พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 1
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๑ ภาค ๒
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทุติยปาราชิกกัณฑ์*
เรื่องพระธนิยะ กุมภการบุตร
[ ๗๙ ] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา
คิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปซึ่งเคยเห็นกันเคยคบหา
กันมา ทำกุฎีมุงบังด้วยหญ้า ณ เชิงภูเขาอิสิคิลิแล้วอยู่จำพรรษา แม้ท่าน
พระธนิยะ กุมภการบุตร ก็ได้ทำกุฎีมุงบังด้วยหญ้าแล้วอยู่จำพรรษา ครั้น
ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาสแล้ว ได้รื้อกุฎีมุงด้วยหญ้า เก็บหญ้า
และตัวไม้ไว้ แล้วหลีกไปสู่จาริกในชนบท ส่วนท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร
อยู่ ณ ที่นั้นเอง ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน ขณะเมื่อท่าน
พระธนิยะ กุมภการบุตร เข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต คนหาบหญ้า คนหาฟืน
ได้รื้อกุฎีบังด้วยหญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไป.
แม้ครั้งที่สอง ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ได้เที่ยวหาหญ้า และ
ไม้มาทำกุฎีมุงบังด้วยหญ้าอีก เมื่อท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร เข้าไปบ้าน
* พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค หน้า ๗๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 2
เพื่อบิณฑบาต แม้ครั้งที่สอง คนหาบหญ้า คนหาฟืน ก็ได้รื้อกุฎีมุงบังด้วย
หญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไป.
แม้ครั้งที่สาม ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ก็ได้เที่ยวหาหญ้าและ
ไม้มาทำกุฎีมุงบังด้วยหญ้าอีก เมื่อท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร เข้าไปบ้าน
เพื่อบิณฑบาต แม้ครั้งที่สาม คนหาบหญ้า คนหาฟื้น ก็ได้รื้อกุฎีมุงบังด้วย
หญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไปอีก.
หลังจากนั้น ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ได้มีความคิดว่า เมื่อ
เราเข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฎีมุงบังด้วยหญ้า
เสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไปถึงสามครั้งแล้ว ก็เรานี่แหละ เป็นผู้ได้ศึกษา
มาดีแล้วไม่บกพร่องเป็นผู้สำเร็จศิลปะในการช่างหม้อเสมอด้วยอาจารย์ของตน
ผิฉะนั้น เราพึงขยำโคลนทำกุฎีสำเร็จด้วยดินล้วนเสียเอง จึงท่านพระธนิยะ
กุมภการบุตร ขยำโคลนทำกุฎีสำเร็จด้วยดินล้วน ด้วยตนเอง แล้วรวบรวม
หญ้าไม้และโคมัยมาเผากุฎีนั้น กุฎีนั้นงดงาม น่าดู น่าชม มีสีแดงเหมือน
แมลงค่อมทอง มีเสียงเหมือนเสียงกระดึง.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏพร้อมด้วยภิกษุ
เป็นอันมาก ทอดพระเนตรเห็นกุฎีนั้นงดงามน่าดูน่าชมมีสีแดง ครั้งแล้ว
จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นอะไร งดงาม น่าดู
น่าชม มีสีแดงเหมือนแมลงค่อมทอง ครั้นภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบ
แล้ว พระพุทธองค์ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
นั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
ไฉนโมฆบุรุษนั้นจึงได้ขยำโคลนทำกุฎีสำเร็จด้วยดินล้วน ด้วยตนเองเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ความไม่เบียดเบียนหมู่สัตว์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 3
มิได้มีแก่โมฆบุรุษนั้นเลย พวกเธอจงไปทำลายกุฎีนั้น พวกเพื่อนพรหมจารี
ชั้นหลัง อย่าถึงความเบียดเบียนหมู่สัตว์เลย อันภิกษุไม่ควรทำกุฎีที่สำเร็จด้วย
ดินล้วน ภิกษุใดทำ ต้องอาบัติทุกกฎ.
ภิกษุเหล่านั้นรับพระพุทธาณัติแล้ว พากันไปที่กุฎีนั้น ครั้นถึงแล้ว
ได้ทำลายกุฎีนั้นเสีย ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร จึงถามภิกษุเหล่านั้นว่า
อาวุโส พวกท่านทำลายกุฎีของผม เพื่ออะไร.
ภิ. พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ทำลาย ขอรับ.
ธ. ทำลายเถิด ขอรับ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมสามีรับสั่งให้
ทำลาย.
[๘๐] กาลต่อมา ความดำรินี้ได้มีแก่ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตรว่า
เมื่อเราเข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฎีมุงบัง
ด้วยหญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไปถึงสามครั้งแล้ว แม้กุฎีดินล้วนที่เรา
ทำไว้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็รับสั่งให้ทำลายเสีย ก็เจ้าพนักงานรักษาไม้ที่
ชอบพอกับเรามีอยู่ ไฉนหนอเราพึงขอไม้ต่อเจ้าพนักงานรักษาไม้มาทำกุฎีไม้
จึงท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร เข้าไปหาเจ้าพนักงานรักษาไม้ ครั้นแล้วได้
บอกเรื่องนี้ต่อเจ้าพนักงานรักษาไม้ว่า ขอเจริญพร เมื่ออาตมาเข้าไปบ้านเพื่อ
บิณฑบาต คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฎีมุงบังด้วยหญ้าเสีย แล้วขนหญ้า
และตัวไม้ไปถึงสามครั้ง แม้กุฎีดินล้วนที่อาตมาทำไว้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็รับสั่งให้ทำลายเสียแล้ว ขอท่านจงให้ไม้แก่อาตมา ๆ ประสงค์จะทำกุฎีไม้
จ. ไม้ที่กระผมจะพึงถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าได้นั้น ไม่มี ขอรับ มีแต่
ไม้ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร ซึ่งเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวมี
อันตราย ถ้าพระเจ้าแผ่นดินรับสั่งให้พระราชทานไม้เหล่านั้น ขอท่านจงให้
คนขนไปเถิดขอรับ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 4
ธ. ขอเจริญพร ไม้เหล่านั้น พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแล้ว.
ลำดับนั้นเจ้าพนักงานรักษาไม้คิดว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากย-
บุตรเหล่านี้แล เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์
กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงเลื่อมใสใน
พระสมณะเหล่านี้ยิ่งนักท่านพระธนิยะนี้ย่อมไม่บังอาจเพื่อจะกล่าวถึงสิ่งของที่
พระเจ้าแผ่นดินยังไม่ได้พระราชทาน ว่าพระราชแล้ว จึงได้เรียนต่อท่าน
พระธนิยะ กุมภการบุตรว่า นิมนต์ให้คนขนไปเถิด ขอรับ จึงท่านพระธนิยะ
กุมภการบุตร สั่งให้ตัดไม้เหล่านั้นเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่บรรทุกเกวียนไป
ทำกุฎีแล้ว.
วัสสการพราหมณ์ตรวจราชการ
[๘๑] ต่อจากนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ในมคธรัฐไปตรวจ
ราชการในกรุงราชคฤห์ ได้เข้าไปหาเจ้าพนักงานรักษาไม้ ครั้นแล้วได้พูดถึง
เรื่องนี้ ต่อเจ้าพนักงานรักษาไม้ว่า พนาย ไม้ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อม
พระนคร ซึ่งเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวมีอันตรายเหล่านั้น อยู่ ณ ที่ไหน.
เจ้าพนักงานรักษาไม้เรียนว่า ใต้เท้าขอรับ ไม้เหล่านั้น พระเจ้า-
แผ่นดินได้พระราชทานแก่ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ไปแล้ว.
ทันใดนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ในมคธรัฐ เกิดความไม่
พอใจว่า ไฉนพระเจ้าแผ่นดินจึงได้พระราชทานไม้ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับ
ซ่อมแปลงพระนคร ซึ่งเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวมีอันตราย แก่พระธนิยะ
กุมภการบุตรไปเล่า จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช กราบทูลว่า
ได้ทราบเกล้าว่า ไม้ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร ซึ่งเก็บไว้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 5
เพื่อใช้ในคราวมีอันตราย พระองค์พระราชทานแก่ธนิยะ กุมภาการบุตร
ไปแล้ว จริงหรือพระพุทธเจ้าข้า.
พระเจ้าพิมพิสารตรัสถามว่า ใครพูดอย่างนั้น.
ว. เจ้าพนักงานรักษาไม้พูด พระพุทธเจ้าข้า
พ. พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้คนไปนำเจ้าพนักงานรักษาไม้มา.
จึงวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ในมคธรัฐ สั่งให้เจ้าหน้าที่จองจำ
เจ้าพนักงานรักษาไม้นำมา.
[๘๒] ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตรได้เห็นเจ้าพนักงานรักษาไม้ถูก
เจ้าหน้าที่จองจำนำไป จึงไต่ถามเจ้าพนักงานรักษาไม้ว่า เจริญพร ท่านถูก
เจ้าหน้าที่จองจำนำไป ด้วยเรื่องอะไร.
เจ้าพนักงานรักษาไม้ตอบว่า เรื่องไม้เหล่านั้น ขอรับ.
ธ. ไปเถิด ท่าน แม้อาตมาก็จะไป.
จ. ใต้เท้าควรไป ขอรับ ก่อนที่กระผมจะถูกประหาร.
จึงท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ได้เข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ของ
พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ครั้นถึงแล้ว นั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดถวาย
ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช เสด็จเข้าไปหาท่านพระธนิยะ
กุมภการบุตรทรงอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถาม
ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตรถึงเรื่องไม้นั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า ทราบว่าไม้
ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร ซึ่งเขาเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวมี
อันตราย โยมได้ถวายแก่พระคุณเจ้า จริงหรือ.
ธ. จริงอย่างนั้น ขอถวายพระพร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 6
พ. ข้าแต่พระคุณเจ้า โยมเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีกิจมาก มีกรณียะ
มาก แม้ถวายแล้ว ก็ระลึกไม่ได้ ขอพระคุณเจ้าโปรดเตือนให้โยมระลึกได้.
ธ. ขอถวายพระพร พระองค์ทรงระลึกได้ไหม ครั้งพระองค์เสด็จ
เถลิงถวัลยราชย์ใหม่ ๆ ได้ทรงเปล่งพระวาจาเช่นนี้ว่า หญ้า ไม้ และน้ำ
ข้าพเจ้าถวายแล้วแก่สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ขอสมณะและพราหมณ์
ทั้งหลายโปรดใช้สอยเถิด
พ. ข้าแต่พระคุณเจ้า โยมระลึกได้ สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายที่
เป็นผู้มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา มีอยู่ ความรังเกียจแม้ใน
เหตุเล็กน้อยจะเกิดแก่สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น คำที่กล่าวนั้นโยมหมายถึง
การนำหญ้าไม้และน้ำของสมณะและพราหมณ์เหล่านั้นแต่ว่าหญ้าไม้และน้ำนั้น
แลอยู่ในป่า ไม่มีใครหวงแหน พระคุณเจ้านั้น ย่อมสำคัญเพื่อจะนำไม้ที่เขา
ไม่ได้ให้ไปด้วยเลศนั้น พระเจ้าแผ่นดินเช่นโยม จะพึงฆ่า จองจำ หรือเนรเทศ
ซึ่งสมณะหรือพราหมณ์อย่างไรได้ นิมนต์กลับไปเถิด พระคุณเจ้า ๆ รอดตัว
เพราะบรรพชาเพศแล้ว แต่อย่าได้ทำอย่างนั้นอีก
ประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา
[๘๓] คนทั้งหลาย พากันเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-
ศากยบุตรเหล่านี้ ไม่ละอาย ทุศีล พูดเท็จ พระสมณะเหล่านี้ยังปฏิญาณว่า
เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล
มีกัลยาณธรรมติเตียนว่า ความเป็นสมณะย่อมไม่มีแก่พระสมณะเหล่านี้ ความ
เป็นพราหมณ์ย่อมไม่มีแก่พระสมณะเหล่านี้ ความเป็นสมณะของพระสมณะ
เหล่านี้ เสื่อมแล้ว ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ เสื่อมแล้ว ความ
เป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน ความเป็นพราหมณ์ของพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 7
สมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน พระสมณะเหล่านี้ปราศจากความเป็นสมณะแล้ว
พระสมณะเหล่านี้ปราศจากความเป็นพราหมณ์แล้ว แม้พระเจ้าแผ่นดิน พระ-
สมณะเหล่านี้ยังหลอกลวงได้ ไฉนจักไม่หลอกลวงคนอื่นเล่า. ภิกษุทั้งหลายได้
ฟังคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษมี
ความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร จึงได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ
เป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้นแล้วทรงสอบถามท่านพระธนิยะ กุมภ-
การบุตรว่า ดูก่อนธนิยะ ข่าวว่า เธอได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป
จริงหรือ
ท่านพระธนิยะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
ไฉนเธอจึงได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไปเล่า การกระทำของเธอนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสหรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของผู้เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อม
ใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใส
แล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 8
ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ผู้พิพากษาเก่าคนหนึ่งบวชในหมู่ภิกษุ นั่ง
อยู่ไม่ห่างพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพระองค์ได้ตรัสพระวาจานี้ต่อภิกษุรูปนั้นว่า
ดูก่อนภิกษุ พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชจับโจรได้แล้ว ประหารชีวิต
เสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง เพราะทรัพย์ประมาณเท่าไรหนอ
ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า เพราะทรัพย์บาทหนึ่งบ้าง เพราะของควรค่า
บาทหนึ่งบ้าง เกินบาทหนึ่งบ้าง พระพุทธเจ้าข้า
แท้จริงสมัยนั้น ทรัพย์ ๕ มาสกในกรุงราชคฤห์ เป็นหนึ่งบาท
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร โดย
อเนกปริยายแล้วจึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก
ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน
ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความ
สันโดด ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม
การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควร
แก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุ
ผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด
อาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัท-
ธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 9
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้
พระปฐมบัญญัติ
๒. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย
ส่วนแห่งความเป็นขโมย พระราชาทั้งหลาย จับโจรได้แล้วพึงประ -
หารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็น
โจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ในเพราะถือ
เอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของ
ไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระธนิยะ กุมภการบุตร จบ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๘๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ชวนกันไปสู่ลานตากผ้าของ
ช่างย้อม ได้ลักห่อผ้าของช่างย้อม นำมาสู่อารามแล้วแบ่งปันกัน ภิกษุทั้งหลาย
พูดขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านเป็นผู้มีบุญมาก เพราะผ้าเกิดแก่พวก
ท่านมาก.
ฉ. ท่านทั้งหลาย บุญของพวกผมจักมีแต่ไหน พวกผมไปสู่ลาน
ตากผ้าของช่างย้อม แล้วได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเดี๋ยวนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 10
ภิ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้วมิใช่หรือ เหตุไร
พวกท่านจึงได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมา.
ฉ. จริงขอรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว แต่
สิกขาบทนั้นแล พระองค์ทรงบัญญัติเฉพาะในเขตบ้าน มิได้ทรงบัญญัติไปถึง
ในป่า.
ภิ. ท่านทั้งหลาย พระบัญญัตินั้นย่อมเป็นได้เหมือนกันทั้งนั้นมิใช่
หรือ การกระทำของพวกท่านนั้นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกท่านจึงได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเล่า การ
กระทำของพวกท่านนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวก
ท่านนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อม ใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความ
เป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นภิกษุเหล่านั้น ติเตียนพระ -
ฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายแล้วได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทางบัญญัติอนุบัญญัติ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอไปสู่ลานตากผ้าช่างย้อม แล้ว
ลักห่อผ้าของช่างย้อมมา จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 11
ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเล่า การกระทำของพวก
เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น
เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสและเพื่อความเป็นอย่างอื่น
ของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยาย
แล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความ
เป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน
ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ
ปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น
ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุ
ผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด
อาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัท -
ธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 12
พระอนุบัญญัติ
๒. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ด้วย
ส่วนแห่งความเป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลาย
จับโจรได้แล้ว ประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง
ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็น
ขโมย ดังนี้ ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด
ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็น
ปาราชิก หาสังวาสมิได้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงาน
อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรม
เครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็น
มัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าประพฤติภิกขาจรยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ
โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่าเป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 13
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้ว
ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่าภิกษุ
เหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถ-
กรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์
ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้
ประเทศที่ชื่อว่า บ้าน มีอธิบายว่า บ้านมีกระท่อมหลังเดียวก็ดี มี
กระท่อม ๒ หลังก็ดี มีกระท่อม ๓ หลังก็ดี มีกระท่อม ๔ หลังก็ดี มีคนอยู่
ก็ดี ไม่มีคนอยู่ดี แม้ที่เขาล้อมไว้ก็ดี แม้ที่เขาไม่ได้ล้อมไว้ก็ดี แม้ที่เขา
สร้างดุจเป็นที่โคจ่อมเป็นต้นก็ดี แม้หมู่เกวียนหรือต่างที่อาศัยอยู่เกิน ๔ เดือน
ก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บ้าน.
ที่ชื่อว่า อุปจารบ้าน กำหนดเอาที่ ซึ่งบุรุษขนาดกลาง ผู้ยืนอยู่
ณ เสาเขื่อนแห่งบ้านที่ล้อม โยนก้อนดินไปตก หรือกำหนดเอาที่ซึ่งบุรุษขนาด
กลาง ผู้ยืนอยู่ ณ อุปจารเรือนแห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม โยนก้อนดินไปตก.
ที่ชื่อว่า ป่า มีอธิบายว่าสถานที่ที่เว้นบ้านและอุปจารบ้าน นอกนั้น
ชื่อว่า ป่า.
ที่ชื่อว่า ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ มีอธิบายว่า ทรัพย์ใดอันเจ้า
ของไม่ได้ให้ ไม่ได้ละวาง ยังรักษาปกครองอยู่ ยังถือกรรมสิทธิ์อยู่ว่าเป็น
ของเรา ยังมีผู้อื่นหวงแหน ทรัพย์นั้นชื่อว่า ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้.
บทว่า ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ได้แก่ มีจิตคิดขโมย คือ
มีจิตคิดลัก.
[๘๖] บทว่า ถือเอา คือ ยึดเอา เอาไป เอาลง ยังอริยาบทให้
กำเริบ ให้เคลื่อนจากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 14
[๘๗] ที่ชื่อว่า เห็นปานใด คือ หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี
เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี.
ที่ชื่อว่า พระราชาทั้งหลาย ได้แก่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้าผู้ปกครอง
ประเทศ ท่านผู้ปกครองมณฑล นายอำเภอ ผู้พิพากษา มหาอำมาตย์ หรือ
ท่านผู้สั่งประหารและจองจำได้ ท่านเหล่านี้ ชื่อว่า พระราชาทั้งหลาย.
ที่ชื่อว่า โจร มีอธิบายว่า ผู้ใดถือเอาสิ่งของอันเขาไม่ได้ให้ ได้
ราคา ๕ มาสกก็ดี เกินกว่า ๕ มาสกก็ดี ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ผู้นั้น
ชื่อว่า โจร.
บทว่า ประหารเสียบ้าง คือ ประหารด้วยมือหรือเท้า ด้วย
แส้หรือด้วยหวาย ด้วยไม้ค้อนสั้นหรือด้วยดาบ.
บทว่า จองจำไว้บ้าง คือ ผูกล่ามไว้ด้วยเครื่องมัดคือเชือก ด้วย
เครื่องจองจำคือขื่อคา โซ่ตรวน หรือด้วยเขตจำกัดคือเรือน จังหวัด หมู่บ้าน
ตำบลบ้าน หรือให้บุรุษควบคุม.
บทว่า เนรเทศเสียบ้าง คือ ขับไล่เสียจากหมู่บ้าน ตำบลบ้าน
จังหวัด มณฑล หรือประเทศ.
บทว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็น
ขโมย นี้เป็นคำบริภาษ.
[๘๘] ที่ชื่อว่า เห็นปานนั้น คือ หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี
เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี.
บทว่า ถือเอา คือ ตู่ วิ่งราว ฉ้อ ยังอิริยาบทให้กำเริบ ให้เคลื่อน
จากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย.
[๘๙] คำว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุรูป
ก่อน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 15
คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ใบไม้เหลืองหล่นจากขั้วแล้ว
ไม่อาจจะเป็นของเขียวสดขึ้นได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแหละ ถือเอาทรัพย์
อันเขาไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาท
ก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี แล้วไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร
เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่
พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกันนั่นชื่อว่า
สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้นจังตรัสว่า หาสังวาส
มิได้.
บทภาชนีย์
มาติกา
[๙๐] ทรัพย์อยู่ในดิน ทรัพย์ตั้งอยู่บนดิน
ทรัพย์ลอยอยู่ในอากาศ ทรัพย์ตั้งอยู่ในที่แจ้ง
ทรัพย์ตั้งอยู่ในน้ำ เรือ และทรัพย์อยู่ในเรือ
ยาน และทรัพย์อยู่ในยาน ทรัพย์ที่ตนนำไป
สวน และทรัพย์อยู่ในสวน ทรัพย์อยู่ในวัด
นา และทรัพย์อยู่ในนา พื้นที่และทรัพย์อยู่ในพื้นที่
ทรัพย์อยู่ในบ้าน ป่า และทรัพย์อยู่ในป่า
น้ำ ไม้ชำระฟัน ต้นไม้เจ้าป่า ทรัพย์ที่มีผู้นำไป
ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ด่านภาษี สัตว์มีชีวิต
สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์สองเท้า สัตว์สี่เท้า สัตว์มีเท้ามาก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 16
ภิกษุผู้สั่ง ภิกษุผู้รับของฝาก การชักชวนกันไปลัก
การนัดหมาย การทำนิมิต.
ภุมมัฏฐวิภาค
[๙๑] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน ได้แก่ทรัพย์ที่ฝังกลบไว้ใน
แผ่นดิน.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ตาม
แสวงหาจอบหรือตะกร้าก็ตาม เดินไปก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ ตัดไม้หรือ
เถาวัลย์ ซึ่งเกิดอยู่ในที่นั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ขุดก็ตาม คุ้ยก็ตาม โกยขึ้นก็ตาม
ซึ่งดินร่วนต้องอาบัติทุกกฏ จับต้องหม้อ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำหม้อให้ไหว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำหม้อให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิต หย่อนภาชนะของตนลงไป ถูกต้องทรัพย์ควรแก่ค่า
๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย กระทำให้ทรัพย์อยู่ในภาชนะของตนก็ตาม ตัดขาดด้วยกำมือก็ตาม
ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องทรัพย์ที่เขาร้อยด้ายก็ดี สังวาลก็ดี สร้อยคอก็ดี
เข้มขัดก็ดี ผ้าสาฎกก็ดี ผ้าโพกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จับที่สุดยกขึ้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย ดึงครูดออกไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้พ้นปากหม้อ โดยที่สุดแม้ชั่วเส้นผม ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิต ดื่มเนยใสก็ดี น้ำมันก็ดี น้ำผึ้งก็ดี น้ำอ้อยก็ดี ควร
แก่ค่า ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ด้วยประโยคอันเดียว ต้องอาบัติ
ปาราชิก ทำลายเสียก็ดี ทำให้หกล้นก็ดี เผาเสียก็ดี ทำให้บริโภคไม่ได้ก็ดี
ในที่นั้นเอง ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 17
ถลัฏฐวิภาค
[๙๒] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่บนพื้น ได้แก่ทรัพย์ที่เขาวางไว้บนพื้น
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่บนพื้น เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี
เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
อากาสัฏฐวิภาค
[๙๓] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ลอยอยู่ในอากาศ ได้แก่ทรัพย์ที่ไปในอากาศ
คือ นกยูง นกคับแค นกกระทา นกกระจาบ ผ้าสาฎก ผ้าโพกหัว หรือเงินทอง
ที่ขาดหลุดตกลง.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ลอยอยู่ในอากาศ เที่ยวแสวงหาเพื่อน
ก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ หยุดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฎ ลูบคลำ ต้อง
อาบัติทุกกฎ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
เวหาสัฏฐวิภาค
[๙๔] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่ในที่แจ้ง ได้แก่ทรัพย์ที่แขวนไว้ใน
ที่แจ้ง เช่น ทรัพย์ที่คล้องไว้บนเตียงหรือตั่ง ที่ห้อยไว้บนราวจีวร สายระเดียง
เดือยที่ฝา บันไดแก้ว หรือต้นไม้ โดยที่สุดแม้บนเชิงรองบาตร.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในที่แจ้ง เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี
เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 18
อุทกัฏฐวิภาค
[๙๕] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่ในน้ำ ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในน้ำ
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ เที่ยวแสวงเพื่อนก็ดีเดิน
ไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ดำลงก็ดี โผล่ขึ้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ
ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิต จับดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก เหง้าบัว ปลา
หรือเต่า ที่เกิดในน้ำนั้น มีราคา ๕ มาสกก็ดี เกินกว่า ๕ มาสกก็ดี ต้อง
อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
นาวัฏฐวิภาค
[๙๖] ที่ชื่อว่า เรือ ได้แก่พาหนะสำหรับข้ามน้ำ ที่ชื่อว่า ทรัพย์
อยู่ในเรือ ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในเรือ.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในเรือ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดิน
ไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุล-
ลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักเรือ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้อง
อาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
แก้เครื่องผูก ต้องอาบัติทุกกฏ แก้เครื่องผูกแล้วลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ลอยขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี ขวางน้ำ
ไปก็ดี โดยที่สุดแม้ชั่วเส้นผม ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 19
ยานัฏฐวิภาค
[๙๗] ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม ที่
ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในยาน ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในยาน.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์อยู่ในยาน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดิน
ไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักยาน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้อง
อาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้
เคลื่อนจากฐานต้องอาบัติปาราชิก.
ภารัฏฐวิภาค
[๙๘] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่ตนนำไป ได้แก่ภาระบนศีรษะ ภาระที่คอ
ภาระที่สะเอว ภาระที่หิ้วไป.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระบนศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ลดลงสู่คอ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระบนคอ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ลดลงสู่สะเอว ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระที่สะเอว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ถือไปด้วยมือ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตวางภาระที่มือลงบนพื้น ต้องอาบัติปาราชิก มีไถยจิต
ถือเอาจากพื้น ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 20
อารามัฏฐวิภาค
[๙๙] ที่ชื่อว่า สวน ได้แก่สวนไม้ดอก สวนไม้ผล ที่ชื่อว่า
ทรัพย์อยู่ในสวน ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในสวน โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่
ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในสวน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดิน
ไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้
ซึ่งเกิดในสวนนั้น ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุตู่เอาที่สวน ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ
ผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
วิหารัฏฐวิภาค
[๑๐๐] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในวัด ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในวัด
โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑
แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในวัด เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี
เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 21
ภิกษุตู่เอาที่วัด ต้องอาบัติทุกกฎ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ
ผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เขตตัฏฐวิภาค
[๑๐๑] บุพพัณชาติ หรืออปรัณชาติ เกิดในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า
นา ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในนา ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในนา โดยฐาน ๔
คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ใน
ที่แจ้ง ๑.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในนา เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไป
ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องบุพพัณชาติ หรืออปรัณชาติ ซึ่งเกิดในนา
นั้นได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุตู่เอาที่นา ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่า จักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ
ผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือถมคันนาให้รุกล้ำ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ เมื่ออีกประโยคหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ
ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 22
วัตถุฏฐวิภาค
[๑๐๒] ที่ชื่อว่า พื้นที่ ได้แก่พื้นที่สวน พื้นที่วัด ที่ชื่อว่า ทรัพย์
อยู่ในพื้นที่ ได้แก่ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑
ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี
เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุตู่เอาพื้นที่ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่า จักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ
ผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือทำกำแพง ให้รุกล้ำ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ เมื่ออีกประโยคหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ
ต้องอาบัติปาราชิก.
คามัฏฐวิภาค
[๑๐๓] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในบ้าน ได้แก่ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในบ้าน
โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑
แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในบ้าน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี
เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 23
อรัญญัฏฐวิภาค
[๑๐๔] ที่ชื่อว่า ป่า ได้แก่ป่าที่มนุษย์หวงห้าม ที่ชื่อว่า ทรัพย์
อยู่ในป่า ได้แก่ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้ง
อยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในป่า เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดิน
ไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี หญ้าก็ดี ซึ่งเกิดในป่านั้น
ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
อุทกวิภาค
[๑๐๕] ที่ชื่อว่า น้ำ ได้แก่น้ำที่อยู่ในภาชนะ หรือน้ำที่ขังอยู่ใน
สระโบกขรณี หรือในบ่อ.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตหย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้องน้ำ ได้ราคา ๕ มาสก
หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้ไหลเข้าไปในภาชนะของตน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุทำลายคันนา ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นทำลายคันนาแล้วทำให้
ไหลออกไป ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก
ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคาเกินกว่า ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 24
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคา ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า
๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ.
ทันตโปณวิภาค
[๑๐๖] ชื่อว่า ไม้ชำระฟัน ได้แก่ไม้ชำระฟันที่ตัดแล้ว หรือที่
ยังมิได้ตัด.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ชำระฟัน อันมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า
๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก.
วนัปปติวิภาค
[๑๐๗] ที่ชื่อว่า ต้นไม้เจ้าป่า ได้แก่ต้นไม้ที่คนทั้งหลายหวงห้าม
เป็นไม้ที่ใช้สอยได้.
ภิกษุมีไถยจิตตัด ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ ครั้งที่ฟัน เมื่อการฟันอีก
ครั้งหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อการฟันนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
หรณกวิภาค
[๑๐๘] ที่ชื่อว่า ทรัพย์มีผู้นำไป ได้แก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นนำไป.
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุคิดว่า จักนำทรัพย์พร้อมกับคนผู้นำทรัพย์ไป แล้วให้ย่างเท้า
ก้าวที่ ๑ ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ไป ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 25
ภิกษุคิดว่า จักเก็บทรัพย์ที่ตก แล้วทำทรัพย์นั้นให้ตก ต้องอาบัติ
ทุกกฏ มีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ตก อันได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก
ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้อง
อาบัติปาราชิก.
อุปนิธิวิภาค
[๑๐๙] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ได้แก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นให้เก็บไว้.
ภิกษุรับของฝาก เมื่อเจ้าของกล่าวขอคืนว่า จงคืนทรัพย์ให้ข้าพเจ้า
กล่าวปฏิเสธว่า ฉันไม่ได้รับไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่
เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่าจะไม่ให้แก่เรา ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ
ผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
สุงกฆาตวิภาค
[๑๑๐] ที่ชื่อว่า ด่านภาษี ได้แก่สถานที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้ง
ไว้ที่ภูเขาขาดบ้าง ที่ท่าน้ำบ้าง ที่ประตูบ้าง ด้วยทรงกำหนดว่า จงเก็บ
ภาษีแก่บุคคลผู้ผ่านเข้าไปในสถานที่นั้น.
ภิกษุผ่านเข้าไปในด่านภาษีนั้น แล้วมีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ควรเสีย
ภาษี ซึ่งมีราคา ๕ มาสกก็ดี เกินกว่า ๕ มาสกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่ ๑ ล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ย่างเท้าที่ ๒ ล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 26
ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี ต้องอาบัติ
ปาราชิก หลบเลี่ยงภาษี ต้องอาบัติทุกกฏ.
ปาณวิภาค
[๑๑๑] ที่ชื่อว่า สัตว์มีชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอามนุษย์
ที่ยังมีลมหายใจ.
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้ก้าวเท้าที่ ๒ ต้องอาบัติปาราชิก.
อปทวิภาค
[๑๑๒] ที่ชื่อว่า สัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งู ปลา.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตว์ไม่มีเท้า ซึ่งมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า
๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก.
ทวิปทวิภาค
[๑๑๓] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๒ เท้า ได้แก่ คน นก.
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้ก้าวเท้าที่ ๒ ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 27
จตุปทวิภาค
[๑๑๔] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๔ เท้า ได้แก่ ช้าง ม้า อูฐ โค ลา
ปศุสัตว์.
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้ก้าวเท้าที่ ๒ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๓ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้ก้าวเท้าที่ ๔ ต้องอาบัติปาราชิก.
พหุปทวภาค
[๑๑๕] ที่ชื่อว่า สัตว์มีเท้ามาก ได้แก่สัตว์จำพวกแมลงป่อง ตะขาบ
บุ้งขน
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตว์มีเท้ามากนั้น ซึ่งมีราคา ๕ มาสก หรือเกิน
กว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อน
จากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุคิดว่า จักเดินนำไป แล้วย่างเท้าก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทุก ๆ ก้าว ย่างเท้าก้าวหลังที่สุด ต้องอาบัติปาราชิก.
โอจรกวิภาค
[๑๑๖] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้สั่ง มีอธิบายว่า ภิกษุสั่งกำหนดทรัพย์ว่า
ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้น ลักทรัพย์นั้นมาได้
ต้องอาบัติปาราชิก ทั้ง ๒ รูป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 28
โอณิรักขวิภาค
[๑๑๗] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขา
นำมาฝากไว้.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องทรัพย์นั้น มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕
มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก.
สังวิธาวหารวิภาค
[๑๑๘] ที่ชื่อว่า การชักชวนกันไปลัก ได้แก่ภิกษุหลายรูปชักชวน
กันแล้ว รูปหนึ่งลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป.
สังเกตกัมมวิภาค
[๑๑๙] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย มีอธิบายว่า ภิกษุทำการนัดหมายว่า
ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามคำนัดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น ในเวลา
กลางคืนหรือกลางวัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ๆ ทรัพย์นั้นได้ ตามคำ
นัดหมายนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุผู้ลัก ๆ ทรัพย์นั้นได้ก่อน
หรือหลังคำนัดหมายนั้น ภิกษุผู้นัดหมายไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติ
ปาราชิก.
นิมิตตกัมมวิภาค
[๑๒๐] ที่ชื่อว่า การทำนิมิต มีอธิบายว่า ภิกษุทำนิมิตว่า เราจัก
ขยิบตา จักยักคิ้ว หรือจักผงกศีรษะ ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามนิมิตนั้น
ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ๆ ทรัพย์นั้นได้ ตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติ
ปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุลัก ๆ ทรัพย์นั้นได้ก่อนหรือหลังนิมิตนั้น ภิกษุผู้ทำ
นิมิตไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 29
อาณัตติกประโยค
[๑๒๑] ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ จึงลักทรัพย์นั้นมา ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุผู้ลัก
เข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลักทรัพย์อย่างอื่นมา ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก
ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุผู้ลัก
เข้าใจทรัพย์อย่างอื่น แต่ลักทรัพย์นั้นมา ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุผู้ลัก
เข้าใจทรัพย์อย่างอื่น จึงลักทรัพย์อย่างอื่นมา ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุ
ผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่
ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อนี้มา ดังนี้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่งบอกแก่ภิกษุนอกนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักรับคำภิกษุ
ผู้สั่งเดิม ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ลัก ๆ ทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก
ทุกรูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่
ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อสิ่งนี้มา ดังนี้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่ง ๆ ภิกษุอื่นต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก รับคำ ต้อง
อาบัติทุกฏ ภิกษุผู้ลัก ๆ ทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งเดิมไม่ต้องอาบัติ ภิกษุ
ผู้สั่งต่อและภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 30
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่ง
นั้นไปแล้วกลับมาบอกอีกว่า ผมไม่อาจลักทรัพย์นั้นได้ ภิกษุผู้สั่งนั้นสั่งใหม่ว่า
ท่านสามารถเมื่อใด จงลักทรัพย์นั้นเมื่อนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ๆ
ทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุผู้สั่งนั้น
ครั้นสั่งภิกษุนั้นแล้ว เกิดความร้อนใจ แต่ไม่พูดให้ได้ยินว่า อย่าลักเลย ภิกษุ
ผู้ลัก ๆ ทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุผู้สั่งนั้น
ครั้นสั่งภิกษุนั้นแล้ว เกิดความร้อนใจ จึงพูดให้ได้ยินว่า อย่าลักเลย ภิกษุ
ผู้ลักนั้นตอบว่า ท่านสั่งผมแล้ว ๆ ลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้สั่งนั้น
ครั้นสั่งภิกษุนั้นแล้ว เกิดความร้อนใจ จึงพูดให้ได้ยินว่า อย่าลักเลย ภิกษุผู้
รับสั่งนั้น รับคำว่าดีละ แล้วงดเสีย ไม่ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป.
อาการแห่งอวหาร
อาการ ๕ อย่าง
[๑๒๒] ปาราชิกอาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้
ด้วยอาการ ๕ อย่างคือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อัน
ผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑
ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 31
ถุลลัจจยาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย
อาการ ๕ อย่าง คือทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่น
หวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกินกว่า ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก
๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฎ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑.
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ
๕ อย่าง คือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวง
แหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อย ได้ราคา ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑
ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
อาการ ๖ อย่าง
[๑๒๓] ปาราชิกาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้
ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วย
วิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕
มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑.
ถุลลัจจยาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ
๖ อย่าง คือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑
มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกินกว่า ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๕
มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 32
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ
๖ อย่าง คือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑
มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑
ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
อาการ ๕ อย่าง
[๑๒๔] ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้
ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่า
ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่ามาก ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕
มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ
๕ อย่าง คือ ทรัพย์มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อัน
ผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกิน ๑ มาสก หรือหย่อน ๕ มาสก
๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ
๕ อย่าง คือ ทรัพย์มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อัน
ผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑
ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 33
อนาปัตติวาร
[๑๒๕] ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑
ขอยืม ๑ ทรัพย์อันเปรตหวงแหน ๑ ทรัพย์อันสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน ๑
ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑
เหล่านี้ไม่ต้องอาบัติ.
ปฐมภาณวาร ในอทินนาทานสิกขาบท จบ
วินีตวัตถุ ในทุติยปาราชิกกัณฑ์
อุทานคาถา
[ ๑๒๖ ] พระอุบาลีเถระชี้แจง เรื่อง
ช่างย้อม ๕ เรื่อง เรื่องผ้าห่มที่ตาก ๔ เรื่อง
เรื่องกลางคืน ๕ เรื่อง เรื่องทรัพย์ที่ภิกษุนำ
ไปเอง ๕ เรื่อง เรื่องตอบตามคำถามนำ ๕
เรื่อง เรื่องลม ๒ เรื่อง เรื่องศพที่ยังสด ๑
เรื่อง เรื่องสับเปลี่ยนสลาก ๑ เรื่อง เรื่อง
เรือนไฟ ๑ เรื่อง เรื่องเนื้อเดนสัตว์ ๕ เรื่อง
เรื่องส่วนไม่มีมูล ๕ เรื่อง เรื่องข้าวสุกใน
สมัยข้าวแพง ๑ เรื่อง เรื่องเนื้อในสมัยข้าว
แพง ๑ เรื่อง เรื่องขนมในสมัยข้าวแพง ๑
เรื่อง เรื่องน้ำตาลกรวด ๑ เรื่อง เรื่องขนม
ต้ม ๑ เรื่อง เรื่องบริขาร ๕ เรื่อง เรื่องถุง
๑ เรื่อง เรื่องฟูก ๑ เรื่อง เรื่องราวจีวร ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 34
เรื่อง เรื่องไม่ออกไป ๑ เรื่อง เรื่องถือวิสาสะ
ฉันของเคี้ยว ๑ เรื่อง เรื่องสำคัญว่าของตน
๒ เรื่อง เรื่องไม่ลัก ๗ เรื่อง เรื่องลัก ๗
เรื่อง เรื่องลักของสงฆ์ ๗ เรื่อง เรื่องลัก
ดอกไม้ ๒ เรื่อง เรื่องพูดตามคำบอก ๓ เรื่อง
เรื่องนำมณีล่วงด่านภาษี ๓ เรื่อง เรื่องปล่อย
หมู ๒ เรื่อง เรื่องปล่อยเนื้อ ๒ เรื่อง เรื่อง
ปล่อยปลา ๒ เรื่อง เรื่องกลิ้งทรัพย์ในยาน
๑ เรื่อง เรื่องชิ้นเนื้อ ๒ เรื่อง เรื่องไม้ ๒
เรื่อง เรื่องผ้าบังสุกุล ๑ เรื่อง เรื่องข้ามน้ำ
๒ เรื่อง เรื่องฉันทีละน้อย ๑ เรื่อง เรื่อง
ชวนกันลัก ๒ เรื่อง เรื่องกำมือที่เมืองสาวัตถี
๔ เรื่อง เรื่องเนื้อเดน ๒ เรื่อง เรื่องหญ้า
๒ เรื่อง เรื่องให้แบ่งของสงฆ์ ๗ เรื่อง เรื่อง
ไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง เรื่องยืมไม้สงฆ์
๑ เรื่อง เรื่องลักน้ำของสงฆ์ ๑ เรื่อง เรื่อง
ลักดินของสงฆ์ ๑ เรื่อง เรื่องลักหญ้าของ
สงฆ์ ๒ เรื่อง เรื่องลักเสนาสนะของสงฆ์
๗ เรื่อง เรื่องของมีเจ้าของไม่ควรนำไปใช้
๑ เรื่อง เรื่องของมีเจ้าของควรขอยืม ๑ เรื่อง
เรื่องนางภิกษุณีชาวเมืองจัมปา ๑ เรื่อง เรื่อง
นางภิกษุณีชาวเมืองราชคฤห์ ๑ เรื่อง เรื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 35
พระอัชชุกะเมืองเวสาลี ๑ เรื่อง เรื่องทารก
ชาวเมืองพาราณสี ๑ เรื่อง เรื่องเมืองโกสัมพี
๑ เรื่อง เรื่องสัทธิวิหาริกพระทัฬหิกะเมือง
สาคละ ๑ เรื่อง.
วินีตวัตถุ
เรื่องช่างย้อม ๕ เรื่อง
[๑๒๗] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ ไปสู่ลานตากผ้าของ
ช่างย้อม ลักห่อผ้าของช่างย้อมไปแล้วได้มีความรังเกียจว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
[๑๒๘] ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่ลานตากผ้าของ
ช่างย้อม เห็นผ้ามีราคามาก ยังไถยจิตให้เกิดแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเพียงแต่คิด.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม
เห็นผ้ามีราคามาก มีไถยจิตจับต้องผ้านั้นแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จังกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม เห็น
ผ้าราคามาก มีไถยจิตทำผ้านั้นให้ไหวแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 36
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม เห็น
ผ้ามีราคามาก มีไถยจิตทำผ้านั้นให้เคลื่อนจากฐานแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องผ้าห่มที่ตาก ๔ เรื่อง
[๑๒๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูป
หนึ่ง พบผ้าห่มที่เขาตากไว้ มีราคามาก ยังไถยจิตให้เกิดขึ้นแล้ว ได้มีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเพียงแต่คิด.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง พบ
ผ้าห่มที่เขาตากไว้มีราคามาก มีไถยจิตจับต้องแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
เจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง พบ
ผ้าห่มที่เขาตากไว้ มีราคามาก มีไถยจิตยังผ้านั้นให้ไหวแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง พบ
ผ้าห่มที่เขาตากไว้มีราคามาก มีไถยจิตทำผ้านั้นให้เคลื่อนจากฐานแล้ว ได้มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 37
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
กลางคืน ๕ เรื่อง
[๑๓๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน
แล้วได้ทำนิมิตไว้ด้วยหมายใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่
จึงลักทรัพย์นั้นมาแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำ
นิมิตไว้ด้วยหมายใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลัก
ทรัพย์นั้นมาแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำ
นิมิตไว้ด้วยหมายใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์อื่น แต่ลักทรัพย์
นั้นมาแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำ
นิมิตไว้ด้วยหมายใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์อื่น จึงลักทรัพย์
อื่นมาแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 38
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำ
นิมิตไว้ด้วยหมายใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลักทรัพย์
ของตนมาแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องทรัพย์ที่ภิกษุนำไปเอง ๕ เรื่อง
[๑๓๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง นำทรัพย์ของผู้อื่นไป
มีไถยจิตจับต้องภาระบนศีรษะแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
. . . มีไถยจิตยังภาระบนศีรษะให้ไหว . . . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
. . . มีไถยจิตลดภาระบนศีรษะลงสู่คอ . . . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งนำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิต
จับต้องภาระที่คอแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมัง-
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ
ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
. . . มีไถยจิตยังภาระที่คอให้ไหว . . . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 39
. . . มีไถยจิตลดภาระที่คอลงสู่สะเอว . . . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง นำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิต
จับต้องภาระที่สะเอวแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
. . . มีไถยจิตยังภาระที่สะเอวให้ไหว . . . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
. . .มีไถยจิตลดภาระที่สะเอวลงถือด้วยมือ. . . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง นำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิต
วางภาระในมือลงบนพื้นแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง นำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิต
หยิบทรัพย์นั้นขึ้นจากพื้นดินแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องตอบตามคำถามนำ ๕ เรื่อง
[๑๓๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้กลางแจ้งแล้ว
เข้าไปสู่วิหาร ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้เก็บไว้ด้วยคิดว่า จีวรนี้ อย่าหายเสียเลย
ภิกษุเจ้าของออกมา ถามภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส จีวรของผม ใครลักไป ภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 40
นั้นตอบอย่างนี้ว่า ผมลักไป ภิกษุเจ้าของยึดถือภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ เธอ
ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ตอบตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพาดจีวรไว้บนตั่ง แล้วเข้าไปสู่
วิหาร ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้เก็บไว้ด้วยคิดว่า จีวรนี้ อย่าหายเสียเลย ภิกษุเจ้าของ
ออกมา ถามภิกษุนั้นว่า อาวุโส จีวรของผม ใครลักไป ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้
ว่า ผมลักไป ภิกษุเจ้าของยึดถือภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ตอบตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพาดผ้านิสีทนะไว้บนตั่ง แล้วเข้า
ไปสู่วิหาร ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้เก็บไว้ด้วยคิดว่า ผ้านิสีทนะนี้ อย่าหายเสียเลย
ภิกษุเจ้าของออกมา ถามภิกษุนั้นว่า อาวุโส ผ้านิสีทนะของผม ใครลักไป
ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ผมลักไป ภิกษุเจ้าของยึดถือภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ
เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ตอบตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 41
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งวางบาตรไว้ใต้ตั่ง แล้วเข้าไปสู่
วิหาร ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้เก็บไว้ด้วยคิดว่าบาตรนี้ อย่าหายเสียเลยภิกษุเจ้าของ
ออกมา ถามภิกษุนั้นว่า อาวุโส บาตรของผมใครลักไป ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า
ผมลักไป ภิกษุเจ้าของยึดถือภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ตอบตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีรูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้ที่รั้วแล้วเข้าไปสู่วิหาร
ภิกษุณีอีกรูปหนึ่งเก็บไว้ด้วยว่า จีวรนี้ อย่าหายเสียเลย ภิกษุณีผู้เป็นเจ้าของ
ออกมา ถามภิกษุณีนั้นว่า แม่เจ้า จีวรของดิฉันใครลักไป ภิกษุณีนั้นตอบ
อย่างนี้ว่า ดิฉันลักไป ภิกษุณีเจ้าของยึดถือภิกษุณีนั้นว่าไม่เป็นสมณะ เธอได้มี
ความรังเกียจ จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ๆ แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่
เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ.
เรื่องลม ๒ เรื่อง
[๑๓๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นผ้าสาฎกถูกลมบ้าหมู
พัดหอบไป จึงเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่าจักให้แก่เจ้าของ เจ้าของโจทภิกษุนั้นว่าไม่
เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 42
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีไถยจิต ไม่เป็นอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตถือเอาผ้าโพกซึ่งถูกลม
บ้าหมูพัดหอบไป ด้วยเกรงว่าเจ้าของจะเห็นเสียก่อน เจ้าของโจทภิกษุนั้นว่า
ไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าคิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องศพที่ยังสด
[๑๓๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้าแล้ว ถือเอาผ้าบังสุกุล
ที่ศพสด และในร่างศพนั้นมีเปรตสิงอยู่ จึงเปรตนั้น ได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า
ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าได้ถือเอาผ้าสาฎกของข้าพเจ้าไป ภิกษุนั้นไม่เอื้อเฟื้อ
จึงได้ถือไป ทันใดศพนั้นลุกขึ้นเดินตามหลังภิกษุนั้นไป ภิกษุนั้นเข้าไปสู่
วิหารปิดประตู ร่างศพนั้นได้ล้มลง ณ ที่นั้นทันที เธอได้มีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อันผ้าบังสุกุลที่ศพสด ภิกษุทั้งหลายไม่พึงถือเอา ภิกษุใดถือเอา ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
เรื่องสับเปลี่ยนสลาก
[๑๓๕] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อจีวรของสงฆ์ อันภิกษุจีวรภาชกะแจก
อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตสับเปลี่ยนสลาก แล้วรับจีวรไป เธอได้มีความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 43
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องเรือนไฟ
[๑๓๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์สำคัญผ้าอันตรวาสกของ
ภิกษุรูปหนึ่งในเรือนไฟว่าของตน จึงนุ่งแล้ว ภิกษุนั้นได้ถามท่านพระอานนท์
ว่า อาวุโสอานนท์ ไฉนท่านจึงนุ่งผ้าอันตรวาสกของกระผมเล่า.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า อาวุโส ผมเข้าใจว่าของผม.
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความเข้าใจว่าของตน ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องเนื้อเดนสัตว์ ๕ เรื่อง
[๑๓๗] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบ
เนื้อเดนราชสีห์ จึงใช้อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ
เพราะเนื้อเดนราชสีห์.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเดน
เสือโคร่งจึงใช้อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะ
เนื้อเดนเสือโคร่ง.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเดน
เสือเหลือง จึงใช้อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 44
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ
เพราะเนื้อเดนเสือเหลือง.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อ
เดนเสือดาว จึงใช้อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ
เพราะเนื้อเดนเสือดาว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเดน
สุนัขป่า จึงใช้อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะ
เนื้ออันสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน.
เรื่องส่วนไม่มีมูล ๕ เรื่อง
[๑๓๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อข้าวสุกของสงฆ์อันภิกษุภัตตุทเทสก์
แจงอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่
ไม่มีมูลไป เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อของเคี้ยวของสงฆ์อันภิกษุขัชชภาชกะแจกอยู่
ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป
เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 45
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อขนมของสงฆ์อันภิกษุปูวภาชกะแจกอยู่
ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป
เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่ออ้อยของสงฆ์อันภิกษุอุจฉุภาชกะแจกอยู่
ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป
เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อผลมะพลับของสงฆ์อันภิกษุผลภาชกะแจก
อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มี
มูลไป เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
เรื่องข้าวสุก
[๑๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขาย
ข้าวสุก มีไถยจิตลักข้าวสุกไปเต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 46
เรื่องเนื้อ
ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขายแกงเนื้อ มี
ไถยจิตลักเนื้อไปเต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องขนม
ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขายขนม มีไถยจิต
ลักขนมไปเต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องน้ำตาลกรวด
ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขายน้ำตาลกรวด
มีไถยจิตลักน้ำตาลกรวดไปเต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องขนมต้ม
ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขายขนมต้ม มี
ไถยจิตลักขนมต้มไปเต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 47
เรื่องบริขาร ๕ เรื่อง
[๑๔๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารในกลางวัน
แล้วได้ทำนิมิตไว้ว่า จักลักในกลางคืน ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ จึงลัก
บริขารนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารในกลางวัน แล้วได้
ทำนิมิตไว้ว่า จักลักในกลางคืน ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ แต่ลักบริขารอื่น
แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารในกลางวัน แล้วได้ทำ
นิมิตไว้ว่า จักลักในกลางคืน ภิกษุนั้นสำคัญว่าบริขารอื่น แต่ลักบริขารนั้น
แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารในกลางวัน แล้วได้
ทำนิมิตไว้ว่า จักลักในกลางคืน ภิกษุนั้นสำคัญว่าบริขารอื่น จึงลักบริขารอื่น
แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารในกลางวัน แล้วได้
ทำนิมิตไว้ว่า จักลักในกลางคืน ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ แต่ลักบริขาร
ของตน แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 48
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฎ.
เรื่องถุง
[๑๔๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นถุงวางอยู่บนตั่งแล้วคิดว่า
เราถือเอาไปจากตั่งนี้ จักเป็นปาราชิก จึงได้ยกถือเอาพร้อมทั้งตั่ง แล้วมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องฟูก
[๑๔๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักฟูกของสงฆ์ แล้ว
มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องราวจีวร
[๑๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักจีวรที่ราวจีวรไป
แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องไม่ออกไป
[๑๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ลักจีวรในวิหารแล้วคิดว่า
เราออกจากวิหารนี้ไปจักเป็นปาราชิก จึงไม่ออกจากวิหาร ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆ-
บุรุษนั้นจะพึงออกไปก็ตาม ไม่ออกไปก็ตาม ก็ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 49
เรื่องถือวิสาสะฉันของเคี้ยว
[๑๔๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสองรูปเป็นเพื่อนกัน รูปหนึ่งเข้าไป
บิณฑบาตในบ้าน รูปที่สอง เมื่อของเคี้ยวของสงฆ์ อันภิกษุภัตตุทเทสก์แจกอยู่
ได้รับเอาส่วนของเพื่อนแล้วถือวิสาสะฉันส่วนของเพื่อนนั้น ภิกษุรูปที่หนึ่ง
นั้นทราบแล้ว โจทภิกษุรูปที่สองว่าท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุรูปที่สองมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าถือวิสาสะ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะถือวิสาสะ.
เรื่องฉันของเคี้ยวด้วยสำคัญว่าของตน ๒ เรื่อง
[๑๔๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปกำลังทำจีวรกันอยู่ เมื่อ
ของเคี้ยวของสงฆ์ อันภิกษุขัชชภาชกะแจกอยู่ ภิกษุทุกรูปต่างนำส่วนของตน
ไปเก็บไว้ ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญส่วนของภิกษุอีกรูปหนึ่งว่าของตน จึงฉัน ภิกษุ
ผู้เป็นเจ้าของทราบแล้ว โจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุรูปนั้นมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความ
สำคัญว่าของตน.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปกำลังทำจีวรกันอยู่ เมื่อของเคี้ยว
ของสงฆ์ อันภิกษุขัชชภาชกะแจกอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งได้เอาบาตรของภิกษุอีก
รูปหนึ่งไปนำส่วนของตนมาเก็บไว้ ภิกษุเจ้าของบาตรสำคัญว่าของตน จึงฉัน
ภิกษุนั้นทราบแล้ว โจทภิกษุเจ้าของบาตรว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเจ้าของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 50
บาตรมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้มีความสำคัญว่าของตน.
เรื่องไม่ลัก ๗ เรื่อง
[๑๔๗] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักมะม่วง ทำมะม่วงให้
หล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้นไป พวกขโมยเห็น
พวกเจ้าของ แล้วทิ้งห่อมะม่วงหนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของ
บังสุกุล จึงพากันเก็บมะม่วงห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า
พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของ
บังสุกุล.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักชมพู่ ทำชมพู่ให้หล่นแล้วห่อ
ถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของแล้ว
ทิ้งห่อชมพู่หนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุลจึงพากันเก็บ
ชมพู่ห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ
ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธ-
เจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 51
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็น
ของบังสุกุล.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักขนุนสำมะลอ ทำขนุนสำมะลอ
ให้หล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็น
พวกเจ้าของแล้ว ทิ้งห่อขนุนสำมะลอหนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็น
ของบังสุกุล จึงพากันเก็บขนุนสำมะลอห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุ
เหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
คิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็น
ของบังสุกุล.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักขนุน ทำขนุนให้หล่นแล้วห่อถือ
ไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของแล้วทิ้ง
ห่อขนุนหนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงพากันเก็บ
ขนุนห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ
ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็น
ของบังสุกุล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 52
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักผลตาลสุก ทำผลตาลสุกให้หล่น
แล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็นพวก
เจ้าของแล้วทิ้งห่อผลตาลสุกหนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของบัง-
สุกุล จึงพากันเก็บผลตาลสุกห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า
พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็น
ของบังสุกุล.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักอ้อย ตัดอ้อยแล้วห่อถือไป พวก
เจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของ แล้วทิ้งห่ออ้อย
หนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงพากันเก็บอ้อยห่อนั้น
ไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้น
มีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็น
ของบังสุกุล.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักมะพลับ เลือกเก็บมะพลับแล้ว
ห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 53
แล้วทิ้งห่อมะพลับหนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงพา
กันเก็บมะพลับห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็น
สมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็น
ของบังสุกุล.
เรื่องลัก ๗ เรื่อง
[๑๔๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักมะม่วง ทำมะม่วงให้
หล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมย ๆ เห็นพวกเจ้าของ ได้ทิ้ง
ห่อมะม่วงหนีไป ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉัน
เสียก่อน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุ
เหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักชมพู่ ทำชมพู่ให้หล่นแล้วห่อถือ
ไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมย ๆ เห็นพวกเจ้าของ ได้ทิ้งห่อชมพู่หนีไป
ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉันเสียก่อน พวกเจ้า
ของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ
ว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 54
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักขนุนสำมะลอ ทำขนุนสำมะลอ
ให้หล่น แล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมย ๆ เห็นพวกเจ้าของ ได้
ทิ้งห่อขนุนสำมะลอหนีไปภิกษุทั้งหลายคิดว่าพวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิต
ฉันเสียก่อน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุ
เหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักขนุน ทำขนุนให้หล่น แล้วห่อ
ถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมย ๆ เห็นพวกเจ้าของ ได้ทิ้งห่อขนุนหนีไป
ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉันเสียก่อน พวกเจ้าของ
โจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักผลตาลสุก ทำผลตาลสุกให้หล่น
แล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมย ๆ เห็นพวกเจ้าของ ได้ทิ้งห่อผล
ตาลสุกหนีไป ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉันเสีย
ก่อน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้น
มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักอ้อย ตัดอ้อยแล้วห่อถือไป พวก
เจ้าของติดตามพวกขโมย ๆ เห็นพวกเจ้าของได้ทิ้งห่ออ้อยหนีไป ภิกษุทั้งหลาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 55
คิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉันเสียก่อน พวกเจ้าของโจทภิกษุ
เหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเรา
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักมะพลับ เลือกเก็บมะพลับ แล้ว
ห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมย ๆ เห็นพวกเจ้าของ ได้ทิ้งห่อมะพลับ
หนีไป ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉันเสียก่อน
พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความ
รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว.
เรื่องลักของสงฆ์ ๗ เรื่อง
[๑๔๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักมะม่วงของ
สงฆ์ แล้วได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักชมพู่ของสงฆ์ แล้ว
ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักขนุนสำมะลอของ
สงฆ์ แล้วได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 56
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักขนุนของสงฆ์ แล้ว
ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักผลตาลสุกของสงฆ์
แล้วได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักอ้อยของสงฆ์ แล้ว
ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักมะพลับของสงฆ์
แล้วได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว.
เรื่องลักดอกไม้ ๒ เรื่อง
[๑๕๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่สวนดอกไม้ มี
ไถยจิตลักดอกไม้ที่เขาเก็บไว้ ได้ราคา ๕ มาสก แล้วได้มีความรังเกียจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 57
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่สวนดอกไม้ มีไถยจิตลัก
เก็บดอกไม้ ได้ราคา ๕ มาสก แล้วได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องพูดตามคำบอก ๓ เรื่อง
[๑๕๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อจะไปสู่หมู่บ้านได้
กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า ท่าน ผมจะบอกสกุลอุปัฏฐากของท่านตามที่ท่าน
บอก ภิกษุนั้นไปถึงจึงให้เขานำผ้าสาฎกมาผืนหนึ่ง แล้วใช้เสียเอง ภิกษุผู้บอก
รู้เข้าจึงโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จังกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ภิกษุทั้งหลายไม่พึงกล่าวว่า
ผมบอกตามที่ท่านบอก รูปใดกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อจะไปสู่หมู่บ้าน ภิกษุอีกรูป
หนึ่ง ได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า ท่าน ท่านจงบอกสกุลอุปัฏฐากของผมตามที่ผม
บอก ภิกษุนั้นไปถึงจึงให้เขานำผ้าสาฎกมาคู่หนึ่ง แล้วใช้เสียเอง ๑ ผืน ให้ภิกษุ
ผู้บอก ๑ ผืน ภิกษุผู้บอกรู้เข้าจึงโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอได้
มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ภิกษุไม่พึงกล่าวว่า ท่านจงบอกตามที่ผมบอก รูปใดกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อจะไปสู่หมู่บ้าน ได้กล่าวกะ
ภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า ท่าน ผมจะบอกสกุลอุปัฏฐากของท่านตามที่ท่านบอก แม้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 58
ภิกษุนั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านจงบอกตามที่ผมบอกเถิด ภิกษุนั้นไปถึงจึงให้
เขานำเนยใส ๑ อาฬหก๑ น้ำอ้อยงบ ๑ ดุล๒ ข้าวสาร ๑ โทณะ๓ มาแล้วฉัน
เสียเอง ภิกษุผู้บอกรู้เข้าจึงโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ภิกษุ
ไม่พึงกล่าวว่า ผมบอกตามที่ท่านบอก รูปใดกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องนำแก้วมณีล่วงด่านภาษี ๓ เรื่อง
[๑๕๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษผู้หนึ่งนำแก้วมณีซึ่งมีราคามาก
เดินทางไกลไปกับภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นบุรุษนั้นเห็นด่านภาษี จึงหย่อนแก้วมณี
ลงในถุงย่ามของภิกษุนั้นผู้ไม่รู้ตัว เดินพ้นด่านภาษีไปแล้ว จึงถือนำไปเอง
ภิกษุนั้นได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ตัว พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่รู้ตัว ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษผู้หนึ่งนำแก้วมณีซึ่งมีราคามาก เดินทาง
ไกลไปกับภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นบุรุษนั้นเห็นด่านภาษี จึงทำลวงว่าเป็นไข้ แล้ว
ได้ให้ห่อของของตนแก่ภิกษุนั้น ครั้นเดินทางพ้นด่านภาษีไปแล้ว บุรุษนั้น
จึงได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงนำห่อของของผมมา ผมหา
ได้เป็นไข้ไม่ ภิกษุนั้นถามว่า ท่าน ท่านได้ทำทีท่าเช่นนั้นเพื่อประสงค์อะไร
บุรุษนั้นได้แจ้งความแก่ภิกษุนั้นแล้ว เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
๑. ๔ ปัตถะเป็น ๑ อาฬหก ๒. ร้อยปละเป็น ๑ ดล ๓. สี่อาฬหกเป็น ๑ โทณะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 59
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไกลไปกับพวกเกวียน
บุรุษคนหนึ่งเกลี้ยกล่อมภิกษุนั้นด้วยอามิสแล้ว เห็นด่านภาษี จึงส่งแก้วมณี
ซึ่งมีราคามากให้แก่ภิกษุนั้น ด้วยขอร้องว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงช่วยนำ
แก้วมณีนี้ผ่านด่านภาษีด้วย จึงภิกษุนั้นนำแก้วมณีนั้นให้ผ่านด่านภาษีไปแล้ว
ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องปล่อยหมู ๒ เรื่อง
[๑๕๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความสงสาร ได้ปล่อย
หมูที่ติดบ่วงไปแล้ว มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ปล่อยหมูที่ติดบ่วง
ไปเสียก่อนด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 60
เรื่องปล่อยเนื้อ ๒ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความสงสาร ได้ปล่อยเนื้อที่ติด
บ่วงไปแล้ว มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ปล่อยเนื้อที่ติดบ่วง
เสียก่อนด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องปล่อยปลา ๒ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความสงสาร ได้ปล่อยปลาที่ติด
ลอบไป แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือ ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 61
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ปล่อยปลาที่ติดลอบ
ไปเสียก่อน ด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องกลิ้งทรัพย์ในยาน
[๑๕๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในยานแล้วคิดว่า
เราถือเอาไปจากยานนี้จักเป็นปาราชิก จึงเขี่ยให้กลิ้งถือเอาไป แล้วมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องชิ้นเนื้อ ๒ เรื่อง
[๑๕๕] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้ถือเอาชิ้นเนื้อที่เหยี่ยว
เฉี่ยวไป ด้วยตั้งใจว่า จักให้แก่พวกเจ้าของ ๆ โจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็น
สมณะ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้หา
ไถยจิตมิได้ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตถือเอาชิ้นเนื้อที่เหยี่ยว
เฉี่ยวไปเสียก่อน ด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น พวกเจ้าของโจทภิกษุนั้นว่า
ท่านไม่เป็นสมณะ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 62
เรื่องไม้ ๒ เรื่อง
[๑๕๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล คนทั้งหลายผูกไม้แพแล้วให้ลอยไป
ตามกระแสในแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเครื่องผูกขาด ไม้ได้ลอยกระจายไป ภิกษุทั้ง
หลาย มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงช่วยกันขนขึ้น พวกเจ้าของโจท
ภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของ
บังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล คนทั้งหลายผูกไม้แพแล้วให้ลอยไปตามกระแส
ในแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเครื่องผูกขาด ไม้ได้ลอยกระจายไป ภิกษุทั้งหลายมี
ไถยจิตช่วยกันขนขึ้นเสียก่อนด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น พวกเจ้าของโจท
ภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องผ้าบังสุกุล
[๑๕๗] ก็โดยสมัยนั้นแล คนเลี้ยงโคคนหนึ่งพาดผ้าสาฎกไว้ที่ต้น
ไม้ แล้วไปถ่ายอุจจาระ ภิกษุรูปหนึ่งมีความสำคัญว่าเป็นผ้าบังสุกุลจึงถือเอา
ไปคนเลี้ยงโคนั้นโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจ
ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่
ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 63
เรื่องข้ามน้ำ ๒ เรื่อง
[๑๕๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งกำลังข้ามน้ำ ผ้าสาฎกที่
หลุดจากมือของพวกช่างย้อม ไปคล้องอยู่ที่เท้าภิกษุ ๆ นั้นเก็บไว้ ด้วยตั้งใจ
ว่าจักให้แก่พวกเจ้าของ ๆ โจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุนั้นมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้หาไถยจิตมิได้ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งกำลังข้ามน้ำ ผ้าสาฎกที่หลุดจากมือ
ของพวกช่างย้อม ได้ไปคล้องอยู่ที่เท้าภิกษุ ๆ นั้นมีไถยจิตยึดเอาไว้เสียก่อน
ด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจักเห็น พวกเจ้าของโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ
ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว.
เรื่องฉันทีละน้อย
[๑๕๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นหม้อเนยใสแล้วฉันเข้าไป
ทีละน้อย ๆ แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องชวนกันลักทรัพย์ ๒ เรื่อง
[๑๖๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปชักชวนกันไป ด้วยตั้งใจ
ว่าจักลักทรัพย์ ภิกษุรูปหนึ่งลักทรัพย์มาได้ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
พวกเราไม่เป็นปาราชิก รูปใดลัก รูปนั้นเป็นปาราชิก แล้วกราบทูลเรื่องนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 64
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปชวนกันลักทรัพย์มาได้แล้วแบ่งกัน
เมื่อแบ่งทรัพย์กัน ภิกษุรูปหนึ่ง ๆ ได้ส่วนแบ่งไม่ครบ ๕ มาสก จึงกล่าวกัน
ขึ้นอย่างนี้ว่า พวกเราไม่เป็นปาราชิก แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องกำมือ ๔ เรื่อง
[๑๖๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูป
หนึ่งมีไถยจิตลักข้าวสารของชาวร้าน ๑ กำมือ แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งมี
ไถยจิตลักถั่วเขียวของชาวร้าน ๑ กำมือ แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งมี
ไถยจิตลักถั่วฝักยาวของชาวร้าน 1 กำมือ แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งมี
ไถยจิตลักงาของชาวร้าน ๑ กำมือ แล้วมีความรังเกียจว่าเราต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 65
แล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องเนื้อเดน ๒ เรื่อง
[๑๖๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกโจรในป่าอันธวันแขวงเมืองสาวัตถี
ฆ่าโคกินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้แล้วพากันไป ภิกษุทั้งหลายสำคัญว่า
เป็นของบังสุกุล จึงให้ถือเอาไปฉัน พวกโจรโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่าน
ไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกโจรในป่าอันธวันแขวงเมืองสาวัตถี ฆ่าหมู
กินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้แล้วพากันไป ภิกษุทั้งหลายสำคัญว่าเป็นของ
บังสุกุล จึงให้ถือเอาไปฉัน พวกโจรโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็น
สมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง
[๑๖๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่แดนดงหญ้า มีไถย-
จิตลักหญ้าที่เขาเกี่ยวไว้ ได้ราคา ๕ มาสก แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
[๑๖๔] ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่แดนดงหญ้า มีไถย-
จิตลักเกี่ยวหญ้า ได้ราคา ๕ มาสก แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 66
ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องให้แบ่งของสงฆ์ ๗ เรื่อง
[๑๖๕] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลายยังกันและกัน
ให้แจกมะม่วงของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกพระอาคันตุกะว่า
พวกท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจก
ชมพู่ของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกอาคันตุกะว่า พวกท่าน
ไม่เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจก
ขนุนสำมะลอของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกอาคันตุกะว่า พวก
ท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 67
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจก
ขนุนของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกอาคันตุกะว่า พวกท่านไม่
เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจก
ผลตาลสุกของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกพระอาคันตุกะว่าพวก
ท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจก
อ้อยของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกอาคันตุกะว่า พวกท่านไม่
เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจก
มะพลับของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกพระอาคันตุกะว่า พวก
ท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 68
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง
[๑๖๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษามะม่วงได้ถวายผลมะม่วง
แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้
จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาชมพู่ ได้ถวายผลชมพู่แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ๆ มีความรังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึง
ไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาขนุนสำมะลอ ได้ถวายผลขนุน
สำมะลอแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่
จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาขนุน ได้ถวายผลขนุนแก่
ภิกษุทั้งหลาย ๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาผลตาลสุก ได้ถวายผลตาลสุก
แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 69
จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาอ้อย ได้ถวายอ้อยแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษามะพลับ ได้ถวายผลมะพลับแก่
ภิกษุทั้งหลาย ๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึง
ไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
เรื่องยืมไม้ของสงฆ์
[๑๖๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งขอยืมไม้ของสงฆ์ไปค้ำฝาที่อยู่
ของตน ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอมีความรังเกียจ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดขอยืม พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะขอยืม.
เรื่องลักน้ำของสงฆ์
[๑๖๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักน้ำของสงฆ์ แล้ว
มีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 70
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องลักดินของสงฆ์
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักดินของสงฆ์แล้วมีความ
รังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์
แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลความเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุเธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตเผาหญ้ามุงกระต่ายของ
สงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุเธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 71
เรื่องเสนาสนะของสงฆ์ ๗ เรื่อง
[๑๖๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักเตียงของ
สงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ลักตั่งของสงฆ์ แล้วมี
ความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักฟูกของสงฆ์ แล้วมี
ความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักหมอนของสงฆ์
แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 72
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักบานประตูของสงฆ์
แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักบานหน้าต่างของสงฆ์
แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักไม้กลอนของสงฆ์
แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องของมีเจ้าของ ไม่ควรนำมาใช้
[๑๗๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายนำเสนาสนะอันเป็นเครื่องใช้
สำหรับวิหารของอุบาสกคนหนึ่ง ไปใช้สอย ณ ที่แห่งอื่น จึงอุบาสกนั้นแพ่งโทษ
ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจึงได้นำเครื่องใช้สอยในที่อื่น
ไปใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่งเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง อันภิกษุ
ไม่พึงใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง รูปใดใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 73
เรื่องของมีเจ้าของ ควรขอยืม
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะนำกระทั่งผ้าปูนั่งประชุมไป
แม้ ณ โรงอุโบสถ จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวก็ดี จีวรก็ดี แปดเปื้อนฝุ่น
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว
เรื่องภิกษุณีชาวเมืองจัมปา
[๑๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล อันเตวาสิกาของภิกษุณีถุลลนันทา ไปสู่
สกุลอุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทาในเมืองจัมปาแล้วบอกว่า แม่เจ้าปรารถนา
จะดื่มยาคูที่ปรุงด้วยของ ๓ อย่าง ตนสั่งให้เขาหุงหาให้แล้วนำไปฉันเสีย
ภิกษุณีถุลลนันทาทราบเข้า จึงโจทภิกษุณีอันเตวาสิกานั้นว่า เธอไม่เป็นสมณะ
ภิกษุณีอันเตวาสิกามีความรังเกียจ จึงร้องเรียนแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ๆ แจ้งแก่
ภิกษุทั้งหลาย ๆ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะ
สัมปชานมุสาวาท.
เรื่องภิกษุณีชาวเมืองราชคฤห์
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีอันเตวาสิกาของภิกษุณีถุลลนันทาไปสู่สกุล
อุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทาในเมืองราชคฤห์แล้วบอกว่า แม่เจ้าปรารถนาจะ
ฉันขนมรวงผึ้ง ตนสั่งให้เขาทอดแล้วนำไปฉันเสีย ภิกษุณีถุลลนันทาทราบเข้า
จึงโจทภิกษุณีอันเตวาสิกานั้นว่า เธอไม่เป็นสมณะ ภิกษุณีอันเตวาสิกามีความ
รังเกียจ จึงร้องเรียนแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้น
ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 74
เรื่องพระอัชชุกะเมืองเวสาลี
[๑๗๓] ก็โดยสมัยนั้นแล คหบดีอุปัฏฐากของท่านพระอัชชุกะใน
เมืองเวสาลี มีเด็กชาย ๒ คน คือบุตรชายคนหนึ่ง หลานชายคนหนึ่ง ครั้นนั้น
ท่านคหบดีได้สั่งคำนี้ไว้กะท่านพระอัชชุกะว่า พระคุณเจ้าข้า บรรดาเด็ก ๒ คน
นี้ เด็กคนใดมีศรัทธาเลื่อมใส พระคุณเจ้าพึงบอกสถานที่ฝังทรัพย์นี้แก่เด็ก
คนนั้น ดังนี้แล้วได้ถึงแก่กรรม ครั้นสมัยต่อมา หลานชายของคหบดีนั้น
เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส จึงท่านพระอัชชุกะได้บอกสถานที่ฝังทรัพย์นั้นแก่เด็ก
หลานชาย ๆ นั้นได้รวบรวมทรัพย์ และเริ่มบำเพ็ญทานด้วยทรัพย์สมบัติ
นั้นแล้ว.
ภายหลัง บุตรชายคหบดีนั้น ได้เรียนถามเรื่องนี้กะท่านพระอานนท์ว่า
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ใครหนอเป็นทายาทของบิดา บุตรชายหรือหลานชาย.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า คุณ ธรรมดาบุตรชายเป็นทายาทของบิดา.
บุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอัชชุกะนี้ ได้บอกทรัพย์สมบัติของ
กระผมให้แก่คู่แข่งขันของกระผม.
อา. คุณ ท่านพระอัชชุกะไม่เป็นสมณะ.
สำดับนั้น ท่านพระอัชชุกะได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส
อานนท์ ขอท่านได้โปรดให้การวินิจฉัยแก่กระผมด้วยเถิด.
ก็ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเป็นฝักฝ่ายของท่านพระอัชชุกะท่านจึงถาม
ท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส อานนท์ ภิกษุใดอันเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่า ขอท่าน
ได้โปรดบอกสถานที่ฝังทรัพย์นี้แก่บุคคลชื่อนี้ แล้วบอกแก่บุคคลนั้น ภิกษุนั้น
จะต้องอาบัติด้วยหรือ.
อา. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติสักน้อย โดยที่สุดแม้
เพียงอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 75
อุ. อาวุโส ท่านพระอัชชุกะนี้อันเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่า ขอท่านได้
โปรดบอกสถานที่ฝังทรัพย์นี้แก่บุคคลชื่อนี้ จึงได้บอกแก่บุคคลนั้น ท่านพระ-
อัชชุกะไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องเมืองพาราณสี
[๑๗๓] ก็โดยสมัยนั้นแล สกุลอุปัฏฐากของท่านพระปิลินทวัจฉะใน
เมืองพาราณสี ถูกพวกโจรปล้น และเด็ก ๒ คนถูกพวกโจรนำตัวไป ครั้นนั้น
ท่านพระปิลินทวัจฉะนำเด็ก ๒ คนนั้นมาด้วยฤทธิ์แล้วให้อยู่ในปราสาท
ชาวบ้านเห็นเด็ก ๒ คนนั้นแล้ว ต่างพากันเลื่อมใสในท่านพระปิลินทวัจฉะ
เป็นอย่างยิ่งว่า นี้เป็นฤทธานุภาพของพระปิลินทวัจฉะ ภิกษุทั้งหลายพากัน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระปิลินทวัจฉะจึงได้นำเด็กที่ถูก
พวกโจรนำตัวไปแล้วคืนมาเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะวิสัยแห่งฤทธิ์ของภิกษุมีฤทธิ์.
เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
[๑๗๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๒ รูป ชื่อปัณฑกะ ๑ ชื่อกปีล ๑
เป็นสหายกัน รูปหนึ่งอยู่ในหมู่บ้าน อีกรูปหนึ่งอยู่ในเมืองโกสัมพี ขณะเมื่อ
ภิกษุนั้นเดินทางจากหมู่บ้านไปเมืองโกสัมพี ข้ามแม่น้ำในระหว่างทาง เปลว
มันข้นที่หลุดจากมือของพวกคนฆ่าหมูลอยติดอยู่ที่เท้า ภิกษุนั้นได้เก็บไว้ด้วย
ตั้งใจว่า จักให้แก่พวกเจ้าของ ๆ โจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ สตรี
เลี้ยงโคคนหนึ่งเห็นภิกษุนั้นข้ามแม่น้ำขึ้นมาแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา
นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นคิดว่า แม้โดยปกติ เราก็ไม่เป็นสมณะ
แล้ว จึงเสพเมถุนธรรมในสตรีเลี้ยงโคนั้น ไปถึงเมืองโกสัมพีแล้ว แจ้งเรื่องนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 76
แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ จึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะอทินนาทาน แต่ต้อง
อาบัติปาราชิก เพราะเสพเมถุนธรรม.
เรื่องสัทธิวิหาริกพระทัฬหิกะเมืองสาคละ
[๑๗๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระทัฬหิกะใน
เมืองสาคละ ถูกความกระสันบีบคั้นแล้ว ได้ลักผ้าโพกของชาวร้านไป แล้ว
ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระทัฬหิกะว่า กระผมไม่เป็นสมณะ จักลาสิกขา ขอรับ.
ท่านพระทัฬหิกะถามว่า คุณทำอะไรไว้.
ภิกษุนั้นสารภาพว่า ลักผ้าโพกของชาวร้าน ขอรับ.
ท่านพระทัฬหิกะให้นำผ้าโพกนั้นมา แล้วให้ชาวร้านตีราคาเมื่อตีราคา
ผ้าโพกนั้น ราคาไม่ถึง ๕ มาสก ท่านพระทัฬหิกะชี้แจงเหตุผลว่า คุณไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก ดังนี้ ภิกษุนั้นยินดียิ่งนักแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ จบ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 77
ทุติยปาราชิกวรรณนา
บัดนี้ ถึงลำดับสังวรรณนาทุติย-
ปาราชิกซึ่งพระชินเจ้าผู้ไม่เป็นที่สองทรง
ประกาศแล้ว, เพราะเหตุนั้น คำใดที่จะพึงรู้
ได้ง่าย และได้ประกาศไว้แล้วในเบื้องต้น,
การสังวรรณนาทุติยปาราชิกนั้น จะเว้นคำ
นั้นเสียทั้งหมดดังต่อไปนี้ :-
[ เรื่องพระธนิยะกุมภการบุตร ]
นิกเขปบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา ราชคเห วิหรติ
คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป.
บทว่า ราชคเห ได้แก่ เมืองที่มีชื่ออย่างนั้น. จริงอยู่ เมืองนั้น
เรียกว่า ราชคฤห์ เพราะเป็นเมืองที่พระราชาทั้งหลายมีพระเจ้ามันธาตุ และ
พระเจ้ามหาโควินทะเป็นต้น ทรงปกครอง. ในคำว่า ราชคฤห์ นี้ พระอาจารย์
ทั้งหลาย พรรณนาประการอย่างอื่นบ้าง. จะมีประโยชน์อะไร ด้วยประการ
เหล่านั้นเล่า ?. คำว่า ราชคฤห์ นี้ เป็นชื่อของเมืองนั้น. แต่เมืองนี้นั้น
เป็นเมืองในครั้นพุทธกาล และจักรพรรดิกาล. ในกาลที่เหลือ เป็นเมืองร้าง
ถูกยักษ์หวงห้ามคือเป็นป่าเป็นที่อยู่ของพวกยักษ์เหล่านั้น ท่านพระอุบาลีเถระ
ครั้งแสดงโคจรคามอย่างนั้นแล้ว จึงแสดงสถานเป็นที่เสด็จประทับ.
สองบทว่า คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต มีความว่า ก็ภูเขานั้น เขาเรียกกันว่า
คิชฌกูฏ เพราะเหตุว่า มีฝูงแร้งอยู่บนยอด หรือมียอดคล้ายแร้ง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 78
บทว่า สมฺพหุลา มีความว่า โดยบรรยายแห่งพระวินัย ภิกษุ ๓ รูป
เรียกว่า ภิกษุเป็นอันมาก เกินกว่านั้นเรียกว่า สงฆ์ โดยบรรยายแห่พระสูตร
ภิกษุ ๓ รูป คงเรียกว่า ๓ รูปนั่นแล, ตั้งแต่ ๓ รูปขึ้นไป จึงเรียกว่า ภิกษุ
เป็นอันมาก. ภิกษุเป็นอันมากในที่นี้พึงทราบว่า มากด้วยกัน โดยบรรยายแห่ง
พระสูตร.
ชนทั้งหลาย ที่ไม่คุ้นเคยกันนัก คือไม่ใช่มิตรที่สนิท ท่านเรียกว่า
เพื่อนเห็น. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น ท่านเรียกว่า เพื่อนเห็น เพราะได้พบเห็น
กันในที่นั้น ๆ. ชนทั้งหลายที่คุ้นเคยกัน คือเป็นเพื่อนสนิท ท่านเรียกว่า
เพื่อนคบ. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น คบกันแล้วคือกำลังคบกันเป็นอย่างดี ท่าน
เรียกว่า เพื่อนคบ เพราะทำความสนิทสมโภคและบริโภคเป็นอันเดียวกัน.
บทว่า อิสิคิลิปสฺเส มีความว่า ภูเขาอิสิคิลิ ที่ข้างภูเขานั้น.
ได้ยินว่า ครั้งดึกดำบรรพ์ พระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ ๕๐๐ องค์ เที่ยวไป
บิณฑบาตในชนบททั้งหลาย มีกาสีและโกสลเป็นต้น เวลาภายหลังภัตประชุม
กันที่ภูเขานั้น ยังกาลให้ล่วงไปด้วยสมาบัติ. มนุษย์ทั้งหลาย เห็นท่านเข้าไป
เท่านั้น ไม่เห็นออก, เพราะเหตุนั้น จึงพูดกันว่า ภูเขานี้ กลืนพระฤาษีเหล่านี้.
เพราะอาศัยเหตุนั้น ชื่อภูเขานั้น จึงเกิดขึ้นว่า อิสิคิลิ ทีเดียว. ที่ข้างภูเขานั้น
คือ ที่เชิงบรรพต.
[ ภิกษุจำพรรษาไม่มีเสนาสนะปรับอาบัติทุกกฏ ]
อันภิกษุผู้จะจำพรรษา แม้ปฏิบัติตามปฏิปทาของพระนาลกะก็ต้องจำ
พรรษาในเสนาสนะพร้อมทั้งระเบียง ซึ่งมุงด้วยเครื่องมุง ๕ อย่าง ๆ ใดอย่าง
หนึ่งเท่านั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุผู้ไม่มีเสนาสนะ ไม่พึงจำพรรษา ภิกษุใดจำ ภิกษุนั้น ต้องทุกกฏ.* เพราะ
* วิ มหา. ๔/๒๙๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 79
ฉะนั้น ในฤดูฝน ถ้าไม่มีเสนาสนะ การที่ได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้
ต้องแสวงหาหัตถกรรมทำ เมื่อไม่ได้หัตถกรรม ควรทำเอาแม้เอง. ส่วนภิกษุ
ผู้ไม่มีเสนาสนะไม่ควรเข้าจำพรรษาเลย. ข้อนี้เป็นธรรมอันสมควร. เพราะ
เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงทำกุฎีหญ้ากำหนดที่พักกลางคืนและกลางวันเป็นต้น
ไว้แล้ว อธิษฐานกติกาวัตรและขันธกวัตร ศึกษาในไตรสิกขา อยู่จำพรรษา.
สองบทว่า อายสฺมาปิ ธนิโย มีความว่า ไม่ใช่แต่พระเถระเหล่า
นั้นอย่างเดียว แม้ท่านพระธนิยะ ซึ่งเป็นต้นบัญญัติแห่งสิกขาบทนี้ ก็ได้ทำ
เหมือนกัน.
บทว่า กุมฺภการปุตฺโต คือ เป็นบุตรของช่างหม้อ, จริงอยู่ คำว่า
ธนิยะ เป็นชื่อของเธอ แต่บิดาของเธอ เป็นช่างหม้อ; ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า พระธนิยะ บุตรช่างหม้อ.
สองบทว่า วสฺส อุปคญฺฉิ ความว่า พระธนิยะ ทำกุฎีหญ้าแล้ว
ก็อยู่จำพรรษาในที่แห่งเดียวกันกับพระเถระเหล่านั้นนั่นเอง.
สองบทว่า วสฺส วุฏฺา ความว่า ภิกษุเหล่านั้นเข้าจำพรรษาในวัน
ปุริมพรรษาแล้วปวารณาในวันมหาปวารณาตั้งแต่วันปาฏิบทแล้ว (แรม ๑ ค่ำ)
ไป ท่านเรียกว่า ผู้ออกพรรษาแล้ว. เป็นผู้ออกพรรษาแล้วด้วยวิธีอย่างนั้น.
สองบทว่า ติณกุฏิโย ภินฺทิตฺวา มีความว่า ภิกษุเหล่านั้นหาได้
ทำลายกุฎีให้เป็นจุณวิจุณด้วยการประหารด้วยไม้ค้อนเป็นต้นไม่ แต่ได้รื้อหญ้า
ไม้และเถาวัลย์เป็นต้นออกเสีย ด้วยระเบียบวัตร. จริงอยู่ ภิกษุใด ได้ทำกุฎี
ไว้ในที่สุดแดนวิหาร ภิกษุนั้น ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นมีอยู่ ก็ควรบอกลาภิกษุเจ้า
ถิ่นเหล่านั้น พึงกล่าวว่า ถ้าภิกษุรูปใดสามารถจะดูแลกุฎีนี้อยู่ได้ ขอท่านจง
มอบให้แก่เธอรูปนั้นนั่นแหละ ดังนี้แล้วจึงหลีกไป. ถ้าภิกษุใด ทำกุฎีไว้ใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 80
ป่าหรือไม่ได้รักษา ภิกษุนั้นคิดว่า เสนาสนะจักเป็นของบริโภคแก่ภิกษุแม้เหล่า
อื่น ควรเก็บงำเสีย จึงไป. อธิบายว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น สร้างกุฎีไว้ในป่าแล้ว
เมื่อไม่ได้ผู้รักษาเก็บงำ คือรวบรวมหญ้าและไม้ไว้. อนึ่งหญ้าและไม้ที่เก็บไว้
แล้ว สัตว์ทั้งหลายมีปลวกเป็นต้นจะกัดไม่ได้ ทั้งฝนก็จะรั่วรดไม่ได้ โดยประ
การใด ก็ควรเก็บไว้โดยประการนั้น ควรบำเพ็ญคมิกวัตรให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า
หญ้าและไม้นั้น จักเป็นอุปการะแก่เพื่อนสพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มาถึงสถานที่นี้
แล้วประสงค์จะอยู่ ดังนี้ จึงควรหลีกไป
สองบทว่า ชนปทาจาริก ปกฺกมึสุ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นได้
ไปยังชนบทตามความชอบใจของตน ๆ คำเป็นต้นว่า ท่านพระธนิยะ กุมภ-
การบุตร อยู่จำพรรษาที่เชิงเขาคิชฌกูฏนั้นนั่นเอง มีเนื้อความชัดเจนทีเดียว.
บทว่า ยาวตติยก แปลว่า ถึง ๓ ครั้ง
บทว่า อนวโย แปลว่า เป็นผู้ไม่บกพร่อง. ลบ อุ อักษรเสีย
ด้วยอำนาจสนธิ. อธิบายว่า เป็นผู้มีศิลปะบริบูรณ์ไม่บกพร่องในการทำงานทุก
อย่าง ที่พวกช่างหม้อจะพึงทำ.
บทว่า สเก แปลว่า ของ ๆ ตน.
บทว่า อาจริยเก แปลว่า ในการงานแห่งอาจารย์.
บทว่า กุมฺภการกมฺเม แปลว่า ในการงานของพวกช่างหม้อ.
อธิบายว่า ในการงานอันพวกช่างหม้อพึงทำ. ด้วยบทว่า กุมฺภการกมฺเม
นั้น เป็นอันท่านธนิยะแสดงถึงการงาน แห่งอาจารย์ของตน โดยสรูป.
บทว่า ปริโยทาตสิปฺโป คือ ผู้สำเร็จศิลปะ มีคำอธิบายว่า
แม้เมื่อเราไม่มีความบกพร่อง เราก็เป็นผู้มีศิลปะจะหาคนอื่นทัดเทียมไม่ได้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 81
บทว่า สพฺพมตฺติกามย มีความว่า ท่านธนิยะนั้น ทำเครื่องเรือน
ที่เหลือทั้งหมด มีประเภทคือฝา อิฐมุงและเครื่องไม้เป็นต้นให้สำเร็จด้วยดินทั้ง
นั้น ยกเว้นเพียงกรอบเช็ดหน้า ประตูลิ่มสลักลูกดาล และบานหน้าต่าง.
หลายบทว่า ติณญฺจ กฏฺญฺจ โคมยญฺจ สงฺกฑฺฒิตฺวา ต
กุฏิก ปจิ มีความว่า ท่านธนิยะทำเครื่องเรือนให้สำเร็จด้วยดินล้วน แล้ว
ขัดถูด้วยฝ่ามือ ทำให้แห้ง แล้วเอาดินแดงผสมด้วยน้ำมันโบกทาให้เกลี้ยงเกลา
ครั้นแล้วจึงบรรจุ ทั้งภายในและภายนอกให้เต็มด้วยหญ้าเป็นต้นแล้วเผากุฎีนั้น
โดยวิธีที่ดินจะเป็นของสุกปลั่งด้วยดี. ก็แลกุฎีนั้น ได้เป็นของเผาแล้วด้วย
อาการอย่างนั้น.
บทว่า อภิรูปา แปลว่า มีรูปสวยงาม.
บทว่า ปาสาทิกา แปลว่า ชวนให้เกิดความเลื่อมใส.
บทว่า โลหิตกา แปลว่า มีสีแดง.
บทว่า กึกิณิกสทฺโท ได้แก่ เสียงข่ายกระดึง. ได้ยินว่า ข่ายกระ
ดึงที่เขาทำด้วยกระรัตนะต่างๆ ย่อมมีเสียง ฉันใด กุฎีนั้น ก็มีเสียงฉันนั้นเพราะ
ถูกลมที่พัดเข้าไปโดยช่องบานหน้าต่างเป็นต้นกระทบแล้ว. ด้วยบทว่า กึกิณิ-
กสทฺโท นั้น เป็นอันท่านแสดงถึงข้อที่กุฎีนั้นสุกปลั่งทั้งภายในและภายนอก.
ส่วนในมหาอรรกถา ท่านกล่าวไว้ว่า ภาชนะสำริด ชื่อว่า กึกิณิกะ; เพราะ
ฉะนั้น ภาชนะสำริดที่ถูกลมกระทบแล้ว มีเสียง ฉันใด กุฎีนั้น ถูกลมกระทบ
แล้ว ได้มีเสียง ฉันนั้น.
ในคำว่า กึ เอต ภิกฺขเว นี้ พึงทราบว่าวินิจฉัยดังนี้: - พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทรงทราบอยู่ทีเดียว เพื่อจะทรงตั้งเรื่องนั้น จึงได้ตรัสถาม.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 82
หลายบทว่า ภควโต เอตมตฺถ อาโรเจสุ ความว่า ภิกษุทั้งหลาย
ได้กราลทูลข้อที่พระธนิยะทำกุฎีเสร็จด้วยดินล้วน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าตั้ง
แต่ต้น.
คำว่า กริสฺสติ นี้ ในประโยคว่า ภิกษุทั้งหลาย ! ไฉนโมฆบุรุษนั้น
จึงได้ขยำโคลนทำกุฎีสำเร็จด้วยดินล้วนเล่า ? เป็นคำอนาคตลงในอรรถอดีต.
มีคำอธิบายว่า ได้ทำแล้ว. ลักษณะแห่งการกล่าวกิริยาอนาคตลงในอรรถอดีต
นั้น ผู้ศึกษาควรแสวงหาจากคัมภีร์ศัพทศาสตร์.
ในคำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ความไม่
เบียดเบียนมิได้มีแก่โมฆบุรุษนั้นเลย นี้ มีวินิจฉัยดังนี้: -
ความตามรักษา ชื่อ อนุทยา พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมแสดงส่วน
เบื้องต้นแห่งเมตตาด้วยบทว่า อนุทยา นั้น.
จิตไหวตาม เพราะทุกข์ของผู้อื่น ชื่อว่า อนุกัมปา. ความไม่ห้ำหั่น
ชื่อว่า อวิเหสา. พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงส่วนเบื้องต้นแห่งกรุณา
ด้วยสองบทว่า อนุกัมปา และ อวิเหสา นั้น. พระองค์ตรัสคำอธิบายไว้ดัง
นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพระธนิยะโมฆบุรุษนั้นเบียดเบียน คือ ทำ
สัตว์ใหญ่น้อยเป็นอันมากให้พินาศไปอยู่ เพราะขุดดิน ขยำโคลนและติดไฟเผา
ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ความไม่เบียดเบียน แม้เป็นเพียงส่วนเบื้องต้น
แห่งเมตตาและกรุณาในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า มิได้มีเลย คือความเอ็นดู
เป็นต้น ชื่อแม้มีประมาณน้อยก็มิได้มี.
หลายบทว่า มา ปจฺฉิมา ชนตา ปาเณสุ ปาตพฺยต อาปชฺชติ
มีความว่า หมู่ชนชั้นหลัง อย่าถึงความเบียดเบียนหมู่สัตว์เลย. มีคำอธิบายว่า
หมู่ชนชั้นหลังสำเหนียกว่า แม้ในครั้งพุทธกาล ภิกษุทั้งหลายได้ทำกรรมอย่างนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 83
แล้ว เมื่อภิกษุทำปาณาติบาตอยู่ในสัตว์ทั้งหลาย ในฐานะเช่นนี้ ก็ไม่มีโทษ
ดังนี้ เมื่อจะเจาะเอาพระเถระนี้เป็นทิฏฐานุคติ อย่าได้สำเหนียกกรรมที่จะพึง
เบียดเบียน คือ ทรมานหมู่สัตว์ เหมือนอย่างพระเถระทำแล้วนั้นเลย.
[ ปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้สร้างกุฎีด้วยดินล้วน ]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงตำหนิพระธนิยะอย่างนั้นแล้ว จึงทรง
ห้ามการทำกุฎีเช่นนั้นต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อันภิกษุไม่ควรทำกุฎีสำเร็จ
ด้วยดินล้วน ก็แล ครั้นทรงห้ามแล้ว จึงทรงปรับอาบัติไว้ เพราะการทำกุฎี
สำเร็จด้วยดินล้วนว่า ภิกษุใด พึงทำ ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ. เพราะเหตุ
นั้น ภิกษุแม้รูปใด เมื่อยังไม่ถึงความเบียดเบียนหมู่สัตว์ เพราะกิจมีการขุดดิน
เป็นต้น ทำกุฎีเช่นนั้น ภิกษุแม้รูปนั้น ย่อมต้องทุกกฏ. แต่ภิกษุผู้ถึงความ
เบียดเบียนหมู่สัตว์ เพราะกิจมีการขุดดินเป็นต้น ย่อมต้องอาบัติที่ท่านปรับ
ไว้ตามวัตถุที่ตนล่วงละเมิดทีเดียว. พระธนิยะเถระ ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติ เพราะ
เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนี้. ภิกษุที่เหลือ ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบททำก็ดี ได้
กุฎีที่ผู้อื่นทำแล้วอยู่ในกุฎีนั้นก็ดี เป็นทุกกฏแท้แล. ส่วนกุฎีที่สร้างผสมด้วย
ทัพสัมภาระ จะเป็นของผสมด้วยอาการใด ๆ ก็ตาม ย่อมควร. กุฎีที่สำเร็จ
ด้วยดินล้วนนั่นแล ไม่ควร. ถึงแม้กุฎีนั้น ที่ก่อด้วยอิฐ โดยอาการเช่นกับ
โรงพักที่สร้างด้วยอิฐ ก็ควร.
[ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับสั่งให้ทำลายกุฎีเป็นอกัปปิยะ ]
หลายบทว่า เอวมฺภนฺเตติ โข ฯ เป ฯ ต กุฏีก ภินฺทึสุ ความว่า
ภิกษุเหล่านั้น รับพระพุทธาณัติแล้ว ก็เอาไม้และหินทำลายกุฎีนั้นให้กระจัด
กระจายแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 84
ในคำว่า อถโข อายสฺมา ธนิโย เป็นต้น มีความสังเขปดังต่อ
ไปนี้:-
พระธนิยะ นั่งพักกลางวันอยู่ที่ข้าง ๆ หนึ่ง จึงได้มาเพราะเสียงนั้น
แล้วถามภิกษุเหล่านั้นว่า อาวุโส! พวกท่านทำลายกุฎีของผม เพื่ออะไร?
แล้วได้ฟังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งให้พวกกระผมทำลาย จึงได้ยอมรับ
เพราะเป็นผู้ว่าง่าย.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงรับสั่งให้ทำลายกุฎีที่
พระเถระนี้ทำด้วยความอุตสาหะอย่างใหญ่ยิ่งเพื่อเป็นที่อยู่ของตน, แม้การงาน
( คือสิ่งของเช่นบานประตูเป็นต้น ) ที่ยังใช้การได้ ในกุฎีนี้ของพระเถระนั้น
มีอยู่มิใช่หรือ ?
แก้ว่า มีอยู่ แม้ก็จริง ถึงกระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าพระทัย
ว่า กุฎีที่พระธนิยะทำนี้ เป็นของไม่สมควร จึงรับสั่งให้ทำลายกุฎีนั้นเสีย คือ
ที่รับสั่งให้ทำลายเสีย เพราะว่า เป็นธงของเดียรถีย์.
ในอธิการว่าด้วยการทำลายกุฎีนี้ มีวินิจฉัยเท่านี้. ส่วนในอรรถกถา
พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวเหตุหลายอย่างแม้อื่นมีอาทิว่า เพื่อความเอ็นดูสัตว์
เพื่อต้องการรักษาบาตรและจีวร เพื่อป้องกันความเป็นผู้มีเสนาสนะมาก.เพราะ
ฉะนั้น แม้ในบัดนี้ ภิกษุรูปใดเป็นพหูสูต รู้พระวินัย พบเห็นภิกษุรูป
อื่น ผู้ถือบริขารที่เป็นอกัปปิยะเที่ยวไปอยู่ ควรให้เธอตัด หรือ ทำลายบริขาร
ที่ไม่ควรนั้นเสีย, ภิกษุรูปนั้นอันใคร ๆ จะยกโทษขึ้นว่ากล่าวไม่ได้ คือจะพึง
ทักท้วงไม่ได้ จะพึงให้เธอให้การไม่ได้ ทั้งใคร ๆ ไม่ได้เพื่อจะว่ากล่าวเธอว่า
ท่านทำให้บริขารของผมฉิบหายแล้ว, จงให้บริขารนั้นแก่กระผม.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 85
[ ข้อแนะนำเรื่องการใช้ร่มและจีวร ]
ในอธิการว่าด้วยทุติยปาราชิกนั้น มีวินิจฉัยบริขารที่เป็นกัปปิยะ และ
อกัปปิยะนอกจากบาลีดังต่อไปนี้ :-
ชนบางพวก เอาด้ายเบญจพรรณเย็บร่มใบตาลติดกันทั้งภายในภาย
นอก แล้วทำให้มีสีเกลี้ยงเกลา, ร่มเช่นนั้นไม่ควร. แต่จะเอาด้ายอย่างใด
อย่างหนึ่ง จะเขียวหรือเหลืองซึ่งมีสีอย่างเดียวกัน เย็บติดกันทั้งภายในและ
ภายนอก หรือจะมัดซี่กรงตรึงยึดคันร่มไว้ ควรอยู่. ก็แล การเย็บและการ
มัดรวมกันไว้นั้น เพื่อทำให้ทนทานจึงควร เพื่อจะทำให้มีสีเกลี้ยงเกลา ไม่ควร,
ในใบร่ม จะสลักรูปฟันมังกร หรือรูปพระจันทร์ครึ่งซีกติดไว้ ไม่ควร. ที่
คันร่ม จะมีรูปหม้อน้ำ หรือรูปสัตว์ร้าย เหมือนที่เขาทำไว้ในเสาเรือน ไม่
ควร. แม้หากว่าที่คันร่มทั้งหมด เขาเอาเหล็กจารเขียนสลักลวดลายไว้ไซร้,
แม้ลวดลายนั้น ก็ไม่ควร. รูปหม้อน้ำก็ดี รูปสัตว์ร้ายก็ดี ควรทำลายเสียก่อน
จึงใช้ ควรขูดลวดลายแม้นั้นออก หรือเอาด้ายพันด้ามเสีย. แต่ที่โคนด้าม
จะมีสัณฐานเหมือนเห็ดหัวงู ควรอยู่. พวกช่างทำร่ม เอาเชือกมัดวงกลมของ
ร่มผูกมัดไว้ที่คัน เพื่อกันไม่ให้โยกเยก เพราะถูกลมพัด. ในที่ ๆ ผูกมัดไว้นั้น
เขายกตั้งวางลวดลายไว้ เหมือนวลัย, ลวดลายนั้น ควรอยู่. พวกภิกษุเอา
ด้ายสีต่าง ๆ เย็บเป็นรูปเช่นกับรูปตะขาบ เพื่อต้องการประดับจีวร ติดผ้าดาม
ก็ดี ทำรูปแปลกประหลาดที่เย็บด้วยเข็มอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้อื่นไว้ก็ดี รูปช้อง
ผมหรือรูปโซ่ไว้ที่ริมตะเข็บ หรือที่ชายผ้า ( อนุวาตจีวร ) ก็ดี วิธีที่กล่าวมา
แล้วนั้นเป็นต้นทั้งหมด ย่อมไม่ควร. การเย็บด้วยเข็มตามปกตินั่นแหละ จึง
ควร. เขาทำผ้าลูกดุมและผ้าห่วงลูกดุมไว้ ๘ มุมบ้าง ๑๖ มุมบ้าง, ที่ลูกดุม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 86
และรังดุมนั้น ก็แสดงรูปต่าง ๆ มีรูปคล้ายเจดีย์ชื่ออัคฆิยะ รูปคทาและรูปไม้
พลองเป็นต้นไว้, เย็บยกเป็นรูปตาปูไว้ ; วิธีทำทั้งหมดไม่ควร จะทำผ้าลูกดุม
และห่วงลูกดุมไว้เพียง ๔ มุมเท่านั้นจึงควร.
[ วิธีซักและย้อมจีวร ]
ด้ายมุมและปมเทียว เป็นของที่รู้ได้ยากในเมื่อย้อมจีวรแล้วสมควรอยู่.
จะใส่จีวรลงในน้ำต่างๆ มีน้ำส้มผะอูมแป้งและน้ำข้าวเป็นต้น ไม่ควร. แต่ใน
เวลาทำจีวร จะใส่ลงเพื่อซักเหงื่อมือและสนิมเข็มเป็นต้น และในเวลาที่จีวร
สกปรกจะใส่ลงเพื่อซักให้สะอาด ก็ควร จะใส่ของหอม ครั่งหรือน้ำมันลงใน
น้ำย้อมไม่ควร. อันภิกษุย้อมจีวรไม่ควรเอาสังข์หรือแก้วมณีหรือวัตถุอย่างใด
อย่างหนึ่งทุบจีวร ไม่ควรคุกเข่าทั้งสองลงที่พื้นดินแล้วเอามือทั้งสองจับจีวร
ขัดถูแม้ที่รางย้อม แต่จะวารจีวรไว้ที่รางย้อมหรือบนแผ่นกระดาน แล้วให้จับ
ชายทั้งสองรวมกันไว้ เอามือทุบ สมควรอยู่. แม้การทุบนั้น ก็ไม่ควรเอา
กำปั้นทุบ. แต่พระเถระในปางก่อนทั้งหลายไม่ได้วา'จีวรไว้ แม้ที่รางย้อมเลย
คือรูปหนึ่งเอามือจับจีวรยืน อีกรูปหนึ่ง วางจีวรไว้บนมือ แล้วจึงเอามือ
ทุบ ไม่ควรทุบเส้นด้ายที่หูจีวร. ในเวลาย้อมเสร็จแล้ว ควรตัดทิ้งเสีย.
ส่วนด้ายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
เราอนุญาตเส้นด้ายที่หูจีวร ดังนี้นั้น ควรทำให้เป็นบ่วงผูกไว้ที่อนุวาต เพื่อ
คล้องจีวรไว้ในเวลาย้อม. แม้ที่ลูกดุมจะมีลวดลายหรือขอดปนไว้ เพื่อทำให้
สวยงาม ไม่ควร ต้องทำลายเสียก่อนจึงควรใช้สอย.
[ บริขารที่ควรใช้และไม่ควรใช้ ]
ที่บาตรหรือถลกบาตร จะเอาเหล็กจารเขียนลวดลาย หรือจะเขียนไว้
ทั้งภายในภายนอกก็ตาม, ลวดลายนั้น ไม่ควร จะยกบาตรขึ้นกลึงให้เกลี้ยง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 87
เกลา แล้วจึงระบม ด้วยคิดว่า จักทำให้มีสีดุจแก้วมณี ไม่ควร. ส่วนบาตร
ที่มีสีเหมือนน้ำมัน ควรอยู่. จะว่าในบังเวียนรองบาตร บังเวียนรองบาตรที่
มีรูปภาพบุรุษผู้ภักดี* ไม่ควร แต่ที่เป็นรูปฟันมังกร ควรอยู่.
สำหรับธมกรกและร่ม จะมีลวดลายไว้ข้างบนหรือข้างล่าง หรือภาย
ในกระพุ้งธมกนกก็ตาม ไม่ควร. แต่ร่มนั้น จะมีลวดลายไว้ที่ขอบปากร่ม
ควรอยู่.
เพื่อจะให้ประคดเอวงดงาม จะทุบด้ายให้พองขึ้นเป็นสองเท่าในที่
นั้น ๆ คือ ทำให้นูนขึ้นเป็นลวดลายตาปู ข้อนั้น ไม่ควร. แต่ที่สุดทั้งสองข้าง
จะทุบให้พองขึ้นเป็นสองเท่า เพื่อความทนทานแห่งปากชายผ้า ควรอยู่. ส่วน
ที่ปากชายผ้า จะทำรูปแปลกปลาดอย่างใดอย่างหนึ่งไว้จะเป็นรูปหม้อน้ำก็ตาม
รูปหน้ามังกรก็ตาม รูปศีรษะงูน้ำก็ตาม ไม่ควร. แม้ประคดเอวที่เขาแสดง
รูปตาช้างไว้ หรือ ที่เขาทุบทำเป็นรูปลวดลายดอกไม้เป็นต้นไว้ในที่นั้น ๆ
ไม่ควร. แต่จะทุบทำเป็นเงี่ยงปลากระเบนก็ตาม เป็นในแป้งก็ตาม เป็นแผ่น
ผ้าที่เกลี้ยงเกลาก็ตามไว้ตรง ๆ เท่านั้น จึงควร. ประคดเอวมีชายเดียว สมควร,
มี ๒-๓ แม้ถึง ๔ ชายก็สมควร เกินกว่านั้นไป ไม่ควร. ประคดเอวที่ทำ
ด้วยเชือกเส้นเดียวเท่านั้น จึงควร. ส่วนที่มีสัณฐานดุจสายสังวาล แม้เส้น
เดียวก็ไม่ควร. แต่ชายแม้จะมีสัณฐานดุจสังวาล ก็ควร. ประคดเอวที่เขา
เอาเชือกมากเส้นรวมกันเข้า แล้วเอาเชือกอีกเส้นหนึ่งพันรอบไว้ทุก ๆ ระหว่าง
ไม่ควรเรียกว่า เป็นประคดเอวที่มีเชือกมากเส้น. การผูกประคดเอวที่มีเชือก
มากเส้นนั้น ควรอยู่.
* ศัพท์ว่า ภต?ติกม?ม นี้ ได้แปลไว้ตามอรรถโยชนา ๑/๒๘๔. แต่ที่มาเดิมของเรื่องนี้ ตาม
ฉบับ ม. ยุ. เป็น ภติกมฺมกตานิ แปลว่า บังเวียนของบาตรที่จ้างเขาทำ (ให้มีลวดลายเป็น
รูปภาพ) มาใน วิ. จุลลวรรค. ๗/๑๗-๑๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 88
ที่ลูกถวินของประคดเอว จะมีรูปแปลก ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง มีรูป
มงคล* ๘ เป็นต้นไม่ควร จะมีเพียงรอบพอเป็นเครื่องกำหนด ควรอยู่. ใน
ชายทั้งสองของลูกถวิน เขาทำแม้เป็นรูปหม้อน้ำไว้ เพื่อทำให้ทนทาน, รูป
หม้อนี้ ก็ควร.
[ กล่องยาตาที่ควรใช้และไม่ควรใช้ ]
ที่กล่องยาตา จะมีรูปสตรี บุรุษ สัตว์ ๔ เท้าและรูปนกก็ตาม จะมี
รูปแปลก ๆ ต่างประเภทเป็นต้นว่า ลายดอกไม้ ลายเถาวัลย์ ฟันมังกร มูตรโค
และรูปพระจันทร์ครึ่งซีกก็ตาม ไม่ควร. รูปที่กล่องยาตา ควรขูดหรือตัด
ออกเสีย หรือเอาด้ายพันปิดไว้ โดยอาการที่รูปจะปรากฏไม่ได้ พึงใช้สอยเถิด.
ส่วนกล่องยาตา ๔ เหลี่ยม ๘ เหลี่ยม หรือ ๑๖ เหลี่ยมตรง ๆ เท่านั้น จึงควร.
แม้ข้างล่างกล่องยาตานั้น จะมีลวดลายกลม ๆ ไว้เพียง ๒ หรือ ๓ แห่ง ก็ควร.
ถึงแม้ที่คอกล่องยาตานั้น จะมีลวดลายกลม ๆ ไว้เพียง ๑ แห่ง เพื่อผูกฝาปิด
ก็ควร. แม้ที่ไม้ป้ายยาตา จะมีลวดลายที่มีสีเกลี้ยงเกลา ไม่ควร. ถึงแม้ถุง
กล่องยาตาจะมีลวดลายที่มีสีเกลี้ยงเกลา ด้วยด้ายมีสีต่าง ๆ ชนิดใดชนิดหนึ่งไม่
ควร.
[ ฝักกุญแจและบริขารเบ็ดเตล็ดที่ควรใช้และไม่ควรใช้ ]
แม้ฝักกุญแจ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ที่ตัวกุญแจ จะมีลวดลายที่
มีสีเกลี้ยงเกลาไม่ควร. ที่ฝักมีดโกนก็เหมือนกัน. อนึ่ง ที่ฝักมีดโกนนี้ จะเป็น
ชนิดไร ๆ ก็ตาม ที่เย็บด้วยด้ายสีเดียวอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรอยู่.
* รูปมงคล ๘ คือ สังข์ ๑ จักร ๑ หม้อน้ำที่เต็ม ๑ แม่น้ำคยา ๑ ลูกโคมีสิริ ๑ ขอ ๑ ธง ๑
ผ้าอย่างดี ๑ สารัถทีปนี ๒/๑๘๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 89
แม้ที่เหล็กหมาด* จะมีปุ่มแก้วกลม ๆ หรือวัตถุอย่างอื่นที่มีสีเกลี้ยง
เกลาก็ตาม ไม่ควร. ส่วนที่คอ จะมีลวดลายพอเป็นเครื่องกำหนด ( คือเป็น
ที่สังเกต ) ควรอยู่.
แม้ที่กรรไกร จะวางปุ่มแก้วหรือปุ่มชนิดใดชนิดหนึ่งไว้ก็ตาม ไม่ควร.
ส่วนที่ด้ามจะมีลวดลายพอเป็นเครื่องกำหนด ควร. มีดตัดเล็บที่เขาทำให้มีรอย
ขีดไว้เท่านั้น ; เพราะฉะนั้น การทำให้มีรอยขีดไว้นั้น ย่อมควร.
ที่ไม้สีไฟตัวผู้ก็ดี ที่ไม้สีไฟตัวเมียก็ดี ที่ลูกธนูก็ดี ที่บนคันลุ้ง
(ไม้สีไฟนั้น) ก็ดี จะมีลวดลายอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นลวดลายดอกไม้เป็นต้น
ที่มีสีเกลี้ยงเกลา ไม่ควร. ส่วนตรงกลางคันลุ้ง มีวงกลม, ที่ตัววงกลมนั้น
จะมีเพียงลวดลายพอเป็นเครื่องกำหนด ก็ควร. พวกชนสร้างแหนบสำหรับ
เป็นเครื่องกัดถูเข็มไว้. ที่แหนบสำหรับกัดถูเข็มนั้น จะมีลวดลายอย่างใด
อย่างหนึ่ง เช่นกับปากมังกรเป็นต้น ที่มีสีเกลี้ยงเกลา ไม่ควร. แต่เพื่อจะให้
กัดเข็ม จะมีเพียงปากไว้ก็ได้, ปากมังกรนั้น ย่อมควร.
แม้ที่มีดสำหรับตัดไม้สีฟัน จะมีลวดลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มีสีเกลี้ยง
เกลา ไม่ควร ที่ข้างทั้งสอง หรือข้าง ๆ หนึ่ง ( ของมีดนั้น ) จะเอาโลหะที่
เป็นกัปปิยะผูกไว้เป็น ๔ เหลี่ยม หรือ ๘ เหลี่ยมตรง ๆ นั่นแหละ จึงควร.
แม้ที่ไม้เท้า จะมีลวดลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มีสีเกลี้ยงเกลาไม่ควร.
ข้างใต้ ( ไม้เท้า ) จะมีลวดลายกลม ๆ ไว้หนึ่งแห่ง หรือสองแห่ง และข้างบน
จะมีเพียงรูปเห็ดหัวงูตูมไว้ ก็ควร.
บรรดาภาชนะน้ำมัน รูปที่เหลือแม้ทั้งหมด ที่มีลวดลายเกลี้ยงเกลา
( ซึ่งมีอยู่ ) ที่ภาชนะเขาก็ดี ทะนานก็ดี กระโหลกน้ำเต้าก็ดี ขันจอกทรง
มะขามป้อมก็ดี เว้นรูปภาพสตรีและบุรุษเสียย่อมควร.
* เหล็กหมาดนี้ ท่านอธิบายไว้ในสารัตถทีปนี ภาค ๒/๑๘๘ได้แก่ มีดหรือศัสตราที่มีปีก
ยาว มีไว้เพื่อซ่อมแซมคัมภีร์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 90
ในบรรดาเครื่องใช้ต่าง ๆ เหล่านี้ คือ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน
เครื่องลาดพื้น แปรงเช็ดเท้า ฟูกรองที่จงกรม ไม้กวาด กระเช้าเทหยากเยื่อ
รางย้อมผ้า กระบวยน้ำดื่ม หม้อน้ำดื่ม กระเบื้องเช็ดเท้า ตั่งกระดาน เชิงวลัย
เชิงรองไม้สะดึง ฝาบาตร ขั้วใบตาลแลพัดวีชนีจะมีลวดลายที่มีสีเกลี้ยงเกลา
มีลายดอกไม้เป็นต้นทั้งหมด ก็ควร.
ส่วนในเสนาสนะ ที่บานประตูและบานหน้าต่างเป็นต้น จะมีลวดลาย
ที่มีสีเกลี้ยงเกลาแม้ที่สำเร็จด้วยแก้วทั้งหมด ก็ควร. ในเสนาสนะไม่มีลวดลาย
อะไร ๆ ที่ควรห้ามไว้ เว้นแต่เสนาสนะที่ผิด.
[ เสนาสนะที่ผิดควรทำลายเสีย ]
เสนาสนะที่พวกภิกษุผู้เป็นราชพัลลภ สร้างไว้ในเขตของเจ้าของเขต
เหล่าอื่น เรียกชื่อว่า เสนาสนะที่ผิด. เพราะฉะนั้น พวกภิกษุผู้สร้างเสนาสนะ
เช่นนั้น อันภิกษุผู้เป็นเจ้าของเขตพึงตักเตือนว่า พวกท่านอย่าสร้างเสนาสนะ
ไว้ในเขตของพวกข้าพเจ้า ( ถ้า ) ไม่เชื่อฟังยังขืนสร้างอยู่นั่นเอง พึงตักเตือน
ซ้ำอีกว่าพวกท่านอย่าได้ทำอย่างนี้, อย่าได้ทำอันตรายแก่อุโบสถและปวารณา
ของข้าพเจ้า, อย่าได้ทำลายความสามัคคี เสนาสนะแม้ที่พวกท่านสร้างไว้
แล้ว จักไม่ตั้งอยู่ในสถานที่ ๆ พวกท่านสร้างไว้แล้ว ถ้ายังขืนสร้างอยู่โดย
พลการนั่นเอง, เวลาใด เจ้าของเขตเหล่านั้น มีลัชชีบริษัทหนาแน่นขึ้น ทั้ง
อาจได้คำวินิจฉัยที่ชอบธรรม, เวลานั้น ควรส่งข่าวแก่ภิกษุนั้นว่า จง
ขนเอาที่อยู่ของพวกท่านไปเถิด ถ้าเมื่อส่งข่าวไปถึง ๓ ครั้งแล้ว เธอเหล่านั้น
รื้อถอนไป ข้อนั้นเป็นการดี, ถ้ายังไม่รื้อถอนไปไซร้, เสนาสนะที่เหลือควร
ทำลายเสีย ยกไว้แต่ต้นโพธิ และเจดีย์, และอย่าทำลายให้เป็นของที่ใช้การ
ไม่ได้. อนึ่ง ควรนำวัตถุต่าง ๆ มีเครื่องมุงหลังคา กลอนเรือนและอิฐเป็นต้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 91
ออกไปตามลำดับ แล้วควรส่งข่าวแก่เธอเหล่านั้นว่า จงขนทัพสัมภาระของ
พวกท่านไปเถิด. ถ้ารื้อขนไปไซร้, ข้อนั้นเป็นการดี, ถ้ายังไม่รื้อขนไปไซร้,
หากว่าเมื่อสัมภาระเหล่านั้นผุพังไป เพราะหิมะ ฝนและแดดเผาเป็นต้นก็ดี
พวกโจรลักเอาไปก็ดี ถูกไฟไหม้ก็ดี พวกภิกษุผู้เป็นเจ้าของเขต ใคร ๆ จะ
กล่าวโทษไม่ได้ ทั้งไม่ได้เพื่อจะทักท้วงว่า พวกท่านทำให้ทัพสัมภาระของ
พวกข้าพเจ้าฉิบหายแล้ว หรือว่า ต้องปรับสินไหมพวกท่าน ดังนี้. ก็กิจใด
ที่ภิกษุผู้เป็นเจ้าของเขตทำแล้ว กิจนั้นเป็นอันพวกเธอทำชอบแล้วทีเดียว
ฉะนั้นแล.
จบบาลีมุตตกวินิจฉัย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 92
พระธนิยะเริ่มสร้างกุฎีไม้
ก็เพื่อแสดงถึงความรำพึงและความอุตสาหะ เพื่อสร้างกุฎีอีกนั่นแล
ของพระธนิยะ ในเมื่อกุฎีถูกทำลายแล้วอย่างนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์
จึงได้กล่าวคำว่า อถโข อายสฺมโต เป็นต้น.
ในคำว่า อายสฺมโต เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า ทารุคเหคณโก ได้แก่ เจ้าพนักงานผู้รักษาไม้ในเรือนคลัง
ไม้ของหลวง.
บทว่า คหณทารูนิ* ได้แก่ ไม้ที่นายหลวงทรงจับจองไว้ อธิบายว่า
ไม้ที่พระราชาทรงสงวนไว้.
บทว่า นครปฏิสงฺขาริกานิ ได้แก่ ไม้เป็นเครื่องอุปกรณ์ การ
ปฏิสังขรณ์ พระนคร.
สองบทว่า อาปทตฺถาย นิกฺขิตฺตานิ มีคำอธิบายว่า ได้แก่ไม้ที่
เก็บไว้เพื่อป้องกันความวิบัติแห่งวัตถุทั้งหลายมีซุ้มประตู ป้อมพระราชวังหลวง
และโรงช้างเป็นต้น เพราะถูกไฟไหม้ เพราะความเก่าแก่ หรือเพราะการ
รุกรานของพระราชาผู้เป็นข้าศึกเป็นต้น ที่ท่านเรียกว่าอันตราย.
สองบทว่า ขณฺฑาขณฺฑิก เฉทาเปตฺวา ความว่า พระธนิยะ
กำหนดประมาณกุฎีของตนแล้ว สั่งให้ทำการตัดไม้บางต้นที่ปลาย บางต้นที่
ตรงกลาง บางต้นที่โคน ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ( บรรทุกเกวียนไปสร้าง
กุฎีไม้แล้ว ).
* บาลีเดิมเป็น เทวคหณทารูนิ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 93
[ วัสสการพราหมณ์ลงโทษเจ้าพนักงานผู้รักษาไม้ ]
คำว่า วัสสการ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น.
บทว่า มคธมหามตฺโต ได้แก่ มหาอำมาตย์ คือ ผู้ประกอบด้วย
ชั้นอิสริยยศอย่างใหญ่ ในมคธรัฐ หรือมหาอำมาตย์ของพระเจ้าแผ่นดินมคธ
มีอธิบายว่า อำมาตย์ผู้ใหญ่.
บทว่า อนุสญฺายมาโน ความว่า วัสสการพราหมณ์ ไปตรวจดู
ในที่นั้น ๆ.
คำว่า ภเณ เป็นคำของอิสรชนเรียกคนผู้ดำรงอยู่ในฐานะต่ำ.
สองบทว่า พนฺธ อาณาเปสิ ความว่า พราหมณ์ แม้โดยปกติ
ก็เป็นผู้มีความริษยาในเจ้าพนักงานผู้รักษาไม้นั้นอยู่เทียว, พอเขาได้ฟังพระ-
ราชดำรัสว่า จงให้คนเอาตัวมา ดังนี้, แต่เพราะพระราชามิได้ทรงรับสั่งว่า
จงให้เรียกมันมา ฉะนั้น จึงทำการจองจำเจ้าพนักงานผู้รักษาไม้นั้น ที่มือ
และเท้าทั้งสอง แล้วคิดว่า จักให้ลงโทษ จึงให้จองจำไว้.
ในคำว่า อทฺทสา โข อายสฺมา ธนิโย นั้น ถามว่า ท่านพระธนิยะ
ได้เห็นเจ้าพนักงานผู้รักษาไม้ ถูกเจ้าหน้าที่จองจำนำไป ด้วยอาการอย่างไร ?
แก้ว่า ได้ยินว่า ท่านพระธนิยะนั้น ทราบว่าเป็นเพราะไม้ที่เจ้า
พนักงานนำไปถวายด้วยเลศของตน คิดว่า เจ้าพนักงานคนนี้จักถูกฆ่า หรือ
จองจำจากราชตระกูล เพราะเหตุแห่งไม้ทั้งหลาย โดยไม่ต้องสงสัย จึงคิดขึ้น
ได้ในเวลานั้นว่า เราคนเดียวเท่านั้น จักปลดเปลื้องเจ้าพนักงานคนนั้น แล้ว
เที่ยวคอยฟังว่าข่าวของเขาอยู่เป็นนิตยกาลนั่นแล เพราะฉะนั้น ท่านพระธนิยะ
จึงได้ไปเห็นเจ้าพนักงานคนนั้นในขณะนั้นนั่นแล เพราะเหตุนั้น พระธรรม-
สังคาหกาจารย์ จึงกล่าวไว้ว่า อทฺทสา โข อายสฺมา ธนิโย ดังนี้เป็นต้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 94
สองบทว่า ทารูน กิจฺจา ความว่า เพราะเหตุแห่งไม้ทั้งหลาย.
สองบทว่า ปุรห หญฺามิ ความว่า กระผมจะถูกกำจัดจากบุรี.
อธิบายว่า พระคุณท่าน ควรไปตลอดเวลาที่กระผมยังมิได้ถูกกำจัด. ศัพท์ว่า
อิงฺฆ ในคำว่า อิงฺฆ ภนฺเต สราเปหิ นี้เป็นนิบาต ลงในอรรถว่าทักท้วง.
บทว่า ปมาภิสิตฺโต ความว่า ครั้งพระองค์เสด็จเถลิงถวัลราชย์
ความแรก.
หลายบทว่า เอวรูปึ วาจ ภาสิตา มีความว่า ครั้งพระองค์เสด็จ
เถลิงถวัลยราชย์คราวแรกนั่นเอง ได้ทรงเปล่งพระวาจาเช่นนี้ว่าหญ้าไม้และน้ำ
ข้าพเจ้าถวายแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายแล้วแล, ขอสมณะพราหมณ์ทั้งหลาย
โปรดใช้สอยเถิด มีคำอธิบายว่า ขอถวายพระพร ! พระองค์ได้ตรัสพระวาจา
ใดไว้ พระวาจานั้นพระองค์ตรัสเองทีเดียว บัดนี้ ยังทรงระลึกได้หรือไม่ ?
ได้ยินว่า พระราชาทั้งหลาย พอสักว่าเสด็จเถลิงถวัลยราชยสมบัติ
เท่านั้น ก็ทรงรับสั่ง ให้เที่ยวตีกลองธรรมเภรีประกาศว่า หญ้าไม้และน้ำ
ข้าพเจ้าถวายแก่สมณะพราหมณ์ทั้งหลายแล้วแล, ขอสมณะและพราหมณ์
ทั้งหลาย โปรดใช้สอยเถิด ดังนี้, พระธนิยะเถระนี้กล่าวหมายเอาพระราชดำรัส
นั้น.
หลายบทว่า เตส มยา สนฺธาย ภาสิต มีอธิบายว่า โยมได้
กล่าวคำอย่างนั้นหมายถึงการนำหญ้าไม้และน้ำไปของสมณะพราหมณ์เหล่านั้น
ผู้มีความรังเกียจแม้ในเหตุเล็กน้อย ซึ่งเป็นผู้สงบและลอยบาปแล้ว หาได้
หมายถึงการนำไปของบุคคลผู้เช่นพระคุณเจ้าไม่.
หลายบทว่า ตญฺจ โข อรญฺเ อปริคฺคหิต มีความว่า พระเจ้า
พิมพิสาร ทรงแสดงพระประสงค์ว่า อันนั่น โยมกล่าวหมายเอาหญ้าไม้และน้ำ
อันใคร ๆ มิได้หวงแหน ซึ่งมีอยู่ในป่าต่างหาก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 95
ในคำว่า โลเมน ตฺว มุตฺโตสิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ขนเหมือนขน, ก็ขนนั้น คืออะไร ? คือ บรรพชาเพศ. พระเจ้า-
พิมพิสาร ตรัสอธิบายไว้อย่างไร ? ตรัสอธิบายไว้อย่างนี้คือ :- เปรียบ
เหมือนพวกนักเลงปรึกษากันว่า พวกเราจักเคี้ยวกินเนื้อแล้ว จึงจับแพะตัว
มีขนซึ่งมีราคามากไว้, บุรุษผู้รู้ดีคนหนึ่ง พบเห็นแพะตัวที่ถูกจับไว้นั้นนี้
จึงคิดว่า เนื้อแพะตัวนี้ มีราคาเพียงกหาปณะเดียว, แต่ขนของมันทุก ๆ เส้น
ขนมีราคาตั้งหลายกหาปณะ จึงได้ให้แพะเขาไป ๒ ตัว ซึ่งไม่มีขน แล้วพึง
รับเอาแพะตัวที่มีขนนั้นไป, ด้วยอาการอย่างนี้ แพะตัวนั้น พึงรอดพ้นด้วยขน
เพราะอาศัยบุรุษผู้รู้ดี ข้อนี้ชื่อฉันใด, ตัวพระคุณเจ้าก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้ควรถูกฆ่าและจองจำ เพราะทำกรรมนี้, แต่เพราะพระคุณเจ้า มีธงชัย
พระอรหันต์ มีสภาวะอันสัตบุรุษไม่พึงดูหมิ่นได้ และเพราะพระคุณเจ้าบวช
ในพระศาสนา ทรงไว้ซึ่งธงชัยแห่งพระอรหันต์ เป็นบรรพชาเพศ ; เหตุนั้น
พระคุณเจ้าจึงรอดตัวด้วยขนคือบรรพชาเพศนี้ เหมือนแพะรอดพ้นด้วยขน
เพราะอาศัยบุรุษผู้รู้ดี ฉะนั้น.
[ ประชาชนเพ่งโทษติเตียนเหล่าสมณศากยบุตร ]
สองบทว่า มนุสฺสา อุชฺฌายนฺติ ความว่า เมื่อพระราชาทรงรับสั่ง
อยู่ในบริษัท มนุษย์ทั้งหลายในสถานที่นั้น ๆ ครั้นได้ฟังพระราชดำรัส ทั้งต่อ
พระพักตร์และลับพระพักตร์แล้ว ย่อมเพ่งโทษ คือ ดูหมิ่น ได้แก่ เมื่อดูหมิ่น
ก็เพ่งจ้องดูพระเถระนั้น, อนึ่ง หมายความว่า ย่อมคิดไปทางความลามก.
บทว่า ขียนฺติ ความว่า ย่อมพูด คือ ประจานโทษของพระเถระนั้น.
บทว่า วิปาเจนฺติ ความว่า แต่งเรื่องให้กว้างขวางออกไป คือ
กระจายข่าวให้แพร่สะพัดไปในสถานที่ทุกแห่ง. ก็แล ผู้ศึกษาควรทราบเนื้อความ
นี้ ตามแนวคัมภีร์ศัพทศาสตร์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 96
อนึ่ง ในคำว่า อุชฺฌายนฺติ เป็นต้นนี้ มีโยชนาดังนี้ คือมนุษย์
ทั้งหลาย เมื่อคิดถึงเรื่องราวเป็นต้นว่า พระสมณศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้
ไม่มีความละอาย ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเพ่งโทษ, เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า พระ-
สมณศากยบุตรเหล่านี้ ไม่มีคุณเครื่องเป็นสมณะ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมติเตียน,
เมื่อกระจายข่าวกว้างขวางออกไปในสถานที่นั้น ๆ เป็นต้นว่า พระสมณะ
ศากยบุตรเหล่านี้ปราศจากความเป็นสมณะแล้ว ดังนี้ ชื่อว่าย่อมโพนทะนาข่าว
แม้ต่อจากนี้ไป ก็ควรทราบโยชนาแห่งบทเหล่านี้ ตามควรแก่บทที่มาแล้วใน
ที่นั้น ๆ โดยนัยนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมจาริโน คือ ผู้ประพฤติประเสริฐ
ความเป็นสมณะ ชื่อสามัญญะ. ความเป็นผู้ประเสริฐ ชื่อพรหมมัญญะ. คำที่
เหลือมีใจความตื้นแล้วทั้งนั้น.
ในคำว่า รญฺโ ทารูนิ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ใจความนี้ว่า
ได้ถือเอาไม้ของหลวง ที่มิได้พระราชทาน ดังนี้ มีความเพ่งโทษเป็นอรรถ.
อนึ่ง เพื่อแสดงถึงไม้ที่มิได้พระราชทาน ซึ่งพระธนิยะได้ถือเอาแล้วนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ไม้ของหลวง เป็นต้น. อันผู้ศึกษาทั้งหลาย เมื่อไม่หลงลืมความ
ต่างแห่งวจนะ ก็ควรทราบใจความดังอธิบายมาฉะนี้แล.
[ ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท ]
สองบทว่า ปุราณโวหาริโก มหามตฺโต มีความว่า มหาอำมาตย์
ผู้ถึงความนับว่า ผู้พิพากษา เพราะถูกแต่งตั้งไว้ในโวหารคือการตัดสินความ
ในกาลก่อนแต่ความเป็นภิกษุ คือ ในเวลาเป็นคฤหัสถ์.
หลายบทว่า อถโข ภควา ต ภิกฺขุ เอตทโวจ อธิบายความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบแม้ซึ่งบัญญัติแห่งโลกอยู่ด้วยพระองค์เอง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 97
ย่อม ทรงทราบแม้ซึ่งพระบัญญัติแห่งพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายว่า พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายแม้ในปางก่อน ย่อมทรงบัญญัติปาราชิกด้วยทรัพย์เท่านี้
ถุลลัจจัยด้วยทรัพย์เท่านี้ ทุกกฎด้วยทรัพย์เท่านี้ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้า
พระองค์ไม่ทรงเทียบเคียงกับคนที่รู้บัญญัติแห่งโลกเหล่าอื่นแล้ว พึงทรงบัญญัติ
ปาราชิกด้วยทรัพย์เพียงบาทหนึ่ง ก็จะพึงมีผู้กล่าวตำหนิพระองค์เพราะเหตุ
เท่านั้นว่า ชื่อว่าศีลสังวรแม้ของภิกษุรูปหนึ่ง ก็ประมาณไม่ได้ นับไม่ได้
กว้างขวางยิ่งนัก ดุจมหาปฐพี สมุทร และอากาศ, พระผู้มีพระภาคเจ้า มายัง
ศีลสังวรนั้นให้พินาศเสีย ด้วยทรัพย์เพียงบาทหนึ่ง, แต่นั้น ภิกษุทั้งหลายผู้
ไม่รู้กำลังพระญาณของพระตถาคต พึงยังสิกขาบทให้กำเริบสิกขาบทแม้ที่ทรง
บัญญัติไว้แล้ว ก็ไม่พึงตั้งอยู่ในที่อันควร, แต่เมื่อทรงเทียบเคียงกับคนที่รู้
บัญญัติของโลกแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบท การตำหนิติเตียนนั้นย่อมไม่มี,
ย่อมมีแต่ผู้กล่าวอย่างนี้โดยแท้ว่า แม้คนครองเรือนเหล่านี้ ก็ยังฆ่าโจรเสียบ้าง
จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง เพราะทรัพย์เพียงบาทหนึ่ง, เหตุไฉนเล่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า จักไม่ทรงยังบรรพชิตให้ฉิบหายเสีย เพราะบรรพชิตไม่
ควรลักทรัพย์ของผู้อื่น แม้เป็นเพียงหญ้าเส้นหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายก็จักรู้กำลัง
พระญาณของพระตถาคต และสิกขาบทแม้ที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ก็จักไม่กำเริบ
จักตั้งอยู่ในที่อันควร. เพราะฉะนั้น ทรงพระประสงค์จะเทียงเคียงกับคนผู้รู้
บัญญัติของโลกแล้วจึงทรงบัญญัติ ทรงชำเลืองดูบริษัททุกหมู่เหล่า ครั้งนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นผู้นั่งอยู่ในที่ไม่ไกลได้ตรัส
คำนี้กะภิกษุนั้น ( คือได้ตรัสคำนี้ ) ว่า ดูก่อนภิกษุ ! พระราชาผู้เป็นใหญ่แห่ง
มคธรัฐ เพียบพร้อมด้วยเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร จับโจรได้แล้ว
ทรงฆ่าเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง เพราะทรัพย์ประมาณเท่าไร
หนอ ดังนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 98
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาคโธ ได้แก่ เป็นใหญ่แห่งชาวแคว้น
มคธ.
บทว่า เสนิโย ได้แก่ ผู้ถึงพร้องด้วยเสนา.
คำว่า พิมฺพิสาโร เป็นพระนามาภิไธย ของพระราชาพระองค์นั้น.
บทว่า ปพฺพาเชติ วา มีความว่า ทรงให้ออกไปเสียจากแว่นแคว้น.
บทที่เหลือในคำนี้ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
สองบทว่า ปญฺจมาสโก ปาโท ความว่า ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์
๒๐ มาสก เป็นหนึ่งกหาปณะ ; เพราะฉะนั้น ห้ามาสกจึงเป็นหนึ่งบาท. ด้วย
ลักษณะนั้น ส่วนที่สี่ของกหาปณะพึงทราบว่า เป็นบาทหนึ่ง ในชนบททั้งปวง.
ก็บาทนั้นแล พึงทราบด้วยอำนาจแห่งนีลกหาปณะของโบราณ ไม่พึงทราบ
ด้วยอำนาจแห่งกหาปณะ นอกนี้ มีรุทระทามกะกหาปณะเป็นต้น.
[ พระพุทธเจ้าทุกองค์ปรับโทษถึงที่สุดเพียงบาทเดียว ]
แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ก็ทรงบัญญัติปาราชิกด้วยบาท
นั้น ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะมีในอนาคต ก็จักทรงบัญญัติปาราชิกด้วย
บาทนั้น. จริงอยู่ ความเป็นต่างกัน ในวัตถุปาราชิกหรือในปาราชิก ของ
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ย่อมไม่มี. วัตถุแห่งปาราชิก ๔ ก็เหมือนกันนี้แหละ
ปาราชิก ๔ ก็เหมือนกันนี้แหละ ไม่มีหย่อนหรือยิ่งกว่านี้. เพราะเหตุนั้น แม้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนพระธนิยะแล้ว เมื่อจะทรงบัญญัติทุติยปา-
ราชิกด้วยบาทนั่นเทียว จึงตรัสคำว่า โย ปน ภิกฺขุ อทินฺน เถยฺยสงฺขาต
เป็นต้น.
เมื่อทุติยปาราชิกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติทำให้มั่นคงด้วยอำ-
นาจแห่งความขาดมูลอย่างนั้นแล้ว เรื่องรชกภัณฑิกะ แม้อื่นอีกก็ได้เกิดขึ้น เพื่อ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 99
ประโยชน์แก่อนุบัญญัติ. เพื่อแสดงความเกิดขึ้นแห่งเรื่องนั้น พระธรรม-
สังคาหกาจารย์ จึงได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า ก็แล สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
ใจความแห่งเรื่องนั้น และความสัมพันธ์กันแห่งอนุบัญญัติ พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในปฐมปาราชิกวรรณนานั่นแหละ. ทุก ๆ สิกขาบท ถัด
จากสิกขาบทนี้ไป ก็พึงทราบเหมือนอย่างในสิกขาบทนี้. จริงอยู่ คำใด ๆ ที่
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้น ข้าพเจ้าจักละเว้นคำนั้น ๆ ทั้งหมดแล้ว
พรรณนาเฉพาะคำที่ยังไม่เคยมี ในหนหลังที่สูง ๆ ขึ้นไปเท่านั้น. ก็ถ้าว่า
ข้าพเจ้าจักพรรณนาคำซึ่งมีนัยดังที่กล่าวแล้วนั้น ๆ ซ้ำอีก, เมื่อไร ข้าพเจ้าจัก
ถึงการจบลงแห่งการพรรณนาได้เล่า ? เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาทั้งหลาย ควร
กำหนดคำที่กล่าวไว้แล้วในก่อนนั้น ๆ ทั้งหมดให้ดี แล้วทราบใจความและ
โยชนาในคำนั้น ๆ. อนึ่ง คำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งยังไม่เคยมี ทั้งมีเนื้อความ
ยังไม่กระจ่าง ข้าพเจ้าเองจักพรรณนาคำนั้นทั้งหมด.
จบปฐมบัญญัติทุติยปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 100
เรื่องอนุบัญญัติทุติยปาราชิก
สองบทว่า รชกตฺถรณ คนฺตฺวา ความว่า ไปสู่ท่าที่ตากผ้าของ
ช่างย้อม. จริงอยู่ ท่านั้น เรียกว่า ลานตากผ้าของช่างย้อม เพราะที่ท่านั้นเป็น
ที่พวกช่างย้อมลาดผ้าตากไว้.
บทว่า รชกภณฺฑิก ได้แก่ ห่อสิ่งของ ๆ พวกช่างย้อม. เวลาเย็น
พวกช่างย้อม เมื่อจะกลับเข้าไปยังเมือง ผูกผ้ามากผืนรวมกันเป็นห่อๆ ไว้, พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ เมื่อช่างย้อมเหล่านั้นไม่เห็น เพราะความเลินเล่อ ก็ได้ลัก
อธิบายว่า ขโมยเอาห่อหนึ่งจากห่อนั้นไป.
[ อรรถาธิบายบ้านที่มีกระท่อมหลังเดียวเป็นต้น ]
คำมีอาทิอย่างนี้ว่า คาโม นาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพื่อ
แสดงประเภทแห่งบ้านและป่า ที่พระองค์ตรัสไว้แล้วในคำนี้ว่า จากบ้านก็ดี
จากป่าก็ดี. ในคำว่า บ้านแม้มีกระท่อมหลังเดียว เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ : -
ในหมู่บ้านใดมีกระท่อมหลังเดียวเท่านั้น ชื่อว่ามีเรือนหลังเดียว
เหมือนในมลัยชนบท บ้านนี้ ชื่อว่า บ้านมีกระท่อมหลังเดียว. บ้านเหล่าอื่น
ก็ควรทราบโดยนัยนั้น. บ้านใดเป็นถิ่นที่ยักษ์หวงแหน เพราะไม่มีพวกมนุษย์
โดยประการทั้งปวง หรือพวกมนุษย์อยากจะกลับมาแม้อีกด้วยเหตุบางอย่าง
ทีเดียว ก็หลีกไปเสียจากบ้านใด, บ้านนั้น ชื่อว่าไม่มีมนุษย์. บ้านใด ที่เขา
ทำกำแพงก่อด้วยอิฐเป็นต้นไว้ โดยที่สุด แม้ล้อมไว้ด้วยหนามและกิ่งไม้,
บ้านนั้น ชื่อว่ามีเครื่องล้อม. บ้านใดที่พวกมนุษย์ไม่ได้ตั้งอาศัยอยู่ ด้วยอำนาจ
เป็นสถานที่พักอยู่รวมกัน ซึ่งใกล้ถนนเป็นต้น แต่สร้างเรือนไว้ ๒-๓ ตัว หลัง
แล้วเข้าอาศัยอยู่ในที่นั้น ๆ ดุจโคนอนเจ่าอยู่ในที่นั้น ๆ ๒-๓ ตัว ฉะนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 101
บ้านนั้น ชื่อว่าที่อยู่อาศัยดุจเป็นที่โคจ่อมเป็นต้น. บรรดาหมู่ต่าง และหมู่
เกวียนเป็นต้น หมู่ใดหมู่หนึ่ง ชื่อว่าสัตถะ. อนึ่ง ในสิกขาบทนี้ นิคมก็ดี
บ้านก็ดี พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วย คามศัพท์ทั้งนั้น.
[ อรรถาธิบายเขตอุปจารบ้านและเรือนเป็นต้น ]
คำว่า อุปจารบ้าน เป็นต้น พระองค์ตรัส เพื่อแสดงการกำหนดป่า.
สองบทว่า อินฺทขีเล ิตสฺส ความว่า ได้แก่บุรุษผู้ยืนอยู่ที่เสา
เขื่อนร่วมในแห่งบ้านที่มีเสาเขื่อน ๒ เสา ดุจอนุราธบุรี ฉะนั้น. จริงอยู่
เสาเขื่อนภายนอก แห่งอนุราธบุรีนั้น โดยอภิธรรมนัย ย่อมถึงการนับว่า
เป็นป่า. อนึ่ง ได้แก่ บุรุษผู้ยืนอยู่ที่ท่ามกลางแห่งบ้านที่มีเสาเขื่อนเสาเดียว
หรือผู้ยืนอยู่ที่ท่ามกลางแห่งบานประตูบ้าน. แท้จริง ในบ้านใด ไม่มีเสาเขื่อน,
ตรงกลางแห่งบานประตูบ้าน ในบ้านนั่นแล เรียกว่า เสาเขื่อน. เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า ได้แก่ บุรุษผู้ยืนอยู่ที่ท่ามกลาง แห่งบานประตูบ้าน.
บทว่า มชฺฌิมสฺส ความว่า ได้แก่ บุรุษมีกำลังปานกลาง หาใช่
บุรุษขนาดกลางผู้มีกำลังพอประมาณไม่ คือ บุรุษผู้มีกำลังน้อยหามิได้เลย ทั้ง
ไม่ใช่บุรุษมีกำลังมาก, มีคำอธิบายว่า ได้แก่ บุรุษผู้มีกำลังกลางคน.
บทว่า เลฑฺฑุปาโต ได้แก่ สถานที่ตกแห่งก้อนดินที่เขา
ไม่ได้ขว้างไป เหมือนอย่างมาตุคาม จะให้พวกกาบินหนีไป จึงยกมือขึ้นโยน
ก้อนดินไปตรง ๆ เท่านั้น และเหมือนอย่างพวกภิกษุวักน้ำสาดไปในโอกาสที่
กำหนดเขตอุทกุกเขป แต่ขว้างไปเหมือนคนหนุ่ม ๆ จะประลองกำลังของตน
จึงเหยียดแขนออกขว้างก้อนดินไป ฉะนั้น. แต่ไม่ควรกำหนดเอาที่ซึ่งก้อนดิน
ตกแล้วกลิ้งไปถึง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 102
ก็ในคำว่า บุรุษกลางคน ผู้ยืนอยู่ที่อุจารเรือนแห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม
ขว้างก้อนดินไปตก๑ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บุรุษกลางคน ผู้ยืนอยู่ที่
น้ำตกแห่งชายคา โยนกระด้งหรือสากให้ตกไป ชื่อว่า อุปจารเรือน. ใน
อรรถกถากุรุนทีท่านกล่าวไว้ว่า บุรุษกลางคนผู้ยืนอยู่ที่อุปจารเรือนนั้น ขว้าง
ก้อนดินไปตก ชื่อว่า อุปจารบ้าน. ถึงในอรรถกถามหาปัจจรี ท่านก็กล่าวไว้
เช่นนั้นเหมือนกัน. อนึ่ง ในมหาอรรถกถา ท่านตั้งมาติกาไว้ว่า ชื่อว่าเรือน
ชื่อว่าอุปจารเรือน ชื่อว่าบ้าน ชื่อว่าอุปจารบ้าน แล้วกล่าวว่า ภายในที่น้ำตก
แห่งชายคา ชื่อว่าเรือน. ส่วนที่ตกแห่งน้ำล้างภาชนะ ซึ่งมาตุคาม ผู้ยืนอยู่ที่
ประตูสาดทิ้งลงมา และที่ตกแห่งกระด้งหรือไม้กวาด ที่มาตุคามเหมือนกันซึ่ง
ยืนอยู่ภายในเรือนโยนออกไปข้างนอกตามปกติ และเครื่องล้อมที่เขาต่อที่มุม
สองด้านข้างหน้าเรือน ตั้งประตูกลอนไม้ไว้ตรงกลางทำไว้สำหรับกันพวกโค
เข้าไป แม้ทั้งหมดนี้ ชื่อว่าอุปจารเรือน. ภายในเลฑฑุบาตของบุรุษมีกำลัง
ปานกลาง ผู้ยืนอยู่ที่อุปจารเรือนนั้น ชื่อว่า บ้าน. ภายในเลฑฑุบาตอื่นจาก
นั้น ชื่อว่าอุปจารบ้าน. คำที่ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถานี้ ย่อมเป็นประมาณ
ในคำนี้ว่า บุรุษมีกำลังปานกลางผู้ยืนอยู่ที่อุปจารเรือนแห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม
ขว้างก้อนดินไปตก.๒ เหมือนอย่างว่า คำที่ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถานี้
ย่อมเป็นประมาณในที่นี้ ฉันใด, อรรถกถาวาทะก็ดี เถรวาทะก็ดี ที่ข้าพเจ้า
จะกล่าวในภายหลัง ก็พึงเห็นโดยความเป็นประมาณในที่ทั้งปวง ฉันนั้น.
ถามว่า ก็คำที่ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถานี้ นั้นปรากฏเหมือนขัด
แย้งพระบาลี เพราะในพระบาลี พระองค์ตรัสไว้เพียงเท่านี้ว่า บุรุษมีกำลัง
ปานกลาง ผู้ยืนอยู่ที่อุปจารเรือนขว้างก้อนดินไปตก.๓ แต่ในมหาอรรถกถา
๑. วิ. มหา. ๑/๘๕. ๒-๓ วิ. มหา. ๑/๘๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 103
ท่านทำเลฑฑุบาตนั้นให้ถึงการนับว่าบ้านแล้วกล่าวอุปจารบ้าน ถัดเลฑฑุบาต
นั้นออกไป ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- คำทั้งหมดนั่นแล ท่านกล่าวไว้ใน
พระบาลีแล้ว. ส่วนความอธิบายในพระบาลีนี้ ผู้ศึกษาควรทราบ. ก็แล
ความอธิบายนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายเท่านั้นเข้าใจแจ่มแจ้ง. เพราะ
เหตุนั้น ลักษณะแห่งอุปจารเรือน แม้มิได้ตรัสไว้ในพระบาลีว่า ผู้ยืนอยู่ที่
อุปจารเรือน ดังนี้ ท่านก็ถือเอาด้วยอำนาจแห่งลักษณะที่กล่าวไว้ในอรรถกถา
ฉันใด, แม้ลักษณะแห่งอุปจารเรือนที่เหลือ ก็ควรถือเอาฉันนั้น. ในศัพท์ว่า
คามูปจารนั้น ก็ควรทราบนัยดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่าบ้านในสิกขาบทนี้ มี ๒ ชนิด
คือบ้านที่มีเครื่องล้อม ๑ บ้านที่ไม่มีเครื่องล้อม ๑. ในบ้าน ๒ ชนิดนั้น
เครื่องล้อมนั่นเอง เป็นเขตกำหนดของบ้านที่มีเครื่องล้อม. เพราะเหตุนั้น ใน
พระบาลี พระองค์จึงไม่ตรัสเขตกำหนดไว้เป็นแผนกหนึ่ง แต่ได้ตรัสไว้ว่า
บุรุษผู้มีกำลังปานกลาง ผู้ยืนอยู่ที่เสาเขื่อนแห่งบ้านที่มีเครื่องล้อม ขว้างก้อน-
ดินไปตก ชื่อว่าอุปจารบ้าน๑ . ส่วนเขตกำหนดบ้าน แห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม
ก็ควรกล่าวไว้ด้วย. เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงเขตกำหนดบ้าน แห่งบ้านที่ไม่ได้
ล้อมนั้น พระองค์จึงตรัสไว้ว่า บุรุษมีกำลังปานกลาง ยืนอยู่ที่อุปจารเรือน
แห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม ขว้างก้อนดินไปตก ( ชื่อว่าอุปจารบ้าน๒ ) เมื่อแสดง
เขตกำหนดของบ้านไว้แล้วนั่นแล ลักษณะแห่งอุปจารบ้าน ใคร ๆ ก็อาจ
ทราบได้ โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในก่อนทีเดียว ; เพราะฉะนั้น พระองค์จึง
ไม่ตรัสซ้ำอีกว่า บุรุษมีกำลังปานกลางยืนอยู่ที่อุปจารเรือนนั้น ขว้างก้อนดิน
ไปตก. ฝ่ายอาจารย์ใด กล่าวเลฑฑุบาตของบุรุษมีกำลังปานกลาง ยืนอยู่ที่
๑-๒. วิ. มหา. ๑/๘๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 104
อุปจารเรือนนั่นเอง เป็นอุปจารบ้าน ดังนี้, อุปจารเรือนของอาจารย์นั้น
ย่อมพ้องกับคำว่า บ้าน. เพราะเหตุนั้น วิภาคนี้ คือ เรือน อุปจารเรือน บ้าน
อุปจารบ้าน ย่อมไม่ปะปนกัน. ส่วนข้อวินิจฉัยในเรือน อุปจารเรือน บ้าน
และอุปจารบ้านนี้ ผู้ศึกษาควรทราบโดยความไม่ปะปนกัน (ดังที่ท่านกล่าวไว้)
ในวิกาเลคามัปปเวสนสิกขาบทเป็นต้น. เพราะฉะนั้น บ้านและอุปจารบ้านใน
อทินนาทานสิกขาบทนี้ ผู้ศึกษาควรเทียบเคียงบาลีและอรรถกถาแล้ว ทราบ
ตามนัยที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ. อนึ่ง แม้บ้านใด แต่ก่อนเป็นหมู่บ้านใหญ่
ภายหลัง เมื่อสกุลทั้งหลายสาบสูญไป กลายเป็นหมู่บ้านเล็กน้อย, บ้านนั้น
ควรกำหนดด้วยเลฑฑุบาตแต่อุปจารเรือนเหมือนกัน. ส่วนกำหนดเขตเดิม
ของบ้านนั้น ทั้งที่มีเครื่องล้อมทั้งที่ไม่มีเครื่องล้อม จะถือเป็นประมาณไม่ได้
เลย ฉะนี้แล.
[ อรรถาธิบายกำหนดเขตป่า ]
ป่าที่เหลือในอทินนาทานสิกขาบทนี้ เว้นบ้านและอุปจารบ้าน ซึ่งมี
ลักษณะตามที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า ที่ชื่อว่าป่า คือ เว้นบ้านและอุปจารบ้านเสีย
พึงทราบว่า ชื่อว่าป่า. แต่ในคัมภีร์อภิธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
คำว่า ป่า นั้น ได้แก่ ที่ภายนอกจากเสาเขื่อนออกไป นั้นทั้งหมด ชื่อว่า ป่า๑.
พระองค์ตรัสไว้ในอรัญญสิขาบทว่า เสนาสนะที่สุดไกลประมาณ ๕๐๐ ชั่วธนู
ชื่อว่า เสนาสนะป่า๒. พึงทราบว่า เสนาสนะป่านั้น นับแต่เสาเขื่อนออกไป
มีระยะไกลประมาณ ๕๐๐ ชั่วธนู โดยธนูของอาจารย์ที่ท่านยกขึ้นไว้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกเนื้อความแห่งคำนี้ว่า จากบ้าน
ก็ดี จากป่าก็ดี โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในพระบาลีอย่างนั้น จึงทรงแสดงส่วน
ทั้ง ๕ ไว้ เพื่อป้องกันความอ้างเลศและโอกาสของเหล่าบาปภิกษุว่า เรือน
๑. อภิ. วิ. ๓๕/๓๓๘ ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๖๔. ๒. วิ. มหา. ๒/๑๔๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 105
อุปจารเรือน บ้าน อุปจารบ้าน ( และ ) ป่า. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า เมื่อ
ภิกษุลักสิ่งของที่มีเจ้าของตั้งแต่มีราคาบาทหนึ่งขึ้นไปในเรือนก็ดี อุปจารเรือน
ก็ดี บ้านก็ดี อุปจารบ้านก็ดี ป่าก็ดี เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
[ อรรถาธิบายสิ่งของที่เจ้าของมีกรรมสิทธิ์อยู่ ]
บัดนี้ เพื่อแสดงเนื้อความแห่งคำเป็นต้นว่า พึงถือเอาทรัพย์อันเจ้าของ
ไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ดังนี้ พระองค์จึงตรัสว่า อทินฺน นาม
เป็นต้น. ในคำว่า อทินฺน นาม เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในทันต-
โปณสิกขาบท แม้สิ่งของ ๆ ตนที่ยังไม่รับประเคน ซึ่งเป็นกัปปิยะ แต่เป็น
ของที่ไม่ควรกลืนกิน เรียกว่า ของที่เขายังไม่ได้ให้. แต่ในสิกขาบทนี้ สิ่งของ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ผู้อื่นหวงแหน ซึ่งเจ้าของ เรียกว่า สิ่งของอันเจ้าของ
ไม่ได้ให้. สิ่งของนี้นั้น อันเจ้าของเหล่านั้นไม่ได้ให้ ด้วยกายหรือวาจา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสิ่งของอันเจ้าของไม่ได้ให้. ชื่อว่า อันเขายังไม่ได้ละวาง
เพราะว่าเจ้าของยังไม่ได้สละพ้นจากมือของตน หรือจากที่ ๆ ตั้งอยู่เดิม. ชื่อว่า
อันเจ้าของยังไม่ได้สละทิ้ง เพราะว่า แม้ทรัพย์ตั้งอยู่ในที่เดิมแล้ว แต่เจ้าของ
ก็ยังไม่ได้สละทิ้ง เพราะยังไม่หมดความเสียดาย. ชื่อว่าอันเจ้าของรักษาอยู่
เพราะเป็นของที่เจ้าของยังรักษาไว้ โดยจัดแจงการอารักขาอยู่. ชื่อว่าอันเขา
ยังคุ้มครองอยู่ เพราะเป็นของที่เจ้าของใส่ไว้ในที่ทั้งหลายมีตู้เป็นต้นแล้ว
ปกครองไว้. ชื่อว่า อันเขายังถือว่าเป็นของเรา เพราะเป็นของที่เจ้าของยังถือ
กรรมสิทธิ์ว่าเป็นของเรา โดยความถือว่าของเราด้วยอำนาจตัณหาว่า ทรัพย์นี้
ของเรา. ชื่อว่า ผู้อื่นหวงแหน เพราะว่า เป็นของอันชนเหล่าอื่นผู้เป็นเจ้าของ
ทรัพย์เหล่านั้นยังหวงแหนไว้ ด้วยกิจมีอันยังไม่ทิ้ง ยังรักษา และปกครอง
อยู่เป็นต้นเหล่านั้น. ทรัพย์นั่นชื่อว่าอันเจ้าของไม่ได้ให้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 106
[ อรรถาธิบายสังขาตศัพท์ลงในอรรถตติยาวิภัตติ ]
ในบทว่า เถยฺยสงฺขาต นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- โจร ชื่อว่า ขโมย.
ความเป็นแห่งขโมย ชื่อว่า เถยฺย. บทว่า เถยฺย นี้ เป็นชื่อแห่งจิตคิดจะลัก.
สองบทว่า สงฺขา สงฺขาต นั้น โดยเนื้อความก็เป็นอันเดียวกัน. บทว่า
สงฺขาต นั้น เป็นชื่อแห่งส่วน เหมือนสังขาตศัพท์ในอุทาหรณ์ทั้งหลายว่า
ก็ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าทั้งหลาย มีสัญญาเป็นเหตุ ดังนี้เป็นต้น. ส่วน
นั้นด้วยความเป็นขโมยด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เถยฺยสงฺขาต. อธิบายว่า
ส่วนแห่งจิตดวงหนึ่งซึ่งเป็นส่วนแห่งจิตเป็นขโมย. ก็คำว่า เถยฺยสงฺขาต นี้
เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ ; เพราะฉะนั้นบัณฑิตพึงเห็น
โดยเนื้อความว่า เถยฺยสงฺขาเตน แปลว่า ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ดังนี้.
ก็ภิกษุใด ย่อมถือเอา (ทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้) ด้วยส่วนแห่งความ
เป็นขโมย, ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้มีจิตแห่งความเป็นขโมย ; เพราะฉะนั้น เพื่อ
ไม่คำนึงถึงพยัญชนะแสดงเฉพาะแต่ใจความเท่านั้น พึงทราบว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า เถยฺยสงฺขาต นั้นไว้อย่างนี้ว่า ผู้มีจิต
แห่งความเป็นขโมย คือ ผู้มีจิตคิดลัก ดังนี้.
[ อรรถาธิบายบทมาติกา ๖ บท ]
ก็ในคำว่า อาทิเยยฺย ฯ เป ฯ สงฺเกต วีตินาเมยฺย นี้ บัณฑิต
พึงทราบว่า บทแรกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจการตู่เอา, บทที่ ๒
ตรัสด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้นำเอาทรัพย์ของบุคคลเหล่าอื่นไป, บทที่ ๓ ตรัส
ด้วยอำนาจแห่งทรัพย์ที่เขาฝังไว้, บทที่ ๔ ตรัสด้วยอำนาจแห่งทรัพย์ที่มี
วิญญาณ, บทที่ ๕ ตรัสด้วยอำนาจแห่งทรัพย์ที่เขาเก็บไว้บนบกเป็นต้น, บทที่
๖ ตรัสด้วยอำนาจแห่งความกำหนดหมาย หรือด้วยอำนาจแห่งด่านภาษี.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 107
อนึ่ง ในคำว่า อาทิเยยฺย เป็นต้นนี้ การประกอบความย่อมมี ด้วย
อำนาจสิ่งของสิ่งเดียวบ้าง ด้วยอำนาจสิ่งของต่าง ๆ บ้าง. ก็แล ความประกอบ
ด้วยอำนาจสิ่งของสิ่งเดียว ย่อมใช้ได้ด้วยทรัพย์ที่มีวิญญาณเท่านั้น. ความ
ประกอบด้วยอำนาจสิ่งต่าง ๆ ย่อมใช้ได้ด้วยทรัพย์ที่ปนกันทั้งที่มีวิญญาณทั้งที่
ไม่มีวิญญาณ. บรรดาความประกอบด้วยอำนาจสิ่งของสิ่งเดียวและสิ่งของต่างๆ
นั้น ความประกอบด้วยอำนาจสิ่งของต่าง ๆ บัณฑิตควรทราบโดยนัยอย่างนี้ก่อน.
[ อรรถาธิบายกิริยาแห่งการลัก ๖ อย่าง ]
บทว่า อาทิเยยฺย ความว่า ภิกษุตู่เอาที่สวน ต้องอาบัติทุกกฎ.
ยังความสงสัยให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. เจ้าของทอดธุระว่า
สวนนี้จักไม่เป็นของเราละ ต้องอาบัติปาราชิก.
บทว่า หเรยฺย ความว่า ภิกษุมีไถยจิตนำทรัพย์ของผู้อื่นไปลูบคลำ
ภาระบนศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฎ. ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ลดลงมาสู่คอ
ต้องอาบัติปาราชิก.
บทว่า อวหเรยฺย ความว่า ภิกษุรับของที่เขาฝากไว้ เมื่อเจ้าของ
ทวงขอคืนว่า ทรัพย์ที่ข้าพเจ้าฝากไว้มีอยู่, ท่านจงคืนทรัพย์ให้แก่ข้าพเจ้า
กล่าวปฏิเสธว่า ฉันไม่ได้รับไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ. ยังความสงสัยให้เกิดขึ้นแก่
เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. เจ้าของทอดธุระว่า ภิกษุรูปนี้ จักไม่คืนให้แก่เรา
ต้องอาบัติปาราชิก.
สองบทว่า อิริยาปถ วิโกเปยฺย ความว่า ภิกษุคิดว่า เราจักนำ
ไปทั้งของทั้งคนขน ให้ย่างเท้าที่หนึ่งก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้า
ที่สองก้าวไป ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 108
สองบทว่า านา จาเวยฺย ความว่า ภิกษุมีไถยจิต ลูบคลำของ
ที่ตั้งอยู่บนบก ต้องอาบัติทุกกฏ. ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ให้เคลื่อน
จากที่ ต้องอาบัติปาราชิก.
สองบทว่า สงฺเกต วีตินาเมยฺย ความว่า ภิกษุยังเท้าที่หนึ่งให้
ก้าวล่วงเลยที่กำหนดไว้ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ให้เท้าที่สองก้าวล่วงไป ต้อง
อาบัติปาราชิก. อีกอย่างหนึ่ง ยังเท้าที่หนึ่งให้ก้าวล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย. ยังเท้าที่สองให้ก้าวล่วงไป ต้องอาบัติปาราชิก ฉะนั้นแล. นี้เป็น
ความประกอบด้วยอำนาจนานาภัณฑะ ในบทว่า อาทิเยยฺย เป็นต้นนี้.
ส่วนความประกอบอำนาจเอกภัณฑะ พึงทราบดังนี้ :- ทาสก็ดี
สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งมีเจ้าของ ภิกษุตู่เอาก็ดี ลักไปก็ดี ฉ้อไปก็ดี ให้อิริยาบถ
กำเริบก็ดี ให้เคลื่อนจากฐานก็ดี ให้ก้าวล่วงเลยที่กำหนดไปก็ดี โดยนัยมีตู่เอา
เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้ว. นี้เป็นความประกอบด้วยอำนาจเอกภัณฑะ ในบทว่า
อาทิเยยฺย เป็นต้นนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบัณฑิตบรรยายบททั้งหลาย ๖ เหล่านี้ พึงประมวล
ปัญจกะ ๕ หมวดมาแล้วแสดงอวหาร ๒๕ อย่าง. เพราะเมื่อบรรยายอย่างนี้
ย่อมเป็นอันบรรยายอทินนาทานปาราชิกนี้แล้วด้วยดี. แต่ในที่นี้ อรรถกถา
ทั้งปวง ยุ่งยากฟั่นเฝือ มีวินิจฉัยเข้าใจยาก. ความจริงเป็นดังนั้น ในบรรดา
อรรถกถาทั้งปวง ท่านพระอรรถกถาจารย์ รวมองค์แห่งอวหารทั้งหลาย แม้
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ในพระบาลีโดยนัยว่า ภิกษุถือเอาสิ่งของที่
เขาไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติปาราชิก ทั้งสิ่งของนั้นเป็นสิ่งของที่ผู้อื่น
หวงแหน ดังนี้เป็นต้น ในที่บางแห่ง แสดงไว้ในปัญจกะเดียว. ในที่บางแห่ง
แสดงไว้สองปัญจกะควบเข้ากับองค์แห่งอวหารทั้งหลายที่มาแล้วว่า ฉหากาเรหิ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 109
ด้วยอาการ ๖ ดังนี้. แต่ปัญจกะเหล่านี้ ย่อมหาเป็นปัญจกะไม่. เพราะใน
หมวดซึ่งอวหารย่อมสำเร็จได้ด้วยบทหนึ่ง ๆ นั้น ท่านเรียกว่า ปัญจกะ. ก็ใน
คำว่า ปญฺจหากาเรหิ นี้ อวหารอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมสำเร็จไว้ด้วยบท
แม้ทั้งหมด. ก็ปัญจกะทั้งหมดเหล่าใด ที่ท่านมุ่งหมายใน ๖ บทนั้นข้าพเจ้า
แสดงไว้แล้ว, แต่ข้าพเจ้ามิได้ประกาศอรรถแห่งปัญจกะแม้เหล่านั้นทั้งหมดไว้.
ในที่นี้ อรรถกถาทั้งปวงยุ่งยากฟั่นเฝือ มีวินิจฉัยเข้าใจยาก ด้วยประการฉะนี้.
เพราะฉะนั้น พึงกำหนดอวหาร ๒๕ ประการเหล่านี้ ที่ข้าพเจ้าประมวลปัญจกะ
๕ หมวด มาแล้วแสดงไว้ให้ดี.
[ ปัญจกะ ๕ หมวด ๆ ละ ๕ ๆ รวมเป็นอวหาร ๒๕ ]
ที่ชื่อว่า ปัญจกะ ๕ คือ หมวดแห่งอวหาร ๕ ที่กำหนดด้วยภัณฑะ
ต่างกันเป็นข้อต้น ๑ หมวดแห่งอวหาร ๕ ที่กำหนดด้วยภัณฑะชนิดเดียวเป็น
ข้อต่าง ๑ หมวดแห่งอวหาร ๕ ที่กำหนดด้วยอวหารที่เกิดแล้วด้วยมือของตน
เป็นข้อต้น ๑ หมวดแห่งอวหาร ๕ ที่กำหนดด้วยบุพประโยคเป็นข้อต้น ๑
หมวดแห่งอวหาร ๕ ที่กำหนดด้วยการลักด้วยอาการขโมยเป็นข้อต้น ๑. บรรดา
ปัญจกะทั้ง ๕ นั้น นานาภัณฑปัญจกะ และเอกภัณฑปัญจกะ ย่อมได้ด้วย
อำนาจแห่งบทเหล่านี้ คือ อาทิเยยฺย พึงตู่เอา ๑ หเรยฺย พึงลักไป ๑
อวหเรยฺย พึงฉ้อเอา ๑ อิริยาปถ วิโกเปยฺย พึงยังอิริยาบถให้กำเริบ ๑
านา จาเวยฺย พึงให้เคลื่อนจากฐาน ๑. ปัญจกะทั้งสองนั้น ผู้ศึกษาพึง
ทราบโดยนัยดังที่ข้าพเจ้าประกอบแสดงไว้แล้วในเบื้องต้นนั่นแล. ส่วนบทที่ ๖
ว่า สงเกต วีตินาเมยฺย ( พึงให้ล่วงเลยเขตกำหนดหมาย ) นั้น เป็นของ
ทั่วไปแก่ปริกัปปาวหาร และนิสสัคคิยาวหาร. เพราะฉะนั้น พึงประกอบบท
ที่ ๖ นั้น เข้าด้วยอำนาจบทที่ได้อยู่ในปัญจกะที่ ๓ และที่ ๕. นานาภัณฑ-
ปัญจกะ และเอกภัณฑปัญจกะ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 110
[ สาหัตถิกปัญจกะ มีอวหาร ๖ อย่าง ]
สาหัตถิกปัญจกะ เป็นไฉน ? คือ สาหัสถิกปัญจกะ มีอวหาร ๕ อย่าง
ดังนี้ คือ สาหัตถิกะ ถือเอาด้วยมือของตนเอง ๑ อาณัตติกะสั่งบังคับ ๑
นิสสัคคิยะ ซัดขว้างสิ่งของไป ๑ อัตถสาธกะ ยังอรรถให้สำเร็จ ๑ ธุรนิกเขปะ
เจ้าของทอดธุระ ๑.
บรรดาอวหาร ๕ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า สาหัตถิกะ ได้แก่ ภิกษุลักสิ่งของ
ของผู้อื่น ด้วยมือของตนเอง. ที่ชื่อว่า อาณัตติกะ ได้แก่ ภิกษุสั่งบังคับผู้อื่น
ว่า จงลักสิ่งของของคนชื่อโน้น. ชื่อว่า นิสสัคคิยะ ย่อมได้การประกอบบทนี้ว่า
พึงให้ล่วงเลยเขตกำหนดหมาย รวมกับคำนี้ว่า ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี
โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี ต้องอาบัติปาราชิก* ดังนี้. ที่ชื่อว่า อัตถสาธกะ
ได้แก่ ภิกษุสั่งบังคับว่า ท่านอาจลักสิ่งของชื่อโน้นมาได้ ในเวลาใด, จงลัก
มาในเวลานั้น. บรรดาภิกษุผู้สั่งบังคับและภิกษุผู้ลัก ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ไม่มี
อันตรายในระหว่าง ลักของนั้นมาได้, ภิกษุผู้สั่งบังคับ ย่อมเป็นปาราชิกใน
ขณะที่สั่งนั่นเอง ส่วนภิกษุผู้ลัก เป็นปาราชิกในเวลาลักได้แล้ว นี้ชื่อว่า
อัตถสาธกะ. ส่วนธุรนิกเขปะ พึงทราบด้วยอำนาจทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ฉะนั้นแล.
คำอธิบายมานี้ ชื่อว่า สาหัตถิกปัญจกะ.
[ บุพประโยคปัญจกะ มีอวหาร ๕ อย่าง ]
บุพประโยคปัญจกะ เป็นไฉน ? คือ บุพประโยคปัญจกะ มีอวหาร
แม้อื่นอีก ๕ อย่าง ดังนี้ คือ บุพประโยค ประกอบในเบื้องต้น ๑ สหประโยค
ประกอบพร้อมกัน ๑ สังวิธาวหาร การชักชวนไปลัก ๑ สังเกตกรรม การ
นัดหมายกัน ๑ นิมิตตกรรม การทำนิมิต ๑. บรรดาอวหารทั้ง ๕ เหล่านั้น
* วิ. มหา. ๑/๙๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 111
บุพประโยค พึงทราบด้วยอำนาจสั่งบังคับ. สหประโยค พึงทราบด้วยอำนาจ
การให้เคลื่อนจากฐาน. ส่วนอวหารทั้ง ๓ นอกนี้ พึงทราบโดยนัยที่มาแล้ว
ในพระบาลีนั่นแล. คำอธิบายมานี้ ชื่อว่า บุพประโยคปัญจกะ.
[ เถยยาวหารปัญจกะ มีอวหาร ๕ อย่าง ]
เถยยาวหารปัญจกะ เป็นไฉน ? คือ เถยยาวหารปัญจกะ มีอวหาร
แม้อื่นอีก ๕ อย่าง ดังนี้ คือ เถยยาวหาร ลักด้วยความเป็นขโมย ๑ ปสัยหา-
วหาร ลักด้วยความกดขี่ ๑ ปริกัปปาวหาร ลักตามความกำหนดไว้ ๑ ปฏิจ-
ฉันนาวหาร ลักด้วยอิริยาปกปิด ๑ กุสาวหาร ลักด้วยการสับเปลี่ยนสลาก ๑.
อวหารทั้ง ๕ เหล่านั้น ข้าพเจ้าจักพรรณนาในเรื่องการสับเปลี่ยนสลาก เรื่อง
หนึ่ง (ข้างหน้า) ว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อจีวรของสงฆ์ อันภิกษุจีวรภาชกะ
แจกอยู่ มีไถยจิตสับเปลี่ยนสลาก แล้วรับเอาจีวรไป* ดังนี้. คำที่อธิบายมานี้
ชื่อว่า เถยยาวหารปัญจกะ. พึงประมวลปัญจกะทั้งหลายเหล่านี้ แล้วทราบ
อวหาร ๒๕ ประการเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
ก็แล พระวินัยธรผู้ฉลาดในปัญจกะ ๕ เหล่านี้ ไม่พึงด่วนวินิจฉัย
อธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว พึงตรวจดูฐานะ ๕ ประการ ซึ่งพระโบราณาจารย์
ทั้งหลายมุ่งหมายกล่าวไว้ว่า
พระวินัยธรผู้ฉลาด พึงสอบสวนฐานะ
๕ ประการ คือ วัตถุ กาละ เทสะ ราคา
และการใช้สอยเป็นที่ ๕ แล้วพึงทรงอรรถ-
คดีไว้ ดังนี้.
* วิ. มหา. ๑/๑๐๙
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 112
[ อรรถาธิบายฐานะ ๕ ประการ ]
บรรดาฐานะทั้ง ๕ นั้น ฐานะว่า วัตถุ ได้แก่ ภัณฑะ. ก็เมื่อภิกษุ
ผู้ลัก แม้รับเป็นสัตย์ว่า ภัณฑะชื่อนี้ ผมลักไปจริง พระวินัยธร อย่าพึงยก
อาบัติขึ้นปรับทันที, พึงพิจารณาว่า ภัณฑะนั้นมีเจ้าของหรือหาเจ้าของมิได้.
แม้ในภัณฑะที่มีเจ้าของ ก็พิจารณาว่า เจ้าของยังมีอาลัยอยู่ หรือไม่มีอาลัย
แล้ว. ถ้าภิกษุลักในเวลาที่เจ้าของเหล่านั้น ยังมีอาลัย พระวินัยธร พึงตีราคา
ปรับอาบัติ. ถ้าลักในเวลาที่เจ้าของหาอาลัยมิได้ ไม่พึงปรับอาบัติปาราชิก.
แต่เมื่อเจ้าของภัณฑะให้นำภัณฑะมาคืน พึงให้ภัณฑะคืน. อันนี้เป็นความ
ชอบในเรื่องนี้.
[ เรื่องภิกษุลักจีวรพระวินัยธรตัดสินว่าไม่เป็นอาบัติ ]
ก็เพื่อแสดงเนื้อความนี้ ควรนำเรื่องมาสาธกดังต่อไปนี้ :- ได้ยินว่า
ในรัชกาลแห่งพระเจ้าภาติยราช มีภิกษุรูปหนึ่ง พาดผ้ากาสาวะสีเหลืองยาว
๗ ศอก ไว้ที่จะงอยบ่าแล้วเข้าไปยังลานพระเจดีย์จากทิศทักษิณ เพื่อบูชา
พระมหาเจดีย์. ขณะนั้นเอง แม้พระราชาก็เสด็จมาเพื่อถวายบังคมพระเจดีย์.
เวลานั้น เมื่อกำลังไล่ต้อนหมู่ชนไป ความอลเวงแห่งมหาชน ก็ได้มีขึ้นแล้ว.
คราวนั้นแล ภิกษุรูปนั้น ถูกความอลเวงแห่งมหาชนรบกวนแล้ว ไม่ทันได้
เห็นผ้ากาสาวะ ซึ่งพลัดตกไปจากจะงอยบ่าเลย ก็ได้เดินออกไป. ก็แล ครั้น
เดินออกไปแล้ว เมื่อไม่เห็นผ้ากาสาวะ ก็ทอดธุระว่า ใคร จะหาผ้ากาสาวะได้
ในเมื่อฝูงชนอลเวงอยู่เช่นนี้, บัดนี้ ผ้ากาสาวะนั้น ไม่ใช่ของเรา ดังนี้แล้ว
ก็เดินออกไป. คราวนั้น มีภิกษุรูปอื่นเดินมาภายหลัง ได้เห็นผ้ากาสาวะนั้นแล้ว
ก็ถือเอาด้วยไถยจิต แต่กลับมีความเดือดร้อนขึ้น, เมื่อเกิดความคิดขึ้นว่า
บัดนี้ เราไม่เป็นสมณะ, เราจักสึก แล้วจึงคิดว่า จักถามพระวินัยธรทั้งหลายดู
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 113
จึงจักรู้ได้. ก็โดยสมัยนั้น มีภิกษุผู้ทรงพระปริยัติทั้งปวง ชื่อจูฬสุมนเถระ
เป็นปาโมกขาจารย์ทางพระวินัย พักอยู่ในมหาวิหาร. ภิกษุรูปนั้นเข้าไปหา
พระเถระแล้วไหว้ ขอโอกาสแล้ว จึงได้เรียนถามข้อสงสัยของตน. พระเถระ
ทราบความที่ผ้ากาสาวะอันภิกษุผู้มาภายหลังรูปนั้นถือเอาในเมื่อฝูงชนแยกกัน
ไปแล้ว คิดว่า คราวนี้ ก็มีโอกาสในการได้ผ้ากาสาวะนี้ จึงได้กล่าวว่า ถ้า
คุณพึงนำภิกษุผู้เป็นเจ้าของผ้ากาสาวะมาได้ไซร้ ; ข้าพเจ้าอาจทำที่พึ่งให้แก่คุณ
ได้. ภิกษุรูปนั้นเรียนว่า กระผมจักเห็นท่านรูปนั้นได้อย่างไร? ขอรับ!.
พระเถระสั่งว่า คุณจงไปค้นดูในที่นั้น ๆ เถิด. เธอรูปนั้น ค้นดูมหาวิหารทั้ง
๕ แห่ง ก็มิได้พบเห็นเลย. ทีนั้น พระเถระถามเธอรูปนั้นว่า พวกภิกษุพา กัน
มาจากทิศไหนมาก ?. เธอรูปนั้นเรียนว่า จากทิศทักษิณ ขอรับ !. พระ
เถระสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงวัดผ้ากาสาวะทั้งโดยส่วนยาวและโดยส่วนกว้าง
แล้วเก็บไว้ ครั้นเก็บแล้วจงค้นหาดูตามลำดับวิหารทางด้านทิศทักษิณ แล้วนำ
ภิกษุรูปนั้นมา. เธอรูปนั้น ทำตามคำสั่งนั้นแล้ว ก็ได้พบภิกษุรูปนั้น แล้ว
ได้นำมายังสำนักพระเถระ. พระเถระถามว่า นี้ผ้ากาสาวะของเธอหรือ ? ภิกษุ
เจ้าของผ้าเรียนว่า ใช่ขอรับ !. พระเถระถามว่า เธอทำให้ตก ณ ที่ไหน.
เธอรูปนั้นก็เรียนบอกเรื่องทั้งหมดแล้ว. พระเถระได้ฟังการทอดธุระที่เธอนั้น
ทำแล้ว จึงถามรูปที่ถือเอาผ้านอกนี้ว่า เธอได้เห็นผ้าผืนนี้ที่ไหน จึงได้ถือเอา ?
แม้เธอนั้น ก็เรียนบอกเรื่องทั้งหมด. ต่อจากนั้น พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุ
รูปที่ถือเอาผ้านั้นว่า ถ้าเธอจักได้ถือเอาด้วยจิตบริสุทธิ์แล้วไซร้, เธอก็ไม่พึง
เป็นอาบัติเลย, แต่เพราะถือเอาด้วยไถยจิต เธอจึงต้องอาบัติทุกกฎ, ครั้น
เธอแสดงอาบัติทุกกฎนั้นแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาบัติ. อนึ่ง เธอจงทำผ้ากาสาวะ
ผืนนี้ให้เป็นของตน แล้วถวายคืนแก่ภิกษุรูปนั้นนั่นเถิด. ภิกษุรูปนั้นได้ประสบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 114
ความเบาใจเป็นอย่างยิ่ง เหมือนกับได้รดด้วยน้ำอมฤต ฉะนั้น. พระวินัยธร
พึงสอดส่องถึงวัตถุอย่างนี้.
ฐานะว่า กาล คือ กาลที่ลัก. ด้วยว่าภัณฑะนั้น ๆ บางคราวมีราคา
พอสมควร บางคราวมีราคาแพง. เพราะฉะนั้น ภัณฑะนั้น พระวินัยธร
พึงปรับอาบัติตามราคาของในกาลที่ภิกษุลัก. พึงสอดส่องถึงกาลอย่างนี้.
ฐานะว่า ประเทศ คือ ประเทศที่ลัก. ก็ภัณฑะนั่น ภิกษุลักใน
ประเทศได, พระวินัยธรพึงปรับอาบัติตามราคาของในประเทศนั้นนั่นแหละ.
ด้วยว่าในประเทศที่เกิดของภัณฑะ ภัณฑะย่อมมีราคาพอสมควร ในประเทศ
อื่น ย่อมมีราคาแพง.
ก็เพื่อแสดงเนื้อความแม้นี้ ควรสาธกเรื่องดังต่อไปนี้ :- ได้ยินว่า
ในประเทศคาบฝั่งสมุทร มีภิกษุรูปหนึ่ง ได้มะพร้าวมีสัณฐานดี จึงให้กลึง
ทำเป็นกระบวยน้ำ ที่น่าพอใจ เช่นกับเปลือกสังข์ แล้ววางไว้ที่ประเทศนั้น
นั่นเอง จึงได้ไปยังเจติยคีรีวิหาร. คราวนั้น มีภิกษุรูปอื่นได้ไปยังประเทศ
คาบฝั่งสมุทร พักอยู่ที่วิหารนั้น พอเห็นกระบวยนั้น จึงได้ถือเอาด้วยไถยจิต
แล้วก็มายังเจติยคีรีวิหารนั่นเอง. เมื่อเธอรูปนั้นดื่มข้าวยาคูอยู่ที่เจติยคีรีวิหาร
นั้น ภิกษุเจ้าของกระบวย ได้เห็นกระบวยนั้นเข้า จึงกล่าวว่า คุณได้กระบวย
นี้มาจากไหน ? ภิกษุรูปที่ถือมานั้น ตอบว่า ผมนำมาจากประเทศคาบฝั่งสมุทร.
ภิกษุเจ้าของกระบวยนั้น กล่าวว่า กระบวยนี้ ไม่ใช่ของคุณ; คุณถือเอาด้วย
ความเป็นขโมย ดังนี้แล้ว จึงได้ฉุดคร่าไปยังท่ามกลางสงฆ์. ในเจติยคีรีวิหาร
นั้น ภิกษุทั้งหลายก็ไม่ได้รับความชี้ขาด จึงได้พากันกลับมายังมหาวิหาร.
เธอทั้งหลายให้ตีกลองประกาศในมหาวิหาร แล้วทำการประชุมใกล้มหาเจดีย์
เริ่มวินิจฉัยกัน. พระเถระผู้ทรงพระวินัยทั้งหลาย ก็ได้บัญญัติอวหารไว้แล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 115
ก็แล ภิกษุผู้ฉลาดในพระวินัย ชื่ออาภิธรรมิกโคทัตตเถระ ก็มีอยู่ในสันนิบาต
นั้นด้วย. พระเถระนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้ลักกระบวยนี้ในที่ไหน ?
ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า เธอลักที่ประเทศคาบฝั่งสมุทร. พระเถระถามว่า ที่
ประเทศนั้น กระบวยนี้ มีค่าเท่าไร ? ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ไม่มีค่าอะไร ๆ.
พระเถระกล่าวว่า ความจริง ที่ประเทศนั้น พวกประชาชนปอกมะพร้าวเคี้ยว
กินเยื่อข้างใน แล้วก็ทิ้งกระลาไว้, ก็กระลานั้นกระจายอยู่เพื่อเป็นฟืน ( เท่า
นั้น ). พระเถระถามต่อไปว่า หัตถกรรมในกระบวยนี้ ของภิกษุรูปนี้ มีค่า
เท่าไร ? ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า มีค่าหนึ่งมาสก หรือหย่อนกว่าหนึ่งมาสก.
พระเถระถามว่า ก็มีในที่ไหนบ้าง ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติ
ปาราชิกไว้ เพราะหนึ่งมาสก หรือหย่อนกว่าหนึ่งมาสก ? เมื่อพระเถระกล่าว
อย่างนี้แล้ว ก็ได้มีสาธุการเป็นอันเดียวกันว่า ดีละ ๆ พระคุณท่านกล่าวชอบ
แล้ว วินิจฉัยถูกต้องดีแล้ว. ก็คราวนั้น แม้พระเจ้าภาติยราช ก็เสด็จออกจาก
พระนครเพื่อถวายบังคมพระเจดีย์ ได้สดับเสียงนั้น จึงตรัสถามว่า นี้เรื่อง
อะไรกัน ครั้นได้สดับเรื่องทั้งหมดตามลำดับแล้ว จึงทรงรับสั่งให้เที่ยวตีกลอง
ประกาศในพระนครว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ อธิกรณ์ของพวกภิกษุบ้าง พวก
ภิกษุณีบ้าง พวกคฤหัสถ์บ้าง ที่พระอาภิธรรมิกโคทัตตเถระตัดสินแล้ว เป็น
อันตัดสินถูกต้องดี เราจะลงราชอาญาคนผู้ไม่ตั้งอยู่ในคำตัดสินของท่าน. พึง
สอดส่องถึงประเทศอย่างนี้.
[ พระวินัยธรควรสอดส่องราคาและการใช้สอย ]
ฐานะว่า ราคา คือ ราคาของ. ด้วยว่า ภัณฑะใหม่ ย่อมมีราคา
ภายหลัง ราคาย่อมลดลงได้. เหมือนบาตรที่ระบมใหม่ ย่อมมีราคาถึง ๘ หรือ
๑๐ กหาปณะ, ภายหลัง บาตรนั้น มีช่องทะลุ หรือถูกหมุดและปมทำลาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 116
ย่อมมีราคาน้อย ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น พระวินัยธรไม่พึงตีราคาของด้วยราคา
ตามปกติเสมอไป ทีเดียวแล. พึงสอดส่องถึงราคาอย่างนี้.
ฐานะว่า การใช้สอย คือ การใช้สอยภัณฑะ. ด้วยว่าราคาของภัณ-
ฑะมีมีดเป็นต้น ย่อมลดราคาลง แม้เพราะการใช้สอย. เพราะฉะนั้น พระ
วินัยธรควรพิจารณาอย่างนี้ ; คือ ถ้าภิกษุบางรูปลักมีดของใคร ๆ มา ซึ่งมี
ราคาได้บาทหนึ่ง, บรรดาเจ้าของและผู้มิใช่เจ้าของมีดเหล่านั้น พระวินัยธร
พึงถามเจ้าของมีดว่า ท่านซื้อมีดนี้มาด้วยราคาเท่าไร ? เจ้าของมีด เรียนว่า
บาทหนึ่งขอรับ !. พระวินัยธร ถามว่า ก็ท่านซื้อมาแล้วเก็บไว้ หรือใช้มีดบ้าง.
ถ้าเจ้าของมีดเรียนว่า ผมใช้ตัดไม้สีฟันบ้าง สะเก็ดน้ำย้อมบ้าง ฟืนระบมบาตร
บ้าง ดังนี้ไซร้ คราวนั้น พระวินัยธรพึงทราบว่า มีดนั้นเป็นของเก่า มีราคา
ตกไป มีดย่อมมีราคาตกไป ฉันใด, ยาหยอดตาก็ดี ไม้ป้ายตาหยอดตาก็ดี
กุญแจก็ดี ย่อมมีราคาตกไป ฉันนั้น แม้เพราะเหตุเพียงถูขัดทำให้สะอาด
ด้วยใบไม้ แกลบ หรือด้วยผงอิฐเพียงครั้งเดียว. ก้อนดีบุกย่อมมีราคาตกไป
เพราะการตัดด้วยฟันมังกรบ้าง เพราะเพียงการขัดถูบ้าง, ผ้าอาบน้ำ ย่อมมี
ราคาตกไป เพราะการนุ่งห่มเพียงครั้งเดียวบ้าง เพราะเพียงพาดไว้บนจะงอย
บ่าบ้าง หรือบนศีรษะ โดยมุ่งถึงการใช้สอยบ้าง, วัตถุทั้งหลายมีข้าวสารเป็นต้น
ย่อมมีราคาตกไป เพราะการฝัดบ้าง เพราะการคัดออกทีละเม็ดหรือสองเม็ด
จากข้าวสารเป็นต้นนั้นบ้าง โดยที่สุด เพราะการเก็บก้อนหินและก้อนกรวดทิ้ง
ทีละก้อนบ้าง, วัตถุทั้งหลายมีเนยใสและน้ำมันเป็นต้น ย่อมมีราคาตกไป
เพราะการเปลี่ยนภาชนะอื่นบ้าง โดยที่สุด เพราะเพียงเก็บแมลงวันหรือมดแดง
ออกทิ้งจากเนยใสเป็นต้นนั้นบ้าง, งบน้ำอ้อย ย่อมมีราคาตกไป แม้เพราะ
เพียงเอาเล็บเจาะดู เพื่อรู้ความมีรสหวาน แล้วถือเอาโดยอนุมาน. เพราะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 117
ฉะนั้น สิ่งของชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่มีราคาถึงบาท ซึ่งเจ้าของทำให้มีราคา
หย่อนไป เพราะการใช้สอย โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ พระวินัยธร ไม่
ควรปรับภิกษุผู้ลักภัณฑะนั้นถึงปาราชิก. พึงสอดส่องถึงการใช้สอยอย่างนี้.
พระวินัยธรผู้ฉลาด พึงสอบสวนฐานะ ๕ เหล่านี้ อย่างนี้แล้วพึง
ทรงไว้ซึ่งอรรถคดี คือ พึงตั้งไว้ซึ่งอาบัติ ครุกาบัติหรือลหุกาบัติ ในสถาน
ที่ควรแล.
วินิจฉัยบทเหล่านี้ คือ ตู่ ลัก ฉ้อ ให้อิริยาบถกำเริบ ให้เคลื่อน
จากฐาน ให้ล่วงเลยเขตกำหนดหมาย จบแล้ว.
[ อรรถาธิบายทรัพย์ที่ควรแก่ทุติยปาราชิก ]
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกบทมีว่า ยถารูเป อทินฺ-
นาทาเน เป็นต้น จึงตรัสคำว่า ยถารูปนฺนาม เป็นต้นนี้. จะวินิจฉัย
ในคำว่า ยถารูป เป็นต้นนั้น :- ทรัพย์มีตามกำเนิด ชื่อว่า ทรัพย์เห็น
ปานใด. ก็ทรัพย์มีตามกำเนิดนั้น ย่อมมีตั้งแต่บาทหนึ่งขึ้นไป; เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บาทหนึ่งก็ดี ควรแก่บาทหนึ่งก็ดี เกินกว่าบาท
หนึ่งก็ดี. ในศัพท์ว่า ปาทเป็นต้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเฉพาะ
อกัปปิยภัณฑ์ เท่าส่วนที่ 4 แห่งกหาปณะ ด้วยปาทศัพท์ ทรงแสดงกัปปิย-
ภัณฑ์ ได้ราคาบาทหนึ่ง ด้วยปาทารหศัพท์ ทรงแสดงกัปปิยภัณฑ์และอกัป-
ปิยภัณฑ์แม้ทั้งสองอย่าง ด้วยอติเรกปาทศัพท์. วัตถุพอแก่ทุติยปาราชิกเป็น
อันทรงแสดงแล้ว โดยอาการทั้งปวง ด้วยศัพท์เพียงเท่านี้. พระราชาแห่ง
ปฐพีทั้งสิ้น คือ เป็นจักรพรรดิในทวีป เช่นพระเจ้าอโศก ชื่อพระราชาทั่ว
ทั้งแผ่นดิน, ก็หรือว่า ผู้ใดแม้อื่น ซึ่งเป็นพระราชาในทวีปอันหนึ่ง เช่น
พระราชาสิงหล ผู้นั้น ก็ชื่อพระราชาทั่วทั้งแผ่นดิน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 118
พระราชาผู้เป็นใหญ่เฉพาะประเทศแห่งทวีปอันหนึ่ง ดังพระเจ้าพิมพิ-
สารและพระเจ้าปเสนทิเป็นต้น ชื่อพระราชาเฉพาะประเทศ. ชนเหล่าใด ปก-
ครองมณฑลอันหนึ่ง ๆ แม้ในประเทศแห่งทวีปชนเหล่านั้น ชื่อผู้ครองมณฑล.
เจ้าของแห่งบ้านตำบลน้อย ๆ ในระหว่างแห่งพระราชาสองพระองค์
ชื่อผู้ครองระหว่างแดน. อำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดี ชื่อผู้พิพากษา. ผู้พิพากษา
เหล่านั้น นั่งในศาลาธรรมสภา พิพากษาโทษมีตัดมือและเท้าของพวกโจร
เป็นต้น ตามสมควรแก่ความผิด. ส่วนชนเหล่าใดมีฐานันดรเป็นอำมาตย์หรือ
ราชบุตร เป็นผู้ทำความผิด, ผู้พิพากษาย่อมเสนอชนเหล่านั้นแด่พระราชา
หาได้วินิจฉัยคดีที่หนักเองไม่. อำมาตย์ผู้ใหญ่ซึ่งได้ฐานันดร ชื่อว่ามหาอำ-
มาตย์. แม้มหาอำมาตย์เหล่านั้น ย่อมนั่งทำราชกิจ ในคามหรือในนิคมนั้น ๆ.
ด้วยบทว่า เย วา ปน (นี้) พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า
ชนเหล่าใดแม้อื่น เป็นผู้อาศัยราชสกุล หรืออาศัยความเป็นใหญ่ของตนเอง
ย่อมสั่งบังคับการตัดการทำลายได้, ชนเหล่านั้นทั้งหมด จัดเป็นพระราชาใน
อรรถนี้ ( ด้วย ).
บทว่า หเนยฺยุ ได้แก่ พึงโบยและพึงตัด.
บทว่า ปพฺพาเชยฺยุ ได้แก่ พึงเนรเทศเสีย. และพึงกล่าวปริภาษ
อย่างนี้ว่า เจ้าเป็นโจร ดังนี้เป็นต้น. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า นั่นเป็นการด่า.
สองบทว่า ปุริม อุปาทาย มีความว่า เล็งถึงบุคคลผู้เสพเมถุน-
ธรรม ต้องอาบัติปาราชิก. คำที่เหลือนับว่าแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้น เพราะมีนัย
ดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น และเพราะมีเนื้อความเฉพาะบทตื้น ๆ ฉะนี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 119
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่ทรงอุเทศแล้ว ตาม
ลำดับบทอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ จึงทรงตั้งมาติกา โดยนัยเป็นต้นว่า ภุมฺมฏฺ
ถลฏฺ แล้วตรัสวิภังค์แห่งบทภาชนีย์นั้น โดยนัยมีคำว่า ภุมฺมฏฺ นาม
ภณฺฑ ภูมิย นิกฺขิตฺต โหติ เป็นต้น เพื่อแสดงภัณฑะที่จะพึงถือเอา
ซึ่งพระองค์ทรงแสดงการถือเอา โดยสังเขป ด้วยหกบทมีบทว่า อาทิเยยฺย
เป็นต้นแล้ว ทรงแสดงโดยสังเขปเหมือนกันว่า บาทหนึ่ง ก็ดี ควรแก่บาท
หนึ่ง ก็ดี เกินกว่าบาทหนึ่ง ก็ดี โดยพิสดาร โดยอาการที่ภัณฑะนั้นตั้งอยู่
ในที่ใด ๆ จึงถึงความถือเอาได้ เพื่อปิดโอกาสแห่งเลศของปาปภิกษุทั้งหลาย
ในอนาคต. วินิจฉัยกถา พร้อมด้วยวรรณนาบทที่ไม่ตื้น ในคำว่า นิกฺขิตฺต
เป็นต้นนั้น พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า นิกฺขิตฺต ได้แก่ ที่ฝังเก็บไว้ในแผ่นดิน.
บทว่า ปฏิจฺฉนฺน ได้แก่ ที่เขาปกปิดไว้ ด้วยวัตถุมีดินและอิฐ
เป็นต้น.
ข้อว่า ภุมฺมฏฺ ภณฺฑ ฯปฯ คจฺฉติ วา อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส
มีความว่า ภิกษุใดรู้ด้วยอุบายบางอย่างนั่นเทียว ซึ่งภัณฑะนั้นที่ชื่อว่าตั้งอยู่
ในแผ่นดิน เพราะเป็นของที่เขาฝัง หรือปกปิดตั้งไว้อย่างนั้น เป็นผู้มีไถยจิตว่า
เราจักลัก แล้วลุกขึ้นไปในราตรีภาค. ภิกษุนั้น แม้ไปไม่ถึงที่แห่งภัณฑะ
ย่อมต้องทุกกฏ เพราะกายวิการ และวจีวิการทั้งปวง.
[ อรรถาธิบายอาบัติที่เป็นบุพประโยคแห่งปาราชิก ]
ถามว่า ต้องอย่างไร ?
แก้ว่า ต้องอย่างนี้ คือ :- จริงอยู่ ภิกษุนั้นเมื่อลุกขึ้น เพื่อต้องการ
จะลักทรัพย์นั้น ให้อวัยวะน้อยใหญ่ใด ๆ เคลื่อนไหว ย่อมต้องทุกกฏใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 120
เพราะอวัยวะเคลื่อนไหวทุกครั้งไป จัดผ้านุ่งและผ้าห่ม ก็ต้องทุกกฏทุก ๆ
ครั้งที่มือเคลื่อนไหว. เธอรูปเดียวไม่อาจนำทรัพย์ที่ฝังไว้ซึ่งมีจำนวนมากออก
ไปได้ จึงคิดว่า เราจักแสวงหาเพื่อน ดังนี้ แล้วเดินไปยังสำนักของสหาย
บางรูป จึงเปิดประตู ก็ต้องทุกกฎทุก ๆ ย่างเท้าและทุก ๆ ครั้งที่มือเคลื่อนไหว
แต่ไม่เป็นอาบัติเพราะปิดประตู หรือเพราะกายกรรมและวจีกรรมอย่างอื่น
ซึ่งไม่เป็นการอุดหนุนแก่การไป. เธอเดินไปยังโอกาสที่ภิกษุรูปนั้นนอน แล้ว
เรียกภิกษุนั้นว่า ท่านผู้มีชื่อนี้ แจ้งความประสงค์นั้นให้ทราบ จึงกล่าวชักชวน
ว่า ท่านมาไปกันเถิด, ย่อมต้องทุกกฎทุก ๆ คำพูด. ภิกษุรูปนั้น ลุกขึ้นตาม
คำชักชวนของเธอ, แม้เธอรูปนั้น ก็เป็นทุกกฏ. ครั้นเธอลุกขึ้นแล้ว ประสงค์
จะเดินไปยังสำนักของภิกษุรูป (ต้นคิด) นั้น จัดผ้านุ่งและผ้าห่ม ปิดประตูแล้ว
เดินไปใกล้ภิกษุรูป (ต้นคิด) นั้น ก็ต้องทุกกฎ เพราะขยับมือและย่างเท้า
ทุก ๆ ครั้งไป. เธอรูปนั้นถามภิกษุผู้ต้นคิดนั้นว่า ภิกษุชื่อโน้นและโน้นอยู่
ที่ไหน ? ท่านจงเรียกภิกษุชื่อโน้นและชื่อโน้นมาเถิด ดังนี้ ต้องทุกกฏทุก ๆ
คำพูด. ครั้นเห็นทุก ๆ รูปมาพร้อมกันแล้ว ก็กล่าวชักชวนว่า ผมพบขุมทรัพย์
เห็นปานนี้ อยู่ในสถานที่ชื่อโน้น, พวกเราจงมาไปเอาทรัพย์นั้น แล้วจัก
บำเพ็ญบุญ และจักเป็นอยู่อย่างสบาย ดังนี้, ก็ต้องทุกกฏทุก ๆ คำพูดทีเดียว.
เธอได้สหายอย่างนั้นแล้ว จึงแสวงหาจอบ ก็ถ้าเธอรูปนั้น มีจอบสำหรับตน
อยู่ไซร้, จึงกล่าวว่า เราจักนำจอบนั้นมา ขณะเดินไปถือเอาและนำมาย่อม
ต้องทุกกฏ เพราะขยับมือและย่างเท้าทุก ๆ ครั้งไป. ถ้าจอบไม่มี ก็ไปขอภิกษุ
หรือคฤหัสถ์คนอื่น และเมื่อขอ จะพูดเท็จขอว่า จงให้จอบแก่ข้าพเจ้า,
ข้าพเจ้าต้องการจอบ, ข้าพเจ้ามีกิจอะไร ๆ ที่จะต้องทำ, ทำกิจนั้นเสร็จแล้ว
จักนำมาคืนให้ ดังนี้ ต้องทุกกฏทุก ๆ คำพูด. ถ้ามีลำรางที่จะต้องชำระให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 121
สะอาดอยู่ไซร้, เธอจะพูดแม้คำเท็จว่า งานดินในวัดที่จะต้องทำมีอยู่, คำพูด
ใด ๆ ที่เป็นคำเท็จ. ย่อมเป็นปาจิตตีย์ เพราะคำพูดนั้น ๆ. แต่ในมหา
อรรถกถา ท่านปรับทุกกฏทั้งนั้น ทั้งคำจริงทั้งคำเหลาะแหละ. คำที่กล่าวไว้
ในมหาอรรถกถานั้นพึงทราบว่า เขียนไว้ด้วยความพลั้งเผลอ. ขึ้นชื่อว่าทุกกฏ
ในฐานแห่งปาจิตตีย์ ซึ่งเป็นบุพประโยคแห่งอทินนาทาน ไม่มีเลย. ก็ถ้า
จอบไม่มีด้าม, ภิกษุพูดว่า จักทำด้าม แล้วลับมีดหรือขวานออกเดินไปเพื่อ
ต้องการไม้ด้ามจอบนั้น, ครั้นไปแล้วก็ตัดไม้แห้ง ถาก ตอก ย่อมต้องทุกกฏ
เพราะขยับมือ และย่างเท้าทุก ๆ ครั้งไป. เธอตัดไม้ที่ยังสด ต้องปาจิตตีย์.
ถัดจากนั้นไปก็ต้องทุกกฎ ในทุก ๆ ประโยค. แต่ในสังเขปอรรถกถา และ
มหาปัจจรี ท่านปรับทุกกฎไว้แม้แก่พวกภิกษุผู้แสวงหามือและขวาน เพื่อ
ต้องการตัดไม้และเถาวัลย์ซึ่งเกิดอยู่ในที่นั้น. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ก็ถ้า
ภิกษุเหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเมื่อขอมีดขวานและจอบอยู่จักไม่มี
ความสงสัย* พวกเราค้นให้พบแร่เหล็กแล้วจึงทำ ดังนี้แล้ว ภายหลังนั้นจึง
เดินไปยังบ่อแร่เหล็ก แล้วขุดแผ่นดิน เพื่อต้องการแร่เหล็ก. เมื่อพวกเธอ
ขุดแผ่นดินที่เป็นอกัปปิยะ ก็ต้องปาจิตตีย์พร้อมทั้งทุกกฏหลายกระทง เหมือน
อย่างว่า ในบาลีประเทศนี้ ปาจิตตีย์พร้อมทั้งทุกกฏหลายกระทง ย่อมมีได้
ฉันใด ในบาลีประเทศทุกแห่งก็ฉันนั้น ในฐานะแห่งปาจิตตีย์ ย่อมไม่พ้นไป
จากทุกกฏ. เมื่อพวกเธอขุดแผ่นดินที่เป็นกัปปิยะอยู่ ก็เป็นทุกกฏหลายกระทง
ทีเดียว. ก็ครั้นถือเอาแร่แล้ว ต่อจากนั้น ก็ต้องทุกกฏทุก ๆ ประโยค เพราะ
กิริยาที่ทำทุกอย่าง. ถึงแม้ในการแสวงหาตะกร้า ก็ต้องทุกกฏเพราะขยับมือ
และย่างเท้าตามนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นเอง.ต้องปาจิตตีย์เพราะพูดเท็จ. เพราะ
* น่าจะเป็นว่า จักถูกสงสัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 122
มีความประสงค์จะทำตะกร้า ต้องปาจิตตีย์ ในเพราะตัดเถาวัลย์ คำทั้งหมด
ดังพรรณนามาฉะนี้ พึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
หลายบทว่า คจฺฉติ วา อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ภิกษุผู้
แสวงหาสหาย จอบ และตะกร้าได้แล้วอย่างนั้น เดินไปยังที่ขุมทรัพย์ย่อมต้อง
ทุกกฏทุก ๆ ย่างเท้า. ก็ถ้าว่า เมื่อเธอเดินไป เกิดกุศลจิตขึ้นว่าเราได้ขุมทรัพย์
นี้แล้ว จักทำพุทธบูชา ธรรมบูชา หรือสังฆภัต ดังนี้แล้ว ไม่เป็นอาบัติ
เพราะเดินไปด้วยกุศลจิต.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เป็นอาบัติ.
แก้ว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า ภิกษุมีไถยจิต เที่ยว
แสวงหาเพื่อนก็ตาม แสวงหาจอบหรือตะกร้าก็ตาม เดินไปก็ตามต้องอาบัติ
ทุกกฏ ดังนี้ จึงไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่มีไถยจิตในที่ทั้งปวง เหมือนในการ
เดินไปยังที่ขุมทรัพย์นี้ ฉะนั้น. ภิกษุแวะออกจากทาง แล้วทำทางไว้เพื่อ
ต้องการเดินไปยังขุมทรัพย์ ตัดภูตคามต้องปาจิตตีย์ ตัดไม้แห้งต้องทุกกฏ.
สองบทว่า ตตฺถ ชาตก คือ ที่เกิดอยู่บนหม้อ ซึ่งตั้งไว้นานแล้ว.
สองบทว่า กฏฺ วา ลต วา ความว่า หาใช้ตัดเฉพาะไม้และ
เถาวัลย์อย่างเดียวเท่านั้นไม่ เมื่อภิกษุตัดรุกขชาติ มีหญ้า ต้นไม้และเถาวัลย์
เป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ยังสดก็ตาม แห้งก็ตาม เป็นทุกกฏเหมือนกัน
เพราะมีความพยายาม.
[ อาบัติทุกกฏ ๘ อย่าง ]
จริงอยู่ พระเถระทั้งหลายประมวลชื่อทุกกฏ ๘ อย่างนั้นมาแสดงไว้
ในที่นี้แล้ว คือบุพปโยคทุกกฏ ๑ สหปโยคทุกกฏ ๑ อนามาสทุกกฏ ๑
ทุรุปจิณณทุกกฏ ๑ วินัยทุกกฏ ๑ ญาตทุกกฏ ๑ ญัตติทุกกฏ ๑ ปฏิสสวทุกกฏ ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 123
บรรดาทุกกฏ ๘ อย่างนั้น ทุกกฏที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุมี
ไถยจิตเที่ยวแสวงหาเพื่อนจอบหรือตะกร้าก็ตาม เดินไปก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ
นี้ ชื่อบุพปโยคทุกกฏ. จริงอยู่ ในพระดำรัสที่ตรัสไว้นี้ ในฐานะแห่งทุกกฏ
ก็เป็นทุกกฏ ในฐานะแห่งปาจิตตีย์ ก็เป็นปาจิตตีย์โดยแท้.
ทุกกฏที่พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุตัดไม้หรือเถาวัลย์ที่เกิดอยู่บน
พื้นดินนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ นี้ ชื่อว่าสหปโยคทุกกฏ. ในพระดำรัสที่ตรัส
ไว้นี้ วัตถุแห่งปาจิตตีย์และวัตถุแห่งทุกกฏ ก็ตั้งอยู่ในฐานะแห่งทุกกฏเหมือน
กัน. เพราะเหตุไร ? เพราะการลักเป็นไปพร้อมกับความพยายาม.
อนึ่ง ทุกกฏ ที่พระองค์ปรับไว้แก่ภิกษุผู้จับต้องรัตนะ ๑๐ ๑ อย่าง
ข้าวเปลือก ๗ ๒ อย่าง และเครื่องศัสตราวุธเป็นต้นทั้งหมด นี้ ชื่ออนามาส
ทุกกฏ.
ทุกกฏ ที่พระองค์ปรับไว้แก่ภิกษุผู้จับต้องบรรดาผลไม้ทั้งหลายมี
กล้วยและมะพร้าวเป็นต้น ผลที่เกิดในที่นั้น นี้ ชื่อทุรุปจิณณทุกกฏ.
อนึ่ง ทุกกฏที่พระองค์ปรับไว้แก่ภิกษุผู้ที่เที่ยวบิณฑบาต ไม่รับประเคน
หรือไม่ล้างบาตรในเมื่อมีผงธุลีตกลงไปในบาตร ก็รับภิกษาในบาตรนั้น นี้
ชื่อวินัยทุกกฏ.
ทุกกฏที่ว่า พวกภิกษุได้ฟัง ( เรื่องตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ )
แล้วไม่พูด ต้องอาบัติทุกกฏ นี้ ชื่อญาตทุกกฏ.
๑. รัตนะ ๑๐ อย่าง คือ แก้วมุกดา ๑ แก้วมณี ๑ เวฬุริยะ ไพฑูรย์ ๑ สังข์ หอยสังข์ ๑
ศิลา ๑ ปวาฬะ แก้วประพาฬ ๑ รัชตะ เงิน ๑ ชาตรูปะ ทองคำ ๑ โลหิตังคะ ทับทิม ๑
มสาคัลละ แก้วลาย ๑.
๒. ข้าวเปลือก ๗ อย่าง คือ สาลิ ข้าวสาลี ๑ วีหิ ข้าวเปลือก ๑ ยวะ ข้าวเหนียว ๑ กังคุ
ข้าวฟ่าง ๑ กุทรูสกะ หญ้ากับแก้ ๑ วรกะ ลูกเดือย ๑ โคธุมะ ข้าวละมาน ๑. นัยสารัตถ-
ทีปนี. ๒/๒๐๕ - ๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 124
ทุกกฏที่ตรัสไว้ว่า เป็นทุกกฏเพราะญัตติ ในบรรดาสมนุภาสน์
๑๑ อย่าง นี้ ชื่อญัตติทุกกฏ.
ทุกกฏที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้น
ไม่ปรากฏ และเธอย่อมต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ* นี้ชื่อปฏิสสวทุกกฏ.
ส่วนสหปโยคทุกกฏ (คือต้องทุกกฏพร้อมด้วยความพยายาม) ดังต่อ
ไปนี้ :- เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เมื่อภิกษุตัดรุกขชาติมีหญ้าต้นไม้
และเถาวัลย์เป็นต้นชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ยังสดก็ตาม แห้งก็ตาม เป็นทุกกฏ
เหมือนกัน เพราะมีความพยายาม. ก็ถ้าแม้เมื่อภิกษุนั้น ตัดรุกขชาติมีหญ้า
ต้นไม้ และเถาวัลย์เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นในที่นั้น ลัชชีธรรม ย่อมหยั่งลง
ความสังวรเกิดขึ้น เธอแสดงทุกกฏ เพราะการตัดเป็นปัจจัยแล้ว ย่อมพ้นได้.
ถ้าเธอไม่ทอดธุระ ยังมีความขะมักเขม้นขุดดินอยู่ทีเดียว ทุกกฏเพราะการตัด
ย่อมระงับไป เธอย่อมตั้งอยู่ในทุกกฏเพราะการขุด. ด้วยว่า ภิกษุแม้เมื่อขุด
แผ่นดินเป็นอกัปปิยะ ย่อมต้องทุกกฏนั่นแล ในอธิการว่าด้วยการขุดดินนี้
เพราะมีความพยายาม. ก็ถ้าเธอขุดในทุกทิศเสร็จสรรพแล้ว แม้จนถึงที่ตั้ง
หม้อทรัพย์ ลัชชีธรรมหยั่งลง เธอแสดงทุกกฏเพราะการขุดเป็นปัจจัยเสียแล้ว
ย่อมพ้น ( จากอาบัติ ) ได้.
บทว่า วิยูหติ วา มีความว่า ก็ถ้าภิกษุยังมีความขะมักเขม้นอยู่
อย่างเดิม คุ้ยดินร่วน ทำเป็นกองไว้ในส่วนข้างหนึ่ง ทุกกฏเพราะการขุดย่อม
ระงับไป เธอย่อมตั้งอยู่ในทุกกฏเพราะการคุ้ย. ก็เมื่อเธอทำดินร่วนนั้นให้เป็น
กองไว้ในที่นั้น ๆ ย่อมต้องทุกกฏทุก ๆ ประโยค. แต่ถ้าเธอทำเป็นกองไว้แล้ว
ทอดธุระเสีย ถึงลัชชีธรรม แสดงทุกกฏ เพราะการคุ้ยเสียแล้วย่อมพ้น
( จากอาบัติ ) ได้.
* วิ. มหาวรรค. ๔/๓๐๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 125
บทว่า อุทฺธรติ วา มีความว่า ก็ถ้าภิกษุยังมีความขะมักเขม้นอยู่
โกยดินร่วนขึ้นให้ตกไปในภายนอก ทุกกฏเพราะการคุ้ย ย่อมระงับไป เธอ
ย่อมตั้งอยู่ในทุกกฏเพราะการโกยขึ้น. ก็เมื่อเธอใช้จอบก็ตาม มือทั้งสองก็ตาม
บุ้งกี๋ก็ตาม สาดดินร่วนให้ตกไปในที่นั้น ๆ ย่อมต้องทุกกฏทุก ๆ ประโยค.
แต่ถ้าเธอนำดินร่วนทั้งหมดออกไปเสียแล้ว จนถึงทำหม้อทรัพย์ให้ตั้งอยู่บนบก
ประจวบกับลัชชีธรรม ครั้นแสดงทุกกฏเพราะการโกยขึ้นเสียแล้ว ย่อมพ้น
(จากอาบัติ) ได้. แต่ถ้าเธอยังความขะมักเขม้นอยู่นั่นแหละ จับต้องหม้อทรัพย์
ทุกกฎเพราะการโกยขึ้นย่อมระงับไปเธอย่อมตั้งอยู่ในทุกกฏเพราะการจับต้อง.
ก็แลครั้นจับต้องแล้ว ประจวบกับลัชชีธรรม แสดงทุกกฏเพราะการจับต้อง
เสียแล้ว ย่อมพ้น ( จากอาบัติ ) ได้. ถ้าเธอยังมีความขะมักเขม้นอยู่ต่อไป
ทำหม้อทรัพย์ให้ไหว ทุกกฏเพราะการจับต้อง ย่อมระงับไป เธอย่อมตั้งอยู่
ในถุลลัจจัย ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ดังนี้.
[ อรรถาธิบายคำว่าทุกกฏและถุลลัจจัย ]
ทุกกฏและถุลลัจจัยแม้ทั้งสอง ที่ตรัสไว้ในพระบาลีนั้น มีเนื้อความ
เฉพาะคำดังต่อไปนี้ บรรดาทุกกฏและถุลลัจจัยทั้งสองนี้ ถึงทราบทุกกฏที่
หนึ่งก่อน ความทำชั่ว คือ ความทำให้ผิดจากกิจที่พระศาสดาตรัส เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าทุกกฏ. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าทุกกฏ เพราะอรรถวิเคราะห์แม้อย่างนี้
บ้างว่า ความทำชั่ว คือ กิริยานั้นผิดรูป ย่อมไม่งามในท่ามกลางแห่งกิริยาของ
ภิกษุ. จริงอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า
ก็โทษใดที่เรากล่าวว่า ทุกกฏ ท่าน
จงฟังโทษนั้น ตามที่กล่าว, กรรมใดเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 126
ความผิดด้วย เป็นความเสียด้วย เป็นความ
พลาดด้วย เป็นความชั่วด้วย และมนุษย์
ทั้งหลายพึงทำกรรมลามกใด ในที่แจ้งหรือ
ว่าในที่ลับ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมประกาศ
โทษนั้นว่า ทุกกฏ เพราะเหตุนั้น ; โทษนั้น
เราจึงกล่าวอย่างนั้น๑.
ส่วนวีติกกมะนอกนี้ ชื่อว่าถุลลัจจัย เพราะเป็นกรรมหยาบ และ
เพราะความเป็นโทษ. ก็ความประกอบกันในคำว่า ถุลลัจจัย นี้ ผู้ศึกษาควร
ทราบเหมือนในคำว่า ทุคติในสัมปรายภพ และกรรมนั้นเป็นของมีผลเผ็ดร้อน
เป็นต้น. จริงอยู่ บรรดาโทษที่จะพึงแสดงในสำนักของภิกษุรูปเดียว โทษที่
หยาบเสมอด้วยถุลลัจจัยนั้น ย่อมไม่มี ; เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าว่า
ที่ชื่อว่าถุลลัจจัย เพราะเป็นกรรมหยาบ และเพราะความเป็นโทษ. จริงอยู่
คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วว่า
โทษใด ที่เรากล่าวว่า ถุลลัจจัย
ท่านจงฟังโทษนั้นตามที่กล่าว, ภิกษุใดย่อม
แสดงโทษนั้น ในสำนักของภิกษุรูปเดียว
และภิกษุใดย่อมรับโทษนั้น, โทษที่เสมอ
ด้วยโทษนั้น ของภิกษุนั้นย่อมไม่มี ; เพราะ
เหตุนั้น โทษนั้น เราจึงกล่าวอย่างนั้น๒.
ก็เมื่อภิกษุทำให้ไหวอยู่ เป็นถุลลัจจัยทุก ๆ ประโยค. แต่ว่าเธอแม้ให้
ไหวแล้วหยั่งลงสู่ลัชชีธรรม แสดงถุลลัจจัยเสียแล้ว ย่อมพ้นได้. ก็อาบัติที่
๑. วิ. ปริวาร. ๘/๓๗๐. ๒. วิ. ปริวาร. ๘/๓๗๘ - ๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 127
เกิดก่อนๆ ในเพราะให้หวั่นไหวนี้ ย่อมระงับไปจำเดิมแต่สหประโยคไปทีเดียว.
ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีกล่าวว่า ก็แล ทุกกฏและปาจิตตีย์เหล่าใด ในบุพ-
ประโยค เธอแสดงสหประโยคแล้วหยั่งลงสู่ลัชชีธรรมแล้วต้องไว้, ทุกกฎและ
ปาจิตตีย์เหล่านั้นทั้งหมด ควรแสดง. ส่วนทุกกฏแม้มีจำนวนมาก ในเพราะ
ตัดหญ้า ต้นไม้ และเถาวัลย์เป็นต้นที่เกิดขึ้นแล้วในที่นั้น ซึ่งเป็นสหประโยค
ย่อมระงับไป เพราะถึงการขุดดิน. อาบัติทุกกฏเพราะเหตุขุดดิน ตัวเดียว
เท่านั้นคงมีอยู่ ทุกกฏแม้มากในเพราะการขุด ย่อมระงับไป ในเพราะถึงการ
คุ้ย, อาบัติทุกกฏแม้มาก ในเพราะการคุ้ย ย่อมระงับไป เพราะถึงการโกยขึ้น,
อาบัติทุกกฏแม้มาก ในเพราะการโกยขึ้น ย่อมระงับไป เพราะถึงการจับต้อง,
อาบัติทุกกฏแม้มาก ในเพราะการจับต้อง ย่อมระงับไป เพราะถึงการให้
หวั่นไหว. ก็แล ครั้นเมื่อลัชชีธรรมเกิดขึ้นในขณะขุดดินเป็นต้น อาบัติแม้
จะมีมาก ก็ตามที เธอแสดงเพียงตัวเดียวเท่านั้น ย่อมพ้นได้. จริงอยู่ ขึ้น
ชื่อว่า ความระงับแห่งอาบัติที่เกิดขึ้นก่อนนี้ มาแล้วในสูตร ในอนุสาวนา
ทั้งหลายนั่นแล อย่างนี้ว่า ทุกกฏ เพราะญัตติ ถุลลัจจัย เพราะกรรมวาจา
สองครั้ง ย่อมระงับไป. แต่ความระงับแห่งอาบัติที่เกิดขึ้นก่อนในทุติยปาราชิก
นี้ ผู้ศึกษาควรถือเอาโดยประมาณแห่งพระอรรถกถาจารย์ ฉะนี้แล.
[ กิริยาที่ภิกษุลักทรัพย์ให้เคลื่อนจากฐาน ๖ อย่าง ]
หลายบทว่า านา จาเวติ อาปตฺติ ปาราชิกสฺส มีความว่า
ก็ภิกษุใดแม้ให้หวั่นไหวแล้ว ก็ไม่หยั่งลงสู่ลัชชสีธรรมเลย ยังหม้อทรัพย์นั้น
ให้เคลื่อนจากฐานแห่งหม้อ โดยที่สุด แม้เพียงเส้นผมเดียว, ภิกษุนั้นต้อง
ปาราชิกทีเดียว. ก็การยังทรัพย์ให้เคลื่อนจากฐาน ในคำว่า านา จาเวติ นี้
พึงทราบโดยอาการ ๖. อะไรบ้าง ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 128
๑. ภิกษุจับปากหม้อรั้งมาตรงหน้าของตน ยังที่สุดข้างโน้น ให้เลย
โอกาสที่สุดข้างนี้ถูกต้องแล้ว แม้เพียงปลายเส้นผม ต้องปาราชิก.
๒. ภิกษุจับอย่างนั้นแล้ว ไสไปข้างหน้า ยังที่สุดข้างนี้ ให้เลยที่สุด
ข้างโน้นถูกต้องแล้วแม้เพียงปลายเส้นผม ต้องปาราชิก.
๓. ภิกษุผลักไปข้างซ้ายก็ดี ข้างขวาก็ดี ยังที่สุดข้างขวา ให้เลย
โอกาสที่สุดข้างซ้ายถูกต้องแล้ว แม้เพียงปลายเส้นผม ต้องปาราชิก.
๔. ภิกษุให้ที่สุดข้างซ้ายเลยโอกาสที่สุดข้างขวาถูกต้องแล้ว แม้เพียง
ปลายเส้นผม ต้องปาราชิก.
๕. ภิกษุยกขึ้นข้างบน ให้พ้นจากพื้น แม้เพียงปลายเส้นผม ต้อง
ปาราชิก.
๖. ภิกษุขุดดิน กดลงข้างล่าง ยังขอบปากหม้อให้เลยโอกาสที่สุด
ก้นหม้อถูกต้องแล้ว แม้เพียงปลายเส้นผม ต้องปาราชิก.
การให้เคลื่อนจากฐาน สำหรับหม้ออันตั้งอยู่ในฐานเดียว พึงทราบโดย
อาการ ๖ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. ก็ถ้าเขาทำบ่วงที่ขอบปากหม้อแล้วตอกหลัก
โลหะ หรือหลักไม้แก่นมีตะเคียนเป็นต้นลงในแผ่นดิน แล้วเอาโซ่ล่ามที่หลักนั้น
ตั้งไว้. หม้อที่ล่ามด้วยโซ่เส้น ๑ ในทิศหนึ่งย่อมได้ฐาน ๒. มีล่ามด้วยโซ่หลาย
เส้น ใน ๒ - ๓ - ๔ ทิศ ย่อมได้ฐาน ๓ -๔ - ๕. บรรดาหม้อที่ล่ามไว้ที่หลักเดียว
เป็นต้นนั้น ภิกษุยกหลักแรกแห่งหม้อที่ล่ามไว้ที่หลักเดียวขึ้นก็ดี ตัดโซ่ก็ดี ต้อง
ถุลลัจจัย. ภายหลังให้หม้อเคลื่อนจากฐาน แม้เพียงปลายเส้นผม โดยนัยตาม
ที่กล่าวแล้วนั่นแล ต้องปาราชิก. ถ้ายกหม้อขึ้นทีแรก ต้องถุลลัจจัย. ภายหลัง
ให้หลักเคลื่อนจากฐาน แม้เพียงปลายเส้นผมก็ดี ตัดโซ่ก็ดี ต้องปาราชิก.
ในการยังที่สุดแม้แห่งหม้อที่ล่ามไว้ที่หลัก ๒ - ๓ - ๔ หลัก ให้เคลื่อนจากฐาน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 129
ก็ต้องปาราชิกโดยอุบายนั่น. ในหลักที่เหลือทั้งหลาย พึงทราบว่าเป็นถุลลัจจัย.
ถ้าไม่มีหลัก เขาทำวลัยไว้ที่ปลายโซ่ แล้วจึงสอดเข้าไป ที่รากไม้ซึ่งเกิดอยู่
ในที่นั้น. ภิกษุยกหม้อขึ้นก่อน ภายหลังจึงตัดรากไม้ แล้วนำวลัยออก ต้อง
ปาราชิก. ถ้าไม่ตัดรากไม้ แต่ให้วลัยเลื่อนไปข้างโน้นและข้างนี้ ยังรักษาอยู่.
แต่ถ้าแม้ยังไม่นำออกจากรากไม้ เป็นแต่เอามือจับทำให้เชิดไปบนอากาศ ก็
ต้องปาราชิก. ความแปลกกันในอธิการว่าด้วยหม้อที่เขาสอดเข้าไว้ที่รากไม้นี้
มีเท่านี้. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วนั้นแล. ก็ชนบางพวกปลูกต้นไทรเป็นต้น
ไว้เบื้องบนหม้อ เพื่อต้องการเป็นเครื่องหมาย. รากไม้เกี่ยวรัดหม้อตั้งอยู่.
ภิกษุคิดว่า จักตัดรากไม้ลักหม้อไป กำลังตัดต้องทุกกฏทุก ๆ ประโยค. ตัดแล้ว
ทำโอกาสให้หม้อเคลื่อนจากฐาน แม้เพียงปลายเส้นผม ต้องปาราชิก. เมื่อ
กำลังตัดรากไม้อยู่แล หม้อพลัดกลิ้งไปสู่ที่ลุ่ม ยังรักษาอยู่ก่อน, ยกขึ้นจาก
ฐานที่หม้อกลิ้งไป ต้องปาราชิก. ถ้าเมื่อตัดรากไม้ทั้งหลายแล้ว หม้อยังตั้งอยู่
ได้โดยเพียงรากเดียว และภิกษุนั้นคิดว่า เมื่อตัดรากไม้นี้แล้วหม้อจักตกไป
จึงตัดรากไม้นั้น พอตัดเสร็จ ต้องปาราชิก. ก็ถ้าหม้อตั้งอยู่โดยรากเดียวเท่านั้น
เหมือนสุกรถูกผูกไว้ที่บ่วง ฉะนั้น ที่เกี่ยวอะไร ๆ อย่างอื่นไม่มี , แม้เมื่อราก
นั้นพอตัดขาดแล้ว ก็ต้องปาราชิก. ถ้าเขาวางก้อนหินแผ่นใหญ่ทับไว้บนหม้อ,
ภิกษุมีความประสงค์จะเอาท่อนไม้งัดก้อนหินนั้นออก จึงตัดต้นไม้ที่เกิดอยู่บน
หม้อทิ้ง ต้องทุกกฎ. เธอตัดต้นไม้เป็นต้นที่เกิดอยู่ใกล้หม้อนั้นแล้วนำออก
เสียขณะตัดต้นไม้เป็นต้นนั้น ยังไม่ต้องปาจิตตีย์ เพราะต้นไม้เป็นของเกิดอยู่
บนหม้อนั้น.
สองบทว่า อตฺตโน ภาชนคต มีความว่า ก็ถ้าภิกษุไม่สามารถจะ
ยกเอาหม้อขึ้นได้ จึงสอดภาชนะของตนเข้าไป เพื่อรับเอาทรัพย์ที่อยู่ในหม้อ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 130
มีไถยจิตจับต้องทรัพย์ภายในหม้อ ควรแก่ค่า ๕ มาสกก็ตาม เกินกว่า ๕ มาสก
ก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ. ก็การกำหนด ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในพระบาลีนี้ เพื่อ
กำหนดอาบัติปาราชิก. เมื่อภิกษุจับต้องทรัพย์แม้หย่อนกว่า ๕ มาสก ด้วย
ไถยจิต ก็ต้องทุกกฏเหมือนกัน.
ในคำว่า ผนฺทาเปติ นี้ ความว่า ภิกษุรวมทรัพย์ให้เนื่องเป็นอัน
เดียวกันแล้วสอดภาชนะของตนเข้าไป อยู่เพียงใด. ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า ทำ
ให้หวั่นไหว เพียงนั้น. อีกอย่างหนึ่ง แม้เมื่อคุ้ยเขี่ยไปทางโน้นและทางนี้
ชื่อว่าทำให้หวั่นไหวเหมือนกัน. ภิกษุนั้นย่อมต้องถุลลัจจัย. ในกาลใด ภิกษุ
ตัดความที่ทรัพย์เนื่องเป็นอันเดียวกันขาดแล้ว ทรัพย์ที่อยู่ในหม้อ ก็มีอยู่ใน
หม้อนั่นเอง แม้ที่อยู่ในภาชนะ ก็มีอยู่ในภาชนะเท่านั้น ในกาลนั้น ทรัพย์
ชื่อว่ามีอยู่ในภาชนะของตนแล้ว. ครั้นเธอทำอย่างนั้นแล้ว แม้เมื่อไม่ได้นำ
ภาชนะออกจากหม้อก็ตาม ต้องปาราชิก.
ในคำว่า มุฏฺ วา ฉินฺทติ นี้ ความว่า กหาปณะที่ลอดออกทาง
ช่องนิ้วมือแล้ว จะไม่กระทบกหาปณะที่อยู่ในหม้อโดยวิธีใด ภิกษุทำการกำ
เอาโดยวิธีนั้น ชื่อว่าตัดขาดกำเอา. แม้ภิกษุนั้น ก็ต้องปาราชิก.
บทว่า สุตฺตารุฬฺห ได้แก่ ทรัพย์ที่ร้อยไว้ในด้าย. คำว่า สุตฺตารุฬฺห
นั่น เป็นชื่อของเครื่องประดับที่ร้อยไว้ในด้ายบ้าง ที่สำเร็จด้วยด้ายบ้าง.
เครื่องประดับทั้งหลายมีสังวาลเป็นต้น ที่สำเร็จด้วยทองบ้างก็มี ที่สำเร็จด้วย
รูปิยะบ้างก็มี ที่สำเร็จด้วยด้ายบ้างก็มี, ถึงแม้สร้อยไข่มุกเป็นต้น ก็ถึงการ
สงเคราะห์เข้าในสังวาลเป็นต้นนี้ นั่นแล. ผ้าสำหรับโพกศีรษะท่านเรียกว่า
เวนะ. ภิกษุมีไถยจิตจับต้องบรรดาทรัพย์ที่ร้อยไว้ในด้ายเป็นต้นเหล่านั้น
อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องทุกกฏ. ทำให้หวั่นไหว ต้องถุลลัจจัย. จับที่สุดสังวาล
แล้วไม่ได้ทำให้ลอยอยู่ในอากาศ เพียงแต่ยกขึ้น ( เท่านั้น) ต้องถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 131
ก็ในบทว่า ฆสนฺโต นีหรติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในสังเขป
อรรถกถาและมหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุลากหม้อที่มีขอบปาก
เสมอ ซึ่งเขาวางซ้อนบนหม้อที่เต็มออกจากกันก็ดี หรือลากสังวาลเป็นต้น
ไปก็ดี เป็นถุลลัจจัย. เมื่อไห้พ้นจากปากหม้อ เป็นปาราชิก. ส่วนภัณฑะใด
ที่เขาใส่ไว้ในหม้อซีกเดียว หรือในหม้อเปล่า เฉพาะโอกาสที่ตน (คือภัณฑะ)
ถูกต้อง เป็นฐานของภัณฑะนั้น, หม้อทั้งหมดหาได้เป็นฐานไม่ ; เพราะเหตุ
นั้น เมื่อภิกษุก้มลากภัณฑะนั้นออกไป ครั้นประมาณเส้นผมหนึ่งพ้นไปจาก
โอกาสที่ภัณฑะนั้นตั้งอยู่ เป็นปาราชิกทันที. แต่เมื่อภิกษุยกขึ้นตรง ๆ จาก
หม้อที่เต็มหรือพร่อง เมื่อภัณฑะนั้นพอพ้นจากโอกาสที่ส่วนเบื้องล่างจด เป็น
ปาราชิก.
ภัณฑะอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พอจะเป็นปาราชิก ซึ่งเขาวางไว้ภายในหม้อ
เมื่อภิกษุให้ไหวอยู่ในหม้อทั้งสิ้น และเมื่อลากเครื่องประดับมีสังวาลเป็นต้น
ออกไป ยังไม่เลยขอบปากเพียงใด, คงเป็นถุลลัจจัยเพียงนั้นนั่นแล. เพราะ
ว่าหม้อแม้ทั้งหมด เป็นฐานของภัณฑะนั้น.
ส่วนในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า ที่ซึ่งเขาตั้งไว้เท่านั้นเป็นฐาน,
หม้อทั้งหมดหาได้เป็นฐานไม่ ; เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุให้พ้นไปจากฐานที่
ซึ่งเขาตั้งไว้เดิม แม้เพียงปลายเส้นผม ก็ต้องปาราชิกทีเดียวแล. คำแห่ง
มหาอรรถกถานั้น เป็นประมาณ. ส่วนคำอรรถกถานอกนี้ ท่านกล่าวตามนัย
แห่งการม้วนจีวรที่พาดอยู่บนราวจีวรของภิกษุที่ไม่ได้ทำให้ไปในอากาศ. คำที่
กล่าวไว้ในสังเขปอรรถกถา เป็นต้นนั้น ไม่ควรถือเอา. เพราะภิกษุควรตั้ง
อยู่ในฐานะที่หนักแน่น อันมาแล้วในวินัยวินิจฉัย. ข้อนี้ เป็นธรรมดาในวินัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 132
อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างว่า หม้อทั้งหมด ไม่เป็นฐานแห่งภัณฑะที่ตั้งอยู่
ภายในหม้อฉันใด, คำแห่งสังเขปอรรถกถาเป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบฉันนั้น
เพราะบาลีว่า ภิกษุทำให้ทรัพย์เขาไปในภาชนะของตนก็ดี ตัดกำเอาก็ดี ดัง
นี้แล.
[ อรรถาธิบายภิกษุลักดูดเอาเนยใสเป็นต้นเป็นปาราชิก ]
ในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุดื่มของที่เป็นน้ำอย่างใด
อย่างหนึ่งมีเนยใสเป็นต้นเมื่อเนยใสเป็นต้นนั้น มาตรว่าเธอดื่มแล้วด้วยประโยค
อันเดียวก็เป็นปาราชิก. แต่ในอรรถกถาทั้งหลาย มีมหาปัจจรีเป็นต้น ท่าน
แสดงวิภาคนี้ไว้ว่า เมื่อภิกษุดื่มไม่ชักปากออก และเนยใสเป็นต้นที่เข้าไปใน
ลำคอ ยังไม่ได้บาท รวมกับที่อยู่ในปาก จึงได้บาท, ยังรักษาอยู่ก่อน. แต่
ในเวลาที่เนยใสเป็นต้น ขาดตอนเพียงคอนั่นเอง ย่อมเป็นปาราชิก. ถ้าแม้
ภิกษุกำหนดตัดด้วยริมฝีปากทั้งสองข้างหุบปาก ก็ต้องปาราชิกเหมือนกัน.
แม้เมื่อดื่มด้วยก้านอุบลหลอดไม้ไผ่และหลอดอ้อเป็นต้น และถ้าที่อยู่ในลำคอ
นั่นแลได้ราคาบาทหนึ่ง เป็นปาราชิก. ถ้ารวมกับที่อยู่ในปาก จึงได้บาทหนึ่ง,
เมื่อเนยใสเป็นต้นนั้น สักว่าภิกษุกำหนดตัดด้วยริมฝีปากทั้งสองข้าง ให้ความ
เนื่องเป็นอันเดียวกันกับที่อยู่ในก้านอุบลเป็นต้น ขาดตอนกัน เป็นปาราชิก.
ถ้ารวมกับที่อยู่ในก้านอุบลเป็นต้น จึงได้ราคาบาทหนึ่ง เป็นปาราชิก ในเมื่อ
มาตรว่าภิกษุเอานิ้วมืออุดก้นแห่งก้านอุบลเป็นต้นเสีย. แต่เมื่อเนยใสเป็นต้น
ซึ่งมีราคาได้บาทหนึ่ง ยังไม่ไหลเข้าไปในลำคอ ทั้งในก้านอุบลเป็นต้น ทั้ง
ในปาก แม้มีค่าเกินกว่าบาทหนึ่ง แต่เป็นของเนื่องเป็นอันเดียวกันตั้งอยู่, ยัง
รักษาอยู่ก่อนแล. คำแม้ทั้งหมด ที่กล่าวในมหาปัจจรีเป็นต้นนั้น ย่อมสมนัยนี้
ว่า ภิกษุทำให้ทรัพย์เข้าไปในภาชนะของตนก็ดี ตัดกำเอาก็ดี ดังนี้; เพราะเหตุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 133
นั้น (คำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามีมหาปัจจรีเป็นต้นนั้น) เป็นอันท่านแสดง
ไว้ชอบแล้วแล. ในภัณฑะที่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันได้มีนัยเท่านี้ก่อน.
ก็ถ้าภิกษุเอามือก็ดี บาตรก็ดี ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง มีถาดเป็นต้น
ก็ดี ตักดื่ม, เนยใสเป็นต้นจะครบราคาบาทหนึ่งในประโยคใด, เมื่อทำประ-
โยคนั้นแล้ว ต้องปาราชิก. ถ้าเนยใสเป็นต้น เป็นของมีราคามาก ทั้งเป็น
ของที่อาจถือเอาได้ราคาบาทหนึ่ง ด้วยเพียงประโยคเดียวแล แม้ด้วยช้อน
ในเมื่อยกขึ้นครั้งเดียวเท่านั้น เป็นปาราชิก.
อนึ่ง เมื่อภิกษุกดภาชนะให้จมลงแล้วตักเอา, เนยใสเป็นต้นนั้นยัง
เนื่องเป็นอันเดียวกันเพียงใด, ยังรักษาอยู่เพียงนั้น เป็นปาราชิก ด้วยการ
ขาดเด็ดแห่งขอบปาก หรือด้วยการยกขึ้น. ก็เนยใสหรือน้ำมัน หรือน้ำผึ้ง
และน้ำอ้อยที่ใส เช่นกับน้ำนั่นแล ภิกษุเอียงหม้อให้ไหลเข้าภาชนะของตน
เมื่อใด, เมื่อนั้น ความเนื่องเป็นอันเดียวกันย่อมไม่มี เพราะเหตุที่สิ่งเหล่านั้น
เป็นของใส ; เพราะฉะนั้น เมื่อเนยใสเป็นต้นซึ่งได้ราคาบาทหนึ่ง สักว่าไหล
ออกจากขอบปาก เป็นปาราชิก. ส่วนน้ำผึ้งและน้ำอ้อยที่เขาเคี่ยวตั้งไว้ เหนียว
คล้ายยาง เป็นของควรชักไปมาได้, เมื่อความรังเกียจเกิดขึ้น ภิกษุอาจนำกลับ
คืนมาได้ เพราะเป็นของติดกันเป็นอันเดียวนั่นเอง. น้ำผึ้งและน้ำอ้อยชนิดนั้น
แม้ออกจากขอบปากเข้าไปในภาชนะแล้ว ก็ชื่อว่ายังรักษาอยู่ เพราะเป็นของ
ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับส่วนข้างนอก แต่พอเมื่อสักว่าขาดจากขอบปากแล้ว
จึงเป็นปาราชิก. แม้ภิกษุใด ใส่ผ้าเนื้อหนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะดื่มเนยใส
หรือน้ำมันได้ราคาบาทหนึ่งอย่างแน่นอน ลงในหม้อของผู้อื่นด้วยไถยจิต พอ
หลุดจากมือ ภิกษุนั้นก็ต้องปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 134
ในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุรู้ว่า บัดนี้ เขาจักใส่น้ำมัน
มีไถยจิตใส่ภัณฑะอย่างใดอย่างหนึ่งลงในหม้อเปล่า, ถ้าภัณฑะนั้นจะดื่มได้ราคา
๕ มาสก ในเมื่อน้ำมันเขาใส่หม้อนั้นแล้ว เมื่อภัณฑะนั้นสักว่าดื่มน้ำมันนั้น
แล้ว เป็นปาราชิก. แต่คำนั้นย่อมแย้งกับคำวินิจฉัยว่าด้วยการทำรางแห้งให้
ตรงในบึงที่แห้ง ในมหาอรรถกถานั้นนั่นเอง, จริงอยู่ ลักษณะแห่งอวหารใน
คำนี้ ไม่ปรากฏ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรเชื่อถือ. ส่วนในอรรถกถามหา-
ปัจจรีเป็นต้น ท่านปรับเป็นปาราชิก ในเมื่อยกภัณฑะนั้นขึ้น. คำนั้นใช้ได้.
ภิกษุวางภัณฑะมีหนังเป็นต้น ในหม้อเปล่าของผู้อื่น เพื่อต้องการจะเก็บซ่อน
ไว้ เมื่อเขาใส่น้ำมันลงในหม้อนั้นแล้ว (เธอ) กลัวว่า ถ้าผู้นี้จักทราบ เขา
จักจับเรา จึงยกภัณฑะที่ดื่มน้ำมันไว้แล้วได้ราคาบาทหนึ่งขึ้น ด้วยไถยจิต
ต้องปาราชิก ยกขึ้นด้วยจิตบริสุทธิ์ เมื่อผู้อื่นเอาไปเสีย เป็นภัณฑไทย.
อธิบายว่า สิ่งของใดของผู้อื่นหายไป, ต้องใช้ราคาสิ่งของนั้น หรือใช้สิ่งของ
นั้นนั่นเอง; ชื่อว่าภัณฑไทย. ถ้าไม่ใช้ให้ต้องปาราชิกในเมื่อเจ้าของทอดธุระ.
แต่ถ้าผู้อื่นใส่เนยใสหรือน้ำมันลงในหม้อของภิกษุนั้น, ภิกษุผู้เจ้าของหม้อนี้ก็
ใส่ภัณฑะที่จะดื่มน้ำมันได้ลงแม้ในหม้อนั้น ด้วยไถยจิต เป็นปาราชิก ตาม
นัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. ภิกษุรู้ว่าเนยใสหรือน้ำมันที่ผู้อื่นใส่ไว้ในหม้อเปล่าของ
ตน จึงใส่ภัณฑะลงไปด้วยไถยจิต เป็นปาราชิกขณะที่ยกขึ้น ตามนัยก่อน
เหมือนกัน. มีจิตบริสุทธิ์ใส่ลงไป ภายหลังจึงยกขึ้นด้วยไถยจิต เป็นปาราชิก
เหมือนกัน. มีจิตบริสุทธิ์แท้ ยกขึ้นไม่เป็นอวหาร ไม่เป็นสินใช้. แต่ในมหา-
ปัจจรี กล่าวไว้แต่เพียงอาบัติเท่านั้น. ในกุรุนที ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุ
เคืองขัดใจว่า ท่านใส่น้ำมันลงในหม้อของเราทำไม ดังนี้แล้ว ยกภัณฑะขึ้น
เททิ้งเสีย ไม่เป็นภัณฑไทย. ภิกษุใคร่จะให้น้ำมันไหล จึงจับที่ขอบปากเอียง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 135
หม้อด้วยไถยจิต เมื่อน้ำมันไหลไปได้ราคาถึงบาทต้องปาราชิก. ภิกษุมีไถยจิต-
จิตแท้ ทำหม้อไห้ร้าวด้วยคิดว่า น้ำมันจะไหลไปเสีย เมื่อน้ำมันไหลไปได้
ราคาถึงบาท ต้องปาราชิก. ภิกษุมีไถยจิตนั้นแล กระทำหม้อไห้เป็นช่องทะลุ
คว่ำหลายหรือตะแคง. ก็แลคำนี้เป็นฐานแห่งความฉงน, เพราะฉะนั้น ควร
สังเกตให้ดี.
ก็ในคำว่า คว่ำ เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้: ช่องปากลงข้างล่าง
ชื่อว่า คว่ำ. ช่องปากขึ้นข้างบน ชื่อว่า หงาย. ช่องปากไปตรง ๆ เหมือน
กระบวยชื่อว่า ตะแคง. บรรดาการทำคว่ำเป็นต้นนั้น เมื่อน้ำมันได้ราคาถึงบาท
ไหลออกจากภายในช่องที่อยู่ข้างล่าง ซึ่งตนทำไว้จำเดิมแต่ภายนอก ถึงจะไม่
ไหลออกไปภายนอก ก็เป็นปาราชิก. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า น้ำมัน
พอไหลออกไปจากภายในนั้นเท่านั้น ก็ชื่อว่าไหลออกไปภายนอก จะนับว่าอยู่
ภายในหม้อไม่ได้ คือไม่ตั้งอยู่ในหม้อ. เมื่อน้ำมันได้ราคาถึงบาท ไหลออก
ไปจากภายนอกช่อง ที่ตนทำไว้จำเดิมแต่ภายใน เป็นปาราชิก. เมื่อน้ำมันได้
ราคาถึงบาทไหลออกไปจากภายนอกช่องข้างบน ที่ตนทำไว้โดยอาการใด ๆ ก็
ตาม เป็นปาราชิก. ในอรรถกถาทั้งหลาย ท่านกล่าวไว้ว่า แท้จริง น้ำมัน
นั้น ยังไม่ไหลจากภายในไปภายนอกเพียงใด, ก็ชื่อว่ายังอยู่ภายในหม้อเพียง
นั้นนั่นแล. พระวินัยธร พึงปรับ (อาบัติปาราชิก) ด้วยอำนาจน้ำมันที่ไหล
ออกจากตรงกลางกระเบื้อง แห่งช่องที่อยู่ตรงกลาง. ก็คำที่กล่าวไว้ในอรรถกถา
ทั้งหลายนั้น ย่อมสมกับการทำลายคันคูของสระ ในเมื่อภิกษุกระทำช่องตั้งแต่
ภายในและภายนอก เว้นตรงกลางไว้. แต่เมื่อภิกษุกระทำช่องจำเดิมแต่ภายใน
แล้ว พระวินัยธรควรปรับอาบัติด้วยช่องภายนอก, เมื่อทำช่องจำเดิมแต่ภาย
นอกแล้ว ควรปรับด้วยช่องภายใน ; คำที่ท่านกล่าวไว้ในช่องที่กำหนดด้วย
ตรงกลางนี้ ดังพรรณนามานี้ ใช้ได้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 136
ก็ภิกษุใด นำออกซึ่งเชิงรองหรือก้อนเส้าแห่งหม้อ ด้วยไถยจิตว่า
หม้อจักกลิ้งไป เมื่อหม้อกลิ้งไป เป็นปาราชิก. อนึ่ง เมื่อภิกษุรู้ความที่เขาจะ
รินน้ำมันใส่ ทำความร้าวหรือช่องแห่งหม้อเปล่าไว้เป็นภัณฑไทย โดยประมาณ
แห่งน้ำมันที่รั่วออกในภายหลัง. แต่ในอรรถกถาทั้งหลาย บางแห่งท่านเขียน
ไว้ว่า เป็นปาราชิก ดังนี้ก็มี. นั่นเขียนไว้ด้วยความพลั้งพลาด. ภิกษุทำไม้
หรือหินให้เป็นอันตนผูกไว้ไม่ดี หรือตั้งไม้หรือหินให้เป็นของอันตนตั้งไว้ไม่ดี
ในเบื้องบนแห่งหม้อเต็ม ด้วยไถยจิตว่า มันจักตกไปทำลาย น้ำมันจักไหล
ออกจากหม้อนั้น. ไม้หรือหินนั้น จะต้องตกอย่างแน่นอน เมื่อภิกษุทำอย่างนั้น
เป็นปาราชิกในขณะทำเสร็จ. ทำอย่างนั้น ในเบื้องบนแห่งหม้อเปล่า ไม้หรือ
หินนั้นตกไปทำลายในกาลที่หม้อนั้นเต็มในภายหลังเป็นภัณฑไทย. จริงอยู่ ใน
ฐานะเช่นนี้ยังไม่เป็นปาราชิกในเบื้องต้นทีเดียว เพราะประโยคอันภิกษุทำแล้ว
ในกาลที่ของไม่มี. แต่เป็นภัณฑไทย เพราะทำของให้เสีย. เมื่อเขาให้นำมา
ให้ ไม่ให้เขาเป็นปาราชิก เพราะการทอดธุระแห่งเจ้าของทั้งหลาย. ภิกษุ
ทำเหมืองให้ตรงด้วยไถยจิตว่า หม้อจักกลิ้งไป หรือน้ำจักยังน้ำมันให้ล้นขึ้น
หม้อกลิ้งไปก็ตาม น้ำมันล้นขึ้นก็ตาม เป็นปาราชิกในเวลาที่ทำให้ตรง. จริงอยู่
ประโยคเช่นนี้ ๆ ถึงความสงเคราะห์ได้ในบุพประโยคาวหาร. เมื่อเหมืองแห้ง
อันภิกษุทำให้ตรงไว้แล้ว น้ำไหลมาทีหลัง หม้อกลิ้งไปก็ตาม น้ำมันล้นขึ้น
ก็ตาม, เป็นภัณฑไทย. เพราะเหตุไร ? เพราะไม่มีประโยค คือการให้เคลื่อน
จากฐาน. ลักษณะแห่งประโยค คือ การให้เคลื่อนจากฐานนั้น จักมีแจ้งใน
ของที่ตั้งอยู่ในเรือ.
[ อรรถาธิบาย คำว่า ภินฺทิตฺวา เป็นต้น ]
พึงทราบวินิจฉัยในบททั้งหลายมีบทว่า ตตฺเถว ภินฺทติ วา เป็นต้น
ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาดังนี้ก่อน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 137
บทว่า ทำลายก็ดี นั้น โดยอรรถว่า ทุบทำลายด้วยไม้ค้อน.
บทว่า เทก็ดี นั้น โดยอรรถว่าเทน้ำหรือทรายลงในน้ำมันล้นขึ้น.
บทว่า ยังไฟให้ไหม้ก็ดี นั้น โดยอรรถว่านำฟืนมาแล้วยังไฟให้ไหม้.
บทว่า ให้เป็นของบริโภคไม่ได้ นั้น โดยอรรถว่า ทำให้เป็น
ของพึงเคี้ยวไม่ได้ หรือพึงดื่มไม่ได้ คือ ยังอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือยาพิษ
หรือของเดน หรือซากศพให้ตกลงไป.
บทว่า ต้องอาบัติทุกกฏ นั้น โดยอรรถว่า เป็นทุกกฏเพราะไม่มี
การให้เคลื่อนจากฐาน. ญาณพิเศษนี้ ชื่อว่า พุทธวิสัย. แม้จะเป็นทุกกฏ ก็จริง
แต่เมื่อเจ้าของให้นำมาให้ เป็นภัณฑไทย. ใน ๔ บทนั้น สองบทเบื้องต้น
ไม่สม. เพราะสองบทนั้น เป็นลักษณะอันเดียวกันกับการทำความร้าวของหม้อ
และการทำเหมืองให้ตรง. ส่วนสองบทเบื้องหลัง แม้ยังวัตถุให้เคลื่อนจากฐาน
ก็อาจทำได้. เพราะฉะนั้น อาจารย์พวกหนึ่ง จึงกล่าววินิจฉัยในคำนี้ไว้อย่างนี้.
ได้ยินว่า ในอรรถกถา คำว่า เป็นทุกกฏ เพราะไม่มีการให้เคลื่อน
จากฐาน นี้ ท่านกล่าวหมายเอาสองบทเบื้องหลัง. จริงอยู่ ภิกษุไม่ทำการให้
เคลื่อนจาก ฐานเลย พึงเผาเสียก็ดี พึงทำไห้เป็นของใช้สอยไม่ได้ก็ดี ด้วย
ไถยจิตหรือเพราะต้องการให้การเสียหาย, แต่ในสองบทเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
ทำลายหรือเทโดยนัยที่กล่าวแล้ว การให้เคลื่อนจากฐาน ย่อมมีได้ ; เพราะ
ฉะนั้น เมื่อทำอย่างนั้น เป็นภัณฑไทย เพราะใคร่นะให้เสียหาย เป็นปาราชิก
ด้วยไถยจิต ดังนี้แล.
หากมีผู้แย้งว่า คำนั้น ไม่ชอบ เพราะท่านกล่าวไว้ในพระบาลีว่า
เป็นทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 138
พึงเฉลยว่า จะเป็นคำไม่ชอบหามิได้ เพราะมีอรรถที่จะพึงถือเอาโดย
ประการอื่น.
จริงอยู่ ในฝักฝ่ายแห่งไถยจิตในพระบาลี อาจารย์พวกหนึ่งกล่าว
อย่างนี้ว่า บทว่า ทำลายก็ดี นั้น โดยอรรถว่า เจือด้วยน้ำ บทว่า เท ก็ดี
นั้น โดยอรรถว่า เท ทราย หรืออุจจาระ หรือปัสสาวะลงใสเภสัชมีน้ำมัน
เป็นต้นนั้น ดังนี้. ส่วนสาระในคำนี้ ดังต่อไปนี้ :- ภิกษุไม่ประสงค์จะให้เคลื่อน
จากฐานเลย ทำลายอย่างเดียว ดุจภิกษุเผาหญ้าในวินีตวัตถุ. แต่เภสัชมีน้ำมัน
เป็นต้นย่อมไหลออกได้ เพราะหม้อทำลายแล้ว. ก็หรือว่า ในเภสัชเหล่านั้น
เภสัชใดเป็นของแห้ง เภสัชนั้น ยังยึดกันตั้งอยู่ได้เทียว. อนึ่ง ภิกษุไม่ประสงค์
จะเทน้ำมันเลย เทน้ำ หรือทราย เป็นต้น ลงในหม้อนั้นอย่างเดียว. แต่
น้ำมันก็เป็นอันภิกษุนั้นเท เพราะได้เทน้ำหรือทรายเป็นต้นนั้นลงไป. เพราะ
ฉะนั้น ด้วยอำนาจโวหาร ท่านจึงเรียกว่า ทำลายก็ดี เทก็ดี. ผู้ศึกษาพึงถือ
เอาใจความแห่งบทเหล่านี้ ดังกล่าวมาฉะนี้.
ส่วนในฝ่ายแห่งความเป็นผู้ใคร่จะให้ฉิบหาย เป็นทุกกฏ ถูกต้องแม้
โดยประการนอกนี้. จริงอยู่ เมื่อท่านกล่าวอธิบายความอยู่อย่างนี้ บาลีและ
อรรถกถา ย่อมเป็นอันท่านสอบสวน กล่าวดีแล้วโดยเบื้องต้นและเบื้องปลาย.
แต่ไม่ควรทำความพอใจแม้ด้วยทำอธิบายเพียงเท่านี้ พึงเข้าไปนั่งใกล้อาจารย์
ทั้งหลายแล้วทราบข้อวินิจฉัยแล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในแผ่นดิน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 139
กถาว่าด้วยทรัพย์ที่อยู่บนบก
พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่บนบก. สองบทว่า ถเล นิกฺขิตฺต
ความว่า ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาวางไว้บนพื้นดินก็ดี บนพื้นปราสาทและบนภูเขา
เป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งปกปิดหรือไม่ปกปิดก็ดี พึงทราบว่า ทรัพย์ที่ตั้ง
อยู่บนบก. ทรัพย์นั้น ถ้าเขาทำเป็นกองไว้ พึงตัดสินตามคำวินิจฉัยที่กล่าวไว้
ในการทำทรัพย์ให้อยู่ในภาชนะและการตัดกำเอาในภายในหม้อ. ถ้าทรัพย์นั้น
ติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน มียางรักและยางสนเป็นต้น พึงตัดสินตามคำวินิจฉัย
ที่กล่าวไว้ในน้ำผึ้งและน้ำอ้อยที่เคี่ยวสุกแล้ว. ถ้าทรัพย์เป็นของหนัก จะเป็น
แท่งโลหะก็ตาม งบน้ำอ้อยก็ตาม วัตถุมีน้ำมันน้ำผึ้งและเปรียงเป็นต้นก็ตาม
ซึ่งเนื่องด้วยภาระ พึงตัดสินตามคำวินิจฉัยที่กล่าวไว้ในการยังหม้อให้เคลื่อน
จากฐาน และพึงกำหนดความต่างของฐานแห่งสิ่งของเขาผูกไว้ด้วยโซ่. ส่วน
ภิกษุถือเอาวัตถุมีผ้าปาวารผ้าลาดพื้นและผ้าสาฎกเป็นต้นที่เขาปูลาดไว้ ฉุดมา
ตรงๆ เมื่อชายผ้าข้างโน้นล่วงเลยโอกาสที่ชายผ้าข้างนี้ถูกต้องไป เป็นปาราชิก.
ในทุก ๆ ทิศ ก็ควรกำหนดด้วยอาการอย่างนี้. ภิกษุห่อแล้วยกขึ้น เมื่อทำให้
ลอยไปในอากาศ เพียงปลายเส้นผม เป็นปาราชิก. ทำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นเอง ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่อยู่บนบก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 140
กถาว่าด้วยทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ
พึงทราบวินิจฉัยในของที่อยู่ในอากาศ. สำหรับนกยูง พึงทราบการ
กำหนดฐานโดยอาการ ๖ อย่าง คือ ข้างหน้ากำหนดด้วยจะงอยปาก ข้างหลัง
กำหนดด้วยปลายลำแพนหาง ข้างทั้ง ๒ กำหนดด้วยปลายปีก เบื้องต่ำกำหนด
ด้วยปลายเล็บเท้า เบื้องบนกำหนดด้วยปลายหงอน. ภิกษุคิดว่า จักจับนกยูง
ซึ่งมีเจ้าของ อัน (บิน) อยู่ในอากาศ ยืนอยู่ข้างหน้า หรือเหยียดมือออก.
นกยูงกางปีกอยู่ในอากาศนั่นแหละ กระพือปีกแล้วหยุดบินยืนอยู่ เป็นทุกกฏ
แก่ภิกษุนั้น, ไม่ให้นกยูงนั้นไหว เอามือลูบคลำ เป็นทุกกฎเหมือนกัน,
ไม่ให้เคลื่อนจากฐาน ให้ไหวอยู่ เป็นถุลลัจจัย. ส่วนจะเอามือจับหรือไม่จับ
ก็ตาม ให้ปลายลำแพนหางล่วงเลยโอกาสที่จะงอยปากถูก หรือให้จะงอยปาก
ล่วงเลยโอกาสที่ปลายลำแพนหางถูก, ถ้านกยูงนั้น ได้ราคาบาทหนึ่งไซร้,
เป็นปาราชิก. อนึ่ง ให้ปลายปีกข้างขวา ล่วงเลยโอกาสที่ปลายปีกข้างซ้ายถูก
หรือให้ปลายปีกข้างซ้าย ล่วงเลยโอกาสที่ปลายปีกข้างขวาถูก ก็เป็นปาราชิก.
อนึ่ง ให้ปลายหงอน ล่วงเลยโอกาสที่ปลายเล็บเท้าถูก หรือให้ปลายเล็บเท้า
ล่วงเลยโอกาสที่ปลายหงอนถูก ก็เป็นปาราชิก. นกยูงบินไปทางอากาศ จับที่
บรรดาอวัยวะมีศีรษะเป็นต้น อันใด, อวัยวะอันนั้น เป็นฐานของนกยูงนั้น.
เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นแม้เมื่อทำนกยูงตัวนั้น ซึ่งเกาะอยู่ที่มือให้ส่ายไปข้าง
โน้นและข้างนี้ ชื่อว่าทำให้ไหวแท้. และถ้าเธอเอามืออีกข้างหนึ่งจับให้เคลื่อน
จากฐาน เป็นปาราชิก. ภิกษุยื่นมืออีกข้างหนึ่งเข้าไปใกล้, นกยูงโดดไปเกาะ
ที่มือนั้นเสียเอง ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุมีไถยจิต รู้ว่านกยูงจับที่อวัยวะ ย่างเท้า
ก้าวแรก เป็นถุลลัจจัย, ก้าวที่สอง เป็นปาราชิก. นกยูงจับอยู่บนพื้นดิน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 141
ย่อมได้ฐาน ๓ ด้วยอำนาจเท้าทั้งสอง และลำแพนหาง. เมื่อภิกษุยกนกยูงนั้น
ขึ้น เป็นถุลลัจจัย ตลอดเวลาที่ฐานแม้เพียงฐานเดียวยังถูกแผ่นดิน. เมื่อนกยูง
นั้นสักว่าอันภิกษุให้พ้นจากแผ่นดินแม้เพียงปลายเส้นผมก็เป็นปาราชิก. ภิกษุ
ยกนกยูงซึ่งอยู่ในกรงขึ้นพร้อมทั้งกรง ต้องปาราชิก. แต่ถ้านกยูงตัวนั้น ไม่ได้
ราคาถึงบาทไซร้, พึงปรับตามราคาทุก ๆ แห่ง. ภิกษุมีไถยจิต ทำนกยูงตัว
ซึ่งเที่ยวอยู่ภายในสวนให้ตกใจ ไล่มันเดินออกไปนอกสวนด้วยเท้าเทียว ให้
ล่วงเลยเขตที่กำหนดแห่งประตู ต้องปาราชิก. จริงอยู่ ภายในสวน เป็นฐาน
ของนกยูงนั้น เหมือนคอกเป็นฐานของโคที่อยู่ในคอก ฉะนั้น. แต่เมื่อภิกษุ
เอามือจับทำให้มันบินไปในอากาศ แม้ภายในสวน ก็ต้องปาราชิกเหมือนกัน.
เมื่อภิกษุยังนกยูงแม้เที่ยวอยู่ภายในบ้านให้ล่วงเลยเครื่องล้อมแห่งบ้านไป ต้อง
ปาราชิก. นกยูงตัวที่ออกไปเที่ยวอยู่ในอุปจารบ้านหรืออุปจารสวนเองทีเดียว
และภิกษุมีไถยจิต ยังมันให้ตกใจด้วยไม้หรือด้วยกระเบื้อง ทำให้มันบ่ายหน้า
เข้าดง. นกยูงบินไปเกาะอยู่ภายในบ้าน หรือภายในสวน หรือบนหลังคา,
ยังรักษาอยู่. แต่ถ้ามันบ่ายหน้าเข้าดงบินไปก็ดี เดินไปก็ดี, เมื่อไม่มีความหมาย
ใจว่า เราให้มันเข้าดงไปแล้ว จักจับเอา ต้องปาราชิก ในเมื่อสักว่า มันบิน
ขึ้นพ้นแผ่นดินแม้เพียงปลายเส้นผม หรือในย่างเท้าที่สอง. เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุว่า ที่ซึ่งยืนเท่านั้น เป็นฐานของมันซึ่งออกจากบ้านแล้ว. แม้ใน
นกทั้งหลายมีนกคับแคเป็นต้น ก็พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้แล.
บทว่า สาฏก วา มีความว่า ภิกษุเอามือจับ ผ้าสาฎกที่แข็งด้วย
แป้ง ซึ่งปลิวไปในอากาศ ลอยมาตรงหน้า ที่ชายผ้าข้างหนึ่งเหมือนผ้าที่เขา
ขึงลาดไว้บนพื้นแผ่นดินถูกลมกระพือพัด ฉะนั้น, เมื่อไม่ได้ทำฐานให้ไหวไป
ข้างโน้นและข้างนี้เลย ต้องทุกกฏ เพราะงดการเดิน, เมื่อไม่ทำให้เคลื่อนจาก
ฐานรักษาอยู่, เป็นถุลลัจจัย เพราะทำให้ไหว, ให้เคลื่อนจากฐาน ต้อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 142
ปาราชิก. ก็การกำหนดฐานแห่งผ้าสาฎกนั้น พึงทราบด้วยอาการ ๖ อย่าง
เหมือนการกำหนดฐานแห่งนกยูง ฉะนั้น. ส่วนผ้าสาฎกที่ไม่แข็ง พอภิกษุจับ
ที่ชายผ้าข้างหนึ่งเท่านั้น ก็ตกลงไปกองอยู่บนพื้นดินทั้งชายที่สอง, ผ้าสาฎก
นั้นมีฐาน ๒ คือ มือ ๑ พื้นดิน ๑. ภิกษุทำผ้าสาฎกนั้น ตามที่จับเอาแล้วนั่น
แล ให้เคลื่อนไปจากประเทศแห่งโอกาสที่ตนจับเอาครั้งแรก ต้องถุลลัจจัย
ภายหลัง เอามือที่สอง หรือเท้ายกขึ้นจากพื้นดิน ต้องปาราชิก. อนึ่ง ครั้งแรก
ยกขึ้นจากพื้นดิน ต้องถุลลัจจัย, ภายหลังให้เคลื่อนจากประเทศแห่งโอกาสที่
ตนจับเอา ต้องปาราชิก. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเมื่อไม่ปล่อยการจับ ยื่นมือลง
ไปตรง ๆ ป้องผ้าให้อยู่ที่พื้นดิน จึงเอามือนั้นนั่นเองยกผ้าขึ้น ต้องปาราชิก.
แม้ในผ้าโพก ก็พึงทราบวินิจฉัยดังนี้แหละ.
หลายบทว่า หิรญฺ วา สุวณฺณ วา ฉิชฺชมาน มีความว่า
เครื่องประดับมีสร้อยคอเป็นต้น ของพวกมนุษย์ผู้ตกแต่งอยู่ก็ดี แท่งทองของ
พวกช่างทองผู้ตัดซี่ทองอยู่ก็ดี ขาดตกไป. ถ้าภิกษุมีไถยจิตเอามือจับเอาเครื่อง
ประดับ หรือแท่งทองที่ขาดตกลอยมาทางอากาศนั้น, การจับเอานั่นแหละ
เป็นฐาน, เอามือออกจากประเทศที่ตนจับเอาต้องปาราชิก. เอามือยกเครื่อง
ประดับมีสร้อยคอเป็นต้นที่ตกลงไปในจีวรขึ้น ต้องปาราชิก, ไม่ได้ยกขึ้นเลย
แต่เดินไป ต้องปาราชิกในย่างเท้าที่สอง. ถึงในเครื่องประดับมีสร้อยคอเป็นต้น
ที่ตกลงไปในบาตร ก็มีนัยอย่างนี้แล. เอามือจับเครื่องประดับมีสร้อยคอ
เป็นต้น ที่ตกลงที่ศีรษะ ที่หน้า หรือที่เท้า ต้องปาราชิก, ไม่ได้จับเอาเลย
แต่เดินไป ต้องปาราชิกในย่างเท้าที่สอง. อนึ่ง เครื่องประดับมีสร้อยคอ
เป็นต้นนั้นตกไปในที่ใด ๆ, เฉพาะโอกาสที่เครื่องประดับเป็นต้นตั้งอยู่ในที่
นั้น ๆ เป็นฐานของเครื่องประดับเป็นต้นนั้น, อังคาพยพทั้งหมดก็ดี บาตร
และจีวรก็ดี หาได้เป็นฐานไม่ ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 143
กถาว่าด้วยทรัพย์ที่อยู่ในกลางแจ้ง
พึงทราบวินิจฉัยในภัณฑะที่ตั้งอยู่ในกลางแจ้ง. ภัณฑะที่เขาวางไว้บน
เตียงและตั่งเป็นต้น จะเป็นของควรจับต้องหรือไม่ควรจับต้องก็ตาม เมื่อภิกษุ
จับต้องด้วยไถยจิต เป็นทุกกฎ. ก็แลในภัณฑะที่เขาวางไว้บนเตียงและตั่งนี้
ควรทราบวินิจฉัยตามนัยที่กล่าวไว้ในภัณฑะที่ตั้งอยู่บนบก. ส่วนความแปลกกัน
พึงทราบดังนี้ :-
ถ้าผ้าสาฎกที่แข็งด้วยแป้ง ซึ่งเขาขึงไว้ที่เตียงหรือตั่ง ตรงกลางไม่ถูก
พื้นเตียง ถูกแต่เท้าเตียงเท่านั้น, พึงทราบฐานด้วยอำนาจแห่งเท้าทั้ง ๔ ของ
เตียงนั้น. จริงอยู่ เมื่อผ้าสาฎกนั้น สักว่าอันภิกษุให้ล่วงเลยโอกาสที่ถูก
เบื้องบน แห่งเท้าเตียงเท่านั้น ย่อมเป็นปาราชิก ในเพราะเหตุให้ก้าวล่วงนั้น.
แต่เมื่อภิกษุลักไปพร้อมทั้งเตียงและตั่ง พึงทราบฐาน ด้วยอำนาจโอกาสที่
เท้าเตียงและตั่งตั้งจดอยู่.
บทว่า จีวรวเส วา มีความว่า บนราวหรือบนขอไม้ที่เขาผูกตั้งไว้
เพื่อประโยชน์แก่การพาดจีวร. เฉพาะโอกาสที่ถูกกับโอกาสที่ตั้งอยู่ เป็นฐาน
ของจีวรที่พาดไว้บนราวนั้น ซึ่งเอาชายไว้ข้างนอก เอาขนดไว้ข้างใน, ราว
จีวรทั้งหมด หาได้เป็นฐานไม่. เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุจับจีวรนั้นที่ขนด
ดึงมาด้วยไถยจิต ให้โอกาสที่ตั้งอยู่บนราวด้านนอก ล่วงเลยประเทศที่ราวจีวร
ถูกด้านในไป เป็นปาราชิก ด้วยการดึงมาเพียงนิ้วเดียวหรือสองนิ้วเท่านั้น.
นัยแม้แห่งภิกษุผู้จับที่ชายดึงมา ก็เหมือนกันนี้. แต่เมื่อภิกษุรูดลงข้างซ้าย
หรือข้างขวาบนราวจีวรนั้นนั่นเอง ครั้นเมื่อจีวรนั้นสักว่าล่วงเลยฐานแห่งชาย
ข้างขวาด้วยชายข้างซ้าย หรือสักว่าล่วงเลยฐานแห่งชายข้างซ้ายด้วยชายข้างขวา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 144
ไป เป็นปาราชิก ด้วยการรูดไปเพียง ๑๐ นิ้ว หรือ ๑๒ นิ้วเท่านั้น. เมื่อ
ภิกษุยกขึ้นข้างบน เป็นปาราชิก ด้วยการยกขึ้นเพียงปลายเส้นผม. เมื่อภิกษุ
แก้จีวรที่เขาเอาเชือกผูกแขวนไว้ จะถูกราวจีวรหรือไม่ก็ตาม เป็นถุลลัจจัย,
เมื่อแก้ออกแล้ว เป็นปาราชิก. จริงอยู่ จีวรนั้นพอสักว่าแก้ออกเท่านั้น ย่อม
ถึงความนับว่า พ้นจากฐาน. เมื่อภิกษุคลายจีวรที่เขาพันไว้ที่ราวออก เป็น
ถุลลัจจัย, ครั้นเมื่อจีวรนั้นสักว่าคลายออกเสร็จแล้ว ก็ต้องปาราชิก. ในจีวร
ที่เขาทำเป็นห่วงเก็บไว้ ภิกษุตัดห่วงออกก็ดี แก้ออกก็ดีปลดปลายราวข้างหนึ่ง
แล้วรูดออกก็ดี ต้องถุลลัจจัย, ครั้นเมื่อห่วงนั้น สักว่าขาดก็ดี สักว่าแก้ออก
แล้วก็ดี สักว่ารูดออกแล้วก็ดี ต้องปาราชิก. ภิกษุไม่ได้ทำอย่างนั้นเลย รูดไป
รูดมาบนราวจีวร, ยังรักษาอยู่ก่อน. จริงอยู่ ราวจีวรแม้ทั้งหมดเป็นฐานของ
ห่วง. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุที่การรูดหมุนไปบนราวจีวรนั้นเป็นของ
ธรรมดา. แต่ถ้าภิกษุเอามือจับจีวรนั้นทำให้ลอยไปในอากาศ ต้องปาราชิก.
เพียงโอกาสที่ถูกกับโอกาสที่ตั้งอยู่ เป็นฐานของจีวรที่เขาคลี่พาดไว้. วินิจฉัย
ในจีวรชนิดนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในจีวรที่พับพาดไว้. ส่วนจีวร
ใด เป็นของถูกพื้นด้วยชายข้างหนึ่ง, ฐานจีวรนั้นมี ๒ ฐาน ด้วยอำนาจโอกาส
ที่จดราวจีวรและพื้น. ในจีวรที่จดพื้นด้วยชายข้างหนึ่งนั้น พึงทราบวินิจฉัย
ตามนัยที่กล่าวแล้วในผ้าสาฎกไม่แข็งนั่นแหละ. แม้ในสายระเดียงจีวร ก็พึง
ทราบวินิจฉัยดังนี้แล. ส่วนภัณฑะที่เขาวางแขวนไว้บนขอ จะเป็นหม้อยาหรือ
ถุงยาก็ตาม, ถ้าตั้งอยู่ไม่ถูกฝาหรือพื้น, เมื่อภิกษุรูดหูที่คล้องปลดออก เมื่อ
ภัณฑะนั้นสักว่าออกจากปลายขอไป, เป็นปาราชิก. หูสำหรับคล้องเป็นของแข็ง
เมื่อภิกษุยกขึ้นพร้อมทั้งหลักหู ทำให้ลอยไปในอากาศ ถึงเมื่อหูที่คล้องนั้น
ยังไม่หลุดออกจากปลายขอ ก็เป็นปาราชิก. ภัณฑะเป็นของพิงติดอยู่กับฝา,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 145
ภิกษุดึงภัณฑะนั้นออกจากปลายขอครั้งแรก ต้องถุลลัจจัย, ภายหลังจึงปลด
ฝาออก ต้องปาราชิก. นัยแม้แห่งภิกษุผู้ปลดฝาออกครั้งแรกแล้ว ภายหลังจึง
นำออกจากขอ ก็เหมือนกันนี้. ก็ถ้าภิกษุไม่อาจปลดภัณฑะที่หนักออกได้
ตนเองจึงทำให้พิงฝาแล้วปลดออกจากขอ, เมื่อภัณฑะนั้น แม้ภิกษุไม่ให้ห่างฝา
สักว่าปลดออกจากขอได้เท่านั้น เป็นปาราชิก. เพราะว่าฐานที่ตนทำ ไม่จัด
เป็นฐาน. แต่สำหรับภัณฑะที่ตั้งจดพื้นมี ๒ ฐานเท่านั้น. วินิจฉัยในภัณฑะที่
ตั้งจดพื้นนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วแล. ก็แลภัณฑะใด เขาใส่สาแหรก
แขวนไว้. เมื่อภิกษุปลดภัณฑะนั้นออกจากสาแหรกก็ดี ปลดภัณฑะนั้นทั้ง
สาแหรกออกจากขอก็ดี เป็นปาราชิก. และถึงความต่างกันแห่งฐานในภัณฑะ
ที่เขาใส่สาแหรกแขวนไว้นี้ ก็พึงทราบอย่างภัณฑะที่ชิดฝาและพื้น.
ตะปูที่เขาตอกฝาไว้ตรง ๆ ก็ดี เดือยที่เกิดในฝานั้นนั่นเองก็ดี ชื่อว่า
ภิตติขีละ ตะปูฝา. ส่วนตะปูงอนที่เขาตอกไว้นั้นแหละ ชื่อ ฟันนาค. ภัณฑะ
ที่เขาแขวนไว้บนตะปูฝาและฟันนาคนั้น พึงทราบวินิจฉัยตามนัยที่กล่าวแล้ว
ในภัณฑะที่แขวนไว้บนขอ. ก็หอกหรือหลาวหรือแส้หางสัตว์ ซึ่งเขายกขึ้น
พาดไว้บนตะปูฝาหรือฟันนาค ๒-๓ อัน ซึ่งติดเรียงกันเป็นลำดับ ภิกษุจับที่
ปลายหรือที่ด้ามลากมา, เพียงแต่โอกาสที่ตะปูฝาหรือฟันนาคอันหนึ่ง ๆ ถูก
ล่วงเลยไปเท่านั้น ต้องปาราชิก. เพราะว่าเพียงโอกาสที่ถูกเท่านั้น ย่อมเป็น
ฐานของหอกหลาวและแส้หางสัตว์เหล่านั้น, ตะปูฝาหรือฟันนาคทั้งหมด ไม่
จัดเป็นฐาน. ภิกษุยืนหันหน้าเข้าฝา จับตรงกลางลากมา เพียงแต่ส่วนด้านนอก
ล่วงเลยโอกาสที่ส่วนด้านในถูก ต้องปาราชิก. แม้เมื่อภิกษุเลื่อนไปข้างหน้า
ก็มีนัยเหมือนกันนี้. เมื่อภิกษุเอามือจับยกขึ้น ทำให้ลอยไปในอากาศ แม้
เพียงปลายเส้นผม ต้องปาราชิก. ภิกษุลากหอกเป็นต้นนั้นที่เขาวางไว้ชิดฝา
ครูดฝามา, เมื่อเธอให้ด้ามล่วงเลยโอกาสที่ปลายถูก หรือให้ปลายล่วงเลย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 146
โอกาสที่ด้ามถูกไป ต้องปาราชิก. ภิกษุยืนหันหน้าเข้าฝา ลากมาให้ส่วนที่สุด
ข้างอื่นล่วงเลยโอกาสที่ส่วนอีกข้างหนึ่งถูกไป ต้องปาราชิก. เมื่อยกขึ้นตรง ๆ
ทำให้ลอยไปในอากาศเพียงปลายเส้นผม ต้องปาราชิก.
สองบทว่า รุกฺเข วา ลคฺคิต ได้แก่ ภัณฑะที่เขายกขึ้นแขวนไว้
ที่ต้นตาลเป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยตามนัยที่กล่าวแล้วในภัณฑะที่แขวนไว้บน
ขอเป็นต้น. ก็แลเมื่อภิกษุเขย่าทะลายตาลที่เกิดอยู่บนต้นตาลนั้น วัตถุแห่ง
ปาราชิกจะเต็มในผลใด. เมื่อผลนั้นสักว่าหลุดจากขั้ว ต้องปาราชิก. ภิกษุตัด
ทะลายตาล ต้องปาราชิก. ส่วนทะลายตาลที่เขายกขึ้นเอาปลายพาดไว้ในง่ามใบ
ได้ ๒ ฐาน คือฐานที่พาดไว้ ๑ ฐานคือขั้ว ๑. วินิจฉัยใน ๒ ฐานนั้น พึง
ทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว. ส่วนภิกษุใด ยกปลายพาดที่ง่ามใบเองแล้วจึงตัด
เพราะกลัวว่า พอตัดขาดตกลงมา จะพึงทำเสียง สักว่าตัดเสร็จ, ภิกษุนั้น
ต้องปาราชิก. เพราะว่าฐานที่ตนทำ ไม่จัดเป็นฐาน. ในดอกและผลของต้นไม้
ทั้งปวง พึงทราบวินิจฉัยโดยอุบายนี้.
ในคำว่า ปตฺตาธารเกปิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- จะเป็นเชิงไม้ก็ตาม
เชิงวลัยก็ตาม เชิงท่อนไม้ก็ตาม ที่ตั้งบาตรชนิดใดชนิดหนึ่ง แม้เป็นกระเช้า
ก็ช่าง ทุกอย่างถึงความนับว่า เชิงรองบาตร ทั้งนั้น เพียงโอกาสที่บาตรถูก
นั่นเอง เป็นฐานของบาตรที่เขาตั้งไว้บนเชิงรองบาตรนั้น. ในเชิงไม้ของบาตร
นั้น มีกำหนดฐานโดยอาการ ๕ อย่าง. ภิกษุจับบาตรที่ตั้งอยู่บนเชิงไม้นั้น
ที่ขอบปาก แล้วลากไปข้างใดข้างหนึ่งในทิศทั้ง ๔ ให้ส่วนข้างอื่นล่วงเลย
โอกาสที่ส่วนข้างหนึ่ง ๆ ถูกไป ต้องปาราชิก. เมื่อยกขึ้นข้างบน เพียงปลาย
เส้นผม ต้องปาราชิก. แต่พึงให้ตีราคาของปรับอาบัติทุก ๆ แห่ง. แม้เมื่อ
ภิกษุลักบาตรไปพร้อมทั้งเชิงรอง ก็มีนัยนี้เหมือนกัน ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในกลางแจ้ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 147
กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ
พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ :- หลายบทว่า อุทเก
นิกฺขิตฺต โหติ ความว่า ภัณฑะที่พวกชนผู้กลัวแต่ราชภัยเป็นต้น ทำการ
ปิดเสียให้ดีในวัตถุทั้งหลายมีภาชนะทองแดง และโลหะเป็นต้นซึ่งจะไม่เสียหาย
ไปด้วยน้ำเป็นธรรมดา แล้วเก็บไว้ในน้ำนิ่ง ในสระโบกขรณีเป็นต้น. เพียง
โอกาสที่ตั้งอยู่ เป็นฐานของทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำนั้น, น้ำทั้งหมด ไม่จัดเป็นฐาน.
หลายบทว่า คจฺฉติ วา อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เมื่อภิกษุ
เดินไปในน้ำที่ไม่ลึก เป็นทุกกฎทุก ๆ ย่างเท้า. ในน้ำลึกเมื่อทำความพยายาม
ด้วยมือ หรือด้วยเท้าก็ดี ทำความพยายามทั้งมือและเท้าก็ดีเป็นทุกกฏทุก
ประโยค. ถึงในการดำลงและผุดขึ้น เพื่อลักเอาหม้อ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
แต่ถ้าภิกษุเห็นภัยบางอย่าง จะเป็นงูน้ำหรือปลาร้ายก็ตาม กลัวแล้วก็หนีไป
เสียในระหว่าง ไม่เป็นอาบัติ. ในอาการมีจับต้องเป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย
โดยนัยที่กล่าวแล้วในหม้อ ซึ่งอยู่ในแผ่นดินนั่นแล. ส่วนความแปลกกันมี
ดังต่อไปนี้ :- ในภุมมัฏฐกถานั้น ภิกษุขุดลากไปบนแผ่นดิน, ในอุทกัฏฐกถานี้
ภิกษุกดให้จมลงในโคลน. ความกำหนดฐาน ย่อมมีได้ ด้วยอาการ ๖ ด้วย
ประการฉะนี้. ในดอกอุบลเป็นต้น วัตถุแห่งปาราชิก จะครบในดอกใด, เมื่อ
ดอกนั้นสักว่า ภิกษุเด็ดแล้ว ต้องปาราชิก. ก็บรรดาชาติดอกบัวเหล่านี้
เปลือกบัวแม้ที่ข้าง ๆ หนึ่งแห่งอุบลชาติทั้งหลาย ยังไม่ขาดไปเพียงใด, ยัง
รักษาอยู่เพียงนั้น. ส่วนปทุมชาติเมื่อก้านขาดแล้ว ใยข้างในแม้ยังไม่ขาด
ก็รักษาไว้ไม่ได้. ดอกอุบลเป็นต้นที่เจ้าของตัดวางไว้, ดอกใด จะยังวัตถุ
ปาราชิกให้ครบได้, เมื่อดอกนั้นอันภิกษุยกขึ้นแล้ว ก็เป็นปาราชิก. ดอกอุบล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 148
เป็นต้น เป็นของที่เขามัดเป็นกำ ๆ ไว้, วัตถุปาราชิกจะครบในกำใด, เมื่อ
กำนั้น อันภิกษุยกขึ้น ต้องปาราชิก. ดอกอุบลเป็นต้น เป็นของเนื่องด้วย
ภาระ*, เมื่อภิกษุให้ภาระนั้นเคลื่อนจากฐาน ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
แห่งอาการ ๖ ต้องปาราชิก ตามนัยที่กล่าวแล้วในหม้อที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน
ดอกอุบลเป็นต้น มีก้านยาวที่เขามัดที่ดอกหรือที่ก้านให้เป็นกำ ลาดหญ้าบน
เชือกบนหลังน้ำ วาง ไว้ หรือล่ามไว้, กำหนดการให้เคลื่อนจากฐานแห่งดอก
อุบลเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบโดยอาการ 6 อย่าง คือ ด้านยาว กำหนด
ด้วยปลายดอกและที่สุดก้าน ด้านขวาง กำหนดด้วยที่สุดสองข้าง เบื้องล่าง
กำหนดด้วยโอกาสที่จด เบื้องบนกำหนดด้วยหลังแห่งดอกที่อยู่ข้างบน. แม้
ภิกษุใด ทำน้ำให้กระเพื่อม ให้คลื่นเกิดขึ้น ยังกำดอกไม้ที่เขาวางไว้บนหลังน้ำ
ให้เคลื่อนจากฐานที่ตั้งเดิม แม้เพียงปลายเส้นผม, ภิกษุนั้นต้องปาราชิก.
แต่ถ้าเธอกำหนดหมายไว้ว่า ถึงที่นี่แล้วเราจักถือเอา ดังนี้ ยังรักษาอยู่ก่อน.
เมื่อเธอยกขึ้นในที่ซึ่งกำดอกไม้ลอยไปถึงแล้ว เป็นปาราชิก. น้ำทั้งสิ้น เป็น
ฐานของดอกไม้ที่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว. เมื่อภิกษุถอนดอกไม้นั้นยกขึ้นตรง ๆ เมื่อที่
สุดของก้านห่างจากน้ำเพียงปลายเส้นผม เป็นปาราชิก.ภิกษุจับดอกไม้ผลักไป
แล้วเหนี่ยวมาข้าง ๆ จึงถอนขึ้น, น้ำไม่เป็นฐาน; เมื่อดอกไม้นั้นสักว่า ภิกษุ
ถอนขึ้นแล้ว ก็เป็นปาราชิก. ในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าว ๒
คำนี้ไว้ว่า ดอกไม้ที่มัดเป็นกำ ๆ เขาผูกตั้งไว้ในที่น้ำหรือที่ต้นไม้ หรือที่กอไม้,
เมื่อภิกษุไม่แก้เครื่องผูกออก ทำไห้ลอยไปข้างโน้นและข้างนี้ เป็นถุลลัจจัย,
* คือ หาบ คอน แบก ตะพาย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 149
เมื่อเครื่องผูกสักว่าหลุดออก ต้องปาราชิก. ภิกษุแก้เครื่องผูกก่อนแล้วนำไป
ทีหลัง, ในดอกไม้ที่เขาผูกไว้นี้ กำหนดฐานโดยอาการ* ๖ อย่าง.
สำหรับภิกษุผู้ใคร่จะถือเอาดอกปทุมในกอปทุมพร้อมทั้งกอ พึงทราบ
กำหนดฐานเบื้องบนและด้านกว้าง ด้วยอำนาจแห่งน้ำที่ก้านดอก และก้านใบ
ถูก. และเมื่อเธอยังไม่ได้ถอนกอปทุมนั้นขึ้น แต่เหนี่ยวดอกหรือใบมาเฉพาะ
หน้าตน เป็นถุลลัจจัย. พอถอนขึ้น ต้องปาราชิก. เมื่อเธอแม้ไม่ยังก้านดอก
และก้านใบให้เคลื่อนจากฐาน ถอนกอปทุมขึ้นก่อน เป็นถุลลัจจัย. เมื่อก้าน
แห่งดอกและใบเธอให้เคลื่อนจากฐาน ในภายหลัง ต้องปาราชิก. ส่วนภิกษุ
ผู้ถือเอาดอกในกอปทุม ที่เขาถอนขึ้นไว้แล้ว พึงให้ตีราคาภัณฑะปรับอาบัติ.
แม้ในดอกที่กองไว้ที่มัดไว้เป็นกำ ๆ และที่เนื่องในภาระ ซึ่งวางไว้นอกสระ
มีนัยเหมือนกันนี้. เหง้าบัวหรือรากบัว วัตถุปาราชิกจะครบ ด้วยเหง้าหรือ
รากอันใด, เมื่อภิกษุถอนเหง้าหรือรากอันนั้นขึ้น ต้องปาราชิก. ก็ในเหง้า
และรากบัวนี้ พึงกำหนดฐานด้วยอำนาจโอกาสที่เปือกตมถูก. ในมหาอรรถกถา
นั่นเอง ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุถอนเหง้าหรือรากบัวเหล่านั้นขึ้น แม้ราก
ฝอยที่ละเอียด ยังไม่ขาด ก็ยังรักษาอยู่ก่อน, ใบก็ดี ดอกก็ดี เกิดที่ข้อเหง้าบัว
มีอยู่, แม้ใบและดอกนั้น ก็ยังรักษาอยู่ ดังนี้. ก็แล ที่หัวเหง้าบัว เป็นของ
มีหนาม เหมือนตุ่มสิวที่ใบหน้าของพวกคนกำลังแตกเนื้อหนุ่มสาว ฉะนั้น
หนามนี้รักษาไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นของยาว. คำที่เหลือนัยดังกล่าวไว้แล้ว
ในดอกอุบล เป็นต้นนั่นเอง. น้ำทั้งสิ้น ในชลาลัยทั้งหลาย มีบึงเป็นต้น
* คำว่า ๒ คำนี้ ในสารัตถทีปนี. ๒/๒๑๘ ท่านอธิบายไว้ว่า คำว่า เมื่อภิกษุไม่แก้เครื่องผูก
ออก แต่ทำให้ลอยไปข้างโน้นและข้างนี้ เป็นถุลลัจจัย, เมื่อเครื่องผูกสักว่าหลุดแล้ว ก็เป็น
ปาราชิก นี้เป็นคำที่ ๑ คำว่า ภิกษุแก้เครื่องผูกออกก่อนแล้ว จึงนำไปทีหลัง, ในดอกไม้ที่เขา
ผูกไว้นี้ กำหนดฐานโดยอาการ ๖ นี้เป็นคำที่ ๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 150
เป็นฐานของปลาและเต่าที่มีเจ้าของ. เพราะเหตุนั้น ภิกษุใด เอาเบ็ดก็ดี ข่าย
ก็ดี ไซก็ดี มือก็ดี จับเอาปลาที่มีเจ้าของ ในที่ที่เขายังรักษา, วัตถุปาราชิก
จะครบด้วยปลาตัวใด, เมื่อปลาตัวนั้น สักว่าภิกษุยกขึ้นจากน้ำแม้เพียงปลาย
เส้นผม ภิกษุนั้น ต้องปาราชิก. ปลาบางตัวเมื่อถูกจับ วิ่งไปทางโน้นและทางนี้
กระโดดขึ้นไปยังอากาศ ตกลงไปที่ตลิ่ง, แม้เมื่อภิกษุจับเอาปลาตัวที่อยู่ใน
อากาศหรือที่ตกไปที่ตลิ่งนั้น ก็เป็นปาราชิกเหมือนกัน. เมื่อภิกษุจับเอาแม้เต่า
ตัวที่คลานไปหาอาหารกินภายนอกขอบสระ ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ก็เมื่อภิกษุ
ให้สัตว์น้ำพ้นจากน้ำ เป็นปาราชิก.
[ สมัยหลังพุทธกาลพวกชนขุดบ่อน้ำใช้เลี้ยงปลา ]
ชนทั้งหลายในชนบทนั้นๆ อาศัยลำราง สำหรับไขน้ำของสระใหญ่ที่
ทั่วไปแก่ชนทั้งปวง ชุดห้วงน้ำเช่นกับแม่น้ำน้อยอันทั่วไปแก่ชนทั้งปวงเหมือน
กัน. พวกเขาได้ชักลำรางเล็กๆ จากห้วงน้ำ คล้ายกับแม่น้ำนั้นไป แล้วขุดเป็น
บ่อไว้เพื่อประโยชน์แก่การใช้สอยของตนๆ ที่ปลายราง. และชนเหล่านั้นมี
ความต้องการน้ำในเวลาใด ในเวลานั้นจึงชำระลำรางเล็กในบ่อ และห้วงน้ำ
ให้สะอาด แล้วลอกลำรางสำหรับไขน้ำไป. ปลายทั้งหลายออกจากสระใหญ่นั้น
พร้อมกับน้ำ ไปถึงบ่อโดยลำดับแล้วอยู่. ชนทั้งหลายไม่ห้ามผู้ที่จับปลาในสระ
และห้วงน้ำนั้น. แต่ไม่ยอม คือ ห้ามมิให้จับปลาทั้งหลายที่เข้าไปในลำรางและ
บ่อน้ำเล็ก ๆ ของตน ๆ.
[ ภิกษุจับเอาปลาที่เขาเลี้ยงปรับอาบัติตามราคาปลา ]
ภิกษุใดจับปลาในที่เหล่านั้น ในสระหรือในลำรางสำหรับไขน้ำ หรือ
ในห้วงน้ำ, ภิกษุนั้น อันพระวินัยธรพึงไห้ปรับอาบัติด้วยอวหาร. แต่เมื่อ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 151
จับปลาที่เข้าไปในลำรางเล็ก หรือในบ่อแล้ว พึงปรับอาบัติด้วยอำนาจแห่ง
ราคาปลาที่จับได้. ถ้าปลาที่กำลังถูกจับ จากลำรางเล็กและบ่อน้ำนั้น กระโดด
ขึ้นไปในอากาศ หรือตกลงมาริมตลิ่ง, เมื่อภิกษุจับเอาปลานั้น ซึ่งอยู่ในอากาศ
หรือที่อยู่บนตลิ่งพ้นจากน้ำแล้ว อวหาร ไม่มี. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า
ชนเหล่านั้นเป็นเจ้าของปลา ซึ่งอยู่ในที่หวงห้ามของตนเท่านั้น. จริงอยู่ กติกา
เห็นปานนี้ เป็นกติกาในชนบทเหล่านั้น. แม้ในเต่า ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็
ถ้าว่า ปลาที่กำลังจะถูกจับว่ายขึ้นจากบ่อไปลงรางเล็ก, แม้เมื่อภิกษุจับปลานั้น
ในรางเล็กนั้น เป็นอวหารแท้. แต่ไม่เป็นอวหารแก่ภิกษุผู้จับปลาที่ว่ายขึ้นจาก
ลำรางเล็กไปลงห้วงน้ำ และว่ายขึ้นจากห้วงน้ำนั้นไปลงสระแล้ว. ภิกษุเอา
เมล็ดข้าวสุกล่อปลาจากบ่อไปขึ้นลำรางแล้วจับเอา, เป็นอวหารแก่ภิกษุนั้นแท้.
แต่ไม่เป็นอวหารแก่ภิกษุผู้ล่อจากลำรางนั้นไปลงห้วงน้ำแล้วจับเอา. ชนบาง
พวก นำเอาปลาจากที่สาธารณะแก่ชนทั้งปวง บางแห่งนั่นแล ขังเลี้ยงไว้ใน
บ่อน้ำที่หลังสวน แล้วฆ่าเสียคราวละ ๒ - ๓ ตัว เพื่อประโยชน์แก่แกงเผ็ด
ทุกวัน. เมื่อภิกษุจับปลาเห็นปานนั้น ซึ่งอยู่ในน้ำ หรือบนอากาศ หรือริม
ตลิ่งแห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นอวหารแท้. แม้ในเต่า ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ก็ในฤดูแล้ง กระแสน้ำในแม่น้ำขาดสาย น้ำย่อมขังอยู่ในที่ลุ่มบาง
แห่ง. มนุษย์ทั้งหลายโปรยผลไม้เบื่อเมาและยาพิษเป็นต้นลง เพื่อความวอด
วายแห่งปลาทั้งหลายในลุ่มน้ำนั้นแล้วไปเสีย. ปลาทั้งหลาย กินผลไม้เบื่อเมา
และยาพิษเป็นต้นเหล่านั้น แล้วตายหงายท้องลอยอยู่บนน้ำ. ภิกษุใดไปในที่
นั้นแล้ว จับเอาด้วยทำในใจว่า เจ้าของยังไม่มาเพียงใด, เราจักจับเอาปลา
เหล่านี้เพียงนั้น, ภิกษุนั้น พระวินัยธร พึงปรับอาบัติตามราคา. เมื่อเธอ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 152
ถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญาไม่เป็นอวหาร. แต่เมื่อเจ้าของให้นำมาเป็นภัณฑไทย
มนุษย์ทั้งหลายโปรยยาพิษเบื่อปลาแล้วพากันกลับไปนำภาชนะมาบรรจุให้เต็ม
แล้วไป. พวกเขายังอาลัยอยู่ว่า พวกเราจักกลับมาแม้อีก เพียงใด, ปลา
เหล่านั้น ยังจัดว่าเป็นปลามีเจ้าของเพียงนั้น. แต่เมื่อใด พวกเขาสิ้นอาลัย
หลีกไปเสียด้วยปลงใจว่า พวกเรา พอละ จำเดิมแต่นั้นไป เป็นทุกกฎแก่ภิกษุ
ผู้ถือเอาด้วยไถยจิต, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีบังสุกุลสัญญา. พึงทราบวินิจฉัย
ในชาติสัตว์น้ำแม้ทุกชนิดเหมือนในปลาและเต่า.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 153
กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเรือ
พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเรือ :- พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ทรงแสดงเรือเป็นอันดับแรกก่อน จึงตรัสว่า นาวา นาม ยาย ตรติ ดังนี้.
เพราะฉะนั้น ในอธิการว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเรือนี้ พาหนะสำหรับข้ามน้ำ
โดยที่สุด จะเป็นรางย้อมผ้าก็ตาม แพไม้ไผ่ก็ตาม พึงทราบว่า เรือ ทั้งนั้น.
ส่วนในการสมมติสีมา เรือประจำที่ภิกษุขุดภายใน หรือต่อด้วยแผ่นกระดาน
จัดทำไว้ โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุด บรรทุกคนข้ามฟากได้ถึง ๓ คน จึงใช้ได้.
แต่ในนาวัฎฐาธิการนี้ บรรทุกคนได้แม้คนเดียว ท่านก็เรียกว่า เรือ เหมือนกัน.
ภัณฑะอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องกับตัวเรือก็ตาม ไม่เนื่องกับตัวเรือ
ก็ตาม ชื่อว่าภัณฑะที่เก็บไว้ในเรือ. ลักษณะการลักภัณฑะที่เก็บไว้ในเรือนั้น
พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในภัณฑะที่ตั้งอยู่บนบก นั่นแล. การแสวงหาเพื่อน
การเดินไป การจับต้อง และการทำให้ไหว ในคำเป็นต้นว่า นาว อวหริสฺสามิ
มีนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแล. ส่วนในคำว่า พนฺธน โมจติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
เรือลำใด เมื่อแก้เครื่องผูกแล้ว ก็ยังไม่เคลื่อนจากฐาน, เครื่องผูกของเรือ
ลำนั้น ยังแก้ไม่ออกเพียงใด, เป็นทุกกฏเพียงนั้น, แต่ครั้นแก้ออกแล้ว
เป็นถุลลัจจัยก็มี เป็นปาราชิกก็มี. คำนั้น จำมีแจ้งข้างหน้า. คำที่เหลือมีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. พรรณนาเฉพาะบาลีมีเท่านี้ก่อน.
ส่วนวินิจฉัยนอกบาลี ในนาวัฏฐาธิการนี้ มีดังต่อไปนี้ :- สำหรับ
เรือที่ผูกจอดไว้ในกระแสน้ำเชี่ยว มีฐานเดียว คือ เครื่องผูกเท่านั้น. เมื่อ
เครื่องผูกนั้น สักว่าแก้ออกแล้วต้องปาราชิก. ความยุกติในเครื่องผูกนั้น ได้
กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้นนั่นแล. ส่วนในเรือที่เขาล่มไว้ ตั้งแผ่ไปตลอดประเทศ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 154
แห่งน้ำใด ๆ ประเทศแห่งน้ำนั้น ๆ เป็นฐานของเรือนั้น. เพราะเหตุนั้น เมื่อ
ภิกษุกู้เรือนั้นข้างบนก็ดี กดให้จมลงในเบื้องต่ำก็ดี ให้ล่วงเลยโอกาสที่เรือ
ถูกในทิศทั้ง ๔ ไปก็ดี ก็เป็นปาราชิกในขณะที่พอเลยไป. เรือไม่ได้ผูกจอด
อยู่ตามธรรมดาของเรือในน้ำนิ่ง เมื่อภิกษุฉุดลาก ไปข้างหน้าก็ดี ไปข้างหลัง
ก็ดี ข้างซ้ายและข้างขวาก็ดี ครั้นเมื่อสักว่าส่วนที่ตั้งอยู่ในน้ำอีกข้างหนึ่ง ล่วง
เลยโอกาสที่ส่วนข้างหนึ่งถูกไป เป็นปาราชิก. เมื่อยกขึ้นข้างบนให้พ้นจากน้ำ
เพียงปลายเส้นผม เป็นปาราชิก เมื่อกดลงข้างล่างให้ขอบปากล่วงเลยโอกาสที่
พื้นท้องเรือถูกต้องไป เป็นปาราชิก. สำหรับเรือที่ผูกไว้ริมตลิ่งจอดอยู่ในน้ำนิ่ง
มีฐาน ๒ คือ เครื่องผูก ๑ โอกาสที่จอด ๑. ภิกษุแก้เรือนั้นออกจากเครื่อง
ผูกก่อน ต้องถุลลัจจัย. ภายหลังให้เคลื่อนจากฐาน โดยอาการอันใดอันหนึ่ง
แห่งอาการ ๖ อย่าง ต้องปาราชิก. แม้ในการให้เคลื่อนจากฐานก่อน แก้
เครื่องผูกทีหลัง ก็มีนัยเหมือนกันนี้. โอกาสที่ถูกเทียว เป็นฐานของเรือที่เข็น
ขึ้นวางหงายไว้บนบก. กำหนดฐานของเรือนั้น พึงทราบโดยอาการ ๕ อย่าง.
แต่โอกาสที่ขอบปากถูกเท่านั้น เป็นฐานของเรือที่เขาวางคว่ำไว้. ผู้ศึกษา พึง
ทราบการกำหนดฐานของเรือแม้นั้นไปโดยอาการ ๕ อย่าง แล้วทราบว่าเป็น
ปาราชิก ในเมื่อเรือสักว่าล่วงเลยโอกาสที่ถูกข้างใดข้างหนึ่งและเบื้องบนไป
เพียงปลายเส้นผม. ก็แลโอกาสที่ไม้หมอนถูกเท่านั้นเป็นฐานของเรือที่เขาเข็น
ขึ้นบกแล้ววางบนไม้หมอนสองอัน. เพราะฉะนั้น วินิจฉัยในเรือที่เขาวางบน
ไม้หมอนนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในผ้าสาฎกเนื้อแข็งที่พาดไว้เฉพาะ
บนปลายเท้าเตียง และในหลาว แส้หางสัตว์เขาพาดไว้บนไม้ฟันนาค. แต่
ว่าเมื่อเรือผูกเชือกไว้ ไม่ใช่เพียงแต่โอกาสที่ถูกต้องเท่านั้นเป็นฐาน แห่งเรือ
ที่เขายังมิได้แก้เชือกซึ่งยาวประมาณ ๖๐ - ๗๐ วา ไว้เลยแล้วเหนี่ยวมาคล้องไว้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 155
กับหลักที่ตอกลงดินตั้งไว้บนบกพร้อมกับเชือก, โดยที่แท้ พึงทราบว่า ด้าน
ยาวเพียงที่ส่วนเบื้องหลังของโอกาสที่เรือจดแผ่นดิน จับแต่ปลายเชือกมา เป็น
ฐานก่อน ส่วนด้านขวางประมาณที่สุดรอบที่เรือและเชือกจดแผ่นดิน เป็นฐาน.
เมื่อภิกษุฉุดลากเรือนั้นไปตามยาวก็ดี ตามขวางก็ดี พอสักว่าให้ส่วนที่จดดิน
อีกข้างหนึ่งเลยโอกาสที่ส่วนข้างหนึ่งถูก เป็นปาราชิก. เมื่อยกขึ้นข้างบนให้พ้น
จากแผ่นดินพร้อมทั้งเชือก เพียงปลายเส้นผม เป็นปาราชิก.
อนึ่ง ภิกษุใด มีไถยจิต ขึ้นไปยังเรือที่จอดอยู่ที่ท่า เอาถ่อหรือไม้
พายแจวไป, ภิกษุนั้นต้องปาราชิก. แต่ถ้าภิกษุกางร่ม หรือเอาเท้าทั้งสอง
เหยียบจีวร และเอามือทั้งสองยกขึ้นทำต่างใบเรือให้กินลม, ลมแรงพัดมาพา
เรือไป, เรือนั้นเป็นอันถูกลักไปด้วยลมนั้นแล. อวหารไม่มีแก่บุคคล แต่ความ
พยายามมีอยู่. ก็ความพยายามนั้น หาใช่เป็นความพยายามในอันที่ให้เคลื่อน
จากฐานไม่. ก็ถ้าเรือนั้นแล่นไปอยู่อย่างนั้น ภิกษุงดไม่ให้แล่นไปตามปกติเสีย
นำไปยังทิศาภาคส่วนอื่น ต้องปาราชิก. เรือที่แล่นไปถึงท่าบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง
เสียเอง ภิกษุไม่ให้เคลื่อนจากฐานเลยขายเสียแล้วก็ไป, ไม่เป็นอวหารเลย,
แต่เป็นภัณฑไทย ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเรือ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 156
กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในยาน
พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในยาน :- พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ
จะทรงแสดงยานก่อน จึงตรัสว่า ยาน นาม วยฺห เป็นต้น. ในคำว่า วยฺห
เป็นต้นนั้นมีวินิจฉัยดังนี้ :-
ยานที่ปิดบังด้วยไม้เลียบไว้เบื้องบน คล้ายกับมณฑปก็ตาม ที่เขาทำ
ปิดคลุมไว้ทั้งหมดก็ตาม ชื่อว่า คานหาม. เตียงที่เขาใส่กลอนซึ่งสำเร็จด้วนทอง
และเงินเป็นต้นไว้ที่ข้างทั้งสอง และทำไว้โดยนัยดังปีกครุฑ ชื่อว่า เตียงหาม,
รถและเกวียนปรากฏชัดแล้วแล. ภัณฑะที่มีวิญญาณหรือไม่มีวิญญาณ ซึ่งเขา
เก็บไว้ด้วยอำนาจเป็นกองเป็นต้น ในบรรดาคานหามเป็นต้นเหล่านั้น แห่งใด
แห่งหนึ่ง เมื่อภิกษุให้เคลื่อนจากฐานด้วยไถยจิต พึงทราบว่า เป็นปาราชิก
โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในภัณฑะที่ตั้งอยู่ในเรือและที่ตั้งอยู่บนบก. ส่วนความ
แปลกกัน มีดังต่อไปนี้ :- เมื่อภิกษุเอาตะกร้ารับเอาสิ่งของมีข้าวสารเป็นต้น
ที่ตั้งอยู่ในยาน แม้เมื่อไม่ยกตะกร้าขึ้น ครั้นตบตะกร้า ทำให้วัตถุมีข้าวสาร
เป็นต้น ซึ่งเนื่องเป็นอันเดียวกัน กระจายไป เป็นปาราชิก. นัยนี้ ย่อมใช้ได้
แม้ในสิ่งของที่ตั้งอยู่บนบกเป็นต้น. กิจทั้งหลายมีการเที่ยวหาเพื่อนเป็นต้น
ในคำว่า เราจักลักยาน มีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ก็ในคำว่า านา จาเวติ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- สำหรับยาน
ที่เทียมด้วยโคคู่ มี ๑๐ ฐาน คือ เท้าทั้ง ๘ ของโคทั้ง ๒ และล้อ ๒. เมื่อ
ภิกษุมีไถยจิตขึ้นเกวียนนั้น นั่งบนทูบขับไป เป็นถุลลัจจัย ในเมื่อโคทั้ง ๒
ยกเท้าขึ้น, และเมื่อโอกาสเพียงปลายเส้นผมล่วงเลยไปจากประเทศที่ล้อทั้ง ๒
จดแผ่นดิน เป็นปาราชิก. แต่ถ้าโคทั้ง ๒ รู้ว่า ผู้นี้มิใช่เจ้าของ ๆ เรา แล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 157
สลัดแอกทิ้ง ไม่ยอมเข็นไป หลุดอยู่ก็ตาม ดิ้นรนอยู่ก็ตาม, ยังรักษาอยู่ก่อน
เมื่อภิกษุจัดโคทั้งสองให้เทียมเข้าไปตรง ๆ แล้วพาดแอกเทียมให้มั่น แทง
ด้วยปฏักขับไปอีก เป็นถุลลัจจัย ในเมื่อโคเหล่านั้นยกเท้าขึ้น ตามนัยที่กล่าว
แล้วนั่นแล, เป็นปาราชิก ในเมื่อล้อเคลื่อนไป. ถ้าแม้ในทางที่มีโคลนตม
ล้อข้างหนึ่งติดแล้วในโคลน, โคลากล้อข้างที่ ๒ หมุนเวียนอยู่, อวหารยังไม่
มีก่อน เพราะล้อข้างหนึ่งยังคงตั้งอยู่. แต่เมื่อภิกษุจัดโคทั้งสองให้เทียมตรง
แล้วขับไปอีก เมื่อล้อที่หยุดอยู่หมุนเลยโอกาสที่ถูกไป เพียงปลายเส้นผม เป็น
ปาราชิก. และพึงทราบความต่างกันแห่งฐานของยานที่เทียม โดยอุบายนี้ คือ
ยานที่เทียม ๔ มีฐาน ๑๘ ที่เทียม ๘ มีฐาน ๓๔. ส่วนยานใดที่มิได้เทียม เขา
ใช้ไม้ค้ำที่ตรงทูบอันหนึ่ง และค้ำข้างหลัง ๒ อันจอดไว้, ยานนั้น มีฐาน ๕
ด้วยอำนาจแห่งไม้ค้ำ ๓ อัน และล้อทั้ง ๒. ถ้าไม้ค้ำที่ตรงแอก เขาบากเป็น
ง่ามที่ตอนล่าง มีฐาน ๖. ส่วนยานที่ไม่ได้ค้ำไว้ข้างหลัง ค้ำที่ทูบเท่านั้น มี
ฐาน ๓ บ้าง ๔ บ้าง ด้วยอำนาจแห่งไม้ค้ำ. สำหรับยานที่เขาเอาทูบพาดไว้บน
กระดานหรือบนไม้ มีฐาน ๔ . ยานที่เขาเอาทูบพาดไว้ที่แผ่นดินก็เหมือนกัน.
เมื่อภิกษุลากหรือยกยานนั้น ให้เคลื่อนจากฐานไปข้างหน้าและข้างหลัง เป็น
ถุลลัจจัย, เมื่อฐานที่ล้อทั้งสองจดอยู่ ล่วงเลยไปเพียงปลายเส้นผม ก็เป็น
ปาราชิก. สำหรับยานที่เบาถอดล้อออกแล้วเอาหัวเพลาทั้ง ๒ พาดไว้บนไม้
มีฐาน ๒. ภิกษุเมื่อลากหรือยกยานนั้น ให้ล่วงเลยโอกาสที่ถูกไป เป็นปาราชิก.
ยานที่เขาวางไว้บนแผ่นดิน มีฐาน ๕ ด้วยอำนาจแห่งที่ซึ่งจดกับทูบ และไม้
ค้ำเพลา ๔ อัน. เมื่อภิกษุจับยานนั้นที่ทูบลากไป ครั้นส่วนสุดข้างหน้ากับส่วน
สุดข้างหลังแห่งไม้ค้ำเพลา คลาดจากกัน เป็นปาราชิก. เมื่อจับที่ไม้ค้ำเพลา
ลากไป เมื่อส่วนเบื้องหลังกับส่วนเบื้องหน้าของไม้ค้ำเพลาคลาดจากกัน เป็น
ปาราชิก. เมื่อจับตรงสีข้างลากไป เป็นปาราชิก ในเมื่อที่ซึ่งไม้ค้ำเพลานั่นเอง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 158
จดอยู่ตามขวางคลาดจากกันไป. เมื่อจับตรงกลางยกขึ้น ครั้นโอกาสเพียงปลาย
เส้นผมพ้นจากแผ่นดิน เป็นปาราชิก. ถ้าไม้เดือยค้ำเพลาไม่มี, เขาทำปีกทูบ
ให้เท่ากันดีแล้ว เจาะตรงกลางสอดหัวเพลาเข้าไป. ยานนั้น ตั้งอยู่ถูกแผ่นดิน
ทั้งหมด โดยรอบพื้นเบื้องล่าง. ในยานนั้นพึงทราบว่า เป็นปาราชิกด้วย
อำนาจล่วงเลยฐานที่ถูกใน ๔ ทิศ และเบื้องบน. ล้อที่เขาวางเอาดุมตั้งบน
ภาคพื้น มีฐานเดียวเท่านั้น. การกำหนดล้อนั้น พึงทราบโดยอาการ ๕ อย่าง.
ล้อที่ตั้งให้ข้างกงและดุมภูมิ (ดิน) มีฐาน ๒. เมื่อภิกษุเอาเท้าเหยียบส่วนที่
เชิดขึ้นแห่งกงให้ถูกที่พื้นแล้วจับที่กำหรือที่กงยกขึ้น ฐานที่ตนทำไม่จัดเป็นฐาน.
เพราะเหตุนั้น เมื่อส่วนที่เหลือแม้ที่คงตั้งอยู่นั้น สักว่าล่วงเลยไป เป็นปาราชิก.
แม้สำหรับล้อที่เขาวางพิงฝาไว้ ก็มีฐาน ๒ . บรรดาฐานทั้ง ๒ นั้น เมื่อภิกษุ
ปลดออกจากฝาครั้งแรก เป็นถุลลัจจัย, ภายหลังในเมื่อยกขึ้นจากแผ่นดินเพียง
ปลายเส้นผม เป็นปาราชิก. แต่เมื่อภิกษุปลดให้พ้นจากพื้นดินครั้งแรก ถ้าฐาน
ที่ล้อตั้งอยู่ใกล้ฝา ไม่กระเทือน ก็มีนัยนี้แหละ. ถ้าเมื่อภิกษุจับที่กำลากไป
ข้างล่างปลายส่วนเบื้องบนแห่งโอกาสที่ตั้งถูกฝาล่วงเลยปลายส่วนเบื้องล่างไป
เป็นปาราชิก. ในยานที่กำลังเดินทางไปเจ้าของยานลงจากยานแวะออกจากทาง
ไปด้วยกรณียะบางอย่าง ถ้ามีภิกษุรูปอื่นเดินสวนทางมา พบเห็นยานว่างจาก
การอารักขา จึงคิดว่า เราจักลักเอายาน แล้วขึ้นขี่. โคทั้งหลายพาหลีกไป
เว้นจากความพยายามของภิกษุทีเดียว ไม่เป็นอวหาร. คำที่เหลือเป็นเช่นดัง
ที่กล่าวไว้แล้วในเรือ ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในยาน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 159
กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในภาระ
ถัดจากภัณฑะที่ตั้งอยู่ในยานนี้ไป ภาระนั่นแล ชื่อว่า ภารัฏฐะ (ภัณฑะ
ที่ตั้งอยู่ในภาระ). ภาระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ ๔ ประการด้วย
อำนาจแห่งสีสภาระเป็นต้น. ในภัณฑะที่ตั้งอยู่ในภาระนั้น พึงทราบการกำหนด
อวัยวะมีศีรษะเป็นต้น เพื่อความไม่ฉงนในภาระทั้งหลาย มีสีสภาระเป็นต้น.
บรรดาอวัยวะเหล่านั้น พึงทราบการกำหนดศีรษะก่อน; นี้กำหนดส่วนเบื้องล่าง
คือ ที่เบื้องหน้ามีหลุมคอ, ที่คอเบื้องหลังของคนบางพวก มีขวัญอยู่ที่
ท้ายผม, ที่ข้างทั้งสองแห่งหลุมคอนั่นเอง ผมของคนบางพวก เกิดลามลงมา,
ผมเหล่าใด เขาเรียกว่า จอนหู, ส่วนเบื้องต่ำแห่งผมเหล่านั้นด้วย. กำหนด
เบื้องบนแต่นั้นขึ้นไป พึงทราบว่าเป็นศีรษะ. ภาระที่ตั้งอยู่ในระหว่างนี้ ชื่อว่า
สีสภาระ.
อวัยวะที่ชื่อว่า คอในข้างทั้งสอง เบื้องต่ำตั้งแต่จอนหูลงไป, เบื้องบน
ตั้งแต่ข้อศอกขึ้นไป, เบื้องต่ำตั้งแต่รากขวัญที่ท้ายทอยและ หลุมคอลงไป.
เบื้องบนตั้งแต่รากขวัญกลางหลัง และหลุมตรงลิ้นปี่ ในท่ามกลางที่กำหนด
ของอกขึ้นไป. ภาระที่ตั้งอยู่ในระหว่างนี้ ชื่อว่า ขันธภาระ.
ส่วนเบื้องต่ำตั้งแต่รากขวัญกลางหลัง และหลุมตรงลิ้นปี่ลงไปจนถึง
ปลายเล็บเท้า, นี้เป็นการกำหนดแห่งสะเอว, ภาระที่ตั้งอยู่ในสรีระโดยรอบใน
ระหว่างนี้ ชื่อว่า กฏิภาระ.
ส่วนเบื้องต่ำตั่งแต่ข้อศอกลงไป จนถึงปลายเล็บมือ, นี้เป็นการกำหนด
แห่งของที่หิ้ว. ภาระที่ตั้งอยู่ในระหว่างนี้ ชื่อว่า โอลัมพกะ.
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยเป็นลำดับไป ในคำว่า สีเส ภาร เป็นต้น
ดังต่อไปนี้ :- ภิกษุใดอันพวกเจ้าของมิได้สั่งว่า ท่านจงถือเอาภัณฑะนี้ไปใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 160
ที่นี้ พูดเองเลยว่า ท่านจงมอบภัณฑะชื่อนี้ให้แก่ข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าจะนำเอา
ภัณฑะของพวกท่านไป ดังนี้ แล้วเอาศีรษะทูนภัณฑะของพวกชนเหล่านั้นไป
ลูบคลำภัณฑะนั้นด้วยไถยจิตต้องทุกกฎ. เมื่อยังไม่ทันให้ล่วงเขตกำหนดศีรษะ
ตามที่กล่าวแล้วเลย เป็นแต่ลากย้ายไปข้างนี้ ๆ บ้าง ลากย้ายกลับมาบ้าง ต้อง
ถุลลัจจัย, เมื่อภัณฑะนั้นพอเธอลดลงสู่คอ แม้พวกเจ้าของจะมีความคิดว่า
จงนำไปเถิด ดังนี้ ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้นก็ต้องปาราชิก เพราะตนมิได้ถูกพวก
เขาสั่งไว้. อนึ่ง เมื่อเธอแม้ไม่ได้ลดลงมาสู่คอ แต่ให้พ้นจากศีรษะ แม้เพียง
ปลายเส้นผม ก็เป็นปาราชิก. อนึ่ง สำหรับภาระคู่ส่วนหนึ่งตั้งอยู่บนศีรษะ
ส่วนหนึ่งตั้งอยู่ที่หลัง. ในภาระคู่นั้น พึงทราบวินิจฉัยด้วยอำนาจแห่งฐาน ๒.
แต่การชี้แจงนี้ ได้ปรารภด้วยอำนาจแห่งภาระ มีสีสภาระล้วน ๆ เป็นต้น
เท่านั้น. อนึ่ง แม้ในขันธภาระเป็นต้น ก็มีวินิจฉัยเหมือนที่กล่าวไว้ในสีสภาระ
นี้แหละ.
ส่วนในคำว่า หตฺเถ ภาร นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ภัณฑะที่
หิ้วไป เรียกว่า หัตถภาระ เพราะเป็นของที่ถือไปด้วยมือ. ภาระนั้นจะเป็น
ของที่ถือเอาจากภาคพื้นก่อนทีเดียว หรือจะเป็นของที่ถือเอาจากศีรษะเป็นต้น
ด้วยจิตบริสุทธิ์ก็ตามที ย่อมถึงความนับว่า หัตถภาระเหมือนกัน. เมื่อภิกษุ
เห็นที่รกชัฏเช่นนั้น จึงปลงภาระนั้นลงที่ภาคพื้นหรือที่กอไม้เป็นต้น ด้วย
ไถยจิต, เมื่อภาระนั้นสักว่าพ้นจากมือ เป็นปาราชิก.
ก็แล ในคำว่า ภูมิโต คณฺหาติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- เมื่อภิกษุ
ปลงภาระเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่งลง บนภาคพื้นด้วยจิตบริสุทธิ์ เพราะเหตุ
มีอาหารเช้าเป็นต้น แล้วกลับยกขึ้นอีกด้วยไถยจิต แม้เพียงเส้นผมเดียว ก็เป็น
ปาราชิก ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในภาระ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 161
กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในสวน
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในสวนต่อไป :- พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงสวนก่อน จึงตรัสว่า สวนดอกไม้ สวนผลไม้ ชื่อว่า
สวน ดังนี้. บรรดาสวนเหล่านั้น สวนเป็นที่บานแห่งดอกไม้ทั้งหลาย มีดอก
มะลิเป็นต้น ชื่อว่า สวนดอกไม้. สวนเป็นที่เผล็ดแห่งผลไม้ทั้งหลาย มีผล
มะม่วงเป็นต้น ชื่อว่า สวนผลไม้. วินิจฉัยภัณฑะที่เขาเก็บไว้แม้ในสวน
โดยฐาน ๔ มีนัยดังกล่าวแล้ว ในภัณฑะที่ตั้งอยู่ในภาคพื้นเป็นต้นนั่นแล.
ส่วนวินิจฉัยในของซึ่งเกิดในสวนนั้น พึงทราบดังนี้ :- รากไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง
มีแฝกและตะไคร้เป็นต้น ชื่อว่า เหง้า. เมื่อภิกษุถอนรากนั้นถือเอาก็ดี ถือเอา
ที่เขาถอนไว้แล้วก็ดี วัตถุแห่งปาราชิกจะเต็มด้วยรากใด, ครั้นเมื่อรากนั้น
อันเธอถือเอาแล้ว เป็นปาราชิก. แม้เหง้ามัน ก็สงเคราะห์เข้าด้วยรากเหมือน
กัน. ก็เมื่อภิกษุถอนเหง้าขึ้น เป็นถุลลัจจัยทีเดียว ในเมื่อเหง้านั่นยังไม่ขาด
แม้มีประมาณเล็กน้อย. คำที่เหลือ พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในเหง้าบัว
นั่นแล.
บทว่า ตจ ได้แก่ เปลือกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่พอจะใช้ประกอบ
เพื่อเป็นเครื่องยา หรือเพื่อเป็นเครื่องย้อม. เมื่อภิกษุถากถือเอาเปลือกไม้นั้น
หรือถือเอาเปลือกไม้ที่เขาถากไว้แล้ว เป็นปาราชิก โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วใน
รากไม้นั่นแล.
บทว่า ปุปฺผ ได้แก่ ดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีดอกมะลิเครือและ
มะลิซ้อนเป็นต้น. เมื่อภิกษุเก็บเอาดอกไม้นั้น หรือถือเอาดอกไม้ที่เขาเก็บไว้
แล้ว เป็นปาราชิก โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในดอกอุบลและดอกปทุมนั่นแล.
จริงอยู่ แม้ดอกไม้ทั้งหลาย มีขั้วหรือมีที่ต่อยังไม่ขาด ก็ยังรักษาอยู่. แต่
สำหรับดอกไม้บางเหล่า มีไส้อยู่ภายในขั้ว, ไส้นั้นรักษาไม่ได้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 162
บทว่า ผล ได้แก่ ผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีผลมะม่วงและผลตาล
เป็นต้น. วินิจฉัยสำหรับภิกษุผู้ถือเอาผลไม้นั้นจากต้นไม้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้
แล้วในกถาว่าด้วยภัณฑะที่คล้องไว้บนต้นไม้. ผลไม้ที่เขาเก็บวางไว้ สงเคราะห์
เข้าด้วยภัณฑะที่ตั้งอยู่บนภาคพื้นเป็นต้นนั่นแล.
สองบทว่า อาราม อภิยุญฺชติ ความว่า ภิกษุกล่าวเท็จตู่เอาสวน
ซึ่งเป็นของคนอื่นว่า นี้เป็นสวนของข้าพเจ้า ดังนี้ เป็นทุกกฏ เพราะเป็น
ประโยคแห่งอทินนาทาน.
หลายบทว่า สามิกสฺส วิมตึ อุปฺปาเทติ มีความว่า ภิกษุยังความ
สงสัยให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของสวน เพราะความเป็นผู้ฉลากในการวินิจฉัย หรือ
เพราะอาศัยคนที่มีกำลังเป็นต้น. คืออย่างไร ? คือตามความจริง เจ้าของเห็น
ภิกษุนั้น ซึ่งเป็นผู้ขวนขวายในการวินิจฉัยอยู่อย่างนั้น จึงคิดว่า เราจักอาจทำ
สวนนี้ให้กลับคืนเป็นของเรา หรือไม่หนอ ? ความสงสัย เมื่อเกิดขึ้นแก่
เจ้าของนั้น ย่อมชื่อว่า เป็นอันภิกษุนั้นให้เกิดขึ้นแล้ว ด้วยอาการดังกล่าวมานี้
เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น ย่อมต้องถุลลัจจัย.
สองบทว่า ธุร นิกฺขิปติ มีความว่า ก็เมื่อใด เจ้าของทอดธุระเสีย
ด้วยคิดว่า ภิกษุนี้ หยาบช้าทารุณ พึงทำแม้ซึ่งอันตรายแก่ชีวิตและพรหม-
จรรย์ของเรา, บัดนี้ เราไม่ต้องการสวนนี้ละ, เมื่อนั้น ภิกษุผู้ตู่ ย่อมต้อง
ปาราชิก หากแม้ตนจะเป็นผู้ทำการ*ทอดธุระเสียเองก็ตาม. แต่ถ้าเจ้าของทอด
ธุระแล้วก็ตาม ภิกษุผู้ตู่ ไม่ทอดธุระ ยังความอุตสาหะในอันจะพึงให้คืน
ทีเดียว ด้วยคิดว่า เราจักบีบเจ้าของสวนนี้ให้หนักแล้วแสดงความแผ่อำนาจ
ของเรา ตั้งเจ้าของสวนคนนั้นไว้ในความเป็นผู้รับใช้ แล้วจึงจักให้คืน ดังนี้,
ยังรักษาอยู่ก่อน. ถ้าแม้ภิกษุผู้ตู่ ครั้นแย่งชิงเอาแล้ว ก็ทอดธุระเสีย ด้วย
* โยชนาปาฐะ ๑/๓๒๔ ว่า อกโต ธุรนิกฺเขโป เอเตนาติ อกตธุรนิกฺเขโป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 163
คิดว่า บัดนี้ เราจักไม่คืนสวนนั้นให้แก่เจ้าของคนนี้ ฝ่ายเจ้าของก็ไม่ทอดธุระ
เสีย ยังเที่ยวแสวงหาพรรคพวก ทั้งรอคอยเวลาอยู่ ด้วยคิดว่า เราได้ลัชชี
บริษัทเสียก่อน ภายหลังจึงจักรู้ ดังนี้ ยังเป็นผู้มีความอุตสาหะในการรับคืน
ทีเดียว, ก็ยังรักษาอยู่นั่นเทียว. แต่เมื่อใด แม้ภิกษุผู้ตู่นั้นทอดธุระเสีย ด้วย
คิดว่า เราจักไม่คืนให้ ทั้งเจ้าของก็ทอดธุระเสียด้วยคิดว่า เราจักไม่ได้คืน
ทั้งสองฝ่ายทอดธุระเสียดังกล่าวมานี้ ; เมื่อนั้น ภิกษุผู้ตู่ เป็นปาราชิก. แต่
ถ้าภิกษุครั้นตู่แล้ว ก็ทำการวินิจฉัยความเสียเอง เมื่อวินิจฉัยยังไม่เสร็จ ทั้ง
เจ้าของก็มิได้ทอดธุระ รู้อยู่ทีเดียวว่า ตนมิใช่เป็นเจ้าของเลย ได้ถือเอาดอกไม้
หรือผลไม้บางอย่างจากสวนนั้น พระวินัยธรพึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ.
บทว่า ธมฺมญฺจรนฺโต ได้แก่ ภิกษุผู้ตู่ ทำการตัดสินความในหมู่
ภิกษุ หรือในราชตระกูล.
สองบทว่า สามิก ปราเชติ ความว่า ภิกษุผู้ตู่นั้น ให้ของกำนัล
แก่พวกผู้พิพากษา แล้วอ้างพยานโกง ย่อมชนะเจ้าของสวน.
สองบทว่า อาปตฺติ ปาราชิกสฺส ความว่า มิใช่จะเป็นปาราชิก
เฉพาะภิกษุผู้ประกอบคดีนั้นอย่างเดียวก็หามิได้ พวกภิกษุผู้พิพากษาโกงก็ดี
ผู้เป็นพยานโกงก็ดี ผู้แกล้งดำเนินคดีในการให้สำเร็จประโยชน์แก่ภิกษุผู้ฟ้อง-
ร้องนั้น ก็เป็นปาราชิกทั้งหมด. ก็ในคำว่า ธมฺมญฺจรนฺโต นี้ พึงทราบความ
ปราชัย ด้วยอำนาจเจ้าของทอดธุระเท่านั้น. จริงอยู่ เจ้าของยังไม่ทอดธุระ
จัดว่ายังไม่แพ้ทีเดียว.
หลายบทว่า ธมฺมญฺจรนฺโต ปรชฺชติ ความว่า แม้ถ้าตนเองถึง
ความปราชัย เพราะคำพิพากษาที่เป็นไปโดยธรรมโดยวินัย โดยสัตถุศาสน์.
แม้ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุผู้ตู่นั้น ยังต้องถุลลัจจัย เพราะทำการบีบคั้น
เจ้าของด้วยการกล่าวเท็จเป็นปัจจัย ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในสวน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 164
กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในวิหาร
พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์แม้ที่ตั้งอยู่ในวิหารต่อไป :- ทรัพย์ที่เก็บไว้
โดยฐาน ๔ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็วินิจฉัยแม้ในการตู่เอาทรัพย์ที่ตั้งอยู่
ในวิหารนี้ พึงทราบดังนี้ :- เมื่อภิกษุตู่เอาวิหารก็ดี บริเวณก็ดี อาวาสก็ดี
ทั้งใหญ่ ทั้งเล็ก ซึ่งเขาถวายพวกภิกษุอุทิศสงฆ์ มาจากทิศทั้ง ๔ ตู่ไม่ขึ้น,
ทั้งไม่อาจเพื่อจะแย่งชิงเอาได้. เพราะเหตุไร ? เพราะไม่มีการทอดธุระแห่ง
ภิกษุทั้งปวง. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหมดผู้อยู่ในทิศทั้ง ๔ จะทำการทอดธุระใน
วิหารเป็นต้นที่เป็นของสงฆ์นี้ไม่ได้แล. แต่ภิกษุผู้ตู่ถือเอาสิ่งของ ๆ คณะ อัน
ต่างด้วยคณะผู้กล่าวทีฆนิกายเป็นต้น หรือของบุคคลบางคน ย่อมอาจทำคณะ
และบุคคลบางคนนั้น พึงทราบวินิจฉัย โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในสวน
นั้นแล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในวิหาร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 165
กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในนา
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในภัณฑะที่ตั้งอยู่ในนาต่อไป :- พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงนาก่อน จึงตรัสว่า ที่ซึ่งปุพพัณชาติ หรืออปรัณ-
ชาติเกิด ชื่อว่า นา. บรรดาปุพพัณชาติเป็นต้นนั้น ข้าวเปลือก ๗ ชนิด
มีข้าวสาลีเป็นต้น ชื่อว่า ปุพพัณชาติ. พืชทั้งหลายมีถั่วเขียวและถั่วราชมาษ
เป็นต้น ชื่อว่า อปรัณชาติ. แม้ไร่อ้อยเป็นต้น ก็สงเคราะห์เข้าในบทว่า
อปรัณชาติ นี้เหมือนกัน. ภัณฑะที่เขาเก็บไว้โดยฐาน ๔ แม้ในทรัพย์ที่ตั้ง
อยู่ในนานี้ ก็มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ส่วนในภัณฑะที่เกิดขึ้นในนานั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- เมื่อภิกษุแย่งชิง
เอาธัญชาติมีรวงข้าวสาลีเป็นต้นก็ดี ใช้มือนั่นเองเด็ดเอาหรือใช้เคียวเกี่ยวเอา
ทีละรวง ๆ ก็ดี หรือถอนรวมกันเอาทีละมาก ๆ ก็ดี วัตถุปาราชิก จะครบใน
เมล็ด ในรวง ในกำ หรือในผลมีถั่วเขียวและถั่วราชมาษเป็นต้นใด ๆ เมื่อ
เมล็ดเป็นต้นนั้น ๆ สักว่าเธอให้หลุดจากขั้ว เป็นปาราชิก. ส่วนลำต้นก็ดี
ใยก็ดี เปลือกก็ดี ที่ยังไม่ขาดแม้มีประมาณน้อย ก็ยังรักษาอยู่. ซังข้าวเปลือก
แม้เป็นของยาว, ลำต้นของรวงข้าวเปลือก ยังไม่หลุดออกจากซังข้าวภายใน
เพียงใด, ยังรักษาอยู่เพียงนั้น เมื่อพื้นเบื้องล่างของลำต้น หลุดออกจากซัง
ข้าวแล้ว แม้เพียงปลายเส้นผม พระวินัยธรพึงปรับอาบัติด้วยอำนาจราคา
สิ่งของ. ก็เมื่อภิกษุใช้เคียวเกี่ยวถือเอา ครั้นเมื่อลำต้นข้าวอยู่ในกำมือ แม้
ขาดแล้วในตอนล่าง, ถ้ารวงทั้งหลายยังเกี่ยวประสานกันอยู่, ยังรักษาอยู่ก่อน.
แต่เมื่อเธอสางยกขึ้นแม้เพียงปลายเส้นผม, ถ้าวัตถุปาราชิกครบ เป็นปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 166
ก็แล เมื่อภิกษุถือเอาข้าวเปลือกที่เจ้าของเกี่ยววางไว้พร้อมทั้งข้าวลีบ หรือทำ
ให้หมดข้าวลีบ, วัตถุปาราชิกจะครบด้วยรวงใด, ครั้นเมื่อรวงนั้นอันเธอถือ
เอาแล้ว เป็นปาราชิก. ถ้าเธอกำหนดหมายไว้ว่า เราจักนวดข้าวเปลือกนี้
แล้วจักฝัดถือเอาแต่เมล็ดข้าวเท่านั้น ดังนี้, ยังรักษาอยู่ก่อน. แม้เมื่อเธอให้
เคลื่อนจากฐาน ในเพราะการนวดและฝัด ยังไม่เป็นปาราชิก ภายหลัง เมื่อ
เธอสักว่าตักใส่ภาชนะ เป็นปาราชิก. ส่วนการตู่เอาในภัณฑะที่ตั้งอยู่ในนานี้
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ในการปักหลักรุกล้ำเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ขึ้นชื่อว่าแผ่นดินเป็น
ของหาค่ามิได้ ; เพราะเหตุนั้น ถ้าว่าภิกษุทำประเทศแห่งแผ่นดิน แม้เพียง
ปลายเส้นผมให้เป็นของ ๆ ตน ด้วยหลักเพียงอันเดียวเท่านั้น พวกเจ้าของจะ
เห็นหรือไม่เห็นก็ตาม, ที่หลักนั้น จะจารึกชื่อหรือไม่จารึกก็ตาม พอเธอรุก
เสร็จ ก็เป็นปาราชิก แก่เธอด้วย แก่ภิกษุทั้งปวงผู้มีฉันทะร่วมกับเธอด้วย
แต่ถ้าที่นานั้น เป็นของที่จะพึงโกงเอาได้ ด้วยหลัก ๒ อัน, เป็นถุลลัจจัยใน
หลักอันที่ ๑, เป็นปาราชิกในหลักอันที่ ๒. ถ้าเป็นของที่จะพึงโกงเอาได้ด้วย
หลัก ๓ อัน เป็นทุกกฏในหลักอันที่ ๑ เป็นถุลลัจจัยในหลักอันที่ ๒ เป็น
ปาราชิกในหลักอันที่ ๓. แม้ในหลักมากอัน ก็พึงทราบว่า เป็นทุกกฏด้วย
หลักต้น ๆ เว้นในที่สุดไว้ ๒ หลัก เป็นถุลลัจจัยด้วยหลักอันหนึ่ง แห่งสอง
หลักในที่สุด, เป็นปาราชิกด้วยหลักอีกอันหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้. ก็ปาราชิก
นั้นแล ย่อมมีด้วยความทอดธุระของพวกเจ้าของ. ในการรุกทั้งปวงมีการรุกล้ำ
ด้วยเชือกเป็นต้น ก็อย่างนี้.
บทว่า รชฺชุ วา มีความว่า ภิกษุมีความประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจว่า
นานี้เป็นของเรา ขึงเชือกก็ตาม ทอดไม้เท้าลงก็ตาม ต้องทุกกฏ เมื่อเธอทำ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 167
ในใจว่า บัดนี้เราจักทำให้เป็นของ ๆ ตน ด้วย ๒ ประโยค เป็นถุลลัจจัย ใน
ประโยคที่หนึ่งแห่ง ๒ ประโยคนั้น, เป็นปาราชิกในประโยคที่ ๒.
บทว่า วติ วา มีความว่า ภิกษุมีความประสงค์จะทำนาของผู้อื่นให้
เป็นของ ๆ ตน ด้วยอำนาจแห่งการล้อม จึงปักหลักกระทู้ลง ต้องทุกกฏทุก ๆ
ประโยค, เมื่อประโยคหนึ่งยังไม่สำเร็จ เป็นถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ
แล้ว เป็นปาราชิก. ถ้าเธอไม่อาจทำด้วยประโยคมีประมาณเท่านั้น แต่อาจ
ทำให้เป็นของ ๆ ตนได้ ด้วยล้อมไว้ด้วยกิ่งไม้เท้านั้น แม้ในการทอดกิ่งไม้ลง
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ภิกษุอาจเพื่อจะล้อมด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้เป็น
ของ ๆ ตนได้ ด้วยประการอย่างนี้, ในวัตถุนั้น ๆ พึงทราบว่า เป็นทุกกฏ
ด้วยประโยคต้น ๆ, เป็นถุลลัจจัยด้วยประโยคอันหนึ่ง แห่งสองประโยคใน
ที่สุด, เป็นปาราชิกด้วยประโยคนอกจากนี้.
บทว่า ปริยาท วา มีความว่า ภิกษุมีความประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจ
นาของผู้อื่นว่า นี้เป็นนาของเรา จึงรุกคันนาของตนเข้าไป โดยประการที่
แนวนา (ของตน) จะล้ำนาของผู้อื่น หรือเอาดินร่วนและดินเหนียวเป็นต้น
เสริมทำให้กว้างออกไป หรือว่าตั้งคันนาที่ยังไม่ได้ทำขึ้น ต้องทุกกฏในประโยค
ต้น ๆ, เป็นถุลลัจจัยด้วยประโยคอันหนึ่ง แห่งสองประโยคหลัง, เป็นปาราชิก
ด้วยประโยคนอกจากนี้ ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในนา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 168
กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่อไป :- พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงพื้นที่ก่อน จึงตรัสว่า วตฺถุ นาม อารามวตฺถุ
วิหารวตฺถุ ( ที่ชื่อว่าพื้นที่ ได้แก่พื้นที่สวน พื้นที่วิหาร ) ดังนี้. บรรดา
พื้นที่สวนเป็นต้นนั้น ภูมิภาคที่เขามิได้ปลูกพืช หรือต้นไม้ที่ควรปลูกไว้เลย
แผ้วถางพื้นดินไว้อย่างเดียว หรือล้อมด้วยกำแพง ๓ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง
เพื่อประโยชน์แก่สวนดอกไม้เป็นต้น ชื่อว่า อารามวัตถุ. ภูมิภาคที่เขาตั้งไว้
เพื่อประโยชน์แก่วิหารบริเวณ และอาวาสหนึ่ง ๆ โดยนัยนั้นนั่นเอง ชื่อว่า
วิหารวัตถุ. ภูมิภาคแม้ใดในกาลก่อน เป็นอารามและเป็นวิหาร, ภายหลัง
ร้างไป ตั้งอยู่เป็นเพียงภูมิภาค ไม่สำเร็จกิจแห่งอารามและวิหาร ภูมิภาคแม้
นั้นก็สงเคราะห์ โดยการรวมเข้าในอารามวัตถุและวิหารวัตถุเหมือนกัน. ส่วน
วินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สวนและพื้นที่วิหารนี้ เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้ว
ในนานั่นเอง ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
คำที่ควรจะกล่าวในภัณฑะที่ตั้งอยู่ในบ้าน ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว
ทั้งนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 169
กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า
วินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า พึงทราบดังนี้ :- พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงแสดงป่าก่อน จึงตรัสว่า อรญฺ นาม ย มนุสฺสาน ปริคฺคหิค
โหติ, ต อรญฺ (ที่ชื่อว่าป่า ได้แก่ป่าที่พวกมนุษย์หวงห้าม) ดังนี้. ในคำว่า
อรญฺ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- เพราะขึ้นชื่อว่า แม้ที่พวกมนุษย์หวงห้าม
ก็มี แม้ที่ไม่หวงห้ามก็มี, ในอธิการนี้ ท่านประสงค์เอาป่าที่เขาหวงห้าม
มีการอารักขา เป็นแดนที่พวกมนุษย์ไม่ได้เพื่อจะถือเอาไม้และเถาวัลย์เป็นต้น
โดยเว้นจากมูลค่า ; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ป่าเป็นที่
พวกมนุษย์หวงห้าม แล้วตรัสอีกว่า ชื่อว่าป่า ดังนี้.
ด้วยคำว่าป่านั้น ท่านแสดงความหมายนี้ดังนี้ว่า ความเป็นที่
หวงห้ามไม่จัดเป็นลักษณะของป่า, แต่ที่เป็นป่าโดยลักษณะของตน และพวก
มนุษย์หวงห้าม ชื่อว่าป่าในความหมายนี้. วินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่านั้น
ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้วในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในสวนเป็นต้น.
ก็บรรดาต้นไม้ที่เกิดในป่านั้น เมื่อต้นไม้ที่มีราคามากแม้เพียงต้นเดียว
ในป่านี้ สักว่าภิกษุตัดขาดแล้ว ก็เป็นปาราชิก. อนึ่ง ในบทว่า ลต วา นี้
หวายก็ดี เถาวัลย์ก็ดี ก็ชื่อว่าเถาวัลย์ทั้งนั้น. บรรดาหวายและเถาวัลย์เหล่านั้น
หวายหรือเถาวัลย์ใด เป็นของยาวซึ่งยื่นไป หรือเกี่ยวพันต้นไม้ใหญ่และกอไม้
เลื้อยไป เถาวัลย์นั้น ภิกษุตัดที่รากแล้วก็ดี หรือตัดที่ปลายก็ดี ไม่ยังอวหาร
ให้เกิดขึ้นได้. แต่เมื่อใดภิกษุตัดทั้งที่ปลายทั้งที่ราก เมื่อนั้น ย่อมยังอวหาร
ให้เกิดได้ หากเถาวัลย์ไม่เกี่ยวพัน (ต้นไม้) อยู่. ส่วนที่เกี่ยวพัน (ต้นไม้) อยู่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 170
พอภิกษุคลายออกพ้นจากต้นไม้ ย่อมยังอวหารให้เกิดได้. หญ้าก็ตาม ใบไม้
ก็ตาม ทั้งหมดนั้น ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยศัพท์ว่าหญ้า ในบทว่า ติณ วา นี้
ภิกษุถือเอาหญ้านั้น ที่ผู้อื่นตัดไว้เพื่อประโยชน์แก่เครื่องมุงเรือนเป็นต้น หรือ
ที่ตนเองตัดเอา พระวินัยธรพึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ และจะปรับอาบัติ
แต่เฉพาะถือเอาหญ้าและใบไม้อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ ถือเอาเปลือกและสะเก็ด
เป็นต้นแม้อย่างอื่นชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ. เมื่อ
ภิกษุถือเอาวัตถุมีเปลือกไม้เป็นต้น ซึ่งพวกเจ้าของยังความอาลัยอยู่ พึงปรับ
อาบัติตามราคาสิ่งของ แม้ต้นไม้ที่เขาถากทิ้งไว้นานแล้ว ก็ไม่ควรถือเอา.
ส่วนต้นไม้ใด ซึ่งเขาตัดที่ปลายและรากแล้ว กิ่งของต้นไม้นั้นเกิดเน่าผุบ้าง
สะเก็ดทั้งหลายกะเทาะออกบ้าง, จะถือเอาด้วยคิดว่า ต้นไม้นี้ พวกเจ้าของ
ทอดทิ้งแล้ว ดังนี้ ควรอยู่. แม้ต้นไม้ที่สลักเครื่องหมายไว้เมื่อใดเครื่องหมาย
ถูกสะเก็ดงอกปิด เมื่อนั้น จะถือเอาก็ควร. มนุษย์ทั้งหลาย ตัดต้นไม้เพื่อ
ประโยชน์แก่เรือนเป็นต้น เมื่อใด เขาสร้างเรือนเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว และ
เข้าอยู่อาศัย, เมื่อนั้น แม้ไม้ทั้งหลาย ย่อมเสียหายไปเพราะฝนและแดดแผดเผา
อยู่ในป่า. ภิกษุพบเห็น ไม้แม้เช่นนี้ จะถือเอาด้วยคิดว่า เขาทอดทิ้งแล้ว ดังนี้
ควรอยู่ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ไม้เหล่านั้นเจ้าของป่า ( เจ้าพนักงาน
ป่าไม้ ) ไม่มีอิสระ. ไม้ทั้งหลายที่ชนเหล่าใดให้ไทยธรรม ( ค่าภาคหลวง )
แก่เจ้าของป่าแล้วจึงตัด, ชนเหล่านั้นนั่นเอง เป็นอิสระแห่งไม้เหล่านั้น และ
ชนเหล่านั้น ก็ทิ้งไม้เหล่านั้น พวกเขาเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในไม้เหล่านั้นแล้ว;
เพราะเหตุนั้น ภิกษุจะถือเอาไม้เช่นนั้นก็ควร. แม้ภิกษุรูปใด ให้ไทยธรรม
(ค่าภาคหลวง) แก่พนักงานผู้รักษาป่าไม้ก่อนทีเดียวแล้วเข้าป่า ให้ไวยาวัจกร
ถือเอาไม้ทั้งปลายได้ตามความพอใจ, การที่ภิกษุรูปนั้น แม้จะไม่ไปยังที่อารักขา
(ด่านตรวจ) ของเจ้าพนักงานผู้รักษาป่าไม้เหล่านั้น ไปโดยทางตามที่ตนชอบใจ
ก็ควร. แม้ถ้าเธอเมื่อเข้าไป ยังไม้ได้ให้ไทยธรรม ทำในใจว่า ขณะออกมา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 171
จักให้ ดังนี้ ให้ถือเอาไม้ทั้งหลาย แล้วขณะออกมาให้ไทยธรรมที่ควรให้
แก่พวกเจ้าพนักงานผู้รักษาป่าไม้เหล่านั้นแล้วไป สมควรแท้. แม้ถ้าเธอทำ
ความผูกใจไว้แล้วจึงไป เมื่อเจ้าพนักงานผู้รักษาป่าไม้ทวงว่า ท่านจงให้
ตอบว่า อาตมาจักให้ เมื่อเขาทวงอีกว่า จงให้ ควรให้ทีเดียว ถ้ามีบางคน
ให้ทรัพย์ของตนแล้ว พูด (กับเจ้าพนักงาน) ว่า พวกท่านจงให้ภิกษุไปเถิด
ดังนี้, ภิกษุจะไปตามข้ออ้างที่ตนได้แล้วนั้นแลควรอยู่. แต่ถ้าบางคนมีชาติ
เป็นอิสระ (เจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่) ไม่ได้ให้ทรัพย์เลย ห้ามไว้ว่า พวกท่านอย่าได้
รับค่าภาคหลวงสำหรับพวกภิกษุ ดังนี้ แต่พวกเจ้าพนักงานผู้รักษาป่าไม้
พูดว่า เมื่อพวกเราไม่รับเอาของพวกภิกษุและดาบส จักได้จากที่ไหนเล่า ?
ให้เถิดขอรับ ! ดังนี้, ภิกษุควรให้เหมือนกัน. ส่วนภิกษุรูปใด เมื่อเจ้า-
พนักงานผู้รักษาป่าไม้นอนหลับ หรือขลุกขลุ่ยอยู่ในการเล่น หรือหลีกไปใน
ที่ไหน ๆ เสีย มาถึงแล้วแม้เรียกหาอยู่ว่า เจ้าพนักงานผู้ควบคุมป่าไม้ อยู่ที่
ไหนกัน ดังนี้ ครั้นไม่พบ จึงไปเสีย, ภิกษารูปนั้น เป็นภัณฑไทย. ฝ่ายภิกษุ
รูปใด ครั้นไปถึงสถานที่อารักขาแล้ว แต่มัวใฝ่ใจถึงกรรมฐานเป็นต้นอยู่
หรือส่งจิตไปที่อื่นเสีย เลยผ่านไป เพราะระลึกไม่ได้ , ภิกษุรูปนั้น เป็น
ภัณฑไทยเหมือนกัน. แม้ภิกษุรูปใด ไปถึงสถานที่นั้นแล้ว มีโจร ช้าง เนื้อร้าย
หรือมหาเมฆปรากฏขึ้น, เมื่อภิกษุรูปนั้น รีบผ่านเลยสถานที่นั้นไป เพราะ
ต้องจะพ้นจากอุปัทวะนั้น, ยังรักษาอยู่ก่อน, แต่ก็เป็นภัณฑไทย. ก็ขึ้น
ชื่อว่า สถานที่อารักขาในป่านี้ เป็นของหนักมาก แม้กว่าด่านภาษี. จริงอยู่
ภิกษุเมื่อไม่ก้าวเข้าไปสู่เขตแดน ด่านภาษี หลบหลีกไปเสียแต่ที่ไกล จะต้อง
เพียงทุกกฎเท่านั้น แต่เมื่อเธอหลบหลีกที่อารักขาในป่านี้ไปด้วยไถยจิต ถึง
จะไปโดยทางอากาศก็ตาม ก็เป็นปาราชิกโดยแท้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุไม่ควร
เป็นผู้ประมาทในสถานที่อารักขาในป่า ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 172
กถาว่าด้วยน้ำ
ก็ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในน้ำดังนี้ :- บทว่า ภาชนคต ได้แก่
น้ำที่เขารวมใส่ไว้ในภาชนะทั้งหลายมีไหใส่น้ำเป็นต้น ในเวลาที่หาน้ำได้ยาก.
เมื่อภิกษุเอียงภาชนะที่เขาใส่น้ำนั้นก็ดี ทำให้เป็นช่องทะลุก็ดี แล้วสอดภาชนะ
ของตนเข้าไปรับเอาน้ำที่มีอยู่ ในภาชนะของเขาเหล่านั้น กับในสระโบกขรณี
และบ่อ ก็พึงทราบวินิจฉัยโดยนัยดังที่กล่าวไว้ในเนยใสและน้ำมันนั่นแล. ส่วน
ในการเจาะคันนา มีวินิจฉัยดังนี้ :- เมื่อภิกษุเจาะคันนาแม้พร้อมทั้งภูตคาม
ซึ่งเกิดขึ้นในคันนานั้น เป็นทุกกฏ เพราะเป็นประโยคแห่งอทินนาทาน. ก็แล
ทุกกฏนั้น ย่อมเป็นทุก ๆ ครั้งที่ขุดเจาะ. ภิกษุยืนอยู่ข้างใน แล้วหันหน้าไป
แล้วหันหน้าเข้าไปข้างในเจาะอยู่ พึงปรับอาบัติด้วยส่วนข้างใน, เมื่อเธอเจาะ
หันหน้าไปทั้งข้างในและข้างนอก คือ ยืนอยู่ที่ตรงกลางทำลายคันนานั้นอยู่
พึงปรับอาบัติด้วยส่วนตรงกลาง.
ภิกษุทำคันนาให้ชำรุดแล้ว จึงร้องเรียกฝูงโคมาเอง หรือใช้ให้พวก
เด็กชาวบ้านร้องเรียกมาก็ตาม, ฝูงโคเหล่านั้นพากันเอากีบเล็บตัดคันนา เป็น
อันว่าภิกษุรูปนั้นนั่นเองตัดคันนา. ภิกษุทำคันนาให้ชำรุดแล้ว ต้อนฝูงโคเข้า
ไปในน้ำ หรือสั่งพวกเด็กชาวบ้านให้ต้อนเข้าไปก็ตาม, ระลอกคลื่นที่โค
เหล่านั้นทำให้เกิดขึ้นซัดทำลายคันนาไป. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุพูดชวนพวกเด็ก
ชาวบ้านว่า จงพากันเล่นน้ำเถิด หรือตวาดพวกเด็กผู้เล่นอยู่ให้สะดุ้งตกใจ,
ระลอกคลื่นที่เด็กเหล่านั้นทำให้ตั้งขึ้น ทำลายคันนาไป. ภิกษุตัดต้นไม้ที่เกิด
อยู่ภายในน้ำเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นตัดก็ตาม, ระลอกคลื่นแม้ที่ต้นไม้ซึ่งล้มลงนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 173
ทำให้ตั้งขึ้น ซัดทำลายคันนาไป, เป็นอันว่าภิกษุรูปนั้นนั่นเอง เป็นผู้ทำลาย
คันนา. ภิกษุทำคันนาให้ชำรุดแล้ว ปิดน้ำที่เขาไขออกไป หรือปิดลำราง
สำหรับไขน้ำออกจากสระเสีย เพื่อต้องการรักษาสระก็ดี ก่อคันหรือแต่งลำราง
ให้ตรง โดยอาการที่น้ำซึ่งไหลบ่าไปแต่ที่อื่น จะไหลเข้าไปในสระนี้ได้ก็ดี
พังสระของตนซึ่งอยู่เบื้องบนสระของคนอื่นนั้นก็ดี, น้ำที่เอ่อล้นขึ้น ไหลบ่า
พัดเอาคันนาไป, เป็นอันว่าภิกษุรูปนั้นนั่นเอง เป็นผู้ทำลายคันนา. ในที่ทุก ๆ
แห่ง พระวินัยธรพึงปรับด้วยอวหาร พอเหมาะสมแก่ราคาน้ำที่ไหลออกไป.
แม้เมื่อภิกษุรื้อถอนท่อลำรางสำหรับไขน้ำออกไปเสีย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
อนึ่ง ถ้าภิกษุนั้นทำคันนาให้ชำรุดแล้ว ฝูงโคซึ่งเดินมาตามธรรมดา
ของตนนั่นเอง หรือพวกเด็กชาวบ้านผู้ไม่ได้ถูกบังคับ ช่วยกันขับต้อนให้ขึ้น
ไปเอากีบเล็บตัดคันนาก็ดี ฝูงโคที่พวกเด็กชาวบ้านผู้ไม่ได้ถูกบังคับ ช่วยกัน
ขับต้อนให้ลงไปในน้ำตามธรรมดาของตนเอง ทำให้ระลอกคลื่นตั้งขึ้นก็ดี,
พวกเด็กชาวบ้านพากันเข้าไปเล่นน้ำเสียเอง ทำให้ระลอกคลื่นตั้งขึ้นก็ดี, ต้นไม้
(ซึ่งเกิดอยู่) ภายในน้ำ ที่ถูกชนเหล่าอื่นตัดขาดล้มลงแล้ว ทำระลอกคลื่นให้
ตั้งขึ้น, ระลอกคลื่นนั้น ๆ ซัดคันนาขาดก็ดี, แม้หากว่า ภิกษุทำคันนาให้ชำรุด
แล้ว ปิดที่ ๆ เขาไขน้ำออกไป หรือลำรางสำหรับไขน้ำแห่งสระที่แห้ง ก่อคัน
หรือแต่งลำรางที่แห้งให้ตรงทางน้ำที่จะไหลบ่าไปแต่ที่อื่น, ภายหลังในเมื่อฝน
ตก น้ำไหลบ่ามาเซาะทำลายคันนาไป, ในที่ทุก ๆ แห่ง เป็นภัณฑไทย. ส่วน
ภิกษุใด ทำลายคันบึงแห้งในฤดูแล้งให้พังลงจนถึงพื้น, ภายหลังในเมื่อฝนตก
น้ำที่ไหลมาครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ไหลผ่านไป, เป็นภัณฑไทยแก่ภิกษุรูปนั้น.
ข้าวกล้ามีประมาณเท่าใด ที่เกิดขึ้นเพราะมีน้ำนั้นเป็นปัจจัย, ภิกษุเมื่อไม่ใช้
แม้ค่าทดแทนเท่าราคาบาทหนึ่งจากข้าวกล้า (ที่เสียไป) นั้น จัดว่าไม่เป็นสมณะ
เพราะพวกเจ้าของทอดธุระ. แต่พวกชาวบ้านแม้ทั้งหมด เป็นอิสระแห่งน้ำใน
บึงทั่วไปแก่ชนทั้งปวง และปลูกข้าวกล้าทั้งหลายไว้ภายใต้แห่งบึงนั้นด้วย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 174
น้ำก็ไหลออกจากลำรางใหญ่แต่บึงไปโดยท่ามกลางนา เพื่อหล่อเลี้ยงข้าวกล้า.
แม้ลำรางใหญ่นั้น ก็เป็นสาธารณะแก่ชนทั้งปวง ในเวลาน้ำไหลอยู่เสมอ.
ส่วนพวกชนชักลำรางเล็ก ๆ ออกจากลำรางใหญ่นั้น แล้วไขน้ำให้เข้าไปในนา
ของตน ๆ. ไม่ย่อมให้คนเหล่าอื่นถือเอาน้ำในลำรางเล็กของตนนั้น, เมื่อมี
น้ำน้อย ในฤดูแล้ง จึงแบ่งปันน้ำให้กันตามวาระ. ผู้ใด เมื่อถึงวาระน้ำ
ไม่ได้น้ำ, ข้าวกล้าของผู้นั้นย่อมเหี่ยวแห้งไป, เพราะเหตุนั้น ผู้อื่นจะรับเอา
น้ำในวาระของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่ได้. บรรดาลำรางเล็กเป็นต้นนั้น ภิกษุใด
ไขน้ำจากลำรางเล็ก หรือจากนาของชนเหล่าอื่น ให้เข้าไปยังเหมืองหรือนา
ของตน หรือของคนอื่นด้วยไถยจิตก็ดี ให้น้ำไหลบ่าปากดงไปก็ดี, ภิกษุนั้น
เป็นอวหารแท้. ฝ่ายภิกษุใด คิดว่า นาน ๆ เราจักมีน้ำสักคราวหนึ่ง และ
ข้าวกล้านี้ก็เหี่ยวแห้งจึงปิดทางไหลของน้ำที่กำลังไหลเข้าไปในนาของชนเหล่า
อื่นเสีย แล้วให้ไหลเข้าไปยังนาของตน, ภิกษุนั้นเป็นอวหารเหมือนกัน. ก็ถ้า
ว่าเมื่อน้ำยังไม่ไหลออกจากบึง หรือยังไม่ไหลไปถึงปากเหมืองของชนเหล่าอื่น,
ภิกษุก่อลำรางแห้งนั่นเองไว้ในที่นั้น ๆ โดยอาการที่น้ำซึ่งกำลังไหลมา จะไม่
ไหลเข้าไปในนาของชนเหล่าอื่น ไหลเข้าไปแต่ในนาของตนเท่านั้น, เมื่อน้ำ
ยังไม่ไหลออกมา แต่ภิกษุได้ก่อคันไว้ก่อนแล้ว ก็เป็นอันเธอก่อไว้ดีแล้ว, เมื่อ
น้ำไหลออกมาแล้ว ถ้าภิกษุก่อคันไว้ เป็นภัณฑไทย. แม้เมื่อภิกษุไปยังบึง
แล้วรื้อถอนท่อลำรางสำหรับไขน้ำออกเสียเอง ให้น้ำไหลเข้าไปยังนาของตน
ไม่เป็นอวหาร. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่าตนอาศัยบึงจึงได้ทำนา. แต่ไม่
สมด้วยลักษณะนี้ว่า วัตถุกาละและเทสะเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น คำที่ท่าน
กล่าวไว้ในมหาอรรถกถานั่นแหละ ชอบแล้ว ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยน้ำ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 175
กถาว่าด้วยไม้ชำระฟัน
ไม้ชำระฟัน อันผู้ศึกษาพึงวินิจฉัยตามข้อที่วินิจฉัยไว้ในภัณฑะตั้งอยู่
ในสวน. ส่วนความแปลกกันในไม้ชำระฟันนี้ มีดังต่อไปนี้ :-
ไวยาวัจกรคนใด เป็นผู้ที่สงฆ์เลี้ยงไว้ด้วยค่าบำเหน็จ ย่อมนำไม้ชำระ
ฟันมาถวายทุกวัน หรือตามวารปักษ์และเดือน. ไวยาวัจกรคนนั้น นำไม้
ชำระฟันนั้นมา แม้ตัดแล้ว ยังไม่มอบถวายภิกษุสงฆ์เพียงใด, ไม้ชำระฟันนั้น
ก็ยังเป็นของไวยาวัจกรผู้นำมานั้นนั่นเอง เพียงนั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อ
ถือเอาไม้ชำระฟันนั้นด้วยไถยจิต พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ. อนึ่ง มีของ
ครุภัณฑ์ซึ่งเกิดขึ้นในอารามนั้น, ภิกษุเมื่อถือเอาของครุภัณฑ์แม้นั้น ที่ภิกษุ
สงฆ์รักษาคุ้มครอง ก็พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ. ในไม้ชำระฟันที่ตัดแล้ว
และยังมิได้ตัด ซึ่งเป็นของคณะบุคคลและมนุษย์คฤหัสถ์ก็ดี ในภัณฑะที่เกิด
ขึ้นในอารามและสวนเป็นต้น ของคณะบุคคลและมนุษย์คฤหัสถ์เหล่านั้นก็ดี
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. สามเณรทั้งหลาย เมื่อนำไม้ชำระฟันมาถวายแก่ภิกษุสงฆ์
ตามวาระ ย่อมนำมาถวายแม้แก่พระอาจารย์และอุปัชฌายะ (ของตน). เธอ
เหล่านั้น ครั้นตัดไม้ชำระฟันนั้นแล้ว ยังไม่มอบถวายสงฆ์เพียงใด, ไม้ชำระ
ฟันนั้นแม้ทั้งหมด ก็ยังเป็นของเธอเหล่านั้นนั่นเองเพียงนั้น, เพราะเหตุนั้น
ภิกษุเมื่อถือเอาไม้ชำระฟันแม้นั้นด้วยไถยจิต ก็พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ.
แต่เมื่อใด สามเณรเหล่านั้นตัดไม้ชำระฟันแล้ว ได้มอบถวายสงฆ์แล้ว แต่ยัง
เก็บไว้ในโรงไม้ชำระฟัน ด้วยคิดในใจอยู่ว่า ภิกษุสงฆ์จงใช้สอยตามสบาย
เถิด ดังนี้, ตั้งแต่กาลนั้นไป ไม่เป็นอวหาร แต่ก็ควรทราบธรรมเนียม.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 176
จริงอยู่ ภิกษุรูปใด เข้าไปในท่ามกลางสงฆ์ทุกวัน, ภิกษุรูปนั้น ควรถือเอา
ไม้ชำระฟันได้เพียงวันละอันเท่านั้น. ส่วนภิกษุรูปใด ไม่เข้าไปในท่ามกลาง
สงฆ์ทุกวัน พักอยู่ในเรือนที่บำเพ็ญเพียร จะปรากฏตัวได้ก็แต่ในที่ฟังธรรม
หรือในโรงอุโบสถ ; ภิกษุรูปนั้นควรกำหนดประมาณ แล้วเก็บไม้ชำระฟัน
๔ - ๕ อันไว้ในที่อยู่ของตนเคี้ยวเถิด. เมื่อไม้ชำระฟันเหล่านั้น หมดไปแล้ว
แต่ถ้าในโรงไม้ชำระฟัน ยังมีอยู่มากที่เดียว ก็ควรนำมาเคี้ยวได้อีก, ถ้าเธอ
ไม่กำหนดประมาณ ยังนำมาอยู่ไซร้, เมื่อไม้ชำระฟันเหล่านั้นยังไม่หมดสิ้น
ไปเลย, แต่ในโรงหมดไป ; คราวนั้น พระเถระทั้งหลายบางพวกจะพึงพูดว่า
พวกภิกษุผู้นำไม้ชำระฟันไป จงนำมาคืน, บางพวกจะกล่าวว่า จงเคี้ยวไปเถิด,
พวกสามเณรจักขนมาถวายอีก เพราะเหตุนั้น จึงควรกำหนดประมาณ เพื่อ
ป้องกันการวิวาทกัน แต่ไม่มีโทษในการถือเอา. แม้ภิกษุผู้จะเดินทาง ควร
ใส่ไม้ชำระฟันหนึ่งหรือสองอันในถุงย่ามแล้วจึงไป ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยไม้ชำระฟัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 177
กถาว่าด้วยต้นไม้เจ้าป่า
บทว่า วนปฺปติ ได้แก่ ต้นไม้เป็นเจ้าแห่งป่า คำว่า วนัปปติ นั่น
เป็นชื่อของต้นไม้ที่เจริญที่สุดในป่า. ก็ต้นไม้ที่พวกมนุษย์หวงห้ามแม้ทั้งหมด
มีมะม่วง ขนุนสำมะลอ และขนุนธรรมดาเป็นต้น ท่านประสงค์เอาในอธิการนี้.
ก็หรือว่า พวกมนุษย์ปลูกกระวานและเถาวัลย์เป็นต้นขึ้นไว้ที่ต้นไม้ใด, ต้นไม้
นั้น เมื่อถูกภิกษุตัด ถ้าเปลือกก็ดี ใยก็ดี สะเก็ดก็ดี กระพี้ก็ดี แม้อันเดียว
ยังติดเนื่องกันอยู่แล ล้มลงบนพื้นดิน ก็ยังรักษาอยู่ก่อน. ส่วนต้นไม้ใดแม้
ถูกตัดขาดแล้ว ก็ยังตั้งอยู่ตรง ๆ นั่นเอง เพราะมีเถาวัลย์หรือกิ่งไม้โดยรอบ
ธารไว้ หรือเมื่อล้มลงไปยังไม่ถึงพื้นดิน, ในต้นไม้นั้น ไม่มีการหลีกเลี่ยง
คือ เป็นอวหารทีเดียว. แม้ต้นไม้ใด ที่ภิกษุเอาเลื่อนตัดขาดแล้ว ก็ยังตั้งอยู่
ในทีนั้นนั่นเอง เป็นเหมือนยังไม่ขาดฉะนั้น, แม้ในต้นไม้นั้น ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. ส่วนภิกษุรูปใด ทำต้นไม้ให้หย่อนกำลัง ภายหลังจึงเขย่าให้ล้ม
ลงก็ดี ให้ผู้อื่นเขย่าก็ดี ตัดไม้ต้นอื่นใกล้ต้นไม้นั้นทับลงไว้เองก็ดี ให้ผู้อื่น
ตัดทับก็ดี ต้อนพวกลิงให้ไปขึ้นบนต้นไม้นั้นก็ดี สั่งคมอื่นให้ต้อนขึ้นไปก็ดี
ต้อนพวกค้างคาวให้ขึ้นบนต้นไม้นั้นก็ดี สั่งคนอื่นให้ต้อนขึ้นไปก็ได้ ค้างคาว
เหล่านั้น ทำต้นไม้นั้นให้ล้มลง ; อวหารย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้นเหมือนกัน.
แต่ถ้าเมื่อทำต้นไม้หย่อนกำลังแล้ว มีผู้อื่นซึ่งเธอมิได้บังคับเคย เขย่า
ต้นไม้นั้นให้ล้มลงก็ตาม เอาต้นไม้ทับไว้เองก็ตาม พวกลิงหรือค้างคาวขึ้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 178
เกาะตามธรรมดาของตนก็ตาม มีผู้อื่นซึ่งเธอมิได้บังคับขึ้นไปเองก็ตาม เธอ
แผ้วถางทางลมไว้เสียเองก็ตาม, ลมที่มีกำลังแรงพัดมาทำต้นไม้ให้ล้มลง ;
เป็นภัณฑไทย ในที่ทุกแห่ง. ก็ในอธิการนี้ การแผ้วถางทางลมในเมื่อลมยัง
ไม่พัดมา สมด้วยกิจทั้งหลาย มีการแต่งลำรางที่แห้งให้ตรงเป็นต้น หาสมโดย
ประการอื่นไม่. ภิกษุเจาะต้นไม้แล้วเอาศัสตราตอกก็ดี จุดไฟเผาก็ดี ตอก
เงี่ยงกระเบนที่เป็นพิษไว้ก็ดี ต้นไม้นั้นย่อมตายไป ด้วยการกระทำใด, ในการ
กระทำนั้นทั้งหมด เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยต้นไม้เจ้าป่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 179
กถาว่าด้วยผู้นำทรัพย์ไป
ในภัณฑะที่มีผู้นำไป มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภัณฑะที่ผู้อื่นนำไป ชื่อว่า
หรณกะ.
สองบทว่า เถยฺยจิตฺโต อามสติ ความว่า ภิกษุเห็นชนอื่นผู้ใช้
สีสภาระเป็นต้นทูนเอาสิ่งของเดินไป แล้วคิดอยู่ในใจว่า เราจักแย่งเอาสิ่งของ
นั่นไป จึงรีบไปลูบคลำ เพียงการลูบคลำเท่านี้ เธอเป็นทุกกฏ.
บทว่า ผนฺทาเปติ ความว่า ภิกษุทำการฉุดมาและฉุดไป แต่เจ้าของ
ยังไม่ปล่อย, เพราะทำให้ไหวนั้น เธอเป็นถุลลัจจัย.
สองบทว่า านา จาเวติ ความว่า ภิกษุฉุดมาให้พ้นจากมือเจ้าของ,
เพราะเหตุที่ให้พ้นนั้น เธอเป็นปาราชิก. แต่ถ้าเจ้าของภัณฑะลุกขึ้นมาแล้วโบยตี
ภิกษุนั้น บังคับให้วางภัณฑะนั้น แล้วจึงรับคืนอีก , ภิกษุเป็นปาราชิก เพราะ
การถือเอาคราวแรกนั่นเอง. เมื่อภิกษุตัดหรือแก้เครื่องอลังการ จากศีรษะ
หู คอ หรือจากมือถือเอา พอสักว่าเธอแก้ให้พ้นจากอวัยวะมีศีรษะเป็นต้น
ก็เป็นปาราชิก. แต่เธอไม่ได้นำกำไลมือหรือทองปลายแขนที่มือออก เป็นแต่
รูดไปทางปลายแขน ให้เลื่อนไป ๆ มา ๆ หรือทำให้เชิดไปในอากาศ, ก็ยัง
รักษาอยู่ก่อน เครื่องประดับมีกำไลมือเป็นต้น ให้เกิดเป็นปาราชิกไม่ได้
ดุจวลัยที่โคนต้นไม้และราวจีวรฉะนั้น; เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า มือที่
สวมเครื่องประดับมีวิญญาณ. จริงอยู่ เครื่องประดับมีกำไลมือเป็นต้น ซึ่ง
สวมอยู่ในส่วนแห่งอวัยวะที่มีวิญญาณ ยังนำออกจากมือนั้นไม่ได้เพียงใด ก็ยัง
มีอยู่ในมือนั้นนั่นเองเพียงนั้น. ในวงแหวนที่สวมนิ้วมือ ในเครื่องประดับเท้า
และสะเอว ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนภิกษุรูปใด แย่งชิงเอาผ้าสาฎกที่ผู้อื่น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 180
นุ่งห่มอยู่ และผู้อื่นนั้น ก็ไม่ปล่อยให้หลุดออกโดยเร็ว เพราะมีความละอาย.
ภิกษุผู้เป็นโจรดึงทางชายข้างหนึ่ง. ผู้อื่น (คือเจ้าของผ้า) ก็ดึงทางชายอีกข้าง
หนึ่ง ยังรักษาอยู่ก่อน. เมื่อสักว่าผ้านั้นพ้นจากมือของผู้อื่น ภิกษุนั้นต้อง
ปาราชิก. แม้ถ้าเอกเทศแห่งผ้าสาฎกที่ภิกษุดึงมา ขาดไปอยู่ในมือ และเอกเทศ
นั้น ได้ราคาถึงบาท ก็เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
บทว่า สหภณฺฑหารก ความว่า ภิกษุคิดว่า เราจักนำภัณฑะพร้อม
กับคนผู้ขนภัณฑะไป ดังนี้แล้ว จึงคุกคามผู้ขนภัณฑะไปว่า เองจงไปจากที่นี่.
บุคคลผู้ขนภัณฑะไปนั้นเกรงกลัว จึงได้หันหน้าไปยังทิศตามที่ภิกษุผู้เป็นโจร
ประสงค์ ก้าวเท้าข้างหนึ่งไป เป็นถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้เป็นโจร. เป็นปาราชิก
ในก้าวเท้าที่สอง.
บทว่า ปาตาเปติ ความว่า แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นโจร เห็นอาวุธในมือ
ของบุคคลผู้ขนภัณฑะไป เป็นผู้มีความหวาดระแวง ใคร่จะทำให้อาวุธตกไป
แล้วถืออาวุธนั้น จึงถอยออกไปอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งตวาด ทำให้อาวุธตกไป
พอสักว่าอาวุธหลุดจากมือของผู้อื่นแล้ว ก็ต้องปาราชิก. ส่วนคำว่า ทำทรัพย์
ให้ตกไป ต้องอาบัติทุกกฏ เป็นต้น พระองค์ตรัสไว้แล้วด้วยอำนาจความ
กำหนดหมาย. จริงอยู่ ภิกษุรูปใด กำหนดหมายไว้ว่า เราจักทำให้สิ่งของ
ตกไป แล้วจักถือเอาสิ่งของที่เราชอบใจ ดังนี้ แล้วจึงทำให้ตกไป. เธอรูป
นั้นต้องทุกกฏ เพราะทำให้สิ่งของนั้นตกไป และเพราะการจับต้องสิ่งของนั้น,
ต้องถุลลัจจัย เพราะทำให้ไหว, ต้องปาราชิก เพราะทำสิ่งของที่มีราคาถึง
บาทให้เคลื่อนจากฐาน. แม้เมื่อภิกษุถูกบุคคลผู้ขนภัณฑะไปผลักให้ล้มลงใน
ภายหลังจึงปล่อยสิ่งของนั้น ความเป็นสมณะไม่มีเลย. ฝ่ายภิกษุรูปใด เห็น
บุคคลผู้ขนสิ่งของกำลังก้าวเดินไป จึงติดตามไป พลางพูดว่า หยุด หยุด
วางสิ่งของลง ทำให้เขาวางสิ่งของลง, แม้ภิกษุรูปนั้น ก็เป็นปาราชิก ในเมื่อ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 181
สักว่าสิ่งของพ้นไปจากมือของผู้ขนไป เพราะคำสั่งนั้นเป็นเหตุ, ส่วนภิกษุรูป
ใด พูดว่า หยุด ๆ แต่ไม่ได้พูดว่า วางสิ่งของลง, และบุคคลผู้ขนสิ่งของไป
นอกนี้ จึงเหลียวดูภิกษุผู้เป็นโจรนั้น แล้วคิดว่า ถ้าภิกษุโจรรูปนี้ พึงมาถึง
ตัวเรา จะพึงฆ่าเราเสียก็ได้ ยังเป็นผู้มีความห่วงใยอยู่ จึงได้ซ่อนสิ่งของนั้น
ไว้ในที่รกชัฏ ด้วยคิดในใจว่า จักกลับมาถือเอา ดังนี้แล้วหลีกไป ยังไม่
เป็นปาราชิก เพราะมีการทำให้ตกเป็นปัจจัย, แต่เมื่อภิกษุมาถือเอาด้วยไถยจิต
เป็นปาราชิกในขณะยกขึ้น ก็ถ้าภิกษุผู้เป็นโจรนั้น มีความรำพึงอย่างนี้ว่า
สิ่งของนี้เมื่อเราทำให้ตกไปเท่านั้น ชื่อว่า ได้ทำให้เป็นของ ๆ เราแล้ว ใน
ระหว่างที่รำพึงนั้น จึงถือเอาสิ่งของนั้น ด้วยความสำคัญว่า เป็นของตน
ยังรักษาอยู่ ในเพราะการถือเอา, แต่เป็นภัณฑไทย ครั้นเมื่อเจ้าของพูดว่า
ท่านจงคืนให้ เมื่อไม่คืนให้ เป็นปาราชิก ในเมื่อเจ้าของทอดธุระ. แม้เมื่อ
ภิกษุถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญาว่า เจ้าของภัณฑะนั้น ทิ้งสิ่งของนี้ไป, บัดนี้
เขาไม่หวงแหนสิ่งของนี้ ดังนี้ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า แต่ถ้าเจ้าของกำลังตรวจดูด้วยเหตุ
เพียงคำที่ภิกษุโจรพูดว่า หยุด หยุด เท่านั้น เห็นภิกษุโจรนั้น แล้วทอดธุระ
เสีย ด้วยคิดว่า บัดนี้ มันไม่ใช่ของเรา หมดความห่วงใย ทอดทิ้งหนีไป,
เมื่อภิกษุถือเอาของสิ่งนั้นด้วยไถยจิต เป็นทุกกฏ ในเมื่อยกขึ้น, เมื่อเจ้าของ
ให้นำมาคืน พึงคืนให้, เมื่อไม่คืนให้ เป็นปาราชิก เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุว่าเขาทอดทิ้งสิ่งของนั้น ด้วยประโยคของภิกษุนั้น. แต่ในอรรถกถา
ทั้งหลายอื่น ไม่มีคำวิจารณ์เลย วินิจฉัยแม้ในภิกษุผู้ถือเอาด้วยความสำคัญว่า
เป็นของตนก็ดี ด้วยบังสุกุลสัญญาก็ดี โดยนัยก่อนนั่นเอง ก็เหมือนกันนี้แล.
จบกถาว่าด้วยผู้นำทรัพย์ไป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 182
กถาว่าด้วยสิ่งของที่เขาฝากไว้
พึงทราบวินิจฉัยในของฝากต่อไป:- แม้ในเพราะการกล่าวเท็จทั้งที่
รู้ตัวอยู่ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้รับไว้ ดังนี้ จึงเป็นทุกกฏ เพราะเป็นบุพประโยค
แห่งอทินนาทาน คงเป็นทุกกฏนั่นเอง แม้แก่ภิกษุผู้กล่าวคำเป็นต้นว่า ท่าน
พูดอะไร ? คำนี้ไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า, ทั้งไม่สมควรแก่ท่านด้วย เจ้าของยัง
ความสงสัยให้เกิดขึ้นว่า เราได้มอบทรัพย์ไว้ในมือของภิกษุนี้ ในที่ลับ, คน
อื่นไม่มีใครรู้ เธอจักให้แก่เรา หรือไม่หนอ ? เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุ
เจ้าของเห็นข้อที่ภิกษุนั้นเป็นผู้หยาบคายเป็นต้น จึงทอดธุระว่า ภิกษุรูปนี้
จักไม่คืนให้แก่เรา ในภิกษุและเจ้าของภัณฑะนั้น ถ้าภิกษุนี้ ยังมีความ
อุตสาหะในอันให้อยู่ว่า เราจักทำให้เขาลำบาก แล้วจักให้ ยังรักษาอยู่ก่อน
แม้ถ้าเธอไม่มีความอุตสาหะในอันให้, แต่เจ้าของภัณฑะยังมีความอุตสาหะใน
อันรับ ยังรักษาอยู่เหมือนกัน แต่ถ้าภิกษุไม่มีอุตสาหะในอันให้นั้น เจ้าของ
ภัณฑะทอดธุระว่า ภิกษุนี้ จักไม่ให้แก่เรา เป็นปาราชิกแก่ภิกษุ เพราะทอด
ธุระของทั้งสองฝ่าย ด้วยประการฉะนี้ แม้ถ้าภิกษุพูดแต่ปากว่า จักให้ แต่
จิตใจ ไม่อยากให้ แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นปาราชิก ในเพราะเจ้าของทอดธุระ
แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ย้ายภัณฑะ ชื่อว่าของฝากนั้น ที่ชนเหล่าอื่นมอบไว้
ในมือของตน เพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองไปจากฐาน โดยความเป็นประเทศ
นี้ไม่ได้คุ้มครอง นำไปเพื่อต้องการเก็บไว้ในที่คุ้มครอง อวหารย่อมไม่มีแก่
ภิกษุผู้ให้เคลื่อนจากฐานแม้ด้วยไถยจิต. เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นของที่
เขาฝากไว้ในมือของตน, แต่เป็นภัณฑไทย. แม้เมื่อภิกษุผู้ใช้สอยเสียด้วย
ไถยจิต ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ถึงในการถือเอาเป็นของยืม ก็เหมือนกันแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 183
แม้คำว่า ธมฺม จรนฺโต เป็นอาทิ ก็มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน พรรณนา
พระบาลี เท่านี้ก่อน.
ส่วนวินิจฉัยนอกพระบาลีในของฝากนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยอำนาจ
แห่งจตุกกะมีปัตตจตุกกะเป็นต้น อย่างนี้ :-
ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ให้เกิดความโลภขึ้นในบาตรที่มีราคามากของ
ผู้อื่น ใคร่จะลักบาตรนั้น จึงกำหนดที่ซึ่งเขาวางบาตรครั้นนั้นไว้ได้อย่างดี แล้ว
จึงวางบาตรแม้ของตนไว้ใกล้ชิดบาตรครั้นนั้นทีเดียว ในสมัยใกล้รุ่ง แม้เธอจึง
มาให้บอกธรรม แล้ว เรียนพระมหาเถระผู้กำลังหลับอยู่ อย่างนี้ว่า กระผมไหว้
ขอรับ พระเถระถามว่า นั่นใคร เธอจึงตอบว่า กระผมเป็นภิกษุอาคันตุกะ
ขอรับ อยากจะลาไปแค่เช้านี่แหละ และบาตรของกระผมมีสายโยคเช่นนี้
มีถลกเช่นนี้ วางไว้ที่โน้น, ดีละ ขอรับ กระผมควรได้บาตรนั้น. พระเถระ
เข้าไปฉวยเอาบาตรนั้น, เป็นปาราชิก แก่ภิกษุผู้เป็นโจร ในขณะยกขึ้นทีเดียว.
ถ้าเธอกลัวแล้วหนีไปในเมื่อพระเถระมาแล้ว ถามว่า คุณเป็นใคร มาผิดเวลา.
เธอต้องปาราชิกแล้วเทียว จึงหนีไป. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่พระเถระ เพราะ
ท่านมีจิตบริสุทธิ์ พระเถระทำในใจว่า เราจักหยิบบาตรนั้น แต่ฉวยเอาใบ
อื่นไป, แม้ในบาตรใบนั้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่นัยนี้ ย่อมเหมาะในเมื่อ
พระเถระหยิบบาตรใบอื่น แต่เหมือนใบนั้น ดังเรื่องคนที่เหมือนกันกับคนที่
สั่งในมนุสสวิคคหสิกขาบทฉะนั้น. ส่วนในกุรุนที ท่านกล่าวไว้ว่า พึงปรับ
อาบัติด้วยการย่างเท้าไป คำที่ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีนั้น ย่อมสมในเมื่อพระเถระ
หยิบบาตรอื่น แต่ไม่เหมือนใบนั้นเลย. พระเถระสำคัญว่าเป็นบาตรใบนั้น
แต่ได้หยิบเอาบาตรของตนให้ไป, ไม่เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้เป็นโจร เพราะ
บาตรนั้นเจ้าของให้, เพราะตนถือเอาด้วยจิตไม่บริสุทธิ์ เป็นทุกกฏ. พระเถระ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 184
สำคัญว่าเป็นบาตรใบนั้น แต่ได้หยิบเอาบาตรของภิกษุผู้เป็นโจรนั่นเองให้ไป,
แม้ในอธิการว่าด้วยการหยิบบาตรของภิกษุผู้เป็นโจรให้ไปนี้ ไม่เป็นปาราชิก
แก่ภิกษุผู้เป็นโจร เพราะบาตรใบนั้นเป็นของ ๆ ตน, แต่เพราะตนถือเอา
ด้วยจิตไม่บริสุทธิ์ เป็นทุกกฏแท้. เป็นอนาบัติแก่พระเถระในที่ทั้งปวง.
ภิกษุอีกรูปอื่น คิดว่า จักลักบาตร แล้วไหว้พระเถระผู้กำลังจำวัด
หลับอยู่ เหมือนอย่างนั่นเอง และถูกพระเถระถามว่า นี้ใคร ?. ภิกษุนั้น
เรียนว่า กระผมเป็นภิกษุไข้ ขอรับ ! ได้โปรดให้บาตรใบหนึ่งแก่กระผมก่อน,
กระผมไปยังประตูบ้านแล้ว จักนำเภสัชมา. พระเถระกำหนดว่า ในที่นี้ ไม่มี
ภิกษุไข้, นี้ เป็นโจร แล้วพูดว่า จงนำบาตรนี้ไป ได้นำบาตรของภิกษุ
ผู้คู่เวรของตนให้ไป, เป็นปาราชิกแก่ทั้งสองรูป ในขณะที่ยกขึ้นนั่นเอง. แม้
เมื่อพระเถระจำได้ดีว่า เป็นบาตรของภิกษุผู้คู่เวร แล้วยกบาตรของรูปอื่นขึ้น
ก็มีนัยเหมือนกัน ก็ถ้าพระเถระจำได้ดีว่า บาตรใบนี้ ของภิกษุผู้คู่เวร
แต่ได้ยกเอาบาตรของภิกษุผู้เป็นโจรนั่นเองให้ไป เป็นปาราชิกแก่พระเถระ
เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้เป็นโจร โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ถ้าพระเถระสำคัญ
อยู่ว่า บาตรใบนี้ ของภิกษุผู้คู่เวรของภิกษุผู้เป็นโจรนั้น จึงให้บาตรของตน
ไป, เป็นทุกกฏทั้งสองรูป โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระมหาเถระรูปหนึ่ง
พูดกะภิกษุผู้อุปัฏฐากว่า คุณจงถือเอาบาตรและจีวร, เราจักไปบิณฑบาตยังบ้าน
ชื่อโน้น. ภิกษุหนุ่ม ถือเอาเดินไปข้างหลังพระเถระ ยังไถยจิตให้เกิดขึ้นแล้ว
ถ้าเลื่อนภาระบนศีรษะลงมาที่คอ ไม่เป็นปาราชิก. เพราะเหตุไร ? เพราะ
เหตุว่า บาตรและจีวรนั้น เธอถือไปตามคำสั่ง, แต่ถ้าเธอแวะออกจากทาง
เข้าดงไป, พึงปรับอาบัติการย่างเท้า. ถ้าเธอกลับบ่ายหน้าไปทางวิหาร
หนีไป เข้าวิหารแล้วจึงไป เป็นปาราชิกในขณะก้าวล่วงอุปจารไป. ถ้าแม้น
เธอบ่ายหน้าสู่บ้าน หนีไปจากสถานที่พระมหาเถระผลัดเปลี่ยนผ้านุ่งห่ม เป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 185
ปาราชิกในขณะก้าวล่วงอุปจารบ้านไป. แต่ถ้าทั้งสองรูป เที่ยวบิณฑบาตฉัน
แล้ว หรือถือเอาออกไป, ฝ่ายพระเถระพูดกะภิกษุหนุ่มรูปนั้นแม้อีกว่า คุณจง
ถือเอาบาตรและจีวร, เราจักไปยังวิหาร และภิกษุหนุ่มรูปนั้น ก็เลื่อนภาระ
บนศีรษะลงมาที่คอในสถานที่นั้น โดยนัยก่อนนั่นแล ยังรักษาอยู่ก่อน ถ้าแวะ
ออกจากทางเข้าดงไป พึงปรับอาบัติด้วยการย่างเท้า. เธอกลับแล้วมุ่งหน้าไป
สู่บ้านนั่นแลหนีไป เป็นปาราชิกในขณะก้าวล่วงอุปจารบ้านไป. เธอมุ่งหน้า
ไปยังวิหารข้างหน้าหนีไป แต่ไม่ยืนไม่นั่งในวิหาร ไปเสียด้วยไถยจิต ยังไม่
ทันสงบนั่นเอง, เป็นปาราชิกในขณะก้าวล่วงอุปจารไป. ฝ่ายภิกษุรูปใด ท่าน
มิได้ใช้ฉวยเอาเอง เป็นปาราชิกแก่ภิกษุรูปนั้น ในเพราะเลื่อนภาระที่ศีรษะ
ลงมาที่คอเป็นต้น คำที่เหลือเหมือนกับคำก่อนนั่น แล.
ส่วนภิกษุใด อันพระเถระสั่งว่า คุณจงไปยังวิหารชื่อโน้นแล้ว ซัก
หรือย้อมจีวรแล้วจงมา ดังนี้ รับคำว่า สาธุ แล้วฉวยเอาไป, ไม่เป็นปาราชิก
แม้แก่ภิกษุรูปนั้น ในเพราะยังไถยจิตให้เกิดขึ้น แล้วเลื่อนภาระบนศีรษะลง
มาที่คอเป็นต้นในระหว่างทาง. ในเพราะแวะออกจากทาง พึงปรับเธอด้วยการ
ย่างเท้า. เธอไปยังวิหารนั้นแล้ว พักอยู่ในวิหารนั้นนั่นเอง ใช้สอยให้เก่าไป
ด้วยไถยจิต หรือว่าพวกโจรลักเอาจีวรนั้นของพระเถระนั้นไป ไม่เป็นอวหาร
แต่เป็นภัณฑไทย. แม้เมื่อเธอออกจากวิหารนั้นมา ก็นัยนี้แล. ฝ่ายภิกษุใด
ท่านมิได้สั่ง เมื่อพระเถระทำนิมิตแล้ว หรือตนเองกำหนดได้ เห็นจีวร
เศร้าหมองแล้ว จึงกล่าวว่า โปรดมอบจีวรเถิด ขอรับ ! ผมจักไปยังบ้าน
ชื่อโน้น ย้อมแล้วจักนำมา ดังนี้ แล้วฉวยเอาไป เป็นปาราชิกแก่ภิกษุนั้น
ในเพราะยังไถยจิตให้เกิดขึ้น แล้วเลื่อนภาระบนศีรษะลงมาที่คอเป็นต้นใน
ระหว่างทาง. เพราะเหตุไร ? เพราะจีวรนั้น ตนถือเอาด้วยท่านมิได้สั่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 186
เมื่อเธอแวะออกจากทางก็ดี กลับมายังวิหารนั้นนั่นเอง แล้วก้าวล่วงแดนวิหาร
ไปก็ดี ก็เป็นปาราชิก ซึ่งมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ในเมื่อไถยจิตเกิดขึ้น
แม้แก่เธอผู้ไปแล้วที่บ้านนั้น ย้อมจีวรแล้วกลับมาอยู่ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
แต่ถ้าเธอไปในวิหารใด ก็พักอยู่ในวิหารนั้น หรือในวิหารในระหว่างทาง
หรือกลับมายังวิหาร (เดิม) นั้นนั่นแลแล้วพักอยู่ ไม่ให้ก้าวล่วงแดนอุปจาร
ในด้านหนึ่งแห่งวิหารนั้นไปก็ดี ใช้สอยให้เก่าไปด้วยไถยจิตก็ดี พวกโจรลัก
จีวรนั้น ของภิกษุรูปนั้นไปก็ดี จีวรนั้นสูญหายไปด้วยประการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็ดี เป็นภัณฑไทย. แต่เมื่อเธอก้าวล่วงแดนอุปจารสีมาไป เป็นปาราชิก.
ฝ่ายภิกษุใด เมื่อพระเถระทำนิมิตอยู่ จึงเรียนท่านว่า โปรดให้เถิด
ขอรับ ! ผมจักย้อมมาถวาย ดังนี้ แล้วเรียนถามว่า ผมจะไปย้อมที่ไหน
ขอรับ ? ส่วนพระเถระกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า คุณจงไปย้อมในที่ซึ่งคุณ
ปรารถนาเถิด. ภิกษุรูปนี้ ชื่อว่า ทูตที่ท่านส่งไป. ภิกษุนี้ แม้เมื่อหนีไปด้วย
ไถยจิตก็ไม่ควรปรับด้วยอวหาร. แต่เมื่อเธอหนีไปด้วยไถยจิตก็ดี ให้ฉิบหาย
เสียด้วยการใช้สอยหรือด้วยประการอื่นก็ดี ย่อมเป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. ภิกษุ
ฝากบริขารบางอย่างไปไว้ในมือของภิกษุ ด้วยสั่งว่า ท่านจงให้แก่ภิกษุชื่อโน้น
ในวิหารชื่อโน้น. วินิจฉัยในเมื่อไถยจิตเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ที่รับบริขารนั้นในที่
ทั้งปวง ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วในคำนี้ว่า คุณจงไปยังวิหารชื่อโน้นแล้ว
ซักหรือย้อมจีวรแล้วจงมา ดังนี้. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ใคร่จะส่ง (บริขาร) ไป
จึงทำนิมิตโดยนัยว่า ใครหนอ จักรับไป. ก็ในสถานที่นั้น มีภิกษุรูปหนึ่ง
กล่าวว่า โปรดให้เถิด ขอรับ ! ผมจักรับไป ดังนี้แล้ว ก็รับเอา (บริขารนั้น)
ไป. วินิจฉัยในเมื่อไถยจิตเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ที่รับบริขารนั้น ในที่ทั้งปวง เป็น
เช่นกับที่กล่าวไว้แล้วในคำนี้ว่า โปรดให้จีวรเถิด ขอรับ ! ผมไปยังบ้าน
ชื่อโน้น ย้อมแล้ว จักนำมา ดังนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 187
พระเถระได้ผ้าเพื่อประโยชน์แก่จีวรแล้ว ก็เก็บไว้ในตระกูลอุปัฏฐาก.
ถ้าอันเตวาสิกของพระเถระนั้น ใคร่จะลักเอาผ้าไป จึงไปในตระกูลนั้น แล้ว
พูดเหมือนตนถูกพระเถระใช้ให้ไปว่า นัยว่าพวกท่านจงให้ผ้านั้น. อุบาสิกา
เชื่อคำของภิกษุรูปนั้นแล้ว ได้นำเอาผ้าที่อุบาสกเก็บไว้มาถวายก็ดี อุบาสก
หรือใครคนอื่น (เชื่อคำของภิกษุรูปนั้นแล้ว) ได้นำเอาผ้าที่อุบาสิกาเก็บไว้
มาถวายก็ดี. ภิกษุรูปนั้น เป็นปาราชิกในขณะที่ยกขึ้นนั่นเอง. แต่ถ้าพวก
อุปัฏฐากของพระเถระพูดว่า พวกเราจักถวายผ้านี้แก่พระเถระ แล้วก็เก็บผ้า
ของตนไว้. ถ้าอันเตวาสิกของพระเถระนั้น ใคร่จะลักเอาผ้านั้น จึงไปใน
ตระกูลนั้น แล้วพูดว่า นัยว่า พวกท่านใคร่จะถวายผ้าแก่พระเถระ จงให้ผ้า
นั้นเถิด. และอุปัฏฐากเหล่านั้น เชื่ออันเตวาสิกรูปนั้นแล้วพูดว่า ท่านผู้เจริญ !
พวกข้าพเจ้าตั้งใจไว้ว่า นิมนต์ให้ท่านฉันแล้ว จักถวาย จึงได้เก็บไว้ นิมนต์
ท่านรับเอาไปเถิด แล้วก็ถวายไป ไม่เป็นปาราชิก เพราะผ้านั้นพวกเจ้าของ
ถวายแล้ว แต่เป็นทุกกฏ เพราะเธอถือเอาด้วยจิตไม่บริสุทธิ์ และเป็น
ภัณฑไทยด้วย.
ภิกษุเดินไปยังบ้านบอกแก่ภิกษุว่า ผู้มีชื่อนี้ จักถวายผ้าอาบน้ำฝน
แก่ผม, ท่านพึงรับเอาผ้าผืนนั้นแล้วเก็บไว้ด้วย. ภิกษุรูปนั้นรับว่า ดีละ แล้ว
เก็บผ้าสาฎกที่มีราคามากที่ภิกษุนั้นให้ไว้ กับผ้าสาฎกที่มีราคาน้อยซึ่งตนได้แล้ว
ภิกษุนั้นมาแล้วจะรู้ว่าผ้าที่ตนได้มีราคามาก หรือไม่รู้ก็ตาม พูดว่า ท่านจงให้
ผ้าอาบน้ำฝนแก่ผมเถิด เธอตอบว่า ผ้าสาฎกที่ท่านได้มามีเนื้อหยาบ, ส่วน
ผ้าสาฎกของผมมีราคามาก, ทั้งสองผืนผมได้เก็บไว้ในโอกาสชื่อโน้นแล้ว,
โปรดเข้าไปเอาเถิด. เมื่อภิกษุรูปที่ทวงนั้นเข้าไปเอาผ้าสาฎกเนื้อหยาบแล้ว,
ภิกษุรูปนอกนี้ถือเอาผ้าสาฎกอีกผืนหนึ่ง เป็นปาราชิกในขณะยกขึ้น. แม้ถ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 188
ภิกษุที่เก็บผ้าไว้นั้น ได้จารึกชื่อของตนไว้ในผ้าสาฎกของภิกษุที่มาทวงนั้น
และชื่อของภิกษุที่มาทวงนั้นไว้ในผ้าสาฎกของตน แล้วกล่าวว่า ท่านจงไป
อ่านดูชื่อ ถือเอาไปเถิด ดังนี้. แม้ในผ้าสาฎกที่กล่าวนั้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ส่วนภิกษุเจ้าถิ่นรูปใด เก็บผ้าสาฎกที่ตนเองและภิกษุอาคันตุกะนั้นได้
มารวมกันไว้แล้ว พูดกะภิกษุอาคันตุกะนั้นอย่างนี้ว่า ผ้าสาฎกที่ท่านและผมได้
ทั้งสองผืนเก็บไว้ภายในห้อง, ท่านจงไปเลือกเอาผ้าที่ท่านปรารถนาเถิด. และ
ภิกษุอากันตุกะนั้น ถือเอาผ้าสาฎกเนื้อหยาบที่ภิกษุเจ้าถิ่นได้มานั่นแล เพราะ
ความละอาย. ในภิกษุอาคันตุกะและเจ้าถิ่นนั้น เมื่อภิกษุเจ้าถิ่นถือเอาผ้าสาฎก
นอกนี้ เหลือจากที่อาคันตุกะภิกษุเลือกเอาแล้ว ไม่เป็นอาบัติ.
ภิกษุอาคันตุกะ เมื่อพวกภิกษุเจ้าถิ่นทำจีวรกรรมอยู่ เก็บบาตรและ
จีวรไว้ในที่ใกล้เข้าใจว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้น จักคุ้มครองไว้ จึงไปอาบน้ำ
หรือไปในที่อื่นเสีย ถ้าภิกษุเจ้าถิ่นคุ้มครองบาตรและจีวรนั้นไว้, ข้อนั้นเป็น
การดี, ถ้าไม่คุ้มครองไว้, เมื่อบาตรและจีวรนั้นสูญหายไป, ก็ไม่เป็นสินใช้.
แม้ถ้าภิกษุอาคันตุกะนั้น กล่าวว่า จงเก็บบาตรและจีวรนี้ไว้เถิด ขอรับ !
แล้วไป, และภิกษุเจ้าถิ่นนอกนี้ไม่ทราบ เพราะมัวขวนขวายในกิจอยู่, พึง
ทราบนัยเหมือนกันนี้. แม้ถ้าภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้น อันภิกษุอาคันตุกะกล่าวว่า
จงเก็บบาตรและจีวรนี้ไว้เถิด ขอรับ ! ได้ห้ามว่า พวกข้าพเจ้ากำลังยุ่ง และ
ภิกษุอาคันกะนอกนี้ก็คิดว่า ท่านเหล่านี้จักเก็บแน่นอน ไม่ติดใจแล้วไปเสีย,
พึงทราบนัยเหมือนกันนี้. แต่ถ้าภิกษุเจ้าถิ่นถูกพระอาคันตุกะรูปนั้น ขอร้อง
หรือไม่ขอก็ตาม พูดว่า พวกข้าพเจ้าจักเก็บไว้เอง, ท่านจงไปเถิด ดังนี้
ต้องรักษาบาตรและจีวรนั้นไว้ ถ้าไม่รักษาไว้ไซร้, เมื่อบาตรและจีวรนั้น
สูญหายไป ย่อมเป็นสินใช้. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า บาตรและจีวรนั้น
พวกเธอรับไว้แล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 189
ภิกษุรูปใดเป็นภัณฑาคาริก (ผู้รักษาเรือนคลัง) เวลาจวนรุ่งสางนั่เอง
ได้รวบรวมบาตรและจีวรของภิกษุทั้งหลายลงไปไว้ยังปราสาทชั้นล่าง ไม่ได้
ปิดประตู ทั้งไม่ได้ บอกแม้แก่ภิกษุเหล่านั้น ไปเที่ยวภิกขาจารในที่ไกลเสีย,
ถ้าพวกโจรลักเอาบาตรและจีวรเหล่านั้นไปไซร้, ย่อมเป็นสินใช้เก่เธอแท้.
ส่วนภิกษุภัณฑาคาริกรูปใด ถูกพวกภิกษุกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ !
ท่านยกบาตรและจีวรลงมาเถิด บัดนี้ ได้เวลาจับสลาก จึงถามว่า พวกท่าน
ประชุมพร้อมกันแล้วหรือ ?
เมื่อท่านเหล่านั้นเรียนว่า ประชุมพร้อมแล้ว ขอรับ ! จึงได้ขนเอา
บาตรและจีวรออกมาวางไว้ แล้วกั้นประตูภัณฑาคาร (เรือนคลัง) แล้วสั่งว่า
พวกท่านถือเอาบาตรและจีวร แล้วพึงปิดประตูภายใต้ปราสาทเสียก่อนจึงไป
ดังนี้แล้วไป; ก็ในพวกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีชาติเฉื่อยชา เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายไปกันแล้ว ภายหลังจึงเช็ดตาลุกขึ้นเดินไปยังที่มีน้ำ หรือที่ล้างหน้า.
ขณะนั้นพวกโจรพบเห็นเข้า จึงลักเอาบาตรและจีวรของเธอนั้นไป, เป็นอัน
พวกโจรลักไปด้วยดี, ไม่เป็นสินใช้แก่ภิกษุภัณฑาคาริก. แม้ถ้าภิกษุบางรูป
ไม่ได้แจ้งแก่ภิกษุภัณฑาคาริกเลย ก็เก็บจีวรของตนไว้ในภัณฑาคาร, แม้เมื่อ
บริขารนั้นสูญหายไป ก็ไม่เป็นสินใช้แก่ภิกษุภัณฑาคาริก. แต่ถ้าภิกษุภัณฑา-
คาริก เห็นบริขารนั้นแล้ว คิดว่า เก็บไว้ในที่ไม่ควร จึงเอาไปเก็บไว้,
เมื่อบริขารนั้นสูญหายไป เป็นสินใช้แก่ภิกษุภัณฑาคาริกรูปนั้น. ถ้าภิกษุ
ภัณฑาคาริก อันภิกษุผู้เก็บไว้กล่าวว่า ผมเก็บบริขารชื่อนี้ไว้แล้ว ขอรับ !
โปรดช่วยดูให้ด้วยย รับว่า ได้ หรือรู้ว่าเก็บไว้ไม่ดี จึงเก็บไว้ในที่อื่นเสีย,
เมื่อบริขารนั้นสูญหายไป เป็นสินใช้ แก่ภิกษุภัณฑาคาริกนั้นเหมือนกัน.
แต่เมื่อเธอห้ามอยู่ว่า ข้าพเจ้าไม่รับรู้ ไม่เป็นสินใช้. ฝ่ายภิกษุใด เมื่อภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 190
ภัณฑาคาริกเห็นอยู่นั่นเอง เก็บไว้ ทั้งไม่ให้ภิกษุภัณฑาคาริกรับรู้. บริขาร
ของภิกษุนั้นหายไป เป็นอันสูญหายไปด้วยดีแล. ถ้าภิกษุภัณฑาคาริก เก็บ
บริขารนั้นไว้ในที่แห่งอื่น เมื่อสูญหายไปเป็นสินใช้.
[ โจรลักของสงฆ์ในเรือนคลัง ปรับสินไหมภิกษุผู้รักษา ]
ถ้าภัณฑาคารรักษาดี บริขารทั้งปวงของสงฆ์และของเจดีย์ เขาเก็บ
ไว้ในภัณฑาคารนั้นแล. แต่ภิกษุภัณฑาคาริกเป็นคนโง่ ไม่ฉลาด เปิดประตูไว้
ไปเพื่อฟังธรรมกถา หรือเพื่อทำกิจอื่นบางอย่างในที่ใดที่หนึ่ง ขณะนั้นพวก
โจรเห็นแล้ว ลักภัณฑะไปเท่าใด ภัณฑะเท่านั้นเป็นสินใช้แก่เธอทั้งหมด.
เมื่อภัณฑาคาริกออก จากภัณฑาคารไปจงกรมอยู่ภายนอก หรือเปิดประตูตาก
อากาศ หรือนั่งตามประกอบสมณธรรมในภัณฑาคารนั่นเอง หรือนั่งใน
ภัณฑาคารนั้นเอง ขวนขวายด้วยกรรมบางอย่าง หรือเป็นผู้แม้ปวดอุจจาระ
ปัสสาวะ เมืออุปจารในที่นั้นเองมีอยู่ แต่ไปข้างนอกหรือเลินเล่อเสียด้วยอาการ
อื่นบางอย่าง, พวกโจรเปิดประตู หรือเข้าทางประตูที่เปิดไว้นั่นเอง หรือตัด
ที่ต่อลักภัณฑะไปเท่าใด เพราะความเลินเล่อของเธอเป็นปัจจัย ภัณฑะเท่านั้น
เป็นสินใช้แก่เธอนั้นแลทั้งหมด. ฝ่ายพระอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ในฤดูร้อน
จะเปิดหน้าต่างนอน ก็ควร. แต่เมื่อปวดอุจจาระปัสสาวะแล้วไปในที่อื่น ใน
เมื่ออุปจารนั้นไม่มี จัดว่าเหลือวิสัย เพราะเธอตั้งอยู่ในฝ่ายของผู้เป็นไข้ ;
เพราะเหตุนั้น ไม่เป็นสินใช้. ฝ่ายภิกษุใดถูกความร้อนภายในเบียดเบียน จึง
ทำประตูให้เป็นของรักษาดีแล้วออกไปข้างนอก. และพวกโจรจับภิกษุนั้น ได้
แล้ว บังคับว่า จงเปิดประตู. เธอไม่ควรเปิดจนถึงครั้งที่สาม. แต่ถ้าพวก
โจรเงื้อขวานเป็นต้น ขู่ว่า ถ้าท่านไม่ยอมเปิด, พวกเราจักฆ่าท่านเสียด้วย
จักทำลายประตูลักบริขารไปเสียด้วย. เธอจะเปิดให้ ด้วยทำในใจว่า เมื่อเรา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 191
ตาย เสนาสนะของสงฆ์ก็ฉิบทาย ไม่มีคุณเลย ดังนี้ สมควรอยู่, แม้ใน
อธิการนี้ พระอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ไม่มีสินใช้เพราะเหลือวิสัย. ถ้าภิกษุ
อาคันคุกะบางรูป ไขกุญแจ หรือเปิดประตูไว้, พวกโจรลักภัณฑะไปเท่าใด
ภัณฑะเท่านั้นเป็นสินใช้แก่อาคันตุกะนั้นทั้งหมด. สลักยนต์และกุญแจ เป็น
ของที่สงฆ์ติดให้ไว้ เพื่อประโยชน์แก่การรักษาภัณฑาคาร. ภัณฑาคาริกใส่
เพียงลิ่มแล้วนอน. พวกโจรเปิดเข้าไปลักบริขาร เป็นสินใช้แก่เธอแท้. แต่
ภัณฑาคาริกนั้น ใส่ลักยนต์และกุญแจแล้วนอน, ถ้าพวกโจรมาบังคับว่า
จงเปิด เธอพึงปฏิบัติในคำของพวกโจรนั้น ตามนัยก่อนนั่นแล. ก็เมื่อ
ภัณฑาคาริกนั่นทำการรักษาอย่างนั้นแล้ว จึงนอน, ถ้าพวกโจรทำลายฝาหรือ
หลังคา หรือเข้าทางอุโมงค์ ลักไป, ไม่เป็นสินใช้แก่เธอ. ถ้าพระเถระแม้
เหล่าอี่นอยู่ในภัณฑาคาร เมื่อประตูเปิด ท่านจงถือเอาบริขารส่วนตัวไป
ภัณฑาคาริกไม่ระวังประตู ในเมื่อพระเถระเหล่านั้นไปแล้ว, ถ้าของอะไร ๆ
ในภัณฑาคารนั้นถูกลักไป, เป็นสินใช้แก่ภัณฑาคาริกเท่านั้น เพราะภัณฑา-
คาริกเป็นใหญ่. ฝ่ายพวกพระเถระพึงเป็นพรรคพวก. นี้เป็นสามีจิกรรม ใน
ภัณฑาคารนั้น. แต่ถ้าภัณฑาคาริกบอกว่า ขอพวกท่านจงยืนรับบริขารของ
พวกท่านข้างนอกเถิด อย่าเข้ามาเลย. และพระเถระโลเลรูปหนึ่ง แห่งพวก
พระเถระเหล่านั้น พร้อมด้วยสามเณรและอุปัฏฐากทั้งหลาย เปิดภัณฑาคารเข้า
ไปนั่งและนอน ภัณฑะหายไปเท่าใด เป็นสินใช้แก่พระเถระนั้นทั้งหมด
ฝ่ายภัณฑาคาริกและพระเถระที่เหลือ พึงเป็นพรรคพวก. ถ้าภิกษุภัณฑาคาริก
นั่นเองชวนเอาพวกสามเณรโลเล และเหล่าผู้อุปัฏฐาก ไปนั่งและนอนอยู่ใน
ภัณฑาคาร, สิ่งของใดในภัณฑาคารนั้นหายไป. ของทั้งหมดนั้น เป็นสินใช้
แก่ภิกษุภัณฑาคาริกเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุภัณฑาคาริกเท่านั้น ควร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 192
พักอยู่ในภัณฑาคารนั้น. พวกภิกษุที่เหลือ ควรพักอยู่ที่มณฑปหรือโคนค้นไม้
แต่ไม่ควรพักอยู่ในภัณฑาคาร ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ภิกษุเหล่าใด เก็บบริขารของพวกภิกษุผู้เป็นสภาคกันไว้ในห้อง
ที่อยู่ของตน ๆ เมื่อบริขารหายไป ภิกษุเหล่าใดเก็บไว้ เป็นสินใช้แก่ภิกษุ
เหล่านั้นนั่นแล. ฝ่ายภิกษุนอกนี้ ควรเป็นพรรคพวก. แต่ถ้าสงฆ์สั่งให้ถวาย
ข้าวยาคูและภัต แก่ภิกษุภัณฑาคาริกในวิหารนั่นเอง และภิกษุภัณฑาคาริก
รูปนั้น เข้าไปสู่บ้าน เพื่อต้องการภิกขาจาร, สิ่งของหายไป ย่อมเป็นสินใช้
เเก่ภิกษุภัณฑาคาริกรูปนั้นนั่นเอง. แม้ภิกษุผู้รับหน้าที่เฝ้าวิหาร ที่พวกภิกษุ
ผู้เข้าไปเที่ยวภิกขาจารตั้งไว้ เพื่อต้องการให้รักษาอติเรกจีวร ได้ยาคูและภัต
หรืออาหารเหมือนกัน ยังไปภิกขาจาร, สิ่งของใดในวิหารนั้นหายไป, สิ่งของ
นั้นทั้งหมดเป็นสินใช้แก่เธอ. และสิ่งของนั้นนั่นเอง จะเป็นสินใช้อย่างเดียว
ก็หามิได้ สิ่งของใดหายไป เพราะความประมาทของภิกษุผู้เฝ้าวิหารนั้นเป็น
ปัจจัย, สิ่งของนั้นทั้งหมดเป็นสินใช้แก่เธอเหมือนภิกษุภัณฑาคาริกฉะนั้น
(เหมือนสิ่งของที่หายไปเพราะความประมาทของภิกษุภัณฑาคาริก เป็นสินใช้
แก่ภิกษุภัณฑาคาริกฉะนั้น) ถ้าเป็นวิหารใหญ่, เมื่อเธอเดินไปเพื่อรักษาที่
ส่วนหนึ่ง สิ่งของที่เก็บไว้ในอีกที่หนึ่ง พวกโจรลักเอาไป ย่อมไม่เป็นสินใช้
เพราะเป็นเหตุเหลือวิสัย. ก็ในที่เช่นนั้น เธอควรเก็บบริขารทั้งหลายไว้ในที่
ประชุมแห่งภิกษุทั้งปวง แล้วนั่งในท่ามกลางวิหาร หรือพึงตั้งภิกษุรับหน้าที่
เฝ้าวิหารไว้ ๒-๓ รูป. ถ้าแม้เมื่อเธอเหล่านั้น มิได้เป็นผู้ประมาท คอยระแวด
ระวังอยู่ข้างโน้นและข้างนี้ นั่นแล สิ่งของอะไร ๆ หายไป, ก็ไม่เป็นสินใช้
แก่เธอเหล่านั้น สิ่งของที่พวกโจรมัดภิกษุผู้รับหน้าที่รักษาวิหารไว้แล้ว ลัก
เอาไปก็ดี สิ่งของที่ถูกลักไปโดยทางอื่น เมื่อภิกษุรับหน้าที่เฝ้าวิหาร เดิน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 193
สวนทางพวกโจรไปก็ดี ไม่เป็นสินใช้แก่เธอเหล่านั้น. ถ้าข้าวยาคูและภัต
หรืออาหารที่จะพึงถวายในวิหารไม่มีแก่ภิกษุผู้รับหน้าที่รักษาวิหาร, จะตั้งสลาก
ข้าวยา ๒-๓ ที่ ซึ่งมีเหลือเพื่อจากลาภที่ภิกษุเหล่านั้นพึงได้ และสลากภัต
พอแก่ภิกษุผู้เฝ้าวิหารเหล่านั้น ก็ควร แต่ไม่ควรตั้งให้เป็นประจำ. เพราะว่า
พวกชาวบ้าน จะมีความร้อนใจว่า พวกภิกษุผู้รับหน้าที่เฝ้าวิหารเท่านั้น
ย่อมฉันภัตของพวกเรา. เพราะเหตุนั้น จึงควรผลัดเปลี่ยนวาระกันตั้งไว้.
ถ้าพวกภิกษุที่เป็นสภาคกัน ของภิกษุรับวาระเฝ้าวิหารเหล่านั้น นำสลากภัต
มาถวาย, ข้อนั้นก็เป็นการดี, ถ้าไม่ถวาย, ควรให้ภิกษุทั้งหลายรับวาระแล้ว
ให้นำมาถวายเถิด. ถ้าภิกษุผู้รับหน้าที่รักษาวิหาร เมื่อได้รับสลากข้าวยาคู
๒-๓ ที่ และสลากภัต ๔ - ๕ ที่เสมอ ยังไปภิกขาจาร, สิ่งของหายไปทั้งหมด
เป็นสินใช้แก่เธอ เหมือนภิกษุภัณฑาคาริก ฉะนั้น. ถ้าภัตหรือค่าจ้างเพื่อภัต
ของสงฆ์ ที่จะพึงถวายแก่ภิกษุผู้เฝ้าวิหารไม่มี ภิกษุรับเอาตามวาระเฝ้าวิหาร
แล้ว จึงให้นิสิตของตน ๆ ช่วยปฏิบัติจะไม่รับเอาวาระที่มาถึง ย่อมไม่ได้,
ควรทำเหมือนอย่างที่ภิกษุเหล่าอื่นทำอยู่ฉะนั้น. แต่ว่าภิกษุใด ไม่มีสหายหรือ
เพื่อน ไม่มีภิกษุผู้ชอบพอกันที่จะนำภัตมาให้, ภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรให้วาระ
ถึงแก่ภิกษุเห็นปานนั้น. ภิกษุทั้งหลายตั้งแม้ส่วนใดไว้ในวิหาร เพื่อประโยชน์
เป็นเสบียงกรัง. ควรตั้งภิกษุผู้รับเอาส่วนนั้นเลี้ยงชีพ ( ให้เป็นผู้รับวาระ ).
ภิกษุใดไม่รับเอาส่วนนั้นเลี้ยงชีพ, ไม่ควรให้ภิกษุนั้นรับวาระ. ภิกษุทั้งหลาย
แต่งตั้งภิกษุไว้ในวิหาร แม้เพื่อต้องการให้รักษาผลไม้น้อยใหญ่, ครั้นปฏิบัติ
รักษาแล้วก็แจกกันฉันตามคราวแห่งผลไม้. ภิกษุที่ฉันผลไม้เหล่านั้น ควรตั้ง
ให้รับวาระ. ภิกษุผู้ไม่อาศัย (ผลไม้นั้น) เลี้ยงชีพ ไม่ควรให้รับวาระ. ภิกษุ
ทั้งหลายจะแต่งตั้งภิกษุไว้ แม้เพื่อต้องการให้รักษาเสนาสนะ เตียง ตั่ง และ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 194
เครื่องปูลาด, ควรแต่งตั้งภิกษุผู้อยู่ในอาวาส, ส่วนภิกษุผู้ถืออัพโภกาสิกธุดงค์
ก็ดี ผู้ถือรุกขมูลิกธุดงค์ก็ดี ไม่ควรให้รับวาระ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ภิกษุรูปหนึ่งยังเป็นพระนวกะอยู่ แต่เธอเป็นพหูสูท สอนธรรมให้การสอบ
ถาม บอกบาลีแสดงธรรมกถา แก่ภิกษุเป็นอันมาก ทั้งช่วยภาระของสงฆ์ด้วย.
ภิกษุนี้ เมื่อฉันลาภอยู่ก็ดี อยู่ในอาวาสก็ดี ไม่ควรให้รับวาระ, ควรรู้กันว่า
เป็นคนพิเศษ. แต่ภิกษุผู้รักษาโรงอุโบสถ และเรือนพระปฏิมา ควรให้ข้าว
ยาคูและภัตเป็นทวีคูณ ข้าวสารทะนานหนึ่งทุกวัน ไตรจีวรประจำปี และ
กัปปิยภัณฑ์ที่มีราคา ๑๐ หรือ ๒๐ กหาปณะ. ก็ถ้าเมื่อเธอได้รับข้าวยาคูและ
ภัตนั้นอยู่นั่นเอง สิ่งของอะไร ๆ ในโรงอุโบสถ และเรือนพระปฏิมานั้นหาย
ไป เพราะความประมาท, เป็นสินใช้แก่เธอทั้งหมด. แต่สิ่งของที่ถูกพวกโจร
ผูกมัดตัวเธอไว้แล้ว แย่งชิงเอาไป โดยพลการย่อมไม่เป็นสินใช้แก่เธอ, การ
ที่จะให้รักษาสิ่งของ ๆ เจดีย์ไว้รวมกับสิ่งของ ๆ เจดีย์เอง หรือกับสิ่งของ ๆ
สงฆ์ในโรงอุโบสถเป็นต้นนั้น สมควรอยู่, แต่การที่จะให้รักษาสิ่งของ ๆ สงฆ์
ไว้รวมกับสิ่งของ ๆ เจดีย์ไม่ควร. แต่สิ่งของอันใด ที่เป็นของสงฆ์ ซึ่งเก็บ
รวมกับของเจดีย์, สิ่งของ ๆ สงฆ์นั้น เมื่อให้รักษาของเจดีย์ไว้แล้ว ก็เป็น
อันรักษาไว้แล้วทีเดียว เพราะฉะนั้น การรักษาไว้อย่างนั้นควรอยู่. แม้เมื่อ
ภิกษุรักษาสถานที่ทั้งหลาย มีโรงอุโบสถเป็นต้น ตามปักขวาระ สิ่งของที่
หายไป เพราะอำนาจความประมาทย่อมเป็นสินใช้ เหมือนกัน ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยของที่เขาฝากไว้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 195
กถาว่าด้วยด่านภาษี
ชนทั้งหลาย ย่อมตระบัดภาษีจากที่นั้น เหตุนั้น ที่นั้น ชื่อว่า
สุงกฆาฏะ ที่เป็นแดนตระบัดภาษี. คำว่า สุงกฆาฏะ นั่น เป็นชื่อของ
ด่านภาษี. จริงอยู่ ด่านภาษีนั้น ท่านเรียกว่า สุงกฆาฏะ เพราะเหตุที่ชน
ทั้งหลาย เมื่อไม่ยอมให้ของควรเสียภาษี เป็นด่านภาษีนำออกไปจากที่นั้น ชื่อว่า
ตระบัด คือ ยังภาษีของพระราชาให้สูญหายไป.
สองบทว่า ตตฺร ปวิสิตฺวา มีความว่า เข้าไปในด่านภาษีที่พระราชา
ทรงทำกำหนดตั้งไว้ในที่ทั้งหลาย มีเขาขาดเป็นต้นนั้น.
สองบทว่า ราชคฺฆ ภณฺฑ ได้แก่ ภัณฑะที่ควรแก่พระราชา.
อธิบายว่า ภาษีมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก เป็นของที่ตนควร
ถวายแด่พระราชา จากภัณฑะใด, ภัณฑะนั้น. ปาฐะว่า ราชก บ้าง. เนื้อ
ความอย่างนี้เหมือนกัน. ภิกษุมีไถยจิต คือ ยังไถยจิตให้เกิดขึ้นว่า เราจะไม่
ให้ภาษีแก่พระราชาจากภัณฑะนี้ แล้วลูบคลำภัณฑะนั้น ต้องทุกกฏ, หยิบ
จากที่ที่วางไว้ใส่ในย่าม หรือผูกติดกับขาไว้ในที่ปิดบัง ต้องถุลลัจจัย, กิริยา
ที่ให้เคลื่อนจากฐาน ชื่อว่ายังไม่มี เพราะเขตแห่งปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกำหนดด้วยด่านภาษี. ภิกษุยังเท้าที่ ๒ ให้ก้าวข้ามเขตกำหนดด่านภาษีไป
ต้องปาราชิก.
สองบทว่า พหิ สุงฺกฆาฏ ปาเตติ มีความว่า ภิกษุอยู่ภายใน
นั่นเอง เห็นราชบุรุษทั้งหลาย เมินเหม่อเสีย จึงขว้างไป เพื่อต้องการให้ตก
ไปภายนอก ถ้าภัณฑะนั้น เป็นของจะตกได้แน่นอน พอหลุดจากมือ เธอต้อง
ปาราชิก. ถ้าภัณฑะนั้น กระต้นไม่ หรือตอไม้ หรือถูกกำลังลมแรงหอบไป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 196
ตกในภายในนั่นแลอีก ยังคุ้มได้. เธอหยิบขว้างไปอีก ต้องปาราชิก ตามนัย
ที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. ถ้าภัณฑะนั้นตกที่พื้นดิน แล้วกลิ้งเข้ามาข้างใน
อีก เธอต้องปาราชิกเหมือนกัน. ส่วนในกุรุนที และสังเขปอรรถกถากล่าวว่า
ถ้าภัณฑะนั้นตกข้างนอก หยุดแล้วจึงกลิ้งเข้าไป เธอต้องปาราชิก ถ้ายังไม่
ทันหยุดเลยกลิ้งเข้าไป ยังคุ้มได้. ภิกษุอยู่ภายในใช้มือ หรือเท้า หรือไม้เท้า
เขี่ยกลิ้งไป หรือว่าให้ผู้อื่นกลิ้งไป, ถ้าภัณฑะนั้นไม่หยุด กลิ้งออกไปต้อง
ปาราชิก. ภัณฑะนั้นหยุดข้างในแล้ว จึงออกไปข้างนอก ยังคุ้มได้. ภัณฑะ
ที่ภิกษุวางไว้ภายใน ด้วยคิดว่า จักกลิ้งออกไปเอง หรือว่าผู้อื่นจักให้มันกลิ้ง
ออกไป ภายหลังกลิ้งเอง หรือผู้อื่นกลิ้งออกไปข้างนอก ยังคุ้มได้เหมือนกัน.
แต่ในภัณฑะที่ภิกษุวางไว้ด้วยจิตบริสุทธิ์ และกลิ้งออกไปอย่างนั้น ไม่มีคำที่
จะพึงกล่าวเลย. ภิกษุทำห่อสองห่อให้ติดกันเป็นพวงเดียว วางไว้ระหว่างแดน
ของด่านภาษี แม้ว่าด่าภาษีในห่อนอกจะได้ราคาบาทหนึ่ง ก็จริง ถึงกระนั้น
ห่อในยังคุ้มไว้ได้ เพราะเนื่องเป็นพวงเดียวกันกับห่อนอกนั้น. แต่ถ้าเธอย้าย
ห่อที่อยู่ภายในไปวางไว้ข้างนอก ต้องปาราชิก. แม้ในหาบที่ภิกษุทำให้เนื่อง
เป็นอันเดียวกันวางไว้ ก็มีนัยเหมือนกัน . แต่ถ้าภัณฑะนั้น เป็นของไม่ได้ผูก
สักว่าพาดไว้บนปลายคานเท่านั้น เป็นปาราชิก. ภิกษุวางไว้ในยาน หรือบน
หลังม้าเป็นต้น ซึ่งกำลังไป ด้วยทำในใจว่า ภัณฑะนี้มันจักนำออกไปใน
ภายนอก เมื่อภัณฑะนั้นถูกนำออกไปแล้ว อวหารย่อมไม่มี แม้ภัณฑไทยก็
ไม่มี. เพราะเหตุไร ? เพราะพระราชาพิกัดไว้ว่า จงเก็บภาษีแก่คนผู้เข้ามา
ในที่นี้, จริงอยู่ ภัณฑะนี้ ภิกษุตั้งไว้นอกด่านภาษี และเธอมิได้นำไป;
เพราะฉะนั้น จึงไม่มีภัณฑไทย ไม่เป็นปาราชิก. แม้ในภัณฑะที่วางไว้ใน
ยานที่จอดอยู่เป็นต้น ครั้นเมื่อยานเป็นต้นนั้นไป เว้นประโยคของภิกษุนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 197
แม้เมื่อมีไถยจิต อวหารย่อมไม่มีเหมือนกัน. แต่ถ้าภิกษุวางแล้ว ขับยาน
เป็นต้นไปอยู่ ให้ก้าวล่วงไปก็ดี ยืนข้างหน้าแล้ว เรียกว่า มาเถิดโว้ย ดังนี้
เพราะความที่ตนสั่งสมไว้ในมนต์ทั้งหลาย มีมนต์เรียกช้างเป็นต้นก็ดี ต้อง
ปาราชิก ในขณะก้าวล่วงแดนไป. ในเอฬกโลมสิกขาบท ไม่เป็นอาบัติใน
ฐานะนี้ คือ ภิกษุให้ผู้อื่นนำขนเจียมไป, ในสิกขาบทนี้เป็นปาราชิก. ใน
เอฬกโลมสิกขาบทนั้น ภิกษุใส่ขนเจียมในยานหรือภัณฑะเองชนอื่นผู้ไม่รู้ ให้
ก้าวล่วงสามโยชน์ไป. ขนเจียมเป็นนิสสัคคีย์ เพราะเหตุนั้น ภิกษุต้อง
ปาจิตตีย์, ในสิกขาบทนี้หาเป็นอาบัติไม่. ภิกษุเสียภาษีที่ด่านภาษีก่อนแล้ว
จึงไป ควรอยู่.
ภิกษุรูปหนึ่ง ทำความผูกใจไว้แล้วไป ด้วยคิดว่า ถ้าเจ้าพนักงานภาษี
ทวงว่า ท่านจงให้ค่าภาษี, เราก็จักให้, ถ้าพวกเขาไม่ทวง. เราจักไป ดังนี้
เจ้าพนักงานภาษีคนหนึ่ง ได้เห็นภิกษุรูปนั้น จึงกล่าวว่า ภิกษุรูปนี้ จะไป,
พวกท่านจงเก็บด่าภาษีภิกษุนั้น. เจ้าพนักงานภาษีอีกนายหนึ่ง พูดขึ้นว่า
บรรพชิตจักมีค่าภาษีแต่ที่ไหนเล่า นิมนต์ไปเถิด ดังนี้. เป็นอันได้ข้ออ้าง
ภิกษุควรไป. ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่เสียค่าภาษีเสียก่อน ไป ไม่ควร, ก็เพราะ
เหตุนั้น เมื่อภิกษุพูดว่า รับเอาเถิด อุบาสก ดังนี้ก็ดี เมื่อเจ้าพนักงานภาษี
พูดว่า เมื่อเราจะเก็บค่าภาษีของภิกษุ ก็จะต้องเอาบาตรและจีวร จะมีประโยชน์
อะไรด้วยบาตรและจีวรนั้น นิมนต์ไปเถิด ดังนี้ก็ดี เป็นอัน ได้ข้ออ้างทีเดียว.
ถ้าพวกเจ้าพนักงานภาษี นอนหลับอยู่ก็ดี เล่นสกาอยู่ก็ดี หรือไปในที่ไหน ๆ
เสียก็ดี, และภิกษุนี้ แม้ร้องเรียกว่า พวกเจ้าพนักงานภาษี อยู่ที่ไหนกัน ?
ก็ไม่พบเห็น, เป็นอันได้ข้ออ้างเหมือนกัน. แม้ถ้าภิกษุไปถึงด่านภาษีแล้ว
เผอเรอไป คิดถึงอะไร ๆ อยู่ก็ดี สาธยายอยู่ก็ดี ตามประกอบมนสิการอยู่ก็ดี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 198
ถูกภยันตราย มีโจร ช้าง ราชสีห์ และเสือโคร่งเป็นต้น ลุกวิ่งไล่ติดตามไป
ก็ดี เห็นมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว ประสงค์จะเข้าไปยังศาลาข้างหน้าก็ดี ล่วงเลย
สถานที่นั้นไป; เป็นอันได้ข้ออ้างเหมือนกัน.
ในคำว่า ภิกษุหลบเลี่ยงภาษี นี้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถากุรุนที่ว่า
ถึงภิกษุก้าวลงสู่อุปจารแล้วหลบเลี่ยงไป ก็จริง ก็เป็นอวหารทีเดียว. แต่ใน
มหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุเล็งเห็นโทษอย่างเดียวว่า พวกราช-
บุรุษ เบียดเบียนผู้หลบเลี่ยง ดังนี้ จึงก้าวลงสู่อุปจารแล้ว หลบเลี่ยงไปเป็น
ทุกกฏ, เมื่อไม่ได้ก้าวลงเลย แต่หลบเลี่ยงไป ไม่เป็นอาบัติ. คำในมหา
อรรถกถานี้ ย่อมสมด้วยพระบาลี. ในด่านภาษีนี้ ควรกำหนดอุปจารไว้ ๒
เลฑฑุบาต ฉะนั้นแล.
จบกถาว่าด้วยด่านภาษี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 199
กถาว่าด้วยสัตว์มีชีวิต
ถัดจากกถาด่านภาษีนี้ไป พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงสัตว์
ที่มีชีวิต ซึ่งพอควรแก่อวหารโดยส่วนเดียว จึงตรัสว่า มนุสฺสปาโณ เป็นต้น.
เมื่อภิกษุลักมนุษย์ผู้ยังมีชีวิตแม้นั้น ซึ่งเป็นไทไป ย่อมไม่เป็นอวหาร. แม้
มนุษย์ผู้เป็นไทคนใด ถูกมารดาหรือบิดาเอาไปจำนำไว้ หรือตัวเองเอาตัว
เป็นประกันไว้ แล้วได้ถือเอาทรัพย์ ๕๐ หรือ ๖๐ กหาปณะไป, เมื่อภิกษุลัก
เอามนุษย์ผู้เป็นไทแม้คนนั้นไป ก็ไม่เป็นอวหาร. ส่วนทรัพย์ย่อมเพิ่มดอกเบี้ย
ขึ้นในสถานที่เขาไป. แต่เมื่อภิกษุลักทาสนั่นแล ต่างโดยเป็นทาสที่เกิดใน
เรือนเบี้ย ทาสสินไถ่และทาสที่ถูกนำมาเป็นเชลย ย่อมเป็นอวหาร. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาทาสผู้เกิดในเรือนเบี้ยเป็นต้น นั้นนั่นแล จึง
ตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ที่ชื่อว่าสัตว์มีชีวิต เราเรียกคนยังมีชีวิต ดังนี้.
[ บุคคลผู้เป็นทาส ๓ จำพวก ]
ก็บรรดาทาสเหล่านั้น ทาสที่เกิดในท้องของนางทาสี ในเรือนพึงทราบ
ว่า อันโตชาตกะ ทาสที่เกิดภายใน. ทาสที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ พึงทราบว่า
ธนักกีตกะ ทาสที่ไถ่มาด้วยทรัพย์, บุคคลที่ถูกกวาดต้อนมาจากต่างประเทศ
แล้วเข้าถึงความเป็นทาส พึงทราบว่า กรมรานีตะ ทาสที่ถูกนำมาเป็นเชลย.
ภิกษุคิดว่า เราจักลักมนุษย์ที่มีชีวิตเห็นปานนี้ไป แล้วลูบคลำ ต้องทุกกฏ.
เมื่อเธอจับที่มือ หรือเท้ายกขึ้น ทำให้ไหว ต้องถุลลัจจัย. เธอใคร่จะยกหนีไป
ให้ล่วงเลยจากสถานที่ ๆ ยืนอยู่ แม้เพียงปลายเส้นผมไป ต้องปาราชิก. เธอ
จับที่ผมหรือที่แขนทั้งสอง ฉุดคร่าไป พึงปรับตามย่างเท้า. ภิกษุคิดว่า เราจัก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 200
พาเดินไป ขู่หรือตี พลางพูดว่า แกจงไปจากที่นี้. เมื่อเขาไปยังทิศาภาค
ตามที่ภิกษุนั้นสั่ง เธอต้องปาราชิกในย่างเท้าที่ ๒. แม้ภิกษุเหล่าใด มีฉันทะ
ร่วมกับภิกษุนั้น เป็นปาราชิก ในขณะเดียวกันแก่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด. ภิกษุ
เห็นทาสแล้ว ถามถึงสุขทุกข์ หรือไม่ถามก็ตาม พูดว่า แกจงไป จงหนีไป
อยู่เป็นสุขเถิด ถ้าทาสคนนั้นหนีไปไซร้ เธอต้องปาราชิกในย่างเท้าที่ ๒.
ภิกษุรูปอื่น พูดกะทาสคนนั้น ผู้เข้ามาสู่สำนักของตนว่า แกจงหนีไป. ถ้าภิกษุ
ตั้งร้อยรูป พูดกะทาสผู้เข้ามาสู่สำนักของตน ๆ ตามลำดับ, ก็เป็นปาราชิก
ด้วยกันทั้งหมด. ส่วนภิกษุรูปใด พูดกะทาสผู้กำลังวิ่งหนีไปนั่นเองว่า แกจง
หนีไป ตลอดเวลาที่เจ้าของยังจับแกไม่ได้, เธอรูปนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก.
แต่ถ้าเธอพูดกะทาสค่อย ๆ เดินไป, และทาสคนนั้นรีบจ้ำเดินไป ตามคำ
ของภิกษุนั้น, เป็นปาราชิก, เมื่อภิกษุเห็นทาส ผู้หนีไปยังบ้านหรือประเทศอื่น
แล้วไล่ให้หนีไป แม้จากที่นั้น เป็นปาราชิกเหมือนกัน. ชื่อว่า อทินนาทาน
ย่อมพ้นได้โดยปริยาย.
จริงอยู่ ภิกษุรูปใด พูดอย่างนี้ว่า เธอทำอะไรอยู่ในที่นี้ ? เธอหนีไป
ไม่ควรหรือ? ก็ดี ว่า การที่เธอไปในที่ไหน ๆ แล้ว มีชีวิตอยู่อย่างสบาย
ไม่ควรหรือ? ก็ดี ว่า พวกทาสและสาวใช้พากันหนีไปยังประเทศชื่อโน้นแล้ว
ย่อมเป็นอยู่อย่างสบาย ก็ดี, และเขาได้ฟังคำพูดของภิกษุนั้นแล้ว ก็หนีไป,
ย่อมไม่เป็นอวหาร. ฝ่ายภิกษุใด พูดว่า พวกอาตมา จะไปยังประเทศชื่อโน้น,
ผู้ไปในประเทศนั้นแล้ว ย่อมเป็นอยู่อย่างสบาย และเมื่อพวกท่านไปพร้อม
กับพวกอาตมา จะไม่มีความลำบาก ด้วยเสบียงทางเป็นต้น แม้ในระหว่างทาง
ดังนี้แล้ว พาเอาทาสผู้มาพร้อมกับตนไป, ภิกษุรูปนั้น ไม่ต้องปาราชิกด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 201
ไถยจิต ทั้งอวหารก็ไม่มีเลย เพราะอำนาจแห่งการเดินทาง และเมื่อมีพวก
โจรดักอยู่ในระหว่างทาง แม้เมื่อภิกษุกล่าวว่า เฮ้ย ! พวกโจรซุ่มดักแล้ว,
แกจงรีบหนีไป จงรีบมาไป ดังนี้ พระอาจารย์ทั้งหลาย ก็ไม่ปรับเป็นอวหาร
เพราะเธอกล่าวเพื่อต้องการให้พ้นจากอันตรายแต่โจร ด้วย ประการฉะนี้.
จบกถาว่าด้วยสัตว์มีชีวิต
กถาว่าด้วยสัตว์ไม่มีเท้า
บรรดาสัตว์ไม่มีเท้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่างู มีเจ้าของ คือ งูที่พวกหมองู
เป็นต้นจับไว้ เมื่อให้เล่น ย่อมได้ค่าดูกึ่งบาทบ้าง บาทหนึ่งบ้าง กหาปณะหนึ่ง
บ้าง, แม้เมื่อจะปล่อยออก ก็รับเอาเงินและทองแล้วแลจึงปล่อยออก. เจ้าของงู
เหล่านั้น ไปยังโอกาสที่ภิกษุบางรูปนั่งแล้ววางกล่องงูไว้ นอนหลับไป หรือ
ไปในที่ไหน ๆ เสีย. ถ้าภิกษุนั้นจับกล่องนั้นในสถานที่นั้น ด้วยไถยจิต ต้อง
ทุกกฏ. ทำให้ไหวต้องถุลลัจจัย, ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องปาราชิก. แต่ถ้าเธอ
เปิดกล่องออกแล้วจับงูที่คอ ต้องทุกกฏ, ยกงูขึ้นต้องถุลลัจจัย, เมื่อเธอยกขึ้น
ให้ตรง ๆ พอเมื่อหางงูพ้นจากพื้นกล่องเพียงปลายเส้นผม ก็ต้องปาราชิก. เมื่อ
เธอดึงครูดออกไป พอหางงูพ้นจากขอบปาก (กล่อง) ไป ต้องปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 202
เธอเปิดปากกล่องออกนิดหน่อยแล้ว ตี หรือร้องเรียกออกชื่อว่า เฮ้ย ! จง
เลื้อยออกมา แล้วให้เลื้อยออก ต้องปาราชิก. เธอเปิดออกเหมือนอย่างนั้นแล้ว
จึงทำเสียงกบร้อง หรือเสียงหนูร้อง หรือโปรยข้าวตอกลงตาม แล้วร้องเรียก
ออกซึ่ง หรือดีดนิ้วมือก็ตาม แม้เมื่องูเลื้อยออกไป ด้วยกิริยาที่ทำเสียงเป็นต้น
อย่างนั้น ก็ต้องปาราชิก. เมื่อเธอไม่ได้เปิดปากออก แต่ได้ทำกิริยาอย่างนั้น
งูหิวจัด จึงชูศีรษะขึ้นดันฝากล่อง ทำช่องแล้วก็เลื้อยหนีไป เป็นปาราชิก
เหมือนกัน. แต่เมื่อเธอเปิดปากออกแล้ว งูเลื้อยออกหนีไปเสียเอง ย่อมเป็น
ภัณฑไทย. แม้ถ้าเธอเปิดปากออกก็ตาม ไม่ได้เปิดออกก็ตาม แต่ได้ทำเป็น
เสียงกบและเสียงหนูร้อง หรือโปรยข้าวตอกลงเท่านั้นอย่างเดียว ไม่ได้ร้อง
เรียกระบุชื่อ หรือไม่ได้ดีดนิ้วมือ, เพราะหิวจัด งูคิดว่า จักกินกบเป็นต้น
จึงเลื้อยออกหนีไป เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. ในอธิการนี้ ปลาอย่างเดียว
มาแล้วด้วย อปท ศัพท์. ก็คำที่จะพึงกล่าวในปลานี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว
ในภัณฑะตั้งอยู่ในน้ำนั่นเทียว ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยสัตว์ไม่มีเท้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 203
กถาว่าด้วยสัตว์ ๒ เท้า
บรรดาสัตว์สองเท้าทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดง
จำพวกสัตว์ ๒ เท้า ซึ่งใคร ๆ อาจลักเอาไปได้ จึงตรัสคำว่า มนุสฺสา
ปกฺขชาตา เป็นต้น. ส่วนพวกเทวดา ใคร ๆ ไม่อาจลักเอาไปได้. ที่ชื่อว่า
นก เพราะอรรถว่า สัตว์เหล่านั้นมีปีกเกิดแล้ว. สัตว์มีปีกเหล่านั้น มี ๓
จำพวก คือ มีขนเป็นปีกจำพวกหนึ่ง มีหนังเป็นปีกจำพวกหนึ่ง มีกระดูก
เป็นปีกจำพวกหนึ่ง, บรรดาสัตว์เหล่านั้น นกยูงและไก่เป็นต้น พึงทราบว่า
มีขนเป็นปีก, ค้างคาวเป็นต้น พึงทราบว่ามีหนังเป็นปีก, แมลงภู่เป็นต้น
พึงทราบว่า มีกระดูกเป็นปีก. ในอธิการนี้ มนุษย์และนกเหล่านั้นทั้งหมด
มาแล้วด้วยทวิปทศัพท์ล้วน ๆ. ส่วนคำที่จะพึงกล่าวในสัตว์ ๒ เท้านี้ ข้าพเจ้า
ได้กล่าวไว้แล้วในภัณฑะที่อยู่ในอากาศ และสัตว์มีชีวิตนั่นเทียว ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยสัตว์ ๒ เท้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 204
กถาว่าด้วยสัตว์ ๔ เท้า
พึงทราบวินิจฉัย ในสัตว์ ๔ เท้าต่อไป :- ชนิดแห่งสัตว์ ๔ เท้า
ทั้งหมด ที่เหลือจากที่มาในพระบาลี พึงทราบว่า ปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยง. สัตว์
ทั้งหลายมีช้างเป็นต้น ปรากฏชัดแล้วแล. บรรดาสัตว์มีช้างเป็นต้นเหล่านั้น
เมื่อภิกษุลูบคลำช้างด้วยไถยจิต เป็นทุกกฏ. ทำให้ไหว เป็นถุลลัจจัย. ส่วน
ภิกษุรูปใด มีกำลังมาก ใช้ศีรษะทูนเอาลูกช้างตัวยังอ่อน ที่ต้นสะดือขึ้น
เพราะความเมากำลังให้เท้าทั้ง ๔ และงวงพ้นจากดินแม้เพียงปลายเส้นผม,
ภิกษุรูปนั้น ต้องปาราชิก. แต่ช้างบางเชือกเขาผูกขังไว้โนโรงช้าง, บางเชือก
ยืนอยู่ ไม่ได้ผูกเลย บางเชือกยืนอยู่ภายในที่อยู่, บางเชือกยืนอยู่ที่พระลาน
หลวง.
บรรดาช้างเหล่านั้น ช้างเชือกที่ผูกคอช้างไว้ในโรงช้าง มีฐาน ๕ คือ
เครื่องผูกที่คอ และเท้าทั้ง ๔. สำหรับช้างเชือกที่เขาเอาโซ่เหล็กผูกไว้ที่คอ
และที่เท้าข้างหนึ่ง มีฐาน ๖. ช้างเชือกที่เขาผูกไว้ที่คอและที่เท้าทั้ง ๒ มีฐาน ๗.
พึงทราบการทำให้ไหว และให้เคลื่อนจากฐาน ด้วยอำนาจแห่งฐานเหล่านั้น.
โรงช้างทั้งสิ้น เป็นฐานของช้างเชือกที่เขาไม่ได้ผูกไว้, เป็นปาราชิก ในเมื่อ
ให้ก้าวล่วงจากโรงช้างนั้นไป. พื้นที่ภายในที่อยู่ทั้งสิ้นนั่นแล เป็นฐานของ
ช้างเชือกยืนอยู่ภายในที่อยู่, เป็นปาราชิก ในเมื่อให้ล่วงเลยประตูที่อยู่ของช้าง
นั้นไป. พระนครทั้งสิ้นเป็นฐานของช้างเชือกที่ยืนอยู่ที่พระลานหลวง, เป็น
ปาราชิก ในเมื่อให้ช้างนั้นล่วงเลยประตูพระนครไป. สถานที่ยืนอยู่นั่นเอง
เป็นฐานของช้างเชือกที่ยืนอยู่ภายนอกพระนคร. ภิกษุเมื่อลักช้างนั้นไป พึง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 205
ปรับด้วยอย่างเท้า. สำหรับช้างที่นอนอยู่ มีฐานเดียวเท่านั้น. เมื่อภิกษุไล่ให้
ช้างลุกขึ้น ด้วยไถยจิต พอช้างลุกขึ้นแล้ว เป็นปาราชิก, ถึงในม้า ก็มี
วินิจฉัยเหมือนกันนี้แล. แม้ถ้าม้านั้นถูกเขาล่ามไว้ที่เท้าทั้ง ๔ เทียว พึงทราบ
ว่ามีฐาน ๘. ถึงในอูฐก็มีนัยเช่นนี้. แม้โคบางตัวเป็นสัตว์ที่เขาผูกขังไว้ใกล้
เรือน. บางตัวยืนอยู่ไม่ได้ผูกไว้เลย, แต่บางตัว เขาผูกไว้ในคอก, บางตัว
ก็ยืนอยู่ไม่ได้ผูกไว้เลย.
บรรดาโคเหล่านั้น โคที่เขาผูกขังไว้ใกล้เรือน มีฐาน ๕ คือ เท้าทั้ง ๔
และเครื่องผูก. เรือนทั้งสิ้น เป็นฐานของโคที่ไม่ได้ผูก. โคที่เขาผูกไว้ในคอก
ก็มีฐาน ๕. คอกทั้งสิ้น เป็นฐานของโคที่ไม่ได้ผูก. ภิกษุให้โคนั้นล่วงเลย
ประตูคอกไป ต้องปาราชิก. เมื่อเธอทำลายคอกลักไปให้ล่วงเลยประตูคอกไป
เป็นปาราชิก เธอเปิดประตูออก หรือทำลายคอกแล้ว ยืนอยู่ข้างนอก แล้ว
ร้องเรียกออกชื่อ บังคับให้โคออกมา ต้องปาราชิก. แม้สำหรับภิกษุผู้แสดง
กิ่งไม้ที่หักได้ ให้โคเห็นแล้วเรียกมา ก็มีนัยเหมือนกันนั่นแหละ. เธอไม่ได้
เปิดประตู คอกก็ไม่ได้ทำลาย เป็นแต่สั่นกิ่งไม่ที่หักได้แล้วเรียกโคมา. โค
กระโดดออกมาเพราะความหิวจัด เป็นปาราชิกเหมือนกัน. แต่ถ้าเมื่อเธอเปิด
ประตูออก หรือทำลายคอกแล้ว โคก็ออกมาเสียเอง เป็นภัณฑไทย. เธอ
เปิดประตู หรือไม่ได้เปิดก็ตาม ทำลายคอก หรือไม่ได้ทำลายก็ตาม เป็น
แต่สั่นกิ่งไม่ที่หักได้อย่างเดียว ไม่ได้เรียกโค. โคเดินออกมาหรือกระโดดออก
มา เพราะความหิวจัด เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. โคที่เขาล่ามไว้กลางบ้าน
ยืนอยู่ตัวหนึ่ง นอนอยู่ตัวหนึ่ง. โคตัวที่ยืนอยู่มีฐาน ๕. ตัวที่นอนอยู่มีฐาน ๒.
พึงทราบการทำให้ไหว และให้เคลื่อนจากฐาน ด้วยอำนาจแห่งฐานเหล่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 206
ก็ภิกษุรูปใดไม่ได้ไล่ให้โคที่นอนอยู่ลุกขึ้น แต่ให้ฆ่าเสียในที่นั้นนั่นเอง เป็น
ภัณฑไทยแก่ภิกษุรูปนั้น. ก็บ้านทั้งสิ้น เป็นฐานของโคตัวยืนอยู่ในบ้านที่ได้
ประกอบประตูล้อมไว้เป็นอย่างดี สำหรับโคตัวที่ยืนอยู่ หรือที่เที่ยวไปในบ้าน
ซึ่งไม่ได้ล้อม สถานที่ ๆ เท้าทั้ง ๔ ย่ำไปย่ำมานั้น เอง เป็นฐาน. แม้ในสัตว์
ทั้งหลาย มีลา และปศุสัตว์เป็นต้น ก็มีวินิจฉัยเหมือนกันนี้นั่นแล.
จบกถาว่าด้วยสัตว์ ๔ เท้า
กถาว่าด้วยสัตว์มีเท้ามาก
พึงทราบวินิจฉัยในสัตว์มีเท้ามากต่อไป :- ถ้าวัตถุปาราชิกเต็มด้วย
ตะขาบตัวเดียว เมื่อภิกษุลักตะขาบตัวนั้นไปด้วยเท้า เป็นถุลลัจจัย ๙๙ ตัว,
เป็นปาราชิกตัวเดียว. คำที่เหลือ มีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบกถาว่าด้วยสัตว์มีเท้ามาก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 207
กถาว่าด้วยภิกษุผู้สั่ง
ที่ชื่อว่าภิกษุผู้สั่ง เพราะอรรถว่า ประพฤติเลวทราม. ท่านกล่าว
อธิบายว่า ย่อมตามเข้าไปข้างใน ในสถานที่นั้น ๆ.
บทว่า โอจริตฺวา ความว่า คอยกำหนด คือ คอยตรวจดู.
บทว่า อาจิกฺขติ ความว่า ภิกษุแกล้งบอกทรัพย์ที่เก็บไว้ไม่ดี ใน
ตระกูลของชนอื่นหรือวิหารเป็นต้น ซึ่งมิได้จัดการอารักขาไว้แก่ภิกษุรูปอื่น
ผู้สามารถจะทำโจรกรรมได้.
หลายบทว่า อาปตฺติ อุภินฺน ปาราชิกสฺส ความว่า เธอทั้งสอง
รูป ต้องอาบัติปาราชิก อย่างนี้ คือ ในทรัพย์ที่จะต้องลักได้แน่นอน ภิกษุ
ผู้สั่ง เป็นในขณะสั่ง ภิกษุผู้รับสั่งนอกนี้ เป็นในขณะทำให้เคลื่อนจากฐาน
ส่วนภิกษุรูปใด ทำปริยายโดยนัยเป็นต้นว่า ในเรือนไม่มีผู้ชาย เขาเก็บทรัพย์
ชื่อโน้นไว้ในส่วนหนึ่ง ไม่ได้จัดการอารักขาไว้ ทั้งประตูก็ไม่ได้ปิด, อาจจะ
ลักเอาไปได้ตามทางที่ไปแล้วนั่นแหละ ชื่อว่าบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ที่จะพึงไปลัก
เอาทรัพย์นั้น มาเลี้ยงชีวิตอย่างลูกผู้ชายไม่มี. และภิกษุรูปอื่นได้ฟังคำนั้นแล้ว
คิดว่า บัดนี้เราจักลักเอา (ทรัพย์นั้น) จึงเดินไปลัก, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุรูป
นั้น ในขณะที่ทำให้เคลื่อนจากฐาน. ส่วนภิกษุรูปนี้ไม่เป็นอาบัติ. จริงอยู่
ภิกษุผู้ทำปริยายนั้น ย่อมพ้นจากอทินนาทานโดยปริยาย ฉะนั้นแล.
จบกถาว่าด้วยภิกษุผู้สั่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 208
กถาว่าด้วยผู้รับของฝาก
ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก เพราะอรรถว่า รักษาทรัพย์ที่เขานำมา
ฝากไว้. ภิกษุรูปใด อันชนอื่น กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ! ช่วยดูแลทรัพย์นี้
สักครู่ จนกว่ากระผมจะทำกิจชื่อนี้ แล้วกลับมา ได้รักษาทรัพย์ที่เขานำมา
ในสถานที่อยู่ของตนไว้, คำว่า โอณิรกฺโข นั่น เป็นชื่อของภิกษุผู้รับของ
ฝากนั้น. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ที่ชื่อว่า
ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขานำมาฝากไว้ ดังนี้.
ในเรือนนั้น ภิกษุผู้รับของฝาก ไม่ได้แก้ห่อสิ่งของที่เจ้าของเขาผูก
มัดตราสินออกเลย โดยส่วนมาก ตัดแต่กระสอบหรือห่อข้างล่างออกแล้ว
ถือเอาแต่เพียงเล็กน้อย ทำการเย็บเป็นต้น ให้เป็นปกติเดิมอีก สำหรับภิกษุ
ผู้คิดว่า เราจักถือเอาด้วยอาการอย่างนั้น แล้วทำการจับต้องเป็นต้น พึงทราบว่า
เป็นอาบัติตามสมควร ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยภิกษุผู้รับของฝาก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 209
กถาว่าด้วยการชักชวนกันลัก
การชักชวนกันลัก ชื่อว่า สังวิธาวหาร. มีคำอธิบายว่า การลักที่ทำ
ด้วยความสมรู้ร่วมคิดกะกันและกัน.
บทว่า สวิทหิตฺวา มีความว่า ปรึกษาหารือกัน ด้วยความเป็นผู้
ร่วมฉันทะกัน คือ ด้วยความเป็นผู้ร่วมอัธยาศัยกัน.
[ ภิกษุหลายรูปชวนกันไปลักทรัพย์ ต้องอาบัติหมดทุกรูป ]
วินิจฉัยในสังวิธาวหารนั้น ดังนี้ ภิกษุหลายรูปด้วยกัน ชักชวนกันว่า
พวกเราจักไปเรือน ชื่อโน้น จักทำลายหลังคา หรือฝา หรือจักตัดที่ต่อลัก
ของ. ในภิกษุเหล่านั้น รูปหนึ่งลักของได้, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุทั้งหมด ใน
ขณะยกภัณฑะนั้นขึ้น. จริงอยู่ แม้ในคัมภีร์ปริวาร พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้
ตรัสคำนี้ว่า
๔ คน ได้ชวนกันลักครุภัณฑ์ ๓ คน
เป็นปาราชิก คนหนึ่งไม่เป็นปาราชิก
ปัญหานี้ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว*.
เนื้อความแห่งคำนั้น พึงทราบดังนี้ ๔ คน คือ อาจารย์กับอันเตวาสิก
เป็นผู้ใคร่จะลักครุภัณฑ์ ราคา ๖ มาสก. ใน ๔ คนนั้นอาจารย์สั่งว่า คุณจง
ลัก ๑ มาสก คุณจงลัก ๑ มาสก คุณจงลัก ๑ มาสก ฉันจักลัก ๓ มาสก.
ฝ่ายบรรดาอันเตวาสิกทั้งหลาย อันเตวาสิกรูปหนึ่ง กล่าวว่า ใต้เท้าจงลัก ๓
มาสก นะขอรับ ! คุณจงลัก ๑ มาสก คุณจงลัก ๑ มาสก ผมจักลัก ๑ มาสก
แม้อันเตวาสิก ๒ รูปนอกจากนี้ ก็ได้กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน. บรรดาชน
* วิ. ปริวาร. ๘/๕๓๐.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 210
๔ คนนั้น มาสกหนึ่งของอันเตวาสิกคนหนึ่ง ๆ ในพวกอันเตวาสิก เป็นสาหัต-
ถิกอวหาร, เป็นอาบัติทุกกฏแก่อันเตวาสิกทั้ง ๓ คนนั้น ด้วยมาสกหนึ่งนั้น.
๕ มาสกเป็นอาณัตติกอวหาร, เป็นปาราชิกแก่อันเตวาสิกทั้ง ๓ คนด้วย ๕
มาสกนั้น. ส่วน ๓ มาสก ของอาจารย์ เป็นสาหัตถิกะ, เป็นถุลลัจจัยแก่
อาจารย์นั้น ด้วย ๓ มาสกนั้น. ๓ มาสกเป็นอาณัตติกะ. แม้ด้วย ๓ มาสกนั้น
ก็เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. จริงอยู่ ในอทินนาทานสิกขาบทนี้ สาหัตถิกะไม่
เป็นองค์ของอาณัตติยะ หรืออาณัตติยะไม่เป็นองค์ของสาหัตถิกะ. แต่สาหัตถิยะ
พึงปรับรวมกับสาหัตถิยะด้วยกันได้. อาณัตติยะพึงปรับรวมกับอาณัตติยะด้วย
กันได้. เพราะเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า
๔ คน ได้ชวนกันลักครุภัณฑ์ ๓ คน
เป็นปาราชิก คนหนึ่งไม่เป็นปาราชิก ปัญหา
นี้ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.*
อีกอย่างหนึ่ง เพื่อไม่ฉงนในสังวิธาวหาร พึงกำหนดจตุกกะแม้นี้
โดยใจความ คือ ของสิ่งเดียว มีฐานเดียว ของสิ่งเดียว มีหลายฐาน ของ
หลายสิ่ง มีฐานเดียว ของหลายสิ่ง มีหลายฐาน. ในจตุกกะนั้น ข้อว่า
ของสิ่งเดียว มีฐานเดียว นั้น คือ ภิกษุหลายรูป เห็นของมีราคา ๕ มาสก
ซึ่งเขาวางไว้ไม่มิดชิด ที่กระดานร้านตลาด ของสกุลหนึ่ง จึงบังคับภิกษุ
รูปหนึ่งว่า คุณจงไปลักของสิ่งนั้น เป็นปาราชิกแก่ภิกษุทั้งหมด ในขณะที่ยก
ภัณฑะขึ้นนั้น.
ข้อว่า ของสิ่งเดียว มีหลายฐาน นั้น คือ ภิกษุหลายรูปเห็นมาสก
ซึ่งเขาวางไว้ไม่มิดชิด บนกระดานร้านตลาดห้าแผ่น ๆ ละมาสก ของสกุลหนึ่ง
* วิ. ปริวาร. ๘/๕๓๐.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 211
จึงสั่งบังคับภิกษุรูปหนึ่งว่า คุณจงไปลักมาสกเหล่านั้น เป็นปาราชิกแก่ทุกรูป
ในขณะที่ยกมาสกที่ ๕ ขึ้น.
อ้างว่า ของหลายสิ่ง มีฐานเดียว นั้น คือ ภิกษุหลายรูปเห็นของมี
ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก เป็นของ ๆ คนหลายคน ซึ่งวางไว้
ล่อแหลมในที่เดียวกัน จึงสั่งบังคับภิกษุรูปหนึ่งว่า คุณจงไปลักของนั้น เป็น
ปาราชิกแก่ทุกรูป ในขณะยกภัณฑะนั้นขึ้น.
ข้อว่า ของหลายสิ่ง มีหลายฐาน นั้น คือ ภิกษุหลายรูปเห็นมาสก
ของห้าสกุล ๆ ละหนึ่งมาสกซึ่งวางไว้ล่อแหลม บนกระดานร้านตลาดห้าแผ่น ๆ
ละหนึ่งมาสก จึงสั่งบังคับภิกษุรูปหนึ่งว่า คุณจงไปลักมาสกเหล่านั้น. เป็น
ปาราชิกแก่ทุกรูป ในขณะที่ยกมาสกที่ ๕ ขึ้น ด้วยประการฉะนี้.
จบกถาว่าด้วยการชักชวนกันลัก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 212
กถาว่าด้วยการนัดหมาย
กรรมเป็นที่หมายรู้กัน ชื่อว่า สังเกตกรรม. อธิบายว่า การทำ
ความหมายรู้กัน ด้วยอำนาจกำหนดเวลา. ก็ในสังเกตกรรมนี้ เมื่อภิกษุผู้ใช้
สั่งว่า คุณจงลักในเวลาก่อนอาหาร ภิกษุผู้รับใช้จะลักในเวลาก่อนอาหารวันนี้
หรือพรุ่งนี้ หรือในปีหน้าก็ตามที, ความผิดสังเกตย่อมไม่มี, เป็นปาราชิก
แม้แก่เธอทั้ง ๒ รูป ตามนัยที่กล่าวแล้ว ในภิกษุผู้คอยกำหนดสั่งนั่นแล. แต่
เมื่อภิกษุผู้ใช้สั่งว่า คุณจงลักในเวลาก่อนอาหารวันนี้ ภิกษุผู้รับใช้ ลักในวัน
พรุ่งนี้, สิ่งของนั้น ย่อมเป็นอันภิกษุผู้รับใช้ลักมาภายหลัง ล่วงเลยกำหนด
หมายนั้น ที่ผู้ใช้กำหนดไว้ว่า วันนี้, ถ้าเมื่อภิกษุผู้ใช้สั่งว่า จงลักในเวลา
ก่อนอาหารพรุ่งนี้ ภิกษุผู้รับใช้ลักในเวลาก่อนอาหารวันนี้, สิ่งของนั้นย่อม
เป็นอันผู้รับใช้ลักมาเสียก่อน ยังไม่ทันถึงกำหนดหมายนั้น ที่ผู้ใช้กำหนดว่า
พรุ่งนี้, เป็นปาราชิก เฉพาะภิกษุผู้ลัก ซึ่งลักด้วยอวหารอย่างนั้นเท่านั้น,
ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้ใช้ซึ่งเป็นต้นเหตุ ในเมื่อผู้ใช้สั่งว่า จงลักในเวลาก่อนอาหาร
พรุ่งนี้. ฝ่ายภิกษุผู้รับใช้ ลักในวันนั้นนั่นเอง หรือในเวลาหลังอาหารพรุ่งนี้
พึงทราบว่า ลักมาเสียก่อนและภายหลัง การนัดหมายนั้น. แม้ในเวลาหลัง
อาหารกลางคืนและกลางวัน ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ก็ในสังเกตกรรมนั้น พึง
ทราบความถูกนัดหมาย และความผิดการนัดหมาย แม้ด้วยอำนาจแห่งเวลา
มีปุริมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม กาลปักข์ ชุณหปักข์ เดือน ฤดู และปี
เป็นต้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 213
ถามว่า เมื่อภิกษุผู้ใช้สั่งว่า จงลักในเวลาก่อนอาหาร ภิกษุผู้รับใช้
พยายามอยู่ ด้วยอันคิดว่า จักลักในเวลาก่อนอาหารนั่นเอง และสิ่งของนั้น
ย่อมเป็นอันเธอลักมาได้ ในเวลาหลังอาหาร; ในอวหารข้อนี้ เป็นอย่างไร ?
แก้ว่า พระมหาสุมเถระ กล่าวไว้ก่อนว่า นั่นเป็นประโยคในเวลา
ก่อนอาหารแท้; เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุ ย่อมไม่พ้น. ส่วน
พระมหาปทุมเถระ กล่าวว่า ชื่อว่าผิดการนัดหมาย เพราะล่วงเลยกำหนดกาล
ไป; เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุจึงรอดตัวไป.
จบกถาว่าด้วยการนัดหมาย
กถาว่าด้วยการทำนิมิต
การทำนิมิตบางอย่าง เพื่อให้เกิดความหมายรู้ ชื่อว่า นิมิตกรรม.
นิมิตกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ๓ อย่าง โคuนัยเป็นต้นว่า
เราจักขยิบตา ก็ดี. ก็การทำนิมิตแม้อย่างอื่น มีเป็นอเนกประการเป็นต้นว่า
แกว่งไกวมือ ปรบมือ ดีดนิ้วมือ เอียงคอลงไอ และกระแอม พึงสงเคราะห์
เข้าในนิมิตกรรมนี้ ส่วนคำที่เหลือในนิมิตกรรมนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในสังเกต-
กรรมนั้นทีเดียวแล.
จบกถาว่าด้วยการทำนิมิต
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 214
กถาว่าด้วยการสั่ง
บัดนี้ เพื่อความไม่ฉงนในสังเกตกรรม และนิมิตกรรมเหล่านี้นั่นเอง
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกฺขุ อาณาเปติ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า โส ต มญฺมาโน ความว่า
ภิกษุผู้ลุกนั้น เข้าใจทรัพย์ที่ภิกษุผู้สั่ง บอกทำนิมิตเครื่องหมายไว้ว่า เป็น
ทรัพย์นั้น จึงลักทรัพย์นั้นนั่นแล. เป็นปาราซิกทั้ง ๒ รูป.
หลายบทว่า โส ต มญฺมาโน อญฺ ความว่า ภิกษุผู้ลักนั้น
เข้าใจทรัพย์ที่ภิกษุผู้สั่งๆ ให้ลัก ว่า เป็นทรัพย์นั่น แต่ลักทรัพย์อื่นที่เขาเก็บไว้
ในที่นั้นนั่นแล. ภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุ ไม่เป็นอาบัติ.
หลายบทว่า อญฺ มญฺมาโน ต ความว่า ภิกษุผู้ลักเข้าใจ
ทรัพย์อื่นที่ภิกษุผู้สั่ง ทำนิมิตเครื่องหมายบอกไว้อย่างนี้ว่า ทรัพย์นี้มีราคาน้อย,
แต่ทรัพย์อย่างอื่น ที่เขาเก็บไว้ในที่ใกล้ทรัพย์นั้นนั่นเอง เป็นทรัพย์ที่มีคุณค่า
ดังนี้ จึงลักทรัพย์นั้นนั่นเอง เป็นปาราชิก ทั้ง ๒ รูป
หลายบทว่า อญฺ มญฺมาโน อญฺ ความว่า ภิกษุผู้ลักนั้น
ย่อมเข้าใจโดยนัยก่อนนั่นแลว่า ทรัพย์อย่างอื่นนี้. ที่เขาเก็บไว้ในที่ใกล้ทรัพย์
นั้นนั่นเอง เป็นทรัพย์ที่มีคุณค่า ดังนี้, ถ้าทรัพย์ที่ลักมานั้นเป็นทรัพย์อย่างอื่น
นั่นแล, เป็นปาราชิกแก่เธอผู้ลักเท่านั้น.
ในคำว่า อิตฺถนฺามสฺส ปาวท เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- พึงเห็น
อาจารย์รูปหนึ่ง อันเตวาสิก ๓ รูป มีชื่อว่า พุทธรักขิต ธรรมรักขิต และ
สังฆรักขิต.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 215
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า ภิกขุ ภิกขุ อาณาเปติ ความว่า
อาจารย์กำหนดทรัพย์บางอย่าง ในสถานที่บางแห่ง แล้วสั่งพระพุทธรักขิต
เพื่อต้องการลักทรัพย์นั้น.
สองบทว่า อิตฺถนฺนามสฺส ปาวท ความว่า (อาจารย์สั่งว่า) ดูก่อน
พุทธรักขิต ! คุณจงไปบอกเนื้อความนั่นแก่พระธรรมรักขิต.
หลายบทว่า อิตฺถนฺนาโม อิตฺถนฺนามสฺส ปาวทตุ ความว่า
แม้พระธรรมรักขิต จงบอกแก่พระสังฆรักขิต.
พระธรรมรักขิตถูกท่านสั่งอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้ จงลักสิ่งของชื่อนี้
แล้วสั่งพระสังฆรักขิตว่า จงลักสิ่งของชื่อนี้ ; แท้จริงบรรดาเราทั้งสอง ท่าน
สังฆรักขิต เป็นคนมีชาติกล้าหาญสามารถในกรรมนี้.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เป็นทุกกฏ แก่อาจารย์
ผู้สั่งอย่างนี้ก่อน. แต่ถ้าคำสั่งนั้น ดำเนินไปตามความประสงค์ ถุลลัจจัยท่าน
ปร้บไว้ข้างหน้านั่นแล ย่อมมีในขณะสั่ง, ถ้าสิ่งของนั้นจะต้องลักมาได้แน่นอน,
ปาราชิกที่ตรัสไว้ข้างหน้าว่า ทุกรูปต้องปาราชิก ดังนี้ ย่อมมีแก่อาจารย์นี้ใน
ขณะนั้นนั่นเอง เพราะดำรัสที่ตรัสไว้นั้น, ความยุกตินี้ บัณฑิตพึงทราบในที่
ทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้.
หลายบทว่า โส อิตรสฺส อาโรเจติ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่งบอกว่า
พระพุทธรักขิต บอกพระธรรมรักขิต และพระธรรมรักขิต บอกพระสังฆ-
รักขิตว่า อาจารย์ของพวกเรา กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า คุณจงลักทรัพย์ชื่อนี้
ได้ยินว่า บรรดาเราทั้ง ๒ ตัวท่านเป็นบุรุษผู้กล้าหาญ ดังนี้, เป็นทุกกฏ
แม้แก่เธอเหล่านั้น เพราะมีการบอกต่อกันไป ด้วยอาการอย่างนั้นเป็นปัจจัย.
สองบทว่า อวหารโก ปฏิคฺคณฺหาติ ความว่า พระสังฆรักขิต
รับว่า ดีละ ผมจักลัก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 216
หลายบทว่า มูลฏฺสฺส อาปตฺติ ถุลฺลจฺจยสฺส ความว่า พอ
พระสังฆรักขิตรับคำสั่ง เป็นถุลลัจจัย แก่อาจารย์, เพราะคนหลายคนถูก
อาจารย์นั้นชักชวนแล้ว ในบาปแล.
หลายบทว่า โส ต ภณฺฑ ความว่า ถ้าภิกษุนั้น คือ พระสังฆรักขิต
ลักสิ่งของนั้นมาได้ไซร้, เป็นปาราชิกทั้งหมด คือ ทั้ง ๔ คน, และหาเป็น
ปาราชิกแก่ ๔ คน อย่างเดียวไม่, สมณะตั้งร้อย หรือสมณะตั้งพันก็ตาม
ที่สั่งโดยสืบต่อกันไป ไม่ทำให้ผิดการนัดหมาย โดยอุบายยอย่างนั้น เป็นปาราชิก
ด้วยกันทั้งหมดทีเดียว.
ในทุติยวาร พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
หลายบทว่า โส อญฺ อาณาเปติ ความว่า ภิกษุนั้น คือ
พระพุทธรักขิต อันอาจารย์สั่งไว้แล้ว แต่ไม่พบพระธรรมรักขิต หรือเป็นผู้
ไม่อยากจะบอก จึงเข้าไปหาพระสังฆรักขิตทีเดียว แล้วสั่งว่า อาจารย์ของ
พวกเราสั่งไว้อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า คุณจงลักสิ่งของชื่อนี้มา.
สองบทว่า อาปตฺดิ ทุกฺกฏสฺส ความว่า พระพุทธรักขิต ชื่อว่า
เป็นทุกกฏ เพราะสั่งก่อน.
หลายบทว่า ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏฺสฺส ความว่า พึง
ทราบว่า เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้สั่ง ซึ่งเป็นต้นเติมทีเดียว ในเมื่อพระสังฆรักขิต
รับแล้ว. ก็ถ้าพระสังฆรักขิตนั้น ลักทรัพย์นั้นมาได้, เป็นปาราชิก แม้ทั้ง
สองรูป คือ พระพุทธรักขิตผู้สั่ง ๑ พระสังฆรักขิตผู้ลัก ๑. แต่สำหรับอาจารย์
ผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเดิม ไม่เป็นอาบัติปาราชิก เพราะผิดสังเกต. ไม่เป็นอาบัติ
ทุกอย่าง แก่พระธรรมรักขิตเพราะไม่รู้. ส่วนพระพุทธรักขิตทำความสวัสดี
แก่ท่านทั้งสองรูปแล้ว ตนเองพินาศ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 217
บรรดาอาณัติวาร ทั้ง ๔ บท ถัดจากทุติยวารนี้ไป พึงทราบวินิจฉัย
ในอาณัติวารข้อแรกก่อน.
หลายบทว่า โส คนฺตวา ปุน ปจฺจาคจฺฉติ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่ง
นั้น ไปยังทรัพย์ตั้งอยู่แล้ว เห็นมีการอารักขาไว้ ทั้งภายในและภายนอก
ไม่อาจลักเอาได้ จึงกลับมา.
หลายบทว่า ยทา สกฺโกสิ ตทา ความว่า ภิกษุผู้สั่งนั้น สั่งใหม่ว่า
ทรัพย์ที่ท่านลักมาแล้วในวันนี้เท่านั้นหรือ จึงเป็นอันลัก, ไปเถิดท่าน ท่าน
อาจจะลักมาได้ เมื่อใด, ก็จงลักทรัพย์นั้นมา เมื่อนั้น.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า แม้เพราะสั่งอีกอย่างนั้น
ก็เป็นทุกกฏเท่านั้น. แต่ถ้าทรัพย์นั้น ย่อมเป็นของที่จะลักมาได้แน่นอน. ชื่อว่า
เจตนาที่ให้สำเร็จประโยชน์ ก็เป็นเช่นกับผลที่เกิดในลำดับแห่งมรรค; เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุผู้สั่งนี้ เป็นปาราชิกในขณะสั่งทีเดียว. แม้ถ้าภิกษุผู้ลัก จะลัก
ทรัพย์นั้นมาได้ โดยล่วงไป ๖๐ ปี และภิกษุผู้สั่ง จะทำกาลกิริยา หรือสึก
ไปเสียในระหว่างนั่นเอง จักเป็นผู้ไม่ใช่สมณะเลย ทำกาลกิริยา หรือจักสึกไป,
แต่สำหรับภิกษุผู้ลัก ย่อมเป็นปาราชิกในขณะที่ลักนั่นเอง.
ในทุติยวาร เพราะภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุพูดคำนั้นเบา ๆ ไม่ได้
ประกาศให้ได้ยิน หรือไม่ได้ประกาศให้ได้ยินคำสั่งนี้ว่า เธออย่าลัก เพราะ
เธอผู้เป็นต้นเหตุนั้น เป็นคนหูหนวก; ฉะนั้น ภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุ จึง
ไม่พ้น. ส่วนในตติยวารชื่อพ้น เพราะท่านประกาศให้ได้ยิน. ในจตุตถวาร
แม้ทั้งสองรูปพ้นได้ เพราะภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุนั้น ประกาศให้ได้ยิน และ
เพราะภิกษุผู้รับสั่งนอกนี้ รับคำว่า ดีละ แล้วก็งดเว้นเสีย ด้วยประการฉะนี้.
จบกถาว่าด้วยการสั่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 218
การพรรณนาบทภาชนีย์
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงองค์แห่งอทินนาทานที่
ตรัสไว้ ด้วยอำนาจแห่งกิริยาที่ให้เคลื่อนจากฐาน ในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นดิน
เป็นต้นนั้น ๆ และความต่างแห่งอาบัติ กับความต่างกันแห่งวัตถุ จึงตรัสคำ
เป็นต้น ว่า ปญฺจหากาหิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจหากาเรหิ ได้แก่ ด้วยเหตุ ๕ อย่าง
มีคำอธิบายว่า ด้วยองค์ ๕. ในคำว่า ปญฺจหากาเรหิ เป็นต้นนั้น มีเนื้อ-
ความย่อ ดังต่อไปนี้:- คือ ปาราชิก ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของ
ไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่างที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ทรัพย์อันผู้อื่น
หวงแหน ๑; เพราะไม่ครบองค์ ๕ นั้น จึงไม่เป็นปาราชิก. ในคำนั้น มี
อาการ ๕ อย่างเหล่านี้ คือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ เข้าใจว่าทรัพย์อันผู้
อื่นหวงแหน ๑ ความที่บริขารเป็นครุภัณฑ์ ๑ มีไถยจิต ๑ การทำให้เคลื่อน
จากฐาน ๑. ส่วนในบริขาร ที่เป็นลหุภัณฑ์ ท่านแสดงถุลลัจจัยและทุกกฏไว้
โดยความต่างกันแห่งวัตถุ ด้วยวาระทั้ง ๒ อื่นจากอาการ ๕ อย่างนั้น.
[ อาการ ๖ อย่างที่ให้ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ]
แม้ในวาระทั้ง ๓ ที่ท่านตรัสไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า ฉหากาเรหิ
ก็ควรทราบอาการ ๖ อย่างนั้น คือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่
ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ความที่บริขารเป็นครุภัณฑ์ ๑ มีไถยจิต ๑
การทำให้เคลื่อนจากฐาน ๑. ก็บรรดาวารทั้ง ๓ แม้นี้ในปฐมวาร ท่านปรับ
เป็นปาราชิก ทุติยวาร และตติยวารท่านปรับเป็นถุลลัจจัย และทุกกฏ โดย
ความต่างกันแห่งวัตถุ. ส่วนในความต่างกันแห่งวัตถุ แม้ที่มีอยู่ในวารทั้ง ๓
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 219
อื่นจาก ๓ วารนั้น ท่านปรับเป็นทุกกฏอย่างเดียว เพราะเป็นวัตถุอันชน
เหล่าอื่นไม่ได้หวงแหน. วัตถุที่ท่านกล่าวใน ๓ วารนั้นว่า มิใช่ของอันผู้อื่น
หวงแหน จะเป็นวัตถุที่ยังมิได้ครอบครองก็ตาม จะเป็นของที่เขาทิ้งแล้วหมด
ราคา หาเจ้าของมิได้ หรือจะเป็นของ ๆ ตนก็ตาม, วัตถุแม้ทั้ง ๒ ย่อมถึง
ความนับว่า มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน. ก็ในทรัพย์ ๒ อย่างนี้ มีความสำคัญ
ว่า ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหนไว้ ๑ ถือเอาด้วยไถยจิต ๑; เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงไม่กล่าวอนาบัติไว้ ฉะนั้นแล.
[ อรรถาธิบายในอนาปัตติวาร ]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความต่างแห่งอาบัติ ด้วยอำนาจ
แห่งวัตถุและด้วยอำนาจแห่งจิต อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอนาบัติ
จึงตรัสดำว่า อนาปตฺติ สกสญฺิสฺส ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกสญฺิสฺส ได้แก่ ภิกษุผู้มีความ
สำคัญว่าเป็นของตน คือ ผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ภัณฑะนี้เป็นของเรา เมื่อ
ถือเอาแม้ซึ่งภัณฑะของผู้อื่น ไม่เป็นอาบัติ เพราะการถือเอา, ควรให้ทรัพย์
ที่ตนถือเอาแล้วนั้นคืน ถ้าถูกพวกเจ้าของทวงว่า จงให้. เธอไม่ยอมคืนให้
เป็นปาราชิก ในเมื่อเจ้าของทรัพย์เหล่านั้นทอดธุระ.
บทว่า วิสฺสาสคฺคาเห ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติ เพราะการถือเอาด้วย
วิสาสะ. แต่ควรรู้ลักษณะแห่งการถือเอาด้วยความวิสาสะ โดยสูตร*นี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เอาอนุญาตให้ถือวิสาสะ แก่บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์
๕ คือ เคยเห็นกันมา ๑ เคยคบกันมา ๑ เคยบอกอนุญาตกันไว้ ๑ ยังมี
ชีวิตอยู่ ๑ รู้ว่าเราถือเอาแล้ว เขาจักพอใจ ๑.
* วิ. มหา ๕/๒๑๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 220
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺทิฏฺโ ได้แก่ เพื่อนเพียงเคยเห็นกัน.
บทว่า สมฺภตฺโต ได้แก่ เพื่อนสนิท.
บทว่า อาลปิโต ได้แก่ ผู้อันเพื่อนสั่งไว้ว่า ท่านต้องการสิ่งใดซึ่ง
เป็นของผม ท่านพึงถือเอาสิ่งนั้นเถิด, ไม่มีเหตุในการที่ท่านจะขออนุญาตก่อน
จึงถือเอา. แม้เพื่อนผู้นอน ด้วยการนอนที่ไม่ลุกขึ้น ยังไม่ถึงความขาดเด็ด
แห่งชีวิตินทรีย์เพียงใด ชื่อว่ายังมีชีวิตอยู่เพียงนั้น.
หลายบทว่า คหิเต จ อตฺตมโน ความว่า เมื่อเราถือเอาแล้ว เขา
จะพอใจ. การที่ภิกษุเมื่อรู้ว่า ครั้นเราถือเอาสิ่งของ ๆ ผู้อื่นเห็นปานนี้แล้ว
เขาจักพอใจ จึงถือเอา ย่อมสมควร. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสองค์ ๕
เหล่านั้นไว้ ด้วยอำนาจแห่งการรวบรวมไว้โดยไม่มีส่วนเหลือ.* แต่การถือเอา
ด้วยวิสาสะ ย่อมขึ้นด้วยองค์ ๓ คือ เคยเห็นกันมายังมีชีวิตอยู่ รู้ว่าเมื่อเรา
ถือเอาแล้ว เขาจักพอใจ ๑ เคยคบกันมา ยังมีชีวิตอยู่ รู้ว่าเมื่อเราถือเอาแล้ว
เขาจักพอใจ ๑ เคยบอกอนุญาตกันไว้ ยังมีชีวิตอยู่ รู้ว่าเมื่อเราถือเราแล้ว
เขาจักพอใจ ๑. ส่วนเพื่อนคนใด ยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อถือเอาแล้วเขาไม่พอใจ.
สิ่งของ ๆ เพื่อนคนนั้น แม้ภิกษุถือเอาแล้วด้วยการถือวิสาสะ ก็ควรคืนให้
แก่เจ้าของเดิม, และเมื่อจะคืนให้ ทรัพย์มรดก ควรคืนให้แก่เหล่าชน
ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ของผู้นั้นก่อน จะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม, ทรัพย์
ของเพื่อนผู้ไม่พอใจ ก็ควรคืนให้ผู้นั้นนั่นเอง.
ส่วนภิกษุใด พลอยยินดีตั้งแรกทีเดียว ด้วยการเปล่งวาจาว่า ท่าน
เมื่อถือเอาของ ๆ ผมชื่อว่าทำชอบแล้ว หรือเพียงจิตตุปบาทเท่านั้น ภายหลัง
โกรธด้วยเหตุบางอย่าง, ภิกษุนั้นย่อมไม่ได้เพื่อจะให้นำมาคืน. แม้เธอรูปใด
* ศัพท์นี้น่าจะถูกตามอรรถโยชนาว่า อเสส. . . จึงได้แปลไว้อย่างนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 221
ไม่ประสงค์จะให้ แต่รับคำไว้ด้วยจิต ไม่พูดอะไร ๆ แม้เธอรูปนั้น ก็ย่อม
ไม่ได้เพื่อจะให้นำมาคืน. ส่วนภิกษุใด เมื่อเพื่อนภิกษุพูดว่า สิ่งของ ๆ ท่าน
ผมถือเอาแล้ว หรือผมใช้สอยแล้ว จึงพูดว่า สิ่งของนั้น ท่านจะถือเอาหรือ
ใช้สอยแล้วก็ตาม, แต่ว่าสิ่งของนั้น ผมเก็บไว้ด้วยกรณีบางอย่างจริง ๆ ท่าน
ควรทำสิ่งของนั้นให้เป็นปกติเดิม ดังนี้ ภิกษุนี้ ย่อมได้เพื่อให้นำมาคืน.
บทว่า ตาวกาลิเก ความว่า สำหรับภิกษุผู้ถือเอาด้วยคิดอย่างนี้ว่า
เราจักให้คืน จักทำคืน ไม่เป็นอาบัติ เพราะการถือเอาแม้เป็นของยืม. แต่
สิ่งของที่ภิกษุถือเอาแล้ว ถ้าบุคคลหรือคณะผู้เป็นเจ้าของ ๆ สิ่งของ อนุญาต
ให้ว่า ของสิ่งนั่นจงเป็นของท่านเหมือนกัน ข้อนี้เป็นการดี ถ้าไม่อนุญาตไซร้,
เมื่อให้นำมาคืน ควรคืนให้. ส่วนของ ๆ สงฆ์ ควรให้คืนที่เดียว.
ก็บุคคลผู้เกิดในเปรตวิสัยก็ดี เปรตผู้ที่ทำกาละแล้ว เกิดในอัตภาพ
นั้นนั่นเองก็ดี เทวดาทั้งหลาย มีเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกเป็นต้นก็ดี, ทั้งหมด
ถึงความนับว่า เปรต เหมือนกันในคำว่า เปตปริคฺคเห นี้ ไม่เป็นอาบัติ
ในทรัพย์อันเปรตเหล่านั้นหวงแหน. จริงอยู่ ถ้าแม้ท้าวสักกเทวราชออกร้าน
ตลาดประทับนั่งอยู่, และภิกษุผู้ได้ทิพยจักษุ รู้ว่าเป็นท้าวสักกะ แม้เมื่อท้าว
สักกะนั้นร้องห้ามอยู่ว่า อย่าถือเอา ๆ ก็ถือเอาผ้าสาฎกแม้มีราคาตั้งแสน เพื่อ
ประโยชน์แก่จีวรของตนไป, การถือเอานั้น ย่อมควร. ส่วนในผ้าสาฎกที่
เหล่าชนผู้ทำพลีกรรมอุทิศพวกเทวดา คล้องไว้ที่ต้นไม้เป็นต้น ไม่มีคำที่ควร
จะกล่าวเลย.
บทว่า ติรจฺฉานคตปริคฺคเห ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติ เพราะทรัพย์
แม้พวกสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน. จริงอยู่ แม้พวกพญานาค หรือสุบรรณมาณพ
แปลงรูปเป็นมนุษย์ ออกร้านตลาดอยู่, และมีภิกษุบางรูป มาถือเอาสิ่งของ ๆ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 222
พญานาคหรือของสุบรรณมาณพนั้น จากร้านตลาดนั้นไป โดยนัยก่อนนั่นเอง,
การถือเอานั้น ย่อมควร. ราชสีห์ หรือ เสือโคร่งฆ่าสัตว์มีเนื้อและกระบือ
เป็นต้นแล้ว แต่ยังไม่เคี้ยวกิน ถูกความหิวเบียดเบียน ไม่พึงห้ามในตอนต้น
ทีเดียว, เพราะว่ามันจะพึงทำแม้ความฉิบหายให้. แต่ถ้าเมื่อราชสีห์เป็นต้น
เคี้ยวกินเนื้อเป็นอาทิไปหน่อยหนึ่งแล้ว สามารถห้ามได้ จะห้ามแล้วถือเอา
ก็ควร. แม้จำพวกนกมีเหยี่ยวเป็นต้น คาบเอาเหยื่อบินไปอยู่ จะไล่ให้มันทิ้ง
เหยื่อให้ตกไป แล้วถือเอาก็ควร.
บทว่า ปสุกูลสญฺิสฺส ความว่า แม้สำหรับภิกษุผู้มีความสำคัญ
อย่างนั้นว่า สิ่งของนี้ ไม่มีเจ้าของ เกลือกกลั้วไปด้วยฝุ่น ไม่เป็นอาบัติ
เพราะการถือเอา. แต่ถ้าสิ่งของนั้นมีเจ้าของไซร้, เมื่อเขาให้นำมาคืน ก็ควร
คืนให้.
บทว่า อุมฺมตฺตกสฺส ความว่า ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุผู้เป็นบ้า
ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น.
บทว่า อาทิกมฺมิกสฺส ความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่พระธนิยะผู้เป็น
อาทิกัมมิกะ (ผู้เป็นต้นต้นบัญญัติ) ในสิกขาบทนี้. แต่สำหรับภิกษุฉัพพัคคีย์
เป็นต้น ผู้เป็นโจรลักห่อผ้าของช่างย้อมเป็นอาทิที่เหลือ เป็นอาบัติทีเดียว
ฉะนั้นแล.
จบการพรรณนาบทภาชนีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 223
กถาว่าด้วยการสับเปลี่ยนสลาก
[ ปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น ]
ก็ในปกิณกะนี้ คือ
สมุฏฐาน ๑ กิริยา สัญญา ๑
สจิตตกะ ๑ โลกวัชชะ ๑ กรรมและกุศล
พร้อมด้วยเวทนา ๑
บัณฑิตพึงทราบคำทั้งหมด โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในปฐมสิกขาบท
นั่นเอง ว่า สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ คือ เป็นสาหัตถิกะเกิดทางกายและทาง
จิต, เป็นอาณัตติกะ เกิดทางวาจาและทางจิต, เป็นสาหัตถิกะและอาณัตติกะ
เกิดทางกาย ทางวาจาและทางจิต; และเกิดเพราะทำ; จริงอยู่ เมื่อทำเท่านั้น
จึงต้องอาบัตินั้น; เมื่อไม่ทำก็ไม่ต้อง เป็นสัญญาวิโมกข์ เพราะพ้นด้วยไม่มี
สำคัญว่า เราจะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้, เป็นสจิตตกะ เป็นโลก
วัชชะ เป็นกายกรรม เป็นวจีกรรม เป็นอกุศลจิต, ภิกษุยินดี หรือกลัว
หรือวางตนเป็นกลาง จึงต้องอาบัตินั้น; เพราะเหตุนั้น สิกขาบทนี้ จึงชื่อว่า
มีเวทนา ๓.
[ อรรถาธิบายอุทานคาถาในวินีตวัตถุ ]
ในคาถาแห่งวินีตวัตถุ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- เรื่องภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในอนุบัญญัตินั่นแล. ในเรื่องที่ ๒ มีวินิจฉัย
ดังนี้ ขึ้นชื่อว่า จิตของพวกปุถุชน ละปกติไปด้วยอำนาจกิเลสมีราคะ
เป็นต้น ย่อมวิ่งไป คือ พล่านไป ได้แก่ เร่ร่อนไป. ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 224
แม้เว้นความทำลายทางกายทวารและวจีทวารเสีย จะพึงทรงบัญญัติอาบัติด้วย
เหตุเพียงจิตตุปบาท (เพียงเกิดความคิด) ใครจะพึงสามารถทำตนไม่ให้เป็น
อาบัติได้เล่า ? เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ !
เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเพียงแต่เกิดความคิดขึ้น๑ แต่ภิกษุก็ไม่ควรเป็นไปใน
อำนาจแห่งจิต, ควรห้ามจิตไว้ด้วยกำลังแห่งการพิจารณาทีเดียวแล. เรื่องการ
จับต้องผ้า ทำให้ผ้าไหวและทำให้ผ้าเคลื่อนจากฐาน มีเนื้อความตื้นแล้วทั้งนั้น.
ส่วนเรื่องทั้งหลายซึ่งถัดจากเรื่องที่ทำผ้าให้เคลื่อนจากฐานนั้นไป มีเรื่องว่า
ภิกษุมีไถยจิต หยิบทรัพย์นั้นขึ้นจากพื้นดิน๒ เป็นที่สุด มีเนื้อความตื้นแล้ว
ทั้งนั้น.
ในเรื่องตอบคำถามนำ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า อาทิยิ ความว่า ภิกษุเจ้าของจีวร จับแล้ว คือ ยึดไว้ว่า
ท่านเป็นโจร. ส่วนภิกษุผู้ลักจีวรนอกนี้ เมื่อถูกภิกษุเจ้าของจีวร ถามว่า จีวร
ของผม ใครลักไป ? จึงได้ให้คำปฏิญญา โดยเสมอกับคำถามว่า ผมลักไป.
จริงอยู่ ถ้าภิกษุเจ้าของจีวรนอกนี้จักกล่าวว่า จีวรของผม ใครถือเอา ใคร
นำไป ใครเก็บไว้ ?, แม้ภิกษุนี้ ก็จะพึงตอบว่า ผมถือเอา หรือว่า ผมนำไป
หรือว่า ผมเก็บไว้ แน่นอน. ธรรมดาว่าปาก อันธรรมดาแต่งไว้ เพื่อประโยชน์
แก่การบริโภค และเพื่อประโยชน์แก่การพูด แต่เว้นไถยจิตเสีย ก็ไม่เป็นอว-
หาร เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ! เธอ
ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ ดังนี้. อธิบายว่า ไม่เป็นอาบัติ
เพราะเพียงแต่กล่าวโดยสำนวนโวหาร. เรื่องที่ถัดจากเรื่องตอบตามคำถามนำ๓
นั้นไป ซึ่งมีเรื่องผ้าโพกเป็นที่สุด ทั้งหมดมีเนื้อความตื้นแล้วทั้งนั้น.
๑. วิ. มหา. ๑/๑๐๕ ๒. วิ. มหา. ๑/๑๐๗ ๓. วิ. มหา. ๑/๑๐๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 225
ในเรื่องศพที่ยังสด มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า อธิวตฺโถ ความว่า เปรตเกิดขึ้นในศพนั้นนั่นเอง เพราะ
ความอยากในผ้าสาฎก.
บทว่า อนาทิยนฺโต ความว่า ภิกษุไม่เชื่อคำของเปรตนั้น หรือ
ไม่ทำความเอื้อเฟื้อ.
หลายบทว่า ต สรีร อุฏฺหิตฺวา ความว่า เปรตบังคับให้ศพ
นั้นลุกขึ้น ด้วยอานุภาพของตน. เพราะเหตุนั้น พระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ว่า
ศพนั้นลุกขึ้น (เดินตามหลังภิกษุนั้นไป*).
สองบทว่า ทฺวาร ณกสิ ความว่า วิหารของภิกษุมีอยู่ในที่ใกล้
ป่าช้านั้นเอง เพราะเหตุนั้น ภิกษุเป็นผู้กลัวอยู่โดยปกติ จึงรีบเข้าไปในวิหาร
นั้นนั่นเอง แล้วปิดประตู.
สองบทว่า ตตฺเถว ปริปติ ความว่า เมื่อภิกษุปิดประตูแล้วเปรต
เป็นผู้หมดความอาลัยในผ้าสาฎก จึงละทิ้งศพนั้นไว้ แล้วไปตามยถากรรม.
เพราะเหตุนั้น ร่างศพนั้นก็ล้มลง. มีคำอธิบายว่า ตกไปในที่นั้นนั่นแล.
สองบทว่า อภินฺเน สรีเร ความว่า อันผ้าบังสุกุลที่ศพสดซึ่งยัง
อุ่นอยู่ ภิกษุไม่ควรถือเอา. เมื่อภิกษุถือเอา อุปัทวะเห็นปานนี้ย่อมมี และ
ภิกษุย่อมต้องทุกกฏ แต่จะถือเอาที่ศพแตกแล้ว ควรอยู่.
ถามว่า ก็ศพจะจัดว่า แตกแล้ว ด้วยเหตุเพียงไร ?
แก้ว่า แม้ด้วยเหตุเพียงถูกจะงอยปากหรือเขี้ยว อันสัตว์ทั้งหลาย มี
กา พังพอน สุนัข และสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น กัดแล้วนิดหน่อย. ส่วนอวัยวะ
ของศพใดที่ล้มลง เพียงผิวหนังถลอกไปด้วยการครูดสี. หนังยังไม่ขาดออก,
ศพนั้น นับว่ายังสดทีเดียว, แต่เมื่อหนังขาดออกแล้วจัดว่าแตกแล้ว. แม้ศพใด
* วิ. มหา. ๑/๑๐๙
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 226
ในเวลายังมีชีวิตนั่นเอง มีฝีโรคเรื้อนและต่อม หรือแผลแตกพรุนทั่วไป, แม้
ศพนี้ชื่อว่า แตกแล้ว. ตั้งแต่วันที่ ๓ ไป แม้สรีระที่ถึงความเป็นซากศพ โดย
เป็นศพที่ขึ้นพองเป็นต้น จัดว่าเป็นศพที่แตกแล้วโดยแท้.
อนึ่ง แม้ในศพที่ยังไม่แตกโดยประการทั้งปวง แต่คนผู้ดูแลป่าช้า
หรือมนุษย์เหล่าอื่นให้ถือเอา ควรอยู่ ถ้าไม่ได้มนุษย์อื่น, ควรจะเอาศัสตรา
หรือวัตถุอะไรทำให้เป็นแผลแล้ว จึงถือเอา. แต่ในศพเพศตรงกันข้าม ภิกษุ
ควรตั้งสติไว้ ประคองสมณสัญญาให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นแผลที่ศีรษะ หรือที่
หลังมือและหลังเท้าแล้วถือเอาสมควรอยู่.
ในเรื่องอัน เป็นลำดับแห่งสรีระยังไม่แตกนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
หลายบทว่า กุส สงฺกาเมตฺวา จีวร อคฺคเหสิ มีความว่า ภิกษุ
ลักด้วยกุสาวหาร ในบรรดาเถยยาวหาร ปสัยหาวหาร ปริกัปปาวหาร ปฏิจ-
ฉันนาวหารและกุสาวหาร ซึ่งได้แสดงไว้แล้วแต่เพียงชื่อ ในการพรรณนาเนื้อ
ความแห่งบทนี้ว่า อาทิเยยฺย ในเบื้องต้น. และพึงทราบความต่างกันแห่ง
อวหารเหล่านี้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้:-
[ อรรถาธิบายอวหาร ๕ อย่าง ]
จริงอยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แอบทำโจรกรรมมีการตัดที่ต่อเป็นต้น
ลักทรัพย์ซึ่งมีเจ้าของ ในเวลากลางคืนหรือกลางวัน หรือหลอกลวงฉ้อเอา
ด้วยเครื่องตวงโกง และกหาปณะปลอมเป็นต้น, อวหารของภิกษุรูปนั้นนั่นแล
ผู้ถือเอาทรัพย์นั้น พึงทราบว่า เป็นเถยยาวหาร, ฝ่ายภิกษุใด ข่มเหงผู้อื่น
คือ กดขี่เอาด้วยกำลัง, ก็หรือขู่กรรโซก คือ แสดงภัย ถือเอาทรัพย์เป็นของ
ชนเหล่านั้น เหมือนพวกโจรผู้ฆ่าเชลย ทำประทุษกรรม มีฆ่าคนเดินทาง
และฆ่าชาวบ้านเป็นต้น (และ) เหมือนอิสรชน มีพระราชาและมหาอำมาตย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 227
ของพระราชาเป็นต้น ซึ่งทำการริบเอาเรือนของผู้อื่น ด้วยอำนาจความโกรธ
และใช้พลการเก็บพลี เกินกว่าพลีที่ถึงแก่ตน, อวหารของภิกษุนั้น ผู้ถือเอา
อย่างนั้น พึงทราบว่า เป็นปสัยหาวหาร ส่วนอวหารของภิกษุผู้กำหนดหมาย
ไว้แล้วถือเอา ท่านเรียกว่า ปริกัปปาวหาร. ปริกัปปาวหารนั้น มี ๒ อย่าง
เนื่องด้วยกำหนดหมายสิ่งของ และกำหนดหมายโอกาส.
[ อรรถาธิบายภัณฑปริกัป ]
ใน ๒ อย่างนั้น ภัณฑปริกัป พึงทราบอย่างนี้:- ภิกษุบางรูปใน
ศาสนานี้ มีความต้องการด้วยผ้าสาฎก จึงเข้าไปยังห้อง หมายใจไว้ว่า ถ้า
จักเป็นผ้าสาฎก, เราจักถือเอา, ถ้าจักเป็นด้าย, เราจักไม่ถือเอา แล้วถือเอา
กระสอบไปในเวลากลางคืน. ถ้าในกระสอบนั้น มีผ้าสาฎก, เป็นปาราชิก
ในขณะที่ยกขึ้นนั่นเอง ถ้ามีด้าย ยังรักษาอยู่. เธอนำออกไปข้างนอก แก้ออก
รู้ว่า เป็นด้าย นำมาวางไว้ยังที่เติมอีก, ยังรักษาอยู่เหมือนกัน, แม้รู้ว่า เป็น
ด้าย แล้วเดินไปด้วยคิดว่า ได้สิ่งใด ก็ต้องถือเอาสิ่งนั้น พึงปรับอาบัติด้วย
ย่างเท้า วางไว้บนภาคพื้นแล้ว ถือเอา, ต้องปาราชิก ในขณะที่ยกขึ้น. เธอ
ถูกพวกเจ้าของเขาร้องเอะอะขึ้นว่า ขโมย ขโมย แล้วทั้งหนีไป ยังรักษาอยู่.
พวกเจ้าของพบแล้วถือเอาไป อย่างนั้นนั่นเป็นการดี ถ้าคนอื่นบางคนถือเอา
เป็นภัณฑไทยแก่เธอ. ภายหลังเมื่อพวกเจ้าของกลับไปแล้ว เธอเห็นของนั้น
เข้าเองจึงถือเอา ด้วยคิดว่า ของนี้ เรานำออกมาก่อน บัดนี้ เป็นของ ๆ
เราละดังนี้ ยังรักษาอยู่ แต่เป็นภัณฑไทย. แม้เมื่อภิกษุกำหนดหมายไว้แล้ว
ถือเอา โดยนัยเป็นต้นว่า ถ้าจักเป็นด้าย เราจักถือเอา ถ้าจักเป็นผ้าสาฎก
เราจักไม่ถือเอา ถ้าจักเป็นเนยใส เราจักถือเอา ถ้าจักเป็นน้ำมัน เราจักไม่
ถือเอา ดังนี้ มีนัยเหมือนกันนั่นแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 228
ส่วนในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ว่า แม้ภิกษุมีความ
ต้องการด้วยผ้าสาฎก ถือเอากระสอบผ้าสาฎกนั่นแหละออกไปวางไว้ข้างนอก
แก้ออกแล้ว เห็นว่า นี้ เป็นผ้าสาฎก แล้วไปพึงปรับด้วยการยกเท้าเหมือนกัน.
แต่ในอรรถมหาปัจจรีเป็นต้นนี้ ปริกัปชื่อว่า ย่อมปรากฏ เพราะเธอได้กำหนด
หมาย สิ่งของไว้ว่า ถ้าจักเป็นผ้าสาฎก เราจักถือเอา ปริกัปปาวหาร ชื่อว่า
ไม่ปรากฏ เพราะเห็นแล้วจึงลัก. แต่ในมหาอรรถกถา ท่านปรับอวหารแก่ภิกษุ
ผู้ยกขึ้นซึ่งสิ่งของที่ตนกำหนดหมายไว้ ที่ตนมองไม่เห็น แต่คงตั้งอยู่ในความ
เป็นสิ่งของที่ตนกำหนดหมายไว้แล้วนั่นเอง. เพราะเหตุนั้นปริกัปปาวหาร
จึงชื่อว่าปรากฏในมหาอรรถกถานั้น. อวหารที่กล่าวไว้ในมหาอรรถกถานั้น
สมด้วยพระบาลีว่า ต มญฺมาโน ต อวหริ* สำคัญว่า เป็นสิ่งนั้น
ลักสิ่งนั้น ฉะนั้นแล. บรรดาปริกัปทั้ง ๒ นั้น ปริกัปนี้ใดที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้น
ว่า ถ้าจักเป็นผ้าสาฎก เราจักถือเอา ดังนี้ ปริกัปนี้ชื่อว่า ภัณฑปริกัป.
[ อรรถาธิบายโอกาสปริกัป ]
ส่วนโอกาสปริกัป พึงทราบอย่างนี้ :- ภิกษุโลเลบางรูปในศาสนานี้
เข้าไปยังบริเวณของผู้อื่น หรือเรือนของตระกูล หรือโรงซึ่งเป็นที่ทำการงาน
ในป่าก็ดี แล้วนั่งในที่นั้น ด้วยการสนทนาปราศรัย ชำเลืองดูบริขารอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความโลภบางอย่าง. ก็แล เมื่อชำเลืองดู พบเห็นแล้ว จึงได้ทำความ
กำหนดหมายไว้ ด้วยอำนาจสถานที่มีประตู หน้ามุข ภายใต้ปราสาท บริเวณ
ซุ้มประตู และโคนไม้เป็นต้น แล้วกำหนดหมายไว้ว่า ถ้าพวกชนจักเห็นเรา
ในระหว่างนี้ เราจักคืนให้แก่ชนเหล่านั้นนั่นแหละ ทำทีเป็นหยิบ เพื่อต้อง
การจะดูเที่ยวไป ถ้าพวกเขาจักไม่เห็นไซร้ เราก็จักลักเอา ดังนี้. พอเมื่อ
* บาลีเป็น อวหรติฯ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 229
ภิกษุนั้นถือเอาทรัพย์นั้นล่วงเลยแดนกำหนดที่หมายไว้ไป เป็นปาราชิก. ถ้า
เธอกำหนดหมายแดนอุปจารไว้ เดินมุ่งหน้าไปทางนั่นเอง มนสิการกรรม-
ฐานเป็นต้นอยู่ก็ดี ส่งใจไปทางอื่นก็ดี ก้าวล่วงแดนอุปจารไป ด้วยทั้งไม่มีสติ
เป็นภัณฑไทย. แม้ถ้าเมื่อเธอไปถึงที่นั้นแล้ว มีโจร ช้าง เนื้อร้าย หรือ
มหาเมฆตั้งขึ้น และเธอก้าวล่วงสถานที่นั้นไปโดยเร็ว เพราะใคร่จะพ้นจาก
อุปัทวะนั้น เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. ก็ในคำนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
เพราะในเบื้องต้นนั่นเอง เธอถือเอาด้วยไถยจิต; ฉะนั้น จึงรักษาไว้ไม่ได้
เป็นอวหารทีเดียว. นี้เป็นนัยในมหาอรรถกถาก่อน. ส่วนในมหาปัจจรี ท่าน
กล่าวไว้ว่า แม้ถ้าเธอรูปนั้น ขึ้นขี่ช้างหรือม้าอยู่ภายในแดนกำหนดไม่ขับช้าง
หรือม้านั้นไปเอง ท่านไม่ให้ผู้อื่นขับไป แม้เมื่อล่วงเลยแดนกำหนดไป ย่อม
ไม่เป็นปาราชิก เป็นเพียงภัณฑไทยเท่านั้น. ในปริกัป ๒ อย่างนั้น ปริกัป
ที่เป็นไปว่า ถ้าพวกชนจักเห็นเราในระหว่างนี้ เราจักคืนแก่ชนเหล่านั้นนั่นแหละ
ทำทีเป็นหยิบ เพื่อต้องการจะดูเที่ยวไป นี้ ชื่อว่าโอกาสปริกัป. อวหารของ
ภิกษุผู้กำหนดไว้แล้วถือเอา ด้วยอำนาจแห่งปริกัป แม้ทั้ง ๒ เหล่านี้ ดัง
พรรณนามาอย่างนี้ พึงทราบว่า เป็นปริกัปปาวหาร.
[ อรรถาธิบายปฏิจฉันนาวหาร ]
ส่วนการปกปิดไว้แล้วจึงลัก ชื่อว่าปฏิจฉันนาวหาร. ปฏิจฉันนาวหาร
นั้น พึงทราบอย่างนี้ :- ก็ภิกษุรูปใด เมื่อพวกมนุษย์กำลังเล่นอยู่ หรือ
กำลังเข้าไปในสวนเป็นต้น เห็นสิ่งของ คือ เครื่องอลังการซึ่งเขาถอดวางไว้
จึงเอาฝุ่นหรือใบไม้ปกปิดไว้ ด้วยคิดในใจว่า ถ้าเราจักก้มลงถือเอา, พวก
มนุษย์จักรู้เราว่า สมณะถือเอาอะไร ? แล้วจะพึงเบียดเบียนเรา จึงคิดว่า
ภายหลัง เราจักถือเอา ดังนี้, การยกสิ่งของขึ้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ยังไม่มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 230
แก่ภิกษุรูปนั้น; เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอวหารก่อน. แต่เวลาใด พวก
มนุษย์เหล่านั้นประสงค์จะเข้าไปภายในบ้าน แม้เมื่อค้นหาสิ่งของนั้น ก็ไม่เห็น
จึงคิดว่า บัดนี้ ค่ำมืดแล้ว, พรุ่งนี้ก่อนเถิด พวกเราจึงจักรู้ แล้วก็ไปทั้งที่
ยังมีความอาลัยอยู่นั่น เอง, เวลานั้น เมื่อภิกษุนั้น ยกสิ่งของนั้นขึ้น เป็น
ปาราชิกในขณะที่ยกขึ้น. แต่เมื่อภิกษุถือเอาในเวลาที่ปกปิดไว้แล้ว นั่นเอง
ด้วยสกสัญญาว่า เป็นของเรา หรือด้วยบังสุกุลสัญญาว่า บัดนี้ มนุษย์เหล่านั้น
ไปแล้ว พวกเขาได้ทั้งสิ่งของนี้แล้ว เป็นภัณฑไทย. เมื่อมนุษย์เหล่านั้น
กลับมาในวันที่ ๒ แม้ตรวจค้นดูแล้วก็ไม่เห็น จึงได้ทอดธุระกลับไป สิ่งของ
ที่เธอถือเอาเป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่าพวกเขา
ไม่เห็นสิ่งของด้วยความพยายามของภิกษุนั้น. ส่วนภิกษุใด พบเห็นสิ่งของ
เห็นปานนั้น ซึ่งยังคงตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเอง ไม่ได้ปกปิดไว้ แต่มีไถยจิต
เอาเท้าเหยียบกดให้จมลงในเปือกตม หรือในทราย, พอเธอกดให้จมลงเท่านั้น
เป็นปาราชิก.
[ อรรถาธิบายกุสาวหาร ]
การสับเปลี่ยนสลากแล้ว ลัก ท่านเรียกว่า กุสาวหาร. แม้กุสาวหาร
นั้น. พึงทราบดังนี้:- ภิกษุรูปใด เมื่อภิกษุจีวรภาชกะกำลังจัดวางสลากแจก
จีวร ใคร่จะนำเอาส่วนของภิกษุรูปอื่น ซึ่งมีราคามากกว่า* ที่ตั้งอยู่ใกล้ส่วน
ของตนไป ใคร่จะวางไม้สลากที่จีวรภาชกภิกษุวางไว้ในส่วนของตน ลงไว้
ในส่วนของภิกษุรูปอื่น จึงยกขึ้น ยังรักษาอยู่ก่อน. เธอวางลงไว้ในส่วนของ
* ประโยควรรคนี้ ตามเชิงอรรถไว้ก็ดี ในอรรถโยชนาก็ดี และสารัตถทีปนีก็ดี มีตกหล่นอยู่
หลายศัพท์ แปลตามเชิงอรรถดังนี้ :- ภิกษุรูปใด ใคร่จะนำเอาส่วนของภิกษุรูปอื่น ซึ่งมีราคา
น้อยกว่าหรือมากกว่า หรือเท่า ๆ กัน โดยราคาแห่งส่วนของตน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ส่วนของตนไป
ดังนี้. สามนต์ฉบับที่เราใช้อยู่นี้ จะลอกคัดตกไปกระมัง เพราะในอรรถโยชนาและสารัตถทีปนี
ก็มีแก้ไว้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 231
ภิกษุรูปอื่น ก็ยังรักษาอยู่เหมือนกัน. แต่ในเวลาใด เมื่อเธอวางไม้สลากลงไว้
แล้ว ยกไม้สลากของภิกษุรูปอื่นขึ้นจากส่วนของภิกษุรูปอื่น, เวลานั้น พอเธอ
สักว่ายกขึ้น ก็เป็นปาราชิก. ถ้าเธอยกไม้สลากขึ้นจากส่วนของภิกษุรูปอื่นเสีย
ก่อน, เพราะใคร่จะวางลงไว้ในส่วนของตน ในขณะที่ยกขึ้นยังรักษาอยู่, ใน
ขณะที่วางลงไว้ ก็ยังรักษาอยู่ และยกไม้สลากของตนขึ้นจากส่วนของตน
ในขณะที่ยกขึ้นนั่นเอง ยังรักษาอยู่, เมื่อยกไม้สลากนั้นขึ้นแล้ว วางลงไว้ใน
ส่วนของภิกษุรูปอื่น พอพ้นจากมือก็เป็นปาราชิก. แต่ถ้าไม้สลากที่วางไว้
ในส่วนทั้งสองมองไม่เห็น. ภายหลัง เมื่อภิกษุที่เหลือไปแล้ว นวกภิกษุรูป
นอกนี้ ถามว่า ท่านขอรับ ! ไม้สลากของผม ย่อมไม่ปรากฏ. ภิกษุผู้เฒ่า
จึงพูดว่า คุณ ! แม้ของข้าพเจ้า ก็ไม่ปรากฏ. นวกภิกษุถามว่า ท่านขอรับ
ก็ส่วนของผมเป็นไฉน ? ภิกษุผู้เฒ่า จึงแสดงส่วนของตนว่า ในส่วนของคุณ
เมื่อนวกภิกษุรูปนั้น โต้แย้ง หรือไม่โต้แย้งก็ตาม รับเอาส่วนนั้นไป, ภิกษุ
นอกนี้ ยกส่วนของนวกภิกษุนั้นขึ้น ต้องปาราชิกในขณะที่ยกขึ้น. แม้หากว่า
เมื่อนวกภิกษุนั้น ถึงจะเรียนว่า ผมจะไม่ยอมให้ส่วนของผมแก่ท่าน, และ
ท่านรู้ส่วนของตนแล้ว จงถือเอาเถิด, ภิกษุผู้เฒ่า ถึงแม้รู้อยู่ว่า นี้ไม่ใช่ส่วน
ของเรา ได้ถือเอาส่วนของนวกภิกษุรูปนั้นนั่นเอง เป็นปาราชิกในขณะที่ยกขึ้น.
แต่ถ้าภิกษุนอกนี้คิดว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยการวิวาทนี้ว่า นี้ส่วนของท่าน,
นี้ส่วนของผม จึงพูดว่า จะเป็นส่วนที่ถึงแก่ผมก็ตาม ถึงแก่ท่านก็ตาม,
ส่วนใดดี ท่านจงถือเอาส่วนนั้นเถิด ดังนี้, เธอชื่อว่าถือเอาส่วนที่เขาให้แล้ว
จึงไม่มีอวหารในการถือเอานี้. ถ้าภิกษุนั้นกลัวต่อความถกเถียงกัน อันพวก
ภิกษุเตือนว่า คุณจงรับเอาส่วนตามที่คุณชอบใจเถิด ก็เว้นส่วนที่ดีซึ่งถึงแก่
ตนเสีย ถือเอาส่วนที่เลวนั้นแลไป, ภายหลัง แม้เมื่อภิกษุนอกนี้ ถือเอาส่วน
ที่ยังเหลือจากที่เลือกแล้ว ก็ไม่เป็นอวหารเหมือนกัน ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยการสับเปลี่ยนสลาก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 232
กถาปรารภเรื่องทั่วไป
ก็พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย กล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า การ
แจกจีวรอย่างเดียวเท่านั้น มาแล้วด้วยอำนาจการสับเปลี่ยนสลากในที่นี้, แต่
ควรนำความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยทั้ง ๔ และการแจกมาแสดงไว้ด้วย. ก็แล ครั้น
กล่าวไว้อย่างนั้นแล้ว จึงกล่าวกถาปรารภจีวรที่เกิดขึ้น เริ่มต้นแต่เรื่องหมอ
ชีวกนี้ว่า พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับคู่ผ้าที่ทอในแคว้นสีพี
ของข้าพระองค์เถิด, และขอทรงอนุญาตคฤหบดีจีวร แก่ภิกษุสงฆ์ด้วยเถิด๑
ดังนี้ โดยพิสดารในจีวรขันธกะ, กล่าวบิณฑบาตกถา เริ่มต้นแต่สูตรนี้ว่า
ก็โดยสมัยนั้นแล กรุงราชคฤห์มีภิกษาฝืดเคือง มนุษย์ทั้งหลายไม่อาจทำ
สังฆภัต นิมันตนภัต สลากภัต ปีกขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต๒ ดังนี้
โดยพิสดารในเสนาสนขันธกะ กล่าวอาคตเสนาสกถา เริ่มต้นแต่เรื่องภิกษุ
ฉัพพัคคีย์นี้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ ซ่อมแซมวิหารซึ่ง
ตั้งอยู่ปลายแดนหลังใดหลังหนึ่ง ด้วยหมายใจว่า พวกเราจักอยู่จำพรรษาใน
วิหารนี้ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้เห็นพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ กำลังซ่อมแซม
วิหารแล๓ ดังนี้ โดยพิสดารในเสนาสนขันธกะนั่นเอง, และกล่าวกถาปรารภ
เภสัชมีเนยใสเป็นต้น ในที่สุดแห่งเสนาสนกถานั้น โดยพิสดาร. ส่วนข้าพเจ้า
จักกล่าวกถานั้นทั้งหมด ในอาคตสถานแห่งกถานั่น ๆ นั่นแล. เมื่อข้าพเจ้า
กล่าวอย่างนั้น เหตุเป็นอันข้าพเจ้ากล่าวไว้เสร็จแล้วในเบื้องต้นทีเดียว.
เรื่องเรือนไฟถัดจากเรื่องนี้ไป มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
๑. วิ. มหา. ๕/๑๙๑. ๒. วิ. จุลฺล. ๗/๑๔๖. ๓. วิ. จุลฺล. ๗/๑๒๔
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 233
ในวิฆาสวัตถุ ๕ เรื่อง มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น
ให้อนุปสัมบันทำให้เป็นของควร แล้วฉัน. แต่เมื่อภิกษุจะถือเอาเนื้อซึ่งเป็น
เดน พึงถือเอาเนื้อที่สัตว์เหล่านั้นกินเหลือทิ้งแล้ว. ถ้าอาจจะให้สัตว์เหล่านั้น
ซึ่งกำลังกินอยู่ให้ทั้งไปแล้วถือเอา, แม้เนื้อที่เป็นเดนนั้น ก็ควร. แต่ไม่ควร
ถือเอา เพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองตน และเพื่อความเป็นผู้มีความเอ็นดูใน
สัตว์อื่น.
ในเรื่องแจกข้าวสุก ของควรเคี้ยว ขนม อ้อย และผลมะพลับ มี
วินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุอ้างบุกดลซึ่งไม่มีตัวว่า ท่านจงให้ส่วนแก่ภิกษุรูปอื่นอีก.
สองบทว่า อมูลก อคฺคเหสิ ความว่า เธอได้กล่าวมุสาวาท ถือ
เอาส่วนที่ไม่มีตัวบุคคลเป็นมูลอย่างเดียว. เธอหาได้ถือเอาส่วนนั้นด้วยไถยจิต
ไม่. เพราะเหตุนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสถามว่า เธอมีจิตอย่างไร ?
ตรัสว่า เป็นปาจิตตีย์ จริงอยู่ เมื่อเธอกล่าวว่า ท่านจงให้ส่วนแก่ภิกษุอีกรูป
หนึ่ง วัตถุแห่งปาราชิก ย่อมไม่ปรากฏ และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่
ตรัสถามในฐานะเช่นนี้. แต่ถ้าคำนั้น จะพึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิกไซร้, พึง
ทราบว่า พึงเป็นทุกกฏเท่านั้น เหมือนเป็นทุกกฏ เพราะการตู่เอาสวน ฉะนั้น.
ความสังเขป เรื่องนี้ มีเท่านี้.
ส่วนความพิสดาร พึงทราบดังนี้;- ก็สิ่งใดเป็นของมีอยู่แห่งสงฆ์
เท่านั้น เมื่อสิ่งนั้น อันภิกษุซึ่งสงฆ์สมมติ หรือมิได้สมมติก็ตาม แจกอยู่,
เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงให้ส่วนแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง คืออ้างบุคคลที่ไม่มีตัว
อย่างนั้น ถือเอาด้วยการกล่าวเท็จอย่างเดียว เป็นปาจิตตีย์ด้วย เป็นภัณฑไทย
ด้วย. เมื่อภิกษุถือเอาด้วยไถยจิต ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ภิกษุรูปใด ไม่ได้อ้าง
บุคคล กล่าวว่า ท่านจงให้อีกส่วนหนึ่ง แล้วถือเอาก็ดี นับพรรษาโกงถือ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 234
เอาก็ดี ภิกษุรูปนั้น พึงปรับตามราคาของ. ส่วนสิ่งใด เป็นของพวกคฤหัสถ์
ที่เขาแจกถวายสงฆ์ในเรือน หรือในอาคารของคฤหัสถ์เหล่านั้น ครั้นเมื่อสิ่ง
ของนั้น อันเจ้าของก็ดี ชนอื่นซึ่งเจ้าของวาน อย่างนี้ว่า ท่านจงถวายแก่
ภิกษุนี้ ก็ดี ถวายอยู่ แม้เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงให้อีกส่วนหนึ่ง แล้วถือ
เอาด้วยไถยจิต ไม่เป็นทั้งปาราชิก ไม่เป็นทั้งภัณฑไทย. แต่เป็นภัณฑไทย
แก่ภิกษุผู้ถือเอา ด้วยโกงพรรษา. เมื่อสิ่งของนั้น อันชนอื่นซึ่งเจ้าของมิได้
วาน อย่างนี้ว่า ท่านจงถวายแก่ภิกษุนี้ ถวายอยู่ เมื่อภิกษุอ้างบุคคลถือเอา
ตามนัยก่อนนั่นแล เป็นปาจิตตีย์ด้วย เป็นภัณฑไทยด้วย เมื่อภิกษุกล่าวว่า
ท่านจงให้อีกส่วนหนึ่ง แล้วถือเอาด้วยไถยจิตก็ดี ถือเอาด้วยนับพรรษาโกง
ก็ดี พึงปรับความราคาของ ก็วินิจฉัยนี้ใคร ๆ ก็อาจรู้ได้ในอรรถกถา ชื่อ
กุรุนที, แต่ในอรรถกถาอื่น ๆ รู้ได้ยาก ทั้งมีพิรุธด้วย.
สองบทว่า อมูลก อคฺคเหสิ ความว่า เมื่อพวกเจ้าของถวายภิกษุ
ถือเอาได้.
หลายบทว่า อนาปตฺติ ภิกฺขุ ปาราชิกสฺส ความว่า สิ่งของที่
พวกเจ้าของถวายแล้ว ภิกษุถือเอาได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้น ไม่เป็นอาบัติ.
หลายบทว่า อาปตฺติ สมฺปชานมุสาวาเท ปาจิตฺติยสฺส ความว่า
เพราะสัมปชานมุสาวาทที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงปรับเป็น
ปาจิตตีย์ ดุจในเรื่องข้าวยาคูที่ปรุงด้วยของ ๓ อย่างข้างหน้า.
ส่วนในการถือเอา พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- อาหารมีข้าวสุกเป็นต้น
ของสงฆ์ อันภิกษุซึ่งสงฆ์สมมติ หรือชนทั้งหลายมีอารามิกะเป็นต้น ซึ่งสงฆ์
สั่งไว้ กำลังถวาย และอาหารมีข้าวสุกเป็นต้น เป็นของพวกคฤหัสถ์ อัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 235
เจ้าของหรือชนอื่น ซึ่งเจ้าของวาน กำลังถวาย เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงให้
ส่วนแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แล้วถือเอาเป็นภัณฑไทย. เมื่อภิกษุถือเอาอาหารมี
ข้าวสุกเป็นต้นที่ชนอื่นกำลังถวาย พึงปรับตามราคาสิ่งของ เมื่ออาหารมีข้าวสุก
เป็นต้นอันภิกษุซึ่งสงฆ์มิได้สมมติ หรือคนที่เจ้าของมิได้วาน ถวายอยู่ ภิกษุ
เมื่อกล่าวว่า ท่านจงให้อีกส่วนหนึ่ง แล้วถือเอาก็ดี นับพรรษาโกง ถือเอาก็ดี
พึงปรับตามราคาสิ่งของ ในขณะที่ยกส่วนนั้นขึ้นทีเดียว ดุจในปัตตจตุกกะ
ฉะนั้น. อาหารมีข้าวสุกเป็นต้น ที่เหล่าชนนอกนี้ถวายอยู่ เมื่อภิกษุถือเอา
ด้วยอาการอย่างนั้น เป็นภัณฑไทย. ส่วนสิ่งของ ๆ คฤหัสถ์ที่เจ้าของเขาวาน
ไว้ว่า ท่านจงถวายแก่ภิกษุนี้ ก็ดี เจ้าของเขาถวายเองก็ดี ก็เป็นอันถวาย
แล้ว ฉะนี้แล. ในอธิการว่าด้วยวัตถุมีข้าวสุกเป็นต้นนี้ มีสาระจากคำวินิจฉัย
ใน อรรถกถาทั้งปวงเพียงเท่านี้.
ในเรื่องทั้งหลายทีเรื่องร้านขายข้าวสุกเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- เรือน
สำหรับหุงข้าวสวยขาย ชื่อโอทนิยฆระ (คือร้านขายข้าวสุก). เรือนสำหรับ
แกงเนื้อขาย ชื่อสูนาฆระ* (คือร้านขายแกงเนื้อ). เรือนสำหรับเจียวทอด
ของขบเคี้ยวขาย ชื่อปูวฆระ (คือร้านขายขนม). คำที่เหลือในเรื่องร้านขาย
ข้าวสุกเป็นต้น มีปรากฏชัดแล้วในเรื่องบริขารนั่นแล
ในเรื่องตั่ง มีวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุรูปนั้น กำหนดหมายถุงไว้ แล้ว
จึงให้ตั่งเลื่อน ป ด้วยคิดว่า เราจัก ถือเอาถุง ซึ่งมาถึงที่นี้. เพราะเหตุนั้น
ในการเลื่อนตั่งไป อวหารจึงไม่มีแก่ภิกษุรูปนั้น แต่ท่านปรับเป็นปาราชิก
ในการให้เลือนไปแล้วถือเอา จากโอกาสที่กำหนดหมายไว้ ก็ภิกษุเมื่อนำไป
อย่างนั้น ถ้าไม่มีไถยจิตในตั่ง พระวินัยธรพึงให้ตีราคาถุง ปรับอาบัติ. ถ้ามี
แม้ในตัวตั่ง ควรให้ราคาทั้ง ๒ อย่าง ปรับอาบัติ.
* บาลีเดิมเป็น สูนฆร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 236
็ ๓ เรื่อง มีเรื่องฟูกเป็นต้น ปรากฏชัดแล้วทีเดียว.
ใน ๓ เรื่อง มีเรื่องการถือเอาด้วยวิสาสะเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ
เพราะการถือเอา, เมื่อพวกเจ้าของให้นำมาคืน เป็นภัณฑไทย ส่วนของภิกษุ
ผู้เข้าไปบิณฑบาต ภิกษุรูปที่ยังอยู่ภายในอุปจารสีมาเท่านั้นรับเอา จึงควร
แต่ถ้าพวกทายก เผดียงแม้แก่พวกภิกษุผู้อยู่ภายนอกอุปจารว่า พวกท่านรับ
เอาเถิด ขอรับ ภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จักฉัน ด้วยคำเผดียงอย่างนั้น แม้
พวกภิกษุผู้อยู่ภายในบ้านจะรับเอา ก็ควร. คำที่เหลือในเรื่องทั้ง ๓ นี้ มีเนื้อ
ความตื้นทั้งนั้น.
ใน ๗ เรื่อง มีเรื่องขโมยมะม่วงเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ไม่เป็น
อาบัติ เพราะถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา, เมื่อพวกเจ้าของให้นำมาคืน เป็น
ภัณฑไทย, เพราะบริโภคด้วยไถยจิต เป็นปาราชิก.
ในเรื่องทั้งหลาย มีเรื่องพวกขโมยลักมะม่วงเป็นต้นนั้น มีวินิจฉัย
ดังต่อไป:- ทั้งพวกเจ้าของก็มีความอาลัย, ทั้งพวกโจรก็มีความอาลัย,
เมื่อภิกษุฉัน ด้วยบังสุกุลสัญญา เป็นภัณฑไทย, เมื่อถือเอาด้วยไถยจิต เป็น
อวหารในขณะที่ยกขึ้นนั้นเอง, ภิกษุนั้น อันพระวินัยธร พึงให้ตีราคาสิ่งของ
ปรับอาบัติ. พวกเจ้าของยังมีความอาลัย แต่พวกโจรหมดความอาลัย ก็มีนัย
เหมือนกันนี้. พวกเจ้าของหมดความอาลัย พวกโจรยังมีความอาลัย ซ่อนไว้
ในที่รกชัฏ แห่งใดแห่งหนึ่งด้วยคิดว่า จักถือเอาอีก ดังนี้ แล้วไป มีนัยเหมือน
กันนี้. ทั้ง ๒ ฝ่าย หมดความอาลัย, เมื่อภิกษุขบฉันด้วยบังสุกุลสัญญา ไม่
เป็นอาบัติ, เมื่อขบฉันด้วยไถยจิต เป็นทุกกฏ.
ส่วนในมะม่วงเป็นต้น ของสงฆ์ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ผลไม้มีมะม่วง
เป็นต้น ซึ่งเกิดอยู่ในสังฆาราม หรือที่เขานำมาถวายก็ตามที ซึ่งมีราคา ๕
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 237
มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก เมื่อภิกษุลักไป เป็นปาราชิก. ในปัจจันต-
ชนบท เมื่อพวกชาวบ้านอพยพหนีไป เพราะอุปัทวะ คือโจร, พวกภิกษุ
ก็ละทิ้งวิหารไป ทั้งที่ยังมีความอุตสาหะอยู่นั่นเอง ด้วยคิดว่า เมื่อชนบทสงบ
ลงแล้ว พวกเราจักกลับมา. พวกภิกษุไปถึงวิหารเช่นนั้น คิดว่า ผลไม้
ทั้งหลายมีมะม่วงสุกเป็นต้น เป็นของที่เขาละทิ้งแล้ว จึงฉันด้วยบังสุกุลสัญญา
ไม่เป็นอาบัติ, เมื่อฉันด้วยไถยจิต เป็นอวหาร. ภิกษุรูปนั้น อันพระวินัยธร
พึงให้ตีราคาของ ปรับอาบัติ.
ส่วนในมหาปัจจรีและในสังเขปอรรถกถา ท่านกล่าวไว้โดยไม่แปลก
กันว่า เมื่อภิกษุฉันผลไม้ น้อยใหญ่ในวัดร้าง ด้วยไถยจิต ไม่เป็นปาราชิก
เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ผลไม้ทั้งหลายในวัดร้าง เป็นของ ๆ พวกภิกษุ
ที่มาแล้ว ๆ. ก็เหตุสักว่ามีความอุตสาหะเท่านั้น เป็นประมาณในผลไม้ที่เป็น
ของ ๆ คณะ และที่เป็นของจำเพาะบุคคล. แต่ถ้าภิกษุให้ผลมะม่วงสุกเป็นต้น
จากผลไม้ที่เป็นของคณะ หรือของบุคคลนั้น เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์
ตระกูล ย่อมต้องทุกกฏ เพราะกุลทูสกสิกขาบท ภิกษุเมื่อให้ด้วยไถยจิต
พึงปรับอาบัติตามราคา (สิ่งของ). แม้ในผลไม้ที่เป็นของสงฆ์ ก็มีนัยเหมือน
ก้นนี้. เมื่อภิกษุให้ผลมะม่วงสุกเป็นต้น ที่เขากำหนดไว้ เพื่อประโยชน์แก่
เสนาสนะ เพื่อต้องการแก่การสงเคราะห์ตระกูล เป็นทุกกฏ, เมื่อให้เพราะ
ความที่คนมีอิสระ เป็นถุลลัจจัย เมื่อให้ด้วยไถยจิต เป็นปาราชิก. ถ้าวัตถุ
แห่งปาราชิกยังไม้พอ, พึงปรับอาบัติตามราคา (สิ่งของ). เมื่อภิกษุนั่งฉันอยู่
ภายนอกอุปจารสีมา เพราะความที่คนมีอิสระ ก็เป็นสินใช้. ผลไม้ที่ภิกษุเคาะ
ระฆังประกาศเวลา แล้วขบฉันด้วยทำใน ใจว่า ของนี้ถึงแก่เรา ดังนี้ ก็เป็น
อันขบฉันดีแล้ว. ผลไม้ที่ภิกษุไม่เคาะระฆัง เป็นแต่ประกาศเวลาอย่างเดียว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 238
แล้ว ฉันก็ดี เคาะระฆังอย่างเดียว แต่ไม่ประกาศเวลา ฉันก็ดี ไม่เคาะทั้ง
ระฆัง ไม่ประกาศทั้งเวลา ฉัน ก็ดี รู้ว่าไม่มีภิกษุเหล่าอื่นแล้ว ฉันด้วยคิดว่า
ผลไม้นี้ถึงแก่เรา ดังนี้ก็ดี เป็นอันฉันดีแล้วเหมือนกัน.
เรื่องสวนดอกไม้ ๒ เรื่อง ปรากฏชัดแล้วทีเดียว.
ใน ๓ เรื่องของภิกษุผู้พูดตามคำบอก มีวินิจฉัยดังนี้:-
สองบทว่า วุตฺโต วชฺเชมิ ความว่า ผมเป็นผู้อันท่านบอกแล้ว
จะบอกตามคำของท่าน.
หลายบทว่า อนาปตฺติ ภิกฺขุ ปาราชิกสฺส ความว่า ผ้าสาฎก
อันพวกเจ้าของถวายแล้ว จึงไม่เป็นอาบัติ.
หลายบทว่า น จ ภิกฺขเว วุตฺโต วชฺเชมีติ วตฺตพฺโพ ความว่า
ภิกษุรูปอื่น อันภิกษุอีกรูปหนึ่ง ไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผมเป็นผู้อันท่านบอก
แล้ว จะบอกตามคำของท่าน. ก็ภิกษุจะทำความกำหนดพูดว่า ผมจักถือเอา
ผ้าสาฎกอันนี้ ตามคำของท่าน ควรอยู่.
สองบทว่า วุตฺโต วชฺเชหิ ความว่า ท่านเป็นผู้อันผมบอกแล้ว
จงบอกตามคำของผม. คำที่เหลือออมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ภิกษุจะทำความ
กำหนดพูดใน ๒ เรื่องแม้นี้ ก็ควร. จริงอยู่ ภิกษุย่อมเป็นผู้พ้นจากการข้อน
ขอด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
ในเรื่องซึ่งมีอยู่ท่ามกลาง แห่งเรื่องแก้วมณี ๓ เรื่อง มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า นาห อกลฺลโก ความว่า ผมหาได้เป็นผู้อาพาธไม่
คำที่เหลือปรากฏชัดแล้วทีเดียว.
ในเรื่องสุกร ๒ เรื่อง พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุรูปที่หนึ่ง เพราะค่าที่เธอเห็นว่า มันมีความหิวครอบงำ แล้วปล่อยไป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 239
ด้วยความเป็นผู้มีกรุณา แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น เมื่อพวกเจ้าของไม่ยินยอม
ย่อมเป็นภัณฑไทย ควรจะนำสุกรที่คาย ที่ใหญ่เท่านั้นมาใช้ให้ หรือให้สิ่ง
ของทีมีราคาเท่านั้นก็ได้. ถ้าเธอไม่เห็นพวกเจ้าของบ่วงแม้ในที่ไหน ๆ พึง
วางผ้ากาสาวะ หรือถาด ซึ่งมีราคาเท่านั้น ไว้ในที่ซึ่งพวกเจ้าของนั้นมาแล้ว
จะเห็นได้โดยรอบแห่งบ่วง แล้วจึงไป. แต่เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ปล่อยไปถวาย
ไถยจิตแท้. ก็บรรดาสุกรเหล่านั้น สุกรบางตัวเอาเท้าดึงบ่วง พอบ่วงขาดแล้ว
ยืนอยู่ ด้วยกิริยายืน ซึ่งมีอันให้เคลื่อนจากฐานได้เป็นธรรมดา เหมือนเรือที่
ผูกไว้ที่กระแสน้ำเชี่ยวฉะนั้น บางตัวยืนอยู่ตามธรรมดาของตน บางตัวนอน.
บางด้วยเป็นสัตว์อันบ่วงโกงมัดไว้แล้ว ที่ชื่อว่าบ่วงโกง ได้แก่ บ่วงที่มีไม้
คันธนู หรือขอ หรือท่อนไม้อื่นบางอย่าง ติดไว้ที่ปลาย, และเป็นบ่วงที่
คล้องไว้ที่ต้นไม้เป็นต้น ในที่ นั้น ๆ กันมิให้สุกรเดินไปได้ ในสุกรเหล่านั้น
สุกรที่ดึงบ่วงยืนอยู่ มีฐานเดียวเท่านั้น คือ ที่ผูกบ่วง จริงอยู่ สุกรนั้นเมื่อ
บ่วงหลุด หรือพอบ่วงขาด ย่อมหนีไปได้ สุกรที่ยืนอยู่ตามธรรมคาของตน
มีฐาน ๕ คือ ที่ผูก และเท้าทั้ง ๔ สุกรที่นอนอยู่ มีฐาน ๒ คือ ที่ผูก ๑
ที่นอน ๑. สุกรที่ติดบ่วง มันไปในที่ใด ๆ ที่นั้น ๆ แลเป็นฐาน, เพราะเหตุ
นั้น ภิกษุ ๑๐ รูปก็ดี ๒๐ รูปก็ดี ๑๐๐ รูปก็ดี เมื่อปล่อยสุกรนั้นพ้นไปจาก
ฐานนั้น ๆ ย่อมต้องปาราชิก เหมือนภิกษุหลายรูป เห็นทาสคนเดียวเท่านั้น
มาแล้วในที่นั้น ๆ แล้วให้หนีไปเสีย ต้องปาราชิก ฉะนั้น. ส่วนการให้
สุกรทั้ง ๓ ข้างต้น ดิ้นรนไป และให้เคลื่อนจากฐาน พึงทราบตามนัยที่กล่าว
ไวแล้ว ในกถาว่าด้วยสัตว์ ๔ เท้า. แม้เมื่อภิกษุให้ปล่อยสุกรที่สุนัขกัดไป
ด้วยการุญญาธิบาย เป็นภัณฑไทย ด้วยไถยจิต เป็นปาราชิก. แต่ไม่เป็น
อวหาร แก่ภิกษุผู้เดินสวนทางไป แล้วยังสุกรซึ่งยังไม่ทันถึงที่ตั้งบ่วง หรือที่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 240
ใกล้สุนัข ให้หนีไปเสียก่อน. แม้ภิกษุรูปใด ให้เหยื่อและน้ำแก่สุกรที่ติดแล้ว
ให้มันได้กำลังแล้ว ทำการตะเพิด ด้วยตั้งใจว่า มันจักตกใจ แล้วหนีไปเสีย,
ถ้ามันหนีไป, ภิกษุนั้นต้องปาราชิก. แม้เมื่อภิกษุทำบ่วงให้ชำรุด แล้วไล่ให้
หนีไป ด้วยเสียงตะเพิด ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ฝ่ายภิกษุใด ให้เหยื่อและน้ำ
แล้วไปเสีย ด้วยทำในใจว่า มันจักได้กำลงแล้วหนีไปเสีย, ถ้ามันหนีไป,
เป็นภัณฑไทยแก่ภิกษุรูปนั้น แม้เมื่อภิกษุทำบ่วงให้ชำรุดแล้วไปเสีย, ก็มีนัย
เหมือนกันนี้. ภิกษุวางมีด หรือก่อไฟไว้ใกล้บ่วง ด้วยคิดว่า เมื่อบ่วงถูกมีด
ตัดขาด หรือถูกไฟไหม้ มันจักหนีเอง. สุกรให้บ่วงเคลื่อนไปมา แล้วหนีไปได้
ในเมื่อบ่วงถูกตัดขาดหรือถูกไฟไหม้, เป็นภัณฑไทยแก่ภิกษุรูปนั้นโดยแท้.
ภิกษุทำให้บ่วงพร้อมทั้งคันล้มลง, ภายหลังสุกรเหยียบย้ำบ่วงนั้นไปเสีย เป็น
ภัณฑไทย. สุกรเป็นสัตว์ถูกหินฟ้าถล่มทั้งหลายทับแล้ว. เมื่อภิกษุใคร่จะให้
สุกรนั้นหนีไป จึงยกฟ้าถล่มขึ้นด้วยความกรุณา เป็นภัณฑไทย. ยกขึ้นด้วย
ไถยจิต เป็นปาราชิก. ถ้าเมื่อฟ้าถล่มนั้น พอภิกษุยกขึ้นแล้ว สุกรยังไม่ไป
ภายหลังจึงไป, เป็นภัณฑไทยเท่านั้น. ภิกษุยังฟ้าถล่มที่เขายกขึ้นค้างไว้ ให้
ตกลง, ภายหลังสุกรเหยียบฟ้าถล่มนั้น ไปเสีย เป็นภัณฑไทย. เมื่อภิกษุ
ช่วยยกขึ้น แม้ซึ่งสุกรที่ตกหลุมพรางแล้ว ด้วยความกรุณา เป็นภัณฑไทย,
ยกขึ้นด้วยไถยจิต เป็นปาราชิก. ภิกษุยังหลุมพรางให้เต็ม ให้ใช้ไม่ได้,
ภายหลังสุกรเหยียบย้ำหลุมพรางนั้นไปเสีย เป็นภัณฑไทย, ภิกษุช่วยสุกรที่
ถูกหลาวแทงแล้ว ด้วยความกรุณา เป็นภัณฑไทย, ยกขึ้นด้วยไถยจิต เป็น
ปาราชิก. ภิกษุซักหลาวทิ้งเสีย เป็นภัณฑไทย.
อนึ่ง เมื่อพวกชาวบ้านดักบ่วง หรือฟ้าถล่มไว้ในพื้นที่วัด ภิกษุควร
ห้ามว่า ที่นี้เป็นสถานที่พึ่งอาศัยของพวกเนื้อ, พวกท่านอย่าทำอย่างนี้ในที่นี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 241
เลย ถ้าพวกชากล่าวว่า ท่านจงให้นำออกไปเสียขอรับ ภิกษุจะให้นำออก
ไปเสีย ก็ควร. ถ้าเขานำออกไปเสียเอง เป็นความดีแท้. ถ้าเจ้าของเขาไม่นำ
ออกไปเอง ทั้งไม่ยอมให้ผู้อื่นนำออก, จะขออารักขา แล้วให้นำออกเสีย
ก็ควร. ในเวลารักษาข้าวกล้า พวกชาวบ้านย่อมทำบ่วง และเครื่องดักสัตว์
ทั้งหลาย มีฟ้าถล่มเป็นต้น ไว้ในนา ด้วยพูดว่า พวกเราจักรักษาข้าวกล้า
กินเนื้อไปด้วย. ครั้นฤดูข้าวกล้าผ่านไปแล้ว เมื่อพวกเราไม่มีความอาลัย
หลีกไป ภิกษุจะปล่อยสุกรที่ติด หรือที่ตกแล้ว ในบ่วงและฟ้าถล่มเป็นต้น นั้น
ควรอยู่.
วินิจฉัยแม้ในเรื่องเนื้อ ๒ เรื่อง ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วในเรื่อง
สุกรนั่นเอง. แม้ในเรื่องปลา ๒ เรื่อง ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ส่วนความแปลกกัน มีดังต่อไปนี้:- เมื่อภิกษุเปิดปากไซออก
ภายหลังจึงแก้กระพุ้งออก หรือทำเป็นช่องไว้ที่ข้าง แล้วเคาะให้ปลาหนีออก
ไปจากไซ เป็นปาราชิก เป็นปาราชิกแม้แก่ภิกษุผู้แสดงเมล็ดข้าวสุกนั่นแล
ล่อปลาให้หนีไป. เมื่อยกปลาขึ้นพร้อมทั้งไซ ก็เป็นปาราชิ., ภิกษุเปิดปาก
ไซออกอย่างเดียว ภายหลังจึงแก้กระพุ้งออก หรือทำเป็นช่องไว้, และปลา
ทั้งหลายก็หนีไปตามธรรมดาของตน, เป็นภัณฑไทย. ภิกษุทำไว้อย่างนี้แล้ว
จึงแสดงเมล็ดข้าวสุกล่อปลา ปลาทั้งหลายหนีออกไป เพื่อต้องการอาหาร,
เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน ภิกษุเปิดปาก (ไซ) ออกแล้ว ภายหลังไม่ได้แก้
กระพุ้งออก ทั้งไม่ได้ทำเป็นช่องไว้ที่ข้าง เอาแต่เมล็ดข้าวสุกแสดงล่ออย่าง
เดียว, ส่วนปลาทั้งหลาย เพราะถูกความหิวครอบงำ จึงเอาศีรษะกระแทก
ทำช่องแล้ว หนีออกไป เพื่อต้องการอาหาร เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน.
ภิกษุเปิดปากไซเปล่าไว้ หรือภายหลังแก้กระพุ้งออก หรือทำเป็นช่องไว้,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 242
ปลาทั้งหลายที่ว่ายมาแล้ว ๆ ถึงประตูแล้ว ก็หนีไปทางกระพุ้งและช่อง, เป็น
ภัณฑไทยเหมือนกัน. ภิกษุจับไซเปล่าโยนไปไว้บนพุ่มไม้ เป็นภัณฑไทย
เหมือนกัน ฉะนี้แล.
ภัณฑะบนยาน ก็เป็นเช่นกับภัณฑะในถุงที่วางไว้บนตั่ง.
ในเรื่องชิ้นเนื้อ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ถ้าภิกษุรับเอา (ชิ้นเนื้อ) ในอากาศ
ที่ ๆ ภิกษุรับเอานั่นเองเป็นฐาน. พึงกำหนดฐานนั้นด้วยอาการ ๖ แล้วทราบ
การให้เคลื่อนจากฐาน. คำที่เหลือในเรืองชิ้นเนื้อนี้ และในเรื่องแพไม้ เรื่อง
คนเลี้ยงโค กับเรื่องผ้าสาฎกของช่างย้อม พึงวินิจฉัยโดยนัยแห่งเรื่องมีเรื่อง
พวกขโมยลักมะม่วงเป็นต้น.
ในเรื่องหม้อ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุใดถือเอาเนยใสและน้ำมันเป็นต้น
ซึ่งมีราคาไม่ถึงบาท ด้วยทำในใจว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีก คงอยู่ในสังวร
แม้ในวันที่สองเป็นต้น เมื่อเกิดความคิดขึ้นอีก ก็ทำการทอดธุระเหมือนอย่าง
นั้นนั่นแล ขณะฉันก็ฉันเนยไสและน้ำมันเป็นต้นนั้นแม้ทั้งหมด ไม่เป็น
ปาราชิกเลย, เธอย่อมต้องทุกกฏหรือถุลลัจจัย และเป็นภัณฑไทยด้วย. ภิกษุ
แม้นี้ ก็ได้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก. ก็เมื่อภิกษุไม่ทำการทอดธุระ
แต่ฉันเนยใสและน้ำมันเป็นต้นนั้น แม้ที่ละน้อย ๆ ด้วยคงใจว่า เราจักฉัน
ทุกวัน ๆ ดังนี้, ในวันใดมีราคาเต็มบาท, ในวันนั้นเป็นปาราชิก.
เรื่องชักชวนกันลัก พึงทราบตมนัยแห่งการวินิจฉัยที่กล่าวแล้วใน
สังวิธาวหาร, เรื่องกำมือ พึงทราบตามนัยแห่งการวินิจฉัยที่กล่าวแล้วในเรื่อง
ทั้งหลาย มีเรื่องร้านขายข้าวสุกเป็นต้น, เรื่องเนื้อเดน ๒ เรื่อง พึงทราบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 243
ตามนัยแห่งการวินิจฉัยที่กล่าวแล้ว ในเรื่องทั้งหลายมีเรื่องขโมยลักมะม่วง
เป็นต้น เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
ในเรื่องทั้งหลาย มีเรื่องให้แบ่งมะม่วงเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
ภิกษุเหล่านั้น ได้ไปยังอาวาสใกล้หมู่บานแห่งหนึ่ง ซึ่งมีกำหนดจำนวนภิกษุไว้.
พวกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสแห่งนั้นนั่นแหละ แม้เมื่อจะฉันผลไม้น้อยใหญ่ ใน
เมื่อพระอาอันตุกะเหล่านั้นมาแล้ว ไม่ได้บอกกัปปิยการกว่า พวกเธอจงถวาย
ผลไม้ แก่พระเถระทั้งหลาย คราวนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงกล่าวว่า มะม่วง
ของสงฆ์ ไม่ถึงแก่พวกกระผมหรือ ? จึงให้เกาะระฆังแจกกัน ได้ถวายส่วน
แก่ภิกษุเจ้าถิ่นแม้เหล่านี้ ตามลำดับพรรษา แม้ตนเองก็ฉัน. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสแก่พระอาคันตุกะเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เพื่อ
ต้องการฉัน ไม่เป็นอาบัติ เพราะเหตุนั้น บัดนี้ ในอาวาสใด ภิกษุเจ้าของถิ่น
ไม่ถวายแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ และเมื่อถึงหน้าผลไม้ เห็นว่าภิกษุอาคันตุกะ
เหล่าอื่นไม่มี ตน เองก็ฉันเสีย ด้วยกิริยาที่เป็นโจร, การที่พวกภิกษุอาคันตุกะ
เคาะระฆังขึ้นแล้ว แจกกันฉันในอาวาสเช่นนั้น ย่อมควร ส่วนในต้นไม้ใด
พวกภิกษุเจ้าของถิ่นรักษาค้นไม้ทั้ง หลาย เมื่อถึงหน้าผลไม้ ก็แจกกันฉัน ทั้ง
นำไปใช้ในปัจจัย ๔ โดยชอบ, พวกภิกษุอากันคุกะ ไม่มีอิสระในต้นไม้นั้น
ต้นไม้แม้เหล่า ค ที่ทายกกำหนดถวายไว้ เพื่อประโยชน์แก่จีวร พวกภิกษุ
อาคันตุกะ ไม่มีอิสระในต้นไม้แม้เหล่านั้น. แม้ในต้นไม้ทั้งหลาย ที่ทายก
กำหนดถวายไว้ เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยที่เหลือ ก็มีนัยเหมือนกันนี้ ส่วนต้นไม้
เหล่าใด ที่ทายกไม่ได้กำหนดไว้อย่างนั้น และพวกภิกษุเจ้าถิ่น ก็รักษาปกครอง
ต้นไม้เหล่านั้น ไว้ ทั้งฉันอยู่ด้วยกิริยาที่เป็นโจร*, ในต้นไม้เหล่านั้น พระ-
* ประโยชน์นี้ อัตถโยชนา ๑/๓๕๔... เนว รกฺขิตฺวา น โคปิตฺวา โจรกาย ปริภุญฺชนฺติ
แปลว่า ... ทั้งไม่ได้รักษาไม่ได้คุ้มครอง ฉันด้วยกิริยาโจร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 244
อาคันตุกะทั้งหลาย ไม่ควรทั้งอยู่ในข้อกติกา ของพวกภิกษุเจ้าถิ่น ต้นไม้
เหล่าใด ที่ทายกถวายไว้เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การบริโภคผล และพวกภิกษุ
เจ้าถิ่น ก็รักษาปกกรองต้นไม้เหล่านั้นไว้ นำไปใช้สอยโดยชอบ, ในต้นไม้
เหล่านั้นนั่นแหละ พระอาคันตุกะทั้งหลาย ควรตั้งอยู่ในข้อกติกา ของพวก
ภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้น.
ส่วนในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุเมื่อฉันผลไม้ ที่ทายกกำหนด
ถวายไว้เพื่อปัจจัย ๔ ด้วยไถยจิต พึงให้ตีราคาสิ่งของปรับอาบัติ, เมื่อแจกกัน
ฉันด้วยอำนาจการบริโภค เป็นภัณฑไทย, ก็บรรดาผลไม้เหล่านั้น เมื่อภิกษุ
แจกกันฉันผลไม้ที่ทายกกำหนดไว้ เพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ ด้วยอำนาจ
การบริโภค เป็นถุลลัจจัยด้วย เป็นภัณฑไทยด้วย.
ผลไม้ที่ทายกอุทิศถวายไว้ เพื่อประโยชน์แก่จีวร ควรน้อมเข้าไปใน
จีวรเท่านั้น ถ้าเป็นวัดที่มีภิกษาหาได้โดยยาก ภิกษุทั้งหลาย ย่อมลำบากด้วย
บิณฑบาต ส่วนจีวรหาได้ง่าย จะทำอปโลกนกรรมเพื่อความเห็นชอบแห่งสงฆ์
แล้วน้อมเข้าไปโนบิณฑบาต ก็ควร. เมื่อลำบากอยู่ด้วยเสนาสนะ หรือคิลาน-
ปัจจัย จะทำอปโลกนกรรมเพื่อความเห็นชอบแห่งสงฆ์ แล้วน้อมเข้าไปเพื่อ
ประโยชน์แก่เสนาสนะและคิลานปัจจัยนั้น ก็ควร. แม้ในผลไม้ที่ทายกอุทิศ
ถวายไว้ เพื่อประโยชน์แก่บิณฑบาต และเพื่อประโยชน์แก่คิลานปัจจัย ก็มีนัย
เหมือนกันนี้. ส่วนสิ่งของที่ทายกอุทิศถวายไว้ เพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ
เป็นครุภัณฑ์, ควรรักษาปกกรองสิ่งนั้นไว้ แล้วน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่
เสนาสนะนั้นเท่านั้น. ก็ถ้าเป็นวัดที่ภิกษาหาได้โดยยาก ภิกษุทั้งหลายจะเลี้ยง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตไม่ได้, ในวัดหรือรัฐนี้ วิหารของพวกภิกษุผู้
อพยพไปในที่อื่น เพราะราชภัย โรคภัย และโจรภัยเป็นต้น ย่อมชำรุไป ,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 245
ชนเหล่าอื่นย่อมทำต้นตาลและต้นมะพร้าวเป็นต้น ให้เสียหายไป, ส่วนภิกษุ
อาศัยเสนาสนปัจจัยแล้ว ย่อมอาจเลี้ยงอัตภาพให้เป็นไปได้, ในกาลเห็นปานนี้
แม้จำหน่ายเสนาสนะแล้วบริโภค เพื่อประโยชน์แก่การรักษาเสนาสนะ พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้ว. เพราะฉะนั้น เว้นเสนาสนะที่ดีไว้ หนึ่งหลัง
หรือสองหลัง เสนาสนะนอกนี้ ตั้งต้น แต่เสนาสนะเลวที่สุด จะจำหน่ายเพื่อ
ประโยชน์แก่บิณฑบาต ก็ควร, แต่ไม่ควรน้อมเข้าไปทำให้วัตถุที่เป็นมูลเดิม
ขาด. ส่วนในสวนที่ทายกกำหนดถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย ๔ ไม่ควรทำ
อปโลกนกรรม, แต่จะน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยที่ยังพร่องอยู่ ย่อม
สมควร. ควรรักษาสวนไว้, แม้จะจ่ายสินจ้างไปให้รักษาไว้ ก็ควร ส่วนชน
เหล่าใดได้รับสินจ้าง สร้างเรือนอยู่รักษาในสวนนั่นเอง, ถ้าชนเหล่านั้นถวาย
มะพร้าว หรือผลตาลสุกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้ว, ชนผู้รักษาสวนเหล่านั้น
ย่อมได้เพื่อถวายผลไม้ เฉพาะที่สงฆ์อนุญาตแก่พวกเขาว่า พวกเธอจะกินผลไม้
มีประมาณเท่านี้ ได้ทุกวัน ดังนี้ การที่ภิกษุจะรับเอาผลไม้ของชนเหล่านั้น
แม้ผู้ถวายมากยิ่งขึ้นไป กว่าผลไม้ที่สงฆ์อนุญาตนั้น ย่อมไม่ควร ส่วนผู้ใด
ได้รับเช่าสวนแล้ว ย่อมถวายเฉพาะกัปปิยภัณฑ์เท่านั้นแก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์
แก่ปัจจัย ๔, ผู้นี้ย่อมได้เพื่อถวายผลไม้แม้มาก. แม้สวนที่ทายกถวายไว้แก่
พระเจดีย์ เพื่อประโยชน์แก่ประทีป หรือเพื่อต้องการปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุด
หักพัง สงฆ์ควรรักษาไว้, ถึงจะจ่ายสินจ้างไปบ้าง ก็ควรให้รักษาไว้ ก็แล
ในสวนที่ทายกถวายไว้แก่พระเจดีย์นี้ จะจ่ายสินจ้างที่เป็นของเจดีย์บ้าง ที่เป็น
ของสงฆ์บ้าง ควรอยู่. การถวายผลไม้ที่เกิดขึ้นในสวนนั้น (แก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้มาแล้ว ๆ) ของพวกชนผู้พักอยู่ ในสวนนั้นนั่นเอง รักษาสวนแม้นั้นอยู่
ด้วยสินจ้าง และของพวกชนผู้รับเช่าสวน แล้วถวายแค่กัปปิยภัณฑ์ (แก่สงฆ์)
พึงทราบโดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั้นนั่นแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 246
ใน* คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษา ถวาย
ซึ่งมีอยู่ในเรื่องทั้งหลาย มีเรื่องคนรักษามะม่วงเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ถามว่า คนรักษาถวายเท่าไร จึงควร ? ถวายเท่าไร ไม่ควร ?
แก้ว่า พระมหาสุมัตเถระ กล่าวไว้ก่อนว่า ผลไม้ใด ซึ่งคนรักษา
กำหนดถวายด้วยคำว่า พระคุณเจ้าจงถือเอาผลไม้มีประมาณเท่านี้ ทุกวัน ๆ
ผลไม้นั้นนั่นแหละย่อมควร, เขาถวายเกินไปกว่านั้นไม่ควร. ส่วนพระมหา-
ปทุมเถระกล่าวไว้ว่า หนังสือที่พวกคนรักษาเขียนไว้ หรือทำสัญญาเครื่องหมาย
ถวายไว้ จะมีประโยชน์อะไร ? คนรักษาเหล่านั้น ก็เป็นอิสระแห่งผลไม้ที่
เขาสละแล้วในมือของพวกเขา; เพราะเหตุนั้น ผลไม้ซึ่งคนรักษาเหล่านั้นถวาย
แม้มากก็ควร.
ส่วนในอรรถกถากุรุนที ท่านกล่าวว่า พวกเด็กหนุ่มของชาวบ้าน
ย่อมรักษาสวน หรือผลไม้น้อยใหญ่อย่างอื่นไว้, ผลไม้น้อยใหญ่ที่เด็กหนุ่ม
เหล่านั้นถวาย ย่อมควร, แต่ภิกษุไม่ควรใช้ให้พวกเด็กนำมาแล้ว จึงรับ การ
ถวายผลไม้ของชนผู้รับเช่ารักษาสวนของสงฆ์และของเจ้าเจดีย์นั่นแหละ ย่อมควร,
การถวายของชนผู้รักษาด้วยสินจ้างเพียงส่วนของตน จึงควร.
ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า พวกลูกจ้างผู้รักษาสวนของคฤหัสถ์ถวาย
ผลไม้ใดแก่ภิกษุทั้งหลาย, ผลไม้นั้นย่อมควร พวกคนผู้รักษาสวนของภิกษุสงฆ์
แบ่งผลไม้ใดจากค่าจ้างของตนถวาย, ผลไม้นั้นก็สมควร, แม้ผู้ใด ได้รับค่าจ้าง
แล้ว จึงรักษาสวนเพียงกึ่งหนึ่ง หรือต้นไม้ บางชนิดเท่านั้น, การถวายผลไม้
จากต้นไม้ที่ถึงแก่ตนนั่นเอง แม้ของผู้นั้น ก็ควร, แต่สำหรับชนผู้รับเช่า
รักษาสวน จะถวายผลไม้ทั้งหมด ก็ควร. ก็คำที่ท่านกล่าวมานั่นทั้งหมด
* แปลตามอัตถโยชนา ๑/๓๕๕ - ๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 247
ต่างกันแค่โดยพยัญชนะ โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง, เพราะฉะนั้น
ผู้ศึกษาควรทราบความอธิบายแล้ว จึงถือเอา.
ในเรื่องไม้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
หลายบทว่า ตาวกาลิโก อห ภควา ความว่า ภิกษุนั้นใคร่จะ
กราบทูลว่า ข้าพระองค์มีความติดจะขอยืม พระพุทธเจ้าข้า ! ดังนี้ จึงได้
กราบทูลว่า. คำว่า ตาวกาลิกจิตฺโต นี้ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าพระ-
พุทธเจ้า มีความคิดอย่างนี้ว่า จักนำมาคืนให้อีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เธอไม่เป็นอาบัติ เพราะขอยืม.
ก็ในเรื่องไม้นี้ มีวินิจฉัยที่พ้นจากบาลี ดังต่อไปนี้ :- ถ้าสงฆ์ใช้ให้
ภิกษุทำการงานของสงฆ์ จะเป็นโรงอุโบสถหรือหอฉันก็ตาม, ภิกษุต้องถาม
การกสงฆ์เสียก่อน จึงควรขอยืมไป จากไม้ที่เป็นทัพสัมภาระ ซึ่งเก็บไว้เพื่อ
สร้างโรงอุโบสถเป็นต้นนั้น. ส่วนทัพสัมภาระที่เป็นของสงฆ์อันใด ไม่ได้
คุ้มครองไว้ ย่อมเปียกในเมื่อฝนตก, ทั้งแห้งเพราะแดดเผา, ภิกษุจะนำ
ทัพสัมภาระแม้ทั้งหมดนั้นมาสร้างเป็นที่อยู่ของตน ก็ควร, เมื่อสงฆ์ให้นำ
คืนมา ควรตกลงยินยอมกันด้วยทัพสัมภาระ หรือด้วยมูลค่าอย่างอื่น. ถ้า
ไม่อาจตกลงยินยอมกันได้, เธอควรจะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! เสนาสนะ
ที่ผมสร้างด้วยทัพสัมภาระของสงฆ์, ขอท่านทั้งหลายจงใช้สอย โดยบริโภค
เป็นของสงฆ์เถิด. แต่ภิกษุนี้ เท่านั้น เป็นอิสระแห่งเสนาสนะแล. แม้ถ้าเสาหิน
ก็ดี เสาไม้ก็ดี บานประตูก็ดี หน้าต่างก็ดี ไม่เพียงพอไซร้, จะขอยืมของสงฆ์
ทำให้เป็นปกติ ก็ควร. ในทัพสัมภาระแม้อย่างอื่น ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ในเรื่องน้า มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในกาลใด น้ำย่อมเป็นของหาได้ยาก
ในกาลนั้น เขาย่อมนำน้ำมาไกลโยชน์หนึ่งบ้าง กึ่งโยชน์บ้าง, ในน้ำที่เขา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 248
หวงแหนเห็นปานนั้น ย่อมเป็นอวหาร, พวกชนย่อมปรุงข้าวต้มและข้าวสวย
ให้สำเร็จได้แม้ด้วยน้ำใดที่เขานำมา หรือที่ขังอยู่ในชลาลัยทั้งหลาย มีสระ
โปกขรณีเป็นต้น ทั้งทำเป็นน้ำดื่มและนำใช้อย่างเดียว หาได้ทำเป็นน้ำสำหรับ
ใช้สอย อย่างเหลือเพื่อย่างอื่นไม่ เมื่อภิกษุถือเอาน้ำแม้นั้น ด้วยไถยจิต
ย่อมเป็นอวหาร ส่วนภิกษุถือเอาน้ำหนึ่งหม้อ หรือสองหม้อ จากน้ำใด ย่อม
ได้เพื่อล้างอาสนะ รดต้นโพธิ์ ทำการบูชาด้วยน้ำ (และ) เพื่อต้มนำย้อม
ควรปฏิบัติในน้ำนั้น ด้วยอำนาจแห่งข้อกติกาของสงฆ์ทีเดียว ภิกษุผู้รับเอา
น้ำมากเกินไป หรือใส่วัตถุทั้งหลาย มีดินเหนียวเป็นต้นปนลงด้วยไถยจิต
พระวินัยธรพึงให้ตีราคาสิ่งของปรับอาบัติ. ถ้าพวกภิกษุเจ้าของถิ่น ทำข้อ
กติกาวัตรไว้อย่างมั่นคง ไม่ยอมให้ภิกษุเหล่าอื่นใช้ล้างสิ่งของ หรือใช้ย้อมผ้า
แต่ตนเองถือเอาทำกิจทุกอย่าง เมื่อภิกษุเหล่าอื่นไม่เห็น พวกภิกษุอาคันตุกะ
ไม่ต้องตั้งอยู่ในข้อ กติกาของภิกษุเจ้าถิ่น แหล่านั้น พึงใช้ล้างสิ่งของมีประมาณเ
เท่ากับที่ภิกษุเจ้าของถิ่นใช้ล้าง. ถ้าสงฆ์สระโปกขรณี หรือมีบ่อันนำอยู่สอง
สามแห่งไซร้ และสงฆ์ก็ทำข้อกติกาไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ควรสรงน้ำในสระ
โปกขรณี และบ่อน้ำนี้, ควรรับเอาน้ำดื่มจากที่นี้, ควรทำการใช้สอยกิจทุก
อย่าง ในสระโปกขรณีและบ่อน้ำนี้, พวกภิกษุอาคันตุกะควรทำกิจทั้งหมดด้วย
ข้อ กติกาวัตรนั่นแล. ในสระโบกขรณีเป็นต้นต้นใด ไม่มีข้อกติกา, การใช้สอย
กิจทุกอย่าง ในสระโปกขรณีเป็นต้นนั้น ย่อมควร ฉะนี้แล.
ในเรื่องดินเหนียว มีวินิจฉัยดังนี้:- ในที่ใด ดินเหนียวเป็นของ
หาได้ยาก หรือดินเหนียว มีสีมีประการต่าง ๆ อันพวกชนขนมากองไว้ ,
ในที่นั้นแม้ดินเหนียวนิดหน่อย ก็มีราคาถึง ๕ มาสก; เพราะเหตุนั้น จึง
เป็นไปปาราชิก. อนึ่ง เมื่อการงานของสงฆ์ และการงานในพระเจดีย์สำเร็จแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 249
การที่ภิกษุถามสงฆ์เสียก่อน จึงถือเอาหรือขอยืมเอา ควรอยู่. ในปูนขาวก็ดี
ในจิตรกรรมและวรรณกรรมก็ดี ก็มีนัยเหมือนกัน.
ในเรื่องหญ้าทั้งหลาย มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในหญ้าที่ภิกษุเอาไฟเผา
เป็นทุกกฏ เพราะไม่มีการให้เคลื่อนจากฐาน, แต่เป็นภัณฑไทย. สงฆ์รักษา
พื้นที่ที่ปลูกหญ้าไว้ แล้วใช้หญ้านั้นมุงที่อยู่ของสงฆ์, บางคราวสงฆ์ย่อมไม่
อาจรักษาได้อีก. ครั้งนั้น มีภิกษุอีกรูปหนึ่ง รักษาไว้ด้วยม่งวัตรเป็นใหญ่
หญ้านั่น เป็นของสงฆ์เหมือนกัน ถ้าไม่มีใครรักษา สงฆ์ควรสั่งภิกษุรูปหนึ่ง
ว่า ท่านจงช่วยรักษาให้ที, ถ้าเธอรูปนั้น ปรารถนาส่วนแบ่งไซร้, สงฆ์แม้
จะต้องเสียส่วนแบ่งให้ ก็ควรให้เธอรูปนั้นรักษา. ถ้าเธอขอเพิ่มส่วนแบ่งไซร้,
สงฆ์ควรให้โดยแท้. ภิกษุขอเพิ่ม เติมขึ้นอีก สงฆ์ควรพูดว่า ท่านจงไป รักษา
แล้ว เอาหญ้าทั้งหมด มุงเสนาสนุของตนเถิด. เพราะเหตุไร ไม่ควรให้
พร้อมทั้งพื้นที่ ที่เป็นครุภัณฑ์ ควรให้เพียงหญ้าเท่านั้น. เมื่อภิกษุรูปนั้น
รักษาไว้แล้ว ใช้มุงเสนาสนะของตน, ถ้าสงฆ์ยังจุสามารถจะรักษาได้อีก,
สงฆ์ควรจะพูดกะภิกษุรูปนั้นว่า ท่านไม่ต้องรักษา, สงฆ์จักรักษาเอง ดังนี้.
๗ เรื่อง มีเรื่องเตียงเป็นต้น ปรากฏชัดแล้วแล. ก็เมื่อภิกษุลักเสา-
หินก็ดี เสาไม้ก็ดี หรือสิ่งของอะไร ๆ อย่างอื่น แม้ที่ไม่ได้มาในพระบาลี
ซึ่งมีราคาถึงบาท เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
ในเรือนสำหรับทำความเพียรเป็นต้น มีวินิจฉันดังนี้ :- แม้เมื่อภิกษุ
พังฝาก็ดี กำแพงก็ดี แห่งสถานที่มีบริเวณเป็นต้น ซึ่งถูกเจ้าของเขาทอดทิ้ง
เรี่ยราดไว้ แล้วลักเอาทัพสัมภาระมีอิฐเป็นต้นไป ก็มีนัยนั่นเหมือนกัน
เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ภิกษุทั้งหลาย บางคราวย่อมอยู่ครอบครอง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 250
เสนาสนะ ที่ชื่อว่าเป็นของสงฆ์ บางคราวก็ไม่อยู่ครอบครอง. แม้เมื่อภิกษุ
ลักเอาบริขารบางอย่าง ในสถานที่ทั้งหลาย มีวัดที่ถูกทอดทิ้งแล้วเป็นต้น ใน
เมื่อชาวชนบทอพยพหนีไป เพราะโจรภัยในชายแดน ก็มีนัยนั่นเหมือนกัน.
ส่วนภิกษุเหล่าใดนำทัพสัมภาระไปใช้ชั่วคราว จากวัดที่เขาทอดทิ้งแล้วนั้น
และในเมื่อวัดมีภิกษุกลับมาอยู่ ภิกษุทั้งหลาย สั่งภิกษุเหล่านั้นให้นำมาคืน
ควรให้คืน. แม้ถ้าเธอทั้งหลาย นำสัมภาระไม้เป็นต้น จากวัดที่เขาทอดทิ้ง
แล้วนั้น มาสร้างเป็นเสนาสนะ, สิ่งของที่พวกเธอนำมานั้น หรือเสนาสนะที่
มีราคาเท่ากับสิ่งของนั้น ควรให้คืนเหมือนกัน. เมื่อชาวชนบท ยังไม่ตัด
ความอาลัย อพยพไป ด้วยคิดว่า พวกเราจักกลับมาอยู่ ครอบครองอีก, เสนา-
สนะที่เป็นของคณะหรือเป็นของบุคคล เป็นอันเขายังถือกรรมสิทธิ์อยู่. ถ้าเขา
เหล่านั้นอนุญาตให้, ไม่มีกิจด้วยการทำคืน. ส่วนทัพสัมภาระของสงฆ์ จัด
เป็นกรุภัณฑ์ เพราะฉะนั้น ควรจัดการให้คืนเหมือนกัน เรื่องเครื่องใช้สอย
ในวิหารมีเนื้อความกระจ่างทั้งนั้น
ในพระพุทธานุญาตนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไป
ใช้ได้ชั่วคราว ดังนี้ มีวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุใดยืมเตียงหรือตั่งของสงฆ์ไป
ใช้สอยโดยการใช้สอยอย่างของสงฆ์ หนึ่งเดือนบ้าง สองเดือนบ้าง ในสถาน
ที่ผาสุกของตน เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้แก่กว่ามาแล้วก็ถวาย, ไม่นำกลับคืน. เมื่อ
เตียงและตั่งนั้น หายไปบ้าง ชำรุดไปบ้าง คนอื่นลักไปโดยความเป็นขโมย
บ้าง ย่อมไม่เป็นสินใช้แก่ภิกษุรูปนั้น. แต่เมื่อเธออยู่แล้วจะไป ควรจะเก็บ
ไว้ในที่เติม. ส่วนภิกษุใดใช้สอย โดยการใช้สอยเป็นของบุคคล ไม่ได้ถวาย
แก่ภิกษุทั้งหลายผู้แก่กวา ซึ่งมาแล้ว ๆ (เมื่อเตียงและตั่งนั้นเสียหายไปบ้าง
ชำรุดไปบ้าง คนอื่นลักไปเคยความเป็นขโมยบ้าง) ย่อมเป็นสินใช้แก่ภิกษุรูป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 251
นั้น. ในสังเขปอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า ก็ภิกษุผู้นำไปสู่อาวาสอื่นแล้วใช้สอย
ถ้าในอาวาสนั้น ภิกษุผู้แก่กว่า มาบังกับให้ภิกษุนั้นออกไปเสีย ควรพูดว่า
ผมนำเตียงและตั่งนี้ มาจากอาวาสชื่อโน้น, ผมจะไป ผมจ้าจัดเตียงและตั่ง
นั้นให้เป็นปกติ. ถ้าภิกษุผู้แก่กว่านั้น พูดว่า ข้าพเจ้าจักจัดให้เป็นปกติเอง,
แม้จะทำให้เป็นภาระของภิกษุผู้เฒ่านั้น ไปเสีย ก็ควร.
ในเรื่องเมืองจัมปา มีวินิจฉัยดังนี้ :- ข้าวยาคูที่พวกชนใส่อปรัณ-
ชาติชนิดเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง รวมกับน้ำมันงา และข้าวสาร แล้วปรุงด้วย
วัตถุ ๓ อย่าง คือ น้ำมันงา ข้าวสาร และถั่วเขียว, หรือน้ำมันงา ข้าวสาร
และถั่ว ราชมาษ, หรือนำมันงา ข้าวสาร และเยื่อถั่วพู ชื่อว่า เตกฏุละ*
(ข้าวยาคูปรุงด้วยวัตถุ ๓ อย่าง). ได้ยินว่า พวกชนย่อมประกอบปรุงข้าวยาคู
ชื่อ เตกฏุละ นั่นด้วยวัตถุ ๓ อย่าง มีเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด
เป็นต้นเหล่านี้ ในน้ำนมที่เดือดด้วยน้ำ ๔ ส่วน.
ในเรื่องเมืองราชคฤห์ มีวินิจฉัยดังนี้:- ขนมที่มีรสดียิ่ง ท่านเรียกว่า
ขนมรวงผึ้ง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า รวงผึ้ง บ้าง. คำที่เหลือ แม้ใน
๒ เรื่องนี้ ก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในเรื่องแจกข้าวสุกนั่นแล้ว.
ในเรื่องพระอัชชุกะ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า เอตทโวจ ความว่า คฤหบดีนั้นเป็นไข้ ได้สั่งไว้แล้ว.
หลายบทว่า อายสฺมา อุปาลิ อายสฺนโต อชฺชุกสฺส ปกฺโข
ความว่า ท่านพระอุบาลี หาใช่เป็นฝักฝ่าย (ของท่านพระอัชชกะนั้น) ด้วย
อำนาจถึงความลำเอียงไม่ โดยที่แท้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระเถระเป็นฝักฝ่าย
(ของท่านพระอัชชุกะนั้น) ด้วยความอนุเคราะห์ผู้เป็นลัชชี และอนุเคราะห์
* บาลีเดิมเป็น เตกฏุลฺล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 252
พระวินัย เพราะรู้ว่าท่านไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือในเรื่องพระอัชชุกะนี้ มี
เนื้อความตื้นทั้งนั้น.
ในเรื่องเมืองพาราณสี มีวินิจฉัยดังนี้:-.
สองบทว่า โจเรหิ อุปฺปทฺทุต ความว่า ถูกพวกโจรปล้น แล้ว.
หลายบทว่า อิทฺธิยา อาเนตฺวา ปาสาเท เปสิ ความว่า ได้
ยินว่า พระเถระได้เห็นสกุลนั้น เพียบพร้อมอยู่ด้วยลูกศรคือความโศก วนเวียน
กลับไปกลับมาอยู่ จึงได้อธิษฐานปราสาทของตนเหล่านั้นแล ด้วยฤทธิ์ของ
ตนว่า จงปรากฏมีในที่ใกล้เด็กทั้งหลาย โดยความอนุเคราะห์ธรรม เพื่อความ
กรุณา เพื่อประโยชน์แก่การตามรักษาความเลื่อมใสแห่งสกุลนั้น. เด็กทั้ง ๒
ก็จำได้ว่า ปราสาทของพวกเรา จึงได้ขึ้นไป. ลำดับนั้นพระเถระได้คลายฤทธิ์
แล้ว. แม้ปราสาทก็ได้ตั้งอยู่ในที่ของตนตามเดิม. แต่พระธรรมสังคาหกาจารย์
ทั้งหลาย กล่าวไว้ด้วยอำนาจโวหารว่า พรเถระนำเด็ก ๒ นั้นมาด้วยฤทธิ์
แล้วพักไว้ในปราสาท.
บทว่า อิทฺธิวิสเย คือ ไม่เป็นอาบัติ เพราะอธิษฐานฤทธิ์เช่นนี้.
ส่วนฤทธิ์ คือการแผลต่าง ๆ ย่อมไม่ควร ฉะนี้และ. ๒ เรื่องในที่สุด มีเนื้อ
ความตื้นทั้งนั้นแล.
จบทุติยปาราชิกวรรณนา ในวินัยสังวรรณนา
ชื่อสมันตปาสาทิกา
[คาถาสรูปทุติยปาราชิกสิกขาบท]
ในทุติยปาราชิกสิกขาบทนี้ มีอนุศาสนี ดังต่อไปนี้
ทุติยปาราชิกสิกขาบทนี้ใด อันพระ
ชินเจ้าผู้ไม่เป็นที่ ๒ มีกิเลสอันพ่ายแพ้แล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 253
ทรงประกาศแล้วในพระศาสนานี้, สิกขาบท
อื่นไร ๆ ที่มีนัยอันซับซ้อนมากมาย มีเนื้อ
ความและวินิจฉัยลึกซึ่ง เสมอด้วยทุติย-
ปาราชิกสิกขาบทนั้น ย่อมไม่มี. เพราะเหตุ
นั้น เมื่อเรื่องหยั่งลงแล้ว ภิกษุผู้รู้ทั่วถึง
พระวินัย จะทำการวินิจฉัยในเรื่องที่หยั่งลง
แล้วนี้ ด้วยความอนุเคราะห์พระวินัย พึง
พิจารณาพระบาลีและอรรถกถาพร้อมทั้ง
อธิบาย โดยถ้วนถี่ อย่าเป็นผู้ประมาท ทำ
การวินิจฉัยเถิด. ในกาลไหน ๆ ไม่พึงทำ
ความอาจหาญในการซื้ออาบัติ, ควรใส่ใจว่า
เราจักเห็นอนาบัติ. อนึ่ง แม้เห็นอาบัติแล้ว
อย่าเพ่อพูดเพรื่อไปก่อน พึงใคร่ครวญและ
หารือกับท่านผู้รู้ทั้งหลายแล้ว จึงปรับอาบัติ
นั้น. อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็น
ปุถุชนในศาสนานี้ ย่อมเคลื่อนจากคุณ คือ
ความเป็นสมณะ ด้วยอำนาจแห่งจิต ที่มัก
กลับกลอกเร็ว ในเพราะเรื่องแม้ที่ควร.
เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้เฉลียวฉลาด เมื่อเล็ง
เห็นบริขารของผู้อื่น เป็นเหมือนงูมีพิษร้าย
และเหมือนไฟ พึงจับต้องเถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 254
ตติยปาราชิกกัณฑ์
นิทานปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุหลายรูป
[๑๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-
ศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้นพระองค์ทรงแสดงอสุภกถา
ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกรรมฐาน ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ-
กรรมฐาน ทรงพรรณนาคุณอสุภสมาบัติเนือง ๆ โดยอเนกปริยายแก่ภิกษุ-
ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะ
หลีกออกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำ
บิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นรับ ๆ สั่งแล้ว ไม่มีใครกล้าเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันว่า พระผู้พระภาคเจ้าทรงแสดงอสุภกถา ทรง
พรรณนาคุณแห่งอสุภกรรมฐาน ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกรรมฐาน
ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภสมาบัติเนือง ๆ โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้วพากัน
ประกอบความเพียรในการเจริญอสุภกรรมฐาน หลายอย่างหลายกระบวนอยู่
ภิกษุเหล่านั้น อึดอัด ระอา เกลียดชังร่างกายของตน ดุจสตรีรุ่นสาวหรือ
บุรุษรุ่นหนุ่ม พอใจในการกแต่งกาย อาบน้ำสระเกล้า มีซากศพงู ซากศพ
สุนัข หรือซากศพมนุษย์มาคล้องอยู่ที่คอ พึงอึดอัด สะอิดสะเอียน เกลียดชัง
ฉะนั้น จึงปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็
เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์* กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้ปลงชีวิต
พวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ครั้งนั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ อันภิกษุ
* คนโกนผมไว้จุก นุ่งผ้ากาสาระผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ทำนองเป็นตาเถน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 255
ทั้งหลายจางด้วยบาตรจีวร จึงปลงชีวิตภิกษุเป็นอันมากแล้ว ถือดาบเปื้อนเลือด
เดินไปทางแม่น้ำวัคคุมุทา ขณะเมื่อมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ กำลังล้างดาบที่
เปื้อนเลือดนั้น อยู่ ได้มีความรำคาญ ความเดือดร้อนว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ
ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ เราสร้างบาป
ไว้มากจริงหนอ เพราะเราได้ปลงชีวิตภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณ-
ธรรม ขณะนั้นเทพดาคนหนึ่งผู้นับเนืองในหมู่มาร เดินมาบนน้ำมิได้แตก
ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ดีแล้ว ดีแล้ว ท่านสัตบุรุษ เป็นลาภท่าน ๆ ได้ดีแล้ว
ท่านได้สร้างสมบุญไว้มาก เพราะท่านได้ช่วยส่งคนที่ยังข้ามไม่พ้น ให้ข้ามพ้นได้
ครั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ ได้ทราบว่าเป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้ว เราได้
สร้างสมบุญไว้มาก เพราะเราได้ช่วยส่งคนที่ยังข้ามไม่พ้น ให้ข้ามพ้น ได้ ดังนี้
จึงถือดาบอั้นคม จากวิหารเข้าไปสู่วิหาร จากบริเวณเข้าไปสู่บริเวณ แล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ใครยังข้ามไม่พ้น ข้าพเจ้าจะช่วยส่งให้ข้ามพ้น บรรดาภิกษุ
เหล่านั้น ภิกษุเหล่าใด ยังไม่ปราศจากราคะ ความกลัว ความหวาดเสียว
ความสยอง ย่อมมีแก่ภิกษุเหล่านั้นในเวลานั้น ส่วนภิกษุเหล่าใดปราศจากราคะ
แล้ว ความกลัว ความหวาดเสียว ความสยอง ย่อมไม่มีแก่ภิกษุเหล่านั้นใน
เวลานั้น ครั้งนั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ ปลงชีวิตภิกษุเสียวันละ ๑ รูปบ้าง
๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง ๕ รูปบ้าง ๖ รูปบ้าง ๗ รูปบ้าง ๘ รูปบ้าง
๙ รูปบ้าง ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง
๖๐ รูปบ้าง.
รับสั่งให้เผดียงสงฆ์
[๑๗๗] ครั้นล่วงกึ่งเดือนนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่
ประทับเร้นแล้ว รับสั่งถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุไฉนหนอ
ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนน้อยไป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 256
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า เพราะ
พระองค์ทรงแสดงอสุภกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกรรมฐาน ทรงสรรเสริญ
คุณแห่งการเจริญอสุภกรรมฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภสมาบัติเนือง ๆ
โดยอเนกปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า และภิกษุเหล่านั้นก็พากัน
พูดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอสุภกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภ-
กรรมฐาน ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกรรมฐาน ทรงพรรณนาคุณ
แห่งอสุภสมาบัติเนือง ๆ โดยอเนกปริยาย จึงพากันประกอบความเพียรในการ
เจริญอสุภกรรมฐาน หลายอย่างหลายกระบวนอยู่ เธอเหล่านั้น อึดอัด ระอา
เกลียดชังร่างกายของตน ดุจสตรีรุ่นสาวหรือบุรุษรุ่นหนุ่ม พอใจในการ
ตกแต่งกาย อาบน้ำ สระเกล้า มีซากศพงู ซากศพสุนัขหรือซากศพมนุษย์
มาคล้องอยู่ที่คอ จะพึงอึดอัด สะอิดสะเอียน เกลียดชัง ฉะนั้น จึงปลงชีวิต
ตนเองบ้าง วานกันและกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็เข้าไปหามิคลัณฑิก-
สมณกุตตก์ กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตร
จีวรนี้จะเป็นของท่าน พระพุทธเจ้าข้า ครั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ได้บาตรจีวร
เป็นค่าจ้างแล้ว จึงปลงชีวิตภิกษุเสียวันละ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง
๔ รูปบ้าง ๕ รูปบ้าง ๖ รูปบ้าง ๗ รูปบ้าง ๘ รูปบ้าง ๙ รูปบ้าง ๑๐ รูปบ้าง
๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุสงฆ์นี้จะพึงดำรงอยู่ในพระอรหัตผลด้วยปริยาย
ใด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกปริยายอื่นนั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเผดียง
ภิกษุที่อาศัยพระนครเวสาลีอยู่ทั้งหมด ให้ประชุมกันที่อุปัฏฐานศาลา.
เป็นดังรับสั่งพระพุทธเจ้าข้า ท่านพระอานนท์รับสนองพระพุทธพจน์
แล้ว จึงเผดียงภิกษุสงฆ์ที่อาศัยพระนครเวสาลีอยู่ทั้งสิ้น ให้ประชุมที่อุปัฏฐาน-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 257
ศาลาแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุสงฆ์
ประชุมพร้อมกันแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดทราบกาลอันควร ใน
บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา
[๑๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลา
ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้งขึ้น
ในเดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่น
นั้น ๆ ให้อันตรธานสงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร
ทำให้มากอย่างไร จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ
โคนไม้ก็ตาม อยู่ในสถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้า
สู่กรรมฐาน ภิกษุนั้น ย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกว่าหายใจออกยาว เมื่อ
หายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจ
ออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
ระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 258
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้ง
ซึ่งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขาร
หายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำ-
เหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิต
สังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำ
เหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำหนียกว่า เราจักจิตไว้มั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิต
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็น
วิราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจเข้า ย่อม
สำหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏิ-
นิสสัคคะหายใจออก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข
และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปไค้โดยฉับพลัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 259
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
[๑๗๙] ลำคับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน
เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกัน
และกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็ไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ กล่าวอย่างนี้ว่า
พ่อคุณ ขอท่านได้ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ดังนี้
จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของภิกษุเหล่านั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้
ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกัน
ให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ พูดอย่างนี้ว่า พ่อคุณ
ขอท่านได้ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ดังนี้เล่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว โดย
ที่แท้ การกระทำของภิกษุเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของผู้ที่
ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของตนบางพวกผู้เลื่อมใสแล้ว ครั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น โดยอเนกปริยายแล้ว จึงทรงติโทษ
แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความ
เป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ทรงสรรเสริญคุณแห่ง
ความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความเป็นคนมักน้อย ความ
เป็นคนสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 260
การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย แล้วทรงแสดงธรรมีกถาที่สมควรแก่
เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่ง
ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด
อาสวะจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ
สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระปฐมบัญญัติ
๓. อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวง
หาศัสตราอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็น
ปาราชิก หาสังวาสมิได้.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๐] ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งเป็นไข้ ภริยาของเขาเป็น
คนสวย น่าเอ็นดู น่าชม พวกพระฉัพพัคคีย์มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิงนั้นจึงดำริ
ขึ้นว่า ถ้าอุบาสกสามียังมีชีวิตอยู่ พวกเราจักไม่ได้นาง ผิฉะนั้น พวกเราจัก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 261
พรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสกนั้น ครั้นดำริฉะนั้นแล้ว จึงเข้าไปหา
อุบาสกนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านเป็นผู้ทำความดีไว้แล้ว ทำกุศล
ไว้แล้ว ทำความต้านทานต่อความขลาดไว้แล้ว มิได้ทำบาป มิได้ทำความชั่ว
มิได้ทำความเสียหาย ทำแค่ความดี ไม่ได้ทำบาป จะประโยชน์อะไรแก่ท่าน
ด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ ตายจากโลกนี้แล้ว
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ท่านจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ จักได้รับบำเรอ
เพรียบพร้อมอิ่มเอิบด้วยเบญจกามคุณ อันเป็นทิพย์ ในสุคติโลกสวรรค์นั้น.
ครั้งนั้น อุบาสกนั้นเห็นจริงว่า ท่านพูดจริง เพราะเราทำความดีไว้
แล้ว ทำกุศลไว้แล้ว ทำความต้านทานต่อความขลาดไว้แล้ว มิได้ทำบาป
มิได้ทำความชั่ว มิได้ทำความเสียหาย เราทำแต่ความดี เรามิได้ทำความชั่ว
จะประโยชน์อะไรแก่เรา ด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้ เราตายเสียดีกว่า
เป็นอยู่ ตายจากโลกนี้แล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราจักเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ จักได้รับบำเรอเพรียบพร้อมอิ่มเอิบด้วยเบญจกามคุณอันเป็น
ทิพย์ ในสุคติโลกสวรรค์นั้น ดังนี้แล้ว เขาจึงรับประทานโภชนะที่แสลง
เคี้ยวขาทนียะที่แสลง ลิ้มสายนียะที่แสลง และดื่มปานะที่แสลง เมื่อเป็นเช่นนั้น
ความป่วยหนักก็เกิดขึ้น เขาถึงแก่กรรมเพราะความป่วยไข้นั่นเอง ภริยาของ
เขาจึงเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ละอาย
ทุศีล พูดเท็จ แท้จริง พระสมณะเหล่านี้ ยังปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม
ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม
ติเตียนว่า ความเป็นสมณะย่อมไม่มีแก่พระสมณะเหล่านี้ ความเป็นพราหมณ์
ของพระสมณะเหล่านี้หามีไม่ ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ของพระ
สมณะเหล่านี้ พินาศแล้ว ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ของพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 262
สมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน และโพนทะนาว่า พระสมณะเหล่านี้ ปราศจาก
ความเป็นสมณะ ปราศจากความเป็นพราหมณ์เสียแล้ว เพราะสมณะเหล่านี้
ได้พรรณนาคุณแห่งความตายแก่สามีของเรา สามีของเราถูกพระสมณะเหล่านี้
ทำให้ตายแล้ว.
แม้คนเหล่าอื่นก็เพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้
เป็นผู้ไม่ละอาย ทุศีล พูดเท็จ แท้จริง พระสมณะเหล่านี้ยังปฏิญาณตนว่า
เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์
มีศีล มีกัลยาณธรรม ติเตียนว่า ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์
ของสมณะเหล่านี้ หามีไม่ ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ของพระ
สมณะเหล่านี้ พินาศแล้ว ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ของพระสมณะ
เหล่านี้ จะมีแค่ไหน และโพนทะนาว่า พระสมณะเหล่านี้ ปราศจากความ
เป็นสมณะ ปราศจากความเป็นพราหมณ์เสียแล้ว เพราะพระสมณะเหล่านี้
พรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสก ๆ ถูกพระสมณะเหล่านี้ทำให้ตายแล้ว
ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินคนเหล่านั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ จำพวก
ที่มีความมักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ เป็นผู้ใคร่ต่อสิกขา
ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้พรรณนาคุณ
แห่งความตายแก่อุบาสกเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 263
เหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอพรรณนาคุณแห่งความตาย
แก่อุบาสกจริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้พรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสก
เล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อม
ใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส
ของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์เหล่านั้นโดยอเนกปริยายแล้ว
ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมัก
มาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่ง
ความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ
เพียรโดยอเนกปริยาย ทรงแสดงธรรมมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม
แก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่ง
ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อ
กำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 264
เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่น
แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น
ว่าดังนี้:-
อนุบัญญัติ
๓. อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์ จากชีวิต หรือแสวง
หาศัสตราอันจะปลิดชีวิตให้เก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่ง
ความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตาย ด้วยถ้อยคำว่า แนะนายผู้เป็น
ชาย จะประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้
ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ ดังนี้ เธอมีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนี้ มีความ
หมายหลายอย่าง อย่างนี้ พรรณนาคุณในความตายก็ดี ชักชวน
เพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาส
มีได้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๑] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่าผู้ คือ ผู้เช่นใด มีการงาน
อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มี
ธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม
เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง. . .ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภีกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 265
อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ
โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วย
ญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่า ภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรมอันไม่
กำเริบ ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ใน
อรรถนี้.
บทว่า จงใจ ความว่า ภิกษุใดรู้อยู่ รู้ดีอยู่ พรากกายมนุษย์จาก
ชีวิต การกระทำของภิกษุนั้น เป็นความตั้งใจ พยายาม ละเมิด.
ที่ชื่อว่า กายมนุษย์ ได้แก่จิตแรกเกิดขึ้น คือ ปฐมวิญญาณปรากฏ
ขึ้นในท้องแห่งมารดา ตราบเท่าถึงกาลเป็นที่ตาย อัตภาพในระหว่างนี้ ชื่อว่า
กายมนุษย์.
บทว่า พรากชีวิต ความว่า ตัดทอน บั่นรอน ซึ่งอินทรีย์
คือชีวิต ทำความสืบต่อให้กำเริบ.
บทว่า หรือแสวงหาศัสตราอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์
นั้น ได้แก่ ดาบ หอก ฉมวก หลาว ค้อน หิน มีด ยาพิษ หรือเชือก.
[๑๘๒] บทว่า หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย ได้แก่แสดง
โทษในความเป็นอยู่ พรรณนาคุณในความตาย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 266
[๑๘๓] บทว่า หรือชักชวนเพื่ออันตาย คือชักชวนว่า จงนำมีด
มา จงกินยาพิษ หรือจงแขวนคอตายด้วยเชือก.
[๑๘๔] บทว่า แน่ะนายผู้เป็นชาย นี้เป็นคำสำหรับเรียก คือคำ
ทักทาย.
คำว่า จะประโยชน์ อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอันแสนลำบาก
ยากแค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ ดังนี้ นั้น อธิบายว่า ชีวิตที่ชื่อ
ว่ายากแค้น คือเทียบชีวิตของตนมั่งคั่ง ชีวิตของตนเข็ญใจ ก็ชื่อว่ายากแค้น
เทียบชีวิตของตนมีทรัพย์ ชีวิตของตนไร้ทรัพย์ ก็ชื่อว่ายากแค้น เทียบชีวิต
ของเหล่าเทพเจ้า ชีวิตของพวกมนุษย์ ก็ชื่อว่ายากแค้น ชีวิตของตนมีมือขาด
มีเท้าขาด มีทั้งมือทั้งเท้าขาด มีหูขาด มีจมูกขาด มีทั้งหูทั้งจมูกขาด ชื่อว่า
ชีวิตอันแสนลำบาก จะประโยชน์อะไรด้วยชีวิตอันแสนลำบากและยากแค้น
เช่นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ ดังนี้.
บทว่า มีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนี้ ความว่า ธรรมชาติอันใดเป็นจิต
ธรรมชาติอันนั้นชื่อว่าใจ ธรรมชาติอันใดเป็นใจ ธรรมชาติอันนั้นชื่อว่าจิต.
บทว่า มีความมุ่งหมายหลายอย่าง อย่างนี้ คือมีความหมายใน
อันตาย มีความจงใจในอันตาย มีความประสงค์ในอันคาย.
บทว่า โดยหลายนัย คือ โดยอาการมากมาย.
บทว่า พรรณนาคุณในความตายก็ดี ได้แก่ แสดงโทษในความ
เป็นอยู่ พรรณนาคุณในความตายว่า ท่านตายจากโลกนี้แล้ว เบื้องหน้าแต่
ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ จักได้รับบำเรอเพรียบพร้อม
อิ่มเอิบด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ ในสุคติโลกสวรรค์นั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 267
[๑๘๕] บทว่า ชักชวนเพื่ออันตรายก็ดี คือชักชวนว่า จงนำมีดมา
จงกินยาพิษ จงแขวนคอตายด้วยเชือก หรือจงโจนลงในบ่อ ในเหว หรือ
ในที่ชัน.
[๑๘๖] คำว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเดียะภิกษุ
๒ รูปแรก.
คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้วเป็น
ของกลับต่อให้ติดสนิทอีกไม่ได้แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงใจ
พรากกายมนุษย์จากชีวิตแล้ว ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราซิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่าสังวาสนั้น ได้แก่กรรมที่
พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่า
สังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.
บทภาชนีย์
มาติกา
[๑๘๗] ทำเอง ยืนอยู่ใกล้ สั่งทูต สั่งทูตต่อ
ทูตไม่สามารถ ทูตไปแล้วกลับมา
ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ ที่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ
ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ ที่ลับ สำคัญว่าที่ลับ
พรรณนาด้วยกาย พรรณนาด้วยวาจา
พรรณนาด้วยกายและวาจา พรรณนาด้วยทูต
พรรณนาด้วยหนังสือ หลุมพราง วัตถุที่พิง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 268
การลอบวาง เภสัช การนำรูปเข้าไป
การนำเสียงเข้าไป การนำกลิ่นเข้าไป
การนำรสเข้าไป การนำโผฏฐัพพะเข้าไป
การนำธรรมารมณ์เข้าไป กิริยาที่บอก การแนะนำ
การนัดหมาย การทำนิมิต.
มาติกาวิภังค์
สาหัตถิกประโยค ทำเอง
[๑๘๘] คำว่า ทำเอง คือฆ่าเองด้วยกาย ด้วยเครื่องประหาร ที่
เนื่องด้วยกาย หรือด้วยเครื่องที่ประหารซัดไป
ยืนอยู่ใกล้
คำว่า ยืนอยู่ใกล้ คือยืนสั่งอยู่ ณ ที่ใกล้ว่า จงยิงอย่างนี้ จงประหาร
อย่างนี้ จงฆ่าอย่างนี้.
อาณัตติกประโยค สั่งทูต
[๑๘๙] ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้รับคำสั่ง เข้าใจว่าบุคคลนั้นแน่ จึงปลงชีวิตบุคคลนั้น ต้องอาบัติปาราชิก
ทั้ง ๒ รูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้รับคำสั่ง เข้าใจว่าบุคคลนั้นแน่ แต่ปลงชีวิตบุคคลอื่น ภิกษุผู้สั่งไม่ต้อง
อาบัติ ภิกษุผู้ฆ่าต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 269
ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ
ผู้รับคำสั่ง เข้าใจว่าบุคคลอื่น แต่ปลงชีวิตบุคคลชื่อนั้น ต้องอาบัติปาราชิก
ทั้ง ๒ รูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ
ผู้รับคำสั่ง เข้าใจว่าบุคคลอื่น และปลงชีวิตบุคคลอื่น ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก.
สั่งทูตต่อ
[๑๙๐] ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไป
บอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้รับคำสั่ง บอกแก่ภิกษุนอกนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่ารับคำ ภิกษุ
ผู้สั่งเติม ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ฆ่า ปลงชีวิตบุคคลนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติ
ปาราชิกทุกรูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้ จงไปบอกแก่
ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ
ผู้รับคำสั่ง สั่งภิกษุรูปอื่นต่อ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่ารับคำ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่า ปลงชีวิตบุคคลนั้นสำเร็จ ภิกษุผู้สั่งเติม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุ
ผู้รับคำสั่งและภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก.
ทูตไม่สามารถ
[๑๙๑] ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปแล้วกลับมาบอกอีกว่า ผมไม่สามารถปลงชีวิตเขาได้
ภิกษุผู้สั่งสั่งใหม่ว่า ท่านสามารถเมื่อใด จงปลงชีวิตเขาเสียเมื่อนั้น ดังนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 270
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งปลงชีวิตบุคคลนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก
ทั้ง ๒ รูป.
ทูตไปแล้วกลับมา
[๑๙๒] ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ครั้นภิกษุนั้นสั่งภิกษุนั้นแล้ว มีความร้อนใจ แต่พูดไม่ให้ได้ยินว่า
อย่าฆ่า ภิกษุผู้รับคำสั่งปลงชีวิตบุคคลนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้น
ภิกษุนั้นสั่งภิกษุนั้นแล้ว มีความร้อนใจ พูดให้ได้ยินว่า อย่าฆ่าเลย ภิกษุผู้
รับคำสั่งกลับพูดว่า ท่านสั่งผมแล้ว จึงปลงชีวิตบุคคลชื่อนั้นเสีย ภิกษุผู้สั่งเดิม
ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ครั้นภิกษุนั้น ส่งภิกษุนั้นแล้ว มีความร้อนใจ พูดให้ได้ยินว่า อย่าฆ่าเลย
ภิกษุผู้รับคำสั่ง รับคำว่าดีแล้ว งดเสีย ไม่ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป.
ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ
[๑๙๓] ที่ไม่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ
บุคคลชื่อนี้พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ที่ลับ สำคัญว่าไม่ลับ
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ไม่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคลชื่อนี้
พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 271
ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ
ที่ไม่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ไม่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคล
ชื่อนี้ พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ที่ลับ สำคัญว่าที่ลับ
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคลชื่อนี้
พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พรรณนาด้วยกาย
[๑๙๔] ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยกาย ได้แก่ภิกษุทำกายวิการว่า
ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ เพราะการพรรณนานั้น ผู้ใดผู้หนึ่งคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนา
ให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พรรณนาด้วยวาจา
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยวาจา ได้แก่ ภิกษุกล่าวด้วยวาจาว่า ผู้ใด
ตายอย่างนั้น ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะการพรรณนานั้น ผู้ใดผู้หนึ่งคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด
ภิกษุผู้พรรณนาต้องอาบัติถุลลัยจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติปาราชิก.
พรรณนาด้วยกายและวาจา
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยกายและวาจา อธิบายว่า ภิกษุทำวิการ
ด้วยกายก็ดี กล่าวด้วยวาจาก็ดีว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 272
หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการพรรณนานั้น ผู้ใดผู้หนึ่ง
คิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติปาราชิก.
พรรณนาด้วยทูต
[๑๙๕] ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยทูต ได้แก่ภิกษุสั่งทูตไปว่า ผู้ใด
ตายอย่างนี้ ผู้นั้น จะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ผู้ใดผู้หนึ่งได้ทราบคำบอกของทูตแล้วคิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนา
ให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พรรณนาด้วยหนังสือ
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยหนังสือ ได้แก่ภิกษุเขียนหนังสือไว้ว่า ผู้ใด
ตายอย่างนั้น ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทุก ๆ ตัวอักษร ผู้ใดผู้หนึ่งเห็นหนังสือแล้วคิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนา
ให้เกิด ภิกษุผู้เขียน ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้เขียน ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
หลุมพราง
[๑๙๖] ที่ชื่อว่า หลุมพราง ได้แก่ภิกษุขุดหลุมพรางเจาะจงมนุษย์
ไว้ว่า เขาจักตกตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งตกลงไปแล้วได้รับ
ทุกขเวทนา ภิกษุผู้ขุด ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้ขุดต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุขุดหลุมพรางไว้มิได้เจาะจงว่า ผู้ใดผู้หนึ่งจักตกตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 273
มนุษย์ตกลงไปในหลุมพรางนั้น ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาตกลงไปแล้ว
ได้รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
ยักษ์ก็ดี เปรตก็ดี สัตว์ดิรัจฉานแปลงเพศเป็นมนุษย์ก็ดี ตกลงไปในหลุมพราง
นั้น ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อมันตกลงไปแล้วได้รับความทุกขเวทนา ภิกษุ
ต้องอาบัติทุกกฏ มันตาย ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย สัตว์ดิรัจฉานตกลงไปใน
หลุมพรางนั้น ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อมันตกลงไปแล้วได้รับทุกขเวทนา
ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ มันตาย ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์.
วัตถุที่พิง
[๑๙๗] ที่ชื่อว่า วัตถุที่พิง ได้แก่ภิกษุวางศัสตราไว้ในที่สำหรับพิง
ก็ดี ทายาพิษไว้ก็ดี ทำให้ชำรุดก็ดี วางไว้ริมบ่อ เหวหรือที่ชัน ด้วยหมาย
ใจว่า บุคคลจักตกตายด้วยวิธีนี้ ดังนี้ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ เขาได้รับทุกข-
เวทนา เพราะต้องศัสตราถูกยาพิษ หรือตกลงไป ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย
เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
การลอบวาง
[๑๙๘] ที่ชื่อว่า การลอบวาง ได้แก่ภิกษุวางดาบ หอก ฉมวก
หลาว ไม้ค้อน หิน มีด ยาพิษ หรือเชือกไว้ใกล้ ๆ ด้วยตั้งใจว่า บุคคล
จักตายด้วยของสิ่งนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาคิดว่า เราจักตายด้วยของสิ่ง
นั้น แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้อง
อาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 274
เภสัช
[๑๙๙] ที่ชื่อว่า เภสัช ได้แก่ ภิกษุให้เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผ้า
หรือน้ำอ้อย ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มเภสัชนี้แล้วจักตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่อเขาลิ้มเภสัชนั้นแล้ว ได้รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
การนำรูปเข้าไป
[๒๐๐] ที่ชื่อว่า การนำรูปเข้าไป ได้แก่ ภิกษุนำรูปซึ่งไม่เป็นที่
ชอบใจ น่ากลัว น่าหวาดเสียวเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้แล้วจักตกใจ
ตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย
เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุนำรูปซึ่งเป็นที่ชอบใจ น่ารัก น่าจับใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า
เขาเห็นรูปนี้แล้ว จักซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
เขาเห็นรูปนั้นแล้ว ซูบผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
การนำเสียงเข้าไป
ที่ชื่อว่า การนำเสียงเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำเสียงซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ
น่ากลัว น่าหวาดเสียวเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาได้ยินเสียงนี้แล้ว จักตกใจตาย
ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาได้ยินเสียงนั้นแล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย
เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุนำเสียงซึ่งเป็นที่ชอบใจ น่ารัก น่าจับใจเข้าไป ด้วยทั้งใจว่า
เขาได้ยินเสียงนี้แล้ว จักซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 275
เขาได้ยินเสียงนั้นแล้วซูบผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขา
ตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
การนำกลิ่นเข้าไป
ที่ชื่อว่า การนำกลิ่นเข้าไป ได้แก่ ภิกษุนำกลิ่นซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ
น่าเกลียด น่าปฏิกูลเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนั้นแล้ว จักตาย เพราะ
เกลียด เพราะปฏิกูล ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาสูดกลิ่นนั้นแล้ว ได้รับ
ทุกขเวทนา เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุนำกลิ่นซึ่งเป็นที่ชูใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนี้แล้ว จะ
ซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาสูดกลิ่นนั้นแล้วซูบ
ผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
การนำรสเข้าไป
ที่ชื่อว่า การนำรสเข้าไป ได้แก่ ภิกษุนำรสซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ
น่าเกลียด น่าปฏิกูลเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจักตาย เพราะเกลียด
เพราะปฏิกูล ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาลิ้มรสนั้นแล้วได้รับทุกขเวทนา
เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติ
ปาราชิก.
ภิกษุนำรสซึ่งเป็นที่ชอบใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจะ
ซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาลิ้มรสนั้นแล้วซูบผอม
เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 276
การนำโผฏฐัพพะเข้าไป
ที่ชื่อว่า การนำโผฏฐัพพะเข้าไป ได้แก่ ภิกษุนำโผฏฐัพพะ ซึ่ง
ไม่เป็นที่พอใจ มีสัมผัสไม่สบายและกระด้างเข้าไปด้วยตั้งใจว่า เขาถูกต้อง
สิ่งนี้เข้าแล้ว จักตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาถูกต้องสิ่งนั้นเข้า ได้
รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุนำโผฏฐัพพะซึ่งเป็นที่ชอบใจ มีสัมผัสสบาย และอ่อนนุ่มเข้าไป
ด้วยตั้งใจว่า เขาถูกสิ่งนี้แล้ว จักซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ เขาถูกต้องสิ่งนั้น เข้าแล้วซูบผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
การนำธรรมารมณ์เข้าไป
ที่ชื่อว่า การนำธรรมารมณ์เข้าไป ได้แก่ภิกษุแสวงเรื่องนรกแก่
คนผู้ควรเกิดในนรกด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องนรกนี้แล้ว จักตกใจตาย ดังนี้
ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องนรกนั้นแล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขา
ตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุแสดงเรื่องสวรรค์แก่คนผู้ทำความดีด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่อง
สวรรค์นี้แล้ว จักน้อมใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องสวรรค์นั้น
แล้วคิดว่า เราจักน้อมใจตาย แล้วยังทุก เวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
กิริยาที่บอก
[๒๐๑] ที่ชื่อว่า กิริยาที่บอก ได้แก่ ภิกษุถูกเขาถาม แล้วบอกว่า
จงตายอย่างนี้ ผู้ใดตายอย่างนั้น ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 277
ต้องอาติทุกกฏ เพราะการบอกนั้น เขาคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนา
ให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
การแนะนำ
ที่ชื่อว่า การแนะนำ ได้แก่ ภิกษุอันเขาไม่ได้ถาม แต่แนะนำว่า
จงตายอย่างนี้ ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้
ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการแนะนำนั้น เขาคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนา
ให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
การนัดหมาย
[๒๐๒] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย ได้แก่ ภิกษุทำการนัดหมายว่า จง
ปลงชีวิตเขาเสียตามกำหนดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น ในเวลากลางคืน
หรือกลางวัน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการนัดหมายนั้น ภิกษุผู้รับคำสั่ง
ปลงชีวิตเขาสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ปลงชีวิตเขาได้ก่อนหรือหลัง
คำนัดหมายนั้น ภิกษุผู้สั่งเดิม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก.
การทำนิมิต
ที่ชื่อว่า การทำนิมิต ได้แก่ ภิกษุทำนิมิตว่า ผมจักขยิบตา ยักคิ้ว
หรือผงกศีรษะ ท่านจงปลงชีวิตเขาตามนิมิตนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้รับสั่งปลงชีวิตเขาสำเร็จตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ปลงชีวิตเขาก่อนหรือหลังนิมิตนั้น ภิกษุผู้สั่งเติม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า
ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 278
อนาปัตติวาร
[๒๐๓] ภิกษุไม่จงใจ ๑ ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะให้ตาย ๑
ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุมีจิตพุ่งซ่าน ๑ ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑
ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ เหล่านี้ ไม่ต้องอาบัติ ดังนี้แล.
ปฐมภาณวาร
ในมนุสสวิคคหปาราชิก จบ
วินีตวัตถุ
อุทานคาถา
[๒๐๔] เรื่องพรรถเนา ๑ เรื่อง เรื่องนั่ง ๑ เรื่อง
เรื่องสาก ๑ เรื่อง เรื่องครก ๑ เรื่อง
เรื่องพระผู้เฒ่า ๓ เรื่อง เรื่องเนื้อติดคอ ๓ เรื่อง
เรื่องยาพิษ ๒ เรื่อง เรื่องสร้างที่อยู่ ๓ เรื่อง
เรื่องอิฐ ๓ เรื่อง เรื่องมีด ๓ เรื่อง
เรื่องไม้กลอน ๓ เรื่อง เรื่องร่างร้าน ๓ เรื่อง
เรื่องให้ลง ๓ เรื่อง เรื่องตก ๒ เรื่อง
เรื่องนึ่งตัว ๓ เรื่อง เรื่องนัดถุ์ยา ๓ เรื่อง
เรื่องนวด ๓ เรื่อง เรื่องให้อาบน้ำ ๓ เรื่อง
เรื่องให้ทาน้ำมัน ๓ เรื่อง เรื่องให้ลุกขึ้น ๓ เรื่อง
เรื่องให้ล้มลง ๓ เรื่อง เรื่องให้ตายด้วยข้าว ๓ เรื่อง
เรื่องให้ตายด้วยน้ำฉัน ๓ เรื่อง เรื่องมีครรภ์กับชู้ ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงร่วมสามี ๒ เรื่อง เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรตาย ๑ เรื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 279
เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรไม่ตาย ๑ เรื่อง เรื่องให้รีด ๑ เรื่อง
เรื่องให้ร้อน ๑ เรื่อง เรื่องหญิงหมัน ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงมีปกติตลอด ๑ เรื่อง เรื่องจี้ ๑ เรื่อง
เรื่องทับ ๑ เรื่อง เรื่องฆ่ายักษ์ ๑ เรื่อง
เรื่องส่งไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ ๙ เรื่อง เรื่องสำคัญแน่ ๔ เรื่อง
เรื่องประหาร ๓ เรื่อง เรื่องพรรณนาสวรรค์ ๓ เรื่อง
เรื่องพรรณนานรก ๓ เรื่อง เรื่องตัดต้นไม้ที่เมืองอาฬวี ๓ เรื่อง
เรื่องเผาป่า ๓ เรื่อง เรื่องอย่าให้ลำบาก ๑ เรื่อง
เรื่องไม่ทำตามคำของท่าน ๑ เรื่อง เรื่องให้ดื่มเปรียง ๑ เรื่อง
เรื่องให้ดื่มยาดองโลณะโสจิรกะ ๑ เรื่อง.
วินีตวัตถุ
เรื่องพรรณนา
[๒๐๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้
พรรณนาคุณแห่งความตายแก่ภิกษุนั้น ด้วยความกรุณา ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ
แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องนั่ง
[๒๐๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง
นั่งทับเด็กชายที่เขาเอาผ้าเก่าคลุมไว้บนตั่งให้ตายแล้ว มีความรังเกียจว่า เรา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 280
ต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนึ่ง พวกเธอไม่พิจารณาก่อนแล้วอย่านั่งบนอาสนะ รูปใดนั่ง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
เรื่องสาก
[๒๐๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งปูลาดอาสนะอยู่ที่โรงอาหาร
ในละแวกบ้าน ได้หยิบสากอันหนึ่งในสากที่เขาพิงรวมกันไว้ สากอันที่สองได้
ล้มฟาดลงที่ศีรษะเด็กชายคนหนึ่ง เด็กชายนั้นตายแล้ว เธอได้มีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องครก
ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุรูปหนึ่งปูลาดอาสนะอยู่ที่โรงอาหารในละแวก
บ้าน ได้เหยียบขอนไม้ที่เขานำมาเพื่อทำครก เซไปทับเด็กคนหนึ่งตาย แล้ว
มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 281
เรื่องพระผู้เฒ่า ๓ เรื่อง
[๒๐๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ
เมื่อเขาบอกภัตกาลแล้ว ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดาว่า นิมนต์ไปเถิด
ขอรับ พระสงฆ์กำลังคอยท่านอยู่ แล้วดุนหลังผลักไป ภิกษุผู้บิดาได้ล้มลง
ถึงมรณภาพ ภิกษุผู้บุตรนั้นมีดวามรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ภ. ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ เมื่อเขา
บอกภัตกาลแล้ว ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดาว่า นิมนต์ไปเถิด ขอรับ
พระสงฆ์กำลังคอยท่านอยู่ ภิกษุผู้บุตรมีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ จึง
ดุนหลังผลักไป ภิกษุผู้บิดาได้ล้มลงถึงมรณภาพ ภิกษุผู้บุตรมีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ เมื่อเขา
บอกภัตกาลแล้ว ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดาว่า นิมนต์ไปเถิด ขอรับ
พระสงฆ์กำลังคอยท่านอยู่ ภิกษุผู้บุตรมีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ จึง
ดุนหลังผลักไป ภิกษุผู้บิดาได้ล้มลง แต่ไม่ถึงมรณภาพ ภิกษุผู้บุตรมีความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 282
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องเนื้อติดคอ ๓ เรื่อง
[๒๐๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อ
ติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้ให้ประหารที่คอภิกษุนั้น เนื้อหลุดออกมาพร้อมกับ
โลหิต ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่ประหาร มีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระ-
พุทธเจ่าข้า.
ภ. ภิกษุไม่มีความปะสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อติดคอ
ภิกษุอีกรูปหนึ่งประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ได้ให้ประหารที่คอภิกษุนั้น เนื้อ
หลุดออกมาพร้อมกับโลหิต ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่ประหาร มีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 283
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อคิดคอ
ภิกษุอีกรูปหนึ่งประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ได้ให้ประหารที่คอภิกษุนั้น เนื้อ
หลุดออกมาพร้อมกับโลหิต แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่ประหาร
มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องยาพิษ ๒ เรื่อง
[๒๑๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง
ได้บิณฑบาตเจือยาพิษมาแล้วนำไปสู่โรงฉัน ได้ถวายบิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุ
ทั้งหลายให้ฉันก่อน ภิกษุเหล่านั้นถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่ทราบเกล้า พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะทดลอง ได้ให้ยาพิษ
แก่ภิกษุอีกรูปหนึ่งฉัน ภิกษุนั้นถึงมรภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทดลอง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 284
เรื่องสร้างที่อยู่ ๓ เรื่อง
[๒๑๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกัน
สร้างวิหารที่อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกศิลาส่งขึ้นไป ศิลาที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบน
รับไว้ไม่มั่น ได้ตกทับกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างาถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถานว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันสร้างวิหาร
ที่อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่าง ยกศิลาส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบน มีความ
ประสงค์จะให้ทาย จึงปล่อยศิลาลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ภิกษุผู้อยู่
ข้างล่างนั้นถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันสร้างวิหารที่
อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่าง ยกศิลาส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์
จะให้ตาย จึงปล่อยศิลาลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง
ไม่ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 285
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่องอิฐ ๓ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันก่อฝาผนัง
วิหาร ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป อิฐที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนรับไว้ไม่มั่น
ได้หล่นทับกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันก่อฝาผนัง
วิหาร ภิกษุรปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไปภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้
ตาย จึงปล่อยอิฐลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนั้นถึง
มรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ
คิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ทาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันก่อฝาผนัง
วิหาร ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้
ตาย จึงปล่อยอิฐลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างไม่ถึง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 286
มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถา ว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ ดูก่อนภิกษุ เธอไม้ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องมีด ๓ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม
ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป มีดที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนรับไว้ไม่มั่น ได้ตก
ลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม
ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย
จึงปล่อยไม้มีดลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม
ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 287
จึงปล่อยมีดลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างไม่ถึง
มรณภาพ เธอความรังเกียจว่า เราไม่ต้องปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถานว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอ
ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องไม้กลอน ๓ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม
ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ไม้กลอนที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนจับไว้
ไม่มั่น ได้พลัดตกลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนั้นถึงมรณภาพ เธอมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม
ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์
จะให้ตาย จึงปล่อยไม้กลอนลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ภิกษุผู้อยู่ข้าง
ล่างนั้นถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอคิดอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 288
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม
ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์
จะให้ตาย จึงปล่อยไม้กลอนลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่
ข้างล่างนั้นไม่ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องร่างร้าน ๓ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ผูกร่างร้านทำนวกรรม
ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้ ภิกษุ
นั้นยืนผูกอยู่ ณ ที่นั้น ได้พลัดตกลงถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธะจาข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ผูกร่างร้านทำนวกรรม
ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 289
ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้ ภิกษุนั้น ยืนผูกอยู่ ณ ที่นั้น ได้พลัดตกลงถึง
มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ผูกร่างร้านทำนวกรรม
ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส
ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้ ภิกษุนั้นยืนผูกอยู่ ณ ที่นั้น ได้พลัดตกลง แต่ไม่ถึง
มรณภาพ ภิกษุผู้กล่าวมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องให้ลง ๓ เรื่อง
[๒๑๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมุงวิหารเสร็จแล้วจะลง
ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า อาวุโสท่านจงลงทางนี้ ภิกษุนั้น ก็ลง
ทางนั้น ได้พลัดตกลงถึงมรณภาพแล้ว รูปที่กล่าวมีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุเธอคิดอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 290
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมุงวิหารเสร็จแล้วจะลง ภิกษุอีก
รูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงได้กล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ท่าน
จงลงทางนี้ ภิกษุนั้นก็ลงทางนั้น ได้พลัดตกลงถึงมรณภาพแล้ว รูปที่กล่าวมี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมุงหลังคาเสร็จแล้วจะลง ภิกษุอีก
รูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงได้กล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ท่าน
จงลงทางนี้ ภิกษุนั้นก็ลงทางนั้น ได้พลัดตกลงแล้วแต่ไม่ถึงมรณภาพ รูปที่
กล่าวมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องตก ๒ เรื่อง
[๒๑๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกความกระสันบีบคั้น จึง
ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏแล้วโจนลงที่เขาขาด ทับช่างสานคนหนึ่งตาย เธอมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 291
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อันภิกษุไม่ควรยังตนให้ตก รูปใดให้ตก ต้องอาบัติทุกกฏ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ แล้วพากันกลิ้ง
ศิลาเล่น ศิลานั้นตกทับคนเลี้ยงโคคนหนึ่งตาย พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวก
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ภิกษุไม่
ควรกลิ้งศิลาเล่น รูปใดกลิ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องนึ่งตัว ๓ เรื่อง
[๒๑๔] ๑. ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึง
ให้ภิกษุนั้นนึ่งตัว ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเรา
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธ-
เจ้าข้า
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นนึ่งตัว ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 292
รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นนึ่งตัว แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวกเธอ
มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
คิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องนัดถุ์ยา ๓ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายได้นัดถุ์ยา
ให้แก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ภ. ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงได้นัดถุ์ยาให้แก่ภิกษุนั้น ๆ ถึงมรณภาพ พวกเธอมีความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 293
รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงได้นัดถุ์ยาให้แก่ภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวก
เธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
คิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
เรื่องนวด ๓ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงนวดฟั้น
ภิกษุนั้น ๆ ถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก
แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง
อาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 294
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงนวดฟั้นภิกษุนั้น ๆ ถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจ
ว่าพวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงนวดฟั้นภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวกเธอ
มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิด
อย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
เรื่องให้อาบน้ำ ๓ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงให้ภิกษุนั้น
อาบน้ำ ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถาม
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระ'พุทธ-
เจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 295
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นอาบน้ำ ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความ
รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นอาบน้ำ แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวกเธอ
มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งลาย พวกเธอคิด
อย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
เรื่องให้ทาน้ำมัน ๓ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงเอาน้ำมัน
ทาภิกษุนั้น ๆ ถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 296
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงเอาน้ำมันทาภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมี
ความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิด
อย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงเอาน้ำมันทาภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวก
เธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหาย พวกเธอคิด
อย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
เรื่องให้ลุกขึ้น ๓ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุนั้น
ลุกขึ้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 297
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นลุกขึ้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความ
รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นลุกขึ้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวกเธอ
มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้พระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิด
อย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 298
เรื่องให้ล้มลง ๓ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายยังภิกษุนั้น
ให้ล้มลง ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นล้มลง ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความ
รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ภิกษุนั้นล้มลง แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวกเธอ
มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
คิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 299
เรื่องให้ตายด้วยข้าว ๓ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้ให้ข้าว
แก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ข้าวแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอมีความ
รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ข้าวแก่ภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ พวกเธอ
มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิด
อย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 300
เรื่องให้ตายด้วยน้ำฉัน ๓ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้ให้น้ำมัน
แก่ภิกษุนั้น ๆ ถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกรานทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงได้ให้น้ำมันแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ พวกเธอ
มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
คิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงได้ให้น้ำมันแก่ภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ
พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 301
เรื่องหญิงมีครรภ์กับชู้
[๒๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีคนหนึ่ง สามีเลิกร้างไปนาน จึงมี
ครรภ์กับชายชู้ นางได้บอกเรื่องนี้กะภิกษุกุลุปกะว่า นิมนต์เถิดเจ้าข้า ขอท่าน
จงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตก ภิกษุนั้นรับคำว่า ดีละน้องหญิง แล้วได้ให้เภสัช
ที่ทำให้ครรภ์ตกแก่หญิงนั้น ทารกได้ถึงแก่ความตาย เธอมีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องหญิงร่วมสามี ๒ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน ๆ หนึ่งเป็นหมัน
อีกคนหนึ่งมีปกติตลอด หญิงหมันได้เล่าเรื่องนี้กะภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า
ถ้านางคนนั้นตลอดบุตร จักได้ครอบครองทรัพย์สินทั้งมวล นิมนต์เถิดเจ้าข้า
ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่นาง ภิกษุนั้นรับคำว่า ดีละน้องหญิง แล้ว
ได้ให้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่หญิงนั้น ทารกได้ถึงแก่ความตาย แต่มารดา
ไม่ตาย เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน ๆ หนึ่งเป็นหมัน
อีกคนหนึ่งมีปกติตลอด หญิงหมันได้เล่าเรื่องนี้กะภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า
ถ้านางคนนั้นตลอดบุตร จักได้ครอบครองทรัพย์สินทั้งมวล นิมนต์เถิดเจ้าข้า
ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ทกแก่นาง ภิกษุนั้นรับคำว่า ดีละน้องหญิง แล้ว
ได้ให้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่หญิงนั้น มารดาได้ถึงแก่ความตาย แต่ทารก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 302
ไม่ตาย เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรตาย
ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน ๆ หนึ่งเป็นหมัน อีก
คนหนึ่งมีปกติตลอด หญิงหมันได้เล่าเรื่องนี้กะภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า
ถ้านางคนนั้นตลอดบุตร จักได้กรอบครองทรัพย์สินทั้งมวล นิมนต์เถิดเจ้าข้า
ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่นาง ภิกษุนั้นรับคำว่า ดีละน้องหญิง แล้ว
ได้ให้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่หญิงนั้น มารดาและบุตรได้ตายทั้ง ๒ คน เธอ
มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรไม่ตาย
ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน ๆ หนึ่งเป็นหมัน อีก
คนหนึ่งมีปกติตลอด หญิงหมันได้เล่าเรื่องนี้กะภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า
ถ้านางคนนั้นตลอดบุตร จักได้ครอบครองทรัพย์สินทั้งมวล นิมนต์เถิดเจ้าข้า
ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่นาง ภิกษุนั้นรับคำว่า ดีละน้องหญิง แล้ว
ได้ให้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่หญิงนั้น มารดาและบุตรไม่ตายทั้ง ๒ คน เธอ
มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 303
เรื่องไห้รีด
ก็โดยสมัยนั้นแล หญิงมีครรภ์คนหนึ่ง ได้บอกเรื่องนี้กะภิกษุผู้กุลุปกะ
ว่า นิมนต์เถิดเจ้าข้า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตก ภิกษุนั้นบอกว่า น้องหญิง
ถ้าเช่นนั้นท่านจงรีด นางจึงได้รีดให้ครรภ์ตกไป เธอมีความรังเกียจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องให้ร้อน
ก็โดยสมัยนั้นแล หญิงมีครรภ์คนหนึ่ง ได้บอกเรื่องนั้นกะภิกษุผู้กุลุปกะ
ว่า นิมนต์เถิดเจ้าข้า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตก ภิกษุนั้นบอกว่า น้องหญิง
ถ้าเช่นนั้นท่านจงทำให้ครรภ์ร้อน นางจึงทำให้ครรภ์ร้อน ให้ครรภ์ตกไป
เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จีงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องหญิงหมัน
ก็โดยสมัยนั้นแล หญิงหมันคนหนึ่ง ได้บอกเรื่องนี้กะภิกษุผู้กุลุปกะว่า
นิมนต์เถิดเจ้าข้า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ดิฉันตลอดบุตร ภิกษุนั้นรับ คำว่า ดีละ
น้องหญิง แล้วได้ให้เภสัชแก่นาง ๆ ถึงแก่กรรม เธอมีความรังเกียจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 304
เรื่องหญิงมีปกติคลอด
ก็โดยสมัยนั้นแล หญิงมีปกติตลอดบุตรถี่คนหนึ่ง ได้บอกเรื่องนี้กะ
ภิกษุผู้กุลุปกะว่า นิมนต์เถิดเจ้าข้า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำไม่ให้ดิฉัน ตลอดบุตร
ภิกษุนั้นรับคำว่า ดีละน้องหญิง แล้วได้ให้เภสัชแก่นาง ๆ ได้ถึงแก่กรรม
เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องจี้
[๒๑๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ ยังภิกษุรูปหนึ่งซึ่งอยู่ใน
จำพวกพระสัตตรสวัคคีย์ให้หัวเราะเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ ภิกษุนั้นเหนื่อย หายใจ
ออกไม่ทัน ได้ถึงมรณภาพ พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เรื่องทับ
[๒๑๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ ช่วยกันขึ้นทับ
ภิกษุรูปหนึ่งซึ่งอยู่ในจำพวกพระฉัพพัคคีย์ ด้วยตั้งใจว่าจักลงโทษให้ถึงมรณภาพ
แล้ว พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 305
เรื่องฆ่ายักษ์
[๒๑๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหมอผีรูปหนึ่ง ปลงชีวิตยักษ์แล้วมี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องส่งไปสู่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดู ๙ เรื่อง
[๒๑๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่
วิหารที่มียักษ์ดุ พวกยักษ์ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีดวามรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง
ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุ พวกยักษ์ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก.
๓. ก็โดยสมัยนั้น แล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง
ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุ แต่พวกยักษ์ไม่ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 306
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ทางกันดาร
ที่มีสัตว์ร้าย ๆ ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง
ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ทางกันดารที่มีสัตว์ร้าย ๆ ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแค่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว .
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง
ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ทางกันดารที่มีสัตว์ร้าย แต่สัตว์ร้ายไม่ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอ
มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 307
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ทางกันดาร
ที่มีโจร ๆ ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.
๘. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง
ภิกษุหนึ่งไปสู่ทางกันดารที่มีโจร ๆ ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความรังเกียจ
ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๙. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย ได้ส่ง
ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ทางกันดารที่มีโจร แต่โจรไม่ปลงชีวิตภิกษุนั้น เธอมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอติดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องสำคัญแน่ ๔ เรื่อง
[๒๒๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญว่าภิกษุผู้มีเวรแก่
ตนแน่ จึงปลงชีวิตภิกษุนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 308
แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว .
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญว่าภิกษุผู้มีเวรแก่ตนแน่ แต่
ปลงชีวิตภิกษุอื่น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญว่าภิกษุอื่นแน่ แต่ปลงชีวิต
ภิกษุผู้มีเวรแก่ตน แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญว่าภิกษุอื่นแน่ จึงปลงชีวิต
ภิกษุอื่น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 309
เรื่องประหาร ๓ เรื่อง
[๒๒๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ให้ประหารภิกษุนั้น ๆ ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ประหารภิกษุนั้น ๆ ถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความ
ประสงค์จะให้ตาย จึงให้ประหารภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ เธอมี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องพรรณนาสวรรค์ ๓ เรื่อง
[๒๒๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพรรณนาเรื่องสวรรค์แก่
คนผู้ทำความดี คนนั้นดีใจตาย เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 310
แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึง
พรรณนาเรื่องสวรรค์แก่คนผู้ทำความดี คนนั้นดีใจตาย เธอมีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค
เจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึง
พรรณนาเรื่องสวรรค์แก่ผู้ทำความดี คนนั้นดีใจ แต่ไม่ตาย เธอจึงมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่องพรรณนานรก ๓ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพรรณนาเรื่องนรกแก่ผู้ควรเกิดใน
นรก คนนั้นตกใจตาย เธอมีความรังเกียจว่า เราไม่ต้อง ปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 311
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึง
พรรณนาเรื่องนรกแก่คนผู้ควรเกิดในนรก คนนั้นตกใจตาย เธอมีความรังเกียจ
ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึง
พรรณนาเรื่องนรกแก่ผู้ควรเกิดในนรก คนนั้นตกใจ แต่ไม่ตาย เธอมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องตัดต้นไม้ที่เมืองอาฬวี ๓ เรื่อง
[๒๒๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะตัดต้นไม้
ทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งจึงพูดกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส ท่านจงยืนคัดที่
ตรงนี้ ต้นไม้ได้ล้มทับภิกษุผู้ยืนตัดอยู่ ณ ที่ นั้นถึงมรณภาพ เธอมีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 312
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะตัดต้นไม้ทำ
นวกกรรม ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงพูดกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า
อาวุโส ท่านจงยืนตัดที่ตรงนี้ ต้นไม้ได้ล้มทับภิกษุผู้ยืนตัดอยู่ ณ ที่นั้นถึง
มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะตัดต้นไม้ทำนวกรรม
ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงพูดกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส
ท่านจงยืนตัดที่ตรงนี้ ต้นไม้ได้ล้มทับภิกษุผู้ยืนตัดอยู่ ณ ที่นั้น แต่ไม่ถึง
มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีดวามประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องเผาป่า ๓ เรื่อง
[๒๒๔] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์เผาป่า คนทั้งหลาย
ถูกไฟไหม้ตาย พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 313
ฉ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธ
เจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์มีความประสงค์จะให้ตายจึงเผาป่า
คนทั้งหลายถูกไฟไหม้ตาย พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ฉ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคดีย์มีความประสงค์จะให้ตายจึงเผา
ป่า คนทั้งหลายถูกไฟลวก แต่ไม่ตาย พวกเธอมีความรังเกียจว่า พวกเราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ฉ. พวกข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
เรื่องอย่าให้ลำบาก
[๒๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ตะแลงแกง ได้พูดกะ
นายเพชฌฆาตว่า อาวุโส ท่านอย่าให้นักโทษคนนี้ลำบากเลย จงปลงชีวิต
ด้วยการฟันทีเดียวตายเถิด เพชฌฆาตรับคำว่า ดีละ ขอรับ แล้วปลงชีวิต
ด้วยการฟันทีเดียวตาย ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 314
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องไม้ทำตามคำของท่าน
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ตะแลงแกง ได้พูดกะนายเพชฌฆาต
ว่า อาวุโส ท่านอย่าให้นักโทษคนนี้ลำบากเลย จงปลงชีวิตด้วยการฟันทีเดียว
ตายเถิด นายเพชฌฆาตนั้นพูดว่า ผมจักไม่ทำตามคำของท่าน แล้วปลงชีวิต
นักโทษนั้น ภิกษุนั้นมีความรั้งเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องให้ดื่มเปรียง
[๒๒๖] ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งมีมือและเท้าด้วน หมู่ญาติ
เลี้ยงดูไว้ในเรือนญาติ ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดกะคนพวกนั้นว่า ท่านทั้งหลายอยาก
ให้บุรุษผู้นี้ตายหรือไม่.
ญ. ขอรับ กระผมอยากให้ตาย.
ภิ. ถ้าเช่นนั้น จงให้เขาดื่มเปรียง.
คนพวกนั้นจึงได้ให้บุรุษนั้นดื่มเปรียง บุรุษนั้นได้ตายแล้ว ภิกษุนั้น
มีความรังเกียจวา เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 315
เรื่องให้ดื่มดองโลณะโสจิรกะ
ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งมีมือและเท้าด้วน หมู่ญาติเลี้ยงดูไว้
ในเรือนญาติ ภิกษุณีรูปหนึ่งได้พูดกะคนพวกนั้นว่า ท่านทั้งหลายปรารถนา
ให้บุรุษนี้ตายหรือไม่.
ญ. ปรารถนาเจ้าข้า
ภิ. ถ้าเช่นนั้น จงให้เขาดื่มยาดองชื่อโลณะโสจิรกะ.
คนพวกนั้นได้ให้บุรุษนั้นดื่มยาดองโลณะโสจิรกะ บุรุษนั้นได้ตายแล้ว
ภิกษุณีนั้นมีความรังเกียจ จึงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ๆ ได้แจ้งเรื่อง
นั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้น ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ จบ
ตติยปาราชิกวรรณนา
ตติยปาราชิกใด ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้
หมดจดทางไตรทวารทรงประกาศแล้ว, บัด
นี้ ถึงลำดับสังวรรณนา แห่งตติยปาราชิก
นั้นแล้ว; เพราะเหตุนั้นคำใดที่จะพึงรู้ได้ง่าย
และคำใดที่ข้าพเจ้าได้ประกาศไว้แล้วในก่อน
สังวรรณนานี้แม้แห่งตติยปาราชิกนั้น จะเว้น
คำนั้น ๆ เสียฉะนี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 316
พระบาลีอุกเขปพจน์ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวสาลย
วิหรติ มหาวเน กูฏาคารสาลาย เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไปนี้:-
[อธิบายเรื่องเมืองไพศาลี ]
บทว่า เวสาลิย มีความว่า ใกล้นครที่มีชื่ออย่างนั้น คือมีโวหาร
เป็นไป ด้วยอำนาจแห่งอิตถีลิงค์. จริงอยู่ นครนั้น เรียกว่า เวสาลี เพราะ
เป็นเมืองที่กว้างขวาง ด้วยขยายเครื่องล้อม คือกำแพงถึง ๓ ครั้ง. ความ
สังเขปในตติยปาราชิกนี้ มีเท่านี้. ส่วนความพิสดารแห่งบทว่า เวสาลี นั้น
อันผู้ปรารถนาอนุบุพพิกถาพึงถือเอาจากวรรณนาแห่งรัตนสูตร ในอรรถกถา
แห่งขุททกปาฐะชื่อปรมัตถโชติกาเถิด. ก็แลนครแม้นี้ พึงทราบว่า เป็นเมือง
ถึงความไพบูลย์โดยอาการทั้งปวง ในเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุ
สัพพัญญุตญาณแล้ว เท่านั้น. ท่านพระอุบาลีเถระ ครั้นแสดงโคจรคามอย่างนั้น
แล้ว จึงกล่าวที่เสด็จประทับไว้ว่า มหาวเน กูฏาคารสาลาย (ที่กูฎาคาร
ศาลาในป่ามหาวัน).
บรรดาป่ามหาวันและกูฎาคารศาลานั้น ป่าใหญ่มีโอกาสเป็นที่กำหนด
เกิดเอง ไม่ได้ปลูก ชื่อว่าป่ามหาวัน. ส่วนป่ามหาวันใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ เนื่อง
เป็นอันเดียวกันกับป่าหิมพานต์ ไม่มีโอกาสเป็นที่กำหนด ตั้งจดมหาสมุทร.
ป่ามหาวันนี้ไม่เป็นเช่นนั้น คือเป็นป่าใหญ่ มีโอกาสเป็นที่กำหนด; เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าป่ามหาวัน. ส่วนกูฎาคารศาลา อันถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง
ซึ่งสร้างให้มีหลังคาคล้ายทรวดทรงแห่งหงส์ ทำเรือนยอดไว้ข้างใน ณ อาราม
ที่สร้างไว้อาศัยป่ามหาวัน พึงทราบว่า เป็นพระคันธกุฎีสำหรับพระผู้มี-
พระภาคพุทธเจ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 317
[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอสุภกรรมฐานแก่พวกภิกษุ]
หลายบทว่า อเนกปริยาเยน อสุภกถ กเถติ มีความว่าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงแสดงกถาเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่ายในกาย ซึ่งเป็นไปด้วย
อำนาจแห่งความเล็งเห็นอาการอันไม่งาม ด้วยเหตุมากมาย. ทรงแดงอย่างไร?
ทรงแสดงว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน ฯ มูตร. มีคำอธิบายอย่างไร ?
มีคำอธิบายอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บางคน เมื่อค้นหาดูแม้ด้วยความ
เอาใจใส่ทุกอย่างในกเลวระมีประมาณวาหนึ่ง จะไม่เห็นสิ่งอะไร ๆ จะเป็น
แก้วมุกดาหรือแก้วมณี แก้วไพฑูรย์หรือกฤษณา แก่นจันทน์หรือกำยาน
การบูรหรือบรรดาเครื่องหอมมีจุณสำหรับอบเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามที
ซึ่งเป็นของสะอาด แม้มาตรว่าน้อย; โดยที่แท้ จะเห็นแต่ของไม่สะอาดมีประการ
ต่าง ๆ มีผมและขนเป็นต้นเท่านั้น ซึ่งมีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่ง น่าเกลียด มีการ
เห็นไม่เป็นมิ่งขวัญ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรทำความพอใจ หรือความรัก
ใคร่ในกายนี้ อันที่จริง ขึ้นชื่อว่าผมเหล่าใด ซึ่งเกิดบนศีรษะ อันเป็นอวัยวะ
สูงสุด แม้ผมเหล่านั้น ก็เป็นของไม่งามเหมือนกัน ทั้งไม่สะอาด ทั้งเป็น
ของปฏิกูล ก็แล ข้อที่ผมเหล่านั้นเป็นของไม่งาม ไม่สะอาดและเป็นของ
ปฏิกูลนั้น พึงทราบโดยเหตุ ๕ อย่าง คือ โดยสีบ้าง โดยสัณฐานบ้าง โดย
กลิ่นบ้าง โดยที่อยู่บ้าง โดยโอกาสบ้าง; ข้อที่ส่วนทั้งหลายมีขนเป็นต้น
เป็นของไม่งาม ไม่สะอาด และเป็นของปฏิกูลก็พึงทราบด้วยอาการอย่างนี้แล.
ความสังเขปในอธิการแห่งตติยปาราชิกนี้มีเท่านี้. ส่วนความพิสดารพึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวแล้ว ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
อสุภกถาในส่วนอันหนึ่ง ๆ โดยอเนกปริยาย มีประเภทส่วนละ ๕ ๆ ด้วย
ประการฉะนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 318
ข้อว่า อสุภาย วณฺณ ภาสติ มีความว่า พระองค์ทรงตั้ง
อสุภมาติกา ด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้นแล้ว เมื่อจะทรงจำแนก
คือทรงพรรณนา สังวรรณนา อสุภมาติกานั้น ด้วยบทภาชนีย์ จึงตรัสคุณา-
นิสงส์แห่งอสุภะ.
ข้อว่า อสุภภาวนาย วณฺณ ภาสติมีความว่า ความอบรมคือ
ความเจริญ ความเพิ่มเติมจิต ที่ถือเอาอากากรอันไม่งาม ในส่วนทั้งหลายมีผม
เป็นต้น หรือในอสุภะมีอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้น หรือในวัตถุภายในและภายนอก
ทั้งหลาย เป็นไป นี้ใด ; พระองค์จะทรงแสดงอานิสงส์แห่งอสุภภาวนานั้น
จึงตรัสสรรเสริญ คือทรงประกาศคุณ. ตรัสอย่างไรเล่า ? ตรัสว่า ดุก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบเฉพาะซึ่งอสุภภาวนา ในวัตถุมีผมเป็นต้น หรือ
ในวัตถุมีอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้น ย่อมได้เฉพาะซึ่งปฐมฌาน อันละองค์ ๕
ประกอบด้วยองค์ ๕ มีความงาม ๓ อย่าง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ภิกษุ
นั้น อาศัยหีบใจ กล่าวคือปฐมฌานนั้น เจริญวิปัสสนา ย่อมบรรลุพระอรหัต
ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุด.
[ปฐมฌานมีลักษณะ ๑๐ และความงาม ๓]
บรรดาความงาม ๓ และลักษณะ ๑๐ เหล่านั้น ลักษณะ ๑๐ แห่ง
ปฐมฌานเหล่านี้ คือ ความหมดจดแห่งจิตจากธรรมที่เป็นอันตราย ๑ ความ
ปฏิบัติสมาธินิมิอันเป็นท่ามกลาง ๑ ความแล่นไปแห่งจิตในสมาธินิมิตนั้น ๑
ความเพิกเฉยแห่งจิตที่หมดจด ๑ ความเพิกเฉยแห่งจิตที่ดำเนินถึงความสงบ ๑
ความเพิกเฉยแห่งจิตที่ปรากฏด้วยอารมณ์อันเดียว ๑ ความผุดผ่องด้วยอรรถ
คือความไม่กลับกลายแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในฌานจิตนั้น ๑ ความผุดผ่องด้วย
อรรถคือความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอันเคียวกัน ๑ ความผุดผ่องด้วยอรรถ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 319
คือความเป็นไปแห่งความเพียร อันสมควรแก่สมาธิปัญญาและอินทรีย์ซึ่งเป็น
ธรรมไม่กลับกลาย และมีรสเป็นอันเดียวกันนั้น ๑ ความผุดผ่องด้วยอรรถคือ
ความเสพคุ้น ๑.
บาลี* ในวิสัยเป็นที่เปิดเผยลักษณะ ๑๐ นั้น ดังนี้:-
อะไรเป็นเบื้องต้น อะไรเป็นท่ามกลาง อะไรเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ความ
หมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความเพิ่มพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลาง ความ
ผุดผ่อง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน.
ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน เบื้องต้นมี
ลักษณะเป็นเท่าไร เบื้องต้นมีลักษณะ ๓. ธรรมใดเป็นอันตรายของจิตนั้น
จิตย่อมหมดจดจากธรรมนั้น จิตย่อมดำเนินไปสู่สมาธินิมิตอันเป็นท่ามกลาง
เพราะค่าที่เป็นธรรมชาติหมดจด จิตแล่นไปในสมาธินิมิต (ซึ่งเป็นโคจรแห่ง
อัปปนา) นั้น เพราะความเป็นธรรมชาติดำเนินไปแล้ว. จิตหมดจดจากธรรม
ที่เป็นอันตราย ๑ จิตดำเนินไปสู่สมาธินิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะค่าที่เป็น
ธรรมชาติหมดจด ๑ จิตแล่นไปในสมาธินิมินั้น เพราะเป็นธรรมชาติดำเนินไป
๑ เป็นปฏิปทาวิสุทธิซึ่งเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน; เบื้องต้นมีลักษณะ ๓ เหล่า
นี้. เพราะเหตุนั้น ปฐมฌานท่านจึงกล่าวว่า เป็นคุณชาติงามในเบื้องต้น และ
ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๓.
ความเพิ่มพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ท่ามกลางมีลักษณะ
เท่าไร ? ท่ามกลางมีลักษณะ ๓. จิตหมดจดย่อมเพิกเฉย จิตดำเนินถึงความสงบ
ย่อมเพิกเฉย จิตปรากฏด้วยอารมณ์อันเดียว ย่อมเพิกฉาย. จิตหมดจดเพิกเฉย
๑ จิตดำเนินถึงความสงบเพิกเฉย ๑ จิตปรากฏด้วยอารมณ์อันเดียวเพิกเฉย ๑
* ปฏิ. ข. ๓๑/๒๕๒ - ๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 320
เป็นความเพิ่มพูนอุเบกขา ซึ่งเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน; ท่ามกลางมีลักษณะ
๓ เหล่านี้. เพราะเหตุนั้น ปฐมฌานท่านจึงกล่าวว่า เป็นคุณชาติงามในท่าม
กลางและถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๓.
ความผุดผ่อง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ที่สุดมีลักษณะเท่าไร ? ที่สุด
มีลักษณะ ๔ ความผุดผ่อง ด้วยอรรถ คือความไม่กลับกลายแห่งธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในฌานจิตนั้น ๑ ความผุดผ่องด้วยอรรถคือความที่อินทร์ทั้งหลายมีรสเป็น
อันเดียวกัน ๑ ความผุดผ่องด้วยอรรถ คือความเป็นไปแห่งความเพียร อัน
สมควรแก่สมาธิปัญญาและอินทรีย์ ซึ่งเป็นธรรมไม่กลับกลาย และมีรสเป็น
อันเดียวกันนั้น ๑ ความผุดผ่องด้วยอรรถ คือความเสพดุ้น ๑. ความผุดผ่อง
เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ; ที่สุดมีลักษณะ ๔ เหล่านี้. เพราะเหตุนั้นปฐมฌาน
ท่านจึงเรียกว่า เป็นคุณชาติงามในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ. ๔. จิตที่
ถึงความเป็นธรรมชาติ ๓ อย่าง มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ
๑๐ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิตก ถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ และสุข ถึงพร้อม
ด้วยการตั้งมั่นแห่งจิต ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิริยะ
สติ สมาธิ และปัญญาด้วยประการฉะนี้.
ข้อว่า อาทิสฺส อาทิสฺส อสุภสมาปตฺติยา วณฺณ กาสติ มี
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญ คือตรัสอานิสงส์ ทรงประกาศคุณ
แห่งอสุภสมาบัติ เพราะทรงทำการกำหนดอ้างถึงบ่อย ๆ ว่า เป็นอย่างนั้นบ้าง
เป็นอย่างนี้บ้าง. ตรัสอย่างไร ? ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อ
ภิกษุมีจิตอบรมด้วยอสุญญาอยู่เนือง ๆ จิต ย่อมงอ หดเข้า หวนกลับจากความ
เข้าประชิดด้วยเมถุนธรรม คือไม่ฟุ้งซ่านไป ย่อมทั้งอยู่โดยความวางเฉย หรือ
โดยความเป็นของปฏิกูล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนปีกไก่ หรือท่อน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 321
เอ็นที่บุคคลใส่เข้าไปในไฟ ย่อมงอ หดเข้า ม้วนเข้า คือไม่แผ่ออก แม้ฉัน
ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยอสุภสัญญาอยู่เนือง ๆ จิต
ย่อมงอ หดเข้า หวนกลับจากความเข้าประชิดด้วยเมถุนธรรม คือไม่พุงซ่าน
ไป ฉันนั้นเหมือนกันแล.
ข้อว่า อิจฺฉามห ภิกฺขเว อฑฺฒมาส ปฏิสลฺลิยิตุ ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกออก คือหลีกเร้นอยู่โดดเดี่ยวลำพัง
ผู้เดียว ตลอดกึ่งเดือนหนึ่ง.
ข้อว่า นมฺหิ เกนจิ อุปสงฺกมิตพฺโพ อญฺตฺร เอเกน ปิณฺ-
ฑปาตนีหารเกน มีความว่า ภิกษุรูปใด ไม่ทำปยุตวาจา (วาจาเนื่องด้วย
ปัจจัย) ด้วยตน นำบิณฑบาตที่เขาตกแต่งเพื่อประโยชน์แก่เราในตระกูลมี
ศรัทธา น้อมเข้ามาแก่เรา ยกเว้นภิกษุผู้นำบิณฑบาต เข้าไปให้นั้นรูปเดียว
ใคร ๆ คนอื่นจะเป็นภิกษุหรือคฤห์ก็ตาม อย่าเข้าไปหาเรา.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงห้ามภิกษุฆ่ากัน เพราะทรงเห็นกรรมเก่า]
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนี้ ?
แก้ว่า ได้ยินว่า ในครั้งดึกดำบรรพ์ นายพรานเนื้อประมาณ ๕๐๐
คน เอาท่อนไม้และข่ายเครื่องจับสัตว์เป็นอันมาก ล้อมป่าไว้พากันหัวเราะ
รื่นเริง รวมเป็นพวกเดียวกันนั่นแล สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยกรรม คือการ
ฆ่าเนื้อและนก จนตลอดชีวิต แล้วเกิดในนรก. พรานเนื้อเหล่านั้น หมกไหม้
ในนรกนั้นแล้ว เกิดในหมู่มนุษย์ เพราะกุศลกรรมบางอย่าง ที่ตนทำไว้แล้ว
ในหนหลังนั้นแล จึงได้บรรพชาและอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ทั้งหมด ด้วยอำนาจแห่งอุปนิสัยแห่งกรรมอันงาม. อปราปรเจตนาของ
พรานเนื้อเหล่านั้น ที่ยังไม่ได้เผล็ดผล เพราะอกุศลกรรมที่เป็นรากเหงานั้น ได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 322
กระทำโอกาสเพื่อเข้าไปตัดรอนชีวิตเสียด้วยความพยายามของตนเอง และด้วย
พยายามของผู้อื่น ในภายในกึ่งเดือนนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระ-
เนตรเห็นความขาดไปแห่งชีวิตนั้นแล้ว. ขึ้นชื่อว่ากรรมวิบากใคร ๆ ไม่สามารถ
จะห้ามได้. ก็บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนก็มี เป็นพระโสดาบัน
พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระขีณาสพก็มี. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุ
ทั้งหลายผู้เป็นพระขีณาสพ ไม่มีการถือปฏิสนธิ พระอริยสาวกทั้งหลายนอกนี้
เป็นผู้มีคติแน่นอน คือมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า; คติของพวกภิกษุผู้ยังเป็น
ปุถุชน ไม่แน่นอน. คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า ภิกษุเหล่า
นี้ กลัวต่อมรณภัย เพราะความรักด้วยอำนาจความพอใจในอัตภาพ จักไม่อาจ
ชำระคติให้บริสุทธิ์ได้; เอาเถิด ! เราจะแสดงอสุภกถาเพื่อละความรักด้วย
อำนาจความพอใจ แก่เธอเหล่านั้น เธอเหล่านั้น ครั้นได้ฟังอสุภกถานั้นแล้ว
จักทำการชำระคติให้บริสุทธิ์ได้ เพราะเป็นผู้ปราศจากความรักด้วยอำนาจความ
พอใจในอัตภาพแล้ว จักถือเอาปฏิสนธิในสวรรค์ การบรรพชาในสำนักของ
เรา จักเป็นคุณชาติมีประโยชน์แก่เธอเหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงอสุภกถา ด้วยหัวข้อพระกรรมฐาน เพื่อ
อนุเคราะห์แก่เธอเหล่านั้นหาได้แสดงด้วยความประสงค์ ในการพรรณนาถึง
คุณแห่งความตายไม่. ก็แล ครั้นทรงแสดงแล้ว พระองค์ได้มีความดำริอย่าง
นี้ ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลาย จักพบเห็นเราตลอดกึ่งเดือนนี้ไซร้ เธอเหล่านั้นจัก
มาบอกเราว่า วันนี้ภิกษุมรณภาพไปรูปหนึ่ง วันนี้มรณภาพไป ๒ รูป ฯ ล ฯ
วันนี้มรณภาพไป ๑๐ รูป ดังนี้ ก็แลกรรมวิบากนี้เราหรือใครคนอื่นก็ไม่สามารถ
จะห้ามได้ เรานั้น แม้ได้ฟังเหตุนั้นแล้วก็จักทำอะไรเล่า ? จะมีประโยชน์
อะไรแก่เรา ด้วยการฟังที่หาประโยชน์มิได้มีแต่ความฉิบทายใช่ประโยชน์ เอา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 323
เถิด ! เราจะเข้าไปยังสถานที่ ๆ ภิกษุทั้งหลายจะเห็นไม่ได้ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราปรารถนาจะ
หลีกออกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำ
บิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว.
ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสอย่างนั้นแล้ว
จึงได้หลีกออกเร้นอยู่ เพื่อจะเว้นความติเตียนของผู้อื่น นัยว่า ชนพวกอื่น จัก
กล่าวติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ทรงรู้สิ่ง
ทั้งปวง ทั้งทรงปฏิญาณอยู่ว่า เราเป็นผู้ยังจักรคือพระสัทธรรมอันบวรให้เป็น
ไป ไม่ทรงสามารถจะห้ามพระสาวกทั้งหลายแม้ของพระองค์ ผู้วานกันและกัน
ให้ฆ่ากันอยู่ ไฉนจักทรงอาจห้ามบุคคลอื่นได้เล่า ? ในข้อที่ผู้อื่นกล่าวติเตียน
นั้นบัณฑิตทั้งหลาย จักกล่าวแก้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบการหลีก
ออกเร้นอยู่ หาได้ทรงทราบความเป็นไปนี้ไม่ แม้ผู้จะทูลบอกพระองค์บางคน
ก็ไม่มี ถ้าพึงทรงทราบไซร้ ก็จะพึงทรงห้ามแน่นอน. แค่เพียงข้อที่ทรงมี
ความปรารถนาเป็นข้อแรกนี้นั่นเอง ย่อมเป็นเหตุในคำนี้ได้.
ศัพท์ว่า อสฺสุธ ในคำว่า นาสฺสุธ เป็นนิบาตลงในอรรถสัก
ว่าทำบทให้เต็ม หรือในอรรถคือการห้ามว่า ใคร ๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าเลย.
อสุภภาวนานุโยค (ความหมั่น ประกอบเนือง ๆ ในการเจริญอสุภกรรม
ฐาน) นั้น มีกระบวนการทำต่าง ๆ ด้วยเหตุทั้งหลายมีสีและสัณฐานเป็นต้นมาก
มาย; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อเนกาการโวการ (มีกระบวนการทำต่าง ๆ
มากมาย). มีคำอธิบายว่า เคล้าคละปะปนกันด้วยอาการมากมาย คือเจือปน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 324
กันด้วยเหตุหลายอย่าง. อเนกาการโวการนั้นได้แก่อะไร ? ได้แก่อสุภภาว-
นานุโยค. ซึ่งความหมั่นประกอบเนือง ๆ ในการเจริญอสุภกรรมฐาน มีกระ-
บวนการต่าง ๆ มากมายนั้น.
สองบทว่า อนุยุตฺตา วิหรนฺติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ประกอบ
คือขวนขวายอยู่.
บทว่า อฏฺฏิยนฺติ ความว่า ย่อมเป็นผู้อืดอัด คือ มีดวามลำบาก
ด้วยกายนั้น.
บทว่า หรายนฺติ แปลว่า ย่อมระอา.
บทว่า ชิคุจฺฉนฺติ แปลว่า เป็นผู้เกิดความเกลียดชังขึ้นเอง.
บทว่า ทหโร แปลว่า เด็กรุ่นหนุ่น.
บทว่า ยุวา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความเป็นหนุ่ม.
บทว่า มณฺฑนกชาติโย แปลว่า ผู้ชอบแต่งตัวเป็นปกติ.
สองบทว่า สีส นหาโต แปลว่า ผู้อาบน้ำพร้อมทั้งศีรษะ.
ในสองคำว่า ทหโร ยุวา นี้ท่านพระอุบาลีเถระแสดงความเป็นผู้
แรกเป็นหนุ่ม ด้วยคำว่า ทหระ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายในคราวแรกเป็นหนุ่ม
ย่อมมีปกติเป็นผู้ชอบแต่งตัวโดยพิเศษ. ท่านพระอุบาลีเถระ แสดงถึงเวลาขวน-
ขวายการแต่งตัวด้วยคำทั้งสองว่า สีส นหาโตนี้. แท้จริง แม้คนหนุ่มทำการ
งานบางอย่างแล้วมีร่างกายเศร้าหมอง ก็หาเป็นผู้ขวนขวายการแต่งตัวไม่. แต่
เขาอาบน้ำสระเกล้าเสร็จแล้วจึงตามประกอบการแต่งตัวทีเดียว ย่อมไม่ปรารถนา
แม้ที่จะเห็นของสกปรกมีซากงูเป็นต้น.
[พวกภิกษุฆ่าตัวเองและวานให้ผู้อื่นฆ่า]
ขณะนั้น บุรุษหนุ่มนั้น พึงอึดอัด สะอิดสะเอียน เกลียดชังด้วยซากงู
ซากสุนัขหรือซากศพมนุษย์อันคล้องอยู่ที่คอ คือมีบุคคลผู้เป็นข้าศึกบางคนนั่น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 325
เองนำมาผูกไว้ คือสวมไว้ที่คอ ฉันใด ภิกษุเหล่านั้น ก็อึดอัด ระอา เกลียด
ชังด้วยร่างกายของตน ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ใคร่จะสละร่างกายของตนเสีย
เพราะเป็นผู้ปราศจากความรักด้วยอำนาจความพอใจ ดุจบุรุษคนนั้นผู้ใคร่จะ
สละทิ้งซากศพนั้นเสีย ฉะนั้น จึงถือเอาศัสตรา แล้วปลงชีวิตตนเองบ้าง
วานกันและกัน ให้ปลงชีวิตบ้าง ด้วยพูดอย่างนี้ว่า ท่านจงปลงกระผมเสียจาก
ชีวิต กระผมจะปลงท่านเสียจากชีวิต.
คำว่า มิคลัณฑิกะ ในสองบทว่า มิคลณฺฑิกมฺปิ สมณกุตฺตก
นี้เป็นชื่อของเขา.
บทว่า สมณกุตฺตโก ได้แก่ ผู้ทรงเพศสมณะ. ได้ยินว่ามิคลัณฑิกะ
นั้น โกนศีรษะไว้เพียงจุก นุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่ง พาดไว้บนไหล่
เข้าอาศัยวิหารนั้นแล เป็นอยู่โดยความเป็นคนกินเดน. ภิกษุทั้งหลายเข้าไปหา
มิคลัณฑิกะ ผู้ทรงเพศสมณะแม้นั้น แล้วกล่าวอย่างนั้น.
ศัพท์ว่า สาธุ เป็นนิบาต ลง ในอรรถว่าขอร้อง. โน เป็นทุติยา
วิภัตติ พหุวจนะ. มีคำอธิบายว่า พ่อคุณ ! ดีละ เธอจงช่วยปลงชีวิตพวกฉันที.
ก็บรรดาภิกษุเหล่านั่น ภิกษุผู้ เป็นอริยะไม่กระทำปาณาติบาต ไม่ชักชวนบุคคล
อื่น ทั้งไม่อนุญาตด้วย. ส่วนภิกษุผู้เป็นปุถุชน กระทำได้แทบทุกอย่าง.
บทว่า โลหตก แปลว่า เปื้อนเลือด. แม่น้ำที่เขาสมมติกันว่าเป็น
บุญของชาวโลก เรียกว่า วัคคุ ในคำว่า เยน วคฺคุมุทา นี้. ได้ยินว่า
แม้มิคลัณฑิกะนั้น ไปยังแม่น้ำนั้น ด้วยความสำคัญว่า จักลอยบาปในแม่น้ำนั้น.
[มิคลัณฑิกะฆ่าภิกษุแล้วเกิดความเสียใจ]
สองบทว่า อทุเทว กุกฺกุจฺจ ความว่า ได้ยินว่า บรรดาภิกษุ
เหล่านั้น ภิกษุบางรูปไม่ได้ทำกายวิการ หรือวจีวิการ, ทั้งหมดทุกรูป มีสติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 326
รู้สึกตัวอยู่ นอนลงโดยตะแคงขวา. เมื่อมิคลัณฑิกะนั้น ตามระลึกถึงความ
ไม่กระทำกายวิการ และวจีวิการนั้น ได้มีความรำคาญใจแล้วนั้นเทียว. บาป
แม้มีประมาณน้อย ชื่อว่าเขาละได้แล้ว ด้วยอานุภาพแห่งแม่น้ำย่อมไม่มี.
คำว่า อหุ วปฺปฏิสาโร นั่น ท่านกล่าวไว้ เพื่อกำหนดสภาพ
แห่งความรำคาญนั้นนั่นแล. ได้มีความรำคาญ เพราะความวิปฏิสาร มิใช่ความ
รำคาญทางพระวินัยแล.
ท่านกล่าวคำว่า อลาภา วต เม เป็นต้น เพื่อแสดงอาการคือความ
เป็นไปแห่งความรำคาญ.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อลาภา วต เม ความว่า มิคลัณฑิกะนั้น
ทอดถอนใจอยู่ว่า บัดนี้ ชื่อว่าลาภคือประโยชน์เกื้อกูลและความสุขของเรา
ย่อมไม่มีต่อไป. ก็เขาเน้นเนื้อความนั้นนั่นเอง ให้หนักแน่น ด้วยคำว่า ลาภ
ของเราไม่มีหนอ นี้. แท้จริง ในคำว่า น วต เม ลาภา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า
แม้ถ้ามีใคร ๆ พึงกล่าวว่า เป็นลาภของท่าน คำนั้นผิด ลาภของเรา ย่อม
ไม่มีเลย.
ข้อว่า ทุลฺลทฺธ วต เม มีความว่า ความเป็นมนุษย์นี้ แม้ที่เรา
ได้แล้วด้วยกุศลานุภาพ ก็เป็นอันเราได้ไม่ดีหนอ. ก็เขาย่อมเน้นเนื้อความนั้น
นั่นเอง ให้หนักแน่นด้วยคำนี้ว่า เราได้ไม่ดีหนอ. จริงอยู่ ในคำว่า น วต
เม สุลทฺธ นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า แม้ถ้าใคร ๆ พึงกล่าวว่า ท่านได้ดีแล้ว
คำนั้นผิด เราได้ไม่ดีหนอ.
สองบทว่า อปฺุ ปสุตความว่า สิ่งมิใช่บุญเราสั่งสมหรือก่อ
ให้เกิดขึ้นแล้ว. หากจะพึงมีผู้ถามว่า เพราะเหตุไร ? พึงเฉลยว่า เพราะเหตุ
ที่เราได้ปลงภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม เสียจากชีวิต. คำนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 327
มีอธิบายว่า เพราะเหตุที่เราได้ปลงภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
คือผู้มีอุดมธรรม มีธรรมอันประเสริฐ เพราะความเป็นผู้มีศีลนั้นแล จากชีวิต.
[เทวดาช่วยปลอบโยนมิคลัณฑิกะให้ฆ่าภิกษุต่อไป]
สองบทว่า อญฺตรา มารกายิกา มีความว่า ภุมเทวดาคนหนึ่ง
ไม่ปรากฏชื่อ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นฝักฝ่ายแห่งมาร ประพฤติตามมาร คิดว่า
มิคลัณฑิกะนี้ จักไม่กล้าล่วงบ่วงของมาร คือวิสัยของมารไปได้ ด้วยอุบาย
อย่างนี้ ดังนี้แล้วจึงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทั้งปวง เมื่อจะแสดงอานุภาพ
ของตน จึงเดินมาบนน้ำ อันไม่แตกแยก ดุจเดินไปมาอยู่บนพื้นดินฉะนั้น
ได้กล่าวคำนั่น กะมิคลัณฑิกะสมณกุตก์.
ศัพท์ว่า สาธุ สาธุ เป็นนิบาต ลงในอรรถ คือความร่าเริง.
เพราะเหตุนั้น ในพระบาลีนี้ จึงกล่าวย้ำ ๒ ครั้ง อย่างนี้แล.
สองบทว่า อติณฺเณ ตาเรสิความว่า ท่านช่วยส่งพวกคนที่ยังข้าม
ไม่พ้น ให้ข้ามพ้น คือช่วยเปลื้อง ให้พ้นจากสงสาร ด้วยการปลงเสียจาก
ชีวิต. ได้ยินว่า เทวดาผู้เป็นพาลทรามปัญญาตนนั้น มีลัทธิดังนี้ว่า บุคคล
ทั้งหลาย ผู้ยังไม่ตาย ชื่อว่ายังไม่พ้นจากสงสาร, ผู้ที่ตายแล้วจึงพ้น. เพราะ
เหตุนั้น เทวดาผู้มีลัทธิอย่างนั้น ก็เป็นเหมือนชนชาวป่า* ผู้จะเปลื้องตนจาก
สงสารฉะนั้น ได้ประกอบแม้มิคลัณฑิกะนั้นไว้ในการให้ช่วยปลงเสียจากชีวิต
นั้น จึงกล่าวอย่างนั้น.
[มิคลัณฑิกะฆ่าภิกษุต่อไปวันละ ๑ รูปถึง ๕๐๐ รูป]
ครั้งนั้นแล มิคลัณฑิกะสมณกุตก์ ถึงแม้เป็นผู้มีความเดือดร้อน
เกิดขึ้นกล้าแข็งเพียงนั้นก็ตาม ครั้นเห็นอานุภาพของเทวดานั้น ก็ถึงความ
ตกลงใจว่า เทวดาตนนี้ ได้กล่าวอย่างนี้, ประโยชน์นี้ พึงเป็นอย่างนี้ทีเดียว
* มิลกฺข มลกฺโข คนชาวป่า, คนป่า, ผู้พูดอย่างเสียงสัตว์ร้อง, เป็นคนมิได้รับการศึกษาเลย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 328
แน่แท้ แล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า นัยว่าเป็นลาภของเรา จึงจากวิหารเข้าไปสู่วิหาร
จากบริเวณเข้าไปสู่บริเวณ แล้วกล่าวอย่างนั้น คือ เข้าไปยังวิหารและบริเวณ
นั้น ๆ แล้ว เปิดประตู เข้าไปภายใน กล่าวกะภิกษุทั้งหลายอย่างนั้นว่า ใครยัง
ข้ามไม่พ้น ข้าพเจ้าจะช่วยส่งให้ข้ามพ้น.
สองบทว่า โหติเยว ภย ความว่า มีจิตสะคุ้ง เพราะอาศัยความตาย.
บทว่า ฉมฺภิตตฺต ความว่า มีร่างกายสั่นเทา ตั้งแต่เนื้อหัวใจ
เป็นต้นไป. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ความมีร่างกายแข็งทื่อ เพราะกลัวจัด
ดังนี้บ้าง. จริงอยู่ ความมีร่างกายแข็งดุจเสาท่านเรียกว่า ความหวาดเสียว.
ความมีขนตั้งชูขึ้นข้างบน ชื่อว่า ความมีชนชูชัน. ส่วนพระขีณาสพทั้งหลาย
ย่อมไม่เห็นสัตว์ตายเลย เพราะท่านเห็นดีแล้ว โดยความเป็นของว่างจากสัตว์
เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า อันตรายมีความกลัวเป็นต้นนั่น แม้ทั้งหมด
หาได้มีแก่พระขีณาสพเหล่านั้นไม่. มิคลัณฑิกะนั้นได้ปลงภิกษุมีประมาณ ๕๐๐
รูป แม้ทั้งหมดเหล่านั้นเสียจากชีวิตด้วยอำนาจการคำนวณอย่างนั้นคือ เขาได้
ปลงภิกษุจากชีวิตเสีย วันละ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ฯลๆ ๖๐ รูปบ้าง.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าภิกษุสงฆ์เบาบ้างไป]
สองบทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบข้อที่ภิกฺษุมีประมาณ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นถึงมรณภาพ จึงเสด็จออกจาก
ความเป็นผู้โดดเดี่ยวนั้น ถึงแม้จะทรงทราบ ก็เป็นเหมือนไม่ทรงทราบจึงได้
ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มา เพื่อให้ตั้งเรื่องขึ้น.
ข้อว่า กินฺนุโข อานนฺท ตนุภูโต วิย ภิกฺขุสงฺโฆ มีความว่า
พระองค์ทรงรับสั่งว่า ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลก่อนแต่นี้ไป พวกภิกษุเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 329
จำนวนมาก ย่อมมาสู่ที่อุปัฏฐาก โดยรวมเป็นพวกเดียวกัน เรียนเอาอุเทศ
ปริปุจฉา สาธยายอยู่, อารามย่อมปรากฏดุจรุ่งเรืองเป็นอันเดียวกัน, แต่บัดนี้
โดยล่วงไปเพียงกึ่งเดือน ภิกษุสงฆ์ดูเหมือนน้อยไป คือเป็นประหนึ่งว่าเบาบาง
เล็กน้อย ร่อยหรอ โหรงเหรงไป มีเหตุอะไรหรือ ? พวกภิกษุหลีกไปในทิศ
ทั้งหลายหรือ ?
[พระอานนท์ทูลให้ตรัสบอกกรรมฐานอย่างอื่นแก่พวกภิกษุ]
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่กำหนดเหตุที่ภิกษุเหล่านั้นถึง
มรณภาพไป เพราะผลแห่งกรรม แต่มากำหนดเพราะความหมั่นประกอบใน
อสุภกรรมฐานเป็นปัจจัย จึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า ตถา หิ ปน ภนฺเต
ภควา ดังนี้ เมื่อจะทูลขอพระกรรมฐานอย่างอื่น เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายบรรลุ
อรหัตผล จึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า สาธุ ภนฺเต ภควา ดังนี้. คำนั้น
มีใจความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้า โปรดตรัสบอกการณ์อย่างอื่น ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์ดำรงอยู่
ในพระอรหัตผล. อธิบายว่า า1ริงอยู่. พระกรรมฐานที่เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่
พระนิพพานดุจท่าเป็นที่หยั่งลงสู่มหาสมุทร แม้เหล่าอื่นก็มีมาก ต่างโดย
ประเภท คือ อนุสติ ๑๐ กสิณ ๑๐ จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พรหมวิหาร ๔
และอานาปานัสสติ. ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปลอบภิกษุทั้งหลายให้เบาใจ
ในพระกรรมฐานเหล่านั้น แล้วตรัสบอกพระกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเถิด.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะทรงทำเช่นนั้น เมื่อ
จะส่งพระเถระไปจึงทรงรับสั่งว่า เตนหิ อานนฺท ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เวสาลี อุปนิสฺสาย ความว่า ภิกษุ
มีประมาณเท่าใด ซึ่งอาศัยเมืองไพศาลีอยู่ โดยรอบในที่คาวุตหนึ่งบ้าง กึ่ง-
โยชน์บ้าง, เธอจงเผดียงภิกษุเหล่านั้น ทั้งหมดให้ประชุมกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 330
ข้อว่า สพฺเพ อุปฏฺานสาลาย สนฺนิปาเตตฺวา ความว่า ไปสู่
ที่ ๆ ตนควรจะไปเองแล้ว ในที่อื่น ส่งภิกษุหนุ่มไปแทน จัดพวกภิกษุให้
ประชุมกันไม่ให้เหลือ ที่อุปัฏฐานศาลาโดยครู่เดียวเท่านั้น.
ในคำว่า ยสฺสิทานิ ภนฺเต ภควา กาล มญฺติ นี้มีอธิบาย
ดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ภิกษุสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว, นี้เป็นกาล
เพื่อทรงทำธรรมกถา เพื่อประทานพระอนุศาสนีแก่ภิกษุทั้งหลาย, ขอพระองค์
ทรงทราบกาลแห่งกิจที่ควรทรงกระทำในบัดนี้เถิด.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกอานาปานัสสติแก่พวกภิกษุ]
ข้อว่า อถโข ภควา ฯ เป ฯ ภิกฺขู อามนฺเตสิ อยมฺปิ โข
ภิกฺขเว มีความว่า ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นรับสั่งตักเตือนแล้ว เมื่อ
จะตรัสบอกปริยายอย่างอื่นจากอสุภกรรมฐานที่ตรัสบอกแล้วในก่อน เพื่อบรรลุ
พระอรหัตแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงตรัสว่า อานาปานสฺสติสมาธิ เป็นต้น. บัดนี้
เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบาลีนี้ เพื่อทรงแสดงพระกรรมฐาน ที่เป็น
คุณสงบและประณีตจริง ๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย; ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักทำการ
พรรณนาในพระบาลีนี้ ตามลำดับอรรถโยชนา ไม่ละทิ้งให้เสียไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยมฺปิ โข ภิกฺขเว เป็นต้นนี้มีโยชนา
ดังต่อไปนี้ก่อนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภภาวนาอย่างเดียวเท่านั้น ย่อม
เป็นไปเพื่อละกิเลส หามิได้, อีกอย่างหนึ่ง อานาปานัสสติสมาธิ แม้นี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข
และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับเพลัน. ก็ใน
คำว่า อานาปานสฺสติสมาธิ เป็นต้นนี้ มีอรรถวรรณนาดังต่อไปนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 331
สติกำหนดลมหายใจเข้าและหายใจออกชื่อว่าอานาปานัสสติ. สมจริง
ดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า ลมหายใจเข้า
ชื่อว่า อานะ ไม่ใช่ปัสสาสะ, ลมหายใจออก ชื่อว่า ปานะ๑ ไม่ใช่อัสสาสะ,
สติเข้าไปตั้งอยู่ ด้วยอำนาจลมหายใจเข้า สติเข้าไปตั้งอยู่ด้วยอำนาจลมหายใจ-
ออก ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจเข้า ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจออก๒.
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับสติที่กำหนดลมหายใจเข้า
และหายใจออกนั้น ชื่อว่าสมาธิ. ก็เทศนานี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยหัวข้อ คือสมาธิ
หาใช่ด้วยหัวข้อคือสติไม่. เพราะฉะนั้น ในบทว่า อานาปานสฺสติสมาธิ นี้
พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานัสสติ หรือสมาธิใน
อานาปานัสสติชื่อว่า อานาปานัสสติสมาธิ.
บทว่า ถาวโต แปลว่า ให้เกิดขึ้น หรือให้เจริญแล้ว.
บทว่า พหุลีกโต แปลว่า กระทำบ่อย ๆ.
สองบทว่า สนฺโต เจว ปณีโต จ คือ เป็นคุณสงบด้วยนั่นเทียว
เป็นคุณประณีตด้วยทีเดียว. ในบททั้งสองพึงทราบความแน่นอนด้วยเอวศัพท์.
ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า จริงอยู่ อานาปานัสสติ
สมาธินี้ จะเป็นธรรมไม่สงบ หรือไม่ประณีต โดยปริยายอะไร ๆ เหมือน
อสุภกรรมฐานซึ่งเป็นกรรมฐานสงบและประณีต ด้วยอำนาจการแทงตลอด
อย่างเดียว แต่ไม่สงบไม่ประณีตด้วยอำนาจอารมณ์ เพราะมีอารมณ์หยาบและ
เพราะมีอารมณ์ปฏิกูลฉันนั้นหามิได้, อนึ่งแล อานาปานัสสติสมาธินี้ สงบ คือ
ระงับดับสนิท เพราะมีอารมณ์สงบบ้าง เพราะมีองค์คือการแทงตลอดสงบบ้าง
๑. อปานนฺติ ปาลิ. ๒. ขุ. ปฏี. ๓๑/๒๕๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 332
ประณีต คือไม่กระทำให้เสียเกียรติ เพราะมีอารมณ์ประณีตบ้าง เพราะมีองค์
ประณีตบ้าง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า สงบและประณีต.
ก็ในคำว่า อเสจนโก จ สุโข จ วิหาโร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
อานาปานัสสติสมาธินั้น ไม่มีเครื่องรด; เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเยือกเย็น คือ
ไม่มีเครื่องราดไม่เจือปน แผนกหนึ่งต่างหาก ไม่ทั่วไป. อนึ่ง ความสงบ
โดยบริกรรม หรือโดยอุปจารในอานาปานัสสติสมาธินี้ไม่มี. อธิบายว่า เป็น
ธรรมสงบและประณีต โดยสภาพของตนทีเดียว จำเติมแค่เริ่มต้นใฝ่ใจ. แต่
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า อเสจนโก ความว่า ไม่มีเครื่องราด คือ
มีโอชะ มีรสอร่อยโดยสภาพทีเดียว. โดยอรรถดังกล่าวมาอย่างนี้ อานาปา-
นัสสติสมาธินี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เยือกเย็นและอยู่เป็นสุข เพราะเป็นไปเพื่อ
ให้ได้ความสุขทางกายและทางจิต ในขณะที่เข้าถึงแล้ว ๆ.
บทว่า อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน หมายความว่า ที่ยังข่มไม่ได้ ๆ.
บทว่า ปาปเก หมายความว่า เลวทราม.
สองบทว่า อกุสเล ธมฺเม ได้แก่ ธรรมที่เกิดจากความไม่ฉลาด.
สองบทว่า านโส อนฺตรธาเปติ ความว่า ย่อมให้อันตรธานไป
คือข่มไว้ได้โดยฉับพลันทีเดียว.
บทว่า วูปสเมติ ความว่า ย่อมให้สงบไปด้วยดี. อีกอย่างหนึ่ง
อธิบายว่า อานาปานัสสติสมาธินี้ ย่อมถึงความเจริญด้วยอริยมรรคโดยลำดับ
เพราะมีส่วนแห่งการแทงตลอด ย่อมตัดขาดด้วยดี คือย่อมสงบราบคาบได้.
คำว่า เสยฺยถาปิ นี้ เป็นคำแสดงความอุปมา.
หลายบทว่า คิมฺหาน ปจฺฉิเม มาเส ได้แก่ ในเดือนอาสาฬหะ
(เดือน ๘). .
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 333
บทว่า อูหตรโชชลฺล* ความว่า ฝุ่นและละออง ถูกลมพัดฟุ้งขึ้น
เบื้องบน คือ ลอยขึ้นบนอากาศจากพื้นดิน ที่แตกระแหงเพราะกีบโคและ
กระบือเป็นต้นกระทบ ซึ่งแห้งเพราะลมและแดดเผาตลอดกึ่งเดือน.
เมฆซึ่งขึ้นเต็มท้องฟ้าทั้งหมด แล้วให้ฝนตกตลอดกึ่งเดือนทั้งสิ้นใน
ชุณหปักข์แห่งเดือนอาสาฬหะ ชื่อว่าฝนห่าใหญ่ที่ตกในสมัยใช่ฤดูกาล. จริง
อยู่ เมฆนั้น ท่านประสงค์เอาในอธิการนี้ว่า อกาลเมฆ เพราะเกิดขึ้นใน
เวลายังไม่ถึงฤดูฝน.
หลายบทว่า านโส อนฺตรธาเปติ วูปสเมติ ความว่า ฝนห่า
ใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาลนั้น ย่อมพัดเอาฝุ่นและละอองนั้น ๆ ไป ไม่ให้
แลเห็น คือพัดให้จมหายไปในเผ่นดินโดยฉับพลันทีเดียว.
คำว่า เอวเมว โข นี้ เป็นคำเปรียบเทียบข้ออุปไมย. ถัดจากคำว่า
เอวเมว โข นั้นไป มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นแล.
ในคำว่า ถถ ภาวิโต จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติสมาธิ นี้
พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
คำว่า กถ เป็นคำถาม คือความเป็นผู้ใคร่จะยังอานาปานัสสติสมาธิ
ภาวนาให้พิสดาร โดยประการต่าง ๆ.
คำว่า ภาวิโต จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติสมาธิ เป็นคำแสดง
ไขข้อธรรมที่ถูกถาม เพราะความเป็นผู้ใคร่จะยังอานาปานัสสติสมาธินั้นให้
พิสดาร โดยประการต่าง ๆ. แม้ในบททั้งสอง ก็นัยนั่น.
ก็ในคำว่า กถ ภาวิโต จ เป็นต้นนี้ มีความสังเขปดังนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานัสสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้ว ด้วยประการไร
* บาลีเป็น อูหต รโชชลฺล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 334
ด้วยอาการไร ด้วยวิธีไร ? ทำให้มากแล้ว ด้วยประการไร ? จึงเป็นคุณสงบ
ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้
อันตรธานไปโดยฉับพลัน.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยังเนื้อความนั้นให้พิสดาร จึง
ตรัสว่า อธิ ภิกฺขเว เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น ข้อว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ มีความว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุในศาสนานี้. จริงอยู่ อิธศัพท์นี้ในบทว่า ภิกฺขเว นี้
แสดงศาสนาซึ่งเป็นที่อาศัยของบุคคลผู้ให้อานาปานัสสติสมาธิเกิดขึ้นโดย
ประการทั้งปวง และปฏิเสธความไม่เป็นเช่นนั้นแห่งศาสนาอื่น. สมจริง ดัง
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะ (ที่ ๑)
มีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีในธรรมวินัยนี้. สมณะที่ ๓ มีในธรรม
วินัยนี้ สมณะที่ ๔ มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง* ๔. เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ภิกษุในศาสนานี้.
คำว่า อรญฺคโต วา ฯเปฯ สุญฺาตารคโต วา นี้แสดง
การที่ภิกษุนั้นเลือกหาเสนาสนะเหมาะแก่การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ.
เพราะว่า จิตของภิกษุนี้เคยซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเสียนาน
จึงไม่อยากจะก้าวขึ้นสู่อารมณ์ของอานาปานัสสติสมาธิ คอยแต่จะแล่นไปนอก
ทางอย่างเดียว ดุจรถที่เขาเทียมด้วยโคโกงฉะนั้น. เพราะฉะนั้น คนเลี้ยงโค
ต้องการจะฝึกลูกโคโกง ตัวดื่มน้ำนมทั้งหมดของแม่โคโกง เติบโตแล้ว พึง
พรากออกจากแม่โคนม ปักหลักใหญ่ไว้ส่วนหนึ่ง แล้วเอาเชือกผูกไว้ที่หลัก
นั้น, คราวนั้นลูกโคนั้นของเขา ดิ้นรนไปทางโน้นทางนี้ ไม่อาจหนีไปได้
* องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๒๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 335
พึงยืนพิงหรือนอนอิงหลักนั้นนั่นแล ชื่อแม้ฉันใด; ภิกษุแม้รูปนี้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ประสงค์จะฝึกฝนจิตที่ถูกโทษประทุษร้าย ซึ่งเจริญด้วยการดื่มรส
แห่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นมานานแล้ว พึงพรากออกจากอารมณ์มีรูปเป็นตน
แล้วเข้าไปสูป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างเปล่าแล้วพึงเอาเชือกคือสติผูกไว้ที่
หลัก คือลมอัสสาสะและปัสสาสะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของเธอนั้น แม้
จะกวัด แกว่งไปทางโน้นและทางนี้ก็ตาม เมื่อไม่ได้รับอารมณ์ที่เคยชินมาใน
กาลก่อนไม่สามารถจะตัดเชือกคือสติหนีไปได้ ย่อมจดจ่อและแนบสนิทอารมณ์
นั้นแล ด้วยอำนาจอุปจาระและอัปปนา. เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
นรชน เมื่อจะฝึกลูกโค พึงผูกติดไว้
ที่หลัก ฉันใด ภิกษุในศาสนานี้ พึงเอาสติ
ผูกจิตของตนไว้ที่อารมณ์ให้มั่นฉันนั้น.
เสนาสนะนั้น ย่อมเป็นสถานที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ
นั้น ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า คำนี้แสดงการที่
ภิกษุนั้น เลือกหาเสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ. อีกอย่าง
หนึ่ง เพราะอานาปานัสสติกรรมฐานนี้เป็นยอดในประเภทแห่งกรรมฐาน เป็น
ปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณพิเศษ และเป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน ของพระ
พระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก อันพระโยคาวจรไม่
ละชายบ้านที่อื้ออึงด้วยเสียงสตรี บุรุษ ช้าง และม้าเป็นต้น จะเจริญให้ถึง
พร้อม ทำไม่ได้ง่าย เพราะเสียงเป็นข้าศึกต่อฌาน; แต่ในป่าซึ่งไม่ใช่บ้าน
พระโยคาวจรกำหนดกรรมฐานนี้แล้ว ยังจตุตถฌานอันมีลมหายใจเข้าและหาย
ใจออก เป็นอารมณ์ให้เกิดแล้ว ทำฌานนั้นนั่นเองให้เป็นบาทพิจารณาสังขาร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 336
ทั้งหลายได้บรรลุพระอรหัตอันเป็นผลที่เลิศจะทำได้ง่าย; เพราะเหตุนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะที่เหมาะแก่ภิกษุนั้น. จึงตรัสพระ-
พุทธพจน์มีอาทิว่า อรญฺคโต วา ดังนี้. ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นประดุจอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณรู้ชัยภูมิพื้นที่. อาจารย์ผู้ทรงวิทยารู้พื้นที่
เห็นพื้นที่ที่จะสร้างนครแล้วพิจารณาโดยตระหนักแล้วชี้ว่า ขอพระองค์จงโปรด
สร้างพระนครในที่นี้ เมื่อนครสำเร็จแล้วโดยสวัสดี ย่อมได้มหาสักการะแต่
ราชตระกูล ฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงพิจารณาเสนาสนะอันสมควร
แก่พระโยคาวจรแล้วย่อมทรงชี้ว่า กรรมฐาน อันกุลบุตรผู้มีความเพียรพึง
พากเพียรพยายามในที่นี้, แต่นั้น เมื่อพระโยคาวจรประกอบกรรมฐานอยู่ใน
เสนาสนะนั้นแล้ว บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ ย่อมได้มหาสักการะว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้านั้นเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้แล ฉันนั้นเหมือนกัน. ส่วนภิกษุนี้
ท่านว่า เช่นกับพยัคฆ์, เหมือนอย่างพญาเสือใหญ่ แอบอาศัยพงหญ้า ชัฏป่า
หรือเทือกเขา อยู่ในไพร ย่อมจับหมู่มฤคมีกระบือป่า ชะมด (หรือกวาง)
และสุกรเป็นต้น (เป็นภักษา) ฉันใด ภิกษุพากเพียรกรรมฐานอยู่ในเสนาสนะ
มีป่าเป็นต้นนี้ ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งโสดาปัตติมรรค
สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรคและอริยผล โดยลำดับ. เพราะ
ฉะนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า
ขึ้นชื่อว่า พยัคฆ์ ย่อมแอบจับหมู่
มฤค (เป็นภักษา) แม้ฉันใด พุทธบุตร
ผู้ประกอบความเพียรบำเพ็ญวิปัสสนานี้ ก็
เหมือนกัน เข้าไปสู่ป่าแล้ว ย่อมยืดไว้ได้
ซึ่งผลอันอุดม.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 337
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอรัญญเสนาสนะ
อันเป็นภูมิควรแก่การประกอบเชาวนปัญญา เพื่อความเจริญก้าวหน้า แก่
พระโยคาวจรนั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า อรญฺคโต วา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺคโต วา ความว่า ไปสู่ป่า
อันสะดวกแก่ความสงัดแห่งใดแห่งหนึ่ง ในบรรดาป่าซึ่งมีลักษณะที่กล่าวไว้
อย่างนี้ว่า. ที่ชื่อว่าป่า ได้แก่ สถานที่ภายนอกจากเสาเขื่อนออกไป นั่นทั้งหมด
ชื่อว่าป่า๑ และว่า เสนาสนะที่สุดไกลประมาณ ๕๐๐ ชั่วธนู ชื่อว่าเสนาสนะ
ป่า.๒
บทว่า รุกฺขมูลคโต วา ความว่า ไปสู่ที่ใกล้ต้นไม้.
บทว่า สุญฺาคารคโต วา ความว่า ไปสู่โอกาสที่สงัด ซึ่งว่าง
เปล่า. แต่ในอธิการนี้ แม้ภิกษุจะเว้นป่าและโคนต้นไม้เสีย ไปยังเสนาสนะ
๗ อย่าง ที่เหลือ ก็ควรเรียกได้ว่า ไปสู่เรือนว่างเปล่า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงชี้เสนาสนะอันสมควรแก่การเจริญอานา-
ปานัสสติ ซึ่งเหมาะแก่ฤดูทั้ง ๓ และเหมาะแก่ธาตุและจริยาแก่ภิกษุนั้น
อย่างนั้นแล้ว เมื่อจะทรงชี้อิริยาบถที่สงบ ซึ่งเป็นฝ่ายแห่งความไม่ท้อแท้และ
ไม่ฟุ้งซ่าน จึงตรัสว่า นิสีทติ ดังนี้. ภายหลังเมื่อจะทรงแสดงภาวะแห่งการ
นั่ง เป็นของมั่นคง ข้อที่ลมอัสสาสะ ปัสสาสะเป็นไปสะดวก และอุบายเครื่อง
กำหนดจับอารมณ์แก่เธอนั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า ปลฺลงก อาภุชิตฺ
วา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺก ได้แก่ การนั่งพับชาทั้ง ๒ โดย
รอบ (คือนั่งขัดสมาธิ).
๑. ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๖๔. อภิ. วิ. ๓๕/๓๓๘. ๒. วิ. มหา. ๒/๑๔๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 338
บทว่า อาภุชิตฺวา แปลว่า คู้เข้าไว้.
ข้อว่า อุชุ กาย ปณิธาย มีความว่า ตั้งร่างกายส่วนบนให้ตรง
คือให้กระดูกสันหลัง ๑๘ ท่อน จดที่สุดต่อที่สุด. จริงอยู่ เมื่อภิกษุนั่งด้วย
อาการอย่างนั้นแล้ว หนัง เนื้อ และเส้นเอ็น ย่อมไม่หงิกงอ. เวลานั้น
เวทนาทั้งหลายที่จะพึงเกิดขึ้นแก่เธอในขณะ ๆ เพราะความหงิกงอแห่งหนัง
เนื้อและเอ็นเหล่านั้นเป็นปัจจัยนั่นแล ย่อมไม่เกิดขึ้น. เมื่อเวทนาเหล่านั้น
ไม่เกิดขึ้น จิตก็มีอารมณ์เป็นอันเดียว, กรรมฐานไม่ตกไป ย่อมเข้าถึงความ
เจริญรุ่งเรือง.
ข้อว่า ปริมุข สตึ อุปฏฺเปตฺวา มีความว่า ตั้งสติมุ่งหน้าต่อ
กรรมฐาน. อีกอย่างหนึ่ง ก็ในคำว่า ปริมุข สตึ อุปฏฺเปตฺวา นี้ พึง
เห็นใจความตามนัยดังที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฎิสัมภิทานั้นแล
อย่างนี้ว่า ศัพท์ว่า ปริ มีความกำหนดถือเอาเป็นอรรถ, ศัพท์ว่า มุข มี
ความนำออกเป็นอรรถ, ศัพท์ว่า สติ มีความเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ; เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า.* ในบทว่า ปริมุข สตึ นั้น
มีความย่อดังนี้ว่า ทำสติเป็นเครื่องนำออกที่คนกำหนดถือเอาแล้ว.
[อรรถาธิบายวิธีอบรมสติ ๓๒ อย่าง]
ข้อว่า โส สโตว อสฺสสติ มีความว่า ภิกษุนั้นนั่งอย่างนั้น
และตั้งสติไว้อย่างนั้นแล้ว เมื่อไม่ละสตินั้น ชื่อว่า มีสติหายใจเข้า ชื่อว่า
มีสติหายใจออก. มีคำอธิบายว่า เป็นผู้อบรมสติ.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอาการเป็นเครื่องอบรม
สติเหล่านั้นจึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ทีฆ วา อสฺสสนฺโต เป็นต้น. สมจริง
* ขุ. ปฏิ. ๓๑/ ๒๖๔๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 339
ดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ ในวิภังค์เฉพาะแห่งสองคำนี้ว่า
โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ในปฏิสัมภิทาว่า ภิกษุ ย่อมเป็น
ผู้อบรมสติ โดยอาการ ๓๒ อย่าง คือ สติของภิกษุผู้รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว
ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว ย่อมตั้งมั่น, เธอชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติ
ด้วยสตินั่น ด้วยญาณนั้น, สติของภิกษุผู้รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ย่อมตั้งมั่น, เธอชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น ฯ ล ฯ สติของภิกษุผู้รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า . . . ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก ย่อมตั้งมั่น, เธอชื่อว่าเป็นผู้
อบรมสติด้วยสตินั้นด้วยญาณนั้น.๑
[มติลมหายใจเข้าและออกตามอรรถกถาวินัยและพระสูตร]
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ทีฆ วา อสฺสสนฺโต ได้แก่
เมื่อให้ลมหายใจเข้ายาวเป็นไปอยู่. ในอรรถกถาวินัย ท่านกล่าวไว้ว่า ลมที่
ออกไปข้างนอก ชื่อว่า อัสสาสะ คือลมหายใจออก๒ ลมที่เข้าไปข้างใน ชื่อว่า
ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า.๓ ส่วนในอรรถกถาแห่งพระสูตรทั้งหลาย มาโดย
กลับลำดับกัน.
๑. ขุ. ปฎิ. ๓๑ /๒๖๔-๕. ๒.-๓. ศัพท์ว่า อสฺสาโส และ ปสฺสาโส หรือ อสฺสสติ และ
ปสฺสสติ ทั้ง ๒ ศัพท์นี้ บางท่าน แปล อสฺสาโส หรือ อสฺสสติ ว่า หายใจออก ปาสฺสาโส
หรือ ปสฺสสติ ว่า หายใจเข้า, ส่วนในหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่ต้นมาได้แปล อสฺสาโส หรือ อสฺสสติ
ว่า หายใจเข้า, ปสฺสาโส หรือ ปสฺสสติ ว่า หายใจออก, ที่แปลเช่นนี้ ก็เพราะอาศัยนัยอรรถกถา
แห่งพระสูตรเป็นหลัก เช่นอรรถกถามหาหัตถิปโทปมสูตรในปัญจสูทนี ทุติยภาคหน้า ๓๐๘
เป็นต้น ซึ่งท่านอธิบายไว้ดังนี้ คือ:- อสฺสาโสติ อนฺโต ปวิสนนาสิกวาโต ลมที่จมูกเข้าไป
ข้างใน ชื่อว่า อัสสาสะ คือลมหายใจเข้า, ปสฺสาโสติ พหิ นิกฺขมนนาสิกวาโต ลมที่ออกไป
ภายนอก ชื่อว่า ปัสสาสะ คือลมหายใจออก, ส่วนในอรรถกถาวินัย ท่านก็อธิบายไว้กลับกัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 340
บรรดาลมทั้งสองนั้น ในเวลาที่สัตว์ผู้นอนอยู่ในครรภ์แม้ทุกชนิดออก
จากท้องแม่ ลมภายในครรภ์ย่อมออกไปข้างนอกก่อน ภายหลัง ลมข้างนอก
พาเอาละอองที่ละเอียดเข้าไปข้างใน กระทบเพดานแล้วดับไป. พึงทราบลม
อัสสาสะและปัสสาสะอย่างนั้นก่อน. ส่วนความที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
เหล่านั้น มีระยะและสั้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่งกาล. เหมือนอย่างว่า น้ำ
หรือทราย แผ่ออกไปตลอดระยะ คือโอกาสทั้งอยู่ เขาเรียกว่า น้ำยาว ทราย
ยาว น้ำสั้น ทรายสั้น ฉันใด ลมหายใจเข้าและหายใจออกแม้ที่ละเอียดจนยิบ
ก็ฉันนั้น ยังประเทศอันยาวในตัวช้างและตัวงู กล่าวคืออัตภาพของช้างและงู
เหล่านั้น ให้ค่อย ๆ เต็มแล้วก็ค่อย ๆ ออกไป; เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า
ยาว. ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ยังประเทศอันสั้น กล่าวคือ อัตภาพ
แห่งสุนัขและกระต่ายเป็นต้น ให้เต็มเร็วแล้วก็ออกเร็วเหมือนกัน; เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า สั้น. แต่บรรดาหมู่มนุษย์ มนุษย์บางจำพวกหายใจเข้าและ
หายใจออกยาวด้วยอำนาจระยะกาล ดุจช้างและงูเป็นต้น บางจำพวกหายใจเข้า
และหายใจออกสั้น ดุจสุนัขและกระต่ายเป็นต้น; เพราะฉะนั้นลมหายใจเข้า
และหายใจออกเหล่านั้น ของมนุษย์เหล่านั้น ด้วยอำนาจกาล ที่ออกและเข้าอยู่
กินเวลานาน พึงทราบว่า ยาว ที่ออกและเข้าอยู่ชั่วเวลาน้อย พึงทราบ
ว่าสั้น.
ดังที่ปรากฏอยู่ข้างบนนี้ แม้ในปกรณ์วิสุทธิมรรค ภาค ๒ หน้า ๑๖๕ ท่านก็ชักออถกถามหาหัตถิป
โทปมสูตนั่นเองมาอธิบายไว้. เรื่อง ศัพท์ว่า อัสสาสะ และ ปัสสาสะ นี้ ความจริงท่านผู้
แต่งอรรถกถาทั้งพระวินัยและพระสูตรก็คนเดียวกัน คือท่านพระพุทธโฆสา และก็ค้านกันอยู่
ทั้งสองแห่ง คืออรรถกถาพระวินัย และพระสูตร ถึงในอรรถกถาอธิบายไว้เหมือนพระสูตร ขอ
ได้พิจารณาดูเถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 341
[ผู้เจริญอานาปานัสสติกรรมฐานย่อมได้ความปราโมทย์เป็นต้น]
ในลมหายใจเข้าและออกนั้น ภิกษุนั้นเมื่อหายใจเข้าและหายใจออก-
ยาว โดยอาการ ๙ อย่าง ย่อมรู้ชัดว่า เราหายใจเข้าหายใจออกยาว. ก็เมื่อ
เธอรู้ชัดอยู่อย่างนี้ พึงทราบว่า การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ย่อมสำเร็จ
ด้วยอาการอันหนึ่ง เหมือนอย่างที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้
ในปฏิสัมภิทาว่า ถามว่าภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว๑
ฯลฯ เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น อย่างไร๒ ?
แก้ว่า ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ย่อมหายใจออกในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจเข้าและหาย
ใจออกยาว ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับว่ายาว ฉันทะย่อม
เกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจเข้าและหายใจออกยาว หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง
ในขณะที่นับว่ายาว ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ
ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วย
อำนาจฉันทะ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจเข้าและหายใจออก
ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง ใน
ขณะที่นับว่ายาว ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ผู้เมื่อหายใจเข้าและหาย
ใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง
ในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่า
นั้น ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับว่ายาว ฯ ล ฯ เมื่อ
หายใจเข้าและหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ย่อม
หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง ในขณะที่นับว่ายาว จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจ
๑. ขุ. ปฏิ. ๓๑/๖๕ ๒. ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๗๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 342
เข้าและหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความปราโมทย์ หายใจเข้า
บ้าง หายใจออกบ้าง ในขณะที่นับว่ายาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจเข้าและ
หายใจออกยาว อุเบกขาย่อมดำรงอยู่. กายคือลมหายใจเข้าและหายใจออกยาว
ด้วยอาการ ๙ อย่างเหล่านั้นย่อมปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่
ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย; ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วย
สตินั้น ด้วยญาณนั้น; เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า การเจริญสติ-
ปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย* ดังนี้.
แม้ในบทที่กำหนดด้วยลมสั้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนความแปลกกัน
มีดังต่อไปนี้:- ในบทที่กำหนดาด้วยลมยาวนั่น ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อหายใจ
เข้ายาว ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว ดังนี้ ฉันใด ในบทที่กำหนด
ด้วยลมสั้นนี้ ก็มีคำที่มาในบาลีว่า เมื่อหายใจเข้าสั้น ย่อมหายใจเข้าในขณะ
นับว่าเล็กน้อย ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น พึงประกอบด้วยสามารถแห่งบทที่
กำหนดว่าสั้นนั้น จนถึงคำว่า เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า การเจริญสติ-
ปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นกายในกาย. ภิกษุนี้ เมื่อรู้ชัดลมหายใจเข้าและ
หายใจออกโดยอาการ ๙ อย่างเหล่านี้ ด้วยอำนาจกาลยาวและด้วยอำนาจกาล
นิดหน่อยดังพรรณนามาฉะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ย่อม
รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว ฯ ล ฯ หรือเมื่อหายใจออกสั้น ย่อมรู้ชัดว่า เราหาย
ใจออกสั้น ดังนี้. อนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นรู้อยู่อย่างนั้น.
วรรณะ (คืออาการ) ทั้ง ๔ คือ ลม
ทายใจเข้ายาวและสั้น แม้ลมหายใจออกก็
เช่นนั้น ย่อมเป็นไปเฉพาะที่ปลายจมูกของ
ภิกษุ ฉะนี้แล.
* ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๖๕ - ๒๗๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 343
ข้อว่า สพฺพกายปฏิสเวที อสฺสสิสฺสามีติ ฯ เป ฯ ปสฺสสิสฺ-
สามีติ สิกฺขติ มีอธิบายว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำเบื้องต้น ท่าม
กลาง และที่สุด แห่งกองลมหายใจเข้าทั้งสิ้น ให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหาย
ใจเข้า (และ) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำเบื้องต้นท่ามกลาง และที่สุด แห่ง
กองลมหายใจออกทั้งสิ้นให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหายใจออก. เมื่อเธอทำให้
รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏด้วยอาการอย่างนั้น ย่อมหายใจเข้าและหายใจออก ด้วย
จิตที่สัมปยุตด้วยญาณ; เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า เรา
จักหายใจเข้า จักหายใจออก.
จริงอยู่ เบื้องต้นในกองลมหายใจเข้าหรือในกองลมหายใจออกที่แล่น
ไปอย่างละเอียด* ย่อมปรากฏแก่ภิกษุรูปหนึ่ง แต่ท่ามกลางและที่สุดไม่ปรากฏ
เธอสามารถกำหนดได้เฉพาะเบื้องต้น เท่านั้น ย่อมลำบากในท่ามกลางและที่สุด.
อีกรูปหนึ่ง ย่อมปรากฏแต่ทามกลาง เบื้องต้น และที่สุด ไม่ปรากฏ เธอ
สามารถกำหนดได้เฉพาะท่ามกลางเท่านั้น ย่อมลำบากในเบื้องต้นและที่สุด อีก
รูปหนึ่ง ย่อมปรากฏแต่ที่สุด เบื้องต้นและท่ามกลางไม่ปรากฏ เธอสามารถ
กำหนดได้เฉพาะที่สุดเท่านั้น ย่อมลำบากในเบื้องต้นและท่ามกลาง. อีกรูปหนึ่ง
ย่อมปรากฏได้แม้ทั้งหมด เธอสามารถกำหนดได้แม้ทั้งหมด ย่อมไม่ลำบากใน
ส่วนไหน ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงชี้ว่า อันภิกษุพึงเป็นผู้เช่นนั้น
จึงตรัสว่า ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหาย
ใจเข้า; ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้ง ปวงหายใจออก
ดังนี้.
* วิสุทธิมรรค. ๒/๖๑ เป็น จุณฺณวิสเฎ, สารัตถทีปนี ๒/๒๙๕ แก้ว่า จุณฺณวิคเตติ อเนก
กลาปตาย จุณฺณวิจณฺเณภาเวน วิสเฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 344
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิกฺขติ ความว่า ย่อมพากเพียร คือ
พยายามอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า สิกฺขติ นี้ พึงเห็นใจความอย่างนี้
ว่า ความสำรวมของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้น นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา. ในอธิการว่าด้วย
อานาปานัสสติภาวนานี้ สมาธิของเธอ ผู้เป็นอย่างนั้น นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา
ปัญญาของเธอผู้เป็นอย่างนั้น นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา เธอย่อมสำเหนียก
คือย่อมซ่องเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งสิกขา ๓ อย่าง ดังพรรณนามานี้
ด้วยสตินั้น ด้วยมนสิการนั้น ในอารมณ์นั้น. เพราะว่า โดยนัยก่อน บรรดา
สองนัยนั้น ภิกษุพึงหายใจเข้าและหายใจออกอย่างเดียวเท่านั้นไม่ต้องทำกิจ
อะไร ๆ อื่น แต่จำเดิมแต่เวลาที่รู้ชัดลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ไป ควร
ทำความพากเพียรในอาการที่ให้ญาณเกิดขึ้นเป็นต้น; เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา
พึงทราบว่า ในนัยก่อนนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบาลีไว้ด้วยอำนาจเป็น
วัตตมานาวิภัตติว่า ย่อมรู้ชัดว่า เราหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่า เราหายใจ
ออก เท่านั้น แล้วยกพระบาลีขึ้นด้วยอำนาจคำที่เป็นอนาคตกาล โดยนัยมี
อาทิว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้ง ซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจ
เข้า ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงอาการที่ให้ญาณเกิดขึ้นเป็นต้นซึ่งควรทำจำเดิมแต่
กาลนี้ไป.
[ภิกษุกำหนดกรรมฐานแล้ว ถายสังขารจึงสงบ]
ข้อว่า ปสฺสมฺภย กายสงฺขาร อสฺสสิสฺสามีติ ฯ เป ฯ ปสฺส-
สิสฺสามีติ สิกฺขติ ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้สงบคือ
ระงับ คับ ได้แก่ให้กายสังขารที่หยาบสงบไป หายใจเข้าหายใจออก. ในคำ
ว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขารที่หยาบ นั้นพึงทราบความที่ลมเป็นของหยาบและ
ละเอียด และความระงับอย่างนี้ คือ :- ก็ในกาลก่อนคือในเวลาที่ภิกษุนี้ ยัง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
ไม่ได้กำหนดกรรมฐาน กายและจิต ยังมีความกระวนกระวาย ยังหยาบ* เมื่อ
เมื่อกายและจิตซึ่งเป็นของหยาบ ยังไม่สงบ แม้ลมหายใจเข้าและหายใจออก ก็
เป็นของหยาบ คือเป็นไปเกินกำลัง จมูกไม่พอหายใจ ต้องยืนหายใจเข้าบ้าง
หายใจออกบ้างทางปาก ต่อเมื่อใด กายก็ดี จิตก็ดี เป็นของอันเธอกำหนด
แล้ว เมื่อนั้น กายและจิตนั้นจึงเป็นของสงบระงับ. ครั้นเมื่อกายและจิตนั้น
สงบแล้ว ลมหายใจเข้าและหายใจออกย่อมเป็นไปละเอียด คือเป็นสภาพถึง
อาการที่จะต้องค้นหาว่า มีอยู่หรือไม่หนอ. เปรียบเหมือนลมหายใจเข้าและหาย
ใจออก ของบุรุษผู้วิ่งลงจากภูเขา หรือผู้ปลงของหนักลงจากศีรษะแล้วยืนอยู่
ย่อมเป็นของหยาบ จมูกไม่พอหายใจ ต้องยืนหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง
ทางปาก ต่อเมื่อใด เขาบรรเทาความกระวนกระวายนั้นเสีย อาบและดื่มน้ำ
แล้ว เอาผ้าเปียกคลุมที่หน้าอกนอนพักที่ร่มไม้เย็น ๆ; เมื่อนั้น ลมหายใจ
เข้าและหายใจออกนั้นของเขา จึงเป็นของละเอียด คือถึงอาการที่จะต้องค้นหา
ว่ามีอยู่หรือไม่หนอ แม้ฉันใด ในกาลก่อน คือในเวลาที่ภิกษุนี้ยังไม่ได้
กำหนดกรรมฐาน กายและจิต ฯ ล ฯ คือถึงอาการที่ต้องค้นหาว่า มีอยู่หรือไม่
หนอ ฉันนั้นเหมือนกัน. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? เพราะความจริงเป็นอย่าง
นั้น ในกาลก่อน คือในเวลาที่เธอยังมิได้กำหนดกรรมฐาน การคำนึง การ
ประมวลมา การมนสิการ และการพิจารณาว่า เราจะระงับกายสังขารส่วน
หยาบ ๆ ดังนี้ หามีแก่เธอนั้นไม่, แต่ในเวลาที่เธอกำหนดแล้ว จึงมีได้.
เพราะเหตุนั้นในเวลาที่กำหนดกรรมฐาน กายสังขารของเธอนั้น จึงเป็นของ
ละเอียดกว่าเวลาที่ยังไม่ได้กำหนด. เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย
จึงกล่าวไว้ว่า
* ศัพท์ว่า โอฬาริกน ให้แก้เป็น โอฬาริกา เป็นบทคุณของกายและจิต. วิสุทธิมรรก ภาค
๒/๖๒ แก้เป็นอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 346
เมื่อกายและจิต ยังระล่ำระสายอยู่
กายสังขารย่อมเป็นไปเกินประมาณ เมื่อกาย
และจิต ไม่ระส่ำระสาย กายสังขารย่อมเป็น
ไปละเอียด.
[กายสังขารในฌานชั้นสูงขึ้นไปย่อมละเอียดไปตามลำดับ]
กายสังขารแม้ในเวลากำหนดก็ยังหยาบ ในอุปจารแห่งปฐมฌาน
ละเอียด. ถึงแม้ในอุปจารแห่งปฐมฌานนั้น ก็ยังหยาบ ในปฐมฌานละเอียด.
ในปฐมฌานและในอุปจารแห่งทุติยฌานยังหยาบ ในทุติยฌานละเอียด. ใน
ทุติยฌานและในอุปจารแห่งตติยฌานก็ยังหยาบ ในตติยฌานละเอียด. ใน
ตติยฌานและอุปจารแห่งจตุตถฌานก็ยังหยาบ ในจตุตถฌานละเอียดยิ่งนัก ถึง
ความไม่เป็นไปทีเดียว. คำนี้เป็นมติของพระอาจารย์ผู้กล่าวทีฆนิกาย และ
สังยุตตนิกายก่อน. ส่วนพระอาจารย์ทั้งหลายผู้กล่าวมัชฌิมนิกาย ย่อมปรารถนา
ความละเอียดกว่ากัน แม้ในอุปจารแห่งฌานชั้นสูง ๆ ขึ้นไปกว่าฌานชั้นต่ำ ๆ
อย่างนี้ คือกายสังขารที่เป็นไปในปฐมฌาน ยังเป็นของหยาบ โนอุปจารแห่ง
ทุติยฌาน จึงจัดว่าละเอียด ดังนี้เป็นต้น. ก็ตามมติของพระอาจารย์ทั้งหมด
นั้นแล ควรทราบดังนี้ว่า กายสังขารที่เป็นไปในเวลาที่ยังมิได้กำหนด (กรรม-
ฐาน) ย่อมระงับไปในเวลาที่กำหนดแล้ว กายสังขารที่เป็นไปในเวลาที่ได้
กำหนด ย่อมระงับไปในอุปจารแห่งปฐมฌาม ฯ ล ฯ กายสังขารทีเป็นไปใน
อุปจารแห่งจตุตถฌาน ย่อมระงับไปในจตุตถฌาน. ในสมถะมีนัยเท่านี้ก่อน.
ส่วนในวิปัสสนา พึงทราบนัยดังนี้:- กายสังขารที่เป็นไปในเมื่อยัง
มิได้กำหนด ยังหยาบ ในการกำหนดมหาภูตรูปละเอียด แม้การกำหนดมหา-
ภูตรูปนั้น ก็ยังหยาบ ในการกำหนดอุปาทายรูปละเอียด แม้การกำหนดอุปา-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
ทายรูปนั้น ก็ยังหยาบ ในการกำหนดรูปทั้งสิ้นละเอียด แม้การกำหนดรูปทั้ง
สิ้นนั้น ก็ยังหยาบ, ในการกำหนดอรูปละเอียด, แม้การกำหนดอรูปนั้น ก็
ยังหยาบ, ในการกำหนดรูปและอรูป ละเอียด แม้การกำหนดรูปและอรูปนั้น
ก็ยังหยาบ, ในการกำหนดปัจจัยละเอียด, แม้การกำหนดปัจจัยนั้น ก็ยังหยาบ,
ในการเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยละเอียด, แม้การเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย
นั้น ก็ยังหยาบ, ในวิปัสสนาที่ประกอบด้วยลักษณะและอารมณ์ ละเอียด,
แม้นั้นก็ยังหยาบ ในวิปัสสนาที่มีกำลังเพลา, ในวิปัสสนาที่มีกำลังจึงจัดว่า
ละเอียด. ในวิปัสสนานัยนั้น พึงทราบความสงบไปแห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ
ก่อน ๆ ด้วยลมอัสสาสะและปัสสาสะหลัง ๆ โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล.
ในคำว่า ระงับกายสังขารที่หยาบ นี้ พึงทราบความที่ลมหยาบละเอียดและสงบ
ไป โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้แล.
ส่วนในปฏิสัมภิทา พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวเนื้อความแห่ง
บทนั้น พร้อมกับคำท้วงแลคำแก้ให้กระจ่างอย่างนั้น:-
ภิกษุย่อมสำเหนียกอย่างไร ? ย่อมสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักระงับ
กายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก.
กายสังขารเป็นไฉน ? ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้
เนื่องด้วยกายเป็นกายสังขาร, ภิกษุระงับ คือดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น
สำเหนียกอยู่ ; ลมหายใจออกยาวเป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย
เป็นกายสังขาร, ภิกษุระงับ คือดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น สำเหนียกอยู่ ;
ลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น ลมที่ภิกษุรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า
ลมที่ภิกษุรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้
เนื่องด้วยกายเป็นกายสังขาร ภิกษุระงับ คือดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 348
สำเหนียกอยู่. ความอ่อนไป ความน้อมไป ความเอนไป ความโอนไป
ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลงแห่งกาย เพราะกายสังขาร
เห็นปานใด, ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารเห็นปานนั้นหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารเห็นปานนั้น หายใจออก. ความไม่
อ่อนไป ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว
ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลงแห่งกาย เพราะกายสังขารเห็น
ปานใด, ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมเห็นปานั้น
หายใจเข้า หายใจออก. หากว่าภิกษุสำเหนียกอยู่อย่างนี้ว่า เราจักระงับกาย-
สังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก. เมื่อ
เป็นอย่างนั้น ความได้ลม* (อัสสาสะและปัสสาสะ) ก็ไม่เป็นไป (คือไม่
เกิดขึ้น); ลมอัสสาสะและปัสสาสะ ก็ไม่เป็นไป, อานาปานัสสติก็ไม่เป็นไป,
อานาปานัสสติสมาธิ ก็ไม่เป็นไป, และสมาบัตินั้น บัณฑิตทั้งหลายจะเข้าบ้าง
จะออกบ้าง ก็หาไม่, ถ้าหากว่าภิกษุ สำเหนียกอยู่อย่างนี้ว่า เราจักระงับ
กายสังขารหายใจเข้า หายใจออก. เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลม* (อัสสาสะ
และปัสสาสะ) ย่อมเป็นไป (คือเกิดขึ้น), ลมอัสสาสะและปัสสาสะ ย่อมเป็นไป,
อานาปานัสสติย่อมเป็นไป, อานาปานัสสติสมาธิ ย่อมเป็นไป, และสมาบัตินั้น
บัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าบ้าง ย่อมออกบ้าง. ข้อนั้นเปรียบเหมือนอะไร ?
เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลตีกังสดาล เสียงดัง (เสียงหยาบ) ย่อมกระจายไปก่อน
เพราะกำหนดใส่ใจ จำไว้ด้วยดี ซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง แม้เมื่อเสียงดังดับไปแล้ว;
ต่อมาเสียงละเอียด (เสียงครวญ) ย่อมกระจายไปภายหลัง, เพราะกำหนด
ใส่ใจ จำไว้ด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงครวญ แม้เมื่อเสียงครวญดับไปแล้ว; ต่อ
* วาตปลทฺธิ ความสำเหนียก กำหนดหมายลม.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 349
มาจิตย่อมเป็นไปภายหลัง แม้เพราะมีนิมิตแห่งเสียงครวญเป็นอารมณ์ ข้อนี้
ก็เหมือนกันฉะนั้น ลมหายใจเข้าและหายใจออกที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อน,
เพราะกำหนดใส่ใจจำไว้ด้วยดี ซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจเข้าและหายใจออกที่หยาบ
เมื่อลมหายใจเข้าและหายใจออกที่หยาบ แม้ดับไปแล้ว, ต่อมาลมหายใจเข้า
และหายใจออกที่ละเอียดย่อมเป็นไปภายหลัง เพราะกำหนดใส่ใจ จำไว้ด้วยดี
ซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจเข้าและหายใจออกที่ละเอียด เมื่อลมหายใจเข้าและลม
หายใจออกที่ละเอียดแม้ดับไปแล้ว, ต่อมาจิตไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง
แม้เพราะมีนิมิตแห่งลมหายใจเข้าและหายใจออกที่ละเอียดเป็นอารมณ์. เมื่อ
เป็นอย่างนี้ ความได้ลม (อัสสาสะและปัสสาสะ) ย่อมเป็นไป, ลมอัสสาสะ
และปัสสาสะย่อมเป็นไป, อานาปานัสสติย่อมเป็นไป, อานาปานัสสติสมาธิย่อม
เป็นไป, และสมาบัตินั้น บัณฑิตทั้งหลาย่อมหายใจเข้าบ้าง ย่อมหายใจออก
บ้าง กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขารหายใจเข้าและหายใจออกย่อมปรากฏ,
สติเป็นอนุปัสสนาญาณ, กายย่อมปรากฏ, ไม่ใช่สติ, สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติ
ด้วย, ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เพราะเหตุดังนี้
นั้น ท่านจึงกล่าวว่า การเจริญสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย* ดังนี้.
ในบทว่า ปสฺสมฺภย กายสงฺขาร นี้ มีการพรรณนาตามลำดับบท
แห่งปฐมจตุกกะ ซึ่งตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งกายานุปัสสนาเพียงเท่านี้ ก่อน. แต่
เพราะในอธิการนี้ จตุกกะนี้เท่านั้น ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งกรรมฐานของ
กุลบุตรผู้เริ่มทำ, ส่วนอีก ๓ จตุกกะนอกนี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งเวทนา-
นุปัสสนา และธัมมานุปัสสนา ของกุลบุตรผู้บรรลุฌานแล้วในปฐมจตุกกะนี้;
ฉะนั้น พุทธบุตร ผู้ปรารถนาจะเจริญกรรมฐานนี้ แล้วบรรลุพระอรหัต
* ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๗๘-๒๘๐.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 350
พร้อมกับปฏิสัมภิทา ด้วยวิปัสสนาอันมีอานาปานจตุตถฌานเป็นปทัฏฐาน
ควรทราบกิจที่ตนควรทำก่อนทั้งหมด ตั้งแต่ต้น ในอธิการแห่งอานาปานัสสติ
กรรมฐานนี้แล ด้วยสามารถแห่งกุลบุตรผู้เริ่มทำ.
[กุลบุตรจะเรียนกรรมฐานต้องบำเพ็ญศีลให้บริสุทธิ์ก่อน]
กุลบุตรควรชำระศีล ๔ อย่างให้หมดจดก่อน. ในศีลนั้น มีวิธีชำระ
ให้หมดจด ๓ อย่าง คือ ไม่ต้องอาบัติ ๑ ออกจากอาบัติที่ต้องแล้ว ๑ ไม่
เศร้าหมองด้วยกิเลสทั้งหลาย ๑. จริงอยู่ ภาวนาย่อมสำเร็จแก่กุลบุตรผู้มีศีล
บริสุทธิ์อย่างนั้น. กุลบุตรควรบำเพ็ญแม้ศีลที่ท่านเรียกว่าอภิสมาจาริกศีล ให้
บริบูรณ์ดีเสียก่อน ด้วยอำนาจวัตรเหล่านี้ คือ วัตรที่ลานพระเจดีย์ วัตรที่
ลานต้นโพธิ์ อุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร วัตรที่เรือนไฟ วัตรที่โรงอุโบสถ
ขันธกวัตร ๘๒ มหาวัตร ๑๔. จริงอยู่ กุลบุตรใด พึงกล่าวว่า เรารักษาศีล
อยู่, กรรมด้วยอภิสมาจาริกวัตรจะมีประโยชน์อะไร ? ข้อที่ศีลของกุลบุตรนั้น
จักบริบูรณ์ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้. แต่เมื่ออภิสมาจาริกวัตรบริบูรณ์
ศีลก็จะบริบูรณ์. เมื่อศีลบริบูรณ์ สมาธิย่อมถือเอาห้อง. สมจริงดังพระดำรัส
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่ภิกษุนั้นหนอไม่
บำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลาย
ให้บริบูรณ์ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้* เรื่องนี้ควรให้พิสดาร. เพราะเหตุ
ฉะนั้น กุลบุตรนี้ควรบำเพ็ญแม้วัตร มีเจติยังคณวัตรเป็นต้น ที่ท่านเรียกว่า
อภิสมาจาริวัตร ให้บริบูรณ์ด้วยดีเสียก่อน.
เบื้องหน้าแต่การชำระศีลให้หมดจดนั้น ก็ควรตัดปลิโพธ (ความ
กังวล) อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในบรรดาปลิโพธ ๑๐ อย่างที่พระอาจารย์
ทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
* องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๑๕-๑๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 351
ปลิโพธ (ความกังวล) ๑๐ อย่างนั้น
คือ อาวาส ๑ ตระกูล ๑ ลาภ (คือปัจจัยสี่)
๑ คณะ (คือหมู่) ๑ การงาน (คือการ
ก่อสร้าง) เป็นที่คำรบห้า ๑ อัทธานะ (คือ
เดินทางไกล) ๑ ญูาติ ๑ อาพาธ ๑ คัณฐะ
(คือการเรียนปริยัติ) ๑ อิทธิฤทธิ์ ๑.
กุลบุตรผู้ตัดปลิโพธได้อย่างนั้นแล้ว จึงควรเรียนกรรมฐาน.
[กรรมฐาน ๒ พร้อมทั้งอธิบาย]
กรรมฐานนั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ สัพพัตถกกัมมัฏฐาน (กรรมฐาน
มีประโยชน์ในกุศลธรรมทั้งปวง) ๑ ปาริหาริยกัมมัฏฐาน (กรรมฐานควร
บริหารรักษา) ๑. บรรดากรรมฐาน ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า สัพพัตถกกมมัฏฐาน
ได้แก่ เมตตา (ที่เจริญไป) ในหมู่ภิกษุเป็นต้น และมรณัสสติ (การระลึก
ถึงความตาย). พระอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อสุภสัญญา บ้าง. จริงอยู่ ภิกษุ
ผู้จะเจริญกรรมฐาน ครั้งแรกต้องตัดปลิโพธเสียก่อน แล้วจึงเจริญเมตตาไป
ในหมู่ภิกษุผู้อยู่ในสีมา, ลำดับนั้น พึงเจริญไปในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมา,
ถัดจากนั้นพึงเจริญไปในอิสรชนในโคจรคาม, ต่อจากนั้นพึงเจริญไปในเหล่า
สรรพสัตว์กระทั่งถึงขาวบานในโคจรคามนั้น. แท้จริง ภิกษุนั้น ทำพวกชน
ผู้อยู่ร่วมกันให้เกิดมีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในหมู่ภิกษุ. เวลานั้น เธอจะ
มีความอยู่เป็นสุข. เธอย่อมเป็นผู้อันเหล่าเทวดาผู้มีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตา
ในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมาจัดการอารักขาไว้เป็นอย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบ
ธรรม. ทั้งเป็นผู้อันอิสรชนทั้งหลาย ผู้มีจิตสันดานอ่อนโยน เพราะเมตตา
ในอิสรชนในโคจรคาม จัดรักษาระแวดระวังไว้อย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 352
ธรรม. และเป็นผู้อันชาวบ้านเหล่านั้นผู้มีจิตถูกอบรมให้เลื่อมใส เพราะเมตตา
ในพวกชาวบ้านในโคจรคามนั้น ไม่ดูหมิ่นเที่ยวไป. เป็นผู้เที่ยวไปไม่ถูก
อะไร ๆ กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน เพราะเมตตาในเหล่าสรรพสัตว์. อนึ่ง
เธอเมื่อคิดว่า เราจะต้องตายแน่แท้ ด้วยมรณัสสติ ละการแสวงหาที่ไม่สมควร
เสีย เป็นผู้มีความสลดใจเจริญสูงขึ้นเป็นลำดับ ย่อมเป็นผู้มีความประพฤติไม่
ย่อหย่อน. ตัณหาย่อมไม่เกิดขึ้น แม้ในอารมณ์ที่เป็นทิพย์ เพราะอสุภสัญญา.
เพราะเหตุนั้น คุณธรรมทั้ง ๓ (คือ เมตตา ๑ มรณัสสติ ๑ อสุภสัญญา ๑)
นั้น ของภิกษุนั้น ท่านเรียกว่า สัพพัตถกกัมมัฏฐาน เพราะทำอธิบายว่า
เป็นกรรมฐานอันกุลบุตรพึงปรารถนา คือ พึงต้องการในที่ทุกสถาน เพราะ
เป็นธรรมมีอุปการะมาก และเพราะความเป็นปทัฏฐาน แห่งการหมั่นประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งความเพียร ตามที่ประสงค์ไป โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็บรรดาอารมณ์ ๓๘ ประการ กรรมฐานใด ที่คล้อยตามจริตของ
กุลบุตรใด กรรมฐานนั้น ท่านเรียกว่า ปารหาริยกรรมฐาน เพราะเป็น
กรรมฐานที่กุลบุตรนั้น ควรบริหารไว้เป็นนิตย์ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นเอง
แต่ในตติยปาราชิกนี้ อานาปานกรรมฐานนี้แล ท่านเรียกว่า ปาริหาริย-
กรรมฐาน. ในอธิการว่าด้วยอานาปานกัมมัฏฐานนี้ มีความสังเขปเท่านี้. ส่วน
ความพิสดารนักศึกษาผู้ต้องการกถาว่าด้วยการชำระศีลให้หมดจด และกถาว่า
ด้วยการตัดปลิโพธ พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.
[ควรเรียนกรรมฐานในสำนักพุทธโอรสกระทั่งถึงท่านผู้ได้ฌาน]
อนึ่ง กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์ และตัดปลิโพธได้แล้วอย่างนั้น เมื่อจะ
เรียนกรรมฐานนี้ ควรเรียนเอาในสำนักพุทธบุตร ผู้ให้จตุตถฌานเกิดขึ้นด้วย
กรรมฐานนี้แล แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์. เมื่อไม่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 353
ได้พระขีณาสพนั้น ควรเรียนเอาในสำนักพระอนาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระ-
อนาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระสกทาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระสกทาคามี
นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระโสดาบัน, เมื่อไม่ได้แม้พระโสดาบันนั้น ก็
ควรเรียนเอาในสำนักของท่านผู้ได้จตุตถฌาน ซึ่งมีอานาปานะเป็นอารมณ์,
เมื่อไม่ได้ท่านผู้ได้จตุตถฌานแม้นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของพระวินิจ-
ฉยาจารย์ ผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในบาลีและอรรถกถา. จริงอยู่ พระอริยบุคคล
ทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น.
ส่วนพระวินิจฉยาจารย์นี้เป็นผู้ไม่เลอะเลือน กำหนดอารมณ์เป็นที่สบายและ
ไม่สบาย ในอารมณ์ทั้งปวงแล้วจึงบอกให้ เหมือนผู้นำไปสู่ทางช้างใหญ่ ใน
ป่าที่รกชัฏฉะนั้น.
[กรรมฐานมีสนธิคือที่ต่อ ๕ อย่าง]
ในอธิการว่าด้วยการเรียนกรรมฐานนั้น มีอนุบุพพีกถาดังต่อไปนี้:-
ภิกษุนั้นควรเป็นผู้มีความพระพฤติเบา สมบูรณ์ด้วยวินัยและมรรยาทเข้าไปหา
อาจารย์ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว พึงเรียนกรรมฐาน มีสนธิ ๕ ในสำนักของ
อาจารย์นั้น ผู้มีจิตอันตนให้ยินดี ด้วยวัตรและข้อปฏิบัติ. ในคำว่า กรรมฐาน
มีสนธิ ๕ นั้น สนธิมี ๕ อย่างเหล่านี้ คือ อุคคหะ การเรียน ๑ ปริปุจฉา
การสอบถาม ๑ อุปัฏฐานะ ความปรากฏ ๑ อัปปนา ความแน่นแฟ้น ๑
ลักษณะ ความกำหนดหมาย ๑.
ในอุคคหะเป็นต้นนั้น การเรียนกรรมฐาน ชื่อว่า อุคคหะ. การ
สอบถามกรรมฐาน ชื่อว่า ปริปุจฉา. ความปรากฏแห่งกรรมฐาน ชื่อว่า
อุปัฏฐานะ. ความแน่วแน่แห่งกรรมฐาน ชื่อว่า อัปปนา. ลักษณะแห่ง
กรรมฐาน ชื่อว่า ลักษณะ. มีคำอธิบายว่า ความใคร่ครวญแห่งสภาพกรรม-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 354
ฐานว่า กรรมฐานนี้ มีลักษณะอย่างนั้น. ภิกษุเมื่อเรียนกรรมฐาน ซึ่งมีสนธิ
๕ อย่างนี้ แม้ตนเองก็ไม่ลำบาก ทั้งไม่ต้องรบกวนอาจารย์ให้ลำบาก. เพราะ
ฉะนั้น ควรเรียนอาจารย์ให้บอกแต่น้อย สาธยายตลอดเวลาเป็นอันมาก ครั้น
เรียนกรรมฐาน ซึ่งมีสนธิ ๕ อย่างนั้นแล้ว ถ้าในอาวาสนั้น มีเสนาสนะเป็น
ต้นเป็นที่สบายไซร้ ควรอยู่ในอาวาสนั้นนั่นแล ถ้าในอาวาสนั้น ไม่มีเสนาสนะ
เป็นที่สบายไซร้ ควรบอกลาอาจารย์ ถ้าเป็นผู้มีปัญญาอ่อน ควรไปสิ้นระยะ-
โยชน์หนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเป็นผู้มีปัญญากล้าก็ควรไปแม้ไกล (กว่านั้น) ได้
แล้วเข้าไปยังเสนาสนะที่ประกอบด้วยองค์แห่งเสนาสนะ ๕ อย่าง เว้นเสนาสนะ
ที่มีโทษ ๑๘ อย่าง แล้วพักอยู่ในเสนาสนะนั้น ตัดปลิโพธหยุมหยิมเสีย ฉัน-
ภัตตาหารเสร็จแล้ว บรรเทาความเมาอาหาร ทำจิตให้ร่าเริง ด้วยการอนุสรณ์
ถึงคุณพระรัตนตรัย ไม่หลงลืมกรรมฐานแม้บทหนึ่ง แต่ที่เรียนเอาจากอาจารย์
พึงมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐานนี้. ในวิสัยแห่งตติยปาราชิกนี้ มีความ
สังเขปเท่านี้. ส่วนความพิสดาร นักศึกษาผู้ต้องการกถามรรคนี้ พึงถือเอาจาก
ปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.
[วิธีมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐาน ๘ อย่าง]
ก็ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า พึงมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ มี
มนสิการวิธีดังต่อไปนี้:- คือ การนับ การตามผูก การถูกต้อง การหยุด
ไว้ การกำหนด การเปลี่ยนแปลง ความหมดจด และการเห็นธรรมเหล่านั้น
แจ่มแจ้ง.
การนับนั่นแล ชื่อว่า คณนา. การกำหนดตามไปชื่อว่า อนุพันธนา.
ฐานที่ลมถูกต้อง ชื่อว่า ผุสนา. ความแน่วแน่ชื่อว่า ฐปนา. ความเห็น
เห็นแจ้ง ชื่อว่า สัลลักขณา. มรรค ชื่อว่า วิวัฏฏนา. ผลชื่อว่า ปาริสุทธิ.
การพิจารณา ชื่อว่า เตสัญจ ปฏิปัสสนา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 355
[อธิบายวิธีนับลมหายใจเข้าออก]
บรรดามนสิการวิธี มีการนับเป็นต้นนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญนี้
ควรมนสิการกรรมฐานนี้โดยการนับก่อน. และเมื่อจะนับไม่ควรหยุดนับต่ำกว่า
๕ ไม่ควรนับให้เกินกว่า ๑๐ ไม่ควรแสดง (การนับ) ให้ขาดในระหว่าง.
เพราะเมื่อหยุดนับต่ำกว่า ๕ จิตตุปบาทย่อมดิ้นรนในโอกาสดับแคบ ดุจฝูงโค
ที่รวมขังไว้ในคอกที่คับแคบฉะนั้น. เมื่อนับเกินกว่า ๑๐ ไป จิตตุปบาทก็
พะวงยู่ด้วยการนับเท่านั้น. เมื่อแสดง (การนับ) ให้ขาดในระหว่าง จิตย่อม
หวั่นไปว่า กรรมฐานของเราถึงที่สุดหรือไม่หนอ. เพราะฉะนั้น ต้องเว้นโทษ
เหล่านี้เสียแล้ว จึงค่อยนับ. เมื่อจะนับ ครั้งแรก ควรนับโดยวิธีนับช้า ๆ
คือนับอย่างวิธีคนตวงข้าวเปลือก. จริงอยู่ คนตวงข้าวเปลือก ตวงเต็มทะนาน
แล้วบอกว่า ๑ จึงเทลง เมื่อตวงเต็มอีก พบหยากเยื่อบางอย่าง เก็บมันทิ้งเสีย
จึงบอกว่า ๑-๑. ในคำว่า ๒-๒ เป็นต้น ก็นัยนี้. กุลบุตรแม้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน บรรดาลมหายใจเข้าและหายใจออก ส่วนใดปรากฏ พึงจับเอาส่วนนั้น
แล้วพึงกำหนด ลมที่กำลังผ่านไป ๆ ตั้งแต่ต้นว่า ๑-๑ ไป จนถึงว่า ๑.๑๐
เมื่อกุลบุตรนั้นนับอยู่โดยวิธีอย่างนี้ ลมอัสสาสะปัสสาสะ ที่กำลังผ่านออกและ
ผ่านเข้า ย่อมปรากฏ.
ลำดับนั้น กุลบุตรนี้ควรละวิธีนับช้า ๆ คือนับอย่างวิธีคนตวงข้าว
เปลือกนั้นเสีย แล้วพึงนับโดยวิธีเร็ว ๆ คือนับอย่างวิธีนายโคบาล. แท้จริง
นายโคบาลผู้ฉลาด เอาก้อนกรวดใส่พก มือถือเชือกและไม้ตะพูดไปสู่คอกแต่
เช้าตรู่ ตีโคที่หลังแล้ว นั่งอยู่บนเสาลิ่มสลัก นับแม่โคตัวมาถึงประตูแล้ว ๆ
ใส่ก้อนกรวดลงไปว่า ๑-๒ เป็นต้น. ฝูงโคที่อยู่ลำบากในโอกาสที่คับแคบ
ตลอดราตรี ๓ ยาม เมื่อออก (จากคอก) เบียดเสียดกันและกันรีบออกเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 356
หมู่ ๆ. นายโคบาลนั้น ย่อมนับอย่างรวดเร็วทีเดียวว่า ๓ - ๔- ๕- ๑๐ เป็นต้น.
แม้เมื่อกุลบุตรนี้ นับอยู่โดยนัยก่อนอย่างว่ามาแล้วนี้ ลมอัสสาสะและปัสสาสะ
ย่อมปรากฏสัญจรไปมา อย่างรวดเร็ว. ลำดับนั้นเธอรู้อยู่ว่า ลมอัสสาสะและ
ปัสสาสะ ย่อมสัญจรไปมา อย่างรวดเร็ว แล้วไม่ถือเอาลมภายในและภายนอก
พึ่งกำหนดเฉพาะลมที่มาถึงช่อง ๆ เท่านั้น นับอย่างเร็ว ๆ ทีเดียวว่า
๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ -
๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖
๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗
๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗ - ๘
๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗ - ๘ - ๙
๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗ - ๘ - ๙ - ๑๐
เพราะว่าในกรรมฐานที่เนื่องด้วยการนับ จิตย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้
ด้วยกำลังแห่งการนับเท่านั้น ดุจการหยุดเรือไว้ในกระแสน้ำเชี่ยว ด้วยอำนาจ
ที่เอาถ่อค้ำไว้ฉะนั้น. เมื่อเธอนับอยู่เร็ว ๆ อย่างนี้กรรมฐานย่อมปรากฏเป็นดุจ
ว่า ดำเนินไปไม่ขาดสาย. เวลานั้น ครั้นเธอรู้ว่า กรรมฐานดำเนินไปไม่ขาด
สาย แล้ว อย่ากำหนดลมทั้งภายในและภายนอก พึงนับเร็ว ๆ ตามนัยก่อน
นั่นแล. เมื่อเธอส่งจิตเข้าไปพร้อมกับลมที่เข้าไปภายใน ฐานภายใน ถูกลม
กระทบแล้ว ย่อมเป็นเหมือนเต็มด้วยมันข้นฉะนั้น. เมื่อนำจิตออกมาพร้อมกับ
ลมที่ออกมาภายนอก จิตย่อมส่ายไปในอารมณ์มากหลายในภายนอก. แต่ภาวนา
ย่อมสำเร็จแก่ผู้ตั้งสติไว้ ในโอกาสที่ลมถูกต้อง เจริญอยู่เท่านั้น. เพราะเหตุ
นั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า อย่ากำหนดลมทั้งภายในและภายนอก พึงนับเร็ว ๆ
ตามนัยก่อนนั่นแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 357
ถามว่า จะพึงนับลมอัสสาสะและปัสสาสะนั่น นานเท่าไร ?
แก้ว่า พึงนับไปจนกว่าสติที่เว้นจากการนับ จะตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์
คือลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เพราะว่าการนับ ก็เพื่อจะตัดวิตกที่พล่านไปใน
ภานอก แล้วตั้งสติไว้ในอารมณ์ คือ ลมอัสสาสะและปัสสาสะ..เท่านั้น.
[อธิบายเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดลมหายใจเข้าออก]
พระโยคาวจร ครั้นมนสิการโดยการนับอย่างนั้นแล้ว พึงมนสิการ
โดยการตามผูก. กิริยาที่หยุดพักการนับ แล้วส่งสติไปตามลมอัสสาสะและ
ปัสสาสะติดต่อกันไป ชื่อว่าการตามผูก. ก็แลการส่งสติไปตามนั้น. หาใช่ด้วย
อำนาจการไปตามเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด (แห่งลมอัสสาสะ) ไม่. จริง
อยู่ นาภี (สะดือ) เป็นเบื้องต้นแห่งลมออกไปภายนอก หทัย (หัวใจ) เป็น
ท่ามกลาง นาสิก (จมูก) เป็นที่สุด ปลายนาสิก เป็นเบื้องต้น แห่งลมเข้า
ไปภายใน หทัย เป็นท่ามกลาง นาภี เป็นที่สุด. ก็เมื่อพระโยคาวจรนั้น ไป
ตามเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด (แห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ) นั้น จิต
ที่ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นไปเพื่อความกระวนกระวาย และเพื่อความหวั่นไหว.
เหมือนอย่างที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า เมื่อพระโยคาวจรส่ง
สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจว่า กายก็ดี จิตก็ดี ย่อม
ความระส่ำระสาย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่านไปภายใน
เมื่อพระโยคาวจรส่งสติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก
กายก็ดี จิตก็ดี ย่อมมีความระส่ำระสาย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึง
ความฟ้งซ่านไปภายนอก*. เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร เมื่อมนสิการโดยการ
ตามถูก ไม่พึงมนสิการด้วยอำนาจแห่งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด อนึ่งแล
* ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 358
พึงมนสิการด้วยอำนาจการถูกต้อง และด้วยอำนาจการหยุดไว้ เพราะว่าไม่มี
การมนสิการเป็นแผนกหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งการถูกต้องและหยุดไว้ เหมือนกับ
ด้วยอำนาจแห่งการนับและการตามผูก. แต่พระโยคาวจรเมื่อนับอยู่ในฐานที่
ลมถูกต้องแล้ว ๆ นั่นแหละชื่อว่ามนสิการด้วยการนับและการถูกต้อง. พระโย-
คาวจร เมื่อหยุดพักการนับในฐานะที่ลมถูกต้องแล้ว ๆ นั้นนั่นแล ใช้สติตาม
ผูกลมอัสสาสะและปัสสาสะนั้น และตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอัปปนา ท่านเรียกว่า
มนสิการด้วยการตามผูก การถูกต้องและการหยุดไว้. ใจความนี้นั้นพึงทราบ
ด้วยข้ออุปมาเหมือนคนง่อยและคนรักษาประตู ที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา
และด้วยข้ออุปมาเหมือนเลื่อยที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิ-
สัมภิทา.
[ข้ออุปมาเหมือนคนง่อยโล้ชิงช้า]
บรรดาข้ออุปมา ๓ อย่างนั้น ข้ออุปมาเหมือนคนง่อยโล้ชิงช้ามีดังท่อ
ไปนี้:- เปรียบเหมือนคนง่อยไกวชิงช้า ให้แก่ มารดาและบุตรผู้เล่นชิงช้าอยู่
แล้วนั่งอยู่ที่โคนเสาชิงช้าในที่นั้นนั่นเอง เมื่อกระดานชิงช้าไกวไปอยู่โดยลำดับ
ย่อมเห็นที่สุดทั้งสองข้างและตรงกลาง แต่มิได้ขวนขวายเพื่อจะดูที่สุดทั้งสอง
ข้างและตรงกลาง แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยืนที่ใกล้โคนเสาอัน
เข้าไปผูกไว้ด้วยอำนาจสติแล้วโล้ชิงช้าคือลมหายใจเข้าและหายใจออก นั่งอยู่
ด้วยสติ ในนิมิตนั้นนั่นเอง ส่งสติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่ง
ลมหายใจเข้าและหายใจออก ในฐานะที่ลมถูกต้องแล้ว ซึ่งพัดผ่านมาและผ่าน
อยู่โดยลำดับ และตั้งจิตเฉยไว้ในนิมิตนั้น และไม่ขวนขวายเพื่อจะแลดูลมเหล่า
นั้น. นี้เป็นข้ออุปมาเหมือนตนง่อย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 359
[ข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตู]
ส่วนข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตูมีดังต่อไปนี้ :- คนรักษาประตูจะ
ไม่สอบสวนบุรุษทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกพระนครว่า ท่านเป็นใคร ?
มาแต่ไหน ? จะไปไหน ? หรือว่า ในมือของท่านมีอะไร ? ความจริง พวก
มนุษย์ผู้เดินไปทั้งภายในและภายนอกพระนครเหล่านั้นไม่ใช่หน้าที่ของคนรักษา
ประตูนั้น แต่เขาย่อมสอบสวนเฉพาะคนผู้มาถึงประตูแล้ว ๆ เท่านั้น แม้ฉัน
ใด ลมเข้าไปข้างในและลมที่ออกไปข้างนอก ย่อมไม่เป็นหน้าที่ของภิกษุนี้
ฉันนั้นเหมือนกัน จะเป็นหน้าที่ก็เฉพาะแต่ลมที่มาถึงช่องแล้ว ๆ เท่านั้น. นี้
เป็นข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตู.
[การกำหนดลมหายใจเปรียบเหมือนเลื่อย]
ส่วนข้ออุปมาเหมือนเลื่อย ควรทราบจำเดิมแต่ต้นไป. สมดังคำที่ท่าน
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ว่า
นิมิต ลมหายใจเข้า และลมหายใจ
ออก มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว และ
เมื่อบุคคลไม่รู้ธรรมทั้ง ๓ ประการ ย่อมไม่
ได้ภาวนา (ภาวนาย่อมไม่สำเร็จ). นิมิต ลม
หายใจเข้าและลมหายใจออก มิใช่เป็น
อารมณ์แต่งจิตดวงเดียว และเมื่อบุคคลรู้ซึ่ง
ธรรม ๓ ประการ ย่อมได้ภาวนา.
ถามว่า ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ จะไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
และธรรม ๓ ประการเหล่านี้ จะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตจะไม่ถึงความฟุ้งซ่าน
ประธาน (ความเพียร) ย่อมปรากฏ แลพระโยคาวจรจะทำประโยคให้สำเร็จ
ได้บรรลุคุณวิเศษอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 360
แก้ว่า เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนภาคพื้นที่เรียบเสมอ บุรุษ
เอาเลื่อยเลื่อยต้นไม้นั้น สติของบุรุษ ย่อมปรากฏ ด้วยอำนาจแห่งฟันเลื่อย
ที่ถูกต้นไม้ และเขาย่อมไม่ได้ใฝ่ใจถึงฟันเลื่อยที่ผ่านมาหรือผ่านไป ทั้งฟัน
เลื่อยที่ผ่านมาหรือผ่านไป จะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธาน (ความเพียรใน
การตัดต้นไม้) ย่อมปรากฏ และเขาย่อมให้ประโยค (กิริยาที่ตัดต้นไม้นั้น)
สำเร็จได้*. นิมิตคือสติเป็นเครื่องเข้าไปผูกไว้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวาง
ไว้บนภาคพื้นที่เรียบเสมอ. ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เปรียบเหมือน
ฟันเลื่อย. ภิกษุนั่นตั้งสติไว้มั่น ที่ปลายจมูกหรือที่ริมผีปาก ย่อมไม่ใฝ่ใจถึง
ลมหายใจเข้าและหายใจออกที่ผ่านมาหรือที่ผ่านไป ลมหายใจเข้าและลมหาย
ใจออกที่ผ่านมาหรือผ่านไป จะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธาน ย่อมปรากฏ
และภิกษุนั้นย่อมให้ประโยคสำเร็จได้ ทั้งบรรลุคุณพิเศษด้วย เหมือนบุรุษตั้ง
สติไว้ ด้วยอำนาจแห่งฟันเลื่อยซึ่งถูกต้นไม้ เขาย่อมไม่ได้ใฝ่ใจถึงฟันเลื่อยที่
ผ่านมาหรือที่ผ่านไป ทั้งฟันเลื่อยที่ผ่านมาหรือผ่านไป จะไม่ปรากฏก็หามิได้
ประธานย่อมปรากฏ และเขาย่อมทำประโยคให้สำเร็จได้ ฉะนั้น. คำว่า
ประธาน ความว่า ประธานเป็นไฉน ? กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้ปรารภความ
เพียรย่อมควรแก่การงาน, นี้เป็นประธาน. ประโยค เป็นไฉน ? ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียร ย่อมละอุปกิเลสได้ วิตกย่อมสงบไป, นี้เป็นประโยค. คุณพิเศษ
เป็นไฉน ? ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมหมดสิ้น
ไป, นี้เป็นคุณพิเศษ. ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์แห่งจิต
ดวงเดียว และธรรม ๓ ประการเหล่านี้ จะไม่ปรากฏก็หามิได้, จิตย่อมไม่ถึง
ความฟุ้งซ่าน, ประธาน (ความเพียร) ย่อมปรากฏ, และพระโยคาวจร ทำ
ให้ประโยค (การหมั่นประกอบภาวนา) สำเร็จได้ ทั้งได้บรรลุคุณพิเศษด้วย.
* บาลีที่มาเดิม มีศัพท์ว่า วิเสสมธิจฺฉติ. ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๕๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 361
ภิกษุใด เจริญอานาปานัสสติให้
บริบูรณ์ดี อบรมมาโดยลำดับ ตามที่พระ
พุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว, ภิกษุนั้นย่อมทำ
โลกนี้ให้สว่างได้ เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว
จากหมอก ฉะนั้น แล.*
ข้อนี้อุปมาเหมือนเลื่อย.
ก็ในข้ออุปมาเหมือนเลื่อยนี้ พึงทราบว่า เหตุเพียงไม่ใฝ่ใจด้วยอำนาจ
สมหายใจเข้าและลมหายใจออก ที่ผ่านมาแล้ว ๆ เท่านั้น เป็นประโยชน์แก่
ภิกษุนั้น. กรรมฐานนี้เมื่อภิกษุบางรูป มนสิการนิมิต ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่
ชักช้าเลย และฐปนา กล่าวคืออัปปนา ซึ่งประกอบด้วยองค์ฌานที่เหลือ ก็
ย่อมสำเร็จ. แก่สำหรับภิกษุบางรูปมีจำเดิมแต่เวลามนสิการโดยอำนาจการนับ
นั่นแล คือตั้งแต่เวลาทำไว้ในใจด้วยอำนาจการนับ เมื่อความกระวนกระวาย
ทางกายสงบไป ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าและหายใจออกที่หยาบดับไปโดย
ลำดับ กายก็ดี จิตก็ดี ย่อมเป็นของเบา ร่างกายย่อมเป็นดุจถึงอาการลอยขึ้น
ไปในอากาศเหมือนภิกษุผู้มีกายกระสับกระส่าย เมื่อนั่งลงบนเตียงหรือตั่ง
เตียงและตั่งย่อมโอนเอน คดงอไป เครื่องปูลาดย่อมย่นเป็นเกลียว, แต่เมื่อ
เธอมีกายไม่กระสับกระส่าย นั่นลง เตียงและตั่งย่อมไม่โอนเอน ไม่คดงอ
เครื่องปูลาดก็ไม่ย่นเป็นเกลียว, เตียงตั่งเป็นเหมือนเต็มด้วยปุยนุ่น, เพราะ
เหตุไร ? เพราะเหตุว่า กายไม่กระสับกระส่าย ย่อมเป็นของเบาฉะนั้น. เมื่อ
ลมอัสสาสะและปัสสาสะที่หยาบดับไปแล้ว จิตของภิกษุนั้นมีนิมิต คือ ลม
ดับไปแล้ว จิตดวงต่อ ๆ ไป ซึ่งมีอารมณ์คือนิมิตที่ละเอียดจนละเอียดกว่าจิต
* ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๕๗-๒๕๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 362
ถามว่า จิตควงต่อ ๆ ไป ย่อมเป็นไปอย่างไร ?
แก้ว่า เปรียบเหมือนบุรุษ พึงเอาชี่เหล็กท่อนใหญ่ตีกังสดาล ด้วย
การตีเพียงครั้งเดียว เสียงดัง พึงเกิดขึ้น, จิตของบุรุษนั้น ซึ่งมีเสียงดัง
(หยาบ) เป็นอารมณ์ พึงเป็นไป, เมื่อเสียงดังดับไป ต่อจากนั้นภายหลัง
จิตซึ่งมีเสียงละเอียดเป็นอารมณ์ พึงเป็นไป, แม้เมื่อจิตซึ่งมีนิมิต คือเสียง
ละเอียดเป็นอารมณ์นั้นดับไปแล้ว จิตดวงต่อ ๆ ไป ซึ่งมีอารมณ์คือนิมิตที่
ละเอียดจนละเอียดกว่าจิต ซึ่งมีนิมิต คือเสียงละเอียด เป็นอารมณ์นั้น ย่อม
เป็นไปทีเดียว ฉันใด, จิตซึ่งมีนิมิตคือลมอัสสาสะและปัสสาสะเป็นอารมณ์นั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเป็นไปฉันนั้น. แม้ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระธรรม
เสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า เปรียบเหมือนบุคคลตีกังสดาล (เสียงดังคือเสียง
หยาบ ย่อมกระจายไปก่อน)* ดังนี้ เป็นต้น. ควรให้พิสดาร. เหมือนอย่างว่า
กรรมฐานเหล่าอื่น ย่อมปรากฏชัดในชั้นสูง ๆ ขึ้นไป ฉันใด, อานาปานัสสติ
กรรมฐานนี้จะเป็นฉันนั้น ก็หามิได้. แต่อานาปานัสสติกรรมฐานนี้ เมื่อภิกษุ
เจริญ ๆ ในชั้นสูงขึ้นไป ย่อมถึงความเป็นของละเอียด คือจะไม่ถึงแม้ความ
ปรากฏ. ก็เมื่อกรรมฐานนั้น ไม่ปรากฏอยู่อย่างนั้น ภิกษุนั้นไม่ควรลุกขึ้น
จากอาสนะ ตบท่อนหนังไปเสีย. ไม่ควรลุกขึ้น ด้วยคิดว่า จะพึงทำอย่างไร ?
เราจักถามพระอาจารย์ หรือว่า บัดนี้กรรมฐานของเราเสื่อมแล้ว. จริงอยู่
เมื่อเธอให้อิริยาบถกำเริบเดินไป กรรมฐานย่อมปรากฏเป็นของใหม่ ๆ เรื่อย
ไป; เพราะเหตุนั้น ควรนั่งอยู่ตามเติมนั่นแหละ นำกรรมฐานมาจากที่ถูกต้อง
ตามปกติ.
* ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๗๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 363
[อุบายเป็นเหตุนำอานาปานัสสติกรรมฐานมา]
ในอธิการว่าด้วยอานาปานัสสติกรรรมฐานนั้น มีอุบายเป็นเครื่องนำมา
ดังต่อไปนี้:-
จริงอยู่ ภิกษุนั้น รู้ว่ากรรมฐานไม่ปรากฏ ควรพิจารณาสำเหนียก
อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ มีอยู่ในที่ไหน ? ไม่มีใน
ที่ไหน ของใครมี ? ของใครไม่มี ?
ภายหลัง เมื่อภิกษุนั้น พิจารณาดูอยู่อย่างนี้ ก็รู้ได้ว่า ลมหายใจเข้า
และหายใจออกนี้ (ของทารกผู้อยู่) ภายในท้องของมารดา ไม่มี พวกชนผู้
ดำน้ำก็ไม่มี. พวกอสัญญีสัตว์ คนตายแล้ว ผู้เข้าจตุตถฌาน ท่านผู้พร้อม
เพรียงด้วยรูปภพและอรูปภพ ท่านเข้านิโรธ ก็ไม่มีเหมือนกัน แล้วพึงตัก-
เตือนตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า แน่ะบัณฑิต ! ตัวเธอไม่ใช่ผู้อยู่ในท้องของมารดา
ไม่ใช่ผู้ดำน้ำ ไม่ใช่เป็นอสัญญีสัตว์ ไม่ใช่คนตาย ไม่ใช่ผู้เข้าจตุตถฌาน
ไม่ใช่ผู้พร้อมเพรียง ด้วยรูปภพ และอรูปภพ ไม่ใช่ผู้เข้านิโรธ มิใช่หรือ ?
ตัวเธอยังมีลมหายใจเข้าและหายใจออกอยู่แท้ ๆ, แต่ตัวเธอก็ไม่สามารถจะ
กำหนดได้ เพราะยังมีปัญญาอ่อน.
ภายหลัง เธอนั้น ควรตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจที่ลมถูกต้องโดยปกตินั่นเอง
ให้มนสิการเป็นไป. จริงอยู่ ลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ กระทบโครงจมูก
ของผู้มีจมูกยาวผ่านไป, กระทบริมฝีปากข้างบนของผู้มีจมูกสั้นผ่านไป. เพราะ
ฉะนั้น เธอนั่น จึงควรตั้งนิมิตไว้ว่า ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อม
กระทบฐานชื่อนี้. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยอำนาจประโยชน์
นี้แล จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวการเจริญอานาปานัสสติ
แก่ภิกษุผู้หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่.*
* ม. อุป. ๑๔/๑๙๖-๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 364
จริงอยู่ กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมสำเร็จแก่ผู้มีสติ มีความรู้
ตัวเท่านั้น แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น กรรมฐานอย่างอื่น นอกจากอานาปานัสสติ
กรรมฐานนี้ ย่อมปรากฏได้แก่ผู้ที่มนสิการอยู่. แต่อานาปานัสสติกรรมฐานนี้
เป็นภาระหนัก เจริญสำเร็จได้ยาก ทั้งเป็นภูมิแห่งมนสิการ ของมหาบุรุษ
ทั้งหลาย คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรเท่านั้น,
ไม่ใช่เป็นกรรมฐานต่ำต้อย, ทั้งมิได้เป็นกรรมฐานที่สัตว์ผู้ต่ำต้อยซ่องเสพ,
เป็นกรรมฐานสงบและละเอียด โดยประการที่มหาบุรุษทั้งหลายย่อมทำไว้ใน
ใจ ; เพราะฉะนั้นในอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ จำต้องปรารถนาสติและปัญญา
อันมีกำลัง. เหมือนอย่างว่า ในเวลาชุนผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง แม้เข็มก็จำต้อง
ปรารถนาอย่างเล็ก, แม้ด้ายซึ่งร้อยในบ่วงเข็ม ก็จำต้องปรารถนาเส้นละเอียด
กว่านั้น ฉันใด, ในเวลาเจริญกรรมฐานนี้ ซึ่งเป็นเช่นกับผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สติมีส่วนเปรียบด้วยเข็มก็ดี ปัญญาที่สัมปยุตด้วยสตินั้น
มีส่วนเปรียบด้วยด้ายร้อยบ่วงเข็มก็ดี จำต้องปรารถนาให้มีกำลัง.
ก็แล ภิกษุผู้ประกอบด้วยสติและปัญญานั้นแล้ว ไม่จำต้องแสวงหา
ลมหายในเข้าและหายในออกนั้น นอกจากโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ. เปรียบ
เหมือนชาวนาไถนาแล้วปล่อยพวกโคถึก ให้บ่ายหน้าไปสู่ที่หากิน แล้วพึงนั่ง
พักที่ร่มไม้, คราวนั้นพวกโคถึกเหล่านั้นของเขาก็เข้าดงไป โดยเร็ว. ชาวนา
ผู้ฉลาด ประสงค์จะจับโคถึกเหล่านั้นมาเทียมไถอีก จะไม่เดินคามรอยเท้าโค
ถึกเหล่านั้นเข้าไปยังดง, โดยที่แท้ เขาจะ ถือเอาเชือกและประตักเดินตรงไป
ยังท่าน้ำซึ่งโคถึกเหล่านั้นลงทีเดียว นั่งหรือนอนคอยอยู่. เวลานั้นเขาได้เห็น
โคเหล่านั้น ซึ่งเที่ยวไปสิ้นทั้งวัน แล้วลงไปสู่ท่าน้าดื่มอาบและกินน้ำแล้ว
ขึ้นมายืนอยู่ จึงเอาเชือกผูกแล้วเอาประตักทิ่มแทง นำไปเทียม (ไถ) ทำการ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 365
งานอีก ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่จำต้องแสวงหาลมหายใจเข้า
และหายใจออก นอกจากโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ แต่พึงถือเอาเชือก คือ
สติ และประตักคือปัญญาแล้ว ตั้งจิตไว้ในโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ ยัง
มนสิการให้เป็นไป. เพราะว่า เมื่อเธอมนสิการอยู่อย่างนั้น ต่อกาลไม่นานเลย
ลมหายใจเข้าและหายใจออกนั้น จะปรากฏดุจพวกโคปรากฏที่ท่าลงดื่มฉะนั้น.
ในลำดับนั้น เธอพึงเอาเชือกคือสติผูกประกอบไว้ในที่นั้นนั่นแหละ แล้วแทง
ด้วยประตักคือปัญญาตามประกอบกรรมฐานอีก. เมื่อเธอหมั่นประกอบอยู่
อย่างนั้น ต่อกาลไม่นานเลย นิมิตจะปรากฏ.
อาจารย์บางพวกกล่าวไว้ว่า ก็นิมิตนี้นั้น ย่อมไม่เป็นเช่นเดียวกัน
แก่พระโยคาวจรทุกรูป. อนึ่งแล นิมิตนั้น ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป
ดุจปุยนุ่น ดุจปุยฝ้าย และดุจสายลม ให้เกิดสุขสัมผัส.
ส่วนวินิจฉัยในอรรถกถา มีดังต่อไปนี้ :- จริงอยู่ นิมิตนี้ ย่อม
ปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป ดุจดวงดาว ดุจพวงแก้วมณี และดุจพวงแก้ว
มุกดา บางรูปปรากฏเป็นของมีสัมผัสหยาบ ดุจเมล็ดฝ้าย และดุจเสี้ยนไม้แก่น,
บางรูปปรากฏเป็นของสายสังวาลที่ยาว ดุจพวงแห่งดอกคำ และดุจเปลวควัน
ไฟ, ปางรูปดุจใยแมลงมุมที่กว้าง ดุจช่อกลีบเมฆ ดุจดอกปทุม ดุจล้อรถ
ดุจมณฑลจันทร์ และดุจมณฑลพระอาทิตย์ ฉะนั้น.
ก็แล กรรมฐานนี้นั้นเป็นอันเดียวกันแท้ ๆ แต่ปรากฏโดยความต่าง
กัน เพราะมีสัญญาต่างกัน เหมือนบรรดาภิกษุหลายรูปด้วยกัน นั่งสาธยาย
พระสูตรอยู่ เมื่อภิกษุรูปหนึ่ง พูดว่า พระสูตรนี้ ย่อมปรากฏแก่พวกท่าน
เป็นเช่นไร้ ? รูปหนึ่งพูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนแม่น้ำไหลตกจาก
ภูเขาใหญ่, อีกรูปอื่น พูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนแนวป่าแห่งหนึ่ง,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 366
รูปอื่นพูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนรุกชาติที่เพียบพร้อมด้วยภาระคือ
ผลไม้ ซึ่งมีร่มเงาเย็น สมบูรณ์ด้วยกิ่ง. จริงอยู่ พระสูตรของเธอเหล่านั้น
ก็เป็นสูตรเดียวกันนั่นเอง แต่ปรากฏโดยความเป็นของต่างกัน เพราะมีสัญญา
ต่างกัน ฉะนั้น. ความจริง กรรมฐานนี้ เกิดแต่สัญญา มีสัญญาเป็นต้นเหตุ
มีสัญญาเป็นแดนเกิด ; เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ย่อมปรากฏโดยความต่างกัน
เพราะมีสัญญาต่างกัน.
[ธรรม ๓ อย่างมีบริบูรณ์กรรมฐานจึงถึงอัปปนา]
ก็ บรรดาลมหายใจเข้า หายใจออก และนิมิตนี้ จิตที่มีลมหายใจเข้า
เป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่งต่างหาก จิตที่มีลมหายใจออกเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง
จิตที่มีนิมิตเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง. จริงอยู่ กรรมฐานของภิกษุผู้ไม่มีธรรม
๓ อย่างนั้น ย่อมไม่ถึงอัปปนา ไม่ถึงอุปจาระ. ส่วนกรรมฐานของภิกษุผู้มี
ธรรม ๓ อย่างนี้ ย่อมถึงอัปปนาและอุปจาระด้วย. สมจริงดังคำที่ท่านพระ-
ธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า
นิมิต ลมหายใจเข้า และลมหายใจ
ออก มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว, และ
เมื่อภิกษุไม่รู้ธรรม ๓ ประการ ย่อมไม่ได้
ภาวนา (ย่อมไม่สำเร็จ), นิมิต ลมหายใจเข้า
และลมหายใจออก มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิต
ดวงเดียว, และเมื่อภิกษุรู้ซึ่งธรรม ๓ ประการ
ย่อมได้ภาวนา.*
พระอาจารย์ทั้งหลาย ผู้กล่าวทีฆนิกาย ได้กล่าวไว้อย่างนี้ก่อนว่า ก็
เมื่อนิมิตปรากฏแล้วอย่างนั้น ภิกษุนั้นควรไปสำนักของอาจารย์ แล้วบอกว่า
* ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๕๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 367
นิมิตชื่อเห็นปานนี้ ย่อมปรากฏแก่ผมขอรับ ส่วนอาจารย์ไม่ควรพูดว่า นั่น
เป็นนิมิต หรือว่า ไม่ใช่นิมิต ควรพูดว่า ย่อมเป็นอย่างนั้นละ คุณ ! แล้ว
พึงพูดว่า คุณจงมนสิการบ่อย ๆ. จริงอยู่เมื่ออาจารย์พูดว่า เป็นนิมิต เธอ
จะพึงถึงความถอยหลัง, เมื่ออาจารย์พูดว่า ไม่ใช่นิมิต เธอก็จะเป็นผู้หมดหวัง
จมอยู่, เพราะเหตุนั้น ไม่ควรพูดแม้ทั้งสองอย่างนั้น. ควรประกอบเธอนั้น
ไว้ในมนสิการนั่นแล. ส่วนอาจารย์ทั้งหลายผู้กล่าวมัชฌิมนิกายได้กล่าวไว้ว่า
เธอ อันอาจารย์พึงพูดว่า นี้เป็นนิมิต คุณ ! ขอให้คุณจงมนสิการกรรมฐาน
บ่อย ๆ เถิดสัตบุรุษ !
ภายหลัง เธอรูปนั้น พึงตั้งจิตไว้ในนิมิตนั่นเอง. จำเดิมแต่ปฏิภาค-
นิมิตเกิดขึ้นนี้ ภาวนานี้ของเธอรูปนั้น ย่อมมีได้ด้วยอำนาจการตั้งไว้ด้วย
ประการอย่างนี้. สมจริงดังคำที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า
พระโยคีผู้เป็นธีรชน เมื่อตั้งจิตไว้
ในนิมิต เจริญลมหายใจเข้า และหายใจออก
ซึ่งมีอาการต่าง ๆ อยู่ชื่อว่า ย่อมผูกจิตของ
ตนไว้.
จำเดิมตั้งแต่นิมิตปรากฏ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั้น นิวรณ์ทั้งหลาย
ย่อมเป็นอันพระโยคีนั้นข่มได้โดยแท้ กิเลสทั้งหลาย สงบนิ่ง สติเข้าไปตั้งมั่น
ทีเดียว จิตก็ตั้งมั่น เช่นกัน.
[จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิด้วยองค์]
จริงอยู่ จิตนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นธรรมชาติตั้งมั่น ด้วยองค์ ๒ คือ ด้วย
การละนิวรณ์ในอุปจารภูมิ หรือด้วยความปรากฏแห่งองค์ในปฏิลาภภูมิ.
บรรดาภูมิ ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า อุปจารภูมิ ได้แก่ อุปจารสมาธิ. ที่ชื่อว่า
ปฏิลาภภูมิ ได้แก่ อัปปนาสมาธิ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 368
ถามว่า สมาธิทั้งสองนั้น มีการทำต่างกันอย่างไร ?
แก้ว่า อุปจารสมาธิ แล่นไปในกุศลวิถีแล้ว ก็หยั่งลงสู่ภวังค์.
อัปปนาสมาธิ เมื่อพระโยคีนั่งแนบสนิทตลอดทั้งวัน แล่นไปในกุศลวิถีแม้
ตลอดทั้งวัน ก็ไม่หยั่งลงสู่ภวังค์. บรรดาสมาธิ ๒ อย่างเหล่านี้ จิตย่อมเป็น
ธรรมชาติตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ เพราะนิมิตปรากฏ. ภายหลัง ภิกษุนี้ไม่พึง
มนสิการนิมิตนั้นโดยสี ทั้งไม่พึงพิจารณาโดยลักษณะ. ก็อีกอย่างหนึ่งแล
เธออย่าประมาท ควรรักษานิมิตไว้ ดุจพระมเหสีของกษัตริย์ ทรงรักษาครรภ์
แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ และดุจชาวนารักษารวงแห่งข้าวสาลีและข้าวเหนียว
ฉะนั้น. จริงอยู่ นิมิตที่รักษาไว้ได้ ย่อมจะอำนวยผลแก่เธอ.
เมื่อพระโยคีรักษานิมิตไว้ได้ จะไม่
มีความเสื่อม จากอุปจารฌานที่ตนได้แล้ว
เมื่อไม่มีการอารักขา (นิมิต) ฌานที่ตนได้
แล้ว ๆ ก็จะพินาศไป ฉะนี้แล.
[อุบายสำหรับรักษาอานาปานัสสติกรรมฐานไม่ให้เสื่อม]
ในอธิการแห่งอานาปานัสสติกรรมฐานนั้น มีอุบายสำหรับรักษาดัง
ต่อไปนี้:- ภิกษุนั้น ควรเว้นอสัปปายะ ๗ อย่างเหล่านี้ คือ อาวาส ๑
โคจร ๑ การสนทนา ๑ บุคคล ๑ โภชนะ ๑ ฤดู ๑ อิริยาบถ ๑ แล้ว
เสพสัปปายะ ๗ อย่างเหล่านั้นนั่นแล มนสิการนิมิตนั้นบ่อย ๆ.
พระโยคีนั้น ครั้นทำนิมิตให้มั่นคงด้วยการเสพสัปปายะอย่างนั้นแล้ว
ควรรอคอยความเจริญงอกงามไพบูลย์ บำเพ็ญความเพียรไม่ละทิ้งอัปปนาโกศล
๑๐ อย่างเหล่านั้น คือ ทำวัตถุให้สละสลวย ๑ ประคองอินทรีย์ให้เป็นไปเสมอ ๑
ฉลาดในนิมิต ๑ ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 369
ปลอบจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรปลอบจิตให้ร่าเริง ๑ เพ่งดูจิตในสมัยที่ควร
เพ่งดู ๑ เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ เสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ๑ น้อมไปใน
สมาธินั้น ๑.
เมื่อพระโยคีนั้นหมั่นประกอบโดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้อยู่ มโนทวารา-
วัชชนะ ซึ่งมีนิมิตเป็นอารมณ์ ตัดภวังค์แล้วก็เกิดขึ้นขณะที่ควรกล่าวว่า
อัปปนา จักเกิดขึ้นในบัดนี้. ก็เมื่อมโนทวาราวัชชนะนั้นดับไป บรรดาชวนะ
ทั้งหลาย ๔ หรือ ๕ ควง ยึดเอาอารมณ์นั้นนั่นแลแล่นไป ซึ่งชวนะดวงแรก
ชื่อบริกรรม ที่ ๒ ชื่ออุปจาระ ที่ ๓ ชื่ออนุโลม ที่ ๔ ชื่อโคตรภู ที่ ๕ ชื่อ
อัปปนาจิต อีกอย่างหนึ่ง ควงแรกเรียกว่าบริกรรมและอุปจาระ ที่ ๒ เรียกว่า
อนุโลม ที่ ๓ เรียกว่า โคตรภู ที่ ๔ เรียกว่า อัปปนาจิต. จริงอยู่ ชวนะ
ดวงที่ ๔ เท่านั้น บางทีที่ ๕ ย่อมเป็นไป* ไม่ถึงดวงที่ ๖ หรือที่ ๗ เพราะ
อาสันนภวังค์ (ภวังค์ใกล้อัปปนา) ตกไป.
ส่วนพระโคทัตตเถระ ผู้ชำนาญอภิธรรม กล่าวไว้ว่า กุศลธรรม
ทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมมีกำลัง โดยอาเสวนปัจจัย เพราะฉะนั้น ชวนะย่อม
ถึงที่ ๖ หรือที่ ๗. คำนั้นถูกคัดค้านในอรรถกถาทั้งหลาย. ในชวนจิตเหล่านั้น
จิตที่เป็นบุรพภาค เป็นกามาวจร ส่วนอัปปนาจิตเป็นรูปาวจร. ปฐมฌาน
ซึ่งละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๑๐ มีความงาม ๓
ย่อมเป็นอันพระโยคีนี้บรรลุแล้ว โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้. เธอยังองค์ฌาน
ทั้งหลาย มีวิตกเป็นต้นให้สงบราบดาบในอารมณ์นั้นนั่นเอง ย่อมบรรลุฌาน
ที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔. และด้วยเหตุมีประมาณเพียงนี้ เธอย่อมเป็นผู้ถึงที่สุด
แห่งภาวนา ด้วยอำนาจแห่งการหยุดไว้. ในอธิการนี้ มีสังเขปกถาเท่านี้ ส่วน
* โยชนา ๑/๓๓๘ แก้ อปฺเปติ เป็น ปวตฺตติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 370
นักศึกษาผู้ต้องการความพิสดาร พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสส ชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.
ส่วนในกายานุปัสสนานี้ ภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌานแล้วอย่างนั้น มีความ
ประสงค์ที่จะเจริญกรรมฐาน ด้วยอำนาจการกำหนดและการเปลี่ยนแปลง แล้ว
บรรลุความหมดจด กระทำฌานนั้นนั่นแล ให้ถึงความชำนิชำนาญ (วสี)
ด้วยอาการ ๕ อย่าง กล่าวคือ อาวัชชนะ การรำพึง สมาปัชชนะ การเช้า
อธิฏฐานะ การทั้งใจ วุฏฐานะ การออก และ ปัจจเวกขณะ การพิจารณา
แล้ว กำหนด รูปและอรูปว่า รูป มีอรูปเป็นหัวหน้า หรืออรูป มีรูปเป็นหัวหน้า
แล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา.
ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป. อีกอย่างหนึ่ง
เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง
ลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลม
ย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 371
ของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัย
กายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก
และกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.
ครั้น เธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูป
นั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว
ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.
เธอนั้น ข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณา
กลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วน
เบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ)
กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่า เป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึง
ภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปใน
สรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับ
ติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผล
ถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลก พร้อมทั้ง
เทวดา. ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ ของภิกษุผู้ประกอบในอานาปาน-
กรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับ จนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียง
เท่านี้แล.
นี้พรรณนาปฐมจตุกกะโดยอาการทุกอย่าง
ก็เพราะใน ๓ จตุกกะนอกนี้ ขึ้นชื่อว่านัยแห่งการเจริญกรรมราน
แผนกหนึ่งย่อมไม่มี, เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาควรทราบเนื้อความแห่ง ๓ จตุกกะ
เหล่านั้น โดยนัยแห่งการพรรณนาตามบทนั่น แล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 372
บทว่า ปีติปฏิสเวที ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำปีติ
ให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหายใจเข้า หายใจออก. บรรดาปีติและสุขเหล่านั้น
ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยอารมณ์ และโดย
ความไม่งมงาย.
ถามว่า ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว โดยอารมณ์อย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุนั้นย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ,
ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้วโดยอารมณ์ ด้วยการได้ฌานในขณะเข้า
สมาบัติ เพราะอารมณ์เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว.
ถามว่า ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยความไม่งมงายอย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุนั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้วย่อมพิจารณา
ปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุรูปนั้น
รู้แจ้งแล้ว โดยความไม่งมงาย เพราะแทงตลอดลักษณะ ในขณะแห่งวิปัสสนา.
ข้อนี้ สมจริงดังคำที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว
สติย่อมทั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณ
นั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจ
ออกยาว สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้าสั้น สติย่อมตั้งมัน, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลม
หายใจออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 373
ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น
ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุ
รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร
หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อรำพึงถึง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว,
เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา
เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น เมื่อรู้ชัดด้วย
ปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อ
ละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้ง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, ปีตินั้น เป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้*.
แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบโดยเนื้อความตามนัยนี้นั่นแล. แต่ในสองบท
นี้มีความสักว่าแปลกกัน ดังต่อไปนี้ :- พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งสุข ด้วย
อำนาจแห่งฌาน ๓, พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขาร ด้วยอำนาจแห่งฌาน
ทั้ง ๔. ขันธ์ ๒ มีเวทนาเป็นต้น ชื่อว่าจิตสังขาร. ก็บรรดาสองบทนี้ ใน
สุขปฏิสังเวทิบท ท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา เพื่อแสดงภูมิ
แห่งวิปัสสนาว่า คำว่า สุข ได้แก่สุข ๒ อย่า ง คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑.
สองบทว่า ปสฺสมฺภย จิตฺตสงฺขาร ความว่า ระงับ คือดับจิต-
สังขารที่หยาบ ๆ เสีย. ความคับจิตสังขารนั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัย
ดังที่กล่าวแล้วในกายสังขารนั้นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง บรรดาบทเหล่านี้ ในปีติบท ท่านกล่าวเวทนาไว้ด้วย
ปีติเป็นประธาน, ในสุขปฏิสังเวทิบท ท่านกล่าวเวทนาไว้โดยสรุปทีเดียว, ใน
* ขุ. ปฏิ. ๓๑/ ๒๘๑-๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 374
จิตสังขารบททั้งสอง เป็นอันท่านกล่าวเวทนาที่สัมปยุตด้วยสัญญาไว้ เพราะ
พระบาลีว่า สัญญาและเวทนา เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็น
จิตสังขาร* ดังนี้. จตุกกะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
โดยเวทนานุปัสสนานัย ด้วยประการอย่างนี้.
แม้ในจตุกกะที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้:- บัณฑิตพึงทราบความเป็นผู้รู้
แจ้งจิต ด้วยอำนาจแห่งฌาน ๔.
สองบทว่า อภิปฺปโมทย จิตฺต ความว่า ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า
เราจักยังจิตให้บันเทิง คือให้ร่าเริง ได้แก่ ให้เบิกบานหายใจเข้าหายใจออก.
ในสองบทนั้น ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ อย่างคือ ด้วยอำนาจ
สมาธิ และด้วยอำนาจวิปัสสนา.
ถามว่า ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอำนาจสมาธิอย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ.
เธอนั้นย่อมให้จิตรื่นเริง ด้วยปีติที่สัมปยุต ในขณะแห่งสมาบัติ.
ถามว่า ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอำนาจวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุครั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้วพิจารณา
อยู่ซึ่งปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม. เธอทำปีติสัมปยุตด้วย
ฌานให้เป็นอารมณ์ ในขณะแห่งวิปัสสนาอย่างนั้นแล้ว ให้จิตรื่นเริง บันเทิง
อยู่. ผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ท่านเรียกว่าย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง
หายใจเข้าหายใจออก.
สองบทว่า สมาทห จิตฺต ความว่า ดำรงจิตไว้เสมอ คือ ทั้งจิต
ไว้เสมอในอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น. ก็หรือว่า เมื่อ
เธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกจากฌาน พิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌาน
* ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๘๓-๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 375
โดยความสิ้น ความเสื่อม ความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ)
ย่อมเกิดขึ้น เพราะการแทงตลอดลักษณะ ในขณะแห่งวิปัสสนา ภิกษุผู้
ดำรงจิตไว้เสมอ คือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ แม้ด้วยอำนาจแห่งความที่จิตมี
อารมณ์เดียวชั่วขณะ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักตั้งจิตไว้มั่น หายใจเข้าหายใจออก.
สองบทว่า วิโมจย จิตฺต ความว่า เมื่อเปลื้อง เมื่อปล่อยจิตให้
พ้นจากนิวรณ์ทั้งหลาย ด้วยปฐมฌาน คือ เมื่อเปลื้อง ปล่อยจิตให้พ้นจาก
วิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน จากปีติด้วยตติยฌาน จากสุขและทุกข์ด้วย
จตุตถฌาน. ก็หรือว่า เธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกมาพิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่
สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม ในขณะแห่งวิปัสสนา เธอนั้น
เปลื้อง คือ ปล่อยจิตให้พ้น จากนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) ด้วยอนิจจานุ
ปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง) เปลื้อง คือ ปล่อยจิตให้พ้นจากสุข
สัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ด้วยทุกขานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่า
เป็นทุกข์) จากอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) ด้วยอนัตตานุปัสสนา
(ความพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน) จากนันทิ (ความเพลิดเพลิน) ด้วย
นิพพิทานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) จากราคะ (ความ
กำหนัด) ด้วยวิราคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเครื่องคลายความ
กำหนัด) จากสมุทัย (ตัณหาที่ยังทุกข์ให้เกิด) ด้วยนิโรธานุปัสสนา (ความ
พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องคับ) จากอาทาน (ความยึดถือ) ด้วยปฏิ-
นิสสัคคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องสละคืนซึ่งอุปธิ) หาย
ใจเข้าและหายใจออกอยู่. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า หายใจออก. จตุกกะนี้ บัณฑิตพึง
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งจิตตานุปัสสนาอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 376
ส่วนในจตุกกะที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้
พึงทราบ อนิจจัง (ของไม่เทียง) พึงทราบ อนิจจตา (ความเป็นของไม่
เที่ยง) พึงทราบ อนิจจตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) พึง
ทราบ อนิจจานุปัสสี (ผู้พิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) เสียก่อน.
ในลักษณะ ๔ อย่าง มีอนิจจังเป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่า อนิจจัง ได้แก่
เบญจขันธ์ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า เบญจขันธ์มีความเกิดขึ้น มีความ
เสื่อมไป และมีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ที่ชื่อว่า อนิจจตา ได้แก่ ข้อที่เบญจขันธ์เหล่านั้นนั่นเอง มีความ
เกิดขึ้น มีความเสื่อมไป และมีความเป็นไปโดยอาการอื่น หรือมีแล้ว กลับ
ไม่มี อธิบายว่า เบญจขันธ์เหล่านั้น เกิดขึ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่โดยอาการนั้นนั่น
แล แตกดับเพราะความแตกดับไปชั่วขณะ.
ที่ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นในเบญจขันธ์
ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง ด้วยอำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยงนั้น.
ที่ชื่อว่า อนิจจานุปัสสี ได้แก่ พระโยคาวจรผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนา
นั้น. เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรผู้เป็นแล้วอย่างนั้นหายใจเข้า และหายใจออก
อยู่ บัณฑิตพึงทราบในอธิการนี้ว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นว่า
ไม่เที่ยง หายใจเข้า หายใจออก.
ส่วนวิราคะ ในบทว่า วิราคานุปัสสี นี้ มี ๒ อย่าง คือ ขยวิราคะ
คลายความกำหนัด คือความสิ้นไป ๑ อัจจันตวิราคะ คลายความกำหนัด
โดยส่วนเดียว ๑ บรรดาราคะ ๒ อย่างนั้น ความแตกดับไปชั่วขณะแห่งสังขาร
ทั้งหลาย ชื่อ ว่า ขยวิราคะ. พระนิพพาน ชื่อว่า อัจจันตวิราคะ. วิปัสสนา
และมรรคที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งการเห็นวิราคะทั้ง ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า
วิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นการคลายความกำหนัด). พระโยคาวจร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 377
เป็นผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนาแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกอยู่
บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า
หายใจออก. แม้ในบทว่า นิโรธานุปัสสี ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ปฏินิสสัคคะ (ความสละคืนอุปธิ) แม้ในบทว่า ปฏินิสฺ-
สคฺคานุปสฺสี นี้ก็มี ๒ อย่างคือ ปริจจาคปฏินิสสัคคะ ความสละคืน
คือความเสียสละ ๑ ปักขันทนปฏินิสสัคคะ ความสละคืน คือความแล่นไป
๑. การพิจารณาเห็น คือความสละคืนนั่นเอง ชื่อว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา.
คำว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา นั่น เป็นชื่อแห่งวิปัสสนาและมรรค. จริง
อยู่ วิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืน คือการละ เพราะ
ย่อมละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยอำนาจตทังคปหาน และว่า
การสละคืนคือการแล่นไปเพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพาน ซึ่งผิดจากสังขาร
นั้น เหตุที่น้อมไปในพระนิพพานนั้น เพราะเห็นโทษแห่งสังขตธรรม.
มรรคพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืน คือการละ เพราะย่อมละ
กิเลสพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยสามารถสมุจเฉทปหาน และว่า การสละคืน
คือการแล่นไป . เพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพาน ด้วยการกระทำให้เป็น
อารมณ์. ก็ วิปัสสนาญาณและมรรคญาณแม้ทั้ง ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกว่า อนุปัสสนา เพราะเล็งเห็นญาณต้น ๆ ในภายหลัง. ภิกษุเป็นผู้
ประกอบด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออก
อยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้มีปกติเล็งเห็นญาณชื่อ
ปฏินิสสัคคะ ในภายหลัง หายใจเข้า หายใจออก ดังนี้.
คำว่า เอว ภาวโตความว่า เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วย
อาการ ๑๖ อย่าง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
กถาว่าด้วยอานาปรานัสสติสมาธิ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 378
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติตติยปาราชิกสิกขาบท
ก็ ในคำว่า อถโข ภควา เป็นต้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้:-
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงปลอบภิกษุทั้งหลายให้เบาใจ ด้วยอานาปานัสสติ-
สมาธิกถา อย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้น ตรัสให้ประชุมภิกษุสงฆ์ เพราะเกิด
เรื่องที่ภิกษุทั้งหลายปลงชีวิตกันและกัน อันเป็นเหตุก่อให้เกิดผล และเป็น
เหตุเริ่มแรกแห่งการบัญญัติตติยปาราชิกสิกขาบทนี้แล้ว ตรัสสอบถามและทรง
ติเตียนแล้ว เพราะในการปลงชีวิตนั้น การปลงชีวิตตนเอง และการใช้ให้
มิคลัณฑิกสมณกุตก์ปลงชีวิตตน ย่อมไม่เป็นวัตถุแห่งปาราชิก ; ฉะนั้น จึง
ทรงเว้นการปลงชีวิต ๒ อย่างนั้นเสีย ทรงถือเอาการปลงชีวิตกันและกัน อัน
เป็นวัตถุแห่งปาราชิกอย่างเดียว ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบท ตรัสพระพุทธพจน์
มีคำว่า อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต ดังนี้ เป็นต้น.*
ก็ในพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสว่า โมฆปุริสา ตรัสว่า เต
ภิกฺขู เพราะภิกษุเหล่านั้น เจือด้วยพระอริยบุคคล.
[ภิกษุฉัพพัคดีย์พรรณนาคุณแห่งความตาย]
ครั้งเมื่อตติยปาราชิก อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติทำให้มั่นด้วย
อำนาจแห่งความขาดมูล ด้วยประการฉะนั้นแล้ว เรื่องพรรณนาคุณแห่งความ
ตายแม้อื่นอีก ก็ได้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่อนุบัญญัติ. เมื่อแสดงความเกิด
ขึ้นแห่งเรื่องนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวว่า เอวญฺจิท ถควตา เป็น
อาทิ.
* วิ. มหา. ๑/๑๓๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 379
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิพทฺธจิตฺตา มีความว่า ผู้มีจิตรัก
ใคร่ด้วยฉันทราคะ อธิบายว่า เป็นผู้มีความรักมาก คือมีความเพ่งเล็ง.
สองบทว่า มรณวณฺณ สวณฺเณม มีความว่า เราจะชี้โทษในความ
เป็นอยู่ แล้วพรรณนาคุณ คือแสดงอานิสงส์แห่งความตาย .
ในบทว่า กตกลฺยาโณ เป็นอาทิ มีเนื้อความเฉพาะบทดังต่อไปนี้:-
กรรมอันงาม คือสะอาดอันท่านทำแล้ว ; เพราะเหตุนั้นท่านย่อมเป็นผู้ชื่อว่า
มีกรรมงามอันทำแล้วแล. อนึ่ง กุศล คือกรรมอันหาโทษมิได้ อันท่านทำ
แล้ว ; เพราะเหตุนั้น ท่านชื่อว่าผู้มีกุศลอันทำแล้ว. ความเป็นผู้ขลาด กล่าว
คือความกลัวอันใด ย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อมรณกาลมาถึงเข้า.
เครื่องต้านทาน คือกรรมเครื่องป้องกัน จากความเป็นผู้ขลาดนั้นอันท่านทำ
แล้ว, เพราะเหตุนั้น ท่านชื่อว่าผู้มีเครื่องต้านทานจากความเป็นผู้ขลาดอัน
กระทำแล้ว. กรรมที่เป็นบาป คือลามกอันท่านมิได้ทำแล้ว ; เพราะเหตุนั้น
ท่านชื่อว่าผู้ไม่ได้ทำบาป. กรรมของผู้ละโมบ คือกรรมทารุณ ได้แก่กรรม
เครื่องเป็นผู้ทุศีล อันท่านมิได้ทำไว้ ; เพราะเหตุนั้น ท่านชื่อว่าผู้มีได้ทำกรรม
ของผู้ละโมบ . กรรมหยาบช้า คือกรรมเลวทรามเป็นที่หนาขึ้นแห่งกิเลสมีโลภะ
เป็นต้น อันท่านมิได้ทำไว้ ; เพราะเหตุนั้น ท่านชื่อว่า ผู้มิได้ทำกรรมที่
หยาบช้า. คำว่า ท่านมีกรรมงามได้ทำแล้ว เป็นต้นนี้ เราทั้งหลายย่อมกล่าว
เพราะเหตุไร ? เพราะกรรมงามแม้ทุกประการอันท่านทำแล้ว กรรมอันเป็น
บาปแม้ทุกประการอันท่านมิได้ทำแล้ว ; เพราะเหตุนั้น เราทั้งหลาย จึงกล่าว
กะท่านว่าจะประโยชน์อะไรของท่าน ด้วยชีวิตอันชื่อว่าเลวทรามคือต่ำช้าเพราะ
ถูกโรคครอบงำ อันชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมากไปด้วยทุกข์นี้, ความตายของ
ท่านประเสริฐกว่าความเป็นอยู่. เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ความตายของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 380
ท่าน ดีกว่าความเป็นอยู่. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ท่านเป็นผู้ทำกาละแล้ว
คือมีกาละอันทำแล้ว อธิบายว่าทำกาลกิริยา คือตายแล้วจากโลกนี้ ต่อจาก
ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ และท่านเข้าถึงแล้วอย่างนั้น จัก
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ คือส่วนแห่งวัตถุกาม ๕ มีรูปเป็นที่น่าชอบใจ
เป็นต้น อันเป็นทิพย์ซึ่งเกิดขึ้นในเทวโลกนั้น ยังอัตภาพให้เที่ยวไป ; อธิบาย
ว่า จักเป็นผู้ประกอบพร้อม คือถึงความพรั่งพร้อม (ด้วยกามคุณ ๕ คือส่วน
แห่งวัตถุกาม ๕ อันเป็นทิพย์ซึ่งเกิดขึ้นในเทวโลกนั้น) จักเที่ยวไปข้างนี้และ
ข้างนี้ คือจักอยู่ หรือจักอภิรมย์.
บทว่า อสปฺปายานิ ความว่า โภชนาหารเหล่าใด ยังตนให้ถึง
ความสิ้นไปแห่งชีวิตอย่างเร็วพลัน โภชนาหารเหล่านั้น จักว่าไม่เกื้อกูล คือ
ไม่ทำความเจริญให้.
[อธิบายสัญจิจจศัพท์]
ศัพท์ว่า สญฺจิจฺจ นี้ เป็นศัพท์หนุนสัญจิจจบท ที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ในมาติกาว่า สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคห ศัพท์ว่า ส
ในบทว่า สญฺจิจฺจ นั้นเป็นอุปสรรค . คำว่า สญฺจิจฺจ นี้ เป็นคำบ่งถึง
บุพกาลกิริยา รวมกับ ส อุปสรรคนั้น. ใจความแห่งบทว่า สญฺจิจฺจ นั้น
ว่า จงใจ คือแกล้ง. ก็ภิกษุใดแกล้งปลง, ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้อยู่ คือรู้พร้อมอยู่
และการปลงนั้นของภิกษุนั้น เป็นความแกล้ง คือฝ่าฝืนละเมิด ; เพราะเหตุ
นั้น เพื่อจะไม่ทำความเอื้อเฟื้อในพยัญชนะ แสดงแต่ใจความเท่านั้น ท่าน
พระอุบาลีเถระ จึงกล่าวบทภาชนะแห่งบทว่า สญฺจิจฺจ นั้น อย่างนี้ว่า รู้อยู่
รู้พร้อมอยู่ แกล้ง คือฝ่าฝืนละเมิด.
บรรดาบทเหล่นั้น บทว่า ชานนฺโต คือ รู้อยู่ว่า สัตว์มีปราณ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 381
บทว่า สญฺชานนฺโต คือ รู้พร้อมอยู่ว่า เราจะปลงเสียจากชีวิต.
อธิบายว่า รู้อยู่พร้อมกับอาการที่รู้ว่า สัตว์มีปราณนั้นนั่นเอง.
บทว่า เจจฺจ ความว่า จงใจ คือ ปักใจ ด้วยอำนาจเจตนาจะฆ่า.
บทว่า อภิวิตริตฺวา ความว่า ส่งจิตที่หมดความระแวงสงสัยไปย่ำยี
ด้วยอำนาจความพยาบาท.
ด้วยบทว่า วิติกฺกโม มีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ความล่วงละเมิด
แห่งจิตหรือบุคคล ซึ่งเป็นไปแล้วอย่างนั้น นี้เป็นความอธิบายสุดยอดแห่ง
สัญจิจจ ศัพท์.
[อธิบายปฐมจิตของมนุษย์ผู้เริ่มลงสู่ครรภ์]
บัดนี้ ท่านพระอุบาลีเถระ กล่าวคำเป็นต้นว่า ชื่อว่ากายมนุษย์
เพื่อจะแสดงอัตภาพของมนุษย์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในคำว่า ปลงกาย
มนุษย์เสียจากความเป็นอยู่ นี้ ตั้งแต่แรก.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า (ปฐมจิต) อันใด (เกิดขึ้นแล้ว)
ในท้องแห่งมารดา ท่านพระอุบาลีเถระกล่าว เพื่อแสดงอัตภาพอันละเอียดที่สุด
ด้วยอำนาจแห่งเหล่าสัตว์ผู้นอนในครรภ์. ปฏิสนธิจิต ชื่อจิตดวงแรก. บทว่า
ผุดขึ้น ได้แก่เกิด. คำว่า วิญญาณดวงแรก มีปรากฏ นี้ เป็นคำไข ของ
คำว่า จิตดวงแรก ที่ผุดขึ้น นั้นนั่นแหละ. บรรดาคำเหล่านี้ ด้วยคำว่า
จิตดวงแรก (ที่ผุดขึ้น) ในท้องมารดา นั่นแหละ เป็นอันท่านแสดงปฏิสนธิ
ของสัตว์ผู้มีขันธ์ ๕ แม้ทั้งสิ้น. เพราะเหตุนั้น กายมนุษย์อันเป็นที่แรกที่สุดนี้
คือ จิตดวงแรกนั้น ๑ อรูปขันธ์ ๓ ที่เกี่ยวเกาะด้วยจิตนั้น ๑ กลลรูปที่เกิด
พร้อมกับจิตนั้น ๑. บรรดาอรูปขันธ์ และกลลรูปแห่งจิตดวงแรกนั้น รูป
๓ ถ้วน ด้วยอำนาจแห่งกาย ๑๐ วัตถุ ๑๐ และภาวะ ๑๐ แห่งสตรีและบุรุษ,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 382
รูป ๒๐ ด้วยอำนาจแห่งกาย ๑๐ และวัตถุ ๑๐ แห่งพวกกะเทย ชื่อว่ากลลรูป.
บรรดาสตรี บุรุษ และกะเทยนั้น กลลรูปของสตรีและบุรุษ มีขนาดเท่า
หยาดน้ำมันงาที่ช้อนขึ้นด้วยปลายข้างหนึ่ง แห่งขนแกะแรกเกิด เป็นของใส
กระจ่าง จริงอยู่ ในอรรถกถาท่านกล่าวคำนี้ว่า
หยาดน้ำมันงา หรือสัปปิใส ไม่ขุ่น
มัว ฉันใด, รูปมีส่วนเปรียบด้วยสี ฉันนั้น
เรียกว่ากลลรูป.
อัตภาพของสัตว์มีอายุ ๑๒๐ ปีตามปกติ ที่ถึงความเติบโตโดยลำดับ
ในระหว่างนี้ คือตั้งต้นแต่เป็นวัตถุเล็กนิดอย่างนั้น จนถึงเวลาตาย นี้ ชื่อว่า
กายมนุษย์.
สองบทว่า ปลงเสียจากชีวิต ความว่า พึงพรากเสียจากชีวิต
ด้วยการนาบ และรีด หรือด้วยการวางยา ในกาลที่ยังเป็นกลละก็ดี หรือด้วย
ความพยายามที่เหมาะแก่รูปนั้น ๆ ในกาลถัดจากเป็นกลละนั้นไปก็ดี. ก็ขึ้น
ชื่อว่าปลงเสียจากชีวิต โดยความ ก็คือการเข้าไปตัดอินทรีย์ คือชีวิตเสียนั่น
เอง ; เพราะฉะนั้น ในวาระจำแนกบทแห่งสองบทว่า ปลงเสียจากชีวิต นั้น
ท่าน (พระอุบาลี) จึงกล่าวว่า เข้าไปตัด คือเข้าไปบั่นอินทรีย์ คือชีวิตเสีย
(ไขความว่า) ทำความสืบต่อให้ขาดสาย. เมื่อเข้าไปตัด และเข้าไปบั่นความ
สืบต่อเชื้อสาย แห่งอินทรีย์คือชีวิตเสีย ท่านกล่าวว่า ย่อมเข้าไปตัด เข้าไป
บั่นอินทรีย์ คือชีวิตเสีย ในบทภาชนะนั้น. เนื้อความนี้นั้น ท่านแสดงด้วย
บทว่า ทำความสืบต่อให้ขาดสาย.
บทว่า ให้ขาดสาย คือพรากเสีย. ในบทว่า อินทรีย์ คือชีวิต นั้น
อินทรีย์คือชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ ๑ อรูปชีวิตินทรีย์ ๑. ใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 383
๒ อย่างนั้น ในอรูปชีวิตินทรีย์ ไม่มีความพยายาม ใคร ๆ ไม่สามารถปลง
อรูปชีวิตินทรีย์นั้นได้. แต่ในรูปชีวิตินทรีย์ มี, บุคคลอาจปลงได้. ก็เมื่อ
ปลงรูปชีวิตินทรีย์นั้น ชื่อว่า ปลงอรูปชีวิตินทรีย์ด้วย. จริงอยู่ อรูปชีวิตินทรีย์
นั้น ย่อมดับพร้อมกับรูปชีวิตินทรีย์นั้นนั่นเอง เพราะมีพฤติการณ์เนื่องด้วย
รูปชีวิตินทรีย์นั้น.
ถามว่า ก็เมื่อปลงชีวิตินทรีย์นั้น ย่อมปลงที่เป็นอดีต หรือเป็นอนาคต
หรือปัจจุบัน
ตอบว่า ไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต. ก็ในชีวิตินทรีย์ ๒ ประการนั้น
ประการหนึ่งดับไปแล้ว ประการหนึ่งยังไม่เกิดขึ้น ; เพราะฉะนั้น ชื่อว่าไม่มี
ทั้ง ๒ ประการ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มี ความพยายามจึงไม่มี ; เพราะความ
พยายามไม่มี จึงไม่อาจปลงได้ แม้ประการหนึ่ง. จริงอยู่ แม้คำนี้ท่านพระ-
ธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็ได้กล่าวไว้ว่า สัตว์เป็นอยู่แล้ว ในขณะจิตที่เป็นอดีต
ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่, จักเป็นอยู่ ในขณะจิตที่เป็นอนาคต
ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่, กำลังเป็นอยู่ ในขณะจิตที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่* เพราะฉะนั้น ชีวิตย่อมเป็นอยู่ ในขณะ
จิตใด, ความพยายามเป็นของสมควรในขณะจิตนั้น ; เพราะเหตุนั้น บุคคล
ชื่อว่าย่อมปลงชีวิตินทรีย์ที่เป็นปัจจุบัน.
[ชีวิตินทรีย์ปัจจุบันมี ๓ ขณะ]
ก็ขึ้นชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ที่เป็นปัจจุบันนี้ มี ๓ อย่าง คือขณปัจจุบัน ๑
สันตติปัจจุบัน ๑ อัทธาปัจจุบัน ๑. ใน ๓ อย่างนั้น ปัจจุบันที่พร้อมเพรียง
ด้วยความเกิด ความเสื่อมและความสลาย ชื่อขณปัจจุบัน, ใครๆไม่สามารถ
* ขุ. มหา. ๒๙/๔๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 384
จะปลงขณปัจจุบันนั้นได้. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ดับไปเองทีเดียว.
(ขณะจิต) ชั่ว ๗ - ๘ ชวนวาระ ที่เป็นไปด้วยอำนาจสภาคสันตติแล้วดับไป
ชื่อสันตติปัจจุบัน, เมื่อบุคคลมาจากที่ร้อน เข้าสู่ห้องน้อยแล้วนั่ง อันธการ
ยังมี เพียงใด หรือว่าเมื่อบุคคลมาจากที่เย็น นั่งในห้องน้อย ฤดูที่มีอยู่ก่อน
ยังไม่ระงับไปด้วยความปรากฏแห่งฤดูที่เป็นวิสภาคกันเพียงใด, ในระหว่างนี้
ท่านเรียกว่า สันตติปัจจุบัน เพียงนั้น. ส่วนตั้งแต่ปฏิสนธิไปจนถึงจุติ นี้ชื่อ
ว่าอัทธาปัจจุบัน. บุคคลอาจปลงหมวดสองแห่งชีวิตินทรีย์ที่เป็นสันตติ
ปัจจุบัน และอัทธาปัจจุบันนั้นได้บ้าง. ถามว่า อาจปลง ได้อย่างไร แก้ว่า
จริงอยู่ เมื่อบุคคลทำความพยายามในหมวด ๒ แห่งสันตติปัจจุบัน และอัทธา-
ปัจจุบันนั้น. หมวดแห่งรูป ๑๐ ประการ ซึ่งกำหนดด้วยชีวิต ได้ความพยายาม
แล้วเมื่อดับ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งสันดานที่ทุรพล มีกำลังเสื่อมสิ้นไปแล้ว,
ต่อจากนั้น สันตติปัจจุบันหรืออัทธาปัจจุบัน ยังไม่ทันถึงกาล ที่กำหนดไว้
ย่อมดับไปในระหว่างเทียว ด้วยประการใด, บุคคลอาจปลงแม้ซึ่งหมวดสอง
แห่งชีวิตินทรีย์ที่เป็นสันตติปัจจุบัน และอัทธาปัจจุบันนั้นได้บ้าง ด้วยประการ
นั้น. เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า คำว่า ทำความสืบต่อให้
ขาดสาย นี้ ท่านกล่าวหมายเอาหมวดสองปัจจุบันนั่นเอง.
ก็แล เพื่อประกาศเนื้อความนั้น ควรทราบปาณะ, ควรทราบปาณาติ-
บาต, ควรทราบปาณาติปาตี, ควรทราบประโยคแห่งปาณาติบาต.
บรรดาปาณะเป็นต้น เหล่านั้น ที่ชื่อว่า ปาณะ โดยโวหารได้แก่สัตว์
โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์. จริงอยู่ บุคคลผู้ยังชีวิตินทรีย์ให้ตกล่วงไป
ท่านกล่าวว่า ยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป. ชีวิตินทรีย์นั้น มีประการดังกล่าว
แล้วนั้นแล. ปาณาติบาตนั้น คือ บุคคลยังประโยคอันเข้าไปตัดเสีย ซึ่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 385
ชีวิตินทรีย์ ให้ตั้งขึ้นด้วยเจตนาใด เจตนานั้น ชื่อว่า วธกเจตนา ท่านเรียกว่า
ปาณาติบาต (เจตนาธรรมเป็นเหตุล้างผลาญชีวิตสัตว์มีปราณ). บุคคลผู้พร้อม
เพรียงด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว พึงเห็นว่า ผู้ล้างผลาญสัตว์มีปราณ.
[ประโยคแห่งการฆ่า ๖ อย่าง]
ที่ชื่อว่า ประโยคแห่งปาณาติบาตนั้น ได้แก่ ประโยคแห่งปาณาติบาท
๖ อย่าง คือ สาหัตถิกประโยค ๑ อาณัตติกประโยค ๑ นิสสัคคิย-
ประโยค ๑ ถาวรประโยค ๑ วิชชามยประโยค ๑ อิทธิมยประโยค ๑.
บรรดาประโยคเหล่านั้น การประหารด้วยกาย หรือของที่เนื่องด้วยกาย แห่ง
บุคคลผู้ฆ่าให้ตายเอง ชื่อว่า สาหัตถิกประโยค. การสั่งบังคับว่า ท่านจง
แทงหรือประหารให้ตาย ด้วยวิธีอย่างนั้น ของบุคคลผู้ใช้คนอื่น ชื่อว่า
อาณัตติกประโยค. การซัดเครื่องประหารมีลูกศร หอกยนต์และหินเป็นต้น
ไป ด้วยกาย หรือของที่เนืองด้วยกาย แห่งบุคคลผู้มุ่งหมายจะฆ่าบุคคลซึ่งอยู่
ในที่ไกล ชื่อว่า นิสสัคคิยประโยค. การขุดหลุมพรางวางกระดานหก วาง
(เครื่องประหาร) ไว้ใกล้ และการจัดยา (พิษ) แห่งบุคคลผู้มุ่งหมายจะฆ่า
ด้วยเครื่องมืออันไม่เคลื่อนที่ ชื่อว่า ถาวรประโยค. ประโยคแม้ทั้ง ๘ นั้น
จักมีแจงโดยพิสดารในอรรถกถาแห่งบาลีข้างหน้านั่นแล. ส่วนวิชชามยประโยค
และอิทธิมยประโยค ไม่ได้มาในบาลี. พึงทราบประโยคทั้ง ๒ นั้นอย่างนี้
ก็โดยสังเขป การร่ายมนต์เพื่อจะให้เขาตาย ชื่อว่า วิชชามยประโยค. แต่
ในอรรถกถาทั้งหลาย ท่านแสดงวิชชามยประโยคไว้อย่างนี้ว่า วิชชามยประโยค
เป็นไฉน ? พวกหมออาถรรพณ์ ย่อมประกอบอาถรรพณ์ เมื่อเมืองถูกล้อม
หรือเมื่อสงความเข้าประชิตกันย่อมก่อความจัญไร ความอุบาทว์ โรค ความไข้
ให้เกิดขึ้นในพวกปัจจามิตรผู้เป็นข้าศึก ย่อมทำให้เป็นโรคจุกเสียด ให้เป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 386
โรคป่วง เพื่อจะป้องกัน, พวกหมออาถรรพณ์ย่อมประกอบอาถรรพณ์อย่านี้
พวกทรงวิชาคุณ ร่ายเวทแล้ว เมื่อเมืองถูกล้อมหรือ ฯ ล ฯ ย่อมให้เป็น
โรคป่วง ดังนี้แล้ว กล่าวเรื่องเป็นอันมากของตนทั้งหลายที่ถูกพวกหมอ
อาถรรพณ์ และพวกทรงวิชาคุณฆ่าเสีย จะมีประโยชน์อะไรด้วยเรื่องเหล่านั้น
ก็ลักษณะในวิชชามยประโยคนี้ มีดังนี้:- คือการร่ายมนต์เพื่อจะให้เขาตาย
ชื่อว่า วิชชามยประโยค. การประกอบฤทธิ์อันเกิดแต่ผลแห่งกรรม ชื่อว่า
อิทธิมยประโยค. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าฤทธิ์อันเกิดแต่ผลแห่งกรรมนี้ มีมากอย่าง
เป็นต้นว่า ฤทธิ์นาคของพวกนาค ฤทธิ์สุบรรณของพวกสุบรรณ ฤทธิ์ยักษ์
ของพวกยักษ์ เทวฤทธิ์ของพวกเทพ ราชฤทธิ์ของพวกพระราชา. บรรดาฤทธิ์
นาค เป็นต้นนั้น พึงทราบฤทธิ์นาคของพวกนาค ซึ่งมีพิษในขณะเห็น ขบ
กัดและถูกต้อง ขณะทำการเบียดเบียนสัตว์อื่น เพราะเห็น ขบกัดถูกต้อง
พึงทราบฤทธิ์สุบรรณของพวกสุบรรณ ในการฉุดนาคยาวประมาณ ๑๓๒ วา
ขึ้นจากมหาสมุทร. ส่วนพวกยักษ์เมื่อมาไม่ปรากฏ เมื่อประหารก็ไม่ปรากฏ,
แต่สัตว์ที่พวกยักษ์เหล่านั้นประหารแล้วย่อมตายในที่นั้นนั่นเอง พึงทราบฤทธิ์
ยักษ์ของพวกยักษ์เหล่านั้น ในเพราะเหตุนั้น พึงทราบเทวฤทธิ์ในเพราะความ
ตายของพวกกุมภัณฑ์ ที่ท้าวเวสสุวรรณมองดูด้วยนัยนาวุธ ในกาลก่อน แต่
กาลเป็นพระโสดาบัน และในเพราะฤทธานุภาพของตน ๆ แห่งพวกเทวดา
เหล่าอื่น. พึงทราบราชฤทธิ์ ในเพราะความเหาะไปได้ ในอากาศเป็นต้น
ของพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมทั้งบริษัท ในเพราะความแผ่พระราชอำนาจไป
เป็นต้น ในที่โยชน์หนึ่ง ทั้งเบื้องต่ำและเบื้องบนของพระเจ้าอโศก และใน
เพราะการฆ่าเสียซึ่งกุฎุมพีชื่อว่าจูฬสุมนะด้วยการตอกเขี้ยวแห่งจอมนระชาว
สิงหลพระนามว่าปิตุราช ดังนี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 387
ส่วนพระอาจารย์บางพวก แสดงพระสูตรทั้งหลายเป็นต้นว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องอื่นยังมีอยู่อีก สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีฤทธิ์ ถึงความ
เป็นผู้มีความชำนาญแห่งจิต ย่อมเป็นผู้เพ่งเล็งทารกที่อยู่ในท้องของหญิงอื่น
ด้วยใจอันลามกว่า ทำไฉนหนอ หญิงคนนี้ไม่พึงตลอดทารกที่อยู่ในท้องนั้น
โดยความสวัสดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็เป็นการเบียดเบียนสัตว์ที่
อยู่ในครรภ์ ดังนี้ แล้วกล่าวถึงกรรม คือการเบียดเบียนสัตว์อื่น แม้ด้วย
ภาวนามยฤทธิ์, และปรารถนาความพินาศไปแห่งฤทธิ์ พร้อมกับการเบียดเบียน
สัตว์อื่นเหมือนการแตกแห่งหม้อน้ำ ที่เขาโยนขึ้นไปบนเรือนที่ถูกไฟไหม้
ฉะนั้น. คำที่กล่าวมานั้น เป็นแค่เพียงความปรารถนาของเกจิอาจารย์เหล่านั้น
เท่านั้น. เพราะเหตุไร ?. เพราะไม่สมด้วย กุสลัตติกะ เวทนัตติกะ
วิตักกัตติกะ และปริตตัตติกะ, ข้อนี้อย่างไร ?. ก็ชื่อว่าภาวนามยฤทธิ์นี้
ในกุสลัทติกะ เป็นทั้งกุศลด้วย เป็นทั้งอัพยากฤตด้วย, ปาณาติบาตเป็นอกุศล,
ในเวทนัตติกะ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข ; ปาณาติบาตสัมปยุตด้วยทุกข์ ใน
วิตักกัตติกะ เป็นอวิตักกอวิจาร, ปาณาติบาตเป็นสวิตักกสวิจาระ, ในปริต-
ตัตติกะเป็นมหัคคตะ, ปาณาติบาต เป็นปริตตะ
[อธิบายวัตถุที่เป็นเครื่องประหาร]
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สตฺถหารก วาสฺส ปริเยเสยฺย นี้ดัง
ต่อไปนี้:- เครื่องประหารใด ย่อมนำเสีย ; เหตุนั้น เครื่องประหารนั้น
ชื่อว่า สิ่งนำเสีย. ถามว่า นำเสียซึ่งอะไร ? ตอบว่า นำเสียซึ่งชีวิต. อีก
อย่างหนึ่ง เครื่องประหารใด อันบุคคลพึงนำไป ; เหตุนั้น เครื่องประหารนั้น
ชื่อว่าสิ่งอันบุคคลพึงนำไป อธิบายว่า ; เครื่องประหารอันบุคคลพึงจัดเตรียม
ไว้ ศัสตรานั้นด้วย เป็นสิ่งนำเสียด้วย ; เหตุนั้น ชื่อศัสตราอันนำเสีย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 388
บทว่า อสฺส ได้แก่ กายของมนุษย์.
บทว่า ปริเยเสยฺย มีความว่า พึงทำโดยประการที่ตนจะได้. อธิบาย
ว่า พึงจัดเตรียมไว้. ด้วยคำว่า สตฺถหารก สตฺถหารก วาสฺส ปริเยเสยฺย
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถาวรประโยค. เมื่อจะถือเอาเนื้อความแม้โดย
ประการอื่นจากนี้แล้ว ภิกษุจะพึงเป็นปาราชิกด้วยเหตุสักว่า ศัสตราอันตนแสวง
หามาแล้วเท่านั้น. อันที่จริง ข้อนั้นไม่ถูก แต่ในพระบาลี ท่านพระอุบาลี
เถระ ไม่เอื้อเฟื้อพยัญชนะทั้งปวง เพื่อจะแสดงเฉพาะศัสตราที่สงเคราะห์เข้า
ในถาวรประโยค ในคำว่า สตฺถหารก นี้ เท่านั้น จึงกล่าวไว้ในบทภาชนะ
ว่า อสึ วา ฯ เป ฯ รชฺช วา ดังนี้. บรรดาเครื่องประหารเหล่านั้น เครื่อง
ประหารที่มีดมชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งนอกจากที่กล่าวแล้ว พึงทราบว่า
เป็นศัสตรา. และพึงทราบว่า สงเคราะห์ไม้ค้อน ก้อนหิน ยาพิษและเชือก
เข้าเป็นศัสตราด้วย เพราะเป็นเครื่องผลาญชีวิตให้พินาศ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า มรณวณฺณ วา นี้ ดังต่อไปนี้:- ภิกษุ
แม้แสดงโทษในความเป็นอยู่ โดยนัยมีคำว่า จะมีประโยชน์อะไร ด้วยความ
เป็นอยู่อันชั่วช้าลามกเช่นนี้ ของท่านผู้ไม่ได้เพื่อบริโภคโภชนะอันดี ดังนี้เป็น
ต้น แม้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความตาย โดยนัยมีคำว่า อุบาสก ! ท่านแล
เป็นผู้ทำกรรมงามไว้แล้ว ฯลฯ บาปท่านไม่ได้ทำเลย ความตายของท่านดีกว่า
ความเป็นอยู่ ท่านทำกาละจากอัตภาพนี้แล้ว ฯลฯ จักยังตนให้เที่ยวไป คือ
จักมีนางอัปสรแวดล้อม ถึงความสุข อยู่ในสวนนันทวัน ดังนี้ เป็นต้น ชื่อว่า
พรรณนาคุณแห่งความตายทีเดียว. ฉะนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวบท-
ภาชนะแยกออกเป็น ๒ ส่วนว่า ชี้โทษในความเป็นอยู่ ๑ สรรเสริญคุณใน
ความตาย ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 389
คำว่า มรณาย วา สมาทเปยฺย มีความว่า พึงแนะนำให้ฉวย
เอาอุบาย เพื่อประโยชน์แก่ความตาย. ส่วนคำว่า ท่านจงตกบ่อตายหรือว่าจง
ตกเหวตาย เป็นต้น แม้ที่พระอุบาลีเถรมิได้กล่าวไว้ ในคำมีอาทิว่า สตฺถ
วา อาหร ดังนี้ ทั้งหมด ก็พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้แล้วโดยใจความนั้น
เอง เพราะเป็นคำซึ่งมีนัยดังกล่าวแล้วข้างหน้า. จริงอยู่ ใคร ๆ ก็ไม่สามารถ
กล่าวคำชักชวนทุกอย่างโดยสิ้นเชิงได้.
บทว่า อิติ จิตฺตมโน มีความว่า เธอมีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนั้น
อธิบายว่า เธอมีจิตหมายความตาย มีใจหมายความตายดังกล่าวแล้วในคำนี้ว่า
ความตายของท่านดีกว่าความเป็นอยู่ ก็เพราะในบทว่า จิตฺตมโน นี้ มนศัพท์
ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงใจความแห่งจิตตศัพท์ แต่จิตและใจ แม้ทั้ง ๒ นี้
โดยใจความ ก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง ; เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงความไม่ต่าง
กัน โดยใจความแห่งจิตและใจนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ว่า ธรรม-
ชาติอันใด เป็นจิต ธรรมชาติอันนั้น ก็คือใจ, ธรรมชาติอันใดเป็นใจ ธรรม-
ชาติอันนั้น ก็คือจิต. ส่วนเนื้อความยังไม่ได้กล่าวก่อน แม้เพราะถอนอิติศัพท์
ออกเสีย. อิติศัพท์ พึงชักมาด้วยอำนาจเป็นเจ้าหน้าที่ในบทว่า จิตฺดสงฺกปฺโป
นี้.
จริงอยู่ บทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป นี้ แม้ไม่ได้ตรัสอย่างนี้ว่า อิติ-
จิตฺตสงฺกปฺโป ก็พึงทราบว่า เป็นอันตรัสแล้วโดยความเป็นเจ้าหน้าที่นั่นเอง.
จริงอย่างนั้น เมื่อท่านจะแสดงเฉพาะเนื้อความนั้น แห่งบทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป
นั้น จึงกล่าวว่าคำว่า มรณสญฺี (มีความหมายในอันตาย) เป็นอาทิ. แต่คำ
ว่า สงฺกปฺโป นี้ ในบทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป นั้น มิได้เป็นชื่อของวิตก อันที่
แท้ คำนั้นเป็นคำเรียกกรรมเพียงการจัดแจง และการจัดแจงนั้นย่อมถึงความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 390
สงเคราะห์ด้วยความหมาย ความจงใจ และความประสงค์ในอรรถนี้ ; เพราะ
เหตุนั้น ผู้ศึกษาพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ชื่อว่าผู้มีจิตตสังกัปปะ เพราะ
อรรถวิเคราะห์ว่า เธอมีความจัดแจงแปลก คือมีประการต่าง ๆ. จริงอย่างนั้น
แม้บทภาชนะแห่งบทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป นั้น ท่านพระอุบาลีเถระ ก็กล่าว
ด้วยอำนาจแห่งความหมาย ความจงใจ และความประสงค์. แต่ในอธิการนี้
วิตก พึงทราบว่า เป็นความประสงค์.
สองบทว่า อุจฺจาวเจหิ อากาเรหิ มีความว่า ด้วยอุบายทั้งหลาย
ที่ใหญ่และใหญ่โดยลำดับ. บรรดาการพรรณนาคุณความตายและการชักชวน
ในความตายเหล่านั้น ในการพรรณนาคุณความตายก่อน อวจาการตา พึง
ทราบ ด้วยอำนาจการชี้โทษในความเป็นอยู่ อุจฺจาการตา พึงทราบ ด้วย
อำนาจการสรรเสริญคุณแห่งความตาย. ส่วนในการชักชวน อุจฺจาการตา พึง
ทราบ ด้วยอำนาจการชักชวนในความตาย เพราะเหตุทั้งหลาย มีกำมือและ
ปรบเข่าเป็นต้น อวจาการตา พึงทราบ ด้วยอำนาจการใส่ยาพิษเข้าในเล็บ
มือ ของบุคคลผู้บริโภคร่วมกัน แล้วชักชวนในความตายเป็นต้น.
ในคำว่า โสพฺเภ วา นรเก วา ปปาเต วา นี้มีวินิจฉัยดังนี้:-
บ่อที่ลึก ซึ่งมีตลิ่งชันโดยรอบชื่อว่า โสพภะ. ที่ชื่อว่า นรก ได้ แก่ ชอก
ใหญ่ที่เกิดเองโดยแท้ ในเมื่อพื้นดินแตกระแหงในที่นั้น ๆ อันเป็นที่ซึ่งช้างตก
ไปบ้าง พวกโจรแอบซ่อนอยู่บ้าง. ที่ชื่อว่า ปปาตะ ได้แก่ ประเทศที่ขาด
แหว่งข้างเดียว ในระหว่างภูเขา หรือในระหว่างบนบก.
สองบทว่า ปุริเม อุปาทาย ความว่า ทรงเทียบเคียงบุคลผู้เสพ
เมถุนธรรมและผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ แล้วต้องอาบัติปาราชิก. คำ
ที่เหลือ ปรากฏชัดแล้วแล เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในก่อน และเพราะมีเนื้อ
ความตื้น ฉะนี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 391
[อธิบายมาติกาในบทภาชนีย์]
ท่านพระอุบาลีเถระ ครั้นจำแนกสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อุเทศไว้แล้วตามลำดับบทอย่างนี้ บัดนี้ เมื่อจะตั้งมาติกาแสดงมนุสสวิคคห-
ปาราชิกโดยพิสดารไว้ โดยนัยมีอาทิว่า สาม อธิฏฺาย ดังนี้อีก เพื่อให้
ภิกษุทั้งหลายถือเอานัยโดยอาการทุกอย่าง และเพื่อป้องกันโอกาสของปาปบุคคล
ทั้งหลายในอนาคต เพราะเหตุว่า มนุสสวิคคหปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงในบทภาชนีย์ในหนหลัง โดยสังเขปเท่านั้น ไม่ได้ทรงยกอาบัติขึ้น
ปรับแล้ววางแบบแผนไว้โดยพิสดาร และภิกษุทั้งหลาย ไม่สามารถจะถือเอา
นัยไว้โดยอาการทั้งปวง ในเนื้อความที่ทรงแสดงไว้โดยสังเขป ทั้งแม้ปาปบุคคล
ทั้งหลายในอนาคต ก็มีโอกาส จึงกล่าวคำว่า สามนฺติ สย หนติ ดังนี้
เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น มีถ้อยคำสำหรับวินิจฉัยพร้อมด้วยการพรรณนาบทที
ยังไม่ง่าย ดังต่อไปนี้:-
บทว่า กาเยน ความว่า ด้วยมือ เท้า กำมือ หรือเข่า หรือด้วยอวัยวะ
น้อยใหญ่ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า กายปฏิพทฺเธน ความว่า ด้วยเครื่องประหารมีดาบเป็นต้น
ที่ไม่พ้นจากกาย.
บทว่า นิสฺสคฺคิเยน ความว่า ด้วยเครื่องประหารมีลูกศรและหอก
เป็นต้น ที่พ้นจากกาย หรือจากของที่เนื่องด้วยกาย ด้วยลำดับแห่งคำเพียง
เท่านี้ ประโยคทั้ง ๒ คือ สาหัตถิกประโยคและนิสสัคคิยประโยคเป็นอันท่าน
กล่าวแล้ว. ในประโยคทั้ง ๒ นั้น แต่ละประโยคมี ๒ อย่าง โดยจำแนกเป็น
ประโยคเจาะจงและไม่เจาะจง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 392
บรรดาประโยคเจาะจงและไม่เจาะจงนั้น พึงทราบวินิจฉัยในประโยค
เจาะจง ดังต่อไปนี้:- ภิกษุประหารเจาะจงผู้ใด ด้วยการตายของผู้นั้นนั่นแล
ภิกษุนั้นย่อมถูกกรรมผูกพัน. ในประโยกที่ไม่เจาะจงอย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง จง
ตาย ดังนี้ ด้วยการตายของผู้ใดผู้หนึ่ง เพราะการประหารเป็นปัจจัย ภิกษุ
ย่อมถูกกรรมผูกพัน. ทั้ง ๒ ประโยคผู้ถูกประหารจะตายในขณะพอถูกประหาร
หรือจะตายในภายหลังด้วยโรคนั้นก็ตามที ภิกษุย่อมถูกกรรมผูกพันในขณะที่ผู้
ตายถูกประหารนั่นเอง. แต่เมื่อภิกษุให้ประหารด้วยความประสงค์เพื่อการตาย
เมื่อผู้ถูกประหารไม่ตายด้วยการประหารนั้น จึงให้การประหารด้วยจิตดวงอื่น
ต่อไป ถ้าผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารครั้งแรก แม้ในภายหลัง ภิกษุถูก
กรรมผูกพันในเวลาประหารครั้งแรกเท่านั้น ถ้าตายด้วยการประหารครั้งที่ ๒
ไม่มีปาณาติบาต. แม้เมื่อผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารทั้ง ๒ ครั้ง ภิกษุก็
ถูกกรรมผูกพันแท้ ด้วยการประหารครั้งแรกนั่นเอง. เมื่อไม่ตายด้วยการ
ประหารทั้ง ๒ คราวก็ไม่มีปาณาติเหมือนกัน. ในการที่คนแม้มากให้
การประหารแก่บุคคลผู้เดียว ก็นัยนี้ ถึงในการที่คนมากคนให้การประหารแม้
นั้น ผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารของผู้ใด กรรมพันธ์ ย่อมมีแก่ผู้นั้นเท่า
นั้น ฉะนี้แล.
[ภิกษุฆ่าพ่อแม่เป็นต้นเป็นอนันตริยกรรมและปาราชิก]
อนึ่ง ในอธิการแห่งตติยปาราชิกนี้ เพื่อความฉลาดในกรรมและอาบัติ
พึงทราบแม้หมวด ๔ ว่าด้วยเรื่องแพะ. จริงอยู่ ภิกษุรูปใด สำรวจดูแพะซึ่ง
นอนอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ด้วยคิดในใจว่า เราจักมาฆ่าในเวลากลางคืน. และ
มารดาหรือบิดาของภิกษุนั้นหรือพระอรหันต์ห่มผ้ากาสาวะสีเหลือง แล้ว นอน
อยู่ในโอกาสที่แพะนอน. เธอเวลากลางคืน ทำในในว่า เราจะฆ่าแพะให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 393
ตาย ดังนี้ จึงฆ่ามารดาบิดาหรือพระอรหันต์ตาย. เพราะมีเจตนาอยู่ว่า เรา
จะฆ่าวัตถุนี้ให้ตาย เธอจึงเป็นผู้ฆ่าด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้อง
ปาราชิกด้วย. มีคนอาคันตุกะอื่นบางคนนอนอยู่. เธอทำในใจว่า เราจะฆ่า
แพะให้ตาย จึงฆ่าคนอาคันตุกะนั้นตาย จัดเป็นฆาตกรด้วย ต้องปาราชิกด้วย
แต่ไม่ถูกต้องอนันตริยกรรม. มียักษ์หรือเปรตนอนอยู่. เธอนั้นทำในใจว่า
เราจะฆ่าแพะให้ทาย จึงฆ่ายักษ์หรือเปรตนั้นตาย, เป็นเฉพาะฆาตกร ไม่ถูก
ต้องอนันตริยกรรมและไม่ต้องปาราชิก แต่เป็นถุลลัจจัย. ไม่มีใคร ๆ อื่นนอน
อยู่ มีแต่แพะเท่านั้น. เธอฆ่าแพะตัวนั้นตาย เป็นฆาตกรด้วย ต้องปาจิตตีย์
ด้วย. ภิกษุใดทำในใจว่า เราจะฆ่ามารดาบิดาและพระอรหันต์ คนใดคนหนึ่ง
ให้ตาย ดังนี้แล้ว ก็ฆ่าบรรดาท่านเหล่านั้นนั่นแหละ คนใดคนหนึ่งให้ตาย
ภิกษุนั้น เป็นฆาตกรด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้องปาราชิกด้วย. เธอ
ทำในใจว่า เราจักฆ่ามารดาบิดาและพระอรหันต์เหล่านั้นนั่นแหละ คนใดคน
หนึ่งให้ตาย แล้วก็ฆ่าอาคันตุกะคนอื่นตาย หรือฆ่ายักษ์เปรตหรือแพะตาย.
ผู้ศึกษาหญิงทราบ (อาบัติคือปาราชิก ถุลลัจจัยและปาจิตตีย์) โดยนัยดังกล่าว
แล้วในก่อนนั่นแล. แต่โนวิสัยแห่งการฆ่าสัตว์มีอาคันตุกะเป็นต้นนี้ เจตนา
ย่อมเป็นของทารุณ แล.
[ภิกษุฆ่าพ่อแม่เป็นต้นในกองฟางไม่ต้องปาราชิก]
ในวิสัยแห่งตติยปาราชิกนี้ ผู้ศึกษาควรทราบเรื่องทั้งหลายแม้เหล่าอื่น
มีกองฟางเป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุใด ทำในใจว่า เราจักเช็คดาบหรือที่เปื้อนT
เลือด แล้วสอดเข้าไปในกองฟาง ฆ่ามารดาก็ดี บิดาก็ดี พระอรหันต์ก็ดี
คนอาคันตุกะก็ดี ยักษ์ก็ดี เปรตก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งนอนอยู่ในกองฟาง
นั้นตาย ภิกษุนั้น ด้วยอำนาจแห่งโวหาร เรียกว่า ฆาตกร ได้ แต่เพราะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 394
ไม่มีวธกเจตนา เธอจึงไม่ถูกต้องกรรม ทั้งไม่ต้องอาบัติ. ส่วนภิกษุใด เมื่อ
กำลังสอด (ดาบหรือหอกนั้น) เข้าไปด้วยอาการอย่างนั้น กำหนดได้ว่าสัมผัส
กับร่างกาย ก็สอดเข้าไปฆ่าให้ตายด้วยคิดว่า ชะรอยจะมีสัตว์อยู่ภายโนจงตาย
เสียเถอะ. กรรมพันธ์ (ข้อผูกพันทางกรรม) และอาบัติของเธอนั้น พึงทราบ
โดยสมควรแก่เรื่องเหล่านั้น. เมื่อภิกษุสอด (ดาบหรือหอกนั้น ) เข้าไปเพื่อ
เก็บไว้ในกองฟางนั้นก็ดี โยนเข้าไปที่พุ่มไม้ป่าเป็นต้น ก็ดี ก็นัยนี้.
[ภิกษุฆ่าพ่อในสนามรบเป็นทั้งปาราชิกและปิตุฆาต]
ภิกษุใด คิดว่า เราจะฆ่าโจรให้ตาย แล้วก็ฆ่าบิดาซึ่งกำลังเดินไปด้วย
เพศเหมือนโจรตาย ภิกษุนั้น ย่อมถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย เป็นปาราชิกด้วย.
ส่วนภิกษุใด เห็นนักรบคนอื่นและบิดาซึ่งกำลังทำงาน (การรบ) อยู่ในเสนา
ฝ่ายข้าศึก จึงยิงลูกศรไปเฉพาะตัวนักรบ ด้วยติดในใจว่า ลูกศรแทงนักรบ
คนนั้นแล้วจักแทงบิดาของเรา. ภิกษุรูปนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นปิติฆาตก์ (ผู้ฆ่า
บิดา) ในเมื่อลูกศรพุ่งไปตามความประสงค์. เธอคิดอยู่ในใจว่า เมื่อนักรบ
ถูกลูกศรแทงแล้ว บิดาของเราก็จักหนีไป ดังนี้แล้วจึงยิงลูกศรไป ลูกศรไม่
พุ่งไปตามความประสงค์ กลับทำให้บิดาตาย เธอรูปนั้น ท่านเรียก ปิตุฆาตก์
(ผู้ฆ่าบิดา) ด้วยอำนาจแห่งโวหาร แต่ไม่เป็นอนันตริยกรรม ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
บทว่า อธิฏฺิหิตฺวา ได้แก่ ยืนอยู่ในที่ใกล้. บทว่า อาณาเปติ
ได้แก่ ภิกษุผู้สั่ง สั่งเจาะตัวหรือไม่เจาะตัว. บรรดาการสั่งเจาะตัวไม่เจาะตัวนั้น
ครั้นหมู่เสนาฝ่ายข้าศึก ปรากฏขึ้นเฉพาะแล้ว เมื่อภิกษุผู้สั่ง สั่งไม่เจาะตัว
เลยว่า เธอจงแทงอย่างนี้ จงประหารอย่างนั้น จงฆ่าอย่างนี้ เป็นปาณาติบาต
แก่เธอทั้ง ๒ รูป มีประมาณเท่าจำนวนข้าศึกที่ภิกษุผู้รับสั่งฆ่า. บรรดาภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 395
ผู้สั่งและผู้รับสั่งนั้น ถ้าภิกษุผู้สั่งมีมารดาและบิดาอยู่ด้วย, เธอผู้สั่ง ย่อมต้อง
อนันตริยกรรมด้วย, ถ้ามีพระอรหันต์อยู่ด้วย, เธอแม้ทั้ง ๒ รูป ย่อมต้อง
อนันตริยกรรมด้วย. ถ้าภิกษุผู้รับสั่งเท่านั้นมีมารดาและบิดาอยู่ (ในสนามรบ),
ภิกษุผู้รับสั่งเท่านั้นแล ย่อมต้องอนันตริยกรรม. แต่เมื่อภิกษุผู้สั่ง สั่งเจาะตัวว่า
เธอจงแทง จงประหารจงฆ่านักรบคนนั้น ผู้สั่ง ต่ำ มีเสื้อสีแดง มีเสื้อสีเขียว
ซึ่งนั่งอยู่บนคอช้าง (หรือ) นั่งอยู่ตรงกลาง (หลังช้าง), ถ้าภิกษุผู้รับสั่งนั้น
ฆ่านักรบคนนั้นนั่นเอง, เป็นปาณาติบาตแม้ด้วยกันทั้ง ๒ รูป, และในเรื่อง
แห่งอนันตริยกรรม ย่อมต้องอนันตริยกรรมด้วยกันทั้ง ๒ รูป. ถ้าภิกษุผู้รับ
สั่งฆ่าคนอื่นตาย, ปาณาติบาต ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สั่ง. อาณัตติกประโยค
ย่อมเป็นอันท่านกล่าวไว้แล้ว ด้วยคำว่า อธิฏฺหิตฺวา อาณาเปติ เป็นต้นนั่น.
[ฐานะ ๕ และ ๖ พร้อมทั้งอรรถาธิบาย]
โนอาณัตติกประโยคนั้น :-
ผู้พิจารณาที่ฉลาด พึงสอบสวน
ฐานะ ๕ ประการ คือ วัตถุ กาล โอกาส
อาวุธ และอิริยาบถ แล้วพึงทรงไว้ซึ่ง
อรรถคดี.
อีกนัยหนึ่ง:-
เหตุทำให้การสั่งแน่นอน (สำเร็จได้)
มี ๖ อย่างนี้ คือ วัตถุ กาล โอกาส อาวุธ
อิริยาบถ และกิริยาพิเศษ.
บรรดาฐานะมีวัตถุเป็นต้นนั้น ฐานะว่า วัตถุ ได้แก่ สัตว์ที่จะพึง
ถูกฆ่าให้ตาย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 396
ฐานะว่า กาล ได้แก่ กาลมีกาลเช้าและเย็นเป็นต้น และกาลมีวัย
เป็นหนุ่มสาวมีเรี่ยวแรงและมีความเพียรเป็นต้น.
ฐานะว่า โอกาส ได้แก่ สถานทีมีอาทิอย่างนี้ คือ บ้าน ป่า
ประตูเรือน ท่ามกลางเรือน ถนน รถ หรือทาง ๓ แพร่ง.
ฐานะว่า อาวุธ ได้แก่ อาวุธมีอาทิอย่างนั้น คือ ดาบ ลูกศร หรือหอก.
ฐานะว่า อิริยาบถ ได้แก่ อิริยาบถมีอาทิอย่างนี้ คือ การเดิน
หรือนั่ง ของผู้ที่จะพึงถูกฆ่าให้ตาย.
ฐานะว่า กิริยาพิเศษ ได้แก่ กิริยาที่ทำมีอาทิอย่างนี้ คือ แทง ตัด
ทำลาย ถลกหนังศีรษะทำให้เกลี้ยงเหมือนสังข์*.
[อธิบายวัตถุที่จะพึงถูกฆ่า]
ก็ถ้าหากว่า ภิกษุผู้รับสั่งทำให้วัตถุพลาดไป ไพล่ไปฆ่าคนอื่นจาก
บุคคลที่ผู้สั่ง สั่งให้ฆ่า, หรือถูกสั่งว่า ท่านจงประหารข้างหน้าฆ่าให้ตาย
ไพล่ไปประหารข้างหลัง หรือข้าง ๆ หรือที่อวัยวะแห่งใดแห่งหนึ่งให้ตายไป,
ข้อผูกพันทางกรรมย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สั่ง, ข้อผูกพันทางกรรม ย่อมมีแก่ภิกษุ
ผู้รับสั่งเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุผู้รับสั่ง ไม่ทำวัตถุให้พลาดไป ฆ่าผู้นั้น
ตายตามที่สั่งไว้. ข้อผูกพันทางกรรม ย่อมมีแก่เธอทั้ง ๒ รูป คือ แก่ผู้สั่ง
ในขณะที่สั่ง ผู้รับสั่งในขณะที่ประหาร. ก็ในเรื่องวัตถุนี้ ความแปลกกันแห่ง
กรรมและความแปลกกันแห่งอาบัติ ย่อมมี เพราะความแปลกกันแห่งวัตถุ.
บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมาย และผิดที่หมาย ในวัตถุอย่างนี้ก่อน.
* ความหมายของศัพท์นี้ ในสารัตถทีปนี ๒/๔๐๕ อธิบายไว้ว่า ต้องตัดหนังออก (จากศีรษะ)
กำหนดเพียงหมวกหู และหลุมคอ แล้วเอาก้อนกรวดขัดกะโหลกศีรษะให้มีสีขาวเหมือนสังข์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 397
[อธิบายกาลที่สั่งให้ทำการฆ่า]
ส่วนในกาล มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใดได้รับคำสั่งว่า ท่านจงฆ่า
ให้ตายในเวลาเช้า ไม่กำหนดว่า วันนี้ หรือพรุ่งนี้, ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าเขา
ตายเวลาเช้า ในกาลใดกาลหนึ่ง ความผิดที่หมาย ย่อมไม่มี. ส่วนภิกษุรูปใด
ได้รับสั่งว่า ท่านจงฆ่าให้ตายในเวลาเช้าวันนี้, ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าเขาตาย
ในเวลาเที่ยงวัน หรือเวลาเย็น หรือเวลาเช้าพรุ่งนี้, ย่อมผิดที่หมาย, สำหรับ
ภิกษุผู้สั่ง ไม่มีความผูกพันทางกรรม. แม้ในเมื่อภิกษุพยายามจะฆ่าให้ตายใน
เวลาเช้า แต่กลายเป็นเที่ยงวันไป ก็มีนัยเหมือนกัน. บัณฑิตพึงทราบความ
ถูกที่หมายและผิดที่หมาย ในประเภทแห่งกาลทั้งปวงโดยนัยนี้.
[อธิบายโอกาสที่สั่งให้ทำการฆ่า]
แม้ในโอกาส มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า ท่านจงฆ่า
บุคคลนั่น ผู้ยืนอยู่ในบ้านให้ตาย, แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าบุคคลนั้นตายในที่
ใดที่หนึ่ง. ย่อมไม่ผิดที่หมาย. ส่วนภิกษุรูปใดถูกสั่งกำหนดไว้ว่า จงฆ่าให้ตาย
ในบ้านเท่านั้น, แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้นฆ่าเขาตายในป่า, อนึ่ง เธอถูกสั่งว่า จง
ฆ่าให้ตายในป่า, แต่เธอฆ่าเขาตายในบ้าน, ถูกสั่งว่า จงฆ่าให้ตายที่ประตู
ภายในบ้าน ฆ่าเขาตายตรงท่ามกลางเรือน, ย่อมผิดที่หมาย. บัณฑิตพึงทราบ
ความถูกที่หมายและผิดที่หมายในความต่างกันแห่งโอกาสทั้งปวง โดยนัยนี้.
[อธิบายอาวุธที่เป็นเครื่องมือใช่ให้ฆ่า]
แม้ในอาวุธ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่าท่านจงเอาอาวุธ
ฆ่าให้ตาย ไม่ได้กำหนดไว้ว่า ดาบ หรือลูกศร, ภิกษุผู้รับสั่งนั้น เอาอาวุธ
ชนิดใดชนิดหนึ่งฆ่าให้ตาย, ย่อมไม่ผิดที่หมาย. ส่วนภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า
จงใช้ดาบฆ่า แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ใช้ลูกศรฆ่า, หรือถูกสั่งว่า จงใช้ดาบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 398
เล่มนี้ฆ่า ผู้รับสั่งใช้ดาบเล่มอื่นฆ่า หรือถูกสั่งว่า จงเอาคมดาบเล่มเดียวนี้
เท่านั้นฆ่า แต่ภิกษุผู้รับสั่ง ใช้คมคาบนอกนี้หรือใช้ฝ่ามือ หรือใช้จะงอยปาก
หรือใช้ด้ามกระบี่ฆ่า. ย่อมผิด ที่หมาย. บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมายและ
ผิดที่หมายในความแตกต่างกันแห่งอาวุธทั้งปวง โดยนัยนี้.
[อธิบายอิริยาบถที่สั่งให้ทำการฆ่า]
ส่วนในอิริยาบถ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า ท่านจง
ฆ่าบุคคลผู้นั่น ซึ่งกำลังเดินให้ตาย, แต่แม้ถ้าภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าบุคคลผู้
กำลังเดินไปตาย ย่อมไม่ผิดที่หมาย. เมื่อภิกษุผู้สั่ง สั่งว่า ท่านจงฆ่าบุคคล
ผู้กำลังเดินอยู่เท่านั้น ให้ตาย แต่ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าบุคคลผู้นั่งอยู่ตาย. หรือ
ภิกษุผู้สั่ง สั่งว่า ท่านจงฆ่าบุคคลผู้นั่งอยู่เท่านั้น ให้ตาย, แต่ภิกษุผู้รับสั่ง
ฆ่าบุคคลผู้กำลังเดินไปตาย, ย่อมผิดที่หมาย. บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมาย
และผิดที่หมาย ในความต่างแห่งอิริยาบถทั้งปวง โดยนัยนี้.
[อธิบายกิริยาพิเศษที่สั่งให้ทำการฆ่า]
แม้ในกิริยาพิเศษ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า ท่านจง
แทงให้ตาย ภิกษุผู้รับสั่งนั้น แทงให้ตาย, ย่อมไม่ผิดที่หมาย. ส่วนภิกษุรูปใด
ถูกสั่งว่า จงแทงให้ตาย, แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ตัด (ฟัน) ให้ตายเทียว, ย่อม
ผิดที่หมาย. บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมายและผิดที่หมาย ในความต่างกัน
แห่งกิริยาพิเศษทั้งปวง โดยนัยนี้.
ส่วนภิกษุรูปใด สั่ง ไม่กำหนด ด้วยอำนาจเพศว่า ท่านจงฆ่าคนผู้ที่
สูง ต่ำ ดำ ขาว ผอม อ้วน ให้ตาย, และภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าคนใดคนหนึ่ง
เช่นนั้นตาย, ย่อมไม่ผิดที่หมาย. เป็นปาราชิกด้วยกันทั้ง ๒ รูป. แต่ถ้าภิกษุ
ผู้สั่งนั้น สั่งหมายเอาตนเอง, และภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าภิกษุผู้สั่งนั้นเองตาย ด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 399
คิดว่า ท่านผู้สั่งนี้แหละ เป็นเช่นนี้, สำหรับภิกษุผู้สั่ง เป็นทุกกฏ, ภิกษุผู้ฆ่า
เป็นปาราชิก. ภิกษุผู้สั่ง สั่งหมายเอาตนเอง, ภิกษุผู้รับสั่งนอกนี้ ฆ่าคนอื่น
เช่นนั้นตาย ; ภิกษุผู้สั่งย่อมพ้น (จากอาบัติ), เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ฆ่าเท่านั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะไม่ได้กำหนดโอกาสไว้. แต่ถ้าภิกษุผู้สั่ง
แม้เมื่อสั่งหมายเอาตนเองก็กำหนดโอกาสไว้ว่า ท่านจงฆ่าบุคคลชื่อเห็นปานนี้
ซึ่งนั่งอยู่บนอาสนะพระเถระ หรือบนอาสนะพระมัชฌิมะ ในที่พักกลางคืน
หรือที่พักกลางวัน ชื่อโน้น ให้ตาย, แต่ในโอกาสนั้น มีภิกษุรูปอื่นนั่งแทนอยู่,
ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าภิกษุผู้ที่มานั่งอยู่นั้นตาย, ภิกษุผู้ฆ่า ย่อมไม่พ้น (จากอาบัติ)
แน่, ภิกษุผู้สั่ง ก็ไม่พ้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะได้กำหนด
โอกาสไว้. แต่ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าเขาตาย เว้นจากโอกาสที่กำหนดไว้ ภิกษุ
ผู้สั่ง ย่อมพ้น (จากอาบัติ), นัยดังอธิบายมานี้ พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้
เป็นหลักฐานดี ในมหาอรรถกถา, เพราะฉะนั้น ความไม่เอื้อเฟื้อในนัยนี้
บัณฑิตจึงไม่ควรทำ ฉะนี้แล.
อาณัตติกปโยคกถา ด้วยอำนาจมาติกาว่าอธิฏฐาย จบ
กถาว่าด้วยการสั่งทูต
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยใน ๔ วาระมีว่า ภิกฺขุ ภิกฺขุ อาณาเปติ
เป็นต้น ที่พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ เพื่อแสดงไขบทมาติกาว่า ทูเตน นี้.
ข้อว่า โส ต มญฺมาโน ความว่า ภิกษุรูปใด อันภิกษุผู้สั่ง
บอกว่า บุคคลชื่อนี้, ภิกษุผู้รับสั่งรูปนั้น เข้าใจว่าบุคคลนั้นแน่ จึงปลงบุคคล
นั้นนั่นเองเสียจากชีวิต เป็นปาราชิกด้วยกันทั้ง ๒ รูป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 400
ข้อว่า ต มญฺมาโน อญฺ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่ง เข้าใจบุคคล
ที่ภิกษุผู้สั่ง สั่งให้ปลงเสียจากชีวิต แต่ไพล่ไปปลงบุคคลอื่นเช่นนั้นจากชีวิต
เสีย, ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมไม่เป็นอาบัติ.
ข้อว่า อญฺ มญฺมาโน ตความว่า ภิกษุรูปใด อันภิกษุผู้สั่ง
สั่งไว้แล้ว, เธอเห็นบุคคลผู้เป็นสหายที่มีกำลังของภิกษุผู้สั่งนั้น ซึ่ง ยืนอยู่ใน
ที่ใกล้ จึงคิดว่า บุคคลผู้นี้ ย่อมขู่ด้วยกำลังของภิกษุผู้สั่งนี้, เราจะปลงบุคคล
นี้จากชีวิตเสียก่อน เมื่อจะประหาร เข้าใจว่าเป็นบุคคลที่สั่งให้ฆ่านอกนี้แน่นอน
ซึ่งเปลี่ยนกันมายืนอยู่ในที่นั้นแทนว่า เป็นสหาย จึงได้ปลงเสียจากชีวิต, เป็น
ปาราชิกด้วยกันทั้ง ๒ รูป.
ข้อว่า อญฺ มญฺมาโน อญฺ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่ง คิด
โดยนัยก่อนนั่นแหละว่า เราจะปลงบุคคลผู้เป็นสหายคนนี้ ของภิกษุผู้สั่งนั้น
จากชีวิตเสียก่อน แล้วก็ปลงบุคคลผู้เป็นสหายนั่นแลจากชีวิต เป็นปาราชิกแก่
ภิกษุผู้รับสั่งนั้นเท่านั้น.
[อาณัตติกประโยคเรื่องสั่งทูตต่อ]
ในคำเป็นต้นว่า อิตฺถนฺนามสฺส ปาวท ในนิเทสวารแห่งบทว่า
ด้วยการนำคำสั่งสืบ ๆ กันมาแห่งทูต มีวินิจฉัยดังนี้:- พึงเห็นว่าอาจารย์
รูปหนึ่ง อันเตวาสิก ๓ รูป มีชื่อว่า พุทธรักขิต ธรรมรักขิต และสังฆรักขิต.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ภิกฺขุ ภิกฺขุ อาณาเปติ ความว่า
อาจารย์มีความประสงค์จะให้ฆ่าบุคคลบางคน จึงบอกเนื้อความนั้น แล้วสั่ง
พระพุทธรักขิต.
สองบทว่า อิตฺถนฺนามสฺส ปาวท ความว่า (อาจารย์สั่งว่า)
ดูก่อนพุทธรักขิต ! คุณจงไปบอกเนื้อความนั่นแก่พระธรรมรักขิต.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 401
ข้อว่า อิตฺถนฺนาโม อิตฺถนฺนามสฺส ปาวทตุ ความว่า แม้
พระธรรมรักชิต ก็บอกแก่พระสังฆรักขิต (ต่อไป).
ข้อว่า อิตฺถนฺนาโม อิตฺถนฺนาม ชีวิตา โวโรเปตุ ความว่า
พระธรรมรักขิตถูกท่านสั่งไว้อย่างนั้นแล้ว ก็สั่งท่านพระสังฆรักขิต (ต่อไป)
ว่า จงปลงบุคคลชื่อนี้เสียจากชีวิต, เพราะว่าบรรดาเราทั้ง ๒ ตัวท่านเป็นคน
ผู้มีชาติกล้าหาญ สามารถในกรรมนี้.
ข้อว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เป็นอาบัติทุกกฏแก่อาจารย์
ผู้สั่งอยู่อย่างนั้นก่อน.
ข้อว่า โส อิตรสฺส อาโรเจติ ความว่า พระพุทธรักขิตบอก
พระธรรมรักขิต พระธรรมรักขิต บอกพระสังฆรักขิตว่า อาจารย์ของพวกเรา
สั่งอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า คุณจงปลงบุคคลชื่อนี้เสียจากชีวิต. ได้ยินว่า บรรดา
เราทั้ง ๒ ตัวท่านเป็นบุรุษผู้กล้าหาญ เป็นทุกกฏ แม้แก่เธอเหล่านั้น ด้วย
การบอกต่อกันไปอย่างนั้นเป็นปัจจัย.
สองบทว่า วธโก ปฏิคฺคณฺหาติ ความว่า พระสังฆรักขิตรับว่า
ดีละ ผมจักปลง.
ชื่อว่า มูลฏฺสฺส อาปตฺติ ถุลฺลจฺจยสฺส มีความว่า ครั้นเมื่อ
คำสั่งนั้น พอพระสังฆรักขิตรับแล้ว เป็นถุลลัจจัยแก่อาจารย์, แต่มหาชนอัน
อาจารย์นั้นซักนำในความชั่วแล้วแล.
สองบทว่า โส ต ความว่า ถ้าภิกษุนั้น คือพระสังฆรักขิตปลง
บุคคลนั้น เสียจากชีวิตไซร้, เป็นปาราชิกทั้งหมด คือทั้ง ๔ คน และไม่ใช่
เพียง ๔ คนอย่างเดียว, เมื่อทำไม่ให้ลักลั่น สั่งตามลำดับโดยอุบายนี้ สมณะ
ทั้งร้อย หรือสมณะตั้งพันก็ตาม เป็นปาราชิกด้วยกันทั้งหมด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 402
ในนิเทศแห่งบทวิสักกิยทูต มีวินิจฉัยดังนี้:-
ข้อว่า โส อญฺ อาณาเปติ ความว่า ภิกษุนั้น คือพระพุทธ-
รักขิต ที่อาจารย์สั่งไว้ไม่พบพระธรรมรักขิต หรือเป็นผู้ไม่อยากบอก จึงเข้า
ไปหาพระสังฆรักขิตทีเดียว แล้วทำให้ลักลั่น สั่งว่า อาจารย์ของเราสั่งไว้
อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า คุณจงปลงบุคคลชื่อนี้เสียจากชีวิต. จริงอยู่ ภิกษุนี้ ท่าน
เรียกว่า วิสักกิยทูต เพราะทำให้ลักสั่นนั่นเอง.
ข้อว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส คือ เป็นทุกกฏแก่พระพุทธรักขิต
เพราะสั่งก่อน.
ข้อว่า ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นั้น พึงทราบว่า
เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมทีเดียว ในเมื่อพระสังฆรักขิตรับ. เมื่อเป็น
อย่างนั้น อาบัติในเพราะรับ ไม่พึงมี, แต่แม้ในการรับชักสื่อ และพอใจใน
การตาย ก็ยังเป็นอาบัติ, อย่างไร จะไม่พึงเป็นอาบัติ เพราะรับฆ่าเล่า
เพราะเหตุนั้น ทุกกฏ มีแก่ภิกษุผู้รับนั่นเอง, ด้วยเหตุนั่นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงไม่ตรัสคำว่า มูลฏฺสฺส ในนัยนี้. และแม้ในนัยก่อน ก็พึงทราบ
ทุกกฏนี้แก่ภิกษุผู้รับเหมือนกัน. แค่เพราะไม่มีโอกาส จึงไม่ตรัสทุกกฏนี้ไว้.
เพราะฉะนั้น ภิกษุใด ๆ รับ เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น ๆ เพราะมีการรับนั้นเป็น
ปัจจัยแท้, นี้เป็นความชอบใจของเราทั้งหลายในเรื่องนี้แล. เหมือนอย่างว่า
ในมนุสสวิคคหะนี้ฉันใด แม้ในอทินนาทาน ก็ฉันนั้นแล. ก็ถ้าพระสังฆรักขิต
นั้นปลงบุคคลนั้นจากชีวิตได้ไซร้, เป็นปาราชิกทั้ง ๒ รูป คือ พระพุทธ-
รักขิตผู้สั่ง และพระสังฆรักขิตผู้ฆ่า, ไม่เป็นอาบัติปาราชิกแก่พระอาจารย์เป็น
ต้นเดิม เพราะการสั่งลักลั่น, ไม่เป็นอาบัติโดยประการทั้งปวงแก่พระธรารม-
รักขิต เพราะไม่รู้. ส่วนพระพุทธรักขิต ทำความสวัสดีแก่ภิกษุทั้ง ๒ รูป
แล้วพินาศด้วยตนเอง ฉะนั้นแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 403
ในนิเทศแห่ง คตปัจจาคตทูต มีวินิจฉัยดังนี้:-
ข้อว่า โส คนฺตฺวา ปุน ปจฺจาคจฺฉติ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่งนั้น
ไปสู่ที่ใกล้แห่งบุคคลซึ่งคนจะพึงปลงเสียจากชีวิตนั้น เมื่อไม่อาจปลงบุคคลนั้น
จากชีวิต เพราะเขามีการอารักขาจัดไว้ดีแล้วจึงกลับมา.
ข้อว่า ยทา สกฺโกสิ ตทา ต มีความว่า ภิกษุผู้สั่งนั้น สั่งใหม่ว่า
ต้องฆ่าในวันนี้ทีเดียวหรือ จึงเป็นอันฆ่า ? ไปเถิด ท่านอาจเมื่อใด จงปลง
เขาเสียจากชีวิต เมื่อนั้น.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เพราะสั่งอีกอย่างนั้น
ย่อมเป็นทุกกฏเหมือนกัน. ก็ถ้าบุคคลนั้น เป็นผู้จะพึงถูกปลงจากชีวิตแน่น
ไซร้, เจตนาที่ยังอรรถให้สำเร็จ ย่อมเป็นเช่นกับผลที่เกิดในลำดับแห่งมรรค;
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สั่งนี้ จึงเป็นปาราชิกในขณะสั่งทีเดียว. ถ้าแม้ภิกษุผู้ฆ่า
จะฆ่าบุคคลนั้นได้ โดยล่วงไป ๖๐ ปีไซร้, และภิกษุผู้สั่ง จะทำกาลกิริยา
หรือสึกเสียในระหว่างนั้น, จักเป็นผู้ไม่ใช่สมณะทำกาลกิริยาหรือสึกแท้. ถ้า
ผู้สั่งหมายเอามารดาบิดา หรือพระอรหันต์ สั่งอย่างนั้นในเวลาเป็นคฤหัสถ์
แล้วจึงบวช, คนผู้รับสั่งฆ่าบุคคลนั้นได้ ในเมื่อผู้สั่งนั้นบวชแล้ว, ผู้สั่ง ย่อม
เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์แต่ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ทีเดียว; เพราะ
เหตุนั้น บรรพชา อุปสมบทของเขา ย่อมไม่ขึ้นเลย. ถ้าแม้บุคคลที่จะพึง
ถูกฆ่า ในขณะสั่งยังเป็นปุถุชนอยู่, แต่เป็นพระอรหันต์ในเวลาที่ถูกผู้รับสั่งฆ่า,
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลที่จะพึงถูกฆ่านั้น ได้การประหารจากผู้รับสั่งแล้วอาศัย
ศรัทธามีทุกข์เป็นมูล เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต แล้วทำกาลกิริยาไป
เพราะอาพาธนั้นนั่นเอง, ผู้สั่ง ย่อมเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ในขณะสั่งนั่นเอง,
ส่วนผู้ฆ่าย่อมเป็นปาราชิก ในขณะทำความพยายามในที่ทั้งปวงทีเดียวแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 404
ก็ในบรรดาวาระทั้ง ๓ ที่พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ เพื่อแสดงความถูก
ที่หมายและผิดที่หมาย ในบทมาติกาที่ตรัสด้วยอำนาจทูตทั้งหมดนี้นั้น บัดนี้
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมวารก่อน. ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมพูดาคำนั้นเบา ๆ หรือ
เพราะภิกษุผู้รับสั่งนั้นเป็นคนหูหนวก จึงประกาศให้ได้ยินคำสั่งนี้ว่า เธอจง
อย่าฆ่า, ไม่ได้; เพราะเหตุนั้นภิกษุผู้ต้นเดิมจึงไม่พ้น. ในทุติยวาร พ้นได้
เพราะท่านประกาศให้ได้ยิน. ส่วนในตติยวาร แม้ทั้ง ๒ รูป ก็พ้นได้ เพราะ
ภิกษุที่เป็นต้นเดิมนั้นประกาศให้ (ภิกษุผู้รับสั่ง) ได้ยิน และเพราะภิกษุผู้รับ
สั่งนอกนี้ ก็รับคำว่า ดีละ แล้วงดเว้นเสีย ฉะนั้นแล.
ทูตกถา จบ
เรื่องที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ
ใน อรโห รโหสัญญินิเทศ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
บทว่า อรโห ได้แก่ ต่อหน้า. บทว่า รโห ได้แก่ ลับหลัง.
บรรดาชน ๒ คน (คือ ผู้มีความสำคัญต่อหน้าว่าลับหลัง และผู้มีความสำคัญ
ลับหลังว่าต่อหน้านั้น) ภิกษุใด เมื่อภิกษุผู้มีเวรกัน มาพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย
แล้วนั่งอยู่ข้างหน้านั่นเอง ในเวลาอุปัฏฐาก ไม่ทราบข้อที่เธอมา เพราะโทษ
คือความมืด พอใจความตายของภิกษุผู้มีเวรกันนั้น จึงพูดจาถ้อยคำเช่นนี้ขึ้น
ว่า เจ้าพระคุณ ! ขอให้ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ถูกฆ่า, ทำไมพวกโจร จึงไม่ฆ่ามัน
เสีย, งูจึงไม่กัดมันเสีย, ใคร ๆ จึงไม่เอาศัสตราหรือยาพิษมาวางมันเสีย,
ภิกษุนี้ ชื่อว่าผู้มีความสำคัญต่อหน้าว่าลับหลังพูดจา. อธิบายว่า ผู้มีความ
สำคัญในที่ต่อหน้านั้นว่าลับหลัง. ฝ่ายภิกษุใด เห็นภิกษุผู้มีเวรกันนั้นนั่งอยู่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 405
ข้างหน้า เป็นผู้มีความสำคัญว่า เธอยังนั่งอยู่ที่นี้เอง พูดจาขึ้นตามนัยก่อน
นั้นแล ในเมื่อเธอแม้ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย ผู้ทำอุปัฏฐากแล้ว กลับไป,
ภิกษุนี้ชื่อว่าผู้มีความสำคัญลับหลังว่าต่อหน้าพูดจา. บุคคลผู้มีความสำคัญใน
ต่อหน้าว่าต่อหน้า และบุคคลผู้มีความสำคัญในลับหลังว่าลับหลัง ผู้ศึกษาพึง
ทราบโดยอุบายนี้แล. และพึงทราบว่า เป็นทุกกฏทุก ๆ คำพูดแก่ภิกษุเหล่านั้น
แม้ทั้ง ๔ รูป.
[อธิบายการพรรณนาความตายด้วยกาย]
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งมาติกา ๕ มีพรรณนาด้วยกาย
เป็นต้น ที่ท่านพระอุบาลีกล่าวไว้ เพื่อแสดงวิภาคแห่งการพรรณนาความตาย.
ข้อว่า กาเยน วิการ ทสฺเสติ* มีความว่า เขาจะรู้ได้ว่า เนื้อ
ความนี้ อันบุคคลนี้กล่าวว่า ผู้ใดใช้ศัสตราฆ่าตัวตาย หรือเคี้ยวกินยาพิษ
ตาย หรือเอาเชือกผูกคอตาย หรือกระโดดบ่อเป็นต้นตาย, ได้ยินว่า ผู้นั้น
จะได้ทรัพย์ จะได้ยศ หรือจะไปสวรรค์ ดังนี้ด้วยประการใด, ภิกษุแสดง
ด้วยประการนั้น ด้วยอวัยวะทั้งหลายมีหัวแม่มือ เป็นต้น.
ข้อว่า วาจาย ภณติ ความว่า ภิกษุลั่นวาจา กล่าวเนื้อความนั้น
นั่นแล. วาระที่ ๓ เป็นอันกล่าวแล้ว ด้วยอำนาจแห่งวาระทั้ง ๒. ทุก ๆ วาระ
ปรับเป็นทุกกฏทุก ๆ ประโยค แห่งการพรรณนา, เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้
พรรณนา ในเพราะทุกข์เกิดขึ้นแก่เขา, เมื่อบุคคลที่ตนเจาะจงทำการพรรณนา
ตายไป เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้พรรณนาในขณะที่พรรณนาทีเดียว. ผู้นั้น ย่อม
ไม่รู้ข้อความนั้น ผู้อื่นรู้แล้วคิดว่า เราได้อุบายเป็นเหตุเกิดความสุขแล้วหนอ
ดังนี้ ตายไปเพราะการพรรณนานั้น ไม่เป็นอาบัติ. เมื่อภิกษุเจาะจงทำการ
* บาลี เป็น กโรติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 406
พรรณนาแก่คน ๒ คน รู้คนเดียวแล้วตายไป เป็นปาราชิก, ทั้ง ๒ คนตาย
เป็นปาราชิกด้วย เป็นกองอกุศลด้วย. ในบุคคลมากหลาย ก็นัยนี้, ภิกษุ
เที่ยวพรรณนาความคายไม่เจาะจง บุคคลใด ๆ รู้การพรรณนานั้น แล้วตายไป,
บุคคลนั้น ๆ ทั้งหมด เป็นอันภิกษุรูปนั้น ฆ่าแล้ว.
[อธิบายพรรณนาความตายด้วยทูตและหนังสือ]
ในการพรรณนาด้วยทูต มีวินิจฉัยดังนี้:- เป็นทุกกฏเมื่อภิกษุเพียง
แต่บอกข่าว่า ท่านจงไปสู่เรือน หรือบ้านชื่อโน้น แล้วพรรณนาคุณความ
ตาย แก่บุคคลมีชื่ออย่างนั้นนั่นแล. ทูตอันตนส่งไป เพื่อประโยชน์แก่บุคคลใด
เพราะทุกข์เกิดแก่บุคคลนั้น เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม, เพราะเขาตาย
เป็นปาราชิก. ทูตคิดว่า บัดนี้เรารู้ทางสวรรค์นี้แล้ว ไม่บอกแก่บุคคลนั้น
บอกแก่ญาติหรือสายโลหิตของตน, เมื่อเขาตาย เป็นผิดสังเกต, ภิกษุผู้เป็น
ต้นเดิมรอดตัวไป. ทูตคิดอย่างนั้นแล ทำกิจที่กล่าวไว้ในการพรรณนาเสียเอง
ตายไป, ผิดที่หมายเหมือนกัน. แต่เมื่อภิกษุบอกข่าวไม่เจาะจง เป็นปาณาติ
บาตประมาณเท่าจำนวนมนุษย์ที่ตายไป ด้วยการพรรณนาของทูต. ถ้ามารดา
และบิดาตายไป เป็นอนันตริยกรรมด้วย.
ในเลขาสังวรรณนา มีวินิจฉัยดังนี้:-
ข้อว่า เลข ฉินฺทติ มีความว่า ภิกษุเขียนหนังสือลง (จารึกอักษรลง)
ที่ใบไม้หรือที่ใบลานว่า ผู้ใด ใช้ศัสตราฆ่าตัวตาย หรือกระโดดเหวตาย
หรือตายด้วยอุบายอย่างอื่น มีการกระโดดเข้าไฟและกระโดดน้ำเป็นต้น, ผู้นั้น
จะได้สิ่งนี้ หรือว่า ฯ ล ฯ เป็นความชอบของผู้นั้น. แม้ในการเขียนหนังสือ
ที่ไม่เจาะจงนี้ บัณฑิตก็พึงทราบว่า เป็นทุกกฏ ถุลลัจจัย และปาราชิก
โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 407
แต่เมื่อภิกษุเขียนหนังสือเจาะจง คนเขียนเจาะจงบุคคลใด เพราะ
ผู้นั้นนั่นแลตาย เป็นปาราชิก, เมื่อเขียนหนังสือเจาะจงบุคคลหลายคนเป็น
ปาณาติบาต มีประมาณเท่าจำนวนคนที่ตายไป, เพราะมารดาและบิดาตาย
เป็นอนันตริยกรรม. แม้ในหนังสือที่เขียนไม่เจาะจง ก็นัยนี้แล. ภิกษุ เมื่อ
เกิดความเดือดร้อนขึ้นว่า คนสัตว์เป็นอันมากจะตาย จึงเผาใบลานนั้นเสีย
หรือทำโดยประการที่อักษรทั้งหลายจะไม่ปรากฏ ย่อมพ้นได้. ถ้าใบลานนั้น
เป็นของคนอื่น, ภิกษุจะเขียนหนังสือเจาะจงก็ตาม หรือเขียนไว้ไม่เจาะจง
ก็ตาม หรือเขียนไว้ไม่เจาะจงก็ตาม วางไว้ในที่ ๆ ตนถือเอามา ย่อมพ้น.
ถ้าใบลานนั้น ย่อมเป็นของที่เขาซื้อมาด้วยมูลค่า, เธอให้ใบลานแก่เจ้าของ
ใบลานแล้ว ให้มูลค่าแก่เหล่าชนผู้ที่ตนรับเอามูลค่าจากมื้อแล้ว ย่อมพ้นได้.
ถ้าภิกษุมากรูปด้วยกันเป็นผู้มีอัธยาศัยร่วมกันว่า พวกเราจักเขียนพรรณนาคุณ
ความตาย ดังนี้, รูปหนึ่งขึ้นค้นตาลแล้ว ตัดใบตาล. รูปหนึ่งนำมา, รูป
หนึ่งทำให้เป็นใบลาน, อีกรูปหนึ่งเขียน. อีกรูปหนึ่ง ถ้า เป็นการเขียนด้วย
เหล็กจาร ก็เอาเขม่าทา: ครั้นทาเขม่าแล้ว จัดใบลานั้นเข้าเป็นผูก, เธอ
ทั้งหมดเทียวเอาไปวางไว้ที่สภา หรือที่ร้านตลาด หรือในสถานที่ ๆ ประชาชน
เป็นอันมากผู้แตกตื่นเพื่อดูหนังสือประชุมกัน. ประชาชนอ่านหนังสือนั้นแล้ว,
ถ้าตายไปคนเดียวไซร้, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุทั้งหมด. ถ้าตายไปมากคนไซร้,
ก็มีนัยเช่นเดียวกันกับที่กล่าวแล้วนั่นแล. แต่เมื่อเกิดความเดือดร้อนขึ้น ถ้า
ภิกษุเหล่านั้น เอาใบลานนั้นเก็บไว้ในหีบ, และมีผู้อื่นพบเห็นใบลานนั้นแล้ว
นำออกมาแสดงแก่ชนเป็นอันมากอีก, เธอทั้งหมดนั้น จะไม่รอดตัวเลย, หีบ
จงยกไว้. ถ้าแม้นพวกเธอเหวี่ยงใบลานนั้นลงไป หรือล้างในแม่น้ำหรือทะเล
เสีย หั่นเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ หรือใส่ไฟเผาเสีย ก็ยังไม่รอดตัวตราบเท่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 408
ที่ตัวหนังสือยังปรากฏอยู่ในใบลาน แม้ที่ยังเชื่อมต่อกันได้ ซึ่งล้างไม่ดี หรือ
เผาไม่ดี. แต่เมื่อกระทำโดยประการที่อักษรทั้งหลายจะไม่ปรากฏเลย จึงรอด
ตัวไปได้ แล.
[อธิบายขุดหลุมพรางให้คนตาย]
บัดนี้ จะวินิจฉัยในนิเทศแห่งมาติกามีหลุมพรางเป็นต้น ที่ท่านพระ
อุบาลีกล่าวไว้ เพื่อแสดงวิภาคแห่งถาวรประโยค.
ข้อว่า มนุสฺส อุทฺทิสฺส โอปาต ขนติ ความว่า ภิกษุขุดหลุม
เจาะจงคนบางคนด้วยทั้งใจว่า ผู้มีชื่อนี้ จะตกไปตาย ในที่ ๆ ผู้นั้น เที่ยวไป
แต่ลำพัง. ก่อนอื่น ถ้าแม้ขุดชาตปฐพี เป็นทุกกฏทุก ๆ ประโยค แก่ภิกษุ
ผู้ขุด เพราะเป็นประโยคแห่งปาณาติบาต เป็นถุลลัจจัย เพราะก่อให้เกิดทุกข์
แก่คนผู้ที่ตนเจาะจงขุดไว้ เป็นปาราชิก เพราะเขาตาย. เมื่อผู้อื่น แม้ตกไป
ตาย ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าขุดไว้ไม่เจาะจงด้วยคิดว่า ผู้ใดใครผู้หนึ่งจักตาย
เป็นปาณาติบาตเท่าจำนวนสัตว์ที่ตกไปตาย เป็นอนันตริยกรรมในเพราะวัตถุ
แห่งอนันตริยกรรม เป็นถุลลัจจัยและปาจิตตีย์ ในเพราะวัตถุแห่งถุลลัจจัย
และปาจิตตีย์.
ถามว่า เจตนาในการขุดหลุมนั้นมีมาก เป็นปาราชิกด้วยเจตนาไหน
แก้ว่า ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาก่อนว่า เมื่อภิกษุขุดหลุม ทั้ง
โดยส่วนลึกทั้งโดยส่วนยาวและกว้าง ได้ประมาณ (ขนาด) แล้ว ถากเซาะกอง
ไว้ ใช้ปุ้งกี๋สำหรับใส่ฝุ่นโกยขึ้น เจตนาที่ยังอรรถให้สำเร็จ ซึ่งเป็นเหตุให้
ตั้งขึ้น เป็นเช่นเดียวกันกับผลในลำดับแห่งมรรค ถ้าแม้นว่าโดยล่วงไปถึงร้อย
ปี จะมีสัตว์ตกลงตายแน่นอน เป็นปาราชิกด้วยเจตนาซึ่งเป็นเหตุให้ตั้งขึ้นนั่น
เอง ส่วนในมหาปัจจรี และในสังเขปอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุใช้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 409
จอบประหาร (ฟัน) แม้ครั้งเดียว ด้วยคิดว่า บุคคลจักตกที่หลุมนี้ตาย ดัง
นี้ ถ้ามีใคร ๆ พลาดตกลงไปที่หลุมนั้นตาย เป็นปาราชิกเหมือนกัน ; ส่วนพวก
พระเถระผู้ชำนาญในพระสูตร ยังยึดเอาเจตนาซึ่งเป็นเหตุให้ตั้งขึ้น (เป็น
หลัก).
ภิกษุรูปหนึ่งขุดหลุมพราง แล้วสั่งภิกษุรูปอื่นว่า จงนำคนชื่อโน้นมา
แล้ว ผลักให้ตกตายในหลุมพรางนี้. ภิกษุอื่นนั้น ยิ่งผู้นั้นให้ตกตาย เป็น
ปาราชิกทั้ง ๒ รูป, ยังผู้อื่นให้ตกตาย ตัวเองตกไปตาย คนอื่นตกไปตายตาม
ธรรมดาของตน, ในทุกกรณีมีการผิดที่หมาย ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมรอดตัวไป.
แม้ในหลุมพรางที่ภิกษุขุดไว้ ด้วยคิดว่าภิกษุชื่อโน้น จักนำคนชื่อโน้นมา ให้
(ตก) ตายในหลุมพรางนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน. ภิกษุขุดไว้ด้วยคิดว่า คนทั้งหลาย
ผู้อยากจะตายจักตายในหลุมพรางนี้, เป็นปาราชิก เพราะคนคนเดียวตาย,
เป็นกองอกุศล เพราะคนมากคนตาย, เป็นอนันตริยกรรม เพราะมารดาและ
บิดาตาย, เป็นถุลลัจจัยและปาจิตตีย์ ในเพราะวัตถุแห่งถุลลัจจัยและปาจิตตีย์.
ภิกษุขุดไว้ด้วยคิดว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าเขาให้ตาย จัก
ผลักชนเหล่านั้น ให้ตกตายในหลุมพรางนี้ ดังนี้. พวกเขาผลัก ให้ตกตาย
ในหลุมพรางนั้น, เมื่อตายคนเดียว เป็นปาราชิก, เมื่อมากคนทาย เป็นกอง
อกุศล, เป็นอนันตริยกรรมเป็นต้น ในเพราะวัตถุแห่งอนันตริยกรรมเป็นต้น
และแม้พระอรหันต์ทั้งหลาย ก็ถึงความสงเคราะห์เข้าในนัยหลังนี้ด้วย แต่นัย
แรก กิริยาที่พระอรหันต์เหล่านั้นจะตกไปเพราะความเป็นผู้ใคร่จะตาย ย่อม
ไม่มี ; เพราะเหตุนั้น พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านจึงไม่สงเคราะห์เข้าด้วย
แม้ในนัยทั้งสอง เมื่อบุคคลตกไปตายตามธรรมดาของตน ย่อมมีการผิดที่
หมาย ภิกษุคิดว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งจักผลักคนผู้มีเวรของตนให้ตกตายใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 410
หลุมพรางนี้ แล้วขุดไว้, และเหล่าชนผู้มีเวรกัน ก็ผลักคนมีเวรให้ตกตายใน
หลุมพรางนั้น, เมื่อถูกฆ่าตายคนเดียว เป็นปาราชิก, เมื่อถูกฆ่าตายมากคน
เป็นกองอกุศล เมื่อมารดาหรือบิดา หรือพระอรหันต์ ถูกเหล่าชนผู้มีเวรนำ
มาฆ่าให้ตายในหลุมพรางนั้น เป็นอนันตริยกรรม, เมื่อมารดาเป็นต้นเหล่านั้น
ตายตามธรรมดาของตน ย่อมผิดสังเกต.
ส่วนภิกษุรูปใด ขุดไว้มิได้เจาะจง แม้โดยประการทั้งปวงเลยว่าชน
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้อยากจะตายก็ดี ไม่อยากจะตายก็ดี ผู้ประสงค์จะฆ่าเขาก็ดี
ไม่ประสงค์จะฆ่าก็ดี จักตกไปตาย หรือถูกผลักให้ตกไปตายในหลุมพรางนี้,
ภิกษุนั้น ย่อมถูกต้องกรรม และย่อมต้องอาบัติตามสมควร เพราะความตาย
ของบุคคลผู้ที่ตายไปนั้น ๆ. ถ้าสตรีมีครรภ์ตกไปตายทั้งกรม* เป็นปาณาติบาต
๒ กระทง. เฉพาะสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์เท่านั้นพินาศไป เป็นปาณาติบาตกระทง
เดียว, สัตว์เกิดในครรภ์ไม่พินาศ แต่มารดาตาย เป็นปาณาติบาตกระทงเดียว
เหมือนกัน. คนถูกพวกโจรไล่ติดตาม ตกไปตาย, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้
ขุดหลุมพรางเช่นกัน. พวกโจรตกลงไปตายในหลุมพรางนั้น เป็นปาราชิก
เหมือนกัน. พวกโจรนำผู้ตกไปในหลุมพรางนั้นออกไปภายนอก แล้วฆ่าให้
ตาย, เป็นปาราชิกเหมือนกัน. ถามว่า เพราะเหตุไร แก้ว่า เพราะเขาถูก
พวกโจรจับได้ ก็เพราะประโยคที่ตกไปในหลุมพราง. ผู้ที่ตกหลุมพรางออกมา
จากหลุมพรางได้แล้วตายไป ด้วยความเจ็บไข้นั้นนั่นแล เป็นปาราชิกเหมือน
กัน. ครั้นล่วงเลยมาหลายปีแล้ว จึงตายเพราะความเจ็บไข้นั้นนั่นเอง ซึ่ง
กำเริบขึ้นอีก เป็นปาราชิกเหมือนกัน. โรคชนิดอื่น เกิดแทรกขึ้นแก่บุคคลผู้
ป่วยไข้ ด้วยโรคที่เกิดขึ้น เพราะมีการตกไปในหลุมพรางนั้นเป็นปัจจัยนั่นแล,
* ตายพร้อมทั้งครรภ์ คือลูกในท้อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 411
แต่โรคที่เกิดขึ้นเพราะหลุมพราง เป็นของมีกำลังกว่า, แม้เมื่อผู้นั้นตายเพราะ
โรคที่เกิดขึ้นนั้น ภิกษุขุดหลุมพราง ย่อมไม่พ้น. ถ้าโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง
เป็นของมีกำลังไซร้, เมื่อผู้นั้นตายเพราะโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง เธอรอดตัว.
เมื่อผู้นั้นตายด้วยโรคทั้ง ๒ ชนิด ไม่พ้น. มนุษย์ผู้ผุดเกิด ในหลุมพราง ครั้น
เกิดแล้ว ไม่สามารถจะขึ้นได้ ก็ตายไป, เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
[มติพระเถระสองรูปในการขุดหลุมพราง]
พระอุปติสสเถระ กล่าวว่า เมื่อยักษ์เป็นต้น ตกไปตายในหลุม
พรางที่ภิกษุขุดไว้เจาะจงมนุษย์ ไม่เป็นอาบัติ. ในมนุษย์เป็นต้นแม้ตายอยู่ใน
หลุมพราง ที่ภิกษุขุดไว้เจาะจงยักษ์เป็นต้น ก็นัยนั่นแล. แต่เป็นทุกกฏทีเดียว
แก่ภิกษุผู้ขุดเจาะจงยักษ์เป็นต้น เพราะการขุดบ้าง เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่
ยักษ์เป็นต้นเหล่านั้นบ้าง. เพราะ (ยักษ์เป็นต้น) ตายเป็นถุลลัจจัยหรือปาจิตตีย์
ตามอำนาจแห่งวัตถุทีเดียว. สัตว์ตกลงในหลุมพรางที่ภิกษุขุดไว้มิได้เจาะจง
โดยรูปยักษ์ หรือรูปเปรตตายไป โดยรูปสัตว์ดิรัจฉาน, ก็รูปที่ตกไป ย่อม
เป็นประมาณ; เพราะฉะนั้น จึงเป็นถุลลัจจัย.
พระปุสสเทวเถระ กล่าวว่า รูปที่ตายเป็นประมาณ; เพราะฉะนั้น จึง
เป็นปาจิตตีย์. แม้ในสัตว์ตกไปด้วยรูปสัตว์ดิรัจฉาน แล้วตายด้วยรูปยักษ์และ
รูปเปรต ก็นัยนั่นเหมือนกัน. ภิกษุผู้ขุดหลุมพรางขายหรือให้เปล่าซึ่งหลุมพราง
แก่ภิกษุอื่น, ภิกษุนั้นแลยังต้องอาบัติ และมีข้อผูกพันทางกรรม เพราะมีผู้ตก
ตายเป็นปัจจัย, ผู้ที่ได้หลุมพรางไป ไม่มีโทษแล. ภิกษุผู้ได้ไปแล้วคิดว่า
หลุมอย่างนี้ สัตว์ผู้ตกไปยังอาจขึ้นได้ จักไม่พินาศ จักทรงตัวขึ้นได้ง่าย จึง
ทำหลุมพรางนั้นให้ลึกลงไป หรือให้ตื้นขึ้น ให้ยาวออกไป หรือให้สั้นเข้า
ให้กว้างออกไป หรือให้แคบเข้า ต้องอาบัติ และมีข้อผูกพันทางกรรมด้วยกัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 412
แม้ทั้ง ๒ รูป. เมื่อเกิดวิปฏิสารขึ้นว่า คนสัตว์จะตายกันมาก จึงกลบหลุมพราง
ให้เต็มด้วยดิน. ถ้าสัตว์ไร ๆ ยังตกไปในดินตายได้, แม้กลบให้เต็มแล้ว ก็
ไม่พ้น. เมื่อฝนตกมีโคลน, แม้เมื่อสัตว์ไร ๆ ติดตายในโคลนนั้น, ต้นไม้ล้ม
ก็ดี ลมพัดก็ดี น้ำฝนตกก็ดี พัดพาคนไป หรือพวกขุดแผ่นดินเพื่อเหง้ามัน
ขุดเป็นหลุมบ่อไว้ในที่นั้น, ถ้าสัตว์ไร ๆ ติดหรือตกไปตายในหลุมนั้น ภิกษุ
ผู้เป็นต้นเดิมยังไม่พ้น. แต่ในโอกาสนั้น ภิกษุให้ทำบึงหรือสระบัวใหญ่ให้
ประดิษฐานเจดีย์ ปลูกต้นโพธิ์หรือให้สร้างวัด หรือให้ทำทางเกวียนแล้วจึง
พ้นได้. แม้ในกาลใด ต้นไม้เป็นต้น ในหลุมพรางอันถูกกลบเต็มทำให้แน่น
แล้วรากต่อรากเกี่ยวพ้นกัน, เกิดชาตปฐพี, แม้ในกาลนั้นก็พ้นได้. ถ้าแม้น
แม้น้ำหลากมาลบล้างหลุมพรางเสีย, แม้อย่างนั้น จึงพ้นได้แล.
กถาว่าด้วยหลุมพรางเท่านี้ก่อน.
[ว่าด้วยการดักบ่วงของภิกษุ]
ก็พึงทราบวินิจฉัย แม้ในบ่วงเป็นต้น อันอนุโลมแก่หลุมพรางนั่น
ดังต่อไปนี้:- ภิกษุรูปไค ดัดบ่วงไว้ก่อน ด้วยคิดว่า สัตว์ทั้งหลายจักติดใน
บ่วงนี้ตาย เมื่อบ่วงพอพ้นไปจากมือ พึงทราบว่าเป็นปาราชิก อนันตริยกรรม
ถุลลัจจัย และปาจิตตีย์ แก่ภิกษุรูปนั้นแน่นอน ด้วยอำนาจสัตว์ที่ติด (บ่วง).
ในบ่วงที่ภิกษุทำเจาะจงไว้ มีวินิจฉัยดังนี้:- บ่วงที่ภิกษุดักเจาะจง
สัตว์ตัวใดไว้ เพราะสัตว์เหล่าอื่นจากสัตว์ตัวนั้นมาติด ไม่เป็นอาบัติ. แม้เมื่อ
ภิกษุจำหน่ายบ่วงไป ด้วยมูลค่าหรือให้เปล่งก็ตาม ข้อผูกพันทางกรรม ย่อม
มีแก่ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมเช่นกัน. ถ้าภิกษุผู้ได้บ่วงไป ดักบ่วงเคลื่อนที่ได้ไว้
หรือเห็นพวกสัตว์เดินไปข้าง ๆ จึงทำรั้วกั้นไว้ ต้อนสัตว์ให้เข้าไปตรงหน้า
หรือจัดคันบ่วงไว้ให้แข็งแรง หรือผูกเชือกบ่วงไว้ให้มั่นขึ้น หรือตอกหลักไว้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 413
ให้มั่นคง ; เธอทั้ง ๒ รูปไม่พ้น ถ้าเมื่อเกิดความเดือดร้อนขึ้น เธอจึงรูดบ่วง
ให้หลุดออกแล้ว ไปเสีย. คนเหล่าอื่น พบเห็นบ่วงที่รูดออกแล้วนั้น เอา
ไว้อีก สัตว์ทั้งหลายที่ติด (บ่วง) แล้ว ๆ ตายไป; ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม ไม่
พ้นไปได้. แต่ถ้าคันบ่วง อันเธอผู้เป็นต้นเดิมนั้นไม่ได้ทำไว้เอง แต่วางไว้.
ในที่ ๆ ตนรับมา ย่อมพ้น. เธอตัดไม้คันบ่วงซึ่งเกิดอยู่ในสถานที่นั้นเสีย ย่อม
พ้น. แต่แม้เมื่อเธอเก็บรักษาไม้คันบ่วงที่คนทำเองไว้ ย่อมไม่พ้น. จริงอยู่
ถ้าภิกษุรูปอื่น ถือเอาไม้คันบ่วงนั้น ไปดักบ่วงไว้อีกไซร้, เมื่อสัตว์ทั้งหลาย
ตายไป เพราะมีการดักบ่วงนั้นเป็นปัจจัย ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม ย่อมพ้น,
ถ้าเธอเผาคันบ่วงนั้น ทำให้เป็นดุ้นไฟแล้วทิ้งเสีย, แม้เมื่อสัตว์ทั้งหลาย ได้
การประหารด้วยดุ้นไฟนั้นตายไปย่อมไม่พ้น. แต่เผาหรือทำให้เสียหายไปโดย
ประการทั้งปวง ย่อมพ้น. เธอวางแม้เชือกบ่วงที่คนเหล่าอื่นฟั่นเสร็จแล้วใน
ที่ ๆ ตนรับมา ย่อมพ้น. เธอได้เชือกมาแล้ว คลี่เกลียวที่เขาฟั่นไว้ออกเสียเอง
(หรือ) ทำเชือกที่ตนได้ปอมาแล้วฟั่นไว้ ให้เป็นชิ้นน้อยและชิ้นใหญ่ ย่อมพ้น.
แต่แม้เมื่อเธอเก็บรักษาเชือกที่ตนเองนำปอมาจากป่าฟั่นไว้ย่อมไม่พ้น, แต่เผา
หรือทำให้เสียหายไปโดยประการทั้งปวง ย่อมพ้น.
[ว่าด้วยการใช้ฟ้าถล่มดักสัตว์ของภิกษุ]
ภิกษุเมื่อจัดแจงฟ้าถล่ม วางเตียงฟ้าถล่มไว้บนเท้าทั้ง ๔ ยกหินขึ้น
เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ประโยค. เมื่อทำการตระเตรียมทุกอย่างแล้ว พอฟ้าถล่ม
พ้นไปจากมือ พึงทราบว่าเป็นปาราชิกเป็นต้น ตามสมควรแก่ประโยคที่ทำ
เจาะจงและไม่เจาะจง ด้วยอำนาจแห่งพวกสัตว์ที่จะพึงถูกทับแน่นอน. แม้เมื่อ
ภิกษุจำหน่ายฟ้าถล่ม ด้วยมูลค่าหรือให้เปล่าก็ตาม ข้อผูกพันทางกรรม ย่อม
มีแก่ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมทีเดียว. ถ้าภิกษุผู้ได้ฟ้าถล่มไป ยกฟ้าถล่มที่ตกขึ้นไว้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 414
หรือยกหินแม้ก้อนอื่นขึ้นทำให้มีน้ำหนักกว่า หรือเห็นพวกสัตว์เดินไปข้าง ๆ
ทำรั้วกั้นไว้ต้อนสัตว์ให้เข้าไปที่ฟ้าถล่ม, เธอทั้ง ๒ รูป ย่อมไม่พ้น. ถ้าเมื่อ
เกิดความเดือดร้อนขึ้น เธอจึงทำฟ้าถล่มให้ตกแล้ว ไปเสีย, ภิกษุรูปอื่นพบ
เห็นฟ้าถล่มที่ตกแล้วนั้น ก็ทั้งดักไว้อีก, ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมไม่พ้น. ภิกษุวาง
ก้อนหินไว้ในที่ ๆ ตนรับมา และวางขาฟ้าถล่มไว้ในที่ ๆ ตนรับมา หรือเผา
โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในคันบ่วงย่อมพ้น.
แม้เมื่อภิกษุปักหลาว พอทำการตระเตรียมทุกอย่างเสร็จแล้ว พ้นจาก
มือ พึงทราบว่า เป็นปาราชิกเป็นต้น โดยสมควรแก่ประโยคที่ทำเจาะจง
ด้วยอำนาจแห่งพวกสัตว์ที่จะตกไปตามบนคมหลาวแน่นอน. แม้เมื่อภิกษุ
จำหน่ายหลาว ด้วยมุค่า หรือให้เปล่าก็ตาม ข้อผูกพันทางกรรม ย่อมมีแก่
ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมเช่นกัน. ถ้าภิกษุผู้ได้หลาวไปแต่งหลาวให้คมกริบ ด้วยติด
ว่า สัตว์ทั้งหลาย จักตายด้วยการประหารครั้งเดียวเท่านั้น หรือแต่งหลาวให้
ทื่อเข้า ด้วยคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย จักตายเป็นทุกข์ หรือกำหนดว่าหลาวสูงไป
ปักให้ต่ำลง หรือกำหนดว่า หลาวต่ำไป ปักให้สูงขึ้นอีก หรือดัดที่คดให้ตรง
หรือดัดที่ตรงเกินไปให้โค้งนิดหน่อย ; เธอทั้ง ๒ รูป ไม่พ้น. ก็ถ้าเธอเห็นว่า
ไว้ในที่ไม่เหมาะ แล้วเอาไปปักไว้ในที่อื่น ถ้าหลาวนั้น ย่อมเป็นของที่เธอ
แสวงหามาทำไว้ตั้งแต่ต้น เพื่อต้องการฆ่าให้ตาย ; ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม ไม่พ้น.
แต่เมื่อมิได้แสวงหาได้ของที่เขาทำไว้แล้วนั่นแล ยกขึ้นไว้, ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม
ย่อมพ้น. เมื่อเกิดความเดือดร้อนขึ้น เธอวางหลาวไว้ในที่ ๆ ตนรับมาหรือ
เผาเสีย โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในคันบ่วง ย่อมพ้น.
[ลอบวางศัสตราไว้ในวัตถุสำหรับพิง]
ในคำว่า อปสฺเสเน สตฺถ วา นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ชื่อว่า ที่พิง
ได้แก่ เตียง หรือตั่ง หรือกระดานสำหรับพิง ทีใช้เป็นนิจ หรือเสาสำหรับพิง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 415
ของภิกษุผู้นั่งพักอยู่ในที่พักกลางวัน หรือต้นไม้ซึ่งเกิดอยู่ในที่นั้น หรือต้นไม้
สำหรับยึดเหนียว ของภิกษุผู้ยืนพิงอยู่ในที่จงกรมหรือกระดานสำหรับยึดเหนียว
วัตถุมีเตียงเป็นต้นนั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่าที่พิง เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งการ
พิง (เป็นที่ตั้งแห่งการมองไม่เห็น). ภิกษุทำเหมือนอย่างคนแทงหรือฟันบุคคล
ที่ไม่เห็น วางบรรดาศัสตราชนิดหนึ่ง มี มีด ขวาน หอก เหล็กแหลม และ
หนามเป็นต้นไว้ในที่สำหรับพิงนั้น เป็นทุกกฏ. เมื่อผู้หมดความสงสัยนั่ง หรือ
นอน หรือพิงอยู่ในสถานที่ใช้ประจำ เป็นถุลลัจจัย เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้น
ซึ่งมีความถูกต้องศัสตราเป็นปัจจัย, เป็นปาราชิกในเพราะเขาตาย. ถ้าภิกษุผู้มี
เวรของเธอนั้นแม้รูปอื่น เที่ยวจาริกไปในวิหาร พบเห็นศัสตรานั้นแล้ว ยิน
ดีอยู่ว่า ชะรอยศัสตรานี้เป็นขอที่เธออรูปนี้วางไว้ เพื่อเป็นเครื่องสังหาร, ดีละ
จงคายให้สนิทเถิด เดินไป เป็นทุกกฏ. แต่ถ้าภิกษุผู้มีเวรแม้รูปนั้น คิดว่า
เมื่อเธอทำศัสตรานั้นไว้อย่างนั้นแล้ว จักเป็นอันเธอทำไว้ดีแล้ว จึงทำกรรม
บางอย่าง ด้วยการทำศัสตราให้คมกริบเป็นต้น. เป็นปาราชิกแม้แก่เธอผู้มีเวร
รูปนั้น, แต่ถ้าภิกษุผู้มีเวรเห็นว่า เธอรูปนั้นวางศัสตราไว้ในที่ไม่เหมาะ จึง
ยกขึ้นมาวางไว้ในที่อื่น, เมื่อเธอทำแล้ววางไว้ เพื่อประโยชน์นั้น ๆ เอง ภิกษุ
ผู้เป็นต้นเดิม ย่อมไม่พ้น. ภิกษุได้ศัสตราแล้ววางไว้ตามปกติเดิม ย่อมพ้น.
ภิกษุนำศัสตรานั้นออกไปเสีย แล้วจึงเอาศัสตราอย่างอื่นที่คมกว่ามาวางไว้แทน.
ภิกษุเป็นต้นเดิมย่อมไม่พ้นเหมือนกัน.
[ลอบวางยาพิษแทรกไว้ในเภสัช]
แม้ในการทายาพิษไว้ มีวินิจฉัยดังนี้:- เป็นทุกกฏ เพราะเขายินดี
ความตาย จนกระทั่งถึงนัยนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าภิกษุแม้รูปนั้นกำหนดได้ว่า ก้อน
ยาพิษเล็กไป จึงทำให้เขื่องขึ้น หรือกำหนดได้ว่า ก้อนยาพิษเขื่องไป หรือ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 416
เขื่องเกินไป จึงทำให้เล็กลง หรือบางไป จึงทำให้หนา หรือหนาไป จึงทำ
ให้บางลง แล้วลนให้ร้อนด้วยไฟ ทำให้แล่นไปข้างล่างหรือข้างบน; เป็น
ปาราชิกแม้แก่ภิกษุรูปนั้น. เธอเห็นว่า ก้อนยาพิษนี้ วางไว้ในที่ไม่เหมาะ
จึงถากใสให้บางทุกส่วนทีเดียว แล้วเช็ดถู (ให้เกลี้ยง) เอาวางไว้ในที่อื่น.
เมื่อภิกษุปรุงเภสัชด้วยตนเอง แล้วแทรกยาพิษเข้าด้วย ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม
ย่อมไม่พ้น เมื่อตนเองไม่ได้ทำ ย่อมพ้น, แต่ถ้าภิกษุรูปนั้นเห็นว่า ยาพิษนี้
มีน้อยเกินไป จึงนำเอายาพิษแม้อื่นมาเติมใส่ไว้ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุเจ้าของ
ยาพิษซึ่งเป็นเหตุให้เขาตาย. ถ้าเขาตายไปเพราะยาพิษซึ่งเป็นของภิกษุแม้ทั้ง
๒ รูป ก็เป็นปาราชิกแก่เธอแม่ทั้ง ๒ รูป. ภิกษุเห็นว่า ยาพิษนี้ หมดฤทธิ์
กล้าแล้ว จึงนำยาพิษนั้นออกเสีย แล้ววางยาพิษของตนเองไว้แทน; เป็น
ปาราชิกแก่ภิกษุนั้นเท่านั้น, ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม รอดตัวไป.
[ลอบวางอาวุธไว้ใต้เตียงหรือตั่ง]
สองบทว่า ทิพฺพล วา กโรติ ความว่า ภิกษุตัดเตียงและตั่งภาย-
ใต้แม่แคร่ หรือตัดหวายและเชือกที่เขาร้อยไว้ ทำให้เหลือไว้นิดหน่อยเท่านั้น
จึงสอดอาวุธไว้ภายใต้, เธอตัดส่วนอื่นแม้แห่งวัตถุ มีกระดานสำหรับพิงเป็น
ต้น ซึ่งมีต้นไม้และกระดานสำหรับยึดเหนี่ยวในที่จงกรมเป็นที่สุดออก แล้ว
เอาอาวุธสอดไว้ภายใต้ ด้วยหวังว่า คนจักตกตายที่อาวุธนี้. ภิกษุนำเตียงตั่ง
หรือกระดานสำหรับพิงมาวางไว้ ใกล้บ่อเป็นต้น โดยประการที่คนพอนั่งหรือพิง
ที่เตียงเป็นต้นนั้นก็จะตกลงไป, หรือทำสะพานสำหรับเดินไปมาบนบ่อเป็นต้น
ให้ชำรุดไว้, เมื่อภิกษุทำอยู่อย่างนั้น เป็นทุกกฏ เพราะทำ, เป็นถุลลัจจัย
เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่คนนอกนี้, เป็นปาราชิก ในเพราะเขาตาย. ภิกษุ
นำเอาภิกษุด้วยกันไปแล้วพักไว้บนริมปากบ่อเป็นต้น ด้วยคิดว่า เธอเห็นแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 417
สะทกสะทาน เพราะกลัว จักตกตาย ดังนี้ เป็นทุกกฏ. เธอตกไปอย่างนั้น
จริง ๆ, เป็นถุลลัจจัย เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้น, เป็นปาราชิก ในเพราะเขา
ตาย. ตนเองผลักภิกษุรูปนั้นให้ตกไป, ใช้ผู้อื่นให้ผลักตกไป, ผู้อื่นมิได้สั่ง
เลย ผลักให้ตกไปตามธรรมดาของตน อมนุษย์ผลักให้ตกลงไป, ตกไปเพราะ
ถูกลมพัด, ตกไปตามธรรมดาของตน ; เป็นปาราชิก ในเพราะผู้นั้นตาย
ทุกกรณี. เพราะเหตุไร. เพราะผู้ตายอยู่ใกล้ริมปากบ่อเป็นต้น ด้วยประโยค
ของภิกษุผู้เป็นต้นเดิมนั้น.
[ว่าด้วยการลอบวางดาบไว้]
การวาง (ดาบเป็นต้น) ไว้ในที่ใกล้ ชื่อว่า การลอบวาง. ในการ
ลอบวางนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุใดพรรณนาคุณแห่งความตาย โดยนัย
เป็นต้นว่า ผู้ใดตายด้วยดาบนี้, ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ก็ดี พูดว่า ผู้ต้องการตาย
จงตายด้วยดาบนี้ ก็ดี พูดว่า ผู้ต้องการตาย จงให้เขาฆ่าด้วยดาบนี้ ก็ดี แล้ว
ลอบวางดาบไว้, เป็นทุกกฏแก่ภิกษุรูปนั้น ในการลอบวางไว้. บุคคลผู้อยาก
จะตาย จะใช้ดาบนั้นประหารตนเองก็ตาม ผู้มีความประสงค์จะใช้ให้คนอื่นฆ่า
จงเอาดาบนั้นประหารคนอื่นก็ตาม, แม้ด้วยการประหารทั้ง ๒ วิธี เป็นถุลลัจจัย
แก่ภิกษุผู้ลอบวาง เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลอื่น, เป็นปาราชิก ใน
เพราะเขาตาย. เมื่อภิกษุวางไว้ไม่เจาะจงเป็นกองอกุศล ในเพราะคนสัตว์เป็น
อันมากตาย, เป็นปาราชิกเป็นต้น ในเพราะวัตถุแห่งปาราชิกเป็นต้น. ภิกษุ
นั้น เมื่อเกิดความเดือนร้อนขึ้นจึงเก็บดาบไว้ในที่ ๆ ตนรับมา ย่อมพ้น.
ดาบเป็นของที่เธอรับซื้อมา, เธอคืนดาบให้แก่เจ้าของดาบ ให้มูลค่าแก่เหล่า
ชนผู้ที่ตนรับเอามูลค่ามาจากมือของเขาแล้ว ย่อมพ้น. ถ้าภิกษุเอาแท่งโลหะ
ผาลไถหรือจอบไปให้ช่างทำเป็นดาบไซร้, ถือเอาภัณฑะใดมาให้ทำดาบ ครั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 418
ทำกลับให้เป็นภัณฑะนั้นอย่างเดิม แล้วจึงจะพ้น. ถ้าภิกษุยังดาบที่เอาจอบ
ให้ช่างทำ ให้เสียหายไป แล้วทำให้เป็นผาลไซร้, แม้เมื่อสัตว์มากหลายได้
การประหารด้วยผาลตายไป ภิกษุนั้น ย่อมไม่พ้นจากปาณาติบาต. แต่ถ้าเธอ
ให้หลอมโลหะขึ้นมาแล้วให้ช่างทำเป็นดาบ เพื่อการลอบวางนั่นเอง, เมื่อดาบ
ที่เธอเอาปลายเหล็กครูดถูแล้วทำให้แหลกละเอียดกระจัดกระจายไป เธอจึงจะ
พ้น. แม้ถ้าเป็นดาบที่ภิกษุมากรูปร่วมอัธยาศัยกันทำไว้ เป็นเหมือนใบลานที่
เขียนพรรณนา (คุณความตาย) ไว้ฉะนั้น วินิจฉัยถึงข้อถูกพันทางกรรมพึง
ทราบโดยนัยดังที่กล่าวแล้วในใบลานนั่นแล. ในหอกและฉมวกก็นัยนี้. ใน
หลาวและไม้ค้อนมีวินิจฉัยเช่นกับที่กล่าวแล้วในไม้คันบ่วง. ในหินก็อย่างนั้น.
ในศัสตราก็มีวินิจฉัยเหมือนดาบนั่นเอง.
[ว่าด้วยลอบวางยาพิษไว้เป็นต้น]
บทว่า วิส วา ความว่า เมื่อภิกษุลอบวางยาพิษไว้ พึงทราบว่า
เป็นปาราชิกเป็นต้น ในวัตถุแห่งปาราชิกเป็นต้น โดยควรแก่การเจาะจงและ
ไม่เจาะจงด้วยอำนาจแห่งวัตถุ. ในยาพิษที่ภิกษุซื้อมาเก็บไว้ เธอทำให้เป็น
ปกติเติมโดยนัยก่อนแล้ว จึงจะพ้น. เมื่อภิกษุผสมยาพิษเข้ากับเภสัชเสียเอง
เธอทำไม่ให้เป็นยาพิษแล้วจึงจะพ้นได้. ในเชือกมีวินิจฉัยเช่นกับด้วยเชือกบ่วง
นั่นแหละ.
ในเภสัช วินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุใด เมื่อภิกษุผู้มีเวรเกิดเป็นไข้เชื่อม
หรือโรคมีส่วนเป็นพิษขึ้น มีความประสงค์จะให้ตายเรียกว่า วัตถุมีเนยใสเป็น
ต้น เป็นที่สบาย ดังนี้ จึงถวายเภสัชแม้อันเป็นที่ไม่สบาย หรือเหง้าบัวรากไม้
และผลไม้ชนิดอื่นบางอย่าง, พึงทราบว่าเป็นทุกกฏแก่ภิกษุนั้น ในเพราะถวาย
เภสัชอย่างนั้น, เป็นถุลลัจจัยและปาราชิก ในเพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น
และในเพราะเขาตาย, เป็นอนันตริยกรรม ในวัตถุแห่งอนันตริยกรรม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 419
[การนำรูปและเสียงเป็นต้นเข้าไป]
ในการนำรูปเข้าไป มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า อุปสหรติ ความ
ว่า ภิกษุพักคนอื่นผู้มีรูปไม่น่าพอใจ ไว้ในที่ใกล้ ๆ บุคคลนั้นหรือเธอแปลง
เพศเป็นยักษ์และเปรตเป็นต้น ด้วยตนเองแล้วยืนอยู่ พอเมื่อนำรูปเข้าไป เป็น
ทุกกฏแก่ภิกษุนั้น, เป็นถุลลัจจัย ในการก่อภัยให้เกิดขึ้นแคนอื่น เพราะเห็น
รูปนั้น, เป็นปาราชิก ในเพราะเขาตาย. แต่ถ้ารูปนั้นเอง ย่อมเป็นที่ชอบใจ
ของคนบางคนไซร้, และเขาย่อมซูบผอมตาย เพราะไม่ได้ (รูปนั้น), ย่อม
ผิดสังเกต. แม้ในรูปซึ่งเป็นที่ชอบใจ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ก็บรรดารูปซึ่งเป็นที่ชอบใจเหล่านั้น ว่าโดยพิเศษ รูปบุรุษย่อมเป็น
ที่ชอบใจของเหล่าสตรี และรูปสตรี ย่อมเป็นที่ชอบใจของเหล่าบุรุษ. ภิกษุ
ตกแต่งรูปนั้นแล้วก็นำเข้าไป คือทำเพียงให้เขาเห็นเท่านั้น, แต่ไม่ยอม
ให้แม้เพื่อจะดูนาน ๆ. คนนอกนี้ย่อมซูบผอมตายเพราะไม่ได้ (รูปนั้น), ภิกษุ
เป็นปาราชิก, ถ้าเขาจักใจตาย, ย่อมผิดสังเกต. แต่ถ้าภิกษุไม่พิจารณา
เลยว่า เขาจักตกใจตาย หรือจักซูบผอมตาย เพราะไม่ได้ นำเข้าไปด้วยคิด
อย่างเดียวว่า เขาเห็นแล้ว จักตาย ดังนี้, เมื่อเขาตกใจตาย หรือซูบผอมตาย
เป็นปาราชิกเหมือนกัน. แม้กิจทั้งหลายมีการนำเสียงเข้าไปเป็นต้น ก็พึงทราบ
โดยอุบายนี้ นั่นแล.
จริงอยู่ ในเสียงเป็นต้นนี้ (มีความแปลกกัน) อย่างเดียวคือ (อารมณ์
ภายนอก) มีเสียงของอมนุษย์เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นเหตุให้เกิดความสะดุ้ง
เป็นสิ่งที่ไม่ชอบใจ, เสียงสตรีและเสียงของนักฟ้อนที่ไพเราะเป็นต้น พึงทราบ
ว่า ทำความชื่นจิตให้ เป็นเสียงที่ชอบใจ, กลิ่นแห่งรากไม้เป็นต้น ของต้น
ไม้ที่มีพิษ ในป่าหิมพานต์และกลิ่นแห่งซากศพ พึงทราบว่า เป็นกลิ่นที่ไม่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 420
ชอบใจ, กลิ่นอันเกิดแต่รากไม้มีกฤษณาและกำยานเป็นต้น พึงทราบว่า เป็น
กลิ่นที่ชอบใจ รสอันเกิดแต่รากไม้ที่ปฏิกูลเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นรสที่ไม่
ชอบใจ, รสอันเกิดแต่รากไม้ที่ไม่ปฏิกูลเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นรสที่ชอบใจ,
ความสัมผัสยาพิษ และสัมผัสหมามุ้ยใหญ่เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นโผฏฐัพพะ
ที่ไม่ชอบใจ, ความสัมผัสผ้าที่ทอในเมืองจีน ขนปีกหงส์และนุ่นสำลีเป็นต้น
พึงทราบว่า เป็นโผฏฐัพพะที่ชอบใจ.
[การนำธรรมารมณ์เข้าไป]
ในการนำธรรมเข้าไป มีวินิจฉัยดังนี้:- เทศนาธรรม พึงทราบว่า
ธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมารมณ์แล อันต่างกันด้วยความวิบัติในนรก และ
สมบัติในสวรรค์ ด้วยอำนาจแห่งเทศนา (ก็พึงทราบว่า ธรรม).
บทว่า เนรยิกสฺส ได้แก่ กล่าวกถาพรรณนาเรื่องนรก มีเครื่อง
จองจำ ๕ อย่าง และเครื่องกรรมกรณ์เป็นต้น แก่สัตว์ผู้เสียสังวร ทำบาปไว้
ซึ่งควรเกิดในนรก. ถ้าเขาฟังนิรยกถานั้นตกใจตาย, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้
กล่าว. แต่ถ้าแม้เขาฟังแล้ว ตายไปตามธรรมดาของตน, ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุ
แสดงนิรยกถาด้วยตั้งใจว่า ผู้นี้ได้ฟังนิรยกถามนี้แล้ว จักไม่ทำกรรมเห็นปานนี้
จักงด จักเว้น บุคคลนอกนี้ ฟังนิรยกถานั้นตกใจตาย, ไม่เป็นอาบัติ.
บทว่า สคฺคกถ ได้แก่ กล่าวกถาพรรณนาสมบัติแห่งของมีวิญญาณ
มีเทพนาฎกาเป็นต้น และแห่งของไม่มีวิญญาณมีสวนนันทนวันเป็นต้น. บุคคล
นอกนี้ได้ฟังสัคคกถานั้น น้อมใจไปในสวรรค์ต้องการได้สมบัตินั้นเร็ว ๆ ยัง
ทุกข์ให้เกิดขึ้น ด้วยใช้ศัสตราประหารกินยาพิษ อดอาหาร และกลั้นลม
อัสสาสะปัสสาสะเป็นต้น, เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้กล่าว, เขาตายไป เป็น
ปาราชิกแก่ภิกษุผู้กล่าว. แต่ถ้าแม้เขาฟังแล้ว ตั้งอยู่ตลอดอายุแล้วจึงตายตาม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 421
ธรรมดาของตน, ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุกล่าวด้วยทั้งใจว่า ผู้นี้ได้ฟังสัคคกถานี้
แล้วจักทำบุญ บุคคลนอกนี้ฟังสัคคกถานั้นแล้ว กลั้นใจทำกาลกิริยา, ไม่เป็น
อาบัติ (แก่ผู้กล่าว).
ในการบอก มีวินิจฉัยดังนี้ :- สองบทว่า ปุฏฺโ ภณติ มีความ
ว่า ภิกษุถูกเขาถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ ; บุคคลตายอย่างไร จึงจะได้ทรัพย์
หรือจะเกิดขึ้นในสวรรค์ ? ดังนี้ จึงบอก.
ในการพร่ำสอน มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า อปฏฺโ ได้แก่ ไม่
ถูกเขาถามอย่างนั้น บอกเสียเองนั่นแล.
สังเกตกรรมและนิมิตกรรม พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว ใน
อทินนาทานกถา.
[ว่าด้วยอนาปัตติวาร]
พระอุบาลีเถระ ครั้นแสดงประเภทของอาบัติโดยประการต่าง ๆ อย่าง
นั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงอนาบัติ จึงกล่าวคำว่า อนาปตฺติ อสญฺจิจฺจ
เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสญฺจิจฺจ ได้แก่ ไม่ได้คิดว่า เราจัก
ฆ่าผู้นี้ ด้วยความพยายามนี้. จริงอยู่ เมื่อผู้อื่นแม้ตายไปด้วยความพยายามที่
ตนไม่ได้คิดทำอย่างนั้น ไม่เป็นอาบัติ. ประหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุ ! ไม่เป็นอาบัติเพราะไม่แกล้ง.
บทว่า อชานนฺตสฺส ได้แก่ ไม่รู้ว่า ผู้นี้จักตายด้วยความพยายามนี้.
เมื่อผู้อื่นแม้ตายไปด้วยความพยายาม ไม่เป็นอาบัติ. ดังพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ไนเรื่องบิณฑบาตเจือด้วยยาพิษว่า ดูก่อนภิกษุ ! ไม่ต้องอาบัติแก่
เธอผู้ไม่รู้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 422
ข้อว่า น มรณาธิปฺปายสฺส ได้แก่ ไม่ปรารถนาจะให้ตาย. จริงอยู่
ผู้อื่นจะตายด้วยความพยายามใด, ครั้นเมื่อผู้นั้น แม้ถูกฆ่าตายด้วยความพยายาม
นั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะให้ตาย ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติแก่เธอผู้ไม่ประสงค์จะให้ตาย. ภิกษุ
บ้าเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล. ก็แลภิกษุทั้งหลายผู้ฆ่ากันและกัน
เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนี้ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุเหล่านั้น. แต่คงเป็นอาบัติ
แก่ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ มีภิกษุผู้พรรณนาคุณความตายเป็นต้นแล.
ปทภาชนียวรรณนา จบ
[ตติยปาราชิกสิกขาบท มีสมุฏฐาน ๓]
ในสมุฏฐานเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓
คือ เกิดแต่กายกับจิต ๑ เกิดแต่วาจากับจิต ๑ เกิดแต่กายวาจากับจิต ๑,
เป็นกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ เป็นสจิตตกะ เป็นโลกวัชชะ เป็นกายกรรม
วจีกรรม เป็นอกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา. จริงอยู่ ถ้าแม้นพระราชาเสด็จขึ้น
สู่พระที่บรรทมอันทรงสิริ เสวยสุขในราชสมบัติอยู่ เมื่อราชบุรุษกราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ! โจรถูกนำมาแล้ว ตรัสทั้งที่ทรงรื่นเริงแลว่า จงไปฆ่ามัน
เสียเถิด พระราชานั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ตรัสด้วยพระหฤทัยอิงโทมนัส
นั่นแล. แต่พระหฤทัยที่อิงโทมนัสนั้น อันปุถุชนทั้งหลายรู้ได้ยาก เพราะ
เจือด้วยความสุข และเพราะไม่ติดต่อกัน (ในวิถีแห่งโทมนัส) ด้วยประการ
ฉะนั้นแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 423
วินีตวัตถุในตติยปาราชิก
[เรื่องพรรณนาคุณความตาย]
ในเรื่องแรก (ซึ่งมีอยู่) ในคาถาแห่งวินีตวัตถุทั้งหลาย มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้:-
บทว่า การุญฺเน ความว่า ภิกษุเหล่านั้น เห็นความทุกข์เพราะ
ความเป็นไข้อย่างมากของเธอแล้ว เกิดความกรุณาขึ้น ทั้งเป็นผู้มีความต้องการ
จะให้ตายด้วย แต่ไม่ทราบว่าเธอมีความต้องการจะตาย จึงได้พรรณนาคุณ
ความตายอย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้มีศีล ได้ทำกุศลไว้แล้ว เพราะเหตุไร เมื่อจะ
ตายจึงกลัวเล่า ? ขึ้นชื่อว่า สวรรค์ของผู้มีศีล เป็นของเนื่องด้วยเหตุเพียง
ความตายเท่านั้น มิใช่หรือ ? ภิกษุแม้นั้นก็ตัดอาหาร เพราะการพรรณนา
(คุณความตาย) ของภิกษุเหล่านั้น แล้วก็มรณภาพไปในระหว่างนั้นเอง
เพราะเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงต้องอาบัติ. แต่ท่านพระอุบาลีเถระกล่าวไว้
ด้วยอำนาจโวหารว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้พรรณนาคุณความตายด้วยความกรุณา,
เพราะฉะนั้นถึงในบัดนี้ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ก็ไม่ควรพรรณนาคุณความตาย
อย่างนั้น แก่ภิกษุผู้อาพาธ. จริงอยู่ ถ้าภิกษุผู้อาพาธนั้นได้ฟังการพรรณนา
ของภิกษุนั้นแล้ว มรณภาพลงในระหว่าง ในเมื่ออายุแม้ยังเหลืออยู่ชั่วชวน-
วาระเดียว ด้วยความพยายามมีการอดอาหารเป็นต้น ไซร้, เธอเป็นผู้ชื่อว่าอัน
ภิกษุนี้แลฆ่าแล้ว. แต่ควรให้คำพร่ำสอนโดยนัยนี้ว่า ความเกิดขึ้นแห่งมรรค
และผลของท่านผู้มีศีล เป็นของไม่น่าอัศจรรย์เลย; เพราะฉะนั้น ท่านไม่ควร
ทำความเกี่ยวข้องในสถานที่มีวิหารเป็นต้น ควรตั้งสติให้ไปในพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ และในกาย ทำความไม่ประมาทในมนสิการ. และแม้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 424
เมื่อภิกษุพรรณนาคุณความตายแล้ว ภิกษุใดไม่ทำความพยายามอะไร ๆ เพราะ
การพรรณนานั้น มรณภาพไปตามธรรมดาของตนตามอายุ และตามความ
สืบต่อ (แห่งอายุ), ภิกษุผู้พรรณนา อันพระวินัยธรไม่ควรปรับอาบัติ เพราะ
ความตายของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ฉะนี้แล.
[เรื่องภิกษุนั่งทับเด็กตาย]
ในคำว่า น จ ภิกฺขเว อปฏิเวกฺขิตฺวา เป็นต้น (ซึ่งมีอยู่)
ในเรื่องที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้:-
ถามว่า อาสนะ เช่นไรต้องพิจารณา เช่นไรไม่ต้องพิจารณา ?
แก้ว่า อาสนะล้วน ๆ ไม่มีเครื่องปูลาดข้างบน และอาสนะที่เขาปูลาด
ต่อหน้าพวกภิกษุผู้มายืนดูอยู่ ไม่ต้องพิจารณา, ควรนั่งได้. แม้บนอาสนะที่
ชาวบ้านเขาเอามือปรบ ๆ เองแล้วถวายว่า ขอนิมนต์นั่งบนอาสนะนี้เถิด ขอรับ !
ดังนี้ ก็ควรนั่งได้. ถ้าแม้นว่า ภิกษุหลายรูปมานั่งอยู่ก่อนแล้วแล. ภายหลัง
จึงขยับขึ้นไปข้างบนหรือถอยร่นลงมาข้างล่าง, ไม่มีกิจที่จะต้องพิจารณา. แม้
บนอาสนะที่เขาเอาผ้าบาง ๆ คลุมไว้ให้มองเห็นพื้น (อาสนะ) ได้ ไม่มีกิจที่
จะต้องพิจารณา. ส่วนอาสนะใด ซึ่งเป็นของที่เขาเอาผ้าปาวารและผ้าโกเชาว์
เป็นต้น ปูลาดไว้ก่อนทีเดียว, ภิกษุควรเอามือลูบคลำกำหนดดูอาสนะนั้นเสีย
ก่อนจึงนั่ง. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ในอาสนะใด แม้ที่เขาเอาผ้า
สาฎกที่หนาปูลาดไว้ รอยย่นย่อมไม่ปรากฏ, อาสนะนั้น ไม่ต้องพิจารณา.
[เรื่องภิกษุทำสากล้มฟาดถูกเด็กตาย]
ในเรื่องสาก มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า อสญฺจิจฺโจ ได้แก่ ผู้ไม่มี
เจตนาจะฆ่า. จริงอยู่ ภิกษุนั้นมีความประกอบผิดพลาดไป; เพราะฉะนั้น เธอ
จึงกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ามิได้แกล้ง เรื่องครกมีเนื้อความชัดเจนแล้วแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 425
[เรื่องภิกษุผู้บุตรผลักภิกษุผู้บิดาล้มตาย]
ในเรื่องแรก (ซึ่งมีอยู่) ในเรื่องพวกพระขรัวตา มีวินิจฉัยดังนี้:-
(ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดา) ว่า ท่านอย่าได้ทำให้ภิกษุสงฆ์เป็นกังวล
ดังนี้ จึงผลัก (ภิกษุผู้บิดา) ไป.
ในเรื่องที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้:- (ภิกษุผู้บุตรถูกเพื่อนพรหมจารี)
กล่าวล้อเลียนอยู่ทั้งในท่ามกลางสงฆ์บ้าง ในท่ามกลางคณะบ้างว่า บุตรของ
พระเถระแก่ อึดอัดอยู่ด้วยคำพูดนั้นจึงได้ผลัก (ภิกษุผู้บิดา) ไปด้วยคิดว่า
พระขรัวตานี้ จงตายเสียเถิด.
ในเรื่องที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้:- เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้บุตร เพราะ
ก่อทุกข์ให้เกิดแก่ภิกษุผู้บิดานั้น. ๓ เรื่องถัดจากนั้นไป มีเนื้อความชัดเจน
ทั้งนั้น.
[เรื่องภิกษุฉันบิณฑบาตเจือยาพิษตาย]
ในเรื่องบิณฑบาตเจือด้วยยาพิษ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุผู้บำเพ็ญ
สาราณียธรรมนั้น ถวายบิณฑบาตส่วนเลิศแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายเสียก่อน
จึงฉัน. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า ได้ถวายบิณฑบาต
นั้น ทำให้เป็นต้นส่วนเลิศ.
บทว่า อคฺคการิก ได้แก่ บิณฑบาตที่ตนได้มาครั้งแรก ซึ่งทำให้
เป็นส่วนเลิศ, อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า บิณฑบาตที่ยอดเยี่ยมคือที่ประณีต ๆ.
ก็กิริยาที่ทำให้เป็นส่วนเลิศ กล่าวคือการให้ของภิกษุ นั้นใคร ๆ ไม่อาจถวาย
ได้. จริงอยู่ถึงบิณฑบาต (ตามปกติ) เธอก็ได้ถวายตั้งต้นแต่อาสนะพระเถระ
ลงไป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 426
สองบทว่า เต ภิกฺขู ได้แก่ ภิกษุเหล่านั้น คือ ผู้ฉันบิณฑบาต
ตั้งต้นแต่อาสนะพระเถระลงไป. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้มรณภาพทั้งหมด
ทุกรูป. คำที่เหลือในเรื่องนี้ ชัดเจนทั้งนั้น. อันภิกษุได้บิณฑบาตที่ประณีต
โดยเคารพ ในตระกูลพวกมิจฉาทิฏฐิผู้ไม่มีศรัทธายังไม่ได้พิจารณา ตนเองไม่
ควรฉันด้วย ทั้งไม่ควรถวายแก่ภิกษุเหล่าอื่นด้วย. ภิกษุได้ภัตตาหารหรือของ
ควรขบฉันแม้สิ่งใด ที่เป็นของค้างคืนมาจากตระกูลมิจฉาทิฏฐินั้น, ภัตตาหาร.
เป็นต้นแม้นั้น ไม่ควรฉัน. เพราะว่า ตระกูลเหล่านั้น ย่อมถวายแม้วัตถุที่
เขาไม่ได้เอาอะไรปิดไว้ ซึ่งมีงูและแมลงป่องเป็นต้นนอนทับอยู่ เป็นของที่
จะต้องทิ้งเป็นธรรมดา. ภิกษุไม่ควรรับบิณฑบาตแม้ที่เปื้อนด้วยวัตถุ มีของ
หอมและขมิ้นเป็นต้น จากตระกูลมิจฉาทิฏฐินั้น. จริงอยู่ ตระกูลมิจฉาทิฏฐิ
เหล่านั้น ย่อมสำคัญซึ่งภัตตาหารอันตนเอาเช็ดถูที่มีโรคในร่างกายแล้วเก็บไว้ว่า
เป็นของควรถวายแล.
[เรื่องภิกษุทดลองยาพิษ]
ในเรื่องทดลองยาพิษ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุเมื่อจะทดลอง จึง
ทดลองทั้ง อย่าง (ทดลองยาพิษและบุคคล) คือ ทดลองยาพิษด้วยคิดว่า
ยาพิษขนานนี้ จะสามารถฆ่าบุคคลคนนี้ตายหรือไม่หนอ ? หรือทดลองบุคคล
ด้วยคิดว่า บุคคลนี้ ดื่มยาพิษขนานนี้แล้วจะพึงตายหรือไม่หนอ ? เมื่อภิกษุ
ให้ยาพิษด้วยความประสงค์จะทดลองแม้ทั้ง ๒ อย่าง เขาจะตายหรือไม่ก็ตาม
เป็นถุลลัจจัย. แต่เมื่อภิกษุให้ยาพิษ ด้วยคิดอย่างนี้ว่า ยาพิษขนานนี้จงฆ่า
บุคคลนี้ให้ตาย หรือว่า บุคคลคนนี้ ดื่มยาพิษขนานนี้แล้ว จงตาย ดังนี้,
ถ้าบุคคลนั้นตาย เป็นปาราชิก, ถ้าไม่ตาย เป็นถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 427
เรื่องการส่งศิลา ๓ เรื่อง ถัดจากเรื่องทดลองยาพิษนี้ไป และเรื่อง
ก่ออิฐ เรื่องส่งมีด และเรื่องส่งกลอนอย่างละ ๓ เรื่อง มีเนื้อความชัดเจน
ทั้งนั้น. ก็ความแตกต่างแห่งอาบัติและอนาบัตินี้ หามีด้วยอำนาจแห่งศิลา
เป็นต้น อย่างเดียวเท่านั้นไม่. แต่ย่อมมีได้ด้วยอำนาจแม้แห่งวัตถุมีไม้พลอง
ค้อน สิ่ว และฟืนเป็นต้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น วัตถุมีไม้พลองเป็นต้นนั้น
แม้มิได้มาในพระบาลี ก็พึงทราบโดยนัยที่มาแล้วนั่นเอง.
[เรื่องภิกษุผูกร่างร้าน]
ในเรื่องผูกร่างร้าน มีวินิจฉัยดังนี้:- เตียงเหินฟ้า* ซึ่งเป็นของ
ที่พวกชนผูกไว้ เพื่อประโยชน์แก่การงาน มีเสตกรรม (ฉาบทาสีขาว)
มาลากรรม (เขียนลายดอกไม้) และลดากรรม (เขียนลายเถาวัลย์) เป็นต้น
เขาเรียกว่า ร่างร้าน. ในเรื่องผูกร่างร้านนั้น ภิกษุผู้มีความประสงค์จะให้ตาย
กล่าวหมายเอาสถานที่ซึ่งภิกษุผู้ยืนอยู่ แล้วจะพึงพลัดตกลงกระทบตอ หรือจะ
พึงมรณภาพไป ในบ่อและเหวเป็นต้นว่า อาวุโส ! คุณจงยืนผูกที่ตรงนี้.
ก็บรรดาสถานที่เหล่านั้น ภิกษุบางรูป ย่อมกำหนดที่ข้างบนไว้ด้วย
คิดว่า เขาจักพลัดตกจากที่นี่ตาย บางรูป ย่อมกำหนดที่ข้างล่างไว้ ด้วยคิดว่า
เขาจักพลัดตกตายจากที่นี้ บางรูป ย่อมกำหนดที่แม้ทั้ง ๒ แห่ง ด้วยติดว่า
เขาจักพลัดตกจากที่นี้ แล้วตายในที่นี้. บรรดาสถานที่ ๆ ภิกษุกำหนดไว้นั้น
ผู้ใดไม่พลัดตกไปจากที่ ๆ ภิกษุกำหนดไว้ข้างบน พลัดตกไปจากที่อื่นก็ดี,
ไม่พลัดตกไปในที่ ๆ ภิกษุกำหนดไว้ข้างล่าง พลัดตกไปในที่อื่นก็ดี, พลัดตก
พลาดไปในบรรดาที่กำหนดไว้ทั้ง ๒ แห่ง แห่งใดแห่งหนึ่งก็ดี, เมื่อผู้นั้นตาย
ชื่อว่าไม่เป็นอาบัติเพราะมีความลักลั่น. แม้ในเรื่องมุงวิหารก็นัยนี้.
* เตียงที่ผูกไว้บนอากาศ หรือขัดห้างที่เขาทำไว้บนต้นไม้สำหรับพักเพื่อดักยิงสัตว์ เรียกว่า
เตียงเหินฟัง หรือขัดห้าง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 428
[เรื่องภิกษุโจนลงเหวทับช่างสานตาย]
ในเรื่องภิกษุกระสัน มีวินิจฉัยดังนี้:- ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเห็น
ความฟุ้งซ่านขึ้นแห่งอกุศลวิตกทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น เมื่อไม่อาจห้ามได้
ทั้งไม่ยินดีในพระศาสนา จึงเป็นผู้มุ่งหน้าไปเพื่อเป็นคฤหัสถ์ แต่ภายหลังคิด
ได้ว่า เราจักตาย ตราบเท่าที่เรายังไม่เสียศีล. คราวนั้นเธอจึงขึ้นภูเขานั้น
แล้วโจนลงไปในเหว ทับช่างสานคนใดคนหนึ่งตาย.
บทว่า วิลิวาการ แปลว่า ช่างสานไม้ไผ่.
หลายบทว่า น จ ภิกฺขเว อตฺตาน ปาเตตพฺพ ความว่า ตน
อันภิกษุไม่พึงให้ตกลงไป. ก็บทว่า อตฺตาน นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ด้วยวิภัตติเปลี่ยนแปลงไป. แต่ในอธิการว่าด้วยการยังตนให้ตกไปนี้ ภิกษุไม่
ควรยังตนให้ตกไปอย่างเดียวก็หาไม่, ถึงบุคคลอื่นก็ไม่ควรฆ่าด้วยความพยายาม
อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้ด้วยการอดอาหาร. จริงอยู่ แม้ภิกษุใด อาพาธ
มีความประสงค์จะตาย เมื่อเภสัชและผู้อุปัฏฐากมีอยู่ ก็ตัดอาหารเสีย, ภิกษุ
นั้นต้องทุกกฏทีเดียว. ส่วนภิกษุใด อาพาธหนักเป็นเครื่องผูกพันอยู่นาน
(ต้องรักษาพยาบาลอยู่นาน) ภิกษุทั้งหลายผู้อุปัฏฐากอยู่ ย่อมลำบาก เกลียดชัง
คืออึดอัดอยู่ ด้วยคิดว่า เมื่อไรหนอ ? พวกเราจักพ้นจากภิกษุอาพาธ. ถ้า
ภิกษุนั้น คิดว่า อัตภาพนี้ แม้ถูกประคับประคองไว้ ก็ไม่ดำรงอยู่ และ
ภิกษุทั้งหลายก็ลำบาก แล้วตัดอาหารเสีย ไม่เสพเภสัช, ข้อที่เธอตัดอาหาร
เสียนั้น ย่อมควร. ส่วนภิกษุใดคิดว่า โรคนี้ร้ายแรง, อายุสังขาร ย่อมไม่
ดำรงอยู่, และการบรรลุคุณวิเศษของเรานี้ ย่อมปรากฏ เหมือนอยู่ในเงื้อม
มือแล้ว จึงตัดอาหารเสีย; ข้อที่เธอตัดอาหารเสียนั้น ย่อมควรเหมือนกัน.
แม้เมื่อภิกษุผู้ไม่อาพาธ เกิดความสังเวชขึ้นแล้ว ตัดอาหารเสีย ด้วยหัวข้อ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 429
กรรมฐาน เพราะติดได้ว่า ชื่อว่าการแสวงหาอาหารเป็นที่เนิ่นช้า, เราจักตาม
ประกอบกรรมจานเท่านั้น ดังนี้, ข้อที่เธอตัดอาหารเสียนั้น ย่อมควร ภิกษุ
พยากรณ์การบรรลุคุณวิเศษ แล้วตัดอาหารเสีย; ข้อนั้นย่อมไม่ควร. แต่จะ
บอกแก่ลัชชีภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสภาคกัน ควรอยู่.
[เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์กลิ้งศิลาเล่นทับคนเลี้ยงโคตาย]
ในเรื่องศิลา มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า ทวาย แปลว่า ด้วยการ
เล่น คือ ด้วยการหัวเราะ, อธิบายว่า ด้วยการเล่นคะนอง. ที่ชื่อว่า ศิลา
ได้แก่ ก้อนหิน. และไม่ใช่แต่หินอย่างเดียว ถึงท่อนไม้ หรือก้อนอิฐอย่างใด
อย่างหนึ่งแม้อื่น ภิกษุจะใช้มือหรือเครื่องยนต์กลิ้ง ย่อมไม่ควร. พวกภิกษุ
พากันหัวเราะเสสรวลกลิ้งอยู่ก็ดี ยกขึ้นอยู่ก็ดี ซึ่งวัตถุมีหินเป็นต้น เพื่อ
ประโยชน์แก่พระเจดีย์เป็นต้น, จัดเป็นคราวทำการงาน; เพราะเหตุนั้น กิจ
มีการกลิ้งเป็นต้น จึงควร พวกภิกษุ เมื่อจะทำนวกรรมแม้อย่างอื่นเช่นนี้
หรือจะซักสิ่งของ ยกต้นไม้หรือท่อนไม้สำหรับซักขึ้นแล้ว กลิ้งไป, ข้อนั้น
ย่อมควร. ในเวลาทำภัตกิจเป็นต้น ภิกษุขว้างท่อนไม้หรือกระเบื้องถ้วยไปไล่
ฝูงกา และเหล่าสุนัขให้หนีไป; ข้อนั้น ย่อมควร.
เรื่องทั้งหลายมีเรื่องนึ่งตัวเป็นต้น มีเนื้อความชัดเจนทั้งหมดแล้ว.
แล. อนึ่ง ในวิสัยแห่งเรื่องนึ่งตัวเป็นต้นนี้ อันภิกษุไม่ควรทำคิลานุปัฏฐาก
ด้วยคิดว่า เรามีความรังเกียจ ทุกอย่าง พึงเข้าไปกำหนดกำลังหรือไม่มีกำลัง
ความชอบใจและความสบายของภิกษุอาพาธ แล้วทำโดยความเป็นผู้หวัง
ประโยชน์เกื้อกูล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 430
[เรื่องภิกษุทำยาให้หญิงมีครรภ์กับชู้ตกไปเป็นต้น]
ในเรื่องหญิงมีครรภ์กับชู้ มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า ปวุฏฺฐปติกา
แปลว่า หญิงผู้มีสามีหย่าร้างไปนานแล้ว. บทว่า คพฺภปาตน ได้แก่ เภสัช
เช่นกับขนานที่หญิงบริโภคแล้ว เป็นเหตุให้ครรภ์ตกไป. เรื่องหญิงร่วมผัว
๒ คน มีเนื้อความชัดเจนแล้วแล.
ในเรื่องรีดลูก มีวินิจฉัยดังนี้:- หญิงมีครรภ์นั้น เมื่อภิกษุบอกว่า
จงรีดให้ตกไปเองเถิด วานให้ผู้อื่นรีด ทำให้ตกไป; เป็นผิดความมุ่งหมาย
แม้เมื่อภิกษุบอกว่า จงวานผู้อื่นรีดทำให้ตกไปเถิด แต่นางรีดทำให้ตกไปเสีย
เอง; เป็นผิดความมุ่งหมายเหมือนกัน. ชื่อว่าปริยาย ในมนุสสวิคคหะ
ย่อมไม่มี; เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุพูดว่า ขึ้นชื่อว่าครรภ์ถูกรีดแล้ว จะตก
ไปเอง, หญิงมีครรภ์นั้น จงรีดเองหรือจงวานให้ผู้อื่นรีดให้ตกไปก็ตาม, ไม่มี
ความลักลั่น เป็นปาราชิกทีเดียว. แม้ในเรื่องนาบครรภ์ให้ร้อนก็นัยนี้เหมือน
กัน.
[เรื่องภิกษุทำยาให้หญิงหมันมีบุตรตาย]
ในเรื่องหญิงหมัน มีวินิจฉัยดังนี้:- หญิงผู้ไม่ตั้งครรภ์ ชื่อว่า
หญิงหมัน. ธรรมดาหญิงไม่ตั้งครรภ์ ย่อมไม่มี แต่ว่าครรภ์แม้ที่หญิงคนใด
ตั้งขึ้นแล้ว ไม่ดำรงอยู่, ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอาหญิงนั้น. ได้ยินว่า ใน
คราวมีระดู หญิงทุกจำพวก ย่อมตั้งครรภ์, แต่อกุศลวิบากมาประจวบเข้า
แก่พวกสัตว์ผู้เกิดในท้องของหญิงที่เรียกกันว่า เป็นหมัน นี้. สัตว์เหล่านั้น
ถือปฏิสนธิมาด้วยกุศลวิบากเพียงเล็กน้อย ถูกอกุศลวิบากครอบงำจึงพินาศไป.
จริงอยู่ ในขณะปฏิสนธิใหม่ ๆ นั่นเอง ครรภ์ทั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยอาการ ๒ อย่าง
คือด้วยลม หรือสัตว์เล็ก ๆ เพราะกรรมานุภาพ ลมพัด (ครรภ์) ให้แห้งแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 431
ทำให้อันตรธานไป. สัตว์เล็ก ๆ ทั้งหลาย กัดกิน (ครรภ์ ทำให้อันตรธาน
ไป). แต่เมื่อแพทย์ประกอบเภสัช เพื่อกำจัดลมและพวกสัตว์เล็กนั้นแล้ว
ครรภ์พึงทั้งอยู่ได้. ภิกษุนั้น ไม่ได้ปรุงเภสัชขนานนั้น ได้ให้เภสัชที่ร้ายแรง
ขนานอื่น. นางได้ตายไป เพราะเภสัชขนานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรง
บัญญัติทุกกฏไว้ เพราะภิกษุปรุงเภสัช. แม้ในเรื่องที่ ๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
[ภิกษุไม่ควรทำยาแก่ชนอื่นแต่ควรทำให้สหธรรมิกทั้ง ๕]
เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่ควรทำเภสัชแก่ชนอื่นผู้มาแล้ว ๆ, เมื่อทำ ต้อง
ทุกกฏ. แต่ควรทำให้แก่สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา
สามเณร สามเณรี. จริงอยู่ สหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านั้นเป็นผู้มีศีล ศรัทธา
และปัญญาเสมอกัน ทั้งประกอบในไตรสิกขาด้วย ภิกษุจะไม่ทำเภสัชให้ย่อม
ไม่ได้, และเมื่อจะทำ ถ้าสิ่งของ ๆ สหธรรมิกเหล่านั้นมีอยู่, พึงถือเอาสิ่ง
ของ ๆ สหธรรมิกเหล่านั้น ปรุงให้. ถ้าไม่มี, ควรเอาของ ๆ ตนทำให้ ถ้า
แม้ของ ๆ ตนก็ไม่มี พึงแสวงหาด้วยภิกขาจารวัตร หรือจากที่แห่งญาติและ
คนปวารณา (ของตน). เมื่อไม่ได้ ควรนำสิ่งของมาทำให้ แม้ด้วยการไม่ทำ
วิญญัติ (คือขอในที่ ๆ เขาไม่ได้ทำปวารณาไว้) เพื่อประโยชน์แก่คนไข้.
ควรทำ ยาให้แก่คนนี้ ๕ จำพวก แม้อื่นอีก คือ มารดา ๑ บิดา ๑ คนบำรุง
มารดาบิดานั้น ๑ ไวยาจักรของตน ๑ คนปัณฑุปลาส ๑. คนผู้ที่ชื่อว่าปัณฑุ-
ปลาส ได้แก่ คนผู้เพ่งบรรพชา ยังอยู่ในวิหารตลอดเวลาที่ยังตระเตรียมบาตร
และจีวร. บรรดาชน ๕ จำพวกเหล่านั้น ถ้ามารดาและบิดาเป็นใหญ่ ไม่หวัง
ตอบแทนไซร้, จะไม่ทำให้ก็ดีควร. แต่ถ้าท่านทั้ง ๒ ดำรงอยู่ในราชสมบัติ
ยังหวังตอบแทนอยู่, จะไม่ทำ ไม่ควร. เมื่อท่านทั้ง ๒ หวังเภสัช ควรให้
เภสัช. เมื่อท่านทั้ง ๒ ไม่รู้วิธีประกอบยาควรประกอบยาให้. ควรแสวงหา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 432
เภสัชเพื่อประโยชน์แก่ชน ๕ จำพวก มีมารดาเป็นต้นแม้ทั้งหมด โดยนัยดังที่
กล่าวแล้วในสหธรรมิกนั่นแล. ก็ถ้าภิกษุนำมารดามาปรนนิบัติอยู่ในวิหาร,
อย่าถูกต้องพึงบริกรรมทุกอย่าง, พึงให้ของเคี้ยว ของบริโภคด้วยมือตนเอง.
ส่วนบิดาพึงบำรุงทำกิจทั้งหลาย มีการให้อาบน้ำและการนวดเป็นต้น ด้วยมือ
ตนเอง เหมือนอย่างสามเณรฉะนั้น. ชนเหล่าใดย่อมบำรุงประคับประคอง
มารดาและบิดา, ภิกษุควรทำเภสัช แม้แก่ชนเหล่านั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.
คนผู้ที่ชื่อว่า ไวยาจักร ได้แก่ ผู้รับเอาค่าจ้างแล้ว ตัดฟืนในป่า หรือทำ
การงานอะไร ๆ อย่างอื่น. เมื่อเกิดเป็นโรคขึ้นแก่เขา ภิกษุควรทำเภสัชให้
จนกว่าพวกญาติจะพบเห็น. ส่วนผู้ใดเป็นเพียงคนอาศัยภิกษุ ทำการงานทุก
อย่าง, ภิกษุควรทำเภสัชให้แก่คนคนนั้นเหมือนกัน. แม้ในปัณฑุปลาส
ก็ควรปฏิบัติเหมือนในสามเณร ฉะนั้น
[ภิกษุควรทำยาให้คน ๑๐ จำพวก]
ภิกษุควรทำยาให้แก่ชน ๑๐ จำพวก แม้อื่นอีก คือ พี่ชาย ๑ น้อง
ชาย ๑ พี่หญิง ๑ น้องหญิง ๑ น้าหญิง ๑ ป้า ๑ อาชาย ๑ ลุง ๑ อาหญิง ๑
น้าชาย ๑. ก็เมื่อจะทำให้แก่ชนมีพี่ชายเป็นต้นนั้นแม้ทั้งหมด ควรเอาเภสัช
อันเป็นของ ๆ คนเหล่านั้นนั่นแล ปรุงให้อย่างเดียว, แต่ถ้าสิ่งของ ๆ ชน
เหล่านั้น ไม่เพียงพอ และชนเหล่านั้นก็ขอร้องอยู่ว่า ท่านขอรับ ! โปรดให้
พวกกระผมเถิด พวกกระผมจักถวายคืนแก่พระคุณท่าน, ควรให้เป็นของยืม,
ถึงหากพวกเขาไม่ขอร้อง, ภิกษุควรพูดว่า อาตมา มีเภสัชอยู่, พวกท่านจง
ถือเอาเป็นของยืมเถิด หรือควรทำความผูกใจไว้ว่า สิ่งของ ๆ ชนเหล่านั้น
จักมีเมื่อใด เขาจักให้เมื่อนั้น ดังนี้ แล้วพึงให้ไป. ถ้าเขาคืนให้ควรรับเอา,
ถ้าไม่คืนให้ ไม่ควรทวง. เว้นญาติ ๑๐ จำพวกเหล่านั้นเสีย ไม่ควรให้เภสัช
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 433
แก่ชนเหล่าอื่น. ก็เมื่อภิกษุใช้ให้ญาตินำจตุปัจจัยมาตราบเท่าจนถึง ๗ ชั่วเครือ
สกุล โดยสืบ ๆ กันมาแห่งบุตรของญาติ ๑๐ จำพวก มีพี่ชายเป็นต้นเหล่านั้น
ไม่เป็นการทำวิญญัติ เมื่อทำเภสัช (แก่ชนเหล่านั้น) ก็ไม่เป็นเวชกรรม
หรือไม่เป็นอาบัติ เพราะประทุษร้ายสกุล. ถ้าพี่สะใภ้ น้องสะใภ้ หรือพี่เขย
น้องเขย เป็นไข้, ถ้าเขาเป็นญาติ, จะทำเภสัชแก่ญาติแม้เหล่านั้น ก็ควร.
ถ้าเขามิใช่ญาติพึงทำให้แก่พี่ชาย และพี่หญิง ด้วยสั่งว่า จงให้ในที่ปฏิบัติของ
พวกท่าน. อีกอย่างหนึ่ง พึงทำให้แก่บุตรของเขา ด้วยสั่งว่า จงให้แก่มารดา
และบิดาของพวกเจ้าเถิด. พึงทราบวินิจฉัยในบททั้งปวงโดยอุบายนี้. อันภิกษุ
เมื่อจะใช้สามเณรทั้งหลาย ให้นำเภสัชมาจากป่าเพื่อประโยชน์แก่พี่สะใภ้ น้อง
สะใภ้เป็นต้นเหล่านั้น ควรใช้พวกสามเณรที่เป็นญาติให้นำมา หรือ พึงให้นำ
มาเพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วจึงให้ไป. แม้พวกสามเณรผู้ ไม่ใช่ญาติเหล่านั้น
ก็ควรนำมาด้วยหัวข้อวัตรว่า พวกเราจะนำมาถวายพระอุปัชฌายะ. โยมมารดา
และบิดาของพระอุปัชฌายะ เป็นไข้ มายังวิหาร, และพระอุปัชฌายะหลีกไป
สู่ทิศเสีย. สัทธิวิหาริก ควรให้เภสัชอัน เป็นของ ๆ พระอุปัชฌายะ. ถ้าไม่มี
ควรบริจาคเภสัชของตน ถวายพระอุปัชฌายะให้ไป. แม้เมื่อของ ๆ ตนก็ไม่มี
ควรแสวงหาทำให้เป็นของ ๆ พระอุปัชฌายะแล้วให้ไป โดยนัยดังกล่าวแล้ว.
ในโยมมารดาและบิดาของสัทธิวิหาริก แม้พระอุปัชฌายะก็ควรปฏิบัติเหมือน
อย่างนั้นเหมือนกัน. ในอาจารย์และอันเตวาสิกก็นัยนี้.
[ภิกษุควรทำยาให้แคน ๕ จำพวก]
บุคคลแม้อื่นใด คือ คนจรมา ๑ โจร ๑ นักรบแพ้ ๑ ผู้เป็น
ใหญ่ ๑ คนที่พวกญาติสละเตรียมจะไป ๑ เป็นไข้เข้าไปสู่วิหาร ภิกษุผู้ไม่
หวังตอบแทน ควรทำเภสัช แก่คนทั้งหมดนั้น. ตระกูลที่มีศรัทธาบำรุงด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 434
ปัจจัย ๔ ย่อมตั้งอยู่ในฐานเป็นมารดาและบิดาของภิกษุสงฆ์. ถ้าในตระกูลนั้น
มีคนบางคน เป็นไข้, ชนทั้งหลายเรียนขอเพื่อประโยชน์แก่ผูเป็นไข้นั้นว่า
ท่านขอรับ ! ขอพระคุณท่านทำเภสัชให้ ด้วยความวิสาสะเถิด, ไม่ควรให้
ทั้งไม่ควรทำเลย. ก็ถ้าพวกเขารู้สิ่งที่ควร เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !
เขาปรุงเภสัชอะไรแก้โรคชื่อโน้น ? ภิกษุจะตอบว่า เขาเอาสิ่งนี้และสิ่งนี้ ทำ
(เภสัช) ดังนี้ ก็ควร. ก็ภิกษุถูกคฤหัสถ์เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !
มารดาของกระผมเป็นไข้ ขอได้โปรดบอกเภสัชด้วยเถิด ดังนี้ ไม่ควรบอก.
แต่ควรสนทนาถ้อยคำกะกันและกันว่า อาวุโส ! ในโรคชนิดนี้ ของภิกษุ
ชื่อโน้น เขาปรุงเภสัชอะไรแก้ ? ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า เขาเอาสิ่งนี้และนี้
ปรุงเภสัช ขอรับ ! ฝ่ายชาวบ้าน ฟังคำสนทนานั้นแล้ว ย่อมปรุงเภสัชแก่
มารดา; ข้อที่ภิกษุสนทนากันนั้น ย่อมควร.
[เรื่องพระมหาปทุมเถระสนทนาเรื่องยาแก้โรค]
ได้ยินว่า แม้พระมหาปทุมเถระ เมื่อพระเทวีของพระเจ้าวสภะเกิด
ประชวรพระโรคขึ้น ก็ถูกนางนักสนมคนหนึ่งมาเรียนถาม ท่านก็ไม่พูดว่า
ไม่รู้ ได้สนทนากับพวกภิกษุเหมือนอย่างที่กล่าวมาแล้วนนี้แล. ข้าราชบริพาร
ฟังคำสนทนานั้นแล้ว ได้ปรุงเภสัชถวายแด่พระเทวีพระองค์นั้น. และเมื่อ
พระโรคสงบลงแล้ว ข้าราชบริพารได้บรรทุกผอบเภสัชให้เต็มพร้อมทั้งไตร
จีวรและกหาปณะ ๓๐๐ นำไปวางไว้ใกล้เท้าของพระเถระ แล้ว เรียนว่า ท่าน
เจ้าข้า ! โปรดทำการบูชาด้วยดอกไม้เถิด. พระเถระคิดว่า นี้ชื่อว่าเป็นส่วน
ของอาจารย์ แล้วให้ไวยาจักรรับไว้ด้วยอำนาจเป็นของกับปิยะ ได้ทำการบูชา
ด้วยดอกไม้แล้ว. ภิกษุควรปฏิบัติในเภสัชอย่างนี้ก่อน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 435
[เรื่องสวดพระปริตร]
ก็ในพระปริตร มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุถูกชาวบ้านอาราธนาว่า
โปรดทำพระปริตรแก่คนไข้เถิด ขอรับ ! ดังนี้ ไม่ควรทำ, แต่เมื่อเขาอาราธนา
ว่า โปรดสวดเถิด, ควรทำ. ถ้าแม้ภิกษุนั้น มีความวิตกว่า ธรรมดามนุษย์
ทั้งหลาย ย่อมไม่รู้, เมื่อเราไม่ทำ จักเป็นผู้เดือดร้อน ดังนี้, ก็ควรทำ.
ส่วนภิกษุถูกอาราธนาว่า โปรดทำน้ำพระปริตร เส้นด้ายพระปริตรให้เถิด ดัง
นี้ ควรเอามือ (ของตน) กวนน้า ลูบคลำเส้นด้าย ของมนุษย์เหล่านั้นแล
ให้ไป. ถ้าภิกษุให้น้ำจากวิหาร หรือเส้นด้ายซึ่งเป็นของ ๆ ตน เป็นทุกกฏ.
พวกชาวบ้านนั่งถือน้ำและเส้นด้าย กล่าวอยู่ว่า ขอนิมนต์สวดพระปริตร ดัง
นี้ควรทำ, ถ้าเขาไม่รู้ ควรบอกให้. พวกชาวบ้านตรวจน้ำทักษิโณทก* ลง
และวางเส้นด้ายไว้ใกล้เท้าทั้งหลายของพวกภิกษุผู้นั่งอยู่แล้ว ก็ไป ด้วยเรียน
ว่า ขอนิมนต์ทำพระปริตรสวดพระปริตรเถิด ดังนี้, ภิกษุไม่พึงชักเท้าออก
เพราะว่า พวกชาวบ้านจะเป็นผู้มีความเดือดร้อน. พวกชาวบ้านส่งคนไปยัง
วิหาร เพื่อประโยชน์แก่คนไข้ ภายในบ้านด้วยสั่งว่า ขอภิกษุทั้งหลาย โปรด
สวดพระปริตร ดังนี้, ภิกษุควรสวด. เมื่อโรคหรือความจัญไร เกิดขึ้นใน
พระราชมณเฑียรเป็นต้น ภายในบ้าน อิสระชนมีกษัตริย์เป็นต้น รับสั่งให้
อาราธนาภิกษุมาแล้ว นิมนต์ให้สวด (พระปริตรเป็นต้น). ภิกษุพึงสวดพระ
สูตรทั้งหลาย มีอาฏานาฏิยสูตรเป็นต้น. แม้เมื่อพวกชาวบ้านส่งคนไปนิมนต์
ว่า ขอภิกษุทั้งหลาย จงมาให้สิกขาบท แสดงธรรมแก่คนไข้เถิด หรือว่า
จงมาให้สิกขาบท แสดงธรรมที่พระราชวังหลวง หรือที่เรือนของอำมาตย์เถิด
ดังนี้ ภิกษุควรไปให้สิกขาบท ควรกล่าวธรรม. พวกชาวบ้านนิมนต์ว่า ขอ
* อุทกนฺติ ทกฺขิโณทก. บทว่า อุทก ได้แก่ น้ำทักษิโณทก. สารัตถทีปนี ๒/๔๒๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 436
ภิกษุทั้งหลาย จงมาเพื่อเป็นบริวาร (เพื่อน) ของคนตาย, ไม่ควรไป. ภิกษุ
จะไปด้วยมุ่งกรรมฐานเป็นหลักว่า เราจักกลับได้มรณสติ เพราะเห็นกระดูกใน
ป่าช้า และเพราะเห็นอสุภ ดังนี้ ควรอยู่. ภิกษุควรปฏิบัติในพระปริตร ดัง
พรรณนามาฉะนี้.
[ว่าด้วยเรื่องอนามัฏฐบิณฑบาต]
ส่วนในบิณฑบาต มีวินิจฉัยดังนี้:- ถามว่า อนามัฏฐบิณฑบาต
ควรให้แก่ใคร ไม่ควรให้แก่ใคร ? แก้ว่า ควรให้แก่มารดาและบิดาก่อน. ก็หาก
ว่า บิณฑบาตนั้น จะเป็นของมีราคาตั้งกหาปณะ ก็ไม่จัดว่าเป็นการยังศรัทธา-
ไทยให้ตกไป, ควรให้แม้แก่คนเหล่านี้ คือ พวกคนบำรุงมารดาบิดา ไวยาจักร
คนปัณฑุปลาส. บรรดาคนเหล่านั้น สำหรับคนปัณฑุปลาส จะใส่ในภาชนะ
ให้ ก็ควร. เว้นคนปัณฑุปลาสนั้นเสีย จะใส่ในภาชนะให้แก่คฤหัสถ์เหล่าอื่น
แม้เป็นมารดาบิดา ก็ไม่ควร. เพราะว่า เครื่องบริโภคของบรรพชิตทั้งอยู่ใน
ฐานเป็นเจดีย์ของพวกคฤหัสถ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอนามัฏฐบิณฑบาตนี้พึง
ให้แก่โจรผู้ลือชื่อบ้าง ทั้งแก่อิสรชนบ้าง ผู้มาถึงเข้า. เพราะเหตุไร ? เพราะ
เหตุว่า ชนเหล่านั้นแม้เมื่อไม่ให้ ก็โกรธว่า ไม่ให้ แม้เมื่อจับต้องให้ ก็
โกรธว่า ให้ของเป็นเดน. ชนเหล่านั้น โกรธแล้วย่อมปลงจากชีวิตเสียบ้าง
ย่อมทำอันตรายแก่พระศาสนาบ้าง. ก็ในข้อนี้ พึงแสดงเรื่องพระเจ้าโจรนาคผู้
เทียวปรารถนาราชสมบัติ (เป็นอุทาหรณ์). ภิกษุควรปฏิบัติในบิณฑบาต ดัง
พรรณนามาฉะนี้.
[ว่าด้วยเรื่องปฏิสันถาร]
ส่วนในปฏิสันถาร มีวินิจฉัยดังนี้:- ถามว่า ปฏิสันถาร ควรทำ
แก่ใคร ไม่ควรทำแก่ใคร แก้ว่า ชื่อว่าปฏิสันถาร อันภิกษุควรทำทั้งนั้นแก่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 437
ผู้ใดผู้หนึ่งที่มาถึงวิหาร จะเป็นคนจรมา คนเข็ญใจเป็นโจร หรือเป็นอิสรชน
ก็ตาม. ถามว่า พึงทำอย่างไร. แก้ว่า เห็นอาคันตุกะ หมดเสบียงลง มา
ถึงวิหาร พึงให้น้ำดื่มก่อน ด้วยกล่าวว่า เชิญดื่มน้ำเถิด, พึงให้น้ำมันทาเท้า.
อาคันตุกะมาในกาลพึงให้ข้าวยาคูและภัต. อาคันตุกะมาในเวลาวิกาล ถ้า
ข้าวสารมี พึงให้ข้าวสาร, ไม่ควรพูดว่า ท่านมาถึงในคราวมิใช่เวลา, จงไป
เสีย. พึงให้ที่นอน. ไม่หวังความตอบแทนเลย ควรทำกิจทุกอย่าง. ไม่ควร
ให้ความคิดเกิดขึ้นว่า ธรรมดามนุษย์ ผู้ให้ปัจจัย ๔, เมื่อเราทำการสงเคราะห์
อยู่อย่างนี้ จักเลื่อมใสทำอุปการะบ่อย ๆ. ถึงแม้วัตถุของสงฆ์ ก็ควรให้แก่
พวกโจรได้. และเพื่อแสดงอานิสงส์ปฏิสันถาร พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าว
เรื่องไว้หลายเรื่อง ในมหาอรรถกถา โดยพิสดารมีอาทิอย่างนี้ คือ เรื่องพระ
เจ้าโจรนาค เรื่องพระเจ้ามหานาคผู้เสด็จไปชมพูทวีปพร้อมกับพระราชภาดา-
เรื่องอำมาตย์ ๔ นาย ในรัชสมัยแห่งพระเจ้าปิตุราช เรื่องอภัยโจร.
[เรื่องพระอภัยเกระทำปฏิสันถารกับอภัยโจร]
บรรดาเรื่องเหล่านั้น จะแสดงเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้:- ดังได้สดับมา
ในเกาะสิงหล โจรชื่ออภัย มีบริวารประมาณ ๕๐๐ คน ตั้งค่ายอยู่ ณ ที่แห่ง
หนึ่ง ทำประชาชนให้อพยพไปตลอด (ที่มีประมาณ) ๓ โยชน์โดยรอบ. ชาว
เมืองอนุราธบุรี ข้ามแม่น้ำกฬัมพนทีไม่ได้. ในทางไปเจติยคิรีวิหาร ขาดการ
สัญจรไปมาของประชาชน. ต่อมาวันหนึ่งโจรได้ไปด้วยหมายใจว่า จักปล้น
เจติยคิรีวิหาร. พวกคนวัด เห็นจึงบอกแก่พระทีฆภาณกอภัยเถระ.
พระเถระถามว่า เนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น มีไหม ?
พวกคนวัด. มี ขอรับ !
พระเถระ. พวกท่านจงให้แก่พวกโจร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 438
พระเถระ. ข้าวสาร มีไหม ?
พวกคนวัด. มี ขอรับ ! ข้าวสาร ผักดอง และโครส ที่เขานำมา
เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์.
พระเถระ พวกท่านจงจัดภัตให้แก่พวกโจร.
พวกคนวัด ทำตามพระเถระสั่งแล้ว. พวกโจรบริโภคภัตแล้ว จึง
ถามว่า ใครทำการต้อนรับ ?.
พวกคนวัด. พระอภัยเถระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา.
พวกโจรไปยังสำนักของพระเถระ ไหว้แล้ว กราบเรียนว่า พวกกระ
ผมมาด้วยหมายใจว่า จักปล้นเอาของสงฆ์และของเจดีย์แต่กลับเลื่อมใสด้วย
ปฏิสันถารนี้ของพวกท่าน, ตั้งแต่วันนี้ไป การรักษาที่ชอบธรรมในพระวิหาร
จงเป็นหน้าที่ของพวกกระผม, พวกชาวเมืองจงมาถวายทาน จงไหว้พระเจดีย์.
และตั้งแต่วันนั้นมา เมื่อชาวเมืองมาถวายทาน พวกโจร ก็ไปต้อนรับถึงริม
ฝั่งแม่น้ำทีเดียว คอยรักษานำไปพระวิหาร ; เมื่อพวกชาวเมืองกำลังถวายทาน
อยู่แม้ในพระวิหาร ก็พากันยืนทำการรักษาอยู่. แม้ชาวเมืองเหล่านั้นก็ให้ภัตที่
เหลือจากภิกษุทั้งหลายฉันแล้วแก่พวกโจร. แม้ในเวลากลับไป พวกโจรเหล่า
นั้น ก็ช่วยส่งชาวเมืองถึงริมฝั่งแม่น้ำแล้ว จึงกลับ.
[พระเถระถูกพวกภิกษุโพนทะนา]
ต่อมาวันหนึ่ง เกิดคำค่อนขอดขึ้นในหมู่ภิกษุว่า พระเถระได้ให้ของ ๆ
สงฆ์แก่พวกโจร เพราะถือว่าตัวเป็นใหญ่. พระเถระสั่งให้ทำการประชุม
(สงฆ์) แล้ว กล่าวว่า พวกโจรพากันมา ด้วยหมายใจว่า จักปล้นเอาทรัพย์
ค่าอาหารตามปกติของสงฆ์ และของเจดีย์; เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงได้ทำ
ปฏิสันถารแก่พวกโจรเหล่านั้น ซึ่งมีประมาณเท่านี้ ด้วยคิดเห็นว่า พวกโจร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 439
จักไม่ปล้นด้วยอาการอย่างนี้ พวกท่านจงประมวลสิ่งของนั้น แม้ทั้งหมดรวม
กันเข้าแล้ว ให้ตีราคา, จงประมวลสิ่งของที่พวกโจรไม่ปล้นไป ด้วยเหตุนั้น
รวมกันเข้าแล้วให้ตีราคา (เทียบกันดู). ทรัพย์ที่พระเถระให้ไปแม้ทั้งหมด
จากทรัพย์ของสงฆ์นั้น มีราคาไม่เท่าเครื่องลาดอันวิจิตด้วยรูปภาพอันงามผืน
หนึ่งในเรือนพระเจดีย์. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ปฏิสันถารที่พระ-
เถระทำแล้ว เป็นอันทำชอบแล้ว, ใคร ๆ ไม่ได้เพื่อจะโจท หรือเพื่อทำให้
ท่านให้การ, ไม่มีสินใช้ หรืออวหาร. ปฏิสันถาร มีอานิสงส์มากอย่างนี้
ภิกษุผู้บัณฑิต กำหนดดังกล่าวมานี้แล้ว ควรทำปฏิสันถาร ฉะนั้นแล.
[เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์จี้ภิกษุสัตตรสวัคคีย์เป็นต้น]
ในเรื่องจี้ด้วยนิ้วมือ มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า อุตฺตสนฺโต ได้
แก่ ผู้เหน็ดเหนื่อย. บทว่า อนสฺสาสโก ได้แก่ ผู้หายใจออกไม่ทัน. ก็แล
อาบัติที่จะพึงมีในเรื่องนี้ ทรงแสดงไว้แล้ว ในพวกขุททกสิกขาบท, เพราะ
เหตุนั้น จึงไม่ตรัสไว้ในสิกขาบทนี้ .
ในเรื่องอันมีในลำดับแห่งเรื่องจี้ ด้วยนิ้วมือนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- บท
ว่า โอตฺถริตฺวา แปลว่า เหยียบแล้ว . ได้สดับมาว่า ภิกษุรูปนั้นล้มลง
ถูกพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้นฉุดลากไปอยู่. ภิกษุรูปหนึ่งขึ้นนั่งทับท้อง
ของเธอ. ภิกษุ ๑๕ รูปแม้ที่เหลือ ก็ช่วยกันทับลงไปที่แผ่นดินจนตาย เหมือน
หินฟ้าถล่มทับมฤคตาย ฉะนั้น. ก็เพราะภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้น มีความ
ประสงค์จะลงโทษ หามีความประสงค์จะฆ่าให้ตายไม่; ฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงไม่ปรับเป็นปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 440
[เรื่องภิกษุฆ่ายักษ์ ต้องถุลลัจจัย]
ในเรื่องภิกษุหมอผี มีวินิจฉัยดังนี้:- สองบทว่า ยกฺข มาเรสิ
ความว่า พวกอาจารย์ผู้ขับไล่ภูตผี ต้องการจะปลดเปลื้องบุคคลผู้ถูกยักษ์เข้า
สิง จึงเรียกยักษ์ให้ออกมา แล้วพูดว่า จงปล่อย, ถ้ายักษ์ไม่ปล่อย, อาจารย์
หมอผี ก็เอาแป้งหรือดินเหนียว ทำเป็นรูปหุ่นแล้วตัดอวัยวะมีเมือและเท้าเป็น
ต้นเสีย. อวัยวะใด ๆ ของรูปหุ่นนั้นขาดไป, อวัยวะนั้น ๆ ของยักษ์ ย่อมชื่อ
ว่าเป็นอันหมอผีตัดแล้วเช่นกัน. เมื่อศีรษะ (ของรูปหุ่นนั้น) ถูกตัด แม้
ยักษ์ก็ตาย. ภิกษุหมอผีแม้นั้นได้ฆ่ายักษ์ตาย ด้วยวิธีดังกล่าวมานี้. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงปรับเป็นถุลลัจจัย. เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้ฆ่า
ยักษ์อย่างเดียวเท่านั้น ก็หาไม่. จริงอยู่ แม้ภิกษุใด พึงฆ่าท้าวสักกเทวราช
ตาย, ภิกษุแม้นั้นก็ต้องงถุลลัจจัยเหมือนกัน.
[เรื่องส่งภิกษุไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ]
ในเรื่องยักษ์ดุร้าย มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า วาฬยกฺขวิหาร
ความว่า (ส่งไป) สู่วิหารที่มียักษ์ดุร้ายอยู่, จริงอยู่ ภิกษุใด เมื่อไม่ทราบ
วิหารเห็นปานนั้น จึงได้ส่ง (ภิกษุบางรูป) ไป เพื่อต้องการให้พักอยู่อย่าง
เดียว, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุใด มีความประสงค์จะไห้ตาย จึงส่งไป
ภิกษุนั้นต้องปาราชิก ในเพราะภิกษุนอกนี้ตาย ต้องถุลลัจจัย เพราะไม่ตาย.
บัณฑิตพึงทราบความต่างกัน แห่งอาบัติและอนาบัติ แม้ของภิกษุผู้ส่ง (ภิกษุ
อีกรูปหนึ่ง) ไปสู่วิหารที่ร้าย ซึ่งมีพวกมฤคมีราชสีห์และเสือโคร่งที่ดุร้ายเป็น
ต้น หรือมีทีฆชาติทั้งหลายมีงูเหลือมและงูเห่าเป็นต้นอยู่อาศัย เหมือนอย่าง
ภิกษุส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุร้าย ฉะนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 441
นัยที่พ้นจากบาลี มีดังต่อไปนี้ :- บัณฑิตพึงทราบความต่างแห่ง
อาบัติของภิกษุผู้ส่งแม้ยักษ์ที่ร้ายไปสู่สำนักของภิกษุ เหมือนอย่างภิกษุส่งภิกษุ
ไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุร้าย ฉะนั้น. ในเรื่องทั้งหลายนี้ ทางกันดารด้วยสัตว์
ร้ายเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ ในเรื่องทางกันดารมีสัตว์ร้ายเป็นต้น
นี้ มีเพียงใจความเฉพาะบทอย่างเดียวเท่านั้นเป็นชื่อ. (ที่ต่างกัน) อย่างนี้ คือ
ทางกันดารที่มีพวกมฤคที่ดุร้าย หรือมีทีฆชาติอยู่ ชื่อวาฬกันดาร, ทางกันดาร
ที่มีพวกโจรอยู่ชื่อโจรกันดาร. อันธรรมดาว่า มนุสสวิคคหปาราชิกนี้ละเอียด
ย่อมไม่พ้นด้วยปริยายกถา (กถาโดยทางอ้อม). เพราะฉะนั้น ภิกษุใดพึงกล่าว
ว่า ผู้ใดตัดศีรษะของโจร ผู้นั่งอยู่ในโอกาสชื่อโน้นแล้วนำมา, ผู้นั้นย่อมได้
สักการะวิเศษจากพระราชา ดังนี้. ถ้ามีใครได้ฟังคำของภิกษุนั้นแล้วไปฆ่าโจร
นั้นเสีย, ภิกษุนี้ย่อมเป็นปาราชิกแล.
[เรื่องสำคัญว่าเป็นภิกษุคู่เวรแน่จึงฆ่าเสีย]
ในคำมีอาทิว่า ต มณฺมาโน มีวินิจฉัยดังนี้:- ได้ยินว่าภิกษุนั้น
ใคร่จะฆ่าภิกษุผู้มีเวรของตน จึงคิดว่า การที่เราจะฆ่าภิกษุผู้คู่เวรนี้ในกลางวัน
หนีไปโดยความปลอดภัย ไม่พึงเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย เราจักฆ่าภิกษุนั้นใน
กลางคืน, ครั้น กำหนดไว้แล้ว มาในกลางคืนสำคัญว่าภิกษุผู้คู่เวรนั้นแน่ ใน
สถานที่ภิกษุมากรูปจำวัด จึงปลงภิกษุรูปนั้นนั่นเองจากชีวิต, อีกรูปหนึ่ง
สำคัญว่าภิกษุผู้คู่เวรนั้นแน่ แต่ปลงภิกษุรูปอื่นจากชีวิต, อีกรูปหนึ่ง สำคัญว่า
ภิกษุอื่นแน่ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้นนั่น เอง แต่ก็ปลงภิกษุผู้คู่เวรนั้น
จากชีวิต, อีกรูปหนึ่ง สำคัญว่า ภิกษุอื่นแน่ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้น
นั่นเอง แต่ก็ปลงภิกษุอื่น ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้นนั่นแลจากชีวิต;
เป็นปาราชิกแก่เธอทั้งหมดเหมือนกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 442
[เรื่องผีเข้าสิงภิกษุ]
ในเรื่องของภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิง มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ได้ให้การประหาร (แก่ภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิ่งนั้น ) ด้วยคิดว่า จักขับไล่ยักษ์ให้
หนีไป. ภิกษุนอกจากนี้ คิดว่า คราวนี้ ยักษ์นี้ ไม่สามารถจะทำพิรุธได้,
เราจักฆ่ามันเสีย ได้ให้การประหาร. และในเรื่องของภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิงเรื่อง
แรกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีความประสงค์
จะให้ตาย เพราะเหตุนั้น ด้วยพระพุทธดำรัสเพียงเท่านี้นั่นแล ภิกษุจึงไม่ควร
ให้การประหารแก่ภิกษุผู้ถูกผีสิง, แต่พึงเอาใบตาลหรือเส้นด้ายพระปริตรผูกไว้
ที่มือหรือเท้า. พึงสวดพระปริตรทั้งหลาย มีรัตนสูตรเป็นต้น พึงทำธรรมกถา
ว่า ท่านอย่าเบียดเบียนภิกษุผู้มีศีล ดังนี้.
เรื่องพรรณนาสวรรค์เป็นต้น มีเนื้อความชัดเจนแล้ว. ก็คำที่พึง
กล่าวในเรื่องพรรณนาสวรรค์เป็นต้นนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วแล.
[เรื่องภิกษุตัดต้นไม้]
เรื่องตัดต้นไม้ ก็เช่นเดียวกับเรื่องผูกร่างร้าน. แต่มีความแปลกกัน
ดังต่อไปนี้:- ภิกษุใด แม้ถูกต้นไม้ล้มทับแล้ว ยังไม่มรณภาพ และเธอ
สามารถจะตัดต้นไม้หรือขุดแผ่นดินแล้วออกไปโดยข้าง ๆ หนึ่งได้, และในมือ
ของเธอก็มีมีดและจอบ *อยู่ ภิกษุแม้นั้นควรสละชีวิตเสีย. และไม่ควรตัดต้นไม้
หรือไม่ควรขุดดิน. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ภิกษุเมื่อทำอย่างนั้น ย่อม
ต้องปาจิตตีย์ ย่อมหักรานเสียซึ่งพุทธอาณา ย่อมไม่ทำศีลให้มีชีวิตเป็นทีสุด;
เพราะเหตุนั้น ถึงแม้ชีวิตก็ควรสละเสีย แต่ไม่ควรสละศีล; ครั้นภิกษุคำนวณ
ได้รอบคอบดังกล่าวมาแล้วนี้ ไม่พึงทำ (การตัดต้นไม้และขุดดิน) ด้วยอาการ
* กธารี ผึ่งถากไม้, ขวานโยน, จอบ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 443
อย่างนี้. การตัดต้นไม้หรือขุดดิน แล้วนำภิกษุนั้นออก ย่อมควรแก่ภิกษุ
รูปอื่น. ถ้าเธอจะพึงถูกเขากลิ้งต้นไม้ไปด้วยครกยนต์นำออก ควรตัดเอา
ต้นไม้นั้นนั่นเอง ใช้เป็นครกแล. พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า จะตัดเอาต้นไม้
แม้อื่นก็ควร. พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ในการผูกพะอง (บันได) ช่วยคน
แม้ผู้ตกลงไปในบ่อเป็นต้นให้ขึ้นได้ก็นัยนี้เหมือนกัน, ภิกษุไม่ควรตัดภูตคาม
ทำพะองด้วยตนเอง. การทำ (พะอง) แล้วยกขึ้น ย่อมสมควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น.
[เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์เผาป่า]
ในเรื่องเผาป่า มีวินิจฉัยดังนี้:- สองบทว่า ทาย ลิมฺเปสุ*
ความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้จุดไฟในป่า. ก็ในเรื่องเผาป่านี้ บัณฑิตพึง
ทราบว่าเป็นปาราชิกเป็นต้น โดยสมควรแก่วัตถุแห่งปาราชิก อนันตริยกรรม
ถุลลัจจัย และปาจิตตีย์ ด้วยอำนาจประโยคที่เจาะจงและไม่เจาะจง และความ
เป็นกองอกุศล โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล, พระอรรถกถาจารย์กล่าว
ไว้ในสังเขปอรรถกถาว่า ก็เมื่อภิกษุเผาด้วยคิดว่า หญ้าสดและไม้เจ้าป่าทั้งหลาย
จงถูกไฟไหม้ เป็นปาจิตตีย์, เมื่อเผาด้วยคิดว่า เครื่องอุปกรณ์ไม้ทั้งหลาย
จงพินาศไป เป็นทุกกฏ, เมื่อเผาแม้ด้วยความประสงค์จะเล่น ก็เป็นทุกกฏ.
เมื่อเผาด้วยคิดว่า ไม้สดและไม้แห้งชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอินทรีย์และไม่มี
อินทรีย์ก็ตามจงถูกไฟไหม้ พึงทราบว่า เป็นปาราชิก ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์
และทุกกฏ ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ. ก็การจุดไฟรับและทำการป้องกัน พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้ว. เพราะฉะนั้น การที่ภิกษุเห็นไฟที่พวก
วนกรรมิกชนจุด หรือเกิดขึ้นเองในป่ากำลังลุกลามมา แล้วจุดไฟรับไฟซึ่งจะ
เป็นเหตุให้ไฟลุกลามมาบรรจบกันเข้าไหม้เชื้อหมดแล้วดับไป ด้วยทั้งใจว่า
กระท่อมหญ้าทั้งหลาย อย่าพินาศ ดังนี้ ย่อมควร. การที่ภิกษุจะทำแม้เครื่อง
* บาลี เป็น อาลิมฺเปสุ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 444
ป้องกัน คือ การถากพื้นดินหรือขุดดูไว้โดยรอบกระท่อมมุงหญ้า โดยประการ
ที่ไฟซึ่งลุกลามมา ไม่ได้เชื้อแล้วจะคับไปเอง ก็ควร และเมื่อไฟลุกลามขึ้น
แล้วเท่านั้น จึงควรทำกิจ มีจุดไฟรับเป็นต้น ทั้งหมดนั้น. เมื่อไฟยังไม่ลุกลาม
ขึ้น พึงใช้อนุปสัมบันให้ทำด้วยกัปปิยโวหาร, และเมื่อจะให้ดับด้วยน้ำ ควร
ใช้น้ำที่ไม่มีตัวสัตว์เท่านั้นรด.
[เรื่องภิกษุสั่งนายเพชฌฆาตให้ประหารหนเดียว]
ในเรื่องตะแลงแกง มีวินิจฉัยดังนี้:- เป็นปาราชิก เพราะคำสั่ง
ประหารครั้งเดียว ฉันใด, แม้ในคำสั่งเป็นต้นว่า ทวีหิ ปหาเรหิ ก็พึงทราบว่า
เป็นปาราชิก ฉันนั้น. ก็เมื่อภิกษุสั่งว่า ทฺวีหิ ดังนี้ แม้เมื่อนักโทษถูกนาย
เพชฌฆาตฆ่าตาย ด้วยการประหารครั้งเดียว ชื่อว่าเป็นปาราชิก เพราะหยั่ง
ลงสู่เขตแล้วนั่นเอง. แต่เมื่อนักโทษถูกนายเพชฌฆาตฆ่าตาย ด้วยการประหาร
๓ ครั้ง เป็นผิดที่หมาย. เมื่อถูกฆ่าตาย ในเขตตามที่ กำหนดไว้ หรือในร่วม
ในที่กำหนดไว้ ย่อมไม่ผิดที่หมาย ด้วยประการฉะนี้. แต่ (เมื่อถูกฆ่าตาย)
ในเมื่อล่วงเลยที่กำหนดไว้ ย่อมลักลั่น ในที่ทุกแห่ง, ภิกษุผู้สั่งย่อมพ้น,
เพชฌฆาตผู้ฆ่าเท่านั้น มีโทษ. เหมือนอย่างว่านัยที่กล่าวไว้แล้ว ในการ
ประหารหลายครั้ง เป็นฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เมื่อภิกษุ
สั่งว่า แม้บรรดาบุรุษทั้งหลาย บุรุษนายหนึ่ง จงฆ่าบุคคลคนหนึ่งให้ตาย
ดังนี้, เมื่อบุคลนั้น ถูกบุรุษนายหนึ่งนั่นเองฆ่าตาย ภิกษุต้องปาราชิก, เมื่อ
บุคคลนั้น ถูกบุรุษสองนายฆ่าตาย เป็นผิดสังเกต, เมื่อภิกษุสั่งว่า บุรุษ
สองคนจงพากันฆ่าบุรุษคนหนึ่งให้ตาย ดังนี้ เมื่อบุคคลนั้นถูกบุรุษนายหนึ่ง
หรือสองนายฆ่าตาย ภิกษุต้องปาราชิก, เมื่อถูกบุรุษสามนายฆ่าตาย เป็นผิด
สังเกต. เมื่อมีผู้ถาม กล่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่ง เอาคาบตัดศีรษะของบุรุษผู้วิ่งไป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 445
โดยเร็วในสนามรบขาด, ตัวกพันธ์ไม่มีศีรษะ ย่อมวิ่งพล่านไป ภิกษุรูปอื่น
จึงประหารตัวกพันธ์ไม่มีศีรษะนั้นให้ตกไป, ภิกษุรูปไหนเล่า เป็นปาราชิก
ดังนี้. พระเถระจำนวนครึ่ง กล่าวแก้ว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ตัดการไป.
พระโคทัตตเถระ ผู้ชำนาญพระอภิธรรม กล่าวแก้ว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้
ตัดศีรษะ, ในการแสดงเนื้อความแห่งเรื่องนี้ บัณฑิตควรกล่าวเรื่องทั้งหลาย
แม้เห็นปานฉะนั้นแล.
[เรื่องภิกษุสั่งให้บุรุษด้วนดื่มเปรียงตาย]
ในเรื่องเปรียง มีวินิจฉัยดังนี้:- เมื่อภิกษุสั่งไม่กำหนดว่าพวกท่าน
จงให้บุรุษผู้มือและเท้าด้วนนั้นดื่มเปรียง ดังนี้, เมื่อบุรุษนั้น ถูกพวกญาติ
ให้ดื่มเปรียงชนิดใดชนิดหนึ่งตายไป, ภิกษุท้องปาราชิก. แต่เมื่อภิกษุสั่ง
กำหนดไว้ว่า จงให้ดื่มเปรียงโด เปรียงกระบือเปรียงแพะ หรือสั่งไว้ว่า จง
ให้ดื่มเปรียงที่เย็น เปรียงที่ร้อน เปรียงที่รมควัน ที่ไม่ได้รมควัน เมื่อบุรุษ
นั้นถูกพวกญาติให้ดื่มเปรียงชนิดอื่น จากเปรียงที่ภิกษุสั่งไว้นั้นตายไป เป็น
ผิดสังเกต.
[เรื่องยาดองพิเศษชื่อโลณะโสจิรกะ]
ในเรื่องยาดองโลณะโสจิรกะ มิวินิจฉัยดังนี้:- เภสัชขนานหนึ่ง
ซึ่งปรุงด้วยข้าวทุกชนิด ชื่อว่า โลณะโสจิรกะ. เมื่อเขาจะทำเภสัชขนานนั้น
เอาน้ำฝาดแห่งผลสมอ มะขามป้อม และสมอพิเภก ธัญชาติทุกชนิด
อปรัณชาติทุกชนิด ข้าวสุกแห่งธัญชาติทั้ง ๗ ชนิด ผลทุกชนิดมีผลกล้วย
เป็นต้น ผลไม้ซึ่งงอกในหัวทุกชนิด มีผลแห่งหวาย การเกด และเป้งเป็นต้น
ชิ้นปลาและเนื้อ และเภสัชหลายอย่าง มีน้าผึ้ง น้ำอ้อย เกลือสินเธาว์
เกลือธรรมดา และเครื่องเผ็ดร้อน ๓ ชนิดเป็นต้น แล้วใส่รวมกันลง (โนหม้อ)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 446
ปิดฉาบไล้ปากหม้อไว้อย่างดีแล้วเก็บไว้ ๑ ปี ๒ ปี หรือ ๓ ปี ยาโลณะโสจิรกะ
นั้น กลั่นให้มีสีเหมือนรสน้ำชมพู เป็นเครื่องบริโภคอย่างสนิท (เป็นยาแก้โรค
อย่างชะงัด) แห่งบุคคลผู้เป็นโรคลม โรคไอ โรคเรื้อน โรคผอมเหลือง
และบานทะโรคเป็นต้น และเป็นเครื่องดื่มภายหลัง แห่งบุคคลผู้รับประทาน
อาหารแล้ว. เภสัชเป็นเครื่องย่อยอาหารที่บริโภคแล้ว เช่นยาขนานนั้นย่อม
ไม่มี. ก็ยาโลณะโสจิรกะนี้นั้น ย่อมควรแก่ภิกษุทั้งหลายแม้ในปัจฉาภัต.
สำหรับภิกษุผู้อาพาธ จัดเป็นยาตามปกติทีเดียว แต่ผู้ไม่อาพาธต้องผสมกับน้ำ
จึงควร โดยความเป็นเครื่องดื่มและเครื่องบริโภคแล.
ตติยปาราชิกวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 447
จตุตถปาราชิกกัณฑ์
เรื่องภิกษุพวก ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
[๒๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-
ศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคย
เห็นร่วมคบหากัน ๆ จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ก็แลสมัยนั้น วัชชี
ชนบท อัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีข้าวตายฝอย ต้องมี
สลากซื่ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำ
ไม่ได้ง่าย จึงภิกษุเหล่านั้นติดกันว่า บัดนี้วัชชีชนบทอัตคัดอาหาร ประชาชน
หาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีข้าวตายฝอย คือมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยัง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย พวกเราจะพึงเป็น
ผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะ
ไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยอุบายอย่างไรหนอ.
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจง
ช่วยกันอำนวยกิจการอันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์เถิด เมือเป็นเช่นนั้น
พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราจักเป็นผู้
พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจักไม่
ลำบากด้วยบิณฑบาต.
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า ไม่ควร ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไร
ด้วยการช่วยกันอำนวยกิจการ อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ ท่านทั้งหลาย
ผิฉะนั้น พวกเราจงช่วยกันนำข่าวสาส์นอันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์เถิด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 448
เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจักรมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้
พวกเราจักเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็น
ผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต.
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไร
ด้วยการช่วยกันอำนวยกิจการ อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ จะประโยชน์
อะไร ด้วยการช่วยกันนำข่าวสาส์นอันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์ ท่าน
ทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจักกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวก
คฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูปโน้น ได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ตติยฌาน
รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้น เป็นพระสกทาคามี
รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูป
โน้นได้อภิญญา ๖ ดังนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่
พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน
ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต.
ภิกษุเหล่านั้น มีความเห็นร่วมกันว่า อาวุโสทั้งหลาย การที่พวกเราพา
กันกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นี้แหละ ประเสริฐ
ที่สุด แล้วพากันกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ว่า
ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูปโน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้น
ได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้น
เป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้
อภิญญา ๖ ดังนี้.
ครั้นต่อมา ประชาชนเหล่านั้นพากันยินดีว่า เป็นลาภของพวกเรา
หนอ พวกเราได้ดีแล้วหนอ ที่มีภิกษุทั้งหลายผู้มีคุณพิเศษเห็นปานนี้ อยู่จำ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 449
พรรษา เพราะก่อนแต่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่อยู่จำพรรษาของพวกเรา จะมีคุณ
สมบัติเหมือนภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้ไม่มีเลย โภชนะชนิดที่พวกเขา
จะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่บริโภคด้วยตน ไม่ให้มารดาบิดา บุตร
ภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของเคี้ยวชนิด
ที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่เคี้ยวด้วยตน ไม่ให้มารดาบิดา
บุตรภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของลิ้ม
ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่ลิ้มด้วยคน ไพ่ให้มารดา
บิดา บุตรภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต น้ำดื่ม
ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่ดื่มด้วยคน ไม่ให้มารดา
บิดา บุตรภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต จึง
ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้มีน้ำนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีสีหน้าสดชื่น มีผิวพรรณ
ผุดผ่อง ก็การที่ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้นเป็นประเพณี ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาส แล้วเก็บเสนา-
สนะ ถือบาตรจีวรหลีกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครเวสาลี เที่ยวจาริกโดย
ลำดับ ถึงพระนครเวสาลี ป่ามหาวัน กูฏาคารศาลา แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ถวายบังคม นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ภิกษุต่างทิศมาเฝ้า
[๒๒๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ในทิศทั้งหลายเป็น
ผู้ผอมซูบซีด มีผิวพรรณหมอง เหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น
ส่วนภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา เป็นผู้มีน้ำนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีสีหน้า
สดชื่น มีผิวพรรณผุดผ่อง ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 450
ปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ร่างกาย
ของพวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบาก
ด้วยบิณฑบาตหรือ.
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็น
ไปได้พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจ
กัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
พระพุทธเจ้าข้า.
พุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่
ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม
พระตถาคตทั้งหลาย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรง
กำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติ
สิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน
อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 451
ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเนื้อความนั้น ให้ทรงทราบแล้ว.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คุณวิเศษของพวกเธอนั่น มีจริงหรือ.
ภิ. ไม่มีจริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
[๒๒๙] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจ
ของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง
ได้กล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่ง
ท้องเล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ท้องอันพวกเธอคว้านแล้วด้วยมีดเชือดโค
อันคม ยังดีกว่า อันพวกเธอกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวก
คฤหัสถ์เพราะเหตุแห่งท้อง ไม่ดีเลย ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลผู้คว้านท้องด้วยมีดเชือดโคอันคมนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์
เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย
เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วน
บุคคลผู้กล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นั้น เบื้องหน้า
แต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งมีการกระทำนี้แล
เป็นเหตุ ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความ
ไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของตนบาง
พวกผู้เลื่อมใสแล้ว ครั้นแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า
ดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 452
มหาโจร ๕ จำพวก
[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจร ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
โลก มหาโจร ๕ จำพวกเป็นไฉน.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรบางคนในโลกนี้ ย่อมปรารถนา
อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจักเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อม
แล้ว ท่องเที่ยวไปในคามนิคมและราชธานีเบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน
ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญ สมัยต่อมา เขาเป็นผู้
อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่ง แวดล้อมแล้วเที่ยวไปในตามนิคมและราชธาน
เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่น
เผาผลาญฉันใด คุณก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้
อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในคามนิคมและ
ราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สมัยต่อมา เธอ
เป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในตามนิคม
และราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง
แล้ว ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขารทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก.
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรม
วินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ย่อมยกตนขึ้น ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 453
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรม
วินัยนี้ ย่อมตามกำจัดเพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อัน
บริสุทธิ์อยู่ด้วยธรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์อันหามูลมิได้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก.
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรม
วินัยนี้ ย่อมสงเคราะห์เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขาร
ของสงฆ์ คือ อาราม พื้นที่อาราม วิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก หมอน
หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน
เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย หญ้าปล้อง หญ้าสามัญ ดินเหนียว เครื่องไม้
เครื่องดิน ดูก่อนภิกษุทั้งหาลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก.
๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มี
อยู่ อันไม่เป็นจริง นี้จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ด้วยอาการ
แห่งคนขโมย.
นิคมคาถา
ภิกษุใด ประกาศตนอันมีอยู่โดยอาการอื่น ด้วยอาการอย่าง
อื่น โภชนะนั้น อันภิกษุนั้น ฉันแล้ว ด้วยอาการแห่งคนขโมย
ดุจพรานนกลวงจับนก ฉะนั้น ภิกษุผู้เลวทรามเป็นอันมาก มีผ้า
กาสาวะพันคอ มีธรรมทรามไม่สำรวมแล้ว ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้น
ย่อมเข้าถึงซึ่งนรก เพราะกรรมทั้งหลายที่เลวทราม ภิกษุผู้ทุศีล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 454
ผู้ไม่สำรวมแล้ว บริโภคก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟ ประเสริฐกว่า
การฉันก้อนข้าวของชาวรัฏฐะ จะประเสริฐอะไร.
ทรงบัญญัติปฐมบัญญัติ
[๒๓๑] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
โดยอเนกปริยายแล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคน บำรุง
ยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ
เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ
มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การ
ไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมิกถาที่
สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะ
ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่ง
ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อ
กำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่น
แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 455
พระปฐมบัญญัติ
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม
อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้า
มาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่น
แต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็น
อันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน
ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น
ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาส
มิได้.
สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุทุทา จบ
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ
[๒๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก สำคัญมรรคผลอันตน
ยังมิได้เห็นว่าได้เห็น สำคัญมรรคผลอันยังได้ถึงว่าได้ถึง สำคัญมรรคผล
อันตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำ
ให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ ครั้นต่อมา จิตของ
พวกเธอน้อมไปเพื่อความกำหนัดก็มี น้อมไปเพื่อความคัดเคืองก็มี น้อมไป
เพื่อความหลงก็มี จึงมีความรังเกียจว่า สิกขาบทอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บัญญัติไว้แล้ว แต่พวกเราสำคัญมรรคผลที่คนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น สำคัญ
มรรคผลที่ตนยังมิได้ถึงว่าได้ถึง สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 456
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่
สำคัญว่าได้บรรลุ พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ แล้วแจ้งเรื่องนั้น
แก่ท่านพระอานนท์ ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า มี
อยู่เหมือนกัน อานนท์ ข้อที่ภิกษุทั้งหลายสำคัญมรรคผลที่ตนยิ่งมิได้เห็นว่า
ได้เห็น สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ถึงว่าได้ถึง สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้
บรรลุว่าได้บรรลุ สำคัญมรรคผลที่ตนยังได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง จึง
อวดอ้างมรรคผลคามที่สำคัญว่าได้บรรลุ แต่ข้อนั้นนั่นแล เป็นอัพโพหาริก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม
อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามา
ในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น
อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอันต้อง
อาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้า
ไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูด
พล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้
กีเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 457
สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๓] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงาน
อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มี
ธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม
เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง . . .ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถ-
กรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่าภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด
ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้.
บทว่า ไม่รู้เฉพาะ คือ ไม่รู้ ไม่เห็น กุศลธรรมในตน ซึ่งไม่มี
ไม่เป็นจริง ไม่ปรากฏ ว่าข้าพเจ้ามีกุศลธรรม.
บทว่า อุตริมนุสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
ญาณทัสสนะ มรรคภาวนา การทำให้แจ้งซึ่งผล การละกิเลส ความเปิดจิต
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 458
บทว่า น้อมเข้ามาในตน ได้แก่ น้อมกุศลธรรมเหล่านั้นเข้ามาในตน
หรือน้อมตนเข้าไปในกุศลธรรมเหล่านั้น.
บทว่า ความรู้ ได้แก่ วิชชา ๓.
บทว่า ความเห็น โดยอธิบายว่า อันใดเป็นความรู้ อันนั้นเป็น
ความเห็น อันใดเป็นความเห็น อันนั้น เป็นความรู้.
บทว่า กล่าวอวด คือ บอกแก่สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต.
คำว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนั้น ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ความว่า ข้าพเจ้า
รู้ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเห็นธรรมเหล่านั้น อนึ่ง ข้าพเจ้ามีธรรมเหล่านี้ และ
ข้าพเจ้าเห็นชัดในธรรมเหล่านี้.
[๒๓๔] บทว่า ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น คือ เมื่อขณะคราวครู่หนึ่งที่
ภิกษุกล่าวอวดนั้นผ่านไปแล้ว.
บทว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตาม คือ มีบุคคลเชื่อในสิ่งที่ภิกษุ
ปฏิญาณแล้ว โดยถามว่า ท่านบรรลุอะไร ได้บรรลุด้วยวิธีไร เมื่อไร ที่ไหน
ท่านละกิเลสเหล่าไหนได้ ท่านได้ธรรมหมวดไหน.
บทว่า ไม่ถือเอาตาม คือ ไม่มีใคร ๆ พูดถึง.
บทว่า ต้องอาบัติแล้ว ความว่า ภิกษุมีความอยากอันลามก อัน
ความอยากครอบงำแล้ว พูดอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง
ย่อมเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก.
บทว่า มุ่งความหมดจด คือ ประสงค์จะเป็นคฤหัสถ์ หรือประสงค์
จะเป็นอุบายสก หรือประสงค์จะเป็นอารามิก หรือประสงค์จะเป็นสามเณร.
คำว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็น
อย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ความว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 459
ไม่เห็นธรรมเหล่านั้น อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีธรรมเหล่านั้น และข้าพเจ้าไม่เห็นชัด
ในธรรมเหล่านี้.
คำว่า ข้าพเจ้าพูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ ความว่า ข้าพเจ้า
พูดพล่อย ๆ พูดเท็จ พูดไม่จริง พูดสิ่งที่ไม่มี ข้าพเจ้าไม่รู้ได้พูดแล้ว.
บทว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ คือ ยกเสียแต่เข้าใจว่าตนได้
บรรลุ.
[๒๓๕] บทว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบถึงภิกษุรูป
ก่อน ๆ.
บทว่า เป็นปาราชิก ความว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้ว ไม่อาจจะ
งอกอีก ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นแหละ มีความอยากอันลามก อันความ
อยากรอบงำแล้ว พูดอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง
ย่อมไม่ เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่
พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่า
สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ทาสังวาสมิได้.
บทภาชนีย์
[๒๓๖] ที่ชื่อว่า อุตริมนุสธรรม ได้แก่ ๑. ฌาน ๒. วิโมกข์
๓. สมาธิ ๔. สมาบัติ ๕. ญาณทัสสนะ ๖. มรรคภาวนา ๗.
การทำให้แจ้งซึ่งผล ๘. กรละกิเลส ๙. ความเปิดจิต ๑๐. ความ
ยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 460
ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน.
ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิต
วิโมกข์.
ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ.
ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิต-
สมาบัติ.
ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓.
ที่ชื่อว่า มรรคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิ
บาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘.
ที่ชื่อว่า การทำให้แจ้งซึ่งผล ได้แก่การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
การทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่ง
อรหัตผล.
ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ.
ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิต
จากโทสะ ความเปิดจิตจากโมหะ
ที่ชื่อว่า ความยินดีในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ความยินดียิ่ง
ในเรือนอันวางเปล่าด้วยปฐมฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วย
ทุติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยตติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือน
อันว่างเปล่าด้วยจตุตถฌาน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 461
สุทธิกฌาน
ปฐมฌาน
[๒๓๗] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ
๓ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๔
อย่างคือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก
ใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๖
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๗
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก
ใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 462
[๒๓๘] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ด้วยอาการ ๘ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ ความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ด้วยอาการ ๗ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖
อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
[๒๓๙] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้
่ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 463
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วยอาการ
๔ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้อองอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วย
อาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วย
อาการ ๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วยอาการ
๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๖ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
[๒๔๐] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วย
อาการ ๓ อย่างคือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๔
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 464
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖
อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๗
อย่างคือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก
ใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
[๒๔๑] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌานด้วย
อาการ ๓ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ด้วยอาการ ๔
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 465
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ด้วยอาการ ๖
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางถูกใจ ๖
อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ด้วยอาการ ๗
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก
ใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
[๒๔๒] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้.
ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๔ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 466
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
[ปฐมฌานนี้นักปราชญ์ให้พิสดารแล้ว ฉันใด แม้ฌานทั้งมวลก็พึง
ให้พิสดาร ฉันนั้น*]
ทุติยฌาน
[๒๔๓] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . อย่าง. . . ๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าว
เท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว
๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าทุติยฌานได้แล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
* คำนี้พึงเห็นว่า คัมภีร์ของชาวยุโรป รจนาไว้ในวาระสุดท้ายของฌานนอกนี้ ส่วนคัมภืร์ของ
ชาวเรา คัมภีร์ของพม่า และมอญ รจนาไว้ตรงนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 467
แล้ว ๔ อ่าพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญทุติยฌาน ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง. . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ทุติยฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง. . . ๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ตติยฌาน
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 468
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง. . . ๕ อย่าง. . . ๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าตติยฌานได้แล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ตติยฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . . ๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญตติยฌาน ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . . ๔ อย่าง. . .๕ อย่างะ . . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 469
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ตติยฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
จตุตถณาน
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง. . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . .๔ อย่าง. . . ๕ อย่าง . . .๖ อย่าง. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 470
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญจตุตถฌาน ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . . ๔ อย่าง. . . ๕ อย่าง . . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จตุตถฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สุทธิวิโมกข์
สุญญตวิโมกข์
[๒๔๔] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 471
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์อยู่ ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสุญญตวิโมกข์ได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง. . . ๘ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สุญญตวิโมกข์ ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสุญญตวิโมกข์ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง. . .๘ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่าสุญญตวิโมกข์ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . . ๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 472
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อนิมิตตวิโมกข์
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์อยู่ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอนิมิตตวิโมกข์ได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง ๕ . . . อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อนิมิตตวิโมกข์ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 473
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอนิมิตตวิโมกข์ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว
แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถกใจ ๖
อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อนิมิตตวิโมกข์ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อัปปณิหิตวิโมกข์
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๘ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเจ้าอัปปณิหิตวิโมกข์อยู่ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 474
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอัปปณิหิตวิโมกข์ได้แล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว
แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อองต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว
แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว
แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 475
สุทธิกสมาธิ
สุญญตสมาธิ
[๒๔๕] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว
แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิอยู่ ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสุญญตสมาธิได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู่ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สุญญตสมาธิ ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 476
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสุญญตสมาธิ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า สุญญตสมาธิข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู่ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อนิมิตตสมาธิ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิอยู่ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 477
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอนิมิตตสมาธิได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความ จริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อนิมิตตสมาธิ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอนิมิตตสมาธิ ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อนิมิตตสมาธิข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 478
อัปปณิหิตสมาธิ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . . อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิอยู่ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง. . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอัปปณิหิตสมาธิได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง. . . ๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาธิ ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๘ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 479
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอัปปณิตสมาธิ ด้วยอาการ
๓ อย่างะ . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง. . . ๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อัปปณิหิตสมาธิข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . . ๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สุทธิกสมาบัติ
สุญญตสมาบัติ
[๒๔๖] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติอยู่ ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 480
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสุญญตสมาบัติได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สุญญตสมาบัติ ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้อองอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสุญญตสมาบัติ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง. . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่า สุญญตสมาบัติข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้วด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 481
อนิมิตตสมาบัติ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติอยู่ ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอนิมิตตสมาบัติได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง. . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อนิมิตตสมาบัติ ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 482
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอนิมิตตสมาบัติ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อนิมิตตสมาบัติข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อัปปณิหิตสมาบัติ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติอยู่ ด้วยอาการ
๓ อย่าง. . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 483
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอัปปณิหิตสมาบัติได้แล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อง
ต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง. . .๔ อย่าง. . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอัปปณิหิตสมาบัติ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว
แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อัปปณิหิตสมาบัติข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว
แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 484
สุทธิกะ ญาณทัสสนะ
วิชชา ๓
[๒๔๗] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าวิชชา ๓ ได้แล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 485
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญวิชชา ๓ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า วิชชา ๓ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สุทธิกะ มรรคภาวนา
สติปัฏฐาน
[๒๔๘] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกโจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฎฐาน ๔ อยู่ ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 486
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสติปัฏฐาน ๔ ได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สติปัฏฐาน ๔ ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสติปัฎฐาน ๔ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า สติปัฏราน ๔ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๘ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 487
สัมมัปปธาน ๔
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ อยู่ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ควานชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสัมมัปปธาน ๔ ได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สัมมัปปธาน ๔ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 488
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสัมมัปปธาน ๔ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า สัมมัปปธาน ๔ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ก็ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่าๆ. กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อิทธิบาท ๔
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าได้เข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ อยู่ ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 489
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอิทธิบาท ๔ ได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อิทธิบาท ๔ ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอิทธิบาท ๔ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อิทธิบาท ๔ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง. . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 490
อินทรีย์ ๕
[๒๔๙] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง. . . ๔ อย่าง. . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอินทรีย์ ๕ ได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อง
ต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ
รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 491
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ
รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อินทรีย์ ๕ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พละ ๕
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . ๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 492
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าพละ ๕ ได้แล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่างะ . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้
ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบ
ใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้พละ ๕ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญพละ ๕ ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า พละ ๕ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ
รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 493
โพชฌงค์ ๗
[๒๕๐] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง. . .๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าโพชฌงค์ ๗ ได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อง
ท้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางควานจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้โพชฌงค์ ๗ ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง คืออาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 494
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญโพชฌงค์ ๗ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ
รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรูอยู่ กล่าวเท็จว่า โพชฌงค์ ๗ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อง
ต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อริยมรรคมีองค์ ๘
[๒๕๑] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ อยู่ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ
รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 495
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๕ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ
รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้นกล่าว
แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖
อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 496
สุทธิกะ อริยผล
โสดาปัตติผล
[๒๕๒] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลอยู่ ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าโสดาปัตติผลได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้โสดาปัตติผล ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 497
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญโสดาปัตติผล ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า โสดาปัตติผลข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สกทาคามิผล
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ
รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลอยู่ ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 498
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สกทาคามิผลได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สกทาคามิผล ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ
รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสกทาคามิผล ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า สกทาคามิผลข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 499
อนาคามิผล
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ควานชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอนาคามิผลได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อนาคามิผล ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 500
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอนาคามิผล ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็ร้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อนาคามิผลข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อรหัตผล
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตผลแล้ว ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตผลอยู่ ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 501
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอรหัตผลได้แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อรหัตผล ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอรหัตผล ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ กล่าวเท็จแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อรหัตผลข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 502
สุทธิกะ การละกิเลส
สละราคะ
[๒๕๓] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าตายแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าพ้นแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าละแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 503
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสลัดแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าเพิกแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สละโทสะ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว . . . คายแล้ว . . . พ้นแล้ว
. . . ละแล้ว . . .สลัดแล้ว . . .เพิกแล้ว . . .ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 504
สละโมหะ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว . . .คายแล้ว . . . พ้นแล้ว
. . .ละแล้ว . . .สลัดแล้ว . . .เพิกแล้ว . . .ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สุทธิกะ ความเปิดจิต
เปิดจากราคะ
[๒๕๔] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อง
ต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
เปิดจากโทสะ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอ
รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 505
เปิดจากโมหะ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อ ย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สุทธิกะ จบ
ขัณฑจักร
ปฐมฌาน-ทุติยฌาน
[๒๕๕] ๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้
แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและทุติยฌาน ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อง
ต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-ตติยฌาน
๒. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและตติยฌาน ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๘ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ
รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 506
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-จตุตถฌาน
๓. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและจตุตถฌาน ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-สุญญตวิโมกข์
[๒๕๖] ๔. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่งปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง. . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน- อนิมิตตวิโมกข์
๕. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอนิมิตตวิโมกข์ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 507
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-อัปปณิหิตวิโมกข์
๖. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้
ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-สุญญตสมาธิ
[๒๕๘] ๗. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า
ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ต่ำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและสุญญตสมาธิ
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว
แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-อนิมิตตสมาธิ
๘. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอนิมิตตสมาธิ ด้วยอาการ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 508
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-อัปปณิหิตสมาธิ
๙. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-วิชชา ๓
[๒๕๘] ๑๐. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่
เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและสุญญตสมาบัติ
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน- อนิมิตตสมาบัติ
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอนิมิตตสมาบติ ด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 509
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมณาน-อัปปณิหิตสมาบัติ
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบติ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-วิชชา ๓
[๒๕๙] ๑๓. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่
เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและวิชชา ๓
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 510
ปฐมณาน- สติปัฏฐาน ๔
[๒๖๐] ๑๔. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้
แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๔
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๘ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกโจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-สัมมัปปธาน ๔
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและสัมมัปปธาน ๔ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-อิทธิบาท ๔
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 511
ปฐมฌาน-อินทรีย์ ๕
[๒๖๑] ๑๗. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า
ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - พละ ๕
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและพละ ๕ ด้วยอาการ ๓
อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมณานโพชฌงค์ ๗
[๒๖๒] ๑๙. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า
ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำไห้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 512
ปฐมณาน-อริยมรรคมีองค์ ๘
[๒๖๓] ๒๐. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่
เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอริยมรรค
มีองค์ ๘ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - โสดาปัตติผล
[๒๖๔] ๒๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่
เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและโสดาปัตติผล
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - สกทาคามิผล
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและสกทาคามิผล ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 513
ปฐมฌาน - อนาคามิผล
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอนาคามิผล ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - อรหัตผล
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอรหัตผล ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางควานถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - สละราคะ
[๒๖๕] ๒๕. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า
ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน และราคะ ข้าพเจ้า
สละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 514
ปฐมฌาน - สละโทสะ
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน และโทสะ ข้าพเจ้าสละแล้ว
ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - สละโมหะ
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน และโมหะ ข้าพเจ้าสละแล้ว
ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - เปิดจากราคะ
[๒๖๖] ๒๘. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า
ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน และจิตของข้าพเจ้า
เปิดจากราคะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 515
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - เปิดจากโทสะ
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและจิตของข้าพเจ้าเปิดจาก
โทสะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌานเปิดจากโมหะ
๓๐. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน และจิตของข้าพเจ้าเปิดจาก
โมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ขัณฑจักร จบ
พัทธจักร
[๒๖๗] ๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า
ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่งทุติยฌานและตติยฌาน ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 516
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
๒. . . .ทุติยฌานและจตุตถฌาน. . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๓. . . .ทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์ . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๔. . . .ทุติยฌานและอนิมิตตวิโมกข์. . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๕. . . .ทุติยฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์. . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๖. . . .ทุติยฌานและสุญญตสมาธิ. . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๗. . . .ทุติยฌานและอนิมิตตสมาธิ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๘. . . .ทุติยฌานและอัปปณิหิตสมาธิ. . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๙. . . .ทุติยฌานและสุญญตสมาบัติ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๐. . . .ทุติยฌานและอนิมิตตสมาบัติ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๑. . . .ทุติยฌานและอัปปณิหิตสมาบัติ . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๒. . . .ทุติยฌานและวิชชา ๓ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๓. . . .ทุติยฌานและสติปัฎฐาน ๔ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๔. . . .ทุติยฌานและสัมมัปปธาน ๔. . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๕. . . .ทุติยฌานและอิทธิบาท ๔ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๖. . . .ทุติยฌานและอินทรีย์ ๕ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๗. . . .ทุติยฌานและพละ ๕. . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๘. . . .ทุติยฌานและ.โพชฌงค์ ๗ . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๙. . . .ทุติยฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๐. . . .ทุติยฌานและโสดาปัตติผล . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 517
๒๑. . . .ทุติยฌานและสกทาคามิผล . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๒. . . .ทุติยฌานและอนาคมิผล . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๓. . . .ทุติยฌานและอรหัตผล . .. ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๔. . . .ทุติยฌานและราคะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว
ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๕. . . .ทุติยฌานและโทสะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว
ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๖. . . .ทุติยฌานและโมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว
ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๗. . . .ทุติยฌานและจิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . . ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
๒๘. . . .ทุติยฌานและจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ . . . ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
๒๙. . . .ทุติยฌานและจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ . . . ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
๒๐. . . . ทุติยฌานและปฐมฌาน . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
พัทธจักร จบ
พัทธจักรเอกมูลกนัย ท่านตั้งอุตริมนุสธรรมข้อหนึ่ง ๆ เป็นมูลแล้ว
เวียนไปโดยวิธีนี้ นี้ท่านย่อไว้.
พัทธจักร เอกมูลกนัย
[๒๖๘] ๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ
และข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 518
ซึ่งปฐมฌานด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .
๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งทุติยฌาน . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งตติยฌาน . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งจตุตถฌาน . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งสุญญตวิโมกข์ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งอนิมิตตวิโมกข์ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ชึ่งอัปปณิหิตวิโมกข์ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งสุญญตสมาธิ . . . ไม่ต้อง ปาราชิก.
๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งอนิมิตตสมาธิ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งอัปปณิหิตสมาธิ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 519
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งสุญญตสมาบัติ. . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งอนิมิตตสมาบัติ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งอัปปณิหิตสมาบัติ. . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโรงหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งวิชชา ๓ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งสัมมัปปธาน ๔ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว
. . . ซึ่งอิทธิบาท ๔ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว. . .
ซึ่งอินทรีย์ ๕ . . .ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว. . .
ซึ่งพละ ๕ . . .ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว. . .
ซึ่งโพชฌงค์ ๗ . . .ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว. . .
ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 520
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว. . .
ซึ่งโสดาปัตติผละ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว. . .
ซึ่งสกทาคามิผล . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว. . .
ซึ่งอนาคามิผล . . .ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว. . .
ซึ่งอรหัตผล . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และราคะข้าพเจ้าสละ
แล้ว คายแล้ว . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และโทสะ ข้าพเจ้า
สละแล้ว คายแล้ว . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และโมหะ ข้าพเจ้า
สละแล้ว คายแล้ว . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และจิตของข้าพเจ้า
เปิดจากราคะ . . . ต้องอาบัติปาราชิก.
๓๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และจิตของข้าพเจ้า
เปิดจากโทสะ . . .ต้องอาบัติปาราชิก.
พัทธจักร เอกมูลกนัย
มีอุตริมนุสธรรมข้อหนึ่งเป็นมูล ที่ท่านย่อไว้ จบ
[๒๖๙] พัทธจักร ทุมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๒ ข้อเป็นมูลก็ดี
ติมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๓ ข้อเป็นมูลก็ดี จตุมูลกนัย มีอุตริมนุส-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 521
ธรรม ๔ ข้อเป็นมูล ก็ดี ปัญจมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๕ ข้อเป็นมูลก็ดี
ฉมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๖ ข้อเป็นมูลก็ดี สัตตมูลกนัย มีอุตริมนุ-
สธรรม ๗ ข้อเป็นมูลก็ดี อัฏฐมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๘ ข้อเป็นมูลก็ดี
นวมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๙ ข้อเป็นมูลก็ดี ทสมูลกนัย มีอุตริมนุส-
ธรรม ๑๐ ข้อเป็นมูลก็ดี บัณฑิตพึงให้พิสดารเหมือนพัทธจักรเอกมูลกนัย
ดังที่ให้พิสดารแล้วนั้นเถิด.
พัทธจักร สัพพมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรมทุกข้อเป็นมูล ดังต่อไปนี้:-
พัทธจักร สัพพมูลกนัย
[๒๗๐] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิต-
สมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล อรหัตผล ราคะข้าพะเข้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว
สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โทสะข้าพเจ้าสละแล้วคายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว
สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โมหะข้าพเจ้าสละแล้วคายแล้ว ปล่อยแล้ว
ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ จิตของ
ข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 522
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พัทธจักร สัพพมูลกนัย จบ
สุทธิกวารกถา จบ
ขัณฑจักร แห่งนิกเขปบท วัตถุนิสสารกะ
[๒๗๒] ๑. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว
ดังนี้ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔
อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้กล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว . . .เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๖. ภิกษุรู้อยู่. . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 523
๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติแล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 524
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว . . .เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว
. . .เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเจ้าอรหัตผลแล้ว . . .เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 525
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
ขัฌฑจักร แห่งนิกเขปบท วัตถุนิสสารกะ จบ
พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
มีอุตริมนุสธรรมข้อหนึ่งเป็นมูล
[๒๗๒] ๑. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว
ดังนี้ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔
อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 526
๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว . . .เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าเท็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 527
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๓. ภิกษุรู้อยู่. . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 528
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว ตายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาถุลลัจจัย.
๓๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
มีอุตริมนุสธรรมข้อหนึ่งเป็นมูล จบ
มูลแห่งพัทธจักรข้อที่ท่านย่อไว้
[๒๗๓] ๑. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจาก
โมหะดังนี้ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 529
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขา
ไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้อองอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เช้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๗. ภิกษุรู้อยู่ . . .แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว.
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๙. ภิกษุรู้ยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 530
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตสมาบัติแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เสข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว
. . . เมื่อคนอื่นเขาใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 531
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว ตายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ ที่ท่านย่อไว้จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 532
ขัณฑจักรทุมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
มีอุตริมนุสธรรม ๒ ข้อเป็นมูล
[๒๗๔] ๑. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน
และทุติยฌานแล้ว ดังนี้ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและตติยฌานแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รูว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและจตุตถฌาน
แล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสุญญต-
วิโมกข์แล้ว. . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตต-
วิโมกข์แล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอัปปณิหิต
วิโมกข์แล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 533
๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสุญญต-
สมาธิแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตต-
สมาธิแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอัปปณิหิต-
สมาธิแล้ว. . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสุญญต-
สมาบัติแล้ว . . .เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตต-
สมาบัติแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
อาบัติถุลลัจจัย.
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอัปปณิหิต-
สมาบัติแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและวิชชา ๓
แล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 534
๑๓. ภิกษุรู่อยู่ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสติปัฏฐาน
๘ แล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสัม-
มัปปธาน ๔ แล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอิทธิบาท
๔ แล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอินทรีย์
๕ แล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข่าปฐมฌานและพละ ๕
แล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเช้าปฐมฌานและโพชฌงค์
๗ แล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอริยมรรค
มีองค์ ๘ แล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 535
๒๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและโสดา-
ปัตติผลแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสกทา-
คามิผลแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนา-
คามิผลแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่ เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอรหัตผล
แล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าเข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และราคะ
ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และโทสะ
ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว
ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และโมหะ
ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว
ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 536
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และจิตของ
ข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต้กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และจิตของ
ข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และจิตของ
ข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
ขัณฑจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
มีอุตริมนุสธรรม ๒ ข้อ เป็นมูล จบ
พัทธจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
มีอุตริมนุสธรรม ๒ ข้อเป็นมูล
[๒๗๕] ๑. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌาน
และตติยฌานแล้ว ดังนี้ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 537
๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๔. ภิกษุรู้อยู่. . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญทสมาบัติแล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว . . .
เนื้อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 538
๑๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว
. . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 539
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่. . . แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พัทธจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
มีอุตริมนุสธรรม ๒ ข้อเป็นมูล จบ
พัทธจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
ที่ท่านย่อไว้
[๒๗๖] ๑. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจาก
โทสะ และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ดังนี้ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้า
ปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 540
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. .
๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 541
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติติแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๒ ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเข้าไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๐. ภิกษุรู้อยู่. . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว
. . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 542
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตผลแล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสละ.แล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พัทธจักร ทุมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๒ ข้อเป็นมูล
แห่งวัตถุนิสสารกะ ที่ท่านย่อไว้ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 543
[๒๗๗] พัทธจักรแห่งวัตถุนิสสารกะ มีอุตริมนุสธรรม ๓ ข้อเป็น
มูลก็ดี มีอุตริมนุสธรรม ๔ ข้อเป็นมูลก็ดี มีอุตริมนุสธรรม ๕ ข้อเป็น
มูลก็ดี มีอุตริมนุสธรรม ๖ ข้อเป็นมูลก็ดี มีอุตริมนุสธรรม ๗ ข้อเป็น
มูลก็ดี มีอุตริมนุสธรรม ๘ ข้อเป็นมูลก็ดี มีอุตรินนุสธรรม ๙ ข้อเป็น
มูลก็ดี มีอุตริมนุสธรรม ๑๐ ข้อเป็นมูลก็ดี บัณฑิตพึงทำ ให้เหมือน
พัทธจักร แม้มีอุตริมนุสธรรมข้อหนึ่ง ๆ เป็นมูล แห่งนิกเขปบททั้งหลาย
ที่กล่าวไว้แล้วฉะนั้น พึงให้พิสดารเหมือนพัทธจักร มีอุตริมนุสธรรมข้อ
หนึ่งเป็นมูล ที่ท่านให้พิสดารแล้วนั้นเถิด
พัทจักร สัพพมูลกนัย
มีอุตริมนุสธรรมทุกข้อเป็นมูล ดังนี้:-
[๒๗๘] ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติย-
ฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
สุญญตสมาบัติติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค
มีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผลแล้ว ราคะ
ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว
โทสะ ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว
ถอนแล้ว โมหะ ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละแล้ว
เพิกแล้ว ถอนแล้ว จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ
และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 544
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พัทธจักร สัพพมูลกนัย จบ
จักรเปยยาลแห่งวัตถุนิสสารกะ จบ
วัตถุกามวารกถา จบ
ปัจจยปฏิสังยุตวารกถา เปยยาล ๑๕ หมวด
ปัจจัยตตวจนวาร ๕ หมวด
[๒๓๙] ๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน
ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .
๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว
เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน...
ตติยฌาน . . . จตุตถฌาน . . . สุญญตวิโมกข์ . . .อนิมิตตวิโมกข์ ...อัปปณิหิต-
วิโมกข์ . . .สุญญตสมาธิ . . . อนิมิตตสมาธิ . . .อัปปณิหิตสมาธิ . . . สุญญตสมาบัติ
. . . อนิมิตตสมาบัติ . . . อัปปณิหิตสมาบัติ . . .วิชชา ๓ .. .สติปัฎฐาน ๔ . . .
สัมมัปปธาน ๔ . . . อิทธิบาท ๔ . . . อินทรีย์ ๕ . . .พละ ๕ . . . โพชฌงค์ ๗. . .
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 545
อริยมรรคมีองค์ ๘ . . . โสดาปัตติผล . . . สกทาคามิผล . . . อนาคามิผล . . .
อรหัตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .
๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ราคะ ภิกษุนั้น
สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . .
โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว
ถอนแล้ว . . . โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว
เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน จิตของภิกษุนั้น
เปิดจากราคะ. . .จิตของภิกษุนั้น เปิดจากโทสะ. . . จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโมหะ
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 546
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว
เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานใน
สุญญาคาร . . . ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่ง
จตุตถฌานในสุญญาคาร . . . ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๒๘๐] ๒. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของท่าน
ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
ซึ่งปฐมฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว
เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน. . .
ตติยฌาน. ..จตุตถฌาน... สุญญตวิโมกข์ . . . อนิมิตตวิโมกข์ ... อัปปณิหิต-
วิโมกข์ . . . สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ .. สุญญต-
สมาบัติ . . .อนิมิตตสมาบัติ . . .อัปปณิหิตตสมาบัติ. . .วิชชา ๓ .. สติปัฏฐาน
๔ . . . สัมมัปปธาน ๔. . .อิทธิบาท ๔ . . . อินทรีย์ ๕ . . . พละ ๕ . . .โพชฌงค์
๗ . . . อริยมรรคมีองค์ ๘ . . . โสดาปัตติผล . . . สกทาคามิผล . . . อนาคามิผล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 547
. . . อรหัตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของท่าน ราคะ ภิกษุนั้น
สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . .
โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว
ถอนแล้ว . . .โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว
เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของท่าน จิตของภิกษุนั้น
เปิดจากราคะ. . . จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ . . . จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโมหะ
ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู่ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก จ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว
เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 548
สุญญาคาร . . . ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่ง
จตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๓. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคบิณฑบาตของท่าน ภิกษุ
นั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำไห้แจ้ง ซึ่ง
ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคบิณฑบาตของท่าน ภิกษุนั้น
เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่ง
ทุติยฌาน. . .ตติยฌาน. . .จตุตถฌาน. . . สุญญตวิโมกข์. . . อนิมิตตวิโมกข์. . .
อัปปณิหิตวิโมกข์. . .สุญญตสมาธิ . . . อนิมิตตสมาธิ . . . อัปปณิหิตสมาธิ . . .
สุญญตสมาบัติ . . . อนิมิตตสมาบัติ . . . อปัปณิหิตสมาบัติ . . .วิชชา ๓ . . . สติ-
ปัฏฐาน ๔ . . . สัมมัปปธาน ๕ . . . อิทธิบาท ๔. . . อินทรีย์. . . ๕ พละ ๕. . .
โพชฌงค์ ๗ . . . อริยมรรคมีองค์ ๘ . . . โสดาปัตติผล . . . สกทาคามิผล . . .
อนาคามิผล . . . อรหัตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 549
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคบิณฑบาตของท่าน ราคะ ภิกษุ
นั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . .
โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว
ถอนแล้ว . . . โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว
เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคบิณฑบาตของท่าน จิตของ
ภิกษุนั้นเปิดจากราคะ . . . จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ . . . จิตของภิกษุนั้นเปิด
จากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคบิณฑบาตของท่าน ภิกษุนั้น
เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน
ในสุญญาคาร . . .ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร . . .
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 550
ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง
. . .๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๔. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ภิกษุ
นั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่ง
ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดใช้สอยเสนาสนะของ ท่าน ภิกษุนั้น
เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่งทุติยฌาน
. . . ตติยฌาน. . . จตุตุถฌาน. . . สุญญตวิโมกข์. . . อนิมิตตวิโมกข์. . .อัปปณิ-
หิตวิโมกข์. . . สุญญตสมาธิ . . . อนิมิตตสมาธิ . . . อัปปณิหิตสมาธิ สุญญต-
สมาบัติ . . .อนิมิตตสมาบัติ . . . อัปปณิหิตสมาบัติ . . . วิชชา ๓. . . สติปัฏฐาน ๔
. . . สัมมัปปธาน ๔. . . อิทธิบาท ๔ . . . อินทรีย์ ๕ . . . พละ ๕. . .โพชฌงค์ ๗
. . . อริยมรรคมีองค์ ๘ . . . โสดาปัตติผล . . . สกทาคามิผล . . . อนาคามิผล . . .
อรหัตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่า คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 551
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ราคะ ภิกษุ
นั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . .
โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว
ถอนแล้ว . . . โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว
เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำ พรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดใช้สอยเสนาสนะของท่านเ จิตของ
ภิกษุนั้นเปิดจากราคะ . . . จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ . . . จิตของภิกษุนั้น
เปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ภิกษุนั้น
เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน
ในสุญญาคาร . . . ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร. . .
ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . อย่าง . . .๕ อย่าง . . .
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 552
๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๕. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของ
ภิกษุไข้ของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ
ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .
๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุ
ไข้ของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ
ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน . . . ตติยฌาน . . . จตุตถฌาน . . . สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ . . . อัปปณิหิตวิโมกข์ . . . สุญญตสมาธิ . . . อนิมิตตสมาธิ . . .
อัปปณิหิตสมาธิ . . . สุญญตสมาบัติ . . . อนิมิตตสมาบัติ. . . อัปปณิหิตสมาบัติ
. . . วิชชา ๓ . . . สติปัฏฐาน ๔ . . . สัมมัปปธาน ๔ . . . อิทธิบาท . . .
อินทรีย์ ๕. . . พละ ๕ . . . โพชฌงค์ ๗. . . อริยมรรคมีองค์ ๘. . .โสดาปัตติผล. . .
สกทาคามิผล อนาคามิผล . . . อรหัตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง. . .
๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง
กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพราง
ความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความ
จริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 553
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุ
ไข้ของท่าน ราคะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว
เพิกแล้ว. ถอนแล้ว . . . โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว
สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว
ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .
๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ
๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว
๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุ
ไข้ของท่าน จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ . . .จิตองภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ
จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุ
ไข้ของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ
ทำให้แจ้งซึ่งปฐมฌานในสุญญาคาร. . . ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร. . .ซึ่งตติย-
ฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .
๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 554
เท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว
๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ปัจจัตตวจนวาร จบ
กรณวจนวาร ๕ หมวด
๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า วิหารของท่านอันภิกษุใดอาศัยแล้ว ภิกษุ
นั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่งปฐม-
ฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า วิหารของท่านอันภิกษุใดอาศัยแล้ว ภิกษุนั้น
เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน
. . . ตติยฌาน . . . จตุตถฌาน. . .สุญญตวิโมกข์. . .อนิมิตตวิโมกข์. . .อัปปณิหิต-
วิโมกข์ . . . สุญญสมาธิ . . .อนิมิตตสมาธิ . . . อัปปณิหิตสมาธิ . . . สุญญต-
สมาบัติ. . . อนิมิตตสมาบัติ . . . อัปปณิหิคสมาบัติ . . . วิชชา ๓ . . . สติปัฏ-
ฐาน ๔ . . . สัมมัปปธาน ๔ . . . อิทธิบาท ๔ . . . อินทรีย์ ๕ . . . พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ . . . อริยมรรคมีองค์ ๘ . . . โสดาปัตติผล . . . สกทาคามิผล . . .
อนาคามิผล . . . อรหัตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 555
๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า วิหารของท่านอันภิกษุใดอาศัยแล้ว ราคะ
ภิกษุนั้นสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว...
โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว
ถอนแล้ว . . .โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว
เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง
. . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า วิหารของท่านอันภิกษุโดอาศัยแล้ว จิตของ
ภิกษุนั้นเปิดจากราคะ . . . จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ . . . จิตของภิกษุนั้น
เปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .
๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า วิหารของท่านอันภิกษุใดอาศัยแล้ว ภิกษุนั้น
เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐม-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 556
ฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร
ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .
๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๒. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จีวรของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ภิกษุ
นั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐม-
ฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง . . .๗ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จีวรของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ภิกษุนั้น
เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน
. . . ตติยฌาน . . . จตุตถฌาน . . . สุญญตวิโมกข์ . . . อนิมิตตวิโมกข์ . . .
อัปปณิหิตวิโมกข์ . . . สุญญตสมาธิ . . . อนิมิตตสมาธิ . . . อัปปณิหิตสมาธิ . . .
สุญญตสมาบัติ . . . อนิมิตตสมาบัติ . . . อัปปณิหิตสมาบัติ . . . วิชชา ๓ . . .
สติปัฏฐาน ๔ . . สัมมัปปธาน ๔ . . . อิทธิบาท ๔ . . . อินทรีย์ ๕. . . พละ ๕
. . . โพชฌงค์ ๗ . . . อริยมรรคมีองค์ ๘ . . . โสดาปัตติผล . . . สกทาคามิผล
. . . อนาคามิผล . . . อรหัตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 557
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ พรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จีวรของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ราคะ
ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว
. . . โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว
ถอนแล้ว . . .โมหะ ภิกษุนั้น สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว
เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . .๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จีวรของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว จิตของ
ภิกษุนั้นเปิดจากราคะ . . . จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ . . . จิตของภิกษุนั้น
เปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จีวรของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ภิกษุนั้น
เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน
ในสุญญาคาร . . . ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร . . .
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 558
ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๓. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า บิณฑบาตของท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว
ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า บิณฑบาตของท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว
ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
ซึ่งทุติยฌาน. . .ตติยฌาน...จตุตถฌาน. . .สุญญตวิโมกช์ . . .อนิมิตตวิโมกข์
. . . อัปปณิหิตวิโมกข์. . . สุญญตสมาธิ . . . อนิมิตตสมาธิ. . . อัปปณิหิตสมาธิ. . .
สุญญตสมาบัติ . . .อนิมิตตสมาบัติ . . . อัปปณิหิตสมาบัติ . . . วิชชา๓ . . . สติ-
ปัฏฐาน ๔ . . . สัมมัปปธาน ๔ . . . อิทธิบาท ๔ . . .อินทรีย์ ๕ . . . พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ . . .อริยมรรคมีองค์ ๘ . . . โสดาปัตติผล . . .สกทาคามิผล. . .
อนาคามิผล . . .อรหัตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 559
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า บิณฑบาตของท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว
ราคะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว
ถอนแล้ว . . . โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว
เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว
สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่ ข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า บิณฑบาตของท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว
จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ . . . จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ . . .จิตของภิกษุ
นั้นเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ าLย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู่ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า บิณฑบาตของท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว
ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
ซึ่งปฐมฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งตติยฌานใน
สุญญาคาร . . . ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 560
. . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ
๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพราง
ความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
๔. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เสนาสนะของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว
ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความ ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เสนาสนะของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว
ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
ซึ่งทุติยฌาน. . .ตติยฌาน. . . จตุตถฌาน. . . สุญญตวิโมกข์. . . อนิมิตตวิโมกข์
. . . อัปปณิหิตวิโมกข์. . . สุญญตสมาธิ . . . อนิมิตตสมาธิ . . . อัปปณิหิตสมาธิ
. . . สุญญตสมาบัติ . . .อนิมิตตสมาบัติ . . . อัปปณิหิตสมาบัติ . . .วิชชา ๓. . .
สติปัฏฐาน ๔ . . . สัมมัปปธาน ๔ . . .อิทธิบาท ๔ . . . อินทรีย์ . . . พละ ๕
. . . โพชฌงค์ ๗ . . . อริยมรรคมีองค์ ๘ . . . โสดาปัตติผล . . .สกทาคามิผล
. . . อนาคามิผล . . . อรหัตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 561
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เสนาสนะของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ราคะ
ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว
. . . โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว
ถอนแล้ว . . . โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว
เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อ เขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เสนาสนะของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว จิต
ของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ . . .จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ . . .จิตของภิกษุนั้น
เปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เขาใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เสนาสนะของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ภิกษุ
นั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่ง
ปฐมฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งตติยฌานใน
สุญญาคาร. . .ซึ่งจตตุถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 562
. . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ
๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพราง
ความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความ
จริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๕. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ ของ
ท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้
เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง
. . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ
๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพราง
ความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่านอัน
ภิกษุใดบริโภคแล้ว ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้เป็นผู้ชำนาญ
ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน . . . ตติยฌาน . . .จตุตถฌาน . . .สุญญตวิโมกข์ . . .
อนิมิตตวิโมกข์ . . . อัปปณิหิตวิโมกข์ . . .สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ. . .
อัปปณิหิตสมาธิ . . . สุญญตสมาบัติ . . . อนิมิตตสมาบัติ . . . อัปปณิหิตสมาบัติ
. . . วิชชา ๓ . . .สติปัฏฐาน ๔ . .. สัมมัปปธาน ๔ . . . อิทธิบาท ๔ . . . อินทรีย์ ๕
. . .พละ ๕ . . .โพชฌงค์ ๗ . . .อริยมรรคมีองค์ ๘ . . . โสดาปัตติผล. . .
สกทาคามิผล . . . อนาคามิผล . . . อรหัตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง
. . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ
๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว
อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพราง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 563
ความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่าน
อันภิกษุใดบริโภคแล้ว ราคะ ภิกษุนั้นสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว
สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . โทสะ ภิกษุนั้น สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว
ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .
๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่าน
อันภิกษุใดบริโภคแล้ว จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ. . . จิตของภิกษุนั้นเปิด
จากโทสะ . . . จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .
๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง
กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความ
เห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อาพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่าน
อันภิกษุใดบริโภคแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็น
ผู้ชำนาญทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานในสุญญาควร. . .ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 564
ซึ่งตติยฌานในสุญญาควร. . .ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง
. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว
๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อุปโยควจนวาร ๕ หมวด
๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายวิหารแล้ว
ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
ซึ่งปฐมฌานด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . .๗
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖
อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายวิหารแล้ว ภิกษุ
นั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่ง
ทุติยฌาน. . . ตติยฌาน . . . จตุตถฌาน. . .สุญญตวิโมกข์ . . .อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์. . . สุญญตสมาธิ. . . อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญ-
ตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ . . . วิชชา ๓. . .สติปัฏฐาน. . . ๔
. . . สัมมัปปธาน ๔ . . . อิทธิบาท ๔. . .อินทรีย์ ๕ . . . พละ ๕ . . .โพชฌงค์ ๗
. . . อริยมรรคมี องค์ ๘ . . .โสดาปัตติผล . . . สกทาคามิผล . . . อนาคามิผล. . .
อรหัตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง. . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 565
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก
ใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายวิหารแล้ว ราคะ
ภิกษุนั้น สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอน
แล้ว . . . โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว
เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว
สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕
อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่น
เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัยเมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายวิหารแล้ว จิต
ของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ . . . จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ. . .จิตของภิกษุนั้น
เปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . .
๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้น กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก
ใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ-
ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อองอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายวิหารแล้ว ภิกษุนั้น
เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 566
สุญญาควร. . .ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร. . .ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร. . . ซึ่ง
จตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง. . .๖
อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าว
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๒. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายจีวรแล้ว
ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่ง
ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗
คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖
อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจ-
จัย เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายจีวรแล้ว ภิกษุ
นั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่ง
ทุติยฌาน. . .ตติยฌาน . . . จตุตถฌาน . . . สุญญตวิโมกข์. . .อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์. . .สุญญตสมาธิ . . . อนิมิตตสมาธิ. . . อัปปณิหิตสมาธิ. . .
สุญญตสมาบัติ . . .อนิมิตตสมาบัติ . . . อัปปณิหิตสมาบัติ . . . วิชชา ๓ . . . สติปัฏ-
ฐาน ๔ . . . สัมมัปปธาน. . . อิทธิบาท . . .๔ อินทรีย์ ๕ . . .พละ๕. . . โพชฌงค์
๗ . . .อริยมรรคมีองค์ ๘. . .โสดาปัตติผล . . . สกทาคามิผล. . .อนาคามิผล. . .
อรหัตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 567
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖
อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เนื้อเข้าไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายจีวรแล้ว ราคะ
ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอน
แล้ว . . . โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว
เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . . โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว
สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕
อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่น
เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายจีวรแล้ว จิตของ
ภิกษุนั้น เปิดจากราคะ. . .จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ. . .จิตของภิกษุนั้นเปิด
จากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖
อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายจีวรแล้ว จิต
ของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ. . .จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ . . .จิตของภิกษุนั้น
เปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . .
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 568
๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายจีวรแล้ว ภิกษุนั้น
เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แล้วซึ่งปฐมฌานใน
สุญญาคาร . . . ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร . . . ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร. . . ซึ่ง
จตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . .๖
อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำ-
พรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๓. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายบิณฑบาต
แล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่ง
ปฐมฌานด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าว
แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖
อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายบิณฑบาตแล้ว
ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
ซึ่งทุติยฌาน. . . ตติยฌาน . . .จตุตถฌาน . . .สุญญตวิโมกข์ . . . อนิมิตตวิโมกข์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 569
. . . อัปปณิหิตวิโมกข์. . . สุญญตสมาธิ . . . อนิมิตตสมาธิ. . . อัปปณิหิตสมาธิ . . .
สุญญตสมาบัติ . . . อนิมิตตสมาบัติ . . . อัปปณิหิตสมาบัติ . . . วิชชา ๓ . . . สติ-
ปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔. . . อิทธิบาท . . . อินทรีย์ ๕ . . .พละ ๕. . .
โพชฌงค์ ๗. . . อริยมรรคมีองค์ ๘ . . . โสดาปัตติผล . . . สกทาคามิผล . . .
อนาคามิผล . . . อรหัตผลด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖
อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายบิณฑบาตแล้ว
ราคะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว
ถอนแล้ว . . . โทสะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว
เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . .โมหะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว
สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายบิณฑบาตแล้ว
จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ . . .จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ . . . จิตของภิกษุ
นั้นเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 570
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายบิณฑบาตแล้ว
ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
ซึ่งปฐมฌานในสุญญาคาร . . .ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร . . .ซึ่งตติยฌานใน
สุญญาคาร . . .ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง
. . . อย่าง . . . ๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ
๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพราง
ความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความ
จริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๔. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเสนาสนะแล้ว
ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง . . . ๖ อย่าง . . . ๗
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเสนาสนะแล้ว
ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
ซึ่งทุติยฌาน . . . ตติยฌาน . . . จตุตถฌาน . . . สุญญตวิโมกข์ . . . อนิมิตต-
วิโมกข์. . . อัปปณิหิตวิโมกข์ . . .สุญญตสมาธิ . . .อนิมิตตสมาธิ . . . อัปปณิ-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 571
หิตสมาธิ . . . สุญญตสมาบัติ . . . อนิมิต สมาบัติ . . . อัปปณิหิตสมาบัติ . . .
วิชชา ๓ . . . สติปัฏฐาน ๔ . . . สัมมัปปธาน ๔ . . . อิทธิบาท ๔ . . .อินทรีย์ ๕
. . . พละ ๕ . . .โพชฌงค์ ๗ . . .อริยมรรคมีองค์ ๘ . . .โสดาปัตติผล . . .สกทา-
คามิผล . . .อนาคามิผล . . .อรหัตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕
อย่าง . . .๖ อย่าง . . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง
กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพราง
ความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพางความ
จริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเสนาสนะแล้ว
ราคะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว
ถอนแล้ว . . .โทสะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว
เพิกแล้ว ถอนแล้ว . . .โมหะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว
สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . . ๔ อย่าง . . .๕ อย่าง
. . . ๖ อย่าง . . .๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเสนาสนะแล้ว
จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ . . .จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ . . .จิตของ
ภิกษุนั้นเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง . . .๔ อย่าง . . . ๕ อย่าง . . .๖ อย่าง
. . . ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง