พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 1
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๑
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ขอน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เวรัญชภัณฑ์
เรื่องเวรัญชพราหมณ์
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ
ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป เวรัญชพราหมณ์ได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ
พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล ประทับอยู่ ณ บริเวณ
ต้นไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น
ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์แม้
เพราะเหตุนี้ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบแม้เพราะเหตุนี้ทรงบรรลุวิชชาและจรณะ
แม้เพราะเหตุนี้ เสด็จไปดีแม้เพราะเหตุนี้ ทรงทราบโลกแม้เพราะเหตุนี้
ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นศาสดา
ของเทพและมนุษย์ ทั้งหลายแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพุทธะแม้เพราะเหตุนี้
ทรงเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เพราะเหตุนี้ พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 2
เทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง
แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ให้รู้ ทรง
แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็น
พระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี
เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
[๒] หลักจากนั้น เวรัญชพราหมณ์ได้ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้ว
ได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่
บันเทิงเป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เวรัญชพราหมณ์
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่าน
พระโคดม ข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พระสมณโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวก
พราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงการผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญ
ด้วยอาสนะ ข้อที่ข้าพเจ้าทราบมานี้นั้นเป็นเช่นนั้นจริง อันการที่ท่านพระโคดม
ไม่ไหว้ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมา
โดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะนี้นั้น ไม่สมควรเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ในโลก ทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์
เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ
เพราะว่าตถาคตพึงไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญบุคคลใดด้วยอาสนะ แม้
ศีรษะของบุคคลนั้นก็พึงขาดตกไป.
ว. ท่านพระโคดมมีปกติไม่ไยดี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 3
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
มีปกติไม่ไยดี ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะความไยดีในรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน
ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล
เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมมีปกติไม่ไยดี ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก
แต่ไม่ใช้เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
ว. ท่านพระโคดมไม่มีสมบัติ.
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
ไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน
ตาลยอดด้วย ทำไม่ให้มีภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล
เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่
ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
ว. ท่านพระโคดมกล่าวการไม่ทำ.
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
กล่าวการไม่ทำ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล
เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวการไม่ทำ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก
แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
ว. ท่านพระโคดมกล่าวความขาดสูญ.
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
กล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 4
ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวความขาดสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง
นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่า
กล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
ว. ท่านพระโคดมช่างรังเกียจ.
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
ช่างรังเกียจ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต เรารังเกียจความถึงพร้อมแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง
นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างรังเกียจ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก
แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
ว. ท่านพระโคดมช่างกำจัด
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
ช่างกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ
โมหะ แสดงธรรมเพื่อกำจัดสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่
เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างจำกัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่
เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
ว. ท่านพระโคดมช่างเผาผลาญ
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
ช่างเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล
คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ ธรรมที่
เป็นบาปอกุศลซึ่งควรเผาผลาญ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็น
เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนช่างเผาผลาญพราหมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาป-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 5
อกุศล ซึ่งควรเผาผลาญ ตถาคตละได้แล้ว ตักรากขาดแล้ว ทำให้เป็น
เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา
นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่า
กล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
ว. ท่านพระโคดมไม่ผุดเกิด.
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
ไม่ผุดเกิดดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดใน
ภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้วแล้ว ตัดรากขาดแล้วทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคน
ไม่ผุดเกิด พราหมณ์ การนอนในครรภ์ต่อไปการเกิดในภพใหม่ ตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนทำไม่ให้มีใน
ภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า
พระสมณโคดมไม่ผุดเกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
ทรงอุปมาด้วยลูกไก่
[๓] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนฟองไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ
๑๒ ฟอง ฟองไก่เหล่านั้น อันแม่ไก่พึงกกดีแล้ว อบดีแล้ว ฟักดีแล้ว บรรดา
ลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวใดทำลายกระเปาะฟอง ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วย
จะงอยปากออกมาได้โดยสวัสดีก่อนกว่าเขา ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร
จะเรียกว่าพี่หรือน้อง.
ว. ท่านพระโคดม ควรเรียกว่าพี่ เพราะมันแก่กว่าเขา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 6
ทรงแสดงฌานสี่และวิชชาสาม
ภ. เราก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ใน
อวิชชาเกิดในฟอง อันกระเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลาย
กระเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม
เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่
ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับ-
กระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
ปฐมฌาน
เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุ
ปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่.
ทุติยฌาน
เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ฯ ภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้นไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิด
แต่สมาธิอยู่.
ตติยฌาน
เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ
ปีติสิ้นไป ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้.
จตุตถฌาน
เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ
ดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 7
บุพเพนิวาสานุสติญาณ
เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิต
ไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
ระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง
สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติ ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ว่า
ตลอดวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ว่า
ในภพนั้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร
อย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพ
นั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพโน้นนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่าง
นั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นนั้นแล้ว ได้มาเกิดใน
ภพนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ พร้อมทั้งอาการ
ด้วยประการฉะนี้ พราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี่แล เราได้บรรลุแล้วในปฐมยาม
แห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่การแล้ว ความมืด เรา
กำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร เผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่ง
ของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.
จุตูปปาตญาณ
เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิต
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 8
ไปเพื่อญาณ เครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็น
หมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพย์จักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ
ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอย่างเหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบ
ด้วยการสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้า
แต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ
กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตาม
กรรมด้วยประการดังนี้ พราหมณ์ วิชาที่สองนี้แล เราได้บรรลุแล้วใน
มัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืด
เรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สองของ
เรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.
อาสวักขยญาณ
เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตาม
เป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 9
ตามเป็นเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้
อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า
นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ
เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ
ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้วได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วใน
ปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืด
เรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สาม
ของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.
เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
[๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์ได้ทูล
คำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมเป็นผู้เจริญที่สุด ท่านพระโคดม
เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
อย่างนี้ เปรียบเหมือบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่เปิดบอกทางแก่คน
หลงทางหรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้
ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ
พระองค์จงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 10
เป็นต้นไป และขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงทรงรับอาราธนาอยู่จำพรรษา
ที่เมืองเวรัญชาของข้าพเจ้าเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี ครั้นเวรัญช-
พราหมณ์ทราบการรับอาราธนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ลุกจากที่นั่ง
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณหลีกไป.
เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย
[๕] ก็โดยสมัยนั้นแล เมืองเวรัญชา มีภิกษาหารน้อย ประชาชน
หาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีฉลากซื้ออาหาร
ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย ครั้งนั้น
พวกพ่อค้าม้าชาวอุตราปถะมีม้าประมาณ ๕๐๐ ตัว ได้เข้าพักแรมตลอดฤดูฝน
ในเมืองเวรัชญา พวกเขาได้ตกแต่งข้าวแดงสำหรับภิกษุรูปละแล่งไว้ที่คอกม้า
เวลาเช้าภิกษุทั้งหลายครองอันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตใน
เมืองเวรัญชา เมื่อไม่ได้บิณฑบาต จึงเที่ยวไปบิณฑบาตที่คอกม้า รับข้าวแดง
รูปละแล่งนำไปสู่อารามแล้วลงครกโขลกฉัน ส่วนท่านพระอานนท์บดข้าวแดง
แล่งหนึ่งที่ศิลา แล้วน้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ เสวยพระกระ-
ยาหารที่บดถวายนั้นอยู่ได้ทรงสดับเสียงครกแล้ว.
พระพุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่
ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม
พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระตถาคตทั้งหลายทรงจำกัดสิ่งที่ไม่ประกอบด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 11
ประโยชน์ด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยอาการสองอย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติ-
สิขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.
ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า อานนท์
นั่นเสียงครกหรือหนอ จึงท่านพระอานนท์กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญว่า ดีละ ดีละ อานนท์ พวกเธอเป็นสัตบุรุษ
ชนะวิเศษแล้ว พวกเพื่อนพรหมจารีชั้นหลังจักดูหมิ่นข้าวสาลีและข้าวสุกอัน
ระคนด้วยเนื้อ.
พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท
[๖] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้เมืองเวรัญชามีภิกษาหารน้อย ประชาชน
หาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหารภิกษุสงฆ์
จะยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย พระพุทธเจ้าข้า
พื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดินผืนใหญ่นี้ สมบูรณ์ มีรสอันโอชา เหมือนน้ำผึ้งหวี่
ที่ไม่มีตัวอ่อนฉะนั้น ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงพลิก
แผ่นดิน ภิกษุทั้งหลายจักได้ฉันง้วนดิน พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ ก็สัตว์ผู้อาศัย
แผ่นดินเล่า เธอจะทำอย่างไรแก่สัตว์เหล่านั้น.
ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักนิรมิตฝ่ามือข้าหนึ่งให้เป็นดุจแผ่นดินใหญ่ ยัง
สัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเหล่านั้นให้ไปอยู่ในฝ่ามือนั้น จักพลิกแผ่นดินด้วยมืออีก
ข้างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 12
ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การพลิกแผ่นดิน เธออย่าพอใจเลย
สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้รับผลตรงกันข้าม.
ม. ขอประทานพระวโรกาส ขอภิกษุสงฆ์ทั้งหมดพึงไปบิณฑบาตใน
อุตรกุรุทวีป พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็ภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์เล่า เธอจักทำอย่างไรแก่ภิกษุเหล่านั้น
ม. ข้าพระพุทธเจ้าเจ้าจักทำให้ภิกษุทั้งหมดไปได้ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไปบิณฑบาตถึง
อุตรกุรุทวีป เธออย่าพอใจเลย.
เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
[๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความ
ปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ดังนี้
ครั้นเวลาสายัณห์ท่านออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
ข้าพระพุทธเจ้าไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิต
เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์
ไหน ไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนสารีบุตร พระศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรง
อยู่นาน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และ
พระนามกัสสปะดำรงอยู่นาน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 13
ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน
พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนสารีบุตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี
และพระนามเวสสภู ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่
สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งสามพระองค์นั้นมีน้อย
สิขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาฏิโมกข์ก็มิได้ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธาน
แห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตาม
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน
ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน
ดูก่อนสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากอบไว้บนพื้นกระดาน ยังไม่ได้ร้อย
ด้วยด้าย ลมย่อมกระจาย ขจัด กำจัดซึ่งดอกไม้เหล่านั้นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร เพราะเขาไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
เหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจาก
ตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลันฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงกำหนด
จิตของสาวกด้วยพระหฤทัย แล้วทรงสั่งสอนสาวก.
ดูก่อนสารีบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระนามเวสสภู ทรงกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ด้วยพระหฤทัยแล้วทรง
สั่งสอน พร่ำสอน ภิกษุสงฆ์ประมาณพันรูป ในไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัวแห่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 14
หนึ่งว่า พวกเธอจงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนั้น จงทำในใจอย่างนี้
อย่าได้ทำในใจอย่างนั้น จงละส่วนนี้ จงเข้าถึงส่วนนี้อยู่เถิด ดังนี้ ลำดับนั้นแล
จิตของภิกษุประมาณพันรูปนั้น อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามเวสสภูทรงสั่งสอนอยู่อย่างนั้น ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนั้น ได้หลุดพ้น
แล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ในเพราะความที่ไพรสณฑ์อันน่า
พึงกลัวนั้นซิ เป็นถิ่นที่น่าสยดสยองจึงมีคำนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังไม่ปราศจาก
ราคะเข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้น โดยมากโลมชาติย่อมชูชัน.
ดูก่อนสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภูไม่ดำรง
อยู่นาน.
ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรง
อยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนสารีบุตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนาม
โกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรม
โดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งสาม
พระองค์นั้นมีมาก สิขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก
เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่ง
สาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน
ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอด
ระยะกาลยืนนาน ดูก่อนสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 15
ร้อยดีแล้วด้วยด้าย ลมย่อมกระจายไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ซึ่งดอกไม้
เหล่านั้นข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาร้อยดีแล้วด้วยด้าย ฉันใด เพราะ
อันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวก
ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน
ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอด
ระยะกาลยืนนาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
ดูก่อนสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนาม
กัสสปะ ดำรงอยู่นาน.
ปรารภเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท
[๘] ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรลุกจากอาสนะ ทำผ้าอุตราสงค์
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า
ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาแล้ว ที่จะทรงบัญญัติ
สิกขาบท ที่จะทรงแสดงปาติโมกข์แก่สาวก อันจะเป็นเหตุให้พระศาสนานี้
ยั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จงรอก่อน สารีบุตร จงยับยั้งก่อนสารีบุตร
ตถาคตผู้เดียวจักรู้กาลในกรณีย์นั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่
แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลาที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า
ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ปรากฏ
ในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์
แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 16
บางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็น
หมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนาน ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวช
นานแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้น
พระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐา-
นิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์
ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลายแล้ว ต่อเมื่อใด
สงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า
ย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดง
ปาติโมกข์แก่สาวกเพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรม
บางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ไม่ถึงความเป็น
หมู่ใหญ่เลิศโดยลาภ ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภแล้ว และ
อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดา
จึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวกเพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรม
เหล่านั้นแหละ ดูก่อนสารีบุตร ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียดไม่มีโทษ ปราศจาก
มัวหมองบริสุทธิ์ผุดผ่องตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุ
ที่ทรงคุณธรรมอย่างต่ำ ก็เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง
เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์
[๙] ครั้นปวารณาพรรษาแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระ
อานนท์มารับสั่งว่า ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตทั้งหลายยังมิได้บอกลาผู้ที่นิมนต์
ให้อยู่จำพรรษาแล้ว จะไม่หลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท ข้อนี้เป็นประเพณีของ
พระตถาคตทั้งหลาย มาไปกันเถิดอานนท์ เราจะบอกลาเวรัญชพราหมณ์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 17
ท่านพระอานนท์ทูลสนองพระพุทธดำรัสว่าเป็นดังรับสั่งพระพุทธเจ้าข้า
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรมีท่าน
พระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเวรัญช-
พราหมณ์ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ทันใดนั้น
เวรัญชพราหมณ์ดำเนินเข้าไปสู่ที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่งพระองค์รับสั่งว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราเป็นผู้อันท่านนิมนต์
อยู่จำพรรษาแล้ว เราขอบอกลาท่าน เราปรารถนาจะหลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท.
เวรัญชพราหมณ์กราบทูลว่า เป็นความจริง ท่านพระโคดม ข้าพเจ้า
นิมนต์พระองค์อยู่จำพรรษา ก็แต่ว่าไทยธรรมอันใดที่จะพึงถวาย ไทยธรรม
อันนั้นข้าพเจ้ายังมิได้ถวาย และไทยธรรมนั้นมิใช่ว่าจะไม่มี ทั้งประสงค์จะ
ไม่ถวายก็หาไม่ ภายในไตรมาสนี้ พระองค์จะพึงได้ไทยธรรมนั้นจากไหน
เพราะฆราวาสมีกิจมาก มีกรณียะมาก ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยพระสงฆ์
จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติ
ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอัชเฌสนาโดยดุษณีภาพ และแล้วทรงชี้แจง
ให้เวรัญชพราหมณ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรง
ลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.
หลังจากนั้น เวรัญชพราหมณ์สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต
ในนิเวศน์ของตน โดยผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลภัตตกาล
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ขณะนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้วถือ
บาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึงแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 18
ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จึงเวรัญช-
พราหมณ์อังคาส ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหาร
อันประณีต ด้วยมือของตนจนให้ห้ามภัตรแล้ว ได้ถวายไตรจีวรแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้วให้ทรงครอง และ
ถวายผ้าคู่ให้ภิกษุครอง รูปละสำรับ จึงพระองค์ทรงชี้แจงให้เวรัญชพราหมณ์
เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากที่ประทับ
เสด็จกลับ ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชาตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว
เสด็จพระพุทธดำเนินไปยังเมืองท่าปยาคะ ไม่ทรงแวะเมืองโสเรยยะ เมือง
สังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ ทรงข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองท่าปยาคะ เสด็จพระพุทธะ
ดำเนินถึงพระนครพาราณสี ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่พระนครพาราณสี ตาม
พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครเวสาลี เมื่อ
เสด็จจาริกไปโดยลำดับถึงพระนครเวสาลีนั้นแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับ
อยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น.
เวรัญชภาณวาร จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 19
อรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกาแปล
มหาวิภังควรรณนา
ภาค ๑
อารัมภกถา
* ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการแด่พระผู้เป็น
ที่พึ่ง ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
พระองค์ผู้ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยากยิ่ง
ตลอดกาลซึ่งจะนับประมาณมิได้ แม้ด้วย
หลายโกฏิกัป ทรงถึงความยากลำบาก เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก. ข้าพเจ้าขอ
ถวายนมัสการแก่พระธรรมอันประเสริฐ อัน
ขจัดเสียซึ่งข่ายคือกิเลส มีอวิชชาเป็นต้น
ที่พระพุทธเจ้าทรงเสพอยู่เป็นนิตย์ ซึ่งสัตว-
โลก เมื่อไม่หยั่งรู้ต้องท่องเที่ยวไปสู่ภพน้อย
และภพใหญ่. ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการด้วย
เศียรเกล้า ซึ่งพระอริยสงฆ์ ผู้ประกอบ
*องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๘-๒๕๐๖
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 20
ด้วยคุณ มีศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ
วิมุตติญาณทัสนะเป็นเค้ามูล เป็นเนื้อนาบุญ
ของเหล่าชนผู้มีความต้องการด้วยกุศล. ข้าพ
เจ้านมัสการอยู่ ซึ่งพระรัตนตรัยอันควร
นมัสการโดยส่วนเดียว ด้วยประการดังกล่าว
มานี้ ได้แล้วซึ่งกุศลผลบุญที่ไพบูล หลั่งไหล
ไม่ขาดสายอันใด ด้วยอานุภาพแห่งกุศลผล
บุญนั้น ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ปลอดอันตราย.
ข้าพเจ้าจักอาศัยอานุภาพของท่านบูรพาจารย์
พรรณนาพระวินัยให้ไม่ปะปนกัน ซึ่งเมื่อ
ทรงอยู่แล้ว ศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้มิได้
ทรงตั้งมั่นอยู่ ( ในส่วนสุดทั้งสอง ) แต่ทรง
ดำรงชอบด้วยดี ( ในมัชฌิมาปฏิปทา ) เป็น
อันประดิษฐานอยู่ได้. แท้ที่จริง พระวินัยนี้
ถึงท่านบูรพาจารย์ผู้องอาจ ซึ่งขจัดมลทิน
และอาสวะออกหมดแล้วด้วยน้ำคือญาณ มี
วิชชาและปฏิสัมภิทาบริสุทธิ์ ฉลาดในการ
สังวรรณนาพระสัทธรรม หาผู้เปรียบปาน
ในความเป็นผู้ขัดเกลาได้ไม่ง่าย เปรียบดัง
ธงชัยของวัดมหาวิหาร ได้สังวรรณนาไว้โดย
นัยอันวิจิตร คล้อยตามพระสัมพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐ. กระนั้น เพราะสังวรรณนานี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 21
มิได้อำนวยประโยชน์ไร ๆ แก่ชาวภิกษุใน
เกาะอื่น เพราะท่านเรียบเรียงไว้ด้วยภาษา
ชาวเกาะสิงหล ฉะนั้น ข้าพเจ้าผู้รำลึกอยู่
ด้วยดีโดยชอบ ถึงคำเชิญของพระเถระนาม
ว่า พุทธสิริ จึงจักเริ่มด้วยดี ซึ่งการสังวรรณ-
นานี้ อันควรแก่นัยพระบาลี ณ บัดนี้. และ
เมื่อจะเริ่มด้วยดี ซึ่งสังวรรณนานั้น จักเอา
มหาอรรถกถาเป็นโครงของสังวรรณนานั้นไม่
ละข้อความอันควร แม้จากวินิจฉัย ซึ่ง
ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามหาปัจจรี และ
อรรถกถาอันปรากฏด้วยดี โดยชื่อว่ากุรุนที
เป็นต้น กระทำเถรวาทไว้ในภายในแล้ว จึง
จักเริ่มต้นด้วยดีโดยชอบซึ่งสังวรรณนา ขอภิกษุ
ทั้งหลายปูนเถระ ปูนใหม่ และปานกลาง
ผู้มีจิตเลื่อมใสเคารพนับถือพระธรรมของ
พระตถาคตเจ้า ผู้มีดวงประทีปคือพระธรรม
จงตั้งใจฟังสังวรรณนานั้นของข้าพเจ้า โดย
เคารพเถิด.
พระอรรถกถาจารย์ชาวสิงหล มิได้
ละมติ (อธิบาย) ของท่านพุทธบุตรทั้งหลาย
ผู้รู้ธรรมวินัย เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้า
ตรัสไว้ ได้แต่อรรถกถาในปางก่อน. เพราะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 22
เหตุนั้นแล คำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา
ทั้งหมดยกเว้นคำที่เขียนด้วยความพลั้งพลาด
เสีย ย่อมเป็นประมาณแห่งบัณฑิตทั้งหลาย
ผู้มีความเคารพในสิกขาในพระศาสนานี้. ก็
เพราะแม้วรรณนานี้ จะแสดงข้อความแห่ง
คำทั้งหลายที่มาในพระสุตตันตะให้เหมาะสม
แก่พระสูตร ละทิ้งภาษาอื่นจากอรรถกถานั้น
เสียทีเดียว และย่นพลความพิสดาร ( คำ
ประพันธ์ที่พิสดาร ) ให้รัดกุมเข้า ก็จักไม่ให้
เหลือไว้ ซึ่งข้อวินิจฉัยทั้งปวง ไม่ข้ามลำดับ
พระบาลีที่เป็นแบบแผนอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรตามศึกษาวรรณนา
นี้โดยเอื้อเฟื้อแล.*
เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในคาถาเหล่านั้นว่า จักพรรณนาพระวินัย
ดังนี้ ผู้ศึกษาควรกำหนดพระวินัยก่อนว่า วินัยนั้น คืออะไร? เพราะฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงกล่าวคำนี้ว่า ที่ชื่อว่า วินัย ในที่นี้ประสงค์เอาวินัยปิฎกทั้งสิ้น.
ก็เพื่อจะสังวรรณนาพระวินัยนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวมาติกาดังต่อไปว่า
พระวินัยปิฎกนี้ ผู้ใดกล่าวไว้ กล่าว
ในกาลใด กล่าวไว้เพราะเหตุใด ผู้ใดทรงไว้
*นย. สารตฺถทีปนี ๑/๔๓-๔๗ ว่า เพราะแม้วรรณนานี้ ซึ่งจะแสดงข้อความแห่งถ้อยคำอันมา
ในพระสุตตันตะให้เหมาะสมกับพระสูตร ข้าพเจ้าก็จักละภาษาอื่นจากอรรถกถานั้นเสียเลยและ
ย่นพลความที่พิสดารให้รัดกุมเข้า ไม่ละทิ้งข้อวินิจทั้งปวงให้เหลือไว้ ไม่ข้ามลำดับพระบาลี
ที่เป็นแบบแผนอะไร ๆ แล้วจักรจนา, เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาควรตั้งใจสำเหนียกวรรณนานี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 23
ผู้ใดนำสืบมา และตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด
ข้าพเจ้ากล่าววิธีนี้แล้ว ภายหลังจักแสดง
เนื้อความแห่งปาฐะว่า " เตน " เป็นต้นโดย
ประการต่าง ๆ ทำการพรรณนาอรรถแห่ง
พระวินัย.
บรรดามาติกาเหล่านั้น คำว่า วุตฺต เยน ยทา ยสฺมา นี้
ท่านอาจารย์กล่าวหมายเอาคำมีอาทิอย่างนี้ก่อนว่า โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาค-
เจ้าประทับอยู่ ( ณ โคนต้นไม้สะเดาอันนเฬรุยักษ์สิงสถิต ) ใกล้เมืองเวรัญชา๑.
เพราะคำนี้มิใช่เป็นคำที่กล่าวให้ประจักษ์กับพระองค์เองแห่งพระผู้มีพระภาค-
เจ้า๒. เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงควรกล่าวตั้งปัญหานั่นดังนี้ว่า คำนี้ใครกล่าวไว้
กล่าวไว้ในกาลไหน และเพราะเหตุไร จึงกล่าวไว้. ( แก้ว่า ) คำนี้ท่านพระ-
อุบาลีเถระกล่าวไว้ ก็แลคำนั้น ท่านพระอุบาลีเถระกล่าวไว้ในคราวทำปฐม-
มหาสังคีติ (ในคราวทำสังคายนาใหญ่ครั้งแรก). อันชื่อว่า ปฐมมหาสังคีตินี้
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้กล่าวแล้วในปัญจสติกสังคีติขันธกะแม้ก็จริง
ถึงอย่างนั้น ๓ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในนิทานบัณฑิตควรทราบตามนัยนี้ แม้ใน
อรรถกถานี้.
๑. วิ.มหา. ๑/๑. ๒. นย. สารตฺถทิปนี ๑/๓๙ ว่า คือมิใช่เป็นพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ หรือเป็นคำที่ท่านกล่าวไว้ในเวลาที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่
๒. วิ. จลฺ . ๗/๓๗๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 24
พาหิรนิทานวรรณนา
[ปรารภมูลเหตุทำปฐมสังคายนา]
๑ความพิสดารว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลกทรง
บำเพ็ญพุทธกิจ ตั้งแต่ทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไปเป็นต้น จนถึงโปรด
สุภัททปริพาชกแล้วเสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในเวลา
ใกล้รุ่ง ในวันวิสาขปุณณมี ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ในสาลวัน อันเป็นที่เสด็จ
ประพาสของเจ้ามัลละทั้งหลาย ใกล้กรุงกุสินารา ท่านพระมหากัสสปผู้เป็น
พระสังฆเถระแห่งภิกษุประมาณ ๗ แสนรูป ซึ่งประชุมกันในสถานที่ปรินิพพาน
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ระลึกถึงคำที่สุภัททวุฑฒบรรพชิตกล่าว เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วได้ ๗ วันว่า อย่าเลย ผู้มีอายุทั้งหลาย !
ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกไปเลย ท่านทั้งหลายอย่าร่ำไรไปเลย พวกเราพ้น
ดีแล้วจากพระมหาสมณะพระองค์นั้น ด้วยว่าพวกเราถูกพระมหาสมณะ
พระองค์นั้น คอยรบกวนห้ามปรามว่า นี้สมควรแก่เธอทั้งหลาย นี้ไม่สมควร
แก่เธอทั้งหลาย ดังนี้ ก็บัดนี้พวกเราจักปรารถนากระทำกรรมใด ก็จักทำ
กรรมนั้น พวกเราจักไม่ปรารถนากระทำกรรมใด จักไม่ทำกรรมนั่น๒ ดังนี้
ดำริอยู่ว่า ข้อที่พวกปาปภิกษุ จะพึงเป็นผู้สำคัญเสียว่า ปาพจน์มีพระศาสดา
ล่วงไปแล้ว ดังนี้ ได้พรรคพวกแล้วพึงยังพระสัทธรรมให้อันตรธานได้ไม่นาน
เลย เรื่องนี้เป็นฐานะที่มีได้แน่. ความจริง พระวินัยยังตั้งอยู่ตราบใด
ปาพจน์ยังมีพระศาสดาไม่ล่วงไปแล้วตราบนั้น ข้อนี้สมด้วยพระดำรัสที่พระผู้มี-
๑. องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๙๐
๒. วิ. จลฺ. ๗ / ๓๘๐
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 25
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อานนท์ ! ธรรมวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว
แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายโดยกาลล่วง
ไปแห่งเรา๑ ดังนี้ อย่ากระนั้นเลย เราพึงสังคายนาพระธรรมและพระวินัย
ซึ่งจะเป็นวิธีที่พระศาสนานี้จะพึงดำรงมั่นตั้งอยู่สิ้นกาลนาน. อนึ่ง โดยเหตุที่
เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กัสสป ! เธอจักทรงผ้าบังสุกุลอันทำ
ด้วยป่านของเรา ซึ่งเราใช้นุ่งห่มแล้วหรือ ดังนี้ แล้วทรงอนุเคราะห์ด้วย
สาธารณบริโภคในจีวร และด้วยการทรงยกย่องไว้เทียบเทียมพระองค์ในอุตริ-
มนุสธรรม มีอนุปุพพวิหารเก้า และอภิญญาหกเป็นประเภท โดยนัยมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เราจำนงอยู่เพียงใด เราสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย
เทียว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงพร้อมซึ่งปฐมฌาน อยู่ได้เพียงนั้น ภิกษุทั้งหลาย !
แม้กัสสปจำนงอยู่เพียงใด เธอสงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ ย่อมเข้าถึงพร้อม
ซึ่งปฐมฌานอยู่ได้เพียงนั้นเหมือนกัน๒ ดังนี้ ความเป็นผู้ไม่มีหนี้อย่างอื่นอะไร
จักมีแก่เรานั้นได้, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเราว่า กัสสปนี้จักเป็นผู้ดำรง
วงศ์พระสัทธรรมของเรา ดังนี้แล้ว ทรงอนุเคราะห์ด้วยอสาธารณานุเคราะห์นี้
ดุจพระราชาทรงทราบพระราชโอรสผู้จะดำรงวงศ์สกุลของพระองค์แล้ว ทรง
อนุเคราะห์ด้วยการทรงมอบเกราะของพระองค์และพระอิสริยยศฉะนั้น มิใช่หรือ
ดังนี้ จึงยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัย๓
เหมือนอย่างที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ครั้นนั้นแล ท่านพระมหา -
กัสสป ได้เตือนภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย! สมัยหนึ่งเราพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากเมืองปาวา มาสู่
เมืองกุสินารา๔ ดังนี้เป็นต้น. สุภัททกัณฑ์ทั้งปวง ผู้ศึกษาพึงทราบโดยพิสดาร.
๑. ที. มหา. ๑๐ / ๑๗๘. ๒. นิทาน. ๑๖ / ๒๐๖ ๓. วิ. จุลฺ. ๗/๓๘๐.
๒. วิ. จุลฺ. ๗ /๓๗๙
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 26
[พระมหากัสสปชักชวนทำสังคายนา]
เบื้องหน้าแต่นั้น ท่านพระมหากัสสปได้กล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย !
เอาเถิด เราทั้งหลายจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัยกัน เพราะว่า ในกาล
เบื้องหน้า อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกขัดขวาง อวินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะ
ถูกขัดขวาง ในกาลภายหน้า พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะ
หย่อนกำลัง พวกอวินัยวาทีจะมีกำลัง พวกวินัยวาทีจะหย่อนกำลัง๑ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายได้เรียนท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ถ้าอย่างนั้น ขอพระเถระ
โปรดคัดเลือกภิกษุทั้งหลายเถิด.๒
[พระมหากัสสปคัดเลือกภิกษุ ๔๙๙ รูป]
พระเถระเว้นภิกษุผู้เป็นปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระ-
อนาคามี และพระขีณาสพสุกขวิปัสสก ผู้ทรงพระปริยัติ คือนวังคสัตถุศาสน์
ทั้งสิ้นเสียจำนวนหลายร้อยและหลายพัน เลือกเอาเฉพาะพระภิกษุขีณาสพ
เท่านั้น มีจำนวน ๔๙๙ รูป ผู้ทรงไว้ซึ่งประเภทแห่งสรรพปริยัติ คือ
พระไตรปิฎก ได้บรรลุปฏิสัมภิทามีอานุภาพมาก แตกฉานในไตรวิชชาเป็นต้น
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นสู่เอตทัคคะโดยมาก ผู้ซึ่งพระธรรมสังคาห-
กาจารย์หมายถึงจึงกล่าวคำนี้ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปได้คัดเลือก
พระอรหันต์ ๔๙๙ รูป๓ ดังนี้เป็นต้น.
[ทำสังคายนาจะเว้นพระอานนท์ไม่ได้]
ถามว่า ก็พระเถระทำให้หย่อนอยู่ ๑ รูป เพื่อใคร ? แก้ว่า เพื่อให้
โอกาสแก่ท่านพระอานนทเถระ. จริงอยู่ การสังคายนาธรรมไม่อาจทำทั้งร่วม
๑-๒ วิ. จุลฺ. ๔ / ๓๘๐. ๓. วิ. จุล. ๗ / ๓๗๕-๓๘๐
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 27
ทั้งแยกจากท่านพระอานนท์นั้นได้ เพราะท่านพระอานนท์นั้นยังเป็นพระเสขะ
มีกิจจำต้องทำอยู่, ฉะนั้นจึงไม่อาจทำร่วมกับท่านได้, แต่เพราะวังคสัตถุศาสน์
มีสุตตะ เคยยะ เป็นต้น อะไร ๆ ที่พระทศพลแสดงแล้ว ชื่อว่าท่านมิได้รับ
เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี, เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจจะเว้น
ท่านได้, ถามว่า ถ้าเมื่อไม่อาจทำอย่างนั้นได้ ถึงแม้ท่านยังเป็นพระเสขะอยู่
พระเถระควรเลือก เพราะเป็นผู้มีอุปการะมากแก่การสังคายนาพระธรรม
เมื่อมีความจำเป็นต้องเลือกอย่างนั้น เพราะเหตุไร พระเถระจึงไม่เลือกท่าน.
แก้ว่า เพราะจะเว้นคำค่อนขอดของผู้อื่น. ความจริง พระเถระเป็นผู้คุ้นเคย
ในท่านพระอานนท์อย่างยิ่งยวด. จริงอย่างนั้น แม้เมื่อศีรษะหงอกแล้ว ท่าน
พระมหากัสสป ก็ยังเรียนท่านพระอานนท์นั้นโดยใช้กุมารกวาทะว่า เด็กคนนี้
ไม่รู้จักประมาณเสียเลย ดังนี้. อนึ่ง ท่านพระอานนท์นี้ประสูติในศากยสกุล
เป็นพระภาดาของพระตถาคต เป็นโอรสของพระเจ้าอาว์, จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
จะสำคัญในพระมหากัสสปเถระนั้นเหมือนถึงฉันทาคติ จะพึงกล่าวค่อนขอดว่า
พระเถระเว้นภิกษุทั้งหลายผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทาเป็นอเสขะเสียเป็นอันมาก ได้
เลือกเอาพระอานนท์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเป็นเสขะ. พระเถระเมื่อจะเว้นคำ
ค่อนขอดของผู้อื่นนั้นเสีย, คิดว่า การสังคายนาไม่อาจทำโดยเว้นพระอานนท์
เสีย เราจักรับเอาพระอานนท์เข้าด้วย ตามอนุมัติของภิกษุทั้งหลายเท่านั้น
จึงมิได้เลือกพระอานนท์นั้นเข้าด้วย.
[ภิกษุทั้งหลายขอให้เลือกพระอานนท์]
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพากันวิงวอนพระเถระ เพื่อต้องการให้เลือก
พระอานนท์เสียเองทีเดียว เหมือนอย่างที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า พวก
ภิกษุได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหากัสสปว่า ท่านผู้เจริญ ! ถึงท่านอานนท์นี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 28
จะยังเป็นเสขะ เป็นผู้ไม่ควรถึงความลำเอียงเพราะความรัก ความชัง ความหลง
ความกลัวก็จริง, ถึงกระนั้นธรรมและวินัย ที่ท่านได้เล่าเรียนในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีมาก, ท่านผู้เจริญ ! ถ้ากระนั้น ขอพระเถระโปรดเลือก
พระอานนท์เข้าด้วยเถิด๑ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป จึงได้เลือกท่าน
อานนท์เข้าด้วย ๒ รวมกับท่านนั้นที่ท่านพระมหากัสสปเลือกตามอนุมัติของ
ภิกษุทั้งหลาย ๓ จึงเป็นพระเถระ ๕๐๐ รูป ด้วยประการฉะนี้.
[เลือกกรุงราชคฤห์เป็นที่ทำปฐมสังคายนา]
ครั้งนั้นแล ภิกษุเถระทั้งหลายได้มีความปริวิตกอย่างนี้ ว่า พวกเรา
จะพึงสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ณ สถานที่ไหนหนอแล ครั้งนั้นแล
ภิกษุเถระทั้งหลายได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า กรุงราชคฤห์แล มีที่โคจรกว้างขวาง
มีเสนาสนะมากมาย, อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์
ทำสังคายนาพระธรรมและพระวินัยเถิด, ภิกษุเหล่าอื่นไม่ควรเข้าจำพรรษาใน
กรุงราชคฤห์. ๔ ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงปรึกษาตกลงกันดังนั้น.
แก้ว่า เพราะจะมีวิสภาคบุคคลบางคนเข้าไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึงคัดค้าน
ถาวรกรรมของพวกเรานี้เสีย. ครั้นนั้น ท่านพระมหากัสสป จึงสวดประกาศ
ด้วยญัตติทุติยกรรม. ญัตติทุติยธรรม ๕ นั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าว
ไว้ในสังคีติขันธกะนั้นแล.
[พระมหาเถระแยกกันเดินทางไปสู่กรุงราชคฤห์]
ครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระ ทราบว่า นับแต่วันที่พระตถาคต
ปรินิพพานมา เมื่อวันสาธุกีฬาและวันบูชาพระธาตุล่วงไปได้อย่างละ ๗ วัน
เป็นอันล่วงไปแล้วกึ่งเดือน, บัดนี้ฤดูคิมหันต์ยังเหลืออยู่เดือนครึ่ง ดิถีที่จะเข้า
๑-๒-๓. วิ. จุลฺ. ๗/๓๘๐-๓๘๑. ๔. ส. นิทาน.๑๖/๒๕๘. ๕.วิ. จุลฺ. ๗/๓๘๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 29
จำพรรษาก็ใกล้เข้ามาแล้ว จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พวกเราไปยังกรุง-
ราชคฤห์กันเถิด แล้วได้พาเอาภิกษุสงฆ์กึ่งหนึ่งเดินไปทางหนึ่ง. พระอนุรุทธเถระ
ก็พาเอาภิกษุสงฆ์กึ่งหนึ่งเดินไปอีกทางหนึ่ง. ท่านพระอานนทเถระถือเอาบาตร
และจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุสงฆ์แวดล้อม มีความประสงค์จะเดิน
ทางผ่านกรุงสาวัตถีไปยังกรุงราชคฤห์ ก็หลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี.
[พระอานนท์ไปถึงที่ไหนมีเสียงร้องไห้ในที่นั้น]
ในสถานที่ที่พระอานนท์ไปแล้ว ๆ ได้มีการร้องไห้ร่ำไรมากมายว่า
ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! ท่านพักพระศาสดาไว้ที่ไหน จึงมาแล้ว ก็เมื่อพระเถระ
ไปถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ ได้มีการร้องไห้ร่ำไรมากมาย เหมือนในวันที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานฉะนั้น.
[ พระอานนท์ปัดกวาดเสนาสนะที่เคยประทับ ]
ได้ทราบว่า ในกรุงสาวัตถีนั้น ท่านพระอานนท์ได้ปลอบโยนมหาชน
นั้นให้เบาใจด้วยธรรมกาอันปฏิสังยุตด้วยไตรลักษณ์ มีความไม่เที่ยงเป็นต้น
แล้วเข้าไปยังพระเชตวัน เปิดประตูพระคันธกุฎีที่พระทศพลเคยประทับ แล้ว
นำเตียงและตั่งออกมาเคาะตีปัดกวาดพระคันธกุฎี เก็บหยากเยื่อดอกไม้ที่
เหี่ยวแห้งทิ้งเสีย แล้วนำเอาเตียงและตั่งกลับเข้าไปตั้งไว้ในที่เดิมอีก ได้ทำวัตร
ทุกอย่างที่ควรทำ เหมือนในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังดำรงอยู่ฉะนั้น.
[พระอานนท์ฉันยาระบาย]
ในกาลนั้น พระเถระ เพราะเป็นผู้มากไปด้วยการยืนและการนั่ง
จำเดิมแต่กาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานมา เพื่อชำระกายที่มีธาตุหนาแน่น
ให้สบาย ในวันที่สอง จึงนั่งฉันยาระบายที่เจือด้วยน้ำนมอยู่ในวิหารนั่นเอง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 30
ซึ่งท่านหมายถึง จึงได้กล่าวคำนี้กะมานพที่สุภมานพส่งไปว่า มิใช่กาลเสียแล้ว
มานพ ! เผอิญวันนี้เราดื่มยาระบายเสียแล้ว, ถ้ากระไรเอาไว้พรุ่งนี้เถิด เรา
จึงจะเข้าไป* ดังนี้. ในวันรุ่งขึ้นพระเถระ มีพระเจตกเถระเป็นปัจฉาสมณะ
ได้ไป (ยังนิเวศน์ของสุภมานพ) ถูกสุมานพถาม จึงได้แสดงพระสูตรที่ ๑๐
ชื่อสุภสูตร ในทีฆนิกาย. ในกาลนั้นพระเถระสั่งให้นายช่างทำการปฏิสังขรณ์
สถานที่ปรักหักพังในพระเชตวันวิหารแล้ว เมื่อวันวัสสูปนายิกาใกล้เข้ามาได้
ไปยังกรุงราชคฤห์. ถึงพระมหากัสสปเถระและพระอนุรุทธเถระก็พาเอาภิกษุ
สงฆ์ทั้งปวงไปสู่กรุงราชคฤห์เหมือนกัน.
[พระเถระทั้งหลายคิดซ่อมวิหาร ๑๘ แห่ง]
ก็โดยสมัยนั้นแล ในกรุงราชคฤห์มีมหาวิหารอยู่ ๑๘ ตำบล มหาวิหาร
เหล่านั้นแม้ทั้งหมดได้รกรุงรังด้วยของที่ถูกทิ้งและตกเกลื่อน. จริงอยู่ พวกภิกษุ
ทั้งหมดพากันถือเอาบาตรและจีวรของตน ๆ ได้ทอดทิ้งวิหารและบริเวณไปใน
สถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพาน. พระเถระทั้งหลายในวิหารเหล่านั้น
เพื่อที่จะบูชาพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าและเพื่อจะเปลื้องวาทะของพวก
เดียรถีย์เสีย จึงคิดกันว่า ตลอดเดือนแรก พวกเราจะทำการปฏิสังขรณ์ที่ชำรุด
ทรุดโทรม. ก็พวกเดียรถีย์พึงกล่าวว่า เหล่าสาวกของพระสมณโคดม เมื่อ
พระศาสดายังดำรงอยู่เท่านั้น จึงปฏิบัติวิหาร เมื่อปรินิพพานแล้ว ก็พากัน
ทอดทิ้งเสีย. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ก็เพื่อจะเปลื้องวาทะของพวกเดียรถีย์
เหล่านั้น พระเถระทั้งหลายจึงได้คิดกันอย่างนั้น. ข้อนี้สมจริงดังพระธรรม-
* วิ. จุลฺ. ๗ / ๓๘๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 31
สังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นแล พระภิกษุเถระทั้งหลายได้มีความปริวิตก
ดังนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พระผู้พระภาคเจ้าแลทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์
ที่ชำรุดทรุดโทรม เอาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พวกเราจะทำการปฏิสังขรณ์ที่
ชำรุดทรุดโทรมตลอดเดือนแรก จักประชุมกันทำสังคายนาพระธรรมและพระ-
วินัยตลอดเดือนอันมีในท่ามกลาง* ดังนี้.
[พระเถระไปทูลขอหัตถกรรมจากพระเจ้าอชาติศัตรู]
ในวันที่ ๒ พระเถระเหล่านั้นได้ไปยืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง.
พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จมาไหว้แล้ว รับสั่งถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ !
พระคุณเจ้าทั้งหลาย พากันมาเพราะเหตุไร ดังนี้ แล้วจึงทรงรับสั่งย้อนถาม
ถึงกิจที่พระองค์เองควรทำ. พระเถระทั้งหลายได้ทูลบอกหัตถกรรมเพื่อประ-
โยชน์แก่การปฏิสังขรณ์มหาวิหารทั้ง ๑๘ ตำบล.
[พระราชาทรงอุปถัมภ์กิจสงฆ์ทุกอย่าง]
พระราชาทรงรับว่า ดีละ เจ้าข้า แล้วได้พระราชทานพวกมนุษย์
ผู้ทำหัตถกรรม. พระเถระทั้งหลายสั่งให้ปฏิสังขรณ์วิหารทั้งหมดเสร็จสิ้นเดือน
แรก แล้วได้ทูลให้พระราชาทรงทราบว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร !
การปฏิสังขรณ์วิหารเสร็จสิ้นแล้ว บัดนี้อาตมภาพทั้งหลาย จะทำการสังคายนา
พระธรรมและพระวินัย
ราชา. ดีละ เจ้าข้า ! ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงหมดความคิดระแวง
สงสัยกระทำเถิด อาณาจักรจงไว้เป็นภาระของข้าพเจ้า ธรรมจักรจงเป็นภาระ
ของพระคุณเจ้าทั้งหลาย ขอพระคุณเจ้าโปรดใช้ข้าพเจ้าเถิด เจ้าข้า ! จะให้
ข้าพเจ้าทำอะไร.
* วิ. จุลฺ. ๗ / ๓๘๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 32
พระเถระ. ขอถวายพระพรมหาบพิตร ! ขอพระองค์โปรดเกล้า ฯ
ให้สร้างสถานที่นั่งประชุมสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้ทำสังคายนา.
ราชา. จะให้ข้าพเจ้าสร้าง ณ ที่ไหน เจ้าข้า ?
เถระ. ควรสร้างที่ประตูถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภารบรรพต ขอถวาย
พระพร.
[พระราชารับสั่งให้ประดับถ้ำดุจวิมานพรหม]
พระเจ้าอชาตศัตรูทรงรับสั่งว่า ได้ เจ้าข้า ! ดังนี้ แล้วรับสั่งให้สร้าง
มณฑปที่มีเครื่องประดับอันเป็นสาระซึ่งควรทัศนา เช่นกับสถานที่อันวิสสุกรรม
เทพบุตรนิรมิตไว้ มีฝาเสาและบันไดอันนายช่างจำแนกไว้ดี วิจิตรด้วยมาลา-
กรรมและลดากรรมนานาชนิด ราวกะว่าจะครอบงำเสียซึ่งสมบัติแห่งราชมณ-
เฑียรของพระมหากษัตริย์ ดุจประหนึ่งว่าจะเยาะเย้ยสิริแห่งเทพวิมาน ปาน
ประหนึ่งว่าเป็นสถานที่อาศัยอยู่แห่งสิริ ดุจท่าเป็นที่ประชุมชั้นเอกของเหล่าวิหค
คือนัยนาแห่งเทพดาและมนุษย์ และประดุจสถานที่รื่นรมย์ในโลกอันเขา
ประมวลจัดสรรไว้ ตกแต่งมณฑปนั้นให้เป็นเช่นกับวิมานพรหมมีเพดานงดงาม
รุ่งเรืองดุจสลัดอยู่ซึ่งพวงดอกกุสุมที่ห้อยย้อยนานาชนิด วิจิตรด้วยเครื่องบูชา
ดอกไม้ต่าง ๆ มีการงานอันควรทำที่พื้นทำสำเร็จเรียบร้อยดีแล้ว ประหนึ่งว่ามี
พื้นที่บุด้วยแก้วมณีอันวิจิตรด้วยรัตนะฉะนั้น ภายในมหามณฑปนั้นทรงรับสั่ง
ให้ปูเครื่องลาดอันเป็นกัปปิยะ ๕๐๐ ซึ่งคำนวณค่ามิได้ สำหรับภิกษุ ๕๐๐ รูป
แล้วให้ปูเถรอาสน์พิงข้างด้านทิศทักษิณ ผินหน้าไปทางทิศอุดร ในท่ามกลาง
มณฑปให้ตั้งธรรมาสน์อันควรเป็นที่ประทับนั่ง ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ผินหน้าไปทางทิศบูรพาและทรงวางพัดวีชนีอันวิจิตรด้วยงาไว้บนธรรมาสน์นั่น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 33
แล้วรับสั่งให้เผดียงแก่ภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ! กิจของข้าพเจ้าสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
[พวกภิกษุเตือนพระอานนท์มิให้ประมาท]
พวกภิกษุได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส ! การประชุมจะมีใน
วันพรุ่งนี้ แต่ท่านยังเป็นเสขะบุคคลอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านไม่ควรไปสู่
ที่ประชุม ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้.
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ดำริว่า การประชุมจะมีในวันพรุ่งนี้
ก็ข้อที่เรายังเป็นเสขะอยู่ จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้นไม่สมควรแก่เราแล แล้วได้
ยับยั้งอยู่ด้วยกายคตาสติตลอดราตรีเป็นอันมากทีเดียว ในเวลาราตรีใกล้รุ่ง
ลงจากที่จงกรมแล้ว เข้าไปยังวิหาร คิดว่า จักพักนอน ได้เอนกายลง. เท้า
ทั้งสองพ้นจากพื้น แต่ศีรษะไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะ
ทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. ความจริง ท่านพระอานนท์นี้ยับยั้งอยู่แล้วใน
ภายนอกด้วยการจงกรม เมื่อไม่สามารถจะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ จึงคิดว่า
พระผู้มีพระเจ้าได้ตรัสคำนี้แก่เรามิใช่หรือว่า อานนท์ ! เธอเป็นผู้ได้ทำบุญ
ไว้แล้ว จงหมั่นประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้หาอาสวะมิได้โดยฉับพลัน*
อันธรรมดาว่าโทษแห่งพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่มี เราปรารภ
ความเพียรมากเกินไป เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
เอาเถิด ! เราจะประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ ดังนี้ จึงลงจากที่จงกรม
ยืนล้างเท้าในที่ล้างเท้าแล้วเข้าไปสู่วิหารนั่งบนเตียง ดำริว่า จักพักผ่อนสัก
หน่อยหนึ่ง ได้เอนกายลงบนเตียง. เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ถึงหมอน
ในระหว่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. ความเป็น
* ที. มหา. ๑๐ / ๑๖๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 34
พระอรหันต์ของพระเถระเว้นจากอิริยาบถ ๔. เพราะฉะนั้น เมื่อมีผู้ถามว่า
ในพระศาสนานี้ ภิกษุรูปไหน ไม่นอน ไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่จงกรม ได้บรรลุ
พระอรหัต จะตอบว่า พระอานนทเถระ ก็ควร.
[พระอานนท์ดำดินไปเข้าประชุมสงฆ์]
ครั้งนั้นในวันที่ ๒ ภิกษุเถระทั้งหลายทำภัตกิจเสร็จ เก็บบาตรและ
จีวรแล้ว ไปประชุมกันที่ธรรมสภา. ส่วนพระอานนทเถระมีความประสงค์จะ
ให้ผู้อื่นรู้การบรรลุความเป็นพระอรหันต์ของตน มิได้ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายเมื่อจะนั่งบนอาสนะของตน ๆ ตามลำดับผู้แก่ ได้นั่งเว้นอาสนะ
ไว้สำหรับพระอานนท์เถระ. เมื่อภิกษุบางพวกในธรรมสภานั้นถามว่า นั่นอาสนะ
ใคร ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ของพระอานนท์ ภิกษุทั้งหลายถามว่า ก็ท่าน
พระอานนท์ไปไหนเล่า ? ในสมัยนั้น พระเถระคิดว่า บัดนี้เป็นเวลาที่เราจะไป
เมื่อจะแสดงอานุภาพของตน ในลำดับนั้น จึงดำลงในแผ่นดินแล้วแสดงตน
บนอาสนะของตนนั้นเอง. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มาทางอากาศแล้วนั่ง ก็มี.
[พรเถระเริ่มปรึกษาและสมมติตนเป็นผู้ปุจฉาวิสัชนา]
เมื่อพระอานนท์นั้นนั่งแล้วอย่างนั้น พระมหากัสสปเถระ จึงปรึกษา
ภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พวกเราจะสังคายนาอะไรก่อน พระธรรม
หรือพระวินัย ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ข้าแต่ท่านพระมหากัสสป ! ชื่อว่าพระวินัย
เป็นอายุของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยยังตั้งอยู่ พระพุทธศาสนาจัดว่ายัง
ดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น พวกเราจะสังคายนาพระวินัยก่อน .
พระมหากัสสป. จะให้ใครเป็นธุระ ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 35
ภิกษุทั้งหลาย. ให้ท่านพระอุบาลี.
ถามว่า พระอานนท์ไม่สามารถหรือ ?
แก้ว่า ไม่สามารถหามิได้. ก็อีกอย่างหนึ่งแล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยังทรงพระชนม์อยู่นั่นเอง ทรงอาศัยวินัยปริยัติ จึงตั้งท่านพระอุบาลีไว้ใน
เอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาภิกษุทั้งหลาย สาวกของเราผู้ทรงวินัย
อุบาลีเป็นเลิศดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงปรึกษากันว่า พวกเราจะถาม
พระอุบาลีเถระสังคายนาพระวินัย ดังนี้ ลำดับนั้นพระเถระก็ได้สมมติตนเอง
เพื่อต้องการถามพระวินัย. ฝ่ายพระอุบาลีเถระก็ได้สมมติตนเพื่อประโยชน์
แก่การวิสัชนา.
[คำสมมติตนปุจฉาวิสัชนาพระวินัย]
ในการสมมตินั้น มีพระบาลีดังต่อไปนี้ : -
ครั้นนั้นแล ท่านพระมหากัสสป เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้
ข้าพเจ้าพึงถามพระวินัยกะพระอุบาลี.๑
ฝ่ายพระอุบาลีก็เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้ ข้าพเจ้าผู้อันท่านพระมหา-
กัสสปถามแล้วพึงวิสัชนา ๒ พระวินัย.
[ปุจฉาและวิสัชนาพระวินัย]
ท่านพระอุบาลีครั้นสมมติตนอย่างนั้นแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะห่มจีวร
เฉวียงบ่า ไหว้ภิกษุเถระทั้งหลายแล้วนั่งบนธรรมาสน์จับพัดวีชนี อันวิจิตร
๑-๒ วิ. จุลฺ. ๗ / ๓๘๐.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 36
ด้วยงา. คราวนั้นพระมหากัสสปนั่งบนเถรอาสน์ แล้วถามพระวินัยกะท่าน
พระอุบาลีว่า ท่านอุบาลี ! ปฐมปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ณ
ที่ไหน ?
พระอุบาลี. ที่เมืองเวสาลี ขอรับ.
พระมหากัสสป. ทรงปรารภใคร ?
พระอุบาลี. ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร.
พระมหากัสสป. ทรงปรารภในเพราะเรื่องอะไร ?
พระอุบาลี. ในเพราะเรื่องเมถุนธรรม.
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอุบาลีถึงวัตถุบ้าง
นิทานบ้าง บุคคลบ้าง บัญญัติบ้าง อนุบัญญัติบ้าง อาบัติบ้าง อนาบัติบ้าง
แห่งปฐมปาราชิก.* เหมือนอย่างว่าท่านพระมหากัสสป ถามถึงวัตถุบ้าง ฯลฯ
ถามถึงอนาบัติบ้าง แห่งปฐมปาราชิกฉันใด ก็ถามถึงวัตถุบ้าง ฯลฯ อนาบัติ
บ้าง แห่งทุติยปาราชิกฉันนั้น. . . แห่งตติยปาราชิกฉันนั้น. . . ถามถึงวัตถุบ้าง
ฯลฯ อนาบัติบ้าง แห่งจตุตถปาราชิกก็ฉันนั้น. พระอุบาลีเถระอันพระมหา-
กัสสปถามแล้ว ๆ ก็ได้วิสัชนาแล้ว.
[รวมรวมพระวินัยของภิกษุไว้เป็นหมวด ๆ]
ลำดับนั้น พระเถระทั้งหลาย ยกปาราชิก ๔ เหล่านี้ขึ้นสู่สังคหะ
(การสังคายนา) ว่า นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์ แล้วได้ตั้งสังฆาทิเสส ๑๓ ไว้ว่า
เตรสกัณฑ์ ตั้ง ๒ สิกขาบทไว้ว่า อนิยต ตั้ง ๓๐ สิกขาบทไว้ว่า นิสสัคคิย -
ปาจิตตีย์ ตั้ง ๙๒ สิกขาบทไว้ว่า ปาจิตตีย์ ตั้ง ๔ สิกขาบทไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ
ตั้ง ๗๕ สิกขาบทไว้ว่า เสขิยะ ( และ) ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า อธิกรณ-
สมถะ ดังนี้.
* วิ. จุลฺ. ๗ / ๓๘๒-๓๘๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 37
[รวบรวมวินัยของภิกษุณีเป็นหมวด ๆ]
พระเถระทั้งหลายครั้นยกมหาวิภังค์ขึ้นสู่สังคหะอย่างนี้แล้ว จึงตั้ง ๘
สิกขาบท ในภิกษุณีวิภังค์ไว้ว่า นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์ ตั้ง ๑๗ สิกขาบทไว้ว่า
สัตตรสกัณฑ์ ตั้ง ๓๐ สิกขาบทไว้ว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ตั้ง ๑๖๖ สิกขาบท
ไว้ว่า ปาจิตตีย์ ตั้ง ๘ สิกขาบทไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ ตั้ง ๗๕ สิกขาบทไว้ว่า
เสขิยะ (และ) ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า อธิกรณสมถะ ดังนี้.
พระเถระทั้งหลาย ครั้นยกภิกษุวิภังค์ขึ้นสู่สังคหะอย่างนี้แล้วจึงได้
ยกแม้ขันธกะและบริวารขึ้น (สู่สังคายนา) โดยอุบายนั้นนั่นแล. พระวินัยปิฎก
พร้อมทั้งอุภโตวิภังค์ขันธกะและบริวาร พระเถระทั้งหลายยกขึ้นสู่สังคหะแล้ว
ด้วยประการฉะนี้.
พระมหากัสสปเถระ ได้ถามวินัยปิฎกทั้งหมด. พระอุบาลีเถระก็ได้
วิสัชนาแล้ว. ในที่สุดแห่งการปุจฉาและวิสัชนา พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้
ทำการสาธยายเป็นคณะ โดยนัยที่ยกขึ้นสู่สังคหะนั้นแล. ในอวสานแห่งการ
สังคายนาพระวินัย พระอุบาลีเถระวาพัดวีชนีอันขจิตด้วยงาแล้ว ลงจาก
ธรรมาสน์ไหว้พวกภิกษุผู้แก่แล้วนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตน.
[เริ่มสังคายนาพระสูตร]
ท่านพระมหากัสสป ครั้นสังคายนาพระวินัยแล้ว ประสงค์จะสังคายนา
พระธรรม จึงถามภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อพวกเราจะสังคายนาพระธรรม ควรจะ
ทำใครให้เห็นธุระ สังคายนาพระธรรม ?
ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ให้ท่านพระอานนทเถระ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 38
[คำสวดสมมติปุจฉาวิสัชนาพระสูตร]
ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้
ข้าเจ้าพึงถามพระธรรมกะท่านพระอานนท์.๑
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ก็เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้
ข้าพเจ้าอันพระมหากัสสปถามแล้วพึงวิสัชนา ๒ พระธรรม
[ปุจฉาและวิสัชนาพระสูตร]
ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ลุกขึ้นจากอาสนะห่มจีวรเฉวียงบ่า ไหว้
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้วนั่งบนธรรมสาสน์จับพัดวีชนีอันขจิตด้วยงา. พระมหา-
กัสสปะเถระ ถามพระธรรมกะพระอานนทเถระว่า อานนท์ผู้มีอายุ ! พรหมชาล-
สูตรพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ณ ที่ไหน ?
พระอานนท์. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตรัสที่พระตำหนักหลวงในพระราช
อุทยานชื่ออัมพลัฏฐิกา ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทาต่อกัน
พระมหากัสสป. ทรงปรารภใคร ?
พระอานนท์. ทรงปรารภสุปปิยปริพาชก และพรหมทัตตมานพ.
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอานนท์ถึงนิทานบ้าง บุคคลบ้าง
แห่งพรหมชาลสูตร.
พระมหากัสสป. ท่านอานนท์ผู้มีอายุ ! ก็สามัญญผลสูตร พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัส ณ ที่ไหน
๑-๒. วิ. จุลฺ. ๗ / ๓๘๔
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 39
พระอานนท์. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ตรัส ณ ที่สวนอัมพวันของหมอชีวก
ใกล้กรุงราชคฤห์.
พระมหากัสสป. ทรงปรารภใคร ?
พระอานนท์. ทรงปรารภพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอานนท์ถึงนิทานบ้าง
บุคคลบ้าง แห่งสามัญญผลสูตร. ถามนิกายทั้ง ๕ โดยอุบายนี้นั่น* แล
[นิกาย ๕]
ที่ชื่อว่านิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตร-
นิกาย ขุททกนิกาย. บรรดานิกายเหล่านั้น พระพุทธพจน์ที่เหลือยกเว้น ๔
นิกายเสีย ชื่อว่าขุททกนิกาย. ในขุททกนิกายนั้น พระวินัย ท่านอุบาลีเถระ
ได้วิสัชนาแล้ว. ขุททกนิกายที่เหลือ และอีก ๔ นิกาย พระอานนทเถระวิสัชนา.
[พระพุทธพจน์มีจำนวนต่าง ๆ กัน]
พระพุทธพจน์แม้ทั้งหมดนี้นั้น พึงทราบว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรส
มี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจธรรมและวินัย มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจปฐมะ มัชฌิมะ
ปัจฉิมะ อนึ่ง มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจปิฎก มี ๕ อย่าง ด้วยอำนาจนิกาย มี ๙
อย่าง ด้วยอำนาจองค์ มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยอำนาจพระธรรมขันธ์.
[พระพุทธพจน์มีอย่างเดียว]
พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรสอย่างไร ? คือ ตาม
ความเป็นจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณจนถึง
* วิ. จุลฺ. ๗ / ๓๘๔ - ๓๘๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 40
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างนี้ทรงพร่ำสอนเทวดา
มนุษย์ นาค และยักษ์ หรือทรงพิจารณาตลอดเวลา ๔๕ ปี ได้ตรัสพระพุทธพจน์
ใดไว้ พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดมีรสอย่างเดียว คือมีวิมุตติเป็นรสเท่านั้น.
พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรส ด้วยประการฉะนี้.
[ พระพุทธพจน์มี ๒ อย่าง ]
พระพุทธพจน์ชื่อว่ามี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจธรรมและวินัยอย่างไร ?
คือ อันพระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้นั่นแล ย่อมถึงการนับว่า พระธรรมและวินัย.
บรรดาธรรมและวินัยนั้น วินัยปิฎก ชื่อว่าวินัย. พระพุทธพจน์ที่เหลือชื่อว่า
ธรรม. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระมหากัสสปได้กล่าวไว้แล้วว่า ผู้มีอายุ!
อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงสังคายนาธรรมและวินัย และว่า เราพึงถามพระวินัย
กะท่านอุบาลี พึงถามพระธรรมกะท่านอานนท์ ดังนี้. พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามี
๒ อย่าง ด้วยอำนาจธรรมและวินัย ด้วยประการฉะนี้
[พระพุทธพจน์มี ๓ อย่าง]
พระพุทธพจน์มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจปฐมะ มัชฌิมะ และปัจฉิมะ
อย่างไร ? คืออันที่จริง พระพุทธพจน์นี้ทั้งหมดนั่นแล แบ่งประเภทเป็น ๓
คือ ปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์ (และ) ปัจฉิมพุทธพจน์
บรรดาพระพุทธพจน์ ๓ อย่างนั้น พระพุทธพจน์ว่า
เราแสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างผู้ทำเรือน
เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร มีความ
เกิดเป็นอเนก ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป แนะ
นายช่างผู้ทำเรือน เราพบเจ้าแล้ว เจ้าจัก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 41
สร้างเรือน (คืออัตภาพของเรา ไม่ได้อีก
ต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว
ยอดเรือน (คืออวิชชา) เรารื้อเสียแล้ว จิต
ของเราได้ถึงพระนิพพานมีสังขารไปปราศ
แล้ว เราได้บรรลุความสิ้นไปแห่งตัณหา
ทั้งหลาย๑ แล้ว ดังนี้
นี้ชื่อว่าปฐมพุทธพจน์. อาจารย์บางพวกกล่าวถึงอุทานคาถาในขันธกะ
ว่า เมื่อใดแลธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ ๒ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่าปฐมพุทธพจน์.
ก็คาถานั้นเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญู ทรง
พิจารณาปัจจยาการ ในพระญาณอันสำเร็จด้วยโสมนัส ในวันปาฏิบท บัณฑิต
พึงทราบว่า อุทานคาถา. อนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ตรัสพระดำรัสใด ในคราว
ปรินิพพานว่า ภิกษุทั้งหลายเอาเถิด บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขาร
ทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงให้ถึงพร้อมด้วย
ความไม่ประมาทเถิด ๓ นี้ชื่อว่าปัจฉิมพุทธพจน์.
พระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในระหว่างแห่งกาลทั้ง ๒
นั้น ชื่อว่ามัชฌิมพุทธพจน์. พระพุทธพจน์ชื่อว่ามี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจเป็น
ปฐมะ มัชฌิมะ และปัจฉิมะ ด้วยประการฉะนี้.
[ปิฎก ๓]
พระพุทธพจน์ทั้งปวงเป็น ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปิฎกอย่างไร ?
ก็พระพุทธพจน์แม้ทั้งปวงมีอยู่ ๓ ประการเท่านั้น คือพระวินัยปิฎก พระ-
สุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก. ใน ๓ ปิฎกนั้น พระพุทธพจน์นี้คือ
๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๕. ๒. วิ. มหา ๔/๔. ๓. ที. วิ. มหา.๑๐/๑๘๐
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 42
ประมวลพระพุทธวจนะแม้ทั้งหมด ทั้งที่ร้อยกรองในปฐมสังคายนา ทั้งที่
ร้อยกรองในภายหลัง เป็นปาฏิโมกข์ ๒ ฝ่าย วิภังค์ ๒ ขันธกะ ๒๒ บริวาร
๑๖ ชื่อวินัยปิฎก. พระพุทธวจนะนี้คือ ทีฆนิกายเป็นที่รวบรวมพระสูตร
๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น มัชฌิมนิกาย เป็นที่รวบรวมพระสูตร
๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น สังยุตตนิกาย เป็นที่รวบรวมพระสูตร
๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น อังคุตตรนิกาย เป็นที่รวบรวม
พระสูตร ๙,๕๕๗ สูตร มีจิตตปริยาทานสูตรเป็นต้น ขุททกนิกาย ๑๕ ประเภท
ด้วยอำนาจแห่งขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมาน-
วัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน
พุทธวงศ์ จริยาปิฎก ชื่อสุตตันตปิฎก. พระพุทธพจน์นี้คือธัมมสังคิณี วิภังค์
ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน ชื่ออภิธรรมปิฎก.
[อรรถาธิบายคำว่าวินัย]
ในพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมนั้น
พระวินัย อันบัณฑิตผู้รู้อรรถแห่ง
พระวินัยทั้งหลายกล่าวว่า วินัย เพราะมีนัย
ต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกาย
และวาจา.
จริงอยู่ ในพระวินัยนี้ มีนัยต่าง ๆ คือ มีปาฏิโมกขุทเทศ ๕ ประการ
กองอาบัติ ๗ มีปาราชิกเป็นต้น มาติกาและนัยมีวิภังค์เป็นต้นเป็นประเภท
และนัยคืออนุบัญญัติเป็นพิเศษ คือมีนัยอันกระทำให้มั่นและกระทำให้หย่อน
เป็นประโยชน์. อนึ่ง พระวินัยนี้ย่อมฝึกกายและวาจา เพราะห้ามซึ่งอัชฌาจาร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 43
ทางกายและทางวาจา. เพราะฉะนั้น พระวินัยนี้ ท่านจังกล่าวว่า วินัย เพราะ
มีนัยต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกายและวาจา. ด้วยเหตุนั้น เพื่อ
ความเป็นผู้ฉลาดในอรรถาธิบายคำแห่งวินัยนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถาประพันธ์
นี้ไว้ว่า
พระวินัยนี้ อันบัณฑิตผู้รู้อรรถแห่ง
พระวินัยทั้งหลายกล่าวว่า วินัย เพราะมีนัย
ต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกาย
และวาจา ดังนี้.
[อรรถาธิบายคำว่าสูตร]
ส่วนพระสูตรนอกนี้
ท่านกล่าวว่า สูตร เพราะบ่งถึง
ประโยชน์ เพราะมีอรรถอันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เพราะเผล็ดประโยชน์
เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะป้องกันด้วยดี
และเพราะมีส่วนเสมอด้วยเส้นด้าย.
จริงอยู่ พระสูตรนั้น ย่อมบ่งถึงประโยชน์ต่างด้วยประโยชน์มีประโยชน์
ตนและประโยชน์ผู้อื่นเป็นต้น. อนึ่ง ประโยชน์ทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสดีแล้ว ในพระสูตรนี้ เพราะตรัสโดยอนุโลมแก่อัธยาศัยแห่งเวไนย. อนึ่ง
พระสูตรนี้ ย่อมเผล็ดประโยชน์ ท่านอธิบายว่า ย่อมเผล็ดผลดุจข้าวกล้าฉะนั้น.
อนึ่ง พระสูตรนี้ย่อมหลั่งประโยชน์เหล่านั้น ท่านอธิบายว่า ย่อมรินดุจแม่โค
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 44
นมหลั่งน้ำนมฉะนั้น. อนึ่ง พระสูตรนี้ย่อมป้องกัน ท่านอธิบายว่า ย่อมรักษา
ด้วยดี ซึ่งประโยชน์เหล่านั้น. อนึ่ง พระสูตรนี้มีส่วนเสมอด้วยเส้นด้าย.
เหมือนอย่างว่าเส้นบรรทัด ย่อมเป็นประมาณของช่างไม้ฉันใด แม้พระสูตรนี้
ก็ย่อมเป็นประมาณแห่งวิญญูชนฉันนั้น. อนึ่ง เหมือนดอกไม้ที่เขาคุมไว้ด้วย
เส้นด้ายอันลมให้เรี่ยรายกระจัดกระจายไม่ได้ฉันใด ประโยชน์ทั้งหลายที่ทรง
ประมวลไว้ด้วยพระสูตรนี้ย่อมไม่เรี่ยราย ไม่กระจัดกระจายฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น
เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอรรถาธิบายคำแห่งพระสูตรนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถา
ประพันธ์นี้ไว้ว่า
พระสูตรท่านกล่าวว่า สูตร เพราะ
บ่งถึงประโยชน์ เพราะมีอรรถอันพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เพราะเผล็ดประ-
โยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะป้องกัน
ด้วยดี และเพราะมีส่วนเสมอด้วยด้าย ดังนี้.
[อรรถาธิบายคำว่าอภิธรรม]
ส่วนพระอภิธรรมนอกนี้
ด้วยเหตุที่ธรรมทั้งหลาย ที่มีความ
เจริญ ที่มีความกำหนดหมาย ที่บุคคลบูชา
แล้ว ที่บัณฑิตกำหนดตัด และที่ยิ่ง อันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระอธิธรรมนี้
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อภิธรรม.
ก็อภิศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่าเจริญ ว่ามีความกำหนดหมาย
ว่าอันบุคคลบูชาแล้ว ว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดแล้ว และว่ายิ่ง. จริงอย่างนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 45
อภิศัพท์นี้มาในอรรถว่าเจริญ ในคำเป็นต้นว่า ทุกขเวทนากล้า ย่อมเจริญ
แก่เรา๑ ดังนี้. มาในอรรถว่ามีความกำหนดหมายในคำเป็นต้นว่า ราตรี
เหล่านั้นใด อันท่านรู้กันแล้ว กำหนดหมายแล้ว ๒ ดังนี้. มาในอรรถว่าอัน
บุคคลบูชาแล้ว ในคำมีว่า พระองค์เป็นพระราชาผู้อันพระราชาบูชาแล้ว
เป็นจอมมนุษย์๓ เป็นอาทิ. มาในอรรถว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดแล้ว ในคำ
เป็นอาทิว่า ภิกษุเป็นผู้สามารถเพื่อจะแนะนำเฉพาะธรรม เฉพาะวินัย๔ ท่าน
อธิบายว่า เป็นผู้สามารถจะแนะนำในธรรมและวินัย ซึ่งเว้นจากความปะปน
กันและกัน. มาในอรรถว่ายิ่ง ในคำเป็นต้นว่า มีวรรณะงามยิ่ง๕ ดังนี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทั้งหลายในพระอภิธรรมนี้ มีความเจริญบ้าง
โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ ๖ ภิกษุมีจิตประกอบ
ด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ๗ อยู่. ชื่อว่ามีความกำหนดหมายบ้าง เพราะ
เป็นธรรมควรกำหนดได้ ด้วยกรรมทวารและปฏิปทาที่สัมปยุตด้วยอารมณ์
เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า จิต ... ปรารภอารมณ์ใด ๆ เป็นรูปารมณ์ก็ดี
สัททารมณ์ก็ดี ๘ อันบุคคลบูชาแล้วบ้าง อธิบายว่า ควรบูชา โดยนัยเป็นต้นว่า
เสขธรรม อเสขธรรม โลกุตรธรรม๙. ชื่อว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดบ้าง เพราะ
เป็นธรรมที่ท่านกำหนดตามสภาพ โดยนัยเป็นต้นว่า ในสมัยนั้น ผัสสะมี
เวทนา๑๐มี. ตรัสธรรมทั้งหลายที่ยิ่งบ้าง โดยนับเป็นต้นว่า มหัคคตธรรม
อัปปมาณธรรม ๑๑ อนุตตรธรรม๑๒ ด้วยเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดใน
อรรถาธิบายคำแห่งพระอภิธรรมนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า
๑. ส. มหา. ๑๙/๑๑๔. ๒. ม. มู. ๑๒/๓๖. ๓. ขุ. สุ. ๒๕/๔๔๔ ๔. วิ. มหา.
๔/๑๔๒. ๕. ขุ, วิมาน. ๒๖/๑๓. ๖, อภิ. ส. ๓๔/๔๔. ๗. อภิ. วิ. ๓๕/๓๖๙.
๘. อภิ. วิ. ๓๕/๓๖๙. ๙. อภิ. ส. ๓๔/๓ ๑๐. อภิ. ส. ๓๔/๙. ๑๑. อภิ. ส. ๓๔/๑
๑๒. อภิ. ส. ๓๔/๗
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 46
ด้วยเหตุที่ธรรมทั้งหลายที่มีความ
เจริญ ที่มีความกำหนดหมาย ที่บุคคลบูชา
แล้ว บัณฑิตกำหนดตัด และที่ยิ่ง อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระอภิ-
ธรรมนี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อภิธรรม.
ส่วนปิฎกศัพท์ใด เป็นศัพท์ที่ไม่พิเศษในพระวินัย พระสูตรและ
พระอภิธรรรมนี้ ปิฎกศัพท์นั้น
อันบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้อรรถแห่งปิฎก
กล่าวว่า ปิฏก โดยอรรถว่าปริยัติและภาชนะ
ศัพท์ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้น บัณฑิตพึงให้
ประชุมลงด้วยปิฎกศัพท์นั้น แล้วพึงทราบ.
[ ปิฎกเปรียบเหมือนตะกร้า]
จริงอยู่ แม้ปริยัติ ท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า อย่าเชื่อ
โดยการอ้างตำรา๑. แม้ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในคำ
เป็นต้นว่าลำดับนั้น บุรุษถือจอบและตะกร้ามา๒. เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
ทั้งหลายผู้รู้อรรถแห่งปิฎกกล่าวว่า ปิฎก โดยอรรถว่าปริยัติและภาชนะ.
บัดนี้ พึงทราบอรรถแห่งบาทคาถาว่า เตน สโมธาเนตฺวา ตโยปิ
วินยาทโย เยฺยา โดยนัยอย่างนี้ ศัพท์แม้ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้นเหล่านั้น
อันบัณฑิตพึงย่อเข้าเป็นสมาสกับด้วยปิฎกศัพท์ซึ่งมีอรรถเป็น ๒ อย่าง นี้นั้น
แล้ว พึงทราบอย่างนี้ว่า วินัยนั้นด้วยชื่อว่าปิฎกด้วย เพราะเป็นปริยัติ และ
เพราะเป็นภาชนะแห่งเนื้อความนั้น ๆ เหตุนั้นจึงชื่อว่า วินัยปิฎก, สูตรนั้นด้วย
๑. องฺ จตุกฺก. ๒๑/๒๕๗ ๒. ส. นิทาน. ๑๖/๑๐๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 47
ชื่อว่าปิฎกด้วยโดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นแล เหตุนั้นจึงชื่อว่า สุตตปิฎก,
อภิธรรมนั้นด้วย ชื่อว่าปิฎกด้วย โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นเอง เหตุนั้นจึง
ชื่อว่า อภิธรรมปิฎก. ก็ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว เพื่อความเป็นผู้ฉลาดโดย
ประการต่าง ๆ ในปิฎกเหล่านั้นนั่นแลแม้อีก
บัณฑิตพึงแสดงความต่างแห่งเทศนา
ศาสนา กถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ
ในปิฎกเหล่านั้น ตามสมควร ภิกษุย่อมถึง
ซึ่งความต่างแห่งปริยัติก็ดี สมบัติและวิบัติ
ก็ดี อันใด ในปิฎกใด มีวินัยปิฎกเป็นต้น
โดยประการใด บัณฑิตพึงประกาศความ
ต่างแห่งปริยัติเป็นต้น แม้นั้นทั้งหมด โดย
ประการนั้น.
วาจาเครื่องแสดงและวาจาเครื่องประกาศ ในปิฎกทั้ง ๓ นั้น ดังต่อ
ไปนี้ : - แท้จริง ปิฎกทั้ง ๓ นี้ ท่านเรียกว่า อาณาเทศนา โวหารเทศนา
ปรมัตถเทศนา และยถาปราธศาสน์ ยถานุโลมศาสน์ ยถาธรรมศาสน์ และ
ว่าสังวราสังวรรกถา ทิฏฐิวินิเวฐนกถา และนามรูปปริเฉทกถา ตามลำดับ.
ความจริง บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นี้ วินัยปิฎกท่านให้ชื่อว่า อาณาเทศนา เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรแก่อาณา ทรงแสดงไว้โดยเป็นปิฎกมาด้วยอาณา,
สุตตันตปิฎก ท่านให้ชื่อว่าโวหารเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 48
โวหาร ทรงแสดงไว้โดยเป็นปิฎกมากด้วยโวหาร, อภิธรรมปิฎก ท่านให้ชื่อว่า
ปรมัตถเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดในปรมัตถ์ ทรงแสดงไว้โดย
เป็นปิฎกมากด้วยปรมัตถ์. อนึ่ง ปิฎกแรกท่านให้ชื่อว่า ยถาปราธศาสน์ เพราะ
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นผู้มีความผิดมากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนตาม
ความผิดในปิฎกนี้. ปิฎกที่สองท่านให้ชื่อว่า ยถานุโลมศาสน์ เพราะสัตว์
ทั้งหลาย ผู้มีอัธยาศัย อนุสัย จริยา และอธิมุตติไม่ใช่อย่างเดียวกัน พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงสั่งสอนตามสมควรในปิฎกนี้, ปิฎกที่สามท่านให้ชื่อว่า ยถา-
ธรรมศาสน์ เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีความสำคัญในสิ่งสักว่ากองธรรมว่า เรา
ว่า ของเรา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนตามธรรมในปิฎกนี้, อนึ่ง ปิฎก
แรกท่านให้ชื่อว่า สังวราสังวรกถา เพราะความสำรวมน้อยและใหญ่ อันเป็น
ปฏิปักษ์ต่อความละเมิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปิฎกนี้, ปิฎกที่สองท่าน
ให้ชื่อว่า ทิฏฐิวินิเวฐนกถา เพราะการคลี่คลายทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิ ๖๒
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปิฎกนี้, ปิฎกที่สามท่านให้ชื่อว่า นามรูปปริเฉท-
กถา เพราะการกำหนดนามรูปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีราคะเป็นต้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปิฎกนี้, ก็แลให้ปิฎกทั้งสามนี้ บัณฑิตพึงทราบ
สิกขา ๓ ปานะ ๓ คัมภีรภาพ ๔ ประการ. จริงอย่างนั้น อธิสีลสิกขา
ท่านกล่าวไว้โดยพิเศษในพระวินัยปิฎก, อธิจิตตสิกขา ท่านกล่าวไว้โดยพิเศษ
ในพระสุตตปิฎก, อธิปัญญาสิขาท่านกล่าวไว้โดยพิเศษในพระอภิธรรมปิฎก.
อนึ่ง ความละวีติกมกิเลสท่านกล่าวไว้ในวินัยปิฎก เพราะศีลเป็นข้าศึกต่อ
ความละเมิดแห่งกิเลสทั้งหลาย, ความละปริยุฏฐานกิเลส ท่านกล่าวไว้ใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 49
พระสุตตปิฎก เพราะสมาธิเป็นข้าศึกต่อปริยุฏฐานกิเลส, ความละอนุสัยกิเลส
ท่านกล่าวไว้ในอภิธรรมปิฎก เพราะปัญญาเป็นข้าศึกต่ออนุสัยกิเลส, อนึ่ง
การละกิเลสทั้งหลายด้วยองค์นั้น ๆ ท่านกล่าวไว้ในปิฎกที่หนึ่ง, การละด้วย
การข่มไว้และตัดขาด ท่านกล่าวไว้ใน ๒ ปิฎกนอนกนี้, หนึ่ง การละสังกิเลส
คือทุจริต ท่านกล่าวไว้ในปิฎกที่หนึ่ง, การละกิเลสคือตัณหาและทิฏฐิ ท่าน
กล่าวไว้ใน ๒ ปิฎกนอกนี้, ก็บัณฑิตพึงทราบความที่พระพุทธพจน์เป็นคุณลึกซึ้ง
โดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา และโดยปฏิเวธทั้ง ๔ อย่าง ในปิฎก
ทั้ง ๓ นี้ แต่ละอย่าง ๆ.
[อธิบายคัมภีรภาพ ๔ อย่าง]
บรรดาคัมภีรภาพทั้ง ๔ นั้น พระบาลี ชื่อว่าธรรม. เนื้อความแห่ง
พระบาลีนั้นนั่นแล ชื่อว่าอรรถ. การแสดงพระบาลีนั้นที่กำหนดไว้ด้วยใจนั้น
ชื่อว่าเทศนา. การหยั่งรู้พระบาลีและอรรณแห่งพระบาลีตามเป็นจริง ชื่อว่า
ปฏิเวธ. ก็เพราะในปิฎกทั้ง ๓ นี้ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธเหล่านี้
อันบุคคลผู้มีปัญญาทรามทั้งหลายหยั่งลงได้ยากและมีที่ตั้งอาศัยที่พวกเขาไม่พึง
ได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้นหยั่งลงได้ยากฉะนั้น,
เพราะฉะนั้น จึงจัดว่าเป็นคุณลึกซึ้ง. ก็แลบัณฑิตพึงทราบคัมภีรภาพทั้ง ๔
ในปิฏกทั้ง ๓ นี้ แต่ละปิฎก ด้วยประการฉะนี้.
[อธิบายคัมภีรภาพอีกนัยหนึ่ง]
อีกอย่างหนึ่ง เหตุ ชื่อว่าธรรม, สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มี-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 50
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความรู้ในเหตุ ชื่อว่าธรรมปฏิสัมภิทา.๑ ผลแห่งเหตุ
ชื่อว่าอรรถ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ว่า ความรู้ในผล
แห่งเหตุ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา๒. บัญญัติ อธิบายว่า การเทศนาธรรมตาม
ธรรม ชื่อว่าเทศนา. การตรัสรู้ชื่อว่าปฏิเวธ. ก็ปฏิเวธนั้นเป็นทั้งโลกิยะและ
โลกุตระ คือความรู้รวมลงในธรรมตามสมควรแก่อรรถ ในอรรถตามสมควร
แก่ธรรม ในบัญญัติตามสมควรแก่ทางแห่งบัญญัติ โดยวิสัยและโดยความไม่
งมงาย๓.
บัดนี้ ควรทราบคัมภีร์ทั้ง ๔ ประการ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ แต่ละ
ปิฎก เพราะเหตุที่ธรรมชาตหรืออรรถชาตใด ๆ ก็ดี อรรถที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพึงให้ทราบย่อมเป็นอรรถมีหน้าเฉพาะต่อญาณของนักศึกษาทั้งหลาย
ด้วยประการใด ๆ เทศนาอันส่องอรรถนั้นให้กระจ่างด้วยประการนั้น ๆ นี้ใด
ก็ดี ปฏิเวธคือความหยั่งรู้ไม่วิปริตในธรรม อรรถและเทศนานี้ใดก็ดี ใน
ปิฎกเหล่านี้ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธทั้งหมดนี้ อันบุคคลผู้มี
ปัญญาทรามทั้งหลาย มิใช่ผู้มีกุศลสมภารได้ก่อสร้างไว้ พึงหยั่งถึงได้ยากและ
ที่พึ่งอาศัยไม่ได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้นหยั่งถึงได้ยาก
ฉะนั้น. ก็พระคาถานี้ว่า
บัณฑิตพึงแสดงความต่างแห่งเทศนา
ศาสนา กถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ
ในปิฎกเหล่านั้นตามสมควร ดังนี้
๑-๒ อภิ. วิ. ๓๕/๓๙๙. ๓. สารตฺถทีปนี. ๑/๑๒๒. อธิบายว่า ในความตรัสรู้ เป็นโลกิยะ
และโลกุตระนั้น ความหยั่งรู้เป็นโลกิยะ มีธรรมมีอวิชชาเป็นต้นเป็นอารมณ์ มีสังขารมีอรรถ
เป็นต้นเป็นอารมณ์ มีการให้เข้าใจธรรมและอรรถทั้งสองนั้นเป็นอารมณ์ ชื่อว่าความรู้รวมลงใน
ธรรมเป็นต้น ตามสมควรแก่อรรถเป็นต้นโดยวิสัย. ส่วนความตรัสรู้เป็นโลกุตระนั้นมีนิพพาน
เป็นอารมณ์ สัมปยุตด้วยมรรคมีการกำจัดความงมงายในธรรม อรรถและบัญญัติตามที่กล่าวแล้ว
ชื่อว่าความรู้รวมลงในธรรมเป็นต้นตามสมควรแก่อรรถเป็นต้น โดยความไม่งมงาย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 51
เป็นอันข้าพเจ้าขยายความแล้ว ด้วยคำเพียงเท่านี้
ส่วนในพระคาถานี้ว่า
ภิกษุย่อมถึงความต่างแห่งปริยัติก็ดี
สมบัติและวิบัติก็ดี อันใด ในปิฎกใดมีวินัย
ปิฎกเป็นต้น โดยประการใด บัณฑิตพึง
ประกาศความต่างแห่งปริยัติเป็นต้น แม้นั้น
ทั้งหมด โดยประการนั้น ดังนี้.
บัณฑิตพึงเห็นความต่างแห่งปริยัติ ๓ อย่าง ใน ๓ ปิฎกดังนี้ :-
[ปริยัติ ๓ อย่าง]
จริงอยู่ ปริยัติ ๓ คือ อลคัททูปมาปริยัติ ๑ นิสสรณัตถปริยัติ ๑
ภัณฑาคาริยปริยัติ* ๑ ในปริยัติ ๓ อย่างนั้น ปริยัติใด อันบุคคลเรียนไม่ดี
คือเรียนเพราะเหตุมีการโต้แย้งเป็นต้น, ปริยัตินี้ ชื่อว่า ปริยัติเปรียบด้วยงูพิษ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่
พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือหรือแขน หรือที่
อวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปางตาย
ซึ่งมีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ
งูพิษเขาจับไม่ดี แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัย
นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ พวกเขาครั้นเรียน
* วินยฏฺกถา หน้า ๒๔ เป็น ภัณฑาคาริกปริยัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 52
ธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่พิจารณาแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรม
เหล่านั้นย่อมไม่ควรต่อการเพ่งพินิจแก่พวกเขา ผู้ไม่พิจารณาอรรถด้วยปัญญา
พวกเขาเรียนธรรมมีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์ และมีหลักการบ่นเพ้อว่าอย่างนี้
เป็นอานิสงส์ และย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมที่พวกกุลบุตรต้องประสงค์
เล่าเรียน ธรรมเหล่านั้นที่เขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อ
ทุกข์ สิ้นกาลนาน แก่โมฆบุรุษเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดี.๑
อนึ่ง ปริยัติอันบุคคลเรียนดีแล้วคือจำนงอยู่ซึ่งความบริบูรณ์แห่งคุณ
มีสีลขันธ์เป็นต้นนั่นแล เรียนแล้ว ไม่เรียนเพราะเหตุมีความโต้แย้งเป็นต้น,
ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติมีประโยชน์ที่จะออกจากวัฏฏะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
หมายตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนานแก่กุลบุตรเหล่านั้น ข้อนั้น
เพราะอะไรเป็นเหตุ ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอัน
กุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว๒ ดังนี้.
ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว มีกิเลสอันละแล้ว มีมรรค
อันอบรมแล้ว มีธรรมอันไม่กำเริบแทงตลอดแล้ว มีนิโรธอันกระทำให้แจ้ง
แล้ว ย่อมเรียนซึ่งปริยัติใด เพื่อต้องการแก่อันดำรงซึ่งประเพณี เพื่อต้องการ
แก่อันตามรักษาซึ่งวงศ์ ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติของท่านผู้ประดุจขุนคลัง.
[ภิกษุผู้ปฏิบัติดีใน ๓ ปิฎกได้ผลดีต่างกัน]
อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติในพระวินัย อาศัยสีลสมบัติ ย่อมได้บรรลุวิชชา
๓ ก็เพราะตรัสจำแนกประเภทวิชชา ๓ เหล่านั้นนั่นแลไว้ในพระวินัยนั้น. ผู้
๑-๒. ม. มู ๑๒/๒๖๘-๒๖๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 53
ปฏิบัติดีในพระสูตร อาศัยสมาธิสมบัติย่อมได้บรรลุอภิญญา ๖ ก็เพราะตรัส
จำแนกประเภทอภิญญา ๖ เหล่านั้นไว้ในพระสูตรนั้น. ผู้ปฏิบัติดีในพระอภิธรรม
อาศัยปัญญาสมบัติ ย่อมได้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ก็เพราะตรัสจำแนกประเภท
ปฏิสัมภิทา ๔ นั้น ไว้ในพระอภิธรรมนั้นนั่นเอง. ผู้ปฏิบัติดีในปิฎกเหล่านี้
ย่อมบรรลุสมบัติต่างกัน คือวิชชา ๓ อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ นี้ตามลำดับ
ด้วยประการฉะนี้.
[ผู้ปฏิบัติไม่ดีใน ๓ ปิฎกได้ผลเสียต่างกัน]
ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระวินัย ย่อมมีความสำคัญว่าหาโทษมิได้ ใน
ผัสสะทั้งหลายมีสัมผัสซึ่งรูปเป็นอุปาทินกะเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสห้ามแล้ว โดยความเป็นอาการเสมอกับด้วยสัมผัสซึ่งวัตถุมีเครื่องลาด
และผ้าห่มเป็นต้น ซึ่งมีสัมผัสเป็นสุข ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว.
แม้ข้อนี้ต้องด้วยคำที่พระอริฏฐะกล่าวว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธรรมอันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ว่า เป็นธรรมอันทำอันตรายได้อย่างไร
ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถ เพื่อกระทำอันตรายแก่บุคคลผู้เสพได้ ๑ ดังนี้. ภิกษุ
นั้นย่อมถึงความเป็นผู้ทุศีล เพราะความปฏิบัติไม่ดีนั้น.
ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระสูตร ไม่รู้อยู่ซึ่งอธิบายในพระบาลีมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ดังนี้ ย่อมถือเอาผิด
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสว่า บุคคลมีธรรมอันตนถือผิดแล้ว ย่อม
กล่าวตู่เราทั้งหลายด้วย ย่อมขุดตนเองด้วย ย่อมได้ประสบบาปมิใช่บุญมาก
ด้วย ๒ ภิกษุนั้นย่อมถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิผิด เพราะการถือนั้น.
๑. วิ. มหา. ๒/๔๓๔. ๒. ม. ม. ๑๒/๒๖๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 54
ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระอภิธรรม แล่นเกินไปซึ่งการวิจารณ์ธรรม
ย่อมคิดแม้ซึ่งเรื่องที่ไม่ควรคิด ย่อมถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต เพราะคิดซึ่งเรื่อง
ที่ไม่ควรคิดนั้น. ข้อนี้ต้องด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
บุคคลคิดอยู่เรื่องที่ไม่ควรคิดเหล่าใด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า
แห่งความลำบากใจ เรื่องที่ไม่ควรคิดเหล่านี้ ๔ ประการ อันบุคคลไม่ควรคิด*
ดังนี้. ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในปิฎก ๓ เหล่านี้ ย่อมถึงความวิบัติต่างด้วยความเป็น
ผู้ทุศีล ความเป็นผู้มีทิฏฐิผิดและความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ ตามลำดับ ด้วยประการ
ฉะนี้.
ถึงพระคาถาแม้นี้ว่า
ภิกษุย่อมถึงซึ่งความต่างแห่งปริยัติ
ก็ดี สมบัติและวิบัติก็ดี อันใด ในปิฎกใดมี
วินัยปิฎกเป็นต้น โดยประการใด บัณฑิต
พึงประกาศความต่างแห่งปริยัติเป็นต้น แม้-
นั้นทั้งหมดโดยประการนั้น ดังนี้
เป็นอันข้าพเจ้าขยายความแล้วด้วยคำเพียงเท่านี้. บัณฑิตครั้นทราบ
ปิฎกโดยประการต่าง ๆ อย่างนั้นแล้ว ก็ควรทราบพระพุทธพจน์นั้นว่า มี ๓
อย่างด้วยอำนาจแห่งปิฎกเหล่านั้น.
[พระพุทธพจน์มี ๕ นิกาย]
พระพุทธพจน์มี ๕ ด้วยอำนาจแห่งนิกาย อย่างไร ? จริงอยู่
พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดนั่นแล ย่อมมี ๕ ประเภท คือ ทีฑนิกาย มัชฌิมนิกาย
สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย (และ) ขุททกนิกาย
* องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๐๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 55
[ทีฑนิกาย ๓๔ สูตร]
บรรดานิกายทั้ง ๕ นั้น ทีฆนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร ๓๔ สูตร
มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น สงเคราะห์ (รวบรวม) เป็น ๓ วรรค ชื่อทีฆนิกาย.
นิกายใดมีพระสูตร ๓๔ สูตรถ้วน
สงเคราะห์เป็น ๓ วรรค , นิกายแรกนี้ อนุโลม
ตามเนื้อความ ชื่อว่าทีฑนิกาย.
ก็เพราะเหตุไร นิกายนี้ ท่านจึงเรียกว่า ทีฆนิกาย ? เพราะเป็นที่
ประชุม และเป็นที่รวมแห่งพระสูตรทั้งหลายที่มีขนาดยาว. จริงอยู่ ที่ประชุม
และที่รวมท่านเรียกว่า นิกาย ก็ในข้อที่นิกายศัพท์ เป็นศัพท์บอกความประชุม
และความรวมนี้ มีอุทาหรณ์ที่ควรสาธกทั้งทางศาสนาทั้งทางโลก มีอาทิอย่างนี้
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่เล็งเห็นแม้ซึ่งหมู่อันหนึ่งอื่น ซึ่งงดงาม
เหมือนหมู่สัตว์ดิรัจฉานนี้ คือหมู่ปลวก หมู่สัตว์เล็ก ๆ นะภิกษุทั้งหลาย !
บัณฑิตพึงทราบพจนารถ (ความหมายของคำ) ในความที่นิกายทั้ง ๔ แม้ที่เหลือ
ชื่อว่านิกาย ด้วยประการฉะนี้
[มัชฌิมนิกายมี ๑๕๒ สูตร]
มัชฌิมนิกายเป็นไฉน? พระสูตร ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น
สงเคราะห์เป็น ๑๕ วรรค ซึ่งมีขนาดปานกลาง ชื่อมัชฌิมนิกาย.
นิกายที่มีพระสูตร ๑๕๒ สูตร จัดเป็น
๑๕ วรรค ชื่อว่ามัชฌิมนิกาย.
[สังยุตตนิกายมี ๗,๗๖๒ สูตร]
สังยุตตนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฑตรณสูตร
เป็นต้น ตั้งอยู่ด้วยอำนาจแห่งสังยุตมีเทวดาสังยุตเป็นต้น ชื่อสังยุตตนิกาย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 56
นิกาย ที่มีพระสูตร ๗,๗๖๒ สูตร
ซึ่งรวบรวมหมวดสังยุต นี้ชื่อว่าสังยุตตนิกาย.
[ อังคุตตรนิกายมี ๙,๕๕๗]
อังคุตตรนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร ๙,๕๕๗ มีจิตตปริยาทาน
สูตรเป็นต้น ที่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจแห่งองค์หนึ่ง ๆ และเกินหนึ่ง ชื่ออังคุตตร-
นิกาย
ในอังคุตตรนิกาย นับจำนวนพระ-
สูตร ได้ดังนี้ คือ ๙,๕๕๗ สูตร
[ขุททกนิกายมี ๑๕ ประเภท]
ขุททกนิกายเป็นไฉน ? เว้น ๔ นิกายเสีย พระพุทธพจน์ที่เหลือคือ
พระวินัยปิฎก พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระบาลี ๑๕ ประเภท ที่แสดง
ไว้แล้วในตอนต้น มีขุททกปาฐะเป็นอาทิ ชื่อขุทททกนิกาย ด้วยประการฉะนี้.
เว้นนิกายแม้ทั้ง ๔ มีทีฆนิกายเป็น-
ต้นนั่นเสีย พระพุทธพจน์อื่นจากนั้น บัณฑิต
เรียกว่า ขุททกนิกาย ฉะนี้แล
พระพุทธพจน์มี ๕ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งนิกาย ดังพรรณนามา
ฉะนี้.
[พระพุทธพจน์มี ๙ อย่าง]
พระพุทธพจน์มี ๙ อย่าง ด้วยสามารถแห่งองค์อย่างไร ? จริงอยู่
พระพุทธพจน์นี้ทั้งหมดทีเดียว มี ๙ ประเภท คือ สุตตุ เคยยะ เวยยากรณะ
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 57
[อธิบายพระพุทธพจน์มีองค์ ๙ ทีละองค์]
บรรดาพระพุทธพจน์ที่มีองค์ ๙ นั้น อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ
ปริวาร และพระสูตร มีมงคลสูตร รตนสูตร นาลกสูตร และตุวฏกสูตร
เป็นต้น ในสุตตนิบาต และพระตถาคตพจน์ (พระดำรัสของพระตถาคต)
ที่มีชื่อว่าสูตรแม้อื่น พึงทราบว่า พระสูตร.
พระสูตรที่มีคาถาแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เคยยะ.
สคาถกวรรค (วรรคที่มีคาถา) แม้ทั้งสิ้น ในสังยุตตนิกาย พึงทราบว่า
เคยยะ โดยพิเศษ.
พระอภิธรรมปิฎกทั้งสิ้น พระสูตรที่ไม่มีคาถาปน และพระพุทธพจน์
แม้อื่น ที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้า ด้วยองค์ ๘ พึงทราบว่า เวยยากรณะ.
ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วน ๆ ที่ไม่มีชื่อว่าสูตร
ในสุตตนิบาต พึงทราบว่า คาถา.
พระสูตร ๘๒ สูตร ที่ปฏิสังยุตติด้วยคาถาซึ่งสำเร็จด้วยโสมนัสสญาณ
พึงทราบว่า อุทาน
พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ข้อนี้สมจริงดังคำที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว๑ พึ่งทราบว่า อิติวุตตกะ
ชาดก ๕๕๐ มีอปัณณกชาดกเป็นต้น พึงทราบว่า ชาตกะ.
พระสูตร ที่ปฏิสังยุตด้วยอัจฉริยะอัพภูตธรรมแม้ทั้งหมด ซึ่งเป็นไป
โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อัจฉริยอัพภูตธรรม ๔ อย่าง เหล่านี้
ย่อมมีในพระอานนท์ ๒ พึงทราบว่า อัพภูตธัมมะ.
๑. ขุ. อิติวุตฺตก. ๒๕/๒๒๙. ๒. ที. มหา. ๑๐/๑๘๒
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 58
พระสูตรที่มนุษย์เป็นต้นถามแล้ว ได้ความรู้และความยินดีแม้ทั้งหมด
มีจูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาช-
นียสูตร และมหาปุณณมสูตรเป็นต้น พึงทราบว่า เวทัลละ.
พระพุทธพจน์มีองค์ ๙ ด้วยอำนาจแห่งองค์ ดังพรรณนามาฉะนี้.
[พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์]
พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมขันธ์
อย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดเทียว มี ๘๔,๐๐๐ ประเภท
ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมขันธ์ ที่พระอานนทเถระแสดงไว้แล้วอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าเรียนเอาพระธรรม จากพุทธ-
สำนัก ๘๒,๐๐๐ จากสำนักภิกษุ ๒,๐๐๐
พระธรรมที่เป็นไปในหทัยของข้าพเจ้า จึงมี
จำนวน ๘๔,๐๐๐ ดังนี้.
[วิธีคำนวณนับพระธรรมขันธ์เฉพาะขันธ์หนึ่ง ๆ]
บรรดาพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ นั้น พระสูตรที่มีอนุสนธิเดียวจัด
เป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์. ในพระสูตรที่มีอนุสนธิมาก นับพระธรรมขันธ์ด้วย
อำนาจแห่งอนุสนธิ. ในคาถาพันธ์ทั้งหลาย คำถามปัญหา (ข้อหนึ่ง) จัดเป็น
หนึ่งพระธรรมขันธ์, คำวิสัชนา (ข้อหนึ่ง) จัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์.
ในพระอภิธรรม การจำแนกติกะทุกะแต่ละติกะทุกะ และการจำแนก
วารจิตแต่ละวารจิต จัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์.
ในพระวินัย มีวัตถุ มีมาติกา มีบทภาชนีย์ มีอันตราบัติ มีอาบัติ
มีอนาบัติ มีกำหนดติกะ บรรดาวัตถุและมาติกาเป็นต้นเหล่านั้น ส่วนหนึ่ง ๆ
พึงทราบว่า เป็นพระธรรมขันธ์อันหนึ่ง ๆ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 59
พระพุทธพจน์ (ทั้งหมด) มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งพระ-
ธรรมขันธ์ ดังพรรณนามาฉะนี้
[ปฐมสังคายานาจัดพระพุทธพจน์ไว้เป็นหมวด ๆ]
พระพุทธพจน์นั่น โดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ โดยความไม่
ต่างกัน มีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรส, โดยความต่างกัน มีประเภท ๒ อย่าง
เป็นต้น ด้วยอำนาจธรรมและวินัยเป็นอาทิ อันพระมหาเถระผู้เป็นคณะที่
ชำนาญ มีพระมหากัสสปเป็นประมุข เมื่อจะสังคายนาจึงกำหนดประเภทนี้ก่อน
แล้วร้อยกรองไว้ว่า นี้พระธรรม, นี้พระวินัย , นี้ปฐมพุทธพจน์, นี้มัชฌิม-
พุทธพจน์ , นี้ปัจฉิมพุทธพจน์, นี้พระวินัยปิฎก, นี้พระสุตตันตปิฎก, นี้
พระอภิธรรมปิฎก, นี้ทีฑนิกาย, นี้มัชฌิมนิกาย, นี้สังยุตตนิกาย, นี้อังคุตตร-
นิกาย, นี้ขุททกนิกาย, นี้องค์ ๙ มีสุตตะเป็นต้น , นี้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.
ก็ท่านร้อยกรองประเภทตามที่กล่าวไว้แล้วนี้เท่านั้นอย่างเดียวหามิได้
ยังได้กำหนดประเภทที่ควรรวบรวมไว้แม้อื่น ๆ ซึ่งมีหลายชนิด มีอุทานสังคหะ
วัคคสังคหะ เปยยาลสังคหะ นิบาตสังคหะ เช่นเอกนิบาต และทุกนิบาต
เป็นต้น สังยุตตสังคหะและปัณณาสกสังคหะเป็นอาทิ ที่ปรากฏอยู่ในพระ-
ไตรปิฎก ได้ร้อยกรองอยู่ ๗ เดือนจึงสำเร็จ ด้วยประการฉะนี้.
[พระพุทธศาสนาอาจตั้งอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี]
ก็ในเวลาจบการร้อยกรองพระพุทธพจน์นั้น มหาปฐพีเหมือนเกิด
ความปราโมทย์ให้สาธุการอยู่ว่า พระมหากัสสปเถระ ทำพระศาสนาของ
พระทศพลนี้ให้สามารถเป็นไปได้ตลอดกาลประมาณ ๕,๐๐๐ พระวรรษา ดังนี้
ก็หวั่นไหวเอนเอียง สะเทือนสะท้านเป็นอเนกประการ จนถึงน้ำรองแผ่นดิน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 60
เป็นที่สุด และอัศจรรย์ทั้งหลายเป็นอันมากก็ได้ปรากฏมีแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
สังคีติใดในโลก
ท่านเรียกว่า ปัญจสตาสังคีติ เพราะ
พระธรรมสังคาหกเถระ ๕๐๐ รูปทำ, และ
เรียกว่า เถริกาสังคีติ เพราะพระเถระ
ทั้งหลายนั่นแลทำแล้ว
สังคีตินี้ ชื่อปฐมมหาสังคีติ ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อปฐมมหาสังคีตินี้เป็นไปอยู่ ท่านพระมหากัสสป เมื่อจะถามถึง
พระวินัย (กะท่านพระอุบาลีเถระ) จึงถามถึงนิทาน ที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ ว่า
ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึงบุคคลบ้าง ดังนี้เป็นต้น ซึ่งเป็นที่
สุดแห่งคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส อุบาลี ! ปฐมปาราชิก พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงบัญญัติแล้ว ณ ที่ไหน ? เป็นต้น คำนิทานนั้นท่านพระ
อุบาลีเถระ ประสงค์จะให้พิสดารตั้งแต่ต้น แล้วกล่าวถึงบุคคลเป็นต้น ที่บัญญัติ
ิวินัยปิฎก และเหตุที่บัญญัตินั่นแหละทั้งหมด จึงกล่าวไว้แล้ว.
[อธิบายความเริ่มต้นแห่งนิทานวินัย]
คำนิทาน (คำเริ่มต้น) ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชาย
วิรติ* เป็นอาทิ บัณฑิตควรกล่าวไว้ทั้งหมด, เพราะคำเริ่มต้นนี้ ท่าน
พระอุบาลีเถระกล่าวไว้อย่างนี้. ก็แลคำเริ่มต้นนั้น บัณฑิตควรทราบว่า ท่าน
พระอุบาลีเถระกล่าวไว้แล้วในคราวกระทำสังคายนาใหญ่ครั้งแรก. ก็ใจความ
แห่งบทนี้ว่า ก็คำนี้ใครกล่าวและกล่าวในกาลไหน เป็นต้น เป็นอันข้าพเจ้า
ประกาศแล้ว ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้. บัดนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยใน
บทว่า กล่าวไว้เพราะเหตุไร นี้ต่อไป : -
๑. วิ. มหา. ๑/๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 61
เพราะท่านพระอุบาลีนี้ ถูกพระมหากัสสปเถระถามถึงนิทานแล้ว
ฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวนิทานนั้นให้พิสดารแล้วตั้งแต่ต้น ด้วยประการฉะนี้.
คำเริ่มต้นนี้ บัณฑิตควรทราบว่า ท่านพระอุบาลีเถระ แม้เมื่อกล่าวในคราวทำ
สังคายนาใหญ่ครั้งแรกก็ได้กล่าวแล้วเพราะเหตุนี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็ใจความ
แห่งบทมาติกาเหล่านี้ว่า วุตฺต เยน ยทา ยสฺมา ดังนี้ เป็นอันข้าพเจ้า
ประกาศแล้ว ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้.
บัดนี้ เพื่อจะประกาศเนื้อความ แห่งบทมาติกาเหล่านี้ว่า ธาริต เยน
จาภฏ ยตฺถ ปติฏฺิตญฺเจตเมต วตฺวา วิธึ บัณฑิตจึงกล่าวคำนี้ไว้.
[พระมหาเถระมีพระอุบาลีเป็นต้นนำพระวินัยปิฎกสืบต่อมา]
ถามว่า ก็พระวินัยปิฎกนี้นั้น ซึ่งมีนิทานประดับด้วยคำมีอาทิอย่างนี้
ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชาย วิหรติ ดังนี้ ใครทรงไว้ ?
ใครนำสืบมา ? (และ) ตั้งมั่นอยู่แล้วในบุคคลไหน ? ข้าพเจ้าจะเฉลยต่อไป : -
พระวินัยปิฎกนี้ ท่านพระอุบาลีเถระจำทรงไว้ ต่อพระพักตร์ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเบื้องต้นก่อน. เมื่อพระตถาคตเจ้ายังไม่ปรินิพพาน
นั่นแล ภิกษุหลายพันรูป ต่างโดยได้อภิญญา ๖ เป็นต้น จำทรงไว้ต่อจากท่าน
พระอุบาลีเถระนั้น เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว พระธรรมสังคาหกเถระ
ทั้งหลาย มีพระมหากัสสปเป็นประมุข ก็จำทรงกันต่อมา.
บทมาติกาว่า เกนาภฏ นี้ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป : -
ในชมพูทวีปก่อน พระวินัยนั่น นำสืบต่อมาโดยลำดับแห่งอาจารย์
ตั้งแต่ต้นแต่พระอุบาลีเถระ จนถึงสังคายนาครั้งที่ ๓ ในชมพูทวีปนั้นมีลำดับ
อาจารย์ดังต่อไปนี้ : -
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 62
พระเถระ ๕ องค์เหล่านี้คือ พระ-
อุบาลี ๑ พระทาสกะ ๑ พระโสณกะ ๑
พระสิคควะ ๑ พระโมคคลีบุตรติสสะ ๑
ผู้มีชัยชนะพิเศษได้นำพระวินัยมาโดยลำดับ
ไม่ให้ขาดสาย ในสิริชมพูทวีป (ในทวีป
ชื่อชมพูอันเป็นสิริ) จนถึงสังคายนาครั้งที่ ๓.
[พระอุบาลีเถระเรียนพระวินัยปิฎกจากพุทธสำนัก]
ความพิสดารว่า ท่านพระอุบาลีเรียนเอาวงศ์ ระเบียบประเพณี
พระวินัย ต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วให้ตั้งอยู่ในหทัยของภิกษุ
เป็นอันมาก. จริงอยู่ บรรดาบุคคลผู้เรียนเอาวินัยวงศ์ ในสำนักของท่านนั้น
แล้วถึงความเป็นผู้ฉลาดสามารถในพระวินัย ผู้ที่เป็นปุถุชน พระโสดาบัน
พระสกทาคามี และพระอนาคามี กำหนดนับไม่ถ้วน ที่เป็นพระขีณาสพ
ได้มีจำนวน ๑,๐๐๐ รูป
[พระทาสกเถระเรียนพระวินัยปิฎกจากสำนักพระอุบาลีเถระ]
ฝ่ายพระทาสกเถระ ได้เป็นสัทธิวิหาริกของพระบาลีเถระนั้นนั่นเอง
ท่านได้เรียนเอา (พระวินัย) ต่อจากพระอุบาลีเถระ แล้วก็บอกสอนพระวินัย
(แก่ภิกษุเป็นอันมาก) เหมือนอย่างนั้น. ปุถุชนเป็นต้นผู้เรียนเอา (พระวินัย)
ในสำนักของพระเถระแม้นั้น แล้วถึงความเป็นผู้ฉลาดสามารถในพระวินัย
กำหนดนับไม่ถ้วน ที่เป็นพระขีณาสพได้มีจำนวนถึง ๑,๐๐๐ รูป.
[พระโสณกเถระเรียนพระวินัยปิฎกจากสำนักพระทาสกเถระ]
ส่วนพระโสณกเถระ ได้เป็นสัทธิวิหาริกของพระทาสกเถระ. แม้ท่าน
ก็เรียนเอา (พระวินัย) ต่อจากพระทาสกเถระ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของตน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 63
แล้วก็บอกสอนพระวินัย (แก่ภิกษุเป็นอันมาก) เหมือนอย่างนั้น. ปุถุชน
เป็นต้นผู้เรียนเอา (พระวินัย) ในสำนักของท่านแม้นั้น แล้วถึงความเป็นผู้
ฉลาดสามารถในพระวินัย กำหนดนับไม่ถ้วน ที่เป็นพระขีณาสพได้มีจำนวน
ถึง ๑,๐๐๐ รูปเช่นกัน
[พระสิคควเถระเรียนพระวินัยปิฎกจากสำนักพระโสณกเถระ]
ฝ่ายพระสิคควเถระ เป็นสัทธิวิหาริกของพระโสณกเถระ เรียนเอา
พระวินัย ในสำนักของพระเถระ แล้วได้เป็นผู้รับธุระของพระอรหันต์ ๑,๐๐๐
องค์. อนึ่ง ปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามีก็ดี
พระขีณาสพก็ดี ผู้เรียนเอา (พระวินัย) ในสำนักของท่านนั้น แล้วถึงความ
เป็นผู้ฉลาดสามารถในพระวินัย ก็กำหนดไม่ได้ว่า เท่านี้ร้อย หรือว่า เท่านี้พัน.
ได้ยินว่า เวลานั้น ในชมพูทวีปได้มีการประชุมภิกษุมากมาย. อานุภาพของ
พระโมคคลีบุตรติสสเถระ จักมีปรากฏชัดในตติยสังคายนา (ข้างหน้า). พระ
วินัยปิฎกนี้ พึงทราบว่า ชั้นแรกในชมพูทวีป นำสืบกันมาโดยลำดับแห่ง
อาจารย์นี้ จนสังคายนาครั้งที่ ๓ ด้วยประการฉะนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 64
เริ่มเรื่องทุติยสังคายนา
ก็เพื่อรู้ทุติสังคายนาแจ่มแจ้ง ควรทราบลำดับดังต่อไปนี้ จริงอยู่
ในกาลใด
พระเถระทั้ง ๕๐๐ มีพระมหากัสสป
เป็นต้น ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว มีปัญญาอัน
รุ่งเรืองเหล้านั้น ครั้นสังคายนาพระสัทธรรม
และยังพระสัทธรรมให้รุ่งเรืองในที่ทั้งปวง
แล้วดำรงอยู่จนถึงที่สุดแห่งชีวิต ไม่มีอาลัย
สิ้นเชื้อดับไป เหมือนประทีปดับไปฉะนั้น
[ภิกษุชาววัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ]
ในกาลนั้น เมื่อคืนและวันล่วงไปโดยลำดับ ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสร็จปรินิพพานแล้วได้ ๑๐๐ ปี พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองไพศาลี แสดง
วัตถุ ๑๐ ประการเหล่านี้ ในเมืองไพศาล คือ : -
กปฺปติ สิงฺคิโลณกปฺโป กัปปะว่า เก็บเกลือไว้ด้วยเขนงฉัน
กับบิณฑบาตที่ไม่เค็ม ก็ควร,
กปฺปติ ทฺวงฺคุลกปฺโป กัปปะว่า จะฉันโภชนะ ในวิกาล
เมื่อเงาคล้อยไป ๒ องคุลี ก็ควร,
กปฺปติ คามนฺตรกปฺโป กัปปะว่า ภิกษุตั้งใจว่าจะไปในละ-
แวกบ้าน ห้ามภัตแล้ว ฉันโภชนะ
ที่ไม่เป็นเดน ก็ควร,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 65
กปฺปติ อาวาสกปฺโป กัปปะว่า จะแยกกันทำสังฆกรรมมี
อุโบสถเป็นต้น ในเสนาสนะต่างแห่ง
ในสีมาเดียวกัน ก็ควร,
กปฺปติ อนุมติกปฺโป กัปปะว่า เมื่อตั้งใจว่าจะถือเอาอนุมัติ
ในเวลาที่พวกภิกษุผู้ยังไม่มา แล้ว
เมื่อเธอเหล่านั้นยังไม่ทันมา สงฆ์
เป็นวรรคจะทำกรรมนั้น แล้อนุมัติ
ภายหลัง ก็ควร,
กปฺปติ อาจิณฺณกปฺโป กัปปะว่า ข้อที่อาจารย์และอุปัชฌาย์
เคยประพฤติมา ย่อมควร,
กปฺปติ อมถิตกปฺโป กัปปะว่า ภิกษุฉันแล้ว ห้ามโภชนะ
แล้ว ฉันนมสดที่ยังไม่เป็นทธิ ซึ่ง
ไม่เป็นเดน ย่อมควร,
กปฺปติ ชโลคึ ปาตุ ภิกษุจะดื่มสุราอย่างอ่อน ที่ยังไม่ถึง
เป็นน้ำเมา ก็ควร,
กปฺปติ อทสก นิสีทน ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชาย ก็ควร,
กปฺปติ ชาตรูปรชต ทองและเงินควรแก่ภิกษุ*.
พระราชาทรงพระนามว่า กาฬาโศก ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้า
สุสูนาค ได้ทรงเป็นฝักฝ่ายของพวกภิกษุวัชชีบุตรเหล่านั้นแล้ว.
[พระยสเถระได้ทราบเรื่องภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ]
ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระยสกากัณฑบุตร เที่ยวจาริกไปในวัชชี
ชนบท ได้สดับว่า ข่าวว่าพวกภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองไพศาลีแสดงวัตถุ ๑๐
* วิ. จุลฺ. ๗/๓๙๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 66
ประการในเมืองไพศาลี ดังนี้ จึงดำริว่า ข้อที่เราได้ฟังความวิบัติแห่งพระศาสนา
ของพระทศพลแล้ว จะพึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยเสีย ไม่สมควรแก่เราเลย
เอาละ เราจะข่มพวกอธรรมวาทีเสีย แล้วจะยกย่องธรรม ดังนี้ จึงได้ไป
ทางเมืองไพศาลี.
ดังได้ยินมาว่า ท่านพระยสกากัณฑบุตร พักอยู่ที่กูฏาคารศาลา ใน
ป่ามหาวันใกล้เมืองไพศาลีนั้น. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวเมือง
ไพศาลี ใส่น้ำให้เต็มถาดทองสัมฤทธิ์แล้วตั้งไว้ในท่ามกลางสงฆ์ในวันอุโบสถ
นั้นกล่าวแนะนำอุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองไพศาลี ผู้มาแล้ว ๆ อย่างนี้ว่า
ผู้มีอายุ ! ท่านทั้งหลายจงถวายรูปิยะแก่สงฆ์ กหาปณะหนึ่งก็ได้, กึ่งกหาปณะ
ก็ได้, บาทหนึ่งก็ได้, มาสกหนึ่งก็ได้, กิจของสงฆ์ที่ต้องทำด้วยบริขาร จักมี
ดังนี้*.
คำทั้งปวงควรเล่าจนถึงคำว่า ก็วินัยสังคีตินี้ ได้มีภิกษุ ๗๐๐ รูป
ไม่หย่อนไม่เกิน, เพราะฉะนั้น วินัยสังคีตินี้ท่านจึงเรียกว่า สัตตสติกา.
ก็ภิกษุล้านสองแสนรูป ซึ่งท่านพระยสกากัณฑกบุตร ชักชวนได้
ประชุมกันในสันนิบาตนี้. วัตถุ ๑๐ ประการเหล่านั้น ท่านพระเรวตะเป็นผู้ถาม
พระสัพพกามีเถระ เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย วินิจฉัยเสร็จในท่ามกลางภิกษุ
เหล่านั้น, อธิกรณ์เป็นอันระงับเสร็จแล้ว.
[คัดเลือกพระเถระทำทุติยสังคายนาได้ ๗๐๐ รูป]
ภายหลังพระเถระทั้งหลาย ปรึกษากันว่า พวกเราจักสังคายนาพระ
ธรรมและพระวินัยอีก ดังนี้ จึงได้คัดเลือกภิกษุ ๗๐๐ รูปผู้ทรงพระไตรปิฏก
บรรลุปฏิสัมภิทา แล้วนั่งประชุมกันที่วาลิการามใกล้เมืองไพศาลี ชำระมลทิน
* วิ. จุลฺ. ๗/๓๙๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 67
แห่งพระศาสนาทั้งปวง ได้สังคายนาพระธรรมและวินัยทั้งหมด ด้วยอำนาจปิฎก
นิกาย องค์ และธรรมขันธ์ซ้ำอีก เช่นเดียวกับที่พระมหากัสสปเถระสังคายนา
แล้วนั่นแล.
สังคีติใดในโลก
ท่านเรียกว่า สัตตสตสังคีติ เพราะ
พระเถระ ๗๐๐ รูปทำ, และเรียกว่า ทุติย-
สังคีติ เพราะเทียบสังคีติที่ทำก่อน
สังคีตินี้ทำอยู่ ๘ เดือนจึงสำเร็จ ด้วยประการฉะนี้.
ก็แลสังคีตินี้นั้น
อันพระเถระเหล่าใดร้อยกรองไว้แล้ว
บรรดาพระเถระเหล่านั้น พระเถระที่ปรากฏ*
คือ พระสัพพกามี ๑ พระสาฬหะ ๑ พระ
เรวตะ ๑ พระขุชชโสภิตะ ๑ พระยสะ ๑
พระสาณสัมภูตะ ๑ เหล่านี้ เป็นสัทธิวิหาริก
ของพระอานนทเถระ เคยเห็นพระตถาคต
พระสุมนะ ๑ พระวาสภคามี ๑, ๒ รูปนี้
บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นสัทธิวิหาริกของ
พระอนุรุทธะ เคยเห็นพระตถาคต ก็แล
พระเถระทั้งหลายผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒
ทุก ๆ รูปเป็นผู้ปลงภาระแล้ว เสร็จกิจแล้ว
หาอาสวะมิได้ ดังนี้แล.
จบทุติสังคีติเท่านี้
* ฎีกาสารัตถทีปนี เป็น เตสุ วิสฺสุตา ๑/๑๗๒ แม้ในอรรถโยชนาก็เป็นเช่นนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 68
เรื่องระหว่างทุติยตติยสังคายนา
พระเถระทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นสังคายนาทุติยสังคีตินี้อย่างนั้นแล้ว
จึงตรวจดูว่า แม้ในอนาคตเสนียด (เสี้ยนหนาม) เห็นปานนี้ จักเกิดขั้นแก่
พระศาสนาหรือหนอแล ? แล้วได้เห็นเหตุนี้ว่า ในปีที่ ๑๘ ต่อจาก ๑๐๐ ปี
แต่ปีนี้ไป พระราชาทรงพระนามว่าพระเจ้าธรรมาโศก จะทรงอุบัติขึ้นใน
พระนครปาฏลีบุตร ครอบครองราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ท้าวเธอจักทรง
เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แล้วจักยังลาภและสักการะเป็นอันมากให้เป็นไป,
ในครั้งนั้น พวกเดียรถีย์ผู้ปรารถนาลาภและสักการะ จักบวชในพระศาสนา
แล้วแสดงทิฏฐิของตน เสนียดใหญ่ จักเกิดขึ้นในพระศาสนา ด้วยอาการอย่างนี้.
[ติสสมหาพรหมจักแก้ความเสื่อมพระศาสนาในอนาคต]
ครั้งนั้นพระเถระเหล่านั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่อเสนียดนั่น
เกิดขึ้นแล้ว พวกเราจักทันเห็นหรือไม่หนอ ? ลำดับนั้นพระเถระทั้งหมด
นั่นแล ทราบความที่ตนเป็นผู้ไม่ทันเห็น (เหตุการณ์) ในเวลานั้น จึงคิดว่า
ใครเล่าหนอ ! จักเป็นผู้สามารถให้อธิกรณ์นั้นระงับได้ แล้วได้ตรวจดู
มนุษยโลก และเทวโลกชั้นกามาวจรทั้งสิ้น ก็มิได้เห็นใคร ๆ ได้เห็นแต่ท้าว-
มหาพรหมชื่อติสสะในพรหมโลก ผู้มีอายุยังเหลือน้อย ได้อบรมมรรคเพื่อ
บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงขึ้นไป. พระเถระทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นเห็นแล้ว
จึงได้มีความดำริดังนี้ว่า ถ้าพวกเราพึงทำความอุตสาหะ เพื่อต้องการให้พรหม
นั่นเกิดในมนุษยโลกไซร้, พรหมนั่นก็จักถือปฏิสนธิในเรือนของโมคคลี-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 69
พราหมณ์แน่นอน. และต่อจากนั้นก็จักถูกเล้าโลมด้วยมนต์แล้วออกบวช, ครั้น
ติสสทารกนั้นบวชแล้วอย่างนี้ เล่าเรียนพระพุทธพจน์ทั้งสิ้น เป็นผู้ได้บรรลุ
ปฏิสัมภิทา จักย่ำยีพวกเดียรถีย์ วินิจฉัยอธิกรณ์นั้นแล้ว เชิดชูพระศาสนา.
[พวกพระเถระไปเชิญติสสมหาพรหมให้มาเกิดในมนุษยโลก]
พระเถระเหล่านั้นไปยังพรหมโลก แล้วได้กล่าวคำนี้กะท้าวติสส-
มหาพรหมว่า ดูก่อนสหายผู้นิรทุกข์ ! ในปีที่ ๑๘ ถัดจาก ๑๐๐ ปี แต่นี้ไป
เสนียดอย่างใหญ่จักเกิดขึ้นในพระศาสนา, และพวกเราได้ตรวจดูมนุษยโลก
และเทวโลกชั้นฉกามาวจรทั้งสิ้น ก็มิได้เห็นใคร ๆ ผู้สามารถ เพื่อจะเชิดชู
พระศาสนาได้, ค้นดูตลอดพรหมโลกจึงได้พบท่านผู้เจริญ, ดังพวกข้าพเจ้า
ขอโอกาส ท่านสัตบุรุษ ! ขอท่านจงให้ปฏิญญา (แก่พวกข้าพเจ้า) เพื่อเกิด
ในมนุษยโลก แล้วเชิดชูพระศาสนาของพระทศพลเถิด.
[ติสสมหาพรหมรบปฏิญญามาเกิดในมนุษยโลก]
เมื่อพระเถระทั้งหลาย กล่าวเชิญอย่างนั้นแล้ว ท้าวมหาพรหมจึง
ดำริว่า ได้ยินว่า เราจักเป็นผู้สามารถเพื่อชำระเสนียดซึ่งจะเกิดขึ้นในพระศาสนา
แล้วเชิดชูพระศาสนา ดังนี้ แล้วเป็นผู้หรรษาร่าเริงบันเทิงใจ ได้ให้ปฏิญญา
รับว่า ดีละ. พระเถระทั้งหลายพิจารณากิจที่ควรทำนั้นในพรหมโลกเสร็จแล้ว
ก็พากันกลับมาอีก.
[พวกพระเถระลงทัณฑกรรมแก่พระสิคควะและพระจัณฑวัชชี]
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเถระทั้ง ๒ รูปคือ พระสิคควเถระ และพระ
จัณฑวัชชีเถระ ยังเป็นพระนวกะอยู่. พระเถระเหล่านั้น เป็นภิกษุหนุ่ม
ทรงพระไตรปิฎก บรรลุปฏิสัมภิทา สิ้นอาสวะแล้ว เป็นสัทธิวิหาริกของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 70
พระโสณกะ. พระเถระทั้ง ๒ รูป ไม่ได้มาร่วมระงับอธิการณ์นั้น. พระเถระ
ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ! พวกท่านหาได้เป็นผู้ร่วมคิดของพวกเรา
ในอธิกรณ์นี้ไม่, เพราะเหตุนั้น ทัณฑกรรมนี้จงมีแก่พวกท่าน คือ ท้าว
มหาพรหมชื่อติสสะ จักถือปฏิสนธิในเรือนของโมคคลีพราหมณ์, บรรดาท่าน
ทั้งสอง รูปหนึ่งจงชักนำท้าวติสสมหาพรหมนั้นมาบวช, รูปหนึ่งจงให้เรียน
พระพุทธพจน์ ดังนี้
พระเถระแม้เหล่านั้นทุก ๆ รูป มี
พระสัพพกามีเป็นต้น เป็นผู้มีฤทธิ์มาก
รุ่งเรืองแล้วในโลก ดำรงอยู่จนตลอดอายุ
แล้วก็ปรินิพพาน เหมือนกองไฟลุกโชติช่วง
ดับไปแล้วฉะนั้น พระเถระชื่อแม้เหล่านั้น
สิ้นอาสวะแล้ว ถึงความเป็นผู้ชำนาญ
แตกฉานในปฏิสัมภิทา ครั้นทำทุติยสังคายนา
ชำระพระศาสนาให้หมดจด ทำเหตุเพื่อ
ความเจริญแห่งพระสัทธรรม แม้ในอนาคต
แล้ว ก็เข้าถึงอำนาจแห่งความเป็นผู้ไม่เที่ยง
เป็นของลามก ก้าวล่วงได้โดยยากอย่างนี้
แล้ว ก็ควรพากเพียร เพื่อบรรลุอมตบทที่
เป็นบทยั่งยืน ดังนี้แล.
พรรณนาทุติยสังคีติ เป็นอันจบลงแล้วโดยอาการทั้งปวง ด้วยลำดับ
คำเพียงเท่านี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 71
เริ่มเรื่องตติยสังคายนา
[ติสสมหาพรหมเกิดในมนุษยโลก]
แม้ติสสมหาพรหมแล เคลื่อนจากพรหมโลกแล้ว ได้ถือปฏิสนธิ
ในเรือนของโมคคลีพราหมณ์. ฝ่ายพระสิคควเถระ จำเดิมแต่ติสสมหาพรหม
นั้นถือปฏิสนธิ ก็เข้าไปบิณฑบาตยังเรือนของพราหมณ์ตลอด ๗ ปี. แม้วันหนึ่ง
ท่านก็ไม่ได้ข้าวต้มสุกสักวันหนึ่งกระบวยหรือข้าวสวยสักว่าหนึ่งทัพพี. ก็โดยล่วงไป
ถึง ๗ ปี ในวันหนึ่งท่านได้เพียงคำพูดว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด เจ้าข้า !
[พราหมณ์ผู้บิดาของติสสมหาพรหมพบพระสิคควเถระ]
ในวันนั้นนั่นเอง แม้พราหมณ์ทำกิจที่ควรทำบางอย่างภายนอกบ้าน
แล้ว เดินกลับมา ก็พบพระเถระที่ทางสวน จึงเรียนถามว่า บรรพชิตผู้เจริญ !
ท่านได้มายังเรือนของกระผมแล้วหรือ ?
พระเถระ เออ รูปได้ไปแล้ว พราหมณ์ !
พราหมณ์. ท่านได้อะไรบ้างหรือ ?
พระเถระ. เออ ได้ พราหมณ์ !
พราหมณ์นั้น ไปถึงเรือแล้วถามว่า ใครได้ให้อะไร ๆ แก่บรรพชิต
นั้นบ้างหรือ ?
พวกชนในเรือนตอบว่า ไม่ได้ให้อะไร ๆ.
[โมคคลีพราหมณ์คอยจับมุสาของพระเถระ]
ในวันที่ ๒ พราหมณ์นั่งอยู่ที่ประตูเรือนนั่นเอง ด้วยคิดว่า วันนี้
เราจักข่มขี่บรรพชิตด้วยการกล่าวเท็จ. ในวันที่ ๒ พระเถระก็ไปถึงประตูเรือน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 72
ของพราหมณ์. พราหมณ์พอเห็นพระเถระ ก็พูดอย่างนี้ว่า วานนี้ ท่านไม่ได้
อะไร ๆ ในเรือนของกระผมเลย ก็บอกว่า ได้ การกล่าวเท็จควรแก่ท่าน
หรือหนอ ?
พระเถระ พูดว่า พราหมณ์ ! ในเรือนของท่าน ข้าพเจ้าไม่ได้แม้
เพียงคำพูดว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด ดังนี้ ถึง ๗ ปี วานนี้ได้เพียงคำพูด
ว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจึงได้พูดอย่างนี้ หมาย
เอาการปฏิสันถารนั่น.
[โมคคลีพราหมณ์เลื่อมใสในพระเถระ]
ฝ่ายพราหมณ์คิดว่า สมณะเหล่านี้ ได้แม้เพียงการปฏิสันถารก็ยัง
สรรเสริญว่า ได้ (ถ้า) ได้ของที่ควรเคี้ยว ควรบริโภคอะไรอย่างอื่นแล้ว
ทำไมจักไม่สรรเสริญเล่า. พราหมณ์เลื่อมใสอย่างนี้แล้ว จึงสั่งให้ถวายภิกษา
ทัพพีหนึ่ง และกับข้าวที่ควรแก่ภิกษานั้นจากภัตที่เขาจัดไว้เพื่อตน แล้วเรียนว่า
ท่านจักได้ภิกษาชนิดนี้ทุก ๆ เวลา ดังนี้. จำเดิมแต่วันรุ่งขึ้น พราหมณ์นั้น
ได้เห็นความสงบเรียบร้อยของพระเถระผู้เข้าไปอยู่ ก็ยิ่งเลื่อมใสขึ้น แล้วขอร้อง
พระเถระเพื่อต้องการให้ทำภัตกิจในเรือนของตน ตลอดกาลเป็นนิตย์. พระเถระ
รับนิมนต์แล้ว ก็ได้ทำภัตกิจทุกวัน ๆ เมื่อจะกลับ ก็ได้แสดงพระพุทธพจน์
บ้างเล็กน้อย จึงกลับไป.
[พระสิคควเถระเริ่มสนทนาปราศรัยกับติสสมานพ]
มานพแม้นั้นแล มีอายุได้ ๑๖ ปีเท่านั้น ก็ได้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท.
คนอื่นใคร ๆ จะนั่งหรือนอนบนอาสนะหรือที่นอนของสัตว์ผู้บริสุทธิ์ซึ่งมาจาก
พรหมโลก ย่อมไม่ได้. เวลาใด ติสสมานพนั้นไปเรือนของอาจารย์, เวลานั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 73
พวกคนใช้ ก็เอาผ้าขาวคลุมเตียงและตั่งของเขาห้อยไว้. พระเถระดำริว่า บัดนี้
เป็นกาลที่จะให้มานพบวชได้ และเราก็มาที่นี้นานแล้ว, ทั้งการพูดจาอะไร ๆ
กับมานพก็มิได้เกิดขึ้น, เอาเถิด บัดนี้การพูด (กับมานพนั้น) จักเกิดขึ้นได้
เพราะอาศัยบัลลังก์ (ของเขา) ด้วยอุบายอย่างนี้. ท่านจึงไปเรือน (ของมานพ
นั้น) แล้วอธิษฐานให้อาสนะอะไร ๆ อย่างอื่นในเรือนนั้นไม่ปรากฏ ยกเว้น
แต่บัลลังก์ของมานพ. คนในเรือนของพราหมณ์เห็นพระเถระแล้ว เมื่อไม่เห็น
ที่นั่งอะไร ๆ อย่างอื่น ก็ได้ปูลาดบัลลังก์ก็ของมานพ ถวายพระเถระ. พระเถระ
ก็นั่งบนบัลลังก์. ฝ่ายมานพแลก็กลับมาจากเรือนของอาจารย์ ในขณะนั้น
นั่นเอง เห็นพระเถระนั่งอยู่บนบัลลังก์ของตน ก็โกรธ เสียใจ จึงพูดว่า
ใครให้ปูบัลลังก์ของข้าพเจ้าแก่สมณะ ? พระเถระทำภัตกิจเสร็จแล้ว เมื่อ
มานพมีความดุร้ายสงบลงแล้ว จึงได้พูดอย่างนี้ว่า ดูก่อนมานพ ก็ท่านรู้มนต์
อะไร ๆ บ้างหรือ ?
มานพเรียนว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ ! ในเวลานี้ เมื่อกระผมไม่
รู้มนต์, คนอื่นใครเล่าจึงจะรู้ได้ ดังนี้แล้ว ก็ (ย้อน) ถามพระเถระว่า ก็
ท่านเล่า รู้มนต์หรือ ?
พระเถระ พูดว่า จงถามเถิด มานพ ท่านถามแล้ว อาจจะรู้ได้.
[ติสสมานพถามปัญหากับพระเถระ]
ครั้งนั้นแล มานพได้ถามพระเถระในข้อนี้ที่เป็นปม (ลี้ลับซับซ้อน)
ซึ่งมีอยู่ในพระไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ ๑ เกฏภศาสตร์ ๒ พร้อมทั้งอักษร
๑. นิฆัณฑุศาสตร์ ว่าด้วยชื่อสิ่งของต้นไม้เป็นต้น. ๒. เกฏภศาสตร์ ว่าด้วยกิริยาเป็นประโยชน์
แก่กวี.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 74
ประเภทมีอิติหาส๑ เป็นที่ห้า ซึ่งมานพเอง แม้ทั้งอาจารย์ของเขาก็ไม่เห็นนัย
ด้วยตนเอง.
พระเถระแม้ตามปกติก็เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท และบัดนี้ก็ได้บรรลุ
ปฏิสัมภิทา เพราเหตุนั้น ในการแก้ปัญหาเหล่านั้น จึงไม่หนักสำหรับท่าน,
ดังนั้น ท่านจึงแก้ปัญหาเหล่านั้น ในขณะนั้นนั่นเอง แล้วได้พูดกะมานพว่า
ดูก่อนมานพ ท่านถามเรามากพอแล้ว คราวนี้แม้เราก็จะถามปัญหากะเธอสัก
ข้อหนึ่ง เธอจักพยากรณ์แก่เราไหม ?
มานพเรียนว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ ! จงถามเถิด ขอรับกระผม
จักแก้.
[พระสิคควเถระถามปัญหากับมานพ]
พระเถระ จึงถามปัญหานี้ ในจิตตยมกว่า จิตของบุคคลใดเกิดขึ้นอยู่
ไม่ดับ จิตของบุคคลนั้น จักดับ ไม่เกิดขึ้น ก็อีกอย่างหนึ่ง จิตของบุคคลใด
จักดับ ไม่เกิดขึ้น จิตของบุคคลนั้น เกิดขึ้นอยู่ไม่ดับ๒ ? ดังนี้.
มานพ ไม่สามารถจะกำหนด (ข้อปัญหา) ทั้งเบื้องบนหรือเบื้องต่ำได้
จึงเรียนถามว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ ! นี้ชื่อมนต์อะไร ? พระเถระ นี้ชื่อ
พุทธมนต์ มานพ !
มานพ. ท่านผู้เจริญ ! ก็ท่านอาจให้พุทธมนต์นี้ แก่กระผมได้ไหม ?
พระเถระ. อาจให้แก่บุคคลผู้ถือบรรพชาอย่างที่เราถือ มานพ !
[ติสสมานพขออนุญาตมารดาบิดาบวชเพื่อเรียนมนต์]
ต่อจากนั้น มานพเข้าไปหามารดาบิดาแล้วพูดว่า บรรพชิตรูปนี้
ย่อมรู้พุทธมนต์ และท่านก็ไม่ให้แก่ผู้ที่ไม่บวชอยู่ในสำนักของท่าน กระผม
จักบวชในสำนักของท่านนั่น แล้วเรียนเอามนต์.
๑. อิติหาส ชื่อหนังสือว่าด้วยพงศาวดารยืดยาว มีภารตยุทธเป็นต้น อันกล่าวประพันธ์ไว้แต่
กาลก่อน
๒. อภิ. ยมก. ๓๙/๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 75
คราวนั้น มารดาบิดาของเขา สำคัญอยู่ว่า ลูกของเราแม้บวชแล้ว
จงเรียนมนต์เถิด ครั้นเรียนแล้ว ก็จักกลับมาบ้านอีก ดังนี้ จึงอนุญาตว่า
จงเรียนเถิด ลูก !
พระเถระ บอกกรรมฐาน คืออาการ ๓๒ ก่อนแล้วให้เด็กบรรพชา.
ติสสสามเณรนั้น ทำบริกรรมในกรรมฐานนั้นอยู่ ต่อกาลไม่นานนักก็ดำรงอยู่
ในโสดาปัตติผล.
[พระเถระส่งสามเณรติสสะไปยังสำนักพระจัณฑวัชชีเถระ]
ลำดับนั้น พระเถระดำริว่า สามเณร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว
บัดนี้ เธอไม่ควรจะเคลื่อนจากพระศาสนา ก็ถ้าเราจะสอนกรรมฐานแก่เธอ
ให้ยิ่งขึ้นไป เธอก็จะพึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ จะพึงเป็นผู้มีความขวนขวาย
น้อย เพื่อจะเรียนพระพุทธพจน์, บัดนี้ ก็เป็นเวลาที่จะส่งเธอไปยังสำนักของ
พระจัณฑวัชชีเถระ.
ลำดับนั้น พระเถระ ก็พูดกะสามเณรนั้นว่า มาเถิด สามเณร !
เธอจงไปยังสำนักของพระเถระ เรียนเอาพระพุทธพจน์เถิด จงถามถึงความ
ไม่มีโรคตามคำสั่งของเรา, และจงเรียนอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌายะ (ของกระผม)
ส่งกระผมมายังสำนักของใต้เท้า ขอรับ ! เมื่อท่านถามว่า พระอุปัชฌายะของ
เธอชื่ออะไร ? พึงเรียนว่า ชื่อพระสิคควะขอรับ ! เมื่อท่านถามว่า ข้าพเจ้า
ชื่ออะไร ? พึงเรียนอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌายะของกระผม รู้จักชื่อของใต้เท้า
ขอรับ !
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 76
[สามเณรติสสะไปอยู่ในสำนักของพระจัณฑวัชชีเถระ]
สามเณรติสสะ รับว่า ดีละ ขอรับ ! แล้วกราบไหว้ทำประทักษิณ
พระเถระแล้ว เดินทางไปยังสำนักของพระจัณฑวัชชีเถระโดยลำดับ ไหว้แล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
พระเถระ ถามว่า สามเณร ! เธอมาจากไหน ?
สามเณร พระอุปัชฌายะส่งกระผมมายังสำนักของใต้เท้า ขอรับ
พระเถระ พระอุปัชฌายะของเธอ ชื่ออะไร ?
สามเณร ชื่อพระสิคควเถระ ขอรับ !
พระเถระ ข้าพเจ้าชื่ออะไร ?
สามเณร พระอุปัชฌายะของกระผมรู้จักชื่อของใต้เท้า ขอรับ !
พระเถระ จงเก็บบาตรและจีวรเสีย ในบัดนี้เถิด.
สามเณร ดีละ ขอรับ !
[สามเณรติสสะปฏิบัติกิจวัตรตามระเบียบพระวินัย]
สามเณร เก็บบาตรและจีวรแล้ว ในวันรุ่งขึ้น ก็ปัดกวาดบริเวณ
แล้วเข้าไปตั้งน้ำฉันและไม้ชำระฟันไว้.
พระเถระปัดกวาดสถานที่ที่สามเณรกวาดซ้ำอีก เทน้ำนั้นทิ้งแล้วนำน้ำ
อื่นมาไว้ และนำไม้ชำระฟันนั้นออกเสีย แล้วถือเอาไม้ชำระฟันอื่น. พระ-
เถระทำอยู่อย่างนี้ถึง ๗ วัน ในวันที่ ๗ จึงถาม (สามเณร) ซ้ำอีก. สามเณร
ก็เรียนท่านซ้ำอีก เช่นกับที่กล่าวมาแล้วในก่อนนั้นแล.
[พระจัณฑวัชชีเถระให้สามเณรติสสะเรียนพระพุทธพจน์]
พระเถระ รู้ได้ดีว่า พราหมณ์คนนี้ เป็นผู้ว่าง่ายหนอ จึงถามว่า
เธอมาเพื่อประสงค์อะไร ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 77
สามเณรเรียนว่า เพื่อประสงค์จะเรียนพระพุทธพจน์ ขอรับ !
พระเถระสั่งว่า เธอจงเรียนในบัดนี้เถิด สามเณร ! จึงเริ่มให้เรียน
พระพุทธพจน์ ตั้งแต่วันรุ่งขึ้นไป.
[สามเณรติสสะเรียนพระพุทธพจน์พร้อมทั้งอรรถกถา]
ติสสะ ทั้งที่ยังเป็นสามเณรเที่ยว เรียนเอาพระพุทธพจน์ทั้งหมด
พร้อมทั้งอรรถกถา เว้นพระวินัยปิฎก. ก็ในเวลาอุปสมบทแล้วยังไม่ได้พรรษา
เลย ได้เป็นติปิฎกธร (ผู้ทรงไตรปิฎก). พระอาจารย์และพระอุปัชฌายะ
มอบพระพุทธพจน์ทั้งสิ้นไว้ในมือของพระโมคคลีบุตรติสสเถระแล้ว ดำรงอยู่
ตราบเท่าอายุ ปรินิพพาน.
ฝ่ายพระโมคคลีบุตรติสสเถระ เจริญกรรมฐานแล้วบรรจุเป็นพระ-
อรหันต์ ในสมัยต่อมา บอกสอนพระธรรมและพระวินัยแก่ภิกษุเป็นอันมาก.
[พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช]
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพินทุสารมีพระราชโอรส ๑๐๑ พระองค์
พระเจ้าอโศก ทรงสั่งให้สำเร็จโทษพระราชโอรสเหล่านั้นเสียทั้งหมด ยกไว้แต่
เจ้าติสสกุมาร ผู้ร่วมพระมารดาเดียวกันกับพระองค์. ท้าวเธอเมื่อสั่งให้สำเร็จ
โทษ ยังมิได้ทรงอภิเษกเลย ครองราชย์อยู่ถึง ๔ ปี ต่อล่วงไปได้ ๔ ปี
ในปีที่ ๑๘ ถัดจาก ๒๐๐ ปี แต่ปีปรินิพพานของพระตถาคตมา จึงทรงถึงการ
อภิเษกเป็นเอกราช ในชมพูทวีปทั้งสิ้น.
[พระราชอำนาจแผ่ไปเบื้องบนเบื้องต่ำประมาณ ๑ โยชน์]
ก็ด้วยอานุภาพแห่งการทรงอภิเษกของท้าวเธอ พระราชฤทธิ์ทั้งหลาย
เหล่านี้ ได้มาแล้ว. พระราชอำนาจแผ่ไปภายใต้มหาปฐพีประมาณหนึ่งโยชน์
ในอากาศเบื้องบน ก็เหมือนกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 78
พระราชา ทรงมีพระศรัทธาเกิดแล้วในพระศาสนา ได้ทรง (แบ่ง)
น้ำ ๘ หม้อ จากน้ำดื่ม ๑๖ หม้อ ที่พวกเทวดานำมาจากสระอโนดาตวันละ
๘ หาบ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ ถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงพระไตรปิฎก
ประมาณ ๖๐ รูป (วันละ) ๒ หม้อ พระราชทานแก่พระนางอสันธิมิตตา
ผู้เป็นพระอัครมเหษี (วันละ) ๒ หม้อ พระราชทานแก่เหล่าสตรีนักฟ้อน
หนึ่งหมื่นหกพันนาง (วันละ) ๒ หม้อ ทรงใช้สอยด้วยพระองค์เอง (วันละ)
๒ หม้อ. กิจคือการชำระพระราชทนต์และการชำระฟันทุก ๆ วัน ของพระราชา
พระมเหษีของเหล่าสตรีนักฟ้อนหนึ่งหมื่นหกพันนาง และของภิกษุประมาณ
หกหมื่นรูป ย่อมสำเร็จได้ด้วยไม้ชำระฟันชื่อนาคลดา อันสนิทอ่อนนุ่มมีรส
ซึ่งมีอยู่ในป่าหิมพานต์ที่เทวดาทั้งหลายนั่นเองนำมาถวายทุก ๆ วัน.
อนึ่ง เทวดาทั้งหลาย นำมะขามป้อมที่เป็นพระโอสถ สมอที่เป็น
พระโอสถ และมะม่วงสุกที่มีสีเหมือนทอง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยกลิ่นและรส มาถวาย
แด่พระราชาพระองค์นั้นทุก ๆ วันเหมือนกัน ยังได้นำพระภูษาทรง พระภูษา
ห่ม เบญจพรรณ ผ้าเช็ดพระหัตถ์ที่มีสีเหลือง และน้ำทิพยบานจากสระฉัททันต์
มาถวายทุกวันเหมือนอย่างนั้น.
ส่วนพญานาคทั้งหลายก็นำเครื่องพระสุคนธ์สำหรับสนานพระเศียร
พระสุคนธ์สำหรับไล้พระวรกาย ผ้ามีสีคล้ายดอกมะลิ ที่มิได้ทอด้วยด้าย เพื่อ
เป็นพระภูษาห่ม และยาหยอดพระเนตรที่มีค่ามาก จากนาคพิภพมาถวายแด่
พระราชาพระองค์นั้นทุก ๆ วันเช่นกัน.
นกแขกเต้าทั้งหลาย ก็คาบข้าวสาลีเก้าพันเกวียนที่เกิดเอง ในสระ
ฉัททันต์นั่นแล มาถวายทุก ๆ วัน. หนูทั้งหลาย ก็เกล็ดข้างเหล่านั้นให้หมด
แกลบและรำ. ข้าวสารที่หักแม้เมล็ดเดียวก็ไม่มี. ข้าวนี้แล ถึงความเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 79
พระกระยาหารเสวยแห่งพระราชา ในที่ทุกสถาน. ตัวผึ้งทั้งหลาย ก็ทำน้ำผึ้ง.
พวกหมี ก็ผ่าฟืนที่โรงวัว. พวกนกการเวกก็บินมาร้องส่งเสียงอย่างไพเราะ
ทำพลีกรรมถวายแด่พระราชา.
[พระเจ้าอโศกรับสั่งพญากาฬนาคเนรมิตพระพุทธรูปให้ดู]
*พระราชาผู้ทรงประกอบแล้วด้วยฤทธิ์เหล่านี้ วันหนึ่งทรงใช้สัง-
ขลิกพันธ์ อันกระทำด้วยทอง ให้นำพญานาคนามว่า กาฬะ มีอายุตลอด
กัปหนึ่ง ผู้ใดพบเห็นพระรูปของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์เชิญให้ขนดเหนือ
บัลลังก์ อันควรค่ามาก ภายใต้เศวตฉัตร ทรงกระทำการบูชา ด้วยดอกไม้
ทั้งที่เกิดในน้ำ ทั้งที่เกิดบนบก หลายร้อยพรรณและด้วยสุวรรณบุปผา ทรง
แวดล้อมด้วยนางฟ้อน ๑๖,๐๐๐ ผู้ประดับแล้วด้วยอลังการทั้งปวงโดยรอบ
ตรัสว่า เชิญท่านกระทำพระรูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงยังจักร คือ
พระสัทธรรมอันประเสริฐให้หมุนไป ทรงพระญาณอันหาที่สุดมิได้ ให้ถึงคลอง
แห่งดวงตาเหล่านี้ของข้าพเจ้าก่อนเถิด ดังนี้ ทอดพระเนตรพระพุทธรูปอัน
พญานาคนามว่า กาฬะ นั้นเนรมิตแล้ว ประหนึ่งว่าพื้นน้ำอันประดับแล้วด้วย
ดอกกมล อุบล และปุณฑริกซึ่งแย้มบาน ปานประหนึ่งว่าแผ่นฟ้า อันพราว-
พรายด้วยความระยิบระยับด้วยการพวยพุ่งแห่งข่ายรัศมีของกลุ่มดารา เพราะ
ความที่พระพุทธรูปนั้น ทรงมีพระสิริด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
ประดับแล้วด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ซึ่งบังเกิดแล้วด้วยอำนาจแห่งบุญ
อันพรรณรายทั่วพระสรีระทั้งสิ้น งดงามด้วยจอมพระเศียรอันเฉิดฉายด้วยพระ
เกตุมาลา ซึ่งปราศจากมลทินสีต่าง ๆ ประหนึ่งยอดแห่งภูเขาทอง อันแวดวง
ด้วยสายรุ้งและสายฟ้า อันกลมกลืนกับแสงเงิน เป็นประหนึ่งจุดูดดึงดวงตา
* องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๐๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 80
แห่งคณะพรหมทวยเทพมวลมนุษย์ฝูงนาค และหมู่ยักษ์ เพราะพระพุทธรูป
นั้นมีความแพรวพราวด้วยความฉวัดเฉวียนแห่งพระรัศมีอันแผ่ออกข้างละวา
วงล้อมรัศมีอันวิจิตรด้วยสีมีสีเขียวสีเหลืองสีแดงเป็นต้น ได้ทรงกระทำการบูชา
อันได้นามว่า บูชาด้วยดวงตา ตลอด ๗ วัน.
[พระเจ้าอโศกไม่ทรงเลื่อมใสนักบวชนอกศาสนา]
ได้ยินว่า พระราชาทรงรับการอภิเษกแล้ว ได้ทรงนับถือลัทธิพาเหียร
ปาสัณฑะ๑ ตลอดเวลา ๓ ปีทีเดียว. ในปีที่ ๔ จึงได้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธ
ศาสนา. ได้ยินว่า พระเจ้าพินทุสารพระชนกของพระราชาพระองค์นั้น ได้ทรง
นับถือพวกพราหมณ์. ท้าวเธอได้ทรงตั้งนิตยภัตไว้ แก่พวกพราหมณ์ และ
แก่ตาปะขาวและปริพาชกเป็นต้น ผู้ถือลัทธิปาสัณฑะอันเป็นของประจำชาติ
พราหมณ์มีประมาณหกแสนคน. แม้พระเจ้าอโศก ก็ทรงถวายทานที่พระชนก
ให้เป็นไปแล้วในภายในบุรีของพระองค์เหมือนอย่างนั้น ในวันหนึ่ง ได้ประทับ
ยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกพราหมณ์เหล่านั้น ผู้กำลังบริโภค
(อาหาร) ด้วยมารยาทที่เหินห่างจากความสงบเรียบร้อย ไม่มีความสำรวม
อินทรีย์ ทั้งไม่ได้รับฝึกหัดอิริยาบถ (กิริยามารยาท) จึงทรงดำริว่า การที่เรา
ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วให้ทานเช่นนี้ในเขตที่เหมาะสมจึงควร ครั้นทรงดำริ
อย่างนี้แล้ว จึงตรัสเรียกพวกอำมาตย์ว่า ไปเถิด พนาย ! พวกท่านจงนำสมณะ
และพราหมณ์ของตน ๆ ผู้สมมติกันว่าดี มายังภายในพระราชวัง เราจักถวาย
ทาน. พวกอำมาตย์ทูลรับพระราชโองการว่า ดีละ พระเจ้าข้า ! แล้วก็ได้นำ
นักบวชนอกศาสนามีตาปะขาว ปริพาชก อาชีวก และนิครนถ์เป็นต้นนั้น ๆ
มาแล้วทูลว่า ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ! ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์
๑. ปาสัณฑะ คือลัทธิที่ถือผิด หรือเจ้าลัทธิผู้ถือผิด แปลตามรูปศัพท์ว่า ลัทธิขว้างบ่วง คือ
บ่วงคล้องจิตสัตว์ มีอยู่ ๒ คือ ตัณหาปาสะ บ่วงคือตัณหา ๑ ทิฏฐิปาสะ บ่วงคือทิฏฐิ ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 81
ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เวลานั้น พระราชาทรงรับสั่งให้ปูลาดอาสนะ
ทั้งสูงและต่ำไว้ภายในพระราชวัง แล้วรับสั่งว่า เชิญเข้ามาเถิด จึงทรงเชิญ
พวกนักบวชผู้มาแล้ว ๆ ว่า เชิญนั่งบนอาสนะที่สมควรแก่ตน ๆ เถิด ดังนี้.
บรรดานักบวชเหล่านั้น บางพวกนั่งบนตั่งภัทรบิฐ บางพวกก็นั่งบนตั่งแผ่น-
กระดาน. พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาที่นั่งนั้นแล้ว ก็ทรงทราบได้ว่า
นักบวชเหล่านั้นไม่มีธรรมที่เป็นสาระในภายในเลย ได้ถวายของควรเคี้ยวควร
บริโภคที่ควรแก่นักบวชเหล่านั้นแล้ว ก็ทรงส่งกลับไป.
เมื่อกาลเวลาล่วงไปอยู่อย่างนั้น วันหนึ่ง พระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่
ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นนิโครธสามเณร ผู้ฝึกฝนคุ้มครองตน มี
อินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ กำลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวง.
[ประวัตินิโครธสามเณร]
ถามว่า ก็ชื่อว่านิโครธนี้ คืออะไร ? แก้ว่า นิโครธนี้เป็นพระโอรส
ของสุมนราชกุมาร ผู้เป็นพระเชษฐโอรสของพระเจ้าพินทุสาร. ในเรื่องนั้น
มีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้ : -
ดังไม้สดับมาว่า ในเวลาที่พระเจ้าพินทุสาร ( ผู้พระชนก ) ทรงทุพพล-
ภาพนั่นแล ( ทรงพระประชวรหนัก ) อโศกกุมาร ได้สละราชสมบัติในกรุงอุชเชนี
ที่ตนได้แล้ว เสด็จกลับมายึดเอาพระนครทั้งหมดไว้ในเงื้อมมือของตน แล้ว
ได้จับสุมนราชกุมารไว้. ในวันนั้นเอง พระเทวีชื่อสุมนา ของสุมนราชกุมาร
ได้ทรงพระครรภ์แก่เต็มที่แล้ว. พระนางสุมนาเทวีนั้นปลอมเพศหนี้ เดินมุ่ง
ไปสู่บ้านคนจัณฑาลแห่งใดแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ได้ทรงสดับเสียงของเทวดา
ผู้สิงอยู่ที่ต้นนิโครธแห่งใดแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากเรือนของหัวหน้าหมู่บ้าน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 82
คนจัณฑาล ซึ่งกล่าวเชิญอยู่ว่า ข้าแต่พระแม่เจ้าสุมนา ! ขอจงเสด็จเข้ามา
ทางนี้เถิด ก็ได้เสด็จเข้าไปใกล้เทวดานั้น. เทวดาได้นิรมิตศาลาหลังหนึ่ง
ด้วยอานุภาพของตน แล้วได้ถวายว่า ของพระแม่เจ้า จงประทับอยู่ที่ศาลา
หลังนี้เถิด. พระเทวีนั้นได้เสด็จเข้าไปสู่ศาลาหลังนั้นแล้ว. ในวันที่พระนาง
เสด็จเข้าไปถึงนั่นเอง ก็ประสูติพระโอรส. เพราะเหตุที่พระโอรสนั้น อัน
เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นนิโครธรักษาไว้ พระนางเทวีนั้น จึงทรงขนานพระนามว่า
นิโครธ. หัวหน้าหมู่บ้านคนจัณฑาลได้สำคัญพระเทวีนั้น เป็นดุจธิดาแห่งนาย
ของตน ตั้งแต่วันที่ตนได้พบเห็น จึงได้ตั้งขอปฏิบัติประจำไว้. พระราชธิดา
ได้ประทับอยู่ ณ สถานที่นั้นสิ้น ๗ ปี. ฝ่ายนิโครธกุมาร ก็มีชนมายุได้ ๗ ปี
แล้ว.
[นิโครธกุมารบวชสำเร็จเป็นพระอรหันต์พระชนม์ ๗ ปี]
ในครั้งนั้น พระเถระรูปหนึ่ง ชื่อมหาวรุณเถระ เป็นพระอรหันต์
ได้เห็นความถึงพร้อมแห่งเหตุของทารก ได้พิจารณาคิดว่า บัดนี้ ทารกมี
ชนมายุได้ ๗ ปี, เป็นกาลสมควรที่จะให้เขาบวชได้ จึงทูลพระราชธิดาให้
ทรงทราบ แล้วให้นิโครธกุมารนั้นบวช. ในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเอง พระกุมาร
ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์. วันหนึ่งนิโครธสามเณรนั้น ได้ชำระร่างกายแต่
เช้าตรู่ ทำอาจาริยวัตรและอุปัชฌายวัตรเสร็จแล้ว ถือเอาบาตรและจีวร คิดว่า
เราจะไปยังประตูเรือนของโยมมารดา แล้วก็ออกไป. ก็นิวาสสถานแห่งโยม
มารดาของนิโครธสามเณรนั้น ต้องเดินเข้าไปยังพระนคร ทางประตูด้านทิศ
ทักษิณ ผ่านท่ามกลางพระนครไปออกทางประตูด้านทิศปราจีน. ก็โดยสมัยนั้น
พระเจ้าอโศกธรรมราช ทรงเสด็จจงกรมอยู่ที่สีหบัญชร ผินพระพักตร์ไปทาง
ทิศปราจีน. ขณะนั้นเอง นิโครธสามเณร ผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ทอด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 83
สายดูประมาณชั่วแอก เดินไปถึงพระลานหลวง. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
จึงได้กล่าวไว้ว่า วันหนึ่งพระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ทอด
พระเนตรเห็นนิโครธสามเณร ผู้ฝึกฝนคุ้มคุ้มครองตน มีอินทรีย์สงบ สมบูรณ์
ด้วยอิริยาบถ กำลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวง ดังนี้.
[พระเจ้าอโศกทรงเลื่อมใสนิโครธสามเณร]
ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว พระราชาได้ทรงพระรำพึง ดังนี้ว่า
ชนแม้ทั้งหมดนี้ มีจิตฟุ้งซ่าน มีส่วนเปรียบเหมือนมฤคที่วิ่งพล่านไป, ส่วน
ทารกคนนี้ ไม่มีจิตฟุ้งซ่าน, การมองดู การเหลียวดู การคู้แขน และการ
เหยียดแขนของเขางามยิ่งนัก, ภายในของทารกคนนี้ น่าจักมีโลกุตรธรรม
แน่นอน ดังนี้ พร้อมกับการทอดพระเนตรเห็นของพระราชานั่นเอง พระ-
หฤทัยก็เลื่อมใสในสามเณร, ความรักก็ได้ตั้งขึ้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่าเพราะได้ยินว่า แม้ในกาลก่อน ในเวลาทำบุญ นิโครธสามเณรนี้
ได้เป็นพ่อค้าผู้เป็นพี่ชายใหญ่ของพระราชา.
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า
ความรักนั้น ย่อมเกิดเพราะเหตุ ๒
อย่าง คือ เพราะการอยู่ร่วมกันในภพก่อน ๑
เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เหมือน
อุบลและปทุมเป็นต้นที่เหลือ เมื่อเกิดในน้ำ
ย่อมเกิดได้เพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือ
น้ำและเปือกตมฉะนั้น*.
* ชุ. ชา. ๒๗/๙๑. ตทฏฺกถา. ๓/๓๑๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 84
[พระเจ้าอโศกมหาราชรับสั่งให้นิมนต์สามเณรเข้ามา]
ลำดับนั้น พระราชาทรงเกิดความรัก มีความนับถือมาก ( ในสามเณร
นั้น ) จึงทรงสั่งพวกอำมาตย์ไปว่า พวกเธอจงนิมนต์สามเณรนั่นมา. ท้าวเธอ
ทรงรำพึงว่า อำมาตย์เหล่านั้น มัวชักช้าอยู่ จึงทรงส่งไปอีก ๒-๓ นายว่า
จงให้สามเณรนั้นรีบมาเถิด. สามเณรได้เดินไปตามปกติของตนนั่นเอง.
พระราชาตรัสว่า ท่านทราบอาสนะที่ควรแล้ว นิมนต์นั่งเถิด. สามเณรนั้น
เหลียวดูข้างโน้นข้างนี้แล้วคิดว่า บัดนี้ ไม่มีภิกษุเหล่าอื่น จึงเดินเข้าไปใกล้
บัลลังก์ ซึ่งยกเศวตฉัตรกั้นไว้ แล้วแสดงอาการแด่พระราชา เพื่อต้องการให้
ทรงรับบาตร. พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นสามเณรนั้นกำลังเดินเข้าไป
ใกล้บัลลังก์นั่นแล จึงทรงดำริว่า วันนี้เอง สามเณรรูปนี้ จักเป็นเจ้าของ
ราชมณเฑียรนี้ในบัดนี้ สามเณรถวายบาตรที่พระหัตถ์พระราชา แล้วขึ้นนั่ง
บนบัลลังก์. พระราชาทรงน้อมถวายอาหารทุกชนิดคือข้าวต้ม ของควรเคี้ยว
และข้าวสวย ที่เขาเตรียมไว้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ ( แก่สามเณรนั้น).
สามเณรรับอาหารพอยังอัตภาพของตนให้เป็นไปเท่านั้น.
[พระเจ้าอโศกมหาราชตรัสถามข้อธรรม]
ในที่สุดภัตกิจ พระราชา ตรัสถามว่า พ่อเณรรู้พระโอวาทที่พระ-
ศาสดาทรงประทาน แก่พวกพ่อเณรหรือ ?
สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! อาตมภาพ ย่อมรู้โดยเอกเทศ
(เท่านั้น).
พระราชา ทรงรับสั่งว่า พ่อเณร ! ขอจงแสดงโอวาทที่พ่อเณรรู้นั้น
แก่โยมบ้าง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 85
สามเณร ทูลรับว่าได้ มหาบพิตร ! ดังนี้แล้ว ได้กล่าวอัปปมาทวรรค
ในธรรมบท ตามสมควรแด่พระราชา เพื่อประโยชน์แก่การอนุโมทนา.
พระราชาพอได้ทรงสดับว่า
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย,
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย*
ดังนี้เป็นต้น
ก็ทรงรับสั่งว่า พ่อเณร ! จงยังธรรมเทศนาที่ข้าพเจ้าได้รู้แล้วให้จบ
ไว้ก่อน ดังนี้
[พระเจ้าอโศกมหาราชถวายนิตยภัตสามเณรเป็นทวีคูณ]
ในอวสานแห่งการอนุโมทนา พระราชาทรงรับสั่งว่า พ่อเณร ! โยม
จะถวายธุวภัต แก่พ่อเณร ๘ ที่.
สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! อาตมภาพ จะถวายธุวภัต
เหล่านั้น แก่พระอุปัชฌายะ (ของอาตมภาพ).
พระราชา ตรัสถามว่า พ่อเณร ! ผู้ที่ชื่อว่าอุปัชฌายะนี้ ได้แก่คน
เช่นไร ?
สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! ผู้ที่เห็นโทษน้อยใหญ่ แล้ว
ตักเตือน และให้ระลึก ชื่อว่าพระอุปัชฌายะ.
พระราชา ทรงรับสั่งว่า พ่อเณร ! โยมจะถวายภัต ๘ ที่ แม้อื่นอีก
แก่พ่อเณร.
สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! อาตมภาพ จะถวายภัต
เหล่านั้น แก่พระอาจารย์ (ของอาตมภาพ).
* ช. ธ. ๒๕/๑๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 86
พระราชา ตรัสถามว่า พ่อเณร ! ผู้ที่ชื่อว่าพระอาจารย์นี้ ได้แก่คน
เช่นไร ?
สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! ผู้ที่ให้อันเตวาสิ และ
สัทธิวิหาริก ตั้งอยู่ในธรรมที่ควรศึกษา ในพระศาสนานี้ ชื่อว่าพระอาจารย์.
พระราชา ทรงรับสั่งว่า ดีละ พระเณร ! โยมจะถวายภัต ๘ ที่แม้อื่นอีก
แก่พ่อเณร.
สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! อาตมภาพ จะถวายภัต
เหล่านั้น แก่พระภิกษุสงฆ์.
พระราชา ตรัสถามว่า พ่อเณร ! ผู้ที่ชื่อว่าภิกษุสงฆ์นี้ ได้แก่คน
เช่นไร ?
สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! บรรพชาและอุปสมบทของ
อาจารย์และอุปัชฌายะของอาตมภาพ และบรรพชาของอาตมภาพ อาศัยหมู่
ภิกษุใด หมู่ภิกษุนั้น ชื่อว่าภิกษุสงฆ์.
พระราชา ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง แล้วทรงรับสั่งว่า
พ่อเณร ! โยมจะถวายภัต ๘ ที่แม้ยื่นอีก แก่พ่อเณร.
สามเณร ทูลรับว่า ดีละ ในวันรุ่งขึ้นได้พาเอาภิกษุ ๓๒ รูป เข้าไป
ยังภายในพระราชวัง ฉันภัตตาหาร.
[พระเจ้าอโศกมหาราชถวายนิตยภัตแก่ภิกษุหกแสนรูป]
พระราชา ทรงปวารณาว่า ภิกษุ ๓๒ รูปแม้อื่น พร้อมทั้งพวกท่าน
จงรับภิกษา พรุ่งนี้เถิด ดังนี้แล้ว ทรงให้เพิ่มภิกษุมากขึ้นทุกวัน ๆ โดยอุบาย
นั้นนั่นแล ไดทรงตัดภัตของพวกนักบวชนอกศาสนา มีพราหมณ์และปริพาชก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 87
เป็นต้น ตั้งหกแสนคนเสียแล้วได้ทรงตั้งนิตยภัตไว้สำหรับภิกษุหกแสนรูป
ในภายในพระราชนิเวศน์ เพราะความเลื่อมใสที่เป็นไปในพระนิโครธเถระ*
นั่นเอง, ฝ่ายพระนิโครธเถระ ก็ให้พระราชา พร้อมทั้งบริษัทดำรงอยู่ใน
ไตรสรณคมน์ และเบญจศีล ทำให้เป็นผู้มีความเสื่อมใสไม่ไหวหวั่น ด้วยความ
เสื่อมใสอย่างปุถุชน แล้วให้ดำรงมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา
[พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างวัด และเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ แห่ง]
พระราชา ทรงรับสั่งให้นายช่างสร้างมหาวิหาร ชื่อว่าอโศการาม
แล้วก็ทรงตั้งภัตไว้เพื่อถวายภิกษุหกแสนรูปอีก และทรงรับสั่งให้สร้างพระ
วิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ซึ่งประดับด้วยพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ ไว้ในพระนคร
๘๔,๐๐๐ แห่ง ทั่วชมพูทวีปทั้งสิ้น โดยความชอบธรรมนั่นเอง หาใช้โดย
ไม่ชอบธรรมไม่
ได้ยินว่า ในวันหนึ่ง พระราชาทรงถวายมหาทานที่อโศการาม
ประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งนับได้ประมาณหกแสนรูป ทรง
ปวารณาสงฆ์ ด้วยปัจจัย ๔ แล้วตรัสถามปัญหานี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ชื่อว่า
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว มีประมาณไร ? พระสงฆ์
ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
แล้วนั้น ว่าโดยองค์ มีองค์ ๙ ว่าโดยขันธ์ มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.
พระราชาทรงเลื่อมใสในพระธรรม แล้วทรงรับสั่งว่า เราจักบูชาพระธรรมขันธ์
แต่ละขันธ์ด้วยวิหารแต่ละหลัง ๆ ดังนี้ ในวันเดียวเท่านั้น ได้ทรงสละ
พระราชทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิ แล้วได้ทรงบังครับพวกอำมาตย์ว่า ไปเถิดพนาย !
พวกท่านเมื่อให้สร้างวิหารในนครแต่ละนคร จงให้สร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐
* พระนิโครธเถระ ก็คือนิโครธสามเณรนั่นเอง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 88
หลัง ไว้ในพระนคร ๘๔,๐๐๐ นครเถิด ดังนี้ ส่วนพระองค์เองได้ทรงเริ่ม
การงานเพื่อประโยชน์แก่อโศกมหาวิหาร ในอโศการาม. พระสงฆ์ได้ให้
พระเถระชื่อว่าอินทคุตตเถระ ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สิ้นอาสวะแล้ว
เป็นนวกัมมาธิฏฐายี.* พระเถระได้ยังการงานที่ยังไม่สำเร็จนั้น ๆ ให้แล้วเสร็จ
ด้วยอานุภาพของตน. พระเถระได้ให้การสร้างพระวิหารสำเร็จลง ๓ ปีแม้
ด้วยอานุภาพอย่างนั้น.
[พระจ้าอโศกมหาราชทรงทำการฉลองพระวิหาร]
ข่าวสารจากทุก ๆ นคร ได้มาถึงวันเดียวกันนั่นเอง. พวกอำมาตย์
ได้กราบทูลแด่พระราชาว่า ขอเดชะ พระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลังจากสร้างเสร็จแล้ว.
พระราชา ทรงรับสั่งให้เที่ยวตีกลองประกาศทั่วพระนครว่า ล่วงไป ๗ วัน
แต่วันนี้ จักมีการฉลองพระวิหาร ขอให้ประชาชนทั้งหมด จงสมาทานองค์ศีล
๘ เตรียมการฉลองพระวิหาร ทั้งภายในพระนคร และภายนอกพระนคร
ล่วงไป ๗ วัน แต่การฉลองพระวิหารนั้น พระราชาแวดล้อมด้วยหมู่เสนามี
องค์ ๔ นับได้หลายแสน ซึ่งแต่ตัวด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง เสด็จเที่ยวชม
พระนคร ที่มหาชนผู้มีความอุตสาหะประสงค์ตกแต่งพระนคร ได้ตกแต่ง
ประดับประดาแล้ว ให้เป็นเหมือนมีความสง่างามยิ่งกว่าสิริ แห่งราชธานีชื่อ
อมรวดี ในเทวโลก เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระวิหาร ได้ประทับยืนอยู่
ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์. ก็ภิกษุที่ประชุมกันในขณะนั้นมีประมาณ ๘๐ โกฏิ.
ก็แลพวกนางภิกษุณีมีประมาณเก้าล้านหกแสน. บรรดาภิกษุเหล่านั้น เฉพาะ
ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพนับได้ประมาณแสนรูป. ภิกษุขีณาสพเหล่านั้น ได้มี
ความวิตกข้อนี้ว่า ถ้าพระราชาจะพึงทอดพระเนตรเห็นอธิการ (ทานอันยิ่ง)
* นวกัมมาธิฏฐายี คือผู้ดูแลควบคุมงานก่อสร้างใหม่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 89
ไม่มีส่วนเหลือของพระองค์ ก็จะพึงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ต่อจากนั้น จึงได้ทำปาฏิหาริย์ ชื่อว่าโลกวิวรณ์ (คือการเปิดโลก).
[พระเจ้าอโศกมหาราชทอดพระเนตรเห็นทั่วทั้งชมพูทวีป]
พระราชา ประทับยืนอยู่ที่อโศการามนั้นแล ทรงเหลียวดูตลอดทั้ง
๔ ทิศ ได้ทอดพระเนตรเห็นชมพูทวีป ซึ่งมีมหาสมุทรเป็นที่สุดโดยรอบ และ
พระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ที่รุ่งโรจน์อยู่ด้วยการบูชาในการฉลอดพระวิหารอย่าง
โอฬาร.
ท้าวเธอเมื่อทอดพระเนตรดูสมบัตินั้น ก็ทรงประกอบด้วยปีติปราโมทย์
อย่างโอฬาร ทรงพระดำริว่า ก็มีอยู่หรือที่ปีติปราโมทย์เห็นปานนี้ เคยเกิดขึ้น
แก่ใคร ๆ อื่นบ้าง ? จึงตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ใน
พระศาสนาของพระทศพลโลกนาถเจ้าของเราทั้งหลาย มีใครบ้า ได้สละบริจาค
อย่างมากมาย การบริจาคของใครเล่ายิ่งใหญ่. ภิกษุสงฆ์ได้มอบการวิสัชนา
ปัญหาที่พระราชาตรัสถาม ให้เป็นหน้าที่ของท่านโมคคลีบุตรติสสเถระ. พระ-
เถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! ขึ้นชื่อว่าผู้ถวายปัจจัย ในพระศาสนาของ
พระทศพลเช่นกับพระองค์ ในเมื่อพระตถาคตเจ้าแม้ยังทรงพระชนม์อยู่ ไม่มี
ใครเลย พระองค์เท่านั้น ทรงมีการบริจาคยิ่งใหญ่.
[พระเจ้าอโศกยังไม่เป็นทายาทแห่งพระศาสนา]
พระราชา ทรงสดับคำของพระเถระแล้ว ได้มีพระวรกายอันปีติ
ปราโมทย์อย่างโอฬารถูกต้องแล้ว หาระหว่างมิได้ จึงทรงพระดำริว่า ได้ยินว่า
ผู้ที่ถวายปัจจัยเช่นกับเรา ไม่มี ได้ยินว่า เรามีการบริจาคยิ่งใหญ่ ได้ยินว่า
เรากำลังยกย่องเชิดชูพระศาสนา ด้วยไทยธรรม ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ เราจะได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 90
ชื่อว่า เป็นทายาทแห่งพระศาสนาหรือไม่. ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงตรัสถาม
ภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! โยมเป็นทายาทแห่งพระศาสนา หรือ
ยังหนอ ? ในลำดับนั้น ท่านพระโมคคลีบุตรติสสเถระ ฟังพระราชดำรัส
นี้แล้ว เมื่อเล็งเห็นอุปนิสัยสมบัติ แห่งพระมหินท์ผู้เป็นพระโอรส ( ของท้าว
เธอ ) จึงดำริว่า ถ้าพระกุมารนี้ จักทรงผนวชไซร้ พระศาสนาก็จักเจริญ
อย่างยิ่ง จึงถวายพระพรเรื่องนี้กะพระราชาว่า มหาบพิตร ! ผู้ที่จะเป็นทายาท
แห่งพระศาสนา หาใช่ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ ก็อีกอย่างหนึ่งแล ผู้ถวายปัจจัย
เช่นนั้น ย่อมถึงความนับว่า ปัจจัยทายก หรือว่า ผู้อุปัฏฐาก (เท่านั้น)
มหาบพิตร ! แท้จริง แม้ผู้ใดพึงถวายปัจจัยกองตั้งแต่แผ่นดินขนาดจดถึง
พรหมโลก แม้ผู้นั้น ก็ยังไม่ถึงความนับว่า เป็นทายาทในพระศาสนาได้.
[ผู้ที่ให้บุตรบวชชื่อว่าได้เป็นทายาทแห่งพระศาสนา]
ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น
ทายาทแห่งพระศาสนา จะมีได้อย่างไรเล่า ? พระเถระถวายพระพรว่า มหา-
บพิตร ! บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง จะเป็นผู้มั่งคั่งก็ตาม จะเป็นผู้ยากจนก็ตาม ให้บุตร
ผู้เป็นโอรสของตนบวช (ในพระศาสนา) มหาบพิตร ! บุคคลนี้ ท่านเรียกว่า
เป็นทายาทแห่งพระศาสนา.
เมื่อพระโมคคลีบุตรติสสเถระ ถวายพระพรอย่างนั้นแล้ว พระเจ้า
อโศกธรรมราช ทรงพระดำริว่า ได้ยินว่า เราแม้ทำการบริจาคเห็นปานนี้แล้ว
ก็ยังไม่ถึงความเป็นทายาทแห่งพระศาสนาได้เลย ทรงปรารถนาความเป็นทายาท
ในพระศาสนาอยู่ จึงทรงทอดพระเนตรเหลียวดู ข้างโน้นและข้างนี้ ได้ทอด
พระเนตรเห็นพระมหินทกุมาร (ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์) ซึ่งประทับ
ยืนอยู่ในที่ไม่ไกล. ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว ท้าวเธอก็ทรงพระรำพึงดังนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 91
ว่า เราประสงค์จะสถาปนาพระกุมารองค์นี้ไว้ในตำแหน่งอุปราช จำเดิมแต่เวลา
ติสสกุมารผนวชแล้ว ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น การบรรพชาแลเป็นคุณชาติอุดม
กว่าตำแหน่งอุปราชเสียอีก. ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงรับสั่งกะพระกุมารว่า
พ่อ ! ลูกจะสามารถบวชได้ไหม ? พระกุมาร แม้ตามปกติ จำเดิมแต่เวลา
พระติสสกุมารทรงผนวชแล้ว ก็มีพระประสงค์อยากจะผนวชอยู่ทีเดียว พอได้
ทรงสดับพระราชดำรัสก็เกิดพระปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ
สมมติเทพ ! หม่อมฉันจะบวช ทูลกระหม่อม ทรงพระบรมราชานุญาตให้
กระหม่อมฉันบวชแล้ว จะได้เป็นทายาทในพระศาสนา.
ก็โดยสมัยนั้นแล แม้พระนางสังฆมิตตา พระราชธิดา ( ของท้าวเธอ)
ก็ประทับยืนอยู่ในสถานที่นั้นเอง. พระกุมารทรงพระนามว่า อัคคิพรหม ผู้เป็น
พระสวามีของพระนางสังฆมิตตานั้นแล ก็ได้ผนวชร่วมกับพระติสสกุมารผู้เป็น
อุปราชแล้ว. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระนางสังฆมิตตานั้นแล้ว จึงรับสั่ง
ว่า แม่ ! แม้ลูกสามารถจะบวชได้ไหม ? พระนางทูลตอบว่า ดีละ ทูลกระ-
หม่อมพ่อ ! หม่อมฉันสามารถ. พระราชาทรงขอบใจพระราชโอรสและธิดา
แล้ว มีพระราชหฤทัยเบิกบาน จึงตรัสพระดำรัสนี้กะพระภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่
พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย จงให้ทารกเหล่านี้บวช แล้ว
กระทำให้โยมเป็นทายาทในพระศาสนาเถิด. พระสงฆ์รับพระราชดำรัสแล้ว
ก็ให้พระกุมารบรรพชา โดยมีพระโมคคลีบุตรติสสเถระ เป็นพระอุปัชฌายะ
และมีพระมหาเทวเถระเป็นอาจารย์ ให้อุปสมบท โดยมีพระมัชฌันติกเถระ
เป็นอาจารย์. ได้ยินว่า คราวนั้น พระกุมารมีพระชนมายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 92
[พระมหินทเถระได้บรรลุพระอรหัตเวลาอุปสมบท]
ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ในมณฑลอุปสม-
บทนั้นนั่นแล. พระอาจารย์แม้ของพระนางสังฆมิตตาราชธิดา ชื่อว่าพระอายุ
ปาลิตเถรี ส่วนพระอุปัชฌายะ ชื่อพระธัมมปาลิตเถรี. ได้ยินว่า คราวนั้น
พระนางสังฆมิตตา มีพระชนมายุได้ ๑๘ ปี. ภิกษุสงฆ์ยังพระนางสังฆมิตตานั้น
ผู้พอบรรพชาแล้ว ให้ดำรงอยู่ในสิกขา ในโรงสีมานั้นนั่นแล.
เวลาที่พระโอรสและพระธิดาทั้ง ๒ องค์ผนวช พระราชาทรงอภิเษก
ครองราชย์ได้ ๖ ปี. ภายหลังตั้งแต่เวลาที่ทรงผนวชแล้ว พระมหินทเถระ
ก็ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมและพระวินัย อยู่ในสำนักพระอุปัชฌายะของตน
นั่นเอง ได้เรียนเอาเถรวาททั้งหมด พร้อมทั้งอรรถกถา ที่ท่านสงเคราะห์ด้วย
พระไตปิฎก ซึ่งขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๒ คราว จบในภายใน ๓ พรรษา แล้วได้เป็น
ปาโมกข์ (หัวหน้า) ของพวกภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป ผู้เป็นอันเตวาสิก
แห่งอุปัชฌายะของตน. คราวนั้นพระเจ้าอโศกธรรมราช ทรงอภิเษกครองราชย์
ได้ ๙ ปี.
[พระเจ้าอโศกทรงตั้งมูลนิธิถวายสงฆ์ห้าแสน]
ก็ในรัชกาลที่พระราชาทรงอภิเษกได้ ๘ ปีนั่นแล พระโกนตบุตรติสส-
เถระ เที่ยวไปเพื่อต้องการยาบำบัดพยาธิ ด้วยภิกขาจารวัตรก็ไม่ได้เนยใสสักว่า
ฟายมือหนึ่ง เลยสิ้นอายุสังขาร เพราะกำลังแห่งพยาธิ ได้โอวาทภิกษุสงฆ์
ด้วยความไม่ประมาท แล้วนั่งโดยบัลลังก์ในอากาศ เข้าเตโชธาตุปรินิพพาน
แล้ว.
พระราชา ทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้ว ได้ทรงทำสักการะแก่
พระเถระ แล้วทรงรับสั่งว่า ขึ้นชื้อว่า เมื่อเราครองราชย์อยู่ พวกภิกษุยังหา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 93
ปัจจัยได้ยากอย่างนี้ แล้วทรงรับสั่งให้สร้างสระโบกขรณีไว้ที่ประตูทั้ง ๔ แห่ง
พระนคร ให้บรรจุเต็มด้วยเภสัชถวายไว้. ได้ยินว่าสมัยนั้นเครื่องบรรณาการ
ตั้งห้าแสน เกิดขึ้นแก่พระราชาทุกวัน ๆ คือ ที่ประตูทั้ง ๔ แห่งพระนคร
ปาตลีบุตรสี่แสน ที่สภาหนึ่งแสนครั้งนั้นพระราชาทรงถวายท่านนิโครธ-
เถระ วันละหนึ่งแสน หนึ่งแสนเพื่อต้องการบูชาด้วยวัตถุมีของหอมและ
ดอกไม้เป็นต้น ที่พุทธเจดีย์ หนึ่งแสนเพื่อต้องการบูชาพระธรรม คือ
ทรงน้อมถวายแสนนั้น เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย ๔ แก่พวกภิกษุผู้ทรงธรรมเป็น
พหูสูต แสนหนึ่งถวายภิกษุสงฆ์ ถวายอีกแสนหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่เภสัชที่
ประตูทั้ง ๔ ด้าน. ลาภและสักการะอันโอฬาร เกิดแล้วในพระศาสนาด้วยอาการ
อย่างนี้.
[พวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา]
เดียรถีย์ทั้งหลาย เสื่อมลาภและสักการะแล้ว ชั้นที่สุดไม่ได้ แม้สักว่า
ของกินและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อปรารถนาลาภและสักการะ จึงปลอมบวชใน
พระพุทธศาสนาแล้วแสดงทิฏฐิ (ลัทธิ) ของตน ๆ ว่า นี้ธรรม นี้วินัย.
พวกเดียรถีย์เหล่านั้น แม้เมื่อไม่ได้บวชก็ปลงผมเสียเอง แล้วนุ่งผ้ากาสายะ
เที่ยวไปในวิหารทั้งหลาย เข้าไป (ร่วม) อุโบสถบ้าง ปวารณาบ้าง สังฆกรรม
บ้าง คณะกรรมบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย ไม่ยอมทำอุโบสถ ร่วมกับพวกภิกษุ
เดียรถีย์เหล่านั้น. คราวนั้น ท่านพระโมคคลีบุตรติสสเถระ ดำริว่า บัดนี้
อธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ไม่นานเลย อธิกรณ์นั้นจักหยาบช้าขึ้น ก็เราอยู่ในท่ามกลาง
แห่งภิกษุเดียรถีย์เหล่านั้น จะไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นได้ ดังนี้ จึงมอบการ
คณะถวายท่านพระมหินทเถระ ประสงค์จะพักอยู่โดยผาสุกวิหารด้วยตนเอง
แล้วได้ไปยังอโธคังคบรรพต.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 94
[พวกเดียรถีย์แสดงลัทธินอกพุทธศาสนา]
พวกเดียรถีย์แม้เหล่านั้นแล ถึงถูกภิกษุสงฆ์ปรามปราบโดยธรรม
โดยวินัยโดยสัตถุศาสนา ก็ไม่ยอมตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติอันคล้อยตามพระธรรม
วินัย ทั้งได้ให้เสนียดจัญไร มลทิน และเสี้ยนหนาม ตั้งขึ้นแก่พระศาสนา
มิใช่อย่างเดียว บางพวกบำเรอไฟ บางพวกย่างตนให้ร้อนอยู่ในเครื่องอบตน
๕ อย่าง บางพวกประพฤติหมุนไปตามพระอาทิตย์ บางพวกก็ยืนยันพูดว่า
พวกเรา จักทำลายพระธรรมวินัยของพวกท่าน ดังนี้.
คราวนั้น ภิกษุสงฆ์ ไม่ได้ทำอุโบสถหรือปวารณา ร่วมกับเดียรถีย์
เหล่านั้นเลย. ในวัดอโศกการาม อุโบสถขาดไปถึง ๗ ปี. พวกภิกษุ ได้กราบ
ทูลเรื่องนั้นแม้แต่พระราชาแล้ว.
[พระเจ้าอโศกทรงใช้อำมาตย์ให้ระงับอธิกรณ์]
พระราชา ทรงบังคับอำมาตย์นายหนึ่งไปว่า เธอไปยังพระวิหารระงับ
อธิกรณ์แล้ว นิมนต์ภิกษุสงฆ์ให้ทำอุโบสถเถิด ดังนี้. อำมาตย์ไม่อาจจะ
ทูลย้อนถามพระราชาได้ จึงเข้าไปหาอำมาตย์พวกอื่นแล้วกล่าวว่า พระราชา
ทรงส่งข้าพเจ้าไปว่า เธอจงไปยังพระวิหาร ระงับอธิกรณ์แล้ว ทำอุโบสถเถิด
ดังนี้ อธิกรณ์จะระงับได้อย่างไรหนอ ? อำมาตย์เหล่านั้นพูดว่า พวกข้าพเจ้า
กำหนดหมายได้ ด้วยอุบายอย่างนี้ว่า พวกราชบุตรเมื่อจะปราบปัจจันตชนบท
ให้ราบคาบ ก็ต้องฆ่าพวกโจร ชื่อฉันใด ภิกษุเหล่าใดไม่ทำอุโบสถ พระราชา
จักมีพระราชประสงค์ให้ฆ่าภิกษุเหล่านั้นเสีย ฉันนั้นเหมือนกัน.
ลำดับนั้น อำมาตย์นายนั้น ไปยังพระวิหาร นัดให้ภิกษุสงฆ์ประชุม
กันแล้ว เรียนชี้แจงว่า พระราชาทรงส่งข้าพเจ้ามาว่า เธอจงนิมนต์ภิกษุสงฆ์ให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 95
ทำอุโบสถเถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! บัดนี้ ขอพวกท่านจงทำอุโบสถ-
กรรมเถิด. พวกภิกษุพูดว่า อาตมภาพทั้งหลาย จะไม่ทำอุโบสถร่วมกับเหล่า
เดียรถีย์. อำมาตย์เริ่มเอาดาบตัดศีรษะ (ของเหล่าภิกษุ) ให้ตกไป ตั้งต้นแต่
อาสนะของพระเถระลงไป. ท่านพระติสสเถระได้เห็นอำมาตย์นั้น ผู้ปฏิบัติผิด
อย่างนั้นแล.
[ประวัติของพระติสสเถระจะออกบวช]
ชื่อว่า พระติสสเถระไม่ใช่คนธรรมดาสามัญ คือพระภาดาร่วมพระราช
มารดาเดียวกันกับพระราชา มีนามว่าติสสกุมาร. ได้ยินว่าพระราชาทรงอภิเษก
แล้ว ได้ทรงตั้งติสสกุมารนั้นไว้ ในตำแหน่งอุปราช. วันหนึ่ง ติสสกุมารนั้น
เสด็จไปเที่ยวป่า ได้ทอดพระเนตรเห็นหมู่มฤคฝูงใหญ่ ซึ่งเล่นอยู่ด้วยการเล่น
ตามความคิด (คือตามความใคร่ของตน). ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว
ติสสกุมารนั้นได้ทรงมีพระรำพึงดังนี้ว่า มฤคเหล่านี้มีหญ้าเป็นอาหาร ยังเล่น
กันได้อย่างนี้ก่อน. ส่วนพระสมณะเหล่านี้ ฉันโภชนะอันประณีต ในราช
ตระกูลแล้ว จำวัดอยู่บนที่นอนอันอ่อนนุ่ม จักเล่นการเล่นที่น่าชอบใจไม่ได้
เทียวหรือ. ติสสกุมารนั้น เสด็จกลับมาจากป่านั้นแล้ว ได้กราบทูลความรำพึง
ของตนนี้แด่พระราชา. พระราชาทรงพระดำริว่า พระกุมารระแวงสงสัยในที่
มิใช่ฐานะ (มิใช่เหตุ) , เอาเถอะเราจักให้เขายินยอมด้วยอุบายอย่างนี้ ในวันหนึ่ง
ทรงทำเป็นเหมือนกริ้วด้วยเหตุการณ์บางอย่าง แล้วทรงขู่ด้วยมรณภัยว่า เธอ
จงมารับเอาราชสมบัติตลอด ๗ วัน, หลังจากนั้นเราจักฆ่าเธอเสีย ดังนี้ แล้ว
ให้รับรู้คำสั่งนั้น. ได้ยินว่า พระกุมารนั้นทรงดำริว่า ในวันที่ ๗ พระราชา
จักให้ฆ่าเราเสีย ดังนี้ ไม่สรงสนาน ไม่เสวย ทั้งบรรทมก็ไม่หลับ ตามสมควร
แก่พระหฤทัย ได้มีพระสรีระเศร้าหมองเป็นอย่างมาก. แต่นั้น พระราชา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 96
ตรัสถามติสสกุมารนั้นว่า เธอเป็นผู้มีรูปร่างอย่างนี้ เพราะเหตุอะไร ! พระกุมาร
ทูลว่า ขอเดชะ ! เพราะกลัวความตาย. พระราชาทรงรับสั่งว่า เฮ้ย ; อัน
ตัวเธอเองเล็งเห็นความตายที่ข้าพเจ้าคาดโทษไว้แล้ว หมดสงสัยสิ้นคิด ยังจะ
ไม่เล่นหรือ ! พวกภิกษุ เล็กเห็นความตามเนื่องด้วยลมหายใจเข้าและหายใจ
ออกอยู่ จักเล่นได้อย่างไร ? จำเดิมแต่นั้นมา พระกุมารก็ทรงเลื่อมใสใน
พระศาสนา. ครั้นรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง พระกุมารนั้นเสด็จออกไปล่าเนื้อ เที่ยว
สัญจรไปในป่า ได้ทอดพระเนตรเห็นพระโยนกมหาธรรมรักขิตเถระ ผู้นั่งให้
พญาช้างตัวใดตัวหนึ่งจับกิ่งสาละพัดอยู่. พระกุมารครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว
ก็เกิดความปราโมทย์ดำริว่า เมื่อไรหนอแล แม้เราจะพึงบวชเหมือนพระ
มหาเถระนี้, วันนั้นจะถึงมีหรือหนอแล, พระเถระรู้อัธยาศัยของพระกุมาร
นั้นแล้ว เมื่อพระกุมารนั้นเห็นอยู่นั่นแล ได้เหาะขึ้นไปในอากาศ แล้วได้ยืน
อยู่บนพื้นน้ำที่สระโบกขรณี ในวัดอโศการาม ห้อยจีวรและผ้าอุตราสงค์ไว้ที่
อากาศ แล้วเริ่มสรงน้ำ. พระกุมารทอดพระเนตรเห็นอานุภาพของพระเถระ
นั้นแล้วก็ทรงเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง ดำริว่า เราจักบวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว
แล้วเสด็จกลับ ได้ทูลลาพระราชาว่า ขอเดชะ ! หม่อมฉันจักบวช. พระราชา
ทรงยับยั้ง (ทรงขอร้อง) เป็นอเนกประการ เมื่อไม่ทรงสามารถเพื่อจะให้
พระกุมารนั้นกลับ (พระทัย) ได้ จึงทรงรับสั่งให้ตกแต่งมรรคาที่จะไปสู่วัด
อโศการาม ให้พระกุมารแต่งองค์เป็นเพศมหรสพ ให้แวดล้อมด้วยหมู่เสนา
ซึ่งประดับประดาแล้ว ทรงนำไปยังพระวิหาร, ภิกษุเป็นอันมากได้ฟังว่า ข่าวว่า
พระยุพราช จักผนวช ก็พากันตระเตรียมบาตรและจีวรไว้. พระกุมารเสด็จ
ไปยังเรือนเป็นที่บำเพ็ญเพียร แล้วได้ทรงผนวช พร้อมกับบุรุษแสนหนึ่ง
ในสำนักของพระมหาธรรมรักขิตเถระนั่นเอง. ก็กุลบุตรทั้งหลายผู้ผนวชตาม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 97
พระกุมาร จะกำหนดนับไม่ได้. พระกุมารทรงผนวชในเวลาที่พระราชาทรง
อภิเษกครองราชย์ได้ ๔ ปี. ครั้งนั้น ยังมีพระกุมารองค์อื่น มีพระนามว่า
อัคคิพรหม ผู้เป็นพระสวามีของพระนางสังฆมิตตา ซึ่งเป็นพระภาคิไนยของ
พระราชา. พระนางสังฆมิตตาประสูติพระโอรส ของอัคคิพรหมองค์นั้นเพียง
องค์เดียวเท่านั้น. อัคคิพรหมแม้องค์นั้น ไดสดับข่าวว่า พระยุพราช ทรง
ผนวชแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา แล้วทูลขอพระบรมราชานุญาตว่า ขอเดชะ
แม้หม่อมฉัน ก็จักบวช ดังนี้. และอัคคิพรหมองค์นั้นได้รับพระบรมราชา-
นุญาตว่า จงบวชเถิด พ่อ ! ก็ ได้บวชในวันนั้นนั่นเอง. พระเถระผู้อันขัตติยชน
ซึ่งมีสมบัติอย่างโอฬาร บวชตามอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระติสสเถระ
ผู้เป็นพระกนิษฐภาดาของพระราชา.
[พระติสสเถระนั่งกันไม่ให้อำมาตย์ตัดศีรษะพระ]
ท่านติสสเถระนั้น ครั้นเห็นอำมาตย์นายนั้นผู้ปฏิบัติผิดอย่างนั้นแล้ว
จึงดำริว่า พระราชา คงจะไม่ทรงส่งมาเพื่อให้ฆ่าพระเถระทั้งหลาย เรื่องนี้
จักเป็นเรื่องที่อำมาตย์คนนี้เข้าใจผิดแน่นอนทีเดียว ดังนี้ จึงได้ไปนั่งบนอาสนะ
ใกล้อำมาตย์นั้นเสียเอง. อำมาตย์นายนั้น จำพระเถระนั้นได้ ก็ไม่อาจฟัน
ศัสตราลงได้ จึงได้กลับไปกราบทูลแด่พระราชาว่า ขอเดชะ ! ข้าพระพุทธเจ้า
ได้ตัดศีรษะของพวกภิกษุชื่อมีประมาณเท่านี้ ผู้ไม่ปรารถนาทำอุโบสถให้ตกไป
ขณะนั้น ก็มาถึงลำดับแห่งท่านติสสเถระเท่านั้น ก็ตรัสว่า เฮ้ย ! ก็ข้า ได้ส่ง
เธอให้ไปฆ่าภิกษุทั้งหลายหรือ ? ทันใดนั้นเอง ก็เกิดความเร่าร้อนขึ้นใน
พระวรกาย จึงเสด็จไปยังพระวิหาร ตรัสถามพวกภิกษุผู้เป็นพระเถระว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 98
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! อำมาตย์คนนี้โยมไม่ได้สั่งเลย ได้ทำกรรมอย่างนี้
แล้ว บาปนี้จะพึงมีแก่ใครหนอแล ?
[พวกภิกษุถวายความเห็นแต่พระราชาเป็น ๒ นัย]
พระเถระบางพวก ถวายพระพรว่า อำมาตย์นายนี้ได้ทำตามพระดำรัส
สั่ง ของมหาบพิตรแล้ว, บาปนั่น จึงมีแก่มหาบพิตรด้วย. พระเถระบางพวก
ถวายพระพรว่า บาปนั่น ย่อมมีแด่มหาบพิตรและอำมาตย์แม้ทั้ง ๒ ด้วย.
พระเถระบางพวกถวายพระพรอย่างนี้ว่า ขอถวายพระพร ! ก็มหาบพิตร
ทรงมีความคิด หรือว่า อำมาตย์นายนี้ จงไปฆ่าภิกษุทั้งหลาย ! พระราชา
ทรงรับสั่งว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ไม่มี, โยมมีความประสงค์เป็นกุศล
จึงได้ส่งเขาไปด้วยสั่งว่า ขอพระภิกษุสงฆ์จงสามัคคีกันทำอุโบสถเถิด. พระเถระ
ทั้งหลายถวายพระพรว่า ถ้าว่า มหาบพิตร มีพระราชประสงค์เป็นกุศลไซร้,
บาปก็ไม่มีแต่มหาบพิตร. บาปนั่นย่อมมีแก่อำมาตย์เท่านั้น. พระราชาทรง
เกิดมีความสงสัยเป็นสองจิตสองใจจึงรับสั่งถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ
จะมีภิกษุบางรูปบ้างไหม ? ผู้สามารถเพื่อจะตัดข้อสงสัยนี้ของโยม แล้วยกย่อง
พระศาสนา. ภิกษุทั้งหลายถวายพระพรว่า มี มหาบพิตร ! ภิกษุนั้นชื่อ
พระโมคคลีบุตรติสสเถระ, ท่านสามารถที่จะตัดข้อสงสัยของมหาบพิตร แล้ว
ยกย่องพระศาสนาได้. ในวันนั้นเอง พระราชาได้ทรงจัดส่งพระธรรมกถึก
๓ รูป แต่ละรูปมีภิกษุพันหนึ่งเป็นบริวาร, และอำมาตย์ ๔ นาย แต่ละนาย
มีบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร ด้วยทรงรับสั่งว่า ขอท่านทั้งหลาย จงรับเอา
พระเถระมาเถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 99
[พระโมคคลีบุตรติสสเถระไม่มาเพราะอาราธนาไม่ถูกเรื่อง]
พระธรรมกถึกและอำมาตย์เหล่านั้นไปแล้ว ได้เรียน (พระเถระ) ว่า
พระราชารับสั่งให้หาท่าน ดังนี้. พระเถระ ไม่ออกมา. แม้ครั้งที่ ๒ พระราชา
ก็ได้ทรงจัดส่งพระธรรมกถึก ๘ รูป และอำมาตย์ ๘ นาย ซึ่งมีบริวารคนละ
พัน ๆ ไป ด้วยรับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงกราบเรียน (พระเถระนั้น) ว่า
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระราชารับสั่งให้หา แล้วให้นิมนต์พระเถระมา.
พระธรรมถึกและอำมาตย์เหล่านั้น ได้กราบเรียน (พระเถระ) เหมือนอย่างที่
ทรงรับสั่งนั้นแล. ถึงแม้ครั้งที่ ๒ พระเถระก็มิได้มา. พระราชาตรัสถาม
พระเถระทั้งหลายว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! โยมได้ส่งทูตไปถึง ๒ ครั้ง
แล้วเพราะเหตุไร พระเถระจึงมิได้มา ? พระเถระทั้งหลาย ถวายพระพรว่า
มหาบพิตร ! ที่ท่านไม่มานั้น เพราะทูตเหล่านั้น กราบเรียนท่านว่า พระราชา
สั่งให้หา, แต่เมื่อทูตเหล่านั้นกราบเรียนท่านอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า
ผู้เจริญ ! พระศาสนาเสื่อมโทรม, ขอพระคุณเจ้าได้โปรดเป็นสหายพวกข้าพเจ้า
เพื่อเชิดชูพระศาสนาเถิด ดังนี้. พระเถระ จะพึงมา, คราวนั้น พระราชา
ทรงรับสั่งเหมือนอย่างนี้แล้ว จึงทรงจัดส่งพระธรรมกถึก ๑๖ รูป และ
อำมาตย์ ๑๖ นาย ซึ่งมีบริวารคนละพัน ๆ ไป ได้ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย
อีกว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระเถระเป็นคนแก่ หรือยังหนุ่มแน่น ?
ภิกษุ. แก่ มหาบพิตร !
ราชา. พระเถระนั้น จักขึ้นคานหามหรือวอ เจ้าข้า !
ภิกษุ. ท่านจักไม่ขึ้น (ทั้ง ๒ อย่าง) มหาบพิตร !
ราชา. พระเถระพักอยู่ ณ ที่ไหน ? เจ้าข้า.
ภิกษุ. ที่แม่น้ำคงคาตอนเหนือ มหาบพิตร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 100
พระราชา ทรงรับสั่งว่า ดูก่อนพนาย ! ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจง
ผูกเรือนขนาน แล้วอาราธนาให้พระเถระนั่งบนเรือนขนานนั้นนั่นแล จัดการ
อารักขาที่ฝั่งทั้ง ๒ ด้าน นำพระเถระมาเถิด. พวกภิกษุและเหล่าอำมาตย์
ไปถึงสำนักของพระเถระแล้ว ได้เรียนให้ทราบตามพระราชสาสน์.
พระเถระได้สดับ (พระราชสาสน์นั้น) แล้วคิดว่า เพราะเหตุที่เรา
บวชมาก็ด้วยตั้งใจว่า จักเชิดชูพระศาสนา ตั้งแต่ต้นฉะนั้น กาลนี้นั้นก็มาถึง
แก่เราแล้ว จึงได้ถือเอาท่อนหนังลุกขึ้น.
[พระเจ้าอโศกมหาราชทรงพระสุบินเห็นช้างเผือกล้วน]
ครั้งนั้น พระราชาทรงใฝ่พระราชหฤทัยอยู่แล้วว่า พรุ่งนี้ พระเถระ
จักมาถึงพระนครปาตลีบุตร ดังนี้ ก็ทรงเห็นพระสุบิน ในส่วนราตรี ได้มี
พระสุบินเห็นปานนี้ คือพญาช้างเผือกปลอดมาลูบคลำพระราชา จำเดิมแต่
พระเศียร แล้วได้จับพระราชาที่พระหัตถ์ข้างขวา. ในวันรุ่งขึ้น พระราชาได้
ตรัสถามพวกโหรผู้ทำนายสุบินว่า เราฝันเห็นสุบิน เห็นปานนี้ จักมีอะไร
แก่เรา ? โหรทำนายสุบินคนหนึ่ง ทูลถวายความเห็นว่า ขอเดชะใต้ฝ่าละออง
ธุลีพระบาทปกเกล้า พระสมณะผู้ประเสริฐ จักจับใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทที่
พระหัตถ์ข้างขวา. คราวนั้น พระราชาก็ได้ทรงทราบข่าวว่า พระเถระมาแล้ว
ในขณะนั้นนั่นเอง จึงเสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วเสด็จลงลุยแม้น้ำท่อง
ขึ้นไป จนถึงพระเถระ ในน้ำมีประมาณเพียงชานุ แล้วได้ถวายพระหัตถ์แก่
พระเถระผู้กำลังลงจากเรือ. พระเถระได้จับพระราชาที่พระหัตถ์ข้างขวาแล้ว.
[ราชบุรุษถือดาบจะตัดศีรษะพระโมคคลีบุตรติสสเถระ]
พวกราชบุรุษถือดาบ เห็นกิริยานั้นแล้ว ก็ชักดาบออกจากฝัก ด้วย
คิดว่า พวกเราจักตัดศีรษะของพระเถระให้ตกไป ดังนี้. ถามว่า เพราะเหตุไร ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 101
แก้ว่า เพราะได้ยินว่า ในราชตระกูลมีจารีตนี้ว่า ผู้ใดจับพระราชาที่พระหัตถ์
ราชบุรุษพึงเอาดาบตัดศีรษะของผู้นั้นให้ตกไป. พระราชาทอดพระเนตรเห็น
เงา (ดาบ) เท่านั้น ก็ทรงรับสั่งว่า แม้ครั้งก่อน เราไม่ประสบความสบายใจ
เพราะเหตุที่ผิดในภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าทำผิดในพระเถระเลย ถามว่า
ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงได้จับพระราชาที่พระหัตถ์ ? แก้ว่า เพราะเหตุที่
พระเถระนั้น อันพระราชาให้อาราธนามา เพื่อต้องการจะตรัสถามปัญหา
ฉะนั้น พระเถระใฝ่ใจอยู่ว่า พระราชาพระองค์นี้เป็นอันเตวาสิกของเรา จึงได้จับ.
[พระเจ้าอโศกทรงสงสัยท่านพระโมคคลีบุตรติสสเถระ]
พระราชาทรงนำพระเถระไปสู่ราชอุทยานของพระองค์ แล้วทรงรับสั่ง
ให้ตั้งการอารักขาล้อมไว้ แต่ภายนอกถึง ๓ ชั้น ส่วนพระองค์เองก็ทรงล้างเท้า
พระเถระแล้วทาน้ำมันให้ ประทับนั่งอยู่ในสำนักของพระเถระ แล้วทรงพระ
ดำริว่า พระเถระจะเป็นผู้สามารถไหมหนอ เพื่อตัดความสงสัยของเรา ระงับ
อธิกรณ์ที่เกิดขึ้น แล้วยกย่องพระศาสนา ดังนี้ เพื่อต้องการจะทรงทดลองดู
จึงเรียนถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! โยมมีความประสงค์ที่จะเห็นปาฏิหาริย์
สักอย่างหนึ่ง.
พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ประสงค์ทอดพระเนตรเห็น
ปาฏิหาริย์ชนิดไหน ?
พระราชา. อยากจะเห็นแผ่นดินไหว เจ้าข้า !
พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ประสงค์จะทอดพระเนตร
เห็นแผ่นดินไหวทั้งหมด หรือจะทอดพระเนตรเห็นแผ่นดินไหวบางส่วน ?
พระราชา. ก็บรรดา ๒ อย่างนี้ อย่างไนทำยาก เจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 102
พระเถระ. ขอถวายพระพร ! เมื่อถาดสำริดเต็มด้วยน้ำ จะทำให้น้ำ
นั้นไหวทั้งหมด หรือให้ไหวเพียงกึ่งหนึ่ง เป็นของทำได้ยาก.
พระราชา. ให้ไหวเพียงกึ่งหนึ่ง เจ้าข้า.
พระเถระ. ขอถวายพระพร ! ด้วยประการดังถวายพระพรมาแล้ว
นั่นแล การให้แผ่นดินไหวบางส่วนทำได้ยาก.
พระราชา. ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น โยมจักดูแผ่นดินไหว
บางส่วน (เท่านั้น)
พระเถระ. ขอถวายพระพร ! ถ้าเช่นนั้นในระยะแต่ละโยชน์โดยรอบ
รถจงจอดทับแดนด้วยล้อข้างหนึ่งด้านทิศบูรพา ม้าจงยืนเหยียบแดน ด้วยเท้า
ทั้งสองด้านทิศทักษิณ บุรุษจงยืนเหยียบแดนด้วยเท้าข้างหนึ่งด้านทิศปัจฉิม
ถาดน้ำถาดหนึ่ง จงว่าทาบส่วนกึ่งกลางด้านทิศอุดร. พระราชารับสั่งให้กระทำ
อย่างนั้นแล้ว.
[พระโมคคลีบุตรติสสเถระอธิษฐานให้แผ่นดินไหว]
พระเถระ เข้าจตุตถฌานซึ่งมีอภิญญาเป็นบาท ออกแล้ว ได้อธิษฐาน
ให้แผ่นดินไหว มีประมาณโยชน์หนึ่ง ด้วยความรำพึงว่า ขอให้พระราชาจง
ทอดพระเนตรเห็น ดังนี้. ทางทิศบูรพาล้อรถที่หยุดอยู่ภายในเขตแดนนั่นเอง
ไหวแล้ว นอกนี้ไม่ไหว. ทางทิศทักษิณและทิศปัจฉิม เท้าของม้าและบุรุษ
ที่เหยียบอยู่ภายในเขตแดนเท่านั้น ไหวแล้ว และตัว (ของม้าและบุรุษ) ก็
ไหวเพียงกึ่งหนึ่ง ๆ ด้วยประการอย่างนี้. ทางทิศอุดร น้ำที่ขังอยู่ภายในเขต
แม้แห่งถาดน้ำ ไหวกึ่งส่วนเท่านั้น ที่เหลือไม่มีไหวเลยแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 103
[พระเจ้าอโศกตรัสถามข้อสงสัยในเรื่องบาป]
พระราชา ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้ว ก็ตกลงพระทัยว่า
บัดนี้ พระเถระจักสามารถเพื่อจะยกย่องพระศาสนาได้ จึงตรัสถามความสงสัย
ของพระองค์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! โยมได้ส่งอำมาตย์นายหนึ่งไปด้วย
สั่งว่า เธอไปยังพระวิหารระงับอธิกรณ์แล้วนิมนต์ให้ภิกษุสงฆ์ทำอุโบสถเถิด
ดังนี้ เขาไปยังพระวิหารแล้ว ได้ปลงภิกษุเสียจากชีวิตจำนวนเท่านี้รูป บาป
นั้นจะมีแก่ใคร ?
พระเถระ ทูลถามว่า ขอถวายพระพร ! ก็พระองค์มีความคิดหรือว่า
อำมาตย์นี้ จงไปยังพระวิหารแล้ว ฆ่าภิกษุทั้งหลายเสีย.
พระราชา. ไม่มี เจ้าข้า.
พระเถระ. ขอถวายพระพร ! ถ้าพระองค์ไม่มีความคิดเห็นปานนี้ไซร้
บาปไม่มีแด่พระองค์เลย.
[พระโมคคลีบุตรติสสเถระอ้างพระพุทธพจน์เล่าอดีตนิทาน]
ลำดับนั้น พระเถระ (ถวายวิสัชนา) ให้พระราชาทรงเข้าพระทัย
เนื้อความนี้ด้วยพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวเจตนาว่าเป็น
กรรม บุคคลคิดแล้ว จึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ๑ ดังนี้. เพื่อแสดง
เนื้อความนั้นนั่นแล พระเถระจึงนำติดติรชาดกมา๒ ( เป็นอุทาหรณ์) ดังต่อ
ไปนี้.
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ในอดีตกาล นกกระทาชื่อ ทีปกะ
เรียนถามพระดาบสว่า
๑. อง. ฉกฺก. ๒๒/๔๖๓. ๒. ขุ. ชา. ๒๗/๑๔๐-๑. ชาตกฏฺกถา. ๔/๓๐๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 104
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! นกเป็นอันมาก
เข้าใจว่า ญาติของพวกเราจับอยู่แล้ว จึงพา
กันมา นายพรานอาศัยข้าพเจ้าย่อมถูกต้อง
กรรม เมื่อนายพรานอาศัยข้าพเจ้าทำบาป
นั้น ใจข้าพเจ้า ย่อมสงสัย ว่า (บาปนั้น
จะมีแก่ข้าพเจ้า หรือหนอ ?).
พระดาบส ตอบว่า ก็ท่านมีความคิด ( อย่างนี้ ) หรือว่า ขอนก
ทั้งหลายเหล่านี้มา เพราะเสียง และเพราะเห็นรูปของเราแล้วจงถูกแร้ว หรือ
จงถูกฆ่า
นกกระทา เรียนว่า ไม่มี ท่านผู้เจริญ
ลำดับนั้น ดาบสจึงให้นกกระทานั้นเข้าใจยินยอมว่า ถ้าท่านไม่มีความ
คิดไซร้ บาปก็ไม่มี แท้จริง กรรมย่อมถูกต้องบุคคลผู้คิดอยู่เท่านั้น หาถูกต้อง
บุคคลผู้ไม่คิดไม่
ถ้าใจของท่าน ไม่ประทุษร้าย (ใน
การทำความชั่ว) ไซร้ กรรมที่นายพราน
อาศัยท่านกระทำ ก็ไม่ถูกต้องท่าน บาปก็
ไม่ติดเปื้อนท่าน ผู้มีความขวนขวายน้อย
ผู้เจริญ (คือบริสุทธิ์).
[พระเจ้าอโศกทรงชำระเสี้ยนหนามแห่งพระพุทธศาสนา]
พระเถระ ครั้น (ถวายวิสัชนา) ให้พระราชาทรงเข้าพระทัยอย่างนั้น
แล้ว พักอยู่ในพระราชอุทยานในพระนครนั้นนั่นแล ตลอด ๗ วัน แล้วให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 105
พระราชาทรงเรียนเอาลัทธิสมัย (แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) . ในวันที่ ๗
พระราชาทรงรับสั่งให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมพร้อมกันที่วัดอโศการาม ให้ขึงม่านผ้า
กั้นไว้ แล้วประทับนั่งอยู่ภายในม่านผ้า ทรงรับสั่งให้จัดพวกภิกษุ ผู้มีลัทธิ
เดียวกันให้รวมกันอยู่เป็นพวก ๆ แล้วรับสั่งให้นิมนต์หมู่ภิกษุมาทีละหมู่
แล้วตรัสถามว่า
กึวาที สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปกติตรัสว่าอย่างไร ?
ลำดับนั้น พวกภิกษุสัสสตวาที ทูลว่า สัสสตวาที มีปกติตรัสว่า
เที่ยง.
พวกภิกษุเอกัจจสัสสติกา ทูลว่า เอกัจจสัสสติกวาที มีปกติตรัสว่า
บางอย่างเที่ยง.
พวกภิกษุอันตานันติกา ทูลว่า อันตานันติกวาที มีปกติตรัสว่า
โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.
พวกภิกษุอมราวิกเขปิกา ทูลว่า อมราวิกเขปิกวาที มีปกติตรัส
ถ้อยคำซัดส่ายไม่ตายตัว.
พวกภิกษุอธิจจสมุปปันนิกา ทูลว่า อธิจจสมุปปันนิกวาที มีปกติ
ตรัสว่า ตน และโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ไม่มีเหตุ.
พวกภิกษุสัญญิวาทะ ทูลว่า สัญญิวาที มีปกติตรัสว่า ตน มี
สัญญา.
พวกภิกษุอสัญญีวาทะ ทูลว่า อสัญญิวาที มีปกติตรัสว่า ตนไม่มี
สัญญา.
พวกภิกษุเนวสัญญินาสัญญิวาทะ ทูลว่า เนวสัญญินาสัญญิวาที
มีปกติตรัสว่า ตนมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 106
พวกภิกษุอุจเฉทวทะ ทูลว่า อุจเฉทวาที มีปกตรัสว่า ขาดสูญ.
พวกภิกษุทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ทูลว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาที
มีปกติตรัสว่า พระนิพพานมีอยู่ในปัจจุบัน (ภพปัจจุบัน*).
[พระเจ้าอโศกทรงรับสั่งให้สึกพวกที่มิใช่ภิกษุหกหมื่นรูป]
พระราชาทรงทราบว่า เหล่านี้ไม่ใช่ภิกษุ, เหล่านี้เป็นอัญเดียรถีย์
ก็เพราะพระองค์ได้ทรงเรียนเอาลัทธิมาก่อนนั่นเอง จึงพระราชทานผ้าขาวแก่
เธอเหล่านั้น แล้วให้สึกเสีย. เดียรถีย์เหล่านั่นแม้ทั้งหมดมีจำนวนถึงหกหมื่นคน.
ลำดับนั้น พระราชาทรงรับสั่งให้อาราธนาภิกษุเหล่าอื่นมา แล้วตรัส
ถามว่า
กึวาที ภนฺเต สมฺมาสมฺพุทฺโธ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ !
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปกติตรัสว่าอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลายทูลว่า วิภชฺชวาที มีปกติตรัสจำแนกมหาบพิตร !
เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาจึงตรัสถามพระเถระว่า
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นวิภัชชวาที ( มีปกติตรัส
จำแนกหรือ ? ) พระเถระทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ลำดับนั้น
พระราชาทรงรับสั่งว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! บัดนี้ พระศาสนาบริสุทธิ์
แล้ว, ขอภิกษุสงฆ์จงทำอุโบสถเถิด ดังนี้ พระราชทานอารักขาไว้แล้ว เสด็จ
เข้าไปยังพระนคร. สงฆ์พร้อมเพรียงได้ประชุมทำอุโบสถแล้ว. ในสันนิบาต
นั้นมีภิกษุจำนวนถึงหกสิบแสนรูป.
* พวกภิกษุที่แสดงทิฏฐิความเห็นทั้ง ๑๐ อย่างนี้ พึงดูพิสดารในพรหมชาลสูตร ทีฆนิกาย
สีลขันธกถา เล่ม ๙ ตั้งแต่หน้า ๑๘ ถึงหน้า๖๘ เมื่อจำแนกออกโดยละเอียดก็ได้แก่ทิฏฐิ ๖๒
นั่นเอง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 107
[พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเลือกภิกษุพันรูปทำตติยสังคายนา]
พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เมื่อจะย่ำยีคำกล่าวติเตียนของชนเหล่าอื่น
จึงได้แสดง* กถาวัตถุปกรณ์ในสมาคมนั้น. ลำดับนั้น พระเถระ ได้คัดเลือก
บรรดาภิกษุซึ่งนับได้มีจำนวนหกสิบแสนรูป เอาเฉพาะภิกษุหนึ่งพันรูป ผู้ทรง
ปริยัติ คือพระไตรปิฎก แตกฉานในปฏิสัมภิทา ชำนาญในไตรวิชชาเป็นต้น
เมื่อจะสังคายนาธรรมและวินัย ได้ชำระมลทินในพระศาสนาทั้งหมด จึงได้ทำ
ตติยสังคีติเหมือนอย่างพระมหากัสสปเถระ และพระยสเถระ สังคายนาธรรม
และวินัยฉะนั้น. ในที่สุดแห่งสังคีติ ปฐพีก็ได้หวั่นไหว เป็นอเนกประการ.
สังคีติซึ่งทำอยู่ ๙ เดือน จึงสำเร็จลงนี้
ที่ท่านเรียกในโลกว่า สหัสสิกสังคีติ
เพราะภิกษุพันรูปกระทำ และเรียกว่า
ตติยสังคีติ เพราะเทียบกับสังคีติ ๒ คราว
ที่มีมาก่อนด้วยประการฉะนี้.
ตติยสังคีติจบ
* สารัตถทีปนี ๑/๒๒๘ เป็น อภาสิ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 108
เรื่องนำพระวินัยปิฎกสืบต่อกันมา
ก็เพื่อจะวิสัชนาปัญหานี้ว่า พระวินัยปิฎก ผู้ใดนำสืบมา ข้าพเจ้าจึง
ได้กล่าวคำใดไว้ว่า พระวินัยปิฎกนี้ นำสืบกันมาตามลำดับอาจารย์ ตั้งต้น
แต่ท่านพระอุบาลีเถระ ในครั้งชมพูทวีก่อน จนถึงตติยสังคีติ, ในครั้ง
ชมพูทวีนั้น มีการนำสืบกันมาตามลำดับอาจารย์ ดังนี้:-
พระเถระ ๕ รูปเหล่านี้คือ พระอุบาลี
๑ พระทาสกะ ๑ พระโสณกะ ๑ พระ-
สิคควะ ๑ พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ๑ ผู้มี
ชัยชนะพิเศษ ได้นำพระวินัยมา ในทวีป
ชื่อชมพูอันมีสิริไม่ให้ขาดสาย โดยสืบดำลับ
แห่งอาจารย์จนถึงสังคายนาครั้งที่ ๓.
เนื้อความแห่งคำนั้น เป็นอันข้าพเจ้าประกาศแล้ว ด้วยคำมีประมาณ
เพียงเท่านี้.
[รายนามพระเถระผู้นำพระวินัยปิฏกสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้]
อนึ่ง ต่อจากตติยสังคายนา พระเถระทั้งหลายมีพระมหินท์เป็นต้น
ได้นำพระวินัยปิฎกมาสู่เกาะนี้ (คือเกาะลังกา) , พระเถระทั้งหลายมีพระ-
อริฏฐเถระเป็นต้น เรียนเอาจากพระมหินท์แล้ว ได้นำสืบกันมาชั่วระระหนึ่ง,
ตั้งแต่เวลาที่พระอริฏฐเถระเป็นต้นนั้นนำมา บัณฑิตพึงทราบว่า พระวินัยปิฎก
นี้ ได้นำกันสืบมาตามลำดับอาจารย์ ซึ่งจัดว่าเป็นลำดับอันเตวาสิกของท่าน
พระอริฏฐเถระเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง จนถึงทุกว่านี้ สมดังที่พระโบราณาจารย์
ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 109
ในกาลนั้น พระเถระผู้ประเสริฐ
มีปัญญามากเหล่านี้ คือ พระมหินทะ ๑
พระอิฏฏิยะ ๑ พระอุตติยะ ๑ พระสัมพละ ๑
พระเถระผู้เป็นบัณฑิตชื่อภัททะ ๑ มาใน
เกาะสิงหลนี้ จากชมพูทวีป. พวกท่านได้
สอนพระวินัยปิฎกในเกาะตัมพปัณณิ สอน
นิกายทั้ง ๕ และปกรณ์ทั้ง ๗. ภายหลังแต่
นั้นมา พระอริฏฐะผู้มีปัญญา ๑ พระติสส
ทัตตะผู้ฉลาด ๑ พระกาฬสุมนะผู้องอาจ ๑
พระเถระผู้มีชื่อว่าทีฆะ ๑ พระทีฆสุมนะ
ผู้เป็นบัณฑิต ๑, ต่อมาอีกพระกาฬสุมนะ ๑
พระนาคเถระ ๑ พระพุทธรักขิต ๑ พระ
ติสสเถระผู้มีปัญญา ๑ พระเทวเถระผู้ฉลาด
๑, ต่อมาอีก พระสุมนะผู้มีปัญญา และ
เชี่ยวชาญในพระวินัย ๑ พระจูฬนาคะผู้
พหูสูตดุจช้างซับมันที่ปราบยาก ๑ พระเถระ
ชื่อธรรมปาลิตะ อันสาธุชนบูชาแล้วใน
โรหณชนบท ๑ ศิษย์ของพระธรรมปาลิตะ
นั้น ชื่อเขมะ มีปัญญามาก ทรงจำพระ-
ไตรปิฎก รุ่งเรืองอยู่ในเกาะด้วยปัญญา ดุจ
พระจันทร์เป็นราชาแห่งหมู่ดาวฉะนั้น ๑
พระอุปติสสะผู้มีปัญญา ๑ พระปุสสเทวะผู้
เป็นมหากวี ๑, ต่อมาอีกพระสุมนะผู้มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 110
ปัญญา ๑ พระเถระชื่อปุปผะ (คือพระมหา
ปทุมเถระ๑) ผู้พหูสูต ๑ พระมหาสีวะ ผู้เป็น
มหากวี ฉลาดในพระปิฎกทั้งปวง ๑, ต่อมา
อีก พระอุบาลี ผู้มีปัญญาเชี่ยวชาญในพระ
วินัย ๑ พระมหานาค ผู้มีปัญญามาก ฉลาด
ในวงศ์พระสัทธรรม ๑. ต่อมา มี่พระอภัย
ผู้มีปัญญา ฉลาดในปิฎกทั้งปวง ๑ พระ
ติสสเถระผู้มีปัญญา เชี่ยวชาญในพระวินัย ๑
ศิษย์ของพระติสสเถระนั้น ชื่อปุปผะ (คือ
พระสุมนเถระ๒) มีปัญญามากเป็นพหูสูต
ตามรักษาพระศาสนาอยู่ ในชมพูทวีป ๑
พระจูฬาภยะผู้มีปัญญา และเชี่ยวชาญใน
พระวินัย ๑ พระติสสเถระ ผู้มีปัญญาฉลาด
ในวงศ์พระสัทธรรม ๑ พระจูฬเทวะ ผู้มี
ปัญญา และเชี่ยวชาญในพระวินัย ๑ พระ
สีวเถระ ผู้มีปัญญาฉลาดในพระวินัยทั้งมวล
๑, พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้
รู้พระวินัย ฉลาดในมรรคา (คือฉลาดใน
ทางสวรรค์และทางพระนิพพาน) ได้
ประกาศพระวินัยปิฏกไว้ ในเกาะตัมพปัณณิ
แล้ว๓.
๑, สารัตถทีปนี ๑/๒๒๙ ปุปฺผนาโมติ มหาปทุมตฺเถโร ๒.ปุปฺผนาโมติ สุมนตฺเถโร.
๓. วิ. ปริวาร. ๘/๓-๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 111
เรื่องส่งพระเถระไปประกาศพระศาสนาในต่างประเทศ
ในการนำพระศาสนาสืบมาตามลำดับอาจารย์นั้น มีอนุบุพพีกถา
ดังต่อไปนี้ : -
ได้ยินว่า พระโมคคลีบุตรติสสเถระ ครั้นทำตติยสังคีตินั้นแล้ว ได้
ดำริอย่างนี้ว่า ในอนาคต พระศาสนา จะพึงตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในประเทศไหน
หนอแล ? ลำดับนั้น เมื่อท่านใคร่ครวญอยู่ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า พระศาสนา
จักตั้งมั่นอยู่ด้วยดี ในปัจจันติมชนบททั้งหลาย. ท่านจึงมอบศาสนกิจนั้น ให้
เป็นภาระของภิกษุเหล่านั้น แล้วส่งภิกษุเหล่านั้น ๆ ไปในรัฐนั้น ๆ คือ ส่ง
พระมัชฌันติเถระไปยังรัฐกัสมีรคันธาระด้วยสั่งว่า ท่านไปยังรัฐนั่นแล้ว จง
ประดิษฐานพระศาสนาในรัฐนั่น. ท่านได้สั่งพระมหาเทวเถระอย่างนั้นเหมือน
กัน แล้วส่งไปยังมหิสกมณฑล ส่งพระรักขิตเถระไปยังวนวาสีชนบท ส่ง
พระโยนกธรรมรักขิตเถระไปยังอปรันตกชนบท ส่งพระมหาธรรมรักขิตเถระ
ไปยังมหารัฐชนบท ส่งพระมหารักขิตเถระไปยังโลกเป็นที่อยู่ของชาวโยนก
ส่งพระมัชฌิมเถระไปยังชนบทอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งหิมวัตประเทศ ส่งพระ-
โสณกเถระ ๑ พระอุตตรเถระ ๑ ไปยังสุวรณภูมิชนบท ส่งพระมหินทเถระ
ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของตน กับพระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระ พระสัมพลเถระ
พระภัททสาลเถระ ไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีป ด้วยสั่งว่า พวกท่านไปยังเกาะ
ตัมพปัณณิทวีปแล้วจงประดิษฐานกระศาสนาในเกาะนั่น. พระเถระแม้ทั้งหมด
เมื่อจะไปยังทิสาภาคนั้น ๆ ก็เข้าใจอยู่ว่า ในปัจจันติชนบททั้งหลายต้องมี
คณะปัญจวรรค จึงสมควรทำอุปสมบทกรรมได้ ดังนี้ จึงไปกับพวกละ ๕
รวมกับตน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 112
[พระมัชฌันติกเถระไปประกาศพระศาสนาที่กัสมีรคันธารรัฐ]
ก็โดยสมัยนั้นแล ในแคว้นกัสมีรคันธาระ ในฤดูข้าวกล้าสุก มีพญานาค
ชื่ออารวาฬ ได้บันดาลฝน ชื่อว่าฝนลูกเห็บให้ตกลงมา ทำข้าวกล้าให้ลอยไป
ยังมหาสมุทร. พระมัชฌันติกเถระเหาะขึ้นไปสู่เวหาจากนครปาตลีบุตร แล้ว
ไปลงเบื้องบนสระอารวาฬที่ป่าหิมพานต์ จงกรมอยู่บ้าง ยืนอยู่บ้าง นั่งอยู่บ้าง
สำเร็จการนอนอยู่บ้าง บนหลังสระอารวาฬ. นางนาคมาณวิกาทั้งหลายเห็น
พระเถระนั้นแล้ว จึงบอกแก่พญานาคอารวาฬว่า ข้าแต่มหาราช ! มีสมณะโล้น
รูปหนึ่ง ทรงแผ่นผ้าที่ตัดขาดด้วยศัสตรา นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ประทุษร้ายน้ำ
ของพวกเรา.
[พญานาคอารวาฬแผลงฤทธิ์ไล่พระเถระ]
พญานาคฟังคำนั้นแล้ว ก็ถูกความโกรธครอบงำ ได้ออกไปพบ
พระเถระในทันใดนั้นเอง เมื่ออดกลั้นความลบหลู่ไม่ได้ จึงได้นิรมิตรูปที่
น่าสะพรึงกลัวเป็นอันมาก บนอากาศกลางหาว. ( คือบันดาลให้) พายุที่กล้าแข็ง
พัดฟุ้งไปในที่นั้น ๆ. รุกขชาติทั้งหลาย ก็หักโค่นลง. เหล่ายอดบรรพตก็
พังทลาย, เมฆทั้งหลายก็คำรามลั่น, สายฟ้าทั้งหลายก็แลบแปลบ ๆ . อสนีบาต
ก็ผ่าลงมา, อุทกวารีก็ไหลนอง เหมือนท้องฟ้าแตกฉะนั้น. เหล่าลูกนาคซึ่งมี
รูปอันน่าสะพรึงกลัว ก็ประชุมกัน. ฝ่ายพญานาคเอง ก็บังหวนควัน ลุกโพลง
ปล่อยฝนเครื่องประหารคุกคามพระเถระด้วยคำหยาบคายเป็นต้นว่า สมณะโล้น
ผู้นี้ ทรงผ้าที่ตัดขาด (ด้วยศัสตรา) คือใคร ? ได้บังคับหมู่พลนาคไปว่า
พวกท่านจงมาจับฆ่า, ขับใสสมณะรูปนี้ออกไป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 113
[พระเถระทรมานพวกนาคให้คลายพยศแล้ว]
พระเถระป้องกันกำลังพลนาคที่น่าสะพรึงกลัวทั้งหมด ด้วยกำลังฤทธิ์
ของตน พูดกะพญานาคว่า
ดูก่อนพญานาค ! โลกแม้ทั้ง
เทวโลก จะพึงมายังเราให้ครั่นคร้ามได้ไซร้,
ก็ไม่พึงมีผู้สามารถเพื่อจะบันดาลภัยที่น่ากลัว
ให้เกิดแก่เราได้, ดูก่อนพญานาค ! แม้หาก
ท่านจะยกแผ่นดินขึ้นทั้งหมด พร้อมทั้ง
สมุทร ทั้งบรรพต แล้วพึงเหวี่ยงไปเบื้องบน
ของเราได้ไซร้, ท่านก็ไม่พึงสามารถเพื่อจะ
บันดาลภัยที่น่ากลัวให้เกิดแก่เราได้เลย,
ดูก่อนพญาอุรคาธิบดี !ท่านเท่านั้น จะพึงมี
ความแค้นใจอย่างแน่แท้.
ครั้นเมื่อพระเถระกล่าวอย่างนั้นแล้ว พญานาค ถูกพระเถระกำจัด
อานุภาพแล้ว เป็นผู้มีความพยายามไร้ผล มีความทุกข์เศร้าใจซบเซาอยู่.
พระเถระชี้แจงให้พญานาคนั้นเข้าใจ สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
อันสมควรแก่ขณะนั้นแล้ว ให้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์และเบญจศีล พร้อมด้วย
นาคจำนวนแปดหมื่นสี่พัน. ยักษ์ คนธรรพ์ และกุมภัณฑ์ แม้เหล่าอื่นเป็น
อันมาก ที่อยู่ป่าหิมพานต์ได้ฟังธรรมกถาของพระเถระแล้ว ก็ได้ตั้งอยู่ใน
สรณะและศีล. แม้ปัญจกยักษ์ พร้อมด้วยนางหาริดียักษิณี และบุตร ๕๐๐
ก็ได้ตั้งอยู่ในปฐมมรรค.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 114
[พระเถระให้โอวาทพวกยักษ์และรากษสเป็นต้น]
ลำดับนั้น ท่านพระมัชฌันติกเถระ เรียกพวกนาคและรากษสแม้
ทั้งหมดมาแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ว่า
จำเดิมแต่บัดนี้เป็นต้นไป พวกท่าน
อย่าให้ความโกรธเกิดขึ้นเหมือนในกาลก่อน
เลย และอย่าทำลายข้าวกล้า ( ให้เสียหาย )
เพราะว่า สัตว์ทั้งหลาย ใครต่อความสุข
จงแผ่เมตตาไปในสัตว์ทั้งหลายว่า ขอมวล
มนุษย์ จงอยู่เป็นสุขเถิด.
นาคและยักษ์เป็นต้นเหล่านั้นทั้งหมด รับโอวาทขอพระเถระว่า ดีละ
ท่านผู้เจริญ ! ได้ปฏิบัติตามที่ท่านพร่ำสอนแล้ว. ก็ในวันนั้นแล เป็นสมัยทำ
การบูชาพญานาค. เวลานั้น พญานาค สั่งให้นำรัตนบัลลังก์ของตน มาแต่งตั้ง
ถวายพระเถระ. พระเถระ ก็นั่งบนบัลลังก์. ฝ่ายพญานาค ได้ยืนพัดพระเถระ
อยู่ในที่ใกล้. ในขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายผู้อยู่ในแคว้นกัสมีรคันธาระมาเห็น
พระเถระแล้ว ก็พูดกันว่า พระเถระมีฤทธิ์มากแม้กว่าพญานาคของพวกเรา
แล้วได้นั่งลงไหว้พระเถระนั่นแล. พระเถระ ก็แสดงอาสิวิโสปมสูตร* แก่
มนุษย์เหล่านั่น. ในเวลาจบพระสูตร สัตว์ประมาณแปดหมื่น ได้บรรลุ
ธรรมาภิสมัย. แสนตระกูลออกบวชแล้ว, ก็แลจำเดิมแต่กาลนั้นมา แคว้น
กัสมีรคันธาระ ก็รุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ อบอวลไปด้วยลมพวกฤษีจน
ตราบเท่าทุกวันนี้.
* น่าจะเป็นอลคัททูปมสูตร ม. ม. ๑๒/๒๖๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 115
ในกาลนั้น พระมัชฌันติกะ ผู้ฤษี
ไปยังแคว้นกัสมีรคันธาระแล้ว ให้พญานาค
ผู้ดุร้าย เลื่อมใสแล้ว ได้ปลดเปลื้องสัตว์
เป็นอันมาก ให้พ้นจากเครื่องผูกแล้วแล.
[พระมหาเทวเถระไปประกาศพระศาสนาที่มหิสสกมณฑล]
ฝ่ายพระมหาเทวเถระ ไปยังมหิสสกมณฑลแล้ว ก็แสดงเทวทูตสูตร๑.
ในเวลาจบพระสูตร สัตว์ประสี่หมื่น ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว. สัตว์
ประมาณสี่หมื่นนั่นแล ออกบวชแล้ว.
พระมหาเทวเถระ ผู้มีฤทธิ์มาก ไป
ยังมหิสสกรัฐแล้ว โอวาทตักเตือน ด้วย
เทวทูตทั้งหลาย ได้ปลดเปลื้องสัตว์เป็น
อันมาก ให้พ้นจากเครื่องผูกแล้วแล.
[พระรักขิตเถระไปประกาศพระศาสนาที่แคว้นนวาสี]
ส่วนพระรักขิตเถระ ไปยังแคว้นวนวาสีชนบทแล้ว ยืนอยู่บนอากาศ
ให้ชนชาวนวาสีชนบทเลื่อมใส ด้วยอนมตัคคปริยายกถา๒. ก็ในเวลาจบกถา
ของพระเถระนั้น สัตว์ประมาณหกหมื่น ได้บรรลุธรรมแล้ว. ประชาชน
ประมาณสามหมื่นเจ็ดพันบวชแล้ว. วิหาร ๕๐๐ หลัง ก็ประดิษฐานขึ้นแล้ว.
พระเถระนั้น ได้ประดิษฐานพระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในแคว้นวนวาสีชนบท
นั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
๑. ม. อุป. ๑๔/๓๓๔. ๒. ส. นิทาน. ๑๖/๒๑๒-๒๒๘
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 116
พระรักขิตเถระ ผู้มีฤทธิ์มาก ไปยัง
วนวาสีชนบทแล้ว ได้ยืนอยู่บนอากาศ
กลางหาว แล้วแสดงงอนมตักคิยกถา (แก่
มหาชน) ในวนวาสีชนบทนั้นแล.
[พระโยนกถธรรมรักขิตเถระไปประกาศพระศาสนาที่อปรันตชนบท]
ฝ่ายพระโยนกธรรมรักขิตเถระ ไปยังอปรันตกชนบทแล้ว ให้ชน
ชาวอปรันตกชนบทเลื่อมใส ด้วยอัคคิขันธูปมสุตตันตกถา๑แล้ว ก็ให้สัตว์
ประมาณสามหมื่นเจ็ดพันดื่มอมตธรรม. บุรุษออกบรรพชา แต่ขัตติยตระกูล
หนึ่งพันคน. และสตรีออกบรรพชาหกพันถ้วน.พระเถระนั้นได้ประดิษฐาน
พระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในอปรันตกชนบทนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
พระโยนกธรรมรักขิตเถระ ย่างเข้า
สู่ปรันตกชนบทแล้ว ก็ให้ชนเป็นอันมาก
ในอปรันตกชนบทนั่นเลื่อมใสแล้ว ด้วย
อัคคิขันธูปมสูตร๒ แล.
[พระมหาธรรมรักขิตเถระไปประกาศพระศาสนาที่มหารัฐ]
ส่วนพระมหาธรรมรักขิตเถระ ไปยังมหารัฐชนบทแล้ว ให้ชนชาว
มหารัฐชนบทเลื่อมใส ด้วนมหานารทกัสสปชาดกกถา ๓ แล้ว ก็ให้สัตว์ประมาณ
แปดหมื่นสี่พันตั้งอยู่ในมรรคและผล. ประชาชนจำนวนหนึ่งหมื่นสามพันคน
บวชแล้ว. พระเถระนั้น ได้ประดิษฐานพระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในมหารัฐ
ชนบทนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
๑. องฺ สตฺตก. ๒๓/๑๒๙-๑๓๗. ๒-๓. ส. นินทาน. ๑๖/๒๑๒-๒๒๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 117
พระมหาธรรมรักขิตเถระ ผู้ฤษีนั้น
ไปยังมหารัฐชนบทแล้ว ก็แสดงชาดก๑ ให้
มหาชนเลื่อมใสแล้วแล.
[พระมหารักขิตเถระไปประกาศพระศาสนาที่รัฐโยนก]
ฝ่ายพระมหารักขิตเถระ ไปยังรัฐโยนกแล้ว ให้ชนชาวโลกโยนก
เลื่อมใส ด้วยกาฬการามสุตตันตกถาแล้ว ได้ให้เครื่องอลังการคือมรรคและผล
แก่สัตว์ประมาณหนึ่งแสนสามหมื่นเจ็ดพัน ก็ประชาชนประมาณหนึ่งหมื่น
บวชแล้วในสำนักของพระเถระนั้น. แม้พระเถระนั้น ก็ได้ประดิษฐานพระศาสนา
ให้ดำรงมั่นอยู่ในรัฐโยนกนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
ในกาลนั้น พระมหารักขิตเถระ
ผู้ฤษีนั้น ไปยังรัฐโยนกแล้ว ก็ให้ชนชาว
โยนกเหล่านั้นเลื่อมใส ด้วยกาฬการามสูตร
แล.
[พระมัชฌิมเถระไปประกาศพระศาสนาที่หิมวันตประเทศ]
ส่วนพระมัชฌิมเถระ กับพระกัสสปโคตตรเถระ ๑ พระอฬกเทวเถระ
๑ พระทุนทุภิสสรเถระ ๑ พระสหัสสเทวเถระ ๑ ไปยังชนบทเป็นส่วน
หิมวันตประเทศแล้ว ให้ชาวประเทศนั้นเลื่อมใส ด้วยธัมมจักกัปปวัตตน-
สุตตันตกถา ๒ แล้ว ให้สัตว์ประมาณแปดสิบโกฏิได้รัตนะคือมรรคและผลแล้ว.
ก็พระเถระแม้ทั้ง ๕ รูปนั้น ได้ยังรัฐทั้ง ๕ ให้เลื่อมใสแล้ว. ประชาชนที่บวช
ในสำนักของพระเถระแต่ละรูป มีประมาณแสนหนึ่ง. พระเถระทั้ง ๕ รูป
๑. ชุ. ชา. ๒๘/๒๘๒. ตทฏฺกถา. ๑. ๑๐/๑๓๙. ๒. อง. สตฺตก. ๒๓/๑๒๙-๑๓๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 118
เหล่านั้น ได้ประดิษฐานพระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในหิมวันตประเทศนั้นแล้ว
ด้วยประการฉะนี้.
พระมัชฌิมเถระ ไปยังหิมวันต
ประเทศแล้วประกาศอยู่ ซึ่งธัมมจักกัปป-
วัตตนสูตร๑ ให้ยักษ์และเสนายักษ์เลื่อมใส
แล้วแล.
[พระโสณกะกับพระอุตตระไปประกาศพระศาสนาที่สุวรรณภูมิ]
ฝ่ายพระโสณกเถระ กับพระอุตตรเถระได้ไปยังแคว้นสุวรรณภูมิ.
ก็โดยสมัยนั้น ที่แคว้นสุวรรณภูมินั้น มีนางรากษสตน๒ หนึ่ง ขึ้นมากจากสมุทร
เคี้ยวกินพวกทารกที่เกิดในราชตระกูล. ในวันนั้นเอง มีเด็กคนหนึ่ง เกิดใน
ราชตระกูล. มนุษย์ทั้งหลายเห็นพระเถระแล้ว สำคัญอยู่ว่า ผู้นี้จักเป็นสหาย
ของพวกรากษส จึงพากันถือเอาอาวุธไปประสงค์จะประหารพระเถระ.
พระเถระ พูดว่า พวกท่านถืออาวุธมาทำไรกัน ?
มนุษย์เหล่านั้น พูดว่า พวกรากษส ย่อมเคี้ยวกันพวกเด็กที่เกิด
แล้ว ๆ ในราชตระกุล, พวกท่านเป็นสหายของรากษสเหล่านั้น.
พระเถระ พูดว่า พวกข้าพเจ้า หาได้เป็นสหายของรากษสไม่
พวกข้าพเจ้าชื่อว่า เป็นสมณะ งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป จากการ
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ จากความประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ
จากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ฉันหนเดียว มีศีล ประพฤติพรหมจรรย์มีกัลยาณ-
ธรรม.
๑. วิ. มหา. ๔/๑๗.
๒. รากษส ยักษ์, ผีเสื้อน้ำ, ปีศาจ, เวตาลหรือค้างคาว เป็นชื่อของพวกอสูรอย่างเลว มีนิสัย
ดุร้าย ชอบเที่ยวตามป่าทำลายพิธีและกินคน สูบโลหิตของสัตว์เป็นอาหาร, สถานที่อยู่
ของพวกนี้อยู่ในทะเลหรือสระใหญ่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 119
[พระเถระทรมานพวกรากษสให้หนี้ไปแล้วป้องกันเกาะไว้]
ก็ในขณะนั้นเอง นางรากษสตนหนึ่ง พร้อมด้วยบริวาร ขึ้นมาจาก
สมุทรด้วยคิดว่า เด็กเกิดในราชตระกุล, พวกเราจักเคี้ยวกันเด็กนั้น. พวก
มนุษย์เห็นนางรากษสตนนั้นแล้ว ก็กลัวร้องเสียงดังว่า นางรากษสนี้กำลังมา
เจ้าข้า ! พระเถระนิรมิตอัตภาพมากหลายกว่าพวกรากษสเป็นสองเท่า ปิด
ล้อมข้างทั้งสองด้วยอัตภาพเหล่านั้น กั้นนางรากษสนั้น พร้อมทั้งบริวารไว้
ตรงกลาง. นางรากษสตนนั้น พร้อมทั้งบริษัท ได้คิดดังนี้ว่า สถานที่นี้
จักเป็นของอันรากษสเหล่านี้ได้แล้วแน่นอน, ส่วนพวกเราก็จักเป็นภักษาของ
รากษสเหล่านี้. พวกรากษสทั้งหมดได้รีบหนีไปแล้ว.
ฝ่ายพระเถระ ขับไล่รากษสเหล่านั้นให้หนีไปแล้ว จนมองไม่เห็น
จึงได้ตั้งอารักขาไว้โดยรอบเกาะ๑. อนึ่ง ท่านให้หมู่มหาชน ซึ่งประชุมพร้อม
กันอยู่ในสมัยนั้นเลื่อมใส ด้วยพรหมชาลสุตตันตกถา๒ ทั้งให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์
และศีลแล้ว. ก็ในสันนิบาตนี้ ประชาชนประมาณหกหมื่น ได้บรรลุธรรม
แล้ว. พวกเด็กในตระกูลประมาณสามพันห้าร้อย บวชแล้ว. กุลธิดาประมาณ
หนึ่งพันห้าร้อยนาง ก็บวชแล้ว. พระเถระนั้น ได้ประดิษฐานพระศาสนาให้
ดำรงมั่นอยู่ในแคว้นสุวรรณภูมินั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. จำเดิมแต่นั้นมา
๑. นักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่า ประเทศไทยของเรานี้อยู่ในแหลมทอง คือ
แคว้น สุวรรณภูมิ ได้รับพระพุทธศาสนาในคราวที่พระโสณกเถระและพระอุตตรเถระถูกส่งให้
มาประกาศพระศาสนาในภาคนี้ แต่ถ้าจะสันนิษฐานอีกแง่หนึ่งแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะ
ใจความในเรื่องนี้บ่งชัดอยู่แล้วว่า สถานที่ท่านทั้งสอบไปประกาศนั้นเป็นเกาะไม่ใช่เป็นแผ่นดิน
เชื่อมติดต่อกัน และท่านก็ทำการป้องกันเกาะไว้โดยรอบ มิให้พวกผีเสื้อน้ำมารกกวนประ-
ชาชนได้, อนึ่ง ถ้าแหลมทองนี้รวมทั้งประเทศพม่า ญวน ลาว เขมร และไทย อย่างที่พวก
นักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์เข้าใจแล้ว ก็ยิงกว้างใหญ่ไพศาล เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ท่านจะป้อง
กันได้อย่างไร ? ขอได้โปรดพิจารณาดูเถิด.
๒. ที. สี. ๙/๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 120
ชนชาวสุวรรณภูมิ ก็ได้ตั้งชื่อพวกเด็กที่เกิดในราชตระกูลว่า โสณุตตระ
(โสณุดร) สืบมา.
พระโสณะและพระอุตตระ ผู้มีฤทธิ์
มาก ไปยังแคว้นสุวรรณภูมิ แล้วขับไล่ปีศาจ
ทั้งหลายให้หนีไป ได้แสดงพรหมชาลสูตร*
แล้ว แล.
[พระมหินทเถระไปประกาศพระศาสนาที่เกาะลังกา]
ส่วนพระมหินทเถระ ผู้อันพระอุปัชฌายะ และภิกษุสงฆ์เชื้อเชิญว่า
ขอท่านจงไปประดิษฐานพระศาสนายังเกาะตัมพปัณณิทวีปเถิด ดังนี้ จึง
ดำริว่า เป็นกาลที่เราจะไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีปหรือยังหนอ ? ครั้งนั้น
เมื่อท่านใคร่ควรอยู่ ก็ได้มีความเห็นว่า ยังไม่ใช่กาลที่ควรจะไปก่อน.
ถามว่า ก็พระเถระนั้น ได้มีความเห็นดังนี้ เพราะเห็นเหตุการณ์
อะไร ?
แก้ว่า เพราะเห็นว่า พระเจ้ามุฏสีวะ ทรงพระชราภาพมาก.
[พระมหินทเถระเที่ยวเยี่ยมญาติจนกว่าจะถึงเวลาไปเกาะลังกา]
ลำดับนั้น พระเถระดำริว่า พระราชาพระองค์นี้ ทรงพระชราภาพ
มาก เราไม่อาจรับพระราชานี้ยกย่องเชิดชูพระศาสนาได้ ก็บัดนี้ พระราช
โอรสของพระองค์ ทรงพระนามว่า เทวานัมปิยดิส จักเสวยราชย์ (ต่อไป)
เราจักอาจรับพระราชานั้นยกย่องเชิดชูพระศาสนาได้ เอาเถิด เราจัก
เยี่ยวพวกญาติเสียก่อน จนกว่าเวลานั้นจะมาถึง, บัดนี้ เราจะพึงได้กลับมายัง
ชนบทนี้อีกหรือไม่. พระเถระนั้น ครั้นดำริอย่างนั้นแล้ว จึงไหว้พระอุปัชฌยะ
* ที.สี. ๙/๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 121
และภิกษุสงฆ์ออกไปจากวัดอโศการาม เที่ยวจาริกไปทางทักขิณาคิรีบท ซึ่ง
เวียนรอบนครราชคฤห์ไปพร้อมกับพระเถระ ๔ รูป มีพระอิฏฏิยะเป็นต้นนั้น
สุมนสามเณร ผู้เป็นโอรสของพระนางสังฆมิตตา และภัฒฑกอุบาสกเยี่ยมพวก
ญาติอยู่จนเวลาล่วงไปถึง ๖ เดือน. ครั้นนั้น พระเถระได้ไปถึงเมืองชื่อเวทิสนคร
อันเป็นสถานที่ประทับของพระมารดาโดยลำดับ
[ประวัติย่อของพระมหินทเถระ]
ได้ยินว่า พระเจ้าอโศกทรงได้ชนบท (ได้กินเมือง) ในเวลายังทรง
พระเยาว์ เมื่อเสด็จไปกรุงอุชเชนี ผ่านเวทิสนคร ได้ทรงรับธิดาของเวทิส-
เศรษฐี (เป็นอัครมเหษี). ในวันนั้นนั่นเอง พระนางก็ทรงครรภ์ แล้วได้
ประสูติมหินทกุมาร ที่กรุงอุชเชนี. ในเวลาที่พระกุมารมีพระชนม์ได้ ๑๔
พรรษา พระราชาทรงได้รับการอภิเษกขึ้น ครองราชย์. สมัยนั้น พระนาง
ที่เป็นมารดาของมหินทกุมารนั้น ก็ประทับอยู่ที่ตำหนักของพระประยูรญาติ
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า พระเถระได้ไปถึงเมืองชื่อเวทิสนคร
อันเป็นสถานที่ประทับของพระมารดาโดยลำดับ.
ก็แล พระเทวีผู้เป็นพระมารดาของพระเถระ ทอดพระเนตรเห็น
พระเถระผู้มาถึงแล้ว ก็ทรงไหว้เท้าทั้งสองด้วยเศียรเกล้า แล้วถวายภิกษา
ทรงมอบถวายวัดชื่อ เวทิสคิรีมหาวิหาร ที่ตนสร้างถวายพระเถระ. พระเถระ
นั่งคิดอยู่ที่วิหารนั้นว่า กิจที่เราควรกระทำในที่นี้สำเร็จแล้ว, บัดนี้ เป็นเวลา
ที่ควรจะไปยังเกาะลังกาหรือยังหนอแล. ลำดับนั้น ท่านดำริว่า ขอให้
พระราชกุมารพระนามว่า เทวนัมปิยดิส เสวยอภิเษก ที่พระชนกของเราทรง
ส่งไปถวายเสียก่อน, ขอให้ได้สดับคุณพระรัตนตรัย และเสด็จออกไปจาก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 122
พระนคร เสด็จขึ้นสู่มิสสกบรรพตมีมหรสพเป็นเครื่องหมาย, เวลานั้น เรา
จักพบพระองค์ท่านในที่นั้น. พระเถระ ก็สำเร็จการพักอยู่ที่เวทิสคิรีมหาวิหาร
นั้นและ สิ้นเดือนหนึ่งต่อไปอีก.
ก็โดยล่วงไปเดือนหนึ่ง คณะสงฆ์และอุบาสกแม้ทั้งหมด ซึ่งประชุม
กันอยู่ในวันอุโบสถ ในดิถีเพ็ญแห่งเดือนแปดต้น (คือวันเพ็ญเดือน ๗) ได้
ปรึกษากันว่า เป็นกาลสมควรที่พวกเราจะไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีปหรือยัง
หนอ ? เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวว่า
ในกาลนั้น ได้มีพระสังฆเถระ
ชื่อมหินท์โดยนาม ๑ พระอิฏฏิยเถระ ๑ พระ-
อุตติยเถระ๑ พระภัททสาลเถระ ๑ พระสัมพล
เถระ ๑ สุมนสามเณร ผู้ได้ฉฬภิญญา มี
ฤทธิ์มาก ๑ ภัณฑกอุบาสก ผู้ได้เห็นสัจจะ
เป็นที่ ๗ แห่งพระเถระเหล่านั้น ๑, ท่าน
มหานาคเหล่านั้นนั่นแล พักอยู่ในที่เงียบ-
สงัด ได้ปรึกษากันแล้ว ด้วยประการฉะ
นี้แล.
[พระอินทร์ทรงเล่าเรื่องพุทธพยากรณ์ถวายให้พระมหินท์ทราบ]
เวลานั้น ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งทวยเทพ เสด็จเข้าไปหาพระมหินท-
เถระ แล้วได้ตรัสคำนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระเจ้ามุฏสีวะ สวรรคต
แล้ว, บัดนี้ พระเจ้าเทวานัมปิยดิสมหาราชเสวยราชย์แล้ว, และสมเด็จพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงพยากรณ์องค์ท่านไว้แล้วว่า ในอนาคต ภิกษุชื่อ
มหินท์ จักยังชาวเกาะตัมพปัณณิทวีปให้เสื่อมใส ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ !
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 123
เพราะเหตุดังนั้นแล เป็นกาลสมควรที่ท่านจะไปยังเกาะอันประเสริฐแล้ว แม้
กระผม ก็จักร่วมเป็นเพื่อนท่านด้วย.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท้าวสักกะจึงได้ตรัสอย่างนั้น ?
แก้ว่า เพราะได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรงตรวจดูโลกด้วย
พุทธจักษุ ที่ควงแห่งโพธิพฤกษ์นั่นเอง ได้ทอดพระเนตรเห็นสมบัติแห่งเกาะ
นี้ในอนาคตจึงได้ตรัสบอกความนั่นแก่ท้าวสักกะนั้น และทรงสั่งบังคับไว้
ด้วยว่า ในเวลานั้น ถึงบพิตรก็ควรร่วมเป็นสหายด้วย, ดังนี้ ฉะนั้น ท้าวสักกะ
จึงได้ตรัสอย่างนั้น.
[พระมหินทเถระพร้อมกับคณะไปเกาะลังกา]
พระเถระ รับคำของท้าวสักกะนั้นแล้ว เป็น ๗ คนทั้งตน เหาะขึ้น
ไปสู่เวหาจากเวทิสบรรพต แล้วดำรงอยู่บนมิสสกบรรพต ซึ่งชนทั้งหลายใน
บัดนี้จำกันได้ว่า เจติยบรรพต บ้าง ทางทิศบูรพาแห่งอนุราชบุรี. เพราะ
เหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงได้กล่าวไว้ว่า
พระเถระทั้งหลายพักอยู่ที่เวทิสคิรี-
บรรพตใกล้กรุงราชคฤห์ สิ้น ๓๐ ราตรีได้
ดำริว่า เป็นกาลสมควร ที่จะไปยังเกาะอัน
ประเสริฐ, พวกเราจะพากันไปสู่เกาะอัน
อุดม ดังนี้ แล้วได้เหาะขึ้นจากชมพูทวีป
ลอยไปในอากาศดุจพญาหงส์บินไปเหนือ
ท้องฟ้าฉะนั้น, พระเถระทั้งหลายเหาะขึ้นไป
แล้วอย่างนั้น ก็ลงที่ยอดเขาแล้ว ยืนอยู่บน
ยอดบรรพต ซึ่งงามไปด้วยเมฆ อันตั้งอยู่
ข้างหน้าแห่งบุรีอันประเสริฐราวกะว่า หมู่-
หงส์จับอยู่บนยอดเขาฉะนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 124
ก็ท่านพระมหินทเถระ ผู้มาร่วมกับพระเถระทั่งหลาย มีพระอิฏฏิยะ
เป็นต้น ยืนอยู่อย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ได้ยืนอยู่แล้วในเกาะนี้ ในปีที่
๒๓๖ พรรษา นับมาแต่ปีที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน.
[ลำดับราชวงศ์ที่เสวยราชย์ในเกาะลังกาและชมพูทวีป]
ความพิสดารว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว
ในปีที่ ๘ แห่ง (รัชกาล) พระเจ้าอชาตศัตรุราช (เสวยราชย์) . ในปีนั้นนั่นเอง
พระราชโอรสของพระเจ้าสีหกุมาร ผู้ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินต้นวงศ์แห่งเกาะ
ตัมพปัณณิทวีป ทรงพระนามว่า วิชัยกุมาร เสด็จมาสู่เกาะนี้แล้ว ได้ทรง
ทำเกาะนี้ ให้เป็นที่อยู่ของมนุษย์. พระเจ้าวิชัยกุมาร (เสวยราชย์อยู่ในเกาะนี้
๓๘ ปี)* แล้ว สวรรคตที่เกาะนี้ ในปีที่ ๑๔ แห่ง (รัชกาล) พระเจ้าอุทัยภัทท์
ในชมพูทวีป. พระราชาทรงพระนามว่า บัณฑุวาสุเทพ ขึ้นครองราชย์ใน
เกาะนี้ ในปีที่ ๑๕ แห่ง (รัชกาล) พระเจ้าอุทัยภัทท์ (ซึ่งเสวยราชย์อยู่ใน
ชมพูทวีป). พระเจ้าบัณฑุวาสุเทพ ได้สวรรคตที่เกาะนี้ ในปีที่ ๒๑ แห่ง
(รัชกาล) พระเจ้านาคทัสสกะ (ซึ่งเสวยราชย์อยู่) ในชมพูทวีปนั้น. พระราช
กุมาร ทรงพระนามว่า อภัย ขึ้นครองราชย์ในเกาะนี้ ในปีนั้นนั่นเอง. พระ
เจ้าอภัย (เสวยราชย์อยู่) ในเกาะนี้ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ในปีที่ ๑๗ แห่ง
(รัชกาล) พระเจ้าอภัย (ผู้ครองราชย์อยู่ในคราวนั้น). พระเจ้าปกุณฑกาภัย
(ครองราชย์อยู่) ในเกาะนี้ ครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ในปีที่ ๑๖ แห่ง (รัชกาล)
พระเจ้ากาฬาโศก (ซึ่งเสวยราชย์อยู่) ในชมพูทวีปนั้น. ๑๗ ปีเหล่านั้น
* สารตฺถทีปนี. ๑/๒๔๐.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 125
รวมกันอีก ๑ ปี ถัดมา จึงเป็น ๑๘ ปี พระเจ้าปกุณฑกาภัย ได้สวรรคตใน
เกาะนี้ ในปีที่ ๑๔ แห่ง (รัชกาล). พระเจ้าจันทรคุต (ซึ่งเสวยราชย์อยู่)
ในชมพูทวีปนั้น. (ต่อจากนั้น) พระเจ้ามุฏสีวะก็ขึ้นครองราชย์ (ในเกาะนี้)
พระเจ้ามุฏสีวะได้สวรรคตในเกาะนี้ ในปีที่ ๑๗ แห่ง (รัชกาล) พระเจ้า
อโศกธรรมราช (ซึ่งเสวยราชย์อยู่) ในชมพูทวีปนั้น. (ต่อจากนั้น) พระเจ้า
เทวานัมปิยดิสก็ขึ้นครองราชย์ (ในเกาะนี้).
อนึ่ง เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้า
อชาตศัตรู เสวยราชย์ได้ ๒๔ ปี. ส่วนพระเจ้าอุทัยภัทท์ เสวยราชย์ได้ ๑๖ ปี.
(ต่อจากนั้น) พระเจ้าอนุรุทธะและพระเจ้ามุณฑะ เสวยราชย์ได้ ๘ ปี.
พระเจ้านาคทัสสกะ เสวยราชย์ได้ ๒๔ ปี. พระเจ้าสุสูนาคะ เสวยราชย์ได้
๑๘ ปี. พระเจ้าอโศก * พระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาคะนั้นนั่นแล เสวยราชย์
ได้ ๒๘ ปี. พระราชาผู้เป็นพระเจ้าพี่น้องกัน ๑๐ พระองค์ ๒ ซึ่งเป็นพระราช
โอรสของพระเจ้าอโศก๑ เสวยราชย์ได้ ๒๒ ปี. ภายหลังแต่กาลแห่งพระราชา
ผู้เป็นพระเจ้าพี่น้องกัน ๑๐ องค์นั้น มีพระราชา ๙ พระองค์๓ ทรงมีพระนาม
ว่า นันทะ (ต่อสร้อยพระนามทุก ๆ พระองค์) เสวยราชย์ได้ ๒๒ ปี เท่านั้น
พระเจ้าจันทรคุต เสวยราชย์ได้ ๒๔ ปี. พระเจ้าวินทุสาร เสวยราชย์ได้ ๒๘ ปี.
๑. พระนามว่า พระเจ้าอโศก ทั้ง ๒ แห่งนี้ ฎีภาสารัตถทีปนี และอรรถโยชนา แก้ไว้ว่า ได้แก่
พระเจ้ากาฬาโศก หรือกาลาโศกนั่นเอง. ๒. พระราชาผู้เป็นพระเจ้าพี่น้องกัน ๑๐ องค์
นั้นคือ ภัททเสน ๑ โกรัณวรรณะ ๑ มัคุวะ ๑ สัพพัญชนะ ๑ ชาลิกะ ๑ อุภกะ ๑ สญชัย ๑
โกรัพพะ ๑ นันวัฒนะ ๑ และปัญจมกะ ๑.
๓. พระราชา ๙ พระองค์ที่มีสร้อยพระนามว่านันทะ นั่นคือ อุคคเสนนันทะ ๑ ปัณฑุกนันทะ ๑
ปัณฑุคตินันทะ ๑ ภูศปาลนันทะ ๑ รัฏฐปาลกนันทะ ๑ โควิสาณกนันนทะ ๑ ทสสีฏิฐกนันทะ ๑
เกวัฏฏกนันทะ ๑ และธนนันทะ ๑ นัยสารัตถทีปนี ๑/๒๔๔.
๒. พระนามวาพระเจ้าอโศกองค์นี้ คือ พระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้า
วินทุสารหรือพินทุสารนั่นเอง. พึงดูบาลีในสมันต์ ฯ นี้ หน้า ๔๐ และ ๔๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 126
ในที่สุด (รัชกาล) แห่งพระเจ้าวินทุสารนั้น พระเจ้าอโศกก็ขึ้นครองราชย์.
ในกาลก่อนแต่ทรงอภิเษก พระเจ้าอโศกนั้น ครองราชย์อยู่ ๔ ปี. ในปีที่ ๑๘
จากเวลาที่พระเจ้าอโศกทรงอภิเษกแล้ว พระมหินทเถระก็มายืนอยู่ที่เกาะนี้.
คำนี้ว่า พระมหินทเถระยืนอยู่ที่เกาะนี้ ในปีที่ ๒๓๖ พรรษา นับมาแต่ปีที่
สมเด็จพระสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบ ตามสายราชวงศ์
(ของพระราชาในชมพูทวีป) นั่น ดังพรรณนามา ฉะนี้.
[พระเจ้าเทวานัมปิยดิสทรงพบพระมหินทเถระ]
ก็ในวันนั้น ที่เกาะตัมพปัณณิทวีป มีงานนักษัตรฤกษ์ในเชษฐมาสต้น
(คือเดือน ๗). พระราชาทรงรับสั่งให้โฆษณานักษัตรฤกษ์ แล้วทรงบังคับ
พวกอำมาตย์ว่า พวกท่าน จงเล่นมหรสพเถิด ดังนี้ มีราชบุรุษจำนวนถึง
สี่หมื่นเป็นบริวาร เสด็จออกไปจากพระนคร มีพระสงค์จะทรงกีฬาล่าเนื้อ
จึงเสด็จไปโดยทางที่มิสสกบรรพตตั้งอยู่. เวลานั้น มีเทวดาตนหนึ่ง ซึ่งสิงอยู่
ที่บรรพตนั้น คิดว่า เราจักแสดงพระเถระทั้งหลาย แก่พระราชา จึงแปลง
เป็นตัวเนื้อละมั่งเที่ยวทำทีกินหญ้าและใบไม้อยู่ในที่ไม่ไกล (แต่พระเถระนั้น).
พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นเนื้อละมั่งตัวนั้นแล้ว จึงทรงดำริว่า บัดนี้
ยังไม่สมควรจะยิงเนื้อ ตัวที่ยังเลินเล่ออยู่ จึงทรงดีดสายธนู. เนื้อเริ่มจะหา
ทางหนี ๆ ไปทางที่กำหนดหมายด้วยต้นมะม่วง. พระราชาเสด็จติดตามไป
ข้างหลัง ๆ แล้วเสด็จขึ้นสู่ทางที่กำหนดด้วยต้นมะม่วงนั่นเอง. ฝ่ายมฤค ก็หายตัว
ไปในที่ไม่ไกลพระเถระทั้งหลาย. พระมหินทเถระเห็นพระราชากำลังเสด็จมา
ในที่ไม่ไกล จึงอธิษฐานใจว่า ขอให้พระราชาทอดพระเนตรเห็นเฉพาะเรา
เท่านั้น อย่าทอดพระเนตรเห็นพวกนอกนี้เลย จึงทูลทักว่า ติสสะ ติสสะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 127
ขอจงเสด็จมาทางนี้. พระราชาทรงสดับแล้ว เฉลียวพระหฤทัยว่า ขึ้นชื่อว่า
ชนผู้ที่เกิดในเกาะนี้ซึ่งสามารถจะเรียกเราระบุชื่อว่า ติสสะ ไม่มี ก็สมณะ
โล้นรูปนี้ทรงแผ่นผ้าขาดที่ตัด (ด้วยศัสตรา) นุ่งห่มผ้ากาสาวะ เรียกเราโดย
เจาะชื่อ ผู้นี้คือใครหนอแล จักเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ? พระเถระจึงถวาย
พระพรว่า
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! อาตม-
ภาพทั้งหลายชื่อว่าสมณะ เป็นสาวกของ
พระธรรมราชามาที่เกาะนี้ จากชมพูทวีป
เพื่ออนุเคราะห์มหาบพิตรเท่านั้น.
[ไม้ไผ่ ๓ ลำประมาณค่าไม่ได้เกิดแก่พระเจ้าเทวานัมปิยดิส]
โดยสมัยนั้น พระเจ้าเทวานัมปิยดิสมหาราช และพระเจ้าอโศกธรรม-
ราชา ทรงเป็นพระอทิฏฐสหายกัน (คือสหายที่ยังไม่เคยพบเห็นกัน). ก็ด้วย
พระบุญญานุภาพ ของพระเจ้าเทวานัมปิยดิสมหาราช มีไม้ไผ่ ๓ ลำ มีประมาณ
เท่าคันธงรถ เกิดขึ้นที่ก่อไม้ไผ่แห่งหนึ่ง ที่เชิงฉาตกบรรพต ลำหนึ่งชื่อ
ลดายัฏฐิ ลำหนึ่งชื่อ บุปผยัฏฐิ ลำหนึ่งชื่อ สกุณยัฏฐิ.
บรรดาไม่ไผ่ ๓ นั้น ลำที่ชื่อว่า ลดายัฏฐิ (คือลำไม่เถา) มีสีเหมือน
เงินแท้ ลดาวัลย์ที่เกิดพันต้นไม่ไผ่นั้นก็ปรากฏมีสีเหมือนทอง. ส่วนในลำที่
ชื่อว่า บุปผยัฏฐิ (คือลำดอกไม้) ก็มีดอกซึ่งมีสีเขียว เหลือง แดง ขาว
และดำ ปรากฏมีขั้ว ใบ และเกสรที่จำแนกไว้ดี. ส่วนในลำที่ชื่อว่า สกุณยัฏฐิ
(คือลำสกุณชาติ) ก็มีหมู่สกุณาหลายหลากมีหงส์ ไก่ และนกโพระดก (นกกระดก)
เป็นต้น และมีสัตว์ ๔ เท้านานาชนิด ปรากฏเป็นเหมือนมีชีวิตอยู่. แม้สมจริง
ดังที่พระอาจารย์ชาวสิงหล กล่าวไว้ในคัมภีร์ทีปวงศ์ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 128
ไม้ไผ่ ๓ ลำ ได้มีแล้วที่เชิงเขาชื่อ
ฉาตกะ ลำที่เป็นเถา มีสีขาวและงามเหมือน
สีทอง ปรากฏอยู่ที่ลำต้น* สีเงิน, ดอกสีเขียว
เป็นต้น มีอยู่เช่นใด. ดอกเช่นนั้น ก็ปรากฏ
อยู่ในลำดอกไม้, สกุณชาติหลายหลาก ก็
จับกันอยู่ที่ลำสกุณชาติ โดยรูปของตน
นั่นเอง.
[รัตนะคือแก้ววิเศษ ๘ ชนิดเกิดแก่พระเจ้าเทวานัมปิยดิส]
รัตนะ (คือแก้ว) มีหลายชนิด มีแก้วมุกดา แก้วมณี และแก้ว
ไพฑูรย์เป็นต้น เกิดขึ้นแม้จากสมุทร แก่พระเจ้าเทวานัมปิยดิสพระองค์นั้น.
ส่วนในเกาะตัมพปัณณิทวีป มีแก้วมุกดาเกิดขึ้น ๘ ชนิด คือ แก้วมุกดามี
สัณฐานเหมือนรูปช้าง ๑ แก้วมุกดามีสัณฐานเหมือนรูปรถ ๑ แก้วมุกดามีสัณฐาน
เหมือนผลมะขามป้อม ๑ แก้วมุกดามีสัณฐานเหมือนกำไลมือ ๑ แก้วมุกดามี
สัณฐานเหมือนวงแหวน ๑ แก้วมุกดามีสัณฐานเหมือนผลไม้กุ่ม ๑ แก้วมุกดา
ปกติ ๑ ท้าวเธอได้ส่งลำไม้ไผ่ แก้วมุกดานั้น ๆ กับรัตนะมากมาย อย่างอื่น
ไปถวาย เพื่อเป็นเครื่องบรรณาการ แด่พระเจ้าอโศกธรรมราช.
[พระเจ้าอโศกส่งเบญจราชกุธภัณฑ์ไปถวายพระเจ้าเทวานัมปิยดิส]
พระเจ้าอโศกทรงเลื่อมใส แล้วทรงส่งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง
ไปถวายแด่ท้าวเธอ คือ เศวตฉัตร ๑ แส้จามร (วาลวีชนี) ๑ พระขรรค์ ๑
รัตนะประดับพระเมาลี (คือ พระอุณหิส ติดพระมหาพิชัยมงกุฎ) ๑ ฉลอง
* ราชตยฏฺฐี เป็นปฐมวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ. นัยอรรถโยชนา ๑/๘๐.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 129
พระบาท ๑ และเครื่องบรรณาการอย่างอื่นหลายชนิด เพื่อประโยชน์แก่การ
อภิเษก. คืออย่างไร. คือ สังข์ ๑ คังโคทกวารี (น้ำที่แม่น้ำคงคา หรือน้ำ
ที่เกิดจากสระอโนดาต) ๑ วัฒนมานะ จุณสำหรับสรงสนาน ๑ วฏังสกะ
(พระมาลากรองสำหรับประดับพระกรรณ หรือกรรเจียก เครื่องประดับหู) ๑
ภิงคาร พระเต้าทอง ๑ นันทิยาวฏะ ภาชนะทอง (ทำไว้เพื่อการมงคล มี
สัณฐานเหมือนรูปกากบาท) ๑ สิริกะ (วอหรือเสลี่ยง) ๑ กัญญา ขัตติยกุมารี ๑
อโธวิมทุสสยุคะ (คู่พระภูษาที่ไม่ต้องซัก) ๑ หัตถปุณฉนะ ผ้าสำหรับเช็ด
พระหัตถ์ ๑ หริจันทนะ แก่นจันทน์แดง ๑ อรุณวัณณมัตติกะ ดินสีอรุณ ๑
อัญชนะ* ยาหยอดพระเนตร ๑ หรีตกะ พระโอสถสมอ ๑ อามลกะ พระโอสถ
มะขามป้อม ๑ ฉะนี้แล.
แม้คำนี้ก็สมจริงดังคำที่พระอาจารย์ชาวสิงหล กล่าวไว้ในคัมภีร์
ที่ปวงศ์ว่า
พระราชาทรงพระนามว่าอโศก ทรง
ส่งเครื่องบรรณาการ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะบุญ
กรรม (ของพระองค์) ไป (ถวายแด่
พระเจ้าเทวานัมปิยดิส) คือ พัดวาลวีชนี ๑
พระอุณหิส (พระมหาพิชัยมงกุฏ) ๑ เศวต
ฉัตร ๑ พระขรรค์ ๑ ฉลองพระบาท ๑ เวฐนะ
ผ้าโพกพระเศียร ๑ สารปามังคะ สร้อย
สังวาล ๑ ภิงคาร พระเต้าทอง ๑ นันทิวัฏฏ-
* อัญชนะ แปลว่า แร่พลวง ก็ได้. ดอกอัญชันก็ได้ ดอกอังกาบก็ได้ หรือยาหยอดตาก็ได้
ในที่นี้ได้แปลว่า ยาหยอดตา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 130
กะ ภาชนะทอง ๑ สิวิกะ (วอหรือเสลี่ยง) ๑
สังขะ (สังข์สำหรับรดน้ำในเวลาอภิเษก) ๑
วฏังสกะ (พระมาลากรองสำหรับประดับ
พระกรรณ หรือกรรเจียกเครื่องประดับหู) ๑
อโธวิวัตถโกฏิกะ พระภูษาคู่หนึ่งที่ไม่ต้อง
ซักฟอก ๑ โสวัณณปาตีถาดทอง ๑ กฏัจฉุ
ทัพพี ๑ มหัคฆหัตถปุณฉนะ ผ้าสำหรับเช็ด
พระหัตถ์ที่มีค่ามาก ๑ อโนตัตโตทกกาชะ
หาบน้ำสระอโนดาด ๑ อุตตมหริจันทนะ
แก่นจันทน์แดงที่ดีเลิศ ๑ อรุณวัณณมัตติกะ
ดินสีอรุณ ๑ อัญชนะยาหยอดพระเนตรที่นาค
นำมาถวาย ๑ หรีตกะพระโอสถสมอ ๑
อามลกะ พระโอสถมะขามป้อม ๑ มหัคฆ
อมโตสถะ พระโอสถแก้โรคที่มีค่ามาก ๑
ข้าวสาลีมีกล่อนหอม ๖,๐๐๐ เกวียนที่นก
แขกเต้านำมาถวาย ๑.
ก็พระเจ้าอโศก ทรงส่งเครื่องบรรณาการ ที่เป็นอามิสนั้นไปถวาย
อย่างเดียวหามิได้ ได้ยินว่า ยังได้ส่งแม้ธรรมบรรณาการนี้ไปถวายอีก ดังนี้คือ
หม่อมฉัน ได้ถึงพระพุทธเจ้า พระ
ธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่งแล้ว
ได้แสดงตนเป็นอุบาสก ในพระศาสนาแห่ง
ศากยบุตร, ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 131
นรชน ! ถึงพระองค์ท่าน ก็จงยังจิตให้
เลื่อมใสในอุดมวัตถุทั้ง ๓ เหล่านี้เถิด ขอให้
ทรงเข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ นั้นว่าเป็นสรณะที่พึ่ง
ด้วยพระศรัทธาเถิด.
ในวันนั้น พระราชาพระองค์นั้น ทรงรับมุรธาภิเษก ๑ เดือนด้วย
เครื่องอุปกรณ์การอภิเษก ที่พระเจ้าอโศกทรงส่งไปถวาย. จริงอยู่ เหล่า
เสนามาตย์ได้ทำการอภิเษกถวายแด่ท้าวเธอ ในดิถีวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ
(คือวันเพ็ญเดือน ๖ ).
ท้าวเธอพระองค์นั้น เมื่อทรงอนุสรณ์ถึงศาสนาประวัตินั้น ที่พระองค์
ได้ทรงสดับมาไม่นาน ครั้นได้ทรงสดับคำนั้น ของพระเถระว่า ขอถวายพระพร
มหาบพิตร ! อาตมภาพทั้งหลาย ชื่อว่าสมณะเป็นสาวก ของพระธรรมราชา
ดังนี้ เป็นต้นแล้วทรงดำริว่า พระผู้เป็นพระเจ้าทั้งหลาย มาแล้วหนอแล จึง
ทรงทิ้งอาวุธในทันใดนั้นเอง แล้วประทับนั่งสนทนาสัมโมทนียกถาอยู่ ณ ส่วน
ข้างหนึ่ง. เหมือนดังที่พระโบราณาจารย์ กล่าวไว้ว่า
พระราชาทรงทิ้งอาวุธแล้ว เสด็จ-
ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นประทับนั่ง
แล้ว ได้ตรัสพระดำรัสประกอบด้วยประโยชน์
เป็นอันมากร่าเริงอยู่.
ก็เมื่อท้าวเธอพระองค์นั้น ทรงสนทนาสัมโมทนียกถาอยู่นั่นแล
ข้าราชบริพารจำนวนสี่หมื่นเหล่านั้น ก็พากันมาแวดล้อมพระองค์แล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 132
[พรเถระแสดงให้พระราชาทอดพระเนตรเห็นจริงอีก ๖ คน]
คราวนั้น พระเถระ ก็แสดงชน ๖ คนแม้นอกนี้. พระราชาทอด
พระเนตรเห็น (ชนทั้ง ๖ นั้น) แล้ว จึงทรงรับสั่ง (ถาม) ว่า คนเหล่านี้
มาเมื่อไร ?
พระเถระ. มาพร้อมกับอาตมภาพนั่นแล มหาบพิตร !
พระราชา. ก็บัดนี้ สมณะแม้เหล่าอื่น ผู้เห็นปานนี้ มีอยู่ในชมพูทวีป
บ้างหรือ ?
พระเถระ. มีอยู่ มหาบพิตร ! บัดนี้ ชมพูทวีป รุ่งเรืองไปด้วย
ผ้ากาสาวพัสตร์ สะบัดอบอวลไปด้วยลมฤษี, ในชมพูทวีปนั้น
มีพระอรหันต์พุทธสาวกเป็นอันมาก
ซึ่งเป็นผู้มีวิชชา ๓ และได้บรรลุฤทธิ์
เชี่ยวชาญทางเจโตปริยญาณ สิ้นอาสวะแล้ว.
พระราชา. ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระคุณเจ้าทั้งหลาย พากันมา
โดยทางไหน ?
พระเถระ. มหาบพิตร ! อาตมภาพทั้งหลายไม่ได้มาทางน้ำและทาง
บกเลย.
พระราชา. ก็ทรงเข้าพระทัยได้ดีว่า พระคุณเจ้าเหล่านี้มาทางอากาศ.
[พระเถระถามปัญหาเพื่อหยั่งทราบพระปัญญาของพระราชา]
พระเถระ. เพื่อจะทดลองดูว่า พระราชา จะทรงมีความเฉียบแหลม
ด้วยพระปรีชาหรือหนอแล ? จึงทูลถามปัญหาปรารภต้นมะม่วง ซึ่งอยู่ใกล้ว่า
มหาบพิตร ต้นไม้นี้ชื่ออะไร ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 133
พระราชา. ชื่อต้นมะม่วง ท่านผู้เจริญ !
พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ก็นอกจากต้นมะม่วงนี้แล้ว
มะม่วงต้นอื่น มีอยู่หรือไม่ ?
พระราชา. มีอยู่ ท่านผู้เจริญ ! ต้นมะม่วงแม้เหล่าอื่นมีอยู่มากหลาย.
พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ยกเว้นมะม่วงต้นนี้ และ
มะม่วงเหล่าอื่นเสียแล้ว ต้นไม้ชนิดอื่น มีอยู่หรือหนอแล ?
พระราชา. มีอยู่ ท่านผู้เจริญ ! แต่ต้นไม้เหล่านั้น มิใช่ต้นมะม่วง.
พระเถระ. ยกเว้นต้นมะม่วง และมิใช่ต้นมะม่วงเหล่าอื่นเสีย ก็ต้นไม้
ชนิดอื่น มีอยู่หรือ ?
พระราชา. มี คือ มะม่วงต้นนี้แหละ ท่านผู้เจริญ !
พระเถระ. ดีละ มหาบพิตร ! พระองค์ทรงเป็นบัณฑิต, ก็พระ-
ประยูรญาติของพระองค์ มีอยู่หรือ ? มหาบพิตร !
พระราชา. ชนผู้เป็นญาติของข้าพเจ้า มีอยู่มากหลาย ท่านผู้เจริญ !
พระเถระ. ยกเว้นชนผู้เป็นพระประยูรญาติ ของพระองค์เหล่านี้เสีย
แล้ว ชนบางพวกเหล่าอื่น แม้ผู้ที่มิใช่พระประยูรญาติมีอยู่หรือ ? มหาบพิตร !
พระราชา. ชนผู้ที่มิใช่ญาติ มีมากกว่าผู้ที่เป็นญาติ ท่านผู้เจริญ !
พระเถระ. ยกเว้นผู้ที่เป็นพระประยูรญาติของพระองค์ และผู้ที่มิใช่
พระประยูรญาติเสียแล้ว ใคร ๆ คนอื่น มีอยู่หรือ ? ขอถวายพระพร ;
พระราชา. มี คือ ข้าพเจ้าเอง ท่านผู้เจริญ !
พระเถระ. ดีละ มหาบพิตร ! ขึ้นชื่อว่าตน ไม่จัดว่าเป็นญาติของตน
ทั้งจะไม่ใช่ญาติ (ของตน) ก็หามิได้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 134
[พระราชาพร้อมด้วยข้าราชบริพารดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์]
ลำดับนั้น พระเถระคิดว่า พระราชาเป็นบัณฑิต จักทรงสามารถ
รู้ธรรมได้ ดังนี้แล้วจึงแสดงจูฬหัตถิปโทปมสูตร*. ในเวลาจบกถา พระราชา
พร้อมด้วยข้าราชบริพารประมาณสี่หมื่น ดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์แล้ว
ก็ในขณะนั้นนั่นเอง พนักงานห้องเครื่อง ก็นำพระกระยาหารมา
ทูลถวายแด่พระราชา. ส่วนพระราชากำลังทรงสดับพระสูตรอยู่ ได้ทรงเข้า
พระหฤทัยดีแล้วอย่างนี้ว่า สมณศากยบุตรเหล่านี้ ไม่ควรจะฉันในเวลานี้.
แต่ท้าวเธอ ทรงดำริว่า ก็การที่เราไม่ถามแล้วบริโภคไม่ควร ดังนี้แล้ว จึง
ตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านจักฉันหรือ ?
พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! พวกอาตมภาพ ไม่ควรฉัน
ในเวลานี้.
พระราชา. ควรฉันในเวลาไหนเล่า ? ท่านผู้เจริญ !
พระเถระ. ควรฉันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นไป จนถึงเวลาเที่ยงวัน ขอ
ถวายพระพร !
พระราชา. พวกเราไปสู่พระนครกันเถิด ท่านผู้เจริญ !
พระเถระ. อย่าเลย มหาบพิตร ! พวกอาตมภาพจักพักอยู่ในที่
นี้แหล.
พระราชา. ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ถ้าพวกพระคุณเจ้า จะพักอยู่
(ในที่นี้) ไซร้, ขอเด็กคนนี้ จงมาไปกับข้าพเจ้า.
พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! เด็กคนนี้บรรลุผลแล้ว
รู้แจ้งพระศาสนาแล้ว เป็นปัพพัชชาเปกขะ (คือผู้มุ่งจะบรรพชา) จักบรรพชา
ในบัดนี้.
* ม. มู. ๑๒/๓๓๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 135
พระราชา ทรงรับสั่งว่า ข้อแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นพรุ่งนี้
ข้าพเจ้าจักส่งรถมา (รับพวกพระคุณเจ้า), ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย พึงขึ้นรถ
นั้นมาเถิด ดังนี้ ถวายบังคมแล้ว ก็เสด็จหลีกไป.
[สุมนสามเณรประกาศโฆษณาเวลาฟังธรรมทั่วเกาะลังกา]
พระเถระ เมื่อพระราชาเสด็จหลีกไปไม่นานนัก จึงเรียกสุมนสามเณร
มาสั่งว่า สุมนะ เธอจงไปโฆษณาเวลาฟังธรรมเถิด.
สุมนสามเณรเรียนถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! กระผมจะโฆษณาให้
ได้ยินตลอดที่มีประมาณเท่าไร ?
พระเถระสั่งว่า จงโฆษณาให้ได้ยินทั่วเกาะตัมพปัณณิทวีปเถิด.
สามเณรรับเถรบัญชาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ดีละ แล้วก็เข้าจตุตถฌาน
มีอภิญญาเป็นบาท ออก (จากฌาน) แล้วอธิษฐานมีจิตตั้งมั่น โฆษณาเวลา
ฟังธรรมให้ได้ยินทั่วเกาะตัมพปัณณิทวีปตลอด ๓ ครั้งแล้ว.
พระราชา ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว จึงทรงส่งข่าวไปยังสำนักของ
พระเถระทั้งหลายว่า มีอุปัทวะอะไร ๆ หรือ ? ท่านผู้เจริญ !
พระเถระทูลว่า อาตมภาพทั้งหลาย ไม่มีอุปัทวะอะไร อาตมภาพ
ทั้งหลาย ได้ให้สามเณรโฆษณาเวลาฟังธรรม. อาตมภาพทั้งหลาย มีความ
ประสงค์จะแสดงพระพุทธพจน์ (เท่านั้น).
[เสียงโฆษณาเวลาฟังธรรมกระฉ่อนไปถึงชั้นพรหมโลก]
ก็แล เหล่าภุมมเทวดา ได้ฟังเสียงของสามเณรนั้นแล้ว ก็ได้ประกาศ
เสียงให้บันลือลั่นแล้ว เสียงได้กระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลกด้วยอุบายนั่น
เพราะเสียงนั้น ได้มีเทวดามาสันนิบาตกันอย่างมากมาย. พระเถระเห็นเทวดา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 136
มาสันนิบาตกันอย่างมากมาย จึงแสดงสมจิตตสูตร. ในเวลาจบกถา เหล่า
เทวดาประมาณอสงไขยหนึ่ง ได้บรรลุธรรมแล้ว. นาคและสุบรรณมากหลาย
ก็ได้ตั้งอยู่ในสรณคมน์แล้ว. ก็เมื่อพระสารีบุตรเถระ แสดงพระสูตรนี้อยู่
การสันนิบาตของเหล่าทวนเทพได้มีแล้วเช่นใด, เทวดาสันนิบาตเช่นนั้น ก็ได้
เกิดแล้วแม้เมื่อพระมหินทเถระ (แสดงพระสูตรนี้).
[พระปฐมเจดีย์เมืองอนุราชบุรี]
ครั้งนั้น โดยล่วงไปแห่งราตรีนั้น พระราชา ก็ทรงส่งรถไปเพื่อ
(รับ) พระเถระทั้งหลาย. นายสารถี พักรถไว้ ณ ที่ข้างหนึ่งแล้วเรียนบอก
แก่พระเถระทั้งหลายว่า รถมาแล้ว ขอรับ ! โปรดขึ้นรถเถิด. พวกเราจะ
ไปกัน.
พระเถระทั้งหลายพูดว่า พวกเราจะไม่ขึ้นรถ, ท่านจงไปเถิด พวกเรา
จักไปภายหลัง ดังนี้แล้ว ได้เหาะขึ้นสู่เวหาส แล้วไปลง ณ ปฐมเจดีย์สถาน
ในด้านทิศบูรพา แห่งเมืองอนุราธบุรี. จริงอยู่ พระเจดีย์นั้น ชาวโลกเรียกว่า
พระปฐมเจดีย์ เพราะเป็นเจดีย์ที่ประชาชนสร้างไว้ ในสถานที่พระเถระทั้งหลาย
ลงครั้งแรกนั่นแล.
[พระราชาทรงรับสั่งให้เตรียมการต้อนรับพระเถระ]
ฝ่ายพระราชา ครั้นส่งนายสารถีไปแล้ว จึงทรงบังคับพวกอำมาตย์ว่า
ขอให้พากันตกแต่มณฑปภายในพระราชนิเวศน์เถิด. ในทันใดนั้นเอง อำมาตย์
ทั้งปวง ก็ยินดีร่าเริง ตกแต่งมณฑปเป็นที่น่าเลื่อมใสยิ่งนัก. พระราชาทรง
ดำริอีกว่า วันวานนี้ พระเถระเมื่อแสดงหมวดศีลอยู่ ก็กล่าวว่า ที่นอนสูง
และที่นอนใหญ่ ย่อมไม่ควร (แก่พวกภิกษุ) ดังนี้, พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 137
จักนั่งบนอาสนะทั้งหลาย หรือจักไม่นั่งหนอ เมื่อท้าวเธอ ทรงดำริอยู่อย่างนั้น
นั่นแล นายสารถีนั้น ก็มาถึงประตูพระนคร (พอดี). เวลานั้นนายสารถีได้
เห็นพระเถระทั้งหลาย มารัดประคดเอว ห่มจีวรอยู่ก่อนแล้ว. ครั้นเธอเห็น
แล้ว ก็เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสยิ่งนัก แล้วกลับมาทูลแด่พระราชาว่า ขอเดชะ
ใต้ฝ่าละออกธุลีพระบาท ! พระเถระทั้งหลายมาถึงแล้ว.
พระราชา ตรัสถามว่า พระเถระทั้งหลาย ขึ้นรถมาหรือ ?
* นายสารถีกราบทูลว่า ไม่ขึ้น พระเจ้าข้า ! อีกอย่างหนึ่ง พระเถระ
ทั้งหลายออกทีหลังข้าพระพุทธเจ้า มาถึงก่อนได้ยืนอยู่ที่ประตูด้านทิศปราจีน.
พระราชาทรงสดับว่า พระเถระทั้งหลายไม่ขึ้นแม้ซึ่งรถ จึงทรงพระดำริว่า
บัดนี้ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จักไม่ยินดีอาสนะสูง แล้วตรัสสั่งว่า แน่ะพนาย !
ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงปูอาสนะ โดยอาการเพียงลาดพื้น เพื่อพระเถระ
ทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ได้เสด็จสวนทางไป. พวกอำมาตย์ปูเสื่ออ่อนบนพื้นแล้ว
ปูเครื่องลาดอันวิจิตมีผ้าโกเชาว์เป็นต้น (พรม) ข้างบน. พวกโหรผู้ทำนายนิมิต
เห็น (เหตุการณ์นั้น) แล้ว พากันพยากรณ์ว่า แผ่นดินนี้ถูกพระเถระเหล่านี้
ยึดแล้วในบัดนี้, ท่านเหล่านี้ จักเป็นเจ้าของแห่งเกาะตัมพปัณณิทวีป. ฝ่าย
พระราชาได้เสด็จมาถวายบังคมพระเถระทั้งหลายแล้ว ทรงรับเอาบาตรจาก
หัตถ์ของพระมหินทเถระ แล้วนิมนต์เหล่าพระเถระให้เข้าไปในเมือง ด้วยการ
บูชาและสักการะใหญ่ ให้เข้าไปสู่ภายในพระราชนิเวศน์. พระเถระเห็นการให้
ปูอาสนะแล้ว นั่งพลางคิดไปว่า ศาสนาของเราจักแผ่ไปทั่วลังกาทวีป และ
ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดุจแผ่นดิน. พระราชาทรงเลี้ยงดูพระเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำ
ด้วยขาทนียะโภชนียะ อันประณีต ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เสร็จเรียบร้อย
* พระธรรมบัณฑิต (มานิต ถาวโร ป. ธ. ๙ ) วัดสัมพันธวงศ์ แปล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 138
แล้ว ได้รับสั่งให้เรียกสตรี ๕๐๐ คน มีพระนางอนุฬาเทวีเป็นประมุข
มากด้วยพระดำรัสว่า พวกแม่จงกระทำการอภิวาทและบูชาสักการะพระเถระ
ทั้งหลายเถิด ดังนี้ แล้วได้เสด็จประทับนั่ง ณ ส่วนข้าหนึ่ง.
[พระเถระแสดงธรรมโปรดพระราชาและชาวเกาะ]
ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระเถระ เมื่อจะให้ฝนรัตนะคือพระธรรมตกแก่
พระราชาพร้อมทั้งชนบริวาร จึงได้แสดงเปตวัตถุ วิมานวัตถุ และสัจจสังยุต.
สตรีทั้ง ๕๐๐ เหล่านั้น ฟังธรรมเทศนานั้น ของพระเถระ ได้กระทำให้แจ้ง
ซึ่งโสดาปัตติผล. แม้เหล่ามนุษย์ที่ได้พบเห็นพระเถระบนเขามิสสกบรรพตใน
วันก่อน ก็พากันกล่าวสรรเสริญคุณของพระเถระในที่นั้น ๆ. พวกมหาชนฟัง
(จากสำนัก) ของชนเหล่านั้น ได้ประชุมกันส่งเสียงเอ็ดอึงที่พระลานหลวง.
พระราชาตรัสถามว่า นั่นเสียงอะไรกัน. ทวยนครกราบทูลว่า พวกมหาชน
ร้องว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ! พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้เห็นพระเถระ
พระราชาทรงพระดำริว่า ถ้าพวกมหาชนจักเข้ามาในที่นี้ไซร้ โอกาสจักไม่มี
จึงตรัสว่า แน่ะพนาย ! พวกเธอจงไปชำระโรงช้าง เกลี่ยทราย โปรยดอกไม้
๕ สี ผูกเพดานผ้าแล้วปูลาดอาสนะ เพื่อพระเถระทั้งหลายบนที่ของช้างมงคล.
พวกราชอำมาตย์ได้กระทำอย่างนั้นแล้ว. พระเถระได้ไปนั่งแสดงเทวทูตสูตร
ในที่นั้น. ในเวลาจบกถา คนประมาณหนึ่งพัน ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.
ในเวลานั้น ชนทั้งหลายคิดว่า โรงช้างแคบเกินไปเสียแล้ว จึงตกแต่งอาสนะ
ที่อุทยานนันทวันใกล้ประตูด้านทิศทักษิณ. พระเถระ (ไป) นั่งแสดงอาสิวิ-
โสปมสูตร ในอุทยานนันทวันนั้น. เพราะฟังอาสิวิโสปมสูตรแม้นั้น คนประมาณ
พันหนึ่ง ได้โสดาปัตติผล. ในวันที่สองแต่วันที่พระเถระมาแล้ว ธรรมาภิสมัย
(การตรัสรู้ธรรม การบรรลุธรรม) ได้มีแก่คนประมาณ ๒,๕๐๐ คน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 139
[พระราชาถวายอุทยานสร้างวัด]
เมื่อพระเถระสัมโมทนากับพวกกุลสตรี กุลสุณหา กุลกุมารี
ผู้มาแล้วและมาแล้ว ในอุทยานนันทวันนั่นแล เวลาก็ตกเย็น. พระเถระ
สังเกตเวลาแล้วลุกขึ้นพลางพูดว่า ได้เวลา พวกเราจะไปยังเขามิสสกบรรพต.
พวกอำมาตย์เรียนถามว่า พวกท่านจะไปไหนกันขอรับ ? พระเถระกล่าวว่า
จะไปยังที่พักของพวกเรา. อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ
แล้วกราบเรียนตามพระบรมราชานุมัติว่า ท่านผู้เจริญ ! เวลานี้ ไม่ใช่เวลาที่
จะไปในที่นั้น อุทยานนันทวันนี้แหละ จงเป็นที่พักของพระผู้เป็นเจ้า. พระเถระ
กล่าวว่า อย่าเลย พวกอาตมาจะไป. พวกอำมาตย์กราบเรียนตามพระราชดำรัส
อีกว่า ท่านขอรับ ! พระราชาตรัสว่า อุทยานชื่อเมฆวันนี้ เป็นของพระชนกเรา
อยู่ไม่ไกลไม่ใกล้นัก จากพระนครสมบูรณ์ด้วยทางไปมา ขอพระเถระเจ้าทั้งหลาย
โปรดสำเร็จการอยู่ในอุตทยานเมฆวันนี้. พระเถระทั้งหลาย จึงพักอยู่ที่อุทยาน
เมฆวัน. ฝ่ายพระราชาแล ได้เสด็จไปยังสำนักของพระเถระ ต่อเมื่อราตรีนั้น
ล่วงไป ได้ตรัสถามถึงการจำวัดสบายแล้ว ตรัสถามต่อไปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
อารามนี้ สมควรแก่พระภิกษุสงฆ์หรือ ? พระเถระถวายพระพรว่า สมควร
มหาบพิตร ! แล้วจึงนำพระสูตรนี้มาว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อาราม
ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตอาราม ดังนี้เป็นต้น. พระราชาทรงพอพระทัย
ทรงจักพระสุวรรณภิงคาร (พระเต้าทอง) ให้น้ำตกไปที่มือของพระเถระ ได้
ถวายอุทยานมหาเมฆวัน พร้อมกันน้ำตก แผ่นดินก็หวั่นไหว. นี่ เป็นการ
ไหวแห่งแผ่นดินคราวแรกในมหาวิหาร. พระราชาทรงตกพระทัยแล้ว จึงตรัส
ถามพระเถระว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! เพราะเหตุไร แผ่นดินจึงไหว.
พระเถระทูลถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! อย่างตกพระทัยเลย ศาสนาของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 140
พระทศพลจักตั้งมั่นในเกาะนี้ และที่นี้จักเป็นที่ตั้งมหาวิหารแห่งแรก แผ่นดิน
ไหวนั่นเป็นบุรพนิมิตแห่งการประดิษฐานพระศาสนา และที่จะสร้างวิหารนั้น
พระราชาทรงเลื่อมใสเหลือประมาณยิ่ง.
[พระเถระแสดงธรรมโปรดชาวเกาะติดต่อกันไป]
แม้ในวันรุ่งขึ้น พระเถระฉันที่พระราชมณเฑียรตามเคยแล้วแสดง
อนมตัคคิยสูตร ในอุทยานนันทวัน. วันรุ่งขึ้นแสดงอัคคิขันโธปมสูตร ท่าน
แสดงโดยอุบายนี้นั่นแล ตลอด ๗ วัน. ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์ประมาณ
๘,๕๐๐. ตั้งแต่นั้นมา อุทยานนันทวัน ก็ได้ชื่อว่า โชติวัน เพราะอธิบายว่า
เป็นสถานที่พระศาสนาปรากฏความรุ่งเรืองขึ้น. ส่วนในวันที่ ๗ พระเถระแสดง
อัปปมาสูตร โปรดพระราชาในภายในพระราชวังแล้ว ก็เลยไปยังเจติยคิรี-
พรรพตทีเดียว. ครั้งนั้นแล พระราชาตรัสถามพวกอำมาตย์ว่า พระเถระสั่งสอน
พวกเรา ด้วยโอวาทหนักแล้ว พึงไปเสียหรือหนอ ? พวกอำมาตย์กราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ! พระเถระพระองค์มิได้นิมนต์มา มาเองแท้ ๆ เพราะฉะนั้น
แม้การไม่ทูลลาพระองค์เลยไปเสีย ก็พึงเป็นได้.
[พระราชาทรงรถติดตามพระเถระไป]
ลำดับนั้น พระราชาเสด็จขึ้นทรงรถและทรงประคองพระเทวีทั้งสอง
ให้ขึ้นแล้วได้เสด็จไปยังเจติยคิรีบรรพต ด้วยราชานุภาพใหญ่. ท้าวเธอครั้น
เสด็จไปแล้ว ให้พระเทวีทั้งสองพักอยู่ ณ ส่วนหนึ่ง พระองค์เองเสด็จ
เข้าไปยังสำนักของพระเถระทั้งหลาย มีพระวรกายบอบช้ำเหลือเกินเสด็จเข้าไป.
ในเวลานั้นพระเถระทูลท้าวเธอว่า มหาบพิตร เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรง
ลำบากพระวรกายเสด็จมาอย่างนี้. พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้ามา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 141
เพื่อทราบว่า พวกท่านให้โอวาทอย่างหนักแกข้าพเจ้าแล้ว ประสงค์จะไปใน
บัดนี้หรือหนอ ? พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ! พวกอาตมภาพ มิใช่ต้องการ
จะไปแต่เวลานี้ ชื่อว่าวัสสูปนายิกกาล (กาลเข้าจำพรรษา) มหาบพิตร ! ใน
วัสสูปนายิกกาลนั้น สมณะได้ที่จำพรรษา จึงจะสมควร.
[อริฏฐอำมาตย์ขอพระบรมราชานุญาตบวช]
ในวันนั้นนั่นเอง อำมาตย์ชื่ออริฏฐะกับพี่ชายและน้องชายรวม ๕๕ คน
ยืนอยู่ในที่ใกล้พระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท !
ข้าพระพุทธเจ้าอยากบวชในสำนักของพระเถระ. พระราชาตรัสว่า ดีละ พนาย !
จงบวชเถิด. พระราชาครั้นทรงอนุญาตแล้ว ได้มอบถวายให้พระเถระ. พระ
เถระ ก็ให้เขาบวชในวันนั้นนั่นเอง. ทั้งหมดได้บรรลุพระอรหัต ในเวลา
ปลงผมเสร็จเหมือนกัน. ฝ่ายพระราชาแล ทรงเอาหนามสะล้อมลานพระเจดีย์
ในขณะนั้นนั่นเอง แล้วทรงเริ่มตั้งการงานไว้ที่ถ้ำ ๖๘ ถ้ำ ได้เสด็จกลับสู่
พระนครตามเดิม. พระเถระแม้เหล่านั้น ยังราชตระกูลประกอบด้วยเจ้าพี่และ
เจ้าน้อง ๑๐ องค์ ให้เลื่อมใสแล้ว อยู่จำพรรษาที่เจติยคิรีพรรพตสั่งสอนมหาชน
แม้ในเวลานั้นได้มีพระอรหันต์ ๖๒ รูป เข้าจำพรรษาแรกในเจติยคิรีบรรพต.
[พระเถระแนะให้หาสิ่งที่ควรกราบไหว้บูชา]
ครั้นนั้น ท่านพระมหาหินท์ อยู่จำพรรษาปวารณาแล้ว ได้ทูลคำนี้
กับพระราชา ในวันอุโบสถ เดือนกัตติกาเพ็ญว่า มหาบพิตร ! พวกอาตมภาพ
ได้เฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามานานแล้ว อยู่อย่างไม่มีที่พึ่ง อยากจะไปยัง
ชมพูทวีป. พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าบำรุงพวกท่านด้วยปัจจัย ๔
และมหาชนนี้ อาศัยพระคุณท่าน ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย เพราะเหตุไร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 142
พวกท่านจึงเบื่อหน่าย, พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ! พวกอาตมภาพได้เฝ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นเวลานานแล้ว สถานที่ควรทำการอภิวาท การลุกรับ
อัญชลีกรรมและสาจิกรรม ไม่มี เพราะเหตุนั้น พวกอาตมภาพจึงเบื่อหน่าย
พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ! พระคุณเจ้า ได้พูดแล้วมิใช่หรือว่า พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว. พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ! ปรินิพพานแล้ว
แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระสรีรธาตุของพระองค์ยังอยู่. พระราชาตรัสว่า
ข้าพเจ้ารู้ ท่านผู้เจริญ ! พระคุณท่านจำนงหวังการสร้างพระสถูป แล้วตรัส
ต่อไปว่า ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าจะสร้างพระสถูป นิมนต์พระคุณท่านเลือก
พื้นที่ ในบัดนี้เถิด อนึ่ง ข้าพเจ้า จักได้พระธาตุแต่ที่ไหน ท่านผู้เจริญ !
พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ! ทรงปรึกษากับสุมนสามเณรดูเถิด.
[สุมนสามเณรรับจัดหาพระธาตุ]
พระราชาทรงรับว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ! แล้วเข้าไปหาสุมนสามเณร
ตรัสถามว่า ท่านขอรับ ! เดี๋ยวนี้ พวกเราจักได้พระธาตุจากไหน ? สุมนสามเณร
ทูลว่า ทรงขวนขวายน้อยเถิด มหาบพิตร ! ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระถนนหนทาง ให้ประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับมีธงชัย
ธงประดาก และหม้อน้ำเต็มเป็นต้น แล้วพร้อมด้วยชนบริวารสมาทานองค์
อุโบสถ ให้พวกพนักงานตาลาวจรดนตรี* ทั้งปวงประชุมกัน รับสั่งให้ตกแต่ง
ช้างมงคลประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง และให้ยกเศวตฉัตรขึ้น
เบื้องบนช้างมลคลนั้นเสร็จแล้ว เวลาเย็น ขอให้ทรงพระกรุณาเสด็จบ่ายพระ-
พักตร์มุ่งตรงไปยังอุทยานมหานาควัน พระองค์จักทรงได้พระธาตุในที่นั้น
แน่นอน. พระราชาทรงรับว่า สาธุ. พระเถระทั้งหลาย ก็ได้ไปยังเจติยคิรี-
บรรพตนั่นแล.
* พนักงานประโคมดนตรี หรือละครรำเท้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 143
[พระเถระสั่งการให้สุมนสามเณรไปเชิญพระธาตุ]
ณ เจติยคิรีบรรพตนั้น ท่านพระมหินทเถระ กล่าวกะสุมนสามเณรว่า
ไปเถิด สามเณร ! เธอจงเข้าเฝ้าพระเจ้าอโศกธรรมราช ผู้เป็นพระเจ้าของเธอ
ในชมพูทวีป ทูลตามคำของเราอย่างนี้ว่า มหาบพิตร ! พระเจ้าเทวานัมปิยดิส
พระสหายของพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระศาสนาปรารถนาจะให้สร้างพระสถูป
ได้ยินว่า พระองค์มีพระธาตุอยู่ในพระหัตถ์ (ในครองครอง) ของพระองค์
ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานธาตุนั้นแก่อาตมภาพเถิด ดังนี้แล้ว
รับเอาพระธาตุนั้น จงเข้าเฝ้าท้าวสักกเทวราชทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช !
ได้ยินว่าพระองค์มีพระธาตุอยู่ในพระหัตถ์ (ในครอบครอง) ๒ องค์ คือ
พระทันตธาตุเบื้องขวา ๑ พระธาตุรากขวัญเบื้องขวา ๑ เพราะฉะนั้น ขอ
พระองค์โปรดบูชาพระทันตธาตุเบื้องขวา แต่พระราชทานพระธาตุรากขวัญ
เบื้องขวาแก่อาตมภาพ และจงทูลท้าวสักกะนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช !
เพราะเหตุไร พระองค์ทรงส่งพวกอาตมภาพไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีปแล้ว
ทรงปล่อยปละละเลยเสีย ดังนี้.
[สุมนสามเณรไปเชิญพระธาตุเกาะลังกาตามเถรบัญชา]
สุมนสามเณรรับคำของพระเถระว่า ดีละ ขอรับ ! ดังนี้แล้ว ถือเอา
บาตรและจีวรเหาะขึ้นสู่เวหาส ในขณะนั้นนั่นเอง ลงที่ประตูนครปาตลีบุตร
ไปสู่ราชสำนักทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ. พระมหาราชา ทรงยินดีรับบาตรจาก
มือสามเณรรอบด้วยของหอมแล้วได้บรรจุพระธาตุเช่นกับแก้วมุกดาอันประเสริฐ
ถวาย. สามเณรนั้นรับเอาพระธาตุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าท้าวสักกเทวราช. ท้าว-
สักกเทวราชเห็นสามเณรแล้วตรัสว่า พ่อสุมนะผู้เจริญ ! เธอเที่ยวมา เพราะ
เหตุไร ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 144
สามเณร. ข้าแต่มหาราช ! พระองค์ทรงส่งพวกอาตมภาพไปยังเกาะ
ตัมพปัณณิทวีปแล้ว ทรงปล่อยปละละเลยเสีย เพราะเหตุไร.
ท้าวสักกะ. ไม่ได้ละเลย ท่านผู้เจริญ ! พูดไปเถิด จะให้ข้าพเจ้า
ทำอะไร ?
สามเณร. ได้ยินว่า พระองค์มีพระธาตุอยู่ในพระหัตถ์ ๒ องค์ คือ
พระทันตธาตุเบื้องขวา ๑ พระธาตุรากขวัญเบื้องขวา ๑ ฉะนั้นขอให้มหาบพิตร
ทรงบูชาพระทันตธาตุเบื้องขวา แต่ทรงพระราชทานพระธาตุรากขวัญเบื้อขวา
แก่อาตมภาพ. ท้าวสักกะจอมเหล่าเทพตรัสว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ! แล้วทรง
เปิดพระสถูปแก้วมณีประมาณ ๑ โยชน์ ได้นำพระธาตุรากขวัญเบื้องขวาออก
มาแล้ว ถวายแก่สุมนสามเณร. สุมนสามเณรนั้น รับเอาพระธาตุนั้นแล้ว
ประดิษฐานไว้ ในเจติยบรรพตนั่นแล.
[พระเถระและพระราชาตลอดถึงชาวเกาะต้อนรับพระธาตุ]
ครั้นนั้นและ พระมหานาคเหล่านั้นทั้งหมด มีพระมหินท์เป็นประมุข
ประดิษฐานพระธาตุที่พระเจ้าอโศกธรรมราช ทรงพระราชทานมาไว้ที่เจติย-
บรรพตนั่นแล แล้วเชิญพระธาตุรากขวัญเบื้องขวาไปยังมหานาควันอุทยานใน
เวลาบ่าย. ฝ่ายพระราชาแล ทรงทำการบูชาสักการะมีประการดังที่สุมนสามเณร
กล่าวแล้ว ประทับบนคอช้างตัวประเสริฐ ทรงกั้นเศวตฉัตรด้วยพระองค์เอง
บนเศียรของช้างมงคล เสด็จไปถึงมหานาควันอุทยานพอดี. ครั้งนั้น ท้าวเธอ
ได้ทรงมีพระรำพึงดังนี้ว่า ถ้าว่า นี้เป็นพระธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไซร้
เศวตฉัตรจงเบนออกไป ช้างมงคลจงคุกเข่าลงบนพื้น ขอให้ผอบบรรจุพระธาตุ
จงมาประดิษฐานอยู่บนกระหม่อมของเรา. พร้อมด้วยจิตตุปบาทของพระราชา
ฉัตรได้เบนออกไป ช้างคุกเข่าลงบนพื้น ผอบบรรจุพระธาตุได้มาประดิษฐาน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 145
อยู่บนกระหม่อมของพระราชา. พระราชา ทรงประกอบด้วยพระปีติปราโมทย์
อย่างยิ่ง ดุจมีพระองค์อันน้ำอมฤตนั่นแลโสรจสรงแล้ว จึงตรัสถามว่า ท่านผู้
เจริญ ! ข้าพเจ้า จะปฏิบัติพระธาตุอย่างไร. พระเถระทูลว่า ขอพระองค์ได้
ทรงพระกรุณาวางไว้ บนกระพองช้างนั่นแหละก่อน มหาบพิตร ! พระราชา
ได้ทรงยกผอบบรรจุพระธาตุลงวางไว้บนกระพองช้าง. ช้างมีความดีใจ ได้
บันลือเสียงดุจเสียงนกกระเรียน. มหาเมฆ ตั้งเค้าขึ้นแล้ว ได้ยังฝนโบกขรพรรษ
ให้ตกลงมา. ได้มีแผ่นดินใหญ่ไหวจนถึงที่สุดน้ำ มีอันให้รู้ว่า พระธาตุของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จักประดิษฐานอยู่ ชื่อแม้ในปัจจันตชนบท ดังนี้เป็นเหตุ
พวกเทวดาและมนุษย์ได้ร่างเริงบันเทิงใจทั่วกัน.
พระมหาวีระ (ผู้มีความเพียรใหญ่)
เสด็จมาในเกาะลังกานี้ จากเทวโลก ได้
ประดิษฐานอยู่บนกระพองช้าง ในดิถีเพ็ญ
เป็นที่เต็มครบ ๔ เดือน (กลางเดือน ๑๒)
ก่อให้เกิดปีติแก่ทวยเทพและหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ด้วยสิริคืออานุภาพแห่งฤทธิ์
ด้วยประการฉะนั้นแล.
[ช้างนำพระธาตุไปยังที่จะสร้างพระเจดีย์]
ครั้งนั้น พญาช้างนั้น อันพวกตาลาวจรดนตรีมิใช่น้อยแวดล้อมแล้ว
มีทวยนครสักการะอยู่ ด้วยการบูชาสักการะอย่างโอฬารยิ่ง เดินมุ่งหน้าไปทาง
ทิศปัจฉิม ไม่ถอยหลังจนกระทั่งถึงประตูนครด้านทิศบุรพาอย่าโอฬาร ออก
ประตูด้านทิศบูรพา มีทวนนครทั่วทั้งเมืองทำการบูชาอย่างโอฬาร ออก
(จากเมือง) ทางประตูด้านทิศทักษิณ เดินไปที่เทวาลัย (เทวสถาน) ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 146
มเหชยักษ์ นัยว่ามีอยู่ในด้านทิศปัจฉิมแห่งถูปาราม แล้วย้อนกลับมุ่งหน้าตรง
ไปยังถูปรามนั่นแลอีก. ก็สมัยนั้น ถูปารามเป็นที่ตั้งบริโภคเจดีย์ ของพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ๓ พระองค์.
[ประวัติเกาะลังกาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า]
ดังได้สดับมา ในอดีตกาล ทวีปนี้ (เกาะลังกา) ได้มีชื่อว่าโอชทวีป.
พระราชามีพระนามว่าอภัย. เมืองหลวงชื่อว่า อภัยปุระ. เจติยบรรพตมีชื่อว่า
เทวกูฏบรรพต. ถูปารามมีนามว่า ปฏิยาราม. ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า กกุสันธะ ทรงอุบัติแล้วในโลก. สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ชื่อว่ามหาเทวะ ได้ยืนอยู่บนเทวกูฏบรรพตกับภิกษุพันรูป
เหมือนพระมหินทเถระยืนอยู่บนเจติยบรรพตฉะนั้น. สมัยนั้น พวกสัตว์บนเกาะ
โอชทวีปถึงความวิบัติฉิบหายเพราะโรคชื่อปัชชรก (โรคไข้เซื่องซิม) พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้
ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล ซึ่งสัตว์เหล่านั้นผู้ถึงความวิบัติฉิบหาย ครั้นทอด
พระเนตรเห็นแล้ว มีภิกษุ ๔ หมื่นแวดล้อมได้เสด็จไป (ที่เกาะนั้น).
ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น โรคปัชชรกได้สงบลงในขณะนั้นนั่นแล.
เมื่อโรคสงบลงแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรด. ธรรมาภิสมัย
ได้แก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานธมกรกไว้แล้วเสด็จหลีก
ไป. ชาวเมืองสร้างพระเจดีย์ที่ปฏิยาราม บรรจุธมกรกนั้นไว้ข้างใน. พระ-
มหาเทวะได้อยู่สั่งสอนชาวเกาะ.
ส่วนในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมน์ ทวีปนี้มี
ชื่อว่า วรทวีป. พระราชามีพระนามว่า สมิทธิ. เมืองหลวงชื่อว่า วัฑฒมาน.
บรรพตชื่อว่า สุวรรณกูฏ. ก็แลสมัยนั้น เกิดมีฝนแล้ง ภิกษาหายาก ข้าวกล้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 147
เสียหายในวรทวีป. พวกสัตว์ถึงความวิบัติฉิบหาย ด้วยโรคคือความอดอยาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมน์ ทรงทอดพระเนตรดูสัตว์โลกด้วย
พุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์เหล่านั้นผู้ถึงความวิบัติฉิบหาย ครั้นทรงทอด
พระเนตรเห็นแล้ว มีภิกษุสามหมื่นรูปแวดล้อมได้เสด็จไป (ยังเกาะนั้น). ด้วย
พุทธานุภาพฝนได้ตกถูกต้องตามฤดูกาล. ภิกษาหาได้ง่าย. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงธรรมโปรด (ชาวทวีปนั้น). ธรรมาภิมมัย ได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐.
พระผู้มีพระภาคเจ้า พักพระเถระนามว่า มหาสุมน ซึ่งมีภิกษุพันรูปเป็น
บริวารไว้ที่เกาะ ได้ประทานประคดเอวนั้นไว้แล้วเสด็จหลีกไป. ชนทั้งหลาย
ได้สร้างพระเจดีย์บรรจุประคดเอวนั้นไว้ภายใน.
อนึ่ง ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป เกาะนี้มีชื่อ
ว่า มัณฑทวีป. มีพระราชาทรงพระนามว่า ชยันต์. เมืองหลวงนามว่า ไพศาล.
บรรพตมีชื่อว่า สุภกูฏ. ก็สมัยนั้นแล ได้มีการทะเลาะวิวาทใหญ่ในมัณฑทวีป.
สัตว์เป็นอันมากเกิดทะเลาะวิวาทแก่งแย่งกัน ย่อมถึงความวิบัติฉิบหาย. พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสป ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้
ทอดพระเนตรเห็นสัตว์เหล่านั้นผู้ถึงความวิบัติฉิบหาย ครั้นทอดพระเนตรเห็น
แล้ว มีภิกษุสองหมื่นรูปแวดล้อมเสด็จมาระงับการวิวาท แล้วแสดงธรรมโปรด.
ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐. พระผู้มีพระภาคเจ้าให้พระเถระนามว่า
สัพพนันที ซึ่งมีภิกษุพันรูปเป็นบริวารพักอยู่ที่เกาะ ได้ประทานอุทกสาฏิก
(ผ้าสรงน้ำ) ไว้แล้ว เสด็จหลีกไป. ชาวเกาะได้สร้างพระเจดีย์ บรรจุอุทกสาฏิก
นั้นไว้ภายใน. บริโภคเจดีย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ๓ พระองค์
ได้ประดิษฐานอยู่แล้วในถูปาราม ด้วยประการอย่างนี้. เจดีย์เหล่านั้น ย่อม
สาบสูญไป เพราะความอันตรธานไปแห่งพระศาสนา เหลืออยู่แต่เพียงฐาน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 148
เท่านั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวคำนี้ว่า ก็สมัยนั้นถูปารามเป็นที่ตั้ง
แห่งบริโภคเจดีย์ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ๓ พระองค์.
ที่นี่นั้น เมื่อพระเจดีย์สาบสูญไปแล้ว ถูกห้อมล้อมอยู่ด้วยพุ่มไม้ต่างๆ
ที่มีเรียวกิ่งสะพรั่งไปด้วยหนาม ด้วยอานุภาพของเทวดา โดยตั้งใจว่า ใคร ๆ
อย่าได้ประทุษร้ายที่นั้น ด้วยของเป็นตนของไม่สะอาด มลทินและหยากเยื่อ.
[ช้างไม่ยอมให้ยกพระธาตุลงจากกระพอง]
ครั้งนั้น พวกราชบุรุษล่วงหน้าไปก่อนช้างนั้น ถางพุ่มไม้ทั้งหมด
ปราบพื้นที่ทำที่นั้นให้ราบเหมือนฝ่ามือ. พญาช้างเดินบ่ายหน้าไปยังที่นั้น ได้
ยืนอยู่ที่ฐานต้นโพธิ์ทางทิศปัจฉิมแห่งที่นั้น. ครั้งนั้น พวกราชบุรุษปรารภจะ
ยกพระธาตุลงจากกระพองช้างนั้น. พญาช้างไม่ยอมให้ยกลง. พระราชาตรัสถาม
พระเถระว่า ท่านผู้เจริญ ! เพราะเหตุไร ช้างจึงไม่ยอมให้ยกพระธาตุลง
พระเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! พระธาตุที่ยกขึ้นแล้วจะยกลงไม่สมควร.
ก็ในกาลนั้น น้ำในบึงอภัยวาปีแห้งขาดไป. พื้นดินโดยรอบแตกระแหง
ก้อนดินเหนียว ยกขึ้นได้ง่าย มหาชนเร่งรีบช่วยกันนำดินจากบึงอภัยวาปีนั้น
มาทำพื้นที่ (ฐาน) ประมาณเท่ากระพองช้าง. ในขณะนั้นนั่นเอง ชนทั้งหลาย
เริ่มปั้นอิฐ เพื่อสร้างพระสถูป. พญาช้างยืนอยู่ในโรงช้างใกล้ฐานของต้นโพธิ์
ในเวลากลางวัน กลางคืนรักษาพื้นที่ที่จะสร้างพระสถูป ๒-๓ วัน จนกว่าอิฐ
จะสำเร็จ. ครั้งนั้น พระราชารับสั่งให้ก่อพื้นที่ (ฐาน, ที่ตั้ง) แล้วตรัสถาม
พระเถระว่า ข้าพเจ้าพึงสร้างพระสถูปมีรูปลักษณะอย่างไร ท่านผู้เจริญ ?
พระเถระถวายพระพรว่า เช่นกับกองข้าวเปลือก มหาบพิตร ! พระราชาทรง
รับสั่งว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ! รับสั่งให้ก่อพระสถูปขนาดฐานชุกชีแล้ว ให้
กระทำสักการะใหญ่ เพื่อต้องการยกพระธาตุขึ้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 149
พระธาตุแสดงปาฏิหาริย์แก่มหาชน
ทวยนครทั้งสิ้นและชาวชนบทประชุมกันแล้ว เพื่อชมการฉลอง
พระธาตุ. ก็เมื่อหมู่มหาชนนั้นประชุมกันแล้ว พระธาตุของพระทศพลได้เหาะ
ขึ้นสู่เวหาสประมาณชั่วตาล ๗ ต้น จากกระพองช้าง แสดงยมกปาฏิหาริย์
ธารน้ำและเปลวไฟมีรัศมี ๖ สี ย่อมพวยพุ่งออกจากองค์พระธาตุทั้งหลายนั้น ๆ
ได้มีปาฏิหาริย์คล้ายกับปาฏิหาริย์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ณ โคนต้น
คัณฑามพฤกษ์ ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็แลปฏิหาริย์นั้น ไม่ใช่ด้วยอานุภาพของ
พระเถระ ไม่ใช่ด้วยอานุภาพของเทวดาเลย แท้ที่จริง เป็นด้วยพุทธานุภาพ
เท่านั้น.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่นั่นแล ได้ทรง
อธิษฐานว่า เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ยมกปาฏิหาริย์จงมีในวันประดิษฐาน
พระธาตุรากขวัญเบื้องขวาของเรา เหนือที่ตั้งบริโภคเจดีย์ของพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ ๓ องค์ ด้านทิศทักษิณแห่งอนุราชบุรี ในเกาะตัมพปัณณิทวีป ดังนี้.
พระพุทธเจ้าเป็นอจินไตย พระธรรม
ของพระพุทธเจ้า ก็เป็นอจินไตย วิบากของ
เหล่าชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า และ
พระคุณของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นอจินไตย
ก็เป็นอจินไตย โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้แล.
พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปเกาะลังกาเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่
ได้ทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จไปสู่เกาะนี้ (เกาะลังกา)
ถึง ๓ ครั้ง แม้ในคราวยังทรงพระชนม์อยู่ คือ คราวแรกเสด็จมาพระองค์เดียว
เท่านั้น เพื่อทรมานยักษ์ ครั้นทรมานยักษ์แล้ว ทรงตั้งอารักขาที่เกาะตัมพ-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 150
ปัณณิทวีป เสด็จรอบเกาะ ๓ รอบ ตั้งพระทัยว่า เมื่อเราปรินิพานแล้ว
ศาสนาของเรา จักประดิษฐานอยู่บนเกาะนี้.
ครั้งที่สอง เสด็จมาพระองค์เดียวเหมือนกัน เพื่อต้องการทรมาน
พญานาคผู้เป็นลุงและหลานกัน ครั้นทรมานเหล่านั้นแล้ว ได้เสด็จไป
ครั้งที่สาม เสด็จมามีภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ
ณ ที่ตั้งมหาเจดีย์ ที่ตั้งถูปารามเจดีย์ ที่ประดิษฐานต้นมหาโพธิ์ ที่ตั้งมุติงคณ-
เจดีย์ ที่ตั้งทีฆวาปีเจดีย์ และที่ตั้งกัลยาณิยเจดีย์. การมาโดยพระสรีรธาตุ
คราวนี้ เป็นครั้งที่ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
ก็แลขึ้นชื่อว่า โอกาสน้อยหนึ่งบนพื้นเกาะตัมพปัณณิทวีป ทีเมล็ดน้ำ
อันพุ่งออกจากพระสรีรธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่ถูกต้องหาได้มีไม่
พระสรีรธาตุนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยังความเร่าร้อนของ
ภาคพื้นเกาะตัมพปัณณิทวีปให้สงบลงด้วยเมล็ดฝน แสดงปาฏิหาริย์แก่มหาชน
แล้วลงประดิษฐานอยู่บนกระหม่อมของพระราชา ด้วยประการอย่างนี้.
พระราชาทรงสำคัญการได้อัตภาพเป็นมนุษย์ซึ่งมีผลทรงทำสักการะใหญ่ ให้
บรรจุพระธาตุแล้ว พร้อมด้วยการบรรจุพระธาตุ ได้เกิดมีแผ่นดินหวั่นไหว
ใหญ่.
[กุลบุตรชาวเกาะออกบวชในพระศาสนา]
ก็แลราชกุมารพระนามว่าอภัยเป็นพระกนิษฐภาดาของพระราชา ยัง
พระหฤทัยให้เลื่อมใสในปาฏิหาริย์แห่งพระธาตุนั้นแล้ว ทรงผนวชพร้อมกับ
บุรุษประมาณพันหนึ่ง. พวกทารก ๕๐๐ คน ออกบวชจากหมู่บ้านเวตาลิ
จากหมู่บ้าน เช่นหมู่บ้านทวารมณฑลเป็นต้น พวกทารกออกบวชหมู่บ้านละ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 151
๕๐๐ คน เช่นเดียวกัน. พวกทารกหลายร้อยคนออกบวชจากภายในเมืองและ
ภายนอกเมือง รวมทั้งหมดเป็นภิกษุ ๓ หมื่นรูป. ก็เมื่อพระสถูปสำเร็จแล้ว
พระราชา ราชอำมาตย์และพระเทวี ได้กระทำการบูชา อย่างน่าพิศวงคนละ
แผนก ๆ แม้แก่พวกเทวดานาคและยักษ์. อนึ่ง เมื่อการบูชาพระธาตุ (และ)
พระธาตุเจดีย์สำเร็จแล้ว พระมหินทเถระไปสำเร็จการอยู่ยังอุทยานเมฆวัน
นั่นแล.
[พระนางอนุฬาเทวีทรงมีพระประสงค์จะบวช]
ก็สมัยนั้นแล พระนางอนุฬาเทวี มีพระประสงค์จะบวช กราบทูล
แด่พระราชา. พระราชทรงสดับคำของพระนางแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้กะ
พระเถระว่า ท่านผู้เจริญ ! พระนางอนุฬาเทวีมีพระประสงค์จะบวช. ขอ
พระคุณท่านให้พระนางบวชเถิด. พระเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! การ
ให้มาตุคามบวช ไม่สมควรแก่พวกอาตมภาพ. แต่ในนครปาตลีบุตร มี
พระเถรี นามว่าสังฆมิตตา เป็นน้องสาวของอาตมภาพ. ขอพระองค์ได้ทรง
โปรดให้นิมนต์พระเถรีนั้นมา มหาบพิตร ! ก็แลโพธิพฤกษ์ (ต้นไม้เป็นที่
ตรัสรู้) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทั้ง ๓ พระองค์ ได้ประดิษฐาน
อยู่ที่เกาะนี้, โพธิพฤกษ์อันเปล่งข่ายคือรัศมีใหม่ ๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ของเรา ก็ควรประดิษฐานอยู่บนเกาะนี้ เพราะฉะนั้น พระองค์พึงส่ง
พระราชสาสน์ไปโดยวิธีที่พระเถรีสังฆมิตตาจะพึงเชิญไม้โพธิ์มาด้วย
[พระราชาส่งทูตไปยังชมพูทวีป]
พระราชาทรงรับคำของพระเถระว่า ดีละ เจ้าข้า ! ดังนี้ ทรงปรึกษา
กับพวกอำมาตย์แล้ว ตรัสกะอำมาตย์ผู้เป็นหลานของพระองค์ นามว่าอริฏฐะ
ว่าเธอจักอาจไปยังนครปาตลีบุตรนิมนต์พระแม่เจ้าสังฆมิตตาเถรีมาพร้อมกับ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 152
ไม้มหาโพธิหรือ ? อริฏฐอำมาตย์กราบทูลว่า อาจ สมมติเทพ ! ถ้าพระองค์
จักทรงอนุญาตให้หม่อมฉันบวช. พระราชาตรัสว่า ไปเถิดพ่อ ! เจ้านำพระ
เถรีมาแล้ว จงบวชเถิด. อำมาตย์นั้นถือเอาพระราชสาสน์และเถรสาสน์แล้วไป
ยังท่าเรือชื่อชัมพุโกลปัฏฏนะ โดยวันเดียวเท่านั้น ด้วยกำลังการอธิษฐานของ
พระเถระ ลงเรือข้ามสมุทรไปยังเมืองปาตลีบุตรทีเดียว. ฝ่ายพระนางอนุฬาเทวี
แล พร้อมด้วยหญิงสาว ๕๐๐ คน และหญิงชาววังอี ๕๐๐ คน สมทานศีล
๑๐ ครองผ้ากาสาวพัสตร์ให้สร้างสำนักอาศัย ในส่วนหนึ่งพระนคร แล้วสำเร็จ
การอยู่อาศัย.
[ทูตถวายพระราชสาสน์และเถรสาสน์]
ฝ่ายอริฏฐอำมาตย์ก็ไปถึงในวันนั้นนั่นแล ได้ทูลเกล้าถวายพระราช
สาสน์และกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมติเทพ ! พระมหินทเถระพระโอรสของ
พระองค์ ทูลอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระเทวีพระนามว่า อนุฬา พระชายาของ
พระกนิษฐภาดาแห่งพระเจ้าเทวานัมปิยดิส พระสหายของพระองค์ มีพระ
ประสงค์จะบวช เพื่อให้พระนางได้บวช ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดส่ง
พระแม่เจ้าสังฆมิตตาเถรี และต้นมหาโพธิ์ไปกับพระแม่เจ้าด้วย. อริฏฐอำมาตย์
ครั้นทูลถวายเถรสาสน์แล้วเข้าเฝ้าพระเถรีสังฆมิตตา กราบเรียนอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า ! พระมหินทเถระ หลวงพี่ของพระแม่เจ้า ส่งข้าพเจ้ามาใน
สำนักของพระแม่เจ้า โดยสั่งว่า พระนางอนุฬาเทวี พระชายาของพระกนิษฐ-
ภาดาแห่งพระเจ้าเทวานัมปิยดิส พร้อมกับหญิงสาว ๕๐๐ คน และหญิงชาววัง
๕๐๐ คน มีความประสงค์จะบวช นัยว่าพระแม่เจ้าจงมาให้พระนางอนุฬาเทวี
นั้นบวช. ในทันใดนั้นนั่นเอง พระเถรีนั้นรีบด่วนไปยังราชสำนัก แล้วกราบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 153
ทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาบพิตร ! พระมหินทเถระ หลวงพี่ของหม่อมฉันส่งข่าว
มาอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระนางอนุฬาเทวี พระชายาของพระกนิษฐภาดาแห่ง
พระราชา พร้อมด้วยหญิงสาว ๕๐๐ คน และหญิงชาววัง ๕๐๐ คน มีความ
ประสงค์จะบวช คอยท่าการมาของหม่อมฉันอยู่ ข้าแต่มหาราช ! หม่อมฉัน
ปราถนาจะไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีป. พระราชาตรัสว่า แน่ะแม่ ! พระมหินท-
เถระแม้ผู้เป็นลูกของเราและสุมนสามเณรหลานของเรา ก็ไปสู่เกาะตัมพปัณณิ-
ทวีป ทำให้เราเป็นเหมือนคนแขนขาด เรานั้นเมื่อไม่เห็นลูกหลานแม้
เหล่านั้น ก็เกิดความเศร้าโศก เมื่อเห็นหน้าเจ้าก็หายโศก อย่าเลยแม่ ! แม่
อย่าไป. พระเถรีทูลว่า ข้าแต่มหาราช ! คำของหลวงพี่แห่งหม่อมฉันหนักแน่น
แม้พระนางอนุฬาขัตติยานี อันสตรีพันคนแวดล้อมแล้วมุ่งหน้าต่อบรรพชา
รอคอยหม่อมฉันอยู่ หม่อมฉันจะต้องไป มหาบพิตร ! พระราชาตรัสว่า แม่
ถ้าเช่นนั้น เจ้าเชิญมหาโพธิ์ไปด้วยเถิด.
[พระเจ้าอโศกตั้งพระทัยจะส่งต้นมหาโพธิ์ไปเกาะลังกาอยู่ก่อน]
ถามว่า พระราชาได้ต้นมหาโพธิ์มาจากไหน ?
แก้ว่า ได้ทราบว่า พระราชาทรงมีพระประสงค์จะส่งต้นมหาโพธิ์ไป
ยังเกาะลังกา เมื่อสุมนสามเณรยังไม่มา เพื่อต้องการรับเอาพระธาตุ ก่อนแต่
พระสังฆมิตตาเถรีจะไปนั้นนั่นแล ก็ทรงพระดำริว่า เราจักส่งต้นมหาโพธิ์
ซึ่งไม่ควรจะตัดด้วยศัสตราไปได้อย่างได้หนอแล เมื่อไม่เห็นอุบาย จึงตรัสถาม
อำมาตย์ชื่อมหาเทพ. อำมาตย์นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ! มีภิกษุบัณฑิต
เป็นอันมาก. พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว รับสั่งให้ตระเตรียมภัต เพื่อภิกษุ
สงฆ์ ในที่สุดภัตกิจได้ตรัสถามพระสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ! ต้นมหาโพธิ์ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 154
พระผู้มีพระภาคเจ้า ควรไปยังเกาะลังกาหรือไม่หนอ ? พระสงฆ์มอบให้เป็น
ภาระของพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ. พระเถระถวายพระพรว่า ต้นมหาโพธิ์
ควรไปยังเกาะลังกาแท้ มหาบพิตร ! ดังนี้แล้ว ได้ทูลบอกมหาอธิษฐาน ๕ ข้อ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[พระมหาอธิษฐาน ๕ ข้อ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า]
มหาอธิษฐาน ๕ ข้อเป็นไฉน ? คือได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบรรทมบนพระแท่นปรินิพพาน ได้ทรงอธิษฐานว่า เพื่อต้องการให้ต้น
มหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ในลังกาทวีป พระเจ้าอโศกมหาราชจักเสด็จมารับเอา
ต้นมหาโพธิ์ ในเวลานั้น กึ่งมหาโพธิ์ด้านทิศทักษิณ จงขาดเองทีเดียว แล้ว
ประดิษฐานอยู่ในกระถางทอง นี้เป็นอธิษฐานข้อที่หนึ่ง. ทรงอธิฐานว่า
ก็ในเวลาประดิษฐานอยู่ในกระถางทองนั้น มหาโพธิ์จงลอยเข้าไปสู่ห้องหิมวลา-
หกตั้งอยู่ นี้เป็นอธิษฐานข้อที่สอง. ทรงอธิฐานว่า ในวันคำรบ ๗ ต้น
มหาโพธิ์จงลอยลงมาจากกลีบหิมวลาหก ตั้งอยู่ในกระถางทอง เปล่งฉัพพรรณ-
รังสีจากใบและผลทั้งหลาย นี้เป็นอธิษฐานข้อที่สาม. ทรงอธิษฐานว่า
พระธาตุรากขวัญเบื้องขวา จงทำยมกปาฏิหาริย์ในวันประดิษฐานอยู่ที่พระเจดีย์
ในถูปาราม นี้เป็นอธิษฐานข้อที่สี่. ทรงอธิษฐานว่า พระธาตุของเราประมาณ
โทณะหนึ่ง ในเกาะลังกานี้แล ในเวลาประดิษฐานอยู่ในมหาเจดีย์ จงแปลง
เพศเป็นพระพุทธเจ้าแล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส ทำยมกปาฏิหาริย์ นี้เป็นอธิษฐาน
ข้อที่ห้า.
[วิสสุกรรมเทพบุตรปลอมตัวเป็นช่างเนรมิตกระถางทอง]
พระราชาทรงสดับมหาอธิษฐาน ๕ ข้อนี้แล้ว มีพระหฤทัยเลื่อมใส
รับสั่งให้จัดการชำระหนทาง ตั้งแต่เมืองปาตลีบุตรจนถึงต้นมหาโพธิ์แล้ว ให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 155
นำทองคำเป็นมากออกมา เพื่อต้องการให้สร้างกระถางทองคำ. ในขณะนั้น
นั่นแล วิสสุกรรมเทพบุตร ทราบพระราชหฤทัยได้นิรมิตเป็นช่างทอง ยืนอยู่
ตรงพระพักตร์ (ของพระราชา). พระราชาทอดพระเนตรเห็นเขาแล้ว จึงตรัส
ว่า พ่อ เจ้าจงเอาทองนี้ไปทำกระถาง. เขาทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ! ขอ
พระองค์ทรงบอกขนาดให้ทราบ. พระราชาตรัสว่า พ่อ เจ้านั่นแหละ ทราบ
และจงทำให้ได้ขนาด. เขารับว่า ดีละ สมมติเทพ ! ข้าพระองค์จักกระทำ
จึงถือทองเอามือลูบคลำ ด้วยอานุภาพของตน นิรมิตกระถางทอง วัดโดยรอบ
ประมาณ ๙ ศอก สูง ๕ ศอก กว้าง ๓ ศอก หนา ๘ นิ้ว ขอบปากมีขนาด
เท่าโคนงวงช้าง
[พระราชาพร้อมด้วยเสนาเสด็จไปยังต้นมหาโพธิ์]
ครั้งนั้น พระราชา เสด็จออกจากนครปาตีบุตรด้วยเสนาใหญ่ ยาว
ประมาณ ๗ โยชน์ กว้างประมาณ ๓ โยชน์ พาเอาพระอริยสงฆ์ได้เสด็จไปยัง
ที่ใกล้ต้นมหาโพธิ์. เสนาล้อมต้นมหาโพธิ์ ซึ่งมีธงชัยและธงแผ่นผ้ายกขึ้นไว้
แล้ว วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ ประดับด้วยเครื่องอลังการมากมาย เกลื่อนกล่น
ไปด้วยดอกไม้นานาชนิด ประโคมด้วยเครื่องดุริยางค์หลายหลาก. พระราชา
นิมนต์เอาพระมหาเถระผู้เป็นคณะปาโมกข์ ประมาณพันรูป แล้วให้พระราชา
ผู้ได้รับการอภิเษกทั้งชมพูทวีปจำนวนพันองค์แวดล้อมพระองค์ และต้นมหา
โพธิ์ ได้ประทับยืนที่โคนต้นมหาโพธิ์ทอดพระเนตรดูต้นมหาโพธิ์. ส่วนที่เหลือ
เว้นลำต้นของมหาโพธิ์ และส่วนแห่งกิ่งใหญ่ด้านทิศทักษิณประมาณ ๔ ศอก
ไม่ปรากฏให้เห็น พระราชาทรงเห็นปาฏิหาริย์นั้น เกิดพระปีติปราโมทย์
ตรัสแต่ภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าเห็นปาฏิหาริย์นี้แล้ว ยินดี จะบูชา
ต้นมหาโพธิ์ ด้วยราชสมบัติในทวีป จึงได้ถวายการอภิเษก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 156
[พระราชาทรงทำสัตยาธิษฐาน]
ครั้งนั้น พระราชาทรงบูชา (ต้นมหาโพธิ์) ด้วยดอกไม้และของหอม
เป็นต้น กระทำประทักษิณ ๓ ครั้ง ถวายบังคมในที่ทั้ง ๘ เสด็จลุกขึ้นแล้ว
ประทับยืนประคองอัญชลี มีพระประสงค์จะเชิญเอาต้นมหาโพธิ์ด้วยการทำ
คำสัตย์ รับสั่งให้ตั้งกระถางทองข้างบนตั่งที่สำเร็จด้วยรัตนะทุกอย่าง ซึ่งตั้งหนุน
ให้สูงขึ้น ตั้งแต่พื้นดินจนถึงกิ่งด้านขวาของมพาโพธิ์แล้ว เสด็จขึ้นบนรัตนบิฐ
ทรงถือพระสุวรรณตุลิกา (พู่กันทองคำ) ทำรอยขีดด้วยมโนศิลา แล้วได้ทรง
ทำสัจพจน์กิริยาว่า ถ้าต้นมหาโพธิ์ควรประดิษฐานอยู่ในเกาะลังกา และหากว่า
ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนาไซร้ ขอให้ต้นมหาโพธิ์จง
ประดิษฐานอยู่ในกระถางทองเสียเองทีเดียว. พร้อมกับการทรงทำสัจพจน์
กิ่งโพธิ์ขาดตรงที่ทรงเอามโนศิลากำหนดหมายไว้ แล้วตั้งอยู่ในเบื้องบนกระถาง
ทอง อันเต็มด้วยโคลนผสมด้วยของหมอน. ต้นโพธิ์นั้นมีลำต้นสูงได้ ๑๐ ศอก
กิ่งใหญ่ ๕ กิ่ง ประมาณ ๔ ศอก ประดับด้วยผล ๕ ผลเท่า ๆ กัน. ส่วนกิ่ง
เล็ก ๆ มีจำนวนพันกิ่ง. ครั้งนั้นพระราชาทรงกำหนดตัดรอยขีดในประเทศ
(ส่วน ที่) ประมาณ ๓ องคุลี ข้างบนรอยขีดเดิม. ขณะนั่นนั้นเอง รากใหญ่
๑๐ ราก งอกเป็นต่อมคล้ายต่อมน้ำออกจากรอยขีดนั้น. พระราชาทรงกำหนด
ตัดรอยขีดอื่น ๆ อีก ๙ แห่งในระยะต่อ ๆ ไป แต่ละ ๓ องคุลี. ราก ๙๐ ราก
งอกเป็นปุ่มคล้ายต่อมน้ำออกจากรอยขีดแม้เหล่านั้น รอยละ ๑๐ ราก. รากใหญ่
๑๐ รากแรก งอกออกมาประมาณ ๔ นิ้ว. ราก ๙๐ ราก แม้นอกนี้ ก็งอก
เกี่ยวประสานกัน คล้ายตาข่ายขวัญโค. พระราชา ประทับยืนอยู่เหนือสุดตั่ง
รัตนบิฐนั่นแล ทอดระเนตรเห็นปาฏิหาริย์ประมาณเท่านี้ ได้ทรงประคอง
อัญชลีบันลือลั่น. ภิกษุจำนวนหลายพันรูป ก็ได้ซ้องสาธุการ. ราชเสนาทั้งสิ้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 157
ก็ได้บันลือกันอึงมี่. ธงผ้าที่ยกขึ้นไว้ตั้งแต่แสนธง ได้โบกสะบัดพริ้ว. พวกทวยเทพ
ตั้งต้นกุมมัฏฐกเทวดา ได้ให้สาธุการเป็นไป จนกระทั่งถึงเหล่าเทพพรหม
กายิกา.
เมื่อพระราชา ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์นี้ มีพระวรกายอันปีติ
ถูกต้องหาระหว่างมิได้ ประทับยืนประคองอัญชลีอยู่นั่นแล, ต้นมหาโพธิ์ก็ได้
ประดิษฐานอยู่ในกระถางทอง ด้วยจำนวนรากตั้งร้อย. รากใหญ่ ๑๐ ราก
ได้หยั่งลงจดพื้นกระถางทอง. รากที่เหลือ ๙๐ รากก็เจริญงอกงามขึ้นโดยลำดับ
หยั่งลงแช่อยู่ในเปือกตมที่ผสมด้วยของหอม. เมื่อต้นมหาโพธิ์ สักว่าประดิษฐาน
อยู่ในกระถางทองอย่างนั้นแล้ว มหาปฐพีก็หวั่นไหว. เหล่าเภรีของทวยเทพ
บันลือลั่นไปในอากาศ. ความโกลาหลเป็นอันเดียวกัน ตั้งแต่พื้นปฐพีจนถึง
พรหมโลกได้กึกก้องเป็นอันเดียวกัน เพราะความโน้มเอนไปมาแห่งเหล่า
บรรพต เพราะเสียงสาธุการแห่งทวยเทพ เพราะการทำเสียงหิง ๆ แห่งเหล่า
ยักษ์ เพราะการกล่าวชมเชยแห่งพวกอสูร เพราะการปรบมือแห่งพวกพรหม
เพราะความคำรามแห่งหมู่เมฆ เพราะความร้อนแห่งหมู่สัตว์สี่เท้า เพราะความ
ขันกู่แห่งเหล่าปักษี (และ) เพราะความว่องไวเฉพาะตน ๆ แห่งพนักงาน
ตาลาวจรดนตรีทั้งปวง. ฉัพพรรณรังสีพวยพุ่งออกมาจากแต่ละผลในกิ่งทั้ง ๕
แล้วก็พุ่งขึ้นไปจนถึงพรหมโลกเหมือนทำจักวาลทั้งสิ้น ให้ติดเนื่องกันดุจ
กลอนเรือนแก้ว ฉะนั้น.
[กิ่งต้นมหาโพธิ์ลอยขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้า ๗ วัน]
ก็แล จำเดิมแต่ขณะนั้นไป ต้นมหาโพธิ์ก็เข้าไปสู่กลีบเมฆซึ่งเต็มไป
ด้วยหิมะ แล้วดำรงอยู่สิ้น ๗ วัน. ใคร ๆ ก็ไม่เห็นต้นมหาโพธิ์. พระราชา
เสด็จลงจากรัตนบิฐแล้ว ทรงรับสั่งให้ทำการบูชามหาโพธิ์สิ้น ๗ วัน . ในวัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 158
ที่ ๗ หิมะและรัศมีทั้งหลายก็หมุนกลับจากทิศทั้งปวงเข้าไปสู่ต้นมหาโพธิ์นั่นแล.
เมื่อห้องจักรวาลปราศจากหิมวลาหกแจ่มใสแล้ว ต้นมหาโพธิ์ที่มีลำต้น กิ่งใหญ่
และกิ่งน้อยบริบูรณ์ ซึ่งประดับไปด้วยผลทั้ง ๕ ได้ปรากฏตั้งอยู่ในกระถางทอง
นั่นแล.
พระราชา ทอดพระเนตรเห็นต้นมหาโพธิ์แล้ว มีพระปรีดาปราโมทย์
อันปาฏิหาริย์เหล่านั้นให้เกิดแล้ว จึงทรงดำริว่า เราจักบูชาต้นมหาโพธิ์หนุ่ม
ด้วยราชสมบัติในสากลชมพูทวีป ดังนี้แล้ว ได้ทรงประทานการอภิเษก (แก่
ต้นมหาโพธิ์นั้น) แล้วได้ประทับยืนอยู่ที่ฐานต้นมหาโพธิ์นั่นแล สิ้น ๗ วัน.
ในวันปวารณาเดือนกัตติกาต้น เวลาเย็น ต้นมหาโพธิ์ก็ประดิษฐานอยู่ใน
กระถางทองก่อน. หลังจากนั้นมา พระราชา ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์ที่
มหาโพธิ์อยู่ในกลีบเมฆ และสัปดาห์ที่พระราชทานอภิเษก จึงเสด็จเข้าไปสู่
พระนครปาตลีบุตร ในวันอุโบสถ แห่งกาฬปักษ์โดยวันเดียวเท่านั้น, ในวัน
ปาฏิบท (แรมค่ำหนึ่ง) แห่งชุณหปักษ์ของเดือนกัตติกา ทรงพักต้นมหาโพธิ์
ไว้ที่โคนต้นสาละใหญ่ด้านปราจีนทิศ.
[ต้นมหาโพธิ์แตกหน่อออกใหม่]
ในวันที่ ๑๗ ตั้งแต่วันที่ต้นมหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ในกระถางทอง
หน่อใหม่ ๆ แห่งต้นมหาโพธิ์ก็ได้ปรากฏขึ้น. พระราชา แม้ทอดพระเนตรเห็น
หน่อเหล่านั้นแล้ว ก็ทรงเลื่อมใส เมื่อจะทรงบูชาต้นมหาโพธิ์ด้วยราชสมบัติ
อีก ได้ทรงถวายการอภิเษกในสากลชมพูทวีป. สุมนสามเณรไปเพื่อรับเอา
พระธาตุ ในวันเพ็ญเดือนกัตติกมาส (คือ วันเพ็ญเดือน ๑๒) ได้เห็นการ
บูชาแก่ต้นมหาโพธิ์เป็นมหรสพเดือนกัตติกมาส.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 159
พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงหมายถึงต้นโพธิ์ที่นำมาจากมหาโพธิ์มณฑล
แล้วชำไว้ที่นครปาตลีบุตร โดยนัยดังกล่าวมานี้ จึงตรัส (กะพระนางสังฆ-
มิตตาเถรี) ว่า แม่ ! ถ้าเช่นนี้ขอให้ลูกรับเอาต้นมหาโพธิ์ไปด้วยเถิด.
พระนางสังฆมิตตาเถรีนั้น ทูลรับว่า สาธุ.
[พระเจ้าอโศกทรงตั้งตระกูลต่าง ๆ ไว้เพื่อรักษาต้นมหาโพธิ์]
พระราชา พระราชทานตระกูลเทวดา ๑๘ ตระกูลอำมาตย์ ๘ ตระกูล
พราหมณ์ ๘ ตระกูลกุฏุมพี ๘ ตระกูลเลี้ยงโค ๘ ตระกูลเสือดาว ๘ และ
ตระกูลชาวกาลิงคะ ๘ ไว้เพื่อรักษาต้นมหาโพธิ์ และพระราชทานหม้อทอง ๘
หม้อเงิน ๘ ใบ ไว้เพื่อรดน้ำ (ต้นมหาโพธิ์) แล้วทรงให้ยกต้นมหาโพธิ์ขึ้น
สู่เรือ พร้อมด้วยบริวารนี้ที่แม่น้ำคงคา. ฝ่ายพระองค์เองเสด็จออกจากพระนคร
ข้ามดงชื่อวิชฌาฏวี แล้วเสด็จไปถึงท่าชื่อตามพลิตตี ตลอด ๗ วัน โดยลำดับ.
ในระหว่างทาง พวกทวยเทพ นาค และมนุษย์ ได้พากันบูชาต้นมหาโพธิ์
อย่างมโหฬาร. ฝ่ายพระราชา ทรงพักต้นมหาโพธิ์ไว้ที่ริมฝั่งสมุทร ๗ วัน
แล้วได้ทรงถวายราชสมบัติใหญ่ในสากลทวีป. คราวนี้ เป็นการทรงถวาย
ราชสมบัติในชมพูทวีปครั้งที่ ๓ แก่ต้นมหาโพธิ์นั้น.
[พระเจ้าอโศกทรงลุยน้ำส่งต้นมหาโพธิ์ไปเกาะลังกา]
พระเจ้าอโศกธรรมราชา ครั้นทรงบูชา (ต้นมหาโพธิ์) ด้วยราชสมบัติ
อย่างใหญ่อย่างนั้นแล้ว ในวันปาฏิบทแรก (คือแรม ๑ ค่ำ) แห่งเดือน
มิคสิรมาส (คือ เดือนอ้าย) จึงทรงยกต้นมหาโพธิ์ขึ้น เสด็จลุยน้ำไปประมาณ
เพียงพระศอ ทรงวางไว้บนเรือ แล้วทรงรับสั่งให้แม้พระนางสังฆมิตตาเถรี
พร้อมด้วยบริวารขึ้นเรือ จึงได้ตรัสคำนี้กะอธิฏฐอำมาตย์ว่า พ่อ ! ข้าพเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 160
บูชาต้นมหาโพธิ์ ด้วยราชสมบัติในสากลชมพูทวีปถึง ๓ ครั้ง ต้องลุยน้ำไป
ประมาณเพียงคอ ส่ง (ต้นมหาโพธิ์) ไปให้พระสหายของข้าพเจ้า. แม้พระสหาย
ของข้าพเจ้านั้น ก็จงทรงบูชาต้นมหาโพธิ์เหมือนอย่างนี้แหละ.
ท้าวเธอ ครั้นพระราชทานข่าวสาสน์แก่พระสหายอย่างนั้นแล้ว ทรง
คร่ำครวญประคองอัญชลี ประทับยืนหลั่งพระอัสสุชลอยู่ว่า ต้นมหาโพธิ์ของ
พระทศพล ซึ่งฉายช่อพระรัศมีดุจมีชีวิตอยู่ ไปละหนอ ดังนี้. นาวาที่ต้น
มหาโพธิ์ขึ้นประดิษฐานอยู่แม้นั้นแล เมื่อมหาชนจ้องมองแลดูอยู่ ก็ออกวิ่งไป
สู่ท้องทะเลหลวง. เหล่าระลอกคลื่นในมหาสมุทรสงบเงียบประมาณโยชน์หนึ่ง
โดยรอบ. เหล่าปทุมชาติเบญจพรรณก็แย้มบาน. ทิพยดุริยางค์ดนตรีทั้งหลาย
ก็บันลือลั่นอยู่บนอากาศกลางหาว. ได้มีการบูชาอันโอฬารยิ่งนัก ซึ่งพวก
ทวยเทพผู้อาศัยอยู่ในอากาศ ทางน้ำ บนบกและที่ต้นไม้เป็นต้น บันดาลให้
เป็นไปแล้ว. พระนางสังฆมิตตาเถรี ทำให้ตระกุลนาคทั้งหลายในมหาสมุทร
สะดุ้งกลัวแล้ว ด้วย (จำแลงเป็น) รูปสุบรรณ (คือนิรมิตเป็นรูปครุฑ). ก็นาค
เหล่านั้นสะดุ้งกลัว มาเห็นสมบัตินั้นเข้า จึงทูลขอกะพระเถรี แล้วนำต้น
มหาโพธิ์ไปสู่นาคพิภพ บูชาด้วยราชสมบัติแห่งนาคตลอด ๗ วันแล้ว (นำ
กลับมา) ให้ประดิษฐานอยู่บนเรืออีก. นาวาได้เล่นไปถึงท่าชมพูโกปัฏฏนะ
ในวันนั้นนั่นเอง. ฝ่ายพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงระทมทุกข์เพราะวิโยคจาก
ต้นมหาโพธิ์ ทรงคร่ำครวญกันแสง จ้องพระเนตรดูจนสุดทัศนวิสัย แล้วก็
เสด็จกลับ.
[พระเจ้าเทวานัมปิยดิสกรุงลังกาเตรียมต้อนรับต้นมหาโพธิ์]
ฝ่ายพระเจ้าเทวานัมปิยดิสมหาราชแล จำเดิมแต่วันปาฏิบทแรกแห่ง
เดือนมิคสิรมาส (คือเดือนอ้าย) ทรงรับสั่งให้ชำระตกแต่งมรรคาตั้งแต่ประตู
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 161
ด้านทิศอุดร (แห่งอนุราชบุรี) จนถึงท่าชมพูโกลปัฏฏนะตามคำของสุมน
สามเณร, ในวันที่เสด็จออกจากพระนคร ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ตั้งศาลา
อันมีอยู่ที่ฝั่งสมุทรใกล้กับประตูด้านทิศอุดรนั่นเอง ได้ทอดพระเนตรเห็นต้น
มหาโพธิ์ ที่กำลังมาอยู่ในมหาสมุทรนั่นแล โดยสมบัตินั้น เพราะอานุภาพ
ของพระเถระ ทรงปลื้มพระหฤทัยเสด็จออกไป รับส่งให้เอาดอกไม้เบญจพรรณ
โปรยลงตลอดทางทั้งหมด ทรงตั้งเครื่องบูชาดอก* ไม้อันมีค่าไว้ในระหว่างทาง
เป็นระยะแล้ว เสด็จไปท่าชมพูโกลปัฏฏนะโดยวันเดียวเท่านั้น อันพวกพนักงาน
ตาลาวจรดนตรีทั่งปวงแวดล้อมแล้ว ทรงบูชา (ต้นมหาโพธิ์) อยู่ด้วยเครื่อง
สักการะทั้งหลาย มีดอกไม้ ธูปและของหอมเป็นต้น เสด็จลุยน้ำไปประมาณ
เพียงพระศอแล้วทรงรับสั่งว่า ต้นมหาโพธิ์ของพระทศพล ซึ่งฉายช่อพระรัศมี
ดุจมีชีวิตอยู่มาแล้วหนอ มีพระหฤทัยเลื่อมใสแล้ว จึงทรงยกต้นมหาโพธิ์ขึ้น
แล้ว วางลงบนพระเศียร อันเป็นอวัยวะสูงสุด พร้อมด้วยเหล่าตระกูที่
สมบูรณ์ด้วยชาติ ๑๖ ตระกูล ผู้แวดล้อมต้นมหาโพธิ์ เสด็จขึ้นจากสมุทร
แล้วทรงพักต้นมหาโพธิ์ไว้ที่ริมฝั่งมหาสมุทร ทรงบูชาด้วยราชสมบัติในเกาะ
ตัมพปัณณิทวีปทั้งหมดสิ้น ๒ วัน. ท้าวเธอทรงให้ตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยชาติ
๑๖ ตระกูลสำเร็จราชการแทน. ภายหลังต่อมาในวันที่ ๔ ท้าวเธอทรงรับเอา
ต้นมหาโพธิ์แล้ว ทรงทำการบูชาอยู่อย่างโอฬาร เสด็จถึงกรุงอนุราธบุรีโดย
สำดับ.
[พระเจ้าเทวานัมปิยดิสพักต้นมหาโพธิ์ไว้ในปูชนียสถาน ๔ แห่ง]
พระราชา ครั้นทรงทำสักการะอย่างใหญ่ แม้ในกรุงอนุราธบุรี ใน
วันจาตุทสี (คือวันขึ้น ๑๔ ค่ำ) นั่นเอง รับสั่งให้ส่งต้นมหาโพธิ์เข้าในทาง
* ฏีกาสารัตถทีปนี. แก้ว่า ให้ทำเจดีย์ดอกไม้ไว้ในระหว่างทางทั้ง ๒ ข้าง น่าจะได้แก่
พุ่มดอกไม้นั้นเอง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 162
ประตูด้านทิศอุดรในเวลาตะวันบ่าย แห่ไปโดยท่ามกลางพระนคร ออกทาง
ประตูด้านทิศทักษิณ แล้วทรงให้ตั้งต้นมหาโพธิ์ไว้บนฐานซุ้มพระทวารแห่ง
ราชอุทยาน ที่ทำบริกรรมพื้นไว้แต่แรกทีเดียว ตามคำของสุมนสามเณร ซึ่ง
เป็นใจกลาง (จุดเด่น) แห่งราชอุทยานมหาเมฆวัน อันเป็นสถานที่ที่สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ และสมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ๓ พระองค์ เคยประทับนั่งเข้าสมบัติ. ทั้ง
เป็นสถานที่มีต้นซึกใหญ่ ซึ่งเป็นต้นไม้ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
พระนามว่ากกุสันธะ, ต้นอุทุมพร (ต้นมะเดื่อ) ซึ่งเป็นต้นไม้ตรัสรู้ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าโกนาคมน์ และต้นนิโครธ (ต้นไทร)
ซึ่งเป็นต้นไม้ตรัสรู้ของสมเด็จพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่ในที่
ประมาณ ๕๐๐ ชั่วธนู วัดจากประตูด้านทิศทักษิณ.
ถามว่า พระราชาทรงรับสั่งให้ตั้งต้นมหาโพธิ์นั้นไว้อย่างไร ?
แก้ว่า ทรงรับสั่งให้พักไว้อย่างนี้ คือ :- ได้ยินว่า ตระกูลที่สมบูรณ์
ด้วยชาติทั้ง ๑๖ ตระกูล ที่มาแวดล้อมต้นโพธิ์เหล่านั้น ถือเอาเพศเป็นพระราชา
พระราชาก็ทรงถือเอาเพศเป็นนายทวารบาล. ตระกูลทั้ง ๑๖ ตระกูลเอาต้น
มหาโพธิ์ลงปลูกแล้ว (ที่ปูชนียสถาน ๔ แห่งดังกล่าวแล้วนั้น)
[ต้นมหาโพธิ์แสดงอิทธิปาฏิหาริย์]
ในขณะที่พอพ้นจากมือของตระกูลทั้ง ๑๖ เหล่านั้นนั่นแล ต้นมหาโพธิ์
ก็ลอยขึ้นไปสู่เวลาสูงประมาณ ๘๐ ศอก แล้วเปล่งรัศมีซึ่งมีพรรณะ ๖ ประการ
ออก. รัศมีทั้งหลายก็แผ่ปกคลุมไปทั่วเกาะ ได้ตั้งอยู่จดถึงพรหมโลกเบื้องบน.
บุรุษประมาณหมื่นคน เห็นปาฏิหาริย์ต้นมหาโพธิ์แล้วเกิดความเลื่อมใส เริ่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 163
เจริญอนุบุพพวิปัสสนา ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วบวช. ต้นมหาโพธิ์ได้
ประดิษฐานอยู่บนอากาศ จนพระอาทิตย์อัสดงคต ก็เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคต
แล้ว จึงกลับ (ลงมา) ประดิษฐานอยู่บนปฐพี โดยโรหิณีนักขัตฤกษ์.
พร้อมกับด้วยต้นมหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ (นั่นแล) มหาปฐพีได้ไหวจนถึงที่สุด
น้ำ (รองแผ่นดิน). ก็แล ต้นมหาโพธิ์ ครั้นประดิษฐานอยู่แล้ว ก็นิ่งเงียบ
อยู่ในกลีบเมฆ (กลุ่มหมอก) ตลอด ๗ วัน. ต้นมหาโพธิ์ได้ถึงความมอง
ไม่เห็นชาวโลก (คือชาวโลกมองไม่เห็นต้นมหาโพธิ์). ในวันที่ ๗ นภากาศ
ได้ปราศจากเมฆหมอกแล้ว. รัศมีซึ่งมีพรรณ ๖ ประการ ก็พวยพุ่งกระจาย
ออก. ลำต้น กิ่ง ใบ และผลทั้ง ๕ แห่งต้นมหาโพธิ์ก็ปรากฏให้เห็น. พระ
มหินทเถระ พระนางเตละเลียดตาเถรี และพระราชา พร้อมด้วยข้าราชบริพาร
ได้เสด็จไปถึงสถานที่ตั้งแห่งต้นมหาโพธิ์นั่นแล. และประชาชนชาวเกาะทั้งหมด
ก็ประชุมกันแล้วโดยส่วนมาก. เมื่อชนเหล่านั้นมองดูอยู่นั่นเอง ผลหนึ่งจากกึ่ง
ด้านทิศอุดรสุกแล้วก็หล่นจากกิ่ง. พระเถระน้อมหัตถ์เข้ารับไว้. ผลก็ได้ตั้งอยู่
บนหัตถ์ของพระเถระ. พระเถระได้ถวายผลนั้นแด่พระราชา โดยถวายพระพร
ว่า ขอพระองค์ทรงปลูกเถิด มหาบพิตร !
[ต้นมหาโพธิ์แตกสาขาออกถึง ๘ ต้นและ ๓๒ ต้น]
พระราชาทรงรับแล้ว ก็ทรงโปรยปุ๋ยที่มีรสดีลงที่กระถางทองใส่โคลน
ที่ผสมด้วยของหอมให้เต็ม แล้วเพาะปลูกไว้ในที่ใกล้ต้นมหาโพธิ์. เมื่อชน
ทั้งหมดดูอยู่นั่นเอง ต้นโพธิ์อ่อน ๆ ๘ ต้น ซึ่งมีประมาณ ๔ ศอก ได้งอก
ขึ้นแล้ว. พระราชาทอดพระเนตรเห็นอัศจรรย์นั้นแล้วก็ทรงบูชาต้นโพธิ์อ่อน ๆ
๘ ต้นด้วยเศวตฉัตร แล้วถวายการอภิเษก (แก่ต้นโพธิ์อ่อน ๆ ทั้ง ๘ ต้นนั้น).
ประชาชนปลูกต้นโพธิ์ต้นหนึ่ง (ซึ่งแยกออก) จากต้นโพธิ์อ่อน ๆ ทั้ง ๘ ต้นนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 164
ไว้ที่ท่าชื่อชมพูโกลปัฏฏนะ ในโอกาสที่ต้นมหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ครั้งแรก ใน
คราวมาถึง. ปลูกต้นหนึ่งไว้ที่หน้าประตูบ้านของควักพราหมณ์ ๑ อีกต้นหนึ่ง
ที่ถูปาราม อีกต้นหนึ่งที่อิสสรนิมมานวิหาร๒ อีกต้นหนึ่งใกล้ที่ตั้งพระปฐมเจดีย์
อีกต้นหนึ่งที่เจติยบรรพต อีกต้นหนึ่งที่บ้านกาชรคามในโรหณชนบท อีกต้น
หนึ่งที่บ้านจันทนคาม ในโรหณชนบทนั่นเอง. ประชาชนทั้งหลายได้ปลูกต้น
โพธิ์อ่อน ๓๒ ต้น ซึ่งเกิดจากพืชแห่งผลทั้ง ๔ นอกนี้ไว้ในอารามที่ตั้งอยู่ใน
ระยะโยชน์หนึ่ง.
[พระนางอนุฬาเทวี และอริฏฐอำมาตย์ผนวชแล้วสำเร็จพระอรหัต]
เมื่อต้นมหาโพธิ์ อันเป็นธงชัยแห่งพระสัทธรรมของพระทศพล
ประดิษฐานอยู่แล้ว เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนชาวเกาะโดย
รอบ ด้วยการสืบต่อลำดับแห่งลูกหลานอย่างนี้แล้ว พระนางอนุฬาเทวี พร้อม
กับมาตุคามพันหนึ่ง คือ หญิงสาว (ผู้เป็นบาทบริจารีกาของตน) ๕๐๐ คน
และหญิงชาววังอีก ๕๐๐ คน ผนวชในสำนักของพระนางสังฆมิตตาเถรี ไม่
นานนักพร้อมด้วยบริวารก็ดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์. ฝ่ายพระราชภาคิ-
ไนยชื่ออริฏฐะแล พร้อมกับบุรุษ ๕๐๐ คน บวชในสำนักของพระเถระ
พร้อมด้วยบริวาร ได้ดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์ ต่อกาลไม่นานเช่น
เดียวกัน.
[พระศาสนาจักตั้งมั่นเพราะกุลบุตรชาวเกาะลังกาบวชเรียน]
ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาถวายบังคมต้นมหาโพธิ์แล้ว เสด็จไปยัง
ถูปารามพร้อมกับพระเถระ เมื่อท้าวเธอเสด็จไปถึงสถานที่จะสร้างโลหปราสาท
๑. ฎีกาสารัตถทีปนีเป็นตวักกพราหมณ์.
๒. คำว่า อิสสรนิมมานวิหารได้แก่กัสสปคิรีวิหารคือวิหารที่อิสรชนสร้างไว้ สารัตถ.
๑/๒๘๖-๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 165
พวกราชบุรุษก็ได้นำดอกไม้ทั้งหลายมาทูลถวาย. พระราชาได้ถวายดอกไม้
ทั้งหลายแก่พระเถระ. พระเถระก็เอาดอกไม้บูชาที่จะสร้างโลหปราสาท. พอ
เมื่อดอกไม้ทั้งหลาย สักว่าตกลงที่พื้น ได้เกิดมีแผ่นดินหวั่นไหวใหญ่. พระราชา
ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! เพราะเหตุไร แผ่นดินจึงไหว ? พระเถระ
ทูลว่า มหาบพิตร ! ในอนาคต โรงพระอุโบสถจักมีแก่สงฆ์ในโอกาสนี้ นี้จัก
เป็นบุรพนิมิตแห่งโรงพระอุโบสถนั้น.
พระราชาเสด็จต่อไปพร้อมกับพระเถระ ได้เสด็จไปถึงอัมพังคณสถาน.
ที่อัมพังคณสถานนั้น ราชบุรุษได้นำผลมะม่วงสุกผลหนึ่งซึ่งสมบูรณ์ด้วยสีและ
กลิ่น มีรสอร่อยยิ่ง มาทูลถวายแด่พระราชาพระองค์นั้น. พระราชาได้ถวาย
ผลมะม่วงนั้นแก่พระเถระเพื่อขบฉัน. พระเถระก็ฉันในที่นั้นนั่นเอง แล้วทูลว่า
ขอพระองค์ทรงปลูกเมล็ดมะม่วงนี้ไว้ ในที่นี้นั่นแล.
พระราชา ทรงรับเอาเมล็ดมะม่วงนั้นแล้ว ทรงเพาะปลูกไว้ในที่นั้น
นั่นเอง แล้วทรงรดน้ำ. พร้อมกับการทรงเพาะปลูกเมล็ดมะม่วงปฐพีหวั่นไหว
แล้ว. พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! เพราะเหตุไร ปฐพีจึงไหว ?
พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ! ในอนาคตที่ประชุมสงฆ์ ชื่ออัมพังคณะ จักมีใน
โอกาสนี้ นี้จักเป็นบุรพนิมิตแห่งสันนิบาตสถานนั้น.
พระราชา ทรงโปรยดอกไม้ ๘ กำลงในที่นั้น ทรงไว้แล้วก็เสด็จ
ต่อไปอีกพร้อมกับพระเถระ ได้เสด็จไปถึงสถานที่จะสร้างมหาเจดีย์. ในสถาน
ที่นั้น พวกราชบุรุษ ได้นำดอกจำปาทั้งหลายมาทูลถวายแด่พระราชาองค์นั้น.
พระราชา ได้ถวายดอกจำปาเหล่านั้นแก่พระเถระ. พระเถระก็เอาดอกไม้บูชา
ที่จะสร้างมหาเจดีย์แล้วไหว้. ในทันใดนั้นเอง มหาปฐพีก็หวั่นไหว. พระราชา
ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! เพราะเหตุไร ปฐพีจึงได้ไหว. พระเถระ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 166
ทูลว่า มหาบพิตร ! ในอนาคต พระมหาสถูป ซึ่งไม่มีที่ไนเหมือนของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจักมีในโอกาสนี้ นี้จักเป็นบุรพนิมิต แห่งมหาสถูปนั้น.
พระราชา ทรงรับสั่งว่า ข้าพเจ้าเอง จะสร้าง ท่านผู้เจริญ !
พระเถระ ทูลว่า อย่าเลย มหาบพิตร ! พระองค์ ยังมีการงานอื่น
อยู่มาก แต่พระนัดดาของพระองค์ พระนามว่า ทุฏฐคามณีอภัย จักทรง
ให้สร้าง.
คราวนั้น พระราชา ทรงรับสั่งว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ถ้า
พระนัดดาของข้าพเจ้าจักสร้างไซร้ ก็จักสร้างสิ่งที่ข้าพเจ้าสร้างไว้แล้วนั่นเอง
ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งให้นำเสาหินมีประมาณ ๑๒ ศอกมา แล้วให้จารึกอักษรไว้ว่า
พระนัดดาของพระเจ้าเทวานัมปิยดิสพระนามว่า ทุฏฐคามณีอภัย จะสร้าง
พระสถูปไว้ในประเทศนี้เถิด ดังนี้ รับสั่งให้ประดิษฐานไว้แล้ว จึงตรัสถาม
พระเถระว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระศาสนา ตั้งมั่นแล้วในเกาะลังกา
ทวีปหรือยัง ?
พระเถระทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! พระศาสนาตั้งมั่นแล้ว
แต่ว่า รากเหง้าแห่งพระศาสนานั้น ยังไม่หยั่งลงก่อน.
พระราชา ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ก็เมื่อไรรากเหง้า
(แห่งพระศาสนานั้น) จักชื่อว่าเป็นอันหยั่งลงแล้ว ?
พระเถระ ทูลว่า มหาบพิตร ! ในกาลใด เด็กผู้เกิดในเกาะตัมพ-
ปัณณิทวีป มีมารดาเป็นชาวเกาะตัมพปัณณิทวีป จักออกบวชในเกาะ
ตัมพปัณณิทวีป แล้วเรียกพระวินัยในเกาะตัมพปัณณิทวีปนั่นเอง ออกสอน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 167
(พระวินัย) ในเกาะตัมพปัณณิทวีปได้ ในกาลนั่นรากเหง้าแห่งพระศาสนา
จักชื่อว่าเป็นอันหยั่งลงแล้ว.
พระราชา ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ก็มีภิกษุเช่นนี้
มีอยู่หรือ ?
พระเถระ ทูลว่า มีอยู่ มหาบพิตร ! พระมหาอริฏฐภิกษุเป็นผู้
สามารถในกรรมนั้น.
พระราชา ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าควรทำ
อะไรบ้าง ในกรรมนี้.
พระเถระ ทูลว่า ควรสร้างมณฑป มหาบพิตร !
[พระเจ้าเทวานัมปิยดิสสร้างมณฑปเพื่อทำจตุตถสังคายนา]
พระราชา ทรงรับว่า ดีละ เจ้าข้า ! แล้วรับสั่งให้สร้างมณฑปด้วย
ราชานุภาพ ซึ่งเป็นเช่นกับมณฑปที่พระเจ้าอชาตศัตรุมหาราช ทรงสร้างใน
คราวทีมหาสังคีติ (คือสังคายนาครั้งแรก) ไว้ในเนื้อที่ของอำมาตย์ ชื่อเมฆ
วรรณาภัย (ของพระเจ้าเมฆวรรณาภัย) แล้วทรงรับสั่งให้พวกพนักงานตาลา
วจรดนตรี* ทั้งปวง ฝึกซ้อมในศิลปะของตน ๆ ไว้ (สั่งให้เตรียมซ้อมดนตรี
ไว้ให้ชำนาญ) แล้วทรงรับสั่งว่า ข้าพเจ้า จักดูรากเหง้าแห่งพระศาสนา ที่
หยั่งลงแล้ว ดังนี้ มีบุรุษจำนวนหลายพันแวดล้อมแล้ว ได้เสด็จไปถึงถูปาราม
* พนักงานประโคมดนตรี หรือละครรำเท้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 168
เริ่มเรื่องจตุตถสังคายนา
โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๖๘,๐๐๐ รูป ประชุมกันที่ถูปาราม. อาสนะ
ของพระมหามหินทเถระ เขาปูหันหน้าไปทางด้านทิศทักษิณ. ธรรมาสน์ของ
มหาอริฏฐเถระ เขาจัดตั้งหันหน้าไปทางด้านทิศอุดร. ครั้นนั้นแล พระ
มหาอริฏฐเถระ อันพระมหินทเถระ เชื้อเชิญแล้วก็นั่งบนธรรมาสน์ โดยลำดับ
อันถึงแก่ตน ตามสมควร. พระมหาเถระ ๖๘ รูป ซึ่งมีพระมหินทเถระเป็น
ประมุข ก็นั่งล้อมธรรมาสน์. พระกนิษฐภาดา แม้ของพระราชา พระนามว่า
มัตตาภยเถระ เป็นผู้เอาธุระการงาน (คือตั้งใจศึกษาเล่าเรียน) ร่วมกับภิกษุ
๕๐๐ รูป นั่งล้อมธรรมาสน์ของพระมหาอริฏฐเถระนั้นแล ด้วยตั้งใจว่า จัก
เรียนเอาพระวินัย. พวกภิกษุแม้ที่เหลือ และบริษัทพร้อมด้วยพระราชา ก็ได้
นั่งบนที่นั่งอันถึงแก่ตน ๆ แล้ว.
ครั้งนั้น ท่านพระมหาอริฏฐเถระ ได้แสดงนิทานแห่งพระวินัยว่า
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดาอันนเฬรุ-
ยักษ์สิง ใกล้เมืองเวรัญชา ดังนี้เป็นต้น. ก็แลเมื่อท่านพระอริฏฐเถระ แสดง
นิทานแห่งพระวินัยแล้ว อากาศก็ร้องคำรามดังสนั่น. สายฟ้าอันมิใช่ฤดูกาลก็
แลบแปลบปลาบ. พวกเทวดาได้ถวายสาธุการแล้ว. มหาปฐพีไหวหวั่น จนถึง
ที่สุดน้ำรองแผ่นดิน.
เมื่อปาฏิหาริย์หลายอย่างเป็นไปอยู่อย่างนั้น ท่านพระอริฏฐเถระ
ซึ่งมีพระมหาเถระขีณาสพ เจ้าคณะแต่ละคณะ ๖๘ รูป อันมีพระมหามหินท์เป็น
ประมุข และภิกษุหกหมื่นรูปนอกจากนั้นห้อมล้อมแล้ว ได้ประกาศพระวินัย
ปิฎก อันแสดงซึ่งคุณมีพระกรุณาของพระศาสดาเป็นต้น ซึ่งกำจัดความดิ้นรน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 169
ทางกายกรรมวจีกรรม ของเหล่าชนผู้ทำตามคำพร่ำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ในท่ามกลางแห่งมหาวิหารถูปาราม ในวันปวารณาเดือนกัตติกาแรก. ก็ท่าน
พระอริฏฐเถระ ครั้นประกาศแล้ว บอกสอนแก่ภิกษุเป็นอันมาก คือให้ตั้ง
อยู่ในหทัยของภิกษุมากหลาย ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุ แล้วก็ปรินิพพาน ด้วย
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.
พระมหาเถระ ๖๘ รูป แม้เหล่านั้นแล
อันมีพระมหามหินท์เป็นประมุข ผู้เอาธุระ
การงานมาประชุมพร้อมกันแล้วในสมาคม
นั้น, ทั้งหมดเป็นเจ้าคณะแต่ละคณะ เป็น
สาวกของพระธรรมราชา มีอาสวะสิ้นแล้ว
ได้บรรลุวสี มีวิชชา ๓ ฉลาดในอิทธิฤทธิ์
รู้แจ้งอุดมอรรถอนุสาสน์พระราชา พระเถระ
ผู้แสวงหาคุณใหญ่แสดงแสงสว่าง (คือ
ความสว่างแห่งญาณ) ให้เห็นชัด ยังแผ่นดิน
(คือเกาะลังกา) นี้ให้รุ่งเรืองแล้ว ก็ปริ
นิพพาน เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วดับไป
ฉะนั้น.
จำเนียรกาลต่อมาแต่กาลปรินิพพานแห่งพระมหาเถระเหล่านั้นลำดับ
สืบต่อกันมาแห่งอาจารย์ ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในตอนต้นอย่างนี้ คือ
พระมหาเถระแม้เหล่าอื่น ผู้เป็นอันเตวาสิกของพระเถระเหล่านั้น และพระเถระ
ทั้งหลาย มีพระติสสทัตตะ พระกาฬสุมนะ และพระทีฆสุมนะเป็นต้น ผู้เป็น
อันเตวาสิกแห่งอันเตวาสิกทั้งหลาย ของพระมหาอริฏฐเถระ ได้นำพระวินัย-
ปิฎกนี้มา จนถึงทุกวันนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า ก็ถัดจากตติยสังคายนามา
พระเถระทั้งหลาย มีพระมหินท์เป็นต้น ได้นำพระวินัยปิฎกมาสู่เกาะนี้
พระเถระทั้งหลาย มีพระอริฏฐเถระเป็นต้น เรียนจาก (สำนัก) พระมหินท์
แล้ว ได้นำมาตลอดเวลาระยะหนึ่ง ตั้งแต่เวลาพระอริฏฐเถระเป็นต้นนั้นนำมา
พระวินัยปิฎกนั้น พึงทราบว่า ได้นำสืบมาโดยลำดับอาจารย์ ซึ่งเป็นการสืบ
ลำดับอันเตวาสิกของพระอริฏฐเถระเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง จนถึงทุกวันนี้.
[แก้บทมาติกาว่า พระวินัยปิฎกตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด]
บทมาติกาว่า พระวินัยปิฎกตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด ข้าพเจ้าจะเฉลย
ต่อไป:- พระวินัยปิฎกของบุคคลเหล่าใด ย่อมเป็นไปไม่พร่อง ทั้งโดยบาลี
ทั้งโดยอรรถ คือไม่เลอะเลือนแม้น้อยหนึ่ง เหมือนน้ำมันงาที่ใส่ไว้ในหม้อ
แก้วมณี ย่อมไม่ซึมออกฉะนั้น พึงทราบว่า พระวินัยปิฎกตั้งอยู่แล้วในบุคคล
เห็นปานนั้น ซึ่งเป็นผู้มีสติ คติ และธิติมีประมาณยิ่ง ผู้เป็นลัชชี มักมีความ
รังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา.
[อานิสงส์แห่งการเรียนพระวินัย ๕ ข้อ]
เพราะฉะนั้น เพื่อให้พระวินัยตั้งมั่น อันภิกษุผู้กำหนดรู้อานิสงส์แห่ง
วินัยปริยัติ (การเรียนพระวินัย) ใคร่ต่อการศึกษา ก็ควรเรียนพระวินัย.
ในอธิการว่าด้วยการพรรณนานิทานนั้น มีอานิสงส์แห่งวินัยปริยัติ (การเรียน
พระวินัย) ดังต่อไปนี้ : -
จริงอยู่ บุคคลผู้ฉลาดในวินัยปริยัติ ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานเป็น
มารดาบิดาของเหล่ากุลบุตร ผู้ได้ศรัทธาในพระศาสนา เพราะว่า บรรพชา
อุปสมบท ข้อปฏิบัติวัตรใหญ่น้อย ความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระและโคจร
ของกุลบุตรเหล่านั้น เนื่องด้วยความฉลาดในวินัยปริยัตินั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171
อีกประการหนึ่ง เพราะอาศัยวินัยปริยัติ กองศีลของตน ย่อมเป็น
ของอันบุคคลนั้น คุ้มครองรักษาดีแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งพิงของเหล่ากุลบุตร
ผู้ถูกความสงสัยครอบงำ ย่อมกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ ย่อมข่มขี่พวกข้าศึกได้
ด้วยดี โดยสหธรรม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์
๕ เหล่านี้ (มีอยู่) ในบุคคลผู้ทรงพระวินัย คือ : -
(๑) กองศีลของตน ย่อมเป็นของอันบุคคลนั้น คุ้มครองรักษาไว้
ดีแล้ว
(๒) ย่อมเป็นที่พึ่งพิงของเหล่ากุลบุตร ผู้ถูกความสงสัยครอบงำ
(๓) ย่อมเป็นผู้กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
(๔) ย่อมข่มขี่พวกข้าศึกได้ด้วยดี โดยสหธรรม
(๕) ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม.*
[วินัยเป็นข้อปฏิบัติให้บรรลุความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นที่สุด]
ก็อีกประการหนึ่ง กุศลธรรมเหล่าใด ซึ่งมีสังวรเป็นมูล อันพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว, บุคคลผู้ทรงวินัยนั่นแล ชื่อว่าเป็นทายาทแห่งกุศล
ธรรมเหล่านั้น เพราะธรรมเหล่านั้น มีวินัยเป็นมูล. สมจริงดังคำที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
วินัย ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สังวร (ความสำรวม). สังวรย่อมมี
เพื่อประโยชน์แก่อวิปปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อน), อวิปปฏิสาร ย่อมมีเพื่อ
ประโยชน์แก่ความปราโมทย์, ความปราโมทย์ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ปีติ
(ความอิ่มใจ), ปีติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ (ความสงบ), ปัสสัทธิ
ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ความสุข, ความสุข ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ
* นย. วิ. ปวิวาร. ๘/๔๕๓
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172
(ความตั้งใจมั่น) สมาธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความ
รู้เห็นตามเป็นจริง), ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา
(ความเบื่อหน่าย), นิพพิทา ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิราคะ (ความสำรอก
กิเลส), วิราคะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ (ความหลุดพ้น) วิมุตติ ย่อมมี
เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ (ความรู้เห็นความหลุดพ้น), วิมุตติญาณ-
ทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน (ความดับสนิทหาเชื้อ
มิได้), การกล่าว การปรึกษา กิริยานั่งใกล้ความเงี่ยโสตลงสดับ แต่ละอย่าง ๆ
มีอนุปาทาปรินิพพาน คือ ความพ้นพิเศษแห่งจิต ไม่ถือมั่น นั่นเป็นผล.*
เพราะฉะนั้น ควรทำความพยายามโดยเอื้อเฟื้อในการเล่าเรียนพระวินัย ดังนี้แล.
[คาถาสรุปเรื่อง]
ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ เป็นอันข้าพเจ้าประกาศใจความแห่ง
คาถานี้ว่า
พระวินัยปิฎกนี้ ผู้ใดกล่าวไว้ กล่าว
ไว้เมื่อใด กล่าวไว้ทำไม ผู้ใดทรงไว้ ผู้ใด
นำสืบมา และประดิษฐานอยู่แล้วในผู้ใด
ข้าพเจ้ากล่าววิธีดังนี้แล้ว ภายหลัง (จัก
พรรณนาอรรถแห่งพระวินัย) ดังนี้
ในมาติกา ที่ข้าพเจ้าตั้งไว้ เพื่อสังวรรณนาพระนัยนั้นก่อน และการสังวรรณนา
พาหิรนิทานแห่งพระวินัย ก็เป็นอันข้าพเจ้าวรรณนาแล้ว ตามที่ได้อธิบายมา
ดังนี้แล.
พาหิรนิทานวรรณนา จบ
* วิ. ปริวาร. ๘/๔๐๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 173
เวรัญชกัณฑวรรณนา
* บัดนี้ ข้าพเจ้าจักทำการพรรณนาเนื้อความแห่งบททั้งหลาย มี
บทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นอาทิ เพราะได้กล่าวไว้แล้วว่า
จักทำการพรรณนาอรรถแห่งวินัย
แสดงเนื้อความแห่งปาฐะว่า เตน เป็นอาทิ
โดยประการต่าง ๆ.
ข้าพเจ้าจักทำอรรถวรรณนาอย่างไรเล่า.
[อธิบายบทว่า เตน เป็นต้น]
บทว่า เตน เป็นคำแสดงออกโดยไม่เจาะจง. บัณฑิตพึงทราบ
ปฏินิเทศแห่งบทว่า เตน นั้น ด้วยคำว่า เยน นี้ ซึ่งเป็นคำสรุปแม้ไม่กล่าวไว้
แต่สำเร็จได้โดยใจความในกาลภายหลัง. จริงอยู่ ความรำพึงของท่านพระ-
สารีบุตร ซึ่งเป็นเหตุแห่งการทูลวิงวอนให้บัญญัติพระวินัย สำเร็จได้ในกาล
ภายหลัง เพราะเหตุนั้น พึงทราบสัมพันธ์ในคำว่า เตน สมเยน เป็นต้นนี้
อย่างนี้ว่า ความรำพึงนั้นเกิดขึ้น โดยสมัยใด โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาค-
พุทธเจ้าเสด็จประทับที่เมืองเวรัญชา.
จริงอยู่ วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะแม้ในวินัยทั้งหมด คือคำว่า เตน ท่าน
กล่าวไว้ในที่ใด ๆ ในที่นั้น ๆ บัณฑิตพึงทำปฏินิเทศด้วยคำว่า เยน นี้
ซึ่งสำเร็จโดยใจความในกาลก่อนหรือภายหลัง. อุทาหรณ์พอเป็นทางวิธีที่
เหมาะตามที่กล่าวนั้นดังนี้ ภิกษุสุทินเสพเมถุนธรรม เพราะเหตุใด ภิกษุ
* เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี ป. ธ. ๙) วัดมกุฏกษัตริยาราม แปล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 174
ทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย มีคำ
อธิบายว่า ภิกษุสุทินเสพเมถุนธรรม เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น เราจักบัญญัติ.
ปฏินิเทศ ย่อมเหมาะด้วยคำว่า เยน นี้ ซึ่งสำเร็จโดยใจความในกาลก่อน
อย่างนี้ก่อน. ปฏินิเทศ ย่อมเหมาะด้วยคำว่า เยน นี้ ซึ่งสำเร็จโดยใจความ
ในภายหลัง อย่างนี้ว่า พระธนิยะ บุตรนายช่างหม้อ ได้ถือเอาของที่เจ้าของ
เขาไม่ให้ คือไม้ทั้งหลายของพระราชา โดยสมัยใด โดยสมัยนั้น พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่กรุงราชคฤห์. เนื้อความแห่งคำว่า เตน เป็นอัน
ข้าพเจ้าจักกล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
[อธิบายบทว่า สมเยน เป็นต้น]
ส่วน สมยศัพท์ ซึ่งมีในบทว่า สมเยน นี้
ย่อมปรากฏในอรรถ ๙ อย่าง คือ
สมวายะ ๑ ขณะ ๑ กาละ๑ สมุหะ ๑
เหตุ ๑ ทิฏฐะ ๑ ปฏิลาภะ ๑ ปหานะ ๑
ปฎิเวธะ ๑
ก่อน
จริงอย่างนั้น สมยศัพท์มีสมวายะเป็นอรรถ ในคำทั้งหลายมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ชื่อแม้ไฉน แม้พรุ่งนี้ เราทั้งหลายพึงเข้าไปให้เหมาะกาลและความ
พร้อมกัน.* มีขณะเป็นอรรถในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย !
* ที. สี. ๙/๒๕๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 175
ก็ขณะและสมัยเพื่ออยู่พรหมจรรย์มีหนึ่งแล๑. มีกาละเป็นอรรถในคำทั้งหลาย
มีอาทิอย่างนี้ว่า คราวร้อน คราวกระวนกระวาย๒. มีสุหะเป็นอรรถในคำ
ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ประชุมใหญ่ในป่ามหาวัน๓. มีเหตุเป็นอรรถ ในคำ
ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภัททาลิ ! แม้เหตุผล ได้เป็นของอันท่านไม่ได้
แทงตลอดแล้วว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล เสด็จอยู่ในกรุงสาวัตถี. แม้
พระองค์จักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อว่าภัททาลิ มิใช่ผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์
ด้วยสิกขาในศาสนาของพระศาสดา ดูก่อนภัททาลิ ! เหตุแม้นี้แล ได้เป็นของ
อันท่านไม่ได้แทงตลอดแล้ว๔. มีทิฏฐิเป็นอรรถในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า
ก็โดยสมัยนั้นแล ปริพาชกชื่ออุคคหมานะบุตรของสมณฑิกา อาศัยอยู่ใน
อารามของนางมัลลิกา ศาลาหลังเดียวใกล้แถวต้นมะพลับเป็นที่สอนทิฏฐิเป็นที่
เรียน๕. มีปฏิลาภะเป็นอรรถ ในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า
ประโยชน์ใด ในทิฏฐธรรมนั่นแล
ด้วยประโยชน์ใด เป็นไปในสัมปรายภพด้วย
นักปราชญ์ ท่านเรียกว่า บัณฑิต เพราะได้
เฉพาะซึ่งประโยชน์นั้น๖.
มีปหานะเป็นอรรถ ในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ได้กระทำ
ที่สุดทุกข์ เพราะละมานะโดยชอบ๗. มีปฏิเวธะเป็นอรรถ ในคำทั้งหลายมี
อาทิอย่างนี้ว่า อรรถคือความบีบคั้นแห่งทุกข์ อรรถคือข้อที่ทุกข์เป็นสังขต-
ธรรม อรรถคือความแผดเผาแห่งทุกข์ อรรถคือความแปรปรวนแห่งทุกข์
เป็นอรรถที่ควรแทงตลอด๘. แต่ในที่นี้ สมยศัพท์นั้นมีกาละเป็นอรรถ เพราะ
๑. อง. กฎฺฐก. ๒๓/๒๓๐ ๒ วิ. มหา. ๒/๓๓๙. ๓. ที. มหา. ๑๐/๒๘๗.
๔. ม.ม. ๑๓/๑๖๕. ๕. ม.ม. ๑๓/๓๔๒. ๖. ส. ส. ๑๔/๑๒๖. ๗. องฺ จตุกฺก. ๒๑/๒๒๓.
๘. ขุ. ปฏิ. ๓๑/๔๕๔
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 176
เหตุนั้น พึงเห็นเนื้อความในบทว่า เตน สมเยน นี้ อย่างนี้ว่า ความรำพึง
เป็นเหตุทูลวิวอนให้ทรงบัญญัติเกิดขึ้นแก่ท่านพระสารีบุตร โดยกาลใด
โดยกาลนั้น
ในบทว่า เตน สมเยน นี้ โจทก์ท้วงว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร
ในวินัยนี้ จึงทำนิเทศด้วยตติยวิภัตติว่า เตน สมเยน ไม่ทำด้วยทุติยาวิภัตติ
ว่า เอก สมย เหมือนในสุตตตันตะ และด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย
กามาวจร เหมือนในอภิธรรมเล่า ? เฉลยว่า เพราะความสมกับใจความโดย
ประการอย่างนั้น ในสุตตันตะและอภิธรรมนั้น และเพราะความสมกับใจความ
โดยประการอื่นในวินัยนี้ สมกับใจความอย่างไร ? สมยศัพท์มีอัจจันตสังโยค
เป็นอรรถ เหมาะในสุตตันตะก่อน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ด้วย
กรุณาวิหารตลอดที่สุดสมัยที่ทรงแสดงพระสุตตันตะทั้งหลาย มีพรหมชาลสูตร
เป็นต้นทีเดียว เพราะเหตุนั้น ในสุตตันตะนั้นท่านจึงทำอุปโยคนิเทศ เพื่อ
ส่องเนื้อความนั้น. ก็แล สมยศัพท์มีอธิกรณะเป็นอรรถ และความกำหนด
ภาวะด้วยภาวะเป็นอรรถ ย่อมเหมาะ ในอภิธรรม. จริงอยู่ สมยศัพท์มีกาละ
เป็นอรรถและมีสมุหะเป็นอรรถ เป็นอธิกรณ์แห่งธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในอภิธรรมนั้น ภาวะแห่งธรรมเหล่านั้น อันท่าน
ย่อมกำหนดด้วยความมีแห่งสมัย กล่าวคือ ขณะ สมวายะ และเหตุ เพราะ
เหตุนั้น ในอภิธรรมนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติ เพื่อส่องเนื้อความ
นั้น. ส่วนในวินัยนี้ สมยศัพท์มีเหตุเป็นอรรถและมีกรณะเป็นอรรถจึงสมกัน.*
* พระราชกวี มานิต ถาวโร ป.ธ.๙ วัดสัมพันธวงศ์แปล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 177
* ก็สมัยบัญญัติสิขาบทใดนั้น เป็นสมัยที่พระสารีบุตรเป็นต้นรู้ได้
ยาก. โดยสมัยนั้น อันเป็นเหตุและกรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
สิกขาบททั้งหลาย และทรงพิจารณาดูเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบท ได้เสด็จ
ประทับอยู่ในที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านทำนิเทศด้วย
ตติยาวิภัตติในวินัยนี้ เพื่อส่องเนื้อความนั้น. ก็ในที่นี้มีคาถา (ด้วยสามารถ
แห่งการสงเคราะห์เนื้อความตามที่กล่าวแล้ว) ดังต่อไปนี้ว่า
เพราะพิจารณาเนื้อความนั้น ๆ ท่าน
พระเถระทั้งหลาย จึงกล่าวสมยศัพท์ใน
พระสูตรและพระอภิธรรมแห่งใดแห่งหนึ่ง
ด้วยตติยาวิภัตติและสัตตมีวิภัตติ. สมยศัพท์
นั้นท่านกล่าวในพระวินัยนี้ ด้วยตติยาวิภัตติ
เท่านั้น.
ส่วนพระโบราณาจารย์พรรณนาไว้ว่า ความต่างกันนี้ว่า ต สมย
ตลอดสมัยนั้นก็ดี ว่า ตสฺมึ สมเย ในสมัยนั้นก็ดี ว่า เตน สมเยน
โดยสมัยนั้นก็ดี แปลกกันแต่เพียงถ้อยคำ. ในทุก ๆ บทมีสัตตมีวิภัตติเท่านั้น
เป็นอรรถ. เพราะฉะนั้น ตามลัทธิของพระโบราณาจารย์นั้น แม้เมื่อท่าน
กล่าวคำว่า เตน สมเยน แปลว่า โดยสมัยนั้น ก็พึงเห็นความว่า ตสฺมึ
สมเย แปลว่า ในสมัยนั้น.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาอรรถแห่งบทเหล่านี้ว่า พุทฺโธ ภควา ดังนี้
เป็นข้างหน้า.
* พระธรรมบัณฑิต (มานิต ถาวโร ป. ธ ๙) วันสัมพันธวงศ์ แปล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 178
[อรรถาธิบายคำว่า เวรฺชย วิหรติ]
ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เวรญฺชาย วิหรติ นี้ ดังต่อไปนี้ :-
คำว่า เวรญฺชาย นี้ เป็นชื่อเมืองใดเมืองหนึ่ง. ในเมืองเวรัญชานั้น. คำว่า
เวรญฺชาย นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. คำว่า วิหรติ เป็นการ
แสดงถึงความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเครื่องอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา
ธรรมเครื่องอยู่คืออริยาบถวิหาร ทิพพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร
โดยไม่แปลกกัน. แต่ในที่นี้แสดงถึงการประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง
บรรดาอิริยาบทมีประเภท คือ การยืน การเดิน การนั่ง และการนอน.
เพราะฉะนั้น พระผู้พระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ก็ดี เสด็จดำเนินไปก็ดี ประทับ
นั่งอยู่ก็ดี บรรทมอยู่ก็ดี บัณฑิตพึงทราบว่า เสด็จประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบำบัดความลำบากแห่งอิริยาบทอย่างหนึ่ง
ด้วยอิริยาบทอีกอย่างกนึ่ง ทรงนำ คือทรงยังอัตภาพให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม
เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เสด็จประทับอยู่.
[อรรถาธิบายคำว่า นเฬรุปุจิมนฺทมูเล เป็นต้น]
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นเฬรุปุจิมนฺทมูเล นี้ ดังต่อไปนี้ :
ยักษ์ชื่อ นเฬรุ. ต้นสะเดาชื่อว่า ปุจิมันทะ. บทว่า มูล แปลว่า
ที่ใกล้. จริงอยู่ มูลศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในรากเหง้า ในคำทั้งหลายมีอาทิเช่นว่า
พึงขุดรากเง้าทั้งหลาย โดยที่สุดแม้เพียงแฝกและอ้อ. ในเหตุอันไม่ทั่วไปใน
คำมีอาทิว่า ความโลภ เป็นอกุศลมูล. ในที่ใกล้ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า
เงาย่อมแผ่ไปในเวลาเที่ยง, ใบไม้ทั้งหลายย่อมตกไปในเวลาปราศจากลม ได้
เพียงใด ด้วยที่เพียงเท่านี้ ชื่อว่ารุกขมูล (โคนต้นไม้). แต่ในบทว่า มูเล
นี้ ท่านประสงค์เอาที่ใกล้. เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความในคำนี้ อย่างนี้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 179
ที่ใกล้ต้นไม้สะเดาอันนเฬรุยักษ์สิงแล้ว. ได้ยินว่า ต้นสะเดานั้นน่ารื่นรมย์
น่าเลื่อมใส ทำท่าเหมือนเป็นเจ้าใหญ่แห่งต้นไม้มากมาย มีอยู่ในที่ ซึ่งถึง
พร้อมด้วยทางไปมาไม่ไกลเมืองนั้น.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปเมืองเวรัญชา เมื่อจะประทับ
อยู่ในสถานอันสมควร จึงประทับอยู่ ณ ที่ใกล้ คือ ส่วนภายใต้แห่งต้นไม้นั้น.
เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวว่า เสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดาที่
นเฬรุยักษ์สิงอยู่ ใกล้เมืองเวรัญชา. หากจะมีคำทักท้วงในข้อนั้นว่า ถ้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชาก่อน, คำว่า ที่โคนต้นสะเดาซึ่ง
นเฬรุยักษ์สิงอยู่ อันพระอุบาลีเถระไม่ควรกล่าว ถ้าเสด็จประทับอยู่ที่โคนต้น
สะเดาซึ่งนเฬรุยักษ์สิงอยู่นั้น, คำว่า ที่เมืองเวรัญชา ท่านก็ไม่ควรกล่าว,
เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่อาจเสด็จประทับอยู่ในสองตำบลพร้อม ๆ กัน
โดยสมัยเดียวกันนั้นได้. แต่คำว่า เวรญฺชาย วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล
นั้น บัณฑิตไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย, ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า บทว่า
เวรญฺชาย เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อเสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดา ซึ่งนเฬรุยักษ์สิง ในที่ใกล้
แห่งเมืองเวรัญชา พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า เสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดา
ซึ่งนเฬรุยักษ์สิงใกล้เมืองเวรัญชา แม้ในพระบาลีประเทศนี้ เหมือนอย่างฝูงโค
ทั้งหลาย เมื่อเที่ยวไปในที่ใกล้แห่งแม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น ชนทั้งหลาย
ย่อมกล่าวว่า เที่ยวไปใกล้แม้น้ำคงคา เที่ยวไปใกล้แม้น้ำยมุนา ฉะนั้น.
[อธิบายคำว่า เวรญฺชาย และ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล]
ในคำว่า เวรญฺชาย วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล นี้ บัณฑิตพึง
ทราบอรรถโยชนา โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า จริงอยู่ คำว่า เวรัญชา มีอัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 180
แสดงโคจรคามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นประโยชน์ . คำว่า นเฬรุปุจิ-
มันทมูล มีอันแสดงสถานเป็นที่อยู่อันสมควรแก่บรรพชิตเป็นประโยชน์.
ท่านพระอุบาลีเถระแสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการอนุเคราะห์พวก
คฤหัสถ์ ในบรรดาคำระบุทั้งสองนั้น ด้วยคำระบุว่า เวรัญชา แสดงการที่
ทรงอนุเคราะห์บรรพชิต ด้วยคำระบุว่า นเฬรุปุจิมันทมูล.
อนึ่ง แสดงความเว้นอัตตกิลมถานุโยค เพราะการรับปัจจัย ด้วยคำ
ระบุต้น, แสดงอุทาหรณ์แห่งอุบาย ในการเว้นกามสุขัลลิกานุโยค เพราะละ
วัตถุกามเสีย ด้วยคำระบุหลัง. หนึ่ง แสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ประกอบยิ่งด้วยธรรมเทศนา ด้วยคำระบุต้น, แสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
น้อมไปเพื่อวิเวก ด้วยคำระบุหลัง. แสดงการที่พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ
ด้วยพระกรุณา ด้วยคำระบุต้น. แสดงการที่ทรงประกอบด้วยพระปัญญา
ด้วยคำระบุหลัง. แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงน้อมพระทัยไป ในอันยัง
หิตสุขให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยคำระบุต้น, แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่เข้าไปติดในการทำหิตสุขแก่สัตว์อื่น ด้วยคำระบุหลัง. แสดงการที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงอยู่สำราญมีการไม่สละสุข ซึ่งประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่อง
หมาย ด้วยคำระบุต้น. แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอยู่สำราญ มีความ
ตามประกอบในอุตริมนุสธรรมเป็นเครื่องหมาย ด้วยคำระบุหลัง. แสดงข้อที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่มนุษย์ทั้งหลาย, ด้วยคำระบุต้น,
แสดงข้อที่พระองค์เป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่เทวดาทั้งหลาย ด้วยคำระบุหลัง.
แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้วเจริญพร้อมในโลก
ด้วยคำระบุต้น, แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เข้าไปติดอยู่ในโลก ด้วยคำ
ระบุหลัง. ด้วยคำระบุต้น แสดงการที่พระองค์ทรงยังประโยชน์เป็นที่เสด็จ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 181
อุบัติให้สำเร็จเรียบร้อย ตามพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลเอก
เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก
เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย, บุคคลเอก คือบุคคลชนิดไหน คือพระตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า,* ด้วยคำระบุหลัง แสดงความอยู่สมควรแก่สถานที่เสด็จอุบัติ.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติในป่าเท่านั้น ด้วยความอุบัติทั้งที่เป็น
โลกิยะและโลกุตระ คือ ครั้งแรกที่ลุมพินีวัน ครั้งที่สองที่โพธิ์มณฑล ด้วย
เหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงแสดงที่อยู่ ของพระองค์ ในป่าทั้งนั้น.
[อธิบายคำว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ]
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ นี้ต่อไป
บทว่า มหตา มีความว่า ใหญ่ด้วยความเป็นผู้มีคุณใหญ่บ้าง ใหญ่ด้วยความ
เป็นผู้มีจำนวนมากบ้าง. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้น ได้เป็นใหญ่ด้วยคุณทั้งหลาย
บ้าง เพระเหตุว่า ภิกษุผู้มีคุณล้าหลัง ในภิกษุสงฆ์นั้น ได้เป็นพระโสดาบัน
บุคคล ได้เป็นใหญ่ด้วยจำนวนบ้าง เพราะมีจำนวนห้าร้อย. หมู่แห่งภิกษุ
ทั้งหลาย ชื่อว่าภิกษุสงฆ์. ด้วยภิกษุสงฆ์นั้น. อธิบายว่า ด้วยหมู่สมณะผู้
ทัดเทียมกันด้วยคุณ กล่าวคือความเป็นผู้มีทิฏฐิและศีลเสมอกัน. บทว่า สทฺธึ
คือโดยความเป็นพวกเดียวกัน. คำว่า ปญฺจมตฺเตหิ ภิกฺขุสเตหิ มีวิเคราะห์ว่า
จำนวน ๕ เป็นประมาณของภิกษุเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปัญจมัตตา.
ประมาณท่านเรียกว่า มัตตา. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความแม้ใน
บาลีประเทศนี้อย่างนี้ว่า ร้อยแห่งภิกษุเหล่านี้ มีจำนวน ๕ คือมีประมาณ ๕
เหมือนอย่างเมื่อท่านกล่าวว่า โภชเน มตฺตญฺญู ย่อมมีอรรถว่า รู้จำนวน
* องฺ. ติก. ๒๐/๒๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 182
คือรู้จักประมาณในโภชนะฉะนั้น. ร้อยแห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ภิกฺขุสตานิ.
ด้วยร้อยแห่งภิกษุ ซึ่งมีประมาณห้าเหล่านั้น. ในคำที่พระเถระกล่าวว่า มหตา
ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ นี้ เป็นอันท่านแสดงความที่ภิกษุสงฆ์ใหญ่นั้น เป็น
ผู้ใหญ่ด้วยจำนวน ด้วยคำว่า ปณฺจมตฺเตหิ ภิกขุสเตหิ นี้. ส่วนความที่
ภิกษุสงฆ์นั้น เป็นผู้ใหญ่ด้วยคุณ จักมีแจ้งข้างหน้าด้วยคำว่า ดูก่อนสารีบุตร !
ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเลี้ยงหนามหมดโทษปราศจากความด่างดำ หมดจดดี ตั้งอยู่
แล้วในธรรมอันเป็นสาระ, เพราะว่าบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ภิกษุผู้ที่มี
คุณล้าหลัง ก็ได้เป็นพระโสดาบันบุคคล ดังนี้.
[อธิบายคำว่า อสฺโสสิ โข เป็นต้น]
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อสฺโสสิ โข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ
ดังต่อไปนี้ : -
บทว่า อสฺโสสิ ความว่า ฟัง คือ ได้ฟัง ได้แก่ ได้ทราบตาม
ทำนองแห่งเสียงขอคำพูดที่ถึงโสตทวาร. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาตลงในอรรถ
เพียงทำบทให้เต็ม หรือลงในอรรถแห่งอวธารณะ. บรรดาอรรถทั้งสองนั้น
ด้วยอรรถแห่งอวธารณะ พึงทราบใจความดังนี้ว่า ได้ฟังจริง ๆ อันตราย
แห่งการฟังอะไร ๆ มิได้มีแก่พราหมณ์นั้น. ด้วยอรรถว่าทำบทให้เต็ม พึง
ทราบว่า เป็นเพียงความสละสลวยแห่งบทและพยัญชนะเท่านั้น. พราหมณ์
ผู้เกิดในเมืองเวรัญชา ชื่อว่าเวรัญชะ. พราหมณ์มีในเมืองเวรัญชา ชื่อว่า
เวรัญชะ. อีกอย่างหนึ่ง เมืองเวรัญชาเป็นที่อยู่ของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น
พราหมณ์นั้น จึงชื่อว่า เวรัญชะ แต่ว่าพราหมณ์นี้ ชาวเมืองเรียกว่า อุทัย
ด้วยอำนาจชื่อที่มารดาบิดาตั้งให้. ผู้ใดย่อมสาธยายพระเวท อธิบายว่า สาธยาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 183
มนต์ทั้งหลาย เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่าพราหมณ์. จริงอยู่ คำว่า พราหมณ์นี้แล
เป็นคำเรียกพวกพราหมณ์ โดยชาติ. แต่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเรียกว่า
พราหมณ์ เพราะความเป็นผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว.
[อธิบายเรื่องที่พราหมณ์ได้ฟัง]
บัดนี้ พระอุบาลีเถระเมื่อจะประกาศเรื่องที่เวรัญชพราหมณ์ได้ฟัง จึง
ได้กล่าวคำมีว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม เป็นต้น. ในคำนั้น บัณฑิต
พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าสมณะ เพราะเป็นผู้มีบาปสงบแล้ว.
ข้อนี้ สมจริงดังคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เราเรียกบุคคลว่าเป็นพราหมณ์ เพราะ
มีบาปอันลอยเสียแล้ว ว่าสมณะ เพราะความเป็นผู้มีบาปอันสงบแล้ว. ก็
พระผู้มีพระภาคเจ้า จัดว่า เป็นผู้มีบาปอันอริยมรรคอย่างยอดเยี่ยมให้สงบแล้ว.
เพราะฉะนั้น พระนาม คือ สมณะนี้ พระองค์ทรงบรรลุแล้ว ด้วยคุณตาม
เป็นจริง.
บทว่า ขลุ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ได้ฟังมา.
คำว่า โภ เป็นเพียงคำร้องเรียนที่มาแล้วโดยชาติ แห่งเหล่าชนผู้มี
ชาติเป็นพราหมณ์. แม้ข้อนี้ ก็สมจริงดังคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ผู้นั้นย่อม
เป็นผู้ชื่อว่า โภวาที (ผู้มีวาทะว่าเจริญ) ผู้นั้นแล ยังมีกิเลสเครื่องกังวล.
ด้วยคำว่า โคตโม นี้ เวรัญชพราหมณ์ ทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย
อำนาจแห่งพระโคตร. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นใจความ ในคำว่า สมโณ
ขลุ โภ โคตโม นี้ อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระสมณโคตมโคตร ผู้เจริญ.
ส่วนคำว่า สกฺยปุตฺโต นี้ แสดงถึงตระกูลอันสูงส่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
คำว่า สกฺยกุลา ปพฺพชิโต แสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวช
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 184
ด้วยศรัทธา. มีคำอธิบายว่า พระองค์มิได้ถูกความเสื่อมอะไร ๆ ครอบงำ
ทรงละตระกูลนั้น อันยังไม่สิ้นเนื้อประดาตัวเลยแล้วทรงผนวชด้วยศรัทธา.
คำอื่นจากนั้นมีอรรถอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วแล.
ทุติยาวิภัตติอันมีอยู่ในบทว่า ต โข ปน นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถ
ที่กล่าวถึงอิตถัมภูต. ความว่า ก็ (กิตติศัพท์อันงาม) ของพระโคดมผู้เจริญ
นั้นแล (ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า...)
บทว่า กลฺยาโณ คือประกอบด้วยคุณอันงาม อธิบายว่า ประเสริฐ.
เกียรตินั้นเอง หรือเสียงกล่าวชมเชย ชื่อว่า กิตติศัพท์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 185
พุทธคุณกถา
ก็ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น มีโยชนาดัง
ต่อไปนี้ก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุ
แม้นี้, เป็นสัมมาสัมพุทธะ เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้รู้แจ้งโลก
เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างยอดเยี่ยม เพราะเหตุแม้นี้, เป็น
ครูสอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้จำแนกแจกธรรม เพราะเหตุแม้นี้. มีอธิบายที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า เพราะเหตุนี้และเหตุนี้.
* บัดนี้ จักระทำการพรรณนาโดยนัยพิสดารแห่งบทเหล่านั้น เพื่อ
ความเป็นผู้ฉลาดในสุดตันตนัย และเพื่อรื่นเริงแห่งจิตด้วยธรรมีกถาอัน
ประกอบด้วยพุทธคุณ ในวาระเริ่มต้นแห่งการสังวรรณนาพระวินัยแห่งพระ-
วินัยธรทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พึงทราบวินิจฉับ ในคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้เป็นต้น.
[อธิบายพุทธคุณบทว่า อรห]
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นพระอรหันต์
เพราะเหตุเหล่านี้ก่อน คือเพราะเป็นผู้ไกล และทรงทำลายข้าศึกทั้งหลาย และ
ทรงหักกำจักรทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น เพราะไม่มีความลับ
ในการทำบาป.
* องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๙๐
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 186
ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกล คือทรงดำรงอยู่ใน
พระคุณอันไกลแสนไกล จากสรรพกิเลส เพราะทรงกำจัดเสียซึ่งกิเลสทั้งหลาย
พร้อมทั้งวาสนา ด้วยมรรค เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า อรห เพราะ
เป็นผู้ไกล. อนึ่ง ข้าศึกคือกิเลสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงทำลาย
เสียแล้วด้วยมรรค เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า อรห แม้เพราะทรง
ทำลายข้าศึกทั้งหลายเสีย. อนึ่ง ซี่งกำทั้งหมดแห่งสังสารจักร มีดุมอันสำเร็จ
ด้วยอวิชชาและภวตัณหา มีคำกล่าวคืออภิสังขารมีบุญเป็นต้น มีกงคือชรามรณะ
อันร้อยไว้ด้วยเพลาที่สำเร็จด้วยอาสวสมุทัย คุมเข้าไว้ในรถกล่าวคือภพสาม
อันเป็นไปแล้ว ตลอดกาลหาเบื้องต้นมิได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรง
ยืนหยัดอยู่บนปฐพีคือศีล ด้วยพระยุคลบาทคือพระวิริยะ ทรงถือผรสุคือ
ญาณ อันกระทำซึ่งความสิ้นไปแห่งกรรม ด้วยพระหัตถ์คือศรัทธา ทรงหัก
เสียได้แล้วในพระโพธิมัณฑ์ เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า อรห แม้
เพราะทรงหักกำจักรเสีย*.
[สังสารวัฏ คือปฏิจจสมุปบาทเป็นปัจจัยกัน]
* อีกอย่างหนึ่ง สังสารวัฏมีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ พระผู้มี
พระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า สังสารจักร. ก็อวิชชาเป็นดุมของสังสารจักรนั้น
เพราะเป็นมูลเหตุ, มีชรามรณะเป็นกง เพราะเป็นที่สุด, ธรรม ๑๐ อย่าง
ที่เหลือเป็นกำ เพราะมีอวิชชาเป็นมูลเหตุ และเพราะมีชรามรณะเป็นที่สุด.
บรรดาธรรมมีอวิชชาเป็นต้นนั้น ความไม่รู้ในอริยสัจมีทุกข์เป็นต้น ชื่อว่า
อวิชชา. ก็อวิชชาในกามภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในกามภพ.
อวิชชาในรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในรูปภพ. อวิชชาในอรูปภพ
* พระธรรมบัณฑิต (มานิต ถาวโร ป ธ. ๙ ) วัดสัมพันธวงศ์ แปล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 187
เป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในอรูปภพ. สังขารในการภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่
ปฏิสนธิวิญญาณในกามภพ. ในรูปภพและอรูปภพ ก็นัยนี้. ปฏิสนธิวิญญาณ
ในกามภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่นามรูปในกามภพ. ในรูปภพ ก็อย่างนั้น ย่อม
เป็นปัจจัยแก่นามอย่างเดียว ในอรูปภพ. นามรูปในกามภพเป็นปัจจัยแก่
อายตนะ ๖ ในกามภพ. นามรูป ในรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่อายตนะทั้ง ๓ ใน
รูปภพ. นามในอรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่อายตนะอย่างเดียว ในอรูปภพ.
อายตนะ ๖ ในกามภพเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ ๖ อย่าง ในกามภพ. ๓ อายตนะใน
รูปภพ เป็นปัจจัยแก่ ๓ ผัสสะในรูปภพ. ๑ อายตนะในรูปภพ ย่อมเป็น
ปัจจัยแก่ ๑ ผัสสะในอรูปภพ. ผัสสะ ๖ ในกามภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๖
ในกามภพ. ๓ ผัสสะในรูปภพ เป็นปัจจัยแก่ ๓ ผัสสะในรูปภพนั้นนั่นเอง.
ผัสสะ ๑ ในอรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๑ ในอรูปภพนั้นนั่นเอง.
เวทนา ๖ ในกามภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ตัณหากาย ๖ ในกามภพ. เวทนา ๓
ในรูปภพ เป็นปัจจัยแก่ตัณหากาย ๓ ในรูปภพนั้นนั่นเอง. เวทนา ๑ ใน
อรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ตัณหากาย ๑ ในอรูปภพ. ตัณหานั้น ๆ ในกามภพ
เป็นต้นนั้น ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแก่อุปาทานนั้น ๆ. อุปาทานเป็นต้น ย่อมเป็น
ปัจจัยแก่ภพเป็นต้น.
คืออย่างไร. คือว่า คนบางคนในโลกนี้คิดว่า จักบริโภคกาม ย่อม
ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ เพราะ
กามุปาทานเป็นปัจจัย เพราะความเต็มรอบแห่งทุจริต เขาย่อมเกิดในอบาย.
กรรมเป็นเหตุเกิดในอบายนั้นของบุคคลนั้น เป็นกรรมภพ, ความเกิดขึ้นแห่ง
ขันธ์ทั้งหลาย เป็นชาติ, ความแก่หง่อมเป็นชรา, ความแตกทำลาย เป็นมรณะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 188
อีกคนหนึ่งคิดว่า จักเสวยสมบัติในสวรรค์ ประพฤติสุจริตอย่างนั้น
เหมือนกัน เพราะความบริบูรณ์แห่งสุจริต เขาย่อมเกิดในสวรรค์. คำว่า
กรรมเป็นเหตุเกิดในสวรรค์นั้นของเขา เป็นกรรมภพเป็นต้น ก็มีนัยเหมือน
กันนั้น. ส่วนอีกคนหนึ่งคิดว่า จักเสวยสมบัติในพรหมโลก ย่อมเจริญเมตตา
เจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะกามุปาทานเป็นปัจจัย เขาย่อมเกิดใน
พรหมโลก เพราะความบริบูรณ์แห่งภาวนา. คำว่า กรรมเป็นเหตุเกิดใน
พรหมโลกนั้นของเขา เป็นกรรมภพเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกันนั้น. อีกคนหนึ่ง
คิดว่า จักเสวยสมบัติในอรูปภพ จึงเจริญสมาบัติทั้งหลายมีอากาสานัญจายตนะ
เป็นต้นอย่างนั้นนั่นแล เพราะความบริบูรณ์แห่งภาวนา เขาย่อมเกิดในอรูปภพ
นั้น ๆ กรรมเป็นเหตุเกิดในอรูปภพนั้นของเขา เป็นกรรมภพ. ขันธ์ทั้งหลาย
ที่เกิดแต่กรรม เป็นอุปบัติภพ, ความเกิดแห่งขันธ์ทั้งหลาย เป็นชาติ, ความ
แก่หง่อม เป็นชรา, ความแตกทำลาย เป็นมรณะแล. ในโยชนาทั้งหลาย
แม้มีอุปาทานที่เหลือเป็นมูล ก็นัยนี้.
[ธัมมัฏฐิติญาณ]
ปัญญาในการกำหนดปัจจัย โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า อวิชชานี้
เป็นตัวเหตุ สังขารทั้งหลายเกิดมาจากเหตุ อวิชชาและสังขารแม้ทั้งสองนี้
ก็เป็นเหตุสมุปปันนธรรม (ธรรมที่เป็นเหตุและเกิดจากเหตุ) ชื่อธรรมฐิติญาณ.
ปัญญาในการกำหนดปัจจัย โดยนัยที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า อวิชชาทั้งที่เป็น
อตีตัทธา (อดีตกาล) ทั้งที่เป็นอนาคตตัทธา (อนาคต) เป็นตัวเหตุ
สังขารทั้งหลายเกิดมาจากเหตุ อวิชชาและสังขารแม้ทั้งสองนี้ ก็เป็นเหตุสมุป-
ปันนธรรม (ธรรมที่เป็นเหตุและเกิดจากเหตุ) ชื่อธรรมฐิติญาณและ. ทุก ๆ บท
ผู้ศึกษาพึงให้พิสดารโดยนัยนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 189
[สังเขปและอัทธาในปฏิจจสมุปบาท]
บรรดาองค์แห่งปฏิจจสมุปบาทนั้น อวิชชาและสังขารเป็นสังเขปหนึ่ง.
วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา เป็นสังเขปหนึ่ง. ตัณหา
อุปาทานและภพ เป็นสังเขปหนึ่ง. ชาติและชรามรณะเป็นสังเขปหนึ่ง. ก็ใน
สังเขป ๔ นั้น สังเขปต้น เป็นอตีตัทธา. สองสังเขปกลาง เป็นปัจจุปปันนัทธา
ชาติและชรามรณะเป็นอนาคตัทธา.
[วัฏฏะและสนธิ ๓ ในปฏิจจสมุปบาท]
อนึ่ง ในสังเขปต้นนั้น ตัณหาอุปาทานและภพ ย่อมเป็นอันท่านถือ
เอาแล้ว ด้วยศัพท์คืออวิชชาและสังขารนั่นแล เพราะฉะนั้น ธรรม ๕ เหล่านี้
จัดเป็นกรรมวัฏในอดีต. ธรรม ๕ อย่าง มีวิญญาณ เป็นต้น จัดเป็นวิปากวัฏ
ในปัจจุบัน. อวิชชาและสังขาร เป็นอันท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์คือตัณหา
อุปาทานและภพนั่นเอง เพราะฉะนั้น ธรรม ๕ เหล่านี้จัดเป็นกรรมวัฏในกาล
บัดนี้. ธรรม ๕ เหล่านี้ จัดเป็นวิปากวัฏต่อไป (ในอนาคต) เพราะองค์
ปฏิจจสมุปบาท มีวิญญาณ เป็นต้น ท่านแสดงไขโดยอ้างถึงชาติ ชรา มรณะ.
ปฏิจจสมุปบาท มืออวิชชาเป็นต้นนั้น ว่าโดยอาการมี ๒๐ อย่าง.
อนึ่ง ในองค์ปฏิจจสมุปบาทมีสังขารเป็นต้น ระหว่างสังขารกับ
วิญญาณ เป็นสนธิหนึ่ง. ระหว่างเวทนากับตัณหา เป็นสมาธิหนึ่ง. ระหว่าง
ภพกับชาติ เป็นสนธิหนึ่ง ฉะนี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงทราบ ทรงแทงตลอด ปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งมีสังเขป ๔ อัทธา ๓ อาการ
๒๐ สนธิ ๓ โดยอาการทุกอย่าง ด้วยประการฉะนี้. ความรู้นั้น ชื่อว่าญาณ
เพราะอรรถว่ารู้ (โดยสภาพตามเป็นจริง) ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 190
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อธรรมฐิติญาณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ธรรมเหล่านั้น ตามเป็นจริง ด้วยธรรมฐิติญาณนี้แล้ว
ทรงเบื่อหน่ายคลายความพอใจจะพ้นไปในธรรมมีอวิชชาเป็นต้นนั้น จึงได้หัก
ทำลาย กำจัดเสีย ซึ่งซี่กำทั้งหลาย แห่งสังสารจักร มีประการดังกล่าวแล้วนี้.
พระองค์ทรงพระนามว่า อรห แม้เพราะทรงหักกำจักรเสีย แม้ด้วยประการ
อย่างนี้.*
* อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมควรซึ่งจีวราทิปัจจัย และบูชา
วิเศษทั้งหลาย เพราะพระองค์เป็นผู้ควรซึ่งทักษิณาอันเลิศ. เพราะฉะนั้น
ในเมื่อพระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เทพและมนุษย์ผู้มเหสักข์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
จึงไม่ทำการบูชาในที่อื่น. จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงบูชาพระ
ตถาคต ด้วยพวงแก้วเท่าเขาสิเนรุ. อนึ่ง เทพและมนุษย์เหล่าอื่น มีพระเจ้า
พิมพิสาร และพระเจ้าโกศลเป็นต้น ก็ทรงบูชาแล้วตามกำลัง. หนึ่ง พระเจ้า
อโศกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิ ทรงสร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐
หลังในสกลชมพูทวีป ทรงพระราชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เสด็จปรินิพพาน
แล้ว, ก็จะกล่าวอะไรถึงบูชาวิเศษเหล่าอื่น. เพาะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า
อรห แม้เพราะเป็นผู้ควรซึ่งปัจจัยเป็นต้น. อนึ่ง เหล่าคนพาลผู้ถือตัวว่าเป็น
บัณฑิตพวกไร ๆ ในโลก ย่อมทำบาปในที่ลับ เพราะกลัวแต่ความติเตียน
ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมทรงกระทำดังนั้น ในบางครั้งก็หาไม่
เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า อรห แม้เพราะไม่มีความลับในการกระทำ
บาป. ก็ในพระนามนี้ มีคาถาประพันธ์เนื้อความดังนี้ว่า
* องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๙๕
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 191
พระมุนีนั้น เพราะความที่พระองค์
เป็นผู้ไกล และทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส
ทั้งหลาย พระองค์เป็นผู้หักกำแห่งสังสาร-
จักร เป็นผู้ควรปัจจัยเป็นต้น ย่อมไม่ทรง
ทำบาปในที่ลับ เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
จึงถวายพระนามว่า อรห.
[อธิบายพุทธคุณบทว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ]
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้
ธรรมทั้งปวงโดยชอบ แต่ด้วยพระองค์เอง. จริงอย่างนั้น เพราะผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น ตรัสรู้ชอบเองซึ่งธรรมทั้งปวง คือตรัสรู้ธรรมที่ควรรู้ถึง โดยความเป็น
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ตรัสรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ โดยความเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
ตรัสรู้ธรรมที่ควรละ โดยความเป็นธรรมที่ควรละ ตรัสรู้ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
โดยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ธรรมที่ควรทำให้เจริญ โดยความ
เป็นธรรมที่ควรทำให้เจริญ. ด้วยเหตุนั้นแหละ พระองค์จึงตรัสว่า
สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เราได้รู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่
ควรให้เจริญ เราก็ให้เจริญแล้ว และสิ่งที่
ควรละ เราก็ละได้แล้ว เพราะเหตุนั้น
พราหมณ์ เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า.*
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง โดยชอบ
และด้วยพระองค์เอง แม้ด้วยการยกขึ้นทีละบทอย่างนี้ว่า จักษุเป็นทุกขสัจ
ตัณหาในภพก่อน อันยังจักษุนั้นให้เกิด โดยความเป็นมูลเหตุแห่งจักษุนั้น
* ขุ . สุ . ๒๕/๔๔๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 192
เป็นสมุทัยสัจ ความไม่เป็นไปแห่งจักษุและเหตุเกิดแห่งจักษุทั้งสอง เป็นนิโรธ
สัจ ข้อปฏิบัติเป็นเหตุให้รู้นิโรธ เป็นมรรคสัจ. ใน โสตะ ฆานะ ชิวหา
กาย และมนะ ก็มีนัยเช่นนี้.
บัณฑิตพึงประกอบอายตนะ ๖ มีรูปเป็นต้น วิญญาณกาย ๕ มีจักษุ
วิญญาณเป็นต้น ผัสสะ ๖ มีจักษุสัมผัสเป็นต้น เวทนา ๖ มีจักษุสัมผัสสชา-
เวทนาเป็นต้น สัญญา ๖ มีรูปสัญญาเป็นต้น เจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น
ตัณหากาย ๖ มีรูปตัณหาเป็นต้น วิตก 6 มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจาร
เป็นต้น ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ สัญญา
๑๐ ด้วยอำนาจอุทธุมาตกสัญญาเป็นต้น อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น อายตนะ
๑๒ ธาตุ ๑๘ ภพ ๙ มีกามภพเป็นต้น ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น อัปป-
มัญญา ๔ มีเมตตาภาวนาเป็นต้น อรูปสมาบัติ ๔ มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น
และองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท โดยปฏิโลมมีชรามรณะเป็นต้น โดยอนุโลมมี
อวิชชาเป็นต้น โดยนัยนี้นั่นแล. ในชรามรณะเป็นต้นนั้น มีการประกอบ
บทเดียวดังต่อไปนี้ : -
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสรู้ คือตรัสรู้ตามสมควร ได้แก่แทงตลอด
ซึ่งธรรมทั้งปวง โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ด้วยการยกขึ้นทีละบทอย่างนี้ว่า
ชรามรณะ เป็นทุกขสัจ ชาติ เป็นสมุทัยสัจ การสลัดออกเสีย ซึ่งชรามรณะ
และเหตุเกิดแห่งชรามรณะนั้น แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ ข้อปฏิบัติเป็นเหตุให้รู้
นิโรธ เป็นมรรคสัจ. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า อนึ่ง พระผู้มี-
พระภาคเจ้านั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยชอบ
และด้วยพระองค์เอง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 193
[อรรถาธิบายพุทธคุณบทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน]
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่าผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
ก็เพราะทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ. ในวิชชาและจรณะนั้น วิชชา ๓
ก็ดี วิชชา ๘ ก็ดี ชื่อว่าวิชชา. วิชชา ๓ พึงทราบตามนัยที่ตรัสไว้ในภยเภรว-
สูตรนั่นแล. วิชชา ๘ ในอัมพัฏฐสูตร. ก็ในวิชชา ๓ และวิชชา ๘ นั้น
วิชชา ๘ พระองค์ตรัสประมวลอภิญญา ๖ กับวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ
เข้าด้วยกัน. ธรรม ๑๕ นี้ คือ สีลสังวร ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว
ในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ชาคริยานุโยค สัทธรรม ๗
ณาน ๔ พึงทราบว่า ชื่อว่าจรณะ. จริงอยู่ ธรรม ๑๕ นี้แหละ พระองค์ตรัส
เรียกว่า จรณะ เพราะเหตุที่เป็นเครื่องดำเนินคือเป็นเครื่องไปสู่ทิศ คืออมตธรรม
ของพระอริยสาวก. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนมหา-
นาม พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศีล ดังนี้เป็นต้น.*
ผู้ศึกษาพึงทราบความพิสดาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยวิชชาเหล่านี้
และด้วยจรณะนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
ในความถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะนั้น ความถึงพร้อมด้วยอวิชชา ยังความที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัพพัญญูให้เต็มอยู่. ความถึงพร้อมด้วยจรณะ ยัง
ความที่พระองค์เป็นผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาให้เต็มอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้นทรงรู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ด้วยความเป็น
สัพพัญญู แล้วทรงเว้นสิ่งที่มิใช่ประโยชน์เสีย ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วย
พระมหากรุณา ทรงชักนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เหมือนอย่างผู้ที่ถึงพร้อมด้วย
วิชชาและจรณะฉะนั้นแล. เพราะเหตุนั้น เหล่าสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
* ม . ม. ๑๓/๒๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 194
จึงเป็นผู้ปฏิบัติดี หาเป็นผู้ปฏิบัติชั่วไม่. พวกสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
หาเป็นผู้ปฏิบัติชั่วเหมือนอย่างเหล่าสาวกของพวกบุคคลผู้มีวิชชาและจรณะวิบัติ
ทำตนให้เดือนร้อนเป็นต้นฉะนั้นไม่.
[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า สุคโต]
* สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุคโต เพราะภาวะที่
ทรงดำเนินไปงาม เพราะภาวะที่เสด็จไปยังสถานที่ดี เพราะภาวะที่เสด็จไป
โดยชอบ และเพราะภาวะที่ตรัสไว้โดยชอบ. ก็ แม้ คมน จะกล่าวว่า คต
ก็ได้. และการทรงดำเนินนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้างดงาม บริสุทธิ์หาโทษ
มิได้. และการทรงดำเนินนั้นได้แก่อะไร ? ได้แก่ทางอันประเสริฐ. ก็พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จไปได้ยังทิศอันเกษม ไม่ข้องขัดด้วยการเสด็จ
ไปนั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า สุคโต เพราะภาวะที่ทรงดำเนิน
ไปงาม. อนึ่ง พระองค์เสด็จไปยังสถานที่ดี คือ อมตนิพพาน เพราะฉะนั้น
จึงทรงพระนามว่า สุคโต แม้เพราะเสด็จไปยังสถานที่ดี. อนึ่ง พระองค์
เสด็จไปโดยชอบ เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า สุคโต เพราะไม่กลับ
มาหาเหล่ากิเลสที่มรรคนั้น ๆ ละได้แล้ว. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระ-
องค์ทรงพระนามว่า สุคโต เพราะอรรถว่าไม่กลับมา ไม่คืนมา ไม่หวน
กลับมาหาเหล่ากิเลสที่โสดาปัตติมรรคละได้แล้ว ฯลฯ พระองค์ทรงพระนามว่า
สุคโต เพราะอรรถว่าไม่กลับมา ไม่คืนมา ไม่หวนกลับมาหาเหล่ากิเลสที่
อรหัตมรรคละได้แล้ว. อีกประการหนึ่ง พระองค์เสด็จไปโดยชอบ คือ
เสด็จไปทรงกระทำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่โลกทั้งหมดอย่างเดียว ด้วย
* องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบในสนามหลวง ปี พ.ศ. ๒๕๐๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 195
การปฏิบัติชอบที่ทรงบำเพ็ญมาด้วยอำนาจพระบารมี ๓๐ ทัศ กำหนดจำเดิม
ตั้งแต่แทบพระบาทของพระพุทธทีปังกรจนถึงควงไม้โพธิ์ และไม่เสด็จเข้าไป
ใกล้ส่วนสุดเหล่านี้คือ เรื่องเที่ยง เรื่องขาดสูญ ความสุขในกาม ความทำตน
ให้ลำบาก เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า สุคโต แม้เพราะเสด็จไปโดย
ชอบ. หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบ คือตรัสพระ
วาจา ที่ควร ในฐานะที่ควรเท่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า สุคโต
แม้เพราะตรัสโดยชอบ.
ในข้อนั้นมีพระสูตรเป็นเครื่องสาธกดังต่อไปนี้ว่า พระตถาคตทรงรู้
วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่
ชอบใจของคนพวกอื่น พระตถาคตย่อมไม่ตรัสพระวาจานั้น, พระตถาคตทรง
รู้วาจาใด จริง แท้ แต่ไม่เป็นประโยชน์ และวานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น
ที่ชอบใจของคนพวกอื่น วาจาแม้นั้น พระตถาคตก็ไม่ตรัส. ก็แลพระตถาคต
ทรงรู้วาจาใด จริง แท้ เป็นประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่
ชอบใจของคนพวกอื่น ในวาจานั้น พระตถาคตก็ทรงเป็นกาลัญญู (ผู้รู้กาล)
เพื่อพยากรณ์วาจานั้น. พระตถาคตทรงรู้วาจาแม้ใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็น
ประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคนเหล่าอื่น พระตถาคตไม่
ตรัสวาจานั้น พระตถาคตทรงรู้ว่าวาจาแม้ใด จริง แท้ แต่ไม่เป็นประโยชน์
และวาจานั้นเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคนเหล่าอื่น วาจาแม้นั้น พระตถาคตก็
ไม่ตรัส. ก็แลพระตถาคตทรงรู้วาจาใด จริง แท้ เป็นประโยชน์ และวาจา
นั้นเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคนเหล่าอื่น ในวาจานั้น พระตถาคตก็เป็น
กาลัญญู (ผู้รู้กาล) เพื่อพยากรณ์วาจานั้น.* พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น บัณฑิต
พึงทราบว่า สุคโต แม้เพราะตรัสพระวาจาชอบด้วยประการฉะนี้.
* ม. ม. ๑๓/๙๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 196
[อรรถาธิบายพุทธคุณบทว่า โลกวิทู]
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า โลกวิทู เพราะพระองค์ทรงรู้แจ้ง
โลก โดยประการทุกอย่าง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงรู้ คือ ทรงรู้
ทั่วถึง ทรงแทงตลอดโลก โดยประการทั้งปวง โดยสภาพบ้าง โดยสมุทัยบ้าง
โดยนิโรธบ้าง โดยอุบายเป็นเหตุถึงนิโรธบ้าง. เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้
ว่า ดูก่อนอาวุโส ! ในที่สุดแห่งโลกใดแล ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน
ไม่อุบัติ เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกนั้นว่า อันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึง ด้วย
การไป (ด้วยกาย), ดูก่อนอาวุโส ! และเราไม่กล่าวว่า การยังไม่ถึงที่สุด
แห่งโลกเลยจะทำที่สุดแห่งทุกข์ใด, ดูก่อนอาวุโส ! อีกอย่างหนึ่ง เราย่อม
บัญญัติโลก ความเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก และข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับโลก ที่กเลวระประมาณวาหนึ่งนี้แล ซึ่งมีสัญญา มีใจ,
ที่สุดแห่งโลก บุคคลไม่พึงถึงได้ด้วย
การไป (ด้วยกาย) ในกาลไหน ๆ และจะ
ไม่มีการพ้นจากทุกข์ได้ เพราะยังไม่ถึงที่สุด
แห่งโลก เพราะเหตุนั้นแล ท่านผู้รู้แจ้งโลก
มีปัญญาดีถึงที่สุดแห่งโลก อยู่บนพรหมจรรย์
แล้ว เป็นผู้สงบ รู้ที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อม
ไม่ปรารถนาโลกนี้และโลกอื่น.*
[อรรถาธิบายโลก ๓]
อีกอย่างหนึ่ง โลกมี ๓ คือสังขารโลก (โลกคือสังขาร) สัตว์โลก
(โลกคือหมู่สัตว์) โอกาสโลก (โลกคือแผ่นดิน).
* องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๖๒
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 197
บรรดาโลกทั้ง ๓ นั้น โลกในอาคตสถานว่า โลก ๑ คือ สรรพสัตว์
ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร๑ ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นสังขารโลก. โลกในอาคต
สถานว่า โลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง ๒ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบว่า เป็น
สัตว์โลก. โลกในอาคตสถานว่า
พระจันทร์และอาทิตย์ รุ่งโรจน์ ย่อม
เวียนส่องทิศทั้งหลาย ให้สว่างไสว ตลอด
ที่มีประมาณเพียงใด, โลกมีประการตั้งพัน
ก็ย่อมสว่างไสว ตลอดที่มีประมาณเพียงเน้น.
อำนาจของท่าน ย่อมเป็นไปในโลกตั้งพัน
จักรวาลนี้ ๓ ดังนี้
พึงทราบว่า เป็นโอกาสโลก.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงรู้แจ้งโลกแม้ทั้ง ๓ นั้น โดยประการ
ทั้งปวง. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงรู้แจ้งแม้สังขาร
โลกนี้ โดยประการทั้งปวง คือ:-
โลก ๑ คือสรรพสัตว์ ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร, โลก ๒ คือนาม ๑
รูป ๑, โลก ๓ คือเวทนา ๓, โลก ๔ คืออาหาร ๔, โลก ๕, คืออุปทานขันธ์ ๕,
โลก ๖ คืออายตนะภายใน ๖, โลก ๗ คือวิญญาณฐิติ ๗, โลก ๘ คือโลก
ธรรม ๘, โลก ๙ คือสัตตาวาส ๙, โลก ๑๐ คืออายตนะ ๑๐, โลก ๑๒
คืออายตนะ ๑๒, โลก ๑๘ คือธาตุ ๑๘. ๔
๑. ข. ปฏิ. ๓๑/๑๗๙. ๒. ม.ม. ๑๓/๑๔๓ ๓. ม.ม. ๑๒/๕๙๔ ๔. ข. ปฏิ. ๓๑/๑๗๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 198
อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบอาสยะ (คือ
ฉันทะเป็นที่มานอน) อนุสัย (คือกิเลสที่ตามนอนอยู่ในสันดาน) จริต (คือ
ความประพฤติ) อธิมุตติ (คืออัธยาศัย) ของเหล่าสัตว์แม้ทั้งปวง, (และ)
ย่อมทรงทราบสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย ผู้มีธุลีคือกิเลส
ในปัญญาจักษุมาก ผู้มีอินทรีย์กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการชั่ว
ผู้จะพึงให้รู้ได้ง่าย ผู้จะพึงให้รู้ได้ยาก ผู้ควร (จะตรัสรู้) ผู้ไม่ควร (จะตรัสรู้)
เพราะฉะนั้น แม้สัตว์โลกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้แจ้งแล้ว
โดยประการทั้งปวง. เหมือนอย่างว่า พระองค์ทรงรู้แจ้งสัตว์โลก ฉันใด,
แม้โอกาสโลก (โลกคือแผ่นดิน) ก็ทรงรู้แจ้ง คือได้ทรงทราบ ได้แก่ทรงแทง
ตลอดแล้ว ซึ่งโลกธาตุอันไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยพระพุทธญาณอันไม่มีที่สุด
ตลอดอนันตจักรวาล อย่างนี้ คือ จักรวาลหนึ่ง ว่าโดยส่วนยาวและส่วนกว้าง
มีประมาณล้านสองแสนสามพันสี่ร้อยสิบโยชน์, ท่านกล่าวประมาณไว้โดย
รอบ,
จักรวาลมีปริมณฑลทั้งหมด สาม
ล้านหกแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยห้าสิบโยชน์,
แผ่นดินนี้ในจักรวาลนั้น บัณฑิตกล่าวไว้
โดยความหนามีประมาณสองแสนสี่หมื่น
โยชน์.
น้ำสำหรับรองแผ่นดิน ซึ่งมีประมาณ
สี่แสนแปดหมื่น โยชน์นั้นนั่นแลไว้ โดย
ความหนาก็มีประมาณเท่านั้น ตั้งอยู่บนลม,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 199
ลมสำหรับธารน้ำแม้นั้นไว้ พุ่งขึ้นจดท้องฟ้า
สูงเก้าแสนหกหมื่นโยชน์, ความตั้งอยู่แห่ง
โลกเป็นดังนี้.
ก็ในจักรวาลนี้ ที่ตั้งอยู่แล้วอย่างนี้
มีภูเขาสิเนรุ เยี่ยมกว่าบรรดาภูเขาทั้งหลาย
หยั่งลงในห้วงมหรรณพ ถึงแปดหมื่นสี่พัน
โยชน์, สูงขึ้นไป (เบื้องบน) ก็มีประมาณ
เท่านั้นเหมือนกัน.
มหาบรรพตใหญ่ทั้ง ๗ เหล่านี้ คือ
เขายุคันธร ๑ เขาอิสินธร ๑ เขากรวิกะ ๑
เขาสุทัสสนะ ๑ เขาเนมินธร ๑ เขาวินัตต-
กะ ๑ เขาอัสสกัณณะ ๑ เป็นของทิพย์
วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ หยั่งลง (ในห้วง
มหรรณพ) และสูงขึ้นไป (เบื้องบน) ตาม
ลำดับโดยประมาณกึ่งหนึ่ง ๆ จากประมาณ
แห่งสิเนรุที่กล่าวแล้วทั้งเบื้องล่างและเบื้องบน
นั้น เป็นสถานที่อยู่ของท้าวมหาราช
(ทั้ง ๔) มีเทวดาและยักษ์อาศัยอยู่ ตั้งเรียง
รายอยู่โดยราบภูเขาสิเนรุ ด้วยอำนาจเป็น
เครื่องล้อม.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 200
หิมวันตบรรพต สูงห้าร้อยโยชน์
โดยส่วนยาวและกว้างสามพันโยชน์ ประดับ
ด้วยยอดแปดหมื่นสี่พันยอด.
ชมพูทวีปท่านประกาศแล้ว ด้วย
อานุภาพแห่งต้นชมพูใด ต้นชมพูที่ชื่อว่า
นคะ นั้นวัดโดยรอบลำต้นประมาณ ๑๕
โยชน์* ความยาวของลำต้นและกิ่งประมาณ
๕๐ โยชน์ ความกว้างโดยรอบประมาณ ๑๐๐
โยชน์ และสูงขึ้นไป (เบื้อบน) ก็มีประมาณ
เท่านั้นนั่นแล.
จักรวาลบรรพต หยั่งลงในห้วง
มหรรณพสองหมื่นแปดพันโยชน์ สูงขึ้นไป
(เบื้องบนก็มีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน) จักร-
วาลบรรพตนี้ตั้งล้อมรอบโลกธาตุทั้งหมดนั้น
อยู่.
[ขนาดพระจันทร์เป็นต้นประมาณ ๔๙ โยชน์]
ในโลกธาตุนั้น ดวงจันทร์ (วัดโดยตรงโดยส่วนยาวส่วนกว้างและ
ส่วนสูง) ๕๙ โยชน์ ดวงอาทิตย์ประมาณ ๕๐ โยชน์ ภพดาวดึงส์ประมาณ
หมื่นโยชน์ ภพอสูร อวีจิมหานรก และชมพูทวีปก็มีประมาณเท่านั้น อมร-
โคยานทวีป ประมาณ ๗ พันโยชน์ ปุพพวิเทหทวีป ก็มีประมาณเท่านั้น
อุตรกุรุทวีป ประมาณ ๘ พันโยชน์ ก็แล ทวีปใหญ่ ๆ ในโลกธาตุนี้ แต่ละ
* ฏีกาสารรัตถทีปนี แก้เป็น ปณฺณรสโยชนปฺปมาณกฺขนฺธปริกฺเขปา ๑/๔๐๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 201
ทวีป ๆ มีทวีปเล็ก ๆ เป็นบริวาร ทวีปละห้าร้อย ๆ จักรวาลหนึ่งแม้ทั้งหมด
นั้น ชื่อว่าโลกธาตุหนึ่ง ในระหว่างแห่งจักรวาลนั้น เป็นโลกันตริกนรก.
แม้โอกาสโลก (โลกคือแผ่นดิน) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้
แจ้งแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง
พระนามว่า โลกวิทู เพราะความที่พระองค์ทรงรู้แจ้งโลก โดยประการทั้งปวง
แม้ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.
[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบนว่า อนุตฺตโร]
บทว่า อนุตฺตโร ความว่า บุคคลผู้ยิ่งกว่า ชื่อว่าย่อมไม่มีแก่
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั่น เพราะไม่มีใคร ๆ ที่จะดีวิเศษกว่าพระองค์
โดยคุณของตน เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า อนตฺตโร (ไม่มี
ผู้อื่นยิ่งกว่า). จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ย่อมครอบงำโลก
ทั้งหมด ด้วยพระคุณคือศีลบ้าง ด้วยพระคุณคือสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ
วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั่นไม่มีผู้เสมอ หาผู้เสมอ
เหมือนมิได้ หาผู้เปรียบมิได้ ไม่มีผู้เปรียบเทียบหาบุคคลผู้ทัดเทียมมิได้ ด้วย
พระคุณคือสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง. เหมือนอย่างที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็เรายังไม่เล็งเห็นสมณะ
หรือพราหมณ์คนอื่นเลย ผู้จะสมบูรณ์ด้วยศีลยิ่งกว่าเรา ในโลกกับทั้งเทวดา
มาร พรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั่งสมณพราหมณ์และเทวดา มนุษย์.๑
ควรทราบความพิสดาร (แห่งพระสูตรนั้น). พระสูตรทั้งหลายมีอัคคัปปสาทสูตร
เป็นต้น และคาถามีอาทิว่า อาจารย์ของเราไม่มี๒ ดังนี้ ก็ควรให้พิสดาร
ตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั้น.
๑. ส. ส. ๑๕/๒๐๔. ๒. ม.มู. ๑๒/๓๒๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 202
[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า ปุริสทมฺมสารถิ]
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า ปุริสทมฺมสารถิ
เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ยังบุรุษผู้พอจะฝึกได้ให้แล่นไป. มีอธิบายไว้ว่า
ย่อมฝึก คือแนะนำ. สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ก็ดี มนุษย์ผู้ชายก็ดี อมนุษย์ผู้ชายก็ดี
ผู้ที่ยังมิได้ฝึก ควรเพื่อจะฝึกได้ ชื่อว่า ปุริสทัมมา ในคำว่า ปุริสทมฺมสารถิ
นั้น. จริงอย่างนั้น แม้สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ มีอาทิอย่างนี้ คือ อปลาลนาคราช
จุโฬทรนาคราช มโหทรนาคราช อัคคิสิขนาคราช ธูมสิขนาคราช อาลวาฬ
นาคราช (และ) ช้างชื่อธนบาลก์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว คือทรง
ทำให้สิ้นพยศแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย. แม้มนุษย์ผู้ชายมีสัจจก-
นิครณฐบุตร อัมพัฏฐมาณพ โปกขรสาติพราหมณ์ โสณทัณฑพราหมณ์
และกูฏทันตพราหมณ์เป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว. แม้อมนุษย์
ผู้ชาย มีอาฬวกยักษ์ สูจิโลมยักษ์ ขรโลกยักษ์ และท้าวสักกเทวราชเป็นต้น
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว คือทรงแนะนำแล้ว ด้วยอุบายเครื่องแนะนำ
อย่างวิจิตร. ก็แลในอรรถนี้ควรยังพระสูตรนี้ให้พิสดารดังนี้ ดุก่อนนายเกสี !
เราย่อมฝึกบุรุษผู้พอจะฝึกได้ ด้วยอุบายละเอียดบ้าง หยาบบ้าง ทั้งละเอียด
ทั้งหยาบบ้าง.*
อีกอย่างหนึ่ง สองบทว่า อนตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ นี้รวมเป็น
อรรถบทเดียวกันก็ได้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังบุรุษ ผู้ควรจะฝึก
ได้ให้แล่นไป เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าทั้งหลายประทับนั่งอยู่โดยบัลลังก์เดียว
เท่านั้น ทรงเล่นไปได้ไม่ติดขัดตลอดทิศทั้ง ๘ ฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า บัณฑิตจึงเรียกว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ( เป็นสารถีผู้ฝึก
* องฺ . จตุกฺก. ๒๑/๑๘๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 203
บุรุษที่พอจะฝึกได้ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า). ก็แลในอรรถนี้ ควรยังพระสูตรนี้ให้
พิสดารดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ช้างตัวควรฝึกให้ได้ อันนายควาญช้างใส
ไปแล้ว ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น.๑
[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า สตฺถา]
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระนามว่า สัตถา (เป็น
พระศาสดา) เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ทรงสั่งสอน (สรรพสัตว์) ด้วยประโยชน์
ปัจจุบัน ด้วยประโยชน์ภายหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งตามสมควร. อีกอย่างหนึ่ง
ก็ในบทว่า สตฺถา นี้ พึงทราบใจความนิเทศนัยมีอาทิดังนี้ว่า คำว่า สตฺถา
ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นดุจนายพวก. เหมือนอย่างว่า นายพวก
ย่อมพาพวกให้เวียนข้ามทางกันดาร คือให้เวียนข้ามทางกันดารเพราะโจร
กันดารเพราะสัตว์ร้าย กันดารเพราะข้าวแพง กันดารเพราะไม่มีน้ำ คือย่อม
ให้ข้ามพ้น ให้ข้ามไป ให้ข้ามถึง ได้แก่ให้บรรลุถึงถิ่นที่เกษม ฉันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงเป็นพระศาสนา คือทรงเป็นดุจ
นายพวก ทำเหล่าสัตว์ให้เวียนข้ามทางกันดาร ได้แก่ให้เวียนข้ามทางกันดาร
คือชาติ๒ เป็นต้น.
[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า เทวมนุสฺสาน]
บทว่า เทวมนุสฺสาน แปลว่า ของเทวดาทั้งหลายด้วย ของมนุษย์
ทั้งหลายด้วย. คำว่า เทวมนุสฺสาน นั่น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ด้วยอำนาจกำหนด
สัตว์ชั้นสูง และด้วยอำนาจการกำหนดภัพพบุคคล (บุคคลผู้ควรตรัสรู้มรรคผล).
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าทรงเป็นพระศาสดา แม้ของพวก
สัตว์ดิรัจฉาน เพราะทรงประทานอนุสาสนีให้เหมือนกัน. จริงอยู่ สัตว์ดิรัจฉาน
๑. ม. อ ๑๔/๔๐๗. ๒. ขุ. จู. ๓๐/๓๑๓
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 204
แม้เหล่านั้น บรรลุอุปนิสัยสมบัติ ก็เพราะได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งมรรคและผล ในภพที่ ๒ หรือที่ ๓ เพราะอุปนิสัยสมบัติ
นั้นนั่นแล. ก็ในความเป็นศาสดาของพวกสัตว์ดิรัจฉานนี้ มีมัณฑูกเทวบุตร
เป็นต้น เป็นอุทาหรณ์.
[เรื่องกบฟังธรรมของพระพุทธเจ้าได้เป็นเทพบุตร]
ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่ชนชาวนครจำปา
อยู่ที่ริมฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา ยังมีกบตัวหนึ่งได้ถือเอานิมิตในพระสุรเสียง
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า (ซึ่งกำลังทรงแสดงธรรมอยู่). (ขณะนั้น) มีคนเลี้ยง
โคคนหนึ่ง เมื่อจะยืนยันไม้เท้าได้ (ยืน) กดลงที่ศีรษะกบนั้น. กบตัวนั้นก็
ตายในทนใดนั้นนั่นเอง แล้วเกิดในวิมานทองประมาณ ๑๒ โยชน์ ในภพดาว-
ดึงส์ เหมือนนอนหลับแล้วตื่นขึ้นฉะนั้น.
ในภพดาวดึงส์นั้น มัณฑูกเทพบุตร เห็นตนเองอันหมู่นางฟ้าแวดล้อม
แล้ว ใคร่ครวญอยู่ว่า เว้ย ชื่อแม้เรา มาเกิดในที่นี้ ได้กระทำกรรมอะไร
หนอแล ? ก็มิได้เห็นกรรมอะไร ๆ อย่างอื่น นอกจาการถือเอานิมิตในพระ
สุรเสียง ของพระผู้มีพระภาคเจ้า (เท่านั้น). มัณฑูกเทวบุตร จึงมาพร้อมทั้ง
วิมานในทันใดนั้นนั่นเอง แล้วถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยเศียรเกล้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งที่ทรงทราบอยู่แล (แต่) ตรัสถามว่า
ใครช่างรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ (และ) ยศ
มีพรรณงดงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งปวงให้สว่าง
อยู่ กำลังไหว้เท้าของเรา ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 205
มัณฑูกเทวบุตร กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในชาติปาง
ก่อน ข้าพระองค์ได้เป็นกบอยู่ในน้ำ มีน้ำ
เป็นที่เที่ยวไป เมื่อข้าพระองค์กำลังฟังธรรม
ของพระองค์อยู่ คนเลี้ยงโค ได้ฆ่าข้าพระ
องค์แล้ว.๑
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่มัณฑูกเทวบุตรนั้นแล้ว. สัตว์
จำนวนแปดหมื่นสี่พัน ได้บรรลุธรรม. ฝ่ายเทพบุตรก็ดำรงอยู่ในพระโสดา-
ปัตติผล ได้ทำการแย้มแล้วก็หลีกไปแล.
[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า พุทฺโธ]
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า พุทฺโธ ด้วยอำนาจพระญาณ.
อันเกิดในที่สุดแห่งวิโมกข์ เพราะขึ้นชื่อว่า เญยยธรรมอะไร ๆ ที่มีอยู่ทั้งหมด
อันพระองค์ตรัสรู้แล้ว. อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระองค์ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ด้วย
พระองค์เองบ้าง ทรงยังสัตว์เหล่าอื่นให้ตรัสรู้บ้าง, ฉะนั้น พระองค์จึงทรง
พระนามว่า พุทฺโธ เพราะเหตุมีอาทิอย่างนี้บ้าง, เพื่อจะให้ทราบเนื้อความ
แม้นี้แจ่มแจ้ง บัณฑิตควรขยายนิเทศนัย หรือปฏิสัมภิทานัยแม้ทั้งหมดที่เป็น
ไปแล้ว ให้พิสดารอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า
พุทฺโธ เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะทรงยัง
ประชาสัตว์ให้ตรัสรู้ ๒ ดังนี้.
[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า ภควา]
* ก็คำว่า ภควา นี้เป็นคำร้องเรียกพระองค์ ด้วยความเป็นผู้วิเศษ
๑. ขุ . นิทาน. ๒๖/๘๙-๙๐. ๒. ขุ . จู . ๓๐/๒๖๑. ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๓๑. *องค์การศึกษา
แผนกบาลี แปลออกมาสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๙๖๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 206
ด้วยพระคุณ เป็นผู้สูงกว่าสัตว์ และเป็นผู้ควรเคารพโดยฐานครู. ด้วย
เหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด
คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด เพราะเหตุที่
พระองค์ควรแก่ความเคารพโดยฐานครู
บัณฑิตจึงเรียกว่า ภควา.
[ชื่อมี ๔ อย่าง]
จริงอยู่ นามมี ๔ อย่าง คือ อาวัตถิกนาม ลิงคิกนาม เนมิตตกนาม
อธิจจสมุปปันนนาม มีคำอธิบายว่า นามที่ตั้งตามความปรารถนาตามโวหาร
ของโลก ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนนาม, ในนาม ๔ อย่างนั้น คำมีอาทิอย่างนี้
คือ ลูกโค โคหนุ่ม โคกำลัง เป็นอาวัตถิกนาม (นามที่บัญญัติอาศัยความ
กำหนด). คำมีอาทิอย่างนี้ คือ มีไม้เท้า มีร่ม มีหงอน มีงวง เป็นลิงคิกนาม
(นามที่เรียกตามเหตุหรือลักษณะ). คำมีอาทิอย่างนี้คือ มีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖
เป็นเนมิตตกนาม (นามที่เกิดขึ้นโดยคุณนิมิต). คำมีอาทิอย่างนี้คือ เจริญศรี
เจริญทรัพย์ ซึ่งเป็นไปไม่คำนึงถึงเนื้อความของคำ เป็นอธิจจสมุปปันนาม
(นามที่ตั้งตามใจชอบ). ก็แต่ว่า พระนามว่า ภควา นี้ เป็นเนมิตตกนาม
พระนางมหามายาก็มิได้ทรงขนาน พระเจ้าสุทโธทนมหาราชก็มิได้ทรงขนาน
พระญาติแปดหมื่นก็มิได้ทรงขนาน เทวดาวิเศษทั้งหลายมีท้าวสักกะและท้าว-
สันตดุสิตเป็นต้นก็มิได้ทรงขนาน. จริงอยู่ คำนี้ พระธรรมเสนาบดีกล่าวแล้วว่า
พระนามว่า ภควา นี้ เกิดในที่สุดแห่งความพ้นพิเศษ เป็นบัญญัติที่แจ่มใสแก่
พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับได้เฉพาะซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ
ที่โคนพระโพธิ์พฤกษ์.*
* ขุ . จู . ๓๐/๑๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 207
ก็เพื่อจะประกาศพระคุณที่เกิดจากคุณเนมิตตกนามนี้นั้น พระสังคีติ-
กาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถานี้ไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรง
มีพระอิสริยยศ ทรงเสพ (อริยคุณ) มีส่วน
(แห่งจตุปัจจัย) ทรงจำแนก (ธรรมรัตน์)
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์
นั้น บัณฑิตจึงเฉลิมพระนามว่า ภควา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ได้ทรง
ทำการหักกิเลส, เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า พระองค์นั้น บัณฑิตจึงเฉลิม
พระนามว่า ภควา, พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์ใด ทรงเป็นครู เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัณฑิตจึง
เฉลิมพระนามว่า ภควา, พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์ใด เป็นผู้มีโชค เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น บัณฑิต
จึงเฉลิมพระนามว่า ภควา, พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระองค์ใด มีพระองค์อบรมดีแล้ว
ด้วยญายธรรมเป็นอันมาก เสด็จถึงที่สุด
แห่งภพ, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น บัณฑิตจึงเฉลิมพระนามว่า
ภควา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 208
อนึ่ง ในพระคาถานี้ บัณฑิตพึงเห็นใจความแห่งบทเหล่านั้น ๆ ตาม
นัยที่กล่าวแล้วในนิเทศนั้นแล. ส่วนนัยอื่นอีก มีดังนี้คือ : -
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด เป็น
ผู้มีโชค (คือมีส่วนแห่งบารมีธรรม) ทรง
หักกิเลส ทรงประกอบด้วยภัคคธรรม ทรง
จำแนก ทรงเสพ และทรงคลายการไปใน
ภพทั้งหลายเสียแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัณฑิตจึงเฉลิม
พระนามว่า ภควา.
พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถานั้นต่อไป. ผู้ศึกษาพึงทราบอรรถรูปว่า
เพราะภาคยธรรม (คือกุศล) อันถึงซึ่งฝั่งแห่งพระบารมี มีทานและศีลเป็นต้น
อันยังสุขทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตระให้บังเกิด มีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ฉะนั้น ในเมื่อควรจะเฉลิมพระนามว่า ภาคยวา แต่ท่านถือ
เอาลักษณะแห่งนิรุตติว่า ลงตัวอักษรใหม่ แปลงตัวอักษร เป็นต้น หรือ
ถือเอาลักษณะคือรวมเข้าในชุดศัพท์มี ปิโสทรศัพท์เป็นต้น ตามนัยแห่งศัพท์
จึงเฉลิมพระนามว่า ภควา ดังนี้.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหักกิเลสได้ตั้งแสนอย่าง]
อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงหักกิเลสเครื่อง
เร่าร้อนกระวนกระวายทุกอย่าง ตั้งแสนอย่าง มีประเภทคือ โลภะ โทสะ
โมหะ วิปรีตมนสิการ อหิริกะ อโนตตัปปะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ
ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ
มทะ ปมาทะ ตัณหา อวิชชา, อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ สังกิเลส ๓ ,มลทิน ๓
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 209
วิสมะ ๓ สัญญา ๓ วิตก ๓ ปปัญจะ ๓, วิปริเยสะ ๔ อาสวะ ๔ อาสวะ ๔ คัณฐะ ๔
โอฆะ ๔ โยคะ ๔ อคติ ๔ ตัณหุปาทาน ๔, เจโตขีละ ๕ วินิพันยะ ๕
นิวรณ์ ๕ อภินันทนะ ๕, วิวาทมูล ๖ ตัณหากาย ๖, อนุสัย ๗, มิจฉัตตะ ๘,
ตัณหามูลกะ ๙, อกุศลกรรมบถ ๑๐, ทิฏฐิ ๖๒, และตัณหาวิปริต ๑๐๘,
หรือโดยย่อได้ทรงหักมาร ๕ คือ กิเลสมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร
และเทวบุตรมาร, ฉะนั้น ในเมื่อควรจะเฉลิมพระนามว่า ภัคควา แต่ท่าน
เฉลิมพระนามว่า ภควา เพราะพระองค์ทรงหักอันตรายเหล่านั้นได้แล้ว.
*อนึ่ง ในตอนนี้ท่านกล่าวไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงหักราคะได้แล้ว ทรงหักโทสะได้แล้ว
ทรงโมหะได้แล้ว หาอาสวะมิได้, ธรรม
อันเป็นบาปทั้งหลาย พระองค์ก็ทรงหักเสีย
แล้ว, เพราะเหตุนั้น จึงเฉลิมพระนามว่า
ภควา.
ก็ความถึงพร้อมด้วยรูปกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้
ทรงบุญลักษณะนับร้อย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยความที่พระองค์ทรง
มีพระกายสมส่วน. ความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกาย ย่อมเป็นอันท่านแสดง
แล้วด้วยความที่พระองค์ทรงหักโทสะได้แล้ว. ความที่พระองค์ทรงเป็นผู้อันหมู่
นักวิจารณ์ฝ่ายโลกีย์นับถือมาก ความที่พระองค์เป็นผู้อันคฤหัสถ์และบรรพชิต
พึงเข้าเฝ้า ความที่พระองค์ทรงเป็นผู้สามารถในการบำบัดทุกข์กายและจิต
ของคฤหัสถ์และบรรพชิตเหล่านั้นผู้เข้าเฝ้าแล้ว ความที่พระองค์ทรงมีพระ
* องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๐๕
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 210
อุปการะด้วยอามิสทานและธรรมทาน และความที่พระองค์ทรงสามารถ ในการ
ชักชวนด้วยความสุขทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตระ ย่อมเป็นอันท่านแสดง
แล้วเช่นเดียวกัน.
อนึ่ง เพราะ ภคะ ศัพท์ ย่อมเป็นไปในธรรม ๖ ประการ คือ
ความเป็นใหญ่ ธรรม ยศ สิริ กามะ และความเพียรในโลก. ก็แลความ
เป็นใหญ่ในจิตของพระองค์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยอดเยี่ยม
หรือความเป็นใหญ่ที่สมมติกันทางโลกิยะ มีการทำกายให้เล็กละเอียดและทำ
กายให้ลอยไปได้ (มีการหายตัวและการล่องหน) เป็นต้น ก็ทรงมีอยู่อย่าง
บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง พระโลกุตรธรรม ก็เช่นเดียวกัน คือทรงมีอยู่อย่าง
บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง. พระยศอันแผ่คลุมโลกสาม ซึ่งทรงบรรลุด้วย
พระคุณตามที่เป็นจริงบริสุทธิ์ยิ่งนัก. พระสิริแห่งพระอังคาพยพน้อยใหญ่
ทุกส่วน บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง สามารถยังความเลื่อมใสแห่งดวงตาและ
ดวงใจ ของชนผู้ขวนขวายในการดูพระรูปกายให้บังเกิด. กามะที่ชนทั้งหลาย
หมายรู้กันว่า ความสำเร็จแห่งประโยชน์ที่ปรารถนา (ก็มีอยู่) เพราะความที่
แห่งความปรารถนาที่พระองค์ทรงตั้งไว้ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์ หรือ
เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่นนั้น ๆ สำเร็จแล้วอย่างนั้นทีเดียว หรือว่าความ
เพียร กล่าวคือความพยายามโดยชอบ อันเป็นเหตุแห่งความบังเกิดขึ้นของ
ความเป็นครูแห่งโลกทั้งปวง ก็ทรงมีอยู่เหตุนั้น แม้เพราะพระองค์ทรงประกอบ
แล้วด้วยภคธรรมเหล่านี้ ก็เฉลิมพระนามได้ว่า ภควา ด้วยอรรถนี้ว่า ภคธรรม
ทั้งหลายของพระองค์มีอยู่ ดังนี้.
อนึ่ง เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้จำแนก มีอธิบายว่า ทรงแจก คือ
เปิดเผย แสดงซึ่งธรรมทั้งปวง โดยประเภทมีกุศลเป็นต้น หรือซึ่งธรรมมี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 211
กุศลเป็นต้น โดยประเภทมีขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ และ
ปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น หรือซึ่งอริยสัจ คือ ทุกข์ ด้วยอรรถว่าเป็นสิ่งบีบคั้น
เป็นสิ่งถูกปรุงแต่ง เป็นสิ่งแผดเผา และเป็นสิ่งแปรผัน, ซึ่งสมุทัย ด้วย
อรรถว่าหอบทุกข์มาให้เป็นต้นเค้า เป็นเครื่องพัวพัน และเป็นเครื่อง
หน่วงเหนี่ยว, ซึ่งนิโรธ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องสลัดออก เป็นสภาพสงัด
ไม่ถูกปรุงแต่ง และเป็นอมตะ ซึ่งมรรค ด้วยอรรถว่าเป็นธรรมนำออกจากทุกข์
เป็นเหตุ เป็นเครื่องชี้ และเป็นความเป็นใหญ่, ฉะนั้น ในเมื่อควรเฉลิม
พระนามว่า วิภัตตวา ก็เฉลิมพระนามได้ว่า ภควา.
อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงคบ หรือทรงเสพ
หมายความว่า ได้ทรงทำให้มาก ซึ่งทิพพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร
ซึ่งกายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก ซึ่งสุญญตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
และอนิมิตตวิโมกข์ และซึ่งอุตริมนุสธรรมเหล่าอื่น ทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็น
โลกุตระ, ฉะนั้น ในเมื่อควรเฉลิมพระนามว่า ภัตตวา ก็เฉลิมพระนามได้ว่า
ภควา.
อนึ่ง เพราะความไป กล่าวคือตัณหาในภพทั้ง ๓ อันพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงคายเสียแล้ว, ฉะนั้น ในเมื่อควรเฉลิมพระนามว่า
ภเวสุ วนฺตคมโน (ผู้มีความไปในภพทั้งหลายอันคายแล้ว) แต่ถวายพระนาม
ว่า ภควา เพราะถือเอา ภ อักษรแต่ ภว ศัพท์ ค อักษรแต่คมนศัพท์
และ ว อักษรแต่ วันตศัพท์ ทำให้เป็นทีฆะ เปรียบเหมือนถ้อยคำในทางโลก
เมื่อควรจะกล่าวว่า เมหนสฺส ขสฺส มาลา (ระเบียบแห่งโอกาสอันลับ)
เขากล่าวว่า เมขลา ฉะนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 212
[อรรถาธิบาย สเทวกะ ศัพท์ เป็นต้น]
หลายบทว่า โส อิม โลก ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงทำโลกนี้ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง. บัดนี้ จะชี้แจงคำที่ควรกล่าว
ต่อไป : -
บทว่า สเทวก คือพร้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย ชื่อ สเทวกะ (พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้) พร้อมด้วยมาร ที่ชื่อว่า สมารกะ
พร้อมด้วยพรหม ที่ชื่อว่า สพรหมกะ พร้อมด้วยสมณะและพราหมณ์ ที่
ชื่อว่า สัสสมณพราหมณี (ให้แจ้งชัด) ด้วยอาการอย่างนี้. ที่ชื่อว่า ปชา
เพราะความเป็นผู้เกิดจากกรรมกิเลสของตน. ซึ่งหมู่สัตว์นั้น พร้อมด้วยเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ชื่อว่า สเทวมนุสสะ.
บรรดาคำว่า สเทวกะ เป็นต้น พึงทราบการถือเอาเทวดาชั้น
กามาวจร ๕ ชั้น ด้วยคำว่า สเทวกะ (พร้อมด้วยเทวดา). พึงทราบการถือ
เอาเทวดาชั้นกามาวจรชั้นที่ ๖ ด้วยคำว่า สมารกะ. พึงทราบการถือเอา
พรหมมีพรหมชั้นพรหมกายิกาเป็นต้น ด้วยคำว่า สพรหมกะ. พึงทราบการถือเอา
สมณะและพราหมณ์ผู้มีบาปอันสงบแล้ว และผู้มีบาปอันลอยแล้ว ด้วยคำว่า
สัสสมณพราหมณี. พึงทราบการถือเอาสัตว์โลก โดยคำว่า ปชา. พึงทราบ
การถือเอาสมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือ ด้วยคำว่า สเทวมนุสสะ.
บรรดาบททั้ง ๔ นี้ ดังพรรณนามานี้ โอกาสโลก พึงทราบว่าท่าน
ถือเอาแล้วด้วยบททั้ง ๓ (คือ สเทวกะ ๑ สมารกะ ๑ สพรหมกะ ๑) สัตว์โลก
พึงทราบว่า ท่านถือเอาแล้วด้วยบททั้ง ๒ (คือสัสสมณพราหมณี และสเทว-
มนุสสะ) ด้วยอำนาจแห่งหมู่สัตว์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 213
อีกนัยหนึ่ง อรูปาวจรโลก ท่านถือเอาแล้วด้วย สเทวกศัพท์.
กามาวจรเทวโลก ๖ ชั้น ท่านถือเอาแล้วด้วย สามารกศัพท์. พรหมโลกที่มีรูป
ท่านถือเอาแล้วด้วย สพรหมกศัพท์. มนุษยโลกกับเหล่าสมมติเทพหรือสัตว์
โลกทั้งหมดที่เหลือ ท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์ มีสัสสมณพราหมณี เป็นต้น
ด้วยอำนาจแห่งบริษัท ๔.
อีกอย่างหนึ่ง ในคำทั้งหลาย มีคำว่า สเทวกะ เป็นต้นนี้ พระ
กิตติศัพท์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ประกาศความที่แห่งโลก
แม้ทั้งปวง อันพระองค์ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว โดยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์
ด้วยคำว่า สเทวกะ ฟุ้งขจรไปแล้ว. เพราะเหตุนั้นชนเหล่าใด พึงมีความ
สงสัยว่า มารชื่อ วสวัดดี ผู้มีอานุภาพมาก เป็นใหญ่กว่าเทวดาชั้นฉกามาวจร.
แม้มารนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงทำให้แจ้งได้อย่างไร ?
พระกิตติศัพท์ฟุ้งขจรไปทำลายความสงสัยของชนเหล่านั้น ด้วยคำว่า สามรก
(พร้อมด้วยมาร).
อนึ่ง ชนเหล่าใดพึงมีความสงสัยว่า พรหมผู้มีอนุภาพมาก ย่อม
ส่องแสงสว่างไปในหนึ่งพันจักรวาลด้วยองคุลีหนึ่ง ในสองพันจักรวาล ด้วย
สององคุลี. ฯลฯ ย่อมส่องแสงสว่างไปในหมื่นจักรวาลด้วยสิบองคุลี และได้
เสวยสุขอันเกิดจากฌานสมาบัติอย่างเยี่ยมอยู่, แม้พรหมนั้น อันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทรงทำให้แจ้งได้อย่างไร ? พระกิตติศัพท์ฟุ้งขจรไปทำลายความสงสัย
ของชนเหล่านั้นด้วยคำว่า สสฺสมณพฺราหฺมณึ ปช (ซึ่งหมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์).
พระกิตติศัพท์ (ของพระผู้มีพระภาคเจ้า) ครั้นประกาศความที่ฐานะ
อย่างอุกฤษฏ์ทั้งหลาย อันพระองค์ทรงทำให้แจ้งแล้วอย่างนั้น ในละดับนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 214
เมื่อจะประกาศความที่สัตว์โลกซึ่งยังเหลือ อันพระองค์ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว
ด้วยอำนาจการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์ จนกระทั่งถึงสมมติและพวกมนุษย์ที่
ยังเหลือ ฟุ้งขจรไปแล้ว ด้วยคำว่า สเทวมนุสฺส (พร้อมทั้งเทวดาและ
มนุษย์). ในบททั้งหลายมีบทว่า สเทวก เป็นต้นนี้ มีลำดับอนุสนธิเท่านี้.
[อรรถาธิบาย สย ศัพท์เป็นต้น]
อนึ่ง ในคำว่า สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทต นี้พึงทราบ
วินิจฉัยดังนี้ : -
บทว่า สย แปลว่า ด้วยพระองค์เอง, สย ศัพท์นี้ เป็นศัพท์มี
ใจความที่คนอื่นจะพึงนำไปหามิได้. บทว่า อภิญฺา ความว่า ทรงรู้ด้วย
ความรู้ยิ่ง คือด้วยพระญาณอันยิ่ง. บทว่า สจฺฉิกตฺวา คือทรงทำให้ประจักษ์,
ด้วยบทว่า สจฺฉิกตฺวา นั่น เป็นอันท่านทำการห้ามกิจมีการอนุมานเป็นต้น
เสีย. บทว่า ปเวเทติ ความว่า คือทรงยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้ คือให้รู้ ได้แก่
ทรงประกาศให้รู้.
[พระธรรมงามในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด]
ข้อว่า โส ธมฺม เทเสติ อาทิกลฺยณ ฯ เป ฯ ปริโยสาน
กลฺยาณ มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ต้องสละสุขอันเกิด
แต่วิเวกอย่างยอดเยี่ยมแล้ว ทรงแสดงธรรมอยู่ ก็เพราะทรงอาศัยความกรุณา
ในสัตว์ทั้งหลาย. ก็แลพระองค์เมื่อทรงแสดงธรรมนั้น จะน้อยหรือมากก็ตาม
ทรงแสดงครบถ้วนทั้ง ๓ ประการ มีความงามในเบื้องต้นเป็นอาทิเท่านั้น.
คืออย่างไร ? คืออย่างนี้ ความพิสดารว่า แม้พระคาถาเดียว ก็มีความงาม
ในเบื้องต้น ด้วยบาททีแรก มีความงามในท่ามกลาง ด้วยบาทที่สองและที่สาม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 215
มีความงามในที่สุด ด้วยบาทที่สุด เพราะพระธรรมมีความงามรอบด้าน.
พระสูตรมีอนุสนธิเดียว มีความงามในเบื้องต้นด้วยคำนิทาน. มีความงามใน
ที่สุดด้วยคำนิคม. มีความงามในท่ามกลางด้วยคำที่เหลือ. พระสูตรที่มีอนุสนธิ
ต่าง ๆ มีความงามในเบื้องต้นด้วยอนุสนธิแรก. มีความงามในที่สุดด้วยอนุสนธิ
ในที่สุด. มีความงามในท่ามกลาง ด้วยอนุสนธิที่เหลือ ศาสนาธรรมแม้ทั้งสิ้น
มีความงามในเบื้องต้น ด้วยศีลอันเป็นอรรถของตนบ้าง มีความงามในท่าม
กลาง ด้วยสมถะและวิปัสสนา มรรคและผลบ้าง. มีความงามในที่สุด ด้วย
พระนิพพานบ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง มีความงามในเบื้องต้น ด้วยศีลและสมาธิ. มีความงาม
ในท่ามกลาง ด้วยวิปัสสนาและมรรค, มีความงามในที่สุด ด้วยผลและพระ
นิพพาน.
* อีกอย่างหนึ่ง มีความงามในเบื้องต้น ด้วยความตรัสรู้ดีของ
พระพุทธเจ้า มีความงามในท่ามกลาง ด้วยความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม
มีความงามในที่สุด ด้วยการปฏิบัติดีของพระสงฆ์.
อีกอย่างหนึ่ง มีความงามในเบื้องต้น ด้วยพระอภิสัมโพธิญาณ อัน
ผู้สดับศาสนาธรรมนั้นแล้ว ปฏิบัติโดยความเป็นเช่นนั้นจะพึงบรรลุ มีความ
งามในท่ามกลาง ด้วยปัจเจกโพธิญาณ มีความงามในสุด ด้วยสาวกโพธิญาณ.
อนึ่ง ศาสนธรรมนั้น เมื่อสาธุชนสดับอยู่ ย่อมนำมาแต่ความงามฝ่ายเดียว
แม้ด้วยการสดับ เพราะจะข่มนิวรณธรรมไว้ได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
มีความงามในเบื้องต้น เมื่อสาธุชนปฏิบัติอยู่ ก็ย่อมนำมาแต่ความงามฝ่ายเดียว
แม้ด้วยการปฏิบัติ เพราะจะนำมาแต่ความสุขอันเกิดแต่ สมถะและวิปัสสนา
* องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๐๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 216
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มีความงามในท่ามกลาง. และเมื่อสาธุชนปฏิบัติแล้ว
โดยประการนั้น ก็ย่อมนำมาแต่ความงามเช่นเดียวกัน แม้ด้วยผลแห่งการ
ปฏิบัติ เพราะจะนำความเป็นผู้คงที่มาให้ ในเมื่อได้สำเร็จผลแห่งการปฏิบัติ
แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความงามในที่สุด.
อนึ่ง มีความงามในเบื้องต้น ด้วยความบริสุทธิ์แห่งแดนเกิด เพราะ
ศาสนธรรมมีที่พึ่งเป็นแดนเกิด มีความงามในท่ามกลางด้วยความบริสุทธิ์แห่ง
อรรถ มีความงามในสุดด้วยความบริสุทธิ์แห่งกิจ. เพราะฉะนั้น สมเด็จ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงแสดงธรรมจะน้อยหรือมากก็ตาม
พึงทราบว่า ทรงแสดงครบถ้วนทั้ง ๓ ประการ มีความงามในเบื้องต้นเป็น
อาทิ.
[อรรถาธิบายศัพท์ว่า สาตฺถ สพฺยชน]
ก็ในคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า สาตฺถ สพฺยญฺชน ดังนี้ พึงทราบวินิจฉัย
ดังนี้ : -
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงแสดงพระธรรมนี้
ชื่อว่าทรงประกาศ คือทรงแสดงศาสนาพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์ด้วย
นัยต่าง ๆ. ก็ศาสนาพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์นั้น ชื่อว่าพรั่งพร้อม
ด้วยอรรถ เพราะถึงพร้อมด้วยอรรถ, ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะ
ถึงพร้อมด้วยอรรถบทที่แสดง ประกาศ เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้นและบัญญัติ,
ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะถึงพร้อมด้วยอักษร บท พยัญชนะ
อาการ นุรุตติ และนิเทศ, ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะความที่ศาสน-
พรหมจรรย์เป็นต้นนั้น ลึกโดยอรรถ และลึกโดยปฏิเวธ, ชื่อว่า พรั่งพร้อม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 217
ด้วยพยัญชนะ เพราะความที่ศาสนาพรหมจรรย์นั้น ลึกโดยธรรม และลึกโดย
เทศนา, ชื่อว่า พรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะความเป็นวิสัย (คืออารมณ์)
แห่งอัตถปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทา, ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ
เพราะความเป็นวิสัย (คืออารมณ์) แห่งธัมมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา.*
พรหมจรรย์นั้น ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะเหตุว่า เป็นที่
เลื่อมใสแห่งชนผู้เป็นนักปราชญ์ เพราะเป็นสิ่งอันบัณฑิตพึงรู้. ชื่อว่าพรั่ง
พร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะเหตุว่า เป็นที่เลื่อมใสแห่งโลกียชน เพราะเป็น
สิ่งควรเชื่อ., ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรค เพราะมีความอธิบายลึก, ชื่อว่า
พรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะมีบทตื้น, ชื่อว่าบริสุทธิ์สิ้นเชิง เพราะมีความ
บริบูรณ์เต็มที่ เหตุไม่มีสิ่งที่จะต้องเพิ่มเข้า ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะเป็นของหา
โทษมิได้ เหตุไม่มีสิ่งที่จะต้องนำออก, ชื่อว่าพรหมจรรย์ เพราะอันบุคคลผู้
เป็นใหญ่ คือผู้ประเสริฐพึงปฏิบัติ เหตุที่พรหมจรรย์นั้นอันท่านกำหนดด้วย
ไตรสิกขา และเพราะเป็นจริยาของท่านเหล่านั้น, ฉะนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ
จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อม
ด้วยอรรถ พร้อมด้วยพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมมีเหตุ
และเรื่องที่เกิดขึ้น ชื่อว่าทรงแสดง (ธรรมนั้น) มีความงามในเบื้องต้น
และชื่อว่าทรงแสดง (ธรรมนั้น) มีความงามในท่ามกลาง เพาะเนื้อความ
ไม่วิปริต และเพราะประกอบด้วยเหตุและอุทาหรณ์ โดยสมควรแก่เวไนยสัตว์
และชื่อว่าแสดง (ธรรมนั้น) มีความงามในที่สุด เพราะทำให้พวกนักฟัง
ได้ศรัทธาและความมั่นใจ ก็เมื่อทรงแสดงธรรมอยู่อย่างนั้น ชื่อว่าทรง
ประกาศพรหมจรรย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 218
ก็พรหมจรรย์ ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะทราบชัดในธรรม
ควรบรรลุได้ ก็ด้วยการปฏิบัติ ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะเชี่ยวชาญ
ในพระคัมภีร์ ก็ด้วยปริยัติ ชื่อว่าบริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะประกอบด้วยธรรม-
ขันธ์ ๕ มีสีลขันธ์เป็นต้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะไม่มีเครื่องเศร้าหมอง เพราะ
เป็นไปเพื่อประโยชน์จะสละทุกข์ในวัฏฏะ และเพราะไม่มีความมุ่งหมายโลกามิส
เรียกว่าพรหมจรรย์ เพราะเป็นอริยาของท่านผู้ใหญ่ โดยอรรถว่าเป็นผู้ประเสริฐ
คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธสาวก แม้เพราะฉะนั้น
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงกล่าวได้ว่า ทรงแสดงธรรมมีความ
งามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ทรงประกาศ
พรหมจรรย์ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมด้วยอรรถ พร้อมด้วยพยัญชนะ,
ข้อว่า สาธุ โข ปน ความว่า อนึ่ง (การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย
ผู้เห็นปานนั้น) เป็นความดีแล. มีคำอธิบายว่า นำประโยชน์มาให้ นำความสุข
มาให้.
ข้อว่า ตถารูปาน อรหต ความว่า (การเห็น) พระอรหันต์ทั้งหลาย
ผู้ซึ่งได้ความชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ในโลก เพราะได้บรรลุคุณตามเป็นจริง
เห็นปานพระโคดมผู้เจริญนั้น (เป็นความดี)
ข้อว่า ทสฺสน โหติ ความว่า เวรัญชพราหมณ์ ทำอัธยาศัยไว้
อย่างนี้ว่า แม้เพียงสักว่าการลืมตาทั้งสอง อันใสแจ๋วด้วยประสาทแล้วมองดู
ย่อมเป็นความดี ดังนี้ (จึงเข้าไปเฝ้าในภายหลัง).
[อรรถาธิบายวิเสสนสัพพนามว่า เยน เตน]
คำว่า เยน ในข้อว่า อถโข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ นี้ เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 219
ในสองบทว่า เยน เตน นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ ณ ที่ใด เวรัญชพราหมณ์ ได้เข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ในสองบทว่า เยน เตน นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้า ด้วยเหตุใด
เวรัญชพราหมณ์ ก็เข้าไปเฝ้าด้วยเหตุนั้น,
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ยันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้า
เพราะเหตุไร ?
พึงเข้าไปเฝ้า เพราะมีความประสงค์ ในการบรรลุคุณวิเศษมีประการ
ต่าง ๆ เหมือนต้นไม้ใหญ่ซึ่งผลิตผลเป็นนิตย์ อันหมู่ทิชาชาติทั้งหลาย พึงบิน
เข้าไปหา เพราะมีความประสงค์ในการจิกกินผลที่ดีฉะนั้น.
อนึ่ง บทว่า อุปสงฺกมิ มีอธิบายว่า คโต แปลว่า ไปแล้ว.
คำว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นคำแสดงปริโยสานกาลกริยาแห่งการเข้าไปเฝ้า.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เวรัญชพราหมณ์ ไปแล้ว
อย่างนั้น คือไปยังสถานที่ใกล้ชิดกว่านั้น ได้แก่ที่นับว่าใกล้ต่อพระผู้มี
พระภาคเจ้า ดังนี้บาง.
หลายบทว่า ภควาตา สทฺธึ สมฺโมทิ ความว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อตรัสถามถึงความสุขทุกข์เป็นต้น* ได้ทรงมีความรื่นเริงเป็นไปกับพรามหมณ์
นั้นแล้ว ฉันใด ถึงแม้พราหมณ์นั้น ก็ฉันนั้น ได้มีความรื่นเริงเป็นไปกับ
พระผู้มีพระภาคเจ้า คือได้ถึงความเป็นผู้รื่นเริง ได้แก่ความเป็นพวกเดียวกัน
ดุจน้ำเย็นกับน้ำร้อยผสมเป็นอันเดียวกันฉันนั้น.
* สารัตถทีปนีก็ดี อรรถโยชนาก็ดี เป็น ขมนยาทีนิ ได้แปลตามนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 220
[อรรถาธิบายศัพท์ว่า สมฺโมทนีย และ สาราณีย]
ก็เวรัญชพราหมณ์ ได้รื่นเริง (กับพระผู้มีพระภาคเจ้า) ด้วยถ้อยคำ
มีอาทิว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! พระองค์พออดทนได้หรือ ? พอยังอัตภาพ
ให้เป็นไปได้หรือ ? และพระสาวกทั้งหลายของพระโคดมผู้เจริญ ไม่มีอาพาธ
หรือ ? ไม่มีทุกข์หรือ ? ยังยืนคล่องแคล่วอยู่หรือ ? ยังมีกำลังอยู่หรือ ?
ยังอยู่ผาสุกหรือ ? ดังนี้ อันใด ถ้อยคำอันนั้น ชื่อว่า สัมโมทนียะ
(คือถ้อยคำเป็นที่ตั้งแห่งความรื่นเริง) เพราะให้เกิดความรื่นเริงกล่าวคือปีติและ
ปราโมทย์ และเพราะเป็นถ้อยคำสมควรเพื่อความรื่นเริง ชื่อว่า สาราณียะ
(คือถ้อยคำเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน) เพราะเป็นถ้อยคำที่สมควร และ
เพราะเป็นถ้อยคำที่ควรระลึกถึง เพื่อให้ระลึกถึงตลอดกาลแม้นานด้วยดี คือ
เพื่อให้เป็นไปหาระหว่างมิได้ เหตุเป็นถ้อยคำอ่อนหวานด้วยอรรถและ
พยัญชนะ.
อนึ่ง ชื่อว่า สัมโมทนียะ เพราะฟังอยู่ก็เป็นสุข. ชื่อว่า สาราณียะ
เพราะตามระลึกถึงอยู่ก็เป็นสุข. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัมโมทนียะ เพราะ
เป็นถ้อยคำบริสุทธิ์ด้วยพยัญชนะ ชื่อว่า สาราณียะ เพราะเป็นถ้อยคำ
บริสุทธิ์ด้วยอรรถ ด้วยประการฉะนี้แล.
[อรรถาธิบายสองศัพท์ว่า เอกมนฺต นีสีทิ]
เวรัญชพราหมณ์ ยังถ้อยคำอันเป็นที่ตั้งแห่งความรื่นเริง คือถ้อยคำ
เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ให้ผ่านไป คือให้จบลง ได้แก่ให้สำเร็จลง
ด้วยบรรยายมิใช่น้อยอย่างนั้นแล้ว มีความประสงค์จะทูลถามถึงประโยชน์ที่เป็น.
เหตุให้ตนมา จึงนั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 221
ศัพท์ว่า เอกมนฺต นี้ เป็นศัพท์แสดงภาวนปุงสกลิงค์. (ศัพท์ว่า
เอกมนฺต นี้เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ) เหมือนในคำ
ทั้งหลายเป็นต้นว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์ ย่อมเดินเวียนรอบไปในที่อัน
ไม่เสมอ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ในคำว่า เอกมนฺต นิสีทิ นี้ พึงเห็นใจ
ความอย่างนี้ว่า เวรัญชพราหมณ์นั้นนั่งแล้ว จะชื่อว่า เป็นผู้นั่ง ณ ที่สมควร
ข้างหนึ่ง โดยประการใด ก็นั่งแล้วโดยประการนั้น.
อนึ่ง คำว่า เอกมนฺต นั้น เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง
สัตตมีวิภัตติ. บทว่า นิสีทิ แปลว่า เข้าไปใกล้แล้ว. จริงอยู่ บุรุษทั้งหลาย
ผู้ฉลาด เข้าไปหาครุฐานียบุคคล (คือบุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานครู) ชื่อว่าย่อมนั่ง
อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เพราะความเป็นผู้ฉลาดในการนั่ง ก็บรรดาบุรุษ
ฉลาดเหล่านั้น เวรัญชพราหมณ์นี้ เป็นคนใดคนหนึ่ง. เพราะฉะนั้น
พราหมณ์นั้น จึงนั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[การนั่งเว้นโทษ ๖ อย่าง]
ถามว่า ก็บุคคลนั่งอยู่อย่างไร จึงชื่อว่าเป็นผู้นั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ?
แก้ว่า ต้องนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่าง จึงชื่อว่าเป็นผู้นั่งแล้ว ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. โทษแห่งการนั่ง ๖ อย่างเป็นไฉน ? โทษแห่งการนั่ง ๖
อย่างนั้นคือ นั่งไกลนัก ๑ นั่งใกล้นัก ๑ นั่งเหนือลม ๑ นั่งที่สูง ๑ นั่ง
ตรงหน้าเกินไป ๑ นั่งข้างหลังเกินไป ๑ .
จริงอยู่ บุคคลนั่งอยู่ในที่ใกล้กันนัก ถ้ามีความประสงค์จะพูด จะต้อง
พูดด้วยเสียงดัง. นั่งในที่ใกล้กันนัก ย่อมทำความเบียดเสียดกัน. นั่งในที่
เหนือลม ย่อมรบกวน (คนอื่น) ด้วยกลิ่นตัว. นั่งในที่สูง ย่อมประกาศ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 222
ความไม่เคารพ. นั่งในที่ตรงหน้าเกินไป ถ้ามีความประสงค์จะดู จะต้องจ้องดู
ตาต่อตากัน. นั่งข้างหลังเกินไป ถ้ามีความประสงค์จะดู จะต้องยืนคอออกไปดู
เพราะฉะนั้น เวรัญชพราหมณ์ แม้นี้ จึงนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่าง
เหล่านั้นแล เหตุดังนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า พราหมณ์นั้น
นั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้าวหนึ่ง.
[อรรถาธิบายศัพท์ต่าง ๆ มี เอต ศัพท์ เป็นต้น]
เวรัญชพราหมณ์ นั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล จึงได้กรามทูล
คำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยบทว่า เอต เป็นต้น พระอาจารย์แสดง
ใจความที่ควรจะกล่าวในบัดนี้. ท. อักษร ทำการต่อบท บทว่า อโวจ
แปลว่า ได้กราบทูลแล้ว. ประชุมบทว่า สุมมฺเมต ตัดบทเป็น สุต เม ต
แปลว่า ข้อนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว. พระอาจารย์แสดงในความที่ควรกล่าว
ในบัดนี้ด้วยคำว่า เอต มยา สุต เป็นต้น.
เวรัญชพรามหมณ์ ย่อมทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยพระโคตรว่า
โภ โคตม แปลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! บัดนี้ ท่านพระอุบาลีเถระ
เมื่อจะแสดงข้อความที่เวรัญชพราหมณ์นั้นได้ฟังแล้ว จึงได้กล่าวคำมีอาทิ
อย่างนี้ว่า น สมโณ โคตโม. ในคำว่า สมโณ โคตโม เป็นต้นนั้น
มีการพรรณนาบทที่ไม่ง่ายดังต่อไปนี้ : -
บทว่า พฺราหฺมเณ ได้แก่ พราหมณ์โดยชาติ.
บทว่า ชิณฺเณ ได้แก่ เป็นคนแก่คร่ำคร่า คือถูกชราส่งให้ไปถึง
ความเป็นผู้มีอวัยวะหักเป็นท่อนเป็นต้น.
บทว่า วุฑฺเฒ ได้แก่ ผู้เข้าเขตแห่งความเจริญแห่งอวัยวะน้อยใหญ่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 223
บทว่า มหลฺลเก คือผู้มาตามพร้อมแล้ว ด้วยความเป็น
คนแก่โดยชาติ. มีคำอธิบายว่า ผู้เกิดมานานแล้ว.
บทว่า อทฺธคเต ได้แก่ ผู้ผ่านกาลมานานแล้ว. อธิบายว่า ผู้ล่วงเลย
มา ๒-๓ ชั่วรัชกาลแล้ว.
บทว่า วโยอนุปตฺเต ได้แก่ ผู้ย่างเข้าปูนปัจฉิมวัยแล้ว. ส่วนที่ ๓
อันมีในที่สุดแห่งร้อยปี ชื่อว่า ปัจฉิมวัย (คือวัยสุดท้าย).
อีกอย่างหนึ่ง ในบททั้งหลายมีบทว่า ชิณเณ เป็นต้นนี้ พึงทราบ
โยชนาอย่างนี้ว่า บทว่า ชิณฺเณ ได้แก่ ผู้เกิดก่อน. มีอธิบายว่า ผู้คล้อย
ตามตระกูลที่เป็นไปตลอดกาลนาน.
บทว่า วุฑฺเฒ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเจริญแห่งคุณมีศีลและ
มรรยาทเป็นต้น.
บทว่า มหลฺลเก คือผู้มาตามพร้อมแล้ว ด้วยความเป็นผู้มีสมบัติมาก
คือผู้มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก.
บทว่า อทฺธคเต ได้แก่ ผู้ดำเนินไปตลอดทางแล้ว คือผู้ประพฤติ
ไม่ก้าวล่วงเขตแดนแห่งคุณมีวัตรจริยาเป็นต้น ของพวกพราหมณ์.
บทว่า วโยอนุปฺปตฺเต ได้แก่ ผู้ย่างเข้าถึงความเป็นคนแก่โดยชาติ
คือวัยที่สุดโต่ง.
บัดนี้ บัณฑิตพึงประกอบบททั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า อภิวาเทติ
ด้วย น อักษร ที่ท่านกล่าวไว้ในคำว่า น สมโณ โคตโม นี้ แล้วทราบ
ตามเนื้อความอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ทั้งไม่เชื้อเชิญ
ด้วยอาสนะอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จนนั่งบนอาสนะนี้. จริงอยู่ วา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 224
ศัพท์ซึ่งมีอยู่ในบทเป็นต้นว่า อภิวาเทติ นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถชื่อว่า
วิภาวนะ (คือคำประกาศตามปกติของชาวโลก) ดุจ วา ศัพท์ในประโยคเป็นต้น
ว่า รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง.
เวรัญชพราหมณ์ ครั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว ลำดับนั้น เห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้า ผู้ไม่ทรงทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นแก่ตน จึงกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! คำที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วนี้นั้น เป็นเช่นนั้นจริง
อธิบายว่า คำนั้นใด ที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว, คำนั้น ย่อมเป็นเช่นนั้นจริง
คือข้อที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาและได้เห็นมานั้น ย่อมสมกัน คือเสมอกัน ได้แก่
ถึงความเป็นอย่างเดียวกันโดยความหมาย. เวรัญชพราหมณ์ กล่าวย้ำเรื่องที่ตน
ได้ฟังมาพร้อมทั้งที่ตนได้เห็นมา อย่างนี้ว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ ไม่กราบไหว้
ได้ลุกรับพวกพราหมณ์ ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ
หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะเลย เมื่อจะตำหนิ (พระพุทธองค์) จึงกราบทูลว่า
ตยท โภ โคตม น สมฺปนฺนเมว ดังนี้, มีอธิบายว่า การที่พระองค์
ไม่ทรงทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นนั้น ไม่สมควรเลย.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้าน]
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงเข้าไปอาศัยโทษคือการกล่าว
ยกตนข่มท่าน แต่มีพระประสงค์จะทรงกำจัดความไม่รู้นั้น ด้วยพระหฤทัยที่
เยือกเย็นเพราะกรุณา แล้วแสดงความเหมาะสมแก่พราหมณ์นั้น จึงตรัส
ว่าดูก่อนพราหมณ์ ! ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพดาและมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลผู้ที่เราควร
กราบไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ, เพราะว่าตถาคตพึง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 225
กราบไหว้ พึงลุกรับ หรือพิงเชื้อเชิญบุคคลใดด้วยอาสนะ, แม้ศีรษะของ
บุคคลนั้น ก็พึงตกไป.
ในคำว่า นาหนฺต เป็นต้นนั้น มีเนื้อความสังเขปดังนี้คือ :-
ดูก่อนพราหมณ์ ! เราแม้ตรวจดูอยู่ด้วยจักษุคือสัพพัญญุตญาณ ซึ่งไม่มีอะไร
ขัดขวางได้ ก็ไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรกราบไหว้ ควรลุกรับ หรือควร
เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ในโลกต่างโดยประเภทมีเทวโลกเป็นต้นนี้เลย, อีกอย่างหนึ่ง
ข้อที่เราได้บรรลุความเป็นสัพพัญญูในวันนี้ ไม่เล็งเห็นบุคคลผู้ที่ควรทำการ
นอบน้อมเห็นปานนั้น ไม่น่าอัศจรรย์เลย, อีกประการหนึ่งแล แม้ในกาลใด
เราเกิดได้ครู่หนึ่งเท่านั้น ก็ผินหน้าไปทางด้านทิศอุดร เดินไปได้ ๗ ก้าว
แล้วได้ตรวจดูหมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น, แม้ในกาลนั้น เราก็มิได้เล็งเห็นบุคคลที่
เราควรกราบไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ ในโลกต่างโดย
ประเภทมีเทวโลกเป็นต้นนี้เลย, คราวนั้นแล ถึงท้าวมหาพรหมผู้เป็นพระ-
ขีณาสพ ซึ่งมีอายุได้หนึ่งหมื่นหกพันกัป ก็ได้ประคองอัญชลี เกิดความโสมนัส
ต้อนรับเราว่า ท่านเป็นมหาบุรุษในโลก, ท่านเป็นผู้เลิศ เจริญที่สุด และ
ประเสริฐที่สุดแห่งโลก พร้อมทั้งเทวโลก, บุคคลผู้เยี่ยมกว่าตน ย่อมไม่มี,
อนึ่ง แม้ในการนั้น เราเมื่อไม่เล็งเห็นบุคคลผู้เยี่ยมกว่าตน จึงได้เปล่งอาสภิ-
วาจาว่า เราเป็นยอดแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐ
ที่สุดแห่งโลก* ดังนี้, บุคคลผู้ที่ควรแก่สามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น
ของเราแม้ผู้เกิดได้ครู่เดียว ยังไม่มี ด้วยประการฉะนี้, บัดนี้ เรานั้นได้บรรลุ
ความเป็นสัพพัญญูแล้ว จะพึงกราบไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญใครด้วย
อาสนะเล่า ? ดูก่อนพราหมณ์ ! เพราะเหตุนั้น ท่านอย่าได้ปรารถนาการทำ
ความนอบน้อมเห็นปานนั้น จากตถาคตเลย, ดูก่อนพราหมณ์ ! เพราะว่า
* ที. มหา. ๑๐/๑๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 226
ตถาคตพึงกราบไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญบุคคลใดด้วยอาสนะ, แม้ศีรษะ
ของบุคคลนั้น พึงขาดจากคอตกลงไปบนพื้นดิน โดยเร็วพลันทีเดียว ดุจ
ผลตาลที่มีเครื่องผูกหย่อนเพราะแก่หง่อม หล่นจากขั้วในสุดแห่งราตรี ฉะนั้น.
[เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้าว่าเป็นคนไม่มีรส]
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ก็กำหนดไม่ได้
ถึงข้อความที่พระตถาคตเจ้าเป็นเชษฐบุรุษในโลก เพราะทรามปัญญา ไม่ยอม
อดกลั้นพระดำรัสนั้นถ่ายเดียว จึงกล่าวว่า พระโคดมผู้เจริญ ! เป็นคนไม่มีรส.
ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นมีความประสงค์ดังนี้ว่า สามีจิกรรมคือการกราบไหว้
การลุกรับ และประนมมือไหว้อันใด ที่ประชาชนเรียกอยู่ในโลกว่า สามัคคีรส
สามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นนั้น ของพระโคดมผู้เจริญ ย่อมไม่มี,
เพราะฉะนั้น พระโคดมผู้เจริญ จึงเป็นคนไม่มีรส คือมีพระชาติไม่มีรส
มีสภาพไม่มีรส.
ลำดับนั้น พระผู้พระภาคเจ้า เพื่อจะให้พราหมณ์นั้นเกิดใจอ่อน
จึงทรงหลีกหนีความเป็นข้าศึกโดยตรงเสีย ทรงรับสมเนื้อความแห่งคำนั้นโดย
ประการอื่นในพระองค์ จึงตรัสว่า พราหมณ์ ! บรรยายนี้มีอยู่แล ดังนี้เป็นต้น.
[ปริยายศัพท์ลงในอรรถ ๓ อย่าง]
ในคำว่า ปริยาโย เป็นต้นนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ การณะชื่อว่า
ปริยาย. จริงอยู่ ปริยายศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในเทศนา วาระและการณะ.
ความจริง ปริยายศัพท์นั่น ย่อมเป็นไปในเทศนา ในคำทั้งหลายมี
อาทิว่า ท่านจงทรงจำพระสูตรนั้นไว้ว่า มธุปิณฑิกเทศนา* ดังนี้นั่นเทียว.
* ม. ม. ๑๒/๒๓๐.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 227
เป็นไปในวาระ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ ! วันนี้เป็น
วาระของใครหนอแล เพื่อโอวาทนางภิกษุณีทั้งหลาย.
เป็นไปในการณะ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดตรัสบอกปริยาย (เหตุ)
อื่น โดยอาการที่ภิกษุสงฆ์ จะพึงดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์.
ในที่นี้ ปริยายศัพท์นี้นั้น ย่อมเป็นไปในการณะ (เหตุ). เพราะฉะนั้น
ในบทว่า ปริยาโย นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! บุคคล
กล่าวหาเราอยู่ว่า พระโคดมผู้เจริญ เป็นคนไม่มีรส ดังนี้ พึงพูดถูก คือ
พึงถึงความนับว่า เป็นผู้พูดไม่ผิด เพราะเหตุใด เหตุนั่น มีอยู่จริงแล.
ถามว่า ก็ปริยาย (เหตุ) นั้น เป็นไฉน ?
แก้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! รสในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
เหล่านั้นใด, รสในรูปเป็นต้นเหล่านั้น ตรัสอธิบายไว้อย่างไร ?
แก้ว่า ตรัสอธิบายไว้อย่างนี้ คือ รสในรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ กล่าวคือความยินดีในกามสุข เหล่านั้นใด ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชน
ทั้งหลาย แม้ผู้ที่ชาวโลกสมมติว่า เป็นผู้ประเสริฐ ด้วยอำนาจชาติ หรือด้วย
อำนาจความอุบัติ ผู้ยังยินดี เพลิดเพลิน กำหนัดในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์
เป็นต้น, รสเหล่าใด ย่อมฉุดครั้งโลกนี้ไว้เหมือนผูกที่คอ และบัณฑิตเรียกว่า
สามัคคีรส เพราะเมื่อมีความพร้อมเพรียงกันแห่งวัตถุและอารมณ์เป็นต้น ก็เกิด
ขึ้นได้ รสเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พระตถาคตละได้แล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะตรัสว่า อันเราละได้แล้ว ก็ทรง
แสดงธรรม ไม่ยกพระองค์ขึ้นข่มด้วยมมังการ. อีกนัยหนึ่ง นั้นเป็นความ
วิลาสแห่งเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละรสในรูปเป็นต้นได้เด็ดขาด]
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหีนา ความว่า รสในรูปเป็นต้น
ปราศไปจากจิตตสันดาน (ของพระตถาคต) หรืออันพระตถาคตทรงละได้แล้ว.
แต่ในอรรถนี้ พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถตติยาวิภัตติ. รสในรูปเป็นต้น
ชื่อว่ามีรากเหง้าอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตัดขาดแล้ว เพราะอรรถว่า รากเหง้า
แห่งความเยื่อใยในรูปเป็นต้นเหล่านั้น อันสำเร็จมาจากตัณหาและอวิชชา อัน
พระองค์ทรงตัดขาดแล้ว ด้วยศัสตราคืออริยมรรค. ชื่อว่าอันพระองค์ทรงทำ
ให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน เพราะอรรถว่า วัตถุแห่งรูปรสเป็นต้นเหล่านั้น
อันพระองค์ทรงทำให้เป็นเหมือนตอตาลฉะนั้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อบุคคล
ถอนต้นตาลขึ้นพร้อมทั้งรากแล้ว กระทำประเทศนั้นให้เป็นสักว่าตอแห่งต้น
ตาลนั้น ความเกิดขึ้นแห่งต้นตาลนั้น ย่อมปรากฏไม่ได้อีกฉันใด, เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงถอนรสในรูปเป็นต้นขึ้นพร้อมทั้งราก ด้วยศัสตราคือ
อริยมรรคแล้ว ทรงทำจิตตสันดานให้เป็นเพียงที่ตั้งแห่งรสในรูปเป็นต้นนั้น
โดยความเป็นสถานที่เคยเกิดมาในกาลก่อน รสในรูปเป็นต้นเหล่านั้นแม้
ทั้งหมด ท่านเรียกว่า ตาลาวัตถุกตา (ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน) ฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง รูปาทิรสเป็นต้นเหล่านั้น มีอันไม่งอกขึ้นเป็นธรรมดา
อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำให้เหมือนตาลยอดด้วนฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ตาลาวัตถุกตา (อันพระองค์ทรงทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
แล้ว). อนึ่ง เพราะรูปาทิรสเป็นต้น พระองค์ทรงทำให้เป็นเหมือนตาล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 229
ยอดด้วน โดยนัยที่กล่าวแล้วอย่างนั้น ชื่อว่า เป็นอันพระองค์ทรงทำไม่ให้มี
ในภายหลัง คือทรงทำโดยอาการที่รูปาทิรสเป็นต้นเหล่านั้น จะมีในภายหลัง
ไม่ได้, ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า อนภาว กตา (กระทำไม่ให้ในภายหลาย).
[อรรถาธิบายศัพท์ อนภาว กตา-อนภาว คตา]
ในบทว่า อนภาว กตา นี้ ตัดบทดังนี้ คือ อนุ อภาว กตา
เชื่อมบทเป็น อนภาว กตา แปลว่า ทำไม่ให้มีในภายหลัง. ปาฐะว่า
อนภาว คตา ดังนี้ก็มี. ความแห่งปาฐะนั้นว่า ถึงแล้วซึ่งความไม่มีใน
ภายหลัง. ในบทว่า อนภาว คตา นั้น ตัดบทดังนี้ คือ อนุ อภาว คตา
เชื่อมบทเป็น อนภาว คตา แปลว่า ถึงแล้วซึ่งความไม่มีในภายหลัง
เหมือนการตัดบทในประโยชน์ว่า อนุอจฺฉริยา เชื่อมบทเป็น อนจฺฉริยา
แปลว่า พระคาถาเหล่านี้มีความอัศจรรย์ในภายหลัง แจ่มแจ้งแล้วแต่พระผู้มี
พระภาคเจ้า*.
สองบทว่า อายตึ อนุปฺปาทธมฺมา แปลว่า มีอันไม่เกิดขึ้นใน
อนาคตเป็นสภาพ. จริงอยู่ รูปรสเป็นต้นเหล่าใด ที่ถึงความไม่มีแล้ว รูปรส
เป็นต้นเหล่านั้น จักเกิดขึ้นได้อย่างไรเล่า ? เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัส
ว่า ถึงแล้วซึ่งความไม่มีในภายหลัง มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป.
หลายบทว่า อย โข พฺราหฺมณ ปริยาโย ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ !
บุคคลกล่าวหาเราอยู่ว่า พระสมณโคดม เป็นคนไม่มีรส ดังนี้ ชื่อว่าพึงพูดถูก
ด้วยเหตุใด, เหตุนี้ มีอยู่จริง ๆ .
หลายบทว่า โน จ โข ย ตฺว สนฺธาย วเทสิ ความว่า ก็แล
เหตุที่กล่าวมุ่งหมายเอากะเราไม่มี.
* ที่. มหา. ๑๐ / ๔๑. วิ. มหา. ๔ / ๘
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 230
ถามว่า เพราะเหตุใด พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนั้น ? เมื่อ
พระองค์ตรัสอย่างนั้น ย่อมเป็นอันทรงรับรองความที่สามัคคีรส ซึ่งพราหมณ์
กล่าวนั้นมีอยู่ในพระองค์มิใช่หรือ ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป : - สามัคคีรสที่พราหมณ์กล่าวหามีไม่.
แท้จริง ผู้ใด เป็นผู้ควรเพื่อทำสามัคคีรสนั้น แต่ไม่ทำ, ผู้นั้น พึงเป็นผู้
ถูกกล่าวหาว่า เป็นคนมีรูปไม่มีรส เพราะไม่มีการทำสามัคคีรสนั้น. ส่วน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ควรเพื่อทรงทำสามัคคีรสนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศข้อความที่พระองค์เป็นผู้ไม่ควร ในการทำ
สามัคคีรสนั้น จึงได้ตรัสว่า โน จ โข ย ตฺว สนธาย วเทสิ อธิบายว่า
ท่านมุ่งหมายถึงเหตุอันใด จึงกล่าวกะเราว่า เป็นคนไม่มีรส เหตุอันนั้น
ท่านไม่ควรพูดในเราเลย.
[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธเจ้าเป็นผู้ไร้โภคะ]
พราหมณ์ ไม่สามารถจะยกความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นคนไม่มีรส
(ขึ้นข้อนขอด) ตามที่ตนประสงค์อย่างนั้น จึงกล่าวคำอื่นต่อไปอีกว่า พระ-
โคดม ผู้เจริญ เป็นผู้ไร้โภคะ.
อนึ่ง บัณฑิตครั้นทราบลำดับโยชนา โดยนัยดังกล่าวแล้วนั้นแหละ
ในปริยายทั้งปวงในพระบาลีนี้ ก็ควรทราบใจความตามที่พราหมณ์มุ่งกล่าวไว้
โดยนัยดังจะกล่าวต่อไปนี้ : -
พราหมณ์ สำคัญสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เหล่าชนผู้เจริญวัยเป็นต้น
นั้นนั่นแลว่า เป็นสามัคคีบริโภคในโลก จึงได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
เป็นผู้รู้โภคะ เพราะความไม่มีสามีจิกรรม มีการกราบไหว้เป็นต้นนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 231
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นความไม่มีการบริโภคด้วยอำนาจ
ฉันทราคะ (ดุจ) ของสัตว์ทั้งหลาย ในรูปารมณ์เป็นต้น ในพระองค์ จึง
ทรงรับรองบรรยายอื่นอีก.
พราหมณ์ พิจารณาเห็นการไม่กระทำกรรมคือมรรยาทสำหรับสกุล
มีการกราบไหว้เหล่าชนผู้เจริญวัยเป็นต้น ที่ประชาชนชาวโลกทำกันอยู่ในโลก
จึงกล่าวกระพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระโคดมผู้เจริญ เป็นผู้กล่าวการไม่
กระทำ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นการกล่าว การไม่กระทำนั้น
(มีอยู่) ในพระองค์ เพราะพระองค์ตรัสการไม่กระทำกายทุจริตเป็นต้น จึง
ทรงรับรองบรรยายอื่นอีก.
ก็เจตนาในการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ในการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ
เขาไม่ได้ให้และในมิจฉาจาร พึงทราบว่า กายทุจริต ในบรรดาบทเหล่านั้น.
เจตนาในการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ พึง
ทราบว่า วจีทุจริต. ความโลภอยากได้ ความปองร้าย ความเห็นผิด พึง
ทราบว่า มโนทุจริต. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เหลือ เว้นธรรมเหล่านั้นเสีย
พึงทราบว่า อกุศลธรรมอันลามกมีส่วนมิใช่น้อย.
[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้กล่าวการขาดสูญ]
พราหมณ์ไม่เห็นกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นนั้นแล ในพระผู้มี-
พระภาคเจ้า เข้าใจว่า อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ แบบแผนประเพณีของ
โลกนี้ ก็จักขาดสูญ จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระโคดมผู้เจริญ
เป็นผู้กล่าวการขาดสูญ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นการกล่าวการ
ขาดสูญนั้น (มีอยู่) ในพระองค์ เพราะพระองค์ตรัสการขาดสูญแห่งราคะอัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 232
เป็นไปในกามคุณ ๕ ในจิตตุปบาทอันสหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง และโทสะ
อันบังเกิดขึ้นในอกุศลจิต ๒ ดวง ด้วยอนาคามิมรรค อนึ่ง ตรัสการขาดสูญ
แห่งโมหะอันเกิดแต่อกุศลทั้งหมดไม่มีเหลือ นอกจากโลภะ โทสะ โมหะ ทั้ง ๓ นั้น
ด้วยมรรค ๔ ตามสมควร จึงทรงรับรองบรรยายอื่นอีก.
[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้รังเกียจ]
พราหมณ์เข้าใจว่า พระสมณโคดม ชะรอยจะทรงรับเกียจกรรมคือ
มรรยาทสำหรับสกุลมีการกราบไหว้เหล่าชนผู้เจริญวัยเป็นต้นนี้ เพราะเหตุนั้น
พระองค์จึงไม่ทรงกระทำกรรมนั้น จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระ-
โดม ผู้เจริญ เป็นผู้รังเกียจ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นความ
รังเกียจนั้น (มีอยู่) ในพระองค์ เพราะพระองค์ทรงรังเกียจแต่กายทุจริต
เป็นต้น. พระองค์ตรัสอธิบายไว้อย่างไร. ตรัสอธิบายไว้ว่า ทรงรังเกียจ
ทรงละอาย กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ มโนทุจริต ๓ และความเข้าถึงความ
ถึงพร้อม ความเป็นผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยธรรมทั้งหลายที่เหลือ เว้นทุจริต
เหล่านั้นที่ชื่อว่าชั่วช้า เพราะอรรถว่าเลวทราม ที่ชื่อว่าอกุศล เพราะอรรถว่า
เป็นความไม่ฉลาด แม้ทั้งหมด เหมือนบุรุษผู้มีชาติคนประดับ รังเกียจคูถ
ฉะนั้น จึงทรงรับรองบรรยายอื่นอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายทุจฺจริเตน เป็นต้น พึงเห็นตติยา-
วิภตติ. ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.
[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้กำจัด]
พราหมณ์ เมื่อไม่เล็งเห็นกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นแล ในพระผู้มี-
พระภาคเจ้า เข้าใจว่า พระโคดมนี้ ย่อมทรงกำจัด คือทรงทำกรรมที่ควร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 233
ทำแก่ผู้ประเสริฐในโลกนี้ ให้พินาศ, อีกอย่างหนึ่ง เพราะไม่ทรงทำสามีจิกรรม
นั่น ฉะนั้น พระโคดมนี้ จึงควรถูกกำจัด คือ ควรถูกข่มขี่ จึงกล่าวกะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระโคดมผู้เจริญ เป็นผู้กำจัด.
ในบทว่า เวนยิโก นั้น มีใจความเฉพาะบท ดังต่อไปนี้ :-
อุบายที่ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า ย่อมกำจัด, อธิบายว่า ย่อมทำให้พินาศ,
วินัยนั่นแลชื่อ เวนยิกะ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมควรซึ่งการกำจัด เหตุนั้น
จึงชื่อว่า เวนยิกะ (ผู้ควรกำจัด). มีอธิบายว่า ย่อมควรซึ่งอันข่มขี่. แต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าทรงกำจัด เพราะพระองค์ทรงแสดงธรรม
เพื่อกำจัด คือเพื่อความสงบกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น. ในบทว่า เวนยิโก
นี้ มีใจความเฉพาะบทเท่านี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า เวนยิกะ
เพราะอรรถว่า ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อกำจัด (กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น).
จริงอยู่ วิธีพฤทธิ์แห่งศัพท์ตัทธิต เป็นของวิจิตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
องค์นี้นั้น ทรงพิจารณาเห็นความเป็นผู้กำจัดนั้น (มีอยู่) ในพระองค์ จึงทรง
รับรองบรรยายอื่นอีก.
[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้มักเผาผลาญ]
พราหมณ์เข้าใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ย่อมเผาผลาญเหล่าชนผู้
เจริญวัย เพราะชนทั้งหลายเมื่อกระทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น ย่อม
ทำเหล่าชนผู้เจริญวัยให้ยินดี ให้ร่าเริง แต่เมื่อไม่กระทำ ย่อมทำให้เดือดร้อน
ให้ขัดเคือง ให้เกิดโทมนัสแก่พวกเขา และพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่กระทำ
สามีจิกรรมเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง เข้าใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นคน
กำพร้า เพราะเป็นผู้เว้นจากมรรยาทของคนดี จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้า
อีกว่า พระสมณโคดม ผู้เจริญ เป็นผู้มักเผาผลาญ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 234
ในอรรถวิกัปแรกนั้น มีใจความเฉพาะบทดังต่อไปนี้ : - ธรรมที่ชื่อ
ว่า ตบะ เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. มีคำอธิบายว่า ย่อมรบกวน คือย่อม
เบียดเบียน. คำว่า ตบะ นี้ เป็นชื่อแห่งการทำสามีจิกรรม. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตปัสสี เพราะอรรถว่า ทรงมีตบะ. ในอรรถวิกัป
ที่สอง บัณฑิต ไม่ต้องพิจารณาถึงพยัญชนะ เรียกคนกำพร้าในโลกว่า ตปัสสี.
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นความมักเผาผลาญนั้น (มีอยู่) ใน
พระองค์ เพราะพระองค์ถึงการนับว่าเป็นผู้เผาผลาญ เพราะทรงละเหล่าอกุศล
ธรรมที่เรียนว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเดือนร้อน เพราะผาผลาญชาวโลก จึง
ทรงรับรองบรรยายอื่นอีก.
ในบทว่า ตปสฺสี นั้น มีใจความเฉพาะบท ดังต่อไปนี้ : - อกุศล
ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ตบะ เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. คำว่า ตบะ นั่น
เป็นชื่อแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย. แม้ข้อนี้ ก็สมจริงดังพระดำรัสที่พระองค์
ตรัสไว้ในคาถาว่า บุคคลผู้ทำบาป เดือดร้อนอยู่ในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อม
เดือดร้อน* ดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตปัสสี เพราะอรรถว่า
ทรงเหวี่ยง ทรงสลัด ทรงละ คือทรงกำจัดตบะธรรมเหล่านั้นเสีย.
[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ปราศจากครรภ์]
พราหมณ์เข้าใจว่า กรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเข้าถึงพร้อมแห่งครรภ์ในเทวโลก เพื่อได้เฉพาะ ซึ่งปฏิสนธิในเทวโลก
และเห็นกรรมนั้นไม่มีในพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า
โคดมผู้เจริญ เป็นผู้ปราศจากครรภ์. อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์ แม้เมื่อ
* ขุ. ธ. ๒๕/๑๗
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 235
แสดงโทษ เพราะการถือปฏิสนธิในท้องแห่งมารดาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยอำนาจความโกรธ จึงกล่าวอยางนั้น.
ในบทว่า อปคพฺโภ นั้น มีใจความเฉพาะบท ดังต่อไปนี้ : -
พระสมณโคดม ชื่อว่า อปคัพภะ เพราะอรรถว่า ปราศจากครรภ์ อธิบายว่า
พระสมณโคดม ไม่สมควรถึงความบังเกิดยังเทวโลก. อีกอย่างหนึ่ง ครรภ์
ของพระสมณโคดมนั้นเลว เหตุนั้น ท่านจึงชื่อ อปคัพภะ. อธิบายว่า พระ
สมณโคดม ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนได้ครรภ์ที่เลวทรามต่อไป เพราะเป็นผู้
เหินห่าง จากครรภ์ในเทวโลก, เพราะเหตุนั้น ความอยู่ในครรภ์ ในท้อง
แห่งมารดาของพระสมณโคดมนั้น จึงเป็นการเลวบ้าง. ก็เพราะความนอนใน
ครรภ์ต่อไปของพระผู้มีพระภาคเจ้าปราศจากไปแล้ว ฉะนั้น พระองค์เมื่อทรง
พิจารณาเห็นความปราศจากครรภ์นั้น (มีอยู่) ในพระองค์ จึงทรงรับรอง
บรรยายอื่นอีก.
ก็บรรดาบทเหล่านั้น ใจความแห่งบทเหล่านี้ว่า ยสฺส โข พฺราหฺมณ
อาตึ คพฺภเสยฺยา ปุนพฺภาภินิพฺพตฺติ ปหีนา พึงทราบอย่างนี้ :-
ดูก่อนพราหมณ์ ! ความนอนในครรภ์ในอนาคต และความเกิดในภพใหม่
ของบุคคลใด ชื่อว่า ละได้แล้ว เพราะมีเหตุอันมรรคยอดเยี่ยมกำจัดเสียแล้ว.
ก็ในอธิการนี้ ชลาพุชะกำเนิด พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาด้วย
คัพภเสยยศัพท์. กำเนิดนอกนี้อีก ๓ ทรงถือเอาด้วย ปุนัพภวานิพพัตติศัพท์.
อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในสองบทว่า คพฺภเสยฺยา ปุนพฺภาวา-
ภินิพฺพตฺติ นี้ อย่างนี้ว่า ความนอนแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ชื่อว่า คพฺภเสยฺยา
ความบังเกิด คือภพใหม่ ชื่อว่า ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ เหมือนอย่างว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 236
แม้เมื่อกล่าวว่า วิญญาณฐิติ ที่ตั้งอื่นจากวิญญาณไป ย่อมไม่มี ฉันใด
แม้ในที่นี้ ก็ฉันนั้น ไม่พึงเข้าใจความนอนอื่นจากสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ต่อไป.
ก็ขึ้นชื่อว่า ความบังเกิดที่เป็นภพใหม่ก็มี ที่ไม่ใช่ภพใหม่ก็มี แต่ในที่นี้ประสงค์
เอาที่เป็นภพใหม่ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ความบังเกิด คือภพใหม่
ชื่อ ปุนัพภวาภินิพพัตติ.
* พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นพระธรรมิศร พระธรรมราชา
พระธรรมสวามี พระตถาคต ทรงทอดพระเนตรดูพราหมณ์ แม้ผู้ด่าอยู่ด้วย
อักโกสวัตถุ ๘ มีความที่พระองค์มีปกติไม่ไยดีในรูปเป็นต้น จำเดิมแต่กาลที่มา
ถึงโดยประการฉะนี้ ด้วยพระจักษุอันเยือกเย็นด้วยพระกรุณาอย่างเดียว ทรงกำ
จัดความมืด ในหทัยของพราหมณ์ ดุจพระจันทร์เพ็ญและดุจพระอาทิตย์ ใน
สรทกาล ลอยอยู่ในอากาศอันปราศจากเมฆ ฉะนั้น เพราะพระองค์ทรงแทงตลอด
ธรรมธาตุ อันใดแล้วถึงความงามแห่งเทศนา ธรรมธาตุนั้นพระองค์แทงตลอด
ดีแล้ว ทรงแสดงอักโกสวัตถุเหล่านั้นนั่นเอง โดยประการอย่างอื่นจากปริยาย
นั้น ๆ แล้ว เมื่อจะประกาศความแผ่ไปแห่งพระกรุณาของพระองค์ ลักษณะ
แห่งตาทิคุณอันพระองค์ทรงได้แล้ว โดยความที่พระองค์มิได้ทรงหวั่นไหว
เพราะโลกธรรม ๘ ความที่พระองค์มีจิตเสมอด้วยแผ่นดิน และความที่พระองค์
มีอันไม่กำเริบเป็นธรรมซ้ำอีก ทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้ ย่อมทราบความ
ที่ตนเป็นใหญ่ ด้วยเหตุมีความเป็นผู้มีผมหงอกบนศีรษะ มีฟันหัก มีหนังเหี่ยว
เป็นต้นอย่างเดียว แต่หารู้ไม่แล ซึ่งตนอันชาติติดตาม ชรารึงรัด พยาธิ
ครอบงำ มรณะกำจัด เป็นดุจหลักตอในวัฏฏะอันจะพึงตายในวันนี้แล้ว ถึง
ความเป็นทารกนอนหงายในพรุ่งนี้อีก ก็พราหมณ์นี้มาสู่สำนักของเราด้วยความ
* องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๙๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 237
อุตสาหะใหญ่แล ขอให้การมาของพราหมณ์นั้น จงเป็นไปกับด้วยประโยชน์
เถิด ดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดงความที่พระองค์เป็นผู้เกิดก่อน ซึ่งหาผู้เทียมถึง
พระองค์มิได้ ในโลกนี้ จึงยังพระธรรมเทศนาให้เจริญแก่พราหมณ์โดยนัยว่า
เสยฺยถาปิ พฺราหฺมณ เป็นต้น. * บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยถา
เป็นนิบาต ลงในอรรถคืออุปมา. ปีศัพท์ เป็นนิบาต ลงในอรรถ คือสัมภาวนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ยถา นาม พฺราหฺมณ ด้วยนิบาตทั้งสอง,
ก็ในคำว่า ฟองไข่แห่งแม่ไก่ ๘ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง นี้ ฟองไข่แห่งแม่ไก่
ถึงจะมีจำนวนหย่อนหรือเกินไปจากประการดังที่กล่าวแล้ว แม้ก็จริง ถึงกระนั้น
ก็ควรทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำอย่างนี้ เพราะเป็นความสละสลวย
แห่งถ้อยคำ. จริงอยู่ ถ้อยคำเช่นนั้น จัดว่าเป็นคำสละสลวย ในทางโลก.
บทว่า ตานิสฺสุ ตัดบทเป็น ตานิ อสฺสุ อธิบายว่า ภเวยฺย
แปลว่า ไข่เหล่านั้นพึงมี.
หลายบทว่า กุกฺกุฏิยา สมฺมา อธิสยิตานิ ความว่า ฟองไข่
ทั้งหลายอันแม่ไก่ตัวให้กำเนิดนั้น กางปีกออกนอนกกอยู่ข้างบนแห่งฟองไข่
เหล่านั้น ชื่อว่านอนกกอยู่โดยถูกต้อง.
สองบทว่า สมฺมา ปริเสทิตานิ ความว่า เมื่อแม่ไก่ให้ฟองไข่
ได้รับอุณหภูมิตามกาลเวลาอันสมควร ชื่อว่าให้อบอุ่นโดยทั่วถึงด้วยดี. มีคำ
อธิบายว่า ทำให้มีไออุ่น.
สองบทว่า สมฺมา ปริเสวิตานิ ความว่า ฟองไข่ทั้งหลายอันแม่ไก่
ฟักถูกต้องโดยทั่วถึง ตามกาลเวลาอันสมควร. อธิบายว่า ไห้ได้รับกลิ่นตัว
แม่ไก่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 238
[ไก่ตัวออกก่อนเรียนว่าไก่ตัวพี่]
บัดนี้ เพราะฟองไข่เหล่านั้น อันแม่ไก่นั้นบริบาลอยู่ ด้วยวิธีทั้ง ๓
อย่างนี้ จึงเป็นไข่ไม่เน่า แม้ยางเมือกฟองไข่เหล่านั้นที่มีอยู่ ก็จะถึงความ
สิ้นไป กระเปาะฟองไข่จะบาง ปลายเล็บเท้าและจะงอยปากจะแข็ง. ลูกไก่
ทั้งหลาย (ที่อยู่ข้างในกระเปาะฟอง) ย่อมถึงความแก่ตัว แสงสว่างข้างนอก
ย่อมปรากฏถึงข้างใน เพราะกระเปาะไข่บาง เวลาแสงสว่างปรากฏอยู่นั้น ลูกไก่
เหล่านั้นใฝ่ฝันอยู่ว่า นานแท้หนอ พวกเรานอนงอปีกและเท้าอยู่ในที่คับแคบ
และแสงสว่างข้างนอก ก็กำลังปรากฏ บัดนี้ ความอยู่อย่างสบาย จักมีแก่
พวกเราในแสงสว่างนี้ ดังนี้ มีความประสงค์จะออกมา จึงเอาเท้ากะเทาะ
กระเปาะฟองไข่ยื่นคอออกมา. ต่อจากนั้นกระเปาะฟองไข่นั้น ก็แตกออกเป็น
สองเสี่ยง. ลูกไก่ทั้งหลาย ก็ออกมาสลัดปีกพลางร้องพลาง ตามสมควรแก่
ขณะนั้น. ก็บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ที่ออกมาอยู่อย่างนั้น ตัวใดออกมาก่อน
กว่าเขา ตัวนั้นเขาเรียกกันว่า ตัวพี่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มี
พระประสงค์จะยังความที่พระองค์เป็นผู้ใหญ่กว่าเขาให้สำเร็จด้วยอุปมานั้น จึง
ตรัสถามพราหมณ์ว่า บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวใด พึงเอาปลายเล็บเท้า
หรือจะงอยปากกะเทาะกระเปาะฟองไข่ออกมาได้ โดยความสวัสดีก่อนกว่าเขา
ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุกฺกุฏจฺฉาปกาน คือบรรดาลูกไก่
ทั้งหลาย.
หลายบทว่า กินฺติ สฺวาสฺส วจนีโย ความว่า ลูกไก่ตัวนั้นควร
เรียกว่าอย่างไร ? คือ ควรเรียกว่า พี่ หรือ น้อง เล่า ? คำที่เหลือมีใจความ
ง่ายทั้งนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 239
ลำดับนั้น พราหมณ์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ควร
เรียกว่า พี่ มีอธิบายว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ลูกไก่ตัวนั้น ควรเรียกว่า
พี่.
หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า พี่ ?
แก้ว่า เพราะลูกไก่ตัวนั้น มันแก่กว่าเขา อธิบายว่า เพราะลูกไก่
ตัวนั้น เติบโตกว่าบรรดาลูกไก่ที่ออกมาภายหลังเหล่านั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงเทียบเคียงข้ออุปมาแก่
พราหมณ์นั้น จึงตรัสว่า ฉันนั้นนั่นแล พราหมณ์ แม้เราก็เหมือนลูกไก่ตัวนั้น
ในบรรดาหมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ในอวิชชา . . .
ความไม่รู้ ท่านเรียกว่า อวิชชา ในบทว่า อวิชฺชาคตาย นี้
บรรดาหมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ในอวิชชานั้น. คำว่า ปชาย นั่น เป็นชื่อของสัตว์.
เพราะฉะนั้น ในคำว่า อวิชฺชาคตาย ปชาย นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า
บรรดาสัตว์ทั้งหลาย ผู้ตกเข้าไปในภายในแห่งกระเปาะฟองคืออวิชชา.
บทว่า อณฑภูตาย ความว่า ผู้เป็นแล้ว ผู้เกิดแล้ว คือผู้เกิด
พร้อมแล้วในฟองไข่ เหมือนอย่างว่า สัตว์บางพวกผู้เกิดในฟองไข่เขาเรียกว่า
อัณฑภูตา ฉันใด หมู่สัตว์แม้ทั้งหมดนี้ ก็ฉันนั้น ท่านเรียกว่า อัณฑภูตา
เพราะความที่ตนเกิดในกระเปาะฟองไข่คืออวิชชา.
บทว่า ปริโยนทธฺาย ความว่า ผู้อันกระเปาะฟองคืออวิชชานั้น
รึงรัด คือ ผูกมัด พันไว้โดยรอบ.
บทว่า อวิชฺชณฺฑโกสมฺปทาเลตฺวา ความว่า เราได้ทำลายกระ-
เปาะฟองที่สำเร็จมาจากอวิชชานั้นแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 240
สองบทว่า เอโกว โลเก ความว่า ในโลกสันนิวาสแม้ทั้งสิ้น
เราผู้เดียวเท่านั้น คือไม่มีคนที่สอง.
บทว่า อนุตฺตร ในคำว่า อนุตฺตร สมฺมาสามฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ
นี้ ความว่า เว้นจากอริยมรรคอันเยี่ยมเสียแล้ว ประเสริฐกว่าธรรมทุกอย่าง.
บทว่า สมฺมาสมฺโพธึ แปลว่า ซึ่งความตรัสรู้โดยชอบและด้วย
พระองค์เอง. อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ซึ่งความตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระองค์
เอง. อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ซึ่งความตรัสรู้ ที่ปราชญ์สรรเสริญด้วย ดีด้วย.
[โพธิศัพท์หมายความถึง ๔ นัย]
ต้นไม้ก็ดี มรรคก็ดี สัพพัญญุตญาณก็ดี นิพพานก็ดี ท่านเรียกว่า
โพธิ.
จริงอยู่ ท่านเรียกต้นไม้ว่า โพธิ ในอาคตสถานทั้งหลายว่า ตรัสรู้
ครั้งแรก ที่โคนโพธิพฤกษ์ และว่า ในระหว่างแห่งต้นโพธิ์ ในระหว่าแห่ง
แม่น้ำคยา.
มรรค ท่านเรียกว่า โพธิ ในอาคตสานว่า ความรู้โพธิปักขิยธรรม
๓๗ ประการ ในมรรคทั้ง ๔.
สัพพัญญุตญาณ ท่านเรียกว่า โพธิ ในอาคตสถานว่า พระสิทธัตถ-
โพธิสัตว์ มีพระปัญญาประเสริฐดุจแผ่นปฐพี ทรงบรรลุพระโพธิญาณ.
พระนิพพาน ท่านเรียกว่า โพธิ ในอาคตสถานว่า พระสิทธัตถ-
โพธิสัตว์ ทรงบรรลุโพธิ อันเป็นอมตะเป็นอสังขตะ.
แต่ในบทว่า สมฺมาสมฺโพธึ นี้ ท่านประสงค์เอาอรหัตมรรคญาณ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ประสงค์เอาสัพพัญญุตญาณ
บ้าง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 241
ถามว่า พระอรหัตมรรค ของคนเหล่าอื่น จัดเป็นโพธิ (ความตรัสรู้)
อย่างยอดเยี่ยมหรือไม่ ?
แก้ว่า ไม่เป็น.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เป็น ?
แก้ว่า เพราะพระอรหัตมรรคของคนเหล่าอื่นนั้น อำนวยคุณให้ไม่ได้
ทุกอย่าง.
จริงอยู่ พระอรหัตมรรคของบรรดาคนเหล่านั้น บางคนให้เฉพาะ
พระอรหัตผลเท่านั้น. ของบางคน ให้เฉพาะวิชชา ๓. ของบางคน ให้เฉพาะ
อภิญญา ๖. ของบางคน ให้เฉพาะปฏิสัมภิทา ๔. ของบางคน ให้เฉพาะ
สาวกบารมีญาณ. ถึงของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ให้เฉพาะปัจเจกโพธิ-
ญาณเท่านั้น. ส่วนพระอรหัตมรรคของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมให้คุณสมบัติ
ทุกอย่าง ดุจการอภิเษกของพระราชาให้ความเป็นใหญ่ในโลกทั้งหมด ฉะนั้น.
เพราะฉะนั้น พระอรหัตมรรค แม้ของคนอื่นบางคน จึงไม่จัดเป็นโพธิ
(ความตรัสรู้) อย่างยอดเยี่ยม ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อภิสมฺพุทฺโธ ความว่า เราได้รู้ยิ่งแล้ว คือได้แทงตลอดแล้ว
อธิบายว่า เราได้บรรลุแล้ว คือได้ถึงทับแล้ว.
[ข้อเปรียบเทียบการทรงบำเพ็ญอนุปัสสนาเหมือนการฟักไข่]
บัดนี้ บัณฑิตควรเทียบเคียงคำอุปมาอุปไมย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เอวเมว โข อห พฺราหฺมณ แล้วพึงทราบโดย
ใจความ โดยนัยดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ : -
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 242
เหมือนอย่างว่า ข้อที่แม่ไก่นั้น ทำกิริยาทั้ง ๓ มีนอนกกอยู่บนฟอง
ไข่ทั้งหลายเป็นต้นของตน ฉันใด ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ยังเป็นพระโพธิ-
สัตว์ ประทับนั่งบนโพธิบัลลังก์ แล้วทรงบำเพ็ญอนุปัสสนาทั้ง ๓ คือ ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในจิตสันดานของพระองค์ ก็ฉันนั้น.
ความไม่เสื่อมไปแห่งวิปัสสนาญาณ ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ยัง
เป็นพระโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญอนุปัสสนาทั้ง ๓ ให้ถึงพร้อม เปรียบเหมือน
ฟองไข่ทั้งหลายไม่เน่า ก็เพราะแม่ไก่ทำกิริยาทั้ง ๓ ให้ถึงพร้อมฉะนั้น.
ความสิ้นไปแห่งความสิเนหา คือความติดใจไปตามไตรภพ ก็เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญอนุปัสสนาทั้ง ๓ ให้
ถึงพร้อม เปรียบเหมือนความสิ้นไปแห่งยางเมือก แห่งฟองไข่ทั้งหลาย ก็เพราะ
แม่ไก่ทำกิริยาทั้ง ๓ ฉะนั้น.
ความที่กระเปาะฟองคืออวิชชา เป็นธรรมชาติบาง ก็เพราะพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ผู้ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญอนุปัสสนาทั้ง ๓ ให้ถึงพร้อม
เปรียบเหมือนภาวะที่กระเปาะฟองไข่เป็นของบาง ก็เพราะแม่ไก่ทำกิริยาทั้ง ๓
ฉะนั้น.
ความที่วิปัสสนาญาณเป็นคุณชาติกล้าแข็ง ผ่องใสและองอาจ ก็เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญอนุปัสสนาทั้ง ๓ ให้
ถึงพร้อม เปรียบเหมือนภาวะที่เล็บเท้า และจะงอยปากของลูกไก่เป็นของหยาบ
และแข็ง ก็เพราะแม่ไก่ทำกิริยาทั้ง ๓ ฉะนั้น.
ควรทราบเวลาที่วิปัสสนาญาณแก่เต็มที่ เวลาเจริญ (และ) เวลาถือ
เอาห้อง ก็เพราะพระผู้มีภาคเจ้า ผู้ยังเป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 243
อนุปัสสนาทั้ง ๓ ให้ถึงพร้อม เปรียบเหมือนเวลาที่ลูกไก่แก่เต็มที่ ก็เพราะ
แม่ไม่ทำกิริยาทั้ง ๓ ฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น ควรทราบเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้วิปัสสนา
ญาณถือเอาห้อง แล้วทำลายกระเปาะฟองคือวิชชาด้วยพระอรหัตมรรค ที่
พระองค์ได้ทรงบรรลุโดยลำดับ แล้วทรงปรบปีกคืออภิญญา จึงทรงทำให้แจ้ง
ซี่งพระพุทธคุณทั้งหมด โดยความสวัสดี ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น ทรงบำเพ็ญอนุปัสสนาทั้ง ๓ ให้ถึงพร้อม เปรียบเหมือนแล้วเวลาที่ลูกไก่
เอาปลายเล็บเท้า และจะงอยปากกะเทาะกระเปาะฟองไข่ แล้วปรบปีกออกมาได้
โดยความสวัสดี ก็เพราะแม่ไก่ทำกิริยาทั้ง ๓ ฉะนั้น.
หลายบทว่า สฺวาห พฺราหฺมณ เชฏฺโ เสฏฺโ โลกสฺส ความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ! บรรดาหมู่สัตว์ ผู้ตกอยู่ในอวิชชาเรานั้นได้ทำลายกระเปาะ
ฟอง คือ อวิชชานั้น แล้วถึงความนับว่า เป็นผู้ที่เจริญที่สุด คือเจริญอย่าง
สูงสุด เพราะเป็นผู้เกิดแล้วโดยอริยชาติก่อนกว่าเขา เปรียบเหมือนบรรดา
ลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวที่กะเทาะกระเปาะฟองไข่ ออกมาได้ก่อนกว่าเขา ย่อม
เป็นไก่ตัวพี่ ฉะนั้น, ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าถึงความนับว่า เป็นผู้
ประเสริฐที่สุด เพราะไม่มีใครทัดเทียมได้ด้วยพระคุณทั้งปวง.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประเสริฐเพราะบำเพ็ญเพียร]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งทรงประกาศความที่พระองค์ เป็นผู้เจริญ
ที่สุดและและประเสริฐที่สุด อย่างยอดเยี่ยมแก่พราหมณ์อย่างนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อ
จะทรงแสดงปฏิปทา ที่เป็นเหตุให้พระองค์ทรงบรรลุความเป็นผู้เจริญที่สุด
เป็นต้นนั้น จำเดิมแต่ส่วนเบื้องต้น จึงตรัสว่า อารทฺธ โข ปน เม
พฺราหฺมณ เป็นต้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 244
อีกอย่างหนึ่ง เพราะได้สดับข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้เจริญ
ที่สุดและประเสริฐที่สุด อย่างยอดเยี่ยวนี้แล้ว พราหมณ์จึงเกิดความคิดอย่าง
นี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงบรรลุความเป็นผู้เจริญที่สุดและประเสริฐที่สุด
ด้วยปฏิปทา อะไรหนอแล ? ดังนี้ ; พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบความคิด
ของพราหมณ์นั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า เราได้บรรลุความเป็นผู้เจริญที่สุด
และประเสริฐที่สุด อย่างยอดเยี่ยมนี้ ด้วยปฏิปทานี้ จึงได้ตรัสอย่างนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า อารทฺธ โข ปน เม พฺราหฺมณ
วิริย อโหสิ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! ข้อที่เราเป็นผู้เจริญที่สุดและ
ประเสริฐที่สุด อย่างยอดเยี่ยมนี้ เราหาได้บรรลุด้วยความเกียจคร้าน ด้วย
ความหลงลืมสติ ด้วยความมีกายกระสับกระส่าย (และ) ด้วยความเป็นผู้มีจิต
ฟุ้งซ่านไม่. อีกอย่างหนึ่งแล เพราะเราได้ปรารภความเพียรแล้วแล เพื่อ
บรรลุความเป็นผู้เจริญที่สุดและประเสริฐที่สุดนั้น คือเรานั่งอยู่แล้ว ณ
โพธิมัณฑ์ ได้ปรารภความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ มีคำอธิบายว่า ได้
ประคอง คือให้เป็นไปไม่ย่อมหย่อน. ก็แลความเพียรนั้น ได้ชื่อว่าเป็นคุณชาติ
ไม่ย่อหย่อมเพราะเราได้ปรารภแล้วอย่างแท้จริง ทั้งมิใช่แต่ความเพียรอย่าง
เดียวเท่านั้น แม้สติเราก็ได้เข้าไปตั้งไว้เฉพาะแล้ว โดยความเป็นคุณธรรม
บ่ายหน้าตรงต่ออารมณ์ และชื่อว่าเป็นความไม่หลงลืม เพราะปรากฏอยู่เฉพาะ
หน้าทีเดียว.
สองบทว่า ปสฺสทฺโธ กาโย ความว่า แม้กายของเราก็เป็นของ
สงบแล้ว ด้วยอำนาจแห่งความสงบกายและจิต. เพราะเมื่อนามกายสงบแล้ว
แม้รูปกาย ก็เป็นอันสงบแล้วเหมือนกัน, ฉะนั้น ในพระบาลีนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าไม่ตรัสให้พิเศษเลยว่า นามกาย รูปกาย ตรัสเพียงว่า กายสงบ
เท่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 245
บทว่า อสารทฺโธ ความว่า ก็กายนั้น ชื่อว่าหาความกระสับกระส่าย
มิได้ เพราะเป็นกายอันสงบแล้วนั่นแล, มีคำอธิบายว่า เป็นกายที่ปราศจาก
ความกระวนกระวายแล้ว.
หลายบทว่า สมาหิต จิตฺต เอกคฺค ความว่า ถึงจิตรของเราก็ตั้ง
อยู่แล้วโดยชอบ คือดำรงมั่นดีแล้ว ได้เป็นราวกะว่าแน่นแฟ้นแล้ว, และจิต
ของเรานั้น ชื่อว่ามีอารมณ์เป็นหนึ่ง, คือไม่หวั่นไหว ได้แก่ไม่มีความดิ้นรน
เพราะเป็นจิตตั้งมั่นดีนั่นแล. ข้อปฏิบัติเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งฌาน เป็นอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยลำดับเพียงเท่านี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 246
กถาว่าด้วยปฐมฌาน
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงคุณวิเศษ ตั้งต้นแต่
ปฐมณาน มีวิชชา ๓ เป็นที่สุด ที่พระองค์ได้บรรลุแล้วด้วยปฏิปทานี้ จึง
ตรัสว่า โส โข อห ดังนี้เป็นต้น.
ในบรรดาบทเหล่านั้น ใจความแห่งบทเป็นต้นว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ
วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วในวิภังค์นั่นแล
โดยนัยเป็นต้นว่า บรรดากามและอกุศลธรรมเหล่านั้น กามเป็นไฉน ? คือ
ความพอใจ ชื่อว่า กาม, ความกำหนัด ชื่อว่า กาม, ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจ ชื่อว่า กาม, ความดำริ ชื่อว่า กาม, ความกำหนัด ชื่อว่า กาม,
ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริ ชื่อว่า กาม, เหล่านี้เราเรียกว่า กาม,
บรรดากามและอกุศลกรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมเป็นไฉน ? คือ ความพอใจ
ด้วยอำนาจแห่งความใคร่ ความพยาบาท ความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม ความ
ฟุ้งซ่านและรำคาญ ความลังเลสงสัย. เหล่านี้เราเรียกว่า อกุศลธรรม,
พระโยคาวจร เป็นผู้สงัดแล้ว คือเงียบแล้วจากกามเหล่านี้ และจากอกุศลธรรม
เหล่านี้ ดังกล่าวมาฉะนี้, เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรนั้นเราเรียกว่า สงัด
แล้วเทียวจากกามทั้งหลาย สงบแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย* ดังนี้ แม้ก็จริง,
ถึงกระนั้น ใจความ (แห่งบทเหล่านั้น) เว้นอรรถกถานัยเสีย จะปรากฏ
ด้วยดีไม่ได้ ข้าพเจ้าจักประกาศใจความนั้น ตามอรรถกถานัยนั่นแล ต่อไป : -
ข้อนี้อย่างไรเล่า ? อย่างนี้คือ สองบทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ แปลว่า
สงัดแล้ว คือหลีกเว้นออกจากกามทั้งหลาย.
* อภิ. วิ. ๓๕/๓๔๖ บาลีเดิมไม่มี ปวิวิตฺโต.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 247
[อธิบาย เอว อักษร]
ก็ เอว อักษรนี้ ในบทว่า วิวิจฺเจว นี้ พึงทราบว่า มีความกำหนด
เป็นอรรถ. ก็เพราะ เอว อักษร มีความกำหนดเป็นอรรถนั้น, ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงความที่กามทั้งหลาย แม้ไม่มีอยู่ในเวลาเข้า
ปฐมฌานนั้น ก็เป็นข้าศึกแก่ปฐมฌานนั้น และการจะบรรลุปฐมฌานนั้นได้
ก็ด้วยการสละกามนั่นแล.
ถามว่า ข้อนั้น คืออย่างไร ?
แก้ว่า คือ สงัดแล้วเทียว จากกามทั้งหลาย อธิบายว่า จริงอยู่
เมื่อทำความนิยมไว้อย่างนั้น คำนี้ ย่อมปรากฏชัดว่ากามทั้งหลาย ย่อมเป็น
ข้อศกต่อฌานนี้ อย่างแน่นอน, เมื่อกามเหล่าใดยังมีอยู่ ปฐมฌานนี้ ย่อมเป็น
ไปไม่ได้ ดุจเมื่อมีมืด แสงประทีปก็ไม่มีฉะนั้น และการบรรลุปฐมฌานนั้น
จะมีได้ก็ด้วยการสละกามเหล่านั้นเสียได้ เปรียบเหมือนการไปถึงฝั่งโน้นได้ ก็
ด้วยการละฝั่งนี้ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำความกำหนดไว้.
ในคำว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นั้น พึงมีคำถามว่า ก็เพราะเหตุไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส เอว อักษรนั้น ไว้เฉพาะบทต้นเท่านั้น ไม่ตรัส
ไว้ในบทหลังเล่า, พระโยคาวจรแม้ไม่สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ก็พึงได้
บรรลุฌานอยู่หรือ ?
แก้ว่า ก็แล เอว อักษร ที่เป็นอวธารณะนั้น บัณฑิตไม่ควรเห็น
อย่างนั้น. เพราะว่า เอว อักษรนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบทต้น
ก็เพราะฌานเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามนั้น. แม้จริงฌานนี้ชื่อว่าสลัดเสียซึ่งกาม
ทั้งหลายทีเดียว เพราะก้าวล่วงกามธาตุเสียได้ และเพราะเป็นข้าศึกต่อกามราคะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 248
เหมือนดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ฌาน คือเนกขัมมะนี้นั่น สลัดเสียซึ่งกาม
ทั้งหลาย๑ ดังนี้.
อัน เอว อักษรนั่น บัณฑิตควรกล่าวไว้แม้ในบทหลัง เหมือนอย่าง
เอว อักษร ที่พระผู้มีภาคเจ้าทรงนำมาตรัสไว้ในคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สมณะที่ ๑ มีอยู่ในศาสนานี้ทีเดียว, สมณะที่ ๒ มีอยู่ในศาสนา ๒ นี้
ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้น, จริงอยู่ ใคร ๆ ไม่สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
กล่าวคือนิวรณ์ แม้อื่นจากกามฉันท์นี้ ไม่อาจจะบรรลุฌานอยู่ได้เลย, เพราะ
ฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นความนิยมนี้ แม้ในบททั้งสองอย่างนี้ว่า พระโยคาวาจร
สงัดแล้วเทียวจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วเทียวจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนี้.
อนึ่ง วิเวกแม้ทั้งหมด มีตทังควิเวก และกายวิเวกเป็นต้น ย่อมถึง
ความสงเคราะห์เข้าแม้ในบททั้งสอง ด้วยคำที่เป็นสาธารณะนี้ว่า วิวิจฺจ แม้
ก็จริง, ถึงกะนั้น ในอธิการนี้ ก็ควรเห็นวิเวกเพียง ๓ เท่านั้น คือ กายวิเวก
จิตตวิเวก วิกขัมภนวิเวก.
ก็พวกวัตถุถาม ที่พระสารีบุตรเถระ กล่าวไว้ในนิเทศ โดยนัยเป็นต้น
ว่า วัตถุกามเป็นไฉน ? คือรูปอันเป็นที่ชอบใจ ๓ และพวกกิเลสกาม ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ตรัสไว้ในวิภังค์ในนิเทศนั้นนั่นแล โดยนัยเป็นต้นว่า ความพอใจ
ชื่อว่า กาม ๔ แม้ทั้งหมดเหล่านั้น บัณฑิตพึงเห็นว่า ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย
บทว่า กาเมหิ นี้แล. ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น สองบทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ
ความหมายว่า สงัดแล้วเทียว แม้จากวัตถุกามทั้งหลาย ดังนี้ก็ใช้ได้. กายวิเวก
ย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้ว ด้วยความสงัดจากวัตถุกามนั้น.
๑. ขุ. ปฏิ. ๓๑ / ๖๓๙. ๒. องฺ. จตุกฺก. ๒๑ / ๓๒๓. ๓. ขุ. มหา. ๙๑ / ๑.
๔. อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๔๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 249
หลายบทว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ ความหมายว่า สงัดแล้ว
จากกิเลสกามทั้งหลาย หรือจากอกุศลธรรมทั้งปวง ดังนี้ ก็ใช้ได้. จิตตวิเวก
ย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้ว ด้วยความสงัดจากกิเลสกาม หรือจากอกุศลธรรม
ทั้งปวงนั้น.
ก็บรรดากายวิเวกและจิตตวิเวก ๒ อย่างนี้ ความสละกามสุขเป็นอัน
ท่านประกาศแล้ว ด้วยกายวิเวกข้อต้น เพราะกล่าวถึงความสงัดจากวัตถุกาม
ทั้งหลายนั่นเอง. ความประคองเนกขัมมสุข เป็นอันท่านประกาศแล้ว ด้วย
จิตตวิเวกข้อที่ ๒ เพราะกล่าวถึงความสงัดจากกิเลสกามทั้งหลาย.
อนึ่ง บรรดาบททั้ง ๒ ตามที่กล่าวแล้วนั้น การละสังกิเลสวัตถุพึงรู้ว่า
ท่านประกาศแล้ว ด้วยบทแรก, การละสังกิเลส พึงรู้ว่า ท่านประกาศแล้ว
ด้วยบทที่ ๒. การละเหตุแห่งความอยาก พึงรู้ว่า ท่านประกาศแล้ว ด้วย
บทแรก, การละเหตุแห่งความโง่เขลา พึงรู้ว่า ท่านประกาศแล้ว ด้วยบทที่ ๒,
ความบริสุทธิ์แห่งการประกอบความเพียร พึงรู้ว่า ท่านประกาศแล้ว ด้วย
บทแรก, และความกล่อมเกลาอัธยาศัย พึงรู้ว่า ท่านประกาศแล้ว ด้วยบท
ที่ ๒ เพราะกล่าวถึงความสงัดจากวัตถุกามและกิเลสกามนั่นแล ดังพรรณนา
มาฉะนี้.
บรรดากามตามที่กล่าวในบทว่า กาเมหิ นี้ ในฝ่ายวัตถุกามมีนัย
เท่านี้ก่อน. ส่วนในฝ่ายกิเลส กามฉันท์นั่นเอง ซึ่งมีประเภทมากมาย ท่าน
ประสงค์ว่า กาม โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ฉันทะ ชื่อว่า กาม และว่า ราคะ
ชื่อว่า กาม. ก็กามฉันท์นั้นถึงเป็นของนับเนื่องในอกุศลก็ตาม พระผู้มี
พระภาคเจ้า ก็ตรัสไว้ในคัมภีร์วิภังค์แผนกหนึ่ง เพราะเป็นข้าศึกต่อฌาน
โดยนัยเป็นต้นว่า บรรดากามและอกุศลธรรมเหล่านั้น ความพอใจด้วยอำนาจ
แห่งความใคร่ เป็นไฉน ? คือ กาม* ดังนี้.
* อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๔๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 250
อีกอย่างหนึ่ง กามฉันท์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบทต้น
เพราะเป็นกิเลสกาม. ตรัสไว้ในบทที่ ๒ เพราะเป็นกามนับเนื่องในอกุศล.
อนึ่ง ไม่ได้ตรัสว่า กามโต แต่ตรัสว่า กาเมหิ เพราะกามฉันท์นั้นมี
ประเภทมากมาย. ก็เมื่อความที่ธรรมทั้งหลายแม้เหล่าอื่นซึ่งเป็นอกุศลยังมีอยู่.
นิวรณ์ทั้งหลายเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในคัมภีร์วิภังค์ เพราะ
ทรงแสดงความที่นิวรณ์เป็นข้าศึกโดยตรงต่อองค์ฌานชั้นสูงขึ้นไป โดยนัย
เป็นต้นว่า บรรดากามและอกุศลธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรม เป็นไฉน ?
คือความพอใจด้วยอำนาจแห่งความใคร่* ดังนี้. จริงอยู่ นิวรณ์ทั้งหลาย ย่อม
เป็นข้าศึกโดยตรงต่อองค์ฌาน. มีคำอธิบายว่า องค์ฌานทั้งหลายเท่านั้นเป็น
ปฏิปักษ์ คือเป็นเครื่องกำจัดนิวรณ์เหล่านั้น. จริงอย่างนั้น พระมหากัจจายนเถระ
ก็ได้กล่าวไว้ในเปฏกปกรณ์ว่า สมาธิ เป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันท์ ปีติ เป็น
ปฏิปักษ์ต่อพยาบาท วิตก เป็นปฏิปักษ์ต่อถิ่นมิทธะ สุข เป็นปฏิปักษ์ต่อ
อุทธัจจกุกกุจจะ วิจาร เป็นปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา.
บรรดาบททั้ง ๒ นี้ ความสงัดด้วยอำนาจการข่มกามฉันท์ไว้ ย่อม
เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยบทนี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ. ความ
สงัดด้วยอำนาจการข่มนิวรณ์แม้ทั้ง ๕ ไว้ เป็นอันพระองค์ตรัสด้วยบทนี้ว่า
วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้.
อนึ่ง ความสงัดด้วยอำนาจการข่มกามฉันท์ไว้ ย่อมเป็นอันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบทแรก ด้วยศัพท์ที่ท่านมิได้ถือเอา, ความสงัดด้วย
อำนาจการข่มนิวรณ์ที่เหลือไว้ เป็นอันตรัสด้วยบทที่ ๒. หนึ่ง บรรดาอกุศล-
มูลทั้ง ๓ ความสงัดด้วยอำนาจการข่มโลภะอันมีความต่างแห่งปัญจกามคุณ
* อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๔๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 251
เป็นอารมณ์ เป็นอันตรัสไว้ด้วยบทแรก, ความสงัดด้วยอำนาจการข่มโทสะ
และโมหะ อันมีชนิดแห่งอาฆาตวัตถุเป็นต้นเป็นอารมณ์ เป็นอันตรัสไว้ด้วย
บทที่ ๒.
อีกอย่างหนึ่ง บรรดาธรรมทั้งหลาย มีโอฆะเป็นต้น ความสงัดด้วย
อำนาจการข่มสังโยชน์ คือกามโอฆะ กามโยคะ กามาสวะ กามุปาทาน
อภิชฌากายคัณฐะ และกามราคะไว้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยบท
แรก. ความสงัดด้วยอำนาจการข่มสังโยชน์ คือ โอฆะ โยคะ อาสวะ อุปาทาน
และคัณฐะที่เหลือไว้ ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัส ด้วยบทที่ ๒. อนึ่ง ความ
สงัดด้วยอำนาจการข่มตัณหา และกิเลสที่สัมปยุตด้วยตัณหานั้นไว้ เป็นอัน
พระองค์ตรัสด้วยบทแรก, ความสงัดด้วยอำนาจการข่มอวิชชา และกิเลสที่
สัมปยุตด้วยอวิชชานั้นไว้ เป็นอันพระองค์ตรัส ด้วยบทที่ ๒.
อีกอย่างหนึ่ง ความสงัดด้วยอำนาจการข่มจิตตุปบาท ๘ ดวง ที่
สัมปยุตด้วยโลภะไว้ พึงทราบว่า เป็นอันพระองค์ตรัสด้วยบทแรก. ความสงัด
ด้วยอำนาจการข่มอกุศลจิตตุปบาท ๔ ดวงที่เหลือไว้ พึงทราบว่า เป็นอัน
พระองค์ตรัสด้วยบทที่ ๒. การประกาศเนื้อความในคำว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ
วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ นี้ มีเพียงเท่านี้ก่อน.
[อรรถาธิบายองค์ ๕ แห่งปฐมฌาน]
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงองค์สำหรับละแห่งปฐมฌาน
ด้วยคำมีประมาณเพียงเท่านี้แล้ว คราวนี้ เมื่อจะทรงแสดงองค์ประกอบ จึง
ตรัสคำมีอาทิว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร.
ในพากย์ว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นต้นนั้น มิวินิจฉัยดังนี้ : -
ความตรึก ชื่อว่า วิตก, ท่านอธิบายว่า ความดำริ. วิตกนี้นั้น มีความกด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 252
เฉพาะซึ่งจิตในอารมณ์เป็นลักษณะ มีการจดและการจดโดยรอบเป็นรส. จริง
อย่างนั้น พระโยคาวจร ท่านเรียกว่า ทำอารมณ์ให้เป็นธรรมชาติอันวิตกจด
แล้วและจดโดยรอบแล้วด้วยวิตกนั้น. วิตกนั้นมีอันนำมาซึ่งจิตในอารมณ์เป็น
ปัจจุปัฏฐาน. ความตรอง ชื่อว่า วิจาร, ท่านอธิบายว่า การที่จิตท่องเที่ยว
เรื่อยไป. วิจารนี้นั้น มีการเคล้าอารมณ์เป็นลักษณะ มีอันประกอบเนือง ๆ
ซึ่งสหชาตธรรมในอารมณ์นั้นเป็นรส มีการตามผูกพันแห่งจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน.
ก็เมื่อความไม่พรากจากกันแห่งวิตกวิจารเหล่านั้นในจิตตุปบาทลาง
ขณะ แม้มีอยู่ วิตก ก็คือการตกไปเฉพาะอารมณ์ครั้งแรกของใจ ดุจเสียง
เคาะระฆัง เพราะหมายความว่าเป็นสภาพที่หยาบ และเพราะความหมายว่า
เป็นสภาพเริ่มก่อน. วิจาร ก็คือการที่จิตตามผูกพันติดต่อ ดุจเสียงครวญของ
ระฆัง เพราะหมายความว่าเป็นสภาพที่ละเอียด. ก็ในวิตกวิจารเหล่านี้ วิตก
มีการแผ่ไป (หรือสั่นสะเทือน) เป็นความไหวตัวของจิต (ในเวลาที่เกิด
ความคิดขึ้นครั้งแรก) ดุจการกระพือปีกของนก ซึ่งต้องการจะบินขึ้นไปใน
อากาศ และดุจการโผลงตรงดอกบัวหลวงของแมลงผึ้ง ซึ่งมีใจจดจ่ออยู่ที่กลิ่น,
วิจารมีความเป็นไปสงบ มิใช่ความไหวตัวอย่างแรงของจิต ดุจการกางปีกของ
นกซึ่งบินไปแล้วในอากาศ และดุจการบินร่อนอยู่ในส่วนเบื้องบนดอกบัวหลวง
ของแมลงผึ้ง ซึ่งโผลงบ่ายหน้าสู่ดอกบัวหลวงฉะนั้น. ส่วนความแปลกกัน
แห่งวิตกวิจารเหล่านั้น จะปรากฏในปฐมฌานและทุติยฌาน.
ฌานนี้ ย่อมเป็นไปกับด้วยวิตกนี้ และด้วยวิจารนี้ ดุจต้นไม้ ย่อม
เป็นไปด้วยดอกและผลฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนี้ ฌานนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร. แต่ใน
คัมภีร์วิภังค์ พระองค์ทรงทำเทศนาเป็นบุคลาธิษฐาน โดยนัยเป็นต้นว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 253
ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิตกนี้ และด้วยวิจารนี้* ถึง
เนื้อความแม้ในคัมภีร์นั้น ก็พึงเห็นเหมือนอย่างนี้แหละ.
ในบทว่า วิเวกช นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ : - ความสงัด ชื่อว่า วิเวก.
อธิบายว่า ความปราศจากนิวรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่สงัดจากนิวรณ์
ชื่อว่า วิเวก เพราะอรรถว่า สงัดแล้ว, อธิบายว่า กองแห่งธรรมอันสัมปยุต
ด้วยฌาน. ปีติ และสุข เกิดจากวิเวกนั้น หรือเกิดในวิเวกนั้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า วิเวกชัง.
[อรรถาธิบายองค์ฌาน คือ ปีติ และสุข]
ในบทว่า ปีติสุข มีวินิจฉัยดังนี้ : - ธรรมชาติที่ชื่อว่า ปีติ เพราะ
อรรถว่า ทำให้เอิบอิ่ม. ปีตินั้น มีความปลาบปลื้มเป็นลักษณะ มีความอิ่ม
กายและจิตเป็นรส, อีกอย่างหนึ่ง มีความแผ่ไปเป็นรส มีความเบิกบานใจ
เป็นปัจจุปัฏฐาน. ความสบาย ชื่อว่า ความสุข. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่
ชื่อว่า ความสุข เพราะอรรถว่า ย่อมเคี้ยวกิน และขุดเสียด้วยดี ซึ่งอาพาธ
ทางกายและจิต. ความสุขนั้นมีความสำราญเป็นลักษณะ มีอันเข้าไปพอกพูน
ซึ่งธรรมที่สัมปยุตด้วยความสุขนั้นเป็นรส มีความอนุเคราะห์เป็นเครื่องปรากฏ.
ก็เมื่อความไม่พรากจากกันแห่งปีติและสุขเหล่านั้นในจิตตุปบาทลางขณะ
แม้มีอยู่ ปีติ คือ ความยินดีด้วยการได้อิฏฐารมณ์, สุข คือความเสวยรส
แห่งอารมณ์ที่ตนได้แล้ว. ปีติ มีอยู่ใจจิตตุปบาทใด สุข ก็มีอยู่ในจิตตุปบาท
นั้น. สุข มีอยู่ในจิตตุปบาทใด, ในจิตตุปบาทนั้น โดยความนิยม ไม่มีปีติ.
ปีติ ท่านสงเคราะห์เข้าเป็นสังขารขันธ์, สุข ท่านสงเคราะห์เข้าเป็นเวทนา-
ขันธ์, ปีติ เปรียบเหมือนความอิ่มใจ ของบุคคลผู้เหน็ดเหนื่อยในทางกันดาร
* อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๔๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 254
เพราะได้เห็นและได้ฟังว่ามีป่าไม้และมีน้ำ, สุข เปรียบเหมือนความสบายใจ
ของบุคคลผู้เหนื่อยในทางกันดาร เพราะได้เข้าไปสู่ร่มเงาแห่งป่าไม้
และได้บริโภคน้ำ ฉะนั้น, บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า ก็คำที่พระอาจารย์
ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ปีติ คือ ความยินดีด้วยการได้อิฏฐารมณ์เป็นต้นนั้น
ก็เพราะปีติปรากฏอยู่ ในสมัยนั้น ๆ . ปีตินี้ด้วย สุขนี้ด้วย มีอยู่แก่ฌานนั้น
หรือมีอยู่ในฌานนั้น เพราะเหตุนั้น ฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
ปีติสุข.
อีกอย่างหนึ่ง ปีติด้วย สุขด้วย ชื่อว่า ปีติและสุข เหมือนธรรม
และวินัยเป็นต้นฉะนั้น. ปีติและสุข เกิดแต่วิเวก มีอยู่แก่ฌานนั้น หรือมีอยู่
ในฌานนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปีติและสุข เกิดแต่วิเวก แม้ดังพรรณนา
มาฉะนี้. เหมือนอย่างว่า ฌานเกิดแต่วิเวกฉันใด, ก็ในฌานนี้ ปีติและสุข
ย่อมเป็นของเกิดแต่วิเวกเหมือนกันฉันนั้น. อนึ่ง ปีติและสุขนั้น มีอยู่แก่
ฌานนั้น เพราะเหตุ๑ ดังนี้นั้น จะกล่าวรวมด้วยบทเดียวกันเลยว่า วิเวกช-
ปีติสุข ดังนี้บ้าง ก็ใช้ได้. แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ปีติสุขนั่นไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า สุขนี้ สหรคตด้วยปีตินี้๒ ดังนี้. ก็เนื้อความ
แม้ในคัมภีร์วิภังค์นั้น พึงเห็นเหมือนอย่างนี้แล.
[ฌานย่อมเผาผลาญธรรมที่เป็นข้าศึก]
บทว่า ปม คือที่แรก เพราะเป็นลำดับแห่งการคำนวณ.
ฌานนี้ ชื่อว่า ทีแรก เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งแรก.
คุณธรรม ชื่อว่า ฌาน เพราะอรรถว่า เผาธรรมที่เป็นข้าศึก (มีนิวรณ์
๑. วิสุทธิมรรค. ๑ / ๑๘๕ ไม่มี อิติ. ๒. อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๔๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 255
เป็นต้น). พระโยคีทั้งหลาย ย่อมเผา (ธรรมที่เป็นข้าศึกมีนีวรณ์เป็นต้นนั้น)
ด้วยฌานนี้ แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ฌาน. อธิบายว่า พระโยคีทั้งหลาย
ย่อมเผาธรรมที่เป็นข้าศึก หรือย่อมคิดถึงโคจร (คืออารมณ์สำหรับหน่วงมี
กสิณเป็นต้น). อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ฌาน เพราะอรรถว่า เพ่ง คือเข้าไป
เพ่งอารมณ์นั้นเสียเอง เพราะเหตุนั้นนั่นแล ฌานนั้น ท่านจึงเรียกว่า มีอัน
เข้าไปเพ่งเป็นลักษณะ.
[ฌานมี ๒ นัย]
ฌานนี้นั้น มีอยู่ ๒ อย่างคือ อารัมมณูปนิชฌาน (เข้าไปเพ่ง
อารมณ์) ลักขณูปนิชฌาน (เข้าไปเพ่งลักษณะ). บรรดาฌานทั้ง ๒ นั้น
สมาบัติ ๘ พร้อมด้วยอุปจาร ท่านเรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์คือกสิณ.
วิปัสสนามรรคและผล ท่านเรียกว่า ลักขณูปนิชฌาณ.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะ.
จริงอยู่ บรรดาวิปัสสนามรรคและผลเหล่านี้ วิปัสสนา ย่อมเข้าไป
เพ่งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น. ก็กิจคือการเข้าไปเพ่ง ด้วยวิปัสสนา
ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น มรรคท่านเรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน.
ส่วนผล ท่านก็เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งลักษณะ
ที่แท้จริงแห่งนิโรธ. แต่ในอรรถนี้ ท่านประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌานเท่านั้น
ว่า ฌาน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 256
ในอธิการว่าด้วยฌานนี้ พระอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ชื่อว่าฌานที่ควร
จะพึงอ้างถึงอย่างนี้ว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร ฯลฯ มีปีติและ
สุข ดังนี้ นั้นเป็นไฉนเล่า ?
ข้าพเจ้า จะกล่าวเฉลยต่อไป :- เปรียบเหมือนบุรุษคนอื่นเว้นเว้นทรัพย์
และปริชนเสีย ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรภาวะที่จะพึงอ้างถึงในประโยคมีอาทิว่า ผู้มี
ทรัพย์ ผู้มีปริชน ฉันใด ฌานอื่น เว้นธรรมมีวิตกเป็นต้นเสีย ควรจะพึง
อ้างถึง ย่อมไม่มี ฉันนั้น. เหมือนอย่างว่า การสมมติว่าเสนา ในองค์เสนา
ทั้งหลาย ที่ชาวโลกกล่าวว่า เสนา มีพลรถ มีพลเดินเท้า ดังนี้นั่นแล
บัณฑิตควรทราบฉันใด ในอธิการนี้ ก็ควรทราบ การสมมติว่าฌาน ในองค์
๔ นั้นแลฉันนั้น. ควรทราบในองค์ ๕ เหล่าไหน ? ในองค์ ๕ เหล่านี้ คือ
วิตก ความตรึก วิจาร ความตรอง ปีติ ความอิ่มใจ สุข ความสบายใจ
จิตเตกัคคตา ความที่จิตมีอารมณ์เดียว. จริงอยู่ องค์ ๕ เหล่านี้และ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยความเป็นองค์แห่งฌานนั้น โดยนัยมีอาทิว่า เป็นไป
กับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร.
ถ้าหากพระอาจารย์ผู้โจทก์พึงท้วงว่า เอกัคคตา (ความที่มีจิตมีอารมณ์
เดียว) จัดเป็นองค์ (แห่งฌาน) ไม่ได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้
(ในบาลีแห่งฌาน) มิใช่หรือ ?
แก้ว่า ก็คำที่ท่านกล่าวนั้น ย่อมไม่ถูก.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะจิตเตกัคคตาแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบาลี
แห่งฌานนั่นเอง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 257
จริงอยู่ จิตเตกัคคตาแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แน่นอนใน
คัมภีร์วิภังค์อย่างนี้ว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ชื่อว่า ฌาน.๑
เพราะฉะนั้น คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร
ดังนี้ ฉันใด แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้ในอธิการนี้ว่า สจิตเตกัคค-
ตา แม้จิตเตกัคคตา ก็ควรทราบว่า เป็นองค์ (แห่งฌาน) ทีเดียว ตาม
พระบาลีในคัมภีร์วิภังค์นี้ ฉันนั้น. จริงอยู่ อุเทศ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำ
ไว้แล้วด้วยพระประสงค์ใด อุเทศนั้นนั่นเอง ก็เป็นอันพระองค์ทรงประกาศไว้
แล้ว แม้ในคัมภีร์วิภังค์ ด้วยพระประสงค์นั้นแล.
[ความหมายแห่ง อุปสัมปัชชศัพท์]
บทว่า อุปสมฺปชฺช แปลว่า เข้าไปใกล้แล้ว. ท่านอธิบายว่า
บรรลุแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ให้เข้าถึงพร้อมแล้ว คือให้สำเร็จแล้ว.
แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บทว่า อุปสมฺปชฺช คือ
ความได้ ความกลับได้ ความถึง ความถึงพร้อม ความถูกต้อง ความทำให้แจ้ง
ความบรรลุ ซึ่งปฐมฌาน. ๒ เนื้อความแห่งคำแม้นั้น ก็พึงทราบเหมือนอย่าง
นั้นแล.
บทว่า วิหาสึ ความว่า เรา เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยฌานมีประการ
ดังกล่าวแล้วอย่างนี้ จึงยังการสืบเนื่องกัน การประพฤติเป็นไป การรักษา
การเป็นไป การให้เป็นไป การเที่ยวไป การพักอยู่แห่งอัตภาพให้สำเร็จ ด้วย
อริยาบถวิหาร กล่าวคือการนั่งอยู่ ณ โพธิมัณฑ์. ข้อนี้ สมจริงดังที่พระองค์
ตรัสไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า บทว่า วิหรติ ความว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติ
๑. อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๔๗. ๒. อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๔๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 258
เป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่. ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า พักอยู่.*
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำอะไร จึงทรงเข้าฌานนี้อยู่ ?
แก้ว่า ทรงเจริญกรรมฐาน.
ถามว่า ทางเจริญกรรมฐานอะไร ?
แก้ว่า ทรงเจริญอานาปาสติกรรมฐาน.
ถามว่า คนอื่น ผู้มีความต้องการอานาปานสติกรรมฐานนั้นควรทำ
อย่างไร ?
แก้ว่า แม้คนอื่น ก็ควรเจริญกรรมฐานนั้น หรือบรรดากรรมฐาน
ทั้งหลายมีปฐวีกสิณเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
นัยแห่งการเจริญอานาปานสติกรรมฐานเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบโดย
นัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล. ก็เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวนัยแห่งการเจริญ
ไว้ในอธิกานี้ นิทานแห่งพระวินัยก็จะเป็นภาระหนักยิ่ง. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า
จะทำเพียงการประกาศเนื้อความแห่งพระบาลีเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
กถาว่าด้วยปฐมฌาน จบ.
* อภิ.วิ. ๓๕/๓๔๐
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 259
กถาว่าด้วยทุติยฌาน
สองบทว่า วิตกฺกวิจาราน วูปสมา ความว่า เพราะเข้าไปสงบ
คือเพราะก้าวล่วงองค์ทั้ง ๒ เหล่านี้ คือ วิตกและวิจาร. มีอธิบายว่า เพราะ
วิตกวิจารไม่ปรากฏในขณะแห่งทุติยฌาน.
พึงทราบสันนิษฐานว่า ในบรรดาฌานทั้ง ๒ นั้น ธรรมในปฐมฌาน
แม้ทั้งหมด ไม่มีอยู่ในทุติยฌาน ด้วยว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น มีอยู่
ในปฐมฌานเป็นอย่างหนึ่ง ในทุติยฌานนี้ ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แม้ก็จริง ถึง
กระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ว่า เพราะเข้าไปสงบวิตกวิจาร เพื่อ
จะทรงแสดงว่า การบรรลุฌานอื่นจากปฐมฌานมีทุติยฌานเป็นต้น. จะมีได้
เพราะก้าวล่วงองค์ที่หยาบ ๆ ได้.
[อรรถาธิบายอัชฌัตตศัพท์]
ในอธิการนี้ บัณฑิตประสงค์เอา นิยกัชฌัตตัง ชื่อว่า อัชฌัตตัง.
แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพียงเท่านี้ว่า อัชฌัตตังปัจจัต-
ตัง* เท่านั้น. ก็เพราะบัณฑิตประสงค์เอานิยกัชฌัตตัง ชื่อว่า อัชฌัตตัง
ฉะนั้น ในบทว่า อชฺฌตฺต นี้ บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความดังนี้ว่า เกิดแล้ว
ในตน คือเกิดแล้วในสันดานของตน.
[อรรถาธิบาย สัมปสาทนศัพท์]
ศรัทธา (ความเชื่อ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สัมปสาทนะ
ในบทว่า สมฺปสาทน นี้ แม้ฌาน ก็ตรัสเรียกว่า สัมปสาทนะ เพราะ
* อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๒๕-๓๔๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 260
ประกอบด้วยความผ่องใส เหมือนผ้าสีเขียว เพราะประกอบด้วยสีเขียวฉะนั้น
อีกอย่างหนึ่ง เพราะฌานนั้น ย่อมยังใจให้เลื่อมใสด้วยดี เพราะประกอบด้วย
ศรัทธาที่เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส (และ) เพราะสงบระงับความกำเริบแห่ง
วิตกและวิจารเสียได้ เพราะเหตุแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สมฺป-
สาทน. ก็ในอรรถวิกัปนี้ พึงทราบสัมพันธ์เฉพาะบทอย่างนี้ว่า สมฺปสาทน
เจตโส (เป็นความผ่องใสแห่งใจ). แต่ในอรรถวิกัปต้น พึงประกอบบทว่า
เจตโส นั่น เข้ากับ เอโกทิภาวะ.
[อรรถาธิบาย เอโกทิภาวศัพท์]
ในบทว่า เอโกทิภาว นั้น มีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :- สมาธิ
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็น
ธรรมที่เลิศ คือธรรมประเสริฐที่สุด ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารไม่ผุดขึ้น. จริงอยู่
แม้คนที่ประเสริฐที่สุด เข้าก็เรียกว่า เป็นเอก ในโลก. อีกอย่างหนึ่ง จะกล่าวว่า
สมาธิที่เว้นจากวิตกและวิจาร ชื่อว่าเป็นธรรมเอก คือไม่สหาย ดังนี้บ้าง
ก็ควร อีกบรรยายหนึ่ง สมาธิ ชื่อว่า อุทิ เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรม
ให้ผุดขึ้น อธิบายว่า ให้ตั้งขึ้น, สมาธินั้น เป็นเอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐ
และผุดขึ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ นั่น เป็นชื่อ
ของสมาธิ. ทุติยฌาน ย่อมยังสมาธิที่ชื่อว่า เอโกทิ นี้ ดังกล่าวนี้ให้เกิด
คือให้เจริญ. เหตุนั้น ทุติยฌานนี้ จึงชื่อว่า เอโกทิภาพ. ก็เพราะสมาธิที่
ชื่อว่า เอโกทิ นี้นั้นย่อมมีแก่ใจ หามีแก่สัตว์ แก่ชีวะไม่ ฉะนั้น ทุติยฌานนั่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจตโส เอโกทิภาว (เป็นเอโกทิภาพแห่งใจ).
มีคำถามว่า ก็ศรัทธานี้ และสมาธิที่มีชื่อว่าเอโกทินี้มีอยู่ในปฐมฌาน
มิใช่หรือ ? เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ทุติยฌานนี้เท่านั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส และว่า เป็นเอโกทิภาพเล่า ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 261
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- ด้วยว่า ปฐมฌานโน้น ชื่อว่า ยังไม่
ผ่องใสดี เพราะวิตกและวิจารยังกำเริบได้ ดุจน้ำที่ขุ่นเพราะคลื่นและระลอก
ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น แม้เมื่อศรัทธามีอยู่ ก็พึงทราบว่า ปฐมฌานนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่า เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส. อนึ่ง เพราะความที่
ปฐมฌานยังไม่ผ่องใสด้วยดีนั่นแล แม้สมาธิในปฐมฌานนี้ ก็ยังหาเป็นธรรม
ปรากฏด้วยดีไม่ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ปฐมฌานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
มิได้ตรัสว่าเป็นเอโกทิภาพบ้าง. ส่วนศรัทธามีกำลังได้โอกาสแล้ว เพราะใน
ฌานนี้ไม่มีเหตุเครื่องกังวลคือวิตกวิจาร แม้สมาธิก็ปรากฏ เพราะกลับได้สหาย
คือศรัทธามีกำลัง เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทุติยฌานนี้เท่านั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงตรัสไว้อย่างนี้. แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ไว้เพียงเท่านี้นั่นแลว่า ที่ชื่อว่า สัมปสาทนะ นั้น ได้แก่ศรัทธา ความเชื่อถือ
ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ที่ชื่อว่า เจตโส เอโกทิภาวะ นั้น
ได้แก่ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ๑ ดังนี้. ก็อรรถวรรณนา
นี้รวมกัปปาฐะในคัมภีร์วิภังค์นั่น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนั้น ย่อม
ไม่ผิด คือย่อมเทียบเคียง และเสมอกันได้โดยแท้ ฉันใด บัณฑิต พึงทราบ
อรรถวรรณนานี้ ฉันนั้น.
[อรรถาธิบายทุติฌานไม่มีวิตกและวิจารเพราะสงบไปแล้ว]
ในคำว่า อวิตกฺก อวิจาร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ทุติยฌานชื่อว่า
ไม่มีวิตก เพราะอรรถว่า วิตกไม่มีในทุติยฌานนี้ หรือแก่ทุติยฌานนี้ เพราะ
ละวิตกได้ด้วยภาวนา. ทุติยฌาน ชื่อว่าไม่มีวิจารก็โดยนัยนี้แล. แม้ในคัมภีร์
วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้แล้วว่า วิตกนี้และวิจารนี้ สงบ ระงับ
เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศ
ได้ด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุด
ปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยประการ๒ ฉะนี้.
๑ - ๒ อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๔๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 262
ในอธิการนี้ พระอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ก็เนื้อความนี้ สำเร็จแล้ว
แม้ด้วยบทว่า เพราะสบงระงับวิตกและวิจาร ดังนี้มิใช่หรือ ? เมื่อเป็นเช่นนั้น
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้อีกว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
ดังนี้เล่า ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป : - เนื้อความนี้สำเร็จแล้วอย่างนั้น จริง
ทีเดียว แต่คำว่า เพราะสงบระงับวิตกและวิจารนี้ แสดงอรรถ กล่าวคือความ
ไม่มีวิตกวิจารนั้น. ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า ถึงกระนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ก็ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เพราะสงบระงับวิตกและวิจาร เพื่อจะทรงแสดงว่า
การบรรลุฌานเป็นต้นอื่นจากปฐมฌาน ย่อมมีได้ เพราะก้าวล่วงองค์ที่หยาบ ๆ
ได้ อีกอย่างหนึ่ง ทุติยฌานนี้ ชื่อว่า สัมปสาทนะ เพราะสงบวิตกและ
วิจารเสียได้ หาใช่เพราะเข้าไปสงบความฟุ้งขึ้นแห่งโทษกล่าวคือกิเลสไม่ และ
ทุติยฌานนี้ ชื่อว่า เอโกทิภาพ เพราะสงบวิตกและวิจาร และทุติยฌานนี้
ชื่อว่า เอโกทิภาพ เพราะละนิวรณ์เสียได้ ไม่เหมือนอุปจารฌาน และ
ทุติยฌานนี้ ชื่อว่า เอโกทิภาพ เพราะมีองค์ปรากฏไม่เหมือนปฐมฌาน.
เพราะเหตุนั้น คำว่า เพราะสงบวิตกวิจารนี้ ย่อมเป็นคำแสดงถึง
เหตุแห่งความที่ทุติยฌานเป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส และเป็นธรรมเอกยังสมาธิ
ให้ผุดขึ้น ดังกล่าวมาแล้วนี้ . อนึ่ง ทุติยฌานนี้ ชื่อว่าไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
เพราะสงบวิตกและวิจารเสียได้, ทุติยฌานนี้ชื่ออวิตกกาวิจาร เพราะไม่มีทั้งวิตก
และวิจาร หาเหมือนตติยฌานจตุตถฌาน และเหมือนวิญญาณมีจักษุวิญญาณ
เป็นต้นฉะนั้นไม่ เพราะเหตุนั้น คำว่า เพราะสงบวิตกวิจารนี้ ย่อมเป็นคำ
แสดงถึงเหตุแห่งความที่ทุติยฌานไม่มีทั้งวิตกไม่มีทั้งวิจาร และหาใช่เป็นคำ
แสดงเพียงสักว่า ความไม่มีแห่งวิตกและวิจารไม่ ดังกล่าวมาฉะนี้. แต่คำว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 263
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร นี้ ก็เป็นคำแสดงเพียงสักว่า ความไม่มีแห่งวิตกและวิจาร
เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ตรัสคำต้นแล้ว ก็ควรตรัส
คำหลังอีก.
บทว่า สมาธิช ความว่า เกิดจากปฐมฌานสมาธิ หรือจากสมาธิที่
สัมปยุตกัน. ในพระบาลีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทุติยฌานนี้เท่านั้นว่า
เกิดจากสมาธิ เพื่อสรรเสริญทุติยฌานนี้ เพราะถึงแม้ปฐมฌาน จะเกิดจาก
สมาธิที่สัมปยุต แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น สมาธินี้เท่านั้น ควรเรียกได้ว่า สมาธิ
เพราะเป็นสมาธิที่ไม่หวั่นไหวและผ่องใสอย่างยิ่ง เหตุเว้นจากความกระเพื่อม
แห่งวิตกวิจาร.
คำว่า ปีติสุข นี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง.
บทว่า ทุติย คือเป็นที่ ๒ โดยลำดับแห่งการคำนวณ. ฌานนี้ชื่อว่า
ที่ ๒ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งที่ ๒ ดังนี้บ้าง.
[ปฐมฌานมีองค์ ๕ ทุติยฌานมีองค์ ๓]
ก็ในคำว่า ฌาน นี้ พึงทราบว่า ปฐมฌานมีองค์ ๕ เพราะองค์
ทั้งหลายมีวิตกเป็นต้น ฉันใด, ทุติยฌานนี้ ก็มีองค์ ๔ เพราะองค์ทั้งหลาย
มีสัมปสาทะเป็นต้น ฉันนั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
สัมปสาทะ (ความผ่องใส) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข (ความสบายใจ) เอกัคคตา
แห่งจิต ชื่อว่า ฌาน๑ อันนั้นเป็นนัยทางอ้อมเท่านั้น. แต่โดยนัยทางตรง
ทุติยฌานนั่น เว้นองค์คือสัมปสาทะเสียแล้ว มีเพียงองค์ ๓ เท่านั้น. เหมือน
อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
แห่งจิต มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน๒ ? คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
กถาว่าด้วยทุติยฌาน จบ
๑. อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๔๙. ๒. อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๕๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 264
กถาว่าด้วยตติยฌาน
ปีติในคำว่า ปีติยา จ วิราคา นี้ มีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ความเกลียดชัง หรือความก้าวล่วงปีตินั้น ชื่อว่า วิราคะ (ความสำรอก).
จ ศัพท์ ในระหว่างบททั้ง ๒ มีการประมวลมาเป็นอรรถ. จ ศัพท์ ประมวล
มาซึ่งความสงบ หรือความเข้าไปสงบวิตกวิจาร. พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า
ในการประมวลทั้งสองอย่างนั้น ในกาลใดประมวลความสงบมาอย่างเดียว ใน
เวลานั้น เพราะสำรอกปีติ และเพราะสงบได้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย. ก็ในโยชนานี้
วิราคะ ศัพท์ มีความเกลียดชังเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความดังนี้
ว่า เพราะเกลียดชัง และเพราะระงับปีติ.
พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า ก็ในเวลาใด ประมวลความสงบระงับวิตก
วิจารมา ในเวลานั้น เพราะสำรอกปีติ และเพราะเข้าไปสงบวิตกวิจารเพิ่มขึ้น
อีกเล็กน้อย. และในโยชนานี้ วิราคะ ศัพท์ มีความก้าวล่วงเป็นอรรถ เพราะ
ฉะนั้น พึงเห็นใจความดังนี้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะสงบระงับวิตก
วิจาร.
อนึ่ง วิตกวิจารเหล่านี้ สงบแล้วในทุติยฌานทีเดียวก็จริง ถึงกระนั้น,
คำว่า เพราะเข้าไปสงบวิตกวิจาร นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ก็เพื่อจะ
ทรงแสดงอุบายเครื่องบรรลุฌานนี้ และเพื่อกล่าวสรรเสริญ (ฌานนี้).
ถามว่า จริงอยู่ เมื่อพระองค์ตรัสว่า และเพราะความสงบระงับวิตก
วิจาร คำนี้ ย่อมปรากฏว่า ความสงบระงับวิตกวิจารก็เป็นอุบายเครื่องบรรลุ
ฌานนี้ มิใช่หรือ ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 265
แก้ว่า เหมือนอย่างว่าในอริยมรรคที่ ๓ ท่านกล่าวการละไว้อย่างนี้ว่า
เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๒ มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้นที่ยังละไม่ได้
ย่อมเป็นการกล่าวสรรเสริญ (อริยมรรคที่ ๓) เพื่อจะให้เกิดความอุตสาหะ
แก่เหล่าชนผู้มีความขวนขวาย เพื่อบรรลุอริยมรรคที่ ๓ นั้น ฉันใด, ใน
ตติยฌานนี้ ท่านกล่าวความสงบระงับวิตกวิจาร แม้ที่ยังไม่สงบราบคาบไว้
เป็นการกล่าวสรรเสริญ (ฌานนี้) ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวใจความนี้ไว้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะความสงบระงับวิตกวิจาร
ดังนี้.
ในคำว่า อุเปกฺขโก จ วิหาสึ นี้ มีวินิจฉันดังนี้ :- ธรรมชาติ
ที่ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า เพ่งโดยอุบัติ. อธิบายว่า ย่อมเห็นเสมอ
คือย่อมเห็นไม่ตกไปเป็นฝักเป็นฝ่าย. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน ท่าน
เรียกว่า ผู้มีอุเบกขา. เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขานั้น อันสละสลวย
ไพบูลย์ มีกำลัง
[อุเบกขา ๑๐ อย่าง]
ก็อุเบกขามีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ
๑. ฉฬังคุเปกขา อุเบกขาในองค์ (คืออารมณ์) ๖.
๒. พรหมวิหารรุเปกขา อุเบกขาในพรหมวิหาร.
๓. โพชฌังคุเปกขา อุเบกขาในโพชฌงค์.
๔. วิริยุเปกขา อุเบกขาในวิริยะ.
๕. สังขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร.
๖. เวทนุเปกขา อุเบกขาในเวทนา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 266
๗. วิปัสสนุเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา.
๘. ตัตรมัชฌัตตุเปกขา อุเบกขาในความวางตนเป็นกลางใน
ธรรมนั้น ๆ.
๙. ฌานุเปกขา อุเบกขาในฌาน.
๑๐. ปาริสุทธุเปกขา อุเบกขาในความบริสุทธิ์.
อุเบกขาแม้ทั้ง ๑๐ อย่าง ดังกล่าวมานี้ พึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าว
ไว้แล้ว ในวรรณาแห่งภยเภรสูตร ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี
หรือในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่ออัตถสาลินี โดยนัยอันมาแล้วในที่นั้น ๆ
และด้วยความสามารถแห่งสังเขปหรือภูมิ บุคคล จิต อารมณ์ ขันธสังคหะ เอกขณจิต
และกุสลติกะ. ก็อุเบกขา เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวไว้ในอธิการนี้ ย่อมทำนิทาน
แห่งพระวินัยให้เป็นภาระหนักยิ่ง, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าว.
[อรรถาธิบายลักษณะแห่งอุเบกขา]
ส่วนอุเบกขาที่ประสงค์เอาในอธิการนี้ โดยลักษณะเป็นต้น พึงทราบ
ว่า มีความมัธยัสถ์ (ความเป็นกลาง) เป็นลักษณะ มีความไม่คำนึงเป็นรส
มีความไม่ขวนขวายเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความสำรอกปีติเป็นปทัฏฐาน.
ในอธิการว่าด้วยตติยฌานนี้ พระอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ก็ฌานุเบกขานี้
โดยอรรถก็คือ ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั่นเอง และฌานุเบกขานั้น ก็มีอยู่แม้ใน
ปฐมฌานและทุติฌาน เพราะฉะนั้น ฌานุเบกขานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ควรจะตรัสไว้แม้ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น อย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก จ
วิหาสึ ดังนี้ มิใช่หรือ ? เพราะเหตุไร จึงไม่ตรัสฌานุเบกขานั้นไว้เล่า ?
เฉลยว่า เพราะมีกิจยังไม่ปรากฏชัด. จริงอยู่ กิจแห่งฌานุเบกขานั้น
ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น ชื่อว่ายังไม่ปรากฏชัด เพราะถูกปฏิปักขธรรม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 267
มีวิตกเป็นต้นครอบงำ. ส่วนในตติยฌานนี้ ฌานุเบกขานี้ เกิดมีกิจปรากฏชัด
เป็นดุจยกศีรษะขึ้นได้แล้ว เพราะวิตกวิจารและปีติครอบงำไม่ได้ เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสฌานุเบกขานั้นไว้แล.
การพรรณนาอรรถ โดยประการทั้งปวงแห่งบทว่า อุเปกฺขโก จ
วิหาสึ นี้ จบแล้ว.
[อธิบายลักษณะแห่งสติและสัมปชัญญะ]
บัดนี้จะวินิจฉัยในบาลีนี้ว่า สโต จ สมฺปชาโน. ชื่อว่าสโต เพราะ
อรรถว่า ระลึกได้, ชื่อว่าสัมปชาโน เพราะอรรถว่า รู้ชัดโดยชอบ สติและ
สัมปชัญญะตรัสโดยบุคคล. ในสติและสัมปชัญญะนั้น สติมีความระลึกได้เป็น
เครื่องกำหนด มีความไม่หลงลืมเป็นกิจ มีการควบคุมเป็นเหตุเครื่องปรากฏ.
สัมปชัญญะ มีความไม่หลงเป็นเครื่องกำหนด มีความพิจารณาเป็นกิจ มีความ
สอดส่องเป็นเครื่องปรากฏ. ก็สติและสัมปชัญญะนี้ พึงทราบโดยพิสดาร ตาม
นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในวรรณนาแห่งสติปัฏฐานสูตร ในอรรถกถา-
มัชฌิมนิกายนั่นแล.
บรรดาธรรมในตติยฌานนั้น สติและสัมปชัญญะนี้มีอยู่แม้ในฌาน
ก่อน ๆ โดยแท้ เพราะว่า แม้คุณชาติเพียงอุปจาร ย่อมไม่สำเร็จแก่พระโยคาวจร
ผู้มีสติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ, จะกล่าวไปไยถึงอัปปนา. ถึงกระนั้น เพราะ
ความฌานเหล่านั้นหยาบ การดำเนินไปของจิตจึงมีความสะดวก เหมือนการ
ดำเนินไปบนภาคพื้นของบุรุษฉะนั้น กิจแห่งสติและสัมปชัญญะในฌานเหล่านั้น
จึงยังไม่ปรากฏชัด. ก็เพราะความที่ฌานนี้ละเอียด เพราะละองค์ที่หยาบได้
การดำเนินไปของจิต อันกิจแห่งสติและสัมปชัญญะกำกับแล้วทีเดียว
จำปรารถนา เหมือนการเดินใกล้คมมีดโกนของบุรุษฉะนั้น เพราะเหตุนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 268
จึงตรัสไว้ในตติยฌานนี้ทีเดียว. ยังมีข้อที่จะถึงกล่าวเพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อย.
นักปราชญ์พึงทราบสันนิษฐานว่า คำนี้ว่า สโต จ สมฺปชาโน ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ในตติยฌานนี้เท่านั้น ก็เพื่อแสดงเนื้อความพิเศษแม้นี้ว่า
ลูกโคที่ยังติดแม่โค ถูกพรากจากแม่โค เมื่อไม่คอยควบคุมไว้ ย่อมเข้าหา
แม่โคอีกนั่นเองฉันใด ความสุขในตติยฌานนี้ก็ฉันนั้น ถูกพรากจากปีติแล้ว
ความสุขนั้นเมื่อไม่คอยควบคุมด้วยเครื่องควบคุมคือสติและสัมปชัญญะ พึง
เข้าหาปีติอีกทีเดียว พึงเป็นสุขที่สัมปยุตด้วยปีตินั้นเอง. ถึงแม้ว่าสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมกำหนัดนักในความสุข และความสุขนี้ก็เป็นสุขหวานยิ่งนัก เพราะไม่มี
สุขยิ่งไปกว่านั้น แต่ความไม่กำหนัดนักในความสุข ย่อมมีในตติยฌานนี้ ด้วย
อานุภาพแห่งสติและสัมปชัญญะ มิใช่มีด้วยประการอื่นดังนี้.
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิสเวเทสึ
นี้ต่อไป :-
พระโยคีผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌาน ไม่มีความรำพึงในการเสวยความ
สุข แม้ก็จริง ถึงเมื่อเป็นเช่นนั้น พระโยคีนั้น แม้ออกจากฌานแล้ว ก็พึง
เสวยสุขได้ เพราะเหตุที่รูปกายของท่าน อันรูปที่ประณีตยิ่ง ซึ่งมีความสุขที่
สัมปยุตด้วยนามกายของท่าน หรือความสุขที่ประกอบนามกายนั้นเป็นสมุฏฐาน
ถูกต้อง ซึมซาบแล้ว.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น
จึงตรัสว่า สุขญฺจ กายเยน ปฏิสเวเทสึ ดังนี้.
บัดนี้ จะวินิจฉัยในคำว่า ยนฺต อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก
สติมา สุขวิหารี นี้ต่อไป :-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 269
พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมบอก คือย่อมแสดง
ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมกระทำให้ตื่น,
อธิบายว่า ย่อมประกาศ คือย่อมสรรเสริญ ซึ่งบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียง
ด้วยตติยฌานนั้น เพราะเหตุแห่งฌานใด คือพระฌานใดเป็นเหตุ. ย่อม
สรรเสริญว่า อย่างไร ? ย่อมสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
ดังนี้. เราเข้าถึงตติยฌานนั้นอยู่แล้ว, โยชนาในคำว่า ยนฺต อริยา เป็นดังนี้
พึงทราบดังพรรณนามาอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุใด พระอริยเจ้าเหล่านั้น จึงสรรเสริญบุคคล
ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌานนั้นไว้อย่างนั้น ?
แก้ว่า เพราะเป็นผู้มีความสรรเสริญ.
จริงอยู่ เพราะพระโยคีนี้ เป็นผู้มีความวางเฉยในตติยฌาน ซึ่งมี
ความสุขอันหวานใจยิ่งนัก ที่ถึงฝั่งแห่งความสุขแล้วก็ตาม หาถูกความใคร่ใน
สุขคร่าไปในตติยฌานนั้นได้ไม่ และชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเป็นผู้มีสติตั้งมั่น
โดยอาการที่ปีติจะเกิดขึ้นไม่ได้. และเพราะท่านได้เสวยความสุขอันไม่เศร้า
หมอง ที่เป็นอริยกันต์ และอันอริยชนช่องเสพแล้วนั่นเอง ด้วยนามกาย
ฉะนั้น จึงเป็นผู้ที่ควรสรรเสริญ.
พึงทราบสันนิษฐานว่า เพราะเป็นผู้ที่ควรสรรเสริญ พระอริยเจ้า
ทั้งหลาย เมื่อจะประกาศคุณที่เป็นเหตุอันควรสรรเสริญเหล่านั้น จึงสรรเสริญ
บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌานนั้น อย่างนี้ว่าเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข ดังพรรณนามาฉะนี้.
บทว่า ตติย คือเป็นที่ ๓ ตามลำดับแห่งการคำนวณ. ฌานนี้
ชื่อว่าที่ ๓ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุครั้งที่ ๓ ดังนี้บ้าง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 270
[ทุติยฌานมีองค์ ๔ ตติยฌานมีองค์ ๕]
ในคำว่า ฌาน นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ทุติยฌานมีองค์ ๔ ด้วย
องค์ทั้งหลายมีสัมปสาทะเป็นต้น ฉันใด. ตติยฌานนี้ก็มีองค์ ๕ ด้วยองค์
ทั้งหลายมีอุเบกขาเป็นต้น ฉันนั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ว่า อุเบกขา (ความวางเฉย) สติ (ความระลึกได้) สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว)
สุข (ความสบายใจ) เอกัคคตาแห่งจิต (ความที่จิตมีอารมณ์เดียว) ชื่อว่า
ฌาน* ดังนี้. อันนั่น เป็นนัยทางอ้อมเท่านั้น. แต่โดยนัยทางตรง ตติยฌาน
นั้น เว้นองค์ คือ อุเบกขา สติ และสัมปชัญญะเสีย ย่อมประกอบด้วย
องค์ ๒ เท่านั้น. เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ฌานมีองค์ ๒ คือ
สุข และเอกัคคตาแห่งจิต มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน ? คำที่เหลือ มีนัย
ดังกล่าวมาแล้วนั้น
กถาว่าด้วยตติยฌาน จบ.
* อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๕๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 271
กถาว่าด้วยจตุตถฌาน
* คำว่า เพราะละสุขและเพราะละทุกข์เสียได้ ดังนั้น คือ เพราะ
ละสุขทางกายและทุกข์ทางกาย. คำว่า ในก่อนเทียว ความว่า ก็การละสุข
และทุกข์นั้นแล ได้มีแล้วในก่อนแท้ มิใช่มีในขณะจตุตถฌาน. คำว่า เพราะ
ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งโสมนัสและโทมนัส ดังนี้นั้น ความว่า เพราะถึงความ
ตั้งอยู่ไม่ได้ มีคำอธิบายว่า เพราะละได้นั่นแล ซึ่งธรรม ๒ ประการเหล่านี้
คือสุขทางใจและทุกข์ทางใจ ในก่อนเทียว.
ถามว่า ก็จะละสุขและทุกข์โสมนัสและโทมนัสเหล่านั้นได้ เมื่อไร ?
แก้ว่า ในขณะแห่งอุปจารแห่งฌานทั้ง ๔.
จริงอยู่ โสมนัสอันพระโยคาวจรละได้ในขณะแห่งอุปจารแห่งฌาน
ที่ ๔ นั้นแล. ทุกข์โทมนัสและสุขละได้ในขณะแห่งอุปจารแห่งฌานที่ ๑ ที่ ๒
และที่ ๓. ด้วยประการดังกล่าวมานี้ พึงทราบการละสุขทุกข์โสมนัสและ
โทมนัสเหล่านี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้โดยลำดับแห่งการละทีเดียว,
แต่ก็ได้ตรัสไว้แม้ในที่นี้โดยลำดับอุเทศแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในอินทรีย์วิภังค์
นั่นแล.
มีคำถามว่า ก็ถ้าสุขทุกข์เป็นต้นเหล่านี้ พระโยคาวจรละได้ในขณะ
แห่งอุปจารแห่งฌานนั้น ๆ ไซร้, เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงตรัสการดับ
(สุขทุกข์เป็น) ไว้ในฌานทั้งหลายนั่นแลอย่างนี้ว่า ก็ทุกขินทรีย์ เกิดขึ้นแล้ว
ดับหาเศษมิได้ในฌานไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย ฯ ล ฯ เข้าถึงปฐมฌานอยู่, ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว
*องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๐๔
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 272
ดับหาเศษมิได้ฌานนี้, ก็โทมนัสสินทรีย์. . . สุขินทรีย์. . . โสมนัสลินทรีย์
. . . เกิดขึ้นแล้ว ดับหาเศษมิได้ในฌานไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขเสียได้ ฯ ล ฯ เข้าถึงจตุตถฌานอยู่ โสมนัส-
สินทรีย์ เกิดขึ้นแล้ว ดับหาเศษมิได้ในฌานนี้* ดังนี้เล่า.
มีคำแก้ว่า เพราะเป็นความดับอย่างประเสริฐ. จริงอยู่ ความดับทุกข์
เป็นต้นเหล่านั้น ในฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น เป็นความดับอย่าง
ประเสริฐ. แต่ความดับในขณะแห่งอุปจารเท่านั้น หาเป็นความดับอย่าง
ประเสริฐไม่. จริงอย่างนั้น ทุกขินทรีย์ แม้ดับแล้วในอุปจารแห่งปฐมฌาน
ซึ่งมีอาวัชชนะต่าง ๆ กัน แต่พึงเกิดขึ้นได้อีก เพราะสัมผัสมีเหลือบและยุง
เป็นต้น หรือเพราะความเดือนร้อนอันเกิดจากการนั่งไม่สม่ำเสมอ, แต่จะเกิด
ในภายในอัปปนาไม่ได้เลย. อีกอย่างหนึ่ง ทุกขินทรีย์นั่น แม้ดับแล้วใน
อุปจาร ยังดับไม่สนิทดี เพราะธรรมที่เป็นข้าศึกยังกำจัดไม่ได้. ส่วนภายใน
อัปปนา กายทั้งสิ้นหยั่งลงสู่ความสุข เพราะมีปีติซาบซ่าน และทุกขินทรีย์
ของพระโยคาวจรผู้มีกายหยั่งลงสู่ความสุข จัดว่าดับไปแล้วด้วยดี เพราะธรรม
ที่เป็นข้าศึกถูกกำจัดเสียได้.
ก็โทมนัสสินทรีย์ที่พระโยคาวจรและได้แล้ว ในอุปจารแห่งทุติยฌาน
ซึ่งมีอาวัชชนะต่าง ๆ กันนั่นแล แต่พึงเกิดขึ้นได้อีก เพราะโทมนัสสินทรีย์นั่น
เมื่อมีความลำบากกายและและความคับแค้นใจแม้ที่มีวิตกวิจารเป็นปัจจัยอยู่ ย่อม
บังเกิดขึ้นได้ แต่จะเกิดไม่ได้เลยในเพราะไม่มีวิตกวิจาร, แต่โทมนัสสินทรีย์
จะเกิดในจิตตุปบาทใด เพราะมีวิตกวิจารจึงเกิดขึ้นในจิตตุปบาทนั้น, วิตก
วิจารในอุปจารแห่งทุติยฌานท่านยังละไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น โทมนัสสินทรีย์
* อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๕๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 273
นั้น พึงเกิดได้ในอุปจารแห่งทุติยฌานนั้น เพราะมีปัจจัยที่ยังละไม่ได้ แต่
ในทุติยฌานจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เพราะมีปัจจัยอันละได้แล้ว.
อนึ่ง สุขินทรีย์ แม้ที่ละได้แล้วในอุปจารแห่งตติยฌาน ก็พึงบังเกิด
ขึ้นแก่พระโยคาวจรผู้มีกายอันรูปที่ประณีต ซึ่งมีปีติเป็นสมุฏฐานถูกต้องแล้ว
แต่ในตติยฌานเกิดขึ้นไม่ได้เลย. จริงอยู่ ปีติอันเป็นปัจจัยแห่งความสุขใน
ตติยฌาน ดับไปแล้วโดยประการทั้งปวงแล. อนึ่ง โสมนัสสินทรีย์ แม้ที่ละ
ได้แล้วในอุปจารแห่งจตุตถฌาน ก็พึงเกิดขึ้นอีกได้ เพราะใกล้ต่อปีติ และ
เพราะยังไม่ผ่านไปด้วยดี เพราะยังไม่มีอุเบกขาที่ถึงอัปปนา, แต่ในจตุตถฌาน
จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย. เพราะเหตุดังที่กล่าวมานี้นั้นแล พระผู้พระภาคเจ้าจึง
ทรงทำอปริเสสศัพท์ไว้ในที่นั้น ๆ ว่า ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว ดับหาเศษมิได้
ในฌานนี้ ดังนี้แล.
ในอธิการแห่งจตุตถฌานนี้ พระอาจารย์โจทก์ท้วงว่า ถ้าเมื่อเป็น
อย่างนั้น เวทนาเหล่านั้น แม้ที่ละได้แล้วในอุปจารแห่งฌานนั้น ๆ เพราะเหตุไร
ในจตุตถฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประมวลมาไว้อีกเล่า ?
แก้ว่า เพื่อให้ถือเอาสะดวก (เพื่อเข้าใจง่าย) .
จริงอยู่ อทุกขมสุขเวทนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในองค์ฌาน
นี้ว่า อทุกฺขมสุข (ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข) นี้ เป็นของละเอียด รู้ได้โดยยาก
ไม่สามารถจะถือเอาได้โดยสะดวก, เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรง
ประมวลเวลาเหล่านั้นมาไว้ทั้งหมด เพื่อให้ถือเอาสะดวก เปรียบเหมือน
เพื่อจะจับโคดุ ซึ่งใคร ๆ ไม่สามารถจะเข้าไปจับใกล้ ๆ ได้ โดยประการใด
ประการหนึ่ง คนเลี้ยงโคจึงต้อนโคทุกตัวมาไว้ในคอกเดียวกัน ภายหลังจึง
ปล่อยออกมาทีละตัว ๆ ให้จับเอาโคแม้ตัวนั้น ซึ่งผ่านออกมาตามลำดับ โดย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 274
สั่งว่า นี่คือโคตัวนั้น พวกท่านจงจับมัน ฉะนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นทรงแสดงเวทนาเหล่านั้น ที่พระองค์ประมวลแล้วอย่างนั้น ย่อมทรง
สามารถ เพื่ออันให้ถือเอาเวทนานี้ว่า ธรรมชาติที่มิใช่สุข มิใช่ทุกข์ มิใช่
โสมนัส มิใช่โทมนัส นี้ คือ อทุกขมสุขเวทนา, อนึ่ง เวทนาเหล่านั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์ตรัสไว้ ก็เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยแห่งอทุกขมสุข-
เจโตวิมุตติ. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีการละสุขเป็นต้น๑ เป็นปัจจัยแห่งเจโต-
วิมุตตินั้น. เหมือนดังที่พระธรรมทินนาเถรี กล่าวไว้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ !
ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นอทุกขมสุขเจโตวิมุตติมี ๔ อย่างแล, ดูก่อนผู้มีอายุ !
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าถึงจตุตถฌาน อันเป็นอทุกขมสุข มีสติเป็น
ธรรมชาติบริสุทธิ์อันอุเบกขาให้เกิดแล้ว เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะ
ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนเทียว, ดูก่อนผู้มีอายุ !
ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุตติ อันเป็นอทุกขมสุขมี ๔ อย่างเหล่านี้แล.๒
อีกอย่างหนึ่ง สังโยชน์ทั้งหลายมีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ละได้แล้ว
ในมรรคอื่นมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น พระองค์ตรัสว่า ละได้แล้วในมรรคที่
๓ นั้น เพื่อตรัสสรรเสริญมรรคที่ ๓ ฉันใด เวทนามีสุขเป็นต้นเหล่านั้น
ควรทราบว่า พระองค์ตรัสไว้ในจตุตถฌานนี้ แม้เพื่อตรัสสรรเสริญฌานนั่น
ฉันนั้น.
อีกนัยหนึ่ง เวทนามีสุขเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบว่า พระองค์ตรัสไว้
ในจตุตถฌานนี้ แม้เพื่อจะทรงแสดงข้อที่ราคะและโทสะ เป็นธรรมชาติที่อยู่
ไกลยิ่ง เพราะสังหารปัจจัยเสียได้. จริงอยู่ บรรดาเวทนามีสุขเป็นต้นเหล่านั้น
๑. วิสุทธิมรรค. ๑ / ๒๑๓ เป็นต้น ทุกขปฺปหานาทโย. ฎีกาสารัตถทีปนี ๑ / ๕๙๐ ก็เหมือนกัน.
๒. ม. มู. ๑๒ / ๕๕๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 275
สุข เป็นปัจจัยแห่งโสมนัส, โสมนัส เป็นปัจจัยแห่งราคะ, ทุกข์ เป็นปัจจัย
แห่งโทมนัส, โทมนัส เป็นปัจจัยแห่งโทสะ, และราคะโทสะพร้อมทั้งปัจจัย
เป็นอันจตุตถฌานนั้นกำจัดแล้ว เพราะสังหารความสุขเป็นต้นเสียได้ เพราะ
เหตุนั้น ราคะและโทสะ จึงมีอยู่ในที่ไกลยิ่ง ฉะนี้แล.
[อรรถาธิบายอุเบกขาในจตุตถฌาน]
บทว่า อทุกฺขมสุข ความว่า ชื่อว่า อทุกข์ เพราะไม่มีทุกข์
ชื่อว่า อสุข เพราะไม่มีสุข. ในคำว่า ชื่อว่า อทุกฺขมสุข นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงเวทนาที่ ๓ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์และสุขด้วยพระดำรัสนี้ หาทรง
แสดงเพียงสักว่าความไม่มีแห่งทุกข์และสุขไม่. อทุกข์และอสุข ชื่อว่าเวทนา
ที่ ๓ ท่านเรียกว่า อุเบกขา บ้าง. อุเบกขานั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีการ
เสวยอารมณ์ที่ผิดแปลกจากอารมณ์ที่ น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาเป็น
ลักษณะ มีความเป็นกลาง เป็นรส มีอารมณ์ไม่แจ่มแจ้งเป็นเครื่องปรากฏ
มีความดับสุขเป็นปทัฏฐาน.
บทว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ ความว่า มีสติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์
อันอุเบกขาให้เกิดแล้ว. จริงอยู่ ในฌานนี้ สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ด้วยดี
และความบริสุทธิ์แห่งสตินั้น อันอุเบกขาทำแล้ว หาใช่ธรรมดาอย่างอื่นทำไม่,
เพราะเหตุนั้น ฌานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า มีสติบริสุทธิ์อัน
อุเบกขาให้เกิดแล้ว ดังนี้. แม้ในคัมภีร์วิภังค์ พระองค์ก็ได้ตรัสไว้ว่า สตินี้
ย่อมเป็นธรรมชาติเปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว เพราะอุเบกขานี้ ด้วยเหตุนั้น
จึงเรียกว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา.* ก็ความบริสุทธิ์แห่งสติในจตุตถฌานนั้น
ย่อมมีเพราะอุเบกขาใด, อุเบกขานั้น โดยอรรถพึงทราบว่า มีความเป็นกลาง
* อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๕๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276
ในธรรมนั้น ๆ อนึ่ง ในจตุตถฌานนี้ สติเท่านั้น เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขานั้นอย่างเดียวก็หามิได้. อีกอย่างหนึ่งแล แม้สัมปยุตตธรรม
ทั้งหมด ก็บริสุทธิ์เพราะอุเบกขานั้น (เหมือนกัน). แต่เทศนา พระองค์
ตรัสไว้โดยยกสติขึ้นเป็นประธาน.
บรรดาธรรมในจตุตถฌานนั้น อุเบกขานี้ มีอยู่ในฌานทั้ง ๓ แม้ใน
หนหลัง ก็จริง ถึงกระนั้น จันทเลขา กล่าวคือ ตัตรมัชฌัตตุเปกขาแม้นี้
ถึงแม้มีอยู่ในความต่างแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น ย่อมชื่อว่าเป็นธรรมชาติ
ไม่บริสุทธิ์ เพราะถูกเดชแห่งธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้นครอบงำไว้ และ
เพราะไม่ได้ราตรีกล่าวคืออุเบกขาเวทนา ที่เป็นสภาคกัน เปรียบเหมือนจันท-
เลขา (ดวงจันทร์) ถึงแม้มีอยู่ในกลางวัน ก็ชื่อว่าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ไม่ผ่องใส
เพราะถูกรัศมีพระอาทิตย์ครอบงำในกลางวัน หรือเพราะไม่ได้กลางคืนที่เป็น
สภาคกัน โดยความเป็นของที่มีอุปการะแก่ตน โดยความเป็นของสวยงาม
ฉะนั้น. ก็เมื่อตัตรมัชฌัตตุเปกขานั้นไม่บริสุทธิ์ ธรรมทั้งหลายมีสติเป็นต้น
แม้ที่เกิดร่วมกัน ก็เป็นธรรมชาติไม่บริสุทธิ์แท้ เหมือนรัศมีแห่งดวงจันทร์
ที่ไม่บริสุทธิ์ในกลางวันฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ฌานแม้อย่างหนึ่งในบรรดา
ปฐมฌานเป็นต้นเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ตรัสว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขา ส่วนในจตุตถฌานนี้ ดวงจันทร์กล่าวคือตัตรมัชฌัตตุเปกขานี้ เป็น
ธรรมชาติบริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะไม่ถูกเดชแห่งธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็น
ครอบงำ และเพราะได้กลางคืน คืออุเบกขาเวทนาที่เป็นสภาคกัน. เพราะ
ความที่ตัตรมัชฌัตตุเปกขานั้นเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ธรรมทั้งหลายมีสติเป็นต้น
แม้ที่เกิดร่วมกันก็เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ดุจรัศมีแห่งดวงจันทร์ที่
บริสุทธิ์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น จตุตถฌานนี้เท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277
บทว่า จตุตฺถ คือเป็นที่ ๔ ตามลำดับแห่งการคำนวณ. ฌานนี้
ชื่อว่าที่ ๔ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งที่ ๔.
[ตติยฌานมีองค์ ๕ จตุตถฌานมีองค์ ๓]
ในคำว่า ฌาน นี้ มีวินิจฉัยดังนี้คือ :- ตติยฌานมีองค์ ๕ ด้วย
องค์ทั้งหลายมีอุเบกขาเป็นต้นฉันใด จตุตถฌานนี้ ก็มีองค์ ๓ ด้วยองค์ทั้งหลาย
มีอุเบกขาเป็นต้นฉันนั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อุเบกขา
(ความวางเฉย) สติ (ความระลึกได้) เอกัคคตาแห่งจิต (ความที่จิตมีอารมณ์
เดียว) ชื่อว่า ฌาน๑ ดังนี้. อันนั้นเป็นนัยทางอ้อมเท่านั้น. แต่โดยนัยทาง
ตรง จตุตถฌานนี้ เว้นองค์คือสติเสีย เพราะถือเอาองค์คืออุเบกขาเวทนานั่นแล
จึงประกอบด้วยองค์ ๒ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ฌาน
ประด้วยองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตาแห่งจิต มีอยู่ในสมัยนั้น
เป็นไฉน** ? คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแล.
กถาว่าด้วยจตุตถฌาน จบ.
[อรรถาธิบายฌาน ๔ ของบุคคล ๕ ประเภท]
ฌาน ๔ อย่างเหล่านี้ ดังพรรณนามานี้ ของบุคคลบางพวก มีความ
ที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นประโยชน์ ของคนบางพวกเป็นบาทแห่งวิปัสสนา
ของคนบางพวก เป็นบาทแห่งอภิญญา ของคนบางพวก เป็นบาทแห่งนิโรธ
ของคนบางพวก มีการก้าวลงสู่ภพเป็นประโยชน์.
บรรดาบุคคล ๕ ประเภทเหล่านั้น ฌานทั้ง ๔ ของพระขีณาสพทั้งหลาย
มีความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นประโยชน์. จริงอยู่ พระขีณาสพเหล่านั้น
๑. อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๕๒ ๒. อภิ. วิ. ๓๕ / ๒๕๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 278
ตั้งใจไว้อย่างนี้ว่า เราเข้าฌานแล้ว มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง จักอยู่เป็นสุข
ตลอดวัน ดังนี้ แล้วทำบริกรรมในกสิณ ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้น.
ฌานทั้งหลายของเหล่าพระเสขะและปุถุชนผู้ออกจากสมาบัติแล้วตั้งใจ
ไว้ว่า เรามีจิตตั้งมั่นแล้ว จักเห็นแจ้ง แล้วให้เกิดขึ้น จัดว่าเป็นบาทแห่ง
วิปัสสนา.
ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้นแล้ว จึงเข้าฌานที่มี
อภิญญาเป็นบาท แล้วออกจากสมาบัติ ปรารถนาอภิญญา มีนัยดังที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า แม้เป็นคน ๆ เดียว กลับเป็นมากคนก็ได้* ดังนี้ จึงให้
เกิดขึ้น ฌานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้น ย่อมเป็นบาทแห่งอภิญญา.
ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้น จึงเข้านิโรธสมาบัติ
แล้วตั้งใจไว้ว่า เราจำเป็นผู้ไม่มีจิตบรรลุนิโรธนิพพาน อยู่เป็นสุขในทิฏฐ-
ธรรมเทียว ตลอดเจ็ดวัน แล้วให้ฌานเกิดขึ้น ฌานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้น
ย่อมเป็นบาทแห่งนิโรธ.
ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้นแล้ว ตั้งใจไว้ว่า เราเป็น
ผู้มีฌานไม่เสื่อม จักเกิดขึ้นในพรหมโลก แล้วให้ฌานเกิดขึ้น ฌานทั้งหลาย
ของบุคคลเหล่านั้น มีการก้าวลงสู่ภพเป็นประโยชน์.
ก็จตุตถฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เกิดขึ้นแล้ว ณ โคนต้น
โพธิพฤกษ์ จตุตุถฌานนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้เป็นบาท
แห่งวิปัสสนาด้วย เป็นบาทแห่งอภิญญาด้วย เป็นบาทแห่งนิโรธด้วย บันดาล
กิจทั้งปวงให้สำเร็จด้วย บัณฑิตพึงทราบว่า อำนวยให้คุณทั้งที่เป็นโลกิยะ
ทั้งที่เป็นโลกุตระทุกอย่าง.
* องฺ. ติก. ๒๐ / ๒๑๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 279
[กถาว่าด้วยปุพเพนิวาสญาณ]
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเอเทศแห่งคุณทั้งหลาย ที่
จตุตถฌานเป็นเหตุอำนวยให้เหล่านั้น จึงตรัสว่า เอว สมาหิเต จิตฺเต
ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า โส เอว เป็นต้นเหล่านั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โส คือ โส อห แปลว่า เรานั้น. บทว่า เอว นั่นเป็น
บทแสดงลำดับแห่งจตุตถฌาน. มีอธิบายว่า เราได้เฉพาะจตุตถฌาน ด้วย
ลำดับนี้.
บทว่า สมาหิเต ความว่า (เมื่อจิตของเรา) ตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิ
ในจตุตถฌานนี้.
ส่วนในคำว่า ปริสุทฺเธ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ อันอุเบกขาให้
เกิดแล้ว. มีคำอธิบายไว้ว่า ชื่อว่า ผุดผ่อง คือใสสว่าง เพราะความเป็น
ธรรมชาติบริสุทธิ์นั่นเอง.
ชื่อว่า ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน เพราะความที่กิเลสเพียงดังเนินมีราคะ
เป็นต้น อันมรรคกำจัดแล้ว เพราะฆ่าซึ่งปัจจัยมีสุขเป็นต้นเสียได้. ชื่อว่า
มีอุปกิเลสปราศไปแล้ว เพราะความไม่มีกิเลสเพียงดังเนินนั่นเอง. จริงอยู่
จิตย่อมเศร้าหมอง เพราะกิเลสเพียงดังเนิน.
ชื่อว่า เป็นธรรมชาติอ่อน เพราะอบรมดีแล้ว มีคำอธิบายว่า ถึงความ
ชำนาญ. แท้จริง จิตที่เป็นไปอยู่อำนาจ ท่านเรียกว่า มุทุ (อ่อน). อนึ่ง
ชื่อว่าควรแก่การงาน เพราะความเป็นจิตอ่อนนั่นเอง มีคำอธิบายว่า เหมาะแก่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 280
การงาน คือควรประกอบในการงาน. จริงอยู่ จิตที่อ่อน ย่อมเป็นของควร
แก่การงาน ดุจทองคำที่ไล่มลทินออกดีแล้ว ฉะนั้น. ก็จิตแม้ทั้ง ๒ (คือจิตอ่อน
และจิตที่ควรแก่การงาน) นั้นจะมีได้ ก็เพราะเป็นจิตที่ได้รับอบรมดีแล้วนั่นแล
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรายังไม่
เล็งเห็นแม้ธรรมอย่างหนึ่งอื่น ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นของอ่อน
และควรแก่การงานเหมือนจิตนี้เลย นะภิกษุทั้งหลาย* !
ชื่อว่า ตั้งมั่นแล้ว เพราะตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลายมีความบริสุทธิ์เป็นต้น
เหล่านั้น ชื่อว่าถึงความไม่หวั่นไหว เพราะความเป็นจิตตั้งมั่นนั่นเอง มีอธิบาย
ว่า เป็นจิตไม่หวั่นไหว คือหมดความหวั่นไหว. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตั้งมั่นแล้ว
เพราะความเป็นจิตตั้งอยู่แล้วในอำนาจของตน โดยความเป็นจิตอ่อนและควร
แก่การงาน. ชื่อว่า ถึงความไม่หวั่นไหว เพราะความเป็นจิตอันธรรมทั้งหลาย
มีศรัทธาเป็นต้น ประคองไว้แล้ว.
[จิตประกอบด้วยธรรม ๖ อย่าง เป็นจิตไม่หวั่นไหว]
จริงอยู่ จิตอันศรัทธาประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะอสัท-
ธิยะ ( ความไม่มีศรัทธา) อันวิริยะประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะ
โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) อันสติประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะ
ความประมาท (ความเลินเล่อ) อันสมาธิประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว
เพราะอุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) อันปัญญาประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว
เพราะอวิชชา (ความไม่รู้) ที่ถึงความสว่าง ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะความมืด
คือกิเลส จิตอันธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ประคองไว้แล้ว เป็นจิตถึงความไม่-
หวั่นไหว. จิตที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ดังพรรณนามาแล้วนี้ ย่อมเป็น
* องฺ. เอก. ๒๐ / ๑๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 281
ของควรแก่อภินิหาร เพื่อการทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควร
ทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
แม้อีกนัยหนึ่ง เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิในจตุตถฌาน ชื่อว่าเป็น
จิตบริสุทธิ์ เพราะเป็นจิตไกลจากนิวรณ์, ชื่อว่าผุดผ่อง เพราะก้าวล่วงองค์ฌาน
มีวิตกเป็นต้น, ชื่อว่าไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน เพราะไม่มีความประพฤติต่ำ
ด้วยความปรารถนาอันลามก ซึ่งเป็นข้าศึกต่อการกลับได้ฌาน๑, อธิบายว่า
ชื่อว่าไม่มีปัจจัยแห่งกามราคะมีประการต่าง ๆ อันหยั่งลงแล้ว คือเป็นไปแล้ว
ด้วยอำนาจความปรารถนา. ชื่อว่า มีอุปกิเลสปราศไปแล้ว เพราะความ
ปราศไปแห่งความเศร้าหมองของจิต มีอภิชฌาเป็นต้น. ก็แม้ธรรมทั้ง ๒
(คือความไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน และมีกิเลสปราศไป) นั้น บัณฑิตพึงทราบ
ตามแนวแห่งอนังคณสูตรและวัตถุสูตร๒.
ชื่อว่า เป็นจิตอ่อน เพราะถึงความชำนาญ. ชื่อว่า ควรแก่การงาน
เพราะเข้าถึงความเป็นบาทแห่งฤทธิ์. ชื่อว่า ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
เพราะข้าถึงความเป็นธรรมชาติประณีต ด้วยความเต็มบริบูรณ์แห่งภาวนา,
อธิบายว่า จิตย่อมถึงความไม่หวั่นไหว ฉันใด, ตั้งมั่นแล้ว ฉันนั้น. จิตที่
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ แม้ดังพรรณนามาแล้วนี้ ย่อมเป็นของควรแก่
อภินิหาร เป็นบาท เป็นปทัฏฐาน แห่งการทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรม
ทั้งหลายที่ควรทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ด้วยประการฉะนี้.
๑. วิสุทธิมรรค. ๒ / ๒๐๓ เป็น ฌานปฏิลาภปจฺจนีกาน เห็นว่าถูก จึงแปลตามนั้น.
๒. ม. มู. ๑๒ / ๔๒-๖๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 282
บทว่า ปพฺเพนิวาสานุสฺสติญฺาณาย ความว่า เมื่อจิตนั่นอัน
เป็นบาทแห่งอภิญญา เกิดแล้วอย่างนั้น, (เราได้น้อมจิตไป) เพื่อประโยชน์
แก่บุพเพนิวาสานุสติญาณนั้น.
[อรรถาธิบายวิเคราะห์ ปุพเพนิวาสศัพท์]
ในบรรดาบทว่า ปุพเพนิวาสา เป็นต้นนี้ พึงทราบวิเคราะห์ศัพท์
ดังนี้ :-
ขันธ์ที่คนเคยอยู่แล้วในกาลก่อน คือในอดีตชาติ ชื่อว่า ปุพเพนิวาส
(ขันธ์ที่ตนเคยอยู่แล้วในกาลก่อน).
ขันธ์ที่ตนเคยอยู่ทับแล้ว คือที่ตนตามเสวยแล้ว ได้แก่ ที่เกิดขึ้นใน
สันดานของตนแล้วดับไป หรือธรรมที่ตนเคยอยู่แล้ว ชื่อว่า นิวุฏฺา
(ขันธ์หรือธรรมที่ตนเคยอยู่ทับแล้ว).
ธรรมทั้งหลายที่ตนเคยอยู่ ด้วยการอยู่โดยความเป็นโคจร คือที่ตน
รู้แจ้ง ได้แก่ที่ตนกำหนดแล้ว ด้วยวิญญาณของตน หรือแม้ที่ตนรู้แจ้งแล้ว
ด้วยวิญญาณของผู้อื่น ในญาณทั้งหลายมีการตามระลึกถึงสังสารวัฏที่ตนตัดได้
ขาดแล้ว ชื่อว่า นิวฏฺา.
พระโยคาวจรย่อมตามระลึกได้ถึงขันธ์ ที่ตนเคยอยู่ในกาลก่อนด้วย
สติใด,* สตินั้นชื่อว่า บุพเพนิวาสานุสติ ในคำว่า ปุพเพนิวาสานุสสติ นี้ .
ญาณที่สัมปยุตด้วยสตินั้น ชื่อว่า ญาณ. เพื่อประโยชน์แก่บุพเพ-
นิวาสานุสติญาณนี้, มีคำอธิบายว่า (เราได้น้อมจิตไป) เพื่อบุพเพนิวาสา-
นุสติญาณ คือเพื่อบรรลุ ได้แก่เพื่อถึงญาณนั้น ด้วยประการฉะนี้.
* วิสุทธิมรรค. ๒ / ๒๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 283
บทว่า อภินินฺนาเมสึ แปลว่า เราได้น้อยไปเฉพาะแล้ว. บทว่า
โส คือ โส อห แปลว่า เรานั้น. บทว่า อเนกวิหิต แปลว่า มิใช่
ชาติเดียว, อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า อันเราให้เป็นไปแล้ว คือพรรณนาไว้แล้ว
โดยอเนกประการ. บทว่า ปุพฺเพนิวาส ได้แก่สันดานอันเราเคยอยู่ประจำ
ในภพนั้น ๆ ตั้งต้นแต่ภพที่ล่วงแล้วเป็นลำดับไป. ด้วยบทว่า อนุสฺสรามิ นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงว่า เราได้ตามระลึกไป ๆ ถึงลำดับแห่งชาติ
ได้อย่างนี้ คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้างเป็นต้น, อีกอย่างหนึ่ง
เราระลึกตามได้จริง ๆ คือเมื่อจิตสักว่าเราได้น้อมไปเฉพาะแล้วเท่านั้น เราก็
ระลึกได้. จริงอยู่ พระมหาบุรุษทั้งหลายผู้มีบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว ไม่มีการทำ
บริกรรม เพราะเหตุนั้น มหาบุรุษเหล่านั้น พอน้อมจิตมุ่งตรงไปเท่านั้น
ก็ย่อมระลึก (ชาติ) ได้. ส่วนกุลบุตรผู้เป็นอาทิกรรมิกทั้งหลาย ต้องทำ
บริกรรมจึงระลึก (ชาติ) ได้ เพราะเหตุนั้น การบริกรรมด้วยสามารถแห่ง
กุลบุตรเหล่านั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย. แต่เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวการบริกรรมนั้น
จะทำนิทานแห่งพระวินัยให้เป็นภาระหนักยิ่ง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจะไม่
กล่าวการบริกรรมนั้นไว้ แต่นักศึกษาผู้มีความต้องการควรถือเอาบริกรรมนั้น
ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรค*. ก็ในนิทาน
แห่งพระวินัยนี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาไว้เฉพาะบาลีเท่านั้น,
บทว่า เสยฺยถีท เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งการแสดงประการที่
พระองค์ทรงเริ่มไว้แล้ว. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ
ทรงแสดงประการที่ต่างกันแห่งบุพเพนิวาส ที่พระองค์ทรงเริ่มไว้แล้วนั้น จึง
* วิสุทธิมรรค. ๒ /๒๕๑-๒๕๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 284
ตรัสคำมีอาทิว่า เอกมฺปิ ชาตึ เป็นต้น. ในคำว่า เอกมฺปิ ชาตึ เป็นต้นนั้น
มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า เอกมฺปิ ชาตึ ความว่า ชาติหนึ่งบ้าง ได้แก่ ขันธสันดาน
อันนับเนื่องในภพหนึ่ง. ซึ่งมีปฏิสนธิเป็นมูล มีจุติเป็นที่สุด. บทว่า เทฺวปิ
ชาติโย เป็นต้น ก็นัยนี้.
[อรรถาธิบายเรื่องกัป]
อนึ่ง ในบทว่า อเนเกปิ สวฏฺฏกปฺเป เป็นต้น พึงทราบว่า
กัปที่กำลังเสื่อมลง ชื่อว่าสังวัฏฏกัป, กัปที่กำลังเจริญขึ้น ชื่อวิวัฏฏกัป. บรรดา
สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปทั้ง ๒ นั้น สังวัฏฏฐายีกัป ชื่อว่าเป็นอันท่านถือเอาแล้ว
ด้วยสังวัฏฏัป เพราะสังวัฏฏกัปเป็นมูลเดิมแห่งสังวัฏฏฐายีกัปนั้น และ
วิวัฏฏฐายีกัป ก็เป็นอันท่านถือเอาแล้วด้วยวิวัฏฏกัป.
จริงอยู่ เมื่อถือเอาเช่นนั้น กัปทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อสงไขยกัป ๔ อย่างเหล่านี้, ๔ อย่างเป็นไฉน ? คือ
สังวัฏฏกัป ๑ สังวัฏฏฐายีกัป ๑ วิวัฏฏกัป ๑ วิวัฏฏฐายีกัป* ๑, ทั้งหมด
ย่อมเป็นอันท่านถือเอาแล้ว.
บรรดากัปเหล่านั้น สังวัฏฏกัปมี ๓ คือ เตโชสังวัฏฏกัป (คือกัปที่
พินาศไปเพราะไฟ) ๑ อาโปสังวัฏฏกัป (คือกัปที่พินาศไปเพราะน้ำ) ๑ วาโย-
สังวัฏฏกัป (คือกัปที่พินาศไปเพราะลม) ๑.
เขตแดนแห่งสังวัฏฏกัปมี ๓ คือ ชั้นอาภัสสระ ๑ ชั้นสุภกิณหะ ๑
ชั้นเวหัปผละ ๑. ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะไฟ, ในกาลนั้น โลกย่อม
ถูกไฟเผา ภายใต้ตั้งแต่ชั้นอาภัสสระลงมา, ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะน้ำ
* องฺ. จตุกฺก. ๒๑ / ๑๙๐
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 285
ในกาลนั้น โลกย่อมถูกน้ำทำลายให้แหลกเหลวไป ภายใต้ตั้งแต่ชั้นสุภกิณหะ
ลงมา. ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะลม, ในกาลนั้น โลกย่อมถูกลมพัด
ให้กระจัดกระจายไป ภายใต้ตั้งแต่ชั้นเวหัปผละลงมา. ก็โดยส่วนมาก* พุทธเขต
อย่างหนึ่ง (คือเขตของพระพุทธเจ้า) ย่อมพินาศไป แม้ในกาลทุกเมื่อ.
[พุทธเขต ๓ พร้อมทั้งอรรถาธิบาย]
ขึ้นชื่อว่า พุทธเขต (คือเขตของพระพุทธเจ้า) มี ๓ คือ ชาติเขต
(คือเขตที่ประสูติ) ๑ อาณาเขต (คือเขตแห่งอำนาจ) ๑ วิสัยเขต (คือ
เขตแห่งอารมณ์ หรือความหวัง) ๑.
ในพุทธเขต ๓ อย่างนั้น สถานเป็นที่หวั่นไหวแล้ว เพราะเหตุทั้งหลาย
มีการถือปฏิสนธิเป็นต้น ของพระตถาคต ชื่อ ชาติเขต ซึ่งมีหมื่นจักวาล
เป็นที่สุด,
สถานที่อานุภาพแห่งพระปริตรเหล่านี้ คือ รัตนปริตร เมตตาปริตร
ขันธปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร โมรปริตร เป็นไปชื่อว่า อาณาเขต
ซึ่งมีแสนโกฏิจักรวาลเป็นที่สุด.
เขตเป็นที่พึงซึ่งพระองค์ทรงระลึกจำนงหวัง ที่พระองค์ทรงหมายถึง
ตรัสไว้ว่า ก็หรือว่า ตถาคตพึงหวังโลกธาตุมีประมาณเพียงใด ดังนี้เป็นต้น
ชื่อว่า วิสัยเขต ซึ่งมีประมาณหาที่สุดมิได้.
บรรดาพุทธเขตทั้ง ๓ เหล่านั้น อาณาเขตอย่างหนึ่ง ย่อมพินาศไป
ดังพรรณนามาฉะนี้, ก็เมื่ออาณาเขตนั้นพินาศอยู่ ชาติเขตก็ย่อมเป็นอันพินาศ
ไปด้วยเหมือนกัน. และชาติเขตเมื่อพินาศไป ก็ย่อมพินาศโดยรวมกันไปทีเดียว.
แม้เมื่อดำรงอยู่ ก็ย่อมดำรงอยู่โดยรวมกัน. ความพินาศไป และความดำรงอยู่
* วิตฺถารโตติ ปุถุกโต. โยชนา ๑ / ๑๖๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 286
แห่งเขตนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค* . นักศึกษา
ทั้งหลายผู้มีความต้องการ พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคนั้น.
ก็บรรดาสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้ว
อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ ณ โพธิมัณฑ์ เพื่อต้องการตรัสรู้
ยิ่งซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงระลึก (บุพเพนิวาสได้) ตลอดสังวัฏฏกัป
เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป
เป็นอันมากบ้าง.
ทรงระลึกได้ โดยนัยอย่างไร ?
คือทรงระลึกได้โดยนัยว่า อมุตฺตราสึ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมุตฺตราสึ ความว่า ในสังวัฏฏกัป
ชื่อโน้น เราได้มีแล้ว คือในภพก็ดี ในกำเนิดก็ดี ในคติก็ดี ในวิญญาณฐิติก็ดี
ในสัตตาวาสก็ดี ในสัตตนิกายก็ดี ชื่อโน้น เราได้มีแล้ว.
บทว่า เอวนฺนาโม ความว่า (ในภพเป็นต้นชื่อโน้น) เรามีชื่อว่า
เวสสันดร หรือมีชื่อว่า โชติบาล.
บทว่า เอวโคตฺโต ความว่า เราเป็นภควโคตรหรือโคตมโคตร.
บทว่า เอววณฺโณ ความว่า เราเป็นผู้มีผิวขาว หรือดำคล้ำ.
บทว่า เอวมาหาโร ความว่า เรามีอาหารคือข้าวสุขแห่งข้าวสาลีที่
ปรุงด้วยเนื้อ หรือมีผลไม้ที่หล่นเองเป็นของบริโภค.
บทว่า เอวสุททุกฺขปฏิสเวที ความว่า เราได้เสวยสุขและทุกข์
ต่างโดยประเภทมีสามิสสุขและนิรามิสสุขเป็นต้น ที่เป็นไปทางกายและทางจิต
โดยอเนกประการบ้าง.
* วิสุทธิมรรค ๒ / ๒๒๕-๒๖๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 287
บทว่า เอวมายุปริยนฺโต ความว่า (ในภพเป็นต้นชื่อโน้น) เรามี
ที่สุดแห่งอายุมีกำหนดได้ร้อยปี หรือมีที่สุดแห่งอายุมีกำหนดได้แปดหมื่นสี่พัน
กัป อย่างนั้น.
หลายบทว่า โส ตโต สุโต อมุตฺร อุทปาทึ ความว่า เรานั้น
จุติจากภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือสัตตนิกายนั้นแล้ว
จึงได้เกิดขึ้นในภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือในสัตตนิกาย
ชื่อโน้นอีก.
บทว่า ตตฺราปาสึ ความว่า ภายหลังเราได้มีแล้ว ในภพ กำเนิด
คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือในสัตตนิกายแม้นั้น ซ้ำอีก. คำว่า เอวนาโม
เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะการระลึกนี้ว่า อมุตฺราสึ เป็นการทรงระลึก
ตามที่ต้องการของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงระลึกขึ้นไปตามลำดับ, การระลึก
นี้ว่า โส ตโต จุโต เป็นการพิจารณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงระลึก
ถอยหลังกลับ, เพราะฉะนั้น พึงทราบใจความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
หมายเอาภพดุสิต จึงตรัสคำนี้ว่า อมุตฺร อุทปาทึ ในลำดับแห่งการทรงอุบัติ
ขึ้นในภพนี้ ๆ ว่า อิธูปปนฺโน.
หลายบทว่า ตตฺราปาสึ เอวนฺนาโม ความว่า เราได้เป็นเทวบุตร
มีนามว่า เสตุเกตุ ในดุสิตพิภพแม้นั้น.
บทว่า เอวโคตฺโต ความว่า เรามีโคตรอย่างเดียวกันกับเทวดา
เหล่านั้น.
บทว่า เอววณฺโณ ความว่า เรามีผิวพรรณดุจทอง.
บทว่า เอวมาหาโร ความว่า เรามีอาหารขาวสะอาดเป็นทิพย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 288
บทว่า เอวสุขทุกฺขปฏิสเวที ความว่า เราได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์
อย่างนี้. ส่วนทุกข์ เป็นเพียงทุกข์ประจำสังขารเท่านั้น.
บทว่า เอวมายุปริยนฺโต ความว่า เรามีที่สุดแห่งอายุห้าสิบเจ็ด
โกฏิกับหกสิบแสนปี อย่างนี้.
หลายบทว่า โส ตโต จุโต ความว่า เรานั้น จุติจากดุสิตพิภพ
นั้นแล้ว.
ชุมนุมบทว่า อิธูปปนฺโน ความว่า เราเกิดแล้วในพระครรภ์ของ
พระนางมหามายาเทวีในภพนี้.
บทว่า อิติ แปลว่า ด้วยประการฉะนี้.
สองบทว่า สาการ สอุทฺเทส คือพร้อมด้วยอุเทศ ด้วยอำนาจ
ชื่อและโคตร, พร้อมด้วยอาการ ด้วยอำนาจผิวพรรณเป็นต้น.
จริงอยู่ สัตว์ คน อันชาวโลกย่อมแสดงขึ้น ด้วยชื่อและโคตรว่า
ติสสะ โคตมะ ดังนี้. สัตว์ ย่อมปรากฏโดยความเป็นต่าง ๆ กัน ด้วยผิวพรรณ
เป็นอาทิว่า ขาว ดำคล้ำ ดังนี้เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ชื่อและโคตร ชื่อว่า
อุเทศ, ผิวพรรณเป็นต้นนอกนี้ ชื่อว่าอาการ.
พวกเดียรถีย์ระลึกชาติได้ ๔๐ กัป
ถามว่า ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงระลึกบุพเพนิวาสได้พวกเดียว
เท่านั้นหรือ ? ข้าพเจ้าจะเฉลยต่อไป :- พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรง
ระลึกได้พวกเดียว ก็หาไม่, ถึงแม้พระปัจเจกพุทธ พระสาวกและเดียรถีย์
ก็ระลึกได้, แต่ว่าระลึกได้โดยไม่วิเศษเลย.* จริงอยู่ พวกเดียรถีย์ ย่อมระลึก
ได้เพียง ๔๐ กัปเท่านั้น เลยจากนั้นไป ระลึกไม่ได้.
* สารัตถทีปนี ๑ / ๖๑๓ เป็น. . . อวิเสเสน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 289
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะมีปัญญาหย่อนกำลัง.
แท้จริง ปัญญาของเดียรถีย์เหล่านั้น จัดว่าหย่อนกำลัง เพราะเว้น
จากการกำหนดนามและรูป.
[พระอสีติมหาสาวกระลึกชาติได้แสนกัป]
ก็บรรดาพระสาวกทั้งหลาย พระมาหาสาวก ๘๐ รูป ระลึกได้แสนกัป.
พระอัครสาวกทั้ง ๒ องค์ ระลึกได้หนึ่งอสงไชยและแสนกัป. พระปัจเจกพุทธ
ทั้งหลาย ระลึกได้สองอสงไขยและแสนกัป. จริงอยู่ อภินิหารของพระมหา-
สาวก พระอัครสาวกและพระปัจเจกพุทธเหล่านั้น มีประมาณเท่านี้. ส่วน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีกำหนด, พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมระลึกได้
ตราบเท่าที่ทรงปรารถนา. แต่พวกเดียรถีย์ ย่อมระลึกได้ตามลำดับขันธ์เท่านั้น
พ้นลำดับ (ขันธ์) ไป ย่อมไม่สามารถจะระลึกได้ ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ.
เพราะว่าการก้าวลงสู่ประเทศ (แห่งญาณ) ที่ตนปรารถนา ย่อมไม่มีแก่เดียรถีย์
เหล่านั้น ผู้เป็นเหมือนคนบอด. พระสาวกทั้งหลาย ย่อมระลึกได้แม้โดย
ประการทั้ง ๒. พระปัจเจกพุทธทั้งหลาย ก็เหมือนอย่างนั้น, ส่วนพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ย่อมทรงระลึกได้ตลอดสถานที่ ๆ ทรงมุ่งหวังนั้น ๆ ทั้งหมดทีเดียว
ในเบื้องต่ำหรือเบื้องบน ในโกฏิกัปเป็นอันมากด้วยลำดับขันธ์บ้าง ด้วยอำนาจ
จุติและปฏิสนธิบ้าง ด้วยอำนาจการก้าวไปดุจราชสีห์บ้าง.
ในคำว่า อย โข เม พฺราหฺมณ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า เม คือ มยา แปลว่า อันเรา. ความรู้แจ้ง ท่านเรียกว่า
วิชชา เพราะอรรถว่า ทำให้รู้แจ้ง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 290
ถามว่า ย่อมทำให้รู้แจ้งอะไร ?
แก้ว่า ย่อมให้รู้แจ้ง ซึ่งบุเพนิวาส.
โมหะที่ปกปิดวิชชานั้น ท่านเรียกว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า เป็น
เหตุทำไม่ให้รู้แจ้งซึ่งบุพเพนิวาสนั้นนั่นแล. โมหะนั้นนั่นเอง ท่านเรียกว่า
ตมะ (ความมืด) ในบทว่า ตโม เพราะอรรถว่าปกปิด. วิชชานั้นนั่นเอง
ท่านเรียกว่า อาโลกะ ในบทว่า อาโลโก เพราะอรรถว่าทำแสงสว่าง.
ก็บรรดาบทเหล่านี้ ในบทว่า วิชฺชา อธิคตา นี้ มีอธิบายเท่านี้. คำที่เหลือ
เป็นคำกล่าวสรรเสริญ.
ส่วนในบททั้ง ๒ ว่า วิชฺชา อธิคตา อวิชฺชา วิหตา นี้มีโยชนาว่า
วิชชานี้แล เราได้บรรลุแล้ว อวิชชา อันเราผู้ได้บรรลุวิชชานั้น กำจัดได้แล้ว.
อธิบายว่า ให้พินาศแล้ว.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะเหตุที่วิชชาเกิดขึ้นแล้ว.
ในบททั้ง ๒ (คือ ตโม วิหโต อาโลโก อุปฺปนฺโน) แม้นอกนี้
ก็มีนัยนี้.
ศัพท์ว่า ยถา ในคำว่า ยถาต นี้ เป็นนิบาต ลงในความอุปมา.
ศัพท์ว่า ต เป็นนิบาต.
(วิชชาเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว) แก่บุคคลผู้ชื่อว่าไม่ประมาท เพราะความ
ไม่อยู่ปราศจากสติ. ผู้ชื่อว่าความเพียรเผากิเลส เพราะยังกิเลสให้เร่าร้อน
ด้วยความเพียร. ผู้ชื่อว่ามีตนส่งไปแล้ว อธิบายว่า ผู้ส่งจิตไปแล้ว เพราะ
เป็นผู้ไม่มีความเยื่อใยในกายและชีวิต.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 291
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำอธิบายนี้ไว้ว่า อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว,
วิชชา เกิดขึ้นแล้ว (แก่เรา), ความมืด เรากำจัดได้แล้, และสว่างเกิด
ขึ้นแล้ว (แก่เรา. ผละอันสมควรแก่การประกอบความเพียรเนือง ๆ นั้น เรา
ได้แล้ว เหมือนอย่างอวิชชา อันพระโยคาวจรพึงกำจัด, วิชชาพึงเกิดขึ้น,
ความมืด พึงถูกกำจัด, แสดงสว่าง พึงเกิดขึ้น แก่พระโยคาวจรผู้ไม่ประมาท
ผู้มีความเพียรเผากิเลส ผู้มีตนส่งไปแล้วอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน.
หลายบทว่า อย โย เม พฺราหฺมณ ปมา อภินิพฺพิทา อโหสิ
กุกฺกุฏจฺฉาปกสฺเสว อณฺฑโกสมฺหา ความว่า พราหมณ์ ! ความชำแรก
ออกครั้งที่หนึ่ง คือความออกไปครั้งที่หนึ่ง ได้แก่ความเกิดเป็นอริยะครั้งที่
หนึ่งนี้แล ได้มีแล้วแก่เรา เพราะทำลายกระเปาะฟอง คืออวิชชา อันปกปิด
ขันธ์ที่เราอยู่อาศัยในภพก่อน ด้วยจะงอยปาก คือบุพเพนิวาสานุสติญาณ
ดุจความชำแรกออก คือความออกไป ได้แก่ความเกิดในภายหลัง ในหมู่ไก่
จากกระเปาะฟองไข่นั้น แห่งลูกไก่ เพราะทำลายกระเปาะฟองไข่ ด้วยจะงอย
ปาก หรือด้วยปลายเล็บเท้าฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.
กถาว่าด้วยปุพเพนิวาส จบ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 292
กถาว่าด้วยทิพยจักษุ
หลายบทว่า โส เอว ฯ ป ฯ จุตูปปาตญฺาฌาย ความว่า
(เราได้น้อมจิตไปแล้ว) เพื่อญาณ (ความรู้) ในจุติและอุปบัติ (ของสัตว์
ทั้งหลาย). มีคำอธิบายว่า (เราได้น้อมจิตไปแล้ว) เพื่อญาณที่เป็นเครื่องรู้
ความเคลื่อนและความบังเกิด ของสัตว์ทั้งหลาย.
สองบทว่า จตฺต อภินินฺนาเมสึ ความว่า เราได้น้อมบริกรรมจิต
ไป.
ส่วนในคำว่า โส ทิพฺเพน ฯ เป ฯ ปสฺสามิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
พระมหาสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมไม่มีการทำบริกรรม, จริงอยู่
พระมหาสัตว์เหล่านั้น พอเมื่อน้อมจิตไปเท่านั้น ย่อมเป็นสัตว์ทั้งหลาย
ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราบ ได้ดี
ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์. กุลบุตรผู้เป็นอาทิกรร-
มิกทั้งหลาย ต้องทำบริกรรมจึงเห็นด้วย. เพราะเหตุนั้น การบริกรรม ด้วย
สามารถแห่งกุลบุตรเหล่านั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย. แต่เมื่อข้าพเจ้า จะกล่าว
การบริกรรมนั้นด้วย จะทำนิทานแห่งพระวินัย ให้เป็นภาระหนักยิ่ง, เพราะ
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวการบริกรรมนั้นไว้. ส่วนนักศึกษาทั้งหลาย ผู้มี
ความต้องการ ควรถือเอาการบริกรรมนั้น ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วใน
ปกรณ์วิเสสชื่อ วิสุทธิมรรค.* แต่ในนิทานแห่งพระวินัยนี้ ข้าพเจ้าจัก
พรรณนาไว้เฉพาะบาลีเท่านั้น.
* วิสุทธิมรรค ๒ / ๒๕๑-๒๕๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 293
[อรรถาธิบายคำว่าทิพยจักษุเป็นต้น]
บทว่า โส คือ โส อห แปลว่า เรานั้น, ในคำว่า ทิพฺเพน
เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- จักษุประสาท ชื่อว่าทิพย์ เพราะเป็นเช่นกับด้วย
จักษุทิพย์. จริงอยู่ จักษุประสาทของเทวดาทั้งหลาย ที่เกิดเพราะสุจริตกรรม
อันน้ำดี เสลด และเลือด เป็นต้นมิได้พัวพัน ซึ่งสามารถรับอารมณ์แม้ใน
ที่ไกลได้ เพราะเป็นธรรมชาติที่พ้นจากอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ชื่อว่าเป็น
ทิพย์. ก็อีกอย่างหนึ่ง ณาณจักษุนี้ ที่เกิดเพราะกำลังแห่งวิริยภาวนา ก็เป็น
เช่นจักษุประสาทนั้นเหมือนกัน, เพราะเหตุนั้น ญาณจักษุนั้น จึงชื่อว่าเป็น
ทิพย์ เพราะเป็นจักษุอันพระองค์ได้แล้วด้วยอำนาจทิพพวิหาร และเพราะ
การกำหนดแสงสว่าง. ชื่อว่าเป็นทิพย์ แม้เพราะมีความรุ่งเรืองมาก ด้วย
การกำหนดแสงสว่าง. ชื่อว่าเป็นทิพย์ แม้เพราะมีคติ (ทางไป) มาก ด้วย
การเห็นรูปที่อยู่ภายนอกฝาเรือนเป็นต้น. หมวด ๕ แห่งอรรถทั้งหมดนั้น
บัณฑิตพึงทราบ ตามแนวแห่งคัมภีร์ศัพทศาสตร์.
ชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่าเห็น เป็นเหมือนจักษุ เพราะทำกิจแห่ง
จักษุ แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าจักษุ. ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะความเป็นเหตุ
แห่งทิฏฐิวสุทธิ ด้วยการเห็นความจุติและความอุปบัติ (แห่งสัตว์ทั้งหลาย).
จริงอยู่ ผู้ใด ย่อมเห็นเพียงความจุติเท่านั้น ไม่เห็นความอุปบัติ (แห่งสัตว์
ทั้งหลาย) ผู้นั้นย่อมยึดเอาอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นวาขาดสูญ). ผู้ใดย่อมเห็น
เพียงความอุปบัติเท่านั้น ไม่เห็นความจุติ (แห่งสัตว์ทั้งหลาย) ผู้นั้น ย่อม
ยึดเอาทิฏฐิคือความปรากฏขึ้นแห่งสัตว์ใหม่ ๆ. ส่วนผู้ใดย่อมเห็นทั้งสองอย่าง
นั้น ผู้นั้นย่อมล่วงเลยทิฏฐิทั้งสองอย่างนั้นไป เพราะเหตุนั้น ทัสสนะนั้น
ของผู้นั้น จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 294
พระเนตรเห็นทั้งสองอย่างนั้นแล้ว. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวคำนี้ว่า
ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะความเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ ด้วยการเห็นความจุติและ
ความอุปบัติ (แห่งสัตว์ทั้งหลาย) ดังนี้.
[ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้าปราศจากอุปกิเลส ๑๑ อย่าง]
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะเว้นจากอุปกิเลส (เครื่องเศร้า
หมองจิต) ๑๑ อย่าง. จริงอยู่ ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้า เว้นแล้ว
จากอุปกิเลส ๑๑ อย่าง. เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อน
อนุรุทธะนันทิยะและกิมพิละทั้งหลาย*! เรานั้นแล รู้แล้วว่า วิจิกิจฉา เป็น
เครื่องเศร้าหมองจิต จึงละวิจิกิจฉา เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า อมนสิการ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละอมนสิการ
เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า ถึงมิทธิ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละถินมิทธะเครื่อง
เศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า ความหวาดเสียว เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละความ
หวาดเสียว เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า ความตื่นเต้น เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละความตื่นเต้น
เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า ความชั่วหยาบ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละความชั่วหยาบ
เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไป เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละ
ความเพียรที่ปรารภเกินไป เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
* ในอุปกิเลสสูตร มีพระอนุรุทธะ พระนันทิยะ และพระกิมพิละ ๓ ท่านเข้าไปเฝ้า, แต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสออกชื่อท่านอนุรุทธะรูปเดียวที่เป็นหัวหน้า ใช้พหุวจนะ เช่น สาริปุตตา
เป็นต้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 295
รู้แล้วว่า ความเพียรที่หย่อนเกินไป เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละ
ความเพียรที่หย่อนเกินไป เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า ตัณหาที่คอยกระซิบ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละตัณหา
ที่คอยกระซิบ เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า มานัตตสัญญา (คือความสำคัญสภาวะเป็นต่าง ๆ กัน)
เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละนานัตตสัญญา เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า กิริยาที่เพ่งดูรูปเกินไป เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละกิริยา
ที่เพ่งรูปเกินไป เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
ดูก่อนอนุรุทธะนันทิยะและกิมพิละทั้งหลาย ! เรานั้นแล เป็นผู้ไม่
ปรามาส มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียว
เทียวแล แต่ไม่เห็นรูปทั้งหลาย เห็นแต่รูปอย่างเดียวเทียวแล แต่ไม่รู้สึก
แสงสว่าง* ดังนี้เป็นต้น
ญาณจักษุนั้น (ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น) ชื่อว่าบริสุทธ์
เพราะเว้นจากอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมองจิต) ๑๑ อย่าง ดังพรรณนามาฉะนี้.
ชื่อว่า ล่วงจักษุของมนุษย์ เพราะเห็นรูปล่วงเลยอุปจารแห่งมนุษย์
ไป.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ชื่อว่าอติกกันตมานุสกะ เพราะล่วงเลย
มังสจักษุของมนุษย์ไป. ด้วยทิพยจักษุนั้นอันบริสุทธ์ล่วงเลยเสีย ซึ่งจักษุของ
มนุษย์.
สองบทว่า สตฺเต ปสฺสามิ ความว่า เราย่อมดู คือย่อมเห็น ได้แก่
ตรวจดูสัตว์ทั้งหลาย (ด้วยทิพยจักษุ) เหมือนมนุษย์ ดูด้วยมังสจักษุฉะนั้น.
* ม. อุปริ. ๑๔ / ๓๐๖-๓๐๗
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 296
ในคำว่า จวมาเน อุปปชฺชมาเน เป็นต้นนี้ วินิจฉัยดังนี้ :-
ใคร ๆ ไม่สามรถเพื่อจะเห็นสัตว์ทั้งหลายได้ ด้วยทิพย์จักษุในขณะ
จุติหรือในขณะอุปบัติ แต่สัตว์เหล่าใด ผู้ใกล้ต่อจุติอยู่ว่า จักจุติเดี๋ยวนี้ สัตว์
เหล่านั้น ท่านประสงค์ว่า กำลังจุติ และสัตว์เหล่าใด ผู้ถือปฏิสนธิแล้ว
หรือผู้เกิดแล้วบัดเดี๋ยวนี้ สัตว์เหล่านั้นท่านก็ประสงค์ว่า กำลังจะอุปบัติ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราย่อมเล็งเห็นสัตว์เหล่านั้น คือเห็นปานนั้น
ผู้กำลังจุติและผู้กำลังอุปบัติ ดังนี้.
บทว่า หีเน ความว่า ผู้ถูกเขาติเตียน คือดูหมิ่น เหยียดหยาม
ด้วยอำนาจชาติตระกูลและโภคะเป็นต้น ที่ชื่อว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้
ประกอบด้วยผลวิบากแห่งโมหะ.
บทว่า ปณีเต ความว่า ผู้ตรงกันข้ามจากบุคคลเลวนั้น เพราะ
ความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งอโมหะ.
บทว่า สุวณฺเณ ความว่า ผู้ประกอบด้วยผิวพรรณ ที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ และน่าชอบใจ เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งอโทสะ.
บทว่า ทุพฺพณฺเณ ความว่า ผู้ประกอบด้วยผิวพรรณที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ และไม่น่าชอบใจ เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งโทสะ.
อธิบายว่า ผู้มีรูปแปลกประหลาดจากผู้ที่มีรูปสวย ดังนี้บ้าง.
บทว่า สุคเต ได้แก่ ผู้ไปสู่สุคติ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ผู้มั่งคั่ง
คือมีทรัพย์มาก เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งอโลภะ.
บทว่า ทุคฺคเต ได้แก่ ไปสู่สุคติ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ผู้ยากจน
คือมีข้าวและน้ำน้อย เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งโลภะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 297
บทว่า ยถากมฺมูปเค ได้แก่ ผู้เข้าถึงตามกรรมที่คนเข้าไปสั่งสม
ไว้แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกิจแห่งทิพยจักษุด้วยบท
ต้น ๆ ว่า จวมาเน เป็นอาทิ. อนึ่ง กิจแห่งยถากัมมูปตฌาณ (ญาณเครื่อง
รู้สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรม) ก็เป็นอันตรัสแล้วด้วยบทนี้.
[ลำดับความเกิดขึ้นแห่งยถากัมมูปคญาณ]
ก็ลำดับความเกิดขึ้นแห่งญาณนั้น มีดังต่อไปนี้ :-
(ภิกษุในพระศาสนา๑นี้) เจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าต่อนรกเบื้องต่ำ
แล้ว ย่อมเห็นสัตว์นรกทั้งหลาย ผู้ตามเสวยทุกข์อย่างใหญ่อยู่. การเห็นนั้น
จัดเป็นกิจแห่งทิพยจักษุโดยแท้. เธอนั้นใฝ่ใจอยู่อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ ทำกรรม
อะไรหนอแล จึงได้ตามเสวยทุกข์อยู่อย่างนี้ ? ลำดับนั้น ญาณอันมีกรรมนั้น
เป็นอารมณ์ ก็เกิดขึ้นแก่เธอนั้นว่า เพราะทำกรรมชื่อนี้. อนึ่ง เธอนั้น
เจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าต่อเทวโลกเบื้องบนแล้ว ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายใน
สวนนันทวัน มิสสกวัน และปารุสกวัน เป็นต้น ผู้เสวยสมบัติอย่างใหญ่อยู่
การเห็นแม้นั้นจัดเป็นกิจแห่งทิพยจักษุโดยแท้. เธอนั้นใฝ่ใจอยู่อย่างนี้ว่า
"สัตว์เหล่านี้ทำกรรมอะไรหนอแล จึงได้เสวยสมบัติอย่างนี้ ?" ลำดับนั้น
ญาณอันมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์ก็เกิดขึ้นแก่เธอนั้นว่า "เพราะทำกรรมชื่อนี้."
นี้ชื่อว่า ยถากัมมูปคญาณ (ญาณเครื่องรู้สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรม). ชื่อว่าการ
บริกรรมแผนกหนึ่งแม้แห่งยถากัมมูปคญาณนี้ก็ไม่มี. ยถากัมมูปคญาณนี้ ไม่มี
การบริกรรมไว้แผนกหนึ่งแม้ฉันใด แม้อนาคตดังสญาณก็ไม่มีฉันนั้น. จริงอยู่
ญาณเหล่านี้ ๒ ที่เป็นบาทแห่งทิพยจักษุนั่นแล ย่อมสำเร็จพร้อมกับทิพยจักษุ
นั่นเอง.
๑. ฎีกาปรมัตถมัญชุสา ๒ / ๓๓๐ อิมานิ ศัพท์นี้เป็น อิมินา ในวิสุทธิมรรคก็เป็น อิมินา.
๒. วิสุทธิมรรค ๒ / ๒๖๙ มีศัพท์ว่า อิธ ภิกฺขุ จึงได้แปลไว้ตามนั้น เพราะความชัดดี.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 298
ในคำว่า กายทุจฺจริเตน เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ความประพฤติ
ชั่ว หรือความประพฤติเสียหาย เพราะมีกิเลสเป็นความเสียหาย เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ทุจริต. ความประพฤติชั่วทางกาย หรือความประพฤติชั่วที่เกิดจาก
กาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า กายทุจริต. แม้วจีทุจริต และมโนทุจริต ก็
ควรทราบดังอธิบายนี้.
บทว่า สมนฺนาคตา แปลว่า เป็นผู้พร้อมเพรียง.
[การด่าพระอริยเจ้าห้ามสวรรค์และห้ามรรค]
สองบทว่า อริยาน อุปวาทกา ความว่า สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความ
เห็นผิด เป็นผู้ใคร่ซึ่งความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ กล่าวใส่ร้าย มีคำอธิบายว่า
ด่าทอ ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระสาวกของพระพุทธเจ้า โดยที่สุด แม้คฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบัน ด้วย
อันติมวัตถุ หรือด้วยการกำจัดเสียซึ่งคุณ.
ในการกล่าวใส่ร้าย ๒ อย่างนั้น บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า สมณธรรมของ
ท่านเหล่านั้น ไม่มี, ท่านเหล่านั้น ไม่ใช่สมณะ ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
กล่าวใส่ร้ายด้วยอันติมวัตถุ. บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า ฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี มรรค
ก็ดี ผลก็ดี ของท่านเหล่านั้น ไม่มี ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่ากล่าวใส่ร้าย
ด้วยการกำจัดเสียซึ่งคุณ. ก็ผู้นั้นพึงกล่าวใส่ร้ายทั่งที่รู้ตัวอยู่ หรือไม่รู้ก็ตาม
ย่อมชื่อว่า เป็นผู้กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าแท้ แม้โดยประการทั้งสอง. กรรม
(คือการกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า) เป็นกรรมหนัก เป็นทั้งสัคคาวรณ์ (ห้าม
สวรรค์) ทั้งมัคคาวรณ์ (ห้ามมรรค)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 299
[เรื่องภิกษุหนุ่มกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าชั้นสูง]
ก็เพื่อประกาศข้อที่การด่าเป็นกรรมที่หนักนั้น พระโบราณาจารย์
ทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้มาเป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้ :-
ได้ยินว่า พระเถระรูปหนึ่ง และภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เที่ยวไปบิณฑบาต
ในบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง. ท่านทั้ง ๒ นั้น ได้ข้าวยาคูร้อนประมาณกระบวนหนึ่ง
ในเรือนหลังแรกนั่นเอง. แต่พระเถระเกิดลมเสียดท้องขึ้น. ท่านคิดว่า ข้าว
ยาคูนี้ เป็นของสบายแก่เรา เราจะดื่มข้าวยาคูนั้นก่อนที่มันจะเย็นเสีย ท่าน
จึงได้นั่งดื่มข้าวยาคูนั้นบนขอนไม้ ซึ่งพวกมนุษย์เข็นมาไว้ เพื่อต้องการทำ
ธรณีประตู. ภิกษุหนุ่มนอกนี้ ได้รังเกียจพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า พระเถระ
แก่รูปนี้หิวจัดหนอ กระทำให้เราได้รับความอับอาย. พระเถระเที่ยวไปในบ้าน
แล้วกลับไปยังวิหาร ได้พูดกะภิกษุหนุ่มว่า อาวุโส ที่พึ่งในพระศาสนานี้
ของคุณมีอยู่หรือ ?
ภิกษุหนุ่ม เรียนว่า มีอยู่ ขอรับ ! กระผมเป็นพระโสดาบัน.
พระเถระ พูดเตือนว่า อาวุโส ! ถ้ากระนั้น คุณไม่ได้ทำความพยามยาม
เพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไปหรือ ?* เพราะพระขีณาสพ คุณได้กล่าว
ใส่ร้ายแล้ว. ภิกษุหนุ่มรูปนั้น ได้ให้พระเถระนั้นอดโทษแล้ว เพราะเหตุนั้น
กรรมนั้นของภิกษุหนุ่มรูปนั้น ก็ได้กลับเป็นปกติเดิมแล้ว.
* ในวิสุทธิมรรค ภาค ๒ / ๒๗๐- มีดังนี้คือ เตนหาวุโส อุปริมคฺคตฺถาย วายาม มาอกาสีติ.
กสฺมา ภนฺเตติ. ขีณาสโว ตยา อุปวทิโตติ. แปลว่า พระเถระ พูดเตือนว่า อาวุโส ถ้ากระนั้น
คุณไม่ได้ทำความพยายาม เพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไปหรือ ? ภิกษุ นุ่นเรียนว่า เพราะ
เหตุไร ขอรับ ? พระเถระพูดว่า เพราะพระขีณาสพ คุณได้กล่าวใส่ร้ายแล้ว กสฺมา ภนฺเตติ
ในสามนต์นี้ น่าจะตกไป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 300
[วิธีขอขมาเพื่อให้อดโทษให้ในการด่าใส่ร้าย]
เพราะฉะนั้น ผู้ใดแม้อื่น กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า ผู้นั้นไปแล้ว
ถ้าท่านแก่กว่าตนไซร้, ก็พึงให้ท่านอดโทษให้ ด้วยเรียนท่านว่า กระผมได้
กล่าวคำนี้และคำนี้กะพระคุณเจ้าแล้ว ขอพระคุณเจ้าได้อดโทษนั้นให้กระผม
ด้วยเถิด ถ้าท่านอ่อนกว่าตนไซร้ ไหว้ท่านแล้วนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี
พึงขอให้ท่านอดโทษให้ ด้วยเรียนท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! กระผมได้กล่าว
คำนี้และคำนี้กะท่านแล้ว ขอท่านจงอดโทษนั้นให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ถ้าท่าน
ไม่ยอมอดโทษให้ หรือท่านหลีกไปยังทิศ (อื่น) เสีย พึงไปยังสำนักของภิกษุ
ทั้งหลายผู้อยู่ในวิหารนั้น. ถ้าท่านแก่กว่าตนไซร้ พึงยืนขอขมาโทษทีเดียว
ถ้าท่านอ่อนกว่าตนไซร้ ก็พึงนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี ให้ท่านช่วยอดโทษ
ให้ พึงกราบเรียนให้ท่านอดโทษอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! กระผมได้
กล่าวคำนี้ และคำนี้กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้นแล้ว ขอท่านผู้มีอายุรูปนั้น จงอด
โทษให้แก่กระผมด้วยเถิด ถ้าพระอริยเจ้านั้นปรินิพพานแล้วไซร้, ควรไป
ยังสถานที่ตั้งเตียงที่ท่านปรินิพาน แม้ไปจนถึงป่าช้าแล้ว พึงให้อดโทษให้
เมื่อตนได้กระทำแล้วอย่างนี้ กรรมคือการใส่ร้ายนั้น ก็ไม่เป็นทั้งสัคคาวรณ์
มัคคาวรณ์ (ไม่ห้ามทั้งสวรรค์ทั้งมรรค) ย่อมกลับเป็นปกติเดิมทีเดียว.
[การกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้ามีโทษเช่นกับอนันตริยกรรม]
บทว่า มิจฺฉาทิฏิกา แปลว่า มีความเห็นวิปริต.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิกมฺมสมาทานา ความว่า ก็คนเหล่าใด ให้ชน
แม้เหล่าอื่นสมาทาน บรรดากรรมมีกายกรรมเป็นต้น ซึ่งมีมิจฉาทิฏฐิเป็นมูล.
คนเหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมนานาชนิดอันตนสมาทานถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจ
มิจฉาทิฏฐิ. ก็บรรดาอริยุปวาทและมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น แม้เมื่อท่านสงเคราะห์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 301
อริยุปวาทเข้าด้วยวจีทุจริตศัพท์นั่นเอง และมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วยมโนทุจริตศัพท์
เช่นกันแล้ว การกล่าวถึงกรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ซ้ำอีก พึงทราบว่า มีการแสดง
ถึงข้อที่กรรมทั้ง ๒ นั้นมีโทษมากเป็นประโยชน์. จริงอยู่ อริยุปวาท มีโทษ
มากเช่นกับอนันตริยกรรม. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อม
ด้วยปัญญาพึงได้ลิ้มอรหัตผล ในภพปัจจุบันนี้แล แม้ฉันใด, ดูก่อนสารีบุตร !
เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ฉันนั้น บุคคลนั้น ไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิด
นั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสียแล้ว ต้องถูกโยนลงในนรก (เพราะอริยุปวาท)
เหมือนถูกนายนิรยบาลนำมาโยนลงในนรกฉะนั้น.๑ ก็กรรมอย่างอื่น ชื่อว่า
มีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิย่อมไม่มี. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรายังไม่เล็งเห็นแม้ธรรมอย่างหนึ่งอื่น ซึ่งมีโทษ
มากกว่าเหมือนอย่างมิจฉาทิฏฐินี้เลย ภิกษุทั้งหลาย ! โทษทั้งหมดมีมิจฉาทิฏฐิ
เป็นอย่างยิ่ง๒ ดังนี้.
สองบทว่า กายสฺส เภทา ความว่า เพราะสละอุปาทินนกขันธ์เสีย
(ขันธ์ที่ยังมีกิเลสเข้าไปยึดครองอยู่).
บทว่า ปรมฺมรณา ความว่า แต่การถือเอาขันธ์ที่เกิดขึ้นในลำดับ
แห่งการสละนั้น. อีกอย่างหนึ่ง สองบทว่า กายสฺส เภทา คือ เพราะความ
ขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์. บทว่า ปรมฺมรณา คือ ต่อจากจุติจิต.
[อรรถาธิบายคำว่านรกได้ชื่อว่าอบายเป็นต้น]
คำทั้งหมดมีอาทิอย่างนี้ว่า อปาย เป็นไวพจน์แห่งคำว่า นิรยะ,
จริงอยู่ นิรยะ ชื่อว่า อบาย เพราะไปปราศจากความเจริญ ที่สมมติว่าเป็นบุญ
อันเป็นเหตุแห่งสวรรค์และนิพพาน หรือเพราะไม่มีความเจริญขึ้นแห่งความสุข.
๑ ม. มู. ๑๒ / ๑๔๕. ๒. องฺ. ติก. ๒๐ / ๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 302
ที่ชื่อว่า ทุคติ เพราะอรรถว่า มีคติแห่งทุกข์เป็นที่พึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า ทุคติ เพราะอรรถว่า มีคติที่เกิดเพราะกรรมที่ชั่วร้ายเพราะมีโทษมาก.
ที่ชื่อว่า วินิบาต เพราะอรรถว่า เป็นสถานที่พวกสัตว์ผู้ชอบทำชั่ว
ตกไปไว้อำนาจ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินิบาต เพราอรรถว่า เป็นสถานที่
ที่พวกสัตว์ผู้กำลังพินาศ มีอวัยวะใหญ่น้อยแตกกระจายตกไปอยู่.
ที่ชื่อว่า นิรยะ เพราะอรรถว่า เป็นสถานที่ไม่มีความเจริญที่รู้กัน
ว่าความยินดี อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ด้วยอบายศัพท์. จริงอยู่ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานจัดเป็นอบาย เพราะปราศจาก
สูตติ แต่ไม่จัดเป็นทุคติ เพราะเป็นสถานที่เกิดแห่งสัตว์ทั้งหลายมีพญานาค
เป็นต้น ผู้มีศักดามาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเปตวิสัย ด้วยทุคติศัพท์.
จริงอยู่ เปตวิสัยนั้นจัดเป็นอบายด้วย เป็นทุคติด้วย เพราะปราศไปจากทุคติ
และเพราะเป็นคติแห่งทุกข์, แต่ไม่เป็นวินิบาต เพราะไม่มีความตกไป เช่น
กับพวกอสูร. แท้จริง แม้วิมานทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นแก่พวกเปรตผู้มีฤทธิ์มาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอสุรกาย ด้วยวินิปาตศัพท์. ความจริงอสุรกาย
นั้น ท่านเรียกว่า เป็นอบายด้วย เป็นทุติด้วย เพราะอรรถตามที่กล่าวมาแล้ว
และว่าเป็นวินิบาต เพราะเป็นผู้มีความตกไปจากความเกิดขึ้นแห่งสมบัติทั้งปวง,
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงนิรยะนั่นแล ซึ่งมีออเนกประการมือวจีเป็นต้น
ด้วยนิรยศัพท์.
บทว่า อุปปนฺนา แปลว่า เข้าถึงแล้ว อธิบายว่า เกิดขึ้นแล้วใน
นรกนั้น. ศุกลปักษ์ (ฝ่ายขาว) พึงทราบโดยบรรยายที่แปลกกันจากที่กล่าว
แล้ว. ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้ :- แม้คติแห่งมนุษย์ ท่านก็สงเคราะห์เอา
ด้วนสุคติศัพท์ ในศุกลปักษ์นี้. เทวคติเท่านั้นท่านสงเคราะห์เข้าด้วยสัคคศัพท์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 303
ใน ๓ บทว่า สุคตึ สคฺค โลก นั้น มีใจความเฉพาะคำดังนี้คือ :-
ชื่อว่า สุคติ เพราะอรรถว่า เป็นคติดี. ชื่อว่า สัคคะ เพราะอรรถว่า
เลิศด้วยดี ด้วยอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น. สุคติและสวรรค์ทั้งหมดนั้น
ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่า พินาศและแตกสลายไป.
วิชชาคือทิพยจักษุญาณ ชื่อว่า วิชชา. อวิชชา อันเป็นเครื่อง
ปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.
กถาว่าด้วยทิพยจักษุจบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 304
กถาว่าด้วยอาสวักขยญาณ
จริงอยู่ ในกถาว่าด้วยทิพยจักษุญาณนี้ มีความแปลกกันดังต่อไปนี้แล.
ในกถาว่าด้วยปุพเพนิวาส ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วว่า เพราะทำลายกระเปาะฟอง
คืออวิชชา อันปกปิดขันธ์ที่ตนเคยอยู่แล้วในกาลก่อน ด้วยจะงอยปากคือ
บุพเพนิวาสานุสติญาณ ดังนี้ ฉันใด ในกถาว่าด้วยทิพยจักษุญาณนี้ ก็ควร
กล่าวว่า เพราะทำลายกระเปาะฟองคืออวิชชาอันปกปิดความจุติและอุปบัติ
(ของสัตว์ทั้งหลาย) ด้วยจะงอยปากคือจุตูปปาตญาณ ดังนี้ ฉันนั้น.
ในคำว่า โส เอว สมาหิเต จิตฺเต นี้ ควรทราบจิตในจตุตถฌาณ
อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา (ต่อไป).
สองบทว่า อาสวาน ขยญฺาณาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่.
อรหัตมรรคญาณ. จริงอยู่ อรหัตมรรค ท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะทำอาสวะให้พินาศไป. ก็ญาณนี้ ในอรหัตมรรค
นั้น ท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความที่ญาณ
นั้นเป็นธรรมนับเนื่องแล้ว ในมรรคนั้น ด้วยประการฉะนี้.
สองบทว่า จิตฺต อภินินฺนาเมสึ ความว่า เราได้น้อมวิปัสสนาจิต
ไปเฉพาะแล้ว.
ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า โส อิท ทุกฺข พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า
เราได้รู้ คือทราบ ได้แก่แทงตลอดแล้ว ซึ่งทุกขสัจแม้ทั้งหมด ตามความ
เป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์มีประมาณเท่านี้
ไม่มีทุกข์ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ และเราได้รู้ คือทราบ ได้แก่แทงตลอดแล้ว ซึ่งตัณหา
อันยังทุกข์นั้นให้เกิด ตามความเป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะตามที่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 305
เป็นจริงว่า นี้ ทุกขสมุทัย แม้ทุกข์และตัณหาทั้ง ๒ นั้น ไปถึงสถานที่ใด
ย่อมดับไป เราก็ได้รู้ คือได้ทราบ ได้แก่แทงตลอดแล้ว ซึ่งสถานที่นั้น คือ
พระนิพพาน อันเป็นไปไม่ได้แห่งทุกข์และตัณหานั้น ตามความเป็นจริง
ด้วยการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธ และเราก็ได้รู้ คือ
ได้ทราบ ได้แก่แทงตลอดแล้ว ซึ่งอริยมรรค อันเป็นเหตุให้บรรลุทุกขนิโรธ
นั้น ตามเป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสัจจะทั้งหลาย โดยสรุปอย่างนี้
แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงด้วยอำนาจกิเลสโดยบรรยาย จึงตรัสคำมีอาทิว่า
อิเม อาสวา ดังนี้.
หลายบทว่า ตสฺส เม เอว ชานโต เอว ปสฺสโต ความว่า
เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสมรรค
อันถึงที่สุดพร้อมกับวิปัสสนาไว้ (ในบทเหล่านั้น).
บทว่า กามาสวา แปลว่า จากกามาสวะ. พระองค์ทรงแสดงขณะ
แห่งผลไว้ด้วยคำว่า หลุดพ้นแล้ว นี้ แท้จริง จิตย่อมหลุดพ้น ในขณะแห่ง
มรรค ในขณะแห่งผลจัดว่าหลุดพ้นแล้ว ทรงแสดงปัจจเวกขณญาณไว้ด้วย
คำนี้ว่า เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็ได้มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ดังนี้ ทรงแสดง
ภูมิแห่งปัจจเวกขณญาณนั้นไว้ด้วยคำเป็นต้นว่า ชาติสิ้นแล้ว จริงอยู่ พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อทรงพิจารณาอยู่ด้วยพระญาณนั้น ก็ได้ทรงรู้แล้วซึ่งทุกขสัจ
เป็นต้นว่า ชาติสิ้นแล้ว
ถามว่า ก็ชาติไหนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า สิ้นแล้ว และ
พระองค์ทรงรู้ชาตินั้นได้อย่างไร ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 306
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป :- ชาติที่เป็นอดีต ของพระองค์ชื่อว่ายัง
ไม่สิ้นไปก่อน (ด้วยมรรคภาวนา) เพราะชาตินั้นสิ้นไปแล้ว ในกาลก่อน.
ชาติที่เป็นอนาคตของพระองค์ ชื่อว่ายังไม่สิ้นไป เพราะไม่มีความพยายาม
ในอนาคต, ชาติที่เป็นปัจจุบันของพระองค์ ก็ชื่อว่ายังไม่สิ้นไป เพราะชาติ
ยังมีอยู่, ส่วนชาติใด อันต่างโดยประเภทคือขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ และขันธ์ ๕
อบรมมรรค ชาตินั้นจัดว่าสิ้นไปแล้วเพราะถึงความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา
เหตุมีมรรคอันได้อบรมแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ครั้นทรง
พิจารณาถึงกิเลสที่พระองค์ทรงละด้วยมรรคภาวนาแล้ว ทรงทราบว่า เมื่อไม่มี
กิเลส กรรมแม้ยังมีอยู่ ก็ไม่มีปฏิสนธิต่อไป จึงชื่อว่าได้ทรงรู้ชาตินั้นแล้ว.
บทว่า วุสิต ความว่า (พรหมจรรย์) อันเราอยู่แล้ว คืออยู่จบแล้ว.
อธิบายว่า อันเรากระทำ ประพฤติ ให้เสร็จสิ้นแล้ว.
บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่มรรคพรหมจรรย์. จริงอยู่ พระเสขบุคคล
๗ จำพวก รวมกับกัลยาณปุถุชน ที่ชื่อว่า ย่อมอยู่อบรมพรหมจรรย์. พระ-
ขีณาสพมีการอยู่พรหมจรรย์จบแล้ว. เพาะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ
ทรงพิจารณาถึงพรหมจริยวาส ของพระองค์ ก็ได้ทรงรู้แล้วว่า พรหมจรรย์
อันเราอยู่จบแล้ว.
สองบทว่า กต กรณีย ความว่า กิจแม้ ๑๖ อย่าง เราให้จบลง
แล้วด้วยอำนาจแห่งการกำหนดรู้ การละ การกระทำให้แจ้ง และการอบรม
ให้เจริญ ด้วยมรรค ๔. จริงอยู่ ในสัจจะทั้ง ๔. จริงอยู่ พระเสขบุคคล ๗ จำพวก
มีกัลยาณปุถุชนเป็นต้น ยังทำกิจนั้นอยู่. พระขีณาสพมีกิจที่ควรทำ อันตน
ทำสำเร็จแล้ว. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงพิจารณาถึงกิจที่
ควรทำของพระองค์ ก็ได้ทรงรู้ว่า กิจที่ควรทำเราทำเสร็จแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 307
หลายบทว่า นาปร อิตฺถตฺตาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้
ทรงรู้แล้วว่า บัดนี้ กิจคือการอบรมด้วยมรรค เพื่อความเป็นอย่างนี้อีก คือ
เพื่อความเจริญแห่งโสฬสกิจ หรือเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลสอย่างนี้ ของเรา
ย่อมไม่มี.
บัดนี้ พระองค์เมื่อจะทรงแสดงการบรรลุญาณ อันเป็นเหตุสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายนั้น อันปัจจเวกขณญาณประคองแล้วอย่างนั้นแก่พราหมณ์
จึงตรัสพระดำรัสว่า อย โย เม พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น ความรู้อันสัมปยุตด้วยอรหัตมรรคญาณ ชื่อว่า
วิชชา ความไม่รู้อันปกปิดสัจจะ ๔ ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วนั้นแล.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดก่อนใครทั้งหมดด้วยคุณธรรม]
ส่วนความแปลกกัน มีดังต่อไปนี้ :-
ในคำว่า อย โข เม พฺราหฺมณ ตติยา อภินิพฺพิทา อโหสิ นี้
มีอธิบายว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! ความชำแรกครั้งที่ ๓ คือ ความออกครั้งที่ ๓
ได้แก่ความเกิดเป็นอริยะครั้งที่ ๒ นี้แล ได้มีแล้วแก่เรา เพราะได้ทำลาย
กระเปาะฟองคืออวิชชา อันปกปิดสัจจะ ๔ ด้วยจะงอยปากคืออาสวักขยญาณ
ดุจความชำแรกออก คือความออกไป ได้แก่ความเกิดในภายหลังในหมู่ไก่
จากกระเปาะฟองไข่นั้นแห่งลูกไก่ เพราะได้ทำลายกระเปาะฟองไข่ ด้วย
จะงอยปาก หรือด้วยปลายเล็บเท้าฉะนั้น.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสงค์อะไรไว้ ด้วย
พระดำรัสมีประมาณเท่านี้ ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 308
แก้ว่า ทรงแสดงพระประสงค์นี้ไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! ก็
ลูกไก่ตัวนั้น ได้ทำลายกระเปาะฟองไข่แล้ว ออกไปจากกระเปาะฟองไข่นั้น
ย่อมชื่อว่าเกิดครั้งเดียวเท่านั้น ส่วนเราได้ทำลายกระเปาะฟองคืออวิชชา อัน
ปกปิดขันธ์ที่เราเคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนแล้ว ชื่อว่า เกิดแล้วครั้งแรกทีเดียว
เพราะวิชชาคือบุพเพนิวาสานุสติญาณ ต่อจากนั้นได้ทำลายกระเปาะฟองคือ
อวิชชา อันปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าเกิดแล้วครั้งที่ ๒
เพราะวิชชา คือทิพยจักษุญาณ ต่อมาอีก ได้ทำลายกระเปาะฟองคืออวิชชา
อันปกปิดสัจจะ ๔ ชื่อว่าเกิดแล้วครั้งที่ ๓ เพราะวิชชาคืออาสวักขยญาณ
เราเป็นผู้ชื่อว่าเกิดแล้ว ๓ ครั้ง เพราะวิชชาทั้ง ๓ ดังพรรณนามาฉะนี้ และ
ชาติของเรานั้นจึงเป็น อริยะ คือดีงาม บริสุทธิ์.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอย่างนี้ ทรงประกาศอตีตัง-
สญาณ ด้วยบุพเพนิวาสญาณ ปัจจุปันนังสญาณ และอนาคตตังสญาณ ด้วย
ทิพยจักษุ พระคุณที่เป็นโลกิยะและโลกุตระทั้งสิ้น ด้วยอาสวักขยญาณ
ครั้นทรงประกาศคุณคือพระสัพพัญญู แม้ทั้งหมดด้วยวิชชา ๓ ดังที่กล่าวมา
แล้ว จึงได้ทรงแสดงข้อที่พระองค์เป็นผู้เจริญและประเสริฐที่สุดด้วยอริยชาติ
แก่พราหมณ์ ด้วยประการฉะนี้.
(กถาว่าด้วยอาสวักขยญาณ จบ*)
*ได้แปลเพิ่มเติมไว้อย่างในฎีกาสารัตถทีปนี ๖ / ๑๔๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 309
เวรัญชพราหมณ์ได้สติรู้สึกตัว
ในคำว่า เอว วุตฺเต เวรญฺโช พฺราหฺมโณ นี้ มีอธิบายว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่โลก จะทรงอนุเคราะห์พราหมณ์
ได้ตรัสความที่พระองค์เป็นผู้เจริญและประเสริฐที่สุด ด้วยอริยชาติ แม้ที่ควร
ปกปิด ด้วยธรรมเทศนาอันประกาศวิชชา ๓ โดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้
เวรัญชพราหมณ์ มีกายและจิตเต็มเปี่ยมไปด้วยความแผ่ซ่านไปแห่งปีติ รู้ความ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้เจริญและประเสริฐที่สุด ด้วยอริยชาตินั้น จึง
ตำหนิตนเองว่า เราได้กล่าวพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐกว่าโลกทั้งหมด ทรง
ประกอบด้วยพระคุณทั้งปวง ชื่อเช่นนี้ว่า ไม่ทรงทำกรรมมีการกราบไหว้
เป็นต้นแก่ชนเหล่าอื่น เฮ้ย ! น่าติเตียนความไม่รู้อะไรเสียจริง ๆ หนอ ดังนี้
จึงตกลงใจว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุดใน
โลก เพราะอรรถว่าเป็นผู้เกิดก่อน ด้วยอริยชาติ ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
เพราะอรรถว่า ไม่มีผู้เสมอด้วยพระคุณทั้งปวง แล้วได้กราบทูลคำนี้กระพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม เป็นผู้เจริญที่สุด ท่านพระโคดม เป็นผู้
ประเสริฐที่สุด ก็แลครั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะชมเชยพระธรรมเทศนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นอีก จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !
พระดำรัสของพระองค์ น่าชมเชยยิ่งนัก ดังนี้เป็นต้น.
[อรรถาธิบายอภิกกันตศัพท์ลงในอรรถ ๔ และ ๙ อย่าง]
ในคำว่า อภิกฺกนฺต เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- อภิกกันตศัพท์นี้
ย่อมปรากฏในอรรถ คือ ขยะ (ความสิ้นไป) สุนทระ (ความดี) อภิรูปะ
(รูปงาม) และอัพภานุโมทนะ (ความชมเชย).
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 310
จริงอยู่ อภิกกันตศัพท์ ปรากฏในความสิ้นไป ในประโยคทั้งหลาย
เป็นต้นว่า พระเจ้าข้า ! ราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์
นั่งรอนานแล้ว.๑
อภิกกันตศัพท์ ปรากฏในความดี ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า
คนนี้ ดีกว่า และประณีตกว่า ๔ คนเหล่านี้.๒
อภิกกันตศัพท์ ปรากฏในรูปงาม ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า
ใคร ช่างรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ
มีพรรณงดงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งปวงให้สว่าง
อยู่ กำลังไหว้เท้าของเรา๓ ?
อภิกกันตศัพท์ ปรากฏในความชมเชย ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า
พระเจ้าข้า ! ภาษิตของพระองค์ น่าชมเชยยิ่งนัก.
แม้ในอธิการนี้ อภิกกันตศัพท์ ก็ปรากฏในความชมเชยทีเดียว.
พึงทราบสันนิษฐานว่า ก็เพราะอภิกกันตศัพท์ ปรากฏในความชมเชย ฉะนั้น
เวรัญชพราหมณ์ จึงกล่าวอธิบายไว้ว่า ดีละ ๆ ท่านพระโคดมผู้เจริญ !
ก็ในอธิการนี้ อภิกกันตศัพท์นี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ ๒ ครั้ง
ด้วยอำนาจแห่งความเลื่อมใสและด้วยอำนาจแห่งความสรรเสริญ ด้วยลักษณะ
นี้คือ :-
บัณฑิตผู้รู้ พึงทำการกล่าวซ้ำ ๆ ไว้
(ในอรรถ ๙ อย่างเหล่านี้) คือ ในภยะ
(ความกลัว) ในโกธะ (ความโกรธ) ใน
๑. วิ. จุลฺล. ๗ / ๒๘๓. ๒. องฺ. จตุกฺก. ๒๑ / ๙๓๓. ๓. ขุ. วิมาน. ๒๖ / ๘๙.
๔. ที. สี. ๙ / ๑๑๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 311
ปสังสา (ความสรรเสริญ) ในตุริตะ (ความ
รีบด่วน) ในโกตุหละ (ความตื่นเต้น) ใน
อัจฉระ (ความอัศจรรย์) ในหาสะ (ความ
ร่าเริง) ในโสกะ (ความโศก) และในปสาทะ
(ความเลื่อมใส).
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อภิกฺกนฺต แปลว่า น่าใคร่ยิ่งนัก น่าปรารถนา
ยิ่งนัก น่าชอบใจยิ่งนัก มีคำอธิบายไว้ว่า ดียิ่งนัก.
บรรดาอภิกกันตศัพท์ ๒ อย่างนั้น เวรัญชพราหมณ์ ย่อมชมเชย
เทศนา ด้วยอภิกกันตศัพท์อย่างหนึ่ง ย่อมชมเชยความเลื่อมใสของตน ด้วย
อภิกกันตศัพท์อย่างหนึ่ง. จริงอยู่ ในความชมเชยนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ! พระธรรมเทศนาของท่านพระโคดมผู้เจริญนี้ น่าชมเชย
ยิ่งนัก ความเลื่อมใสของข้าพระองค์อาศัยพระธรรมเทศนาของท่านพระโคดม
ผู้เจริญ ดียิ่งนัก. เวรัญชพราหมณ์ ชมเชยปาพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั่นแล มุ่งใจความเป็นสองอย่าง ๆ.
[ปาพจน์มีความดี ๑๘ อย่าง]
บัณฑิต พึงประกอบปาพจน์ ด้วยเหตุทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ :-
พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญ ชื่อว่าดียิ่งนัก เพราะยังโทสะให้พินาศ ๑
ชื่อว่าดียิ่งนัก เพราะให้บรรลุคุณ ๑ อนึ่ง เพราะให้เกิดศรัทธา ๑ เพราะให้
เกิดปัญญา ๑ เพราะเป็นไปกับด้วยอรรถ ๑ เพราะเป็นไปกับด้วยพยัญชนะ ๑
เพราะมีบทอันตื้น ๑ เพราะมีเนื้อความลึกซึ้ง ๑ เพราะไพเราะโสด ๑ เพราะ
เข้าถึงหทัย ๑ เพราะไม่ยกตนขึ้นอวดอ้าง ๑ เพราะไม่ข่มผู้อื่น ๑ เพราะเย็น
ด้วยพระกรุณา ๑ เพราะทรงตรัสถามด้วยพระปัญญา ๑ เพราะเป็นที่รื่นรมย์แห่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 312
คลอง ๑ เพราะทนต่อความย่ำยีได้อย่างวิเศษ ๑ เพราะฟังอยู่ก็เป็นสุข ๑
เพราะใคร่ครวญอยู่ก็มีประโยชน์ ๑ ดังนี้.
[เวรัญชพราหมณ์ชมเชยพระธรรมเทศนาด้วยอุปมา ๔ อย่าง]
แม้เบื้องหน้าแต่นั้นไป เวรัญชพราหมณ์ ย่อมชมเชยเทศนานั่นแล
ด้วยอุปมา ๔ ข้อ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺกุชฺชิต คือ ภาชนะที่เขาวางคว่ำ
ปากไว้ หรือมีที่ปากอยู่ภายใต้.
บทว่า อุกฺกุชฺเชยย คือ พึงหงายปากขึ้น.
บทว่า ปฏิจฺฉนฺน คือ ที่เขาปิดไว้ด้วยวัตถุมีหญ้าและใบไม้เป็นต้น.
บทว่า วิวเรยฺย คือ พึงเปิดขึ้น
บทว่า มูฬฺหสฺส คือ คนหลงทิศ.
สองบทว่า มคฺค อาจิกฺเขยฺย ความว่า พึงจับที่มือแล้วบอกว่า
นี้ทาง.
บทว่า อนฺธกาเร ความว่า ในความมืดมีองค์ ๔ (คือ) เพราะ
วันแรม ๑๔ คำในกาฬปักษ์ ๑ กลางคือ ๑ ไพรสนพที่หนาทึบ (ดงทึบ) ๑
กลีบเมฆ ๑. ความหมายแห่งบทที่ยังไม่กระจ่างมีเท่านี้ก่อน :-
ส่วนการประกอบความอธิบาย มีดังต่อไปนี้ :-
(เวรัญชพราหมณ์ ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า) ท่านพระโคคม
ผู้เจริญ ทรงยังเราผู้เบือนหน้าหนีจากพระสัทธรรม ตกไปในอสัทธรรมแล้ว
ให้ออกจากอสัทธรรม เหมือนใคร ๆ พึงหงายภาชนะที่คว่ำขึ้นไว้ฉะนั้น ทรง
เปิดเผยพระศาสนาที่ถูกรกชัฏคือ มิจฉาทิฏฐิปกปิดไว้ ตั้งต้นแต่พระศาสนา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 313
ของพระกัสสปผู้มีพระภาคเจ้าอันตรธานไป เหมือนใคร ๆ พึงเปิดของที่ปิดไว้
ออกฉะนั้น ทรงตรัสบอกทางสวรรค์และนิพพานให้แก่เรา ผู้ดำเนินไปสู่ทาง
ชั่วและทางผิด เหมือนใคร ๆ พึงบอกทางให้แก่คนหลงทางฉะนั้น ทรงส่อง
แสงสว่าง คือเทศนา อันเป็นเครื่องกำจัดความมืด คือโมหะอันปกปิดรูป
คือพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั้น แก่เรา ผู้จมอยู่ในความมืด คือ
โมหะ ซึ่งไม่เห็นรูป คือพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เหมือนใคร ๆ
พึงส่องประทีปน้ำมันในที่มืดให้ฉะนั้น ได้ทรงประกาศพระธรรมแก่เรา โดย
อเนกปริยาย เพราะทรงประกาศ ด้วยบรรยายทั้งหลายเหล่านี้.
[เวรัญชพราหมณ์แสดงตนถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง]
เวรัญชพราหมณ์ ครั้นชมเชยพระธรรมเทศนาอย่างนั้นแล้ว มีจิต
เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เพราะพระธรรมเทศนานี้ เมื่อจะทำอาการอันผู้มี
ความเลื่อมใสพึงกระทำ จึงได้กราบทูลว่า เอสาห ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอสาห ตัดเป็น เอโส อห แปลว่า
ข้าพเจ้านี้.
หลายบทว่า ภวนฺต โคตม สรณ คจฺฉามิ ความว่า ข้าพเจ้า
ขอถึงพระโคดมผู้เจริญว่าเป็นที่พึ่ง คือข้าพเจ้าขอถึง ขอคบ ขอช่องเสพ ได้แก่
ขอเข้าไปนั่งใกล้พระโคดมผู้เจริญ ด้วยความประสงค์นี้ว่า พระโคดมผู้เจริญ
ทรงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้า คือทรงเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ทรงเป็นผู้ป้องกัน
ความทุกข์ และทรงทำประโยชน์เกื้อกูล (แก่ข้าพเจ้า) ข้าพเจ้าย่อมทราบ
คือย่อมรู้สึก ดังกราบทูลมาแล้วนั่นแล.
จริงอยู่ คติ (ความถึง) เป็นความหมายแห่งธาตุเหล่าใด แม้ พุทธิ
(ความรู้) ก็เป็นความหมายแห่งธาตุเหล่านั้น เพราะฉะนั้น บทว่า คจฺฉามิ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 314
นี้ ท่านก็กล่าวความหมายแม้นี้ไว้ดังนี้ว่า ชานามิ พุชฺฌามิ (แปลว่า
ย่อมทราบ คือย่อมรู้สึก).
[อรรถาธิบายคำว่าพระธรรม]
ก็ในคำว่า ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สภาพที่ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งบุคคล ผู้ได้บรรลุ
มรรค ผู้ทำให้แจ้งนิโรธแล้ว และผู้ปฏิบัติอยู่ตามคำพร่ำสอน มิได้ตกไปใน
อบาย. ธรรมนั้น โดยอรรถ ได้แก่อริยมรรคและนิพพาน. สมจริงดังพระ-
ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมทั้งหลาย
ที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ก็ดี ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็ดี มีประมาณเพียงไร อริย-
มรรคมีองค์ ๘ เราเรียกว่า ประเสริฐกว่าธรรมเหล่านั้น.๑ ควรกล่าวให้พิสดาร.
ธรรมนั้น ได้แก่อริยมรรคและนิพพานอย่างเดียว ก็หามิได้ ถึงแม้ปริยัติธรรม
รวมกับอริยผล ก็ชื่อว่าธรรม.
* สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในฉัตตมาณเวกวิมานว่า
ท่านจงเข้าถึงพระธรรม อันเป็นธรรม
คลายความกำหนัด เป็นธรรมไม่หวั่นไหว
ไม่มีความเศร้าโศก อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
ไม่ปฏิกูล เป็นธรรมไพเราะคล่องแคล่ว
อันเราจำแนกดีแล้ว เพื่อเป็นที่พึงเถิด๒ ดังนี้.
แท้จริง ในพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมรรคว่า เป็นธรรม
คลายความกำหนัด ตรัสผลว่า เป็นธรรมไม่หวั่นไหวไม่มีความเศร้าโศก ตรัส
๑. ขุ. อิติวุตฺตก. ๒๕ / ๒๙.
* องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๙๐๓
๒. ขุ. วิมาน. ๒๖ / ๙๔
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 315
พระนิพพานว่า เป็นธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ไม่ได้ ตรัสธรรมขันธ์ทั้งหมดที่
ทรงจำแนกโดยปิฎก ๓ ว่า ไม่ปฏิกูล เป็นธรรม ไพเราะ คล่องแคล่ว
เป็นธรรมอันเราจำแนกดีแล้ว.
[อรรถาธิบายคำว่า พระสงฆ์]
ชื่อว่า พระสงฆ์ เพราะอรรถว่า รวมกันด้วยธรรมที่ทัดเทียมกัน
คือทิฏฐิและศีล. พระสงฆ์นั้นโดยอรรถ ได้แก่ประชุมพระอริยบุคคล ๘.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวิมานวัตถุนั้นเหมือนกันว่า*
บัณฑิตทั้งหลายกล่าว ทาน อัน
บุคคลให้แล้ว ในพระอริยสงฆ์ ผู้สะอาด
เป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ เป็นบุรุษบุคคล ๘ ผู้เห็น
ธรรมว่า มีผลมาก ท่านจงเข้าถึง พระสงฆ์นี้
เพื่อเป็นที่พึ่งเถิด ดังนี้.
หมู่ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ภิกษุสงฆ์. ก็พราหมณ์ประกาศสรณคมน์ ๓
ด้วยคำเพียงเท่านี้*.
บัดนี้ เพื่อความเป็นผู้ฉลาด ในไตรสรณคมน์เหล่านั้นนั่นแหละควร
ทราบวิธีนี้ ดังนี้คือ :- สรณะ สรณคมณ์ ผู้ถึงสรณะ ประเภทแห่งสรณคมน์
ผลแห่งสรณคมน์ สังกิเลส (ความเศร้าหมอง) เภทะ (ความแตก แห่ง
สรณคมน์) ก็วิธีนั้น เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวไว้ในอธิการนี้ ก็ย่อมทำนิทานแห่ง
พระวินัย ให้เป็นภาระหนักเกินไป เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าว. ส่วน
นักศึกษาทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ พึงถือเอาวิธีนั้น จากวรรณนาแห่ง
* ขุ. วิมาน. ๒๖ / ๙๔
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 316
ภยเภรวสูตร ในอรรถกถาแห่งมัชฌิมนิกาย ชื่อว่าปปัญจสูทนี จากวรรณนา
สรณะ ในอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถโชติกา หรือในอรรถกถาทีฆนิกาย
ชื่อสุมังควิลาสินี ฉะนี้แล.
ข้อว่า อุปาสก ม ภว โคตโม ธาเรตุ อธิบายว่า ท่านพระ-
โคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพเจ้าไว้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านี้เป็นอุบาสก ดังนี้เถิด,
ก็ในอธิการนี้ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงตนเป็นอุบาสก ควรทราบ
ปกิณณกะนี้ดังนี้ว่า ใคร ท่านเรียกว่า อุบาสก เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าอุบาสก
อุบาสกนั้น มีศีลอย่างไร มีอาชีพอย่างไร มีอะไรเป็นวิบัติ มีอะไรเป็นสมบัติ
ข้าพเจ้าไม่ได้จำแนกปกิณณกะนั้น ไว้ในอธิการว่าด้วยนิทานนี้ เพราะจงทำ
ให้เป็นภาระหนักเกินไป แต่นักศึกษาทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ พึงทราบ
โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถามัชฌิมนิกายชื่อปปัญจสูทนีนั้นแล.
[อธิบายอัคคะศัพท์ที่ลงในอรรถ ๔ อย่าง]
อัคคะศัพท์นี้ ในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ ย่อมปรากฏในอรรถคือ
อาทิ (เบื้องต้น) โกฏิ (เบื้องปลาย) โกฏฐาสะ (ส่วน) และ เสฏฐะ
(ประเสริฐ).
จริงอยู่ อัคคะศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถคือเบื้องต้น ในประโยค
ทั้งหลายมีอาทิว่า ดูก่อนนายประตูเพื่อนรัก ! ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราปิด
ประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่พวกนางนิครนถ์*.
อัคคะศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถคือเบื้องปลาย ในประโยคทั้งหลาย
มีอาทิว่า พึงแตะต้องปลายแห่งนิ้วมือนั้น ด้วยปลายแห่งนิ้วมือนั้นนั่นเอง
พึงแตะต้องยอดอ้อย ยอดไผ่.
* ม. มู. ๑๓ / ๖๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 317
ย่อมปรากฏในอรรถคือส่วน ในประโยคทั้งหลาย มีอาทิว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตเพื่อให้แจกส่วนของที่มีรสเปรี้ยว ส่วนของที่มี
รสหวาน หรือส่วนของที่มีรสขม ด้วยส่วนแห่งวิหาร หรือส่วนแห่งบริเวณ.
ย่อมปรากฏในอรรถคือประเสริฐ ในประโยคทั้งหลาย มีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลาย มีประมาณเพียงไร ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้า
ก็ดี ฯลฯ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเราเรียกว่า ประเสริฐกว่าสัตว์
ทั้งหลายเหล่านั้น*.
แต่อัคคะศัพท์นี้ ในอธิการนี้ พึงเห็นว่าลงในอรรถคือเบื้องต้น.
เพราะฉะนั้น ในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า ตั้งต้น
แต่วันนี้เป็นต้นไป. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า บทว่า อชฺชคฺเค ก็คือ
อชฺชภาว แปลว่า มีในวันนี้ อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า อชฺชทคฺเค ดังนี้ก็มี.
ท อักษร ทำการต่อบท. มีคำอธิบายว่า ตั้งต้นแต่วันนี้.
[เวรัญชพราหมณ์ไม่กล่าวล่วงเกินพระรัตนตรัยจนตลอดชีวิต]
บทว่า ปาณุเปต ความว่า ผู้เข้าถึง (พระรัตนตรัย) ด้วยปราณ
(คือชีวิต). เวรัญชพราหมณ์ กราบทูลว่า ชีวิตของข้าพเจ้ายังเป็นไปอยู่เพียงใด,
ท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำคือทรงทราบ ข้าพเจ้าว่า (เป็นอุบาสก)
ผู้เข้าถึง ผู้ถึงสรณะอันไม่มีศาสดาอื่นด้วยไตรสรณคมน์เพียงนั้น ข้าพเจ้าแล
กล่าวถึงพระพุทธว่า ไม่ใช่พระพุทธ พระธรรมว่า ไม่ใช่พระธรรม หรือ
พระสงฆ์ว่า ไม่ใช่พระสงฆ์ ดังนี้เลย.
* ขุ. อิติวุตฺตก. ๒๕ / ๒๙๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 318
ส่วนในอธิการนี้ พึงทราบอธิบายว่า พราหมณ์ เมื่อกล่าวถึงสรณคมน์
ซ้ำอีกว่า ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ชื่อว่า ประกาศมอบถวายตน (แก่พระ-
รัตนตรัย).
[พราหมณ์ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าจำพรรษา ณ เมืองเวรัญชา]
เวรัญชพราหมณ์ ครั้นมอบถวายตนอย่างนั้นแล้ว มีความประสงค์
จะอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งบริษัท จึงกราบทูลว่า และขอท่าน
พระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับการอยู่จำพรรษาที่เมือง
เวรัญชา ของข้าพเจ้าเถิด.
พราหมณ์ กราบทูลความประสงค์ไว้อย่างไร. กราบทูลไว้อย่างนี้ว่า
ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก และขอจงทรงรับ
การอยู่จำพรรษาที่เมืองเวรัญชา ของข้าพเจ้าเถิด คือขอให้ทรงรับการอาศัย
เมืองเวรัญชาอยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์เถิด.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับการอยู่จำพรรษาเมืองเวรัญชา]
หลายบทว่า อธิวาเสสิ ภควา ตุณฺหีภาเวน ความว่า ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับคำของพราหมณ์นั้นแล้ว ก็ไม่ทรงยังองค์คือกาย
หรือองค์คือวาจาให้ไหวเลย ทรงไว้ซึ่งพระขันติในภายในนั่นแล ทรงรับ
(คำอาราธนา) โดยพระดุษณีภาพ. ท่านอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรับด้วยพระหฤทัยทีเดียว เพื่อทรงอนุเคราะห์พราหมณ์.
หลายบทว่า อถโข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ ภควโต อธิวาสน
วิทิตฺวา ความว่า ครั้งนั้นแล เวรัญชพราหมณ์ คิดว่า ถ้าท่านพระสมณโคดม
ไม่พึงทรงรับ (คำอาราธนา) ของเรา จะพึงทรงคัดค้านด้วยกายหรือด้วยวาจา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 319
แต่เพราะพระองค์ไม่ทรงคัดค้าน ทรงพระขันติไว้ในภายใน, ฉะนั้น พระองค์
ก็ทรงรับ (คำอาราธนา) ของเรา ด้วยพระหฤทัยนั่นเอง ดังนี้ ครั้นทราบ
การทรงรับคำอาราธนาของพระผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะความที่ตนเป็นผู้ฉลาด
ในการกำหนดรู้อาการดังพรรณนามาแล้วนั้น จึงลุกจากอาสนะที่ตนนั่ง ถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าในทิศทั้ง ๔ ด้วยความเคารพ แล้วทำประทักษิณ
๓ รอบ แม้ได้ติเตียนจำเดิมแต่เวลาที่ตนมาว่า พระสมณโคดมไม่ทรงทำ
สามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น แก่พวกพราหมณ์ผู้แก่กว่าโดยชาติ เป็นต้น
บัดนี้ ได้รู้พระพุทธคุณอย่างซาบซึ้งแล้ว ถึงไหว้อยู่ด้วยกายวาจาและใจ
หลายครั้งหลายหน ก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มนั่นเอง จึงได้ประคองกระพุ่มมือ อัน
รุ่งเรืองด้วยความประชุมพร้อมแห่งนิ้วทั้ง ๑๐ แล้วยกชูขึ้นไว้บนเศียร เดิน
ถอยหลังหันหน้าไปทาง (พระผู้มีพระภาคเจ้า) จนพ้นทัศนวิสัย ได้ถวายบังคม
ในที่พ้นทัศนวิสัยแล้วหลีกไป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 320
เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย
หลายบทว่า เตน โข ปน สมเยน เวรณฺชา ทุพฺภิกฺขา โหต
ความว่า โดยสมัยที่เวรัญชพราหมณ์ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเมือง
เวรัญชาจำพรรษานั้น เมืองเวรัญชา เป็นเมืองมีภิกษาหาได้ยาก.
บทว่า ทุพฺภิกฺขา แปลว่า มีภิกษาหาได้โดยยาก. ก็ความมีภิกษา
หาได้ยากนั้น ย่อมมีในถิ่นที่พวกมนุษย์ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส ในเวลา
ที่ข้าวกล้าสมบูรณ์ดีก็ตาม ในเวลาปุพพัณณะและอปรัณณะมีราคาถูกก็ตาม
(มีราคาตกต่ำ). แต่ในเมืองเวรัญชา หาได้เป็นอย่างนั้นไม่ โดยที่แท้ ได้มี
เพราะโทษคือความอดยาก เหตุที่มีข้าวกล้าเสียหาย เพราะฉะนั้น ท่านพระ
อุบาลีเถระ เมื่อจะแสดงความข้อนั้น จึงกล่าว่า ทฺวีหิติกา ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า ทฺวีหิติกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ : -
บทว่า ทฺวีหิติกา ได้แก่ ความพยายามที่เป็นไปแล้ว ๒ อย่าง.
ความเคลื่อนไหว ชื่อว่า อีหิตะ (ความพยายาม). ความพยายามนี้เป็นไปแล้ว
๒ อย่างคือ จิตตอิริยา (ความเคลื่อนไหวแห่งจิต) ๑ จิตตอีหา (ความ
พากเพียรแห่งจิต) ๑.
ในบทว่า ทฺวีหิติกา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความเคลื่อนไหวแห่งจิต
ที่เป็นไปแล้ว ๒ อย่างนี้ คือ พวกเราขอวัตถุอะไร ๆ อยู่ในที่นี้จักได้หรือจัก
ไม่ได้หนอแล อีกอย่างหนึ่ง พวกเราจักอาจเพื่อเป็นอยู่หรือจักไม่อาจหนอแล.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ทฺวีหิติกา แปลว่า เป็นผู้อยู่อย่างฝืดเคือง.
จริงอยู่ บททั้งหลายเป็นต้นคือ อีหิต (ความพยายาม) อีหา (ความพรากเพียร)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 321
อิริยน (ความเคลื่อนไหว) ปวตฺตน (ความเป็นไป) ชีวิต (ความเป็นอยู่)
มีใจความอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ในบทว่า ทฺวีหิติกา นี้ จึงมีใจความ
เฉพาะบทดังนี้ คือ ความพยายามความเป็นทุกข์ ย่อมเป็นไปในเมือง
เวรัญชานี้ เพราะเหตุนั้น เมืองเวรัญชานี้ จึงชื่อว่า ทฺวีหิติกา.
บทว่า เสตฏฺิกา ความว่า เมืองเวรัญชา ชื่อว่ามีกระดูกคนตาย
ขาวเกลื่อน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ที่เมืองเวรัญชานี้มีกระดูกขาวเกลื่อน.
มีอธิบายว่า ซากศพของพวกมนุษย์กำพร้า ผู้ขอแม้ตลอดวันก็ไม่ได้อะไร ๆ
ตายแล้ว มีกระดูกสีเหมือนเห็ดหัวงูเกลื่อนกลาดอยู่ในที่นั้น ๆ . ปาฐะว่า
เสตัฏฏิกา ดังนี้บ้าง. ความหมายแห่งปาฐะนั้นว่า โรคตายขาว มีอยู่ในเมือง
เวรัญชานี้ เหตุนั้นเมืองเวรัญชานี้ จึงชื่อว่า มีโรคตายขาว. ความอาดูร คือ
ความเสียดแทงเพราะความเจ็บไข้ ชื่อว่า อัฏฏิ. ก็ในเมืองเวรัญชานั้น ใน
เวลาที่ข้ากล้ามีท้องมาน รวงข้าวสาลีก็ดี รวงข้าวเหนียวและข้าวละมานก็ดี
มีสีขาว ๆ ถูกโรคตายขาวนั่นเองทำให้เสีย ก็ขาดน้ำนม ไม่มีเมล็ดข้าวสารงอก
ออกมา (คือตกเป็นรวงออกมา) เพราะฉะนั้น เมืองเวรัญชานี้ ท่านจึงเรียกว่า
เสตัฏฏิกา (เมืองมีโรคข้าวกล้าตายขาว).
[เมืองเวรัญชามีปันส่วนซื้ออาหารเลี้ยงชีพ]
ในเวลาหว่าน ข้าวกล้าที่ประชาชนแม้ผสมพันธุ์หว่านไว้ดีแล้ว ย่อม
สำเร็จเป็นสลากเท่านั้น ในเมืองเวรัญชานั้น เพราะเหตุนั้น เมืองเวรัญชานั้น
จึงชื่อว่า มีข้าวกล้าที่หว่านสำเร็จเป็นสลาก. อีกอย่างหนึ่ง ประชาชน
ทั้งหลาย ย่อมให้ชีวิตเป็นไปในเมืองเวรัญชานั้นด้วยสลาก (คือการแจงบัตร)
เพราะฉะนั้น เมืองเวรัญชานั้น จึงชื่อว่า มีชีวิตเป็นไปได้ด้วนสลาก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 322
มีคำกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ? มีคำกล่าวอธิบายไว้อย่างนี้ คือ ดังได้
สดับมา ในเมืองเวรัญชานั้น เมื่อประชาชนทั้งหลายผู้ชื้อ ไปยังสำนักของพวก
พ่อค้าผู้ขายข้าวเปลือก พวกมนุษย์มีกำลัง (ทรัพย์) กดขี่พวกมนุษย์ผู้ไม่มี
กำลัง (ทรัพย์) แล้วซื้อเอาข้าวเปลือกไป (หมด). พวกมนุษย์ไม่มีกำลัง
(ทรัพย์) เมื่อไม่ได้ (ข้าวเปลือก) ย่อมส่งเสียงดัง. พวกพ่อค้าผู้ขายข้าวเปลือก
ปรึกษากันว่า พวกเราจักทำการสงเคราะห์ประชาชนทั้งหมด จึงสั่งให้ช่างผู้ตวง
ข้าวเปลือก นั่งในสำนักงานที่ ๆ ตวงข้าวเปลือก แล้วให้ผู้ชำนาญการดูกหาปณะ
นั่งอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง. พวกมนุษย์ผู้มีความต้องการข้าวเปลือก ก็ไปยังสำนักงาน
ของผู้ชำนาญการดูกหาปณะ. ผู้ชำนาญการดูกหาปณะนายนั้น ถือเอามูลค่า
โดยลำดับแห่งชนผู้มาแล้ว จึงเขียนสลาก (คือบัตร) ให้ไปว่า ควรให้แก่ชน
ชื่อนี้ มีประมาณเท่านี้. พวกมนุษย์ผู้มีความต้องการข้าวเปลือกเหล่านั้น รับเอา
สลากนั้นแล้ว ไปยังสำนักของช่างผู้ตวงข้าวเปลือก แล้วรับเอาข้าวเปลือก
โดยลำดับที่เขาตวงให้. ประชาชนทั้งหลาย ย่อมให้ชีวิตเป็นไป ในเมือง
เวรัญชานั้นด้วยสลาก เพราะเหตุนั้น เมืองเวรัญชานั้น จึงชื่อว่า มีชีวิตเป็นไป
ได้ด้วยสลาก ดังพรรณนามาฉะนี้.
หลายบทว่า น สุกรา อุญฺเฉน ปคฺคเหน ยาเปตุ ความว่า
ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย.
มีคำอธิบายว่า ใคร ๆ ถือบาตรแล้ว จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการแสวงหา
อย่างที่พวกพระอริยเจ้าทำการแสวงหา คือเที่ยวภิกขาจารนั้น ก็ทำไม่ได้ง่าย ๆ
เลย. ได้ยินว่า คราวนั้น ในเมืองเวรัญชานั้นพวกภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาต
ตลอด ๗-๘ หมู่บ้าน ก็ไม่ได้อาหารพอสักว่ายังอัตภาพให้เป็นไป แม้ในวันหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 323
[พ่อค้าม้าถวายข้าวทะนานหนึ่งแก่ภิกษุรูปหนึ่ง]
ข้อว่า เตน โข ปน สมเยน อุตฺตราปถกา อสฺสวาณิชา
ฯ เป ฯ อสฺโสสิ โข ภควา อุทุกฺขลสทฺท พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เตน ความว่า โดยสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัย
เมืองเวรัญชาจำพรรษานั้น พวกพ่อค้าม้า ผู้อยู่ในอุตราปถชนบท หรือผู้
ได้ชื่ออย่างนั้น เพราะมาจากอุตตราปถชนบท รับ (ซื้อ) เอาม้า ๕๐๐ ตัว
ในสถานที่เป็นถิ่นเกิดของม้าทั้งหลายในอุตตราปถชนบทแล้ว เมื่อปรารถนา
รายได้ (ผลกำไร) ๒-๓ เท่า ก็ไปยังต่างประเทศ แล้วเข้าพักฤดูฝนอยู่ใน
เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยฝูงม้ามีประมาณ ๕๐๐ ซึ่งเป็นสินค้าที่ตนจะต้องขาย
เหล่านั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงต้องพักอยู่เช่นนั้น ?
แก้ว่า เพราะว่าในประเทศนั้น ใคร ๆ ไม่อาจเดินทางไกล ตลอด
๔ เดือนในฤดูฝนได้. . . ก็พวกพ่อค้าม้าเหล่านั้น เมื่อจะเข้าพักฤดูฝน จึงได้สั่ง
ให้นายช่างสร้างเรือนพักสำหรับตน และโรงม้าสำหรับพวกม้าไว้ในสถานที่น้ำ
จะท่วมไม่ได้ ในภายนอกพระนครแล้ว กั้นรั้วไว้. สถานที่พักของพวกพ่อค้า
เหล่านั้น ๆ ปรากฏว่า อัสสมัณฑลิกา (คอกม้า) เพราะเหตุนั้น ท่าน
พระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า พวกพ่อค้าม้าเหล่านั้น ได้ตกแต่งข้าวแดง
แล่งหนึ่ง ๆ สำหรับภิกษุทั้งหลายไว้ที่คอกม้า ดังนี้.
บทว่า ปตฺถปตฺถปุลก ได้แก่ ข้าวแดงมีประมาณแล่งหนึ่ง ๆ
สำหรับภิกษุรูปหนึ่ง ๆ ชื่อว่าแล่งหนึ่ง มีประมาณเท่าทะนานหนึ่ง เพียงพอ
เพื่อเลี้ยงอัตภาพให้เป็นไป สำหรับคนหนึ่ง. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 324
ตรัสไว้ว่า ข้าวสุกแล่งหนึ่งนี้ ไม่เพียงพอเพื่อเลี้ยงอัตภาพให้เป็นไปสำหรับคน
๒ คน.*
ข้าวสารเหนียว ที่บุคคลทำให้หมดแกลบแล้วนึ่งให้สุกจึงถือเอา เขา
เรียกชื่อว่า ข้าวแดง. จริงอยู่ ถ้าข้าวสารเหนียวนั้น ยังมีแกลบอยู่ สัตว์จำพวก
ตัวแมลง ย่อมเจาะไชได้ ย่อมไม่ควรเก็บไว้นาน เพราะฉะนั้น พวกพ่อค้า
เหล่านั้น ได้ทำให้เป็นของควรเก็บไว้ได้นาน แล้วถือเอาข้าวสารเหนียว จึง
เดินทางไกล ด้วยคิดว่า ในสถานที่ใด หญ้าอันเป็นอาหารที่พวกม้ากิน จักเป็น
ของหาได้ยาก ในสถานที่นั้นแล ข้าวสารเหนียวนั้น จักเป็นอาหารของม้า.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พวกพ่อค้าเหล่านั้น จึงได้ตกแต่งข้าวสาร-
เหนียวนั้นไว้สำหรับภิกษุทั้งหลาย ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- จริงอยู่ พวกมนุษย์ชาวอุตตราปถ-
ชนบทเหล่านั้น จะเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เหมือนอย่างพวก
มนุษย์ชาวทักขิณาปถชนบทหามิได้. ความจริง พวกมนุษย์ชาวอุตตราปถชนบท
เหล่านั้น เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส เป็นพุทธมามกะ ธรรมมามกะ
สังฆมามกะ, พวกพ่อค้าเหล่านั้น ในเวลาเช้า เมื่อเข้าไปยังเมืองด้วยกรณียกิจ
บางอย่างนั่นเอง ได้พบภิกษุ ๗-๘ รูป ผู้นุ่งห่มเรียบร้อย สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ
เที่ยวไปบิณฑบาตแม้ทั่วเมืองก็ไม่ได้วัตถุอะไร ๆ ตั้ง ๒-๓ วัน ครั้นเห็นแล้ว
พวกพ่อค้าเหล่านั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย อาศัยเมืองนี้
อยู่จำพรรษา ฉาตกภัยก็กำลังเป็นไป และท่านเหล่านี้ก็ไม่ได้วัตถุอะไร ๆ
ย่อมลำบากเป็นอย่างยิ่ง ทั้งพวกเราก็เป็นอาคันตุกะ ย่อมไม่อาจตระเตรียม
ข้าวต้ม และข้าวสวยถวายพระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้น ทุกวัน ๆ ได้ แต่ม้าทั้งหลาย
* ขุ. ชา. ๒๗ / ๓๓๓. ชาตกฏฺกถา. ๘ / ๒๙๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 325
ของพวกเราได้อาหารสองมื้อ คือในเวลาเย็นและเวลาเช้า ไฉนหนอพวกเรา
พึงแบ่งถวายข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ๆ จากอาหารมือเช้าของม้า
ตัวหนึ่ง ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จักไม่ลำบาก ทั้งม้าก็จัก
พอยังชีวิตให้เป็นไปได้.
พวกพ่อค้าเหล่านั้น จึงไปยังสำนักของภิกษุทั้งหลายเรียนบอกข้อความ
นั่นให้ทราบ แล้วเรียนขอว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จงได้รับข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ แล้วทำให้เป็นอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งฉันเถิด
ดังนี้แล้ว จึงได้ตกแต่งข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ ไว้ทุกวัน ๆ เพราะเหตุนั้น
ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า พวกพ่อค้าม้าเหล่านั้น ได้ตกแต่งข้าวแดง
แล่งหนึ่ง ๆ สำหรับภิกษุทั้งหลายไว้ที่คอกม้า.
บทว่า ปญฺณตฺต แปลว่า ได้ตั้งไว้แล้ว โดยสังเขปอย่างนิตยภัต.
[อรรถาธิบาย ปุพพัณหสมัยศัพท์]
บัดนี้ ควรทราบวินิจฉัยในคำว่า ภิกฺขู ปุพฺพณฺหสมย นิวาเสตฺวา
เป็นต้นต่อไป :-
บทว่า ปุพฺพณฺหสมย แปลว่า สมัยอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งวัน
อธิบายว่า ในปุพพัณหสมัย. อีกอย่างหนึ่ง สมัยตอนเช้า ชื่อว่า ปุพพัณห-
สมัย ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ขณะหนึ่งในเวลาเช้า. เมื่ออธิบายอย่างนี้
ทุติยาวิภัตติ ย่อมได้ในอรรถแห่งอัจจันตสังโยค.
บทว่า นิวาเสตฺวา แปลว่า นุ่งห่มแล้ว. บทว่า นิวาเสตฺวา
นั่นพึงทราบ ด้วยสามารถแห่งการผลัดเปลี่ยนการนุ่งห่มในวิหาร. ในกาลก่อน
แต่เวลาเที่ยวบิณฑบาตนั้น ภิกษุเหล่านั้น จะไม่ได้นุ่งห่ม ก็หามิได้เลย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 326
บทว่า ปตฺตจีวรมาทาย ความว่า เอามือทั้ง ๒ อุ้มบาตร เอาจีวร
คล้องกาย อธิบายว่า รับไว้ คือพาดไว้. จริงอยู่ พวกภิกษุเมื่อถือเอา
(บาตรและจีวร) ด้วยประการใด ๆ ก็ตาม ท่านก็เรียกว่า ถือเอา เหมือนกัน.
เหมือนในประโยคว่า พอถือเอาได้เท่านั้น ก็หลีกไป ดังนี้.
สองบทว่า ปิณฺฑ อลภมานา ความว่า เทียวไปทั่วทั้งเมืองเวรัญชา
อย่าว่าแต่ก้อนข้าวเลย ไม่ได้โดยที่สุดแม้เพียงคำว่านิมนต์ โปรดสัตว์ข้างหน้า
เถิด.
[พวกภิกษุได้ข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ นำไปจัดการฉันเอง]
หลายบทว่า ปตฺถปตฺถปุลก อาราม หริตฺวา ความว่า ถือเอา
ข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ ที่ตนได้ในที่ที่ไปแล้ว ๆ นำไปยังอาราม.
หลายบทว่า อุทุกฺขเล โกฏฺเฏตฺวา ปริภุญฺชนฺติ ความว่า
ใคร ๆ ผู้ที่จะเป็นกัปปิยการกรับเอาข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ นั้น ไปหุงต้มเป็น
ข้าวต้มหรือข้าวสวย ถวายแก่พระเถระเหล่านั้น ย่อมไม่มี. การหุงต้มแม้เอง
ย่อมไม่เป็นสมณสารูป ทั้งไม่สมควร. ภิกษุเหล่านั้นรวมเป็นพวก ๆ พวกละ
๘ รูปบ้าง พวกละ ๑๐ รูปบ้าง ปรึกษากันว่า ความเป็นผู้มีความประพฤติเบา
และเปลื้องจากการหุงต้มให้สุกเอง จัดมีแก่พวกเรา ด้วยวิธีอย่างนี้ ดังนี้
จึงโขลกตำในครกแล้วเอาน้ำชุบส่วนของตน ๆ ให้ชุ่มแล้วก็ฉัน ครั้นเธอ
เหล่านั้นฉันแล้วก็เป็นผู้มีขวนขวายน้อย บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ด้วยประการ
ฉะนี้.
[พ่อค้าม้าถวายข้าวแดงแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า]
ส่วนพวกพ่อค้าม้าเหล่านั้น ก็ถวายข้าวแดงแล่งหนึ่ง และเนยใส น้ำผึ้ง
และน้ำตาลกรวดที่ควรแก่ข้าวแดงนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านพระอานนท์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 327
นำเอาข้าวแดงนั้นมาบดที่ศิลา. ข้าวแดงนั้นอันบุรุษบัณฑิตผู้มีบุญทำแล้ว ย่อม
เป็นที่ชอบใจทีเดียว. คราวนั้น ท่านพระอานนท์ ครั้นบดข้าวแดงนั้น ก็ปรุง
ด้วยเครื่องปรุงมีเนยใสเป็นต้น น้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ขณะนั้น พวกเทวดา ได้แทรกทิพโยชาลงในข้าวแดงที่ปรุงนี้. พระผู้มี
พระภาคเจ้า ก็เสวยพระกระยาหารที่บดถวายนั้น ครั้นเสวยแล้วก็ทรงยังกาล
ให้ผ่านไปด้วยผลสมาบัติ จำเนียรกาลตั้งแต่นั้นมาก็ไม่เสด็จเที่ยวทรงบาตร.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว ๒๐ ปี ไม่มีผู้อุปัฏฐากประจำ]
ถามว่า ก็คราวนั้น พระอานนทเถระ ยังไม่ได้เป็นผู้อุปัฏฐากของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าหรือ ?
แก้ว่า ยังไม่ได้เป็น ทั้งท่านก็ไม่ได้รับตำแหน่งผู้อุปัฏฐากเลย.
ความจริง ในครั้งปฐมโพธิกาล ชื่อว่าภิกษุผู้อุปัฏฐากประจำ ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ในภายใน ๒๐ พรรษา ย่อมไม่มี. บางคราว พระนาคสมาลเถระ
อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า, บางคราว พระนาคิตเถระ, บางคราว พระ-
เมฆิยเถระ, บางคราว พระอุปวาณเถระ, บางคราว พระสาคตเถระ,
บางคราว พระเถระผู้เป็นโอรสของเจ้าลิจฉวี ชื่อสุนักขัตตะ อุปัฏฐากพระผู้มี
พระภาคเจ้า. พระเถระเหล่านั้นอุปัฏฐากตามความพอใจของตนแล้ว ก็หลีกไป
ในเวลาที่ตนปรารถนา (จะหลีกไป). พระอานนทเถระ เมื่อท่านเหล่านั้น
อุปัฏฐากอยู่ ก็เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย เมื่อท่านเหล่านั้นหลีกไปแล้ว ก็ทำ
วัตรปฏิบัติเสียเอง ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงใฝ่พระทัยอยู่ว่า พระญาติ
ผู้ใหญ่ของเรา ไม่ได้รับตำแหน่งเป็นผู้อุปัฏฐากก่อน แม้ก็จริง ถึงกระนั้น
พระอานนท์นี้แหละ เป็นผู้สมควรในฐานะทั้งหลายเห็นปานนี้ ดังนั้น จึงทรง
นิ่งเงียบไว้ เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ว่า ท่านพระอานนท์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 328
บดข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ ที่ศิลาแล้ว น้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เสวยพระกระยาหารที่บดถวายนั้น.
[พราหมณ์และชาวเมืองไม่ได้ถวายภัตแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า]
ถามว่า ก็ในเวลาข้าวยากหมากแพง มนุษย์ทั้งหลายเกิดความอุตสาหะ
ทำบุญกันอย่างเหลือเกิน ถึงตนเองก็ไม่บริโภค ย่อมสำคัญของที่ตนควรถวาย
แก่พวกภิกษุมิใช่หรือ ? เพราะเหตุไร ในคราวนั้น พวกมนุษย์เหล่านั้น
จึงไม่ได้ถวายแม้ภิกษาสักทัพพีเล่า, และเวรัญชพราหมณ์นี้ ก็ได้ทูลขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าให้อยู่จำพรรษา ด้วยความอุตสาหะเป็นอย่างมาก, เพราะเหตุไร
พราหมณ์นั้น จึงไม่รู้แม้ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ?
ตอบว่า เพราะถูกมารดลใจ. จริงอยู่ มารได้ดลใจ คือทำเวรัญช-
พราหมณ์ ผู้พอสักว่าหลีกไปจากสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น และชาวนคร
ทั้งสิ้นให้ลุ่มหลงทั้งหมด ตลอดสถานที่มีประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ (เมือง
เวรัญชา) อันเป็นสถานที่พวกภิกษุอาจเที่ยวไปบิณฑบาต ในเวลาก่อนฉัน
แล้วกลับมาได้ ทำให้พวกมนุษย์ทั้งหมดกำหนดไม่ได้แล้วก็หลีกไป เพราะ
ฉะนั้น ใคร ๆ จึงไม่ได้ใฝ่ใจถึงกิจที่ตนควรทำ โดยที่สุดแม้สามีจิกรรม.
ถามว่า ก็แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทราบมารจะดลใจหรือ ? จึงทรง
เข้าจำพรรษาในเมืองเวรัญชานั้น.
แก้ว่า ไม่ทรงทราบ ก็หามิได้.
ถามว่า เมื่อทรงทราบเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงไม่ทรงเข้าจำพรรษา
ในบรรดาพระนครแห่งใดแห่งหนึ่ง มีนครจัมปา สาวัตถี และราชคฤห์เป็นต้น ?
แก้ว่า พระนครทั้งหลายมีนครจัมปา สาวัตถี และราชคฤห์เป็นต้น
จงยกไว้, แม้ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงเสด็จไปยังอุตรกุรุทวีปหรือไตรทศบุรี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 329
แล้วเข้าจำพรรษาในปีนั้นไซร้. มารก็พึงดลใจชาวอุดรกุรุทวีปหรือไตรทศบุรี
แม้นั้นได้. ได้ยินว่า มารนั้น ได้เป็นผู้มีจิตถูกความอาฆาตเข้ากลุ้มรุมอย่างยิ่ง
ตลอดศกนั้น, ส่วนในเมืองเวรัญชานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ทอดพระเนตร
เห็นเหตุการณ์นี้ได้เป็นอย่างดีว่า พวกพ่อค้าม้า จักทำการสงเคราะห์ภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงทรงเข้าพรรษาในเมืองเวรัญชานั่นแล.
[มารได้สามารถทำอันตายแก่ปัจจัย ๔ ได้]
ถามว่า ก็มาร ไม่สามารถจะดลใจพวกพ่อค้าได้หรือ ?
แก้ว่า จะไม่สามารถ ก็หามิได้ แต่เพราะพ่อค้าเหล่านั้นได้มาใน
เมื่อประชาชนถูกมารดลใจเสร็จสิ้นลงแล้ว.
ถามว่า เพราะเหตุไร มารจึงไม่กลับมาดลใจอีกเล่า ?
แก้ว่า เพราะไม่เป็นวิสัย จึงไม่กลับมา.
จริงอยู่ มารนั้น ย่อมไม่อาจเพื่อทำอันตราย แก่ภิกษุที่บุคคลนำไป
เฉพาะพระตถาคต แก่นิพัทธทาน แก่วัตถุทานที่บุคคลกำหนดถวายไว้แล้ว.
ความจริง ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่ปัจจัย ๔ ได้. แก่ปัจจัย ๔
เหล่าไหน ? ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่ปัจจัย ๔ เหล่านี้ คือ :-
ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่นิพัทธทาน โดยสังเขปว่า ภิกษา
ที่บุคคลนำไปเฉพาะพระตถาคต หรือแก่ปัจจัย ๔ ที่บุคคลบริจาคแล้วแต่
พระตถาคตโดยสังเขปว่าวัตถุทานที่บุคคลกำหนดถวายไว้แล้ว ๑.
ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่พระชนมชีพ ของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายได้ ๑,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 330
ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่พระอนุพยัญชนะ ๘๐ หรือแก่
พระรัศมี ที่ซ่านออกข้างละวาได้. จริงอยู่ รัศมีแม้แห่งพระจันทร์ พระอาทิตย์
เทวดาและพรหม พอไปถึงประเทศแห่งพระอนุพยัญชนะและพระรัศมีที่ซ่าน
ออกข้างละวา ของพระตถาคตแล้ว ก็หมดอานุภาพไป ๑,
ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่พระสัพพัญญุตญาณ ของพระ
พุทธเจ้าทั้งหลายได้ ๑ (รวมเป็น ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้).
เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้ง
พระสงฆ์สาวกเสวยและฉันภิกษา ที่มารทำอันตรายไม่ได้ในคราวนั้น.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามสิ่งที่เป็นประโยชน์]
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเสวยอยู่อย่างนั้น วันหนึ่ง (ได้ทรง
สดับเสียงครกแล).
หลายบทว่า อสฺโสสี โข ภควา อุทุกฺขลสทฺท ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า ได้ทรงสดับเสียงครก ที่เกิดเพราะสากกระทบ (ครก) ของพวก
ภิกษุผู้โขลกตำข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ อยู่. พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวคำเป็นต้น ซึ่งมีต่อจากคำนั้นไปอย่างนี้ว่า พระตถาคตทั้งหลาย แม้
ทรงทราบอยู่ ดังนี้ ก็เพื่อแสดงการเฉลยพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามข้างหน้าว่า ดูก่อนอานนท์ ! นั้นเสียงครกหรือหนอแล ?
ในคำเหล่านั้น มีการพรรณนาโดยสังเขปดังต่อไปนี้ :-
ธรรมดาว่า พระตถาคตทั้งหลาย แม้เมื่อทรงทราบอยู่ ถ้าเหตุแห่ง
การถามเช่นนั้น มีอยู่ไซร้ จึงตรัสถาม, แต่ถ้าเหตุแห่งการถามเช่นนั้น ไม่มี
ไซร้, ถึงทราบอยู่ ก็ไม่ตรัสถาม. ก็เพราะขึ้นชื่อว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่ทรงทราบ ไม่มี, เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวคำว่า แม้เมื่อไม่รู้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 331
หลายบทว่า กาล วิทิตฺวา ปุจฺฉนฺติ ความว่า ถ้าเวลาแห่งการ
ตรัสถามนั้น ๆ มีอยู่ไซร้, ทรงทราบกาลนั้นแล้ว จึงตรัสถาม ถ้าเวลา
แห่งการตรัสถามนั้น ไม่มีไซร้, ทรงทราบกาลแม้อย่างนั้นแล้ว ก็ไม่ตรัสถาม.
อนึ่ง พระตถาคตทั้งหลาย แม้เมื่อจะตรัสถามอย่างนั้น ย่อมตรัสถามแต่คำที่
ประกอบด้วยประโยชน์ คือ ย่อมตรัสถามเฉพาะแต่คำที่อิงอาศัยประโยชน์
อิงอาศัยเหตุเท่านั้น หาตรัสถามคำที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่. เพราะ
เหตุไร ? เพราะพระตถาคตทั้งหลาย ทรงขจัดคำที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
เสียได้ด้วยมรรคชื่อว่าเสตุ. มรรคท่านเรียกวา เสตุ. มีคำอธิบายไว้ว่า การขจัด
คือ การตัดขาดด้วยดี ซึ่งคำเช่นนั้นด้วยมรรคนั่นเอง.
บัดนี้ ท่านพระอุบาลีเถระ เมื่อจะแสดงถึงพระดำรัส ที่อิงอาศัย
ประโยชน์ซึ่งพระตถาคตทั้งหลายตรัสถามนั้น ในบทว่า อตฺถสญฺหิต นี้
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ทฺวีหิ อากาเรหิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาเรหิ คือ ด้วยเหตุทั้งหลาย.
สองบทว่า ธมฺม วา เทเสสฺสาม ความว่า เราจักแสดงพระสูตร
ที่ประกอบด้วยอัตถุปปัตติเหตุ (คือเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า) หรือชาดกที่
ประกอบด้วยเหตุแห่งบุรพจริต (คือความประพฤติในชาติก่อน)
หลายบทว่า สาวกาน วา สิกฺขาปท ปญฺาเปสฺสาม ความว่า
หรือเราจักทำโทษที่ล่วงเกินให้ปรากฏ ด้วยการถามนั้น แล้วจักบัญญัติสิขาบท
คือตั้งข้อบังคับหนักหรือเบาไว้แก่สาวกทั้งหลาย.
ในคำว่า อถโข ภควา ฯ เป ฯ เอตมตฺถ อาโรเจสิ นี้ หามี
คำอะไร ๆ ที่ควรกล่าวไว้ไม่. เพราะว่า ท่านพระอานนท์เมื่อทูลบอกการได้
ข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ ความเป็นผู้มีความประพฤติเบา และเปลื้องจากการหุงต้ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 332
ให้สุกเอง ของพวกภิกษุ ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล เรียกว่า ได้
ทูลบอกข้อความนั่นแล้ว.
[พวกภิกษุจำพรรษาเมืองเวรัญชาชำนะความอดอยากได้]
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงทำให้ท่านพระอานนท์รื่นเริง
จึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดีละ ดีละ อานนท์ ! ก็แลครั้นทรงประทานสาธุการ
แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมยอมรับเอาอาการอย่างหนึ่ง ในบรรดาอาการทั้ง ๒
จึงได้ตรัสรู้ ดูก่อนอานนท์ ! พวกเธอเป็นสัตบุรุษ ชนะวิเศษแล้ว. พวก
เพื่อนสพรหมจารีชั้นหลัง จักดูหมิ่นข้าวสาลีและข้าวสุกที่ระคนด้วยเนื้อ.
ในคำว่า ตุมฺเหหิ เป็นต้นนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- (พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า) ดูก่อนอานนท์ ! ในคราวทุพภิกขภัย คือ ในคราวที่มี
ก้อนข้าวอันหาได้ยากอย่างนี้ พวกท่านเป็นสัตบุรุษชนะวิเศษแล้ว ด้วยความ
เป็นผู้ประพฤติเบานี้ และด้วยธรรมอันเป็นเครื่องขูดเกลานี้.
ถามว่า พวกเธอชนะอะไร ?
แก้ว่า ชนะทุพภิกขภัยได้ ชนะความโลภได้ ชนะความประพฤติ
ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาได้.
ถามว่า ชนะอย่างไร ?
แก้ว่า แม้ภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมไม่มีความคิด หรือความคับแค้นใจว่า
เมืองเวรัญชานี้ มีภิกษาหาได้ยาก แต่บ้านและนิคมในระหว่างโดยรอย (แห่ง
เมืองเวรัญชานี้) มีข้าวกล้าโน้มลงด้วยความหนักคือผล คือว่ามีภิกษาดี มี
ก้อนข้าวหาได้โดยง่าย เอาเถิดพวกเราไปที่บ้านและนิคมนั้นแล้ว จึงจักฉัน,
แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็จะทรงรับเอาพวกเราอยู่ในเมืองนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 333
ทีเดียว ดังนี้. ทุพภิกขภัยอันภิกษุเหล่านั้นชนะได้แล้ว คือครอบงำได้แล้ว
ได้แก่ให้เป็นไปในอำนาจตนแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ก่อน.
ถามว่า ชนะความโลภได้อย่างไร ?
แก้ว่า แม้ภิกษุรูปหนึ่ง ไม่ได้ทำให้ราตรีขาดด้วยอำนาจแห่งความ
โลภว่า เมืองเวรัญชานี้ มีภิกษาหาได้ยาก, ส่วนบ้านและนิคมในระหว่าง
โดยรอบ (แห่งเมืองเวรัญชานี้) มีข้าวกล้าโน้มลงด้วยความหนัก คือผล ได้แก่
มีภิกษาดี มีก้อนข้าวหาได้โดยง่าย เอาเถิด พวกเราจักพากันไปฉันที่บ้านและ
นิคมนั้น หรือไม่ได้ทำให้พรรษาขาด ด้วยคิดว่า พวกเราจะเข้าจำพรรษา
ในบ้านและนิคมนั้น ในพรรษาหลังดังนี้, ความโลภอันภิกษุเหล่านั้นชนะ
ได้แล้วด้วยอาการอย่างนี้.
ถามว่า ชนะความประพฤติ ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาได้อย่างไร ?
แก้ว่า แม้ภิกษุรูปหนึ่ง ไม่ได้ให้ความปรารถนาเห็นปานนี้เกิดขึ้น
เลยว่า เมืองเวรัญชานี้ ภิกษาหาได้ยาก และมนุษย์ทั้งหลายนี้ ย่อมไม่สำคัญ
พวกเรา แม้ผู้พักอยู่ตั้ง ๒-๔ เดือน ในคุณอะไรเลย ไฉนหนอ ! พวกเรา
ทำการค้าคุณธรรม (อวดอุตริมนุสธรรม) คือ ประกาศซึ่งกันและกัน แก่
มนุษย์ทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ภิกษุรูปโน้น ได้ปฐมฌาน ฯลฯ รูปโน้นได้
อภิญญา ๖ ดังนี้ แล้วปรนปรือท้อง ภายหลัง จึงค่อยอธิษฐานศีล ดังนี้,
ความประพฤติด้วยอำนาจแห่งความปรารถนา อันภิกษุเหล่านั้นชนะได้แล้ว
คือ ครอบงำได้แล้ว เป็นไปในอำนาจของตนแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.
ส่วนในอนาคต เพื่อพรหมจารีชั้นหลัง นั่งอยู่ในวิหารแล้ว แม้ได้
(ภัตตาหาร) โดยความยากลำบากเพียงเล็กน้อย ก็จะดูหมิ่นข้าวสาลีและข้าวสุก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 334
ที่ระคนด้วยเนื้อ คือ จักทำให้เป็นของดูหมิ่น น่าติเตียน โดยนัยเป็นต้นว่า
ข้าวสุกนี้อะไรกัน ? เป็นท้องเล็น แฉะไป ไม่เค็ม เค็มจัด ไม่เปรี้ยว
เปรี้ยวจัด จะประโยชน์อะไรด้วยข้าวสุกนี้ ? ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง (พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอธิบายไว้ว่า) ขึ้นชื่อว่า
ชนบทจะมีภิกษาหาได้ยากตลอดกาล ก็หามิได้ คือ บางคราว ก็มีภิกษาหา
ได้ยาก บางคราว ก็มีภิกษาหาได้ง่าย ในกาลใด ชนบทนี้นั้น จักมีภิกษา
หาได้ง่าย ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายเสื่อมใสต่อข้อปฏิบัตินี้ ของพวกท่าน
ผู้เป็นสัตบุรุษแล้ว จักสำคัญข้าวสาลีวิกัติ และข้าวสุกที่ระคนด้วยเนื้อ อันมี
ประการหลายอย่าง โดยประเภทมีข้าวต้มและของขบฉันเป็นต้น ที่ตนพึงถวาย
แก่ภิกษุทั้งหลาย, ปัจฉิมชนตาชน กล่าวคือ เพื่อนสพรหมจารี ของพวกท่าน
นั่งอยู่ในระหว่างพวกท่านแล้ว เสวยอยู่ซึ่งสักการะ ที่อาศัยพวกท่านเกิดขึ้น
แล้วนั่นแล จักดูเหมือน และจะทำความดูถูก อันมีการเสวยสักการะนั้นเป็น
ปัจจัย.
ถามว่า จักทำความดูถูกอย่างไร ?
แก้ว่า จักทำความดูถูกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงหุงต้ม
ภัตมีประมาณเท่านี้เล่า ? ภาชนะของพวกท่าน ซึ่งเป็นที่ที่พวกท่านจะพึงใส่
ของ ๆ ตนเก็บไว้ ไม่มีหรือ ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 335
มหาโมคคัลลานสีหนาทกถา
ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า อถโข อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน
มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า อายสฺมา นี้ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก, บทนี้เป็นเรื่องแห่ง
ความเคารพ และความยำเกรงโดยฐานครู.
บทว่า มหาโมคฺคลฺลาโน ความว่า พระเถระนั้นชื่อว่า มหา
โดยความเป็นผู้มีคุณใหญ่ และชื่อว่า โมคคัลลานะ โดยโคตร เพราะเหตุนั้น
พระเถระนั้น จึงชื่อว่า มหาโมคคัลลานะ.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูล
คำนี้ (กะพระผู้มีพระภาคเจ้า) คือแสดงคำเป็นต้น ที่ตนควรกราบทูลในบัดนี้
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้ (เมืองเวรัญชามีภิกษาหาได้ยาก) ดังนี้.
[ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลขออนุญาตพลิกแผ่นดิน]
ถามว่า ท่านมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูล (คำนี้) เพราะเหตุไร ?
แห่งสาวกบารมีญาณ ทั้งพระศาสดา ก็ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
เพราะความที่ท่านเป็นผู้มีฤทธิ์มาก. พระเถระนั้นอาศัยความที่ตนเป็นผู้มีฤทธิ์
มากนั้น จึงดำริว่า เมืองเวรัญชานี้ มีภิกษาหาได้ยาก และภิกษุทั้งหลาย
ก็ย่อมลำบาก, ถ้าไฉนหนอ เราจะพลิกแผ่นดิน แล้วให้ภิกษุทั้งหลายฉันง้วน
ดิน. คราวนั้นท่านได้มีความรำพึงดังนี้ว่า ก็ถ้าว่า เมื่อเราอยู่ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า จะไม่ทูลขอกะพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วพึงทำอย่างนั้นไซร้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 336
ข้อนั้นจะไม่พึงเหมาะแก่เรา จะพึงเป็นเหมือนการแข่งดี ที่เราทำกับพระผู้มี-
พระภาคเจ้า : เพราะฉะนั้น พระเถระมีความประสงค์จะทูลขอ จึงมากราบทูล
กล่าวคำนั้นกระพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[ภายใต้แผ่นดิน มีง้วนดินที่มีรสโอชา]
สองบทว่า เหฏฺิมตถ สมฺปนฺน ความว่า ได้ยินว่า พระเถระ
กล่าวหมายเอาฟองดิน โอชาดิน ง้วนดิน ซึ่งมีอยู่ในพื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดิน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺน แปลว่า มีรสหวาน อธิบายว่า
มีรสดี, เหมือนอย่างในประโยคนี้ว่า ต้นไม้มีผลสมบูรณ์ และมีผลเกิดแล้ว
พึงมีในสถานที่นั้น ดังนี้ พึงทราบความหมายว่า มีผลอร่อยฉันใดแล แม้
ในอธิการนี้ ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบความหมายแห่งบทว่า สมฺปนฺน นี้ว่า
มีรสหวาน คือรสดี.
ส่วนคำว่า เสยฺยถาปิ ขุทฺทกมธุ อนีลก นี้ พระเถระกล่าวแล้ว
ก็เพื่อแสดงข้ออุปมา เพราะพื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดินนั้น เป็นธรรมชาติมีรส
หวาน.
น้ำหวาน ที่ตัวแมลงผึ้งเล็ก ๆ ทำไว้แล้ว ชื่อว่า ขุทฺทกมธุ
(น้ำผึ้งหวี่).
บทว่า อนีลก แปลว่า ไม่มีตัว คือไม่มีตัวอ่อน ได้แก่น้ำผึ้งที่บริสุทธิ์.
ได้ยินว่า น้ำผึ้งนั่นเป็นของเลิศ ประเสริฐ มีรสดี และมีโอชากว่าน้ำหวาน
ทั้งหมด เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงได้กล่าวว่า เสยฺยถาปิ ขุทฺทกมธุ
อนีลก เอวมสฺสาท แปลว่า (เป็นที่ชอบใจ เหมือนน้ำผึ้งหวี่ ที่ไม่มีตัว
ฉะนั้น) ดังนี้เป็นต้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 337
ประชุมหลายบทว่า สาธาห ภนฺเต ตัดบทว่า สาธุ อห ภนฺเต
แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้า
(จะพึงพลิกแผ่นดิน).
ก็บทว่า สาธุ นั่น ซึ่งมีอยู่ในบทว่า สาธาห นี้ เป็นคำกราบทูลขอ.
จริงอยู่ พระเถระ เมื่อจะกราบทูลขออนุญาตการพลิกแผ่นดิน จึงได้กราบทูล
กะพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนั้น.
บทว่า ปริวตฺเตยฺย ความว่า พึงหงายขึ้น คือพึงทำพื้นข้างล่างให้
กลับขึ้นข้างบน.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงต้องทำอย่างนั้น ?
แก้ว่า เพราะว่า เมื่อพระเถระทำอย่างนั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายจักได้
ฉันง้วนดิน คือฟองดิน โดยสะดวก.
คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้มีพระประสงค์จะไม่ทรงอนุญาต
ก็ตาม แต่เพื่อให้พระเถระบังลือสีหนาท จึงตรัสถามว่า โมคคัลลานะ ! ก็เธอ
จัดทำเหล่าสัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินไว้อย่างไรเล่า ? ตรัสอธิบายไว้ว่า สัตว์ทั้งหลาย
ในบ้านและนิคมเป็นต้นเหล่าใดผู้อาศัยแผ่นดินอยู่ เมื่อเธอพลิกแผ่นดิน เธอ
จักทำสัตว์เหล่านั้นผู้ไม่สามารถจะดำรงอยู่ในอากาศได้อย่างไร ? คือจักพักไว้
ในสถานที่ไหนเล่า.
คราวนั้น พระเถระ เมื่อจะประกาศอิทธานุภาพของตนอันสมควร
แก่ความที่ตน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัตตะ จึงได้
กราบทูลว่า เอกาห ภนฺเต เป็นต้น
ในความแห่งคำว่า เอกาห ภนฺเต เป็นต้นนั้นว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ! ข้าพระพุทธเจ้า จักนิรมิตมือข้าหนึ่ง เหมือนแผ่นดินใหญ่นี้ คือ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 338
จักทำให้เป็นเช่นกับแผ่นดิน ครั้นข้าพระพุทธเจ้าทำอย่างนั้นแล้ว จักทำ
เหล่าสัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินให้ก้าวไปบนมือนั้น เหมือนทำให้สัตว์ผู้ดำรงอยู่แล้ว
บนพื้นฝ่ามือข้าหนึ่งนั้น ก้าวไปบนพื้นฝ่ามือข้าที่สองฉะนั้น.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้พลิกแผ่นดิน]
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงคัดค้านการทูลขอของ
พระเถระนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อย่าเลย โมคคัลลานะ !
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อล เป็นพระดำรัสที่ตรัสคัดค้าน.
หลายบทว่า วิปลฺลาสมฺปิ สตตา ปฏิลเภยฺย ความว่า สัตว์
ทั้งหลายพึงเข้าถึงแม้การถือคลาดเคลื่อนไป.
ถามว่า พึงถึงการถือคลาดเคลื่อนอย่างไร ?
แก้ว่า อย่างนี้คือ นี้เป็นแผ่นดิน หรือนี้มิใช่แผ่นดินหนอ. อีกอย่าง
หนึ่ง พึงถึงการถือคลาดเคลื่อนที่ตรงกันข้ามอย่างนี้คือ นี้เป็นบ้านของพวกเรา
หรือเป็นบ้านของคนเหล่าอื่นหนอ. ในนิคม ชนบท นาและสวนเป็นต้น
ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง นั้นมิใช่วิปัลลาส. เพราะว่าอิทธิวิสัยของท่านผู้มีฤทธิ์
เป็นอจินไตย. ส่วนมนุษย์ทั้งหลาย พึงได้รับความเข้าใจผิด อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า
ทุพภิกขภัยนี้ หาใช่จะมีในบัดนี้เท่านั้นไม่. แม้ในอนาคต ก็จักมี, ในกาลนั้น
ภิกษุทั้งหลาย จักได้เพื่อนพรหมจารีผู้มีฤทธิ์เช่นนั้นแม่ที่ไหนเล่า ? ท่านเหล่านั้น
เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระสุขวิปัสสก ท่านผู้ได้
ฌาน และผู้บรรลุปฏิสัมภิทา แม้เป็นพระขีณาสพก็มี จักเข้าไปบิณฑบาตยัง
ตระกูลอื่น เพราะไม่มีอิทธิพล ความวิตกอย่างนี้ ของมนุษย์ทั้งหลายจักมีขึ้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 339
ในภิกษุเหล่านั้นว่า ในครั้งพุทธกาล ภิกษุทั้งหลายได้เป็นผู้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
ในสิกขาทั้งหลายแล้ว, ท่านเหล่านั้นได้ให้คุณทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว ทั้งในคราว
มีทุพภิกขภัย ก็ได้พลิกแผ่นดิน แล้วฉันง้วนดิน, แต่บัดนี้ ท่านผู้บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์ในสิขาย่อมไม่มี, ถ้าจะพึงมีไซร้ก็พึงจะทำเหมือนอย่างนั้นทีเดียว
ด้วยคิดว่า มนุษย์ทั้งหลาย ไม่พึงถวายบิณฑบาตที่สุกหรือดิบอย่างใดยอย่างหนึ่ง
แก่พวกเรา เพื่อขบฉัน ดังนี้, เพราะความวิตกอย่างว่ามานี้ มนุษย์เหล่านั้น
พึงได้วิปัลลาส (ความเข้าใจเคลื่อนคลาด) นี้ ในพระอริยบุคคลทั้งหลาย
ซึ่งมีตัวอยู่นั่นแหละว่า พระอริยบุคคลทั้งหลาย ไม่มี :- ก็แลมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้ติเตียนว่าร้ายอยู่ซึ่งพระอริยบุคคลด้วยอำนาจวิปัลลาส (ความเข้าใจผิด) จะ
พึงเป็นผู้เข้าถึงอบาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า การ
พลิกแผ่นดิน เธออย่าชอบใจเลย ดังนี้.
ลำดับนั้น พระเถระเมื่อทูลขอเรื่องนี้ไม่ได้ จะทูลขอเรื่องอื่น (ต่อไป)
จึงได้กราบทูลคำมีอาทิว่า ดีละ พระเจ้าข้า !
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงคัดค้านคำทูลขอแม้นั้น ของพระเถระ
นั้น จึงตรัสพระดำรัส มีอาทิว่า อย่าเลย โมคคัลลานะ ! .
คำว่า สัตว์ทั้งหลาย พึงได้รับแม้ซึ่งวิปัลลาส ดังนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าไม่ได้ตรัสไว้ในคำว่า อย่าเลย โมคคัลลานะ ! ดังนี้ เป็นต้น แม้ก็จริง.
ถึงกระนั้น บัณฑิตก็ควรถือเอา โดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นนั่นแหละ,
อนึ่ง แม้ใจความแห่งคำนั้น ก็ควรทราบเช่นกับที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง.
ถามว่า ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงอนุญาตไซร้ , พระเถระจะ
พึงทำอย่างไร ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 340
แก้ว่า พระเถระพึงอธิษฐานมหาสมุทรให้ขนาดเท่าเหมืองที่จะพึงข้าม
ด้วยอย่างเท้าก้าวเดียว แล้วซักหนทางจากต้นสะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงอยู่มุ่งหน้าตรง
ไปยังอุตรกุรุทวีป แล้วแสดงอุดรกุรุทวีปไว้ในที่อันสมบูรณ์ด้วยการไปและ
การมา ให้ภิกษุทั้งหลายไปบิณฑบาตแล้วออกไปได้ตามสบาย เหมือนเข้า
ไปสู่โคจรตามฉะนั้น.
สีหนาทกถา ของพระมหาโมคคัลลานะ จบ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 341
เรื่องปัญหาของพระสารีบุตร
บัดนี้ ท่านพระอุบาลี เมื่อจะแสดงการที่พระสารีบุตรเถระเกิดความ
รำพึง ที่ปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท เพื่อแสดงนิทานตั้งต้นแต่เค้าเดิม แห่งการ
ทรงบัญญัติพระวินัย จึงได้กล่าวคำมีอาทิ อถโข อายสฺมโต สารึปุตฺตสฺส
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รโหคตสฺส แปลว่า ไปแล้วในที่สงัด.
บทว่า ปฏิสลฺลีนสฺส แปลว่า หลีกเร้นอยู่ คือถึงความเป็นผู้
โดดเดี่ยว.
บทว่า กตเมสาน ความว่า บรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระ-
วิปัสสีเป็นต้น ที่ล่วงไปแล้ว ของพระพุทธเจ้าพระองค์ไหน ? พรหมจรรย์
ชื่อว่าดำรงอยู่นาน เพราะอรรถว่า พรหมจรรย์นั้นดำรงอยู่ตลอดกาลนาน
หรือมีการดำรงอยู่นาน. คำที่ยังเหลือในบทว่า อถโข อายสฺมโต เป้นต้นนี้
มีใจความเฉพาะบทตื้นทั้งนั้น.
ถามว่า ก็พระเถระ ไม่สามารถจะวินิจฉัยความปริวิตกของตนนี้
ด้วยตนเองหรือ ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- พระเถระ ทั้งสามารถ ทั้งไม่สามารถ.
จริงอยู่ พระสารีบุตรเถระนี้ ย่อมสามารถวินิจฉัยเหตุมีประมาณเท่านี้ได้ คือ
ธรรมดาศาสนาของพรพุทธเจ้าเหล่านี้ดำรงอยู่ไม่ได้นาน, ของพระพุทธเจ้า
เหล่านี้ ดำรงอยู่ได้นาน แต่ท่านไม่สามารถจะวินิจฉัยเหตุนี้ว่า ศาสนาดำรงอยู่
ไม่ได้นาน เพราะเหตุนี้ ดำรงอยู่ได้นาน เพราะเหตุนี้ ดังนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 342
ส่วนพระมหาปทุมเถระ กล่าวไว้ว่า เหตุการณ์แม้นั่น ก็เป็นของ
ไม่หนักแก่พระอัครสาวก ผู้ได้บรรลุที่สุดยอดแห่งปัญญา ๑๖ อย่างเลย, ส่วน
การที่พระอัครสาวก ผู้อยู่ในสถานที่เดียวกันกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำการ
วินิจฉัยเสียเอง ก็เป็นเช่นกับการทิ้งตราชั่งแล้วกลับชั่งด้วยมือ ; เพราะเหตุนั้น
พระเถระจึงเข้าไปเฝ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียทีเดียว. ถัดจากนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาคำทูลถามของพระเถระนั้น จึงตรัสพระดำรัส
มีอาทิว่า ภควโต จ สารีปุตฺต วิปสฺสิสฺส ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความตื้น
ทั้งนั้น.
พระเถระ เมื่อจะทูลถามถึงเหตุการณ์ต่อไปอีก จึงได้กราบทูลคำมี
อาทิว่า โก นุ โข ภนฺเต เหตุ (ที่แปลว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุ พระเจ้าข้า!)
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ โข ภนฺเต เป็นคำทูลถามถึง
เหตุการณ์. ใจความแห่งบทนั้นว่า เหตุเป็นไฉนหนอแล พระเจ้าข้า !
คำทั้งสองนี้คือ เหตุ ปจฺจโย เป็นชื่อแห่การณ์ จริงอยู่ การณ์
ท่านเรียกว่า เหตุ เพราะเป็นเครื่องไหลออก คือเป็นไปแห่งผลของการณ์นั้น.
เพราะผลอาศัยการณ์นั้นแล้วจึงดำเนิน คือจึงเป็นไปได้ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า
ปัจจัย. บทแม้ทั้งสองนี้ในที่นั้น ๆ แม้เป็นอันเดียวกันโดยใจความถ้อยคำ ดังที่
กล่าวมาแล้วนั้น. คำที่เหลือในคำว่า โก นุ โข เป็นต้นนี้ ก็มีเนื้อความ
ตื้นทั้งนั้น.
[พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพราะบริษัทมีมากหรือน้อยก็หาไม่]
ก็เพื่อแสดงเหตุและปัจจัยนั้น ในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สารีปุตฺต วิปสฺสี.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 343
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิลาสุโน อเหส ความว่า พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย มีพระวิปัสสีเป็นต้น ไม่ทรงใฝ่พระทัยเพราะความเกียจคร้าน ก็หา
มิได้. จริงอยู่ ความเกียจคร้านก็ดี ความมีพระวิริยภาพย่อหย่อนก็ดี ของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หามีไม่. เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะทรง
แสดงธรรมแก่จักรวาลหนึ่งก็ดี สองจักรวาลก็ดี จักรวาลทั้งสิ้นก็ดี ย่อมทรง
แสดงด้วยพระอุตสาหะเสมอกันทีเดียว ครั้นทอดพระเนตรเห็นบริษัทมีจำนวน
น้อยแล้ว ทรงลดมีพระวิริยภาพลงก็หาไม่ ทั้งทอดพระเนตรเห็นบริษัทมีจำนวน
มากแล้ว ทรงมีพระวิริยภาพมากขึ้นก็หาไม่. เหมือนอย่างว่า พญาสีหมฤคราช
ล่วงไป ๗ วัน จึงออกไปเพื่อหากิน ครั้นพบเห็นสัตว์เล็กหรือใหญ่ก็ตาม
ย่อมวิ่งไปโดยเชาว์อันเร็ว เช่นเดียวกันเสมอ, ข้อนั้น เพราะเหตุแห่งอะไร ?
เพราะเหตุแห่งความใฝ่ใจว่า ความเร็วของเราอย่าได้เสื่อมไป ดังนี้ ฉันใด
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ย่อมทรงแสดงธรรมแก่บริษัท จะมีจำนวน
น้อยหรือมากก็ตาม ก็ด้วยพระอุตสาหะเสมอกันทั้งนั้น, ข้อนั้น เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุแห่งความใฝ่พระทัยอยู่ว่า เหล่าชนผู้หนักในธรรมของเรา อย่าได้
เสื่อมไป ดังนี้. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงหนักในธรรม ทรงเคารพ
พระธรรมแล. เหมือนอย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ได้ทรง
แสดงธรรมโดยพิสดาร ดุจ (วลาหกเทวดา) ยังมหาสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยมอยู่
ฉันใด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระวิปัสสีเป็นต้นเหล่านั้น หาได้แสดงธรรม
ฉันนั้นไม่.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะความที่สัตว์ทั้งหลาย มีธุลี คือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย
เบาบาง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 344
ดังได้สดับมาว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายมี
อายุยืนนาน ได้เป็นผู้มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อยเบาบาง. สัตว์เหล่านั้น
พอได้สดับแม้พระคาถาเดียว ที่ประกอบด้วยสัจจะ ๔ ย่อมบรรลุธรรมได้ ;
เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงไม่ทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร. ก็
เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ นวังคสัตถุศาสน์ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น คือ สุตตะ
เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
จึงได้มีน้อย. ความที่นวังคสัตถุศาสน์มีสุตตะเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ในคำว่า อปิปกญฺจ เป็นต้นนั้น เป็นต่าง ๆกัน ข้าพเจ้าได้กล่าว
ไว้แล้วในวรรณนาปฐมสังคีตินั้นแล.
[พระวิปัสสีเป็นต้นหาได้ทรงบัญญัติสิกขาบทเป็นต้นไม่]
หลายบทว่า อปฺปญฺตฺต สาวกาน สิกฺขาปท ความว่า สิกขาบท
คือข้อบังคับด้วยอำนาจอาบัติ ๗ กอง ที่ควรทรงบัญญัติ โดยสมควรแก่โทษ
อันพระพุทธเจ้ามีพระวิปัสสีเป็นต้นเหล่านั้น ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ แก่พระสาวก
ทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ไม่มีโทษ.
สองบทว่า อนุทฺทิฏฺ ปาฏิโมกฺข ความว่า พระปาฏิโมกข์คือ
ข้อบังคับ ก็มิได้ทรงแสดงทุกกึ่งเดือน. พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้ทรงแสดง
เฉพาะโอวาทปาฏิโมกข์เท่านั้น และแม้โอวาทปาฏิโมกข์นั้น ก็มิได้แสดงทุก
กึ่งเดือน. *จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี ทรงแสดงโอวาทปฏิโมกข์
๖ เดือนต่อครั้ง ๆ ก็แลโอวาทปาฏิโมกข์นั้น ทรงแสดงด้วยพระองค์เองทั้งนั้น.
ส่วนพวกสาวกของพระองค์มิได้แสดงในที่อยู่ของตน ๆ ภิกษุสงฆ์แม้ทั้งหมด
ในสกลชมพูทวีป กระทำอุโบสถ ในที่แห่งเดียวเท่านั้น คือในอุทยาน-
* พระธรรมบัณฑิต (มานิต ถาวโร ป. ธ. ๙ ) วัดสัมพันธวงค์ แปล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 345
เขมมฤคทายวันใกล้ราชธานี ชื่อพันธุมดี อันเป็นที่เสด็จประทับของพระผู้มี
พระภาคเจ้าวิปัสสี. ก็แล อุโบสถนั้นได้กระทำเป็นสังฆอุโบสถอย่างเดียว
หาได้กระทำเป็นคณะอุโบสถ บุคคลอุโบสถ ปาริสุทธิอุโบสถ อธิษฐาน
อุโบสถไม่ ได้ทราบว่าในเวลานั้น ในชมพูทวีป มีวิหารแปดหมื่นสี่พันตำบล
ในวิหารแต่ละตำบนมีภิกษุอยู่เกลื่อนไป วิหารละหมื่นรูปบ้าง สองหมื่นรูปบ้าง
สามหมื่นรูปบ้าง เกินไปบ้าง.
[พวกเทวดาบอกวันทำอุโบสถแก่พวกภิกษุ]
พวกเทวดาผู้บอกวันอุโบสถ เที่ยวไปบอกในที่นั้น ๆ ว่า ท่านผู้มี
นิรทุกข์ทั้งหลาย ! ล่วงไปแล้วปีหนึ่ง ล่วงไปแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ๔ ปี ๕ ปี,
นี้ปีที่หก เมื่อดิถีเดือนเพ็ญมาถึง พวกท่านควรไปเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้าและ
เพื่อทำอุโบสถ กาลประชุมของพวกท่านมาถึงแล้ว ในเวลานั้น พวกภิกษุผู้มี
อานุภาพก็ไปด้วยอานุภาพของตน พวกนอกนี้ไปด้วยอานุภาพของเทวดา.
ถามว่า พวกนอกนี้ไปด้วยอานุภาพของเทวดาได้อย่างไร ?
ตอบว่า ได้ทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นผู้อยู่ใกล้สมุทรทางทิศปราจีนหรือ
ใกล้สมุทรทางทิศปัจฉิม อุดร และทักษิณ บำเพ็ญคมิยวัตร แล้วถือเอาบาตร
และจีวรยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า จะไป. พร้อมด้วยจิตตุปบาท พวกเธอก็
เป็นผู้ไปสู่โรงอุโบสถทีเดียว. พวกเธอถวายอภิวาทพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วนั่งอยู่.
[โอวาทปาฏิโมกขคาถา]
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้ ในบริษัทผู้
นั่งประชุมกันแล้วว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 346
ความอดทน คือความอดกลั้น เป็น
ธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อม
กล่าวพระนิพพานว่าเป็นเยี่ยม ผู้ทำร้ายผู้อื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย ผู้เบียดเบียนผู้อื่น
อยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ.
ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น ความยังกุศล
ให้ถึงพร้อม ความทำจิตของตนให้ผ่องใส
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ความกล่าวร้าย ๑ ความไม่ทำร้าย
๑ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๑ ความ
เป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑ ที่นอนที่นั่ง
อันสงัด ๑ ความประกอบโดยเอื้อเฟื้อใน
อธิจิต ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธ-
ทั้งหลาย.*
พึงทราบปาฏิโมกขุทเทสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้นอกนี้ โดย
อุบายนี้นั่นแล. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มีพระโอวาทปาฏิโมกขคาถา
เพียง ๓ คาถานี้เท่านั่น. คาถาเหล่านั้น ย่อมมาสู่อุเทศจนถึงที่สุดแห่งพระ-
ศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระชนมายุยืนยาวนานทั้งหลาย. แต่สำหรับ
พระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุน้อยทั้งหลาย คาถาเหล่านั้นมาสู่อุเทศเฉพาะใน
ปฐมโพธิกาลเท่านั้น . ด้วยว่า จำเดิมตั้งแต่เวลาทรงบัญญัติสิกขาบทมา ก็แสดง
เฉพาะอาณาปาฏิโมกข์เท่านั้น. ก็แลอาณาปาฏิโมกข์นั้น พวกภิกษุเท่านั้นแสดง
* ที่. มหา. ๑๐ / ๕๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 347
พระพุทธเจ้าทั้งหลายหาทรงแสดงไม่. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้
ของพวกเรา ก็ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้ตลอดเวลาเพียง ๒๐ พรรษา ใน
ปฐมโพธิกาลเท่านั้น.
[เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงทำอุโบสถและปาฏิโมกข์]
ต่อมาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งอยู่ที่ปราสาทของ
มิคารมารดา ในบุพพาราม ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย !
ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่แสดงปาฏิโมกข์, ภิกษุทั้งหลาย !
ต่อแต่นี้ไปพวกเธอเท่านั้น พึงทำอุโบสถ พึงแสดงปาฏิโมกข์, ภิกษุทั้งหลาย !
มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสที่พระตถาคตจะพึงทำอุโบสถ พึงแสดงปาฏิโมกข์ ใน
บริษัท ผู้ไม่บริสุทธิ์*.
ตั้งแต่นั้นมาพวกภิกษุก็แสดงอาณาปาฏิโมกข์. อาณาปาฏิโมกข์นี้เป็น
ของอันพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ มีพระวิปัสสีเป็นต้น ไม่ทรงยกขึ้นแสดงแก่
ภิกษุเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อนุทฺทิฏฺ
ปาฏิโมกฺข.
[เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน]
คำว่า เตส พุทฺธาน ความว่า แห่งพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์
มีพระวิปัสสีเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า อนฺตรธาเนน คือ เพราะขันธ์อันตรธาน
ไป, มีอธิบายว่า เพราะปรินิพพาน. บทว่า พุทฺธานุพุทฺธาน ความว่า
และเพราะความอันตรธานไปแห่งขันธ์ ของเหล่าพระสาวกผู้ได้ตรัสรู้ตาม
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น คือพระสาวกผู้ยังทันเห็นพระศาสดา. คำว่า เย เต
ปจฺฉิมา สาวกา ความว่า เหล่าปัจฉิมสาวกผู้บวชในสำนัก ของพวกสาวก
* วิ. จุลฺล. ๗ /๒๙๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 348
ผู้ทันเห็นพระศาสดา, บทว่า นานานามา ความว่า มีชื่อต่าง ๆ กัน ด้วย
อำนาจชื่อมีอาทิว่า พุทธรักขิต ธรรมรักขิต สังฆรักขิต. บทว่า นานาโคตฺตา
ความว่า มีโคตรต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจโคตรมีอาทิว่า โคตมะ โมคคัลลานะ.
บทว่า นานาชจฺจา คือมีชาติต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจชาติมีอาทิว่า กษัตริย์
พราหมณ์. สองบทว่า นานากุลา ปพฺพชิตา ความว่า ออกบวชจากตระกูล
ต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจตระกูลกษัตริย์เป็นต้น หรือด้วยอำนาจตระกูลมีตระกูล
สูงตระกูลต่ำ ตระกูลมีโภคะโอฬาร และไม่โอฬารเป็นต้น. คำว่า เต ต
พฺรหฺมจริย ความว่า เพราะปัจฉิมสาวกเหล่านั้น ทำในใจว่า พวกเรามีชื่อ
เดียวกัน มีโคตรเดียวกัน มีชาติเดียวกัน บวชจากตระกูลเดียวกัน ศาสนา
เป็นแบบแผนประเพณีของพวกเรา จึงช่วยกันรักษาพรหมจรรย์ทำให้เป็นภาระ
ของตน บริหารพระปริยัติธรรมไว้ให้นาน แต่ปัจฉิมสาวกเหล่านี้ ไม่เป็น
เช่นนั้น เพราะฉะนั้น พวกเธอจึงเบียดเบียนกัน ถือความเห็นขัดแย้งกัน
ทำย่อหย่อนด้วยถือเสียว่า พระเถระโน้นจักรู้ พระเถระโน้นจักทราบ พึงยัง
พรหมจรรย์นั้นให้อันตรธานไปพลันทีเดียว คือไม่ยกขึ้นสู่การสังคายนารักษา
ไว้. คำว่า เสยฺยถาปิ เป็นการแสดงไขเนื้อความนั้นโดยข้ออุปมา บทว่า
วิกีรติ แปลว่า ย่อมพัดกระจาย. บทว่า วิธมติ แปลว่า ย่อมพัดไปสู่ที่อื่น.
บทว่า วิทฺธเสติ แปลว่า ย่อมพัดออกไปจากที่ตั้งอยู่. คำว่า ยถาต
สุตฺเตน อสงฺคติตฺตา ความว่า ลมย่อมพัดกระจายไปเหมือนพัดดอกไม้
เรี่ยราย เพราะไม่ได้ร้อย เพราะไม่ได้ผูกด้วยด้ายฉะนั้น. มีคำอธิบายว่า
(ดอกไม้ทั้งหลาย) ที่มิได้ควบคุมด้วยด้าย ย่อมถูกลมพัดกระจัดกระจายไป
ฉันใด ย่อมเรี่ยรายไปฉันนั้น. คำว่า เอวเมว โข เป็นการยังข้ออุปไมยให้
ถึงพร้อม. บทว่า อนฺตรธาเปส ความว่า (พวกสาวกภายหลัง) เมื่อไม่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 349
สงเคราะห์ (คือสังคายนาเป็นหมวดหมู่) ด้วยวัคคสังคหะและปัณณาสสังคหะ
เป็นต้น ถือเอาแต่พรหมจรรย์กล่าวคือปริยัติธรรมที่ตนชอบใจเท่านั้น ส่วน
ที่เหลือก็ปล่อยให้พินาศไป คือนำไปสู่ความไม่ปรากฏ.
ข้อว่า กิลาสุโน จ เต ภควนฺโต อเหส สาวกาน เจตสา
เจโต ปริจฺจ โอทิต มีความว่า ดูก่อนสารีบุตร ! อีกอย่างหนึ่งพระพุทธเจ้า
เหล่านั้น ทรงไม่ใฝ่พระหฤทัย เพื่อจะทรงกะ คือกำหนดใจของพวกสาวกด้วย
พระหฤทัยของพระองค์ แล้วทรงสั่งสอน คือทรงทราบจิตของผู้อื่นแล้ว ทรง
แสดการแนะนำพร่ำสอน โดยไม่เป็นภาระหนัก โดยไม่ชักช้า. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า ภูตปุพฺพ สารีปุตฺต ดังนี้ เพื่อประกาศ
ความที่ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงไม่ใฝ่พระหฤทัย. บทว่า ภึสนเก คือ น่า
พึงกลัว ได้แก่ ให้เกิดความน่าสยดสยอง. คำว่า เอว วตกฺเกถ ความว่า
พวกเธอจงตรึกกุศลวิตก ๓ มีเนกขัมมวิตกเป็นต้น. คำว่า มา เอว วิตกฺกยิตฺถ
ความว่า พวกเธออย่าได้ตรึกอกุศลวิตก ๓ มีกามวิตกเป็นต้น. คำว่า เอว
มนสิ กโรถ ความว่า พวกเธอจงกระทำไว้ในใจว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ไม่สวยไม่งาม. ข้อว่า มา เอว มนสากตฺถ ความว่า พวกเธอ
อย่ากระทำในใจว่า เที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา สวยงาม. คำว่า อิท ปชหถ
คือจงละอกุศล. คำว่า อท อุปสมฺปชฺช วิหรถ ความว่า พวกเธอจงเข้าถึง
กลับได้ คือให้กุศลสำเร็จอยู่เถิด. ข้อว่า อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ
วิมุจฺจึสุ คือหลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น. จริงอยู่ จิตของพระสาวกเหล่านั้น
หลุดพ้นจากอาสวะเหล่าใด จิตเหล่านั้นหลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่นอาสวะ
เหล่านั้น.* ก็อาสวะทั้งหลายดับไปอยู่ด้วยความดับ คือความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า
* สารตฺถทีปนี. ๑ / ๖๙๘ แนะให้แปลว่า จริงอยู่ จิตทั้งหลายของพระสาวกเหล่านั้น อันอาสวะ
เหล่าใดหลุดพ้นไปแล้ว อาสวะเหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นไปแล้ว เพราะไม่ยึดถือจิตเหล่านั้นด้วย
สามารถแห่งอารมณ์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 350
หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น*. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสุ.
ภิกษุเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เป็นผู้มีจิตเบิกบาน
เหมือนปทุมวันอันต้องแสงพระอาทิตย์ฉะนั้น.
ในข้อว่า ตตฺร สุท สารีปุตฺต ภึสนกสฺส วนสณฺฑสฺส
ภึสนกตสฺมึ โหติ นี้ คำว่า ตตฺร เป็นคำกล่าวเพ่งถึงคำต้น. คำว่า สุท
เป็นนิบาตลงในอรรถเพียงทำบทให้เต็ม. บทว่า สารีปุตฺต เป็นอาลปนะ.
ก็ในคำว่า ตตฺร สุท เป็นต้นนี้ มีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :- บทว่า ตตฺร
ความว่าแห่งไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ภิสนกะ
ในพระดำรัสที่พระองค์ตรัสไว้ว่า อญฺตรสฺมึ ภึสนเก วนสณฺเฑ.
อธิบายว่า ภาวะอันน่าพึงกลัว ชื่อว่า ความน่าสยดสยองมีในภาวะน่าสยดสยอง
คือในการทำให้หวาดกลัว. ถามว่า เป็นอย่างไร ? ตอบว่า เป็นอย่างนี้คือ
ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังไม่ปราศจากราคะ เข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้นโดยมาก โลมชาติย่อม
ชูชัน. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ตตฺร เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.
ศัพท์ว่า สุ เป็นนิบาต ดุจในประโยคทั้งหลายมีอาทิว่า กึสุ นาม เต
โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา แปลว่า สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ชื่อ
อย่างไรซิ. บทว่า อิท บัณฑิตพึงเห็นว่า เป็นคำแสดงความหมายตามที่
ประสงค์ดุจทำให้เห็นได้ชัด. คำว่า สุ อิท สนธิเข้าเป็น สุท. พึงทราบว่า
ลบอิอักษรด้วยอำนาจแห่งสนธิ เหมือนในประโยคทั้งหลายมีอาทิว่า จกฺขุน-
ทฺริย อิตฺถินฺทฺริย อนญฺตญฺสฺสามีตินฺทฺริย กึสูธ วิตฺต แปลว่า
* โยชนาปาฐ ๑ / ๑๙๖ เป็น อนุปาทนิโรเธน ปน อนุปปาทสงฺขาดนิโรธวเสน นิรุชฌมาเน
อาสเว อตฺตานิ วิมุจฺจึสุ แปลว่า ก็จิตทั้งหลายหลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ยึดถือ
อาสวะทั้งหลายที่ดับไปอยู่ด้วยความดับ กล่าวคือ ความไม่เกิดขึ้นอีก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 351
อินทรีย์ คือจักษุ อินทรีย์ คือหญิง อินทรีย์ คือความตั้งใจว่า จักรู้พระ-
อรหัตที่ยังไม่รู้ อะไรซิ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจในโลกนี้. ก็ในคำนี้มีอรรถ
โยชนาดังต่อไปนี้ : - ดูก่อนสารีบุตร ! ในเพราะความที่ไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัว
นั้นเป็นถิ่นน่าสยดสยอง จึงมีคำพูดกันดังนี้แล, บทว่า ภึสนกตสฺมึ ความว่า
ในเพราะไพรสณฑ์เป็นถิ่นที่น่ากลัว. พึงเห็นว่าลบตะอักษรไปตัวหนึ่ง. อนึ่ง
พระบาลีว่า ภึสนกตฺตสฺมึ ดังนี้ก็มี. อนึ่ง ในเมื่อควรจะกล่าวเป็นอิตถีลิงค์ว่า
ภึสนกตาย ท่านก็ทำให้เป็นลิงควิปัลลาส. ก็ในคำว่า ภึสนกตสฺมึ นี้เป็น
สัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งนิมิต. เพาะฉะนั้น พึงเห็นสัมพันธ์อย่างนี้ว่า
คำนี้แลย่อมมีในเพราะความที่ไพรสณฑ์น่าพึงกลัว เป็นถิ่นที่มีความสยดสยอง
เป็นนิมิต คือมีคำพูดนี้แล เพราะมีความสยดสยองเป็นเหตุ เพราะมีความ
สยดสยองเป็นปัจจัย ข้อว่า ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังไม่ปราศจากราคะเข้าไปสู่ไพรสณฑ์
นั้น โดยมาก โลมชาติย่อมชูชัน ความว่า ขนเป็นอันมากกว่ามาก ย่อมชูชัน
คือตั้งปลายขึ้นเป็นเช่นกับเข็มและเป็นเช่นกับหนาม จำนวนน้อยไม่ชูชัน อนึ่ง
โลมชาติของสัตว์จำนวนมากกว่ามากย่อมชูชัน แต่ของคนผู้กล้าหาญยิ่งน้อยคน
ย่อมไม่ชูชัน.
บัดนี้ คำมีว่า อย โข สารีปุตฺต เหตุ เป็นต้น เป็นคำกล่าวย้ำ.
ส่วนคำที่ข้าพเจ้ามิได้กล่าวไว้ในระหว่าง ๆ ในพระบาลีนี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบตามลำดับแห่งพระบาลีนั้นแล. แต่พระดำรัส
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ไม่ดำรงอยู่นาน บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์
ตรัสด้วยอำนาจแห่งยุคของคน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 352
[ความต่างกันแห่งอายุกาลของพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น]
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสีโดยการนับปี มีพระชนมายุแปด-
หมื่นปี แม้พวกสาวกที่พร้อมหน้าของพระองค์ ก็อายุประมาณเท่านั้นปีเหมือน
กัน. พรหมจรรย์ (ศาสนา) สืบต่อด้วยสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ซึ่ง
เป็นองค์สุดท้ายเขาทั้งหมด ตั้งอยู่ได้ตลอดแสนหกหมื่นปี ด้วยประการอย่างนี้.
แต่โดยอำนาจแห่งยุคคน พรหมจรรย์ได้ตั้งอยู่ต่อมา ด้วยความสืบต่อกันแห่งยุค
ตลอดยุคคน ๒ ยุคเท่านั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ไม่ดำรงอยู่นาน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านามว่าสิขี มีพระชนมายุเจ็ดหมื่น
ปี แม้พวกสาวกพร้อมหน้าของพระองค์ ก็มีอายุประมาณเท่านั้นเหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เวสภู มีพระชนมายุหกหมื่นปี แม้วกสาวก
อยู่พร้อมหน้าของพระองค์ ก็มีอายุประมาณเท่านั้นปีเหมือนกัน. พรหมจรรย์
(ศาสนา) สืบต่อด้วยสาวกองค์สุดท้ายเขาทั้งหมด แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนาว่าสิขีและเวสภูแม้นั้นตั้งอยู่ต่อมาได้ประมาณแสนสี่หมื่นปี และประมาณ
แสนสองหมื่นปี. แต่ว่าโดยอำนาจแห่งยุคคน พรหมจรรย์ตั้งอยู่ต่อมาได้ด้วย
การสืบต่อแห่งยุค ตลอดยุคคน ๒ ยุคเท่ากัน ๆ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดำรงอยู่ไม่นาน.
ท่านพระสารีบุตร ฟังเหตุแห่งการดำรงอยู่ไม่นานแห่งพรหมจรรย์ของ
พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์อย่างนี้แล้ว มีความประสงค์จะฟังเหตุแห่งการดำรงอยู่
ได้นาน แห่งพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์นอกนี้ จึงได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าอีก โดยนัย มีอาทิว่า ก็ อะไรเป็นเหตุ พระเจ้าข้า !.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงพยากรณ์แก่ท่าน. คำพยากรณ์นั้นแม้ทั้งหมด
พึงทราบด้วยอำนาจนัยที่ตรงกันข้ามจากที่กล่าวแล้ว. และแม้ในความดำรงอยู่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 353
นาน ในคำพยากรณ์นั้น บัณฑิตพึงทราบความดำรงอยู่นาน โดยเหตุทั้งสอง
คือโดยประมาณแห่งพระชนมายุของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นบ้าง โดยยุคแห่งตน
บ้าง. ความพิสดารว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากกุสันธะ มีพระชน-
มายุสี่หมื่นปี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าโกนาคมน์ มีพระชนมายุสาม
หมื่นปี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสป มีพระชนมายุสองหมื่นปี
แม้พระสาวกพร้อมหน้าทั้งหลายของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็มีอายุเท่านั้นปี
เหมือนกัน. และยุคแห่งสาวกเป็นอันมากของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จักพรหม-
จรรย์ให้เป็นไป โดยความสืบต่อกันมา. พรหมจรรย์ดำรงอยู่นานโดยเหตุทั้งสอง
คือโดยประมาณแห่งพระชนมายุ ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นบ้าง โดยยุคแห่ง
สาวกบ้าง ด้วยประการฉะนี้.
[เหตุที่พระพุทธเจ้าของเราเกิดในกาลแห่งคนมีอายุน้อย]
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ควรจะเสด็จอุบัติขึ้นในกาลแห่งคน
มีอายุหมื่นปี ซึ่งเท่ากับอายุกึ่งหนึ่ง แห่งพระชนมายุของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า กัสสป ไม่ถึงกาลแห่งคนมีอายุหมื่นปีนั้น ก็ควรจะเสด็จอุบัติขึ้น
ในกาลแห่งคนมีอายุห้าพันปี หรือในกาลแห่งคนมีอายุหนึ่งพันปี หรือแม้ใน
กาลแห่งคนมีอายุห้างร้อยปี แต่เพราะเมื่อพระองค์ทรงเสาะหา คือแสวงหาธรรม
อันกระทำความเป็นพระพุทธเจ้า ทรงยังญาณให้แก่กล้า ให้ตั้งครรภ์ (เพื่อ
ตลอดคุณพิเศษ) ญาณได้ถึงความแก่กล้า ในกาลแห่งคนมีอายุร้อยปี เพราะ
ฉะนั้น พระองค์จึงเสด็จอุบัติขึ้น ในกาลแห่งคนมีอายุน้อยเหลือเกิน เพราะ
ฉะนั้น ควรกล่าวได้ว่า พรหมจรรย์แม้ดำรงอยู่ได้นาน ด้วยอำนาจความสืบต่อ
กันแห่งพระสาวกของพระองค์ แต่ก็ดำรงอยู่ได้ไม่นานโดยการนับปี ด้วยอำนาจ
ปริมาณแห่งอายุเหมือนกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 354
[พระสารีบุตรทูลขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท]
ถามว่า ในคำว่า อถโข อายสฺมา สารีปุตฺโต มีอะไรเป็น
อนุสนธิ. ตอบว่า คือ ท่านพระสารีบุตร ครั้นได้ฟังเหตุการณ์ดำรงอยู่นาน
แห่งพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์อย่างนี้แล้ว ถึงความตกลงใจว่า
การบัญญัติสิกขาบทเท่านั้น เห็นเหตุแห่งความดำรงอยู่ได้นาน เมื่อปรารถนา
ความดำรงอยู่นาน แห่งพรหมจรรย์ แม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลวิงวอน
ขอการบัญญัติสิกขาบทกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระอุบาลีเถระกล่าว คำว่า
อถโข อายสฺมา สารีปุตฺโต อุฏฺายาสนา ฯเปฯ จิรฏฺิติก นี้
เพื่อแสดงวิธีทูลวิงวอนของการบัญญัติสิกขาบทนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อทฺธนิย คือ ควรแก่กาลนาน มีคำอธิบายว่า มีกาลยาวนาน. คำที่เหลือ
มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามท่านพระสารีบุตร]
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศแก่พระสารีบุตร
นั้นว่า เวลานี้ ยังไม่เป็นกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทก่อน จึงตรัสว่า อาคเมหิ
ตฺว สารีปุตฺต ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อาคเมหิ ตฺว
ความว่า เธอจงรอก่อน มีคำอธิบายว่า เธอจงยับยั้งก่อน. ก็คำนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสซ้ำสองครั้ง ด้วยอำนาจความเอื้อเฟื้อ. ด้วยคำว่า อาคเมหิ
เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามความที่การบัญญัติสิกขาบท เป็นวิสัย
ของพระสาวก เมื่อจะทรงทำให้แจ้งว่า การบัญญัติสิกขาบทเป็นพุทธวิสัย
จึงตรัสคำว่า ตถาคโตว เป็นต้น. ก็ในคำว่า ตถาคโตว นี้ คำว่า ตตฺถ
เป็นสัตตมีวิภัตติ เพ่งถึงการอ้อนวอน ขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท. ในคำว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 355
ตถาคโตว นั้น มีโยชนาดังต่อไปนี้ :- ในคำที่เธอกล่าวว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพึงบัญญัติสิกขาบทนั้น พระตถาคตเท่านั้นจักรู้กาลแห่งอันบัญญัติ
สิกขาบทนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงสมัยมิใช่
กาลก่อน จึงตรัสคำมีอาทิว่า น ตาว สารีปุตฺต ดังนี้. ในคำว่า น ตาว
สารีปุตฺต เป็นต้นนั้นมีวินิจฉัยว่า อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในธรรมเหล่านี้
เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อีกอย่างหนึ่ง
ธรรมทั้งหลายอันอาสวะพึงตั้งอยู่ คือไม่พึงผ่านเลยไป เพราะเหตุนั้น ธรรม
เหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อธิบายว่า อาสวะคือทุกข์ และอาสวะ
คือกิเลส อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและในสัมปรายภพ อาสวะมีการค่อนขอด
ของคนอื่น ความวิปฏิสาร การฆ่าและการจองจำเป็นต้น และอาสวะอันเป็น
ทุกข์พิเศษในอบาย ย่อมตั้งอยู่นั่นเทียว ในวิติกกมธรรมเหล่าใด เพราะ
วีติกกมธรรมเหล่านั้น เป็นเหตุแห่งอาสวะมีอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรม
เป็นต้นเหล่านั้น.
* วาจาสำหรับประกอบในคำว่า น ตาว เป็นต้นนี้ ดังนี้ว่า วีตกกมธรรม
ทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะเหล่านั้น ยังไม่มีปรากฏในสงฆ์เสียงใด
พระศาสดาจะไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายเพียงนั้น. ก็ถ้าพึงบัญญัติ
ไซร้ ไม่พึงพ้นจากความค่อนขอดของผู้อื่น จากความคัดค้านของผู้อื่น จาก
โทษคือความติเตียน,
[ข้อที่จะถูกตำหนิในการบัญญัติสิกขาบท]
ถามว่า ไม่พึงพ้นอย่างไร ? ตอบว่า จริงอยู่ สิขาบททั้งปวงมี
อาทิว่า โย ปน ภิกฺขุ เมถุน ธมม ปฏิสเวยฺย ดังนี้ พึงเป็นสิกขาบท
* องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๘๐
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 356
อันพระศาสดาผู้จะบัญญัติ ควรบัญญัติ. ฝ่ายชนเหล่าอื่นไม่เห็นวีติกกมโทษ
แต่รู้พระบัญญัตินี้ จะพึงยังความค่อนขอด ความคัดค้านและความติเตียนให้
เป็นไปอย่างนี้ว่า นี่อย่างไรกัน พระสมณโคดมจักผูกมัดด้วยสิกขาบททั้งหลาย
จักบัญญัติปาราชิก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า ภิกษุสงฆ์ยอมตามเรา ทำตามคำ
ของเรา กุลบุตรเหล่านี้ละกองโภคะใหญ่ละเครือญาติใหญ่ และละแม้ซึ่งราช-
สมบัติอันอยู่ในเงื้อมมือบวช เป็นผู้สันโดษด้วยความเป็นผู้มีอาหารและเครื่อง
นุ่งห่มเป็นอย่างยิ่ง มีความเคารพจัดในสิกขา ไม่ห่วงใยในร่างกายและชีวิตอยู่
มิใช่หรือ ในกุลบุตรเหล่านั้น ใครเล่า จักเสพเมถุนซึ่งเป็นโลกามิสหรือจัก
ลักของ ๆ ผู้อื่น หรือจักเข้าไปตัดชีวิตของผู้อื่น ซึ่งเป็นของปรารถนารักใคร่
หวานยิ่งนัก หรือจักสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยอวดคุณที่ไม่มี, เมื่อปาราชิกแม้
ไม่ทรงบัญญัติไว้ สิกขาบทนั่นเป็นอันพระองค์ทรงทำให้ปรากฏแล้ว โดยสังเขป
ในบรรพชานั่นเอง มิใช่หรือ ? ชนทั้งหลายไม่ทราบเรี่ยวแรง และกำลังแม้
แห่งพระตถาคต, สิขาบทแม้ที่ทรงบัญญัติไว้ จะพึงกำเริบ คือไม่คงอยู่ใน
สถานเดิม.
[เปรียบด้วยแพทย์ผู้ไม่ฉลาดทำการผ่าตัด]
แพทย์ผู้ไม่ฉลาด เรียกบุรุษบางคน ซึ่งหัวฝียังไม่เกิดขึ้นมาแล้ว
บอกว่า มานี่แน่ะ พ่อมหาจำเริญ ! หัวฝีใหญ่จักเกิดขึ้นในสรีระประเทศตรงนี้
ของท่าน, จักยังความเสื่อมฉิบหายให้มาถึงท่าน, ท่านจงรีบให้หมอเยียวยามัน
เสียเถิด ดังนี้ ผู้อันบุรุษนั้นกล่าวว่า ดีละ ท่านอาจารย์ ! ท่านนั่นแหละจง
เยียวยามันเถิด จึงผ่าสรีรประเทศซึ่งหาโรคมิได้ของบุรุษนั้น คัดเลือดออกแล้ว
ทำสรีรประเทศตรงนั้นให้กลับมีผิวดีด้วยยาทาและพอก และการชะล้างเป็นต้น
แล้ว จึงกล่าวกะบุรุษนั้นว่า โรคใหญ่ของท่าน เราได้เยียวยาแล้ว ท่านจง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 357
ให้บำเหน็จแก่เรา. บุรุษนั้น พึงค่อนขอด พึงคัดค้าน และพึงติเตียนนายแพทย์
อย่างนี้ว่า หมอโง่นี้พูดอะไร ได้ยินว่าโรคชนิดไหนของเรา ซึ่งหมอโง่นี้ได้
เยียวยาแล้ว, หมอโง่นี้ทำทุกข์ให้เกิดแก่เรา และทำให้เราต้องเสียเลือดไป
มิใช่หรือ ดังนี้ และไม่พึงรู้คุณของหมอนั้น ข้อนี้ ชื่อแม้ฉันใด, ถ้าเมื่อ
วีติกกมโทษยังไม่เกิดขึ้น พระศาสดา พึงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกไซร้
พระองค์ไม่พึงพ้นจากอนิฏฐผล มีความค่อนขอดของผู้อื่นเป็นต้น และชน
ทั้งหลายจะไม่พึงรู้กำลังพระปรีชาสามารถของพระองค์ ฉันนั้นนั่นแล และ
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว จะพึงกำเริบ คือไม่ตั้งอยู่ในสถานเดิม. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น ตาว สารีปุตฺต สตฺถา สาวภาน
ฯ เป ฯ ปาตุภวนฺติ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกาลอันไม่ควร
อย่างนี้แล้ว จึงตรัสคำว่า ยโต จ โข สารีปุตฺต เป็นอาทิ เพื่อแสดงกาลอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต คือเมื่อใด มีคำอธิบายว่า ในกาลใด.
คำที่เหลือ พึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแล.*
อีกนัยหนึ่ง ในคำว่า ยโต เป็นต้นนี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :-
วีติกกมโทษอันถึงซึ่งการนับว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ ย่อมมีปรากฏในสงฆ์
ในกาลชื่อใด, ในกาลนั้น พระศาสนา ย่อมทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พวกสาวก
ย่อมทรงแสดงปาฏิโมกข์, เพราะเหตุไร ? เพราะเพื่อกำจัดวีติกกมโทษเหล่านั้น
นั่นแล อันถึงซึ่งการนับว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงบัญญัติอย่างนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่ควรค่อนขอดเป็นต้น และเป็นผู้มี
อานุภาพปรากฏ ในสัพพัญญูวิสัยของพระองค์ ย่อมถึงสักการะ และสิกขาบท
ของพระองค์นั้นย่อมไม่กำเริบ คือตั้งอยู่ในสถานเดิม, เปรียบเหมือนนายแพทย์
ผู้ฉลาดเยียวยาหัวฝีที่เกิดขึ้นแล้วด้วยการผ่าตัดพอกยาพันแผลและชะล้างเป็นต้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 358
ทำให้สบายมีผิวดี เป็นผู้ไม่ควรค่อนขอดเป็นต้นเลย และเป็นผู้มีอานุภาพ
ปรากฏในเพราะกรรมแห่งอาจารย์ของตน ย่อมประสบสักการะฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความเกิดขึ้น และความเกิดขึ้นแห่ง
ธรรมเป็นที่ตั้งของอาสวะ อกาลและกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทอย่างนี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงกาลยังไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้นแล
จึงตรัสคำว่า น ตาว สารปุตฺต อิเธกจฺเจ เป็นต้น. ในคำว่า ตาว
เป็นต้นนั้น บททั้งหลายที่มีอรรถตื้น พึงทราบด้วยอำนาจพระบาลีนั่นแล.
ส่วยการพรรณนาบทที่ไม่ตื้นดังต่อไปนี้ :-
[อธิบายเหตุที่ให้ทรงบัญญัติสิกขาบท]
ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า รัตตัญญู เพราะอรรถว่า รู้ราตรีนาน คือ
รู้ราตรีเป็นอันมากตั้งแต่วันที่ตนบวชมา, มีอธิบายว่า บวชมานาน. ความ
เป็นหมู่ด้วยพวกภิกษุผู้รู้ราตรีนาน ชื่อว่า รัตตัญญุมหัตตะ. อธิบายว่า
ความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยพวกภิกษุผู้บวชมานาน.
*บัณฑิตพึงทราบว่า สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภ
พระอุปเสนวังคันตบุตรบัญญัติ เพราะสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยภิกษุผู้รู้
ราตรีนาน ในบรรดาความเป็นหมู่ใหญ่เหล่านั้น, จริงอยู่ ท่านผู้มีอายุนั้น
ได้เห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีพรรษาหย่อนสิบให้อุปสมบทอยู่ ตนมีพรรษาเดียว
จึงให้สัทธิวิหาริกอุปสมบทบ้าง. ครั้งนั้นแล พระผู้พระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
สิขาบทว่า ภิกษุทั้งหลาย ! กุลบุตรอันภิกษุผู้มีพรรษาหย่อนสิบ ไม่พึงให้
อุปสมบท, ภิกษุใดพึงให้อุปสมบท ปรับอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุนั้น๑ เมื่อสิกขาบท
* องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๘๒-๘๕
๑ วิ. มหา. ๔ / ๑๐๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 359
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้โง่เขลา ไม่
ฉลาด คิดว่า เราได้สิบพรรษา เรามีพรรษาครบสิบ จึงให้อุปสมบทอีก.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแม้ซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า
ภิกษุทั้งหลาย ! กุลบุตรอันภิกษุผู้มีพรรษาครบสิบ แต่เป็นผู้โง่ ไม่ฉลาด
ไม่พึ่งให้อุปสมบท ภิกษุใดพึงให้อุปสมบท ปรับอาบัติทุกกฏ แก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด สามารถมีพรรษาสิบหรือเกินกว่า
สิบ ให้อุปสมบทได้*. ในการที่สงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยภิกษุผู้รู้ราตรีนาน
ได้ทรงบัญญัติสองสิกขาบท
บทว่า เวปุลฺลมหตฺต มีความว่า ความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยความเป็น
หมู่แพร่หลาย จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยความเป็นหมู่
แพร่หลาย ด้วยอำนาจภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ ผู้ใหญ่และผู้ปานกลาง
เพียงใด เสนาสนะย่อมเพียงพอกัน อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ก็ยังไม่เกิด
ขึ้นในศาสนาเพียงนั้น แต่เมื่อสงฆ์ถึงความเป็นผู้ใหญ่ ด้วยความเป็นหมู่
แพร่หลายแล้ว อาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้น. ทีนั้นพระศาสดาย่อม
ทรงบัญญัติสิกขาบท. สิกขาบทที่ทรงบัญญัติในเพราะสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่
ด้วยความเป็นหมู่แพร่หลาย ในบรรดาความเป็นหมู่ใหญ่เหล่านั้น บัณฑิตพึง
ทราบตามนัยนี้ว่า อนึ่ง ภิกษุใด พึงสำเร็จการนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน
เกินสองสามคืน ภิกษุนั้นต้องปาจิตตีย์. อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงให้นางสิกขมานา
อุปสมบทตามปี นางภิกษุณีนั้น ต้องปาจิตตีย์. อนึ่ง นางภิกษุณีใด พึงให้
นางสิกขมานาอุปสมบทปีละ ๒ รูป นางภิกษุณีนั้น ต้องปาจิตตีย์
* วิ. มหา ๔/๑๑๐
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 360
บทว่า ลาภคฺคมหตฺต มีความว่า ความเป็นใหญ่เป็นยอดแห่งลาภ
อธิบายว่า ความเป็นใหญ่ใด เป็นยอด คือสูงสุดแห่งลาภ สงฆ์เป็นผู้ถึงความ
เป็นใหญ่นั้น อีกอย่างหนึ่ง ถึงความเป็นใหญ่ เลิศด้วยลาภก็ได้ อธิบายว่า
ถึงความเป็นหมู่ประเสริฐ และความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยลาภ จริงอยู่ สงฆ์ยัง
ไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศด้วยลาภเพียงใด อาสวัฏฐานิยธรรมอาศัยลาภ ก็ยัง
ไม่เกิดขึ้นเพียงนั้น แต่เมื่อถึงแล้ว ย่อมเกิดขึ้น. ทีนั้น พระศาสดาย่อมทรง
บัญญัติสิกขาบทว่า อนึ่ง ภิกษุใด พึงให้ของควรเคี้ยว หรือของควรบริโภค
ด้วยมือของตนแก่อเจลกก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ภิกษุนั้นต้อง
ปาจิตตีย์. จริงอยู่ สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติเพราะสงฆ์
ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศด้วยลาภ.
บทว่า พาหุสจฺจมหตฺต มีความว่า ความที่พาหุสัจจะเป็นคุณใหญ่
จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่ถึงความที่พาหุสัจจะเป็นคุณใหญ่เพียงใด อาสวัฏฐานิยธรรม
ก็ยังไม่เกิดขึ้นเพียงนั้น. แต่เมื่อถึงความที่พาหุสัจจะเป็นใหญ่แล้วย่อมเกิด
ขึ้น เพราะเหตุว่า บุคคลทั้งหลายเรียนพุทธวจนะนิกายหนึ่งบ้าง สองนิกาย
บ้าง ฯลฯ ห้านิกายบ้างแล้ว เมื่อใคร่ครวญโดยไม่แยบคาย เทียบเคียงรส
ด้วยรสแล้ว ย่อมแสดงสัตถุศาสนานอกธรรมนอกวินัย. ทีนั้น พระศาสดา
ย่อมทรงบัญญัติสิกขาบท โดยนัยเป็นต้นว่า อนึ่ง ภิกษุใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนั้น ฯลฯ ถ้าแม้น
สมณุทเทศพึงกล่าวอย่างนี้ไซร้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกาลไม่
เกิดและกาลเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะอย่างนี้แล้ว เมื่อ
จะทรงแสดงความไม่มีแห่งอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น แม้โดยประการทั้งปวง
ในสมัยนั้น จึงตรัสคำมีว่า นิรพฺพุโท หิ สารีปุตฺต เป็นต้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 361
[อรรถาธิบาย คำว่า นิรพฺพุทโท เป็นต้น]
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิรพฺพุโท คือเว้นจากเสนียด. พวกโจร
ท่านเรียกว่า เสนียด. อธิบายว่า หมดโจร. ก็ในอรรถนี้ พวกภิกษุผู้ทุศีล
ท่านประสงค์เอาว่า เป็นโจร. จริงอยู่ ภิกษุผู้ทุศีลเหล่านั้น ย่อมลักปัจจัย
ของคนเหล่าอื่น เพราะเป็นผู้มิใช่สมณะ แต่มีความสำคัญว่าเป็นสมณะ เพราะ
เหตุนั้น ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ไม่มีโจร มีอธิบายว่า ไม่มีคนทุศีล. บทว่า
นิราทีนโว ได้แก่ ไม่มีอุปัทวะ คือไม่มีอุปสรรค. มีคำอธิบายว่า เว้นจาก
โทษของผู้ทุศีลทีเดียว. ผู้ทุศีลแล ท่านเรียกว่า คนดำ ในคำว่า อปคตกาฬโก
นี้. จริงอยู่ ผู้ทุศีลเหล่านั้น แม้เป็นผู้มีวรรณะดุจทองคำ พึงทราบว่า เป็น
คนดำทีเดียว เพราะประกอบด้วยธรรมดำ. เพราะไม่มีคนมีธรรมดำเหล่านั้น
จึงชื่อว่า อปคตกาฬก. ปาฐะว่า อปหตกาฬก ก็มี. บทว่า สุทฺโธ คือ
ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะมีคนดำปราศไปแล้วนั่นเอง. บทว่า ปริโยทาโต คือ
ผุดผ่อง. คุณคือศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ท่านเรียกว่า
สาระ ในคำว่า สาเร ปติฏฺิโต นี้. เพราะตั้งอยู่แล้วในสาระนั้น จึงชื่อว่า
ตั้งอยู่ในสารคุณ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่ภิกษุสงฆ์ตั้งอยู่ใน
สารคุณอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงอีกว่า ก็ความที่ภิกษุสงฆ์นั้นตั้งอยู่ใน
สารคุณนั้น พึงทราบอย่างนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า อิเมส หิ สารีปุตฺต.
ในคำนั้น มีการพรรณนาโดยสังเขปดังต่อไปนี้ :-
บรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ผู้เข้าพรรษา ณ เมืองเวรัญชา ภิกษุที่
ต่ำต้อยด้วยอำนาจคุณ คือมีคุณต่ำกว่าภิกษุทุกรูป ก็เป็นพระโสดาบัน คำว่า
โสตาปนฺโน คือ ผู้ตกถึงกระแส. ก็คำว่า โสโต นี้ เป็นชื่อของมรรค.
คำว่า โสตาปนฺโน เป็นชื่อของบุคคลผู้ประกอบด้วยมรรคนั้น. เหมือนอย่าง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 362
ที่ตรัสไว้ว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า) สารีบุตร ! ที่เรียกว่า โสตะ
โสตะ นี้ โสตะ เป็นไฉนหนอแล สารีบุตร ? (เพราะสารีบุตรกราบทูลว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็อริยมรรคมีองค์แปดนี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ ชื่อว่า โสตะ. (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) สารีบุตร ! ที่เรียกว่า
โสดาบัน โสดาบัน นี้ โสดาบันเป็นไฉนหนอแล สารีบุตร? (พระสารีบุตร
กราบทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็บุคคลผู้ซึ่งประกอบด้วยอริยมรรคมี
องค์แปดนี้ เรียกว่า โสดาบัน ท่านผู้มีอายุนี้นั้น มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่าง*นี้.
ก็ในบทนี้พึงทราบว่า มรรคให้ชื่อแก่ผล เพราะฉะนั้น บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล
ชื่อว่า โสดาบัน. บทว่า อวินิปาตธมฺโม มีวิเคราะห์ว่า ธรรมที่ชื่อว่า
วินิบาต เพราะอรรถว่า ให้ตกไป. พระโสดาบันชื่อว่า อวินิปาตธรรม
เพราะอรรถว่า ท่านไม่มีวินิปาตธรรม. มีคำอธิบายว่า ท่านไม่มีการยังตนให้
ตกไปในอบายเป็นสภาพ. เพราะเหตุไร? เพราะความสิ้นไปแห่งธรรมเป็นเหตุ
นำไปสู่อบาย. อีกอย่างหนึ่ง การตกไป ชื่อว่าวินิบาต. พระโสดาบัน ชื่อว่า
อวินิปาตธรรม เพราะอรรถว่า ท่านไม่มีธรรมที่ตกไป. มีคำอธิบายว่า
ความตกไปในอบายเป็นสภาพ ไม่มีแก่ท่าน.*
ชื่อว่า เป็นผู้เที่ยง เพราะเป็นผู้แน่นอนด้วยมรรค ที่กำหนดด้วยความ
เป็นธรรมถูก. ชื่อว่า เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เพราะอรรถว่า พระโสดาบัน
นั้นมีความตรัสรู้เป็นไปในเบื้องหน้า คือเป็นคติข้างหน้า. อธิบายว่า พระ-
โสดาบันนั้น จะทำตนให้ได้บรรลุถึงมรรค ๓ เบื้องบนแน่นอน. เพราะเหตุไร?
เพราะท่านได้ปฐมมรรคแล้วแล.
* ส. มหา. ๑๙/๔๓๔-๕๓๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 363
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยังพระธรรมเสนาบดี ให้
ยินยอมอย่างนั้นแล้ว ทรงยับยั้งอยู่ตลอดพรรษานั้นในเมืองเวรัญชา เสด็จออก
พรรษาปวารณาในวันมหาปวารณาแล้ว จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์มา.
บทว่า อามนฺเตสิ ความว่า ได้ทรงเรียก คือได้ทรงตรัสเรียก
ได้แก่ ทรงเตือนให้รู้.
ถามว่า ทรงเตือนให้รู้ว่าอย่างไร ?
แก้ว่า ทรงเตือนให้รู้เรื่องมีอาทิอย่างนี้ว่า อาจิณฺณ โข ปเนต.
บทว่า อาจิณฺณ คือเป็นความประพฤติ เป็นธรรมเนียม ได้แก่
เป็นธรรมดา.
[อาจิณณะ ความเคยประพฤติมามี ๒ อย่าง]
ก็ความเคยประพฤติมานั้นนั่นแล มี ๒ อย่าง คือ พุทธาจิณณะ
(ความเคยประพฤติมาของพระพุทธเจ้า) ๑ สาวกาจิณณะ (ความเคยประพฤติ
มาของพระสาวก) ๑.
พุทธาจิณณะ (ความเคยประพฤติมาของพระพุทธเจ้า) เป็นไฉน ?
ข้อว่า พระตถาคตทั้งหลายยังมิได้บอกลา คือยังมิได้อำลาผู้ที่นิมนต์ให้อยู่จำ
พรรษาแล้ว จะไม่หลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท ดังนี้ นี้เป็นพุทธาจิณณะ (ความ
เคยประพฤติมาของพระพุทธเจ้า) ข้อหนึ่งก่อน. ส่วนพระสาวกทั้งหลาย จะ
บอกลาหรือไม่บอกลาก็ตามย่อมหลีกไปได้ตามสบาย.
ยังมีพุทธาจิณณะแม้อื่นอีก คือ :- พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอยู่จำ
พรรษาปวารณาแล้ว ย่อมเสด็จไปสู่ที่จาริกในชนบททีเดียว เพื่อทรงสงเคราะห์
ประชาชน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 364
[พระพุทธเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปเฉพาะ ๓ มณฑล]
ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะเสด็จเที่ยวจาริกไปในชนบท ย่อมเสด็จ
เที่ยวไปในมณฑลใดมณฑลหนึ่งบรรดามณฑลทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ :- มหา-
มณฑล (มณฑลใหญ่) ๑ มัชฌิมมณฑล (มณฑลปานกลาง) ๑ อันติม-
มณฑล ( มณฑลเล็ก) ๑.
บรรดามณฑลทั้ง ๓ นั้น มหามณฑล ประมาณเก้าร้อยโยชน์
มัชฌิมมณฑล ประมาณหกร้อยโยชน์ อันติมมณฑล ประมาณสามร้อยโยชน์
ในกาลใด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระประสงค์จะเสด็จเที่ยวจาริก
ไปในมหามณฑล ในกาลนั้น ทรงปวารณาในวันมหาปวารณาแล้ว มีภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกในวันปาฏิบท เมื่อจะทรงอนุเคราะห์มหาชนใน
บ้านและนิคมเป็นต้น ด้วยการทรงรับอามิส และเมื่อจะทรงเพิ่มพูนกุศล อัน
อาศัยวิวัฏฏคามินี แก่มหาชนนั้นด้วยธรรมทาน ทรงยังการเสด็จเที่ยวจาริกไป
ในชนบท ให้เสร็จสิ้นลงโดย ๙ เดือน.
ก็ถ้าภายในพรรษา สมถะและวิปัสสนาของภิกษุทั้งหลาย ยังอ่อนอยู่.
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงปวารณาในวันมหาปวารณา ทรงประทานปวารณา
สงเคราะห์ ไปปวารณาในวันเพ็ญเดือนกัตติกา (กลางเดือน ๑๒) เสร็จแล้ว
มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จขออกไปในวันต้นแห่งเดือนมิคสิระ (เดือน
อ้าย) แล้วยังการเสด็จเที่ยวจาริกไปในมัชฌิมมณฑล ให้เสร็จสิ้นลงโดย ๘
เดือน ตามนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง.
ก็ถ้าเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ของพุทธเจ้าผู้เสด็จออกพรรษาแล้วเหล่านั้น
ยังมีอินทรีย์ไม่แก่กล้า. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ทรงรอคอยให้เวไนยสัตว์
เหล่านั้นมีอินทรีย์แก่กล้า เสด็จพักอยู่ในสถานที่นั้นนั่นเอง แม้ตลอดเดือน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 365
มิคสิระแล้ว มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวารเสด็จออกไปในวันต้นแห่งเดือน
ปุสสะ (เดือนยี่) แล้ว ทรงยังการเสด็จเที่ยวจาริกไปในอันติมมณฑล ให้เสร็จ
สิ้นลงโดย ๗ เดือน ตามนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง.
อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้เมื่อเสด็จเที่ยวไปในบรรดามณฑล
เหล่านั้นแห่งใดแห่งหนึ่ง ทรงปลดเปลื้องสัตว์เหล่านั้น ๆ ให้พ้นจากกิเลส
ทั้งหลาย ทรงประกอบสัตว์เหล่านั้น ๆ ไว้ ด้วยอริยผลมีโสดาปัตติผลเป็นต้น
เสด็จเที่ยวไปอยู่ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์เท่านั้น ดุจทรงเก็บกอกไม้เบญจ-
พรรณนานาชนิดอยู่ฉะนั้น.
ยังมีพุทธาจิณณะแม้อื่นอีก คือ :- ในเวลาจวนรุ่งสว่างทุก ๆ วัน
การทำพระนิพพานอันเป็นสุขสงบให้เป็นอารมณ์ เสด็จเข้าผลสมาบัติออกจาก
ผลสมาบัติแล้ว ทรงเข้าสมาบัติอันประกอบด้วยพระมหากรุณา ภายหลังจากนั้น
ก็ทรงตรวจดูเวไนยสัตว์ผู้พอจะแนะนำให้ตรัสรู้ได้ในหมื่นจักรวาล
ยังมีพุทธาจิณณะแม้อื่นอีก คือ :- การทรงทำปฏิสันถารกับพวก
อาคันตุกะเสียก่อน ทรงแสดงธรรม ด้วยอำนาจเรื่องที่เกิดขึ้น ครั้นโทษ
เกิดขึ้น ทรงบัญญัติสิกขาบท นี้เป็นพุทธาจิณณะ (ความเคยประพฤติมาของ
พระพุทธเจ้า) ดังพรรณนาฉะนี้แล.
[สาวกาจิณณะ ความเคยประพฤติมาของพระสาวก]
สาวกาจิณณะ (ความเคยประพฤติมาของพระสาวก) เป็นไฉน ? คือ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า (ยังทรงพระชนม์อยู่) มีการประชุม
(พระสาวก) ๒ ครั้ง คือ เวลาก่อนเข้าพรรษาและวันเข้าพรรษา เพื่อเรียน
เอากรรมฐาน ๑ เพื่อบอกคุณที่ตนได้บรรลุแก่ภิกษุผู้ออกพรรษามาแล้ว ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 366
เพื่อเรียนเอากรรมฐานที่สูง ๆ ขึ้นไป ๑ นี้เป็นสาวกาจิณณะ (ความเคยประ-
พฤติมาของพระสาวก).
ส่วนในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงพุทธาจิณณะ
(ความเคยประพฤติมาของพระพุทธเจ้า) จึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า อาจิณฺณ
โข ปเนต อานนฺท ตถาคตาน ดังนี้.
บทว่า อายาม แปลว่า เรามาไปกันเถิด.
บทว่า อปโลเกสฺสาม แปลว่า เราจักบอกลา (เวรัญชพราหมณ์)
เพื่อต้องการเที่ยวไปสู่ที่จาริก.
ศัพท์ว่า เอว เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ยอมรับ.
คำว่า ภนฺเต นั่น เป็นชื่อเรียกด้วยความเคารพ. จะพูดว่า ถวาย
คำทูลตอบแด่พระศาสดา ดังนี้บ้าง ก็ใช้ได้.
สองบทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสิ ความว่า ท่านพระอานนท์ทูล
รับฟัง คือตั้งหน้าฟัง ได้ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดี. มีคำ
อธิบายว่า ทูลรับด้วยคำว่า เอว นี้.
ในคำว่า อถโข ภควา นิวาเสตฺวา นี้ ท่านพระอุบาลีมิได้กล่าว
ไว้ว่า เป็นเวลาเช้า หรือ เป็นเวลาเย็น. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทำภัตรกิจเสร็จแล้ว ทรงยับยั้งอยู่ตลอดเวลาเที่ยงวัน ให้ท่านพระอานนท์
เป็นปัจฉาสมณะ ทรงให้ถนนในพระนคร ตั้งต้นแต่ประตูพระนครไป รุ่งเรือง
ไปด้วยพระพุทธรัศมี ซึ่งมีช่อดุจสายทอง เสด็จเข้าไปโดยทางที่นิเวศน์ของ
เวรัญชพราหมณ์นั้นตั้งอยู่. ส่วนปริชนเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พอประทับยืน
อยู่ที่ประตูเรือนของเวรัญชพราหมณ์เท่านั้น ก็ได้แจ้งข่าวแก่พราหมณ์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 367
พราหมณ์หวนระลึกได้ แล้วก็เกิดความสังเวช จึงรีบลุกขึ้นสั่งให้จัดปูอาสนะ
ที่ควรแก่ค่ามาก ออกไปต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้า จงเสด็จเข้ามาทางนี้เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จเข้าไป
ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดปูไว้แล้ว. ลำดับนั้นแล เวรัญชพราหมณ์มีความ
ประสงค์จะเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้เข้าไปเฝ้าโดยทางที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับอยู่ จากที่ ๆ ตนยืนอยู่. คำเบื้องหน้าแต่นี้ไป มีใจความ
กระจ่างแล้วทั้งนั้น
[เวรัญชพราหมณ์ทูลเรื่องที่มิได้ถวายทานตลอดไตรมาส]
ก็ในคำที่พราหมณ์กราบทูลว่า อนึ่ง ไทยธรรมที่ควรจะถวายข้าพเจ้า
มิได้ถวาย มีคำอธิบายดังต่อไปนี้:-
ข้าพเจ้ายังไม่ได้ถวายไทยธรรมที่ควรจะถวาย มีอาทิอย่างนี้คือ ทุก ๆ
วัน ตลอดไตรมาส เวลาเช้าควรถวายยาคูและของควรเคี้ยว เวลาเที่ยงควร
ถวายขาทนียะโภชนียะ เวลาเย็นควรถวายบูชาสักการะ ด้วยวัตถุมีน้ำปานะที่
ปรุงชนิดต่าง ๆ มากมาย ของหอมและดอกไม้เป็นต้น แก่พระองค์ผู้ซึ่งข้าพเจ้า
นิมนต์ให้อยู่จำพรรษาแล้ว. ก็ในคำว่า ตญฺจ โข โน อสนฺต นี้ พึง
ทราบว่าเป็นลิงควิปัลลาส. ก็ในคำนี้มีใจความดังนี้ว่า ก็แล ไทยธรรมนั้น
ไม่มีอยู่แก่ข้าพเจ้าก็หามิได้. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นใจความในคำนี้อย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าพึงถวายของใด ๆ แก่พระองค์ ก็แล ของนั้นมิใช่จะไม่มี. คำว่า
โน ปิ อทาตุกมฺยตา ความว่า แม้ความไม่อยากถวายของข้าพเจ้า เหมือน
ของเหล่าชนผู้มีความตระหนี่ซึ่งมีอุปกรณ์แก่ทรัพย์ เครื่องปลื้มในมากมาย
ไม่อยากถวายฉะนั้น ก็ไม่มี. ภายในไตรมาสนี้ พระองค์จะพึงได้ไทยธรรม
นั้นจากไหน เพราะฆราวาสมีกิจมาก มีกรณียะมาก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 368
ในคำว่า ต กุเตตฺถ ลพฺภา พหุกิจฺจา ฆราวาส นั้นมีการ
ประกอบความดังต่อไปนี้:- พราหมณี เมื่อจะตำหนิการอยู่ครองเรือน จึงได้
กราบทูลว่า เพราะการอยู่ครองเรือนมีกิจมาก ฉะนั้น ภายในไตรมาสนี้ เมื่อ
ไทยธรรม และความประสงค์จะถวายแม้มีอยู่ พระองค์พึงได้ไทยธรรมที่ข้าพเจ้า
จะพึงถวายแก่พระองค์แต่ที่ไหน คือพระองค์อาจได้ไทยธรรมนั้น จากที่ไหน
ได้ยินว่า เวรัญชพราหมณ์นั้น ย่อมไม่รู้ความที่ตนถูกมารดลใจ จึงได้สำคัญว่า
เราเกิดเป็นผู้มีสติหลงลืม เพราะกังวลอยู่ ด้วยการครองเรือน. เพราะฉะนั้น
พราหมณ์จึงได้กราบทูลอย่างนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า ต กุเตตฺถ ลพฺภา นี้ พึงทราบการ
ประกอบความอย่างนี้ว่า ภายในไตรมาสนี้ ข้าพเจ้าจะพึงถวายไทยธรรมอันใด
แด่พระองค์ ไทยธรรมอันนั้น ข้าพเจ้าจะพึงได้จากไหน ? เพราะว่า การอยู่
ครองเรือนมีกิจมาก.
[เวรัญชพราหมณ์ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเพื่อเสวยภัตตาหาร]
ครั้งนั้น พราหมณ์ดำริว่า ไฉนหนอ ไทยธรรมอันใด เป็นของอัน
เราจะพึงถวาย โดย ๓ เดือน เราควรถวายไทยธรรมอันนั้นทั้งหมด โดย
วันเดียวเท่านั้น แล้ว จึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ ทรง
พระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพเจ้าเถิด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฺวาตนาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่
บุญกุศล และปีติปราโมทย์ซึ่งจะมีในวันพรุ่งนี้ ในเมื่อข้าพเจ้าได้กระทำ
สักการะในพระองค์.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำอาราธนาของพราหมณ์]
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตถาคต ทรงพระรำพึงว่า ถ้าเราจะ
ไม่รับคำอาราธนาไซร้ พราหมณ์และชาวเมืองเวรัญชา จะพึงติเตียน อย่างนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 369
ว่า พระสมณะองค์นี้ ไม่ได้อะไร ๆ ตลอดไตรมาส ชะรอยจะพึงโกรธกระมัง?
เพราะเหตุนั้น เราอ้อนวอนอยู่ ก็ไม่ทรงรับแม้ภัตตาหารครั้งหนึ่ง, ในพระ
สมณะองค์นี้ ไม่มีอธิวาสนขันติ พระสมณะองค์นี้ ไม่ใช่สัพพัญญู ก็จะพึง
ประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก, การประสบสิ่งที่มิใช่บุญนั้น อย่าได้มีแก่ชน
เหล่านั้นเลย ดังนี้แล้ว จึงทรงรับคำอาราธนา เพื่ออนุเคราะห์แก่ชนเหล่านั้น
โดยดุษณีภาพ.
ก็ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงรับอาราธนาแล้ว ได้ทรง
เตือนเวรัญชพราหมณ์ ให้สำนึกตัวว่า ไม่ควรคิดถึงความกังวลด้วยการอยู่
ครอบครองเรือนเลย แล้วทรงชี้แจงให้เวรัญชพราหมณ์ เห็นประโยชน์ปัจจุบัน
และประโยชน์ภายภาคหน้า ให้สมาทาน คือให้รับเอากุศลธรรม และให้
เวรัญชพราหมณ์นั้นอาจหาญ คือทำให้มีความอุตสาหะในกุศลธรรมตามที่ตน
สมาทานแล้วนั้น และทรงปลอบให้ร่าเริง ด้วยความเป็นผู้มีอุตสาหะนั้น และ
ด้วยคุณธรรมที่มีอยู่อย่างอื่น ด้วยธรรมมีกถา อันสมควรแก่ขณะนั้น ได้ทรง
ยังฝน คือพระธรรมรัตนะให้ตกลงแล้ว ก็เสด็จลุกจากอาสนะกลับไป.
[เวรัญชพราหมณ์สั่งให้เตรียมภัตตาหารถวายพรุ่งนี้]
ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จกลับไปแล้ว เวรัญชพราหมณ์
ได้เรียกบุตรและภรรยามาสั่งว่า แน่ะพนาย เราได้นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า
(ให้อยู่จำพรรษา) ตลอดไตรมาสแล้ว ในวันหนึ่ง ก็มิได้ถวายภัตตาหารสักก้อน
เดียวเลย เอาเถิด บัดนี้ พวกท่านจงตระเตรียมทาน ให้เป็นเหมือนไทย-
ธรรมแม้ที่ควรถวายตลอดไตรมาส เป็นของอาจถวายในวันพรุ่งนี้ได้ โดยวัน
เดียวเท่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 370
ต่อจากนั้น เวรัญชพราหมณ์ สั่งให้ตระเตรียมทานที่ประณีตตลอดวัน
ที่ตนนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ โดยล่วงไปแห่งราตรีนั้น ก็ได้สั่งให้ประดับ
ที่ตั้งอาสนะ ให้ปูอาสนะทั้งหลาย ที่ควรค่ามากไว้ จัดแจงการบูชาอย่างใหญ่
อันวิจิตรด้วยของหอม ธูป เครื่องอบ และดอกโกสุมเสร็จแล้ว จึงสั่งให้
เจ้าพนักงานไปกราบทูลเผดียงกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะเหตุนั้น ท่าน
พระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวว่า อถโข เวรญฺโช พฺรหฺมโณ ตสฺสา
รตฺติยา อจฺจเยน ฯ เป ฯ นิฏฺิต ภตฺต๑ .
[พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังนิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์]
พระผู้มีพระภาคเจ้า มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว ได้เสด็จไปที่นิเวศน์
ของพราหมณ์นั้น, เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวว่า อถโข
ภควา ฯ เป ฯ นสีทิ สทฺธึ ภิกฺขุสงฺเฆน.๒
บทว่า พุทฺธปฺปมุข ในคำว่า อถโข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ
พุทฺธปฺปมุข ภิกฺขุสงฺฆ นี้ แปลว่า มีพระพุทธเจ้าเป็นปริณายก มีคำ
อธิบายว่า ผู้นั่งให้พระพุทธเจ้าเป็นพระสังฆเถระ.
บทว่า ปณีเตน แปลว่า อันดีเยี่ยม.
บทว่า สหตฺถา แปลว่า ด้วยมือตนเอง
บทว่า สนฺตปฺเปตฺวา ความว่า ให้อิ่มหนำด้วยดี คือให้บริบูรณ์
ได้แก่ เกื้อกูลด้วยดีจนพอแก่ความต้องการ
บทว่า สมฺปวาเรตฺวา ความว่า ให้ทรงห้ามเสียด้วยดี คือให้ทรง
คัดค้าน ด้วยหัตถสัญญา มุขสัญญา และวจีเภทว่า พอละ พอละ.
๑-๒. วิ มหา ๑/๑๘
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 371
บทว่า ภุตฺตาวึ แปลว่า ผู้เสวยเสร็จแล้ว.
บทว่า โอนีตปตฺตปาณึ แปลว่า ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร,
คำอธิบายว่า ทรงชักพระหัตถ์ออกแล้ว (ทรงล้างพระหัตถ์แล้ว)
[พราหมณ์ถวายไตรจีวรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระภิกษุสงฆ์]
สองบทว่า ติจีวเรน อจฺฉาเทสิ ความว่า (พราหมณ์)ได้ถวาย
ไตรจีวรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็คำว่า ติจีวเรน อจฺฉาเทสิ นี้ เป็น
เพียงโวหารพจน์ ก็ในไตรจีวรนั้นผ้าสาฎกแต่ละผืน มีราคาผืนละพันหนึ่ง.
พราหมณ์ได้ถวายไตรจีวรชั้นดีเยี่ยม เช่นกับผ้าแค้นกาสี มีราคาถึงสามพัน
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้.
หลายบทว่า เอกเมกญฺจ ภิกฺขุ เอกเมเกน ทุสฺสยุเคน ความว่า
พราหมณ์ได้ให้ภิกษุรูปหนึ่ง ๆ ครองด้วยผ้าคู่หนึ่ง ๆ . บรรดาผ้าเหล่านั้น
ผ้าสาฎกผืนหนึ่ง ๆ มีราคาห้าร้อย. พราหมณ์ได้ถวายผ้ามีราคาห้าแสน แก่
ภิกษุ ๕๐๐ รูป ด้วยประการฉะนี้. พราหมณ์ถวายแล้วถึงเท่านี้ยังไม่พอแก่ใจ
ได้แบ่งผ้ากัมพลแดง และผ้าปัตตุณณะ และผ้าห่มมากมามีราคาเจ็ดแปดพัน
ถวายเพื่อประโยชน์แก่บริขาร มีผ้ารัดเข่าผ้าสไบเฉียง ประคดเอวและผ้ากรอง
น้ำเป็นต้นอีก และได้ตวงน้ำมันยาซึ่งหุงตั้งร้อยครั้งพันครั้ง ให้เต็มทะนาน
ถวายน้ำมันมีราคาพันหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่การทาแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ๆ. จะมี
ประโยชน์อะไร ด้วยการกล่าวมากในปัจจัยสี่. บริขารอะไร ๆ ซึ่งเป็นเครื่องใช้
ของสมณะ ชื่อว่าพราหมณ์มิได้ถวายแล้วมิได้มี แต่ในพระบาลีกล่าวแต่เพียง
จีวรเท่านั้น.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงยังฝนคืออมตธรรมให้ตก
ทำเวรัญชพราหมณ์ผู้เสื่อมสิ้นจากการบริโภครสแห่งอมตะ คือการฟังธรรม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 372
ด้วยถูกมารดลใจให้เคลิบเคลิ้มเสียสามเดือน ผู้ทำการบูชาใหญ่อย่างนั้นแล้ว
พร้อมด้วยบุตรและภรรยาถวายบังคมแล้วนั่ง ให้เป็นผู้มีความดำริเต็มที่ โดย
วันเดียวเท่านั้น จึงยังพราหมณ์ให้เล็งเห็นสมาทานอาจหาญให้รื่นเริงด้วย
ธรรมกถา แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป
ฝ่ายพราหมณ์ พร้อมทั้งบุตรและภรรยา ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
เจ้าและภิกษุสงฆ์แล้วตามไปส่งเสด็จ พลางกล่าวคำมีอาทิอย่างนี้ว่า พระเจ้าข้า
พระองค์ พึงทำความอนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายแม้อีก แล้วปล่อยให้
น้ำตาไหลกลับมา.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจากเมืองเวรัญชาไปประทับที่เมืองไพศาลี]
หลายบทว่า อถโข ภควา เวรญฺชาย ยถาภิรนฺต วิหริตฺวา
มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ตามพระอัธยาศัย คือตามความพอ
พระทัยแล้ว ออกจากเมืองเวรัญชา มีพระประสงค์จะทรงละพุทธวิถี ที่จะพึง
เสด็จไป ในกาลเป็นที่เสด็จเที่ยวจาริกในมณฑลใหญ่ จะทรงพาภิกษุสงฆ์
ผู้ลำบากด้วยทุพภิกขโทษ เสด็จไปโดยทางตรง จึงไม่ทรงแวะเมืองทั้งหลาย
มีเมืองโสเรยยะเป็นต้น เสด็จไปยังเมืองปยาคประดิษฐาน ข้ามแม่น้ำคงคาที่
เมืองนั้น แล้วเสด็จไปโดยทิศาภาคทางเมืองพาราณสี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
เสด็จไปโดยทิศาภาคนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตทวสริ. พระองค์ประทับ
อยู่ตามพระอัธยาศัย แม้ในเมืองพาราณสีนั้นแล้ว ได้เสด็จไปยังเมืองโสเรยยะ
เมืองสังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ เสด็จไปทางเมืองปยาคประดิษฐานแล้วเสด็จ
ข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองปยาคประดิษฐาน ไปโดยทิศภาคทางเมืองพาราณสี.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับแรมในเมืองพาราณสีตามพอพระทัย
แล้วทรงหลีกจาริกไป ทางเมืองไพศาลี เมืองเสด็จจาริไปโดยลำดับ ได้ทรง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 373
แวะเมืองไพศาล. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาใน
ป่ามหาวัน ใกล้เมืองไพศาลีนั้น.*
จบ เวรัญชกัณฑวรรณนา ในอรรถกถาวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา.
ในข้อที่อรรถกถาชื่อสมันตปาสาทิกา
ในวินัยนั้น ชวนให้เกิดความเลื่อมใสโดย
รอบด้าน มีคำอธิบายดังจะกล่าวต่อไปดังนี้
ว่า
เมื่อวิญญูชนทั้งหลายสอดส่องอยู่
โดยลำดับแห่งอาจารย์ โดยการแสดงประ-
เภทแห่งนิทานและวัตถุ โดยความเว้นลัทธิ
อื่น โดยความหมดจดแห่งลัทธิของตน โดย
ชำระพยัญชนะให้เรียบร้อย โดยใจความ
เฉพาะบท โดยลำดับแห่งบาลีและโยชนา
แห่งบาลี โดยการวินิจฉัยสิกขาบท และ
โดยการชี้แจงความต่างแห่งนัยในวิภังค์ คำ
น้อยหนึ่งซึ่งไม่ชวนให้เกิดความเลื่อมใส
ย่อมไม่ปรากฏในสมันตปาสาทิกานี้, เพราะ
เหตุนั้น สังวรรณนาแห่งวินัยที่พระโลกนาถ
ผู้ทรงอนุเคราะห์โลก ฉลาดในการฝึกเวไนย
ได้ตรัสไว้นี้ จึงเป็นไปโดยชื่อว่า สมันตปา-
สาทิกา แล.
* วิ. มหา. ๑/๑๘
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 374
ปฐมปาราชิกภัณฑ์
เรื่องพระสุทินน์
[๑๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ณ สถานที่ไม่ห่างจากพระนครเวสาลี มีบ้าน
ตำบลหนึ่ง ชื่อ กลันทะ ในบ้านนั้นมีบุตรชาวบ้านกลันทะผู้หนึ่ง ชื่อ สุทินน์
เป็นเศรษฐีบุตร ครั้งนั้น สุทินน์ กลันทบุตรได้เดินธุระบางอย่างในพระนคร
เวสาลีกับสหายหลายคน ขณะนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าอันบริษัทหมู่ใหญ่
แวดล้อมประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ เพราะได้เห็น ความตรึกนี้ ได้มีแก่เขาว่า
ไฉนหนอ เราจะพึงได้ฟังธรรมบ้าง แล้วเขาเดินผ่านเข้าไปทางบริษัทนั้น ครั้น
ถึงแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ความรำพึงนี้ได้มีแก่เขาผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่งฉะนี้ว่า ด้วยวิธีอย่างไร ๆ เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้
บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้
ง่าย ไฉนหนอ เราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต ครั้นบริษัทนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมกถาแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณหลีกไปแล้ว หลังจากบริษัทลุกไปแล้วไม่นาน
นัก เขาได้เดินเข้าไปใกล้ที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง.
สุทินน์กลันทบุตรนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ด้วยวิธีอย่างไร ๆ ข้าพระพุทธเจ้าจึงจะรู้ทั่วถึง
ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 375
พรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัด
แล้ว ทำไม่ได้ง่าย ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้า
กาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้
ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูก่อนสุทินน์ ก็มารดาบิดาอนุญาตให้เธอ
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วหรือ.
สุทินน์กลันทบุตรกราบทูลว่า ยังไม่ได้อนุญาติ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนสุทินน์ พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่บวชบุตรที่มารดาบิดา
ยังมิได้อนุญาต.
สุ. ข้าพรุพุทธเจ้าจักกระทำโดยวิธีที่มารดาจักอนุญาตให้ข้าพระ-
พุทธเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระพุทธเจ้าข้า.
ขออนุญาตออกบวช
[๑๑] หลังจากนั้นแล สุทินน์กลันทบุตรเสร็จการเดินธุระในพระนคร
เวสาลีนั้นแล้ว กลับสู่กลันทคามเข้าหามารดาบิดา แล้วได้กล่าวคำนี้กะมารดา
บิดาว่า ข้าแต่มารดาบิดา ด้วยวิธีอย่างไร ๆ ลูกจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์
นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำ
ไม่ได้ง่าย ลูกปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต ขอมารดาบิดาจงอนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตเถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 376
เมื่อสุทินน์กลันทบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว มารดาบิดาของเขาได้กล่าวคำนี้
กะเขาว่า ลูกสุทินน์ เจ้าเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
ของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วย
ความสุข เจ้าไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก
เหตุไฉน เราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพขิตได้เล่า.
แม้ครั้งที่สอง สุทินน์กลันทบุตรก็ได้กล่าวคำนี้กะมารดาบิดาว่า ข้าแต่
มารดาบิดา ด้วยวิธีอย่างไร ๆ ลูกจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ ให้บริบูรณ์
โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ลูก
ปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ขอมารดาบิดาจงอนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด
แม้ครั้งที่สอง มารดาบิดาของเขาก็ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์
เจ้าเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วย
ความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความ
ทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจักอนุญาต
ให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า.
แม้ครั้งที่สาม สุทินน์กลันทบุตรก็ได้กล่าวคำนี้กะมารดาบิดาว่า ข้าแต่
มารดาบิดา ด้วยวิธีอย่างไร ๆ ลูกจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ ให้บริบูรณ์
โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ลูก
ปรารถนาจะปลงผมและหนวดครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ขอมารดาบิดาจงอนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 377
แม้ครั้งที่สาม มารดาบิดาของเขาก็ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์
เจ้าเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วย
ความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความ
ทุกข์สักน้อย แม่เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจักอนุญาต
ให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า.
ทันใดนั้นแล สุทินน์กลันบุตรแน่ใจว่า มารดาบิดาไม่อนุญาตให้
เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จึงนอนลงบนฟื้นอันปราศจากเครื่องลาด
ณ สถานที่นั้นเอง ด้วยตัดสินใจว่า การตายหรือการบวชจักมีแก่เราในสถาน
ที่นี้แหละ และแล้วเขาไม่บริโภคอาหารแม้หนึ่งมื้อ ไม่บริโภคอาหารแม้สองมื้อ
ไม่บริโภคอาหารแม้สามมื้อ ไม่บริโภคอาหารแม้สี่มื้อ ไม่บริโภคอาหารแม้
ห้ามื้อ ไม่บริโภคอาหารแม้หกมื้อ ไม่บริโภคอาหารแม้เจ็ดมื้อ.
มารดาบิดาไม่อนุญาต
[๑๒] จะอย่างไรก็ตาม มารดาบิดาของเขาได้กล่าวคำนี้ว่า ลูกสุทินน์
เจ้าเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมา
ด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จัก
ความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจัก
อนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า จงลุกขึ้นเถิด
ลูกสุทินน์ จงกิน คงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง บริโภคกาม
ทำบุญอยู่เถิด เราไม่อนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
เมื่อมารดาบิดากล่าวอย่างนี้แล้ว สุทินน์กลันทบุตรได้นึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 378
แม้ครั้งที่สอง มารดาบิดาของเขาก็ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์
เจ้าเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมา
ด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จัก
ความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจัก
อนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า จงลุกขึ้นเถิด
ลูกสุทินน์ จงกิน จงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง
บริโภคกามทำบุญอยู่เถิด เราไม่อนุญาตให้เจ้าออกจากกเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
แม้ครั้งที่สอง สุทินน์กลันทบุตรก็ได้นิ่ง.
แม้ครั้งที่สาม มารดาบิดาของเขาก็ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์
เจ้าเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมา
ด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จัก
ความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจัก
อนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นพรรพชิตได้เล่า จงลุกขึ้นเถิด
ลูกสิทินน์ จงกิน จงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง
บริโภคกามทำบุญอยู่เถิด เราไม่อนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
แม้ครั้งที่สาม สุทินน์กลันทบุตรก็ได้นิ่ง.
พวกสหายช่วยเจรจา
[๑๓] ยิ่งกว่านั้น พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตร ก็ได้เข้าไปหา
สุทินน์กลันทบุตร ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า สุทินน์เพื่อนรัก เธอเท่านั้น
เป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของมารดาบิดา เป็นผู้เจริญมาด้วย
ความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เธอไม่รู้จักความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 379
ทุกข์นักน้อย แม้เธอจะตายมารดาบิดาก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน ท่าน
ทั้งสองจักอนุญาตให้เธอผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า
ลุกขึ้นเถิดสุทินน์เพื่อนรัก จงกิน จงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม
รื่นเริง บริโภคกามทำบุญอยู่เถิด มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เธอออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต.
เมื่อเขากล่าวอย่างนี้แล้ว สุทินน์กลันทบุตรได้นิ่ง.
แม้ครั้งที่สอง พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตรก็ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า
สุทินน์เพื่อนรัก เธอเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของ
มารดาบิดา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมา
ด้วยความสุข เธอไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เธอตจะตายมารดาบิดาก็ไม่
ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน ท่านทั้งสองจักอนุญาตให้เธอผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า ลุกขึ้นเถิดสุทินน์เพื่อนรัก จงกิน จงดื่ม และ
จงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง บริโภคกามทำบุญอยู่เถิด มารดาบิดา
ไม่อนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
แม้ครั้งที่สอง สุทินน์กลันทบุตรก็ได้นิ่ง.
แม้ครั้งที่สาม พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตร ก็ได้กล่าวคำนี้กะเขา
ว่า สุทินน์เพื่อนรัก เธอเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของ
มารดาบิดา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมา
ด้วยความสุข เธอไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เธอจะตายมารดาบิดาก็ไม่
ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน ท่านทั้งสองจักอนุญาตให้เธอผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า ลุกขึ้นเถิดสุทินน์เพื่อนรัก จงกิน จงดื่ม และ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 380
จงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง บริโภคกามทำบุญอยู่เถิด มารดาบิดา
ไม่อนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
แม้ครั้งที่สาม สุทินน์กลันทบุตรก็ได้นิ่ง.
เมื่อไม่สำเร็จ พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตร จึงเข้าไปหามารดา
บิดาของสุทินน์กลันทบุตร ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ข้าแต่มารดาบิดา
สุทินน์นั่นนอนลงบนพื้นอันปราศจากเครื่องลาด ด้วยตัดสินใจว่าการตายหรือ
การบวชจักมีแก่เรา ณ ที่นี้แหละ ถ้ามารดาบิดาไม่อนุญาตให้สุทินน์ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต ความตายจักมาถึง ณ ที่นั้นเอง ถ้าอนุญาตให้สุทินน์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็จักได้เห็นเขาแม้ผู้บวชแล้ว ถ้าสุทินน์จัก
ไม่ยินดีในการออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เขาจักมีทางดำเนินอื่นอะไรเล่า
เขาจักกลับมา ณ ที่นี้แหละ ขอมารดาบิดาจงอนุญาตให้สุทินน์ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเถิด.
อนุญาตจ้ะ ให้ลูกสุทินน์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มารดาบิดา
กล่าวยินยอม.
สุทินน์กลันทบุตรออกบวช
[๑๔] ทันใดนั้น พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตร เข้าไปหาสุทินน์
กลันทบุตร แล้วได้บอกเขาว่า ลุกขึ้นเถิดสุทินน์เพื่อนรัก มารดาบิดาอนุญาต
ให้เธอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว พอสุทินน์กลันทบุตรได้ทราบว่า
มารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ก็ร่าเริงดีใจ ลุกขึ้น
ลูบเนื้อตัวด้วยฝ่ามือ ครั้นเยียวยากำลังอยู่สองสามวันแล้ว จึงเข้าไปสู่พุทธสำนัก
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งเฝ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เขานั่งเฝ้าอยู่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 381
อย่างนั้นแล ได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระพุทธเจ้าอันมารดา
บิดาอนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ขอ
พระองค์ได้โปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิดพระพุทธเจ้าข้า.
สุทินน์กลันทบุตรได้รับบรรพชาอุปสมบทในพุทธสำนัก ดังนี้ ก็แล
ท่านพระสุทินน์อุปสมบทแล้วไม่นาน ประพฤติสมาทานธุดงคคุณเห็นปานนี้
คือเป็นผู้ถืออรัญญิกธุดงค์ ปิณฑปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์ สปทานจาริกธุดงค์
พำนักอยู่ใกล้หมู่บ้านชาววัชชีตำบลหนึ่ง.
พระสุทินน์เยี่ยมสกุล
[๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล วัชชีชนบทอัตคัตอาหาร ประชาชนหา
เลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์
จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหาก็ทำไม่ได้ง่าย ครั้งนั้น ท่าน
พระสุทินน์ได้มีความคิดเห็นว่า เวลานี้วัชชีชนบทอัตคัดอาหาร ประชาชนหา
เลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์
จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย ก็แลญาติของ
เราในพระนครเวสาลีมีมาก ล้วนเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากร
มาก ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปพำนักอยู่ใกล้หมู่ญาติ แม้หมู่ญาติก็จักได้อาศัย
เราให้ทานทำบุญ และภิกษุทั้งหลายก็จักได้ลาภ ทั้งเราก็จักไม่ลำบากด้วย
บิณฑบาต ดังนั้น ท่านพระสุทินน์จึงเก็บงำเสนาสนะถือบาตรจีวรหลีกไปโดย
มรรคอันจะไปสู่พระนครเวสาลี เที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลี
แล้ว ทราบว่า เธอพำนักอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนคร
เวสาลีนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 382
บรรดาญาติของท่านพระสุทินน์ ได้ทราบข่าวว่า พระสุทินน์กลันทบุตร
กลับมาสู่พระนครเวสาลีแล้ว จึงนำภัตตาหารมีประมาณ ๖๐ หม้อไปถวายท่าน
พระสุทินน์ ๆ สละภัตตาหารประมาณ ๖๐ หม้อนั้นถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้ว
เช้าวันนั้นครองอันตรวาสกถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกลันทคาม เที่ยว
บิณฑบาตไปตามลำดับตรอกในกลันทคาม ใกล้จะถึงเรือนบิดาของตน ก็พอดี
ทาสีของญาติท่านพระสุทินน์กำลังมีความมุ่งหมายจะเทขนมสดที่ค้างคืน จึงท่าน
พระสุทินน์ได้กล่าวคำนี้กะนางว่า น้องหญิง ถ้าของนั้นมีอันจะต้องทิ้งเป็น
ธรรมดา ของท่านจงเกลี่ยลงในบาตรของเรานี้เถิด ขณะที่นางกำลังเกลี่ยขนมสด
ที่ค้างคืนนั้นลงในบาตร นางจำเค้ามือเท้าและเสียงของท่านพระสุทินน์ได้ จึง
รีบเข้าไปหามารดาของท่านพระสุทินน์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้กะมารดาของ
ท่านว่า คุณนายเจ้าขา โปรดทราบ พระสุทินน์บุตรคุณนายกลับมาแล้วเจ้าค่ะ.
แม่ทาสี ถ้าเจ้าพูดจริง เราจะปลดเจ้ามิให้เป็นทาสี มารดาท่านพระ-
สุทินน์กล่าว.
ขณะที่ท่านพระสุทินน์กำลังอาศัยพะไลเรือนแห่งหนึ่งฉันขนมสดที่
ค้างคืนนั้น พอดีบิดาของท่านพระสุทินน์เดินกลับมาจากที่ทำงาน ได้แลเห็น
ท่านพระสุทินน์กำลังอาศัยพะไลเรือนแห่งหนึ่งฉันขนมสดที่ค้างคืนนั้นอยู่ จึง
เดินเข้าไปหาท่านพระสุทินน์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านว่า มีอยู่หรือ
พ่อสุทินน์ ที่พ่อจักฉันขนมสดที่ค้างคืน พ่อสุทินน์ พ่อควรไปเรือนของตน
มิใช่หรือ.
คุณโยม รูปได้ไปสู่เรือนของคุณโยมแล้ว ขนมสดที่ค้างคืนนี้รูปได้มา
แต่เรือนของคุณโยม พระสุทินน์ตอบ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 383
ทันใดนั้น บิดาของท่านพระสุทินน์จับแขนท่าน แล้วได้กล่าวคำนี้กะ
ท่านว่า มาเถิด พ่อสุทินน์ เราจักไปเรือนกัน.
ลำดับนั้น ท่านพระสุทินน์ได้เดินตามเข้าไปสู่เรือนบิดาของตน ครั้น
ถึงแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย จึงบิดาของท่านได้กล่าวคำนี้กะท่าน จง
ฉันเถิดพ่อสุทินน์.
อย่าเลยคุณโยม ภัตกิจในวันนี้ รูปทำเสร็จแล้ว พระสุทินน์กล่าวตอบ.
บิดาอาราธนาว่า พ่อสุทินน์ ขอพ่อจงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารในวัน
พรุ่งนี้เถิด.
ท่านพระสุทินน์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ และแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.
บิดาวิงงอนให้สึก
[๑๖] ครั้งนั้นแล มารดาของท่านพระสุทินน์สั่งให้ไล้ทาฟื้นแผ่นดิน
ด้วยโคมัยสด ให้จัดทำกองทรัพย์ไว้สองกอง คือเงินกอง ๑ ทองกอง ๑ เป็น
กองใหญ่ กระทั่งบุรุษยืนอยู่ข้างนี้ไม่แลเห็นบุรุษยื่นอยู่ข้างโน้น บุรุษยืนอยู่
ข้างโน้นก็ไม่แลเห็นบุรุษอยู่ข้างนี้ ให้ปิดกองทรัพย์เหล่านั้นด้วยลำแพน
ให้จัดอาสนะไว้ในท่านกลาง ให้แวดวงด้วยม่านเสร็จโดยล่วงราตรีนั้น แล้ว
เรียกปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์มาสั่งว่า ลูกหญิง เพราะลูกสุทินน์จะมา
เจ้าจงแต่งกายด้วยเครื่องประดับ อันจะเป็นเหตุให้ลูกสุทินน์เกิดความรักใคร่
พอใจ
อย่างนั้นเจ้าข้า นางรับคำมารดาของท่านพระสุทินน์.
ณ เวลาเช้าวันนั้นแล ท่านพระสุทินน์ครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร
เข้าไปสู่เรือนบิดาของตน แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 384
ลำดับนั้นแล บิดาของท่านพระสุทินน์เข้าไปหาท่านพระสุทินน์ ครั้น
แล้วให้คนเปิดกองทรัพย์เหล่านั้นออก ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อ
สุทินน์นี้ทรัพย์ของมารดาพ่อ ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่ายมารดา
ส่วนของบิดาต่างหาก ส่วนของปู่ต่างหาก พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์
จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็น
คฤหัสถ์ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่
พระสุทินน์ตอบ.
แม้ครั้งที่สอง บิดาของท่านพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์
ว่า พ่อสุทินน์ นี้ทรัพย์ของมารดาพ่อ ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่าย
มารดา ส่วนของบิดาต่างหาก ส่วนของปู่ต่างหาก พ่อสุทินน์ พ่อควรกลับมา
เป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อ
จงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
คุณโยม รูปไม่อาจไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่
พระสุทินน์ตอบ.
แม้ครั้งที่สาม บิดาของท่านพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคำนี่กะท่านพระสุทินน์
ว่า พ่อสุทินน์ นี้ทรัพย์ของพ่อ ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่าย
มารดา ส่วนของบิดาต่างหาก ส่วนของปู่ต่างหาก พ่อสุทินน์ พ่อควรกลับ
มาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์
พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอบโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
ท่านพระสุทินน์ตอบว่า คุณโยม รูปขอพูดกะคุณโยมบ้าง ถ้าคุณโยม
ไม่ตัดรอน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 385
บ. พูดเถิด พ่อสุทินน์
สุ. คุณโยม ถ้าเช่นนั้น คุณโยมจงสั่งให้เขาทำกระสอบป่านใหญ่ ๆ
บรรจุเงินและทองให้เต็มบรรทุกเกวียนไป แล้วให้จมลงในกระแสน้ำท่ามกลาง
แม่น้ำคงคา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดี การเฝ้ารักษาก็ดี อันมีทรัพย์นั้นเป็นเหตุ ที่จัก
เกิดแก่คุณโยมนั้น จักไม่มีแก่คุณโยมเลย.
เมื่อท่านพระสุทินน์กล่าวอย่างนี้แล้ว บิดาของท่านได้มีความไม่พอใจ
ว่า ไฉนลูกสุทินน์จึงได้พูดอย่างนี้ และแล้วได้เรียกปุราณทุติยิกาของท่านพระ
สุทินน์มาบอกว่า ลูกหญิง เพราะเจ้าเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ บางทีลูกสุทินน์
จะพึงทำตามคำของเจ้าบ้าง.
ทันใดนั้น นางได้จับเท้าท่านพระสุทินน์ถามว่า ข้าแต่ลูกนาย นาง
อัปสรผู้เป็นเหตุให้ท่านประพฤติพรหมจรรย์นั้น ชื่อเช่นไร.
น้องหญิง ฉันไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่งนางอัปสรเลย
พระสุทินน์ตอบ.
บัดดล นางน้อยใจว่า สุทินน์ลูกนาย เรียกเราด้วยถ้อยคำว่า น้องหญิง
ในวันนี้ เป็นครั้งแรก แล้วสลบล้มลงในที่นั้นเอง.
ท่านพระสุทินน์ได้กล่าวคำนี้กะบิดาว่า คุณโยม ถ้าโภชนะที่จะพึงให้มี
ก็จงให้เถิด อย่ารบกวนรูปเลย.
ฉันเถิด พ่อสุทินน์ มารดาบิดาของท่านพระสุทินน์กล่าวดังนี้แล้ว
ได้อังคาสท่านพระสุทินน์ด้วยขาทนียโภขนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน จน
ให้ห้ามภัต และแล้วมารดาของท่านพระสุทินน์ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์
ผู้ฉันเสร็จ ลดมือจากบาตรแล้วว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 386
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือก
เป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและ
บำเพ็ญบุญ มาเถิดพ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติ
และบำเพ็ญบุญเถิด
คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีปาระพฤติพรหมจรรย์อยู่
พระสุทินน์ตอบ.
แม้ครั้งที่สอง มารดาของท่านพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระ
สุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงิน
มาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควร
กลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิดพ่อสุทินน์
พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่
พระสุทินน์ตอบ.
แม้ครั้งที่สาม มารดาของท่านพรุสทินน์ก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระ-
สุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงิน
มาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อ
สุทินน์ ดังนั้น พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง พวกเจ้าลิจฉวีจะได้ไม่ริบทรัพย์สมบัติ
ของเรา อันหาบุตรผู้สิบสกุลมิได้ไปเสีย.
สุ. คุณโยม เฉพาะเรื่องนี้รูปอาจทำได้
ม. พ่อสุทินน์ ก็เวลานี้พ่อพำนักอยู่ที่ไหน.
ที่ป่ามหาวันจ้ะ ท่านพระสุทินน์ตอบ และแล้วได้ลุกจากอาสนะหลีกไป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 387
เสพเมถุนธรรม
[๑๗] หลังจากนั้น มารดาของท่านพระสุทินน์สั่งกำชับปุราณทุติยิกา
ของท่านพระสุทินน์ว่า ลูกหญิง ถ้ากระนั้นเมื่อใดเจ้ามีระดู ต่อมโลหิตเกิดมี
แก่เจ้า เมื่อนั้นเจ้าพึงบอกแก่แม่.
นางรับคำมารดาของท่านพระสุทินน์แล้ว ต่อมาไม่ช้านัก นางได้มีระดู
ต่อมโลหิตได้เกิดขึ้นแก่นาง ๆ จึงได้แจ้งแก่มารดาของท่านพระสุทินน์ว่า ดิฉัน
มีระดูเจ้าค่ะ ต่อมโลหิตเกิดขึ้นแก่ดิฉันแล้ว.
มารดาของท่านพระสุทินน์กล่าวว่า ลูกหญิง ถ้ากระนั้น เจ้าจงแต่งตัว
ด้วยเครื่องประดับ อันจะเป็นเหตุให้ลูกสุทินน์เกิดความรักใคร่พอใจ.
จ้ะ คุณแม่ นางรับคำมารดาของท่านพระสุทินน์แล้ว จึงมารดาพา
นางเข้าไปหาท่านพระสุทินน์ที่ป่ามหาวัน แล้วรำพันว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก
มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภค
สมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิดพ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอย
โภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่
พระสุทินน์ตอบ.
แม้ครั้งที่สอง มารดาของท่านพระสุทินน์ ก็ได้รำพันว่า พ่อสุทินน์
สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่
น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์
จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็น
คฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 388
คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่
พระสุทินน์ตอบ.
แม้ครั้งที่สาม มารดาของท่านพระสุทินน์ ก็ได้รำพันว่า พ่อสุทินน์
สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์
ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อสุทินน์ ดังนั้นพ่อจงให้
พืชพันธุ์ไว้บ้าง พวกเจ้าลิจฉวีจะได้ไม่ริบทรัพย์สมบัติของเรา อันหาบุตรผู้
สืบสกุลมิได้ไปเสียเลย.
คุณโยม เฉพาะเรื่องนี้รูปอาจทำได้ ท่านพระสุทินน์ตอบแล้วจูงแขน
ปุราณทุติยิกาพาเข้าป่ามหาวัน เป็นผู้มีความเห็นว่าไม่มีโทษ เพราะสิกขาบท
ยังมิได้ทรงบัญญัติ จึงให้มรรยาทของคนคู่เป็นไปในปุราณทุติยิกา ๓ ครั้ง
นางได้ตั้งครรภ์เพราะอัชฌาจารนั้น.
เทพเจ้ากระจายเสียง
[๑๘] เหล่าภุมเทพกระจายเสียงว่า ท่านผู้เจริญ โอ ภิกษุสงฆ์ ไม่มี
เสนียดไม่มีโทษ พระสุทินน์กลันทบุตรก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว
เทพชั้นจาตุมหาราช ได้สดับเสียงเหล่าภุมเทพแล้วกระจายเสียงต่อไป เทพชั้น
ดาวดึงส์ เทพชั้นยามา เทพชั้นดุสิต เทพชั้นนิมมานรดี เทพชั้นปรนิมมิตว-
สวดี เทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้สดับเสียงแล้วกระจายเสียงกันต่อ ๆ ไปว่า
ท่านผู้เจริญ โอ ภิกษุสงฆ์ ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ พระสุทินน์กลันทบุตร
ก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว โดยทันใดนั้น ครู่หนึ่งนั้น เสียงได้กระจาย
ขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้แล.
สมัยต่อมา ปุราณาทุติยิกาของท่านพระสุทินน์ อาศัยความแก่แห่ง
ครรภ์นั้น คลอดบุตรแล้ว จึงพวกสหายของท่านพระสุทินน์ได้ตั้งชื่อทารกนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 389
ว่า พีชกะ ตั้งชื่อปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์ว่า พีชกมาตา ตั้งชื่อ
ท่านพระสุทินน์ว่า พีชกปิตา ภายหลังเขาทั้งสองได้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ทำให้แจ้งซึ่งอระอรหัตแล้ว.
พระสุทินน์เกิดวิปฏิสาร
[๑๙] ครั้งนั้น ความรำคาญ ความเดือดร้อน ได้เกิดแก่ท่านพระ
สุทินน์ว่า มิใช่ลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ
เราไม่ได้ดีแล้วหนอ เพราะเราบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ดีอย่างนี้แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้
ตลอดชีวิต เพราะความรำคาญนั้นแหละ เพราะความเดือดร้อนนั้นแหละ
ท่านได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัว
สะพรั่งด้วยเอ็น มีเรื่องในใจ มีใจหดหู่ มีทุกข์โทมนัส มีวิปฏิสารซบเซาแล้ว.
จึงบรรดาภิกษุที่เป็นสหายของท่านพระสุทินน์ ได้กล่าวคำนี้กะท่าน
พระสุทินน์ว่า อาวุโส สุทินน์ เมื่อก่อนคุณเป็นผู้มีผิวพรรณ มีอินทรีย์สมบูรณ์
มีสีหน้าสดใส มีฉวีวรรณผุดผ่อง มีน้ำมีนวล บัดนี้ ดูคุณซูบผอม เศร้าหมอง
มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น มีเรื่องในใจ
มีใจหดหู่ มีทุกข์โทมนัส มีวิปฏิสารซบเซาอยู่ คุณจะไม่ยินดีประพฤติพรหม-
จรรย์กระมังหนอ.
อาวุโสทั้งหลาย ความจริง มิใช่ว่าผมจะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
พระสุทินน์ค้านแล้วแถลงความจริงว่า เพราะบาปกรรมที่ผมทำไว้มีอยู่ ผมได้
เสพเมถุนธรรมในปุราณทุติยิกา ผมจึงได้มีความรำคาญ ความเดือดร้อนว่า
มิใช่ลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ได้ดี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 390
แล้วหนอ เพราะเราบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีอย่างนี้
แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิต ดังนี้.
อาวุโส สุทินน์ จริง การที่คุณบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์
บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตนั้น พอที่คุณจะรำคาญ พอที่คุณจะเดือดร้อน.
อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย
เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อ
ความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่น มิใช่หรือ เมื่อ
ธรรมชื่อนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด
คุณยังจะคิดเพื่อมีความกำหนัด เมื่อทรงแสดงเพื่อความพราก คุณยังจักคิด
เพื่อความประกอบ เมื่อทรงแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น คุณยังจักคิดเพื่อมีความ
ถือมั่น.
อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย
เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญ
แห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ
เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อหลายความกำหนัด เพื่อความดับทุกข์ เพื่อ
นิพพานมิใช่หรือ.
อาวุโส การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความ
ระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัด-
กลุ้มเพราะกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ.
อาวุโส การกระทำของคุณนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เสื่อมใส หรือเพื่อความเสื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เสื่อมใสแล้ว โดยที่แท้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 391
การกระทำของคุณนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบทบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ภิกษุสหายเหล่านั้น ติเตียนท่านพระสุทินน์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว
ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
[๒๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน
เพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน
พระสุทินน์ว่า ดูก่อนสุทินน์ ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรม ในปุราณทุติยิกา
จริงหรือ.
ท่านพระสุทินน์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรษ การกระทำของ
เธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
เธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า
ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลาย
ความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความ
ประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่น มิใช่หรือ เมื่อธรรม
ชื่อนั้นอันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด
เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความ
ไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น
ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่
สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 392
ระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อ
เป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหา
เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อ วานะ มิใช่หรือ
ดูก่อนโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัด
ความระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความ
กลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ
ดูก่อนโมฆบุรุษ องค์กำเนิด อันเธอสอดเข้าในปากอสรพิษที่มีพิษร้าย
ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามไม่ดีเลย องค์
กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากงูเห่า ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์
กำเนิดของมาตุตาม ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในหลุมถ่านที่ไฟติด
ลุกโซนยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคาม ไม่ดี
เลย
ข้อที่เราว่านั้น เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึง
ความตาย หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะ
การกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิดเข้าในองค์กำเนิดของ
มาตุคามนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุ
ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้น มีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้อง
อสัทธรรม อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ
มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 393
คนแรกที่กระทำอกุศลธรรม เป็นหัวหน้าของคนเป็นอันมาก การกระทำของ
เธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั้น เป็น
ไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น
ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระสุทินน์โดยอเนกปริยายดังนี้
แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็น
คนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัส
คุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ
ปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น
ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่ง
ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด
อาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ-
สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า
ดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 394
พระปฐมบัญญัติ
๑. ก็ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมเป็นปาราชิกหา สังวาสมิได้
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.
สุทินนภาณวาร จบ
เรื่องลิงตัวเมีย
[๒๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเอาเหยื่อล่อตัวเมียในป่า
มหาวัน เขตพระนครเวสาลี แล้วเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนั้นเสมอ ครั้น
เวลาเช้า ภิกษุนั้นครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตใน
พระนครเวสาลี
ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเที่ยวจาริกตามเสนาสนะ เดินผ่านเข้าไป
ทางที่อยู่ของภิกษุนั้น ลิงตัวเมียนั้นแลเห็นภิกษุเหล่านั่นกำลังเดินมาแต่ไกลเที่ยว
ครั้นแล้วได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ยกสะเอวบ้าง โก่งหางบ้าง แอ่นตะโพกบ้าง
ทำนิมิตบ้าง เบื้องหน้าภิกษุเหล่านั้น จึงภิกษุเหล่านั้นสันนิษฐานว่า ภิกษุ
เจ้าของถิ่นเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้แน่ไม่ต้องสงสัย แล้วแฝงอยู่ ณ ที่
กำบังแห่งหนึ่ง
เมื่อภิกษุเจ้าของถิ่นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครเวสาลี ถือบิณฑบาต
กลับมาแล้ว ลิงตัวเมียนั้นได้เข้าไปหา ครั้นภิกษุเจ้าของถิ่นฉันบิณฑบาตนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 395
ส่วนหนึ่งแล้ว ได้ให้แก่มันส่วนหนึ่ง เมื่อมันกินอาหารส่วนนั้นแล้วได้แอ่น
ตะโพกให้ จึงภิกษุนั้นเสพเมถุนธรรมในมัน.
ทันใด ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า อาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสกขาบทไว้แล้วมิใช่หรือ เหตุไร คุณจึงได้เสพเมถุนธรรมในลิง
ตัวเมียนี้เล่า.
จริงขอรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว ภิกษุนั้น
สารภาพแล้วค้านว่า แต่พระบัญญัตินั้นเฉพาะหญิงมนุษย์ไม่เกี่ยวถึงสัตว์ดิรัจฉาน
ตัวเมีย.
อาวุโส พระบัญญัตินั้น ย่อมเป็นเหมือนกั้นทั้งนั้นมิใช่หรือ การ
กระทำของคุณนั่นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
ไม่ควรทำ คุณบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว
ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า.
อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย
เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อ
ความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่นมิใช่หรือ เมื่อ
ธรรมชื่อนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด
คุณยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด เมื่อทรงแสดงเพื่อความพราก คุณยักจักคิด
เพื่อความประกอบ เมื่อทรงแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น คุณยังจักคิดเพื่อมีความ
ถือมั่น
อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย
เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 396
แห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ
เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหา
เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อ วาระ มิใช่หรือ.
อาวุโส การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความ
ระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้ม
เพราะกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ.
อาวุโส การกระทำของคุณนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้
การกระทำของคุณนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมในแล้ว.
ภิกษุเหล่านั้น ติเตียนภิกษุนั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ได้กราบทูล
เนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติอนุบัญญัติ ๑
[๒๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน
เพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ
นั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมีย จริงหรือ.
จริง พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุนั้นทูลสารภาพ.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่
ควรทำ เธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถ
ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 397
ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลาย
ความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความ
ประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่นมิใช่หรือ เมื่อธรรม
ชื่อนั้น อันเราแสดงแล้วเพื่อคลายความกำหนัดเธอยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด
เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความ
ไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น.
ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่
สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความ
ระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อ
เป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหา
เพื่อออกไปจากตัณหา ชื่อ วานะ มิใช่หรือ.
ดูก่อนโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การ
กำจัดความระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับ
ความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ.
ดูก่อนโมฆบุรุษ องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากอสรพิษที่มีพิษร้าย
ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของลิงตัวเมีย ไม่ดีเลย
องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากงเห่า ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้า
ในองค์กำเนิดของลิงตัวเมีย ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในหลุมถ่านที่
ไฟติดลุกโชน ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของลิงตัวเมีย
ไม่ดีเลย.
ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 398
เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าไปในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึง
ความตาย หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะ
การกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิดเข้าในองค์กำเนิดของลิง
ตัวเมียนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุ.
ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้นมีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้อง
อสัทธรรม อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ
มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป การกระทำ
ของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ
ความเลื่อมในยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว.....๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวก
เธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ ๑
๑. อนึ่ง ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉาน
ตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องลิงตัวเมีย๒ จบ
๑. ต้องการพิสดารพึงดูหน้า ๓๙๓ บรรทัดที่ ๒๐. ๒. โดยมากปรากฏว่า มักกฏิสิกขาบท
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 399
เรื่องภิกษุวัชชีบุตร
[๒๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรชาวพระนครเวสาลีหลายรูป
ฉันอาหารพอแก่ความต้องการ จำวัดพอแก่ความต้องการ สรงน้ำพอแก่ความ
ต้องการ ครั้นแล้วทำในใจโดยไม่แยบคายไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้
ทุรพลให้แจ้ง ได้เสพเมถุนธรรม สมัยอื่น วัชชีบุตรพวกนั้น ถูกความพินาศ
แห่งญาติกระทบแล้วบ้าง ถูกความวอดวายแห่งโภคะกระทบแล้วบ้าง ถูกความ
เสื่อมคือโรคเบียดเบียนแล้วบ้าง จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์เจ้าข้า พวกกระผมไม่ใช่เป็นคนติเตียนพระพุทธเจ้า
ไม่ใช่เป็นคนติเตียนพระธรรม ไม่ใช่เป็นคนติเตียนพระสงฆ์ พวกกระผมเป็น
คนติเตียนตน ไม่ใช่เป็นคนติเตียนคนอื่น พวกกระผมซึ่งบวชในพระธรรมวินัย
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้
บริบูรณ์ บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตนั้นแหละ เป็นคนไม่มีวาสนา เป็นคนมี
บุญน้อย ท่านอานนท์เจ้าข้า แม้บัดนี้ ถ้าพวกกระผมพึงได้บรรพชา
พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้บัดนี้ พวกกระผมจะพึงเป็น
ผู้เห็นแจ้งซึ่งกุศลธรรม หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม
อยู่ตลอดเบื้องต้นแห่งราตรีและเบื้องปลายแห่งราตรี ท่านพระอานนท์เจ้าข้า
พวกกระผมขอโอกาส ขอท่านได้โปรดกรุณากราบทูลความข้อนี้ แด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า.
ได้ จ้ะ ท่านพระอานนท์?รับคำของพวกวัชชีบุตรชาวพระนครเวสาลี
แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตจะพึงถอน
ปาราชิกสิกาขาบทที่บัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งพวกวัชชีหรือ
พวกวัชชีบุตรนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 400
ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ ๒
[๒๔] ครั้งนั้นพระองค์ทรงกระทำธรรมกถา ในเพราะเหตุเป็นมูล
เค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้ใดแลเป็นภิกษุ ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง
เสพเมถุนธรรม ผู้นั้นมาแล้ว สงฆ์ไม่พึงอุปสมบทให้ ส่วนผู้ใดแล เป็นภิกษุ
บอกคืนสิกขา ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม ผู้นั้นมาแล้ว
สงฆ์พึงอุปสมบทให้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระอนุบัญญัติ ๒
๑. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมซึ่งสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้ง
หลายแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพ
เมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หา
สังวาสมิได้.
สิกขาบทวิภังค์
[๒๕] บทว่า อนึ่ง....ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงาน
อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรม
เครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็น
มัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง...ใด.
[๒๖] บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 401
โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติ-
จตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์
พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
[๒๗] บทว่า สิกขา ได้แก่สิกขา ๓ ประการคือ อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา บรรดาสิกขา ๓ ประการเหล่านั้น อธิสีลสิกขานี้
ชื่อว่า สิกขา ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
[๒๘] ชื่อว่า สาชีพ อธิบายว่า สิกขาบทใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติไว้ สิกขาบทนั้น ชื่อว่า สาชีพ ภิกษุศึกษาในสาชีพนั้น เพราะ
เหตุนั้นจึงตรัสว่า ถึงพร้อมซึ่งสาชีพ.
[๒๙] คำว่า ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง
ทรงอธิบายไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขา
ไม่เป็นอันบอกคืนก็มี ภิกษุทั้งหลาย การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และ
สิกขาเป็นอันบอกคืนก็มี.
ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคือ [๑๖๐ บท]
[๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และ
สิกขาไม่เป็นอันบอกคืน เป็นอย่างไร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 402
กล่าวบอกคืนด้วยคำรำพึงว่าไฉนหนอ [๑๔]
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี
ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้า
เป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่
จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็น
สามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์
ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร
ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขา
ไม่เป็นอันบอกคืน.
๓. ...ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
๕. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
๖. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
๗. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 403
๘. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
๙. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
๑๐. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระลัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขา
ไม่เป็นอันบอกคืน
กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำรำพึงว่า ไฉนหนอ [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่
จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้า
พึงเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพล
ให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 404
๕. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
๖. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
๗. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
๘. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขา
ไม่เป็นอันขอคืน
กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัปป์ว่า ก็ถ้าว่า [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่
จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าข้าพึง
บอกคืนพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็น
ผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
๕. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
๖. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
๗. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 405
๘. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
๙. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
๑๐. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระลัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็น
อันบอกคืน.
กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัปป์ว่า ก็ถ้าว่า [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดีใคร่จะ
เคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึง
เป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพล
ให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 406
๕. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
๖. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
๗. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
๘. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาบท
ไม่เป็นอันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัปป์ว่า หากว่า [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่
จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความ
เป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้า
พึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็น
ผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
๕. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
๖. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
๗. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 407
๘. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
๙. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
๑๐. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระลัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายแม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็น
อันบอกคืน.
กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัปป์ว่า หากว่า [๘ บท]
๑. ก็อีประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะ
เคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึกอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้าพึง
เป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้อย่างอื่น ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพล
ให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 408
๕. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
๖. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
๗. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
๘. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่
เป็นอันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัปป์ว่า ผิว่า [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะ
เคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความ
เป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่า ข้าพเจ้าพึง
บอกคืนพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้
ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน
๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
๕. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
๖. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
๗. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
๘. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 409
๙. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
๑๐. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็น
อันบอกคืน.
กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัปป์ว่า ผิว่า [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะ
เคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึกอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็น
คฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง
และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
๕. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 410
๖. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
๗. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
๘. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็น
อันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัปป์ว่า มีความดำริ [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะ
เคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า
ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำ
ความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน
๒. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
๓. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
๔. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
๕. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
๖. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
๗. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
๘. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 411
๙. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
๑๐. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และ
สิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัปป์ว่า มีความดำริ [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะ
เคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามาเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า
ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความ
เป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
๓. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
๔. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ....
๕. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 412
๖. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
๗. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
๘. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระ-
ศากยบุตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้
แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
อ้างวัตถุที่รำลึก [๑๗ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะ
เคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงมารดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และ
สิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบิดา ...
๓. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่ชายน้องชาย ...
๔. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่หญิงน้องหญิง ...
๕. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบุตร ...
๖. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงธิดา ...
๗. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงภริยา ...
๘. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่ญาติ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 413
๙. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่มิตร ...
๑๐. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบ้าน ...
๑๑. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงนิคม ...
๑๒. ... ข้าเจ้าระลึกถึงนา ...
๑๓. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงสวน ...
๑๔. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงเงิน ...
๑๕. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงทอง ...
๑๖. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงศิลปะ ...
๑๗. ... ข้าพเจ้าหวนรำลึกถึงการหัวเราะ การเจรจา การเล่นใน
ครั้งก่อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง
และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
แสดงความห่วงใย [๙ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่
จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามาเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า มารดาของข้าพเจ้ามี
ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูท่าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความ
เป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 414
๒. ... บิดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูท่าน ...
๓. ... พี่ชายน้องชายของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
๔. ... พี่หญิงน้องหญิงของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
๕. ... บุตรของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
๖. ... ธิดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
๗. ... ภริยาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
๘. ... หมู่ญาติของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
๙. ... หมู่มิตรของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็น
อันบอกคืน
อ้างที่อยู่ที่อาศัย [๑๖ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่
จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า มารดาของข้าพเจ้ามี
ท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็น
ผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... บิดาของข้าพเจ้ามี ท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
๓. ... พี่ชายน้องชายของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
๔. ... พี่หญิงน้องหญิงของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 415
๕. ...บุตรของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า...
๖. ...ธิดาของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า...
๗. ...ภริยาของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า...
๘. ...หมู่ญาติของข้าพเจ้ามี พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า...
๙. ...หมู่มิตรของข้าพเจ้ามี พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า...
๑๐. ...บ้านของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยบ้านนั้น...
๑๑. ...นิคมของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยนิคมนั้น...
๑๒. ...นาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยนานั้น...
๑๓. ...สวนของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยสวนนั้น...
๑๔. ...เงินของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยเงินนั้น...
๑๕. ...ทองของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยทองนั้น...
๑๖. ...ศิลปของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้ด้วยศิลปนั้น...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขา
ไม่เป็นอันบอกคืน.
อ้างว่าพรหมจรรย์ทำได้ยาก [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่
จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่าพรหมจรรย์ทำได้ยาก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 416
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และ
สิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... พรหมจรรย์ทำไม่ได้ง่าย ...
๓. ... พรหมจรรย์ประพฤติได้ยาก ...
๔. ... พรหมจรรย์ประพฤติไม่ได้ง่าย ...
๕. ... ข้าพเจ้าไม่อาจ ...
๖. ... ข้าพเจ้าไม่สามารถ ...
๗. ... ข้าพเจ้าไม่ยินดี ...
๘. ... ข้าพเจ้าไม่ยินดียิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า
การทำความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
รวมลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน ๑๖๐ บท
ลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน [๗๘ บท]
กล่าวบอกคืนด้วยคำเป็นปัจจุบัน [๑๔ บท]
[๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การทำความเป็นทุรพลให้แจ้ง และ
สิกขาที่เป็นอันบอกคืนเป็นอย่างไร.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่
จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามาเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้
มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 417
พุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง
และสิกขาเป็นอันบอกคืน.
๒. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรม ...
๓. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ ...
๔. ... ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขา ...
๕. ... ข้าพเจ้าบอกคืนวินัย ...
๖. ... ข้าพเจ้าบอกคืนปาติโมกข์ ...
๗. ... ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศ ...
๘. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอุปัชฌายะ ....
๙. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอาจารย์ ...
๑๐. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำเป็นปัจจุบัน [๘ บท]
๑. อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่
จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 418
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ขอท่านจงจำข้าพเจ้า
ไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้
ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสก ...
๓. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอารามิก ...
๔. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสามเณร ...
๕. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นเดียรถีย์ ...
๖. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
๗. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
๘. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และ
สิกขาก็เป็นอันบอกคืน
กล่าวบอกคืนด้วยคำเป็นปัจจุบันว่าไม่เกี่ยวข้อง [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่
จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้
ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 419
๒. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระธรรม ...
๓. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระสงฆ์ ...
๔. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยสิกขา ...
๕. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยวินัย ...
๖. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยปาติโมกข์ ...
๗. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยอุเทศ ...
๘. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอุปัชฌายะ ...
๙. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอาจารย์ ...
๑๐. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระสัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ...ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็น
อันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำว่าจะต้องการอะไร [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่
จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 420
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าจะต้องการ
อะไรด้วยพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็น
ผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระธรรม ...
๓. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระสงฆ์ ...
๔. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยสิกขา ...
๕. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยวินัย ...
๖. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยปาติโมกข์ ...
๗. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยอุเทศ ...
๘. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอุปัชฌายะ ...
๙. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอาจารย์ ...
๑๐. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระสัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอัน
บอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำว่าไม่ต้องการ [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะ
เคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 421
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่ต้องการ
ด้วยพระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้
ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระธรรม ...
๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสงฆ์ ...
๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยสิกขา ...
๕. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยวินัย ...
๖. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยปาติโมกข์ ...
๗. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอุเทศ ...
๘. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอุปัชฌายะ ...
๙. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอาจารย์ ...
๑๐. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอัน
บอกคืน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 422
กล่าวบอกคืนด้วยคำว่าพ้นดีแล้ว [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะ
เคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็น
อารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา
ความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจาก
พระพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพล
ให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระธรรม ...
๓. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสงฆ์ ...
๔. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากสิกขา ...
๕. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากวินัย ...
๖. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากปาติโมกข์ ...
๗. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากอุเทศ ...
๘. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอุปัชฌายะ ...
๙. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอาจารย์ ...
๑๐. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 423
๑๔. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระเพื่อนพรหมจารี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาที่เป็นอันบอกคืน.
รวมลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน ๗๘ บท
ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ก็อีกอย่างหนึ่ง ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าก็ดี ไวพจน์แห่งพระธรรม
ก็ดี ไวพจน์แห่งพระสงฆ์ก็ดี ไวพจน์แห่งสิกขาก็ดี ไวพจน์แห่งวินัยก็ดี
ไวพจน์แห่งปาติโมกข์ก็ดี ไวพจน์แห่งอุเทศก็ดี ไวพจน์แห่งพระอุปัชฌายะก็ดี
ไวพจน์แห่งพระอาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระสัทธิวิหาริกก็ดี ไวพจน์แห่งพระ
อันเตวาสิกก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วมอุปัชฌายะก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วม
อาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระเพื่อนพรหมจารีก็ดี ไวพจน์แห่งคฤหัสถ์ก็ดี ไวพจน์
แห่งอุบาสกก็ดี ไวพจน์แห่งอารามิกก็ดี ไวพจน์แห่งสามเณรก็ดี ไวพจน์แห่ง
เดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งสาวกเดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่สมณะก็ดี
ไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตรก็ดี แม้อย่างอื่นใด มีอยู่ ภิกษุ
ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็นอาการ เป็นลักษณะ
เป็นนิมิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง
และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน
[๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขาไม่เป็นอันบอกคืนเป็นอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขา ย่อมเป็นอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ บอกคืน
ด้วยไวพจน์เหล่าใด อันเป็นอาการ เป็นเพศ เป็นนิมิต ภิกษุวิกลจริต บอกคืน
สิกขา ด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็นอาการ เป็นเพศ เป็นนิมิต สิกขา
ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 424
ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักภิกษุวิกลจริต สิกขา ย่อมไม่เป็นอัน
บอกคืน
ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน บอกคืนสิกขา สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุบอกคืนสิกขา ในสำนักภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน สิกขา ย่อมไม่เป็น
อันบอกคืน
ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา บอกคืนสิกขา สิกขา ย่อมไม่เป็น
อันบอกคืน
ภิกษุบอกคืนสิกขา ในสำนักภิกษุ ผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักเทวดา สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน สิกขา ย่อมไม่เป็นอัน
บอกคืน
ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติ
อริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติ
มิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติ
อริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติ
มิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวเล่น สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 425
ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวพลาด สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุไม่ประสงค์จะประกาศ แต่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขา ย่อมไม่เป็น
อันบอกคืน
ภิกษุประสงค์ประกาศ แต่ไม่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขา ย่อมไม่เป็น
อันบอกคืน
ภิกษุประกาศแก่ผู้ไม่เข้าใจความ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุไม่ประกาศแก่ผู้เข้าใจความ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ก็หรือภิกษุไม่ประกาศโดยประการทั้งปวง สิกขา ย่อมไม่เป็นอัน
บอกคืน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนด้วยเหตุอย่างนี้แล.
สิกขาบทวิภังค์
[๓๓] ที่ชื่อว่า เมถุนธรรม มีอธิบายว่า ธรรมของอสัตบุรุษ
ประเพณีของชาวบ้าน มรรยาทของคนชั้นต่ำ ธรรมอันชั่วหยาบ ธรรมอันมี
น้ำเป็นที่สุด กิจที่ควรซ่อนเร้น ธรรมอันคนเป็นคู่ ๆ พึงประพฤติร่วมกัน
นี้ชื่อว่า เมถุนธรรม.
[๓๔] ที่ชื่อว่า เสพ ความว่า ภิกษุใดสอดนิมิตเข้าไปทางนิมิต
สอดองค์กำเนิดเข้าไปทางองค์กำเนิด โดยที่สุดแม้ชั่วเมล็ดงา ภิกษุนั้นชื่อว่า
เสพ
[๓๕] คำว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ความว่า
ภิกษุเสพเมถุนธรรม แม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็น
เชื้อสายศากยบุตร จะกล่าวไยในหญิงมนุษย์ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 426
[๓๖] คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า บุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจ
มีสรีระคุมกันนั้นเป็นอยู่ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เสพเมถุนธรรม
แล้วย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า
เป็นปาราชิก.
[๓๗] บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่
กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน
นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า
หาสังวาสมิได้.
บทภาชนีย์ มรรคภาณวาร
[๓๘] หญิง ๓ จำพวก คือ มนุษย์ผู้หญิง ๑ อมนุษย์ผู้หญิง ๑
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ๑
อุภโตพยัญชนก ๓ จำพวก คือ มนุษย์อุภโตพยัญชนก ๑ อมนุษย์
อุภโตพยัญชนก ๑ สัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก ๑
บัณเฑาะก์ ๓ จำพวก คือ มนุษย์บัณเฑาะก์ ๑ อมนุษย์บัณเฑาะก์ ๑
สัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ ๑
ชาย ๓ จำพวก คือ มนุษย์ผู้ชาย ๑ อมนุษย์ผู้ชาย ๑ สัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ ๑
หญิง ๓ จำพวก มีมรรคพวกละ ๓ เป็น ๙
๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจวรรค ปัสสาวมรรค
มุขมรรค ของมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 427
๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค
มุขมรรค ของอมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.
๓. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค
มุขมรรค ของสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติปาราชิก.
อุภโตพยัญชนก ๓ จำพวก มีมรรคพวกละ ๓ เป็น ๙
๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค
มุขมรรค ของมนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.
๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค
มุขมรรค ของอมนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.
๓. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค
มุขมรรค ของสัตว์เดรัจฉานอุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก
บัณเฑาะก์ ๓ จำพวก มีมรรคพวกละ ๒ เป็น ๖
๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของ
มนุษย์บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.
๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของ
อมนุษย์บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.
๓. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของ
สัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.
ชาย ๓ จำพวก มีมรรคพวกละ ๒ เป็น ๖
๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของ
มนุษย์ผู้ชาย ต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 428
๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของ
อมนุษย์ผู้ชาย ต้องอาบัติปาราชิก.
๓. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของ
สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ ต้องอาบัติปาราชิก.
[๓๙] อาบัติปาราชิก ๓๐
๑. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในวัจจมรรคของ
มนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.
๒. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในปัสสาวมรรคของ
มนุษย์หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.
๓. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในมุขมรรคของ
มนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.
๔. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในวัจจมรรคของ
อมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.
๕. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในปัสสาวมรรคของ
อมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.
๖. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในมุขมรรคของ
อมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก.
๗. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในวัจจมรรคของ
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติปาราชิก.
๘. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในปัสสาวมรรคของ
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 429
๙. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในมุขมรรคของสัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๐. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในวัจจมรรคของ
มนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๑. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในปัสสาวมรรคของ
มนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๒. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในมุขมรรคของ
มนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๓. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในวัจจมรรคของ
อมนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๔. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าไปปัสสาวมรรคของ
อมนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๕. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในมุขมรรคของ
อมนุษย์อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๖. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในวัจจมรรคของ
สัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๗. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในปัสสาวมรรค
ของสัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๘. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในมุขมรรคของ
สัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๙. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในวัจจมรรคของ
มนุษย์บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 430
๒๐. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในมุขมรรคของ
มนุษย์บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๑. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในวัจจมรรคของ
อมนุษย์บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๒. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในมุกมรรคของ
อมนุษย์บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก
๒๓. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในวัจจมรรคของ
สัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๔. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในมุขมรรคของ
สัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๕. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในวัจจมรรคของ
มนุษย์ผู้ชาย ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๖. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในมุขมรรคของ
มนุษย์ผู้ชาย ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๗. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในวัจจมรรคของ
อมนุษย์ผู้ชาย ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๘. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในมุขมรรคของ
อมนุษย์ผู้ชาย ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๙. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในวัจจมรรคของ
สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ ต้องอาบัติปาราชิก.
๓๐. เมื่อเสวนจิตปรากฏ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในมุขมรรคของ
สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 431
บทภาชนีย์ อสันถตภาณวาร
๑. หมวดมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
๑. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [ทับ]
[๔๐] พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับ
องค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับ
องค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับ
องค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับ
องค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงแล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 432
๒. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อม
องค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อม
องค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อม
องค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อม
องค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อม
องค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๓ มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 433
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๔. มนุสสิตถี ชาครันตีจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 434
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๕. มนุสสิตถี ชาครันตีจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 435
๖. มนุสสิตถี ชาครันตีจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราขิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๗. มนุสสิตถี สุตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 436
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๘. มนุสสิตถี สุตตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงแล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 437
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงแล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๙. มนุสสิตถี สุตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 438
๑๐. มนุสสิตถี มัตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๑. มนุสสิตถี มัตตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 439
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๒. มนุสสิตถี มัตตะจตุกกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 440
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงแล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๓. มนุสสิตถี อุมมัตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 441
๑๔. มนุสสิตถี อุมมัตตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๕. มนุสสิตถี อุมมัตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 442
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๖. มนุสสิตถี ปมัตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 443
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๗. มนุสสิตถี ปมัตตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงเผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 444
๑๔. มนุสสิตถี ปมัตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๙. มนุสสิตถี มตะอักขายิตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 445
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒๐. มนุสสิตถี มตะอักขายิตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 446
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒๑. มนุสสิตถี มตะอักขายิตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 447
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์มาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๒. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้า
ไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 448
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก
ไม่ต้องอาบัติ.
๒๓. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอยินดี
การเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 449
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมายในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอน
ออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอน
ออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๔. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ-
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 450
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่
ต้องอาบัติ.
๒๕. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 451
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่
ต้องอาบัติ.
๒๖. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 452
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก
ไม่ต้องอาบัติ.
๒๗. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้ถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากกว่า
ในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 453
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ.
หมวดมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ จบ
๒ หมวดอมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
อมนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์ผู้หญิง...อมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น...
ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...
ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วย
วัจจมรรค...ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค...ให้อมองค์กำเนิดด้วย
ปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก...อมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก...ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดอมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะจบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 454
๓. หมวดติรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ
ติรัจฉานคติตถี สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย...สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
ผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา..ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์
กัด...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค...ให้อมองค์
กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ต้องอาบัติปาราชิก...สัตว์ดิรัจฉาน
ตัวเมียผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก...ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี...ไม่
ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดติรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ จบ
๔. หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
มนุสสะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์อุภโตพยัญชนก...มนุษย์อุภโต-
พยัญชนกผู้ตื่น..ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก มาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค...ให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก...ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก...มนุษย์
อุภโตพยัญชนกผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี...
ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 455
๕. หมวดอมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
อมนุสสะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์อุภโตพยัญชนก...*อมนุษย์อุภโต
พยัญชนกผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผุ้เผลอสติ..ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก มาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค... ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค...ให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก...อมนุษย์
อุภโตพยัญชนกผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก...ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี
ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดอมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ จบ
๖. หมวดติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
ติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก...สัตว์ดิรัจฉาน
อุภโตพยัญชนกผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตาย
แล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก มาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค... ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค...
* ที่ ...ฯลฯ ไว้นั้น ผู้ต้องการพิสดาร พึงพิจารณาโดยนัยดังกล่าวแล้วในมนสสิตถีนั้นเถิด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 456
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก...
สัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนกผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก...ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ จบ*
๗. หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
๑. มนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับ
องค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับ
องค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับ
องค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนการออก ต้องอาบัติปาราชิก.
* สุทธีกะ ๓ จตุกกะ ชาครันตี ๓ จตุกกะ
สุตตะ ๓ จตุกกะ มัตตะ ๓ จตุกกะ
อุมมัตตะ ๓ จตุกกะ ปมัตตะ ๓ จตุกกะ
มตอักขายิตะ ๓ จตุกกะ มตเยภุยยะอักขายิตะ ๓ จตุกกะ
มตเยภุยยะขายิตะ ๓ จตุกกะ ๓ + ๙ = ๒๙ จตุกกะ
มนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ อมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
ติรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ มนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
อมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ ติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
๒๒=๖=๑๖๒ จตุกกะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 457
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับ
องค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุแล้วให้ทับ
องค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้า ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒. มนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 458
๓. มนุสสะปัณฑกะ ชาครันตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๔. มนุสสะปัณฑกะ ชาครันตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 459
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๕. มนุสสะปัณฑกะ สุตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 460
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๖. มนุสสะปัณฑกะ สุตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 461
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๗. มนุสสะปัณฑกะ มัตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 462
๘. มนุสสะปัณฑกะ มัตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๙. มนุสสะปัณฑกะ อุมมัตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 463
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๐. มนุสสะปัณฑกะ อุมมัตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 464
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๑. มนุสสะปัณฑกะ ปมัตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 465
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๒. มนุสสะปัณฑกะ ปมัตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๓. มนุสสะปัณฑกะ มตะอักขายิตจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 466
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ.
๑๔. มนุสสะปัณฑกะ มตะอักขายิตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 467
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๕. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการ
เข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 468
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอน
ออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอน
ออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๖. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 469
ไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก
ไม่ต้องอาบัติ.
๑๗. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 470
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ.
๑๘. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 471
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๘. หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
๑. ๒. อมนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์บัณเฑาะก์ ... อมนุษย์บัณเฑาะก์
ผู้ตื่น... ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์
กัด... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
กำเนิดด้วยวัจจมรรค....ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...
ต้องอาบัติปาราชิก... ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ*
๑๗. ๑๘. อมนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับอมองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ให้อมองค์กำเนิด
ด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติถุลลัจจัย... ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ
* ...ฯลฯ ฯลฯ ไว้นั้น พึงพิจารณาโดยนัยดังกล่าวแล้วในมนสละปัณฑกะนั้นเถิด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 472
๙. หมวดติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
๑. ๒. ติรัจฉานคตะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์...สัตว์ดิรัจฉาน
บัณเฑาะก์ผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก มาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการ
เข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก...ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ...
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
๑๗. ๑๘. ดิรัจฉานคตะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ให้อมองค์
กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติถุลลัจจัย...ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
หมวดติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๑๐. หมวดมนุสสะปริสะ ๑๘ จตุกกะ
๑. ๒. มนุสสะปริสะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้ชาย... มนุษย์ผู้ชายผู้ตื่น... ผู้หลับ
...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 473
...ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก...
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
๑๗. ๑๘. มนุสสะปุริสะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้ชายผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป... ต้องอาบัติถุลลัจจัย... ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป...ไม่
ต้องอาบัติ.
หมวดมนุสสะปริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๑๑. หมวดอมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
๑. ๒. อมนุสสะปริสะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์ผู้ชาย...อมนุษย์ผู้ชายผู้ตื่น...
ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...
ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วย
วัจจมรรค...ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติ
ปาราชิก...ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
๑๗. ๑๘. อมนุสสะปริสะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์ผู้ชายผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ให้อมองค์กำเกนิด
ด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป..ต้องอาบัติถุลลัจจัย...ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
หมวดอมนุสสะปริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 474
๑๒. หมวดติรัจฉานคตะปุรสะ ๑๘ จตุกกะ
๑. ๒. ติรัจฉานคตะปุริสะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ผู้ตื่น
...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด
ด้วยวัจจมรรค...ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้อง
อาบัติปาราชิก...ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
๑๗. ๑๘. ติรัจฉานคตะปุริสะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ให้อมองค์กำเนิด
ด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติถุลลัจจัย...ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
หมวดติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ*
* สุทธิกะ ๒ จตุกกะ ชาครันตะ ๒ จตุกกะ
สุตตะ ๒ จตุกกะ มัตตะ ๒ จตุกกะ
อุมมัตตะ ๒ จตุกกะ ปมัตตะ ๒ จตุกกะ
มตะอักขายิตะ ๒ จตุกกะ มตะเยภุยยะอักขายิตะ ๒ จตุกกะ
มตะเยภุยยะขายิตะ ๒ จตุกกะ ๒ x ๙ = ๑๘ จตุกกะ
มนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ อมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
ติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ มนุสสะปริสะ ๑๘ จตุกกะ
อมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ ติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
๑๘ x ๖=๑๐๘ จตุกกะ ๑๖๒ + ๑๐๘=๒๗๐ จตุกกะแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 475
บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร
๑. หมวดมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
๑. มนุสสิตถีสุทธิกะจตุกกะ [ทับ]
[๔๑] พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุแล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องสาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุแล้วให้ทับองค์
กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับ
องค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 476
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด
๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับ
องค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับ
องค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อม
องค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 477
ของภิกษุก็มีเครื่องลาก ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด
๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อม
องค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาก
ของภิกษุก็มีเครื่องลาก ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อม
องค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อม
องค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาก ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด
๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่
แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 478
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อม
องค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๓. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของ
หญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 479
ก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้า
เธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่
ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๔. มนุสสิตถี ชาครันตีจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 480
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของผู้หญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่
แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 481
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๕. มนุสสิตถี ชาครันตีจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องสาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 482
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๖. มนุสสิตถี ชาครันตีจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 483
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 484
๗. มนุสสิตถีสุตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีกาเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 485
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๘. มนุสสิตถี สุตตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 486
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 487
๙. มนุสสิตถี สุตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 488
ภิกษุก็มีเครื่องสาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงหลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่
ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๐. มนุสสิตถี มัตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอน
ออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 489
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง-
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๑. มนุสสิตถี มัตตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 490
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 491
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๒. มนุสสิตถี มัตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นเข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาก ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 492
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่
ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๓. มนุสสิตถี อุมมัตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 493
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบิตปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาก ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 494
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๔. มนุสสิตถี อุมมัตตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบิตปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 495
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๕. มนุสสิตถี อุมมัตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด
๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 496
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด
๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิด.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด
๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด
๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่
แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด
๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่
ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 497
๑๖. มนุสสิตถี ปมัตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 498
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุด
อยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๗. มนุสสิตถี ปมัตตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
หญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 499
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 500
๑๘. มนุสสิตถี ปมัตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 501
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๙. มนุสสิตถี มตะอักขายิตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 502
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดึการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๐. มนุสสิตถี มตะอักขายิตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 503
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 504
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๓ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๑. มนุสสิตถี มตะอักขายิตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมอมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุ
ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 505
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาใน
สำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๒. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 506
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 507
เครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๓. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิง
ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 508
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิง
มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๔. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 509
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีกาถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 510
๒๕. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาก ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 511
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๖. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [คร่อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้า
ไปถีงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 512
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค คือของหญิงมี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๗. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 513
ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
หญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
หญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
หญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 514
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของหญิงมีเครื่องลาด ของ
ภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
หญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่มียินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
หมวดมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ จบ
๒. หมวดอมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
๑.๒.๓. อมนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์ผู้หญิง...อมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น...
ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...
ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วย
วัจจมรรค... ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค...ให้อมองค์กำเนิดด้วย
ปาก คือของอมนุษย์ผู้หญิงมีเครื่องลาด ... ถ้าเธอยินดีการเข้าไป..ต้องอาบัติ
ปาราชิก...อมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก...ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ๑
หมวดอมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 515
๓. หมวดติรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ
๑.๒.๓. ติรัจฉานคติตถี สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย...สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
ผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูก
สัตว์กัด...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค...ให้อมองค์
กำเนิดด้วยปาก คือของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียมีเครื่องลาด...ถ้าเธอยินดีการ
เข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก...สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดย
มาก...ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ. ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
หมวดติรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ จบ
๔. หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
๑.๒.๓. มนุสสะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์อุภโตพยัญชนก ...มนุษย์อุภโต-
พยัญชนก ผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก มาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค... ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค
...ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของมนุษย์อุภโตพยัญชนกมีเครื่องลาด...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 516
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก...มนุษย์อุภโตพยัญชนกผู้ตาย
แล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก...ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ จบ
๕. หมวดอมนุสสนะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
๑.๒.๓ อมนุสสะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์อุภโตพยัญชนก...อมนุษย์อุภโต-
พยัญชนกผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตาย
แล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก มาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค...
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของมนุษย์อุภโตพยัญชนกมีเครื่องลาด...ถ้า
เธอยินดีการเข้าไป... ต้องอาบัติปาราชิก... อมนุษย์อุภโตพยัญชนกผู้ตาย
แล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก... ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
หมวดอมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ จบ
๖. หมวดติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
๑.๒.๓. ติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์เดรัจฉานอุภโตพยัญชนก...สัตว์
ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนกผู้ตื่น...ผู้หลับ..ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...
ผู้เผลออสติ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 517
มาก มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ให้คร่อมองค์
กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค...ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของสัตว์ดิรัจฉาน
อุภโตพยัญชนกมีเครื่องลาด...ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก
...สัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนกผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก... ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ๑
หมวดติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ จบ๒
๗. หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
๑. มนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
๑. ที่...ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ไว้นั้น พึงทราบตามนัยดังกล่าวแล้วในมนุสสติถีนั้นเถิด.
๒. สุทธิกะ ๓ จตุกกะ ชาครันตี ๓ จตุกกะ
สุตตะ ๓ จตุกกะ มัตตะ ๓ จตุกกะ
อุมมัตตะ ๓ จตุกกะ ปมัตตะ ๓ จตุกกะ
มตะอักขายิตะ ๓ จตุกกะ มตะเยภุยยะอักขายิตะ ๓ จตุกกะ
มตะเยภุยยะขายิตะ ๓ จตุกกะ ๓ x ๙ = ๒๗ จตุกกะ
มนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ อมนุสสติถี ๒๗ จตุกกะ
ดิรัจฉานคติถี ๒๗ จตุกกะ มนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
อมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ ติรัจฉานคตะอภุโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
๒๗ X ๖=~๑๖๒ จตุกกะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 518
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงแล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้
ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 519
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒. มนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 520
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้
อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๓. มนุสสะปัณฑกะ ชาครันตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 521
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงแล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 522
๔. มนุสสะปัณฑกะ ชาครันตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 523
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๕. มนุสสะปัณฑกะ สุตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 524
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีกรหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีในการเข้าไป ไม่ยินดีในการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 525
๖. มนุสสะปัณฑกะ สุตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบิตปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 526
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๗. มนุสสะปัณฑกะ มัตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 527
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 528
๘. มนุสสะปัณฑกะ มัตตะ จตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 529
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้ว
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีกาถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๙. มนุสสะปัณฑกกะ อุมมัตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 530
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๐ มนุสสะปัณฑกะ อุมมัตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์เครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 531
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์ มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 532
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๑. มนุสสะปัณฑกะ ปมัตตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 533
ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๒. มนุสสะปัณฑกะ ปมัตตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 534
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ
แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 535
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๓. มนุสสะปัณฑกะ มตะอักขายิตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมี
เครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของ
บัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 536
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอน
ออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอน
ออก ไม่ต้องอาบัติ
๑๔. มนุสสะปัณฑกะ มตะอักขายิตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 537
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 538
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๕. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือ ของบัณเฑาะก์
ก็มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการ
เข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 539
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมาก มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่
ยินดีการเข้าไป...แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมาก มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่อง
ลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอ
ไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว...ยินดีการถอนออก ต้องอา-
บัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอน
ออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๖. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 540
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการ
เข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 541
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการ
ถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๗. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ทับ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 542
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของบัณเฑาะก์
มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 543
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการ
ถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๘. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [อม]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการ
เข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 544
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ๑
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการ
ถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 545
๘. หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
๑.๒. อมนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์บัณเฑาะก์...อมนุษย์บัณเฑาะก์
ผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูก
สัตว์กัด...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของอมนุษย์บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ๑...ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือ...ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...
ต้องอาบัติปาราชิก...ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
๑๗. ๑๘. อมนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดย
มากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรคคือ...ให้อมองค์
กำเนิดด้วยปาก คือ...ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติถุลลัจจัย...ถ้าเธอ
ไม่ยินดีการเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๙. หมวดติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
๑. ๒. ติรัจฉานคตะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์...สัตว์ดิรัจฉาน
บัณเฑาะก์ผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 546
ให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือของสัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑...ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือ...ถ้าเธอยินดี
การเข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก...ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
๑๗. ๑๘. ติรัจฉานคตะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัด
โดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือ...ให้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก คือ...ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติถุลลัจจัย.....
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
หมวดติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๑๐. หมวดมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
๑. ๒. มนุสสะปุริสะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้ชาย...มนุษย์ผู้ชายผู้ตื่น...ผู้หลับ
...ผู้เมา ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค
คือของมนุษย์ผู้ชายมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑...ให้อมองค์กำเนิด
ด้วยปาก คือ...ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก...ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 547
๑๗. ๑๘. มนุสสะปุริสะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้ชายผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือ...ให้อมองค์กำเนิด
ด้วยปาก คือ...ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติถุลลัจจัย...ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป... ไม่ต้องอาบัติ.
หมวดมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๑๑. หมวดอมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
๑. ๒. อมนุสสะปุริสะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์ผู้ชาย ...อมนุษย์ผู้ชายผู้ตื่น...
ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...
ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วย
วัจจมรรค คือของมนุษย์ผู้ชายมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑...
ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือ ...ถ้าเธอยินดีการเข้าไป... ต้องอาบัติปาราชิก
...ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
๑๗. ๑๘. อมนุสสะปุริสะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์ผู้ชายตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมา
ในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือ...ให้อมองค์กำเนิด
ด้วยปาก คือ...ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติถุลลัจจัย...ถ้าเธอไม่
ยินดีการเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ
หมวดอมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 548
๑๒. หมวดติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
๑. ๒. ติรัจฉานคตะปุริสะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้...สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ผู้ตื่น
...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด
ด้วยวัจจมรรค คือของสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑
...ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก คือ...ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติ
ปาราชิก...ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
๑๗. ๑๘. ติรัจฉานคตะปุริสะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัด โดยมาก
มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค คือ...ให้อมองค์กำเนิด
ด้วยปาก คือ...ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติถุลลัจจัย ...ถ้าเธอ
ไม่ยินดีการเข้าไป...ไม่ต้องอาบัติ.
หมวดติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ*
*แม้ในประเภทแห่งสันถตจตุกกะ ก็มีนัยดังกล่าวแล้วในอสันถตจตุกกะนั้นแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 549
บทภาชนีย์ อสันถตภาณวาร
๑. หมวดมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
๑. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [ยอนวัจ]
[๔๒] พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงแล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
วัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
วัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
วัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
วัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 550
๒. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๓. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 551
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๔ มนุสสิตถี ชาครันตีจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นแล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นแล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นแล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 552
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นแล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นแล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๕. มนุสสิตถี ชาครันตีจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นแล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นแล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นแล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นแล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นแล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 553
๖. มนุสสิตถี ชาครันตีจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นแล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นแล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นแล้ว ให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงแล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๗. มนุสสิตถี สุตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 554
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๘. มนุสสิตถี สุตตะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 555
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๙. มนุสสิตถี สุตตุจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 556
๑๐. มนุสสิตถี มัตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๑. มนุสสิตถี มัตตะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 557
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๒. มนุสสิตถี มัตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีกาเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 558
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๓. มนุสสิตถี อุมมัตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 559
๑๔. มนุสสิตถี อุมมัตตะจตุกกะ (ยอนปัส)
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๕. มนุสสิตถี อุมมัตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 560
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๖. มนุสสิตถี ปมัตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 561
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๗. มนุสสิตถี ปมัตตะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 562
๑๘. มนุสสิตถี ปมัตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๙. มนุสสิตถี มตะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 563
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒๐. มนุสสิตถี มตะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 564
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒๑. มนุสสิตถี มตะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 565
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๒. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการ
เข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 566
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอน
ออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอน
ออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๓. มนุสสิตถี มาตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดี
การเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีกาหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 567
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอน
ออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอน
ออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๔. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 568
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยัง
ไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒๕. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผุ้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 569
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ.
๒๖. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยินปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 570
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก
ไม่ต้องอาบัติ.
๒๗. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 571
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ.
หมวดอมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ จบ
๒. หมวดอมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
อมนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักอมนุษย์ผู้หญิง...อมนุษย์
ผู้หญิงผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตาย
แล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอน
วัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ...ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ...ให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ...ต้องอาบัติปาราชิก
...อมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก... ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่
ยินดี... ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ.
หมวดอมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ จบ
๓. หมวดติรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ
ติรัจฉานคติตถี สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ...สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมียผู้ตื่น ...ผู้หลับ ...ผู้เมา ...ผู้วิกลจริต ...ผู้เผลอสติ
...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 572
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ...ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ...ให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ... ต้องอาบัติปาราชิก...
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก... ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้า
ไม่ยินดี... ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ.
หมวดติรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ จบ
๔. หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
มนุสสะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์อุภโตพยัญชนก...
มนุษย์อุภโตพยัญชนกผู้ตื่น ...ผู้หลับ ...ผู้เมา ...ผู้วิกลจริต ...ผู้เผลอสติ
...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ...ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด...ให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป... ต้องอาบัติปาราชิก...
มนุษย์อุภโตพยัญชนกผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก ... ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ถ้าไม่ยินดี... ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ จบ
๕. หมวดอมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
อมนุสสะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักอมนุษย์อุภโตพยัญชนก
...อมนุษย์อุภโตพยัญชนกผู้ตื่น ...ผู้หลับ ...ผู้เมา ...ผู้วิกลจริต ...ผู้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 573
เผลอสติ ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด... ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอ
ยินดีการเข้าไป... ต้องอาบัติปาราชิก... อมนุษย์อุภโตพยัญชนกผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก... ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี... ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ.
หมวดอมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ จบ
๖. หมวดติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
ติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักสัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก
...สัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนกผู้ตื่น ...ผู้หลับ ...ผู้เมา ...ผู้วิกลจริต
...ผู้เผลอสติ ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด
โดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด... ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วย
องค์กำเนิด...ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป... ต้อง
อาบัติปาราชิก ...สัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดย
มาก... ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี... ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ จบ
๑. ที่...ฯลฯ ไว้นั้น ผู้ต้องการพิสดารพึงพิจารณาโดยนัยดังกล่าวแล้วในมนุสสิตถีนั้นเถิด.
๒. มนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ อมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
ดิรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ มนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
อมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ ติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
๒๗ x ๖ = ๑๖๒ จตุกกะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 574
๗. หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
๑. มนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ
๒. มนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 575
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๓ . มนุสสะปัณฑกะ ชาครันตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนอก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีกรหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 576
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๔. มนุสสะปัณฑกะ ชาครันตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 577
๕. มนุสสะปัณฑกะ สุตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนอก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๖. มนุสสะปัณฑกะ สุตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 578
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๗. มนุสสะปัณฑกะ มัตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 579
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๘. มนุสสะปัณฑกะ มัตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 580
๙. มนุสสะปัณฑกะ อุมมัตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๐.มนุสสะปัณฑกะ อุมมัตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 581
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๑. มนุสสะปัณฑกะ ปมัตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 582
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๒ . มนุสสะปัณฑกะ ปมัตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๓. มนุสสะปัณฑกะ มตะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 583
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยกำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้ามาถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่
ต้องอาบัติ.
๑๔. มนุสสะปัณฑกะ มตะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 584
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ.
๑๕. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดี
การเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 585
การเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดี
การเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการ
ถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๖. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 586
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้า
ไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก
ไม่ต้องอาบัติ.
๑๗. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 587
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก
ไม่ต้องอาบัติ.
๑๘. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 588
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ.
หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๘. หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
อมนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์...อมนุษย์
บัณเฑาะก์ผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด...ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ... ฯลฯ
หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๙. หมวดติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
ติรัจฉานคตะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักสัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์...
สัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ
...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดติรัจฉานคตปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 589
๑๐. หมวดอมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
มนุสสะปุริสะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้ชาย...มนุษย์ผู้ชาย
ผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูก
สัตว์กัด...ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ๓
หมวดมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๑๑. หมวดอมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
อมนุสสะปุริสะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักอมนุษย์ผู้ชาย...อมนุษย์
ผู้ชายผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด...ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ๔
หมวดอมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๑๒. หมวดติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
ติรัจฉานคตะปุริสะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ ...สัตว์
ดิรัจฉานตัวผู้ผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตาย
แล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ๕
หมวดติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๑.๒.๓.๔.๕. แต่ละประเภท มี ๑๘ จตุกกะ กับ ๑๘ จตุกกะต้น รวมเป็น ๑๐๘ จตุกกะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 590
บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร
๑. หมวดมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
๑. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [ยอนวัจ]
[๔๓] พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุผู้มีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอน
ออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน-
วัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิง ไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 591
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 592
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 593
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๓. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิง
ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอ
ยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิง
ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอ
ไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิง
ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอ
ไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 594
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิง
ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอ
ไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๔. มนุสสิตถี ชาครันจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 595
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของหญิงมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการ
หยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 596
๕. มนุสสิตถี ชาครันตีจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของหญิงมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของหญิงมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 597
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการ
หยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๖. มนุสสิตถี ชาครันตีจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 598
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๗. มนุสสิตถี สุตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 599
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุด
อยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 600
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิง
ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๘. มนุสสิตถี สุตตะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 601
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๙. มนุสสิตถี สุตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 602
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออกก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้หลับ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 603
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๐. มนุสสิตถี มัตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 604
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๑. มนุสสิตถี มัตตะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 605
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 606
๑๒. มนุสสิตถี มัตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงแล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 607
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เมา แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๓. มนุสสิตถี อุมมัตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พาภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่มียินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 608
ภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๔. มนุสสิตถี อุมมัตตะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 609
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงวิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 610
๑๕. มนุสสิตถี อุมมัตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด
๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอน
ออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำหนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 611
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้วิกลจริต แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๖. มนุสสิตถี ปมัตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 612
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๗. มนุสสิตถี ปมัตตะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 613
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 614
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๘. มนุสสิตถี ปมัตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปาดด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 615
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑
ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๙. มนุสสิตถี มตะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
หญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 616
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องสาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
หญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 617
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๐. มนุสสิตถี มตะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 618
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักภิกษุผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของหญิงมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๑. มนุสสิตถี มตะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิง
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิง
ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิง
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 619
มีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิง
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิง
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิง
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มาเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงก็
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 620
๒๒. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 621
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๓. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 622
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มี
เครื่องลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๔. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 623
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 624
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาก
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๕. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกุ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตาย แล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงไม่มีเครื่อง ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุก็มีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตาย แล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 625
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตาย แล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๖. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ยอนปัส]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 626
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่อง
ลาด ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 627
ลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๗. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู่ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 628
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
หญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
หญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
หมวดมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ จบ
๒. หมวดอมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
อมนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักอมนุษย์ผู้หญิง... อมนุษย์
ผู้หญิงผู้ตื่น ...ผู้หลับ ...ผู้เมา ...ผู้วิกลจริต ...ผู้เผลอสติ ...ผู้ตาย
แล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจ-
มรรคด้วยองค์กำเนิด ...ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ...ให้ยอนปาก
ด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป... ต้องอาบัติปาราชิก ...ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก... ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี ... ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดอมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะจบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 629
๓. หมวดติรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ
ติรัจฉานคติตถี สุทธิกะจตุกกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย ...สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมียผู้ตื่น ...ผู้หลับ ...ผู้เมา ...ผู้วิกลจริต ...ผู้เผลอสติ
...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ...ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด ...ให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้ไป... ต้องอาบัติปาราชิก...ผู้ตาย
แล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก... ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี... ไม่ต้องอาบัติ.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
๔. หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
มนุสสะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์อุภโตพยัญชนก..
มนุษย์อุภโตพยัญชนกผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...
ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอน
วัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด..ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด...ให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก...ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก...ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 630
๕. หมวดอมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
อมนุสสะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักอมนุษย์อุภโตพยัญชนก...
อมนุษย์อุภโตพยัญชนกผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ
...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด...ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด...ให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก...ผู้ตาย
แล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก...ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดอมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ จบ
๖. หมวดติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
ติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักสัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก
...สัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนกผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...
ผู้เผลอสติ...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด..ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด...ให้ยอนปัสสาวมรรคด้วยองค์กำเนิด
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก..ผู้ตาย
แล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก...ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดี...ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ จบ*
* ๒๗ x ๖ = ๑๖๒ พึงทราบความพิสดารดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 631
๗. หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
๑. มนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์แล้วให้ยอน
วัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์แล้วให้ยอน
วัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์แล้วให้ยอน
วัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 632
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒. มนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์แล้วให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 633
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ แล้วให้
ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์แล้วให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์แล้วให้ยอน
ปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
การหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๓.มนุสสะปัณฑกะ ชาครันตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 634
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 635
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๔. มนุสสะปัณฑกะ ชาครันตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้ไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 636
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๕. มนุสสะปัณฑกะ สุตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 637
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 638
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๖. มนุสสะปัณฑกะ สุตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 639
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับ แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๗. มนุสสะปัณฑกะ มัตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีกรเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 640
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 641
๘. มนุสสะ ปัณฑกะ มัตตะ จตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของหญิงมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 642
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมา แล้ว
ให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่อง
ลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๙. มนุสสะปัณฑกะ อุมมัตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่อง
ลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการ
เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 643
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้ให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๐. มนุสสะปัณฑกะ อุมมัตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 644
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุก็มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 645
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริต
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๑. มนุสสะปัณฑกะ ปมัตตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 646
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์
ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ
๑๒. มนุสสะปัณฑกะ ปมัตตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 647
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของ
ภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไป
ถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติ
แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของหญิงมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 648
บัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึง
ที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๑๓. มนุสสะปัณฑกะ มตะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 649
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนอก ไม่ต้อง
อาบัติ.
๑๔. มนุสสะปัณฑกะ มตะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือ ของหญิงมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 650
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 651
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัด แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ.
๑๕. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 652
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก
ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 653
๑๖. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการ
เข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 654
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติปาราชิก.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก
ไม่ต้องอาบัติ.
๑๗. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ยอนวัจ]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการ
เข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 655
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 656
เครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของ
บัณเฑาะก์มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการ
เข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก
๑๘. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดี
การเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 657
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้ว
ถูกสัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือ ของภิกษุมีเครื่องลาด
ของบัณเฑาะก์ไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์มี
เครื่องลาด ๑ ของภิกษุมีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุ
ไม่มีเครื่องลาด ของบัณเฑาะก์ก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป
ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้อง
อาบัติ
หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 658
๘. หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
อมนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักอมนุษย์บัณเฑาะก์...
อมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น... ผู้หลับ... ผู้เมา... ผู้วิกลจริต... ผู้เผลอสติ...
ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด... ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก... ต้องอาบัติปาราชิก...
ถูกสัตว์กัดโดยมาก... ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๙. หมวดติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
ติรัจฉานคตะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักสัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์...
สัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ผู้ตื่น... ผู้หลับ... ผู้เมา... ผู้วิกลจริต... ผู้เผลอสติ
...ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด... ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก... ต้องอาบัติปารา-
ชิก... ถูกสัตว์กัดโดยมาก... ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๑๐. หมวดมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
มนุสสะปุริสะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้ชาย...มนุษย์ผู้ชาย
ผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา... ผู้วิกลจริต... ผู้เผลอสติ... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูก
สัตว์กัด...ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก...ต้องอาบัติปาราชิก...ถูกสัตว์กัดโดย
มาก...ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 659
๑๑. หมวดอมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
อมนุสสะปุริสะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักอมนุษย์ผู้ชาย...อมนุษย์
ผู้ชายผู้ตื่น... ผู้หลับ... ผู้เมา... ผู้วิกลจริต... ผู้เผลอจริต... ผู้ตายแล้วยังไม่
ถูกสัตว์กัด... ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก...ต้องอาบัติปาราชิก...ถูกสัตว์กัด
โดยมาก... ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดอมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ
๑๒. หมวดติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
ติรัจฉานคตะปุริสะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้...สัตว์
ดิรัจฉานตัวผู้ผู้ตื่น...ผู้หลับ...ผู้เมา...ผู้วิกลจริต...ผู้เผลอสติ...ผู้ตาย
แล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด...ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก...ต้องอาบัติปาราชิก...
ถูกสัตว์กัดโดยมาก...ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ ฯลฯ
หมวดติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ๑
[๔๔] พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก เราให้พิสดารแล้วฉันใด พวกพระราชา
ผู้เป็นข้าศึก พวกโจรผู้เป็นข้าศึก พวกนักเลงผู้เป็นข้าศึก พวกมนุษย์ผู้ตัดหัวใจ
ผู้เป็นข้าศึก บัณฑิตพึงให้พิสดารฉันนั้น.
[๔๕] ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้ามรรคทางมรรค ต้องอาบัติปาราชิก
๒สอดองค์กำเนิดเข้ามรรคทางมรรค ต้องอาบัติปาราชิก
๓สอดองค์กำเนิดเข้ามรรคทางอมรรค ต้องอาบัติปาราชิก
๑.ความพิสดาร พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในเบื้องต้น
๒. ยังองค์กำเนิดให้เข้าไปทางปัสสาวมรรคเป็นต้น แล้วถอนออกทางแผลใกล้ต่อมรรคนั้น
๓. ยังองค์กำเนิดให้เข้าทางแผลใกล้ต่อมรรคแล้วถอนออกทางมรรค.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 660
สอดองค์กำเนิดเข้าอมรรคทางอมรรค ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
[๔๖] ภิกษุปฏิบัติผิดในภิกษุผู้หลับ เธอตื่นขึ้นแล้วยินดี พระวินัยธร
พึงนาสนะเสียทั้งสองรูป เธอตื่นขึ้นแล้วไม่ยินดี พระวินัยธรพึงนาสนะภิกษุผู้
ประทุษร้าย
ภิกษุปฏิบัติผิดในสามเณรผู้หลับ เธอตื่นขึ้นแล้วยินดี พระวินัยธรพึง
นาสนะเสียทั้งสองรูป เธอตื่นขึ้นแล้วไม่ยินดี พระวินัยธรพึงนาสนะภิกษุผู้
ประทุษร้าย
สามเณรปฏิบัติผิดในภิกษุผู้หลับ เธอตื่นขึ้นแล้วยินดี พระวินัยธร
พึงนาสนะเสียทั้งสองรูป เธอตื่นขึ้นแล้วไม่ยินดี พระวินัยธรพึงนาสนะสามเณร
ผู้ประทุษร้าย
สามเณรปฏิบัติผิดในสามเณรผู้หลับ เธอตื่นขึ้นแล้วยินดี พระวินัยธร
พึงนาสนะเสียทั้งสองรูป เธอตื่นขึ้นแล้วไม่ยินดี พระวินัยพึงนาสนะสามเณร
ผู้ประทุษร้าย.
อนาปัตติวาร
[๔๗] ภิกษุไม่รู้สึกตัว ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๑
ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ เหล่านี้ ไม่ต้อง
อาบัติ
สันถตภาณวาร จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 661
วินีตวัตถุ ในปฐมปาราชิกกัณฑ์
อุทานคาถา
[๔๘] เรื่องลิงตัวเมีย ๑ เรื่อง เรื่อง
ภิกษุวัชชีบุตร ๑ เรื่อง เรื่องปลอมเป็น
คฤหัสถ์ ๑ เรื่อง เรื่องเปลือยกาย ๑ เรื่อง
เรื่องปลอมเป็นเดียรถีย์ ๗ เรื่อง เรื่องเด็ก
หญิง ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุณีชื่ออุปปลวัณณา ๑
เรื่อง เรื่องเพศกลับ ๒ เรื่อง เรื่องมารดา ๑
เรื่อง เรื่องธิดา ๑ เรื่อง เรื่องพี่น้องหญิง ๑
เรื่อง เรื่องภรรยา ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุมีหลัง
อ่อน ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุมีองค์กำเนิดยาว ๑
เรื่อง เรื่องแผล ๒ เรื่อง เรื่องรูปปั้น ๑ เรื่อง
เรื่องตุ๊กตาไม้ ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชื่อสุนทระ
๑ เรื่อง เรื่องสตรี ๔ เรื่อง เรื่องป่าช้า ๕ เรื่อง
เรื่องกระดูก ๑ เรื่อง เรื่องนาคตัวเมีย ๑ เรื่อง
เรื่องนางยักษิณี ๑ เรื่อง เรื่องหญิงเปรต ๑
เรื่อง เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุมี
อินทรีย์พิการ ๑ เรื่อง เรื่องจับต้อง ๑ เรื่อง
เรื่องพระอรหันต์เมืองภัททิยะหลับ ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุเมืองสาวัตถี ๔ เรื่อง เรื่องภิกษุชาว
มัลละเมืองเวสาลี ๓ เรื่อง เรื่องเปิดประตู
นอน ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะ
ฝัน ๑ เรื่อง เรื่องอุบาสิกาชื่อสุปัพพา ๙ เรื่อง
เรื่องอุบาสิกาชื่อสัทธา ๙ เรื่อง เรื่องภิกษุณี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 662
๑ เรื่อง เรื่องสิกขมานา ๑ เรื่อง เรื่องสาม
เณรี ๑ เรื่อง เรื่องหญิงแพศยา ๑ เรื่อง เรื่อง
บัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง เรื่องสตรีคฤหัสถ์ ๑ เรื่อง
เรื่องให้ผลัดกัน ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุผู้เฒ่า ๑
เรื่อง เรื่องลูกเนื้อ ๑ เรื่อง.
เรื่องลิงตัวเมีย
[๔๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมีย
แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องภิกษุวัชชีบุตร
[๕๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีหลายรูปด้วย
กัน ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม
พวกเธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่องปลอมเป็นคฤหัสถ์
[๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วย
วิธีอย่างนี้ แล้วปลอมเป็นคฤหัสถ์เสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 663
เรื่องเปลือยกาย
[๕๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วย
วิธีอย่างนี้ แล้วเปลือยกายเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องปลอมเป็นเดียรถีย์ ๗ เรื่อง
[๕๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติ
ด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่งคากรองเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธี
อย่างนี้ แล้วนุ่งเปลือกไม้กรองเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธี
อย่างนี้ แล้วนุ่งผลไม้กรองเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 664
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่าเราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธี
อย่างนี้ แล้วนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยเส้นผมเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจ
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธี
อย่างนี้ แล้วนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยขนหางสัตว์เสพเมถุนธรรม เธอได้มีความ
รังเกียจว่า พระผู้มีพรภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธี
อย่างนี้ แล้วนุ่งผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธี
อย่างนี้ แล้วนุ่งหนังสือเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว.
เรื่องเด็กหญิง
[๕๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง
เห็นเด็กหญิงนอนอยู่บนตั่ง เกิดความกำหนัด จึงสอดนิ้วแม่มือเข้าไปในองค์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 665
กำเนิดเด็กหญิง ๆ นั้นตาย เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
เรื่องภิกษุณีชื่ออุปปลวัณณา
[๕๕] ก็โดยสมัยนั้นแล มาณพคนหนึ่งมีจิตปฏิพัทธ์ในภิกษุณี ชื่อ
อุปปลวัณณา เมื่อภิกษุณีอุปปลวัณณา เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต จึงเข้าไป
ซ่อนอยู่ในกุฎี เวลาปัจฉาภัตรภิกษุณีอุปปลวัณณากลับจากบิณฑบาต ล้างเท้า
แล้วเข้ากุฎีนั่งบนเตียง มาณพนั้นจึงเข้าปลุกปล้ำประทุษร้ายภิกษุณีอุปปลวัณณา
นางจึงแจ้งเหตุนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ๆ ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี
ผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องเพศกลับ ๒ เรื่อง
[๕๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล เพศหญิงปรากฏแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตอุปัชฌาย์เดิมนั้นแหละ อุปสมบทเดิมนั้นแหละ พรรษาก็เหล่านั้น
และให้อยู่ร่วมกับภิกษุณีทั้งหลาย อาบัติเหล่าใดของภิกษุทั้งหลายที่ทั่วไปกับ
ภิกษุณีทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปลงอาบัติเหล่านั้นในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย
อาบัติเหล่าใดของภิกษุทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณีทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ
เพราะอาบัติเหล่านั้น.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล เพศชายปรากฏแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 666
อนุญาตอุปัชฌาย์เดิมนั้นแหละ อุปสมบทเดิมนั้นแหละ พรรษาก็เหล่านั้น
และให้อยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย อาบัติเหล่าใดของภิกษุณีทั้งหลายที่ทั่วไปกับ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปลงอาบัติเหล่านั้น ในสำนักภิกษุทั้งหลาย อาบัติ
เหล่าใดของภิกษุณีทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติเพราะ
อาบัติเหล่านั้น.
เรื่องมารดา
[๕๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วย
วิธีอย่างนี้ แล้วเสพเมถุนธรรมในมารดา เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องธิดา
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้
แล้วเสพเมถุนธรรมในธิดา เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว.
เรื่องพี่น้องหญิง
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้
แล้วเสพเมถุนธรรมในพี่น้องหญิง เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 667
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว.
เรื่องภรรยา
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในภรรยาเก่า เธอได้มี
ความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องภิกษุมีหลังอ่อน
[๕๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีหลังอ่อน เธอถูกความกระสัน
บีบคั้นแล้ว ได้อมองค์กำเนิดของตนด้วยปาก เธอได้มีความรังเกียจว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องภิกษุมีองค์กำเนิดยาว
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีองค์กำเนิดยาว เธอถูกความกระสัน
บีบคั้นแล้ว ได้สอดองค์กำเนิดของตนเข้าสู่วัจจมรรคของตน เธอได้มีความ
รังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องแผล ๒ เรื่อง
[๕๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้พบศพ และที่ศพนั้นมี
แผลอยู่ใกล้องค์กำเนิด ภิกษุนั้นคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ จึง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 668
สอดองค์กำเนิดของตนเข้าในองค์กำเนิดของศพ แล้วถอนออกทางแผล เธอ
ได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้พบศพ และที่ศพนั้นมีแผลอยู่
ใกล้องค์กำเนิด ภิกษุนั้นคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ จึงสอดองค์
กำเนิดของตนเข้าในแผล แล้วถอนออกทางองค์กำเนิดของศพ เธอได้มีความ
รังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องรูปปั้น
[๖๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้ถูกต้องนิมิต
แห่งรูปปั้นด้วยองค์กำเนิด เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องตุ๊กตาไม้
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้ถูกต้องนิมิตแห่ง
ตุ๊กตาไม้ด้วยองค์กำเนิด เธอได้ความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 669
เรื่องภิกษุชื่อสุนทระ
[๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุชื่อสุนทระ บวชจากกรุงราชคฤห์ แล้ว
เดินไปตามถนน สตรีผู้หนึ่งเห็นท่านแล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า นิมนต์หยุด
ประเดี๋ยวก่อน ดิฉันจักไหว้ นางไหว้พลางเลิกผ้าอันตรวาสกขึ้นแล้ว ได้อม
องค์กำเนิดด้วยปาก เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า เธอยินดีหรือ.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องสตรี ๔ เรื่อง
[๖๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า
ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด.
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
สตรีนั้นแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ดิฉันจักพยายามเอง ท่าน
ไม่ต้องพยายาม โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน.
ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่าน
เจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 670
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
สตรีนั้นแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามเอง ดิฉัน
จักไม่พยายาม โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน.
ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่าน
เจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด.
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร.
สตรีนั้นแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามภายใน แล้ว
ปล่อยสุกกะภายนอก โดยวิธีอาบัติจักไม่มีแก่ท่าน.
ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่าน
เจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด.
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
สตรีนั้นแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเข้าค่ะ ท่านจงพยายามภายนอก แล้ว
ปล่อยสุกกะภายใน โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 671
ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว.
เรื่องป่าช้า ๕ เรื่อง
[๖๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งในป่าช้า เห็นศพซึ่งยังไม่
ถูกสัตว์กัด ได้เสพเมถุนธรรมในศพนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิก.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งยังไม่ถูกสัตว์
กัดโดยมาก ได้เสพเมถุนธรรมในศพนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งถูกสัตว์กัด
โดยมาก ได้เสพเมถุนธรรมในศพนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งมีศีรษะขาด
ได้สอดองค์กำเนิดเข้าไปกระทบในปากที่อ้า แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 672
พระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งมีศีรษะขาด
ได้สอดองค์กำเนิดเข้าไปในปากที่อ้า ไม่ให้กระทบ แล้วมีความรังเกียจว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องกระดูก
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีจิตปฏิพัทธ์ในสตรีผู้หนึ่ง สตรีนั้น
ถึงแก่กรรมแล้ว เขาทิ้งไว้ในป่าช้า กระดูกเกลื่อนกลาด ภายหลังภิกษุนั้นไป
ป่าช้าเก็บกระดูกคุมกันเข้าแล้ว จดองค์กำเนิดลงที่นิมิต เธอได้มีความรังเกียจ
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องนาคตัวเมีย
[๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในนาคตัวเมีย
แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 673
เรื่องนางยักษิณี
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในนางยักษิณี แล้วมี
ความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องหญิงเปรต
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในหญิงเปรต แล้วมี
ความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องบัณเฑาะก์
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในบัณเฑาะก์ แล้วมี
ความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องภิกษุมีอินทรีย์พิการ
[๖๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีอินทรีย์พิการ เธอคิดว่า
เราไม่รู้สึกสุขหรือทุกข์ อาบัติจักไม่มีแก่เรา จึงเสพเมถุนธรรม แล้วมีความ
รังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้น
รู้สึกก็ตาม ไม่รู้สึกก็ตาม ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 674
เรื่องจับต้อง
[๖๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักเสพเมถุนธรรม
ในสตรี ครั้นจับต้องตัวเข้าเท่านั้น ก็เกิดความกินแหนง เธอได้มีความ
รังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องพระอรหันต์เมืองภัททิยะจำวัดหลับ
[๖๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ในที่พักกลางวันในป่า
ชาติยาวัน แขวงเมืองภัททิยะ จำวัดหลับอยู่ อวัยวะใหญ่น้อยของภิกษุนั้นถูก
ลมรำเพยให้ตึงตัว สตรีผู้หนึ่งพบเข้าแล้วได้นั่งคร่อมองค์กำเนิด กระทำการ
พอแก่ความประสงค์แล้วหลีกไป ภิกษุเห็นองค์กำเนิดเปรอะเปื้อน จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิด
เป็นอวัยวะใช้การได้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ กำหนัด ๑ ปวดอุจจาระ ๑
ปวดปัสสาวะ ๑ ถูกลมรำเพย ๑ ถูกบุ้งขน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิด
เป็นอวัยวะใช้การได้ ด้วยอาการ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิด
ของภิกษุนั้น พึงเป็นอวัยวะใช้การได้ ด้วยความกำหนัดใด ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะ
ไม่ใช่โอกาส เพราะภิกษุนั้นเป็นอรหันต์ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องภิกษุเมืองสาวัตถี ๔ เรื่อง
[๖๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ในที่พักกลางวันใน
ป่าอันธวัน แขวงเมืองสาวัตถี จำวัดหลับอยู่ สตรีเลี้ยงโคคนหนึ่งพบเข้า จึง
นั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นยินดีกิริยาที่เข้าไป ยินดีกิริยาที่เข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีกิริยาที่หยุดอยู่ ยินดีกิริยาที่ถอนออก แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 675
พระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวันในป่าอันธวัน
แขวงเมืองสาวัตถี จำวัดหลับอยู่ สตรีเลี้ยงแพะคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อม
องค์กำเนิด ภิกษุนั้นยินดีกิริยาที่เข้าไป ยินดีกิริยาที่เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
กิริยาที่หยุดอยู่ ยินดีกิริยาที่ถอนออก แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่าอันธวัน
แขวงเมืองสาวัตถี จำวัดหลับอยู่ สตรีหาฟืนคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์
กำเนิด ภิกษุนั้นยินดีกิริยาที่เข้าไป ยินดีกิริยาที่เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีกิริยาที่
หยุดอยู่ ยินดีกิริยาที่ถอนออก แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่าอันธวัน
แขวงเมืองสาวัตถี จำวัดหลับอยู่ สตรีขนโคมัยคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อม
องค์กำเนิด ภิกษุนั้นยินดีกิริยาที่เข้าไป ยินดีกิริยาที่เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีกิริยา
ที่หยุดอยู่ ยินดีกิริยาที่ถอนออก แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 676
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว.
เรื่องภิกษุชาวมัลละเมืองเวสาลี ๓ เรื่อง
[๖๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่า
มหาวัน แขวงเมืองเวสาลี จำวัดหลับอยู่ สตรีคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อม
องค์กำเนิด กระทำการพอแก่ความประสงค์ แล้วยืนหัวเราะอยู่ใกล้ ๆ ภิกษุนั้น
ตื่นขึ้นแล้วได้ถามสตรีนั้นว่า นี่เป็นการกระทำของเธอหรือ
สตรีนั้นตอบว่า เจ้าค่ะ เป็นการกระทำของดิฉัน
ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอรู้สึกตัวหรือ
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้สึกตัว พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่รู้สึกตัว ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่ามหาวัน
แขวงเมืองเวสาลี จำวัดหลับพิงต้นไม้อยู่ สตรีคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อม
องค์กำเนิด ภิกษุนั้นรีบลุกขึ้นทันที แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอยินดีหรือ
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 677
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่ามหาวัน
แขวงเมืองเวสาลี จำวัดหลับพิงต้นไม่อยู่ สตรีคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อม
องค์กำเนิด ภิกษุนั้นยันให้กลิ้งไป แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอยินดีหรือ
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้า
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องภิกษุเปิดประตูนอน
[๗๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ณ กูฏาคาร
ศาลาป่ามหาวัน แขวงเมืองเวสาลี เปิดประตูจำวัดหลับอยู่ อวัยวะใหญ่น้อย
ของเธอถูกลมรำเพยให้ตึงตัว ครั้งนั้น สตรีหลายคนถือของหอมและดอกไม้
ไปสู่อาราม มุ่งตรงไปยังวิหาร พบภิกษุนั้น แล้วได้นั่งคร่อมองค์กำเนิด
กระทำการพอแก่ความประสงค์ แล้วกล่าวว่าภิกษุนี้เป็นบุรุษองอาจนัก แล้วถือ
ของหอมและดอกไม้กลับไป
ภิกษุเห็นองค์กำเนิดเปรอะเปื้อน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิดย่อมเป็นอวัยวะใช้การได้
ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ กำหนัด ๑ ปวดอุจจาระ ๑ ปวดปัสสาวะ ๑ ถูก
ลมรำเพย ๑ ถูกบุ้งขน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การ
ได้ด้วยอาการ ๕ อย่างนี้แล องค์กำเนิดของภิกษุนั้น พึงใช้การได้ด้วยความ
กำหนัดใด ข้อนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส เพราะภิกษุนั้นเป็นอรหันต์
ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จะพักผ่อนใน
กลางวัน ปิดประตูก่อนจึงจะพักผ่อนได้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 678
เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะฝัน
[๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะรูปหนึ่ง ฝันว่าได้เสพ
เมถุนธรรมในภรรยาเก่า แล้วคิดว่า เราไม่เป็นสมณะ จักสึกละ แล้วเดินทาง
ไปสู่เมืองภารุกัจฉะ พบท่านพระอุบาลีในระหว่างทาง จึงกราบเรียนเรื่องนั้น
ให้ทราบ ท่านพระอุบาลีกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส อาบัติไม่มีเพราะความฝัน.
เรื่องอุบาลีชื่อสุปัพพา ๙ เรื่อง
[๗๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกา ชื่อ สุปัพพา ในเมืองราชคฤห์
เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม
สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์
มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ระหว่างขาอ่อน
โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อ สุปัพพา ในเมืองราชคฤห์
เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม
สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ ท่านเจ้าขา
นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 679
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่สะดือ โดยวิธี
นี้ อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๓ . ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็น
ผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม
สตรีนั้นชื่อว่าให้ท่านอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์
มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่เกลียวท้อง
โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็น
ผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม
สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์
มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 680
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ซอกรักแร้
โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้
มีความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม
สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา
นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่คอ โดยวิธีนี้
อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้
มีความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม
สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา
นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 681
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ช่องหู โดย
วิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์เป็นผู้มี
ความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม
สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา
นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่มวยผม โดย
วิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๘. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์เป็นผู้มี
ความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม
สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา
นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 682
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ง่ามมือ โดย
วิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๙. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์เป็นผู้มี
ความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรี
นั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์
มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ดิฉันจักพยายามด้วยมือให้สุกกะ
เคลื่อน โดยวิธีอาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องบัญญัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
เรื่องอุบาสิกาชื่อสัทธา ๙ เรื่อง
[๗๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธาในเมืองสาวัตถีเป็นผู้มี
ความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรี
นั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มา
เสพเมถุนธรรมเถิด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 683
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ระหว่างขาอ่อน
โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
[๗๔] ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถีเป็น
ผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม
สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา
นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลยน้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่สะดือ โดยวิธีนี้
อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มี
ความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรี
นั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์
มาเสพเมถุนธรรมเถิด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 684
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่เกลียวท้อง
โดยวิธีนี้อาบัติไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นก็ได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มี
ความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรี
นั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์
มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านพยายามที่ใกล้รักแร้ โดย
วิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มี
ความเลื่อมใสยังอ่อนอยุ่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรี
นั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์
มาเสพเมถุนธรรมเถิด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 685
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่คอ โดยวิธีนี้
อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิก แล้วกระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มี
ความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรี
นั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์
มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลยน้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ช่องหู โดยวิธีนี้
อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิก แล้วกระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมือวสาวัตถี เป็นผู้มี
ความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรี
นั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์
มาเสพเมถุนธรรมเถิด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 686
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่มวยผม โดยวิธีนี้
อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๘. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มี
ความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม
สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา
นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลยน้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ง่ามมือ โดยวิธีนี้
อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมือวสาวัตถี เป็นผู้มี
ความเลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม
สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา
นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 687
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ดิฉันจักพยายามด้วยมือให้สุกกะ
เคลื่อน โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
เรื่องภิกษุณี
[๗๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุขืน
ให้ปฏิบัติผิดในนางภิกษุณี เธอทั้งสองยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสีย
ทั้งสอง เธอทั้งสองไม่ยินดี ทั้งสองไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องสิกขามานา
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุขืนให้
ปฏิบัติผิดในนางสิกขมานา เธอทั้งสองยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียทั้งสอง
เธอทั้งสองไม่ยินดี ทั้งสองไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องสามเณรี
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุขืนให้ปฏิบัติ
ผิดในสามเณรี เธอทั้งสองยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียทั้งสอง เธอ
ทั้งสองไม่ยินดี ทั้งสองไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 688
เรื่องหญิงแพศยา
[๗๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้
ปฏิบัติผิดในหญิงแพศยา ภิกษุยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะภิกษุเสีย ภิกษุ
ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องบัณเฑาะก์
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติ
ผิดในบัณเฑาะก์ ภิกษุยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะภิกษุเสีย ภิกษุไม่ยินดี
ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องสตรีคฤหัสถ์
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติ
ผิดในสตรีคฤหัสถ์ ภิกษุยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะภิกษุเสีย ภิกษุไม่ยินดี
ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องให้ผลักกัน
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติ
ผิดในกันและกัน เธอทั้งสองยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียทั้งสอง เธอ
ทั้งสองไม่ยินดี ทั้งสองไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องภิกษุผู้เฒ่า
[๗๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้เฒ่ารูปหนึ่ง ได้ไปเยี่ยมภรรยาเก่า
นางได้จับบังคับว่าท่านจงมาสึกเสียเถิด ภิกษุนั้นถอยหลังล้มหงาย นางจึงขึ้น
คร่อมองค์กำเนิด เธอได้มีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอยินดีหรือเปล่า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 689
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องลูกเนื้อ
[๗๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ลูกเนื้อมาสู่ที่ถ่าย
ปัสสาวะของเธอแล้ว ได้อมองค์กำเนิดพลางดื่มปัสสาวะ ภิกษุนั้นยินดีแล้ว
ได้มีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 690
ปฐมปาราชิกวรรณนา
[เรื่องพระสุทินน์]
*เบื้องหน้าแต่เวรัญชกัณฑ์นี้ไป คำว่า เตน โข ปน สมเยน
เวสาลิยา อวิทูเร เป็นต้น มีเนื้อความกระจ่างโดยมาก. เพราะฉะนั้น
ข้าพเจ้าจะงดการพรรณนาตามลำดับบทเสีย จักพรรณนาแต่เฉพาะบทที่มีคำ
สมควรจะกล่าวเท่านั้น.
[อรรถาธิบายชื่อบ้านและชื่อบุตรเศรษฐี]
บ้านที่ได้ชื่อว่า กลันทคาม ก็ด้วยอำนาจแห่งกระแตทั้งหลาย ที่
เรียกว่า กลันทกะ.
บทว่า กลนฺทปุตฺโต ความว่า (สุทินน์) เป็นบุตรของกลันเศรษฐี
ผู้มีทรัพย์ ๔๐ โกฏิ ซึ่งได้ชื่อด้วยอำนาจแห่งบ้าน ที่พระราชทานสมมติให้.
ก็เพราะมนุษย์แม้เหล่าอื่น ที่มีชื่อว่ากลันทะ มีอยู่ในบ้านตำบลนั้น,ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า กลันทบุตร แล้วกล่าวย้ำไว้อีกว่า เศรษฐีบุตร.
บทว่า สมฺพหุเลหิ แปลว่า มากหลาย.
บทว่า สหายเกหิ ความว่า ชนผู้ชื่อว่าสหาย เพราะอรรถว่าไป
ร่วมกัน คือเข้าถึงสุขและทุกข์ด้วยกัน. สหายนั่นเอง ชื่อว่า สหายกา.
(สุทินน์กลันทบุตร ได้ไปเมืองไพศาลี) กับด้วยสหายเหล่านั้น.
บทว่า สทฺธึ แปลว่า เป็นพวกเดียวกัน
*ต่อจากนี้ไป ถ้าเป็นประโยคสนามหลวง เป็นสำนวนแปลของเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์
(จวน อุฎฺายี ป.ธ. ๙ ) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นส่วนมาก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 691
สองบทว่า เกนจิเทว กรณีเยน ความว่า ด้วยกิจบางอย่างมี
ประกอบการซื้อขายสินค้า การให้กู้ยืม และการทวงหนี้เป็นต้น. อาจารย์
บางพวก กล่าวว่า ด้วยกิจคือการเล่นกีฬาอันเป็นนักขัตฤกษ์ในเดือนกัตติกมาส
(คือเดือน ๑๒) ดังนี้บ้าง.จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปถึงนครไพศาลี
ในชุณหปักข์ (ข้างขึ้น) แห่งเดือนกัตติมาส. อนึ่ง ในนครไพศาลีนี้ มีการเล่น
กีฬาอันเป็นนักขัตฤกษ์ประจำเดือนกัตติกมาสอย่างโอฬาร, สุทินน์กลันทบุตร
นั้น พึงทราบว่า ไป (ยังนครไพศาลี) เพื่อเล่นกีฬานักขัตฤกษ์นั้น.
[สุทินน์กลันทบุตรไปเพื่อฟังธรรม]
บทว่า อทฺทสา โข ความว่า สุทินน์กลันทบุตรนั้น ได้เห็นอย่างไร ?
ได้เห็นอย่างนี้คือ :- ได้ยินว่า สุทินน์นั้น ได้เห็นมหาชนผู้บริโภคอาหารเช้า
เสร็จแล้วห่มผ้าขาว มีมือถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ออกจาก
พระนครไป เพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้าและเพื่อฟังธรรม จึงถามว่า พวกท่านจะไป
ที่ไหนกัน.
มหาชน ตอบว่า จะไปเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า และเพื่อฟังธรรม.
สุทินน์ กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น แม้ข้าพเจ้าก็จะไป แล้วไปได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อันบริษัททั้ง ๔ แวดล้อมแล้ว ทรงแสดงธรรมอยู่ ด้วย
พระสุรเสียงอันไพเราะดังเสียงพรหม. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ
จึงได้กล่าวไว้ว่า สุทินน์กลันทบุตร ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อัน
บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่.
บทว่า ทิสฺวานสฺส ตัดบทเป็น ทิสฺวาน อสฺส แปลว่า เพราะ
ได้เห็น (ความรำพึงนี้ได้มี) แก่เขา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 692
บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ความรำพึงนี้ ได้มีแก่สุทินน์ ผู้เป็น
ภัพกุลบุตร (กุลบุตรผู้ควรตรัสรู้) ผู้อันปุพเพกตปุญญตาตักเตือนอยู่.
ถามว่า ความรำพึงนี้ ได้มีแล้วอย่างไร ?
แก้ว่า ได้มีว่า ไฉนหนอ เราจะพึงได้ฟังธรรมบ้าง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยนฺนูน นั้นเป็นบทแสดงถึงความรำพึง.
ได้ยินว่า สุทินน์นั้น ได้เกิดความรำพึงขึ้นอย่างนี้ว่า บริษัทนี้มีจิต
ดิ่งลงเป็นหนึ่ง ฟังธรรมใดอยู่, โอหนอ ! แม้เราก็พึงฟังธรรมนั้น.
หากจะมีอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ในคำว่า ครั้งนั้นแล สุทินน์กลันทบุตร
เข้าไปโดยทางบริษัทนั้น นี้ เพราะเหตุไร ท่านพระอุบาลีเถระ จึงไม่กล่าว
ไว้ว่า เข้าไปเฝ้าโดยทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ แต่กลับกล่าวว่า
เข้าไปโดยทางที่บริษัทนั้นอยู่ ?
เฉลยว่า จริงอยู่ บริษัทหมู่ใหญ่ มีเหล่าชนผู้หรูหรา นั่งห้อมล้อม
พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่แล้ว, สุทินน์กลันทบุตรนี้ มาภายหลังเขา ไม่สามารถ
จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในบริษัทนั้นได้, แต่ก็สามารถจะเข้าไปนั่ง
ในที่แห่งหนึ่งใกล้บริษัทได้, เพราะฉะนั้น สุทินน์กลันทบุตรนั้น ก็เข้าไปหา
บริษัทนั้นนั่นแล. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวว่า ครั้งนั้นแล
สุทินน์กลันทบุตรเข้าไปโดยทางที่บริษัทนั้นอยู่*.
[สุทินน์กลันทบุตรได้ฟังธรรมแล้วคิดจะบวช]
หลายบทว่า เอกมนฺต นิสินฺนสฺส โข สุทินฺนสฺส กลนฺท-
ปุตฺตสฺส เอตทโหสิ ความว่า ความรำพึงนี้ หาได้มีแก่สุทินน์กลันทบุตร
ผู้สักว่านั่งแล้วเท่านั้นไม่, โดยที่แท้ ก็ความรำพึงนั้น ได้มีแก่สุทินน์กลันทบุตร
* วิ. มหา. ๑/๑๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 693
นั้น ผู้นั่งแล้ว ณ ที่สมควรข้างหนึ่งนั่นแล เพราะได้ฟังธรรมกถาหน่อยหนึ่ง
ซึ่งประกอบด้วยไตรสิกขา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า, เพราะเหตุนั้น ท่าน
พระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า ความรำพึงนี้ ได้มีแก่สุทินน์กลันทบุตรผู้นั่ง
อยู่แล้ว ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล.
ถามว่า ความรำพึงนี้ ได้มีแล้วอย่างไร ?
แก้ว่า ได้มีว่า ด้วยอาการใด ๆ แล ( เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว) ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า ยถา เป็นต้นนั้น มีการกล่าวโดยสังเขปดังต่อไปนี้:- เรา
แลจะรู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยอาการใด ๆ, ความ
รำพึงอย่างนี้ ย่อมมีแก่เรา ผู้ใคร่ครวญอยู่ด้วยอาการนั้น ๆ , พรหมจรรย์คือ
ไตรสิกขา ชื่อว่าอันบุคคล (ผู้อยู่ครองเรือน) จะพึงประพฤติให้บริบูรณ์โดย
ส่วนเดียว เพราะจะต้องทำมิให้ขาดเป็นท่อน แม้ตลอดวันหนึ่ง แล้วพึงให้ลุถึง
จริมกจิต๑ ( คือจิตที่เคลื่อนจากภพ) และชื่อว่าอันบุคคล ( ผู้ยังอยู่ครองเรือน)
จะพึงประพฤติให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว เพราะจะต้องทำมิให้เศร้าหมอง ด้วย
มลทินคือกิเลสแม้ตลอดวันหนึ่ง แล้วพึงให้ลุถึง จริมกจิต๒ (คือจิตที่เคลื่อน
จากภพ).
บทว่า สงฺขลิขิต ความว่า จะพึงปฏิบัติให้เป็นดุจสังข์ที่ขัดเกลาแล้ว
คือให้มีส่วนเปรียบด้วยสังข์ที่ชำระล้างแล้ว.
หลายบทว่า อิท น สุกร อคาร อชฺณาวสตา ความว่า อัน
บุคคลผู้ยังอยู่ในท่ามกลางแห่งเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดย
ส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดเกลาแล้ว เป็นของทำไม่ได้
๑-๒. จริมกจิต หมายถึง จุติจิต คือจิตเคลื่อนจากภพ หมายถึงจนดับชีวิต. ในฎีกาสารัตถทีปนี
๒/๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 694
ง่าย ไฉนหนอ ! เราจะพึงปลงผมและหนวด ครองคือนุ่งห่มผ้ากาสาวะ เพราะ
เป็นของย้อมแล้วด้วยรสแห่งน้ำฝาด อันเป็นของสมควรแก่บรรพชิต ผู้ประ-
พฤติพรหมจรรย์ แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ก็เพราะกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้น ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่
เรือน ท่านเรียกว่า อคาริยะ ในบทว่า อนคาริย นี้. และกสิกรรมพา-
ณิชยกรรมเป็นต้นนั้น ย่อมไม่มีในบรรพชา เพราะเหตุนั้น บรรพชาบัณฑิต
พึงรู้ว่า อนคาริยา. ซึ่งการบรรพชาที่ไม่มีเรือนนั้น.
บทว่า ปพฺพเชยฺย แปลว่า พึงเข้าถึง.
[สุทินน์กลันทบุตรทูลขอบรรพชากะพระผู้มีพระภาคเจ้า]
หลายบทว่า อจิรวุฏฺิตาย ปริสาย เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
ความว่า สุทินน์ เมื่อบริษัทยังไม่ลุกไป ก็ยังไม่ได้ทูลขอบรรพชากะพระผู้มี-
พระภาคเจ้า. เพราะเหตุไร ? เพราะในบริษัทนั้น ญาติสาโลหิต มิตรและ
อำมาตย์ของสุทินน์นั้น มีอยู่มาก, พวกญาติเป็นต้นเหล่านั้น จะพึงพูดว่า
ท่านเป็นบุตรน้อยคนเดียวของมารดาบิดา, ท่านไม่ได้เพื่อจะบวช ดังนี้แล้ว
พึงจับแม้ที่แขนฉุดออกไป, ในเวลานั้น สุทินน์ คิดว่า อันตราย จักมีแก่
บรรพชา จึงลุกขึ้นเดินไปได้หน่อยหนึ่ง พร้อมกับบริษัทนั่นเอง แล้วหวน
กลับมาอีก ด้วยการอ้างเลศแห่งสรีรกิจบางอย่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วทูลของบรรพชา. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า ครั้ง
นั้นแล สุทินน์กลันทบุตร เมื่อบริษัทลุกไปแล้วไม่นานนักก็เข้าเฝ้า โดยทางที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่, ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า นั่งอยู่ ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. สุทินน์กลันทบุตร นั่งอยู่ ณ ที่สมควร
ข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 695
ด้วยอาการใด ๆ ข้าพระพุทธเจ้า จึงจะรู้ถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
อันบุคคลผู้ยังอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดเกลาแล้ว เป็นของทำไม่ได้ง่าย, ข้าพระ
พุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสวะ ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต, ของพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด
พระเจ้าข้า !๑
ก็เพราะจำเดิมแต่ราหุลกุมารบรรพชามา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรง
บวชให้บุตรผู้ที่มารดาบิดาไม่อนุญาต. เพราะฉะนั้น จึงตรัสถามสุทินน์นั้นว่า
ดูก่อนสุทินน์ ! ก็เธออันมารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
แล้วหรือ ?.๒
เบื้องหน้าแต่พระพุทธดำรัสนี้ไป บัณฑิตพึงทราบเนื้อความไปตาม
แนวพระบาลีนั่นแล อย่างนี้ในบทว่า ต กรณีย ตีเรตฺวา๓ นี้. (สุทินน์
กลันทบุตรนั้น) ให้กรณียกิจนั้นเสร็จลง ด้วยการทอดทิ้งธุระนั่นเอง. จริงอยู่
น้ำใจของสุทินน์กลันทบุตร ผู้มีฉันทะแรงกล้าในการบรรพชา หาได้น้อมไป
ในธุระกิจทั้งหลายมีประกอบการซื้อขายสินค้า การให้กู้ยืมและทวงหนี้เป็นต้น
หรือในการเล่นกีฬานักขัตฤกษ์ไม่.
[มารดาบิดาไม่อนุญาตให้สุทินน์บวช]
ก็ในบทว่า อมฺม ตาต นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- สุทินน์กลันทบุตร
เรียกมารดาว่า อมฺม แม่ (และ) เรียกบิดาว่า ตาต พ่อ.
สองบทว่า ตฺว โขสิ ตัดบทเป็น ตฺว โข อสิ แปลว่า (ลูก
สุทินน์) เจ้าเท่านั้นแล เป็น....
๑-๒-๓. วิ. มหา. ๑/๒๐.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 696
บทว่า เอกปุตฺตโก ความว่า เป็นบุตรคนเดียวแท้ ๆ คือพี่ชาย
หรือน้องชายคนอื่นของเจ้าไม่มี.
อนึ่ง ในบทว่า เอกปุตฺตโก นี้ เมื่อมารดาบิดาควรจะกล่าวว่า
เอกปุตฺโต แต่กล่าวว่า เอกปุตฺตโก ก็ด้วยอำนาจความเอ็นดู.
บทว่า ปิโย แปลว่า ผู้ให้เกิดปีติ.
บทว่า มนาโป แปลว่า ผู้เจริญใจ.
บทว่า สุเขธิโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองมาด้วยความสุข. อธิบายว่า
ผู้เจริญมาด้วยความสุข.
บทว่า สุขปริหโฏ ความว่า ผู้อันเหล่าชนประคบประหงมมาด้วย
ความสุข คือตั้งแต่เวลาเกิดมาแล้ว ก็มีพี่เลี้ยงนางนมทั้งหลายผลัดเปลี่ยนตัก
กันอุ้มทรงไว้ เล่นอยู่ด้วยสิ่งของเครื่องเล่นในเวลายังเป็นเด็กเล็ก ๆ มีม้าและ
รถเป็นต้น อันพี่เลี้ยงเป็นต้นให้บริโภคโภชนาหารที่มีรสอร่อยดี ชื่อว่าผู้อัน
เหล่าชนประคบประหงมมาด้วยความสุข.
หลายบทว่า น ตฺว ตาต สุทินฺน กิญฺจิ ทุกฺขสฺส ชานาสิ
ความว่า แนะลูกสุทินน์ เจ้าย่อมไม่รู้ส่วนเลี้ยวแห่งทุกข์อะไร ๆ แม้เพียงเล็ก
น้อยเลย. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เจ้าย่อมไม่ได้เสวยอะไร ๆ ด้วยความทุกข์
คำว่า ทุกฺขสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. ก็ความรู้เป็นไปใน
อรรถคือความเสวย.
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เจ้าย่อมระลึกถึงทุกข์อะไร ๆ ไม่ได้ . คำว่า
ทุกฺขสฺส นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. ก็ความรู้เป็นไปในอรรถ
คือความระลึก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 697
แม้ในวิกัปป์ทั้งสอง พึงเห็นการลบวิภัตติที่เสมอกันแห่งบทเบื้องต้น
ด้วยบทเบื้องปลายเสีย. คำถามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น ผู้ศึกษาควรทราบ
ตามแนวคัมภีร์ศัพทศาสตร์.
หลายบทว่า มรเณนปิ มยนฺเต อกามกา วินา ภวิสฺสาม
ความว่า แม้ถ้าเมื่อเราทั้งสอง ยังมีชีวิตอยู่ เจ้าจะพึงตายไซร้, แม้ด้วยความ
ตายของเจ้านั้น เราทั้งสอง ก็ไม่ต้องการ คือไม่ปรารถนา ชื่อว่าจักไม่ยอม
เว้น (ให้เจ้าตาย) ตามความพอใจของตน, อธิบายว่า เราทั้งสองจักประสบ
ความพลัดพรากเจ้าไม่ได้.
หลายบทว่า กึ ปน มย ต ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เหตุ
อะไรเล่า จักเป็นเหตุให้เราทั้งสองอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ (ออกบวชเป็น
บรรพชิต).
อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า กึ ปน มย ต นี้ พึงเห็นใจความอย่าง
นี้ว่า ก็เพราะเหตุไรเล่า เราทั้งสอง จึงจักยอมอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่.
บทว่า ตตฺเถว ความว่า (สุทินน์กลันทบุตรนั้น นอนลง) ในสถาน
ที่ที่เขายืนอยู่ ซึ่งมารดาบิดาไม่อนุญาตให้เขาบวชนั้นนั่นเอง
บทว่า อนนฺตรหิตาย ความว่า บนฟื้นที่อันมิได้ลาดด้วยเครื่อง
ปูลาดอะไร ๆ .
บทว่า ปริจาเรหิ ความว่า เจ้าจงให้พวกนักขับร้องนักเต้นรำและ
นักฟ้อนเป็นต้น บำรุงบำเรอเฉพาะตนแล้ว จงให้อินทรีย์ (คือร่างกายทุกส่วน)
เที่ยวไป คือให้สัญจรไปตามสบายร่วมกับสหายทั้งหลาย ในหมู่นักขับร้องเป็น
ต้นเหล่านั้น,อธิบายว่า เจ้าจงนำนักขับร้องเป็นต้น เข้ามาทางนี้และทางนี้เถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 698
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปริจาเรหิ ความว่า เจ้าจงให้พวกนักขับร้อง
นักเต้นรำและนักฟ้อนเป็นต้น บำรุงบำเรอเฉพาะตนแล้ว จงเล่น คือจงเข้า
ไปสมาคม ได้แก่จงรื่นรมย์ร่วมกับสหายทั้งหลายเถิด, มีคำอธิบายไว้ว่า จง
เล่นกีฬาเถิด ดังนี้บ้าง.
สองบทว่า กาเม ปริภุญฺชนฺโต ความว่า เจ้าจงบริโภคโภคทรัพย์
ทั้งหลายร่วมกับบุตรและภรรยาของตนเถิด.
สองบทว่า ปุญฺานิ กโรนฺโต ความว่า เจ้าจงปรารภพระพุทธ
พระธรรม และ พระสงฆ์แล้ว บำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลาย อันเป็นเครื่อง
ชำระทางสุคติให้บริสุทธิ์ด้วยดี มีการเพิ่มให้ทานเป็นต้นเถิด.
สองบทว่า ตุณฺหี อโหสิ ความว่า สุทินน์กลันทบุตร เพื่อตัด
ความเกี่ยวข้องด้วยการพูดวาจา จึงได้งดการสนทนาปราศรัยเสีย.
[สหายไปห้ามไม่ให้สุทินน์บวชไม่สำเร็จ]
คราวนั้น มารดาบิดาของสุทินน์ พูด (เล้าโลม) ถึง ๓ ครั้ง เมื่อ
ไม่ได้แม้เพียงคำตอบ จึงสั่งให้เรียกพวกสหาย (ของเขา) มาแล้วสั่งว่า สุทิ-
นน์ผู้เป็นสหายของพวกเธอนั้น มีความประสงค์จะบวช พวกเธอจงช่วยห้ามเขา
ด้วย. แม้สหายเหล่านั้นเข้าไปหาเขาแล้วก็ได้พูด (อ้อนวอน) ถึง ๓ ครั้ง
แต่สุทินน์ก็ได้นิ่งเงียบแม้ต่อ (หน้า) สหายเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น ท่าน
พระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวไว้ว่า อถโข สุทินฺนนฺส กลฺนทปุตฺตสฺส สหา-
ยกา ฯเปฯ ตุณฺหี อโหสิ*.
[สหายไปขออนุญาตมารดาบิดาให้สุทินน์บวช]
ครั้งนั้น พวกสหายของสุทินน์นั้น ได้มีความรำพึงดังนี้ว่า หากว่า
สุทินน์ เมื่อไม่ได้บวช จักตาย, จักไม่มีคุณอะไร, แต่มารดาบิดา จักได้
เห็นเขาผู้บวชแล้วเป็นครั้งคราว, ถึงพวกเราจักได้เห็น, อนึ่ง ขึ้นชื่อว่าการ
* วิ.มหา. ๑/๒๓-๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 699
บวชนั่น เป็นภาระที่หนัก, ผู้บวชจะต้องถือบาตรเดินเที่ยวบิณฑบาตทุกวัน ๆ,
พรหมจรรย์ มีการนอนหนเดียว ฉันหนเดียว เป็นกิจที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง, และ
สุทินน์นี้ เป็นผู้ละเอียดอ่อน เป็นชาติชนชาวเมือง, เขา เมื่อไม่สามารถจะ
ประพฤติพรหมจรรย์นั้นได้ ก็จักกลับมาที่เรือนนี้อีกที่เดียว, เอาเถิด พวก
เรา จักขอให้มารดาบิดาของเขาอนุญาตให้บวช. สหายเหล่านั้น ก็ได้ทำเหมือน
อย่างนั้นแล้ว.
[มารดาบิดาอนุญาตให้สุทินน์บุตรชายบวช]
ฝ่ายมารดาบิดา ก็ได้อนุญาตให้เขาบวช. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุ-
บาลีเถระ จึงได้กล่าวไว้ว่า อถโข สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส สหายกา
เยน สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส มาตาปิตโร ฯเปฯ อนุญฺาโตสิ มา-
ตาปิตูหิ อคารสฺมา อนคาริย ปพฺพชฺชาย.๑
บทว่า หฏโ แปลว่า ผู้ยินดีแล้ว
บทว่า อุทคฺโค แปลว่า ผู้มีกายและจิตฟูขึ้นด้วยอำนาจปีติ.
บทว่า กติปาห แปลว่า สิ้นวันเล็กน้อย.
สองบทว่า พล คาเหตฺวา ความว่า สุทินน์กลันทบุตรนั้นเมื่อบริ-
โภคโภชนาหารที่สบาย และบริหารร่างกายด้วยกิจมีการอบและอาบน้ำเป็นต้น
ให้เกิดกำลังกายแล้ว ไหว้มารดาบิดา ลาเครือญาติผู้มีหน้าเต็มด้วยน้ำตา แล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงประทับ ฯลฯ ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มี
พระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า ! ขอองค์ได้โปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวช
เถิด พระพุทธเจ้าข้า !๒
๑. วิ. มหา. ๑/๒๔. ๒. วิ. มหา ๑/๒๕
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 700
[พระพุทธเจ้ารับสั่งภิกษุบวชให้สุทินน์กลันทบุตร]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร ซึ่งยืนเฝ้าอยู่ในที่ใกล้มาว่า ดูก่อนภิกษุ ! ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้
สุทินน์บรรพชาและอุปสมบทเถิด.
ภิกษุรูปนั้น ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า!
แล้ว ได้สุทินน์กลันทบุตร ที่พระชินเจ้าทรงประทานเป็นสัทธิวิหาริก ให้
บรรพชาและอุปสมบทแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า
สุทินน์กลันทบุตรได้รับบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว*
อนึ่ง ยกเว้นในอธิการว่าด้วยท่านสุทินน์ได้รับบรรพชาอุปสมบทนี้เสีย
การบรรพชาและอุปสมบท พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย ก็ได้กล่าวไว้แล้วใน
อรรถกถาทั้งปวง. ส่วนข้าพเจ้าจักกล่าว (บรรพชาและอุปสมบทนั้น)ในขันธกะ
ด้วยอำนาจแห่งพระบาลีตามที่ตั้งไว้แล้วนั้นแล และหาใช่จักกล่าวแต่บรรพชา
และอุปสมบทในขันธกะอย่างเดียวเท่านั้นไม่ คำแม้อื่นใด ที่ควรกล่าวใน
ขันธกะก็ดี ในคัมภีร์บริวารก็ดี อันพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้แล้วใน
วิภังค์ ข้าพเจ้าจักกล่าวคำนั้นไว้ในที่นั้น ๆ แล ทั้งหมด. แท้จริง เมื่อข้าพเจ้า
กล่าวตามที่อธิบายมาอย่างนี้ การพรรณนา ย่อมเป็นอันข้าพเจ้าทำแล้วโดย
ลำดับแห่งพระบาลีทีเดียว. เพราะเหตุนี้ นักศึกษาทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ
ด้วยการวินิจฉัยนั้น ๆ ตรวจดูวินัยสังวรรณนานี้ โดยลำดับพระบาลีนั้นแล
ก็จักรู้การวินิจฉัยที่ยังเหลือได้ดี ฉะนี้แล.
บทว่า อจิรูปสมฺปนฺโน คือท่านสุทินน์นั้น เป็นผู้อุปสมบทแล้ว
ไม่นาน มีคำอธิบายว่า โดยกาลไม่นานนัก แต่อุปสมบทมานั่นเอง.
* วิ. มหา. ๑/๒๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 701
บทว่า เอวรูเป คือมีส่วนอย่างนี้ ได้แก่ มีชาติอย่างนี้.
บทว่า ธุตคุเณ ได้แก่ คุณอันเป็นเครื่องกำจัดกิเลส.
สองบทว่า สมาทาย วตฺตติ ความว่า (ท่านสุทินน์นั้น) สมาทาน
คือรับเอา ประพฤติ เที่ยวไป อยู่.
สองบทว่า อารญฺิโก โหติ ความว่า ห้ามเสนาสนะแดนบ้าน
เสียแล้ว เป็นผู้ชอบอยู่ป่าเป็นวัตร ด้วยอำนาจสมาทานอารัญญิกธุดงค์.
บทว่า ปิณฺฑปาติโก ความว่า ห้ามภัต ๑๔ อย่าง ด้วยการห้าม
อติเรกลาภเสียแล้ว เป็นผู้ชอบเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ด้วยอำนาจสมาทาน
บิณฑปาติยธุดงค์.
บทว่า ปสุกูลิโก ความว่า ห้ามคฤหบดีจีวรเสียแล้ว เป็นผู้ชอบ
ทรงผ้าบังสกุลเป็นวัตร ด้วยอำนาจสมาทานปังสุกูลิกธุดงค์.
บทว่า สปทานจาริโก ความว่า ห้ามการเที่ยวโลเลเสียแล้ว เป็น
ผู้ชอบเที่ยวตามลำดับตรอกเป็นวัตร คือเข้าไปเพื่อภิกษาตามลำดับเรือน ด้วย
อำนาจสมาทานสปทานจาริยธุดงค์.
บทว่า วชฺชิคาม ความว่า (ท่านสุทินน์นั้นเข้าอาศัย) หมู่บ้านชาว
วัชชีหรือหมู่บ้านในแคว้นวัชชี.
[ญาติของท่านสุทินน์ที่เมืองไพศาลีมีสมบัติมาก]
ในคำเป็นต้นว่า อฑฺฒา มหทฺธนา มีวินิจฉัยดังนี้:- (ญาติทั้งหลาย
ของเราในเมืองไพศาลี) ชื่อว่าเป็นผู้มั่งคั่ง เพราะมีเครื่องอุปโภคและอุปกรณ์
แห่งเครื่องบริโภคมาก. มีคำอธิบายว่า จริงอยู่ เครื่องอุปโภค และอุปกรณ์
แห่งเครื่องอุปโภค ของญาติเหล่านั้น ๆ มีมาก คือมีหนาแน่น ทั้งเป็นวัตถุ
มีสาระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 702
ชื่อว่า ผู้มีทรัพย์มาก เพราะมีทรัพย์ที่ฝังไว้มาก.
บทว่า มหาโภโค ชื่อว่าผู้มีโภคะมาก เพราะมีโภคะคือวัตถุที่เป็น
เสบียง (สำหรับจ่าย) ประจำมาก.
ชื่อว่า ผู้มีทองและเงินมาก เพราะนอกจากเครื่องอุปโภคอย่างอื่น
ก็ยังมีทองและเงินนั่นแหละมากมาย.
ชื่อว่า ผู้มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์เครื่องปลื้มใจมาก เพราะอุปกรณ์แห่ง
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อันเป็นเครื่องประดับ ซึ่งทำความปีติปราโมทย์ให้ มี
มากมาย. พึงทราบว่า เป็นผู้มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย เพราะทรัพย์และ
ข้าวเปลือกอันแลกเปลี่ยนกันด้วยอำนาจการซื้อขาย มีจำนวนมาก.
สองบทว่า เสนาสน สสาเมตฺวา ความว่า เก็บงำเสนาสนะแล้ว
อธิบายว่า จัดตั้งเสนาสนะนั้นไว้อย่างเรียบร้อย โดยประการที่เสนาสนะจักไม่
เสียหาย.
[ญาตินำภัตตาหารไปถวายท่านสุทินน์ ๖๐ ถาด]
สองบทว่า สฏฺิมตฺเต ถาลิปาเก ความว่า (ญาติทั้งหลายของ
ท่านสุทินน์นำภัตตาหารไปถวายท่านสุทินน์) มีประมาณ ๖๐ หม้อ โดยกำหนด
แห่งการคำนวณ.
ก็บรรดาภัต ๖๐ หม้อนี้ เฉพาะหม้อหนึ่ง ๆ จุภัตพอแก่ภิกษุ ๑๐ รูป
ภัตแม้ทั้งหมดนั้น ภิกษุ ๖๐๐ รูปพอฉัน.
ในสองบทว่า ภตฺตาภิหาร อภิสรึสุ นี้ มีวิเคราะห์ดังนี้:- อาหาร
ที่ชื่อว่า อภิหาร เพราะอรรถว่า อันบุคคลนำไปเฉพาะ. นำอะไรไป?
นำภัตไป. อภิหาร คือภัตนั่นเอง ชื่อภัตตาภิหาร. ซึ่งภัตตาภิหารนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 703
บทว่า อภิหรึสุ ความว่า ญาติทั้งหลายนำภัตตาหารไปไว้เฉพาะหน้า.
อธิบายว่า ถือเอาแล้ว ได้ไปยังสำนักของท่านพระสุทินน์นั้น.
ถามว่า ภัตนั้น มีประมาณเท่าไร ?
แก้ว่า มี ๖๐ หม้อ. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ว่า
ญาติทั้งหลาย นำภัตตาหารมีประมาณ ๖๐ หม้อ ไปถวายท่านพระสุทินน์.*
สองบทว่า ภิกฺขูน วิสฺสชฺเชตฺวา ความว่า ท่านพระสุทินน์นั้น
มีความประสงค์จะเที่ยวจาริกไปลำดับตรอกด้วยตนเอง เพราะเป็นผู้ถือ
เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรอย่างอุกฤษฏ์ จึงได้สละ คือถวาย (ภัตตาหารมี
ประมาณ ๖๐ หม้อนั้น) เพื่อเป็นของฉันแก่ภิกษุทั้งหลาย. จริงอยู่ ท่านผู้มี
อายุนี้ ใฝ่ใจว่า ภิกษุทั้งหลายจักได้ลาภ และเราก็จักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
แล้วจึงมา เพื่อประโยชน์นั้นนั่นเอง. เพราะฉะนั้น ท่านพระสุทินน์นั้น
เมื่อทำกิจที่สมควรแก่การมาของตน จึงได้สละแก่ภิกษุทั้งหลาย ส่วนตนเองก็
เข้าไปบิณฑบาต. นางทาสีของพวกญาติ ชื่อญาติทาสี.
[อธิบายเรื่องขนมบูดเน่า]
บทว่า อาภิโทสิก ได้แก่ขนมกุมมาสที่เก็บไว้นาน คือล่วงไปได้
คืนหนึ่งแล้ว เป็นของบูด.
ในบทว่า อาภิโทสิก นั้น มีใจความเฉพาะบทดังต่อไปนี้ :- ขนม
กุมมาส ที่ชื่อว่าอภิโทสะ เพราะอรรถว่า ถูกโทษคือความบูดครอบงำ. อภิโทสะ
นั่นเอง ชื่ออาภิโทสิกะ. อีกอย่างหนึ่ง สัญญา คืออาภิโทสิกะนี้ เป็นสัญญา
คือชื่อแห่งขนมกุมมาส ที่ล่วงไปได้คืนหนึ่งแล้ว. ซึ่งขนมกุมมาส ชื่ออาภิ-
โทสิกะนั้น.
* วิ. มหา. ๑/๒๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 704
บทว่า กุมฺมาส ได้แก่ ขนมกุมมาส ที่เขาทำด้วยข้าวเหนียว.
สองบทว่า ฉฑฺเฑตุกามา โหติ ความว่า ขนมกุมมาสนั้นเป็นของ
ไม่ควรบริโภค โดยที่สุดแม้พวกทาสและกรรมกร กระทั่งถึงฝูงโค เพราะฉะนั้น
นางทาสีจึงมีความมุ่งหมายจะเทขนมกุมมาสนั้นทิ้งเสียภายนอก ดุจเทหยากเยื่อ
ทิ้ง ฉะนั้น
บทว่า สเจ ต ตัดบทเป็น สเจ เอต แปลว่า ถ้าของนั่น.
พระสุทินน์ เรียกทาสีของญาติว่า แนะน้องหญิง ด้วยอำนาจอริย-
โวหาร.
บทว่า ฉฑฺฑนียธมฺม แปลว่า มีอันจะต้องทิ้งเป็นสภาพ. มีคำอธิบาย
ไว้ว่า แนะน้องหญิง ถ้าของนั่น มีอันจะต้องทิ้งในภายนอกเป็นธรรมดา คือ
เป็นของที่เขาสละความหวงแหนแล้วไซร้ เธอจงเกลี่ยลงในบาตรของเรานี้เถิด.
ถามว่า ก็บรรพชิตย่อมได้ เพื่อจะพูดอย่างนี้หรือ ? ไม่เป็นวิญญัติ
(การออกปากขอ) หรือปยุตตวาจา (วาจาพูดขอเกี่ยวด้วยปัจจัย) หรือ ?
แก้ว่า ไม่เป็น (ทั้งสองอย่าง)
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เป็น?
แก้ว่า เพราะเป็นของที่เขาสละความหวงแหนแล้ว.
จริงอยู่ จะพูดว่า ท่านจงให้ คือจงนำสิ่งของซึ่งมีอันจะต้องทิ้งเป็น
ธรรมดา คือเป็นของที่เขาสละความหวงแหนแล้ว ที่พวกเจ้าของไม่มีความ
เสียดายทั้งหมด มาเกลี่ยลงในบาตรนี้เถิด ดังนี้ก็ควร. จริงอย่างนั้น แม้ท่าน
พระรัฐบาล ผู้ประพฤติอริยวงศ์อย่างดีเลิศ ก็ได้พูดว่า เธอจงเกลี่ยขนมกุมมาส
ซึ่งมีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดาลงในบาตรของเรานี้เถิด. เพราะฉะนั้น ของสิ่งใด
มีอันจะต้องเป็นธรรมดาเห็นปานนี้ก็ดี ของสิ่งอื่นมีรากไม้ผลไม้และเภสัชใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 705
ป่าเป็นต้น อันไม่มีใครหวงแหนก็ดี ภิกษุควรให้นำสิ่งของนั้นทั้งหมด มาแล้ว
ฉันได้ตามสบาย ไม่ควรจะรังเกียจ.
[พระสุทินน์ออกบวชได้ ๘ ปี นางทาสีจำอวัยวะบางส่วนได้]
บทว่า หตฺถาน ความว่า นางทาสีของญาติ ได้ถือเอาเค้ามือทั้งสอง
ของพระสุทินน์ผู้น้อมบาตรเข้าไปเพื่อรับภิกษา ตั้งแต่ข้อมือไป.
บทว่า ปาทาน ความว่า นางทาสีของญาติ ได้ถือเอาเค้าเท้าทั้งสอง
จำเดิมแต่ชายผ้านุ่งไป.
บทว่า สรสฺส ความว่า เมื่อพระสุทินน์ เปล่งวาจาว่า แนะน้องหญิง
ถ้าของนั้น ดังนี้เป็นต้น นางทาสีของญาติก็จำสุ้มเสียง (ของท่าน) ได้.
สองบทว่า นิมิตฺต อคฺคเหสิ ความว่า นางทาสีของญาติได้ถือเอา
คือจำได้ หมายความว่า กำหนดอาการที่ตนเคยสังเกตได้ในคราวที่ท่านยังเป็น
คฤหัสถ์.
จริงอยู่ พระสุทินน์บวชในพรรษาที่ ๑๒ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ใน
พรรษาที่ ๒๐ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เข้าไปบิณฑบาตยังตระกูลญาติตนเอง
มีพรรษาได้ ๘ ตั้งแต่บวชมา. เพราะเหตุนั้น นางทาสีของญาติคนนั้น เห็น
ท่านแล้วจึงจำไม่ได้ แต่ถือเอาเค้า (นิมิต) ได้ด้วยประการฉะนี้.
หลายบทว่า สุทินฺนสฺส มาตร เอตทโวจ ความว่า นางทาสี
ของญาติ ไม่อาจจะพูดคำเป็นต้นว่า ท่านเจ้าขา ! ท่านหรือหนอคือพระสุทินน์
ผู้เป็นนายของดิฉัน ดังนี้ กับบุตรชายผู้เป็นนาย (ของตน) ซึ่งเข้าบวช
แล้วด้วยความเคารพยิ่ง จึงรีบกลับเข้าไปในเรือน แล้วได้แจ้งข่าวนี้กะมารดา
ของพระสุทินน์.
ศัพท์ว่า ยคฺเฆ เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งคำบอกเล่า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 706
ศัพท์ว่า เช ที่มีอยู่ในบทว่า สเจ เช สจฺจ นี้ เป็นนิบาต
ลงในอรรถแห่งคำร้องเรียก. ความจริง ชนทั้งหลายในประเทศนั้นย่อมร้องเรียก
หญิงสาวใช้ ด้วยภาษาอย่างนั้น. เพราะเหตุนั้น ในคำว่า สเจ เช สจฺจ
นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า แม่ทาสีผู้เจริญ ! ถ้าเจ้าพูดจริงไซร้.
[พวกบรรพชิตไม่นั่งฉันในที่ไม่สมควรเหมือนคนขอทาน]
สองบทว่า อญฺตร กุฑฺฑมูล ความว่า ได้ยินว่า ในประเทศนั้น
ในเรือนของเหล่าชนผู้เป็นทานบดี มีหอฉันไว้, และในหอฉันนี้เขาก็จัด
ปูอาสนะไว้ ทั้งได้จัดตั้งน้ำฉันและน้ำส้มไว้พร้อม. บรรพชิตทั้งหลาย ครั้น
เที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว (กลับมา) นั่งฉันที่หอฉันนั้น ถ้าปรารถนาจะรับเอา
ภัตตาหารที่มีอยู่ ก็รับเอาของที่ยังมีอยู่ แม้ของเหล่าชนผู้เป็นทานบดีไป.
เพราะฉะนั้น แม้สถานที่นั้น ควรทราบว่า ได้แก่พะไลฝาเรือนแห่งใดแห่งหนึ่ง
ใกล้หอฉันนี้ แห่งตระกูลใดตระกูลหนึ่ง. จริงอยู่ บรรพชิตทั้งหลาย ย่อมไม่
นั่งฉันในสถานที่ไม่สมควร เหมือนพวกมนุษย์กำพร้าฉะนั้นแล.
ศัพท์ว่า อตฺถิ ที่มีอยู่ในบทว่า อตฺถิ นาม ตาต นี้ เป็นนิบาต
ลงในอรรถว่า มีอยู่, และศัพท์ว่า นาม (ที่มีอยู่ในบทนั้น) ก็เป็นนิบาต
ลงในอรรถแห่งคำถาม และในอรรถแห่งความดูหมิ่น.
[บิดาติเตียนพระสุทินน์ว่าฉันขนมบูดเหมือนดื่นน้ำอมฤต]
จริงอยู่ ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า (บิดาพูดกับพระสุทินน์ผู้เป็น
บุตรชายว่า) พ่อสุทินน์ ! ทรัพย์ของเรา ก็มีอยู่มิใช่หรือ ? พวกเราซึ่งมีเจ้า
เป็นบุตรชาย ผู้มานั่งฉันขนมกุมมาสที่เก็บไว้ค้างคืนอยู่ในที่เช่นนี้ จะพึงถูก
ประชาชนเขาตำหนิว่า เป็นผู้ไม่มีทรัพย์มิใช่หรือ ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 707
อนึ่ง พ่อสุทินน์ ! พ่อแม่ก็ยังมีชีวิตอยู่ มิใช่หรือ ? พ่อแม่ซึ่งมีเจ้า
เป็นบุตรชาย ผู้มานั่งฉันขนมกุมมาสที่เก็บไว้ค้างคืนอยู่ในที่เช่นนี้ จะถูก
ประชาชนเขาตำหนิว่า ตายแล้วมิใช่หรือ ?
อนึ่ง พ่อสุทินน์ ! พ่อสำคัญว่า สมณคุณที่เจ้าได้เพราะอาศัยศาสนา
มีอยู่ในภายในจิตใจของเจ้า ผู้ซึ่งแม้เจริญเติบโตมาด้วยรสแห่งอาหารที่ดี ยัง
ไม่มีความรังเกียจฉันขนมกุมมาสที่เก็บไว้ค้างคืน ซึ่งเป็นของน่าสะอิดสะเอียนนี้
เหมือนดื่มน้ำอมฤตฉะนั้น.
ก็หฤหบดีนั้น เพราะถูกความทุกข์บีบคั้น เมื่อไม่สามารถจะพูดแต่ง
ใจความนั่นให้บริบูรณ์ได้ จึงได้กล่าวคำเพียงเท่านี้ว่า มีอยู่หรือพ่อสุทินน์ !
ที่พ่อจักฉันขนมกุมมาสที่เก็บไว้ค้างคืน ?
ส่วนในคำว่า อตฺถิ นาม ตาต เป็นต้นนี้ อาจารย์ผู้คิดอักษร
ทั้งหลาย ย่อมกล่าวลักษณะนี้ไว้ดังนี้คือ :- เมื่อมีอัตถิศัพท์อยู่ในที่ใกล้ (คือ
อยู่บทข้างหน้า) บัณฑิตทั้งหลายจึงได้แต่คำอนาคตกาลนั่นไว้ดังนี้ว่า ปริภุญฺ-
ชิสฺสสิ ด้วยอำนาจเนื้อความที่ไม่น่าเชื่อและไม่อาจเป็นได้.
ใจความแห่งคำอนาคตกาลนั้น มีดังนี้คือ:- ข้อว่า อตฺถิ นาม
ฯ เป ฯ ปริภุญฺชิสฺสสิ มีความหมายว่า พ่อไม่เชื่อ ทั้งไม่พอใจซึ่งการฉันนี้
แม้ที่เห็นประจักษ์อยู่
สองบทว่า ตตาย อาภิโทสิโก ความว่า ขนมกุมมาสที่เก็บไว้
ค้างคืนนี้ รูปได้มาแต่เรือนของคุณโยมนั้น. ปาฐะว่า ตโตย บ้าง. อาจารย์
บางพวกสวดกันว่า ตทาย บ้าง. คำนั้นไม่งาม.
หลายบทว่า เยน สกปิตุ นิเวสน ความว่า นิเวศน์แห่งบิดาของตน
คือ แห่งบิดาของอาตมา มีอยู่โดยสถานที่ใด พระเถระเป็นผู้ว่าง่าย จึงได้ไป
(ยังนิเวศน์นั้น) เพราะความรักในบิดานั่นเอง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 708
บทว่า อธิวาเสสิ ความว่า พระเถระถึงจะเป็นผู้ถือบิณฑบาต
เป็นวัตรอย่างเคร่งครัดก็ตาม แต่ก็ยังใฝ่ใจว่า ถ้าเราจักไม่รับแม้ภัตตาหาร
ครั้งเดียวไซร้, พวกญาติเหล่านั้น ก็จักเสียใจอย่างยิ่ง จึงได้รับคำอาราธนา
เพื่ออนุเคราะห์พวกญาติ.
บทว่า โอปุญฺฉาเปตฺวา แปลว่า สั่งให้ไล้ทา.
บทว่า ติโรกรณีย เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถตติยาวิภัตติ, ความว่า
แวดวง (กองทรัพย์นั้น) ไว้ด้วยกำแพงม่าน อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อม
ทำรั้วกันไว้ภายนอก ด้วยกำแพงม่านนั่น เหตุนั้น กำแพงม่านนั้น จึงชื่อว่า
ติโรกรณียะ. ความก็ว่า จัดวงล้อมกำแพงม่านนั้นไว้โดยรอบ.
ในสองบทว่า เอก หิรญฺสฺส นี้ กหาปณะ ควรทราบว่า เงิน.
ชายไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ขนาดปานกลาง พึงทราบว่า บุรุษ
บทว่า เตน หิ ความว่า เพราะเหตุที่ลูกสุทินน์จักมาในวันนี้.
ศัพท์ว่า หิ เป็นนิบาต ลงในอรรถสักว่าทำบทให้เต็ม.
อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ว่า เตน แม้นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งคำ
เชื้อเชิญนั่งเอง.
ในบทว่า ปุพฺพณฺหสมย นี้ ท่านมิได้กล่าวคำเผดียงกาลไว้ใน
พระบาลี แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น ก็ควรทราบอธิบายว่า เมื่อเขาเผดียงกาลแล้ว
นั่นแล พระเถระก็ได้ไป.
[บิดามอบทรัพย์เพื่อให้พระสุทินน์สึก]
โยมบิดาของท่านสุทินน์ ชี้บอกกองทรัพย์ทั้ง ๒ กองว่า พ่อสุทินน์ !
นี้ทรัพย์มารดาของพ่อ เป็นต้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 709
บทว่า มาตุ ได้แก่ แห่งหญิงผู้ให้เกิด.
บทว่า มตฺติก ได้แก่ ทรัพย์ที่มีมาแต่ฝ่ายมารดา. อธิบายว่า ทรัพย์
ส่วนนี้คุณย่าได้มอบให้มารดาของเจ้าผู้มาสู่เรือนนี้.
โยมบิดากล่าวตำหนิ (ทรัพย์เป็นสินเดิมฝ่ายหญิง) ด้วยคำว่า
อิตฺถิกาย อิตฺถีธน ทรัพย์ชื่อว่าอันฝ่ายหญิงได้มา เพื่อประโยชน์แก่เครื่อง
จุณณ์สำหรับอาบน้ำเป็นต้น อันเป็นเครื่องใช้สอยของหญิงนั่นเอง มีประมาณ
เท่าไร, เจ้าจงตรวจดูปริมาณทรัพย์ฝ่ายหญิงแม้นั้นก่อน.
อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายว่า พ่อสุทินน์ ! นี้ทรัพย์มารดาของพ่อ,
ก็แลทรัพย์นั้นเป็นสินเดิมฝ่ายมารดา พ่อมิได้ให้ไว้ คือ เป็นของมารดาของเจ้า
เท่านั้น.
ในบทว่า อตฺถิกาย อิตฺถีธน นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า ก็
ทรัพย์นี้นั้นรวบรวมมาได้ด้วยกสิกรรม (และ) พาณิชยกรรมก็หามิได้ อีก
อย่างหนึ่งแล ทรัพย์อันฝ่ายหญิงพึงได้มา ชื่อว่า อิตถีธน (ทรัพย์ฝ่ายหญิง),
คือว่า ทรัพย์ฝ่ายหญิงส่วนใด อันฝ่ายหญิงผู้ไปสู่ตระกูลสามีจากตระกูลญาติ
พึงได้มาเพื่อประโยชน์แก่เครื่องจุณณ์สำหรับอาบน้ำเป็นต้น, ทรัพย์ส่วนนั้น
ก็มีประมาณเท่านั้นก่อน.
หลายบทว่า อญฺ เปตฺติก อญฺ ปิตามห ความว่า ก็ทรัพย์
ส่วนใดอันเป็นสินเดิมของบิดาและปู่ทั้งหลายของพ่อ, ทรัพย์ส่วนนั้นก็เป็น
ส่วนอื่นต่างหาก, ที่เขาฝังไว้ และที่ประกอบการค้าขาย ก็มีอยู่มากมายนัก.
อนึ่ง บทว่า ปิตามห ที่มีอยู่ในสองบทว่า เปตฺติก ปิตามห นี้
ควรทราบว่าทำกรลบปัจจัยแห่งตัทธิตเสีย. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า เปตามห
ดังนี้ก็มี.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 710
หลายบทว่า ลพฺภา ตาต สุทินฺน หีนายาวตฺตฺวา ความว่า
พ่อสุทินน์! พ่อควรละเพศบรรพชิตอันสูงส่ง ซึ่งเป็นธงชัยแห่งพระอริยเจ้าเสีย
แล้วกลับมาเพื่อความเป็นคฤหัสถ์อันเป็นเพศที่ต่ำทรามจะพึงได้ใช้สอย คือจะ
ได้เพื่อบริโภค โภคสมบัติ. พ่อกลัวต่อราชอาญา จึงบวชก็หามิได้ ทั้งถูก
เจ้าหนี้ทวงก็หามิได้แล.
ก็คำว่า ตาต ที่มีอยู่ในบทว่า ตาต น อุสฺสหามิ นี้ พระสุทินน์
พูด (กับบิดา) เพราะความรักอาศัยเรือน หาใช่พูดเพราะเดชแห่งสมณะไม่.
บทว่า น อุสฺสหามิ แปลว่า รูปไม่อาจ.
บทว่า น วิสหามิ แปลว่า รูปไม่พร้อม คือ ไม่สามารถ.
ก็คำว่า วเทยฺยาม โข ต คหปติ นี้ พระสุทินน์พูด (กับบิดา)
เพราะเดชแห่งสมณะ.
บทว่า นาติกฑฺเฒยฺยาสิ ความว่า ความรักอันใดของคุณโยม
ที่ตั้งอยู่แล้วในรูป , คุณโยม ไม่ควรตัดรอนความรักอันนั้นออก ด้วยอำนาจ
ความโกรธ. มีคำอธิบายว่า ถ้าว่าคุณโยมไม่พึงโกรธไซร้.
ลำดับนั้น ท่านเศรษฐี มีจิตเบิกบานด้วยนึกในใจว่า บุตรชายเหมือน
มีความประสงค์จะทำการสงเคราะห์เรากระมัง จึงได้พูดว่า พูดเถิด พ่อสุทินน์!
ศัพท์ว่า เตนหิ เป็นนิบาต มีรูปคล้ายวิภัตติ ลงในอรรถแห่งคำ
เชื้อเชิญ.
บทว่า ตโตนิทาน พึงทราบการอาเทศ ตปฐมาวิภัตติ อย่างนี้คือ
ตนิทาน ตเหตุก (มีทรัพย์นั้นเป็นต้นเรื่อง, มีทรัพย์นั้นเป็นเหตุ) เป็นโต.
และในสมาสบทนั้นไม่มีการลบโตปัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 711
ภัยมีราชภัยเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า พระราชาทั้งหลาย
จะไม่พึงทรงริบโภคสมบัติของเราหรืออย่างไร ชื่อว่าภัยก็ดี. อธิบายว่า
จิตสะดุ้ง.
กายสั่นเทา (ก็ดี) กายสะทกสะท้าน (ก็ดี) เนื้อหัวใจป่วนปั่น (ก็ดี)
ของบุคคลผู้ถูกพระราชาหรือโจรลงกรรมกรณ์ ด้วยสั่งบังคับว่า เองจงให้ทรัพย์
ดังนี้ ชื่อว่า ฉัมภิตัตตะ (ความหวาดเสียว).
ขนชูชัน คือมีปลายงอนขึ้นข้างบน ในเมื่อมีภัยเกิดขึ้น ชื่อว่า
โลมหังสะ (ขนพองสยองเกล้า.
การรักษาอย่างกวดขัน ทั้งภายในและภายนอก ทั้งกลางคืนและกลางวัน
ชื่อว่า อารักขา (การเฝ้ารักษา).
[บิดาสั่งภรรยาเก่าให้ประเล้าประโลมพระสทินน์สึก]
สองบทว่า เตนหิ วธุ ความว่า เศรษฐีคฤหบดี ครั้นแสดงทรัพย์
แล้ว ก็ไม่สามารถจะประเล้าประโลมบุตรชาย เพื่อให้สึกด้วยตนเองได้ จึง
สำคัญว่า บัดนี้ เครื่องผูกพวกผู้ชาย เช่นกับมาตุคามเป็นไม่มี จึงได้เรียก
ปุราณทุติยิการภรรยา ของพระสุทินน์นั้นมาสั่งว่า เตนหิ วธุ เป็นต้น.
บทว่า ปุราณทุติยิก ได้แก่ หญิงคนที่สองซึ่งเป็นคนดั้งเดิม คือ
หญิงคนที่สองในกาลก่อน คือในคราวที่ยังเป็นคฤหัสถ์. อธิบายว่า ได้แก่
ภรรยาผู้เคยเป็นหญิงผู้ร่วมในการเสพสุขที่อาศัยเรือนมาแล้ว.
บทว่า เตนหิ ความว่า เพราะเหตุที่ไม่มีเครื่องผูก (อย่างอื่น) เช่น
กับมาตุคาม.
สองบทว่า ปาเทสุ คเหตฺวา ความว่า ภรรยาเก่าได้จับเท้าทั้งสอง
(ของท่านสุทินน์). บทว่า ปาเทสุ เป็นสัตว์มีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ .
อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ภรรยาเก่าได้จับพระสุทินน์นั้นที่เท้าทั้งสอง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 712
ถามว่า เพราะเหตุไร ภรรยาเก่า จึงได้กล่าวกะพระสุทินน์ อย่างนี้ว่า
ข้าแต่ลูกนาย ! นางเทพอัปสร (ผู้เป็นเหตุให้ท่านประพฤติพรหมจรรย์)
เหล่านั้น ชื่อเช่นไร๑ ?
แก้ว่า เพราะได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น หมู่ชนผู้ไม่รู้จักคุณแห่งบรรพชา
ครั้นเห็นขัตติยกุมารบ้าง พราหมณกุมารบ้าง เศรษฐีบุตรบ้าง มากมาย ซึ่ง
พากันละมหาสมบัติแล้วออกบวช จึงสนทนากันขึ้นว่า เพราะเหตุไร ขัตติยะ-
กุมารเป็นต้นเหล่านั้นจึงออกบวช คราวนั้น ชนเหล่าอื่นก็พูดกันว่า
ขัตติยกุมารเป็นต้นเหล่านั้นออกบวช เพราะเหตุแห่งนางเทพอัปสรทั้งหลาย
ผู้เป็นเทพนาฏกา. ถ้อยคำนั้นเป็นอันชนเหล่านั้นได้ให้แผ่กระจายไปแล้ว.
ภรรยาเก่าของท่านสุทินน์นี้ ได้ถือเอาถ้อยคำนั้น จึงได้กล่าวอย่างนั้น.
พระเถระ เมื่อจะคัดค้านถ้อยคำของภรรยาเก่านั้น จึงได้กล่าวว่า
น โข อห ภคินิ เป็นต้น แปลว่า น้องหญิง ฉันไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์
เพราะเหตุแห่งนางเทพอัปสรเลย๒.
บทว่า สมุทาจรติ ความว่า ย่อมเรียก คือย่อมกล่าว
หลายบทว่า ตตฺเถว มุจฺฉิตา ปปตา ความว่า ภรรยาเก่าเห็น
ท่านสุทินน์นั้นเรียกตนด้วยวาทะน้องหญิง จึงคิดอยู่ในใจว่า บัดนี้ ท่านสุทินน์นี้
ไม่ต้องการเรา, ได้สำคัญเราผู้เป็นภรรยาจริง ๆ เหมือนเด็กหญิงผู้นอนอยู่ใน
ท้องมารดาเดียวกันกับตน ก็เกิดความโศกเป็นกำลัง แล้วสลบล้มลงฟุบอยู่ใน
ที่ตรงนั้นนั่นเอง.
หลายบทว่า มา โน วิเหยิตฺถ ความว่า ท่านสุทินน์กล่าวกะ
โยมบิดาว่า คุณโยม อย่าชี้บอกทรัพย์และส่งมาคุคามมาเบียดเบียนรูปเลย,
จริงอยู่ วาจานั่นทำความลำบากให้แก่พวกบรรพชิต.
๑-๒. วิ. มหา. ๑/๓๐.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 713
[มารดาขอร้องให้พระสุทินน์เพาะพืชพันธุ์ไว้]
มารดาของท่านสุทินน์ ได้เชื้อเชิญท่านสุทินน์ไว้ในความอภิรมย์ด้วย
ความว่า ถ้าเช่นนั้น ดังนี้ ที่มีอยู่ในบทนี้ว่า พ่อสุทินน์ ! ถ้าเช่นนั้น พ่อ
จงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง คือมารดาได้พูดว่า ถ้าพ่อยังยินดีจะประพฤติพรหมจรรย์
ไซร้. ขอพ่อจงประพฤติ นั่ง ปรินิพพานอยู่บนอากาศเถิด, แต่ว่า พ่อจงให้
บุตรชายคนหนึ่งผู้จะเป็นพืชพันธุ์สำหรับดำรงสกุลของเราไว้.
หลายบทว่า มา โน อปุตฺตก สาปเตยฺย สิจฺฉวโย อติหราเปสุ
ความว่า มารดาของท่านสุทินน์พูดว่า เพราะเหตุที่พวกเราอยู่ในรัชสมัยแห่ง
เจ้าลิจฉวีผู้เป็นคณราชย์, โดยกาลล่วงลับไปแห่งบิดาของพ่อ เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
จะสั่งให้ริบทรัพย์มฤดกนี้ คือทรัพย์สมบัติของพวกเรา ซึ่งมีมากมายอย่างนี้
อันหาบุตรมิได้ คือที่เว้นจากบุตร ผู้จะรักษาทรัพย์ของตระกูลไว้ นำไปสู่
ภายในพระราชวังของพระองค์เสีย, ฉะนั้น, เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น อย่าได้สั่งให้ริบ
คือจงอย่าสั่งให้ริบทรัพย์สมบัตินั้นไปเลย.
ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านสุทินน์ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า คุณโยมแม่ !
เฉพาะเรื่องนี้แล รูปอาจทำได้ ?
แก้ว่า ได้ยินว่า ท่านสุทินน์นั้น คิดว่า เราเท่านั้นจักเป็นเจ้าของ
ทรัพย์มฤดกของมารดาเป็นต้นเหล่านั้น, คนอื่นย่อมไม่มี, มารดาเป็นต้นแม้
เหล่านั้น ก็จักตามผูกพันเราเป็นนิตย์ เพื่อต้องการให้รักษาทรัพย์มฤดก,
เพราะเหตุนี้ ครั้นได้บุตรชายแล้วก็จักงดเว้น (การตามผูกพันเรา), ต่อ
แต่นั้น เราก็จักได้บำเพ็ญสมณธรรมตามสบาย, เมื่อ (ท่าน) เล็งเห็นนัยนี้อยู่
จึงได้กล่าวอย่างนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 714
[สตรีมีระดูหยุดก็ตั้งครรภ์]
คำว่า ปุปฺผ นี้เป็นชื่อแห่งโลหิตที่เกิดขึ้นในเวลาที่มาตุคามมีระดู.
จริงอยู่ ในเวลาที่มาตุคามมีระดู ต่อมมีสีแดงตั้งขึ้นในสถานที่ ๆ ตั้งครรภ์
(ในมดลูก) แล้วเจริญขึ้นถึง ๗ วันก็สลายไป. โลหิตก็ไหลออกจากต่อมเลือด
ที่สลายไปแล้วนั้น. คำว่า ปุปฺผ นั้นเป็นชื่อแห่งโลหิตนั้น.
อนึ่ง ดลหิตนั้นเป็นของมีกำลัง ยังไหลออกอยู่มากเพียงใด, คือย่อม
ไหลออกพร้อมกับโทษ (มลทินแห่งโลหิต) นั้นเอง, ก็เมื่อโทษ (มลทินแห่ง
โลหิต) ไหลออกแล้ว ปฏิสนธิ (ของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์) ที่บิดาให้ไว้แล้ว
ในวัตถุ (รังไข่) ที่บริสุทธิ์ ก็ตั้งขึ้นได้โดยเร็วพลัน.
สองบทว่า ปุปฺผสา อุปฺปชฺชติ ความว่า ต่อมเลือดเกิดขึ้นแก่
ภรรยาเก่าของท่านสุทินน์นั้นแล้ว. พึงทราบการลบบทสังโยค พร้อมกับการ
ลบ อ อักษร* เสีย.
หลายบทว่า ปุราณทุติยกาย พาหาย คเหตฺวา ความว่า ท่าน
พระสุทินน์จับภรรยาเก่านั้นที่แขนทั้งสองนั้น.
สองบทว่า อปฺปญฺตฺเต สิกฺขาปเท ความว่า เพราะปฐมปาราชิก
สิกขาบทยังมิได้ทรงตั้งไว้.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติปฐมปาราชิกเมื่อ ๒๐ พระพรรษา]
ได้ยินว่า ในปฐมโพธิกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุทั้งหลายได้
ประคองพระหฤทัยให้ทรงยินดีแล้วตลอด ๒๐ ปี มีได้ทำอัชฌาจาร (ความ
ประพฤติล่วงละเมิด) เห็นปานนี้ (ให้เกิดขึ้นเลย). พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
* บทว่า ปุปฺผสา นี้ ตัดบทเป็น ปุปฺผ อสฺสา ลบ อ อักษรตัวต้น และลบ สฺ ที่เป็นตัว
สกดเสีย จึงสนธิกันเข้าเป็น ปปฺผสา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 715
หมายเอาอัชฌาจารนั้นนั่นเอง จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
สมัยหนึ่ง พวกภิกษุได้ประคองจิตของเราให้ยินดีแล้วหนอ.
คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อไม่ทรงเล็งเห็นอัชฌาจาร(ความ
ประพฤติล่วงละเมิดเช่นนั้นของภิกษุทั้งหลาย) จึงมิได้ทรงบัญญัติปาราชิกหรือ
สังฆาทิเสส แต่ได้ทรงบัญญัติกองอาบัติเล็กน้อย ที่เหลือไว้เพียง ๕ กองเท่านั้น
ในเพราะเรื่องนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวไว้ว่า
เพราะสิกขาบท ยังมิได้ทรงบัญญัติไว้.
บทว่า อนาทีนวทสฺโส ความว่า ท่านสุทินน์ เมื่อไม่เล็งเห็นข้อ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงบัญญัติสิกขาบทชี้โทษไว้ในบัดนี้ จึงเป็นผู้มีความ
สำคัญ (ในการเสพเมถุนธรรมนั้น) ว่าไม่มีโทษ. จริงอยู่ ถ้าท่านพระสุทินน์นี้
พึงรู้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรทำ หรือว่า สิ่งที่ทำนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อมูลเฉท ดังนี้ไซร้,
กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา แม้จะถึงความสิ้นชีวิตไป อันมีกรรมนั้นเป็นเหตุก็
จะไม่พึงทำ, แต่ท่านเมื่อไม่เล็งเห็นโทษในการเสพเมถุนธรรมนี้ จึงได้เป็นผู้
มีความสำคัญว่า ไม่มีโทษ. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าว
ไว้ว่า เป็นผู้มีความเห็นว่าไม่มีโทษ.
บทว่า ปุราณทุติยิกาย นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ.
บทว่า อภิวิญฺาเปสิ คือ ให้เป็นไปแล้ว.
จริงอยู่ แม้การให้เป็นไป ท่านเรียกว่า วิญฺาปนา เพราะยังกาย
วิญญัติให้เคลื่อนไหว. ก็ท่านพระสุทินน์นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ได้ทำการยัง
กายวัญญัติให้เคลื่อนไหวถึง ๓ ครั้ง เพื่อความตกลงใจจะให้ตั้งครรภ์.
หลายบทว่า สา เตน คพฺภ คณฺหิ ความว่า แม้ภรรยาเก่าของ
ท่านพระสุทินน์นั้น ก็ตั้งครรภ์เพราะอัชฌาจารนั้นนั่นเอง หาได้ตั้งครรภ์โดย
ประการอื่นไม่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 716
[เหตุที่ให้สตรีตั้งครรภ์มี ๗ อย่าง]
ถามว่า ก็การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้ แม้โดยประการอย่างอื่นหรือ ?
แก้ว่า ย่อมมีได้.
ถามว่า ย่อมมีได้อย่างไร ?
แก้ว่า ย่อมมีได้ (เพราะเหตุ ๗ อย่างคือ) เพราะการเคล้าคลึงกาย ๑
เพราะการจับผ้า (นุ่งห่ม) ๑ เพราะการดื่มน้ำอสุจิ ๑ เพราะการลูบคลำสะดือ
(ของสตรี) ๑ เพราะการจ้องดู (รูป) ๑ เพราะเสียง ๑ เพราะกลิ่น ๑.
จริงอยู่ สตรีทั้งหลาย บางพวกเป็นผู้มีความกำหนัดยินดีด้วยฉันทราคะ
ในเวลาที่ตนมีระดู แม้เมื่อยินดีการที่บุรุษจับมือ จับช้องผม และการลูบคลำ
อวัยวะน้อยใหญ่ (ของตน) ย่อมตั้งครรภได้. การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะ
การเคล้าคลึงกาย ด้วยอาการอย่างนี้.
อนึ่ง นางภิกษุณี ผู้เป็นภรรยาเก่าของพระอุทายีเถระ เอาปากอม
น้ำอสุจินั้นไว้ส่วนหนึ่ง ใส่อีกส่วนหนึ่งเข้าในองค์ชาตรวมกับผ้านั่นเอง. นาง
ก็ตั้งครรภ์ได้เพราะเหตุนี้๑. การตั้งครรภ์ย่อมมีได้ เพราะการจับผ้า (นุ่งห่ม)
ด้วยอาการอย่างนี้.
แม่เนื้อ ผู้เป็นมารดาของมิคสิงคดาบส ได้มายังสถานที่ถ่ายปัสสาวะ
ของดาบส ในเวลาที่ตนมีระดู แล้วได้ดื่มน้ำปัสสาวะ ซึ่งมีน้ำสมภพเจือปนอยู่.
แม้เนื้อนั้น ก็ตั้งครรภ์ แล้วออกลูกเป็นมิคลิงคดาบส เพราะเหตุที่ตนดื่มน้ำ
ปัสสาวะนั้น๒. การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะการดื่มน้ำอสุจิ ด้วยอาการอย่างนี้.
อนึ่ง ท้าวสักกะทรงทราบข้อที่มารดาของพระสามดาบสโพธิสัตว์
เสียจักษุ มีพระประสงค์จะประทานบุตร (แก่ท่านทั้งสองนั้น) จึงทรงรับสั่ง
๑. วิ. มหา. ๒/๒๓. ๒. ชาตกัฏฐกถา. ๘/๑. ๗/๓๙๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 717
กะทุกุลกบัณทิต (ผู้เป็นบิดาของพระสามดาบสโพธิสัตว์นั้น) ว่า เมถุนธรรม
ควรแก่ท่านทั้งสองหรือ ?
ทุกุลกบัณฑิต ทูลว่า อาตมภาพทั้งสอง บวชเป็นฤษีแล้ว ไม่มีความ
ต้องการ ด้วยเมถุนธรรมนั่น.
ท้าวสักกะ ทรงรับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น ในเวลาที่นางปาริกาตาปสินีนี้มี
ระดู ท่านพึงเอานิ้วมือลูบคลำสะดือ (ของนาง) เถิด.
ทุกุลกบัณฑิตนั้น ได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. นางปาริกาตาปสินีนั้น
ก็ตั้งครรภ์ แล้วคลอดทารกชื่อสามดาบส เพราะเหตุที่ลูบคลำสะดือนั้น๑.
การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะการลูบคลำสะดือ ด้วยอาการอย่างนี้. โดยนัยนี้
นั่นแล ควรทราบเรื่องมัณฑัพยมาณพ๒ และเรื่องพระเจ้าจัณฑปัชโชต.
ถามว่า การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะการจ้องดู (รูป) อย่างไร?
แก้ว่า สตรีบางพวกในโลกนี้ ในเวลาที่ตนมีระดู เมื่อไม่ได้การ
เคล้าคลึงกับชาย จึงเข้าไปในเรือน จ้องดูชาย ด้วยอำนาจความกำหนัดพอใจ
(แล้วก็ตั้งครรภ์) เหมือนนางสนมชาววัง ฉะนั้น. นางย่อมตั้งครรภ์ เพราะการ
จ้องดูชายนั้น. การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะการจ้องดูรูป ด้วยอาการอย่างนี้.
อนึ่ง บรรดานกตระกรุมทั้งหลาย (นกยาง) ชื่อว่านกตระกรุมตัวผู้
ย่อมไม่มี. นางนกตระกรุมเหล่านั้น ในเวลาที่ตนมีระดู ครั้นได้ฟังเสียงเมฆ
(คำราม) แล้ว ย่อมตั้งครรภ์ ถึงแม่ไก่ทั้งหลายจะมากตัวก็ตาม ในกาลบางครั้ง
ครั้นได้ฟังเสียงไก่ผู้ตัวเดียว (ขัน) ก็ย่อมตั้งครรภ์ได้. ถึงแม่โคทั้งหลาย ครั้น
ได้ฟังเสียงโคอุสภะ (โคตัวผู้) แล้ว ก็ย่อมตั้งครรภ์เหมือนอย่างนั้น .การ
ตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะเสียง ด้วยอาการอย่างนี้
๑. นัยชาตกัฏฐกถา. ๙/๑๒๓-๔. ๒. ชาตกัฏฐกถา. ๗/๕-๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 718
อนึ่ง แม่โคทั้งหลายนั่นเอง ในกาลบางครั้ง ย่อมตั้งครรภ์ได้เพราะ
กลิ่นของโคตัวผู้. การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะกลิ่น ด้วยอาการอย่างนี้.
ส่วนในเรื่องนี้ ภรรยาเก่าของท่านพระสุทินน์นี้ ย่อมตั้งครรภ์เพราะ
อัชฌาจาร ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า
มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน ๑ มารดาที่ระดู ๑ สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ปรากฏ ๑.
เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความก้าวลงแห่งสัตว์
ผู้เกิดในครรภ์ จึงมีได้.
[เทพเจ้าประกาศความชั่วของพระสุทินน์]
หลายบทว่า ภุมฺมา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุ ความว่า ชื่อว่า
ความลับของชนผู้กระทำกรรมชั่ว ย่อมไม่มีในโลก๒ , จริงอยู่ ตนของชนผู้
กระทำความชั่วนั้น ย่อมรู้ความชั่ว (ที่ตนทำ) นั้น ก่อนกว่าคนอื่นทั้งหมด,
ต่อจากนั้น อารักขเทพเข้าทั้งหลายย่อมรู้, ภายหลังต่อมาเทพเจ้าแม้เหล่าอื่น
ผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ก็ย่อมรู้, เพราะเหตุนั้น ภุมมเทพเจ้าทั้งหลาย ผู้อาศัย
อยู่ในไพรสณฑ์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นผู้รู้จิตของบุคคลอื่น พบเห็นอัชฌาจารนั้นของ
ท่านพระสุทินน์นั้น ก็ได้กระจายเสียงให้บันลือลั่นไป คือได้เปล่งเสียงออก
โดยอาการที่เทพเจ้าแม้เหล่าอื่นจะได้ยิน.
ถามว่า ได้ยินว่า อย่างไร?
แก้ว่า ได้ยินดังนี้ ท่านผู้เจริญ ! โอ ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด หาโทษ
มิได้, (แต่) พระสุทินน์กลันทบุตร ก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว.
ใจความแห่งคำว่า ไม่มีเสนียด เป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยดังที่
ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในเวรัญชกัณฑ์นั่นแล
๑. ม. มู. ๑๒/๒๔๗.ปปัญจสูทนี. ๒/๔๑๗-๘. ๒. ขุ. ชา. ๒๗/๑๓๑. ชาตกัฎฐ ๔/๒๔๘.
๓. วิ.มหา. ๑/๓๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 719
อนึ่ง ในคำว่า ภุมฺมาน เทวาน สทฺท สุตฺวา จาตุมฺมหา-
ราชิการ นี้ พึงทราบลำดับดังนี้ว่า อากาสัฏฐเทพเจ้าทั้งหลายได้สดับเสียง
เหล่าภุมมเทพเจ้าแล้ว, เทพเจ้าชั้นจาตุมหาราชทั้งหลาย ได้สดับเสียงเหล่า
อากาสัฏฐเทพเจ้าแล้ว ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า พฺรหฺมกายิกา ความว่า พรหมแม้ทั้งหมด ยกเว้นเหล่า
อสัญญีสัตว์และเหล่ารูปาวจรสัตว์เสีย พึงทราบว่า ได้สดับแล้ว และครั้น
ได้สดับแล้ว ก็ได้กระจายเสียงให้บันลือลั่นแล้ว.
หลายบทว่า อิติห เตน ขเณน ความว่า ชั่วขณะเดียวแห่งอัชฌาจาร
ของท่านพระสุทินน์นั้น ด้วยอาการอย่างนี้.
สองบทว่า เตน มุหุตฺเตน ความว่า ชั่วครู่เดียวแห่งอัชฌาจาร
นั่นเอง.
สองบทว่า ยาว พฺรหมฺโลกา ความว่า ( เสียงได้กระฉ่อนขึ้นไป
แล้ว ) จนถึงพรหมโลกขั้นอกนิฏฐะ.
บทว่า อพฺภุคฺคญฺฉิ แปลว่า ได้กระฉ่อนขึ้นไปแล้ว คือได้ตั้งขึ้น
แล้ว. ความก็ว่า ได้มีเสียงระเบ็งเซ้งแซ่เป็นอันเดียวกันแล้ว.
[บุตรชายของท่านพระสุทินน์มีชื่อว่าพีชกะ]
สองบทว่า ปุตฺต วิชายิ ความว่า ภรรยาเก่าของท่านพระสุทินน์
ได้ให้ปัจฉิมภวิกสัตว์ ผู้เช่นกับพิมพ์ทองเกิดแล้ว.
หลายบทว่า พีชโกติ นาม อกสุ ความว่า พวกสหายของท่าน
พระสุทินน์ไม่ยอมให้ตั้งชื่อเป็นอย่างอื่น คือได้พากันตั้งชื่อว่า ''พีชกะ'' (เจ้า
พืชก์) โดยลงความเห็นกันว่า "ทารกนั้นจงมีชื่อว่า" เจ้าพืชก์" เท่านั้น,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 720
เพราะเหตุแห่งคำที่ย่าได้กล่าวขอไว้ว่า "พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง" ดังนี้ ปรากฏ
ชัดแล้ว. พวกสหาย ก็ได้ตั้งชื่อให้แก่มารดาบิดาแห่งพีชกทารกนั้น ด้วยอำนาจ
ชื่อบุตรชายเหมือนกัน.
คำว่า เต อปเรน สมเยน นี้ท่านกล่าวหมายเอาเจ้าพืชก์และ
มารดาของเจ้าพืชก์.
[มารดาและพีชกทารกบวชแล้วได้สำเร็จพระอรหัต]
ได้ยินว่า ในเวลาที่พีชกะมีอายุได้ ๗-๘ ขวบ มารดาของเธอได้บวช
ในสำนักนางภิกษุณี และพีชกทารกนั้น ก็ได้บวชอยู่ในสำนักของภิกษุ ได้
อาศัยเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นกัลยาณมิตร ก็ได้ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว. เพราะ
เหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวว่า เขาทั้งสอง ได้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว.* บรรพชาของมารดาและ
บุตร ได้มีผลแล้วด้วยประการฉะนี้.
[ท่านพระสุทินน์เดือดร้อนใจเพราะประพฤติชั่วหยาบ]
ส่วนบิดาของพีชกทารกนั้น ถูกความวิปฏิสารครอบงำอยู่ เพราะเหตุ
นั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวคำว่า "อถ โข อายสฺมโต สุทินฺนสฺส
อหุเทว กุกฺกุจฺจ " ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุเทว แปลว่า ได้มีแล้วนั้นเทียว.
ทะ อักษรทำการเชื่อมบท. ความว่า ได้มีแล้วนั่นเทียว.
ความตามเดือดร้อนในภายหลัง อันมีอัชฌาจารเป็นเหตุ ชื่อว่าความ
รำคาญ. แม้คำว่า วิปฏิสาโร ก็เป็นชื่อแห่งความตามเดือดร้อนในภายหลัง
นั้นนั่นเอง.
*วิ. มหา. ๑/๓๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 721
จริงอยู่ ความตามเดือดร้อนในภายหลังนั้น ท่านเรียกว่า กุกกุจจะ
(ความรำคาญ) โดยความเป็นกิริยาที่บัณฑิตพึงเกลียด เพราะความเป็นกรรม
อันผู้รู้ทั้งหลายไม่พึงทำ, ท่านเรียกว่า วิปฏิสาร (ความเดือดร้อน) โดย
เป็นความระลึกผิดรูปไป เพราะอาศัยอัชฌาจารนั้น เพราะไม่สามารถจะห้าม
อัชฌาจารที่ตนทำแล้วได้.
หลายบทว่า อลาภา วต เม ความว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ.
มีอธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า ความไม่ได้คุณทั้งหลาย มีฌานเป็นต้นเหล่านั้น ไม่ใช่
ลาภของเรา ทั้งไม่ใช่ลาภของผู้อื่น.
หลายบทว่า น วต เม ลาภา ความว่า คุณคือบรรพชา สรณคมน์
และการสมาทานสิกขาแม้เหล่าใด ที่เราได้เฉพาะแล้ว, คุณคือบรรพชาเป็นต้น
แม้เหล่านั้น ชื่อว่าไม่ใช่ลาภของเราเลย เพราะมีอัชฌาจารเศร้าหมอง.
หลายบทว่า ทุลฺลทฺธ วต เม ความว่า พระศาสนานี้ แม้ที่เรา
ได้แล้ว ก็ชื่อว่าเราได้ชั่ว.
หลายบทว่า น วต เม สุลทฺธ ความว่า พระศาสนานี้ เราได้
ไม่ดีเหมือนอย่างกุลบุตรอื่นเขาได้กันหนอ. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุ
เราบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ ยังไม่
สามารถจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้จนตลอดชีวิตแล.
บทว่า พฺรหมฺจริย ได้แก่ มรรคพรหมจรรย์ ที่ท่านสงเคราะห์ด้วย
ไตรสิกขา.
สองบทว่า กิโส อโหสิ ความว่า ท่านพระสุทินน์นั้น เมื่อไม่สามารถ
จะเคี้ยวกินหรือฉันอาหาร จึงได้เป็นผู้ซูบผอม คือมีเนื้อและโลหิตน้อย.
บทว่า อุปฺปณฺฑุปฺปณฺฑุกชาโต ได้แก่ ความเป็นผู้มีผิวเหลือง ๆ
เกิดขึ้น คือเป็นผู้มีส่วนเปรียบดุจใบไม้เหลือง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 722
บทว่า ธมนิสณฺตคตฺโต ได้แก่ ผู้มีตัวสะพรั่งด้วยแถวเส้นเอ็น
นั่นเอง เพราะความเป็นผู้มีเนื้อและโลหิตสิ้นไป.
บทว่า อนฺโตมโน ได้แก้ ผู้มีความคิดตั้งอยู่ภายในนั่นเอง (ผู้มีเรื่อง
ในใจ) ด้วยอำนาจความระทมถึง. อนึ่ง สัตวโลกแม้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้มี
ใจอยู่ในภายในนั่นเอง (คิดอยู่แต่ในใจ) ด้วยอำนาจความเป็นไป อาศัยหทัย-
วัตถุ.
บทว่า ลีนมโน ได้แก่ ผู้ทอดทิ้งธุระ คือผู้ไม่มีความขวนขวายใน
อุเทศ ปริปุจฉา กรรมฐาน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา และการบำเพ็ญวัตร
และระเบียบวัตร. ชื่อว่า ผู้มีใจหดหู่ เพราะอรรถว่า ใจของผู้นั้นหดหู่ คือ
งอกลับด้วยอำนาจความเกียจคร้านโดยแท้ทีเดียว.
บทว่า ทุกฺขี ได้แก่ ผู้มีทุกข์ เพราะทุกข์ทางใจ.
บทว่า ทุมฺมโน ได้แก่ ผู้มีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว หรือผู้มีใจ
ผิดรูป เพราะความเป็นผู้ถูกโทมนัสครอบงำ.
บทว่า ปชฺฌายี ความว่า ท่านพระสุทินน์ คิดถึงความชั่วที่ตนทำ
แล้วนั้น ๆ ด้วยอำนาจความเดือดร้อน (ซบเซา) ดุจลาตัวที่เขาคัดออกจากภาระ
แล้ว ( ซบเซาอยู่) ฉะนั้น.
[พวกภิกษุสหายถามท่านพระสุทินน์ถึงความซูบผอม]
สองบทว่า สหายกา ภิกฺขู ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ถามถึงความ
ผาสุก ที่เป็นผู้คุ้นเคยของท่านพระสุทินน์ เห็นพระสุทินน์นั้น ผู้เป็นแล้ว
อย่างนั้น ซึ่งปล่อยให้วันคืนผ่านไปอยู่ ด้วยธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า คือการ
คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่ จึงได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์นั้น.
บทว่า ปินินฺทฺริโย ความว่า ผู้มีอินทรีย์มีจักษุเป็นต้นเต็มเปี่ยม
เพราะโอกาสซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งประสาทสมบูรณ์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 723
ศัพท์ว่า ทานิ ที่มีอยู่ในคำว่า โสทานิ ตฺว นี้ เป็นนิบาต.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า โส ปน ตฺว ที่แปลว่า ก็คุณนั้น (ดูซูบผอม).
หลายบทว่า กจฺจิ โน ตฺว คือ กจฺจิ นุ ตฺว ที่แปลว่า คุณ
(จะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์) หรือหนอ?
บทว่า อนภิรโต แปลว่า ผู้มีความกระสัน, อธิบายว่า ผู้ปรารถนา
ความเป็นคฤหัสถ์.
เพราะเหตุนั้น ท่านพระสุทินน์ เมื่อจะคัดค้าน ความไม่ยินดีนั้นนั่น
แล จึงกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ! ความจริง ไม่ใช่ว่าผมจะไม่ยินดี
(ประพฤติพรหมจรรย์). อธิบายว่า ก็ผมยินดีทีเดียวในการเจริญกุศลธรรม
อันยิ่ง.
หลายบทว่า อตฺถิ เม ปาปกมฺม กต ความว่า บาปกรรมอย่างหนึ่ง
ที่ผมทำไว้ มีอยู่ คือผมได้รับอยู่ ได้แก่มีปรากฏแก่ผมอยู่เป็นนิตยกาล ดุจมี
อยู่เฉพาะหน้าฉะนั้น.
ถัดจากนั้น ท่านพระสุทินน์ เมื่อจะประกาศ (เปิดเผย) บาปกรรม
ที่ตนทำแล้วนั้น (แก่เหล่าภิกษุสหาย) จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ปุราณทุต-
ยิกาย ดังนี้.
[พวกภิกษุสหายเห็นด้วยว่ากรรมนั้นให้เกิดความรำคาญได้]
หลายบทว่า อล หิ เต อาวุโส สุทนฺน กุกฺกุจฺจาย ความว่า
อาวุโส สุทินน์! บาปกรรมนั่นของคุณ พอที่ คือสามารถจะให้คุณรำคาญได้.
มีคำอธิบายว่า เป็นของสามารถจะให้เกิดความรำคาญได้.
ในคำว่า ย ตฺว เป็นต้น พึงทราบการเชื่อมความดังนี้ว่า คุณจัก
ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ เพราะความชั่วใด, ความชั่วนั้นของคุณพอ
ที่จะให้คุณรำคาญได้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 724
ต่อจากนั้น เหล่าภิกษุสหาย เมื่อจะพร่ำสอนพระสุทินน์นั้น จึงได้
กล่าวคำเป็นต้นว่า นนุ อาวุโส ภควตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า นนุ เป็นนิบาต ลงในอรรถอนุมัติ
และตำหนิ.
บทว่า อเนกปริยาเยน แปลว่า โดยเหตุมิใช่อย่างเดียว.
บทว่า วิราคาย แปลว่า เพื่อคายความกำหนัด.
สองบทว่า โน สราคาย ความว่า ไม่ใช่เพื่อความกำหนัดด้วยราคะ.
อธิบายว่า จริงอยู่ ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์
แห่งการคายความกำหนัดนั่นว่า สัตว์ทั้งหลาย ได้สดับธรรมของเรานี้แล้ว
จักคายความกำหนัด คือจักไม่ยินดีในภพและโภคสมบัติทั้งปวง. ในบททั้งปวง
ก็มีนัยนั่น.
ก็คำว่า วิสโยคาติ กิเลเสหิ วิสยุชฺชนตฺถาย นี้ ที่มีอยู่ใน
บทว่า วิสโยคาย เป็นต้นนี้ เป็นเพียงการกล่าวโดยนัยทางอ้อม.
บทว่า วิสโยคาย ความว่า เพื่อปราศจากความประกอบด้วยกิเลส
ทั้งหลาย.
สองบทว่า โน สโยคาย ความว่า ไม่ใช่เพื่อความประกอบ (ด้วย
กิเลสทั้งหลาย).
บทว่า อนุปาทานาย ความว่า เพื่อความไม่ถือมั่น.
สองบทว่า โน สอุปาทานาย ความว่า ไม่ใช่เพื่อความยึดมั่น.
หลายบทว่า ตตฺถ นาม ตฺว ความว่า เมื่อธรรมชื่อนั้น (อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพื่อคายความกำหนัด ) คุณ (ยังจักคิดเพื่อ
ความกำหนัดอีกหรือ?).
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 725
สองบทว่า สราคาย เจเตสฺสสิ ความว่า คุณยังจักคิด คือยังจัก
ดำริ เพื่อเมถุนธรรม อันเป็นไปอยู่ พร้อมด้วยความกำหนัดหรือ ? อธิบายว่า
คุณจักยังพยายามเพื่อต้องการเมถุนธรรมนั่นหรือ ? ในบททั้งปวง ก็มีนัยนั้น.
[อรรถาธิบายชื่อพระนิพพาน ๙ บท]
บททั้ง ๙ มีราควิราคะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา
พระนิพพานซึ่งเป็นโลกุตรธรรมที่ปราศจากวัฏฏะนั่นแล ตรัสไว้ซ้ำอีก. เพราะ
เหตุนั้น แม้เมื่อพระองค์ตรัสว่า ราควิราคาย ก็ดี มหนิมฺมทนาย ก็ดี
บัณฑิตพึงเห็นใจความอย่างนี้เท่านั้นว่า "เพื่อประโยชน์แก่พระนิพพาน".
จริงอยู่ พระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า "ธรรมเป็นที่
สำรอกราคะ" เพราะเหตุว่าราคะมาถึง คือปรารภ สืบต่ออาศัยพระนิพพาน
นั้นแล้ว ย่อมปราศไป คือไม่มี.
อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่า ธรรมเป็นที่สร่างเมา เพราะเหตุว่า
ความเมาทั้งหลาย มีความเมาด้วยอำนาจมานะ และความเมาในบุรุษเป็นต้น
มาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมเป็นอันสร่างไปไม่เป็นความเมา คือสาบสูญไป.
อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่า ธรรมเป็นที่คลายความกระหาย
เพราะเหตุว่า ความกระหายในกามแม้ทั้งปวง มาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อม
ถึงความคลายไป คือความพลัดตกไป.
อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่า ธรรมเป็นที่เพิกถอนอาลัย เพราะ
เหตุว่า อาลัยคือเบญจกามคุณ มาถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมถึงความเพิกถอนไป.
เพราะเหตุว่า วัฏฏะมี ๓ ภูมิ มาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมขาดเด็ดไป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 726
อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา, ธรรมเป็น
ที่บำราศราคะ ธรรมเป็นที่ดับ เพราะเหตุว่า ตัณหา มาถึงพระนิพพานนั้น
แล้ว ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบำราศไป และย่อมดับไปโดยประการทั้งปวง.
อนึ่ง พระนิพพานนั่น ทรงเรียกว่า นิพพาน เพราะเหตุว่าออกไป
คือเล่นออกหลุดพ้น จากตัณหา ซึ่งได้โวหารว่า วานะ เพราะผูกคือล่าม
ได้แก่เย็บเชื่อมกำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ไว้ เพื่อ
ความมีความเป็นสืบ ๆ ไป ฉะนี้แล.
หลายบทว่า กามาน ปหาน อกฺขาต มีความว่า การละวัตถุกาม
และกิเลสกามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วมิใช่หรือ?
สองบทว่า กามสญฺาน ปริญฺา มีความว่า การกำหนดรู้ความ
หมายในกามแม้ทั้งหมด มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วย
การรู้) ตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา) และปหานปริญญา (กำ-
หนดรู้ด้วยการเสียสละ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วมิใช่หรือ?
บทว่า กามวิตกฺกาน มีความว่า ความเพิกถอนวิตกทั้งหลายที่แอบ
อิงกาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วมิใช่หรือ?
บทว่า กามปริฬาหาน มีความว่า ความสงบราบแห่งความร้อนรุ่ม
ซึ่งเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความกำหนัดที่ประกอบด้วยเบญจกามคุณ ได้แก่ ความ
กลัดกลุ้มภายใน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วมิใช่หรือ?
โลกุตรมรรค เครื่องทำความสิ้นกิเลสแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ไว้แล้วในสถาน ๕ เหล่านี้. แต่มรรคที่เจือกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ บัณฑิต
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 727
พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วใน ๓ สถานแรกแห่งสถาน
ทั้งหมด.
คำว่า เนต อาวุโส เป็นต้น มีความว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ! กรรม
ลามกนั้นของท่าน ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสแห่งชนทั้งหลายผู้ยังไม่
เลื่อมใส คือเพื่อประโยชน์แก่ความเลื่อมใสของชนทั้งหลายผู้เห็นปานนั้นหรือ ?
บทว่า อถเขฺวต ตัดบทเป็น อถโข เอต.
บาลีว่า อถ เขต ก็มี.
บทว่า อญฺถตฺตาย มีความว่า (กรรมลามกนั่นของท่าน) ย่อม
เป็นไป เพื่อความเป็นโดยประการอื่น จากความเลื่อมใส คือเพื่อความเดือด-
ร้อน. อธิบายว่า ย่อมทำความเดือดร้อนแก่ชนทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาอันยังมิได้
มาด้วยมรรคว่า เราทั้งหลายเลื่อมใสในพระธรรมวินัย ชื่อแม้เช่นนี้ ซึ่ง
มีพวกภิกษุผู้ปฏิบัติเลวทราม.
ฝ่ายความเลื่อมใส ของชนทั้งหลายผู้มีศรัทธามาแล้วด้วยมรรค เป็น
ของไม่หวั่นไหวด้วยเรื่องเช่นนี้ หรือด้วยเรื่องที่ร้ายแรงยิ่งกว่านี้ เหมือนภูเขา
สิเนรุ ไม่หวั่นไหวด้วยลมฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุสหายเหล่านั้น จึง
กล่าวว่า เพื่อความเป็นโดยประการอื่นแห่งชนบางพวก.
[ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องพระสุทินน์เสพเมถุนธรรม]
ข้อว่า ภควโต เอตมตฺถ อาโรเจสุ มีความว่า ภิกษุสหายเหล่า
นั้น ได้กราบทูล คือได้แจ้งเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ก็แล เมื่อ
กราบทูล หาได้กราบทูล เพื่อปรารถนาจะให้ตนเป็นที่โปรดปรานไม่, หาได้
ทูลเพื่อมุ่งจะทำความยุยงไม่, หาได้ทูล เพื่อต้องการประจานโทษ ของท่านผู้
มีอายุนั้นไม่, หาได้ทูลเพื่อบอกโทษที่น่าตำหนิไม่, หมายใจอยู่ว่า พระผู้มี-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 728
พระภาคเจ้า ทรงสดับเนื้อความนี้แล้ว จักไม่ให้พระสุทินน์นี้ คงอยู่ในพระ-
ศาสนา จักให้ฉุดคร่าเธอออกไปเสีย จึงได้ทูลก็หาไม่, อันที่จริง ได้ทูลด้วย
ทำในใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงทราบความเสียหายนี้ ซึ่งเกิดขึ้นใน
พระศาสนาแล้ว จักทรงบัญญัติสิกขาบท จักทรงตั้งเขตแดน คืออาชญาไว้.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิพระสุทินน์]
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เอตสฺมึ นิทาเน เอตสฺมึ ปกรเณ นี้
ต่อไปนี้:- ความละเมิดอัชฌาจารของพระสุทินน์ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า
เป็นนิทานและเป็นปกรณ์ เพราะเป็นเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบท. จริงอยู่
เหตุ ท่านเรียกว่า นิทานและปกรณ์ เพราะเป็นที่มอบให้ซึ่งผลของตน คือ
ยังผลให้บ่าไป เหมือนแสดงว่า เชิญถือเอาผลนั้นเถิด และเพราะเหตุที่เริ่ม
กระทำ คือปรารภเพื่อจะทำผลนั้น หรือว่าแต่งผลนั้นทีเดียว.
หลายบทว่า วิครหิ พุทฺโธ ภควา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงติ คือทรงตำหนิ (พระสุทินน์) นั้น เหมือนอย่างบุคคลผู้เลิศ เมื่อจะ
แสดงคุณและโทษ ของชนทั้งหลายผู้สมควรแก่คุณและโทษ ก็ติและชม ฉะนั้น.
จริงอยู่ เพราะทรงเห็นบุคคล ผู้ทำการล่วงละเมิดศีล ความคิดย่อม
ไม่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้นี้เป็นคนมีชื่อเสียง มียศโดยชาติหรือ
โดยโคตร หรือโดยความเป็นบุตรของคนมีสกุล หรือโดยคัณฐะ (การร้อยกรอง)
หรือโดยธุดงควัตร, เราสมควรที่จะรักษาบุคคลเช่นนี้ไว้ เพราะทรงเห็นบุคคล
ผู้มีคุณมีศีลเป็นที่รัก จิตที่คิดจะปิดบังคุณของเขา จะได้เกิดขึ้นหามิได้เลย,
อันที่จริง พระองค์ย่อมทรงติบุคคลซึ่งควรติเท่านั้น ย่อมทรงชมบุคคลซึ่ง
ควรชมเท่านั้น, และพระสุทินน์นี้ เป็นผู้สมควรติ, เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า ผู้ทรงดำรงอยู่ในลักษณะของท่านผู้คงที่ มีพระหฤทัยไม่ลำเอียง
ได้ทรงติพระสุทินน์นั้น ด้วยพระพุทธดำรัสว่า อนนุจฉวิย เป็นอาทิ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 729
[อรรถาธิบายกรรมที่ไม่ควรแก่สมณะเป็นต้น]
ในคำว่า อนนุจฺฉวิย เป็นต้นนั้น มีการพรรณนาเนื้อความดังต่อ
ไปนี้:- ดูก่อนโมฆบุรุษ! ผู้เป็นมนุษย์เปล่า กรรมที่เธอทำแล้วไม่สมควร
แก่ธรรมอันทำความเป็นสมณะ หรือแก่มรรคผลนิพพานและศาสนา คือไม่
เป็นไปตาม ได้แก่ไม่คล้อยไปตามผิดคือเงา ได้แก่ความเป็นธรรมดีแห่งธรรม
เหล่านั้น, โดยที่แท้ เป็นกรรมเหินห่างจากธรรมเหล่านั้นทีเดียว, ก็เพราะ
ความเป็นของไม่สมควรนั่นเอง กรรมนั้นจึงชื่อว่าเป็นของไม่เหมาะเจาะ คือ
ไม่อนุโลมแก่ธรรมเหล่านั้น, โดยที่แท้ เป็นของแย้งกัน คือตั้งอยู่ในความ
เป็นข้าศึกกัน, เพราะความเป็นของไม่เหมาะเจาะนั่นแล กรรมนั้นจึงจัดเป็น
กรรมไม่สมรูป คือเป็นกรรมเข้ารูปกัน คล้ายกัน ถูกส่วนกันหามิได้, โดยที่แท้
เป็นของไม่คล้ายกัน ก็ไม่ถูกส่วยกันทีเดียว, ก็เพราะความเป็นของไม่สมรูปกัน
นั่นแล กรรมนั่นจึงจัดว่าไม่ใช่กรรมของสมณะ, คือไม่เป็นกรรมของพวก
สมณะ, เพราะข้อที่ไม่เป็นของสำหรับสมณะ กรรมนั้นจึงจัดเป็นอกัปปิยะ
จริงอยู่ กรรมใดไม่ใช่กรรมของสมณะ, กรรมนั้น ย่อมไม่สมควรแก่สมณะ
เหล่านั้น, เพราะข้อที่กรรมเป็นอกัปปิยะ กรรมนั้นจึงจัดว่าไม่ควรทำ, แท้จริง
กรรมใด ไม่สมควรแก่เหล่าสมณะ, สมณะทั้งหลาย ย่อมไม่ทำกรรมนั้น. แต่
กรรมนี้นั้น อันเธอทำแล้ว, ดูก่อนโมฆบุรุษ ! เพราะเหตุนั้น กรรมอันไม่
สมควร ไม่เหมาะเจาะ ไม่สมรูป ไม่ใช่กิจของสมณะ เป็นอกัปปิยะ ไม่ควรทำ
ชื่อว่าอันเธอทำแล้ว.
ข้อว่า กถ หิ นาม มีความว่า เพราะเหตุชื่ออะไรเล่า ? มีคำ
อธิบายว่า ท่านเล็งเห็นเหตุชื่ออะไรเล่า?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 730
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่มีเหตุ จึง
ตรัสคำว่า นนุ มยา โมฆปุริส เป็นต้นข้างหน้า. คำทั้งหมดนี้เนื้อความ
ดังกล่าวแล้วนั่นแล.
กรรมลามก ที่พระสุทินน์นั้นทำแล้ว เมื่อให้ผล ย่อมเป็นกรรมมี
วิบากเป็นทุกข์อย่างยิ่ง, เพราะเหตุนั้น บัดนี้ เมื่อจะทรงว่ากล่าวพระสุทินน์
ด้วยพระหฤทัยประกอบด้วยความเอ็นดู ดุจมารดาบิดาผู้มีความเอ็นดู ว่ากล่าว
บุตร ผู้ทำความผิดแล้ว ฉะนั้น จึงตรัสคำว่า วรนฺเต โมฆปุริส เป็นอาทิ
เพื่อแสดงวิบากนั้นแก่พระสุทินน์นั้น.
ในคำว่า วรนฺเต โมฆปุริส เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- พิษ
ของงูนั้น ย่อมแล่นเร็ว คือไว เหตุนั้น งูนั้น จึงชื่อว่า อาสีวิสะ (มีพิษ
แล่นเร็ว) พิษของงูนั้น กล้า คือร้ายแรง เหตุนั้น งูนั้น จึงชื่อว่า โฆรวิสะ
(มีพิษกล้า). แห่งอสรพิษ ที่มีพิษแล่นเร็ว มีพิษกล้านั้น. พึงเชื่อมบทนี้ว่า
ปกฺขิตฺต ด้วยบทว่า วร นี้. องคชาต อันเธอสอดเข้าไปในปากแห่งงูมีพิษ
แล่นเร็วเช่นนี้ประเสริฐกว่า. อธิบายว่า หากองคชาตพึงเป็นของอันเธอสอด
เข้าไปไซร้, พึงเป็นของประเสริฐกว่า คือความดี ความงาม ความชอบจะพึงมี.
บทว่า กณฺหสปฺปสฺส แปลว่า งูเห่าหม้อ.
บทว่า องฺคารกาสุยา แปลว่า ในหลุมที่เต็มด้วยถ่านเพลิง หรือ
ในกองถ่านเพลิง.
บทว่า อาทิตฺตาย แปลว่า อันไฟติดทั่วแล้ว คือมีความสว่าง
เปลวไฟจับทั่วแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 731
บทว่า สมฺปชฺชลิตาย แปลว่า รุ่งโรจน์ คือปล่อยเปลวไฟขึ้น
โดยรอบด้าน.
บทว่า สญฺโชติภูตาย แปลว่า มีแสงสว่าง. มีคำอธิบายว่า มีความ
เกิดขึ้นแห่งแสงสว่างเป็นอันเดียวกันจากเปลวไฟ ที่ลุกโพลงขึ้นโดยรอบด้าน.
ในคำว่า ต กิสฺส เหตุ นี้ หากจะมีผู้ถาม ถามว่า คำที่เรากล่าวว่า
ยังประเสริฐกว่า เป็นเหตุแห่งอะไร คือเพราะเหตุไหน?
แก้ว่า เพราะพึงประสบความตาย อธิบายว่า ผู้ใดพึงสอดองค์กำเนิด
เข้าไปในปากงูเป็นต้นนั้น, ผู้นั้นพึงประสบความตาย.
หลายบทว่า อิโตนิทานญฺจ โข ฯเปฯ อุปปชฺเชยฺย มีความว่า
บุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิด เข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น พึงเข้าถึงนรก
ซึ่งมีการทำนี้เหตุ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงข้อที่กรรมเป็นของมีโทษมาก
อย่างนั้น แล้วจึงทรงตำหนิพระสุทินน์นั้น หาได้ทรงตำหนิมุ่งให้พระสุทินน์
นั้นประสบความทุกข์ไม่.
หลายบทว่า ตตฺถ นาม ตฺว ความว่า เมื่อกรรมอันนั้น คือเห็น
ปานนั้น แม้เป็นของมีโทษมากอย่างนี้ เธอ (ยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรมอันเป็น
เรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ).
ศัพท์ว่า ย ซึ่งมีอยู่ในคำว่า ย ตฺว นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถแห่ง
ความดูถูก. บทว่า ตฺว เป็นไวพจน์แห่ง ต ศัพท์. ท่านกล่าวอธิบายไว้
แม้ด้วยบททั้งสองว่า ได้แก่ ความดูถูก คือความดูหมิ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า อสทฺธมฺม ได้แก่ธรรมของอสัตบุรุษ คือคนชั้นต่ำ อธิบายว่า
อันคนชั้นต่ำเหล่านั้น พึงเสพ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 732
บทว่า คามธมฺม ได้แก่ เรื่องของชาวบ้าน , มีคำอธิบายว่า เป็น
ธรรมของพวกชนชาวบ้าน.
บทว่า วสลธมฺม ความว่า เป็นมรรยาทของเหล่าชนผู้เป็นคนชั้นต่ำ
เพราะอรรถว่า หลั่งออก คือปล่อยออก ซึ่งบาปธรรม ได้แก่ ของพวกบุรุษ
เลวทราม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเป็นเหตุไหลออกแห่งกิเลส ชื่อว่า วสลธรรม.
บทว่า ทุฏฺฐุลฺล ได้แก่เป็นของชั่ว และเป็นของหยาบ ซึ่งถูกกิเลส
ประทุษร้าย, มีคำอธิบายว่า เป็นของไม่สุขุม คือไม่ละเอียด.
บทว่า โอทกนฺติก ความว่า เมถุนธรรม ชื่อว่ามีน้ำเป็นที่สุด
เพราะอรรถว่า กิจเนื่องด้วยน้ำเป็นที่สุด คือ เป็นอวสานแห่งเมถุนธรรมนั้น.
ซึ่งเมถุนธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุดนั้น.
บทว่า รหสฺส ได้แก่เป็นกรรมลับ คือเกิดขึ้นในโอกาสอันปิดบัง.
จริงอยู่ ธรรมนี้ ใครๆ ไม่อาจจะทำให้เปิดเผย คือไม่อาจจะทำในวิสัยที่
บุคคลเหล่าอื่นจะเห็นได้ เพราะเป็นกรรมน่าเกลียด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นกรรมลับ.
บทว่า ทฺวยทฺวยสมปตฺตึ แปลว่า อันชนสองคน ๆ พึงประพฤติ
รวมกัน บาลีว่า ทฺวย ทฺวย สมาปตฺตึ ก็มี อาจารย์บางพวกสวดกันว่า
ทยทยสมาปตฺตึ ดังนี้บ้าง. คำนั้น ไม่ดี พึงประกอบบทว่า สมาปสฺสิสฺสสิ
นั้น เข้าด้วยนามศัพท์ที่ท่านกล่าวไว้ในบทว่า ตตฺถ นาม ตฺว นี้ว่า
สมาปสฺสิสฺสสิ นาม (เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม).
[พระสุทินน์เป็นคนแรกในการเสพเมถุนธรรม]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมุ่งหมายเอาพระศาสนา ตรัสว่า ดูก่อน
โมฆบุรุษ! ท่านเป็นตัวอย่าง เป็นหัวหน้าแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายมากแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 733
มีคำอธิบายว่า ท่านนับว่าเป็นตัวอย่าง แห่งบุคคลทั้งหลาย หรืออกุศลธรรม
ทั้งหลายเป็นอันมากในพระศาสนานี้ เพราะทำก่อนบุคคลทั้งปวง นับว่าเป็น
หัวหน้า คือเป็นผู้ให้ประตูได้แก่ซื้ออุบาย เพราะเป็นผู้ดำเนินหนทางนั้นก่อน
บุคคลทั้งปวด.
จริงอยู่ ในคำว่า พหุนฺน โข เป็นต้นนี้ มีความประสงค์ดังนี้ว่า
บุคคลเป็นอันมาก ได้เลิศนี้แล้ว สำเหนียกตามกิริยาของท่าน จักกระทำ
อกุศลธรรมมีประการต่าง ๆ มีเสพเถุนธรรมกับนางลิงเป็นต้น.
บทว่า อเนกปริยาเยน คือโดยเหตุมากมาย ซึ่งตรัสแล้วโดยนัย
เป็นต้นว่า อนนุจฺฉวิก นี้.
[ผู้ไม่ตั้งอยู่ในสังวรเป็นผู้มักมากในปัจจัย ๔]
หลายบทว่า ทุพฺภรตาย ฯเปฯ โกสชฺชสฺส อวณฺณ ภาสิตฺวา
มีความว่า ตรัสโทษ คือข้อที่น่าตำหนิ ได้แก่ข้อที่น่าติเตียนแห่งอสังวรซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งความเสียหาย มีความเป็นผู้เลี้ยงยากเป็นต้น.
จริงอยู่ ตนของบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม ย่อมถึงความเป็น
สภาพที่เลี้ยงยาก และบำรุงยาก, เพราะเหตุนั้น อสังวร ท่านจึงเรียกว่า ความ
เป็นผู้เลี้ยงยาก และความเป็นผู้บำรุงยาก.
อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม ย่อมถึงความเป็นผู้
มักมากในปัจจัย ๔ และได้ปัจจัยทั้งหลาย แม้มีประมาณเท่าเขาสิเนรุแล้ว ก็
ยังถึงความเป็นผู้ไม่สันโดษ, เพราะเหตุนั้น อสังวรท่านจึงเรียกว่า ความเป็น
ผู้มักมาก และความเป็นผู้ไม่สันโดษ.
อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม ย่อมเป็นไปเพื่อความ
คลุกคลีด้วยหมู่ และเพื่อความหมักหมมด้วยกิเลส ทั้งย่อมเป็นสภาพเป็นไป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 734
ตามความเกียจคร้าน คือเป็นไปเพื่อยังวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน
แปดอย่างให้บริบูรณ์.* เพราะเหตุนั้น อสังวร ท่านจึงเรียกว่า ความคลุกคลี
และความเกียจคร้าน.
[ผู้ตั้งอยู่ในสังวรไม่เป็นผู้มักมากในปัจจัย ๔]
หลายบทว่า สุภรตาย ฯเปฯ วิริยารมฺภสฺส วณฺณ ภาสิตฺวา
มีความว่า ทรงสรรเสริญคุณแห่งสังวร อันเป็นที่ตั้งแห่งคุณทั้งหลาย มีความ
เป็นผู้เลี้ยงง่ายเป็นต้น.
จริงอยู่ ตนของบุคคลผู้ละอสังวร แล้วตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็น
สภาพที่เลี้ยงง่ายบำรุงง่าย ย่อมถึงความเป็นผู้มักน้อย คือหมดความทะยาน
อยากในปัจจัย ๔ และย่อมเป็นไปเพื่อความสันโดษ ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่ง
ยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ และยถาสารุปสันโดษ ในปัจจัยอย่างหนึ่ง ๆ
เพราะเหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย ความเป็นผู้บำรุง
ง่าย ความมักน้อย และความสันโดษ.
อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร ตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เป็นผู้ขัดเกลากิเลส และความเป็นผู้กำจัดกิเลสออก, เพราะเหตุนั้น สังวร
ท่านจึงเรียกว่า ความขัดเกลา และความกำจัด.
อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร แล้วตั้งอยู่ในสังวร ไม่เข้าไปใกล้
กายทุจริต และวจีทุจริต ซึ่งไม่ชวนให้เกิดความเลื่อมใส คือไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งความเลื่อมใส ไม่สงบ ไม่เรียบร้อยแห่งกายและวาจา และไม่เข้าไปใกล้
อกุศลวิตก ๓ ซึ่งไม่ชวนจิตให้เกิดความผ่องใส คือ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
ผ่องใสแห่งจิต ไม่สงบ ไม่เรียบร้อย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริบูรณ์แห่ง
* องฺ อฏฺก. ๒๓/๓๔๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 735
กายสุจริต วจีสุจริต และกุศลวิตก ๓ ซึ่งผิดแผกจากนั้นนั่นแล ที่ชวนให้
เกิดความเลื่อมใส คือเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส สงบ เรียบร้อย, เพราะ
เหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นอาการให้เกิดความเลื่อมใส.
[ผู้ตั้งอยู่ในสังวรเป็นผู้ไม่สั่งสมกิเลสทั้งปวง]
อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร ตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นไปเพื่อ
ปราศจากวัฏฏะ อันเกิดแต่ความไม่สั่งสมกิเลสทั้งปวง และเพื่อความบริบูรณ์
แห่งวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งวิริยารัมภะ ๘ อย่าง,* เพราะเหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียก
ว่า "ความไม่สั่งสมและการปรารถนาความเพียร" ฉะนี้แล.
ข้อว่า ภิกฺขูน ตทนุจฺฉวิก ตทนุโลมิก ความว่า ทรงทำพระ-
ธรรมเทศนานอกท้องเรื่อง ซึ่งพ้นจากบาลี ไม่เนื่องด้วยสุตตันตะที่ปฏิสังยุต
ด้วยสังวรปหานะ อันสมควรและเหมาะแก่สิกขาบท ที่จักทรงบัญญัติในบัดนี้
ทั้งที่สมควรและเหมาะแก่สังวรที่ตรัสด้วยธรรมทั้งหลายมีความเป็นผู้เลี้ยงง่าย
เป็นต้น แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้วในสถานที่นั้น.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเทียบผู้แต่งระเบียบดอกไม้ห้าสี
เปรียบผู้จัดพวงแก้ว เมื่อจะทรงคุกคามบุคคลทั้งหลาย ผู้พอใจนักในอสังวร
ประสงค์จะคัดค้าน ด้วยวัฏภัยซึ่งมีในสัมปรายภพ จะทรงแสดงโทษมีประการ
มากมาย จะทรงยังบุคคลผู้ใคร่ต่อการศึกษาอยู่ในสังวร บางพวกให้ประ-
ดิษฐานอยู่ในพระอรหันต์, บางพวกให้ตั้งอยู่ใน อนาคามิผล สกทาคามิผล
และโสดาปัตติผล, จะทรงยังบุคคลทั้งหลายแม้ผู้ปราศจากอุปนิสัยให้ประดิษฐาน
ในทางสวรรค์ จึงทรงทำธรรมเทศนา มีขนาดแห่งทีฆนิกายบ้าง มีขนาด
แห่งมัชฌิมนิกายบ้าง ในสถานทั้งหลายเช่นนี้. พระอุบาลีเถระ หมายเอาธรรม-
* องฺ. อฏฺ จก. ๒๓/๓๔๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 736
เทศนานั้น จึงกล่าวคำนี้ว่า ทรงทำธรรมมีกถา ซึ่งสมควรแก่สิกขาบทและ
สังวรนั้น ซึ่งเหมาะแก่สิกขาบทและสังวรนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า เตน หิ มีความว่า เพราะอัชฌาจารนั้น ของภิกษุสุทินน์
อันเป็นตัวเหตุ.
ในบทว่า สิกฺขาปท นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ที่ชื่อว่า สิกขา
เพราะอรรถว่า เป็นคุณชาตอันบุคคลพึงศึกษา. ที่ชื่อว่า บท เพราะอรรถว่า
เป็นทางเป็นเครื่องอันบุคคลพึงถึง. ทางเป็นเครื่องอันบุคคลพึงถึงแห่งสิกขา
ชื่อว่า สิกขาบท. ความว่า อุบายแห่งความได้สิกขา.
อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายว่า เป็นต้นเค้า คือเป็นที่อาศัยเป็นพำนัก
แห่งสิกขา. คำว่า สิกขาบท นั่น เป็นชื่อแห่งความสำรวมจากเมถุน
โดยเว้นจากเมถุน. จริงอยู่ เมถุนสังวร ท่านประสงค์เอาว่า สิกขาบท ใน
ที่นี้ เพราะความเป็นทางแห่งธรรม คือ ศีล วิปัสสนา ฌานและมรรค
กล่าวคือสิกขาอื่นจากเมถุนสังวรนั้น ด้วยอำนาจแห่งเนื้อความดังกล่าวแล้ว.
ก็แลเนื้อความนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในวิภังค์แห่งสิกขาบท. อีกอย่าง
หนึ่ง แม้คำที่แสดงเนื้อความนั้น พึงทราบว่า "เป็นสิกขาบท" จริงอยู่ แม้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสคำนี้ว่า บรรดาหมวดเหล่านั้น หมวดนาม
หมวดบท หมวดภาษา หมวดพยัญชนะ อันใด, อันนั้นชื่อว่า สิกขาบท.
อีกประการหนึ่ง เมื่อท่านกล่าวว่า "อนภิชฌา เป็นธรรมบท" เนื้อความ
ย่อมมีว่า "อนภิชฌา เป็นส่วนธรรมอันหนึ่ง" ข้อนี้ฉันใด , แม้ในที่นี้ก็
ฉันนั้น เมื่อท่านกล่าวว่า "สิกขาบท" จะพึงทราบเนื้อความว่า "ส่วนแห่ง
สิกขา คือประเทศอันหนึ่งแห่งสิกขา" ดังนี้ ก็ได้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 737
[ประโยชน์แห่งการบัญญัติสิกขาบท ๑๐ อย่าง]
หลายบทว่า ทส อตฺถวเส ปฏิจฺจ มีความว่า จักอาศัย คือมุ่งหมาย
ปรารภอำนาจแห่งเหตุ คือประโยชน์เกื้อกูลพิเศษ ๑๐ อย่าง ที่จะพึงได้ เพราะ
เหตุบัญญัติสิกขาบท. มีคำอธิบายว่า เล็งเห็นความสำเร็จประโยชน์พิเศษ ๑๐
อย่าง. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะแสดงอำนาจประโยชน์ ๑๐ อย่างนั้น
จึงตรัสคำว่า สงฺฆสุฏฺฐุตาย เป็นต้น.
[อธิบายประโยชน์การบัญญัติสิกขาบท ๑๐ อย่าง]
บรรดาอำนาจประโยชน์สิบอย่างนั้น ที่ชื่อว่า ความเห็นชอบของสงฆ์
ได้แก่ข้อที่สงฆ์ยอมรับว่าดี. คือข้อที่สงฆ์รับพระดำรัสว่า "ดีละ พระเจ้าข้า!"
เหมือนในอนาคตสถานที่ว่า "ดีละ สมมติเทพเจ้า !" จริงอยู่ ภิกษุใด ยอม
รับพระดำรัสของพระตถาคตเจ้า, การยอมรับพระดำรัสนั้น ของภิกษุนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเปิดเผยเนื้อความนี้ว่า เราจักแสดงโทษในความไม่
ยอมรับ และอานิสงส์ในความยอมรับ คือไม่กดขี่โดยพลการ จักบัญญัติ
(สิกขาบท) เพื่อให้สงฆ์ยอมรับคำของเราว่า ดีละ พระเจ้าข้า ! ดังนี้ จึง
ตรัสคำว่า "เพื่อความเห็นชอบแห่งสงฆ์"
บทว่า สงฺฆผาสุตาย คือเพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์, อธิบายว่า เพื่อ
ประโยชน์แก่ความอยู่เป็นสุข ด้วยความเป็นอยู่ร่วมกัน.
หลายบทว่า ทุมฺมงฺกูน ปุคฺคลาน นิคฺคหาย ความว่า บุคคล
ผู้ทุศีล ชื่อว่าบุคคลผู้เก้อยาก, ภิกษุเหล่าใด แม้อันภิกษุทั้งหลายจะให้ถึงความ
เป็นผู้เก้อ ย่อมถึงได้โดยยาก, กำลังกระทำการละเมิด หรือกระทำแล้ว ย่อม
ไม่ละอาย, เพื่อประโยชน์แก่อันข่มภิกษุเหล่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 738
จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น เมื่อสิกขาบทไม่มี จักเบียดเบียนสงฆ์ด้วย
ถ้อยคำว่า เรื่องอะไรที่พวกท่านเห็นมาแล้ว เรื่องอะไรที่พวกท่านได้ฟังมา
แล้ว สิ่งอะไรที่พวกข้าพเจ้าทำแล้ว พวกท่านยกอาบัติไหนในเพราะวัตถุอะไร
ขึ้นข่มพวกข้าพเจ้า, ก็เมื่อสิกขาบทมีอยู่ สงฆ์จักอ้างสิกขาบทแล้ว ข่มภิกษุ
พวกนั้น โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสนา . เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เพื่อข่มเหล่าบุคคลผู้เก้อยาก.
หลายบทว่า เปสลาน ภิกฺขูน ผาสุวิหาราย คือเพื่อประโยชน์
แก่ความอยู่ผาสุกของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็น
ที่รัก ไม่รู้สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ สิ่งที่มีโทษและไม่มีโทษ ขีดคั่น เขตแดน
พยายามอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งไตรสิกขา เมื่อมีความสงสัย ย่อมลำบาก
ย่อมรำคาญ, แต่ครั้นรู้สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ สิ่งที่มีโทษและไม่มีโทษ
ขีดคั่นเขตแดนแล้ว พยายามอยู่เพื่อความบริบูรณ์แห่งไตรสิกขา ย่อมไม่ลำบาก
ย่อมไม่รำคาญ. เพราะเหตุนั้น การบัญญัติสิกขาบท จึงเป็นไปเพื่อความอยู่
ผาสุกของพวกภิกษุนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ความข่มบุคคลผู้เก้ออยากทั้งหลายนั้นนั่นแล เป็นความ
อยู่ผาสุกแห่งภิกษุนั้น. ด้วยว่า อุโบสถ ย่อมดำรงอยู่ไม่ได้ ปวารณาย่อม
ดำรงอยู่ไม่ได้ สังฆกรรมทั้งหลายย่อมเป็นไปไม่ได้ ความสามัคคี ย่อมมีไม่ได้
เพราะอาศัยเหล่าบุคคลผู้ทุศีล. ภิกษุทั้งหลายมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่ได้ ย่อมไม่
สามารถประกอบตามซึ่งอุเทศ ปริปุจฉา, และกรรมฐานเป็นต้น. ก็เมื่อเหล่า
บุคคลผู้ทุศีลถูกข่มเสียแล้ว อุปัทวะแม้ทั้งหมดนี้หามีไม่, เมื่อนั้นพวกภิกษุผู้มี
ศีลเป็นที่รักย่อมอยู่เป็นผาสุก.
ในคำว่า "เพื่อความเป็นอยู่เป็นผาสุกของภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก" นี้
บัณฑิตพึงทราบอธิบายโดย ๒ นัย ด้วยประการฉะนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 739
คำว่า "เพื่อป้องกันอาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปในปัจจุบัน" อธิบายว่า
ทุกข์พิเศษมีการประหารด้วยฝ่ามือ ประหารด้วยท่อนไม้ ตัดมือตัดเท้า ความ
เสียชื่อเสียง ความเสื่อมยศและความเดือดร้อน เป็นต้น อันบุคคลผู้ตั้งอยู่ใน
ความไม่สังวร จะพึงถึงในอัตภาพนี้นั้นเทียว ชื่อว่า อาสวะอันเป็นไปในปัจจุบัน.
เพื่อป้องกัน คือปิดกั้นทางมาแห่งอาสวะอันไปในปัจจุบันเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
คำว่า "เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปในสัมปรายภพ" มีความ
ว่า ทุกข์พิเศษมีบาปกรรมที่ตนกระทำแล้วเป็นมูล อันบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความ
ไม่สังวร จะพึงถึงในนรกเป็นต้นในสัมปรายภพ ชื่อว่าอาสวะอันเป็นไปใน
สัมปรายภพ, เพื่อประโยชน์แก่การกำจัด มีคำอธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่
การระงับ คือเพื่อประโยชน์แก่การเข้าไปสงบอาสวะอันเป็นไปในสัมปรายภพ
เหล่านี้.
ข้อว่า อปฺปสนฺนาน วา ปสาทาย มีความว่า เมื่อมีสิกขาบท
บัญญัติ มนุษย์ผู้บัณฑิตทั้งหลาย แม้ไม่เลื่อมใส ได้ทราบสิกขาบทบัญญัติ
หรือได้เห็นภิกษุทั้งหลายปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติ ย่อมถึงความเลื่อมใส
ว่า ธรรมเหล่าใดหนอ เป็นที่ตั้งความกำหนัด ความขัดเคือง และความ
ลุ่มหลงของมหาชนในโลก, สมณศากยบุตรเหล่านี้ ย่อมอยู่เหินห่างเว้นจาก
ธรรมเหล่านั้น , พวกเธอทำกรรมที่ทำได้ยากหนอ ทำกิจที่หนักหนอ ดังนี้
เหมือนพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิรู้ไตรเทพ ได้เห็นคัมภีร์พระวินัยปิฎกแล้ว
เลื่อมใส ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อปฺปสนฺนาน
วา ปสาทาย.
ข้อว่า ปสนฺนาน วา ภิยฺโยภาวาย มีความว่า กุลบุตรทั้งหลาย
แม้เลื่อมใสในพระศาสนา ได้ทราบสิกขาบทบัญญัติ หรือได้เห็นภิกษุทั้งหลาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 740
ปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้ ย่อมเลื่อมใสยิ่ง ๆ ขึ้นไปว่า โอ ! พระ-
ผู้เป็นเจ้าเหล่าใด คอยเฝ้ารักษาวินัยสังวร ซึ่งมีอาหารครั้งเดียวตลอดชีวิต
เป็นความประพฤติประเสริฐ, พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้มีปกติทำกรรมที่
ทำได้ยาก. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปสนฺนาน วา ภิยฺโย-
ภาวาย.
[พระสัทธรรม ๓ อย่าง]
ข้อว่า สทฺธมฺมฏฺิติยา มีความว่า สัทธรรมมี ๓ อย่าง คือปริยัติ-
สัทธรรม ๑ ปฏิปัตติสัทธรรม ๑ อธิคมสัทธรรม ๑. บรรดาสัทธรรม ๓
อย่างนั้น ที่ชื่อว่าปริยัติสัทธรรม ได้แก่พุทธพจน์แม้ทั้งสิ้นรวมด้วยพระไตร-
ปิฎก. ที่ชื่อว่าปฏิปัตติสัทธรรม ได้แก่ธรรมนี้คือธุดงคคุณ ๑๓ ขันธกวัตร ๑๔
มหาวัตร ๘๒ ศีล สมาธิ และวิปัสสนา. ที่ชื่อว่าอธิคมสัทธรรม ได้แก่ธรรมนี้
คือ อริยมรรค ๔ สามัญผล ๔ นิพพาน ๑. เมื่อมีสิกขาบทบัญญัติ ภิกษุ
ทั้งหลาย ย่อมเรียนสิกขาบทและวิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และพุทธวจนะอื่น
เพื่อส่องความแห่งสิกขาบทและวิภังค์นั้น และเมื่อปฏิบัติสิกขาตามที่ทรง
บัญญัติไว้ ย่อมบรรลุโลกุตรธรรม ที่ตนจะพึงบำเพ็ญข้อปฏิบัติแล้วบรรลุได้
ด้วยความปฏิบัติ, เพราะเหตุนั้น สัทธรรมแม้ทั้งสิ้นนั้น จึงชื่อว่า เป็นสภาพ
มีความตั้งอยู่ ยั่งยืน ด้วยสิกขาบทบัญญัติ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า สทฺธมฺมฏฺิติยา.
ข้อว่า วินยนุคฺคหาย มีความว่า จริงอยู่ เมื่อมีสิกขาบทบัญญัติ
วินัยทั้ง ๔ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑ สมถวินัย ๑ บัญญัติ
วินัย ๑ ย่อมเป็นอันทรงอนุเคราะห์ คืออุปถัมภ์สนับสนุนไว้เป็นอันดี. ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วินยานุคฺคหาย ก็บทเหล่านั้นทั้ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 741
หมดแล พึงประกอบกับคำนี้ว่า เราจักบัญญัติสิกขาบท. ประกอบบทต้น
และบทสุดท้าย ในบรรดาบทเหล่านั้น ดังนี้ว่า เราจักบัญญัติสิกขาบท เพื่อ
ความเห็นชอบของสงฆ์ ฯลฯ เราจักบัญญัติสิกขาบท เพื่อความอนุเคราะห์วินัย.
อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำสังขลิกน้อยอย่างนี้ว่า "ความเห็น
ชอบแห่งสงฆ์อันใด อันนั้นเป็นความสำราญแห่งสงฆ์ ความสำราญแห่งสงฆ์
อันใด อันนั้น เพื่อข่มบุคคลทั้งหลายผู้เก้อยาก " และโยชนา ๑๐ ครั้ง มีบท
อันหนึ่ง ๆ เป็นเค้าอย่างนี้ว่า ความเห็นชอบแห่งสงฆ์อันใด อันนั้นคือความ
สำราญแห่งสงฆ์ ความเห็นชอบแห่งสงฆ์อันใด อันนั้น เพื่อข่มบุคคลทั้งหลาย
ผู้เก้อยาก ดังนี้ แล้วตรัสคำใดไว้ในคัมภีร์บริวารว่า
ในปกรณ์ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ มี
ผลร้อยหนึ่ง มีเหตุร้อยหนึ่ง มีภาษาสำหรับ
กล่าวสองร้อย และมีญาณสี่ร้อย*
คำนั้นทั้งหมด พึงทราบในบทว่า สงฺฆสุฏฐุตาย เป็นต้นนี้. แต่คำนั้นแหละ
จักมีแจ้งในคัมภีร์บริวารนั่นเอง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่พรรณนาในที่นี้.
[ทรงบัญญัติปฐมปาราชิกสิกขาบท]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอานิสงส์แห่งการบัญญัติสิกขาบท
ไว้อย่างนั้นแล้ว เมื่อจะทรงชี้แจงกิจที่ภิกษุทั้งหลายควรทำในสิกขาบทนั้น จึง
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็แล พวกเธอพึงแสดงสิกขาบทนี้ขึ้นอย่างนี้.
พระองค์ตรัสอธิบายไว้อย่างไร?
ตรัสอธิบายไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็แล พวกเธอพึงแสดง
พึงเล่าเรียน พึงทรงจำ และพึงบอกแก่บุคคลเหล่าอื่น ซึ่งสิกขาบทนี้ คือที่
* วิ. บรวาร. ๘/๓๕๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 742
มีอานิสงส์อันเราแสดงแล้วอย่างนี้ ในปาฏิโมกขุทเทสอย่างนี้. จริงอยู่ จ ศัพท์
ในคำว่า เอวญฺจ ปน นี้ มีการนำเนื้อความเกินมาเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น
เนื้อความนี้ ย่อมเป็นอันท่านนำมาแล้ว.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า
สิกขาบทนี้ จึงตรัสว่า อนึ่ง ภิกษุใด พึงเสพเมถุนธรรม, ภิกษุนี้ ย่อม
เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้. เมื่อพระองค์ทรงบัญญัติปฐมปาราชิก. ให้
มั่นเข้า ด้วยอำนาจมูลเฉทอย่างนั้นแล้ว เรื่องลิงตัวเมียแม้อื่นอีกก็เกิดขึ้นเพื่อ
ประโยชน์แก่อนุบัญญัติ. เพื่อแสดงเรื่องลิงตัวเมียที่เกิดขึ้นนั้น พระธรรม-
สังคาหกเถระทั้งหลาย จึงได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ
ฉะนี้. อธิบายความแห่งคำนั้นว่า สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติแล้วอย่างนี้ แก่ภิกษุทั้งหลาย และเรื่องอื่นนี้ ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว
จบกถาว่าด้วยปฐมบัญญัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 743
อนุบัญญัติปฐมปาราชิกเรื่องที่หนึ่ง
[เรื่องลิงตัวเมีย]
บัดนี้ เพื่อแสดงเรื่องอื่นที่เกิดขึ้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย
จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า เตน โข ปน สมเยน. ในคำว่า เตน โข ปน
สมเยน เป็นต้นนั้น มีการพรรณนาบทที่ยังไม่กระจ่างดังต่อไปนี้
สองบทว่า มกฺกฏึ อามิเสน ความว่า จำพวกสัตว์ดิรัจฉานเป็น
อันมาก มีเนื้อ นกยูง ไก่ และลิงเป็นต้น ไม่มีความคิดระแวงรังเกียจ
เพราะอนุภาพแห่งคุณมีขันติและเมตตาเป็นต้น ของภิกษุทั้งหลาย ในป่า
มหาวัน ย่อมเที่ยวไปใน ณ ที่เรือนบำเพ็ญเพียร มีคำอธิบายว่า ภิกษุรูปใด
รูปหนึ่ง เอาอามิส มีข้าวต้น ข้าวสวย และของเคี้ยวเป็นต้นล่อ คือสงเคราะห์
นางลิงตัวหนึ่ง ในบรรดาสัตว์ดิรัจฉานเป็นต้นเหล่านี้.
บทว่า ตสฺสา เป็นสัตตมีวิภัตติ
บทว่า ปฏิเสวติ ความว่า ย่อมเป็นผู้เสพโดยมาก วัตตมานาวิภัตติ
ย่อมลงในอรรถว่า ปจุร คือมาก.
สองบทว่า โส ภิกขุ ได้แก่ ภิกษุผู้เสพเมถุนธรรมนั้น
สองบทว่า เสนาสนจาริก อาหิณฺฑนฺตา ความว่า ภิกษุอาคันตุกะ
เหล่านั้น มาเฝ้าพระพุทธเจ้าได้อาคันตุกภัตแต่เช้าตรู่ ทำภัตกิจเสร็จแล้ว
ชักชวนกันว่า พวกเราจักดูสถานที่อยู่ของภิกษุทั้งหลาย แล้วก็เที่ยวไป เพราะ
เหตุนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย จึงกล่าวว่า เสนาสนจาริก
อาหิณฺฑนฺตา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 744
[ลิงตัวเมียแสดงของลับแก่ภิกษุอาคันตุกะ]
หลายบทว่า เยน เต ภิกฺขู เตนุปสงฺกมิ มีความว่า ธรรมดา
สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย ครั้นได้ทำความคุ้นเคยกับภิกษุรูปหนึ่งแล้ว ก็ยังความ
คิดเช่นนั้นนั่นเอง ให้เกิดขึ้น แก้ในภิกษุเหล่าอื่นด้วย เพราะฉะนั้น ลิง
ตัวเมียนั้น จึงได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น จนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ก็ได้แสดง
วิการนั้นแม้แก่ภิกษุเหล่านั้น เหมือนกับแสดงแก่ภิกษุที่ตนคุ้นเคย ฉะนั้น
บทว่า เฉปฺป แปลว่า หาง
บทว่า โอทฺทิสิ* แปลว่า วางไว้ตรงหน้า
สองบทว่า นิมิตฺตมฺปิ อกาสิ ความว่า ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น
ย่อมรู้ความต้องการเมถุน ด้วยความกำหนดอย่างใด ด้วยกิริยาอย่างใด ลิง
ตัวเมียนั้น ก็ได้ทำนิมิตนั้น ด้วยความกำหนดและกิริยานั้น ๆ
สองบทว่า โส ภิกฺขุ ความว่า นี้เป็นวิหาร (ที่อยู่) ขอภิกษุใด
(ภิกษุนั้น ย่อมเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้ ไม่ต้องสงสัยแล)
สองบทว่า เอกมนฺต นิลียึสุ ความว่า ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น
ได้แอบซ่อนอยู่ ณ โอกาสแห่งหนึ่ง
สองบทว่า สจฺจ อาวุโส ความว่า ภิกษุรูปนั้น เพราะถูกพวก
ภิกษุอาคันตุกะเห็นกรรมที่เธอทำนั้นอย่างประจักษ์ตาทักท้วงขึ้น เหมือนจับโจร
ได้พร้อมกับของกลางฉะนั้น เมื่อไม่สามารถจะพูดคำเป็นต้นว่า ผมทำกรรมชั่ว
อะไรหรือ จึงพูดรับว่า จริง ขอรับ
หลายบทว่า นนุ อาวุโส ตเถว ต โหติ ความว่า คุณ แม้ใน
เพราะสัตว์เดียรัจฉานตัวเมีย สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นเหมือนในหญิงมนุษย์
* บาลี โอฑฺฑิ ได้แอ่นตะโพก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 745
มิใช่หรือ (คุณ เมื่อภิกษุสุทินน์เสพเมถุนธรรมในหญิงมนุษย์ สิกขาบท
ย่อมมีฉันใด เมื่อคุณเสพเมถุนธรรมแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย สิกขาบทนั้น
ก็ย่อมเป็นเหมือนกันฉันนั้น มิใช่หรือ) จริงอยู่ การมองดูก็ดี จับต้องก็ดี
ลูกคลำก็ดี แตะต้องก็ดี กระทบก็ดี แม้ซึ่งสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็น
ความชั่วหยาบเหมือนกัน ในหญิงมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียนี้ จะมี
ความแปลกกันอะไร ท่านได้อ้างเลศในฐานที่มิใช่เลศแล
หลายบทว่า อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ ปาราชิโก โหติ
อสวาโส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงทำสิกขาบทให้มั่นขึ้นอีกว่า
ภิกษุเสพเมถุนธรรม แม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ก็เป็นปาราชิกเหมือนกัน
[สิกขาบททั้งหมด มีโทษ ๒ อย่าง]
จริงอยู่ สิกขาบทมี ๒ อย่าง คือ โลกวัชชะ (มีโทษทางโลก) ๑
ปัณณัตติวัชชะ มีโทษทางพระบัญญัติ) ๑
บรรดาโทษ ๒ อย่างนั้น สิกขาบทใด ในฝ่ายสจิตตกะ มีจิตเป็น
อกุศลล้วน ๆ สิกขาบทนั้นชื่อว่า เป็นโลกวัชชะ ที่เหลือเป็นปัณณัตติวัชชะ
บรรดาโทษ ๒ อย่างนั้น อนุบัญญัติในสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะ เมื่อ
เกิดขึ้น กั้น ปิดประตู ตัดกระแส ทำให้ตึงขึ้นกว่าเดิม ย่อมเกิดขึ้น ส่วน
อนุบัญญัตินี้ว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ๑ เว้นไว้แต่ฝัน๒ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ เพราะไม่มีการล่วงละเมิด และเพราะเป็นอัพโพหาริก ในสิกขาบท
ที่เป็นปัณณัตติวัชชะ เมื่อภิกษุยังไม่ได้ทำการล่วงละเมิด อนุบัญญัติ เมื่อ
เกิดขึ้นทำให้เพลาลง ปลดเปลื้องออก เปิดประตูให้ ทำไม่ให้เป็นอาบัติต่อ ๆ
๑. วิ มหา. ๑/๑๗๒. ๒. วิ.มหา. ๑/๒๒๔
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 746
ไป ย่อมเกิดขึ้น เหมือนอนุบัญญัติในคณโภชนสิกขาบทและปรัมปรโภชน-
สิกขาบท ฉะนั้น ส่วนอนุบัญญัติเห็นปานนี้ว่า โดยที่สุด (บอก) แม้แก่
หญิงแพศยาอันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ* ชื่อว่ามีคติเหมือนพระบัญญัติทีเดียว
เพราะเกิดขึ้นในเมื่อภิกษุทำการล่วงละเมิดแล้ว ก็เพราะปฐมสิกขาบทนี้เป็น
โลกวัชชะ ไม่ใช่เป็นปัณณัตติวัชชะ ; เพราะฉะนั้น อนุบัญญัตินี้ ก็กั้น
ปิดประตู ตัดกระแส ได้แก่ทำให้ตึงขึ้นกว่าเดิมอีก ย่อมเกิดขึ้น
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประมวลเรื่องแม้ทั้งสองมา แล้ว
บัญญัติปฐมปาราชิก ทำให้ตึงขึ้นกว่าเดิม ด้วยอำนาจมูลเฉทอย่างนั้น เรื่อง
ภิกษุชาววัชชีบุตรแม้อื่นอีกก็เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่อนุบัญญัติ เพื่อแสดง
ความเกิดขึ้นแห่งเรื่องภิกษุวัชชีบุตรนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย จึง
ได้กล่าวคำนี้ว่า ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว
แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ อธิบายความแห่งคำนั้นว่า สิกขาบทนี้
ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วอย่างนี้ แก่ภิกษุทั้งหลาย และ
เรื่องแม้อื่นนี้ ก็ได้เกิดขึ้น
จบมักกฏีวัตถุกถา
* วิ. มหา. ๑/๓๐๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 747
อนุบัญญัติปฐมปาราชิกเรื่องที่สอง
[เรื่องภิกษุชาววัชชีบุตร]
บัดนี้ เพื่อแสดงเรื่องแม้อื่นที่เกิดขึ้นแล้ว พระธรรมสังคาหกเถระ
ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า เตน โข ปน สมเยน ในคำว่า
เตน โย ปน สมเยน เป็นต้นแม้นั้น มีการพรรณนาบทที่ยังไม่กระจ่าง
ดังต่อไปนี้
บทว่า เวสาลิกา ได้แก่ ผู้มีปกติอยู่เมืองไพศาลี
บทว่า วชฺชิปุตฺตกา ได้แก่ ผู้เป็นบุตรของตระกูลในเมื่องไพศาลี
ในแคว้นวัชชี
ได้ยินว่า อุปัทวะ โทษ ความเสนียดจัญไร ที่ได้เกิดขึ้นในพระศาสนา
ทั้งหมดนั้น ได้เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยภิกษุชาววัชชีบุตร จริงอย่างนั้น
แม้พระเทวทัต ให้พวกภิกษุชาววัชชีบุตรเป็นฝักฝ่ายแล้ว จึงทำลายสงฆ์
ก็พวกภิกษุชาววัชชีบุตรนั่นแล ได้แสดงสัตถุศาสนานอกธรรมนอกวินัย ใน
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปี บรรดาภิกษุชาววัชชีบุตรเหล่า
นั้นนั่นแล แม้ภิกษุเหล่านี้ บางพวกถึงเมื่อทรงบัญญัติสิกขาบทแล้วอย่างนี้
ก็ได้สรงน้ำตามความต้องการ ฯลฯ ได้เสพเมถุนธรรมตามความต้องการ
ด้วยประการฉะนี้
ในบทว่า าติพฺยสเนนปิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ คำว่า "ความ
พินาศ ความย่อยยับ ความกระจาย ความทำลาย ความฉิบหาย ทั้งหมดนี้
มีความหมายอย่างเดียวกัน ความย่อยยับแห่งเหล่าญาติ ชื่อว่า ญาติพยสนะ
อันความย่อยยับแห่งญาตินั้น (ถูกต้องแล้ว) อธิบายว่า "อันความพินาศแห่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 748
ญาติซึ่งมีการลงราชอาญา ถูกโรคเบียดเบียน ความตายและความพลัดพราก
เป็นเครื่องหมาย (ถูกต้องแล้ว)" แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้ ส่วนในบทที่ ๓
โรคที่ทำความไม่มีโรคให้พินาศไปนั่นเอง ชื่อว่า โรคพยสนะ จริงอยู่โรคนั้น
ย่อมทำความไม่มีโรคให้ย่อยยับไป คือกระจายไป ได้แก่ ให้พินาศไป เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า พยสนะ ความย่อยยับคือโรค ชื่อว่า โรคพยสนะ อัน
ความย่อยยับโรคนั้น (ถูกต้องแล้ว)
บทว่า ผุฏฺา คือท่วมทับ ได้แก่ครอบงำ อธิบายว่า ผู้ประกอบ
พร้อมแล้ว
หลายบทว่า น มย ภนฺเต อานนฺท พุทธครหิโน มีความว่า
ท่านพระอานนท์เจ้าข้า พวกกระผมมิได้ติเตียนพระพุทธเจ้า คือมิได้กล่าวโทษ
พระพุทธเจ้า มิได้ติเตียนพระธรรม มิได้ติเตียนพระสงฆ์
สองบทว่า อตฺตครหิโน มย ความว่า พวกกระผม ติเตียนตนเอง
เท่านั้น คือกล่าวโทษของตน
บทว่า อลกฺขิกา แปลว่า ผู้หมดสิริ
บทว่า อปฺปปุญฺา แปลว่ ผู้บุญน้อย
หลายบทว่า วิปสฺสกา กุสลาน ธมฺมาน มีความว่า พวกกระผม
จะพึงเป็นผู้เห็นแจ้งซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้
แล้วในอารมณ์ ๓๘ ประการ อธิกายว่า ออกจากอารมณ์นั้น ๆ แล้ว จะเห็น
แจ้งธรรมเหล่านั้นทีเดียว
บทว่า ปุพฺพรตฺตาปรรตฺต ความว่า เบื้องต้นแห่งราตรี ชื่อ
บุรพราตรี เบื้องปลายแห่งราตรี ชื่อ อปรราตรี มีความอธิบายว่า ปฐมยาม
และปัจฉิมยาม.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 749
บทว่า โพธิปกฺขิกาน คือมีอยู่ในฝ่ายแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้
อธิบายว่า เป็นอุปการะแก่อรหัตตมรรคญาณ.
บทว่า ภาวนานุโยค แปลว่า ความประกอบเนื่อง ๆ ในการเจริญ
(โพธิปักขิยธรรม).
สองบทว่า อนุยุตฺตา วิหเรยฺยาม ความว่า พวกกระผมละคิหิปลิโพธ
และอาวาสปลิโพธแล้ว จะพึงเป็นผู้ประกอบขวนขวาย ไม่มีกิจอื่นอยู่ในเสนา-
สนะอันสงัด.
บทว่า เอวมาวุโส ความว่า พระเถระ เมื่อไม่ทราบอัธยาศัยของ
เธอเหล่านั้น ได้ฟังการคำราม อย่างมาก (คำอ้อนวอน) นี้ ของภิกษุเหล่านั้น
แล้ว จึงสำคัญอยู่ว่า "ถ้าเธอเหล่านี้ จักเป็นผู้เช่นนี้ไซร้ ก็เป็นการดี"
แล้วรับคำว่าได้ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
[เรื่องทรงห้ามมิให้ภิกษุชาววัชชีบุตรบรรพชาอุปสมบท]
แม้สองบทว่า อฏฺาน อนาวกาโส นี้ เป็นอันตรัสห้ามเหตุ.
จริงอยู่ เหตุ ท่านเรียกว่า "ฐานะ และโอกาส" เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผล โดย
ความที่ผลนั้นเป็นไปเนื่องด้วยเหตุนั้น และเพราะเหตุนั้น ก็เป็นโอกาสแห่ง
ผลนั้น โดยความที่เหตุนั้นเป็นไปเนื่องด้วยผลนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ทรงห้ามเหตุนั้น จึงตรัสว่า อฏฺานเมต อานนฺท อนวกาโส เป็นต้น
ความว่า ฐานะหรือโอกาสนี้ไม่มี.
สองบทว่า ย ตถาคโต ความว่า พระตถาคตจะพึงถอนปาราชิก
สิกขาบทที่บัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพระเหตุแห่งพวกวัชชีหรือพวกภิกษุ
ชาววัชชีบุตร ด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่มี. ความจริงถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 750
จะพึงประทานอุปสมบทแก่ภิกษุชาววัชชีบุตรเหล่านี้ ผู้ทูลขออยู่ว่า ข้าพระ
พุทธเจ้าทั้งหลาย พึงได้อุปสมบท ดังนี้ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ก็
จะพึงถอนปาราชิกสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ว่า "ย่อมเป็นปาราชิก หาสังวาส
มิได้." แต่เพราะเหตุที่พระองค์ ไม่ทรงถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้วนั้น
ฉะนั้นจึงตรัสว่า "นั่น ไม่ใช่ฐานะ" เป็นต้น.
หลายบทว่า โส อาคโต น อุปสมฺปาเทตพฺโพ ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีความอนุเคราะห์เทียว ทรงทราบว่า ถ้าภิกษุนั้น
มาแล้วอย่างนี้ พึงได้รับอุปสมบทไซร้, เธอพึงเป็นผู้ไม่มีความเคารพในศาสนา,
แต่เธอตั้งอยู่ในภูมิของสามเณรแล้ว จักเป็นผู้มีความเคารพ และจักทำประ-
โยชน์ตนได้ จึงตรัสว่า "เธอมาแล้ว ไม่ควรให้อุปสมบท."
หลายบทว่า โส อาคโต อุปสมฺปาเทตพฺโพ ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงทราบแล้วว่า ภิกษุนั้นมาแล้วอย่างนี้ ยังดำรงอยู่ในภาวะเป็น
ภิกษุ จักเป็นผู้มีความเคารพในศาสนา เพราะความที่เธอมีศีลยังไม่วิบัติ, เธอ
เมื่อยังมีอุปนิสัยอยู่ จักบรรลุประโยชน์สูงสุด ต่อกาลไม่นานนักแล จึงตรัสว่า
"เธอนั้นมาแล้ว ควรให้อุปสมบท."
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงภิกษุชาววัชชีบุตร ผู้ไม่ควรให้
อุปสมบท และผู้ควรให้อุปสมบท ในบรรดาเหล่าภิกษุชาววัชชีบุตรผู้เสพ-
เมถุนธรรม มาแล้วอย่างนี้ มีพระประสงค์จะประมวลเรื่องทั้ง ๓ มา แล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบทให้บริบูรณ์ จึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็แล
พวกเธอพึงแสดงสิกขาบทนี้ขึ้นอย่างนี้ " แล้วได้ทรงบัญญัติสิกขาบทให้บริบูรณ์
อย่างนี้ว่า:- โย ปน ภิกฺขุ ฯ เปฯ อสวาโส แปลว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 751
อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุ
ทั้งหลายแล้ว ไม่กล่าวคืนสิกขา ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล
พึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุนี้เป็น
ปาราชิก หาสังวาสมิได้.
[วินัย ๔ อย่าง]
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกเนื้อความแห่งสิกขาบท
นั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า "โย ปนาติ โย ยาทิโส."
ก็พระวินัยธร ผู้ปรารถนาความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบท วิภังค์แห่ง
สิกขาบทนั้น และวินิจฉัยทั้งสิ้น ควรทราบวินัย ๔ อย่าง.
จริงอยู่ พระธรรมสังคาหกมหาเถระ
ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มากในปางก่อน ได้นำวินัย
๔ อย่างออกเปิดเผยแล้ว.
วินัย ๔ อย่างเป็นไฉน ? วินัย ๔ อย่างคือ สูตร สุตตานุโลม
อาจริยวาท อัตตโนมติ ซึ่งพระนาคเสนเถระหมายเอากล่าวไว้ (ในมิลินท-
ปัญหา) ว่า มหาบพิตร! เนื้อความอันกุลบุตรพึงรับรองด้วยบทดั้งเดิมแล
ด้วยรส ด้วยความเป็นวงศ์แห่งอาจารย์ ด้วยความอธิบาย.
[อรรถาธิบายวินัย ๔ อย่าง]
จริงอยู่ บรรดาคำเหล่านี้ คำว่า อาหัจจบท ท่านประสงค์เอา
สูตร. คำว่า "รส" ท่านประสงค์เอาสุตตานุโลม. คำว่า "อาจริยวงศ์" ท่าน
ประสงค์เอาอาจริยวาท. คำว่า "อธิบาย" ท่านประสงค์เอาอัตโนมัติ.
๑. วิ. มหา. ๑/๔๒. ๒. นัย- มิลินทปัญหา ๒๐๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 752
บรรดาวินัย ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า สูตร ได้แก่บาลีในวินัยปิฎกทั้งมวล.
ที่ชื่อว่า สุตตานุโลม ได้แก่มหาประเทศ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้
ว่า:-
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งใด เรามิได้ห้ามไว้ว่า 'สิ่งนี้ไม่ควร'
ถ้าสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ ขัดกันกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ, สิ่งนั้น ไม่ควร
แก่ท่านทั้งหลาย
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งใด เรามิได้ห้ามไว้ว่า 'สิ่งนี้ไม่ควร'
ถ้าสิ่งนั้นเข้ากันกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ขัดกันกับสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ, สิ่งนั้นควร
แก่ท่านทั้งหลาย
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งใด เรามิได้อนุญาตไว้ว่า 'สิ่งนี้ควร'
หากสิ่งนั้นเข้ากันกับสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ ขัดกันกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ, สิ่งนั้น ไม่
ควรแก่ท่านทั้งหลาย
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งใด เรามิได้อนุญาตไว้ว่า 'สิ่งนี้ควร'
หากสิ่งนั้นเข้ากันกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ขัดกันกับสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ, สิ่งนั้น ควร
แก่ท่านทั้งหลาย.*
ที่ชื่อว่า อาจริยวาท ได้แก่แบบอรรถกถา ซึ่งยังวินิจฉัยท้องเรื่องให้
เป็นไป นอกจากบาลี ซึ่งพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ผู้เป็นธรรมสังคหกะตั้งไว้.
ที่ชื่อว่า อัตโนมัติ ได้แก่คำที่พ้นจากสูตร สุตตานุโลม และอาจริย-
วาท กล่าวตามอาการที่ปรากฏด้วยอนุมาน คือ ด้วยความตามรู้แห่งตน ด้วย
การถือเอานัย ด้วยการถือเอาใจความ. อีกนัยหนึ่ง เถรวาทแม้ทั้งหมด ที่มา
ในอรรถกถาแห่งพระสูตร พระอภิธรรม และพระวินัย ชื่อว่า อัตตโนมัติ.
* วิ. มหา ๕/๓๒๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 753
[วิธีสอบสวนสูตรและสุตตานุโลมเป็นต้น]
แต่กุลบุตร ผู้อ้างอัตโนมัตินั้นกล่าว ไม่ควรจะยึดถือให้แน่นแฟ้น
กล่าว ควรกำหนดเหตุเทียบเคียงบาลีกับเนื้อความ และเนื้อความกับบาลี
แล้วจึงกล่าว. อัตโนมัติ ควรสอบสวนดูในอาจริยวาท ถ้าลงกันและสมกัน
ในอาจริยวาทนั้นไซร้, จึงควรถือเอา ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา.
จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า อัตโนมัตินี้ ยังเป็นของทรามกำลังกว่าทุกอย่าง. อาจริยวาท
มีกำลังกว่าอัตโนมัติ. แม้อาจริยวาทก็ควรสอบสวนดู ในสุตตานุโลม เมื่อ
ลงกัน สมกันแท้ ในสุตตานุโลมนั้น จึงควรถือเอา, ฝ่ายที่ไม่ลงกัน ไม่สมกัน
ไม่ควรถือเอา. เพราะว่า สุตตานุโลม เป็นของมีกำลังกว่าอาจริยวาท. แม้
สุตตานุโลม ก็ควรสอบสวนดูในสูตร เมื่อลงกันสมกันแท้ ในสูตรนั้น จึง
ควรถือเอา, ฝ่ายที่ไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา. เพราะว่าสูตรเท่านั้น
เป็นของมีกำลังกว่าสุตตานุโลม. จริงอยู่ สูตรเป็นของอันใคร ๆ แต่งเทียม
ไม่ได้ เป็นเหมือนสงฆ์ผู้ทำ เป็นเหมือนกาลที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังทรง
พระชนม์อยู่. เพราะฉะนั้น เมื่อใดภิกษุสองรูป สากัจฉากัน, สกวาทีอ้าง
สูตรกล่าว, ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าว เมื่อนั้น ทั้งสองรูปนั้น ไม่ควรทำ
การเพิดเพ้ยหรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวนสุตตานุโลมในสูตร ถ้าลงกัน
สมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ใน
สูตรเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสูตรกล่าว, ปรวาทีอ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้, แม้
ทั้งสองรูปนั้น ก็ไม่ควรทำการเพิดเพ้ย หรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวน
อาจริยวาทในสูตร ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. เมื่ออาจริยวาท ไม่ลงกัน
และไม่สมกัน ทั้งเป็นข้อที่น่าตำหนิ ก็ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 754
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสูตรกล่าว, ปรวาที อ้างอัตโนมัติกล่าวไซร้, แม้
ทั้งสองรูปนั้น ก็ไม่ควรทำการเพิดเพ้ย หรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวน
อัตโนมัติในสูตร ถ้าลงกันสมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน
ไม่ควรถือเอา :- ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสุตตานุโลมกล่าว, ปรวาที อ้างสูตรกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนสูตรในสุตตานุโลม ถ้าลงกันสมกัน ปรากฏมาในบาลีขึ้นสู่สังคีติ
ทั้ง ๓ ครั้ง จึงควรถือเอา, ถ้าไม่ปรากฏเหมือนอย่างนั้น ไม่ลงกัน ไม่สมกัน
เป็นพาหิรกสูตร สิโลกโศลก หรือสูตรที่น่าตำหนิอื่น ๆ ซึ่งมาจากบรรดาสูตร
ทั้งหลาย มีคุฬหเวสสันตรคุฬหวินัย และคุฬหเวทัลละเป็นต้น อย่างใด
อย่างหนึ่ง ไม่ควรถือเอา; ควรตั้งอยู่ในสุตตานุโลมเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสุตตานุโลมกล่าว, ปรวาที อ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนอาจริยวาท ในสุตตานุโลม, ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา, ถ้า
ไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา; ควรตั้งอยู่ในสุตตานุโลมเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสุตตานุโลมกล่าว, ปรวาที อ้างอัตโนมัติกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนอัตโนมัติ ในสุตตานุโลม ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา,
ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา ; ควรตั้งอยู่ในสุตตานุโลมเท่านั้น.
ก็ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอาจริยวาทกล่าว, ปรวาทีอ้างสูตรกล่าวไซร้, ควร
สอบสวนสูตรในอาจริยวาท ถ้าลงกันสมกัน ควรถือเอา. สูตรที่น่าตำหนิ
นอกนี้ ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอาจริยวาทเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอาจริยวาทกล่าว, ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนสุตตานุโลมในอาจริยวาท เมื่อลงกัน สมกันแท้ จึงควรถือเอา.
นอกนี้ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอาจริยวาทเท่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 755
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอาจริยวาทกล่าว, ปรวาทีอ้างอัตโนมัติกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนอัตโนมัติในอาจริยวาท ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่
ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอาจริยวาทเท่านั้น. การถือเอา
(มติ) ของตนนั่นแล ควรทำให้มีกำลัง ( ให้มีหลักฐาน)
อนึ่ง ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอัตโนมัติกล่าว, ปรวาทีอ้างสูตรกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนสูตรในอัตโนมัติ, ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. สูตรที่น่าตำหนิ
นอกนี้ ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอัตโนมัติเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอัตโนมัติกล่าว, ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าวไซร้
ควรสอบสวนสุตตานุโลนในอัตโนมัติ เมื่อลงกัน สมกันแท้ ควรถือเอา.
นอกนี้ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอัตโนมัติเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างอัตโนมัติกล่าว, ปรวาทีอ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้,
ควรสอบสวนอาจริยวาทในอัตโนมัติ ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. อาจริยวาท
ที่น่าตำหนินอกนี้ ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอัตโนมัติเท่านั้น. การถือเอา
(มติ) ของตนนั่นแล ควรทำให้มีกำลัง (ให้มีหลักฐาน). อนึ่ง ไม่ควรทำการ
เพิดเพ้ย หรือตำหนิในที่ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ถ้าสกวาทีนี้ กล่าวอ้างว่า เป็นกัปปิยะ ปรวาทีกล่าวอ้างว่า
เป็นอกัปปิยะ ควรสอบสวนสิ่งนั้น ๆ ในสูตรและสุตตานุโลม ถ้าสิ่งนั้น
เป็นกัปปิยะ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ถ้าสิ่งนั้น เป็นอกัปปิยะ, ก็ควร
ตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ.
ถ้าสกวาทีนี้ ชี้แจงเหตุและคำวินิจฉัยมากมายจากสูตรเป็นเครื่องสาธก
สิ่งที่เป็นกัปปิยะ แก่ฝ่ายปรวาทีนั้นไซร้, ปรวาทีไม่พบเหตุ, ก็ควรตั้งอยู่ใน
สิ่งที่เป็นกัปปิยะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 756
ถ้าปรวาที ชี้แจงเหตุและคำวินิจฉัยมากมายจากสูตรเป็นเครื่องสาธก
สิ่งที่เป็นอกัปปิยะแก่ฝ่ายสกวาทีนั้นไซร้, สกวาทีนั้น ไม่ควรถือมั่นตั้งอยู่ว่า
การถือเอามติของตน (ถูกฝ่ายเดียว) ควรยอมรับว่า ดีละ แล้วตั้งอยู่ในสิ่ง
ที่เป็นอกัปปิยะเท่านั้น. ถ้าว่า เงาแห่งเหตุแม้ของทั้งสองฝ่าย ย่อมปรากฏชัด
ไซร้, ข้อที่ทั้งสองฝ่ายคัดค้านนั่นแล เป็นการดี, แต่ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็น
อกัปปิยะ. ความจริงครั้นมาถึงวินัยแล้ว อันภิกษุบริษัท ควรอาศัยการวิจารณ์
ถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรป้องกันไว้ ควรทำการยึดถือให้มั่นคง ควรตัดกระแส
เสีย, ควรตั้งอยู่ในความเป็นผู้หนักนั่นแล.
อนึ่ง ถ้าสกวาทีนี้ กล่าวอ้างว่า เป็นอกัปปิยะ, ปรวาทีกล่าวอ้างว่า
เป็นกัปปิยะ, ควรสอบสวนสิ่งนั้น ๆ ในสูตรและสุตตานุโลม ถ้าสิ่งนั้นเป็น
กัปปิยะ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ, ถ้าสิ่งนั้นเป็นอกัปปิยะ, ควรตั้งอยู่
ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ.
ถ้าสกวาทีนี้ ชี้แจงถึงสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ ด้วยสูตรคำวินิจฉัยและเหตุ
มากมายไซร้, ปรวาทีไม่ได้พบเหตุ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ.
ถ้าปรวาที ชี้แจงถึงสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ด้วยสูตรคำวินิจฉัยและเหตุ
มากมายไซร้, สกวาทีนี้ มิได้พบเหตุ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ. ถ้าว่า
เงาแห่งเหตุ แม้ของทั้งสองฝ่ายย่อมปรากฏชัดไซร้, ไม่ควรสละการถือเอา
(มติ) ของตน. เหมือนอย่างว่า ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ และในสิ่ง
ที่เป็นอกัปปิยะและกัปปิยะ ท่านกล่าววินิจฉัยนี้ไว้แล้ว ฉันใด, ในวาทะว่า
เป็นอนาบัติและอาบัติก็ดี ในวาทะว่าเป็นอาบัติและอนาบัติก็ดี ในวาทะว่าเป็น
ลหุกาบัติและครุกาบัติก็ดี ในวาทะว่าเป็นครุกาบัติและลหุกาบัติก็ดี ก็ควรทราบ
วินิจฉัย ฉันนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 757
จริงอยู่ ในวาทะที่ว่าเป็นอนาบัติและอาบัติเป็นต้นนี้ มีความต่างกัน
ในเพราะเหตุสักว่าชื่อเท่านั้น, ในนัยแห่งการประกอบความหามีความต่างกัน
ไม่, เพราะฉะนั้น การประกอบความ ท่านจึงไม่ทำให้พิสดาร. เมื่อเกิดคำ
วินิจฉัยถึงสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะเป็นต้นอย่างนี้แล้ว ฝ่ายใด ได้พบเหตุ
มากมาย ในสูตร สุตตานุโลม อาจริยวาท และอัตโนมัติ, ควรตั้งอยู่ในวาทะ
ของฝ่ายนั้น. อนึ่ง ทั้งสองฝ่าย เมื่อไม่ได้พบเหตุและคำวินิจฉัย โดยประการ
ทั้งปวง ไม่ควรละทิ้งสูตร ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น ฉะนี้แล. พระวินัยธร
ผู้ปรารถนาความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบท วิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และวินัย
วินิจฉัยทั้งสิ้น ควรทราบวินัย ๔ อย่างนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.
[พระวินัยธรประกอบด้วยลักษณะ ๓ อย่าง]
ก็แล บุคคลผู้ทรงวินัย แม้ครั้นทราบวินัย ๔ อย่างนี้แล้ว ก็ควร
เป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะ ๓. จริงอยู่ ลักษณะแห่งพระวินัยธร ๓ อย่าง
ควรปรารถนา. ลักษณะ ๓ อย่าง เป็นไฉน? ลักษณะ ๓ อย่าง คือ:-
คำว่า ก็สูตรของพระวินัยธรนั้น เป็นพุทธพจน์ที่มาถูกต้องคล่องแคล่วดี
วินิจฉัยดี โดยสูตร โดยพยัญชนะ๑ นี้เป็นลักษณะอันหนึ่ง. คำว่า ก็พระ-
วินัยธรนั้น เป็นผู้มั่นคง ไม่ง่อนแง่นในวินัยแล นี้เป็นลักษณะที่สอง. คำว่า
ก็ลำดับอาจารย์แล เป็นลำดับที่พระวินัยธรนั้นจำได้ถูกต้อง ทำให้ขึ้นใจไว้ดี
ใคร่ครวญถูกต้องดีแล้ว๒ นี้เป็นลักษณะที่สาม.
[อรรถาธิบายลักษณะ ๓ ของพระวินัยธร]
ในคำว่า สุตฺตญฺจ เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- วินัยปิฎกทั้งสิ้น
ชื่อว่าสูตร, สูตรนั้นของพระวินัยธรนั้น เป็นพุทธพจน์ที่มาถูกต้อง คือมา
ด้วยดี
๑-๒. นย. วิ. ปริวาร. ๘/๓๒๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 758
บทว่า สุปฺปวตฺติต ได้แก่ เป็นไปด้วยดี คือชำนาญ คล่องปาก.
หลายบทว่า สุวินิจฺฉิต อนุพฺยญฺชนโส ได้แก่ ที่วินิจฉัย
เรียบร้อย คือที่ตนตัดความสงสัย เรียนเอาไว้ โดยบาลีปริปุจฉาและอรรถกถา.
หลายบทว่า วินเย โข ปน ิโต โหติ ความว่า พระวินัยธร
นั้นเป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ด้วยความเป็นลัชชีภิกษุ. จริงอยู่ อลัชชีภิกษุ
แม้เป็นพหูสูต เพราะค่าที่ตนเป็นผู้หนักในลาภ ก็แกล้งกล่าวให้ผิดแบบแผน
แสดงสัตถุศาสนานอกธรรมนอกวินัย ย่อมทำอุปัทวะมากมายในพระศาสนา คือ
ก่อให้เกิดสังฆเภทบ้าง สังฆราชีบ้าง. ฝ่ายภิกษุลัชชี เป็นผู้มักรังเกียจ ใคร่
การศึกษา แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ก็ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดแบบแผน ย่อม
แสดงเฉพาะธรรม เฉพาะวินัยเท่านั้น คือทำสัตถุศาสนาให้เป็นที่เคารพตั้งอยู่.
จริงอย่างนั้น พระมหาเถระทั้งหลายในปางก่อน เปล่งวาจา ๓ ครั้งว่า ใน
อนาคตกาล ภิกษุลัชชี จักรักษาไว้, ภิกษุลัชชี จักรักษาไว้ ดังนี้เป็นต้น.
ก็ภิกษุรูปใด เป็นลัชชี ดังกล่าวมาแล้วนั้น ภิกษุรูปนั้น เมื่อไม่ละไม่ฝ่าฝืน
วินัย เป็นผู้ตั้งมั่น คือมั่นคงอยู่ในวินัย ด้วยความเป็นลัชชีภิกษุ ฉะนี้แล.
บทว่า อสหิโร ความว่า บุคคลใด ถูกผู้อื่นถามด้วยบาลีโดยเบื้องต่ำ
หรือเบื้องสูง ด้วยลำดับบทหรืออรรถกถา ย่อมทุรนทุราย กระสับกระส่าย
ไม่อาจตั้งมั่นอยู่ได้ ย่อมคล้อยตามคำที่ผู้อื่นกล่าว ทิ้งวาทะของตนเสีย ถือเอา
วาทะของผู้อื่น ผู้นั้น ชื่อว่าผู้ง่อนแง่น. ฝ่ายบุคคลใด ถูกผู้อื่นถามด้วยบท
เบื้องต่ำและสูง หรือด้วยลำดับบทในบาลีก็ดี ในอรรกถาก็ดี ย่อมไม่ทุรน-
ทุราย ไม่กระสับกระส่าย เปรียบเหมือนเอาแหนบจับขนทีละเส้น ๆ ฉะนั้น
ชี้แจงกะเขาว่า ข้าพเจ้ากล่าวอย่างนี้, อาจารย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า ก็กล่าว
อย่างนี้. อนึ่งบาลีและวินิจฉัยบาลี ตั้งอยู่ในบุคคลใด ไม่ถึงความเลื่อมสิ้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 759
หมดเปลืองไป เหมือนน้ำมันราชสีห์ที่ใส่ไว้ในภาชนะทองคำ ไม่ถึงความสิ้น
ไปฉะนั้น, บุคคลนี้ ท่านเรียกว่า ผู้ไม่ง่อนแง่น.
หลายบทว่า อาจริยปรมฺปรา โข ปนสฺส สุคฺคหิตา โหติ
ความว่า ลำดับแห่งพระเถระ คือลำดับวงศ์ เป็นลำดับที่พระวินัยธรนั้น
จำได้อย่างถูกต้อง.
บทว่า สุมนสิกตา ได้แก่ ทำให้ขึ้นใจอย่างดี แต่พอนึก ก็ปรากฏ
ได้ คล้ายประทีปที่ลุกโชน ฉะนั้น.
บทว่า สูปธาริตา ได้แก่ ใคร่ครวญโดยดี คือใคร่ครวญโดยความ
สืบเนื่องกันแห่งเบื้องต้นและเบื้องปลาย โดยผลและโดยเหตุ.
[ลำดับอาจารย์ตั้งแต่พระอุบาลีเถระเป็นต้นมา]
บุคคลละมติของตนแล้วเป็นผู้กล่าวความบริสุทธิ์แห่งอาจารย์ คือนำ
ลำดับอาจารย์ ได้แก่ระเบียบแห่งพระเถระทั้งหมดอย่างนี้ คือพระอาจารย์ของ
ข้าพเจ้าเรียนเอาในสำนักของอาจารย์ชื่อโน้น, อาจารย์นั้นเรียนเอาในสำนัก
อาจารย์ชื่อโน้น, ไปตั้งไว้จนให้ถึงคำว่า "พระอุบาลีเถระ เรียนเอาในสำนัก
ของพระพุทธเจ้า."
พระอาจารย์รูปต่อ ๆ มา ได้นำแม้จากพระอุบาลีเถระนั้นมา คือได้
นำลำดับแห่งพระอาจารย์ ได้แก่ระเบียบแห่งพระเถระทั้งหมด จนให้ถึงพระ-
อาจารย์ของตน แล้วตั้งไว้อย่างนี้ว่า "พระอุบาลีเถระเล่าเรียนมาในสำนักของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระทาสนกเถระ เล่าเรียนมาในสำนักของพระอุบาลีเถระ
ผู้เป็นอุปัชฌายะของตน, พระสิคควเถระ เล่าเรียนมาในสำนักของพระโสณก-
เถระ ผู้เป็นอุปัชฌายะของตน, พระโมคคลีบุตรติสสเถระ เล่าเรียนมาใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 760
สำนักของพระสิคควเถระ และพระจัณฑวัชชีเถระ ผู้เป็นอุปัชฌายะของตน."
แท้จริง ลำดับแห่งพระอาจารย์ อันพระวินัยธรเรียนเอาแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น
อันเธอจำได้อย่างถูกต้อง แต่เมื่อไม่สามารถจะเรียนเอาอย่างนั้น ก็ควรเรียน
เอาเพียง ๒-๓ ลำดับก็พอ. จริงอยู่ โดยนัยอย่างหลังที่สุด ควรทราบเหมือน
อย่างพระอาจารย์ และอาจารย์ของอาจารย์ กล่าวบาลีและปริปุจฉา ฉะนั้น.
[พระวินัยธรจะวินิจฉัยอธิกรณ์ควรตรวจดูฐานะ ๖ อย่างก่อน]
ก็แล พระวินัยธรผู้ประกอบพร้อมด้วยลักษณะ ๓ อย่างนี้แล้ว เมื่อ
สงฆ์ประชุมกันเพื่อวินิจฉัยเรื่อง และเรื่องที่หยั่งลงแล้ว ทั้งโจทก์แลจำเลยก็ให้
การแล้ว เมื่อจะพูดไม่ควรด่วนตัดสินทีเดียว ควรตรวจดูฐานะทั้ง ๖ เสียก่อน.
ฐานะ ๖ อย่าง เป็นไฉน? ฐานะ ๖ อย่างนั้นคือ:- ควรตรวจดู
เรื่อง ๑ ตรวจดูมาติกา ๑ ตรวจดูบทภาชนีย์ ๑ ตรวจดูติกปริจเฉท ๑
ตรวจดูอันตราบัติ ๑ ตรวจดูอนาบัติ ๑.
[อรรถาธิบายฐานะ ๖ อย่าง]
จริงอยู่ พระวินัยธร แม้เมื่อตรวจดูเรื่อง ย่อมเห็นอาบัติบางอย่าง
อย่างนี้คือ ภิกษุผู้มีจีวรหาย ควรเอาหญ้าหรือใบไม้ปกปิดจึงมา, แต่ไม่
ควรเปลือยกายมาเลย, ภิกษุใดพึงเปลือยกายมา, ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ.๑
พระวินัยธรนั้น ครั้นนำสูตรนั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูมาติกา ย่อมเห็นบรรดาอาบัติ ๕ กอง กองใด
กองหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า "เป็นปาจิตตีย์" ในเพราะสัมปชานมุสาวาท.๒"
เธอครั้นนำสูตรนั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูบทภาชนีย์ ย่อมเห็นบรรดาอาบัติ ๗ กอง กอง
ใดกองหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า "ภิกษุเสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์ยังมิได้กัดกิน
๑. วิ. มหา. ๒/๓๘. ๒. วิ. มหา. ๒/๑๕๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 761
ต้องอาบัติปาราชิก,๑ เสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมาก ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.๒ เธอ ครั้นนำสูตรจากบทภาชนีย์มาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์
นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูติกปริจเฉท ย่อมเห็นการกำหนดติกสังฆาทิเสส
บ้าง ติกปาจิตตีย์บ้าง ติกทุกกฏบ้าง อาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง. เธอ ครั้น
นำสูตรมาจากบาลีติกปริจเฉทนั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูอันตราบัติ จะเห็นอันตราบัติ ซึ่งมีอยู่ในระหว่าง
แห่งสิกขาบทอย่างนี้ คือ ภิกษุ ยักคิ้ว ต้องอาบัติทุกกฏ. เธอ ครั้นนำสูตร
นั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูอนาบัติ จะเห็นอนาบัติที่ท่านแสดงไว้แล้วใน
สิกขาบทนั้น ๆ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ! ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่มี
ไถยจิต ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่มีความประสงค์จะอวด ไม่มีความ
ความประสงค์จะปล่อย ไม่แกล้ง ไม่รู้ เพราะไม่มีสติ. เธอ ครั้นนำสูตร
นั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
จริงอยู่ ภิกษุใด เป็นผู้ฉลาดในวินัย ๔ อย่าง สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๓
ได้ตรวจดูฐานะ ๖ อย่างนี้แล้ว จักระงับอธิกรณ์ได้. การวินิจฉัย (อธิกรณ์)
ของภิกษุนั้นใคร ๆ ให้เป็นไปทัดเทียมไม่ได้ ย่อมเป็นเช่นกับวินิจฉัยที่พระ-
พุทธเจ้าประทับนั่งวินิจฉัยเสียเอง.
[วิธีวินิจฉัยอธิกรณ์]
ถ้าภิกษุบางรูป ผู้ทำการล่วงละเมิดสิกขาบทแล้ว เข้าไปหาภิกษุผู้ฉลาด
ในการวินิจฉัยนั้น อย่างนั้นแล้ว พึงถามถึงข้อรังเกียจสงสัยของตนไซร้, ภิกษุ
๑-๒. วิ. มหา. ๑/๖๘-๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 762
ผู้ฉลาดในการวินิจฉัยนั้น ควรกำหนดให้ดี ถ้าเป็นอนาบัติ, ก็ควรบอกว่า
เป็นอนาบัติ แต่ถ้าเป็นอาบัติ, ก็ควรบอกว่า เป็นอาบัติ ถ้าอาบัตินั้น
เป็นเทศนาคามินี, ก็ควรบอกว่า เป็นเทศนาคามินี ถ้าเป็นวุฏฐานคามินี,
ก็ควรบอกว่า เป็นวุฏฐานคามินี ถ้าฉายาปาราชิกปรากฏ แก่ภิกษุผู้ฉลาด
ในการวินิจฉัยนั้นไซร้,ไม่ควรบอกว่า เป็นอาบัติปาราชิก. เพราะเหตุไร?
เพราะเหตุว่า การล่วงละเมิดเมถุนธรรม และการล่วงละเมิดอุตตริมนุษยธรรม
เป็นของหยาบคาย. ส่วนการละเมิดอทินนาทานและมนุสสวิคคหะเป็นของสุขุม
มีจิตเปลี่ยนแปลงเร็ว, ภิกษุย่อมต้องวีติกกมะทั้งสองนั้นด้วยอาการสุขุมทีเดียว
(และ) ย่อมรักษาไว้ด้วยอาการสุขุม (เหมือนกัน). เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้
ถูกถามความรังเกียจสงสัย ซึ่งมีความละเมิดนั้นเป็นที่ตั้งโดยพิเศษไม่ควรพูด
ว่า ต้องอาบัติ ถ้าอาจารย์เธอยังมีชีวิตอยู่ไซร้, หลังจากนั้น ภิกษุผู้ฉลาด
ในการวินิจฉัยนั้น ควรส่งภิกษุนั้นไปว่า เธอจงถามอาจารย์ของข้าพเจ้าดูเถิด.
ถ้าเธอกลับมาอีกบอกว่า อาจารย์ของท่าน ค้นดูจากพระสูตร พระวินัยแล้ว
บอกผมว่า เป็นสเตกิจฉา (ยังพอแก้ไขได้), ในกาลนั้น ภิกษุผู้ฉลาดใน
การวินิจฉัยนั้น ควรพูดกะเธอว่า ดีละ ๆ, เธอจงทำอย่างที่อาจารย์พูด. ก็ถ้า
อาจารย์ของเธอไม่มีไซร้, แต่พระเถระผู้เล่าเรียนร่วมกัน มีตัวอยู่, พึงส่งเธอ
ไปยังสำนักของพระเถระนั้น ด้วยสั่งว่า พระเถระผู้เล่าเรียนร่วมกับข้าพเจ้า
เป็นคณปาโมกข์ มีตัวอยู่, เธอจงไปถามท่านดูเถิด. แม้เมื่อพระเถระนั้น
วินิจฉัยว่า เป็นสเตกิจฉา ก็ควรบอกกะเธอว่า ดีละ, เธอจงทำตามคำของ
พระเถระนั้นให้ดีทีเดียว. ถ้าแม้พระเถระผู้เล่าเรียนร่วมกัน ของเธอไม่มีไซร้,
มีแต่ภิกษุผู้เป็นอันเตวาสิก ซึ่งเป็นบัณฑิต, พึงส่งเธอไปยังสำนักของภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 763
ผู้เป็นอันเตวาสิกนั้น ด้วยสั่งว่า เธอจงไปถามภิกษุหนุ่มรูปโน้นดูเถิด. แม้เมื่อ
ภิกษุผู้เป็นอันเตวาสิกนั้น วินิจฉัย เป็นสเตกิจฉา ก็ควรพูดกะเธอว่า ดีละ,
เธอจงทำตามคำของภิกษุนั้นให้ดี. ถ้าฉายาปาราชิกนั่นแล ปรากฏแม้แก่ภิกษุ
หนุ่มไซร้, แม้อันภิกษุหนุ่มนั้น ก็ไม่ควรบอกภิกษุผู้ต้องอาบัติว่า เธอเป็น
ปาราชิก.
[ภิกษุผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์กรรมฐานย่อมไม่เจริญ]
จริงอยู่ ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า เป็นของได้ด้วยยาก, การ
บรรพชาและการอุปสมบท เป็นของได้ด้วยยากยิ่งกว่านั้น. แต่พระวินัยธร
ควรพูดอย่างนี้ว่า เธอ จงปัดกวาดโอกาสที่เงียบสงัด แล้วนั่งพักกลางวัน
ชำระศีล ให้บริสุทธิ์ จงมนสิการอาการ ๓๒ ดูก่อน. ถ้าศีลของภิกษุนั้น
ไม่ด่างพร้อยไซร้, กรรมฐาน ย่อมสืบ, สังขารทั้งหลาย ก็เป็นของปรากฏ
ชัดขึ้น, จิตก็เป็นเอกัคคตา ดุจได้บรรลุอุปจาระและอัปปนาสมาธิ ฉะนั้น,
ถึงวันจะล่วงเลยไปแล้วก็ตาม เธอก็ไม่ทราบ. ในเวลาวันล่วงเลยไป เธอมา
สู่ที่อุปัฏฐากแล้ว ควรพูดอย่างนี้ว่า ความเป็นไปแห่งจิตของเธอ เป็นเช่นไร?
ก็เมื่อเธอบอกความเป็นไปแห่งจิตแล้ว ควรพูดกะเธอว่า ขึ้นเชื่อว่าบรรพชา
มีความบริสุทธิ์แห่งจิตเป็นประโยชน์, เธออย่าประมาท บำเพ็ญสมณธรรมเถิด.
ส่วนภิกษุใด มีศีลขาด, กรรมฐานของภิกษุนั้น ย่อมไม่สืบต่อ, จิตย่อมปั่น
ป่วน คือถูกไฟคือความเดือดร้อนแผดเผาอยู่ ดุจถูกทิ่มแทงด้วยปฏัก ฉะนั้น,
ภิกษุนั้น ย่อมลุกขึ้นในขณะนั้นทีเดียว เหมือนนั่งอยู่บนก้อนหินที่ร้อน ฉะนั้น.
เธอมาแล้วถามว่า ความเป็นไปแห่งจิตของท่าน เป็นอย่างไร" เมื่อเธอ
บอกความเป็นไปแห่งจิตแล้ว ควรพูดว่า ขึ้นชื่อว่าความลับของผู้กระทำกรรม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 764
ชั่ว ย่อมไม่มีในโลก* แท้จริง บุคคลผู้กระทำความชั่ว ย่อมรู้ด้วยตนเอง
ก่อนคนอื่นทั้งหมด, ต่อจากนั้น อารักขเทพดาทั้งหลาย สมณพราหมณ์และ
เทพเจ้าเหล่าอื่น ผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ย่อมรู้ (ความชั่ว) ของเธอ, บัดนี้
เธอนั่นแล จงแสวงหาความสวัสดีแก่เธอเองเถิด.
กถาว่าด้วยวินัย ๔ อย่าง และกถาว่าด้วยลักษณะเป็นต้นของพระ-
วินัยธร จบ.
* ขุ. ชา. ๒๗/ ๑๓๑. ชาตกัฏฐกถา. ๔/๒๔๘
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 765
อรรถาธิบายสิกขาบทวิภังค์ปฐมปาราชิก
บัดนี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาเนื้อความวิภังค์แห่งสิกขาบทต่อไป. ในคำ
ว่า โย ปนาติ โย ยาทิโส เป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้:-
สองบทว่า โย ปน เป็นบทที่ควรจำแนก. บทเป็นต้นว่า โย ยาทิโส
เป็นบทจำแนกแห่งบทว่า โย ปน นั้น. ก็ในสองบทว่า โย ปน นี้ ศัพท์ว่า
ปน สักว่าเป็นนิบาต, บทว่า โย เป็นบทบอกเนื้อความ, และบทว่า โย
นั้น แสดงบุคคลโดยไม่กะตัว; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ
ทรงแสดงอรรถแห่งบทว่า โย นั้น จึงตรัสเฉพาะ โย ศัพท์ ซึ่งแสดงบุคคล
โดยไม่กะตัว. เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบทว่า โย ปน
นี้อย่างนี้.
บทว่า โย ปน มีคำอธิบายว่า โยโกจิ แปลว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง.
ก็บุคคลที่ชื่อว่า ผู้ใดผู้หนึ่งนั้น ย่อมปรากฏด้วยอาการอันหนึ่ง ในเพศ ความ
ประกอบ ชาติ ชื่อ โคตร ศีล ธรรมเครื่องอยู่ โคจร และวัย แน่แท้;
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศประเภทนั้น เพื่อให้
รู้จักบุคคลนั้น โดยอาการอย่างนั้น จึงตรัสคำว่า ยาทิโส เป็นต้น. ในคำว่า
ยาทิโส เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า ยาทิโส มีความว่า ว่าด้วยอำนาจเพศ จะเป็นบุคคลเช่นใด
หรือเช่นนั้นก็ตามที คือจะเป็นคนสูงหรือคนเตี้ย คนดำหรือคนขาว หรือคน
มีผิวเหลือง คนผอมหรือคนอ้วนก็ตามที.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 766
บทว่า ยถายุตฺโต มีความว่า ว่าด้วยอำนาจความประกอบจะเป็น
คนประกอบด้วยการงานเช่นใดเช่นหนึ่งก็ตามที คือจะเป็นคนประกอบด้วย
นวกรรม หรือจะประกอบด้วยอุเทศ หรือจะประกอบด้วยธุระในที่อยู่ก็ตามที.
บทว่า ยถาชจฺโจ มีความว่า ว่าด้วยอำนาจชาติ จะเป็นคนมีชาติ
อย่างใดหรือเป็นคนมีชาตินั้นก็ตามที คือจะเป็นกษัตริย์ หรือเป็นพราหมณ์
หรือเป็นแพศย์ เป็นศูทรก็ตามที.
บทว่า ยถานาโม มีความว่า ว่าด้วยอำนาจชื่อ จะเป็นคนมีชื่อ
อย่างใด หรือมีชื่ออย่างนั้นก็ตามที คือชื่อว่า พุทธรักขิต หรือชื่อธรรมรักขิต
หรือชื่อสังฆรักขิตก็ตามที.
บทว่า ยถาโคตฺโต มีความว่า ว่าด้วยอำนาจโคตร จะเป็นผู้มี
โคตรอย่างใดหรือมีโคตรอย่างนั้น หรือว่าด้วยโคตรเช่นใดเช่นหนึ่งก็ตามที
คือจะเป็นกัจจานโคตร หรือวาเสฏฐโคตร หรือโกสิยโคตรก็ตามที.
บทว่า ยถาสีโล มีความว่า ในปกติทั้งหลาย จะเป็นผู้มีอย่างใด
เป็นปกติหรือว่าเป็นผู้มีอย่างนั้นเป็นปกติก็ตามที คือว่าจะเป็นผู้มีนวกรรม
เป็นปกติ หรือมีอุเทศเป็นปกติ หรือมีธุระในที่อยู่เป็นปกติ ก็ตามที.
บทว่า ยถาวิหารี มีความว่า แม้ในธรรมเครื่องอยู่ทั้งหลาย จะเป็น
ผู้มีอย่างใดเป็นเครื่องอยู่ หรือว่าเป็นผู้มีอย่างนั้นเป็นเครื่องอยู่ก็ตามที คือว่า
จะเป็นผู้มีนวกรรมเป็นเครื่องอยู่ หรือมีอุเทศเป็นเครื่องอยู่ หรือว่ามีธุระใน
ที่อยู่ เป็นเครื่องอยู่ก็ตามที.
บทว่า ยถาโคจโร มีความว่า ถึงในโคจรทั้งหลายเล่า จะเป็นผู้มี
อย่างใดเป็นโคจรหรือว่ามีอย่างนั้นเป็นโจรก็ตามที คือว่าจะเป็นผู้มีนวกรรม
เป็นโคจรหรือมีอุเทศเป็นโคจร หรือมีธุระในที่อยู่เป็นโคจรก็ตามที.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 767
ส่วนในบทว่า เถโร วา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- จะเป็นผู้ใด
หรือว่าเป็นผู้นั้น ในบรรดาผู้เจริญโดยวัยเป็นต้นก็ตามที, คืออธิบายว่า จะเป็น
พระเถระ เพราะมีพรรษาครบสิบ หรือว่าเป็นผู้ใหม่ เพราะมีพรรษาหย่อนห้า
หรือว่าจะเป็นผู้ปานกลาง เพราะมีพรรษาเกินกว่าห้าก็ตามที.โดยที่แท้ บุคคล
นั้นทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในอรรถนี้ว่า โย ปน.
[อรรถาธิบายความหมายแห่งภิกษุศัพท์เป็นต้น]
ในภิกขุนิเทศ มีวินิจฉัยดังนี้:- ผู้ใดย่อมขอ เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า
ผู้ขอ. อธิบายว่า จะได้ก็ตาม ไม่ได้ก็ตาม ย่อมขอด้วยวิธีขออย่างประเสริฐ.
ชื่อว่าผู้อาศัยการเที่ยวขอ เพราะเป็นผู้อาศัยการเที่ยวขอ ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้น
ทรงอาศัยแล้ว. จริงอยู่ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งละกองโภคะน้อยหรือมาก ออกจาก
เรือนบวชไม่มีเรือน, บุคคลผู้นั้น ชื่อว่าอาศัยการเที่ยวขอ เพราะละการเลี้ยง
ชีวิตโดยกสิกรรม และโครักขกรรมเป็นต้นเสีย ยอมรับถือเพศนั่นเอง เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ.
อีกอย่างหนึ่ง แม้ฉันภัตในหาบอยู่ ในท่ามกลางวิหาร ก็ชื่อว่าอาศัย
การเที่ยวขอ เพราะมีความเป็นอยู่เนื่องด้วยผู้อื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอาศัยการเที่ยวขอ เพราะเป็นผู้เกิดอุตสาหะใน
บรรพชา อาศัยโภชนะ คือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภิกษุ.
ผู้ใดย่อมทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว เพราะทำค่าผัสสะและสีให้เสียไป
เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า ผู้ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. บรรดาการทำค่าให้เสียไป
เป็นต้นนั้น พึงทราบการทำค่าให้เสียไป เพราะตัดด้วยศัสตรา. จริงอยู่
ผืนผ้าแม้มีราคาตั้งพัน ที่เขาเอามีดตัดให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่แล้ว ย่อมมีราคา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 768
เสียไป คือมีค่าไม่ถึงแม้ครึ่งหนึ่งจากราคาเดิม. พึงทราบการทำผัสสะให้เสียไป
เพราะเย็บด้วยด้าย. แท้จริง ผืนผ้าแม้ที่มีสัมผัสเป็นสุขที่ถูกเย็บด้วยด้ายแล้ว
ย่อมมีผัสสะเสียไป คือถึงความเป็นผู้ที่มีผัสสะแข็งหยาบ. พึงทราบการทำสี
ให้เสียไป เพราะหม่นหมองด้วยสนิมเข็มเป็นต้น. แท้จริง ผืนผ้าแม้ที่บริสุทธิ์
ดีตั้งแต่ทำการด้วยเข็มไปแล้ว ย่อมมีสีเสียไป คือย่อมละสีเดิมไป เพราะ
สนิทเข็ม และเพราะน้ำที่เป็นมลทินอันเกิดจากเหงื่อมือ และเพราะการย้อม
และทำกัปปะในที่สุด. ผู้ใดชื่อว่า ผู้ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว เพราะทรง
ผืนผ้าที่ถูกทำลายด้วยอาการ ๓ อย่าง ดังอธิบายมาแล้วนั้น เหตุนั้น ผู้นั้น
ชื่อว่า ภิกษุ.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด ชื่อว่า ผู้ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว เพราะสักว่า
ทรงผ้ากะสาวะทั้งหลาย ซึ่งไม่เหมือนกับผ้าของคฤหัสถ์ เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า
ภิกษุ.
บทว่า สมญฺาย ความว่า โดยบัญญัติ คือโดยโวหาร. จริงอยู่
บุคคลบางคนย่อมปรากฏว่า เป็นภิกษุ โดยสมัญญาเท่านั้น. จริงอย่างนั้น
ในกิจนิมนต์เป็นต้น มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อนับจำนวนภิกษุอยู่ นับเอากระทั่ง
พวกสามเณรเข้าด้วยแล้ว พูดว่า ภิกษุจำนวนร้อยรูป, ภิกษุจำนวนพันรูป.
บทว่า ปฏิญฺาย คือโดยความปฏิญญาของตนเอง. จริงอยู่ บุคคล
บางคน ย่อมปรากฏว่า เป็นภิกษุ แม้โดยความปฏิญญา. พึงทราบความ
ปฏิญญาว่า เป็นภิกษุ นั้น เกิดมีได้ดังในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ถามว่า
ในที่นี้ เป็นใคร? ตอบว่า คุณ! ข้าพเจ้าเอง เป็นภิกษุ. ก็ควรปฏิญญานี้
เป็นความปฏิญญาที่ชอบธรรม ซึ่งพระอานนทเถระได้กล่าวไว้แล้ว. อนึ่ง
โดยส่วนแห่งราตรี แม้พวกภิกษุผู้ทุศีล เดินสวนทางมา เมื่อถูกถามว่า ใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 769
ที่นี้เป็นใคร? ก็ตอบว่า พวกข้าพเจ้า เป็นภิกษุ ดังนี้ เพื่อประโยชน์แก่
ปฏิญญาที่ไม่ชอบธรรม ไม่เป็นความจริง.
บทว่า เอหิภิกฺขุ ความว่า ผู้ถึงความเป็นภิกษุ คืออุปสมบทด้วย
เอหิภิกขุ ด้วยเพียรพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างนี้ว่า เธอ จงมา
เป็นภิกษุเถิด ชื่อว่าภิกษุ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดพระเนตรเห็น
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เพื่อเป็นเอหิภิกษุ จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้อง
ขวา ซึ่งมีสีดุจทอง ออกจากระหว่างบังสุกุลจีวรอันมีสีแดง เปล่งพระสุรเสียง
กังวานดังเสียงพรหม ตรัสเรียกว่า เธอ จงมาเป็นภิกษุเถิด, จงประพฤติ
พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พร้อมกับพระดำรัสของพระผู้มี
พระภาคเจ้านั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ (ของผู้เพ่งอุปสมบทนั้น) อันตรธานไป,
บรรพชาและอุปสมบทก็สำเร็จ, ผู้นั้นเป็นผู้ปลงผมนุ่งห่มผ้ากาสาวะ คือนุ่ง
(ผ้าอันตรวาสก) ผืนหนึ่ง ห่ม (ผ้าอุตราสงค์) ผืนหนึ่ง พาด (ผ้าสังฆาฏิ)
ไว้บนจะงอยบ่าผื่นหนึ่ง มีบาตรดินที่มีเหมือนดอกอุบลเขียวคล้องไว้ที่บ่าข้าง
ซ้าย. ภิกษุนั้นท่านกำหนดเฉพาะด้วยบริขาร ๘ ที่สวมสอดเข้าที่ร่างกาย อัน
พระโบราณจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
บริขารเหล่านี้คือ ไตรจีวร บาตร
มีดน้อย เข็ม และผ้ารัดประคดเอว เป็น ๘
ทั้งผ้ากรองน้ำ ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบ
ความเพียร
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ เหมือนพระเถระตั้งร้อยพรรษา มีพระพุทธเจ้า
เป็นพระอาจารย์ มีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัชฌายะ ยืนถวายบังคมพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าอยู่ทีเดียว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 770
จริงอยู่ ครั้งปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้กุลบุตร
อุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทานั่นแล ในกาลชั่วระยะหนึ่ง. และภิกษุผู้
อุปสมบท ด้วยวิธีอย่างนี้ มีจำนวน ๑,๓๔๑ รูป. คืออย่างไร ? คือมีจำนวน
ดังนี้:- พระปัญจวัคคิยเถระ ๕ ยสกุลบุตร ๑ สหายผู้เป็นบริวารของท่าน
๕๔ ภัททวัคคีย์ ๓๐ ปุราณชฏิล ๑,๐๐๐ ปริพาชกรวมกับพระอัครสาวกทั้ง
สอง ๒๕๐ พระอังคุลิมาลเถระ ๑ (รวมเป็น ๑,๓๔๑ รูป) สมจริงดังคำที่
พระอรรถกถาจารย์ กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า
ภิกษุ ๑,๓๐๐ รูป และเหล่าอื่นอีก
๔๐ รูป ทั้งพระเถระผู้มีปัญญาอีก ๑ รูป,
ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ท่านกล่าวว่า เป็น
เอหิภิกขุ.
ภิกษุเหล่านั้น เป็นเอหิภิกขุ จำพวกเดียวก็หามิได้, แม้เหล่าอื่นก็ยัง
มีอีกมาก. คืออย่างไร? คือมีจำนวนเป็นต้นอย่างนี้ว่า เสลพราหมณ์ทั้งบริวาร
มีจำนวน ๓๐๐ พระมหากัปปินทั้งบริวารมีจำนวน ๑,๐๐๐ กุลบุตรชาวเมือง
กบิลพัสดุ์มีจำนวน ๑๐,๐๐๐ พวกปารายนิกพราหมณ์ (พราหมณ์ผู้แสวงหาที่
พึ่งในภพข้างหน้า) มีจำนวน ๑๖,๐๐๐ (รวม ๒๗,๓๐๐ รูป) แต่ภิกษุเหล่านั้น
พระอรรถกถาจารย์มิได้กล่าวไว้ เพราะท่านพระอุบาลีเถระ มิได้แสดงไว้ใน
บาลีพระวินัยปิฎก. ภิกษุเหล่านี้ พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ ก็เพราะท่าน
พระอุบาลีเถระแสดงไว้ ในบาลีพระวินัยปิฎกนั้นแล้ว. (พระอรรถกถาจารย์
กล่าวคำไว้ในอรรถกถา) ว่า
ภิกษุทั้งหมดแม้เหล่านี้ คือ ๒๗,๐๐๐
รูป และ ๓๐๐ รูป, ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด
ท่านกล่าวว่า เป็นเอหิภิกขุ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 771
[วิธีอุปสมบทมี ๘ อย่าง]
หลายบทว่า ตีหิ สรณคมเนหิ อุปสมฺปนฺโน มีความว่า ผู้
อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ซึ่งลั่นวาจากล่าว ๓ ครั้ง โดยนัยเป็นต้นว่า พุทฺธ
สรณ คจฺฉามิ. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า อุปสัมปทา นี้มี ๘ อย่าง คือ เอหิภิกขุ
อุปสัมปทา ๑ สรณคมนอุปสัมปทา ๑ โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา ๑ ปัญหา-
พยากรณอุปสัมปทา ๑ ครุธัมมปฏิคคหณอุปสัมปทา ๑ ทูเตนอุปสัมปทา ๑
อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา ๑ ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา ๑.
[อรรถาธิบายอุปสัมปทา ๘ อย่าง]
ในอุปสัมปทา ๘ อย่างนั้น เอหิภิกขุอุปสัมปทา และสรณคมนอุป-
สัมปทา ข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้วแล.
ที่ชื่อว่า โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาต
แก่พระมหากัสสปเถระ ด้วยการรับโอาวาทนี้ว่า เพราะเหตุนั้นแล กัสสป !
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอาย และความเกรงไว้ในภิกษุ
ทั้งที่เป็นผู้เฒ่า ทั้งที่เป็นผู้ใหม่ ทั้งที่เป็นผู้ปานกลาง อย่างแรงกล้า, เธอพึง
ศึกษาอย่างนี้แหละ กัสสป! เพราะเหตุนั้นแล กัสสป ! เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราจักฟังธรรมอันใดอันหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยกุศล, เราเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้น
ทั้งหมด ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ รวบรวมไว้ทั้งหมดด้วยใจ, เธอพึงศึกษา
อย่างนี้แล กัสสป! เพราะเหตุนั้นแล กัสสป ! เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ก็สติ
ที่เป็นไปในกายของเรา ซึ่งประกอบด้วยความรำคาญ จักไม่ละเราเสีย, เธอ
พึงศึกษาอย่างนี้แล กัสสป* !
* ส. นิทาน. ๑๖/๒๖๐. บาลีเดิมเป็น กายคตาสติ น วิชหิสฺสติ ไม่มี ม ศัพท์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 772
ที่ชื่อว่า ปัญหาพยากรณอุปสัมปทา ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาต
แก่โสปากสามเณร. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามปัญหาเนื่องด้วย
อสุภ ๑๐ กะโสปากสามเณร ผู้จงกรมตามเสด็จอยู่ในบุพพารามว่า โสปากะ !
ธรรมเหล่านี้คือ อุทธุมาตกสัญญาก็ดี รูปสัญญาก็ดี มีอรรถต่าง ๆ กัน มี
พยัญชนะต่าง ๆ กัน หรือมีอรรถอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ?
โสปากสามเณรนั้น ทูลแก้ปัญหาเหล่านั้นได้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทาน
สาธุการแก่เธอ แล้วตรัสถามว่า เธอได้กี่พรรษาละ โสปากะ ? สามเณร
ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า! หม่อมฉันได้ ๗ พรรษา.
พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระหฤทัยอันโสปากสามเณรให้ยินดีว่า โสปากะ
เธอแก้ปัญหาทัดเทียมกับสัพพัญญุตญาณของเรา แล้วจึงทรงอนุญาตให้
อุปสมบท. นี้ชื่อว่า ปัญหาพยากรณอุปสัมปทา.
ที่ชื่อว่า ครุธัมปฏิคคหณอุปสัมปทา๑ ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาต
แก่พระนางมหาปชาบดี ด้วยการรับครุธรรม ๘.
ที่ชื่อว่า ทูเตน อุปสัมปทา๒ ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาตแก่นาง
อัฒกาสีคณิกา.
ที่ชื่อว่า อัฏฐวาจิกา อุปสัมปทา๓ ได้แก่อุปสัมปทาของนางภิกษุณี
ด้วยกรรม ๒ พวกนี้ คือ ญัตติจตุตถกรรม ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ ญัตติจตุตถกรรม
ฝ่ายภิกษุสงฆ์.
ที่ชื่อว่า ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา๔ ได้แก่อุปสัมปทาของภิกษุ
ทั้งหลายในทุกวันนี้.
๑. วิ. จุลฺล. ๗/๓๒๓-๙. ๒. วิ. จุลฺล. ๗/๓๖๕-๗.
๓. วิ. จุลฺล ๗/๓๕๔-๓๕๙ ๔. วิ. มหา. ๔/๑๙๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 773
มีคำว่ากล่าวอธิบายว่า ผู้ที่อุปสมบทแล้วในบรรดาอุปสัมปทา ๘ อย่าง
เหล่านี้ ด้วยอุปสัมปทานี้ ที่ทรงอนุญาตแล้วอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตซึ่งบรรพชา อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์เหล่านี้.*
บทว่า เจริญ ได้แก่ไม่ทราม. จริงอยู่ เสขบุคคลทั้งหลายมีกัลยาณ-
ปุถุชนเป็นต้น จนถึงเป็นพระอรหันต์ ย่อมถึงความนับว่า ภิกษุผู้เจริญ
เพราะประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
อันเจริญ.
บทว่า สาโร มีความว่า เสขกัลยาณปุถุชนนั้น พึงทราบว่า ภิกษุ
ผู้มีสาระ เพราะประกอบด้วยสาระทั้งหลาย มีศีลสาระเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง
เปรียบเหมือนผ้าสีเขียว เพราะประกอบด้วยสีเขียวฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง
พระขีณาสพเท่านั้น พึงทราบว่า เป็นผู้มีสาระ เพราะเป็นผู้ปราศจากกระพี้คือ
กิเลส.
บทว่า เสกฺโข มีความว่า พระอริยบุคคล ๗ จำพวก กับทั้งกัลยาณ-
ปุถุชน ย่อมศึกษาสิกขาบท ๓ เพราะเหตุนั้น จึงจัดเป็นเสกขบุคคล. ใน
เสกบุคคลเหล่านั้น คนใดคนหนึ่งพึงทราบว่า เป็นภิกขุเสกขะ. ที่ชื่อว่า
อเสกขบุคคล เพราะไม่ต้องศึกษา. พระขีณาสพ ท่านเรียกว่า อเสกขบุคคล
เพราะล่วงเสกขธรรมเสีย ตั้งอยู่ในผลเลิศ ไม่มีสิกขาที่จะต้องศึกษาให้ยิ่งกว่านั้น.
สองบทว่า สมคฺเคน สงฺเฆน มีความว่า ด้วยสงฆ์ ชื่อว่า เข้าถึง
ความเป็นผู้พร้อมเพรียงกันในกรรมอันหนึ่ง เพราะภิกษุผู้เข้ากรรม ในกรรม
ที่จะพึงด้วยสงฆ์ปัญจวรรค โดยปริยายอย่างต่ำที่สุด ได้มาครบจำนวน
เพราะได้นำฉันทะของพวกภิกษุผู้ควรฉันทะมาแล้ว และเพราะพวกภิกษุผู้อยู่
พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน.
* วิ. มหา. ๔/๔๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 774
บทว่า ตฺติจตุตฺเถน มีความว่า อันจะพึงทำด้วยอนุสาวนา ๓ ครั้ง
ญัตติ ๑ ครั้ง.
บทว่า กมฺเมน คือ วินัยกรรมอันชอบธรรม.
บทว่า อกุปฺเปน ความว่า เข้าถึงความเป็นกรรมอันใคร ๆ พึงให้
กำเริบไม่ได้ คืออันใคร ๆ พึงคัดค้านไม่ได้ เพราะถึงพร้อมด้วยวัตถุสมบัติ
ญัตติสมบัติ อนุสาวนาสมบัติ สีมาสมบัติ และปริสสมบัติ.
บทว่า านารเหน คือควรแก่เหตุ ได้แก่ควรแก่สัตถุศาสนา.
ชื่อว่า อุปสัมบัน คือมาถึง อธิบายว่า บรรลุภาวะอันสูงสุด. อัน
ความเป็นภิกษุเป็นภาวะอันสูง. จริงอยู่ บุคคลนั้น ท่านเรียกว่า อุปสัมบัน
เพราะมาถึงความเป็นภิกษุนั้น ด้วยกรรมตามที่กล่าวแล้ว.
ก็ในอธิการนี้ มาแต่ญัตติจตุตถกรรมอย่างเดียวเท่านั้น. แต่ในที่นี้
ควรนำสังฆกรรมทั้ง ๔ มากล่าวไว้โดยพิสดาร. คำนั้นทั้งหมดท่านกล่าวแล้วใน
อรรถกถาทั้งหลาย. และสังฆกรรมเหล่านั้นคือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม
ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม บัณฑิตพึงเรียงไว้ตามลำดับ แล้วซักบาลี
มากล่าวโดยพิสดาร จากคัมภีร์ขันธกะและกัมมวิภังค์ในที่สุดแห่งคัมภีร์บริวาร.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาสังฆกรรมเหล่านั้นในกัมมวิภังค์ ในที่สุดแห่งคัมภีร์บริวาร
นั่นแล. เพราะว่า เมื่อมีการพรรณนาอย่างนั้น ปฐมปาราชิกวรรณนา จักไม่
เป็นการหนักไป. และการพรรณนาพระบาลีตามที่ตั้งไว้ ก็จักเป็นวรรณนาที่รู้
กันได้ง่าย ทั้งฐานะเหล่านั้น จักเป็นของไม่สูญเสีย. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า
จะทำการพรรณนาไปตามบทเท่านั้น.
บทว่า ตตฺร มีความว่า บรรดาภิกษุทั้งหลาย ซึ่งกล่าวโดยนัยมีคำว่า
ผู้ขอ เป็นต้นเหล่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 775
สองบทว่า ยฺวาย ภิกฺขุ ตัดบทเป็น โย อย ภิกฺขุ แปลว่า
ภิกษุนี้ใด.
ข้อว่า สมคฺเคน สงฺเฆน ฯเป ฯ อุปสมฺปนฺโน มีความว่า
บรรดาอุปสัมปทา ๘ ผู้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรมเท่านั้น.
ข้อว่า อย อิมสฺมึ อตฺเถ อธิปฺเปโต ภิกฺขุ มีความว่า ภิกษุนี้
ประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในอรรถว่า เสพเมถุนธรรมแล้ว ย่อมเป็นผู้พ่ายแพ้ นี้.
ส่วนภิกขุศัพท์นอกนี้มีว่า ภิกฺขโก เป็นต้น ตรัสด้วยอำนาจการ
ขยายความ. และในคำว่า ภิกฺขโก เป็นต้นนั้น ศัพท์มีอาทิว่า ผู้ขอ ตรัส
ด้วยอำนาจภาษา. สองบทนี้ว่า เป็นภิกษุโดยสมัญญา เป็น ภิกษุ โดยความ
ปฏิญญา ตรัสด้วยอำนาจการร้องเรียก.
บทว่า เอหิภิกฺขุ ตรัสด้วยอำนาจวิธีอุปสมบทที่กุลบุตรได้แล้ว โดยมี
พระพุทธเจ้าเป็นอุปัชฌายะ. สรณคมนภิกฺขุ ตรัสด้วยอำนาจผู้อุปสมบทแล้ว
ในเมื่อกรรมวาจา ยังไม่เกิดขึ้น. ศัพท์เป็นต้นว่า ผู้เจริญ พึงทราบว่า ตรัส
ด้วยอำนาจคุณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ทรงจำแนกบทนี้ว่า ภิกฺขุน ไว้ในบัดนี้เลย
เพราะไม่มีใจความที่แปลก เมื่อจะทรงแสดงสิกขาและสาชีพ เพราะเป็นเหตุ
ให้ภิกษุถึงพร้อมแล้ว จึงเป็นผู้ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุ
ทั้งหลาย จึงตรัสว่า สิกฺขา เป็นต้น. ในคำว่า สิกฺขา เป็นต้นนั้น มี
วินิจฉัยดังนี้:-
ที่ชื่อว่า สิกฺขา เพราะอรรถว่า อันกุลบุตรพึงศึกษา.
บทว่า ติสฺโส เป็นสังขยากำหนดการคำนวณ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 776
บทว่า อธิสีลสิกฺขา มีอรรถวิเคราะห์ว่า ศีลยิ่ง คือสูงสุด เหตุนั้น
จึงชื่อว่า อธิศีล. อธิศีลนั้นด้วย เป็นสิกขา เพราะอันกุลบุตรพึงศึกษาด้วย
เหตุนั้น จึงชื่อว่า อธิศีลสิกขา. ในอธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาก็นัยนั้น.
[อรรถาธิบายอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา]
ถามว่า ก็ในอธิการนี้ ศีลเป็นไฉน? จิตเป็นไฉน?
อธิจิต เป็นไฉน? ปัญญาเป็นไฉน ? อธิปัญญา เป็นไฉน ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- ศีล มีองค์ ๕ และองค์ ๑๐ ชื่อว่า
ศีลเท่านั้นก่อน. จริงอยู่ ศีลนั้น เมื่อพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นแล้วก็ตาม ยัง
มิได้อุบัติขึ้นก็ตาม เป็นไปอยู่ในโลก. เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระสาวกทั้งหลายก็ดี ย่อมชักชวนมหาชนให้สมาทานใน
ศีลนั้น. เมื่อพระพุทธเจ้า ยังมิได้อุบัติขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้า สมณพรหมณ์
พวกกรรมวาทีประพฤติชอบธรรม พระเจ้าจักรพรรดิมหาราช และพระมหา-
โพธิสัตว์ ย่อมชักชวนมหาชนให้สมาทาน (ในศีลนั้น). พวกสมณพราหมณ์
ผู้เป็นบัณฑิตก็สมาทาน (ศีลนั้น) แม้ด้วยตนเอง. สมณพราหมณ์เป็นต้น
เหล่านั้น ครั้นบำเพ็ญกุศลธรรมนั้นให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเสวยสมบัติในหมู่
ทวยเทพและในหมู่มนุษย์.
ส่วนปาฏิโมกขสังวรศีล ท่านเรียกว่า อธิศีล. จริงอยู่ปาฏิโมกขสังวรศีล
นั้น เป็นศีลที่ยิ่งและสูงสุดกว่าบรรดาโลกิยศีลทั้งหมดดุจพระอาทิตย์ยิ่งกว่า
แสงสว่างทั้งหลาย ดุจภูเขาสิเนรุสูงกว่าบรรพตทั้งหลายฉะนั้น ย่อมเป็นไปได้
เฉพาะในพุทธุปบาทกาลเท่านั้น นอกพุทธุปบาทกาลหาเป็นไปไม่. ด้วยว่า
สัตว์อื่นไม่สามารถยกบัญญัตินั้นขึ้นตั้งไว้ได้. ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น
ทรงตัดกระแสทางแห่งความประพฤติเสียหายทางกายทวารและวจีทวารได้เด็ด-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 777
ขาด โดยประการทั้งปวงแล้ว จึงทรงบัญญัติศีลสังวรนั้นไว้ อันสมควรแก่
ความล่วงละเมิดนั้น ๆ.
อนึ่ง ศีลที่สัมปยุตด้วยมรรคและผลเท่านั้น ชื่อว่าศีลที่ยิ่ง แม้กว่า
ปาฏิโมกขสังวร. แต่ศีลที่สัมปยุตด้วยมรรคและผลนั้น ท่านมิได้ประสงค์เอาใน
อธิการนี้. เพราะว่าภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนั้น หาเสพเมถุนธรรมไม่. กามาวจร
กุศลจิต ๘ ดวง และสมาบัติจิต ๘ ดวง ฝ่ายโลกีย์ร่วมเข้าเป็นอันเดียวกัน
พึงทราบว่า จิตเท่านั้น. และในกาลที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นหรือไม่อุบัติขึ้น
จิตนั้นก็เป็นไปอยู่ การชักชวนและการสมาทาน ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้
แล้วในศีลนั่นแล
ส่วนสมาบัติจิต ๘ ดวง ที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา ท่านเรียกว่า อธิจิต.
จริงอยู่ อัฏฐสมาบัติจิตนั้น เป็นจิตที่ยิ่งและสูงสุดกว่าโลกิยจิตทั้งหมด ดุจอธิศีล
ยิ่งกว่าบรรดาศีลทั้งหลาย ฉะนั้น และมีอยู่เฉพาะในพุทธุปบาทกาลเท่านั้น
นอกพุทธุปบาทกาล หามีไม่. อีกอย่างหนึ่ง. จิตที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล
นั่นแล เป็นจิตที่ยิ่งแม้กว่าอัฏฐสมาบัตินั้น. แต่จิตที่สัมปยุตด้วยมรรคและ
ผลนั้น ท่านมิได้ประสงค์เอาในอธิการนี้. เพราะว่า ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยจิตนั้น
หาเสพเมถุนธรรมไม่.
อนึ่ง กัมมัสสกตาญาณ ( ญาณรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน) ซึ่งเป็น
ไปโดยนัยมีอาทิว่า ผลทานที่ให้แล้วมีอยู่ ผลบูชาที่บูชาแล้วมีอยู่ ชื่อว่าปัญญา.
จริงอยู่ ปัญญานั้น เมื่อพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นแล้วก็ตาม มิได้อุบัติขึ้นก็ตาม
เป็นไปอยู่ในโลก. เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี
พระสาวกทั้งหลายก็ดี ย่อมชักชวนมหาชนให้สมาทาน ในปัญญานั้น. เมื่อ
พระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้า สมณพราหมณ์ พวกกรรม-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 778
วาทีประพฤติชอบธรรม พระเจ้าจักรพรรดิมหาราช และพระมหาโพธิสัตว์
ย่อมชักชวนมหาชนให้สมาทาน ( ในปัญญานั้น). สัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นบัณฑิต
ก็สมาทาน แม้ด้วยตนเอง. จริงอย่างนั้น อังกุรเทพบุตรได้ถวายมหาทานสิ้น
หมื่นปี. เวลามพราหมณ์ พระเวสสันดร และมนุษย์บัณฑิตเหล่าอื่นมากมาย
ก็ได้ถวายมหาทานแล้ว. เวลาพราหมณ์เป็นต้นเหล่านั้น ครั้นบำเพ็ญกุศลธรรม
นั้นให้บริบูรณ์แล้ว ก็ได้เสวยสมบัติในหมู่ทวยเทพและในหมู่มนุษย์.
ส่วนวิปัสสนาญาณ ที่เป็นเครื่องกำหนดอาการคือไตรลักษณ์ ท่าน
เรียกว่า อธิปัญญา. จริงอยู่ อธิปัญญานั้น เป็นปัญญาที่ยิ่งและสูงสุดกว่าบรรดา
โลกิยปัญญาทั้งหมด ดุจอธิศีลและอธิจิต ยิ่งและสูงสุดกว่าบรรดาศีลและจิต
ทั้งหลาย ฉะนั้น นอกพุทธุปบาทกาลหาเป็นไปในโลกไม่. ก็ปัญญาที่สัมปยุต
ด้วยมรรคและผลนั่นแล เป็นปัญญาที่ยิ่งแม้กว่าวิปัสสนาญาณนั้น. แต่ปัญญา
ที่สัมปยุตด้วยมรรคและผลนั้น ท่านมิได้ประสงค์เอาในอธิการนี้. เพราะว่า
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญานั้น หาเสพเมถุนธรรมไม่ ฉะนั้นแล.
บทว่า ตตฺร คือบรรดาสิกขาทั้ง ๓ เหล่านั้น.
หลายบทว่า ยา อย อธิสีลสฺขา ได้แก่ อธิสีลสิกขานี้ใด กล่าวคือ
ปาฏิโมกขศีล.
[อรรถาธิบายบทว่าสิกขาและสาชีพ]
สองบทว่า เอต สาชีวนฺนาม มีความว่า สิกขาบทนั้นแม้ทั้งปวง
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งไว้ในพระวินัย นี่เรียกว่า สาชีพ เพราะเหตุว่า
เป็นที่เป็นอยู่ร่วมกัน คือเป็นอยู่อย่างเดียวกัน เป็นอยู่ถูกส่วนกัน ประพฤติ
ถูกส่วนกัน แห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้ต่างกันโดยชนิด มีประเทศชาติและโคตร
ต่าง ๆ กันเป็นต้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 779
สองบทว่า ตสฺมึ สิกฺขติ มีความว่า ภิกษุทำสิกขาบทนั้นให้เป็น
ที่พำนักแห่งจิตแล้ว สำเหนียกพิจารณาด้วยจิตว่า เราศึกษาสมควรแก่สิกขาบท
หรือไม่หนอ? ก็ภิกษุนี้ จะชื่อว่าศึกษาอยู่ในสิกขาบท กล่าวคือสาชีพนั้น
อย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในสิกขา ก็ชื่อว่าศึกษาด้วย.
ส่วนสองบทว่า ตสฺมึ สิกฺขติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจ
บทที่เรียงเป็นลำดับกันว่า เอต สาชีวนฺนาม นี้. บทว่า ตสฺมึ สิกฺขติ
นั้น พระองค์ตรัสอย่างนั้น ก็จริงแล, แต่ทว่า เนื้อความในบทว่า ตสฺมึ
สิกฺขติ นี้ พึงเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อยังสิกขาให้บริบูรณ์ ชื่อว่า ศึกษาอยู่ใน
สิกขานั้น และเมื่อไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศึกษาอยู่ในสิกขาบทนั้น. ถึงบทว่า
เตน วุจฺจติ สาชีวสมาปนฺโน นี้ ก็ตรัสด้วยอำนาจแห่งบทว่าสาชีพ ซึ่ง
เป็นลำดับเหมือนกัน. ภิกษุนั้นแม้ถึงพร้อมซึ่งสิกขา เพราะเหตุใด, เพราะ
เหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยความประสงค์ว่า ถึงพร้อมด้วยสิกขา บ้าง. ด้วย
ว่า เมื่อมีความประสงค์อย่างนั้น บทภาชนะแห่งบทว่า สิกฺขาสาขีวสมา-
ปนฺโน นี้ เป็นอันสมบูรณ์.
[อรรถาธิบายวิธีลาสิกขา]
หลายบทว่า สิกฺข อปจฺจกฺขาย ทุพฺพลฺย อนาวิกตฺวา มีความว่า
ไม่บอกคืนสิกขาด้วย ไม่ประกาศความเป็นผู้ทุรพลด้วย. แม้เมื่อทำให้แจ้ง
ความเป็นผู้ทุรพลแล้ว สิกขา ยังไม่เป็นอันบอกลาเลย, แต่เมื่อบอกลาสิกขา
แล้ว ความเป็นผู้ทุรพล ย่อมเป็นอันทำให้แจ้งด้วย, เพราะเหตุนั้น ด้วยบท
ว่า ทุพฺพลฺย อนาวิกตฺวา นี้ จึงไม่ได้เนื้อความพิเศษอะไร ๆ . ก็เหมือน
อย่างว่า ด้วยคำว่า สองคืน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พึงสำเร็จการ
นอนร่วม สองสามคืน ดังนี้ บัณฑิตก็ไม่ได้เนื้อความพิเศษอะไรๆ. คำว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 780
สองคืนนี้ พระองค์ตรัสโดยความเป็นคำสละสลวยด้วยพยัญชนะ โดยความเป็น
คำติดพระโอษฐ์ ด้วยอำนาจโลกโวหารอย่างเดียว ข้อนี้ฉันใด, แม้คำว่า ไม่
ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นี้ ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสโดยความเป็นคำกล่าวสะดวก โดยความเป็นคำสละสลวยด้วยพยัญ-
ชนะ โดยความเป็นคำติดพระโอษฐ์.
อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงธรรมพร้อมทั้ง
อรรถ ทั้งพยัญชนะ, เพราะฉะนั้น จึงทรงยังอรรถให้ถึงพร้อมด้วยบทว่า
ไม่บอกคืนสิกขา นี้ ยังพยัญชนะให้ถึงพร้อมด้วยบท ไม่ทำให้แจ้งความเป็น
ผู้ทุรพล นี้. จริงอยู่ บทใจความที่กล่าวเฉพาะบทเดียว ปราศจากบทแวด
ล้อมเสียแล้ว ย่อมไม่ไพเราะ เปรียบเหมือนพระราชาผู้ปราศจากบริวาร และ
บุรุษผู้ปราศจากผ้าและอลังการ ย่อมไม่งดงาม ฉะนั้น. แต่บทใจความนั้น
ย่อมไพเราะพร้อมด้วยบทเคียง อันเป็นบทห้อมล้อม พอเหมาะแก่ใจความ.
อีกประการหนึ่ง ความทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลบางอย่าง ย่อมเป็น
ใจความแห่งการบอกลาสิกขา; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมาย
เอาความทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลบางอย่าง ซึ่งเป็นใจความได้นั้น เมื่อจะ
ทรงไขความบทว่า ไม่บอกลาสิกขา จึงตรัสว่า ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้
ทุรพล.
ในคำว่า ไม่บอกลาสิกขา ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นั้น
หากจะพึงมีคำท้วงว่า การทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลทั้งหมด ยังไม่เป็นการ
บอกลาสิกขา; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าควรตรัสบทว่า ไม่ได้ทำให้
แจ้งความเป็นผู้ทุรพล ดังนี้เสียก่อน แล้วจึงตรัสบทว่า ไม่บอกลาสิกขา เพื่อ
จำกัดใจความแห่งบทว่า ไม่ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 781
เฉลยว่า ก็คำนั้น หาควรกล่าวไม่ เพราะเหตุไร ? เพราะไม่มีลำดับ
แห่งเนื้อความ. จริงอยู่ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สิกฺขาสาชีว-
สมาปนฺโน ดังนี้ เนื้อความ ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสแล้วตามลำดับ ใน
เมื่อตรัสว่า ตนถึงพร้อมซึ่งสิกขาใด, ไม่บอกลาสิกขานั้น หาใช่โดยประการ
อื่นไม่ เพราะเหตุนั้น คำว่า สิกฺข อปจฺจกฺขาย นี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสก่อน
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความในสองบทว่า ไม่บอกลาสิกขา, ไม่
ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นี้ ตามสมควรแก่ลำดับบ้าง
พึงทราบอย่างไร?
พึงทราบอย่างนี้ ในบทว่า ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ นี้ ภิกษุ
ถึงพร้อมซึ่งสิกขาใด, ไม่บอกคืนสิกขานั้น และถึงพร้อมซึ่งสาชีพใด, ไม่ทำ
ให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลในสาชีพนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความแปลกกันและความ
ไม่แปลกกันแห่งการบอกลาสิกขา และความทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล และ
ลักษณะแห่งการบอกลาสิกขา จึงตรัสคำว่า อตฺถิ ภิกฺขเว เป็นอาทิ. ในคำ
นั้น ๒ บทว่า อตฺถิ ภิกฺขเว เป็นต้น เป็นบทมาติกา. พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงจำแนกบทมาติกา ๒ นั้น จึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เป็นต้น.
ในคำว่า กถญฺจ เป็นต้นนั้น มีการพรรณนาบทที่ยังไม่ชัดเจนดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กถ ได้แก่ ด้วยอาการไร ?
บทว่า ทุพฺพลฺยาวิกมฺมญฺจ ได้แก่ ความทำให้แจ้งความเป็นผู้
ทุรพลด้วย.
บทว่า อิธ คือในศาสนานี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 782
บทว่า อุกฺกณฺิโต ความว่า ผู้ถึงความเป็นผู้อยู่ยากในศาสนานี้
เพราะความเบื่อหน่าย. อีกประการหนึ่ง มีคำอธิบายว่า ผู้มีจิตฟุ้งซ่านไม่มี
อารมณ์แน่วแน่ ชูคออยู่ด้วยคิดว่า เราจะไปวันนี้ เราจะไปพรุ่งนี้ เราจะไป
จากนี้ เราจะไป ณ ที่นี้.
บทว่า อนภิรโต ได้แก่ ผู้ปราศจากความเพลินใจในศาสนา.
สองบทว่า สามญฺา จวิตุกาโม ได้แก่ ผู้อยากจะหลีกออกไป
จากความเป็นสมณะ.
บทว่า ภิกฺขุภาว คือ ด้วยความเป็นภิกษุ. บทว่า ภิกฺขุภาว นี้
เป็นทุติยาวิภัตติ เป็นไปในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. ส่วนลักษณะที่สมควร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ด้วยตติยาวิภัตติทีเดียว ในคำว่า พึงสะอิดสะเอียน
ด้วยซากศพ อันคล้องไว้ที่คอ ดังนี้เป็นต้น
บทว่า อฏฺฏิยมาโน มีความว่า ประพฤติตน เหมือนระอา คือ
ถูกบีบคั้น ถึงความลำบาก. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ผู้อันความเป็นภิกษุนั้น
รบกวนอยู่ บีบคั้นอยู่.
บทว่า หรายมาโน ได้แก่ กระดากอยู่.
บทว่า ชิคุจฺฉมาโน ได้แก่ ผู้เกลียดชังความเป็นภิกษุนั้น เหมือน
เกลียดของสกปรก ฉะนั้น.
บทว่า คิหิภาว ปฏฺยมาโน เป็นต้น มีใจความชัดเจนทีเดียว.
ศัพท์ว่า ยนฺนูน ในคำว่า ยนฺนูนาห พุทฺธ ปจฺจกฺเขยฺย นี้
เป็นนิบาตแสดงความรำพึง. มีคำอธิบายดังนี้ว่า หากเราพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า
เสีย, การบอกคืนพระพุทธเจ้านี้ พึงเป็นความดีของเราหนอ.
สองบทว่า วทติ วิญฺาเปติ มีความว่า ภิกษุมีความกระสันนั้น
สั่นวาจากล่าวเนื้อความนี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ หรือเหล่าอื่น และยังบุคคล
ซึ่งตนบอกให้รู้แจ้ง คือให้เข้าใจ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 783
ปิ อักษรในบทว่า เอวมฺปิ นี้ มีอันประมวลเนื้อความข้างบนมาเป็น
อรรถ. การทำให้แจ้งทำความเป็นผู้ทุรพล และสิกขาไม่เป็นอันบอกลา ย่อมมี
แม้ด้วยประการอย่างนี้, การทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลและสิกขาไม่เป็นอัน
บอกลา แม้ด้วยประการอื่น ก็ยังมีอีก.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความทำให้แจ้งความเป็น
ผู้ทุรพล และการไม่บอกลาสิกขา แม้ด้วยประการอย่างอื่นนั้น จึงตรัสคำว่า
อถวา ปน เป็นอาทิ. คำนั้นทั้งหมด โดยเนื้อความชัดเจนทีเดียว. แต่พึง
ทราบวินิจฉัยโดยบทดังนี้:- ตั้งแต่ต้นไป ๑๔ บทเหล่านี้ คือ:-
พุทฺธ ปจฺจกฺเขยฺย ข้าพเจ้าพึงบอกคืน พระพุทธเจ้า
ธมฺม " " พระธรรม
สงฺฆ " " พระสงฆ์
สิกฺข " " สิกขา
วินย " " วินัย
ปาฏิโมกฺข " " ปาฏิโมกข์
อุทฺเทส " " อุทเทส
อุปชฺฌาย " " พระอุปัชฌายะ
อาจริย " " พระอาจารย์
สทฺธิวิหาริก " " พระสัทธิวิหาริก
อนฺเตวาสิก " " พระอันเตวาสิก
สมานูปชฺฌายก " " พระผู้ร่วมอุปัชฌายะ
สมานาจริยก " " พระผู้ร่วมอาจารย์
สพฺรหฺมจารึ " " พระเพื่อนพรหมจรรย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 784
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในวาระว่าด้วยทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลนี้ ด้วยอาการ
คือ การบอกลา.
๘ บทเหล่านี้ คือ:-
คิหี อสฺส ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์
อุปาสโก " ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก
อารามิโก " ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิกะ
สามเณโร " ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร
ติตฺถิโย " ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์
ติตฺถิยสาวโก " ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์
อสฺสมโณ " ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ
อสกฺยปุตฺติโย " ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอาการคือกำหนดภาวะ ด้วยบทว่า อสฺส นี้ แห่ง
บรรดาบททั้งหลายมีบทว่า คิหี อสฺส เป็นต้น.
๒๒ บทที่ประกอบด้วยบทว่า ยนฺนูนาห นี้ พระองค์ตรัสแล้ว ดัง
พรรณนามาฉะนี้. เหมือนอย่างว่า ๒๒ บท ที่ประกอบด้วยบทว่า ยนฺนูนาทิ
นี้ พระองค์ตรัสแล้วฉันใด ๒๒ บท ที่ประกอบด้วยบทหนึ่ง ๆ ในบรรดา
บทเหล่านี้คือ:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 785
ยทิ ปนาห พุทฺธ ปจฺจกฺเขยฺย ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระ-
พุทธเจ้า ฯลฯ๑
อถาห พุทฺธ ปจฺจกฺเขยฺย หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระ-
พุทธเจ้า ฯลฯ๑
หนฺทาห พุทฺธ ปจฺจกฺเขยฺย ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระ-
พุทธเจ้า ฯลฯ๑
โหติ เม พุทฺธ ปจฺจกฺเขยฺย ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้า
พึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ฯลฯ๑
พระองค์ก็ตรัสแล้วฉันนั้น, รวมทั้งหมด จึงเป็น ๑๑๐ บาท ด้วยประการฉะนี้
ต่อจากบทว่า โหติ เม เป็นต้นนั้นไป มี ๑๗ บท มีอาทิว่า มาตร
สรามิ ข้าพเจ้าระลึกถึงมารดา ซึ่งเป็นไปโดยนัยแสดงวัตถุที่ตนควรระลึกถึง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขตฺต ได้แก่ ไร่ข้าวสาลีเป็นต้น.
บทว่า วตฺถุ ได้แก่ สถานที่เกิดขึ้นแห่งหญ้า ใบไว้ ผักดอง และ
ผลไม้น้อยใหญ่
บทว่า สิปฺป ได้แก่ ศิลปะของช่างหม้อและช่างหูกเป็นต้น.
ต่อจาก ๑๗ บทนั้นไป มี ๙ บท มีอาทิว่า มาตา เม อตฺถิ,
สา มยา โปเสตพฺพา มารดาของข้าพเจ้ามีอยู่, มารดานั้น ข้าพเจ้าต้อง
เลี้ยงดู ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแสดงความเป็นผู้กังวล และมีความเกี่ยวข้อง.
๑. ที่เปยยาลไว้ทั้ง ๔ แห่งนั้น ให้เติมเหมือนในบาลีวินัยปิฏก มหาวิภังค์ ๑/๔๔-๔๕ ดังนี้
คือ :- ยทิ ปนาห พุทฺธ ปจฺจกฺเขยย, ยทิ ปนาห ธมฺม ปจฺจกฺเขยย จนถึง ยทิ ปนาห
อสกฺยปิตฺติโย อสฺส (๒๒ บท) อถาห พุทฺธ ปจฺจกฺเขยฺย, อถาห ธมฺม ปจฺจกฺเขยฺย จนถึง
อถาห อสกฺยปุตฺติโย อสฺสส (๒๒ บท) หนฺทาห พุทฺธ ปจจกฺเขยฺย, หนฺทาห ธมฺม
ปจฺจกฺเขยฺย จนถึง หนฺทาห อสกฺยปุตฺยิโย อสฺส (๒๒ บท) โหติ เม พุทฺธ ปจฺจกฺเขจฺย,
โหติ เม ธมฺม ปจฺจกฺเขยฺย จนถึง โหติ เม อสกฺยปตฺติโย อสฺส (๒๒ บท).
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 786
ต่อจาก ๙ บทนั้นไป มี ๑๖ บท มีอาทิว่า มาตา เม อตฺถิ,
สา ม โปเสสฺสติ มารดาของข้าพเจ้ามีอยู่, มารดานั้นจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า
ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแสดงถึงบุคคลผู้เป็นที่อาศัย และผู้เป็นที่พำนัก.
ต่อจาก ๑๖ บทนั้นไป มี ๘ บท มีอาทิว่า ทุกฺกร พรหมจรรย์เป็น
ภาวะที่ทำได้ยาก ซึ่งเป็นไปด้วยการแสดงถึงความที่พรหมจรรย์ มีการฉัน
หนเดียวและนอนหนเดียวเป็นภาวะที่ทำได้ยาก.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ทุกฺกร ภิกษุกระสันนั้น ย่อมแสดง
ความที่พรหมจรรย์ทำได้ยาก เพราะทำกิจวัตรทั้งหลาย มีการฉันหนเดียว
เป็นต้น.
ด้วยบทว่า น สุกร ย่อมค้านความที่พรหมจรรย์เป็นภาวะที่ทำได้ง่าย.
ในสองคำว่า ทุจฺจร น สุจร นี้ พึงทราบนัยอย่างนั้น.
ด้วยบทว่า น อุสฺสหามิ ย่อมแสดงความที่ตนไม่มีความอุตสาหะ
คือ ข้อที่ตนไม่มีความสามารถ ในการทำกิจวัตรมีการฉันหนเดียวเป็นต้นนั้น.
ด้วยบทว่า น วิสหามิ ย่อมแสดงถึงข้อที่ตนไม่มีความอดทน (ใน
เพราะทำกิจวัตรมีการฉันหนเดียวเป็นต้นนั้น).
ด้วยบทว่า น รมามิ ย่อมแสดงความไม่มีแห่งความยินดี.
ด้วยบทว่า นาภิรมานิ ย่อมแสดงความไม่มีแห่งความเพลินใจ.
ก็ ๕๐ บทเหล่านี้ และ ๑๑๐ บทเบื้องต้น จึงรวมเป็น ๑๖๐ บท
พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ในวาระว่าด้วยทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล
โดยนัยดังกล่าวมาแล้วนั้น. คำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เป็นต้นทั้งหมด แม้ใน
วาระว่าด้วยการบอกลาสิกขา โดยเนื้อความชัดเจนแล้วทีเดียว แต่ควรทราบ
วินิจฉัยโดยบทดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 787
๑๔ บท ที่เป็นไปกับด้วยความสัมพันธ์คำบอกลาสิกขาเหล่านี้ คือ :-
พุทฺธ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า
ธมฺม " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรม
สงฺฆ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์
สิกฺข " ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขา
วินย " ข้าพเจ้าบอกคืนวินัย
ปาฏิโมกฺข " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกข์
อุทฺเทส " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศ
อุปชฺฌาย " ข้าพเจ้าบอกคืนพระอุปัชฌายะ
อาจริย " ข้าพเจ้าบอกคืนพระอาจารย์
สทฺธิวิหาริก " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสัทธิวิหาริก
อนฺเตวาสิก " ข้าพเจ้าบอกคืนพระอันเตวาสิก
สมานูปชฺฌายก " ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ
สมานาจริยก " ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์
สพฺรหฺมจารึ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจรรย์
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว แม้ในวาระว่าด้วยการบอกลาสิกขานี้.
อนึ่ง คำว่า วทติ วิญฺาเปติ ในทุก ๆ บท มีเนื้อความดังต่อ
ไปนี้ :-
ภิกษุผู้กระสันนั้น ลั่นวาจากล่าว และยังบุคคลซึ่งตนบอกให้รู้แจ้ง
คือ ประกาศให้ได้ยิน ได้แก่ให้เข้าใจ ด้วยการลั่นวาจานั้นนั่นเองว่า ภิกษุนี้
มีความประสงค์จะละศาสนา จะพ้นจากศาสนาจะละความเป็นภิกษุ จึงเปล่ง
ถ้อยคำนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 788
ก็ถ้าภิกษุนี้ มีความประสงค์จะกล่าวว่า พุทฺธ ปจฺจกฺขามิ แต่ทำ
บทกลับกันเสียแล้ว พึงกล่าวว่า ปจฺจกฺขามิ พุทฺธ หรือพึงกล่าวเนื้อความนั้น
ด้วยบรรดาภาษาของชนชาวมิลักขะภาษาใดภาษาหนึ่ง, หรือมีความประสงค์
จะกล่าวว่า พุทฺธ ปจฺจกฺขามิ แต่พึงกล่าวโดยข้ามลำดับว่า ธมฺม ปจฺจกฺขามิ
หรือว่า สพฺรหฺม ปจฺจกฺขามิ ข้อนี้เปรียบเหมือนในวิภังค์แห่งอุตตริ-
มนุษยธรรม คือ ภิกษุผู้มีความประสงค์จะกล่าวว่า ปม ฌาน สมาปชฺชามิ
ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน แต่กล่าวเสียว่า ทุติย ฌาน สมาปชฺชามิ ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าทุติยฌาน ดังนี้ แม้ฉันใด, ถ้าภิกษุผู้กระสันนั้นจะบอกแก่ผู้ใด, ผู้นั้น
ย่อมรับรู้คำพูดแม้มีประมาณเท่านี้ว่า ภิกษุนี้มีความประสงค์จะละความเป็นภิกษุ
จึงได้กล่าวเนื้อความนี้, ขึ้นชื่อว่า การกล่าวผิดพลาด ย่อมไม่มี, การกล่าว
เช่นนั้น ก็หยั่งลงสู่เขตทีเดียว, สิกขาก็ย่อมเป็นอันบอกลาแล้ว ฉันนั้น. ภิกษุ
นั้นย่อมเป็นผู้เคลื่อนจากศาสนาทีเดียว เหมือนสัตว์ผู้เคลื่อนจากความเป็น
ท้าวสักกะ หรือจากความเป็นพรหม ฉะนั้น.
อนึ่ง ถ้าภิกษุกล่าวด้วยคำกำหนดอดีตกาล และอนาคตกาลว่า พุทฺธ
ปจฺจกฺขึ ก็ดี พุทฺธ ปจฺจกฺขิสฺสามิ ก็ดี พุทฺธ ปจฺจกฺเขยฺย ก็ดี ส่งทูต
ไปก็ดี ส่งข่าวสาสน์ไปก็ดี สลัก (เขียน) อักษรไว้ก็ดี บอกใจความนั้นด้วย
หัวแม่มือ ก็ดี สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา. ส่วนการอวดอุตตริมนุษยธรรม
ย่อมถึงที่สุดแม้ด้วยหัวแม่มือ. การบอกลาสิกขา ย่อมถึงที่สุด ก็ต่อเมื่อภิกษุผู้
ลั่นวาจา ซึ่งสัมปยุตด้วยจิตในสำนักของสัตว์เป็นชาติมนุษย์เท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุ เมื่อลั่นวาจาประกาศให้คนอื่นรู้ ถ้าเจาะจงบอก
เฉพาะบุคคลคนหนึ่งว่า บุคคลนี้เท่านั้นจงรู้ และบุคคลนั้นนั่นเอง รู้ความ
ประสงค์ของเธอนั้นไซร้, สิกขาย่อมเป็นอันบอกลา. ถ้าบุคคลนั้นไม่รู้, แต่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 789
คนอื่นซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้รู้, สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา. ถ้าว่า ภิกษุนั้น
เจาะจงบอกเฉพาะแม้บุคคลสองคนในที่ที่คนสองคนยืนอยู่ว่า ข้าพเจ้าบอกแก่
คนสองคนนี้ ดังนี้, บรรดาคนทั้งสองนั้น เมื่อคนหนึ่งรู้ก็ตาม รู้ทั้งสองคน
ก็ตาม สิกขา ย่อมเป็นอันบอกลา. การบอกลาสิกขาแม้ในบุคคลมากมาย
บัณฑิตก็ควรทราบดังอธิบายมาแล้วนั้น.
[ภิกษุตะโกนบอกลาสิกขาก็ได้]
อนึ่ง ถ้าว่าภิกษุผู้ถูกความไม่เพลินใจบีบคั้น ระแวงสงสัยภิกษุทั้งหลาย
ผู้คุ้นเคยกันกล่าวว่า พุทฺธ ปจฺจกฺขามิ ตะโกนเสียงดังด้วยหวังว่า ใคร ๆ
จงรู้, ถ้าว่า มีคนทำงานอยู่ในป่า หรือบุรุษคนอื่นผู้รู้ลัทธิศาสนา ยืนอยู่ใน
ที่ไม่ไกล ได้ยินเสียงของภิกษุนั้น ก็เข้าใจว่า สมณะผู้กระสันรูปนี้ ปรารถนา
ความเป็นคฤหัสถ์เคลื่อนจากศาสนาแล้ว ดังนี้, สิกขาย่อมเป็นอันบอกลาแท้.
แต่ว่าในขณะนั้นนั่นเอง การบอกลาสิกขาไม่ก่อนไม่หลัง เป็นข้อที่รู้ได้ยาก.
เหมือนเหล่ามนุษย์ในโลก โดยปกติธรรมดา ฟังคำพูดแล้ว ย่อมรู้ได้ฉันใด,
ถ้าว่าคนที่ทำงานอยู่ในป่าเป็นต้นนั้น ย่อมรู้ได้โดยสมัยที่คิดนึกอยู่ไซร้, สิกขา
ก็ย่อมเป็นอันบอกลาแล้วฉันนั้น. ถ้าในกาลภายหลังเขาสงสัยอยู่ว่า ภิกษุรูปนี้
พูดอะไร ? คิดนาน ๆ จึงเข้าใจ, สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา. จริงอยู่ การ
บอกลาสิกขานี้ด้วย อภูตาโรจนสิกขาบท ทุฏฐุลวาจสิกขาบท อัตตกามสิกขาบท
ทุฏฐโทสสิกขาบท และภูตาโรจนสิกขาบททั้งหลาย ที่จะกล่าวต่อไปด้วย มี
กำหนดความอย่างเดียวกัน ย่อมถึงที่สุด ในเมื่อผู้ฟังรู้ใจความได้ โดยสมัยที่
นึกคิดนั่นเอง. เมื่อคนฟังสงสัยอยู่ว่า ภิกษุรูปนี้ พูดอะไร? คิดนาน ๆ จึง
เข้าใจความได้, สิกขาบททั้ง ๕ นั้น ยังไม่ถึงที่สุด. เหมือนอย่างว่า วินิจฉัย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 790
นี้ท่านกล่าวไว้ในบทว่า พุทฺธ ปจฺจกฺขามิ ฉันใด, ในทุก ๆ บท ก็ควร
ทราบวินิจฉัย ฉันนั้น. ก็เพราะสิกขาย่อมเป็นอันภิกษุบอกลาในกาลใด, ใน
กาลนั้น แม้ภิกษุไม่กล่าวคำเป็นต้นว่า ยนฺนูนาห พุทฺธ ปจฺจกฺเขยฺย
ความเป็นผู้ทุรพล ก็ย่อมเป็นอันทำให้แจ้งแล้ว; เหตุฉะนั้น ในที่สุดแห่งบท
แม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความทำให้แจ้ง
ความเป็นผู้ทุรพล และสิกขาเป็นอันบอกลา ย่อมมีแม้ด้วยอาการอย่างนี้.
ถัดจาก ๑๔ บทนั้นไป ในบทว่า คิหีติ ม ธาเรหิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
ถ้าว่าภิกษุผู้กระสันนั้นกล่าวว่า
คิหี ภวิสฺสามิ ข้าพเจ้าจักเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
คิหี โมมิ ข้าพเจ้าจะเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
คิหี ชาโตมฺหิ ข้าพเจ้าเกิดเป็นคฤหัสถ์แล้ว ดังนี้ก็ดี
คิหิมฺหิ ข้าพเจ้าย่อมเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
สิกขา ย่อมเป็นอันไม่บอกลา ก็ถ้ากล่าวว่า
อชฺช ปฏฺาย คิหีติ ม ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงทรงจำข้าพเจ้า
ธาเรหิ ว่าเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
อชฺช ปฏฺาย คิหีติ ม ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงรู้ ข้าพเจ้าว่า
ชานาหิ เป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
อชฺช ปฏฺาย คิหีติ ม ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงจำหมาย
สญฺชานาหิ ข้าพเจ้าว่าเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
อชฺช ปฏฺาย คิหีติ ม ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงใฝ่ใจ ข้าพเจ้า
มนสิกโรหิ ว่าเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี หรือกล่าวโดย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 791
โวหารของชาวอริยกะ หรือโวหารของชาวมิลักขะก็ดี เมื่อเธอกล่าวเนื้อความ
นั้นอย่างนี้แล้ว ถ้าผู้ที่ตนบอกเข้าใจ, สิกขาก็ย่อมเป็นอันบอกลา
ใน ๗ บท มีว่า อุปาสโก เป็นต้นแม้ที่เหลือ ก็นัยนั่น. ก็ ๘ บท
เหล่านี้ และ ๑๔ บทเบื้องต้น จึงรวมเป็น ๒๒ บท ฉะนี้แล. ถัดจาก ๘ บท
นั้นไป ท่านกล่าวประมวล ๑๔ บทเบื้องต้นนั่นแลเข้าด้วย ๔ บทเหล่านั้น คือ
อลมฺเม, กินฺนุเม, ม มมตฺโถ, สุมุตฺตาห, จึงเป็น ๕๖ บท.
พระบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อล แปลว่า ช่างเถิด, อธิบายว่า
พอละ.
บทว่า กินฺนุเม ความว่า กิจอะไรของข้าพเจ้า ? คือกิจอะไรที่
ข้าพเจ้าควรทำ? อธิบายว่า กิจอะไร ที่ข้าพเจ้าจะพึงทำให้สำเร็จ?
บทว่า น มมตฺโถ ความว่า ข้าพเจ้าไม่มีความต้องการ.
บทว่า สุมุตฺตาห ตัดเป็น สุมุตฺโต อห แปลว่า ข้าพเจ้าพ้น
ดีแล้ว (จากพระพุทธเจ้า).
คำที่เหลือใน ๕๖ บทนี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้วทีเดียว. ก็ ๕๖ บท
เหล่านี้ และ ๒๒ บทข้างต้น จึงรวมเป็น ๗๘ บท ท่านกล่าวไว้โดยสรุป
เท่านั้น ด้วยประการอย่างนี้. ก็เพราะการบอกลาสิกขาย่อมมีได้แม้ด้วยคำเป็น
ไวพจน์แห่งบทอันเป็นเขตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส
คำว่า ยานิ วาปนญฺนิปิ เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยานิ วาปนญฺานิปิ ความว่ายกเว้น
บทซึ่งมาในบาลีว่า พุทฺธ เป็นต้นเสียแล้ว คำไวพจน์เหล่าอื่นใดเล่า ยังมี
อยู่อีก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 792
บทว่า พุทฺธเววจนานิ วา ได้แก่ พระนามโดยปริยายแห่งพระ-
พุทธเจ้า ฯลฯ หรือนามโดยปริยายแห่งผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร.
บรรดาพระนามที่เป็นไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น พระ-
นามตั้งพันมาแล้วในวรรณปัฏฐาน๑ พระนามร้อยหนึ่งมาแล้วในอุบาลีคาถา๒
และพระนามอย่างอื่นที่ได้อยู่โดยพระคุณ พึงทราบว่า เป็นไวพจน์แห่งพระ-
พุทธเจ้า. ชื่อแห่งพระธรรมแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เป็นไวพจน์แห่งพระธรรม.
ในไวพจน์แห่งพระสงฆ์เป็นต้นทั้งหมด ก็นัยนั่น.
[การบอกลาสิกขาระบุพระนามที่เป็นไวพจน์ของพระพุทธเจ้า]
ก็ในพระนามที่เป็นไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้นนี้ มีโยชนาดังต่อ
ไปนี้:-
การบอกลาด้วยคำว่า พุทฺธ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วย
ไวพจน์ตามที่กล่าวเลย. การบอกลาเป็นต้นอย่างนี้ คือ:-
สมฺมาสมฺพุทฺธ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า
ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง.
อนนฺตพุทฺธึ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า ผู้มี
ความตรัสรู้ไม่มีที่สุด.
อโนมพุทฺธึ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้มี
ตรัสรู้ไม่ต่ำทราม.
โพธึปฺปญฺาณ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้มี
ความตรัสรู้เป็นเครื่องปรากฏ
๑. วรรณปัฏฐาน เป็นคัมภีร์แสดงพุทธคุณฝ่ายมหาสังฆิก พวกมหายาน. ๒. อุบาลีวาทสูตร
ม.ม. ๑๓/๑๗-๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 793
ธีร ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้มี
ปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ.
วิคตโมห " ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า ผู้
ปราศจากโมหะ.
ปภินฺนขีล " ข้าพาเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า ผู้
ทรงทำลายตะปูใจ.
วิชิตวิชย " ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า ผู้
ทรงชำนะวิเศษ.
จัดเป็นการบอกลาสิกขาด้วยคำไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้า.
[วิธีลาสิกขาระบุคำไวพจน์พระธรรม]
การบอกลาด้วยคำว่า ธมฺม ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วย
ไวพจน์ตามที่กล่าวเลย.
ชื่อแม้แห่งพระธรรมขันธ์ ๆ หนึ่ง ในบรรดาแปดหมื่นสี่พันพระ-
ธรรมขันธ์ (เหล่านี้) คือ:-
สฺวากฺขาต ธมฺม ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมที่พระ-
ผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว.
สนฺทิฎิก ธมฺม " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันผู้
ได้บรรลุพึงเห็นเอง.
อกาลิก ธมฺม " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันไม่
ประกอบด้วยกาล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 794
เอหิปสฺสิก ธมฺม ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมที่ควร
เรียกให้มาดู.
โอปนยิก ธมฺม " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอัน
ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ.
ปจฺจตฺต เวทิตพฺพ วิญฺญูหิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอัน
ธมฺม ปจฺจกฺขามิ วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.
อสงฺขต ธมฺม " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอัน
ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง.
วิราค ธมฺม " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอัน
ปราศจากราคะ.
นิโรธ ธมฺม " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันดับ
สนิท.
อมต ธมฺม ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอัน
เป็นอมตะ.
ทีฆนิกาย " ข้าพเจ้าบอกคืนทีฆนิกาย.
พฺรหฺมชาล " ข้าพเจ้าบอกคืนพรหมชาลสูตร
มชฺฌิมนิกาย " ข้าพเจ้าบอกคืนมัชฌิมนิกาย.
มูลปริยาย " ข้าพเจ้าบอกคืนมูลปริยายสูตร.
สยุตฺตนิกาย " ข้าพเจ้าบอกคืนสังยุตนิกาย.
องฺคุตฺตรนิกาย " ข้าพเจ้าบอกคืนอังคุตตรนิกาย.
ชาตกนิกาย " ข้าพเจ้าบอกคืนชาดกนิกาย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 795
อภิธมฺม ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระอภิธรรม
กุสล ธมฺม " ข้าพเจ้าบอกคืนกุศลธรรม
อกุสล ธมฺม " ข้าพเจ้าบอกคืนอกุศลธรรม
อพฺยากต ธมฺม " ข้าพเจ้าบอกคืนอัพยากตธรรม
สติปฏาน " ข้าพเจ้าบอกคืนสติปัฏฐาน
สมฺมปฺปธาน " ข้าพเจ้าบอกคืนสัมมัปธาน
อิทฺธิปาท " ข้าพเจ้าบอกคืนอิทธิบาท
อินฺทฺริย " ข้าพเจ้าบอกคืนอินทรีย์
พล " ข้าพเจ้าบอกคืนพละ
โพชฺฌงฺค " ข้าพเจ้าบอกคืนโพชฌงค์
มคฺค " ข้าพเจ้าบอกคืนมรรค
ผล " ข้าพเจ้าบอกคืนผล
นิพฺพาน " ข้าพเจ้าบอกคืนพระนิพพาน
จัดเป็นไวพจน์แห่งพระธรรมทีเดียว.
การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งพระธรรมดังพรรณนา
มาฉะนี้.
[วิธีลาสิกขาระบุคำไวพจน์พระสงฆ์]
การบอกลาด้วยคำว่า สงฺฆ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่การบอกลาด้วย
คำไวพจน์. การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งพระสงฆ์อย่างนี้คือ:-
สุปฏิปนฺน สงฺฆ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ปฏิ-
บัติดี
อุชุปฏิปนฺน " " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ปฏิ
บัติตรง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 796
ายปฏิปนฺน สงฺฆ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ปฏิ-
บัติเป็นธรรม
สามีจิปฏิปนฺน " " ข้าพเจ้าบอกค้นพระสงฆ์ผู้ปฏิ-
บัติสมควร
จตุปฺปริสยุค " " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์คู่บุรุษ
สี่
อฏฺปุริสปุคฺคล " " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์คือ
บุรุษบุคคลแปด
อาหุเนยฺย " " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควร
คำนับ
ปาหุเนยฺย " " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควร
ของต้อนรับ
ทกฺขิเณยฺย " " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควร
ของทำบุญ
อฺชลิกรณีย " " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควร
ทำอัญชลี
อนุตฺตร ปุญฺฺเขตฺต สงฺฆ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้เป็น
ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้เป็น
อื่นยิ่งกว่า
[อรรถาธิบายวิธีลาสิกขาทั่วไป]
การบอกลาด้วยคำว่า สิกฺข ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วย
คำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งสิกขาอย่างนี้ คือ:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 797
ภิกฺขุสิกฺข ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขาของภิกษุ
ภิกฺขุนีสิกฺข " ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขาของภิกษุณี
อธิสีลสิกฺข " ข้าพเจ้าบอกคืนอธิสีลสิกขา
อธิจิตฺตสิกฺข " ข้าพเจ้าบอกคืนอธิจิตสิกขา
อธิปญฺาสิกฺข " ข้าพเจ้าบอกคืนอธิปัญญาสิกขา.
การบอกลาด้วยคำว่า วินย ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วย
คำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งวินัย มีอาทิอย่างนี้
คือ:-
ภิกฺขุวินย ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนวินัยของภิกษุ
ภิกฺขุนีวินย " ข้าพเจ้าบอกคืนวินัยของนางภิกษุณี
ปม ปาราชิกก " ข้าพเจ้าบอกคืนปฐมปาราชิก
ทุติย " " ข้าพเจ้าบอกคืนทุติยปาราชิก
ตติย " " ข้าพเจ้าบอกคืนตติยปาราชิก
จตุตฺถ " " ข้าพเจ้าบอกคืนจตุตถปาราชิก
สงฺฆาทิเสส " ข้าพเจ้าบอกคืนสังฆาทิเสส
ถุลฺลจฺจย " ข้าพเจ้าบอกคืนถุลลัจจัย
ปาจิตฺติย " ข้าพเจ้าบอกคืนปาจิตติยะ
ปาฏิเทสนีย " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิเทสนียะ
ทุกฺกฏ " ข้าพเจ้าบอกคืนทุกกฏ
ทุพฺภาสิต " ข้าพเจ้าบอกคืนทุพภาษิต.
การบอกลาด้วยคำว่า ปาฏิโมกฺข ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งปาฏิโมกข์อย่างนี้
คือ:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 798
ภิกขุปาฏิโมกฺข ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนภิกขุปาฏิโมกข์
ภิกขุนีปาฏิโมกฺข " ข้าพเจ้าบอกคืนภิกขุนีปาฏิโมกข์.
การบอกลาด้วยคำว่า อุทฺเทส ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอุเทศ มีอาทิ
อย่างนี้คือ:-
ภิกขุปาฏิโมกฺขุทฺเทส ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมก-
ขุทเทส
ปม ปาฏิโมกฺขุทฺเทส " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมก-
ขุทเทสที่ ๑
ทุติย " " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมก-
ขุทเทสที่ ๒
ตติย " " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมก-
ขุทเทสที่ ๓
จตุตฺถ " " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมก-
ขุทเทสที่ ๔
ปญฺจม " " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกขุท-
เทสที่ ๕
สมฺมาสมฺพุทฺธุทฺเทส " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อนนฺตพุทฺธิอุทฺเทส " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระอนันตพุทธิเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 799
อโนมพุทฺธิอุทฺเทส ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระอโนมพุทธิเจ้า
โพธิปฺปญฺาณุทฺเทส " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระโพธิปัญญาณเจ้า
ธีรุทฺเทส " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระธีรเจ้า
วิคตโมหุทฺเทส " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระวิคตโมหเจ้า
ปภินฺนขีลุทฺเทส " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระปภินนขีลเจ้า
วิชิตวิชยุทฺเทส " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระวิชิตวิชัยเจ้า.
การบอกลาด้วยคำว่า อหุปชฺฌาย ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
คำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอุปัชฌายะ
อย่างนี้คือ :-
ภิกษุใด ให้ข้าพเจ้าบรรพชา ภิกษุใด ให้ข้าพเจ้าอุปสมบท ข้าพเจ้า
บรรพชาแล้ว เพราะมีภิกษุใดเป็นประธาน ข้าพเจ้าอุปสมบทแล้ว เพราะมี
ภิกษุใดเป็นประธาน บรรพชาของข้าพเจ้ามีภิกษุใดเป็นประธาน อุปสมบทของ
ข้าพเจ้ามีภิกษุใดเป็นประธาน ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า อาจริย ปจฺจกฺขามฺ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอาจารย์อย่างนี้
คือ:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 800
ภิกษุใดให้ข้าพเจ้าบรรพชา ภิกษุใดสวดประกาศข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
อาศัยภิกษุใดอยู่ ข้าพเจ้าให้ภิกษุใดแสดงอุเทศให้ ข้าพเจ้าสอบถามอุเทศกะ
ภิกษุใด ภิกษุใดแสดงอุเทศแก่ข้าพเจ้า ภิกษุใดอนุญาตให้ข้าพเจ้าถามอุเทศ
ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า สทฺธิวิหาริก ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอก
ลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งสัทธิวิหาริก
อย่างนี้ คือ:-
ข้าพเจ้าให้สามเณรใดบรรพชา ข้าพเจ้าให้ภิกษุใดอุปสมบท สามเณร
ใดบรรพชาแล้ว เพราะมีข้าพเจ้าเป็นประธาน ภิกษุใดอุปสมบทแล้ว เพราะ
มีข้าพเจ้าเป็นประธาน บรรพชาของสามเณรใด มีข้าพเจ้าเป็นประธาน อุปสมบท
ของภิกษุใด มีข้าพเจ้าเป็นประธาน ข้าพเจ้าบอกคืนสามเณรและภิกษุนั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า อนฺเตวาสิก ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการ
บอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอันเตวาสิก
อย่างนี้คือ:-
ข้าพเจ้าให้สามเณรใดบรรพชา ข้าพเจ้าสวดประกาศให้ภิกษุใด ภิกษุ
ใดอาศัยข้าพเจ้าอยู่ ภิกษุใดให้ข้าพเจ้าแสดงอุเทศให้ ภิกษุใดสอบถามอุเทศ
กะข้าพเจ้า ข้าพเจ้าแสดงอุเทศแก่ภิกษุใด ข้าพเจ้าอนุญาตให้ภิกษุใดสอบถาม
อุเทศ ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า สมานูปชฺฌายก ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการ
บอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งพระผู้ร่วม
อุปัชฌายะอย่างนี้ คือ:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 801
อุปัชฌายะของข้าพาเจ้าให้สามเณรใดบรรพชาแล้วให้ภิกษุใดอุปสมบท
แล้ว สามเณรใดบรรพชาแล้วในสำนักของอุปัชฌายะนั้น ภิกษุใดอุปสมบท
แล้วในสำนักของอุปัชฌายะนั้น บรรพชาของสามเณรใดมีอุปัชฌายะนั้นเป็น
ประธาน อุปสมบทของภิกษุใด มีอุปัชฌายะนั้นเป็นประธาน ข้าพเจ้าบอกคืน
ภิกษุนั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า สมานาจริยก ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการ
บอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งพระผู้
ร่วมอาจารย์อย่างนี้ คือ:-
อาจารย์ของข้าพเจ้าให้สามเณรใดบรรพชา สวดประกาศให้ภิกษุใด
ภิกษุใดอาศัยอาจารย์นั้นอยู่ ภิกษุใดให้อาจารย์นั้นแสดงอุเทศให้สอบถามอุเทศ
อาจารย์ของข้าพเจ้า แสดงอุเทศแก่ภิกษุใด อนุญาตให้ภิกษุใดสอบถามอุเทศ
ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า สพฺรหฺมจารึ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการ
บอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งพระ-
เพื่อนพรหมจรรย์อย่างนี้ คือ :-
ข้าพเจ้า ศึกษาอธิศีล ศึกษาอธิจิต ศึกษาอธิปัญญา ร่วมกับภิกษุใด
ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจรรย์นั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า คีหีติ ม ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วย
คำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งคฤหัสถ์อย่างนี้ คือ:-
อาคาริโกติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้
ครองเรือน
กสโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นชาวนา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 802
วาณิโชติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นพ่อค้า
โครกฺโขติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นผู้เลี้ยงโค
โอคลฺลโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นคนกำพร้า
โมลิพทฺโธติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นผู้ไว้ผมจุก
กามคุณิโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นผู้รักกามคุณ
การบอกลาด้วยคำว่า อุปาสโกติ ม ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอุบาสกอย่างนี้
คือ :-
เทฺววาจิโก อุปสโกติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นอุบาสกผู้มีวาจา ๒
เตวาจิโกติ " " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นอุบาสกผู้มีวาจา ๓
พุทฺธ สรณคมนิโก" " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นอุบาสกผู้เข้าถึงพระ-
พุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง
ธมฺม สรณคมนิโก" " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงพระธรรม
ว่าเป็นที่พึง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 803
สงฺฆ สรณคมนิโก อุปสโกติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้า
ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง
พระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง,
ปญฺจสิกฺขาปทิโก อุปาสโกติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้า
ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้
รักษาสิกขาบท ๕
ทสสิกฺขาปทิโก อุปาสโกติ ม ธาราหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้
ว่า เป็นอุบาสกผู้รักษา
สิกขาบท ๑๐.
การบอกลาด้วยคำว่า อารามิโกติ ม ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอารามิกะ (ผู้
รักษาวัดหรือผู้รักษาสวน) อย่างนี้คือ :-
กปฺปิยการโกติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
กัปปิยการก,
เวยฺยาวจฺจกโรติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ไวยาวัจกร,
อปหริตการโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้ทิ้งของสดเขียว, (ผู้ดายหญ้า)
ยาคุภาชโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้แจกข้าวต้ม,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 804
ผลภาชโกติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้แจกผลไว้,
ขชฺชกภาชโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้แจกของขบเคี้ยว,
การบอกลาด้วยคำว่า สามเณโรติ ม ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยไวพจน์แห่งสามเณรอย่างนี้
คือ:-
กุมารโกติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สามเณรน้อย,
เจฏโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สามเณรเล็ก,
เปฏโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สามเณรปานกลาง,
โมณิคลฺโลติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สามเณรโค่ง,
สมณุทฺเทโสติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สมณุทเทศ, (คือสามเณรมีอายุมาก
หรือเถร)
การบอกลาด้วยคำว่า ติตฺถิโยติ ม ธาเรห ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งเดียรถีย์อย่างนี้
คือ:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 805
นิคฺคณฺโติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
นิครณฐ์,
อาชีวโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
เป็นอาชีวก,
ตาปิโสติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นดาบส,
ปริพฺพาชโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ปริพาชก,
ปณฺฑรงฺโคติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ตาปะขาว,
การบอกลาด้วยคำว่า ติตฺถิยสาวโกติ ม ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการ
บอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งสาวก-
เดียรถีย์อย่างนี้ คือ :-
นิคฺคณฺสาวโกติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สาวกของนิครณฐ์.
อาชีวกตาปสปริพฺพาชกปณฺฑ- ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
รงฺคสาวโกติ ม ธาเรหิ สาวกของอาชีวกดาบสปริพาชกและ
ตาปะขาว.
การบอกลาด้วยคำว่า อสฺสมโณติ ม ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งผู้มิใช่สมณะ
อย่างนี้ คือ :-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 806
ทุสฺสีโลติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้ทุศีล,
ปาปธมฺโมติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้มีธรรมลามก,
อสุจิสงฺกสฺสรร- ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สมาจาโรติ " " ผู้ไม่สะอาดและมีสมาจารที่ตาม
ระลึกด้วยความรังเกียจ,
ปฏิจฺฉนฺน- ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
กมฺมนฺโตติ " " ผู้มีงานปกปิด,
อสฺสมโณ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สมณปฏิญฺโติ " " ผู้มิใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็น
สมณะ,
อพฺพหฺมจารี พฺรหฺม- ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
จาริปฏิญฺโติ " " เป็นผู้ประพฤติไม่ประเสริฐ ก็
ปฏิญญาว่า เป็นผู้ประพฤติ-
ประเสริฐ,
อนฺโตปูตีติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้บูดเน่าภายใน,
อวสฺสุโตติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้อันราคะให้ชุ่มแล้ว,
กสมฺพุชาโตติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้ดุจขยะมูลฝอย,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 807
โกณฺโฑติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
คนชั่ว,
การบอกลาด้วยคำว่า อสกฺยปุตฺติโยติ ม ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการ
บอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งผู้มิใช่
เชื้อสายพระศากยบุตร มีอาทิอย่างนี้ คือ :-
น สมฺมาสมฺพุทฺธปุตฺโตติ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
ม ธาเรหิ บุตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า,
น อนนฺตพุทฺธิปุตฺโตติ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
ม ธาเรหิ บุตรของพระอนันตพุทธิเจ้า,
น อโนมพุทฺธิปุตฺโตติ ท่านจงทรงจำข้าพาเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
ม ธาเรหิ บุตรของพระอโนมพุทธิเจ้า
น โพธิปฺปญฺาณปุตฺโตติ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
ม ธาเรหิ บุตรของโพธิปัญญาเจ้า,
น ธีรปุตฺโตติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
บุตรของพระธีรเจ้า,
น วิคตโมหปุตฺโตติ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
ม ธาเรหิ บุตรของพระวิคตโมหเจ้า,
น ปภินฺนขีลปุตฺโตติ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
ม ธาเรหิ บุตรของพระปภินนขีลเจ้า,
น วิชิตวิชยปุตฺโตติ ม ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
บุตรของพระวิชิตวิชัยเจ้า,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 808
หลายบทว่า เตหิ อากาเรหิ เตหิ ลิงฺเคหิ เตหิ นิมิตฺเตหิ
ความว่า (ภิกษุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นรู้) ด้วยคำไวพจน์แห่งพระรัตนตรัย มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น คือ ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า คำไวพจน์แห่ง
พระพุทธเจ้าก็ดี. จริงอยู่ คำไวพจน์ทั้งหลาย ท่านเรียกว่า อาการ เพราะ
เป็นเหตุแห่งการบอกลาสิกขา, เรียกว่า เพศ เพราะแสดงทรวดทรงแห่ง
พระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือ เพราะความเหมาะสมแก่การบอกลาสิกขานั่นเอง,
เรียกว่า นิมิต เพราะเป็นเหตุให้รู้การบอกลาสิกขา เหมือนจุดดำทั้งหลายมีมูล
แมลงวันเป็นต้น (ไฝ) ของพวกมนุษย์ฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกำหนดแน่นอนลงไปว่า เอว โข ภิกฺขเว
ดังนี้เป็นต้น เพราะเหตุแห่งการบอกลาสิกขาอย่างอื่น นอกจากเหตุที่กล่าว
แล้วนี้ไม่มี. จริงอยู่ ในคำว่า เอว โข นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความในให้แจ้ง
ความเป็นผู้ทุรพล และการบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล เหตุอื่น
นอกจากนี้ หามีไม่.
[ลาสิกขากับคนวิกลจริตเป็นต้นไม่เป็นอันบอกลา]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงลักษณะแห่งการบอกลาสิกขาอย่าง
นี้แล้ว เพื่อความไม่เลอะเลือนในการไม่บอกลา เพื่อแสดงความวิบัติแห่ง
ลักษณะการบอกลาสิกขานั้นนั่นเอง ด้วยอำนาจแห่งบุคคลเป็นต้น จึงตรัสคำว่า
กถญฺจ ภิกฺขเว อปจฺจกฺขาตา ดังนี้เป็นต้น. ในคำว่า อปจฺจกฺขาตา
เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
คำว่า เยหิ อากาเรหิ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 809
บทว่า อุมฺมตฺตโก ได้แก่ ภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิง หรือบ้า
เพราะดีกำเริบ คือ ภิกษุมีสัญญาวิปริตรูปใดรูปหนึ่ง. ภิกษุบ้านั้น ถ้าบอกลา
(สิกขา) ไซร้, สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา.
บทว่า อุมฺมตฺตกสฺส ได้แก่ ภิกษุบ้าเช่นนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่
ถ้าปกตัตตภิกษุ บอกลาสิกขาในสำนักของภิกษุบ้าเช่นนั้นไซร้, ภิกษุบ้าไม่
เข้าใจ, สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา
ภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิง ท่านเรียกว่า ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน. อนึ่ง
คำว่า ภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิง หรือภิกษุบ้าเพราะดีกำเริบ ท่านกล่าวไว้
แล้วในบทต้น โดยความเป็นภิกษุบ้าเสมอกัน. ความแปลกกันแห่งภิกษุบ้า
แม้ทั้งสองจักมีแจ้งในอนาปัตติวาร. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่านอย่างนั้น บอกลา
(สิกขา) สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลาเลย. สิกขาแม้อันปกตัตตภิกษุบอกลาแล้ว
ในสำนักของภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิงนั้น เมื่อภิกษุบ้านั้นไม่เข้าใจ ก็ไม่
เป็นอันบอกลา.
บท เวทนฏฺโฏ ได้แก่ ภิกษุอันทุกขเวทนาที่มีกำลังถูกต้องแล้ว
คือ ผู้ถูกความสยบครอบงำแล้ว. สิกขาที่ภิกษุผู้ถูกเวทนาเบียดเบียนบ่นเพ้อ
อยู่นั้น แม้บอกลาแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นอันบอกลา. สิกขา แม้อันภิกษุบอกลา
แล้วในสำนักของภิกษุผู้ถูกเวทนาครอบงำนั้น เมื่อภิกษุผู้ถูกเวทนาครอบงำนั้น
ไม่เข้าใจ ก็ไม่เป็นอันบอกลา.
สองบทว่า เทวตาย สนฺติเก ความว่า สิกขาที่ภิกษุบอกลาแล้ว
ในสำนักของเทวดาเริ่มต้นแต่ภุมเทวดาไปจนถึงอกนิฏฐเทวดา ย่อมไม่เป็นอัน
บอกลา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 810
บทว่า ติรจฺฉานคตสฺส ความว่า สิกขาที่ภิกษุบอกลาแล้วในสำนัก
ของนาคมาณพก็ดี สุบรรณมาณพก็ดี หรือในสำนักของเทวดาเหล่ากินนร
ช้างและลิงเป็นต้นพวกใดพวกหนึ่งก็ดี ย่อมไม่เป็นอันบอกลาเลย.
สิกขา ที่ภิกษุบอกลาในสำนักของบรรดาภิกษุบ้าเป็นต้นเหล่านั้น ย่อม
ไม่เป็นอันบอกลาแท้ เพราะ (ภิกษุบ้าเป็นต้นนั้น) ไม่เข้าใจ. ที่บอกลาใน
สำนักของเทวดา ก็ย่อมไม่เป็นอันบอกลา (เหมือนกัน) เพราะ (เทวดา)
เข้าใจเร็วเกินไป. ชื่อว่าเทวดาพวกที่มีปฏิสนธิเป็นไตรเหตุ มีปัญญามาก
ย่อมรู้อะไรเร็วเกินไป. ก็ขึ้นชื่อว่าจิตนี้ ย่อมเป็นธรรมชาติเป็นไปเร็ว; เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงใฝ่พระทัยว่า ความพินาศของบุคคล (ภิกษุ)
ผู้มีจิตกลับกลอก อย่าได้มีเร็วนัก เพราะอำนาจจิตนั่นเลย จึงทรงห้ามการลา
สิกขาในสำนักของเทวดาไว้. ส่วนในหมู่มนุษย์ ไม่มีกำหนดไว้, สิกขาที่
ภิกษุบอกลาในสำนักของคนใดคนหนึ่ง ผู้เป็นสภาคกัน (คือบุรุษ) ก็ตาม
ผู้เป็นวิสภาคกัน (คือมาตุคาม) ก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม
ซึ่งเข้าใจ (ผู้รู้เดียงสา) ย่อมเป็นอันบอกลาแล้วแท้. ถ้าว่าคนนั้น ไม่เข้าใจ
ไซร้, สิกขา ก็ย่อมไม่เป็นอันบอกลาเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงใจความนั่น จึงตรัสคำว่า อริยเกน
เป็นต้น. ในคำว่า อริยเกน เป็นต้นนั้น มีวินิจฉันดังนี้ :-
โวหารของชาวอริยะ ซึ่งอริยกะ ได้แก่ ภาษาของชาวมคธ. โวหาร
ที่ไม่ใช่ของชาวอริยะอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อมีลักขกะ ได้แก่ โวหารของชาว
อันธทมิฬ (คนดำ) เป็นต้น.
หลายบทว่า โส เจ น ปฏิวิชานาติ ความว่า (ถ้าชนชาวมิลักขะนั้น)
ไม่เข้าใจว่า ภิกษุนั่น พูดเนื้อความชื่อนี้ เพราะความที่ตนไม่รู้ในภาษาอื่น
หรือเพราะความที่ตนไม่ฉลาดในพุทธสมัยสิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 811
บทว่า ทวาย๑ ความว่า ภิกษุผู้มีความประสงค์จะพูดอย่างหนึ่ง
โดยเร็ว แต่พูดไปโดยเร็วว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า ดังนี้ (ชื่อว่า ภิกษุ
บอกคืนสิกขา โดยกล่าวเล่นหรือกล่าวเร็ว).
บท รวาย แปลว่า โดยการพูดพลาด.
หากจะมีผู้ถาม ถามว่า ภิกษุคิดว่า เพราะจักพูดอย่างหนึ่ง ดังนี้ แต่
พูดไปอีกอย่างหนึ่ง คือพูดว่า เราบอกคืนพระพุทธเจ้า๒ ดังนี้ คำพูดที่พูดนี้
กับคำพูดที่มีอยู่ก่อน๓ มีความแปลกกันอย่างไร?
แก้ว่า แม้ผู้ฉลาดพูดคำก่อนพลาดไปเป็นคำอื่น ก็ด้วยอำนาจความเร็ว
แต่บุคคลผู้พลั้งพลาดตั้งใจว่า เราจักพูดอย่างหนึ่งพลาดไปพูดอย่างหนึ่งนี้
ก็เพราะความที่ตนเป็นคนทึบ เป็นคนหลงงมงาย.
สองบทว่า อสฺสาเวตุกาโม สาเวติ ความว่า ภิกษุบอก สอบถาม
เล่าเรียน ทำการสาธยาย พรรณนาบาลีแห่งสิกขาบทนี้ ภิกษุนี้ เรียกว่า
ผู้ไม่ประสงค์จะประกาศ แต่ประกาศให้ได้ยิน.
หลายบทว่า สาเวตุกาโม น สาเวติ ความว่า ภิกษุทำให้
แจ้งความเป็นผู้ทุรพลแล้วบอกคืนสิกขา แต่ไม่ลั่นวาจา ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้
ประสงค์จะประกาศ แต่ไม่ประกาศให้ได้ยิน.
สองบทว่า อวิญฺญุสฺส สาเวติ ความว่า ประกาศแก่คนชราผู้เป็น
เช่นกันด้วยรูปปั้นหรือผู้มีปัญญาทึบ ซึ่งไม่ฉลาดในลัทธิ (ศาสนา) หรือพวก
เด็กชาวบ้าน ผู้ยังไม่บรรลุเดียงสา.
๑. ฎีกาสารัตถทีปนี้. ๒/๑๒๕. แก้ไว้ว่า ทวาติ สหสา แปลว่า บทว่า ทวะ แปลว่า โดยเร็ว.
๒. อญฺ ภณิสสฺสามีติ อญฺ ภณนฺโต พุทฺธ ปจฺจกฺขามีติ ภณติ สารัตถทีปนี.๒/๑๒๕
๓.ปุริเมน ภณเนน สทฺธึ อิมสฺส ภณนสฺส โก วิเสโสติ ปุจฺฉโก เจ ปจฺฉติ. อตฺถโยชนา
๑/๒๕๓
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 812
สองบทว่า วิญฺญุสฺส น สาเวติ ความว่า ไม่ประกาศแก่ผู้ฉลาด
ซึ่งสามารถจะเข้าใจได้.
หลายบทว่า สพฺพโส วา ปน ความว่า สิกขา ย่อมเป็นอันบอก
ลาแล้ว โดยปริยายใด ในบรรดาคำว่า พุทฺธ ปจฺจจฺขามิ เป็นต้น แต่เธอ
หาได้ทำแม้ปริยายอย่างหนึ่งจากปริยายนั้น คือลั่นวาจาประกาศให้ได้ยินไม่.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงกำหนดลักษณะแห่งการไม่บอกลาไว้ ด้วยคำว่า
เอว โข เป็นต้น. จริงอยู่ในคำว่า เอข โข เป็นต้นนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า
สิกขาย่อมเป็นอันภิกษุไม่บอกลา ด้วยอาการอย่างนี้แล หามีได้ด้วยเหตุ
อย่างอื่นไม่.
[อรรถาธิบายความหมายแห่งเมถุนธรรม]
บัดนี้ เพื่อทรงแสดงใจความแห่งบทว่า เมถุน ธมฺม ปฏิเสเวยฺย
เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้น.
ในคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
คำว่า เมถุนธมฺโม นาม นี้ เป็นบทอุเทศแห่งเมถุนแห่งธรรมที่ควร
อธิบาย.
ธรรมของพวกอสัตบุรุษทั้งหลาย คือคนต่ำช้า ชื่อว่า อสัทธรรม.
ธรรมเป็นที่เสพของพวกชาวบ้านชื่อว่า คามธรรม. ธรรมของพวกคนถ่อย
ชื่อวสลธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชื่อว่าถ่อยเองนั่นแล เพราะเป็นที่ไหลออก
แห่งกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วสลธรรม.
บท ทุฏฺฐุลฺล มีความว่า ชื่อว่าเป็นธรรมชั่ว เพราะเป็นธรรม
อันกิเลสทั้งหลายประทุษร้ายแล้ว และชื่อว่าเป็นธรรมหยาบ เพราะเป็นธรรม
ไม่ละเอียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าธรรมชั่วหยาบ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 813
อนึ่ง ตั้งแต่นี้ไปพึงเปลี่ยนสองบทว่า โย โส นี้ ทำให้เป็น ยนฺต
ประกอบใน ๓ บทว่า ยนฺต ทุฏฐุลฺล ยนฺต โอทกนฺติก ยนฺต รหสฺส.
ก็แล พึงทราบโยชนาใน ๓ บทนี้ อย่างนี้ว่า
การเห็นก็ดี การจับก็ดี การลูบคลำก็ดี การถูกต้องก็ดี การเบียดสีก็ดี
ซึ่งเป็นบริวารของกรรมนั้น จัดเป็นกรรมชั่วหยาบ แม้เพราะเหตุนั้น กรรมนั้น
จึงจัดเป็นกรรมชั่วหยาบ กรรมชั่วหยาบนั้น ชื่อว่าเมถุนธรรม น้ำอันบุคคล
ย่อมถือเอา เพื่อความสะอาดในที่สุดแห่งกรรมนั้น เหตุนั้น กรรมนั้น จึงชื่อว่า
มีน้ำเป็นที่สุด กรรมมีน้ำเป็นที่สุดนั่นแล ชื่อว่าโอทกันติกะ กรรมมีน้ำเป็น
ที่สุดนั้นชื่อว่า เมถุนธรรม กรรมนั้นชื่อว่าเป็นกรรมลับ เพราะความเป็น
กรรมที่ต้องทำในที่ลับ คือ ในโอกาสอันปิดบัง กรรมนั้น ชื่อว่า เมถุนธรรม.
กรรมนั้น ชื่ออันคนเป็นคู่ ๆ พึงถึงร่วมกัน เพราะความเป็นกรรม
อันบุคคลพึงร่วมเป็นคู่ ๆ กัน. ในบทว่า ทฺวยทฺวยสมาปตฺติ นั้นพึงทราบ
โยชนาว่า กรรมอันคนเป็นคู่ ๆ พึงถึงรวมกันนั้น ชื่อว่า เมถุนธรรม.
ก็แล ในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงชักธรรมทั้งปวง มี
อสัทธรรมเป็นต้นนั้นมารวมในที่เดียวกัน จึงตรัสว่า นี้ ชื่อว่า เมถุนธรรม.
ถามว่า เพราะเหตุไร อสัทธรรม จึงเรียกว่า เมถุนธรรม?
แก้ว่า อสัทธรรมนั้น เป็นของคนคู่ผู้กำหนัดแล้ว ผู้กำหนัดจัดแล้ว
ผู้อันราคะชุ่มใจแล้ว คือผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว ได้แก่เป็นธรรมของคนคู่ผู้
ปานกัน เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า เมถุนธรรม.
บทว่า ปฏิเสวติ นาม นี้ เป็นบทมาติกา เพื่อแสดงอาการซึ่งเป็น
เหตุอันพระองค์ตรัสเรียกบุคคลว่า พึงเสพเฉพาะ ในบทว่า ปฏิเสเวยฺย นี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 814
ในบทว่า โย นิมิตฺเตน นิมิตฺต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ภิกษุใดให้นิมิตของตนเข้าไปทางนิมิตของหญิง คือให้องคชาตของตน
เข้าไปทางองคชาตของหญิง ในโอกาสอันชุ่ม ซึ่งลมถูกต้องไม่ได้ โดยประมาณ
อย่างต่ำที่สุด แม้เพียงเมล็ดงาหนึ่ง ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเสพเฉพาะ ด้วยอาการ
เพียงเท่านี้ เธอย่อมถึงความทำลายแห่งศีล คือ เป็นปาราชิก.
[สตรีนิมิตได้ฐาน ๕ ปุริสนิมิตได้ฐาน ๖]
ก็บรรดานิมิตของสตรีและบุรุษนี้ ในนิมิตของสตรี ได้ฐาน ๕ คือ
ข้างทั้ง ๔ และท่ามกลาง. ในนิมิตของบุรุษได้ฐาน ๖ คือ ข้างทั้ง ๔ ตรงกลาง
ปลาย. เพราะเหตุนั้น ในนิมิตของสตรี แม้สอดองคชาตเข้าไปทางใต้ ย่อม
เป็นปาราชิก สอสดเข้าไปจากข้างบนก็ดี สอดเข้าไปทางข้างทั้งสองก็ดี สอดเข้า
ไปตรงกลาง พ้นฐานทั้ง ๔ ก็ดี ย่อมเป็นปาราชิก (ทั้งนั้น). ส่วนนิมิตแห่ง
บุรุษ แม้ภิกษุสอดเข้าไปให้ถูกทางส่วนล่าง ย่อมเป็นปาราชิก สอดเข้าไปให้
ถูกทางส่วนบนก็ดี สอดเข้าไปให้ถูกทางข้างทั้งสองก็ดี สอดเข้าไปให้ถูกเฉพาะ
ตรงกลาง เหมือนให้นิ้วมือที่งอเข้าแล้ว จดเข้าด้วยหลังข้อกลางก็ดี สอดเข้าไป
ให้ถูกส่วนปลายก็ดี ย่อมเป็นปาราชิก (ทั้งนั้น).
บรรดานิมิตของสตรีและบุรุษนั้น แม้เมื่อภิกษุสอดองคชาตเข้าไปให้
เหมือนกับคันชั่ง ได้ฐาน ๕ คือ ข้างทั้ง ๔ และตรงกลาง. แม้เมื่อสอดให้งอ
เข้าไป ก็ได้ฐาน ๕ คือ ข้างทั้ง ๔ ส่วนปลายและตรงกลาง. ฐานแม้ทั้งหมด
ในนิมิตของบุรุษมี ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.
ภิกษุสอดหัวติ่ง* หรือปมหนัง ซึ่งมีกายประสาทยังดี ที่เกิดอยู่ใน
นิมิต (ของตน) เข้าไป (ในนิมิตของสตรี) เป็นอาบัติปาราชิก. สอดติ่งหนัง
* จมฺมขีลนฺติ นิมิตฺเต อุฏิตจมฺมเมว. อุณฺณิคณฺโฑติปิ วทนฺติ. สารัตถทีปนี.๒/๑๒๙
หมายถึงหัวที่เป็นติ่ง หรือตุ่มพอก ซึ่งเกิดอยู่ที่องคชาต.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 815
ที่ตายแล้ว หรือปมหนังที่แห้ง ที่มีกายประสาทเสียแล้วเข้าไป (ในนิมิตของ
สตรี) เป็นอาบัติทุกกฏ. แม้เมื่อสอดขน หรือปลายนิ้วมือและนิ้วหัวแม่มือ
เข้าไป (ในนิมิตของสตรี) ด้วยความยินดีในเมถุน เป็นทุกกฏเหมือนกัน.
[ภิกษุเมื่อจะพรรณนาเมถุนกกถาควรระลึกถึงพระพุทธคุณ]
ก็ขึ้นชื่อว่า เมถุนกถานี้ ก็คือกถาที่ชั่วหยาบ อันเป็นกถาของพวก
อสัตบุรุษ เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงฐานะนั่นก็ดี ฐานะอื่นก็ดี หรือ
ฐานะเช่นนี้ในพระวินัย ก็ควรให้ปฏิกูลมนสิการ สมณสัญญา และหิริโอตตัปปะ
ตั้งขึ้นเฉพาะหน้า แล้วให้ความเคารพเกิดขึ้นในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รำพึงถึง
พระกรุณาของพระโลกนาถ ผู้มีพระกรุณาหาผู้เสมอมิได้ แล้วกล่าวเถิด. ควร
รำพึงถึงพระกรุณาคุณของพระโลกนาถอย่างนี้ว่า อันที่จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น แม้มีพระมนัสหมุนกลับแล้วจากกามทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง
ทรงอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความเอ็นดูเหล่าสัตว์ เพื่อความ
อนุเคราะห์แก่โลก ได้ตรัสกถาเช่นนี้ไว้ เพื่อต้องการบัญญัติสิกขาบท พระ-
ศาสดา มีพระกรุณาคุณจริงหนอ! ดังนี้แล้ว พึงกล่าวเถิด.
อีกประการหนึ่ง ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จะไม่พึงตรัสกถาเช่นนี้
โดยประการทั้งปวงไซร้ ใครเล่าจะพึงรู้ได้ว่า ในฐานะประมาณเท่านี้ เป็น
ปาราชิก ในฐานะประมาณเท่านี้ เป็นถุลลัจจัย ในฐานะประมาณเท่านี้ เป็น
ทุกกฏ. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ว่าความ สดับอยู่ก็ดี กล่าวอยู่ก็ดี (ซึ่งเมถุน-
กถานั้น) หาควรเปิดปากนั่งหัวเราะแยกฟันกันอยู่ไม่ ใคร่ครวญว่า ถึงฐานะ
เช่นนี้ แม้พระสัมมาพุทธเจ้าก็ได้ตรัสแล้ว ดังนี้ เป็นผู้ไม่กลัวเพราะเหตุ
เช่นนั้น ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ มีส่วนเปรียบดังพระศาสดา แล้วพึง
กล่าวเถิดฉะนี้แล.
จบมูลบัญญัติสิกขาบท
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 816
อนุปัญญัติวาร
[กำหนดสัตว์ที่เป็นวัตถุแห่งปาราชิกเป็นต้น]
ในวาระแห่งอนุบัญญัติ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า อนฺตมโส แปลว่า โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดทั้งหมด.
บทว่า ติรจฺฉานคตายปิ ความว่า ในประชาสัตว์ผู้ในแล้ว (คือ
ผู้เกิดแล้ว) ในเหล่าสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอำนาจปฏิสนธิ.
สองบทว่า ปเคว มนุสฺสิตฺถิยา ความว่า (ภิกษุเสพเมถุนธรรม)
ในหญิงผู้เป็นชาติมนุษย์ก่อนกว่า. ก็สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ซึ่งเป็นวัตถุแห่ง
ปาราชิกนั่นแล ควรถือเอาว่า สัตว์ดิรัจฉาน ในปฐมปาราชิกนี้ ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมียทั้งหมด (สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ไม่ใช่วัตถุแห่งปาราชิกทั้งหมด).
ในคำว่า สัตว์ดิรัจฉาน นั้น มีกำหนด (ประเภทสัตว์) ดังนี้
บรรดาพวกสัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งู
และปลา, และบรรดาพวกสัตว์มีสองเท้า
ได้แก่ แม่ไก่, บรรดาพวกสัตว์มีสี่เท้า ได้แก่
แมวตัวเมีย, สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียเหล่านี้
เป็นวัตถุแห่งปาราชิก.
[อรรถาธิบายประเภทสัตว์ต่าง ๆ ]
บรรดาสัตว์มีงูเป็นต้นนั้น ทีฆชาติต่างโดยประเภท มีงูเหลือมและงู
ขว้างค้อนเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย อหิ ศัพท์. เพราะฉะนั้น
บรรดาทีฆชาติทั้งหลาย ทีฆชาติที่ภิกษุอาจสอดองคชาตเข้าไปในบรรดามรรค
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 817
ทั้ง ๓ มรรคใดมรรคหนึ่ง ประมาณเท่าเมล็ดงา เป็นวัตถุแห่งปาราชิก, ที่เหลือ
พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. สัตว์ที่เกิดในนา ต่างโดยประเภทมี ปลา
เต่า และกบเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย มัจฉะ ศัพท์. ใน
สัตว์ที่เกิดในน้ำแม้นั้น พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก และเป็นวัตถุแห่ง
ทุกกฏ โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในทีฆชาตินั่นเอง. ส่วนความแปลกกัน มีดัง
ต่อไปนี้ :-
ขึ้นชื่อว่ากับเป็นสัตว์มีปากแข็ง, กบเหล่านั้น มีสัณฐานปากกว้าง
แต่มีช่องปากแคบ; ในสัณฐานปากนั้น จึงไม่เพียงพอที่จะสอดองคชาตเข้า
ไปได้, แต่สัณฐานปาก ย่อมถึงความนับว่าแผล, เพราะฉะนั้น พึงทราบมุข
สัณฐานนั้นว่า เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย.
ปักษีชาติ ต่างโดยประเภทมี กาก์และลูกนกสาลิกาเป็นต้นแม้ทั้งหมด
ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย กุกกุฏี ศัพท์. ในปักษีชาติแม้นั้น พึงทราบว่า เป็น
วัตถุแห่งปาราชิกและวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จตุปทชาติ (สัตว์มีสี่เท้า) ต่างโดยประเภทที่กระแต* พังพอน และ
เหี้ยเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย มัชชารี ศัพท์. ในจตุปทชาติ
แม้นั้นก็พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก และเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัย
ดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
[ปาราชิกศัพท์เป็นไปในสิกขาบทเป็นต้น]
บทว่า ปาราชิโก แปลว่า พ่ายแพ้แล้ว คือ ถึงแล้วซึ่งความพ่ายแพ้.
จริงอยู่ ปาราชิก ศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปทั้งในสิกขาบท อาบัติและบุคคล. ใน
๓ อย่างนั้น ปาราชิกศัพท์ ที่เป็นไปในสิกขาบท พึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า
* บางท่านว่า สุนัขต้นไม้, มีชุกทางอินเดียภาคเหนือ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 818
ดูก่อนอานนท์! มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส มีตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกขาบท
ที่ได้บัญญัติไว้แล้ว เพื่อสาวกทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งพวกภิกษุชาววัชชี หรือ
พวกวัชชีบุตรเลย๑.
ที่เป็นไปในอาบัติพึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า ภิกษุ! เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว๒ ที่เป็นไปในบุคคล พึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า พวกเรา
มิได้เป็นปาราชิก, ผู้ใดลัก, ผู้นั้น เป็นปาราชิก. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ปาราชิกศัพท์นี้ ยังเป็นไปในธรรมได้อีก เช่นในที่มามีคำว่า (ภิกษุ) ตามกำจัด
(ภิกษุ) ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก ดังนี้เป็นต้น.๓
แต่เพราะเหตุที่ในอาบัติและสิกขาบททั้ง ๒ นั้น ในที่บางแห่งพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระประสงค์อาบัติว่า ธรรม บางแห่งก็ทรงพระประสงค์
สิกขาบททีเดียว เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรจะกล่าวธรรมนั้นไว้อีกแผนกหนึ่ง.
บรรดาสิกขาบท อาบัติและบุคคลนั้น, สิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ปาราชิก เพราะเหตุที่ยังบุคคลผู้ละเมิดให้พ่าย, ส่วนอาบัติตรัสว่า
ปาราชิก เพราะเหตุที่ยังบุคคลผู้ต้องให้พ่าย, บุคคลตรัสว่า เป็นการปาราชิก
เพราะเหตุที่เป็นผู้พ่าย คือ ถึงความแพ้. จริงอยู่ แม้ในคัมภีร์บริวาร พระผู้มี
พระภาคเจ้า ก็หมายเฉพาะเนื้อความนี้ ตรัสว่า
อาบัติใด เราเรียกว่าปาราชิก, ท่าน
จงฟังอาบัตินั้นตามที่กล่าว, บุคคลผู้ต้อง
ปาราชิก ย่อมเป็นผู้เคลื่อน ผิด ตกไป
และเหินห่างจากสัทธรรมแล, แม้ธรรมเป็น
ที่อยู่ร่วมกันในบุคคลนั้น ย่อมไม่มี, ด้วย
เหตุนั้น อาบัตินั้น เราจึงเรียกอย่างนั้น.๔
๑. วิ. มหา. ๑/๔๑. ๒. วิ. มหา. ๑/๖๒. ๓. วิ มหา. ๑/๓๗๖. ๔. วิ ปริวาร. ๘/๓๖๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 819
[อรรถาธิบายความในพระคาถา]
ก็ในปริวารคาถานี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :- บุคคลผู้ละเมิดสิกขาบท
นั้น และต้องอาบัตินั้น ย่อมเป็นผู้เคลื่อน (จากสัทธรรม), คำทั้งปวงอัน
บัณฑิตพึงประกอบอย่างนี้.
สองบทว่า เตน วุจฺจติ มีความว่า บุคคล ย่อมเป็นผู้ไม่ใช่สมณะ
ไม่ใช่เหล่ากอแห่งศากยบุตร พลัดตกไป ขาดไป คือพ่ายแพ้จากศาสนา ด้วย
เหตุใด, ด้วยเหตุนั้น บุคคลนั้น เราจึงกล่าว. ถามว่า กล่าวว่าอย่างไร ?
แก้ว่า กล่าวว่าเป็นผู้พ่าย.
ภิกษุทั้งหลาย ย่อมอยู่ร่วมกันในธรรมนี้ เหตุนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
สังวาส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สวาโส นาม ดังนี้แล้ว จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า เอกกมฺม ก็เพื่อแสดงสังวาสนั้น.
ในคำว่า เอกกมฺม เป็นต้นนั้น มีคำอธิบายพร้อมทั้งโยชนา ดัง
ต่อไปนี้ :- สังฆกรรมทั้ง ๔ อย่าง ชื่อว่า กรรมอันเดียวกัน เพราะความ
เป็นกรรมที่ภิกษุทั้งหลายผู้ปกตัตตะ กำหนดด้วยสีมา จึงพึงทำร่วมกัน. อนึ่ง
ปาฏิโมกขุทเทสทั้ง ๕ อย่าง ชื่อว่าอุเทศเดียวกัน เพราะความเป็นอุเทศที่จะ
พึงสวดด้วยกัน. ส่วนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว ชื่อว่า สมสิกขาตา เพราะ
ความเป็นสิกขาที่ลัชชีบุคคลแม้ทั้งปวงจะศึกษาเท่ากัน. ลัชชีบุคคลแม้ทั้งปวง
ย่อมอยู่ร่วมกันในกรรมเป็นต้นเหล่านี้, บุคคลแม้ผู้เดียวจะปรากฏในภายนอก
จากกรรมเป็นต้นนั้นหามิได้; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงรวม
เอาสิ่งเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ตรัสว่า นี้ชื่อว่า สังวาส ในพระบาลีนี้. ก็แลสังวาส
เอาประการดังกล่าวแล้วนั้น ไม่มีกับบุคคลนั้น; เพระเหตุนั้น บุคคลผู้พ่าย
พระองค์จึงตรัสว่า ผู้หาสังวาสมิได้ ฉะนี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 820
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่ทรงอุเทศอย่างนั้น
ตามลำดับบทแล้ว บัดนี้ จึงทรงแสดงสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีนิมิตเป็นวัตถุแห่ง
ปาราชิก โดยนัยมีคำว่า หญิง ๓ จำพวก เป็นต้น แล้วตรัสวัตถุ ๓ โดยนัย
มีคำว่า มรรค ๓ แห่งหญิงมนุษย์ เป็นอาทิ เพื่อแสดงนิมิต ที่เป็นวัตถุแห่ง
ปาราชิก เพราะเหตุที่นิมิตหญิงอย่างเดียวเท่านั้น จึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิกหา
มิได้ นิมิตหญิงมนุษย์เท่านั้น จึงเป็นวัตถุหามิได้ ทั้งนิมิตแม้แห่งหญิงทั้งหลาย
ซึ่งตกแต่งด้วยทองและเงินเป็นต้น จึงเป็นวัตถุแท้หามิได้ ในคำว่า นิมิตฺเตน
นิมิตฺต องฺคชาเตน องฺคชาต ซึ่งพระองค์ทรงตั้งบทมาติกานี้ว่า ปฏิเสวติ
นาม เพื่อแสดงอาการเป็นเหตุตรัสว่า พึงเสพเฉพาะ ในบทว่า ปฏิเสเวยฺย
นี้ ตรัสไว้แล้ว.
ในคำว่า หญิง ๓ จำพวก เป็นอาทินั้น มีสัตว์ ๑๒ พวก ซึ่งเป็น
ที่อาศัยแห่งนิมิต อันเป็นวัตถุแห่งปาราชิก คือ สตรี ๓ จำพวก อุภโต-
พยัญชนก ๓ จำพวก บัณเฑาะก์ ๓ จำพวก บุรุษ ๓ จำพวก. ในสัตว์ ๑๒
จำพวกนั้น สตรีและบุรุษปรากฏชัดแล้ว. ชนิดของบัณเฑาะก์และอุภโต
พยัญชนก จักมีปรากฏในวรรณนาแห่งบรรพชาขันธกะ. ส่วนในคำว่า ผู้เสพ
เมถุนธรรมเฉพาะมรรค ๓ แห่งหญิงมนุษย์ นี้ พึงทราบใจความว่า ในมรรค
๓ แห่งหญิงมนุษย์. พึงทราบอย่างนี้ทุก ๆ บท.
[มรรคที่เป็นวัตถุแห่งปาราชิกรรม ๓๐]
ก็มรรคเหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว มี ๓๐ ถ้วน คือของหญิงมนุษย์มี ๓
มรรค ของหญิงอมนุษย์มี ๓ มรรค ของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียมี ๓ มรรค
รวมเป็น ๙, ของมนุษย์อุภโตพยัญชนกเป็นต้นมี ๙ ของมนุษย์บัณเฑาะก์
เป็นต้นมี ๖ เพราะแบ่งเป็นพวกละ ๒ มรรค ๆ, ของมนุษย์ผู้ชายเป็นต้นมี ๖
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 821
เหมือน. ภิกษุเมื่อเสพเมถุนธรรมสอดองคชาติของตนเข้าไปในบรรดามรรค
ที่รู้กันว่าเป็นนิมิตเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง แม้เพียงเมล็ดงาเดียว ย่อม
ต้องปาราชิก. แต่เพราะเมื่อจะต้อง ย่อมต้องด้วยเสวนจิตเท่านั้น เว้นจาก
เสวนจิตนั้นหาต้องไม่ ; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดง
ลักษณะนั้น จึงตรัสพระดำรัสว่า ภิกฺขุสฺส เสวนจิตฺต อุปฏฺิเต ดังนี้
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขุสฺส ได้แก่ ภิกษุผู้เสพเมถุน. ใน
คำว่า เสวนจิตฺต อุปฏฺิเต นี้ เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ.
อธิบายว่า เมื่อเสวนจิตปรากฏแล้ว.
หลายบทว่า วจฺจมคฺค องฺคชาต ปเวเสนฺตสฺส ความว่า เมื่อ
ภิกษุสอดองคชาต คือ ปุริสนิมิตของตนเข้าไปทางมรรคที่อุจจาระออกไปนั้น
แม้เพียงเมล็ดงาเดียว.
สองบทว่า อาปตฺติ ปาราชิกสฺส ความว่า อาบัติปาราชิกย่อมมี
แก่ภิกษุนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อาปตฺติ แปลว่า ย่อมมีการต้อง.
บทว่า ปาราชิกกสฺส ได้แก่ ธรรมคือปาราชิก. ในทุก ๆ บท ก็
นัยนี้นั้นแล.
[ภิกษุถูกผู้อื่นข่มขืนแล้วยินดีเป็นปาราชิก]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอาบัติของภิกษุผู้สอด (องคชาต
ของตน) เข้าไปด้วยเสวนจิตอย่างเดียวอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงรักษา
เหล่ากุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ไม่ยินดีแม้ในเมื่อมีการสอด
(องคชาต) เข้าไป (ในองคชาตของตน) ด้วยความพยายามของผู้อื่น เพราะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 822
เหตุที่ ชื่อว่าการสอด (องคชาต) เข้าไปนั้น ไม่ใช่จะมีได้ด้วยความพยายาม
ของตนอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมมีได้แม้ด้วยความพยายามของผู้อื่น และเมื่อ
ภิกษุยินดีในการสอด (องคชาต) เข้าไปด้วยความพยายามของผู้อื่นแม้นั้น
ก็เป็นอาบัติ, คือเมื่อภิกษุมีความพร้อมเพรียงด้วยปฏิเสวนจิตก็เป็นอาบัติ นอกนี้
ไม่เป็นอาบัติ จึงตรัสพระดำรัสว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา มนุสฺสิตฺถึ เป็นต้น.
ในคำว่า ปจฺจตฺถิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- เหล่าชนผู้
ชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่าต้องการ คือ ปรารถนาเป็นปฏิปักษ์. ข้าศึก
ทั้งหลาย คือ พวกภิกษุ ชื่อว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา (ภิกษุผู้เป็นข้าศึก). คำว่า
ภิกขุปัจจัตถิกานั่น เป็นชื่อของพวกภิกษุผู้ก่อเวร ซึ่งเป็นวิสภาคกัน.
หลายบทว่า มนุสฺสิตฺถึ ภิกฺขุโน สนฺติเก อเนตฺวา ความว่า
พวกภิกษุผู้มีความริษยาปรารถนาจะทำให้ภิกษุนั้นฉิบหาย เอาอามิสหลอกล่อ
หรือพูดด้วยอำนาจมิตรสันถวะว่า ท่านจงทำกิจนี้ของพวกเราเถิด แล้วพาเอา
หญิงมนุษย์บางคนมายังโอกาส ซึ่งเป็นที่อยู่ของภิกษุนั้น ในเวลาราตรี.
หลายบทว่า วจฺจมคฺเคน องฺคชาต อภินีสีเทนฺติ ความว่า
จับภิกษุรูปนั้นที่อวัยวะมี มือ เท้า และศีรษะเป็นต้นอย่างมั่น คือให้ดิ้นรน
ไม่ได้ แล้วให้นั่งคร่อม คือให้ประกอบองคชาตของภิกษุรูปนั้น ด้วยวัจจมรรค
ของหญิง.
ในคำว่า โส เจ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ถ้าภิกษุรูปนี้นั้นยินดี
คือยอมรับการสอสดองคชาตของตนเข้าไปร่วมในแห่งวัจจมรรค (ของหญิง)
คือเธอให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในขณะนั้น ยินดี คือยอมรับการเข้าไปแล้ว, ใน
เวลาที่เข้าไปแล้ว เธอก็ให้เสวนจิตปรากฏขึ้นทั้งยินดี คือยอมรับการหยุดอยู่,
ในเวลาที่องคชาตถึงที่ เธอก็ให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในเวลาที่หลั่งน้ำสุกกะ ทั้ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 823
ยินดี คือยอมรับการถอนออก, ในเวลาที่ชักออก เธอก็ให้ปฏิเสวนจิตปรากฏ
ขึ้น; ภิกษุเมื่อยินดีในฐานะ ๔ อย่าง ดังอธิบายมาแล้วนี้ ย่อมไม่ได้เพื่อจะ
พูด (แก้ตัว) ว่า อันสมณะผู้ก่อเวรทั้งหลาย ทำกรรมนี้แก่เราแล้ว, ย่อมต้อง
อาบัติปาราชิกทีเดียว. เหมือนอย่างว่า ภิกษุเมื่อยินดีฐานะทั้ง ๔ เหล่านี้ ย่อม
ต้องอาบัติ ฉันใด, เธอไม่ยินดีฐานะข้อหนึ่งซึ่งเป็นข้อแรก แต่ยินดี ๓ ฐานะ
อยู่ก็ดี ไม่ยินดี ๒ ฐานะ แต่ยินดี ๒ ฐานะอยู่ก็ดี ไม่ยินดี ๓ ฐานะ แต่ยินดี
ฐานะเดียวอยู่ก็ดี ย่อมต้องอาบัติเหมือนกัน ฉันนั้น.
ส่วนภิกษุ เมื่อไม่ยินดีโดยประการทั้งปวง สำคัญขององคชาตเหมือนเข้า
ไปยังปากอสรพิษ หรือเข้าไปที่หลุมถ่านเพลิง หาต้องอาบัติไม่. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ภิกษุไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่เป็นอาบัติ.๑
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงรักษาบุคคล ผู้เจริญวิปัสสนา
เห็นปานนี้ ๆ ไม่มีความห่วงใยในกายและชีวิต เล็งเห็นอายตนะทั้งปวง ดุจ
ถูกไฟ ๑๑ อย่าง ให้ลุกโชนทั่วแล้ว ทั้งเล็งเห็นเบญจกามคุณ เป็นเหมือน
เพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้นแล้ว ฉะนั้น และเมื่อจะทรงทำการกำจัดมโนรถแห่ง
พวกที่เป็นข้าศึกของบุคคลผู้ไม่ยินดีนั้น จึงทรงนำจตุกะมีอาทิว่า ภิกษุผู้ไม่
ยินดีการเข้าไป๒ นี้มาตั้งไว้ ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยจตุกกะแรก
๑-๒ วิ. มหา. ๑/๔๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 824
กถาว่าด้วยจตุกกะ ๒๖๙ ที่เหลือ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงปฐมจตุกะอย่างนั้นแล้ว บัดนี้
เมื่อจะทรงแสดงจตุกกะแม้อย่างอื่น ด้วยอำนาจมรรคทั้ง ๓ เหล่านั้น เพราะ
เหตุที่ภิกษุผู้เป็นข้าศึกนำหญิงมาแล้ว ให้นั่งทับโดยทางวัจจมรรคอย่างเดียว
เท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ ให้นั่งทับโดยทางปัสสาวมรรคบ้าง โดยทางปากบ้าง,
และแม้เมื่อภิกษุผู้เป็นข้าศึกนำหญิงมา บางพวกนำหญิงผู้ตื่นอยู่มา บางพวก
นำหญิงผู้หลับมา บางพวกนำหญิงเมามา บางพวกนำหญิงผู้เป็นบ้ามา บาง
พวกนำหญิงผู้ประมาทมา, อธิบายว่า นำหญิงผู้ส่งใจไปในอารมณ์อื่น คือผู้
ฟุ้งซ่านมา, บางพวกนำหญิงผู้ตายแล้วที่สัตว์ยังมิได้กัดกินมา, อธิบายว่า นำ
หญิงผู้ตายซึ่งมีนิมิต อันสัตว์ทั้งหลายมีสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นยังมิได้กัดกินมา,
บางพวกนำหญิงผู้ตายแล้วที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมากมา; หญิงตายที่ชื่อว่าสัตว์
ยังมิได้กัดกินโดยมาก คือที่วัจจมรรคก็ดี ปัสสาวมรรคก็ดี ปากก็ดี อันเป็น
นิมิต มีโอกาสที่สัตว์ยังมิได้กัดกินมากกว่า; บางพวกนำหญิงผู้ตายที่สัตว์กัด
กินแล้วโดยมากมา; หญิงตายที่ชื่อว่าสัตว์กัดกินแล้วโดยมาก คืออวัยวะที่นิมิต
มีวัจจมรรคเป็นต้นถูกสัตว์กัดกินเป็นส่วนมาก ที่ยังมิได้กัดกินมีน้อย; และจะ
นำมาแต่หญิงมนุษย์อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ นำหญิงอมนุษย์บ้าง
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียบ้างมา; ทั้งจะนำมาเฉพาะหญิงมีประการดังกล่าวแล้ว
อย่างเดียวหามิได้; นำอุภโตพยัญชนกบ้าง บัณเฑาะก์บ้าง ผู้ชายบ้างมา;
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ภิกษุผู้เป็นข้าศึกนำหญิงมนุษย์ผู้ตื่นอยู่มา.*
* วิ. มหา. ๑/๕๗.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 825
[มรรคของมนุษย์ผู้หญิงมี ๒๗ จตุกกะ]
ในคำว่า ชาครนฺตึ เป็นต้นนั้น เพื่อความไม่งมงายในพระบาลี
บัณฑิตพึงทราบจตุกกะดังที่กล่าวแล้ว โดยการคำนวณ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ :-
ด้วยอำนาจมรรคทั้ง ๓ ของมนุษย์ผู้หญิงมี ๒๗ จตุกกะ คือสุทธิ-
จตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยมรรคล้วน ๆ) ๓, ชาครันตีจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วย
หญิงผู้ตื่นอยู่) ๓, สุตตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงผู้หลับ) ๓, มัตตจตุกกะ
(จตุกกะว่าด้วยหญิงผู้เมา) ๓, อุมมัตตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงบ้า) ๓,
ปมัตตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงผู้ประมาท) ๓, มตอักขยิตจตุกกะ (จตุกกะ
ว่าด้วยหญิงตายที่สัตว์ยังมิได้กัดกิน) ๓, เยภุยเยนอักขยิตจตุกกะ (จตุกกะว่า
ด้วยนิมิตที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก) ๓, เยภุยเยนขยิตจตุกกะ (จตุกกะว่า
ด้วยนิมิตที่สัตว์กัดกินโดยมาก) ๓.
ด้วยอำนาจมรรคทั้ง ๓ ของอมนุษย์ผู้หญิง ก็มี ๒๗ จตุกกะเหมือน
กัน, ของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ก็มี ๒๗ จตุกกะเหมือนกัน; ในอิตถีวาระ มี ๘๑
จตุกกะ ด้วยประการฉะนี้. และในอุภโตพยัญชนกาวาระ ก็มี ๘๑ จตุกกะ
เหมือนในอิตถีวาระ.
ส่วนในปัณฑกปุริสวาระ ด้วยอำนาจมรรคทั้ง ๒ จึงมีจตุกกะพวกละ
๕๔ จตุกกะ รวมแม้ทั้งหมด มี ๒๗๐ จตุกกะ ด้วยประการฉะนี้. จตุกกะ
เหล่านั้น มีเนื้อความชัดเจนทีเดียว.
ก็ทุก ๆ วาระ บรรดาฐานะเหล่านี้ ในฐานะนี้ว่า หญิงตายที่สัตว์ยัง
มิได้กัดกินโดยมาก และที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมาก มีวินิจฉัยดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 826
[เรื่องพระวินัยธร ๒ รูป]
ได้ยินว่า ที่เกาะตัมพปัณณิทวีป มีพระวินัยธร ๒ รูป เป็นพระเถระ
ร่วมอาจารย์เดียวกัน คือ พระอุปติสสเถระ ๑ พระปุสสเทวเถระ ๑. พระ
เถระทั้งสองรูปนั้น ในคราวมีมหาภัย ได้บริหารรักษาพระวินัยปิฎกไว้. บรรดา
พระเถระทั้ง ๒ รูปนั้น พระอุปติสสเถระเป็นผู้ฉลาดกว่า, แม้ท่านอุปติสสเถระ
นั้น ได้มีอันเตวาสิกอยู่ ๒ รูป คือ พระมหาปทุมเถระ ๑ พระมหาสุมเถระ ๑,
บรรดาพระเถระ ๒ รูปนั้น พระมหาสุมเถระ ได้สดับพระวินัยปิฎก ๙ ครั้ง
พระมหาปทุมเถระ ได้สดับถึง ๑๘ ครั้ง คือ ได้สดับร่วมกับท่านมหาสุมเถระ
นั้น ๙ ครั้ง และได้สดับเฉพาะรูปเดียวต่างหากอีก ๙ ครั้ง, บรรดาท่านทั้ง ๒
รูปนั้น พระมหาปทุมเถระนี้แหละ เป็นผู้ฉลาดกว่า. บรรดาท่านทั้ง ๒ รูปนั้น
พระมหาสุมเถระ ครั้นสดับพระวินัยปิฎกถึง ๙ ครั้งแล้ว ก็ละทิ้งอาจารย์ ได้
ไปยังแม่น้ำคงคาฟากโน้น.
คราวนั้น พระมหาปทุมเถระ กล่าวว่า พระวินัยธรผู้ละทิ้งอาจารย์
ซึ่งยังมีชีวิตทีเดียว สำคัญข้อที่ตนพึงพักอยู่ในที่อื่น นี้เป็นผู้กล้าจริงหนอ!
เมื่ออาจารย์ยังมีชีวิต เธอถึงเรียนเอาพระวินัยปิฎก และอรรถกถาหลายครั้งแล้ว
ก็ตาม ก็ไม่ควรสลัดทิ้งเสีย ควรฟังเป็นนิตยกาล ควรสาธยายทุกกึ่งปี. ใน
กาลแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้หนักในพระวินัยอย่างนั้น วันหนึ่ง พระอุปติสสเถระ
นั่งพรรณนาบาลีประเทศนี้ในปฐมปาราชิกสิกขาบท แก่เหล่าอันเตวาสิก ๕๐๐
รูป ซึ่งมีพระมหาปทุมเถระเป็นประมุขอยู่.
[เรื่องอันเตวาสิกถามปัญหาวินัยพระเถระ]
พวกอันเตวาสิก ถามพระอุปติสสเถระนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ !
ในเพราะซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก เป็นปาราชิก. ในเพราะซากศพ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 827
ที่สัตว์กัดกินโดยมาก เป็นถุลลัจจัย, ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่ง
พึงเป็นอาบัติอะไร ?
พระเถระ กล่าวว่า อาวุโส! ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อ
จะทรงบัญญัติปาราชิก หาทรงบัญญัติให้มีส่วนเหลือไว้ไม่ ทรงรวบเอาเขต
ปาราชิกทั้งหมดไม่ให้มีส่วนเหลือเลย ทรงตัดช่องทางแล้วบัญญัติปาราชิกใน
วัตถุแห่งปาราชิกทีเดียว, จริงอยู่ สิกขาบทนี้ เป็นโลกวัชชะ ไม่ใช่เป็น
ปัณณัตติวัชชะ ; เพราะเหตุนั้น ถ้าว่า ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่ง
พึงเป็นปาราชิกไซร้, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็พึงทรงบัญญัติปาราชิกไว้, แต่
ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่งนี้ ฉายาปาราชิก ย่อมไม่ปรากฏ ปรากฏ
เฉพาะแต่ถุลลัจจัยเท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงบัญญัติปาราชิกไว้ในเพราะ
สรีระที่ตายแล้ว ก็ทรงตั้งปาราชิกไว้ในเพราะซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดย
มาก, ต่อจากซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมากนั้นไป ทรงบัญญัติถุลลัจจัย
เพื่อแสดงว่า ไม่มีปาราชิก จึงทรงตั้งถุลลัจจัยไว้ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกิน
แล้วโดยมาก, ถัดจากซากศพที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมากนั้นไป พึงทราบว่า
เพื่อแสดงว่า ไม่มีถุลลัจจัย.
ก็ขึ้นชื่อว่า ซากศพที่สัตว์กัดกินและยังมิได้กัดกินนั้น ควรเข้าใจ
เฉพาะในสรีระที่ตายแล้วเท่านั้น ไม่ควรเข้าใจในสรีระที่ยังเป็นอยู่. เพราะว่า
ในสรีระที่ยังเป็นอยู่ เมื่อเนื้อหรือเอ็น แม้มีประมาณเท่าหลังเล็บยังมีอยู่ ย่อม
เป็นปาราชิกทีเดียว. แม้หากว่า นิมิตถูกสัตว์กัดกินแล้วโดยประการทั้งปวง
ผิวหนังไม่มี, แต่สัณฐานนิมิต ยังปรากฏอยู่, สำเร็จการสอด (องคชาต) เข้า
ไป, เป็นปาราชิกเหมือนกัน. ก็เมื่อสัปเหร่อตัดที่นิมิตทั้งหมดออกไม่ให้มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 828
สัณฐานนิมิตเหลือเลย ถากเถือชำแหละออกโดยรอบ ย่อมเป็นถุลลัจจัย ด้วย
อำนาจสังเขปว่าเป็นแผล. เมื่อภิกษุพยายามที่ชิ้นเนื้อ ซึ่งตกไปจากนิมิตนั้น
เป็นทุกกฏ.
ส่วนในสรีระที่ตายแล้ว หากว่าสรีระทั้งหมด ถูกสัตว์กัดกินแล้วบ้าง,
ยังมิได้กัดกินบ้าง, แต่มรรคทั้ง ๓ สัตว์ยังมิได้กัดกิน, เมื่อภิกษุพยายามใน
มรรคทั้ง ๓ นั้น ย่อมเป็นปาราชิก. ในเพราะสรีระที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก
เป็นปาราชิกทีเดียว. ในเพราะสรีระที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่งและที่กัดกินแล้วโดย
มาก เป็นถุลลัจจัย. เมื่อภิกษุสอดองคชาตเข้าไปที่ตา จมูก ช่องหู หัวไส้
และฝักองคชาต หรือที่บาดแผลซึ่งถูกฟันด้วยศัสตราเป็นต้น ในสรีระที่ยัง
เป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยความกำหนัดในเมถุน แม้เพียงเมล็ดงาเดียว
ก็เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. เมื่อสอดเข้าไปในอวัยวะทั้งหลายมีรักแร้ เป็นต้น
ในสรีระที่เหลือ เป็นทุกกฏ. เมื่อสอดเข้าไปในซากศพที่สรีระยังสดอยู่ ในเขต
แห่งปาราชิก เป็นปาราชิก, ในเขตแห่งถุลลัจจัย เป็นถุลลัจจัย, ในเขตแห่งทุกกฏ
เป็นทุกกฏ. แต่ในกาลใด สรีระเป็นของขึ้นพอง สุกปลั่ง มีแมลงวันหัวเขียว
ไต่ตอม มีหมู่หนอนคราคร่ำ ใคร ๆ ไม่อาจแม้จะเข้าไปใกล้ได้ เพราะเป็น
ซากศพที่มีหนองไหลออกทั่วไปจากปากแผลทั้ง ๙ แห่ง, ในกาลนั้น วัตถุแห่ง
ปาราชิกและวัตถุแห่งถุลลัจจัย ย่อมละไป, เมื่อภิกษุพยายามในสรีระเช่นนั้น
แห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นทุกกฏอย่างเดียว. เมื่อพยายามในจมูกของสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้งหลาย (ที่ตายแล้ว) มีช้าง ม้า โค แพะ อูฐ และกระบือเป็นต้น เป็นถุลลัจจัย.
เมื่อพยายามในหัวไส้และฝัก องคชาตเป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. เมื่อพยายามใน
ตา หู และบาดแผลของสัตว์ดิรัจฉานแม้ทั้งหมด (ที่ตายแล้ว) เป็นทุกกฏ,
แม้ในสรีระที่เหลือนี้ ก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน. เมื่อพยายามในสรีระที่ยังสดของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 829
สัตว์ดิรัจฉานที่ตายแล้ว ในเขตแห่งปาราชิก เป็นปาราชิก, ในเขตแห่งถุลลัจ-
จัย เป็นถุลลัจจัย, ในเขตแห่งทุกกฏ เป็นทุกกฏ. เมื่อพยายามในซากศพที่
สุกปลั่ง เป็นทุกกฏ ในที่ทุกแห่งโดยนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องต้นนั่นเอง. ภิกษุ
เมื่อไม่ได้สอดหัวไส้และฝักองคชาตของบุรุษผู้ยังเป็นอยู่เข้าไป ด้วยความกำ-
หนัดในอันเคล้าคลึงกายหรือด้วยความกำหนัดในเมถุน แต่ทำนิมิตถูกต้องที่
นิมิต เป็นทุกกฏ. เมื่อไม่ได้สอด (องคชาตของตน) เข้าไปในนิมิตของหญิง
ด้วยความกำหนัดในเมถุน แต่ทำนิมิตกับนิมิตถูกต้องกัน เป็นถุลลัจจัย.
ส่วนในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวว่า ภิกษุถูกต้องนิมิตของหญิงด้วย
ปาก ด้วยความกำหนัดในเมถุน เป็นถุลลัจจัย. เพราะความไม่แปลกกันแห่ง
เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ จับแม่โคทั้งหลายกำลังข้ามแม่น้ำอจิรวดี
ที่เขาบ้าง ที่หูบ้าง ที่คอบ้าง ที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีจิตกำหนัดถูกต้อง
องคชาตโคบ้าง* ดังนี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส ในจัมมขันธกะว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! อนึ่ง องคชาตอันภิกษุมีจิตกำหนัด ไม่พึงถูกต้อง, ภิกษุใด
พึงถูกต้อง, ภิกษุนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย. บัณฑิตควรเทียบเคียงคำนั้นแม้ทั้ง
หมดดูแล้ว ถือเอาโดยอาการที่ไม่ผิดเถิด.
ก็คำนั้น ไม่ผิดอย่างไร ? ไม่ผิดอย่างนี้ คือ :- ได้ยินว่า ในคำที่
ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาก่อนว่า ถูกต้องด้วยปาก ด้วยความกำหนัดใน
เมถุน ปากคือนิมิต ท่านประสงค์ว่า ปาก. ก็เนื้อความนี้แล บัณฑิตพึง
ทราบว่า เป็นความประสงค์ในมหาอรรถกถานั้น แม้เพราะท่านกล่าวว่า ด้วย
ความกำหนัดในเมถุน. จริงอยู่ ความพยายามในเมถุน ด้วยปากธรรมดาใน
นิมิตของหญิงหามีไม่. บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
* วิ. มหา. ๕/๒๓-๒๔
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 830
ทรงหมายเอาภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้ขี่หลัง (แม่โค) แล้วถูกต้ององคชาตโค ด้วย
องคชาต (ของตน) ด้วยความกำหนัดในเมถุน จึงตรัสถุลลัจจัยไว้แม้ในขันธกะ.
อันที่จริงเมื่อถูกต้องโดยประสงค์อย่างอื่น เป็นทุกกฏ.
ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวไว้ว่า แม้ในขันธกะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาการถูกต้องด้วยปากธรรมดา จึงตรัสว่า เป็นถุลลัจจัย เพราะความ
เป็นกรรมที่หยาบ, แม้ในอรรถกถา ท่านก็ถือพระสูตรที่ตรัสหมายถึงกรรม
หยาบนั้นแล จึงกล่าวว่า ภิกษุถูกต้องด้วยปากธรรมดา ด้วยความกำหนัดใน
เมถุน เป็นถุลลัจจัย ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ในคำวินิจฉัยทั้งสองควรกำหนด
ให้ดีแล้วเชื่อถือแต่คำวินิจฉัยที่ถูกต้องกว่า.
แต่นักปราชญ์ทั้งหลายผู้รู้พระวินัย ย่อมสรรเสริญคำวินิจฉัยข้อแรก.
ก็เมื่อภิกษุผู้ถูกต้องนิมิตของหญิง ด้วยปากธรรมดาก็ดี ด้วยปากคือนิมิตก็ดี
ด้วยความกำหนัดในอันเคล้าคลึงกาย เป็นสังฆาทิเสส. เมื่อถูกต้องปัสสาวมรรค
ของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ด้วยปากคือนิมิตเป็นถุลลัจจัย โดยนัยดังที่กล่าวแล้ว
นั่นแล เมื่อถูกต้องด้วยความกำหนัดในอันเคล้าคลึงกาย เป็นทุกกฏ ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยจตุกกะ ๒๖๙ จตุกกะที่เหลือ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 831
กถาว่าด้วยองคชาตมีเครื่องลาดและไม่มี
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงนำ ๒๗๐ จตุกกะมาแล้ว เพื่อรักษา
ภิกษุผู้ปฏิบัติ ด้วยประการอย่างนี้ บัดนี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นว่า บาปภิกษุ
เหล่าใดในอนาคต จักแกล้งอ้างเลศว่า อุปาทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่มีชีวิต)
อะไร ๆ อันอุปมทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่มีชีวิต) จะถูกต้ององคชาตที่ลาด
แล้วนี้ หามีไม่, ในการที่ไม่ถูกต้องนี้จะมีโทษอย่างไรเล่า?, บาปภิกษุเหล่านั้น
จักไม่มีที่พึ่งในศาสนาอย่างนี้ ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแยกแสดง บรรดาจตุกกะ
๒๗๐ จตุกกะเหล่านั้น แต่ละจตุกกะ โดยความต่างแห่งองคชาตที่ลาดแล้ว
เป็นต้น ๔ อย่าง จึงตรัสคำว่า พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาใน
สำนักของภิกษุ แล้วให้นั่งทับองคชาตด้วยวัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค
ของหญิงที่มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น ในสองบทเป็นต้นว่า สนฺถตาย อสนฺถตตสฺส
พึงทราบโยชนาโดยนัยนี้ว่า ให้นั่งทับองคชาตของภิกษุที่ไม่มีเครื่องลาด ด้วย
วัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค ของหญิงที่มีเครื่องลาด. บรรดามรรค
ทั้ง ๓ มรรคใดมรรคหนึ่งของหญิง ที่ชื่อว่ามีเครื่องลาด ในบรรดามรรคที่มี
เครื่องลาดและไม่มีเครื่องลาดเหล่านั้น ได้แก่มรรคที่เขาเอาผ้าหรือใบไม้
เปลือกปอหรือหนัง หรือแผ่นดีบุกและสังกะสีเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง พัน
หรือสอดเข้าไปสวมไว้ในภายใน. องคชาตของชาย ที่ชื่อว่ามีเครื่องลาดนั้น
ได้แก่ องคชาตที่เขาเอาบรรดาวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มีผ้าเป็นต้นเหล่านั้น
นั่นเองมาสวมไว้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 832
ในมรรคทั้ง ๓ เหล่านั้น อนุปาทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่ไม่มีใจครอง)
กับอุปาทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่มีใจครอง) จะกระทบกันก็ตาม อุปาทินนกะ
กับอนุปาทินนกะจะกระทบกันก็ตาม อนุปาทินนกะกับอนุปาทินนกะจะกระทบ
กันเองก็ตาม อุปาทินนกะกับอุปาทินนกะจะกระทบกันเองก็ตาม ถ้าองคชาต
เข้าไปตลอดประเทศที่พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า เมื่อองคชาตเข้าไปแล้ว
เป็นปาราชิก ดังนี้ไซร้ เมื่อภิกษุยินดีในทุก ๆ มรรค ในเขตแห่งปาราชิก
เป็นปาราชิก ในเขตแห่งถุลลัจจัย เป็นถุลลัจจัย ในเขตแห่งทุกกฏ เป็นทุกกฏ
ทีเดียว.
ถ้านิมิตหญิงเขาสวมปลอกกันไว้ เมื่อภิกษุกระทบปลอก มีทุกกฏ.
ถ้านิมิตของชายเขาสวมปลอกกันไว้ เมื่อภิกษุสอดปลอกเข้าไปเป็นทุกกฏ. ถ้า
นิมิตทั้งสองเขาสวมปลอกกันไว้ เมื่อภิกษุกระทบปลอกกับปลอก เป็นทุกกฏ.
ถ้าเขาเอาบรรดาวัตถุมีปล้องไม้ไผ่และไม้อ้อเป็นต้นไร ๆ สวมไว้ในนิมิตของ
หญิง แม้หากภิกษุสอด (องค์กำเนิด) เข้าไปถูกส่วนภายใต้แห่งวัตถุที่สวมไว้
นั้น เพียงเท่าเมล็ดงาเดียว เป็นปาราชิก หากสอดเข้าไปถูกส่วนเบื้องบนก็ดี
ถูกข้าง ๆ หนึ่ง บรรดาข้างทั้งสองก็ดี เป็นปาราชิก เมื่อสอดเข้าไปไม่ให้ถูก
ข้างทั้ง ๔ แม้หากถูกพื้นภายในแห่งไม้ไผ่และไม้อ้อเป็นต้นนั้น ก็เป็นปาราชิก.
ก็ถ้าว่าสอดเข้าไปไม่ให้ถูกที่ข้างหรือที่พื้น ให้เชิดไปในอากาศอย่างเดียวแล้ว
ชักออก เป็นทุกกฏ ถูกต้องปลอกในภายนอก เป็นทุกกฏเหมือนกัน. บัณฑิต
พึงทราบลักษณะในทุก ๆ มรรคมีวัจจมรรคเป็นต้น เหมือนอย่างที่ท่านกล่าว
ไว้ในนิมิตหญิงฉะนั้นแล.
จบสันถตะจตุกกะปเภทกถา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 833
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสประเภทแห่งสันถตจตุกกะอย่างนั้นแล้ว
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงประเภทนั้น (ซ้ำอีก) เพราะเหตุที่พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก
หาใช่จะนำชนมีมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นมาในสำนักของภิกษุอย่างเดียวไม่ โดยที่แท้
ยังนำแม้ภิกษุมาในสำนักของมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นเหล่านั้น จึงทราบนำจตุกกะ
เหล่านั้นทั้งหมดมาแสดงซ้ำอีก โดยนัยมีอาทิว่า พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกนำภิกษุ
มาในสำนักของมนุษย์ผู้หญิง ดังนี้. ในจตุกกะเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย
โดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเทียวแล.
จบการพรรณนาความต่างแห่งจตุกกะ ด้วยอำนาจภิกษุผู้เป็นข้าศึก
เรื่องพระราชาและโจรผู้เป็นข้าศึกต่อภิกษุเป็นต้น
ก็เพราะพวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกย่อมกระทำอย่างที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้
นั่นแล แม้อิสรชนมีพระราชาผู้เป็นข้าศึกเป็นต้น ก็ทรงกระทำ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงประเภทนั้น จึงตรัสคำว่า ราชปจฺจตฺถิกา
เป็นต้น.
ในคำว่า ราชปจฺจตฺถิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ข้าศึก
ทั้งหลาย คือ พระราชา ชื่อว่าราชปัจจัตถิกา (พระราชาผู้เป็นข้าศึก) ก็พระราชา
เหล่านั้น ทรงนำมาเองบ้าง ให้คนเหล่าอื่นนำมาบ้าง (ซึ่งมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้น)
พึงทราบว่า ทรงนำมาทั้งนั้น. ข้าศึกทั้งหลาย คือโจร ชื่อว่า โจรปัจจัตถิกา
(โจรผู้เป็นข้าศึก).
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 834
ชนชาวเมืองและบุรุษผู้ทำการหลอกลวง ซึ่งขวนขวายในการเล่นเนื่อง
ด้วยเมถุนก็ดี นักเลงหญิงและนักเลงสุราเป็นต้นก็ดี ชื่อว่า นักเลง. ข้าศึก
ทั้งหลาย คือ นักเลงชื่อว่า ธุตตปัจจัตถิกา (นักเลงผู้เป็นข้าศึก).
หทัย ท่านเรียกว่า คันธ.* พวกข้าศึกที่ชื่อว่า อุปปลคันธะ เพราะ
อรรถว่า ชำแหละหทัยนั้น. ข้าศึกทั้งหลาย คือ ผู้ตัดหัวใจ ชื่อว่า อุปปล-
คันธปัจจัตถิกา.
[ข้าศึกสังหารภิกษุเซ่นไหว้เทวดาเพื่อสำเร็จการงาน]
ได้ยินว่า ข้าศึกผู้ตัดหัวใจเหล่านั้น หาได้เป็นอยู่ด้วยกสิกรรม และ
พาณิชยกรรมเป็นต้นไม่ พากันทำโจรกรรมมีการปล้นคนเดินทางเป็นต้น
เลี้ยงบุตรและภรรยา. เขาเหล่านั้น เมื่อต้องการความสำเร็จแห่งการงานได้
เซ่นไหว้ต่อเหล่าเทวดาไว้ จึงได้ชำแหละหทัยของพวกมนุษย์ไป เพื่อบวงสรวง
แก่เทวดาเหล่านั้น. ก็พวกมนุษย์ เป็นผู้หาได้ยากตลอดกาลทุกเมื่อ ส่วนพวก
ภิกษุผู้พำนักอยู่ในป่า ย่อมหาได้ง่าย. เหล่านั้นจับเอาภิกษุผู้มีศีลแล้ว ได้
สำนึกอยู่ว่า ชื่อว่าการฆ่าผู้มีศีล ย่อมเป็นของหนัก เพื่อจะทำลายศีลของภิกษุ
นั้น ให้พินาศไป จึงนำมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นมา หรือนำภิกษุนั้นไปในสำนัก
ของมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นนั้น.
ในเรื่องว่าด้วยพระราชาผู้เป็นข้าศึกเป็นต้นนี้ มีความแปลกกันเท่านี้.
เรื่องที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. และพึงทราบจตุกกะ
ทั้งหลายในวาระแม้ทั้ง ๔ เหล่านี้ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วในภิกขุปัจจัตถิกาวาระ
นั่นเอง. แต่ในพระบาลี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วโดยย่อ.
จบกถาว่าด้วยประเภทแห่งจตุกกะ โดยอาการทั้งปวง.
* ฟุตโน้ต ปฐมปาราชิกวณฺณนา หน้า ๓๒๑ ว่า อุปฺปลนฺติ วุจฺจติ หทย หทัยเรียกว่า อุบล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 835
เรื่องภิกษุเสพเมถุนธรรมทางมรรคและมิใช่มรรค
บัดนี้ เพื่อความไม่งมงายในคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อ
ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรคทั้ง ๓ ของมนุษย์ผู้เป็นหญิง เป็นต้น พระอุบาลี-
เถระจึงกล่าวคำว่า มคฺเคน มคฺค เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มคฺเคน มคฺค ความว่า ภิกษุ
สอดองคชาตของตนเข้าไปทางบรรดามรรคทั้ง ๓ ของหญิง มรรคใดมรรคหนึ่ง.
อีกอย่างหนึ่ง บรรดามรรคทั้ง ๒ ที่ระคนกัน ภิกษุสอดวัจจมรรคเข้าไปทาง
ปัสสาวมรรค หรือสอดปัสสาวมรรคเข้าไปทางวัจจมรรค.
สองบทว่า มคฺเคน อมคฺค ความว่า ครั้นสอดเข้าไปทางปัสสาวมรรค
เป็นต้นแล้ว จึงชักออกมาทางบาดแผล โดยรอบแห่งมรรคนั้น.
สองบทว่า อมคฺเคน มคฺค ความว่า ครั้นสอดเข้าไปทางบาดแผล
โดยรอบแล้ว จึงชักออกทางมรรค.
สองบทว่า อมคฺเคน อมคฺค บรรดาบาดแผลทั้ง ๒ ที่ระคนกัน
ครั้นสอดเข้าไปทางบาดแผลที่หนึ่งแล้ว จึงชักออกทางบาดแผลที่สอง. ในการ
กำหนดว่าเป็นบาดแผล พึงทราบว่า เป็นถุลลัจจัย ในที่ทุกแห่งด้วยอำนาจ
อนุโลมตามพระสูตรนี้.
[ภิกษุเสพเมถุนธรรมในทวารของภิกษุหลับไม่พ้นอาบัติ]
บัดนี้ เพื่อความไม่งมงายในพระดำรัสที่จักตรัสไว้ข้างหน้าว่า เมื่อภิกษุ
ไม่รู้ ไม่ยินดี ไม่เป็นอาบัติ พระอุบาลีเถระจึงกล่าวคำว่า ภิกฺขุ สุตฺตภิกฺขุมฺหิ
เป็นต้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 836
ในคำว่า ภิกฺขุ เป็นต้นนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- ภิกษุรูปใด
ตื่นขึ้นแล้วยินดี ภิกษุรูปนั้น พูดว่า เธอรูปนี้ ปฏิบัติผิดในข้าพเจ้าผู้หลับ
ข้าพเจ้าไม่รู้สึกตัว ย่อมไม่พ้น (จากอาบัติ). ก็ในสองบทว่า อุโภ นาเสตพฺพา
นี้ ความว่า พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียแม้ทั้ง ๒ รูป ด้วยลิงคนาสนะ.
บรรดาผู้ประทุษร้ายและผู้ถูกประทุษร้ายทั้ง ๒ รูปนั้น ผู้ประทุษร้าย
ไม่มีการทำปฏิญญา แต่ผู้ถูกประทุษร้าย พระวินัยธรสอบถามแล้ว พึงให้
นาสนะเสียด้วยคำปฏิญญา ถ้าเธอไม่ยินดี ไม่ควรให้นาสนะ. แม้ในวาระ
สามเณร ก็นัยนี้.
[ภิกษุผู้ถูกปฏิบัติผิดไม่รู้ ไม่ยินดี ไม่เป็นอาบัติ]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอาบัติและอาบัตินั้น ๆ ในวาระ
นั้น ๆ อย่างนั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอนาบัติอย่างเดียว จึงตรัสคำว่า
อนาปตฺติ อชานนฺตสฺส เป็นต้น.
ในคำว่า อชานนฺตสฺส เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุรูปที่
ชื่อว่า ผู้ไม่รู้สึกตัวนั้น ได้แก่ ผู้ที่หยั่งลงสู่ความหลับอย่างมาก ย่อมไม่รู้สึก
แม้ความพยายามที่คนอื่นทำแล้ว ภิกษุเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติเหมือนภิกษุ
ผู้ไปพักกลางวันในป่ามหาวัน ใกล้เมืองไพศาลีฉะนั้น. สมจริงดังคำที่พระธรรม
สังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ภิกษุกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้สึกตัว พระ-
พุทธเจ้าข้า ! พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ! เมื่อภิกษุไม่รู้สึกตัว ไม่เป็น
อาบัติ.
ภิกษุที่ชื่อว่าไม่ยินดีนั้น ได้แก่ ผู้ที่แม้รู้สึกตัวแล้ว ก็ไม่ยินดี, ภิกษุ
เห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ เหมือนภิกษุผู้รีบลุกขึ้นทันทีในป่ามหาวัน ใกล้
เมืองไพศาลีนั้นนั่นเอง ฉะนั้น. สมจริงดังคำที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 837
ไว้ว่า ภิกษุกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า !, พระองค์
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ! เมื่อไม่ยินดี ไม่เป็นอาบัติ.
[ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุบ้าและมีจิตฟุ้งซ่าน]
ภิกษุเป็นบ้าเพราะดี (กำเริบ) ชื่อว่า เป็นบ้า. จริงอยู่ ดีมี ๒ อย่าง
คือ ดีที่มีฝัก ๑ ดีที่ไม่มีฝัก ๑. ดีที่ไม่มีฝัก ซึมซาบไปทั่วสรรพางค์ ดุจ
โลหิตฉะนั้น. เมื่อดีที่ไม่มีฝักนั้นกำเริบ พวกสัตว์ ย่อมมีสรีระสั่นเทาไป
เพราะหิดเปื่อยและหิดตอเป็นต้น. หิดเปื่อยและหิดตอเป็นต้นเหล่านั้น จะหาย
ได้เพราะการทายา. ส่วนดีที่มีฝักตั้งอยู่ในฝักของดี. เมื่อดีที่มีฝักนั้นกำเริบ
พวกสัตว์ย่อมเป็นบ้า.
ภิกษุผู้มีสัญญาวิปลาส (มีความจำคลาดเคลื่อน) ละทิ้งหิริและโอต-
ตัปปะเสียแล้ว ย่อมเที่ยวประพฤติกรรมที่ไม่ควร. แม้ย่ำยีสิกขาบททั้งเบา
และหนักอยู่ ก็ไม่รู้สึกตัว. ชื่อว่าเป็นผู้แก้ไขไม่ได้ แม้เพราะการเยียวยา;
ภิกษุผู้เป็นบ้าเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ.
ภิกษุชื่อว่า มีจิตฟุ้งซ่าน ได้แก่ ผู้ปล่อยจิต (ไปตามอารมณ์) ท่าน
เรียกว่า เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิง. ได้ยินว่า พวกยักษ์แสดงอารมณ์ทั้งหลาย
ที่น่ากลัว หรือสอดมือเข้าทางปากแล้ว บีบคั้นหทัยรูป กระทำพวกสัตว์ให้มี
ความจำคลาดเคลื่อน. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่านเห็นปานนั้นไม่เป็นอาบัติ.
ส่วนความแปลกกันแห่งภิกษุผู้เป็นบ้าสองพวกนั้น มีดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุเป็นบ้าเพราะดี (กำเริบ) จัดว่าเป็นบ้าตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว ไม่ได้
สัญญาตามปกติ. ผู้เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิง ยังกลับได้สัญญาตามปกติในบาง
ครั้งบางคราวบ้าง. แต่ในปฐมปาราชิกสิกขาบทนี้ ผู้เป็นบ้าเพราะดี (กำเริบ)
ก็ดี ผู้เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิงก็ดี จะยกไว้, ภิกษุรูปใด หลงลืมสติโดย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 838
ประการทั้งปวง วัตถุอะไร ๆ จะเป็นไฟก็ตาม ทองก็ตาม คูถก็ตาม แก่นจันทน์
ก็ตาม ก็ไม่รู้จัก ย่อมเที่ยวย่ำเหยียบเป็นเช่นเดียวกันหมด, ภิกษุบ้าเห็นปาน
นั้น ไม่เป็นอาบัติ แต่เมื่อกลับได้สัญญาขึ้นในบางครั้งบางคราว แล้วทำทั้ง
ที่รู้เป็นอาบัติทีเดียว.
ภิกษุชื่อว่ากระสับกระส่ายเพราะเวทนานั้น ได้แก่ ผู้ที่ทุรนทุรายเพราะ
ทุกขเวทนาเกินประมาณ ย่อมไม่รู้สึกอะไร ๆ, ภิกษุเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ.
ภิกษุชื่อว่า อาทิกัมมิกะนั้น ได้แก่ ผู้เป็นต้นเดิมในกรรมนั้น ๆ.
ส่วนในปฐมปาราชิกสิกขาบทนี้ พระสุทินนเถระ เป็นอาทิกัมมิกะ, พระเถระ
นั้น ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ มีสมณะผู้เสพเมถุนกับนางลิง และ
ภิกษุชาววัชชีบุตรเป็นต้น เป็นอาบัติทีเดียว ฉะนั้นแล.
พรรณนาบทภาชนีย์จบ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 839
สมุฏฐานที่เกิดแห่งอาบัติ มี ๖ อย่าง
อนึ่ง เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบทนี้ พึงทราบปกิณกะนี้ว่า
สมุฏฐาน ๑ กิริยา ๑ สัญญา ๑ สจิตตกะ ๑
โลกวัชชะ ๑ กรรมและกุศลพร้อมด้วยเจตนา ๑.
ในปกิณกะเหล่านั้น ที่ชื่อว่าสมุฏฐานนั้น ได้แก่สมุฏฐานแห่ง
สิกขาบทมี ๖ ด้วยอำนาจประมวลทั้งหมด. สมุฏฐานเหล่านั้น จักมีแจ้งใน
คัมภีร์บริวาร. แต่เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ขึ้นชื่อว่าสิกขาบทมีสมุฏฐาน ๖ ก็มี
มีสมุฏฐาน ๔ ก็มี มีสมุฏฐาน ๓ ก็มี มีสมุฏฐานอย่างกฐินสิกขาบทก็มี มี
สมุฏฐานอย่างเอฬกโลกสิกขาบทก็มี มีสมุฏฐานอย่างธุรนิกเขปสิกขาบทก็มี.
แม้ในสิกขาบทนั้นเล่า บางสิกขาบท เกิดเพราะทำ บางสิกขาบท
เกิดเพราะไม่ทำ บางสิกขาบท เกิดเพราะทำและไม่ทำ บางสิกขาบท บาง
คราวเกิดเพราะทำ บางคราวเกิดเพราะไม่ทำ บางสิกขาบท บางคราวเกิด
เพราะทำ บางคราวเกิดเพราะทั้งทำและไม่ทำ.
[อธิบายสิกขาบทที่เป็นสจิตตกะและอจิตตกะ]
แม้บรรดาสิกขาบทเหล่านั้น สิกขาบทที่เป็นสัญญาวิโมกข์ก็มี ที่เป็น
โนสัญญาวิโมกข์ก็มี. ในสิกขาบทที่เป็นสัญญาวิโมกข์และโนสัญญาวิโมกข์
เหล่านั้น สิกขาบทใด ได้องค์คือจิตด้วย. สิกขาบทนั้น เป็นสัญญาวิโมกข์,
นอกนี้ เป็นโนสัญญาวิโมกข์. สิกขาบทที่เป็นอจิตตกะก็มี ที่เป็นสจิตตกะก็มี
อีก. สิกขาบทใด ต้องพร้อมด้วยจิตเท่านั่น สิกขาบทนั้น เป็นจิตตกะ.
สิกขาบทใด แม้เว้นจากจิตก็ต้อง, สิกขาบทนั้น เป็นอจิตตกะ. สิกขาบทนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 840
แม้ทั้งหมดเป็น ๒ อย่างคือ เป็นโลกวัชชะ ๑ เป็นปัณณัตติวัชชะ ๑ ลักษณะ
แห่งสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะและปัณณัตติวัชชะนั้น ได้กล่าวแล้ว.
[อธิบายสิกขาบทที่เป็นกายกรรมเป็น]
อนึ่ง เมื่อว่าแม้ด้วยอำนาจกรรม กุศลและเวทนาแล้ว บรรดา
สิกขาบทเหล่านี้ สิกขาบทที่เป็นกายกรรมก็มี ที่เป็นวจีกรรมก็มี. ในกายกรรม
และวจีกรรมเหล่านั้น สิกขาบทใด เป็นไปทางกายทวาร สิกขาบทนั้น พึง
ทราบว่า เป็นกายกรรม, สิกขาบทใด เป็นไปทางวจีทวาร สิกขาบทนั้น
พึงทราบว่า เป็นวจีกรรม.
อนึ่ง สิกขาบทที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี.
จริงอยู่ จิตที่ให้เกิดอาบัติมา ๓๒ ดวงเท่านั้น คือ กามาวจรกุศลจิต ๘ อกุศล
จิต ๑๒ กามาวจรกิริยาจิต ๑๐ อภิญญาจิต ๒ โดยกุศลและกิริยา. ในจิต
เหล่านั้น สิกขาบทใด ต้องด้วยกุศลจิต สิกขาบทนั้นเป็นกุศล, สิกขาบทใด
ต้องด้วยจิตนอกนี้ สิกขาบทนั้น เป็นฝ่ายนอกจากนี้.
อนึ่ง สิกขาบทมีเวทนา ๓ ก็มี มีเวทนา ๒ ก็มี มีเวทนาเดียวก็มี.
ในสิกขาบทเหล่านั้น เมื่อต้องสิกขาบทใด เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบรรดาเวทนา
๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงต้อง, สิกขาบทนั้น พึงทราบว่ามีเวทนา ๓. เมื่อ
ภิกษุจะต้องสิกขาบทใด เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยสุข หรือเป็นผู้พร้อมเพรียง
ด้วยอุเบกขา จึงต้อง, สิกขาบทนั้น พึงทราบว่า มีเวทนา ๒. เมื่อภิกษุจะ
ต้องสิกขาบทใด เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยทุกขเวทนาเท่านั้น จึงต้อง สิกขาบท
นั้น พึงทราบว่า มีเวทนาเดียว. ครั้นได้ทราบปกิณกะนี้ คือ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 841
สมุฏฐาน ๑ กิริยา ๑ สัญญา ๑ สจิตตกะ ๑
โลกวัชชะ ๑ กรรมและกุศลพร้อมด้วยเวทนา ๑
อย่างนี้แล้ว พึงทราบว่า บรรดาปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้นนั้น สิกขาบทนี้
ว่าโดยสมุฏฐานมีสมุฏฐานเดียว, ว่าด้วยอำนาจองค์เกิดด้วยองค์ ๒ คือเกิด
เพราะกายกับจิต, และสิกขาบทนี้เกิดเพราะทำ, จริงอยู่ เมื่อทำอยู่เท่านั้น จึง
ต้องอาบัตินั้น; เป็นสัญญาวิโมกข์ เพราะพ้นด้วยไม่มีกามสัญญา ซึ่งปฏิสังยุต
ด้วยเมถุน, จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้สึก
ไม่ยินดี; เป็นสจิตตกะ เพราะภิกษุต้องอาบัตินั้น ด้วยจิตปฏิสังยุตด้วยเมถุน
เท่านั้น เว้นจากจิตไม่ต้อง; เป็นโลกวัชชะ เพราะจะพึงต้องอาบัตินั้นด้วย
อำนาจราคะกล้าเท่านั้น; เป็นกายกรรม เพราะเกิดทางกายทวารเท่านั้น, ส่วน
จิตสักว่าเป็นองค์ในสิกขาบทนี้, จะจัดเป็นกรรม ด้วยอำนาจจิตนั้นไม่ได้;
เป็นอกุศลจิต เพราะจะพึงต้องด้วยโลภจิต ; มีเวทนา ๒ เพราะว่า ภิกษุ
มีความพร้อมเพรียงด้วยสุข หรือมีความพร้อมเพรียงด้วยอุเบกขา จึงต้องอา-
บัตินั้น.
ก็แล ปกิณกะทั้งปวงมีสมุฏฐานเป็นต้นนี้ ย่อมสมในอาบัติ. แต่
ในอรรถกถาทั้งปวง ท่านยกขึ้นแสดงด้วยหัวข้อสิกขาบท; เพราะฉะนั้น จึง
ต้องกล่าวอย่างนั้น ฉะนี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 842
วินีตวัตถุปฐมปาราชิก
[อุทานคาถา]
ปุจฉาว่า คำประพันธ์เป็นพระคาถาว่า
เรื่องลิงตัวเมีย ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุ
วัชชีบุตร ๑ เรื่อง เรื่องปลอมเป็นคฤหัสถ์ ๑
เรื่อง เรื่องเปลือยกาย ๑ เรื่อง เรื่องปลอม
เป็นเดียรถีย์ ๗ เรื่อง เรื่องเด็กหญิง ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุณีชื่ออุบลวรรณา ๑ เรื่อง เรื่อง
เพศกลับ ๒ เรื่อง เรื่องมารดา ๑ เรื่อง เรื่อง
ธิดา ๑ เรื่อง เรื่องพี่น้องหญิง ๑ เรื่อง เรื่อง
ภรรยา ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุมีหลังอ่อน ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุมีองคชาตยาว ๑ เรื่อง เรื่องบาด
แผล ๒ เรื่อง เรื่องรูปปั้น ๑ เรื่องตุ๊กตา
ไม้ ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชื่อสุนทร ๑ เรื่อง
เรื่องสตรี ๕ เรื่อง เรื่องป่าช้า ๕ เรื่อง เรื่อง
กระดูก ๑ เรื่อง เรื่องนาคตัวเมีย ๑ เรื่อง
เรื่องนางยักษิณี ๑ เรื่อง เรื่องหญิงเปรต ๑
เรื่อง เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุมี
อินทรีย์พิการ ๑ เรื่อง เรื่องจับต้อง ๑ เรื่อง
เรื่องพระอรหันต์ในเมืองภัททิยะหลับ ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุเมืองสาวัตถี ๔ เรื่อง เรื่องภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 843
ชาวมัลละเมืองไพศาลี ๓ เรื่อง เรื่องเปิด
ประตูนอน ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุ-
กัจฉะฝัน ๑ เรื่อง เรื่องอุบาสิกาชื่อว่าสุปัพพา
๙ เรื่อง เรื่องอุบาสิกาชื่อว่า สัทธา ๙ เรื่อง
เรื่องนางภิกษุณี ๑ เรื่อง เรื่องนางสิกขมานา
๑ เรื่อง เรื่องนางสามเณรี ๑ เรื่อง เรื่องหญิง
แพศยา ๑ เรื่อง เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง
เรื่องสตรีคฤหัสถ์ ๑ เรื่อง เรื่องให้ผลัดกัน
๑ เรื่อง เรื่องภิกษุผู้เฒ่า ๑ เรื่อง เรื่องลูก
เนื้อ ๑ เรื่อง, นี้เป็นอย่างไร ?*
วิสัชนาว่า พระคาถาเหล่านี้ ชื่ออุทานคาถาแห่งวินีตวัตถุ คือเรื่อง
นั้น ๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง ซึ่งพระธรรมสังคาหา-
เถระทั้งหลายได้ใฝ่ใจไว้ว่า พระวินัยธรทั้งหลายจักเรียนเอาเรื่องเหล่านั้นได้
สะดวก จึงได้ตั้งไว้. ส่วนวัตถุคาถาพระอุบาลีเถระได้ใฝ่ใจไว้ว่า พระวินัยธร
ทั้งหลาย จักวินิจฉัยวินัยต่อไป (ในอนาคต) ด้วยลักษณะนี้ จึงได้ตั้งไว้ใน
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั่นเอง. เพราะฉะนั้น พระวินัยธร
ควรกำหนดลักษณะที่ตรัสไว้ในวินีตวัตถุนี้ให้ดี แล้วจึงวินิจฉัยปฐมสิกขาบท.
อนึ่ง ทุติยปาราชิกเป็นต้น ก็ควรวินิจฉัยด้วยลักษณะแห่งทุติยปาราชิกเป็นต้น
ที่ตรัสไว้แล้วในวินีตวัตถุทั้งหลาย, จริงอยู่ วินีตวัตถุทั้งหลาย ย่อมเป็นเรื่อง
สำหรับเทียบเคียง ของพระวินัยธรทั้งหลาย ดุจรูปที่เป็นหลักเทียบเคียงของ
พวกนักศิลปิน ฉะนั้น.
* อุทานคาถานี้ ได้แปลไว้เต็มสมบูรณ์ ตามมหาวิภังค์ วินัยปิฎก ๑/๖๒ เพื่อเรืองปัญญาของ
ผู้ใคร่ต่อการศึกษา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 844
บรรดาเรื่องเหล่านั้น สองเรื่องข้างต้น มีเนื้อความดังที่ตรัสไว้แล้ว
ในอนุบัญญัตินั่นเอง.
ในเรื่องที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า คิหิลิงฺเคน คือ เป็นผู้นุ่ง
ห่มผ้าขาวอย่างคฤหัสถ์.
ในเรื่องที่ ๔ ไม่มีคำอะไร ๆ ที่ควรกล่าวไว้.
ในผ้า ๗ ชนิด ถัดจากเรื่องที่ ๔ นั่นไป มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ผ้าที่เขาร้อยหญ้าคาทำ ชื่อว่า ผ้าคากรอง. ผ้าเปลือกไม้ของพวกดาบส
ชื่อว่าผ้าเปลือกปอ. ผ้าที่เขาเย็บทำติดกันเป็นแผ่น มีสัณฐานดังแผ่นกระดาน
ชื่อว่าผ้าทอเป็นแผ่น. ผ้ากัมพลที่เขาเอาเส้นผม (มนุษย์) ทำเป็นเส้นด้ายทอ
ชื่อว่าผ้ากัมพลทำด้วยเส้นผม. ผ้ากัมพลที่เขาทอทำด้วยขนหางสัตว์จามรี ชื่อว่า
ผ้ากัมพลทำด้วยขนหางสัตว์. ผ้านุ่งที่เขาเอาขนปีกนกเค้าทำ ชื่อว่าผ้านุ่งทำ
ด้วยขนปีกนกเค้า. หนังเสือและมฤคพร้อมทั้งขนและกีบเล็บ ชื่อว่าผ้าหนังเสือ.
ในเรื่องที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า สารตฺโต ได้แก่ ผู้มีความกำหนัดด้วยความกำหนัดในอัน
เคล้าคลึงกาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความกำหนัดนั้นแล้ว จึงตรัสว่า
เป็นอาบัติสังฆาทิเสส.
[เรื่องนันทมาณพเสพเมถุนธรรมในนางอุบลวรรณาเถรี]
ในเรื่องที่ ๑๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :- พระเถรีนั้น ชื่อว่าอุบลวรรณา
เป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองสาวัตถี สมบูรณ์ด้วยอภินิหารตั้งแสนกัลป์. แม้
โดยปกติ พระเถรีนั้น มีผิวกาย สีคล้ายดอกอุบลเขียว น่าดูยิ่งนัก. ก็พระเถรีนั้น
ย่อมรุ่งเรืองยิ่งนัก เพราะไม่มีความเร่าร้อนด้วยกิเลสในภายใน. นางได้ชื่อว่า
อุบลวรรณา เพราะความที่นางมีผิวงดงามนั่นเอง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 845
บทว่า ปฏิพพฺธจิตฺโต ความว่า มาณพนั้น มีใจกำหนัดตั้งแต่เวลา
ยังเป็นคฤหัสถ์. ได้ยินว่า นันทมาณพนั้น เป็นชายหนุ่ม ซึ่งเป็นญาติของ
พระเถรีนั้น.
ศัพท์ว่า อถโข เป็นนิบาต ลงในอรรถว่าลำดับ ฯ มีคำอธิบายว่า
ในลำดับแห่งพระเถรีนั่งบนเตียงนั่นแล. จริงอยู่ เวลากลางวัน เมื่อบุคคลมา
จากภายนอกเปิดประตูแล้วนั่ง ความมืดจะมีขึ้น. อธิบายว่า มาณพนั้น ได้ทำ
อย่างนั้นตลอดเวลาที่ความมืดนั้นของพระเถรีนั้น ยังไม่หายไปนั่นเอง.
บทว่า ทูเสสิ แปลว่า ได้ข่มขืนแล้ว. ส่วนพระเถรีเป็นผู้หาโทษ
มิได้ เริ่มตั้งสมณสัญญาไม่ยินดี นั่งอยู่ ถูกความประสงค์อสัทธรรมสัมผัส
ดุจกองเพลิง เสาหินและตอไม้ตะเคียน ฉะนั้น. ฝ่ายนันทมาณพนั้น ครั้นให้
ความพอใจของตนสำเร็จบริบูรณ์แล้วก็ไป.
เมื่อนันทมาณพ ละคลองแห่งการเห็นของพระเถรีนั้นเท่านั้น มหา-
ปฐพีนี้ ถึงจะสามารถธารภูเขาสิเนรุไว้ได้ก็ตาม ก็เป็นเหมือนไม่อาจจะธาร
บุรุษชั่วช้านั้น ซึ่งมีซากกเลวระประมาณวาหนึ่งไว้ได้ จึงแยกช่องให้แล้ว.
ขณะนั้นนั่นเอง เขาได้ถึงความเป็นเชื้อเพลิงแห่งเปลงไฟในอเวจีแล้ว. พระผู้มี
พระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อ
ไม่ยินดีไม่เป็นอาบัติ ทรงหมายเอาพระเถรี ได้ตรัสพระคาถานี้ในธรรมบทว่า
เราเรียกบุคคลผู้ไม่ติดอยู่ในกาม
ทั้งหลาย เหมือนน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว
เหมือนเมล็ดพันธ์ผักกาดไม่ตั้งอยู่บนปลาย
เหล็กแหลม ฉะนั้น ว่าเป็นพราหมณ์*.
* ขุ. ธ. ๒๕/๖๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 846
[เรื่องเพศชายกลับเป็นเพศหญิง]
ในเรื่องที่ ๑๔ มีนิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า อิตฺถีลิงฺค ปาตุภูต ความว่า เมื่อภิกษุนั้น หยั่งลงสู่
ความหลับในเวลากลางคืน อวัยวะทั้งปวงมีหนวดและเคราเป็นต้น ซึ่งเป็น
ทรวดทรงของบุรุษหายไป ทรวดทรงของสตรีเกิดขึ้นแทนที่.
หลายบทว่า ตญฺเว อุปชฺฌ ต อุปสมฺปท ความว่า เราอนุญาต
อุปัชฌายะที่เธอเคยถือมาแล้วในกาลก่อนนั่นเอง (และ) การอุปสมบทที่สงฆ์
ทำไว้ในกาลก่อนเช่นกัน. อธิบายว่า ไม่ต้องถืออุปัชฌายะใหม่ ไม่ต้องให้
อุปสมบทใหม่.
สองบทว่า ตานิ วสฺสานิ ความว่า เราอนุญาตให้นับพรรษา
จำเดิมแต่อุปสมบทเป็นภิกษุมานั้นนั่นแล. อธิบายว่า ไม่ต้องทำการนับพรรษา
ตั้งแต่เพศกลับนี้ไปใหม่.
สองบทว่า ภิกฺขุนีหิ สงฺกมิตุ ความว่า ทั้งเราอนุญาตให้ภิกษุณี
นั้นไปด้วยกัน คือ สมาคมกัน พร้อมเพรียงกันกับภิกษุณีทั้งหลาย. มีคำอธิบาย
ตรัสไว้ดังนี้ว่า บัดนี้ นางภิกษุณีนั้น ไม่ควรอยู่ในท่ามกลางภิกษุทั้งหลาย
จงไปยังสำนักนางภิกษุณี แล้วอยู่ร่วมกับนางภิกษุณีเถิด.
หลายบทว่า ตา อาปตฺติโย ภิกฺขูน ภิกฺขูนีหิ สาธารณา ความว่า
อาบัติเหล่าใด เป็นเทสนาคามินีก็ตาม เป็นวุฏฐานคามินีก็ตาม ที่ทั่วไปแก่
ภิกษุกับนางภิกษุทั้งหลาย.
หลายบทว่า ตา อาปตฺติโย ภิกฺขุนีน สนฺติเก วุฏฺาตุ ความว่า
เราอนุญาตให้ทำวินัยกรรม ซึ่งเหล่าภิกษุณีพึงทำแล้วออกจากอาบัติเหล่านั้น
แม้ทั้งหมด ในสำนักของนางภิกษุณีทั้งหลาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 847
หลายบทว่า ตาหิ อาปตฺตีหิ อนาปตฺติ ความว่า ส่วนอาบัติเหล่าใด
มีสุกกวิสัฏฐิเป็นต้น ของพวกภิกษุ ซึ่งไม่ทั่วไปด้วยนางภิกษุณีทั้งหลาย, ไม่
เป็นอาบัติด้วยอาบัติเหล่านั้น คือ อาบัติเหล่านั้นเป็นอันเธอออกเสร็จแล้วแล
เพราะเพศกลับ. ถึงแม้เพศเดิมกลับเกิดขึ้นอีก คงเป็นอนาบัติแก่เธอด้วยอาบัติ
เหล่านั้นเหมือนกัน. วินิจฉัยบาลีในเรื่องที่ ๑๔ นี้ มีเท่านี้ก่อน.
ส่วนวินิจฉัยท้องเรื่องนอกจากบาลี มีดังต่อไปนี้:-
เริ่มแรกในสองเพศนี้ เพศชาย เป็นอุดมเพศ เพศหญิง เป็นหีนเพศ;
เพราะเหตุนั้น เพศชาย จึงชื่อว่า อันตรธานไป เพราะอกุศลมีกำลังรุนแรง.
เพศหญิงปรากฏขึ้นแทน เพราะกุศลมีกำลังเพลาลง. ส่วนเพศหญิง จะอันตรธาน
ไป ชื่อว่าอันตรธานไป เพราะอกุศลมีกำลังเพลาลง, เพศชายปรากฏขึ้นแทน
เพราะกุศลมีกำลังรุนแรง. เพศทั้งสองอันตรธานไปเพราะอกุศล, กลับได้คืน
เพราะกุศล ด้วยประการฉะนี้.
[ต้องอาบัติเพราะนอนร่วมกับภิกษุผู้มีเพศกลับ]
บรรดาเพศหญิงและเพศชายนั้น ถ้าภิกษุสองรูป ทำการสาธยายหรือ
สนทนาธรรมด้วยกัน จำวัดหลับไปในเรือนหลังเดียวกัน, เพศหญิงปรากฏแก่
ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นอาบัติเพราะนอนร่วมกัน แม้แก่เธอทั้งสอง. ถ้าภิกษุผู้มี
เพศกลับนั้นตื่นขึ้น เห็นประการแปลกนั้นของตนแล้ว มีความทุกข์เสียใจ
พึงบอกแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่งในกลางคืนทีเดียว, เธอจงเป็นผู้อันภิกษุนั้นควร
ปลอบว่า อย่าเสียใจไปเลย, นี้เป็นโทษของวัฏฏะต่างหาก, พระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ก็ได้ประทานช่องทางไว้แล้วว่า จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตามที,
ธรรมอันธรรมดามิได้จำกัด, ทางสวรรค์อันธรรมดามิได้ห้าม.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 848
[วิธีปฏิบัติกับภิกษุณีผู้มีเพศกลับ]
ก็แล ครั้นปลอบแล้ว ควรกล่าวอย่างนี้ว่า สมควรท่านจะไปยังสำนัก
นางภิกษุณี, ภิกษุณีบางเหล่า ซึ่งเป็นเพื่อนเคยเห็นกัน ของท่านมีอยู่หรือ ?
ถ้าเธอมีเหล่าภิกษุณีเช่นนั้น, พึงบอกว่า มี ถ้าไม่มีพึงบอกว่า ไม่มี แล้ว
พึงบอกภิกษุนั้นว่า ท่านโปรดสงเคราะห์ข้าพเจ้าเถิด, จงนำข้าพเจ้าไปยังสำนัก
นางภิกษุณีเดี๋ยวนี้แหละ. ภิกษุนั้น พึงพาเธอไปยังสำนักของนางภิกษุณีทั้งหลาย
ซึ่งเป็นเพื่อนเคยเห็นกันของเธอ หรือเป็นเพื่อนเคยเห็นกันของตนก็ได้ เมื่อ
จะไป ไม่ควรไปรูปเดียว ควรถือเอาตะเกียงและไม้เท้า เปลื้องการตระเตรียม
เสีย ไปร่วมกับภิกษุ ๔-๕ รูป ด้วยพูดว่า พวกเราจะไปยังสถานที่ชื่อโน้น.
ถ้าภายนอกบ้าน มีวัดอยู่ไกล ก็ไม่เป็นอาบัติในระหว่างทางเพราะ
คามันตราบัติ (อาบัติเพราะเดินทางข้ามระยะบ้านหนึ่ง) นทีปราบัติ (อาบัติ
เพราะข้ามฟาก) รัตติวิปปวาสาบัติ (อาบัติเพราะอยู่ปราศจากไตรจีวรราตรี
หนึ่ง) และคณโอหียนาบัติ (อาบัติเพราะอยู่รูปเดียวไม่ครบคณะ). ครั้นไปถึง
สำนักของนางภิกษุณีแล้ว พึงกล่าวกะนางภิกษุณีเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย
รู้จักภิกษุชื่อโน้นหรือ ? ภิกษุณีทั้งหลาย ตอบว่า เจ้าค่ะ รู้จัก พระคุณเจ้าขา !.
ภิกษุเหล่านั้นพึงกล่าวว่า ภิกษุรูปนั้น ปรากฏเป็นเพศหญิงขึ้น, ขอได้โปรด
สงเคราะห์เธอเดี๋ยวนี้เถิด. ถ้านางภิกษุณีเหล่านั้น กล่าวว่า ดีละ พระคุณเจ้าข้า!
บัดนี้ แม้พวกดิฉัน ก็จักสาธยาย จักสดับธรรม ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จงไปเถิด ดังนี้แล้ว ทำความสงเคราะห์ และให้ร่าเริงยินดีทั้งเป็นลัชชินีผู้มี
ความสงเคราะห์ด้วย, เธอไม่ควร*ละทิ้งนางภิกษุณีเหล่านั้นไปในสถานที่อื่น
ถ้าไปก็ไม่พ้นจากคามันตราบัติ นทีปราบัติ รัตติวิปปวาสาบัติและคณโอหีย-
นาบัติ.
* ตา โกเปตฺวาติ ตา ปริจฺจชิตฺวา. สารัตถทีปนี ๒/๑๕๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 849
อนึ่ง ถ้านางภิกษุณีเหล่านั้น เป็นลัชชินี แต่ไม่มีความสงเคราะห์,
ย่อมได้เพื่อจะไปสถานที่อื่น. แม้ถ้าเป็นอลัชชินี (ทั้งหมดวัด) แต่ทำความ
สงเคราะห์ ย่อมได้เพื่อจะละทิ้งแม้นางภิกษุณีเหล่านั้นแล้วไปเสียในที่อื่น.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ถ้าเป็นทั้งลัชชินี ทั้งมีความสงเคราะห์ แต่ไม่เป็น
ญาติ, และในบ้านใกล้ ภิกษุณีเหล่าอื่นที่เป็นญาติ มีอยู่ ทั้งเป็นผู้ประคับ
ประคอง, ควรไปยังสำนักของภิกษุณีแม้เหล่านั้น ครั้นไปแล้ว ถ้าตนปฏิบัติ
นิสัย (ยังถือนิสัย) แม้ในคราวเป็นภิกษุ ก็ควรถือนิสัยในสำนักของนางภิกษุณี
ผู้สมควร. มาติกาก็ดี วินัยก็ดี ที่เรียนมาแล้ว ก็เป็นอันเรียนแล้วด้วยดี
ไม่มีเหตุที่จะต้องเรียนซ้ำอีก. ถ้าในคราวยังเป็นภิกษุ ภิกษุรูปนั้น เป็นผู้
ปกครองบริษัท, กุลบุตรทั้งหลายผู้อุปสมบทแล้วในสำนักของภิกษุรูปนั้นนั่นแล
ก็เป็นอันอุปสมบทชอบแล้ว, แต่ต้องถือนิสัยในสำนักของอาจารย์รูปอื่น. แม้
พวกอันเตวาสิกผู้อาศัยเธอนั้นอยู่ในกาลก่อน ก็ต้องถือนิสัยในสำนักของอาจารย์
รูปอื่น. ถึงแม้สามเณรผู้มีอายุเต็มบริบูรณ์ ก็ต้องถืออุปัชฌายะ ในสำนักของ
ภิกษุรูปอื่น.
[วิธีปฏิบัติในเครื่องบริขารต่าง ๆ]
อนึ่ง ไตรจีวรและบาตร ที่ภิกษุนั้นอธิษฐานไว้แล้วในคราวยังเป็น
ภิกษุ, ย่อมขาดอธิษฐานไป, ต้องอธิษฐานใหม่. ภิกษุณี ควรให้ใช้ผ้ารัดถัน
และผ้าอาบน้ำ. อติเรกจีวรก็ดี อติเรกบาตรก็ดี ที่ภิกษุนั้น ทำวินัยกรรม
เก็บไว้แล้ว แม้ทั้งหมด ย่อมละวินัยกรรมไปต้องทำใหม่. แม้เภสัชมีน้ำมัน
น้ำผึ้งและน้ำอ้อย ที่เธอรับประเคนไว้เป็นต้น ย่อมขาดประเคนไป. ถ้าเพศ
เปลี่ยนกลับในวันที่ ๗ แต่วันที่รับประเคนไป, รับประเคนใหม่ ควรฉันได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 850
๗ วัน*. ส่วนสิ่งใดเป็นของภิกษุรูปอื่น เธอรับประเคนไว้ในเวลาเป็นภิกษุ,
สิ่งนั้นไม่ขาดประเคน. แม้สิ่งใดที่เป็นของทั่วไปแก่ภิกษุสองรูปยังมิได้แบ่งปัน
กัน ปกตัตตภิกษุ ย่อมรักษาสิ่งนั้นไว้. ส่วนสิ่งใด ได้แบ่งกันแล้วเป็นของ
เธอเอง, สิ่งนั้น ย่อมขาดประเคนไป. จริงอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัส
คำนี้ไว้ในคัมภีร์บริวารว่า
ภิกษุรับประเคนน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
หรือเนยใสเองแล้ว เก็บไว้เอง เมื่อยังไม่ล่วง
๗ วัน เป็นอาบัติแก่เธอผู้ฉัน เพราะมีปัจจัย,
ปัญหานี้ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.
[ขาดประเคนเพราะเหตุ ๗ อย่าง]
จริงอยู่ พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเพศกลับ.
ขึ้นชื่อว่า การรับประเคน ย่อมขาดไป เพราะเพศกลับ ๑ เพราะมรณภาพ ๑
เพราะลาสิกขา ๑ เพราะหันไปเป็นคนเลว ๑ เพราะให้แก่อนุปสัมบัน ๑
เพราะไม่เสียดายสละเสีย ๑ เพราะถูกชิงเอาไป ๑. เพราะฉะนั้น แม้ถ้ามีสิ่ง
ของที่รับประเคนเก็บไว้ จะเป็นชิ้นสมอก็ตาม สิ่งทั้งหมดของเธอย่อมขาด
ประเคนไป. อนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นของนางภิกษุณีนั้น เธอรับประเคน
หรือยังมิได้รับประเคนก็ตาม ซึ่งเก็บไว้ในวิหารของภิกษุ, ภิกษุณีรูปนั้นแล
เป็นใหญ่แห่งสิ่งของทั้งหมด ควรให้เธอขนเอาไปเสีย. ส่วนสิ่งใดเป็นของถาวร
ซึ่งเป็นส่วนตัวของเธอในวิหารของภิกษุนี้ จะเป็นเสนาสนะ หรือต้นไม่ที่
ปลูกไว้ก็ตาม, เธอปรารถนาจะให้สิ่งของเหล่านั้นแก่บุคคลใด ก็พึงให้แก่
บุคคลนั้น.
* สตฺตาห ปริภุญฺชิตุ วฏฺฏติ. สารัตถทีปนี. ๒/๑๖๐.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 851
บรรดาสมมติ ๑๓ อย่าง สมมติที่เธอได้ในเวลาเป็นภิกษุ ย่อมระงับ
ไปทั้งหมด. การถือเสนาสนะในวันเข้าพรรษาแรก ย่อมระงับไป. ถ้าเพศ
กลับในเมื่อเธอถือเสนาสนะในวันเข้าพรรษาหลังแล้ว และภิกษุสงฆ์ปรารถนา
จะให้ลาภที่เกิดขึ้นแก่เธอควรอปโลกน์ให้. ถ้าเพศกลับเมื่อกำลังอยู่ปริวาสเพื่อ
อาบัติที่ปิดไว้ทั่วไปกับนางภิกษุณี, สงฆ์พึงให้ปักขมานัตทีเดียว. ถ้าเพศกลับ
กำลังประพฤติมานัต, ควรให้ปักขมานัตซ้ำอีก. ถ้าเพศกลับเมื่อประพฤติมานัต
แล้ว, พวกภิกษุณีควรทำอัพภานกรรม. ถ้าเมื่ออกุศลวิบากหมดสิ้นแล้ว เพศ
กลับใหม่อีกในกาลแห่งปักขมานัต พึงให้มานัต ๖ ราตรีเท่านั้น. ถ้าประพฤติ
ปักขมานัตเสร็จแล้ว เพศจึงกลับ, พวกภิกษุพึงทำอัพภานกรรมฉะนี้แล.
ในเรื่องเพศกลับของนางภิกษุณีในลำดับต่อไป พึงทราบวินิจฉัย
ทั้งปวงตามนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องนี้นั่นแล. ส่วนเนื้อความที่แปลกกันมีดังต่อ
ไปนี้ :-
แม้ถ้าในเวลาเป็นภิกษุณี มีสัญจริตอาบัติที่ต้องแล้วปิดไว้, ไม่มีการ
ให้ปริวาส, พึงให้มานัต ๖ ราตรีทีเดียว. เพศกลับเมื่อกำลังประพฤติปักข-
มานัต, ไม่ต้องการด้วยปักขมานัตนั้น พึงให้มานัต ๖ ราตรีเหมือนกัน. ถ้า
เพศกลับเมื่อประพฤติมานัตเสร็จแล้ว, ไม่ต้องให้มานัตซ้ำอีก ภิกษุทั้งหลาย
พึงอัพภาน. ถ้าเมื่อภิกษุทั้งหลายยังไม่ให้มานัต เพศกลับคือใหม่, พวกภิกษุณี
พึงให้ปักขมานัตนั่นเอง. ถ้ากำลังประพฤติมานัต ๖ ราตรี เพศกลับคืนใหม่,
พึงให้ปักขมานัตเหมือนกัน. แต่เมื่อประพฤติมานัตเสร็จแล้ว เพศกลับคืนตาม
เดิม พวกภิกษุณีพึงทำอัพภานกรรมให้. อนึ่ง แม้เมื่อนางภิกษุณีนั้น คงตั้ง
อยู่ในความเป็นภิกษุ ในเมื่อเพศกลับคืนตามเดิมแล้วอาบัติเหล่าใดที่ระงับไป
แล้วในกาลก่อน, อาบัติเหล่านั้น เป็นอันระงับด้วยดีทีเดียวแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 852
เรื่องทั้ง ๔ เรื่อง ต่อจากเพศกลับคืนนี้ไป มีอาทิว่า มาตุยา เมถุน
ธมฺม ดังนี้ มีเนื้อความชัดเจนแล้วทั้งนั้น.
ในเรื่องภิกษุมีหลังอ่อน มีวินิจฉัยดังนี้ :- ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเคย
เป็นนักระบำ. หลังของเธอได้ทำการฝึกหัดมาแล้ว เพื่อความเป็นผู้ฉลาดใน
ศิลปะ จึงได้เป็นอวัยวะที่อ่อน. เพราะฉะนั้น เธอจึงได้ย่อตัวลงทำกรรมอย่าง
นั้นแล้ว.
ในเรื่องภิกษุมีองคชาตยาว มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุรูปนั้นมีองคชาต
ยาว; เพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ลัมพี ผู้มีองค์กำเนิดยาว.
เรื่องบาดแผล ๒ เรื่อง ต่อจากเรื่องภิกษุมีองคชาตยาวนี้ไป มีเนื้อ
ความชัดเจนแล้วทีเดียว.
ในเรื่องรูปปั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- รูปที่ทำด้วยจิตรกรรม ชื่อว่า เลป-
จิตร คือ รูปปั้น.
ในเรื่องตุ๊กตาไม้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- รูปที่ทำด้วยไม้ ชื่อว่า ตุ๊กตา
ไม้. เหมือนอย่างว่า เมื่อภิกษุพยายามในรูปจิตรกรรมและรูปตุ๊กตาไม้ทั้ง ๒
นี้ เป็นทุกกฏฉันใด, เพื่อพยายามด้วยความกำหนัดในเมถุนที่นิมิตในรูปหญิง
ซึ่งเป็นอนุปาทินนกะ (รูปที่ไม่มีใจครอง) มีรูปฟัน รูปผ้าเปลือกไม้และรูป
โลหะเป็นต้นแม้เหล่าอื่น อสุจิ จะเคลื่อนออกหรือไม่ก็ตาม เป็นทุกกฏทีเดียว
ฉันนั้น. ถึงเมื่อจะพยายามด้วยความกำหนัดในอันเคล้าคลึงกาย ก็เป็นทุกกฏ
เหมือนอย่างนั้นแล. แต่เมื่อพยายามด้วยความกำหนัดในอันปล่อย เมื่ออสุจิ
เคลื่อนออกเป็นสังฆาทิเสส, เมื่อไม่เคลื่อนออก เป็นถุลลัจจัย ฉะนี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 853
[เรื่องสตรีรักสวาทพระภิกษุสุนทร]
ในเรื่องพระภิกษุชื่อสุนทร มีวินิจฉัยดังนี้ :- พระภิกษุรูปนี้ชื่อสุนทร
เป็นเด็กหนุ่มของตระกูลในกรุงราชคฤห์ บวชด้วยศรัทธา เพราะความที่ท่าน
มีอัตภาพสวยงาม จึงได้นามว่า สุนทร. สตรีนางนั้น พบเห็นท่านกำลังเดิน
ไปตามทางรถ ก็เกิดฉันทราคะขึ้นแล้วได้กระทำอาการที่แปลกนี้. ส่วนพระ-
เถระเป็นพระอนาคามี; เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่ยินดี. อันสภาพคือความไม่
ยินดีนี้ ไม่ใช่วิสัยของปุถุชนเหล่าอื่น.
ใน ๔ เรื่อง ถัดจากเรื่องพระสุนทรนี้ไป มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุ
เหล่านั้น เป็นผู้เซอะโง่เขลารับคำของมาตุคามแล้วทำตามอย่างนั้น ภายหลัง
จึงมีความรับเกียจขึ้น. ๓ เรื่อง มีเรื่องซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินเป็นต้น มี
เนื้อความชัดเจนแล้วทั้งนั้น.
[ภิกษุเสพเมถุนธรรมทางปากศพเป็นปาราชิก]
ในเรื่องซากศพที่มีศีรษะขาด ๒ เรื่อง มีวินิจฉัยดังนี้:-
สองบทว่า วฏฺฏกเต มุเข คือ ในปากที่อ้า. ภิกษุเมื่อสอดองค-
ชาตเข้าไป (ในปากที่อ้านั้น) ถ้าสอดเข้าไปในถูกข้างล่างก็ดี ข้างบนก็ดี ข้าง
ทั้งสองก็ดี เป็นปาราชิก. ครั้นสอดเข้าไปไม่ถูกทั้ง ๔ ข้าง แต่ถูกเพดานข้างใน
เป็นปาราชิกเหมือนกัน. เมื่อไม่ถูกทั้ง ๔ ข้างและเพดาน สอดให้เชิดไปบน
อากาศเท่านั้น และชักออก เป็นทุกกฏ. อนึ่ง ถ้าฟันปิดแนบสนิทดี ภายใน
ปาก ไม่มีช่อง และฟันถูกเนื้อริมฝีปากภายนอกปิด เมื่อภิกษุสอดเข้าไปยัง
ช่องที่เปียกชุ่ม ซึ่งลมไม่ถูกต้อง ในปากที่มีเนื้อริมฝีปากปิดไว้นั้น แม้ชั่ว
เมล็ดงาเดียวเป็นปาราชิกเหมือนกัน. แต่เมื่อพยายามเฉพาะที่ฟัน ซึ่งมีเนื้อริม
ฝีปากที่เขาเฉือนออกไปแล้ว เป็นถุลลัจจัย. แม้ฟันซี่ใด ที่ยื่นออกไปข้างนอก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 854
ไม่อาจจะปิดริมฝีปากได้, เมื่อภิกษุพยายามที่ฟันนั้นก็ดี พยายามที่ลิ้นซึ่งยื่น
ออกไปข้างนอกก็ดี เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. แม้ในสรีระที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อ
พยายามที่ลิ้นซึ่งยื่นออกไปข้างนอก เป็นถุลลัจจัยเหมือนกับ. แต่ถ้าฟันที่ลิ้น
ซึ่งยื่นออกไปข้างนอกไว้มิดชิดแล้วจึงสอดเข้าไปในปาก เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
เมื่อสอดองคชาตเข้าไปบนคอทางส่วนล่างแม้แห่งซากศพที่มีศีรษะขาด ถูกเพ-
ดาน เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
ในเรื่องกระดูก มีวินิจฉัยดังนี้ :- แม้เมื่อภิกษุกำลังเดินไปยัง
สุสาน เป็นทุกกฏ เมื่อรวบรวมกระดูกมาไว้ก็ดี กองไว้ก็ดี พยายามที่นิมิต
ด้วยความกำหนัดในเมถุนก็ดี พยายามด้วยความกำหนัดในอันเคล้าคลึงกายก็ดี
อสุจิจะเคลื่อนออกหรือไม่ก็ตาม เป็นทุกกฏทั้งนั้น แต่เมื่อพยายามด้วยความ
กำหนัดในอันปล่อย เมื่อสุจิเคลื่อนออกเป็นสังฆาทิเสส เมื่อไม่เคลื่อนออก
เป็นถุลลัจจัย.
ในเรื่องนาคตัวเมีย มีวินิจฉัยดังนี้ :- เมื่อภิกษุเสพเมถุนธรรม ใน
จำพวกสัตว์ทั้งปวง จะเป็นนางนาคมาณวิกา หรือบรรดานางกินรีเป็นต้น
ตนใดตนหนึ่งก็ตาม เป็นปาราชิก.
ในเรื่องนางยักษิณี มีวินิจฉัยดังนี้ :- เทวดาแม้ทั้งหมด ก็คือนาง
ยักษิณีนั่นเอง.
[ภิกษุเสพเมถุนธรรมในหญิงเปรตเป็นต้นเป็นปาราชิก]
ในเรื่องหญิงเปรต มีวินิจฉัยดังนี้ :- เปรตทั้งหลายมีนิชฌามตัณหิก-
เปรตเป็นต้น ใคร ๆ ไม่สามารถแม้จะแตะต้องได้. แต่นางวิมานเปรตทั้งหลาย
มีอยู่ อกุศลกรรมของนางวิมานเปรตเหล่าใดให้ผลอยู่ในข้างกาฬปักข์ นาง
วิมานเปรตเหล่านั้นย่อมได้เสวยสมบัติ ในข้างชุณหปักข์ เหมือนเทวดา ฉะนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 855
ถ้าการเห็น การจับ การลูบคลำ การถูกต้อง และการกระทบ ของหญิงเปรต
หรือของนางยักษิณีผู้เห็นปานนั้นปรากฏได้ เป็นปาราชิก. ถ้าแม้ไม่มีการเห็น
แต่กิจนอกนี้ปรากฏ ก็เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง การเห็นและการจับ ไม่ปรากฏ แต่เปรตทำบุคคลนั้น
(คือภิกษุ) ให้ปราศจากสัญญา (หมดสติ) ด้วยการลูบคลำ ถูกต้องและกระทบ
ที่ปรากฏอยู่ ให้สำเร็จมโนรถของตนแล้วก็ไป ความพยายามนี้ ชื่อว่าไม่ใช่วิสัย
เพราะฉะนั้น ในข้อนี้จึงไม่เป็นอาบัติ เพราะไม่ใช่วิสัย.
เรื่องบัณเฑาะก์ ปรากฏชัดแล้วแล.
ในเรื่องภิกษุมีอินทรีย์พิการ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า อุปหตินฺทฺริโย ความว่า เธอมีกายประสาทถูกโรคเบียดเบียน
แล้ว ย่อมไม่รู้สึกสุขหรือทุกข์ เหมือนตอไม้และท่อนไม้ ฉะนั้น. แม้เมื่อเธอ
ไม่รู้สึก ก็เป็นอาบัติ เพราะอำนาจเสวนจิต.
ในเรื่องเพียงถูกต้องกาย มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ภิกษุรูปใด คิดในใจว่า เราจักเสพเมถุนธรรม จึงจับมาตุคาม
คลายความกำหนัดในเมถุนแล้วเป็นผู้มีความวิปฏิสาร ภิกษุรูปนั้น เป็นทุกกฏ
เท่านั้น. เพราะว่า กิจทั้งหลายมีการจับมือเป็นต้น เป็นปุพพประโยคแห่ง
เมถุนธรรม ย่อมตั้งอยู่ในทุกกฏ ตราบเท่าที่ยังไม่ถึงที่สุด เมื่อถึงที่สุดแล้ว
จึงเป็นปาราชิก. จริงอยู่ ทุกกฏเท่านั้น ใกล้ต่อปฐมปาราชิก. บรรดาอาบัติ
ทั้ง ๓ นอกนี้ (ทุกกฏ ถุลลัจจัย สังฆาทิเสส) ถุลลัจจัย ก็ใกล้ต่อปฐมปาราชิก
ส่วนภิกษุรูปนี้ปราศจากความกำหนัดในเมถุนธรรมแล้ว พึงทราบว่า ยินดี
เฉพาะการเคล้าคลึงกาย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็น
อาบัติสังฆาทิเสส.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 856
[เรื่องภิกษุอรหันต์ชาวภัททิยนครจำวัดหลับ]
ในเรื่องภิกษุชาวเมืองภัททิยะ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
นครชื่อว่าภัททิยะ. นครนั้น ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะมีพุ่มดอกมะลิชาติ
ที่ชื่อว่า ชาติยาวัน หนาแน่น. ป่านั้นมีอยู่ใกล้อุปจารแห่งพระนครนั้น. ภิกษุ
รูปนั้นพักจำวัดอยู่ที่ป่านั้น แล้วก้าวลงสู่ความหลับสนิท เพราะถูกลมรำเพยพัด
นั้น. ภวังคจิตมีกระแสเดียวเท่านั้นแล่นไป.
สองบทว่า กิลินฺน ปสฺสิตฺวา ความว่า เห็นองคชาตเปรอะเปื้อน
ด้วยอสุจิ.
๕ เรื่อง ถัดจากเรื่องภิกษุชาวเมืองภัททิยะนี้ไป คือ เรื่องที่ปฏิสังยุต
ด้วยความยินดีมี ๔ เรื่อง และเรื่องไม่รู้สึกตัวมี ๑ เรื่อง มีเนื้อความชัดเจน
แล้วทีเดียว.
ในเรื่องไม่ยินดีอีก ๒ เรื่อง มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า สหสา วุฏฺฐาสิ ความว่า ภิกษุรูปนั้นรีบลุกขึ้นทันที
เหมือนถูกอสรพิษกัดและเหมือนถูกไฟไหม้ ฉะนั้น.
สองบทว่า อกฺกมิตฺวา ปวฏฺเฏสิ ความว่า ภิกษุผู้ไม่ประมาท
เริ่มเจริญวิปัสสนา ควบคุมสติไว้เฉพาะหน้า รีบลุกขึ้นทันที ยันให้กลิ้งกลับ
เลื่อนตกไปบนพื้นดิน. อันกัลยาณปุถุชนทั้งหลาย ควรรักษาจิตไว้ ในฐานะ
เห็นปานนี้. และภิกษุรูปนี้ เป็นบรรดากัลยาณปุถุชนเหล่านั้นรูปใดรูปหนึ่ง
ซึ่งเป็นเช่นกับยอดนักรบในสงคราม.
[เรื่องภิกษุเปิดประตูจำวัด]
ในเรื่องเปิดประตูจำวัด มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า ทิวา ปฏิสลฺลิยนฺเตน ความว่า ผู้จะพักจำวัดใน
กลางวัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 857
หลายบทว่า ทฺวาร สวริตฺวา ปฏิสลฺลิยิตุ ความว่า เพื่อให้ปิด
ประตูก่อนจึงจำวัดได้. ก็ในเรื่องเปิดประตูจำวัดนี้ ในพระบาลีพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามิได้ปรับอาบัติไว้ว่า เป็นอาบัติชื่อนี้ แม้ก็จริง ถึงกระนั้น พระเถระ
ทั้งหลายก็ปรับเป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่ปิดประตูเสียก่อนพักผ่อน เพราะเมื่อเรื่อง
เกิดขึ้น เพราะโทษที่เปิดประตูนอน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จะพักผ่อนในกลางวัน ปิดประตูเสียก่อนจึง
พักผ่อนได้.
จริงอยู่ พระเถระทั้งหลาย มีพระอุบาลีเถระเป็นต้น ทราบพระประสงค์
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย จึงได้ตั้งอรรถกถาไว้. ก็คำที่ว่า เป็นทุกกฏแก่
ภิกษุผู้ไม่ปิดประตูเสียก่อน พักผ่อน นี้ สำเร็จแล้วแม้ด้วยคำนี้ว่า มีอาบัติ
ที่ภิกษุต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน.
[อธิบายประตูเช่นไรควรปิดและไม่ควรปิด]
ถามว่า ก็ประตูเช่นไรควรปิด ? เช่นไรไม่ควรปิด?.
แก้ว่า ประตูเวียนที่เขาเอาบรรดาวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่ง มีไม้เลียบ
ไม้ไผ่เลียบ ลำแพนและใบไม้เป็นต้น ทำเป็นบานประตูแล้วสอดลูกล้อครกไว้
ตอนล่างและห่วงบนไว้ตอนบนนั่นแล ควรปิด. ประตูชนิดอื่นเห็นปานนี้ คือ
ประตูลิ่มสลักไม้และประตูหนาม ที่คอกฝูงโค ประตูล้อเลื่อนสำหรับกั้นบ้าน
ในบ้าน ประตูแผงเลื่อนที่เขาทำประกอบลูกล้อ ๒-๓ อันไว้ที่แผ่นกระดาน
หรือที่กันสาด ประตูแผงลอยที่เขาทำยกออกได้ เหมือนอย่างในร้านตลาด
ประตูลูกกรงที่เขาร้อยซี่ไม้ไผ่ไว้ในที่ ๒-๓ แห่ง ทำไว้ที่บรรณกุฎี (กระท่อม
ใบไม้) ประตูม่านผ้า ไม่ควรปิด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 858
ก็ประตูม่านผ้าชนิดเดียวเท่านั้น ไม่ทำให้ต้องอาบัติ ในเวลาที่ภิกษุ
มีบาตรมีมือผลักบานประตู. เมื่อผลักประตูที่เหลือต้องอาบัติ. แต่ประตูเวียน
นั่นแล ทำให้ต้องอาบัติแก่ภิกษุผู้พักผ่อนในกลางวัน. ประตูที่เหลือ เมื่อภิกษุ
ปิดก็ตาม ไม่ปิดก็ตามแล้วจำวัด อาบัติหามีไม่ แต่ควรปิดเสียก่อน จึงจำวัด
ข้อนี้เป็นธรรมเนียม.
ถามว่า ก็ประตูเวียน ย่อมเป็นอันปิดดีแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณ
เท่าไร ?
แก้ว่า เมื่อใส่ลูกดาลและลิ่มสลักแล้ว ก็เป็นอันปิดด้วยดีทีเดียว
อีกประการหนึ่ง แม้เมื่อใส่เพียงลูกดาลแล้วจะพักจำวัดก็ควร แม้เมื่อใส่เพียง
ลิ่มสลักแล้ว จะพักจำวัดก็ควร แม้เมื่อปิดพอให้บานประตูจดกันแล้ว จะพัก
จำวัดก็ควร แม้เมื่อปิดแง้มไว้เล็กน้อยแล้ว จะพักจำวัดก็ควร ด้วยวิธีอย่าง
หลังที่สุด แม้เมื่อปิดประตูแง้มไว้ขนาดพอศีรษะสอดเข้าไม่ได้ จะพักจำวัด
ก็ควรฉะนี้แล.
ถ้าสถานที่นั้น เป็นที่ใช้ของคนหมู่มาก แม้จะพูดกะภิกษุหรือสามเณร
ว่า อาวุโส ! จงช่วยกันรักษาประตู แล้วจำวัดก็ควร. ถ้าแม้จะทำความผูกใจ
ไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายผู้นั่งทำจีวรกรรม หรือกิจอะไรอื่นอยู่ เธอเหล่านั้น
จักช่วยรักษาประตูนั่น ดังนี้ แล้วจำวัด ก็ควร.
ส่วนในอรรถกถากุรุนที ท่านกล่าวว่า จะบอกแม้กะอุบาสกหรือจะ
ทำความผูกใจไว้ว่า อุบาสกนี้จะช่วยรักษา แล้วจำวัด ก็ควร จะบอกภิกษุณี
หรือมาตุคามอย่างเดียวไม่ควร.
ถ้าลูกล้อหรือห่วงบนประตูเสียหายไป หรือไม่ตั้งอยู่ (ในที่เดิม)
จึงไม่อาจจะปิดได้ ก็อีกอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่นวกรรม เขาทำกองอิฐ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 859
หรือกองดินเหนียวเป็นต้นไว้ภายในประตู หรือผูกนั่งร้านไว้ โดยที่ไม่อาจจะ
ปิด (ประตู) ได้ ในอันตรายเห็นปานนั้น แม้จะไม่ปิดประตู พักจำวัดก็ควร.
ก็ถ้าไม่มีบานประตู เป็นอันได้ข้ออ้างแท้. เมื่อจะจำวัดข้างบนควรยกม่านขึ้น
ไว้ จึงจำวัด. ถ้าข้างบนม่าน มีไม้สำหรับกั้นไว้ ควรกั้นไว้ จึงจำวัด. เมื่อ
จะจำวัดในห้อง จะปิดประตูหรือประตูหน้ามุขอย่างใดอย่างหนึ่งไว้แล้วจำวัด
ก็ควร.
ถ้าที่ข้างทั้งสองในเรือนมีฝาด้านเดียว เขาทำใช้หลายประตู, ควรรักษา
ทั้งสองประตู. ในปราสาทแม้ ๓ ชั้น ควรรักษาประตูเดียวเท่านั้น. ถ้าภิกษุ
มากรูป กลับจากเที่ยวภิกขาจาร เข้าไปยังประสาท เช่นโลหปราสาท เพื่อ
พักผ่อนกลางวัน, พระสังฆเถระ ควรสั่งผู้รักษาประตูว่า จงช่วยรักษาประตู
หรือจะทำความผูกใจไว้ว่า การรักษาประตู เป็นภาระของนายทวารบาลนั่น
แล้วพึงเข้าไปจำวัดเถิด. ภิกษุทั้งหลายควรทำอย่างนั้นเหมือนกันจนถึงพระ-
สังฆนวกะ. ผู้ที่เข้าไปก่อนแม้จะทำความผูกใจไว้อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าการรักษา
ประตู เป็นภาระของผู้มาภายหลัง ดังนี้ ก็ควร.
เมื่อภิกษุ ไม่ทำการบอกเล่าหรือความผูกใจไว้ แล้วพักจำวัดภายใน
ห้องที่ไม่ได้ปิดประตูหรือภายนอกห้อง เป็นอาบัติ. แม้ในเวลาจำวัดในห้อง
หรือในภายนอกห้อง ทำความผูกใจไว้ว่า ขึ้นชื่อว่าการรักษาประตู ในประตู
ใหญ่ เป็นภาระของนายทวารบาล ดังนี้ แล้วจำวัด ควรเหมือนกัน. แม้ภิกษุ
ผู้จะจำวัดที่พื้นอากาศ (ดาดฟ้า) ในสถานที่มีโลหปราสาทเป็นต้น ควรปิด
ประตูแท้ทีเดียว.
ก็ในเรื่องเปิดประตูจำวัดนี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :- การพักผ่อน
ในกลางวันนี้ ท่านกล่าวไว้ในสถานที่มีระเบียบ ซึ่งล้อมด้วยกำแพงหรือรั้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 860
อย่างใดอย่างหนึ่ง. เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้จะจำวัดในที่แจ้งโคนต้นไม้ หรือ
มณฑปที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งมีระเบียง ควรปิดประตูเสียก่อน จึงจำวัด, ถ้าเป็น
บริเวณใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่ชุมนุมของคนหมู่มาก เช่นลานมหาโพธิ์และลาน
โลหปราสาท, ในสถานที่ใด ประตูแม้ที่เขาปิดแล้ว ก็ไม่ตั้งอยู่ในที่ ๆ ปิด
(คือปิด ๆ เปิด ๆ) ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่ได้ประตูถึงต้องเที่ยวปีนขึ้นกำแพงไป,
ในสถานที่นั้น ไม่มีกิจที่จะต้องปิด (ประตู).
ภิกษุเปิดประตูจำวัดตลอดคืน ลุกขึ้นแล้วในเวลารุ่งอรุณ ไม่เป็น
อาบัติ. แต่ถ้าตื่นแล้วหลับซ้ำอีกเป็นอาบัติ. ส่วนภิกษุรูปใดกำหนดไว้ทีเดียว
ว่า เมื่อรุ่งอรุณแล้วจักลุกขึ้น ไม่ได้ปิดประตูจำวัดตลอดคืน แต่ลุกขึ้นทัน
ตามกำหนดนั่นเอง, ภิกษุรูปนั้น เป็นอาบัติทีเดียว. ส่วนในอรรถกถามหา-
ปัจจรีท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อจำวัดด้วยอาการอย่างนั้น ไม่พ้นจากทุกกฏเพราะไม่
เอื้อเฟื้อ.
ส่วนภิกษุใด รักษา (พยาบาล) ภิกษุอาพาธเป็นต้น หลายราตรี
ทีเดียว หรือเดินทางไกล มีร่างกายอิดโรยทั้งวัน นั่งบนเตียงแล้ว พอยกเท้า
ยังไม่พ้นจากพื้นดินเลย ก็จำวัดหลับ เพราะอำนาจความหลับ (ครอบงำ),
ภิกษุนั้นไม่เป็นอาบัติ. ถ้าเธอก้าวลงสู่ความหลับทั้งไม่รู้สึกตัว พอยกเท้าขึ้น
เตียง ก็เป็นอาบัติทีเดียว. เมื่อนั่งพิงหลับไปไม่เป็นอาบัติ. อีกอย่างหนึ่ง
ภิกษุรูปใด เดินจงกรมด้วยตั้งใจว่า จักบรรเทาความง่วง แล้วล้มลง รีบลุก
ขึ้นทันที, แม้ภิกษุรูปนั้นก็ไม่เป็นอาบัติ. ส่วนภิกษุรูปใด ล้มลงแล้ว นอน
อยู่ในสถานที่นั้นนั่นเองไม่ยอมลุกขึ้น, ภิกษุรูปนั้น เป็นอาบัติ.
ถามว่า ใครพ้น (จากอาบัติ) ? ใครไม่พ้น?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 861
แก้ว่า ในอรรถกถามหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ก่อนว่า ผู้ที่จำวัดโดยพับ
ไปข้างเดียวนั่นแลย่อมพ้น, ส่วนที่ยกเท้าพ้นจากพื้นดินแล้วจำวัด จะเป็นผู้ที่
ถูกยักษ์เข้าสิงก็ตาม เป็นผู้ปราศจากสัญญา (หมดสติ) ก็ตาม ย่อมไม่พ้น.
ในอรรถกาถากุรุนที ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่ถูกมัดให้นอนเท่านั้น ย่อมพ้น. ส่วน
ในมหาอรรถกถา พระมหาปทุมเถระ กล่าวไว้ว่า ภิกษุรูปใดเดินจงกรมอยู่
สลบล้มลง แล้วหลับอยู่ในสถานที่นั้นนั่นเอง, อาบัติย่อมไม่ปรากฏแก่ภิกษุ
รูปนั้น เพาะเธอไม่มีอำนาจ, แต่พระอาจารย์ทั้งหลายมิได้กล่าวว่า ; เพราะ
ฉะนั้น จึงเป็นอาบัติทีเดียว. ส่วนภิกษุ ๒ รูป คือ ผู้ที่ยักษ์เข้าสิง ๑ ผู้ที่ถูก
มัดให้นอน ๑ ย้อมพ้นจากอาบัติแท้แล.
[เรื่องภิกษุฝันได้เสพเมถุนธรรม]
ในเรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า อนาปตฺติ สุปินนฺเตน ความว่า ชื่อว่าไม่เป็นอาบัติ
เพราะความฝันด้วยอาการอย่างนี้ เพราะไม่ใช่วิสัย ; เหตุดังนั้น พระอุบาลีเถระ
จึงได้วินิจฉัยเรื่องนี้ แม้ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เคยทรงวินิจฉัยเลย โดย
ความถือเอาตามนัย. และแม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับ (เรื่องที่ท่าน
พระอุบาลีเถระวินิจฉัยนั้นแล้ว) ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อุบาลีกล่าวไว้
ชอบแล้ว, อุบาลีกล่าวแก้ปัญหานี้ ดุจทำรอยเท้าไว้ในที่ไม่มีรอยเท้า ดุจแสดง
รอยเท้าไว้ในอากาศ ฉะนั้น ดังนี้แล้ว จึงทรงตั้งพระเถระไว้ในเอตทัคคะว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงวินัย อุบาลีนี้เป็นเยี่ยม.๑
เรื่องทั้งหลายมีเรื่องนางสุปวาสาเป็นต้น๒ ถัดจากเรื่องภิกษุชาวเมือง
ภารุกัจฉะนี้ไป มีเนื้อความชัดเจนแล้วทีเดียว.
๑. องฺ. เอก. ๒๐/๓๒. ๒. บาลีเดิมเป็น สุปัพพา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 862
ในเรื่องทั้งหลายมีเรื่องชักนำให้ภิกษุขืนเสพเมถุนธรรมในนางภิกษุณี
เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านั้น เป็นผู้ทรงขวนขวายในการเล่น ได้ทำอย่าง
นั้นเพราะอนาจารของตน. ตั้งแต่กาลนั้นมา ความพินาศจึงได้เกิดมีขึ้นแก่
เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย เพราะทรงทำเหตุอย่างนั้น.
ในเรื่องภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า ทสฺสน อคมาสิ ความว่า ภิกษุผู้เฒ่านั้นคิดว่า จัก
เยี่ยมภรรยาเก่านั้น จึงได้ไปยังเรือน เพราะความอนุเคราะห์. ขณะนั้น นาง
ได้ชี้แจงถึงข้อที่ตนและพวกเด็ก ๆ ไม่มีที่พึ่ง ให้ท่านฟังโดยประการต่าง ๆ และ
ทราบว่าภิกษุเฒ่านั้นไม่มีความไยดี จึงโกรธแล้วพูดว่า ท่านจงมาสึกเสียเถิด
จึงได้จับท่านโดยพลการ. ท่านผู้เฒ่าได้ถอยกลับไปเพื่อเปลื้องตน จึงได้ล้ม
หงายลง เพราะความชราทุพลภาพ. ขณะนั้น นางได้ทำตามใจของตนแล้ว.
แต่ภิกษุรูปนั้นเป็นพระอนาคามี ตัดกามราคะได้เด็ดขาดแล้ว; เพราะฉะนั้น
ท่านจึงไม่ยินดี ฉะนี้แล.
เรื่องลูกเนื้อ มีเนื้อความชัดเจนแล้วทีเดียว ฉะนี้แล.
ปฐมปาราชิกวรรณนา แห่งวินัยสังวรรณนา
ชื่อสมันตปาสาทิกาจบ.
ในข้อที่อรรถกถาชื่อสมันตปาสาทิกา
ในวินัยนั้น ชวนให้เกิดความเลื่อมใสรอบ
ด้าน มีคำอธิบายดังจะกล่าวต่อไปดังนี้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 863
เมื่อวิญญูชนทั้งหลาย สอดส่องอยู่
โดยลำดับแห่งอาจารย์ โดยการแสดงประ-
เภทแห่งนิทานและวัตถุ โดยความเว้นลัทธิ
อื่น โดยความหมดจดแห่งลัทธิของตน โดย
การชำระพยัญชนะให้เรียบร้อย โดยเนื้อ
ความเฉพาะบท โดยลำดับแห่งบาลีและ
โยชนาแห่งบาลี โดยการวินิจฉัยสิกขาบท
และโดยการชี้ความต่างแห่งวินัยในวิภังค์,
คำน้อยหนึ่งซึ่งไม่ชวนให้เกิดความเลื่อมใส
ย่อมไม่ปรากฏในสมันตปาสาทิกานี้; เพราะ
เหตุนั้น สังวรรณนาแห่งวินัยที่พระโลกนาถ
ผู้อนุเคราะห์โลก ฉลาดในการฝึกเวไนย ได้
ตรัสไว้นี้ จึงเป็นไปโดยชื่อว่า สมันตปาสา-
ทิกา แล.