก

ไว้ในพระบาลีนี้ว่า อาบัติที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ปาราชิก ๔ และสังฆาทิเสส

๑๓ ดังนี้ เพื่อแสดงอรรถแห่งทุฏฐุลลศัพท์, แต่สังฆาทิเสส ทรงประสงค์เอา

ในสิกขาบทนี้. ในบาลีนั้น มีการวิจารณ์ดังต่อไปนี้ ถ้าว่า เมื่อภิกษุบอก

ปาราชิก ไม่พึงเป็นปาจิตตีย์ไซร้. แม้เมื่อมีศัพท์ว่าอุปสัมบัน สำหรับภิกษุ

และภิกษุณี ในสิกขาบทใด ท่านไม่ประสงค์เอานางภิกษุณี, ในสิกขาบทนั้น

เว้นภิกษุเสีย ที่เหลือนอกนี้ ท่านเรียกว่า อนุปสัมบัน ฉันใด, ในสิกขาบทนี้

ก็ฉันนั้น แม้เมื่อมีศัพท์ว่าทุฏฐุลละ สำหรับปาราชิกและสังฆาทิเสส ถ้าไม่

ทรงประสงค์เอาปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะพึงตรัสคำนี้เท่านั้นว่า อาบัติ

ที่ชื่อว่าชั่วหยาบ ได้แก่สังฆาทิเสส ๑๓.

ในคำว่า ทุฏฐุลฺลา นาม อาปตฺติ เป็นต้นนั้น พึงมีมติของบาง

อาจารย์ว่า ภิกษุใด ต้องปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้น เคลื่อนแล้วจากภิกษุภาวะ

เพราะเหตุนั้น ภิกษุ เมื่อบอกอาบัติของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ. เมื่อมี

อธิบายอย่างนี้ แม้ภิกษุผู้ด่าก็พึงต้องอาบัติทุกกฏ และต้องปาจิตตีย์เท่านั้น .

สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ (ในปาราชิก) ว่า บุคคลเป็นผู้ไม่

บริสุทธิ์ ต้องธรรมคือปาราชิกอย่างใดอย่างหนึ่ง, ถ้าบุคคลเป็นผู้มีความเข้าใจ

ว่าบริสุทธิ์ ให้บุคคลผู้นั้นกระทำโอกาส แล้วพูดมีความประสงค์จะด่า ต้อง

โอมสวาท. เมื่อบาลีถูกวิจารณ์อย่างนี้ ปาจิตตีย์นั่นแหละ ย่อมปรากฏแม้แก่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 252

ผู้บอกอาบัติปาราชิก. จะปรากฎ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระอรรถกถาจารย์

เท่านั้นเป็นหลักได้ ในคำว่า ทุฏฐุลฺลา นาม อาปตฺติ นี้ เพราะ (คำว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาราชิกไว้ เพื่อทรงแสดงอรรถแห่งทุฏฐุลลศัพท์ แต่

สังฆาทิเสสทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้) พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้แล้วใน

อรรถกถาทั้งปวง. การวิจารณ์แม้อย่างอื่น หามีไม่.

แม้ในเบื้องต้น ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวไว้แล้วว่า

ธรรมและวินัยใด อันพระพุทธเจ้า

ตรัสแล้ว ธรรมและวินัยนั้น อันโอรส

ทั้งหลายของพระพุทธเจ้านั้นรู้แล้วอย่างนั้น

นั่นเทียว ดังนี้เป็นต้น.

จริงอยู่ พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย ย่อมทราบพระประสงค์ของ

พระพุทธเจ้า. ก็คำของพระอรรถกถาจารย์นั่น บัณฑิตพึงทราบโดยบรรยาย

แม้นี้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ใด้รับสมมติ. ก็การบอกแก่

ภิกษุผู้ได้รับสมมติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่อประโยชน์ในอันสำรวม

ต่อไป คือ เพื่อประโยชน์จะไม่ต้องอาบัติเช่นนั้นอีก, และไม่ใช่เพื่อต้องการ

จะประกาศเพียงโทษของภิกษุนั้น, ทั้งไม่ใช่เพื่อต้องการเกียดกันที่พึ่งของภิกษุ

นั้นในพระศาสนา, และความเป็นภิกษุของผู้ต้องปาราชิกโดยไม่ต้องอาบัติเห็น

ปานนั้นอีก หามีไม่ เพราะเหตุนั้น คำที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ใน

อรรถกถาทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาราชิกไว้ เพื่อแสดงอรรถแห่ง

ทุฎฐุลลศัพท์ แต่สังฆาทิเสส ทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้ ดังนี้ เป็นอัน

ท่านกล่าวชอบแล้ว.

ก็ในคำว่า อตฺถิ ภิกฺขุสมฺมติ อาปตฺติปริยนฺตา เป็นต้น มี

วินิจฉัยดังนี้ ภิกษุสมมติ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไ่ว้นี้ไม่ได้มาในบาง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 253

สิกขาบท, แต่เพราะภิกษุสมมติตรัสไว้ในสิกขาบทนี้นั่นแล จึงควรทราบว่า

สงฆ์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ แล้วอปโลกน์ ๓ ครั้ง ทำด้วยความเป็นผู้

แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่ภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้จักถึงความสังวรต่อไป แม้ด้วย

ความละอายและความเกรงกลัวในคนเหล่าอื่นอย่างนี้.

คำว่า อทุฏฺฐุลฺล อาปตฺตึ อาโรเจติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส

มีความว่า เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้บอกกองอาบัติแม้ทั้ง ๕. ในมหาปัจจรีท่าน

ปรับอาบัติทุกกฏอย่างเดียว แม้แก่ภิกษุผู้บอกอาบัติปาราชิก.

ในคำว่า อนุปสมฺปนฺนสฺส ทุฏฺฐุลฺล วา อทุฏฺฐุลฺล วา

อชฺณาจาร นี้ ท่านกล่าวรูปความไว้ว่า สิกขาบท ๕ ข้างต้น ชื่อว่า อัชฌาจาร

ชั่วหยาบ ที่เหลือชื่อว่าอัชฌาจารไม่ชั่วหยาบ, ก็สุกกวิสัฏฐิกายสังสัคคะ

ทุฎฐุลลวาจา และอัตตกามะ ชื่อว่าเป็นอัชฌาจาร ของภิกษุนั้น .

สองบทว่า วตฺถุ อาโรเจติ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้บอก

อย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ ต้องสุกกวิสัฎฐิ ต้องกายสังสัคคะ ต้องทุฏฐุลละ ต้อง

อัตตกามะ.

สองบทว่า อาปตฺตึ อาโรเจติ มีความว่า ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุนี้

ต้องปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส ต้องถุลลัจจัย ต้องปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ

ทุกกฏ ทุพภาสิต ดังนี้ ไม่เป็นอาบัติ. เมื่อภิกษุบอกเชื่อมต่ออาบัติกับวัตถุ

โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุนี้ ปล่อยอสุจิ ต้องสังฆาทิเสส ดังนี้เท่านั้น จึงเป็น

อาบัติ. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม

วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบทที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 254

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี

[๓๔๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬว-

เจดีย์ เขตรัฐอาฬวี ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวรัฐอาฬวีช่วยกันท่านวกรรม ขุดเอง

บ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพี คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า

ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่ง

ปฐพี พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมเบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่ง

ซึ่งมีชีวะ ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดา

ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา

ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุชาวรัฐอาฬวีจึงได้ขุดเองบ้าง

ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพีเล่า. . .แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอ

ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพี จริงหรือ.

ภิกษุชาวรัฐอาฬวีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพีเล่า เพราะคนทั้งหลายสำคัญ

ในปฐพีว่ามีชีวะ การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ

ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 255

พระบัญญัติ

๕๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ขุดก็ดี ให้ขุดก็ดี ซึ่งปฐพี เป็น

ปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๕๐] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

ที่ชื่อว่า ปฐพี ได้แก่ปฐพี ๒ อย่าง คือ ปฐพีแท้อย่างหนึ่ง ปฐพี

ไม่แท้อย่างหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า ปฐพีแท้ คือ มีดินร่วนล้วน มีดินเหนียวล้วน มีหินน้อย

มีกรวดน้อย มีกระเบื้องน้อย มีแร่น้อย มีทรายน้อย มีดินร่วนมาก มีดิน

เหนียวมาก แม้ดินที่ยังไม่ได้เผาไฟก็เรียกว่า ปฐพีแท้.

กองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี ที่ฝนตกรดเกิน ๔ เดือนมาแล้ว

แม้นี้ก็เรียกว่า ปฐพีแท้.

ที่ชื่อว่า ปฐพีไม่แท้ คือ เป็นหินล้วน เป็นกรวดล้วน เป็น

กระเบื้องล้วน เป็นแร่ล้วน เป็นทรายล้วน มีดินร่วนน้อย มีดินเหนียวน้อย

มีหินมาก มีกรวด มีกระเบื้อง มีแร่ มีทรายมาก แม้ดินที่เผาไฟแล้ว ก็

เรียกว่า ปฐพีไม่แท้.

กองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี ที่ฝนตกรดยังหย่อนกว่า ๔ เดือน

แม้นี้ก็เรียกว่า ปฐพีไม่แท้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 256

[๓๕๑] บทว่า ขุด คือ ขุดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้ขุด คือ ใช้ให้คนอื่นขุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

สั่งครั้งเดียว เขาขุดแม้หลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๓๕๒] ปฐพี ภิกษุสำคัญว่า ปฐพี ขุดเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ทำลาย

เองก็ดี ใช้ให้เขาทำลายก็ดี เผาไฟเองก็ดี ใช้ให้เขาเผาไฟก็ดี ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

ปฐพี ภิกษุสงสัย ขุดเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ทำลายเองก็ดี ใช้ให้

เขาทำลายก็ดี เผาไฟเองก็ดี ใช้ให้เขาเผาไฟก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

ปฐพี ภิกษุสำคัญว่า มิใช่ปฐพี ขุดเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ทำลาย

เองก็ดี ใช้ให้เขาทำลายก็ดี เผาไฟเองก็ดี ใช้ให้เขาเผาไฟก็ดี ไม่ต้องอาบัติ.

มิใช่ปฐพี ภิกษุสำคัญว่า ปฐพี . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่ปฐพี ภิกษุสงสัย ...ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่ปฐพี ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ปฐพี. . .ไม่ต้องอาบัติ.

อานาปัตติวาร

[๓๕๓] ภิกษุกล่าวว่า ท่านจงรู้ดินนี้ ท่านจงให้ดินนี้ ท่านจงนำ

ดินนี้มา เรามีความต้องการด้วยดินนี้ ท่านจงทำดินนี้ให้เป็นกัปปิยะ ดังนี้ ๑

ภิกษุไม่แกล้ง ๑ ภิกษุไม่มีสติ ๑ ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ-

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 257

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. มุสาวาทสิกขาบท ว่าด้วยพูดเท็จ

๒. โอมสวาทสิกขาบท ว่าด้วยพูดเสียดสี

๓. เปสุญญสิกขาบท ว่าด้วยพูดส่อเสียด

๔. ปทโสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยสอนธรรมว่าพร้อมกัน

๕. ปฐมสหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยนอนร่วมกับอนุปสัมบัน

๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยนอนร่วมกับมาตุคาม

๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท ว่าด้วยแสดงธรรม

๘. ภูตาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยบอกอุตริมนุสธรรม

๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยบอกอาบัติชั่วหยาบ

๑๐. ปฐวีขนนสิกขาบท ว่าด้วยขุดดิน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 258

มุสาวาทวรรค ปฐวีขนนสิกขาบทที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้

[แก้อรรถ เรื่องปฐพีแท้ไม่แท้]

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปฐพีแท้ และปฐพีไม่แท้ ด้วยบทเหล่านี้

ว่า ชาตา จ ปวี อชาตา จ ปวี ดังนี้.

ในบททั้งหลายมีบทว่ามีหินน้อยเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงเห็นใจความอย่าง

นี้ว่า ที่ปฐพีแท้นี้มีหินน้อย ฉะนั้น จึงชื่อว่า อัปปปาสาณะ. ในบทว่า

มีหินน้อย เป็นต้นนั้น พึงทราบว่า มีหินเกินกว่าขนาดกำมือหนึ่ง. กรวด

ก็พึงทราบว่า มีขนาดกำมือหนึ่ง. เศษกระเบื้องชื่อ กถลา. ก้อนกรวดที่

ปรากฏ (หินกรวดคล้ายวลัย) ชื่อ มรุมพา. ทรายนั่นแหละ ชื่อว่า วาลุกา.

สองบทว่า เยภุยฺเยน ปสุ มีความว่า ใน ๓ ส่วน ๒ ส่วน เป็น

ดินร่วนเสีย, ส่วนหนึ่ง เป็นหินเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า อทฑฺฒาปี มีความว่า ยังไม่ได้เผาไฟ โดยประการใด

ประการหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งเตาไฟ ที่ระบมบาตร และเตาช่างหม้อเป็นต้น

ก็ปฐพีที่ยังไม่ได้เผาไฟนั้น ไม่มีต่างหาก, พึงทราบว่าเป็นปฐพีชนิดใดชนิดหนึ่ง

มีดินซุยล้วนเป็นต้น .

สองบทว่า เยภุยฺเยน สกฺขรา ได้แก่ มีก้อนกรวดมากกว่า. ได้ยินว่า

ในหัตถิกุจฉิประเทศ พวกภิกษุให้ขนดินมาเต็มกระบุงหนึ่ง แล้วล้างในลำราง

รู้ว่าเป็นปฐพีมีกรวดโดยมาก จึงขุดสระโบกชรณีเสียเอง.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 259

ก็สองบทว่า อปฺปปสุ อปฺปมตฺติกา ซึ่งมีอยู่ตรงกลาง ผนวกเข้า

หมวด ๕ มีหินโดยมากเป็นต้นนั่นแล. แท้จริง คำนี้ เป็นคำแสดงชนิดแห่ง

ปฐพีทั้ง ๒ นั้น นั่นแล.

ในคำว่า สย ขนติ อาปตฺต ปาจิตฺติยสฺส นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า

เป็นปาจิตตีย์ทุก ๆ ครั้งที่ขุด.

คำว่า สกึ อาณตฺโต พทุกปิ ขนติ มีความว่า ถ้าแม้นว่า ผู้รับ

สั่งขุดตลอดทั้งวัน ก็เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียวเท่านั้นแก่ผู้สั่ง. แต่ถ้าผู้รับสั่งเป็นคน

เกียจคร้าน ผู้สั่งต้องสั่งบ่อย ๆ เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้สั่งให้เขาขุดทุก ๆ คำ.

พรรณนาบาลีเท่านี้ก่อน.

[บาลีมุตตกวินิจฉัยว่าด้วยการขุดดินเป็นต้น]

ส่วนวินิจฉัยนอกพระบาลี ดังต่อไปนี้ ภิกษุกล่าวว่า เธอจงขุด

สระโบกขรณี ดังนี้ ควรอยู่. เพราะว่า สระที่ขุดแล้วเท่านั้น จึงชื่อว่า เป็น

สระโบกขรณี ฉะนั้น โวหารนี้ เป็นกัปปิยโวหาร. แม้ในคำเป็นต้นว่า

จงขุด บึง บ่อ หลุม ดังนี้ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. แต่จะกล่าวว่า จงขุด

โอกาสนี้ จงขุดสระโบกขรณี ในโอกาสนี้ ดังนี้ ไม่ควร. จะกล่าวไม่กำหนด

แน่นอนลงไปว่า จงขุดเหง้า จงขุดราก ดังนี้ ควรอยู่ จะกล่าวว่า จงขุด

เถาวัลย์นี้ จงขุดเหง้า หรือรากในโอกาสนี้ ดังนี้ ไม่สมควร. เมื่อชำระ

สระโบกขรณี อาจจะเอาหม้อวิดเปือกตมเหลว ๆ ใดออกได้, จะนำเปือกตม

นั้นออก ควรอยู่. จะนำเปือกตมที่ข้นออก ไม่ควร. เปือกตมแห้งเพราะ

แสงแดด แตกระแหง ในเปือกตมแห้งนั้น ส่วนใดไม่เนื่องกับแผ่นดินใน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 260

เบื้องล่าง, จะนำเปือกตมนั้นแลออก ควรอยู่. ชื่อว่าระแหง (แผ่นคราบน้ำ,

ดินร่วนเพราะน้ำแห้ง) มีอยู่ในที่น้ำไหลไป ย่อมไหวเพราะถูกลมพัด จะนำ

เอาระแหงนั้นออก ควรอยู่. ฝั่ง (ตลิ่ง) แห่งสระโบกขรณีเป็นต้น พังตก

ลงไปริมน้า. ถ้าถูกฝนตกรดต่ำกว่า ๔ เดือน จะฟันออก หรือทุบออก ก็ควร

ถ้าเกิน ๔ เดือน ไม่ควร. แต่ถ้าตกลงในน้ำเลย. แม้เมื่อฝนตกรดเกิน ๔ เดือน

แล้ว ก็ควร เพราะน้ำ (ฝน) ตกลงไปในน้ำเท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลายขุด (เจาะ) สะพังน้ำ (ตระพังหิน) บนหินดาด. ถ้า

แม้นว่า ผงละเอียดตกลงไปในตระพังหินนั้น ทั้งแต่แรกทีเดียว. ผงละเอียด

นั้นถูกฝนตกรด ต่อล่วงไปได้ ๔ เดือน จึงถึงอันนับว่า เป็นอกัปปิยปฐพี.

เมื่อน้ำงวดแล้ว (แห้งแล้ว ) พวกภิกษุผู้ชำระตระพังหิน จะแยกผงละเอียด

นั้นออก ไม่ควร. ถ้าเต็มด้วยน้ำอยู่ก่อน. ผงละอองตกลงไปภายหลัง. จะแยก

ผงละอองนั้นออก ควรอยู่. แท้จริง แม้เมื่อฝนตกในตระพังหินนั้น น้ำย่อม

ตกลงในน้ำเท่านั้น. ผงละเอียดมีอยู่บนพวกหินดาด ผงละเอียดนั้น เมื่อถูก

ฝนตกซะอยู่ ก็ติดกันเข้าอีก. จะแยกผงละอองแม้นั้นออกโดยล่วง ๔ เดือนไป

ไม่ควร.

จอมปลวกเกิดขึ้นที่เงื้อมเป็นเองไม่มีคนสร้าง. จะแยกออกตามสะดวก

ควรอยู่. ถ้าจอมปลวกเกิดขึ้นในที่แจ้ง ถูกฝนตกรดต่ำกว่า เดือนเท่านั้น

จึงควร. แม้ในดินเหนียวของตัวปลวกที่ขึ้นไปบ้านไม้เป็นต้น มีนัยอย่างนี้

เหมือนกัน. แม้ในขุยไส้เดือน ขุยหนู และระแหงกีบโคเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนั้น

เหมือนกัน. เปือกตมที่ถูกตัดด้วยกีบฝูงโค (โคลนรอยกีบฝูงโค) เรียกว่า

๑. วิมฺติ แก้ว่า อุทกปปฺปฎโกติ อุทเก อนฺโตภูมิย ปวิฎฺเ ตสฺส อุปริภาค ฉาเทตฺวา

ตนุปสุ วา มตฺติกา วา ปฎล หุตฺวา ปตมานา ติฎฺ ติ, ตสฺมึ อุทเก สุกฺเขปิ ต ปฎฺล วาเตน

จลมานา ติฎฺติ, ต อุทกปปฺปฏโก นาม-ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 261

ระแหงกีบโค. ก็ถ้าว่า ระแหงกีบโคนั้น ติดกับแผ่นดินทางพื้นล่าง แม้ใน

วันเดียวจะแยกออก ก็ไม่ควร. ภิกษุถือเอาดินเหนียวที่ถูกไถตัด แม้ในที่

ที่ชาวนาไถไว้ ก็มีนัยอย่างนั้นเหมือนกัน.

เสนาสนะเก่า ไม่มีหลังคา หรือมีหลังคาพังก็ตาม ถูกฝนตกรดเกิน

๔ เดือน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า ปฐพีแท้เหมือนกัน. ภิกษุจะถือเอากระเบื้อง

มุงหลังคา หรือเครื่องอุปกรณ์มีกลอนเป็นต้น ที่เหลือจากเสนาสนะเก่านั้น

ด้วยสำคัญว่า เราจะเอาอิฐ จะเอากลอน จะเอาเชิงฝา จะเอากระดานปูพื้น

จะเอาเสาหิน ดังนี้ ควรอยู่. ดินเหนียวตกลงติดกับกระเบื้องหลังคาเป็นต้นนั้น

ไม่เป็นอาบัติ. แต่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เอาดินเหนียวที่ฉาบฝา. ถ้าดินก้อนใดๆ

ไม่เปียกชุ่ม, ภิกษุถือเอาดินก้อนนั้น ๆ ไม่เป็นอาบัติ.

ภายในเรือนมีกองดิน เมื่อกองดินนั้น ถูกฝนตกรดเสียวันหนึ่ง ชน-

ทั้งหลายจึงมุงเรือน. ถ้ากองดินเปียกทั้งหมด, ต่อล่วงไปได้ ๔ เดือน กลายเป็น-

ปฐพีแท้เหมือนกัน. ถ้าส่วนเบื้องบนแห่งกองดินนั้นเท่านั้นเปียก ภายใน

ไม่เปียก จะใช้ให้พวกกัปปียการกคุ้ยเอาดินเท่าจำนวนที่เปียกออกเสีย ด้วย

กัปปิยโวหารแล้ว ใช้สอยดินส่วนที่เหลือตามสะดวกก็ควร. จริงอยู่ ดินที่

เปียกน้ำแล้วจับติดเนื่องเป็นอันเดียวกันนั่นแล จัดเป็นปฐพีแท้. นอกนี้

ไม่ใช่แล.

กำแพงดินเหนียวอยู่ในที่แจ้ง ถ้าถูกฝนตกรดเกิน ๔ เดือน ย่อมถึง

อันนับว่า ปฐพีแท้. แต่ภิกษุจะเอามือเปียกจับต้องดินร่วนอันติดอยู่ที่ปฐพีแท้

นั้น ควรอยู่. ถ้าหากว่า เป็นกำแพงอิฐ ทั้งอยู่ในฐานเป็นเศษกระเบื้องอิฐ.

เสียโดยมาก จะคุ้ยเขี่ยออกตามสบาย ก็ได้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 262

ภิกษุจะโยกเอาเสามณฑปที่ตั้งอยู่ในที่แจ้ง ไปทางโน้นทางนี้ ทำให้

ดินแยกออก ไม่ควร ยกขึ้นตรง ๆ เท่านั้น จึงควร. สำหรับภิกษุผู้จะถือเอา

ต้นไม้แห้ง หรือตอไม้แห้งแม้อย่างอื่น ก็นัยนี้แล. ภิกษุทั้งหลายเอาพวกไม้ท่อน

งัดหิน หรือต้นไม้กลิ้งไป เพื่อการก่อสร้าง. แผ่นดินในที่กลิ้งไปนั้น แตก

เป็นรอย. ถ้าภิกษุทั้งหลายมีจิตบริสุทธิ์กลิ้งไป ไม่เป็นอาบัติ. แต่ทว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่จะทำลายแผ่นดินด้วยเลศนั้นนั่น เอง เป็นอาบัติ. พวก

ภิกษุผู้ลากกิ่งไม้เป็นต้นไปก็ดี ผ่าพื้นบนแผ่นดินก็ดี ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน

จะตอกหรือจะเสียบแม้วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มีกระดูก เข็มและหนามเป็นต้น

ลงไปในแผ่นดิน ก็ไม่ควร. แม้จะถ่ายปัสสาวะ ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เราจะพัง

แผ่นดินด้วยกำลังแห่งสายน้ำปัสสาวะ ก็ไม่ควร. เมื่อภิกษุถ่ายดินพัง เป็นอาบัติ.

แม้จะเอาไม้กวาดครูดถู ด้วยติดว่า เราจักทำพื้นดินที่ไม่เสมอ ให้เสมอ ดังนี้

ก็ไม่ควร. ความจริง ควรจะกวาดด้วยหัวข้อแห่งวัตรเท่านั้น.

ภิกษุบางพวก กระทุ้งแผ่นดิน ด้วยปลายไม้เท้า เอาปลายนิ้วหัวแม่เท้า

ขีดเขียน (แผ่นดิน). เดินจงกรมทำลายแผ่นดิน ครั้งแล้วครั้งเล่า ด้วยคิดว่า

เราจักแสดงสถานที่ที่เราจงกรม ดังนี้, กรรมเช่นนั้น ไม่ควรทุกอย่าง. แต่ภิกษุ

ผู้กระทำสมณธรรมเพื่อยกย่องความเพียร มีจิตบริสุทธิ์ จงกรม สมควรอยู่.

เมื่อกระทำ (การเดินจงกรมอยู่แผ่นดิน) จะแตกก็ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุทั้งหลาย

ครูดสีที่แผ่นดิน ด้วยคิดว่า จักล้างมือ ไม่ควร. ส่วนภิกษุ ผู้ไม่ครูดสี

แต่วางมือเปียกลงบนแผ่นดิน แล้วแตะเอาละอองไป ได้อยู่. ภิกษุบางพวก

อาพาธด้วยโรคคัน และหิดเป็นต้น จึงครูดสีอวัยวะใหญ่น้อยลงบนที่มีตลิ่งชัน

เป็นต้น, การทำนั้น ก็ไม่สมควร.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 263

[ว่าด้วยการะขุดเองและการใช้ให้ขุดแผ่นดินเป็นต้น]

สองบทว่า ขนติ วา ขนาเปติ วา มีความว่า ภิกษุขุดเองก็ดี ใช้ให้

ผู้อื่นขุดก็ดี (ซึ่งแผ่นดิน) ชั้นที่สุดด้วยปลายนิ้วเท้าบ้าง ด้วยซี่ไม้กวาดบ้าง

สองบทว่า ภินฺทติ วา ภินฺทาเปติ วา มีความว่า ภิกษุทำลาย

เองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นทำลายก็ดี (ซึ่งแผ่นดิน) ชั้นที่สุด แม้จะเทน้ำ.

สองบทว่า ทหติ วา ทหาเปติ วา มีความว่า ภิกษุเผาเองก็ดี

ใช้ให้ผู้อื่นเผาก็ดี ชั้นที่สุดจะระบมบาตร. ภิกษุจุดไฟเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นจุด

ในที่มีประมาณเท่าใด เป็นปาจิตตีย์มีประมาณเท่านั้นตัว. ภิกษุ แม้เมื่อจะ

ระบมบาตร พึงระบมในที่เคยระบมแล้วนั่นแหละ. จะวางไฟลงบนแผ่นดินที่

ไฟยังไม่ไหม้ ไม่ควร. แต่จะวางไฟลงบนกระเบื้องสำหรับระบมบาตร ควรอยู่.

วางไฟลงบนกองฟืน, ไฟนั้นไหม้ฟืนเหล่านั้น แล้วจะลุกลามเลยไปไหม้ดิน

ไม่ควร. แม้ในที่มีอิฐและหินเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ ใน

ที่แม้นั้น จะวางไฟลงบนกองอิฐเป็นต้นนั่นแล ควรอยู่. เพราะเหตุไร ?

เพราะอิฐเป็นต้นนั้น มิใช่เชื้อไฟ. จริงอยู่ อิฐเป็นต้นนั้น ไม่ถึงอันนับว่า

เป็นเชื้อแห่งไฟ. จะติดไฟแม้ที่ตอไม้แห้ง และต้นไม้แห้งเป็นต้น ก็ไม่ควร.

แต่ถ้าว่า ภิกษุจะติดไฟด้วยคิดว่า เราจักดับไฟที่ยังไม่ทัน ถึงแผ่นดิน

เสียก่อนแล้วจึงจักไป ดังนี้ ควรอยู่. ภายหลังไม่อาจเพื่อจะดับได้ ไม่เป็นอาบัติ

เพราะไม่ใช่วิสัย ภิกษุถือคบเพลิงเดินไป เมื่อมือถูกไฟไหม้จึงทิ้งลงที่พื้น,

ไม่เป็นอาบัติ. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า จะเติมเชื้อก่อไฟ ในที่คบเพลิงตก

นั่นแหละ ควรอยู่. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีนั้นนั่นแลว่า ก็ที่มีประมาณเท่าใด

ในแผ่นดินซึ่งถูกไฟไหม้ ไอร้อนระอุไปถึง จะโกยที่ทั้งหมดนั้น ออก ควรอยู่.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 264

ก็ภิกษุใด ยังไม่รู้จะสีให้ไฟเกิดด้วยไม้สีไฟ เอามือหยิบขึ้นแล้วกล่าวว่า

ผมจะทำอย่างไร ? ภิกษุอื่นบอกว่า จงทำให้ลุกโพลงขึ้น. เธอกล่าวว่า มัน

จะไหม้มือผม จึงบอกว่า จงทำอย่างที่มันจะไม่ไหม้. แต่ไม่พึงบอกว่า จงทิ้ง

ลงที่พื้น. ถ้าว่า เมื่อไฟไหม้มือ เธอทิ้งลง ไม่เป็นอาบัติ เพราเธอไม่ได้

ทิ้งลงด้วยตั้งใจว่า เราจักเผาแผ่นดิน. ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีว่า ถึงจะก่อไฟ

ในที่ไฟตกลง ก็ควร

ก็ในคำว่า อนาปตฺติ อิม ชาน เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบใจความ

อย่างนี้ คือ (ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้กล่าวว่า) เธอจงรู้หลุมสำหรับเสานี้, จงรู้

ดินเหนียวก้อนใหญ่ จงรู้ดินปนแกลบ จงให้ดินเหนียวก้อนใหญ่ จงให้ดิน

ปนแกลบ. จงนำดินเหนียวมา. จงนำดินร่วนมา, ต้องการดินเหนียว, ต้องการ

ดินร่วน จงทำหลุมให้เป็นกัปปิยะสำหรับเสานี้, จงทำดินเหนียวนาให้เป็น

กัปปิยะ, จงทำดินร่วนนี้ให้เป็นกัปปิยะ.

บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า เมื่อภิกษุกลิ้งหินและต้นไม้เป็นต้นไป

หรือเดินเอาไม้เท้ายัน ๆ ไป แผ่นดินแตก. แผ่นดินนั้นชื่อว่า อันภิกษุไม่ได้

แกล้งทำแตก เพราะเธอไม่ได้จงใจทำลายอย่างนี้ว่า เราจักทำลาย (แผ่นดิน)

ด้วยไม้เท่านี้, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่แกล้งทำลาย ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อสติยา มีความว่า ภิกษุส่งใจไปทางอื่นยืนพูดอะไรกับคน

บางคนเอานิ้วหัวแม่เท้า หรือไม้เท้าขีดเขียนแผ่นดินไปพลาง ไม่เป็นอาบัติ

แก่ภิกษุผู้ขีดเขียน หรือทำลาย (ดิน) ด้วยไม่มี สติอย่างนี้.

บทว่า อาชานนฺตสฺส มีความว่า ภิกษุไม่รู้แผ่นดินที่ฝนตกรดภาย-

ในเรือน ซึ่งมุงหลังคาปิดแล้วว่า เป็นอกัปปิยปฐพี จึงโกยออก ด้วยสำคัญว่า

เป็นกัปปิยปฐพี ก็ดี ไม่รู้ว่า เราขุด เราทำลาย เราเผาไฟ ก็ดี เก็บเสียม

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 265

เป็นต้น เพื่อต้องการรักษาไว้อย่างเดียวก็ดี มือถูกไฟไหม้ ทิ้งไฟลงก็ดี, ไม่

เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้อย่างนี้ บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น..

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิ ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สาญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ

กายกรรม วจีกรรม มีเวทนา ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

ปฐวีขนนสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

มุสาวาทวรรคที่ ๑ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 266

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี

[๓๕๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬว-

เจดีย์ เขตรัฐอาฬวี ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวรัฐอาฬวีทำนวกรรม ตัดต้นไม้

เองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง แม้ภิกษุชาวรัฐอาฬวีรูปหนึ่งก็ตัดต้นไม้ เทวดาผู้

สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้นั้น ได้กล่าวคำนี้กะภิกษุนั้นว่า ท่านเจ้าข้า ท่านประสงค์

จะทำที่อยู่ของท่าน โปรดอย่าตัดต้นไม้อันเป็นที่อยู่ของข้าพเจ้าเลย ภิกษุรูปนั้น

ไม่เชื่อฟังได้ตัดลงจนได้ แลฟันถูกแขนทารกลูกของเทวดานั้น เทวดาได้คิด

ขึ้นว่า ถ้ากระไรเราพึงปลงชีวิตภิกษุรูปนี้เสีย ณ ที่นี้แหละ แล้ว ติดต่อไปว่า

ก็การที่เราจะพึงปลงชีวิตภิกษุรูปนี้เสีย ณ ที่นี้นั้นไม่สมควรเลย ถ้ากระไรเรา

ควรกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนั้น เทวาดานั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้

มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานสาธุการว่า ดีแล้ว ๆ เทวดา ดีนักหนา

ที่ท่านไม่ปลงชีวิตภิกษุรูปนั้น ถ้าท่านปลงชีวิตภิกษุรูปนั้นในวันนี้ ตัวท่านจะ

พึงได้รับบาปเป็นอันมาก ไปเถิดเทวาดา ต้นไม้ในโอกาสโน้นว่างแล้ว ท่าน

จงเข้าไปอยู่ที่ต้นไม้นั้น.

ประชาชนพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พวกพระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ตัดต้นไม้เองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง พระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลาย ย่อมเบียดเบียนอินทรีย์ อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 267

ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกเขาเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่มักน้อย. . .

ต่างพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พวกภิกษุชาวรัฐอาฬวี จึงได้ตัด

ต้นไม้เองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ

ตัดเองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง ซึ่งต้นไม้ จริงหรือ.

ภิกษุชาวรัฐอาฬวีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ตัดเองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง ซึ่งต้น ไม้ เพราะคนทั้งหลายสำคัญ

ในต้นไม้ ว่ามีชีวะ การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส

ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ..

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๖๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะพรากภูตคาม.

เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๕๕] ที่ชื่อว่า ภูตคาม ได้แก่พืช ๕ ชนิด คือ พืชเกิดจากเหง้า ๑

พืชเกิดจากต้น ๑ พืชเกิดจากข้อ ๑ พืชเกิดจากยอด ๑ พืชเกิดจากเมล็ด

เป็นที่ครบห้า ๑.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 268

ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากเหง้า ได้แก่ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ

อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่เหง้า งอกที่เหง้า

นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากเหง้า.

ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากต้น ได้แก่ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นดีปลี ต้น

มะเดื่อ ต้นเต่าร้าง ต้นมะขวิด หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่ต้น งอกที่ต้น

นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากต้น.

ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากข้อ ได้แก่ อ้อย ไม้ไผ่ ไม้อ้อ หรือแม้พืช

อย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่ข้อ งอกที่ข้อ นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากข้อ.

ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากยอด ได้แก่ ผักบุ้งล้อม แมงลัก เถาหญ้านาง

หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่ยอด งอกที่ยอด นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากยอด.

ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากเมล็ด ได้แก่ ข้าว ถั่ว งา หรือแม้พืชอย่าง

อื่นใดซึ่งเกิดที่เมล็ด งอกที่เมล็ด นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากเมล็ด เป็นที่ครบห้า.

บทภาชนีย์

[๓๕๖] พืช ภิกษุสำคัญว่าพืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลาย

เองก็ดี ให้ คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พืช ภิกษุสงสัย ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเองก็ดี ให้คนอื่น

ทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

พืช ภิกษุสำคัญว่า ไม่ใช่พืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลาย

เองก็ดี ให้คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ไม่ต้องอาบัติ.

ไม่ใช่พืช ภิกษุสำคัญว่าพืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเอง

ก็ดี ให้คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 269

ไม่ใช่พืช ภิกษุสงสัย ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเองก็ดี

ให้คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี. ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่พืช ภิกษุสำคัญว่า ไม่ใช่พืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัด ก็ดี

ทำลายเองก็ดี ให้คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๓๕๗] ภิกษุกล่าวว่า ท่านจงรู้พืชนี้ ท่านจงให้พืชนี้ ท่านจงนำ

พืชนี้มา เรามีความต้องการด้วยพืชนี้ ท่านจงทำพืชนี้ให้เป็นกัปปิยะดังนี้ ๑

ภิกษุไม่แกล้งพราก ๑ ภิกษุทำเพราะไม่มีสติ ๑ ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

ปาจิตตีย์ เสนาสนวรรคที่ ๒

ภูตคามสิกขาบทที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งเสนาสนวรรค* ดังต่อไปนี้

[เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี ตัดต้นไม้]

บทว่า อนาทิยนฺโต คือ ไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเทวดานั้น.

หลายบทว่า ทารกสฺส พาหุ อาโกฏฺเฏสิ มีความว่า ภิกษุนั้น

ไม่อาจยั้งขวานที่เงื้อขึ้น จึงตัดเอาแขนทรงที่ใกล้ราวนม ของทารกผู้นอนอยู่

บนวิมานทิพย์ ซึ่งตั้งอยู่บนต้นไม้ อันเทวดานั้นได้มาจากสำนักของท้าวจาตุม-

มหาราช ซึ่งล่วงเลยวิสัยแห่งจักษุของพวกมนุษย์.

* บาลีเป็นภูตคามวรรค.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 270

ในคำว่า น โข ปเนต ปฏิรูป เป็นต้น มีการพรรณนาโดยสังเขป

ดังต่อไปนี้

ได้ยินว่า ในป่าหิมพานต์ มีการประชุมเทวดา ทุก ๆ วันปักษ์, ใน

ป่าหิมพานต์นั้น พวกเทวดาย่อมถามถึงรุกขธรรมว่า ท่านทั้งอยู่หรือไม่ได้ตั้ง

อยู่ในรุกขธรรม. ชื่อว่า รุกขธรรม ได้แก่ การที่รุกขเทวดาไม่ทำความ

ประทุษร้ายทางใจ ในเมื่อต้นไม้ถูกตัด. บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาองค์ใด

ไม่ทั้งอยู่ในรุกขธรรม, เทวดาองค์นั้น ย่อมไม่ได้เพื่อจะเข้าสู่ที่ประชุม. เทวดา

องค์นั้น ได้มองเห็นโทษ มีการไม่ตั้งอยู่ในรุกขธรรมเป็นปัจจัยนี้ ด้วยประการ

ดังนี้ และระลึกถึงบุรพจรรยา ในปางที่พระตถาคตเจ้าเสวยพระชาติเป็น

พญาช้างฉัททันต์เป็นต้น โดยกระแสแห่งพระธรรมเทศนาที่คนเคยสดับมา

เฉพาะพระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะเหตุนั้น เทวดานั้น จึงได้มี

ความรำพึง น โข ปเนต ปฏิรูป ฯเปฯ ชีวิตา โวราเปยฺยุ (ก็การ

ที่เราจะปลงชีวิตภิกษุรูปนี้เสีย ณ ที่นี้ นั่นไม่สมควรเลย) ดังนี้. ก็ความรำพึง

นี้ว่า ถ้ากระไร เราควรกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ ได้มีแก่

เทวดานั้น ผู้ฉุกคิดอยู่อย่างนี้ว่า ภิกษุนี้เป็นบุตรมีบิดา, พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ทรงสดับอัชฌาจารนี้ของภิกษุนี้แล้ว จักทรงป้องกันมารยาท จักทรงบัญญัติ

สิกขาบทแน่นอน.

คำว่า สจชฺช ตฺว เทวเต มีความว่า ดูก่อนเทวดา ! ถ้าท่าน

(ปลงชีวิตภิกษุรูปนั้น) ในวันนี้ไซร้.

บทว่า ปสเวยฺยาสิ แปลว่า พึงให้เกิด คือ พึงให้บังเกิดขึ้น. ก็แล

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะให้เทวดานั้นยินยอม จึงได้

ตรัสพระคาถานี้ว่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 271

บุคคลใดแล ข่มความโกรธที่เกิดขึ้น

แล้วได้ เหมือนกับสารถีหยุดรถ ซึ่งกำลัง

แล่นอยู่ได้ เราตถาคตเรียกบุคคลนั้นว่า

เป็นสารถี ชนนอกจากนี้ เป็นแต่คนถือ

บังเหียน.

ในเวลาจบพระคาถา เทวดานั้น ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. พระผู้มี

พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ประชุมกันพร้อมแล้ว จึงได้

ทรงภาษิตพระคาถานี้อีกว่า

ภิกษุใดแล ย่อมกำจัดซึ่งความโกรธ

ที่เกิดขึ้น เหมือนหมอกำจัดพิษงูที่แล่นซ่าน

ไปแล้ว ด้วยโอกาสทั้งหลาย ฉะนั้น ภิกษุนั้น

ย่อมละฝั่งนี้และฝั่งโน้นได้ เหมือนงูลอก-

คราบเก่าแก่ทิ้งไป ฉะนั้น.

บรรดาคาถาทั้งสองนั้น คาถาที่ ๑ พระธรรมสังคาหกาจารย์ยกขึ้นสู่

สังคหะ ในธรรมบท, คาถาที่ ๒ ยกขึ้นสู่สังคหะ ในสุตตนิบาต ส่วนเรื่อง

ยกขึ้นสู่สังคหะ ในวินัยปิฏกแล.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่นั่นเทียว ทรงตรวจ

ดูสถานที่อยู่ของเทวดานั้น ทอดพระเนตรเห็นสถานที่ อันสมควรแล้ว. จึงตรัสว่า

ไปเถิดเทวดา ! ณ ที่โอกาสโน้นมีต้นไม้ว่างอยู่, เธอจงเข้าไปอยู่ที่ต้นไม้นั้น.

ได้ยินว่า ต้นไม้นั้นไม่มีในแคว้นอาฬวี, มีอยู่ภายในกำแพงเครื่องล้อมแห่ง

พระเชตวัน ซึ่งมีเทวบุตรผู้เป็นเจ้าของได้จุติไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ต้นไม้นั้น

๑. ขุ. ธ. ๒๕/๔๔-๔๕. ๒. ข. ส. ๒๕/๓๒๔.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 272

จึงตรัสว่า ว่างแล้ว . ก็แลจำเดิมแต่ปางนั้นมา เทวดานั้น ได้ความคุ้มครอง

จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เป็นพุทธอุปัฎฐายิกา. ในคราวมีเทวสมาคม เมื่อ

เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ทั้งหลายมาอยู่ เทวดาเหล่าอื่นผู้มีศักดิ์น้อย ย่อมถอยร่นไป

จนจดมหาสมุทร และภูเขาจักรวาล. ส่วนเทวดานี้ นั่งฟังธรรม อยู่ในที่อยู่

ของตนนั่นแหละ. เทวดานั้น นั่งฟังปัญหาทั้งหมด แม้ที่พวกภิกษุถามใน

ปฐมยาม (และ) ที่พวกเทวดาถามในมัชฌิมยามบนวิมานนั้นนั่นแล. แม้ท้าว

มหาราชทั้ง ๔ มาสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะไป ก็เยี่ยมเทวดา

นั้นก่อนแล้วจึงไป.

[แก้อรรถปาฐะว่าภูตคามปาตัพยตาย]

ในบทว่า ภูตคามปาตพฺยตาย นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ ที่ชื่อว่า

ภูตะ เพราะอรรถว่า เกิดอยู่ด้วย เติบโตขึ้นอยู่ด้วย. อธิบายว่า ย่อมเกิด

ย่อมเจริญ หรือว่า เกิดแล้ว เจริญแล้ว.

บทว่า คาโม แปลว่า กอง. กองแห่งภูตทั้งหลาย เหตุนั้นจึงชื่อว่า

ภูตคาม. อีกอย่างหนึ่ง กอง คือ ภูต ชื่อภูตคาม. คำว่า ภูตคาม นั่น

เป็นชื่อแห่งหญ้า และต้นไม้เขียวสดที่ยืนต้นแล้ว เป็นต้น.

ภาวะแห่งการพราก ชื่อ ปาตัพยตา (ความเป็นแห่งการพราก).

อธิบายว่า ภาวะอันบุคคลพึงบริโภคใช้สอยตามความพอใจ. ด้วยการตัดและ

การทุบเป็นต้น . ในเพราะความเป็นผู้พรากภูตคามนั้น แห่งภิกษุนั้น. คำนี้

เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิต. อธิบายว่า เป็นปาจิตตีย์ เพราะความ

เป็นผู้พรากภูตคามเป็นเหตุ คือ เพราะการตัดภูตตามเป็นต้นเป็นปัจจัย.

[อธิบายภูตคาม ๕ ชนิด มีมูลแพะเป็นต้น]

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงภูตคามนั้น จึงตรัส

คำเป็นต้นว่า ภูตคาโม นาม ปญฺจ วีชชาตานิ ดังนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 273

ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า ในคำว่า ภูตคามเป็นต้นนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกภูตคามขึ้นด้วยคำว่า ภูตคาโม นาม ดังนี้ แล้ว

ตรัสคำ ปญฺจ วาชชาตานิ เป็นต้น เพื่อทรงแสดงพืชที่เมื่อมันมีอยู่ ภูตคาม

จึงมี. แม้เมื่อมีอย่างนี้ คำว่า ยานิ วา ปนญฺญานิปิ อตฺถิ มูเล ชายนฺติ

เป็นต้น. ก็ไม่สมกัน. จริงอยู่ พืช ๕ ชนิด มีพืชเกิดจากเหง้าเป็นต้น ไม่ใช่

เกิดอยู่ทีเหง้าเป็นต้น, แต่พืชเหล่านั้น เมื่อจะเกิดที่เหง้าเป็นต้น ก็ชื่อว่ามูลพืช

เป็นต้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบวรรณนาในคำว่า ภูตคาโม นาม

เป็นต้นนี้ (โดยนัยที่กำลังจะกล่าว) อย่างนี้

บทว่า ภูตคาโม นาม เป็นบทควรแจก.

บทว่า ปญฺจ เป็นการกำหนดชนิดแห่งภูตคามนั้น.

บทว่า วีชชตานิ เป็นบทแสงไขธรรมที่ได้กำหนดไว้. ใจความ

แห่งบทว่า วีชชาตานิ นั้นว่า ที่ชื่อว่า พีชชาต เพราะอรรถว่า เกิดจาก

จำพวกเมล็ด คำนี้เป็นชื่อแห่งพืชมีต้น ไม้เป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง พืชเหล่านั้นด้วย

เกิดแล้วด้วย คือ ผลิแล้ว ได้แก่ มีใบและรากงอกออกแล้ว เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่า พีชชาต. ด้วยคำว่า พีชชาต นี้ เป็นอันท่านทำการสงเคราะห์

เอาพืช มีขิงเป็นต้น ที่เขาชำไว้ในทรายเปียกเป็นต้น ซึ่งมีใบและรากงอก

ขึ้นแล้ว .

บัดนี้ พืชมีต้น ไม้เป็นต้น ที่ตรัสเรียกว่า พีชชาต เพราะเกิดจากพืช

เหล่าใด, เมื่อจะทรงแสดงพืชเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า มูลพืช

เป็นต้น . อุเทศแห่งพืช มีพืชเกิดจากรากเหง้าเป็นต้นนั้น ปรากฏชัดเจน

แล้วแล. ในคำว่า ก็หรือว่าพืชแม้อย่างอื่นใด บรรดามี ซึ่งเกิดที่เหง้า งอก

ที่เหง้า นี้ ในอุเทศ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพืชที่เกิดจากเมล็ด

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 274

เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความในคำว่า ยานิ วา ปนญานิ เป็นต้นนี้

อย่างนี้ว่า ก็หรือพืชแม้อย่างอื่นใดบรรดามี เป็นต้นว่า ไม้กอ ไม้เถา และ

ไม้ต้น ซึ่งเกิดและงอกขึ้นที่เหง้า มีชนิด เช่น รากเหง้าเชือกเขา* (รากเหง้า

เถามัน) กระจับ บัวแดง บัวเขียว บัวขาบ บัวขาว (บัวสาย) เผือก มัน

และแคฝอยเป็นต้น. ไม้กอ ไม้เถา และไม้ต้นเป็นอาทินั้น ย่อมเกิดและย่อม

งอกที่เหง้าใด, ก็เหง้านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในบาลี พืชเกิด

จากเหง้า มีขมิ้นเป็นต้นนี้ แม้ทั้งหมด ชื่อว่า มูลพืช. ในขันธพืชเป็นต้น

(พืชเกิดจากลำต้น) ก็นัยนี้ .

ก็อีกอย่างหนึ่ง บรรดาพืชทั้งหลาย มีพืชที่เกิดจากลำต้น เป็นอาทินี้

พืชเหล่าใด มีต้นมะกอก ต้นช้างน้าว (อ้อยช้างก็ว่า) สลัดได ทองหลาง

กรรณิการ์เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า พืชเกิดจากลำต้น พืชทั้งหลาย มีเถาส้ม

เถาสี่เหลี่ยม และเถาดีปลี (ยี่หร่าก็ว่า) เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า พืชเกิด

แต่ข้อ, พืชมี ปอ มะลิ หงอนไก่ เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า พืชเกิดจากยอด.

พืชมีเมล็ดมะม่วง หว้า และขนุนเป็นต้น พึงทราบว่า พืชเกิดจากเมล็ด.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติ อนาบัติ

และชนิดแห่งความถูกพราก ด้วยอำนาจสัญญา (ชื่อ) ในคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า

ภูตคามปาตพฺยตาย ปาจิตฺติย (เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความถูกพรากแห่ง

ภูตคาม) จึงตรัสดำว่า พีเช พีชสญฺี เป็นต้น.

ภูตคามที่เกิดจากเมล็ด บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส-

เรียกว่า พืช ในคำว่า พีเช พีชสญฺี นั้น ดุจข้าวสุกแห่งข้าวสารข้าวสาลี

เขาเรียกกันว่า ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ในคำว่า สาลีนญฺเจว โอทน ภุญชติ

* สมัยนี้แปลกันว่ามันฝรั่ง แต่ชาวอินเดียเรียกว่า "อาล." -ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 275

เป็นต้น ฉะนั้น. ส่วนพืชที่ท่านคัดออกไว้ให้พ้นไปจากภูตคาม ที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ ในคำว่า พีชคามภูตคามสมารมฺภา ปฏิวิรโต เป็นต้น

เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงประกอบกับบทต้นแห่งสิกขาบทวิภังค์ที่ว่า

ภูตคาโม นาม แล้ว พึงทราบเนื้อความในคำว่า พีเช พืชสญี นี้ อย่างนี้ว่า

ภิกษุมีความสำคัญในพืชที่มีชื่อว่าภูตคาม ว่าเป็นพืช เอาศัสตราเป็นต้น ตัดเอง

ก็ดี ใช้ให้คนอื่นตัดก็ดี เอาก้อนหินเป็นต้นทุบเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นทุบก็ดี

นำเอาไฟเข้าไปเผาเองก็ดี ใช้คนอื่นให้เผาก็ดี ต้องปาจิตตีย์. แต่บัณฑิตไม่

พึงถือเอาตามพระบาลี ปรับปาจิตตีย์ ในเพราะความพราก มีชนิดตัดพืชนอก

ไปจากภูตคามเป็นต้น .

[อธิบายพีชคามและภูตคามเป็นต้น]

จริงอยู่ ในภูตคามสิกขาบทนี้ มีวินิจฉัยกถา ดังต่อไปนี้

ภิกษุพรากภูตคาม เป็นปาจิตตีย์. พรากพีชคามแม้ทั้ง ๕ อย่าง อัน

นอกจากภูตคาม เป็นทุกกฏ. ชื่อว่า พีชคามและภูตคามนี้ อยู่ในน้ำก็มี อยู่

บนบกก็มี. บรรดาพีชคามและภูตคามที่อยู่ในน้ำและบนบกทั้งสองนั้น พีชคาม

และภูตคามที่อยู่ในน้ำ คือ เสวาลชาติ (สาหร่าย) ทั้งที่มีใบและไม่มีใบทั้งหมด

มีชนิดเช่นแหนและจอกเป็นต้น โดยที่สุดกระทั่งฝ้าน้ำ (ตระไคร้น้ำ) บัณฑิต

พึงทราบว่า ภูตคาม. ชื่อว่าฝ้าน้ำ (ตระไคร้น้ำ) ข้างบนแข็ง มีสีกร้าน

ข้างล่างอ่อน มีสีเขียว.

บรรดาเสวาลชาตินั้น รากของสาหร่ายใดหยั่งลงไปอยู่ในแผ่นดิน

แผ่นดินเป็นฐานของสาหร่ายนั้น. น้ำเป็นฐานของสาหร่ายที่ลอยไปมาบนน้ำ

เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พรากภูตคามที่อยู่ในแผ่นดินในที่ใดที่หนึ่งก็ดี ยกขึ้นย้าย

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 276

ไปสู่ที่อื่นก็ดี. เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พรากภูตคามที่ลอยไปมาบนน้ำเหมือนกัน.

แต่จะเอามือทั้งสองแหวกไปทางโน้นทางนี้ แล้วอาบน้ำ ควรอยู่. แท้จริง

น้ำทั้งสิ้นเป็นฐานของสาหร่ายที่อยู่ในน้ำนั้น เพราะเหตุนั้น สาหร่ายนั้น ยังไม่

จัดว่าเป็นอันภิกษุย้ายไปสู่ที่อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. แต่จะแกล้งยกขึ้นจากน้ำ

โดยเว้นน้ำเสียไม่ควร. ยกขึ้นพร้อมทั้งน้ำ แล้ววางลงในน้ำอีก ควรอยู่.

สาหร่ายออกมาทางช่องผ้ากรองน้ำ, ควรให้ทำกัปปิยะก่อน จึงบริโภคน้ำ.

ภิกษุถอนเถาวัลย์และหญ้าที่เกิดในน้ำ มีกออุบลและกอปทุมเป็นต้น ขึ้นจากน้ำ

ก็ดี พรากเสียในน้ำนั้นเองก็ดี เป็นปาจิตตีย์. พรากกออุบลและกอปทุมเป็นต้น

ที่คนอื่นถอนขึ้นไว้แล้ว เป็นทุกกฏ. จริงอยู่ กออุบลและปทุมเป็นต้น ที่คนอื่น

ถอนขึ้นไว้นั้น ย่อมถึงรากสงเคราะห์เข้าในพีชคาม. แม้สาหร่ายคือจอกและ

แหน* ที่เขายกขึ้นจากน้ำแล้ว ยังไม่เหี่ยว ย่อมถึงซึ่งอันสงเคราะห์เข้าในพืช

ที่เกิดจากยอด. ในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ว่า แหน** ไม่มีราก

และหน่อและตระไคร้น้าเป็นต้น เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. เหตุในคำนั้นไม่ปรากฎ.

ในอันธกอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า ยังไม่เป็นภูตคามที่สมบูรณ์ เหตุนั้น

จึงเป็นทุกกฏ. แม้คำในอันธกอรรถกถานั้น ก็ไม่สมกัน (กับพระบาลี). จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับปาจิตตีย์ในเพราะภูตคาม, ปรับทุกกฏในเพราะพีชคาม.

ชื่อว่า ภูตคามอันไม่สมบูรณ์ เป็นโกฎฐาสที่ ๓ ไม่ได้มาในบาลี ไม่ได้

มาในอรรถกถาทั้งหลายเลย. ก็ถ้าจะพึงมีมติว่า แหนไม่มีรากและหน่อนั้น

๑. โยชนาปาระ ๒/๒๕-๑ ตตฺถ ติลพีชกเสวาโล นาม อุปริ ขฺทฺทกปตฺโต เหฏฺา ขุทฺทกมูโล

เสวาโล. สาสปเสวาโล นาม สาสปมตฺโค ขุทฺทกเสวาโล. แปลว่า บรรดาสาหร่ายเหล่านั้น

ที่ชื่อว่า ติลพีชกสาหร่าย ได้แก่ สาหร่ายที่ข้างบนมีใบเล็ก ๆ ข้างล่างมีรากเล็ก ๆ ทิ่มีชื่อว่า

สาสปสาหร่าย ได้แก่ สาหร่ายเล็ก ๆ มีขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด. ๒. โยชนาปาฐะ ๒/๒๑

อนนฺตกติลกพืชโกติ อมูลงฺกุรติลพีชโก พืชขนาดเท่าเมล็ดงาไม่มีรากและหน่อ ชื่อว่าแหน.

-ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 277

จักถึงการสงเคราะห์เข้าในพีชคามไซร้, แม้คำนั้นก็ไม่ควร เพราะพืชเช่นนั้น

ไม่เป็นมูลเหตุแห่งภูตคามเลย. อีกนัยหนึ่ง คำว่า บรรดาฐานะที่หนักและเบา

ภิกษุควรตั้งอยู่ในฐานะที่หนัก นี้เป็นลักษณะแห่งวินัย.

[ว่าด้วยภูตคามที่เกิดบนบกและการพรากภูตคามนั้น ]

วินิจฉัยในภูตคามที่เกิดบนบกต่อไป ส่วนที่เหลือของจำพวกต้นไม้

ที่ถูกตัดจัดว่าเป็นดอกไม้ที่เขียวสด. ในตอไม้เขียวสดนั้น ตอแห่งไม้กุ่ม ไม้-

กระถินพิมาน ไม้ประยงค์ และไม้ขนุนเป็นต้น ย่อมงอกขึ้นได้. ตอไม้นั้น

ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยภูตคาม. ตอแห่งต้นตาลและมะพร้าวเป็นต้น ย่อมไม่

งอกขึ้นได้. ตอแห่งต้นตาลเป็นต้นนั้น ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยพีชคาม.

ส่วนตอกล้วยที่ยังไม่ตกเครือ ท่านสงเคราะห์ด้วยภูตคาม. ดอกกล้วย

ที่ตกเครือแล้ว ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยพีชคาม. แต่ต้นกล้วยที่ตกเครือแล้ว

ท่านสงเคราะห์ เข้าด้วยภูตคามเหมือนกัน ตลอดเวลาที่ยังมีโบเขียวอยู่. ไม้ไผ่

ที่ตกขุยแล้ว ก็อย่างนั้น. แต่ไม้ไผ่ ในเวลาแห้งลงมาตั้งแต่ยอด จึงถึงอัน

สงเคราะห์ด้วยพีชคาม. สงเคราะห์ด้วยพีชคามชนิดไหน. ด้วยพืชตามชนิด

เกิดจากข้อ อะไรเกิดจากต้นไผ่นั้น. จริงอยู่ ถ้าหากว่าอะไร ๆ ไม่พึงเกิด.

(ต้นไผ่ตกขุย) พึงถึงการสงเคราะห์เข้าในภูตคาม.

ชนทั้งหลายตัดไม้ช้างน้าวเป็นต้น รวมเป็นกองไว้. กิ่งทั้งหลายแม้

ประมาณศอกหนึ่งงอกออกจากท่อนไม้ที่รวมเป็นกองไว้ ย่อมถึงการสงเคราะห์

เข้าด้วยพีชคามเหมือนกัน. ชนทั้งหลายปักลงในพื้นดิน เพื่อประโยชน์เป็น

มณฑปก็ดี เพื่อประโยชน์เป็นรั้วก็ดี เพื่อประสงค์จะปลูกเถาวัลย์ก็ดี. เมื่อ

จำพวกรากและใบงอกออกแล้ว ย่อมถึงอันนับเข้าเป็นภูตคามอีกแม้โดยแท้

ถึงอย่างนั้นเมื่องอกเพียงทุ่มรากหรือเพียงตุ่มใบก็สงเคราะห์เข้าเป็นพืชคาม

เท่านั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 278

เมล็ดจำพวกใดจำพวกหนึ่ง ที่ชนทั้งหลายเอาน้ำรดชำไว้ในแผ่นดิน

หรือว่าชนทั้งหลายใส่ดินเปียกลงในกระถางเป็นต้นเพาะไว้. เมล็ดทั้งหมดนั้น

แม้เมื่องอกเพียงตุ่มราก หรือเพียงตุ่มใบ ก็จัดเป็นเพียงพืชเท่านั้น. ถ้าแม้นว่า

รากทั้งหลายและหน่อข้างบนงอกออก ก็ยังจัดเป็นพืชนั่นแล ตลอดเวลาที่หน่อ

ยังไม่เขียว. ก็เมื่อใบแห่งถั่วเขียวเป็นต้นงอกขึ้น หรือเมื่อหน่อแห่งข้าวเปลือก

เป็นต้นเขียวสด เกิดใบมีสีเขียวแล้ว ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นภูตคาม

รากแห่งเมล็ดตาลทั้งหลายงอกออกทีแรก เหมือนเขี้ยวสุกร. แม้เมื่อ

งอกออกแล้ว ก็จัดเป็นพีชคามเหมือนกัน ตลอดเวลาที่ม้วนกลีบ ใบข้างบน

ยังไม่คลี่ออก. หน่องอกทะลุเปลือกมะพร้าวออกเหมือนไม้สลัก ก็จัดเป็น

พีชคามอยู่นั่นเอง ตลอดเวลาที่ม้วนกลีบใบเรียวคล้ายกับเขามฤคยังไม่มี. แม้

เมื่อรากยังไม่ออก กลีบใบเช่นนั้นเกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงการสงเคราะห์เข้าในภูตคาม

ที่ไม่มีราก.

จำพวกเมล็ดมีเมล็ดมะม่วงเป็นต้น พระวินัยธรพึงตัดสินด้วยจำพวก

ข้าวเปลือกเป็นต้น. ก้านหรือรุกขชาติอย่างใดอย่างหนึ่งอื่นก็ดี เกิดที่ต้นไม้แล้ว

คลุมโอบต้นไม้. ต้นไม้นั่นแหละเป็นฐานของก้านเป็นต้นนั้น. ภิกษุพรากก้าน

เป็นต้นนั้นก็ดี ถอนขึ้นจากต้นไม้นั้นก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เถาวัลย์ชนิดหนึ่งไม่มีราก ย่อมพันพุ่มไม้ป่าและท่อนไม้ดุจวงแหวน

(ฝอยทอง) แม้เถาวัลย์นั้นก็มีวินิจฉัยอย่างนี้เหมือนกัน. ที่หน้ามุขเรือนกำแพง

ชุกชี และเจดีย์เป็นต้น มีตระไคร้น้ำสีเขียว. คบอดเวลาที่ยังไม่เกิดใบ ๒-๓

ใบ ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นพืชเกิดจากยอด. เมื่อใบทั้งหลายเกิดแล้ว

เป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์. เพราะเหตุนั้น จะให้การฉาบปูนขาวในฐานะเช่นนั้น

ไม่ควร. จะให้การฉาบน้ำปูนขาวที่ละเอียดบนที่อันอนุปสัมบันฉาบแล้ว ควร

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 279

อยู่. ถ้าในฤดูร้อนตระไคร้น้ำแห้งติดอยู่. จะเอาไม่กวาดเป็นต้น ขูดตระไคร้น้ำ

นั้นออกเสีย ควรอยู่. ตระไคร้น้ำข้างนอกหม้อน้ำดื่มเป็นต้น เป็นวัตถุแห่ง

ทุกกฏ อยู่ภายในเป็นอัพโพหาริก. แม้เห็ดราที่ไม้ชำระฟันและขนมเป็นต้น

เป็นอัพโพหาริกเหมือนกัน. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าฝา

ที่เขากระทำบริกรรมด้วยยางไม้เกิดเป็นเห็ดรา ภิกษุพึงชุบผ้าให้เปียกบีบแล้ว

เช็ดเถิด.

ปาสาณชาติ ปาสาณทัททุ เสวาละ เสเลยยกะ (ราหิน ตะไคร้หิน

สาหร่าย และเอื้องหินหรือเอื้องผา) เป็นต้น ยังไม่มีสีเขียวสด และไม่มีใบ

เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. เห็ด เป็นวัตถุแห่งทุกกฏตลอดเวลาที่ยังตูมอยู่. จำเดิม

แต่บานแล้ว เป็นอัพโพหาริก. ก็ภิกษุเก็บเห็ดจากต้นไม้สดแกะเอาเปลือก

ต้นไม้ออก เพราะเหตุนั้น จึงเป็นปาจิตตีย์ ในเพราะการแกะเปลือกไม้นั้น.

แม้ในสะเก็ดไม้ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. สะเก็ดแห่งต้นช้างน้าว และต้นกุ่ม

เป็นต้น หลุดจากต้นแล้ว ยังเกาะอยู่. เมื่อภิกษุถือเอาสะเก็ดนั้น ไม่เป็นอาบัติ.

แม้ยางไม้ไหลออกจากต้นไม้แล้ว ยิ่งติดอยู่ก็ดี ติดอยู่ที่ต้นไม้แห้งก็ดี จะถือเอา

ควรอยู่. จะถือเอาจากต้นที่ยังสด ไม่ควร แม้ในครั่ง ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

เมื่อภิกษุเขย่าต้นไม้ ให้ใบเหลืองหล่นก็ดี ทำให้ดอกมีดอกกรรณิการ์โรย

เป็นต้นหล่นก็ดี เป็นปาจิตตีย์ทั้งนั้น. แม้ภิกษุจาริกตัวอักษรลงบนต้นไม้ มีต้น

ช้างน้าว และต้นสลัดไดเป็นต้น ตรงที่ยังอ่อนก็ดี ที่ใบตาลซึ่งเกิดอยู่บนต้นตาล

เป็นต้น นั้นก็ดี ด้วยความคะนองมือ ก็นัยนี้นั่นแล.

๑. วิ. จุลล. ๗/๒๔๙ ๒. วิมติ สาเลยฺยก นาม สิลาย สมภูต เอกา คนฺธชาติ. แปลว่า

ของหอมชนิดหนึ่งเกิดจากหิน ชื่อว่า สาเลยยกะ. เห็นจะได้แก่ ที่เรียกกันว่าเมื่อกผา หรือโมกผา

สารตฺถทีปนี ๓/๒๖๕ สาเลยฺยก นาน สิลาย สมฺภูต เอกา สคนฺธชาติ. -ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 280

เมื่อพวกสามเณรเลือกเก็บดอกไม้อยู่ ภิกษุจะเหนี่ยวกิ่งลงให้ ก็ควร.

แต่ภิกษุอย่าพึงอบน้ำดื่มด้วยดอกไม้เหล่านั้น. ภิกษุต้องการอบกลิ่นน้ำดื่ม พึง

อุ้มสามเณรขึ้นแล้วให้เก็บดอกไม้ให้. แม้กิ่งไม้ที่มีผล ตนเองต้องการจะขบฉัน

อย่าพึงเหนี่ยวลงมา. พึงอุ้มสามเณรขึ้นแล้วให้เก็บผลไม้. จะจับฉุดมาร่วมกับ

สามเณรทั้งหลายผู้กำลังถอนไม้กอ หรือเถาวัลย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ควร.

แต่เพื่อให้เกิดความอุตสาหะแก่สามเณรเหล่านั้น จะจับที่ปลายแสดงท่าทีฉุด

ดุจกำลังลากมา ควรอยู่

ภิกษุกรีดกิ่งต้นไม้ที่มีกิ่งงอกขึ้น อันตนมิได้ให้อุปสัมบันทำให้เป็น

กัปปิยะถือเอา เพื่อประโยชน์แก่พัดไล่แมลงวันเป็นต้น ที่เปลือกหรือที่ใบ

โดยที่สุดแม้ด้วยเล็บมือ เป็นทุกกฏ. แม้ในขิงสดเป็นต้นก็นัยนี้แล. ก็ถ้าหากว่า

รากแห่งขิงสดที่ภิกษุให้กระทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว เก็บไว้ในพื้นที่เย็น งอกขึ้น

จะตัดที่ส่วนเบื้องบนควรอยู่. ถ้าเกิดหน่อจะตัดที่ส่วนข้างล่าง ก็ควร. เมื่อราก

กับหน่อเขียวเกิดแล้ว จะตัดไม่ควร.

[ว่าด้วยการตัดทำลายเผาเองและใช้ให้ทำเป็นต้น]

สองบทว่า ฉินฺทติ วา ฉินฺทาเปติ วา มีความว่า ภิกษุเมื่อจะ

กวาดพื้นดิน ด้วยคิดว่า เราจักตัดหญ้า ตัดเองก็ดี ใช้คนอื่นให้ตัดก็ดี โดย

ที่สุดแม้ด้วยซี่ไม่กวาด.

สองบทว่า ภินฺทติ วา ภินฺทาเปติ วา มีความว่า โดยที่สุด

แม้เมื่อจะเดินจงกรมแกล้งเอาเท้าทั้งสองเหยียบไป ด้วยคิดว่า สิ่งที่จะขาด

จงขาดไป สิ่งที่จะแตก จงแตกไป เราจักแสดงที่ที่เราจงกรม ดังนี้ ย่อม

ทำลายเองก็ดี ใช้คนอื่นให้ทำลายก็ดี ซึ่งหญ้าและเถาวัลย์เป็นต้น. ถ้าแม้นว่า

เมื่อภิกษุทำหญ้าและเถาวัลย์ให้เป็นขมวด หญ้าและเถาวัลย์จะขาด, แม้ทำให้

เป็นหมวด ก็ไม่ควร.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 281

ก็ชนทั้งหลาย ย่อมดอกไม้แมลงมุม (หุ่นยนต์แมลงมุม) ผูกหนาม

ที่ต้นตาลเป็นต้น เพื่อต้องการไม่ให้พวกโจรขึ้นลัก. การกระทำอย่างนั้น

ไม่ควรแก่ภิกษุ ก็ถ้าว่า หุ่นยนต์แมลงมุมเป็นแค่เพียงติดอยู่ที่ต้นไม้เท่านั้น

ไม่บีบรัดต้นไม้ ควรอยู่ แม้จะกล่าวว่า เธอจงตัดต้นไม้ จงตัดเถาวัลย์

จงถอนเหง้า หรือราก ดังนี้ ก็ควรอยู่ เพราะเป็นคำพูด ไม่กำหนดลงแน่นอน.

แต่จะกำหนดลงไป พูดคำเป็นต้นว่า จงตัดต้นไม้นี้ ไม่ควร. ถึงแม้การระบุ

ชื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า จงตัด จงทุบ จงถอน ต้นมะม่วง เถาสี่เหลี่ยม หัว

เผือกมัน หญ้ามุงการตาย สะเก็ดต้นไม้โน้น ดังนี้ ก็เป็นคำที่ไม่กำหนด

แน่นอนเหมือนกัน. แท้จริง คำเป็นต้นว่า ต้นมะม่วงนี้ เท่านั้น ชื่อว่า

เป็นคำกำหนดแน่นอน คำนั้น ไม่ควร

สองบทว่า ปจติ วา ปจาเปติ วา มีความว่า บัณฑิตพึงทราบ

คำทั้งปวง โดยนัยดังได้กล่าวแล้วในปฐวีขนนสิกขาบทนั้นแลว่า ชั้นที่สุด

แม้ประสงค์จะระบมบาตร แกล้งก่อไฟข้างบนกองหญ้าเป็นต้น เผาเองก็ดี

ใช้คนอื่นให้เผาก็ดี ดังนี้ . แต่จะกล่าวไม่กำหนดแน่นอนว่า จงต้มถั่วเขียว

จงต้มถั่วเหลือง เป็นต้น ควรอยู่ จะกล่าวอย่างนี้ว่า จงต้มถั่วเขียวเหล่านี้

จงต้มถั่วเหลืองเหล่านี้ ไม่ควร.

ในคำว่า อนาปตฺติ อิม ชาน เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความ

อย่างนี้ว่า เธอจงรู้มูลเภสัชนี้ จงให้รากไม้ หรือ ใบไม้นี้ก็ดี จงนำต้นไม้

หรือเถาวัลย์นี้มาก็ดี ต้องการดอกไม้ หรือผลไม้ หรือใบไม้นี้ก็ดี จงกระทำ

ต้นไม้ หรือเถาวัลย์ หรือว่าผลไม้นี้ ให้เป็นกัปปิยะก็ดี. ด้วยคำเพียงเท่านี้

ย่อมเป็นอันภิกษุกระทำการปลดเปลื้องภูตคาม. แต่ภิกษุผู้จะบริโภคพึงให้

อนุปสัมบันทำให้เป็นกัปปิยะซ้ำอีก เพื่อปลดเปลื้องพีชคาม.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 282

[อธิบายการทำกัปปิยะและวัตถุที่ใช้ทำกัปปิยะ]

ก็การกระทำกัปปิยะในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยกระแสแห่งสูตร

นี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตเพื่อบริโภคผลไม้ ด้วยสมณกัปปะ (สมณโวหาร)

๕ คือ ผลที่จี้ด้วยไฟ ที่แทงด้วยมีด ที่จิกด้วยเล็บ ผลที่ไม่มีเมล็ด ที่ปล้อน

เม็ดออกแล้ว เป็นที่คำรบ ๕.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิปริจิต มีอรรถว่า ฉาบ คือ

ลวก เผา จี้แล้วด้วยไฟ.

บทว่า สตฺถกปริจิต มีอรรถว่า จด คือ ฝาน ตัด หรือแทง

แล้วด้วยมีดเล็ก ๆ. ในข้อว่า จิกด้วยเล็บ ก็นัยนั้นนั่นแล. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด

และผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว เป็นกัปปิยะด้วยตัวมันเองแท้.

ภิกษุเมื่อจะทำกัปปิยะด้วยไฟ พึงทำกัปปิยะด้วยบรรดาไฟฟืนและไฟ

โคมัยเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้ด้วยแต่งโลหะที่ร้อน. ก็แล

วัตถุนั้นจับไว้ข้างหนึ่ง พึงกล่าวคำว่า กัปปิยัง แล้วทำเถิด.

เมื่อจะทำด้วยมีด. แสดงรอยตัด รอยผ่า ด้วยปลาย หรือด้วยคม

แห่งมีดที่ทำด้วยโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทีสุดแม้แห่งเข็มและมีดตัดเล็บ

เป็นต้น. พึงกล่าวว่า กัปปิยัง แล้วทำเถิด.

เมื่อจะทำกัปปิยะด้วยเล็บ อย่าพึงทำด้วยเล็บเน่า. ก็เล็บของพวก

มนุษย์ สัตว์ ๔ เท้า มีสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง และลิงเป็นต้น และ

แห่งนกทั้งหลาย เป็นของแหลมคม, พึงทำด้วยเล็บเหล่านั้น. กีบแห่งสัตว์

๑. วิ. จุลฺล. ๗/๑๑

๒. อุปสัมบันผู้ให้ทำกัปปิยะกล่าวว่า "กปฺปิย กโรหิ" อนุปสัมบันผู้ทำกัปปิยะเอามือหนึ่งจับสิ่ง

ของที่จะทำกัปปิยะ มือหนึ่งจับวัตถุที่จะใช้ทำกัปปิยะ มีมีดเป็นต้นแล้ว ตัดหรือฝ่าหรือจี้ลงไป

ที่สิ่งของนั้นพร้อมกล่าวว่า "กปฺปิย ภนฺเต" เป็นเสร็จพิธี, =ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 283

มีม้า กระบือ สุกร เนื้อ และโคเป็นต้น ไม่คม อย่าพึงทำด้วยกีบเหล่านั้น.

แม้ทำแล้วก็ไม่เป็นอันทำ. ส่วนเล็บช้าง ไม่เป็นกีบ. จะทำกัปปิยะด้วยเล็บช้าง

เหล่านั้น ควรอยู่ แต่การทำกัปปิยะด้วยเล็บเหล่าใด สมควร, พึงแสดง

การตัด การจิก ด้วยเล็บเหล่านั้นที่เกิดอยู่ในที่นั้นก็ดี ที่ยกขึ้นถือไว้ก็ดี กล่าวว่า

กัปปิยัง แล้วกระทำเถิด.

บรรดาพืชเป็นต้นเหล่านั้น ถ้าแม้นว่าพืชกองเท่าภูเขาก็ดี ต้นไม้

จำนวนพันที่เขาตัดแล้ว ทำให้เนื่องเป็นอันเดียวกันกองไว้ก็ดี อ้อยมัดใหญ่ที่

เขามัดรวมไว้ก็ดี, เมื่อทำพืชเมล็ดหนึ่ง กิ่งไม้กิ่งหนึ่งหรืออ้อยลำหนึ่งให้เป็น

กัปปิยะแล้ว ย่อมเป็นอันทำให้เป็นกัปปิยะแล้วทั้งหมด. อ้อยลำและไม้ฟืน

เป็นของอันเขามัดรวมกันไว้. อนุปสัมบัน จะแทงไม้ฟืนด้วยตั้งใจว่า เราจัก

กระทำอ้อยให้เป็นกัปปิยะ ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน. แต่ถ้าเป็นของที่เขาผูกมัด

ด้วยเชือกหรือด้วยเถาวัลย์ใด จะแทงเชือกหรือเถาวัลย์นั้น ไม่ควร. ชนทั้งหลาย

บรรจุกระเช้าให้เต็มด้วยลำอ้อยท่อนแล้วนำมา. เมื่อทำอ้อยท่อนลำหนึ่งให้เป็น

กัปปิยะแล้ว อ้อยท่อนทั้งหมด ย่อมเป็นอันทำให้กัปปิยะแล้วเหมือนกัน.

ก็ถ้าว่า พวกทายำนำภัตปนกับพริกสุกเป็นต้นมา เมื่อภิกษุกล่าวว่า

จงกระทำกัปปิยะ ถ้าแม้นว่า อนุปสัมบันแทงที่เมล็ดข้าวสวย ก็สมควร

เหมือนกัน. แม้ในเมล็ดงาและข้าวสารเป็นต้น ก็นัยนั้นนั่นแล. แต่พริกสุก

เป็นต้นนั้น ที่เขาใส่ลงในข้าวต้ม ไม่ตั้งอยู่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน. บรรดา

พริกสุกเป็นต้นนั้น พึงทำกัปปิยะแทงที่ละเมล็ดนั่นเทียว. เยื่อในแห่งผลมะขวิด

เป็นต้น ร่อนเปลือกแล้วคลอนอยู่ (หลุดจากกะลาคลอนอยู่ช้างใน) ภิกษุพึง

ให้ทุบแล้วให้ทำกัปปิยะ. (ถ้า) ยังติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน (กับเปลือก),

จะทำ (กัปปิยะ) แม้ทั้งเปลือก (ทั้งกะลา) ก็สมควร .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 284

[อธิบายอนาปัตติวาร]

บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า เมื่อภิกษุกลิ้งหินและต้นไม้เป็นต้นก็ดี

ฉุดลากกิ่งไม้ก็ดี เอาไม้เท้ายันพื้นดินเดินไปก็ดี หญ้าเป็นต้นขาดไป. หญ้า

เหล่านั้น ย่อมชื่อว่า เป็นอันภิกษุไม่ได้จงใจทำให้ขาด เพราะไม่ได้จงใจตัด

อย่างนี้ว่า เราจักตัดหญ้า ด้วยการกลิ้งเป็นต้นนั้น. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่

แกล้งตัดอย่างนี้.

บทว่า อสติยา มีความว่า ส่งใจไปทางอื่นยืนพูดอะไร ๆ กับใคร ๆ

เอาหัวแม่เท้า หรือมือเด็ดหญ้า หรือเถาวัลย์อยู่. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ตัด

เพราะไม่มีสติอย่างนี้.

บทว่า อชานนฺตสฺส มีความว่า ภิกษุไม่รู้ว่า พีชคาม หรือว่า

ภูตคาม มีอยู่ในภายในนี้ ทั้งไม่รู้ว่า เรากำลังตัด วางสิ่ง เสียมและจอบ

ที่รั้ว หรือที่กองฟาง เพื่อต้องการเก็บรักษาอย่างเดียว หรือว่า มือถูกไฟไหม้

ทิ้งไฟลงก็ดี, ถ้าว่าในที่นั้น หญ้าเป็นต้น ขาดก็ดี ถูกไฟไหม้ก็ดี ไม่เป็นอาบัติ.

แต่ในทุก ๆ อรรถกถาในมนุสสวิคคหปาราชิกวรรณนา ท่านกล่าว

ไว้ว่า ถ้าภิกษุถูกต้นไม้โค่นทับ หรือว่าตกลงในหลุม และอาจเพื่อจะตัดต้นไม้

แล้ว กลิ้งต้นไม้นั้นไปเสีย หรือขุดแผ่นดินแล้วออกมาได้. ภิกษุไม่ควรจะ

กระทำด้วยตนเอง แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต แต่ภิกษุอื่นจะขุดพื้นดิน หรือตัด

ต้นไม้ หรือว่าตัดท่อนไม้จากต้นไม้สด งัดต้นไม้นั้นไปแล้ว ให้ (ภิกษุนั้น)

ออกมาควรอยู่ ไม่เป็นอาบัติ. เหตุในคำนั้น ไม่ปรากฏ. แต่ปรากฏเพียง

สูตรเดียวนี้เท่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราตถาคตอนุญาตให้จุดไฟรับ

ให้ทำการป้องกัน ในเมื่อไฟป่ากำลังไหม้มา* ดังนี้. ถ้าว่า (การขุดดินเป็นต้น )

* วิ จลฺล. ๗/๖๙.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 285

จะอนุโลมเข้าสูตรนี้ได้ ก็ไม่อาจได้เหตุแตกต่างกันนี้ว่า เพื่อคนไม่ควร เพื่อ

ผู้อื่นควร.

ถ้าในสูตรนี้ อาจารย์ผู้โจทก์พึงกล่าวว่า ภิกษุผู้ทำเพื่อประโยชน์

ตนเอง ย่อมกระทำด้วยอกุศลจิต เพราะรักตนเท่านั้น, แต่ภิกษุอื่นกระทำให้

ด้วยความการุณ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติ. แม้คำทีว่าเพื่อประโยชน์

แก่ตน นั่นก็ไม่ใช่เหตุ. จริงอยู่ ภิกษุย่อมต้องอาบัตินี้ แม้ด้วยอกุศลจิต

แต่เพราะคำนี้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทุกแห่ง จึงไม่อาจเพื่อจะค้านได้, บัณฑิต

จึงควรแสวงหายุติในคำนี้ อีกอย่างหนึ่งพึงรับไว้โดยเธอต่ออรรถกถาจารย์

ทั้งหลายแล บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบท มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกช์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ

กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ภูตคามสิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 286

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉันนะ

[๓๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตา-

ราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติอนาจารเอง

แล้วถูกไต่สวน เพราะต้องอาบัติ ในท่ามกลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูด

กลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ต้องอะไร ต้องเพราะเรื่องอะไร ต้องอย่างไร

ท่านทั้งหลายว่าใคร ว่าเรื่องอะไร

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน

ท่านพระฉันนะถูกไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงเอาเรื่องอื่นมา .

พูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ต้องอะไร ต้องเพราะเรื่องอะไร ต้องอย่างไร

ท่านทั้งหลายว่าใคร ว่าเรื่องอะไร ดังนี้เล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนฉันนะ

ข่าวว่าเธอถูกไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูด

กลบเกลื่อนว่า ใครต้อง . . . ว่าเรื่องอะไร ดังนี้ จริงหรือ.

ท่านพระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ

เมื่อถูกไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 287

ว่า ใครต้อง . . . ว่าเรื่องอะไร ดังนี้เล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไป

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . . ครั้นทรงติเตียนแล้ว ทรงทำ

ธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น สงฆ์จงยก

อัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงยกอัญญวาทกกรรมอย่างนั้น

กรรมวาจาลงอัญญาวาทกกรรม

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติย-

กรรมวาจา ว่าดังนี้

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวน

ด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน ถ้า

ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงยกอัญญวาทกกรรมแก่

ภิกษุฉันนะ นี่เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวน

ด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน

สงฆ์ยกอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ การยกอัญญวาทกกรรมแก่

ภิกษุฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่

ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

อัญญวาทกกรรมอันสงฆ์ยกแล้วแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่สงฆ์

เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 288

ทรงบัญญัติสิกขาบท

[๓๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระฉันนะ โดยอเนก-

ปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก . . . แล้วรับสั่งกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ .

พระบัญญัติ

๖๑ . ๒. ก. เป็นปาจิตตีย์ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉันนะ

[๓๖๐] อนึ่ง โดยสมัยนั้นแล ท่านพระฉันนะถูกไต่สวนเพราะต้อง

อาบัติในท่ามกลางสงฆ์คิดว่า เมื่อเราเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนจักต้องอาบัติ

จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก บรรดาภิกษุผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระฉันนะถูกไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์

จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบากเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มี.

พระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนฉันนะ ข่าว

ว่า เธอเมื่อถูกไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์

ลำบาก จริงหรือ.

ท่านพระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 289

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉน เธอ

เมื่อถูก ไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก

การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .

ครั้นทรงติเตียนแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ถ้ากระนั้นสงฆ์จงยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงยกวิเหสกกรรมอย่างนั้น

กรรมวาจาลงวิเหสกกรรม

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย-

กรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวน

ด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก ถ้าความ

พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ

นี่เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวน

ด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก สงฆ์ยก

วิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ การยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน

ผู้นั้นพึงพูด.

วิเหสกกรรมอันสงฆ์ยกแล้วแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่สงฆ์

เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 290

[๓๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระฉันนะ โดยอเนก

ปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๖๑. ๒. ข. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น

ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก.

เรื่องพระฉันนะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๖๒] ที่ชื่อว่า เป็นผู้กล่าวคำอื่น คือ ภิกษุเมื่อถูกไต่สวนใน

เพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่

ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง

ต้องอะไร ต้องในเพราะเรื่องอะไร ต้องอย่างไร ท่านทั้งหลายว่าใคร ว่าเรื่อง

อะไร ดังนี้ นี่ชื่อว่า เป็นผู้กล่าวคำอื่น.

[๓๖๓] ที่ชื่อว่า เป็นผู้ให้ลำบาก คือ ภิกษ เมื่อถูกไต่สวนใน

เพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่

ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก นี่ชื่อว่า เป็นผู้ให้

ลำบาก

บทภาชนีย์

[๓๖๔ ] เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกอัญญวาทกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะ

วัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนา

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 291

จะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงเอาเรื่องอื่นนาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ต้องอะไร

ต้องในเพราะเรื่องอะไร ท้องอย่างไร ท่านทั้งหลายว่าใคร ว่าเรื่องอะไร ดังนี้

ต้องอาบัติทุกกฏ.

เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกวิเหสกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ

ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น

จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๓๖๕] เมื่อสงฆ์ยกอัญญวาทกกรรมแล้ว ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะ

วัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนา

จะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง . . . ว่าเรื่อง

อะไร ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เมื่อสงฆ์ยกวิเหสกกรรมแล้ว ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ

ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น

จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกปาจิตตีย์

[๓๖๖] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็น

ผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 292

ติกทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ. . .

กรรมไม่เป็นธรรน ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ. . .

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ. . .

อนาปัตติวาร

[๓๖๗] ภิกษุไม่เข้าใจจึงถาม ๑ ภิกษุอาพาธให้การไม่ได้ ๑ ภิกษุ

ไม่ให้การด้วยคิดว่า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง หรือความ

วิวาทจักมีแก่สงฆ์ ๑ ภิกษุไม่ให้การด้วยคิดว่า จักเป็นสังฆเภท หรือสังฆราชี ๑

ภิกษุไม่ให้การด้วยคิดว่า สงฆ์จักทำกรรมโดยไม่ชอบธรรม โดยเป็นวรรค

หรือจักไม่ทำกรรมแก่ภิกษุผู้ควรแก่กรรม ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ

๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

เสนาสนวรรค อัญญวาทสิกขาบทที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๒ ดังต่อไปนี้

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องพระฉันนะ]

สองบทว่า อนาจาร อาจริตฺวา คือ กระทำสิ่งทิ่ไม่ควรทำ มีคำ

อธิบายว่า ต้องอาบัติในทางกายทวารและวจีทวาร.

สองบทว่า อญฺเนญฺ ปฏิจรติ ได้แก่ ย่อมกลบเกลื่อน คือ

ปกปิด ทับถมคำอื่นด้วยคำอื่น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 293

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงวิธีกลบเกลื่อนนั้น จึงตรัส

คำว่า โก อาปนฺโน เป็นต้น . ในคำนั้น มีพจนสัมพันธ์ดังต่อไปนี้

ได้ยินว่า พระฉันนะนั้นถูกภิกษุทั้งหลาย เห็นการล่วงละเมิดบางอย่างแล้ว

สอบถามด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้ต้องอาบัติ

ใช่ไหม ? กล่าวว่า ใครต้อง ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่าน จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าต้อง

อาบัติอะไร ? ทีนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ปาจิตตีย์ หรือทุกกฏ เมื่อ

จะถามวัตถุ จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าต้องในเพราะวัตถุอะไร ? ลำดับนั้น เมื่อพวก

ภิกษุกล่าวว่า ในเพราะวัตถุชื่อโน้น จึงถามว่า ข้าพเจ้าต้องอย่างไร ? และ

ข้าพเจ้าทำอะไร จึงต้อง ? ดังนี้. ครั้งนั้น เมื่อพวกภิกษุกล่าวว่า ทำการ

ละเมิดชื่อนี้ จึงต้อง กล่าวว่า พวกท่านพูดกะใครกัน ? ดังนี้ ทีนั้นเมื่อพวก

ภิกษุกล่าวว่า พวกเราพูดกะท่าน จึงกล่าวว่า พวกท่านพูดเรื่องอะไร ?

อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า โก อาปนฺโน นี้ มีวิธีกลบเกลื่อนคำอื่น

ด้วยคำอื่น แม้นอกพระบาลี ดังต่อไปนี้

ภิกษุถูกพวกภิกษุกล่าวว่า พวกเราเห็นกหาปณะ (เหรียญกษาปณ์)

ในถุงของท่าน, ท่านทำกรรมไม่สมควรอย่างนี้ เพื่ออะไร ? แล้วกล่าวว่า

ที่พวกท่านเห็นถูกแล้ว ขอรับ แต่นั่นไม่ใช่กหาปณะ มันเป็นก้อนดีบุก ดังนี้

ก็ดี, ถูกพวกภิกษุกล่าวว่า พวกเราเห็นท่านดื่มสุรา ท่านทำกรรมไม่สมควร

อย่างนั้น เพื่ออะไร ? แล้วกล่าวว่า ที่พวกท่านเห็นถูกแล้ว ขอรับ แต่นั่น

ไม่ใช่สุรา, เป็นยาดองชื่ออริฏฐะ เขาปรุงขึ้นเพื่อต้องการเป็นยา ดังนี้ ก็ดี.

ถูกพวกภิกษุกล่าวว่า พวกเราเห็นท่านนั่งในอาสนะกำบังกับมาตุคาม ท่านทำ

กรรมไม่สมควรอย่างนั้น เพื่ออะไร ? แล้วกล่าวว่า ท่านที่เห็นนับว่าเห็นถูกแล้ว,

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 294

แต่ในที่นั่นมีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน. เพราะเหตุไรท่านจึงไม่เห็นเขา ?

ดังนี้ ก็ดี, ถูกพวกภิกษุถามว่า ท่านเห็นการละเมิดเช่นนี้ บางอย่างไหม ?

ตะแคงหูเข้าไปพูดว่า ไม่ได้ยิน หรือจ้องคาเข้าไปหาพวกภิกษุ ผู้กระซิบถาม

ในที่ใกล้หูก็ดี, บัณฑิณพึงทราบว่า ย่อมกลบเกลื่อนถ้อยคำ

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อญฺวาทเก วิเหสเก ปาจิตฺติย นี้

ต่อไป คำใด* ย่อมกล่าวความอื่นจากที่ถาม เพราะฉะนั้น คำนั้น ชื่อว่า

อัญญวาทกะ. คำว่า อัญญวาทกะ นี้ เป็นชื่อแห่งความกลบเกลื่อนถ้อยคำ

(การกลบเกลื่อนเหตุอื่นด้วยเหตุอื่น).

ความเป็นผู้นิ่งใด ย่อมทำสงฆ์ให้ลำบาก เพราะฉะนั้น ความเป็น

ผู้นิ่งนั่น ชื่อว่า วิเหสกะ. คำว่า วิเหสกะ นี้ เป็นชื่อแห่งความเป็นผู้นิ่ง.

ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบากนั้น

ด้วยบทว่า ปาจิตฺติย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับปาจิตตีย์ ๒ ตัว

ใน ๒ วัตถุ.

สองบทว่า อญฺวาทก โรเปตุ ความว่า สงฆ์จงยกอัญญวาทกรรม

ขึ้น คือ จงให้ตั้งขึ้น. แม้ในคำว่า วิเหสก โรเปตุ นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

สองบทว่า อโรปิเต อญฺวาทเก ได้แก่ ในเพราะความเป็นผู้

กล่าวคำอื่นที่สงฆ์ไม่ได้ยกขึ้นด้วยกรรมวาจา. แม้ในคำว่า อโรปิเต วิเหสเก

นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในคำว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมฺมสญฺี เป็นต้น พึงทราบใจความ

โดยนัยนี้ว่า อัญญวาทกวิเหสกโรปนกรรม นั้นใด อันสงฆ์กระทำแล้ว, ถ้า

กรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม. และภิกษุนั้น มีความสำคัญในกรรมนั้นว่า

* แปลตามโยชนา ๒/ ๒๔-๒๕.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 295

เป็นกรรมชอบธรรม ยังทำความเป็นผู้กล่าวคำอื่น และความเป็นผู้ให้ลำบาก

เมื่อนั้น ภิกษุนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น และ

ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบากนั้น

สองบทว่า อชานนฺโต ปุจฺฉติ มีความว่า ภิกษุเมื่อไม่รู้ว่าตนต้อง

อาบัติเลยจึงถามว่า ท่านทั้งหลายพูดอะไร ? ข้าพเจ้าไม่รู้เลย

สองบทว่า คิลาโน น กเถติ มีความว่า ภิกษุมีพยาธิที่ปาก เช่น

พยาธิที่เป็นเหตุให้ไม่สามารถจะพูดได้.

ในคำว่า สงฺฆสฺส ภณฺฑน วา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ

โดยนัยนี้ว่า ภิกษุมีความสำคัญว่า เมื่อเรากล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ความ

บาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง หรือความวิวาทจักมีแก่สงฆ์ เพราะ

การพูดนั้นเป็นปัจจัย ความวิวาทนั้นอย่าได้มีเลย จึงไม่พูด. บทที่เหลือตื้น

ทั้งนั้นแล.

สิกขาบท มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับ

จิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยาก็มี เป็นอกิริยาก็มี จริงอยู่ เมื่อภิกษุ

กลบเกลื่อนถ้อยคำ เป็นกิริยา เมื่อทำให้ลำบากเพราะความเป็นผู้นิ่ง เป็นอกิริยา

เป็นสัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต

เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

อัญญวาทสิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 296

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร

[๓๖๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์

ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะและแจกภัตแก่สงฆ์ สมัยนั้น

พระเมตติยและพระภุมมชกะเป็นผู้บวชใหม่ และมีบุญน้อย เสนาสนะของสงฆ์

ที่เลวและอาหารที่ทรามย่อมตกมาถึงเธอทั้งสอง เธอทั้งสองจึงให้ภิกษุทั้งหลาย

เพ่งโทษท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า จัดเสนาสนะตามความพอใจ และแจกภัต

ตามความพอใจ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉน พระเมตติยะและพระภุมมชกะจึงได้ให้ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาท่านพระ-

ทัพพมัลลบุตรเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ทรงสอบถามพระเมตติยะและพระ

ภุมมชกะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอให้ภิกษุทั้งหลายโพนทะนา

ภิกษุทัพพามัลลบุตร จริงหรือ.

พระเมติยะและพระภุมมชกะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษภิกษุทัพพมัลลบุตร การกระทำของเธอนั่น

ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลือมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 297

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๖๒. ๓. ก. เป็นปาจิตตีย์ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ .

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร (ต่อ)

[๒๖๙] ก็สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะคิดว่า ภิกษุทั้งหลาย

จักเชื่อฟังด้วยพระบัญญัติเพียงเท่านี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการให้

โพนทะนาแล้ว จึงบ่นว่าท่านพระทัพพมัลลบุตรอยู่ใกล้ ๆ ภิกษุทั้งหลายว่า

พระทัพพมัลลบุตรจัดเสนาสนะตามความพอใจ และแจกภัตตามความพอใจ

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเมตติยะ

และพระภุมมชกะจึงได้บ่นว่า ท่านพระทัพพมัลลบุตรอยู่เล่า แล้วกราบทูล

เนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ทรงสอบถามพระเมทติยะและพระ-

ภุมมชกะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอบ่นว่าภิกษุทัพพมัลลบุตร

จริงหรือ.

พระเมตติยะและพระภุมมชกะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 298

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงยังได้บ่นว่าภิกษุทัพพมัลลบุตรอยู่เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น

ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส

ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๖๒. ๓. ข. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา

ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า.

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร (ต่อ) จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๗๐] ที่ชื่อว่า ความเป็นผู้ให้โพนทะนา คือ อุปสัมบันผู้อัน

สงฆ์สมมติแล้ว ให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ เป็นผู้แจกอาหาร แจกยาคู แจกผลไม้

แจกของเคี้ยว หรือแจกของเล็กน้อยก็ตาม ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ให้อัปยศ

ให้เก้อเขิน จึงให้โพนทะนาก็ดี บ่นว่าก็ดี ซึ่งอุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๓๗๑] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความ

เป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 299

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า.

ทุกกฏ

[๓๗๒] ภิกษุให้โพนทะนา หรือบ่นว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อุปสัมบันผู้อันสงฆ์มิได้สมมติให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ เป็นผู้แจกอาหาร

แจกยาคู แจกผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือแจกของเล็กน้อยก็ตาม ภิกษุประสงค์

จะแส่โทษ ทำให้อัปยศ ทำให้เก้อเขิน จึงให้โพนทะนาก็ดี บ่นว่าก็ดี ซึ่ง

อุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบันผู้อันสงฆ์สมมติก็ดี มิได้สมมติก็ดี ให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ

เป็นผู้แจกอาหาร แจกยาคู แจกผลไม้ แจกของเดียว หรือแจกของเล็กน้อย

ก็ตาม ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ทำให้อัปยศ ทำให้เก้อเขิน จึงให้โพนทะนา

ก็ดี บ่นว่าก็ดี ซึ่งอุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ติกทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรมต้องอาบัติทุกกฏ. . .

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ . . .

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ

ทุกกฏ...

อานาปัตติวาร

[๓๗๓] ภิกษุผู้ให้โพนทะนา หรือบ่นว่าภิกษุผู้มีปกติทำเพราะ

ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคูติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 300

เสนาสนวรรค อุปฌาปนสิกขาบทที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๓ ดังต่อไปนี้

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องพระทัพพมัลลบุตร]

หลายบทว่า ทพฺพ มลฺลปุตฺต ภิกฺขู อุชฺฌาเปนฺติ มีความว่า

พวกภิกษุเมตติยะ และภุมมชกะ เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า ฉนฺทาย ทพฺโพ

มลฺลปุตฺโต (พระทัพพมัลลบุตรจัดเสนาสนะโดยฉันทาคติ) ดังนี้ ชื่อว่า

ยังภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นให้ดูหมิ่น คือให้มองดูท่านทัพพะนั้นด้วยความดูหมิ่น.

อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ย่อมให้ติดไปทางลามก. ก็ในคำว่า อุชฺฌายนฺติ นี้

พึงทราบลักษณะ (แห่งศัพท์) ตามแนวแห่งคัมภีร์ศัพทศาสตร์. ปาฐะว่า

โอชฺฌาเปนฺติ ดังนี้ ก็มี. ความก็อย่างนี้เหมือนกัน.

บทว่า ฉนฺทาย ได้แก่ โดยความชอบพอกัน คือ โดยตกเข้าเป็น

ฝักฝ่ายกัน. อธิบายว่า ย่อมจัดแจงเสนาสนะที่ประณีต เพื่อพวกภิกษุผู้เป็น

เพื่อนเห็นเพื่อนคบกันของตน ด้วยความชอบพอกันนั้น.

บทว่า ขิยฺยนฺติ คือ พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ เมื่อกล่าว

คำว่า ฉนฺทาย ทพฺโพ มลฺลปุตฺโต เป็นต้น ชื่อว่า ย่อ ประกาศ.

ในคาว่า อุชฺฌาปนเก ขิยฺยนเก ปาจิตฺติย นี้ มีวินิจฉัยว่า

พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ ย่อมให้โพนทะนาด้วยคำใด. คำนั้น ชื่อว่า

อุชฌาปนกะ. และบ่นว่าด้วยคำใด, คำนั้น ชื่อว่า ขิยยนกะ. ในเพราะ

ความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่านั้น.

ด้วยบท ปาจิตฺติย พระผู้มีพระภาคเจ้า ปรับปาจิตตีย์ ๒ ตัว ใน

๒ วัตถุ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 301

บทเหล่านี้ว่า อุชฺฌาปนก นาม อุปสมฺปนฺน สงฺเฆน สมฺมต

เสนาสนปญฺาปก วา ฯปฯ อปฺปมตฺตกวิสฺสชฺชก วา ดังนี้

เชื่อมความกับบทว่า มงฺกุกตฺตุกาโม (มีความประสงค์จะทำให้อัปยศ) นี้ .

ด้วยอำนาจแห่งบทเหล่านี้ว่า อวณฺณ กตฺตุกาโม อยส กตฺตุกาโม

บัณฑิตพึงกระทำการเปลี่ยนวิภัตติในบทว่า อุปสมฺปนฺน เป็นต้น อย่างนี้ว่า

อุปสมฺปนฺนสฺส ดังนี้.

ก็เพราะในคำว่า อุชฺฌาเปติ วา ขิยฺยติ วา อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงยกบทมาติกาขึ้นอย่างนี้ว่า ขียนก นาม

ดังนี้แล้ว จะพึงตรัสวิภังค์ที่ตรัสแล้วนั้นแหละ แห่งบทว่า อุชฺฌาปนก นาม

นี้ (แต่) ความแปลกันอย่างอื่น (ในสิกขาบทนี้) ไม่มี เหมือนในอัญญ-

วาทสิกขาบท เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

ยกขึ้น ทั้งไม่ทรงแจกบทมาติกานั้น แยกไว้ต่างหาก ทรงทำคำนิคมเท่านั้น

ไว้รวมกัน.

ในคำเป็นต้นว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมฺเมสญฺี นี้ บัณฑิตพึงทราบ

ใจความโดยนัยนี้ว่า สมมติกรรมใด สงฆ์ทำแล้วเพื่อุปสัมบันนั้น ถ้ากรรม

นั้นเป็นกรรมชอบธรรม และภิกษุนั้นมีความสำคัญในกรรมนั้นว่า กรรมชอบ

ธรรม ย่อมทำการโพนทะนา และบ่นว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้น ต้องอาบัติ-

ปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้โพนทะนาและบ่นว่านั้น.

ในคำว่า อนุปสมฺปนฺน อุชฺฌาเปติ วา ขิยฺยติ วา มีเนื้อ

ความว่า ภิกษุย่อมยังอนุปสัมบันอื่นให้โพนทะนา อุปสัมบันผู้อันสงฆ์สมมติแล้ว

หรือให้ดูหมิ่นก็ดี บ่นว่าเธอในสำนักแห่งอนุปสัมบันนั้นก็ดี.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 302

คำว่า อุปสมฺปนฺน สงฺเฆน อสมฺมต มีความว่า ผู้อันสงฆ์

มิได้สมมติด้วยกรรมวาจา คือ ผู้อันสงฆ์ยกภาระให้ว่า นี้ เป็นภาระของท่าน

อย่างเดียว หรือว่าผู้นำภาระนั้นไปด้วยตนเอง เพื่อต้องการความอยู่สบายของ

ภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า (ย่อมให้โพนทะนาอุปสัมบัน) ผู้กระทำ

กรรมเช่นนั้น ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๒-๓ รูป.

ก็การให้สมมติ ๑๓ อย่าง แก่อนุปสัมบันย่อมไม่ควร แม้โดยแท้

ถึงอย่างนั้น อนุปสัมบันผู้ได้รับสมมติในคราวเป็นอุปสัมบัน ภายหลังทั้งอยู่

ในความเป็นอนุปสัมบัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาอนุปสัมบันนั้นว่า

หรือผู้อันสงฆ์สมมติ ในคำว่า อนุปสมฺปนฺน สงฺเฆน สมฺมต วา อสมฺมต

วา นี้. แต่สงฆ์หรือภิกษุที่สงฆ์สมมติ มอบภาระแก่สามเณรรูปใด ผู้ฉลาด

อย่างเดียวว่า เธอจะกระทำกรรมนี้ ดังนี้, พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง

สามเณรเช่นนั้นว่า หรือผู้อันสงฆ์ไม่ได้สมมติ. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบท มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม

วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.

อุชฌาปนสิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 303

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องภิกษุมากรูป

[๓๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เป็น

ฤดูหนาว ภิกษุทั้งหลายจัดตั้งเสนาสนะในที่กลางแจ้ง ผิงกายอยู่ ครั้นเขาบอก

ภัตกาล เมื่อจะหลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่งเสนาสนะนั้น

ไม่บอกมอบหมายแล้วหลีกไป เสนาสนะถูกน้ำค้างและฝนตกชะ บรรดาภิกษุ

ที่มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจัดตั้ง

เสนาสนะในที่แจ้งแล้ว เมื่อจะหลีกไป จึงได้ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่ง

เสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมาย แล้วหลีกไป เสนาสนะถูกน้ำค้างและฝนตกชะ

แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายจัดตั้งเสนาสนะในที่แจ้งแล้ว เมื่อจะหลีกไป ไม่เก็บเอง

ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่งเสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมาย แล้วหลีกไป เสนาสนะ

ถูกน้ำค้างและฝนตกชะ จริงหรือ.

ภิกษุ ทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน

โมฆบุรุษเหล่านั้น จัดตั้งเสนาสนะในที่แจ้งแล้ว เมื่อจะหลีกไป จึงได้ไม่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 304

เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่งเสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมายแล้วหลีกไปเล่า

เสนาสนะถูกน้ำค้างและฝนตกชะ การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เป็น

ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ

ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๖๓.๔ อนึ่ง ภิกษุใดวางไว้แล้วก็ดี ให้วางไว้แล้วก็ดี ซึ่ง

เตียงก็ดี ตั่งก็ดี ฟูกก็ดี เก้าอี้ก็ดี อันเป็นของสงฆ์ในที่แจ้ง เมื่อ

หลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้เก็บก็ดี ซึ่งเสนาสนะที่วางไว้นั้น

หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุมากรูป จบ

พระพุทธานุญาตให้เก็บเสนาสนะ

[๓๗๕] ก็สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายอยู่ในที่แจ้ง รีบเก็บเสนาสนะก่อน

กาลอันสมควร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้น ผู้รีบเก็บ

เสนาสนะก่อนกาลอันสมควร ครั้นแล้วจึงทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บเสนาสนะไว้ในปะรำ

หรือที่โคนไม้ หรือในที่ซึ่งนกกา หรือนกเหยี่ยวจะไม่ถ่ายมูลรดได้

ตลอด ๘ เดือน ซึ่งกำหนดว่ามิใช่ฤดูฝน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 305

สิกขาบทวิภังค์

[๓๗๖] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า อันเป็นของสงฆ์ ได้แก่ ของที่เขาถวายแล้ว สละแล้ว

แก่สงฆ์

ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าใน

ขา ๑ เตียงมีแคร่เนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ เตียงมีขาดังก้ามปู ๑ เตียงมีขา

จรดแม่แคร่ ๑

ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ ตั่ง ๔ ชนิด คือ ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑

ตั้งมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกัน กับขา ๑ ตั่งมีขาดังก้ามปู ๑ ตั่งมีขาจรดแม่

แคร่ ๑

ที่ชื่อว่า ฟูก ได้แก่ ฟูก ๕ ชนิด คือ ฟูกขนสัตว์ ๑ ฟูกเปลือกไม้ ๑

ฟูกเศษผ้า ๑ ฟูกหญ้า ๑ ฟูกใบไม้ ๑

ที่ชื่อว่า เก้าอี้ ได้แก่ เก้าอี้ที่เขาถักร่วมใน สำเร็จด้วยเปลือกไม้ก็มี

สำเร็จด้วยหญ้าคมแฝกก็มี สำเร็จด้วยหญ้ามุงกระต่ายก็มี สำเร็จด้วยหญ้าปล้อง

ก็มี.

บทว่า วางไว้แล้ว คือ วางไว้เอง.

บทว่า ให้วางไว้แล้ว คือ ให้คนอื่นวางไว้

ใช้อนุปสัมบันให้วาง เป็นธุระของอนุปสัมบันผู้วาง

ใช้อุปสัมบันให้วาง เป็นธุระของอุปสัมบันผู้วาง.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 306

คำว่า เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง ซึ่งเสนาสนะที่วางไว้นั้น คือ

ไม่เก็บด้วยตนเอง

คำว่า ไม่ให้เก็บ คือ ไม่ให้คนอื่นเก็บ

คำว่า หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ความว่า ภิกษุไม่บอกมอบ

หมายภิกษุ สามเณร หรือคนทำการวัด แล้วเดินล่วงเลฑฑุบาตของมัชฌิม

บุรุษไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๓๗๗] เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ วางไว้เองก็ดี

ให้คนอื่นวางไว้ก็ดี ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี

ซึ่งเสนาสนะนั้น หรือไม่ได้บอกมอบหมายไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุสงสัย วางไว้เองก็ดี ให้คนอื่นวางไว้ก็ดี

ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งเสนาสนะนั้น

หรือไม่ได้บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล วางไว้เองก็ดี ให้คนอื่น

วางไว้ก็ดี ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่ง

เสนาสนะนั้น หรือไม่ได้บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุวางไว้เองก็ดี ให้คนอื่นวางไว้ก็ดี ซึ่งเครื่องลาดรักษาผิวฟื้นก็ดี

เครื่องลาดเตียงก็ดี เครื่องลาดฟื้นก็ดี เสื่ออ่อนก็ดี ท่อนหนังก็ดี เครื่อง-

เช็ดเท้าก็ดี ตั่งกระดานก็ดี ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 307

คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งเครื่องลาดรักษาผิวฟื้นเป็นต้นนั้น หรือไม่ได้บอกมอบหมาย

ไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ติกทุกกฏ

เสนาสนะของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ . ..ต้องอาบัติทุกกฏ.

เสนาสนะของบุคคล ภิกษุสงสัย . . . ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

เสนาสนะของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล . . .ต้องอาบัติทุกกฏ

เพราะเป็นของส่วนตัวของผู้อื่น.

เสนาสนะเป็นส่วนตัวของตน . . .ไม่ต้องอาบัติ.

อานาปัตติวาร

[๓๗๘] ภิกษุเก็บเองแล้วไป ๑ ภิกษุให้คนอื่นเก็บแล้วไป ๑ ภิกษุ

บอกมอบหมายแล้วไป ๑ ภิกษุเอาออกผึ่งแดดไว้ ไปด้วยตั้งใจจักกลับมาเก็บ ๑

เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ๑ ภิกษุมีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 308

เสนาสนวรรค ปฐมเสนาสนสิกขาบทที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๔ ดังต่อไปนี้

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุหลายรูป]

สองบทว่า เหมนฺติเก กาเล ได้แก่ ในฤดูเหมันต์ คือ ในคราว

หิมะตก.

สองบทว่า กาย โอตาเปนฺตา ได้แก่ นั่งบนเตียงและตั่งเป็นต้น

แล้ว ผิงกายด้วยแดดอ่อนอยู่.

สองบทว่า กาเล อาโรเจติ ได้แก่ เมื่อเขาบอกเวลาแห่งอาหาร

อย่างใดอย่างหนึ่ง มียาคูและภัตเป็นต้น .

สองบทว่า โอวุฏ โหติ ได้แก่ ถูกฝนหิมะตกชะเปียก.

บทว่า อวสฺสิกสงฺเกเต มีความว่า ตลอด ๘ เดือน คือ ๔ เดือน

ในฤดูเหมันต์ ๔ เดือนในฤดูคิมหันต์ ที่มิได้บัญญัติอย่างนี้ว่า เดือนทั้งหลาย

แห่งฤดูฝน.

บทว่า มณฺฑเป ได้แก่ ในปะรำทำด้วยกิ่งไม้ หรือในปะรำทำด้วย

ไม้เลียบ.

บทว่า รุกฺขมูเล วา ได้แก่ ภายใต้แห่งต้นไม้ต้นใดต้น หนึ่ง.

[ว่าด้วยสถานที่ควรเก็บเตียงตั่ง]

หลายบทว่า ยตฺถ กากา วา กุลลา วา น อูทหนฺติ มีความว่า

นกกาและนกตะกรุมเหล่านี้ หรือนกเหล่าอื่นทำรังอยู่ ด้วยการอยู่ประจำใน

ต้นไม้ใด จะไม่ถ่ายมูลรดเสนาสนะนั้น เราอนุญาตให้เก็บไว้ที่โคนไม้เช่นนั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 309

เพราะเหตุอย่างนี้นั้น นกทั้งหลายเสาะแสวงหาเหยื่อ พักผ่อนที่ต้นไม้ใดแล้ว

บินไป จะเก็บไว้ที่โคนแห่งต้นนั้นก็ควร. แต่ว่า นกทั้งหลายทำรังอยู่ด้วยการ

อยู่เป็นประจำที่ต้นไม้ใด อย่าพึงเก็บไว้ที่โคนต้นไม้นั้น

เพราะพระบาลีว่า อฏฺ มาเส ดังนี้ ในชนบทเหล่าใด ฝนไม่ตก

ในฤดูฝน, แม้ในชนบทเหล่านั้น จะเก็บไว้ตลอด ๔ เดือน ก็ไม่ควรเหมือนกัน.

เพราะพระบาลีว่า อวสฺสิกสงฺเกเต ดังนี้ ในชนบทเหล่าใดฝนตก

ในฤดูเหมันต์ ในชนบทเหล่านั้น จะเก็บไว้ในที่แจ้ง แม้ในฤดูเหมันต์ ก็ไม่ควร.

ส่วนในฤดูคิมหันต์ ท้องฟ้าบริสุทธิ์ปราศจากเมฆในที่ทั่วไป ในเวลาเช่นนี้

จะเก็บเตียงและตั่งไว้ในที่แจ้ง ด้วยกรณีจำเป็นบางอย่าง ย่อมควร.

แม้ภิกษุผู้ถืออัพโภกาสิกธุดงค์ ก็ควรรู้วัตร. จริงอยู่ ถ้าเธอมีเตียง

ส่วนบุคคล ก็พึงนอนบนเตียงส่วนบุคคลนั่นแล เมื่อจะถือเอาเตียงของสงฆ์

พึงถือเอาเตียงที่ถักด้วยหวาย หรือด้วยปอ. เมื่อเดียงถักด้วยหวายหรือด้วยปอ

นั้นไม่มี พึงถือเอาเดียงเก่า. เมื่อเตียงเก่านั้นไม่มี พึงถือเอาเตียงที่ถักใหม่ ๆ

หรือที่บุด้วยหนัง ก็แล ครั้นถือเอาแล้ว คิดว่า เราจะถือรุกขมูลอย่างเคร่ง

ถืออัพโภกาสอย่างเคร่ง ดังนี้ แล้วไม่ทำแม้ซึ่งกุฎีจีวร (เพดานทำด้วยจีวร)

จัดตั้งเตียงตั่งนั้นในที่แจ้ง หรือที่โคนไม้ แล้วนอนในคราวที่มิใช่สมัย ย่อม

ไม่ควร. ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่อาจเพื่อจะรักษากุฎีที่ทำด้วยจีวรแม้ทั้ง ๔ ชั้น ไม่ให้

เปียกได้ มีฝนตกพรำตลอด ๗ วัน, (จะจัดตั้งเตียงน้อยนอน) ก็ควร เพราะ

เตียงนอนเป็นไปตามร่างกายของภิกษุ.

พวกมนุษย์มีจิตเลื่อมใสในสีลสัมปทาของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในกระท่อม

ใบไม้ในป่า จึงถวายเตียงและตั่งใหม่กล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงใช้สอย โดย

ใช้สอยเป็นของสงฆ์. ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่แล้วจะไป พึงส่งข่าว (ไปบอก) แก่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 310

ภิกษุผู้ชอบพอกันในวิหารที่ใกล้เคียงแล้วจึงไป. เมื่อไม่มีพวกภิกษุผู้ชอบกัน

พึงเก็บไว้ในที่ที่ฝนจะไม่รั่วรดแล้วจึงไป. เมื่อไม่มีที่ที่ฝนไม่รั่วรด พึงแขวน

ไว้ที่ต้นไม้ แล้วจึงไป.

[ว่าด้วยสถานที่ควรเก็บไม้กวาดและวิธีกวาด]

ภิกษุถือเอาไม่กวาดที่ลานพระเจดีย์ไปกวาดลานหอฉันก็ดี ลานโรง-

อุโบสถก็ดี ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง มีบริเวณที่พักกลางวัน และโรงไฟเป็นต้น

ล้าง เคาะ (ไม่กวาดนั้น) แล้ว พึงเก็บไม่กวาดไว้ในโรงนั่นแหละอีก. แม้

ภิกษุผู้ถือเอาไม้กวาด ในที่แห่งใดแห่งหนึ่งมีโรงอุโบสถเป็นต้น ไปกวาด

บริเวณที่เหลือ ก็นัยนี้นั่นแล. ส่วนภิกษุใดกวาดทางเที่ยวภิกขาจารประสงค์

จะไป (บิณฑบาต) เลย. ภิกษุนั้นกวาดแล้ว พึงเก็บไว้ที่ศาลาซึ่งถ้ามีอยู่ใน

ระหว่างทางนั้น. ถ้าศาลาไม่มี กำหนดว่าเมฆฝนยังไม่ตั้งเค้าขึ้น รู้ว่า ฝนจัก

ยังไม่ตก จนกว่าเราจะออกมาจากบ้าน เก็บไว้ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วกลับมา

พึง (นำมา) เก็บไว้ในที่เดิมอีก

ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า ถ้าภิกษุรู้อยู่ว่า ฝนจักตก วางไว้ในกลางแจ้ง

เป็นทุกกฏ ดังนี้. แต่ถ้าว่า ไม้กวาดเป็นของอันเขาเก็บไว้เพื่อประโยชน์สำหรับ

กวาดในที่นั้น ๆ นั่งเอง ภิกษุจะกวาดที่นั้น ๆ แล้ว เก็บไว้ในที่นั้น ๆ แล

สมควรอยู่. ภิกษุผู้จะกวาดโรงฉัน ควรรู้จักวัตร. วัตรในการกวาดโรงฉันนั้น

ดังนี้ พึงกวาดทรายตั้งแต่ท่ามกลางตะล่อมมาไว้ตรงหน้าที่เท้ายืน. พึงเอา

มือทั้งสองกอบหยากเยื่อออกไปทิ้งข้างนอก.

[ว่าด้วยลักษณะเตียงตั่งเป็นต้น ]

เตียงที่เขาทำเจาะที่เท้าเตียง สอดแม่แคร่ทั้งหลายเข้าไปในเท้าเตียงนั้น

ชื่อว่า มสารกะ (เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา).

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 311

เตียงที่เขาทำให้แม่แคร่คาบเท้าเตียง โดยลักษณะคล้ายบัลลังก์ ชื่อว่า

พุนธิกาพัทธ์ (เตียงมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา).

เตียงที่เขาทำด้วยเท้าเช่นกับเท้าแห่งสัตว์ มีม้าและแพะเป็นต้น ชื่อว่า

กุลีรปาท (เตียงมีขาดังก้ามปู) ก็หรือว่า เตียงที่มีเท้างอย่างใดอย่างหนึ่ง

นี้ท่านเรียกว่า เตียงมีขาดังก้ามปู. ก็เตียงชื่อว่า อาหัจจปาทกะ นี้ ท่านกล่าว

ไว้ในบาลีข้างหน้านั่นแลอย่างนี้ว่า เตียงที่เจาะด้วยเตียงทำ ชื่อว่า อาหัจจ-

ปาทกะ (เตียงมีขาจรดแม่แคร่). เพราะเหตุนั้น เ ตียงที่ทำเจาะแม่แคร่

ทั้งหลาย แล้วสอดปลายขาเข้าไปในแม่แคร่นั้น สลักลิ่มในเบื้องบน บัณฑิต

พึงทราบว่า เตียงมีขาจรดแม่แคร่. แม้ในตั่ง ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

หลายบทว่า อนฺโต สเวเตฺวา พทฺธ โหติ มีความว่า เก้าอี้

ที่เขาถักให้กว้างทั้งข้างล่างและข้างบน ตรงกลางสอบ (แคบ) มีสัณฐานคล้าย

บัณเฑาะว์. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายกระทำเก้าอี้นั้น ให้หุ้มด้วยหนังสีหะ และ

เสือโคร่งที่ตรงกลางก็มี. ในเสนาสนะนี้ ชื่อว่าหนังที่เป็นอกัปปิยะไม่มี. จริงอยู่

แม้เสนาสนะที่เป็นวิการแห่งทอง ก็ควร. เพราะเหตุนั้น เสนาสนะนั้น จึง

เป็นของมีค่ามาก

ข้อว่า อนุปฺปสมฺปนฺน สนฺถราเปติ ตสฺส ปริโพโธ มีความว่า

เป็นธุระของอนุปสัมบันผู้ซึ่งถูกใช้ให้วาง.

ข้อว่า เลฑฺฑุปาต อติกฺกมนฺตสฺส อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส

มีความว่า ภิกษุผู้เดินเลยเลฑฑุบาต ของบุรุษผู้มีกำลังกลางคนไปต้องปาจิตตีย์.

[ว่าด้วยผู้รับผิดชอบเสนาสนบริขารมีเตียงเป็นต้น]

ก็ในคำว่า เลฑฺฑุปาต อติกฺกมนฺตสฺส เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้ พระเถระกระทำภัตกิจในโรงฉัน แล้วสั่งภิกษุหนุ่มว่า เธอจงไป

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 312

แต่งตั้ง เตียง ตั่ง ในที่พักกลางวัน. ภิกษุหนุ่มนั้นกระทำตามสั่งแล้วนั่ง.

พระเถระเที่ยวไปตามความพอใจแล้วจึงไปในที่พักกลางวันนั้น วางถุงย่ามและ

อุตราสงค์ไว้. จำเดิมแต่นั้นไปเป็นธุระของพระเถระ. พระเถระนั่งแล้ว เมื่อ

จะไป ไม่เก็บเอง ไม่สั่งให้เก็บ เป็นปาจิตตีย์ ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป.

ก็ถ้าพระเถระไม่วางถุงย่ามและอุตราสงค์ไว้บนเตียงและตั่งนั่น จงกรม

พลางสั่งภิกษุหนุ่มว่า เธอไปได้, เธอพึงบอกว่า นี้เตียงตั่ง ขอรับ ถ้า

พระเถระรู้จักธรรมเนียม พึงกล่าวว่า เธอไปเถิด เราจักกระทำให้เป็นปรกติ

เดิม ถ้าภิกษุผู้เถระ เป็นคนเขลาไม่ได้ศึกษาธรรมเนียม กลับขู่ตะคอกภิกษุ

หนุ่มว่า ไปเถิด อย่ามายืนในที่นี้ เราจะไม่ให้ (ใคร) นั่ง ไม่ให้ (ใคร) นอน,

ภิกษุ หนุ่มเรียนว่า ท่านนอนตามสบายเถิด ขอรับ ได้ข้ออ้างไหว้แล้ว พึง

ไปเถิด. เมื่อภิกษุหนุ่มนั้นไปแล้ว เป็นธุระของพระเถระเท่านั้น และบัณฑิต

พึงทราบว่า เป็นอาบัติแก่พระเถระนั้น โดยนัยก่อนนั้นเทียว.

ก็ถ้าว่า ในขณะที่สั่งนั่นเอง ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านขอรับ. ผมมีกิจ

จำต้องทำบางอย่าง มีการซักล้างสิ่งของเป็นต้น และพระเถระกล่าวกะเธอว่า

เธอแต่งตั้งแล้วจงไปเถิด ดังนี้ แล้วออกจากโรงฉันไปเสียในที่อื่น พระวินัยธร

พึงปรับ (พระเถระ) ตัวอย่างเท้า. ถ้าพระเถระไปนั่งในที่นั้นนั่น เอง, และ

เป็นอาบัติแก่พระเถระนั้น ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป โดยนัยก่อนนั่นแหละ.

ก็ถ้าว่า พระเถระสั่งสามเณร. เมื่อสามเณรแม้จัดตั้งเตียงและตั่งใน

โรงฉันนั้นแล้วนั่ง พระเถระไปเสียที่อื่นจากโรงฉัน พระวินัยธรพึงปรับด้วย

ย่างเท้าเดิน. พระเถระไปนั่งแล้ว ในเวลาไปต่อไป พึงปรับด้วยอาบัติในเมื่อ

เดินเลยเลฑฑุบาตไป.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 313

ก็ถ้าว่า พระเถระเมื่อจะสั่ง สั่งว่า เธอจัดตั้งเตียงและตั่งแล้ว จงนั่ง

รอที่เตียงและตั่งนั้นนั่นแหละ ดังนี้. ย่อมได้เพื่อจะไปในที่ที่คนปรารถนา.

ส่วนผู้รับสั่งเมื่อไม่ทำให้เป็นปกติเสียเอง เดินไปเป็นปาจิตตีย์ ในเมื่อเดินเลย

เลฑฑุบาตไป.

ในระหว่างการประชุม ภิกษุทั้งหลายแต่งตั้งเตียงและตั่งแล้วนั่งในเวลา

จะไปพึงบอกแก่อารามิกบุรุษ (คนทำการวัด) ว่า ท่านทั้งหลายจงเก็บเตียง

และตั่งนี้ ดังนี้ เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่สั่ง ไปเสีย ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาต

ธรรมดาการฟังธรรมครั้งใหญ่ ย่อมจะมี ภิกษุทั้งหลายนำเอาเตียง

และตั่งมาจากโรงอุโบสถบ้าง จากโรงฉันบ้าง จัดตั้งไว้ในสถานที่ฟังธรรมนั้น.

เป็นภารธุระของพวกภิกษุเจ้าถิ่นเท่านั้น. ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะถือเอาไปด้วย

อ้างว่า นี้สำหรับอุปัชฌาย์ของเรา นี้สำหรับอาจารย์ของเรา ดังนี้. จำเติมแต่

นั้นไป เป็นภารธุระของพวกภิกษุอาคันตุกะนั้นเท่านั้น. ในเวลาไป เมื่อไม่

กระทำไว้ตามเติม เดินเลยเลฑฑุบาตไป เป็นอาบัติ.

แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ชั่วเวลาที่ภิกษุพวกอื่นยังไม่มานั่ง

เป็นภาระของพวกภิกษุผู้จัดตั้ง, เมื่อพวกภิกษุเหล่าอื่นมานั่งเป็นภาระของพวก

ภิกษุผู้นั่ง ถ้าพวกภิกษุผู้นั่งเหล่านั้นไม่เก็บเองก็ดี ไม่ใช้ให้เก็บก็ดี ไปเสีย

เป็นทุกกฏ. เพราะเหตุไร เพราะจัดตั้งโดยไม่ได้สั่ง.

เมื่อแต่งตั้งธรรมาสน์แล้ว ภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมยังไม่มา

เพียงใด เป็นภารธุระของพวกภิกษุผู้แต่งตั้งเพียงนั้น. เมื่อภิกษุผู้สวดหรือผู้

แสดงธรรมมานั่งแล้ว เป็นภารธุระของภิกษุนั้น มีการฟังธรรมตลอดวันและ

คืนทั้งสิ้น. ภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมอื่นลุกไป ภิกษุอื่นมานั่ง ภิกษุใด ๆ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 314

มานั่ง เป็นภาระของภิกษุนั้น ๆ. แต่เมื่อลุกขึ้น พึงกล่าวว่า อาสนะนี้ เป็น

ภาระของท่าน แล้วจึงไป. ถ้าแม้นว่า เมื่อภิกษุผู้สวดผู้แสดงธรรมนอกนี้ยัง

ไม่มานั่นแหละ ภิกษุผู้นั่งอยู่ก่อนลุกไป และภิกษุผู้นั่งก่อนนอกนี้ มานั่งอยู่

ภายในอุปจาร สถานที่นั้นนั่นเอง พระวินัยธรไม่พึงปรับเธอผู้ลุกไปด้วยอาบัติ

ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุผู้สวดและผู้แสดงธรรมนอกนี้ ยังไม่มานั่นแหละ ภิกษุผู้นั่ง

อยู่ก่อนลุกจากอาสนะ เดินเลยเลฑฑุบาตไป, พระวินัยธรพึงปรับเธอด้วยอาบัติ.

แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าววินัยนี้ไว้ว่า ทุก ๆ แห่งในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป

เป็นทุกกฏในย่างเท้าที่ ๑, เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ ๒.

[ว่าด้วยเครื่องปูลาดและหน้าที่ในการรักษา]

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า จิมิลิก วา เป็นต้น ดังนี้ .

เครื่องลาดที่เขาทำไว้ เพื่อรักษาผิวของพื้นที่ทำบริกรรมด้วยปูนขาว

เป็นต้น ชื่อว่า จิมิลกา. ชนทั้งหลายปูเครื่องลาดนั้นไว้ข้างล่าง แล้วปูเสื่อ

ลำแพนทับไว้ข้างบน.

เครื่องลาดที่ควรปูลาดไว้บนเตียงและตั่ง ชื่อว่าเครื่องลาดเตียง ชนิด

แห่งเครื่องปูลาด มีเสื่อลำแพนเป็นต้น ที่ควรลาดไว้บนพื้น ชื่อว่า เครื่องลาด

พื้น. เสื่ออ่อนที่เขาทำด้วยใบตาลก็ดี ด้วยเปลือกปอก็ดี ชื่อว่า เสืออ่อน.

แม้บรรดาหนังสัตว์ มีสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว และหมีเป็นต้น

หนังชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า แผ่นหนัง. จริงอยู่ ชื่อว่าหนังที่ท่านห้าม ใน

การบริโภคเสนาสนะไม่ปรากฎในอรรถกถาทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น บัณฑิต

พึงทราบว่า ห้ามเฉพาะในการบริหารหนังสีหะเป็นต้น .

เครื่องเช็ดที่เขาทำด้วยเชือกเล็ก ๆ ก็ดี ด้วยผ้าเก่าก็ดี เพื่อเช็ดเท้า

ชื่อว่า เครื่องเช็ดเท้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 315

ตั่งที่เขาทำด้วยแผ่นกระดาน ชื่อว่า ตั่งแผ่นกระดาน. อีกอย่างหนึ่ง

ได้แก่ แผ่นกระดานและดังที่ทำด้วยไม้. แม้เครื่องไม้เป็นต้นทั้งหมด ท่าน

สงเคราะห์ด้วยทั่งแผ่นกระดานนั้น แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้โดยพิสดาร

ทีเดียวว่า ภิกษุวางเชิงรองบาตร ฝาบาตร กระเบื้องเช็ดเท้า พัดใบตาล พัด

ใบไม้ เครื่องไม้อย่างใดอย่างหนึ่งชั้นที่สุด กระบวยตักน้ำ สังข์ตักน้ำดื่ม

ไว้ในที่แจ้งแล้วไปเสีย เป็นทุกกฏ. แต่ในมหาอรรถกถานัยนี้ท่านแสดงไว้ใน

สิกขาบทที่ ๒. ภิกษุต้มน้ำย้อมในที่แจ้ง แล้วพึงเก็บเครื่องใช้ทั้งปวง คือ

ภาชนะน้ำย้อม กระบวยตักน้ำย้อม รางน้ำย้อมเป็นต้น ไว้ในโรงไฟ. ถ้าโรงไฟ

ไม่มี พึงเก็บไว้ในเงื้อมที่น้ำฝนจะไม่รั่วรด แม้เมื่อเงื้อมนั้นไม่มี ถึงจะวาง

ไว้ในที่ซึ่งมีพวกภิกษุคอยดูแลอยู่แล้วจึงไป ก็ควร

สองบทว่า อญฺสฺส ปุคฺคลิเก มีความว่า ในมหาปัจจรีเป็นต้น

กล่าวว่า การถือเอาโดยวิสาสะในบุคคลใด ไม่ขึ้น, เป็นทุกกฎในเพราะสิ่งของ

ของบุคคลนั้น, แต่วิสาสะในบุคคลใดขึ้น, สิ่งของของบุคคลนั้น ย่อมเป็นดุจ

ของส่วนตัวบุคคลของตน.

สองบทว่า อาปุจฺฉ คจฺฉติ มีความว่า บุคคลใด จะเป็นภิกษุก็ดี

สามเณรก็ดี อารามิกบุรุษก็ดี เป็นลัชชี ย่อมสำคัญดุจเป็นภารธุระของตน.

ภิกษุใดบอกลาบุคคลเช่นนั้นแล้วไป. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น .

สองบทว่า โอตาเปนฺโต คจฺฉติ มีความว่า ภิกษุเอาออกผึ่งไว้ที่

แดด ไปด้วยคิดว่า เราจักมาเก็บ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไปอย่างนั้น.

คำว่า เกนจิ ปลิพุทฺธ โหติ มีความว่า เสนาสนะถูกรบกวนด้วย

อันตรายบางอย่าง. ก็ถ้าภิกษุผู้แก่กว่าให้ย้ายออกแล้ว ถือเอา (เสนาสนะ) ก็ดี,

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 316

ถ้าว่า ยักษ์หรือเปรต มานั่งอยู่ ก็ดี หรือว่าอิสรชนบางคนมายึดเอาก็ดี

เสนาสนะจัดว่าถูกหวงแหน (กางกั้น ). ก็หรือว่าเมื่อสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือโคร่ง

เป็นต้น มาสู่ประเทศนั้นแล้วพักอยู่ เสนาสนะจัดว่าถูกรบกวนเหมือนกัน

ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้แม้ไม่เก็บ ไปเสีย เพราะเสนาสนะถูกอันตรายบางอย่าง

รบกวนอย่างนี้.

บทว่า อาปทาสุ คือ ในเพราะอันตรายแห่งชีวิต และอันตราย

แห่งพรหมจรรย์. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนั้นแล

ปฐมเสนาสนสิกขาบทที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 317

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระสตัตรสวัคคีย์

[๓๗๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-

สัตตรสวัคคีย์มีพวก ๑๗ รูปเป็นสหายกัน เมื่ออยู่ก็อยู่พร้อมกัน เมื่อหลีกไป

ก็หลีกไปพร้อมกัน พวกเธอปูที่นอนในวหารเป็นของสงฆ์แห่งหนึ่งแล้ว เมื่อ

หลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บซึ่งที่นอนนั้น ไม่ได้บอกมอบหมาย

หลีกไป เสนาสนะถูกปลวกกัด บรรดาภิกษุที่มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ

ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสัตตรสวัคคีย์ ปูที่นอนในวิหารเป็นของสงฆ์

แล้ว เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่งที่นอนนั้น ไม่ได้บอก

มอบหมาย หลีกไปแล้ว เสนาสนะจึงได้ถูกปลวกกัด แล้วกราบทูลเนื้อความ

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่าภิกษุสัตตรสวัคดีย์ ปูที่นอนในวิหารอันเป็นของสงฆ์แล้ว เมื่อหลีกไป

ไม่เก็บเอง ไม่ให้จนอื่นเก็บ ซึ่งที่นอนนั้น ไม่บอกมอบหมาย หลีกไปแล้ว

เสนาสนะถูกปลวกกัด จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ

เหล่านั้น ปูที่นอนไว้ในวิหารเป็นของสงฆ์แล้ว เมื่อหลีกไป ไฉนจึงไม่เก็บเอง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 318

ไม่ให้คนอื่นเก็บ ไม่บอกมอบหมาย หลีกไปเสีย เสนาสนะจึงได้ถูกปลวกกัด

การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเมื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่

ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๖๔.๕ อนึ่ง ภิกษุใด ปูแล้วก็ดี ให้ปูแล้วก็ดี ซึ่งที่นอนใน

วิหารเป็นของสงฆ์ เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้เก็บก็ดี ซึ่งที่

นอนอันปูไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๘๐] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .

นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้

ที่ชื่อว่า เป็นของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่เขาถวายแล้ว สละแล้วแก่

สงฆ์

ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ฟูก เครื่องลาดรักษาผิวพื้น เครื่องลาด

เตียง เครื่องลาดพื้น เสื่ออ่อน ท่อนหนัง ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน เครื่องลาด

ทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้.

บทว่า ปู คือ ปูเอง.

บทว่า ให้ปู คือ ให้คนอื่นปู.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 319

คำว่า เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น คือ

ไม่เก็บด้วยตนเอง

คำว่า ไม่ให้เก็บ คือ ไม่ให้คนอื่นเก็บ

คำว่า หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ความว่า ภิกษุไม่บอก

มอบหมายภิกษุ สามเณร หรือคนทำการวัด เดินเลยเครื่องล้อมแห่งอารามที่

เขาล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินเลยอุปจารแห่งอารามที่เขาไม่ได้ล้อม ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๓๘๑] วิหารเป็นของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ปูเองก็ดี

ให้คนอื่นปูก็ดี ซึ่งที่นอน เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี

ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

วิหารเป็นของสงฆ์ ภิกษุสงสัย ปูเองก็ดี ให้คนอื่นปูก็ดี ซึ่งที่นอน

เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น หรือ

ไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

วิหารเป็นของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของบุคคล ปูเองก็ดี ให้คนอื่น

ปูก็ดี ซึ่งที่นอน เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งที่นอน

อันปูไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

ภิกษุปูเองก็ดี ให้คนอื่นปูก็ดี ซึ่งที่นอน ในอุปจารวิหารก็ดี ในโรง

ฉันก็ดี ในมณฑปก็ดี ใต้ต้นไม้ก็ดี เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 320

เก็บก็ดี ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

ภิกษุตั้งไว้เองก็ดี ให้คนอื่นตั้งไว้ก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ในวิหารก็ดี

ในอุปจารวิหารก็ดี ในโรงฉันก็ดี ในมณฑปก็ดี ใต้ต้นไม้ก็ดี เมื่อหลีกไป

ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งเตียงตั่งอันตั้งไว้นั้น หรือไม่บอกมอบ

หมาย ไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิหารของบุคคล ภิกษุสงสัย . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล . . . ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ

เป็นของส่วนตัวของผู้อื่น.

วิหารเป็นของส่วนตัวของตน . . . ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๓๘๒] ภิกษุเก็บเองแล้วไป ๑ ภิกษุให้คนอื่นเก็บแล้วไป ๑ ภิกษุ

บอกมอบหมายแล้วไป ๑ เสนาสนะมีเหตุบางอย่างขัดขวาง ๑ ภิกษุยังห่วงไป

ยืนอยู่ ณ ที่นั้นบอกมอบหมายมา ๑ ภิกษุมีเหตุบางอย่างขัดขวาง ๑ ภิกษุมี

อันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 321

เสนาสนวรรค ทุติยเสนาสนสิกขาบทที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยเสนาสนสิกขาบท ตั้งต่อไปนี้

[ว่าด้วยที่นอนมีฟูกเป็นต้น]

ฟูกเตียงก็ดี ฟูกตั่งก็ดี ชื่อว่า ฟูก. เครื่องลาดมีเครื่องลาดรักษา

ผิวพื้นเป็นต้น มีประการดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อนนั่น แล. ผ้าปูนั่งมีชาย

พึงทราบว่า นิสีทนะ. ท่านกล่าวคำเพียงเท่านี้ว่า ผ้าปาวาร ผ้าโกเชาว์

(พรม) ชื่อว่า ผ้าปูนอน.

เครื่องลาดหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า เครื่องลาดทำด้วยหญ้า.

ในเครื่องลาดทำด้วยใบไม้ก็นัยนี้.

ในคำว่า ปริกฺเขป อติกฺกาเมนฺตสฺส นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้

เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ก้าวเท้าแรกไป, เป็นปาจิตตีย์ ในย่างเท้าที่ ๒. ๒ เลฑฑุ

บาตจากเสนาสนะ ชื่อว่า อุปจารแห่งอารามที่ไม่ได้ล้อม.

[ว่าด้วยการบอกลาและเก็บเครื่องเสนาสนะ]

ในคำว่า อนาปุจฺฉ วา คจฺเฉยฺย นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้

เมื่อมีภิกษุ พึงบอกลาภิกษุ. เมื่อภิกษุนั้นไม่มี พึงบอกลาสามเณร เมื่อ

สามเณรนั้นไม่มี พึงบอกลาคนทำการวัด. แม้เมื่อคนทำการวัดนั้นก็ไม่มี พึง

บอกลาเจ้าของวิหาร ผู้สร้างวัด หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในวงศ์ตระกูลของเขา. แม้

เมื่อเจ้าของวิหาร หรือผู้เกิดในวงศ์ตระกูลของเขานั้น ก็ไม่มี. ภิกษุพึงวาง

เตียงลงบนหิน ๔ ก้อน แล้วยกเตียงตั่งที่เหลือขึ้นวางบนเตียงนั้นรวมที่นอน

ทั้ง ๑๐ อย่าง มีฟูกเป็นต้นกองไว้ข้างบน แล้วเก็บงำภัณฑะไม้ ภัณฑะดิน

ปิดประตูและหน้าต่าง บำเพ็ญคมิยวัตรแล้วจึงไป.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 322

ก็ถ้าเสนาสนะฝนรั่วได้, และหญ้า หรืออิฐที่เขานำมาเพื่อมุงหลังคา

ก็มีอยู่. ถ้าอาจ ก็พึงมุง. ถ้าไม่อาจ พึงเก็บเตียงและตั่งไว้ในโอกาสที่ฝนจะ

ไม่รั่วรด แล้วจึงไป. ถ้าเสนาสนะฝนรั่วทั้งหมด, เมื่อสามารถพึงเก็บไว้ใน

เรือนของพวกอุบาสก ภายในบ้าน. ถ้าแม้พวกอุบาสกเหล่านั้น ไม่ยอมรับ

กล่าวว่า ท่านขอรับ ธรรมดาของสงฆ์เป็นของหนัก, พวกกระผมกลัวภัย

มีไฟไหม้เป็นต้น ดังนี้ ภิกษุจะวางเตียงลงข้างบนหิน แม้ในโอกาสกลางแจ้ง

แล้วเก็บเตียงตั่งเป็นต้นที่เหลือ โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล เอาจำพวก

หญ้า และใบไม้ปกปิดแล้วจึงไป ก็ควร. จริงอยู่ ของที่ยังเหลือยู่ในที่นั้น

แม้จะเป็นเพียงชิ้นส่วน ( ตัวเตียงตั่ง) ก็จักเป็นอุปการะแก่พวกภิกษุเหล่าอื่น

ผู้มาในที่นั้น ฉะนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า วิหารสฺส อุปจาเร เป็นต้น ดังนี้

บริเวณ ชื่อว่า อุปจารแห่งวิหาร. โรงฉันที่เขาสร้างไว้ในบริเวณชื่อว่า

อุปัฏฐานศาลา. ปะรำที่เขาสร้างไว้ในบริเวณ ชื่อว่า มณฑป. โคนไม้

ในบริเวณ ชื่อว่า รุกขมูล. นี้เป็นนัยที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถากุรุนทีก่อน.

ท่านกล่าวนัยไว้แล้ว แม้ก็จริง ถึงกระนั้น ห้องภายในก็ดี เสนาสนะที่คุ้ม

กันได้ บังทั้งหมดอย่างอื่นก็ดี พึงทราบว่า วิหาร.

สองบทว่า วิหารสฺส อุปจาเร ได้แก่ ในโอกาสภายนอกใกล้

วิหารนั้น.

บทว่า อุปฏฺานสาลาย วา ได้แก่ ในโรงฉันก็ดี.

บทว่า มณฺฑเป วา ได้แก่ ในมณฑปเป็นที่ประชุมแห่งคนมาก

ซึ่งไม่ได้บังหรือแม้บังก็ดี. ในโคนไม้ไม่มีคำที่จะพึงกล่าว.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 323

สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ก็เพราะเมื่อภิกษุปูลาด

ที่นอน ๑๐ อย่าง มีประการดังที่กล่าวแล้วในภายในห้อง เป็นต้น และในที่

คุ้มกันได้ แล้วไปเสีย, ที่นอนก็ดี เสนาสนะก็ดี ย่อมเสียหายเพราะปลวก

เป็นต้น จะกลายเป็นจอมปลวกไปทีเดียว ฉะนั้น ท่านจึงปรับเป็นปาจิตตีย์.

แต่สำหรับภิกษุผู้ปูไว้ในที่มีอุปัฏฐานศาลาเป็นต้น ในภายนอกแล้วไป เพียง

แต่ที่นอนเท่านั้นเสียหายไป เพราะสถานที่คุ้มกันไม่ได้, เสนาสนะไม่เสียหาย.

เพราะฉะนั้น ท่านจึงปรับเป็นทุกกฏในอุปัฏฐานศาลาเป็นต้นนี้.

วินิจฉัยในคำว่า มญฺจ วา ปี วา เป็นต้นนี้ พึงทราบดังนี้

ก็เพราะตัวปลวกทั้งหลายไม่อาจเพื่อจะกัดเตียงและตั่งทันที ฉะนั้นภิกษุวาง

เตียงตั่งนั้นไว้แม้ในวิหารแล้วไป ท่านก็ปรับเป็นทุกกฏ. ส่วนในอุปจารแห่ง

วิหาร พวกภิกษุแม้เมื่อเที่ยวตรวจดูวิหาร เห็นเตียงและตั่งนั้นแล้วจักเก็บ.

วินิจฉัยในคำว่า อุทฺธริตฺวา คจฺฉติ นี้ พึงทราบดังนี้ ภิกษุ

เมื่อจะเก็บเองแล้วไป พึงรื้อเอาเครื่องถักร้อยเตียงและตั่งออกหมดแล้ว ม้วน

แขวนไว้ที่ราวจีวรแล้วจึงไป. ถึงภิกษุผู้มาอยู่ภายหลัง ถักเตียงและตั่งใหม่

เมื่อจะไป ก็พึงกระทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ภิกษุผู้ปูที่นอนจากภายในฝาไปถึง

ภายนอกฝาแล้วอยู่ ในเวลาจะไป พึงเก็บไว้ในที่ที่คนถือเอามาแล้ว ๆ นั่นเทียว.

แม้ภิกษุผู้ยกลงมาจากชั้นบนแห่งปราสาทแล้วอยู่ภายใต้ปราสาท ก็นัยนี้นั่นแล

แม้ภิกษุจะตั้งเตียงและตั่งไว้ในที่พักกลางวัน และที่พักกลางคืนแล้ว ในเวลา

จะไปพึงเก็บไว้ตามเดิม ในที่ซึ่งคนถือเอามานั่นแล.

[ว่าด้วยสถานที่ต้องบอกลาและไม่ต้องบอกลา]

ในคำว่า อาปุจฺฉ คจฺฉติ นี้ มีวินิจฉัยสถานที่ควรบอกลา และ

ไม่ควรบอกลา ดังต่อไปนี้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 324

ศาลาใด เป็นศาลายาวก็ดี เป็นศาลาใบไม้ก็ดี อยู่บนพื้นดิน, หรือว่า

เรือนที่เขาสร้างบนเสาไม้ทั้งหลายหลังใด เป็นที่ปลวกขึ้นได้ก่อน, ภิกษุเมื่อ

จะหลีกไปจากศาลายาวเป็นต้นนั้น พึงบวกลาก่อนแล้วจึงหลีกไป. เพราะว่า

เมื่อสถานที่นั้นไม่มีใครปฏิบัติเพียง ๒-๓ วัน ตัวปลวกทั้งหลายย่อมตั้งขึ้น

ส่วนเสนาสนะใด เป็นเสนาสนะที่เขาสร้างไว้บนหินดาด หรือบนเสา

หินก็ดี ถ้าที่ภูเขาหินก็ดี เสนาสนะที่ฉาบโบกปูนขาวก็ดี ในเสนาสนะใดไม่มี

ความสงสัยในเรื่องปลวก (จะขึ้น), เมื่อภิกษุจะหลีกไปจากที่นั้น จะบอกลา

ก็ตาม ไม่บอกลาก็ตาม ไปเสีย ก็ควร. แต่การบอกลาย่อมเป็นธรรมเนียม

(ของผู้เตรียมจะไป). ถ้าตัวปลวกทั้งหลายจะขึ้นทางข้างหนึ่งในเสนาสนะแม้

เช่นนั้นได้ ควรบอกลาก่อนแล้วจึงไป.

ฝ่ายภิกษุอาคันตุกะใดประพฤติตามภิกษุผู้ถือเสนาสนะของสงฆ์อยู่ ไม่

ถือเสนาสนะสำหรับคนอยู่. เสนาสนะนั้น เป็นธุระของภิกษุรูปก่อนนั่นแล

ตราบเท่าที่ภิกษุนั้นยังไม่ถือ (เสนาสนะสำหรับคน). ก็จำเดิมแต่ภิกษุนั้นถือ

เอาเสนาสนะแล้วอยู่โดยอิสระของตน เป็นธุระของภิกษุอาคันตุกะนั่นเอง. ถ้า

แม้ทั้ง ๒ รูปแจกกันแล้วถือเอา, เป็นธุระแม้ของท่านทั้ง ๒ รูป.

แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้ว่า ถ้าภิกษุ ๒-๓ รูป ร่วมกันจัดตั้ง,

ในเวลาจะไปควรบอกลาทุกรูป. ถ้าบรรดาภิกษุเหล่านั้น รูปหนึ่งไปก่อน ทำ

ความผูกใจว่า รูปหลัง จักปฏิบัติ แล้วไป ย่อมสมควร. ความพ้น (จาก

อาบัติ) ย่อมไม่มีแก่รูปหลัง เพราะความผูกใจ. ภิกษุมากรูป ส่งภิกษุรูปหนึ่ง

ให้ไปปู. ในเวลาจะไป ภิกษุทั้งหมดจึงบอกลา, หรือพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไป

บอกลา. ภิกษุนำเอาเตียงและตั่งเป็นต้นมาจากที่อื่น แม้อยู่ในที่อื่น ในเวลา

จะไป พึงนำไปไว้ในที่เดิมนั้นนั่นแหละ. ถ้าเมื่อภิกษุนำมาจากที่อื่นแล้วใช้อยู่,

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 325

ภิกษุอื่นผู้แก่กว่ามา อย่าพึงห้ามท่าน พึงเรียนว่า ท่านขอรับ เตียงตั่ง

กระผมนำมาจากอาวาสอื่น ท่านพึงทำให้เป็นปกติเติม. เมื่อภิกษุผู้แก่กว่านั้น

รับรองว่า เราจักทำอย่างนั้น ดังนี้ ภิกษุนอกนี้จะไป ก็ควร. จริงอยู่ เมื่อ

ภิกษุแม้นำไปในที่อึ่นอย่างนี้ ใช้สอยอย่างใช้สอยเป็นของสงฆ์ เตียงและตั่งนั้น

จะเสียหายไปก็ตาม เก่าชำรุดไปก็ตาม ถูกพวกโจรลักไปก็ตาม ไม่เป็นสินใช้

แต่เมื่อภิกษุใช้สอยอย่างใช้สอยเป็นของบุคคล ย่อมเป็นสินใช้. อนึ่ง ภิกษุ

ใช้สอยเตียงตั่งของผู้อื่น อย่างใช้สอยเป็นของสงฆ์ก็ตาม อย่างใช้สอยเป็นของ

ส่วนบุคคลก็ตาม เตียงตั่งเสียหายไป เป็นสินใช้เหมือนกัน .

ข้อว่า เกนจิ ปลิพุทฺธ โหติ มีความว่า เสนาสนะมีเหตุบางอย่าง

บรรดาเหตุมีภิกษุผู้แก่กว่า อิสรชน ยักษ์ สีหะ เนื้อร้าย และงูเห่าเป็นต้น

ขัคขวาง.

ในคำว่า สาเปกฺโข คนฺตฺวา ตตฺถ ิโต อาปุจฺฉติ เกนจิ

ปลิพุทฺโธ โหติ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุยังมีห่วงใยอย่างนี้ว่า เรา

จักมาปฏิบัติในวันนี้นั่นแหละ ไปยังฝั่งแม่น้ำ หรือละแวกบ้านแล้ว ยืนอยู่ใน

ที่ที่เธอเถิดความคิดที่จะไปนั้นนั่นเอง ส่งใคร ๆ ไปบอกลา. หรือมีเหตุบ้าง

อย่าง บรรดาเหตุมีแม่น้ำเต็มฝั่ง พระราชาและโจรเป็นต้น ขัดขวาง. ภิกษุ

ถูกอันตรายขัดขวาง ไม่อาจจะกลับมาได้. ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ไม่เป็นอาบัติ

แม้แก่ภิกษุนั้น . บทที่เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วใน

ปฐมสิกขาบทนั่นแล.

ทุติยเสนาสนสิกขาบทที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 326

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๓๘๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระฉัพพัคคีย์เกียดกันที่นอนดี ๆ ไว้ให้พระเถระทั้งหลายย้ายไปเสีย แล้วคิด

กันว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ พวกเราจะพึงอยู่จำพรรษา ณ ที่นี้แหละ แล้ว

สำเร็จการนอนแทรกแซงพระเถระทั้งหลายด้วยหมายใจว่า ผู้ใดมีความดับใจ

ผู้นั้นจักหลีกไปเอง บรรดาภิกษุที่มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนา

ว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้สำเร็จการนอนแทรกแซงพระเถระทั้งหลาย แล้ว

กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอ

สำเร็จการนอนแทรกแซงพระเถระทั้งหลาย จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้สำเร็จการนอนแทรกแซงพระเถระทั้งหลายเล่า การกระทำของ

พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ

ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 327

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๖๕. ๖. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ สำเร็จการนอนแทรกแซงภิกษุ

ผู้เข้าไปก่อน ในวิหารของสงฆ์ ด้วยหมายว่า ผู้ใดมีความคับใจ

ผู้นั้นจักหลีกไปเอง ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นให้เป็นปัจจัย หาใช่

อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๘๔] บทว่า อนึ่ง.. .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด.

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ... นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่เขาถวายแล้ว สละแล้วแก่สงฆ์.

ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ว่าเป็นพระผู้เฒ่า รู้ว่าเป็นพระอาพาธ รู้ว่าเป็นพระที่

สงฆ์มอบวิหารให้.

บทว่า แทรกแซง คือ เข้าไปเบียดเสียด.

บทว่า สำเร็จการนอน ความว่า ภิกษุปูไว้เองก็ดี ให้คนอื่นปูไว้

ก็ดี ซึ่งที่นอน ในสถานที่ใกล้เตียงก็ดี ตั่งก็ดี ทางเข้าออกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 328

คำว่า ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่าง

อื่นไม่ ความว่า ไม่มีอะไรอื่นเป็นปัจจัยเพื่อสำเร็จการนอนแทรกแซง.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๓๘๕] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ สำเร็จการนอน

แทรกแซง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

วิหารของสงฆ์ ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนแทรกแซง ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล สำเร็จการนอนแทรกแซง

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

เว้นอุปจาร เตียง ตั่ง หรือทางเข้าออกได้ ภิกษุปูเองก็ดี ให้คนอื่นปู

ก็ดี ซึ่งที่นอน ต้องอาบัติทุกกฏ นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุปูเองก็ดี ให้คนอื่นปูก็ดี ซึ่งที่นอน ในอุปจารวิหารก็ดี ใน

โรงฉันก็ดี ในมณฑปก็ดี ใต้ต้นไม้ก็ดี ในที่แจ้งก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิหารของบุคคล ภิกษุสงสัย ...ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล . .. ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ

เป็นของส่วนตัวของผู้อื่น.

วิหารเป็นส่วนตัวของตน . . . ไม่ต้องอาบัติ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 329

อนาปัตติวาร

[๓๘๖] ภิกษุอาพาธเข้าอยู่ ๑ ภิกษุถูกความหนาวหรือความร้อน

เบียดเบียนแล้วเข้าไปอยู่ ๑ ภิกษุมีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ-

กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

เสนาสนวรรค อนูปขัชชสิกขาบทที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๖ ดังต่อไปนี้

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องเข้าไปนอนแทรกแซง]

บทว่า ปลิพุทฺธนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปถึงก่อนขน

บาตรและจีวรไปยืนกั้นอยู่.

ข้อว่า เถเร กิกฺขู วุฏฺาเปนฺติ มีความว่า ถือเอาตามลำดับ

พรรษากล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ (ที่นี้) ถึงแก่พวกเรา ดังนี้ แล้วให้ย้ายออก

ไปเสีย.

คำว่า อนุปขชฺช เสยฺย กปฺเปนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์

เข้าไปแทรกแซงกล่าวว่า ท่านขอรับ เฉพาะที่เตียงเท่านั้น ถึงแก่พวกท่าน

ไม่ใช่วิหารทั้งหมด, บัดนี้ ที่นี้ ถึงแก่พวกกระผม ดังนี้ จัดวางเตียงและตั่ง

แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง กระทำการสาธยายบ้าง.

บทว่า ชาน ได้เเก่ รู้อยู่ว่า ภิกษุนี้ไม่ควรถูกย้าย. ด้วยเหตุนั้น

นั่นเอง ในวิภังค์แห่งบทว่า ชาน นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า

วุฑฺโฒติ ชานาติ แปลว่า รู้อยู่ว่าเป็นพระผู้เฒ่า. จริงอยู่ ภิกษุผู้เฒ่าเป็น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 330

ผู้ไม่ควรให้ย้าย เพราะตนเป็นผู้เฒ่า, ภิกษุผู้อาพาธเป็นผู้ไม่ควรให้ย้าย เพราะ

เธอเป็นผู้อาพาธ ก็สงฆ์กำหนดความเป็นผู้มีอุปการะและความเป็นผู้มีคุณ

พิเศษ แห่งภิกษุภัณฑาคาริกก็ดี แห่งภิกษุผู้เป็นพระธรรมกถึก และพระ

วินัยธรเป็นต้น ก็ดี แห่งภิกษุผู้เป็นอาจารย์สอนคณะก็ดี จึงสมมติวิหารให้

เพื่อต้องการให้อยู่ประจำ. เพราะเหตุนั้น สงฆ์ให้วิหารแก่ภิกษุใด, ภิกษุแม้นั้น

ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ควรให้ย้าย. ก็ในคำว่า วุฑฺโฒติ ชานาติ เป็นต้นนี้

สงฆ์เท่านั้นจะให้เสนาสนะที่สมควรแม้แก่ภิกษุผู้อาพาธก็จริง, ถึงกระนั้น ภิกษุ

อาพาธก็แยกตรัสไว้แผนกหนึ่ง เพื่อแสดงว่า แม้เป็นผู้มีเสนาสนะอันสงฆ์ยัง

ไม่อปโลกน์ให้ ก็ไม่ควรบีบคั้น ควรอนุเคราะห์ ดังนี้.

ในคำว่า อุปจาเร นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. หนึ่งศอกคืบโดยรอบ

ในวิหารใหญ่ ชื่ออุปจารแห่งเตียงและตั่งก่อน. ในวิหารเล็กหนึ่งศอกคืบจากที่

พอจะดังเตียงตั่งได้ (ชื่อว่า อุปจารแห่งเตียงตั่ง). ทางกว้างศอกคืบชั่วระยะ

ถึงเตียงและตั่ง จากที่วางก้อนหินสำหรับล้างเท้าซึ่งวางไว้ที่ประตูและที่ถ่าย

ปัสสาวะ สำหรับภิกษุผู้ล้างเท้าแล้วเข้าไป และภิกษุผู้ออกไปเพื่อต้องการถ่าย

ปัสสาวะ ชื่ออุปจาร. ภิกษุใดใคร่จะสำเร็จการนอนแทรกแซง ปูลาดเองก็ดี

ให้ปูลาดก็ดี ซึ่งที่นอนในอุปจารแห่งภิกษุผู้ยืนอยู่ที่อุปจารแห่งเตียงหรือตั่งนั้น

ก็ดี ผู้เข้าหรือออกอยู่ก็ดี ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ.

ในคำว่า อภินีสีทติ วา อภินิปชฺชติ วา นี้ พึงทราบวินิจฉัย

ดังนี้. เป็นปาจิตตีย์ เพราะเหตุสักว่านั่งทับบ้าง เพราะเหตุสักว่านอนทับ

บ้าง, แต่ถ้าภิกษุทำการนั่งและทำการนอนทั้ง ๒ อย่าง เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว.

เมื่อผุดลุกผุดนั่งหรือผุดลุกผุดนอน เป็นปาจิตตีย์ทุก ๆ ประโยค.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 331

บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งทุกกฎ แม้ในทุกกฏวาร มีอาทิว่า

วิหารสฺส อุปจาเร ดังนี้ ในคำว่า อุปจาร เปตฺวา เสยฺย สนฺถรติ วา

สนฺถราเปติ วา นี้ และอื่นจากคำนี้ เหมือนประเภทแห่งปาจิตตีย์ที่ตรัส

ไว้ในการทำกิจทั้ง ๒ คือ เพียงแต่นั่งทับและนอนทับ ในคำว่า อภินิสีทติ

วา อภินิปชฺชติ วา นี้ และในประเภทแห่งประโยคฉะนั้น. เพราะไม่ต้องการ

ด้วยวิสภาคบุคคลเช่นนี้อยู่ในวิหารเดียวกัน หรือในบริเวณเดียวกัน ฉะนั้น

ท่านจึงห้ามการอยู่แห่งวิสภาคบุคคลนั้น ในที่ทุกแห่งทีเดียว.

แม้ในคำว่า อญฺสฺส ปุคฺคลิเก นี้ ก็พึงทราบวินิจฉัยดังนี้.

เสนาสนะส่วนตัวของบุคคลผู้คุ้นเคยกัน เช่นเดียวกับของส่วนตัวของตนเหมือน

กัน ไม่เป็นอาบัติในเสนาสนะส่วนตัวบุคคลของผู้คุ้นเคยกันนั้น.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ถ้ามีอันตรายแห่งชีวิตและพรหมจรรย์

แก่ภิกษุผู้อยู่ภายนอก ในเพราะอันตรายเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุ

ผู้เข้าไป (ภายใน). บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์

สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

อนูปขัชชสิกชาบทที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 332

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์

[๓๘๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระสัตตรสวัคคีย์ ปฏิสังขรณ์วิหารใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งทั้งอยู่สุดเขตวัด ด้วย

หมายใจว่าพวกเราจักอยู่จำพรรษา ณ ที่นี้ พระฉัพพัคคีย์ได้เห็นพระสัตตรสวัคคีย์

ผู้กำลังปฏิสังขรณ์วิหาร ครั้นแล้วจึงพูดกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระ

สัตตรสวัคคีย์เหล่านั้น กำลังปฎิสังขรณ์วิหาร อย่ากระนั้นเลย พวกเราจักไล่

พวกเธอไปเสีย ภิกษุบางเหล่าพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย โปรดรออยู่ก่อน

จนกว่าเธอจะปฏิสังขรณ์เสร็จ เมื่อเธอปฎิสังขรณ์เสร็จแล้วพวกเราจงค่อยไล่ไป.

ครั้นพระสัตตรสวัคคีย์ปฎิสังขรณ์เสร็จแล้ว พระฉัพพัคคีย์ได้กล่าวคำนี้

กะพระสัตตรสวัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านจงย้ายไป วิหารถึงแก่พวกเรา.

พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านควรจะบอก

ล่วงหน้ามิใช่หรือ พวกผมจะได้ปฏิสังขรณ์วิหารหลังอื่น.

ฉ. อาวุโสทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์มิใช่หรือ.

ส. ขอรับ วิหารเป็นของสงฆ์.

ฉ. พวกท่านจงย้ายไป วิหารถึงแก่พวกเรา.

ส. วิหารหลังใหญ่ แม้พวกท่านก็อยู่ได้ แม้พวกผมก็จักอยู่.

พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า พวกทานจงย้ายออกไป วิหารถึงแก่พวกเรา

ดังนี้แล้ว ทำเป็นโกรธ ขัดใจ จับคอฉุดคร่าออกไป.

พระสัตตรสวัคคีย์ถูกฉุดคร่าออกไปก็ร้องให้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 333

ภิกษุทั้งหลายพากันถามอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้

ทำไม.

พระสัตตรสวัคดีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์พวกนี้โกรธ

ขัดใจ ฉุดคร่าพวกข้าพเจ้าออกไปจากวิหารของสงฆ์

บรรดาภิกษุที่มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน

พระฉัพพัคคีย์จึงได้โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์เล่า

แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอโกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลายออกจากวิหาร

ของสงฆ์ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโฆษบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์เล่า

การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๖๖.๗ อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่า

ก็ดี ซึ่งภิกษุจากวิหารของสงฆ์เป็นปาจิตตีย์ .

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 334

สิกขาบทวิภังค์

[๓๘๘] บทว่า อนึ่ง .. ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด.. .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ-

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ซึ่งภิกษุ ได้แก่ ภิกษุอื่น.

บทว่า โกรธ ขัดใจ คือ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.

[๓๘๙] วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่วิหารที่เขาถวายแล้ว สละ

แล้วแก่สงฆ์.

บทว่า ฉุดคร่า คือ จับในห้องฉุดคร่าออกไปหน้ามุข ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์

จับที่หน้ามุขฉุดคร่าออกไปข้างนอก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ให้ก้าวพ้นประตูแม้หลายแห่ง ด้วยประโยคเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้ฉุดคร่า ความว่า ใช้ผู้อื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ใช้ครั้งเดียวให้ก้าวพ้น ประตู แม้หลายแห่ง ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๓๙๐] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี

ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์

วิหารของสงฆ์ ภิกษุสงสัย โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี

ต้องอาบัติปาจิตตีย์

วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี

ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 335

ทุกกฏ

ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ออกไปจากอุปจารวิหารก็ดี จากโรงฉัน

ก็ดี จากปะรำก็ดี จากใต้ต้นไม้ก็ดี จากที่แจ้งก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งอนุปสัมบัน จากวิหารก็ดี จาก

อุปจารวิหารก็ดี จากโรงฉันก็ดี จากปะรำก็ดี จากใต้ต้นไม้ก็ดี จากที่แจ้งก็ดี

ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์...ต้องอาบัติทุกกฏ

วิหารของบุคคล ภิกษุสงสัย ....ต้องอาบัติทุกกฏ

วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล ....ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ

เป็นของส่วนตัวของผู้อื่น

วิหารเป็นส่วนตัวของตน ...ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๓๙๑] ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุอลัชชี ๑ ภิกษุขนก็ดี

ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุอลัชชี ๑ ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุ

วิกลจริต ๑ ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุวิกลจริตนั้น ๑ ภิกษุ

ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุผู้ก่อการบาดหมางก็ดี ก่อการทะเลาะก็ดี

ก่อการวิวาทก็ดี ก่อความอื้อฉาวก็ดี ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ก็ดี ๑ ภิกษุขนก็ดี

ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุผู้ก่อการบาดหมางเป็นต้นนั้น ๑ ภิกษุฉุดคร่าก็ดี

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 336

ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งอันเทวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย ๑ ภิกษุ

ขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของอันเทวาสิก หรือสัทธิวิหาริกนั้น ๑ ภิกษุ

วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติ.

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

เสนาสนวรรค นิกัฑฒนสิกขาบทที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๗ ดังต่อไปนี้

[ว่าด้วยสถานที่และกิริยาที่ฉุดคร่า]

ข้อว่า อเกน ปโยเคน พหุเกปิ ทฺวาเร อติกฺกาเมติ มีความว่า

ในเสนาสนะทั้งหลาย เช่นปราสาท ๔ ชั้น ๕ ชั้นก็ดี ศาลา ๔ เหลี่ยมจตุรัส

มีซุ้มประตู ๖-๗-๘ ซุ้มก็ดี ภิกษุจับที่แขนทั้งสอง หรือที่คอให้ก้าวออกไป

ด้วยประโยคเดียว ไม่พักในระหว่าง เป็นปาจิตตีย์เพียงตัวเดียวเท่านั้น. เมื่อ

หยุดเป็นพัก ๆ ให้ก้าวออกไปด้วยประโยคต่าง ๆ เป็นปาจิตตีย์หลายตัวตาม

จำนวนประตู. แม้เมื่อไม่เอามือจับต้องฉุดออกไปด้วยวาจากล่าวว่า จงออกไป

ก็นัยนี้นั่นแล.

วินิจฉัยในคำว่า อฺญฺ อาณาเปติ นี้ พึงทราบดังนี้ เพียงแต่

สั่งว่า จงฉุดภิกษุนี้ออกไป เป็นทุกกฏ. ถ้าภิกษุผู้ได้รับสั่งคราวเดียวนั้นให้

ก้าวพ้นประตูแม้หลายแห่ง ก็ต้องปาจิตตีย์ตัวเดียว. แต่ถ้าว่า เธอได้รับสั่ง

กำหนดอย่างนี้ว่า จงฉุดผ่านประตูเท่านี้ออกไป ก็ดี ว่า จงฉุดไปจนถึง

ประตูใหญ่ ดังนี้ ก็ดี เป็นปาจิตตีย์ตามจำนวนประตู.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 337

สองบทว่า ตสฺส ปริกฺขาร มีความว่า ภิกษุใด ขนออกเองก็ดี

ใช้ให้ขนออกก็ดี ซึ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นของส่วนตัวแห่งภิกษุนั้น

เช่น บาตร จีวร ธมกรกกรองน้ำ เตียงตั่ง ฟูกและหมอนเป็นต้นโดยที่สุดแม้

สะเก็ดน้ำย้อม เป็นทุกกฏแก่ภิกษุนั้นหลายตัว ตามจำนวนแห่งวัตถุ. ท่านกล่าว

ไว้ในมหาปัจจรีว่า ก็ในสิ่งของเหล่านั้น อันเจ้าของผูกมัดไว้แน่น เป็นอาบัติ

ตัวเดียวเท่านั้น.

วินิจฉัยแม้ในคำว่า อญฺสฺส ปุคฺคลิเก นี้ พึงทราบดังนี้

ของส่วนตัวแห่งบุคคลผู้คุ้นเคย เช่นเดียวกับของส่วนตัวของตนนั่นแล. ก็ในที่

ทุก ๆ แห่ง ผู้ศึกษาพึงทราบนัยเหมือนในคำนี้ . แต่ในที่ใดจักมีความแปลกกัน

พวกเราจักกล่าวไว้ในที่นั้น.

วินิจฉัยในคำว่า อลชฺชึ นิกฺกฑฺฒติ วา นิกฺกฑฺฒาเปติ วา

เป็นต้น พึงทราบดังนี้ ภิกษุย่อมได้เพื่อจะขับไล่ภิกษุผู้ทำความบาดหมาง

และผู้ทำความทะเลาะกันเท่านั้น ออกจากสังฆารามทั้งสิ้น. เพราะว่า เธอได้

พรรคพวกแล้ว พึงทำลายสงฆ์ก็ได้. ส่วนพวกภิกษุอลัชชีเป็นต้น ภิกษุพึง

ฉุดออกจากที่อยู่ ของตนเท่านั้น จะขับเธอเหล่านั้นออกจากสังฆารามทั่วไป

ไม่ควร

บทว่า อุมฺมตฺตกสฺส ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เป็นบ้าเอง.

บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม

วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ฉะนั้นแล.

นิกัฑฒนสิกขาบทที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 338

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องภิกษุ ๒ รูป

[๓๙๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ ๒

รูป อยู่บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์ รูปหนึ่งอยู่ชั้นล่าง รูปหนึ่งอยู่ชั้นบน

ภิกษุอยู่ชั้นบนนั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียงอันมีเท้าเสียบ เท้าเตียงตกโดนศีรษะ

ภิกษุผู้อยู่ชั้นล่าง ภิกษุนั้นส่งเสียงร้องลั่น ภิกษุทั้งหลายพากันวิ่งเข้าไปถาม

ภิกษุนั้นว่า ท่านส่งเสียงร้องทำไม จึงภิกษุนั้นได้ชี้แจงเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุที่มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน

ภิกษุจึงนั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียงมีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์. แล้ว

กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอ

นั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียงมีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์ จริงหรือ.

ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้นั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียงมีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์เล่า การ

กระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 339

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๖๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี

ซึ่งตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุ ๒ รูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๙๓] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใดคือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ . . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์โนอรรถนี้ .

วิหาร ที่ชื่อว่า เป็นของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่เขาถวายแล้ว สละ

แล้วแก่สงฆ์.

[๓๙๔] ที่ชื่อว่า ร้าน ได้แก่ ร้านที่ไม่กระทบศีรษะของมัชฌิมบุรุษ

เตียงที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือเขาสอดเท้าเสียบเข้าไว้ในตัวเตียง.

ตั่ง ที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือเขาสอดเท้าเสียบเข้าไว้ในตัวตั่ง

บทว่า นั่งทับ คือนั่งทับบนเตียงตั่งนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า นอนทับ คือนอนทับบนเตียงตั่งนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๓๙๕] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ นั่งทับก็ดี นอนทับ

ก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่งตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ บนร้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 340

วิหารของสงฆ์ ภิกษุสงสัย นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่ง

ตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ บนร้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี

ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่งตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ บนร้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิหารของบุคคล ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล เพราะเป็นส่วนตัวของภิกษุ

อื่น. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

วิหารเป็นส่วนตัวของตน. . ไม่ต้องอาบัติ.

อานาปัตติวาร

[๓๙๖] ไม่ใช่ร้าน ๑ ร้านสูงพอกระทบศีรษะ ๑ ข้างล่างไม่ได้ใช้

เป็นที่อยู่ ๑ ข้างบนปูพื้นไว้ ๑ เท้าเตียงเท้าตั่งไดตรึงสลักกับตัว ๑ ภิกษุยืน

บนเตียงตั่งนั่นหยิบจีวรหรือพาดจีวรได้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 341

เสนาสนวรรค เวหาสกุฎีสิกขาบทที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถเวทาสกุฎีและกิริยานั่งทับ]

บทว่า อุปริ เวหาสกุฏิยา ได้แก่ บนกุฎี ๒ ชั้นก็ดี บนกุฎี ๓

ชั้นก็ดี ที่ข้างบนไม่ได้ปูพื้นไว้

คำว่า มญฺจ สหสา อภินิสีทติ ได้แก่ นั่งทับ คือ นั่งคร่อมเตียง

โดยแรง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า มญฺจ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง

สัตตมีวิภัตติ. ความว่า นั่งลงบนเตียง. ก็คำว่า อภิ นี้ เป็นเพียงอุปสรรค

เพื่อทำให้บทสวยงามเท่านั้น.

บทว่า ปติตฺวา คือ ตกลง หรือหลุดออกแล้ว . เพราะว่า ใน

เบื้องบนของเท้าเตียงนั้น แม้สลักก็ไม่ใส่ เพราะฉะนั้น เท้าเตียงจึงหลุดออก

บทว่า วิสฺสรมกาสิ คือ ได้ทำเสียงร้องครวญครางผิดรูป

คำว่า เวหาสกุฎี นาม มชฺฌิมสฺส ปุริสสฺส อสีสฆฏฺฏา

มีความว่า กุฎีใดไม่กระทบศีรษะแห่งบุรุษผู้มีขนาดปานกลาง ด้วยขื่อที่ต่ำกว่า

เขาทั้งหมด, (กุฎีนั้น ชื่อว่า เวหาสกุฎี) ด้วยคำนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงเวหาสกุฎีที่ทรงประสงค์แล้วในสิกขาบทนี้ . (แต่) หาได้

ทรงแสดงลักษณะของเวหาสกุฎีไว้ไม่. จริงอยู่ กุฎีมี ๒ ชนก็ดี กุฎีมี ๓ ชั้น

เป็นต้นก็ดี ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเบื้องบนไม่ได้ปูพื้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกว่า เวหาสกุฎี. แต่ในสิกขาบทนี้ประสงค์เอาเวหาสกุฎีที่ไม่กระทบ

ศีรษะ. บัณฑิตพึงทราบความแตกต่างกันแห่งอาบัติ ในการนั่งทับเป็นต้น

ด้วยอำนาจแห่งประโยค โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั้นแล

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 342

บทว่า อเวหาสกุฏิยา มีความว่า ไม่เป็นอาบัติในศาลาใบไม้ที่เขา

สร้างไว้บนพื้นดินเป็นต้น . เพราะว่า ไม่อาจเพื่อจะทำความเบียดเบียนแก่คน

อื่นในกุฎีมีบรรณศาลาเป็นต้นนั้น .

บทว่า สีสฆฏฺฏาย มีความว่า กุฎีใดกระทบศีรษะได้, ไม่เป็นอาบัติ

ในกุฎีแม้นั้น. เพราะว่า ใคร ๆ ไม่ก้มตัวลงไม่อาจเพื่อจะเที่ยวไปไม่ปราสาท

ชั้นล่าง (พื้นชั้นล่าง) ในกุฎีนั่นได้ ฉะนั้น จักไม่มีความเบียดเบียนแก่ผู้อื่น

เพราะไม่ใช่สถานที่สัญจร.

สามบทว่า เหฏฺา อปริโภค โหติ มีความว่า ภายใต้เป็นที่ใช้

สอยไม่ได้ เพราะเก็บทัพสัมภาระเป็นต้น . แม้ในกุฎีนั้นก็ไม่เป็นอาบัติ.

สองบทว่า ปทรสญฺจิต โหติ มีความว่า พื้นข้างบนกุฎีใดเขาปู

แน่นทึบด้วยแผ่นกระดานไม้ก็ดี ทำการบริกรรมด้วยปูนขาวเป็นต้น ก็ดี. แม้

ในกุฎีนั้นก็ไม่เป็นอาบติ.

ข้อว่า ปฏฺฏาณิ ทินฺนา โหติ มีความว่า ได้ตรึงสลักไว้ที่ปลาย

เท้าเตียงและตั่งเป็นต้น แม้เมื่อภิกษุนั่งบนเตียงและตั่งใด. (เท้าเตียง) ไม่ตก

ลงมา แม้ภิกษุผู้นั่งบนเตียงและตั่งเช่นนั้น ก็ไม่เป็นอาบัติ.

ข้อว่า ตสฺมึ ิโต มีความว่า ภิกษุยืนบนเตียงและตั่งที่มีเท้าเสียบ

(เข้าไว้ในตัวเตียงตั่ง) หยิบจีวรหรือวัตถุอะไร ๆ ที่แขวนไว้บนไม้ฟันมังกร

เป็นต้นข้างบน, หรือว่าจะแขวนวัตถุอื่น, ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น. บทที่

เหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทาง

กายกับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม

มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

เวหาสกุฎีสิกขาบทที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 343

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉันนะ

[๓๙๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ

โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น มหาอำมาตย์อุปัฏฐากของท่าน

พระฉันนะสร้างวิหารถวายท่านพระฉันนะ แต่ท่านพระฉันนะสั่งให้มุงให้โบก

ฉาบวิหารที่ทำสำเร็จแล้วบ่อยครั้ง วิหารหนักเกินไป ได้ทลายลงมา จึงท่าน

พระฉันนะมัวสาละวนเก็บรวบรวมหญ้าและไม้ ได้ทำนาข้าวเหนียวของ

พราหมณ์คนหนึ่งให้เสียหาย พราหมณ์นั้นจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า

ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงได้ทำนาข้าวเหนียวของข้าพเจ้าให้เสียหาย ภิกษุ

ทั้งหลายได้ยินพราหมณ์นั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่ผู้มักน้อย. . .

ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระฉันนะจึงได้ให้มุงให้โบกฉาบ

วิหารที่ทำเสร็จแล้วบ่อยครั้งเล่า วิหารหนักเกินไปได้ทลายลงมา แล้วกราบทูล

เนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนฉันนะ ข่าว

ว่าเธอให้มุงให้โบกฉาบวิหารที่ทำเสร็จแล้วบ่อยครั้ง วิหารหนักเกินไปได้ทลาย

ลงมา จริงหรือ

ท่านพระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้ให้มุงให้โบกฉาบวิหารที่ทำเสร็จแล้วบ่อยครั้งเล่า วิหารหนักเกินไปก็ทลาย

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 344

ลง การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๖๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำซึ่งวิหารใหญ่ จะวางเช็ดหน้า

เพียงไรแต่กรอบแห่งประตู จะบริกรรมช่องหน้าต่าง พึงยืนในที่

ปราศจากของสดเขียว อำนวยให้พอกได้ ๒-๓ ชั้น ถ้าเธออำนวย

ยิ่งว่านั้น แม้ยินในที่ปราศจากของสดเขียว ก็เป็นปาจิตตีย์

เรื่องพระฉันนะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๙๘] วิหารที่ชื่อว่า ใหญ่ ท่านว่ามีเจ้าของ.

ที่ชื่อว่า วิหาร ได้แก่ ตึกที่เขาโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายในก็ตาม

ที่เขาโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายนอกก็ตาม หรือที่เขาโบกฉาบปนไว้ทั้งภายใน

ทั้งภายนอกก็ตาม.

บทว่า ผู้ให้ทำ คือ สร้างเองก็ดี ให้ผู้อื่นสร้างก็ดี.

บทว่า เพียงไรแต่กรอบแห่งประตู คือ ชั่วหัตถบาสโดยรอบแห่ง

บานประตู

บทว่า จะวางเช็ดหน้า คือ จะวางประตู.

บทว่า จะบริกรรมช่องหน้าต่าง คือ จะบริกรรมหน้าต่างให้มี

สีเขียว สีดำ สียางไม้ ลายดอกไม้ เถาวัลย์ ฟันมังกร ดอกจอก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 345

คำว่า พึงยืนในที่ปราศจากของสดเขียว อำนวยให้พอกได้.

๒- ๓ ชั้นความว่า ที่ชื่อว่า ของสดเขียว ได้แก่ บุพพัณชาติ อปรัณชาติ.

ถ้าภิกษุยืนสั่งการอยู่ในที่มีของสดเขียว ต้องอาบัติทุกกฏ.

ให้มุงตามทางแถว พึงมุงเอง ๒ แถว ๆ ที่ ๓ สั่งให้มุงแล้วพึงหลีกไป.

ให้มุงเป็นชั้น พึงมุงเอง ๒ ชั้น ๆ ที่ ๓ สั่งให้มุงแล้วพึงหลีกไป.

[๓๙๙ ] คำว่า ถ้าเธออำนวยให้ยิ่งกว่านั้น แม้ยินในที่ปราศจาก

ของสดเขียว ความว่า มุงด้วยอิฐ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ แผ่นอิฐ.

มุงด้วยแผ่นศิลา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ แผ่นศิลา.

โบกฉาบด้วยปูนขาว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ก้อนปูนขาว.

มุงด้วยหญ้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ กำหญ้า.

มุงด้วยใบไม้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ใบไม้.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๐๐] เกิน ๒ - ๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าเกิน อำนวยการ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

เกิน ๒ - ๓ ชั้น ภิกษุสงสัย อำนวยการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เกิน ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง อำนวยการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

หย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าเกิน. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

หย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น ภิกษุสงสัย.. . ต้องอาบัติทุกกฏ.

หย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง . . .ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 346

อนาปัตติวาร

[๔๐๑] ภิกษุมุง ๒-๓ ชั้น ๑ ภิกษุมุงหย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น ๑ ภิกษุ

สร้างถ้า ๑ คูหา ๑ กุฎีมุงหญ้า ๑ ภิกษุสร้างกุฎีเพื่อภิกษุอื่น ๑ ภิกษุสร้าง

ด้วยทรัพย์ของตน ๑ ยกอาคารอันเป็นที่อยู่เสีย ภิกษุสร้างทุกอย่างไม่ต้อง

อาบัติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๙ จบ

เสนาสนวรรค มหัลลกวิหารสิกขาบทที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๙ ดังต่อไปนี้

[แก้อรรถปาฐะ เรื่องกรอบประตูหน้าต่าง]

โอกาสขนาดเท่าความกว้างของบานประตู โดยรอบแห่งบานประตู

ชื่อ ว่าทวารโกส (กรอบแห่งประตู) ในคำว่า ยาว ทฺวารโกสา นี้. แต่ใน

มหาปัจจรีท่านกล่าวไว้ว่า หนึ่งศอกคืบ วัดจากบานประตู. ในกุรุนทีกล่าวว่า

ขนาดเท่าบานประตูในข้างทั้งสอง ด้านแห่งประตู ในมหาอรรถกถาท่านกล่าว

ว่า ชื่อว่าบานประตู มีขนาดศอกคืบก็มี ๒ ศอกก็มี ๒ ศอกคืบก็มี. คำใน

มหาอรรถกถานั้นท่านกล่าวดีแล้ว. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา

อรรถนั้นนั่นแล จึงทรงทำการกำหนดอย่างสูงไว้ ดังนี้ว่า ชั่วหัตถบาส โดย

รอบแห่งบานประตู.

บทว่า อคฺคลฏฺปนาย มีความว่า เพื่อจะวางทวารพันธ์ (กรอบ

ประตู) พร้อมทั้งบาน, อธิบายว่า เพื่อต้องการความไม่เคลื่อนที่แห่งกรอบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 347

ประตูพร้อมทั้งบานประตู. จริงอยู่ แม้บทภาชนะว่า ทฺวารฏฺปนาย นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสหมายเอาอรรถนี้นั่นแล.

ก็ในคำนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ ก็บานประตูหมุนคล่องย่อมกระทบฝา

ในเวลาเปิด, ย่อมกระทบกรอบประตูในเวลาปิด. ฝาย่อมกระเทือนด้วยการ

กระทบนั้น, เพราะฝากระเทือนนั้น ดินย่อมคลอน ครั้นคลอนแล้วย่อมหย่อน

หรือหลุดลง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยาว ทฺวารโกสา

อคฺคลฏฺปนาย ดังนี้ .

บัณฑิตพึงเห็นใจความในคำนั้นอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้

ตรัสไว้ในมาติกา ไม่ได้ตรัสไว้ในบทภาชนะเลยว่า กิจชื่อนี้ ควรกระทำ

แม้ก็จริง. ถึงกระนั้นเพื่อจะวางเช็ดหน้าเพียงไรแต่กรอบแห่งประตู ก็พึงฉาบ

เอง หรือพึงให้ฉาบบ่อย ๆ โดยอำนวยการตามในอัตถุปปสัตติเหตุว่า ภิกษุให้

ฉาบบ่อย ๆ ให้โบกบ่อย ๆ ดังนี้ .

ส่วนในคำที่ตรัสไว้ในบทภาชนะว่า ปิฏิสงฺฆาฏสฺส สมนฺตา

หตฺถปาสา พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ วิหารใดมีประตูอยู่ตรงกลาง และมีฝา

สูงอยู่ส่วนบน หัตถบาสโดยรอบใน ๓ ทิศ เป็นอุปจารแห่งวิหารนั้น. สำหรับ

วิหารเล็ก มีอุปจารใน ๒ ทิศ. แม้ในวิหารเล็กนั้น บานประตูที่เปิดออก

ย่อมกระทบฝาใด, แม้ฝานั้น ก็ยังจัดเป็นอุปจารไม่ได้ครบถ้วน. แต่โดย

กำหนดอย่างสูง ทรงอนุญาตหัตถบาสโดยรอบใน ๓ ทิศ (และ) ทรงอนุญาต

การโบกฉาบ เพื่องต้องการทำประตูให้แน่น. แต่ถ้าว่า มีโอกาสที่ควรฉาบ

แม้ในส่วนเบื้องบนแห่งประตู, จะฉาบโอกาสแม้นั้นก็ควร.

ในคำว่า อาโลกสนฺปริกมฺมาย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

บานหน้าต่างว่า อาโลกสันธิ. ในคำนี้มีอธิบายดังนี้ว่า บานหน้าต่างเหล่านั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 348

ในเวลาเปิด จะกระทบส่วนของฝาประมาณคืบหนึ่งบ้าง เกินกว่าบ้าง. ก็ใน

คำว่าอโลกสันธิ นี้ ย่อมได้อุปจารในทิศทั้งปวง เพราะเหตุนั้น โอกาสประมาณ

เท่าความกว้างแห่งบานหน้าต่างในทิศทั้งปวง. ภิกษุพึงฉาบเองหรือพึงให้ฉาบ

เพื่อประโยชน์แก่การบริกรรมบานหน้าต่าง.

คำว่า เสตวณฺณ เป็นต้น ไม่ใช่เป็นการแจกบทมาติกา. จริงอยู่

ชื่อว่าวิหารจะเป็นของหนักด้วยสีขาวเป็นต้นนี้ หามิได้ เหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาต (สีขาวเป็นต้น ) ไว้ในบทภาชนะนั่นแล. เพราะ

เหตุนั้น ภิกษุพึงทำกิจทุกอย่างมีการฉาบปูนขาวเป็นต้นนี้ตามสบาย.

[ว่าด้วยการอำนวยให้การพอกบนหลังคา]

เพื่อทรงแสดงกรรม คือการฉาบอันภิกษุพึงทำอย่างนั้นแล้ว แสดง

กรรมที่ภิกษุพึงทำบนหลังคาอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ทฺวิตฺติจฺ-

ฉทนสฺส เป็นต้น . พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้น ดังนี้

คำว่า ทฺวิตฺติจฺฉทนสฺส ปริยาย คือ (อำนวยให้) การพอกหลังคา

ได้ ๒-๓ ชั้น. การพอกเรียกว่า ปริยาย. อธิบายว่า พึงอำนวยให้พอกได้

๒ ครั้ง หรือพอกได้ ๓ ครั้ง

สองบทว่า อปหริเต ิเตน คือ ยืนอยู่ในที่ปราศจากของสดเขียว.

ก็ในคำว่า หริต นี้ ทรงประสงค์เอาบุพพัณชาติต่างโดยเป็นข้าวเปลือก

๗ ชนิด และอปรัณชาติต่างโดยเป็นถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ถั่วพู น้ำเต้า

และฟักเขียวเป็นต้น . ด้วยเหตุนั้นแล พระองค์จึงตรัสว่า ที่ชื่อว่า ของสดเขียว

ได้แก่ บุพพัณชาติ อปรัณชาติ.

ก็ในคำว่า สเจ หริเต ิโต อธิฏฺาติ อปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้

พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ พืชที่เขาหว่านในนาแม้ใด ชั้นแรกยังไม่สำเร็จ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 349

(ยังไม่งอก) ก็หรือว่า เมื่อฝนตกแล้ว จักสำเร็จ (จักงอก) พืชแม้นี้ ก็ถึง

การนับว่าของสดเขียวเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ภิกษุยืนอยู่ แม้ในนาเห็นปาน

นั้น ก็ไม่อำนวยการ. พึงยืนอำนวยการในที่ปราศจากของสดเขียวเท่านั้น.

ในเรื่องอำนวยการปราศจากของสดเขียวในนาที่หว่านพืชแล้ว แม้นั้น

มีกำหนดดังต่อไปนี้คือ ภิกษุนั่งอยู่ที่ข้างอกไก่ก็ดี ช่อฟ้าเรือนยอดก็ดี ยอดโดม

ข้างบนก็ดี มองดูทางริมขอบเชิงชายแห่งหลังคาเห็นคนผู้ยืนอยู่บนภูมิภาคใด.

และคนยืนอยู่ที่ภูมิภาคใด ย่อมเห็นภิกษุนั้น ผู้นั่งอยู่ข้างบน, พึงยืนอยู่ที่ภูมิภาค

นั้น, ย่อมไม่ได้เพื่อจะยืนอำนวยการในที่แม้เป็นที่ปราศจากของสดเขียว ภายใน

แห่งภูมิภาคนั้นเข้ามา เพราะเหตุไร ? เพราะว่าภูมิภาคนี้ เป็นโอกาสที่จะ

พังลงมาแห่งวิหารเมื่อจะพัง.

การมุงตรง ๆ ไปไม่อ้อม ชื่อว่า การมุงตามทางแถว ในคำว่า

มคูเคน ฉาเทนฺตสฺส นี้. การมุงตามทางแถวนั้น ย่อมมีได้ด้วยอิฐ ศิลา

และปูนขาว.

คำว่า เทฺว มคฺเค อธิฏฺหิตฺวา มีความว่า ทางแถว ๒ แถว

ถ้ามุงไม่ดี, ย่อมได้แม้เพื่อจะรื้อออกเสียแล้วให้มุงบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น พึง

มุงเอง ๒ แถว อย่างที่ตนต้องการ แล้วแถวที่ ๓ พึงสั่งว่า ต่อไปนี้ จงมุง

อย่างนี้ แล้วหลีกไป.

บทว่า ปริยาเยน แปลว่า ด้วยการพอกเป็นชั้น ๆ (การมุงเป็นชั้น ๆ).

ก็การมุงอย่างนั้น ย่อมได้ด้วยหญ้าและใบไม้. เพราะเหตุนั้น ในการมุงแม้นี้

ภิกษุพึงมุงเอง ๒ ชั้น อย่างที่ตนต้องการแล้ว ชั้นที่ ๓ พึงสั่งว่า ทีนี้ จงมุง

อย่างนี้ แล้วหลีกไป ก็ถ้าว่า ไม่หลีกไป พึงยืนนิ่งเสีย. ก็การมุงทั้งหมดนี้

พึงทราบว่า ในเบื้องบนหลังคา. ภิกษุทั้งหลายเข้าใจว่า ก็วิหารที่มุงเป็นชั้น ๆ

ฝนจะไม่รั่วได้นาน จึงมุอย่างนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 350

คำว่า ตโต เจ อุตฺตรึ มีความว่า เลย ๓ แถว หรือ ๓ ชั้นขึ้นไป

คือในแถวที่ ๔ หรือในชั้นที่ ๔.

คำว่า กรเฬ คือ ในกำหญ้าทุก ๆ กำ. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้

ตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

มหัลลกวิหารสิกขาบทที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 351

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี

[๔๐๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคา-

ฬวเจดีย์ เขตรัฐอาฬวี ครั้งนั้นพวกภิกษุชาวรัฐอาฬวี กำลังกระทำนวกรรม

รู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ จึงรดเองบ้าง ให้คนอื่นรดบ้าง ซึ่งหญ้าบ้าง ดินบ้าง

บรรดาภิกษุที่มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พวกภิกษุ

ชาวรัฐอาฬวีรู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ จึงได้รดเองบ้าง ให้คนอื่นรดบ้าง ซึ่งหญ้าบ้าง

ดินบ้างเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอบถามภิกษุชาวรัฐอาฬวีว่า ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอรู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ รดเองบ้าง ให้คนอื่นรดบ้าง

ซึ่งหญ้าบ้าง ดินบ้าง จริงหรือ.

พวกภิกษุชาวรัฐอาฬวีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย พวก

เธอรู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ ไฉนจึงได้รดเองบ้าง ให้คนอื่นรดบ้าง ซึ่งหญ้าบัาง

ดินบ้าง การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่

ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 352

พระบัญญัติ

๖๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ รดก็ดี ให้รดก็ดี

ซึ่งหญ้าก็ดี ดินก็ดี เป็นปาจิตตีย์ .

เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๘๐๓] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ . . .

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ ได้แก่ รู้เอง หรือ คนอื่นบอกเธอ.

[๔๐๔] บทว่า รด คือ รดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้รด คือ ใช้คนอื่นรด ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ใช้ครั้งเดียว แต่เขารดหลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าน้ำมีตัวสัตว์ รดเองก็ดี ให้คนอื่นรดก็ดี

ซึ่งหญ้าก็ดี ซึ่งดินก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์

น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย รดเองก็ดี ให้คนอื่นรดก็ดี ซึ่งหญ้าก็ดี

ซึ่งดินก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์ รดเองก็ดี ให้คนอื่นรดก็ดี

ซึ่งหญ้าก็ดี ซึ่งดินก็ดี ไม่ต้องอาบัติ

น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่ามีตัวสัตว์ .. .ต้องอาบัติทุกกฏ

น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ

น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์ . . .ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 353

อนาปัตติวาร

[๔๐๕] ภิกษุไม่แกล้ง ๑ ภิกษุไม่มีสติ ๑ ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒ จบ

เสนาสนวรรค สัปปาณกสิกขาบทที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑. ดังต่อไปนี้

[ว่าด้วยเทน้ำมีตัวสัตว์รดหญ้าหรือดิน]

สองบทว่า ชาน สปฺปาณก ได้แก่ รู้อยู่โดยประการใดประการหนึ่ง

ว่า น้ำนี้ มีตัวสัตว์เล็ก ๆ.

สองบทว่า สิญฺเจยฺย วา สิญฺจาเปยฺย วา มีความว่า ภิกษุพึง

เอาน้ำนั้นรดเองก็ดี สั่งคนอื่นให้รดก็ดี.

ก็คำเช่นนี้ว่า สิญเจยฺาติ สย สิญฺจติ ดังนี้ ในพระบาลี ผู้ศึกษา

พึงทราบเนื้อความโดยนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อนนั่นแล. เมื่อภิกษุรดไม่

ทำให้สาย (น้ำ) ในน้ำนั้นขาด เป็นอาบัติเพียงตัวเดียวในหม้อน้ำหม้อเดียวกัน

ในภาชนะทุกอย่างก็นัยนี้ . แต่เป็นอาบัติทุก ๆ ประโยค แก่ภิกษุผู้รดทำให้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 354

สายน้ำขาด. ภิกษุทำเหมืองให้เป็นทางตรง (น้ำ) จะไหลทั้งวันก็ตาม เป็น

อาบัติตัวเดียว. ถ้าภิกษุกั้นในที่นั้น ๆ แล้วไขน้ำไปทางอื่น ๆ เป็นอาบัติทุก ๆ

ประโยค. ถ้าแม้นหญ้าขนาดบรรทุกเต็มเล่มเกวียน ภิกษุใส่ลงในน้ำด้วยประโยค

เดียว ก็เป็นอาบัติตัวเดียว. ภิกษุทั้งหญ้าหรือใบไม้ลงทีละเส้น ทีละใบ เป็น

อาบัติทุก ๆ ประโยค. ในดินเหนียวก็ดี ในวัตถุอื่นมีไม้ โคลน และโคมัย

เป็นต้นก็ดี ก็นัยนี้นั้นและ ก็วิธีทิ้งหญ้าและดินลงในน้ำนี้ มิได้ตรัสหมายถึง

น้ำมาก. น้ำใด เมื่อทิ้งหญ้าและดินลงไป จะถึงความแห้งไป หรือจะเป็น

น้ำขุ่น, ในน้ำใด จำพวกสัตว์เล็ก ๆ จะตายเสีย, บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสหมายถึงน้ำเช่นนั้น . บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ

กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

สัปปาณกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

เสนาสนวรรคที่ ๒ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 355

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. ภูตคามสิกขาบท ว่าด้วยพรากของเขียว

๒. อญัญูวาทสิกขาบท ว่าด้วยแกล้งกล่าวคำอื่น

๓. อุชฌาปนสิกขาบท ว่าด้วยโพนทะนา

๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยหลีกไปไม่เก็บเสนาสนะ

๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยใช้เสนาสนะแล้วไม่เก็บ

๖. อนูปขัชชสิกขาบท ว่าด้วยนอนแทรกแซง

๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท ว่าด้วยการฉุดคร่าภิกษุ

๘. เวทาสกุฎีสิกขาบท ว่าด้วยนั่งนอนบนร่างร้าน

๙. มหัลลกสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่

๑๐. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยใช้น้ำมีตัวสัตว์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 356

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๘๐๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ

ชั้นเถระทั้งหลาย กล่าวสอนพวกภิกษุณี ย่อมได้จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงพระฉัพพัคคีย์ ปรึกษากันว่า อาวุโสทั้งหลาย

บัดนี้พระเถระกล่าวสอนพวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เอาเถิด พวกเราจะกล่าวสอนพวกภิกษุณีบ้าง ครั้นแล้ว

ได้เข้าไปหาพวกภิกษุณีกล่าวคำนี้ว่า มาเถิด น้องหญิงทั้งหลายจงไปหาพวก

เราบ้าง แม้พวกเราก็จักกล่าวสอน หลังจากนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้เข้าไปหา

พระฉัพพัคคีย์ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึงพระฉัพพัคคีย์ได้

ทำธรรมีกถาแก่พวกภิกษุณีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลาล่วงไปด้วยติรัจ-

ฉานกถา แล้วสั่งให้กลับไปด้วยคำว่า กลับไปเถิด น้องหญิงทั้งหลาย ลำดับนั้น

ภิกษุณีเหล่านั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้ว ยืนเฝ้าอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถานภิกษุณีเหล่านั้นผู้ยืนเผาอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่งนั้นแลว่า ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย การกล่าวสอนภิกษุณีได้สัมฤทธิ์

ผลดีหรือ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 357

ภิกษุณีทั้งหลายกราบทูลว่า จะสัมฤทธิ์ผลมาแต่ไหน พระพุทธเจ้าข้า

เพราะพระคุณเจ้าเหล่าฉัพพัคคีย์ได้ทำธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลา

ล่วงไปด้วยติรัจฉานกถา แล้วก็สั่งให้กลับไป พระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นแจ้ง

สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นภิกษุณีเหล่านั้น อันพระผู้มี.

พระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว

ลุกจากอาสน์ถวายอภิวาท ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ

เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอทำธรรมีกถาแก่พวกภิกษุณีเพียง

เล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลาล่วงไปด้วยติรัจฉานกถา แล้วก็สั่งให้กลับไป จริง

หรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลายไฉน

พวกเธอจึงได้ทำธรรมีกถาแก่พวกภิกษุณี เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลา

ล่วงไปด้วยติรัจฉานกถาแล้วสั่งให้กลับไปเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่

เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุเป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 358

วิธีสมมติภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี

พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ

ให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้

กล่าววาจาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี

นี่เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้

เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้กล่าวสอน

ภิกษุณีชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด

ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึง

ข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี การสมมติ

ภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณีชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น

พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณีแล้ว ชอบ

แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนก

ปริยายแล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก . . . รับสั่งว่า . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 359

พระบัญญัติ

๗๐. ๑. อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับสมมติ กล่าวสอนพวกภิกษุณี

เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ. แล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ .

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ (ต่อ)

[๔๐๗] ก็แลสมัยนั้น พวกพระเถระทั้งหลายผู้ได้รับสมมติ กล่าว

สอนพวกภิกษุณี ก็ยังได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช

บริขารเหมือนอย่างเดิม จึงพระฉัพพัคคีย์ได้ปรึกษากันว่า อาวุโสทั้งหลาย

บัดนี้ พระเถระทั้งหลายได้รับสมมติ แล้วกล่าวสอนพวกภิกษุณี ก็ยังได้จีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เหมือนอย่างเติม เอาเถิด

แม้พวกเราจะไปนอกสีมาสมมติกันและกัน ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี แล้ว

สั่งสอนพวกภิกษุณีกันเถิด ครั้นแล้วพากันไปนอกสีมา สมมติกันและกันให้

เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี แล้วได้เข้าไปบอกภิกษุณีทั้งหลายว่า ดูก่อนน้องหญิง

ทั้งหลาย แม้พวกเราก็ได้รับสมมติ ท่านทั้งหลายจงเข้าไปหาพวกเรา แม้

พวกเราก็จักกล่าวสอน ต่อมาภิกษุณีเหล่านั้น พากันเข้าไปหาพระฉัพพัคคีย์

กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึงพระฉัพพัคคีย์ได้ทำธรรมีกถาแก่

พวกภิกษุณีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลาล่วงไปด้วยติรัจฉานกถาแล้วสั่งให้

กลับไปด้วยคำว่า กลับไปเถิด น้องหญิงทั้งหลาย ลำดับนั้นพวกนางได้พากัน

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 360

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถานภิกษุณีผู้ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่งเหล่านั้นแลว่า ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย โอวาทได้สัมฤทธิ์ผลดีหรือ.

พวกภิกษุณีกราบทูลว่า จะสัมฤทธิ์ผลมาแต่ไหน พระพุทธเจ้าข้า

เพราะพระคุณเจ้าเหล่าฉัพพัคคีย์ได้ทำธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วัน

เวลาล่วงไปด้วยดิรัจฉานกถาแล้วสั่งให้กลับไป พระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุณีเหล่านั่น ให้เห็นแจ้ง

สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นภิกษุณีเหล่านั้น อันพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว

ลุกจากอาสน์ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ

เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอทำธรรมีกถาแก่พวกภิกษุณีเพียงเล็กน้อย

เท่านั้น ให้วันเวลาล่วงไปด้วยดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับไป จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ทำธรรมีกถาแก่พวกภิกษุณีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลาล่วง

ไปด้วยติรัจฉานกถาแล้วสั่งให้กลับไปเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็น

ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ

ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 361

ทรงอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี

ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ดังต่อไปนี้ เป็นผู้

กล่าวสอนภิกษุณี.

องค์คุณ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี

๑. เป็นผู้มีศีล คือสำรวมด้วยปาติโมกข์สังวรศีล สมบูรณ์ด้วยอาจาระ

และโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา

บททั้งหลาย

๒. เป็นพหูสูต คือทรงสุตะ เป็นผู้สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใดงาม

ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้ง

อรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้นได้

สดับมาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยปัญญา.

๓. พระปาติโมกข์ทั้งสองมาแล้วด้วยดีโดยพิสดาร แก่ภิกษุนั้น คือ

ภิกษุนั้นจำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยได้เรียบร้อยโดยสูตร โดยอนุ-

พยัญชนะ.

๔. เป็นผู้มีวาจาสละสลวย ชัดเจน.

๕. เป็นที่นิยมชมชอบของภิกษุณีโดยมาก.

๖. เป็นผู้สามารถกล่าวสอนภิกษุณีได้.

๗. เป็นผู้ไม่เคยล่วงครุธรรม กับสตรีผู้ครองผ้ากาสายะบวช เฉพาะ

พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ และ.

๘. มีพรรษาได้ ๒๐ หรือเกิน ๒๐.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 362

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์

คุณ ๘ ประการนี้ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณีได้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ (ต่อ) จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๐๘] บทว่า อนึ่ง ...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บุทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ..

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้

ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับ สมมติ คือ สงฆ์ยังไม่ได้สมมติด้วยญัตติจจตุตถ-

กรรมวาจา.

ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์สองฝ่าย.

[๔๐๙] บทว่า กล่าวสอน ความว่า ภิกษุกล่าวสอนด้วยครุธรรม

๘ ประการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กล่าวสอนด้วยธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

กล่าวสอนภิกษุณีผู้อุปสมบทในภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ

[๔๑๐] ภิกษุผู้ได้สมมติแล้วนั้น พึงกวาดบริเวณ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้

ปูอาสนะไว้ แล้วชวนเพื่อนภิกษุไปนั่งอยู่ด้วย.

ภิกษุณีทั้งหลายพึงไป ณ ที่นั้น อภิวาทภิกษุนั้นแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร

ส่วนข้างหนึ่ง

ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้วนั้นพึงถามว่า พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้ว หรือ

น้องหญิงทั้งหลาย

ถ้าพวกนางตอบว่า พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 363

พึงถามว่า ครุธรรม ๘ ประการ ยังพระพฤติกันอยู่หรือ น้องหญิง

ทั้งหลาย

ถ้าพวกนางตอบว่า ยังประพฤติกันอยู่ เจ้าข้า

พึงสั่งว่า นี่เป็นโอวาท น้องหญิงทั้งหลาย

ถ้าพวกนางตอบว่า ไม่ได้ประพฤติกัน เจ้าข้า

พึงตักเตือนว่าดังนี้.

ครุธรรม ๘ ประการ

๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้วได้ ๑๐๐ พรรษา ต้องทำการกราบไหว้

การต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุผู้อุปสนบทแล้วในวันนั้น

ธรรมนี้ อันภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิดตลอด

ชีวิต

๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้อัน

ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิดตลอดชีวิต

๓. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามอุโบสถ ๑ ไปรับ

โอวาท ๑ จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นนี้อันภิกษุณีก็ต้องสักการะเคารพ

นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิดตลอดชีวิต

๔. ภิกษุณีผู้จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่ายโดยสถาน

ทั้ง ๓ คือ ด้วยได้เห็น ๑ ด้วยได้ฟัง ๑ ด้วยรังเกียจ ๑ ธรรมแม้นอันภิกษุณี

ก็ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิดตลอดชีวิต

๕. ภิกษุณีล่วงละเมิดครุธรรมแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์

สองฝ่าย ธรรมแม้นนี้อันภิกษุณีก็ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วง

ละเมิดตลอดชีวิต

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 364

๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์สองฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้

ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ธรรมแม้นอันภิกษุณีก็ต้อง

สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิดตลอดชีวิต.

๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง

ธรรมแม้นี้อันภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิด

ตลอดชีวิต

๘ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ

เปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณีได้ ธรรมแม้นี้อันภิกษุณีก็ต้องสักการะ

เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิดตลอดชีวิต

ถ้าพวกนางตอบว่า พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า

ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้วนั้น สั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

ถ้าพวกนางตอบว่า ยิ่งเป็นพรรคอยู่ เจ้าข้า

ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้วนั้น กล่าวสอนครุธรรม ๘ ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ให้โอวาท สั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทภาชนีย์

อัฏฐารสปาจิตตีย์

[๔๑๑] ๑. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม

ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน

ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์

ยิ่งไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 365

๓. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์

ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

[๔๑๒] ๔. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อม

เพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. . กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน

ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน

ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

[๔๑๓า ๗. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม

ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน

ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน

ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน

ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

[๔๑๔] ๑๐. กรรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม

ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน

ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๑. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์

พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๒. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์

พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 366

[๔๑๕] ๑๓. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อม-

เพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๔. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน

ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๕. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน

ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

[๔๑๖] ๑๖. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม

ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน

ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๗. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์

พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๘. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์

พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

สัตตรสทุกกฏ

[๘๑๗] ๑. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม

ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน

ต้องอาบัติทุกกฏ

๒. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์

ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๓. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์

ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติ

ทุกกฏ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 367

[๔๑๘] ๔. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อม

เพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๕. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน

ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๖. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน

ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๑๙] ๗. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณี

สงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน

ต้องอาบัติทุกกฏ

๘. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ยัง

ไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๙. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่

พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๘๒๐] ๑. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม

ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน

ต้องอาบัติทุกกฏ

๑๑. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์

พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๑๒. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์

พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๒๑] ๑๓. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียง

กัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 368

๑๔. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุ

สงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๑๕. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุ

สำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๒๒] ๑๖. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณี

สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้อง

อาบัติทุกกฏ

๑๗. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์

พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์พร้อม

เพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๒๓] ภิกษุให้อุเทศ ๑ ภิกษุให้ปริปุจฉา ๑ ภิกษุอันภิกษุณีกล่าวว่า

นิมนต์ท่านสวดเถิด เจ้าข้า ดังนี้ สวดอยู่ ๑ ภิกษุถามปัญหา ๑ ภิกษุถูกถาม

ปัญหาแล้วแก้ ๑ ภิกษุกล่าวสอนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นอยู่ แต่พวกภิกษุณีฟังอยู่

ด้วย ๑ ภิกษุกล่าวสอนสิกขมานา ๑ ภิกษุกล่าวสอนสามเณรี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 369

ภิกขุนีวรรคที่ ๓ โอวาทสิกขาบทที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งภิกชุนีวรรค* ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถ เรื่องภิกษุไม่ได้รับสมมติสั่งสอนนางภิกษุณี ]

ในคำว่า ลาภิโน โหนติ นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ นาง

ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมไม่ถวายเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ ถวายแก่พระเถระเหล่านั้น.

แต่พวกกุลธิดาผู้ออกบวชจากตระกูลใหญ่ ย่อมเจาะจงพระอสีติมหาสาวกว่า

พระเถระโน้นและโน้น ย่อมกล่าวสอน แล้วกล่าวสรรเสริญคุณ ที่มีอยู่. เช่นศีล

สุตะ อาจาระ ชาติ และโคตรเป็นต้น ของพระอสีติมหาสาวกเหล่านั้น ตาม

กระแสแห่งถ้อยคำของเหล่าญาติชนผู้มาสู่สำนักของตน ถามอยู่ว่า ข้าแต่แม่เจ้า

พวกท่านได้รับโอวาท อุเทศ ปริปุจฉา จากที่ไหน ร ดังนี้. จริงอยู่ คุณ

ที่มีอยู่เห็นปานนี้ ควรเพื่อจะกล่าว. เพราะเหตุนั้น พวกมนุษย์ผู้มีจิตเลื่อมใส

จึงได้นำเอาลาภและสักการะเป็นอันมาก เช่นจีวรเป็นต้น ไปถวายแก่พระเถระ

ทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกะทั้งหลายจึงกล่าวว่า ลาภิโน

โหนฺติ จีวร ฯปฯ ปริกฺขาร ดังนี้.

สองบทว่า ภิกฺขุนิโย อุปสงฺกมิตฺวา มีความว่า ได้ยินว่า บรรดา

นางภิกษุณีเหล่านั้น แม้ภิกษุณีรูปหนึ่งก็ไม่มาในสำนักของภิกษุฉัพพัคคีย์

เหล่านั้น, แต่พ่วกภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้มีใจอันตัณหาในลาภฉุดลากไปเนือง ๆ ได้

ไปสู่สำนักแห่งนางภิกษุณีเหล่านั้น . พระธรรมสังคาหกะทั้งหลาย หมายถึงการ

ไปสู่สำนักภิกษุณีแห่งภิกษุฉัพพัคคีย์นั้น จึงได้กล่าวคำว่า ภิกฺขุนิโย อุปสงฺ-

กมิตฺวา ดังนี้. แม้ภิกษุณีเหล่านั้น ได้กระทำตามถ้อยคำแห่งพวกภิกษุฉัพพัคคีย์

* บาลี เป็นโอวาทวรรค.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 370

นั้นนั่นเทียว เพราะเป็นผู้มีจิตคลอนแคลน. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกะ

ทั้งหลาย จึงกล่าวคำว่า อถฺโข ตา ภิกฺขุนิโย ฯเปฯ นิสีทึสุ ดังนี้

บทว่า ติรจฺฉานกถ ได้แก่ ถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มีมากอย่าง มี

ราชกถาเป็นต้นอันเป็นการขัดขวางแม้ในการไปสู่ทางสวรรค์.

บทว่า อิทฺโร แปลว่า สำเร็จแล้ว. อธิบายว่า มีประโยชน์ลึกซึ้ง

มีรสมาก ประกอบด้วยลักษณปฏิเวธ.

ในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เพราะภิกษุ

ฉัพพัคคีย์เหล่านั้น เมื่อถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธออย่ากล่าวสอนภิกษุณีทั้งหลาย ดังนี้ จะพึงผูกอาฆาตในพระตถาคตเจ้า

แล้ว เป็นผู้เข้าถึงอบาย เพราะเป็นผู้ยังไม่เห็นสัจจะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงหลีกเลี่ยงความเป็นผู้เข้าถึงอบายนั้นแห่งภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น

ทรงประสงค์จะกัน ภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น ไว้ภายนอกจากการกล่าวสอนภิกษุณี

โดยอุบายอย่างอื่นนั่นเอง จึงทรงอนุญาตภิกขุโนวาทสมมตินี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต (ภิกขุโนวาทสมมติ) เพราะมีพระ-

ประสงค์จะกันภิกษุเหล่านั้น ไว้ภายนอกในสิกขาบทนี้อย่างนี้ เมื่อจะทรงทำต่อไป

ข้างหน้า จึงตรัสดำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อฏฺหงฺเคหิ สมนฺนาคต

เป็นต้น . จริงอยู่ องค์ ๘ เหล่านี้ ยังไม่เคยมีแก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แม้แต่

ความฝันแล.

[อธิบายองค์ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี]

บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ในบทว่า สีลวา นั้นว่า ศีลของภิกษุนั้น

มีอยู่ เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่าผู้มีศีล. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

แสดงศีลที่มีอยู่ และประการที่ศีลนั้นมีแก่ภิกษุนั้นอย่างไรจึงชื่อว่ามีอยู่ จึงได้

ตรัสคำว่า ปาฏิโมกฺขสวรสวุโต เป็นต้น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 371

ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ สังวร คือ ปาฎิโมกข์ชื่อว่าปาฎิโมกขสังวร.

ภิกษุผู้สำรวม คือประกอบด้วยปาฏิโมกขสังวรนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า

ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวร.

บทว่า วิหรติ แปลว่า เป็นไป. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัส ไว้ในวิภังค์ว่า บทว่า ปาฏิโมกข์ ได้แก่ ศีลอันเป็นที่อาศัย เป็นเบื้องต้น

เป็นจรณะ เป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธาน

เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า สังวร ได้แก่ การไม่ล่วง

ละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและวาจา.

บทว่า เป็นผู้สำรวมแล้ว มีอธิบายว่า เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี

เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เช้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบ

แล้วด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้สำรวมแล้วด้วย

ปาฏิโมกขสังวร. บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่

รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึง

เรียกว่า อยู่*.

บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน มีความว่า ละอโคจรมีหญิงแพศยา

เป็นต้น ด้วยอาจาระที่ป้องกันมิจฉาชีพ มีการไม่ให้ไม้ไผ่เป็นต้น แล้วถึง

พร้อมด้วยโคจร มีสกุลที่สมบูรณ์ด้วยศรัทธาเป็นต้น ชื่อว่า ผู้ถึงพร้อมด้วย

อาจาระและโคจร.

คำว่า อนุมตฺเตสุ วชฺเชส ภยทสฺสาวี ได้แก่ ผู้มีปรกติเห็นภัย

ในโทษทั้งหลายมีประมาณเล็กน้อย มีคำอธิบายว่า มีปรกติเห็นโทษเหล่านั้น

โดยความเป็นภัย.

* อภิ. วิ. ๓๕/๓๓๑.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 372

คำว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ มีความว่า บรรดาสิกขาบท

ที่จัดเป็น ๓ อย่าง โดยความเป็นอธิศีลสิกขาเป็นต้น สมาทานถือเอาโดยชอบ

ได้แก่ รับเอาโดยดี ศึกษาไม่ละทิ้งสิกขาบทนั้น ๆ. นี้ความสังเขปในคำว่า

อาจารโคจรสมฺปนฺโน นี้. ส่วนผู้ต้องการความพิสดารพึงถือเอาในอรรถกถา

มัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี ในอรรถกถาแห่งวิภังคปกรณ์ ชื่อสันโมหวิโนทนี

หรือว่า จากวิสุทธิมัคคปกรณ์.

สุตะของภิกษุนั้นมาก; เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า พหุสสุตะ. ภิกษุใด

จำทรงสุตะไว้ เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า สุตธระ. อธิบายว่า คำที่ภิกษุ

นั้นได้ฟัง ชื่อว่า พหุสสุตะ, สุตะนั้นไม่ใช่แต่สักว่าฟังอย่างเดียว โดยที่แท้

ย่อมทรงสุตะนั้นด้วย. สุตะสั่งสมในภิกษุนั้น ดุจรัตนะที่เก็บไว้ในหีบ เหตุนั้น

ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า มีการสั่งสมสุตะ. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงความไม่เสื่อมสูญไปแม้โดยกาลนาน แห่งสุตะที่ภิกษุนั้นทรงไว้ ดุจรัตนะ

ที่เก็บรักษาไว้ในหีบ ฉะนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงสุตะนั้นโดยสรูป จึงตรัส

คำว่า เย เต ธมฺมา เป็นต้น. คำนั้น มีนัยดังกล่าวแล้ว ในเวรัญชกัณฑ์

นั่นแล แต่นี้เป็นคำตรัสย้ำในสิกขาบทนี้. ธรรมเห็นปานนั้น เป็นอันภิกษุ

นั้นสดับแล้วมาก เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า พหุสสุตะ ธรรมเหล่านั้น

อันภิกษุนั้น ทรงจำไว้ได้ เหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า สุตธระ ธรรมเหล่านั้น

อันภิกษุนั้นสั่งสมไว้ด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยทิฏฐิ

เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า สุตสันนิจยะ.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า วจสา ปริจิตา ได้แก่ อันภิกษุ

นั้นกระทำให้คล่องปาก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 373

บทว่า มนสานุเปกฺขิตา มีความว่า อันภิกษุเพ่งด้วยใจแล้ว ย่อม

เป็นดุจสว่างไสวด้วยแสงประทีปพันดวงแก่เธอผู้ใคร่ครวญ.

สองบทว่า ทิฏฺิยา สุปฺปฏิวิทฺธา มีความว่า ธรรมทั้งหลายย่อม

เป็นอันภิกษุนั้นแทงตลอดแล้วด้วยดี คือ กระทำให้ประจักษ์ชัดแล้วด้วยปัญญา

โดยอรรถและโดยการณ์.

[ว่าด้วยภิกษุพหูสูต ๓ จำพวก]

ก็ภิกษุผู้ชื่อว่า พหุสสุตะนี้ มี ๓ จำพวก คือ นิสัยมุจจนกะ ผู้พอ

พ้นนิสัย ๑ ปริสูปัฎฐาปกะ ผู้ให้บริษัทอุปัฏฐาก ๑ ภิกขุโนวาทกะ ผู้สั่งสอน

ภิกษุณี ๑. บรรดาพหุสสุตะทั้ง ๓ นั้น ภิกษุผู้นิสัยมุจจนกะมีพรรษา ๕ โดย

อุปสมบท พึงท่องมาติกา* ๒ ให้ช่ำชอง คล่องปาก โดยกำหนดอย่างต่ำกว่า

เขาทั้งหมด, พึงเรียนภาณวาร ๔ จากสุตตันตปิฏก เพื่อประโยชน์แก่ธรรม-

สวนะในวันปักษ์ทั้งหลาย, พึงเรียนกถามรรคอันหนึ่ง เช่นกับอันธกวินทสูตร

มหาราหุโลวาทสูตร อัมพัฎฐสูตร เพื่อประโยชน์แก่การกล่าวธรรมเบ็ดเตล็ด

แก่เหล่าชนผู้มาหา, พึงเรียนคาถาอนุโมทนา ๓ อย่าง เพื่อประโยชน์อนุโนทนา

ในสังฆภัตงานมงคลและอวมงคล, พึงเรียนวินิจฉัยกรรมและมิใช่กรรม เพื่อ

อุโบสถและปวารณาเป็นต้น พึงเรียนกรรมฐานอย่างหนึ่ง มีพระอรหัตเป็น

ที่สุด ด้วยสามารถแห่งสมาธิก็ดี ด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาก็ดี เพื่อกระทำ

สมณธรรม, พึงเรียน (พุทธพจน์มีพระสูตร ๔ ภาณวารเป็นต้น ) เพียงเท่านี้

แท้จริง ด้วยการเรียนเพียงเท่านี้ ภิกษุนี้ย่อมชื่อว่า เป็นพหุสสุตะ เป็นผู้

ปรากฏในทิศ ๔ ย่อมได้เพื่อยู่โดยความเป็นอิสระของตนในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง.

* สารัตถทีปนี ๓/๒๙๒ แก้ว่า มาติกา ๒ ได้แก่ภิกขุมาติกา และ ภิกขุนีมาติกา. -ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 374

ภิกษุผู้ปริสูปัฏฐาปกะ มีพรรษา ๑๐ โดยอุปสมบท พึงกระทำวิภังค์

ทั้ง ๒ ให้ช่ำชอง คล่องปาก เพื่อแนะนำบริษัทในอภิวินัย โดยกำหนดอย่างต่ำ

ที่สุด. เมื่อไม่อาจ พึงกระทำ (วิภังค์ทั้ง ๒ คัมภีร์ ) ให้ควรแก่การผลัดเปลี่ยน

กันกับภิกษุ ๓ รูป. พึงเรียนกรรมและมิใช่กรรม และขันธกวัตร. แต่เพื่อจะ

แนะนำบริษัทในอภิธรรม ถ้าเป็นผู้กล่าวมัชฌิมนิกาย พึงเรียนมูลปัณณาสก์.

ผู้กล่าวทีฆนิกาย พึงเรียนแม้มหาวรรค. ผู้กล่าวสังยุตตนิกาย พึงเรียน ๓

วรรค ข้างต้น หรือมหาวรรค. ผู้กล่าวอังคฺตตรนิกาย พึงเรียนครึ่งนิกาย

ข้างต้น หรือข้างปลาย. ผู้ไม่สามารถ แม้จะเรียนข้างต้น ตั้งแต่ติกนิบาตไปก็ได้

แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ผู้จะเรียนเอานิบาตเดียวแม้จะเรียนเอาจตุกกนิบาต

หรือปัญจกนิบาต ก็ได้. ผู้กล่าวชาดก พึงเรียนเอาชาดกพร้อมทั้งอรรถกถา.

จะเรียนต่ำกว่าชาดกพร้อมทั้งอรรถกถา ไม่ควร. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า

จะเรียนเอาแม่ธรรมบท พร้อมทั้งวัตถุนิทาน ก็ควร.

ถามว่า จะเลือกเรียนเอาจากนิกายนั้น ๆ มีทีฆนิกายเป็นต้น แม้เพียง

มูลปัณณาสก์ ควรหรือไม่ควร.

ตอบว่า ท่านปฏิเสธไว้ในอรรถกถากุรุนทีว่า ไม่ควร. ในอรรถกถา

นอกนี้ ไม่มีการวิจารณ์ไว้เลย. ในอภิธรรมท่านไม่ได้กล่าวว่า ควรเรียนเอา

อะไร. ก็ภิกษุใดช่ำชองวินัยปิฏกและอภิธรรมปิฎกพร้อมทั่งอรรถกถา, แต่ไม่มี

คัณฐะมีประการดังที่กล่าวในสุตตันปิฏก ภิกษุนั้น ย่อมไม่ได้เพื่อจะให้

บริษัทอุปัฏฐาก. แต่ภิกษุใดเรียนคัณฐะมีประมาณดังกล่าวแล้ว จากสุตตันต-

ปิฎกบ้าง จากวินัยปิฏกบ้าง, ภิกษุนี้เป็นปริสูปัฏฐาปกะ เป็นพหุสสุตะ เป็น

ทิศาปาโมกข์ ไปได้ตามความปรารถนา ย่อมได้เพื่อจะให้บริษัทอุปัฏฐาก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 375

ส่วนภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี พึงเรียนปิฎก ๓ พร้อมทั้งอรรถกถา. เมื่อ

ไม่อาจ พึงทำอรรถกถาแห่งนิกายหนึ่ง บรรดา ๔ นิกายให้ชำนาญ. เพราะว่า

ด้วยนิกายเดียว ก็จักสามารถเพื่อกล่าวแก้ปัญหาแม้ในนิกายที่เหลือได้. บรรดา

ปกรณ์ ๗ พึงทำอรรถกถาแห่ง ๔ ปกรณ์ให้ชำนาญ . เพราะว่า ด้วยนัยที่ได้

ในอรรถกถาแห่ง ๔ ปกรณ์นั้น ก็จักสามารถเพื่อกล่าวแก้ปัญหาในปกรณ์ที่

เหลือได้. ส่วนวินัยปิฏกมีอรรถต่าง ๆ กัน มีเหตุต่าง ๆ กัน เพราะเหตุนั้น

ภิกษุผู้สั่งสอนนางภิกษุณีพึงกระทำวินัยปิฎกนั้นพร้อมทั้งอรรถกถาให้ชำนาญ

ทีเดียว. ก็ด้วยการเรียนสุตะมีประมาณเท่านี้ ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี ชื่อว่า

เป็นผู้มีสุตะมากแล.

[ปาฏิโมกข์ทั้งสองของเธอมาดีแล้วโดยพิสดาร]

ส่วนคำว่า อุภยานิ โข ปนสฺส เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ต่างหาก ก็เพราะเมื่อพาหุสัจจะ แม้มีองค์ ๙ อย่างอื่นมีอยู่ครบทั้งหมด

จะเว้นวินัยปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถาเสีย ย่อมไม่ควรทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิตฺถาเรน ได้แก่ พร้อมด้วยอุภโตวิภังค์.

บทว่า สฺวาคตานิ คือ มาแล้วด้วยดี. ก็ปาฎิโมกข์ทั้ง ๒ มาแล้ว

โดยประการใด จึงจัดว่ามาแล้วด้วยดี เพื่อแสดงประการนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสคำว่า สุวิภตฺตานิ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวิภตฺตานิ ได้แก่ จำแนกได้ดี คือเว้น

จากโทษ คือบทที่ตกหล่นภายหลังและสับสนกัน.

บทว่า สุปฺปวตฺตินี ได้แก่ ช่ำชอง คล่องปาก.

สองบทว่า สุวินิจฺฉิตา สุตฺตโส ได้แก่ มีวินิจฉัยดีแล้ว ด้วยอำนาจ

แห่งสูตรที่จะพึงนำมาจากขันธกะและบริวาร.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 376

บทว่า อนุพฺยชนโส ได้แก่ วินิจฉัยได้เรียบร้อย โดยความ

บริบูรณ์แห่งอักขรบท และ โดยอำนาจแห่งสูตร คือไม่ขาดตก ไม่มีอักษรที่

ผิดพลาด. อรรถกถา ท่านแสดงไว้ด้วยบทว่า โดยอนุพยัญชนะนี้ จริงอยู่

วินิจฉัยนี้ ย่อมมีมาจากอรรถกถา.

บทว่า กลฺยาณวาโจ มีความว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวาจาของชาวเมือง

ซึ่งมีบทและพยัญชนะกลมกล่อม ตามคำที่สมควรแก่การจัดเป็นสถิลและธนิต

เป็นต้น คือ ประกอบด้วยวาจาให้รู้แจ้งซึ่งอรรถอันสละสลวย ไม่มีโทษ.

บทว่า กลฺยาณวากฺกรโณ แปลว่า มีเสียงอ่อนหวาน จริงอยู่

มาตุคาม ย่อมเป็นผู้ยินดีในความสมบูรณ์แห่งเสียง เพราะเหตุนั้น หล่อน

จึงดูแคลนคำพูดที่เว้นจากความสมบูรณ์แห่งเสียง แม้ที่มีบทและพยัญชนะ

กลมกล่อม.

คำว่า เยภุยฺเยน ภิกขุนีน ปิโย โหติ มนาโป มีความว่า ชื่อว่า

ภิกษุผู้เป็นที่รักแห่งภิกษุณีทั้งหมด หาได้ยาก. แต่ต้องเป็นที่รักเป็นที่จำเริญใจ

ของพวกภิกษุณีผู้เป็นพหูสูต เป็นบัณฑิต เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลและ

อาจาระ.

คำว่า ปฏิพโล โหติ ภิกฺขุนิโย โอวทิตุ มีความว่า เมื่อแสดง

สูตรและเหตุ ชื่อว่าเป็นผู้สามารถ เพื่อจะขู่ด้วยภัยในวัฏฏะ แล้วกล่าวสอน

ภิกษุณีทั้งหลาย คือ เมื่อแสดงธรรมแก่ภิกษุณีเหล่านั้น .

บทว่า ถาสายวตฺถวสนาย แปลว่า ผู้นุ่งผ้าย้อมฝาด.

บทว่า ครุธมฺม มีความว่า ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ ไม่เคยต้องกาย

สังสัคคะกับภิกษุณี หรือว่าไม่เคยต้องเมถุนธรรมในนางสิกขมานาและสามเณรี

จริงอยู่ มาตุคาม ระลึกถึงกรรมที่ภิกษุกระทำไว้ในก่อน ย่อมไม่ทำความ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 377

เคารพในธรรมเทศนา ของภิกษุแม้ผู้ตั้งอยู่ในสังวร. อีกอย่างหนึ่ง หล่อนจะ

ยังความคิดให้เกิดขึ้นในอสัทธรรมนั่นเอง.

บทว่า วีสติวสฺโส วา มีความว่า ผู้มีพรรษา ๒๐ โดยอุปสมบท

หรือว่า มีพรรษาเกินกว่า ๒๐ แต่อุปสมบทนั้น. ภิกษุนั้น แม้จะคลุกคลีอยู่

กับวัตถุที่เป็นข้าศึกกัน มีรูปเห็นปานนั้นบ่อย ๆ ก็จะไม่พลันถึงความเสียศีล

เหมือนภิกษุหนุ่ม. ภิกษุนั้นพิจารณาดูวัยของตนแล้ว ย่อมเป็นผู้มีกำลังพอที่

จะขจัดฉันทราคะ ในฐานะอันไม่สมควรเสีย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า วีสติวสฺโส วาโหติ อติเรกวสติวสฺโส วา.

ก็บรรดาองค์ ๘ เหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบว่า คำว่า เป็นผู้มีศีลเป็นต้น

เป็นองค์ที่ ๑, คำว่า เป็นพหูสูตเป็นต้น เป็นองค์ที่ ๒, คำว่า ก็ (ปาฏิโมกข์)

ทั้ง ๒ แลของเธอ เป็นต้น เป็นองค์ที่ ๓, คำว่าเป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีเสียง

อ่อนหวาน เป็นองค์ที่ ๔, คำว่า เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพวกนางภิกษุณี

โดยมาก เป็นองค์ที่ ๕, คำว่า เป็นผู้สามารถสั่งสอนพวกนางภิกษุณี เป็น

องค์ที่ ๖, คำว่า ก็ข้อนั้นหามิได้แลเป็นต้น เป็นองค์ที่ ๗, คำว่า มีพรรษา

๒๐ เป็นต้น เป็นองค์ที่ ๘.

บทว่า ตฺติจตุตฺเถน ได้แก่ (ด้วยญัตติจตุตถกรรม) มีนัยดังกล่าว

แล้วในเรื่องก่อน ๆ นั่น แหละ.

[ว่าด้วยคุณธรรม ๘ ของนางภิกษุณี]

บทว่า ครุธมฺเมหิ คือด้วยธรรมอันหนัก จริงอยู่ ธรรมเหล่านั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ครุธรรม เพราะเป็นธรรมอันภิกษุณีทั้งหลาย

พึงกระทำความเคารพรับรอง.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 378

ในคำว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ . ภิกษุ

ใด ย่อมกล่าวสอนด้วยครุธรรมแก่ภิกษุณีผู้อุปสมบท ในสำนักแห่งภิกษุณี

ทั้งหลายฝ่ายเดียว เป็นทุกกฏแก่ภิกษุนั้น. แต่เป็นอาบัติตานวัตถุทีเดียว (แก่

ภิกษุผู้สั่งสอนนางภิกษุณี) ผู้อุปสมบทในสำนักของพวกภิกษุ.

สองบทว่า ปริเวณ สมฺมชฺชิตฺวา มีความว่า ถ้าบริเวณไม่เตียน

หรือแม้เตียนแล้วในเวลาเช้า กลับรกเพราะหญ้า และใบไม้เป็นต้น และเกิด

มีทรายกระจุยกระจาย เพราะถูกเท้าเหยียบย่ำ, ภิกษุผู้ได้รับสมมติพึงกวาด.

จริงอยู่ ภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้น เห็นบริเวณนั้นไม่เตียน พึงเป็นเหมือนผู้ไม่

อยากฟัง ด้วยสำคัญว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่ชักนำแม้พวกภิกษุหนุ่ม ผู้เป็นนิสิตก์

ของตน ในวัตรปฏิบัติ, ดีแต่แสดงธรรมอย่างเดียว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า ปริเวณ สมฺมชฺชิตฺวา.

ก็ภิกษุณีทั้งหลาย เดินมาจากภายในบ้าน ย่อมกระหายน้ำและเหน็ด

เหนื่อย. ภิกษุณีเหล่านั้น จึงหวังเฉพาะอยู่ซึ่งน้ำดื่ม และการกระทำให้มือ

เท้า และหน้าเย็น. และเมื่อน้ำนั้นไม่มี ภิกษุณีเหล่านั้น เกิดความไม่เคารพ

โดยนัยก่อนนั่นแล แล้วเป็นผู้ไม่ประสงค์จะพึงธรรม ก็ได้ เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ปานีย ปริโภชนีย อุปฏฺเปตฺวา.

บทว่า อาสน มีความว่า ก็ภิกษุผู้ได้รับสมมตินั้น พึงจัดทั้งที่นั่ง

มีชนิดตั่งเล็ก ตั้งแผ่นกระดาน เสื่ออ่อน และเสื่อลำแพนเป็นต้น โดยที่สุด

แม้กิ่งไม่พอจะหักได้ ด้วยติดอย่างนี้ว่า นี้ จักเป็นที่นั่งของภิกษุณีเหล่านั้น

แล้วพึงปรารถนาบุรุษผู้รู้เดียงสาเป็นเพื่อน เพื่อเปลื้องอาบัติในเพราะการแสดง

ธรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทุติย คเหตฺวา ดังนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 379

บทว่า นิสีทิตพฺพ มีความว่า ไม่พึงนั่งในที่สุดแดนวิหาร โดย

ที่แท้ พึงนั่งในสถานชุมนุมแห่งคนทั่วไป ใกล้ประตูแห่งโรงอุโบสถหรือโรง

ฉันในท่ามกลางวิหาร.

บทว่า สมคฺคตฺถ มีความว่า ท่านทั้งหลายมาพร้อมเพรียงกันหมด

แล้วหรือ ?

บทว่า วตฺตนฺติ แปลว่า (ครุธรรม ๘) ยังจำกันได้อยู่หรือ ?

อธิบายว่า ชำนาญ คล่องปากหรือ ?

บทว่า นิยฺยาเทตพฺโพ แปลว่า พึงมอบให้.

บทว่า โอสาเรตพฺพา ได้แก่ พึงบอกบาลี.

คำว่า วสฺสสตูปสมฺปนฺนาย เป็นต้น เป็นคำแสดงบาลีที่ภิกษุผู้ได้

รับสมมติจะพึงบอก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามีจิกมฺม ได้แก่ วัตรอันสมควร

มีการหลีกทางให้ พัดวี และถามโดยเอื้อเฟื้อด้วยน้ำดื่มเป็นต้น . ก็บรรดาวัตร

มีการอภิวาทเป็นต้นนี้ ชื่อว่าการกราบไหว้ภิกษุ อันภิกษุณีพึงกระทำแท้

ภายในบ้านก็ดี นอกบ้านก็ดี ภายในวิหารก็ดี ภายนอกวิหารก็ดี ในละแวก

บ้านก็ดี ในตรอกก็ดี โดยที่สุดแม้เมื่อการขับไล่ เพราะเหตุพระราชาเสด็จมา

เป็นไปอยู่ก็ดี เมื่อฝนกำลังตกก็ดี ในพื้นดินมีโคลนตมเป็นต้น ก็ดี มีร่มและ

บาตรอยู่ในมือก็ดี ถูกช้างและม้าเป็นต้น ไล่ติดตามก็ดี. ภิกษุณีเห็นพวกภิกษุ

เข้าสู่ที่ภิกขาจาร เดินเป็นแถวเนื่องกันเป็นแถวเดียว จะไหว้ในที่แห่งเดียว

ด้วยกล่าวว่า ดิฉันไหว้ พระคุณเจ้า ดังนี้ ก็ควร. ถ้าภิกษุทั้งหลายเดินเว้น

ระยะในระหว่าง ห่างกัน ๑๒ ศอก พึงแยกไหว้, จะไหว้ภิกษุทั้งหลายผู้นั่งอยู่

* โยขนาปาฐะ ๒/๔๑ เป็น ฉตฺตปตฺตหตฺถายปิ... ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 380

ในที่ประชุมใหญ่ ในทำแห่งเดียวเท่านั้นก็ได้. แม้ในอัญชลีกรรมก็นัยนี้. ก็

ภิกษุณีนั่งแล้วในที่ใดที่หนึ่งพึงกระทำการลุกรับ พึงกระทำกรรมนั้น ๆ ในที่

และเวลาอันสมควรแก่สามีจิกรรมนั้น ๆ.

บทว่า สกฺกตฺวา คือ กระทำโดยประการที่ธรรมซึ่งคนทำแล้ว จะ

เป็นอันทำแล้ว ด้วยดี.

บทว่า ครุกตฺวา คือ ให้เกดความเคารพในกรรมนั้น.

บทว่า มาเนตฺวา คือ กระทำความรักด้วยใจ (จริง).

บทว่า ปูเชตฺวา คือ บูชาด้วยการทำกิจ ๓ อย่างเหล่านี้แหละ.

บทว่า นาติกฺกมนีโย คือ อันภิกษุณีไม่พึงล่วงละเมิด.

[ภิกษุณีไม่พึงจำพรรษาในอาวาสไม่มีภิกษุ]

ในคำว่า อภิกฺขุเก อาวาเส นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ถ้าภิกษุ

ทั้งหลายผู้ให้โอวาทไม่ได้อยู่ในโอกาสภายในระยะกึ่งโยชน์จากสำนักแห่งภิกษุณะ

อาวาสนี้ ชื่อว่า อาวาสไมีมีภิกษุ. ภิกษุณีทั้งหลาย ไม่พึงอยู่จำพรรษาใน

อาวาสไม่มีภิกษุนี้ . สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อาวาสที่ภิกษุณี

ทั้งหลาย ไม่อาจจะไปเพื่อโอวาท หรือเพื่ออยู่ร่วมกัน ชื่อว่า ไม่มีภิกษุ และ

ไม่อาจเพื่อจะไปที่อื่นจากสำนักภิกษุณีนั้นในภายหลังภัต ฟังธรรมแล้วกลับมา.

ถ้าหมู่ญาติหรือพวกอุปัฏฐาก กล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายผู้ไม่ประสงค์จะอยู่

จำพรรษาในอาวาสนั้นอย่างนี้ว่า ขอจงอยู่เถิด แม่เจ้า พวกผมจักนำภิกษุ

ทั้งหลายมา. ดังนี้ ควรอยู่.

แต่ถ้า ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะอยู่ จำพรรษาในประเทศ มี

ประมาณดังเรากล่าวแล้ว มาพักค้างแม้ที่ปะรำกิ่งไม้คืนหนึ่ง ถูกพวกชาวบ้าน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 381

นิมนต์ไว้ จึงไม่ประสงค์จะไป,* แม้ด้วยความปรารถนาที่ภิกษุจะมาอยู่

จำพรรษาเพียงเท่านี้ ก็ชื่อว่า อาวาสมีภิกษุ. พวกภิกษุณีจะเข้าจำพรรษาใน

อาวาสนี้ ก็ควร. และเมื่อเข้าพรรษา พึงขอร้องภิกษุทั้งหลายในวัน ๑๓ ค่ำ

แห่งปักษ์นั้นแลว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! พวกดิฉันจักอยู่ด้วยโอวาทของท่าน

ทั้งหลาย.

สถานที่อยู่ของภิกษุทั้งหลายอยู่ในที่กึ่งโยชน์ โดยทางตรงจากสำนัก

ภิกษุณีใด มีอันตรายแห่งชีวิต และอันตรายแห่งพรหมจรรย์ แก่พวกภิกษุณี

ผู้ไปโดยทางนั้น, เมื่อไปโดยทางอื่น มีระยะเกินกว่ากึ่งโยชน์, อาวาสนี้ ย่อม

ทั้งอยู่ในฐานะแห่งอาวาสไม่มีภิกษุเหมือนกัน. แต่ถ้าว่ามีสำนักภิกษุณีอื่น อยู่

ในที่ปลอดภัยไกลจากสำนักภิกษุณีนั้น ประมาณคาวุตหนึ่ง, ภิกษุณีเหล่านั้น

พึงขอร้องภิกษุณีพวกนั้น แล้วกลับไปขอร้องภิกษุทั้งหลายว่า ข้าแต่พระผู้

เป็นเจ้าทั้งหลาย ! มีอันตรายในทางตรงแก่พวกดิฉัน, เมื่อไปทางอื่นมีระยะ

เกินกว่ากึ่งโยชน์, แต่ในระหว่างทาง มีสำนักภิกษุณีอื่นไกลจากสำนักของพวก

ดิฉันประมาณคาวุตหนึ่ง พวกดิฉันจักอยู่ด้วยโอวาทที่มาแล้ว ในสำนักภิกษุณี

นั้นจากสำนักพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นพึงรับรอง. ตั้งแต่นั้นไป

ภิกษุณีเหล่านั้น พึงมาสู่สำนักภิกษุณีนั้นกระทำอุโบสถ, หรือว่าเยี่ยมภิกษุณี

เหล่านั้นแล้ว กลับไปยังสำนักของ ในนั่นแหละ กระทำอุโบสถก็ได้.

ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายใคร่จะอยู่จำพรรษา มายังวิหารในวัน ๑๘ ค่ำ

และพวกภิกษุณีถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจักอยู่จำพรรษาในที่นี้หรือ ? แล้วกล่าว

ว่า เออ ภิกษุณีเหล่านั้น กราบเรียนต่อไปว่า พระผู้เป็นเจ้า ! ถ้าอย่างนั้น

แม้พวกดิฉันก็จักอยู่อาศัยโอวาทของท่านทั้งหลาย ดังนี้, ในวันรุ่งขึ้น ไม่เห็น

* แปลตามฎีกาและโยชนา ๒/๔๑.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 382

ความสมบูรณ์แห่งอาหารในบ้าน คิดว่า เราไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ จึงหลีกไป

ถ้าว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ไปสู่วิหารในวันอุโบสถ ไม่เห็นภิกษุเหล่านั้น. ถามว่า

ในอาวาสเช่นนี้ จะพึงทำอย่างไร ? แก้ว่า ภิกษุทั้งหลายอยู่ในอาวาสใด พึง

ไปเข้าพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง ณ อาวาสนั้น, หรือว่า ทำความผูกใจว่า

ภิกษุทั้งหลายจักมาเข้าพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง แล้วพึงอยู่ด้วยโอวาทใน

สำนักของพวกภิกษุผู้มาแล้ว.

ก็ถ้าว่า แม้ในวันเข้าปัจฉิมพรรษาก็ไม่มีภิกษุบางรูปมา, และใน

ระหว่างทาง มีราชภัย โจรภัย หรือทุพภิกขภัย, เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีผู้อยู่

ในอาวาสไม่มีภิกษุ, แม้ผู้ขาดพรรษาไป ก็เป็นอาบัติ, พึงรักษาอาบัติ มีการ

ขาดพรรษาเป็นเหตุนั้นไว้. จริงอยู่ ในอันตรายทั้งหลาย ท่านปรับเป็นอนาบัติ

แก่ภิกษุณีผู้อยู่ในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ.

ถ้าภิกษุทั้งหลายมาเข้าพรรษาแล้ว หลีกไปเสียอีก ด้วยเหตุบางอย่าง

ก็ตาม, พวกภิกษุณีพึงอยู่ต่อไป. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีผู้มีพวกภิกษุเข้าพรรษาแล้ว หลีกไปก็ดี สึกเสียก็ดี

กระทำกาละเสียก็ดี ไปเข้าฝักฝ่ายอื่นก็ดี มีอันตรายก็ดี ผู้เป็นบ้าก็ดี ผู้เป็นต้น

บัญญัติก็ดี, แต่เมื่อจะปวารณาพึงไปปวารณาในอาวาสที่มีพวกภิกษุ.

บทว่า อนฺวฑฺฒมาส แปลว่า ทุก ๆ กึ่งเดือน.

สามบทว่า เทฺว ธมฺมา ปจฺจาสึสิตพฺพา คือ พึงปรารถนา

ธรรม ๒ อย่าง.

บทว่า อุโปสถปุจฺฉก แปลว่า ถามถึงอุโบสถ ในการถามถึง

อุโบสถนั้น ในอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พึงไปถามอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำแห่งปักษ์

ในอุโบสถ ๑๔ ค่ำ พึงไปถามอุโบสถในวัน ๑๓ ค่ำ แห่งปักษ์. แต่ในมหา-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 383

ปัจจรีกล่าวว่า พึงไปถามในดิถีที่ ๑๓ ค่ำแห่งปักษ์นั่นแลว่า อุโบสถนี้ ๑๔ ค่ำ

หรือ ๑๕ ค่ำ. ในวันอุโบสถ พึงเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่โอวาท ก็ตั้งแต่วัน

แรมค่ำ ๑ ไป พึงไปเพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงประทานโอกาสแก่กรรมอื่น ทรงบัญญัติการไปติดต่อกันในสำนักของ

ภิกษุทั้งหลายเท่านั้น แก่พวกภิกษุณีด้วยประการอย่างนั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะ

มาตุคามมีปัญญาน้อย. จริงอยู่ มาตุคามมีปัญญาน้อย การฟังธรรมเป็นนิตย์

มีอุปการะมากแก่เธอ (แก่มาตุคามนั้น ). และเมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุณีทั้งหลาย

จักไม่กระทำมานะว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ย่อมรู้ธรรมที่พวกเรารู้อยู่เท่านั้น

แล้วจักเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุสงฆ์ กระทำการบรรพชาให้มีประโยชน์. เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงทำ (การบัญญัติ) อย่างนั้น . ฝ่ายภิกษุณี

ทั้งหลาย สำคัญว่า เราทั้งหลายจักปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอน จึงเข้าไปยังวิหาร

ไม่ขาดทั้งหมดทีเดียว.

[ว่าด้วยภิกษุณีสงฆ์เข้าไปหาภิกษุสงฆ์เพื่อรับโอวาท]

สมจริงดังคำที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั่นแล

ภิกษุณีสงฆ์ทั้งหมด ย่อมไปรับโอวาท. พวกมนุษย์ย่อมโพนทะนา ติเตียน

ยกโทษว่า ภิกษุณีเหล่านี้ เป็นเมียของภิกษุพวกนี้, เหล่านี้ เป็นชู้สาวของภิกษุ

เหล่านั้น, บัดนี้ ภิกษุเหล่านี้จักอภิรมย์กับภิกษุณีเหล่านี้ ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย

จึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุณีสงฆ์ ไม่พึงไปรับโอวาททั้งหมด ถ้าไปรับ (ทั้งหมด)

ต้องทุกกฏ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ภิกษุณี ๔ - ๕ รูปไปรับโอวาท

ดังนี้. ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านก็โพนทะนาอีกเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอีกว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ภิกษุณี ๒-๓ รูปไปรับโอวาท

ดังนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 384

เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุณีสงฆ์พึงขอร้องภิกษุณี ๒-๓ รูปแล้วส่งไปว่า

ไปเถิดแม่เจ้า ! จงขอการเข้าไปรับโอวาทกะภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า !

ภิกษุณีสงฆ์ขอการเข้าไปเพื่อรับโอวาทกะภิกษุสงฆ์ ดังนี้. ภิกษุณีเหล่านั้น

พึงไปยังอาราม แต่นั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ผู้รับโอวาทไหว้แล้ว, ภิกษุณี

รูปหนึ่งพึงกราบเรียนภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์

ย่อมไหว้เท้าแห่งภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า

นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท ดังนี้.

ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้แสดงปาฏิโมกข์ แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านขอรับ ! ภิกษุณีสงฆ์ย่อมไหว้เท้าของภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามาเพื่อรับ

โอวาท, ท่านขอรับ ! นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์ จงได้ซึ่งการเข้ามาเพื่อรับโอวาท

ดังนี้. ภิกษุผู้แสดงปาฏิโมกข์พึงกล่าวว่า มีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้

สั่งสอนภิกษุณีหรือ ๆ ถ้ามีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี,

ภิกษุผู้แสดงปาฏิโมกข์ พึงกล่าวว่า ภิกษุชื่อโน้น สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สั่งสอน

ภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาภิกษุนั้น ดังนี้.

ถ้าไม่มีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี, ภิกษุผู้แสดง

ปาฏิโมกข์ พึงกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุรูปไหน จะสามารถสั่งสอนพวกภิกษุณี

ถ้ามีภิกษุบางรูปอาจจะสั่งสอนพวกภิกษุณีและภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๘

พึงสมมติภิกษุนั้น แล้วกล่าวว่า ภิกษุชื่อโน้น สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี,

ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาภิกษุนั้นเถิด.

แต่ใคร ๆ ก็ไม่สามารถจะสั่งสอนพวกภิกษุณี, ภิกษุผู้แสดงปาฏิโมกข์

พึงกล่าวว่า ไม่มีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี, ภิกษุณีสงฆ์

จงให้ถึงพร้อมด้วยกรรมอันน่าเลื่อมใสเถิด. จริงอยู่ ด้วยคำเพียงเท่านี้ ศาสนา

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 385

สงเคราะห์ด้วยใครสิกขาทั้งสิ้น เป็นอันเธอบอกแล้ว. ภิกษุนั้นรับว่า ดีละ

แล้วพึงบอกแก่ภิกษุณีทั้งหลายในวันแรมค่ำ ๑.

แม้ภิกษุณีสงฆ์ พึงส่งภิกษุณีเหล่านั้นไปว่า ไปเถิดแม่เจ้า ! จงถามว่า

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ย่อมได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาทหรือ ? ภิกษุณี

เหล่านั้นรับว่า ดีละ พระแม่เจ้า ! แล้วไปยังอาราม เข้าไปหาภิกษุนั้น พึง

กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ย่อมได้การเข้ามาเพื่อรับ

โอวาทหรือ ? ภิกษุนั้น พึงกล่าวว่า ไม่มีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้

สั่งสอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์ จงให้ถึงพร้อมด้วยกรรมอันน่าเลื่อมใสเถิด. ภิกษุณี

เหล่านั้น พึงรับว่า ดีละ พระผู้เป็นเจ้า !

ก็ท่านกล่าวคำพหูพจน์ว่า ตาหิ ด้วยอำนาจแห่งภิกษุณีทั้งหลายผู้มา

พร้อมกัน. ก็บรรดาภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง พึงกล่าวและพึงรับ.

ภิกษุณีนอกนี้ พึงเป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น. ก็ถ้าว่าภิกษุณีสงฆ์ก็ดี ภิกษุสงฆ์

ก็ดี ไม่ครบ (องค์เป็นสงฆ์). หรือทั้ง ๒ ฝ่ายเป็นเพียงคณะหรือบุคคลเท่านั้น

ก็ดี ภิกษุณีรูปเดียวถูกส่งไปจากสำนักภิกษุณีมากแห่ง เพื่อประโยชน์แก่โอวาท

ก็ดี. ในคำว่า ภิกฺขุนีสงฺโฆ วา น ปูรติ เป็นต้นนั้น มีพจนานุกรม

ดังต่อไปนี้

[ลำดับคำขอทั้งสองฝ่ายที่ครบสงฆ์และไม่ครบสงฆ์]

๑. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมไหว้เท้าของ

ภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้ยินว่า

พวกภิกษุณีจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

๒. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันไหว้เท้าภิกษุสงฆ์ และขอการ

เข้ามาเพื่อรับโอวาท, ได้ยินว่า ดิฉันจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 386

๓. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ ไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้า

ทั้งหลาย และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ได้ยินว่า

ภิกษุณีสงฆ์จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

๔. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีทั้งหลายไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้า

ทั้งหลาย และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท. ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ได้ยินว่า

ภิกษุณีทั้งหลาย จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

๕. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ดิฉันย่อมไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย

และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ดิฉันจงได้การเข้ามา

เพื่อรับ โอวาท.

๖. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ย่อมไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้า

และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ได้ยินว่า ภิกษุณีสงฆ์

จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

๗. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมไหว้เท้าพระผู้-

เป็นเจ้า และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีทั้งหลาย

จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

๘. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้า และขอการ

เข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ดิฉันจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท

๙. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ไหว้ ภิกษุณีทั้งหลายไหว้

และภิกษุณีไหว้เท้าของภิกษุสงฆ์ ของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายของพระผู้เป็นเจ้า

และขอ ๆ ๆ การเข้ามาเพื่อรับโอวาท ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! นัยว่า ภิกษุสงฆ์

จงได้... นัยว่า ภิกษุณีทั้งหลายจงได้ ... และนัยว่า ภิกษุณีจงได้การเข้ามา

เพื่อรับโอวาท.*

* ข้อนี้ท่านละเป็นเปยยาลไว้ ทางที่ถูกต้องแยกเปลเหมือนข้างต้น. - ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 387

ภิกษุนั้น พึงกล่าวในเวลาทำอุโบสถอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ !

ภิกษุณีทั้งหลายย่อมไหว้เท้าภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่

ผู้เจริญ ! ได้ยินว่า ภิกษุณีทั้งหลายจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ภิกษุณีไหว้เท้าภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามา

เพื่อรับโอวาท. ข้าแต่พระผู้เจริญ ! ได้ยินว่า ภิกษุณีจงได้การเข้ามาเพื่อรับ

โอวาท.

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ภิกษุณีสงฆ์ ฯ ล ฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ !

ภิกษุณีไหว้เท้าของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ! ได้ยินว่า ภิกษุณี จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ภิกษุณีสงฆ์ไหว้ ภิกษุณีทั้งหลายไหว้ และ

ภิกษุณีไหว้เท้าของภิกษุสงฆ์ ของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย และขอ ๆ ๆ การเข้ามา

เพื่อรับโอวาท, นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้ ... นัยว่า ภิกษุณีทั้งหลายจงได้...

และนัยว่า ภิกษุณีจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท. *

ฝ่ายภิกษุผู้สวดปาฏิโมกข์ ถ้ามีภิกษุผู้ที่สงฆ์สมมติ พึงกล่าวโดยนัย

ก่อนนั่นแหละว่า ภิกษุณีสงฆ์ จงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น, ภิกษุณีทั้งหลาย จง

เข้าไปหาภิกษุรูปนั้น, ภิกษุณีจงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น, ดังนี้. ถ้าภิกษุผู้ได้รับ

สมมติไม่มี, พึงกล่าวว่า ภิกษุณีสงฆ์จงให้ถึงพร้อมด้วยกรรมที่น่าเลื่อมใสเถิด

ภิกษุณีทั้งหลายจงให้ถึงพร้อม ... ภิกษุณีจงให้ถึงพร้อมด้วยกรรมทีน่าเลื่อมใส

เถิด. ภิกษุผู้รับโอวาทพึงนำกลับไปบอกเหมือนอย่างนั้น ในวันปาฏิบท.

ก็ภิกษุอื่น เว้นภิกษุผู้เป็นพาล ผู้อาพาธ และผู้เตรียมจะไปเสีย

ถ้าแม้นเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร จะไม่รับโอวาทไม่ได้. สมจริงดังคำที่พระผู้มี

* ข้อนี้เวลาแปลจริงต้องแยกแปลเป็นข้อ ๆ เหมือนข้างต้น. - ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 388

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ

รับโอวาท เว้นภิกษุผู้เป็นพาล ผู้อาพาธ ผู้เตรียมจะไปเสีย.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้มีความประสงค์จะไปในวันอุโบสถที่

๑๔-๑๕ ค่ำ หรือในวันปาฏิบท ชื่อว่า ผู้เตรียมจะไป ถึงจะไปในวันแห่ง

ปักษ์ที่ ๒ จะไม่รับ ก็ไม่ได้ คือ ต้องอาบัติที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !

ภิกษุจะไม่รับโอวาทไม่ได้, ภิกษุใดไม่รับ. ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ ดังนี้นั่นแล.

ภิกษุรับโอวาทแล้ว ไม่บอกในโรงอุโบสถ หรือไม่นำกลับไปบอก

แก่ภิกษุณีทั้งหลายในวันปาฏิบท ย่อมไม่ควร. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุจะไม่บอกโอวาทไม่ได้. ภิกษุใดไม่บอก,

ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ. แม้คำอื่นก็ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุจะไม่

พึงนำโอวาทไปบอกไม่ได้, ภิกษุใดไม่นำไปบอก. ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ ดังนี้.

บรรดาภิกษุผู้นำโอวาทไปบอกเหล่านั้น ภิกษุผู้ถืออรัญญิกธุดงค์ พึง

ทำการนัดหมายเพื่อนำไปบอก. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร รับโอวาทและทำ

การนัดหมายว่า เราจักนำไปบอก ในที่นี้ ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้อยู่ป่า

เป็นวัตร ถ้าหากได้ภิกษาในบ้านเป็นที่อยู่ของภิกษุณีทั้งหลาย. พึงเที่ยวไปใน

บ้านนั้นนั่นแหละ พบพวกภิกษุณีบอกแล้วจึงไป. ถ้าที่บ้านนั้น ภิกษาเป็น

ของหาไม่ได้ง่ายสำหรับเธอ, พึงเที่ยวไปในบ้านใกล้เคียง แล้วมาบ้านของ

พวกภิกษุณีทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. ถ้าหากจะต้องไปไกล พึงทำการ

นัดหมายว่า เราจักเข้าไปยังสภา มณฑป หรือว่า โคนไม้ ชื่อโน้น ใกล้

ประตูบ้านของพวกท่าน, พวกท่านพึงมาที่สภาเป็นต้นนั้น . พวกภิกษุณีพึงไป

๑. วิ. จุล ล. ๗/๓๔๒. ๒-๓-๔-๕ วิ. จุลฺล. ๗/๓๔๑ - ๓๔๓.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 389

ที่สภาเป็นต้นนั้น จะไม่ไปไม่ได้, สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ไปสู่ที่นัดหมายไม่ได้, ภิกษุณีใดไม่ไป,

ภิกษุณีนั้น ต้องทุกกฏ ดังนี้.

[ข้อว่าพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายโดย ๓ สถาน]

ในคำว่า อุภโตสงฺเฆ ตีหิ าเนหิ ปวาเรตพฺพ นี้ มีวินิจฉัยว่า

ภิกษุณีทั้งหลาย ปวารณาด้วยตนเองในวัน ๑๔ ค่ำ แล้วพึงปวารณาใน

ภิกษุสงฆ์ในวันอุโบสถ. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ (ภิกษุณีทั้งหลาย) ปวารณาในวันนี้แล้ว พึง

ปวารณากะภิกษุสงฆ์ในวันรุ่งขึ้นอีก ดังนี้.

ก็บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ โดยนัยดังที่ตรัสไว้ในภิกขุนีขันธกะ

นั่นแล. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้น แล ภิกษุณี

สงฆ์ทั้งปวง ขณะปวารณาได้ทำการไกลาหล. ภิกษุณีทั้งหลายบอกเรื่องนั้น

แก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้

สมมติภิกษุณีรูปหนึ่ง ผู้ฉลาด สามารถ ให้ปวารณากะภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์

แก่ภิกษุณีสงฆ์. ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แลภิกษุณีสงฆ์พึงสมมติอย่างนั้น คือ

ภิกษุณีสงฆ์ พึงขอร้องภิกษุณีรูปหนึ่งก่อน. ครั้นขอร้องแล้ว ภิกษุณีผู้ฉลาด

สามารถ พึงเผดียงสงฆ์ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ! ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความ

พรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้ปวารณาภิกษุสงฆ์

เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุณีสงฆ์, นี้เป็นคำญัตติ. ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงพึง

ข้าพเจ้า, สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่

๑-๒ วิ. จุลฺล. ๗/๓๔๓.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 390

ภิกษุณีสงฆ์ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่

ภิกษุณีสงฆ์ ย่อมควรแก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่งอยู่, ย่อมไม่ควร

แก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงพูดขึ้น. ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้ปวารณา

ภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุณีสงฆ์ ย่อมควรแก่สงฆ์ เพราะเหตุนั้น

สงฆ์จงนิ่งอยู่, ข้าพเจ้าจะทรงไว้ซึ่งความเป็นผู้นิ่งอยู่แห่งสงฆ์อย่างนี้*.

ภิกษุณีทีสงฆ์สมมตินั้น พาภิกษุณีสงฆ์เข้าไปหาภิกษุสงฆ์แล้ว ทำ

ผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประคองอัญชลี พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่

พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ ย่อมปวารณากะภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย

ได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความ

อนุเคราะห์ว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์, ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่จักกระทำคืน ข้าแต่พระ

ผู้เป็นเจ้า ! แม้ครั้งที่ ๒ . . .ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุณีสงฆ์

ฯลฯ จักทำคืน ดังนี้.

ถ้าภิกษุณีสงฆ์ ไม่ครบ (องค์เป็นสงฆ์), นางภิกษุณีทีสงฆ์สมมติ

พึงกล่าว ๓ ครั้งอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีทั้งหลายปวารณา

ภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ฟังก็ตาม ด้วยรังเกียจก็ตาม, ข้าแต่

พระผู้เป็นเจ้า ! ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความอนุเคราะห์ว่ากล่าวพวกภิกษุณี

ภิกษุณีทั้งหลายเห็นอยู่ จักทำคืน และว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ดิฉันปวารณา

ภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ฟังก็ตาม ด้วยรังเกียจก็ตาม, ข้าแต่

พระผู้เป็นเจ้า ! ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความอนุเคราะห์ว่ากล่าวดิฉัน . ดิฉันเห็น

อยู่จักทำคืน ดังนี้.

ถ้าภิกษุสงฆ์ไม่ครบ (องค์เป็นสงฆ์) พึงกล่าว ๓ ครั้งอย่างนี้ว่า ข้าแต่

พระผู้เป็นเจ้า ภิกษุณีสงฆ์ปวารณากะพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ตาม

* วิ. จุลฺล. ๗/๓๖๒.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 391

ด้วยได้ฟังก็ตาม ด้วยรังเกียจก็ตาม ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงอาศัยความ

อนุเคราะห์ว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์, ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่ จักทำคืน, และว่า ข้าแต่

พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ปวารณากะพระผู้เป็นเจ้า ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วย

ได้ฟังก็ตาม ด้วยรังเกียจก็ตาม, ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอาศัยความอนุเคราะห์

ว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์, ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่ จักคำคืน ดังนี้.

เมื่อไม่ครบสงฆ์แม้ทั้ง ๒ ฝ่าย พึงกล่าว ๓ ครั้ง อย่างนี้ว่า ข้าแต่

พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ! ภิกษุณีทั้งหลายปวารณากะพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ด้วย

ได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี, พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงอาศัยความ

อนุเคราะห์ว่ากล่าวภิกษุณีทั้งหลาย ๆ เห็นอยู่ จักกระทำคืน, และว่า ข้าแต่

พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีทั้งหลายปวารณากะพระผู้เป็นเจ้า ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย

ได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอาศัย

ความอนุเคราะห์ ว่ากล่าวภิกษุณีทั้งหลาย ๆ เห็นอยู่ จักกระทำคืน ดังนี้, ว่า

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ! ดิฉันปวารณากะพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ด้วย

ได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี, ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงอาศัย

ความอนุเคราะห์ว่ากล่าวดิฉัน ๆ เห็นอยู่ จักกระทำคืน และว่า ข้าแต่พระผู้-

เป็นเจ้า ! ดิฉันปวารณากะพระผู้เป็นเจ้า ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วย

รังเกียจก็ดี ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอาศัยความอนุเคราะห์ว่ากล่าวดิฉัน ๆ เห็นอยู่

จักกระทำคืน ดังนี้.

การประพฤติมานัต และการแสวงหาการอุปสมบท จักมีแจ้งในที่

ตามควรแก่ฐานะนั่นแล.

ข้อว่า น ภิกฺขุนิยา เกนจิ ปริยาเยน มีความว่า ภิกษุณีอย่า

พึงด่า อย่าพึงบริภาษภิกษุด้วยอักโกสวัตถุ ๑. หรือด้วยคำเปรียบเปรยอะไร

อย่างอื่น และไม่พึงขู่ภิกษุด้วยภัย.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 392

บทว่า โอวโฏ ได้แก่ ปิด คือ กั้น ห้าม. ถ้อยคำนั้น แหละ ชื่อว่า

พจนบถ.

บทว่า อโนโฏ ได้แก่ ไม่ปิด คือ ไม่กั้น ไม่ห้าม. เพราะเหตุนั้น

ภิกษุณีทั้งอยู่ในฐานแห่งความเป็นผู้ใหม่ คือ ในฐานแห่งผู้เป็นหัวหน้า อย่า

พึงว่ากล่าว อย่าพึงสั่งสอนภิกษุโดยปริยายใด ๆ ว่า ท่านจงเดินหน้าอย่างนี้,

จงถอยกลับอย่างนี้, จงนุ่งอย่างนี้, จงห่มอย่างนี้. แต่เห็นโทษแล้ว จะแสดง

โทษที่มีอยู่โดยนัยเป็นต้นว่า พระมหาเถระทั้งหลายในปางก่อน ย่อมไม่เดินไป

ข้างหน้า ไม่ถอยหลัง ไม่นุ่ง ไม่ห่มอย่างนั้น, ย่อมไม่ทรงแม้ผ้ากาสาวะเช่นนี้

ไม่หยอดนัยน์ตาอย่างนั้น ดังนี้ ควรอยู่.

ส่วนภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าว สั่งสอนภิกษุณี คามสะดวกว่า แม่

สมณีแก่นี้ ย่อมนุ่งอย่างนี้ ย่อมห่มอย่างนี้, อย่านุ่งอย่างนี้ อย่าห่มอย่างนี้,

อย่ากระทำกรรมเกี่ยวด้วยเมล็ดงา และเกี่ยวด้วยใบไม้เป็นต้น ควรอยู่.

สองบทว่า สมคฺคมฺหยฺยาติ ภณนฺต ได้แก่ กะภิกษุณีสงฆ์ ผู้กล่าว

อยู่ว่า พวกดิฉันพร้อมเพรียงกัน พระผู้เป็นเจ้า !

คำว่า อญฺ ธมฺม ภณติ ได้แก่ (สั่งสอน) สูตร หรืออภิธรรม

อย่างอื่น, ก็พวกภิกษุณีย่อมหวังเฉพาะโอวาทด้วยคำว่า สมคฺคมฺหยฺย.

เพราะเหตุนั้น จึงเป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้กล่าวธรรมอื่นเว้นโอวาทเสีย.

สองบทว่า โอวาท อนิยฺยาเทตฺวา ได้แก่ ไม่กล่าวว่า ดูก่อน

น้องหญิง ! ในโอวาท, กรรม คือ ภิกขุโนวาทกสมมติ (การสมมติภิกษุผู้

สั่งสอนภิกษุณี) ผู้ศึกษาพึงทราบว่า กรรม ในคำว่า อธมฺมกมฺเม เป็นต้น .

บรรดากรรม มีกรรมไม่เป็นธรรมเป็นต้นนั้น ในกรรมไม่เป็นธรรม เป็น

ปาจิตตีย์ ๑๘ ตัว ด้วยอำนาจแห่งหมวด ๙ ๒ หมวด. ในกรรมเป็นธรรม

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 393

ไม่เป็นอาบัติ ในบทสุดท้ายแห่งหมวด ๙ หมวดที่ ๒. ในบทที่เหลือเป็น

ทุกกฏ ๑๗ ตัว.

สองบทว่า อุทฺเทส เทนฺโต ได้แก่ ผู้แสดงบาลีแห่งครุธรรม ๘.

สองบทว่า ปริปุจฺฉ เทนฺโต มีความว่า ผู้กล่าวอรรถกถาแห่งบาลี

ครุธรรมที่คล่องแคล่วนั้นนั่นแล.

หลายบทว่า โอสาเรหิ อยฺยาติ วุจฺจมาโน โอสาเรติ มีความว่า

ภิกษุผู้อันภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ ย่อมสวดบาลีครุธรรม ๘ ภิกษุผู้ให้อุเทศ

ผู้ให้ปริปุจฉาอย่างนี้ และภิกษุผู้อันภิกษุณีกล่าวว่า นิมนต์สวดเถิด สวด

ครุธรรม ๘, ไม่เป็นอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุนั้น ไม่เป็นอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุผู้

กล่าวธรรมอื่น.

หลายบทว่า ปญฺห ปุจฉติ ปญฺห ปุฏฺโ กเถติ มีความว่า

ภิกษุณีย่อมถามปัญหาอิงครุธรรม หรืออิงธรรมมีชันธ์เป็นต้น . ไม่เป็นอาบัติ

แม้แก่ภิกษุผู้กล่าวแก้ปัญหานั้น.

สองบทว่า อญฺสฺสตฺถาย ภณนฺต มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลาย

เข้าไปหาภิกษุผู้กำลังแสดงธรรมในบริษัท ๔ แล้วฟังอยู่. แม้ในการกล่าวเพื่อ

ประโยชน์แก่คนอื่นนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ.

สองบทว่า สิกฺขมานาย สามเณริยา คือ ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุ

ผู้แสดงแก่สิกขมานาและสามเณรีเหล่านั้น. บทที่เหลือ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนปทโสธรรมสิกขาบท เกิดขึ้นทางวาจา ๑

ทางวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัติวัชชะ

วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

โอวาทสิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 394

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระจูฬปันถกเถระ

[๔๒ ] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระเถระ

ทั้งหลาย ผลัดเปลี่ยนกันกล่าวสอนพวกภิกษุณี สมัยนั้น ถึงวาระของท่าน

พระจูฬปันถกที่จะกล่าวสอนพวกภิกษุณี ๆ พูดกัน อย่างนี้ว่า วันนี้โอวาทเห็น

จะไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะประเดี๋ยวพระคุณเจ้าจูฬปันถกจะกล่าวอุทานอย่าง

เดิมนั่นแหละซ้ำ ๆ ซาก ๆ แล้วพากันเข้าไปหาท่านพระจูพปันถก อภิวาท

แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ท่านพระจูฬปันถกได้ถามภิกษุณีเหล่านั้น ผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ว่า

พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ น้องหญิงทั้งหลาย.

ภิกษุณี. พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า

จูฬ. ครุธรรม ๘ ประการยังเป็นไปดีอยู่หรือ น้องหญิงทั้งหลาย.

ภิกษุณี. ยังเป็นไปดีอยู่ เจ้าข้า.

ท่านพระจูฬปันถกสั่งว่า นี่แหละเป็นโอวาทละ น้องหญิงทั้งหลาย

แล้วได้กล่าวอุทานนี้ซ้ำอีก ว่าดังนี้.

ความโศก ย่อมไม่มีแก่มนุษย์ ผู้มีจิตตั้ง

มั่น ไม่ประมาท ศึกษาอยู่ในโมเนยยปฏิปทา

ผู้คงที่ ผู้สงบระงับ มีสติทุกเมื่อ.

[๔๒๕] ภิกษุณีทั้งหลายได้สนทนากันอย่างนี้ว่า เราได้พูดแล้วมิใช่

หรือว่า วันนี้ โอวาทเห็นจะไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะประเดี๋ยวพระคุณเจ้า

จูฬปันถกจะกล่าวอุทานอย่างเดิมนั่นแหละซ้ำ ๆ ซาก ๆ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 395

ท่านพระจูฬปันถกได้ยินคำสนทนานี้ของภิกษุณีพวกนั้น ครั้นแล้ว

ท่านเหาะขึ้นสู่เวหา จงกรมบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง ทำให้

ควันกลุ้มตลบขึ้นบ้าง ทำให้เป็นไฟโพลงขึ้นบ้าง หายตัวบ้าง อยู่ในอากาศ

กลางหาว กล่าวอุทานอย่างเติมนั้น และพระพุทธพจน์อย่างอื่นอีกมาก.

ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวชมอย่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์นักชาวเราเอ๋ย ไม่เคย

มีเลยชาวเราเอ๋ย ในกาลก่อนแต่นี้ โอวาทไม่เคยสำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา

เหมือนโอวาทของพระคุณเจ้าจูฬปันถกเลย คราวนั้นท่านพระจูฬปันถกกล่าว

สอนภิกษุณีเหล่านั้นจนพลบค่ำ ย่ำสนธยา แล้วได้ส่งกลับด้วยคำว่า กลับไป

เถิด น้องหญิงทั้งหลาย จึงภิกษุณีเหล่านั้น เมื่อเขาปิดประตูเมืองแล้ว ได้

พากันพักแรมอยู่นอกเมือง รุ่งสายจึงเข้าเมืองได้ ประชาชนพากันเพ่งโทษ

ติเตียนโพนทะนาว่า ภิกษุณีพวกนี้เหมือนไม่ใช่สตรีผู้ประพฤติพรหมจรรย์

พักแรมอยู่กับพวกภิกษุในอารามแล้ว เพิ่งจะพากันกลับเข้าเมืองเดี๋ยวนี้ ภิกษุ

ทั้งหลายได้ยินประชาชนพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มัก

น้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระจูฬปันถก เมื่อ

พระอาทิตย์ตกแล้ว จึงยังได้กล่าวสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า แล้วกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนจูฬปันถก ข่าวว่า เมื่อ

พระอาทิตย์ตกแล้ว เธอยังกล่าวสอนพวกภิกษุณีอยู่ จริงหรือ.

พระจูฬปันถกทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 396

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนจูฬปันถก เมื่อพระ-

อาทิตย์ตกแล้ว ไฉนจึงยังได้กล่าวสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า การกระทำของเธอ

นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ

เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๗๑.๒. ถ้าภิกษุ แม้ได้รับสมมติแล้ว เมื่อพระอาทิตย์อัสดง

แล้ว กล่าวสอนพวกภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องจูฬปันถกเถระ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๒๖] ผู้ชื่อว่า ได้รับ สมมติแล้ว คือ ได้รับสมมติแล้วด้วยญัตติ-

จตุตถกรรม.

คำว่า เมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว คือ เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้ว.

ผู้ชื่อว่า พวกภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

บทว่า กล่าวสอน ความว่า กล่าวสอนด้วยครุธรรม ๘ ประการ

หรือด้วยธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 397

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๒๗] พระอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุสำคัญว่า อัสดงแล้ว กล่าว

สอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่อัสดง กล่าวสอน ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระอาทิทย์ยังไม่อัสดง ภิกษุสำคัญว่าอัสดงแล้ว กล่าวสอน ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

พระอาทิตย์ยังไม่อัสดง ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

พระอาทิตย์ยังไม่อัสดง ภิกษุสำคัญว่ายังไม่อัสดง กล่าวสอน ไม่

ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๒๘] ภิกษุให้อุเทศ ๑ ภิกษุให้ปริปุจฉา ๑ ภิกษุอันภิกษุณีกล่าว

ว่า นิมนต์ท่านสวดเถิด เจ้าข้า ดังนี้ สวดอยู่ ๑ ภิกษุถามปัญหา ๑ ภิกษุ

ถูกถามปัญหาแล้วแก้ ๑ ภิกษุกล่าวสอนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นอยู่ แต่พวก

ภิกษุณีฟังอยู่ด้วย ๑ ภิกษุกล่าวสอนสิกขมานา ๑ ภิกษุกล่าวสอนสามเณรี ๑

ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 398

ภิกขุนีวรรค อัตถังคตสิกขาบทที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถคาถาของพระจูฬบันถกเถระ]

บทว่า ปริยาเยน คือ ตามวาระ ความว่า ตามลำดับ.

บทว่า อธิเจตโส คือ ผู้มีอธิจิต อธิบายว่า ผู้ประกอบด้วยจิตที่

ยิ่งกว่าจิตทั้งหมด คือ อรหัตผลจิต.

บทว่า อปฺปมฺชฺชโต คือ ผู้ไม่ประมาท. มีคำอธิบายว่า ผู้ประกอบ

ด้วยการบำเพ็ญกุศลธรรมติดต่อกัน ด้วยความไม่ประมาท.

บทว่า มุนิโน มีความว่า ญาณ ตรัสเรียกว่า โมนะ เพราะรู้โลกทั้ง

๒ อย่างนี้ว่า ผู้ใด ย่อมรู้โลกทั้ง ๒ ผู้นั้น เราเรียกว่า มุนี เพราะเหตุนั้น

หรือ พระขีณาสพ ตรัสเรียกชื่อว่า มุนี เพราะประกอบด้วยญาณนั้น แก่

มุนีนั้น.

สองบทว่า โมนปเถสุ สิกฺขโต มีความว่า ผู้ศึกษาอยู่ในทางแห่ง

ญาณชื่อโมนะ กล่าวคือ อรหัตมรรคญาณ คือ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗

หรือ ในไตรสิกขา. ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคตรัสหมายเอาปฏิปทาเป็นต้นส่วนเบื้อง

ต้น . เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงเห็นใจความในคำว่า มุนิโน โมนปเถสุ

สิกฺขโต นี้ อย่างนี้ว่า แก่มุนีผู้ศึกษาอยู่ในธรรมเป็นต้นส่วนเบื้องต้น อย่างนี้

บรรลุความเป็นมุนีด้วยการศึกษานี้.

บทพระคาถาว่า โสกา น ภวนฺติ ตาทิโน มีความว่า ความโศก

ทั้งหลาย เพราะเรื่องมีการพลัดพรากจากอิฏฐารมณ์เป็นต้น ในภายใน (ในจิต)

ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสวมุนีผู้คงที่. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ตาทิโน นี้ มี

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 399

ใจความแม้อย่างนี้ว่า ความโศกทั้งหลายย่อมไม่มีแก่มุนีผู้ประกอบด้วยลักษณะ

คงที่เห็นปานนี้.

บทว่า อุปสนฺตสฺส ได้แก่ ผู้สงบระงับเพราะสงบกิเลสมีราคะ

เป็นต้นได้.

บทว่า สทา สตีมโต ได้แก่ ผู้ไม่เว้น จากสติ ตลอดกาลเป็นนิตย์

เพราะเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ.

สองบทว่า อากาเส อนฺตลิกเข ได้แก่ ในอากาศ กล่าวคือ

กลางหาว, ไม่ใช่อากาศเพิกกสิณ ไม่ใช่อากาศเป็นเครื่องกำหนดรูป.

สองบทว่า จงฺกมติปิ ติฏฺติปิ มีความว่า พระจูฬปันถกเถระได้

ฟังถอยคำของภิกษุณีเหล่านั้น คิดว่า ภิกษุณีเหล่านี้ ดูหมิ่นเราว่า พระเถระ

รูปนี้ รู้ธรรมเพียงเท่านี้แหละ, เอาละ ! บัดนี้ เราจะแสดงอานุภาพของตน

แก่ภิกษุณีเหล่านี้ จึงยังความเคารพมาก ในธรรมให้เกิดขึ้นแล้ว เข้าจตุตถ-

ฌาน มีอภิญญาเป็นบาท ออกแล้วได้แสดงอิทธิปาฎิหาริย์เห็นปานนี้ คือ

เดินจงกรมในอากาศกลางหาวบ้าง ฯ ล ฯ หายตัวไปในระหว่างบ้าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺตรา ปิธายติ มีความว่า หายตัว

ไปบ้าง คือไปไม่ปรากฎให้เห็นบ้าง.

ข้อว่า ตญฺเว อุทาน ภณติ อญฺญฺจ พหุ พุทฺธวจน มี

ความว่า ได้ยินว่า พระเถระถูกให้เรียนคาถาม ในสำนักของพระเถระผู้เป็น

หลวงพี่ของตนว่า

ดอกบัวชื่อโกกนุท มีกลิ่นหอม พึง

บานแต่เช้า ยังไม่วายกลิ่น ฉันใด, ท่านจงดู

พระอังคีรส ผู้รุ่งโรจน์เหมือนดวงอาทิตย์

แผดรัศมีรุ่งโรจน์อยู่ในกลางหาว ฉันนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 400

ได้สาธยายถึง ๔ เดือน แต่ไม่อาจทำให้คล่องแคล่วได้.

ครั้งนั้น พระเถระ (หลวงพี่) จึงขับไล่พระจูฬบันถกนั้น ไปเสียจาก

วิหาร ด้วยกล่าวว่า เธอเป็นคนอาภัพในพระศาสนานี้. ท่านได้ยืนร้องไห้อยู่

ที่ซุ้มประตู. คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูพุทธเวไนยสัตว์ ทอด

พระเนตรเห็นท่านแล้ว จึงเสด็จไปใกล้ ๆ ท่าน ดุจเสด็จเที่ยวไปยังวิหารจาริก

ตรัสว่า จูฬบันถก ! เธอร้องให้ทำไม ท่านจึงกราบทูลเรื่องราวนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประทานท่อนผ้าอันสะอาดแก่ท่าน

ตรัสว่า เธอจงลูบคลำผ้านี้ว่า ผ้าเช็ดธุลี. ท่านรับว่า สาธุ แล้ว นั่งในที่อยู่ของ

ตนลูบคลำที่สุดด้านหนึ่งแห่งผ้านั้น. ที่ที่ถูกลูบคลำนั้น ได้กลายเป็นสีดำ

ท่านกลับ ได้ความสลดใจว่า ผ้าชื่อว่าแม้บริสุทธิ์อย่างนี้ อาศัยอัตภาพนี้ กลับ

กลายเป็นสีดำ ดังนี้ แล้ว จึงปรารภวิปัสสนา. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบว่า ท่านปรารภความเพียร ได้ทรงภาษิตโอภาสคาถานี้ว่า อธิเจตโส

เป็นต้น . พระเถระบรรลุพระอรหัตผลในเวลาจบคาถา. เพราะเหตุนั้น พระ

เถระจึงเคารพรักคาถานี้ ตามปรกติเทียว. ท่านกล่าวคาถานี้นั่นแล เพื่อให้

ทราบความเคารพรักคาถานี้นั้น และนำพุทธพจน์อื่นเป็นอันมากมากล่าวอยู่ใน

ระหว่าง. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า กล่าว

อุทานั้นนั่นแล และพระพุทธพจน์อย่างอื่นเป็นอันมาก.

สองบทว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย ได้แก่ ภิกษุณีผู้อุปสมบทใน

ภิกษุณีสงฆ์. แต่เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณีผู้อุปสมบทในภิกษุ

สงฆ์. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ท่านทั้งนั้น. และแม้สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน

เหมือนปทโสธรรมสิกขาบทนั่นแล.

อัตถังคตสิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 401

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๔๒๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ

นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์

เข้าไปสู่สำนัก ภิกษุณี แล้วกล่าวสอนภิกษุณีฉัพพัคคีย์อยู่.

ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีฉัพพัคคีย์ว่า มาเถิด แม่เจ้า

ทั้งหลาย พวกเราจักไปรับโอวาทกัน.

ภิกษุณีฉัพพัคคีย์พูดว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พวกเราจะต้องไปเพราะเหตุ

แห่งโอวาททำไม เพราะพระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์กล่าวสอนพวกเราอยู่ ที่นี้แล้ว.

ภิกษุณีทั้งหลายต่างพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระ-

ฉัพพัคคีย์จึงเข้ามากล่าวสอนพวกภิกษุณีถึงสำนักภิกษุณีเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้น

แก่ภิกษุทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุที่มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน

พระฉัพพัคคีย์จึงได้เข้าไปกล่าวสอนพวกภิกษุณีถึงสำนักภิกษุณีเล่า แล้วกราบ

ทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่าพวกเธอเข้าไปกล่าวสอนพวกภิกษุณี ถึงสำนักภิกษุณี จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 402

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้เข้าไปกล่าวสอนพวกภิกษุณีถึงสำนักภิกษุณีเล่า การกระทำของ

พวกเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ

ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๓๒. ๓. ก. อนึ่ง ภิกษุใด เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณี แล้ว

สั่งสอนพวกภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

[๔๓๐] ต่อจากสมัยนั้นมา พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีอาพาธ พระเถระ

ทั้งหลาย พากันเข้าไปเยี่ยมพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีถึงสำนัก แล้วได้กล่าว

คำนี้กะพระเถรีว่า ดูก่อนพระโคตมี ท่านยังพอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพ

เป็นไปได้หรือ

พระมหาปชาบดีโคตมีตอบว่า ดิฉัน ทนไม่ไหว ให้อัตภาพเป็นไป

ไม่ได้เจ้าข้า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดแสดงธรรมเถิด เจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 403

ดูก่อนน้องหญิง การเข้ามาสู่สำนักภิกษุณีแล้วแสดงธรรมแก่ภิกษุณี

ยังไม่สมควรก่อน พระเถระเหล่านั้นกล่าวดังนี้แล้วต่างก็รังเกียจอยู่ ไม่แสดง

ธรรม.

ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตร

จีวรเสด็จเข้าไปเยี่ยมพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีถึงสำนัก ประทับนั่งบนอาสนะ

ที่เขาจัดถวายแล้วได้ตรัสดำนี้กะพระมหาปชาบดีโคตมีว่า ดูก่อนโคตมี เธอยัง

พอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ

พระมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลว่า เมื่อก่อนพระเถระทั้งหลายพากันมา

แสดงธรรมแก่หม่อมฉัน เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงมีความสำราญ แต่บัดนี้

ท่านกล่าวว่าพระองค์ทรงห้ามแล้ว จึงรังเกียจไม่แสดง เพราะเหตุนั้นหม่อมฉัน

จึงไม่มีความสำราญ พระพุทธเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีให้

เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากอาสนะ

เสด็จกลับ ครั้นนั้นแล้วพระองค์ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น

ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้เข้าไปสู่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีผู้อาพาธได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้

พระอนุบัญญัติ

๗๒. ๓. ข. อนึ่ง ภิกษุใด เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณีแล้ว

สั่งสอนพวกภิกษุณี เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ สมัยในเรื่องนั้น

ดังนี้ คือ ภิกษุณีอาพาธ นี้เป็นสมัยในเรื่องนั้น.

เรื่องพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 404

สิกขาบทวิภังค์

[๔๓๑] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด.

บทว่า ภิกษุ ความว่าที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ที่อาศัยแห่งภิกษุณี ได้แก่ สถานเป็นที่พักแรมของพวก

ภิกษุณี แม้เพียงคืนเดียว.

บทว่า เข้าไป คือ ไปในสถานที่นั้น.

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

บทว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุกล่าวสอนด้วยครุธรรม ๘ ประการ

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกเว้นสมัย.

ที่ชื่อว่า ภิกษุณีอาพาธ ได้แก่ ภิกษุณีไม่สามารถจะไปรับโอวาท

หรือไปร่วมประชุมได้.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๓๒] อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี เข้าไปสู่

ที่อาศัยแห่งภิกษุณี เว้นไว้แต่สมัย สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณี ภิกษุสงสัย เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณี เว้น ไว้แต่

สมัย สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบันภิกษุณี เข้าไปสู่ที่อาศัย

แห่งภิกษุณี เว้นไว้แต่สมัย สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 405

จตุกกทุกกฏ

ภิกษุสั่งสอนด้วยธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีผู้อุปสมบทแต่สงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี. สั่งสอน ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุสงสัย ...ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบันภิกษุณี...ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๓๓] ภิกษุสั่งสอนในสมัย ๑ ภิกษุให้อุเทศ ๑ ภิกษุให้ปริปุจฉา ๑

ภิกษุอันภิกษุณีกล่าวว่า นิมนต์ท่านสวดเถิด เจ้าข้า ดังนี้ สวดอยู่ ๑ ภิกษุ

ถามปัญหา ๑ ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วแก้ ๑ ภิกษุสั่งสอนเพื่อประโยชน์แห่ง

ผู้อื่น แต่ภิกษุณีฟังอยู่ด้วย ๑ ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา ๑ ภิกษุสั่งสอนสามเณรี ๑

ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 406

ภิกขุนีวรรคที่ ๓

ภิกขุนีอุปสสยสิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้.

ในคำเป็นต้นว่า อญฺตฺรสมยา โอวทติ อาปตฺติ ปาจิตฺตยสฺส

เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้กล่าวสอนด้วยครุธรรม ๘

เท่านั้น, กล่าวสอนด้วยธรรมอื่นเป็นทุกกฏ.

สองบทว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย ได้แก่ ภิกษุณีผู้อุปสมบทใน

ภิกษุณีสงฆ์. แต่เป็นปาจิตตีย์แท้ แก่ภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณีผู้อุปสมบทใน

ภิกษุสงฆ์. อนึ่ง เบื้องหน้าแต่นี้ไปในที่ทุก ๆ แห่งที่ท่านกล่าวคำว่า เอกโต

อุปสมฺปนฺนาย ไว้ บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน. บทที่เหลือ

ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเหมือนกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑

ทางวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัติวัชชระ

กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ภิกขุนีอุปัสสยสิกขาบทที่ ๓ จบ

ข้อเบ็ดเตล็ดในสิกขาบทที่ ๓

ก็แล ในสิกขาบทที่ ๓ นี้ ท่านกล่าวปกิณกะไว้ในมหาปัจจรี ดัง

ต่อไปนี้ ถ้าว่า ภิกษุผู้มีได้รับสมมติ เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว เข้าไป

สู่สำนักภิกษุณี กล่าวสอนด้วยครุธรรม ๘ เป็นปาจิตตีย์ ๓ ตัว. เมื่อสอนด้วย

ธรรมอื่น เป็นทุกกฏ ๒ ตัว เป็นปาจิตตีย์ ๑ ตัว.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 407

คือ อย่างไร ? คือว่า ทุกกฏ มีการไม่ได้รับสมมติเป็นมูล ๑ ทุกกฏ

มีการไปสู่สำนัก ภิกษุณีแล้ว กล่าวสอนด้วยธรรมอินเป็นมูล ๑ ปาจิตตีย์ มีการ

กล่าวสอนเมื่อพระอาทิตย์อัสคงคตแล้วเป็นมูล ๑. ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้ว เมื่อ

พระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ไปในสำนักภิกษุณีนั้น กล่าวสอนอยู่ด้วยครุธรรม ๘

เป็นอนาบัติ ๑ เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว.

คือ อย่างไร ? คือว่า เป็นอนาบัติ เพราะเป็นผู้ได้รับสมมติ, เป็น

ปาจิตตีย์ ๒ ตัว คือ ปาจิตตีย์ มีการกล่าวสอนเมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว

เป็นมูลตัว ๑ ปาจิตตีย์ มีการไปกล่าวสอนด้วยครุธรรม ๘ เป็นมูลตัว ๑.

ภิกษุผู้กล่าวสอนด้วยธรรมอื่นนั่นแล เป็นอนาบัติ ๑ เป็นทุกกฏ ๑ ตัว เป็น

ปาจิตตีย์ ๑ ตัว.

คือ อย่างไร ? คือว่า เป็นอนาบัติ เพราะได้รับสมมติ เป็นทุกกฏ

มีการไปกล่าวสอนด้วยธรรมอื่นเป็นมูลตัว ๑ เป็นปาจิตตีย์ มีการกล่าวสอน

เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้วเป็นมูลตัว ๑. แต่สำหรับภิกษุผู้ได้รับสมมติ และ

ไม่ได้รับสมมติ ไปกล่าวสอนในกลางวัน บัณฑิตพึงชักปาจิตตีย์ ที่มีการ

กล่าวสอนในเวลากลางคืนเป็นมูลออกตัว ๑ แล้วทราบอาบัติและอนาบัติที่เหลือ

ฉะนี้แล.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 408

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๓๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระเถระ

ทั้งหลายสั่งสอนพวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-

ปัจจัยเภสัชบริขาร พระฉัพพัคคีย์พูดกันอย่างนี้ว่า พระเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจ

สั่งสอนพวกภิกษุณี ท่านสั่งสอนพวกภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส บรรดาภิกษุที่

มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้พูด

อย่างนี้ว่า พระเถระทั้งหลายตั้งใจสั่งสอนพวกภิกษุณี ท่านสั่งสอนพวกภิกษุณี

เพราะเห็นแก่อามิส แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ได้ยินว่าพวกเธอพูดอย่างนี้ว่า พระเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอนพวกภิกษุณี

ท่านสั่งสอนพวกภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส ดังนี้ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงพูดอย่างนี้ว่า พระเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอนพวกภิกษุณี ท่าน

สั่งสอนพวกภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส ดังนี้เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น

ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว..

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 409

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้

ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๗๓. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุสั่งสอน

พวกภิกษุณีเพราะเหตุอามิส เป็นปาจิตตีย์ .

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

สิกขาบทวิภังค์

[๔๓๕] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า เพราะเหตุอามิส คือ เพราะเหตุจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้

การบูชา.

[๔๓๖] คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ

ประสงค์จะทำให้อัปยศ ประสงค์จะทำให้เก้อเขิน กล่าวกะอุปสัมบันผู้อันสงฆ์

สมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีอย่างนี้ คือ กล่าวว่า เธอสั่งสอน เพราะเหตุ

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สักการะ ความเคารพ

ความนับถือ การกราบไหว้ การบูชา ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๓๗] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม กล่าวอย่างนั้น

ต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 410

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม กล่าวอย่างนั้น

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

[๘๓๘] ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ประสงค์จะทำให้อัปยศ ประสงค์จะ

ทำให้เก้อเขิน กล่าวกะอุปสัมบันผู้อัน สงฆ์มิได้สมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

อย่างนั้น คือ กล่าวว่า เธอสั่งสอนเพราะเหตุจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้

การบูชา ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๓๙] ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ประสงค์จะทำให้อัปยศ ประสงค์จะ

ทำให้เก้อเขิน กล่าวกะอนุปสัมบันผู้อันสงฆ์สมมติก็ตาม มิได้สมมติก็ตาม ให้

ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี อย่างนี้ คือ กล่าวว่า เธอสั่งสอนเพราะเหตุจีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สักการะ. ความเคารพ ความ

นับถือ การกราบไหว้ การบูชา ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ติกทุกกฏ

[๔๔๐] กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม... ต้อง

อาบัติทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ... ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๔๔๑] ภิกษุผู้กล่าวกะภิกษุผู้สั่งสอนเพราะเหตุจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สักการะ ความเคารพ ความนับถือ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 411

การกราบไหว้ การบูชา ตามปกติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

ภิกขุนีวรรค อามิสสิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้

บทว่า น พหุกตา คือ ไม่ทำความทั่งใจ (สอนจริง). อธิบายว่า

ไม่ทำความเคารพมากในธรรมกล่าวสอน. ผู้ศึกษาพึงทราบอรรถแห่งบท

ทั้งหลายว่า ภิกษุโนวาทก อวณฺณ กตฺตุกาโม เป็นต้น โดยนัยดังที่

กล่าวแล้วในอุชฌาปนกสิกขาบทนั่นแล. ภิกษุที่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ หรือสงฆ์

มอบภาระให้ไว้ พึงทราบว่า ชื่อว่า ภิกษุไม่ได้รับสมมติ ในคำว่า อุปสมฺปนฺน

สงฺเฆน อสมฺมต นี้.

ส่วนในคำว่า อุปสมฺปนฺน สงฺเฆน สมฺมต วา อสมฺมต วา

นี้ ภิกษุผู้ได้รับสมมติในคราวเป็นภิกษุแล้ว ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร พึงทราบ

ว่าได้รับสมมติ. สามเณรพหูสูตที่ภิกษุผู้ได้รับสมมติหรือสงฆ์มอบหน้าที่ไว้

พึงทราบว่า ผู้มีได้รับสมมติ. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้ว.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์สจิตตกะ. โลกวัชชะ กายกรรม

วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

อามิสสิกขาบทที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 412

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๔๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ

รูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตไปตามถนนแห่งหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี แม้ภิกษุณี

รูปหนึ่งก็เที่ยวบิณฑบาตไปในถนนนั้น ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นได้กล่าวคำนี้ กะ

ภิกษุณีรูปนั้นว่า ไปเถิดน้องหญิง ณ สถานที่โน้น มีผู้ถวายภิกษา แม้ภิกษุณี

รูปนั้น ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ไปเถิดพระคุณเจ้า ณ สถานที่โน้นมีผู้ถวายภิกษา

ภิกษุและภิกษุณีทั้งสองได้เป็นเพื่อนเห็นกัน เพราะได้พบกันอยู่เนือง ๆ

ก็แลสมัยนั้น พระเจ้าหน้าที่แจกจีวรกำลังแจกจีวรของสงฆ์จึงภิกษุณี

รูปนั้นไปรับโอวาท แล้วเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง

ภิกษุรูปนั้นได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีนั้นผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า

ดูก่อนน้องหญิง ส่วนจีวรของฉะนั้นเธอจักยินดีหรือไม่

ภิกษุณีรับว่า ยินดี เจ้าข้า เพราะดิฉันมีจีวรเก่า

ภิกษุนั้นได้ให้จีวรแก่ภิกษุณีนั้น แต่ภิกษุนั้นก็เป็นผู้มีจีวรเก่าอยู่

เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายจึงได้กล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า บัดนี้ ท่านจงเปลี่ยน

จีวรของท่านเถิด ภิกษุรูปนั้นได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่

มักน้อย ...ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุจึงได้ให้จีวรแก่

ภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 413

ทรงสอบถามแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า

เธอได้ให้จีวรแก่ภิกษุณี จริงหรือ.

ภิกษุรูปนั้น ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุณีนั้นเป็นญาติของเธอหรือมิใช่ญาติ.

ภิ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนโมฆบุรุษ ภิกษุผู้มีใช่ญาติย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควร

หรือไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มี ของภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ไฉน เธอจึงได้

ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ

เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อม-

ใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๗๔.๕. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เป็น

ปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๔๔๓] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่ให้จีวรแลกเปลี่ยนแก่

พวกภิกษุณี ภิกษุณีทั้งหลายจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 414

จึงไม่ให้แลกเปลี่ยนแก่พวกเรา ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินภิกษุณีเหล่านั้นเพ่งโทษ

ติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนจีวร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล

นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี

สิกขมานา สามเณร สามเณรี เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนแก่สหธรรมิก ๕ เหล่า

นี้ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้

พระอนุบัญญัติ

๗๔. ๕. ข. อนึ่ง ภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุณี ผู้ไม่ใช่ญาติ

เว้น ไว้แลถเปลี่ยน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๔๔] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทาง

บิดาก็ดี ตลาด ๗ ชั่วบุรพชนก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 415

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด ๆ ใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์

กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.

คำว่า เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน ความว่า ภิกษุให้ เว้นการแลกเปลี่ยน

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๔๕] ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้จีวร เว้นไว้

แต่แลกเปลี่ยน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้จีวร เว้น ไว้แต่แลกเปลี่ยน ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร เว้น ไว้แต่แลก

เปลี่ยน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว เว้นไว้แต่แลก

เปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 416

อนาปัตติวาร

[๔๔๖] ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ๑ ภิกษุแลกเปลี่ยน คือ เอาจีวรมีค่าน้อย

แลกเปลี่ยนจีวรมีค่ามาก หรือเอาจีวรมีค่ามากแลกเปลี่ยนจีวรมีค่าน้อย ๑

ภิกษุณีถือวิสาสะ ๑ ภิกษุณีถือเอาเป็นของขอยืม ๑ ภิกษุให้บริขารอื่นเว้น

จีวร ๑ ภิกษุให้แก่สิกขมานา ๑ ภิกษุให้สามเณรี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

ภิกขุนีวรรค จีวรทานสิกขาบทที่ ๕

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้.

บทว่า วิสิขาย แปลว่า ในตรอก.

สองบทว่า ปิณฺฑาย จรติ มีความว่า ย่อมเที่ยวไปเนือง ๆ ด้วย

สามารถแห่งการเที่ยวไปเป็นประจำ.

บทว่า สนฺทิฏฺฐา คือ ได้เป็นเพื่อนเห็นกัน. บทที่เหลือในสิกขา

บทนี้ โดยบท มีอรรถตื้น โดยวินิจฉัย พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในจีวร

ปฏิคคหณสิกขาบทนั้นแล พร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น. จริงอยู่ ในจีวร

ปฏิคคหณสิกขาบทนั้น ภิกษุเป็นผู้รับ ในสิกขาบทนี้ ภิกษุณีเป็นผู้รับ นี้เป็น

ความแปลกกัน. คำที่เหลือเป็นเช่นนั้นเหมือนกันแล.

จีวรทานสิกขาบทที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 417

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระอุทายี

[๔๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน

พระอุทายีเป็นผู้สามารถทำจีวรกรรม ภิกษุณี รูปหนึ่งเข้าไปหาท่านแล้วพูดว่า

ดิฉันขอโอกาส เจ้าค่ะ ขอพระคุณเจ้าช่วยเย็บจีวรให้ดิฉันด้วย ฝ่ายท่านพระ

อุทายีเย็บจีวรให้นางแล้ว ทำการย้อมอย่างดี ทำบริกรรมเรียบร้อยแล้ว

เขียนรูปอัน วิจิตร ตามความติดเห็นไว้ในท่ามกลางแล้วพับเก็บไว้.

ครั้นภิกษุณีนั่นเข้าไปหาท่านพระอุทายีแล้วถามว่า จีวรนั้นเสร็จแล้ว

หรือยังเจ้าค่ะ.

พระอุทายีตอบว่า เสร็จแล้ว น้องหญิง เชิญนำจีวรผืนนี้ตามที่พับ

ไว้แล้วไปเก็บไว้ เมื่อไรภิกษุณีสงฆ์มารับโอวาท จึงต่อยห่มจีวรผืนนี้เดินตาม

มาเบื้องหลังภิกษุณีสงฆ์.

ฝ่ายภิกษุณีนั้นนำจีวรตามที่พับไว้นั้น ไปเก็บไว้ ถึงคราวที่ภิกษุณี-

สงฆ์มารับโอวาท จึงห่มจีวรผืนนั้น เดินตามมาเบื้องหลังภิกษุณีสงฆ์ ประชาชน

พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ภิกษุณีพวกนี้หมดความเกรงกลัว เป็นคน

ชั่ว ไม่มียางอาย เขียนรูปอันวิจิตรตามความเห็นไว้ที่จีวรได้.

ภิกษุณีทั้งหลายถามว่า นี่ใครทำ.

ภิกษุณีนั้น ตอบว่า พระคุณเจ้าอุทายี.

ภิกษุณีทั้งหลายพูดว่า รูปอย่างนั้นไม่งาม แม้แก่พวกนักเลงที่หมด

ความเกรงกลัว ไม่มียางอาย ไฉนจะงามแก่พระคุณเจ้าอุทายีเล่า แล้วแจ้ง

เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 418

บรรดาภิกษุที่มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน

ท่านพระอุทายีจึงได้เย็บจีวรให้ภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถามแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า

เธอเย็บจีวรให้ภิกษุณี จริงหรือ.

ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ ภิกษุณีนั้นเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ.

อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนโมฆบุรุษ ภิกษุที่มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำที่สมควร

หรือไม่สมควร อาการที่น่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใส ของภิกษุณีที่มิใช่ญาติ

ไฉนเธอจึงได้เย็บจีวรให้ภิกษุณีที่มิใช่ญาติเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็น

ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ

ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๗๕.๖. อนึ่ง ภิกษุใด เย็บก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร เพื่อ

ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุทายี จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 419

สิกขาบทวิภังค์

[๔๔๘] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทาง

บิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วบุรพชนก

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด ๆ ใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์

กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.

บทว่า เย็บ คือ เย็บเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ รอยเข็ม.

บทว่า ให้เย็บ คือ ใช้ผู้อื่นเย็บ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ใช้หนเดียว แต่เย็บแม้หลายหน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๔๙] ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ เย็บก็ดี ให้เย็บ

ก็ดี ซึ่งจีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสงสัย เย็บเองก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร

ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

ภิกษุณีมิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เย็บเองก็ดี ให้เย็บก็ดี

ซึ่งจีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 420

ติกทุกกฏ

ภิกษุเย็บเองก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร เพื่อภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์

ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ...ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ.. .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๕๐] ภิกษุเย็บเพื่อภิกษุณีผู้เป็นญาติ ๑ ภิกษุเย็บเองก็ดี ให้เย็

ก็ดี ซึ่งบริขารอื่นเว้นจีวร ๑ ภิกษุเย็บเพื่อสิกขมานา ๑ ภิกษุเย็บเพื่อสามเณรี ๑

ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

ภิกขุนีวรรค จีวรสิพพนสิกขาบทที่ ๖

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้

[แก้อรรถ เรื่องเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ]

คำว่า อุทายี ได้แก่ พระโลลุทายี.

บทว่า ปฏฺโฐ แปลว่า ผู้มีความสามารถ. มีคำอธิบายว่า เป็นผู้

เข้าใจและสามารถ.

สองบทว่า อญฺตรา ภิกฺขุนี ได้แก่ ภิกษุณีผู้เป็นภรรยาเก่า

พระอุทายีนั้นนั่นเอง.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 421

บทว่า ปฏิภาณจิตฺต ได้แก่ มีความงดงามอันทำด้วยปฏิภาณของตน.

ได้ยินว่า พระโลลุทายีนั้น ย้อมจีวรแล้ว ได้กระทำรูปหญิงกับชายกำลังทำ

เมถุนกัน ด้วยสีต่าง ๆ ในท่ามกลางแห่งจีวรนั้น เพราะเหตุนั้น พระธรรม

สังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวว่า มชฺเฌ ปฏิภาณจิตฺต วุฏฺาเปตฺวา

เป็นต้น.

บทว่า ยถาสหริตฺวา คือ ตามที่พับไว้แล้วนั่นแหละ.

บทว่า จีวร ได้แก่ จีวรที่ภิกษุอาจเพื่อจะนุ่งหรือห่มได้. จริงอยู่

ในมหาปัจจรี เป็นต้น ท่านก็ได้กล่าวไว้อย่างนี้.

ในคำว่า สย สิพฺเพติ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุกะก็ดี

ตัดก็ดี ด้วยตั้งใจว่า. เราจักเย็บ เป็นทุกกฏ. แต่เป็นปาจิตตีย์ในเพราะการ

สอยเข็มทุก ๆ ครั้งที่สอย แก่ภิกษุผู้เย็บอยู่ เพราะพระบาลีว่า (ต้องปาจิตตีย์)

ทุก ๆ รอยเข็ม ดังนี้. แต่ถ้าว่าภิกษุไม่ชักเข็มออกหมดทั้งเล่ม แทงด้นไป

แม้ทั้งร้อยครั้ง เพื่อด้นด้ายเนาแล้วจึงนำออก เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว.

คำว่า สกึ อาณตฺโต ได้แก่ ภิกษุผู้สั่งครั้งเดียวว่า จงเย็บจีวร.

คำว่า พหุมฺปิ สิพฺพติ มีความว่า ถ้าแม้นว่า ผู้รับสั่งให้สุจิกรรม

ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว ให้จีวรสำเร็จลง ก็เป็นปาจิตตีย์เพียงตัวเดียว. แต่ถ้าเธอ

ได้รับคำสั่งว่า กรรมที่จะพึงทำในจีวรนี้ เป็นภาระของเธอ ดังนี้ แล้วจึงทำ

เป็นปาจิตตีย์แก่ผู้รับสั่งทุก ๆ รอยเข็ม รอยเข็มละ ๑ ตัว. เป็นปาจิตตีย์แม้

มากตัว เพราะคำพูดคำเดียวแก่ภิกษุผู้สั่ง. ส่วนในการสั่งบ่อย ๆ ไม่มีคำที่จะ

พึงกล่าวเลย.

ถ้าเมื่ออาจารย์และอุปัชฌาย์ กำลังเย็บจีวร เพื่อพวกภิกษุณีผู้เป็นญาติ

ของตน, ฝ่ายนิสิตก์เหล่าใดของท่านเหล่านั้น เย็บด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักทำ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 422

อาจริยวัตรอุปัชฌายวัตร หรือกฐินวัตร, เป็นอาบัติมากตัวแม้แก่นิสิตก์เหล่านั้น

ตามจำนวนรอยเข็ม. อาจารย์และอุปัชฌาย์ใช้ให้พวกอันเตวาสิกเย็บ (จีวร)

เพื่อพวกภิกษุณีผู้เป็นญาติของตน, เป็นทุกกฏแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์. เป็น

ปาจิตตีย์แก่พวกอันเตวาสิก. พวกอันเตวาสิกนิมนต์ให้อาจารย์และอุปัชฌาย์

ช่วยเย็บ (จีวร) เพื่อพวกภิกษุผู้เป็นญาติของตน, แม้ในการที่อันเตวาสิก

นิมนต์อาจารย์และอุปัชฌาย์ให้ช่วยเย็บนั้น ก็นัยนั้นนี่และ จีวรเป็นของภิกษุณี

ผู้เป็นญาติ ทั้งฝ่ายอันเตวาสิก ทั้งผ่ายอาจารย์และอุปชฌาย์. แต่อาจารย์และ

อุปัชฌาย์ลวงพวกอันเตวาสิกให้เย็บ (จีวร), เป็นทุกกฏแม้แก่ทั้ง ๒ ฝ่าย.

เพราะเหตุไร ? เพราะจีวรพวกอันเตวาสิกเย็บด้วยความสำคัญว่า ไม่ใช่ญาติ

(และ) เพราะอาจารย์กับอุปัชฌาย์นอกนี้ ชักนำในสิ่งที่ไม่ควร. เพราะฉะนั้น

จึงควรบอกว่า นี้เป็นจีวรของมารดาเธอ และนี้เป็นจีวรของน้องสาว แล้วให้

พวกเธอช่วยเย็บ

สองบทว่า อญฺ ปริกฺขาร ได้แก่ บริขารอย่างใดอย่างหนึ่ง

มีถุงรองเท้าเป็นต้น. บทที่เหลือคนทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชซะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

จีวรสิพพนสิกขาบทที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 423

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๔๕๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-

ฉัพพัคคีย์ชักชวนกัน เดินทางไกลร่วมกับพวกภิกษุณี คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ

ติเตียนโพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เที่ยวไปกับพวก

ภิกษุณี เหมือนพวกเรากับภรรยาเดินเที่ยวกันฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ยินคน

พวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ

ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ชักชวนกัน แล้วเดินทางไกลร่วม

กับพวกภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอชักชวนกันแล้ว เดินทางไกลร่วมกับพวกภิกษุณี จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงชักชวนกัน แล้วเดินทางไกลร่วมกับพวกภิกษุณีเล่า การกระทำของ

พวกเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสหรือเพื่อความ

เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 424

พระบัญญัติ

๗๖.๗ ก. อนึ่ง ภิกษุได้ชวนกันแล้ว เดินทางไกลด้วย

กันกับภิกษุณี โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป

[๔๕๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุและภิกษุณี ลายรูปด้วยกัน จะพากัน

เดินทางไกลจากเมืองสาเกต ไปพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีพวกนั้นพบ

ภิกษุ พวกเธอนั้นได้กล่าวคำนี้ว่า แม้พวกดิฉันก็จักไปกับพวกพระคุณเจ้าด้วย

ภิกษุพวกนั้น พูดว่า ดูก่อนน้องหญิง การชักชวนกันแล้วเดินทางไกล

ร่วมกันกับภิกษุณีไม่สมควร พวกเธอจะไปก่อน หรือพวกฉันจักไป

ภิกษุณีพวกนั้นตอบว่า พวกพระคุณเจ้าเป็นชายผู้ล้ำเลิศ พระคุณเจ้า

นั่นแหละจงไปก่อน

เมื่อภิกษุณีพวกนั้นเดินทางไปภายหลัง พวกโจรในระหว่างทางได้พา

กันแย่งชิงและประทุษร้าย ครั้นภิกษุณีพวกนั้น ไปถึงพระนครสาวัตถี ได้แจ้ง

เรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ๆ ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตให้ได้เดินทางร่วม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 425

ภิกษุทั้งหลาย ในหนทางที่จะต้องไปกับพวกเกวียน รู้กันอยู่ว่าเป็นที่น่ารังเกียจ

มีภัยเฉพาะหน้า เราอนุญาตให้ชักชวนกันแล้วเดินทางไกลร่วมกับภิกษุณีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๗๖. ข. อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนกันแล้วเดินทางไกลด้วยกัน

กับภิกษุณี โดยที่สุดแม้สั้นระยะบ้านหนึ่ง เว้นไว้แต่สมัย เป็น

ปาจิตตีย์. ในสมัยในเรื่องนั้น ทางเป็นที่จะต้องไปด้วยพวกเกวียน

รู้กันอยู่ว่าเป็นที่น่ารังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า นี้สมัยในเรื่องนั้น.

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๕๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.

บทว่า ชักชวนกันแล้ว คือ ชักชวนกันว่า ไปกันเถิดน้องหญิง

ไปกันเถิดพระคุณเจ้า ไปกันเถิดเจ้าค่ะ ไปกันเถิดจ้ะ พวกเราไปกันในวันนี้

ไปกันในวันพรุ่งนี้ หรือไปกันในวันมะรืนนี้ ดังนี้ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง คือ ในหมู่บ้านกำหนด

ชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ระยะบ้าน ในป่าหาบ้านมิได้ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ทุก ๆ กึ่งโยชน์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 426

บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกไว้แต่สมัย.

หนทางที่ชื่อว่า จะต้องไปด้วยพวกเกวียน คือ เว้นพวกเกวียน

แล้วไม่สามารถจะไปได้

ที่ชื่อว่า เป็นที่น่ารังเกียจ คือในหนทางนั้นมีสถานที่พวกโจรซ่องสุม

บริโภค ยืน นั่ง นอน ปรากฏอยู่

ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ ในหนทางนั้น มีมนุษย์ถูกพวกโจรฆ่า

ปล้น ทุบที ปรากฏอยู่.

ภิกษุพาไปตลอดทางที่มีภัยเฉพาะหน้า ถึงทางที่ปลอดภัยแล้ว พึงส่ง

พวกภิกษุณีไปด้วยคำว่า ไปเถิดน้องหญิงทั้งหลาย.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๕๘] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้วเดินทางไกล

ด้วยกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสงสัย เดินทางไกลด้วยกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะ

บ้านหนึ่ง เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวนกัน เดินทางไกลด้วยกัน

โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าชักชวน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 427

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน. . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๕๕] มีสมัย ๑ ไม่ได้ชักชวนกันไป ๑ ภิกษุณีชักชวน ภิกษุไม่

ได้ชักชวน ๑ ไปผิดนัด ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

ภิกขุนีวรรค สังวิธานสิกขาบทที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๗ ดังต่อไปนี้

คำว่า ปจฺฉา คจฺฉนฺตีน โจรา อจฺฉินฺทึสุ มีความว่า เมื่อพวก

ภิกษุณีไปที่หลัง พวกโจรได้ชิงเอาบาตรและจีวรไป.

บทว่า ทูเลสุ ได้แก่ พวกโจรประทุษร้ายพวกภิกษุณีเหล่านั้น.

อธิบายว่า ให้ถึงความเสียศีล.

บทว่า สวิธาย คือ ชักชวนกัน, อธิบายว่า ทำการนัดหมายกัน

ในเวลาจะไป.

[อธิบายบ้านชั่วระยะไก่บินถึงเป็นต้น]

ไก่ออกจากบ้านใด แล้วเดินไปยังบ้านอื่น, บ้านนี้ท่านเรียกว่า ชั่วไก่

ไปถึง ในบทว่า กุกฺกุฏสมฺปาเท นี้. ในบทนั้น มีอรรถเฉพาะคำดังต่อไปนี้

ไก่ทั้งหลายย่อมเที่ยวไปถึงที่บ้านนี้ เหตุนั้น บ้านนี้จึงชื่อว่า เป็น

ที่ไปถึง. พวกไหนไปถึง ? พวกไก่. การเที่ยวไปถึงของพวกไก่ ชื่อว่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 428

กุกกุฏสัมปาทะ. อีกอย่างหนึ่ง การไปถึง ชื่อว่า สัมปาทะ. การไปถึง

ของพวกไก่ มีอยู่ที่บ้านนี้. เพราะเหตุนั้นบ้านนี้จึงชื่อว่า กุกกุฏสัมปาทะ.

ปาฐะว่า กุกฺกุฏสมฺปาเต ก็มี. ไก่บินโผขึ้นจากหลังคาเรือนแห่งบ้านใด แล้ว

ไปตกลงที่หลังคาเรือนแห่งบ้านอื่น, บ้านนี้ท่านเรียกว่า ชั่วไก่บินถึง ในปาฐะ

ว่า กุกฺกุฏสมฺปาเต นั้น. ส่วนอรรถเฉพาะคำในบทนี้ บัณฑิตพึงทราบ

โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

ก็บ้านแม้มีประการดังกล่าวแล้ว ๒ อย่างนี้ ใกล้ชิดกันนัก ย่อมไม่ได้

อุปจาร ในอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า ก็เสียงไก่ขันอยู่ในเวลาใกล้รุ่งในบ้านใด

ได้ยินไปถึงในบ้านที่ถัดไป ต้องปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกบ้าน ในรัฐที่คับคั่ง

ด้วยหมู่บ้านเช่นนั้น. ท่านได้กล่าวคำนั้นไว้แล้ว แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น ก็เป็น

อาบัติเหมือนกัน แก่ภิกษุผู้ก้าวลงสู่อุปจารแห่งบ้าน ซึ่งถ้าแม้นมีระยะห่างกัน

ประมาณศอกกำที่พวกชาวบ้านเว้นไว้ เพราะพระบาลีว่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุก ๆ ละแวกบ้าน ดังนี้. คำนั้นไม่สมด้วยพระบาลี. ถ้าว่า บ้านแม้เห็นปานนี้

โดยโวหารที่ได้แล้วอย่างนั้น เพราะไม่ใกล้ชิดกัน ย่อมได้โวหารว่า ชั่วไก่บินถึง

ดังนี้ ก็ดี ว่า ชั่วไก่บินไม่ถึง ดังนี้ก็ดี เพราะเป็นบ้านใกล้ชิดกัน. เพราะ

ฉะนั้น จึงไม่สมกันกับบาลี ฉะนั้นแล. ส่วนในบ้านนอกนี้ การเดินเลยอุปจาร

บ้านนี้ไป และก้าวลงสู่อุปจารบ้านอื่นเท่านั้นไม่ปรากฏ. เพราะฉะนั้น ที่ยก

อาบัติขึ้นปรับ จึงไม่ปรากฏเหมือนกัน.

[ว่าด้วยการกันชวนกันเดินทางร่วมกัน]

วินิจฉัยอาบัติในคำว่า คามนฺตเร คามนฺตเร อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส

นั้น ดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ในเวลาชักชวนกัน ถ้าว่าภิกษุและภิกษุณีแม้ทั้ง

๒ ยืนชักชวนกัน ในสำนักภิกษุณีก็ดี ในระหว่างวัดก็ดี ในโรงฉันก็ดี ในที่

อยู่แห่งเดียรถีย์ก็ดี ไม่เป็นอาบัติ. ได้ยินว่า ภูมินี้ เป็นกัปปิยภูมิ. เพราะเหตุนั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 429

ท่านอาจารย์ทั้งหลายจึงไม่ปรับอาบัติทุกกฏ เพราะการชักชวนเป็นปัจจัย ใน

สำนักแห่งภิกษุณีเป็นต้นนี้ เป็นปาจิตตีย์ตามวัตถุทีเดียว แก่ภิกษุผู้เดินไป.

แต่ถ้าว่า ภิกษุกับภิกษุณีชักชวนกัน ภายในบ้าน ที่ถนนใกล้ประตู

สำนักของภิกษุณีก็ดี ในที่เหล่าอื่น มีทาง ๔ แยก ๓ แยก และโรงช้างเป็นต้น

ก็ดี, ภิกษุไม่ต้องทุกกฏ. ครั้นชักชวนกันอย่างนั้นแล้ว จึงออกจากบ้านไป.

ไม่เป็นอาบัติเพราะการออกจากบ้าน. แต่ในเพราะย่างลงสู่อุปจารแห่งบ้านที่

ถัดไป เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุ. ท่านกล่าวไว้ในในมหาปัจจรีว่า แม้ในการย่างลงสู่

อุปจารนั้น เป็นทุกกฏในย่างเท้าที่ ๑ เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ ๒. ก็ภิกษุ

ออกจากบ้านแล้ว แต่ยังไม่ย่างลงสู่อุปจารแห่งบ้านถัดไปเพียงใด, แม้เมื่อ

ชักชวนกันในระหว่างนี้ ก็เป็นทุกกฏแก่ภิกษุเพียงนั้น. ในการย่างลงสู่อุปจาร

แห่งบ้านถ้า ไป ไม่เป็นอาบัติโดยนัยก่อนเหมือนกัน. ถ้าภิกษุกับภิกษุณีมีความ

ประสงค์จะไปสู่บ้านไกลมาก, เป็นอาบัติทุก ๆ ครั้งที่ย่างลง (สู่อุปจารแห่งบ้าน)

โดยนับอุปจารแห่งบ้าน

ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า แต่ไม่เป็นอาบัติในเพราะการเดินเลยบ้าน

นั้น ๆ ไป. แต่ถ้าภิกษุณีคิดว่า เราจักไปยังบ้านชื่อโน้น แล้วเดินออกจาก

สำนักไป, ฝ่ายภิกษุก็คิดว่า เราจักไปยังบ้านโน้น แล้วเดินออกจากวิหาร

มุ่งหน้าไปยังบ้านนั้นนั่นแล, ถ้าภิกษุกับภิกษุณีแม้ทั้ง ๒ ไปพบกันที่ประตูบ้าน

แล้ว ถามกันว่า ท่านจะไปไหน ? จะไปบ้านโน้น, ท่านจะไปไหน ? กล่าวว่า

แม้เราก็จะไปที่บ้านนั้นเหมือนกัน จึงชักชวนกันว่า มาเถิดท่าน พวกเราจะ

ไปกันเดี๋ยวนี้ แล้วเดินไป ไม่เป็นอาบัติ. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า

ภิกษุกับภิกษุณีต่างออกไปด้วยใส่ใจว่า เราจักไปตั้งแต่แรกนั่นเอง. คำที่กล่าว

ในมหาปัจจรีนั้น ไม่สมด้วยบาลี และไม่สมด้วยอรรถกถาที่เหลือ.

สองบทว่า อฑฺฒโยชเน อฑฺฒโยชเน มีความว่า ภิกษุเดินเลย

กึ่งโยชน์หนึ่ง ๆ ไปในขณะที่คิดว่า บัดนี้ เราจักเดินเลยไป เป็นทุกกฏใน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 430

ย่างเท้าที่ ๑ เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ ๒. แท้จริง นัยนี้เป็นอาบัติในขณะที่

เดินเลยไป ไม่เป็นอาบัติในขณะย่างลง.

สองบทว่า ภิกฺขุ สวิทหติ มีความว่า ภิกษุเห็นภิกษุณีที่ประตูเมือง

หรือที่ถนน กล่าวว่า ท่านเคยไปสู่บ้านชื่อโน้นไหม ? ภิกษุณีตอบว่า ดิฉัน

ยังไม่เคยไป พระผู้เป็นเจ้า ภิกษุกล่าวว่า มาเถิด เราจักไปด้วยกัน หรือว่า

ฉันจักไปพรุ่งนี้ แม้เธอก็พึงมาด้วย ดังนี้ก็ดี.

สองบทว่า ภิกฺขุนี สวิทหติ มีความว่า ภิกษุณีเห็นภิกษุออกจาก

บ้าน เพื่อจะไหว้พระเจดีย์ในบ้านอื่น จึงกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้า ท่านจะ

ไปไหน ภิกษุตอบว่า ฉันจะไปยังบ้านโน้น เพื่อไหว้พระเจดีย์ ดังนี้.

ภิกษุณีนั่น แล ชักชวนแม้อย่างนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้า ! แม้ดิฉันก็จักไปด้วย.

ภิกษุไม่ได้ชักชวน.

วินิจฉัยในคำว่า วิสงฺเกเตน นี้ พึงทราบดังนี้ ภิกษุกับภิกษุณี

กล่าวว่า เราจักไปกันก่อนฉัน แล้วไปภายหลังฉัน กล่าวว่า เราจะมากันใน

วันนี้ แล้วไปเสียวันพรุ่งนี้, อย่างนี้ไม่เป็นอาบัติ เพราะผิดนัดเวลาแล. แต่

แม้เมื่อมีการผิดนัดหมายประตู หรือผิดนัดหมายหนทาง เป็นอาบัติแท้.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ในเพราะรัฐถูกปล้น ชาวชนบททั้งหลาย

พากันขึ้นสู่ล้อทางเดินหรือล้อเกวียนอพยพไป, ไม่เป็นอาบัติ ในอันตรายมีรูป

เห็นปานนี้. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๔ เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทางกายกับวาจา ๑

ทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

สังวิธานสิกขาบทที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 431

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๔๕๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระฉัพพัคคีย์ชักชวนกัน แล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับพวกภิกษุณี ประชาชน

เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า พวกเราพร้อมด้วยภรรยาเล่นเรือลำเดียวกันฉันใด

พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ชักชวนกันแล้ว เล่นเรือลำเดียวกับพวก

ภิกษุณี ก็ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่

บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์

จึงได้ชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับพวกภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูล

เนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณี

ทั้งหลาย จริงหรือ

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ชักชวนกันแล้วโดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณีทั้งหลายเล่า การ

กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 432

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๗๗. ๘. ก. อนึ่งภิกษุใดชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียว

กับภิกษุณี ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป

[๔๕๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุและภิกษุณีหลายรูปด้วยกันจะเดิน

ทางไกลจากเมืองสาเกต ไปพระนครสาวัตถี ระหว่างทางมีแม่น้ำที่จะต้องข้าม

จึงภิกษุณีพวกนั้น ได้กล่าวคำนี้กะภิกษุพวกนั้นว่า แม้พวกดิฉันก็จักข้ามไปกับ

ด้วยพระคุณเจ้า.

ภิกษุพวกนั้นพูดว่า ดูก่อนน้องหญิง การชักชวนกันแล้วโดยสารเรือ

ลำเดียวกันกับภิกษุณี ไม่สมควร พวกเธอจักข้ามไปก่อน หรือพวกฉันจัก

ข้ามไป.

ภิกษุณีพวกนั้น ตอบว่า พวกพระคุณเจ้าเป็นชายผู้ล้ำเลิศ พระคุณเจ้า

นั่นแหละจงข้ามไปก่อน.

เมื่อภิกษุณีพวกนั้นข้ามไปภายหลัง พวกโจรได้พากันแย่งชิงและประ-

ทุษร้าย ครั้นภิกษุณีพวกนั้น ไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่

ภิกษุณีทั้งหลาย ๆ ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่พวกภิกษุ ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 433

ทรงอนุญาตให้โดยสารเรือลำเดียวกันข้ามฟาก

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล

นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ในการข้ามฟาก เราอนุญาตให้ชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียว

กับภิกษุณีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้

พระอนุบัญญัติ

๗๗.๘. ข. อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียว

กับภิกษุณี ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก เป็น

ปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๕๘] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.

บทว่า ชักชวนวนกันแล้ว คือ ชักชวนกันว่า ไปโดยสารเรือกันเถิด

น้องหญิง ไปโดยสารเรือกันเถิดพระคุณเจ้า ไปโดยสารเรือกันเถิดเจ้าค่ะ

ไปโดยสารเรือกันเถิดจ้ะ พวกเราไปโดยสารเรือกันในวันนี้ ไปโดยสารเรือกัน

ในวันพรุ่งนี้ หรือไปโดยสารเรือกันในวันมะรืนนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 434

เมื่อภิกษุณีโดยสารแล้ว ภิกษุจึงโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เมื่อภิกษุโดยสารแล้ว ภิกษุณีจึงโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

หรือ โดยสารทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ขึ้นน้ำไป คือ แล่นขึ้นทวนน้ำ.

บทว่า ล่องน้ำไป คือ แล่นลงตามน้ำ.

บทว่า เว้นไว้แต่ข้ามฟาก คือ ยกเว้นแต่ข้ามฟาก.

ในหมู่บ้านกำหนดชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ระยะบ้าน

ในป่าหาบ้านมิได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ กึ่งโยชน์

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๕๙] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือ

ลำเดียวกัน ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสงสัย โดยสารเรือลำเดียวกัน ขึ้นน้ำไปก็ดี

ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ชักชวนกัน แล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวนกัน โดยสารเรือลำเดียว

กัน ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ

ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญ ว่าชักชวน. . . ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสงสัย . . .ต้องอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 435

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน. . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๖๐] ข้ามฟาก ๑ ไม่ได้ชักชวนกันโดยสาร ๑ ภิกษุณีชักชวน

ภิกษุไม่ได้ชักชวน ๑ โดยสารเรือผิดนัด ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมนิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

ภิกขุนีวรรค นาวาภิรุหนสิกขาบทที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

[ว่าด้วยการชักชวนกันโดยสารเรือลำเดียวกัน]

บทว่า สวิธาย ได้แก่ ชักชวนกันมุ่งการเล่นเป็นเบื้องหน้า ด้วย

อำนาจมิตรสันถวะซึ่งเป็นความยินดีของชาวโลก.

บทว่า อุทฺธคามินึ คือ แล่นทวนกระแสของแน่น้ำขึ้นไป. ก็เพราะ

ผู้ซึ่งเล่นกีฬาทางเรือที่แล่นขึ้นทวนน้ำ โดยวิ่งทวนขึ้นไป ท่านเรียกว่า โดยสาร

เรือขึ้นน้ำไป. ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า อุทฺธคามินึ นั้น เพื่อ

แสดงเฉพาะอรรถเท่านั้น จึงตรัสว่า อุชฺชวนิกาย (แล่นขึ้นทวนน้ำ) ดังนี้.

บทว่า อุโธคามินึ คือ แล่นตามกระแสน้ำลงไป. ก็เพราะผู้ซึ่ง

เล่นกีฬาทางเรือที่แล่นลงตามน้ำ โดยแล่นลงไปทางได้ ท่านเรียกว่าโดยสาร

เรือล่องน้ำไป. ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแม้แห่งบทว่า อโธคามินึ นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 436

เพื่อแสดงแต่อรรถเหมือนกัน จึงตรัสว่า โอชวนิกาย (แล่นลงตามน้ำ) ดังนี้.

ในเรือนั้น ชนทั้งหลาย ย่อมแล่นเรือใดไปเหนือ หรือใต้เพื่อให้ถึงท่าจอดเรือ,

ไม่เป็นอาบัติในการแล่นเรือนั้นไปที่นั่น.

คำว่า ติริยนฺตรณาย นี้ เป็นปัญจมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยา-

วิภัตติ.

ในคำว่า คามนฺตเร คามนฺตเร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้. แม่น้ำใด

มีฝั่งข้างหนึ่งต่อเนื่องกันด้วยหมู่บ้าน กำหนดชั่วไก่บินตก, ฝั่งข้างหนึ่งเป็นป่า

ไม่มีบ้าน, ในเวลาไปทางริมฝั่งที่มีหมู่บ้านแห่งแม่น้ำนั้น เป็นปาจิตตีย์หลายตัว

ด้วยจำนวนละแวกบ้าน. ในเวลาไปทางข้างริมฝั่งที่ไม่มีบ้าน เป็นปาจิตตีย์มาก

ตัว ด้วยการนับกึ่งโยชน์. แต่แม่น้ำใดมีความกว้าง ๑ โยชน์ แม้ในการไป

โดยท่ามกลางแห่งแม่น้ำนั้น ก็พึงทราบปาจิตตีย์หลายตัว ด้วยการนับกึ่งโยชน์.

ในคำว่า อนาปตฺติ ติรยนฺตรณาย นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ ไม่ใช่

ในแม่น้ำอย่างเดียว. แม้ภิกษุใดออกจากท่าชื่อมหาดิษฐ์ ไปสู่ท่าชื่อตามพลิตติ

ก็ดี ชื่อสุวรรณภูมิ ก็ดี ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น. จริงอยู่ ในทุก ๆ

อรรถกถา ท่านวิจารณ์อาบัติไว้ในแม่น้ำเท่านั้น ไม่ใช่ในทะเล.

ในคำว่า วิสงฺเกเตน แม้น้ำ ก็ไม่เป็นอาบัติ เพราะผิดนัดเวลา

เท่านั้น แต่เมื่อไปโดยผิดนัดท่าเรือโดยผิดนัดเรือเป็นอาบัติทีเดียว. คำที่เหลือ

พร้อมด้วยสมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นกับปฐมสิกขาบททั้งนั้นแล.

นาวาภิรุหนสิกขาบทที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 437

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๔๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน

วิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้ง

นั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นกุลุปิกาของตระกูลแห่งหนึ่ง เป็นผู้รับภัตตาหาร

ประจำอยู่ ก็แลคหบดีนั้นได้นิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้ ครั้นเวลาเช้า ภิกษุณี

ถุลลนันทาครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ครั้นแล้ว

ไต่ถามคหบดีนั้นว่า ดูก่อนท่านคหบดี ท่านจัดของเคี้ยวของฉันนี้ไว้มากมาย

ทำไม.

ค. กระผมได้นิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้ ขอรับ

ถุ. ดูก่อนคหบดี พระเถระเหล่านั้นคือใครบ้าง.

ค. คือพระคุณเจ้าสารีบุตร พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะ พระคุณเจ้า

มหากัจจานะ พระคุณเจ้ามหาโกฏฐิตะ พระคุณเจ้ามหากัปปินะ พระคุณเจ้า

มหาจุนทะ พระคุณเจ้าอนุรุทธะ พระคุณเจ้าเรวตะ พระคุณเจ้าอุบาลี พระคุณ

เจ้าอานนท์ พระคุณเจ้าราหุล.

ถุ. ดูก่อนคหบดี ก็เมื่อพระเถระผู้ใหญ่มีปรากฏอยู่ ทำไมท่านจึง

นิมนต์พระเล็ก ๆ เล่า.

ค. พระเถระผู้ใหญ่เหล่านั้น คือใครบ้าง ขอรับ.

ถุ. คือพระคุณเจ้าเทวทัต พระคุณเจ้าโกกาลิกะ พระคุณเจ้ากฏโมรก-

ติสสกะ พระคุณเจ้าขัณฑเทวีบุตร พระคุณเจ้าสมุทททัต.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 438

ในระหว่างที่ภิกษุณีถุลลนันทาพูดค้างอยู่เช่นนี้ พอดีพระเถระทั้งหลาย

เข้ามาถึง นางกลับพูดว่า ดูก่อนคหบดีถูกแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ทั้งนั้น ท่าน

นิมนต์มาแล้ว.

ค. เมื่อกี้นี้เองแท้ ๆ ท่านพูดว่าพระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นพระเล็ก ๆ

เดี๋ยวนี้กลับพูดว่าเป็นพระเถระผู้ใหญ่ คหบดีนั้นพูดแล้วขับนางออกจากเรือน

และงดอาหารที่ถวายประจำ.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า

ไฉนพระเทวทัตรู้อยู่ จึงฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย แล้วกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระเทวทัตว่า ดูก่อนเทวทัต ข่าวว่า

เธอรู้อยู่ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย จริงหรือ.

พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่

จึงได้ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวายเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่

เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ

ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า

ดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 439

พระบัญญัติ

๗๘.๙. ก. อนึ่ง ภิกษุ รู้อยู่ ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำ

ให้ถวาย เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๔๖๒] สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งบวชมาจากพระนครราชคฤห์แล้ว

ได้เดินทางไปยังตระกูลญาติ คนทั้งหลายได้ตั้งใจจัดภัตตาหารถวาย ด้วยดีใจว่า

ต่อนาน ๆ ท่านาพึงได้มา ภิกษุณีกุลุปีกาของตระกูลนั้น ได้บอกแนะนำคน

พวกนั้นว่า ขอพวกท่านจงถวายภัตตาหารแก่พระคุณเจ้าเถิด ฝ่ายภิกษุรูปนั้น

รังเกียจว่า การที่ภิกษุรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้ถวาย พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงห้ามไว้แล้ว ดังนี้ จึงไม่รับประเคน และไม่สามารถจะเที่ยว

ไปบิณฑบาต ได้ขาดภัตตาหารแล้ว ครั้นเธอไปถึงพระอารามแล้วแจ้งความนั้น

แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงอนุญาตให้ฉันบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ในเพราะคฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เราอนุญาตให้ภิกษุ

ผู้รู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้เขาถวายได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 440

พระอนุบัญญัติ

๗๘. ๙. ข. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณี

แนะนำให้ถวาย เว้นแต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๖๓] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ .. .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้เอง หรือคนอื่นบอกเธอ หรือภิกษุณีนั้นบอก.

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

ที่ชื่อว่า แนะนำให้ถวาย คือ ภิกษุณีบอกแก่ผู้ไม่ประสงค์จะ

ถวายทาน ไม่ประสงค์จะทำบุญไว้แต่แรกว่า ท่านเป็นนักสวด ท่านเป็นผู้คง

แก่เรียน ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระสุตตันตปิฏก ท่านเป็นพระวินัยธร ท่าน

เป็นพระธรรมกถึก ขอท่านทั้งหลายจงถวายทานแก่ท่านเถิด ขอท่านทั้งหลาย

จงทำบุญแก่ท่านเถิด ดังนี้ นี้ชื่อว่า แนะนำให้ถวาย.

ที่ชื่อว่า บิณฑบาต ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า เว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน คือ ยกแค่คฤหัสถ์ปรารภ

ไว้ก่อน.

ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ปรารภไว้ คือ เขาเป็นญาติ เป็นผู้ปวารณา หรือ

เขาจัด แจงไว้ตามปรกติ.

เว้นจากบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน ภิกษุรับประเคนไว้ด้วย

ตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 441

บทภาชนีย์

[๔๖๔] บิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย ภิกษุสำคัญว่าแนะนำ

ให้ถวาย ฉัน เว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย ภิกษุสงสัย ฉัน เว้นไว้แค่คฤหัสถ์

ปรารภไว้ก่อน ต้องอาบัติทุกกฏ.

บิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้แนะนำให้

ถวาย ฉัน เว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน ไม่ต้องอาบัติ.

บิณฑบาตอันภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว แนะนำให้ถวายภิกษุ

ฉัน เว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน ต้องอาบัติทุกกฏ.

บิณฑบาตอันภิกษุณีมิได้แนะนำให้ถวาย ภิกษุสำคัญว่าแนะนำให้ถวาย

ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

บิณฑบาตอันภิกษุณีมิได้แน่ะนำให้ถวาย ภิกษุสงสัย ฉัน ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

บิณฑบาตอันภิกษุณีมิได้แนะนำให้ถวาย ภิกษุสำคัญว่ามิได้แนะนำ

ให้ถวาย ฉัน ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๖๕] ภิกษุฉันบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน ๑ ภิกษุฉัน

บิณฑบาตอันสิกขมานาแนะนำให้ถวาย ๑ ภิกษุฉันบิณฑบาตอันสามเณรีแนะนำ

ให้ถวาย ๑ ภิกษุฉันอาหารทุกชนิดเว้นโภชนะห้า ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 442

ภิกขุนีวรรค ปริปาจนสิกขาบทที่ ๙

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้

[ว่าด้วยบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้ถวาย]

คำว่า มหานาเค ติฏฺมาเน เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง

สัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่าเมื่อพระเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายมีปรากฏอยู่. อีกอย่างหนึ่ง

ผู้ศึกษาพึงเห็นปาฐะเหลือในคำนี้ ดังนี้ว่า เห็นพระเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายมีปรากฏ

อยู่. ความจริง เมื่อว่าโดยประการหลังนี้ ความยังไม่เหมาะ.

ถ้อยคำที่ยังไม่ถึงที่สุด ถึงตรงท่ามกลางแห่งการเริ่มต้นกับที่สุด ชื่อว่า

อันตรากถา.

บทว่า วิปฺปกตา คือ กำลังทำค้างอยู่

คำว่า สจฺจ มหา นาคา โข ตยา คหปติ มีความว่า ภิกษุณี

ถูลนันทา หลิ่วตามอง เห็นพระเถระทั้งหลายกำลังเข้ามา ทราบว่าพระเถระ

เหล่านั้นได้ยินแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า ภิกฺขุนีปริปาจิต ได้แก่ อันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย. อธิบายว่า

อันภิกษุณีให้สำเร็จ คือ ทำให้เป็นของควรได้ด้วยการประกาศคุณ. แต่ใน

บทภาชนะแห่งบทนั้น เพื่อทรงแสดงภิกษุณีและอาการที่ภิกษุณีนั้น แนะนำ

ให้ถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ผู้ชื่อว่าภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบท

ในสงฆ์ ๒ ฝ่าย, ที่ชื่อว่าแนะนำให้ถวาย คือ (ภิกษุณีบอก) แก่คนผู้ไม่ประสงค์

จะถวายแต่แรก ดังนี้เป็นต้น.

ในคำ ปุพฺเพ คิหิสมารมฺภา นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 443

บทว่า ปุพฺเพ แปลว่า แต่แรกเริ่ม, ภัตที่เขาริเริ่มไว้แล้ว เรียกว่า

สมารัมภะ. คำว่า สมารัมภะ นี้ เป็นชื่อแห่งภัตที่เขาตระเตรียมไว้แล้ว.

การริเริ่มแห่งพวกคฤหัสถ์ ชื่อว่า คิหิสมารัมภะ. ภัตใดที่พวกคฤหัสถ์เตรียม

ไว้ก่อนแต่นางภิกษุณีแนะนำให้ถวาย, ภิกษุฉันบิณฑบาตอื่นนอกจากภัตนั้น

คือ เว้นบิณฑบาตนั้นเสีย เป็นอาบัติ. มีคำอธิบายว่า แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ

ผู้ฉันบิณฑบาตที่พวกคฤหัสถ์จัดแจงไว้นั้น. ส่วนในบทภาชนะ พระอุบาลีเถระ

กล่าวไว้ว่า คิหิสมารมฺโภ นาม าตกา วา โหนฺติ ปวาริตา ดังนี้

เพื่อแสดงแต่อรรถเท่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อถึงพยัญชนะ เพราะบิณฑบาต แม้ที่

พวกญาติและคนปวารณามิได้ปรารภไว้ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุก็เป็นอันเขา

ปรารภไว้แล้ว โดยอรรถ เพราะจะพึงให้นำมาได้ตามสบาย.

บทว่า ปกติปฏิยตฺตวา มีความว่า เป็นภัตที่เขาจัดแจงไว้เพื่อ

ประโยชน์แก่ภิกษุนั้นนั่นเอง ตามปรกติว่า พวกเราจักถวายแก่พระเถระ ดังนี้

แต่ในมหาปัจจรีกล่าวไว้โดยไม่แปลกกันว่า เป็นภัตที่เขาจัดแจงไว้ว่า

จักถวายแก่พวกภิกษุ ไม่ได้ระบุว่า ภิกษุรูปนั้น หรือรูปอื่น.

ข้อว่า ปญฺจ โภชนานิ เปตฺวา สพพตฺถ อนาปตฺติ ได้แก่

ไม่เป็นอาบัติในยาคูของควรเคี้ยว และผลไม้น้อยใหญ่ทั้งหมด แม้ที่นางภิกษุณี

แนะนำให้ถวาย. บทที่เหลือคนทั้งนั้น .

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เกิดขึ้นทางกายกับจิต เป็น

กิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓

ดังนี้แล.

ปริปาจมสิกขาบทที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 444

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระอุทายี

[๔๖๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ปุราณ-

ทุติยิกาของท่านพระอุทายีได้บวชอยู่ในสำนักภิกษุณี นางมาในสำนักท่าน

พระอุทายีเนือง ๆ แม้ท่านอุทายีก็ไปในสำนักนางเนือง ๆ สมัยนั้นแล ท่าน

ตระอุทายีได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีนั้นหนึ่งต่อหนึ่ง

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่าไฉน

ท่านพระอุทายีผู้เดียว จึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียวเล่า แล้ว

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า

เธอผู้เดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียว จริงหรือ.

พระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ

เดียวจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียวเล่า การกระทำของเธอนั่น

ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุ่มชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้ :-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 445

พระบัญญัติ

๗๙.๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับ

ภิกษุณี ผู้เดียว เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๖๗] บทว่า อนึ่ง ...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถ.

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.

บทว่า ผู้เดียว ผู้เดียว คือ มีเฉพาะภิกษุและภิกษุณี

ที่ชื่อว่า ที่ลับ คือ ที่ลับตา ที่ลับหู

ที่ชื่อว่า ที่ลับตา ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่สามารถแลเห็นภิกษุกับภิกษุณี

ขยิบตากัน ยักคิ้วกัน หรือชะเง้อศีรษะกัน

ที่ชื่อว่า ที่ลับหู ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่สามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดกัน

ตามปกติ.

บทว่า สำเร็จการนั่ง ความว่า เมื่อภิกษุณีนั่ง ภิกษุนั่งใกล้ หรือ

นอนใกล้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เมื่อภิกษุนั่ง ภิกษุณีนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

นั่งทั้งสองก็ดี นอนทั้งสองก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 446

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๖๘] ที่ลับภิกษุสำคัญว่าที่ลับ สำเร็จการนั่งหนึ่งต่อหนึ่ง ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์

ที่ลับ ภิกษุสงสัย สำเร็จการนั่ง หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ที่ลับสำเร็จการนั่ง หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ สำเร็จการนั่ง หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติ

ทุกกฏ

ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสงสัย สำเร็จการนั่ง หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ที่ลับ. . . ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๖๙] ภิกษุมีบุรุษผู้รู้เดียาสาคนใดคนหนึ่งอยู่ เป็นเพื่อน ๑ ภิกษุยืน

มิได้นั่ง ๑ ภิกษุผู้มีได้มุ่งที่ลับ ๑ ภิกษุนั่งส่งใจไปในอารมณ์อื่น ๑ ภิกษุวิกลจริต

๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 447

ภิกขุนีวรรค รโหนิสัชชสิกขาบทที่ ๑๐

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้ :-

อรรถแห่งบาลีและวินิจฉัยทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยดังได้กล่าว

แล้วในอนิยตสิกขาบทที่ ๒ นั่นแล. จริงอยู่ สิกขาบทนี้ มีข้อกำหนดอย่าง

เดียวกันกับอนิยตสิกขาบทที่ ๒ และกับสิกขาบทที่ ๔ แห่งพระอุปนนทะข้างหน้า.

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แผนกหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งเหตุที่เกิดขึ้น

ดังนี้แล.

รโหนิสัชชสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ภิกขุนีวรรคที่ ๓ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 448

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. อสัมมตภิกขุโนวาทสิกขาบท ว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณี

๒. อัตถังคตสิกขาบท ว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณีเมื่อ

อาทิตย์ตกแล้ว

๓. ภิกขุปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณีถึง

ในที่อยู่

๔. อามิสสิกขาบท ว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณี

เพราะเห็นแก่ลาภ

๕. จีวรทานสิกขาบท ว่าด้วยให้จีวร

๖. จีวรสิพพนสิกขาบท ว่าด้วยเย็บจีวร

๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยชักชวนกันเดินทาง

๘. นาวาภิรุหนสิกขาบท ว่าด้วยโดยสารเรือ

๙. ปริปาจนสิกขาบท ว่าด้วยฉันบิณฑบาตอัน

ภิกษุณี

๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยนั่งในที่ลับ

รวม ๑๐ สิกขาบท

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 449

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๔

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๔๗๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ

พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ณ สถานอันไม่

ห่างจากพระนครสาวัตถีนั้น มีประชาชนหมู่หนึ่งได้จัดตั้งอาหารไว้ในโรงทาน

พระฉัพพัคคีย์ครองผ้าเรียบร้อย ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร

สาวัตถี เมื่อไม่ได้อาหาร ได้พากันไปสู่โรงทาน ประชาชนตั้งใจอังคาสด้วย

ดีใจว่า แม้ต่อนาน ๆ ท่านจึงได้มา ครั้นวันที่ ๒ และวันที่ ๓ เวลาเช้า พระ

ฉัพพัคดีย์ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร

สาวัตถี เมื่อไม่ได้อาหาร ได้พากันไปฉันในโรงทาน ครั้นแล้วได้ปรึกษากัน

ว่า พวกเราจักพากันไปสู่อารามทำอะไรกันแม้พรุ่งนี้ก็จักต้องมาที่นี่อีก จึงพา

กันอยู่ในโรงทานนั้นแหละ ฉันอาหารในโรงทานเป็นประจำ พวกเดียรถีย์พา

กันหลีกไป ประชาชนจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพวกพระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้อยู่ฉันอาหารในโรงทานเป็นประจำ อาหารในโรง

ทานเขามิได้จัดไว้เฉพาะท่านเหล่านี้ เขาจัดไว้เพื่อคนทั่ว ๆ ไป.

ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่

บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ-

ฉัพพัคคีย์จึงได้อยู่ฉันอาหารในโรงทานเป็นประจำเล่า. . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 450

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่าพวกเธออยู่ฉันอาหารในโรงทานประจำ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย

ไฉนพวกเธอจึงได้อยู่ฉัน อาหารในโรงทานเป็นประจำเล่า การกระทำของพวก

เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่

เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๘๐.๑ ก. ภิกษุพึงฉันอาหารในโรงทานได้ครั้งหนึ่ง ถ้าฉัน

ยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระสารีบุตร

[๔๗๑] สมัยต่อมา ท่านพระสูตรีบุตร เดินทางไปพระนครสาวัตถี

ในโกศลชนบท ได้ไปยังโรงทานแห่งหนึ่ง ประชาชนตั้งใจอังคาสด้วยดีใจว่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 451

แม้ต่อนาน ๆ พระเถระจึงได้มา ครั้นท่านพระสูตรีบุตรฉันอาหารแล้ว บังเกิด

อาพาธหนัก ไม่สามารถจะหลีกไปจากโรงทานนั้นได้ ครั้นวันที่ ๒ ประชาชน

พวกนั้น ได้กราบเรียนท่านว่า นิมนต์ฉันเถิด เจ้าข้า จึงท่านพระสูตรีบุตร

รังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการอยู่ฉัน อาหารในโรงทานเป็นประจำ

ดังนี้ จึงไม่รับนิมนต์ ท่านได้ยอมอดอาหารแล้ว ครั้นท่านเดินทางไปถึง

พระนครสาวัตถีแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเนื้อความ

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันอาหารในโรงทานได้

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ อยู่ฉันอาหารในโรงทานเป็น

ประจำได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้

พระอนุบัญญัติ

๘๐.๑ ข. ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ พึงฉันอาหารในโรงทานได้

ครั้งหนึ่ง ถ้าฉันยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระสารีบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๗๒] ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือ สามารถจะหลีกไปจากโรงทาน

นั้นได้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 452

ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ไม่สามารถจะหลีกไปจากโรงทานนั้นได้.

ที่ชื่อว่า อาหารในโรงทาน ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง

ซึ่งเข้าจัดตั้งไว้ ณ ศาลา ปะรำ โคนไม้หรือที่กลางแจ้งมิได้จำเพาะใคร มี

พอแก่ความต้องการ

ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธฉันได้ครั้งหนึ่ง หากฉันเกินกว่านั้น รับประเคน

ด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก คำกลืน.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๗๓] มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ ฉันอาหารในโรง

ทานยิ่งกว่านั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย ฉันอาหารในโรงทาน ยิ่งกว่านั้น ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าผู้อาพาธ ฉันอาหารในโรงทาน ยิ่งกว่า

นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกะทุกกฏ

ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย. . . ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าผู้อาพาธ. . . ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 453

อนาปัตติวาร

[๔๗๔] ภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุไม่อาพาธฉันครั้งเดียว ๑ ภิกษุเดินทาง

ไปหรือเดินทางกลับมาแวะฉัน ๑ เจ้าของนิมนต์ให้ฉัน ๑ ภิกษุฉันอาหารที่เขา

จัดไว้จำเพาะ ๑ ภิกษุฉันอาหารที่เขามิได้จัดไว้มากมาย ๑ ภิกษุฉันอาหารทุกชนิด

เว้นโภชนะห้า ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

ปาจิตตีย์โภชนวรรคที่ ๔

อาวสถปิณฑสิกขาบทที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งโภชนวรรคดังต่อไปนี้

[ว่าด้วยการฉันอาหารในโรงทาน]

ก้อนข้าว (อาหาร) ในโรงทาน ชื่อว่า อาวสถปิณฑะ. อธิบายว่า

อาหารที่เขาสร้างโรงทาน กั้นรั้วโดยรอบ มีกำหนดห้องและหน้ามุขไว้มากมาย

จัดตั้งเตียงและตั่งไว้ตามสมควร แก่พวกคนเดินทาง คนไข้ หญิงมีครรภ์

และบรรพชิต แล้วจัดแจงไว้ในโรงทานนั้น เพราะเป็นผู้มีความต้องการบุญ,

คือ วัตถุทุกอย่าง มีข้าวต้ม ข้าวสวย และเภสัชเป็นต้น เป็นของที่เขาจัดตั้งไว้

เพื่อต้องการให้ทานแก่พวกคนเดินทางเป็นต้นนั้น ๆ.

บทว่า ภิยฺโยปิ คือ แม้พรุ่งนี้.

บทว่า อปสกฺกนฺติ คือ ย่อมหลีกไป.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 454

สองบทว่า มนุสฺสา อุชฺฌายนฺติ มีความว่า พวกชาวบ้านไม่เห็น

พวกเดียรถีย์ จึงถามว่า พวกเดียรถีย์ไปไหน ? ได้ฟังว่าพวกเดียรถีย์เห็นภิกษุ

ฉัพพัคคีย์เหล่านั้นหลีกไปแล้ว จึงพากันยกโทษ.

บทว่า กุกฺกุจายนฺโต มีความว่า กระทำความรังเกียจ คือ ให้

เกิดความสำคัญว่าไม่ควร.

หลายบทว่า สกฺโกติ ตมฺหา อาวสถา ปกฺกมิตุ มีความว่าย่อม

อาจเพื่อจะไปได้กึ่งโยชน์ หรือโยชน์หนึ่ง.

บทว่า น สกฺโกติ คือ ย่อมไม่อาจเพื่อจะไปตลอดที่ประมาณเท่า

นี้นั่น แหละ

บทว่า อนุทฺทิสฺส มีความว่า เป็นของอันเขาจัดตั้งไว้เพื่อคนทุก

จำพวก ไม่เจาะจงลัทธิอย่างนี้ว่า แก่เจ้าลัทธิพวกนี้เท่านั้น หรือว่าแก่พวกนัก

บวชมีประมาณเท่านี้เท่านั้น.

บทว่า ยาวทตฺโถ มีความว่า เป็นของที่เขาจัดตั้งไว้มีพอแก่ความ

ต้องการ ไม่จำกัดแม้โภชนะว่า เพียงเท่านี้.

บทว่า สกึ ภุญฺชิตพฺพ คือ พึงฉันได้วันเดียว. ตั้งแต่วันที่ ๒

ไป เป็นทุกกฏในการรับประเคน เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.

ส่วนวินิจฉัยในสิกขาบทนี้ ดังต่อไปนี้. โภชนะที่ตระกูลเดียวหรือ

ตระกูลต่าง ๆ รวมกันจัดไว้ ในสถานที่แห่งเดียว หรือในสถานที่ต่าง ๆ กัน

ก็ดี ในสถานที่ไม่แน่นอนอย่างนั้น คือ วันนี้ ที่ ๑ พรุ่งนี้ ที่ ๑ ก็ดี. ภิกษุฉัน

วันหนึ่งในที่แห่งหนึ่งแล้ว ในวันที่ ๒ จะฉันในที่นั้น หรือในที่อื่น ไม่ควร.

แต่โภชนะที่ตระกูลต่าง ๆ จัดไว้ในที่ต่าง ๆ กัน, ภิกษุฉันวันหนึ่งในที่หนึ่ง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 455

แล้ว ในวันที่ ๒ จะฉันในที่อื่นควรอยู่. ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ก็ภิกษุฉันหมด

ลำดับแล้วจะเริ่มตั้งต้นไปใหม่ไม่ควร ดังนี้. แม้ในคณะเดียวกัน ต่างคณะกัน

บ้านเดียวกัน และต่างบ้านกัน ก็นัยนี้นั่นและ ส่วนภัตตาหารใด ที่ตระกูล

เดียวจัด หรือตระกูลต่าง ๆ รวมกันจัดไว้ ขาดระยะไปในระหว่างเพราะไม่มี

ข้าวสารเป็นต้น, แม้ภัตตาหารนั้น ก็ไม่ควรฉัน. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรี

ว่า ก็ถ้าว่าตระกูลทั้งหลายตัดขาดว่า พวกเราจักไม่อาจให้ เมื่อเกิดน้ำใจงาม

ขึ้น จึงเริ่มให้ใหม่, จะกลับฉันอีกวันหนึ่ง ๑ ครั้งก็ได้

สองบทว่า อนาปตฺติ คิลานสฺส ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ

อาพาธผู้พักฉันอยู่.

บทว่า คจฺฉนฺโต วา มีความว่า ภิกษุใด เมื่อไปฉันวันหนึ่งใน

ระหว่างทาง, และในที่ไปถึงแล้วฉันอีกวันหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น.

แม้ในภิกษุผู้มา ก็นัยนี้แล. จริงอยู่ ภิกษุผู้ไปแล้วกลับมา ย่อมได้เพื่อจะฉัน

ในระหว่างทางวันหนึ่ง และในขากลับอีกวันหนึ่ง. เมื่อภิกษุคิดว่า จักไป

ฉันแล้วออกไป แม่น้ำขึ้นเต็ม หรือว่ามีภัยคือโจรเป็นต้น, เธอกลับมาแล้ว

ทราบว่าปลอดภัยแล้วไป ย่อมได้เพื่อจะฉันอีกวันหนึ่ง, คำทั้งหมดดังว่ามานี้

ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีเป็นต้น.

ข้อว่า อุทฺทิสฺส ปญฺตฺโต โหติ มีความว่า เป็นของที่เขาจัด

ไว้จำเพาะ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายเท่านั้น .

บทว่า น ยาวทตฺโถ มีความว่า มิใช่เป็นของที่เขาจัดไว้เพียงพอ

แก่ความต้องการ คือ มีเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ, จะฉันโภชนะ แม้เช่นนั้นเป็น

นิตย์ก็ควร.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 456

หลายบทว่า ปญฺจ โภชนานิ เปตฺวา สพฺพตฺถ ได้แก่

ไม่เป็นอาบัติในของทุกชนิด เช่น ยาคู ของควรเคี้ยว และผลไม้น้อยใหญ่

เป็นต้น, จริงอยู่ ภิกษุจะฉันโภชนะมียาคูเป็นต้นแม้เป็นนิตย์ก็ควร. บทที่เหลือ

ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ๑

ทางกายกับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ

กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล

อาวสถปิณฑสิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 457

โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระเทวทัต

[๔๗๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์

ครั้งนั้น พระเทวทัตเสื่อมจากลาภและสักการะ พร้อมด้วยบริษัทเที่ยวขออาหาร

ในตระกูลทั้งหลายมาฉัน ประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้เที่ยวขออาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า โภชนะ.

ที่ดีใครจะไม่พอใจ อาหารที่อร่อยใครจะไม่ชอบใจ

ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่

บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัต

จึงได้พร้อมด้วยบริษัทเที่ยวขออาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า แล้วกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระเทวทัตว่า ดูก่อนเทวทัต ข่าวว่า

เธอพร้อมด้วยบริษัท เที่ยวขออาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉัน จริงหรือ.

พระเทวทัตทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้พร้อมด้วยบริษัทเที่ยวขออาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 458

การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๘๑.๒ ก. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉันเป็นหมู่.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระเทวทัต จบ

เรื่องภิกษุอาพาธ

[๔๗๖] สมัยนั้นแล ประชาชนนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย ผู้อาพาธฉัน

ภัตตาหาร ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจ ไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า การฉันเป็นหมู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันเป็นหมู่ได้

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ ฉันเป็นหมู่ได้.

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 459

พระอนุบัญญัติ

๘๑.๒ ข. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉัน เป็นหมู่

ในสมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ ในสมัยในเรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุอาพาธ จบ

ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในฤดูถวายจีวร

[๔๗๗] สมัยต่อมาเป็นฤดูที่ชาวบ้านถวายจีวรกัน ประชาชนตกแต่ง

ภัตตาหารพร้อมด้วยจีวร แล้วนิมนต์ภิกษุทั้งหลายด้วยตั้งใจว่า ให้ท่านฉัน

แล้วจักให้ครองจีวร ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจ ไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า

การฉันเป็นหมู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จีวรจึงเกิดขึ้นเล็กน้อย ภิกษุ

ทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ถวายจีวรกัน เราอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๒

๘๑.๒ ค. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉัน เป็น

หมู่ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร

นี้สมัยในเรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในฤดูถวายจีวร จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 460

ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในฤดูทำจีวร

[๔๗๘] สมัยต่อมา ประชาชนนิมนต์ภิกษุทั้งหลายผู้ช่วยทำจีวรฉัน

ภัตตาหาร ภิกษุทั้งหลายพากัน รังเกียจ ไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า การฉันเป็นหมู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ

ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ทำจีวรกัน เราอนุญาต

ให้ฉันเป็นหมู่ได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๘๑.๒ ง. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉันเป็นหมู่

นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร คราว

ทำจีวร นิสมัยในเรื่องนั้น .

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในฤดูทำจีวร จบ

ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวเดินทางไกล

[๔๗๙] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายพากันเดินทางไกลไปกับประชาชน

คราวนั้นภิกษุเหล่านั้น ได้บอกประชาชนพวกนั้นว่า โปรดรอสักครู่หนึ่งเถิดจะ

พวกฉันจักไปบิณฑบาต

ประชาชนพวกนั้นกล่าวนิมนต์อย่างนี้ว่า นิมนต์ฉันที่นี้แหละเจ้าข้า

ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า การฉันเป็นหมู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 461

ทรงอนุญาตว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่เดินทางไกล เราอนุญาต

ให้ฉันเป็นหมู่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้

พระอนุบัญญัติ ๔

๘๑.๒ จ. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉันเป็นหมู่

นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร คราว

ที่ทำจีวร คราวที่เดินทางไกล นี้สมัยในเรื่องนั้น

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาติให้ฉันเป็นหมู่ในคราวเดินทางไกล จบ

ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวโดยสารเรือ

[๔๘๐] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายโดยสารเรือไปกับประชาชน ครั้งนั้น

ภิกษุพวกนั้นได้บอกประชาชนพวกนั้นว่า โปรดจอดเรือที่ฝั่งสักครู่หนึ่งเถิดจ้า

พวกฉันจักไปบิณฑบาต

ประชาชนพวกนั้น กล่าวนิมนต์อย่างนี้ว่า นิมนต์ฉันที่นี้แหละเจ้าข้า

ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า การฉันเป็นหมู่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรง

อนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวโดยสารเรือ เราอนุญาตใท้

ฉันเป็นหมู่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 462

พระอนุบัญญัติ ๕

๘๑.๒ ฉ. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉัน เป็น

หมู่ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร

คราวที่ทำจีวร คราวที่เดินทางไกล คราวที่โดยสารเรือไป นี้สมัยใน

เรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวโดยสารเรือ จบ

ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวประชุมใหญ่

[๔๘๑] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาในทิศทั้งหลาย เดินทาง

มายังพระนครราชคฤห์เพื่อเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคเจ้า ประชาชนเห็นภิกษุผู้มา

จากราชอาณาเขตต่าง ๆ จึงนิมนต์ฉันภัตตาหาร

ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า การฉันเป็นหมู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ

ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวประชุมให้ เราอนุญาต

ให้ฉันเป็นหมู่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๖

๘๑.๒ ช. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉันเป็นหมู่

นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร คราวที่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 463

ทำจีวร คราวที่เดินทางไกล คราวที่โดยสารเรือไป คราวประชุมใหญ่

นี้สมัยในเรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวประชุมใหญ่ จบ

ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวภัตของสมณะ

[๔๘๒] สมัยต่อมา พระญาติร่วมสายโลหิตของพระเจ้าพิมพิสารจอม

เสนามาคธราชทรงผนวชอยู่ในสำนักอาชีวก คราวนั้นแล อาชีวกนั้นเข้าเฝ้า

พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชถึงพระราชสำนัก ครั้นแล้วได้ถวายพระพร

ว่า ขอถวายพระพร อาตมภาพปรารถนาจะทำภัตตาหารเลี้ยงนักบวชที่ถือลัทธิ

ต่าง ๆ ท้าวเธอตรัสว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าพระคุณเจ้านิมนต์ภิกษุสงฆ์มี

มีพระพุทธเจ้าเป็นมุขให้ฉันก่อน ฉันจึงจะจัดทำถวายอย่างนั้นได้

จึงอาชีวกนั้นส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย อาราธนาว่า ขอภิกษุ

ทั้งหลาย จงรับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้.

ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า การฉันเป็นหมู่ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว.

จึงอาชีวกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงพุทธสำนัก ครั้นแล้วได้

กราบทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้เป็นที่ระลึก

ถึงกันไปแล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า แม้พระโคดมผู้เจริญก็

เป็นบรรพชิต แม้ข้าพเจ้าก็เป็นบรรพชิต บรรพชิตควรรับอาหารของบรรพชิต

ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงรับภัตตาหารของข้าพเจ้าเพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เถิด พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 464

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยอาการดุษณี ครั้นอาชีวกนั้น

ทราบการทรงรับนิมนต์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กลับไป

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ในคราวภัตของสมณะ เราอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ได้.

ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๗

๘๑.๒ ญ. เว้นไว้แต่สมัยเป็นปาจิตตีย์ ในเฉพาะฉันเป็น

หมู่ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร

คราวที่ทำจีวร คราวที่เดินทางไกล คราวที่โดยสารเรือไป คราว

ประชุมใหญ่ คราวภัตของสมณะ นี้สมัยในเรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวภัตของสมณะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๘๓] ที่ชื่อว่า ฉันเป็นหมู่ คือ คราวที่มีภิกษุ ๔ รูปอันเขา

นิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วฉัน ในชื่อว่าฉันเป็นหมู่.

บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกเว้นสมัย

ที่ชื่อว่า คราวอาพาธ คือ โดยที่สุดแม้เท้าแตก ภิกษุคิดว่าเป็น

คราวอาพาธแล้วฉันได้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 465

ที่ชื่อว่า คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร คือ เมื่อกฐินยังไม่ได้กราน

กำหนดท้ายฤดูฝน ๑ เดือน เมื่อกฐินกรานแล้ว ๕ เดือน ภิกษุคิดว่าเป็นคราว

ที่เป็นฤดูถวายจีวร แล้วฉันได้.

ที่ชื่อว่า คราวที่ทำจีวร คือ เมื่อภิกษุกำลังทำจีวรกันอยู่ ภิกษุคิด

ว่าเป็นคราวที่ทำจีวร แล้วฉันได้

ที่ชื่อว่า คราวเดินทางไกล คือ ภิกษุคิดว่า จักเดินทางไปถึงกึ่ง

โยชน์ แล้วฉัน ได้ เมื่อจะไปก็ฉันได้ มาถึงแล้วก็ฉันได้.

ที่ชื่อว่า คราวโดยสารเรือไป คือ ภิกษุคิดว่า เราจักโดยสารเรือ

ไป แล้วฉันได้ เมื่อจะโดยสารไปก็ฉันได้ โดยสารกลับมาแล้วก็ฉันได้.

ที่ชื่อว่า คราวประชุมใหญ่ คือ คราวที่มีภิกษุ ๒ - ๓ รูปเที่ยว

บิณฑบาตพอเลี้ยงกัน แต่เมื่อมีรูปที่ ๔ มารวมด้วย ไม่พอเลี้ยงกัน ภิกษุคิด

ว่าเป็นคราวประชุมใหญ่ แล้วฉันได้.

ที่ชื่อว่า คราวภัตของสมณะ คือ คราวที่มีผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งนับเนื่อง

ว่าเป็นนักบวชทำภัตตาหารถวาย ภิกษุคิดว่าเป็นคราวภัตของสมณะ แล้วฉันได้.

นอกจากสมัย ภิกษุรับว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๘๔] ฉัน เป็นหมู่ ภิกษุสำคัญว่าฉันเป็นหมู่ เว้นไว้แต่สมัย ฉัน

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ฉันเป็นหมู่ ภิกษุสงสัย เว้นไว้แต่สมัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 466

ฉันเป็นหมู่ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ฉันเป็นหมู่ เว้นไว้แต่สมัย ฉัน ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกะทุกกฏ

มิใช่ฉัน เป็นหมู่ ภิกษุสำคัญว่าฉันเป็นหมู่ . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่ฉันเป็นหมู่ ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่ฉัน เป็นหมู่ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ฉันเป็นหมู่ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร

[๔๘๕] ภิกษุฉันในสมัย ๑ ภิกษุ ๒-๓ รูปฉันรวมกัน ๑ ภิกษุหลาย

รูปเที่ยวบิณฑบาตแล้วประชุมฉันแห่งเดียวกัน ๑ ภัตเขาถวายเป็นนิตย์ ๑ ภัต

เข้าถวายตามสลาก ๑ ภัตเขาถวายในปักข์ ๑ ภัตเขาถวายในวันอุโบสถ ๑ ภัต

เขาถวายในวันปาฎิบท ๑ ภิกษุฉันอาหารทุกชนิด เว้นโภชนะ ห้า ๑ ภิกษุ-

วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 467

โภชนวรรค คณโภชนสิกขาบทที่ ๒

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้

[แก้อรรถกถาปฐมบัญญัติ เรื่องพระเทวทัต ]

บทว่า ปริหีนลาภสกฺกาโร มีความว่า ได้ยินว่า พระเทวทัตนั้น

แนะนำให้พระเจ้าอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระราชาก็ดี สั่งนายขมังธนูไป (เพื่อ

ปลงพระชนม์พระตถาคต) ก็ดี ทำโลหิตุปบาทก็ดี ได้เป็นผู้ลี้ลับปกปิด, แต่

ในเวลาปล่อยช้างธนบาลก์ไปในกลางวันแสก ๆ นั่นแล ได้เกิดเปิดเผยขึ้น.

คืออย่างไร ? คือ เพราะว่า เมื่อเกิดพูดกันขึ้นว่า พระเทวทัต

ปล่อยช้างไป (เพื่อปลงพระชนม์พระตถาคต) ก็ได้เป็นผู้ปรากฏชัดว่า มิใช่

แต่ปล่อยช้างอย่างเดียว แม้พระราชา พระเทวทัตก็ให้ปลงพระชนม์ ถึงพวก

นายขมังธนูก็ส่งไป แม้ศิลาก็กลิ้ง, พระเทวทัตเป็นคนลามก. และเมื่อมีผู้ถาม

ว่า พระเทวทัตได้ทำกรรมนี้ร่วมกับใคร ? ชาวเมืองกล่าวว่า กับพระเจ้าอชาต-

ศัตรู. ในลำดับนั้น ชาวเมืองก็ลุกฮือขึ้น พูดว่า ไฉนหนอ พระราชาจึง

เที่ยวสมคบโจรผู้เป็นเสี้ยนหนามต่อพระศาสนาเห็นปานนี้เล่า ? พระราชาทรง

ทราบความกำเริบของชาวเมือง จึงทรงขับไสไล่ส่งพระเทวทัตไปเสีย และตั้ง

แต่นั้นมาก็ทรงตัดสำรับ ๕๐๐ สำรับ แห่งพระเทวทัตนั้นเสีย. แม้ที่บำรุงพระ-

เทวทัตนั้น ก็มิได้เสด็จไป, ถึงชาวบ้านพวกอื่นก็ไม่สำคัญของอะไร ๆ ที่จะ

พึงถวาย หรือพึงทำแก่พระเทวทัตนั้น . ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์

จึงกล่าวว่า มีลาภและสักการะเสื่อมสิ้นแล้ว.

ข้อว่า กุเลสุ วิญฺาเปตฺวา วิญฺาปตฺวา ภุญฺชติ มีความว่า

พระเทวทัตนั้น ดำริว่า คณะของเราอย่าได้แตกกันเลย เมื่อจะเลี้ยงบริษัท

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 468

จึงได้พร้อมด้วยบริษัทเที่ยวขออาหารฉัน อยู่ในตระกูลทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่าน

จงถวายภัตแก่ภิกษุ ๑ รูปท่านจงถวายแก่ภิกษุ ๒ รูป ดังนี้.

คำว่า จีวร ปริตฺต อุปฺปชฺชติ มีความว่า ชาวบ้านทั้งหลายไม่

ถวายจีวรแก่ภิกษุผู้ไม่รับภัตตาหาร ; เพราะเหตุนั้น จีวรจึงเกิดขึ้นเล็กน้อย.

ข้อว่า จีวรการเก ภิกขู ภตฺเตน นิมนฺเตนฺติ มีความว่า พวก

ชาวบ้านเห็นภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวไปบิณฑบาต ในบ้าน แล้วทำจีวรให้เสร็จช้า

จึงนิมนต์ด้วยความประสงค์บุญว่า ภิกษุทั้งหลายจักยังจีวรให้เสร็จแล้วใช้สอย

ด้วยอาการอย่างนั้น

บทว่า นานาเวรชฺชเก ได้แก่ ผู้มาจากรัฐต่าง ๆ คือ จากราช-

อาณาจักรอื่น. ปาฐะว่า นานาเวรญฺชเก ก็มี. เนื้อความก็อย่างนี้เหมือนกัน.

[อรรถาธิบายว่าด้วยการฉันเป็นคณะ]

บทว่า คณโภชเน คือ ในเพราะการฉันของหมู่ ( ในเพราะการ

ฉันเป็นหมู่) ก็ในสิกขาบทนี้ ทรงประสงค์เอาภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ชื่อว่า

ว่า คณะ (หมู่). พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงกำหนดด้วยคำนั้นนั่น

แล จึงตรัสว่า ยตฺถ จตฺตาโร ภิกฺขู ฯปฯ เอต คณโภชน นาม

ดังนี้.

ก็คณโภชนะนี้นั้น ย่อมเป็นไปโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยการ.

นิมนต์อย่าง โดยวิญญัติอย่าง ๑. ย่อมเป็นไปโดยการนิมนต์อย่างไร ? คือ

ทายกเข้าไปหาภิกษุ ๔ รูป แล้วนิมนต์ระบุชื่อโภชนะทั้ง ๕ โดยไวพจน์อย่าง

ใดอย่างหนึ่ง หรือโดยภาษาอื่น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ผมนิมนต์ท่านด้วย

ข้าวสุก, ขอท่านจงถือเอาข้าวสุกของผม, จงหวัง จงตรวจดู จงต้อนรับ

ซึ่งข้าวสุกของผม ดังนี้. ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป รับนิมนต์รวมกันอย่างนี้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 469

ไปพร้อมกันเพื่อฉันในวันนี้ หรือเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ด้วยอำนาจแห่งเวลา

ที่เขากำหนดไว้รับรวมกัน ฉันรวมกัน จัดเป็นคณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุ

ทั้งหมด.

ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์รวมกัน ต่างคนต่างฉัน ก็เป็นอาบัติเหมือน

กัน. จริงอยู่ การรับประเคนนั่นแหละเป็นประมาณในสิกขาบทนี้. ภิกษุทั้ง-

หลายรับนิมนต์รวมกัน จะไปพร้อมกัน หรือไปต่างกันก็ตาม, รับประเคนต่าง

กัน จะฉันรวมกัน หรือฉันต่างกันก็ตาม ไม่เป็นอาบัติ.

ภิกษุทั้งหลายไปยังบริเวณ หรือวิหาร ๔ แห่ง รับนิมนต์ต่างกันหรือ

บรรดาภิกษุผู้ยืนอยู่ในที่แห่งเดียวกันนั่นแหละ รับนิมนต์ต่างกัน แม้อย่างนี้

คือ ลูกชายนิมนต์ ๑ รูป บิดานิมนต์ ๑ รูป จะไปพร้อมกัน หรือไปต่างกัน

ก็ตาม, จะฉันพร้อมกัน หรือฉันต่างกันก็ตาม ถ้ารับประเคนรวมกัน จัดเป็น

คณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด. ย่อมเป็นไปโดยการนิมนต์อย่างนั้นก่อน.

ย่อมเป็นไปโดยวิญญัติอย่างไร คือ ภิกษุ ๔ รูป ยืน หรือนั่งอยู่

ด้วยกัน เห็นอุบายสกแล้วออกปากขอว่า ท่านจงถวายภัตตาหารแก่พวกเรา ทั้ง

๔ รูป ดังนี้ ก็ดี ต่างคนต่างเห็นแล้วออกปากขอรวมกัน หรือขอต่างกัน อย่าง

นี้ว่า ท่านจงถวายแก่เรา, ท่านจงถวายแก่เรา ดังนี้ก็ดี จะไปพร้อมกัน หรือ

ไปต่างกันก็ตาม, แม้รับประเคนภัตแล้ว จะฉันร่วมกันหรือฉันต่างกันก็ตาม,

ถ้ารับประเคนรวมกัน, จัดเป็นคณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด, ย่อม

เป็นไปโดยวิญญัติอย่างนี้,

[ว่าด้วยสมัยที่ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้]

สองบทว่า ปาทาปิ ผาลิตา มีความว่า (เท้าทั้ง ๒) แตกโดย

อาการที่เนื้อปรากฏให้เห็นข้างหน้าหนังใหญ่ เพียงถูกทรายหรือกรวดกระทบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 470

ก็ก่อให้เกิดทุกข์ขึ้น ไม่สามารถจะไปเที่ยวบิณฑบาตภายในบ้านได้. ในอาพาธ

เช่นนั้น ควรฉันได้ด้วยคิดว่า เป็นคราวอาพาธ (แต่) ไม่ควรทำให้เป็น

กัปปิยะด้วยเลศ.

สองบทว่า จีวเร กริยมาเน มีความว่า ในคราวที่พวกภิกษุได้ผ้า

และด้ายแล้วกระทำจีวร. แท้จริง ชื่อว่า จีวรการสมัย แผนกหนึ่งไม่มี. เพราะ

เหตุนั้น ภิกษุใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ควรทำในจีวรนั้น สมดังที่ท่าน

กล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ชั้นที่สุดภิกษุผู้ร้อยเข็ม (ผู้สนเข็ม) ดังนี้ก็มี, ภิกษุ

นั้นควรฉันได้ด้วยคิดว่า เป็นจีวรการสมัย.

ส่วนในกุรุนทีท่านกล่าวไว้โดยพิสดารทีเดียวว่า ภิกษุใด กะจีวร ตัด

จีวร ด้นด้ายเนา ทาบผ้าเพาะ เย็บล้มตะเข็บ ติดผ้าดาม ตัดอนุวาท ฟัน

ด้าย เย็บสอยตะเข็บในจีวรนั้น กรอด้าย ม้วนด้าย (ควบด้าย) ลับมีดเล็ก

ทำเครื่องปั่นด้าย, ภิกษุแม้ทั้งหมดนี้ ท่านเรียกว่า ทำจีวรทั้งนั้น, แต่ภิกษุ

ใดนั่งใกล้ ๆ กล่าวชาดกก็ดี ธรรมบทก็ดี ภิกษุนี้ไม่ใช่ผู้ทำจีวร, ยกเว้นภิกษุ

นี้เสีย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุที่เหลือ เพราะคณโภชนะ.

บทว่า อฑฺฒโยชน ได้แก่ ผู้ประสงค์จะเดินทางไกลแม้ประมาณ

เท่านี้ . ก็ภิกษุใดประสงค์จะเดินทางไกล, ในภิกษุนั้น ไม่มีถ้อยคำที่จะต้อง

กล่าวเลย.

บทว่า คจฺฉนฺเตน มีความว่า ภิกษุผู้เดินทางไกล จะฉันแม้ในที่

คาวุตหนึ่งภายในกึ่งโยชน์ ก็ควร.

สองบทว่า คเตน ภุญฺชิตพฺพ คือ ผู้ไปแล้วพึงฉันได้วันหนึ่ง.

แม้ในเวลาโดยสารเรือไป ก็นัยนี้นั่นแล. ส่วนความแปลกกันดังต่อไปนี้ :-

ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ภิกษุผู้โดยสารเรือไป แม้ถึงที่อันตนปรารถนาแล้ว พึง

ฉันได้ตลอดเวลาที่ตนยังไม่ขึ้น (จากเรือ).

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 471

กำหนดว่า จตุตฺเถ อาคเต นี้ เป็นกำหนดอย่างต่ำที่สุด. แม้เมื่อ

ภิกษุรูปที่ ๔ มา ภิกษุทั้งหลายไม่พอเลี้ยงกัน ในสมัยใด สมัยนั้น จัดเป็นคราว

ประชุมใหญ่ได้. ก็ในคราวที่ภิกษุประชุมกันตั้ง ๑๐๐ รูป หรือ ๑,๐๐๐ รูป

ไม่มีคำที่จะต้องกล่าวเลย, เพราะฉะนั้น ในกาลเช่นนั้น ภิกษุพึงอธิษฐานว่า

เป็นคราวประชุมใหญ่ แล้วฉันเถิด.

คำว่า โย โกจิ ปริพฺพาชกสมาปนฺโน ได้แก่ บรรดาพวก

สหธรรมิกก็ดี พวกเดียรถีย์ก็ดี นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง, ก็เมื่อนักบวชมี

สหธรรมิกเป็นต้นเหล่านั้น รูปใดรูปหนึ่งทำภัตตาหารแล้ว ภิกษุพึงอธิษฐานว่า

เป็นคราวภัตของสมณะ แล้วฉันเถิด.

สองบทว่า อนาปตฺติ สมเย ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติในสมัยทั้ง ๗

สมัยใดสมัยหนึ่ง.

คำว่า เทฺว ตโย เอกโต มีความว่า แม้ภิกษุเหล่าได้ยินดีการ

นิมนต์ที่ไม่สมควร รับรวมกัน ๒ รูป หรือ ๓ รูป แล้วฉัน, ไม่เป็นอาบัติ

แม้แก่ภิกษุพวกนั้น.

[ว่าด้วยจตุตถะ ๕ หมวดมีอนิมันติตจตุตถะเป็นต้น]

ในคำว่า เทฺว ตโย เอกโต นั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยด้วยอำนาจ

จตุกกะ ๕ หมวด คือ อนิมันติตจตุตถะ (มีภิกษุไม่ได้นิมนต์เป็นที่ ๔)

๑ ปิณฑปาติกจตุตถะ (มีภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตรเป็นที่ ๔) ๑ อนุป-

สัมปันนจตุตถะ (มีอนุปสัมบันเป็นที่ ๔) ๑ ปัตตจตุตถะ (มีบาตรเป็น

ที่ ๔) ๑ คิลานจตุตถะ (มีภิกษุอาพาธเป็นที่ ๔) ๑.

คืออย่างไร ? คือ คนบางตนในโลกนี้ นิมนต์ภิกษุ ๘ รูปว่า นิมนต์

ท่านรับภัต (ข้าวสวย). ในภิกษุ ๔ รูปนั้น ไป ๓ รูป, ไม่ไป ๑ รูป อุบาสก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 472

ถามว่า ท่านขอรับ ! พระเถระรูปหนึ่งไปไหน ภิกษุตอบว่า ไม่มา อุบาสก !

อุบาสกนั้นนิมนต์ภิกษุอื่นบางรูป ซึ่งมาถึงเข้าในขณะนั้น ให้เข้านั่งร่วมว่า

นิมนต์ท่านมาเถิด ขอรับ แล้วถวายภัตแก่ภิกษุทั้ง ๔ รูป. ไม่เป็นอาบัติแก่

ภิกษุแม้ทั้งหมด. เพราะเหตุไร เพราะภิกษุคณปูรกะ (รูปที่ครบคณะ)

เขาไม่ได้นิมนต์. จริงอยู่ ในภิกษุ ๔ รูปนั้น ภิกษุ ๓ รูปเท่านั้นเขานิมนต์

ได้รับประเคนแล้ว, คณะยังไม่ครบด้วยภิกษุ ๓ รูปนั้น, และรูปที่ครบคณะ

เขาไม่ได้นิมนต์, คณะจึงแยกเพราะภิกษุนั้น, ภิกขุจตุตถะดังว่ามานี้ ชื่อว่า

อนิมันติตจทุตถะ.

พึงทราบวินิจฉัยในปิณฑปาติกจตุตถะ :- ในเวลานิมนต์ มีภิกษุถือ

บิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง เธอจึงไม่รับ. แต่ในเวลาจะไป เมื่อพวกภิกษุรับ

นิมนต์กล่าวว่า นิมนต์ท่านมาเถิด ขอรับ ! แล้วพาเอาภิกษุนั้นแม้ผู้ไม่ไป

เพราะไม่ได้รับนิมนต์ ไปด้วยกล่าวว่า มาเถิด ท่านจักได้ภิกษา. ภิกษุนั้นทำ

คณะนั้นให้แยกกัน. เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด.

พึงทราบวินิจฉัยในอนุปสัมบันนจตุตถะ :- พวกภิกษุรับนิมนต์พร้อม

กับสามเณร. แม้สามเณรนั้น ก็ทำคณะให้แยกกัน ได้.

พึงทราบวินิจฉัยในปัตตจตุตถะ :- ภิกษุรูปหนึ่งไม่ไปเอง ส่งบาตรไป.

แม้ด้วยอาการอย่างนี้ คณะก็แยก. เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุทุกรูป.

พึงทราบวินิจฉัยในคิลานจตุตถะ : พวกภิกษุรับนิมนต์รวมกับภิกษุ

อาพาธ. ในภิกษุ ๔ รูปนั้น ภิกษุอาพาธเท่านั้นไม่เป็นอาบัติ แต่เธอเป็น

คณปูรกะของภิกษุนอกนี้ได้. คณะจึงไม่แยกเพราะภิกษุอาพาธเลย. เพราะฉะนั้น

จึงเป็นอาบัติแก่ภิกษุเหล่านั้นแท้. แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้ โดยไม่แปลก

กันว่า ภิกษุอาพาธได้สมัย (คราวอาพาธ) จึงพ้น ไปได้ด้วยตนเองเท่านั้น,

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 473

ทำให้เป็นอาบัติแก่ภิกษุที่เหลือ เพราะเป็นคณปูรกะ. เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา

พึงทราบจตุกกะด้วยอำนาจแม้แห่งภิกษุผู้ได้จีวรทานสมัยเป็นต้น.

ก็ถ้าว่า ภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่งในภิกษุ ๔ รูป แม้ผู้รับนิมนต์แล้วไป

กล่าวว่า ผมจักแยกคณะของพวกท่าน, ขอพวกท่านจงรับการนิมนต์ เมื่อพวก

ชาวบ้านจะรับบาตรเพื่อประโยชน์แก่ภัต ในที่สุดแห่งยาคูและของควรเคี้ยว

ไม่ให้ (บาตร) กล่าวว่า พวกท่านให้ภิกษุเหล่านั้นฉัน แล้วส่งกลับไปก่อน,

อาตมาทำอนุโมทนาแล้วจักไปตามหลัง แล้วนั่งอยู่, ครั้นภิกษุเหล่านั้นฉันเสร็จ

แล้วไป, เมื่ออุบาสกกล่าวว่า โปรดให้บาตรเถิด ขอรับ แล้ว รับบาตรไป

ถวายภัตฉันเสร็จทำอนุโมทนาแล้วจึงไป, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุทุกรูป

จริงอยู่ ความผิดสังเกตในคณโภชนะ ย่อมไม่มีด้วยอำนาจแห่งโภชนะ

๕ อย่างเลย. พวกภิกษุรับนิมนต์ด้วยข้าวสุก แม้รับขนมกุมมาส ก็ต้องอาบัติ

และโภชนะเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้รับรวมกัน. แต่มีความผิดสังเกตด้วย

อาหารวัตถุมียาคูเป็นต้น. ยาคูเป็นต้นเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นรับรวมกันได้แล.

ภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่ง ย่อมทำไม่ให้เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุเหล่าอื่น ด้วยประการ

อย่างนี้.

[ว่าด้วยวิธีนิมนต์พระรับภิกษา]

เพราะฉะนั้น ถ้าคนบางคนถูกผู้ประสงค์จะทำสังฆภัต วานไปเพื่อ

ต้องการให้นิมนต์ (พระ) มายังวิหาร ไม่กล่าวว่า ท่านขอรับ พรุ่งนี้นิมนต์

รับภิกษาในเรือนของพวกกระผม กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับภัต ก็ดี ว่า นิมนต์

ท่านรับสังฆภัต ก็ดี ว่า ขอสงฆ์จงรับภัต ก็ดี, พระภัตตุทเทสก์พึงเป็นผู้ฉลาด.

พึงเปลื้องพวกภิกษุผู้รับนิมนต์จากคณโภชน์ , พึงเปลื้องภิกษุพวกถือปิณฑิ-

ปาติกธุดงค์จากความแตกแห่งธุดงค์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 474

คืออย่างไร ? คือ พระภัตตุทเทสก์พึงกล่าวอย่างนั้นก่อนว่า พรุ่งนี้

ไม่อาจ (รับ) อุบาสก ! เมื่ออุบายสกกล่าวว่า มะรืนนี้ ขอรับ ! พึงกล่าวว่า

มะรืนนี้ก็ไม่อาจ (รับได้) อุบายสกเลื่อนไปอย่างนั้น แม้จนถึงกึ่งเดือน พระ-

ภัตตุทเทสก์พึงพูดอีกว่า ท่านพูดอะไร ? ถ้าแม้นอุบายสกพูดย้ำอีกว่า นิมนต์

ท่านรับสังฆภัต, ลำดับนั้น พระภัตตุทเทสก์พึงทำไขว้เขวไปอย่างนี้ว่า อุบาสก !

จงทำดอกไม้นี้ จงทำหญ้านี้ ให้เป็นกัปปิยะก่อน แล้วย้อนถามอีกว่า ท่าน

พูดอะไร ? ถ้าแม้น เขายังพูดซ้ำแม้อย่างนั้นนั่นแหละ, พึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ !

ท่านจักไม่ได้พระมหาเถระ ผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ท่านจักได้พวกสามเณร.

และเมื่อเขาถามว่า ท่านขอรับ ! พวกคนในบ้านโน้นและบ้านโน้น นิมนต์ให้

พระคุณเจ้าผู้เจริญฉัน มิใช่หรือ ผมจะไม่ได้ เพราะเหตุไร ? พึงกล่าวว่า

พวกเขารู้จักนิมนต์ (ส่วน) ท่านไม่รู้จักนิมนต์. เขาถามว่า ท่านขอรับ !

พวกเขานิมนต์อย่างไร ? พึงกล่าวว่า พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า นิมนต์รับภิกษา

ของพวกกระผมขอรับ ! ถ้าแม้นเขากล่าวเหมือนอย่างที่พูดนั้นแล, การนิมนต์

นั้นสมควร.

ถ้าเขายังกล่าวซ้ำอีกว่า นิมนต์รับภัต พึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ ! คราวนี้

ท่านจักไม่ได้ภิกษุมาก จักได้เพียง ๓ รูปเท่านั้น. ถ้าเขาถามว่า ท่านขอรับ !

พวกชาวบ้านโน้นบ้านโน้นและบ้านโน้น นิมนต์ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดให้ฉันมิใช่หรือ ?

ผมจะไม่ได้เพราะเหตุไรเล่า ? พึงกล่าวว่า ท่านไม่รู้จักนิมนต์. ถ้าเขาถามว่า

ท่านขอรับ ! พวกเขานิมนต์อย่างไร พึงกล่าวว่า พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านขอรับ ! นิมนต์รับภิกษาของพวกกระผม. ถ้าแม้นเขากล่าวเหมือนอย่างที่

พูดนั้นนั่นแหละ, การนิมนต์นั่นสมควร.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 475

ถ้าเขาพูดว่า ภัตรเท่านั้น แม้อีก. ทีนั้น พระภัตตุทเทสก์พึงกล่าวว่า

ไปเสียเถิดท่าน, พวกเราไม่มีความต้องการด้วยภัตของท่าน บ้านนี้เป็นที่เที่ยว

ไปบิณฑบาตประจำของพวกเรา, พวกเราจักเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนี้. เขา

กล่าวว่า นิมนต์ท่านเที่ยวไปยังบ้านนั้นเถิด ขอรับ ! แล้วกลับมา ชาวบ้าน

ถามว่า ผู้เจริญ ! ท่านได้พระแล้วหรือ ? เขาพูดว่า ในเรื่องนิมนต์นี้ มีคำ

จะต้องพูดมาก, จะมีประโยชน์อะไร ด้วยคำพูดที่จะพึงกล่าวให้มากนี้. พระเถระ

ทั้งหลายพูดว่า พวกเราจักเที่ยวไปบิณฑบาตพรุ่งนี้, คราวนี้พวกท่านอย่า

ประมาท.

ในวันรุ่งขึ้น พระสังฆเถระพึงบอกภิกษุทั้งหลาย ผู้ทำเจติยวัตรแล้ว

ยืนอยู่ว่า คุณ ! ที่บ้านใกล้มีสังฆภัต, แต่คนไม่ฉลาดได้ไปแล้ว, ไปเถิด

พวกเราจักเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านใกล้. พวกภิกษุพึงทำตามคำของพระเถระ

ไม่พึงเป็นผู้ว่ายาก, พึงเที่ยวไปบิณฑบาต อย่ายืนที่ประตูบ้านเลย. เมื่อชาวบ้าน

เหล่านั้นรับบาตรนิมนต์ให้นั่งฉัน พึงฉันเถิด. ถ้าเขาจัดวางภัตไว้ที่หอฉันแล้ว

เที่ยวไปบอกในถนนว่า นิมนต์รับภัตที่หอฉัน ขอรับ ! ไม่สมควร. แต่ถ้าเขา

ถือเอาภัตไปในที่นั้น ๆ เรียนว่า นิมนต์รับภัตเถิด หรือรีบนำไปยังวิหารทีเดียว

วางไว้ในที่อันสมควร แล้วถวายแก่พวกภิกษุผู้มาถึงแล้ว ๆ, ภิกษานี้ ชื่อว่า

ภิกษาที่เขานำมาจำเพาะ ย่อมสมควร.

แต่ถ้าเขาเตรียมทานไว้ที่โรงครัว แล้วเที่ยวไปยังบริเวณนั้น ๆ เรียน

ว่า นิมนต์รับภัตที่โรงครัว ไม่สมควร. แต่พวกชาวบ้านใด พอเห็นพวกภิกษุ

ผู้เข้าไปบิณฑบาต ก็ช่วยกันกวาดหอฉัน นิมนต์ให้นั่งฉัน ที่หอฉันนั้น. ไม่

พึงปฏิเสธชนเหล่านั้น. แต่ชนเหล่าใด เห็นพวกภิกษุผู้ไม่ได้ภิกษาในบ้าน

กำลังออกจากบ้านไป เรียนว่า นิมนต์รับภัตเถิด ขอรับ ! ไม่พึงปฏิเสธคน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 476

เหล่านั้น. หรือว่า ไม่พึงกลับ ถ้าพวกเขาพูดว่า นิมนต์กลับเถิด ขอรับ !

ขอนิมนต์รับภัต จะกลับไปในบทที่เขากล่าวว่า นิมนต์กลับเถิด ก็ได้.

ชาวบ้านกล่าวว่า นิมนต์กลับเถิดขอรับ ! ภัตในเรือนทำเสร็จแล้ว,

ภัตในบ้านทำเสร็จแล้ว. จะกลับไปด้วยคิดว่า ภัตในเรือนและในบ้าน ย่อมมี

เพื่อใครคนใดคนหนึ่งก็ได้ สมควรอยู่. เขากล่าวให้สัมพันธ์กัน ด้วยคำว่า นิมนต์

กลับไปรับ ภัตเถิด ดังนี้ จะกลับไปไม่ควร. แม้ในคำที่ชาวบ้านเห็นพวกภิกษุ

ผู้กำลังออกจากโรงฉันไปเพื่อเที่ยวบิณฑบาต แล้วกล่าวว่า นิมนต์นั่งเถิด

ขอรับ ! ขอนิมนต์รับภัต ดังนี้ ก็นัยนี้นั่นแล.

ภัตประจำ เรียกว่า นิตยภัต. ชาวบ้านพูดว่า นิมนต์รับนิตยภัต

จะรับร่วมกันมากรูป ก็ควร. แม้ในสลากภัตเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแล. บทที่

เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-

วิโมกข์ อจิตทกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

คณโภชนสิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 477

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องบุรุษเข็ญใจ

[๔๘๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร

ศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ประชาชนได้จัดทั้งลำดับ

ภัตตาหารอัน ประณีตไว้ นพระนครเวสาลี คราวนั้น กรรมกรเข็ญใจคนหนึ่ง

ดำริว่า ทานนี้จักไม่เป็นกุศลเล็กน้อย เพราะประชาชนพวกนี้ทำภัตตาหารโดย

เคารพ ผิฉะนั้น เราควรทำภัตตาหารบ้าง ดังนั้นเขาจึงเข้าไปหานายกิรปติกะ

บอกความจำนงว่า คุณครับ กระผมปรารถนาจะทำภัตตาหารถวายภิกษุสงฆ์มี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ขอท่านโปรดให้ค่าจ้างแก่กระผม แม้นายกิรปติกะนั้น

ก็เป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส เขาจึงได้ให้ค่าจ้างแก่กรรมกรเข็ญใจนั้นเกินปกติ

ฝ่ายกรรมกรเข็ญใจนั้น ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง

ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลอาราธนาว่า ขอพระองค์พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อ

เจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่นัก เธอจงทราบ

กรรมกรนั้นกราบทูลว่า ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ก็ไม่เป็นไร พระพุทธเจ้าข้า ผล

พุทราข้าพระพุทธเจ้าจัดเตรียมไว้มาก อาหารที่เป็นเครื่องดื่มเจือด้วยผลพุทรา

จักบริบูรณ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นเขาทราบการรับ

นิมนต์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายทราบข่าวว่า กรรมกรเข็ญใจผู้หนึ่ง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 478

นิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ อาหารที่

เป็นเครื่องดื่มเจือด้วยผลพุทราจักบริบูรณ์ เธอจึงเที่ยวบิณฑบาตฉันเสียแต่เช้า

ชาวบ้านทราบข่าวว่า กรรมกรเข็ญใจผู้หนึ่งได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุข เขาจึงนำของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากไปช่วยกรรมกรเข็ญใจ ส่วน

กรรมกรเข็ญใจผู้นั้น สั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีต โดยล่วง

ราตรีนั้น แล้วให้ไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้เวลาแล้ว

พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.

ขณะนั้นแลเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว

ทรงบาตรจีวร เสด็จไปยังที่อยู่ของกรรมกรเข็ญใจผู้นั้น ประทับนั่งเหนือ

พุทธอาสน์ที่เขาจัดถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จึงกรรมกรเข็ญใจผู้นั้นอังคาส

ภิกษุทั้งหลายในโรงภัตตาหาร.

ภิกษุทั้งหลายพากัน กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส จงถวายแต่น้อยเถิด จง

ถวายแต่น้อยเถิด.

กรรมกรกราบเรียนว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย โปรดอย่าเข้าใจว่า

กระผมนี้เป็นกรรมกรเข็ญใจ แล้วรับแต่น้อย ๆ เลยเจ้าข้า ของเคี้ยวของฉัน

กระผมได้จัดหาไว้มากมาย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายได้โปรดเรียกร้องตาม

ประสงค์เถิด เจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลายตอบว่า พวกฉันขอรับแค่น้อย ๆ มิใช่เพราะเหตุนั้นเลย

เพราะพวกฉันเที่ยวบิณฑบาตฉันมาแต่เช้าแล้วต่างหาก ฉะนั้น พวกฉันจึงขอ

รับแต่น้อย ๆ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 479

ลำดับนั้นแล กรรมกรเข็ญใจผู้นั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนพระคุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย อันข้าพเจ้านิมนต์ไว้แล้ว จึงได้ฉันเสียในที่

อื่นเล่า ข้าพเจ้าไม่สามารถจะถวายให้เพียงพอแก่ความต้องการหรือ.

ภิกษุทั้งหลายได้ยินเขาเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็น

ผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ไว้

ในที่แห่งหนึ่ง แล้วไฉนจึงได้ฉัน เสียในที่อีกแห่งหนึ่งเล่า แล้ว กราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกภิกษุรับนิมนต์ไว้ในที่แห่งหนึ่งแล้ว ฉันเสียในที่อีกแห่งหนึ่ง

จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ

เหล่านั้น รับนิมนต์ไว้ในที่แห่งหนึ่งแล้ว ไฉนจึงได้ฉัน ในที่อีกแห่งหนึ่งเล่า

การกระทำของโมฆบุรุษพวกนั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่

ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 480

พระบัญญัติ

๘๒. ๓. ก. เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องบุรุษเข็ญใจ จบ

เรื่องคิลานสมัย

[๔๘๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุอีกรูปหนึ่ง

นำบิณฑบาตเข้าไปถวายภิกษุผู้อาพาธนั้น แล้วได้กล่าวว่า อาวุโส นิมนต์

ฉันเถิด.

ภิกษุอาพาธปฏิเสธว่า ไม่ต้อง อาวุโส ความหวังจะได้ภัตตาหารของ

ผมมีอยู่.

พอเวลาสาย ทายกนำบิณฑบาตมาถวายภิกษุอาพาธนั้น เธอฉันไม่ได้

ตามที่คาดหมาย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงอนุญาตให้ฉันโภชนะทีหลัง

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันโภชนะทีหลังได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้

พระอนุบัญญัติ ๑

๘๒. ๓. ข. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง

นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวเป็นไข้ นี้สมัยในเรื่องนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 481

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องคิลานสมัย จบ

เรื่องจีวรทานสมัย

[๔๘๘] สมัยนั้นแล เป็นคราวที่ถวายจีวร ประชาชนพากันตกแต่ง

ภัตตาหารพร้อมด้วยจีวร แล้วนิมนต์ภิกษุทั้งหลายว่า พวกข้าพเจ้าจักนิมนต์

ให้ท่านฉัน แล้วจักให้ครองจีวร ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า

โภชนะทีหลังพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จีวรจึงเกิดขึ้นเล็กน้อย ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในคราวที่ถวายจีวรกัน เราอนุญาตให้ฉัน

โภชนะทีหลังได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๒

๘๒.๓ ค. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง

นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวเป็นไข้ คราวที่ถวายจีวร นี้สมัยใน

เรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องจีวรทานสมัย จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 482

เรื่องจีวรการสมัย

[๔๘๙] ต่อมาอีก ประชาชนนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย ผู้ทำจีวรฉัน

ภัตตาหาร ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่าโภชนะทีหลัง พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ทำจีวรกัน

เราอนุญาตให้ฉันโภชนะทีหลังได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๓

๘๒.๓ ง. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง

นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวเป็นไข้ คราวที่ถวายจีวร คราวที่ทำจีวร

นี้สมัยในเรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องจีวรการสมัย จบ

เรื่องวิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้

[๔๙๐] ครั้งนั้นแลเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสก

แล้ว ทรงบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จเข้าสู่ตระกูล

แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย จึงชาวบ้าน

เหล่านั้นได้ถวายโภชนาหารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าและท่านพระอานนท์ ท่าน

พระอานนท์รังเกียจ ไม่รับประเคน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 483

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า รับเถิด อานนท์.

พระอานนท์กราบทูลว่า ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า เพราะความหวัง

จะได้ภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้ามีอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงวิกัปแล้วรับเถิด.

ครั้นแล้วพระองค์ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน

เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้วิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้แล้วฉันโภชนะทีหลังได้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงวิกัปอย่างนี้ :-

คำวิกัปภัตตาหาร

ข้าพเจ้าให้ภัตตาหารที่หวังว่าจะได้ของข้าพเจ้า แก่ท่านผู้มีชื่อนี้.

เรื่องวิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๙๑] ที่ชื่อว่า โภชนะที่หลัง ความว่า ภิกษุรับนิมนต์ด้วย

โภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งไว้แล้ว เว้นโภชนะนั้น ฉันโภชนะ ๕ อย่างใด

อย่างหนึ่งอื่นนี่ชื่อว่า โภชนะทีหลัง.

บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกเว้นสมัย

ที่ชื่อว่า คราวเป็นไข้ คือ ไม่สามารถจะเป็นผู้นั่งบนอาสนะอันเดียว

ฉันจนอิ่มได้.

ภิกษุคิดว่าเป็นคราวอาพาธ แล้วฉันได้

ที่ชื่อว่า คราวที่ถวายจีวร คือ เมื่อกฐินยังไม่ได้กราน ได้ท้าย

ฤดูฝน ๑ เดือน เมื่อกฐินกรานแล้ว เป็น ๕ เดือน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 484

ภิกษุคิดว่าเป็นคราวที่ถวายจีวร แล้วฉันได้

ที่ชื่อว่า คราวที่ทำจีวร คือ เมื่อภิกษุทั้งหลายกำลังทำจีวรกันอยู่.

ภิกษุคิดว่า เป็นคราวที่ทำจีวรกัน แล้วฉันได้.

เว้นไว้แต่สมัย ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๙๒] โภชนะทีหลัง ภิกษุสำคัญว่าโภชนะทีหลัง เว้น ไว้แต่สมัย

ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

โภชนะทีหลัง ภิกษุสงสัย เว้น ไว้แต่สมัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

โภชนะทีหลัง ภิกษุสำคัญว่ามิใช่โภชนะทีหลัง เว้น ไว้แต่สมัย ฉัน

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ไม่ใช่โภชนะทีหลัง ภิกษุสำคัญว่าโภชนะทีหลัง . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่โภชนะทีหลัง ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่โภชนะทีหลัง ภิกษุสำคัญว่ามิใช่โภชนะทีหลัง . . .ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร

[๔๙๓] ภิกษุฉันในสมัย ๑ ภิกษุวิกัปแล้วฉัน ๑ ภิกษุฉันบิณฑบาต

ที่รับนิมนต์ไว้ ๒-๓ แห่งรวมกัน ๑ ภิกษุฉันตามลำดับที่รับนิมนต์ ๑ ภิกษุ

รับนิมนต์ชาวบ้านทั้งมวลแล้วฉัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งในตำบลบ้านนั้น ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 485

ภิกษุรับนิมนต์หมู่ประชาชนทุกเหล่าแล้วฉัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งในประชาชน

หมู่นั้น ๑ ภิกษุถูกเขานิมนต์ แต่บอกว่า จักรับภิกษา ๑ ภัตตาหารที่เขา

ถวายเป็นนิตย์ ๑ ภัตตาหารที่เขาถวายด้วยสลาก ๑ ภัตตาหารที่เขาถวายใน

ปักษ์ ๑ ภัตตาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ ๑ ภัตตาหารที่เขาถวายในวัน

ปาฏิบท ๑ ภิกษุฉันอาหารทุกชนิดเว้นโภชนะห้า ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

โภชนวรรค ปรัมปรโภชนสิกขาบทที่ ๓

ในสิกขาบทที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องปรัมปรโภชนะ]

คำว่า น โข อิท โอรก ภวิสฺสติ ยถา อิเม มนุสฺสา

สกฺกจฺจ ภตฺต กโรนฺติ มีความว่า มนุษย์พวกนี้ทำภัตตาหารโดยเคารพ

โดยทำนองที่เป็นเหตุให้พระศาสนานี้ หรือทานในพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุขนี้ ปรากฏชัด จักไม่เป็นทานต่ำต้อยเลย คือจักไม่เป็นกุศลเล็กน้อย

เลวทรามเลย.

คำว่า กิร ในบทที่ว่า กิรปติโก นี้ เป็นชื่อของกุลบุตรนั้น. ก็

กุลบุตรนั้นเขาเรียกว่า กิรปติกะ เพราะอรรถว่า เป็นอธิบดี (เป็นใหญ่).

ได้ยินว่า เขาเป็นใหญ่ เป็นอธิบดี ให้ค่าจ้างใช้กรรมกรทำงานโดยกำหนด

เป็นรายเดือน ฤดู และปี. กรรมกรผู้ยากจนนั้น กล่าวคำว่า พทรา

ปฏิยตฺตา นี้ ด้วยอำนาจโวหารของชาวโลก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 486

บทว่า พทรมิสฺสเกน คือ ปรุงด้วยผลพุทรา.

สองบทว่า อุสฺสุเร อาหรียิตฺถ คือ ทายกนำบิณฑบาตมาถวาย

สายไป. การวิกัปนี้ว่า ข้าพเจ้าให้ภัตตาหารที่หวังจะได้ ของข้าพเจ้าแก่ท่าน

ผู้มีชื่อนี้ ชื่อว่า การวิกัปภัตตาหาร. การวิกัปภัตตาหารควรทั้งต่อหน้าทั้ง

ลับหลัง. เห็น (ภิกษุ) ต่อหน้าพึงกล่าวว่า ผมวิกัปแก่ท่าน แล้วฉันเถิด.

ไม่เห็น พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าวิกัปแก่สหธรรมิก ๕ ผู้มีชื่อนี้ แล้วฉันเถิด. แต่

ในอรรถกถาทั้งหลายมีมหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวไว้แต่วิกัปลับหลังเท่านั้น.

ก็เพราะการวิกัปภัตตาหารนี้นั้น ทรงสงเคราะห์ด้วยวินัยกรรม ; ฉะนั้น จึง

ไม่ควรวิกัปแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง

ในพระคันธกุฎีก็ดี ประทับนั่งในท่ามกลางสงฆ์ก็ดี กรรมนั้น ๆ ที่สงฆ์รวม

ภิกษุครบคณะแล้วทำ เป็นอันกระทำดีแล้วแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทำ

ให้เสียกรรม ไม่ทรงทำให้กรรมสมบูรณ์ ไม่ทรงทำให้เสียกรรม เพราะพระ

องค์มีความเป็นใหญ่โดยธรรม, ไม่ทรงทำให้กรรมสมบูรณ์ ก็เพราะพระองค์

มิได้เป็นคณปูรกะ (ผู้ทำคณะให้ครบจำนวน).

คำว่า เทฺว ตโย นิมนฺเตน เอกโต ภุญฺชติ มีความว่าบรรจุ

คือรวมนิมันตนภัต ๒-๓ ทีบาตรใบเดียว คือ ทำให้เป็นอัน เดียวกันแล้วฉัน.

ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ตระกูล ๒-๓ ตระกูล นิมนต์ภิกษุ ให้นั่งในที่แห่ง

เดียว แล้วนำ (ภัตตาหาร) มาจากที่นี้และที่นั่น แล้วเทข้าวสวย แกงและ

กับข้าวลงไป ภัตเป็นของสำรวมเป็นอันเดียวกัน ไม่เป็นอาบัติในภัตสำรวมนี้.

ก็ถ้าว่า นิมันตนภัตครั้งแรกอยู่ข้างล่าง นิมันตนภัตทีหลังอยู่ข้างบน,

เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ฉันนิมันตนภัตทีหลังนั้นตั้งแต่ข้างบนลงไป. แต่ไม่เป็น

อาบัติแก่ภิกษุผู้ฉัน โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง จำเดิมตั้งแต่เวลาที่เธอเอามือ

ล้วงลงไปภายใน แล้วควักคำข้าวแม้คำหนึ่งจากนิมันตนภัตครั้งแรก ขึ้นมาฉัน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 487

แล้ว ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า แม้ถ้าว่า ตระกูลทั้งหลายราดนมสด หรือ

รสลงไปในภัตนั้น, ภัตที่ถูกนมสดและรสใดราดทับ มีรสเป็นอันเดียวกันกับ

นมสด และรสนั้น, ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ฉันตั้งแต่ยอดลงไป.

แต่ในมหาอรรถกถากล่าวว่า ภิกษุได้ขีรภัต (ภัตเจือนมสด) หรือ

รสภัต (ภัตมีรสแกง) นั่งแล้ว แม้ชาวบ้านพวกอื่นเทขีรภัตหรือรสภัต (อื่น)

ลงไปบนขีรภัตและรสภัตนั้นนั่นแหละ (อีก), ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ดื่มนมสด

หรือรส, แต่ภิกษุผู้กำลังฉันอยู่ จะเปิบชิ้นเนื้อหรือก้อนข้าวที่ได้ก่อนเข้าปาก

แล้วฉัน ตั้งแต่ยอดลงไปควรอยู่, แม้ในข้าวปายาสเจือเนยใส ก็นัยนี้เหมือนกัน

ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาว่า อุบายสกผู้หญิงนิมนต์ภิกษุไว้, เมื่อ

ภิกษุไปสู่ตระกูลแล้ว อุบายสกก็ดี อันใดขนมีบุตรภรรยาและพี่น้องชายพี่น้อง-

ของอุบาสกนั้นก็ดี นำเอาเอาภัตส่วนของตน ๆ มาใส่ในบาตร, เป็นอาบัติ แก่

ภิกษุผู้ไม่ฉันภัตส่วนที่อุบายสกถวายก่อน ฉันส่วนที่ได้ทีหลัง ในอรรถกถากุรุน-

ที่กล่าวว่า ควร ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ถ้าพวกเขาแยกกันหุงต้ม, นำมาถวาย

จากภัตที่หุงต้มเพื่อตน ๆ, บรรดาภัตเหล่านั้น เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ฉันภัต

ที่เขานำมาทีหลังก่อน, แต่ถ้าพวกเขาทั้งหมดหุงต้มรวมกัน, ไม่เป็น ปรัมปร-

โภชนะ.

อุบาสกผู้ใหญ่นิมนต์ภิกษุให้นั่งคอย. ชาวบ้านอื่นจะรับเอาบาตร

ภิกษุอย่าพึงให้. เขาถามว่า ทำไม ขอรับ ! ท่านจึงไม่ให้ ? พึงกล่าวว่า

อุบาสก ! ท่านนิมนต์พวกเราไว้มิใช่หรือ ? เขากล่าวว่า ช่างเถอะขอรับ ! นิมนต์

ท่านฉันของที่ท่านได้แล้ว ๆ เถิด. จะฉันก็ควร. ในกุรุนที่กล่าวว่า เมื่อคน

อื่นนำภัตมาถวาย ภิกษุแม้บอกกล่าวแล้วฉันก็ควร. พวกชาวบ้านทั้งหมดอยาก

ฟังธรรมจึงนิมนต์ภิกษุผู้ทำอนุโมทนาแล้วจะไปว่า ท่านขอรับ ! แม้พรุ่งนี้ก็

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 488

นิมนต์ท่านมาอีก. ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุจะมาฉันภัตที่ได้แล้ว ๆ ควรอยู่. เพราะ

เหตุไร ? เพราะชาวบ้านทั้งหมดนิมนต์ไว้.

ภิกษุรูปหนึ่งไปเที่ยวบิณฑบาตได้ภัตตาหารมา. อุบาสกอื่นนิมนต์ภิกษุ

รูปนั้น ให้นั่งคอยอยู่ในเรือน และภัตยังไม่เสร็จก่อน. ถ้าภิกษุนั้นฉันภัตที่ตน

เที่ยวบิณฑบาตได้มา เป็นอาบัติ. เมื่อเธอไม่ฉัน นั่งคอย อุบาสกถามว่า ทำไม

ขอรับ ! ท่านจึงไม่ฉัน เธอกล่าวว่าเพราะท่านนิมนต์ไว้ แล้วเขาเรียนว่า

นิมนต์ท่านฉันภัตที่ท่านได้แล้ว ๆ เถิด ขอรับ ! ดังนี้ จะฉันก็ได้

สองบทว่า สกเลน คาเมน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้อัน

ชาวบ้านทั่งมวล รวมกันนิมนต์ไว้เท่านั้น ซึ่งฉันอยู่ในที่แห่งหนึ่งแห่งใด แม้

ในหมู่คณะ ก็นัยนี้นั่นแล.

คำว่า นิมนฺติยมาโน ภิกฺข คณฺหิสฺสามีติ ภณติ มีความว่า

ภิกษุผู้ถูกเขานิมนต์ว่า นิมนต์ท่านรับภัตตาหาร กล่าวว่ารูปไม่มีความต้องการ

ภัตของท่าน, รูปจักรับภิกษา. ในคำว่า ภตฺต ฯ เป ฯ วทติ นี้พระมหา

ปทุมเถระกล่าวว่า ภิกษุผู้กล่าวอย่างนี้ อาจเพื่อจะทำไม่ให้เป็นนิมันตนภัตใน

สิกขาบทนี้ได้, แต่ได้ทำโอกาสเพื่อประโยชน์แก่การฉัน ; เพราะฉะนั้น ภิกษุ

นั้นจึงไม่พ้น จากคณโภชนะ และไม่พ้นจากจาริตตสิกขาบท. พระมหาสุมนเถระ

กล่าวว่า ภิกษุอาจจะทำให้ไม่เป็นนิมันตนภัตโดยส่วนใด, ไม่เป็นคณโภชนะ

ไม่เป็นจาริตตะ โดยส่วนนั้น. คำที่เหลือดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายและวาจา ๑

ทางกายวาจาและจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา, จริงอยู่ ในกิริยาและอกิริยานี้

การฉันเป็นกิริยา การไม่วิกัป เป็นอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ปรัมปรโภชนสิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 489

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องอุบาสิกาชื่อกาณมาตา

[๔๙๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสิกา

ชื่อกาณมาตาเป็นสตรีผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ได้ยกบุตรีชื่อกาณาให้แก่ชายผู้หนึ่งใน

ตำบลบ้านหมู่หนึ่ง ครั้งนั้น นางกาณาได้ไปเรือนมารดาด้วยธุระบางอย่าง ฝ่าย

สามีของนางกาณาได้ส่งทูตไปใสสำนักนางกาณาว่า แม่กาณาจงกลับมา ฉัน

ปรารถนาให้แม่กาณากลับ จึงอุบายสิกาชื่อกาณมาตาคิดว่า การที่บุตรีจะกลับไป

มือเปล่า ดูกระไรอยู่ จึงได้ทอดขนม เมื่อขนมสุกแล้ว ภิกษุผู้ถือเที่ยว

บิณฑบาตรูปหนึ่งได้เข้ามาถึงบ้านอุบายสิกากาณมาตา จึงอุบายสิกากาณมาตาสั่ง

ให้ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว ได้บอกแก่ภิกษุรูปอื่น

นางก็ได้สั่งให้ถวายขนมแม้แก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว ได้บอกแก่

ภิกษุรูปอื่น นางก็ได้สั่งให้ถวายขนมแม้แก่ภิกษุรูปนั้น ขนมตามที่จัดไว้ได้

หมดสิ้นแล้ว.

แม้คราวที่สอง สามีของนางกาณาก็ได้ส่งทูตไปในสำนักนางกาณาว่า

แม่กาณาจงกลับมา ฉันปรารถนาให้แม่กาณากลับ.

แม้คราวที่สอง อุบายสิกากาณมาตาก็คิดว่า การที่บุตรีจะกลับไปมือ

เปล่า ดูกระไรอยู่ จึงได้ทอดขนม เมื่อขนมสุกแล้ว ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต

รูปหนึ่งได้เข้ามาถึงบ้านอุบาสิกากาณมาตา จึงอุบาสิกกาณมาตาได้สั่งให้ถวาย

ขนมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ออกไปแล้วได้บอกแก่ภิกษุรูปอื่น นางก็ได้สั่ง

ให้ถวายขนมแม้แก่ภิกษุรูปนั้น ขนมตามที่จัดไว้ได้หมดสั้นแล้ว.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 490

แม้คราวที่สาม สามีของกาณาก็ได้ส่งทูตไปในสำนักนางกาณาว่า แม่

กาณาจงกลับมา ฉันปรารถนาให้แม่กาณากลับมา ถ้าแม่กาณาไม่กลับ ฉันจัก

นำหญิงอื่นมาเป็นภรรยา.

แม้คราวที่สาม อุบาสิกากาณมาตาก็คิดว่า การที่บุตรีจะกลับไปมือ

เปล่า ดูกระไรอยู่ จึงได้ทอดขนม เมื่อขนมสุกแล้ว ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต

รูปหนึ่งได้เข้ามาถึงบ้านอุบาสิกากาณมาตา จึงอุบาสิกากาณมาตาสั่งให้ถวายขนม

แก่ภิกษุรูปนั้น ๆ ออกไปแล้วได้บอกภิกษุรูปอื่น นางก็ได้สั่งให้ถวายขนมแม้

แก่ภิกษุรูปนั้น ๆ ออกไปแล้ว ได้บอกแก่ภิกษุรูปอื่น นางก็ได้สั่งให้ถวายขนม

แม้แก่ภิกษุรูปนั้น ๑ ขนมตามที่จัดไว้ได้หมดสิ้นแล้ว.

ครั้นสามีของนางกาณานำหญิงอื่นมาเป็นภรรยาแล้ว พอนางกาณา

ทราบข่าวว่า สามีได้นำหญิงอื่นมาเป็นภรรยา นางได้ยืนร้องให้อยู่

ขณะนั้นแลเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ทรง

บาตรจีวร เสด็จเข้าไปถึงบ้านอุบาสิกากาณมาตา ครั้นแล้วได้ประทับนั่งเหนือ

พุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย

ทันใดอุบาสิกากาณมาตาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานอุบาสิกาณมาตาผู้นั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า นางกาณานี้ร้องให้ทำไม จึงอุบาสิกากาณมาตากราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงชี้แจงให้อุบาสิกากาณมาตาเห็นแจ้ง

สมาทาน อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.

เรื่องอุบาสิกาชื่อกาณมาตา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 491

เรื่องพ่อค้า

[๔๙๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พ่อค้าเกวียนพวกหนึ่งประสงค์จะเดินทาง

ไปยังถิ่นตะวันตก จากพระนครราชคฤห์ ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตรูปหนึ่ง ได้

เข้าไปบิณฑบาตถึงพวกพ่อค้าเกวียนหมู่นั้น อุบายสกคนหนึ่งได้สั่งให้ถวายข้าว

สัตตุแก่ภิกษุนั้น ๆ ออกไปแล้วได้บอกแก่ภิกษุรูปอื่น อุบายสกก็ได้สั่งให้ถวาย

ข้าวสัตตุแม้แก่ภิกษุรูปนั้น ๆ ออกไปแล้ว ได้บอกแก่ภิกษุรูปอื่น อุบายสกก็ได้

สั่งให้ถวายข้าวสัตตุแม้แก่ภิกษุรูปนั้น เสบียงตามที่เขาได้จัดเตรียมไว้ได้หมด

สิ้นแล้ว จึงอุบาสกนั้นได้บอกแก่คนพวกนั้นว่า วันนี้ท่านทั้งหลายจงรอก่อน

เพราะเสบียงตามที่เราได้จัดเตรียมไว้ได้ถวายพระคุณเจ้าทั้งหลายไปหมดแล้ว

ข้าพเจ้าจักจัดเตรียมเสบียงก่อน.

คนพวกนั้น กล่าวว่า พวกกระผมไม่สามารถจะคอยได้ ขอรับ เพราะ

พวกพ่อค้าเกวียนเริ่มเดินทางแล้ว ดังนี้ แล้วได้พากันไป

เมื่ออุบาสกนั้นตระเตรียมเสบียงเสร็จแล้ว เดินทางไปภายหลัง พวก

โจรได้แย่งชิง

ประชาชนพากัน เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้รับอย่างไม่รู้ประมาณ อุบายสกนี้ถวายเสบียงแก่พระ-

สมณะเหล่านี้แล้ว จึงเดินทางไปภายหลังได้ถูกพวกโจรแย่งชิง

ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่. . .จึงกราบ

ทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 492

เหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐

ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกัน

อาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่

เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่า

ดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๘๓. ๔. อนึ่ง เขาปวารณาเฉพาะภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล

ด้วยขนมก็ดี ด้วยสัตตุผงก็ดี เพื่อนำไปได้ตามปรารถนา ภิกษุผู้

ต้องการพึงรับได้เต็ม ๒-๓ บาตร ถ้ารับยิ่งกว่านั้นเป็นปาจิตตีย์

ครั้นรับเต็ม ๒-๓ บาตรแล้ว นำออกจากที่นั้นแล้ว พึงแบ่งปันกับ

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั่น.

เรื่องพ่อค้าเกวียน จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๙๖] คำว่า อนึ่ง . . .เฉพาะภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล ความว่า

ที่ชื่อว่าตระกูล ได้แก่ตระกูล ๔ คือ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูล

แพศย์ ตระกูลศูทร.

บทว่า ผู้เข้าไป คือ ผู้เข้าไปในตระกูลนั้น

ที่ชื่อว่า ขนม ได้แก่ ของกินชนิดใดชนิดหนึ่งที่เขาจัดเตรียมไว้

เพื่อต้องการเป็นของกำนัล

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 493

ที่ชื่อว่า สัตตุผง ได้แก่ ของกินอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาจัดเตรียมไว้

เพื่อต้องการเป็นเสบียง

คำว่า เขาปวารณา. . .เพื่อนำไปได้ตามปรารถนา คือ เขา

ปวารณาไว้ว่า ท่านประสงค์เท่าใด จงรับไปเท่านั้น.

บทว่า ผู้ต้องการ คือ ผู้อยากได้.

บทว่า พึงรับได้เต็ม ๒ - ๓ บาตร ความว่า พึงรับได้เต็ม ๒ บาตร

๓ บาตร

คำว่า ถ้ารับยิ่งกว่านั้น ความว่า รับเกินกว่ากำหนดนั้น ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ ครั้นรับเต็ม ๒-๓ บาตรแล้ว ออกจากที่นั้นไปพบภิกษุแล้วพึงบอกว่า

ณ สถานที่โน้นกระผมรับเต็ม ๒ - ๓ บาตรแล้ว ท่านอย่ารับ ณ ที่นั้นเลย

ถ้าพบแล้วไม่บอก ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าเมื่อบอกแล้ว ภิกษุผู้รับบอกยังขืนรับ

ต้องอาบัติทุกกฏ

คำว่า นำออกจากที่นั้นแล้ว พึงแบ่งบันกับภิกษุทั้งหลาย คือ

นำไปสู่โรงฉันแล้ว พึงแบ่งปันกัน

บทว่า นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น หมายความว่า นี้เป็นการ

ถูกต้องตามธรรมเนียมในเรื่องนั้น.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๙๗] ของเต็มเกิน ๒-๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่าเกิน รับ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

ของเต็มเกิน ๒ - ๓ บาตร ภิกษุสงสัย รับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ของเต็มเกิน ๒ - ๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่าหย่อน รับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 494

ทุกทุกกฏ

ของหย่อนกว่า ๒ - ๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่าเกิน รับ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ของหย่อนกว่า ๒ - ๓ บาตร ภิกษุสงสัย รับ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ของหย่อนกว่า ๒ - ๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่าหย่อน รับ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร

[๔๙๘] ภิกษุรับเต็ม ๒ - ๓ บาตร ๑ ภิกษุรับหย่อนกว่า ๒ - ๓ บาตร ๑

เขาไม่ได้ถวายของที่เตรียมไว้เพื่อต้องการเป็นของกำนัล ๑ เขาไม่ได้ถวายของที่

เตรียมไว้เพื่อต้องการเป็นเสบียง ๑ เขาถวายของที่เหลือจากที่เขาเตรียมไว้เพื่อ

ต้องการเป็นของกำนัลหรือเพื่อต้องการเป็นเสบียง ๑ เมื่อเขาระงับการไปแล้ว

ถวาย ๑ รับของพวกญาติ ๑ รับของตนปวารณา ๑ รับเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุ

อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

กาณมาตาสิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังต่อไปนี้

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องมารดาของนางกาณา]

บทว่า กาณมาตา คือ มารดาของนางกาณา. ได้ยินว่า นางกาณานั้น

เป็นธิดารูปงามน่าชมของนางผู้เป็นมารดานั้น. อธิบายว่า ชนพวกใด ๆ เห็น

นาง, ชนพวกนั้น ๆ กลายเป็นคนบอด เพราะความกำหนัด คือ เป็นผู้มืด

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 495

เพราะราคะ เพราะเหตุนั้น นางจึงได้เป็นผู้ปรากฏชื่อว่า กาณา เพราะ

กระทำชนเหล่านั้นให้เป็นผู้บอด. แม้มารดาของนาง ก็พลอยปรากฏชื่อว่า

กาณมาตา ด้วยสามารถแห่งนาง.

บทว่า อาคต คือ อาคมน แปลว่า การมา.

บทว่า กิสฺมึ วิย แปลว่า ดูกระไรอยู่. อธิบายว่า ดูเป็นที่น่า

กระดากอาย.

สองบทว่า ริตฺตหตฺถ คนฺตุ ได้แก่ ในการไปคราวนี้ มีมือทั้ง

๒ เปล่า (เพราะเหตุนั้น) การไปคราวนี้นั้น จึงชื่อว่า มีมือเปล่า มีอธิบายว่า

การไปมือเปล่านั้น ดูที่เป็นการไปที่น่ากระดากอาย

สองบทว่า ปริกฺขย อคมาสิ มีความว่า อุบายสิกาผู้อริยสาวิกา

เห็นภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่อาจที่จะไม่ถวายของที่มีอยู่, เพราะเหตุนั้น อุบายสิกา

จึงได้สั่งให้ถวายจนขนมทั้งหมดได้ถึงความหมดสิ้นไป.

ในคำว่า ธมฺมิยา กถาย นี้ มีวินิจฉัยว่า แม้นางกาณาฟังธรรม

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เพื่อประโยชน์แก่มารดา ก็ได้เป็นโสดาบันใน

เวลาจบเทศนา.

สองบทว่า อุฏฺายาสนา ปกฺกามิ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอุฏฐาการจากอาสนะแล้วเสด็จไป. บุรุษแม้นั้นได้สดับว่า "ได้ยินว่า พระ-

ศาสดาได้เสด็จไปบ้านของมารดานางกาณา" จึงนำนางกาณามาตั้งไว้ในตำแหน่ง

ตามปรกติเดิม. แต่พอเมื่อเรื่องนี้เกิดขึ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้บัญญัติ

สิกขาบทเลย เรื่องเสบียงทางก็ได้เกิดขึ้น ก็เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงเรื่องนี้

ติดต่อกันไปเลย พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคำว่า เตน

โข ปน สมเยน เป็นต้น. และอุบาสกแม้นั้น ก็ได้สั่งให้ถวายของทั้งหมด

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 496

เหมือนกัน เพราะคนเป็นอริยสาวก. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์

จึงได้กล่าวคำว่า ปริกฺขย อคมาสิ.

สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ ปหิณกตฺถาย มีความว่า อาหารวัตถุอย่างใด

อย่างหนึ่งมีขนมต้ม* และขนมคลุกน้ำอ้อยเป็นต้น ที่มีรสดีเลิศอันเขาจัดเตรียม

ไว้ เพื่อต้องการเป็นของกำนัล ถึงการนับว่า "ขนม" ทั้งนั้น ในสิกขาบทนี้.

สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ ปาเถยฺยตฺถาย มีความว่า อาหารวัตถุอย่างใด

อย่างหนึ่ง มีสัตตุก้อน สัตตุผง งา และข้าวสารเป็นต้นทั้งหมด ที่พวกคน

จะเดินจัดเตรียมไว้ เพื่อต้องการเป็นเสบียงในระหว่างทาง ถึงการนับว่า "สัต-

ตุผง" ทั้งนั้น ในสิกขาบทนี้.

สองบทว่า ตโต เจ อุตฺตรึ มีความว่า ถ้าภิกษุรับเอาบาตรที่ ๓

ให้พูนขึ้นมา (ให้เป็นยอดขึ้นมาดุจสถูป) เป็นปาจิตตีย์ ด้วยการนับขนม.

สองบทว่า ทฺวิตฺติปตฺตปูเร ปฏิคฺคเหตฺวา ได้แก่ รับบาตรเต็ม

เสมอรอยข้างล่างขอบปากบาตร.

ในคำว่า อมุตฺร มยา ทฺวิตฺติปตฺตปูรา นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าว่า

ภิกษุรับเต็ม ๒ บาตรแล้ว พึงบอกว่า "ณ สถานที่โน้น ผมรับเต็ม ๒ บาตร

แล้ว, ท่านพึงรับบาตรเดียว." แม้ภิกษุผู้มาที่หลังนั้น เห็นภิกษุอื่นแล้วก็พึง

บอกว่า "ภิกษุผู้มาถึงก่อนรับเต็ม ๒ บาตรแล้ว, ผมรับเต็มบาตรหนึ่ง, ท่าน

อยู่รับ." แม้ในการที่ภิกษุผู้รับก่อนบาตรหนึ่งแล้ว บอกกันต่อ ๆ ไป ก็นัย

นี้นั่นแล. ส่วนภิกษุผู้รับเอง ครบ ๓ บาตรแล้ว เห็นภิกษุอื่นพึงบอกว่า

ท่านอย่ารับเลยที่บ้านนี้" ดังนี้.

สองบทว่า ปฏิกฺกมน นีหริตฺวา คือ นำไปสู่โรงฉัน, ก็ภิกษุผู้

จะไปยังโรงฉัน อย่าไถลไปศาลาร้าง. พึงไปในสถานที่ที่ภิกษุสงฆ์จำนวนมาก

* ชาวอินเดียเรียกว่าขนมโมทกะนี้ว่า "ลัฑฑู" นัยว่า ท่าจากแป้ง แล้วทอดด้วยน้ำมันพืช คือ

ทำเป็นก้อนกลม ๆ ข้างในใส่น้ำอ้อยหรือน้ำตาลเหมือนขนมต้มของไทยเรา. ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 497

นั่งอยู่. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า "โรงฉันใดที่อยู่ใกล้กับสถานที่ตนได้บิณฑบาต

มา พึงไปที่โรงฉันนั้น, จะไปในโรงฉันอื่นด้วยประสงค์ว่า " เราจะถวายแก่

ภิกษุผู้เคยเห็นกัน เคยพบกัน หรือผู้ร่วมนิกายเดียวกันของตน" ย่อมไม่ได้,

แต่ถ้าว่า โรงฉันนั้นเป็นสถานที่เธอนั่งเป็นประจำ แม้ไกลก็ควรไป"

บทว่า สวิภชิตพฺพ มีความว่า ถ้าภิกษุรับเต็มบาตรแล้ว พึง

เหลือไว้เพื่อตนเองบาตรหนึ่ง แล้วถวายเต็ม ๒ บาตรแก่ภิกษุสงฆ์. ถ้ารับ

๒ บาตรพึงเหลือไว้เพื่อตนบาตรหนึ่ง แล้วถวายบาตรหนึ่งแก่สงฆ์. แต่ย่อม

ไม่ได้เพื่อจะให้ตามมิตรสหาย. ภิกษุผู้รับบาตรเดียว ไม่ประสงค์จะให้อะไร

ก็ไม่พึงให้ คือ พึงทำตามชอบใจ.

สองบทว่า คมเน ปฏิปฺปสฺสทฺเธ มีความว่า เมื่อเขาระงับ คือ

ตัดการไปเสียอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราจักไม่ส่งไปละ หรือว่าเราจักไม่ไปละ ดังนี้

เพราะเห็นอันตรายในระหว่างทาง หรือเพราะไม่มีความต้องการ.

สองบทว่า าตกาน ปวาริตาน ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้

รับของพวกญาติ และคนปวารณาเหล่านั้นผู้ถวายแม้มาก. แต่ในอรรถกถา

ทั้งหลายกล่าวว่า ควรจะรับแต่พอประมาณ จากของที่พวกญาติและคนปวารณา

แม้เหล่านั้นจัดเตรียมไว้ เพื่อต้องการขนเสบียงทาง และเป็นของกำนัล. บท

ที่เหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

กาณมาตาสิกขาบทที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 498

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๔๙๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์

คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้ฉัน ภิกษุทั้งหลายฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ไปสู่

ตระกูลญาติ บางพวกก็ฉันอีก บางพวกก็รับบิณฑบาตไป หลังจากเลี้ยงพระ

แล้ว พราหมณ์ได้กล่าวเชิญชวนพวกเพื่อนบ้านว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้า

เลี้ยงภิกษุให้อิ่มหนำแล้ว มาเถิด ข้าพเจ้าจักเลี้ยงท่านทั้งหลายให้อิ่มหนำบ้าง.

พวกเพื่อนบ้านพากันกล่าวแย่งอย่างนี้ว่า ท่านจักเลี้ยงพวกข้าพเจ้า

ให้อิ่มได้อย่างไร แม้ภิกษุทั้งหลายที่ท่านนิมนต์ให้ฉันแล้ว ยังต้องไปที่เรือน

ของพวกข้าพเจ้า บางพวกก็ฉันอีก บางพวกก็รับบิณฑบาตไป.

จึงพราหมณ์นั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ

ทั้งหลายฉันที่เรือนของเราแล้ว ไฉนจึงได้ฉัน ณ ที่แห่งอื่นอีกเล่า ข้าพเจ้า

ไม่มีกำลังพอจะถวายให้พอแก่ความต้องการหรือ.

ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพราหมณ์นั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดา

ที่เป็นพวกมักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย

ฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว จึงได้ฉัน ณ ที่แห่งอื่นอีกเล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ยังฉัน ณ ที่แห่งอื่นอีก จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 499

ทรงติเตียนนั้นแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน

ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว จึงได้ฉัน ณ ที่แห่งอื่นอีกเล่า

การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ

ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๘๔. ๕. ก. อนึ่ง ภิกษุใดฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว เคี้ยวก็ดี

ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องอาหารเดน

[๕๐๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายนำบิณฑบาตอันประณีตไป

ถวายพวกภิกษุอาพาธ พระภิกษุอาพาธฉันไม่ได้ดังใจประสงค์ ภิกษุทั้งหลาย

จึงทิ้งบิณฑบาตเหล่านั้นเสีย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับเสียงนกการ้องเกรียวกราว ครั้นแล้วได้

รับสั่งถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เสียงนกการ้องเกรียวกราวนั้น

อะไรกันหนอ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 500

จึงท่านพระอานนท์กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ภ. ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารอันเป็นเดนของภิกษุ

อาพาธหรือ.

อา. มิได้ฉัน พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงอนุญาตให้ฉันอาหารเป็นเดนภิกษุไข้

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันอาหารอันเป็นเดนของภิกษุผู้อาพาธและมิใช่ผู้

อาพาธได้ แต่พึงทำให้เป็นเดน อย่างนี้ว่า ทั้งหมดนั่นพอแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้ :-

พระอนุบัญญัติ

๘๔. ๕. ข. อนึ่ง ภิกษุใดฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว เคี้ยวก็ดี

ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี อันมิใช่เดน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องอาหารเดน จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๐๑] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่าผู้ใด คือผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ฉันเสร็จ คือ ฉันโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุด

แม้ด้วยปลายหญ้าคา.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 501

ลักษณะห้ามภัต

ที่ชื่อว่า ห้ามภัตแล้ว คือ กำลังฉันอาหารอยู่ ๑ ทายกนำโภชนะ

มาถวายอีก ๑ ทายกอยู่ในหัตถบาส ๑ ทายกน้อมถวาย ๑ ภิกษุห้ามเสีย ๑.

ลักษณะของไม่เป็นเดน

ที่ชื่อว่า มิใช่เดน คือ ของที่ยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ ๑ ภิกษุมิได้

รับประเคน ๑ ภิกษุมิได้ยกขึ้นส่งให้ ๑ ทำนอกหัตถบาส ๑ ภิกษุฉันยังไม่เสร็จ

ทำ ๑ ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ลุกจากอาสนะแล้วทำ ๑ ภิกษุมิได้พูดว่า

ทั้งหมดนั้นพอแล้ว ๑ ของนั้นมิใช่เป็นเดนภิกษุอาพาธ ๑ นี้ชื่อว่า มิใช่เดน.

ลักษณะของเป็นเดน

ที่ชื่อว่า เป็นเดน คือ ของที่ทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว ๑ ภิกษุรับ

ประเคนแล้ว ๑ ภิกษุยกขึ้นส่งให้ ๑ ทำในหัตถบาส ๑ ภิกษุฉันแล้ว ทำ ๑

ฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ยังไม่ลุกจากอาสนะ ทำ ๑ ภิกษุพูดว่า ทั้งหมดนั่นพอ

แล้ว ๑ เป็นเดนภิกษุอาพาธ ๑ นี้ชื่อว่า เป็นเดน.

ลักษณะของเคี้ยว

ที่ชื่อว่า ต้องเคี้ยว คือ เว้นโภชนะห้า ๑ ของที่เป็นยามกาลิก ๑

สัตตาหกาลิก ๑ ยาวชีวิก ๑ นอกนั้นชื่อว่า ของเคี้ยว.

ลักษณะของฉัน

ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑

ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑.

ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ขณะกลืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 502

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๐๒] ของไม่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่า ไม่เป็นเดน เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี

ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ของไม่เป็นเดน ภิกษุสงสัย เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่ง

ของฉัน ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

ภิกษุรับประเคนของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อ

ประสงค์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ.

ขณะกลืน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน.

ของเป็นเดน ภิกษุสำคัญว่ามิใช่เดน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ของเป็นเดน ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ของเป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นเดน. . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๐๓] ภิกษุให้ทำเป็นเดนแล้วฉัน ๑ ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจ

ว่าจักให้ทำเป็นเดนแล้วจึงฉัน ๑ ภิกษุรับไปเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ ฉัน

อาหารที่เหลือของภิกษุอาพาธ ๑ ฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ใน

เมื่อมีเหตุอันสมควร ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 503

ปฐมปวารณาสิกขาบทที่ ๕

* วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังต่อไปนี้ :-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องการห้ามภัต]

หลายบทว่า ภิกฺขู ภุตฺตาวี ปวาริตา มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย

อันพราหมณ์ปวารณา ด้วยปวารณาจนพอแก่ความต้องการอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงรับเท่าที่ที่ท่านปรารถนาเถิด และห้ามด้วยตนเอง

ด้วยการห้ามคือการปฏิเสธอย่างนี้ว่า พอละ อาวุโส ! จงถวายแต่น้อย ๆ เถิด.

บทว่า ปฏิวิสฺสเก คือ พวกเพื่อนบ้านผู้อยู่ในเรึอนใกล้เคียง.

บทว่า กาโกรวสทฺท ได้แก่ เสียงพวกนกการ้องเกรียวกราว คือ

เสียงฝูงนกกาจับกลุ่มกันร้องระเบ็งเซ็งแซ่ ในคำว่า อลเมต สพฺพนฺติ นี้

จะไม่ตรัส ติ อักษรเลย ตรัสเพียง อลเมต สพฺพ (ทั้งหมดนั่นพอแล้ว)

เท่านี้ ก็สมควร.

บทว่า ภุตฺตาวี แปลว่า ผู้ฉันเสร็จ ก็เพราะภิกษุใด เคี้ยวก็ตาม

ไม่เคี้ยวก็ตาม กลืนกินเมล็ดข้าวแม้เมล็ดเดียวเข้าไป, ภิกษุนั้นถึงการนับว่า ผู้

ฉันเสร็จ ในบทว่า ภุตฺตาวี นั้น. เพราะเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทนั้น

จึงตรัสคำว่า ภุตฺตาวี นาม ปญฺจนฺน โภชนาน ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ปวาริโต คือ ผู้มีการห้าม (ภัต) อันทำแล้ว คือ มีการ

ปฏิเสธอันทำแล้ว . ก็เพราะการห้ามแม้นั้น ไม่ใช่ว่าจะทำสำเร็จได้ด้วยเหตุเพียง

การปฏิเสธ, โดยที่แท้ ย่อมสำเร็จได้ด้วยอำนาจองค์ ๕. ด้วยเหตุนั้น ใน

* ในสิกขาบทนี้ ศัพท์ทั่วไป และศัพท์ที่เป็นชื่อธัญชาติต่าง ๆ ที่แปลไว้เท่าที่หาได้ ไม่แน่ใจ

ว่าถกทั้งหมด จึงขอฝากท่านผู้รู้ไว้พิจารณาแก้ไขต่อไป. ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 504

บทภาชนะแห่งบทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ปวาริโต นาม อสน

ปญฺายติ เป็นต้น.

เพราะบรรดาองค์ ๕ นั้น ด้วยองค์ว่า อสน ปญฺายติ นี้ ภิกษุ

ผู้ฉันค้างอยู่ จึงเป็นอันเรียกว่า ผู้ห้ามภัต, ส่วนภิกษุใด ชื่อว่าผู้ฉันค้างอยู่,

โภชนะบางอย่างภิกษุนั้นฉัน แล้ว บางอย่างยังไม่ได้ฉัน และเพราะหมายเอา

โภชนะที่เธอฉันแล้ว จึงถึงการนับว่า ผู้ฉันเสร็จ ; เพราะฉะนั้น ด้วยคำว่า

ภุตฺตาวี เราจึงไม่เห็นความสำเร็จประโยชน์อะไรแผนกหนึ่ง. ก็คำว่า ภุตฺตาวี

นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว โดยความเป็นบทบริวาร

แห่งบทว่า ปวาริตะ และโดยความเป็นพยัญชนะสละสลวย ดุจคำว่า ๒ คืน

เป็นต้น ในคำว่า ๒ - ๓ คืน. . .๖ คำ ๕ คำ. . .เป็นต้น.

ในองค์ว่า อสน ปญฺายติ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้. การฉัน

ค้างปรากฏ, อธิบายว่า ถ้าบุคคลผู้กำลังฉันนี้อยู่.

องค์ว่า โภชน ปญฺายติ ได้แก่ โภชนะเพียงพอแก่การห้าม

ปรากฏอยู่. อธิบายว่า ถ้าโภชนะมีข้าวสุกเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะพึง

ห้ามมีอยู่.

องค์ว่า หตฺถปาเส ิโต มีความว่า หากทายกถือเอาโภชนะเพียง

พอแก่การห้ามอยู่ในโอกาสประมาณ ๒ ศอกคืบ.

องค์ว่า อภิหรติ มีความว่า ถ้าทายกนั้น น้อมภัตนั้นถวายแก่ภิกษุ

นั้น ด้วยกาย.

องค์ว่า ปฏิกฺเขโป ปญฺายติ คือ การห้ามปรากฏ. อธิบายว่า

ถ้าภิกษุนั้นปฎิเสธโภชนะที่เขาน้อมถวายนั้น ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี. ภิกษุ

ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าห้ามภัตแล้ว ด้วยอำนาจแห่งองค์ ๕ ด้วยประการอย่างนี้แล.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 505

สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นี้ว่า ดูก่อนอุบาลี ! การห้าม (ภัต)

ย่อมมี ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ การฉันปรากฏ ๑ โภชนะปรากฏ ๑ ทายก

อยู่ในหัตถบาส ๑ ทายกน้อมถวาย ๑ การห้ามปรากฏ๑.

[ว่าด้วยโภชนะและธัญชาติ ๗ ชนิด]

ในปวารณาธิการนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อสน เป็นต้นก่อน ภิกษุฉันโภชนะใด

และห้ามโภชนะใดที่ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย, โภชนะนั้นบัณฑิตพึงทราบ

ว่าเป็นโภชนะเหล่านี้ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ อย่างใด

อย่างหนึ่งนั่นแล.

บรรดาโภชนะมีข้าวสุกเป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่า ข้าวสุก ได้แก่ ข้าวสุก

ที่เกิดจากธัญชาติ ๗ ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวละมาน

ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้.

บรรดาธัญชาติ ๗ ชนิด มีข้าวสาลีเป็นต้นนั้น กำเนิดข้าวสาลี แม้

ทุกจำพวก ชั้นที่สุดจนกระทั่งลูกเดือย ชื่อว่า ข้าวสาลี. กำเนิดข้าวจ้าวแม้

ทุกชนิด ชื่อว่า วีหิ. ในข้าวเหนียวและข้าวละมาน ไม่มีความแตกต่างกัน.

เมล็ดข้าวฟ่าง เช่นข้าวฟ่างสีขาว สีแดง และสีดำ แม้ทุกชนิด ชื่อว่า กังคุ.

เมล็ดลูกเดือย มีสีขาว แม้ทุกชนิด ชั้นที่สุดจนกระทั่งข้าวฟ่างชาวเมือง (ข้าว

โพดกระมัง?) ชื่อว่า วรกะ. หญ้ากับแก้ดำ และติณธัญชาติแม้ทุกชนิด

เช่น หญ้าข้าวนก (ข้าวละมานหรือข้าวฟ่างก็ว่า) เป็นต้น ชื่อว่า กุทรุสกะ.

๑. วิ. ปริวาร. ๘/๔๖๑. ๒. บางแห่งว่าแฝกหอม น่าจะเป็นข้าวโพด เพราะแปลตามศัพท์ว่า

ข้าวฟ่างชาวเมือง. - ผู้ชำระ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 506

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ก็ในจำพวกข้าวสาลี และลูกเดือยนี้ ลูก

เดือยและข้าวฟ่างชาวเมือง* (ข้าวโพดกระมัง ?) อนุโลมเข้ากับธัญชาติ.

จะเป็นธัญชาติหรือธัญชาติอนุโลมก็ตามที พวกชาวบ้านเอาข้าวสารแห่ง

ธัญชาติทั้ง ๗ มีชนิดดังกล่าวแล้วนี้ หุงต้มหมายให้เป็นโภชนะอย่างใดอย่าง

หนึ่งว่า เราจักหุงข้าวสวย หรือว่า เราจักต้มข้าวต้ม หรือว่า เราจักกวนข้าว

ต้ม หรือว่า เราจักกวนข้าวปายาสเปรี้ยวเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ตาม.

ถ้าเมื่อพวกภิกษุฉันภัตนั้น จะร้อนหรือเย็นก็ตาม รอยย่อมปรากฏในที่ควักเอา

หรือตักเอาในเวลาฉันภัตนั้น ถึงการสงเคราะห์เป็นข้าวสุกทีเดียว ก่อให้เกิด

การห้าม (ภัต ), ถ้ารอยไม่ปรากฏ, ถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นยาคู, ไม่ให้เกิด

การห้าม (ภัต).

ข้าวปายาส หรือข้าวยาคูเปรี้ยวซึ่งผสมด้วยใบไม้ ผลไม้และหน่อไม้

(เหง้า) แม้อันใด พอยกลงจากเตายังร้อนอยู่, อาจจะกลอกดื่ม (ตะแคงหม้อ

ดื่ม) ได้ แม้ในโอกาสที่มีมือควักเอา ก็ไม่แสดงรอย (ให้ปรากฏ), ยาคู

เป็นต้นนั้น ไม่ให้เกิดการห้าม (ภัต). แต่ถ้าเมื่อไอร้อนหมดไปเย็นลงแล้ว

ถึงความแข้นเข้า แสดงรอยให้ปรากฏ กลับก่อให้เกิดการห้าม (ภัต) ได้.

ความเป็นของเหลว ๆ ในเบื้องต้นคุ้ม (อาบัติ) ไม่ได้.

ถ้าแม้นเขาเติมนมส้ม และเปรียงเป็นต้นลงไปแล้ว ใส่ใบไม้ผลไม้

และหน่อไม้เป็นอันมากลงไป เพิ่มข้าวสารลงไปแม้เพียงกำมือเดียว. ถ้าใน

เวลาฉันมีรอยปรากฏ ก่อให้เกิดการห้าม (ภัต).

[ว่าด้วยโภชนะต่าง ๆ เป็นเหตุห้ามและไม่ห้ามภัต]

ในนิมันตนภัต ไม่มีข้าวยาคู ชาวบ้านเทน้ำข้าว และนมสดลงไปใน

ภัต ด้วยตั้งใจว่า จักถวายยาคู แล้วถวายว่า นิมนต์ท่านรับยาคู. ถึงข้าวยาคู

* บางแห่งว่าแฝกหอม.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 507

จะเป็นของเหลวก็จริง, แต่ก็ก่อให้เกิดการห้าม (ภัต ) เหมือนกัน. ก็ถ้าว่าพวก

เขาใส่ (ข้าวสุก) ลงในน้ำที่เดือดพล่านเป็นต้น ต้มถวาย, โภชนะนั้นก็ถึง

การสงเคราะห์เข้าเป็นข้าวยาคูเหมือนกัน. เขาใส่ปลา เนื้อ ลงในภัตแม้ที่ถึง

การสงเคราะห์เข้าเป็นยาคูนั้น หรือในยาคูอื่นใด, ถ้าชิ้นปลา และเนื้อ หรือ

เอ็นปรากฏ แม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด. ยาคูนั้น ก่อให้เกิดการห้าม

(ภัต) ด้วย. อาหารมีรสล้วน ๆ หรือยาคูมีรส ไม่ให้เกิด (การห้ามภัต).

แม้ภัตที่ชนพวกใดพวกหนึ่ง ทำด้วยวัตถุมีผลขุยไผ่เป็นต้นอย่างอื่น ยกเว้น

ข้าวสารแห่งธัญชาติที่กล่าวแล้วเสีย หรือด้วยเหง้ามันและผลไม้ ย่อมไม่ก่อให้

เกิดการห้าม (ภัต). จะป่วยกล่าวไปไยถึงยาคูแข้น (แห่งผลขุยไผ่เป็นต้น).

แต่ถ้าเขาใส่ปลา เนื้อ ลงในยาคูแข้นนี้ ทำให้เกิดการห้าม (ภัต) ได้.

ในมหาปัจจรีกล่าวว่า แม้ภัตเพื่อประโยชน์แก่ขุพพี๑ ก็ทำให้เกิดการ

ห้าม (ภัต) ท่านเรียกข้าวสารที่ใส่ลงในน้ำร้อนเดือดนึ่ง (ตุ๋น) ให้สุก เพื่อ

ประโยชน์แก่ผู้กินด้วยขุพพี ชื่อว่า ภัตเพื่อประโยชน์แก่ขุพพี.๒ ก็ถ้าหาก

ข้าวสารเหล่านั้น ให้แห้งแล้วฉันควรอยู่. ข้าวสารเหล่านั้นไม่ถึงการนับว่า

ขนมแห้ง (และ) ไม่ถึงการนับว่าภัตเลย. แต่ภัตที่เขาทำด้วยข้าวสารนึ่งแล้ว

เหล่านั้นอีก ห้าม (ภัต) ทีเดียว. ชนทั้งหลายทอดข้าวสารเหล่านั้นในเนยใส

และน้ำมัน เป็นต้น หรือทำเป็นขนม ไม่ห้าม (ภัต) ข้าวเม่าก็ดี ขนมแห้ง

และข้าวสวยที่ทำจากข้าวเม่าเหล่านั้น ก็ดี ไม่ห้าม (ภัต).

ขนมกุมมาส ที่เขาทำจากจำพวกข้าวเหนียว ชื่อว่า ขนมสด. ขนม

กุมมาสที่เขาทำจากวัตถุอื่น มีถั่วเขียวเป็นต้น ไม่ให้เกิดการห้าม (ภัต).

๑. ขุพพีศัพท์นี้ ไม่ทราบว่าอะไร ? จึงแปลทับศัพท์ไว้ ๒. ไม่รู้ว่าภัตชนิดไหน ? ลักษณะ

คล้ายข้าวตุ๋นตากแห้ง เป็นเสบียงกรังเพื่อกินแก้หิว. - ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 508

ขนมแห้งที่เขาทำจากจำพวกข้าวสาลี ข้าวจ้าว และข้าวเหนียว ชื่อว่า

สัตตุ ชนทั้งหลายคั่วเมล็ดข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้แล้วตำเบาะ ๆ

โปรย (ฝัด) แกลบออกแล้วตำใหม่ให้ละเอียดเข้าทำให้เป็นแป้ง. ถ้าแม้น

วัตถุนั้นยังติดกันอยู่ เพราะยังสด ก็ถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นขนมแห้งทีเดียว.

เขาบดข้าวสารจ้าวที่คั่วให้สุกกรอบถวาย. แป้ง แม้นั้นก็ถึงการสงเคราะห์เข้า

เป็นสัตตุ (ขนมแห้ง) เหมือนกัน.

ส่วนข้าวสารแห่งข้าวจ้าวที่เขาคั่วให้สุกเสมอกัน หรือแห่งข้าวกล้อง

(ที่ไม่ได้คั่ว ) หรือข้าว สารที่คั่วแล้วทั่วไป ไม่ห้าม (ภัต). แต่แป้งข้าวสาร

เหล่านั้น ห้าม (ภัต) ได้. แม้รำของข้าวจ้าวที่เขาคั่วให้เกรียมแล้ว ก็ห้าม

(ภัต) ได้. ส่วนรำแห่งข้าวสารที่เขาคั่วให้สุกเสมอกัน หรือสุกเพราะแดด ไม่

ห้าม (ภัต).

ข้าวตอกหรือข้าวสวย และขนมแห้งเป็นต้น ที่เขาทำจากข้าวตอกเหล่า

นั้น ย่อมไม่ห้าม (ภัต). แป้งที่คั่วแล้ว หรือของเคี้ยวล้วน ๆ ชนิดใดชนิด

หนึ่ง ไม่ห้าม (ภัต). แต่ของเคี้ยวที่บรรจุปลา เนื้อ (มีปลาเนื้ออยู่ข้างใน)

ก็ดี สตูงบหรือสตูก้อนไม่เข้าไฟ* (ก้อนขนมแห้งยังไม่อบ) ก็ดี ย่อมห้าม (ภัต)

ส่วนปลา เนื้อ ปรากฏชัดแล้วแล. แต่มีความแปลกกันดังต่อไปนี้ .

ถ้าแม้นเมื่อภิกษุกำลังดื่มยาคู ชาวบ้านถวายชิ้นปลา หรือชิ้นเนื้ออย่าง

ละ ๒ ชิ้น มีขนาดเท่าเมล็ดยาคูนั่นแหละ ในภาชนะเดียวกัน หรือในต่างภาชนะ

กัน, ถ้าภิกษุไม่ฉันชิ้นปลาเนื้อเหล่านั้น ห้ามโภชนะอย่างใดอย่างหนึ่งอื่น ซึ่ง

เพียงพอแก่การห้ามภัต ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). จาก ๒ อย่างนั้น อย่างหนึ่ง

* สารัตถทีปนี ๓/๓๒๓ แก้ว่า สตฺตุโมทโกติ สตฺตุโย ปิณเฑตฺวา กโต อปกฺโก สตฺตุคโฬ

งบสตูดิบหรือสตูก้อนที่เขาปั้นข้าวสัตตุผลเป็นก้อนยังไม่เข้าไฟ ชื่อว่าสัตตุโมทกะ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 509

เธอฉันแล้ว อย่างหนึ่งยังอยู่ในมือ หรือในบาตร. ถ้าเธอห้ามมังสะอื่น ชื่อ

ว่าห้าม (ภัต). ทั้ง ๒ อย่างเธอฉันหมดแล้ว, ในปากแม้เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด

ก็ไม่เหลือ. ถ้าแม้นเธอห้ามมังสะอื่น ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต).

ภิกษุกำลังฉันกัปปิยมังสะ ห้ามกัปปิยมังสะ ชื่อว่าห้าม (ภัต) กำลัง

ฉันกัปปิยมังสะ ห้ามอกัปปิยมังสะ ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร ?

เพราะไม่ใช่วัตถุ. จริงอยู่ มังสะที่ภิกษุควรฉันได้เท่านั้น จึงเป็นเหตุห้ามภัต

แก่ภิกษุผู้ห้ามอยู่. แต่เมื่อภิกษุรู้อกัปปิยมังสะนี้ จึงห้ามเสียเพราะเป็นของไม่

ควร. ถึงไม่รู้ ก็ชื่อว่าห้ามสิ่งที่ตั้งอยู่ในฐานะที่ควรห้ามทีเดียว เพราะเหตุ

นั้น จึงไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต).

แต่ถ้าภิกษุฉันอกัปปิยมังสะ ห้ามกัปปิยมังสะ ชื่อว่าห้าม (ภัต ) เพราะ

เหตุไร ? เพราะเป็นวัตถุ (แห่งการห้าม). จริงอยู่ มังสะที่ภิกษุนั้นห้ามนั้น

นั่นแหละ เป็นวัตถุ (ที่ตั้ง) แห่งการห้ามภัต. ส่วนอกัปปิยมังสะที่ภิกษุฉัน

ตั้งอยู่ในฐานที่ควรห้าม แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น มังสะที่กำลังฉัน ก็ยังไม่ละ

ภาวะแห่งมังสะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ห้าม (ภัต). ฉันอกัปปิยมังสะ

ห้ามอกัปปิยมังสะ ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต) โดยนัยก่อนนั่นแล.

ฉันกัปปิยมังสะก็ดี อกัปปิยมังสะก็ดี ห้ามโภชนะทั้ง ๕ อย่างใด

อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกัปปิยโภชนะ ชื่อว่าห้าม (ภัต). ห้ามอกัปปิยโภชนะ ซึ่ง

เกิดจากมิจฉาชีพมีกุลทูสกกรรม เวชกรรม การอวดอุตริมนุสธรรม และ

การยินดีรูปิยะเป็นต้น (และ) ที่เกิดจากการแสวงหาอันไม่สมควรที่พระพุทธเจ้า

ทรงรังเกียจ ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต).

วิมติ. แก้ทำนองเดียวกันว่า สตฺตุโมทโกติ สตฺตุ เตเมตฺวา กโต อปกฺโก, สตุตฺ ปน ปิสิตฺวา

ปิฏ กตฺวา เตเมตฺวา ปูว กตฺวา ปจนฺตี, ต น ปวาเรติ. ขนมยังไม่สุกที่เขาชุบขนมแห้งให้

เปียกทำ ชื่อว่าสัตตุโมทกะ. ก็ชนทั้งหลายบดขนมแห้งให้เป็นแป้งแล้วชุบให้เปียกทอดเป็นขนม

ไม่ห้ามภัต - ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 510

แม้กำลังฉันกัปปิยโภชนะก็ดี อกัปปิยโภชนะก็ดี ห้ามกัปปิยโภชนะ

เสีย ชื่อว่าห้าม (ภัต). ห้ามอกัปปิยโภชนะ ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต), บัณฑิต

พึงทราบเหตุในทุก ๆ บทอย่างนี้ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

[ว่าด้วยการฉันและการห้ามโภชนะ]

บัณฑิตครั้นทราบโภชนะที่ภิกษุฉัน ในคำว่า อสน เป็นต้น และ

โภชนะที่ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย เมื่อภิกษุห้าม จึงถึงการห้าม (ภัต)

โดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทราบอาการที่เป็นเหตุให้ถึง (การ

ห้ามภัต) พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อสน โภชน นี้ก่อน :- ภิกษุใดกลืนกิน

ภัตเข้าไปแม้เมล็ดเดียว ภิกษุนั้น เมื่อบรรดาโภชนะทั้ง ๕ โภชนะแม้อย่าง-

หนึ่งมีอยู่ในบาตรูปากและมือ ที่ใดที่หนึ่ง ห้ามโภชนะทั้ง ๕ แม้อย่างหนึ่งอื่น

ก็ชื่อว่าห้าม (ภัต). ไม่มีโภชนะในที่ไหน ๆ มีบาตรเป็นต้น ปรากฏแต่เพียง

กลิ่นอามิส, ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). ไม่มีโภชนะในปาก และในมือ แต่มีอยู่

ในบาตร ฝ่ายภิกษุไม่ประสงค์จะฉันที่อาสนะนั้น ประสงค์จะเข้าไปยังวิหาร

แล้วฉัน หรือประสงค์ถวายแก่ภิกษุอื่น ถ้าปฏิเสธโภชนะอย่างใดอย่างหนึ่งใน

ระหว่างนั้น ยังไม่จัดว่าห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร ? เพราะความเป็นโภชนะ

ที่ฉันค้างอยู่ ขาดไป.

ในมหาปัจจรีกล่าวไว้ว่า แม้ภิกษุใดประสงค์จะไปฉันในที่อื่นกลืนภัต

ในปากแล้ว ถือเอาภัตส่วนที่เหลือเดินไปอยู่ ห้ามโภชนะอื่นในระหว่างทาง,

การห้ามภัตแม้ของภิกษุนั้น ก็ไม่มี.

ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่ประสงค์จะกลืนกินโภชนะที่มีอยู่ แม้ในมือ หรือแม้

ในปากเหมือนในบาตร, และห้ามโภชนะอื่นในขณะนั้น ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต ).

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 511

จริงอยู่ ลักษณะที่กล่าวไว้แล้วในบทเดียว เป็นลักษณะที่บัณฑิตควรทราบใน

ทุก ๆ บท.

อีกอย่างหนึ่ง ในกุรุนทีก็ได้แสดงนัยนี้ไว้เหมือนกัน สมจริงดังที่

ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีนั้นว่า ภิกษุกลืนภัตในปากแล้ว ประสงค์จะให้ภัตในมือ

แก่คนกินเดน ประสงค์จะให้ภัตในบาตรแก่ภิกษุ ถ้าห้าม (โภชนะอื่น) ใน

ขณะนั้น ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต) .

[องค์ว่าทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย]

ก็ในคำว่า หตฺถปาเส ิโต นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ ๒ ศอกคืบ

พึงทราบว่า หัตถบาส ถ้าภิกษุนั่งกำหนดตั้งแต่ริมสุดด้านหลังของอาสนะไป

ถ้ายืนกำหนดตั้งแต่ที่สุดส้นเท้าไป ถ้านอนกำหนดตั้งแต่ที่สุดด้านนอกแห่งสีข้าง

ที่นอนไป ด้วยที่สุดด้านในแห่งอวัยวะที่ใกล้กว่า เว้นมือที่เหยียดออกของ

ืทายกผู้นั่งอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นอนอยู่ก็ตาม การห้ามภัตย่อมมีแก่ภิกษุ

ผู้ห้ามโภชนะที่ทายกอยู่ในหัตถบาสนั้น น้อมถวายเท่านั้น, นอกจากนั้นไปหา

มีไม่.

บทว่า อภิหรติ มีความว่า ทายกอยู่ภายในหัตถบาส น้อม (โภชนะ)

เข้าไปเพื่อรับ (ประเคน). ก็ถ้าว่าภิกษุผู้นั่งถัดไป ไม่นำบาตรที่อยู่ในมือ

หรือที่วางอยู่บนตัก หรือบนเชิงรองออกไปเลย กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับ

ภัตตาหาร เมื่อภิกษุปฏิเสธภัตนั้น ไม่เป็นการห้าม (ภัต). แม้ในทายกผู้นำ

กระเช้าภัตมาวางไว้บนพื้นข้างหน้า แล้วกล่าวว่า นิมนต์ท่านรับ เถิด ก็นัยนี้

เหมือนกัน.

แต่เมื่อเขาขยับยกขึ้นหรือน้อมเข้าไป กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับเถิด

เมื่อภิกษุปฏิเสธ จัดเป็นการห้าม (ภัต). พระเถระนั่งอยู่บนเถระอาสน์ ส่ง

บาตรไปให้แก่ภิกษุหนุ่มผู้นั่งอยู่ในที่ไกลกล่าวว่า เธอจงรับเอาข้าวสุกจากบาตร

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 512

นี้ ฝ่ายภิกษุผู้รับ (บาตร) ไปยืนนิ่งเฉยเสีย, ภิกษุหนุ่มห้ามว่า ผมพอแล้ว

ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร ? เพราะพระเถระอยู่ไกล และเพราะทูต

ไม่นำไปให้แล. ถ้าภิกษุผู้รับ (บาตร) มากล่าวว่า ท่านจงรับภัตนี้ เมื่อภิกษุ

หนุ่มปฏิเสธภัตนั้น จัดเป็นการห้าม (ภัต).

ในสถานที่อังคาส ทายกคนเดียวอังคาสภิกษุหลายรูป มือข้างหนึ่งถือ

กระเช้าข้าวสุก อีกข้างหนึ่งถือทัพพี. ถ้าในสถานที่อังคาสนั้นมีคนอื่นมาพูดว่า

ข้าพเจ้าจักช่วยถือกระเช้า ท่านจงถวายข้าวสุก แล้วทำกิจเพียงจับเท่านั้น

ก็ทายกผู้อังคาสนั่นเองยกกระเช้าข้าวสุกนั้น เพราะฉะนั้น กระเช้านั้น จัดว่า

อันเขานำมาจำเพาะแท้ จัดเป็นการห้าม (ภัต) แก่ภิกษุผู้ห้ามคนอังคาส ผู้ถือ

(ภัต ) จากกระเช้านั้น ด้วยเป็นผู้มีความต้องการจะถวาย. แต่ถ้าผู้อังคาสเพียง

แตะต้อง (กระเช้า) เท่านั้น, คนนอกนี้แหละช่วยยกกระเช้านั้น, ไม่จัดว่า

เป็นการห้าม (ภัต ) แก่ภิกษุผู้ห้ามคนอังคาส ซึ่งถือ (ภัต) จากกระเช้านั้น

ด้วยเป็นผู้มีความต้องการจะถวาย. แค่พอเขาเอาทัพพีตักภัต (การห้ามภัต)

ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ห้าม. แท้จริง การน้อมเข้ามาโดยตรงด้วยทัพพีนั่นแหละ จัด

เป็นการน้อมถวายภัตนั้น. ในมหาปัจจรีกล่าวว่า แม้ในภัตที่คน ๒ คน ช่วย

กันยก เมื่อภิกษุปฏิเสธ ย่อมชื่อว่าห้ามภัตเหมือนกัน.

เมื่อทายกถวายภัตแก่ภิกษุผู้นั่งถัดไป ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เอามือปิดบาตร

ไม่เป็นการห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร ? เพราะห้ามภัตที่เขาน้อมถวายภิกษุ

รูปอื่น.

[ว่าด้วยการห้ามภัตมีการห้ามด้วยกายเป็นต้น]

ในคำว่า ปฏิกฺเขโป ปญฺายติ นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ภิกษุ

ปฏิเสธภัตที่เขาบอกถวายด้วยวาจา ไม่จัดเป็นการห้าม (ภัต), แต่เมื่อภิกษุ

ปฏิเสธด้วยกายหรือด้วยวาจา ซึ่งภัตที่เขาน้อมถวายด้วยกาย จึงเป็นการห้ามภัต.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 513

ในการห้ามด้วยกายและวาจานั้น ที่ชื่อว่าการห้ามด้วยกาย คือภิกษุ

สั่นนิ้วมือ หรือมือพัดไล่แมลงหวี่ หรือชายจีวร กระทำอาการด้วยคิ้ว หรือ

โกรธแลดู. ที่ชื่อว่าห้ามด้วยวาจา คือ ภิกษุกล่าวว่า พอแล้ว หรือว่า ฉัน

ไม่รับ ว่า อย่าเทลง หรือว่า จงถอยไป. เมื่อภิกษุห้ามภัตด้วยกายหรือด้วย

วาจา โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างนั้น ชื่อว่าเป็นการห้าม (ภัต).

ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อทายกน้อมถวายภัต กลัวแต่การห้ามภัต ชักมือออก

พูดกะชนผู้เทข้าวสุกลงในบาตรแล้ว ๆ เล่า ๆ ว่า ท่านจงเทลงไป ๆ เถิด จง

กดลง ๆ บรรจุให้เต็มเถิด, ถามว่า ในคำนี้ จะว่าอย่างไร ?

พระมหาสุมนเถระกล่าวไว้ก่อน จัดเป็นการห้าม (ภัต) เพราะภิกษุ

พูดเพื่อต้องการไม่ให้เทลง

แต่พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ธรรมดาภิกษุผู้กล่าวว่า จงเทลง จง

บรรจุให้เต็ม ดังนี้ บางรูปก็เป็นการห้าม (ภัต) แล้ว จึงกล่าวว่า ยังไม่ชื่อ

ว่าห้าม (ภัต).

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง สังเกตเห็นภิกษุผู้กำลังนำภัตไป กล่าวว่า ผู้มีอายุ !

ท่านจักรับอะไรบางอย่างจากบาตรของผมนี้บ้างไหม ? ผมจะถวายอะไร ? แก่

ท่านไหม ? ในคำแม้นนี้ พระมหาสุมนเถระก็กล่าวว่า จัดเป็นการห้าม (ภัต)

เพราะภิกษุนั้นกล่าวด้วยใส่ใจว่า ภิกษุนี้จักไม่มา (ยังสำนักของเรา) ด้วยการ

กล่าวอย่างนี้.

ฝ่ายพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ธรรมดาภิกษุผู้กล่าวว่า ท่านจักรับ

ไหม ? บางรูปก็เป็นการห้าม (ภัต) จึงกล่าวว่า ยังไม่ชื่อว่าห้ามภัต.

ทายกคนหนึ่งน้อมถวายรสมีเนื้อ กล่าวว่านิมนต์ท่านรับรสเถิด. เมื่อ

ภิกษุได้ฟังคำนั้นแล้วปฏิเสธไป ไม่จัดเป็นการห้าม (ภัต ) เมื่อเขากล่าวว่า

รสปลา รสเนื้อ เป็นการห้ามภัตแก่ภิกษุผู้ปฏิเสธ. แม้เมื่อเขากล่าวว่า ขอ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 514

นิมนต์ท่านรับรสปลาเนื้อนี้ ก็เป็นการห้ามภัตแก่ภิกษุผู้ปฏิเสธเหมือนกัน. เขา

แยกเนื้อไว้ต่างหากกล่าวว่า นิมนต์ท่านรับรสมีเนื้อ. ถ้าว่า ในรสนั้นมีชิ้นเนื้อ

แม้เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด, เป็นการห้ามภัตแก่ภิกษุผู้ปฏิเสธรสนั้น. แต่ถ้าเป็น

รสที่เขากรองแล้ว ควรอยู่ ฉะนั้นแล.

พระอภัยเถระกล่าวว่า พระมหาเถระกล่าวว่า จงรอสักครู่หนึ่ง กะผู้

ถามโดยเอื้อเฟื้อด้วยรสเนื้อ แล้วกล่าวว่า นำถาดมาเถิด คุณ ! ในคำนี้ จะว่า

อย่างไรกัน ?

พระมหาสุมนเถระกล่าวไว้ก่อนว่า การไปของผู้น้อมถวาย (ภัต) ขาดไป

แล้วก่อน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าห้าม (ภัต). แต่พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า

พระมหาเถระนี้จะไปที่ไหน ? การไปของผู้น้อมถวาย (ภัต) นั่น เป็นเช่นไร ?

การห้ามภัตย่อมมีแม้แก่ผู้รับ แล้วกล่าวต่อไปว่า ยังไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต).

พวกทายกแกงปลาและเนื้อผสมด้วยหน่อไม้และขนุนเป็นต้น. เขาถือ

เอาแกงนั้นมากล่าวว่า นิมนต์ท่านรับแกงหน่อไม้. นิมนต์ท่านรับแกงขนุน.

แม้แกงนั่น ก็ไม่ห้าม (ภัต) เพราะเหตุไร ? เพราะเขากล่าวโดยชื่อแห่ง

สูปพยัญชนะที่ควรแก่การไม่ห้าม (ภัต). แต่ถ้าพวกเขากล่าวว่า แกงปลา

แกงเนื้อ ก็ดี, ว่า นิมนต์ท่านรับแกงปลาและเนื้อนี้ ก็ดี, คำนั้นย่อมห้าม (ภัต).

มีอาหาร ชื่อว่า มังสกรัมพก * (ยำเนื้อ) แม้ผู้ประสงค์จะถวาย

มังสกรัมพก (ยำเนื้อ) นั้น กล่าวว่า ขอนิมนต์ท่านรับกรัมพก (ยำ) สมควรรับ

* สารตฺถทีปนี ๓/๓๒๖ กรมฺพโกติ มิสฺสกาธิวจนเมต. ย หิ อญฺเนญฺเน มิสฺเสตฺวา กโรนฺติ

โส กรมฺพโกติ วุจฺจติ. แปลว่า คำว่า กรัมพก นั่น เป็นชื่อของอาหารผสมกัน. จริงอยู่

อาการที่พวกชาวบ้านทำผสมกัน ด้วยของอย่างหนึ่งกับของอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า กรัมพก น่าจะ

ตรงกับคำว่า ยำ ของไทยเรา จึงแปลไว้อย่างนั้น. - ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 515

ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). แต่เมื่อเขากล่าวว่า ยำเนื้อ หรือว่า ยำเนื้อนี้ คำนั้น

ย่อมห้ามภัต. แม้ในโภชนะที่ผสมด้วยปลาและเนื้อทุก ๆ อย่าง ก็นัยนี้เหมือน

กัน.

ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ก็ภิกษุใด ฉันอยู่ในสถานที่นิมนต์ เข้าใจเนื้อ

ที่เขาน้อมถวายว่า เป็นเนื้อที่เขาทำเจาะจง จึงห้ามเสีย ภิกษุนั้น จัดว่าเป็น

ผู้ห้ามภัตเหมือนกัน.

[ว่าด้วยการห้ามภัตที่ระคนกัน ]

ส่วนมิสสกกถา (กถาว่าด้วยโภชนะระคนกัน) ท่านกล่าวไว้โดยละเอียด

ในกุรุนที. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต

เป็นวัตร นำยาคูเจือด้วยข้าวสวยมาแล้ว กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับยาคู ยังไม่

ชื่อว่าห้าม (ภัต). เมื่อเธอกล่าวว่า ขอนิมนต์ท่านรับภัต จึงชื่อว่าห้าม (ภัต).

เพราะเหตุไร ? เพราะภัตที่ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตถามโดยเอื้อเฟื้อ (บอกถวาย)

มีอยู่.

ในคำว่า ขอนิมนต์ท่านรับภัต นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- ภิกษุเที่ยว

บิณฑบาตเป็นวัตรกล่าวว่า ขอนิมนต์ท่านรับภัตเจือด้วยข้าวยาคู. ในภัตเจือ

ข้าวยาคูนั้น ถ้ายาคูมีมากกว่า หรือมีเท่า ๆ กันยังไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). ถ้ายาคู

มีน้อย ภัตมีมากกว่า ชื่อว่าห้าม (ภัต) และคำนี้ใคร ๆ ไม่อาจคัดค้านได้

เพราะท่านกล่าวไว้ทุก ๆ อรรถกถา, แต่เหตุในคำนี้เห็นได้ยาก.

ผู้ถวายกล่าวว่า นิมนต์ท่านรับยาคูเจือด้วยภัต. ภัตมีมากกว่าก็ดี มี

เท่า ๆ กันก็ดี มีน้อยกว่าก็ดี ย่อมชื่อว่าห้าม (ภัต) เหมือนกัน. เขาไม่ระบุ

ถึงภัตหรือยาคู กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับโภชนะระคนกัน. ในโภชนะระคนกัน

นั้น ถ้าภัตมีมากกว่า หรือมีเท่ากันจัดว่าห้าม (ภัต), มีน้อยกว่า ยังไม่จัดว่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 516

ห้าม (ภัต). ก็โภชนะระคนกันนี้ ไม่เหมือนกับยำ. เพราะว่ายำจะเป็นยำเนื้อ

ก็ดี ยำไม่มีเนื้อก็ดี; ฉะนั้น เมื่อเขากล่าวคำว่า ยำ ยังไม่เป็นการห้าม (ภัต).

แต่โภชนะระคนกันนี้กลายเป็นยาคูผสมภัตไป ย่อมเป็นการห้าม (ภัต) โดย

นัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละในโภชนะระคนกันนี้.

ทายกกล่าวแยกถวาย ในภัตที่มีรสมากว่า นิมนต์ท่านรับรส ในภัต

ที่มีนมสดมากว่า นิมนต์ท่านรับนมสด และในข้าวปายาสที่มีเนยใสมากว่า

นิมนต์ท่านรับเนยใส. เมื่อภิกษุห้ามภัตนั้น ไม่จัดว่าเป็นการห้าม (ภัต).

ฝ่ายภิกษุใด เดินห้ามภัต, ภิกษุนั้นย่อมได้เพื่อจะฉันทั้งเดินนั่นแหละ.

เดินไปถึงที่มีโคลนตมหรือแม่น้ำหยุดยืนอยู่แล้ว พึงให้ทำเป็นเดน. ถ้าแม้น้ำ

ในระหว่างขึ้นเต็มฝั่ง พึงเดินเวียนรอบพุ่มไม้ทำฝั่งแม้น้ำมันเถิด. ถ้ามีเรือหรือ

สะพานนั้นแล้ว พึงเดินไปมาฉันเถิด, ไม่พึงตัดการเดินให้ขาดตอน. ภิกษุนั่ง

ห้ามภัต บนยานก็ดี บนหลังช้างและม้าก็ดี บนดวงจันทร์ก็ดี บนดวงอาทิตย์ก็ดี

พึงฉันทั้งที่นั่งอยู่บนยานเป็นต้นเหล่านั้น แม้ซึ่งกำลังเคลื่อนไปจนถึงเวลาเที่ยง

วัน.

ภิกษุใดยืนห้ามภัต ภิกษุนั้นพึงฉันทั้งยืนเหมือนกัน, ภิกษุใดนั่งห้าม

ภัต ภิกษุนั้น พึงฉันทั้งที่นั่งอย่างนั่นแหละ. เมื่อทำอิริยาบถนั้นให้เสีย พึง

ให้ทำให้เป็นเดน.

ภิกษุใดนั่งกระโหย่งห้ามภัต ภิกษุนั้นพึงฉันทั้งที่นั่งกระโหย่งนั่นแหละ

แต่พึงให้ตั่งฟางหรือที่รองนั่งบางอย่างในภายใต้แก่ภิกษุผ้นั่งกระโหย่งนั้น. ภิกษุ

ผู้นั่งเล็กห้ามภัต ย่อมได้เพื่อจะฉันหมุนไปรวมทั้ง ๔ ทิศ ไม่ทำให้อาสนะ

เคลื่อนที่. ภิกษุนั่งบนเตียงห้ามภัตย่อมไม่ได้เพื่อจะเลื่อนไปทางโน้นหรือทางนี้.

แต่ถ้าชนทั้งหลายยกเธอขึ้นพร้อมทั้งเตียง หามไปในที่อื่น ควรอยู่. ภิกษุผู้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 517

นอนห้ามภัตพึงฉันทั้ง ๆ ที่นอนนั่นแหละ. เมื่อจะพลิกตัว อย่าพึงให้เลยฐาน

แห่งสีข้างที่ตนนอนไป.

[ว่าด้วยลักษณะของเป็นเดนเป็นต้น]

บทว่า อนติริตฺต คือ ไม่เป็นเดน, ความว่า ไม่เหลือเฟือ. แต่

ของไม่เป็นเดนนั้น เป็นเพราะไม่ทำให้เป็นเดน โดยอาการแห่งวินัยกรรม ๗

อย่าง มีของไม่ได้ทำให้เป็นกัปปิยะเป็นต้น หรือไม่เป็นเดนของภิกษุอาพาธ;

เพราะฉะนั้น ในบทภาชนะจึงตรัสคำว่า อกปฺปิยกต เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกปฺปิยกต มีความว่า ในผลไม้เป็น

ต้น ผลไม้ หรือเหง้ามันเป็นต้นใด ยังไม่ได้ทำให้เป็นกัปปิยะด้วยสมณโวหาร

ทั้ง ๕ และอกัปปิยมังสะ หรืออกัปปิยโภชนะอันใดบรรดามี, ผลไม้เป็นต้นที่

ยังไม่ได้ทำกัปปิยะและอกัปปิยมังสะ อกัปปิยโภชนะนี้ชื่อว่า ของเป็นอกัปปิยะ,

ของเป็นอกับปิยะนั้น ภิกษุทำให้เป็นเดนอย่างนี้ว่า ทั้งหมดนั่นพอแล้ว พึง

ทราบว่า อกปฺปิยกต (ของที่ยังมิได้กระทำให้เป็นกัปปิยะ).

บทว่า อปฏิคฺคหิตถต ได้แก่ ของที่ภิกษุยิ่งไม่ได้รับประเคนทำ

ให้เป็นเดนโดยนัยก่อนนั่นและ.

บทว่า อนุจฺจาริตกต ได้แก่ ของที่ภิกษุผู้มาเพื่อจะให้ทำกัปปิยะ

ยังมิได้ขยับยกให้หรือน้อมถวายแม้แต่น้อย.

สองบทว่า อหตฺถปาเส กต ได้แก่ ยืนทำนอกหัตถบาสของภิกษุ

ผู้มาเพื่อให้ทำกัปปิยะ.

สองบทว่า อภุตฺตาวินา กต ได้แก่ ภิกษุผู้ซึ่งทำให้เป็นเดนว่าทั้ง

หมดนั่นพอแล้ว ยังไม่ได้ฉันโภชนะที่เพียงพอแก่การห้ามทำแล้ว

คำว่า ภุตฺตาวินา ปวาริเตน อาสนา วุฏฺิเตน กต นี้ ตื้น

ทั้งนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 518

คำว่า อลเมต สพฺพนฺติ อวุตฺต ได้แก่ ไม่เปล่งวาจาพูดอย่างนั้น

(พูดอย่างนี้ว่า ทั้งหมดนั่นพอแล้ว). ของเป็นเดนอันใดยังไม่ได้ทำให้เป็น

กัปปิยะ โดยอาการแห่งวินัยกรรมทั้ง ๗ อย่างนี้ และของใดไม่เป็นเดนแห่ง

ภิกษุอาพาธ. ของแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น พึงทราบว่า ของไม่เป็นเดน ด้วย

ประการฉะนี้, ส่วนของเดน ก็พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามของไม่เป็นเดนนั้น

นั่นแหละ.

อีกอย่างหนึ่ง ยังมีคำอื่นที่จะพึงกล่าวอยู่ในของเป็นเดนนี้. คำว่า

ภุตฺตาวินา กต โหติ มีความว่า ถึงโภชนะที่ภิกษุฉันข้าวสุกแม้เมล็ดเดียว

หรือเคี้ยวเนื้อแม้ชิ้นเดียวจากบาตรของภิกษุผู้เป็นสภาคกันซึ่งนั่งถัดไปทำแล้ว

บัณฑิตก็พึงทราบว่า เป็นอันภิกษุผู้ฉันเสร็จแลทำ.

ส่วนในคำว่า อาสนา อวุฏฺิเตน นี้ เพื่อความไม่งมงาย มีวินิจฉัย

ดังต่อไป:- ภิกษุ ๒ รูปฉัน แต่เช้ามืด เป็นผู้ห้ามภัตเสียแล้ว. ภิกษุรูปหนึ่ง

พึงนั่งในที่ห้ามภัตนั่นแหละ. อีกรูปหนึ่ง นำนิตยภัต หรือสลากภัตมาแล้ว

เทลงในบาตรของภิกษุนั้นครึ่งหนึ่ง ล้างมือแล้ว ให้ภิกษุนั้นทำส่วนที่เหลือให้

เป็นกัปปิยะแล้วฉันเถิด. เพราะเหตุไร ? เพราะว่าภัตที่ติดอยู่ในมือของภิกษุผู้

นำภัตมานั้น เป็นอกัปปิยะ แต่ถ้าภิกษุผู้นั่งอยู่แต่แรก เอามือรับเอาจากบาตร

ของภิกษุผู้นำภัตมานั้นด้วยตนเองนั่นแหละ, ไม่มีกิจจำต้องล้างมือ. แต่ถ้าเมื่อ

ภิกษุให้ทำเป็นกัปปิยะอย่างนั้นแล้วฉัน พวกทายกใส่แกง หรือของเคี้ยวบาง

อย่างลงในบาตรอีก ภิกษุผู้ทำให้เป็นกัปปิยะคราวก่อน ย่อมไม่ได้เพื่อจะทำ

อีก. ภิกษุผู้ยังไม่ได้ทำ (ให้เป็นกัปปิยะ) พึงทำ. และพึงทำสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ

เท่านั้น (ให้เป็นกัปปิยะ).

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 519

สองบทว่า ย จ อกต เยน อกต มีความว่า ของที่ยังไม่ได้ทำ

(ให้เป็นกัปปิยะ) แม้ภิกษุผู้ซึ่งได้ทำกัปปิยะคราวแรก ก็ควรทำ (ให้เป็น

กัปปิยะ). แต่ย่อมไม่ได้เพื่อจะทำในภาชนะแรก. อธิบายว่า เพราะว่า ของที่

ภิกษุทำอยู่ในภาชนะแรกนั้น ย่อมเป็นอันทำรวมกันกับของที่ทำไว้คราวแรก;

เพราะฉะนั้น จึงควรทำในภาชนะอื่น. แต่ของที่ทำแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นจะ

ฉัน รวมกับของทำไว้คราวแรก ควรอยู่. และเมื่อจะทำกัปปิยะ พึงทำในบาตร

อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้, พึงวางไว้ในหม้อบ้าง ในกระเช้าบ้าง ในที่ใดที่หนึ่ง

ข้างหนึ่งแล้ว พึงทำในภาชนะที่เขาน้อมเข้ามาเถิด. ถ้าแม้นภิกษุตั้ง ๑๐๐ รูป

ห้ามภัต, ทุกรูปจะฉันภัตที่ทำกัปปิยะแล้วนั้นก็ควร. แม้พวกภิกษุผู้ไม่ห้ามภัต

ก็ควรฉัน. แต่ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ทำให้กัปปิยะ.

ถ้าแม้นชาวบ้านเห็นภิกษุผู้ห้ามภัตเข้าไปบิณฑบาต รับบาตรแล้วให้

นั่งในสถานที่นิมนต์เพื่อต้องการมงคล ซึ่งจะต้องมีการฉันแน่นอน, พึงให้ทำ

ให้เป็นเดนก่อนแล้วฉันเถิด. ถ้าในสถานที่นิมนต์นั้นไม่มีภิกษุอื่น, พึงส่งบาตร

ไปยังหอฉัน หรือวิหารแล้ว ให้ทำ (ให้เป็นเดน). แต่เมื่อจะทำกัปปิยะไม่

ควรทำของที่อยู่ในมืออนุปสัมบัน. ถ้าในหอฉันมีภิกษุไม่ฉลาด พึงไปให้ทำ

กัปปิยะอยู่เองแล้วนำมาฉันเถิด.

ในคำว่า คิลานาติริตฺต นี้ ภัตที่ภิกษุอาพาธฉันเหลืออย่างเดียวจึง

ชื่อว่า ภัตเป็นเดนของภิกษุอาพาธหามิได้, โดยที่แท้ วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง

ที่เขานำมาเฉพาะภิกษุอาพาธ ด้วยใส่ใจว่า ท่านจักฉันในวันนี้หรือในพรุ่งนี้

หรือในเวลาที่ท่านต้องการ, วัตถุทั้งหมดนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เดนของภิกษุ

อาพาธ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 520

ทุกกฏที่ต้องทุก ๆ คำกลืน ในกาลิกทั้งหลายมียามกาลิกเป็นต้น ท่าน

ปรับด้วยอำนาจกาลิกไม่ระคนกัน. แต่ถ้าว่าเป็นกาลิกระคนกันกับอามิส เป็น

ปาจิตตีย์ทั้งนั้น แก่ภิกษุรับประเคนเพื่อประโยชน์แก่อาหารก็ดี เพื่อประโยชน์

มิใช่อาหารก็ดี กลืนกิน.

ข้อว่า สติ ปจฺจเย มีความว่า ภิกษุฉันยามกาลิก เพื่อขจัดความ

กระหายในเมื่อมีความกระหาย ฉันสัตตาหกาลิกและยาวชีวิก เพื่อระงับอาพาธ

นั้น ในเมื่อมีอาพาธที่จะพึงให้ระงับได้ ด้วยกาลิกนั้น ๆ ไม่เป็นอาบัติ. คำที่

เหลือในสิกขาบทบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายและวาจา ๑

ทางกายวาจาและจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ปฐมปวารณาสิกขาบทที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 521

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุ ๒ รูป

[๕๐๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ ๒

รูปเดินทางไกลไปยังพระนครสาวัตถีในโกศลชนบท ภิกษุรูปหนึ่งประพฤติ-

อนาจาร ภิกษุผู้เป็นเพื่อนจึงเตือนเธอว่า อาวุโส ท่านอย่าได้ทำอย่างนั้น

เพราะมันไม่สมควร เธอได้ผูกใจเจ็บในภิกษุเพื่อนนั้น ครั้น ภิกษุ ๒ รูปนั้น

ไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว พอดีเวลานั้นในพระนครสาวัตถีมีสังฆภัตของประ-

ชาชนหมู่หนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเพื่อนฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ภิกษุรูปทำผูกใจเจ็บไปสู่

ตระกูลญาติรับบิณฑบาตมาแล้วเข้าไปหาภิกษุที่เป็นเพื่อนนั้น ครั้นแล้วได้กล่าว

คำนี้กะเธอว่า อาวุโส นิมนต์ฉัน.

ภิกษุผู้เป็นเพื่อนปฏิเสธว่า พอแล้ว อาวุโส ผมบริบูรณ์แล้ว.

รูปที่ผูกใจเจ็บแค่นไค้ว่า อาวุโส บิณฑบาตอร่อย นิมนต์ฉันเถิด.

ครั้นภิกษุผู้เป็นเพื่อนถูกภิกษุผู้ผูกใจเจ็บนั้นแค่นได้ จึงได้ฉัน

บิณฑบาตนั้น .

รูปที่ผูกใจเจ็บจึงพูดต่อว่าภิกษุผู้เป็นเพื่อนว่า อาวุโส ท่านได้สำคัญ

ผมว่าเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าว ท่านเองฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ยังฉันโภชนะอัน

มิใช่เดนได้.

ภิกษุผู้เป็นเพื่อนค้านว่า อาวุโส ท่านควรบอกมิใช่หรือ.

รูปที่ผูกใจเจ็บพูดแย้งว่า อาวุโส ท่านต้องถามมิใช่หรือ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 522

ครั้นแล้วภิกษุผู้เป็นเพื่อนได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ

ผู้มักน้อย ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึงได้นำไปปวารณา

ภิกษุผู้ฉันเสร็จห้ามภัตแล้วด้วยโภชนะอันมิใช่เดนเล่า. . . แล้วกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอ

นำไปปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จห้ามภัต แล้วด้วยโภชนะอันมิใช่เดนจริงหรือ.

ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้นำไปปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ด้วยโภชนะอันมิใช่เดนเล่า การ

กระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๕๘. ๖. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ เพ่งจะหาโทษให้ นำไปปวารณา

ภิกษุผู้ฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ด้วยของเคี้ยวก็ดี ด้วยของฉัน ก็ดี

อันมิใช่เดน บอกว่า นิมนต์เถิด ภิกษุ เคี้ยวก็ตาม ฉันก็ตาม

พอเธอฉันแล้ว เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุ ๒ รูป จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 523

สิกขาบทวิภังค์

[๕๐๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่าที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ภิกษุ หมายถึงภิกษุรูปอื่น.

ที่ชื่อว่า ฉันเสร็จ คือ ฉันโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุด

แม้ฉันด้วยปลายหญ้าคา.

ลักษณะห้ามภัต

ที่ชื่อว่า ห้ามภัตแล้ว คือ กำลังฉันอาหารอยู่ ๑ ทายกนำโภชนะ

มาถวายอีก ๑ ทายกอยู่ในหัตถบาส ๑ ทายกน้อมถวาย ๑ ภิกษุห้ามเสีย ๑.

ลักษณะของมิใช่เดน

ที่ชื่อว่า มิใช่เดน คือ ของที่ยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ ๑ ภิกษุมิได้

รับประเคน ๑ ภิกษุมิได้ยกขึ้นส่งให้ ๑ ท่านอกหัตถบาส ๑ ภิกษุยังฉันไม่เสร็จ

ทำ ๑ ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ลุกจากอาสนะแล้ว ทำ ๑ ภิกษุมิได้พูดว่า

ทั้งหมดนั่นพอแล้ว ๑ ของนั้นมิใช่เป็นเดนภิกษุอาพาธ ๑ นี้ชื่อว่า มิใช่เดน.

ลักษณะของเคี้ยว

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือเว้นโภชนะ ๕ ของที่เป็นยามกาลิก สัตตาห-

กาลิก ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่า ของเคี้ยว.

ลักษณะของฉัน

ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง

ปลา เนื้อ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 524

บทว่า นำไปปวารณา คือ บอกว่า จงรับของตามที่ต้องการ.

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือรูปอื่นบอกเธอ หรือภิกษุนั้นบอก.

ที่ชื่อว่า เพ่งจะหาโทษให้ คือ เพ่งเล็งว่า จักท้วง จักเตือน

จักท้วงซ้ำ จักเตือนซ้ำ ซึ่งภิกษุนี้ จักทำให้เป็นผู้เก้อ ด้วยโทษข้อนี้.

ภิกษุนำไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุรับไว้ตามคำของเธอด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ภิกษุผู้นำไป

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ขณะกลืน ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน เมื่อภิกษุนั้น

ฉันเสร็จ ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๕๐๖] ห้ามภัตแล้ว ภิกษุสำคัญว่าห้ามภัตแล้ว นำไปปวารณาด้วย

ของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันมิใช่เดน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ห้ามภัตแล้ว ภิกษุสงสัย นำไปปวารณาด้วยของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี

อันมิใช่เดน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ห้ามภัตแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้ห้ามภัต นำไปปวารณาด้วยของ

เคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันมิใช่เดน ไม่ต้องอาบัติ.

ภิกษุนำยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ไปเพื่อประสงค์เป็นอาหาร

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุรับไว้ตามคำของภิกษุผู้นำไปด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ภิกษุ

ผู้นำไปต้องอาบัติทุกกฏ.

ขณะกลืน ภิกษุผู้นำไปต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน.

ยังมิได้ห้ามภัต ภิกษุสำคัญว่า ห้ามภัตแล้ว . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ยังมิได้ห้ามภัต ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 525

ไม่ต้องอาบัติ

ยิ่งมิได้ห้ามภัต ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้ห้ามภัต . . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๐๗] ภิกษุให้ทำเป็นเดนแล้วให้ ๑ ภิกษุให้ด้วยบอกว่า จงให้ทำ

เป็นเดนแล้วจึงฉันเถิด ๑ ภิกษุให้ด้วยบอกว่า จงนำไปเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุ

อื่น ๑ ภิกษุให้อาหารที่เหลือของภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุให้ด้วยบอกว่า ในเมื่อ

มีเหตุสมควรจงฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

ทุติยปวารณาสิกขาบทที่ ๖

ในสิกขาบทที่ ๖ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุ ๒ รูป]

สองบทว่า อนาจาร อาจรติ ได้แก่ ทำการล่วงละเมิดพระบัญญัติ.

บทว่า อุปนทฺธิ มีความว่า เมื่อให้ความผูกโกรธเกิดขึ้น ชื่อว่า

ได้ผูกความโกรธของตนไว้ในบุคคลผู้นั้น. อธิบายว่า ให้ความอาฆาตเกิดขึ้น

บ่อย ๆ.

สองบทว่า อุปนทฺโธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้เกิดมีความผูกโกรธนั้น.

สองบทว่า อภิหฏฺฐุ ปวาเรยฺย มีความว่า พึงนำไปปวารณา

อย่างนี้ นิมนต์เถิดภิกษุ ! เคี้ยวก็ตาม ฉันก็ตาม. แต่ในบทภาชนะพระ-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 526

อุบาลีเถระไม่ทรงยกคำว่า หนฺท ภิกฺขุ เป็นต้นขึ้น เพื่อแสดงอรรถแห่งการ

นำไปปวารณาที่ทั่วไปอย่างเดียว จึงได้กล่าวว่า นิมนต์รับของเท่าที่ท่านต้องการ.

บทว่า ชาน คือ รู้อยู่ว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ห้ามภัตแล้ว. ก็เพราะการรู้

นั้นของภิกษุนั้น ย่อมมีโดยอาการ ๓ อย่าง; ฉะนั้น พระอุบาลีเถระจึงกล่าว

บทภาชนะโดยนัยเป็นต้นว่า ชานาติ นาม สาม วา ชานาติ ดังนี้.

บทว่า อาสาทนาเปกฺโข ได้แก่ เพ่งการรุกราน คือ การโจทท้วง

ได้แก่ ภาวะที่ทำให้เป็นผู้อัปยศ.

คำว่า ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เมื่อภิกษุ.

ผู้ที่ตนน้อมถวายภัตรับเอา เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้น้อมถวาย. ส่วนความต่างแห่ง

อาบัติทุกอย่างของภิกษุผู้รับนอกนี้ กล่าวไว้แล้วในปฐมสิกขาบท. แต่ใน

สิกขาบทนี้ พระวินัยธรพึงปรับอาบัติทั้งหมดแก่ภิกษุผู้น้อมถวายภัตเท่านั้น.

บทที่เหลือปรากฏชัดแล้วแล เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ

กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

ทุติยปวารณาสิกขาบทที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 527

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์

[๕๐๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-

เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์

ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์มีมหรสพบนยอดเขา พระสัตตรสวัคคีย์ได้ไปดู

มหรสพบนยอดเขา ประชาชนเห็นพระสัตตรสวัคคีย์ จึงนิมนต์ให้สรงน้ำ ให้

ลูบไล้ของหอม ให้ฉันอาหารแล้วได้ถวายของเคี้ยวไปด้วย พระสัตตรสวัคคีย์

นำของเคี้ยวไปถึงอารามแล้วได้กล่าวคำนี้กะพระฉัพพัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลาย

นิมนต์รับของเคี้ยวไปขบฉันเถิด.

พระฉัพพัคคีย์ถามว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านได้ของเคี้ยวมาจากไหน.

พระสัตตรสวัคคีย์ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่พระฉัพพัคคีย์.

ฉ. อาวุโสทั้งหลาย ก็พวกท่านฉัน อาหาร เวลาวิกาลหรือ.

ส. เป็นอย่างนั้น อาวุโสทั้งหลาย.

พระฉัพพัคคีย์จึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสัตตรสวัคคีย์

จึงได้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเล่า . . . แล้ว แจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่าไฉนพระ-

สัตตรสวัคดีย์จึงได้ฉัน อาหารในเวลาวิกาลเล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระสัตตรสวัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอฉันอาหารในเวลาวิกาล จริงหรือ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 528

พระสัตตรสวัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็น

ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ

ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๘๑. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่ง

ของฉัน ก็ดี ในเวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๐๙] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ . . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล หมายตั้งแต่เวลาเที่ยงวันล่วงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ เว้น โภชนะ ๕ ของที่เป็นยามกาลิก สัตตาห-

กาลิก ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่า ของเคี้ยว

ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง.

ปลา เนื้อ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 529

ภิกษุรับไว้ด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ขณะกลืน

คืออาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๑๐] เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่า เวลาวิกาล เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี

ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เวลาวิกาล ภิกษุสงสัย เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของ

ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าในกาล เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี

ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ

ภิกษุรับยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกไว้ เพื่อประสงค์เป็นอาหาร

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ขณะกลืน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน.

ในกาล ภิกษุสำคัญว่าวิกาล. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ในกาล ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ในกาลภิกษุสำคัญว่าในกาล. . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๑๑] ภิกษุฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เมื่อมีเหตุสมควร

๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 530

วิกาลโภชนาสิกขาบทที่ ๗

ใน* สิกขาบทที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

[เรื่องภิกษุสัตตรสวัคคีย์ไปดูมหรสพบนยอดเขา]

บทว่า คิรคฺคสมชฺโช คือ มหรสพชั้นเยี่ยมบนภูเขา. อีกอย่างหนึ่ง

ได้แก่ มหรสพ (ที่แสดง) บนยอดเขาแห่งภูเขา. ทวยนครทำการโฆษณาใน

เมืองว่า นัยว่า มหรสพนั้นจักมีกันในวันที่ ๗ ฝูงชนเป็นอันมากได้ชุมนุมกัน

ที่ร่มเงาแห่งบรรพต บนภูมิภาคที่ราบเรียบภายนอกเมือง การฟ้อนรำของพวก

นักฟ้อน มีประการมากมายหลายอย่างเป็นไปอยู่. ชนทั้งหลายได้ผูกเตียงซ้อน

เตียง เพื่อดูการฟ้อนรำของพวกนักฟ้อนเหล่านั้น. พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์

อุปสมบทแต่ยังเด็ก ๆ ในเมื่อสิกขาบทยังมิได้ทรงบัญญัติ. ภิกษุเหล่านั้นชักชวน

กันว่า ผู้มีอายุ ! พวกเราจักไปดูฟ้อนรำกัน แล้วได้ไปในที่นั้น. ครั้งนั้น

เหล่าญาติของพวกเธอ มีจิตยินดีว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเราก็มาด้วย จึงให้

อาบน้ำ ลูบไล้ ให้ฉันแล้ว ได้ถวายแม้ของอื่น มีขนมและของควรเคี้ยวเป็น

ต้นติดมือไปด้วย. พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายหมายถึงญาติเหล่านั้น จึง

ได้กล่าวว่า พวกมนุษย์ได้เห็นภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้น เป็นต้น.

บทว่า วิกาเล คือ ในเมื่อกาลผ่านไปแล้ว. กาลแห่งโภชนะของ

ภิกษุทั้งหลายท่านประสงค์เอาว่า กาล ก็กาลแห่งโภชนะนั้นโดยกำหนดอย่าง

ต่ำกว่าเขาทั้งหมด เที่ยงวัน อธิบายว่า เมื่อกาล (เวลา) เที่ยงวันนั้นล่วง

เลยไปแล้ว. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ในบทภาชนะแห่งบทว่า วิกาเล นั้น

* ศัพท์ที่เป็นชื่อขาทนียะโภชนียะและเภสัชเป็นต้น เท่าที่ค้นหาได้แปลไว้ในสิกขาบทนี้ ยังไม่

แน่ใจของฝากที่ท่านผู้รู้พิจารณาแก้ไขต่อไป. - ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 531

พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า เมื่อกาลเที่ยงวันล่วงไปแล้ว จนถึงอรุณขึ้น ชื่อว่า

วิกาล แม้เวลาเที่ยงตรงก็ถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นกาล. จำเดิมแต่เวลาเที่ยง

ตรงไป ภิกษุไม่อาจเพื่อจะเคี้ยวหรือฉันได้ (แต่) ยังอาจเพื่อจะรีบดื่มได้,

ส่วนภิกษุผู้มีความรังเกียจไม่พึงทำ. และเพื่อรู้กำหนดกาลเวลา ควรปักเสา

เครื่องหมายกาลเวลาไว้. อนึ่ง พึงทำภัตกิจภายในกาล.

ในคำว่า อวเสส ขาทนีย นาม นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ใน

อาหารวัตถุมีขนมต้มเป็นต้น * ทำสำเร็จมาแต่บุพพัณชาติ และอปรัณชาติมีคำ

ที่ควรจะกล่าวก่อนอย่างนั้น:-

วัตถุแม้ใด มีชนิดเช่นใบและรากเหง้าเป็นต้น เป็นของมีดติอย่างอามิส,

นี้ คืออย่างไร ? คือ วัตถุแม้น เป็นต้นว่า รากควรเคี้ยว หัวควรเคี้ยว

เหง้าควรเคี้ยว ยอดควรเคี้ยว ลำต้นควรเคี้ยว เปลือกควรเคี้ยว ใบควรเคี้ยว

ดอกควรเคี้ยว ผลควรเคี้ยว เมล็ดควรเคี้ยว แป้งควรเคี้ยว ยางเหนียวควร

เคี้ยว ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าในขาทนียะ (ของควรเคี้ยว) ทั้งนั้น. ก็ใน

มูลขาทนียะเป็นต้นนั้น เพื่อกำหนดรู้ของควรเคี้ยวมีคติอย่างอามิส มีของควร

เคี้ยว ซึ่งจะชี้ให้เห็นพอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้:-

[อธิบายของควรเคี้ยวที่จัดเป็นกาลิกต่าง ๆ]

พึงทราบวินิจฉัยในมูลขาทนียะก่อน :- ใบและรากที่ควรเป็นสูปะ

(กับข้าว) ได้ มีอาทิอย่างนั้น คือ มูลกมูล วารกมูล ปุจจุมูลตัมพกมูล

* อัตถโยชนา ๒/๗๐ สกฺขลิโมทโกติ วฏฺฏโมทโก. ชาวอินเดียเรียกขนมชนิดนี้ว่า ลัฑฑู นัยว่า

ทำจากแป้งเป็นก้อนกลม ๆ ข้างในใส่ไส้แล้วทอดด้วยน้ำมันพืชลักษณะใกล้กับขนมต้มของไทย

จึงได้แปลไว้อย่างนั้น. - ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 532

ตัณฑุเลยยกมูล วัตถุเลยยกมูล วัชชกลิมูล ชัชฌริมูล มีคติอย่างอามิส. ก็

บรรดาขาทนียะ มีมูลกมูลเป็นต้นนี้ ชนทั้งหลาย ตัดหัวอ่อน ในวชัชกลิมูล

(หัวมันใหญ่) ทิ้ง, หัวอ่อนนั้นเป็นยาวชีวิก. รากเหง้าแม้อย่างอื่นเห็นปานนี้

ก็พึงทราบโดยนัยนี้แหละ. ท่านกล่าวไว้ว่า ส่วนหัวของมูลกะวารกะและชัชฌริ

(เผือกมัน มันอ้อนและมันเสา) แม้ยังอ่อน ก็มีคติอย่างอามิสเหมือนกัน.

ส่วนเภสัชเหล่าใดที่ตรัสไว้ในพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรา

อนุญาตมูลเภสัช คือ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู

ก็หรือมูลเภสัชแม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวใน

ของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค ดัง

นี้, เภสัชเหล่านั้น เป็นยาวชีวิก. เภสัชเป็นยาวชีวิกเหล่านั้น เมื่อคำนวณนับ

โดยนัย เป็นต้นว่า จูฬเบญจมูล มหาเบญจมูล (รากทั้งห้า รากทั้งห้าใหญ่)

ไม่มีที่สุดด้วยการนับ. ก็ภาวะ คือ ความไม่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะ และ

ประโยชน์แก่โภชนียะนั่นแล เป็นลักษณะแห่งมูลเภสัชที่เป็นยาวชีวิกเหล่านั้น.

เพราะฉะนั้น รากเหง้าชนิดใดชนิดหนึ่ง สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะ.

และประโยชน์แก่โภชนียะของพวกมนุษย์ ด้วยอำนาจแห่งอาหารตามปกติใน

ชนบทนั้นๆ, รากเหง้านั้น พึงทราบว่า เป็นยาวกาลิก, รากเหง้านอกนี้ พึง

ทราบว่าเป็นยาวชีวิก, ถึงแม้พวกเราจะกล่าวให้ละเอียดมากไป ก็จำต้องยืนยัน

อยู่ในลักษณะนี้แล. แต่เมื่อจะกล่าวนามสัญญา (เครื่องหมายชื่อ) ทั้งหลายไว้

ก็จะเป็นความฟั่นเฟื้อหนักขึ้น แก่เหล่าชนผู้ไม่รู้ชื่อนั้นๆ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า

๑. หัวเผือกมัน หัวลูกเดือย หัวมันอ้อน หัวมันแดง หัวเถาข้าวสาร หัวผักโหมหัด หัวมันใหญ่

หัวผักไห่ หรือผักปลัง วชิรพุทธิฏีกาฉบับพม่า ขาทกมูลนฺติ ยูปสมูล. จจฺจุมฺล = เนฬิยมูล.

ตมฺพก = วจ. ตณฺฑฺเลยฺยก = จูฬกุหุ. วตฺถุ เลยฺยก = มหากุหุ วชกลิ = นิโกฏฺ . ชชฺฌริ = หิรโต.-ผู้ชำระ

๒. วิ. มหา. ๕/๔๑.

๓. โยชนาปาฐะ ๒/๗๒ เป็น ตสฺมา แปลตามนั้นเห็นว่าถูกกว่า - ผู้ชำระ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 533

จึงไม่ทำความเอื้อเฟื้อในนามสัญญา แสดงไว้แต่ลักษณะเท่านั้น. อนึ่ง พึง

ทราบวินิจฉัย ด้วยอำนาจแห่งลักษณะที่ได้แสดงไว้แม้ในหัวมันเป็นต้นนั่นแล

เหมือนในรากเหง้า ฉะนั้น. อนึ่ง แม้ลำต้น เปลือก ดอก และผลแห่งเหง้า

๘ ชนิด มีขมิ้นเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระบาลีทั้งหมด ท่าน

ก็กล่าวว่า เป็นยาวชีวิก.

ในหัวควรเคี้ยว มีวินิจฉัยดังนี้:- หัวมัน (หัวใต้ดิน) มี ๒ ชนิด

คือ ชนิดยาว ๑ ชนิดกลม ๑ หัวบัว และหัวทองกวาวเป็นต้น มีทั้งชนิด

ยาวและชนิดสั้น, หัวบัวและหัวกระจับเป็นต้น ที่อาจารย์บางพวกเรียกว่า คัณฐี

ก็มี เป็นหัวชนิดกลม. บรรดาหัวเหล่านั้น ที่แก่และอ่อนของหัว สะเก็ด

และจำพวกรากฝอยแห่งหัวทุกอย่าง จัดเป็นยาวชีวิก.

ส่วนจำพวกหัวที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะและประโยชน์แก่ โภชนียะ

ของพวกมนุษย์ด้วยอำนาจอาหารตามปรกติในชนบทนั้น ๆ มีอาทิอย่างนั้น คือ

หน่อต้นขานางที่ยังอ่อน เคี้ยวง่าย หัวอ่อนต้นทองกวาว หัวต้นมะกอก หัว

การะเกด หัวเถาย่านทราย หัวบัวหลวง และบัวขาวที่เรียกกันว่าเหง้าบัว หัว

เถาวัลย์มีเถาพวงและเถาหูกวางเป็นต้น หัวเครือเขา* หัวต้นมะรุม หัวตาล

หัวบัวเขียวบัวแดง โกมุทและจงกลนี หยวกกล้วย หน่อไม้ไผ่ หัวกระจับที่

ยังอ่อน เคี้ยวง่าย จัดเป็นยาวกาลิก. หัวเถากลอย (เถาน้ำนม เถาข้าวสาร

ก็ว่า) ที่ยังไม่ฟอก เป็นยาวชีวิก, ที่ฟอกแล้วเป็นยาวกาลิก.

ส่วนหัวของกระทือกระเม็ง (ไพร) กระชาย (ขิง) และกระเทียม

เป็นต้น เป็นยาวชีวิก. หัวเหล่านั้นท่านสงเคราะห์เข้ากับมูลเภสัชนั่นแลใน

พระบาลี อย่างนี้ว่า ก็หรือว่า มูลเภสัชเหล่าใด แม้อย่างอื่นบรรดามี.

* ชาวอินเดียเรียกว่า อาลู เป็นมันชนิดหนึ่ง สมัยนี้แปลกันว่า มันฝรั่ง-ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 534

ในมูลฬาลขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- เหง้าบัวหลวงเป็นเช่นเดียวกัน

กับเหง้าบัวขาวนั่นแหละ. เหง้าที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะ และประโยชน์แก่

โภชนียะของพวกมนุษย์ ด้วยอำนาจอาหารตามปรกติในชนบทนั้น ๆ มีอาทิ

อย่างนั้น คือ เหง้าตะไคร้น้ำ เหง้าเถาคล้า เป็นยาวกาลิก.

ส่วนเหง้าของขมิ้น ขิง ปอ เถา ๔ เหลี่ยม การะเกด ตาล เต่าร้าง

ต้นตาว * มะพร้าว ต้นหมากเป็นต้น จัดเป็นยาวชีวิก. เหง้าขมิ้นเป็นต้น

แม้ทั้งหมดนั้น ท่านสงเคราะห์เข้ากับมูลเภสัชเหมือนกัน ในพระบาลีอย่างนี้ว่า

ก็หรือว่า มูลเภสัชแม้ชนิดอื่นในบรรดามี.

ในมัตถกขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- ยอดหรือหน่อแห่งต้นไม้และ

เถาวัลย์เป็นต้น ที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะ และประโยชน์แก่โภชนียะของ

พวกมนุษย์ด้วยอำนาจอาหารตามปรกติในชนบทนั้น ๆ มีอาทิอย่างนี้ คือ ยอด

ที่เรียกกันว่าหน่อของตาล เต่าร้าง ต้นตาว การะเกด มะพร้าว ต้นหมาก อินท-

ผลัม (เป้งก็ว่า) หวาย ตะไคร้น้า และกล้วย หน่อไม้ไผ่ หน่ออ้อ หน่ออ้อย

หน่อเผือกมัน หน่อเมล็ดพันธุ์ผักกาด หน่อสามสิบ และหน่อแห่งธัญชาติ ๗

ชนิด จัดเป็นยาวกาลิก. โคนรากอ่อน (ยอดอ่อน) แห่งหน่อขมิ้น ขิง ว่านน้ำ

ปอ กระเทียมและแห่งหน่อตาล เต่าร้าง ต้นตาว มะพร้าว ที่เขาตัดให้ขาด

ตกไปเป็นยาวชีวิก.

[ว่าด้วยลำต้นเปลือกและใบที่ควรคี้ยว]

ในขันธขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ลำต้นมีอาทิอย่างนี้ คือลำต้น ไม้

ขานาง ลำอ้อย สายบัวเขียว บัวแดง โกมุท และจงกลนีที่อยู่ภายในปฐพี

ที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะและประโยชน์แก่โภชนียะ ของพวกมนุษย์ด้วย

* บางท่านก็ว่า ต้นลาน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 535

อำนาจแห่งอาหารตามปกติในชนบทนั้น ๆ จัดเป็นยาวกาลิก. ก้านใบแห่งบัว

ชนิดอุบลชาติก็ดี ก้านทั้งหมดแห่งบัวชนิด ปทุมชาติก็ดี และก้านบัวที่เหลือ

ทุก ๆ อย่าง มีก้านบัวหลวงเป็นต้น จัดเป็น ยาวชีวิก.

ในตจขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- เปลือกอ้อยอย่างเดียวเท่านั้นท่าน

จัดเป็นยาวกาลิก. เปลือกอ้อยแม้นั้น ยิ่งเป็นของมีรส (หวานอยู่). เปลือก

ที่เหลือทุกอย่างเป็นยาวชีวก. ก็ยอด ลำต้น และเปลือกทั้ง ๓ นั้น พึงทราบ

ว่า สงเคราะห์เข้ากับกสาวเภสัช ในพระบาลี. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตกสาวเภสัช (น้ำฝาดที่เป็นยา)

คือ น้ำฝาดสะเดา น้ำฝาดมูกมัน (น้ำฝาดกระดอมหรือมูลกา) น้ำฝาดบอ

ระเพ็ดหรือพญามือเหล็ก น้ำฝาดกถินพิมาน, ก็หรือกสาวเภสัชแม้ชนิดอื่นใด

บรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จ

ประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค.

การสงเคราะห์ยอดลำต้นและเปลือกแม้เหล่านั้นเข้าในพระพุทธานุญาตนี้

ย่อมสำเร็จ (ย่อมใช้ได้). และจำพวกน้ำฝาดที่กล่าวแล้วบัณฑิตพึงทราบว่า

เป็นของสมควรโดยประการทุกอย่าง.

ในปัตตขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- ใบทั้งหลายแห่งรุกชาติเหล่านี้

คือ เผือกมัน ลูกเดือย มันอ้อน และมันแดง มะพลับ บุนนาค ผักโหมหัด

มันใหญ่ ผักไห่ หรือผักปลัง มะคำไก่ หรือ มะกอก กะเพรา ถั่วเขียวจีน

ถั่วเหลือง ถั่วราชมาษ ยอป่าที่เหลือ เว้นยอใหญ่ (ยอบ้านเสีย) คนทิสอ

หรือพังคี เบญจมาศ กุ่มขาว มะพร้าว ชาเกลือเกิดบนดิน และใบไม้เหล่า

๑. ในอรรถกถาตกปโฏลกสาว ในพระบาลีมีครบ-ผู้ชำระ. ๒. วิ. มหา. ๕/๔๒.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 536

อื่นเห็นปานนี้ ที่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว และสำเร็จประโยชน์แก่ของ

ควรบริโภคของพวกมนุษย์ด้วยอำนาจอาหารตามปกติในชนบทนั้น ๆ จัดเป็น

ยาวกาลิกโดยส่วนเดียว.

แต่ชาเกลือมีใบขนาดเท่าหลังเล็บเขื่อง ๆ แม้อื่นใด เลื้อยขึ้นบนต้นไม้

หรือพุ่มไม้, พวกอาจารย์ชาวเกาะ (ชาวชมพูทวีป หรือชาวลังกาทวีป) กล่าว

ใบชาเกลือนั้นว่า เป็นยาวชีวก และใบพรหมีว่าเป็นยาวชีวิก. ใบมะม่วงอ่อน

เป็นยาวกาลิก. ส่วนใบอโศกอ่อนเป็นยาวชีวิก.

ก็หรือใบอื่นใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ! เราอนุญาตปัณณเภสัช (ใบไม้ที่เป็นยา) คือ ใบสะเดา ใบมูกมัน

ใบกระดอม หรือกะเพรา หรือ แมงรักใบฝ้าย, ก็หรือปัณณเภสัช แม้ชนิด

อื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว ในของควรเคี้ยว ที่ไม่

สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภค ในของควรบริโภค ดังนี้, ใบเหล่านั้น

เป็นยาวชีวิก และไม่ใช่แต่ใบอย่างเดียว แม้ดอกและผลของสะเดาเป็นต้นเหล่า

นั้นก็เป็นยาวชีวิก (เหมือนกัน) จำพวกใบที่เป็นยาวชีวิกจะไม่มีที่สุดด้วย

อำนาจการนับ อย่างนี้ว่า ใบกระดอม หรือมูลกา ใบสะเดา หรือบอระเพ็ด

ใบแมงรัก หรืออ้อยช้าง ใบตะไคร้ หรือผักคราด ใบพลู ใบบัว เป็นต้น.

[ว่าด้วยดอก ผล เมล็ด แป้ง และยางที่ควรเคี้ยว]

ในปุปผขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ดอกที่สำเร็จประโยชน์แก่ของ

ควรเคี้ยวและที่สำเร็จประโยชน์แก่ของที่ควรบริโภคของหมู่มนุษย์ ด้วยอำนาจ

แห่งอาหารตามปรกติในชนบทนั้น ๆ มีอาทิอย่างนี้ คือ ดอกเผือกมัน ดอก

ลูกเดือย ดอกมันอ้อน ดอกมันแดง ดอกมะพลับ (ดอกมันใหญ่) ดอกผัก

๑. วชิรพุทฺธิ. แก้เป็น เทเมเตเยปณสา. ๒. วิ. มหา. ๕/๔๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 537

โหมหัด ดอกผักไห่ ดอกยอป่า ดอกยอใหญ่ (ยอบ้าน) ดอกกระจับ ดอก

อ่อนของมะพร้าว ตาล และการะเกด (ลำเจียก) ดอกกุ่มขาว ดอกมะรุม

ดอกบัวชนิดอุบล และปทุม ดอกกรรณิการ์ ดอกไม้มีกลิ่น (ดอกคนทิสอ)

ดอกชบา (ดอกทองหลาง) ดอกเทียนขาว เป็นยาวกาลิก.

ส่วนดอกของพวกรุกขชาติ เช่น อโศก พิกุล กระเบา บุนนาค

จำปา ชาตบุษย์ ชบา กรรณิการ์ คล้า (ตาเลีย) มะลิวัน มะลิซ้อน เป็น

ต้น เป็นยาวชีวิก. ดอกไม้ที่เป็นยาวชีวิกนั้น ไม่มีสิ้นสุดด้วยการนับ. แต่ผู้

ศึกษาพึงทราบว่า สงเคราะห์ดอกไม้ที่เป็นยาวชีวิกนั้นเข้ากับกสาวเภสัชในพระ-

บาลีนั่นแล.

ในผลขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ผลไม้ทั้งหลาย มีขนุน ขนุนสำปะลอ

ตาล มะพร้าว มะม่วง ชมพู่ มะกอก มะขาม มะงั่ว มะขวิด น้ำเต้า

ฟักเขียว ผลแตงไทย มะพลับ แตงโม มะเขือ (มะแว้ง) กล้วยมีเมล็ด

กล้วยไม่มีเมล็ด และมะซางเป็นต้น (และ) จำพวกผลไม้ที่สำเร็จประโยชน์

แก่ของควรเคี้ยว และที่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภค ของหมู่มนุษย์ด้วย

อาหารตามปกติในชนบทนั้น ๆ ในโลก ทุก ๆ อย่างเป็นยาวกาลิก. และด้วย

อำนาจการนับชื่อ ใคร ๆ ก็ไม่อาจจะแสดงผลไม้ที่เป็นยาวกาลิกเหล่านั้นให้สิ้น

สุดได้.

ก็แลผลเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ! เราอนุญาตผลเภสัช (ผลไม้ที่เป็นยา) คือ ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก

สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ, ก็หรือผลเภสัชชนิดอื่นใด

บรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว ในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จ

ประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค* ดังนี้, ผลเหล่านั้นเป็นยาวชีวิก.

* วิ. มหา. ๕/๔๒-๓.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 538

แม้ผลไม้ที่เป็นยาวชีวิกเหล่านั้น ใครๆ ก็ไม่อาจจะแสดงให้สิ้นสุดลงด้วยอำนาจ

แห่งชื่ออย่างนี้ คือ พวกผลแห่งหมากไฟ (ลูกเข็ม) ลูกไทร หรือตำลึง การะเกด

(ลำเจียก) ไข่เน่า (มะตูม) เป็นต้นที่ยังไม่สุก ลูกจันทน์เทศ ลูกข่า (พริก)

กระวานใหญ่ กระวาน (เล็ก) เป็นต้น.

ในอัฏฐีขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- เมล็ดทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ คือ

เมล็ดขนุนสำปะลอ เมล็ดขนุน เมล็ดมะกอก เมล็ดหูกวาง เมล็ดของผลที่ยัง

อ่อนแห่งจำพวกอินทผลัม (เป้งก็ว่า) การะเกด (ลำเจียก) มะพลับ เมล็ด-

มะขาม เมล็ดตำลึง เมล็ดสะคร้อ เมล็ดบัว (ลูกบัว) ชนิดอุบล และปทุม

ที่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว และที่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภค

ด้วยอำนาจแห่งอาหารตามปกติของหมู่มนุษย์ในชนบทนั้น ๆ จัด เป็นยาวกาลิก.

เมล็ดมีอาทิอย่างนั้น คือ เมล็ดมะซาง เมล็ดบุนนาค เมล็ดจำพวกสมอไทยเป็น

ต้น เมล็ดพันธุ์ผักกาด เมล็ดผักชีล้อม จัดเป็นยาวชีวิก. เมล็ดที่เป็นยาวชีวิก

เหล่านั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า สงเคราะห์เข้ากับผลเภสัชในพระบาลีนั่นแล.

ในปิฏฐขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- แป้งทั้งหลายมีอาทิอย่างนั้นคือ

แป้งแห่งธัญชาติ ๗ ชนิด ธัญชาติอนุโลมและอปรัณชาติ แป้งขนุน แป้ง-

ขนุนสำปะลอ แป้งมะกอก แป้งหูกวาง แป้งตาล ที่ฟอกแล้ว แป้งหัวกลอย

(เถาน้ำนม เถาข้าวสารก็ว่า) ที่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวและที่

สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภค แห่งหมู่มนุษย์ด้วยอำนาจแห่งอาหารตาม

ปรกติในชนบทนั้น จัดเป็นยาวกาลิก. แป้งตาลที่ยังไม่ได้ฟอก แป้งหัวกลอย

(เถาน้ำนม เถาข้าวสารก็ว่า) แป้งต้นป้าแป้น* เป็นต้น (ที่ยังไม่ ได้ฟอก)

จัดเป็นยาวชีวิก. แป้งที่เป็นยาวชีวิกเหล่านั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า สงเคราะห์

เข้ากับพวกน้ำฝาดและพวกรากผล.

* ต้นสาคู กระมัง ?

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 539

ในนิยยาสขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- ยางอ้อย (น้ำอ้อยตังเม) อย่าง

เดียว เป็นสัตตาหกาลิก. ยางที่เหลือซึ่งตรัสไว้ในพระบาลีอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ! เราอนุญาตชตุเภสัช (ยางไม้ที่เป็นยา) คือ ยางอันไหลออกจากต้น

หิงคุ ยางอันเขาเคี่ยวจากก้านและใบแห่งต้นหิงคุ ยางอันเขาเคี่ยวจากใบแห่งต้น

หิงคุ หรือเจือของอื่นด้วย ยางอันไหลออกจากยอดไม้ตักกะ ยางอันไหลออก

จากใบแห่งต้นตักกะ ยางอันเขาเดียวจากใบ หรือไหลออกจากก้านแห่งต้น

ตักกะ กำยาน ก็หรือจตุเภสัชชนิดอื่นใดบรรดามี ดังนี้ จัดเป็นยาวชีวิก.

ใคร ๆ ก็ไม่อาจจะแสดงชตุเภสัชที่ท่านสงเคราะห์ด้วยเยวาปนกนัย ในพระบาลี

นั้น ให้สิ้นสุดลงด้วยอำนาจแห่งชื่ออย่างนั้น คือ ยางกรรณิการ์ ยางมะม่วงเป็น

ต้น.

บรรดาขาทนียะมีมูลขาทนียะเป็นต้น เหล่านั้น ดังกล่าวมานี้ ยาวกาลิก

ชนิดใดชนิดหนึ่งแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าในอรรถนี้ว่า ที่เหลือ ชื่อว่า

ขาทนียะ (ของควรเคี้ยว). ส่วนคำที่ควรกล่าวในคำว่า โภชนะ ๕ อย่าง ชื่อ

ว่า โภชนียะ (ของควรบริโภค) เป็นต้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วแล.

คำว่า ขาทิสฺสามิ ภุญฺชิสฺสามีติ ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ

ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ภิกษุใดรับประเคนขาทนียะและโภชนียะนั่นในเวลา

วิกาล, ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏในเพราะรับก่อน. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้

ตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทาง

กายกับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม

มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

วิกาลโภชนสิกขาบทที่ ๗ จบ

๑. น้ำอ้อยตังเม คือ น้ำอ้อย หรือน้ำตาลเคี่ยวเป็นตังเม.-ผู้ชำระ. ๒. วิ. บาลีเป็นตกะ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 540

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระเวฬัฏฐสีสเถระ

[๕๑๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน

พระเวพัฏฐสีสะพระอุปัชฌายะของท่านพระอานนท์อยู่ในอาวาสป่า ท่านเที่ยว

บิณฑบาต ได้บิณฑบาตเป็นอันมาก แล้วเลือกนำแต่ข้าวสุกล้วน ๆ ไปสู่อาราม

ตากให้แห้งแล้วเก็บไว้ เมื่อใดต้องการอาหาร ก็แช่น้ำฉันเมื่อนั้น ต่อนาน ๆ

จึงเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า อาวุโส ทำไมนาน ๆ ท่าน

จึงเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต จึงท่านได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย

ถามว่า อาวุโส ก็ท่านฉันอาหารที่ทำการสั่งสมหรือ.

ท่านรับว่า อย่างนั้น อาวุโสทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า

ไฉนท่านพระเวฬัฏฐสีสะจึงได้ฉันอาหารที่ทำการสั่งสมเล่า. . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระเวฬัฏฐสีสะว่า ดูก่อนเวฬัฏฐ-

สีสะ ข่าวว่า เธอฉันอาหารที่ทำการสั่งสม จริงหรือ.

ท่านพระเวฬัฏฐสีสะทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนเวฬัฏฐสีสะ ไฉนเธอ

จึงได้ฉันอาหารที่ทำการสั่งสมเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 541

ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่

เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๘๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใดเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี

ซึ่งของฉันก็ดี ที่ทำการสั่งสม เป็นปาจิตตีย์. . .

เรื่องพระเวฬัฏฐสีสเถระ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๑๓] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ทำการสั่งสม คือรับประเคนในวันนี้ ขบฉันในวันอื่น.

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือเว้นโภชนะ ๕ ของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก

ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.

ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง

ปลา เนื้อ.

ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ขณะกลืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 542

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๑๔] ของทำการสั่ง ภิกษุสำคัญว่าทำการสั่งสม เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี

ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ของทำการสั่งสม ภิกษุสงสัย เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี

ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ของทำการสั่งสม ภิกษุสำคัญว่ามิได้ทำการสั่งสม เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี

ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบติปาจิตตีย์

ทุกกฏ

ภิกษุรับประเคนของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อ

ประสงค์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ.

ขณะกลืน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน.

ของมิได้ทำการสั่งสม ภิกษุสำคัญว่าทำการสั่งสม . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ของมิได้ทำการสั่งสม ภิกษุสงสัย. ..ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ของมิได้ทำการสั่งสม ภิกษุสำคัญว่ามิได้ทำการสั่งสม .. .ไม่ต้องอาบัติ .

อนาปัตติวาร

[๕๑๕] ภิกษุเก็บของเป็นยาวกาลิกไว้ฉันชั่วกาล ๑ ภิกษุเก็บของ

เป็นยามกาลิกไว้ฉันชั่วยาม ๑ ภิกษุเก็บของเป็นสัตตาหกาลิกไว้ฉันชั่วสัปดาห์ ๑

ภิกษุฉันของเป็นยาวชีวิกในเมื่อมีเหตุสมควร ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ-

กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 543

สันนิธิการสิกขาบทที่ ๘

ในสิกขาบทที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[เรื่องพระเวฬัฏฐสีสะทำการสั่งสม]

พระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งรวมอยู่ภายในแห่งภิกษุชฎิลพันรูป ชื่อว่า

เวฬัฏฐสีสะ.

สองบทว่า อรญฺเ วิหรติ ได้แก่ อยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง อันเป็น

เรือนเป็นที่บำเพ็ญเพียรใกล้พระเชตวันวิหาร.

บทว่า สุกฺขกูร ได้แก่ ข้าวสุกไม่มีแกงและกับ. ได้ยินว่า พระเถระ

นั้นฉันภายในบ้านแล้ว ภายหลังเที่ยวบิณฑบาต นำเอาข้าวสุกเช่นนั้นมา. ก็แล

พระเถระนำเอาข้าวสุกนั้นมาเพราะความเป็นผู้มักน้อย ไม่ใช่เพราะความเป็นผู้

ติดในปัจจัย. ได้ยินว่า พระเถระยับยั้งอยู่ด้วยนิโรธสมาบัติตลอด ๗ วัน

ออกจากสมาบัติแล้ว เอาบิณฑบาตนั้นชุบน้ำฉัน, ย่อมนั่งเข้าสมาบัติต่อจาก

๗ วันนั้นไปอีก ๗ วัน, ท่านยับยั้งอยู่ตลอด ๒ สัปดาห์บ้าง ๓ สัปดาห์บ้าง

๔ สัปดาห์บ้าง ด้วยประการอย่างนี้ จึงเข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. เพราะเหตุนั้น

พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า นาน ๆ ท่านจึงจะเข้าไปยังบ้าน

เพื่อบิณฑบาต.

คำว่า การ การณ์ กิริยา (ทั้ง ๓ นี้) โดยอรรถเป็นอันเดียวกัน.

การทำความสะสมมีอยู่แก่ขาทนียะและโภชนียะนั้น; ฉะนั้น จึงชื่อว่าสันนิธิการ.

สันนิธิการนั่นแหละ ชื่อว่า สันนิธิการก. ความว่า สันนิธิกิริยา (ความทำการ

สะสม). คำว่า สันนิธิการกนั้น เป็นชื่อ (แห่งขาทนียโภชนียะ) ที่ภิกษุ

รับประเคนไว้ให้ค้างคืน ๑. ด้วยเหตุนั้นแล พระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ในบท

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 544

ภาชนะแห่งบทว่า สนฺนิธิการก นั้นว่า ที่ภิกษุรับประเคนในวันนี้ ขบฉัน

ในวันอื่น ชื่อว่า สันนิธิการก.

คำว่า ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เมื่อภิกษุ

รับยาวกาลิก หรือยามกาลิกอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่กระทำสันนิธิอย่างนี้ ด้วย

ความประสงค์จะกลืนกิน ต้องทุกกฏ ในเพราะรับประเคนก่อน. แต่เมื่อกลืนกิน

เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน. ถ้าแม้นว่า บาตรล้างไม่สะอาด ซึ่งเมื่อลูบด้วย

นิ้วมือ รอยปรากฏ, เมือกซึมเข้าไปในระหว่างหมุดแห่งบาตรที่มีหมุด, เมือกนั้น

เมื่ออังที่ความร้อนให้ร้อนย่อมซึมออก หรือว่า รับข้าวยาคูร้อน จะปรากฏ

เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ฉัน แม้ในบาตรเช่นนั้นในวันรุ่งขึ้น. เพราะฉะนั้น ภิกษุ

พึงล้างบาตรแล้ว เทน้ำใสลงไปในบาตรนั้น หรือลูบด้วยนิ้วมือ จึงจะรู้ได้ว่า

ไม่มีเมือก. ถ้าแม้นว่ามีเมือกบนน้ำก็ดี รอยนิ้วมือปรากฏในบาตรก็ดี, บาตร

ย่อมเป็นอันล้างไม่สะอาด. แต่ในบาตรมีสีน้ำมัน รอยนิ้วมือยู่อมปรากฏ,

รอยนิ้วมือนั้นเป็นอัพโพหาริก. ภิกษุทั้งหลายไม่เสียดาย สละโภชนะใดให้แก่

สามเณร ถ้าสามเณรเก็บโภชนะนั้นไว้ถวายแก่ภิกษุ ควรทุกอย่าง. แต่ที่ตน

เองรับประเคนแล้วไม่สละเสียก่อน ย่อมไม่ควรในวันรุ่งขึ้น. จริงอยู่ เมื่อภิกษุ

กลืนกินข้าวสุกแม้เมล็ดเดียวจากโภชนะที่ไม่สละนั้น เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน.

บรรดาเนื้อที่เป็นอกัปปิยะ ในเนื้อมนุษย์เป็นปาจิตตีย์กับถุลลัจจัย.

ในเนื้อที่เหลือเป็นปาจิตตีย์กับทุกกฏ. เมื่อกลืนกินยามกาลิกในเมื่อมีเหตุเป็น

ปาจิตตีย์. เมื่อกลืนกินเพื่อประโยชน์เป็นอาหาร เป็นปาจิตตีย์กับทุกกฏ. ถ้า

ภิกษุเป็นผู้ห้ามภัต กลืนกินโภชนะที่ไม่ได้ทำให้เป็นเดน, ในอามิสตามปรกติ

เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว. ในเนื้อมนุษย์เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว กับถุลลัจจัย. ใน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 545

อกัปปิยมังสะที่เหลือ เป็นปาจิตตีย์กับทุกกฏ. เมื่อกลืนกินยามกาลิก ทางปาก

ที่มีอามิส เมื่อมีเหตุ เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว. ทางปากไม่มีอามิสเป็นปาจิตตีย์

ตัวเดียวเท่านั้น. เมื่อกลืนกินเพื่อประโยชน์เป็นอาหาร ทุกกฏเพิ่มขึ้นแม้ใน

วิกัปทั้ง ๒. ถ้าภิกษุกลืนกินในเวลาวิกาล, ในโภชนะตามปรกติ เป็นปาจิตตีย์

๒ ตัว เพราะการสันนิธิเป็นปัจจัย ๑ เพราะฉันในวิกาลเป็นปัจจัย ๑. ใน

อกัปปิยมังสะ ถุลลัจจัยและทุกกฏเพิ่มขึ้น. ในพวกยามกาลิกไม่เป็นอาบัติ

เพราะฉันในวิกาลเป็นปัจจัย. แต่ไม่เป็นอาบัติในวิกัปทุกอย่าง ในเวลาวิกาล

เพราะความไม่เป็นเดนในยามกาลิกเป็นปัจจัย.

ข้อว่า สตฺตาหกาลิก ยาวชีวิก อาหารตฺถาย มีความว่า เมื่อ

ภิกษุรับประเคนเพื่อประโยชน์เป็นอาหาร เป็นทุกกฏ เพราะการรับประเคน

เป็นปัจจัยก่อน. แต่เมื่อกลืนกิน ถ้าเป็นของไม่มีอามิสเป็นทุกกฏ ทุก ๆ

คำกลืน. ถ้าสัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ระคนด้วยอามิสเป็นของที่ภิกษุรับประเคน

เก็บไว้ เป็นปาจิตตีย์ตามวัตถุแท้.

ในคำว่า อนาปตฺติ ยาวกาลิก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า ขาทนียะ

โภชนียะ ทำพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงขยายไว้แล้วในวิกาลโภชนสิกขาบท

เรียกว่า ยาวกาลิก เพราะเป็นของอันภิกษุพึงฉันได้ชั่วเวลา คือ เที่ยงวัน,

ปานะ ๘ อย่าง กับพวกอนุโลมปานะ เรียกว่า ยามกาลิก ด้วยอรรถว่า

มีเวลาเป็นครู่ยาม เพราะเป็นของที่ภิกษุพึงฉันได้ตลอดชั่วยาม คือ ปัจฉิมยาม

แห่งราตรี, เภสัช ๕ อย่าง มีสัปปิเป็นต้น เรียกว่า สัตตาหกาลิก ด้วย

อรรถว่า มีเวลา ๗ วัน เพราะเป็นของที่ภิกษุพึงเก็บไว้ได้ถึง ๗ วัน, กาลิก

ที่เหลือแม้ทั้งหมด เว้นน้ำเสีย เรียกว่า ยาวชีวิก เพราะเป็นของที่ภิกษุพึง

รักษาไว้ฉันได้ตลอดชีวิตเมื่อมีเหตุ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 546

บรรดากาลิกเหล่านั้น ภิกษุเก็บยาวกาลิกที่รับประเคนในเวลารุ่งอรุณ

ไว้ ฉันได้ทั้งร้อยครั้ง ตราบเท่าที่กาลเวลายังไม่ล่วงเลยไป, ฉันยามกาลิกได้

ตลอดวัน ๑ กับคืน ๑, ฉันสัตตาหกาลิกได้ ๗ คืน ฉันยาวชีวิกนอกนี้ได้แม้

ตลอดชีวิตเมื่อมีเหตุ ไม่เป็นอาบัติ. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

แต่ในฐานะนี้ ในอรรถกถาทั้งหลาย ท่านกล่าวปานกถา กัปปิยานุ-

โลนกถา กถามีอาทิว่า ยามกาลิก กับยาวกาลิก ระคนกัน ควรไหมหนอ ?

และกัปปิยภูมิกถาไว้พิสดารแล้ว. ข้าพเจ้าจักกล่าวกถานั้น ๆ ในอาคตสถาน

นั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทาง

กายกับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม

มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

สันนิธิการกสิกขาบทที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 547

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๕๑๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระฉัพพัคคีย์ขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน ประชาชนพากัน

เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ขอ

โภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน โภชนะที่ดีใครจะไม่พอใจ ของ

ที่อร่อยใครจะไม่ชอบ ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา

อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระ-

ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันเล่า... แล้ว

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่าพวกเธอขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันเล่า การกระทำ

ของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 548

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๘๘. ๙. ก. อนึ่ง ภิกษุใดขอโภชนะอันประณีตเห็นปานนี้

คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด

นมส้ม เพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุอาพาธ

[๕๑๗] ก็โดยสมัยนั้นแล มีภิกษุทั้งหลายอาพาธอยู่ พวกภิกษุผู้

พยาบาล ได้ถามพวกภิกษุผู้อาพาธว่า อาวุโสทั้งหลาย ยังพอทนได้อยู่หรือ

ยังพอครองอยู่หรือ

ภิกษุอาพาธเหล่านั้น ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อก่อนพวกกระผมขอ

โภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน เพราะเหตุนั้นพวกกระผมจึงมี

ความผาสุก แต่เดี๋ยวนี้พวกกระผมรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม

แล้ว จึงไม่ขอ เพราะเหตุนั้นพวกกระผมจึงไม่มีความผาสุก

ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธขอโภชนะอันประณีต

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์

แก่ตนมาฉันได้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 549

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๘๘. ๙. ข. อนึ่ง ภิกษุใด มิใช่ผู้อาพาธ ขอโภชนะอัน

ประณีตเห็นปานนี้คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุอาพาธ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๑๘] คำว่า โภชนะอันประณีต ความว่า ที่ชื่อว่า เนยใส

ได้แก่ เนยใสที่ทำจาก น้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ หรือจากน้ำนม

สัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ

ที่ชื่อว่า เนยข้น ได้แก่เนยข้นที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้น

ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่น้ำมันอันสกัดออกจากเมล็ดงา จากเมล็ดพันธุ์

ผักกาด จากเมล็ดมะซาง จากเมล็ดละหุ่ง หรือจากเปลวสัตว์

ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่รสหวานที่แมลงผึ้งทำ

ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่รสหวานที่เกิดจากอ้อย

ที่ชื่อว่า ปลา ท่านว่าได้แก่สัตว์ที่เที่ยวไปในน้ำ

ที่ชื่อว่า เนื้อ ได้แก่เนื้อของสัตว์บกที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ

ที่ชื่อว่า นมสด ได้แก่น้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ หรือ

น้ำนมของสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ

ที่ชื่อว่า นมส้ม ได้แก่นมส้มที่ทำจากน้ำนมของสัตว์เหล่านั้นแหละ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 550

[๕๑๙] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า โภชนะอันประณีตเห็นปานนั้น ได้แก่ โภชนะอันประณีต

มีสภาพดังกล่าวแล้ว

ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือผู้ที่เว้น โภชนะอันประณีต ก็ยังผาสุก

ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือผู้ที่เว้น โภชนะอันประณีต ไม่ผาสุก

ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธขอเพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นทุกกฏในประโยคที่ขอ

ได้ของนั้นมา รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ

ขณะกลืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๒๐] มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ ขอโภชนะอัน-

ประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย ขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์

แก่ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าอาพาธ ขอโภชนะอันประณีต เพื่อ

ประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกะทุกกฏ

ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ. . . ต้องอาบัติทุกกฏ

ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย . . . ต้องอาบัติ ทุกกฏ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 551

ไม่ต้องอาบัติ

ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าผู้อาพาธ. . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๒๑] ภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุเป็นผู้อาพาธ ขอมา หายอาพาธแล้ว

ฉัน ๑ ภิกษุฉันโภชนะที่เหลือของภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุขอต่อญาติ ๑ ภิกษุขอ

ต่อคนปวารณา ๑ ภิกษุขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์

ของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

ปณีตโภชนสิกขาบทที่ ๙

ในสิกขาบทที่ ๙ มีวินิจฉัยดังนี้.

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องโภชนะอันประณีต]

บทว่า ปณีตโภชนานิ ได้แก่ โภชนะอย่างดียิ่ง.

คำว่า กสฺส สมฺปนฺน น มนาป ได้แก่ โภชนะที่ประกอบ

ด้วยคุณสมบัติ ใครจะไม่ชอบใจ.

บทว่า สาทู แปลว่า มีรสอร่อย.

ในคำว่า โย ปน ภิกฺขุ เอวรูปานิ ปณีตโภชนานิ อคิลาโน

อตฺตโน อตฺถาย วิญฺาเปตฺวา ภุญฺเชยฺย นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุ

ขอโภชนะที่ดีล้วน ๆ มีสัปปิเป็นต้นมาฉัน ไม่ต้องปาจิตตีย์. ต้องทุกกฏเพราะ

ขอแกงและข้าวสุกในพวกเสขิยวัตร. แต่ภิกษุผู้ขอโภชนะดี ทีระคนกับข้าวสุก

มาฉัน บัณฑิตพึงทราบว่า ต้องปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 552

ทราบว่า ในคำนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้:- ก็เพราะเหตุนั้นแหละ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ปณีตานิ ตรัสในสูตรว่า ปณีตโภชนานิ.

จริงอยู่ เมื่อพระองค์ตรัสว่า ปณีตานิ ย่อมรวมสัปปิเป็นต้นเข้าด้วย.

แต่เมื่อตรัสว่า ปณีตโภชนานิ เนื้อความย่อมปรากฏดังนี้ว่า โภชนะที่เกิดจาก

ธัญชาติ ๗ ชนิด ระคนด้วยของประณีต ชื่อว่า โภชนะประณีต.

บัดนี้ ในคำว่า วิญฺาเปติ ปโยเค ทุกฺกฏ เป็นต้น มีวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้:- เมื่อภิกษุขอว่า ท่านจงให้ภัตกับเนยใส, จงราดเนยใสให้,

จงทำให้ระคนกับเนยใสแล้วให้, จงให้เนยใส จงให้เนยใสและภัต ดังนี้

เป็นทุกกฏ เพราะการออกปากขอ, เป็นทุกกฏ เพราะรับประเคน, เป็นปาจิตตีย์

เพราะกลืนกิน. แต่เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงให้สัปปิภัต เพราะธรรมดาว่า

สัปปิภัตดุจสาลีภัต ไม่มี ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นทุกกฏ เพราะออก

ปากขอแกงและข้าวสุกอย่างเดียว.

ก็ถ้าเมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้ภัตกับเนยใส แต่ทายกถวายภัตแล้ว ถวาย

เนยขึ้น นมสด หรือนมส้ม ด้วยกล่าวว่า นิมนต์ท่านทำเนยใสฉันเถิด ก็

หรือถวายมูลค่ากล่าวว่า นิมนต์ท่านรับเอาเนยใสด้วยมูลค่านี้ฉันเถิด (เป็น

ปาจิตตีย์) ตามวัตถุทีเดียว.

แต่เมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้ภัตกับเนยใสโค ทายกจงถวายด้วยเนยใสโค

หรือเมื่อเนยใสโคไม่มี จงถวายเนยข้นโคเป็นต้นโดยนัยก่อนนั้นแล หรือจง

ถวายแม่โคทีเดียวก็ตามที กล่าวว่า นิมนต์ท่านฉันด้วยเนยใสจากแม่โคนี้

(เป็นปาจิตตีย์) ตามวัตถุเหมือนกัน.

แต่ถ้าทายกถูกภิกษุขอด้วยเนยใสโค ถวายด้วยเนยใสของแพะเป็นต้น

เป็นอันผิดสังเกต. จริงอยู่ เมื่อมีการถวายอย่างนี้ จึงเป็นอันทายกถูกภิกษุขอ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 553

อย่างหนึ่ง ถวายไปอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติ. แม้ในคำว่า

จงให้ด้วยเนยใสแพะ เป็นต้นก็นัยนี้.

เมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้ด้วยกัปปิยะเนยใส ทายกถวายด้วยอกัปปิยะ

เนยใส เป็นอันผิดสังเกตเหมือนกัน. เมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้ด้วยอกัปปิยะ

เนยใส ทายกถวายด้วยกัปปิยะเนยใส เป็นทุกกฏเหมือนกัน ทั้งในการรับ

ทั้งในการบริโภค. เมื่ออกัปปิยะเนยใสไม่มี เขาถวายด้วยอกัปปิยะเนยข้น

เป็นต้น โดยนัยก่อนนั้นแล ด้วยกล่าวว่า นิมนต์ท่านทำเนยใสฉันเถิด เป็น

อันเขาถวายด้วยอกัปปิยะเนยใสแท้.

เมื่อภิกษุกล่าวว่า ด้วยอกัปปิยะเนยใส เขาถวายด้วยกัปปิยะเนยใส

เป็นอันผิดสังเกตเหมือนกัน. เมื่อกล่าวว่า ด้วยเนยใส เขาถวายด้วยของ

อย่างใดอย่างหนึ่ง มีเนยข้น เป็นต้นที่เหลือ เป็นอันผิดสังเกตเหมือนกัน. แม้ใน

คำว่า จงถวายด้วยเนยข้น เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

แท้จริง มีการออกปากขอด้วยวัตถุใด ๆ เมื่อภิกษุได้วัตถุนั้น หรือ

มูลค่าแห่งวัตถุนั้นแล้ว จัดว่าเป็นอันได้วัตถุนั้น ๆ แล้วเหมือนกัน. แต่ถ้าเขา

ถวายของอื่นที่มาในพระบาลี หรือมิได้มาก็ตาม เป็นผิดสังเกต. เมื่อภิกษุ

ออกปากขอด้วยเนยข้นเป็นต้นอย่างอื่น. ยกเว้นเนยข้นที่มาในพระบาลีเป็นต้น

เสีย เป็นทุกกฏ. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้

สัปปีภัต การออกปากขอแกงและข้าวสุก เป็นทุกกฏเท่านั้น เพราะสัปปิภัต

ไม่มีเหมือนสาลีภัต ฉันใด แม้ในคำว่า จงให้นวนีตภัต เป็นต้นก็ฉันนั้น

(คือเป็นเพียงทุกกฏฉันนั้น).

จริงอยู่ แม้เมื่อจะกล่าวเนยขึ้นเป็นต้นแต่ละอย่างให้พิสดารตามลำดับ

(แห่งเนยขึ้น) ก็จะต้องกล่าวเนื้อความนี้นั่นและ. และเนื้อความพิสดารนั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 554

บัณฑิตอาจรู้ได้แม้ด้วยความสังเขป, จะมีประโยชน์อะไรด้วยความพิสดารใน

เนยข้นแต่ละอย่างเป็นต้นนั้น. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า แม้ในคำว่า

จงให้ด้วยเนยขึ้น เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

แต่ถ้าภิกษุออกปากขอในที่เดียวกัน หรือในทำต่างกัน ด้วยวัตถุมีเนย-

ใสเป็นต้นแม้ทั้งหมด เทของที่ได้แล้วลงในภาชนะเดียวกันทำให้เป็นรสเดียวกัน

แม้เอาปลายหญ้าคาแตะหยดลงที่ปลายลิ้นหยดเดียว จากรสนั้นแล้วกลืนกิน

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๙ ตัว. สมจริงดังคำแม้นี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน

คัมภีร์ปริวารว่า

ภิกษุต้องปาจิตตีย์ที่เป็นไปทางกาย มิใช่

เป็นไปทางวาจาทั้งหมด (๙ ตัว) มีวัตถุ

ต่าง ๆ กัน พร้อม ๆ กัน คราวเดียว, ปัญหา

ข้อนี้ท่านผู้ฉลาดคิดกันแล้ว.

ในคำว่า อคิลาโน คิลานสญฺี นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าภิกษุ

แม้เป็นผู้มีความสำคัญว่าอาพาธ ออกปากขอเภสัช ๕ เพื่อประโยชน์แก่เภสัช,

พระวินัยธรพึงปรับเธอด้วยมหานามสิกขาบท. แต่เมื่อออกปากขอโภชนะ

ประณีต ๙ อย่าง พึงปรับด้วยสิกขาบทนี้ . แต่โภชนะประณีต ๙ อย่างนั้น เป็น

ปาฏิเทสนียวัตถุสำหรับพวกภิกษุณี. ในเพราะการออกปากขอแกงและข้าวสุก

เป็นทุกกฏที่ตรัสไว้ในเสขิยบัญญัติเท่านั้น แก่ภิกษุและภิกษุณีแม้ทั้ง ๒ พวก.

บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๔ เกิดจากทางกาย ๑ ทางกายกับวาจา ๑

ทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ปณีตโภชนะ สิกขาบทที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 555

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๕๒๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร

ศาลาป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้มีปกติถือ

ของทุกอย่างเป็นบังสกุล สำนักอยู่ในสุสานประเทศ ท่านไม่ปรารถนาจะรับ

อาหารที่ประชาชนถวาย เที่ยวถือเอาอาหารเครื่องเซ่นเจ้าตามป่าช้าบ้าง ตาม

โคนไม้บ้าง ตามธรณีประตูบ้าง มาฉันเอง ประชาชนต่างก็เพ่งโทษติเตียน

โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุนี้จึงได้ถือเอาอาหารเครื่องเช่นเจ้าของพวกเราไปฉัน

เองเล่า ภิกษุนี้อ้วนล่ำ บางทีจะฉันเนื้อมนุษย์.

ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพวกนั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่

บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึงได้

กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปากเล่า . . . แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า

เธอกลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปาก จริงหรือ.

ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปากเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 556

เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๘๙. ๑๐. ค. อนึ่ง ภิกษุใด กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ล่วง

ช่องปาก เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

ทรงอนุญาตน้ำและไม้ชำระฟัน

[๕๒๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุพากันรังเกียจน้ำและไม้ชำระฟัน

ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือเอาน้ำ และไม้ชำระฟันเองแล้วบริโภคได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๘๙. ๑๐. ข. อนึ่ง ภิกษุใด กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วง

ช่องปาก เว้นไว้แต่น้ำและไม้ชำระฟัน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องทรงอนุญาตน้ำและไม้ชำระฟัน จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๒๔] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 557

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ . . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ที่เขายังไม่ได้ให้ ท่านกล่าวว่า ที่ยังไม่ได้รับประเคน.

ลักษณะการรับประเคน

ที่ชื่อว่า เขาให้ คือ เมื่อเขาให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือ

โยนให้ ๑ เขาอยู่ในหัตถบาส ๑ ภิกษุรับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่อง

ด้วยกาย ๑ นี้ชื่อว่า เขาให้.

ที่ชื่อว่า อาหาร ได้แก่ ของที่กลืนกินได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ยกเว้น

น้ำและไม้ชำระฟัน นี้ชื่อว่าอาหาร.

บทว่า เว้นไว้แต่น้ำ และไม้ชำระฟัน คือ ยกเว้นน้ำและไม้ชำระฟัน.

ภิกษุถือเอาด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ขณะกลืน

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๒๕] อาหารที่ยังไม่ได้รับ ประเคน ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้รับประเคน

กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปาก เว้นไว้แต่น้ำและไม้ชำระฟัน ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

อาหารที่ยังไม่ได้ประเคน ภิกษุสงสัย กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้

ล่วงช่องปาก เว้นไว้แต่น้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุสำคัญว่าได้รับประเคนไว้แล้ว

กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปาก เว้นไว้แต่น้ำและไม้ชำระฟัน ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 558

ทุกะทุกกฏ

อาหารที่รับประเคนไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับประเคน...ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

อาหารที่รับประเคนไว้แล้ว ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

อาหารที่รับประเคนไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่ารับประเคนไว้แล้ว ...ไม่

ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๒๖] กลืนน้ำและไม้ชำระฟัน ๑ ฉันยามหาวิกัติ ๔ ในเมื่อมีเหตุ

ฉุกเฉินเมื่อกัปปิยการกไม่มี ภิกษุถือเอาเองแล้วฉันได้ ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 559

ทันตโปณสิกขาบทที่ ๑๐

ในสิกขาบทที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก่อรรถด้วยภิกษุถือบังสุกุลทุกอย่าง]

ภิกษุนั้น ชื่อว่า สรรพบังสุกูลิกะ (ผู้มีปกติถือบังสกุลทุกอย่าง)

เพราะอรรถว่า ภิกษุนั้นมีบรรดาปัจจัย ๔ ทุกอย่าง โดยที่สุด แม้ไม้ชำระฟัน

ก็เป็นบังสกุลทั้งนั้น. ได้ยินว่า ภิกษุนั้น ทำภาชนะที่เขาทั้งในป่าช้านั้นนั่นเอง

ให้เป็นบาตร ทำจีวรด้วยท่อนผ้าที่เขาทิ้งในป่าช้านั้นนั่นแหละ ถือเอาเตียง

และตั่งที่เขาทั้งในป่าช้านั้นเหมือนกันใช้สอย.

ปู่และตาของบิดาผู้ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า อัยยะ ในคำว่า อยฺย-

โวสาฏิตกานิ นี้. ขาทนียะและโภชนียะที่เขาเซ่นทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นต้น

เพื่อประโยชน์แก่บรรพบุรุษเหล่านั้น เรียกว่า โวสาฏิตกะ (เครื่องเซ่น).

ได้ยินว่า พวกมนุษย์ได้ทำของอันเป็นที่รักแห่งพวกญาติเหล่านั้น ในเวลาที่

ยังมีชีวิตอยู่ ให้เป็นก้อนข้าวบิณฑ์อุทิศพวกญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว เช่นวางไว้

ในที่ทั้งหลาย มีป่าช้าเป็นต้นนั่นด้วยตั้งใจว่า ขอเหล่าญาติของพวกเรา จง

บริโภคเถิด.

ภิกษุนั้นเอาข้าวบิณฑ์นั้นมาฉัน, ไม่ปรารถนาของอื่นแม้ประณีตที่เขา

ถวาย. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายจึงได้กล่าวว่า ถือเอา

อาหารเครื่องเซ่นเจ้าที่ป่าช้าบ้าง ที่โคนไม้บ้าง ที่ธรณีประตูบ้าง มาฉันเอง

ดังนี้.

บทว่า เถโร แปลว่า แข็งแรง คือ ล่ำสัน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 560

บทว่า วทฺธโร แปลว่า อ้วนล่ำ. มีคำอธิบายว่า ภิกษุนี้ทั้งอ้วน

ทั้งมีร่างกายล่ำสัน.

สามบทว่า มนุสฺสมส มญฺเ ขาทติ มีความว่า พวกเราเข้าใจ

ภิกษุนั้นว่า บางทีจะฉันเนื้อมนุษย์. ประชาชนเหล่านั้นมีความเข้าใจดังนี้ว่า

ความจริง พวกคนกินเนื้อมนุษย์ ย่อมเป็นผู้เช่นนี้.

ในคำว่า อุทกทนฺตโปเณ กุกฺกุจฺจายนฺติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้

พวกภิกษุเหล่านั้นไม่ได้สังเกตอรรถแห่งบ่ทว่า พึงกลืนกินอาหารที่เขาไม่ได้ให้

ผ่านทวารปากเข้าไป ให้ถูกต้อง จึงได้พากันรังเกียจ. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงยังภิกษุเหล่านั้น ให้ยอมตกลง ด้วยอำนาจแห่งเรื่องตามที่เกิดขึ้น

แล้ว ดุจบิดาชี้แจงให้พวกลูก ๆ ยินยอม ฉะนั้น จึงได้ทรงตั้งอนุบัญญัติไว้.

บทว่า อทินฺน มีความว่า เขาไม่ได้ให้ด้วยกาย ของเนื่องด้วยกาย

และการโยนให้อย่างใดอย่างหนึ่ง แก่ภิกษุผู้รับด้วยกายหรือด้วยของเนื่องด้วย

กาย. จริงอยู่ พระอุบาลีเถระหมายเอาของที่เขาไม่ได้ให้นี้แหละ จึงกล่าวไว้

ในบทภาชนะว่า ชื่อว่าของที่เขายังไม่ได้ให้ ท่านเรียกของที่ยังไม่ได้รับประเคน.

แต่ในทุติยปาราชิกตรัสว่า ชื่อว่า ของทำเขาไม่ได้ให้ ท่านเรียกทรัพย์ที่ผู้อื่น

หวงแหน. ส่วนบทว่า ของที่เขาให้นี้ ท่านยกขึ้นไว้ เพื่อแสดงลักษณะแห่ง

ของที่เขาไม่ได้ให้นั้นนั่นแหละ ด้วยอำนาจแห่งนัยที่ทรงกันข้าม.

[ว่าด้วยการประเคนและการรับประเคน]

ก็ในนิเทศแห่งบทว่า ทินฺน นั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ข้อว่า กาเยน

วา กายปฏิพทฺเธน วา นิสฺสคฺคิเยน วา เทนฺเต ได้แก่ เมื่อคนอื่น

เขาให้อยู่อย่างนี้ (คือให้อยู่ด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกายหรือด้วยการ

โยนให้).

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 561

ข้อว่า หตฺถปาเส ิโต กาเยน วา กายปฏิพทฺเธน วา ปฏิคฺคณ-

หาติ มีความว่า ถ้าภิกษุอยู่ในหัตถบาสมีลักษณะดังกล่าวแล้วในก่อน รับ

ประเคนของนั้นที่เขาให้อยู่อย่างนั้น ชั้นที่สุดแม้ละอองรถด้วยกาย หรือด้วย

ของเนื่องด้วยกาย. วัตถุนั่นที่รับประเคนแล้ว อย่างนั้นท่านเรียกชื่อว่า ของที่

เขาให้. ของที่เขาเสียสละด้วยคำว่า ท่านจงถือเอาของนี้, ของนี้จงเป็นของท่าน

เป็นต้น ท่านไม่เรียกชื่อว่าของที่เขาให้.

บรรดานิเทศเหล่านั้น บทว่า กาเยน มีความว่า ที่เขาให้ด้วยบรรดา

สรีราวัยวะมีมือเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ชั้นที่สุด แม้ด้วยนิ้วเท้า ก็เป็น

อันชื่อว่าเขาให้แล้วด้วยกาย. แม้ในการรับประเคน ก็นัยนี้นั่นแล. แท้จริง

ของที่ภิกษุรับประเคนด้วยสรีราวัยวะ (ส่วนแห่งร่างกาย) ส่วนใดส่วนหนึ่ง

จัดว่า รับประเคนแล้วด้วยกายเหมือนกัน. ถ้าแม้นเขาให้ของที่ต้องทำการนัตถุ์

ภิกษุอาพาธไม่อาจนัตถุ์เข้าทางช่องจมูกได้เลย รับเข้าทางปากได้ (รับประเคน

ทางปากได้). ความจริง เพียงความใส่ใจเท่านั้น เป็นประมาณในการรับ

ประเคนนี้. นัยนี้ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรี.

บทว่า กายปฏิพทฺเธน มีความว่า ของที่เขาให้ด้วยอุปกรณ์อย่างใด

อย่างหนึ่ง บรรดาอุปกรณ์ มีทัพพีเป็นต้น เป็นอันชื่อว่าเขาให้ด้วยของเนื่อง

ด้วยกาย. แม้ในการรับประเคนก็นัยนี้เหมือนกัน. ของที่ภิกษุรับด้วยวัตถุ

อย่างใดอย่างหนึ่งที่เนื่องด้วยร่างกาย มีบาตรและถาดเป็นต้น จัดว่ารับประเคน

ด้วยของเนื่องด้วยกายเหมือนกัน.

บทว่า นิสฺสคฺคิเยน มีความว่า ก็ของที่เขาโยนถวายให้พ้นจากกาย

และจากของเนื่องด้วยกาย แก่ภิกษุผู้อยู่ในหัตถบาส ด้วยกายหรือของเนื่อง

ด้วยกาย เป็นอันชื่อว่าเขาถวายด้วยประโยคที่โยนให้. นี้เป็นการพรรณนาตาม

พระบาลีก่อน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 562

บาลีมุตตกวินิจฉัย

ก็ในสิกขาบทนี้ พึงทราบบาลีมุตตกวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[การรับประเคนมีองค์ ๕ อย่าง]

การรับประเคน ย่อมขึ้นด้วยองค์ ๕ คือ ของพอบุรุษมีกำลังปานกลาง

ยกได้ ๑ หัตถบาสปรากฏ (เขาอยู่ในหัตถบาส) ๑ การน้อมถวายปรากฏ

(เขาน้อมถวาย) ๑ เทวดาก็ตาม มนุษย์ก็ตาม ดิรัจฉานก็ตาม ถวาย (ประเคน) ๑

และภิกษุรับประเคนของนั้นด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย ๑. การรับ-

ประเคนย่อมขึ้นด้วยองค์ ๕ ด้วยประการอย่างนั้น. ในองค์ ๕ นั้น หัตถบาส

แห่งภิกษุผู้ยืนนั่งและนอน บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในปวารณา-

สิกขาบท.

ก็ถ้าบรรดาผู้ให้และผู้รับประเคน ฝ่ายหนึ่งอยู่บนอากาศ ฝ่ายหนึ่งอยู่

บนพื้น, พึงกำหนดประมาณหัตถบาสทางศีรษะของผู้ยืนอยู่บนพื้น และทาง

ริมด้านในแห่งอวัยวะที่ใกล้กว่า ของผู้ยืนอยู่บนอากาศ ยกเว้นมือที่เหยียดออก

เพื่อให้หรือเพื่อรับเสีย. ถ้าแม้นฝ่ายหนึ่งอยู่ในหลุม (บ่อ) อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ริมหลุม

หรือฝ่ายหนึ่งอยู่บนต้นไม้ อีกฝ่ายหนึ่งอยู่บนแผ่นดิน ก็พึงกำหนดประมาณ

หัตถบาส โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

ถ้าแม้นนกเอาจะงอยปากคาบดอกไม้ หรือผลไม่ถวาย หรือช้างเอา

งวงจับดอกไม้ หรือผลไม่ถวายอยู่ในหัสถบาสเห็นปานนี้, การรับประเคน

ย่อมขึ้น (ใช้ได้). ก็ถ้าภิกษุนั่งอยู่บนคอช้างแม้สูง ๗ ศอกคืบ จะรับของที่ช้าง

นั้นถวายด้วยงวงก็ควรเหมือนกัน. ทายกคนหนึ่งทูนภาชนะข้าวสวยและกับข้าว

เป็นอันมากไว้บนศีรษะ มายังสำนักของภิกษุพูดทั้งยืนว่า นิมนต์ท่านรับเถิด

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 563

การน้อมถวายยังไม่ปรากฏก่อน เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรรับ. แต่ถ้าเขาน้อม

ลงมาแม้เพียงเล็กน้อย, ภิกษุพึงเหยียดแขนออกรับภาชนะอันล่าง แม้โดย

เอกเทศ. ด้วยการรับเพียงเท่านี้ ภาชนะทั้งหมดเป็นอันรับประเคนแล้ว. ตั้งแต่

รับประเคนนั้นไป จะยกลง หรือเลื่อนออก แล้วหยิบเอาของที่คนต้องการ

สมควรอยู่. ส่วนในภาชนะเดียวกันมีกระบุงซึ่งมีข้าวสวยเป็นต้น ไม่มีคำที่จะ

พึงกล่าวเลย.

แม้ทายกผู้หาบภัตตาหารไป ถ้าน้อมหาบลงถวาย สมควรอยู่. ถ้าแม้น

มีไม้ไผ่ยาว ๓๐ ศอก, ที่ปลายข้างหนึ่งผูกหม้อน้ำอ้อยแขวนไว้ ที่ปลายข้างหนึ่ง

ผูกหม้อเนยใสแขวนไว้, ถ้าภิกษุรับประเคนลำไม้ไผ่นั้น เป็นอันรับประเคน

ของทั้งหมดเหมือนกัน.

ถ้าทายกกล่าวว่า นิมนต์ท่านรับน้ำอ้อยสดซึ่งกำลังไหลออกจากราง

หีบอ้อย การน้อมเข้ามาถวาย ยิ่งไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงไม่สมควรรับ.

แต่ถ้าเขาเอากากทิ้งแล้วเอามือวักขึ้นถวาย ๆ ควรอยู่.

บาตรมากใบ เขาวางไว้บนเตียงก็ดี บนตั่งก็ดี บนเสื่อลำแพนก็ดี

บนรางไม้ก็ดี บนแผ่นกระดานก็ดี. ทายก (ผู้ให้) อยู่ในหัตถบาสแห่งภิกษุ

ผู้อยู่ในที่ใด, ของที่เขาให้ในบาตรเหล่านั้น อันภิกษุผู้อยู่ในที่นั้น แม้เอานิ้ว

แตะเตียงเป็นต้น ด้วยความหมายว่ารับประเคนจะยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม

นอนอยู่ก็ตาม เป็นอันรับประเคนแล้วทั้งหมด. ถ้าแม้นภิกษุขึ้นนั่งเตียงเป็นต้น

ด้วยหมายใจว่า เราจักรับประเคน. ก็ควรเหมือนกัน.

ก็ถ้าแม้นเขาวางบาตรทั้งหลายไว้บนแผ่นดิน เอากระพุ้งกับกระพุ้ง

จดกัน, ของที่เขาถวายในบาตรใบที่ภิกษุนั่ง เอานิ้วมือหรือเข็มแตะไว้เท่านั้น

เป็นอันรับประเคนแล้ว. ท่านกล่าวไว้ในที่บางแห่งว่า การรับประเคนในบาตร

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 564

ที่เขาตั้งไว้บนเสื่อลำแพนผืนใหญ่ และเครื่องลาดหลังช้างเป็นต้น ย่อมไม่ขึ้น.

คำนั้นพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเอาการล่วงเลยหัตถบาสไป. แต่เมื่อมีหัตถ-

บาสในที่ใดที่หนึ่งก็ควร นอกจากของซึ่งเกิดอยู่กับที่นั้น.

ก็การรับประเคนบนใบปทุม หรือบนใบทองกวาวเป็นต้น ซึ่งเกิดอยู่

กับที่นั้น ย่อมไม่ควร. เพราะใบปทุมเป็นต้นนั้น ไม่ถึงการนับว่าของเนื่อง

ด้วยกาย. เหมือนอย่างว่าในของเกิดกับที่นั้น การรับประเคนไม่ขึ้น ฉันใด

ในเตียงที่ตั้งตรึงไว้ที่ตอเป็นต้น ในแผ่นกระดาน หรือในหินที่เป็นอสังหาริมะ

การรับประเคน ก็ไม่ขึ้นเหมือนกัน ฉันนั้น. จริงอยู่ เตียงที่ตั้งตรึงไว้ที่ตอ

เป็นต้นแม้นั้นเป็นของควรสงเคราะห์เข้ากับของที่เกิดอยู่กับที่นั้น.

แม้บนใบมะขามเป็นต้น ซึ่งเป็นใบเล็ก ๆ ดาดไว้บนพื้น การรับ

ประเคนก็ไม่ขึ้น. เพราะว่า ใบมะขามเป็นต้นเหล่านั้น ไม่สามารถจะทั้งไว้ได้

ด้วยดี. แต่บนใบที่ใหญ่มีใบปทุมเป็นต้น (รับประเคน) ขึ้น.

ถ้าทายก (ผู้ให้) ยืนเลยหัตถบาสในที่นั้น เอากระบวยคันยาวตักถวาย,

ภิกษุพึงบอกเขาว่า เข้ามาถวายใกล้ ๆ. เขาไม่ได้ยินคำพูด หรือไม่เอื้อเฟื้อ

เทลงไปในบาตรทีเดียว, ภิกษุพึงรับประเคนใหม่. แม้ในบุคคลผู้ยืนอยู่ห่าง

โยนก้อนข้าวไปถวาย ก็นัยนี้เหมือนกัน. ถ้าในบาตรที่นำออกมาจากถุงบาตร

มีผงน้ำย้อม, เมื่อมีน้ำพึงล้างเสียก่อน. เมื่อไม่มี พึงเช็ดผงน้ำย้อม หรือรับ

ประเคนแล้ว จึงเที่ยวไปบิณฑบาต. ถ้าเมื่อเที่ยวไปบิณฑบาตผงตกลง (ในบาตร)

พึงรับประเคนก่อนจึงรับภิกษา. แต่เมื่อไม่รับประเคน รับ (ภิกษา) เป็น

วินัยทุกกฏ. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับประเคนธุลีที่ตกนั้นใหม่แล้วฉัน. ก็ถ้า

เมื่อภิกษุกล่าวว่า รับประเคนก่อนจงถวาย พวกเขาไม่ได้ยินคำพูด หรือไม่

เอื้อเฟื้อถวายภิกษุเลยทีเดียว, ไม่เป็นวินัยทุกกฏ. ภิกษุรับประเคนใหม่แล้ว

พึงรับภิกษาอื่นเถิด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 565

[วิธีปฏิบัติเมื่อมีของตกลงในบาตรในเวลาต่าง ๆ]

ถ้าลมแรงพัดธุลีให้ลอยไปตกจากที่นั้น ๆ, ภิกษุไม่อาจรับภิกษาได้,

จะผูกใจรับด้วยจิตบริสุทธิ์ว่า เราจักให้แก่อนุปสัมบัน ควรอยู่. เที่ยวไป

บิณฑบาตอย่างนั้นแล้วกลับไปยังวิหาร หรืออาสนศาลา ให้ภิกษานั้นแก่

อนุปสัมบันแล้ว จะรับเอาภิกษาที่อนุปสัมบันนั้น ถวายใหม่ หรือจะถือเอาของ

อนุปสัมบันนั้นด้วยวิสาสะฉัน ก็ได้.

ถ้าภิกษุให้บาตรที่มีธุลีแก่ภิกษุในเวลาเที่ยวภิกษาจาร, พึงบอกภิกษุ

เจ้าของบาตรนั้นว่า ท่านรับประเคนบาตรนี้แล้ว พึงรับภิกษาหรือพึงฉัน.

ภิกษุเจ้าของบาตรนั้น พึงทำอย่างนั้น. ถ้าธุลีลอยอยู่ข้างบน, พึงรินน้ำข้าวออก

แล้วฉันส่วนที่เหลือเถิด. ถ้าธุลีจมแทรกลงข้างใน พึงประเคนใหม่. เมื่อไม่มี

อนุปสัมบันอย่าปล่อย (บาตร) จากมือเลย พึงนำไปในที่ซึ่งมีอนุปสัมบัน

แล้วรับประเคนใหม่. จะนำธุลีที่ตกลงในข้าวแห้งออกแล้วฉัน ก็ควร. แต่ถ้า

เป็นธุลีละเอียดมาก พึงนำออกพร้อมกับข้าวสวยส่วนข้างบน หรือพึงรับประเคน

ใหม่ แล้วฉันเถิด.

เมื่อชาวบ้านวางข้าวยาคูหรือแกงไว้ข้างหน้าแล้วคน หยดแกงกระเซ็น

ขึ้นจากภาชนะตกลงในบาตร. ภิกษุพึงรับประเคนบาตรใหม่. เมื่อพวกเขาเอา

กระบวยตักมาถวาย หยาดสูปะเป็นต้น หยดออกจากกระบวยตกลงไปในบาตร

ก่อน, เป็นอันตกลงไปด้วยดี ไม่มีโทษ เพราะเขาน้อมเข้ามาถวาย

ถ้าแม้นเมื่อเขาเอาจอกน้ำเกลี่ยข้าวสุกลงอยู่ เขม่า หรือเถ้าตกลงไป

จากจอกน้ำ ไม่มีโทษเหมือนกัน เพราะเขาน้อมถวาย ของที่เขากำลังถวายแก่

ภิกษุรูปถัดไป กระเด็นออกจากบาตรไปตกในบาตรของภิกษุอีกรูปหนึ่ง เป็น

อันตกไปดี จัดว่ารับประเคนแล้วเหมือนกัน.

เมื่อเขาจัดผักปลัง (ผักไห่) ดองเป็นต้น ถวายแก่ภิกษุรูปหนึ่ง

หยดน้ำ (ผักดอง) จากผักดองตกลงไปในบาตรของภิกษุอื่นเธอพึงรับประเคน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 566

บาตรใหม่. พวกเขากำลังจับข้างบนบาตรของภิกษุใด, เมื่อหยดน้ำผักดองตก

ลงไปในบาตรของภิกษุนั้น ไม่มีโทษ เพราะเขาน้อมเข้ามาด้วยความเป็นผู้

ประสงค์จะถวาย.

พวกชาวบ้านถวายบาตรเต็มด้วยข้าวปายาส, ภิกษุไม่อาจจับข้างล่างได้

เพราะมันร้อน จะจับแม้ที่ขอบปาก ก็ควรเหมือนกัน. ถ้าแม้นอย่างนั้นก็ไม่อาจ

(จับได้) พึงรับด้วยเชิงรองบาตร (ตีนบาตร)

ภิกษุผู้นั่งถือบาตรหลับอยู่ที่หอฉัน. เธอไม่รู้ว่าเขากำลังนำโภชนะ

มาเลย เขาถวายอยู่ก็ไม่รู้, โภชนะจัดว่ายังไม่ได้รับประเคน. แต่ถ้าเธอเป็นผู้

นั่งใส่ใจไว้ (แต่ต้น ) ควรอยู่. ถ้าแม้นเธอวางมือจากเชิงบาตรแล้วเอาเท้า

หนีบไว้ม่อยหลับไป สมควรเหมือนกัน. แต่เมื่อเธอเอาเท้าเหยียบเชิงบาตรไว้

รับประเคน ถึงจะตื่นอยู่ ก็เป็นการรับประเคนโดยไม่เอื้อเฟื้อ. เพราะฉะนั้น

จึงไม่ควรทำ.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การรับประเคนด้วยเชิงรองบาตรอย่างนี้

ชื่อว่า เป็นการรับประเคนด้วยของเนื่องกับบาตรซึ่งเนื่องด้วยกาย เพราะฉะนั้น

จึงไม่ควร. คำนั้นเป็นแค่เพียงกำพูดเท่านั้น. แต่โดยอรรถ ทั้งหมดนั่น ก็เป็น

ของเนื่องด้วยกายทั้งนั้น. และแม้ในกายสังสัคคสิกขาบท ก็ได้แสดงนัยนี้ไว้แล้ว.

ถึงจะหยิบแม้ของตกที่เขากำลังถวายแก่ภิกษุ ขึ้นมาฉันเอง ก็ควร.

ในการหยิบเอาของตกฉันนั้น มีพระสูตรเป็นเครื่องสาธกดังต่อไปนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ภิกษุหยิบเอาของตกที่เขากำลังถวายฉัน

เองได้. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะของนั้น

พวกทายกเขาสละถวาย* แล้ว. ก็แล พระสูตรนี้ มีอรรถควรอธิบาย เพราะฉะนั้น

ในพระสูตรนี้ พึงทราบอธิบายอย่างนี้:- ของใดที่เขากำลังถวาย พลัดหลุด

จากมือของผู้ถวาย ตกลงไปบนพื้นที่สะอาด หรือบนใบบัว ผ้า เสื่อลำแพน

* วิ จุลฺล. ๗/๔๙

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 567

เป็นต้น, ของนั้นจะหยิบขึ้นมาฉันเองก็ควร. แต่ของใดตกลงไปบนพื้นที่มีฝุ่น

ละออง, ของนั้น พึงเช็ด หรือล้างฝุ่นละอองออกแล้ว หรือรับประเคนแล้วฉัน

เถิด ถ้าของกลิ้งไปยังสำนักของภิกษุอื่น, แม้ภิกษุเจ้าของ ๆ นั้น จะให้นำคืน

มาก็ควร. ถ้าเธอกล่าวกะภิกษุนั้นว่า นิมนต์ท่านนั่นแหละฉันเถิด แม้ภิกษุ

นั้นจะฉัน ก็ควร. แต่ภิกษุนั้นอันภิกษุเจ้าของสิ่งของไม่ได้สั่ง ไม่ควรรับ.

ในกุรุนทีกล่าวว่า แม้จะไม่ได้รับคำสั่ง จะรับด้วยทั้งใจว่า จักถวาย

ภิกษุเจ้าของสิ่งของนอกน ก็ควร

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ของนั่นจึงไม่ควรที่ภิกษุนอกนี้จะรับ ?

แก้ว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงอนุญาตไว้.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสว่า เราอนุญาตให้ภิกษุหยิบของ

ฉันเองได้ ดังนี้ ก็ทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้ซึ่งเขากำลังถวายของที่พลัดตกไปนั้น

เท่านั้น ให้หยิบเอาของนั้น แม้ไม่ได้รับ ประเคนฉันได้. แต่ด้วยคำว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะของนั้นพวกทายกสละให้แล้ว จึงเป็นอันทรงแสดงความ

ไม่เป็นของคนอื่นในพระดำรัสนี้; เพราะฉะนั้น ภิกษุอื่นหยิบฉันเอง จึงไม่

ควร, แต่สมควร เพราะการสั่งของภิกษุผู้เป็นเจ้าของแห่งสิ่งของนั้น. นัยว่า

นี้เป็นอธิบายในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว เป็นต้นนี้.

ก็เพราะของที่พลัดตกนั้น ทรงอนุญาตไว้ เพราะเป็นของยังไม่ได้รับ

ประเคน; ฉะนั้น ภิกษุไม่จับต้องของตามที่ตั้งอยู่นั่นแหละเอาของบางอย่าง

ปิดไว้ แล้วฉันแม้ในวันรุ่งขึ้น ก็ควร, ไม่เป็นอาบัติ เพราะสันนิธิเป็นปัจจัย.

แต่ควรรับประเคนก่อนแล้ว จึงฉัน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต

การหยิบฉันเองแก่ภิกษุนั้น เฉพาะในวันนั้น นอกจากวันนั้นไปไม่ทรงอนุญาต

ทราบว่า อรรถแม้นี้ก็เป็นอธิบายในพระดำรัสว่า อนุชานามิ ภิกฺเว เป็นต้นนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 568

[ว่าด้วยอัพโพหาริกนัยโดยทั่ว ๆ ไป]

บัดนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวอัพโพหาริกนัยต่อไป:- จริงอยู่ เมื่อภิกษุทั้ง

หลายฉันอยู่ ฟันทั้งหลายย่อมสึกหรือ, เล็บทั้งหลาย ย่อมสึกกร่อน สี (ผิว)

บาตรย่อมลอก, ทั้งหมดเป็นอัพโพหาริก. เมื่อภิกษุปอกอ้อยเป็นต้นด้วยมีด

สนิมย่อมปรากฏ. สนิมนั้น ธรรมดาเป็นของเกิดขึ้นใหม่ ควรรับประเคนก่อน

จึงฉัน. เมื่อภิกษุล้างมีดแล้วจึงปอก สนิมไม่ปรากฏ, มีแต่สักว่ากลิ่นโลหะ,

เพียงกลิ่นโลหะนั้น เป็นอัพโพหาริก. ถึงแม้ในจำพวกของที่ผ่าด้วยมีดเล็กที่

พวกภิกษุเก็บรักรักษาไว้ ก็นัยนี้นั่นแล. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายจะเก็บมีดนั้น

ไว้เพื่อต้องการใช้สอย ก็หามิได้แล.

เมื่อภิกษุทั้งหลายบด หรือตำอยู่ซึ่งเครื่องยา มีรากยาเป็นต้น ตัว

หินบด ลูกหินบด ครก และสากเป็นต้น ย่อมสึกกร่อนไป. ภิกษุทั้งหลาย

จะเผามีดที่เก็บรักษาไว้ แล้วใส่ลงในเปรียง หรือนมสดเพื่อประโยชน์เป็นยา

สีเขียวย่อมปรากฏในเปรียง หรือนมสดนั้น. มีวินิจฉัยเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้ว

ในมีดเล็กนั่นแหละ. ส่วนในเปรียงดิบเป็นต้น ไม่ควรจุ่มมีดที่เก็บไว้ลงไปด้วย

ตนเอง หากว่า ภิกษุจุ่มลงไป ย่อมไม่พ้นสามปักกะ.

เมื่อภิกษุเที่ยวบิณฑบาตในเมื่อฝนตก น้ำสกปรกหยดจากตัวหรือจาก

จีวรลงในบาตร พึงรับประเคนบาตรนั้นใหม่ แม้ในหยาดน้ำที่ตกลง เมื่อ

ภิกษุกำลังฉันอยู่ที่โคนต้นไม้เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าว่า เมื่อฝนตก

ตลอด ๗ วัน เป็นน้ำบริสุทธิ์ หรือน้ำฝนที่ตกกลางแจ้งควรอยู่.

ภิกษุเมื่อจะให้ข้าวสุกแก่สามเณร พึงให้อย่าถูกต้องข้าวสุกที่อยู่ใน

บาตรของสามเณรนั้นเลย, หรือว่า พึงรับประเคนบาตรของสามเณรนั้น. เมื่อ

ภิกษุถูกต้องข้าวสุกในบาตรที่ไม่ได้รับประเคน แล้วจับข้าวสุกในบาตรของตน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 569

อีก ข้าวสุกเป็นอุคคหิตก์.* แต่ถ้าว่าภิกษุเป็นผู้มีความประสงค์จะให้ กล่าวว่า

แน่ะสามเณร ! เธอจงนำบาตรมา, จงรับเอาข้าวสุก ดังนี้, แต่สามเณรนั้น

ปฏิเสธว่า กระผมพอแล้ว, และแม้เมื่อภิกษุกล่าวอีกว่า ข้าวสุกนั่นเราสละ

แก่เธอแล้ว สามเณรยังกล่าวว่า กระผมไม่ต้องการข้าวสุกนั่น ดังนี้, ถึงจะ

สละตั้งร้อยครั้งก็ตามที ตลอดเวลาที่ข้าวสุกยังอยู่ในมือของตนจัดว่าเป็นของ

รับประเคนแล้วแล.

แต่ถ้าว่า ข้าวสุกตั้งอยู่แม้บนเชิงรองบาตร ภิกษุไม่มีความเสียดาย

กล่าวว่า. เธอจงรับเอาไป, ต้องรับประเคนใหม่ ถ้าภิกษุยังมีความเสียดายอยู่

วางบาตรไว้บนเชิงรองบาตร แล้วกล่าวกะสามเณรว่า เธอจงรับเอาขนมหรือ

ข้าวสวยจากบาตรนี้ ดังนี้, สามเณรล้างมือแล้ว ถ้าแม้นว่าถือเอาไปตั้งร้อยครั้ง

ไม่ถูกต้องของที่อยู่ในบาตรของตนเลยใส่ลงในบาตรของตนเอง, ไม่มีกิจที่จะ

ต้องรับประเคนใหม่. แต่ถ้าสามเณรถูกต้องของที่อยู่ในบาตรของตนหยิบเอา

ออกจากบาตรนั้น, ของนั้นย่อมระคนกับของ ๆ สามเณรพึงรับประเคนใหม่.

แต่เกจิอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ถ้าแม้นว่า ของที่สามเณรหยิบเอาอยู่

ขาดตกลงในบาตรนั้น พึงรับประเคนใหม่. คำนั้นบัณฑิตพึงทราบในก้อนข้าว

สุกเป็นต้น ที่ภิกษุกล่าวจำกัดไว้อย่างนี้ว่า เธอจงหยิบ เอาก้อนข้าวก้อนหนึ่ง, จง

หยิบขนมชิ้นหนึ่ง, จงหยิบเอาส่วนเท่านี้แห่งก้อนน้ำอ้อยนี้. ส่วนในคำนี้ว่า

เธอจงหยิบเอาขนมหรือข้าวสวยจากบาตรนี้ ไม่มีการจำกัด; เพราะฉะนั้น ของ

ที่ตกลงในบาตรของสามเณรเท่านั้น จึงจะขาดประเคน. ส่วนข้าวสวยที่อยู่ใน

มือ (ของสามเณร) ยังเป็นของภิกษุนั้นเองตลอดเวลาที่สามเณรยังไม่บอกงด

หรือภิกษุยังไม่ห้ามว่า พอละ, เพราะฉะนั้น จงยังไม่ขาดประเคน.

ถ้าภิกษุใส่ข้าวสวยลงในภาชนะสำหรับต้มข้าวต้มของตน หรือของ

ภิกษุทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุสามเณรบางพวก พึงกล่าวว่า แน่ะสามเณร !

* ของฉันทุกอย่างที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุจับต้องเรียกว่า ของเป็นอุคคหิตก์, ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 570

เธอจงวางมือไว้ข้างบนภาชนะ แล้วตักลงที่มือของสามเณรนั้น. ของตกจากมือ

ของสามเณรลงในภาชนะ. ของที่ตกนั้น ย่อมไม่ทำให้ภาชนะเป็นอกัปปิยะใน

วันรุ่งขึ้น เพราะข้าวสุกนั้น ภิกษุสละแล้ว. ถ้าว่าภิกษุไม่ทำอย่างนั้นตักลงไป,

พึงทำภาชนะให้ปราศจากอามิสเหมือนบาตรแล้วฉันเถิด.

พวกทายกวางหม้อข้าวต้มไว้แล้วไปเสีย. สามเณรเล็กไม่อาจให้ภิกษุ

รับประเคนหม้อข้าวต้มนั้นได้, ภิกษุเอียงบาตรเข้าไป. สามเณรวางคอหม้อ

บนขอบปากบาตรแล้ว เอียงลง. ข้าวต้มทำไหลไปในบาตรเป็นอันประเคนแล้ว

แล. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุวางมือลงบนพื้น. สามเณรหมุนไปวางลงบนมือของ

ภิกษุนั้น ควรอยู่. แม้ในกระเช้าขนมกระเช้าข้าวสวย (กระบุงขนมและกระบุง

ข้าวสวย) และมัดอ้อยเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ถ้าสามเณร ๒ - ๓ รูป จะ

ช่วยกันถวาย ภาระ (ของหนัก) ที่ควรประเคนได้, หรือภิกษุ ๒-๓ รูปจะช่วย

กันรับของที่คนมีกำลังแข็งแรงคนเดียวยกขึ้นถวาย ควรอยู่.

[ว่าด้วยของเป็นอุคคหิตก์และ ไม่เป็น]

ชนทั้งหลายแขวนหม้อน้ำมัน หรือหม้อน้ำอ้อยไว้ที่เท้าเตียงหรือตั่ง,

ภิกษุจะนั่งบนเตียงก็ดี บนตั่งก็ดี ควรอยู่ น้ำมัน เป็นต้นนั้น จะชื่อว่าเป็น

อุคคหิตก์หามิได้. หม้อน้ำมัน ๒ หม้อเป็นของที่เขาแขวนไว้บนไม้ฟันนาค

หรือบนขอ. หม้อบนรับประเคนแล้ว, หม้อล่างยังไม่ได้รับประเคน, จะจับ

หม้อบน ควรอยู่. หม้อล่างรับประเคนแล้ว, หม้อบนยังไม่ได้รับประเคน.

เมื่อภิกษุจับหม้อบนแล้ว จับหม้อล่าง หม้อบน เป็นอุคคหิตก์. ภายใต้เตียงมี

ถ้วยน้ำมันยังไม่ได้รับประเคน. ถ้าภิกษุกวาดเอาไม้กวาดกระทบถ้วยน้ำมัน, น้ำ

มันนั้นยังไม่เป็นอุคคหิตก์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 571

ภิกษุตั้งใจว่า เราจะหยิบของที่รับประเคนไว้แล้ว ไพล่ไปหยิบของที่

ไม่ได้รับประเคน รู้แล้วกลับวางไว้ในที่ที่คนหยิบมา, ของนั้นไม่เป็นอุคคหิตก์.

นำออกมาภายนอกแล้วจึงรู้. อย่าตั้งไว้ข้างนอกพึงนำกลับเข้าไปตั้งในที่เดิมนั่น

เอง, ไม่มีโทษ. ก็ถ้าว่าถ้วยน้ำมันนั้นเมื่อก่อน วางเปิดไว้, ไม่ควรปิด พึง

วางไว้ตามเคยเหมือนที่วางอยู่ก่อน. ถ้าวางไว้ข้างนอก, อย่าไปแตะต้องอีก.

ถ้าภิกษุกำลังลงมายังปราสาทชั้นล่าง รู้เอาในท่ามกลางบันได เพราะไม่มีโอกาส

พึงนำไปวางไว้ข้างบน หรือข้างล่างก็ได้.

ราขึ้นในน้ำมันที่รับประเคนแล้ว, ผงราขึ้นที่แง่งขิงเป็นต้น. ราหรือ

ผงรานั่น ธรรมดาเกิดในน้ำมันและขิงนั้นนั่นเอง, ไม่มีกิจที่จะต้องรับประเคน

ใหม่. คนขึ้นต้นตาล หรือต้นมะพร้าว เอาเชือกโรยทะลายผลตาลลงมา ยัง

คงอยู่ข้างบน กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับเถิด อย่าพึงรับ. ถ้าคนอื่นยืนอยู่บน

พื้นดิน จับที่ห่วงเชือกยกถวาย, จะรับควรอยู่. ภิกษุให้ทำกิ่งไม้ใหญ่ที่มีผล

ให้เป็นกัปปิยะแล้ว รับประเคน. ผลทั้งหลายเป็นอันภิกษุรับประเคนแล้วเหมือน

กัน ควรบริโภคได้ตามสบาย.

ชนทั้งหลายยืนอยู่ภายในรั้วแหวกรั้ว (ลอดรั้ว) ถวายอ้อยลำ หรือ

ผลมะพลับ; เมื่อได้หัตถบาส ควรรับ. เมื่อภิกษุรับอ้อยลำ หรือผลมะพลับ

นั้นที่ลอดออกมา ไม่ถูกบนคร่าวรั้ว (ไม่พาดบนคร่าวรั้ว ) จึงควร. ในอ้อยลำ

และผลมะพลับที่ลอดออกมาถูก (บนคร่าวรั้ว) ท่านไม่ได้แสดงโทษไว้ใน

อรรถกถาทั้งหลาย. แต่พวกเราเข้าใจว่า จากฐานที่ลำอ้อยเป็นต้นถูก เป็น

เหมือนหยิบของตกขึ้นเอง. แม้คำนั้นย่อมใช้ได้ในเมื่อของออกไปไม่หยุด

เหมือนภัณฑะที่โยนให้ตกกลิ้งไปภายนอกด่านภาษี ฉะนั้น.

พวกชนโยนของข้ามรั้ว หรือกำแพงถวาย. แต่ถ้ากำแพงไม่หนา หัต-

ถบาสย่อมเพียงพอแก่ผู้ยืนอยู่ภายในกำแพงและภายนอกกำแพง ภิกษุจะรับของ

ที่สะท้อนขึ้นสูงแม้ตั้งร้อยศอกแล้วลอยมาถึงควรอยู่.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 572

ภิกษุเอาคอแบกสามเณรอาพาธไป (ให้สามเณรอาพาธขี่คอไป). เธอ

เห็นผลไม้น้อยใหญ่ เก็บถวาย ทั้งที่นั่งอยู่บนคอ, ภิกษุควรจะรับ. บุคคลอื่น

แบกภิกษุไป ถวายผลไม้แก่ภิกษุผู้นั่งอยู่บนคอ, สมควรรับเหมือนกัน. ภิกษุ

ถือกิ่งไม้มีผล เพื่อต้องการร่มเดินไป. เมื่อเกิดความคิดอยากจะฉันผลขึ้นมา

จะให้อนุปสัมบันประเคนแล้ว ควรอยู่. ภิกษุให้ทำกับปิยะกิ่งไม้เพื่อไล่แมลงหวี่

(แมลงวัน) แล้วรับประเคนไว้. หากว่า มีความประสงค์จะฉัน, การรับประเคน

ไว้เดิมนั่นแหละยังใช้ได้อยู่, ไม่มีโทษแก่ภิกษุผู้ขบฉัน.

ภิกษุวางภัณฑะทีควรรับประเคนไว้บนยานของพวกชาวบ้านเดินทาง

ไป. ยานติดหล่ม. ภิกษุหนุ่มจับล้อดันขึ้น ควรอยู่. สิ่งของไม่ชื่อว่า เป็น

อุคคหิตก์. ภิกษุวางของที่ควรประเคนไว้ในเรือ เอาแจว ๆ เรือไป หรือเอา

มือพุ้ยไป ควรอยู่. แม้ในพ่วง (แพ) ก็นัยนี้เหมือนกัน. ภิกษุแม้วางภัณฑะไว้

ในถาดก็ดี ในคนโท (ตุ่ม) ก็ดี ในหม้อ ก็ดี แล้วใช้ให้อนุปสัมบันถือภัณฑะ

นั้นจับแขนอนุปสัมบันข้าม (น้ำ) ไปควรอยู่. แม้เมื่อถาดเป็นต้นไม่มี ให้

อนุปสัมบันถือแล้ว จับอนุปสัมบันนั้นที่แขนข้ามไป ก็ควร.

พวกอุบาสกถวายข้าวสารเป็นเสบียงทางแก่พวกภิกษุผู้เตรียมตัวจะเดิน

ทาง. พวกสามเณรช่วยถือข่าวสารภิกษุทั้งหลายแล้วไม่อาจเพื่อจะถือข้าวสาร

ส่วนของตนเอง. พวกภิกษุจึงช่วยถือข้าวสารของสามเณรเหล่านั้น. สามเณรทั้ง

ทั้งหลาย เมื่อข้าวสารที่ตนถือหมดแล้วเอาข้าวสารนอกนี้ต้มข้าวต้ม ทั้งบาตร

ของภิกษุสามเณรทั้งหมดไว้ตามลำดับแล้ว เทข้าวต้มลง. สามเณรผู้ฉลาดเอา

บาตรของคนถวายแก่พระเถระ ถวายบาตรของพระเถระแก่พระเถระรูปที่ ๒

เปลี่ยนบาตรกันทั้งหมด อย่างนี้เป็นต้นจนทั่วถึงกัน เป็นอันภิกษุทั้งหมดฉัน

ข้าวต้มของสามเณร ควรอยู่. ถ้าแม้นว่าสามเณรเป็นผู้ไม่ฉลาดเริ่มจะดื่มข้าวต้ม

ในบาตรของตน ด้วยตัวเองเท่านั้น, พวกพระเถระควรจะขอดื่มไปตามลำดับ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 573

อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ! จงให้ข้าวต้มของเธอแก่เรา ดังนี้. เป็นอันภิกษุทั้งหมด

ไม่ต้องโทษเพราะอุคคตหิตก์เป็นปัจจัย ไม่ต้องโทษเพราะสันนิธิเห็นปัจจัย.

แต่ในการเปลี่ยนบาตรกันนี้ ความแปลกกันแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้นำ

น้ำมันเป็นต้นไป เพื่อมารดาบิดา และนำกิ่งไม้เป็นต้นไปเพื่อต้องการร่มเป็น

ต้น กับภิกษุผู้แลกเปลี่ยนบาตรกันเหล่านี้ ไม่ปรากฏ; เพราะฉะนั้น บัณฑิต

พึงใคร่ครวญหาเหตุ.

สามเณรประสงค์จะหุงข้าว ไม่อาจจะซาวข้าวสารให้หมดกรวด* ทราย

ได้. ภิกษุพึงรับประเคนข้าวสารและภาชนะ ซาวข้าวสารให้หมดกรวดทรายแล้ว

ยกภาชนะขึ้นสู่เตาเถิด. อย่าพึงก่อไฟ. ในเวลาหุงจะต้องเปิดดูจึงจะรู้ความที่

ข้าวเป็นของสุกได้. ถ้าข้าวสุกไม่ดี จะปิดเพื่อต้องการให้สุก ไม่ควร. จะปิด

เพื่อต้องการไม่ให้ผง หรือขี้เถ้าตกลงไป ควรอยู่. เมื่อเวลาสุกแล้ว จะปลงลง

ก็ดี จะฉันก็ดี ควรอยู่. จำเดิมแต่นั้นไป ไม่มีกิจที่จะต้องรับประเคนใหม่.

สามเณรสามารถจะหุงได้, แต่เธอไม่มีเวลา, เธอประสงค์จะไปในที่

บางแห่ง, ภิกษุรับประเคนภาชนะพร้อมทั้งข้าวสาร และน้ำแล้วยกขึ้นสู่เตา

พึงกล่าวว่า เธอจงก่อไฟให้ติดแล้วไปเถิด. ต่อจากไฟติดโพลงนั้น แล้ว จะทำ

กิจทุกอย่าง สมควร โดยนัยก่อนเหมือนกัน. ภิกษุตั้งภาชนะสะอาดต้มน้ำเดือด

ไว้ เพื่อประโยชน์แก่ข้าวต้ม ควรอยู่. เมื่อน้ำเดือดแล้ว สามเณรกรอกข้าว-

สารลง. ก็จำเดิมแต่นั้นไป ภิกษุอย่าพึงเร่งไฟ. จะรับประเคนข้ามต้มที่สุกแล้ว

ดื่มควรอยู่.

สามเณรต้มข้าวต้มอยู่. ภิกษุคะนองมือเล่นอยู่ จับภาชนะ, จับฝาละมี,

ปาดฟองที่พลุ่งขึ้นทิ้งไป. เฉพาะภิกษุนั้น ไม่ควรจะดื่ม, เป็นทุกกฏ ชื่อ

ทุรุปจิณณะ. ก็ถ้าว่า ภิกษุจับทัพพี หรือกระบวยแล้ว คนไม่ยกขึ้น. ข้าว

* สารตฺถทีปนิ ๓/๓๔๕ นิจิจาเลตุ น สกฺโกตีติ นิจฺจาเลตฺวา สกฺขรา อปเนตุ น สกฺโกติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 574

ต้มนั้นไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหมด, ย่อมเป็นทั้งสามปักกะ ทั้งทุรุปจิณณะ. ถ้ายก

ขึ้น เป็นทั้งอุคคหิตก์.

ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตวางบาตรไว้บนเชิงรอง. ถ้าภิกษุโลเลรูปอื่นเล่น

อยู่ในที่นั้น จับต้องบาตร, จับต้องฝาบาตร. ภัตที่ได้จากบาตรนั้นไม่ควร

เฉพาะแก่ภิกษุโลเลนั้น. แต่ถ้าเธอยกบาตรขึ้นแล้ววางไว้ ไม่ควรแก่ภิกษุทุก ๆ

รูป. ภิกษุจับกิ่งไม้หรือเถาวัลย์ เขย่าผลไม้ที่เกิดอยู่บนต้นไม้เป็นต้นนั้น. ผล

ที่ได้จากกิ่งไม้ หรือเถาวัลย์นั้น ไม่ควรแก่ภิกษุผู้เขย่านั้นเหมือนกัน. และ

เธอย่อมต้องทุรุปจิณณทุกกฏด้วย. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ภิกษุจะค้ำต้น

ไม้มีผล หรือผูกหนามไว้ที่ต้นไม้นั้น ควรอยู่ ไม่เป็นทุรุปจิณณทุกกฏ.

ฝ่ายภิกษุเห็นผลไม้ มีผลมะม่วงเป็นต้นที่หล่นในป่า ตั้งใจว่า เราจัก

ให้แก่สามเณร แล้วนำมาให้ ควรอยู่. ภิกษุเห็นเนื้อเดนแห่งสีหะเป็นต้น คิด

ว่า เราจักให้แก่สามเณร รับประเคนก็ตาม ไม่ได้รับประเคนก็ตาม นำมาให้

ควรอยู่. ก็ถ้าอาจจะชำระวิตกให้หมดจดได้ แมจะขบฉันอาหารที่ได้มาจากเนื้อ

เป็นเดนสีหะเป็นต้นนั้น ก็ควร. ไม่ต้องโทษเพราะรับประเคนเนื้อดิบเป็นปัจจัย

และไม่ต้องโทษเพราะของอุคคหิตก์เป็นปัจจัยเลย.

เมื่อภิกษุถือน้ำมันเป็นต้นเดินไป เพื่อประโยชน์แก่มารดา และบิดา

เกิดพยาธิขึ้นในระหว่างทาง จะรับประเคนสิ่งที่ตนปรารถนาจากน้ำมันเป็นต้น

นั้นแล้วฉัน ควรอยู่. แต่ถ้าเป็นของภิกษุรับประเคนไว้ แม้ในครั้งแรก, ไม่

มีกิจที่จะต้องรับประเคนใหม่.

ภิกษุนำข้าวสารมาให้เพื่อประโยชน์แก่มารดา และบิดา. มารดาและ

บิดานั้น จัดปรุงข้าวต้มเป็นต้น จากข้าวสารนั้นนั่นเอง ถวายแก่ภิกษุนั้น

ควรอยู่. ไม่มีโทษเพราะสันนิธิเป็นปัจจัย หรือเพราะของอุคคหิตก์เป็นปัจจัย.

ภิกษุปิดฝาต้มน้ำร้อนให้เดือด, ควรบริโภคได้จนกว่าจะหมด. แต่ถ้าเถ้าตกลง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 575

ในน้ำร้อนนี้ พึงรับประเคน. เมื่อภิกษุเอาปากคีมด้ามยาวจับถ้วยหุงน้ำมัน

เถ้าตกลงไป อย่าปล่อยมือเสีย เคี่ยวไปจนได้ที่ปลงลงแล้ว พึงรับประเคน

ใหม่. ถ้าแม้ถ่านก็ดี ฟืนก็ดี ภิกษุรับประเคนวางไว้, การรับประเคนเดิมนั่น

แหละยังใช้ได้.

ภิกษุเคี้ยว (ฉัน) อ้อยอยู่. สามเณรกล่าวว่า ท่านให้ผมบ้าง. ภิกษุ

บอกเธอว่า จงตัดเอาจากส่วนนี้ไป แล้วถือเอา, ก็ในส่วนที่ยังเหลือ ไม่มีกิจ

ที่จะต้องรับประเคนใหม่. แม้สำหรับภิกษุผู้ฉันงบน้ำอ้อย ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จริงอยู่ อ้อยส่วนที่เหลือจากที่สามเณรตัดเอาจากโอกาสที่ภิกษุบอกไว้ ยังไม่

ละ (ไม่ขาด) การรับประเคนไปเลย

ภิกษุเมื่อจะแจกงบน้ำอ้อย รับประเคนแล้วจัดไว้เป็นส่วน ๆ. พวก

ภิกษุก็ดี พวกสามเณรก็ดี มาแล้วจะถือเอาคนละส่วน ๆ โดยการหยิบครั้งเดียว

เท่านั้น. ส่วนที่เหลือจากที่ภิกษุสามเณรหยิบเอาไปแล้ว ยังเป็นของประเคน

อยู่อย่างเดิม. ถ้าสามเณรซุกซนจับ ๆ วาง ๆ, ส่วนที่เหลือจากสามเณรนั้นถือ

เอาไป เป็นของไม่ได้รับประเคน.

ภิกษุรับประเคนกล้องยาสูบ แล้วสูบยา. ปากและคอเป็นเหมือนทา

ด้วยมโนศิลา. จะฉันยาวกาลิก ได้อยู่. ไม่มีโทษเนื่องด้วยยาวชีวิกกับยาว-

กาลิกระคนกัน. เมื่อภิกษุระบมบาตร หรือต้มกรัก ควันเข้าไปทางช่อหู จมูก

และปาก, จะสูดดมดอกไม้หรือผลไม้ เพราะความเจ็บไข้เป็นปัจจัย, ควรอยู่

เพราะเป็นอัพโพหาริก.

การเรออ้วกอาหารที่ฉันแล้วออกมากระทบเพดาน กลับเข้าไปในภาย

ในอีก ควรอยู่ เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย. ที่เรออ้วกออกมาถึงปากแล้วกลืนเข้า

ไปอีก เป็นอาบัติ เพราะวิกาลโภชนสิกขาบท. รสของอามิสที่ติดอยู่ในซอก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 576

ฟัน เข้าไป (ในลำคอ) เป็นอาบัติเหมือนกัน. ถ้าอามิสละเอียด รสไม่ปรากฏ,

จัดเข้าฝักฝ่ายแห่งอัพโพหาริก.

เมื่อเวลาจวนแจ ภิกษุฉันอาหารในที่ไม่มีน้ำ ขากบ้วนน้ำลาย ทิ้งไป

๒ - ๓ ก้อน แล้วพึงไปยังที่มีน้ำบ้วนปากเถิด. หน่อขิงที่รับประเคนเก็บไว้เป็น

ต้นงอกออก, ไม่มีกิจที่จะต้องรับประเคนใหม่. ไม่มีเกลือจะทำเกลือด้วยน้ำ

ทะเล ควรอยู่. น้ำเค็มที่ภิกษุรับประเคนเก็บไว้กลายเป็นเกลือ หรือเกลือกลาย

เป็นน้ำ, น้ำอ้อยสดกลายเป็นน้ำอ้อยแข้นหรือน้ำอ้อยแข้นกลายเป็นน้ำอ้อยเหลว

ไป การรับประเคนเดิมนั่นแหละยังใช้ได้อยู่. หิมะและลูกเห็บ มีคติอย่างน้ำ

นั้นแล.

พวกภิกษุกวน (แกว่ง) น้ำให้ใสด้วยเมล็ดผลไม้ที่ทำน้ำให้ใส (เมล็ด

ตุมกาก็ว่า) ซึ่งเก็บรักษาไว้, น้ำมีน้าที่กวนให้ใสเป็นต้นนั้น เป็นอัพโพหาริก

ระคนกับอามิส ก็ควร. น้ำที่กวนให้ใสด้วยผลมะขวิดเป็นต้น ที่มีคติเหมือน

อามิส ควรแต่ในเวลาก่อนฉันเท่านั้น. น้ำในสระโบกขรณีเป็นต้น ขุ่นข้น

ก็ควร แต่ถ้าว่า น้ำขุ่นข้นนั้น ติดปากและมือ ไม่ควร. น้ำนั้นควรรับประเคน

แล้วจึงบริโภค. น้ำขุ่นข้นในสถานที่ถูกไถในนาทั้งหลาย พึงรับประเคน.

ถ้าน้ำไหลลงสู่ลำธารเป็นต้น แล้วเต็มแม่น้ำ ควรอยู่.

ชลาลัยมีบึงซึ่งมีต้นกุ่มเป็นต้น มีน้ำอันดาดาษไปด้วยดอกไม้ที่หล่น

จากต้น. ถ้ารสดอกไม้ไม่ปรากฏ ไม่มีกิจที่จะต้องรับประเคน. ถ้าน้ำนี้อยู่ มี

รสปรากฏ พึงรับประเคน. แม้ในน้ำที่ปกคลุมด้วยใบไม้สีดำในลำธารทั้งหลาย

มีซอกเขาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ดอกไม้ทั้งหลายมีเกสรก็ดี มีน้ำต้อยที่ขั้ว

ก็ดี (มีขั้วและน้ำนมก็ดี) เขาใส่ลงในหม้อน้ำดื่ม, พึงรับประเคน. หรือว่า

ดอกไม้ทั้งหลายภิกษุรับประเคนแล้วพึงใส่ลงไปเถิด. ดอกแคฝอยและดอกมะลิ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 577

เป็นของที่เขาใส่แช่ไว้, น้ำคงอยู่เพียงถูกอบกลิ่น. น้ำนั้นเป็นอัพโพหาริก ควร

กับอามิสแม้ในวันรุ่งขึ้น.

สามเณรตัดน้ำดื่มจากน้ำดื่มอบดอกไม้ที่ภิกษุเก็บไว้ แล้วเทน้ำที่เหลือ

จากที่ตนดื่มแล้วลงในน้ำดื่มนั้นอีก, พึงรับประเคนใหม่. ภิกษุจะเอาหม้อน้ำ

แกว่งแหวกเกสรดอกไม้ที่แผ่คลุมน้ำอยู่ในสระบัวเป็นต้น ออกไปแล้ว ตักเอา

แต่น้ำ ควรอยู่.

ไม้สีฟันที่ภิกษุให้ทำเป็นกัปปียะแล้วรับประเคนเก็บไว้. ถ้าภิกษุประสงค์

จะดูดรสแห่งไม้สีฟันนั้น, การรับประเคนเดิมนั่นแหละสมควรอยู่. ที่ไม่ได้รับ

ประเคนไว้ ต้องรับประเคน. แม้เมื่อรสเข้าไปในลำคอ ก็เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้

ไม่รู้เหมือนกัน. จริงอยู่ สิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ.

ถามว่า บรรดามหาภูตรูป อะไรควร อะไรไม่ควร ?

แก้ว่า นมสด สมควรก่อน. จะเป็นนมสดแห่งสัตว์ที่มีมังสะเป็น

กัปปิยะ หรือนมสดแห่งสัตว์ที่มีมังสะเป็นอกัปปิยะ ก็ตามที, ภิกษุดื่ม ไม่เป็น

อาบัติ. วัตถุนี้ คือ น้ำตา น้ำลาย น้ำมูก มูตร กรีส เศลษม์ มูลฟัน

คูถตา คูถหู ส่าเกลือ (เหงื่อไหล) เกิดในร่างกาย ควรทุกอย่าง.

แต่บรรดาสิ่งเหล่านี้ สิ่งใดเคลื่อนจากแหล่ง (ของมัน) แล้วตกลง

ในบาตรก็ดี ที่มือก็ดี สิ่งนั้นต้องรับประเคน. สิ่งที่ยังติดอยู่ในอวัยวะ เป็น

อันรับประเคนแล้วแท้. เมื่อภิกษุฉันข้าวปายาสร้อนเหงื่อที่ติดตามนิ้วมือแล้ว

ติดอยู่ที่ข้าวปายาส หรือว่าเมื่อภิกษุเที่ยวบิณฑบาตเหงื่อไหลจากมือถึงขอบปาก

บาตรลงสู่ก้นบาตร. ในบาตรนี้ไม่มีกิจที่จะต้องรับประเคน, ในมหาภูตที่เผา

แล้ว ไม่มีคำว่า ส่วนชื่อนี้ ไม่ควร. แต่ที่เผาไม่ดี (ไหม้ไม่สนิท) ไม่ควร.

ก็ภิกษุ จะบดแม้กระดูกมนุษย์ ที่เผาดีแล้วให้เป็นผง แล้วโรยลงในของลิ้ม

ควรอยู่.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 578

เมื่อไม่มีกัปปิยการก จะถือเอายามหาวิกัติ ๔ ฉันแม้เอง ก็ควร. ก็

ในอธิการแห่งยามหาวิกัตินี้ กัปปิยะการกเป็นคนว่ายากก็ดี เป็นผู้ไม่สามารถก็ดี

ย่อมตั้งอยู่ในฝักฝ่ายไม่มีเหมือนกัน. เมื่อเถ้าไม่มี ภิกษุพึงเผาไม้แห้งเอาเถ้า

เมื่อไม้ฟืนแห้งไม่มี แม้จะตัดฟืนสดจากต้นไม้ทำเถ้าก็ควร. ก็ยามหาวิกัติทั้ง ๔

อย่างนี้ ชื่อว่า อนุญาตเฉพาะกาล ควรแต่ในเวลาถูกงูกัดเท่านั้น. บทที่เหลือ

ในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดจากทางกาย ๑

ทางกายกับจิต ๑ เป็นกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัขชะ

กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ทันตโปณสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

โภชนวรรคที่ ๔ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารในโรงทาน

๒. คณโภชนสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารเป็นหมู่.

๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารทีหลัง.

๔. กาณมาตาสิกขาบท ว่าด้วยอุบายสิกากาณมาตา.

๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยห้ามภัตแล้วฉันอีก.

๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยห้ามภัตแล้วถูกแค่นให้ฉัน.

๗. วิกาลโภชนสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารในเวลาวิกาล.

๘. สันนิธิการกสิกขาบท ว่าด้วยรับประเคนเว้นน้ำและไม้ชำระฟัน

๙. ปณีตโภชนสิกขาบท ว่าด้วยขอโภชนะอันประณีต.

๑๐. ทันตไปณสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารที่ทำการสั่งสม.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 579

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระอานนท์

[๕๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ

กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น กองขนมเครื่องขบฉัน

เกิดแก่พระสงฆ์ จึงท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้ขนมเป็นทานแก่พวก

คนกินเดน ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธดำรัส แล้วจัดคนกินเดนให้

นั่งตามลำดับ แล้วแจกขนมให้คนละชิ้นได้แจกขนม ๒ ชิ้นสำคัญว่าชิ้นเดียว

แก่ปริพาชิกาผู้หนึ่ง พวกปริพาชิกาที่อยู่ใกล้เคียง ได้ถามปริพาชิกาผู้นั้นว่า

พระสมณะนั้นเป็นคู่รักของเธอหรือ นางตอบว่า ท่านไม่ใช่คู่รักของฉัน ท่าน

แจกให้ ๒ ชิ้นสำคัญว่าชิ้นเดียว.

แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอานนท์เมื่อแจกขนมให้คนละชิ้น ก็ได้แจก

ขนม ๒ ชิ้นสำคัญว่าชิ้นเดียวแก่ปริพาชิกาคนนั้นแหละ พวกปริพาชิกาที่อยู่ใกล้

เคียงได้ถามปริพาชิกาผู้นั้นว่า พระสมณะนั่นเป็นคู่รักของเธอหรือ นางตอบว่า

ท่านไม่ใช่คู่รักของฉัน ท่านแจกให้ ๒ ชิ้น สำคัญว่าชิ้นเดียว.

แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์เมื่อแจกขนมให้คนละชิ้น ได้แจกขนม

ให้ ๒ ชิ้นสำคัญว่าชิ้นเดียวแก่ปริพาชิกาคนนั้นแหละ พวกปริพาชิกาที่อยู่ใกล้

เคียงได้ถามปริพาชิกาผู้นั้นว่า พระสมณะนั่น เป็นคู่รักของเธอหรือ นางตอบว่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 580

ท่านไม่ใช่คู่รักของฉัน ท่านแจกให้ ๒ ชิ้น สำคัญว่าชิ้นเดียว พวกปริพาชิกา

จึงล้อเลียนกันว่า คู่รักหรือไม่ใช่คู่รัก

อาชีวกอีกคนหนึ่ง ได้ไปสู่ที่อังคาส ภิกษุรูปหนึ่งคลุกข้าวกับเนยใส

เป็นอันมากแล้ว ได้ให้ข้าวกอันใหญ่แก่อาชีวกนั้น เมื่อเขาได้ถือข้าวก้อนนั้น

ไปแล้ว อาชีวกอีกคนหนึ่งได้ถามอาชีวกผู้นั้นว่า ท่านได้ก้อนข้าวมาจากไหน

อาชีวกนั้นตอบว่า ได้มาจากที่อังคาสของสมณโคดมคหบดีโล้นนั้น.

อุบาสกทั้งหลายได้ยินสองอาชีวกนั้นสนทนาปราศรัยกัน จึงพากันเข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เดียรถีย์พวกนี้เป็นผู้มุ่งติเตียนพระพุทธเจ้า

พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ขออย่าให้

พระคุณเจ้าทั้งหลายให้ของแก่พวกเดียรถีย์ด้วยมือของตนเลย.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้อุบายสกเหล่านั้นเห็นแจ้ง

สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นอุบายสกเหล่านั้นอันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา

แล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณกลับไปแล้ว.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ

เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงทำธรรมีกถาอันเหมาะสมแก่

เรื่องนั้น อันสมควรแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่ง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 581

ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อ

กำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่น

แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

อนึ่ง ภิกษุใด ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี แก่

อเจลกก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ด้วยมือของตน เป็น

ปาจิตตีย์.

เรื่องพระอานนท์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๒๘] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า อเจลก ได้แก่ ชีเปลือยคนใดคนหนึ่งที่จัดเข้าในจำพวก

นักบวช.

ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ บุรุษคนใดคนหนึ่งที่จัดเข้าในจำพวก

นักบวช เว้น ภิกษุและสามเณร.

ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ สตรีคนใดคนหนึ่งที่จัดเข้าในจำพวก

นักบวช เว้นภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี.

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ เว้นโภชนะ ๕ อย่าง น้ำและไม้ชำระฟัน

นอกนั้นชื่อว่า ของเคี้ยว.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 582

ที่ชื่อว่า ของกิน ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด

ขนมแห้ง ปลา เนื้อ.

บทว่า ให้ คือ ให้ด้วยกายก็ดี ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ดี ด้วย

โยนให้ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๒๙] เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าเดียรถีย์ ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี

ด้วยมือของตน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เดียรถีย์ ภิกษุสงสัย ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี ด้วยมือของตน

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่เดียรถีย์ ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี

ด้วยมือของตน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

ให้น้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าเดียรถีย์. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่เดียรถีย์ ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่เดียรถีย์ . . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๓๐] ภิกษุสั่งให้ให้ ไม่ให้เอง ๑ วางให้ ๑ ให้ของไล้ทาภายนอก ๑

ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 583

ปาจิตตีย์ อเจลกวรรคที่ ๕

อเจลกสิกขาบทที่ ๑

ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งอเจลกวรรค มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[แก่อรรถ เรื่องให้ของกินแก่นักบวชนอกศาสนา]

บทว่า ปริเวสน แปลว่า สถานที่อังคาส.

บทว่า ปริพฺพาชกสมาปนฺโน คือ ผู้เข้าถึงการบวช.

สามบทว่า เทติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส มีความว่า ภิกษุให้ข้าวต้ม

และข้าวสวย พออิ่มด้วยประโยคเดียว เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว, ให้ขาดเป็น

ระยะ ๆ เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ประโยค. แม้ในขนมและข้าวสวยเป็นต้น ก็นัยนี้

เหมือนกัน

สองบทว่า ติตฺถิเย ติตถิยสญฺี มีความว่า มารดาก็ดี บิดาก็ดี

(ของภิกษุ) บวชในหมู่เดียรถีย์. แม้ภิกษุ (ผู้บุตร) เมื่อให้แก่เดียรถีย์เหล่านั้น

ด้วยสำคัญว่ามารดาและบิดา เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน

บทว่า ทาเปติ คือ สั่งให้อนุปสัมบันให้.

สองบทว่า อุปนิกฺขิปิตฺวา เทติ มีความว่า วางบนภาชนะเห็น

ปานนั้นแล้ว วางภาชนะนั้นให้บนพื้นดิน ใกล้เดียรถีย์เหล่านั้น หรือว่าใช้ให้

วางภาชนะของเดียรถีย์เหล่านั้นลงแล้ว ให้บนภาชนะนั้น แม้จะตั้งบาตรไว้บน

เชิงรอง หรือบนพื้นดินแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาจากบาตรนี้ ก็ควร.

ถ้าว่าเดียรถีย์พูดว่า ของสิ่งนี้เป็นของส่วนตัวของเราแท้, ขอท่านโปรดใส่อามิส

นั้นลงในภาชนะนี้ พึงใส่ลงไป. เพราะเป็นของส่วนตัวของเดียรถีย์นั้น จึงไม่

ชื่อว่า เป็นการให้ด้วยมือตนเอง. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-

วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

อเจลกสิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 584

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๕๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน

พระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวชวนภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระพี่ชายว่า

มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน แล้วสั่งไม่ให้เขาถวาย

อะไรแก่เธอ ซ้ำส่งกลับด้วยบอกว่า กลับเถิด อาวุโส การพูดก็ดี การนั่งก็ดี

ของเรากับคุณไม่นำความสำราญมาให้ การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเราคนเดียว

ย่อมจะสำราญ ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้เที่ยงแล้ว ภิกษุนั้นไม่สามารถเที่ยวหา

บิณฑบาตฉันได้ แม้จะไปฉันที่โรงฉันก็ไม่ทันกาล จำต้องอดภัตตาหาร ครั้น

เธอไปถึงอารามแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ท่าน

อุปนันทศากยบุตรกล่าวชวนภิกษุว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อ

บิณฑบาตด้วยกัน แล้วไฉนจึงสั่งไม่ให้เขาถวายอะไรแก่เธอ ซ้ำยังส่งกลับ

อีกเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อน

อุปนันทะ ข่าวว่า เธอชวนภิกษุว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต

ด้วยกัน แล้วสั่งไม่ให้เขาถวายอะไรแก่เธอ ซ้ำยังส่งกลับอีก จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 585

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอกล่าว

ชวนภิกษุว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน แล้วไฉน

จึงได้สั่งไม่ให้เขาถวายอะไรแก่เธอ ซ้ำยังส่งกลับอีกเล่า การกระทำของเธอนั้น

ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส

ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวต่อภิกษุอย่างนี้ว่า ท่านจงมา

เข้าไปสู่บ้านหรือสู่นิคมเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน เธอยังเขาให้ถวายแล้ว

ก็ดี ไม่ให้ถวายแล้วก็ดี แก่เธอ แล้วส่งไปด้วยคำว่า ท่านจงไปเถิด

การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเรากับท่าน ไม่เป็นเผาสุกเลย การพูดก็ดี

การนั่งก็ดี ของเราคนเดียว ย่อมเป็นผาสุก ทำความหมายอย่างนี้

เท่านั่งแลให้เป็นปัจจัย ทำใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๓๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ต่อภิกษุ หมายถึงภิกษุรูปอื่น

คำว่า ท่านจงมา. . .สู่บ้าน หรือสู่นิคม ความว่า บ้านก็ดี นิคม

ก็ดี เมืองก็ดี ชื่อว่าบ้านและนิคม.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 586

บทว่า ยังเขาให้ถวายแล้ว. . . แก่เธอ คือ ให้เขาถวายข้าวต้ม

หรือข้าวสวย ของเคี้ยว หรือของฉัน.

บทว่า ไม่ให้ถวายแล้ว คือ ไม่ให้เขาถวายอะไร ๆ สักอย่าง.

บทว่า ส่งไป ความว่า ปรารถนาจะกระซิกกระซี้ ปรารถนาจะเล่น

ปรารถนาจะนั่งในที่ลับ ปรารถนาจะประพฤติอนาจารกับมาตุคาม พูดอย่างนั้น

ว่ากลับไปเถิด อาวุโส การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเรากับท่าน ไม่เป็นผาสุก

การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเราคนเดียว ย่อมเป็นผาสุก ดังนี้ ให้กลับ ต้อง

อาบัติทุกกฏ เมื่อเธอจะละอุปจารแห่งการเห็น หรืออุปจารแห่งการฟัง ต้อง

อาบัติทุกกฏ เมื่อละแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

คำว่า ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่

อย่างอื่นไม่ ความว่า ไม่มีเหตุจำเป็นอย่างอื่นเพื่อจะส่งไป.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๓๓] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ส่งกลับ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ส่งกลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ส่งกลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ฉักกทุกกฏ

ทำเป็นโกรธ ส่งกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ส่งอนุปสัมบันกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทำเป็นโกรธ ส่งกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน . . . ต้องอาบัติทุกกฏ

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 587

อานาปัตติวาร

[๕๓๔] ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า เรา ๒ รูปรวมกันจักไม่พอฉัน ๑

ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า รูปนั้นพบสิ่งของมีราคามากแล้ว จักยังความโลภให้

เกิด ๑ ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า รูปนั้นเห็นมาตุคามแล้วจักยังความกำหนัด

ให้เกิด ๑ ภิกษุส่งกลับไปด้วยสั่งว่า จงนำข้าวต้มหรือข้าวสวย ของเคี้ยวหรือ

ของฉันไปให้แก่ภิกษุผู้อาพาธ แก่ภิกษุผู้ตกค้างอยู่ หรือแก่ภิกษุผู้เฝ้าวิหาร ๑

ภิกษุไม่ประสงค์จะพระพฤติอนาจาร แต่เมื่อมีกิจจำเป็น จึงส่งกลับไป ๑ ภิกษุ

วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

อุยโยชน สิกขาบทที่ ๒

ในสิกขาบทที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะในปฐมบัญญัติของสิกขาบท]

บทว่า ปฏิกฺกมเนปิ แปลว่า แม้ในโรงฉัน.

บทว่า ภตฺตวิสฺสคฺค แปลว่า ภัตกิจ.

บทว่า น สมฺภาเวสิ แปลว่า ไม่ทันเวลา.

บทว่า อนาจาร ได้แก่ การละเมิดทางกายทวารและวจีทวาร อัน

เหลือจากอนาจารที่กล่าวแล้ว .

ในคำว่า ทสฺสนูปจาร วา สวนูปจาร วา วิชหนฺตสฺส นี้

มีวินิจฉัยว่า ถ้าภิกษุยืน หรือนั่งขับไล่, ภิกษุใดถูกขับไล่, ภิกษุนั้นกำลังละ

อุปจารไป, และชื่อว่า อาบัติไม่มีแก่ภิกษุนั้น, แต่เมื่อภิกษุผู้ถูกขับไล่ไปนั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 588

แม้กำลังละ (อุปจาร) ไป โดยอรรถก็เป็นอันภิกษุผู้ขับไล่นอกนี้ละไปแล้ว

ทีเดียว; เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ขับไล่เท่านั้นเป็นอาบัตินี้. บรรดาอาบัติเหล่านั้น

ถ้าว่าเท้าข้างหนึ่งยังอยู่ภายในอุปจารเป็นทุกกฏ, ในขณะล่วงเขตแดนไป เป็น

ปาจิตตีย์

ก็บรรดาอุปจารการเห็นและอุปจารการได้ยินนี้ ประมาณ ๑๒ ศอก

ในโอกาสกลางแจ้ง เป็นประมาณแห่งอุปจารการเห็น, อุปจารการได้ยิน ก็มี

ประมาณเท่ากัน. ก็ถ้าว่ามีฝาประตูและกำแพงเป็นต้นคั่นอยู่ ภาวะที่ฝาประตู

และกำแพงเป็นต้นนั้นคั่นไว้นั่นแหละ เป็นการล่วงเลยทัสสนูปจาร. บัณฑิต

พึงทราบอาบัติ ด้วยอำนาจการล่วงเลยทัสสนูปจารนั้น.

คำว่า น อญฺโ โกจิ ปจฺจโย โหติ มีความว่า เว้นอนาจาร

มีประการดังกล่าวแล้ว ไม่มีเหตุจำเป็นอะไรอย่างอื่น.

สองบทว่า กลิสาสน อาโรเปติ มีความว่า ความโกรธ ชื่อว่า

กลิ. ยกเรื่องแห่งความโกรธนั้นขึ้น คือ ยกอาชญาแห่งความโกรธขึ้น. อธิบาย

ว่า แสดงโทษในการยืนและการนั่งเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งความโกรธ กล่าว

ถ้อยคำอันไม่เจริญใจ อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ! จงดู การยืน การนั่ง การดู

การเหลียวแล ของภิกษุนี้, เธอยืนเหมือนหัวตอ, นั่งเหมือนสุนัข, เหลียวดู

ทางโน้นทางนี้เลิ่กลั่กเหมือนลิง ด้วยตั้งใจว่า แม้ไฉนผู้นี้ถูกเรารบกวนด้วย

ถ้อยคำอันไม่จำเริญใจอย่างนี้แล้ว พึงหลีกไปเสีย. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม

วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

อุยโยชนสิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 589

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๕๓๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน

พระอุปนันทศากยบุตรไปสู่เรือนของสหายแล้ว สำเร็จการนั่งในเรือนนอนกับ

ภรรยาของเขา จึงบุรุษสหายนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ครั้นแล้ว

กราบไหว้ท่านพระอุปนันทศากยบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เขานั่ง

เรียบร้อยแล้วบอกภรรยาว่า จงถวายภิกษาแก่พระคุณเจ้า จึงนางได้ถวายภิกษา

แก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร บุรุษนั้นได้เรียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า

นิมนต์ท่านกลับเถิดขอรับ เพราะภิกษาข้าพเจ้าก็ได้ถวายแก่พระคุณเจ้าแล้ว

สตรีภรรยานั้นกำหนดรู้ในขณะนั้นว่า บุรุษนี้อันราคะรบกวนแล้ว จึงเรียน

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า นิมนต์ท่านนั่งอยู่ก่อนเถิดเจ้าค่ะ อย่าเพิ่งไป.

แม้ครั้งที่สอง บุรุษนั้น...

แม้ครั้งที่สาม บุรุษนั้นก็ได้เรียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า นิมนต์

ท่านกลับเถิด ขอรับ เพราะภิกษาข้าพเจ้าก็ได้ถวายแก่พระคุณเจ้าแล้ว.

แม้ครั้งที่สาม หญิงนั้นก็ได้เรียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า นิมนต์

ท่านนั่งอยู่ก่อนเถิด เจ้าค่ะ อย่าเพิ่งไป.

ทันใด บุรุษสามีเดินออกไปกล่าวยกโทษต่อภิกษุทั้งหลายว่า ท่าน

เจ้าข้า พระคุณเจ้าอุปนันท์นี้นั่งในห้องนอนกับภรรยาของกระผม กระผม

นิมนต์ให้ท่านกลับไป ก็ไม่ยอมกลับ กระผมมีกิจมาก มีกรณียะมาก.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า

ไฉนท่านอุปนันทศากยบุตรจึงได้สำเร็จการนั่งแทรกแซง ในตระกูลที่มีคน ๒

คนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 590

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนันท์

ข่าวว่าเธอสำเร็จการนั่งแทรกแซง ในตระกูลที่มีคน ๒ คน จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันท์ทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้สำเร็จ การนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน ๒ คนเล่า การกระทำเองเธอนั่น

ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส

ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๒.๓. อนึ่ง. . .ภิกษุใด สำเร็จการนั่งแทรกแซงในตระกูลที่

มีคน ๒ คน เป็นปาจิตติย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๓๖] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ตระกูลที่ชื่อว่า มีคน ๒ คน คือ มีเฉพาะสตรี ๑ บุรุษ ๑ ทั้ง

สองคนยังไม่ออกจากกัน ทั้งสองคนหาใช่ผู้ปราศจากราคะไม่.

บทว่า แทรกแซง คือ กีดขวาง.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 591

บทว่า สำเร็จการนั่ง ความว่า ในเรือนใหญ่ ภิกษุนั่งละหัตบาส

แห่งบานประตู ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ในเรือนเล็ก นั่งล้ำท่ามกลางห้องเรือน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๓๗] ห้องนอนภิกษุสำคัญว่าห้องนอน สำเร็จการนั่งแทรกแซง

ในตระกูลที่มีตน ๒ คน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ห้องนอน ภิกษุสงสัย สำเร็จการนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีตน ๒ คน

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ห้องนอน สำเร็จการนั่งแทรกแซง ใน

ตระกูลที่มีตน ๒ คน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ไม่ใช่ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าห้องนอน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่ห้องนอน ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ห้องนอน...ไม่ต้องอาบัติ.

อานาปัตติวาร

[๕๓๘] ภิกษุนั่งในเรือนใหญ่ ไม่ล่วงล้ำหัตถบาสแห่งบานประตู ๑

ภิกษุนั่งในเรือนเล็ก ไม่เลยท่ามกลางห้อง ๑ ภิกษุมีเพื่อนอยู่ด้วย ๑ คนทั้ง

สองออกจากกันแล้ว ทั้งสองปราศจากราคะแล้ว ๑ ภิกษุนั่งในสถานที่อันมิใช่

ห้องนอน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 592

สโภชนสิกขาบทที่ ๓

ในสิกขาบทที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะในปฐมบัญญัติแห่งสิกขาบท]

บทว่า สยนีฆเร แปลว่า ในเรือนนอน.

คำว่า ยโต อยฺยสฺส ภิกฺขา ทินฺนา แปลว่า เพราะข้าพเจ้าได้

ถวายภิกษาแล้ว. อธิบายว่า สิ่งใดอันผู้มาแล้วพึงได้, ท่านได้สิ่งนั้นแล้ว,

นิมนต์ท่านกลับไปเถิด,

บทว่า ปริยฏฺิโต คือ เป็นผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว, ความว่า มี

ความประสงค์ในเมถุน.

บทว่า สโภชเน ได้แก่ สกุลที่เป็นไปกับด้วยคน ๒ คน ชื่อว่า

สโภชนะ. ในสกุลมีคน ๒ คนนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สโภชเน คือ

ในสกุลมีโภคะ. เพราะว่า สตรีเป็นโภคะของบุรุษ ผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว

และบุรุษก็เป็นโภคะของสตรี (ผู้กลัดกลุ้มด้วยราคะ), ด้วยเหตุนั้นนั่นแล

ในบทภาชนะแห่งบทว่า สโภชเน นั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มีสตรี

กับบุรุษ เป็นต้น.

สองบทว่า มหลฺลเก ฆเร คือ ในเรือนนอนหลังใหญ่.

สามบทว่า ปิฏฺิสงฆาฏสฺส หตฺถปาส วิชหิตฺวา มีความว่า

ละหัตถบาสแห่งบานประตูห้องในเรือนนอนนั้น แล้วนั่ง ณ ที่ใกล้ภายในที่

นอน. ก็เรือนนอนเช่นนี้ มีในศาลา ๔ มุขเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมทรงแสดงการล้ำท่ามกลางด้วยคำนี้ว่า ปิฏฺิวส อติกฺกมิตฺวา. เพราะ

เหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบอาบัติ เพราะล้ำท่ามกลางแห่งเรือนนอนหลังเล็ก

ที่เขาสร้างไว้ อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์

สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุสลจิต มีเวทนา ๒ ดังนี้แล.

สโภชนสิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 593

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๕๓๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน

พระอุปนันทศากยบุตรไปสู่เรือนของสหายแล้วสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือใน

อาสนะกำบังกับภรรยาของเขา จึงบุรุษสหายนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า

ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันท์จึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบังกับ

ภรรยาของเขาเล่า

ภิกษุทั้งหลายได้ยินเขาเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้

มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร

จึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบังกับมาตุคามเล่า แล้วกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนันท์

ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบังกับมาตุคาม จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันท์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบังกับมาตุคามเล่า การกระทำของ

เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ

เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 594

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๓. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะ

กำบัง กับมาตุคาม เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๔๐] บทว่า อนึ่ง ...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...

นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต

ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย โดยที่สุดแม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น ไม่ต้องพูดถึง

หญิงผู้ใหญ่.

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.

ที่ชื่อว่า ในที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา ๑ ที่ลับหู ๑

ที่ชื่อว่า ที่ลับตา ได้แก่ ที่ซึ่งไรเมื่อภิกษุหรือมาตุคามขยิบตา ยักคิ้ว

หรือชะเง้อศรีษะ. ไม่มีใครสามารถจะแลเห็นได้

ที่ชื่อว่า ที่ลับหู ได้แก่ ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำที่สนทนา

กันตามปกติได้

อาสนะที่ชื่อว่า กำบัง คือ เป็นอาสนะที่เขากำบังด้วยฝา บานประตู

ลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือฉางข้าว อย่างใดอย่างหนึ่ง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 595

คำว่า สำเร็จการนั่ง ความว่า เมื่อมาตุคามนั่งแล้ว ภิกษุนั่งใกล้

หรือนอนใกล้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เมื่อภิกษุนั่งแล้ว มาตุคามนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทั้งสองนั่งก็ดี ทั้งสองนอนก็ดี ภิกษุก็ดี อาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๔๑] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ

ในอาสนะกำบัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

มาตุคาม ภิกษุสงสัย สำเร็จการนั่งในที่ลับคือในอาสนะกำบัง ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์

มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือใน

อาสนะกำบัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ

ภิกษุสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบังกับหญิงยักษ์ หญิงเปรต

บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียมีกายดังมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม...ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม... ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 596

อนาปัตติวาร

[๕๔๒] ภิกษุมีบุรุษผู้รู้เตียงสาคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเป็นเพื่อน ๑ ภิกษุ

ยืนมิได้นั่ง ๑ ภิกษุมิได้มุ่งที่ลับ ๑ ภิกษุนั่งส่งใจไปในอารมณ์อื่น ๑ ภิกษุ

วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

สิกขาบทที่ ๔ และที่ ๕

คำที่จะพึงกล่าวในสิกขาบทที่ ๔ และที่ ๕ ทั้งหมด มีนัยดังกล่าวแล้ว

ในอนิยสิกขาบททั้ง ๒ นั่นแล. เหมือนอย่างว่า สโภชนสิกขาบทมีสมุฏฐาน

ดุจปฐมปาราชิกสิกขาบท ฉันใด สิกขาบทที่ ๔ และที่ ๕ แม้น ก็มีสมุฏฐาน

ดุจปฐมปาราชิกสิกขาบทเหมือนกันฉันนั้นแล.

สิกขาบทที่ ๔-๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 597

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๕๔๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน

พระอุปนันทศากยบุตรไปสู่เรือนของสหายแล้ว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภรรยา

ของเขาหนึ่งต่อหนึ่ง จึงบุรุษสหายนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน

พระคุณเจ้าอุปนันท์จึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภรรยาของเขาหนึ่งต่อหนึ่งเล่า

ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็น

ผู้มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุปนันท-

ศากยบุตรจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า แล้วกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนันท์

ข่าวว่าเธอสำเร็จการนั่งในที่ลบกับมาตุคามหนึ่งต่อหนึ่ง จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันท์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับมาตุคามหนึ่งต่อหนึ่งเล่า การกระทำของเธอนั่น

ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 598

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๔. ๕ อนึ่ง ภิกษุใด ผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ กับ

มาตุคามผู้เดียว เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๔๔] บทว่า อนึ่ง ...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต

ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย. เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบถ้อยคำที่เป็น

สุภาษิต และทุพภาษิต ที่ชั่วหยาบและไม่ชั่วหยาบ.

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.

บทว่า ผู้เดียว. . .ผู้เดียว คือ มีภิกษุ ๑ มาตุคาม ๑

ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ที่ลับตา ๑ ที่ลูบหู ๑

ที่ชื่อว่า ที่ลับตา ได้แก่ สถานที่ซึ่งมีภิกษุหรือมาตุคาม ขยิบตา

ยักคิ้ว หรือชะเง้อศีรษะ ไม่มีใครสามารถจะแลเห็นได้

ที่ชื่อว่า ที่ลับหู ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำ

ที่สนทนากันตามปกติได้

คำว่า สำเร็จการนั่ง ความว่า เมื่อมาตุคามนั่งแล้ว ภิกษุนั่งใกล้

หรือนอนใกล้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 599

เมื่อภิกษุนั่งแล้ว มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทั้งสองนั่งก็ดี ทั้งสองนอนก็ดี ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๔๕] มาตุคามภิกษุสำคัญ ว่ามาตุคาม สำเร็จการนั่งในที่ลับหนึ่งต่อ

หนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

มาตุคาม ภิกษุสงสัย สำเร็จการนั่งในที่ลับ หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์

มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม สำเร็จการนั่งในที่ลับ หนึ่ง

ต่อหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

ภิกษุสำเร็จการนั่งในที่ลับ กับหญิงยักษ์ หญิงเปรต บัณเฑาะก์ หรือ

สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียมีกายดังมนุษย์ หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๔๖] ภิกษุมีบุรุษผู้รู้เดียงสา คนใดคนหนึ่ง อยู่เป็นเพื่อน ๑

ภิกษุยืน ไม่ได้นั่ง ๑ ภิกษุไม่ได้มุ่งที่ลับ ๑ ภิกษุนั่งส่งใจไปในอารมณ์อื่น ๑

ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 600

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๕๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์

ครั้งนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตร นิมนต์ท่านฉัน

ภัตตาหาร แม้ภิกษุเหล่าอื่นเขาก็นิมนต์ด้วย เวลานั้น เป็นเวลาก่อนอาหาร ท่าน

พระอุปนันทศากยบุตรยังกำลังเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลายอยู่ จึงภิกษุเหล่านั้น ได้

บอกทายกเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายจงถวายภัตตาหารเถิด พวกทายกกล่าวว่า

นิมนต์รออยู่จนกว่าพระคุณเจ้าอุปนันท์จะมา ขอรับ.

แม้ครั้งที่สอง ภิกษุเหล่านั้นก็ได้บอกทายกเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย

จงถวายภัตตาหารเถิด พวกทายกกล่าวว่า นิมนต์รออยู่จนกว่าพระคุณเจ้า

อุปนันท์จะมา ขอรับ.

แม้ครั้งที่สาม ภิกษุเหล่านั้นก็ได้บอกทายกเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย

จงถวายภัตตาหารเถิด เวลาก่อนเที่ยงจะล่วงเลยแล้ว ทายกอ้อนวอนว่า พวก

กระผมตกแต่งภัตตาหารก็เพราะเหตุแห่งพระคุณเจ้าอุปนันท์ นิมนต์รออยู่จน

กว่าพระคุณเจ้าอุปนันท์จะมา ขอรับ.

คราวนั้น ท่านพระอุปนันท์ศากยบุตรได้เข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย ก่อน

เวลาฉัน มาถึงเวลาบ่ายภิกษุทั้งหลายไม่ได้ฉันตามประสงค์ บรรดาภิกษุที่เป็น

ผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ท่านพระอุปนันทศากยบุตรรับ

นิมนต์เขาแล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว ไฉนจึงได้ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูล

ทั้งหลาย ก่อนเวลาฉันเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 601

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนันท์

ข่าวว่า เธอรับนิมนต์เข้าแล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปใน

ตระกูลทั้งหลาย ก่อนเวลาฉัน จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันท์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอรับ

นิมนต์เขาแล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว ไฉนจึงได้ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูล

ทั้งหลาย ก่อนฉันเล่า การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ

ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๕. ๖. ก. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว ถึง

ความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายก่อนฉัน เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร (ต่อ)

[๕๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันท-

ศากยบุตรได้ส่งของเคี้ยวไปถวายแก่สงฆ์ สั่งว่า ต้องมอบให้พระคุณเจ้าอุปนันท์

ถวายแก่สงฆ์ แต่เวลานั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตรกำลังเข้าไปบิณฑบาตยัง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 602

หมู่บ้าน เมื่อชาวบ้านเหล่านั้นไปถึงอารามแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า พระคุณเจ้า

อุปนันท์ไปไหน เจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนั้น เข้าไปบิณฑบาต

ยังหมู่บ้านแล้วจ้ะ.

ชาวบ้านสั่งว่า ท่านขอรับ ของเคี้ยวนี้ต้องมอบให้พระคุณเจ้าอุปนันท์

ถวายแก่สงฆ์.

ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่ง

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวกเธอจงรับประเคนแล้วเก็บไว้จนกว่า

อุปนันท์จะกลับมา.

ส่วนท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้คิดว่า การถึงความเป็นผู้เที่ยวไป

ในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จึงเข้าไปยัง

ตระกูลทั้งหลายหลังเวลาฉันแล้ว บ่ายจึงกลับ ของเคี้ยวได้ถูกส่งคืนกลับไป.

บรรดาภิกษุที่มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน

ท่านพระอุปนันทศากยบุตร จึงได้ถึงความเป็นผู้เที่ยวไป ในตระกูลทั้งหลาย

หลังเวลาฉันเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนันท์

ข่าวว่า เธอถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายหลังเวลาฉัน จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันท์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง ติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายหลังเวลาฉันเล่า การกระทำของ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 603

เธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ

เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระอนุบัญญัติ ๑

๙๕. ๖. ข. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว

ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี

เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

ทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวถวายจีวร

[๕๔๙] โดยสมัยต่อมา ถึงคราวถวายจีวรกัน ภิกษุทั้งหลายพากัน

รังเกียจ ไม่เข้าไปสู่ตระกูล จีวรจึงเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ภิกษุทั้งหลายได้

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

คราวที่ถวายจีวร เราอนุญาตให้เข้าไปสู่ตระกูลได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระอนุบัญญัติ ๒

๙๕. ๖. ค. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว

ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี

เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวที่ถวายจีวร

นี้สมัยในเรื่องนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 604

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวถวายจีวร จบ

ทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวทำจีวร

[๕๕๐] โดยสมัยต่อมาอีก ภิกษุทั้งหลายทำจีวรกันอยู่ ต้องการเข็ม

บ้าง ด้ายบ้าง มีดบ้าง ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจไม่เข้าไปสู่ตระกูล จึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

คราวที่ทำจีวร เราอนุญาตให้เข้าไปสู่ตระกูลได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระอนุบัญญัติ ๓

๙๕. ๖. ฆ. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว

ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี

เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวที่ถวาย

จีวร คราวที่ทำจีวร นี้สมัยในเรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวทำจีวร จบ

ทรงอนุญาตให้บอกลาก่อนเข้าสู่ตระกูล

[๕๕๑] โดยสมัยต่อจากนั้นมา ภิกษุทั้งหลายอาพาธ และมีความ

ต้องการเภสัช ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจไม่เข้าไปสู่ตระกูล จึงกราบทูลเรื่อง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 605

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกลา

ภิกษุซึ่งมีอยู่แล้วเข้าไปสู่ตระกูลได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๔

๙๕. ๖. ง. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้วไม่

บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อน

ฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น

คือ คราวที่ถวายจีวร คราวที่ทำจีวร นี้สมัยในเรื่องนั้น.

เรื่องทรงอนุญาตให้บอกลาก่อนเข้าสู่ตระกูล จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๕๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า รับนิมนต์แล้ว คือ รับนิมนต์ฉันโภชนะ ๕ อย่างใด

อย่างหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า มีภัตอยู่แล้ว คือ มีอาหารที่รับนิมนต์เขาไว้แล้ว.

ภิกษุที่ชื่อว่า ซึ่งมีอยู่ คือ อาจที่จะบอกลาก่อนเข้าไป.

ภิกษุที่ชื่อว่า ซึ่งไม่มีอยู่ คือ ไม่อาจที่จะบอกลาก่อนเข้าไป

ที่ชื่อว่า ก่อนฉัน คือ ภิกษุยังไม่ได้ฉันอาหารที่รับนิมนต์เขาไว้.

ที่ชื่อว่า ทีหลังฉัน คือ ภิกษุฉันอาหารที่รับนิมนต์เขาไว้แล้วโดย

ที่สุด แม้ด้วยปลายหญ้าคา.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 606

ที่ชื่อว่า ตระกูล ได้แก่ตระกูล ๔ คือ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูล

พราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ตระกูลศทร.

คำว่า ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย นั้น ความว่า

ภิกษุก้าวลงสู่อุปจารเรือนของผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ก้าวเท้าที่ ๑ ล่วงธรณี-

ประตู ต้องอาบัติทุกกฏ ก้าวเท้าที่ ๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกเว้นแต่มีสมัย.

ที่ชื่อว่า คราวที่ถวายจีวร คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐิน ๑ เดือน

ท้ายฤดูฝน เมื่อกรานกฐินแล้ว ๕ เดือน.

ที่ชื่อว่า คราวที่ทำจีวร คือ เมื่อคราวกำลังทำจีวรกันอยู่.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๕๓] รับนิมนต์แล้ว ภิกษุสำคัญว่ารับนิมนต์แล้ว ไม่บอกลาภิกษุ

ซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี

เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รับนิมนต์แล้ว ภิกษุสงสัย ไม่บอกภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยว

ไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รับนิมนต์แล้ว ภิกษุสำคัญว่ามิได้รับนิมนต์ ไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่

ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี เว้นไว้แต่

สมัย ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ไม่ได้รับนิมนต์ ภิกษุสำคัญว่ารับนิมนต์แล้ว .. . ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ได้รับนิมนต์ ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 607

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ได้รับนิมนต์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับนิมนต์...ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๕๔] ภิกษุฉันในสมัย ๑ ภิกษุบอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่แล้วจึงเข้าไป ๑

ไม่ได้บอกลาภิกษุซึ่งไม่มีอยู่ แล้วเข้าไป ๑ เดินทางผ่านเรือนผู้อื่น ๑ เดิน

ทางผ่านอุปจารเรือน ๑ ไปอารามอื่น ๑ ไปสู่สำนักภิกษุณี ๑ ไปสู่สำนัก

เดียรถีย์ ๑ ไปโรงฉัน ๑ ไปเรือนที่เขานิมนต์ฉัน ๑ ไปเพราะมีอันตราย ๑

ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

จาริตสิกขาบทที่ ๖

ในสิกขาบทที่ ๖ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[แก้อรรถบางปาฐะปฐมบัญญัติและอนุบัญญัติ]

ในคำว่า เทถาวุโส ภตฺต นี้ มีวินิจฉัยว่า ได้ยินว่า ภัตนั้น เป็น

ของที่พวกชาวบ้านน้อมนำมาแล้ว; เพราะเหตุนั้น พวกภิกษุจึงได้กล่าวอย่าง

นั้น . แต่ในภัตตาหาร ที่พวกชาวบ้านมิได้น้อมนำมา ภิกษุย่อมไม่ได้เพื่อที่จะ

กล่าวอย่างนั้น (กล่าวว่า ให้ภัตตาหารเถิด อาวุโส) เป็นปยุตตวาจา (การ

ออกปากขอของ).

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวก

เธอจงรับประเคนแล้วเก็บไว้ ดังนี้ เพื่อต้องการรักษาศรัทธาของตระกูล. ก็

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 608

ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสว่า พวกเธอแบ่งกันฉันเถิด, พวกชาว-

บ้านจะพึงคลายความเลื่อมใส.

บทว่า อุสฺสาทยิตฺถ แปลว่า ได้ถูกนำกลับคืนไป. มีคำอธิบายว่า

พวกชาวบ้านได้นำขาทนียะนั้นกลับไปยังเรือนอย่างเดิม.

ในคำว่า สนฺต ภีกฺขุ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุชื่อว่ามีอยู่ด้วย

เหตุมีประมาณเท่าไร ? ชื่อว่า ไม่มี ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ? คือ ภิกษุ

ผู้อยู่ในสถานแห่งใดภายในวิหาร เกิดมีความคิดว่า จะเข้าไปเยี่ยมตระกูล,

จำเติมแต่นั้น เห็นภิกษุใดที่ข้าง ๆ หรือตรงหน้า หรือภิกษุใดที่ตนอาจจะบอก

ด้วยคำพูดตามปกติได้, ภิกษุนี้ชื่อว่า มีอยู่. แต่ไม่มีกิจที่จะต้องเที่ยวไปบอก

ลาทางโน้นและทางนี้. จริงอยู่ ภิกษุที่ตนต้องเที่ยวหาบอกลาอย่างนี้ ชื่อว่า

ไม่มีนั่นเอง. อีกนัยหนึ่ง ภิกษุไปด้วยทำในใจว่า เราพบภิกษุภายในอุปจาร-

สีมาแล้วจักบอกลา พึงบอกลาภิกษุที่ตนเห็นภายในอุปจารสีมานั้น ถ้าไม่พบ

ภิกษุ ชื่อว่า เป็นผู้เข้าไปไม่บอกลาภิกษุที่ไม่มี.

บทว่า อนฺตราราม ได้แก่ ไปสู่วิหารที่มีอยู่ในภายในบ้าน.

บทว่า ภตฺติยฆร ได้แก่ เรือนที่เขานิมนต์ หรือเรือนของพวก

ชาวบ้านผู้ถวายสลากภัตเป็นต้น.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เมื่อมีอันตรายแห่งชีวิตและพรหมจรรย์

จะไปก็ควร. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น .

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา

๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปันณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล

จาริตสิกขาบทที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 609

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องมหานามศากยะ

[๕๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ

นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น มหานามศากยะมี

เภสัชมากมาย จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะปวารณาต่อสงฆ์ด้วยปัจจัย

เภสัชตลอด ๔ เดือน พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดี ๆ มหานาม ถ้าเช่นนั้น เธอจงปวารณา

ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชตลอด ๘ เดือนเถิด.

ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับปวารณา ได้กราบทูลเหตุนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีการ

ปวารณาด้วยปัจจัย ๔ ตลอด ๔ เดือน.

ก็สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายขอปัจจัยเภสัชต่อมหานามศากยะเพียงเล็ก

น้อยเท่านั้น ปัจจัยเภสัชของมหานามศากยะ จึงยังคงมากมายอยู่ตามเดิมนั่น

แหละ.

แม้ครั้งที่สอง มหานามศากยะก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะ

ปวารณาต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชต่ออีก ๔ เดือน พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดี ๆ มหานาม ถ้าเช่นนั้น เธอจงปวารณา

ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชต่ออีก ๔ เดือนเถิด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 610

ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับปวารณา ได้กราบทูลเหตุนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีการ

ปวารณาต่ออีกได้.

ก็สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายขอปัจจัยเภสัชต่อมหานามศากยะเพียงเล็ก

น้อยเท่านั้น ปัจจัยเภสัชของมหานามศากยะจึงยังคงมากมายอยู่ตามเดิมนั่นแหละ

แม้ครั้งที่สาม มหานามศากยะก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะ

ปวารณาต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดี ๆ มหานาม ถ้าเช่นนั้น เธอจงปวารณา

ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชตลอดชีวิตเถิด

ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับปวารณา ได้กราบทูลเหตุนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดี แม้ซึ่งการ

ปวารณาเป็นนิตย์.

[๕๕๖] ครั้นสมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าไม่เรียบร้อย ไม่สมบูรณ์

ด้วยมรรยาท ถูกมหานามศากยะกล่าวตำหนิว่า ทำไมท่านทั้งหลายจึงนุ่งห่มผ้า

ไม่เรียบร้อย ไม่สมบูรณ์ด้วยมรรยาท ธรรมเนียมบรรพชิตต้องนุ่งห่มผ้าให้

เรียบร้อย ต้องสมบูรณ์ด้วยมรรยาท มิใช่หรือ พระฉัพพัคคีย์ผูกใจเจ็บใน

มหานามศากยะ ครั้นแล้วได้ปรึกษากันว่า ด้วยอุบายวิธีไหนหนอ เราจึงจะ

ทำมหานามศากยะให้ได้รับความอัปยศ แล้วปรึกษากันต่อไปว่า อาวุโสทั้งหลาย

มหานามศากยะได้ปวารณาไว้ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัช พวกเราพากันไปขอเนยใส

ต่อมหานามศากยะเถิด แล้วเข้าไปมหานามศากยะกล่าวคำนี้ว่า อาตมภาพทั้ง-

หลายต้องการเนยใส ๑ ทะนาน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 611

มหานามศากยะขอร้องว่า วันนี้ขอพระคุณเจ้าได้โปรดคอยก่อน คน

ทั้งหลายยังไปคอกนำเนยใสมา พระคุณเจ้าทั้งหลายจักได้รับทันกาล.

แม้ครั้งที่สอง . . .

แม้ครั้งที่สาม พระฉัพพัคคีย์ก็ได้กล่าวว่า อาตมภาพทั้งหลายต้องการ

เนยใส ๑ ทะนาน

มหานามศากยะรับสั่งว่า วันนี้ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย ได้โปรดรอก่อน

คนทั้งหลายยังไปคอกนำเนยใสมา พระคุณเจ้าจักได้รับทันกาล พระฉัพพัคคีย์

ต่อว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยเนยใสที่ท่านไม่ประสงค์จะถวาย แต่ได้ปวารณา

ไว้ เพราะท่านปวารณาไว้แล้วไม่ถวาย.

จึงมหานามศากยะ เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ก็เมื่อฉันขอร้อง

พระคุณเจ้าว่า วันนี้ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายได้โปรดคอยก่อน ดังนี้ ไฉน

พระคุณเจ้าจึงรอไม่ได้เล่า.

ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินมหานามศากยะ เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่

บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย.. .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า พระฉัพพัคคีย์อัน

มหานามศากยะ ขอร้องว่า วันนี้ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายได้โปรดคอยอยู่ก่อน

ดังนี้ ไฉนจึงคอยไม่ได้เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า .. .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธออันมหานามศากยะพูดขอร้องว่า วันนี้ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย

ได้โปรดคอยก่อน ดังนี้ แล้วไม่คอย จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 612

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย พวกเธอ

อันมหานามศากยะพูดขอร้องเช่นนั้นแล้ว ไฉนจึงคอยอยู่ไม่ได้เล่า การกระทำ

ของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ

ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๙๖. ๗. ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ พึงยินดีปวารณาด้วยปัจจัยเพียงสี่

เดือน เว้นไว้แต่ปวารณาอีก เว้นไว้แต่ปวารณาเป็นนิตย์ ถ้าเธอยิน

ดี ยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องมหานามศากยะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๕๗] คำว่า ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ พึงยินดีปวารณาด้วยปัจจัย

สี่เดือน นั้น ความว่าพึงยินดีปวารณาเฉพาะปัจจัยของภิกษุไข้แม้เขาปวารณา

อีกก็พึงยินดีว่า เราจักขอชั่วเวลาที่ยังอาพาธอยู่ แม้เขาปวารณาเป็นนิตย์ ก็

พึงยินดีว่า เราจักขอชั่วเวลาที่ยังอาพาธอยู่.

[๕๕๘] บทว่า ถ้าเธอยินดียิ่งกว่านั้น ความว่า การปวารณา

กำหนดเภสัชแต่ไม่กำหนดกาลก็มี กำหนดกาลแต่ไม่กำหนดเภสัชก็มี กำหนด

ทั้งเภสัชและกาลก็มี ไม่กำหนดเภสัชไม่กำหนดกาลก็มี

ที่ชื่อว่า กำหนดเภสัช คือ เขากำหนดเภสัชไว้ว่า ข้าพเจ้าขอ

ปวารณาด้วยเภสัชประมาณเท่านี้ .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 613

ที่ชื่อว่า กำหนดกาล คือ เขากำหนดกาลไว้ว่า ข้าพเจ้าขอปวารณา

ในระยะกาลเท่านี้

ที่ชื่อว่า กำหนดทั้งเภสัชและกาล นั้น คือ เขากำหนดเภสัช และ

กาลไว้ว่า ข้าพเจ้าขอปวารณาด้วยเภสัชมีประมาณเท่านี้ ในระยะกาลเพียงเท่านี้

ที่ชื่อว่า ไม่กำหนดเภสัชไม่กำหนดกาล นั้น คือ เขาไม่ได้

กำหนดเภสัชและกาลไว้ว่า ข้าพเจ้าขอปวารณาด้วยเภสัชมีประมาณเท่านี้ ใน

ระยะกาลเพียงเท่านี้.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๕๙] ในการกำหนดเภสัช ภิกษุขอเภสัชอย่างอื่นนอกจากเภสัชที่

เขาปวารณา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ในการกำหนดกาล ภิกษุขอในกาลอื่นนอกจากกาลที่เขาปวารณา ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์

ในการกำหนดทั้งเภสัชกำหนดทั้งกาล ภิกษุขอเภสัชอย่างอื่นนอกจาก

เภสัชที่เขาปวารณา และในกาลอื่นนอกจากกาลที่เขาปวารณา ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

ไม่ต้องอาบัติ

ในการไม่กำหนดเภสัช ไม่กำหนดกาละ... ไม่ต้องอาบัติ.

ปัญจกปาจิตตีย์

[๕๖๐] ในเมื่อต้องการใช้ของที่มิใช่เภสัช ภิกษุขอเภสัช ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 614

ในเมื่อต้องการใช้เภสัชอย่างอื่น ขอเภสัชอีกอย่าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ยิ่งกว่านั้น ภิกษุสำคัญว่ายิ่งกว่านั้น ขอเภสัช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ยิ่งกว่านั้น ภิกษุยังแคลงอยู่ ขอเภสัช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ยิ่งกว่านั้น ภิกษุสำคัญว่าไม่ยิ่งกว่านั้น ขอเภสัช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ไม่ยิ่งกว่านั้น ภิกษุสำคัญว่ายิ่งกว่านั้น.. . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ยิ่งกว่านั้น ภิกษุสำคัญว่าไม่ยิ่งกว่านั้น... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๖๑] ภิกษุผู้ขอเภสัช ตามที่เขาปวารณาไว้ ๑ ขอในระยะกาลตามที่

เขาปวารณาไว้ ๑ บอกขอว่า ท่านปวารณาพวกข้าพเจ้าด้วยเภสัชเหล่านี้ แต่

พวกข้าพเจ้าต้องการเภสัชชนิดนี้และชนิดนี้ ๑ บอกขอว่า ระยะกาลที่ท่านได้

ปวารณาไว้ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ข้าพเจ้ายังต้องการเภสัช ๑ ขอต่อญาติ ๑ ขอ

ต่อคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุรูปอื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑

ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 615

มหานามสิกขาบทที่ ๗

ในสิกขาบทที่ ๗ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถ เรื่องท้าวมหานามปวารณาเภสัช ]

พระโอรสแห่งพระเจ้าอาว์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แก่กว่าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเพียงเดือนเดียว เป็นพระอริยสาวก ดำรงอยู่ในผลทั้ง ๒ ทรงพระ

นามว่า ท้าวมหานาม.

สามบทว่า เภสชฺช อุสฺสนฺน โหติ มีความว่า เนยใสที่เขานำ

มาจากดอกเก็บไว้มีเป็นอันมาก.

บทว่า สาทิตพฺพา มีความว่า ภิกษุไม่พึงปฏิเสธในสมัยนั้นว่า ไม่

มีโรค พึงรับไว้ด้วยใส่ใจว่า เราจักขอในเมื่อมีโรค.

สามบทว่า เอตฺตเกหิ เภสชฺเชหิ ปวาเรมิ มีความว่า เขาปวารณา

ด้วยอำนาจชื่อ คือ ด้วยเภสัช ๒-๓ อย่าง มีเนยใสและ น้ำมันเป็นต้น หรือ

ด้วยอำนาจจำนวน คือ ด้วยกอบ ๑ ทะนาน ๑ อาฬหกะ ๑ เป็นต้น .

สามบทว่า อญฺ เภสชฺช วิญฺาเปติ มีความว่า เขาปวารณา

ด้วยเนยใส ขอน้ำมัน เขาปวารณาด้วยอาฬหกะ ขอโทณะ.

สองบทว่า น เภสฺชฺช กรณีเย มีความว่า ถ้าภิกษุอาจเพื่อดำรง

อัตภาพอยู่ได้ แม้ด้วยภัตระคนกัน ชื่อว่า กิจจะพึงทำด้วยเภสัชไม่มี.

บทว่า ปวาริตาน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่พวกภิกษุที่คนของตน

ปวารณาไว้ ด้วยการปวารณาเป็นส่วนบุคคล เพราะการออกปากขอตามสมควร

แก่เภสัชที่ปวารณาไว้. แต่ในเภสัช ที่เขาปวารณาด้วยอำนาจแห่งสงฆ์ ควรกำหนด

รู้ประมาณทีเดียวแล. คำทีเหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

มหานามสิกขาบทที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 616

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๕๖๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้า

ปเสนทิโกศลทรงยกกองทัพออก พระฉัพพัคคีย์ได้ไปดูกองทัพที่ยกออกแล้ว

พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทอดพระเนตรเห็นพระฉัพพัคคีย์กำลังเดินมาแต่ไกล

เทียว ครั้นแล้วรับสั่งให้นิมนต์มาตรัสถานว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายมาเพื่อประ-

สงค์อะไร เจ้าข้า.

พระฉัพพัคคีย์ถวายพระพรว่า พวกอาตมภาพประสงค์จะเฝ้ามหา-

บพิตร.

พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งว่า จะได้ประโยชน์อะไรด้วยการดูดิฉันผู้

เพลิดเพลินในการรบ พระคุณเจ้าควรเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ามิใช่หรือ.

ประชาชนพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อ

สายพระศากยบุตรจึงได้พากันมาดูกองทัพซึ่งยกออกแล้วเล่า ไม่ใช่ลาภของพวก

เรา แม้พวกเราที่พากันมาในกองทัพ เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่ง

บุตรภรรยาก็ได้ไม่ดีแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้น พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา

อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระ-

ฉัพพัคคีย์จึงได้ได้ไปดูกองทัพที่ยกออกไปเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 617

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอไปดูกองทัพซึ่งยกออกแล้ว จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอได้ไปดูกองทัพซึ่งยกออกไปเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่

เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด ไปเพื่อจะดูเสนาอันยกออกแล้วเป็น

ปาจิตตีย์ .

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๕๖๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ลุงของภิกษุรูปหนึ่งป่วยอยู่ในกองทัพ เขา

ส่งทูตไปในสำนักภิกษุนั้นว่า ลุงกำลังป่วยอยู่ในกองทัพ ขอพระคุณเจ้าจงมา

ลุงต้องการให้พระคุณเจ้ามา จึงภิกษุนั้นดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ

สิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลายไว้ว่า ภิกษุไม่พึงไปเพื่อจะดูเสนาอันยกออกแล้ว ก็นี่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 618

ลุงของเราป่วยอยู่ในกองทัพ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วแจ้งความนั้น

แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงอนุญาตให้ไปในกองทัพได้เมื่อจำเป็น

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเป็นเค้ามูล

นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ไปในกองทัพได้ เพราะปัจจัยเห็นปานนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๙๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด ไปเพื่อจะดูเสนาอันยกออกแล้วเว้น

ไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๖๔] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .

นี้ ชื่อว่าภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า อันยกออกแล้ว ได้แก่ กองทัพซึ่งยกออกจากหมู่บ้านแล้ว

ยังพักอยู่หรือเคลื่อนขบวนต่อไปแล้ว.

ที่ชื่อว่า เสนา ได้แก่กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ กองพล

เดินเท้า

ช้าง ๑ เชือก มีทหารประจำ ๑๒ คน ม้า ๑ ม้ามีทหารประจำ ๓ คน

รถ ๑ คัน มีทหารประจำ ๔ คน กองพลเดินเท้ามีทหารถือปืน ๔ คน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 619

ภิกษุไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุละทัศนูปจารแล้ว ยังมองดูอยู่อีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า เว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป คือ ยกเหตุจำเป็นเสีย.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๖๕] กองทัพยกออกไปแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายกออกไปแล้ว ไป

เพื่อจะดูเว้นไว้แต่ปัจจัยเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กองทัพยกออกไปแล้ว ภิกษุยังแคลงอยู่ ไปเพื่อจะดู เว้นไว้แต่ปัจจัย

เห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กองทัพยกออกไปแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายิ่งไม่ได้ยกออกไป ไปเพื่อจะดู

เว้นไว้แต่ปัจจัยเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ปัญจกทุกกฏ

ไปเพื่อจะดูกองทัพแต่ละกอง ต้องอาบัติทุกกฏ.

ยืนดูอยู่ในที่ใดมองเห็นได้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ละทัศนูปจารแล้วยังมองดูอยู่อีก ต้องอาบัติทุกกฏ.

กองทัพยังไม่ได้ยกออกไป ภิกษุสำคัญว่ายกออกไปแล้ว. ..ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

กองทัพยังไม่ได้ยกออกไป ภิกษุยังแคลงอยู่ ...ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

กองทัพยังไม่ได้ยกออกไป ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้ยกออกไป . .. ไม่ต้อง

อาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 620

อนาปัตติวาร

[๕๖๖] ภิกษุอยู่ในอารามมองเห็น ๑ กองทัพยกผ่านมายังสถานที่ภิกษุ

ยืนนั่ง หรือนอน เธอมองเห็น ๑ ภิกษุเดินสวนทางไปพบเข้า ๑ มีเหตุจำเป็น

๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

อุยยุตตสิกขาบทที่ ๘

ในสิกขาบทที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[ว่าด้วยกองทัพ ๔ เหล่าสมัยโบราณ]

บทว่า อพฺภุยยาโต คือ ทรงยกกองทัพออกไป, มีใจความว่า

เคลื่อนกองทัพออกไปจากพระนคร ด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักไปประจัญหน้า

ข้าศึก.

บทว่า อุยฺยุตฺต ได้แก่ กองทัพที่ทำการยกออกไปแล้ว, มีใจความว่า

กองทัพที่เคลื่อนออกจากหมู่บ้านไปแล้ว.

สองบทว่า ทฺวาทสปุริโส หตฺถี มีความว่า ช้าง ๑ เชือก มีทหาร

ประจำ ๑๒ คน อย่างนี้ คือ พลขับขี่ ๔ คน, พลรักษาประจำ เท้าช้างเท้าละ

๒ คน.

สองบทว่า ติปุริโส อสฺโส มีความว่า ม้า ๑ ม้า มีทหารประจำ

๓ คน อย่างนี้ คือ พลขับขี่ ๑ คน. พลรักษาประจำเท้า ๒ คน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 621

สองบทว่า จตุปฺปุริโส รโถ มีความว่า รถ ๑ คัน มีทหาร

ประจำ ๔ คน อย่างนี้ คือ สารถี (พลขับ) ๑ คน นักรบ (นายทหาร) ๑

พลรักษาสลักเพลา ๒ คน.

ข้อว่า จตฺตาโร ปุริสา สรหตฺถา ได้แก่ พลเดินเท้า มีพล

อย่างนี้ คือ ทหารถืออาวุธครบมือ ๔ คน. กองทัพประกอบด้วยองค์ ๔ นี้

โดยกำหนดอย่างต่ำ ชื่อว่า เสนา. เมื่อไปดูเสนาเช่นนี้ เป็นทุกกฏ ทุก ๆ

ย่างเท้า.

สองบทว่า ทสฺสนูปจาร วิชหิตฺวา มีความว่า กองทัพถูกอะไร

บังไว้ หรือว่า ลงสู่ที่ลุ่ม มองไม่เห็น, คือ ภิกษุยืนในที่นี้แล้วไม่อาจมองเห็น

เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุไปยังสถานที่อื่นดู เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ประโยค.

บทว่า เอกเมก มีความว่า บรรดาองค์ ๔ มีช้างเป็นต้น แต่ละองค์ ๆ

ชั้นที่สุดช้าง ๑ เชือกมีพลขับ ๑ คนก็ดี พลเดินเท้าอาวุธ ๑ คนก็ดี. พระราชา

ชื่อว่าไม่ได้เสด็จยาตราทัพ เสด็จไปประพาสพระราชอุทยานหรือแม่น้ำ อย่างนี้

ชื่อว่า ไม่ได้ทรงยาตราทัพ.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เมื่อมีอันตรายแห่งชีวิต และอันตราย

แห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ ไปด้วยคิดว่า เราไปในกองทัพนี้

จักพ้นไปได้. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา

โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓

ดังนี้แล.

อุยยุตตสิกขาบทที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 622

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๕๖๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-

ฉัพพัคคีย์มีกิจจำเป็นเดินผ่านกองทัพไป แล้วแรมคืนอยู่ในกองทัพ ๓ ราตรี

ประชาชนพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระ-

ศากยบุตรจึงได้พักแรมอยู่ในกองทัพเล่า มิใช่ลาภของพวกเรา แม้พวกเราที่มา

อยู่ในกองทัพ เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่งบุตรภรรยา ก็ได้ไม่ดีแล้ว

ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่

บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่าไฉนพระฉัพพัคคีย์

จึงได้พักแรมอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอพักแรมอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรี จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลายไฉน

พวกเธอจึงได้พักแรมอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรีเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น

ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 623

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๘. ๙. อนึ่ง ปัจจัยบางอย่างเพื่อจะไปสู่เสนา มีแก่ภิกษุนั้น

ภิกษุนั้นพึงอยู่ได้ ในเสนาเพียง ๒-๓ คืน ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น เป็น

ปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๖๘] คำว่า อนึ่ง ปัจจัยบางอย่างเพื่อจะไปสู่เสนา มีแก่

ภิกษุนั้น คือ มีเหตุ ได้แก่ มีกิจจำเป็น.

คำว่า ภิกษุนั้นพึงอยู่ได้ในเสนาเพียง ๒-๓ คืน คือ พึงอยู่ได้

๒-๓ คืน.

คำว่า ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น ความว่า เมื่ออาทิตย์อัสดงในวันที่ ๔ แล้ว

ภิกษุยังอยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๖๙] เกิน ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน อยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

เกิน ๓ คืน ภิกษุยังแคลงอยู่ อยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เกิน ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง อยู่ในกองทัพต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ยังไม่ถึง ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ยังไม่ถึง ๓ คืน ภิกษุยังแคลงอยู่ . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 624

ไม่ต้องอาบัติ

ยังไม่ถึง ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง . . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๗๐] ภิกษุอยู่ ๒-๓ คืน ๑ ภิกษุอยู่ไม่ถึง ๒-๓ คืน ๑ ภิกษุอยู่

๒ คืนแล้ว ออกไปก่อนอรุณของคืนที่ ๓ ขึ้น กลับอยู่ใหม่ ๑ ภิกษุอาพาธพัก

แรมอยู่ ๑ ภิกษุอยู่ด้วยกิจธุระของภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุตกอยู่ในกองทัพที่ถูกข้าศึก

ล้อมไว้ ๑ ภิกษุมีเหตุบางอย่างขัดขวางไว้ ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

เสนาวาสสิกขาบทที่ ๙

ในสิกขาบทที่ ๙ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[ว่าด้วยเหตุต้องอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรี ]

คำว่า อตฺถงฺคเต สุริเย เสนาย วสติ มีความว่า ถ้าแม้นภิกษุ

สำเร็จอิริยาบถบางอิริยาบถ บนอากาศด้วยฤทธิ์ จะยืนหรือนั่ง หรือนอน

ก็ตามที เป็นปาจิตตีย์ทั้งนั้น.

คำว่า เสนา วา ปฏิเสนาย รุทฺธา โหติ มีความว่า กองทัพ

ถูกทัพข้าศึกล้อมไว้ ทำให้ทางสัญจรขาดลง.

บทว่า ปลิพุทฺโธ คือ ถูกไพรีหรืออิสรชนขัดขวางไว้. บทที่เหลือ

ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์

อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

เสนาวาสสิกขาบทที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 625

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๕๗๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-

ฉัพพัคคีย์กำลังอยู่ในกองทัพ ๒-๓ คืน ไปสู่สนามรบบ้าง ไปสู่ที่พักพลบ้าง

ไปสู่ที่จัดขบวนทัพบ้าง ไปดูกองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้วบ้าง พระฉัพพัคคีย์

รูปหนึ่งไปสู่สนามรบแล้วถูกยิงด้วยลูกปืน คนทั้งหลายจึงล้อเธอว่า พระคุณเจ้า

ได้รบเก่งมาแล้วกระมัง พระคุณเจ้าได้คะแนนเท่าไร เธอถูกเขาล้อได้เก้อเขิน

แล้ว ชาวบ้านจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระ-

ศากยบุตร จึงได้มาถึงสนามรบ เพื่อจะดูเขาเล่า มิใช่ลาภของพวกเรา แม้

พวกเราที่มาสนามรบ เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่งบุตรภรรยา ก็ได้

ไม่ดีแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายได้ยินเขาเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็น

ผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ไป

ถึงสนามรบเพื่อดูเขา แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอไปถึงสนามรบเพื่อดูเขา จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 626

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ถึงสนามรบเพื่อดูเขาเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชน

ที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๙. ๑๐. ถ้าภิกษุอยู่ในเสนา ๒-๓ คืน ไปสู่สนามรบก็ดี ไปสู่

ที่พักพลก็ดี ไปสู่ที่จัดขบวนทัพก็ดี ไปดูกองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้ว

ก็ดี เป็นปาจิตตีย์ .

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๗๒] คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ในเสนา ๒-๓ คืน นั้น คือ พักแรม

อยู่ ๒-๓ คืน.

ที่ชื่อว่า สนามรบ ได้แก่ สถานที่มีการรบพุ่ง ซึ่งยังปรากฏอยู่

ที่ชื่อว่า ที่พักพล ได้แก่สถานที่พักกองช้างมีประมาณเท่านี้ กองม้า

มีประมาณเท่านี้ กองรถมีประมาณเท่านี้ กองพลเดินเท้ามีประมาณเท่านี้.

ที่ชื่อว่า ที่จัดขบวนทัพ ได้แก่สถานที่เขาจัดว่า กองช้างจงอยู่ทางนี้

กองม้าจงอยู่ทางนี้ กองรถจงอยู่ทางนี้ กองพลเดินเท้าจงอยู่ทางนี้ .

ที่ชื่อว่า กองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้ว ได้แก่ กองทัพช้าง ๑ กอง

ทัพม้า ๑ กองทัพรถ ๑ กองพลเดินเท้า ๑.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 627

กองทัพช้างอย่างต่ำมี ๓ เชือก กองทัพม้าอย่างต่ำมี ๓ ม้า กองทัพ

รถอย่างต่ำมี ๓ คัน กองพลเดินเท้าอย่างต่ำมีทหารถือปืน ๔ คน.

บทภาชนีย์

[๕๗๓] ภิกษุไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุยืนอยู่ในสถานที่เช่นไรมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุละทัศนูปจารแล้ว ยังมองดูอยู่อีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุไปเพื่อจะดูกองทัพแต่ละกอง ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุยืนดูอยู่ในที่ใดมองเห็น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุละทัศนูปจารแล้วยังมองดูอีก ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๕๗๔] ภิกษุอยู่ในอารามมองเห็น ๑ การรบพุ่งผ่านมายังสถานที่

ภิกษุยืน นั่ง หรือนอน เธอมองเห็น ๑ ภิกษุเดินสวนทางไปพบเข้า ๑

ภิกษุมีกิจจำเป็นเดินไปพบเข้า ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ-

กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 628

อุยโยธิก สิกขาบทที่ ๑๐

ในสิกขาบทที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[ว่าด้วยการจัดขบวนทัพสมัยโบราณ]

ชนทั้งหลายยกพวกไปรบกัน ณ ที่นี้ เพราะฉะนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า

สนามรบ. คำว่า อุยโยธิกะ นี้ เป็นชื่อแห่งที่สัมประหารกัน (ยุทธภูมิ

หรือสมรภูมิ).

พวกชนย่อมรู้จักที่พักของพลรบ ณ ที่นี้ ฉะนั้น ที่นั้น จึงชื่อว่า ที่พัก

พล. ได้ความว่าสถานที่ตรวจพล.

การจัดขบวนทัพ ชื่อว่า เสนาพยูหะ. คำว่า เสนาพยูหะ นี้

เป็นชื่อแห่งการจัดขบวนทัพ.

ข้อว่า กองทัพช้างอย่างต่ำมีช้าง ๓ เชือก นั้น ได้แก่ ช้าง ๓ เชือก

รวมกับช้างเชือกที่มีทหารประจำ ๑๒ คน ดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น . แม้ในบท

ที่เหลือก็นัยนี้นั่นแล. คำที่เหลือพร้อมด้วยสมุฏฐานเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ

โดยนัยดังกล่าวแล้ว ในอุยยุตตสิกขาบทนั้นแล.

อุยโยธิกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

อเจลกวรรคที่ ๕ จบบริบูรณ์ตามวรรณนานุกรม

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 629

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. อเจลกสิกขาบท ว่าด้วยแจกขนมแก่นักบวช

๒. อุยโยชนสิกขาบท ว่าด้วยบอกให้กลับ

๓. สโภชนสิกขาบท ว่าด้วยนั่งแทรกแซง

๔. ปฐมานิยตสิกขาบท ว่าด้วยนั่งในที่กำบัง

๕. ทุติยานิยตสิกขาบท ว่าด้วยนั่งในที่ลับ

๖. จาริตตสิกขาบท ว่าด้วยรับนิมนต์แล้วไปฉันที่อื่น

๗. มหานามสิกขาบท ว่าด้วยปวารณาด้วยปัจจัย.

๘. อุยยุตตสิกขาบท ว่าด้วยไปดูกองทัพ

๙. เสนาวาลสิขาบท ว่าด้วยอยู่ในกองทัพ

๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท ว่าด้วยไปสู่สนามรบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 630

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระสาคตะ

[๕๗๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จจาริกในเจติย-

ชนบท ได้ทรงพระดำเนินไปทางตำบลบ้านรั้วงาม คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์

คนชาวนา คนเดินทาง ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงพระดำเนินมา

แต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์อย่าได้

เสด็จไปยังท่ามะม่วงเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะที่ท่ามะม่วงมีนาคอาศัยอยู่ใน

อาศรมชฎิล เป็นสัตว์มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษมีพิษร้าย มันจะได้ไม่ทำร้ายพระองค์

พระพุทธเจ้าข้า.

เมื่อเขากราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระองค์ได้ทรงดุษณี.

แม้ครั้งที่สองแล . . . แม้ครั้งที่สามแล . . .

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบลบ้านรั้วงามแล้ว

ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ ตำบลบ้านรั้วงามนั้น.

ครั้งนั้นแล ท่านพระสาคตะเดินผ่านไปทางท่ามะม่วง อาศรมชฎิล

ครั้นถึงแล้วได้เข้าไปยังโรงบูชาไฟ ปูหญ้าเครื่องลาด นั่งบัลลังก์ ตั้งกาย

ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า นาคนั้นพอแลเห็นท่านพระสาคตะเดินผ่านเข้ามา

ได้เป็นสัตว์ดุร้ายขุ่นเคือง จึงบังหวนควันขึ้นในทันใด แม้ท่านพระสาคตะก็

บังหวนควันขึ้น มันทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้ในทันที แม้ท่านพระ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 631

สาคตะก็เข้าเตโชธาตุกสิณสมาบัติ บันดาลไฟต้านทานไว้ ครั้นท่านครอบงำ

ไฟของนาคนั้นด้วยเตโชกสิณแล้ว เดินผ่านไปทางตำบลบ้านรั้วงาม.

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ทำบลบ้านรั้วงาม ตามพระ-

พุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จหลีกไปสู่จาริกทางพระนครโกสัมพี พวกอุบาสกชาว

พระนครโกสัมพีได้ทราบข่าวว่า พระคุณเจ้าสาคตะได้ต่อสู้กับนาคผู้อยู่ ณ

ทำบลท่ามะม่วง พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับถึงพระนคร

โกสัมพี จึงพวกอุบายสกชาวพระนครโกสัมพีพากันรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว เข้าไปหาท่านพระสาคตะ กราบไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

แล้วถามท่านว่า ท่านขอรับ อะไรเป็นของหายากและเป็นของชอบของพระคุณ-

เจ้า พวกกระผมจะจัดของอะไรถวายดี.

เมื่อเขาถามอย่างนั้นแล้ว พระฉัพพัคคีย์ได้กล่าวตอบคำนี้กะพวก

อุบาสกว่า มี ท่านทั้งหลาย สุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบ เป็นของหายาก

ทั้งเป็นของชอบของพวกพระ ท่านทั้งหลายจงแต่งสุรานั้น ถวายเถิด.

ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวพระนครโกสัมพี ได้จัดเตรียมสุราใสสีแดง

ดังเท้านกพิราบไว้ทุก ๆ ครัวเรือน พอเห็นท่านพระสาคตะเดินมาบิณฑบาต

จึงต่างพากันกล่าวเชื้อเชิญว่า นิมนต์พระคุณเจ้าสาคตะดื่มสุราใสสีแดงดังเท้า

นกพิราบเจ้าข้า นิมนต์พระคุณเจ้าสาคตะดื่มสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบ เจ้าข้า.

ครั้งนั้น ท่านพระสาคตะได้ดื่มสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบทุก ๆ ครัว

เรือนแล้ว เมือจะเดินออกจากเมือง ได้ล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง.

พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากเมืองพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก

ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสาคตะล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง จึงรับสั่งกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงช่วยกันหามสาคตะไป.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 632

ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว หามท่านพระสาคตะไปสู่

อาราม ให้นอนหันศีรษะไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ท่านพระสาคตะได้

พลิกกลับนอนผันแปรเท้าทั้งสองไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สาคตะมีความเคารพ มีความยำเกรงในคถาคตมิใช่หรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นดังรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เออก็บัดนี้ สาคตะมีความเคารพ มีความ

ยำเกรงในตถาคตอยู่หรือ.

ภิ. ข้อนั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาคตะได้ต่อสู้กับนาคอยู่ที่ตำบลท่ามะม่วง

มิใช่หรือ.

ภิ. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เดี๋ยวนี้สาคตะสามารถจะต่อสู้แม้กับงูน้ำได้

หรือ.

ภิ. ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย น้ำที่ดื่มเข้าไปแล้วถึงวิสัญญีภาพนั้น ควรดื่ม

หรือไม่.

ภิ. ไม่ควรดื่ม พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของสาคตะไม่เหมาะ. ไม่สม

ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนสาคตะจึงได้ดื่มน้ำที่ทำ

ผู้ดื่มให้เมาเล่า การกระทำของสาคตะนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ

ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . ..

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 633

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๐๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย.

เรื่องพระสาคตะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๗๖] นี้ชื่อว่า สุรา ได้แก่สุราที่ทำด้วยแป้ง สุราที่ทำด้วยขนม

สุราที่ทำด้วยข้าวสุก สุราที่หมักส่าเหล้า สุราที่ผสมด้วยเครื่องปรุง

ที่ชื่อ เมรัย ได้แก่น้ำดองดอกไม้ น้ำดองผลไม้ น้ำดองน้ำผึ้ง

น้ำดองน้ำอ้อยงบ น้ำดองที่ผสมด้วยเครื่องปรุง.

คำว่า ดื่ม คือ ดื่มโดยที่สุดแม้ด้วยปลายหญ้าคา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๗๗] น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าน้ำเมา ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ น้ำเมา

ภิกษุสงสัย ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่น้ำเมา ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าน้ำเมา ดื่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสงสัย ดื่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 634

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่น้ำเมา ดื่ม ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๗๘] ภิกษุดื่มน้ำที่มีกลิ่นรสเหมือนน้ำเมา แต่ไม่ใช่น้ำเมา ๑ ภิกษุ

ดื่มน้ำเมาที่เจือลงในแกง ๑ . . .ที่เจือลงในเนื้อ ๑ ... ที่เจือลงในน้ำมัน ๑

...น้ำเมาในน้ำอ้อยที่ดองมะขามป้อม ๑ ภิกษุดื่มยาดองอริฏฐะซึ่งไม่ใช่ของ

เมา ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมนิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติและ

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 635

ปาจิตตีย์ สุราปานวรรคที่ ๖

สุราปานสิกขาบทที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งสุราปานวรรค ดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องสุราเมรัย]

หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชื่อว่า ภัททวติกะ. หมู่บ้านนั้นได้ชื่ออย่างนี้

เพราะประกอบด้วยรั้วงาม.

บทว่า ปถาวิโน แปลว่า คนเดินทาง.

สองบทว่า เตชสา เตช ได้แก่ (ครอบงำ) ซึ่งเดชแห่งนาคด้วยเดช

คือ ด้วยอานุภาพของตน.

บทว่า กาโปติกา คือ มีสีแดงเสมอเหมือนกับสีเท้าแห่งพวกนกพิราบ.

คำว่า ปสนฺนา นี้ เป็นชื่อแห่งสุราใส.

สามบทว่า อนนุจฺฉวิก ภิกฺขเว สาคตสฺส มีรูปความที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า ชื่อว่า การดื่มน้ำเมา เป็นการไม่สมควรแก่สาคตะผู้สำเร็จอภิญญา ๕.

เมรัยที่เขาทำด้วยรสแห่งดอกมะซางเป็นต้น ชื่อว่า ปุปผาสวะ. เมรัย

ที่เขาคั้นผลลูกจันทน์เป็นต้นแล้ว ทำด้วยรสแห่งผลลูกจันทน์เป็นต้นนั้น ชื่อว่า

ผลาสวะ. เมรัยที่เขาทำด้วยรสชาติแห่งผลลูกจันทน์ (หรือองุ่น) เป็นต้น

ชื่อว่า มัธวาสวะ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เขาทำด้วยน้ำผึ้งก็มี. เมรัยที่

ชื่อว่า คุฬาสวะ. เขาทำด้วยน้ำอ้อยสด เป็นต้น.

ธรรมดาสุรา ที่เขาใส่เธอแป้ง กระทำด้วยรสแม้แห่งจั่นมะพร้าว

เป็นต้น ย่อมถึงการนับว่า สุราทั้งนั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อตักเอา

น้ำใสแห่งสุราใส่เชื้อแล้วนั่นแล (ที่เหลือ) ย่อมถึงการนับว่าเมรัยทั้งนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 636

สามบทว่า อนฺตมโส กุสคฺเคนาปิ ปิวติ มีความว่า ภิกษุดื่มสุรา

หรือเมรัยนั่นตั้งแต่เชื้อ แม้ด้วยปลายหญ้าคา เป็นปาจิตตีย์. แต่เมื่อดื่มแม้มาก

ด้วยประโยคเดียว เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว. เมื่อดื่มขาดเป็นระยะ ๆ เป็นอาบัติ

มากตัวโดยนับประโยค.

คำว่า อมชฺชญฺจ โหต มชฺชวณฺณ มชฺชคนฺธ มชฺชรส มี

ความว่า เป็นยาดองน้ำเกลือก็ดี มีสีแดงจัดก็ดี.

บทว่า สูปสปาเก มีความว่า ชนทั้งหลายใส่น้ำเมาลงนิดหน่อย

เพื่ออบกลิ่นแล้วต้มแกง, เป็นอนาบัติ ในเพราะแกงใส่น้ำเมาเล็กน้อยนั้น.

แม้ในต้มเนื้อก็นัยนี้เหมือนกัน . ก็ชนทั้งหลายย่อมเจียวน้ำมันกับน้ำเมา แม้

เพื่อเป็นยาระงับลม, ไม่เป็นอาบัติในน้ำมัน แม้นั้นที่ไม่ได้เจือน้ำเมาจนเกินไป

เท่านั้น. ในน้ำมันที่เจือน้ำเมาจัดไป จนมีสีมีกลิ่น และรสแห่งน้ำเมาปรากฏ

เป็นอาบัติแท้.

สองบทว่า อมชฺช อริฏฺ มีความว่า ในยาดองชื่ออริฏฐะซึ่งไม่ใช่

น้ำเมา ไม่เป็นอาบัติ. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายทำยาดองชื่ออริฏฐะ ด้วยรสแห่ง

มะขามป้อมเป็นต้นนั่นแหละ. ยาดองนั้นมี สี กลิ่น และรสคล้ายน้ำเมา

แต่ไม่เมา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอายาดองชื่ออริฏฐะนั้น จึงตรัสคำนี้

แต่ยาดองอริฏฐะที่เขาปรุงด้วยเครื่องปรุงจัดเป็นน้ำเมา ไม่ควรตั้งแต่เชื้อ. บท

ที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-

วิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ แล. ก็ใน

สมุฏฐานเป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอจิตตกะ. เพราะไม่รู้วัตถุ. พึง

ทราบว่า เป็นโลกวัชชะ เพราะจะพึงดื่มด้วยอกุศลจิตเท่านั้น ดังนี้แล.

สุราปานสิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 637

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๕๗๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระฉัพพัคคีย์ได้ทำภิกษุรูปหนึ่งในจำพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ให้หัวเราะ เพราะ

จี้ด้วยนิ้วมือ ภิกษุรูปนั้นเหนื่อย หายใจไม่ทันได้ถึงมรณภาพลง บรรดาภิกษุ

ที่เป็นผู้มักน้อย.. . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึง

ได้ทำภิกษุให้หัวเราะ เพราะจี้ด้วยนิ้วมือเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอทำภิกษุให้หัวเราะเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ทำภิกษุให้หัวเราะ เพราะจี้ด้วยนิ้วมือเล่า การกระทำของพวก

เธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ

เลื่อมใสยิงของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 638

พระบัญญัติ

๑๐๑. ๒. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๘๐] ที่ชื่อว่า จี้ด้วยนิ้วมือ คือ ใช้นิ้วมือจี้ อุปสัมบันมีความ

ประสงค์จะยังอุปสัมบันให้หัวเราะ ถูกต้องกายด้วยกาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๘๑] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ใช้นิ้วมือจี้ให้หัวเราะ

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ใช้นิ้วมือจี้ให้หัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ใช้นิ้วมือจี้ให้หัวเราะ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

[๕๘๒] ภิกษุเอากายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของโยนถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของโยนถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของโยนถูกต้องของโยน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๘๓] ภิกษุเอากายถูกต้องกายอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 639

ภิกษุเอากายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของโยนถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของโยนถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของโยนไปถูกต้องของโยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๘๔] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน เอานิ้วมือจี้ให้หัวเราะ

ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน...ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๕๘๕] ภิกษุไม่ประสงค์จะให้หัวเราะ เมื่อมีกิจจำเป็น ถูกต้องเข้า ๑

ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 640

อังคุลีปโฏทกสิกขาบทที่ ๒

ในสิกขาบทที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยการจี้ด้วยนิ้วมือ]

ด้วยบทว่า องฺคุลีปโฏทเกน นี้ ตรัสการเอานิ้วมือจี้ที่รักแร้เป็นต้น .

บทว่า อุตฺตสนฺโต คือ เหน็ดเหนื่อยด้วยการหัวเราะเกินไป.

บทว่า อนสฺสาสโก คือ เป็นผู้มีลมอัสสาสะปัสสาสะขาดการสัญจร

ไปมา.

สามบทว่า อนุปสมฺปนฺน กาเยน กาย มีความว่า แม้นางภิกษุณี

ก็ตั้งอยู่ในฐานแห่งอนุปสัมบัน ในสิกขาบทนี้. เมื่อภิกษุถูกต้องนางภิกษุณี

แม้นั้น ด้วยประสงค์จะเล่น ก็เป็นทุกกฏ. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจปฐมปาราชิกสิกขาบท เป็นกิริยา สัญญา-

วิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ ดังนี้แล.

อังคุลีปโฏทกสิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 641

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์

[๕๘๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-

สัตตรสวัคคีย์กำลังเล่นน้ำกันอยู่ในแม่น้ำอจิรวดี ขณะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล

ประทับอยู่ ณ พระปราสาทชั้นบน พร้อมด้วยพระนางมัลลิกาเทวี ได้ทอด

พระเนตรเห็นพระสวัตตรสวัคคีย์กำลังเล่นน้ำอยู่ในแม่น้ำอจิรวดี ครั้นแล้วก็ได้

รับสั่งกะพระนางมัลลิกาเทวีว่า นี่แน่ะแม่มัลลิกา นั่นพระอรหันต์กำลังเล่นน้ำ.

พระนางกราบทูลว่า ขอเดชะ ชะรอยพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรง

บัญญัติสิกขาบท หรือภิกษุเหล่านั้นจะยังไม่สันทัดในพระวินัยเป็นแน่ พระพุทธ

เจ้าข้า.

ขณะนั้น ท้าวเธอทรงรำพึงว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจะไม่ต้อง

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงทราบได้ว่า ภิกษุ

เหล่านั้นเล่นน้ำ ครั้นแล้วท้าวเธอรับสั่งให้นิมนต์พระสัตตรสวัคคีย์มา แล้ว

พระราชทานน้ำอ้อยงบใหญ่แก่ภิกษุเหล่านั้น รับสั่งว่า ขอพระคุณเจ้าโปรด

ถวายน้ำอ้อยงบนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสัตตรสวัคคีย์ได้นำน้ำอ้อยงบนั้นไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

กราบทูลว่า พระเจ้าแผ่นดินถวายน้ำอ้อยงบนี้แต่พระองค์ พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พระเจ้าแผ่นดิน

พบพวกเธอที่ไหนเล่า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 642

พระสัตตรสวัคคีย์กราบทูลว่า พบพวกข้าพระพุทธเจ้ากำลังเล่นน้ำอยู่

ในแม่น้ำอจิรวดี พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย

ไฉนพวกเธอจึงได้เล่นน้ำเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ

เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสแล้ว หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่

เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๐๒.๓. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะธรรมคือหัวเราะในน้ำ.

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๘๗] ที่ชื่อว่า ธรรมคือหัวเราะในน้ำ ความว่า ในน้ำลึกพ้น

ข้อเท้าขึ้นไป ภิกษุมีความประสงค์จะรื่นเริง ดำลงก็ดี ผุดขึ้นก็ดี ว่ายไปก็ดี

ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๘๘] เล่นน้ำ ภิกษุสำคัญว่าเล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เล่นน้ำ ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เล่นน้ำ ภิกษุก็สำคัญว่ามิได้เล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 643

ทุกกฏ

[๕๘๙] ภิกษุเล่นน้ำตื้นใต้ข้อเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเล่นเรือ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอามือวักน้ำก็ดี เอาเท้าแกว่งน้ำก็ดี เอาไม้ขีดน้ำก็ดี เอากระเบื้อง

ปาน้ำเล่นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

น้ำ น้ำส้ม น้ำนม เปรียง น้ำย้อม น้ำปัสสาวะ หรือน้ำโคลน ซึ่ง

ขังอยู่ในภาชนะ ภิกษุเล่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๙๐] ไม่ได้เล่นน้ำ ภิกษุสำคัญว่าเล่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ได้เล่นน้ำ ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ได้เล่นน้ำ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้เล่น ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๙๑] ภิกษุไม่ประสงค์จะเล่น แต่เมื่อมีกิจจำเป็น ลงน้ำแล้วดำลง

ก็ดี ผุดขึ้นก็ดี ว่ายไปก็ดี ๑ ภิกษุผู้จะข้ามฟาก ดำลงก็ดี ผุดขึ้นก็ดี ว่ายไป

ก็ดี ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 644

หัสสธรรมสิกขาบทที่ ๓

ในสิกขาบทที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยธรรม คือหัวเราะในน้ำ]

บทว่า อปฺปกตญฺญุโน มีความว่า ภิกษุเหล่านั้นจะยังไม่รู้ข้อที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแต่งตั้ง ไว้ คือ ทรงบัญญัติไว้แล้ว. การเล่นน้ำ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ธรรม คือ การหัวเราะในน้ำ.

บทว่า อุปริโคปฺผเก คือ ในน้ำลึกขนาดท่วมส่วนเบื้องบนของข้อ

เท้าทั้ง ๒.

บทว่า หสุสาธิปฺปาโย แปลว่า มีความประสงค์จะเล่น.

ในคำว่า นิมุชฺชติ วา เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า เนื้อหยั่งลงเพื่อต้อง

การจะดำลง เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ย่างเท้า. ในการดำลงและผุดขึ้นเป็นปาจิตตีย์

ทุก ๆ ประโยค. ภิกษุดำลงว่ายไปภายในน้ำนั่นเอง เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ครั้ง

ที่ขยับมือขยับเท้าในที่ทั้งปวง.

บทว่า ปลวติ แปลว่า ว่ายข้ามไป. เมื่อใช้มือทั้ง ๒ ว่ายข้ามไป

เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ครั้งที่ขยับมือ. แม้ในเท้าทั้ง ๒ ก็นัยนี้นั้นแล ภิกษุว่ายข้าม

ไปด้วยอวัยวะใด ๆ เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ประโยค แห่งอวัยวะนั้น ๆ. ภิกษุ

กระโดดลงในน้ำ จากฝั่งก็ดี จากต้นไม้ก็ดี เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน .

สองบทว่า นาวาย กีฬติ มีความว่า ภิกษุแล่นเรือด้วยพายและถ่อ

เป็นต้น หรือเข็นเรือบนตลิ่ง ชื่อว่าเล่นเรือ เป็นทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 645

แม้ในบทว่า หตฺเถน วา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นทุกกฏ

ทุก ๆ ประโยค. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อภิกษุเอามือปากระเบื้องไปบน

น้ำ เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ครั้งที่กระเบื้องตกลงและแฉลบขึ้น. คำนั้นไม่ควรถือ

เอา แท้จริง ในเพราะกระเบื้องที่ปาลงไปในน้ำนั้น เป็นทุกกฏตัวเดียวเท่านั้น

เพราะมีประโยคเดียว.

อีกนัยหนึ่ง ภิกษุข้ามน้ำ หรือมิได้ข้าม เล่นน้ำที่ขังอยู่ในที่แห่งใด

แห่งหนึ่ง ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งอื่น เว้นการคำผุดเป็นต้น ที่กล่าวแล้ว

ในน้ำพ้น ข้อเท้าขึ้นไป ขึ้นที่สุด แม้เล่นวักหยาดน้ำสาดก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน.

แต่จะเขียนอักษรขยายความ ควรอยู่. ในสิกขาบทนี้ มีวินิจฉัยเท่านี้. บทที่

เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์

สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้ แล.

หัสสธรรมสิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 646

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉันนะ

[๕๙๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม

เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติอนาจาร ภิกษุทั้งหลาย

ได้ว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสฉันนะ ท่านอย่าได้ทำเช่นนั้น การกระทำเช่นนั้น

ไม่ควร ท่านพระฉันนะไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่อย่างเดิม บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มัก

น้อย...ต่างก็พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระฉันนะจึงได้ไม่

เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนฉันนะ ข่าว

ว่า เธอไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่ จริงหรือ.

ท่านพระฉันนะทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ

จึงได้ไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่อีกเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ

เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อม

ใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๐๓.๔. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ.

เรื่องพระฉันนะ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 647

สิกขาบทวิภังค์

[๕๙๓] ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อ ได้แก่ความไม่เอื้อเฟื้อ ๒ อย่าง

คือ ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล ๑ ความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม ๑.

ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล ได้แก่ ภิกษุผู้อันอุปสัมบัน

ว่ากล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติ แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ท่านผู้นี้ถูกยก

วัตร ถูกดูหมิ่น หรือถูกติเตียน เราจักไม่ทำตามถ้อยคำของท่านผู้นี้ ดังนี้

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม ได้แก่ภิกษุผู้อันอุปสัมบัน ว่า

กล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติ แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ไฉนธรรมข้อนี้จะ

พึงเสื่อม สูญหาย หรืออันตรธานเสีย ดังนี้ก็ดี ไม่ประสงค์จะศึกษาพระบัญญัติ

นั้น จึงแสดงความไม่เอื้อเฟื้อก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๙๔] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสงสัยแสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

[๕๙๕] ภิกษุอุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติ

แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ข้อนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไป

เพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่

สะสม ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 648

ภิกษุถูกอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติก็ดี ด้วยข้อธรรมอัน

มิใช่พระบัญญัติก็ดี แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ข้อนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความ

ขัดเกลาไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส ไม่

เป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๙๖] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ

ต้องอาบัติทุกกฏ

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๕๙๗] ภิกษุกล่าวชี้เหตุว่า อาจารย์ทั้งหลายของพวกข้าพเจ้าเรียนมา

อย่างนี้ สอบถามมาอย่างนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 649

อนาทริยสิกขาบทที่ ๔

ในสิกขาบทที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม]

คำว่า กถาย นสฺเสยฺย มีความว่า ไฉน ธรรม คือแบบแผน

ประเพณีนี้ จะพึงเสื่อมไปเสีย.

คำว่า ต วา น สิกฺขิตุกาโม มีความว่า ผู้ไม่ประสงค์จะศึกษา

พระบัญญัติ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ ซึ่งเป็นเหตุให้พวกภิกษุเรียก

(เธอว่าผู้ไม่เอื้อเฟื้อ).

บทว่า อปฺปญฺตฺเตน คือ ไม่ได้มาในพระสูตร หรือในพระ-

อภิธรรม.

ในคำว่า เอว อมฺหาก อาจริยาน อุคฺคโห นี้ ไม่ควรถือเอา

การเรียนของอาจารย์ที่น่าติเตียน. ควรถือเอาการเรียนของอาจารย์ที่มาตาม

ประเพณีเท่านั้น. ในกุรุนที กล่าวว่า การเรียนตามอาจารย์ในทางโลกวัชชะ

ไม่ควร, แต่ในทางปัณณัตติวัชชะ ควรอยู่. ในมหาปัจจรีกล่าวว่า การเรียน

ของพวกอาจารย์ผู้เรียนสูตร และสุตตานุโลมเท่านั้น จัดเป็นประมาณได้, ถ้อย

คำของพวกอาจารย์ผู้ไม่รู้ (สูตรและสุตตานุโลม) หาเป็นประมาณได้ไม่. คำ

ทั้งหมดนั้น ก็รวมลงในการเรียนที่มาตามประเพณี. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น .

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม

วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกชเวทนา ดังนี้แล.

อนาทริยสิกขาบทที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 650

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๕๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ

พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-

ฉัพพัคคีย์หลอนพระสัตตรสวัคคีย์ พวกเธอถูกหลอนจึงร้องไห้.

ภิกษุทั้งหลายถามพระสัตตรสวัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่าน

ร้องไห้ทำไม.

พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า พระฉัพพัคคีย์พวกนี้หลอนพวกผมขอรับ.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย.. . ต่างก็พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา

ว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้หลอนภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีตระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอหลอนภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้หลอนภิกษุทั้งหลายเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็น

ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ

ชุมชมที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 651

พระบัญญัติ

๑๐๔.๕. อนึ่ง ภิกษุใดหลอนซึ่งภิกษุ เป็นปาจิตตีย์ .

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๙๙] บทว่า อนึ่ง . . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. ..

นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ซึ่งภิกษุ ได้แก่ ภิกษุรูปอื่น.

บทว่า หลอน ความว่า อุปสัมบันมุ่งจะหลอนอุปสันบัน แสดงรูป

ก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี โผฏฐัพพะก็ดี เธอผู้ถูกหลอนนั้น จะตกใจก็ตาม

ไม่ตกใจก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสันบันมุ่งจะหลอนอุปสัมบัน บอกเล่าทางกันดารเพราะโจรก็ดี ทาง

กันดารเพราะสัตว์ร้ายก็ดี ทางกันดารเพราะปีศาจก็ดี เธอจะตกใจก็ตาม ไม่

ตกใจก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๐๐] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน หลอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย หลอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน หลอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

[๖๐๑] อุปสัมบันมุ่งจะหลอนอนุปสัมบัน แสดงรูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่น

ก็ดี รสก็ดี โผฏฐัพพะก็ดี เขาจะตกใจก็ตาม ไม่ตกใจก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 652

อุปสัมบันมุ่งจะหลอนอนุปสัมบัน บอกเล่าทางกันดารเพราะโจรก็ดี

ทางกันดารเพราะสัตว์ร้ายก็ดี ทางกันดารเพราะปีศาจก็ดี เขาจะตกใจก็ตาม

ไม่ตกใจก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖๐๒] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน หลอน ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย หลอน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญ ว่าอนุปสัมบัน หลอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อาปัตติวาร

[๖๐๓] ภิกษุไม่ประสงค์จะหลอน แต่แสดงรูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี

รสก็ดี โผฏฐัพพะก็ดี หรือบอกเล่าทางกันดารเพราะโจร ทางกันดารเพราะ

สัตว์ร้าย ทางกันดารเพราะปีศาจ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

ภิงสาปนสิกขาบทที่ ๕

การนำรูปเข้าไปแสดงเป็นต้น ในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบโดยนัย ดัง

กล่าวแล้ว ในมนุสสวิคคหสิกขาบทนั่นแล. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น. ปกิณกะมี

สมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นเดียวกับอนาทริยสิกขาบทนั้นแล.

ภิงสาปนสิกขาบทที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 653

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๖๐๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกลา-

มฤคทายวัน เขตเมืองสุงสุมารคิระ ในภัคคชนบท สมัยนั้น ถึงเดือนฤดูหนาว

ภิกษุทั้งหลายได้ก่อไฟที่ขอนไม้มีโพรงใหญ่ท่อนหนึ่งแล้วผิง ก็งูเห่าในโพรงไม้

ท่อนใหญ่นั้นถูกไฟร้อนเข้า ได้เลื้อยออกไล่พวกภิกษุ ๆ ได้วิ่งหนีไปในที่นั้นๆ

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ

ทั้งหลายจึงได้ก่อไฟผิงเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกภิกษุก่อไฟผิง จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน

ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ก่อไฟผิงเล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ

เหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ

ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 654

พระบัญญัติ

๑๐๕. ๖. อนึ่ง ภิกษุใด มุ่งการผิง ติดก็ดี ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟ

เป็นปาจิตตีย์ .

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

ทรงอนุญาติให้พระอาพาธผิงไฟได้

[๖๐๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายอาพาธ บรรดาภิกษุผู้

พยาบาลไข้ ได้ถามพวกภิกษุอาพาธว่า อาวุโสทั้งหลาย พออดทนได้หรือ

พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ.

ภิกษุอาพาธตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อก่อนพวกผมก่อไฟผิงได้

เพราะเหตุนั้นความผาสุกจึงมีแก่พวกผม แต่บัดนี้พวกผมรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จึงผิงไฟไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ความผาสุกจึงไม่มี

แก่พวกผม.

ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาต

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธก่อเองก็ดี ให้ผู้อื่นก่อก็ดี

ซึ่งไฟ แล้วผิงได้ อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๑

๑๐๕. ๖. ก. อนึ่ง ภิกษุใด มิใช่ผู้อาพาธ มุ่งการผิง ติดก็ดี

ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟ เป็นปาจิตตีย์ .

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้พระอาพาธผิงไฟได้ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 655

ทรงอนุญาตให้ตามประทีปเป็นต้นได้

[๖๐๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจการตามประทีป

บ้าง การก่อไฟบ้าง การติดไฟในเรือนไฟบ้าง จึงได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงอันอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติด

เองก็ดี ให้ผู้อื่นติดก็ดี ซึ่งไฟ เพราะปัจจัยเห็นปานนั้นได้ อนึ่ง พวกเธอ

พึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๒

๑๐๕. ๖. ข. อนึ่ง ภิกษุใดมิใช่ผู้อาพาธ มุ่งการผิง ติดก็ดี

ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟ เว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องทรงอนุญาตให้ตามประทีปเป็นต้นได้ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๐๗] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่าผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือ ผู้ที่เว้นไฟก็ยังมีความผาสุก.

ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ผู้ที่เว้นไฟแล้ว ไม่มีความผาสุก.

บทว่า มุ่งการผิง คือ ประสงค์จะให้ร่างกายอบอุ่น.

ที่ชื่อว่า ไฟ คือ ที่เรียกกันว่า อัคคี.

บทว่า ติด คือ ติดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้ติด คือ ใช้ผู้อื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุสั่งหนเดียว แต่เขาติดแม้หลายหน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า เว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป คือ ยกไว้แต่ปัจจัย

เห็นปานนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 656

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๐๘] มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ มุ่งการผิง ติดก็ดี

ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟ เว้นไว้แต่มีปัจจัยเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย มุ่งการผิง ติดก็ดี ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟเว้นไว้

แต่มีปัจจัยเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าผู้อาพาธ มุ่งการผิง ติดก็ดี ให้ติดก็ดี

ซึ่งไฟ เว้นไว้แต่มีปัจจัยเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

ภิกษุยกฟืนที่ติดไฟไว้ในที่เดิม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ...ต้องอาบัติทุกกฏ.

ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าผู้อาพาธ...ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๐๙] ภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุผิงไฟที่ผู้อื่นติดไว้ ๑ ภิกษุผิงถ่านไฟที่

ปราศจากเปลว ๑ ภิกษุตามประทีปก็ดี ก่อไฟใช้อย่างอื่นก็ดี ติดไฟในเรือนไฟ

ก็ดี เพราะมีเหตุเห็นปานนั้น ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ-

กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 657

โชตสมาทหนสิกขาบทที่ ๖

ในสิกขาบทที่ ๖ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ แก้อรรถบางปาฐะเกี่ยวกับ การจุดไฟผิง]

คำว่า ภัคคะ นี้ เป็นชื่อของชนบท. คำว่า สุงสุมารคีระ เป็นชื่อ

ของเมือง. คำว่า เภสกลาวัน เป็นชื่อแห่งป่าที่อาศัยเมืองนั้น (วนอุทยาน

ที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองนั้น). ก็ป่านั้นเรียกว่า มฤคทายะ เพราะเป็นที่พระราชทาน

อภัยแก่พวกเนื้อ เพื่อต้องการให้อยู่สบาย.

บทว่า สมาทหิตฺวา คือ ให้ลุกโพลงขึ้น.

บทว่า ปริปาเตสิ คือ ไล่ติดตามไป.

ในคำว่า สย สมาทหติ นี้ มีวินิจฉัยว่า เริ่มแต่จุดไม้สีไฟด้วย

ความประสงค์จะก่อไฟไป จนกระทั่งถึงเปลวไฟยังไม่ลุกขึ้น เป็นทุกกฏ ทุก ๆ

ประโยค.

บทว่า ปทีเปปิ คือ ในการตามประทีปก็ดี.

บทว่า โชติเกปิ ได้แก่ การก่อไฟในกิจมีการระบมบาตร และอบตัว

เป็นต้นก็ดี.

บทว่า ตถารูปปจฺจยา คือ มีการตามประทีปเป็นต้นเป็นปัจจัย.

สองบทว่า ปฏิลาต อุกฺขิปติ มีความว่า ภิกษุยกดุ้นฟืนที่กำลัง

ติดไฟ ซึ่งตกลงไปขึ้นมา อธิบายว่า ยกวางไว้ในที่เดิมอีก เมื่อภิกษุหยิบ

ดุ้นฟืนที่ไฟยังไม่ดับอย่างนี้ ใส่ลงไปเท่านั้น เป็นทุกกฏ แต่เป็นปาจิตตีย์แท้

แก่ภิกษุผู้ก่อไฟฟืนที่ไฟดับแล้วให้ลุกอีก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 658

บทว่า ตถารูปปจฺจยา ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ติดไฟ เพราะ

ปัจจัยเห็นปานนั้นแม้อย่างอื่น เว้นการตามประทีปเป็นต้นเสีย.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า มีอันตรายเพราะถูกงูกัด ถูกโจรล้อม

เนื้อร้ายและอมนุษย์ขัดขวาง ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุผู้ติดไฟในเพราะอุปัทวะ

นั้น บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ นีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

โชติสมาทหนสิกขาบทที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 659

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร

[๖๑๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน-

วิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้ง

นั้นภิกษุพากันสรงน้ำอยู่ในแม่น้ำตโปทา ขณะนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอม-

ทัพแห่งมคธรัฐเสด็จไปสู่แม่น้ำตโปทา ด้วยพระราชประสงค์จะทรงสนาน

พระเศียรเกล้าแล้วประทับพักรออยู่ในที่ควรแห่งหนึ่ง ด้วยตั้งพระทัยว่า จัก

สรงสนานต่อเมื่อพระคุณเจ้าสรงน้ำเสร็จ ภิกษุทั้งหลายได้สรงน้ำอยู่จนถึง

เวลาพลบ ดังนั้นท้าวเธอจึงทรงสนานพระเศียรเกล้าในเวลาพลบค่ำ เมื่อประตู

พระนครปิด จำต้องประทับแรมอยู่นอกพระนคร แล้วเสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าแต่เช้า ทั้ง ๆ ที่เครื่องประทินทรงยังคงปรากฏอยู่ ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วประทับเหนือราชอาสน์ อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท้าวเธอผู้นั่งประทับเรียบร้อยแล้วว่า ดู

ก่อนมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาแต่เช้า ทั้งเครื่องวิเลปนะที่ทรงยังคงปรากฏ

อยู่ เพื่อพระราชประสงค์อะไร.

จึงท้าวเธอกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระะผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงชี้แจงให้ท้าว

เธอทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นท้าวเธอ

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วย

ธรรมีกถาแล้วเสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำ

ประทักษิณแล้วเสด็จกลับ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 660

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ

เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุแม้พบพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ก็ยังอาบ

น้ำอยู่ไม่รู้จักประมาณจริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน

ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น แม้เห็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว จึงยิ่งอาบน้ำอยู่ ไม่รู้จัก

ประมาณเล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ

เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อม

ใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๐๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำเป็น

ปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 661

ทรงอนุญาตให้อาบน้ำในฤดูร้อน

[๖๑๐] ครั้นถึงคราวร้อน คราวกระวนกระวาย ภิกษุทั้งหลายพากัน

รังเกียจ ไม่อาบน้ำ ย่อมนอนทั้งๆ ที่ร่างกายชุ่มด้วยเหงื่อ เหงื่อนั้นย่อมประทุษ

ร้ายทั้งจีวร ทั้งเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวร้อน ในคราวกระวน

กระวาย เราอนุญาต ยังหย่อนกึ่งเดือนก็อาบน้ำได้

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๑

๑๐๖. ๗. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ เว้นไว้

แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน เดือน

ต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราวกระวน-

กระวาย นี้สมัยในเรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้อาบน้ำในฤดูร้อน จบ

ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธอาบน้ำได้

[๖๑๒] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายอาพาธ บรรดาภิกษุผู้พยาบาลไข้

ได้ถามพวกภิกษุผู้อาพาธว่า อาวุโสทั้งหลายพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้

เป็นไปได้หรือ

ภิกษุผู้อาพาธตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อก่อน พวกผมอาบน้ำใน

กาล ยังหย่อนกึ่งเดือนได้ เพราะเหตุนั้น พวกผมจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 662

พวกผมรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จึงไม่ได้อาบน้ำ เพราะ

เหตุนั้น พวกผมจึงไม่มีความผาสุก

ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาต

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธ ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ

ได้

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๒

๑๐๖. ๗. ข. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ เว้น

ไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน

เดือนต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อนเป็นคราวกระวน

กระวาย คราวเจ็บไข้ นี้สมัยในเรื่องนั้น .

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธอาบน้ำได้ จบ

ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำนวกรรมอาบน้ำได้

[๖๒๓] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทำนวกรรมแล้ว พากันรังเกียจไม่

อาบน้ำ ย่อมนอนทั้ง ๆ ที่ร่างกายชุ่มด้วยเหงื่อ เหงื่อนั้นย่อมประทุษร้ายทั้ง

จีวรทั้งเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ

ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวทำงาน เราอนุญาต หย่อนกึ่ง

เดือน อาบน้ำได้

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 663

พระอนุบัญญัติ ๓

๑๐๖. ๗. ค. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ เว้น

ไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน

เดือนต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราวกระ-

วนกระวาย คราวเจ็บไข้ คราวทำการงาน นิสมัยในเรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ .

เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุทำนวกรรมอาบน้ำได้ จบ

ทรงอนุญาตให้ภิกษุไปทางไกลอาบน้ำได้

[๖๑๔] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายพากันเดินทางไกลไปแล้ว พากัน

รังเกียจ ไม่อาบน้ำ ย่อมนอนทั้ง ๆ ที่ร่างกายชุ่มด้วยเหงื่อ เหงื่อนั้นย่อม

ประทุษร้ายทั้งจีวรทั้งเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวไปทางไกล เรา

อนุญาต ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำได้.

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๔

๑๐๖. ๗. ง. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ เว้นไว้

แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน เดือน

ต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราวกระวน-

กระวาย คราวเจ็บไข้ คราวทำการงาน คราวไปทางไกล นี้สมัยใน

เรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุไปทางไกลอาบน้ำได้ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 664

ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำจีวรอาบน้ำได้

[๖๑๕] สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปกำลังช่วยกัน ทำจีวรกรรมอยู่ในที่

แจ้งถูกต้องลมผสมธุลี ทั้งฝนก็ตกถูกต้องประปราย ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจ

ไม่อาบน้ำ ย่อมนอนทั้ง ๆ ที่ร่างกายโสมม ร่างกายที่โสมมนั้นย่อมประทุษร้าย

ทั้งจีวร ทั้งเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ

ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวฝนปนพายุ เราอนุญาต ยัง

หย่อนกึ่งเดือน อานน้ำได้.

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๕

๑๐๖. ๗. จ. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ เว้น

ไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน

เดือนต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราว

กระวนกระวาย คราวเจ็บไข้ คราวทำการงาน คราวไปทางไกล

คราวฝนมากับพายุ นี้สมัยในเรื่องนั้น.

เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุทำจีวรอาบน้ำได้ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๐๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ... นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ยังหย่อนกึ่งเดือน คือ ยังไม่ถึงครึ่งเดือน.

บทว่า อาบน้ำ ได้แก่ อาบน้ำด้วยจุรณหรือดินเหนียว เป็นทุกกฏ

ในประโยค เมื่ออาบน้ำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 665

บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกไว้แต่มีสมัย.

ที่ชื่อว่า คราวร้อน คือ เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน.

ที่ชื่อว่า คราวกระวนกระวาย คือ เดือนต้นแห่งฤดูฝน ภิกษุอาบ

น้ำได้ เพราะถือว่าสองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราวกระวนกระวาย.

ที่ชื่อว่า คราวเจ็บไข้ คือ เว้นอาบน้ำ ย่อมไม่สบาย ภิกษุอาบ

น้ำได้ เพราะถือว่าเป็นคราวเจ็บไข้.

ที่ชื่อว่า คราวทำการงาน คือ โดยที่สุดแม้กวาดบริเวณ ภิกษุ

อาบน้ำได้ เพราะถือว่าเป็นคราวทำการงาน.

ที่ชื่อว่า คราวไปทางไกล คือ ภิกษุตั้งใจว่า จักเดินทางกึ่งโยชน์

อาบน้ำได้ คือ ตอนจะไปอาบน้ำได้ ไปถึงแล้วก็อาบน้ำได้.

ที่ชื่อว่า คราวฝนมากับพายุ คือ ภิกษุทั้งหลายถูกต้องลมผสมธุลี

หยาดฝนตกถูกต้องกาย ๒-๓ หยาด อาบน้ำได้ เพราะถือว่าเป็นคราวฝนมากับ

พายุ.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๑๗] หย่อนกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อน อาบน้ำ เว้นไว้แต่สมัย

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

หย่อนกึ่งเดือน ภิกษุสงสัย อาบน้ำ เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

หย่อนกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน อาบน้ำ เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 666

ทุกะทุกกฏ

เกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อน.. . ต้องอาบัติทุกกฏ.

เกินกึ่งเดือน ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

เกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๑๘] ภิกษุอาบน้ำในสมัย ๑ ภิกษุอาบน้ำในเวลากึ่งเดือน ๑ ภิกษุ

อาบน้ำในเวลาเกินกึ่งเดือน ๑ ภิกษุข้ามฟากอาบน้ำ ๑ ภิกษุอาบน้ำในปัจจันต-

ชนบท ทุก ๆ แห่ง ๑ ภิกษุอาบน้ำเพราะมีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

นหานสิกขาบทที่ ๗

ในสิกขาบทที่ ๗ มีวินิจฉัยดังนี้:-

ในคำว่า จุณฺเณน วา มตฺติกาย วา นี้ มีวินิจฉัยว่า เป็น

ทุกกฏ ทุก ๆ ประโยค เริ่มต้นแต่เวลาที่เตรียมแป้งและดินเป็นต้น .

ในคำว่า ปาร คจฺฉนฺโต นหายติ นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุจะอาบน้ำ

ในหลุม (แอ่ง) ที่ตนคุ้ยทรายขึ้นทำไว้ในแม่น้ำแห้ง ควรอยู่.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ภิกษุถูกแมลงภู่เป็นต้น ไล่ต่อยจะดำลง

ในน้ำ ก็ควร. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-

วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

นหานสิกขาบทที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 667

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๖๑๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบินฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุ

กับพวกปริพาชกต่างพากันเดินทาง จากเมืองสาเกตไปยังพระนครสาวัตถี ใน

ระหว่างทาง พวกโจรได้พากันออกมาแย่งชิงพวกภิกษุกับพวกปริพาชกเหล่านั้น

พวกเจ้าหน้าที่ได้ออกจากพระนครสาวัตถี ไปจับโจรเหล่านั้นได้พร้อมทั้งของ

กลาง แล้วส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายมา

จำจีวรของตน ๆ ไว้แล้วจงรับเอาไป ภิกษุทั้งหลายจำจีวรไม่ได้ ชาวบ้านพา

กันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจำจีวรของตน ๆ

ไม่ได้เล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่

จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ

เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น ทรงทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่อง

นั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ

ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่ง

สงฆ์ ๑. . . เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือความพระวินัย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า

ดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 668

พระบัญญัติ

๑๐๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุได้จีวรมาใหม่ พึงถือเอาวัตถุสำหรับ

ทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ของเขียวความก็ได้ ตม

ก็ได้ ของดำคล้ำก็ได้ ถ้าภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสำหรับ ทำให้เสียสี ๓

อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้จีวรใหม่ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๒๐] ที่ชื่อว่า ใหม่ ท่านกล่าวว่ายังมิได้ทำเครื่องหมาย.

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ ผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง.

พากย์ว่า พึงถือเอาวัตถุ สำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใด

อย่างหนึ่ง นั้น คือ พึงถือ โดยที่สุดแม้ด้วยปลายหญ้าคา.

ที่ชื่อว่า ของเขียวคราม ได้แก่ของเขียวคราม ๒ อย่าง คือของ

เขียวครามเหมือนสำริดอย่าง ๑ ของเขียวครามเหมือนน้ำใบไม้เขียวอย่าง ๑.

ที่ชื่อว่า สีตม ตรัสว่า สีน้ำตม.

ที่ชื่อว่า สีดำคล้ำ ได้แก่สีดำคล้ำชนิดใดชนิดหนึ่ง.

พากย์ว่า ถ้าภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง

อย่างใดอย่างหนึ่ง นั้น ความว่า ภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี ๓

อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง (ทำเป็นวงกลม) โดยที่สุดแม้ด้วยปลายหญ้าคา

แล้วใช้จีวรใหม่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 669

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๒๑] มิได้ถือเอา ภิกษุสำคัญว่ามิได้ถือเอา ใช้นุ่งห่ม ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

มิได้ถือเอา ภิกษุสงสัย ใช้นุ่งห่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มิได้ถือเอา ภิกษุสำคัญว่าถือเอา ใช้นุ่งห่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ถือเอาแล้ว ภิกษุสำคัญว่ามิได้ถือเอา ใช้นุ่งห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ถือเอาแล้ว ภิกษุสงสัย ใช้นุ่งห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ถือเอาแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถือเอาแล้วใช้นุ่งห่ม ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๒๒] ภิกษุถือเอาแล้วนุ่งห่ม ๑ ภิกษุนุ่งห่มจีวรที่มีเครื่องหมายหาย

สูญไป ๑ ภิกษุนุ่งห่มจีวร ที่มีโอกาสทำเครื่องหมายไว้ แต่จางไป ๑ ภิกษุ

นุ่งห่มจีวรที่ยังมิได้ทำเครื่องหมาย แต่เย็บติดกับจีวรที่ทำเครื่องหมายแล้ว ๑

ภิกษุนุ่งห่มผ้าปะ ๑ ภิกษุนุ่งห่มผ้าทาบ ๑ ภิกษุใช้ผ้าดาม ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 670

ทุพพัณณกรณสิกขาบทที่ ๘

ในสิกขาบทที่ ๘ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ว่าด้วยการพ้นทุจีวรที่ได้มาใหม่ก่อนใช้]

ในคำว่า นว ปน ภิกขุนา จีวรลาเภน นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

ภิกษุได้จีวรใด, เพราะเหตุนั้น จีวรนั้น จึงชื่อว่าลภะ, ลภะนั่นแหละ คือ

ลาภ. ได้อะไร ? ได้จีวร. จีวรเช่นไร ? จีวรใหม่. เมื่อควรตรัสโดยนัยอย่าง

นี้ว่า นวจีวรลาเภน ไม่ลบนิคหิคตรัสว่า นว จีวรลาเภน ดังนี้. มีใจ

ความว่า ได้จีวรใหม่มา. ศัพท์ว่า ปน ในบททั้ง ๒ วางไว้ตรงกลางเป็นนิบาต.

คำว่า ภิกฺขุนา เป็นการแสดงถึงภิกษุผู้ได้จีวร. แต่ในบทภาชนะ

ไม่ทรงเอื้อเฟื้อพยัญชนะ เพื่อจะแสดงแต่จีวรที่ภิกษุได้ จึงตรัสคำว่า จีวร

นาม ฉนฺน จีวราน เป็นต้น.

ก็ในบทว่า จีวร นี้ พึงทราบว่า เป็นจีวรที่อาจนุ่งหรือห่มได้เท่า

นั้น. เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า จีวรควรวิกัป

ได้เป็นอย่างต่ำ.

บทว่า กสนีล คือ สีเขียวของช่างหนัง. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า

สนิมเหล็ก สนิมโลหะ นั่น ชื่อว่า สีเขียวเหมือนสำริด.

บทว่า ปลาสนีล ได้แก่ น้ำใบไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสีเขียว

ความ.

คำว่า ทุพฺพณฺณกรณ อาทาตพฺพ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หมายเอากัปพินทุ (จุดเครื่องหมาย) มิได้ตรัสหมายถึงการกระทำจีวรทั้งผืน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 671

ให้เสียสี ด้วยสีเขียวเป็นต้น. ก็แล ภิกษุเมื่อจะถือเอากัปปะนั้น ย้อมจีวร

แล้วพึงถือเอาจุดเครื่องหมายเท่าแววตานกยูง หรือว่าหลังตัวเรือด ที่มุมทั้ง ๔

หรือที่มุมทั้ง ๓ ทั้ง ๒ หรือมุมเดียวก็ได้.

แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า จะถือเอาพินทุกัปปะที่ผืนผ้า หรือที่ลูกดุม

ไม่ควร. ส่วนในมหาอรรถกถากล่าวว่า ควรแท้ ก็กัปปะที่เป็นแนว และ

กัปปะที่เป็นช่อเป็นต้น ท่านห้ามไว้ในทุก ๆ อรรถกถา; เพราะฉะนั้น จึงไม่

ควรทำกัปปะ โดยวิการแม้อะไรอย่างอื่น เว้นจุดกลมจุดเดียว.

ในคำว่า อคฺคเฬ เเป็นต้น มีวินิจฉัยว่า ไม่มีกิจที่จะเพิ่มผ้าเพาะ

เป็นต้นนี้ ในจีวรที่กระทำกัปปะแล้ว ทำกัปปะใหม่ในภายหลัง. บทที่เหลือตื้น

ทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา

โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดัง

นี้แล.

ทุพพัณณกรณสิกขาบทที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 672

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระอุปนันทศายบุตร

[๖๒๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันท-

ศากยบุตร วิกัปจีวรเองแก่ภิกษุสัทธิวิหาริกของภิกษุผู้เป็นพี่น้องกัน แล้วใช้

สอยจีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอน ครั้นแล้วภิกษุนั้นเล่าเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายว่า

อาวุโสทั้งหลาย ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนี้ วิกัปจีวรเองแก่ผมแล้วใช้สอย

จีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอน บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย.. . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาว่า ท่านพระอุปนันทศากยบุตรวิกัปจีวรเองแก่ภิกษุแล้ว ไฉนจึงได้

ใช้สอยจีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนอุปนันท์ ข่าวว่า เธอวิกัป

จีวรเองแก่ภิกษุแล้วใช้สอยจีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอน จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอวิกัป

จีวรเองแก่ภิกษุแล้ว ไฉนจึงได้ใช้สอยจีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอนเล่า การกระทำ

ของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ

เลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 673

พระบัญญัติ

๑๐๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุใดวิกัปจีวรเอง แก่ภิกษุก็ดี ภิกษุณีก็ดี

สิกขมานาก็ดี สามเณรก็ดี สามเณรีก็ดี แล้วใช้สอยจีวรนั้น ซึ่ง

ไม่ให้เขาถอนก่อน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๒๔] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุรูปอื่น.

ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สามเณรีผู้มีสิกขาอันศึกษาแล้วใน

ธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี.

ที่ชื่อว่า สามเณร ได้แก่ บุรุษผู้ถือสิกขาบท ๑๐.

ที่ชื่อว่า สามเณรี ได้แก่ สตรีผู้ถือสิกขาบท ๑๐.

บทว่า เอง คือ วิกัปด้วยตน.

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ ผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์

กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.

ที่ชื่อว่า วิกัป (โดยใจความก็คือทำให้เป็นของสองเจ้าของ) มี ๒

อย่าง คือ วิกัปต่อหน้า ๑ วิกัปลับหลัง ๑.

ที่ชื่อว่า วิกัปต่อหน้า คือกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน

หรือว่าข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่สหธรรมิกผู้มีชื่อนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 674

ที่ชื่อว่า วิกัปลับหลัง คือกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน

เพื่อช่วยวิกัป ภิกษุผู้รับวิกัปนั้นพึงถามว่า ใครเป็นมิตรหรือเป็นผู้เคยเห็น

ของท่าน พึงตอบว่า ท่านผู้มีชื่อนี้ และท่านผู้มีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับวิกัปนั้น พึง

กล่าวว่า ข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุมีชื่อนี้นั้นและภิกษุมีชื่อนั้น จีวรผืนนี้เป็นของภิกษุ

เหล่านั้น ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงสละก็ตาม จงทำตามปัจจัยก็ตาม.

ที่ชื่อว่า ซึ่งไม่ให้เขาถอนก่อน คือ ภิกษุใช้สอยจีวรที่ผู้รับวิกัป

นั้นยังมิได้คืนให้ หรือไม่วิสาสะแก่ภิกษุผู้รับวิกัปนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๒๕] จีวรยังมิได้ถอน ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้ถอน ใช้สอย ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

จีวรยังมิได้ถอน ภิกษุสงสัย ใช้สอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

จีวรยังมิได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว. . . ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ

ภิกษุอธิษฐานก็ดี สละให้ไปก็ดี ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

จีวรที่ถอนแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้ถอน ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

จีวรที่ถอนแล้ว ภิกษุสงสัย ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

จีวรที่ถอนแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว ใช้สอย ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 675

อนาปัตติวาร

[๖๒๖] ภิกษุใช้สอยจีวรที่ภิกษุผู้รับวิกัปคืนให้ หรือวิสาสะแก่ภิกษุ

ผู้รับวิกกัป ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

วิกัปปนสิกขาบทที่ ๙

ในสิกขาบทที่ ๗ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ว่าด้วยการใช้จีวรยังไม่ได้ถอนวิกัป]

สองบทว่า ตสฺส วา อทินฺน ได้แก่ (จีวร) ที่ภิกษุผู้รับวิกัปยัง

ไม่กล่าวให้แก่ภิกษุเจ้าของจีวรอย่างนี้ว่า ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงสละก็ตาม

จงทำตามปัจจัยก็ตาม.

สองบทว่า ตสฺส วา อวิสฺสาเสนฺโต มีความว่า หรือด้วยไม่

วิสาสะแก่ภิกษุผู้ทำวินัยกรรม. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ใช้สอยจีวรที่ภิกษุผู้รับ

วิกัป นั้น ให้แล้ว หรือด้วยวิสาสะแก่ภิกษุผู้รับวิกัปนั้น. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้

ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังที่ได้กล่าวแล้ว ในติงสกกัณฑวรรณนานั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑

ทางวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชระ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓. ดังนี้แล.

วิกัปปนสิกขาบทที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 676

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์

[๖๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระสัตตรสวัคคีย์เป็นผู้ไม่เก็บงำบริขาร พระฉัพพัคคีย์จึงซ่อนบาตรบ้าง จีวร

บ้าง ของพระสัตตรสวัคคีย์ ๆ จึงกล่าวขอร้องพระฉัพพัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลาย

ขอท่านจงคืนบาตรให้แก่พวกผมดังนี้บ้าง ว่าขอท่านจงคืนจีวรให้แก่พวกผม

ดังนี้บ้าง พระฉัพพัคคีย์พากันหัวเราะ พระสัตตรสวัคคีย์ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลาย

พากันถามว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม.

พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกพระฉัพพัคคีย์เหล่านี้

พากัน ซ่อนบาตรบ้าง จีวรบ้าง ของพวกผม.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. ..ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ซ่อนบาตรบ้าง จีวรบ้าง ของภิกษุทั้งหลายเล่า แล้ว

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอซ่อนบาตรบ้าง จีวรบ้าง ของภิกษุทั้งหลายจริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ซ่อนบาตรบ้าง จีวรบ้าง ของภิกษุทั้งหลายเล่า การกระทำของ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 677

พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ

ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๐๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี

จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคดเอวก็ดี ของภิกษุ โดยที่สุด

แม้หมายจะหัวเราะ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๒๘] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

บทว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุอื่น.

ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่ บาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็กชนิดหนึ่ง

บาตรดินเผาชนิดหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า จีวร หมายถึงผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์

กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัป เป็นอย่างต่ำ.

ที่ชื่อว่า ผ้าปูนั่ง ตรัสหมายผ้าปูนั่งที่มีชาย.

ที่ชื่อว่า กล่องเข็ม ได้แก่กล่องที่มีเข็มก็ตาม ไม่มีเข็มก็ตาม

ที่ชื่อว่า ประคดเอว ได้แก่ประคดเอว ๒ ชนิด คือ ประคดผ้า

ชนิดหนึ่ง ประคดไส้สุกรชนิดหนึ่ง.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 678

บทว่า ซ่อน คือ ซ่อนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้ซ่อน คือ ใช้ผู้อื่นให้ซ่อน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ใช้

หนเดียว เขาซ่อนแม้หลายหน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ คือ มุ่งจะล้อเล่น.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๒๙] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี

ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคดเอวก็ดี โดยที่สุดแม้

หมายจะหัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี

ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคดเอวก็ดี โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตร

ก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคดเอวก็ดี โดยที่สุดแม้หมายจะ

หัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ปัญจกทุกกฏ

ภิกษุซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบริขารอย่างอื่น โดยที่สุดแม้หมายจะ

หัวเราะ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี

ของอนุปสัมบัน โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ คือ อาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 679

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๖๓๐] ภิกษุไม่มีความประสงค์จะหัวเราะ ๑ ภิกษุเก็บบริขารที่ผู้อื่น

วางไว้ไม่ดี ๑ ภิกษุเก็บไว้ด้วยหวังสั่งสอนแล้วจึงจะคืนให้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 680

จีวราปนิธานสิกขาบทที่ ๑๐

ในสิกขาบทที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังนี้:-

บทว่า อปนิเธนฺติ คือ นำไปเก็บซ่อนไว้.

บทว่า หสฺสาเปกฺโข คือ มีความประสงค์จะหัวเราะ.

สองบทว่า อญฺ ปริกฺขาร ได้แก่ บริขารอื่นมีถุงบาตรเป็นต้น

ซึ่งมิได้มาในพระบาลี.

สามบทว่า ธมฺมึ กถ กตฺวา มีความว่า เมื่อภิกษุเก็บไว้ด้วยทำใจว่า

เราจักกล่าวธรรมกถาอย่างนี้ว่า ชื่อว่า สมณะเป็นผู้ไม่เก็บงำบริขารไม่ควร

แล้วจึงจักให้ ดังนี้ ไม่เป็นอาบัติ. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก

วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

จีวราปนิธานสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

สุราปานวรรคที่ ๖ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. สุราปานสิกขาบท ว่าด้วยการดื่มสุรา

๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท ว่าด้วยการจี้

๓. หัสสธัมสิกขาบท ว่าด้วยการเล่นน้ำ

๔. อนาทริยสิกขาบท ว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ

๕. ภิงสาปนสิกขาบท ว่าด้วยการหลอนภิกษุ

๖. โชติสมาทหนสิกขาบท ว่าด้วยการติดไฟ

๗. นหานสิกขาบท ว่าด้วยการอาบน้ำ

๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท ว่าด้วยของสำหรับทำให้เสียสี

๙. วิกัปปนสิกขาบท ว่าด้วยการวิกัปจีวร และ

๑๐. จีวราปนิธานสิกขาบท ว่าด้วยการซ่อนจีวร

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 681

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๗

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระอุทายี

[๖๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน

พระอุทายีเป็นผู้ชำนาญในการยิงธนู นกกาทั้งหลายไม่เป็นที่ชอบใจของท่านๆ

ได้ยิงมัน แล้วตัดศีรษะเสียบหลาวเรียงไว้เป็นลำดับ.

ภิกษุทั้งหลายถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ใครฆ่านกกาเหล่านี้ .

พระอุทายีตอบว่า ผมเองขอรับ เพราะผมไม่ชอบนกกา.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย .. . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้แกล้งพรากสัตว์จากชีวิตเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าว

ว่า เธอแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต จริงหรือ.

ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้แกล้งพรากสัตว์จากชีวิตเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 682

เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อม

ใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๑๐. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด เเกล้งพรากสัตว์จากชีวิต เป็น

ปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุทายีจบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๓๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บุทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

บทว่า แกล้ง คือ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ ตั้งใจ พยายาม ละเมิด.

ทีชื่อว่า สัตว์ ตรัสหมายสัตว์ดิรัจฉาน.

บทว่า พราก. . .จากชีวิต ความว่า ตัดทอน บั่นทอน ซึ่งอินทรีย์

มีชีวิต ทำความสืบต่อให้กำเริบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๖๓๓] สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าสัตว์มีชีวิต พรากจากชีวิต ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

สัตว์มีชีวิต ภิกษุสงสัย พรากจากชีวิต ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 683

สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่สัตว์มีชีวิต พรากจากชีวิต ไม่ต้อง

อาบัติ.

ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าสัตว์มีชีวิต . ..ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่สัตว์มีชีวิต...ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๓๔] ภิกษุไม่แกล้งพราก ๑ ภิกษุพรากด้วยไม่มีสติ ๑ ภิกษุ ไม่รู้ ๑

ภิกษุไม่ประสงค์ จะให้ตาย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

ปาจิตตีย์ สัปปาณวรรค * ที่ ๗

สัญจิจจปาน สิกขาบทที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งสัปปาณวรรคดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถปาฐะเรื่องการแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต]

สองบทว่า อิสฺสาโส โหติ ความว่า เคยเป็นอาจารย์ของพวก

นายขมังธนูในคราวเป็นคฤหัสถ์

สองบทว่า ชีวิตา โวโรปิตา ได้แก่ พรากเสียจากชีวิต. แม้ใน

สิกขาบท คำว่า โวโรเปยฺย ก็แปลว่า พึงพรากเสีย. ก็เพราะคำว่า โวโร-

เปยฺย นั่น เป็นเพียงโวหารเท่านั้น, เพราะว่า เมื่อสัตว์ถูกพรากจากชีวิต

* บาลีเป็น สัปปาณกวรรค.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 684

แล้ว ไม่มีชีวิตไร ๆ จะยังคงอยู่ต่างหากในสัตว์นี้ คือ จะถึงความอันตรธาน

ไปแน่นอน เหมือนศีรษะเมื่อถูกพรากเครื่องประดับศีรษะ ฉะนั้น; เพราะ-

ฉะนั้น เพื่อจะแสดงอรรถนั้น ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัส

คำว่า ชีวิตินฺทฺริย อุปจฺฉินฺทติ เป็นต้น. ก็ในสิกขาบทนี้ จำเพาะสัตว์

ดิรัจฉานเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ปาณะ (ปราณ). ภิกษุฆ่าสัตว์เดรัจฉาน

นั้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เป็นอาบัติเท่ากัน, ไม่มีความต่างกัน. แต่ในสัตว์ใหญ่

เป็นอกุศลมาก เพราะมีความพยามมาก.

สองบทว่า ปาเณ ปาณสญฺี มีความว่า ชั้นที่สุด ภิกษุจะทำ

ความสะอาดเตียง และทิ้ง มีความสำคัญแม้ในไข่เรือดว่า เป็นสัตว์เล็ก บี้ไข่

เรือดนั้นให้แตกออก เพราะขาดความกรุณา เป็นปาจิตตีย์. เพราะเหตุนั้น

ภิกษุพึงตั้งความกรุณาไว้ในฐานะเช่นนั้น เป็นผู้ไม่ประมาททำวัตรเถิด. บทที่

เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังได้กล่าวแล้วใน

มนุสสวิคคหสิกขาบทนั่นแล.

สัญจิจปาณสิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 685

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๓๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ

ฉัพพัคคีย์รู้อยู่ บริโภคนามีตัวสัตว์ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย .. .ต่างก็เพ่ง

โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ จึงได้บริโภคน้ำมีตัว

สัตว์เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอรู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอรู้อยู่ จึงได้บริโภคน้ำมีตัวสัตว์เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็น

ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 686

พระบัญญัติ

๑๑๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ เป็น

ปาจิตตีย์.

เรื่องของพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๓๖] บทว่า อนึ่ง ...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่น ๆ บอกแก่เธอ.

บทว่า มีตัวสัตว์ ความว่าภิกษุรู้อยู่ คือ รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายจักตาย

เพราะการบริโภค ดังนี้ บริโภค ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๖๓๗] น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่ามีตัวสัตว์ บริโภค ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์ บริโภค ไม่ต้องอาบัติ.

น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่ามีตัวสัตว์. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์. . .ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 687

อนาปัตติวาร

[๖๓๘] ภิกษุไม่รู้ว่าน้ำมีตัวสัตว์ ๑ ภิกษุรู้ว่าน้ำไม่มีตัวสัตว์ คือรู้ว่า

สัตว์จักไม่ตายเพราะการบริโภค ดังนี้ บริโภค ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

สัปปาณกสิกขาบทที่ ๒

ในสิกขาบทที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[แก้อรรถว่าด้วยการบริโภคน้ำมีตัวสัตว์]

บทว่า สปฺปาณก ได้แก่ น้ำมีมีตัวสัตว์ด้วยจำพวกสัตว์เล็ก ๆ ซึ่งจะ

ตายเพราะการบริโภค. อธิบายว่า ก็ภิกษุรู้อยู่บริโภคนาเช่นนั้น ต้องปาจิตตีย์

ทุก ๆ ประโยค. เมื่อภิกษุดื่มน้ำแม้เต็มบาตร โดยประโยคเดียวไม่ขาดตอน

ก็เป็นอาบัติตัวเดียว. ภิกษุเอาน้ำเช่นนั้นแกว่งล้างบาตรมีอามิสก็ดี ทำบาตร

ข้าวต้มร้อนให้เย็นในน้ำเช่นนั้นก็ดี เอามือวัก หรือเอากระบวยตักน้ำนั้นอาบ

ก็ดี เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ประโยค.

แม้ภิกษุเข้าไปสู่สระพังน้ำก็ดี สระโบกขรณีก็ดี ให้คลื่นเกิดขึ้นเพื่อ

ต้องการให้น้ำทะลักออกภายนอก (เป็นปาจิตตีย์). พวกภิกษุเมื่อชำระสระพัง

หรือสระโบกขรณี พึงถ่ายเทน้ำที่ตักจากสระพังหรือจากสระโบกขรณีนั้นลงใน

น้ำเท่านั้น. เมื่อในที่ใกล้ไม่มีน้ำ พึงเทน้ำที่เป็นกัปปิยะ ๘ หม้อ หรือ ๑๐

หม้อลงในประเทศที่ขังน้ำได้ (แอ่งน้ำ) แล้วพึงเทลงในน้ำที่เป็นกัปปิยะซึ่งเท

ไว้นั้น . อย่าพึงเทน้ำลงบนหินอันร้อน ด้วยสำคัญว่า จักไหลกลับลงไปในน้ำ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 688

แต่จะรดให้หินเย็นด้วยน้ำที่เป็นกัปปิยะ ควรอยู่. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ตื้น

ทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล. แต่ในสิกขา-

บทนี้ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นปัณณัตติวัชชะ เพราะภิกษุแม้รู้ว่าน้ำมีตัวสัตว์

แล้วบริโภคด้วยสำคัญว่าเป็นน้ำ ดุจในการที่แม้รู้ว่าตั๊กแตนและสัตว์เล็กจะตก

ลงไปแล้ว ตามประทีปด้วยจิตบริสุทธิ์ ฉะนั้น ดังนี้แล

สัปปาณกสิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 689

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๓๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วทามธรรมเพื่อทำอีก ด้วยกล่าว

หาว่า กรรมไม่เป็นอันทำแล้ว. กรรมที่ทำแล้วไม่ดี กรรมต้องทำใหม่ กรรม

ไม่เป็นอันทำเสร็จแล้ว กรรมที่ทำเสร็จแล้วไม่ดี ต้องทำให้เสร็จใหม่ บรรดา

ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ-

ฉัพพัคคีย์รู้อยู่ จึงได้ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรมเพื่อทำใหม่เล่า แล้ว

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอรู้อยู่ ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรมเพื่อทำอีก จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอรู้อยู่ จึงได้ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรมเพื่อทำอีกเล่า การ

กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 690

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๑๒. ๓. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้ว

ตามธรรม เพื่อทำอีก เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๔๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่น ๆ บอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

ที่ชื่อว่า ตามธรรม คือ ที่สงฆ์ก็ดี บุคคลก็ดี ทำแล้วตามธรรม

ตามสัตถุศาสน์ นี้ชื่อว่า ตามธรรม.

[๖๔๑] ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัด

ต้องทำมี ๔ คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาบัติทาธิกรณ์ ๑

กิจจาธิกรณ์ ๑.

บทว่า ฟื้น. . .เพื่อทำอีก คือ ภิกษุฟื้นขึ้นด้วยกล่าวหาว่า กรรม

ไม่เป็นอันทำแล้ว กรรมที่ทำแล้วไม่ดี กรรมต้องทำใหม่ กรรมไม่เป็นอัน

ทำเสร็จแล้ว กรรมที่ทำเสร็จแล้วไม่ดี สงฆ์ต้องทำให้เสร็จใหม่ ดังนี้ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 691

บทภาชนีย์

[๖๔๒] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ฟื้น ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย ฟื้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ฟื้น ไม่ต้องอาบัติ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ฟื้น ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย ฟื้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ฟื้น ไม่ต้อง

อาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๔๓] ภิกษุรู้อยู่ว่า ทำกรรมโดยไม่เป็นธรรม โดยเป็นวรรค หรือ

ทำแก่บุคคลผู้ไม่ควรแก่กรรม ดังนี้ ฟื้น ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ-

กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

อุกโกฏนสิกขาบทที่ ๓

ในสิกขาบทที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรม]

บทว่า อุกฺโกเฏนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปยังสำนักของ

ภิกษุนั้น ๆ แล้ว พูดคำโยกโย้ไปมามีอาทิว่า กรรมไม่เป็นอันทำ คือ ไม่ให้

การยืนยันโดยความเป็นเรื่องควรยืนยัน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 692

บทว่า ยถาธมฺม มีความว่า โดยธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

เพื่อเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ใดเล่า.

บทว่า นีหตาธิกรณ คือ อธิกรณ์ที่สงฆ์วินิจฉัยแล้ว อธิบายว่า

อธิกรณ์ซึ่งสงฆ์ระงับแล้วโดยธรรมที่พระศาสดาตรัสแล้วนั่นแหละ.

สองบทว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมมสญฺี มีความว่า อธิกรณ์นั้น

สงฆ์ระงับแล้วด้วยกรรมใด, ถ้ากรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม. แม้ภิกษุนี้ก็

เป็นผู้มีความสำคัญในกรรมที่เป็นธรรมนั้นว่า เป็นกรรมชอบธรรม ถ้ารื้อฟื้น

อธิกรณ์นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์. แม้บทที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยนี้.

นี้เป็นความย่อในสิกขาบทนี้ . ส่วนความพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ในคัมภีร์ปริวารโดยนัยมีอาทิว่า การรื้ออธิกรณ์ ๔ นี้ มีเท่าไร ? ดังนี้ .

พระอรรถกถาจารย์นำถ้อยคำที่ตรัสไว้ในคัมภีร์ปริวารนั้น ทั้งหมดมา

แล้วพรรณนาอรรถแห่งคำนั้นนั่นแลไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย แต่พวกเราจะ

พรรณนาคำนั้นในคัมภีร์ปริวารนั่นแหละ. เพราะเมื่อเราจะนำมาพรรณนาใน

สิกขาบทนี้ จะพึงฟั่นเฝือยิ่งขึ้น; ฉะนั้น พวกเราจึงไม่ได้พรรณนาคำนั้น.

บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ

โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม เป็นทุกชเวทนา ดังนี้แล

อุกโกฏนสิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 693

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๖๔๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน

พระอุปนันทศากยบุตรต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว บอกแก่ภิกษุ

สัทธิวิหาริกของภิกษุผู้พี่น้องกันว่า อาวุโส ผมต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกก-

วิสัฎฐิแล้ว คุณอย่าได้บอกแก่ใคร ๆ เลย ครั้นต่อมาภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติ

ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว ขอปริวาสเพื่อาบัตินั้นต่อสงฆ์ สงฆ์ได้ให้

ปริวาสเพื่ออาบัตินั้นแก่เธอแล้ว เธอกำลังอยู่ปริวาสอยู่ พบภิกษุรูปนั้นแล้ว

ได้บอกภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ผมต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว ได้

ขอปริวาสเพื่ออาบัตินั้นต่อสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสเพื่อาบัตินั้นแก่ผมแล้ว

ผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส ผมขอบอกให้ทราบ ขอท่านจงจำผมว่าบอกให้ทราบ

ดังนี้.

ภิกษุนั้นถามว่า อาวุโส แม้ภิกษุรูปอื่นใด ต้องอาบัตินี้ แม้ภิกษุนั้น

ก็ทำอย่างนี้หรือ.

ภิกษุผู้อยู่ปริวาสตอบว่า ทำอย่างนี้ อาวุโส.

ภิกษุนั้นพูดว่า อาวุโส ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนี้ต้องอาบัติชื่อ

สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว ท่านได้บอกแก่ผมว่า อาวุโส ผมต้องอาบัติชื่อ

สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว คุณอย่าได้บอกแก่ใครเลย.

ภิกษุผู้อยู่ปริวาสถามว่า อาวุโส ก็ท่านปกปิดอาบัตินั้นหรือ.

ภิกษุนั้นตอบว่า เป็นเช่นนั้น ขอรับ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 694

ครั้นแล้วภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นได้แจ้งเรื่องแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ

ที่เป็นผู้มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุรู้อยู่ จึงได้

ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุผู้ปกปิดอาบัตินั้นว่า ดูก่อนภิกษุ

ข่าวว่า เธอรู้อยู่ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ จริงหรือ.

ภิกษุผู้ปกปิดอาบัตินั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่

จึงได้ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ.

ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่

เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๑๓. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ

เป็นปาจิตตีย์ .

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๓๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 695

บทว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุรูปอื่น.

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่น ๆ บอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

ที่ชื่อว่า อาบัติชั่วหยาบ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ๔ และอาบัติ

สังฆาทิเสส ๑๓.

บทว่า ปิด ความว่า เมื่อภิกษุติดเห็นว่า คนทั้งหลายรู้อาบัตินี้แล้ว

จักโจท จักบังคับให้ ให้การ จักด่าว่า จักติเตียน จักทำให้เก้อ เราจักไม่

บอกละ ดังนี้ พอทอดธุระเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๖๔๖] อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าอาบัติชั่วหยาบ ปิด ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุยังสงสัยอยู่ ปิด ต้องอาบัติทุกกฏ.

อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อาบัติชั่วหยาบ ปิด ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

ภิกษุปิดอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุปิดอัชฌาจารอันชั่วหยาบก็ดี ไม่ชั่วหยาบก็ดี ของอนุปสัมบัน

ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าอาบัติชั่วหยาบ ปิด ต้องอาบัติทุกกฏ.

อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุยังสงสัยอยู่ ปิด ต้องอาบัติทุกกฏ.

อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อาบัติชั่วหยาบ ปิด ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 696

อนาปัตติวาร

[๖๔๗] ภิกษุติดเห็นว่าความบาดหมางก็ดี ความทะเลาะก็ดี ความ

แก่งแย่งก็ดี การวิวาทก็ดี จักมีแก่สงฆ์ แล้วไม่บอก ๑ ไม่บอกด้วยคิดเห็น

ว่าสงฆ์จักแตกแยกกัน หรือจักร้าวรานกัน ๑ ไม่บอกด้วยคิดเห็นว่าภิกษุรูปนี้

เป็นผู้โหดร้ายหยาบคาย จักทำอันตรายชีวิต หรืออันตรายพรหมจรรย์ ๑

ไม่พบภิกษุอื่นที่สมควรจึงไม่บอก ๑ ไม่ตั้งใจจะปิดแต่ยังไม่ได้บอก ๑ ไม่บอก

ด้วยคิดเห็นว่าจักปรากฎเอง ด้วยการกระทำของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

ทุฏฐุลลสิกขาบทที่ ๔

ในสิกขาบทที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ]

ในคำว่า ทุฏฺฐุลฺลา นาม อาปตฺติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงปาราชิก ๔ ไว้ ด้วยอำนาจแห่งการทรงขยายความ, แต่ทรงประสงค์

อาบัติสังฆาทิเสส. เมื่อภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสสนั้น เป็นปาจิตตีย์.

สองบทว่า ธุร นิกฺขิตฺตมตฺเต คือ เมื่อสักว่าทอดธุระเสร็จ. ถ้า

แม้นทอดธุระแล้ว บอกในภายหลัง, รักษาไม่ได้. มีคำอธิบายว่า พอทอด

ธุระเสร็จเท่านั้น ก็เป็นปาจิตตีย์. แต่ถ้าว่า ภิกษุทอดธุระแล้วอย่างนั้น บอก

แก่ภิกษุอื่นเพื่อปกปิดไว้นั่นเอง, แม้ภิกษุผู้รับบอกนั้นเล่า ก็บอกแก่ภิกษุอื่น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 697

โดยอุบายดังกล่าวมานี้ สมณะทั้งร้อยก็ดี สมณะตั้งพันก็ดี ย่อมต้องอาบัติทั้งนั้น

ตราบเท่าที่สุดยังไม่ขาดลง.

ถามว่า ที่สุดจะขาดเมื่อไร ?

ตอบว่า ท่านมหาสุมเถระกล่าวไว้ก่อนว่า ภิกษุต้องอาบัติ แล้วบอก

แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุผู้รับบอกนั้น กลับมาบอกแก่เธอผู้ต้องอาบัตินั้น อีก,

ที่สุดย่อมขาดลงอย่างนี้. ส่วนพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า เพราะว่า ภิกษุนี้

เป็นวัตถุบุคคลทีเดียว. (บุคคลผู้ต้องอาบัติ) แต่ต้องอาบัติแล้วก็บอกแก่ภิกษุ.

รูปหนึ่ง, ภิกษุรูปที่ ๒ นี้ก็บอกแก่ภิกษุรูปต่อไป, ภิกษุรูปที่ ๓ นั้น กลับมา

บอกเรื่องที่ภิกษุรูปที่ ๒ บอกเธอแก่ภิกษุรูปที่ ๒ นั้นแล, เมื่อบุคคลที่ ๓ กลับ

มาบอกแก่บุคคลที่ ๒ อย่างนี้ ที่สุดย่อมขาดตอนลง.

สองบทว่า อทุฏฺฐุลฺล อาปตฺตึ ได้แก่ อาบัติ ๕ กองที่เหลือ.

อัชฌาจารนี้ คือ สุกกวิสัฏฐิ และกายสังสัคคะ ชื่อว่าว่าอัชฌาจาร

อันชั่วหยาบสำหรับอนุปสัมบัน ในคำว่า อนุปสมฺปนฺนสฺส ทุฏฺฐุลฺล วา

อทุฏฺฐุลฺล วา อชฺฌาจาร นี้. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกาย วาจากับจิต

เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต

ทุกขเวทนา ดังนี้แล.

ทุฏฐุลลสิกขาบทที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 698

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องเด็กชายอุบาลี

[๖๔๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์

ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์ มีเด็กชายพวกหนึ่ง ๑๗ คน เป็นเพื่อนกัน

เด็กชายอุบาลีเป็นหัวหน้าของเด็กเหล่านั้น ครั้งนั้น มารดาบิดาของเด็กชาย

อุบาลีได้หารือกันว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้า

อุบาลีจะพึงอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก ครั้นแล้วหารือกันต่อไปว่า ถ้าเจ้า

อุบาลีจะพึงเรียนหนังสือ ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไป

เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก แล้วหารือกันต่อไปอีกว่า ถึงเจ้า

อุบาลีจักเรียนหนังสือ นิ้วมือก็จักระบม ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณ ด้วย

วิธีอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้อง

ลำบาก ครั้นต่อมาจึงหารือกันอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาคำนวณ เขาจัก

หนักอก ถ้าจะพึงเรียนวิชาดูรูปภาพ ด้วยอุบายอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสอง

ล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก ครั้นต่อมาจึงหารือกัน

อีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาดูรูปภาพ นัยน์ตาทั้งสองของเขาจักชอกช้ำ

พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล มีความสุขเป็นปกติ มีความ

ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้าเจ้าอุบาลี

จะพึงได้บวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ

เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 699

ชวนกันออกบวช

[๖๔๙] เด็กชายอุบาลีได้ยินถ้อยคำที่มารดาบิดาสนทนาหารือกันดังนี้

จึงเข้าไปหาเพื่อนเด็กเหล่านั้น ครั้นแล้วได้พูดชวนดังนี้ว่า มาเถิดพวกเจ้า

เราจักพากันไปบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร.

เด็กชายพวกนั้นพูดว่า ถ้าเจ้าบวช แม้พวกเราก็จักบวชเหมือนกัน.

ไม่รอช้า เด็กชายเหล่านั้นต่างคนต่างก็ไปหามารดาบิดาของตน ๆ แล้ว

ขออนุญาตว่า ขอท่านทั้งหลายจงอนุญาตให้พวกข้าพเจ้าออกจากเรือนบวช

เป็นบรรพชิตเถิด.

มารดาของเด็กเหล่านั้นก็อนุญาตทันที ด้วยติดเห็นว่า เด็กเหล่านี้

ต่างก็มีฉันทะร่วมกัน มีความมุ่งหมายดีด้วยกันทุกคน

เด็กพวกนั้นเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชาแล้ว .

ภิกษุทั้งหลายก็ได้ให้เด็กพวกนั้นบรรพชาและอุปสมบท.

ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี ภิกษุใหม่เหล่านั้นลุกขึ้นร้องไห้วิงวอนว่า

ขอท่านทั้งหลาย จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว.

ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย จงรอให้ราตรีสว่างก่อน

ถ้าข้าวต้มมี จักดื่มได้ ถ้าข้าวสวยมี จักฉันได้ ถ้าของเคี้ยวมี จักเคี้ยวฉันได้

ถ้าข้าวต้มข้าวสวยหรือของเคี้ยวไม่มี ต้องเที่ยวบิณฑบาตฉัน .

ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายแม้กล่าวอยู่อย่างนี้แล ก็ยังร้องไห้

วิงวอนอยู่อย่างนั้นแลว่า จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว ดังนี้

ย่อมถ่ายอุจจาระรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง ซึ่งเสนาสนะ.

[๖๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตื่นบรรทม ณ เวลาปัจจุสสมัยแห่ง

ราตรี ได้ทรงสดับเสียงเด็ก ๆ ครั้นแล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถาน

ว่า นั่นเสียงเด็ก ๆ หรือ อานนท์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 700

จึงท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคแล้ว.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ

เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า

กูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายรู้อยู่ยังบุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ให้

อุปสมบทจริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน โมฆบุรุษ

เหล่านั้นรู้อยู่ จึงได้ยังบุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ให้อุปสมบทเล่า เพราะบุคคล

มีอายุหย่อน ๒๐ ปี เป็นผู้ไม่อดทนต่อเย็น ร้อน หิวกระหาย เป็นผู้มีปกติไม่

ทนทานต่อสัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลาน ต่อคำกล่าวที่

เขากล่าวร้าย อันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนาทางกาย อันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน

ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันอาจผลาญชีวิตได้ ที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคล

มีอายุครบ ๒๐ ปีเท่านั้น จึงจะเป็นผู้อดทนต่อเย็น ร้อน หิว กระหาย เป็น

ผู้มีปกติทนทานต่อสัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลาน ต่อ

คำกล่าวที่เขากล่าวร้าย อันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนาทางกาย อันกล้า แข็ง

เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันอาจผลาญชีวิตได้ที่เกิดขึ้นแล้ว

การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่

ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว .. .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 701

พระบัญญัติ

๑๑๔. ๕. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ยังบุคคลมีปีหย่อน ๒๐ ให้

อุปสมบท บุคคลนั้นไม่เป็นอุปสัมบันด้วย ภิกษุทั้งหลายนั้นถูกติเตียน

ด้วย นี้เป็นปาจิตตีย์ในเรื่องนั้น.

เรื่องเด็กชายอุบาลี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๕๑] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. ..

นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

ที่ชื่อว่า มีปีหย่อน ๒๐ คือ มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี.

ภิกษุตั้งใจว่าจักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี พระอาจารย์ก็ดี

บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ

จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย

พระอุปัชฌายะต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและพระอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทภาชนีย์

[๖๕๒] บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่ามีอายุหย่อน ๒๐ ปี

ให้อุปสมบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุสงสัยอยู่ ให้อุปสมบท ต้องอาบัติ

ทุกกฎ.

บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่ามีอายุครบ ๒๐ ปี ให้อุป-

สมบท ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 702

บุคคลมีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ครบ ๒๐ ปี ให้อุปสมบท

ต้องอาบัติทุกกฏ.

บุคคลมีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุสงสัยอยู่ ให้อุปสมบท ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

บุคคลมีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่ามีอายุครบ ๒๐ ปี ให้อุปสมบท

ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๕๓] บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่ามีอายุครบ ๒๐ ปี

ให้อุปสมบท ๑ บุคคลมีอายุ ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญมีอายุครบ ๒๐ ปี ให้อุปสมบท

๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

อูนวีสติวัสสสิกขาบทที่ ๕

ในสิกขาบทที่ ๕ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะในปฐมบัญญัติ]

ข้อว่า องฺคุลิโย ทุกฺขา ภวิสฺสนฺติ มีความว่า มารดาบิดาของ

เด็กชายอุบาลีคิดว่า เมื่อเจ้าอุบาลีเขียนหนังสือ นิ้วมือจักระบม.

สองบทว่า อุรสฺส ทุกฺโข มีความว่า มารดาบิดาของอุบาลีสำคัญ

ว่า เมื่ออุบาลีเรียนวิชาคำนวณจำจะต้องคิดแม้มาก ; เพราะเหตุนั้น เขาจัก

หนักอก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 703

สองบทว่า อกฺขีนิสฺส ทุกฺขานิ มีความว่า มารดาบิดาของอุบาลี

สำคัญว่า อุบาลีเมื่อเรียนตำราดูรูปภาพ จำต้องพลิกไปพลิกมาดูเหรียญกษาปณ์;

เพราะเหตุนั้น นัยน์ตาทั้ง ๒ ของเขาจักชอกช้ำ. ในบทว่า ฑังสะ เป็นต้น

จำพวกแมลงสีเหลือง ชื่อว่า ฑังสะ (เหลือบ).

บทว่า ทุกฺขาน แปลว่า ทนได้ยาก.

บทว่า ติพฺพาน แปลว่า กล้า.

บทว่า ขราน แปลว่า แข็ง

บทว่า กฏุกาน แปลว่า เผ็ดร้อน. อนึ่ง ความว่า เป็นเช่นกับ

รสเผ็ดร้อน เพราะไม่เป็นที่เจริญใจ.

บทว่า อสาตาน แปลว่า ไม่เป็นที่ยินดี.

บทว่า ปาณหราน แปลว่า อาจผลาญชีวิตได้.

สองบทว่า สีม สมฺมนฺนติ ได้แก่ ผูกสีมาใหม่. แต่ในกุรุนที

ท่านปรับเป็นทุกกฏเเม้ไม่การกำหนดวักน้ำสาด.

บทว่า ปริปุณฺณวีสติวสฺโส ได้แก่ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์

นับแต่ถือปฏิสนธิมา.

[ว่าด้วยบุคคลผู้มีอายุหย่อนและครบ ๒๐ ปี]

ความจริง แม้ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์ ก็ถึงการนับว่า

ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีเหมือนกัน. เหมือนอย่างที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้

ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสป เป็นผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์

จึงอุปสมบท ครั้งนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ ก็

เรามีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้อุปสมบท, เราจะเป็นอุปสัมบัน

หรือไม่เป็นอุปสัมบันหนอ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 704

พวกภิกษุได้กราบทูลเรื่องนั่นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . จิตดวงแรกใดเกิด

แล้วในท้องของมารดา, วิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว, อาศัยจิตดวงแรกวิญญาณ

ดวงแรกนั้นนั่นแหละ เป็นความบังเกิดของสัตว์นั้น, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !

เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตรมีอายุครบ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์.

ในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว คพฺภวีส อุปสมฺปาเทตุ นั้น

บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ผู้ใดอยู่ในท้องของมารดาถึง ๑๒ เดือน

เกิด (คลอด) ในวันมหาปวารณา, ตั้งแต่วันมหาปวารณานั้นไปจนถึงวันมหา-

ปวารณาในปีที่ ๑๙ พึงให้ผู้นั้นอุปสมบทในวันปาฏิบท (แรมค่ำ ๑) เลยวัน

มหาปวารณานั้นไป. พึงทราบการลดลงและเพิ่มขึ้นโดยอุบายนั่น.

แต่พวกพระเถระครั้งก่อนให้สามเณรอายุ ๑๙ ปีอุปสมบทในวันปาฏิบท

(วันแรมค่ำ ๑) เลยวันเพ็ญเดือน ๙ ไป.

ถามว่า การอุปสมบทนั้นมีได้ เพราะเหตุไร ?

ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลย:- ในปีหนึ่ง มีจาตุทสีอุโบสถ (อุโบสถวัน

๑๔ ค่ำ) ๖ วัน, เพราะฉะนั้น ใน ๒๐ ปีจะมีเดือนขาดไป ๔ เดือน, เจ้าผู้

ครองบ้านเมืองจะเลื่อนกาลฝนออกไปทุก ๆ ๓ ปี (เพิ่มอธิกมาสทุก ๆ ๓ ปี),

ฉะนั้น ใน ๑๘ ปี จะเพิ่มเดือนขึ้น ๖ เดือน (เพิ่มอธิกมาส ๖ เดือน). นำ

๔ เดือนที่ขาดไปด้วยอำนาจอุโบสถออกไปจาก ๖ เดือนที่เพิ่มเข้ามาใน ๑๘ ปี

นั้น ยังคงเหลือ ๒ เดือน. เอา ๒ เดือนนั้นมาเพิ่มเข้า จึงเป็น ๒๐ ปีบริบูรณ์

ด้วยประการอย่างนี้ พระเถระทั้งหลายจึงหมดความสงสัยอุปสมบทให้ (สาม

เณรอายุ ๑๙ ปี) ในวันปาฏิบทเลยวันเพ็ญเดือน ๙ ไป.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 705

ก็ในคำว่า สามเณรมีอายุ ๑๙ ปี เป็นต้นนี้ ท่านกล่าวคำว่ามีอายุ ๑๙

ปี หมายเอาสามเณรผู้ซึ่งปวารณาแล้ว จักมีอายุครบ ๒๐ ปี. เพราะฉะนั้น

ผู้ที่อยู่ในท้องมารดาถึง ๑๒ เดือน จะเป็นผู้มีอายุครบ ๒๑ ปี. ผู้ซึ่งอยู่ (ใน

ท้องมารดา) ๗ เดือน จะเป็นผู้มีอายุ ๒๐ ปี กับ ๗ เดือน. แต่ผู้ (อยู่ใน

ท้องมารดา) ๖ เดือนคลอด จะไม่รอด.

ในคำว่า อนาปตฺติ อูนวีสติวสฺส ปุคฺคล ปริปุณฺณสญฺี นี้

มีวินิจฉัยว่า ไม่เป็นอาบัติแก่อุปัชฌายะผู้ให้อุปสมบทแม้โดยแท้. ถึงอย่างนั้น

บุคคลก็ไม่เป็นอันอุปสมบทเลย. แต่ถ้าบุคคลนั้น ให้ผู้อื่นอุปสมบทโดยล่วง

ไป ๑๐ พรรษา, หากว่า เว้นบุคคลนั้นเสียคณะครบ บุคคลผู้นั้นเป็นอัน

อุปสมบทดีแล้ว. และแม้บุคคลผู้ไม่ใช่อุปสัมบันนั้น ยังไม่รู้เพียงใด ยังไม่

เป็นอันตรายต่อสวรรค์ ไม่เป็นอันตรายต่อพระนิพพานของเขาเพียงนั้น. แต่

ครั้นรู้แล้ว พึงอุปสมบทใหม่. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณ-

ณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้ แล.

อูนวีสติวัสสสิกขาบทที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 706

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๖๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวก

พ่อค้าเกวียนต่างหมู่หนึ่งประสงค์จะเดินทาง จากพระนครราชคฤห์ ไปสู่ชนบท

ทางทิศทะวันตก ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กล่าวกะพ่อค้าพวกนั้นว่า แม้อาตมาจักขอ

เดินทางไปร่วมกับพวกท่าน.

พวกพ่อค้าเกวียนต่างกล่าวว่า พวกกระผมจักหลบหนีภาษีขอรับ.

ภิกษุนั้น พูดว่า ท่านทั้งหลายจงรู้กันเองเถิด.

เจ้าพนักงานศุลกากรทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า พวกพ่อค้าเกวียนต่างจัก

หลบหนีภาษี จึงคอยซุ่มอยู่ที่หนทาง ครั้นพวกเจ้าพนักงานเหล่านั้นจับพ่อค้า-

เกวียนต่างหมู่นั้น ริบของต้องห้ามไว้ได้แล้ว ได้กล่าวกะภิกษุพวกนั้นว่า

พระคุณเจ้ารู้อยู่ เหตุไรจึงได้เดินทางร่วมกับพ่อค้าเกวียนต่างผู้ลักซ่อนของ

ต้องห้ามเล่า เจ้าหน้าที่ไต่สวนแล้วปล่อยภิกษุนั้นไป ครั้นภิกษุรูปนั้นไปถึง

พระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้

มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุรู้อยู่ จึงได้

ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกพ่อค้าผู้เป็นโจรเล่า แล้วกราบทูล

เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า

เธอรู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทางสายเดียวกันกับพวกเกวียน พวกต่างผู้เป็นโจร

จริงหรือ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 707

ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่

จึงได้ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกเกวียน พวกต่างผู้เป็น

โจรเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๑๕. ๖. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทางไกล

สายเดียวกัน กับพวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร โดยที่สุดแม้สั้นระยะ

บ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๕๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

ที่ชื่อว่า พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ได้แก่ พวกโจรผู้ทำ

โจรกรรมมาก็ดี ไม่ได้ทำมาก็ดี ผู้ที่ลักของหลวงก็ดี ผู้ที่หลบซ่อนของเสียภาษี

ก็ดี.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 708

บทว่า กับ คือร่วมกัน.

บทว่า ชักชวนแล้ว ความว่า ชักชวนกันว่า ท่านทั้งหลาย พวกเรา

ไปกันเถิด ไปซิขอรับ จงไปกันเถิดขอรับ ไปซิ ท่านทั้งหลาย พวกเราไป

กันวันนี้ ไปกันพรุ่งนี้ หรือไปกันมะรืนนี้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

บทว่า โดยที่สุดแม้สั้นระยะบ้านหนึ่ง ความว่า ในตำบลบ้าน

กำหนดชั่วไก่บินถึง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ระยะบ้าน ในป่าหาบ้านมิได้

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ระยะกึ่งโยชน์.

บทภาชนีย์

[๖๕๖] พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่าพวกเกวียนพวก

ต่างผู้เป็นโจร ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะ

บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุมีความสงสัย ชักชวนแล้วเดิน

ทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่ามิใช่พวกเกวียนพวกต่าง

ผู้เป็นโจร ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง

ไม่ต้องอาบัติ.

ภิกษุชักชวน คนทั้งหลายมิได้ชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่า พวกเกวียนพวกต่าง

ผู้เป็นโจร... ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุมีความสงสัย . . . ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

มิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่า มิใช่พวกเกวียน

พวกต่างผู้เป็นโจร . . .ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 709

อนาปัตติวาร

[๖๕๗] ภิกษุไม่ได้ชักชวนกันไป ๑ คนทั้งหลายชักชวน ภิกษุมิได้

ชักชวน ๑ ไปผิดวันผิดเวลา ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

เถยยสัตตถสิกขาบทที่ ๖

ในสิกขาบทที่ ๖ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ว่าด้วยการเดินทางร่วมพวกพ่อค้าเกวียนผู้เป็นขโมย]

บทว่า ปฏิยาโลก ความว่า ตรงหน้าแสงอาทิตย์ คือ ทิศทะวันตก.

บทว่า กมฺมิกา ได้แก่ เจ้าพนักงานที่ด่านศุลกากร.

ข้อว่า ราชาน วา เถยฺย คจฺฉนฺติ มีความว่า พวกโจรขโมย

ของหลวง คือหลอกลวงลักเอาของหลวงบางอย่างไปด้วยตั้งใจว่า คราวนี้เราจัก

ไม่ถวายหลวง.

บทว่า วิสงฺเกเตน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไปผิดเวลา

นัดหมาย และผิดวันนัดหมาย. แต่ไปผิดทางที่นัดหมาย หรือผิดดังที่นัดหมาย

เป็นอาบัติเหมือนกัน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าว

แล้วในภิกขุนีวรรค.

สิกขาบทนี้ มีพวกพ่อค้าเกวียนพ่อค้าต่างผู้เป็นโจรเป็นสมุฎฐานเกิด

ขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

เถยยสัตถสิกขาบทที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 710

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๖๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ

รูปหนึ่งกำลังเดินทางไปสู่พระนครสาวัตถีในโกศลชนบท เดินทางไปทางประตู

บ้านแห่งหนึ่ง สตรีผู้หนึ่งทะเลาะกับสามีแล้วเดินออกจากบ้านไป พบภิกษุ

รูปนั้นแล้วได้ถามว่า พระคุณเจ้าจักไปไหน เจ้าข้า.

ภิกษุนั้นตอบว่า ฉันจักไปสู่พระนครสาวัตถี จ้ะ.

สตรีนั้นขอร้องว่า ดิฉันจักไปกับพระคุณเจ้าด้วย.

ภิกษุนั้นกล่าวรับรองว่า ไปเถิด จ้ะ.

ขณะนั้น สามีของสตรีนั้นออกจากบ้านแล้ว ถามคนทั้งหลายว่า

พวกท่านเห็นสตรีมีรูปร่างอย่างนี้บ้างไหม.

คนทั้งหลายตอบว่า สตรีมีรูปร่างเช่นว่านั้นเดินไปกับพระ.

ในทันที เขาได้ติดตามไปจับภิกษุนั้นทุบตีแล้วปล่อยไป ภิกษุนั้นนั่ง

พ้อตนเองอยู่ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง.

จึงสตรีนั้น ได้กล่าวกะบุรุษผู้สามีว่า นาย พระรูปนั้นมิได้พาดิฉันไป

ดิฉันต่างหากไปกับท่าน พระรูปนั้นไม่ใช่เป็นตัวการ นายจงไปขอขมาโทษ

ท่านเสีย.

บุรุษนั้นได้ขอขมาโทษภิกษุนั้น ในทันใดนั้นแล.

ครั้นภิกษุนั้นไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ

จึงได้ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกันกับมาตุคามเล่า . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 711

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า

เธอชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกับมาตุคาม จริงหรือ.

ภิกษุรูปนั้นทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกับมาตุคามเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น

ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๑๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียว

กันกับมาตุคาม โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๕๙] บทว่า อนึ่ง. . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ . . .

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ มิใช่หญิงยักษ์ มิใช่หญิงเปรต

มิใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นสตรีผู้รู้เดียงสา สามารถทราบซึ้งถึงถ้อยคำเป็น

สุภาษิตทุพภาษิต วาจาชั่วหยาบและสุภาพ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 712

บทว่า กับ คือร่วมกัน.

บทว่า ชักชวนแล้ว คือ ชักชวนว่า เราไปกันเถิดจ้ะ เราไปกัน

เถิดค่ะ เราไปกันเถิดพระคุณเจ้า เราไปกันเถิดน้องหญิง เราไปกันวันนี้

ไปกันพรุ่งนี้ หรือไปกันมะรืนนี้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ความว่า ในตำบลบ้าน

กำหนดชั่วไก่บินถึง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ระยะบ้าน ในป่าหาบ้านมิได้

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ระยะกึ่งโยชน์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๖๐] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม ชักชวนกันแล้วเดินทางไกล

สายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มาตุคาม ภิกษุสงสัย ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกัน โดย

ที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ชักชวนแล้ว เดินทางไกล

สายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

จตุกทุกกฏ

ภิกษุชักชวน มาตุคามมิได้ชักชวน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับหญิงยักษ์ หญิงเปรต

บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียมีกายคล้ายมนุษย์ โดยที่สุดแม้สิ้นระยะ

บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 713

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม .. .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม. . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๖๑] ภิกษุไม่ได้ชักชวนกันไป ๑ มาตุคามชักชวน ภิกษุไม่ได้

ชักชวน ๑ ภิกษุไปผิดวันผิดเวลา ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

สังวิธานสิกขาบทที่ ๗

ในสิกขาบทที่ ๗ มีวินิจฉัยดังนี้:-

สองบทว่า ปธูเปนฺโต นิสีทิ มีความว่า ภิกษุนั้นนั่งพ้อ หรือ

ตำหนิตนเองอยู่.

ข้อว่า นายฺโย โส ภิกฺขุ ม นิปฺปาเทสิ มีความว่า แน่ะนาย !

ภิกษุนี้มิได้ให้ฉันออกไป คือ มิได้พาฉันไป. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้พร้อม

กับสมุฏฐานเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในสิกขาบทว่าด้วย

การชักชวนเดินทางร่วมกันกับนางภิกษุณีนั่นแล.

สังวิธาน สิกขาบทที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 714

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระอริฏฐะ มิจฉาทิฏฐิ

[๖๖๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ

อริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง มีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึง

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรม

เหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง

ไม่ ภิกษุหลายรูปได้ทราบข่าวว่า พระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง มีทิฏฐิ

ทรามเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว

ดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น

หาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ แล้วพากันเข้าไปหาพระอริฏฐะผู้เกิดใน

ตระกูลพรานแร้งถามว่า อาวุโสอริฎฐะ ข่าวว่า ท่านมีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้เกิด

ขึ้นว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัส

ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำ

อันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ จริงหรือ.

อ. จริงอย่างว่านั้นแล อาวุโสทั้งหลาย ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสว่าเป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น

หาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.

ภิ. อาวุโสอริฏฐะ ท่านอย่าได้ว่าอย่างนั้น ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีแน่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย ธรรมอันทำอันตรายพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดย

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 715

บรรยายเป็นทำอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้น อาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง

กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ

คับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เปรียบเหมือนร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษใน

กามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือน

ร่างกระดูก กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ . . .

กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนคบหญ้า . . . กามทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง . . . กามทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนความฝัน. . . กามทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนของยืม . . . กามทั้งหลายพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนผลไม้ . . . กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ . . . กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เปรียบเหมือนแหลนหลาว . . . กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เปรียบเหมือนศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในการทั้งหลาย

นี้มากยิ่งนัก.

พระอริฎฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง แม้อันภิกษุเหล่านั้น ว่ากล่าวอยู่

อย่างนี้ก็ยังยึดถือทิฎฐิเห็นปานนั้นอยู่ ด้วยความยึดมั่นอย่างเดิม ซ้ำยังกล่าว

ยืนยันว่า ผมกล่าวอย่างนั้นจริง อาวุโสทั้งหลาย ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรม

ทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ .

เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจเปลื้องของพระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง

จากทิฏฐิอันทรามนั้นได้ จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลเรื่อง

นั้นให้ทรงทราบ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 716

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ

เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระอริฏฐะผู้เกิด

ในตระกูลพรานแร้งว่า ดูก่อนอริฏฐะ ข่าวว่า เธอมีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้เกิด

ขึ้นว่า เรารู้ตัวถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรม

เหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตราย

แก่ผู้เสพได้จริงไม่ จริงหรือ.

พระอริฎฐะทูลรับว่า เป็นจริงดังรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระ-

พุทธเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วดังข้อที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำ

อันตรายได้อย่างไร ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เพราะเหตุไรเธอจึงเข้าใจ

ธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนั้นเล่า ธรรมอันทำอันตราย เรากล่าวไว้โดยบรรยาย

เป็นอันมากมิใช่หรือ และธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง กาม

ทั้งหลายเรากล่าวว่ามีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษ

ในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนร่างกระดูก...

กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ . . . กามทั้งหลายเรากล่าวว่า

เปรียบเหมือนคบหญ้า . . . กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง

. . . กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนความฝัน. . . กามทั้งหลายเรากล่าว

ว่าเปรียบเหมือนของยืม . . . กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนผลไม้ . .

กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ . . . กามทั้งหลายเรา

กล่าวว่าเปรียบเหมือนแหลนหลาว . . . กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือน

ศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 717

เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยติฎฐิที่ตนยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลาย

ตนเอง และชื่อว่าประสบบาปมิใช่บุญเป็นอย่างมาก เพราะข้อนั้นแหละ จัก

เป็นไปเพื่อผลไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อผลเป็นทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน

การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๑๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรม

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการว่าเป็นธรรมทำ

อันตรายได้อย่างไร ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง

ไม่ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้พูด

อย่างนั้น ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่ดีดอก พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย

แน่ะเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทำอันตรายไว้โดยบรรยาย

เป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้น อาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง

แลภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น ขืนถืออยู่อย่างนั้นแล ภิกษุนั้น

อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศห้ามจนหนที่ ๓ เพื่อสละการนั้นเสีย

ถ้าเธอถูกสวดประกาศห้ามอยู่จนทนที่ ๓ สละการนั้นเสียได้ การ

สละได้ดั่งนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอริฏฐะ มิจฉาทิฏฐิ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 718

สิกขาบทวิภังค์

[๖๖๓] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า พูดอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรม

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่าเป็นธรรมทำอันตราย

ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.

[๖๖๔] บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ที่พูดอย่างนี้ .

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุพวกอื่น คือ ภิกษุพวกที่

ได้เห็น ที่ได้ยินเหล่านั้น พึงว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้น ท่านอย่าได้

กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีแน่ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย แน่ะเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรม

อันทำอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตราย

แก่ผู้เสพได้จริง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละ

ได้ การสละได้ดังนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอสละไม่ได้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ

ทั้งหลายทราบเรื่องแล้ว ไม่ว่ากล่าวต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัว

ภิกษุนั้นมา ณ ที่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึงว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้น

ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีแน่

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย แน่ะเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ธรรมอันทำอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้นอาจทำ

อันตรายแก่ผู้เสพได้จริง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๓ ถ้า

เธอสละได้ การสละได้ดังนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 719

[๖๖๕] ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศห้าม ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลายพึงสวดประกาศห้าม ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็แลพึงสวดประกาศห้าม

อย่างนี้:-

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรม

วาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสมนุภาส

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ทิฏฐิอันเป็นบาปมีอย่างนี้

เป็นรูป บังเกิดแก่ภิกษุมีชื่อนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่าเป็นธรรมทำอันตราย ธรรม-

เหล่านี้หาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้ไม่ ภิกษุนั้นไม่สละทิฏฐินั้น

ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดประกาศห้ามภิกษุ

มีชื่อนี้เพื่อละทิฏฐินั้น นี่เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ทิฏฐิอันเป็นบาปมีอย่างนี้

เป็นรูป บังเกิดแก่ภิกษุมีชื่อนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่าเป็นธรรมทำอันตราย ธรรม

เหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้ไม่ เธอไม่สละทิฏฐินั้น สงฆ์

สวดประกาศห้ามภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อสละทิฏฐินั้น การสวดประกาศ

ห้ามภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อสละทิฏฐินั้น ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง

เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๒ . . .

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ครั้งที่ ๓...

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 720

ภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดประกาศห้ามแล้ว เพื่อสละทิฏฐิ

นั้นชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

บทภาชนีย์

[๖๖๖] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้อง

อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกปาจิตตีย์

[๖๖๗] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่ยอม

สละต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่ยอมสละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่ยอมสละ ต้อง

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่ยอมสละ ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่ยอมสละ ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่ยอมสละ

ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๖๖๘] ภิกษุผู้ไม่สวดประกาศห้าม ๑ ภิกษุผู้ยอมสละ ๑ ภิกษุวิกล -

จริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติเเล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 721

อริฏฐสิกขาบทที่ ๘

ในสิกขาบทที่ ๘ มีวินิจฉัยดังนี้:-

พวกชนที่ชื่อว่า พรานแร้ง เพราะอรรถว่า ได้ฆ่าแร้งทั้งหลาย.

พระอริฏฐะชื่อว่า ผู้เคยเป็นพรานแร้งเพราะอรรถว่า ท่านมีบรรพบุรุษเป็น

พรานแร้ง. ได้ความว่า เป็นบุตรของตระกูลเคยเป็นพรานแร้ง คือ เกิดจาก

ตระกูลพรานแร้งนั้น.

[ว่าด้วยธรรมกระทำอันตรายแก่ผู้เสพ]

ธรรมเหล่าใด ย่อมทำอันตรายแก่สวรรค์และนิพพาน; เพราะเหตุนั้น

ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อันตรายิกธรรม. อันตรายิกธรรมเหล่านั้นมี ๕ อย่าง

ด้วยอำนาจ กรรม กิเลส วิบาก อุปวาท และอาณาวีติกกมะ. บรรดา

อันตรายิกธรรมมีกรรมเป็นต้นนั้น ธรรมคือ อนันตริยกรรม ๕ อย่าง ชื่อว่า

อันตรายิกธรรม คือ กรรม. ภิกขุนีทูสกกรรม ก็อย่างนั้น. แต่ภิกขุนีทูสก-

กรรมนั้น ย่อมทำอันตรายแก่พระนิพพานเท่านั้น หาทำอันตรายแก่สวรรค์ไม่.

ธรรมคือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า อันตรายิกธรรม คือ กิเลส. ธรรมคือ

ปฏิสนธิของพวกบัณเฑาะก์ ดิรัจฉาน และอุภโตพยัญชนก ชื่อว่า อันตรายิก-

ธรรมคือวิบาก. การเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า ชื่อว่า อันตรายิกธรรม คือ

อุปวาทะ. แต่อุปวาทันตรายิกธรรมเหล่านั้น เป็นอันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้

พระอริยเจ้าทั้งหลายอดโทษเท่านั้น, หลังจากให้ท่านอดโทษไป หาเป็นอัน-

ตรายไม่. อาบัติที่แกล้งต้อง ชื่อว่าอันตรายิกธรรมคือ อาณาวีติกกมะ. อาบัติ

แม้เหล่านั้น ก็เป็นอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุผู้ต้องยังปฏิญญาความเป็นภิกษุ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 722

หรือยังไม่ออก หรือยังไม่แสดงเท่านั้น ต่อจากทำคืนตามกรณีนั้น ๆ แล้วหา

เป็นอันตรายไม่.

บรรดาอันตรายิกธรรมตามที่กล่าวแล้วนั้น ภิกษุนี้เป็นพหูสูต เป็น

ธรรมกถึก รู้จักอันตรายิกธรรมที่เหลือได้ แต่เพราะไม่ฉลาดในพระวินัย จึง

ไม่รู้อันตรายิกธรรม คือ การล่วงละเมิดพระบัญญัติ. เพราะฉะนั้น เธอไป

อยู่ในที่ลับได้ติดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ครองเรือนเหล่านี้ยังบริโภคกามคุณ ๕ เป็น

พระโสดาบันก็มี เป็นพระสกทาคามีก็มี เป็นพระอนาคามีก็มี แม้ภิกษุทั้งหลาย

ก็เห็นรูปที่ชอบใจ พึงรู้ได้ทางจักษุ ฯลฯ ย่อมถูกต้องโผฏฐัพพะอันน่าชอบใจ

พึงรู้ได้ทางกาย บริโภคเครื่องลาดและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น แม้อันอ่อนนุ่ม ข้อ

นั้นควรทุกอย่าง เพราะเหตุไร รูปสตรีทั้งหลาย ฯลฯ โผฎฐัพพะ คือ สตรี

ทั้งหลาย จึงไม่ควรอย่างนี้เล่า ? แม้สตรีเป็นต้นเหล่านี้ ก็ควร. เธอเทียบ

เคียงรสกับรสอย่างนี้แล้ว ทำการบริโภคกามคุณที่เป็นไปกับด้วยฉันทราคะ กับ

การบริโภคกามคุณที่ไม่มีฉันทราคะ ให้เป็นอันเดียวกัน ยังทิฏฐิอันลามกให้

เกิดขึ้น ดุจบุคคลต่อด้ายละเอียดยิ่งกับเส้นปออันหยาบ ดุจเอาเขาสิเนรุเทียบกับ

เมล็ดผักกาด ฉะนั้น จึงขัดแย้งกับสรรเพชุดาญาณว่า ไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบัญญัติปฐมปาราชิกด้วยความอุตสาหะมาก ดุจทรงกั้นมหาสมุทร โทษใน

กามเหล่านี้ ไม่มี ดังนี้ ตัดความหวังของพวกภัพบุคคล ได้ให้การประหาร

ในอาณาจักรแห่งพระชินเจ้า. เพราะเหตุนั้น อริฏฐภิกษุจึงกล่าว่า ตถาห

ภควตา ธมฺม เทสิต อาชานามิ เป็นอทิ.

ในคำว่า อฏฺิกงฺกลูปมา เป็นต้น มีวินิฉัยว่า กามทั้งหลายเปรียบ

เหมือนโครงกระดูก ด้วยอรรถว่า มีรสอร่อยน้อย (มีความยินดีน้อย).

เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ด้วยอรรถว่า เป็นกายทั่วไปแก่สัตว์มาก. เปรียบเหมือน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 723

คบหญ้า ด้วยอรรถว่าตามเผาลน. เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ด้วยอรรถว่า

เร่าร้อนยิ่งนัก. เปรียบเหมือนความฝันด้วยอรรถว่า ปรากฏชั่วเวลานิดหน่อย.

เปรียบเหมือนของขอยืมด้วยอรรถว่า เป็นไปชั่วคราว. เปรียบเหมือนผลไม้

ด้วยอรรถว่าบั่นทอนอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง. เปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ

ด้วยอรรถว่า เป็นที่รองรับการสับโขก. เปรียบเหมือนแหลนหลาว ด้วยอรรถ

ว่าทิ่มแทง. เปรียบเหมือนศรีษะงู ด้วยอรรถว่า น่าระแวงและมีภัยจำเพาะ

หน้าแล. นี้ความย่อในสิกขาบทนี้ . ส่วนความพิสดารบัณฑิต พึงค้นเอาใน

อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี.

นิบาทสมุหะว่า เอว พฺยา โข แปลว่า เหมือนอย่างที่ทรงแสดง

อย่างนี้แล. บทที่เหลื่อในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วใน

เบื้องต้น.

สิกขาบทนี้ มีการสวดสมนุภาสน์เป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทาง กาย วาจา

และจิต เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม

อกุศลจิต เป็นทุกข์เวทนา ดังนี้แล.

อริฏฐสิกขาบทที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 724

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๖๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-

ฉัพพัคคีย์รู้อยู่ กินร่วมบ้าง อยู่ร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้าง กับ

พระอิรฏฐะผู้กล่าวอย่างนั้น ผู้ยังไม่ได้ทำกรรมอันสมควร ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระ-

ฉัพพัคคีย์รู้อยู่ จึงได้กินร่วมบ้าง อยู่ร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้าง

กับพระอริฏฐะผู้กล่าวอย่างนั้น ผู้ยังไม่ได้ทำกรรมอันสมควร ผู้ยังไม่ได้สละ

ทิฏฐินั้นเล่า...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอรู้อยู่ กินร่วมบ้าง อยู่ร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้าง

กับพระอริฏฐะผู้กล่าวอย่างนั้น ผู้ยังไม่ได้กระทำกรรมอันสมควร ผู้ยังไม่ได้

สละทิฏฐินั้น จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์กราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก

เธอรู้อยู่ จึงได้กินร่วมบ้าง อยู่ร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้าง กับ

อริฏฐะผู้กล่าวอย่างนั้น ผู้ยังไม่ได้ทำกรรมอันสมควร ผู้ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 725

เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๑๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จ

การนอนด้วยกันก็ดี กับภิกษุผู้กล่าวอย่างนั้น ยังไม่ได้ทำกรรมอัน

สมควร ยังไม่สละทิฏฐินั้น เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๗๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือรู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

บทว่า ผู้กล่าวอย่างนั้น คือ ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำ

อันตรายอย่างไร ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.

ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้ทำกรรมอันสมควร คือ เป็นผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร

แล้วสงฆ์ยังไม่ได้เรียกเข้าหมู่.

คำว่า กับ. . .ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น คือ กับ...ยังไม่ได้สละ

ทิฏฐิที่ถือนั้น .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 726

บทว่า กินร่วมก็ดี อธิบายว่า ที่ชื่อว่ากินร่วม หมายถึงการคบหามี

๒ อย่าง คบหากันในทางอามิส ๑ คบหากันในทางธรรม ๑.

ที่ชื่อว่า คบหากันในทางอามิส คือ ให้อามิสก็ดี รับอามิสก็ดี

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ที่ชื่อว่า คบหากันในทางธรรม คือ บอกธรรมให้ หรือขอ

เรียนธรรม.

ภิกษุบอกธรรมให้ หรือขอเรียนธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุก ๆ บท.

ภิกษุบอกธรรมให้ หรือขอเรียนธรรมโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุก ๆ อักขระ.

บทว่า อยู่ร่วมก็ดี ความว่า ทำอุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี

ร่วมกับภิกษุ ผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

คำว่า สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี อธิบายว่า ในที่มีหลังคาเดียวกัน

เมื่อภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรนอนแล้ว ภิกษุจึงนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อ

ภิกษุนอนแล้ว ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรจึงนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอน

ทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ลุกขึ้นแล้วนอนซ้ำอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๖๗๑] ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว

กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ภิกษุยังสงสัยอยู่ กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี

สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 727

ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร กินร่วม

ก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี ไม่ต้องอาบัติ.

ไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว. . .

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ภิกษุยังสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกยกวัตร. . .

ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๗๒] ภิกษุรู้ว่าไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ๑ ภิกษุรู้ว่า ภิกษุถูก

สงฆ์ยกวัตร แต่สงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว ๑ ภิกษุรู้ว่าภิกษุถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว

แต่สละทิฏฐินั้นแล้ว ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

อุกขิตตสัมโภคสิกขาบทที่ ๙

ในสิกขาบทที่ ๙ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ ๙ ]

บทว่า อกฏานุธมฺเมน มีความว่า โอสารณา (การเรียกเข้าหมู่)

ที่สงฆ์เห็นวัตรอันสมควรกระทำแล้วแก่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ในเพราะไม่เห็น

อาบัติก็ดี ในเพราะไม่กระทำคืนอาบัติก็ดี ในเพราะไม่สละทิฏฐิลามกก็ดี

โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ตามธรรม.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 728

ตามธรรมกล่าว คือ โอสารณานั้นสงฆ์ไม่ได้ทำแก่ภิกษุใด, ภิกษุนี้ชื่อว่า ผู้อัน

สงฆ์มิได้กระทำตามธรรม. ความว่า (ยังไม่ได้ทำ) กับด้วยภิกษุเช่นนั้น.

ด้วยเหตุนั้นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า อกฏานุธมฺเมน นั้น จึงตรัสว่า

ที่ชื่อว่า ยิ่งไม่ได้ทำตามธรรม คือ เป็นผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว สงฆ์ยังไม่ได้

เรียกเข้าหมู่.

สองบทว่า เทติ วา ปฏิคฺคณฺหาติ วา มีความว่า ภิกษุให้ก็ดี

รับก็ดี ซึ่งอามิส แม้เป็นอันมาก โดยประโยคเดียว เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว.

เมื่อให้และรับขาดตอน เป็นปาจิตตีย์มากตัว โดยนับประโยค. บทที่เหลือใน

สิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

อุกขิตตสัมโภคสิกขาบทที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 729

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องสมณุทเทสกัณฑกะ มิจฉาทิฏฐิ

[๖๗๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ -

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

สมณุทเทสชื่อกัณฑกะ มีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้

เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่

ภิกษุหลายรูปได้ทราบข่าวว่า สมณุทเทสชื่อกัณฑกะมีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้

เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัส

ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย . ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำ

อันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาสมณุทเทส ชื่อกัณฑกะ ถึง

สำนักแล้วถามว่า อาวุโสกัณฑกะ ข่าวว่า เธอมีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า

เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใด

ว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้

เสพได้จริงไม่ ดังนี้ จริงหรือ.

ก. จริงอย่างว่านั้นแล ขอรับ ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย

ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.

ภิ. อาวุโส กัณฑกะ เธออย่าได้ว่าอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวตู่

พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีแน่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

มิได้ตรัสอย่างนั้นเลย ธรรมอันทำอันตราย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดย

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 730

บรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง กาม

ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ามีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ

คับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่าเปรียบเหมือนร่างกระดูก. .. กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ. .. กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเปรียบเหมือน

คบหญ้า... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง

... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเปรียบเหมือนความฝัน ... กาม-

ทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเปรียบเหมือนของยืม.. กามทั้งหลายพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่าเปรียบเหมือนผลไม้... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่าเปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ . . . กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เปรียบเหมือนแหลนหลาว . . . กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเปรียบ

เหมือนศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มาก

ยิ่งนัก.

กัณฑกะสมณุทเทส อันภิกษุเหล่านั้นว่ากล่าวอยู่เช่นนี้ ยังยึดถือทิฏฐิ

ทรามนั้น ด้วยความยึดมั่นอย่างเดิม ซ้ำยังกล่าวยืนยันว่า ผมกล่าวอย่างนั้นจริง

ขอรับ ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรม

เหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตราย

แก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ .

เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่อาจเปลื้องสมณุทเทสกัณฑกะ จากทิฏฐิอันทราม

นั้นได้ จึงพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.

ประชุมสงฆ์โปรดให้นาสนะ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ

เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามสมณุทเทสกัณฑกะ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 731

ว่า ดูก่อนกัณฑกะ. ข่าวว่า เธอมีทิฏฐิอันทรามเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึง

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรม

เหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่

ดังนี้จริงหรือ.

สมณุทเทสกัณฑกะทูลรับว่า ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวอย่างนั้นจริง

พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว ดังข้อ

ที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหา

อาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เพราะเหตุใดเจ้าจึงเข้าใจ

ธรรมที่เราแสดงแล้วเช่นนั้นเล่า ธรรมอันทำอันตรายเรากล่าวไว้ โดยบรรยาย

เป็นอันมากมิใช่หรือ และธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง กาม

ทั้งหลายเรากล่าวว่ามีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษใน

กามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนร่างกระดูก.. .

กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ . . . กามทั้งหลายเรากล่าวว่า

เปรียบเหมือนคบหญ้า . . . กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง

. . . กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนความฝัน. . . กามทั้งหลายเรากล่าว

ว่าเปรียบเหมือนของยืม . . . กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนผลไม้ .. .

กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ .. . กามทั้งหลายเรา

กล่าวว่าเปรียบเหมือนแหลนหลาว . . . กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือน

ศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก

ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ตนยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลาย

ตนเองและชื่อว่าประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นแหละจักเป็นไปเพื่อผล

ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อผลเป็นทุกข์แก่เจ้า ตลอดกาลนาน การกระทำ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 732

ของเจ้านั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ

ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเจ้านั่น

ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่าง

อื่นของชุมชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงนาสนะสมณุทเทส

กัณฑกะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงนาสนะอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

เจ้ากัณฑกะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เจ้าอย่าอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ว่าเป็นศาสดาของเจ้า และสมณุทเทสอื่น ๆ ย่อมได้การนอนด้วยกัน เพียง ๒-๓

คืน กับภิกษุทั้งหลายอันใด แม้กิริยาที่ได้การนอนร่วมนั้นไม่มีแก่เจ้า เจ้าคน

เสีย เจ้าจงไป เจ้าจงฉิบหายเสีย.

ครั้งนั้น สงฆ์ได้นาสนะสมณุทเทสกัณฑะแล้ว.

เกลี้ยกล่อมสมณุทเทส

[๖๗๔] ต่อมา พระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสกัณฑกะ

ผู้ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้นแล้ว ให้อุปัฏฐากบ้าง กินร่วมบ้าง สำเร็จการนอน

ด้วยกันบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า

ไฉนพระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ จึงได้เกลี่ยกล่อมสมณุทเทสกัณฑกะ ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ

อย่างนั้นแล้ว ให้อุปัฎฐากบ้าง กินร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้างเล่า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอรู้อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสกัณฑกะ ผู้ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้น

แล้ว ให้อุปัฏฐากบ้าง กินร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้าง จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 733

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอรู้อยู่ จึงได้เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสกัณฑกะผู้ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้นแล้ว

ให้อุปัฏฐากบ้าง กินร่วมบ้าง สำเร็จการนอนร่วมกันบ้างเล่า การกระทำของ

พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ

ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๑๙. ๑๐. ถ้าแม้สมณุทเทสกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่าเป็น

ธรรมทำอันตรายได้อย่างไร ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้

เสพได้จริงหรือไม่ สมณุทเทสนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้

ว่า อาวุโสสมณุทเทส เธออย่าได้พูดอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวตู่

พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีดอก พระผู้-

มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย อาวุโส สมณุทเทส พระผู้มี -

พระภาคเจ้าตรัสธรรมทำอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก ก็แล

ธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง และสมณุทเทสนั้น

อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอย่าอย่างนั้น ขืนถืออยู่อย่างนั้นเทียว

สมณุทเทสนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะอาวุโส

สมณุทเทส เธออย่าอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่าเป็นพระศาสดาของ

เธอ ตั้งแต่วันนี้ไป และพวกสมณุทเทสอื่นย่อมได้การนอนร่วมเพียง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 734

๒-๓ คืน กับภิกษุทั้งหลายอันใด แม้กิริยาที่ได้การนอนร่วมนั้นไม่

มีแก่เธอ เจ้าคนเสีย เจ้าจงไป เจ้าจงฉิบหายเสีย อนึ่ง ภิกษุใดรู้

อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูถให้ฉิบหายเสียอย่างนั้น แล้วก็ดี ให้

อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องสมณุทเทสกัณฑกะ มิจฉาทิฏฐิ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๗๕] ที่ชื่อว่า สมณุทเทส ได้แก่ บุคคลที่เรียกกันว่าสามเณร

คำว่า กล่าวอย่างนี้ คือกล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่าเป็นธรรมทำอันตรายได้อย่างไร ธรรมเหล่า

นั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่

[๖๗๖] คำว่า สมณุทเทสนั้น ได้แก่สมณุทเทสผู้ที่กล่าวอย่างนั้น.

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุพวกอื่น คือ พวกภิกษุผู้

ได้เห็น ผู้ได้ยิน พึงว่ากล่าวว่า อาวุโส สมณุทเทส เธออย่าได้พูดอย่างนั้น

เธออย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีแน่

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย อาวุโสสมณุทเทส พระผู้มีพระ -

ภาคเจ้าตรัสธรรมทำอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้นอาจ

ทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง พึงว่ากล่าว แม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่

สาม ถ้าเธอสละได้ การสละได้ดังนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ สมณุทเทสนั้น

อัน ภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส สมณุทเทส เธออย่าอ้างพระผู้-

มีพระภาคเจ้านั้น ว่าเป็นพระศาสดาของเธอตั้งแต่วันนี้ไป และพวกสมณุทเทส

อื่น ย่อมได้การนอนร่วมเพียง ๒-๓ คืน กับภิกษุทั้งหลายอันใด แม้กิริยาที่

ได้การนอนร่วมนั้นไม่มีแก่เธอ เจ้าคนเสีย เจ้าจงไป เจ้าจงฉิบหาย ดังนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 735

[๖๗๗] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. ..

นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือรู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

บทว่า ผู้ถูกให้ฉิบหายเสียอย่างนั้นแล้ว คือ ผู้สงฆ์นาสนะอย่าง

นั้นแล้ว .

ที่ชื่อว่า สมณุทเทส ได้แก่ บุคคลที่เรียกกันว่าสามเณร.

บทว่า เกลี้ยกล่อมก็ดี คือ เกลี้ยกล่อมว่า เราจักให้บาตร จีวร

อุเทศหรือปริปุจฉาแก่เธอ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้อุปัฏฐากก็ดี คือ ยินดี จุรณ ดินเหนียว ไม้ชำระฟัน

หรือน้ำบ้วนปากของเธอ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า กินร่วมก็ดี อธิบายว่า ที่ชื่อว่ากินร่วม หมายถึงการคบหา

มี ๒ อย่าง คือคบหากันในทางอามิส ๑ คบหากันในทางธรรม ๑.

ที่ชื่อว่า คบหากัน ในทางอามิส คือ ให้อามิสก็ดี รับอามิสก็ดี

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ที่ชื่อว่า คบหากันในทางธรรม คือบอกธรรมให้ หรือขอเรียน

ธรรม.

ภิกษุบอกธรรมให้ หรือขอเรียนธรรม โดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุก ๆ บท.

ภิกษุบอกธรรมให้ หรือขอเรียนธรรม โดยอักขระ ต้องอาบัติ-

ปาจิตตีย์ ทุก ๆ อักขระ.

คำว่า สำเร็จการนอนร่วมก็ดี อธิบายว่า ในที่มุงบังอันเดียวกัน

เมื่อสมณุทเทส ผู้ถูกสงฆ์นาสนะนอนแล้ว ภิกษุจึงนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 736

เมื่อภิกษุนอนแล้ว สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะจึงนอน ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

หรือนอนทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ลุกขึ้นแล้วนอนต่อไปอีก ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๖๗๘] สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์นาสนะ

แล้ว เกลี้ยกล่อมก็ดี ให้อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุมีความสงสัย เกลี้ยกล่อมก็ดี ให้

อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ

เกลี้ยกล่อมก็ดี ให้อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี ไม่ต้อง

อาบัติ.

สมณุทเทสไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าผู้ถูกสงฆ์นาสนะ...

ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมณุทเทสไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสงสัย ...ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมณุทเทสไม่ใช่ผู้สงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ .. .

ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๗๙] ภิกษุรู้อยู่ว่า สมณุทเทสไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ ๑ ภิกษุรู้อยู่

ว่าสมณุทเทสยอมสละทิฏฐินั้นแล้ว ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 737

กัณฑกสิกขาบทที่ ๑๐

ในสิกขาบทที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ ๑๐]

สองบทว่า ทิฏฺิคต อุปฺปนฺน คือ สมณุทเทสแม้นี้ เมื่อถลำลง

ไปโดยไม่แยบคาย ก็เกิดความเห็นผิดขึ้นมา เหมือนอริฎฐภิกษุฉะนั้น.

นาสนะที่ตรัสไว้ในคำว่า นาเสตุ นี้ มี ๓ อย่างคือ สังวาสนาสนะ ๑

ลิงคนาสนะ ๑ ทัณฑกรรมนาสนะ ๑. บรรดานาสนะ ๓ อย่างนั้น การยกวัตร

ในเพราะไม่เห็นอาบัติเป็นต้น ชื่อว่า สังวาสนาสนะ. นาสนะนี้ว่า สามเณร

ผู้ประทุษร้าย (นางภิกษุณี) สงฆ์พึงให้นาสนะเสีย, เธอทั้งหลายพึงให้นาสนะ

เมตติยาภิกษุณีเสีย ชื่อว่า ลิงคนาสนะ. นาสนะนี้ว่า แน่ะอาวุโส สมณุทเทส

เธออย่าอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่า เป็นพระศาสดาของเธอตั้งแต่วันนี้ไป

ชื่อว่า ทัณฑกรรมนาสนะ. ทัณฑกรรมนาสนะนี้ ทรงประสงค์เอาในสิกขาบท

นี้ . เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสว่า เอวญฺจ ภิกฺขเว

นาเสตพฺโพ ฯเปฯ จร ปิเร วินสฺส เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จร แปลว่า เธอจงหลีกไปเสีย.

บทว่า ปิเร แปลว่า แน่ะเจ้าคนอื่น คือเจ้าผู้มีใช่พวกเรา.

บทว่า วินสฺส ความว่า เจ้าจงฉิบหายเสีย คือ จงไปในที่ซึ่งพวก

เราจะไม่เห็นเจ้า.

บทว่า อุปลาปฺเปยฺย แปลว่า พึงสงเคราะห์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 738

บทว่า อุปฏฺาเปยฺย คือ พึงให้สมณุทเทสนั้นทำการบำรุงตน.

บทที่เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในอริฏฐ-

สิกขาบทนั้นนั่นแล.

กัณฑกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

สัปปาณวรรคที่ ๗ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. สัญจิจจปาณสิกขาบท ว่าด้วยแกล้งฆ่าสัตว์

๒. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยบริโภคน้ำมีตัวสัตว์

๓. อุกโกฏนสิกขาบท ว่าด้วยฟื้นอธิกรณ์

๔. ทุฏฐุลลฺสิกขาบท ว่าด้วยปิดอาบัติชั่วหยาบ

๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท ว่าด้วยอุปสมบทกุลบุตรมีอายุ

หย่อน ๒๐ ปี

๖. เถยยสัตถสิกขาบท ว่าด้วยเดินทางร่วมกับพ่อค้าผู้

เป็นโจร

๗. สวิธานสิกขาบท ว่าด้วยชักชวนมาตุคามเดินทาง

สายเดียวกัน

๘. อริฏฐสิกขาบท ว่าด้วยพระอริฎฐะ

๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท ว่าด้วยการคบหากับภิกษุผู้ถูก

สงฆ์ยกวัตร

๑๐. กัณฑกสิกขาบท ว่าด้วยสมณุทเทสชื่อกันฑกะ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 739

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๘

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉันนะ

[๖๘๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิ -

ตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะพระพฤติอนาจาร ภิกษุ

ทั้งหลายพากันกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันนะ ท่านอย่าได้ทำการเห็นปานนั้น

การทำอย่างนั้นนั่นไม่ควร.

ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ตลอด

เวลาที่ฉันยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. .. ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนท่านพระฉันนะ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม จึงได้กล่าว

อย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถาม

ภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย ดังนี้เล่า. . .แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มี -

พระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนฉันนะ ข่าว

ว่า เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม ได้กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส

ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ฉันยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่น

ผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัยดังนี้ จริงหรือ.

ท่านพระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 740

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉน เธออัน

ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม จึงได้พูดอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันจักยัง

ไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรง

วินัย ดังนี้เล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง

ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๐. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบ

ธรรม กล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเธอ ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้

ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย เป็น

ปาจิตตีย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ศึกษาอยู่ ควรรู้ทั่วถึง ควร

สอบถาม ควรตริตรอง นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.

เรื่องพระฉันนะจบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๘๑] บทว่า อนึ่ง ...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 741

ที่ชื่อว่า ชอบธรรม คือ สิกขาบทใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติไว้นั่นชื่อว่าชอบธรรม.

ภิกษุผู้อัน ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรมนั้น กล่าวอย่างนี้ คือ

กล่าวว่า แน่ะเธอ ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้

สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย เป็นบัณฑิต มีปัญญา เป็นพหูสูต เป็น

ธรรมกถึก ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๘๒] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัยอยู่ กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติ-

ปาจิตตีย์.

ภิกษุผู้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ตมสิกขาบทที่มิได้ทรงบัญญัติไว้

กล่าวอย่างนี้ว่า สิกขาบทนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความ

กำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่เป็นไป

เพื่อปรารภความเพียร และซ้ำพูดว่า แน่ะเธอ ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบท

นี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย เป็นบัณฑิต มี

ปัญญา เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 742

ภิกษุผู้อันอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ก็ตาม ที่

มิได้ทรงบัญญัติไว้ก็ตาม พูดอย่างนี้ว่า สิกขาบทนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา

ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่

สะสม ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร แล้วซ้ำกล่าวว่า แน่ะเธอ ฉันจักยัง

ไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรง

วินัย เป็นบัณฑิต มีปัญญา เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ดังนี้ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัยอยู่ กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติ-

ทุกกฏ.

[๖๘๓] บทว่า ผู้ศึกษาอยู่ คือ ผู้ใคร่จะสำเหนียก.

บทว่า ควรรู้ทั่วถึง คือ ควรทราบไว้.

บทว่า ควรสอบถาม คือ ควรได้ถามดู ว่าสิกขาบทนี้เป็นอย่างไร

สิกขาบทนี้มีเนื้อความเป็นอย่างไร.

บทว่า ควรตริตรอง คือ ควรติด ควรพินิจ.

คำว่า นิเป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ความว่า นี้เป็นความถูกยิ่ง

ในเรื่องนั้น.

อนาปัตติวาร

[๖๘๔] ภิกษุกล่าวว่า จักรู้ จักสำเหนียก ดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 743

ปาจิตตีย์ สหธรรมิกวรรคที่ ๘

สหธรรมิกสิกขาบทที่ ๑

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งสหธรรมิกวรรค พึงทราบดังนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ ๑]

สองบทว่า เอตสฺมึ สิกฺขาปเท มีความว่า ข้าพเจ้าจักยังไม่ศึกษา

คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสิกขาบทนี้ก่อน.

ก็ในคำว่า อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็น

อาบัติ ทุก ๆ คำพูด.

ข้อว่า สิกฺขมาเนน ภิกฺขเว ภิกฺขุนา มีความว่า ภิกษุเป็นผู้ใคร่

เพื่อจะศึกษารับพระโอวาทด้วยเศียรกล้านั่นแหละ พึงรู้ทั่วถึง พึงได้ถาม และ

พึงใคร่ครวญ. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบจากใจความเฉพาะ

บท โดยนัยดังกล่าวแล้วในทุพพัณณกรณสิกขาบทนั่นแล. ว่าโดยวินิจฉัย

ตื้นทั้งนั้น .

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก

วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

สหธรรมิกสิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 744

สหธรรมมิกวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๘๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสวินัยกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งพระวินัย ตรัสอานิสงส์แห่ง

การเรียนพระวินัย ทรงยกย่องโดยเฉพาะท่านอุบาลีเนือง ๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย

โดยอเนกปริยาย ภิกษุทั้งหลายพากัน กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวินัยกถา

ทรงพรรณนาคุณแห่งพระวินัย ตรัสอานิสงส์แห่งการเรียนพระวินัย ทรงยกย่อง

โดยเฉพาะท่านพระอุบาลีเนือง ๆ โดยอเนกปริยาย อาวุโสทั้งหลาย ดั่งนั้น

พวกเราพากันเล่าเรียนพระวินัยในสำนักท่านพระอุบาลีเถิด ก็ภิกษุเหล่านั้นมาก

เหล่า เป็นเถระก็มี เป็นนวกะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี ต่างพากันเล่าเรียนพระ-

วินัยในสำนักท่านพระอุบาลี.

ส่วนพระฉัพพัคคีย์ได้หารือกันว่า อาวุโสทั้งหลาย บัดนี้ภิกษุเป็น

อันมากทั้งเถระ นวกะ และมัชฌิมะ พากันเล่าเรียนพระวินัยในสำนักท่านพระ-

อุบาลี ถ้าภิกษุเหล่านี้จักเป็นผู้รู้พระบัญญัติในพระวินัย ท่านจักฉุดกระชาก

ผลักไสพวกเราได้ตามใจชอบ อย่ากระนั้นเลย พวกเราจงช่วยกันก่นพระวินัย

เถิด เมื่อตกลงดั่งนั้น พระฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย กล่าวอย่างนี้ว่า

จะประโยชน์อะไรด้วยสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ที่ยกขึ้นแสดงแล้ว ช่าง

เป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิงนี่กระไร.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 745

บรรดาภิกษุที่มักน้อย. ..ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน

พระฉัพพัคคีย์จึงได้พากันก่นพระวินัยเล่า. .. แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า. . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอช่วยกันก่นวินัย จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้พากันก่นวินัยเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ

ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่

เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อมีใครสวดปาติโมกข์อยู่ กล่าว

อย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรด้วยสิกขาบทเล็กน้อยเหล่านี้ที่สวดขึ้นแล้ว

ช่างเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิง

นี่กระไร เป็นปาจิตตีย์ เพราะก่นสิกขาบท.

เรื่องของพระฉัพพัคคีย์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 746

สิกขาบทวิภังค์

[๖๘๖] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

คำว่า เมื่อมีใครสวดปาติโมกข์อยู่ ความว่า เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งยก

ปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ก็ดี ให้ผู้อื่นยกขึ้นแสดงอยู่ก็ดี ท่องบ่นอยู่ก็ดี

คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ก่นพระวินัยแก่อุปสัมบันว่า ก็จะ

ประโยชน์อะไรด้วยสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ที่ยกขึ้นแสดงแล้ว ช่างเป็น

ไปเพื่อรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิงนี่กระไร ความรำคาญ

ความลำบาก ความยุ่งเหยิง ย่อมมีแก่พวกภิกษุจำพวกที่เล่าเรียนพระวินัยนี้

แต่จำพวกที่ไม่เล่าเรียนหามีไม่ สิกขาบทนี้พวกท่านอย่ายกขึ้นแสดงดีกว่า

สิกขาบทนี้พวกท่านไม่สำเหนียกดีกว่า สิกขาบทนี้พวกท่านไม่เรียนดีกว่า

สิกขาบทนี้พวกท่านไม่ทรงจำดีกว่า พระวินัยจะได้สาบสูญ หรือภิกษุพวกนี้จะ

ได้ไม่รู้พระบัญญัติดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๘๗] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ก่นพระวินัยต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย ก่นพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ก่นพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 747

ปัญจกทุกกฏ

ภิกษุก่นธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุก่นพระวินัยหรือพระธรรมอย่างอื่นแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ก่นพระวินัย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ก่นพระวินัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ก่นพระวินัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๖๘๘] ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะก่น พูดตามเหตุว่านิมนต์ท่านเรียน

พระสูตร พระคาถา หรือพระอภิธรรมไปก่อนเถิด ภายหลังจึงค่อยเรียน

พระวินัย ดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

วิเลขนสิกขาบทที่ ๒

ในสิกขาบทที่ ๒ วินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยอานิสงส์มีการเรียนวินัยเป็นมูล]

สองบทว่า วินยกถ กเถติ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกถา

อันเกี่ยวเนื่องด้วยกัปปิยะและอกัปปิยะ อาบัติและอนาบัติ สังวร อสังวร

และปหานะ ที่ชื่อว่า วินัยกถา.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 748

คำว่า วินยสฺส วณฺณ ภาสติ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสการวางมาติกาด้วยอำนาจแห่งอาบัติ ๕ กองบ้าง ๗ กองบ้าง แล้วทรง

พรรณนาโดยบทภาชนะ ที่ชื่อว่า สรรเสริญพระวินัย.

คำว่า ปริยตฺติยา วณฺณ ภาสติ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสสรรเสริญ คือ พรรณนาคุณ ได้แก่ อานิสงส์มีการเรียนพระวินัยเป็นมูล

แห่งพวกภิกษุผู้เล่าเรียนพระวินัย. อธิบายว่า แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอานิสงส์ ๕ อานิสงส์ ๖ อานิสงส์ ๗ อานิสงส์ ๘ อานิสงส์ ๙ อานิสงส์ ๑๐

อานิสงส์ ๑๑ ซึ่งมีการเรียนพระวินัยเป็นมูลทั้งหมด ที่พระวินัยธรจะได้.

ถามว่า พระวินัยธร ย่อมได้อานิสงส์ ๕ เหล่าไหน ?

แก้ว่า ย่อมได้อานิสงส์ ๕ มีการคุ้มครองสีลขันธ์เป็นต้น ของตน.

สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์ใน

วินัยธรบุคคล (บุคคลผู้ทรงวินัย) มี ๕ เหล่านี้ คือ สีลขันธ์ของตนเป็นอัน

คุ้มครองรักษาดีแล้ว ๑ เป็นที่พึงของพวกภิกษุผู้มักระแวงสงสัย ๑ เป็นผู้

แกล้วกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ ๑ ข่มเหล่าชนผู้เป็นข้าศึกได้ราบคาบดีโดย

สหธรรม ๑ เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม. *

[อธิบายอานิสงส์ ๕ ว่าด้วยการต้องอาบัติ ๖ อย่าง]

สีลขันธ์ของตน เป็นอันวินัยธรบุคคลนั้นคุ้มครอง รักษาดีแล้ว

อย่างไร ? คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อต้องอาบัติ ย่อมต้องด้วย

อาการ ๖ อย่าง คือ ด้วยความไม่ละอาย ๑ ด้วยความไม่รู้ ๑ ด้วยความ

สงสัยแล้วขืนทำ ๑ ด้วยความสำคัญในของไม่ควรว่าควร ๑ ด้วยความสำคัญ

ในของควรว่าไม่ควร ๑ ด้วยความหลงลืมสติ ๑.

* วิ. ปริวาร. ๘/๔๕๓-๔๙๓.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 749

ภิกษุย่อมต้องอาบัติด้วยความไม่ละอายอย่างไร ? คือ ภิกษุรู้อยู่ทีเดียว

ว่า เป็นอกัปปิยะ ฝ่าฝืน ทำการล่วงละเมิด. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้นี้ว่า

ภิกษุแกล้งต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และ

ถึงความลำเอียงด้วยอคติ, ภิกษุเช่นนี้ เรา

เรียกว่า อลัชชีบุคคล.

ภิกษุย่อมต้องอาบัติ ด้วยความไม่รู้อย่างไร คือ เพราะว่าบุคคลผู้

ไม่มีความรู้เป็นผู้เขลา เป็นผู้งมงาย ไม่รู้สิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ ย่อม

ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำสิ่งที่ควรทำให้ผิดพลาด, ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่าต้อง

ด้วยความไม่รู้.

ภิกษุต้องอาบัติด้วยสงสัยแล้วขืนทำอย่างไร ? คือ เมื่อเกิดความสงสัย

ขึ้นเพราะอาศัยของที่ควรและไม่ควร ฝ่าฝืนล่วงละเมิดทีเดียวด้วยสำคัญว่า

ถามพระวินัยธรแล้ว ถ้าเป็นกัปปิยะ เป็นสิ่งที่ควรทำ ถ้าเป็นอกัปปิยะ เป็น

สิ่งที่ไม่ควรทำ, แต่อันนี้ สมควรอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า ต้องด้วย

ความสงสัยแล้วขืนทำ.

ภิกษุต้องด้วยความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควรอย่างไร ? คือ ภิกษุ

ฉันเนื้อหมี ด้วยสำคัญว่า เนื้อสุกร, ฉันเนื้อเสือเหลืองด้วยสำคัญว่า เนื้อมฤค,

ฉันโภชนะที่เป็นอกัปปิยะ ด้วยสำคัญว่า โภชนะเป็นกัปปิยะ, ฉันในเวลาวิกาล

ด้วยสำคัญว่าเป็นกาล ดื่มปานะที่เป็นอกัปปิยะ, ด้วยสำคัญว่า ปานะเป็น

กัปปิยะ ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า ต้องด้วยความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร.

ภิกษุย่อมต้องอาบัติด้วยความเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร

อย่างไร ? คือ ภิกษุฉันเนื้อสุกร ด้วยสำคัญว่า เนื้อหมี, ฉันเนื้อมฤคด้วย

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 750

สำคัญว่า เนื้อเสือเหลือง, ฉันโภชนะที่เป็นกัปปิยะด้วยสำคัญว่า โภชนะที่

เป็นอกัปปิยะ, ฉันในกาล ด้วยสำคัญว่าเป็นวิกาล, ดื่มปานะที่เป็นอกัปปิยะ

ด้วยสำคัญว่า ปานะเป็นอกัปปิยะ, ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า ต้องด้วยความ

เป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร.

ภิกษุต้องด้วยความหลงลืมสติอย่างไร ? คือ ภิกษุเมื่อต้องอาบัติเพราะ

การนอนร่วม การอยู่ปราศจากไตรจีวร และเภสัชกับจีวรล่วงกาลเวลาเป็น

ปัจจัยแล ชื่อว่าต้องด้วยความหลงลืมสติ. ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ย่อมต้อง

อาบัติด้วยอาการ ๖ อย่างเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้.

[ผู้ทรงวินัยไม่ต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ อย่าง]

แด่พระวินัยธรไม่ต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ อย่างเหล่านี้. ไม่ต้องด้วย

ความเป็นผู้ไม่ละอายอย่างไร ? คือ เพราะแม้เมื่อเธอรักษาการตำหนิค่อนขอด

ของผู้อื่นนี้ว่า เชิญท่านดูเถิด ผู้เจริญ ! ภิกษุนี้รู้สิ่งที่ควรและไม่ควรอยู่แท้ ๆ

ยังทำการล่วงละเมิดพระบัญญัติ ดังนี้ได้ ก็ชื่อว่า ไม่ต้อง ด้วยอาการอย่างนี้

ชื่อว่าไม่ต้อง ด้วยความเป็นผู้ไม่ละอาย. แสดงอาบัติเป็นเทศนาคามินีแม้ที่

เผลอต้องเข้า ออกแล้วจากอาบัติที่เป็นวุฏฐานคามีนี ตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์.

จำเดิมแต่นั้นย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นลัชชีบุคคลนี้ทีเดียวว่า

ภิกษุไม่แกล้งต้องอาบัติ ไม่ปิดบังอาบัติ

และไม่ถึงความลำเอียงด้วยอคติ, ภิกษุเช่นนี้

เราเรียกว่า ลัชชีบุคคล.*

ภิกษุไม่ต้องด้วยความไม่รู้อย่างไร ? คือ เพราะเธอรู้อยู่ซึ่งสิ่งอันควร

และไม่ควร; ฉะนั้น เธอย่อมทำแต่สิ่งที่ควร ไม่ทำสิ่งที่ไม่ควร ด้วยอาการ

อย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ต้องเพราะความไม่รู้.

* วิ. ปริวาร. ๘/๓๙๓-๓๙๔.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 751

ไม่ต้องด้วยความเป็นผู้สงสัยแล้วขืนทำอย่างไร ? คือ เพราะเธอเมื่อ

เกิดความรังเกียจสงสัย เพราะอาศัยสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ ตรวจดูวัตถุ

ตรวจดูมาติกา บทภาชนะ อันตราบัติ อนาบัติ แล้วถ้าเป็นกัปปิยะจึงทำ,

ถ้าเป็นอกัปปิยะไม่ทำ, ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ต้องด้วยความเป็นผู้สงสัย

แล้วขืนทำ.

ไม่ต้องด้วยความเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควรเป็นต้น

อย่างไร ? คือ เพราะเธอรู้อยู่ซึ่งสิ่งที่ควรและไม่ควร; ฉะนั้น จึงไม่เป็นผู้

มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ไม่เป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร

และเธอมีสติทั้งมั่นด้วยดี, อธิษฐานผ้าจีวรที่ควรอธิษฐาน, วิกัปจีวรที่ควรวิกัป.

วินัยธรบุคคล ชื่อว่า ไม่ต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ อย่างนี้ ด้วยประการอย่างนี้ .

เธอเมื่อไม่ต้อง (อาบัติ) ย่อมเป็นผู้มีศีลไม่ขาด มีศีลบริสุทธิ์ . ด้วยอาการ

อย่างนี้ สีลขันธ์ของตน ย่อมเป็นอันเธอคุ้มครอง รักษาดีแล้ว.

ถามว่า วินัยธรบุคคล ย่อมเป็นที่พึ่งของพวกภิกษุผู้ถูกความสงสัย

ครอบงำอย่างไร ?

แก้ว่า ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายในรัฐนอกและในชนบทนอก เกิดมี

ความรังเกียจสงสัยขึ้น ทราบว่า ได้ยินว่า พระวินัยธรอยู่ที่วิหารโน้น แล้ว

มาสู่สำนักของเธอ แม้จากที่ไกลถามถึงข้อรังเกียจสงสัย. เธอสอบสวนดูวัตถุ

แห่งกรรมที่ภิกษุพวกนั้นทำแล้ว กำหนดชนิดมีอาบัติ อนาบัติ ครุกาบัติ

และลหุกาบัติเป็นต้น จึงให้แสดงอาบัติที่เป็นเทศนาคามินี ให้ออกจากอาบัติ

เป็นวุฎฐานคามินี ให้ตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์. ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า เป็น

ที่พึ่งของพวกภิกษุผู้ถูกความสงสัยครอบงำ.

ข้อว่า เป็นผู้แกล้วกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ มีความว่า จริงอยู่

ผู้มิใช่วินัยธรพูดในท่ามกลางสงฆ์ ความกลัว คือ ความประหม่าย่อมครอบงำ,

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 752

ความกลัวนั้นจะไม่มีแก่วินัยธรบุคคล. เพราะเหตุไร ? เพราะรู้ว่า เมื่อพูด

อย่างนี้มีโทษ พูดอย่างนี้ไม่มีโทษ แล้วจึงพูด.

ในคำว่า ปจฺจตฺถิเก สหธมฺเมน สุนิคฺคหิต นิคฺคณฺหาติ นี้

ชื่อว่า ชนผู้เป็นข้าศึกมี ๒ จำพวก คือ ผู้เป็นข้าศึกแก่ตนเองจำพวก ๑ ผู้เป็น

ข้าศึกแก่พระศาสนาจำพวก ๑. บรรดาชนผู้เป็นข้าศึก ๒ จำพวกนั้น พวก

ภิกษุชื่อเมตติยะ และภุมมชกะ กับเจ้าลิจฉวี ชื่อวัฑฒะ โจทด้วยอันติมวัตถุ

อันไม่มีมูล, ชนพวกนี้ ชื่อว่า ผู้เป็นข้าศึกแก่ตนเอง ก็หรือชนผู้ทุศีลแม้เหล่าอื่น

ซึ่งเป็นผู้มีธรรมอันลามก ทั้งหมด ชื่อว่า ผู้เป็นข้าศึกแก้ตนเอง. ส่วนอริฏฐ-

ภิกษุ กัณฑกสามเณร ภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีผู้มีความเห็นวิปริต และ

พวกภิกษุฝ่ายมหายานนิกายมหาสังฆิกะเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีลัทธิปรูปหาร

อัญญาณ กังขา และปรวิตรณา * ทำการยกย่อง กล่าวอ้างคำสอนมิใช่พุทธ-

ศาสนาว่า พุทธศาสนา ชื่อว่า ผู้เป็นข้าศึกแก่ศาสนา. วินัยธรบุคคลจะข่มขี่

ชนผู้เป็นข้าศึกเหล่านั้นแม้ทั้งหมดให้ราบคาบ โดยประการที่พวกเขาไม่สามารถ

ประดิษฐานอสัทธรรมขึ้นได้ โดยสหธรรม คือ โดยคำเป็นเหตุร่วมกัน .

[อธิบายพระสัทธรรม ๓ อย่าง]

ก็ในคำว่า สทฺธมฺมฏฺิติยา ปฏิปนฺโน โหติ นี้ สัทธรรมมี ๓

ด้วยสามารถแห่ง ปริยติ ปฏิบัติ และอธิคม. บรรดาสัทธรรมทั้ง ๓ นั้น

พุทธพจน์ คือ ปิฏก ๓ ชื่อว่า ปริยัติสัทธรรม. ธรรมนี้ คือ ธุดงคคุณ ๑๓

ขันธกวัตร ๑๔ มหาวัตร ๘๒ ชื่อว่า ปฏิปัตติสัทธรรม. มรรค ๔ ผล ๔ นี้

ชื่อว่า อธิคมสัทธรรม.

* พระอรหันต์ยังมีอสุจิ พระอรหันต์ยังมีความไม่รู้ พระอรหันต์ยังมีความสงสัย พระอรหันต์

หายสงสัยเพราะผู้อื่น ดูอธิบายในสารัตถทีปนี ๓/๓๖๖. ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 753

บรรดาสัทธรรมมีปริยัติธรรมเป็นต้นนั้น พระเถระทั้งหลายบางพวก

กล่าวว่า ปริยัติเป็นมูลรากของศาสนา โดยพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนอานนท์

ธรรมและวินัยใดที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย, ธรรมและวินัยนั้น

จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ดังนี้.

พระเถระบางพวกกล่าวว่า ปฏิบัติเป็นมูลของศาสนา โดยสูตรนี้ว่า

ดูก่อนสุภัตทะ ! ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แลพึงอยู่โดยชอบ, โลกไม่พึงว่างเปล่า

จากพระอรหันต์ทั้งหลาย แล้วกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย ๕ รูปผู้ปฏิบัติโดยชอบ

ยังมีอยู่เพียงใด, ศาสนา จัดว่ายังตั้งอยู่เพียงนั้น ดังนี้.

ส่วนพระเถระอีกพวกหนึ่ง กล่าวว่า เมื่อปริยัติอันตรธานแล้ว แม้

บุคคลผู้ปฏิบัติดี ก็ไม่มีการบรรลุธรรม แล้วกล่าวว่า ถ้าแม้นภิกษุ ๕ รูปจะ

เป็นผู้รักษาปาราชิกไว้ได้, ภิกษุเหล่านั้น ให้กุลบุตรทั้งหลายผู้มีศรัทธา

บรรพชาแล้วให้อุปสมบทแม้ในปัจจันตประเทศ ให้ครบคณะทสวรรค แล้ว

จักทำการอุปสมบทแม้ในมัธยมประเทศ. ให้ภิกษุสงฆ์ครบวีสติวรรคแล้ว จัก

ทำอัพภานกรรมแม้เพื่อตน ยังศาสนาให้ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์โดยอุบาย

อย่างนี้ .

พระวินัยธรนี้เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรมทั้ง ๓ ด้วย

ประการอย่างนี้แล. บัณฑิตพึงทราบว่า พระวินัยธรนี้ ย่อมได้อานิสงส์ ๕ อย่าง

เหล่านี้ก่อน ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระวินัยธรย่อมได้อานิสงส์ ๖ เหล่าไหน ?

แก้ว่า อุโบสถ ปวารณา สังฆกรรม บรรพชา อุปสมบท เป็น

หน้าที่ของพระวินัยธรนั้น เธอย่อมให้นิสัย ให้สามเณรอุปัฎฐาก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 754

จริงอยู่ อุโบสถ ๙ เหล่านี้ คือ จาตุทสีอุโบสถ ปัณณรสีอุโบสถ

สามัคคีอุโบสถ สังฆอุโบสถ คณอุโบสถ ปุคคลอุโบสถ สุตตุทเทสอุโบสถ

ปาริสุทธิอุโบสถ อธิษฐานอุโบสถ ทั้งหมดนั้น เนื่องด้วยพระวินัยธร. และ

ถึงแม้ปวารณา ๙ เหล่านี้คือ จาตุทสีปวารณา ปัณณรสีปวารณา สามัคคี-

ปวารณา สังฆปวารณา คณปวารณา ปุคคลปวารณา เตวาจิกาปวารณา

เทววาจิกาปวารณา สมานวัสสิกาปวารณา ก็เนื่องด้วยพระวินัยธร เธอเป็น

ใหญ่แห่งปวารณา ๙ นั้น เพราะเป็นหน้าที่ของเธอ ด้วยประการฉะนี้ ถึง

สังฆกรรมทั้ง ๔ นี้คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติ-

จตุตถกรรมก็ดี ทั้งบรรพชา และอุปสมบทแห่งกุลบุตรทั้งหลาย อันเธอเป็น

อุปัชฌาย์ทำนี้ก็ดี ก็เรื่องด้วยพระวินัยธรทั้งนั้น. ผู้อื่นถึงทรงปิฏก ๒ ก็ไม่ได้

เพื่อทำกรรมนี้เลย. เธอเท่านั้นให้นิสัย ให้สามเณรอุปัฏฐาก. ผู้อื่นย่อมไม่ได้

เพื่อให้นิสัย ไม่ได้เพื่อให้สามเณรอุปัฏฐากเลย. แต่เมื่อหวังเฉพาะการอุปัฎฐาก

ของสามเณร ย่อมได้เพื่อจะให้ถืออุปัชฌาย์ในสำนักของพระวินัยธรก่อนแล้ว

จงยินดีข้อวัตรปฏิบัติ.

ก็บรรดาสังฆกรรมมีอุโบสถกรรมเป็นต้นนี้ การให้นิสัยและการให้

สามเณรอุปัฏฐากเป็นองค์เดียวกัน. อานิสงส์ ๕ อย่างก่อน รวมกับอานิสงส์

ข้อหนึ่งในอานิสงส์ ๖ เหล่านี้ จึงเป็น ๖ ด้วยประการฉะนี้. รวมกับอานิสงส์

๒ ข้อ จึงเป็น ๗, รวมกับอานิสส์ ๓ ข้อจึงเป็น ๘, รวมกับอานิสงส์ ๔ ข้อ

จึงเป็น ๙ รวมกับอานิสงส์ ๕ ข้อ จึงเป็น ๑๐, รวมกับอานิสงส์แม้ทั้งหมด

นั่นจึงเป็น ๑๑, ด้วยประการดังกล่าวมานี้ บุคคลผู้ทรงวินัย บัณฑิตพึงทราบ

ว่า ย่อมได้อานิสงส์ ๕-๖-๗-๘-๙-๑๐ และ ๑๑ อย่างนี้.

[จุดประสงค์ในการสรรเสริญวินัยปริยัติ]

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมือทรงแสดงอานิสงส์เหล่านี้ อย่างนี้ บัณฑิตพึง

ทราบว่า ทรงพรรณนาคุณแห่งการเรียนพระวินัย

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 755

สองบทว่า อาทิสฺส อาทิสฺส ได้แก่ ทรงกำหนดบ่อย ๆ คือ

ทรงทำให้เป็นแผนกหนึ่งต่างหาก.

หลายบทว่า อายสฺมโต อุปาลิสฺส วณฺณ ภาสติ มีความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยวินัยปริยัติ ตรัสชมเชยสรรเสริญคุณแห่งพระ-

ุบาลีเถระ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

แก้ว่า ทรงสรรเสริญเพราะเหตุว่า ทำไฉนหนอ ภิกษุทั้งหลายแม้ได้

ฟังการสรรเสริญของเราแล้ว จะพึงสำคัญวินัยว่า คนควรเรียนควรศึกษาใน

สำนักแห่งอุบาลี ศาสนานี้จักเป็นของตั้งอยู่ได้นาน จักเป็นไปตลอด ๕,๐๐๐ ปี

ด้วยประการอย่างนี้ .

ในคำว่า เตธ พหู ภิกฺขู นี้ มีเนื้อความอย่างนี้ว่า ภิกษุเป็นอัน

มากเหล่านั้นเป็นเถระก็มี เป็นนวกะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี ได้สดับการสรรเสริญ

ของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้แล้ว เกิดมีอุตสาหะ เพราะได้บรรลุอานิสงส์ตามที่

พระองค์ทรงประกาศไว้ด้วยเข้าใจว่า ได้ยินว่า ภิกษุผู้ทรงวินัย ย่อมได้อานิสงส์

เหล่านี้ ภิกษุทั้งหลายผู้ทรงสุตตันตะ และผู้ทรงอภิธรรมหาได้ไม่ จึงพากัน

เรียนพระวินัยในสำนักของท่านพระอุบาลี.

บทว่า อิธ เป็นเพียงนิบาทเท่านั้น.

บทว่า อุทฺทิสฺสมาเน ได้แก่ เมื่ออาจารย์สวดแก่อันเตวาสิก. ก็

เพราะว่าปาฏิโมกข์นั้น เมื่ออาจารย์สวดตามความพอใจของตนก็ดี อันเตวาสิก

ขอร้องอาจารย์นั้นให้สวดก็ดี เมื่อภิกษุผู้ทรงจำปาฏิโมกข์นั้นได้ กำลังทำการ

สาธยายก็ดี ชื่อว่า มีใครยกปาฏิโมกข์ขึ้นสวดอยู่; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสบทภาชนะว่า อิทฺทิสนฺเต วา อิทฺทิสาเปนฺเต วา สชฺฌาย

กโรนฺเต วา ดังนี้ .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 756

บทว่า ขุทฺทานุขุทฺทเกหิ คือ ด้วยสิกขาบทเล็ก ๆ และน้อย ๆ

คำว่า ยาวเทว เป็นคำกำหนดเขตแดงเป็นไปแห่งสิกขาบทเล็กน้อย

เหล่านั้น. มีคำอธิบายว่า ก็ภิกษุเหล่าใด สวดก็ดี ให้สวดก็ดี สาธยายก็ดี

ซึ่งสิกขาบทเล็กน้อยนั่น สิกขาบทเล็กน้อยนั่น ย่อมเป็นไปจนถึงเกิดความ

เดือดร้อน คือ ความลำบาก ที่เรียกว่าความรังเกียจสงสัย และความยุ่งใจที่

เรียกว่าวิจิกิจฉา แก่ภิกษุเหล่านั้น ทีเดียวว่า ควรหรือไม่ควรหนอ.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ยาวเทว เป็นคำกำหนดด้วยความยวดยิ่ง. คำว่า

ยาวเทว นั้น เชื่อมความเข้ากับบทว่า สวตฺตนฺติ นี้. มีคำอธิบายว่า ช่าง

เป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งยากเหลือเกิน.

ข้อว่า อุปสมฺปนฺนสฺส วินย วิวณฺเณติ มีความว่า ภิกษุผู้ใคร่

จะให้เกิดความเคลือบแคลงในวินัยนั้น แก่อุปสัมบันนั้น จึงก่น คือ ตำหนิ

ติเตียนพระวินัยในสำนักแห่งอุปสัมบัน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก-

วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

วิเลขนสิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 757

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๘๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ

ฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจารแล้วตั้งใจอยู่ว่า ขอภิกษุทั้งหลายจงทราบว่า พวก

เราเป็นผู้ต้องอาบัติด้วยอาการที่ไม่รู้ แล้วเมื่อพระวินัยธรยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง

กล่าวอย่างนี้ว่า พวกผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ธรรมแม้นี้ก็มาในพระสูตร เนื่อง

ในพระสูตร มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย... ต่างก็เพ่ง

โทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์เมื่อพระวินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่

กล่าวอย่างนี้ว่า พวกผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ธรรมแม้นี้ก็มาในพระสูตร

เนื่องในพระสูตร มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือนดังนี้ . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า เมื่อพระวินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่ พวกเธอได้กล่าวอย่างนี้ว่า ธรรม

แม้นี้ก็มาในสูตร เนื่องในสูตร มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ดังนี้จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอเมื่อพระวินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกผมเพิ่งทราบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 758

เดี๋ยวนี้เองว่า ธรรมแม้นี้ก็มาในสูตร เนื่องในสูตร มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือนดังนี้

เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๒. ๓. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อพระวินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่

ทุกกึ่งเดือน กล่าวอย่างนี้ว่า ฉันเพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า เออ ธรรมแม้

นี้ก็มาแล้วในสูตร เนื่องแล้วในสูตร มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ถ้าภิกษุ

ทั้งหลายอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เคยนั่งเมื่อปาติโมกข์กำลังสวดอยู่.

๒-๓ คราวมาแล้ว กล่าวอะไรเพิ่มอีก อันความพ้นด้วยอาการที่ไม่รู้

หามีแก่ภิกษุนั้นไม่ พึงปรับเธอตามธรรม ด้วยอาบัติที่ต้องในเรื่อง

นั้น และพึงยกความหลงขึ้นแก่เธอเพิ่มอีกว่า แน่ะเธอ ไม่ใช่ลาภ

ของเธอ เธอได้ไม่ดีแล้ว ด้วยเหตุว่าเมือปาติโมกข์กำลังสวดอยู่ เธอ

หาทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ดีไม่ นี้เป็นปาจิตตีย์ในความเป็นผู้

แสร้งทำหลงนั้น.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๙๐] บทว่า อนึ่ง . . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด.. .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 759

บทว่า ทุกกึ่งเดือน คือ ทุกวันอุโบสถ.

บทว่า เมื่อพระวินัยธรกำลังสวดปาติโมกข์อยู่ คือ เมื่อภิกษุ

กำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่.

บทว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุประพฤติอนาจารมาแล้ว ตั้งใจ

อยู่ว่า ขอภิกษุทั้งหลายจงรู้ว่า เราเป็นผู้ต้องอาบัติด้วยอาการที่ไม่รู้ เมื่อภิกษุ

กำลังสวดปาติโมกข์อยู่ กล่าวอย่างนี้ว่า ผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า เออ ธรรม

แม้นี้ก็มาแล้วในพระสูตร เนื่องแล้วในพระสูตร มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ดังนี้

ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖๙๑] คำว่า ถ้า. . .นั้น อธิบายว่า ภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุผู้

ปรารถนาแสร้งทำหลงว่า ภิกษุนี้เคยนั่งเมื่อพระวินัยธรสวดปติโมกข์อยู่ ๒-๓

คราวมาแล้ว พูดมากไปทำไมอีก อันความพ้นจากอาบัติด้วยอาการที่ไม่รู้ หามี

แก่ภิกษุนั้นไม่ พึงปรับเธอตามธรรมด้วยอาบัติที่ต้องประพฤติอนาจารนั้น และ

พึงยกความหลงขึ้นแก่เธอเพิ่มอีก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงยกขึ้นอย่างนี้:-

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม-

วาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาลงโมหาโรปนกรรม

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เมื่อพระ

วินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่ หาทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดีไม่ ถ้า

ความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงยกความหลงขึ้นแก่ภิกษุ

มีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 760

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เมื่อพระ

วินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่ หาทำในใจได้สำเร็จประโยชน์ด้วยดีไม่

สงฆ์ยกความหลงขึ้นแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การยกความหลงขึ้นแก่ภิกษุผู้มี

ชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด

ท่านผู้นั้นพึงพูด ความหลงอันสงฆ์ยกขึ้นแก่ภิกษุมีชื่อนี้แล้ว ชอบ

แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

บทภาชนีย์

[๖๙๒] เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกความหลงขึ้น ภิกษุแสร้งทำหลงอยู่ ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

เมื่อสงฆ์ยกความหลงขึ้นแล้ว ภิกษุยังแสร้งทำหลงอยู่ ต้องอาบัติ.

ปาจิตตีย์.

ติกปาจิตตีย์

[๖๙๓] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม แสร้งทำหลง

อยู่ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย แสร้งทำหลงอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม แสร้งทำหลงอยู่

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม แสร้งทำหลงอยู่

ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 761

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย แสร้งทำหลงอยู่ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม แสร้งทำหลงอยู่

ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๖๙๔] ภิกษุยังไม่ได้ฟังโดยพิสดาร ๑ ภิกษุฟังโดยพิสดารไม่ถึง ๒-๓

คราว ๑ ภิกษุผู้ไม่ปรารถนาจะแสร้งทำหลง ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ -

กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

โมหนสิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า อนฺวฑฺฒมาส ได้แก่ ตามลำดับ คือทุก ๆ กึ่งเดือน. ก็เพราะ

ปาฏิโมกข์นั้น อันภิกษุย่อมสวดในวันอุโบสถ; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสไว้ในบทภาชนะว่า ทุกวันอุโบสถ.

บทว่า อุทฺทิสฺสมาเน คือ เมื่อปาฏิโมกข์กำลังสวดอยู่. ก็เพราะ

ปาฏิโมกข์นั้น อันภิกษุผู้สวดปาฏิโมกข์ซึ่งกำลังยกขึ้นแสดง ชื่อว่า กำลังสวด

อยู่; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในบทภาชนะว่า เมื่อภิกษุกำลังยก

ปาฏิโมกข์ขึ้นแสดงอยู่.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 762

คำว่า ยญฺจ ตตฺถ อาปตฺตึ อาปนฺโน ได้แก่ ภิกษุผู้ต้องอาบัติใด

ในอนาจารที่ตนประพฤติแล้วนั้น.

สองบทว่า ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ ได้แก่ เพราะเป็นผู้ต้องอาบัติ

ด้วยไม่รู้ เธอจึงไม่มีความพ้นจากอาบัติ ก็แล สงฆ์พึงปรับเธอตามธรรม

และวินัยที่วางไว้. อธิบายว่า เธอต้องอาบัติเทศนาคามินี สงฆ์พึงให้แสดง

และต้องอาบัติวุฏฐานคามินี พึงให้พระพฤติวุฏฐานวิธี.

บทว่า สาธุก แปลว่า โดยดี.

บทว่า อฏฺิกตฺวา แปลว่า กระทำให้มีประโยชน์. มีคำอธิบายว่า

เป็นธรรมประกอบด้วยประโยชน์.

ในคำว่า ธมฺมกมฺเม เป็นต้น ท่านประสงค์เอาโมหาโรปนกรรม.

คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น .

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ

โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

โมหนสิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 763

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๙๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระฉัพพัคคีย์โกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่พระสัตตรสวัคคีย์ พระสัตตรสวัคคีย์

ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม.

พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์เหล่านี้โกรธ

น้อยใจ ให้ประหารแก่พวกผม.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย .. .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า

ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้โกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า ...

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอโกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุทั้งหลายจริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้โกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า การกระทำของ

พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ

ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 764

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๒๓. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุ

เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๙๖] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุอื่น.

คำว่า โกรธ น้อยใจ คือ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.

คำว่า ให้ประหาร ความว่า ให้ประหารด้วยกายก็ดี ด้วยของ

เนื่องด้วยกายก็ดี ด้วยของที่โยนไปก็ดี โดยที่สุด แม้ด้วยกลีบอุบล ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๙๗] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โกรธ น้อยใจ ให้

ประหาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 765

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย โกรธ น้อยใจ ให้ประหาร ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน โกรธ น้อยใจ ให้ประหาร

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

จตุกทุกกฏ

ภิกษุโกรธ น้อยใจ ให้ประหาร แก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน...ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย.. .ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน. ..ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๖๙๘] ภิกษุถูกใคร ๆ เบียดเบียน ประสงค์จะป้องกันตัว ให้

ประหาร ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

ปหารสิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ พึงทราบดังนี้ :-

[ว่าด้วยการให้ประหารด้วยฝ่ามือ]

สองบทว่า ปหาร เทนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ กล่าวคำ

เป็นต้นว่า ผู้มีอายุ พวกท่านจงตั้งตั่งเล็ก จงตักน้ำล้างเท้ามาไว้ แล้วให้

ประหาร (แก่ภิกษุพวกสัตตรสวัคคีย์) ผู้ไม่กระทำตาม.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 766

ในคำว่า ปหาร เทติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า

เมื่อภิกษุให้ประหารด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะประหาร ถ้าแม้นผู้ถูกประหารตาย

ก็เป็นเพียงปาจิตตีย์. เพราะการประหาร (นั้น) มือหรือเท้าหัก หรือศีรษะแตก

ก็เป็นปาจิตตีย์เท่านั้น. ตัดหู หรือตัดจมูก ด้วยความประสงค์จะทำให้เสียโฉม

อย่างนี้ว่า เราจะทำเธอให้หมดสง่าในท่ามกลางสงฆ์ ก็เป็นทุกกฏ.

บทว่า อนุปสมฺปนฺนสฺส มีความว่า ภิกษุให้ประหารแก่คฤหัสถ์

หรือบรรพชิต แก่สตรีหรือบุรุษ โดยที่สุด แม้แก่สัตว์ดิรัจฉาน เป็นทุกกฏ.

แต่ถ้าว่า มีจิตกำหนัด ประหารหญิง เป็นสังฆาทิเสส.

สองบทว่า เกนจิ วิเหิยมาโน ได้แก่ ถูกมนุษย์ หรือสัตว์

ดิรัจฉานเบียดเบียนอยู่.

บทว่า โมกฺขาธิปฺปาโย คือ ปรารถนาความพ้นแก่ตนเองจากมนุษย์

เป็นต้น นั้น.

สองบทว่า ปหาร เทติ มีความว่า ภิกษุให้ประหารด้วยกาย ของ

เนื่องด้วยกาย และของที่ขว้างไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าแม้นภิกษุ

เห็นโจรก็ดี ข้าศึกก็ดี มุ่งจะเบียดเบียนในระหว่างทางกล่าวว่า แน่ะอุบาสก !

เธอจงหยุดอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ, อย่าเข้ามา แล้วประหารผู้ไม่เชื่อฟังคำกำลัง

เดินเข้ามาด้วยไม้ค้อน หรือด้วยศัสตราพร้อมกับพูดว่า ไปโว้ย แล้วไปเสีย.

ถ้าเขาตายเพราะการประหารนั้น ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน. แม้ในพวกเนื้อร้าย

ก็นัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

ก็สมุฏฐานเป็นต้น ของสิกขาบทนั้น เป็นเช่นเดียวกับปฐมปาราชิก

แต่สิกขาบทนี้เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

ปหารสิกขาบทที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 767

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๙๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระฉัพพัคคีย์โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่พระสัตตรสวัคคีย์

พระสัตตรสวัคคีย์ หลบประหารแล้วร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส

ทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม.

พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์เหล่านี้โกรธ

น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่พวกผม.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน

พระฉัพพัคคีย์จึงได้โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า . . .

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอโกรธ น้อยใจเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า การ

กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 768

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๔. ๕. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือ

ขึ้นแก่ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์ .

เรื่องของพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๐๐] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุอื่น.

คำว่า โกรธ น้อยใจ คือ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ

คำว่า เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้น ความว่า เงือดเงื้อกายก็ดี ของเนื่อง

ด้วยกายก็ดี โดยที่สุดแม้กลีบอุบล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๗๐๑] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โกรธ น้อยใจ เงื้อหอก

คือฝ่ามือขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้น

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 769

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือ

ฝ่ามือขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

จตุกทุกกฏ

ภิกษุ โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๐๒] ภิกษุถูกใคร ๆ เบียดเบียน ประสงค์จะป้องกันตัว เงื้อหอก

คือฝ่ามือขึ้น ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

ตลสัตติกสิกขาบทที่ ๕

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-

[ว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นจะประหาร]

สองบทว่า ตลสตฺติก อุคฺคิรนฺติ มีความว่า (พวกภิกษุฉัพพัคคีย์)

เมื่อแสดงอาการให้ประหาร ย่อมเงื้อดเงื้อกายบ้าง ของเนื่องด้วยกายบ้าง.

ข้อว่า เต ปหารสมุจฺจิตา โรทนฺติ มีความว่า พวกภิกษุสัตตร-

สวัคคีย์เหล่านั้น คุ้นเคยต่อการประหารแล้ว สำคัญอยู่ว่า ภิกษุเหล่านี้จักให้

ประหารบัดนี้ เพราะเป็นผู้ได้รับการประหารมาแม้ในกาลก่อน จึงร้องไห้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 770

อาจารย์บางพวกสาธยายว่า ปหารสฺส มุจฺฉิตา ก็มี. ในปาฐะนั้นมีความว่า

กลัวการประหาร.

ในคำว่า อุคฺคิรติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้า

ภิกษุเงื้อพลั้งให้ประหารลงไป เมี่อภิกษุไม่อาจจะยั้งไว้ได้แน่นอนจึงประหาร

ลงไปโดยเร็ว เป็นทุกกฏ เพราะเธอให้ประหาร โดยไม่มีประสงค์จะประหาร.

เพราะการประหารนั้น อวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่งมีมือเป็นต้นหักไป ก็เป็นเพียง

ทุกกฏ. ภิกษุผู้ประสงค์จะประหาร แต่การประหารด้วยของอย่างใดอย่างหนึ่ง

มีต้นไม้เป็นต้นพลาดเลยไปหรือตนกลับ ได้สติแล้วไม่ประหาร เป็นทุกกฏ. หรือ

เมื่อประหาร ถูกใคร ๆ กันมือไว้ ก็เป็นทุกกฏ.

ในคำว่า โมกฺขาธิปฺปาโย ตลสตฺติก อุคฺคิรติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-

ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เงื้อหอกคือฝ่ามือโดยนัยก่อนนั่นแหละในเรื่องทั้งหลายที่

กล่าวแล้วข้างต้น. ถ้าแม้นว่าภิกษุให้ประหารผิดพลาดไป ก็ไม่เป็นอาบัติเหมือน

กัน. คำที่เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นเดียวกันกับสิกขาบทก่อน

นั้นแล.

ตลสัตติกสิกขาบทที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 771

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๐๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เชตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-

ฉัพพัคคีย์โจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆทิเสสไม่มีมูล บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . .

ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้โจทภิกษุด้วย

อาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูลเล่า. . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้โจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูลเล่า การกระทำของพวกเธอ

นั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ

เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 772

พระบัญญัติ

๑๒๕. ๖. อนึ่ง ภิกษุใด กำจัดซึ่งภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสส

หามูลมิได้ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๐๔] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ประสงค์ในอรรถนี้ .

บทว่า ซึ่งภิกษุ คือ ซึ่งภิกษุอื่น.

ที่ชื่อว่า หามูลมิได้ คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ

บทว่า ด้วยอาบัติสังฆาทิเสส คือ ด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓

สิกขาบท สิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่ง.

บทว่า กำจัด คือ โจทเองก็ดี ให้ผู้อื่นโจทก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๗๐๕] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสส

ไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย โจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน โจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มี

มูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 773

ปัญจกทุกกฏ

ภิกษุโจทด้วยอาจารวิบัติก็ดี ด้วยทิฏฐิวิบัติก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุโจทอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โจท ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย โจท ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน โจท ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๐๖] ภิกษุสำคัญว่ามีมูล โจทเองก็ดี ให้ผู้อื่นโจทก็ดี ๑ ภิกษุ

วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

อมูลกสิกขาบทที่ ๖

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้.

บทว่า อนุทฺธเสนฺติ มีความว่า ก็พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น

เพราะตนเองเป็นผู้มีโทษเกลื่อนกล่น เมื่อจะทำการป้องกันว่า ภิกษุทั้งหลาย

จักไม่โจท จักไม่ยังพวกเราให้ ๆ การด้วยอาการอย่างนี้ จึงรีบชิงโจทภิกษุ

ทั้งหลายด้วยสังฆาทิเสสไม่มีมูลเสียก่อน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ตื้นทั้งนั้น

เพราะมีนัยดังเรากล่าวแล้วในอมูลกสิกขาบทในเตรสกัณฑ์.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก

วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

อมูลกสิขาบทที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 774

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๐๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-

ฉัพพัคคีย์แกล้งก่อความรำคาญให้แก่พระสัตตรสวัคคีย์ ด้วยพูดว่า อาวุโส

ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า สงฆ์ไม่พึงอุปสมบท

บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ดังนี้ ก็พวกท่านมีอายุหย่อน ๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว

พวกท่านเป็นอนุปสัมบันของพวกเรา กระมัง พระสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้นร้องไห้

ภิกษุทั้งหลาย จึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้

ทำไม

พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์เหล่านี้แกล้ง

ก่อความรำคาญให้แก่พวกผม.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า

ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้แกล้งก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุทั้งหลายเล่า. . . แล้ว

กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอแกล้งก่อความรำคาญ ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 775

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก

เธอจึงได้แกล้งก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุทั้งหลายเล่า การกระทำของพวกเธอ

นั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อม-

ใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

พระบัญญัติ

๑๒๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด แถล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุด้วย

หมายว่า ด้วยเช่นนี้ ความไม่ผาสุกจักมีแก่เธอแม้ครู่หนึ่ง ทำความ

หมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๐๘] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุรูปอื่น.

บทว่า แกล้ง คือ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ตั้งใจ ละเมิด.

บทว่า ก่อความรำคาญ ความว่า ก่อความรำคาญเป็นต้นว่า

ชะรอยท่านมีอายุหย่อน ๒๐ ฝน อุปสมบทแล้ว ชะรอยท่านบริโภคอาหารใน

เวลาวิกาลแล้ว ซะรอยท่านดื่มน้ำเมาแล้ว ชะรอยท่านนั่งในที่ลับกับมาตุคาม

แล้วดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 776

คำว่า ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่

อย่างอื่นไม่ คือ ไม่มีเหตุอะไรอื่นที่จะก่อความรำคาญให้.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๗๐๙] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน แกล้งก่อความรำคาญ

ให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย แกล้งก่อความรำคาญให้ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน แกล้งก่อความรำคาญให้ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

จตุกทุกกฏ

ภิกษุแกล้งก่อความรำคาญให้แก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๑๐] ภิกษุไม่ประสงค์จะก่อความรำคาญ พูดแนะนำว่า ชะรอย

ท่านจะมีอายุไม่ครบ ๒๐ ฝนอุปสมบทแล้ว ชะรอยท่านจะบริโภคอาหารในเวลา

วิกาลแล้ว ชะรอยท่านจะดื่มน้ำเมาแล้ว ชะรอยท่านจะนั่งในที่ลับกับมาตุคาม

แล้ว ท่านจงรู้ไว้เถิดว่า ความรำคาญใจในภายหลังอย่าได้มีแก่ท่าน ดังนี้ ๑

ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 777

สัญจิจจสิกขาบทที่ ๗

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า อุปทหนฺติ แปลว่า ก่อให้เกิดขึ้น.

ข้อว่า กุกฺกุจฺจ อุปทหติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส ได้แก่ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำพูด.

บทว่า อนุปสมฺปนฺนสฺส มีความว่า ภิกษุก่อความรำคาญแก่

สามเณรโดยนัยเป็นต้นว่า ชะรอยเธอ นั่ง นอน กิน ดื่ม ในที่ลับร่วมกับ

มาตุคาม และเธอกระทำอย่างนี้และอย่างนี้ในท่ามกลางสงฆ์. เป็นทุกกฏ ทุก ๆ

คำพูด. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. แม้สมุฎฐาน เป็นต้น ก็เช่น

เดียวกับอมูลกสิกขาบทนั้นแล.

สัญจิจจสิกขาบทที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 778

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๑๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ

ฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับพวกภิกษุมีศีลเป็นที่รัก.

พวกภิกษุมีศีลเป็นที่รักกล่าวสนทนากันอยู่อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย

พระฉัพพัคคีย์พวกนี้เป็นอลัชชี พวกเราไม่อาจจะทะเลาะกับพระพวกนี้ได้.

พระฉัพพัคคีย์กล่าวต่ออย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ทำไมพวกท่านจึง

ได้เรียกพวกเราด้วยถ้อยคำว่าอลัชชี.

พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักถามว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านได้ยินมา

แต่ที่ไหน.

พระฉัพพัคคีย์ ตอบว่า เรายืนแอบฟังพวกท่านอยู่.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. ..ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า เมื่อ

ภิกษุทั้งหลายเกิดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน ไฉนพระฉัพพัคคีย์

จึงได้ยืนแอบฟังอยู่เล่า . . . แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายเกิดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน พวก

เธอได้ยืนแอบฟังอยู่ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 779

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย เมื่อภิกษุ

ทั้งหลายเกิดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน ไฉนพวกเธอจึงได้ยืน

แอบฟังอยู่เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ

ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว .. .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อภิกษุทั้งหลายเกิดหมางกัน

เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน ยืนแอบฟังด้วยหมายว่าจักได้ฟังคำ

ที่เธอพูดกัน ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่

อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๑๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า เมื่อภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุพวกอื่น.

คำว่า เกิดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน คือเกิด

อธิกรณ์ขึ้น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 780

คำว่า ยืนแอบฟัง คือ เดินไปด้วยความตั้งใจว่า เราจักฟังคำของ

ภิกษุเหล่านี้แล้วจักท้วง จักเตือน จักฟ้อง จักให้สำนึก จักทำให้เก้อเขิน ดังนี้

ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนอยู่ในที่ใด ได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เมื่อเดินไปข้างหลัง รีบเดินให้ทันด้วยตั้งใจว่า จักฟัง ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ยืนอยู่ในที่ใด ได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เมื่อเดินไปข้างหน้า ลดเดินให้ช้าลงด้วยตั้งใจว่า จักฟัง ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ยืนอยู่ในที่ใด ได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บังเอิญเดินผ่านมาถึงสถานที่ ที่ภิกษุยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี เมื่อ

เขาพูดงุบงิบกันอยู่ ต้องกระแอมไอให้เขารู้ตัว ถ้าไม่กระแอมไอ หรือไม่ให้

เขารู้ตัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

คำว่า ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่

อย่างอื่นไม่ ความว่า ไม่มีเหตุอะไรอื่นที่จะยืนแอบฟังความ.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๘๑๓] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสันบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

จตุกทุกกฏ

ภิกษุยืนแอบฟังถ้อยคำของอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 781

อนุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน...ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๑๘] ภิกษุเดินไปหมายว่า จักฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านี้แล้ว จัก

งด จักเว้น จักระงับ จักเปลื้องตน ดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ-

กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

อุปัสสุติกสิกขาบทที่ ๘

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า อธิกรณชาตาน ได้แก่ เกิดวิวาทาธิกรณ์ขึ้น เพราะการ

บาดหมางกันเป็นต้นเหล่านี้.

บทว่า อุปสฺสุตึ คือ ใกล้พอได้ยิน, อธิบายว่า ในที่ซึ่งตนยืนอยู่

แล้ว อาจได้ยินคำพูดของภิกษุเหล่านั้นได้.

ในคำว่า คจฺฉติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ เป็นทุกกฏทุก ๆ ย่างเท้า.

บทว่า มนฺเตนต คือ เมื่อภิกษุอีกรูปหนึ่งปรึกษากับภิกษุอีกรูปหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า มนฺเตนฺเต ก็มี ความก็อย่างนี้.

บทว่า วูปสมิสฺสานิ มีความว่า เราจักสงบ จักถึงความสงบ คือ

จักไม่ทำการทะเลาะกัน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 782

สองบทว่า อตฺตาน ปริโมเจสฺสาม มีความว่า เราจักบอกว่าเรา

ไม่ใช่เป็นผู้กระทำแล้วเปลื้องตน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น .

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเถยยสัตถสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ บางคราวเป็นกิริยา ด้วยอำนาจแห่งการไปเพราะความ

อยากฟัง, บางคราวเป็นอกิริยาด้วยอำนาจแห่งการไม่ยังผู้บาดหมางกันซึ่งมาสู่ตน

ยืนอยู่แล้ว ปรึกษากันอยู่ ให้รู้ตัว. แท้จริงสิกขาบททั้ง ๓ นี้ คือ รูปิย-

สิกขาบท อัญญวาทสิกขาบท อุปัสสุติกสิกขาบท มีความกำหนดอย่างเดียวกัน

เป็นสัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต

เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

อุปัสสุติกสิกขาบทที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 783

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๑๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจารแล้ว เมื่อการกสงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุแต่ละรูปอยู่

ย่อมคัดค้าน ครั้นสงฆ์ประชุมกันด้วยกรรมบางอย่างที่สงฆ์จะต้องทำ พระ

ฉัพพัคคีย์สาละวนทำจีวรกรรมกันอยู่ ได้ให้ฉันทะไปแก่พระรูปหนึ่ง ทันใด

สงฆ์จึงกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้เป็นพวกพระฉัพพัคคีย์มารูปเดียว

ฉะนั้นพวกเราจะทำกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้ทำกรรมแก่พระฉัพพัคคีย์รูปนั้น

เมื่อเสร็จแล้ว ภิกษุฉัพพัคคีย์รูปนั้นได้เข้าไปหาพระฉัพพัคคีย์ ๆ ถามภิกษุ

รูปนั้นว่า อาวุโส สงฆ์ได้ทำอะไร.

ภิกษุรูปนั้นตอบว่า สงฆ์ได้ทำกรรมแก่ผม ขอรับ.

พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า อาวุโส เราไม่ได้ให้ฉันทะไปเพื่อหมายถึงกรรม

นี้ว่า สงฆ์จักทำกรรมแก่ท่าน ถ้าเราทราบว่า สงฆ์จักทำกรรมแก่ท่าน เราจะ

ไม่พึงให้ฉันทะไป.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน

พระฉัพพัคคีย์ให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้ว จึงได้ถึงความบ่นว่าใน

ภายหลังเล่า . . . แล้ว กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้ว ได้ถึงความบ่นว่าใน

ภายหลัง จริงหรือ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 784

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้ว จึงได้ถึงความบ่นว่าในภายหลัง

เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลือมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๖. ๙. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ฉันทะเพื่อกรรมอัน เป็นธรรม

แล้ว ถึงธรรมคือความบ่นว่าในภายหลัง เป็นปาจิตตีย์ .

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๑๖] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

กรรมอันเป็นธรรม ๔ อย่าง

ที่ชื่อว่า กรรมอันเป็นธรรม ได้แก่ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑

ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑ ที่สงฆ์ทำแล้วตามธรรม ตามวินัย

ตามสัตถุศาสน์ นี้ชื่อว่ากรรมอันเป็นธรรม.

ภิกษุให้ฉันทะไปแล้ว บ่นว่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 785

บทภาชนีย์

[๗๑๗] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ให้ฉันทะ

ไปแล้ว บ่นว่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัยอยู่ ให้ฉันทะไปแล้ว บ่นว่า ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ให้ฉันทะไปแล้ว

บ่นว่า ไม่ต้องอาบัติ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม. ..ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๗๑๘] ภิกษุรู้อยู่ว่า สงฆ์ทำกรรมโดยไม่ถูกธรรม เป็นพวกหรือทำ

แก่ภิกษุมิใช่ผู้ควรแก่กรรม บ่นว่า ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

กัมมปฏิพาหนสิกขาบทที่ ๙

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า สเจ จ มย ชาเนยฺยาม แปลว่า ถ้าพวกเราพึงรู้ไซร้.

ส่วน อักษร เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 786

บทว่า ธมฺมิกาน มีวิเคราะห์ว่า ธรรมมีอยู่ในกรรมเหล่านั้น เพราะ

สงฆ์ทำโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์; เพราะเหตุนั้น กรรมเหล่านั้น

จึงขอว่า ธรรมิกะ (กรรมอันเป็นธรรม). เพื่อสังฆกรรม ๔ อันเป็นธรรม

เหล่านั้น.

ในคำว่า ขียติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ

คำพูด. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น .

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ.

โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

กัมมปฏิพาหนสิกขาบทที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 787

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๑๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น สงฆ์

ประชุมกันด้วยกรรมบางอย่างที่สงฆ์จะต้องทำ พระฉัพพัคคีย์สาละวนทำจีวร

กรรมกันอยู่. ได้ให้ฉันทะไปแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงก็พอดีสงฆ์ตั้งญัตติแล้วว่า

สงฆ์ประชุมกันเพื่อประสงค์ทำกรรมใด พวกเราจักทำกรรมนั้น ดังนี้.

ภิกษุรูปนั้นจึงพูดขึ้นว่า ภิกษุเหล่านี้ทำกรรมแก่ภิกษุแต่ละรูปอย่างนี้

พวกท่านจักทำกรรมแก่ใครกัน แล้วไม่ให้ฉันทะ ลุกจากอาสนะหลีกไป.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. .. ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน

ภิกษุเมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัยยังเป็นไปอยู่ในสงฆ์ จึงได้ไม่ให้ฉันทะ ลุกจาก

อาสนะหลีกไปเล่า. . .แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า

เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัยยังเป็นไปอยู่ในสงฆ์ เธอไม่ให้ฉันทะ ลุกจากอาสนะ

หลีกไป จริงหรือ.

ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ

เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัยยังเป็นไปอยู่ในสงฆ์ จึงได้ไม่ให้ฉันทะ ลุกจากอาสนะ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 788

หลีกไปเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง

ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส แล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัยยังเป็น

ไปอยู่ในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไปเสีย เป็น

ปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๒๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

ที่ชื่อว่า เรื่องอันจะพึงวินิจฉัยในสงฆ์ ได้แก่ เรื่องที่โจทก์จำเลย

แจ้งไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้วินิจฉัย ๑ ตั้งญัตติแล้ว ๑ กรรมวาจายังสวดค้างอยู่ ๑.

คำว่า ไม่ให้ฉันทะแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไปเสีย คือ ตั้งใจ

ว่าไฉน กรรมนี้พึงกำเริบ พึงเป็นวรรค พึงทำไม่ได้ ดังนี้แล้ว ลุกเดินไป

ต้องอาบัติทุกกฏ กำลังละหัตถบาสแห่งที่ชุนนุมสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ ละหัตถ-

บาสไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 789

บทภาชนีย์

[๗๒๑] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่ให้ฉันทะ

แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัยอยู่ ไม่ให้ฉันทะแล้ว ลุกจากอาสนะหลีก

ไปต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่ให้ฉันทะแล้ว

ลุกจากอาสนะหลีกไป ไม่ต้องอาบัติ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม...ต้องอาบัติ

ทุกกฎ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัยอยู่. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๗๒๒] ภิกษุติดเห็นว่า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความ

แก่งแย่งหรือการวิวาท จักเกิดแก่สงฆ์ ดังนี้แล้วหลีกไป ๑ ภิกษุคิดเห็นว่า

สงฆ์จักแตกแยกกัน หรือจักร้าวรานกัน ดังนี้แล้วหลีกไป ๑ ภิกษุคิดเห็นว่า

สงฆ์จักทำกรรมแก่ภิกษุมิใช่ผู้ควรแก่กรรม ดังนี้แล้วหลีกไป ๑ ภิกษุเกิดอาพาธ

หลีกไป ๑ ภิกษุหลีกไปด้วยธุระอันจะทำแก่ภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุปวดอุจจาระ

ปัสสาวะแล้วหลีกไป ๑ ภิกษุไม่ตั้งใจจะทำกรรมให้เสีย หลีกไปด้วยคิดว่าจะ

กลับมาอีก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 790

ฉันทังอทัตวาคมนสิกขาบทที่ ๑๐

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า วตฺถุ วา อาโรจิต โหติ มีความว่า ทั้งโจทก์และจำเลยได้

แถลงถ้อยคำของตนแล้ว ภิกษุผู้สอบสวนสืบสวนก็ได้รับสมมติแล้วแม้ด้วย

อาการเพียงเท่านี้ วัตถุเป็นอันบอกแล้ว. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกายวาจากับจิต

เป็นทังกิริยาทั้งอกิริยา ส้ญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจี-

กรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

ฉันทังอทัตวาคมนสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 791

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๑

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร

[๗๒๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราช-

คฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรจัดเสนาสนะและแจกอาหารแก่สงฆ์ แต่

ท่านเป็นผู้มีจีวรเก่า สมัยนั้น มีจีวรผืนหนึ่งเกิดขึ้นแก่สงฆ์ สงฆ์จึงได้ถวายจีวร

ผืนนั้นแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร พวกพระฉัพพัคคีย์พากันเพ่งโทษติเตียน

โพนทะนาว่า ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภของสงฆ์ไปตามชอบใจ.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนพระฉัพพัคคีย์กับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้จีวรไปแล้ว ภายหลังจึงได้ถึง

ธรรมคือบ่นเล่า...แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรแล้ว ภายหลังถึงธรรมคือบ่น

จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย

ไฉนพวกเธอกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรแล้ว ภายหลังจึงได้ถึงธรรมคือ

บนเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่.

ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. ..

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 792

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๐. ๑๑. อนึ่ง ภิกษุใด กับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้จีวร

แก่ภิกษุแล้ว ภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่า ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภของ

สงฆ์ไปตามชอบใจ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๒๔] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้

ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมา

เดียวกัน.

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าถึงองค์กำหนด

แห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.

บทว่า ให้ คือ ตนเองก็ให้.

ที่ชื่อว่า ตามชอบใจ คือ ตามความที่เป็นไมตรีกัน ตามความที่

เคยเห็นกัน ตามความที่เคยคบกัน ตามความที่ร่วมอุปัชฌาย์กัน ตามความที่

ร่วมอาจารย์กัน.

ที่ชื่อว่า ของสงฆ์ คือ ที่เขาถวายแล้ว ที่เขาสละแล้ว แก่สงฆ์.

ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช

บริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ โดยที่สุดแม้ก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน ด้าย

ชายผ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 793

คำว่า ภายหลังถึงธรรมคือบ่น ความว่า เมื่อให้จีวรแก่อุปสัมบัน

ที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้จัดเสนาสนะก็ดี ให้เป็นผู้แจกอาหารก็ดี ให้เป็นผู้แจก

ยาคูก็ดี ให้เป็นผู้แจกผลไม้ก็ดี ให้เป็นผู้แจกของเคี้ยวก็ดี ให้เป็นผู้แจกของ

เล็กน้อยก็ดี แล้วบ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๗๒๕] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม เมื่อให้จีวร

แล้วบ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย เมื่อให้จีวรแล้ว บ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม เมื่อให้จีวรแล้ว

บ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

ให้บริขารอย่างอื่นแล้ว บ่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อุปสัมบัน ผู้ที่สงฆ์ไม่ได้สมมติให้เป็นผู้

จัดเสนาสนะ ให้เป็นผู้แจกอาหาร ให้เป็นผู้แจกยาคู ให้เป็นผู้แจกผลไม้ ให้

เป็นผู้แจกของเคี้ยว หรือให้เป็นผู้แจกของเล็กน้อย แล้วบ่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

เมื่อให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อนุปสัมบันผู้ที่สงฆ์สมมติก็ดี ไม่ได้

สมมติก็ดี ให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ ให้เป็นผู้แจกอาหาร ให้เป็นผู้แจกยาคู ให้

เป็นผู้แจกผลไม้ ให้เป็นผู้แจกของเคี้ยว หรือให้เป็นผู้แจกของเล็กน้อยแล้ว

บ่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 794

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม . . . ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๒๖] ภิกษุบ่นว่าสงฆ์มีปรกติทำโดยฉันทาคติ. . .โทสาคติ. . .โมหา-

คติ ...ภยาคติ จะประโยชน์อะไรด้วยจีวรที่ให้แล้วแก่ภิกษุนั้น แม้เธอได้ไป

แล้วก็จักทิ้งเสีย จักไม่ใช้สอยโดยชอบธรรม ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัม-

มิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ

ทัพพสิกขาบทที่ ๑๑

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๑ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า ยถามิตฺตตา คือ ตามความเป็นมิตรกัน. มีคำอธิบายว่าให้

แก่ภิกษุผู้ซึ่งเป็นมิตรกัน . ในบททั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือมีเนื้อความ.

ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในอุชฌาปนกสิกขาบทเป็นต้นนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก

วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

ทัพพสิกขาบทที่ ๑๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 795

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ในพระนคร-

สาวัตถี มีชาวบ้านหมู่หนึ่งได้จัดอาหารพร้อมทั้งจีวรไว้เพื่อสงฆ์ ด้วยหมายใจ

ว่า ให้ท่านฉันแล้วจักให้ครองจีวร ครั้งนั้นแล พวกพระฉัพพัคคีย์ได้เข้าไป

หาชาวบ้านหมู่นั้น แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ขอจงถวายจีวรเหล่านี้แก่ภิกษุ

พวกนี้เถิด.

ชาวบ้านหมู่นั้นกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า พวกกระผมจักถวายไม่ได้ เพราะ

พวกกระผมได้จัดอาหารพร้อมทั้งจีวรไว้เพื่อสงฆ์ทุก ๆ ปี.

พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ทายกผู้ถวายแก่สงฆ์มีจำนวน

มาก. อาหารสำหรับสงฆ์ก็มีมาก ภิกษุเหล่านี้อาศัยพวกท่าน เห็นอยู่แต่พวก

ท่าน จงอยู่ในที่นี้ หากพวกท่านจักไม่ ให้แก่ภิกษุเหล่านี้ ก็บัดนี้ใครเล่าจักให้

แก่ภิกษุเหล่านี้ ขอท่านทั้งหลายจงให้จีวรเหล่านี้แก่ภิกษุพวกนี้เถิด.

เมื่อชาวบ้านพวกนั้นถูกพระฉัพพัคคีย์แค่นได้ จึงได้ถวายจีวรตามที่ได้

จัดไว้แก่พวกฉัพพัคคีย์ไป แล้วอังคาสสงฆ์ด้วยอาหารอย่างเดียว บรรดาภิกษุที่

ทราบว่า อาหารพร้อมทั้งจีวรที่เขาจัดไว้ถวายสงฆ์มี แต่ไม่ทราบว่าเขาได้ถวาย

จีวรแก่พระฉัพพัคคีย์ไปแล้ว ได้กล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอจงถวาย

จีวรแก่สงฆ์เถิด.

ชาวบ้านหมู่นั้นกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า จีวรตามที่ได้จัดไว้ไม่มี เจ้าข้า

เพราะพระคุณเจ้าเหล่าฉัพพัคคีย์ได้น้อมไปเพื่อพระคุณเจ้าเหล่าฉัพพัคคีย์ด้วย

กันแล้ว.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 796

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. .. ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนพระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ จึงได้น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล

เล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้บัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอรู้อยู่ จึงได้น้อมลาภที่เขาน้อมไปถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคลเล่า การกระ-

ของพวกเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวาย

สงฆ์มาเพื่อบุคคล เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

สิกขาบทวิภังค์

[๗๒๘] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 797

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือรู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

ที่ชื่อว่า จะถวายสงฆ์ คือเขาจะให้อยู่แล้ว จะบริจาคอยู่แล้วแก่

สงฆ์.

ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขารอัน

เป็นปัจจัยของภิกษุไข้ โดยที่สุดแม้ก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน ด้ายชายผ้า.

ที่ชื่อว่า เขาน้อมไป คือ เขาได้เปล่งวาจาไว้ว่า จักถวาย จักทำ

ภิกษุน้อมมาเพื่อบุคคล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๗๒๙] ลาภที่เขาน้อมไปแล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไปแล้ว น้อม

มาเพื่อบุคคล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ลาภที่เขาน้อมไปแล้ว ภิกษุสงสัยอยู่ น้อมมาเพื่อบุคคล ต้องอาบัติ

ลาภที่เขาน้อมไปแล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไป น้อมมาเพื่อ

บุคคล ไม่ต้องอาบัติ.

ลาภที่เขาน้อมไปเพื่อสงฆ์ ภิกษุน้อมมาเพื่อสงฆ์หมู่อื่นก็ดี เพื่อเจดีย์

ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

ลาภที่เขาน้อมไปเพื่อเจดีย์ ภิกษุน้อมมาเพื่อเจดีย์อื่นก็ดี เพื่อสงฆ์ก็ดี

เพื่อบุคคลก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

ลาภที่เขาน้อมไปเพื่อบุคคล ภิกษุน้อมมาเพื่อบุคคลอื่นก็ดี เพื่อสงฆ์

ก็ดี เพื่อเจดีย์ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

ลาภที่เขายังไม่ได้น้อมไป ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไปแล้ว . . . ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

ลาภที่เขายังไม่ได้น้อมไป ภิกษุสงสัยอยู่ . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 798

ไม่ต้องอาบัติ

ลาภที่เขายังไม่ได้น้อมไป ภิกษุสำคัญว่าเขายังไม่ได้น้อมไป... ไม่

ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๗๓๐] ภิกษุ เมื่อทายกถามว่าจะถวายที่ไหน ตอบว่าไทยธรรมของ

พวกท่าน พึงได้รับการใช้สอย พึงได้รับการปรับปรุง หรือพึงตั้งอยู่ได้นาน

ในที่ใด ก็หรือจิตของพวกท่านเลื่อมใสในที่ใด ก็จงถวายในที่นั้นเถิด ดังนี้ ๑

ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 799

ปริณามนสิกขาบทที่ ๑๒

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑๒ พึงทราบดังนี้:-

คำที่จะพึงกล่าวทั้งหมด มีนัยดังกล่าวแล้วในปริณามนสิกขาบท ใน

ติงสกัณฑ์นั้น เป็นนิสสัคติยปาจิตตีย์ เพราะน้อมมาเพื่อตน ในสิกขาบทนี้

เป็นปาจิตตีย์ล้วน เพราะน้อมไปเพื่อบุคคล (อื่น).

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก-

วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ปริณามนสิกขาบทที่ ๑๒ จบ

สหธรรมิกวรรคที่ ๘ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. สหธัมมิกสิกขาบท ว่าด้วยการว่ากล่าวโดยถูกธรรม

๒. วิวัณณนสิกขาบท ว่าด้วยการก่นสิกขาบท

๓. โมหนสิกขาบท ว่าด้วยการแสร้งทำหลง

๔. ปหารทานสิกขาบท ว่าด้วยการให้ประหาร

๕. ตลสัตติกสิกขาบท ว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือ

๖. อมูลกสิกขาบท ว่าด้วยการโจทด้วยอาบัติไม่มีมูล

๗. สัญจิจจสิกขาบท ว่าด้วยการแกล้งก่อความรำคาญ

๘. อุปัสสุติกสิกขาบท ว่าด้วยการแอบฟัง

๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท ว่าด้วยการคัดค้านกรรม

๑๐. ฉันทาทานสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ให้ฉันทะ

๑๑. ทัพพสิกขาบท ว่าด้วยเรื่องท่านพระทัพพมัลลบุตร

๑๒. ปริณามนสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภสงฆ์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 800

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๙

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล

[๗๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้า-

ปเสนทิโกศลตรัสสั่งเจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระราชอุทยานว่า ดูก่อนพนาย เจ้าจง

ไปตกแต่งอุทยานให้เรียบร้อย เราจักประพาสอุทยาน.

เจ้าหน้าที่รักษาพระราชอุทยานผู้นั้น รับสนองพระบรมราชโองการ

แล้วตกแต่งพระราชอุทยานอยู่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ ณ โคน

ไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้ว จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล กราบทูลว่า ขอเดชะ

พระราชอุทานเรียบร้อยแล้ว และพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โคนไม้ใน

พระราชอุทยานนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ท้าวเธอรับสั่งว่า ช่างเถอะพนาย เราจักเฝ้าพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

ครั้นแล้วเสด็จไปสู่พระราชอุทยาน เข้าเผ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะนั้นมี

อุบายสกผู้หนึ่งนั่งเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ใกล้ ๆ ท้าวเธอได้ทอดพระเนตรเห็น

อุบาสกนั้นนั่งเฝ้าอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตกพระทัยยืนชะงักอยู่ ครั้น

แล้วทรงพระดำริว่า บุรุษผู้นี้คงไม่ใช่คนต่ำช้า เพราะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

อยู่ใกล้ ๆ ได้ ดังนี้ แล้วเข้าไปถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ

ราชอาสน์อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 801

ส่วนอุบาสกนั้นไม่ถวายบังคม ไม่ลุกรับเสด็จพระเจ้าปเสนทิโกศล ด้วย

ความเคารพต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงพอพระทัยว่า

ไฉนบุรุษนี้ เมื่อเรามาแล้ว จึงไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงพอพระ -

ทัย จึงตรัสขึ้นในขณะนั้นว่า มหาบพิตร อุบายสกผู้นี้ เป็นพหูสูต เป็นคน

เล่าเรียนพระปริยัติธรรมมาก เป็นผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระดำริว่า อุบาสกผู้นี้ไม่ใช่

เป็นคนต่ำต้อย แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังตรัสชมเขา แล้วรับสั่งกะอุบาสก

นั้นว่า ดูก่อนอุบาสก. เธอพึงพูดได้ตามประสงค์เถิด.

อุบาสกนั้นกราบทูลว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นเกล้า พระ-

พุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรง

เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง

ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ.

[๗๓๒] ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับอยู่ ณ พระมหาปราสาท

ชั้นบน ได้ทอดพระเนตรเห็นอุบาสกนั้นเดินกั้นร่มไปตามถนน จึงโปรดให้

เชิญตัวมาเฝ้าแล้วรับสั่งว่า ดูก่อนอุบาสก ได้ทราบว่า เธอเป็นพหูสูต เป็น

คนเล่าเรียนพระปริยัติธรรมมาก ดีละอุบาสก ขอเธอจงช่วยสอนธรรมแก่ฝ่าย

ในของเรา.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 802

อุบาสกนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมด้วยอำนาจ

แห่งพระคุณเจ้าทั้งหลาย พระคุณเจ้าเท่านั้นจักสอนธรรมแก่ฝ่ายในของใต้ฝ่า-

ละอองธุลีพระบาทได้.

พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งขึ้นในขณะนั้นว่า อุบาสกพูดจริงแท้ ดังนี้

แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ราชอาสน์

อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส

ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ภิกษุรูปหนึ่ง ไปเป็นผู้สอนธรรมแก่ฝ่ายใน

ของหม่อมฉัน พระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศล

ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจง ให้ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง

ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทำทักษิณเสด็จกลับไปแล้ว.

ทรงแต่งตั้งท่านพระอานนท์เป็นครูสอนธรรม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า

ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงสอนธรรมแก่ฝ่ายในของพระเจ้าแผ่นดิน.

ท่านพระอานนท์ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วเข้าไปสอนธรรมแก่

ฝ่ายในของพระเจ้าแผ่นดินทุกเวลา ต่อมาเช้าวันหนึ่ง ท่านพระอานนท์ครอง

อันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ ขณะนั้น พระเจ้า-

ปเสนทิโกศลประทับอยู่ในห้องพระบรรทมกับพระนางมัลลิกาเทวี พระนางได้

ทอดพระเนตรเห็นท่านพระอานนท์มาแต่ไกลเทียว จึงผลีผลามลุกขึ้น พระภูษา

ทรงสีเหลืองเลี่ยนได้เลื่อนหลุด ท่านพระอานนท์กลับจากสถานที่นั้นในทันที

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 803

ไปถึงอารามแล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .

ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอานนท์ยังไม่ได้รับบอกก่อน

จึงได้เข้าสู่พระราชฐานชั้นในเล่า... แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์

ข่าวว่า เธอไม่ได้รับบอกก่อนเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน จริงหรือ.

ท่านอานนท์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนอานนท์ ไฉนเธอยัง

ไม่ได้รับบอกก่อนจึงได้เข้าสู่พระราชฐานชั้นในเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่

เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . . ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา แล้วรับสั่งกะภิกษุ

ทั้งหลาย ดังต่อไปนี้:-

โทษ ๑๐ อย่าง ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน

[๗๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นในมี

๑๐ อย่าง ๑๐ อย่างอะไรบ้าง.

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในพระราชฐานชั้นในนี้ พระเจ้าแผ่นดิน

กำลังประทับอยู่ในตำหนักที่ผทมกับพระมเหสี ภิกษุเข้าไปในพระราชฐานชั้น

ในนั้น พระมเหสีเห็นภิกษุแล้วทรงยิ้มพรายให้ปรากฏก็ดี ภิกษุเห็นพระมเหสี

แล้วยิ้มพรายให้ปรากฎก็ดี ในข้อนั้นพระเจ้าแผ่นดินจะทรงระแวงอย่างนี้ว่า

คนทั้งสองนี้รักใคร่กันแล้วหรือจักรักใคร่กันเป็นแม่นมั่น นี้เป็นโทษข้อที่หนึ่ง

ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 804

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า

แผ่นดินทรงมีพระราชกิจมาก ทรงมีพระราชกรณียะมาก ทรงร่วมกับพระสนม

คนใดคนหนึ่ง แล้วทรงระลึกไม่ได้ พระสนมนั้นตั้งพระครรภ์เพราะเหตุที่ทรง

ร่วมนั้น ในเรื่องนั้นพระเจ้าแผ่นดินจะทรงระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐาน

ชั้นในนี้ คนอื่นเข้ามาไม่ได้สักคน นอกจากบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำ

ของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่สองในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก รัตนะ

บางอย่างในพระราชฐานชั้นในหายไป ในเรื่องนั้น พระเจ้าแผ่นดินจะทรง

ระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐานชั้นในนี้ คนอื่นสักคนก็เข้ามาไม่ได้ นอกจาก

บรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่สาม ในการ

เข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก ข้อ

ราชการลับที่ปรึกษากันเป็นการภายในพระราชฐานชั้นในเปิดเผยออกมาภายนอก

ในเรื่องนั้นพระเจ้าแผ่นดินจะทรงระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐานชั้นในนี้

คนอื่นสักคนก็เข้ามาไม่ได้นอกจากบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของ

บรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่สี่ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก ในพระ-

ราชฐานชั้นใน พระราชโอรสปรารถนาจะปลงพระชนม์พระราชบิดา หรือ

พระราชบิดาปรารถนาจะปลงพระชนม์พระราชโอรส ทั้งสองพระองค์นั้นจะ

ทรงระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐานชั้นในนี้ ไม่มีใครคนอื่นจะเข้ามาได้

นอกจากบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่ห้า

ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 805

๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า

แผ่นดินทรงเลื่อนข้าราชการผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งต่ำไว้ในฐานันดรอันสูง พวก

ชนที่ไม่พอใจการที่ทรงเลื่อนข้าราชการผู้นั้นขึ้น จะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้า

แผ่นดินทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้

เป็นโทษข้อที่หก ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า

แผ่นดินทรงลดข้าราชการผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งสูงไว้ในฐานันดรอันต่ำ พวกชน

ที่ไม่พอใจการที่ทรงลดตำแหน่งข้าราชการผู้นั้นลง จะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้า

แผ่นดินทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็น

โทษข้อที่เจ็ด ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า

แผ่นดินทรงส่งกองทัพไปในกาลไม่ควร พวกชนที่ไม่พอใจพระราชกรณียะนั้น

จะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็น

การกระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่แปด ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า

แผ่นดินทรงส่งกองทัพไปในกาลอันควร แล้วรับสั่งให้ยกกลับเสียในระหว่างทาง

พวกชนที่ไม่พอใจพระราชกรณียะนั้นจะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้าแผ่นดินทรง

คลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่เก้า

ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระ-

ราชฐานชั้นในเป็นสถานที่รื่นรมย์เพราะ ช้าง ม้า รถ และมีอารมณ์เป็นที่ตั้ง

แห่งความกำหนัดเช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งไม่สมควรแก่

บรรพชิต นี้แลเป็นโทษข้อที่สิบ ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 806

เหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๑๐ อย่าง ในการเข้าสู่พระราชฐาน

ชั้นใน.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

[๗๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอานนท์ โดยอเนก

ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก

. . . แล้วตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๒ ๑. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับบอกก่อน ก้าวล่วงธรณี

เข้าไปในห้องของพระราชาผู้กษัตริย์ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว ที่พระ-

ราชายังไม่ได้เสด็จออก ที่รัตนะยังไม่ออก เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๓๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ผู้กษัตริย์ คือ เป็นผู้เกิดดีแล้วทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งฝ่ายพระ

ราชมารคา และพระราชบิดา เป็นผู้มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีแล้ว

ตลอดเจ็ดชั่วบุรพชนก ไม่มีใครคัดค้านติเตียนโดยกล่าวถึงชาติได้.

ที่ชื่อว่า ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว คือ ได้รับอภิเษกโดยสรงสนาน

ให้เป็นกษัตริย์แล้ว .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 807

บทว่า ที่พระราชายังไม่เสด็จออก คือ พระเจ้าแผ่นดินยังไม่

เสด็จออกจากตำหนักที่ผทม.

บทว่า ที่รัตนะยังไม่ออก คือ พระมเหสียังไม่เสด็จออกจาก

ตำหนักที่ผทม หรือทั้งสองพระองค์ยังไม่เสด็จออก.

บทว่า ยังไม่ได้รับบอกก่อน คือ ไม่มีใครนิมนต์ไว้ก่อน.

ที่ชื่อว่า ธรณี ได้แก่ สถานที่เขาเรียกกันว่าธรณีแห่งตำหนักที่ผทม.

ที่ชื่อว่า ตำหนักที่ผทม ได้แก่ที่ผทมของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเจ้า

พนักงานจัดแต่งไว้ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยที่สุดแม้วงด้วยพระสูตร.

คำว่า ก้าวล่วงธรณีเข้าไป คือ ยกเท้าที่ ๑ ก้าวล่วงธรณีเข้าไป

ต้องอาบัติทุกกฏ ที่ยกเท้า ๒ ก้าวล่วงธรณีเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๗๓๖] ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับบอก ก้าวล่วง

ธรณีเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุสงสัยอยู่ ก้าวล่วงธรณีเข้าไปต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุสำคัญว่าได้รับบอกแล้ว ก้าวล่วงธรณีเข้าไป

ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกทุกกฏ

ได้รับบอกแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับบอก. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ได้รับบอกแล้ว ภิกษุสงสัยอยู่ . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ได้รับบอกแล้ว ภิกษุสำคัญว่าได้รับบอกแล้ว . . . ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 808

อนาปัตติวาร

[๗๓๗] ได้รับบอกแล้ว ๑ ไม่ใช่กษัตริย์ ๑ ไม่ได้รับอภิเษกโดย

สรงสนานให้เป็นกษัตริย์ ๑ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกจากดำหนักที่ผทมแล้ว ๑

พระมเหสีเสด็จออกจากทำหนักที่ผทมแล้ว ๑ หรือทั้งสองพระองค์เสด็จออก

จากที่ผทมแล้ว ๑ ไม่ใช่ตำหนักที่ผทม ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

ปาจิตตีย์ ราชวรรคที่ * ๙

อันเตปุรสิกขาบทที่ ๑

วนิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งราชวรรค พึงทราบดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ ๑ ]

บทว่า โอรโก แปลว่า ต่ำต้อย.

บทว่า อฺปริปาสาทวรคโต แปลว่า ประทับอยู่ ณ เบื้องบนแห่ง

ปราสาทอันประเสริฐ.

สองบทว่า อยฺยาน วาหสา แปลว่า เพราะเหตุแห่งพระผู้เป็นเจ้า

ทั้งหลาย มีคำอธิบายว่า ข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรม เพราะพระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้น

ได้ชั่วให้เกิดขึ้น.

สองบทว่า ปิตร ปฏฺเติ ได้แก่ พระราชโอรสต้องการจะเห็นโทษ

แล้วปลงพระชนม์พระราชบิดา.

* บาลีเป็น รตนวรรค.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 809

ในคำว่า ราชนฺเตปุร หตฺถิสมฺมทฺท เป็นต้น มีวินิจฉัยว่าที่พระ-

ราชฐานชั้นในนี้อัดแอไปด้วยพวกช้าง; ฉะนั้น จึงชื่อว่า หัตถิสัมัมททะ.

อธิบายว่า คับแคบไปด้วยช้าง. แม้ในบทว่าอัสสรถสังมัททะก็นัยนี้เหมือนกัน.

ภิกษุบางพวกสวดว่า สมฺมต ก็มี. คำนั้นไม่ควรถือเอา. ปาฐะว่า รญฺโ

อนฺเตปุเร หตฺถิสมฺมทฺท. ก็มี ในปาฐะนั้น มีอรรถว่า การเหยียบย่ำไป

มาแห่งช้างทั้งหลาย ชื่อว่า หัตถิสัมมัททะ. มีคำอธิบายว่า การเดินย่ำไปมา

แห่งช้างมีอยู่ในพระราชวังชั้นใน. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้.

บทว่า รชนียานิ ได้แก่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น เช่นนี้ มีอยู่ในพระราช

วังชั้นในนั้น.

บทว่า มุทฺธาภิสิตฺตสฺส คือ ผู้ทรงได้รับอภิเษกสรงสนานบน

พระเศียร.

บทว่า อนิกฺขนฺตราชเก มีวิเคราะห์ว่า พระราชายังไม่เสด็จออก

จากพระตำหนักที่ผทมนี้; เหตุนั้น ตำหนักนั้น จึงชื่อว่า ที่พระราชายังไม่

เสด็จออก. อธิบายว่า ในคำหนักทีผทมมีพระราชายังไม่เสด็จออกนั้น. พระ-

มเหสี พระผู้มีพระภาคเจ้าเรียกว่ารัตนะ.

บทว่า นึภฏ แปลว่า ออกแล้ว. รัตนะ (คือพระมเหสี) ยิ่งไม่

เสด็จออก จากตำหนักที่ผทมนี้ ฉะนั้น ตำหนักผทมนั้น จงชื่อว่าที่รัตนะยัง

ไม่ออก. อธิบายว่า ในทำหนักที่ผทม มีรัตนะยังไม่ออกนั้น. คำที่เหลือใน

สิกขาบทนี้ ดินทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทางกิริยา ทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

อันเตปุรสิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 810

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๗๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ

รูปหนึ่งอาบน้ำอยู่ในแม่น้ำอจิรวดี แม้พราหมณ์คนหนึ่งวางถุงเงินประมาณ

๕๐๐ กษาปณ์ไว้บนบกแล้วลงอาบน้ำในแม่น้ำอจิรวดี เสร็จแล้วได้ลืมถุงทรัพย์

นั้นไว้ ไปแล้ว จึงภิกษุนั้นได้เก็บไว้ด้วยสำคัญว่า นี้ถุงทรัพย์ของพราหมณ์

นั้น อย่าได้หายเสียเลย ฝ่ายพราหมณ์นั้นนึกขึ้นได้ รีบวิ่งมาถามภิกษุนั้นว่า

ข้าแด่พระคุณเจ้า พระคุณเจ้าเห็นถุงทรัพย์ของข้าพเจ้าบ้างไหม.

ภิกษุนั้นได้คืนให้พร้อมกับกล่าวว่า เชิญครับไปเถิดท่านพราหมณ์.

พราหมณ์ฉุกคิดขึ้นได้ในขณะนั้นว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจึง

จะไม่ต้องให้ค่าไถ่ร้อยละห้าแก่ภิกษุนี้ จึงพูดเป็นเชิงขู่ขึ้นว่า ทรัพย์ของข้าพเจ้า

ไม่ใช่ ๕๐๐ กษาปณ์ ของข้าพเจ้า ๑,๐๐๐ กษาปณ์ ดังนี้ แล้วปล่อยตัวไป

ครั้นภิกษุนั้นไปถึงพระอารามแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนภิกษุจึงได้เก็บเอาสิ่งรัตนะเล่า . . .แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค

เจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า

เธอเก็บเอารัตนะไว้ จริงหรือ.

ภิกษุรูปนั้น กราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 811

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ

จึงได้เก็บเอารัตนะเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ

ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๓. ๒. อนึ่ง ภิกษุใดเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะ

ก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

เรื่องนางวิสาขา มิคารมาตา

[๗๓๙] สมัยต่อมา ในพระนครสาวัตถีมีมหรสพ ประชาชนต่าง

ประดับประดาตกแต่งร่างกาย แล้วพากันไปเที่ยวชมสวน แม้นางวิสาขามิคาร-

มาตาก็ประดับประดาตกแต่งร่างกายออกจากบ้านไปด้วยตั้งใจว่าจักไปเที่ยวชม

สวน แล้วหวนคิดขึ้นว่า เราจักไปสวนทำไม เราเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ดีกว่า ดังนี้แล้วได้เปลื้องเครื่องประดับออก ห่อด้วยผ้าห่มมอบใให้แก่ทาสี

สั่งว่า แม่สาวใช้ เธอจงถือห่อเครื่องประดับนี้ไว้ ครั้นเล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 812

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้นางวิสาขามิคารมาตา ผู้นั่งเรียบร้อย

แล้วให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา

ครั้นนางวิสาขามิคารมาตาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบัง

คมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว.

ฝ่ายทาสีคนนั้นได้ลืมห่อเครื่องประดับนั้นไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายพบ

เห็นจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงเก็บเอามารักษาไว้.

พระพุทธานุญาตพิเศษให้เก็บรัตนะ

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาติให้เก็บ หรือใช้ให้เก็บ ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่า

รัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ แล้วรักษาไว้ ด้วยหมายว่าของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๑

๑๓๓. ๒. ก. อนึ่ง ภิกษุใด เก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะ

ก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องนางวิสาขา มิคารมาตา จบ

เรื่องคนใช้ของอนาถบิณฑิกคหบดี

[๗๔๐] ก็โดยสมัยนั้นแล อนาถบัณฑิกคหบดี มีโรงงานอยู่โนกาสี

ชนบท และคหบดีนั้นได้สั่งบุรุษคนสนิทไว้ว่า ถ้าพระคุณเจ้าทั้งหลายมา เจ้า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 813

พึงแต่งอาหารถวาย ครั้นต่อมาภิกษุหลายรูป ไปเที่ยวจาริกในกาสีชนบท ได้

เดินผ่านเข้าไปทางโรงงานของอนาถบิณฑิกคหบดี บุรุษนั้นได้แลเห็นภิกษุ

เหล่านั้นเดินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น กราบไหว้

แล้ว ได้กล่าวอาราธนาว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงรับนิมนต์ฉัน

ภัตตาหารของท่านคหบดีในวันพรุ่งนี้.

ภิกษุเหล่านั้นรับนิมนต์ด้วยอาการดุษณีภาพ.

จึงบุรุษนั้น สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยล่วงราตรีนั้น

แล้วให้คนไปบอกภัตกาล แล้วถอดแหวนวางไว้ อังคาสภิกษุเหล่านั้นด้วย

ภัตตาหารแล้วกล่าวว่า นิมนต์พระคุณเจ้าฉันแล้วกลับได้ แม้กระผมก็จักไปสู่

โรงงานดังนี้ ได้ลืมแหวนนั้น ไปแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว ปรึกษากันว่า ถ้าพวกเราไปเสีย แหวน

วงนี้จักหาย แล้วได้อยู่ในที่นั้นเอง.

ครั้นบุรุษนั้นกลับมาจากโรงงาน เห็นภิกษุเหล่านั้นจึงถามว่า เพราะ

เหตุไร พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงยังอยู่ในที่นี้เล่า ขอรับ.

จึงภิกษุเหล่านั้นได้บอกเรื่องราวนั้นแก่เขา ครั้นเธอไปถึงพระนคร

สาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า.

พระพุทธาานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บเอาก็ดี ใช้ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของ

ที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วเก็บรักษาไว้ด้วยหมาย

ว่า เป็นของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 814

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๒

๑๓๓. ๒. ข. อนึ่ง ภิกษุใด เก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่ง

รัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี ใน

ที่อยู่พักก็ดี เป็นปาจิตตีย์ และภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่ง

รัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี

แล้วพึงเก็บไว้ด้วยหมายว่า ของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป นี้เป็นสามีจิ-

กรรมในเรื่องนั้น.

เรื่องคนใช้ของอนาถบิณฑิกคหบดี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๔๑] บทว่า อนึ่ง . . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ทีชื่อว่า รัตนะ ได้แก่ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์

ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง แก้วทับทิม แก้วลาย นี้ชื่อว่ารัตนะ.

ที่ชื่อว่า ของที่สมมติว่ารัตนะ ได้แก่ เครื่องอุปโภค เครื่องบริโภค

ของมวลมนุษย์ นี้ชื่อว่าของที่สมมติว่ารัตนะ.

คำว่า เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี คือ ยกเว้นแต่

ภายในวัดที่อยู่ ภายในที่อยู่พัก.

ที่ชื่อว่า ภายในวัดที่อยู่ คือ สำหรับวัด ที่มีเครื่องล้อม กำหนดภาย

ในวัด สำหรับวัดที่ไม่มีเครื่องล้อม กำหนดอุปจารวัด.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 815

ที่ชื่อว่า ภายในที่อยู่พัก คือ สำหรับที่อยู่พักที่มีเครื่องล้อม ได้แก่

ภายในที่อยู่พัก สำหรับที่อยู่พักที่ไม่มีเครื่องล้อม ได้แก่อุปจารที่อยู่พัก.

บทว่า เก็บเอา คือ ถือเอาเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้เก็บเอา คือ ให้คนอื่นถือเอา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

[๗๔๒] คำว่า และภิกษุเก็บเอาก็ดี .ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะ

ก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี

แล้วพึงเก็บไว้ นั้น ความว่า ภิกษุพึงทำเครื่องหมายตามรูปหรือตามนิมิต

เก็บไว้ แล้วพึงประกาศว่า สิ่งของ ๆ ผู้ใดหาย ผู้นั้นจงมารับไป ถ้าเขามาใน

ที่นั้น พึงสอบถามเขาว่า สิ่งของ ๆ ท่านเป็นเช่นไร ถ้าเขาบอกรูปพรรณ

หรือตำหนิถูกต้อง พึงให้ไป ถ้าบอกไม่ถูกต้อง พึงบอกเขาว่า จงค้นหาเอาเอง

เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น พึงมอบไว้ในมือของภิกษุผู้สมควรที่อยู่ในวัดนั้น

แล้วจึงหลีกไป ถ้าภิกษุผู้สมควรไม่มี พึงมอบไว้ในมือของคหบดีผู้สมควรที่

อยู่ในตำบลนั้น แล้วจึงหลีกไป.

คำว่า นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ความว่า นี้เป็นมารยาทที่ดี

ยิ่งในเรื่องนั้น.

อนาปัตติวาร

[๗๔๓] ภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติ

ว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วเก็บไว้ด้วยหมายว่า ของผู้ใด

ผู้นั้นจะได้นำไป ดังนี้ ๑ ภิกษุถือวิสาสะของที่สมมติว่ารัตนะ ๑ ภิกษุถือเป็น

ของขอยืม ๑ ภิกษุเข้าใจว่าเป็นของบังสกุล ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ-

กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 816

รัตนสิกขาบทที่ ๒

ในสิกขาบทที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ว่าด้วยสถานที่ และของตกที่ควรเก็บไม่ควรเก็บ]

บทว่า วิสฺสริตฺวา แปลว่า ได้ลืมไว้. ๕ เหรียญกษาปณ์ จาก

๑๐๐ เหรียญ ชื่อว่า ปุณณปัตตะ (ร้อยละ ๕).

คำว่า กฺยาห กริสฺสามิ แปลว่า เราจักกระทำอย่างไร

คำว่า อาภรณ โอมุญฺจิตฺวา คือ ได้เปลื้องเครื่องประดับชื่อ

มหาลดามีด่า ๙ โกฏิออกไว้.

บทว่า อนฺเตวาสี แปลว่า สาวใช้.

๒ ชั่วขว้างก้อนดินตกแห่งวัดที่อยู่ ชื่อว่า อุปจาร ในคำว่า อปริกฺ-

ขิตสฺส อุปจาโร นี้. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า สำหรับที่อยู่พัก ชั่วเหวี่ยง

กระด้งตก หรือชั่วเหวี่ยงสากตก (ชื่อว่า อุปจาร).

ในคำว่า อุคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า

ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน เพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นนิสสัคคิย-

ปาจิตตีย์ รับเองก็ดี ให้รับเองก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะ บุคคล

เจดีย์ และนวกรรม เป็นทุกกฏ. ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งรัตนะมีมุกดา

เป็นต้นที่เหลือ เพื่อประโยชน์แก่ตนหรือแก่สงฆ์เป็นต้น เป็นทุกกฏ. สิ่งที่

เป็นกัปปิยวัตถุก็ดี เป็นอกัปปิยวัตถุก็ดี อันเป็นของคฤหัสถ์ ชั้นที่สุดแม้ใบ

ตาลเป็นเครื่องประดับหูเป็นของมารดา เมื่อภิกษุรับเก็บโดยมุ่งวัตรแห่งภัณฑา-

คาริกเป็นใหญ่ เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน. แต่ถ้าของ ๆ มารดาบิดาเป็นกัปปิย-

ภัณฑ์อันควรที่ภิกษุจะเก็บไว้ได้แน่นอน พึงรับเก็บไว้เพื่อประโยชน์ตน. แต่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 817

เมื่อเขากล่าวว่า ท่านโปรดเก็บของนี้ไว้ให้ด้วย พึงห้ามว่า ไม่ควร. ถ้าพวก

คฤหัสถ์โยนของทิ้งไว้กล่าวว่า นิมนต์ท่านเก็บไว้ให้ด้วย แล้วไปเสีย, จัดว่า

เป็นธุระ สมควรจะเก็บไว้. พวกคนงาน มีนายช่างไม้เป็นต้น ผู้กระทำการ

งานในวิหารก็ดี พวกราชพัลลภก็ดี ขอร้องให้ช่วยเก็บเครื่องมือ หรือเครื่อง

นอนของตนว่า นิมนต์ ท่านช่วยเก็บไว้ให้ด้วย. อย่าพึงกระทำ เพราะชอบ

กันบ้าง เพราะกลัวบ้าง. แต่จะแสดงที่เก็บให้ ควรอยู่. ส่วนในเหล่าชนผู้โยน

ของทิ้งไว้โดยพลการแล้วไปเสีย จะเก็บไว้ให้ก็ควร.

ในคำว่า อชฺฌาราเม วา อชฺฌาวสเถ วา นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-

ถ้าอารามใหญ่เช่นกับมหาวิหาร, ภิกษุเก็บเองก็ดี ใช้ให้เก็บก็ดี ซึ่งของคฤหัสถ์

ที่ตกในสถานที่ เช่นกับที่ซึ่งจะเกิดมีความระแวงสงสัยว่า จักถูกพวกภิกษุและ

สามเณรฉวยเอาไป แล้วพึงเก็บไว้ในบริเวณที่มีกำแพงกั้นในอารามใหญ่นั้น.

แต่ที่ตกในสถานที่สัญจรของมหาชน เช่นที่ซุ้มประตูแห่งมหาโพธิ์และลานต้น

มะม่วง ไม่ควรเก็บ. ไม่ใช่ธุระหน้าที่ (ของภิกษุ). แต่ในกุรุนที่กล่าวว่า

ภิกษุรูปหนึ่ง เดินทางไปเห็นภัณฑะบางอย่าง ในสถานที่ไม่มีคน. แม้เมื่อ

เกิดมีคนพลุกพล่าน พวกชาวบ้านก็จะสงสัยภิกษุนั้นทีเดียว เพราะฉะนั้น ภิกษุ

นั้นพึงแวะออกจากทางแล้วนั่งพัก. เมื่อพวกเจ้าของมา พึงบอกทรัพย์นั้น.

ถ้าไม่พบเจ้าของ เธอจักต้องทำให้เป็นของสมควร (มีถือเอาเป็นของบังสุกุล

เป็นต้น ).

ในคำว่า รูเปน วา นิมิตเตน วา สญฺาณ กตฺวา นี้ ที่ชื่อ

ว่า รูป ได้แก่ ภัณฑะภายในห่อ. เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงแก้ห่อภัณฑะออก

นับดู แล้วกำหนดไว้ว่า เหรียญกษาปณ์เท่านี้ หรือเงินและทองเท่านี้ .

ดวงตราเครื่องหมาย (ดุน) เป็นต้น ชื่อว่า นิมิต (เครื่องหมาย).

เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงกำหนดเครื่องหมายทุกอย่าง ในห่อภัณฑะที่ประทับตรา

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 818

เครื่องหมายมีอาทิอย่างนี้ คือ ประทับตราด้วยดินเหนียว หรือว่า ประทับตรา

ด้วยครั่ง, ห่อภัณฑะที่เขาห่อด้วยผ้าสีเขียว หรือว่า ที่เขาห่อด้วยผ้าสีเหลือง.

สองบทว่า ภิกฺขู ปฏิรูปา ได้แก่ ภิกษุทั้งหลายผู้มีความละอายมัก

รังเกียจสงสัย. เพราะจะมอบไว้ในมือของพวกคนผู้มีนิสัยโลเลไม่ได้. ก็ภิกษุใด

ยังไม่หลีก ไปจากอาวาสนั้นหรือยังไม่พบพวกเจ้าของ, แม้ภิกษุนั้น อย่าพึงทำ

ให้เป็นมูลค่าแห่งจีวรเป็นต้น เพื่อตนเอง. แต่พึงให้สร้างเสนาสนะ หรือเจดีย์

หรือสระโบกขรณีที่เป็นของถาวร. ถ้าว่า โดยกาลล่วงไปนาน เจ้าของจึงมา

ทวง, พึงบอกเขาว่า อุบาสก ของชื่อนี้ เขาสร้างด้วยทรัพย์ของท่าน, ท่าน

จงอนุโมทนาเถิด. ถ้าหากว่าเขาอนุโมทนาด้วย ข้อนั้นเป็นการดี ด้วยประการ

ฉะนี้, ถ้าเขาไม่อนุโมทนาด้วย กลับทวงว่า ขอท่านจงให้ทรัพย์ผมคืน พึง

ชักชวนคนอื่นคืนให้ทรัพย์เขาไป.

ในคำว่า รตนสมฺมต วิสฺสาส คณฺหาติ เป็นต้น ตรัสหมาย

เอาอามาสวัตถุ (ของควรจับต้องได้) เท่านั้น. ของอนามาส ไม่ควรเลย.

คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

รัตนสิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 819

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๔๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-

ฉัพพัคคีย์เข้าบ้านในเวลาวิกาลแล้ว นั่งในที่ชุมนุมชนกล่าวดิรัจฉานกถามีเรื่อง

ต่าง ๆ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องขุนพล เรื่องภัย

เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของ

หอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท

เรื่องสตรี เรื่องสุรา เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่อง

เบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการ

นั้น ๆ.

ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกพระสมณะ

เธอสายพระศากยบุตร จึงได้เข้าบ้านในเวลาวิกาล แล้วนั่งในที่ชุมนุมชนกล่าว

ดิรัจฉานกถาเรื่องต่าง ๆ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร. . .เรื่องความเจริญ

และความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุ

ทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็น

ผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้

เข้าบ้านในเวลาวิกาลแล้วนั่งในที่ชุมนุมชน กล่าวดิรัจฉานกถามีเรื่องต่าง ๆ

คือพูดเรื่องพระราชา . . . เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ เล่า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 820

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอเข้าบ้านในเวลาวิกาลแล้วนั่งในที่ชุมนุมชน กล่าวดิรัจฉานกถา

มีเรื่องต่าง ๆ คือ เรื่องพระราชา . . . เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วย

ประการนั้น ๆ จริงหรือ.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย

ไฉนพวกเธอจึงได้เข้าบ้านในเวลาวิกาล แล้วนั่งในที่ชุมนุมชน กล่าวดิรัจฉาน-

กถามีเรื่องต่าง ๆ คือ เรื่องพระราชา . . . เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วย

ประการนั้น ๆ เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส

ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๔. ๓. อนึ่ง ภิกษุใด เข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล เป็น

ปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๗๔๕] ก็โดยสมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไปพระนครสาวัตถีใน

โกศลชนบท ได้เข้าไปถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น พวกชาวบ้านเห็นภิกษุ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 821

เหล่านั้นแล้ว ได้กล่าวอาราธนาว่า นิมนต์เข้าไปเถิดขอรับ ภิกษุเหล่านั้น

รังเกียจอยู่ว่า การเข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว

จึงไม่ได้เข้าไป พวกโจรได้แย่งชิงภิกษุเหล่านั้น ครั้นภิกษุเหล่านั้นไปถึง

พระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตให้เข้าบ้าน

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้า

มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้อำลาแล้ว เข้าสู่บ้านในเวลาวิกาลได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๑

๑๓๔. ๓. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่อำลาแล้วเข้าไปสู่บ้านใน

เวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๗๔๖] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปสู่พระนครสาวัตถีในโกศล

ชนบท ได้เข้าถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น พวกชาวบ้านเห็นภิกษุนั้นแล้ว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 822

ได้กล่าวอาราธนาว่า นิมนต์เข้าไปเถิดขอรับ ภิกษุนั้นรังเกียจอยู่ว่า การไม่

อำลาแล้ว เข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว ดังนี้ จึง

ไม่ได้เข้าไป พวกโจรได้แย่งชิงภิกษุนั้น ครั้นภิกษุนั้นไปถึงพระนครสาวัตถี

แล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้า

มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาลได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๒

๑๓๔ ๔. ข. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่

บ้านในเวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

เรื่องภิกษุถูกงูกัด

[๗๔๗] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด ภิกษุอีกรูปหนึ่งจะ

เข้าไปสู่บ้านหาไฟมา แต่เธอรังเกียจอยู่ว่า การไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่

บ้านในเวลาวิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว ดังนี้ จึงไม่ได้เข้าไป แล้ว

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 823

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตไว้ ในเมื่อมีกรณียะรีบด่วนเห็นปานนั้น ไม่ต้องอำลา

ภิกษุที่มีอยู่ เข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาลได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๓

๑๓๔. ๓. ค. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่

บ้านในเวลาวิกาล เว้นไว้แต่กิจรีบด่วนมีอย่างนั้น เป็นรูป เป็น

ปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุถูกงูกัด จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๔๘] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .

นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

ภิกษุที่ชื่อว่า มีอยู่ คือ มีภิกษุที่คนสามารถจะอำลาแล้วเข้าไปสู่บ้าน

ได้.

ภิกษุที่ชื่อว่า ไม่มีอยู่ คือ ไม่มีภิกษุที่ตนสามารถจะอำลาแล้ว เข้า

ไปสู่บ้านได้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 824

ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล ได้แก่ เวลาเที่ยงวันแล้วไป ตราบเท่าถึงอรุณ

ขึ้นมาใหม่.

คำว่า เข้าไปสู่บ้าน ความว่า เมื่อเดินล่วงเครื่องล้อมของบ้านที่มี

เครื่องล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินล่วงอุปจารบ้านที่ไม่มีเครื่องล้อม ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

คำว่า เว้นไว้แต่กิจรีบด่วนมีอย่างนั้นเป็นรูป คือ เว้นไว้แต่มี

กิจจำเป็นที่รีบด่วนเห็นปานนั้น.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๗๔๙] เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าเวลาวิกาล ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว

เข้าไปสู่บ้าน เว้นไว้แต่มีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เวลาวิกาล ภิกษุสงสัยอยู่ ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่บ้าน เว้นไว้

แต่มีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าในกาล ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่บ้าน

เว้นไว้แต่มีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ในกาล ภิกษุสำคัญว่าเวลาวิกาล . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ในกาล ภิกษุสงสัย ...ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ในกาล ภิกษุสำคัญว่าในกาล . . . ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 825

อนาปัตติวาร

[๗๕๐] เข้าไปสู่บ้านเพราะมีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น ๑ อำลาภิกษุที่

มีอยู่แล้วเข้าไป ๑ ภิกษุไม่มี ไม่อำลา เข้าไป ๑ ไปสู่อารามอื่น ๑ ภิกษุไป

สู่สำนักภิกษุณี ๑ ภิกษุณีไปสู่สำนักเดียรถีย์ ๑ ไปสู่โรงฉัน ๑ เดินไปตามทาง

อันผ่านบ้าน ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

วิกาเลคามัปปเวสนสิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-

[ว่าด้วยการบอกลาก่อนเข้าบ้านในเวลาวิกาล]

บทว่า ติรจฺฉานกถ ได้แก่ ถ้อยคำเป็นเหตุขัดขวางต่ออริยมรรค.

บทว่า ราชกถ ได้แก่ ถ้อยคำอันเกี่ยวด้วยพระราชา. แม้ในโจร-

กถาเป็น ต้นก็นัยนี้เหมือนกัน . คำที่ควรกล่าวในคำว่า สนฺต ภิกขุ นี้ มี

นัยดังกล่าวแล้วในจาริตตสิกขาบทนั่นแล.

ถ้าว่า ภิกษุมากรูปด้วยกัน จะเข้าไปยังบ้านด้วยการงานบางอย่าง, เธอ

ทุกรูปพึงบอกลากันและกันว่า วิกาเล คามปฺปเวสน อาปุจฺฉาม แปลว่า

พวกเราบอกลาการเข้าบ้านในเวลาวิกาล. การงานนั้นในบ้านนั้นยังไม่สำเร็จ

เหตุนั้น ภิกษุจะไปสู่บ้านอื่น แม้ตั้งร้อยบ้านก็ตามที, ไม่มีกิจที่จะต้องบอกลา

อีก. ก็ถ้าว่า ภิกษุระงับความตั้งใจแล้ว กำลังกลับไปยังวิหาร ใคร่จะไปสู่

บ้านอื่นในระหว่างทางต้องบอกลาเหมือนกัน. ทำภัตกิจในเรือนแห่งสกุลก็ดี ที่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 826

โรงฉันก็ดี แล้วใคร่จะเที่ยวภิกษาน้ำมัน หรือภิกษาเนยใส. ก็ถ้ามีภิกษุอยู่

ใกล้ ๆ พึงบอกลาก่อนแล้วจึงไป. เมื่อไม่มี พึงไปด้วยใส่ใจว่า ภิกษุไม่มี

ย่างลงสู่ทางแล้วจึงเห็นภิกษุ ไม่มีกิจที่จะต้องบอกลา แม้ไม่บอกลาก็ควรเที่ยว

ไปได้เหมือนกัน. มีทางผ่านไปท่ามกลางบ้าน เมื่อภิกษุเดินไปตามทางนั้น

เกิดความคิดขึ้นว่า เราจักเที่ยวภิกษาน้ำมันเป็นต้น ถ้ามีภิกษุอยู่ใกล้ ๆ พึง

บอกลาก่อนจึงไป. แต่เมื่อใม่แวะออกกจากทางเดินไปไม่มีกิจจำเป็นต้องบอก

ลา. บัณฑิตพึงทราบอุปจารแห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม โดยนัยดังกล่าวแล้วใน

อทินนาทานสิกขาบทนั่นแล.

ในคำว่า อนฺตราราม เป็นต้น ไม่ใช่แต่ไม่บอกลาอย่างเดียว, แม้

ภิกษุไม่คาดประคดเอว ไม่ห่มสังฆาฏิไป ก็ไม่เป็นอาบัติ.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า สีหะก็ดี เสือก็ดี กำลังมา, เมฆตั้ง

เค้าขึ้นก็ดี อุปัทวะไร ๆ อย่างอื่นเกิดขึ้นก็ดี ไม่เป็นอาบัติ. ในอันตรายเห็น

ปานนี้ จะไปยังภายในบ้านจากภายนอกบ้าน ควรอยู่. คำที่เหลือในสิกขาบท

นี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑

ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยา ทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม จีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

วิกาเลคามัปปเวสนสิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 827

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๗๕๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโคร-

ธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น ช่างงาคนหนึ่งปวารณา

ต่อภิกษุทั้งหลายไว้ว่า พระคุณเจ้าเหล่าใดต้องการกล่องเข็ม กระผมจะจัดกล่อง

เข็มมาถวาย จึงภิกษุทั้งหลายขอกล่องเข็มเขาเป็นจำนวนมาก ภิกษุมีกล่องเข็ม

ขนาดย่อม ก็ยังขอกล่องเข็มชนิดเขื่อง ภิกษุมีกล่องเข็มขนาดเขื่อง ก็ยังขอ

กล่องเข็มขนาดย่อม ช่างงามัวทำกล่องเข็มเป็นจำนวนมากมาถวายภิกษุทั้งหลาย

อยู่ ไม่สามารถทำของอย่างอื่นไว้สำหรับขายได้ แม้ตนเองจะประกอบอาชีพก็

ไม่สะดวก แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก.

ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเธอ

สายพระศากยบุตรทั้งหลายจึงได้ไม่รู้จักประมาณ พากันขอกล่องเข็มมาเป็น

จำนวนมาก ช่างงานี้มัวทำกล่องเข็มเป็นจำนวนมากมาถวายพระเหล่านี้อยู่. จึง

ไม่เป็นอันทำของอย่างอื่นขายได้ แม้ตนเองจะประกอบอาชีพก็ไม่สะดวก แม้

บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้ไม่รู้จักประมาณ พากันขอกล่องเข็มเขา

มาเป็นจำนวนมากเล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย ข่าวว่า พวกเธอไม่รู้จักประมาณ พากันขอกล่องเข็มเขามากมาย จริงหรือ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 828

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุ

โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ไม่รู้จักประมาณ พากันขอกล่องเข็มเขามามากมายเล่า

การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่

ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง อย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๓๕. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำกล่องเข็ม แล้วด้วยกระดูกก็ดี

แล้วด้วยงาก็ดี แล้วด้วยเขาก็ดี เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ต่อยเสีย.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๕๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า กระดูก ได้แก่ กระดูกสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า งา ได้แก่ สิ่งที่เรียกกัน ว่างาช้าง.

ที่ชื่อว่า เขา ได้แก่ เขาสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง.

บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นให้ทำก็ดี เป็นทุกกฏในประโยค

เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้กล่องเข็มมา ต้องต่อยให้แตกก่อน จึงแสดงอาบัติตก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 829

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๕๓] กล่องเข็ม ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ

กล่องเข็ม ตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

กล่องเข็ม ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้ผู้อื่นให้ทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

กล่องเข็ม ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้ผู้อื่นให้ทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

ทุกกะทุกกฏ

ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุได้กล่องเข็มอันคนอื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๕๔] ทำลูกดุม ๑ ทำตะบันไฟ ๑ ทำลูกถวิน ๑ ทำกลักยาคา ๑

ทำไม้ป้ายยาตา ๑ ทำฝักมีด ๑ ทำธมกรก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ-

กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๔

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 830

สูจิฆรสิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-

การต่อยนั่นแหละ ชื่อ เภทนกะ. เภทนกะนั้น มีอยู่แก่ปาจิตตีย์นั้น ;

เพราะเหตุนั้น ปาจิตตีย์นั้น จึงชื่อว่า เภทนกะ.

บทว่า อรณิเก ได้แก่ แม่ตะบันไฟและลูกตะบันไฟ.

บทว่า วีเถ แปลว่า ลูกถวิน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น .

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ

ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้ แล

สูจิฆรสิกขาบทที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 831

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๗๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารานของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน

พระอุปนันทศากยบุตรกำลังนอนอยู่บนเตียงนอนอันสูง. พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จจาริกตามเสนาสนะ พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก ผ่านเข้าไปทางที่อยู่ของ

ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ๆ ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกลเทียว

ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรเตียงนอนของข้าพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าข้า.

จึงพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับจากที่นั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทราบโมฆบุรุษเพราะที่อยู่อาศัย ครั้นแล้ว

ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยาย ...แล้วรับสั่งกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๖. ๕. อนึ่ง ภิกษุ ภิกษุผู้ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ใหม่ พึงทำ

ให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ เธอทำ

ให่ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.

เรื่องอุปนันทศากยบุตร จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 832

สิกขาบทวิภังค์

[๗๕๖] ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายถึงการทำขึ้น.

ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่เตียง ๔ ชนิด คือ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าใน

ขา ๑ เตียงมีแม่แคร่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ เตียงมีขาดังก้ามปู ๑

เตียงมีขาจรดแม่แคร่ ๑.

ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ตั่ง ชนิด คือ ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑

ตั่งมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ ตั่งมีขาดังก้ามปู ๑ ตั่งมีขาจรด

แม่แคร่ ๑.

บทว่า ผู้ทำให้ คือ ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี.

คำว่า พึงทำให้มีแท้เพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่

แม่แคร่เบื้องต่ำ คือ ยกเว้นแม่แคร่เบื้องต่ำ.

ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เกินประมาณนั้น เป็นทุกกฏในประโยค

เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้เตียงตั่งนั้นมา ต้องตัดให้ได้ประมาณก่อน จึงแสดง

อาบัติตก.

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๕๗] เตียงตั่ง คนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

เตียงตั่ง ตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เตียงตั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ คนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เตียงตั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 833

ทุกะทุกกฏ

ภิกษุทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

ภิกษุได้เตียงตั่งที่คนอื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๕๘] ทำเตียงตั่งได้ประมาณ ๑ ทำเตียงตั่งหย่อนกว่าประมาณ ๑

ได้เตียงตั่งที่ผู้อื่นทำเกินประมาณมาตัดเสียก่อนแล้ว ใช้สอย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

มัญจสิกขาบทที่ ๕

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้ :-

ปาจิตตีย์ที่ชื่อว่า เฉทนกะ มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.

ในคำว่า ฉินฺทิตฺวา ปริภุญฺชติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าภิกษุ

ไม่ประสงค์จะตัด จะฝังลงในพื้นดินแสดงประมาณไว้ข้างบน หรือถมพื้นดิน

ให้สูงขึ้นแล้วใช้สอย หรือจะยกขึ้นวางบนคานกระทำให้เป็นแคร่ใช้สอย ควร

ทุกอย่าง. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖.

มัญจสิกขาบทที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 834

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๕๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระฉัพพัคคีย์ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่น พวกชาวบ้านเที่ยวไปทาง

วิหารเห็นเข้าแล้ว ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่น เหมือนพวก

คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ทำเทียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่นเล่า...

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่น จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่นเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น

ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส

ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 835

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๓๗. ๖. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี เป็นของ

หุ้มนุ่น เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้รื้อเสีย.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๖๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่เตียง ๔ ชนิด คือ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าใน

ขา ๑ เตียงมีแม่แคร่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ เตียงมีขาดังก้ามปู ๑

เตียงมีขาจรดแม่แคร่ ๑.

ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ตั่ง ๔ ชนิด คือ ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑

ตั่งมีแม่แคร่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ ตั่งมีขาดังก้ามปู ๑ ตั่งมีขาจรด

แม่แคร่ ๑.

ที่ชื่อว่า นุ่น ได้แก่นุ่น ๓ ชนิด คือ นุ่นเกิดจากต้นไม้ ๑ นุ่นเกิด

จากเถาวัลย์ ๑ นุ่นเกิดจากดอกหญ้าเลา ๑.

บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เป็นทุกกฏในประโยค

เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้ของมา ต้องรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 836

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๖๑] เตียงตั่งคนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เตียงตั่งตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เตียงตั่งคนอื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เตียงตั่งคนอื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ได้เตียงตั่งอันคนอื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๖๒] ทำสายรัดเข่า ๑ ทำประคดเอว ๑ ทำสายโยกบาตร ๑ ทำ

ถุงบาตร ๑ ทำผ้ากรองน้ำ ๑ ทำหมอน ๑ ได้เตียงตั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมา

ทำลายก่อนใช้สอย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

ตูโลนัทธสิกขาบทที่ ๖

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-

เตียงและตั่งที่ชื่อว่าหุ้มนุ่น เพราะอรรถว่า เป็นที่มีนุ่นถูกหุ้มไว้. มี

คำอธิบายว่า ภิกษุยัดนุ่นแล้วหุ้มด้วยผ้าลาดพื้นข้างบน. คำที่เหลือในสิกขาบท

นี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖.

ตูโลนันธสิกขาบทที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 837

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๖๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่งแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว พระฉัพพัคคีย์ทราบ

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่งแล้ว จึงใช้ผ้าสำหรับนั่งไม่มี

ประมาณ ให้ห้อยลงข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง แห่งเตียงบ้าง แห่งตั่งบ้าง

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน

พระฉัพพัคคีย์จึงได้ใช้ผ้าสำหรับนั่งไม่มีประมาณเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอใช้ผ้าสำหรับนั่งไม่มีประมาณ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ใช้ผ้าปูนั่งไม่มีประมาณเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็น

ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ

ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 838

พระบัญญัติ

๑๓๘. ๗. ก. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่ง ต้องให้ทำ

ให้ได้ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบ

ครึ่ง ด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ที่ให้

ตัดเสีย.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระอุทายี

[๗๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุทายีเป็นผู้มีร่างกายใหญ่ ท่าน

ปูผ้าสำหรับนั่งลงตรงเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งดึงออกอยู่โดย

รอบ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระอุทายีในขณะนั้นว่า ดูก่อนอุทายี

เพราะเหตุไร เธอปูผ้าสำหรับนั่งแล้ว จึงดึงออกโดยรอบ เหมือนช่างหนังเก่า.

ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า จริงดั่งพระดำรัส พระพุทธเจ้าข้า เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่ง แก่ภิกษุทั้งหลายเล็กเกินไป.

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตชายแห่งผ้าสำหรับนั่งเพิ่มอีกคืบหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 839

พระอนุบัญญัติ

๑๓๘. ๗. ข. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่ง พึงให้ทำให้

ได้ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบครึ่ง

ชายคืบหนึ่ง ด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไปเป็นปาจิตตีย์

ที่ให้ตัดเสีย.

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๖๕] ที่ชื่อว่า ผ้าสำหรับนั่ง ได้แก่ผ้าที่เขาเรียกกันว่าผ้ามีชาย.

บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องให้ทำให้ได้

ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง

ด้วยคืบสุคต ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ให้เกินประมาณนั้นไป เป็นทุกกฏ

ในประโยค เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้ผ้าสำหรับนั่งนั้นมา พึงตัดก่อนจึงแสดงอาบัติ

ตก.

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๖๖] ผ้าสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

ผ้าสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ให้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

ผ้าสำหรับนั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 840

ผ้าสำหรับนั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ให้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ได้ผ้าสำหรับนั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๖๗] ภิกษุทำผ้าสำหรับนั่งได้ประมาณ ๑ ทำผ้าสำหรับนั่งหย่อน

กว่าประมาณ ๑ ได้ผ้าสำหรับนั่ง ที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วเกินประมาณมาตัดเสีย

แล้วใช้สอย ๑ ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูพื้นก็ดี ทำเป็นม่านก็ดี

ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ-

กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

นิสีทนสิกขาบทที่ ๗

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า นิสีทน อนุญฺาต โหติ มีความว่า นิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง )

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ณ ที่ไหน ? (ทรงอนุญาตไว้) ในเรื่อง

ปณีตโภชนะ ในจีวรขันธกะ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในจีวร.

ขันธกะนั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตผ้านิสีทนะ เพื่อรักษากาย

เพื่อรักษาจีวร เพื่อรักษาเสนาสนะ * ดังนี้ .

* วิ. มหาวคฺค ๕/๒๑๖.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 841

สองบทว่า เสยฺยถาปิ ปุราณสิโกฏฺโ มีความว่า เปรียบเหมือน

นายช่างหนังเก่า. เหมือนอย่างว่า นายช่างทำหนังเก่าดึงออก คือ รีดออก

ทางโน้นทางนี้ ด้วยคิดว่า เราจักทำหนังให้ขยายออก ฉันใด, แม้พระอุทายี

นั้น ก็ดึงผ้านิสีทนะนั้นออกฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะ

พระอุทายีนั้นอย่างนี้.

ข้อว่า นิสีทนนฺนาม สทส วุจฺจติ มีความว่า ภิกษุปูผ้าเช่นกับ

สันถัตลงแล้ว ผ่าที่ ๒ แห่งในเนื้อที่ประมาณคืบ ๑ โดยคืบพระสุคตที่ชาย

ด้านหนึ่งให้เป็น ๓ ชาย, นิสีทนะนั้นเรียกกันว่าผ้ามีชายด้วยชายเหล่านั้น. คำ

ที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฎฐาน ๖.

นิสีทนสิกขาบทที่ ๗

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 842

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๖๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าปิดฝีแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าปิดฝีแล้ว จึงใช้ผ้าปิดฝีไม่มีประมาณ ปล่อย

เลื้อยไปข้างหน้าข้างหลังบ้างเที่ยวไป บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . ต่างก็

เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ใช้ผ้าปิดฝีไม่มีประมาณ

เล่า. . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอใช้ผ้าปิดฝีไม่มีประมาณ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ใช้ผ้าปิดฝีไม่มีประมาณเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไป

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชน

ที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 843

พระบัญญัติ

๑๓๙. ๘. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าปิดฝี พึงให้ทำให้ได้ประมาณ

นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบสุคต

เธอให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๖๙] ที่ชื่อว่า ผ้าปิดฝี ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตแก่ภิกษุอาพาธ

เป็นฝีเป็นสุกใส เป็นโรคอันมีน้ำหนองน้ำเหลืองเปรอะเปื้อน หรือเป็นฝีดาษ

ที่ใต้สะดือลงไป เหนือหัวเข่าขึ้นมา เพื่อจะได้ใช้ปิดแผล.

บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องให้ทำให้ได้

ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น คือ โดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ ด้วย

คืบสุคต.

ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ล่วงประมาณนั้นไป เป็นทุกกฏในประโยค

เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้ผ้านั้นมา พึงตัดเสีย แล้วจึงแสดงอาบัติตก.

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๗๐] ผ้าปิดฝี ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

ผ้าปิดฝี คนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 844

ผ้าปิดฝี ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ผ้าปิดฝี ผู้อื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุได้ผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อานาปัตติวาร

[๗๗๑] ทำผ้าปิดฝีได้ประมาณ ๑ ทำผ้าปิดฝีให้หย่อนกว่าประมาณ ๑

ได้ผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำไว้เกินประมาณมาตัดแล้วใช้สอย ๑ ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี

ทำเป็นผ้าปูพื้นก็ดี ทำเป็นผ้าม่านก็ดี ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอน

ก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

กัณฑุปฏิจฉาที สิกขาบทที่ ๘

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า กณฺฑุปฏิจฺฉาที อนุญฺาตา โหติ มีความว่า ผ้าปิดฝี

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ในที่ไหน ? (ทรงอนุญาตไว้) ในเรื่องพระ-

เวฬัฏฐสีสะในจีวรขันธกะ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นั้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปิดฝีแก่ภิกษุผู้มีอาพาธเป็นฝีก็ดี เป็น

สุกใสก็ดี เป็นโรคอันมีน้ำหนองน้ำเหลืองเปรอะเปื้อนก็ดี เป็นลำลาบเพลิงก็ดี

ดังนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 845

คำว่า ยสฺส อโธนาภิ อพฺภชานุมณฺฑล ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาต

แก่ภิกษุผู้เป็นอาพาธที่ภายใต้สะดือลงไป เหนือมณฑลเข่าทั้ง ๒ ขึ้นมา. หิด

เปื่อย ชื่อว่า กัณฑุ. ต่อเม็ดเล็ก ๆ มีเมล็ดโลหิต ชื่อว่า ปีฬกา. น้ำเหลือง

ไม่สะอาดไหลออกด้วยอำนาจริดสีดวงทวารบานทะโรค และเบาหวานเป็นต้น

ชื่อว่า โรคน้ำเหลือเสีย. อาพาธเป็นเม็ดยอดใหญ่ ท่านเรียกว่า เป็นลำลาบ

เพลิง. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖.

กัณฑุปฏิจฉาทีสิกขาบทที่ ๘ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 846

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว พระฉัพพัคคีย์ทราบ

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว จึงใช้ผ้า

อาบน้ำฝนไม่มีประมาณ ปล่อยเลื้อยลงข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง เที่ยวไป

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน

พระฉัพพัคคีย์จึงได้นุ่งผ้าอาบน้ำฝนไม่มีประมาณเล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่มีประมาณ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉน พวก

เธอจึงใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่มีประมาณเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ

ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่

เลื่อมใสแล้ว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 847

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๔๐. ๙. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำฝน พึงให้ทำให้ได้

ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๖ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ

ครึ่งด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้น เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้

ตัดเสีย.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๗๓] ที่ชื่อว่า ผ้าอาบน้ำฝน ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้

สี่เดือนแห่งฤดูฝน.

บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องให้ทำให้ได้

ประมาณ นี้ประมานในคำนั้น คือ โดยยาว ๖ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบครึ่ง ด้วย

คืบสุคต.

ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ให้ล่วงประมาณนั้น ไป เป็นทุกกฏใน

ประโยคเป็นปาจิตตีย์ ด้วยได้ผ้านั้นมา พึงตัดเสีย แล้วจึงแสดงอาบัติตก.

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๗๔] ผ้าอาบน้ำฝน ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์.

ผ้าอาบน้ำฝน ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 848

ผ้าอาบน้ำฝน ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุได้ผ้าอาบน้ำฝนที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๗๕] ทำผ้าอาบน้ำฝนได้ประมาณ ๑ ทำผ้าอาบน้ำฝนหย่อนกว่า

ประมาณ ๑ ได้ผ้าอาบน้ำฝนที่ผู้อื่นทำเกินประมาณมาตัดแล้วใช้สอย ๑ ทำเป็น

ผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูที่นอน ทำเป็นผ้าม่านก็ดี ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี

ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

วัสสิกสาฏิก สิกขาบทที่ ๙

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้.

คำว่า วสฺสิกสาฏิกา อนุญฺาตา โหติ มีความว่า ผ้าอาบน้ำฝน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ในที่ไหน ? ทรงอนุญาตไว้ในเรื่องนางวิสาขา

ในจีวรขันธกะ. สมจริงดังที่ตรัสไว้ในจีวรขันธกะนั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !

เราอนุญาตผ้าอาบน้ำฝน ดังนี้. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบท

นี้ มีสมุฎฐาน ๖.

วัสสิกสาฏกสิกขาบทที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 849

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระนันทะ

[๗๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน

พระนันทะโอรสพระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ทรงโฉมเป็นที่ต้อง

ตาต้องใจ ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ๔ องคุลี ท่านทรงจีวรพระสุคต ภิกษุ

เถระได้เห็นท่านพระนันทะมาแต่ไกล ครั้นแล้วลุกจากอาสนะสำคัญว่าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จมา ท่านพระนันทะเข้ามาใกล้จึงจำได้ แล้วเพ่งโทษติเตียน

โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระนันทะจึงได้ทรงจีวรเท่าจีวรของพระสุคตเล่า. . .

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระนันทะว่า ดูก่อนนันทะ ข่าว

ว่า เธอทรงจีวรเท่าจีวรสุคต จริงหรือ

ท่านพระนันทะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนนันทะ ไฉนเธอจึง

ได้ทรงจีวรเท่าจีวรของสุคตเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ

เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุนชนที่เลื่อม

ใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 850

พระบัญญัติ

๑๔๑. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำจีวรมีประมาณเท่าสุคตจีวรหรือ

ยิ่งกว่า เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของ

พระสุคตในคำนั้น โดยยาว ๙ คืบ โดยกว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต นี้

ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคต.

เรื่องพระนันทะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๗๗] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

ที่ชื่อว่า มีประมาณเท่าสุคตจีวร คือ โดยยาว ๙ คืบ โดยกว้าง

๖ คืบ ด้วยคืบสุคต.

บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เป็นทุกกฏในประโยค

เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้จีวรมา พึงตัดเสีย แล้วจึงแสดงอาบัติตก.

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๗๘] จีวรตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 851

ทุกะทุกกฏ

ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

ได้จีวรที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๗๙] ทำจีวรหย่อนกว่าประมาณ ๑ ได้จีวรที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมา

ตัดเสียแล้วใช้สอย ๑ ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูพื้นก็ดี ทำเป็นผ้าม่าน

ก็ดี ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๙ จบ

บทสรุป

[๗๘๐] ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายก

ขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรมคือ ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขา-

บทนั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่าน

ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลาย

เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒

สิกขาบทนี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ .

ปาจิตติยกัณฑ์ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 852

นันทเถรสิกขาบทที่ ๑๐

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า จตุรงฺคุโลมโก คือ มีขนาดต่ำกว่า ๔ นิ้ว (พระนันทะมี

ขนาดต่ำกว่าพระศาสดา ๔ นิ้ว). คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบท

นี้ มีสมุฏฐาน ๖.

นันทเถรสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ราชวรรคที่ ๙ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม

คำว่า อุทฺทิฏฺา โข เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

ขุททกวรรณนาในอรรถกถาพระวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบบริบูรณ์

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. อันเตปุรสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าสู่พระราชฐาน

๒. รตนสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บรตนะ

๓. วิกาเลคามปเวสนสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าบ้านในเวลาวิกาล

๔. สูจิฆรสิกขาบท ว่าด้วยการทำกล่องเข็ม

๕. มัญจสิกขาบท ว่าด้วยเตียงตั่งเกินประมาณ

๖. ตูโลนัทธสิกขาบท ว่าด้วยเตียงตั่งยัดนุ่น

๗. นิสีทนสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าสำหรับนั่ง

๘. กัณฑุปฏิจฉาทีสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี

๙. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าอาบน้ำฝน

๑๐. สุคตจีวรสิกขาบท ว่าด้วยการทำจีวรเท่าสุคตจีวร

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 853

ปาฏิเทสนียกัณฑ์

ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง

[๗๘๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง

เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี เวลากลับ พบภิกษุรูปหนึ่งแล้วได้กล่าว

คำนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า นิมนต์พระคุณเจ้าโปรดรับภิกษา ภิกษุนั้นกล่าวว่า

ดีล่ะ น้องหญิง แล้วได้รับภิกษาไปทั้งหมด ครั้นเวลาเที่ยงใกล้เข้าไป ภิกษุณี

นั้นไม่อาจไปเที่ยวบิณฑบาตได้ จึงอดอาหาร ครั้นต่อมาวันที่ ๒...ย่อมาวัน

ที่ ๓ ภิกษุณีนั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เวลากลับพบภิกษุรูป

นั้นแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า นิมนต์พระคุณเจ้าโปรดรับภิกษา

ภิกษุนั้น กล่าวว่า ดีละ น้องหญิง แล้วรับภิกษาไปทั้งหมด ครั้นเวลาเที่ยงใกล้

เข้าไป ภิกษุณีนั้นไม่อาจไปเที่ยวบิณฑบาตได้ จึงอดอาหาร ครั้นต่อมาวันที่

๔ ภิกษุณีนั้นเดินซวนเซไปตามถนน เศรษฐีคหบดีขึ้นรถสวนทางมา ได้กล่าว

คำนี้กะภิกษุณีนั้นว่า นิมนต์หลีกไปหน่อยแม่เจ้า ภิกษุณีนั้นหลีกหลบล้มลงในที่

นั่นเอง เศรษฐีคหบดีได้ขอขมาโทษภิกษุณีนั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านโปรด

อดโทษแก่ข้าพเจ้าที่ทำให้ท่านล้มลง เจ้าข้า

ภิกษุณีตอบว่า ดูก่อนคหบดี ท่านไม่ได้ทำให้ฉันล้ม ฉันเองต่างหาก

ที่มีกำลังน้อย

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 854

เศรษฐีคหบดีถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า ก็เพราะเหตุไรเล่า แม่เจ้าจึงมี

กำลังน้อย จึงภิกษุณีนั้นได้แจ้งเรื่องนั้นให้เศรษฐีคหบดีทราบ เศรษฐีคหบดีจึง

นำภิกษุณีนั้นไปให้ฉันที่เรือน แล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ

คุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย จึงได้รับอามิสจากมือภิกษุณีเล่า เพราะมาตุคามมีลาภ

อัตคัด ภิกษุทั้งหลายได้ยินเศรษฐีคหบดีเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่

บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึง

ได้รับอามิสจากมือภิกษุณีเล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า

เธอรับอามิส จากมือภิกษุณี จริงหรือ

ภิกษุรูปนั้น ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุณีนั้นเป็นญาติของเธอหรือมิใช่ญาติ

ภิ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ภิกษุผู้มี

ใช่ญาติย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควรหรือไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มี ของ

ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ไฉนเธอจึงได้รับอามิสจากมือภิกษุณีผู้มีใช่ญาติเล่า การกระ

ทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 855

พระบัญญัติ

๑๔๒. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วย

มือของตน จากมือของภิกษุณี ผู้มิใช่ญาติ ผู้เข้าไปแล้วสู่ละแวกบ้าน

แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี อันภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แนะเธอ ฉันต้อง

ธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๘๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกันทางมารดาก็ดี ทาง

บิดาก็ดี ตลอดเจ็ดชั่วบุรพชนก.

ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์สองฝ่าย.

ที่ชื่อว่า ละแวกบ้าน ได้แก่ ถนน ตรอกตัน ทางสามแยก เรือน

ตระกูล.

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกโภชนะทั้งห้า ยามกาลิก สัตตาหกาลิก

และยาวชีวิก นอกจากนี้ชื่อว่าของเคี้ยว.

ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะทั้งห้า คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑

ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑.

ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยหมายใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ

กลืน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 856

บทภาชนีย์

ติกปาฏิเทสนียะ

ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉัน

ก็ดี ด้วยมือของตน จากมือของภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ผู้เข้าไปแล้วสู่ละแวกบ้าน

แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสงสัยอยู่ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วย

มือของตนจากมือของภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ผู้เข้าไปแล้วสู่ละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวก็ดี

ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ.

ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉัน

ก็ดี ด้วยมือของตน จากมือของภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ. ผู้เข้าไปแล้วสู่ละแวกบ้าน

แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ.

จตุกทุกกฏ

ภิกษุรับของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อทำเป็น

อาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ กลืน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน.

ภิกษุรับ . . . จากมือของภิกษุณีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว ด้วย

ตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำ

กลืน.

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัยอยู่ . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ. . .ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 857

อนาปัตติวาร

[๗๘๓] ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ๑ ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติสั่งให้ถวาย มิได้

ถวายเอง ๑ เก็บวางไว้ถวาย ๑ ถวายในอาราม ๑ ในสำนักภิกษุณี ๑ ใน

สำนักเดียรถีย์ ๑ ในโรงฉัน ๑ นำออกจากบ้านแล้วถวาย ๑ ถวายยามกาลิก

สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ด้วยคำว่า เมื่อปัจจัยมีอยู่ นิมนต์ฉันได้ ๑ สิกขมานา

ถวาย ๑ สามเณรีถวาย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑ จบ

ปาฏิเทสนียกัณฑวรรณนา

ปาฏิเทสนียธรรมเหล่าใดที่พระธรรม

สังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ตั้งไว้ในลำดับพวก

ขุททกสิกขาบท บัดนี้จะมีการวรรณนาปาฏิ-

เทสนียธรรมเหล่านั้นดังต่อไปนี้.

พึงทราบวินิจฉัย ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ ก่อน :-

[ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ]

บทว่า ปฏิกฺกมนกาเล คือ ในเวลาเป็นที่เที่ยวบิณฑบาตแล้วกลับมา.

สองบทว่า สพฺเพว อคฺคเหสิ คือ ได้รับเอาภิกษาไปทั้งหมด.

บทว่า ปเวเธนฺตี แปลว่า เดินซวนเซอยู่.

บทว่า อเปหิ แปลว่า จงถอยไป. อธิบายว่า ท่านยังไม่ให้โอกาส.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 858

คำว่า คารยฺห อาวุโส เป็นต้น เป็นคำแสดงอาการที่ภิกษุพึง

แสดงคืน.

บทว่า รถิกา แปลว่า ถนน.

บทว่า พฺยูห ได้แก่ ตรอกตันไม่ทะลุถึงกัน ไปถึงแล้วต้องย้อน

กลับมา.

บทว่า สิงฺฆาฏก ได้แก่ ที่ชุมทาง ๔ แยก หรือ ๓ แยก.

บทว่า ฆร ได้แก่ เรือนแห่งสกุล.

บรรดาสถานที่ มีถนนเป็นต้นเหล่านี้ ภิกษุยืนรับในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง

เป็นทุกกฏ เพราะรับ. เป็นปาฏิเทสนียะ โดยการนับคำกลืน. แม้สำหรับภิกษุ

ผู้รับในสถานที่มีโรงช้างเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ภิกษุณียืนถวายที่ถนน,

ภิกษุยืนรับในละแวกวัดเป็นต้น เป็นอาบัติเหมือนกัน.

ก็บัณฑิตพึงทราบอาบัติในปาฎิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ นี้ ด้วยอำนาจ

แห่งนางภิกษุณีผู้ยืนถวายในละแวกบ้าน โดยพระบาลีว่า อนฺตรฆร ปวิฏฺฐาย

ดังนี้. ก็ที่ซึ่งภิกษุยืนอยู่ไม่เป็นประมาณ. เพราะเหตุนั้น ถ้าแม้นว่า ภิกษุยืน

ในถนนเป็นต้น รับจากนางภิกษุณีผู้ถวายในละแวกวัดเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติแล

คำว่า ภิกษุรับประเคน ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวก เพื่อ

ประโยชน์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ. ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอากาลิกที่ไม่ได้ระคนกับอามิส. แต่ในกาลิกที่

ระคนกัน มีรสเป็นอันเดียวกัน เป็นปาฏิเทสนียะเหมือนกัน.

สองบทว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย ได้แก่ ภิกษุณีผ้อุปสมบทใน

สำนักแห่งภิกษุณีทั้งหลาย. แต่ภิกษุผู้รับจากมือแห่งภิกษุณี ผู้อุปสมบทใน

สำนักแห่งภิกษุทั้งหลาย เป็นปาฏิเทสนียะตามสมควรแก่วัตถุทีเดียว.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 859

สองบทว่า ทาเปติ น เทติ มีความว่า ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติใช้ผู้อื่น

บางคนให้ถวาย, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับขาทนียโภชนียะนั้น.

สองบทว่า อุปกฺขิปิตฺวา เทติ มีความว่า ภิกษุณีวางบนพื้นแล้ว

ถวายว่า พระคุณเจ้า ! ดิฉันถวายขาทนียโภชนียะนี้แก่ท่าน. ภิกษุรับของที่

ภิกษุณีถวายอย่างนี้ พร้อมกับกล่าวว่า ขอบใจนะน้องหญิง แล้วให้ภิกษุณีนั้น

นั่นเอง หรือใช้ผู้อื่นบางคนรับประเคนแล้วฉัน ควรอยู่.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุณีถือเอาอามิสในบาตรที่อยู่ใน

มือ ถวายว่า ดิฉันสละถวายท่าน ภิกษุรับประเคนอามิสที่ภิกษุณีถือไว้ด้วย

กล่าวว่า น้องหญิง ! เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับ.

สองบทว่า สิกฺขมานาย สามเณริยา มีความว่า เมื่อสิกขมานาและ

สามเณรีเหล่านี้ถวาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับ. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้น

ทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์

อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 860

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์

[๗๘๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เวพุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันในสกุล มีภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์มายืน

บงการให้เขาถวายของแก่พระฉัพพัคคีย์ว่า จงถวายแกงที่ท่านองค์นี้ จงถวาย

ข้าวที่ท่านองค์นี้ พวกพระฉัพพัคคีย์ได้ฉันตามความต้องการ ภิกษุเหล่าอื่นฉัน

ไม่ได้ดังจิตประสงค์ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโพนทะนาว่า

ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงไม่ห้ามปรามภิกษุณี ฉัพพัคคีย์ผู้บงการเล่า . . .แล้วกราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอไม่ห้ามปรามภิกษุณีทั้งหลายผู้บงการอยู่ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงไม่ห้ามปรามภิกษุณีผู้บงการอยู่เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่

เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 861

พระบัญญัติ

๑๔๓. ๒. อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันในสกุล ถ้าภิกษุณี

มายืนสั่งเสียอยู่ในที่นั้นว่า จงถวายแกงในองค์นี้ จงถวายข้าวในองค์นี้

ภิกษุทั้งหลายนั้นพึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไป

เสีย ตลอดเวลาภิกษุฉันอยู่ ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งไม่กล่าวออกไป เพื่อ

จะรุกรานภิกษุณีว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสีย ตลอดเวลาที่ภิกษุ

ฉันอยู่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ พวกฉันต้องธรรมที่

น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน พวกฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๘๕] คำว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันอยู่ในสกุล

ความว่า ที่ชื่อว่าสกุล ได้แก่ตระกูล ๔ คือ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์

ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร.

คำว่า รับนิมนต์ฉันอยู่ คือ รับนิมนต์ฉันโภชนะทั้งห้า อย่างใด

อย่างหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์สองฝ่าย.

ที่ชื่อว่า ผู้สั่งเสียอยู่ คือ บงการว่า จงถวายแกงในองค์นี้ จง

ถวายข้าวในองค์นี้ ดังนี้ ตามความที่เป็นมิตรกัน เป็นเพื่อนร่วมเห็นกัน เป็น

เพื่อนร่วมคบกัน เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์กัน เป็นผู้ร่วมอาจารย์กัน นี้ชื่อว่า ผู้

สั่งเสียอยู่.

คำว่า อันภิกษุทั้งหลายนั้น ได้แก่ ภิกษุที่ฉันอยู่.

คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้สั่งเสียนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 862

ภิกษุทั้งหลายนั้น พึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไป

จนกว่า ภิกษุทั้งหลายจะฉันเสร็จ ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งไม่รุกราน รับด้วยหวัง

ว่าจักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำ

กลืน.

บทภาชนีย์

ติกปาฏิเทสนียะ

[๗๘๖] ภิกษุณีผู้อุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุสำคัญว่าภิกษุณีผู้อุปสัมบัน

ไม่ห้ามปราม ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ.

ภิกษุณีผู้อุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุมีความสงสัย ไม่ห้ามปราม ต้อง

อาบัติปาฏิเทสนียะ.

ภิกษุณีผู้อุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุณีอนุปสัมบัน ไม่

ห้ามปราม ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

ติกทุกกฏ

สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียวสั่งเสียอยู่ ภิกษุไม่ห้ามปราม ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีผู้เป็นอนุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุณีผู้อุปสัมบัน

ไม่ห้ามปราม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีผู้เป็นอนุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุมีความสงสัย ไม่ห้ามปราม

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ภิกษุณีผู้เป็นอนุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุณีผู้อนุป-

สัมบัน ไม่ห้ามปราม ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 863

อนาปัตติวาร

[๗๘๗] ภิกษุณีสั่งให้ถวายภัตตาหารของตน มิได้ถวายเอง ๑ ถวาย

ภัตตาหารของผู้อื่น มิได้สั่งให้ถวาย ๑ สั่งให้ถวายภัตตาหารที่เขาไม่ได้ถวาย ๑

สั่งให้เขาถวายในภิกษุที่เขาไม่ได้ถวาย ๑ สั่งให้ถวายเท่า ๆ กันแก่ภิกษุทุกรูป ๑

สิกขมานาสั่งเสีย ๑ สามเณรีสั่งเสีย ๑ เว้นโภชนะห้า อาหารทุกอย่างไม่เป็น

อาบัติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒ จบ

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-

คำว่า อปสกฺก ตาว ภคินิ เป็นต้น เป็นคำแสดงอาการที่ภิกษุ

พึงรุกราน.

ในคำว่า อตฺตโน ภตฺต ทาเปติ น เทติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-

ถ้าแม้นว่า ภิกษุณีถวายภัตของตนเอง ไม่เป็นอาบัติโดยสิกขาบทนี้เลย เป็น

อาบัติโดยสิกขาบทก่อน.

ก็ในคำว่า อญฺสฺส ภตฺต เทติ น ทาเปติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-

ถ้าภิกษุณีใช้ให้ถวาย พึงเป็นอาบัติโดยสิกขาบทนี้, แต่เมื่อภิกษุณีถวายเอง

ไม่เป็นอาบัติโดยสิกขาบทนี้และไม่เป็นโดยสิกขาบทก่อน. คำที่เหลือใน

สิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น .

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา

โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓

มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 864

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓

เรื่องตระกูลหนึ่ง

[๗๘๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ใน

พระนครสาวัตถี มีตระกูลหนึ่งเป็นตระกูลที่เลื่อมใส ทั้งสองสามีภรรยาเจริญ

ด้วยศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคทรัพย์ เขาได้สละของเคี้ยวของฉันอันเป็นอาหาร

มื้อเช้า ซึ่งบังเกิดในตระกูลนั้นทั้งหมด แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บางคราวถึง

กับอดอาหารอยู่ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้รับอาหารไม่รู้จักประมาณ สามีภรรยาคู่นี้ได้ถวาย

แก่สมณะเหล่านี้แล้ว บางคราวถึงกับอดอาหารอยู่ ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้าน

พวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงได้กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดเจริญด้วยศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคทรัพย์ เราอนุญาต

ให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูลเห็นปานนั้นด้วยญัตติทุติยกรรม ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็แลพึงให้เสกขสมมติอย่างนี้.

เสกขสมมติ

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม

วาจา ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 865

กรรมวาจาให้เสกขสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลมีชื่อนี้เจริญ ด้วย

ศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคสมบัติ ถ้ำความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่

แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูลมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลมีชื่อนี้เจริญด้วย

ศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคสมบัติ สงฆ์ให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่

ตระกูลมีชื่อนี้ การให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูลมีชื่อนี้ ชอบแก่

ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น

พึงพูด.

การให้สมมติว่าเป็นเสกขะ สงฆ์ให้แล้วแก่ตระกูลมีชื่อนี้

ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๔๔. ๓. ก. อนึ่ง ภิกษุใด รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี

ในสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะเห็นปานนั้น ด้วยมือของตน แล้ว

เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่

น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องตระกูลหนึ่ง จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 866

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๗๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครสาวัตถีมีงานมหรสพ พวก

ชาวบ้านนิมนต์ภิกษุทั้งหลายไปฉัน แม้ตระกูลนั้นก็ได้นิมนต์ภิกษุทั้งหลายไปฉัน

ภิกษุทั้งหลายไม่รับนิมนต์รังเกียจอยู่ว่า การรับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่

สมมติว่าเป็นเสกขะ ด้วยมือของตนแล้วเคี้ยวฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม

แล้ว เขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พวกเราจะมีชีวิตอยู่ไปทำไม

เพราะพระคุณเจ้าทั้งหลายไม่รับนิมนต์ฉันของพวกเรา ภิกษุทั้งหลายได้ยินเขา

เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อันทายกนิมนต์แล้ว รับของเคี้ยวก็ดี ของ

ฉันก็ดี ในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ด้วยมือของตนแล้ว เคี้ยวฉันได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๑

๑๔๔. ๓. ข. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับนิมนต์ก่อน รับของ

เคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะเห็นปาน

นั้น ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า

แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉัน

แสดงคืนธรรมนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 867

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๗๙๐] โดยสมัยต่อจากนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเป็นกุลุปกะของตระกูล

นั้น ครั้นเวลาเช้า เธอครองอันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวรเดินผ่านเข้าไปใน

ตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ภิกษุนั้นเกิดอาพาธใน

ทันใด จึงชาวบ้านเหล่านั้นได้กล่าวอาราธนาภิกษุนั้นว่า นิมนต์ฉันเถิดขอรับ

ภิกษุนั้นไม่รับนิมนต์รังเกียจอยู่ว่า ภิกษุผู้อันทายกไม่ได้นิมนต์ไว้ก่อน รับ

ของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะด้วยมือของตนแล้วเคี้ยวฉัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว ดังนี้แล้วไม่อาจไปบิณฑบาต ได้อดอาหาร

แล้ว ครั้นหายจากอาพาธแล้ว เธอได้ไปสู่อารามแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ

ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธรับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ใน

ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวฉันได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 868

พระอนุบัญญัติ ๒

๑๔๔. ๓. ค. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับนิมนต์ก่อน มิใช่ผู้

อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในตระกูลทั้งหลายที่สงฆ์สมมติ

ว่าเป็นเสกขะเห็นปานนั้น ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี

ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย

ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๙๑] คำว่า ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ความว่า

ตระกูลที่ชื่อว่าอันสงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ได้แก่ตระกูลที่เจริญด้วยศรัทธา แต่

หย่อนด้วยโภคสมบัติ ได้รับสมมติด้วยญัตติทุติยกรรมว่าเป็นเสกขะ.

บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ. . .

นี้ชื่อว่า ภิกษุที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .

บทว่า ในตระกูลทั้งหลายที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ได้แก่

ตระกูลทั้งหลาย เห็นปานนั้น ที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ.

ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ คือเขาไม่ได้นิมนต์เพื่อฉันในวันนี้

หรือพรุ่งนี้ไว้ ภิกษุเดินผ่านอุปจารเรือนเข้าไป เขาจึงนิมนต์ นี้ชื่อว่าไม่ได้

รับนิมนต์ไว้.

ที่ชื่อว่า ได้รับนิมนต์ คือ เขานิมนต์เพื่อฉันในวันนี้หรือพรุ่งนี้ไว้

ภิกษุมิได้เดินผ่านอุปจารเข้าไป เขานิมนต์ นี้ชื่อว่า ได้รับนิมนต์.

ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือ สามารถไปบิณฑบาตได้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 869

ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ไม่สามารถไปบิณฑบาตได้.

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ เว้นโภชนะห้า ของเป็นยามกาลิก

สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.

ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะห้า คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑

ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑.

ภิกษุไม่ได้รับนิมนต์ไว้ มิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวของฉันไว้ด้วย

หมายใจว่าจักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ ทุกๆ

คำกลืน.

บทภาชนีย์

ติกปาฏิเทสนียะ

[๗๙๒] ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่

สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่ใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี

ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ.

ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสงสัยอยู่ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้

มิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี

ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่สงฆ์

สมมติว่าเป็นเสกขะ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ มิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของ

ฉันก็ดี ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 870

ทุกกฏ

ภิกษุรับของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อทำเป็นอาหาร

ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน.

มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่สงฆ์

สมมติว่าเป็นเสกขะ. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสงสัยอยู่. . . ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่สงฆ์

สมมติว่าเป็นเสกขะ. . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๗๙๓] ภิกษุได้รับนิมนต์ไว้ ๑ ภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุฉันของเป็นเดน

ของภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ไว้หรือของภิกษุผู้อาพาธ ๑. ภิกษุฉันภิกษาที่เขาจัดไว้

ในที่นั้นเพื่อภิกษุอื่น ๆ ๑ ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขานำออกจากเรือนไปถวาย ๑

ภิกษุฉันนิตยภัต ๑ ภิกษุฉันสลากภัต ๑ ภิกษุฉันปักขิกภัต ๑ ภิกษุฉันอุโปส-

ถิกภัต ๑ ภิกษุฉันปาฏิปทิกภัต ๑ ภิกษุฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก

ที่เขาถวายบอกว่า เมื่อปัจจัยมีก็นิมนต์ฉัน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ

๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 871

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า อุภโต ปสนฺน มีความว่า เขาเลื่อมใสทั้ง ๒ คน คือ

ทั้งอุบาสกทั้งอุบาสิกา. ได้ยินว่า ในสกุลนั้น ชนแม้ทั้ง ๒ นั้นได้เป็นพระ-

โสดาบันเหมือนกัน.

สองบทว่า โภเคน หายติ มีความว่า ก็ตระกูลเช่นนี้ ถ้าแม้นมี

ทรัพย์ถึง ๘๐ โกฏิ ก็ย่อมร่อยหรือจากโภคทรัพย์. เพราะเหตุไร ? เพราะทั้ง

อุบาสกทั้งอุบาสิกาในตระกูลนั้นไม่สงวนโภคทรัพย์.

คำว่า ฆรโต นีหริตฺวา เทนฺติ มีความว่า อุบาสกอุบาสิกานั้น

นำไปยังโรงฉัน หรือวิหารแล้วถวาย. ถ้าแม้นเมื่อภิกษุยังไม่มา พวกเขานำออก

มาก่อนทีเดียว วางไว้ที่ประตูแล้วถวายแก่ภิกษุผู้มาถึงภายหลัง ควรอยู่. ท่าน

กล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ก็ภัตที่ตระกูลนั้นเห็นภิกษุแล้วนำออกมาถวายจาก

ภายในเรือน ควรอยู่. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-

วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ นีเวทนา ๓ ดังนี้

แล.

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 872

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔

เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ

[๗๙๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโคร-

ธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น พวกบ่าวของเจ้าศากยะ

ทั้งหลายก่อการร้าย นางสากิยานีทั้งหลายปรารถนาจะทำภัตตาหารถวายภิกษุ

ทั้งหลายผู้อยู่ในเสนาสนะป่า พวกบ่าว ๆ ของเจ้าศากยะได้ทราบข่าวว่า นาง

สากิยานีทั้งหลายปรารถนาจะทำภัตตาหารถวายภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในเสนาสนะป่า

จึงไปซุ่มอยู่ที่หนทาง เหล่านี้นางสากิยานีพากันนำของเคี้ยวของฉันอย่างประณีต

ไปสู่เสนาสนะป่า พวกบ่าว ๆ ได้ออกมาแย่งชิงพวกนางสากิยานีและประทุษร้าย

พวกเจ้าศากยะออกไปจับผู้ร้ายพวกนั้นได้พร้อมด้วยของกลาง แล้วพากัน

เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เมื่อพวกผู้ร้ายอาศัยอยู่ในอารามมี ไฉน

พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่แจ้งความเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกเจ้าศากยะพา

กันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย

อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ . . . เพื่อความ

ตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 873

พระบัญญัติ

๑๔๕. ๔. ก. อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่า

เป็นทีมีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขา

ไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ เคี้ยวก็ดี ฉัน

ก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น

ที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ จบ

เรื่องพระอาพาธ

[๗๙๕] โดยสมัยต่อจากนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในเสนาสนะ

ป่า ชาวบ้านได้พากันนำขอเคี้ยวของฉันไปสู่เสนาสนะป่า ครั้นแล้วได้กล่าว

อาราธนาภิกษุนั้นว่า นิมนต์ฉันเถิด ขอรับ.

ภิกษุนั้นไม่รับ รังเกียจอยู่ว่าการรับของเคี้ยวหรือของฉันในเสนาสนะ

ป่า ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว ดังนี้

แล้วไม่สามารถไปเที่ยวบิณฑบาต ได้อดอาหารแล้ว เธอได้แจ้งเรื่องนั้นแก่

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธรับของเคี้ยวหรือของฉัน ในเสนาสนะป่า

ด้วยมือของตนแล้วเคี้ยวฉันได้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 874

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๑๔๕. ๔. ข. อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่า

เป็นที่มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อัน

เขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้

อาพาธ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉัน

ต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืน

ธรรมนั้น.

เรื่องพระอาพาธ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๙๖] คำว่า เสนาสนะป่า ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่าป่า มี

กำหนดเขต ๕๐๐ ชั่วธนูเป็นอย่างต่ำ.

ที่ชื่อว่า เป็นที่มีรังเกียจ คือ ในอาราม ในอุปจารแห่งอาราม มี

สถานที่พวกโจรซ่องสุม บริโภค ยืน นั่ง นอน ปรากฎอยู่

ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ ในอาราม ในอุปจารแห่งอาราม

มีร่องรอยที่ชาวบ้านถูกพวกโจรฆ่า ปล้น ทุบตี ปรากฏอยู่

บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้

ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ในเสนาสนะเห็นปานนั้น คือ ในเสนาสนะมีร่องรอยเช่น

นั้นปรากฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 875

ที่ชื่อว่า อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ คือ เขาส่งสหธรรมิก ๕ ไปบอก

นี้ชื่อว่า ไม่เป็นอันเขาได้บอกให้รู้.

เขาบอกนอกอาราม นอกอุปจารแห่งอาราม นี่ก็ชื่อว่าไม่เป็นอันเขา

ได้บอกให้รู้.

ที่ชื่อว่า บอกให้รู้ คือ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม

มาสู่อาราม หรืออุปจารแห่งอารามแล้วบอกว่า ท่านเจ้าข้า สตรีหรือบุรุษชื่อ

โน้นจักนำของเคี้ยวหรือของฉันมาถวายภิกษุมีชื่อนี้.

ถ้าที่นั้นเป็นสถานมีรังเกียจ ภิกษุพึงบอกเขาว่า เป็นสถานมีรังเกียจ

ถ้าที่นั้นเป็นสถานมีภัยเฉพาะหน้า พึงบอกเขาว่า เป็นสถานมีภัยเฉพาะหน้า

ถ้าเขากล่าวว่า ไม่เป็นไร เจ้าข้า เขาจักนำมาเอง ภิกษุพึงบอกพวกโจรว่า

ชาวบ้านจักเข้ามาในที่นี้ พวกท่านจงหลีกไปเสีย.

เมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะยาคู แล้วเขานำบริวารแห่งยาคูมาด้วย นี้ชื่อว่า

อันเขาบอกให้รู้.

เมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะภัต แล้วเขานำบริวารแห่งภัตมาด้วย นี้ก็ชื่อว่า

อันเขาบอกให้รู้.

เมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะของเคี้ยว แล้วเขานำบริวารแห่งของเคี้ยวมา

ด้วย นี้ก็ชื่อว่า อันเขาบอกให้รู้.

เมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะตระกูล คนในตระกูลนั้นนำของเคี้ยวหรือของ

ฉันมาถวาย นี้ก็ชื่อว่า อันเขาบอกให้รู้.

เมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านนั้นนำของเคี้ยวหรือของ

ฉันมาถวาย นี้ก็ชื่อว่า อันเขาบอกให้รู้.

เมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะตำบลบ้าน คนในตำบลบ้านนั้นนำของเคี้ยว

หรือของฉันมาถวาย นี้ก็ชื่อว่า อันเขาบอกให้รู้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 876

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ เว้นโภชนะห้า ของเป็นยามกาลิก สตตาห-

กาลิก ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.

ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะห้า คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑

ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑.

ที่ชื่อว่า วัดที่อยู่ สำหรับอารามที่มีเครื่องล้อม ได้แก่ภายในอาราม

อารามที่ไม่มีเครื่องล้อม ได้แก่อุปจาร.

ที่ชื่อว่า ไม่ใช่ผู้อาพาธ คือ ผู้สามารถไปเที่ยวบิณฑบาตได้.

ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ผู้ไม่สามารถไปเที่ยวบิณฑบาตได้.

ภิกษุไม่ใช่ผู้อาพาธ รับประเคนของที่เขาไม่ได้บอกให้รู้ด้วยหมายว่า

จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์

ติกปาฏิเทสนียะ

[๗๙๗] เขาไม่ได้บอกให้รู้ ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้บอกให้รู้ รับของ

เคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้อาพาธ เคี้ยวก็ดี

ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

เขาไม่ได้บอกให้รู้ ภิกษุมีความสงสัย รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี

ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้อาพาธ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติ

ปาฏิเทสนียะ.

เขาไม่ได้บอกให้รู้ ภิกษุสำคัญว่าเขาบอกให้รู้ แล้วรับของเคี้ยวก็ดี

ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้อาพาธ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี

ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 877

ทุกกฏ

ภิกษุรับประเคนของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อทำ

เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน.

เขาบอกให้รู้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้บอกให้รู้. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

เขาบอกให้รู้แล้ว ภิกษุมีความสงสัย . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

เขาบอกไห้รู้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาบอกให้รู้แล้ว . . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๗๙๘] เขาบอกให้รู้ ๑ ภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุฉันของเป็นเดนของ

ภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ไว้ หรือของภิกษุผู้อาพาธ ๑ ภิกษุรับนอกวัดแล้วมาฉัน

ในวัด ๑ ภิกษุฉันรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ ซึ่งเกิดขึ้น

ในวัดนั้น ๑ ภิกษุฉันของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ในเมื่อมี

เหตุจำเป็น ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔ จบ

บทสรุป

[๗๙๙] ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้า

ยกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ ปาฎิเทสนียะ ๔

สิกขาบทนั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่

๒ ว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่ ๓ ว่า

ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในธรรมคือ

ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทนี้ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ .

ปาฏิเทสนียกัณฑ์ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 878

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-

[อธิบายของควรเคี้ยวที่เขาไม่ได้บอกไว้ก่อน]

สองบทว่า อวรุทฺธา โหนฺติ คือ พวกบ่าวของเจ้าศากยะทั้งหลาย

เป็นผู้ก่อการร้าย.

สองบทว่า ปญฺจนฺน ปฏิสวิทิต มีความว่า แม้ขาทนียะ โภชนียะที่

เขาส่งสหธรรมิก ๕ คนใดคนหนึ่งให้ไปบอกให้รู้ว่า พวกเราจักนำขาทนียะ

หรือโภชนียะมาถวาย ดังนี้ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นอันเขาบอกให้รู้เลย.

ข้อว่า อาราม อารามูปจาร เปตฺวา มีความว่า ถึงขาทนียะ

โภชนียะที่เขาพบภิกษุผู้ออกไปจากอุปจาร ในระหว่างทางบอกให้รู้ก็ดี บอก

แก่ภิกษุผู้มายังบ้านให้รู้ก็ดี ยกเว้นอาราม คือ เสนาสนะป่า และอุปจารแห่ง

อาราม คือ เสนาสนะป่านั้นเสีย ก็พึงทราบว่า ไม่เป็นอันเขาบอกให้รู้เหมือนกัน.

คำว่า สเจ สาสงฺก โหติ สาสงฺกนฺติ อาจิกฺขิตพฺพ ความว่า

ภิกษุพึงบอก (พวกชาวบ้าน) เพราะเหตุอะไร ? (พึงบอก) เพื่อเปลื้องคำว่า

พวกโจรอยู่ในวัด ภิกษุทั้งหลายไม่บอกให้พวกเราทราบ.

ข้อว่า โจรา วตฺตพฺพา มนุสฺสา อิธูปจารนฺติ มีความว่า ภิกษุ

ทั้งหลายพึงบอกพวกโจร เพราะเหตุไร ? พึงบอกเพื่อเปลื้องคำว่า ภิกษุ

ทั้งหลายใช้พวกอุปัฏฐากของตนจับพวกเรา.

ข้อว่า ยาคุยา ปฏิสวิทิเต ตสฺสา ปริวาโร อาหรียติ ความว่า

พวกชาวบ้านบอกให้รู้เฉพาะยาคูแล้ว นำสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วย กล่าว

อย่างนี้ว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยยาคูล้วน ๆ ที่พวกเราถวาย พวกเราจักทำ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 879

แม้ขนมและข้าวสวยเป็นต้น ให้เป็นบริวารของยาคูแล้วถวาย, ของทุกอย่าง

เป็นอันเขาบอกให้รู้แล้วทั้งนั้น.

แม้ในคำว่า ภตฺเตน ปฏิสวิทิเต เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. พวก

ตระกูลแม้อื่นได้ยินว่า ตระกูลชื่อโน้น ทำการบอกให้รู้แล้ว กำลังถือเอา

ขาทนียะเป็นต้นมา จึงนำเอาไทยธรรมของตนสมทบมากับตระกูลนั้น สมควร

อยู่. ในกุรุนที่กล่าวว่า ตระกูลทั้งหลายบอกให้รู้เฉพาะยาคูแล้ว นำขนมหรือ

ข้าวสวยมาถวาย, แม้ขนมและข้าวสวยนั่น ก็ควร.

บทว่า คิลานสฺส ได้แก่ แม้ในขาทนียโภชนียะที่เขาไม่ได้บอก

ให้รู้ก่อน ก็ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุอาพาธ.

ข้อว่า ปฏิสวิทิเต วา คิลานสฺส วา เสสก มีความว่า ขาทนียะ

โภชนียะที่เขาบอกให้รู้แล้วนำมาถวาย เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุรูปหนึ่ง, แม้ภิกษุ

อื่นจะฉันของเป็นเดนแห่งภิกษุนั้น ควรอยู่. ขาทนียะ โภชนียะเป็นของที่เขา

บอกให้รู้แล้ว นำมาถวายเป็นอันมาก แก่ภิกษุ ๔ รูป หรือ ๕ รูป, พวกเธอ

ปรารถนาจะถวายแม้แก่ภิกษุพวกอื่น. ขาทนียโภชนียะแม้นั่น ก็เป็นเดนของ

ภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ไว้เหมือนกัน จึงสมควรแม้แก่ภิกษุทุกรูป. ถ้าของนั่นมี

เหลือเฟือทีเดียว, เก็บไว้ให้พ้นสันนิธิแล้ว ย่อมควรแม้ในวันรุ่งขึ้น. แม้ใน

ของเป็นเดนที่เขานำมาถวายแก่ภิกษุอาพาธ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ส่วนขาทนียโภชนียะที่เขาไม่ได้บอกให้รู้เลยนำมาถวาย ภิกษุพึงส่ง

ไปยังภายนอกวัด แล้วให้ทำเป็นของบอกให้รู้ก่อนแล้วจึงให้นำกลับมา. หรือ

พวกภิกษุพึงไปรับเอาในระหว่างทางก็ได้. แม้ของใดพวกชาวบ้านเดินผ่าน

ท่ามกลางวัดนำมาถวาย หรือพวกพรานป่าเป็นต้น นำมาถวายจากป่า, ของ

นั้นภิกษุพึงให้เขาทำให้เป็นของอันเขาบอกให้รู้โดยนัยก่อนนั่นแล.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 880

สองบทว่า ตตฺถ ชาตก มีความว่า ภิกษุฉันของที่เกิดขึ้นในวัด

นั่นเอง มีมูลขาทนียะเป็นต้น ที่ผู้อื่นทำให้เป็นกัปปิยะแล้วถวาย ไม่เป็นอาบัติ.

ก็ถ้าว่าพวกชาวบ้านนำเอาของนั้นไปยังบ้าน ต้มแกงแล้วนำมาถวาย ไม่ควร.

ภิกษุพึงให้เขาทำให้เป็นของบอกให้รู้ก่อน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา

โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓

มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ปฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๔ จบ ตามวรรณนานุกรม

ปาฏิเทสนียวรรณ ในอรรถกถาพระวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 881

เสขิยกัณฑ์

ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมคือ เสขิยะเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ

วรรคที่ ๑ ปริมัณฑลวรรค

สารูป ๒๖ สิกขาบท

สิกขาบทที่ ๑

[๘๐๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-

ฉัพพัคคีย์นุ่งผ้า เลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้าง ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้นุ่งผ้าเลื้อยหน้าบ้าง

เลื้อยหลังบ้าง เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาว

บ้านเหล่านั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย...

ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพพัคคีย์จึงได้นุ่งผ้าเลื้อย

หน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้างเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ทรงสอบ

ถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ นุ่งผ้าเลื้อยหน้าบ้าง

เลื้อยหลังบ้าง จริงหรือ

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 882

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย

ไฉนพวกเธอจึงได้นุ่งผ้าเลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้างเล่า การกระทำของพวก

เธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ

เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้:-

๑๔๖. ๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจะนุ่งเป็นปริมณฑล.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุนุ่งปิดมณฑลสะดือ มณฑลเข่า ชื่อว่านุ่งเป็นปริมณฑล

ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นุ่งผ้าเลื้อยหน้าหรือเลื้อยหลัง ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ ไม่มีสติ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

[๘๐๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ห่มผ้าเลื้อยหน้าบ้าง

เลื้อยหลังบ้าง...

๑. บาลีว่า สาวัตถีนิทาน เห็นอยู่ในที่ใด ในที่นั้นมีบาลีแปลว่า โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาค

พุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ดังนี้ ๒.

หมายว่ามีเนื้อความดังสิกขาบทที่ ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 883

พระบัญญัติ

๑๔๗. ๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักห่มเป็นปริมณฑล.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุห่มทำมุมทั้งสองให้เสมอกัน ชื่อว่าห่มเป็นปริมณฑล ภิกษุ

ใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ห่มผ้าเลื้อยหน้าเลื้อยหลัง ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑วิกลจริต ๑ อาทิ

กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๓

[๘๐๒] สาวัตถีนิทาน. โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนคร

สารวัตถี ครั้งนั้น พระฉันพัคคีย์เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน. . .

พระบัญญัติ

๑๔๘ . ๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี ไป

ในละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุพึงปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อ-

เฟื้อเดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 884

อนปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๔

[๘๐๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งเปิดกายในละแวก

บ้าน...

พระบัญญัติ

๑๔๙. ๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี นั่ง

ในละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุพึงปิดกายด้วยดี นั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อนั่งปิดกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑

วิกลจริต อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๕

[๘๐๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินคะนองมือบ้าง

คะนองเท้าบ้าง ไปในละแวกบ้าน . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 885

๑๕๐. ๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมดี ไปใน

ละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุพึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อ-

เพื่อคะนองมือก็ดี คะนองเท้าก็ดี ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๖

[๘๐๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์คะนองมือบ้าง คะนอง

เท้าบ้าง นั่งในละแวกบ้าน. . .

๑๕๑. ๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมดี นั่งใน

ละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุพึงสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

คะนองมือก็ดี คะนองเท้าก็ดี นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 886

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๗

[๘๐๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินไปในละแวกบ้าน

พลางแลดูในที่นั้น ๆ. . .

พระบัญญัติ

๑๕๒. ๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไป

ในละแวกบ้าน.

อันภิกษุพึงมีนัยน์ตาทอดลง เดินไปในละแวกบ้าน พึงแลประมาณ

ชั่วแอกหนึ่ง ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ไปในละแวกบ้าน พลางแลดูใน

ที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๘

[๘๐๗ ] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งในละแวกบ้าน

พลางแลดูในที่นั้น ๆ. . .

พระบัญญัติ

๑๕๓. ๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง นั่ง

ในละแวกบ้าน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 887

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุพึงมีนัยน์ตาทอดลง นั่งในละแวกบ้าน พึงแลประมาณชั่วแอก

หนึ่ง ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งในละแวกบ้าน พลางแลดูในที่นั้น ๆ

ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๙

[๘๐๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินเวิกผ้าไปในละ

แวกบ้าน. . .

พระบัญญัติ

๑๕๔. ๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวก

บ้าน ด้วยทั้งเวิกผ้า. . .

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงเดินเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อเวิกผ้าขึ้นข้างเดียวก็ดี ทั้งสองข้างก็ดี เดินไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 888

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

[๘๐๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เวิกผ้า นั่งในละแวก

บ้าน. . .

พระบัญญัติ

๑๕๕. ๑๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวก

บ้าน ด้วยทั้งเวิกผ้า.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงเวิกผ้านั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

เวิกผ้าขึ้นข้างเดียวก็ดี ทั้งสองข้างก็ดี นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑

วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

วรรคที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 889

วรรคที่ ๒ อุชชัคฆิกวรรค

[๘๑๐] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินหัวเราะลั่นไปใน

ละแวกบ้าน. . .

พระบัญญัติ

๑๕๖. ๑๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวก

บ้าน ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงเดินหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อ เดินหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ทำอาการเพียงยิ้มแย้ม

ในเมื่อมีเรื่องที่น่าขัน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๒

[๘๑๑] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งหัวเราะลั่นอยู่ ใน

ละแวกบ้าน...

๑. ๒. บาลี ๒ บทนี้ ควรพิจารณา เพราะคนไข้ไม่ต้องการหัวเราะ และในคราวมีอันตราย

ก็ไม่จำเป็นหัวเราะ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 890

พระบัญญัติ

๑๕๗. ๑๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวก

บ้าน ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงนั่งหัวเราะลั่นในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อ นั่งในละแวกบ้านหัวเราะลั่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตตวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ* ๑ ทำอาการเพียงยิ้มแย้มใน

เมื่อมีเรื่องที่น่าขัน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๓

[๘๑๒] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินส่งเสียงตะเบ็ง

เสียงตะโกน ไปในละแวกบ้าน . . .

พระบัญญัติ

๑๕๘ . ๑๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อยไป

ในละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุพึงมีเสียงเบาเดินไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อ เดินส่งเสียงตะเบ็งเสียงตะโกนไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.

๑. ๒. แม้บาลี ๒ บทนี้ ก็ควรพิจารณาโดยนัยดังกล่าวแล้ว.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 891

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๔

[๘๑๓] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งส่งเสียงตะเบ็งเสียง

ตะโกนลั่น อยู่ในละแวกบ้าน . . .

พระบัญญัติ

๑๕๙. ๑๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อย นั่ง

ในละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุพึงมีเสียงเบา นั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ส่งเสียงตะเบ็งเสียงตะโกน นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๕

[๘๑๔] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินโคลงกายไปใน

ละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 892

พระบัญญัติ

๑๖๐. ๑๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินโยกกาย

ไปในละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน พึงประคองกายเดินไป

ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ

ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๖

[๘๑๕] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งโคลงกายอยู่ใน

ละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ . . .

พระบัญญัติ

๑๖๑. ๑๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งโยกกาย

ในละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงนั่งโคลงกายในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองกาย ภิกษุใด

อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 893

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑

วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๗

[๘๑๖] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินไกวแขนไปใน

ละแวกบ้าน แสดงท่ากรีดกราย. . .

พระบัญญัติ

๑๖๒. ๑๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนไป

ในละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงเดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน พึงประคองแขนเดินไป

ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน แสดงท่า

กรีดกราย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 894

อุชชัคมิกวรรค สิกขาบทที่ ๘

[๘๑๗] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งไกวแขน แสดง

ท่ากรีดกราย ในละแวกบ้าน . . .

พระบัญญัติ

๑๖๓. ๑๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนนั่ง

ละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงนั่งไกวแขนในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองแขน ภิกษุใด

อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งแกว่งไกวแขนในละแวกบ้าน แสดงท่ากรีดกราย

ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑

วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๙

[๘๑๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินโคลงศีรษะไปใน

ละแวกบ้าน ทำท่าคอพับ. . .

พระบัญญัติ

๑๖๔. ๑๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะไป

ในละแวกบ้าน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 895

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน พึงเดินประคองศีรษะ

ไป ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ทำท่าคอ

พับ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

[๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งโคลงศรีษะใน

ละแวกบ้าน ทำท่าคอพับ. . .

พระบัญญัติ

๑๖๕. ๒๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะนั่ง

ในละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงนั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองศีรษะ

ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะในแวกบ้าน ทำศรีษะให้ห้อย

ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 896

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑

วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

วรรคที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 897

วรรคที่ ๓ ขัมภกตวรรค

สิกขาบทที่ ๑

[๘๒๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินค้ำกายไปใน

ละแวกบ้าน. . .

พระบัญญัติ

๑๖๖. ๒๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำกาย

ไปในละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงเดินค้ำกายไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อเดินค้ำกายข้างเดียวก็ตาม ทั้งสองข้างก็ตาม ไปในละแวกบ้าน ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๒

[๘๒๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งค้ำกายในละแวก

บ้าน. . .

พระบัญญัติ

๑๖๗. ๒๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำกาย

นั่งในละแวกบ้าน.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 898

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงนั่งค้ำกายในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

นั่งค้ำกายข้างเดียวก็ตาม ทั้งสองข้างก็ตาม ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑

วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๓

[๘๒๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินคลุมศีรษะไปใน

ละแวกบ้าน. . .

พระบัญญัติ

๑๖๘. ๒๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่คลุมศีรษะไป

ในละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงคลุมศีรษะเดนไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อ เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 899

ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๔

[๘๒๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์คลุมศีรษะนั่งใน

ละแวกบ้าน. . .

พระบัญญัติ

๑๖๙. ๒๔ . ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่คลุมศีรษะนั่ง

ในละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงคลุมศีรษะนั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อ คลุมศีรษะนั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑

วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๕

[๘๒๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์กระโหย่งเท้าเดินไป

ในละแวกบ้าน. . .

พระบัญญัติ

๑๗๐. ๒๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวก

บ้านด้วยทั้งความกระโหย่ง.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงมีการกระโหย่งเท้าเดินไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัย

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 900

ความไม่เอื้อเฟื้อ เดินกระหย่งเท้าไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑

วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๖

[๘๒๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รัดเข่านั่งในละแวก

บ้าน. . .

พระบัญญัติ

๑๗๑. ๒๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวก

บ้านด้วยทั้งความรัด.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงมีการรัดเข่านั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อ นั่งรัดเข่าด้วยมือก็ดี รัดเข่าด้วยผ้าก็ดี ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑

วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

สารูป ๒๖ สิกขาบท จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 901

โภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ สิกขาบท

ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๗

[๘๒๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต โดย

ไม่เอาใจใส่ ทำอาการดุจทิ้งเสียง.

พระบัญญัติ

๑๗๒. ๒๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาต

โดยเอื้อเฟื้อ.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุพึงรับบิณฑบาตโดยเคารพ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

บิณฑบาตโดยไม่เคารพ ทำอาการดุจทิ้งเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๘

[๘๒๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต พลาง

แลไปในที่นั้น ๆ เมื่อเขากำลังเกลี่ยบิณฑบาตลงก็ดี เมื่อเกลี่ยเสร็จแล้วก็ดี

หารู้สึกตัวไม่. . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 902

พระบัญญัติ

๑๗๓. ๒๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องในบาตร

รับบิณฑบาต.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุพึงแลดูบาตรรับบิณฑบาต ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

รับบิณฑบาตพลางเหลียวแลไปในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๙

[๘๒๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต รับ

แต่สูปะเป็นส่วนมาก . . .

พระบัญญัติ

๑๗๔. ๒๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตมี

สูปะเสมอกัน.

สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า สูปะ มีสองชนิด คือ สูปะทำด้วยถั่วเขียว ๑ สูปะทำด้วย

ถั่วเหลือง ๑ ที่จับได้ด้วยมือ.

อันภิกษุพึงรับบิณฑบาตมีสูปะพอสมกัน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

รับแต่สูปะอย่างเดียวเป็นส่วนมาก ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 903

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ รับกับข้าวต่างอย่าง ๑

รับของญาติ ๑ รับของผู้ปวารณา ๑ รับเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ จ่ายมา

ด้วยทรัพย์ของตน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

[๘๒๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาตถึงล้น

บาตร...

พระบัญญัติ

๑๗๕. ๓๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตจด

เสมอขอบบาตร.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุพึงรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตจนล้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัม-

มิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

วรรคที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 904

วรรคที่ ๔ สักกัจจวรรค

สิกขาบทที่ ๑

[๘๓๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตโดยไม่

เอาใจใส่ ทำอาการดุจไม่อยากฉัน . . .

พระบัญญัติ

๑๗๖. ๓๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาต

โดยเอื้อเฟื้อ.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตโดยไม่รังเกียจ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันบิณฑบาตโดยรังเกียจ ทำอาการดุจไม่อยากฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกันมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๒

[๘๓๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตพลาง

เหลียวแลไปในที่นั้น ๆ เมื่อเขาเกลี่ยบิณฑบาตลงก็ดี เมื่อเกลี่ยเสร็จแล้วก็ดี หา

รู้สึกตัวไม่ . . .

พระบัญญัติ

๑๗๗. ๓๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องดูอยู่ในบาตร

ฉันบิณฑบาต.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 905

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารพึงแลดูในบาตร ฉันบิณฑบาต ภิกษุใดอาศัยความ

ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตพลางแลดู ไปในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๓

[๘๓๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตเจาะลง

ในที่นั้น...

พระบัญญัติ

๑๗๘. ๓๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตไม่

แหว่ง.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตเกลี่ยให้เสมอ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ด้วย ๑ อาพาธ ๑ ตักให้ภิกษุอื่น เว้า

แหว่ง ๑ ตักเกลี่ยลงในภาชนะอื่นแหว่ง ๑ ตักสูปะแหว่งเว้า ๑ มีอันตราย ๑

วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 906

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๔

[๘๓๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต ฉัน

แต่กับอย่างเดียวมาก . . .

พระบัญญัติ

๑๗๙. ๓๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตมี

สูปะเสมอกัน.

สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า สูปะ มีสองชนิด คือ สูปะทำด้วยถั่วเขียว ๑ สูปะทำด้วย

ถั่วเหลือง ๑ ที่จับได้ด้วยมือ.

อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตมีสูปะพอดีกัน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันแต่สูปะอย่างเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันกับข้าวอย่างอื่น ๆ ๑

ฉันของญาติ ๑ ฉันของคนปวารณา ๑ ฉันเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ จ่าย

มาด้วยทรัพย์ของตน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๕

[๘๓๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตขยุ้มลง

แต่ยอด . . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 907

พระบัญญัติ

๑๘๐. ๓๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขยุ้มลงแต่ยอด

ฉันบิณฑบาต.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงขยุ้งลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อ

เฟื้อขยุ้มลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ กวาดตะล่อมข้าวที่เหลือ

เล็กน้อยรวมเป็นคำแล้วเปิบฉัน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๖

[๘๓๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์อาศัยความอยากได้

มากกลบแกงบ้าง กับข้าวบ้าง ด้วยข้าวสุก . . .

พระบัญญัติ

๑๘๑. ๓๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงก็ดี

กับข่าวก็ดี ด้วยข้าวสุก อาศัยความอยากได้มาก.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงกลบแกง หรือกับข้าว ด้วยข้าวสุกเพราะ

อยากจะได้มาก ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก

เพราะอยากจะได้มาก ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 908

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ เจ้าของกลบถวาย ๑ ไม่ได้มุ่งอยาก

ได้มาก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ขอข้าวแกงฉัน

[๘๓๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ขอกับข้าวบ้าง ข้าว

สุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน ชาวบ้านพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา

ว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง

เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันเล่า กับข้าวหรือข้าวสุกที่ดี ใครจะไม่พอใจ ของ

ที่มีรสอร่อยใครจะไม่ชอบใจ ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเพ่งโทษติเตียน

โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า

ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน

เล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประ โยชน์แก่ตนมาฉัน จริง

หรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 909

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้ขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันเล่า การ

กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๘๒. ๓๗. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขอสูปะก็ดี

ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ขอข้าวแกงฉัน จบ

เรื่องพระอาพาธ

[๘๓๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายอาพาธ พวกภิกษุผู้พยาบาล

ได้ถามภิกษุทั้งหลายผู้พาธว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านยังพอทนได้หรือ ยัง

พอให้อัตภาพเป็นได้หรือ

ภิกษุอาพาธทั้งหลายตอบว่า อาวุโสทั้งหลายเมื่อก่อนพวกผมขอสูปะ

บ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันได้ พวกผมมีความผาสุกเพราะเหตุ

นั้น แต่บัดนี้พวกผมรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จึงไม่ขอ

เพราะเหตุนั้น พวกผมจึงไม่มีความผาสุก

ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 910

ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธขอได้

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในพระเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ ขอสูปะก็ดี ข้าวสุก

ก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๘๒. ๓๗. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จัก

ไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน .

เรื่องพระอาพาธ จบ

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่อาพาธ ไม่พึงขอสูปะ หรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตน

มาฉัน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์

แก่ตนมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ขอต่อญาติ ๑ ขอต่อคน

ปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ มีอันตราย

๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 911

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๘

[๘๓๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์มีความมุ่งหมายจะ

เพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น . . .

พระบัญญัติ

๑๓๘. ๓๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เพ่งโพนทะนา

แลดูบาตรของผู้อื่น.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงมุ่งหมายจะเพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุอื่น ภิกษุใด

อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มีความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุพวก

อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ แลดูด้วยคิดว่าจักเติมของฉันให้ หรือ

จักสั่งให้เขาเติมถวาย ๑ มิได้มีความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ ๑ มีอันตราย ๑

วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๙

[๘๓๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวใหญ่.

พระบัญญัติ

๑๘๔. ๓๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้

ใหญ่นัก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 912

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป ภิกษุใดอาศัยความ

ไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันของเคี้ยว ๑ ฉันผลไม้

น้อยใหญ่ ๑ ฉันกับแกง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

[๘๔๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันข้าวทำคำข้าวยาว...

พระบัญญัติ

๑๘๕. ๔๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลม

กล่อม

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารพึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวยาว ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันของเคี้ยว ๑ ฉันผลไม้

น้อยใหญ่ ๑ ฉันกับแกง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

วรรคที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 913

วรรคที่ ๕ กพฬวรรค

สิกขาบทที่ ๑

[๘๔๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เมื่อคำข้าวยังไม่นำมา

ถึง ย่อมอ้าช่องปากไว้ท่า. . .

พระบัญญัติ

๑๘๖. ๔๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง

เราจักไม่อ้าช่องปาก.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหาร เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก ไม่พึงอ้าช่องปากไว้ท่า

ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เมื่อคำข้าวยังนำมาไม่ถึงปาก อ้าช่องปากไว้ท่า

ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๒

[๘๔๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์กำลังฉันอยู่ สอดนิ้ว

มือทั้งหมดเข้าไปในปาก. . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 914

พระบัญญัติ

๑๘๗. ๔๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือ

ทั้งนั้นเข้าไปในปาก.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุกำลังฉันอาหารอยู่ ไม่พึงสอดนิ้วมือทั้งหมดเข้าไปในปาก

ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ กำลังฉันอยู่ สอดนิ้วมือทั้งหมดเข้าในปาก ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๓

[๘๔๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เจรจาทั่ง ๆ ที่ในปาก

ยังมีคำข้าว . . .

พระบัญญัติ

๑๘๘. ๔๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า ปากยังมึคำข่าว เราจัก

ไม่พูด.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงพูดด้วยทั้งปากยัง มีคำข้าว ภิกษุใดอาศัย

ความไม่เอื้อเฟื้อ พูดด้วยทั้งปากยังมีคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 915

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๔

[๘๔๔] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารโยนคำข้าว...

พระบัญญัติ

๑๘๙. ๔๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเดาะคำข้าว.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเดาะคำข้าว ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อ-

เพื่อฉันเดาะคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันอาหารที่แข้น ๑

ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๕

[๘๔๕] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารกัดคำข้าว ...

พระบัญญัติ

๑๙๐. ๔๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 916

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันกัดคำข้าว ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันอาหารกัดคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันขนมที่แข้นแข็ง ๑

ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ๑ ฉันกับแกง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๖

[๘๔๖] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารทำกระพุ้ง

แก้มให้ตุ่ย . . .

พระบัญญัติ

๑๙๑. ๔๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำกระพุ้ง

แก้มให้ตุ่ย.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ภิกษุใดอาศัยความ

ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ยข้างเดียวก็ดี ทั้งสองข้างก็ดี ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ๑

มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 917

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๗

[๘๔๗] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารสลัดมือ. . .

พระบัญญัติ

๑๙๒. ๔๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันสลัดมือ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันอาหารสลัดมือ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ สลัดมือทิ้งเศษอาหาร

มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๘

[๘๔๘] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหาร โปรย

เมล็ดข้าว . . .

พระบัญญัติ

๑๙๓. ๔๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเมล็ด

ข้าวตก.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันทำเมล็ดข้าวตก ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อ ฉันทำเมล็ดข้าวให้ร่วง ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 918

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ทิ้งผงข้าวเมล็ดข้าวติด

ไปด้วย ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๙

[๘๔๙] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉัน อาหารแลบลิ้น...

พระบัญญัติ

๑๙๔. ๔๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงแลบลิ้น ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉัน

อาหารแลบลิ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

[๘๕๐] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารดังจับ ๆ...

พระบัญญัติ

๑๙๕. ๕๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงจับ ๆ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 919

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุฉันอาหารไม่พึงฉันทำเสียงดังจับ ๆ ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารดังจับ ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

วรรคที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 920

วรรคที่ ๖ สุรุสุรุวรรค

สิกขาบทที่ ๑

[๘๕๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตา-

ราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งปรุงปานะน้ำนมถวาย

พระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายซดน้ำนมดังซูด ๆ ภิกษุรูปหนึ่งเคยเป็นนักฟ้อนรำ

กล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ชะรอยพระสงฆ์ทั้งปวงนี้อันความเย็นรบกวนแล้ว บรรดา

ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุจึงได้

พูดปรารภพระสงฆ์เล่นเล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้พระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า

เธอได้พูดปรารภพระสงฆ์เล่น จริงหรือ.

ภิกษุรูปนั้น ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้พูดปรารภสงฆ์เล่นเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส

ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว...

ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัน

ภิกษุทั้งหลายไม่พึงพูดปรารภพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เล่น รูปใด

ฝ่าฝืน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ครั้นทรงติเตียนภิกษุนั่นโดยอเนกปริยายแล้ว ตรัสโทษแห่งความ

เป็นคนเลี้ยงยาก. . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 921

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

ิ ๑๙๖. ๕๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดัง

ซูดๆ.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันดังซูด ๆ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันอาหารทำเสียงดังซูด ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒

[๘๕๒] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารเลียมือ. . .

พระบัญญัติ

๑๙๗. ๕๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเลียมือ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันอาหารเลียมือ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 922

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓

[๘๕๓] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารขอดบาตร...

พระบัญญัติ

๑๙๘. ๕๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันขอดบาตร ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ฉันอาหารขอดบาตร ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ข้าวสุกเหลือน้อยกวาด

ขอดรวมกันเข้าแล้วฉัน ๑ มีอันตราย ๒ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง

อาบัติแล.

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔

[๘๕๔] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารเลียริมฝีปาก...

พระบัญญัติ

๑๙๙. ๕๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 923

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก ภิกษุใดอาศัยความไม่

เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารเลียริมฝีปาก ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕

[๘๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่สวนสัตว์

เภสกฬาวัน เขตพระนครสุงสุมารคิระ แขวงภัคคชนบท ครั้งนั้น ภิกษุ

ทั้งหลายรับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส ในโกกนุทปราสาท ชาวบ้าน

พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึง

ได้รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม

เล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่

บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย

จึงได้รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิสเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกภิกษุรับประเคนโอน้ำด้วยมือที่เป็นอามิส จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 924

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก

โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิสเล่า การ

กระทำของพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่

ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๒๐๐. ๕๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือ

เปื้อนอามิส.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงรับประเคนโอน้ำ ด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส

ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ รับประเคนด้วยหมายว่า

จักล้างเอง หรือให้ผู้อื่นล้าง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 925

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖

[๘๕๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่สวนสัตว์

เภสกฬาวัน เขตพระนครสุงสุมารคิระ แขวงภัคคชนบท ครั้งนั้น ภิกษุ

ทั้งหลายเทน้ำล้างบาตรซึ่งมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน ใกล้โกกนุทปราสาท

ชาวบ้านพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากย-

บุตรจึงได้เทน้ำล้างบาตรซึ่งมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน เหมือนพวกคฤหัสถ์

ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. ..ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้เทน้ำล้างบาตร ซึ่งมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้านเล่า . . .

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกภิกษุเทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก

โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้เทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้านเล่า

การกระทำของพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ

ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 926

พระบัญญัติ

๒๐๑. ๕๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตร

มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่เทน้ำล้างบาตร ซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน ภิกษุใด

อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ เก็บเมล็ดข้าวออกแล้ว

จึงเทน้ำล้างบาตร หรือขยี้เมล็ดข้าวให้ละลายแล้วเท หรือเทน้ำล้างบาตรลงใน

กระโถนแล้วนำไปเทข้างนอก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

โภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ สิกขาบท จบ

ธรรมเทศนาปฏิสังยุตต์ ๑๖ สิกขาบท

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗

[๘๕๗] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้กั้นร่ม บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า

ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่มเล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่อง

นี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 927

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอแสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่ม จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่มเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่

เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๒๐๒. ๕๗. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดง

ธรรมแก่บุคคลมีร่มในมือ.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

[๘๕๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายรังเกียจเพื่อจะแสดงธรรม

แก่คนเป็นไข้มีร่มในมือ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน

พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงไม่แสดงธรรมแก่คนเป็นไข้ซึ่งมีร่มในมือเล่า

ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 928

ทรงอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนไข้

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้แสดงธรรมแก่คนเป็นไข้มีร่มในมือได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๒๐๒. ๕๗. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดง

ธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ.

สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า ร่ม ได้แก่ร่ม ๓ ชนิด คือ ร่มผ้าขาว ๑ ร่มลำแพน ๑

ร่มใบไม้ ๑ ที่เย็บเป็นวงกลมผูกติดกับซี่.

ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ ถ้อยคำที่อิงอรรถอิงธรรม เป็นพุทธภาษิต

สาวกภาษิต อิสีภาษิต เทวตาภาษิต.

บทว่า แสดง คือแสดงโดยบท ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ อักขระ.

อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่บุคคลไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ภิกษุใดอาศัย

ความเอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 929

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๘

[๘๕๙] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้ถือไม้พลอง. . .

พระอนุบัญญัติ

๒๐๓. ๕๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่

บุคคลไม้ใช่ผู้เจ็บไข้มีไม้พลองในมือ.

สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า ไม้พลอง ได้แก่ ไม้พลองยาวสี่ศอกของมัชฌิมบุรุษ ยาว

กว่านั้น ไม่ใช่ไม้พลอง สั้นกว่านั้น ก็ไม่ใช่ไม้พลอง.

อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง ภิกษุใดอาศัย

ความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ถือไม้พลอง ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ด้วย ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๙

[๘๖๐] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้ถือศัสตรา . . .

พระอนุบัญญัติ

๒๐๔. ๕๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรม

แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีศสัตราในมือ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 930

สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า ศัสตรา ได้แก่ วัตถุเครื่องประหารมีคมข้างเดียว มีคม

สองข้าง

อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรม แก่บุคคลผู้ไม่เป็นไข้ผู้ถือศัสตรา ภิกษุใด

อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ไม่เป็นไข้ ผู้ถือศัสตรา ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

[๘๖๑] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้ถืออาวุธ. . .

พระอนุบัญญัติ

๒๐๕. ๖๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรม

แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีอาวุธในมือ.

สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า อาวุธ ได้แก่ ปืน เกาทัณฑ์.

อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ถืออาวุธ ภิกษุใดอาศัย

ความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีมือถืออาวุธ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 931

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

วรรคที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 932

วรรคที่ ๗ ปาทุกาวรรค

สิกขาบทที่ ๑

[๘๖๒] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้นพระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้สวมเขียงเท้า . .

พระอนุบัญญัติ

๒๐๖. ๖๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่

บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ สวมเขียงเท้า.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้สวมเขียงเท้า ภิกษุใด

อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบเขียงเท้าก็ดี ผู้

สวมเขียงเท้าก็ดี ผู้สวมเขียงเท้าหุ้มส้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๒

[๘๖๓] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้สวมรองเท้า . . .

พระอนุบัญญัติ

๒๐๗. ๖๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรม

แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ สวมรองเท้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 933

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้สวมรองเท้า ภิกษุใด

อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบรองเท้าก็ดี ผู้สวม

รองเท้าก็ดี ผู้สวมรองเท้าหุ้มส้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๓

[๘๖๔] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้นั่งในยาน . . .

พระอนุบัญญัติ

๒๐๘. ๖๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจัก ไม่แสดงธรรม

แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ไปในยาน.

สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม วอ เปลหาม.

อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งไปในยาน ภิกษุใด

อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งไปในยาน ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 934

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๔

[๘๖๕] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้อยู่บนที่นอน...

พระอนุบัญญัติ

๒๐๙. ๖๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจัก ไม่แสดงธรรม

แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ ผู้อยู่บนที่นอน.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้อยู่บนที่นอน ภิกษุใด

อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นอนอยู่ โดยที่สุดแม้บน

พื้นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๕

[๘๖๖] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้นั่งรัดเข่า. . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 935

พระอนุบัญญัติ

๒๑๐. ๖๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรม

แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้นั่งรัดเข่า.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่า ภิกษุใดอาศัย

ความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่าด้วยมือก็ดี ผู้นังรัดเข่า

ด้วยผ้าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๖

[๘๖๗] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้โพกผ้าพันศีรษะ...

พระอนุบัญญัติ

๒๑๑. ๖๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรม

แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้พันศีรษะ.

สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า พันศีรษะ คือ พันไม่ให้เห็นปลายผม.

อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้โพกผ้าพันศีรษะ ภิกษุใด

อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้โพกผ้าพันศีรษะ ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 936

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ให้เขาเปิดปลายผมจุกแล้ว

แสดง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๗

[๘๖๘] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล

ผู้ห่มผ้าคลุมศีรษะ. . .

พระอนุบัญญัติ

๒๑๒. ๖๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรม

แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้คลุมศีรษะ.

สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า คลุมศีรษะ คือ ที่เขาเรียกกันว่าคลุมตลอดศีรษะ.

อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ ภิกษุใดอาศัย

ความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ให้เขาเปิดผ้าคลุมศีรษะ

แล้วแสดง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๘

[๘๖๙] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งอยู่ที่พื้นดินแสดง-

ธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะ. . .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 937

พระอนุบัญญัติ

๒๑๓. ๖๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งอยู่ที่พื้นดิน จัก

ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะ.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุนั่งอยู่บนพื้น ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่บน

อาสนะ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่ที่พื้นดิน แสดงธรรมแก่คนไม่.

เป็นไข้ผู้นั่งอยู่บนอาสนะ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙

[๘๗๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นังอยู่บนอาสนะต่ำ

แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ...ต่าง

ก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์นั่งอยู่บนอาสนะต่ำ จึงได้

แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูงเล่า. . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระมีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอนั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูง

จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 938

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอนั่งอยู่บนอาสนะต่ำจึงได้แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูงเล่า

การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . . ครั้นแล้วทรง

ทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายดังต่อไปนี้:-

เรื่องภรรยาของบุรุษจัณฑาล

[๘๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภรรยาของบุรุษ

จัณฑาลคนหนึ่งในพระนครพาราณสีได้ทั้งครรภ์ นางได้บอกแก่สามีว่า นาย

ดิฉัน กำลังตั้งครรภ์ ดิฉันอยากรับประทานมะม่วง.

สามีตอบว่า มะม่วงไม่มี เพราะไม่ใช่หน้ามะม่วง.

นางกล่าวว่า ถ้าไม่ได้รับประทาน ดิฉันจักตาย.

สมัยนั้น ต้นมะม่วงของหลวงมีผลไม่วาย มีอยู่ต้นหนึ่ง บุรุษจัณฑาล

นั้นเดินเข้าไปที่ต้นมะม่วงนั้น ครั้นแล้วได้ขึ้นไปแฝงอยู่บนต้นมะม่วงนั้น พอดี

พระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จไปถึงต้นมะม่วงนั้น ครั้นแล้วประทับนั่งบนพระราช -

อาสน์สูงทรงเรียนมนต์กับพราหมณ์ปุโรหิต บุรุษจัณฑาลคิดว่า พระเจ้าแผ่นดิน

พระองค์นี้ประทับนั่งบนพระราชอาสน์สูงเรียนมนต์ ชื่อว่าไม่เคารพธรรม และ

พราหมณ์คนนี้นั่งบนอาสนะต่ำ สอนมนต์แก่พระเจ้าแผ่นดินผู้ประทับนั่งบน

พระราชอาสน์สูงก็ชื่อว่าไม่เคารพธรรม ส่วนเราผู้ลักมะม่วงของหลวง เพราะ

เหตุแห่งสตรีก็ชื่อว่าไม่เคารพธรรมเหมือนกัน แท้จริง การกระทำทั้งนี้ล้วน

ต่ำทรามทั้งนั้น ดังนี้แล้วไต่ลงมา ณ ระหว่างพระเจ้าแผ่นดินและพราหมณ์

ทั้งสองนั้นแล แล้วกล่าวคาถาขึ้นว่าดังนี้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 939

ทั้งสองไม่รู้อรรถ ทั้งสองไม่เห็น

ธรรม คือพราหมณ์ผู้สอนมนต์โดยไม่เคารพ

ธรรม และพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเรียนมนต์

โดยไม่เคารพธรรม.

พราหมณ์นั้นกล่าวคาถาว่าดังนี้:-

เพราะข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันขาว

ผสมกับแกงเนื้อ ข้าพเจ้าบริโภคแล้ว ฉะนั้น

ข้าพเจ้าจึงมิได้ประพฤติอยู่ในธรรม ที่เหล่า

พระอริยะสรรเสริญแล้ว.

บุรุษจัณฑาลนั้นได้กล่าวสองคาถาว่าดังนี้:-

ท่านพราหมณ์ เราติเตียนการได้

ทรัพย์และการได้ยศ เพราะนั่นเป็นการเลี้ยง

ชีพโดยความเป็นเหตุให้ตกต่ำและเป็นการ

เลี้ยงชีพโดยทางที่ไม่ชอบธรรม จะประโยชน์

อันใดด้วยการเลี้ยงชีพเช่นนั้น ท่านจงรีบ

ออกไปเสียเถิด ท่านมหาพราหมณ์ แม้สัตว์

ที่มีชีวิตเหล่าอื่นก็ยังหุงหากินได้ ความ

อาธรรมที่ท่านได้ประพฤติมาแล้ว อย่าได้

ทำลายท่านดุจก้อนหินทำลายหม้อน้ำฉะนั้น.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

[๘๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลครั้งนั้น พราหมณ์นั่งบน

อาสนะต่ำสอนมนต์แก่พระเจ้าแผ่นดินผู้ประทับนั่งบนพระราชอาสน์สูง ยังไม่

เป็นที่พอใจของเรา ไฉนในกาลบัดนี้ จักพอใจที่ภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำแล้ว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 940

แสดงธรรมแก่คนนั่งบนอาสนะสูงเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ

ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๒๑๔. ๖๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จัก

ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้นั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่

บนอาสนะสูง ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนอาสนะต่ำแสดงธรรมแก่คน

ไม่เป็นไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง ต้องอาบัติทุกกฎ

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

[๘๗๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ยืนแสดงธรรมแก่

บุคคลผู้นั่งอยู่. . .

พระอนุบัญญัติ

๒๑๕. ๗๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดง

ธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ผู้นั่งอยู่.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 941

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ยืนอยู่ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ภิกษุใด

อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๑

[๘๗๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินไปข้างหลัง แสดง

ธรรมแก่บุคคลผู้เดินไปข้างหน้า. . .

พระอนุบัญญัติ

๒๑๖. ๗๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปข้างหลัง จัก

ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้เดินไปข้างหน้า.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้เดินไปข้างหลัง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไป

ข้างหน้า ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อเดินไปข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนไม่

เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 942

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๒

[๘๗๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินไปนอกทาง

แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดินไปในทาง. . .

พระอนุบัญญัติ

๒๑๗. ๗๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปนอกทาง

จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้ไปอยู่ในทาง.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้เดินไปนอกทาง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไป

ในทาง ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อเดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่คนไม่

เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ

ธรรมเทศนาปฏิสังยุตต์ ๑๖ สิกขาบท จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 943

ปกิณกะ ๓ สิกขาบท

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๓

[๘๗๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ยืนถ่ายอุจจาระบ้าง

ถ่ายปัสสาวะบ้าง. . .

พระอนุบัญญัติ

๒๑๘. ๗๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่

ยินถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ยืนอยู่ มิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายปัสสาวะ

ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อมิใช่ผู้อาพาธ ยืนถ่ายอุจจาระก็ดี ยืนถ่ายปัสสาวะ

ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ จบ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๔

[๘๗๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่าย

ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงบนของสดเขียว. . .

พระอนุบัญญัติ

๒๑๙. ๗๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่

ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ บนของสดเขียว.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 944

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายปัสสาวะ หรือบ้วน

เขฬะลงบนของสดเขียว ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ถ่าย

อุจจาระก็ดี ถ่ายปัสสาวะก็ดี บ้วนเขฬะก็ดี ลงบนของสดเขียว ต้องอาบัติ

ทุกกฏ

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ของที่ถ่ายลงในที่ปราศจาก

ของสดเขียว แล้วไหลไปรดของสดเขียว ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑

อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๔ จบ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕

[๘๗๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ

ฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ ชาว

บ้านพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร

จึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ เหมือนพวก

คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นพากันเพ่งโทษ

ติเตียนโพทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนา

ว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง

ลงในน้ำเล่า . . .แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 945

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ

จริงหรือ

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย

ไฉนพวกเธอจึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ

เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

เลื่อมใสหรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๒๒๐. ๗๕. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจา-

ระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยประกาฉะนี้.

[๘๗๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุอาพาธทั้งหลาย รังเกียจอยู่ที่จะถ่าย

อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ จึงกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล

นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า เราอนุญาตให้ภิกษุ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 946

ผู้อาพาธ ถ่ายอุจจาระก็ดี ถ่ายปัสสาวะก็ดี บ้วนเขฬะก็ดี ลงในน้ำได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

ดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๒๒๐. ๗๕. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่

ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ

ลงในน้ำ ภิกษุใดอาศัยความไม่เฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ

บ้วนเขฬะ ลงในน้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ของที่ถ่ายไว้บนบกแล้วไหล

ลงสู่น้ำ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕ จบ

วรรคที่ ๗ จบ

ปกิณกะ ๓ สิกขาบท จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 947

บทสรุป

ท่านทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้า

ขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือเสขิยะเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์

แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ

ข้าพเจ้าชื่อถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้ง

หลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ในธรรมคือเสขิยะเหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง

ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้แล.

เสขิยกัณฑ์ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 948

ธรรมคืออธิกรณสมถะ

[๘๘๐] ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ ๗ ประการ

เหล่านี้แล มาสู่อุเทศ

คือ พึงให้ระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า ๑ พึงให้ระเบียบที่ยกสติ

ขึ้นเป็นหลัก ๑ พึงให้ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว ๑ ทำตามสารภาพ ๑

วินิจฉัยอาศัยความเห็นข้างมาก ๑ กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด ๑ ระเบียบดังกลบไว้

ด้วยหญ้า ๑ เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น ๆ แล้ว.

บทสรุป

ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ประการ ข้าพเจ้ายกขึ้น

แสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคืออธิกรณสมถะเหล่านั้น

ว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่าน

ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลาย

เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในธรรมคืออธิกรณสมถะ

เหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้แล.

ธรรมคืออธิกรณสมถะ จบ

คำนิคม

[๘๘๑] ท่านทั้งหลาย นิทานข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

ธรรมคือปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

ธรรมคือสังฆาทิเลส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 949

ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

ธรรมคือปาฎิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ประการ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล.

สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีเท่านี้ มาในพระปาติ-

โมกข์นับเนื่องในพระปาติโมกข์ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน

พวกเราทั้งหมดนี้แล พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกันไม่วิวาทกัน

ศึกษาในพระปาติโมกข์นั้น เทอญ

มหาวิภังค์ จบ

พระวินัยปิฏกเล่ม ๒ จบ

เสขิยกัณฑวรรณนา

สิกขาบทเหล่าใด ซึ่งพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าผู้คงที่มิสิกขาที่ทรงศึกษามา ตรัส

เรียกว่า เสขิยะ บัดนี้จะมีลำดับการพรรณนา

เสขิยะแม้เหล่านั้นดังต่อไปนี้.

วินิจฉัย ในเสขิยะเหล่านั้น พึงทราบดังต่อไปนี้:-

วรรคที่ ๑

บทว่า ปริมณฺฑล แปลว่า เป็นมณฑลโดยรอบ.

สองบทว่า นาภิมณฺฑล ชานุมณฺฑล มีความว่า ภิกษุนุ่งปิด

เหนือมณฑลสะดือ ใต้มณฑลเข่า ให้ผ้านุ่งห้อยลงภายใต้มณฑลเข่าตั้งแต่กระ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 950

ดูกแข้งไปประมาณ ๘ นิ้ว. ท่านปรับเอาเป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้นุ่งให้ห้อยล้ำลง

มากกว่านั้น. ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า สำหรับภิกษุผู้นั่งจะปกปิดภายใต้

มณฑลเข่าประมาณ ๔ องคุลี. แต่ผ้านุ่งของภิกษุผู้นุ่งอย่างนี้ได้ประมาณจึงควร.

ผ้านุ่งนั้นมีประมาณดังต่อไปนี้:- ด้านยาว ๕ ศอกกำ ด้านกว้าง ๒

ศอกคืบ. แต่เพราะไม่ได้ผ้านุ่งมีประมาณเช่นนั้น แม้ผ้านุ่งขนาดกว้าง ๒ ศอก

ก็ควร เพื่อจะปิดมณฑลเข่าได้, แต่อาจเพื่อจะปิดมณฑลสะดือได้แม้ด้วยจีวร

แล. บรรดาจีวรชั้นเดียว และ ๒ ชั้นนั้น จีวรชั้นเดียวแม้ที่ภิกษุนุ่งแล้วอย่าง

นี้ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ได้, แต่จีวร ๒ ชั้น จึงจะตั้งอยู่ได้.

ในคำว่า โอลมฺพนฺโต นิวาเสติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ มี

วินิจฉัยดังนี้:- จะเป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้นุ่งเลื้อยข้างหลังอย่างเดียวเท่านั้นก็หา

ไม่ แต่ยังเป็นทุกกฏเหมือนกัน แม้แก่ภิกษุผู้นุ่งทำนองการนุ่งที่โทษแม้อย่าง

อื่น ที่ตรัสไว้ในขันธกะโดยนัยเป็นต้นว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุฉัพพัคคีย์

นุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์นุ่งผ้ามีชายดุจงวงช้าง นุ่งผ้าดุจหางปลา นุ่งผ้าไว้ ๔ มุมแฉก

นุ่งผ้าดุจขั้วตาล นุ่งผ้ามีกลีบทั้งร้อย* ดังนี้, โทษการนุ่งทั้งหมดนั้น ย่อมไม่

มีแก่ภิกษุผู้นุ่งเป็นปริมณฑล โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. นี้ความสังเขปใน

สิกขาบทนี้. ส่วนความพิสดาร จักมีแจ้งในขันธกะนั้นนั่นแล.

บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า ภิกษุผู้ไม่แกล้งนุ่งอย่างนี้ว่า เราจัก

นุ่งให้เลื้อยข้างหน้า หรือข้างหลัง ที่แท้ตั้งใจว่า จักนุ่งให้เป็นปริมณฑลนั่น

แหละ แต่นุ่งผิดไปไม่ได้ปริมณฑล ไม่เป็นอาบัติ.

บทว่า อสติยา ได้แก่ แม้ภิกษุผู้ส่งใจไปทางอื่น นุ่งอยู่อย่างนั้น

ก็ไม่เป็นอาบัติ.

* วิ จุลฺล. ๗/ ๖๖.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 951

ในคำว่า อชานนฺตสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุผู้ไม่รู้ธรรมเนียม

การนุ่งก็ไม่พ้นอาบัติ. อันที่จริงภิกษุพึงเรียนเอาธรรมเนียมการนุ่งให้ดี. การ

ไม่เรียนเอาธรรมเนียมการนุ่งนั้นนั่นเอง จัดเป็นความไม่เอื้อเฟื้อนั้น ควรแก่

ภิกษุผู้แกล้งไม่เรียนเท่านั้น. เพราะฉะนั้น ภิกษุใดแม้เรียนเอาธรรมเนียม

แล้ว ยังไม่รู้จักว่า ผ้านุ่งเลื้อยขึ้น หรือเลื้อยลง, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น.

แต่ในกุรุนที ท่านกล่าวว่า ภิกษุผู้ไม่รู้เพื่อจะนุ่งให้เป็นปริมณฑล ก็ไม่เป็น

อาบัติ ส่วนภิกษุผู้แข้งลีบก็ดี มีปั้นเนื้อปลี แข็งใหญ่ก็ดี จะนุ่งให้เลื้อยลงจาก

มณฑลเข่าเกินกว่า ๘ องคุลี เพื่อต้องการให้เหมาะสม ก็ควร.

บทว่า คิลานสฺส มีความว่า ภิกษุมีแผลเป็นที่แข้งหรือที่เท้าจะนุ่ง

ให้เลื้อยขึ้น หรือให้เลื้อยลง ควรอยู่.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เนื้อร้ายก็ดี พวกโจรก็ดี ไล่ติดตาม

มา, ในอันตรายเห็นปานนี้ ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้ง

นั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์

สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนา ดังนี้แล.

พระปุสสเทวเถระ กล่าวว่า เป็นสจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะมีเวทนา ๓

ฝ่ายพระอุปติสสเถระกล่าวว่า เป็นโลกวัชชะ อกุศลจิต ทุกขเวทนา เพราะ

ท่านอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อกล่าวไว้.

สองบทว่า ปริมณฺฑล ปารุปิตพฺพ มีความว่า ภิกษุไม่ห่มอย่าง

คฤหัสถ์ มีประการมากอย่างนี้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ห่ม

อย่างคฤหัสถ์ เป็นต้น พึงทำมุมทั้ง ๒ ของจีวรให้เสมอกัน ห่มให้เป็นปริ-

มณฑลถูกธรรมเนียมการห่มโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในสิกขาบทนี้นั้นแล. ก็

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 952

สิกขาบททั้ง ๒ นี้ตรัสไว้โดยไม่แปลกกัน. เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงนุ่งและพึงห่ม

ให้เป็นปริมณฑลนั่นแหละ ทั้งในวัดทั้งในละแวกบ้าน ฉะนี้แล. สมุฏฐาน

เป็นต้น พร้อมทั้งเถรวาท บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยดังได้กล่าวแล้ว ใน

สิกขาบทก่อนนั่นแล.

สองบทว่า กาย วิวริตฺวา คือ เปิดเข่าบ้าง อกบ้าง.

บทว่า สุปฏิจฺฉนฺเนน มีความว่า ไม่ใช่ว่าห่มคลุมศีรษะ, ตาม

ความจริง ภิกษุพึงห่มกลัดลูกดุมแล้ว เอาชายอนุวาตทั้ง ๒ ข้างปิดคอจัดมุม

ทั้ง ๒ (แห่งจีวร) ให้เสมอกัน ม้วนเข้ามาปิดจนถึงข้อมือแล้ว จึงไปในละแวก

บ้าน.

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบว่า:- ภิกษุพึงนั่งเปิดศีรษะตั้งแต่

หลุมคอ เปิดมือทั้ง ๒ ตั้งแต่ข้อมือ เปิดเท้าทั้ง ๒ ทั้งแต่เนื้อปลีแข้ง ( ใน

ละแวกบ้าน).

บทว่า วาสูปคตสฺส มีความว่า ภิกษุผู้เข้าไปเพื่อต้องการอยู่พักถึง

จะนั่งเปิดกายในกลางวัน หรือกลางคืน ก็ไม่เป็นอาบัติ.

บทว่า สุสวุโต ได้แก่ ไม่คะนองมือ หรือเท้า ความว่า เป็นผู้

เรียบร้อย (ฝึกหัดมาดี).

บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ คือ เป็นผู้มีจักขุทอดลงเบื้องต่ำ.

สองบทว่า ยุคมตฺต เปกฺขนฺเตน มีความว่า ม้าอาชาไนยตัวฝึก

หัดแล้ว อัน เขาเทียมไว้ที่แอก ย่อมมองดูชั่วแอก คือ แลดูภาคพื้นไปข้าง

หน้าประมาณ ๔ ศอก. ภิกษุแม้นี้ ก็พึงเดินแลดูชั่วระยะประมาณเท่านี้.

ข้อว่า โย อนาทริย ปฏิจฺจ ตห ตห โอโลเกนฺโต มีความ

ว่า ภิกษุใดเดินแลดูทิศาภาค ปราสาท เรือนยอด ถนนนั้น ๆ ไปพลาง,

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 953

ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ. แต่เพียงจะหยุดยืนในที่แห่งหนึ่ง ตรวจดูว่า ไม่มี

อันตรายจากช้าง ม้าเป็นต้น ควรอยู่. แม้ภิกษุผู้จะนั่ง ก็ควรนั่งมีจักษุทอด

ลงเหมือนกัน.

บทว่า อุกฺขิตฺตกาย คือ มีการเวิกขึ้น. คำนี้เป็นตติยาวิภัตติ ลง

ในลักษณะแห่งอิตถัมภูต. อธิบายว่า เป็นผู้มีจีวรเวิกขึ้นข้างเดียว หรือทั้ง ๒

ข้าง. อันภิกษุอย่าพึงเดินไปอย่างนั้น ตั้งแต่ภายในเสาเขื่อน (ภายในธรณี

ประตู). ในเวลานั่งแล้ว แม้เมื่อจะนำธมกรกออก อย่าเวิกจีวรขึ้นก่อนแล้ว

จึงนำออก ฉะนี้แล.

วรรคที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 954

วรรคที่ ๒

บทว่า อุชฺชคฺฆิกาย คือ หัวเราะลั่นอยู่. ในบทว่า อุชฺชคฺฆิกาย

นี้ เป็นตติยาวิภัตติ โดยนัยดังได้กล่าวแล้วเหมือนกัน.

ในคำว่า อปฺปสทฺโท อนฺตรฆเร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- จัดว่า

เป็นผู้มีเสียงน้อยโดยประมาณขนาดไหน ? บรรดาพระเถระทั้งหลายผู้นั่งใน

เรือนขนาด ๑๒ ศอกอย่างนี้ คือ พระสังฆเถระนั่งข้างต้น พระเถระรูปที่ ๒

นั่งท่ามกลาง พระเถระรูปที่ ๓ นั่งข้างท้าย, พระสังฆเถระปรึกษากับพระเถระ

ที่ ๒. พระเถระรูปที่ ๒ ฟังเสียงและกำหนดถ้อยคำของพระสังฆเถระนั้นได้.

ส่วนพระเถระรูปที่ ๓ ได้ยินเสียงกำหนดถ้อยคำไม่ได้. ด้วยขนาดเพียงเท่านี้จัด

เป็นผู้มีเสียงน้อย. แต่ถ้าว่าพระเถระรูปที่ ๓ กำหนดถ้อยคำได้ ชื่อว่า เป็นผู้

มีเสียงดังแล.

สองบทว่า กาย ปคฺคเหตฺวา มีความว่า ภิกษุพึงเดินและพึงนั่ง

ไม่โยกโคลง คือ ด้วยกายตรง ด้วยอิริยาบถเรียบร้อย.

สองบทว่า พาหุ ปคฺคเหตฺวา คือ ทำแขนให้นิ่ง ๆ.

สองบทว่า สีล ปคฺคเหตฺวา คือ ตั้งศีรษะไม่เอียงไปเอียงมา ได้แก่

ให้ตรง (ไม่นั่งคอพับ).

วรรคที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 955

วรรคที่ ๓

การยกมือวางบนสะเอวทำความค้ำ ชื่อว่า ทำความค้ำ.

บทว่า โอคุณฺิโต แปลว่า คลุมศีรษะ.

กิริยาที่ภิกษุยกส้นเท้าทั้ง ๒ จดพื้นดินด้วยเพียงปลายเท้าทั้ง ๒ หรือ

เขย่งปลายเท้าทั้ง ๒ จดพื้นดินด้วยเพียงส้นเท้าทั้ง ๒ เดินไป พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า เดินเขย่งเท้าในคำว่า อุกฺกุฏิกาย นี้ ก็ตติยาวิภัตติ ในคำว่า

อุกฺกุฏิกาย นี้ มีลักษณะดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. แม้การรัดเข่าด้วยสายโยก

ก็ชื่อว่าการรัดเข่าด้วยผ้าเหมือนกัน ในคำว่า ทุสฺสปลฺลตฺถิกาย นี้.

บทว่า อากีรนฺเตปิ คือ แม้เมื่อเขากำลังถวายบิณฑบาต.

บทว่า สกฺกจฺจ คือ ตั้งสติไว้.

บทว่า ปตฺตสญฺี คือ กระทำความสำคัญในบาตร. บิณฑบาตซึ่งมี

กับข้าวประมาณเท่าส่วนที่ ๔ แห่งข้าวสวย ชื่อว่าบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.

และในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้ว่า แม้แกงที่ปรุงด้วยถั่วพูเป็นต้น ก็ถึง

การสงเคราะห์เข้าในคำว่า มุคฺคสูโป มาสสูโป นี้. กับข้าวมีรสชวนให้ยิน

ดี* แกงผักดอง รสปลาและรสเนื้อเป็นต้นที่เหลือ เว้นกับข้าว ๒ อย่างเสีย

* สารัตถทีปนี ๓/๓๘๖ แก้ว่า โอโลณีติ เอกา พฺพญฺชนวิกติ โย โกจิ สุทฺโธ กญฺชิกตกฺ-

กาทิรโสติ เกจิ. แปลว่า กับข้าวชนิดหนึ่งชื่อว่าโอโลณี. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ได้แก่ รส

น้ำข้าวและเปรียงเป็นต้นล้วน ๆ ชนิดใดชนิดหนึ่ง. วิมติ : แก้เหมือนกันว่า โอโลณีติ เอกา

พฺพญฺชนวิกติ. กญฺชิกตกุกาทิรโสติ เกจิ.

อตฺถโยชนา ๒/๑๒๔ แก้ว่า อวลิยติ สาทิยตีติ โอโลณิ ลิ สาทเน ณปฺปจฺจโย.

แปลว่า กับข้าวที่ชื่อว่า โอโลณะ ด้วยอรรถว่า น่าอร่อย น่ายินดี ลิธาตุ ลงในอรรถว่า น่า

ยินดีลง ณ ปัจจัย. ผู้ชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 956

พึงทราบว่ารสรส (กับข้าวต่างอย่าง) ในคำว่า รสรเส นี้. ไม่เป็นอาบัติ

แก่ภิกษุผู้รับกับข้าวต่างอย่างนั้นแม้มาก.

บทว่า สมติตฺติก แปลว่า เต็มเสมอ คือเพียบเสมอ.

ในคำว่า ถูปีกต ปิณฺฑปาต ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส

นี้ ความว่า บิณฑบาต ที่ภิกษุทำให้ล้นรอยขอบภายในปากบาตรขึ้นมา ชื่อ

ว่า ทำให้พูนล้นบาตร คือ เพิ่มเติม แต่งเสริมให้เต็มแปล้ในบาตร. ภิกษุไม่

รับบิณฑบาตที่ทำอย่างนั้น พึงรับพอประมาณเสมอรอยภายในขอบปากบาตร.

ในคำว่า ถูปีกต นั้น พระอภัยเถระกล่าวว่า ที่ชื่อว่าทำให้ล้นบาตร

ได้แก่ทำ (ให้ล้นบาตร) ด้วยโภชนะทั้ง ๕. แต่พระจูฬนาคเถระผู้ทรงไตร

ปิฏกกล่าวสูตรนี้ว่า ยาคูก็ดี ภัตก็ดี ขาทนียะก็ดี ก้อนแป้งก็ดี ไม้ชำระฟัน

ก็ดี ด้ายชายผ้าก็ดี ชื่อว่าบิณฑบาต แล้วกล่าวว่า แม้ด้ายชายผ้าทำให้พูนเป็น

ยอดดุจสถูป ก็ไม่ควร.

พวกภิกษุฟังคำของพระเถระเหล่านั้นแล้ว ไปยังโรหณชนบทเรียน

ถามพระจูฬสุนนเถระว่า ท่านขอรับ บิณฑบาตล้นบาตร กำหนด้วยอะไร ?

และได้เรียนบอกให้ทราบวาทะของพระเถระเหล่านั้น .

พระเถระได้ฟังแล้วกล่าวว่า จบละ ! พระจูฬนาค ได้พลาดจาก

ศาสนา, โอ ! พระจูฬนาคนั้น ได้ให้ช่องทางแก่ภิกษุเป็นอันมาก, เราสอน

วินัยให้แก่พระจูฬนาคนี้ถึง ๗ ครั้ง ก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้สักครั้ง, พระจูฬนาค

นี้ได้มาจากไหน จึงกล่าวอย่างนี้.

พวกภิกษุขอร้องพระเถระว่า โปรดบอกในบัดนี้เถิด ขอรับ ! (บิณ-

ฑบาตล้นบาตร) กำหนดด้วยอะไร ? พระเถระกล่าวว่า กำหนดด้วยยาวกาลิก

ผู้มีอายุ ! เพราะฉะนั้น ยาคูก็ดี ภัตก็ดี ผลาผลก็ดี ที่เป็นอามิสอย่างใดอย่างหนึ่ง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 957

ภิกษุพึงรับเสมอ (ขอบบาตร) เท่านั้น. ก็แลยาคูและภัต หรือผลาผลนั้น

พึงรับเสมอ (ขอบบาตร) ด้วยบาตรที่ควรอธิษฐาน, แต่ด้วยบาตรนอกนี้รับ

ให้ล้นขึ้นมาแม้เป็นเหมือนยอดสถูปก็ควร. ส่วนยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ

ยาวชีวิก รับให้ล้นเหมือนยอดสถูปแม้ด้วยบาตรควรอธิษฐานก็ได้. ภิกษุรับ

ภัตตาหารด้วยบาตร ๒ ใบ บรรจุให้เต็มใบหนึ่งแล้วส่งไปยังวิหาร ควรอยู่.

แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ของกินมีขนม ลำอ้อย ผลไม้น้อยใหญ่เป็นต้นที่เขา

บรรจุลงในบาตรพร่องอยู่แต่ข้างล่าง ไม่ชื่อว่าทำให้ล้นบาตร.

พวกชาวบ้านถวายบิณฑบาต วางกระทงขนมไว้ (ข้างบน) จัดว่า

รับล้นบาตรเหมือนกัน. แต่พวงดอกไม้ และพวงผลกระวานผลเผ็ดร้อน (พริก)

เป็นต้น ที่เขาถวายวางไว้ (ข้างบน) ไม่จัดว่ารับล้นบาตร. ภิกษุรับเต็มแล้ววาง

ถาด หรือใบไม้ข้างบนข้าวสวย ไม่ชื่อว่ารับล้นบาตร. แม้ในกุรุนทีก็กล่าวไว้

ว่า พวกทายกใส่ข้าวสวยลงบนถาดหรือบนใบไม้แล้ว วางถวายถาดหรือใบไม้

แล้ว วางถวายถาดหรือใบไม้นั้นบนที่สุดบาตร (บนฝาบาตร), ภาชนะแยกกัน

ควรอยู่. ภิกษุอาพาธไม่มีมาในอนาปัตติวารในสิกขาบทนี้ . เพราะฉะนั้น

โภชนะที่ทำให้เป็นยอดดุจสถูป (ที่รับล้นบาตร) ไม่ควรแม้แก่ภิกษุอาพาธ.

จะรับประเคนพร่ำเพรื่อในภาชนะทั่วไป ก็ไม่ควร. แต่โภชนะที่รับประเคนไว้

แล้ว จะรับประเคนใหม่ให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงฉัน ควรอยู่ฉะนี้แล.

วรรคที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 958

วรรคที่ ๔

แม้ในคำว่า สกฺกจฺจ นี้ ก็เป็นอาบัติ เพราะรับโดยไม่ได้เอื้อเฟื้อ

เหมือนกัน. แต่ของที่รับ ไว้เป็นอันรับประเคนแล้วแล.

บทว่า สกฺกจฺจ และบทว่า ปตฺตสญฺี ทั้ง ๒ มีนัยดังกล่าวแล้ว

นั่นแหละ.

บทว่า สปทาน ได้แก่ ตามลำดับไม่ทำให้ลักลั่นในบิณฑบาตนั้นๆ.

คำที่ควรจะกล่าวในบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน

บทว่า ถูปโต คือ แต่ยอด. ความว่า แต่ท่ามกลาง.

สองบทว่า ปฏิจฺฉาเทตฺวา เทนฺติ มีความว่า พวกเจ้าของหมก

กับข้าวไว้ถวายในสมัยห้ามฆ่าสัตว์เป็นต้น. ในเรื่องวิญญัตติไม่มีคำที่จะพึง

กล่าว แม้ในอุชฌานสัญญีสิกขาบทนี้ ภิกษุอาพาธก็ไม่พ้น

สองบทว่า นาติมหนฺโต กวโฬ มีความว่า ฟองไข่นกยงใหญ่เกิน

ไป ฟองไข่ไก่ ก็เล็กเกินไป, คำข้าวมีประมาณขนาดกลางระหว่างฟองไข่นก

ยูงและไข่ไก่นั้น (ชื่อว่าคำข้าวไม่ใหญ่เกินไป).

บัณฑิตพึงถือเอาขาทนียะทุกอย่างมีมูลขาทนียะเป็นต้น ในคำว่า

ขชฺชเก นี้.

วรรคที่ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 959

วรรคที่ ๕

บทว่า อนาหเฏ คือ ยังนำมาไม่ถึง. ความว่า ยังไม่ทันถึงช่องปาก.

สองบทว่า สพฺพ หตฺถ ได้แก่ นิ้วมือทุกนิ้ว.

ในบทว่า สกวเฬน นี้ มีวินิจฉัย ดังนี้:- ภิกษุกำลังแสดงธรรมใส่

สมอ หรือชะเอมเครือเข้าปาก แสดงธรรมไปพลาง, คำพูดจะไม่ขาดหายไป

ด้วยชิ้นสมอเเป็นต้นเท่าใด, เมื่อชิ้นสมอเป็นต้นเท่านั้นยังมีอยู่ในปาก จะพูด

ก็ควร.

บทว่า ปิณฺฑุกฺเขปก คือ ฉันเดาะคำข้าว ๆ.

บทว่า กวฬาวจฺเฉทก คือ ฉันกัดคำข้าว ๆ.

บทว่า อวคณฺฑการก ได้แก่ ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ยดุจลิง.

บทว่า หตฺถนิทฺธูนก คือ ฉันสลัดมือ ๆ.

บทว่า สิตฺถาวการก คือ ฉันโปรยเม็ดข้าว ๆ.

บทว่า ชิวฺหานิจฺฉารก คือ ฉันแลบลิ้น ๆ.

บทว่า จปุจปุการก ได้แก่ ฉันทำเสียงดังอย่างนี้คือ จับ ๆ.

วรรคที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 960

วรรคที่ ๖

บทว่า สุรุสุรุการก ได้แก่ ฉันทำเสียงดังอย่างนี้ คือ ซูด ๆ.

บทว่า ทโว คือ คำตลกคะนอง. อธิบายว่า ภิกษุไม่พึงเปล่งคำพูด

ตลกคะนองนั้น ปรารภพระรัตนตรัยโดยปริยายไร ๆ โดยนัยเป็นต้นว่า พระ

พุทธหิน พระพุทธปลอม, พระธรรมอะไร ? พระธรรมโค พระธรรมแพะ

พระสงฆ์อะไร ? หมู่เนื้อ หมู่ปศุสัตว์ เป็น.

บทว่า หตฺถนิลฺเลหก คือ ฉันเลียมือ ๆ. จริงอยู่ ภิกษุผู้กำลังฉัน

จะเลียแม้เพียงนิ้วมือ ก็ไม่ควร. แต่ภิกษุจะเอานิ้วมือทั้งหลายหยิบยาคูแข้น

น้ำอ้อยงบ และข้าวปายาสเป็นต้น แล้วสอดนิ้วมือเข้าในปากฉัน ควรอยู่.

แม้ในการฉันขอดบาตรเลียริมฝีปากเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น

ภิกษุไม่ควรเอานิ้วมือ แม้นิ้วเดียวขอดบาตร. แม้ริมฝีปากข้างหนึ่ง ก็ไม่ควร

เอาลิ้นเลีย. แต่จะเอาเฉพาะเนื้อริมฝีปากทั้ง ๒ ข้างคาบแล้วขยับ ให้เข้าไปภาย

ในปากควรอยู่.

บทว่า โกกนุเท คือ ในปราสาทมีชื่ออย่างนี้. ดอกบัว เรียกกันว่า

โกกนุท. ก็ปราสาทนั้น อันนายช่างทำให้มีสัณฐานคล้ายดอกบัว. ด้วยเหตุ

นั้น ชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อให้ปราสาทนั้นว่า โกกนุท นั่นเทียว.

คำว่า ไม่รับโอน้ำด้วยมือ ที่เปื้อนอามิส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ห้ามด้วยอำนาจแห่งความน่าเกลียด. เพราะฉะนั้น สังข์ก็ดี ขันน้ำก็ดี ภาชนะ

ก็ดี เป็นของสงฆ์ก็ตาม เป็นของบุคคลก็ตาม เป็นของคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นของ

ส่วนตัวก็ตาม ไม่ควรเอามือเปื้อนอามิสจับทั้งนั้น. เมื่อจับ เป็นทุกกฏ แต่

ถ้าว่า บางส่วนของมือ ไม่ได้เปื้อนอามิส, จะจับโดยส่วนนั้น ควรอยู่.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 961

บทว่า อุทฺธริตฺวา วา ได้แก่ ซาวเมล็ดข้าวสุกขึ้นจากน้ำแล้วกอง

ไว้ในที่แห่งหนึ่ง จึงเทน้ำทิ้ง.

บทว่า ภินฺทิตฺวา วา ได้แก่ ขยี้เมล็ดข้าวสุกให้มีคติเหมือนน้ำแล้ว

เททิ้งไป.

บทว่า ปฏิคฺคเห วา ได้แก่ เอากระโถนรับไว้ ทิ้งเมล็ดข้าวสุกนั้น

ลงกระโถน.

บทว่า นีหริตฺวา ได้แก่ นำออกไปเทในภายนอก ไม่เป็นอาบัติ

แก่ภิกษุผู้เททิ้งอย่างนี้.

บทว่า เสตจฺฉตฺต แปลว่า ร่มขาวที่หุ้มด้วยผ้า.

บทว่า กิลฺญฺชจฺฉตฺต แปลว่า ร่มสานด้วยตอกไม้ไผ่.

บทว่า ปณฺณจฺฉตฺต แปลว่า ร่มที่ทำด้วยใบไม้อย่างหนึ่ง มีใบตาล

เป็นต้น.

ก็คำว่า มณฺฑลพทฺธ สลากพทฺธ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

เพื่อทรงแสดงโครงร่มทั้ง ๓ ชนิด. ก็ร่มทั้ง ๓ ชนิดนั้น เป็นร่มที่เย็บเป็นวง

กลม และผูกติดกับซี่. ถึงแม้ร่มใบไม้ใบเดียว อันเขาทำด้วยคันซึ่งเกิดที่ต้น.

ตาลเป็นต้น ก็ชื่อว่าร่มเหมือนกัน. บรรดาร่มเหล่านี้ ร่มชนิดใดชนิดหนึ่งที่

มีอยู่ในมือของบุคคลนั้น ; เหตุนั้นบุคคลนั้น ชื่อว่า มีร่มในมือ. บุคคลนั้น

กั้นร่มอยู่ก็ดี แบกไว้บนบ่าก็ดี วางไว้บนตักก็ดี ยังไม่ปล่อยมือคราบใด จะ

แสดงธรรมแก่เขาไม่ควรตราบนั้น เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้แสดง โดยนัยดังที่

กล่าวแล้วนั่นแล. แต่ถ้าว่า ผู้อื่นกางร่มให้เขาหรือร่มนั้นตั้งอยู่บนที่รองร่ม

พอแต่ร่มพ้นจากมือ ก็ไม่เชื่อว่า ผู้มีร่มในมือ, จะแสดงธรรมแก่บุคคลนั้น

ควรอยู่. ก็การกำหนดธรรมในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าว

แล้วในปทโสธรรมสิกขาบทนั่นแล.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 962

ไม้พลองยาว ๔ ศอกของมัชฌิมบุรุษ ชื่อว่า ไม้พลองในคำว่า ทณฺฑ-

ปาณิสฺส นี้. ก็บัณฑิตพึงทราบความที่บุคคลนั้นมีไม้พลองในมือ โดยนัย

ดังได้กล่าวแล้วในบุคคลผู้มีร่มในมือนั่นแล. แม้ในบุคคลผู้มีศัสตราในมือ ก็

นัยนี้เหมือนกัน. เพราะว่า แม้บุคคลผู้ยืนผูกสอดดาบ ยังไม่ถึงการนับว่าเป็น

ผู้มีศัสตราในมือ.

ในคำว่า อาวุธปาณิสฺส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ที่ชื่อว่า

อาวุธ ได้แก่ ปืน เกาทัณฑ์ ดังนี้ แม้โดยแท้. ถึงอย่างนั้น ธนูแม้ทุก

ชนิด พร้อมด้วยลูกศรชนิดแปลก ๆ ผู้ศึกษาก็พึงทราบว่า อาวุธ เพราะฉะนั้น

ภิกษุจะแสดงธรรมแก่บุคคลผู้ไม่เจ็บไข้ ซึ่งยืน หรือนั่งถือธนูกับลกศรก็ดี ถือ

แต่ลูกศรล้วนก็ดี ถือแต่ธนูมีสายก็ดี ถือแต่ธนูไม่มีสายก็ดี ย่อมไม่สมควร.

แต่ถ้าธนูสวมคล้องไว้แม้ที่คอของเขา, ภิกษุจะแสดงธรรมแก่เขา ตลอดเวลา

ที่เขายังไม่เอามือจับ (ธนู) ควรทีเดียวแล.

วรรคที่ ๖ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 963

วรรคที่ ๗

บทว่า อกฺกนฺตสฺส ได้แก่ ผู้ยืนเหยียบเขียงเท้าอย่างเดียว ไม่ได้

สอดระหว่างนิ้วเท้าเข้าไปในสายเขียงเท้าคล้ายคันร่ม.

บทว่า ปฏิมุกฺกสฺส คือ ผู้ยืนสวมเขียงเท้าอยู่. แม้ในรองเท้า ก็

นัยนั่นแล. ก็ในคำว่า โอมุกฺโก นี้ ตรัสเรียกบุคคลผู้ยืนสวมรองเท้าหุ้มส้น.

ในคำว่า ยานคตสฺส นี้ ถ้าแม้นว่า คนที่ถูกชน ๒ คนหามไปด้วยมือประสาน

กันก็ดี คนที่เขาวางไว้บนผ้า แล้วใช้บ่าแบกไปก็ดี คนผู้นั่งบนยานที่ไม่ได้เทียม

มีคานหามเป็นต้นก็ดี ผู้นั่งบนยานที่เขารื้อออกวางไว้ แม้มีแต่เพียงล้อก็ดี ย่อม

ถึงการนับว่า ผู้ไปในยาน ทั้งนั้น. แต่ถ้าคนแม้ทั้งสอง ๒ ฝ่าย นั่งไปบน

ยานเดียวกัน จะแสดงธรรมแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ควรอยู่. แม้ใน ๒ คนผู้นั่งแยก

กัน ฝ่ายผู้นั่งอยู่บนยานสูง จะแสดงธรรมแก่ฝ่ายผู้นั่งอยู่บนยานต่ำ ควร. จะ

แสดงแก่ผู้นั่ง แม้บนยานที่เสมอกัน ก็ควร. ภิกษุผู้นั่งอยู่บนยานข้างหน้า จะ

แสดงธรรมแก่ผู้นั่งบนยานข้างหลังควร. แต่ภิกษุผู้นั่งบนยานข้างหลังแม้สูงกว่า

จะแสดงธรรมแก่ผู้นั่งบนยานข้างหน้า (ซึ่งไม่เจ็บไข้) ไม่ควร.

บทว่า สยนคตสฺส มีความว่า ภิกษุผู้ยืน หรือนั่งบนเตียงก็ดี บน

ตั่งก็ดี บนภูมิประเทศก็ดี แม้สูง จะแสดงธรรมแก่ (คนไม่เป็นไข้) ผู้นอน

อยู่ ชั้นที่สุดบนเสื่อลำแพนก็ดี บนพื้นตามปกติก็ดี ไม่ควร. แต่ภิกษุผู้อยู่

บนที่นอน จะนอนบนที่นอนสูงกว่า หรือมีประมาณเสมอกัน แสดงธรรมแก่

ผู้ไม่เป็นไข้อยู่บนที่นอน ควรอยู่. ภิกษุผู้นอนจะแสดงธรรมแก่คนผู้ไม่เป็น

ไข้ ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี ควรอยู่. แม้ภิกษุนั่งจะแสดงธรรมแก่คนผู้ยืน หรือ

ว่านั่ง ก็ควร. ภิกษุยืน จะแสดงธรรมแก่ผู้ยืนเหมือนกัน ก็ได้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 964

บทว่า ปลฺลตฺถิกาย มีความว่า อันภิกษุจะแสดงธรรมแก่ผู้ไม่เจ็บไข้

นั่งรัดเข่าอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นเครื่องรัดเข่าคือสายโยกก็ตาม เครื่องรัดเข่า

คือมือก็ตาม เครื่องรัดเข่าคือผ้าก็ตามไม่ควร.

บทว่า เวฏฺิตสีสสฺส มีความว่า แก่ผู้โพกศีรษะด้วยผ้าสำหรับโพก

หรือด้วยพวงดอกไม้เป็นต้น มิดจนริมผมไม่ปรากฎให้เห็น.

บทว่า โอคุณฺิตสีสสฺส คือ ผู้ห่มคลุมทั้งศีรษะ.

สองบทว่า ฉมาย นิสินฺเนน คือ ผู้นั่งบนพื้นดิน.

สองบทว่า อาสเน นิสินฺนสฺส คือ ชั้นที่สุด ได้แก่ผู้ปูผ้า หรือ

หญ้านั่ง .

บทว่า ฉวกสฺส ได้แก่ คนจัณฑาล.

บทว่า ฉวกา ได้แก่ หญิงจัณฑาล.

บทว่า นิลีโน คือเป็นผู้หลบซ่อนอยู่.

บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ โย หิ นาม แปลว่า บุคคลใดเล่า

ข้อว่า สพฺพมิท จ ปริคตนฺติ ตตฺเถว ปริปติ มีความว่า คน

จัณฑาลนั้นกล่าวถ้อยคำอย่างนี้ว่า โลกนี้ทั้งหมด ถึงความยุ่งเหยิงไม่มีเขตแดน

แล้วไต่ลงมาจากต้นไม้ ในระหว่างชนทั้ง ๒ นั้น ในที่นั้นนั่นเทียว. ก็แล

ครั้นไต่ลงมาแล้ว ยืนอยู่ข้างหน้าแห่งชนแม้ทั้ง ๒ แล้วกล่าวคาถานี้ว่า อุโภ

อตฺถ น ชานนฺติ ฯ เป ฯ อสฺมา กุมภมิวากิทา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า อุโภ ยตฺถ น ชานนฺติ ความว่า

ชนแม้ทั้ง ๒ ย่อมไม่รู้อรรถแห่งบาลี

ข้อว่า ธมฺม น ปสฺสเร ความว่า ชนทั้ง ๒ ย่อมไม่เห็นบาลี.

ถามว่า ชนทั้ง ๒ นั้นเหล่าไหน ?.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 965

แก้ว่า ชนทั้ง ๒ คือ พราหมณ์ผู้สอนมนต์ โดยไม่เคารพธรรม

และพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเรียนมนต์ โดยไม่เคารพธรรม. อธิบายว่า คน

จัณฑาลตั้งคนทั้ง ๒ คือ พราหมณ์และพระเจ้าแผ่นดินไว้ในความเป็นผู้ไม่

ประพฤติธรรม.

ต่อจากนั้น พราหมณ์จึงได้กล่าวคาถาว่า สาลีน เป็นต้น. คาถานั้น

มีใจความว่า พ่อมหาจำเริญ ! เราก็รู้อยู่ว่า นี้ไม่เป็นธรรม, อนึ่งแล เรากับ

บุตรภรรยาและบริวารชน บริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันเป็นของในหลวงมา

นานแล้ว.

บาทคาถาว่า สุจิมสูปเสจโน มีวิเคราะห์ว่า การผสมด้วยแกงเนื้อ

อันสะอาดที่เขาปรุงด้วยชนิดแห่งเครื่องปรุงมีประการต่าง ๆ คือ การทำให้

ระคนกับอามิส มีอยู่แก่ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีนั้น; เหตุนั้น ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี

นั้นจึงชื่อว่า ผสมกับแกงเนื้ออันสะอาด.

บาทคาถาว่า ตสฺมา ธมฺเม น วตฺตามิ มีความว่า เพราะเรา

บริโภคข้าวสุกของในหลวง และได้รับพระราชทานลาภอื่น ๆ เป็นอันมาก

อย่างนี้; ฉะนั้น เราจึงไม่ประพฤติอยู่ในธรรม เป็นผู้ติดอยู่ในท้อง (เห็น

แก่ท้อง) ไม่ใช่ไม่รู้ธรรม เรารู้อยู่ว่า ความจริงธรรมนี้ พระอริยเจ้าทั้งหลาย

ยกย่องสรรเสริญ ชมเชย.

ลำดับนั้น คนจัณฑาลนั้น จึงกล่าวย้ำกะพราหมณ์นั้น ด้วย ๒ คาถา

ว่า ธิรตฺถุ เป็นต้น. ๒ คาถานั้นมีใจความว่า ลาภคือทรัพย์ และลาภคือยศ

อันใดที่ท่านได้แล้ว, เราติเตียนลาภ คือทรัพย์และลาภคือ ยศอันนั้น ท่าน

พราหมณ์ !. เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะลาภที่ท่านได้นี้ เป็นเหตุให้ประจวบ

กับเหตุอันให้ตกไปในพวกอุบายต่อไป และชื่อว่าเป็นการดำเนินชีวิตโดย

ประพฤติไม่เป็นธรรม. ก็การดำเนินชีวิตมีรูปเห็นปานนี้อันใด จะสำเร็จได้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 966

โดยเป็นเหตุให้ตกต่ำต่อไป หรือโดยเป็นเหตุให้พระพฤติไม่เป็นธรรมในโลกนี้,

จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการดำเนินชีวิตนั้น. ด้วยเหตุนั้น คนจัณฑาลนั้น

จึงได้กล่าวว่า

ท่านพราหมณ์ ! เราติเตียนการได้

ทรัพย์และการได้ยศ เพราะนั่นเป็นการ

เลี้ยงชีพโดยความเป็นเหตุให้ตกต่ำ และเป็น

การเลี้ยงชีพโดยทางที่ไม่ชอบธรรม.

บาทคาถาว่า ปริพฺพช มหาพฺรเหฺม มีความว่า ข้าแต่ท่าน

มหาพราหมณ์ ! ท่านจงรีบออกไปเสียจากประเทศนี้.

บาทคาถาว่า ปจนฺตญฺเปิ ปาณิโน มีความว่า สัตว์แม้เหล่าอื่น

ก็ยังหุงต้ม และยังบริโภค (ยังหุงหากิน), มิใช่แต่ท่านกับพระราชาเท่านั้น .

กึ่งคาถาว่า มา ต อธมฺโม อาจริโต อสฺมา กุมฺภมิวาภิทา

มีความว่า เพราะถ้าว่า ท่านไม่หลีกหนีไปจากที่นี้ จักประพฤติอธรรมนี้ยิ่งขึ้น.

แต่นั้น อธรรมที่ท่านประพฤติยิ่งขึ้นนั้น จะทำลายท่านเองเหมือนก้อนหิน

ทำลายหม้อน้ำ ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น เราทั้งหลายจึงกล่าวว่า

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ! ท่านจงรีบ

ออกไปเถิด, แม้สัตว์ที่มีชีวิตเหล่าอื่นก็ยังหุง

ต้มกินอยู่, ความอธรรมที่ท่านได้ประพฤติ

มาแล้ว อย่าได้ทำลายท่าน ดุจก้อนหิน

ทำลายหม้อน้ำ ฉะนั้น.

สองบทว่า อุจฺเจ อาสเน มีความว่า จะแสดงธรรมแก่ผู้ไม่เจ็บไข้

ซึ่งนั่งอยู่บนอาสนะ ชั้นที่สุด แม้บนภูมิประเทศที่สูงกว่า ก็ไม่ควร.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 967

สองบทว่า น ิเตน นิสินฺนสฺส มีความว่า ถ้าแม้นว่า พระ-

มหาเถระนั่งบนอาสนะ ถามปัญหากะภิกษุหนุ่มผู้มายังที่บำรุงของพระเถระแล้ว

ยืนอยู่, เธอไม่ควรกล่าว. แต่ด้วยความเคารพ เธอก็ไม่อาจกล่าวกะพระเถระ

ว่า นิมนต์ท่านลุกขึ้นถามเถิด. จะกล่าวด้วยตั้งใจว่า เราจักกล่าวแก่ภิกษุผู้ยืน

อยู่ข้าง ๆ ควรอยู่.

ในคำว่า น ปจฺฉโต คจฺฉนฺเตน นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าคนผู้เดิน

ไปข้างหน้า ถามปัญหากะภิกษุผู้เดินไปข้างหลัง, เธอไม่ควรตอบ. จะกล่าว

ด้วยใส่ใจว่า เราจะกล่าวแก่ภิกษุผู้อยู่ข้างหลัง สมควร. จะสาธยายธรรมที่ตน

เรียนร่วมกัน ควรอยู่. จะกล่าวแก่บุคคลผู้เดินคู่เตียงกันไป ก็ควร.

แม้ในคำว่า น อุปเถน นี้ ก็มีวินิจฉัยว่า แม้ชนทั้ง ๒ เดินคู่เตียง

กันไปในทางเกวียนตามทางล้อเกวียนคนละข้าง หรือออกนอกทางไป, จะกล่าว

ก็ควร.

บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า เมื่อภิกษุกำลังไปยังที่กำบังอุจจาระ หรือ

ปัสสาวะพลันเล็ดออก (พลันทะลักออกมา) ชื่อว่า ไม่แกล้งถ่าย ไม่เป็นอาบัติ.

ในคำว่า น หริเต นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- แม้รากของต้นไม้ที่ยังเป็น

ชอนไปบนพื้นดินปรากฏให้เห็นก็ดี กิ่งไม้ที่เลื้อยระไปบนพื้นดินก็ดี ทั้งหมด

เรียกว่า ของสดเขียวทั้งนั้น. ภิกษุจะนั่งบนขอนไม้ถ่ายให้ตกลงไปในที่ปราศจาก

ของเขียวสด ควรอยู่. เมื่อยังกำลังมองหาที่ปราศจากของสดเขียวอยู่นั่นแหละ

อุจจาระหรือปัสสาวะพลันทะลักออกมา จัดว่าตั้งอยู่ในฐานเป็นผู้อาพาธ ควรอยู่.

สองบทว่า อปหริเต กโต มีความว่า เมื่อภิกษุไม่ได้ที่ปราศจาก

ของสดเขียว แม้วางเทริดหญ้า หรือเทริดฟางไว้แล้ว ทำการถ่ายอุจจาระ

ปัสสาวะทับของเขียวในภายหลัง ก็ควรเหมือนกัน. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรี

ว่า ถึงแม้น้ำมูก ก็สงเคราะห์เข้ากับน้ำลายในสิกขาบทนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 968

คำว่า น อุทเก นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงน้ำบริโภค

เท่านั้น. แต่ในน้ำที่วัจจกุฎีและในน้ำทะเลเป็นต้น ไม่ใช่ของบริโภค ไม่เป็น

อาบัติ. เมื่อฝนตก ห้วงน้ำมีอยู่ทั่วไป. เมื่อภิกษุกำลังมองหาที่ไม่มีน้ำอยู่

นั่นแหละ อุจจาระหรือปัสสาวะเล็ดออกมา ควรอยู่. แต่ในมหาปัจจรี ท่าน

กล่าวว่า ในเวลาเช่นนั้น ภิกษุไม่ได้ที่ไม่มีน้ำ จะทำการถ่าย ควรอยู่. คำที่

เหลือในสิกขาบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.

วรรคที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 969

ปกิณกะในเสขิยวรรณนา

ก็เพื่อต้องการแสดงสมุฏฐานเป็นต้นในอธิการแห่งเสขิยวรรณนานี้ จึง

มีข้อเบ็ดเตล็ดดังต่อไปนี้:- สิกขาบท ๑๐ เหล่านี้ คือ ๔ สิกขาบท ที่เกี่ยว

ด้วยการหัวเราะ และเสียงดัง สิกขาบทที่พูดทั้งปากยังมีคำข้าว ๑, ๕ สิกขาบท

ที่เกี่ยวด้วยการนั่งบนพื้น ๑ ที่นั่งต่ำ ๑ การยืนแสดงธรรม ๑ การเดินไป

ข้างหลัง ๑ การเดินไปนอกทาง ๑ มีสมุฎฐานดุจสมนุภาสนสิกขาบท เกิดขึ้น

ทางกายวาจาและจิต เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม

วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล.

สูโปทนวิญญัตติสิกขาบท มีสมุฎฐานดุจไถยสัตถสิกขาบท เกิดขึ้น

ทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ

โลกวัชชะ กายกรรม วีจกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนาแล.

๑๑ สิกขาบท ที่มีชื่อว่า ฉัตตปาณิสิกขาบท ๑ ทัณฑปาณิสิกขาบท ๑

สัตถปาณิสิกขาบท ๑ อาวุธปาณิสิกขาบท ๑ ปาทุกสิกขาบท ๑ อุปาหน-

สิกขาบท ๑ ยานสิกขาบท ๑ สยนสิกขาบท ๑ ปัลลัตถิกสิกขาบท ๑ เวฐิต

สิกขาบท ๑ โอคุณฐิตสิกขาบท ๑ มีสมุฎฐานดุจธรรมเทสนาสิกขาบท เกิดขึ้น

ทางวาจากับจิต เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ

วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล. ที่เหลืออีก ๕๓ สิกขาบท มีสมุฏฐาน

ดุจปฐมปาราชิกแล.

ในเสขิยสิกขาบททั้งหมด ไม่เป็นอาบัติ เพราะอาพาธเป็นปัจจัย. ใน

๓ สิกขาบท คือ ถูปีกตปิณฑปาตสิกขาบท ๑ สูปพยัญชนปฏิจฉาทนสิกขาบท ๑

อุชฌานสัญญีสิกขาบท ๑ ไม่มี (กล่าวถึง ) ภิกษุอาพาธแล.

เสขิยวรรณนา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 970

อธิกรณสมถวรรณนา

วินิจฉัย ในอธิกรณสมถะทั้งหลาย พึงทราบดังนี้:-

คำว่า สตฺต (๗) เป็นเครื่องกำหนดนับธรรมเหล่านั้น . ธรรม ๗ นั้น

ชื่อว่า อธิกรณสมถะ เพราะอรรถว่า ยังอธิกรณ์ ๕ อย่างให้สงบ คือ ให้

ระงับไป. ความพิสดารแห่งอธิกรณสมถะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

แล้วในขันธกะ และในปริวาร. พวกเราจักพรรณนาอรรถแห่งคำพิสดารนั้น

ในขันธกะและปริวารนั่นแล. คำที่เหลือในสิกขาบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

ภิกขุวิภังควรรณนาในอรรถกถาพระวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

คาถาแผ่เมตตาของท่านผู้รจนา

วรรณนานี้จบลงแล้ว โดยหาอันตราย

มิได้ ฉันใด ขอสัตว์ทั้งหลายจงถึงสันติ

โดยปราศจากอันตรายฉันนั้น แล.